ข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ 26
ปีที่ 1
สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง
ครั้งที่ 19 วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.34 - 19.42 นาฬิกา
เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ท่านสมาชิกครับ ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระประชุมจะอนุญาตให้ปรึกษาหารือตามข้อบังคับ ท่านแรก ท่านสุรทิน พิจารณ์ เรียนเชิญครับ
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผมสุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ สส. แบบบัญชีรายชื่อ ท่านประธานครับ ๓ เรื่องที่จะกราบเรียนท่านประธานเป็นปัญหาทั้งนั้น
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องแรก คือผู้ป่วยจิตเวช เดี๋ยวนี้มีผู้ป่วยในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมากทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ปัญหาการเมือง งบประมาณไม่พอทำให้ผู้ป่วยที่อยู่โรงพยาบาลอยู่โรงพยาบาลได้แค่ ๓ เดือน บางรายรักษายังไม่หายเลย โรงพยาบาลต้องผลักออกจากโรงพยาบาลมาอยู่ข้างนอกสังคม มาทำร้ายสังคม งบประมาณไม่พอ ผมเสนอรัฐบาลเลย งดซื้ออาวุธเลย เอามารักษาพี่น้องประชาชน เอามารักษาสุขภาพให้พี่น้อง ประชาชน ผู้ให้ข้อมูล ผู้ร้องก็คือนักสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัด อุบลราชธานี
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ อันนี้ก็ไม่พอเหมือนกัน ตำรวจไม่พอในสถานีคูคต ตำรวจไม่พอ ในการให้บริการพี่น้องประชาชน เมื่อวานผมไปที่สถานีมีพี่น้องเป็นร้อย แต่มีตำรวจน้อย มาบริการพี่น้อง ๒ คนเท่านั้น ทั้งสอบสวน ทั้งพิมพ์ วันหนึ่งสอบสวนคนหนึ่งได้ไม่เกิน ๓๐ คน แต่อันนี้มีพี่น้องไปร้องเรียนเป็นร้อย ตำรวจไม่พอ ฝากไปที่ ผบ.ตร. และรัฐบาลครับ
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ก็ดีเหมือนกันครับ ขอถนนคนเดินจากสถานีรถไฟฟ้าคูคตไปที่ วัดโพสพผลเจริญ ๗๐๐ เมตรเท่านั้น ขอมาหลายครั้งแล้วมันยังไม่เป็นผล อันนี้ก็ขออีก เพื่อแก้ปัญหารถติด คนที่ดูแลก็คือกรมทางหลวงและกระทรวงคมนาคมครับ
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องหารือทุกเรื่องหารือไปแล้วมันเงียบ ไม่ทราบว่าจะเป็นเพราะสภาหรือว่า ข้าราชการประจำไม่ปฏิบัติตามสภาที่ สส. หารือปัญหาพี่น้อง กราบเรียนท่านประธานว่า ควรจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาว่าส่งเรื่องไปแล้วทำไมข้าราชการประจำเขาไม่ปฏิบัติ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านนิพนธ์ คนขยัน ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านกัณตภณ ดวงอัมพร ครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สวัสดีครับ กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตัวแทนของพี่น้องชาวพญาไท ดินแดง วันนี้มีเรื่องปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จำนวน ๗ เรื่องมาปรึกษาท่านประธานผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ซอยพหลโยธิน ๑ หรือซอยริมคลองสามเสนตลอดเส้นทาง ๑.๔ กิโลเมตรไม่มีทางข้ามสำหรับประชาชนเลย แม้แต่ตรงนี้ซึ่งเป็นสวนพญาไทภิรมย์มีคนออกกำลังกายจำนวนมากก็ไม่มีทางม้าลายเช่นกัน ก็ขอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาดำเนินการตีเส้นทางม้าลายตามภาพด้วยครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ใต้ทางด่วนเช่นกัน เวลาฝนตกท่อระบายน้ำจากการทางพิเศษ ปล่อยน้ำลงสู่ด้านล่าง ผมทราบดีว่าเป็นการปล่อยน้ำลงพื้นที่ตัวเอง แต่ว่ามีประชาชน อยู่ข้างล่างเดือดร้อนมาก ก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการด้วยครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ โคมไฟ High Pressure Sodium ซึ่งเป็นสายสีส้มติดอยู่กับ ใต้ทางด่วนศรีรัชส่องลงมาตรงถนนพระราม ๖ ฝั่งขาเข้า ระหว่างสี่แยกปดิพัทธ์ถึงสี่แยก ตึกชัย โคมไฟนี้ดับตลอดแนว ตอนกลางคืนนี้ดับมาก เปลี่ยวและอันตราย เนื่องจากไม่มี แสงไฟจากจุดอื่นช่วย ดับมาเป็นหลายปี ก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการด้วยครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ซอยรัชดา ๓ มีการวางท่อประปาใหม่ ตรงนี้มีคนร้องเรียนมากมาย เลยครับ ทั้งเรื่องฝุ่น เรื่องเสียงจากการทำงาน ตามกำหนดจะเสร็จในวันที่ ๒๗ มีนาคม ก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเร่งรัดแล้วก็ขอให้เกิดผลกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด เมื่อวานแจ้งข่าวว่าจะปิดน้ำช่วง ๔ โมงเย็นถึง ๔ ทุ่มโดยประมาณ ช่วงประมาณ ๑๐ โมงเช้า ถึง ๖ โมงเย็น แต่ตอน ๕ ทุ่มยังมีประชาชนร้องเรียนอยู่เลยครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ ชาวบ้านในซอยอินทามระ ๔๐ ต้องการคันชะลอ เนื่องจากตอนนี้ หลัง ม. หอการค้าได้เปิดทางทำให้รถวิ่งผ่านจำนวนมาก เกิดอุบัติเหตุบ่อยนะครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๖ ไฟส่องสว่างหลายดวงบริเวณหมู่บ้านพิบูลวัฒนา เขตพญาไท คนร้องเรียนเยอะมาก ฝากให้ช่วยพิจารณาแก้ไขด้วยครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๗ ประชาชนในซอยอินทามระ ๒๒ ขอให้ช่วยเปิดทางลัดตรงช่อง ๑๑ ให้กลับมาใช้ได้ดังเดิม เนื่องจากปิดมาเป็นเวลานานกว่า ๔ ปีตอนช่วงโควิด ซึ่งตรงนี้ถ้าเกิด เปิดแล้วจะช่วยให้รถระบายจากถนนสุทธิสารได้มากขึ้นนะครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
และสุดท้ายจากคลิป หลังแฟลต พ.๑ พ.๒ ถนนมิตรไมตรี แต่ก่อนมีคันชะลอ แต่พอทำถนนใหม่คันชะลอหายไป ตรงจุดนี้กลายเป็นจุดมา Test รถของวัยรุ่นเลยนะครับ ก็สร้างความเดือดร้อนทางเสียง ประชาชนนอนแทบไม่ได้ ก็ขอให้กรุงเทพมหานคร ดำเนินการแก้ไขด่วนครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านเทียบจุฑา ขาวขำ ครับ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางเทียบจุฑา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ก่อนอื่นดิฉันต้องขอขอบคุณท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีที่เดินทางไป จังหวัดอุดรธานี ไปรับฟังความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม ที่จังหวัดอุดรธานี
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
เรื่องปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ก็เดือดร้อนเรื่องถนนหนทาง สัญจรไปมา ก็ขอขยายถนน ขอไฟฟ้าแสงสว่าง ถนนทางหลวงสาย ๒๐๒๐ บ้านผือ จังหวัด อุดรธานี ไปอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เส้นทางนี้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เพื่อการ ท่องเที่ยวแล้วก็เดินทางสู่ประเทศลาวได้
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ดิฉันต้องขอขอบคุณท่านทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมที่เดินทางไปให้กำลังใจอาสาสมัครคุมประพฤติที่จังหวัดอุดรธานี อาสาสมัคร คุมประพฤติตามบทบาทของภาคประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๐ มีหน้าที่ช่วยดูแลติดตามสอดส่อง ผู้กระทำผิดในชุมชน เหมือนกับเป็นแมวมอง เป็นมดงานที่ทำงานให้กับทางราชการ แล้วเขา ก็ไม่ได้ค่าตอบแทน เมื่อดิฉันไปร่วมงานอาสาสมัครคุมประพฤติในจังหวัดอุดรธานีเขาก็ ฝากมาว่าอย่างไรก็ขอฝากให้กระทรวงยุติธรรมได้พิจารณาค่าตอบแทนให้แก่อาสาสมัคร คุมประพฤติ เพื่อเป็นการให้โอกาสพวกเขาได้ทำงานดูแลในชุมชนอย่างเข้มแข็ง เพื่อเป็น กำลังใจให้กับพี่น้องอาสาสมัคร กราบขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านวุฒินันท์ บุญชู ครับ
นายวุฒินันท์ บุญชู สมุทรปราการ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม วุฒินันท์ บุญชู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๔ จังหวัดสมุทรปราการ พรรคก้าวไกล สืบเนื่องจากอำเภอบางพลีเป็นสถานที่ตั้งของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัดบางพลีใหญ่ใน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดหลวงพ่อโต แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอบางพลีซึ่งผมรู้สึก ไม่สบายใจและรู้สึกกังวล ก็คือเรื่องความสะอาดของบริเวณถนนเทพารักษ์และถนน บางนา-ตราด และการจัดภูมิทัศน์เกาะกลางถนน สิ่งที่เกิดขึ้นและปรากฏขึ้นในปัจจุบันนี้ก็คือ เกาะกลางถนนขาดการดูแลรักษา หญ้าปกคลุม ต้นไม้ใหญ่ยืนตายคาต้น ริม Footpath ทั้งสองถนนปกคลุมด้วยเศษวัสดุป้ายโฆษณาซึ่งมีทุกเสาไฟฟ้า ร้านแผงลอยที่เลิกใช้แล้ว แต่ปล่อยรกร้างว่างเปล่า ซึ่งทำให้รู้สึกอุจาดตาสำหรับผู้พบเห็นโดยทั่วไป ผมอยากจะเห็น หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ๒ หน่วยงานก็คือ ๑. แขวงการทางซึ่งดูแลบริเวณ Footpath และริม ๒ ข้างทาง และองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ซึ่งดูแลเรื่องภูมิทัศน์และ เกาะกลางถนน ให้เข้ามาดูแล ปรับปรุง แล้วก็เพิ่มมาตรการเรื่องความสะอาด โดยเฉพาะ การติดตั้งป้ายโฆษณา ป้ายกองโจรของหมู่บ้านจัดสรรที่ขายกันเกลื่อนในพื้นที่ของอำเภอ บางพลี แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะเห็นก็คือให้หน่วยงานออกเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติในการ ดูแลเรื่องความสะอาด และเพิ่มงบประมาณ บุคลากร เข้ามาดูแลเรื่องความสะอาดและ ภูมิทัศน์อย่างจริงจังและถาวร ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านปทิดา ตันติรัตนานนท์ ครับ
นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ปทิดา ตันติรัตนานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามแนวชายแดน จังหวัดสุรินทร์ เขต ๘ พรรคภูมิใจไทย ท่านประธานคะ จากการหารือเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๖ เรื่องอ่างเก็บน้ำเขื่อนขยอง เขื่อนบน หมู่ ๕ ตำบลตาตุม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ชำรุด โดยขอให้ปรับปรุงดังนี้ ขุดลอกพื้นที่ ๙๕ ไร่ ความลึก ๒ เมตร เสริมทำนบดิน ความยาว ๖๐๐ เมตร ก่อสร้างฝายน้ำล้น ก่อสร้างท่อส่งน้ำ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาช่วงหน้าแล้ง ให้มีน้ำใช้ได้ตลอด ส่วนช่วงหน้าฝนก็จะทำให้ป้องกันน้ำท่วมให้กับอีกหลายอำเภอของ จังหวัดสุรินทร์ แต่จนบัดนี้ตั้งแต่วันที่ดิฉันหารือยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปช่วยตรวจสอบ หรือแก้ไขปัญหา ดิฉันจึงขอเรียนผ่านท่านประธานสภาไปยังสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สทนช. กรมชลประทาน ได้เข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรด้วย ประกอบกับปีนี้ เราทราบว่าจะเกิดปรากฏการณ์ El Nino ทำให้เกิดการแล้งหนัก สภาพอากาศจะร้อนมากขึ้น ทั้งร้อนและแล้ง จึงขอย้ำผ่านท่านประธานสภาไปถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับมือ กับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือน โดยการที่จะช่วยกันเร่งขุดลอกอ่างเก็บน้ำ หรือการเร่ง กักเก็บน้ำไว้ใช้ เพราะน้ำคือชีวิต คืออาชีพ คือรายได้ เพื่อจะเลี้ยงปากท้องของพี่น้องเกษตรกร ทั้งประเทศไทยค่ะ
นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ได้รับการแจ้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา นายก ศิรินภา พัวพัฒนโชติ ว่าถนนทางหลวงหมายเลข ๒๓๒๘ ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ ชำรุดอยู่ ๒ จุด จุดที่ ๑ ถนนลาดยางเส้นทางเข้าหมู่บ้านชำเบง หมู่ที่ ๕ ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ทางเชื่อมถนนทางหลวงหมายเลข ๒๓๒๘ แยกเข้าช่องจอม ไปบ้านนาตำบล จุดที่ ๒ บริเวณวงเวียนบ้านลันแต้ ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ ประกอบ กับถนนนี้เป็นถนน ๔ ช่องจราจรบางจุดยังไม่มีไฟฟ้าส่องสว่าง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงขอเรียนผ่านท่านประธานสภาไปยัง กรมทางหลวง แขวงทางหลวงจังหวัดสุรินทร์ได้ช่วยพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อซ่อมแซม ถนนสายดังกล่าวนี้ให้ด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ครับ
นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม สกล สุนทรวาณิชย์กิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต ๔ จากพรรคก้าวไกล ขอปรึกษาหารือท่านประธาน ๓ เรื่อง ดังนี้
นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ประชาชนในพื้นที่อำเภอคลองหลวงไม่มีรถเมล์สาธารณะใช้ ครอบคลุม ทำให้แม้การเดินทางไปรักษาพยาบาลด้วยสิทธิบัตรทอง ๓๐ บาทรักษาทุกโรค ที่โรงพยาบาลคลองหลวง แต่กลับต้องนั่งแท็กซี่ไป-กลับ ๔๐๐ บาท จึงขอฝากท่านประธาน ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จัดหารถโดยสารประจำทาง และเพิ่มเส้นทาง รถเมล์ให้แก่ประชาชนในอำเภอคลองหลวงด้วยครับ
นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ทุก ๆ ปีในช่วงหน้าร้อนดอกธูปฤาษีก็จะฟุ้งกระจายละอองเกสร ไปทั่วจังหวัดปทุมธานี ทำให้ติดเสื้อผ้า ติดมุ้งลวดบ้านประชาชน สร้างความเดือดร้อนรำคาญ ต้นธูปฤาษีมักจะขึ้นในพื้นที่ดินรกร้างที่เจ้าของไม่มาดูแล และอีกไม่กี่เดือนดอกธูปฤาษีก็จะ ถึงเวลากระเปาะแตกแจกละอองเกสรแล้วครับ จึงขอเรียนท่านประธานไปยังนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเตรียมรับมือแก้ปัญหานี้ครับ
นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ช่วงนี้ระดับฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดปทุมธานีสูงขึ้นมาก ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุในพื้นที่รังสิตต่างก็ป่วย วันก่อนหลานผมไอไม่หยุดเลยครับ เด็ก ๆ ที่ต้องไปโรงเรียนก็ต้องอยู่แต่ในห้อง ไม่สามารถออกมาวิ่งเล่นทำกิจกรรมได้ตามปกติ สาเหตุหนึ่งเกิดจากการเผาทุ่งเกษตรในเขตลำลูกกา จนค่าฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดปทุมธานี ติดอันดับ ๑ อันดับ ๒ มาหลายครั้งแล้ว จึงขอฝากท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ให้พิจารณาออกประกาศคำสั่งห้ามเผาในที่โล่งเป็นเวลา ๓ เดือน เฉกเช่นประกาศของ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ที่ห้ามเผาในที่โล่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน เพื่อให้ สุขภาพของลูกหลานชาวปทุมธานีกลับมาดีขึ้น ไม่ตายผ่อนส่งแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ท้ายที่สุดนี้ครับหากกองทัพอากาศใจดีและเห็นแก่ปอดของลูกหลานชาวปทุมธานีก็อยากให้ พิจารณาเปลี่ยนสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์เป็นสวนสาธารณะ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านสุไลมาน บือแนปีแน ครับ
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม สุไลมาน บือแนปีแน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดยะลา พรรคประชาชาติครับ วันนี้ขออนุญาตหารือกับท่านประธาน ๓ เรื่องด้วยกันที่เป็นปัญหา ในเขตพื้นที่ ขอสไลด์ด้วยนะครับ
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
เรื่องแรก ก็คือในเรื่องของความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนบนท้องถนน เป็นทางหลวงซึ่งอยู่ใน ความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ก็อยากจะให้ท่านประธานมีหนังสือไปยังกรมทางหลวง เพื่อที่จะให้ดำเนินการแก้ไข เนื่องจากว่าถนนทางหลวง ทล.๔๐๘๒ มีจุด U-Turn ซึ่งตอนนี้ ชุมชนเขาเปลี่ยนไป พอเปลี่ยนไปจุด U-Turn ที่เป็นอยู่อาจจะต้องเขยิบ ก็อยากจะให้ทาง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๓ สะเตงนอกก็ดี ทางพี่น้องประชาชนก็ดีที่สัญจร ก็อยากที่จะให้เขยิบจุด U-Turn ไปอยู่ในบริเวณสี่แยก แล้วก็ทำจุดช่องรอกลับรถด้วยเพื่อความปลอดภัยของพี่น้อง ที่สัญจรบริเวณถนนนี้ด้วยนะครับ
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องของน้ำขัง จุดเดียวกันครับ เป็นจุดของถนน ทล.๔๐๘๒ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับถนนของทางหลวงชนบทสาย ยล.๔๐๐๒ บริเวณจุดเชื่อมก็จะมีน้ำขัง เวลาฝนตกหนักก็จะมีน้ำขัง ฉะนั้นแล้วก็อยากให้มีหนังสือไปยังกรมทางหลวงเพื่อที่จะให้ทำ คูระบายน้ำเพื่อผันน้ำ เวลาฝนตกหนักก็จะได้ผันน้ำบริเวณดังกล่าวลงสู่แม่น้ำ
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย เป็นการแก้ไขน้ำขังบริเวณถนนเมืองใหม่ อยู่ในเขตเทศบาล นครยะลา ซึ่งทางโยธาธิการและผังเมืองก็ได้ทำคูระบายน้ำบริเวณทางที่จะไปโรงเชือดสัตว์ บริเวณตลาดใหม่ แต่ว่ามันยังไม่ครบถ้วน มันยังมีส่วนที่อยู่หน้า ป. พัฒนาก็ดี บริเวณถนน เมืองใหม่ก็ดี ก็อยากจะให้ทำคูระบายน้ำเพื่อที่จะผันน้ำลงสู่แม่น้ำปัตตานีต่อไป ขอบคุณมาก ครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านศิริโรจน์ ธนิกกุล ครับ
นายศิริโรจน์ ธนิกกุล สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศิริโรจน์ ธนิกกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต ๒ จากพรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องอยากจะปรึกษาหารือท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไข ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนชาวสมุทรสาครโดยเร็วทั้งหมด ๓ เรื่องครับ
นายศิริโรจน์ ธนิกกุล สมุทรสาคร ต้นฉบับ
๑. ปัญหาโรงงานอุตสาหกรรม แอบปล่อยควันพิษ สร้างฝุ่นพิษ ส่งกลิ่นเหม็น และละอองคละคลุ้งไปทั่วบริเวณใกล้เคียง ในพื้นที่หมู่ ๗ ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน ชอบแอบปล่อยในช่วงกลางคืน ซึ่งชาวบ้านได้มีการร้องเรียนหลายต่อหลายครั้ง จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งท้องถิ่น อุตสาหกรรม และจังหวัด เข้าตรวจสอบโรงงานที่ก่อความรำคาญและเดือดร้อน นี้ด้วยครับ
นายศิริโรจน์ ธนิกกุล สมุทรสาคร ต้นฉบับ
๒. ปัญหาน้ำกระท่อมขายเกลื่อนเมือง ผมได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหา การขายน้ำกระท่อมบริเวณริมฝั่งถนนเกือบทุกเส้นในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรสาคร โดยเฉพาะ ถนนเส้นเศรษฐกิจ พุทธสาคร และเพชรเกษม รวมไปถึงสายย่อยต่าง ๆ ผมยังจำได้ว่า เมื่อไม่นานมานี้ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ยังได้พูดถึงปัญหานี้ในสภาด้วยซ้ำ แต่น่าเสียดายที่ในวันนี้คำพูดของนายกรัฐมนตรีไม่มีความสำคัญหรือศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ เลย เพราะผู้ใต้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งหลายยังปล่อยปละละเลยให้น้ำกระท่อมหรือ สิ่งผิดกฎหมายยังขายได้ทั่วเมืองแบบนี้อยู่ ฝากไปถึงนายกรัฐมนตรีเศรษฐาออกคำสั่งการ อีกครั้งด้วย เพราะครั้งก่อนที่สั่งไปไม่ได้ผลอะไรเลย สั่งเหมือนสั่งขี้มูกเลยครับ
นายศิริโรจน์ ธนิกกุล สมุทรสาคร ต้นฉบับ
๓. การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมที่ผ่านมาเป็นการทำให้พี่น้องผู้ประกันตน ได้ไปใช้สิทธิเลือกผู้แทนของพวกเขาเองให้เข้าไปบริหารงบประมาณที่ถูกหักไปทุกเดือน ๆ เพื่อสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าเดิม แต่ในวันนี้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคมใหม่ โดยกระทรวงแรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์ก็เห็นได้ชัดว่าต้องการยกเลิกตัวแทนที่มาจากการ เลือกตั้งทั้งหมด โดยให้กลับไปเป็นในรูปแบบแต่งตั้งเหมือนเดิม อย่างนี้ให้ใช้คำว่าอะไรดี อิจฉาตาร้อน ถอยหลังลงคลอง หรือว่าแพ้แล้วพาล อย่างไรฝากไปยังกระทรวงแรงงานด้วย อยากให้ลองพิจารณาประเด็นนี้ใหม่ พี่น้องประชาชนผู้ประกันตนตามประกันสังคมกำลัง จับตาดูท่านอยู่นะครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ ครับ
นายภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม ภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร เขต ๑ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ผมมีเรื่องหารือกับท่านประธานอยู่ ๒ เรื่อง
นายภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร ต้นฉบับ
เรื่องแรก การขอขยายเขตโครงการ ส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดงจากจังหวัดกำแพงเพชรมายังพื้นที่ตำบลวังโมกข์ ตำบล บึงบัว และตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร เมื่อฤดูทำการเกษตรก็ไม่มีน้ำ ทำการเกษตร เมื่อฤดูน้ำหลากน้ำก็ท่วมไร่นา พื้นที่เสียหายกว่า ๑,๖๐๐ ไร่ ผมจึงขอฝาก ท่านประธานนำเรียนไปยังกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วยครับ
นายภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ นครสวรรค์-พิจิตร เริ่มจาก อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ จนถึงอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร สภาพถนนชำรุด ผิวแตก เกิดหลุมบ่อบนถนน ผิวทางทรุดเป็นร่องตามแนวรถสิบล้อ ส่วนใหญ่จะซ่อม โดยการลาดยางมะตอย ทำให้พื้นผิวไม่เรียบและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และอีกเส้นหนึ่งคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ หรือที่เรียกกันว่าเส้นตากฟ้า เริ่มตั้งแต่อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จนถึงอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ปัจจุบันได้ขยายถนนเป็น ๔ เลน สภาพถนนที่พังทางเบี่ยงซ้ายขวา สัญญาณไฟเตือนต้องมีป้ายเตือนสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน เพื่อลดอุบัติเหตุ จนมีคนตั้ง Slogan การเดินทางมาพิจิตรว่า หลับที่อื่นมาตื่นที่พิจิตร ผมจะขอฝากท่านประธานไปยังกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ด้วยครับ
นายภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร ต้นฉบับ
สุดท้าย ผมขอขอบคุณการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ได้ส่งปฏิทิน การท่องเที่ยวประจำปีของจังหวัดพิจิตรมาให้ และได้เข้ามาสนับสนุนการจัดงานบอลลูน แล้วว่าวไทยที่บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร ในวันที่ ๒๔-๒๕ กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ขอขอบคุณ แทนคนพิจิตรด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอขอบคุณครับ ขอเชิญท่านคำพอง เทพาคำ ครับ
นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม คำพอง เทพาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกลจากภาคอีสานครับ ผมได้รับการประสานงานจากทนายเข้ม ต่อพงษ์ จีนใจน้ำ ผู้สมัครผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล บุรีรัมย์ เขต ๑๐ ว่าได้รับคำร้องจากพี่น้องชาวตำบลจรเข้มาก ตำบลปรางค์กู่สวนแตง และ อีกหลายตำบลในอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ว่าน้ำประปาไม่มีคุณภาพ ไม่ไหล ขุ่นข้น กะปริบกะปรอย ฉะนั้นจึงฝากท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงมหาดไทยให้โอนกิจการ น้ำประปาหมู่บ้านให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทำเป็นน้ำประปาดื่มได้ แล้วก็อย่าลืม โอนงบประมาณไปให้เขาด้วยนะครับ
นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ให้กรมชลประทานกับกระทรวงมหาดไทยหาแนวทางแก้ไขการผันน้ำจาก ลำปะเทีย หมู่ที่ ๙ บ้านโนนทอง ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด บุรีรัมย์ ระยะทางประมาณสัก ๕๐๐ เมตร ชาวบ้านที่ใช้น้ำคลองปูน ตำบลยายแย้มวัฒนา ตำบลจรเข้มาก ตำบลโคกย่าง ตำบลปรางค์กู่สวนแตง ยาวไปถึงอำเภอประโคนชัยก็ได้ใช้น้ำ ได้ประโยชน์มากครับ
นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ปัญหาการส่งน้ำผ่านร่องน้ำคอนกรีต แล้วก็ร่องน้ำลอยเหนือดิน จากเขื่อน ตะโก ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ไม่ได้ส่งน้ำมานานแล้วนะครับ ชำรุดหรือเปล่าก็ไม่รู้ ชาวบ้านขาดแคลนน้ำ ยางพารายืนต้นตาย สวนอ้อย ข้าว แตงโม พืชเศรษฐกิจของอำเภอบ้านกรวดก็แห้งไปด้วย ไร่มันสำปะหลัง การเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันนี้ การส่งน้ำก็ใช้ตามธรรมชาติก็เลยทำให้ไม่ทั่วถึง โครงการ Megaproject มหากาพย์ขุดคลอง ขุดลอกห้วยวังนอง ทำเขื่อนกันตลิ่งแม่น้ำมูล ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ผมได้หารือท่านประธานมาหลายครั้งแล้ว แทนที่กรมโยธาธิการ และผังเมืองจะแก้ไขปัญหา กลับทำหนังสืออ้างคำสั่ง ป.ป.ช. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ดำเนินการขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ ชุมชนดั้งเดิมออกจากพื้นที่ อีกทั้งดำเนินคดีอาญา อย่างไม่ปราณีปราศรัยกว่า ๕๐ ราย ชาวบ้านจึงร้องมาผ่านท่านประธานไปยังผู้ว่าราชการ จังหวัดอุบลราชธานี ให้ชะลอการไล่รื้อแล้วก็การดำเนินคดีอาญากับชาวบ้านไว้ก่อนนะครับ การพัฒนาชาวบ้านไม่มีที่ยืน ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่กินจะทำไปทำไมครับ ดังนั้นถ้าโครงการพัฒนา เข้าที่ไหนชาวบ้านน่าจะถูกรางวัลที่ ๑ เสียด้วยซ้ำ งานพัฒนาอยู่ได้ ชาวบ้านอยู่ได้ ขอบคุณ ครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านสังคม แดงโชติ ครับ ท่านสังคม แดงโชติ พร้อมไหมครับ ขออนุญาตข้ามนะครับ ขอเชิญท่านเซีย จำปาทอง ครับ
นายเซีย จำปาทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม เซีย จำปาทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนเครือข่าย ผู้ใช้แรงงาน ผมมีเรื่องจะหารือท่านประธาน ๒ เรื่องครับ
นายเซีย จำปาทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากสงครามในประเทศอิสราเอล มีลูกจ้าง ได้รับผลกระทบจากสงครามในประเทศอิสราเอลเดินทางกลับประเทศไทยในช่วงที่เกิด สงคราม กระทรวงแรงงาน รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับปากจะดูแลลูกจ้าง ตั้งแต่ วันที่เกิดเหตุจนถึงวันนี้ระยะเวลาผ่านมา ๔ เดือนกว่าแล้ว เงินค่าแท็กซี่ที่เดินทางจาก ที่ทำงานมาสนามบินเพื่อขึ้นเครื่องกลับประเทศไทย กระทรวงแรงงานยังไม่ได้โอนให้กับ ลูกจ้าง ลูกจ้างได้ติดต่อไปที่กระทรวงแรงงานหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า นอกจากนี้ ยังมีเงินเดือนค้างจ่ายและเงินสะสมที่นายจ้างหักเงินรายได้ของลูกจ้างเข้ากองทุนสะสม ในขณะที่ลูกจ้างยังทำงานอยู่ที่ประเทศอิสราเอล ลูกจ้างได้ติดต่อไปที่กระทรวงการต่างประเทศ หลายครั้งก็ไม่มีความคืบหน้าเช่นกัน อยากจะบอกว่าลูกจ้างได้รับผลกระทบจากภัยสงคราม ได้รับความเดือดร้อนอย่างมากแล้ว แต่ว่าพอมาเจอกระบวนการการดำเนินงานภายในประเทศ ยิ่งล่าช้าไปใหญ่นะครับ ก็อยากจะฝากท่านประธานไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เร่งดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาอย่างเร่งด่วน แล้วก็รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เร่งดำเนินการติดตาม ประสานงาน ช่วยเหลือลูกจ้างในกรณีที่มีเงินเดือนค้างจ่ายและ เงินสะสมที่ลูกจ้างยังไม่ได้รับจากนายจ้างที่ประเทศอิสราเอลด้วยครับ
นายเซีย จำปาทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เรื่องนี้ผมได้หารือต่อที่ประชุมสภาแล้ว ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ก็คือเรื่องลูกจ้างบริษัท บอดี้ แฟชั่น ลูกจ้างบริษัท แอลฟ่า สปินนิ่ง ลูกจ้างบริษัท เอเอ็มซี สปินนิ่ง ที่ได้เดินทางไป ยื่นหนังสือต่อกระทรวงแรงงาน แล้วก็มีตัวแทนของกระทรวงแรงงานซึ่งนำโดยนายอารี ไกรนรา นายมนัส โกศล ที่ปรึกษารัฐมนตรี นายธีระวิทย์ วงศ์เพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงาน และนายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในวันดังกล่าว มีการประชุมร่วมกันและมีข้อตกลงร่วมกัน จัดทำเป็นบันทึกการประชุมและลงลายมือชื่อกัน เรียบร้อย กระทรวงแรงงานได้ลงบันทึกว่ากระทรวงแรงงานจะเสนอรัฐมนตรีเพื่อขอรับ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายจ่ายเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น มาจ่ายให้ลูกจ้างทั้ง ๓ บริษัท เพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินตามสิทธิครบถ้วนตามกฎหมายได้เร็ว ที่สุด ขณะนี้ระยะเวลาผ่านมาเกือบ ๒ เดือนแล้วครับ ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ จึงฝาก ท่านประธานไปยังนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน และนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ช่วยเร่งดำเนินการด้วยครับ ความคืบหน้าของลูกจ้างแม้แต่วันเดียวลูกจ้างก็เดือดร้อนอย่างมาก ก็ฝากท่านประธานไปถึง รัฐมนตรีทั้ง ๒ ท่านด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านประสาท ตันประเสริฐ ครับ
นายประสาท ตันประเสริฐ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม นายประสาท ตันประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ เขตเลือกตั้งที่ ๖ ท่านประธานครับ ท่านประธานก็เป็นผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตที่ ๑ จังหวัดพิษณุโลก ท่านประธานเป็นคนหนุ่ม ผมนิยม ท่านประธานครับ ไม่ทราบว่าท่านประธานได้ลงพื้นที่ พื้นที่ของท่านประธานจะเหมือน ของผมหรือเปล่าผมไม่ทราบ แต่ผมเชื่อว่าไม่เหมือน จังหวัดนครสวรรค์ในเขตพื้นที่ของผม เขตเลือกตั้งที่ ๖ ประกอบด้วย อำเภอลาดยาว อำเภอแม่วงก์ อำเภอแม่เปิน อำเภอชุมตาบง ผมหารือท่านประธานฝากไปยังกระทรวงศึกษาธิการ แต่ผมเชื่อว่าท่านรัฐมนตรีท่านไม่รู้เรื่อง ท่านไม่ทราบ แต่ผู้มีหน้าที่ในกระทรวงของท่านไม่สนใจ โดยเฉพาะสำนักงานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สพฐ. ท่านประธานครับ เหลือเชื่อจริง ๆ อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ ทุกอำเภอครับท่านประธาน จะมีที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ โรงพยาบาล โรงเรียนมัธยม โรงเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นพื้นฐานของแต่ละอำเภอ เหลือเชื่ออำเภอชุมตาบงมีครบหมดทุก อย่าง ขาดอย่างเดียว โรงเรียนอนุบาลไม่มี เหลือเชื่อไหมครับ มีโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ มีทุกอย่างเหมือนทุกอำเภอ แต่ขั้นพื้นฐาน อะไรก็ตามถ้าเริ่มต้นดี ๆ เราพูดว่าอนาคตน่าจะดี แต่นี่ไม่มีครับท่านประธาน โรงเรียนอนุบาลประจำอำเภอชุมตาบงไม่มี นี่เรื่องที่ ๑
นายประสาท ตันประเสริฐ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
สพฐ. อีกเหมือนกัน อำเภอแม่เปิน อำเภอแม่เปินมีโรงเรียนอนุบาล แต่ไม่มี โรงเรียนมัธยม ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลแม่เปินขยายโอกาสไปถึง ม. ๖ มันเป็นไปได้ อย่างไรครับ เพราะฉะนั้นผมฟ้องนะครับ ฟ้องท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการว่า สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งอยู่ในกำกับของท่านไม่สนใจดูแล ๒๕ ปีมาแล้วทั้ง ๒ ที่ เพราะฉะนั้นเรื่องโรงพยาบาลอำเภอแม่เปินไม่มี ผมพูดไปแล้ว แต่นี่โรงเรียนมัธยมไม่มี เพราะฉะนั้นผมถามท่านประธานครับ เป็นเรื่องแปลก เรื่องตลก หรือเรื่องเศร้า ไม่ทราบ ท่านประธานว่าเป็นเรื่องแบบไหนหรือไม่สนใจ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านถนอมพงศ์ หลีกภัย ครับ
นายถนอมพงศ์ หลีกภัย ตรัง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ถนอมพงศ์ หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ ๑ จากจังหวัดตรัง พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ วันนี้กระผมจะขอหารือเกี่ยวกับเรื่องที่ดินสิทธิ ทำกินของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ไม่ว่าเขตอุทยาน ไม่ว่าเขต ส.ป.ก. ๔-๐๑ หรือไม่ว่า เขตสาธารณะประโยชน์หรือเขตสัมปทาน ท่านประธานสภาที่เคารพครับ เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลมีเป้าหมายให้เกษตรกรอยู่ดีกินดี และลดความเหลื่อมล้ำจากนโยบายที่รัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๖ ต้องการพัฒนาเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นโฉนด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ทั้งนี้มีเกษตรกรที่เข้าคุณสมบัติการเปลี่ยนเป็นโฉนด จำนวน ๒.๒๗ ล้านแปลง เนื้อที่ประมาณ ๒๒ ล้านไร่ เกษตรกรจำนวน ๑.๖ ล้านคน ปัจจุบัน เกษตรกรได้รับโฉนดเพื่อการเกษตรตรงตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด จำนวน ๑.๖ ล้านคน จำนวน ๒๕,๐๐๐ ฉบับ ทั้งนี้มีผู้ยื่นคำขอแล้วจำนวน ๑๔๐,๐๐๐ กว่าราย ซึ่งกระผมเชื่อว่า ยังมีอีกมากที่ยังมีเอกสารคาบเกี่ยวคุณสมบัติของพี่น้องบางพื้นที่ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บางพื้นที่ ก็ยังรอสำรวจตรวจสอบอยู่ ก็อยากจะฝากท่านประธานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร สำนักงานประกันสังคม ซึ่งยังตรวจสอบ ไม่ได้ครับ เพราะยังมีกฎหมายระหว่างหน่วยงานอยู่ ตรวจสอบได้ช่องเดียวคือหนังสือของ ราชการเพื่อความรอบคอบในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอเฉพาะราย
นายถนอมพงศ์ หลีกภัย ตรัง ต้นฉบับ
สุดท้ายครับ กระผมอยากฝากท่านประธานไปยังผู้รับผิดชอบในการขอ เอกสารสิทธิในจังหวัดตรัง ไม่ว่าจะเป็นอำเภอห้วยยอดของท่าน สส. ทวี สุระบาล ไม่ว่าจะ เป็นอำเภอย่านตาขาวของท่านสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ไม่ว่าจะเป็นอำเภอกันตัง ของท่าน สส. กาญจน์ ตั้งปอง และเขตของกระผมอำเภอเมือง โดยเฉพาะตำบลน้ำผุด และตำบล นาท่ามเหนือที่ยังขาดการจัดการระเบียบของที่ดินอยู่ ขอบคุณมากครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล ครับ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรด้วยความเคารพ ดิฉัน มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต ๘ พรรคภูมิใจไทยค่ะ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
วันนี้ดิฉันขอติดตาม ความก้าวหน้าของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในทางหลวงแผ่นดินและสะพานบนถนน สายหลัก ดังนี้คือ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
๑. สะพานคลองจันดี หมู่ที่ ๑ บ้านนา คลองใหญ่ และสะพานคลองเหมน หมู่ที่ ๑ บ้านนา ซึ่งสะพาน ๒ สะพานนี้มีวัดที่คีรีวรรณาซึ่งเป็นวัดเก่าแก่คั่นกลาง สภาพของ สะพานนี้ใช้มา ๓๐ ปี แล้วก็มีความชำรุดทรุดโทรม เกิดปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชนจากน้ำหลากในต้นน้ำนะคะ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
๒. สะพานคลองจันดี หมู่ที่ ๒ คลองงา ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง ซึ่งเป็นสะพานตัวถัดมาอยู่ในสภาพเดียวกัน แล้วก็อยู่ในระยะเวลาที่การก่อสร้างพร้อม ๆ กัน ก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยมาเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จด้วย นะคะ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
๓. การขยายถนนทางหลวงสาย ๔๑๙๔ ในควนสงสาร-กะทูน ตำบลละอาย อำเภอฉวางถึงอำเภอพิปูน ซึ่งระยะทางถนนเส้นนี้คดเคี้ยวมากในความดั้งเดิมมาเป็นร้อยปี ขณะนี้ปี ๒๕๖๖ ได้มีการขยายถนนเส้นนี้ ตั้งงบประมาณไว้จนแล้วเสร็จ ๑๘ กิโลเมตร เป็นงบประมาณ ๒๐๐ ล้านบาท ต้องขอกราบขอบพระคุณกรมทางหลวงที่ได้ผลักดัน งบประมาณมา ๓๐ ล้านบาทในการขยายดำเนินการจากควนสงสารไป ๓ กิโลเมตรที่ผ่านมา ในปี ๒๕๖๖ แต่ทราบว่าในปี ๒๕๖๗ ไม่ได้รับงบประมาณต่อเนื่อง ก็ต้องขอกราบเรียนทาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เพื่อที่จะได้อนุมัติงบประมาณ ในปี ๒๕๖๘ ด้วยนะคะ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
๔. ถนนทางหลวงสาย ๔๐๑๕ พิกัดตรงห้วยปริก อำเภอฉวาง นครศรีธรรมราช บ้านส้อง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากถนนเส้นนี้เป็นรอยต่อของจังหวัดนครศรีธรรมราช ถึงห้วยปริก-ฉวาง ตรงนี้ได้รับการร้องเรียน ขออนุญาตท่านประธานนิดนะคะ ร้องเรียนจาก ท่าน สจ. กระวี หวานแก้ว มีการตกช่วงอยู่ ๙ กิโลเมตรในช่วงห้วยปริกถึงตำบลนาแว ขอกรุณาได้ช่วยดำเนินการต่อเนื่อง
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
และอีกเรื่องหนึ่งในถนนสาย ๔๐๑๕ จันดี-เขาธง ตอนนี้ได้ขยายไปพร้อมทั้งไฟ ถนนเส้นนี้ไปถึงมะนาวหวาน ขอให้ได้ดำเนินการต่ออย่างเร่งด่วนถึงเขาธง ซึ่งถนนเส้นนี้ ทางผู้ดำเนินการก่อสร้างและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ชื่อว่าถนนโรแมนติกโรส ซึ่งเป็นถนนสายที่ สวยมาก แล้วก็เป็นเส้นทางเข้าสู่ตัวเมืองนครศรีธรรมราช ขอให้ดำเนินการได้อย่างเร่งด่วน โดยเร็ว และขอฝากท่านประธานไปถึงกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วย ปิดป้ายประกาศทั่วเมืองทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๓ อำเภอไปสนามบิน แม้แต่อำเภอ ต่าง ๆ จุดท่องเที่ยว ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเมืองรองในการท่องเที่ยว ไม่มีป้าย ติดประกาศอย่างชัดเจนให้กับนักท่องเที่ยวที่มาอย่างหนาแน่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช กราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านสุรพันธ์ ไวยากรณ์ ครับ
นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พรรคก้าวไกล วันนี้มีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานเกี่ยวกับความเดือดร้อนของชาวอำเภอเมืองดังนี้ครับ
นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรื่องแรก เป็นเรื่องประตูระบายน้ำของ กรมชลประทานบริเวณหมู่ ๓ ตำบลท่าทราย จำนวน ๕ บานที่อยู่คู่กับชุมชนมามากกว่า ๒๐ ปี ปัจจุบันชำรุดใช้งานไม่ได้ ขาดการดูแลซ่อมแซมเป็นเวลานาน เพราะว่าทาง กรมชลประทานไม่ได้เข้าไปซ่อมแซมดูแลเลย ทางเทศบาลเองก็ไม่สามารถเข้าไปซ่อมแซมได้ เพราะเป็นสมบัติของกรมชลประทาน ไม่ได้รับการโอนย้าย พอเวลาช่วงที่น้ำขึ้นประตู ก็ไม่สามารถกั้นน้ำได้ เป็นแบบนี้ทุกปี ชาวบ้านเดือดร้อนมาก ตอนนี้ทางเทศบาลเองก็ได้แต่ วางแผนแล้วก็ออกแบบการก่อสร้างประตูระบายน้ำใหม่ แต่ไม่สามารถจะไปรื้อประตูระบายน้ำ อันเก่าได้ ผมทราบถึงปัญหานี้ดีถึงได้ทำหนังสือถึง ผอ. สำนักการระบายน้ำที่ ๑๑ จังหวัด นนทบุรี ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๕ แล้วครับ ทางสำนักการระบายน้ำก็ได้ทำหนังสือถึงสำนัก บริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยาในเรื่องของการเตรียมโอนย้ายครุภัณฑ์ เหลือแต่ท่านอธิบดี กรมชลประทานในการเซ็นอนุมัติโอนย้ายเท่านั้น รอจนท่านเกษียณไปเมื่อปลายปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา จนอธิบดีคนใหม่เข้ามาเกือบ ๕ เดือนแล้วก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้าในการเซ็นโอนย้าย สักที จึงเรียนท่านประธานผ่านไปยังอธิบดีกรมชลประทานด้วย
นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ นนทบุรี ต้นฉบับ
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่จะเรียนท่านประธานผ่านไปยังอธิบดีกรมชลประทาน คือ ประชาชน ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ส่งภาพมา ให้ผมให้เห็นถึงการใช้รถและเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานมาตัดต้นไม้ในหมู่บ้าน ผมก็ ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ภารกิจของทางกรมชลประทานนี้มีเรื่องของการรับตัดต้นไม้ด้วยหรือเปล่าครับ ท่านประธาน เพราะว่าถ้าราคามันไม่สูงมากผมเองก็อยากจะติดต่อมาตัดที่บ้านเหมือนกัน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านอรพรรณ จันตาเรือง ครับ
ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน อรพรรณ จันตาเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๖ คนอำเภอเชียงดาว เวียงแหง พร้าว ไชยปราการ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันมีเรื่องความเดือดร้อน ของพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในเขตบ้านของดิฉันมาหารือท่านประธาน ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ถึงมีนาคมที่จะถึงนี้พี่น้องผู้ปลูกกระเทียมต้องทำการเก็บกระเทียม แต่ตอนนี้ ราคากระเทียมที่หน้าสวนเฉลี่ยต่ำกว่าราคาต้นทุนต่อ ๑ ไร่ พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม จะต้องขาดทุน ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ บาทต่อไร่ ขาดต้นทุนตั้งแต่อยู่ในมุ้งเลยค่ะ หรือภาษาเหนือ เรียกว่า ปุดตืน ค่ะ ท่านประธานคะ ดิฉันจะขอบอกว่าในฐานะลูกผู้ปลูกกระเทียมคนหนึ่ง ทุกครั้งที่มีราคาพืชผลทางการเกษตรหรือกระเทียมตกต่ำ หลาย ๆ คนก็จะบอกว่าแล้วทำไม ไม่ไปทำอย่างอื่น ทำไมไม่ปลูกอย่างอื่น บางครั้งถึงกับแนะนำให้ไปขายที่ดาวอังคาร ด้วยบริบท ความเป็นอยู่ สภาพอากาศของเราไม่สามารถเลือกได้ถึงขนาดนั้น มันอาจจะเป็นเรื่องธรรมดา ของใครหลาย ๆ คน แต่มันเป็นเรื่องปาก เรื่องท้อง ความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกร มันจะ ดีกว่านี้ไหมถ้าหากรัฐบาลให้การช่วยเหลือ ดูแล ให้ความใส่ใจกับพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูก กระเทียมด้วย การลงทุน ๑ ครั้งพี่น้องเกษตรกรจะต้องใช้ระยะเวลาถึง ๔ เดือนในการดูแล แล้วพี่น้องเกษตรกรไม่สามารถไปหารายได้อย่างอื่นเลย พอจะขายแล้วมาเจอราคาแบบนี้ อย่าหาว่ากำไรเลย ต้นทุนที่จะนำไปคืนแหล่งทุนยังไม่มีปัญญาเอาไปคืนได้เลย ทุกวันนี้ โฉนดของพี่น้องเกษตรกรไม่เคยได้อยู่บ้านเลยค่ะ อยู่แต่ธนาคาร วันนี้อยากจะเรียนหารือ ท่านประธานฝากไปยังนายกรัฐมนตรีช่วยแก้ไขในเรื่องราคาของกระเทียมด้วย ตามคำล้านนา ได้กล่าวไว้ว่า สิบปากว่าบ่เท่าตาหัน สิบตาหันบ่เท่ามือซวาม ดิฉันอยากจะเรียนท่าน นายกรัฐมนตรีไปสัมผัสความเป็นอยู่ ความยากลำบากของพี่น้องเกษตรกรด้วย เพื่อจะได้ นำมาแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรไทยมีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ตามนโยบายของท่านด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านนรินทร์ คลังผา ครับ
นายนรินทร์ คลังผา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายนรินทร์ คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต ๔ อำเภอโคกสำโรง อำเภอหนองม่วง อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ พรรคภูมิใจไทย นำข้อร้องเรียนของ ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๑ เรื่อง และเรื่องฝากถามอีก ๑ เรื่องนะครับ
นายนรินทร์ คลังผา ลพบุรี ต้นฉบับ
๑. เรื่องถนนทางหลวง ๓๓๒๖ จากตำบลวังเพลิงไปอำเภอหนองม่วง ช่วงกิโลเมตรที่ ๑๗ ถึงกิโลเมตรที่ ๒๔ บริเวณนี้เป็นชุมชนบ้านสระโบสถ์ ซึ่งเป็นชุมชน ขนาดใหญ่ รถยนต์สัญจรจำนวนมาก บวกกับช่วงโรงงานน้ำตาลเปิดรับอ้อยจะมีรถบรรทุกอ้อย ใช้เส้นทางนี้เพื่อเข้าโรงงานน้ำตาลลพบุรี ยิ่งทำให้การใช้เส้นทางของราษฎรและชุมชน ที่อยู่บนถนนทางหลวง ๓๓๒๖ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการเข้าออกหมู่บ้านตามทางแยก ทางร่วมตลอดเส้นทาง กระผมจึงฝากท่านประธานสภาถึงอธิบดีกรมทางหลวง เพื่อดำเนินการ ขยายถนนเป็น ๔ ช่องทางจราจร และไฟส่องสว่างในชุมชนบริเวณริมถนนทางหลวงสาย ๓๓๒๖
นายนรินทร์ คลังผา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรื่องขอฝากติดตาม ข้อหารือเรื่องถนนทางหลวง ๒๒๑๙ ช่วงกิโลเมตรที่ ๔๕ ถึงกิโลเมตรที่ ๔๗ ซึ่งถนนเส้นนี้ขึ้นกับแขวงการทางตากฟ้า นครสวรรค์ และแขวงการทาง ลพบุรีที่ ๒ ซึ่งเป็น ๒ แขวง ไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าช่วงของานไปว่าอยู่กับแขวงการทางไหน กระผมจึงฝากเรียนท่านประธานครับว่าอธิบดีกรมทางหลวงเพื่อดำเนินการจัดทำแผน ก่อสร้างเพิ่มการจราจร ๔ ช่องทาง เกาะกลางและไฟส่องสว่างของถนนสาย ๒๒๑๙ บริเวณ หน้าอำเภอโคกเจริญ เพราะว่าตอนนี้ชาวราษฎรในอำเภอโคกเจริญและผู้ใช้เส้นทาง ทางหลวง ๒๒๑๙ นั้น ช่วงกิโลเมตรที่ ๔๕-๔๗ เดือดร้อนมากครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านชลธานี เชื้อน้อย ครับ
นายชลธานี เชื้อน้อย ลำปาง ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกล อำเภอเมือง อำเภอ แม่เมาะ อำเภอแม่ทะ ขอหารือผ่านท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมครับ กว่า ๑๘ ปีที่ชาวบ้านต่อสู้เพื่อเอกสารสิทธิที่ดินทำกินบ้านใหม่ ฉลองราช ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ ปัจจุบันวันนี้ชาวบ้านยังไม่มีโฉนดเลยครับ ทั้งที่มีมติ คณะรัฐมนตรีรองรับเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ มติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบการดำเนินงานและความคืบหน้า แก้ไขปัญหาให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ แล้วก็มีมติ ครม. อีก ๑ ครั้ง เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๙ สำทับอีกครั้งหนึ่งระบุชัดเจนเลยครับว่าทางราชการ จะดำเนินการออกเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินแก่ผู้อพยพ แต่ ๑๖ ปีผ่านมาครับท่านประธาน ๑๖ ปีไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับประชาชนเลยครับ จนชาวบ้านต้องมาพึ่งพาคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะลงพื้นที่ ๔ วันถึงมีความคืบหน้า ๑ ปีผ่านไป จากวันนั้น วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ สำนักการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๓ (ลำปาง) จัดทำ รายงานผลปฏิบัติงานสำรวจการครอบครองที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้กับอธิบดี กรมป่าไม้ และปัจจุบันกรมป่าไม้มีการร่างแผนที่พร้อมกฎกระทรวงและกำหนดเขตป่าสงวน แห่งชาติขึ้นใหม่ ขั้นตอนต่อไปหลังจากนี้คือกรมป่าไม้เสนอร่างกฎกระทรวงพร้อมแผนที่ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งก็คือคนเดียวกันครับ พิจารณาเห็นชอบเพื่อเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ ๕ จาก ๑๔ ขั้นตอน ๑๖ ปี ๕ ขั้นตอน และอีก ๑๔ ขั้นตอนจะใช้เวลาอีกเท่าไร จากวันแรกจนถึงวันนี้พี่น้องชาวบ้านต้องเสียสละ เสียโอกาส เสียน้ำตา จึงเรียนผ่านท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในการเร่งรัดดำเนินการครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านพรรณสิริ กุลนาถศิริ ครับ
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน พรรณสิริ กุลนาถศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอเสนอ ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกรณีอุบัติเหตุทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ ไปยังกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมค่ะ
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ถนนทางหลวง หมายเลข ๑๐๑เป็นเส้นทางพาดผ่านกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ๑ จากจังหวัด กำแพงเพชรไปยังจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดอุตรดิตถ์ ระยะทาง ๑๘๐ กิโลเมตร เป็นเส้นทาง ที่สำคัญและขนส่งสินค้า ในช่วงจังหวัดสุโขทัยตอนควบคุม ๐๓๐๓ ท่าช้างไปยังอำเภอ สวรรคโลก บริเวณหมู่ที่ ๔ เชื่อมหมู่ที่ ๑๔ บ้านหนองกระดี่ ตำบลเกาะตาเลี้ยง อำเภอ ศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระหว่างกิโลเมตรที่ ๙๔+๗๘๔ ถึงกิโลเมตรที่ ๙๕+๖๔๓ ความยาว ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นช่องทาง ๒ ช่องทางจราจรมีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนโค้งคับแคบเกิดอันตรายบ่อยครั้ง ทั้งนี้ นายมิน โพธิ์แก้ว นายกองค์การบริหารส่วน ตำบลเกาะตาเลี้ยงแจ้งว่ามีอุบัติเหตุไม่น้อยกว่า ๕ ครั้งต่อเดือน จากการใช้รถใช้ถนน ยานพาหนะ ทั้งจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง รถบรรทุก ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตแล้วก็ ทรัพย์สินของประชาชนค่ะ ในเบื้องต้นแขวงทางหลวงสุโขทัยได้จัดทำแผนงานโครงการ ขอขยายช่องทางจราจรจาก ๒ ช่องทางเป็น ๔ ช่องทางจราจร พร้อมสัญญาณไฟจราจร และระบบไฟฟ้าส่องสว่างไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใช้วงเงินงบประมาณราว ๔๕ ล้านบาท ในการนี้ดิฉันขอเร่งรัดไปยังกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ได้เร่งรัดดำเนินการเพื่อ พิจารณาอนุมัติ แล้วก็แจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ให้ดำเนินการเพื่อความปลอดภัยของพี่น้อง ประชาชนให้แล้วเสร็จโดยเร็วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านพิมพ์กาญจน์ กีรติวิราปกรณ์ ครับ
นางสาวพิมพ์กาญจน์ กีรติวิราปกรณ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุดของประเทศที่กำลังรับชม การทำงานของพวกเราอยู่ขณะนี้ ดิฉัน พิมพ์กาญจน์ กีรติวิราปกรณ์ สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจากเขตคลองสามวา พรรคก้าวไกล ท่านประธานคะ วันนี้ดิฉันขอนำเรียนปัญหาของ คนคลองสามวามายังรัฐสภาแห่งนี้เพื่อให้พ่อแม่พี่น้องประชาชนได้รับการแก้ไขด้วย ขอสไลด์ด้วยค่ะ
นางสาวพิมพ์กาญจน์ กีรติวิราปกรณ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
คลิปที่ทุกท่านเห็น ในขณะนี้คือหนึ่งในเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นในเขตของดิฉัน ตั้งแต่วันพฤหัสบดีถึงวันอาทิตย์ ที่ผ่านมานะคะ มีเหตุเพลิงไหม้ในเขตคลองสามวาถึง ๑๐ ครั้งด้วยกัน และเขตของดิฉันเป็น เขตที่มีประชากรมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร มีประชากรกว่า ๒๑๐,๐๐๐ คน มีพื้นที่กว่า ๑๑๐.๗ ตารางกิโลเมตร แต่ยังไม่มีสถานีดับเพลิงเป็นของตัวเอง และเจ้าหน้าที่ที่เราใช้ เราใช้ จากสถานีดับเพลิงกู้ภัยบางชันที่ต้องดูแล ๔ เขตด้วยกัน ทั้งเขตมีนบุรี เขตบางเขน เขตบึงกุ่ม และเขตคลองสามวา ดิฉันขอยืนยันแม้ว่าทางสำนัก ปภ. จะทำหนังสือตอบดิฉันมาแล้วว่า มีการดูแลอาสาสมัครอย่างดี แต่จำนวนคน ๔๘ คน รวมธุรการอีกเป็น ๕๑ คนไม่สามารถ ที่จะทำภารกิจเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน ดิฉันยังขอยืนยันว่าเราจะต้องดูแล กลุ่มที่เสี่ยงภัยเพื่อพ่อแม่พี่น้องประชาชนให้มากกว่านี้
นางสาวพิมพ์กาญจน์ กีรติวิราปกรณ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องต่อไปจะเป็นเรื่องของยาเสพติด เขตของดิฉันตอนนี้กลายเป็นเขตที่ ๑ ชุมชนมี ๑๔ Agent ค้ายาบ้าแล้ว ยาบ้าถูกกว่าชาไข่มุก ถูกกว่ากาแฟ ดิฉันขอนำเรียนปัญหา เรื่องนี้ไปยังท่านนายกรัฐมนตรีและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงกระทรวงสาธารณสุข ให้ทำงานร่วมกัน ปักเจตนารมณ์ให้แน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติดว่าเราจะป้องกัน เราจะ ปราบปราม หรือเราจะบำบัด ขยายผลสืบสวนต้นตอเครือข่ายยาเสพติดในประเทศไทยให้ได้ เพื่อที่ประชาชนจะได้รู้สึกปลอดภัยว่าลูกหลานของเรานั้นห่างไกลจากยาเสพติดอย่างแท้จริง ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านวัชระ ยาวอหะซัน ครับ
นายวัชระ ยาวอหะซัน นราธิวาส ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม วัชระ ยาวอหะซัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ อำเภอเมืองและอำเภอยี่งอ ท่านประธานครับ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมากระผมได้ร่วมกับนายปารมี พิมานแมน และ นายกามารูเด็น อูเซ็ง ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส ได้จัดทำเสวนา เพื่อหาทางออกแก่ตัวแทนชาวประมงพื้นบ้าน ๒ อำเภอ คืออำเภอเมืองและอำเภอตากใบ จำนวนผู้มาร่วมเสวนา ๑๕๐ คน เพื่อแก้ปัญหาประมงพื้นบ้านที่มีเรือขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ จำนวน ๑,๗๐๐ กว่าลำ มีหัวหน้าส่วนราชการที่มาร่วมหาทางออกให้กับประมงพื้นบ้าน ๕ หน่วยงานดังนี้ ประมง จังหวัดนราธิวาส หัวหน้ากรมเจ้าท่า หน่วยทหาร ศรชล. ที่ดูแลทางน้ำ หัวหน้าตำรวจทางน้ำ หัวหน้าอุทยานอ่าวมะนาว ซึ่งทั้ง ๕ หน่วยงานได้ให้ความร่วมมือดีมากครับ ผลการหารือก็มี ๓ เรื่องสำคัญ ดังนี้
นายวัชระ ยาวอหะซัน นราธิวาส ต้นฉบับ
เรื่องแรก ก็คือปากน้ำบางนราตื้นเขิน อย่างที่ทราบปากน้ำบางนราเป็นปากน้ำสำคัญในการขนส่งผลผลิต ส่งสินค้า อุปกรณ์ การก่อสร้าง เรือประมง เรือรับจ้าง ตื้นเขิน เมื่อ ๒ เดือนที่ผ่านมาปรากฏว่าเรือล่มไป ๒ ลำ ทำให้ได้รับความเสียหาย ต้องฝากไปยังหน่วยงานรับผิดชอบก็คือกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์
นายวัชระ ยาวอหะซัน นราธิวาส ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ก็คือน้ำทะเลกัดเซาะตลิ่ง หาดนราทัศน์ เป็นหาดแหล่งท่องเที่ยว ของชาวจังหวัดนราธิวาสและ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อสัก ๔๐-๕๐ ปีที่แล้วถนน รวม ๆ กันในหาดนราทัศน์ประมาณ ๕ กิโลเมตร แต่วันนี้เหลือ ๑ กิโลเมตรกว่า ๆ เสียดาย แหล่งท่องเที่ยวที่มีหน้ามีตา และช่วงนี้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็เข้ามาเยอะแยะทำให้ เสียรายได้ครับ
นายวัชระ ยาวอหะซัน นราธิวาส ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ก็คือเรื่องปัญหาประมงพื้นบ้าน ต้องขอบคุณท่านธรรมนัส พรหมเผ่า ขออนุญาตเอ่ยนามท่าน ท่านก็แก้ปัญหาหลาย ๆ เรื่องให้กับประมงพื้นบ้าน ท่านอยากจะให้ นราธิวาสเป็นจังหวัดนำร่อง เพราะท่านก็เป็นชาวจังหวัดนราธิวาสเคยศึกษาที่นั่นด้วย ก็ต้อง ขอบคุณท่านมาก ๆ ครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านรำพูล ตันติวณิชชานนท์ครับ
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต ๙ ซึ่งประกอบด้วยอำเภอนาจะหลวย อำเภอบุณฑริก อำเภอสิรินธร เฉพาะตำบล โนนก่อ พรรคไทยสร้างไทย ก่อนอื่นดิฉันและพี่น้องชาวเขต ๙ ขอขอบคุณท่านประธานสภา และท่านอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านสุรชัย อจลบุญ ที่หน่วยงานของท่านได้ ส่งคืนสำนักงาน อบ. ๑๑ ให้แก่พี่น้องชาวอำเภอบุณฑริกและอำเภอใกล้เคียงได้ใช้ประโยชน์ เป็นสวนสาธารณะ เป็นสถานที่ออกกำลังกาย สถานที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนทั่วไป ดิฉันมีเรื่องหารือท่านประธานสภาดังนี้ค่ะ ดิฉันได้รับการร้องเรียนจากนายสงวน พรหมวงศ์ นายกเทศมนตรีตำบลคอแลน สมาชิกสภาเทศบาล นายวิวัฒน์ ศรประสิทธิ์ กำนันตำบล คอแลน ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากถนนสาย อบ. ๓๐๘๙ จาก บ้านโนนบากถึงบ้านห้วยทราย ระยะทาง ๑๗ กิโลเมตร
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ถนนสายนี้มีสะพาน ค.ส.ล. แคบมาก จำนวน ๑๐ แห่ง สะพานแคบมาก สะพานกว้าง ๔ เมตร แต่ถนนลาดยางกว้าง ๖ เมตร เป็นสะพานวัดใจ ใครใจกล้าข้ามสะพานไปก่อน อีกฝ่ายหนึ่งต้องถอยกลับระยะยาว แต่บางครั้งถ้ารีบร้อนวัดใจกันว่าใครจะไปก่อนก็เกิดชนกันกลางสะพานเหมือนในภาพนะคะ เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินหลายราย สะพานแคบ ๑๐ แห่งนี้สร้างมา นานกว่า ๔๐ ปี สมัยก่อนมีรถยนต์ไม่เกินหมู่บ้านละ ๒ คัน แต่ปัจจุบันมีรถยนต์มาก เกิน ๓๐๐ กว่าคันจาก ๒๐๐ หลังคา เดิมถนนสาย อบ. ๓๐๘๙ เป็นของหน่วยงานเร่งรัด พัฒนาชนบท ก็คือ รพช. ซึ่งยุบไปแล้ว ได้ถ่ายโอนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี มานานกว่า ๒๐ ปี การถ่ายโอนโอนแต่งาน แต่เม็ดเงินไม่โอนให้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ดิฉันขอฝากข้อหารือนี้กับท่านประธานสภาถึงอธิบดี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ขอบคุณ ท่านประธานค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านปรเมษฐ์ จินา ขออนุญาตข้ามนะครับ เชิญท่านยุทธการ รัตนมาศ
ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ ๔ ชะอวด เชียรใหญ่ และอำเภอ เฉลิมพระเกียรติ ท่านประธานที่เคารพวันนี้ผมขอหารือท่านประธาน ๒ เรื่องครับ
ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
เรื่องแรกจากการที่ผม ได้หารือต่อท่านประธานเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ ขอให้กรมทางหลวงชนบทซ่อมแซม ถนนสายท่าเสม็ด หัวไทร ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าเสม็ด และตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด บัดนี้กรมทางหลวงชนบทโดยท่านผู้อำนวยการวีระ ยิ้มแย้ม ผู้อำนวยการทางหลวงชนบท นครศรีธรรมราช และอธิบดีกรมทางหลวงชนบทได้อนุมัติซ่อมแซมถนนดังกล่าว ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยงบประมาณ ๑๕,๘๐๐,๐๐๐ บาท ขอขอบคุณกรมทางหลวงชนบทมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ
ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๑ ตอนบ่อล้อ ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ ถึงบ้านกุมแป ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด เริ่มต้นก่อสร้างระยะทาง ๙ กิโลเมตร เป็นโครงข่ายทางหลวงสำคัญที่เชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข ๔๐๘ และเป็น ทางหลวงสายหลักที่ต่อไปยังสาย ๔๑ ซึ่งเป็นสายหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้ ที่จุดตัด กม. ๒๘+๑๗๒ ที่บ้านควนหนองหงษ์ นอกจากนี้ยังเป็นโครงข่ายสำคัญที่ใช้เดินทางไปยังจังหวัดกระบี่ โดยโครงการนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๖๔ สิ้นสุดกันยายน ๒๕๖๗ เนื่องจากในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ งบประมาณก่อสร้างถนนสายนี้มาสิ้นสุดที่บ้านกุมแป ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด กระผมจึงขอให้กรมทางหลวงได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมในการก่อสร้างถนนจากบ้าน กุมแป ตำบลบ้านตูลไปยังสี่แยกควนหนองหงษ์ ตำบลควนหนองหงษ์ อำเภอชะอวด จังหวัด นครศรีธรรมราช ในปีงบประมาณถัดไปด้วยครับ ขอขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านองอาจ วงษ์ประยูร ครับ
นายองอาจ วงษ์ประยูร สระบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายองอาจ วงษ์ประยูร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี พรรคพลังประชารัฐ ท่านประธานครับ วัฒนธรรมไทยวนที่สระบุรีของกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอเสาไห้ อำเภอเมือง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นเสน่ห์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่งดงาม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม อาหาร เป็นที่ประทับใจสำหรับผู้ใดพบเห็น มีความ สวยงามที่แตกต่าง อาทิตย์ที่ผ่านมามีงานสืบสานประเพณีไทยวนสระบุรี เรียกว่างาน ตานก๋วยสลาก ย้อนตำนาน ๒๒๐ ปี ซึ่งก็ต้องกราบขอบพระคุณทุกส่วนที่มีส่วนร่วมในการ จัดงาน จัดงานครั้งนี้ได้อย่างยอดเยี่ยม ท่านประธานครับ วัฒนธรรมไทยวนเป็นมรดกล้ำค่า เป็น Soft Power ของสระบุรี ที่สำคัญนำมาซึ่งเศรษฐกิจรายได้ชุมชน อย่างเช่นที่ตลาดต้าน้ำ โบราณบ้านต้นตาล หรือที่ตลาดลาวเวียง ตำบลม่วงงาม ที่เสาไห้อีกแห่งหนึ่ง ท่านประธาน ผ่านไปยังกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม ช่วยส่งเสริมดูแลสนับสนุน อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยวน รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ อื่น ๆ ในจังหวัดสระบุรีที่ทรงคุณค่า อย่างเช่นไทพวน อำเภอหนองโดน ลาวเวียง เสาไห้ และ ลาวแง้ว อำเภอพระพุทธบาท ก็ขอให้ช่วยพัฒนาอนุรักษ์ให้ยืนยาวต่อเนื่องตลอดไปด้วยครับ
นายองอาจ วงษ์ประยูร สระบุรี ต้นฉบับ
สำหรับเรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งให้แก้ไขโดยด่วนครับ จะขอให้ช่วยแก้ปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซ้อนแทบทุกอาทิตย์ ชนกันทุกครั้ง เกิดความ เสียหายที่รุนแรง ล่าสุดก็เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อวานนี้ที่บริเวณสี่แยกหมู่ ๕ ซอย ๗ พุขามหวาน ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท ช่วงถนนสายเอกตัดกับทางหลวงหมายเลข ๓๓๓๔ สาเหตุหลักก็คือเป็นทางแยกถนนใหญ่ตัดกัน รถวิ่งตัดกันด้วยความเร็วสูง ขณะนี้สัญญาณไฟ จราจร สัญญาณเตือนตู้ควบคุมไฟชำรุดเสียหายมาเป็นแรมปีแล้ว ก็จะต้องเสียชีวิตอีกกี่คน ต้องสูญเสียอีกเท่าไรครับ แขวงการทาง กรมทางหลวง จึงต้องไปดูแลแก้ไขปัญหาทางแยกนี้ ฝากท่านประธานถึงผู้ที่เกี่ยวข้องให้ช่วยดูแลแก้ไขโดยเร่งด่วนด้วยครับ สี่แยกนี้ฆ่าชีวิตพี่น้อง ประชาชนมากเกินไปแล้วครับท่านประธาน ฝากด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านสุพัชรี ธรรมเพชร ครับ
นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร พัทลุง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน สุพัชรี ธรรมเพชร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ดิฉัน ขออนุญาตหารือเรื่องปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ๑ เรื่องใหญ่ ๆ ด้วยกัน ก็คือในพื้นที่จังหวัดพัทลุงในอำเภอเมืองและอำเภอเขาชัยสนเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาในเรื่อง ของระบบประปาหมู่บ้านมากค่ะ เพราะมีการก่อสร้างระบบประปามาเป็นเวลาหลายปีแล้ว บางพื้นที่ไม่สามารถที่จะใช้งานได้ เพราะว่าเราไม่มีงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซม บางพื้นที่ท่อประปาก็ชำรุดแล้วก็แตกไป เครื่องเสียบ้างค่ะ ทำให้วันนี้ดิฉันก็เลยอยากจะ ประสานทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ช่วยดูแลในพื้นที่ ๔ ตำบลในอำเภอเมือง อำเภอเขาชัยสนด้วย พื้นที่แรกก็คือในการปรับปรุงซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้านของหมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๐ บ้านต้นโดน บ้านใหญ่ บ้านทอนโดน บ้านนาดอน ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง พื้นที่ที่ ๒ ก็คือระบบประปาหมู่บ้านของหมู่ที่ ๑๒ หมู่ที่ ๑๕ ตำบลตำนาน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง พื้นที่ที่ ๓ ก็คือเป็นพื้นที่ของระบบประปาหมู่บ้าน บ้านเกาะโจด หมู่ที่ ๑๐ ตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง พื้นที่สุดท้ายก็คือเป็นพื้นที่ระบบประปา หมู่บ้าน บ้านในล้อม บ้านควนกรวด บ้านห้วยไก่ บ้านออกเหมือง บ้านปรางหมู่ ในพื้นที่ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง อยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณปรับปรุงและ ซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้านตามที่ดิฉันได้กราบเรียนแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านจิราพร สินธุไพร ครับ
นางสาวจิราพร สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน จิราพร สินธุไพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๕ พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอปรึกษา หารือท่านประธานผ่านไปยังกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการรับมือกับปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๕ ผ่าน ๓ โครงการดังนี้
นางสาวจิราพร สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
โครงการที่ ๑ ขอให้พิจารณาขุดลอกหรือทำโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ หนองกุดจันและหนองกุดเซียม ณ บ้านคำไฮ หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ตำบลคำไฮ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า ๒๐๐ ไร่ พร้อมสร้างระบบกระจายน้ำ ไปยังพื้นที่ตำบลคำไฮและตำบลค้อใหญ่ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก เป็นประจำทุกปี
นางสาวจิราพร สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
โครงการที่ ๒ ขอให้พิจารณาขุดลอกหรือทำโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูหนองบึงลับ ณ บ้านโพธิ์น้อย หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๑๒ และหมู่ที่ ๑๘ ตำบลแสนสุข อำเภอพนมไพร จังหวัด ร้อยเอ็ด มีพื้นที่กว่า ๑๑๔ ไร่เพื่อกักเก็บน้ำและให้ก่อสร้างระบบกระจายน้ำไปยังตำบลแสนสุข และตำบลสระแก้ว อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ให้กับพี่น้องประชาชนได้ในระยะยาว
นางสาวจิราพร สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
โครงการที่ ๓ ขอให้พิจารณาขุดลอกหรือทำโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ ในพื้นที่หนองเล็บขาว หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ครอบคลุมพื้นที่กว่า ๑๐๔ ไร่ พร้อมให้สร้างระบบกระจายน้ำไปยังตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน ที่มักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคแล้วก็ทำการเกษตรในช่วงหน้าแล้ง เป็นประจำทุกปี ขอให้กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาเร่งรัดจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งกับพี่น้องประชาชนในระยะยาว ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ ครับ
นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ หนองคาย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติที่เคารพรักทุกท่าน กระผม กระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ จังหวัดหนองคาย พรรคพลังประชารัฐ มีเรื่องปรึกษาหารือกับท่านประธานสภาไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอยู่ ๒ ประเด็นด้วยกัน
นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ หนองคาย ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ในเขตอำเภอสระใครขอมีไฟจราจร เนื่องจากถนนมิตรภาพ อุดรธานี-หนองคาย เดินทางเข้ามายังอำเภอสระใครบริเวณ กม. ๒๕ ทำให้พี่น้องประชาชน ในเขตอำเภอสระใครของ ๓ ตำบล ไม่ว่าจะเป็นตำบลสระใคร ตำบลคอกช้าง ตำบลบ้านฝาง มาจับจ่ายตลาดที่ตลาดบ้านน้ำสวย ซึ่งอยู่ติดกับถนนมิตรภาพเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ในการมาจับจ่ายทำให้ผู้คนเสียชีวิตในพื้นที่ของอำเภอสระใครอย่างมากมายที่ผ่านมา ผมต้อง ขอฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจะให้มีสัญญาณไฟจราจรที่อำเภอสระใคร ตรงถนนมิตรภาพแห่งนี้
นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ หนองคาย ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ที่ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ยังขาดไฟส่องสว่าง บริเวณที่จะเชื่อมต่อไปยังอำเภอโพนพิสัย ซึ่งไฟส่องสว่างยังขาดอยู่ไม่มากครับท่านประธาน ประมาณ ๑ กิโลเมตรหรือ ๒ กิโลเมตรแค่นั้น พอข้ามสะพานไปยังอำเภอโพนพิสัยไฟส่อง สว่างเต็มที่เลยครับ แต่ท่านประธานรู้ไหมครับว่าตำบลบ้านเดื่อซึ่งมีพื้นที่ติดกับริมแม่น้ำโขง เมื่อไฟส่องสว่างขาดอยู่ ๒ กิโลเมตร ทำให้มันมืดมิด ต่อมาตำบลบ้านเดื่อหลายท่านก็ทราบ ในที่นี้ก็ทราบ มียาเสพติดลำเลียงขึ้นมาจากฝั่งแม่น้ำโขง ผมเชื่อเหลือเกินครับว่าถ้าเราติดไฟ ส่องสว่างซึ่งยังขาดอยู่ประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่จะให้ยาเสพติดไม่ทะลักเข้าสู่ ในใจกลางของเมืองนะครับ ต้องขอขอบพระคุณท่านประธานเป็นอย่างสูงครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านธีระชัย แสนแก้ว ครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายธีระชัย แสนแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย กระผม ได้รับคำร้องเรียนจากกำนันสนธยา อุดชาชน กำนันตำบลเชียงแหว และนายวีระวัฒน์ วงษ์ศรีรักษา นายกเทศบาลตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เกี่ยวกับปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน เป็นถนน ๓ เส้นทาง ดังนี้
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
เส้นทางที่ ๑ ถนนบ้านรุ่งเรืองถึงบ้าน เชียงแหวเป็นระยะทาง ๖ กิโลเมตร เส้นทางนี้เชื่อมระหว่างตำบลผาสุกกับตำบลเชียงแหว เนื่องจากถนนเส้นนี้เป็นถนนที่พี่น้องสัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก และยังเป็นถนนสายหลัก ที่นักท่องเที่ยวที่จะเข้าเดินทางมาชมทะเลบัวแดงที่ท่าเรือตำบลเชียงแหว แต่ถนนเส้นนี้ กลับไม่ได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมมาเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นหลุมเป็นบ่อมาก น้ำท่วมขัง และเดินทางลำบาก อุบัติเหตุก็หลายครั้ง ในช่วงเวลากลางคืนไม่มีไฟแสงสว่างที่จะให้พี่น้อง ประชาชนเดินทางไปมา กระผมขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งปรับปรุงซ่อมแซมถนนลาดยาง ถนนเส้นทางนี้พร้อมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างโซลาเซลล์เพื่อสร้างความปลอดภัยให้ผู้สัญจร ไปมา และเพื่อเตรียมรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาจังหวัดอุดรธานี ซึ่งจัดพืชสวนโลก ในปี ๒๕๖๙ นี้ครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
เส้นทางที่ ๒ เป็นเส้นทางบ้านโคกศรีสำราญ หมู่ที่ ๑๗ ตําบลเสอเพลอ อําเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เชื่อมต่อระหว่างตำบลหนองหว้า ตำบลหนองแสง อำเภอ หนองแสง จังหวัดอุดรธานี เป็นระยะทางหนึ่ง ๑,๑๐๐ เมตร ถนนเส้นนี้มีพี่น้องประชาชน ที่เป็นผู้สัญจรไปมาและขนส่งสินค้าทางด้านการเกษตร ถนนเส้นนี้ชำรุดทรุดโทรม ผิวขรุขระ อย่างกับโลกพระจันทร์ โดยเฉพาะหน้าฝนมีพี่น้องประชาชนสัญจรไปมายากลำบาก เกิดอุบัติเหตุก็หลายครั้ง บ่อยครั้งขนสินค้าทางด้านเกษตรก็นำไปขายไม่ได้ กระผมจึงขอให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งซ่อมแซมถนนเส้นนี้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน และอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชน
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
เส้นทางที่ ๓ ถนนเส้นนี้เชื่อมระหว่างบ้านทองอินทร์ หมู่ที่ ๕ ตําบลเสอเพลอ จังหวัดอุดรธานี กับบ้านทุ่งโพธิ์ ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ถนนเส้นนี้เป็น เส้นทางคมนาคม เศรษฐกิจที่มีความสำคัญของพี่น้องประชาชนสัญจรไปมา ปัจจุบันเส้นทาง ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ถนนขรุขระดังที่เห็น กระผมจึงใคร่ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งปรับปรุงซ่อมแซมถนนเส้นนี้ ขอให้การซ่อมแซมขยายสะพานด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาความ เดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่สัญจรไปมา และสร้างความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน ด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านภคมน หนุนอนันต์ ครับ
นางสาวภคมน หนุนอนันต์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาค่ะ ดิฉัน ภคมน หนุนอนันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล วันนี้มีเรื่องหารือกับท่านประธาน ผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานขอความช่วยเหลือให้กับพี่น้องประชาชน ๒ เรื่อง
นางสาวภคมน หนุนอนันต์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องแรก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาเที่ยวที่หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัด พังงา วัน ๆ หนึ่งไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ คน และเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำปัจจุบันมีเรือพยาบาล เพียง ๓ ลำที่คอยอำนวยความสะดวก แน่นอนว่าไม่เพียงพอต่อเหตุที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และเรื่องที่ไม่ควรเป็นปัญหาที่สุดแต่กลับเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด ก็คือเรือพยาบาลทั้ง ๓ ลำนี้ ไม่มีเจ้าภาพหลักรับผิดชอบเรื่องราคาน้ำมัน ดังนั้นฝากท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ปัญหานี้และดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน
นางสาวภคมน หนุนอนันต์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ถนนทางหลวง หมายเลข ๔๔ หรือ เซาท์เทิร์นซีบอร์ด ในเวลากลางคืนไม่มีไฟส่องสว่าง สภาพพื้นที่จริง มืดมาก ทั้งที่เส้นทางนี้เป็นเส้นทางสำคัญในการเชื่อมต่อระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ประชาชนและนักท่องเที่ยวใช้ถนนเส้นนี้จำนวนมาก และบ่อยครั้งก็เกิดอุบัติเหตุและ เหตุอาชญากรรม ดังนั้นเพื่อให้การใช้รถใช้ถนนเป็นไปด้วยความปลอดภัยต่อชีวิตและ ทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ฝากกระทรวงคมนาคมเร่งติดตั้งไฟฟ้าเพื่อให้แสงสว่างกับ ถนนสายนี้โดยด่วน ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านฐิติมา ฉายแสง ครับ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ฐิติมา ฉายแสง จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต ๑ พรรคเพื่อไทย
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
หารือเรื่องที่ ๑ ดิฉันได้รับการร้องเรียนจากคุณสำเริง ผูกโอสถ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๘ ตำบลบางตีนเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ว่าหลังจากที่ถนนวัดดอนทอง- วัดเซนต์ปอล ซอย ๓ ได้รับการปรับปรุงเป็นถนนคอนกรีต และทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ก็ได้มาตั้งแนวเสาไฟฟ้าใหม่ตั้งแต่วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๖ แล้ว ขณะนี้จะเข้าเดือนที่ ๕ แล้ว เสาไฟฟ้าต้นเก่ายังคงอยู่ แล้วก็ไม่ได้ถูกรื้อถอนออก ทำให้พี่น้องประชาชนได้รับความ เดือดร้อน เกรงว่าจะเกิดอันตราย อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เพราะมีเสาไฟฟ้าขวางอยู่ ทางผู้ใหญ่ สำเริงก็ร้องเรียนมายังดิฉันให้ช่วยนำเรื่องนี้มาหารือกับท่านประธานสภาขอให้การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคได้ช่วยเข้ามารื้อถอนเสาไฟฟ้าต้นเก่าออก และทำพื้นตรงที่เสาถอนออกนั้น ให้เรียบร้อย เพื่อไม่เป็นอุปสรรคในการสัญจรด้วยค่ะ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ คุณมณฑล ฤทธิบัณฑิต ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๔ ตำบลคลองนา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แจ้งมาว่าถนนเลียบคลองส่งน้ำของกรมชลประทานยังลาดยางไม่ครบ ตลอดเส้นทาง เหลือเพียงไม่ถึง ๑ กิโลเมตร คือช่วงระหว่างบริเวณหมู่ ๔ ตำบลคลองนา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เชื่อมหมู่ ๒ ตำบลดอนทราย อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัด ฉะเชิงเทรา ถนนสายนี้ประชาชนใช้สัญจรไปมามากเลย ปัญหาอยู่ที่ว่าในหน้าแล้งฝุ่นเยอะ ในหน้าฝนถนนก็เละ ขอให้หน่วยงานรับผิดชอบมาดำเนินการด้วยค่ะ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ มีชาวบ้านหลายคนเลยที่ร้องเรียนดิฉันมาว่าภายในตำบลบางกะไห อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีปัญหาขยะ คือไม่มีถังขยะแล้วก็ไม่มีรถขยะมาเก็บขยะนั้น ทำให้ชาวบ้านต้องหิ้วขยะของตัวเองออกไปทิ้งที่อื่นที่ตำบลอื่นตำบลใกล้เคียง หรือไม่ก็ทิ้ง ลงคลองบ้าง หรือบางบ้านใช้วิธีเผา เผาทำลาย เพราะฉะนั้นเมื่อไม่มีระบบจัดการขยะจาก อบต. ประชาชนใช้วิธีนี้จึงเกิดมลพิษและ PM2.5 ขอให้หน่วยงานรับผิดชอบด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านรังสรรค์ มณีรัตน์ ครับ
นายรังสรรค์ มณีรัตน์ ลำพูน ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายรังสรรค์ มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน พรรคเพื่อไทย ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจาก เทศบาลตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ว่าทางเทศบาลให้มาติดตามความคืบหน้า โครงการก่อสร้างระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร โครงการเหมืองถ่านหินเก่า ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เนื่องจากกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานมี เหมืองถ่านหินเก่าอยู่ที่ตำบลดงดำแห่งนี้ และปัจจุบันได้ยุบเลิกโครงการไปแล้ว ทางเทศบาล อยากจะบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้น้ำที่อยู่ในโครงการแห่งนี้ส่งไปถึงพี่น้องเกษตรกรซึ่งอยู่ รอบ ๆ บริเวณขุมเหมืองแห่งนี้นะครับ และได้ทำโครงการนี้ไปยังกระทรวงพลังงาน ดังนั้น ผมจึงขอท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงพลังงานได้อนุมัติงบประมาณโครงการนี้ด้วย ถ้าโครงการนี้สำเร็จจะสามารถส่งน้ำไปยังพี่น้องราษฎรได้ถึง ๘๕ ครัวเรือน ปริมาณการ เพาะปลูกจะเพิ่มขึ้น ๕๓๕ ไร่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับพี่น้องชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง
นายรังสรรค์ มณีรัตน์ ลำพูน ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ แม่น้ำลี้ไหลจากอำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอเวียงหนองล่อง เมื่อปีที่แล้วปริมาณน้ำลี้เยอะเป็นจำนวนมาก กระแสน้ำของแม่น้ำลี้ไหลแรงมากทำให้ กัดเซาะบริเวณตลิ่งจากอำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง ไปถึงอำเภอเวียงหนองล่อง ได้รับผลกระทบ เป็นอย่างยิ่ง และเทศบาล อบต. ต่าง ๆ ที่อยู่เรียงรายตามแม่น้ำลี้ได้จัดทำโครงการสนับสนุน ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำลี้เสนอมายังกรมโยธาธิการและผังเมือง ดังนั้นผมจึงขอ ท่านประธานไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองช่วยอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างตลิ่ง ริมแม่น้ำลี้ให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านชญาภา สินธุไพร ครับ
นางสาวชญาภา สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ชญาภา สินธุไพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๘ พรรคเพื่อไทย ดิฉันมีเรื่อง ปรึกษาหารือความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ๒ เรื่องดังนี้ค่ะ
นางสาวชญาภา สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
เรื่องแรก สืบเนื่องจากดิฉันได้รับเรื่องร้องทุกข์จากพี่น้องประชาชนซึ่งประสบ ปัญหาเส้นทางสัญจรไม่สะดวกคือ ถนนทางหลวงชนบท ทช. รอ หมายเลข ๓๐๒๑ ระยะทาง ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร ระหว่างบ้านอ้น ตำบลหัวช้าง อำเภอจตุรพักตรพิมาน ไปยังบ้าน ป่ายางวนาทิพย์ ตำบลหนองผือ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคม สายหลักในการสัญจรของพี่น้องประชาชน และยังใช้ในการขนส่งสินค้าการเกษตร แต่สภาพ เส้นทางมีความชำรุดและมีช่องทางสัญจรที่แคบ ไม่มีไหล่ทางทำให้เกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชน ขึ้นบ่อยครั้ง จึงขอหารือท่านประธานผ่านไปยังกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม จัดสรรงบประมาณขยายช่องทางจราจรเป็นถนน ๔ เลน เพื่อความสะดวกและปลอดภัย ในการสัญจรของพี่น้องประชาชน
นางสาวชญาภา สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ พี่น้องประชาชนประสบปัญหาเส้นทางจราจรไม่สะดวกคือ ถนน ทางหลวงท้องถิ่นระหว่างหมู่บ้านโนนขวาง หมู่ ๗ และบ้านดอนทราย หมู่ ๒ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร และเส้นทางสัญจรระหว่าง บ้านหนองใหญ่ หมู่ ๙ ไปบ้านโนนขวาง หมู่ ๗ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัด ร้อยเอ็ด ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร ท่านประธานคะ ถนนลูกรังยังไม่หมดไปจาก ประเทศไทยค่ะ ปัจจุบันถนน ๒ เส้นทางนี้ยังเป็นถนนลูกรัง สภาพผิวทางจราจรขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อและเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง เป็นการสัญจรของพี่น้องประชาชนที่ไม่สะดวก และปลอดภัยเลยค่ะ จึงขอหารือท่านประธานผ่านไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อซ่อมแซมเส้นทางดังกล่าว เพื่อความสะดวก และปลอดภัยในการสัญจรของพี่น้องประชาชนด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ครับ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉัน ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอหารือความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จาก ส.ก. ดอกเตอร์จอห์น ส.ก. เขตลาดกระบัง แล้วก็ Page เหตุการณ์ลาดกระบัง ส่งเรื่องมาว่าขอให้ทาง กทม. สำนักการโยธาธิการและผังเมือง กรุงเทพมหานคร ในเขตลาดกระบัง ช่วยทำทางเท้าหน้าวัด สุทธาโภชน์ หน้าโรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ตามรูปนี้เลยค่ะที่พี่น้อง ประชาชนส่งเข้ามา เพื่อความปลอดภัยของเด็กนักเรียน เพราะว่าในขณะนี้การเดินรถ เป็นแบบ ๒ เลนสวนกัน ซึ่งจะเห็นว่ามีการแทรกออกมาตรงไหล่ทางอยู่เสมอในเวลาเร่งด่วน เพื่อความปลอดภัยดิฉันขอให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดรีบดำเนินการด้วยนะคะ ซึ่งนอกจากหน้าโรงเรียนวัดราชโกษา ยังมีโรงเรียนวัดสุทธาโภชน์ที่ทำถนนเสร็จแล้ว ดิฉันต้องขอกราบขอบพระคุณทาง กทม. ที่ได้สนับสนุนงบประมาณมา ถนนเรียบแล้วแต่ขาด ทางเดินเท้าสำหรับนักเรียน ในเส้นทางนี้ยังมีพี่น้องประชาชนที่ใช้ทางเดินเท้าเป็นจำนวน มาก ดิฉันคิดว่าเพื่อตอบสนองการลดจำนวนใช้รถยนต์ในชีวิตประจำวัน ถ้าหากว่าเราทำ ทางเท้าเพิ่มที่มีประสิทธิภาพมีความปลอดภัยก็จะเป็นการสนับสนุนให้พี่น้องประชาชนมาใช้ การเดินทางเท้ามากขึ้นค่ะ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่งดิฉันขอให้ทางกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตลาดกระบัง เข้าแก้ไขฝาท่อที่เป็นผลพวงมาจากการทำถนนเสร็จแล้ว แต่ลักษณะฝาท่อหรือท่อระบายน้ำ อยู่สูงกว่าถนน ทำให้การระบายน้ำคงจะเป็นไปไม่ได้อย่างดีมากนัก เพราะว่าเท่ากับน้ำต้อง สูงเท่าฝาท่อก่อนถึงจะระบายลงท่อไปได้ ที่ซอยลาดกระบัง ๑๑ ที่ต้องเข้าไปตรวจตรา รวมถึงหมู่บ้านประเสริฐสุขด้วย ขอให้ทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการด้วยค่ะ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ที่ถนนคุ้มเกล้า ๕๐ ตอนนี้ กทม. ไปทำถนนเสร็จแล้ว แต่มี ผู้ประกอบการที่ทำรถพ่วง นำรถพ่วงมาจอดไว้ข้างทาง ซึ่งเป็นอันตรายกับผู้ที่สัญจรไปมา เพื่อความปลอดภัยโปรดคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมนะคะ เอารถของท่านไปจอดในสถานที่ ที่เป็นส่วนของท่านเอง อย่ามาจอดบนถนนค่ะ ขอให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สำนักเทศกิจ ของเขตลาดกระบังและกรุงเทพมหานครเข้าดำเนินการด้วยค่ะ ขอบคุณท่านประธานค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านสังคม แดงโชติ ครับ
นายสังคม แดงโชติ ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายสังคม แดงโชติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ผมมีเรื่องหารือกับท่านประธาน เรื่อง การก่อสร้างเส้นทางเพื่อการ ท่องเที่ยวบึงบัวชายหาดสามร้อยยอด โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของอำเภอสามร้อยยอดนั้น แบ่งเป็นฝั่งทะเลและชายฝั่งถนนเพชรเกษม โดยมีเขาสามร้อยยอดกั้นกลางระหว่าง ตำบลสามร้อยยอดและตำบลไร่เก่า เดิมทีในอดีตมีเส้นทางเกวียนที่สามารถสัญจรและขนส่ง สินค้าได้ แต่ต่อมาได้มีการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำของบึงบัวทำให้เส้นทางดังกล่าวนี้ถูก น้ำท่วมไป ไม่สามารถสัญจรได้อีกต่อไป ท่านประธานครับส่งผลให้การสัญจรในปัจจุบัน ประชากรในตำบลสามร้อยยอดซึ่งมากกว่า ๘,๐๐๐ คน ต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่า ๔๐ นาที ส่งผลกระทบเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการติดต่อราชการ โรงพยาบาล ด้านการเข้าถึงการศึกษา ปัจจุบันได้มีการประชาคม ของ ๓ ตำบลในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องและมีความเห็นชอบตรงกัน โดย ร้อยตำรวจตรี ธิติ เนตรสว่าง องค์การบริหารส่วนตำบลสามร้อยยอด นายกพีระ สุกิจปาณีนิจ องค์การบริหาร ส่วนตำบลไร่เก่า และนายกไพโรจน์ มีประมูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ใหม่ ได้ร่วมกันผลักดันการก่อสร้างเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวบึงบัวชายหาดสามร้อยยอด โดย อบต. สามร้อยยอดได้ออกแบบสะพานข้ามที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ซึ่งมีขนาด กว้าง ๑๐ เมตร ระยะทางยาว ๒.๒ กิโลเมตร จะเป็นการช่วยร่นระยะทางการเดินทางได้เป็น อย่างมาก อีกทั้งโครงการนี้ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงระบบ นิเวศ และที่สำคัญในพื้นที่ ๒ พื้นที่นี้ฝั่งทะเลและฝั่งบึงบัวเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามา เที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นอย่างมาก เป็นจุด Check In และเป็น Landmark เป็น การกระตุ้นเศรษฐกิจให้พี่น้องในอำเภอสามร้อยยอดได้เป็นอย่างมาก กระผมจึงใคร่ขอฝาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมโยธาธิการและผังเมือง หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนช่วยพิจารณาให้ความสำคัญต่อโครงการนี้ด้วย ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ครับ
นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล จากพี่น้องชาวบางขุนเทียน บางบอน วันนี้ต้องขอหารือ ท่านประธานในเรื่องใหญ่ ๆ ๑ เรื่องด้วยกัน
นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เนื่องจากว่าสถานการณ์ปัจจุบันมีปัญหาด้านสภาพเศรษฐกิจและพี่น้อง ประชาชนตอนนี้อยู่ในสภาวะมืดแปดด้านหาทางออกไม่ไหว เรื่องของการกู้เงินผิดกฎหมาย ตอนนี้เรียกว่าลุกลามไปกันใหญ่ ในพื้นที่ของผมเจอหลายเคสด้วยกัน เรียกว่าเกือบร้อยเคส ด้วยกันแล้ว โดยการกู้เงินผ่าน Application TikTok โดยใช้ภาพของธนาคารชัดเจน อันนี้ ต้องให้ความเป็นธรรมนะครับ ก็คือว่าธนาคารไม่มีส่วนรู้เห็น แต่ว่าภาพที่มานำเสนอนั้น เป็นภาพจริงของธนาคารเลย แล้วก็มีดอกเบี้ยที่ต่ำ แล้วก็มีวงเงินกู้ที่สูงมาก แต่วิธีการ ล้ำไปกว่านั้น เนื่องจากว่าเขาประเมินไว้แล้วว่าการติดต่อผ่านธนาคารในห้วงแรกอาจจะมี ปัญหา เพราะฉะนั้นพี่น้องประชาชนจะต้องโทรแจ้งความ หลังจากนั้นเมื่อพี่น้องประชาชน จะโทรแจ้งความเขาก็จะใช้รูปของท่าน ผบ.ตร. แล้วก็มี Link ที่กดอยู่ด้านใต้โดยเป็นตำรวจ เป็นรูปภาพตำรวจ แล้วเมื่อกด Link เข้าไปก็จะเป็นช่องทางการช่วยเหลือ หรือถ้าเกิด พี่น้องประชาชนจะ Double Check ก็จะ Search Google เข้าหาวิธีการแจ้งความ Online เพื่อให้ทันท่วงที อันที่ขึ้นมาใน Google อันแรกก็จะเป็นช่องทางของมิจฉาชีพ เพราะฉะนั้น ทำให้พี่น้องประชาชนเชื่อได้ว่าอันแรกโดนหลอก แต่อันที่ ๒ คือการช่วยเหลือ หลังจากนั้น พอมีการช่วยเหลือก็ได้มีการติดต่อเข้าไป พอติดต่อเข้าไปสิ่งที่พบก็คือว่ามีการติดต่อเข้าไป จากทนายความที่แอบอ้าง แล้วก็มีศูนย์ข้อมูลให้กรอกข้อมูล กรอกไปกรอกมาก็อยู่ในห้วง วังวนของมิจฉาชีพอีก ตั้งแต่กู้ตอนแรกมาแจ้งตำรวจ มาพบทนายความ มาเจอศูนย์ และ ที่สำคัญไปกว่านั้น Application ต่าง ๆ ที่เข้ามาข้อมูลของมิจฉาชีพมีบัตรประชาชน มีหน้า Book Bank ของประชาชนที่มาติดต่อเป็นที่เรียบร้อย อันนี้น่ากลัวมาก ๆ ครับ นี่คือส่งจาก ฝั่งมิจฉาชีพกลับเข้ามาให้ผู้กู้ เพราะฉะนั้นเรื่องราวเหล่านี้น่ากลัวมาก ๆ ตอนนี้หันไปพึ่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังไม่รู้เลยว่ารอง ผบ.ตร. คนไหนดูงาน Cyber เพราะฉะนั้นวันนี้ อยากให้ท่านประธานได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพราะพี่น้องประชาชนมืดแปดด้าน หันไป หาหน่วยงานรัฐก็ไร้ซึ่งหนทางช่วยเหลือ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สมาชิกท่านสุดท้ายนะครับ เรียนเชิญท่านปรเมษฐ์ จินา ครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ ครับ ก็มีเรื่องที่จะนำเรียน ท่านประธานอยู่ ๓ เรื่อง
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องแรก ก็คงจะเป็นเรื่องที่ติดตามกันมาหลายครั้งแล้ว เนื่องจากว่าในส่วน ของเทศบาลตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านนายกลักคณา ดำนิล ท่านมีงบประมาณที่จะเจาะบ่อบาดาล ขอไปทั้งหมด ๑๗ บ่อ แต่ว่าเป็นเรื่องของการตีความ ระหว่าง ส.ป.ก. กับในส่วนของสำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาลที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่ เขาใช้ คำว่า อนุญาต มาแล้ว แต่ว่าก็ต้องใช้คำว่า ยินยอม ผมไม่มั่นใจว่าส่วนราชการเขาทำอย่างไร คำว่า อนุญาต กับ ยินยอม ตีความกันไม่ได้ อันนี้ก็ขอฝากนำเรียนว่าให้ช่วยเร่งดำเนินการ เพราะว่า ณ วันนี้เดือดร้อนอย่างสาหัสในเรื่องของการใช้น้ำในส่วนของตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซานะครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ก็คงจะเป็นเรื่องน้ำเช่นกัน ผู้ใหญ่สมคิด รักษาแก้ว หมู่ที่ ๒ บ้านปากพัง ตำบลชัยบุรี อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็จะมีความเดือดร้อนในเรื่องของ น้ำบาดาลที่ปล่อยมาแบบล้นทะลักเลย ก็อยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปช่วยดูแล้วก็ ปรับปรุงสภาพน้ำให้กับชาวบ้านได้ใช้น้ำที่ใสเหมือนกับของที่อื่นด้วยนะครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย อันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากว่าในส่วนปัจจุบันเวลาจะก่อสร้าง ซ่อมแซม หรือว่าในส่วนของการต่อเติมสถานที่ราชการก็จะต้องมีเอกสารสิทธิในการขอใช้ ไม่ว่าจะเป็นที่ของส่วนราชการไหนนะครับ แล้วก็มันเพิ่งมีปัญหาในส่วนของการถ่ายโอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เมื่อก่อนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขก็อาจจะมีการใช้ แบบเดิม ๆ มาได้ แต่พอถ่ายโอนไปอยู่ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด การที่จะใช้เงิน สมทบไปก่อสร้างหรือว่าในเรื่องของการต่อเติมซ่อมแซมต่าง ๆ มันไม่สามารถที่จะทำได้ เนื่องจากว่าไม่มีเอกสารสิทธิ อันนี้ในส่วนของเทศบาลตำบลย่านดินแดง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านนายกพิจิตร ศรีทองสม ท่านก็ได้ขอความร่วมมือให้ผมมาพูดคุย ในที่ประชุมแห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของบ่อถ่านศิลาของกรมธนารักษ์ให้ช่วยไปดู ด้วยว่าตอนนี้มีปัญหาเดือดร้อนตรงนี้ในส่วนของอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ขอขอบพระคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สมาชิกทั้งหมดก็ได้หารือตามข้อบังคับเรียบร้อยแล้วนะครับ ท่านศนิวารมีเรื่อง หารือหรือครับ
นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน ศนิวาร บัวบาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ดิฉันจะขอหารือท่านประธานเกี่ยวกับ International Women Day หรือ วันสตรีสากลค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ได้ครับ แต่ว่าสั้น ๆ นะครับ
นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ได้ค่ะท่านประธาน เนื่องจากว่าวันสตรีสากลตรงกับวันที่ ๘ มีนาคมของทุกปี และปีนี้กำลังจะเวียนมาบรรจบใน เดือนหน้านี้แล้ว ดิฉันทราบข่าวมาจากทาง UNDP ว่ากำลังจะมีโครงการสัมมนาเพื่อส่งเสริม ความเสมอภาคทางเพศในรัฐสภาไทย ดิฉันขอเรียนถามท่านประธานว่าทางเราจะมีแนวทาง การให้ความร่วมมือกับวันสตรีสากลนี้อย่างไรบ้าง และนอกจากนั้นดิฉันอยากขอเรียนถาม ท่านว่าทางรัฐสภาชุดที่ผ่าน ๆ มาได้มีการดำเนินงานของชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย และในสภาชุดนี้จะมีการดำเนินการต่อเนื่องมาจากรัฐสภาชุดที่แล้วอย่างไรบ้าง ดิฉันจึงขอให้ ท่านประธานช่วยเร่งติดตามดำเนินการในเรื่องนี้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ทางสภาของเราก็ได้รับเรื่องประสานเข้ามาแล้วนะครับ วันที่ ๘ เราจะมีการ จัดงานร่วมกับ UNDP แน่ ๆ เพื่อจะส่งเสริมบทบาท ไม่ใช่แค่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นสุภาพสตรี แต่จะรวมถึงเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่อยู่ในสภาแห่งนี้ด้วย ก็เดี๋ยวจะมีรายละเอียด ของโครงการก็จะมาเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมนะครับ ส่วนเรื่องประเด็นของชมรมสมาชิก สตรีของรัฐสภาผมเข้าใจว่าไม่ได้ Active มาสักพักแล้ว เดี๋ยวจะให้ทางฝ่ายเลขานุการ รีบประสานแล้วก็จัดให้มีการประชุมเพื่อเลือกกรรมการบริหาร เดี๋ยวจะดำเนินการแล้วก็ แจ้งไปทางวิปทั้ง ๒ ฝ่ายนะครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๖๓ คน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
(นายปดิพัทธ์ สันติภาดา (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ผมขอเริ่มการประชุมเลยนะครับ เรียนท่านสมาชิกครับ ขณะนี้มีสมาชิกลงชื่อมาประชุม ทั้งหมด ๓๑๙ ท่าน ครบองค์ประชุม ผมขอเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบ วาระครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุมครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๑. ท่านสมาชิกครับ ถ้าท่านเข้ามาที่ชั้น ๑ บริเวณที่มีการยื่นหนังสือร้องเรียน แล้วก็บริเวณชั้น ๔ ที่เป็นห้องกรรมาธิการหรือว่าห้องประชุมย่อยก็จะเจอน้อง Robot ๒ ตัว ตัวแรกสีเขียวก็จะทำหน้าที่ในการช่วยแม่บ้านในการทำความสะอาดพื้น เพื่อที่แม่บ้านของ เราจะมีเวลามากขึ้นในการไปทำจุดที่ยากลำบากหรือว่าในห้องน้ำนะครับ อันนี้ก็จะประจำอยู่ ที่จุดร้องเรียน จุดที่ ๒ ก็จะเป็นหุ่นยนต์นำทาง เนื่องจากมีคนที่หลงทางในเรื่องการเข้าห้อง ประชุมเยอะมากนะครับ หุ่นยนต์ตัวนี้ก็จะมีข้อมูลในระบบ Cloud เพื่อจะนำพาแผนที่แล้วก็ นำพาแขกของท่าน หรือว่าประชาชน หรือหน่วยงาน ไปที่ห้องประชุมที่ถูกต้องได้นะครับ หุ่นยนต์ ๒ ตัวนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากทางบริษัทเอกชน ซึ่ง Offer เข้ามาเพื่อสนับสนุน โครงการของ Smart Parliament ก็เรียนรู้จะอยู่ร่วมกันกับหุ่นยนต์และ Robot ด้วยกัน ขอบคุณครับ มีเรื่องแจ้งเพิ่มเติมเรื่องแจ้งต่อที่ประชุมซึ่งไม่ปรากฏในระเบียบวาระครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒. รับทราบการกำหนดวันเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการข้าราชการรัฐสภา
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ตามที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างจำนวน ๑ ตำแหน่ง ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ นั้น เนื่องจากประธานสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดเดินทางไปราชการต่างประเทศ ในวันที่ ๒๐-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงดำริให้กำหนดวาระในการ เลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการข้าราชการรัฐสภาในวันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ครับ ก็ขอให้สมาชิกทุกท่านได้เข้าไปตรวจสอบแล้วก็ดูรายละเอียดของ Candidate ที่จะเข้ามา เป็นกรรมการ ก.ร. นะครับ เพราะว่าจะส่งผลต่อการบริหารงานโดยตรงของทางสภา ก็อยาก ให้เราเลือกคนที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมนะครับ แล้วเราจะเลือกตั้งกันในวันพฤหัสบดีหน้า ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ที่ประชุมเห็นชอบให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๑. ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ พ.ศ. .... นายยูนัยดี วาบา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
อันนี้เป็นการเลื่อนตามที่ประชุมเห็นชอบในครั้งที่ ๑๖ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ก็เลื่อนมาเป็นวันนี้นะครับ แต่เนื่องจากมีร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ คือ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ฉบับที่ ๑ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล กับคณะเป็นผู้เสนอ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ฉบับที่ ๒ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เป็นเรื่องเดียวกันเลยนะครับ นายรอมฎอน ปันจอร์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ ยังไม่ได้บรรจุในระเบียบวาระ ส่วนร่างของอาจารย์ชูศักดิ์ที่ประชุมเห็นชอบให้ เลื่อนขึ้นมาก่อนเป็นลำดับที่ ๒ ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ซึ่งผมเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับสามารถพิจารณาและลงมติ รวมกันได้ครับ แต่เนื่องจากร่างของท่านรอมฎอนกับคณะยังไม่ได้บรรจุในระเบียบวาระและ ข้อบังคับ ข้อ ๒๘ กำหนดให้ที่ประชุมต้องพิจารณาเฉพาะเรื่องที่อยู่ในวาระครับ เพราะฉะนั้น ผมขอปรึกษาที่ประชุมว่าจะขอนำร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับมาพิจารณาพร้อมกัน ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๕ (๒) และข้อ ๒๘ และลงมติในวาระที่ ๑ รวมกันตามข้อบังคับ ข้อ ๑๑๗ วรรคสาม ขอหารือว่าเราจะดำเนินการตามนี้ มีสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหม ถ้าไม่มี ผมขอดำเนินการตามนี้ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยร่างของท่านยูนัยดีกับคณะทางสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้จัด ให้มีการรับฟังความคิดเห็นและรายงานผลกระทบของกฎหมายตามมาตรา ๗๗ นะครับ ปรากฏตามเอกสารที่ได้จัดวางให้กับท่านสมาชิกแล้วครับ ส่วนร่างของท่านชูศักดิ์กับคณะ และท่านรอมฎอนกับคณะ สำนักงานยังไม่ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นครับ เนื่องจาก เป็นร่างที่มีหลักการทำนองเดียวกันกับร่างที่มีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นแล้วครับ เพราะฉะนั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นเพิ่มอีก เพราะเป็นร่างที่อยู่ในทำนอง เดียวกัน เพราะฉะนั้นร่างที่ยังไม่ได้บรรจุระเบียบวาระ ร่างของท่านรอมฎอนขอเชิญ เจ้าหน้าที่แจกเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
จะขอเชิญผู้เสนอแถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับนะครับ ท่านแรกเป็นท่านยูนัยดี วาบา กับคณะ ท่านที่ ๒ ท่านชูศักดิ์ ศิรินิล กับคณะ และท่านที่ ๓ ท่านรอมฎอน ปันจอร์ กับคณะ เชิญท่านยูนัยดี วาบา ครับ
นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ยูนัยดี วาบา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ ๔ อำเภอสายบุรี อำเภอกะพ้อ อำเภอไม้แก่น อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธานครับ ผมและคณะขอเสนอ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการ กำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ พ.ศ. .... ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตอ่านหลักการและ เหตุผล หลังจากนั้นขอพูดในรายละเอียดต่อไปครับ
นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ
หลักการ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และการ กำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙
นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ
เหตุผล เนื่องจากคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ นั้น กำหนดให้งดใช้บังคับบทบัญญัติบางมาตราของพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัด ชายแดนภาคใต้ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ส่งผลให้ไม่มีสภาที่ปรึกษาที่มีผู้แทนจากพี่น้อง ประชาชนในพื้นที่เป็นสมาชิก ผู้ที่เคยทำหน้าที่เป็นเวทีรับฟังเสียงสะท้อนและก่อให้เกิดการมี ส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ สามารถเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง ท่านประธานครับ คณะกรรมการที่ปรึกษาตามคำสั่งของ คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ นั้น ที่ปฏิบัติงานมาระยะเวลาหนึ่ง ไม่สามารถตอบสนองการแก้ปัญหา ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความอ่อนไหวสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พี่น้อง ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาไม่มีบทบาทในการร่วมแก้ไขปัญหาให้เกิด ความสงบสุขในถิ่นที่อยู่ของตน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ ในหลายด้าน ด้านศาสนา ด้านภาษา ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ผ่านมา มีสถานการณ์ความไม่สงบเป็นเวลานานเกือบ ๒๐ ปี ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความละเอียดอ่อน มีความซับซ้อน เชื่อมโยงหลายมิติ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ พระราชบัญญัติ การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นกฎหมายตราขึ้นเพื่อให้มี หน่วยงานหลัก มีการบูรณาการ พัฒนา แก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ให้เป็นระบบ ให้ความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ส่งผลให้เกิดการพัฒนา แก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้มี กพต. คณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ ที่สำคัญ เช่น ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ เห็นชอบแผนงานโครงการ จัดตั้งงบประมาณ เป็นต้น และได้ยกฐานะ ศอ.บต. เป็นส่วนราชการเฉพาะ ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งต่างจากเดิมที่ ศอ.บต. ตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นเพียงหน่วยงาน ภายในสำนักงาน สำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้การกำกับดูแลของ กอ.รมน. สภาที่ปรึกษา การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา แก้ไขปัญหาใน จังหวัดชายแดนใต้ตามพระราชบัญญัติ ศอ.บต. พุทธศักราช ๒๕๕๓ มีการกำหนดให้ ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นผู้แทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ผู้แทนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ผู้แทนกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อิหม่ามประจำมัสยิด ผู้แทนเจ้าอาวาส ผู้แทนศาสนาอื่น ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษา ผู้แทนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ผู้แทนสถาบันปอเนาะ ผู้แทนกลุ่มสตรี ผู้แทนหอการค้าสภาอุตสาหกรรม ผู้แทนสื่อมวลชน ผู้แทนในท้องถิ่นซึ่งมีความเข้าใจในการพัฒนาสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สมาชิกสภาที่ปรึกษานี้ กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ในการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ระดับนโยบาย เสนอแนะ ร่วมมือ ประสานงาน กับ ศอ.บต. ตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติการของ ศอ.บต. ให้ความเห็นแก่นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการ ศอ.บต. แสวงหาข้อเท็จจริง เสนอความเห็นต่อเลขาธิการ ศอ.บต. เพื่อ ประกอบการพิจารณาในการสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ฝ่ายพลเรือนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ให้ออกไปจากจังหวัดชายแดนใต้ได้ มีอำนาจพิจารณาเรื่องร้องเรียนของประชาชนที่เกี่ยวกับ ปัญหาความไม่เป็นธรรม หรือได้รับความเดือดร้อน อันเนื่องมาจากการปฏิบัติ หรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ท่านประธานครับ แสดงให้เห็นว่าสภาที่ปรึกษา ศอ.บต. เป็นกลไกที่มีความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในการพัฒนา และการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้เป็นอย่างมากครับ ต่อมาได้มีคำสั่งของ คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ กำหนดให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัด ชายแดนใต้ขึ้นทำหน้าที่แทนสภาที่ปรึกษาโดยกำหนดองค์ประกอบขึ้นใหม่ กรรมการ ที่ปรึกษามีอำนาจเพียงให้คำปรึกษา เสนอแนะ ร่วมมือ ประสานงานกับ ศอ.บต. ให้ ความเห็นในเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือเลขาธิการ ศอ.บต. เห็นว่าสมควรได้รับฟังความคิดเห็น แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน ได้เท่านั้น เพียงแค่นี้เองครับท่านประธาน ทำให้ ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาไม่มีบทบาทในการร่วมแก้ไขปัญหาให้เกิด ความสงบสุขในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ ผมและคณะจึงเสนอให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าว และให้สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ตามพระราชบัญญัติ การบริหารราชการจังหวัดชายแดนใต้ พุทธศักราช ๒๕๕๓ กลับมาปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาใน จังหวัดชายแดนใต้ดังเดิมด้วยครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ได้รับการประสานว่าจะนำร่างของท่านรอมฎอนขึ้นมาก่อนนะครับ ขอเชิญ ท่านณัฐวุฒินำเสนอแทนท่านรอมฎอนครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านประธาน ที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทอง ท่านประธานครับ ผมได้รับมอบหมายจากคุณรอมฎอน ปันจอร์ เพื่อน สมาชิกจากพรรคก้าวไกล ในนามของพรรคก้าวไกลให้เป็นผู้เสนอหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการ กำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ พ.ศ. .... ด้วยหลักการและเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
หลักการ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุผล โดยที่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการ กำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ที่ให้งดการบังคับใช้บทบัญญัติมาตราต่าง ๆ แห่งพระราชบัญญัติ การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พุทธศักราช ๒๕๕๓ โดยเฉพาะบทบัญญัติในส่วนที่ เกี่ยวกับสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงให้งดใช้บังคับ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีในส่วน ที่อ้างถึงสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา ๔๔ แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวในขณะนั้น โดยให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษา การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาทำหน้าที่แทน อีกทั้งขยายบทบาท ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยนั้น ทำให้การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ประสบปัญหาและ ข้อขัดข้อง จำกัดการมีส่วนร่วมของประชาชน ในขณะที่รูปแบบและบทบาทของคณะกรรมการ ที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ยังไม่ได้ สะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และมีบทบาทที่จำกัด จึงไม่เหมาะสมแก่สถานการณ์ในพื้นที่และการแก้ไขปัญหาโดยภาพรวม สมควรยกเลิกคำสั่ง ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผมขอใช้เวลาสภาแห่งนี้ และถือว่าวันนี้ไปอีก ๑ วัน ที่สำคัญต่อพี่น้องใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ แน่นอนครับว่าปัญหาของจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่สงบที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่เข้าใจ ไม่ว่า จะเป็นการเคารพอย่างขาดความเคารพต่ออัตลักษณ์ความเป็นตัวตน เชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ล้วนเป็นส่วนประกอบหรือเป็นส่วนหนึ่งของ ปัญหาที่เกิดขึ้นสืบเนื่องกันมาเอาเข้าจริง ๆ อาจจะมากกว่าตั้งแต่วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ แต่ย้อนหลังไปเป็นร้อยปีครับ อย่างไรก็ตามเราเข้าใจครับว่ามีการตั้งความหวังในการแก้ไข ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พระราชบัญญัติการบริหารราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ในกฎหมายฉบับนั้นประกอบไปด้วยองค์ประกอบ สำคัญอยู่ ๓ ประการด้วยกันครับ องค์ประกอบประการที่ ๑ ก็คือคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ องค์ประกอบประการที่ ๒ ก็คือศูนย์อำนวยการบริหาร จังหวัดชายแดนภาคใต้ และองค์ประกอบที่สำคัญประการที่ ๓ ก็คือสภาที่ปรึกษาการบริหาร และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แน่นอนครับ ลักษณะ คุณวุฒิ คุณสมบัติ หรืออำนาจ หน้าที่ ตลอดจนบทบาทหน้าที่ขององค์ประกอบทั้ง ๓ นั้นมีความแตกต่างกัน ด้านที่ ๑ คือ การคิดยุทธศาสตร์ แล้วเอาเข้าจริง ๆ ก็จะนำมาซึ่งแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งสภาแห่งนี้ก็เคย มีการอภิปรายแผนยุทธศาสตร์ที่ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วเราก็ ผ่านแผนฉบับนั้นไป ด้านที่ ๒ คือการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของพลเรือน พูดกันง่าย ๆ ก็คือใช้หลักการการแก้ไขปัญหา เอาพลเรือนนำทหารอย่างเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ซึ่งมีการอ้างกันอยู่บ่อยครั้ง และ องค์ประกอบประการที่ ๓ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง คือการมีสภาที่ปรึกษาซึ่งทำหน้าที่ ทั้งการให้คำปรึกษาในการบริหารและการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านประธานครับ ผมอยากให้ดูสไลด์หน้าแรกนะครับ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ไม่ไปเร็วจนเกินไป สไลด์หน้าที่ ๑ นั้น เราพูดถึงว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ของพรรคก้าวไกลนั้นเน้นไปที่การยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ ๒๔/๒๕๕๙ คำสั่งนี้คืออะไรครับ คำสั่งนี้คือการล้างมรดกที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหาร คำสั่งนี้คือการ ฟื้นสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ และเตรียมพลิกพลเรือน ให้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาเหนือทหาร อย่างไรก็ตามการพิจารณาการแก้กฎหมาย ฉบับเดียวนั้นคงไม่สามารถจะแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ข้อที่ท้าทายเป็นข้อ ๑ ครับ และขณะนี้สภากำลังมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาการแก้ไขปัญหาและการสร้างกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งก็ยัง ทำงานอย่างแข็งขัน การพูดถึงเขตปกครองพิเศษอาจจะมีความจำเป็นครับ การพูดถึง การให้เขาได้มีส่วนร่วมตัดสินใจที่จะดูแลปัญหาของพี่น้องประชาชนในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ด้วยรูปแบบการปกครองนั้นอาจจะมีความจำเป็น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดในช่วงการ รัฐประหารหลังปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา อย่างน้อยที่สุดมีคำสั่งอยู่ทั้งหมด ๔ คำสั่ง และรวมถึง ประกาศด้วยการที่ส่งผลต่อการทำหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประกาศประการที่ ๑ ก็คือประกาศ คสช.ที่ ๙๘/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไข ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีการจัดตั้งกลไกพิเศษ ชื่อย่อเยอะนะครับ อันแรกเรียกว่า คณะกรรมการเตรียมการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกว่า คปต. และมีสำนัก เลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียกว่า สล.คปต. แถมยังมีการยกระดับ กอ.รมน. หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้าให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลัก นี่ก็เป็นมรดกข้อที่ ๑ ที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบ ทหารนำพลเรือน
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
คำสั่งประการที่ ๒ คือคำสั่ง คสช.ที่ ๙๖/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการ ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ พูดง่าย ๆ ก็คือตั้งบุคคลขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ในคณะกรรมการ คปต. ที่ผมได้นำเรียนในประกาศฉบับแรกที่พูดถึงไปแล้ว
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
คำสั่งประการที่ ๔ คือคำสั่ง คสช. ที่ ๕๗/๒๕๕๙ เรื่อง การปรับปรุงการบริหาร เพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ เช่น เรื่องการจัดตั้งผู้แทนพิเศษฝ่ายรัฐบาล ผมคงไม่มาบอก ว่าคำสั่งนั้นส่งผลกระทบอย่างไร และก็คงไม่ปฏิเสธครับว่าคำสั่งในบางคำสั่งนั้นก็มีผล ในเชิงบวก โดยเฉพาะกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการพูดคุยสันติภาพที่มากและไปไกลกว่า แค่คำว่า สันติสุข ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่สิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำครับ ท่านประธาน ลองดูนะครับคือคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งทำให้เกิด การงดการบังคับใช้กฎหมาย อย่างน้อยที่สุดมาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ ภายใน พ.ร.บ. การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และทำให้เกิดคณะกรรมการ ที่ปรึกษามาแทนสภาที่ปรึกษาซึ่งเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่และมีความ หลากหลายของบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ และรวมถึงการทำให้ กอ.รมน. นั้น มีสถานะ เหนือ ศอ.บต. ตลอดจนเป็นการเพิ่มบทบาทการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยของ กอ.รมน. ซึ่งส่วนท้ายนั้นอาจจะเป็นส่วนที่ดีก็ได้ ผมถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการมาชี้แจงต่อวิป ฝ่ายค้านว่าเหตุผลหรือความจำเป็นขณะนั้นที่จำเป็นต้องมีการออกคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ คืออะไร ท่านทราบไหมครับว่าหน่วยงานตอบในวิปฝ่ายค้านว่าอย่างไร ก็เป็นตามคำสั่งครับ ผมก็จำเป็นต้องไปอ่านว่าคำสั่งเขาเขียนว่าอย่างไร ก็ไปพบว่าคำสั่งที่ลงนามโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่๔ เมษายน ๒๕๕๙ บอกว่ามันมีเหตุผลความจำเป็นบาง ประการที่ทำให้การใช้กฎหมายว่าด้วยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของสภาที่ปรึกษานั้นไม่อาจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่มีคำตอบเลยนะครับว่า คำว่า ไม่อาจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นั้นเป็นอย่างไร พูดกันง่าย ๆ ก็คือว่าสภาที่ปรึกษา การบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถึงแม้จะมีกฎหมายมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ จนมาถึงปัจจุบันก่อนมีคำสั่ง คสช. ในปี ๒๕๕๙ พูดง่าย ๆ คือประมาณ ๖ ปีเพิ่งมีไปชุดเดียว เองนะครับ ยังไม่มีบทสะท้อนแบบใด ประการใดเลยที่ท่านบอกว่าการมีส่วนร่วมของตัวแทน ประชาชนนั้นจะไร้ประสิทธิภาพอย่างไร ไม่เป็นอะไรครับ ลองดูเปรียบเทียบก็ได้นะครับ ถ้าท่านดูสไลด์หน้าถัดไปว่าสิ่งที่เคยมีอยู่ในกฎหมายกับสิ่งที่รัฐบาลไปออกมาเป็นคำสั่ง คสช. นั้นหน้าตาแบบไหนดีกว่ากัน นี่ไม่ใช่ตารางหมากรุก นี่ไม่ใช่ตารางหมากฮอส นี่ไม่ใช่ตารางบิงโกที่จะหยอดเหรียญนะครับ แต่คือชีวิตของพี่น้องประชาชนจำนวนมากที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านลองดูนะครับ ภายใต้กฎหมายปี ๒๕๕๓ ที่บอกให้มีสภาที่ปรึกษา มีทั้งตัวแทนผู้นำท้องถิ่น เพื่อนสมาชิก ท่านพูดไปแล้วครับ มีทั้งตัวแทนผู้นำท้องที่ มีทั้งตัวแทนกลุ่มสตรี และกลุ่มสตรีที่พวกผม ไปพบมีความหลากหลายมากนะครับ บางกลุ่มขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ดูแลปากน้ำ ปากแม่น้ำปัตตานี ปากแม่น้ำบางนรา บางกลุ่มทำประเด็นเรื่องของผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบ จากปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น กลุ่มด้วยใจ ต่าง ๆ เป็นต้น มีผู้นำศาสนาอิสลาม มีผู้นำศาสนาพุทธ ซึ่งต้องขอบพระคุณทางสภาได้กรุณานำเรียนในเอกสารประกอบการ ประชุมวันนี้ว่า ณ ขณะที่มีการแต่งตั้งหรือการคัดเลือกเมื่อปี ๒๕๕๔ ปี ๒๕๕๕ นั้นใครบ้าง ที่มาทำหน้าที่เป็นผู้แทนของหน่วยงานต่าง ๆ ผมไปพบมาแล้วครับ ท่านเจ้าคณะจังหวัด ปัตตานีท่านพูดชัดเจนว่าท่านเสียดายโอกาสที่วันนั้นท่านได้ทำ แต่ยังทำไม่สำเร็จในการจะมี ส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้นำศาสนาอื่นเห็นไหมครับ มีปราชญ์ ชาวบ้าน แล้วปราชญ์ชาวบ้านใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความหลากหลายมากนะครับ ฉะนั้น ครม. คงไม่ส่งปลาอะไรสักอย่างหนึ่งหรอกครับที่มาเลี้ยงผู้นำ APEC เพราะว่า ปลากุเลาหรือเปล่าครับ แบบนั้นก็มีเฉพาะที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปราชญ์ชาวบ้าน มีหลายแบบครับ แบบหนึ่งดูแลเรื่องวัฒนธรรม แบบหนึ่งดูแลเรื่องความเชื่อ แบบหนึ่งดูแล เรื่องประเพณี แบบหนึ่งดูแลเรื่องของศาสนา แบบหนึ่งดูแลเรื่องดนตรี มีปราชญ์ที่มีความรู้ เรื่องคัมภีร์เยอะแยะไปหมดครับ กำลังทำพิพิธภัณฑ์เก็บคัมภีร์ แล้วคัมภีร์บางฉบับอายุเป็น พัน ๆ ปี แบบนี้หรือครับที่เราไปตัดอำนาจเขา มีนักธุรกิจที่มาพบผมครับ แล้วเขาก็บอกว่า รัฐบาลเคยไปสัญญาไว้ว่าปั๊มน้ำมันที่ถูกระเบิดไปจะมีการอุดหนุนเงินกู้ Soft Loan แล้ววันหนึ่งมีการตัดเงินกู้ เขามาพบด้วยความเสียดายบอกว่าถ้าวันนั้นรัฐบาลบอกว่า ไม่พร้อมจะอุดหนุนคือไม่ต่ออายุเงินกู้ เขาก็จะไม่อยู่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นไหมครับ และยังมีบุคลากรทางการศึกษาผู้แทนปอเนาะ ผู้แทนโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาต่าง ๆ ตัวแทนของผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ วันหนึ่งออกคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ท่านตัดฉับเลยครับ ตัดให้ขาดเลย ชั๊บ ชั๊บ ชั๊บ ท่านออกมาเป็นกรณีของการแต่งตั้งภายใต้ การเสนอชื่อโดย กอ.รมน. และ ศอ.บต. ภายใต้การเสนอชื่อของผู้ว่าราชการจังหวัด ๕ จังหวัดที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแน่นอนครับผู้ว่าราชการจังหวัดหลายท่านที่ผม ไปพบท่านเป็นคนในพื้นที่ แต่ท่านต้องย้อนไปดูนะครับว่าปี ๒๕๕๙ ที่มีการออกคำสั่งนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดหลายท่าน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหลายท่านก็มิใช่คนที่เกิดในพื้นที่ อยู่ใน พื้นที่ หรือมีความรู้ ความเข้าใจต่อวัฒนธรรมประเพณีใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านย้อนไปดูพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ก็ทราบได้ว่ากรณีการส่งคนไปอยู่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นต้องพิจารณาแบบพิเศษอย่างไร ด้วยความเคารพ พิจารณา แบบพิเศษบนพื้นฐานของความเข้าใจ ไม่ใช่บนพื้นฐานที่ไล่ให้ไปอยู่ใน ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ผมขออนุญาตเวลาสภาแห่งนี้ครับ ตั้งแต่เปิดสมัยประชุมที่ ๒ มานี้ผมยังไม่เคย อภิปรายอะไรยาว ๆ เลย ฤทธิ์ของคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ไปตัดอำนาจของสภาที่ปรึกษา ในมาตรา ๑๙ อำนาจสภาที่ปรึกษาในมาตรา ๑๙ ถึงมาตรา ๒๓ สรุปให้ท่านเห็นมีอยู่ ๙ ข้อ ๙ ประการด้วยกันครับ สไลด์ถัดไปก็ได้เพราะอันนี้จะพูดถึงเรื่องร้องเรียน เรื่องอะไรต่าง ๆ แต่ท่านลองดูนะครับ การให้ความเห็นในเชิงนโยบายการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะมี โดนตัดออก การตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ของ ศอ.บต. แล้วรายงานต่อเลขาธิการและนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบโดนตัดออก การแสวง ข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อประกอบการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่โดนตัดออก ท่านไม่ให้เขาหาข้อเท็จจริงและจะให้เขาให้คำปรึกษาได้อย่างไร ไม่ต้องให้ใช้แค่ประเด็นเรื่อง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้หรอกนะครับ เรื่องใด ๆ ก็แล้วแต่ที่จำเป็นต้องหาข้อเท็จจริง ตัดอำนาจเขาได้อย่างไร เรื่องของการเสนอย้ายข้าราชการ เรื่องของการรับเรื่องราวร้องเรียนต่าง ๆ ที่ไม่เป็นธรรม ที่เกิดขึ้นใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้โดนตัดออก ท่านประธานต้องเข้าใจนะครับเวลา พวกเราลงพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ถ้าเราไปแบบเป็นทางการท่านอาจจะได้ข้อมูล อีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าเราไปแบบไม่เป็นทางการเข้าไปพูดคุยนะครับ มีพี่น้องมุสลิมคนหนึ่ง เป็นผู้หญิงอายุ ๕๐ กว่าปีมาพบผม โดนระเบิดจากความรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกวันนี้บางวันนอนอยู่ดี ๆ สะเก็ดระเบิดที่ติดตัวอยู่ไหลออกจากตัว แต่ความช่วยเหลือ หมดไปแล้วนะครับ ความช่วยเหลือที่คณะรัฐมนตรีเคยออกคำสั่งไว้ในอดีตที่ผ่านมาคนละ ๗ ล้านบาทสำหรับผู้เสียชีวิต คนละ ๓ ล้านบาทเศษหมดไปแล้ว แต่ความจำเป็นเขายังมีอยู่ ท่านตัดเขาได้อย่างไรแบบนี้ ท่านตัดเขาได้อย่างไรกับลูกหลาน ไม่ว่าจะเป็นลูกหลาน เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานของคนที่อยู่ในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ท่านตัดอำนาจเขาได้อย่างไร ผมไม่เข้าใจวิธีคิดและ มุมมองของฝ่ายรัฐในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านใช้วิธีแบบเดิม ผลก็เป็น แบบเดิม แล้วผลนั้นย่อมมีความรุนแรงที่เกิดขึ้น ท่านเห็นไหมครับนี่คือสิ่งที่โดนอำนาจ ฤทธิ์เดชของคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ในการตัดออก แล้วเขาเพิ่มอะไรครับ เขาไปเพิ่ม อำนาจของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งท่านก็ทราบดีนะครับ อย่าว่าแต่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เลยครับ วันนี้กฎหมายที่เข้าสู่สภาหลายฉบับไปเขียนใน โครงสร้างเลยนะครับ ให้รอง ผอ.รมน. จังหวัด นั่งเป็นบอร์ดในการแก้ไขปัญหา ท่านกำลัง ขยายอำนาจของฝ่ายทหารไปควบคุมการดำเนินการของกิจการของพลเรือนเยอะแยะ ไปหมด คำสั่ง ที่ ๑๔/๒๕๕๙ มีอย่างน้อยที่สุด ๒ ข้อด้วยกันที่สะท้อนให้เห็นว่าเรากำลัง เดินผิดทาง เพราะท่านไม่ได้ตอบว่าวันนั้นท่านเลือกเดินเพราะอะไร ผมก็มีสิทธิตั้งข้อสังเกต และข้อสงสัยว่าเรากำลังเดินผิดทาง
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อที่ ๖ กำหนดให้ ศอ.บต. บูรณาการทำงานร่วมกับ กอ.รมน. ศอ.บต. มาจาก ภาคพลเรือน กอ.รมน. เราก็รู้ดีว่ามาจากภาคทหาร แต่ให้รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร พูดง่าย ๆ ก็คือผู้บัญชาการทหารบกโดยตำแหน่งมีอำนาจวินิจฉัยสั่ง การในกรณีที่เลขา ศอ.บต. เห็นแย้ง นี่ครับสิ่งที่เกิดขึ้นจากคำสั่งปี ๒๕๕๙ ในขณะเดียวกัน กรณีที่น่าจะดูดีแต่ก็ไม่ตอบโจทย์เพราะว่าหลายครั้งที่เกิดปัญหาสาธารณภัย ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วมล่าสุดที่เกิดขึ้นในจังหวัดนราธิวาส ไม่ว่ากรณีโรงงานพลุระเบิดที่บ้านมูโนะ ถ้าคำสั่งนี้ มัน Work วันนี้พี่น้องบ้านมูโนะที่จังหวัดนราธิวาสเขาต้องมีที่อยู่อาศัยพื้นฐานครับ เขาผ่าน หน้าฝนมาแล้ว เขาผ่านหนาวมาแล้ว เขาผ่านฝนซ้ำสองมาแล้ว เขากำลังเข้าสู่หน้าร้อน วันนี้ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเลยจากสิ่งที่โดนพลุระเบิด ซึ่งแน่นอนจะตอบอย่างไรก็แล้วแต่ แต่เราก็รู้ว่า รัฐปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ในกรณีละเลยปล่อยให้มีโรงงานที่เก็บพลุความรุนแรง ไว้ขณะนั้น ในภาษาอังกฤษเราเรียกหลักการแบบนี้ว่า Liability without Fault คือบางครั้ง คุณต้องรับผิดชอบแม้อาจจะไม่พิสูจน์การรับผิดใด ๆ ต่าง ๆ ก็แล้วแต่ แต่กลับไปให้อำนาจ กอ.รมน. ในการเป็นผู้อำนวยการเมื่อเกิดสถานการณ์ บรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ แล้ว กอ.รมน. ก็เอาไปใช้ในการเบิกใช้จ่ายงบประมาณซึ่งเยอะมากนะครับ ผมเป็น สส. คนหนึ่งที่อภิปรายงบประมาณในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วเส้นกราฟมันพุ่งขึ้นแบบนี้ครับ และยังจะพุ่งขึ้นต่อไป ฉะนั้นกล่าวโดยสรุปก็คือว่ามรดกบาปของคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ก็คือการไปยุติสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้และไปก่อให้เกิด โครงสร้างใหม่ที่เรียกว่าบทบาทของคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ และเพิ่มอำนาจก็ กอ.รมน. ในการแก้ไขปัญหา แต่จากปี ๒๕๕๙ จนถึงปัจจุบันปี ๒๕๖๗ ได้พิสูจน์แล้วว่าทิศทางการดำเนินการ แบบนี้ผมอยากจะสรุปให้เห็นอยู่ ๓ ประการสั้น ๆ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๑. ไม่ได้ตอบโจทย์ต่อการแก้ไขปัญหา ท่านอาจจะบอกว่าตัวเลขกราฟของ ความรุนแรงลดลง แต่ท่านอย่าลืมว่าความยากจน ความยากลำบาก ยังมีอยู่ ท่านอาจจะตอบ ว่ารัฐส่งเสริมการพัฒนาจำนวนมาก แต่ท่านอย่าลืมว่าการส่งเสริมการพัฒนานั้นเข้าใจบริบท ของพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้จริงหรือไม่ ท่านอาจจะพูดถึงการส่งคน งบประมาณ การบริหารจัดการเยอะแยะไปหมด แต่ขาดมิติการเคารพอัตลักษณ์ความเป็นตัวตน วัฒนธรรมประเพณี แม้กระทั่งความเชื่อ แม้กระทั่งคนที่จะไปนั่งเป็นนายอำเภอ ผู้กำกับ สถานีตำรวจ หรือข้าราชการที่ไปละเมิด ผมไม่มีเวลาจะพูดถึงนะครับ ผมก็มีเรื่องร้องเรียน สมัยทำงานเป็น NGO เรื่องสิทธิเด็กหลายเรื่องที่มีข้าราชการไปละเมิดทางเพศต่อเด็กผู้หญิง ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่ขยายบาดแผลให้มันรุนแรงยิ่งขึ้นครับ ฉะนั้นสิ่งที่พรรคก้าวไกลโดย คุณรอมฎอน ปันจอร์ และพวกผมเสนอในวันนี้ ซึ่งสอดคล้อง กับร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการในทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ของท่านอาจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ซึ่งวันนี้ท่านกลับมาแล้วครับ เดี๋ยวท่านจะเป็นผู้เสนอถัดไป และเพื่อนสมาชิกจาก พรรคประชาธิปัตย์ คุณยูนัยดี วาบา ก็คือขอเถอะครับ ขอให้สภาแห่งนี้ช่วยกันรับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ปิดบทบาทของ คณะกรรมการที่ปรึกษา ย้อนกลับไปใช้บทบาทของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งให้อำนาจครอบคลุมในทุกมิติของการแก้ไขปัญหาและลดบทบาท ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ถึงเวลาแล้วครับที่จะคืนการตัดสินใจ เหล่านี้ให้กับภาคพลเรือน ถึงเวลาแล้วครับที่จะคืนสันติภาพให้กับพี่น้องในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด แต่นี่เป็นอีกหนึ่งในเงื่อนไขที่เราจะทำ และถึงเวลาแล้วครับที่เรา จะเคารพการตัดสินใจของพี่น้องใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เขาจะมีสิทธิตัดสินใจอนาคต ของพวกเขาเอง ขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านชูศักดิ์ ศิรินิล ครับ
รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม ชูศักดิ์ ศิรินิล แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กระผม ขออนุญาตที่จะนำเสนอร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ โดยมีหลักการและเหตุผลที่จะกราบ เรียนท่านประธานต่อไป
รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
หลักการที่สำคัญที่กระผมได้อ่านไปแล้วก็คือการยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เหตุผลที่อยากจะกราบเรียนท่านประธาน ก็คือว่า โดยที่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการ ที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ที่ให้งดการบังคับใช้บทบัญญัติมาตราต่าง ๆ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัด ชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยเฉพาะบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับสภาที่ปรึกษา การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงให้งดใช้บังคับบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในส่วนที่อ้างถึง สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้จัดตั้งคณะกรรมการ ที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาทำหน้าที่ดังกล่าวนั้น ทำให้ การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังมีปัญหาข้อขัดข้องในการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกหลายประการ ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลง รูปแบบที่ให้ คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามคำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ทำหน้าที่แทนสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงไม่เหมาะสม แก่สถานการณ์ของพื้นที่ ทำให้การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหามากขึ้น จึงสมควรยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ และให้คณะที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ตามคำสั่งฉบับดังกล่าวสิ้นสุดลง เพื่อให้บทบัญญัติมาตราต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้มีผลใช้บังคับต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ท่านประธานที่เคารพครับ กระผมขออนุญาตท่านประธาน ที่จะอธิบายเพิ่มเติมโดยสังเขปว่าการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นโดยหลักแล้วเราก็ ทราบกันดีว่าเรามีพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ ใช้บังคับ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ เป็นต้นมา ในพระราชบัญญัติฉบับนี้เรามีมาตราสำคัญที่กำหนดไว้ก็คือ มาตรา ๑๙ ที่กำหนดว่าให้มีสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดให้มีสภาที่ปรึกษานี้มาทำหน้าที่สำคัญก็คือการให้คำปรึกษาแก่ ศอ.บต. ในการบริหาร ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีหน้าที่ในการเห็นชอบ แผนพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ศอ.บต. ความคิดของผู้ร่างกฎหมายในขณะนั้นผมก็ ต้องขออนุญาตกราบเรียนว่าก็เป็นความคิดที่ค่อนข้างจะน่าชื่นชม เพราะท่านได้คิดว่าการที่ จะบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีการมีส่วนร่วมของพี่น้อง ประชาชนนั้นเป็นเรื่องสำคัญ พูดง่าย ๆ ประชาชนเจ้าของพื้นที่ทั้งหลายที่อยู่ในพื้นที่นั้น จะต้องมีส่วนร่วมในแง่ของการบริหาร ในแง่ของการกำหนดยุทธศาสตร์ทั้งหลาย โดยเหตุนี้ สภาที่ปรึกษาจึงประกอบด้วยบุคคลที่กำหนดขึ้น แล้วกำหนดว่าไม่เกิน ๔๙ คน ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขียนว่าจังหวัดละ ๑ คน ผู้แทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัด ละ ๑ คน ผู้แทนกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ผู้แทนเจ้าอาวาสในพระพุทธศาสนา ผู้แทน ทางด้านบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มสตรี หอการค้า รวมไปถึงสื่อมวลชนและผู้ทรงคุณวุฒิ รวมแล้วไม่เกิน ๔๙ คน สภาที่ปรึกษาที่เขียนไว้ในมาตรา ๑๙ สะท้อนให้เห็นคนที่เขา ร่างกฎหมายนี้ขึ้นมาว่าเขาต้องการเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงมีผู้แทนของ ภาคประชาชนในพื้นที่ในระดับต่าง ๆ ในภาคต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะศาสนา ไม่ว่า จะเป็นผู้แทนเอกชน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา ผู้นำทางศาสนาต่าง ๆ เหล่านี้ ก็นับว่า เป็นความคิดที่ดี อย่างไรก็ตามเมื่อมีการยึดอำนาจการปกครองประเทศก็มีการใช้บทบัญญัติ ที่เราทราบกันดีในขณะนั้น ก็คือมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. ทั้งหลายที่จะมาออกประกาศคำสั่งใด ๆ มีผลบังคับใช้ เขาคิดกันในขณะนั้นคือว่าบทบัญญัติของสภาที่ปรึกษาในแบบนี้ องค์กรของรัฐ เช่น ศอ.บต. หรือ กอ.รมน. ทั้งหลายขาดการนำในแง่ของการบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระนั้นเลยเขาก็เลยออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เป็นที่ทราบกัน สาระสำคัญของ คำสั่งที่ออกมาที่เราจำเป็นจะขอยกเลิกกันเห็นตรงกันว่าควรจะยกเลิกก็คือว่า ไปงด การบังคับใช้มาตรา ๑๙ ของสภาที่ปรึกษาที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๙ ตาม พ.ร.บ. บริหาร ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ เขาเป็นกฎหมายอยู่ดี ๆ ก็ออกคำสั่งว่า ของดใช้บังคับมาตรานี้และมาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาไว้ โดยให้ไปแต่งตั้งองค์กรขึ้นมาองค์กรหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหาร การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปลี่ยนจากสภาที่ปรึกษาที่เขาเขียนไว้ในกฎหมายเป็น คณะกรรมการที่ปรึกษา ทำหน้าที่แทนสภาที่ปรึกษาที่มีอยู่ตามบทบัญญัติของกฎหมาย แล้วก็เพิ่มจำนวนกรรมการขึ้นมา บอกว่าเดิมของเขาไม่เกิน ๔๙ คน ท่านก็ไปเพิ่มเสียเป็น ไม่เกิน ๖๐ คน กรรมการมาจากไหนบ้างครับ ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าส่วนหนึ่งนายกแต่งตั้ง ไม่เกิน ๔๕ คน จำนวน ๔๕ คนที่นายกแต่งตั้งนั้นเขาใช้คำว่า มาจากการปรึกษาหารือกันของ ศอ.บต. และ กอ.รมน. ก็หมายความว่าให้องค์กรเหล่านี้ไปสรรหาบุคคลมาแล้วก็เสนอชื่อ ให้นายกแต่งตั้งไม่เกิน ๔๕ คน ส่วนที่ ๒ ก็จากการเสนอชื่อของผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เกิน จังหวัดละ ๒ คน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งดูแลจังหวัดต่าง ๆ เหล่านั้นเสนอชื่อมาแล้วก็ แต่งตั้ง ส่วนที่ ๓ ก็คือผู้ทรงวุฒิไม่เกิน ๕ คน
รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตกระผมอยากจะเรียนท่านประธานก็คือว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการ แบบนี้ก็คือเป็นที่เห็นได้ชัดว่าก็คือเป็นการรวมศูนย์อำนาจไปไว้ที่หัวหน้าส่วนราชการ ไปไว้ที่ ส่วนกลางว่าจะแต่งตั้งใคร ก็เป็นอำนาจคุณไปเลือกมาแล้วก็เสนอชื่อให้นายก ไม่มีผู้แทนดังที่ มาตรา ๑๙ เขากำหนดไว้ ผลจากการเขียนคำสั่งหัวหน้า คสช. เช่นนี้ เพียงเท่านั้นไม่พอ ก็บอกว่าบทบัญญัติอะไรก็ตามทีที่มีอำนาจหน้าที่ของสภาที่ปรึกษานั้นให้งดใช้บังคับไปด้วย แล้วก็เอาอำนาจทั้งหลายเหล่านั้นมาไว้ที่คณะกรรมการที่เขากำหนดขึ้นตามคำสั่งที่ ๑๔ ผลจากการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เหล่านี้ได้มีการสดับตรับฟัง ได้มีการหารือ ได้มีการปรึกษาหารือกัน เขาบอกว่าเป็นผลทำให้การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้นไม่ประสบความสำเร็จ เกิดความอะไรครับ ขาดที่อย่างยิ่งก็คือขาดการมีส่วนร่วมของ พี่น้องประชาชน ทำให้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นกลับมีปัญหามากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ปัญหานี้ก็สะท้อนมา แม้กระทั่งรัฐบาลนี้เข้ามา เห็นท่านรองนายกรัฐมนตรีที่สังกัดพรรคผม ก็ไปประชุมกันทางภาคใต้ ก็มีเสียงสะท้อนมาจากองค์กรทั้งหลายทั้งปวงว่าควรจะต้องยกเลิก คำสั่งที่ว่านี้เสีย เพื่อกลับไปใช้กฎหมายที่เคยมีอยู่ และถูกงดบังคับใช้ไปก็คือมาตรา ๑๙ ดังกล่าวมา เพราะฉะนั้นในขณะนี้จึงมีความหมายว่าเราทั้ง ๓ ร่างที่เรานำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นของพรรค ก้าวไกล ของพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งพรรคเพื่อไทย มีความประสงค์อันเดียวกันก็คือว่า เจตนารมณ์เหมือนกันคือว่าควรจะยกเลิกคำสั่งนี้เสีย เพื่อกลับไปใช้กฎหมายที่เขาบัญญัติ ไว้เดิมอย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้เดินหน้าต่อไป ให้ประชาชนที่อยู่ในฝ่ายต่าง ๆ นั้นเขามี ส่วนร่วมในการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป ผมจึงคิดว่าพวกเราสภาผู้แทนราษฎร คงเห็นแล้วว่าการตราพระราชบัญญัติ ๓ ฉบับเหล่านี้คงจะเป็นประโยชน์ อย่างน้อยที่สุด ทำให้การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีความเจริญก้าวหน้าและมุ่งไปสู่สันติสุข มุ่งไปสู่ความเจริญก้าวหน้าต่อไป ผมอยากจะจบแบบนี้ครับท่านประธานที่เคารพ ผลจากการ ที่เราทำแบบนี้ แล้วผมเองก็มีความรู้สึกส่วนหนึ่งก็คือว่า เราจะเห็นได้ว่าระบบกฎหมายของ ประเทศไทยของเราในขณะนี้ พวกเราสภาผู้แทนราษฎรควรจะต้องมาตระหนักและทบทวน กันด้วยความจริงใจ ด้วยความจริงจังเสียทีหรือไม่ ผมจะพูดอะไรครับท่านประธานที่เคารพ ถ้าท่านยึดอำนาจการปกครองประเทศ แล้วยึดอำนาจเสร็จท่านก็ไปออกคำสั่งนั้น ออกประกาศนี้ ออกคำสั่งที่ ๑๔/๒๕๕๙ ใช้เวลาเท่าไร บางท่านเขาบอกว่าใช้เวลาวันเดียว ไปถึงก็เซ็น ระบบบ้านเราเป็นกฎหมาย พอศาลฎีกาไปวินิจฉัยว่าเมื่อเขาได้อำนาจเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ออกประกาศ ออกคำสั่งอะไรได้ เป็นกฎหมายไปหมด ซึ่งผมเองโดยส่วนตัวผมก็โต้แย้งระบบ แบบนี้มาช้านาน ครั้นเราจะยกเลิก เราเห็นว่าไม่มีประโยชน์ เราเห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เราจะยกเลิก ผมต้องเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยกเลิกคำสั่งที่ ๑๔/๒๕๕๙ พรรคก้าวไกลต้องเสนอร่างบัญญัติ พรรคประชาธิปัตย์ต้องเสนอร่างพระราชบัญญัติ วันนี้เรา รับหลักการตั้งกรรมาธิการพิจารณา ๓ วาระ เสร็จจากสภาผู้แทนราษฎรไปวุฒิสมาชิก วุฒิสมาชิกก็อีก ๓ วาระ ท้ายที่สุดมีกฎหมายสำเร็จก็คือพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่. ๑๔/๒๕๕๙ ใช้เวลาเท่าไรครับท่านประธานที่เคารพ บางที อาจจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ๖ เดือน บางกฎหมายใช้เวลาเป็นปี ที่ผมพูดถึงเรื่องนี้ก็กราบเรียน ท่านประธานว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สภาผู้แทนราษฎรของเราคงจะต้องตระหนักว่าระบบแบบนี้ มันควรจะหมดสิ้นไปจากประเทศไทยได้หรือยัง มันจะหมดไปได้คือว่าทั้งเรา ทั้งศาล ต้องร่วมมือกันในแง่ของการไม่ยอมรับประกาศคำสั่งใด ๆ ไม่ยอมรับงานยึดอำนาจ การปกครองประเทศ ไม่ยอมรับการรัฐประหารว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม ไม่ร่วมมือด้วย ฝากเป็น อุทาหรณ์ ฝากเป็นข้อคิดกับพี่น้องสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพทั้งหลายว่าเราคงจะต้อง ตระหนักถึงอำนาจหน้าที่ของเราในส่วนนี้ กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ท่านก็ได้เสนอครบเรียบร้อยนะครับ ตอนนี้มีสมาชิกลงชื่อเพื่ออภิปรายรวมทั้งหมด ๗ ท่าน เป็นฝ่ายค้าน ๓ ฝ่ายรัฐบาล ๔ เพราะฉะนั้นก็แจ้งสมาชิกเราจะมีการลงมติในเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ก็อยากให้สมาชิกที่อยู่ ตามห้องกรรมาธิการได้เตรียมตัวด้วยครับ ขอเชิญท่านแรกเลยนะครับ เชิญท่านธิษะณา ชุณหะวัณ ครับ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ พรรคก้าวไกลค่ะ จากรายงานความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ เรื่อง คณะกรรมาธิการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัด ชายแดนใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดิฉันขออภิปรายสนับสนุนและเรียกร้องควรให้การสนับสนุนร่างพระราชบัญญัตินี้เพื่อยกเลิก คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ในเรื่องคณะกรรมาธิการที่ปรึกษา บริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่มีการลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๙ การยกเลิกคำสั่งนี้ มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อรื้อฟื้นกลไกตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ เดิมชื่อว่าสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ที่เคย ดำเนินงานอยู่มาหลายปี ก่อนจะถูกยกเลิกเปลี่ยนแปลงโดยคำสั่งพิเศษของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แกนนำคณะรัฐประหารมาเป็นกลไกที่เรียกว่า คณะกรรมการที่ปรึกษา และถูก บังคับใช้มาจนถึงปัจจุบัน ดิฉันจะขอบอกเหตุผลของการที่จะต้องยกเลิกมรดกเผด็จการ และการสร้างภาพของคณะ คสช. ความจำเป็นที่ดิฉันต้องยกเลิกจะยกมา ๒ เหตุผลหลัก ๆ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เหตุผลแรก คือสิ่งนี้เป็นมรดกของการรัฐประหาร เราปฏิเสธไม่ได้ ขึ้นชื่อว่า เป็นคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ก็ชี้ชัดอยู่แล้วว่าเป็นคำสั่งที่ออกมาโดยไม่มีการ มีส่วนร่วมของประชาชน ไม่มีความชอบธรรมของการเป็นตัวแทนของประชาชน และเมื่อ ผสมโรงกับประเด็นของความขัดแย้งใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ก็ต้องบอกว่าการรับฟัง มากกว่าพูดสั่งสอน ต้องการความเห็นของคนในพื้นที่ ความเป็นมรดกของเผด็จการที่เอาแต่ ชี้นิ้วสั่งโดยที่ไม่รับฟัง อาศัยแต่ความคิดและความพึงพอใจของตน และไม่เป็นประชาธิปไตย ย่อมไม่อาจถูกยอมรับได้และไม่ใช่เครื่องมือแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง การยกเลิกสิ่งนี้จะเป็น ความจริงใจก้อนแรกของการคืนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาความ ขัดแย้งและสร้างสันติภาพที่เกิดขึ้นได้จริงค่ะ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เหตุผลที่ ๒ คณะกรรมการที่ปรึกษานอกจากจะมาจากระบบเผด็จการแล้ว ตัวที่ปรึกษาเองก็มีความเป็นเผด็จการและไม่รับฟังความคิดเห็น จำนวนสมาชิกทั้ง ๖๐ คน ของคณะกรรมการที่ปรึกษา จำนวนกว่า ๔๕ คนหรือ ๓ ใน ๔ มาจากการเสนอชื่อของ กอ.รมน. หรือ ศอ.บต. โดย กอ.รมน. เป็นหน่วยงานที่ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นหน่วยงานความมั่นคงจากส่วนกลางและกองทัพ ส่วนอีก ๑๕ คนที่เหลือมาจากการเสนอชื่อของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งผู้ว่าก็เป็นข้าราชการที่แต่งตั้ง ในกระทรวงมหาดไทย โดยสรุปแล้วคณะกรรมการนี้ไม่แตกต่างอะไรกับการสร้างภาพของ ระบอบเผด็จการที่พยายามฉายภาพของการมีส่วนร่วม แต่เป็นส่วนร่วมจากส่วนกลาง ภายนอกดูดี ข้างในกลวง ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะลบล้างความไม่จริงใจนี้และแก้ไขปัญหา ให้สิ้นซากไป ให้คนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมจริง ๆ และได้ แสดงความคิดเห็นของตนเพื่อพัฒนาพื้นที่บ้านเกิดของเขาและสังคมของพวกเขา โดยสภา ที่ปรึกษาการบริหารการพัฒนา ๓ จังหวัดชายแดนใต้แต่เดิมนั้น มีที่มาค่อนข้างหลากหลาย ในจำนวนทั้งหมด ๔๙ คน โดยมาจากตัวแทนของคนในพื้นที่ อาทิเช่น ตัวแทนองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนของกลุ่มสตรี กลุ่มผู้นำทางศาสนา หอการค้า และผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ การให้กลับไปเป็นสภาแบบที่ปรึกษาการบริหารการพัฒนาจังหวัด ชายแดนใต้นั้น เนื่องจากเราเห็นได้ว่าคำสั่งคณะกรรมการที่ปรึกษา ณ ขณะนี้ไม่มีผู้แทนจาก ประชาชนในพื้นที่ตามที่ได้นำเรียนไปข้างต้น รวมทั้งการที่ประชาชนในพื้นที่ก็ไม่มีบทบาท ในการมีส่วนร่วมใด ๆ อาทิเช่น การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญซึ่งควรให้คนในพื้นที่ ณ เวลานี้จะดีกว่าหรือไม่คะท่านประธาน ให้คนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดของเขาเองในการฟื้นฟูสภาที่ปรึกษา การช่วยเพิ่มสัดส่วนของการมีส่วนร่วมของประชาชน หากมีคนในพื้นที่มาสร้างความรู้สึก ปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่และสามารถที่จะเปิดรับฟังเสียงของคนที่มีลักษณะรูปแบบของ การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับคนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น เพราะขณะนี้เราขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและคนในพื้นที่ของ ๓ จังหวัดชายแดนใต้เป็นอย่างมากที่จะสะท้อนเสียง ของคนในพื้นที่อย่างแท้จริงให้นำมาสู่แนวทางการแก้ไข จากในรายงานมีการจัดทำ กระบวนการฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ในรายงานนี้มีข้อสรุปว่าคนส่วนใหญ่ ให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ผ่านกฎหมาย ซึ่งเห็นได้ว่าเราควรจะเอามาพูดคุยกันว่าคณะกรรมการ ที่ปรึกษาและการบริหารการพัฒนา ๓ จังหวัดชายแดนใต้อาจจะยังไม่ตอบสนองหรือสอดรับ กับกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการทำงานที่ผ่านมาค่ะ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย ที่ดิฉันอยากยืนยันต่อท่านประธานและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ว่าเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ดิฉันควรจะผลักดันร่างพระราชบัญญัตินี้ คือกระบวนการ สันติภาพที่จะก่อเกิดขึ้นได้จริงนั้นต้องมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย มีความจริงใจจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายบริหารค่ะ เพราะดิฉันได้พูดคุยกับนักวิชาการจากประเทศมาเลเซียที่เป็น หนึ่งในคณะกรรมการการสร้างสันติภาพในประเทศมาเลเซียเขาบอกว่าประธานาธิบดี ของมาเลเซีย ณ ขณะนั้นให้ความสำคัญเป็นวาระแห่งชาติในปัญหาความรุนแรงระหว่างลัทธิ ความรุนแรงในพี่น้องมุสลิมในประเทศมาเลเซีย จึงสามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างถ่องแท้ เมื่อขาดการมีส่วนร่วมและไม่ให้คนในพื้นที่ได้แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาย่อมไม่นำไปสู่ สันติภาพอย่างแท้จริง รวมไปถึงการขาดความจริงใจจากฝ่ายบริหารก็จะไม่นำไปสู่สันติภาพ อย่างแท้จริง เพราะเรื่องนี้จะไม่เป็นวาระแห่งชาติเลย ถ้าฝ่ายบริหารไม่ให้ความใส่ใจค่ะ อีกทั้งเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ คณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ นำโดย ท่านฉัตรชัย บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อปลายปีที่ผ่านมาได้พูดคุยอย่างเป็น ทางการกับตัวแทนของ BRN ครั้งที่ ๗ ภายใต้การอำนวยความสะดวกของทางการมาเลเซีย ปรากฏทิศทางที่ดี โดยในแถลงการณ์รายงานความคืบหน้าก็ระบุชัดเจนว่าจำเป็นต้องเปิด ให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาร่วมในกระบวนการ ดังนั้นดิฉันและเพื่อนสมาชิกเชื่อเป็นอย่างยิ่ง ว่าทุกท่านในนี้อยากเห็นสันติภาพของประชาชนทุกหมู่เหล่า อยากให้ประเทศไทยเปิดกว้าง และยอมรับความเห็นต่างอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ควรสนับสนุนร่างพระราชบัญญัตินี้ เปิดกว้างและเป็นมิตรต่อการสร้างสันติภาพที่มีคุณภาพเพื่อให้เกิดความคืบหน้าและ ขอความจริงใจจากฝ่ายบริหารในการผลักดันวาระของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปเป็น วาระแห่งชาติให้ได้ค่ะ ท่านประธานคะ ปัญหาความรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาของพวกเราทุกคนค่ะ หากใครสักคนถูกละเมิดสิทธิโดยภาครัฐ เท่ากับเราทุกคน ก็ไม่มีสิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกัน ลองคิดว่าหากเราไปอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น ถูกรัฐกดขี่ ด้วยกฎหมายความมั่นคงและละเมิดอย่างต่อเนื่องเราจะรู้สึกอย่างไรคะ สงครามกลางเมือง และความรุนแรงไม่ควรเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้แล้ว ดิฉันฝันเห็นสันติภาพใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ สังคมพหุวัฒนธรรมที่เคารพความแตกต่างและหลากหลาย หากรัฐบาลนี้ เชื่อในประชาธิปไตยและความเท่าเทียม ดิฉันคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ดิฉันขออนุญาตยืมคำของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) บิดาของประชาธิปไตย All men are created equal คือมนุษย์ทุกคนเกิดมาอย่างเท่าเทียมกันค่ะท่านประธาน แต่อย่างไรก็ตามตอนที่โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) พูดคำนี้ คนผิวดำก็ยัง ไม่มีสิทธิที่จะเลือกตั้ง ผู้หญิงก็ยังไม่มีสิทธิที่จะเลือกตั้ง แต่การเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย คำนี้ได้เป็น Blueprint หรือเป็นพิมพ์เขียวให้มีการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายไปสู่ความ เป็นจริงได้ การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายอาจจะไม่ได้เปลี่ยนสังคมไปทุกอย่าง ณ ทีเดียว ณ ทันที แต่จะค่อย ๆ เปลี่ยนสังคมไปแบบที่เราอยากเห็นได้ค่ะ และขอให้ปัญหาความรุนแรง ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากไม่มีใครควรถูกฆ่าตาย ซ้อมทรมาน หรือจับกุมเพราะอุดมการณ์หรือความเห็นที่แตกต่างจากภาครัฐอีกต่อไป ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๗ อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย ตำบลลำไพลของอำเภอเทพา พรรคภูมิใจไทย ท่านประธานครับ การแก้ปัญหาประกาศและคำสั่ง คสช. ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมาธิการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ กำหนดอำนาจของ กอ.รมน. นี่คือญัตติครับ สาเหตุหลักที่ต้องยกเลิกกฎหมายทับซ้อน ทำให้ ผู้ปฏิบัติงานยาก เพราะอะไรครับ เพราะ ศอ.บต. กอ.รมน. ดำเนินการยาก ต้องแก้กฎหมาย ให้ทันสมัย ให้มีเอกภาพ ไม่ขัดแย้งในการทำงานของหน่วยงานของรัฐ คสช. ทำรัฐประหาร วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ๑๐ ปีมาแล้วครับท่านประธาน โดยใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ ๓ เรื่องใหญ่ ๆ ใช้บังคับใช้กฎหมายพิเศษ ซึ่งเทียบเท่ากับกฎหมาย ออกคำสั่ง เรื่องที่ ๑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือว่าประกาศ คสช. เพราะฉะนั้นพี่น้องประชาชนหรือบุคคลอื่นอาจจะสับสนว่าตกลงมันเป็นประกาศ เป็นคำสั่ง มันมีอะไรกันแน่ ตามผมมาครับท่านประธาน เรามาดูประกาศ คสช. เขาเรียกว่าประกาศ คสช. ยกตัวอย่าง ฉบับที่ ๑ ให้ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ฉบับที่ ๕ ให้ยกเลิก รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ฉบับที่ ๑๔ ห้ามสร้างความขัดแย้งและต่อต้าน คสช. แสดงว่าประกาศ คสช. ประกาศแต่เรื่องใหญ่ ๆ ในช่วงแรกที่มีการปฏิวัติ มาดูต่อไปครับ เขาเรียกว่าคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือว่าคำสั่งคณะ คสช. มันแตกต่างกันนะครับ ประกาศ กับคำสั่ง ยกตัวอย่างฉบับที่ ๑ ให้บุคคลมารายงานตัวหลังจากปฏิวัติ ฉบับที่ ๗ ให้เปลี่ยนตัว ผบ.ตร. ในขณะนั้น ฉบับที่ ๒๖ ห้ามบุคคลบางคนทำธุรกรรมทางการเงิน เห็นไหมจะมีความ แตกต่างระหว่างประกาศ คสช. กับคำสั่งของคณะ คสช. ข้อที่ ๓ ข้อที่เรากำลังพูดถึง เขาเรียกว่าอะไรครับ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พูดสั้น ๆ คือคำสั่งหัวหน้า คสช. อาศัยอำนาจมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี ๒๕๕๗ หลังปฏิวัติไปฆ่า รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ครับ และตั้งรัฐธรรมนูญชั่วคราวขึ้นมา โดยใช้มาตรา ๔๔ ในการ ออกคำสั่งรัฏฐาธิปัตย์ ปี ๒๕๕๗ หลังการปฏิวัติช่วงระยะเวลา ๑ ปีส่วนใหญ่คณะ คสช. ใช้อยู่ ๒ อำนาจ อำนาจที่ ๑ ประกาศ คสช. อำนาจที่ ๒ คำสั่ง คสช. แต่หลังจากปี ๒๕๕๘ จนถึงปี ๒๕๖๐ เขาใช้อำนาจหัวหน้า คสช. โดยอ้างอิงมาตรา ๔๔ ออกคำสั่ง ท่านรู้ไหมครับ ออกไปเท่าไร ๑๖๐ ฉบับ ในข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติหน่วยงานของรัฐยอมรับครับ ข้าราชการ ก็ยอมรับคำสั่งนี้ ที่สำคัญคำสั่งหัวหน้า คสช. ฝ่ายตุลาการของประเทศไทยยอมรับอำนาจ ของคณะปฏิวัติให้มีผลบังคับทางกฎหมาย เป็นที่มาของคำสั่งนี้ดำเนินการอยู่ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ไม่กี่วัน ตัวแทนพรรคภูมิใจไทยตระหนักดีถึงเรื่องนี้เลยเสนอร่าง พระราชบัญญัติยกเลิกและคำสั่ง คสช. ที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิพลเมือง จำกัดสิทธิทางการเมือง และสิทธิชุมชนของประชาชน และที่สำคัญมีเนื้อหากำหนดสถานะทางกฎหมายที่พลเรือนกระทำผิด แต่กฎหมายฉบับนี้ให้ ไปขึ้นกับศาลทหารครับ โดย สส. สฤษฏ์พงษ์ไปยื่นให้กับเลขาของประธานรัฐสภาที่ผ่านมา พรรคภูมิใจไทยมองเห็นการแก้ปัญหาภาพรวมของประเทศ เพราะฉะนั้นกฎหมายฉบับนี้ ที่ท่านสฤษฏ์พงษ์ยื่นในนามของพรรคภูมิใจไทยคิดว่าจะได้รับการแก้ในอนาคต แต่วันนี้ เราจะมาพูดถึง ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ ที่มีผลกับ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ และ ๔ อำเภอของบ้านผม คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๙ ประเด็นหลัก ๆ ก็คือ เรื่องอะไรครับ ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาในเรื่องของการบริหาร ในเรื่องของการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจของ กอ.รมน. เข้ามาแทรก ซึ่งกฎหมายเดิม มีอยู่แล้วครับ เขาเรียกว่าอะไร พ.ร.บ. ศอ.บต. ปี ๒๔๕๓ ปรากฏว่าคณะปฏิวัติบอกว่า กฎหมาย ศอ.บต. ปี ๒๕๕๓ ไม่พอ ต้องใช้กฎหมายฉบับนี้แทรกเข้าไป แต่มันจะไปคุกคาม การทำหน้าที่เดิมของ ศอ.บต. เพราะฉะนั้นประกาศคำสั่ง คสช. มีอุปสรรคก็คือประกาศ คสช. ที่ ๙๓/๒๕๕๗ แล้วก็หัวหน้า คสช. ที่ ๕๗/๒๕๕๙ ๒ ฉบับนี้ถูกยกเลิกโดยมติ ครม. คำสั่งนายกรัฐมนตรี เพราะอะไรครับ เพราะว่าสามารถยกเลิกได้โดยฝ่ายบริหาร โดยคณะรัฐมนตรี แต่ฉบับที่เราพูดถึงคือประกาศ ของหัวหน้า คสช. ฆ่าไม่ตายครับท่านประธาน คณะรัฐมนตรีฆ่าไม่ตาย ใช้วิธีการไหน ก็ฆ่าไม่ตาย ฆ่าอย่างเดียวโดยใช้สภาผู้แทนราษฎรแก้ไขครับ เพราะฉะนั้นคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ที่เรากำลังจะพูดถึงต้องใช้กระบวนการทางสภาผู้แทนราษฎรในการ แก้กฎหมายฉบับนี้
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
สรุปครับ ๑. ทุกฝ่ายเห็นไปในทิศทางเดียวกัน อยากให้การแก้ปัญหาภาคใต้ เป็นเอกภาพ ๒. มีหน่วยงานที่ดูแลชัดเจนตามกรอบกฎหมายกำหนด ๓. ไม่มีกฎหมาย ทับซ้อนในทางปฏิบัติ เพราะฉะนั้นคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ ทำให้ประชาชน ในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาอย่างจริงจังได้ โดยใช้ พ.ร.บ. ของ ศอ.บต. ปี ๒๕๕๓ ผมเห็นด้วยให้สภาตั้งกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคกับการพัฒนา ภาคใต้และแก้ไขประกาศคำสั่งที่ไม่เป็นอารยะ เพราะปัจจุบันเราปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยกฎหมายต้องมาจากประชาชนและฝ่ายนิติบัญญัติ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านที่มาลงชื่อตอนนี้เหลือฝ่ายค้านอภิปราย ๒ ท่าน แล้วฝ่ายรัฐบาล ๓ ท่าน เพราะฉะนั้นเดี๋ยวจะขอเรียกเป็นอัตราส่วน ๑ : ๓ เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับนะครับ แล้วหลังจากที่ท่านฐากร ตัณฑสิทธิ์ อภิปรายจบจะปิดการลงชื่อเพื่ออภิปรายครับ เพราะฉะนั้นผมจะเรียกท่านฐากร ตัณฑสิทธิ์ แล้วก็สลับไปที่ท่านกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ท่านจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แล้วก็ท่านจาตุรนต์ ฉายแสง นะครับ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ กระผม ฐากร ตัณฑสิทธิ์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย กระผมต้อง ขออภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๙ ผมขออนุญาตเรียนอย่างนี้ครับท่านประธาน เมื่อสักครู่ ผมอยากจะอธิบายนิดหนึ่งว่าร่างนี้ผมในนามของพรรคไทยสร้างไทยเราสนับสนุนเต็มที่ครับ แต่เพียงแต่ว่าประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติมันแตกต่างกันตรงนี้ครับ ๒ ประเด็นครับ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ก็คือประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติมันเกิดขึ้นก่อนที่จะมี รัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่คำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งเราใช้มาตรา ๔๔ ในการดำเนินการมันเกิดขึ้นหลังจากที่มีรัฐธรรมนูญชั่วคราวบังคับใช้แล้ว จึงมีมาตรา ๔๔ ตรงนั้น ขออนุญาตแยกเป็น ๒ ประเด็นนะครับ ผมเรียนอย่างนี้นะครับว่าเมื่อฟังผู้ที่นำเสนอ ญัตติทั้ง ๓ ท่านแล้ว ตอนแรกผมมีประเด็นที่จะอภิปรายสนับสนุนเยอะมาก แต่ทั้ง ๓ ท่าน ที่นำเสนอร่างญัตติขึ้นมา ท่านอธิบายครอบคลุมได้ทุกประเด็นคำตอบอย่างที่ทุกพรรคการเมือง ต้องการที่จะเห็น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้น ผมสรุปประเด็นง่าย ๆ นะครับ ว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ความหมายก็คือเราจะกลับไปใช้พระราชบัญญัติการบริหาร ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี ๒๕๕๓ ให้ครบทั้ง ๓๑ มาตรา ถูกต้องใช่ไหมครับ ในวันนี้ ก็คือร่าง พ.ร.บ. เดิมของการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี ๒๕๕๓ ก็คือเราจะ กลับไปใช้ทั้ง ๓๑ มาตราเพื่อสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ ท่านประธาน ผมเรียนอย่างนี้นะครับว่าเมื่อสักครู่นี้ ผมขออนุญาตเอ่ยชื่อท่านอาจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล นิดหนึ่ง ที่ท่านอภิปรายได้ดีมากแล้วก็กินใจผมมากครับ บอกว่า กฎหมายของคณะปฏิวัติต้องเอ่ย สั้น ๆ ครับว่ายกร่าง ๑ วัน แต่สภาเราต้องมาแก้ไขกฎหมายในกลุ่มพวกนี้ใช้ระยะเวลา ๖ เดือนถึง ๑ ปี ผมยังไม่ทราบว่า ๖ เดือนจะเสร็จหรือเปล่า เนื่องจากว่าต้องผ่าน สภาผู้แทนราษฎรและต้องผ่านวุฒิสภาอีกครั้งหนึ่งครับ เรียนท่านประธานอย่างนี้ครับว่า เป็นไปได้ไหมว่าทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ทำงานร่วมกัน ประกาศคณะรักษาความสงบ แห่งชาติฉบับใดที่ไม่เกิดประโยชน์ คำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับใด ที่คิดว่าไม่เป็นประโยชน์แล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน ตกลงร่วมกันตราเป็นพระราชกำหนด ได้ไหมครับ ยกเลิกครั้งเดียวเอาเข้าสภาเลยครับ ประเทศไทยจะได้เดินหน้าต่อไปได้ ตราเป็น พระราชกำหนดตามแนบนี้ ๔๔ ฉบับ ๕๐ ฉบับครั้งเดียวเลยครับ กฎหมายในอดีตที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นคณะปฏิวัติชุดก่อน ๆ ยังมีกฎหมายที่มีความล้าหลังในอดีตที่ผ่านมาเยอะมาก กฎหมายพวกนี้เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศหลาย ๆ ฉบับ เพราะฉะนั้นเป็นไปได้ ไหมครับว่าเราทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล วันนี้ทำงานร่วมกัน จับมือกันเลยว่ากฎหมายในกลุ่มนี้ ยกร่างครั้งเดียวตราเป็นพระราชกำหนดให้มีผลบังคับใช้ได้วันนี้เป็นต้นไป แล้วก็นำเข้าสภา เพื่อขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ผมคิดว่าทุกคนให้ความร่วมมือในการทำงาน เพื่อที่จะทำให้ประเทศของเราเดินหน้าในการที่จะพัฒนาในส่วนนี้ให้ได้ต่อไปครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานเป็นอย่างยิ่งครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนศรีมหาโพธิ และโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ยินดีต้อนรับครับ ขอเชิญท่านกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ครับ
นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ นราธิวาส ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วยอำเภอ บาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ขออนุญาต มีส่วนร่วมในการอภิปรายญัตติร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ที่มีผู้เสนอญัตติได้เสนอญัตติต่อสภาแห่งนี้ก่อนหน้านี้ พรรคประชาชาติขอสนับสนุนร่าง ยกเลิกคำสั่ง คสช. ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ จริง ๆ แล้วในส่วนพรรคประชาชาติเองเราได้ยื่นขอให้ มีการยกเลิกคำสั่ง คสช. ฉบับนี้ไปก่อนแล้วด้วยเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๖ แต่เราเห็นว่า คำสั่ง คสช. ที่เกี่ยวกับการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ที่ยืดเยื้อมานาน มันไม่ใช่เฉพาะแต่คำสั่งที่ ๑๔/๒๕๕๙ ก่อนหน้านี้ก็มีคำสั่งอีก ๒ ฉบับ ก็คือคำสั่ง ที่ ๙๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ แล้วก็คำสั่ง ที่ ๕๗/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙ รวม ๓ ฉบับที่เรายื่นญัตติไป แต่เนื่องจากว่าอีก ๒ คำสั่ง นอกเหนือจากคำสั่ง ที่ ๑๔ นี้มันเกี่ยวข้องกับการเงิน ทางสภามีหนังสือแจ้งมายังผมในฐานะ เจ้าของญัตติต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรอง จึงเป็นที่มาที่พรรคประชาชาติเราไม่ได้เป็น หนึ่งในเจ้าของญัตติที่ให้ยกเลิกเฉพาะคำสั่ง ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ในญัตติของสภาเราในวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามอย่างที่ผมได้กล่าวตั้งแต่ต้นว่าพรรคประชาชาติเราสนับสนุนเห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่จะให้มีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว ผมเรียนอย่างนี้ครับว่าปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกยุคทุกสมัยสภาฝ่ายนิติบัญญัติได้มีการพูดถึงมาโดยตลอด เพื่อต้องการแก้ไขปัญหา ซึ่งยืดเยื้อมาหลายสิบปี เพราะว่าปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มันเชื่อมโยงหลายมิติ มีความละเอียดอ่อน หนึ่งในนั้นเหตุการณ์ที่ยังคงอยู่เป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดของ ฝ่ายบริหารในแต่ละยุคแต่ละสมัย หนึ่งในนั้นที่เรามองเห็นว่ามีการผิดพลาดก็คือ คำสั่งของ คสช. ท่านประธานที่เคารพครับ พ.ร.บ. ศอ.บต. ปี ๒๕๕๓ ได้ตราขึ้นตาม เจตนารมณ์ให้มีเจตนาเป้าประสงค์ให้ ศอ.บต. พัฒนาพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ควบคู่ กันไป เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐ โดยในมาตรา ๑๙ ให้อำนาจหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาซึ่งมา จากภาคประชาชนมีส่วนร่วมหลายหน่วยงาน หลายองค์กรในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำด้าน ศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผมอยู่ในพื้นที่นะครับ สภานี้ละครับเป็นสภาที่เสียงสะท้อนของ พี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง แต่ว่าปรากฏอย่างไรครับ เหมือนที่ท่านเพื่อนสมาชิกได้ อภิปรายก่อนหน้านี้ หลังจากเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร แทนที่จะมีการออกคำสั่ง ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เปรียบเสมือนหนึ่งว่ามีการแก้ไขกฎหมายแต่ไม่ได้ผ่านสภา แต่อาศัย รัฐธรรมนูญชั่วคราวในขณะนั้น มาตรา ๔๔ ให้อำนาจ คสช. ได้ออกคำสั่งต่าง ๆ หลายร้อยฉบับ อย่างที่เราทราบกันดีว่าหลายฉบับคำสั่ง คสช. ไปกระทบโครงสร้างต่าง ๆ ในการบริหาร ประเทศ หนึ่งในนั้นก็คือปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไปออกคำสั่งปิดปาก ผมใช้คำว่า ปิดปาก นะครับ เสียงสะท้อนของพี่น้องประชาชนจากสภาที่ปรึกษาไม่มีอีกแล้ว ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๙ ตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๙ ปัญหาหลาย ๆ อย่างที่พี่น้องฝากถึงสภาที่ปรึกษา ที่มาจากองค์กรศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาอิสลามหรือศาสนาพุทธ จากองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น คสช. ไปปิดปาก โดยให้ กอ.รมน. เป็นผู้นำในการตั้งสภาที่ปรึกษา แน่นอนที่สุดครับ ก่อนหน้านี้คนที่ได้รับผลกระทบ คนที่ถูกปิดปากเขาไม่กล้าส่งเสียง เพราะส่งเสียงไปหาว่า เป็นมุสลิมหัวรุนแรงอีก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จึงเป็นหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องส่ง เสียงแทนบุคคลเหล่านี้ที่อยากให้ ศอ.บต. กลับมาเป็นคนเดิมตามมาตรา ๑๙ และอำนาจ หน้าที่ตามมาตรา ๒๓ หลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ ประเด็นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมาเราไม่มีตัวแทนของ ศอ.บต. ที่เข้าไปอยู่ใน ศอ.บต. ที่ส่งเสียงสะท้อนให้ฝ่ายบริหาร ได้รับฟัง ท่านประธานที่เคารพครับ การปิดปากลักษณะเช่นนี้ผมว่าถึงเวลาแล้วที่สภาของเรา ต้องหยิบยกขึ้นมา ยกเลิกมรดกตกทอดหลาย ๆ คำสั่งของ คสช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหา ผมพูดมาโดยตลอดว่า ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันนี้กระบวนการสันติภาพต้องควบคู่ไป กับการพัฒนา กระบวนการสันติภาพที่กำลังมีขึ้น ที่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ให้มีคณะพูดคุยเพื่อกระบวนการสันติภาพ หนึ่งในคณะพูดคุยที่มีการ แต่งตั้ง นอกจากกระทรวงยุติธรรม แล้วก็มีตัวแทนของ ศอ.บต. อยู่ด้วย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าเรามีสภาที่ปรึกษา เราเอาสภาที่ปรึกษากลับคืนมา อย่างน้อยที่สุดทิศทางในกระบวนการ สันติภาพที่มี ศอ.บต. เป็นหนึ่งในคณะพูดคุยก็จะได้รับฟังเสียงสะท้อนกับพี่น้องประชาชนให้ มามีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุยผ่าน ศอ.บต. ด้วยเหตุดังกล่าวทางพรรคประชาชาติเอง เราจึงสนับสนุนแล้วก็ยินดีมาก ฟังการอภิปรายเมื่อสักครู่มีทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล เห็นด้วย ทั้ง ๒ ฝ่าย และผมเชื่อว่าการนำพระราชบัญญัติ ศอ.บต. พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการยกเลิกคำสั่ง คสช. ให้มาตรา ๑๙ ทำหน้าที่ในกลไกที่ควรจะเป็นตามเจตนารมณ์ของ ศอ.บต. จะทำให้ ส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม ขอขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ครับ
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ กระผม นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จากจังหวัดศรีสะเกษ ท่านประธานครับ คำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ มีผลทำให้ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมที่พระราชบัญญัติ ปี ๒๕๕๓ ประสงค์จะให้ฝ่ายพลเรือนโดยมี ศอ.บต. เป็นองค์กร สำคัญในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ แต่เมื่อมีคำสั่งของ คสช. ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ ออกมาทำให้บทบาทของ ศอ.บต. และประชาชน รวมทั้งข้าราชการพลเรือนในการแก้ไข ปัญหาเปลี่ยนไป ถูกลดบทบาทลงไปและทำให้ กอ.รมน. และฝ่ายทหารมีบทบาทมากขึ้น ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสาระสำคัญของคำสั่งนั้นก็คือการยกเลิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีที่มายึดโยงจากประชาชน มาจากระบบ Bottoms Up หรือจากข้างล่างสู่ข้างบน ในขณะที่คำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ นั้นเป็นคำสั่งที่ใช้คณะกรรมการ มาทำงานแทนสภาที่ปรึกษาซึ่งคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาและการบริหารนั้นมีที่มา จากระบบสั่งตรงจากด้านบน กล่าวคือท่านนายกรัฐมนตรีท่านก็เป็นคนเลือก คือมาจาก ด้านบนนะครับ โดยความเห็นของ ศอ.บต. กับ กอ.รมน. ซึ่งผลของการทำเช่นนั้นทำให้ การทหารมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาและทำให้ ศอ.บต. ซึ่งตามหลักแล้วเป็น หน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เลขาธิการ ศอ.บต. เป็นข้าราชการพลเรือน มีฐานะ เท่ากับปลัดกระทรวง ซี ๑๑ นะครับ แต่พอมีคำสั่งออกมาทำให้ ศอ.บต. ต้องฟังความเห็น ของ กอ.รมน. ด้วย ซึ่ง กอ.รมน. นั้นเป็นหน่วยงานราชการซึ่งสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง ซึ่งทำให้การบริหารราชการก็มีความแปลกอยู่บ้าง เพราะจริง ๆ แล้ว ศอ.บต. ก็ควรขึ้นกับ นายกรัฐมนตรีโดยตรงนะครับ แต่พอมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา กระบวนการบริหารก็ดูจะ ลักลั่นบ้าง ผลของการที่เป็นเช่นนั้นเราก็จะพบว่าการที่ใช้การทหารนำในการแก้ไขปัญหา โดยที่ผ่านมาโดยตลอดเราพบว่าปัญหาของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้ลดลงครับ คือการแก้ไขปัญหามีแต่ทุ่มเทงบประมาณลงไป แต่ปัญหาจริง ๆ ไม่ได้คลี่คลายลงครับ ถ้าจะเปรียบเทียบก็เปรียบเสมือนกับปัญหานี้มันเป็นปัญหาที่มีหม้อน้ำเดือดอยู่ แล้วเราก็ใช้ กำลังทหารฝ่ายความมั่นคงปิดฝาโดยที่ไม่หาทางที่จะเอาฟืนที่ทำให้ไฟลุกโชน ทำให้น้ำ เดือดออก ผลของการเป็นเช่นนั้น แม้ในระยะสั้นจะสามารถควบคุมสถานการณ์ให้ดู เหมือนว่าสงบอยู่ แต่แรงกดดันที่อยู่ในหม้อน้ำที่เดือดนั้นไม่ได้ผ่อนคลายลง การแก้ไขปัญหา จึงไม่ได้ยุติลงไปครับ ในขณะที่ถ้าหากว่าเราใช้ระบบของพระราชบัญญัติการบริหารราชการ จังหวัดชายแดนใต้ ๒๕๕๓ ซึ่งให้ข้าราชการพลเรือนเป็นตัวนำในการแก้ไขปัญหานั้นจะเป็น การแก้ไขปัญหาที่ตรงกว่า เนื่องจากว่าประชาชนที่อยู่ในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยตรง โดยผ่านการมีส่วนร่วมเป็นสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่สามารถรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนตามมาตรา ๒๓ หรือแม้แต่การที่ประชาชนจะร้องเรียนผ่านสภาที่ปรึกษาและให้ความเห็นต่อเลขาธิการ ศอ.บต. ในการที่จะมีการปรับเปลี่ยนข้าราชการพลเรือนที่มีปัญหาออกไปจากพื้นที่ ก็ทำให้ การแก้ไขปัญหามีความบูรณาการมากขึ้น ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ความเข้าใจที่เคย มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในสมัยอดีตก็คลี่คลายตามลำดับ เพราะว่าการแก้ไขปัญหาใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้นั้น ไม่สามารถที่จะใช้กำลังทหารหรือ ฝ่ายความมั่นคงแล้วกดให้เรื่องสงบได้ การแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้นั้นถ้าจะแก้ไข ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงต้องเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ ก็คือการแก้ไขปัญหาที่ความเข้าใจของ ประชาชน ซึ่งพระราชบัญญัติปี ๒๕๕๓ เป็นพระราชบัญญัติที่มีความเหมาะสมกว่าคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ดังนั้นการที่มีเพื่อนสมาชิกเสนอร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่ง คสช. ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ จะเป็นมิติสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ กลับเข้าสู่แนวทางและวิธีการที่ถูกต้อง ผมจึงเห็นควรที่จะสนับสนุนร่างพระบัญญัตินี้ครับ ขอบพระคุณครับ ท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านปรเมษฐ์ จินา เชิญครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ และสมาชิกทุกท่านนะครับ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ ครับ ก็ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในส่วนของการที่จะยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ นะครับ สืบเนื่องจากว่าเราก็คงจะไม่ว่ากัน นะครับว่าในส่วนของสถานการณ์แต่ละยุคแต่ละช่วงเขาก็จะมีในเรื่องของการแก้ปัญหา ยกตัวอย่างว่าถ้าย้อนกลับไปในวันนั้นที่เรามานั่งในที่ทำการแห่งนี้เราก็คงจะตัดสินเช่นนี้ เหมือนกันนะครับ แต่ว่าในเมื่อเวลามันล่วงเลยผ่านมาแล้วก็คงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ เข้ากับยุคกับสมัย สืบเนื่องจากว่าในส่วนของพระราชบัญญัติดังกล่าวมันก็จะสอดคล้อง แล้วก็ไปเกี่ยวเนื่องกับ พ.ร.บ. บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ซึ่งก็กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการไว้ค่อนข้างที่จะชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การจัดทำแผน การทำแผนปฏิบัติการ การดำเนินงานตามแผน แล้วก็การควบคุมกำกับพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้นะครับ แต่ในส่วนที่สำคัญก็คือในเมื่อเรามีการวิเคราะห์ เรามีการ ถอดบทเรียน เรามีการประเมินมาเป็นช่วงระยะเวลา ก็คิดว่าบางครั้งก็ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ผมกราบเรียนท่านประธานว่าผมเคยศึกษาอยู่ที่จังหวัดยะลาช่วงปี ๒๕๒๕-๒๕๒๖ ซึ่งช่วงนั้นสถานการณ์ค่อนข้างที่จะปลอดภัย แล้วก็สามารถที่จะลงไปสำรวจบ้าน ตอนนั้น เป็นพนักงานอนามัยที่จะต้องไปสำรวจบ้านดูในเรื่องของการวางแผนครอบครัว แล้วก็ ดูในเรื่องของการทำส้วม ก็จะอยู่ด้วยกันด้วยความสงบนะครับ แต่ว่าเมื่อเวลามันเปลี่ยนไป ก็คิดว่าคงจะมีการปรับปรุงในส่วนนี้นะครับ มองว่าอยากจะใช้รูปแบบใหม่เหมือนสมัย ท่านชาติชาย ชุณหะวัณ ที่เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ถ้าเป็นไปได้คณะกรรมการ ที่ปรึกษาที่เราจะปรับเปลี่ยนองค์ประกอบในส่วนของคณะกรรมการ หรืออาจจะให้ใช้ชื่อว่า สภาที่ปรึกษามันก็จะเข้าท่าเข้าทางนะครับ ก็มาดูในเรื่องของคณะกรรมการตามมาตรา ๔๔ มองว่าถ้าเราใช้รูปแบบเดิมก็คงจะทำให้มีการชี้นำ แล้วก็มันไม่ได้มีการตอบโจทย์ในเรื่องของ การมีส่วนร่วมของคนพื้นที่ ๕ จังหวัด ผมมองว่าถ้าคณะกรรมการส่วนหนึ่งที่เราให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคณะกรรมการ แต่ส่วนหนึ่งที่คาดว่าคงจะหลีกหนีไม่ได้เพื่อให้มีการ ดำเนินงานอย่างผาสุก นั่นก็คือถ้าเรามีผู้ว่าราชการจังหวัดที่ทางรัฐบาลแต่งตั้งไปแล้ว ทีนี้ เราต้องเอาผู้ว่าราชการจังหวัดจากที่ประชาชนเลือกตั้งมาด้วยนั่นก็คือนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนะครับ อันนี้ก็เป็นส่วนสำคัญ แล้วก็ตัวแทนของนายกเทศมนตรี ตัวแทนของ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ ๕ จังหวัด จังหวัดไหนมีตัวแทนของเทศบาลแล้ว จังหวัดอื่นก็เอาเป็นตัวแทนของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อไม่ให้คณะกรรมการ มันมากเกินไป ใหญ่เทอะทะ เวลาการประชุมบางครั้งมันก็ไม่ครบองค์ประชุมหรือว่าบางครั้ง มันก็ขับเคลื่อนได้ช้า อันนี้ก็อยู่ที่กระบวนการในเรื่องของการแปรญัตติหรือในเรื่องของ การที่จะดูองค์ประกอบส่วนนี้ ซึ่งก็ใช้คำว่าในเรื่องของการติดกระดุมเม็ดแรกถ้าทำองค์ประกอบ ตรงนี้ให้มันครอบคลุม ชัดเจน แล้วก็มีส่วนร่วมจากพื้นที่ก็คงจะทำให้การดำเนินงานมี ความผาสุกมากยิ่งขึ้นนะครับ ผมยกตัวอย่างที่ผ่านมาในประเทศไทยเราก็จะมีในเรื่องสถานการณ์คอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย สู้รบกันมาหลายปีแต่ก็มาเจรจาได้ด้วยในเรื่องของคำสั่ง ๖๖/๒๕๒๓ แล้วก็หมด หายไปมาจนถึงทุกวันนี้นะครับ แล้วก็ถ้ายกตัวอย่างประเทศที่ผมเคยไปศึกษาเล่าเรียน ในส่วนของประเทศนิวซีแลนด์ เราก็จะเห็นว่าชนพื้นเมืองของเขาคือเมารี ถามว่าทำไม เขาสามารถที่จะอยู่ด้วยกันด้วยความรัก สมัครสมานสามัคคี แล้วก็ไม่เคยมีปัญหา สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น เพราะว่าเขาให้เกียรติซึ่งกันและกัน เมารีเป็นชาวเผ่าในประเทศ นิวซีแลนด์นะครับ แล้วก็พอฝรั่งเขาเข้าไปสำรวจแล้วก็เข้าไปยึดครองตรงนั้นเขาก็จะมี การทำสนธิสัญญา ผมก็มาดูว่าในเรื่องของการที่เราทำตรงนี้ให้มันพลิกแนวไปจากเดิม ก็คงจะต้องมีการใส่รายละเอียด เช่น ไปถอดดูว่าสนธิสัญญาที่ชาวยุโรปทำกับชาวเมารี เขาเขียนว่าอะไรบ้าง นโยบาย ๖๖/๒๕๒๓ เขาเขียนว่าอย่างไรบ้าง แล้วก็ถอดบทเรียน แล้วก็นำมาปรับตรงนี้ เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ทำตรงนี้ให้เป็นเรื่องของการมีรายได้ ของคนในพื้นที่ ก็คงจะทำให้สิ่งตรงนี้มันก็จะชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผมยกตัวอย่าง ๕ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ตรงนี้ ธรรมชาติให้สมบัติมาเยอะมากกว่าพื้นที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ น้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของก๊าซธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการประมง ถ้าทำให้ ดี ๆ ตรงนี้ก็จะเป็นสนามการค้าที่ยิ่งใหญ่ต่อไป ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลยางคราม และประธานผู้สูงอายุของแต่ละหมู่บ้านในตำบลยางคราม อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ สภาผู้แทนยินดีต้อนรับนะครับ ต่อไปอีก ๓ ท่านสุดท้ายก่อนที่จะมีการสรุป ท่านแรก ท่านกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ ท่านที่ ๒ ท่านซาการียา สะอิ ท่านที่ ๓ ท่านซูการ์โน มะทา เชิญท่านกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ เชิญครับ
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตมีนบุรี เขตสะพานสูง วันนี้ ขอร่วมอภิปรายเรื่องยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ นะครับ คำว่า คสช. ภาษาอังกฤษ เขาเรียกว่า National Council for Peace and Order ย่อว่า NCPO วันนี้ อ.เอท ขอใช้ตัว NCPO เป็น Model อภิปรายครับ
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เริ่มที่ N ตัวแรกคือ Normal แปลว่า พอกันที พอกันทีกับเรื่องของคำสั่ง ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เพราะอะไรครับ เพราะคำสั่งนี้เอามาทับปี ๒๕๕๓ หลังจากที่ปี ๒๕๕๗ มีการ ทำรัฐประหาร ปี ๒๕๕๙ ออกเป็น พ.ร.บ. ฉบับนี้ขึ้นมาให้ กอ.รมน. หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ พี่น้องทหารเข้ามาดูแล จากเดิมที่เราเคยมีสภาที่ปรึกษา กลายเป็นอะไรครับ กลายเป็น คณะที่ปรึกษา ซึ่งคณะที่ปรึกษามาจากไหนครับ ก็มาจากพี่น้องที่เป็น กอ.รมน. กว่า ๔๕ ท่านที่เห็นชอบ และที่เหลือก็มาจากใครครับ ก็มาจาก ๑. อาจจะเป็นผู้ว่าแนะนำมาสัก ๑๐ คน กลายเป็นว่าเดิมทีจากสภาที่ปรึกษาที่เราเคยมีโต๊ะอิหม่าม ท่านเจ้าอาวาส ท่านผู้แทนจากสตรี จากเด็กเล็ก หรือจากสมาคมสมาพันธ์ต่าง ๆ เขาเรียกว่าเป็นอย่างไรครับ มาจากประชาชนเอาง่าย ๆ ดีกว่าครับ กลายเป็นว่าตัดออกไปหมด เหลือทหาร นี่คือสิ่งที่ อ.เอท เห็นว่ามันไม่เป็นธรรมนะครับ ฉะนั้นคำแรกชัดเจนครับ N Normal เอาออกไปได้แล้ว เรื่องของคำสั่งนี้
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ต่อมาครับ ตัวที่ ๒ ตัว C คือคำว่า Council แปลว่า สภา ครับ สภาก็คือ เราอยากที่จะเอาสภา ปี ๒๕๕๓ ที่ประกอบไปด้วยพี่น้องประชาชนกลับมา กลับมาทำอะไร กลับมาทำ ๓ ส ครับ กลับมาทำให้สภานั้นสง่างาม สร้างความสงบ และสวยงามกับพื้นที่ ภาคใต้ของเรา เห็นไหมครับ ๓ ส ทีนี้ทำอย่างไรครับเรื่องนี้ ง่ายมาก ๆ ครับ เพราะเรา ต้องการที่จะให้พี่น้องคนที่มีความเกี่ยวข้องกับภาคใต้ของเรา จชต. จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่แค่ ๓ จังหวัดนะครับ ตอนนี้รวมไปอีก ๒ ก็คือ ๒ ส ครับ ก็คือสงขลา แล้วก็สตูล อ.เอท อยากที่จะรวมเป็นภาพรวมใหญ่ ๆ เลย เพราะฉะนั้นการที่เราจะมารวมตัวในวันนี้ ทำให้กับพี่น้องไม่ใช่แค่ชาวใต้ครับ ทั้งประเทศที่กำลังโดนรบกวนหรือโดนใช้กฎหมายที่ ไม่ถูกต้องอยู่จากคำสั่งของ คสช. NCPO นะครับ เพราะฉะนั้นตัว C Council สภาคงจะต้อง มาจากพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริงได้แล้ว
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ต่อมาตัว P P ในที่นี่หมายถึงอะไรครับ อ.เอท ขอใช้คำง่ายที่สุด People แปลว่าประชาชนคนทั่วไป พี่น้องเรานี้นะครับ เพื่อที่จะนำคำว่า Prosperity หรือนำคำว่า เจริญรุ่งเรืองครับ พอกันทีกับคำว่า Security ตอนนี้ประเทศเราก็ถือว่าสงบกันแล้ว เพราะฉะนั้นเราขาดคำว่าอะไรบ้าง สภาจะมาช่วยอะไรครับ สภาจะมาช่วยด้านเศรษฐกิจ สภาจะมาช่วยด้านการปกครอง สภาจะมาช่วยด้านสังคม และอีก ๑ อย่างที่ ศอ.บต. ต้องทำ ร่วมกับเราคือด้านจิตวิทยา สิ่งเหล่านี้ถ้าแค่เอาหน่วยงาน ๆ เดียวหรือ กอ.รมน. มา อย่างเดียวคงจะไม่สามารถแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ได้ อ.เอท ส่วนหนึ่งเป็นลูกหลาน คุณพ่อคุณแม่เป็นคนใต้ ขออนุญาตพูดแทนชาวใต้ด้วยในวันนี้ นี่คือตัว P P คืออะไรครับ P คือเราอยากได้อะไรบ้าง เศรษฐกิจครับ ท่านก็ต้องไปดูคนใต้ พี่น้องใต้ชอบอะไรครับ เกษตร การท่องเที่ยว เรื่องของตลาดชายแดน ท่านไปดูสงขลา อำเภอสะเดา หรือจะเป็น ตลาด ลงไปที่ยะลาครับ เบตง สุไหงโกลก ทุกตลาดนำพาเงินมหาศาลครับ เฉพาะที่สงขลา จังหวัดเดียวนำรายได้เข้าประเทศของเรามหาศาลนับเป็นแสนล้าน ๒.๓ แสนล้านครับ สงขลา จังหวัดเดียวมีนักท่องเที่ยวกว่า ๘ ล้านคนต่อปี แล้วถ้าเกิดไปดูที่อื่น ถ้าไปดู ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นที่เบตงหรือสุไหงโกลกมีนักท่องเที่ยวกว่า ๑,๕๐๐,๐๐๐ ราย นำ เงินเข้าประเทศเป็นหมื่นล้านครับ สิ่งเหล่านี้ถ้าเอาคนที่เป็นพี่น้องชาวทหารหรือ กอ.รมน. เข้ามาถามว่ามีความสามารถไหม มีครับ แต่มันไม่ถูกจุด ไม่ใช่ The Right Man On The Right Job ไม่ได้เอาคนที่เก่งมาทำหน้าที่ที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นตัว People ตัวนี้ อ.เอท เห็นว่าชัดเจนมาก ๆ ครับ เราจะทำอย่างไรก็ได้ให้คนที่ถูกส่วน ถูกที่มาบริหารประเทศ นี่คือ สิ่งที่ อ.เอท อยากจะเห็นมากที่สุด เพราะภาคใต้มี Soft Power มากมาย มีอันหนึ่ง Tales Run วิ่งที่ภาคใต้ของเราก็คือที่ตลาดเบตง เป็นการวิ่งออกกำลังกาย เป็น Soft Power ที่ดีที่สุดมาก เห็นไหมครับว่าเรายังขาดมาก แล้วภาคใต้พี่น้องที่เบตง หรือยะลา หรือนราธิวาส รายได้เขาต่อเดือนประมาณ ๑๘,๐๐๐ ต่อครัวเรือน ซึ่งทั้งประเทศต่อ ครัวเรือน ๒๘,๐๐๐ บาท แสดงว่าอะไรเกิดขึ้นครับ แสดงว่าเรื่องของความเป็นอยู่ Crouse of Living หรือค่าใช้จ่ายต่อเดือนยังไม่พอเพียง มันยังน้อยเกินไป ดังนั้น เราควรที่จะให้พี่น้องที่เป็นคนใต้มาดูแลกันเองดีกว่าไหมครับ ดีกว่าจะให้หน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งเข้ามาดูแลแทนพวกเขาครับ นี่แหละครับคือตัว P
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
และตัวสุดท้ายคือตัว O ครับ อ.เอท ขอใช้คำว่า Organize Organize แปลว่าการจัดการหรือการจัดระบบ เราให้สภาที่เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนเข้ามา ดูแล ๓ ง เถอะครับ ก็คือ งบประมาณ ท่านทราบใช่ไหมครับ ศอ.บต. มีงบประมาณต่อปี ๑,๕๐๐ ล้านบาท ใช้ในการจ้างคนเกือบ ๆ ๒๐๐ ล้านบาท มีงบค่าใช้จ่าย ๓๐๐ กว่าล้านบาท มีงบค่าอุดหนุน ๔๐๐ กว่าล้านบาท เกือบ ๕๐๐ ล้านบาท ๑,๕๐๐ กว่าล้านบาท ทำไม ไม่ให้พี่น้องประชาชนเข้ามาดูแล ทำไมต้องให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาดูแล นี่แหละคือ การจัดการที่ยังไม่มีระบบ ๑. งบ ๒. งาน ๓. จะสร้างเงินมหาศาลให้กับพี่น้อง ภาคใต้ทั้ง จังหวัด ทั้งภูมิภาคสร้างรายได้ให้กับประเทศ GDP ๑.๓ ล้านล้านบาท นี่คือเหตุผลที่เราต้อง ดูแลประเทศของพวกเรา ดังนั้นสิ่งที่เราอยากเห็น ไม่อยากที่จะเห็นระบบที่จนแล้วแจก หรือ เจ็บต้องไปรักษา หรือโง่แล้วค่อยไปปกครอง แล้วสุดท้ายเก็บภาษีเขายังไปแอบอ้างบุญคุณว่า ภาษีนี้เป็นของฉัน ไม่ใช่นะครับ ระบบนี้ควรเลิก และสุดท้ายนี้ สิ่งที่เราอยากเห็น อยากจะ เห็นประเทศของเรามี คสช. ซึ่ง คสช. คืออะไรครับ คืนสิทธิให้กับประชาชนเสียที เพื่อประเทศไทยที่ไม่เหมือนเดิม ขอบพระคุณครับ Respect
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ต่อไปท่านซาการียา สะอิ เชิญครับ
นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายซาการียา สะอิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส ประกอบไปด้วยอำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ อำเภอสุคิริน ท่านประธานครับ วันนี้ผมขอสนับสนุนญัตติยกเลิกคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกำหนดหน้าที่ของ กอ.รมน. พื้นที่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความแตกต่างจากพื้นที่ อื่น ๆ เนื่องจากเหตุการณ์ความมั่นคงตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ดังนั้น ศอ.บต. จึงเกิดขึ้นเพื่อที่จะเป็น หน่วยงานที่คอยสนับสนุน ช่วยเหลือ เยียวยา คนใน ๓ จังหวัด หลาย ๆ คนอิจฉาคน ๓ จังหวัดครับ เนื่องจากอะไรครับ งบอะไรก็แล้วแต่มานี่ก็ไปใน ๓ จังหวัดทั้งนั้น ผมถามว่า จังหวัดไหนจะเอา ศอ.บต. ไปบ้าง จังหวัดไหนที่จะเอา กอ.รมน. ไปบ้าง ผมเองอยู่ในพื้นที่ ๓ จังหวัด ผมอยากให้เหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ ไม่ได้อยากมีอะไรพิเศษเลย ไม่ได้อยากมีเขาเรียกว่าอะไร งบประมาณพิเศษเลยครับ เราอยากให้เหมือนจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ แต่เราเลือกไม่ได้ครับ เราเลือกไม่ได้ เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ มันก็เลยมา เกิดขึ้นใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณมันก็หลั่งไหลเข้ามา ถามว่าจากงบประมาณ ๔๐๐,๐๐๐-๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทที่ผ่านมานี้คน ๓ จังหวัดได้อะไรบ้าง ผมก็ตอบไม่ได้ครับ ท่านประธาน เพราะว่าเท่าที่ผมอยู่ใน ๓ จังหวัดนี้ไม่มีอะไรพัฒนาขึ้นเลย เศรษฐกิจ พัฒนาขึ้นไหม การศึกษาพัฒนาไหม สังคมดีขึ้นหรือเปล่า ยาเสพติดดีขึ้นไหม ในเมื่อมี กอ.รมน. ในเมื่อมี ศอ.บต. ไม่เลยครับ แต่สิ่งที่จำเป็นสำหรับคน ๓ จังหวัดก็คือการช่วยเหลือ เยียวยาคนในพื้นที่ ดังนั้น ศอ.บต. เลยเกิดขึ้นเพื่อที่จะไปสนับสนุน เยียวยา ผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจาก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นผมจึงเรียนตามตรงเลยครับว่าคน ๓ จังหวัด ไม่ได้ต้องการอะไรที่เหนือกว่า ถ้าเศรษฐกิจดี สังคมดี การศึกษาดี ทุกอย่างถ้ามี ๓ จังหวัด ก็ไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่าคนอื่นครับ อันนี้เป็นเรื่องจริงครับท่านประธาน หลังจาก ปี ๒๕๔๗ ก็ได้มี พ.ร.บ. การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา ๔๙ ให้มีสภาที่ปรึกษาการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบ ไปด้วยสมาชิกสภาที่ปรึกษาที่มาจากหลากหลายอาชีพ ก่อนอื่นต้องบอกเลยนะครับ ผมได้ สอบถามท่านกรรมาธิการชายแดนใต้ก่อนหน้านี้ เขาบอกว่าเขาพยายามให้เกิดสภา ความมั่นคงที่มาจากการเลือกตั้ง หลายครั้งหลายหนที่ออกไปประชุมข้างนอก แต่ผลออกมา ก็คือได้สภาความมั่นคงจริง แต่ไม่ได้เกิดจากการเลือกตั้ง แต่อย่างน้อยที่สุดก็มาจากการ แต่งตั้งที่มาจากหลากหลายอาชีพ หลังจากนั้น คสช. เข้ามา พอ คสช. เข้ามามีการยกเลิก มาตรา ๑๙ โดยมีคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ทำการยกเลิกมาตรา ๑๙ มาตรา ๑๙ ก็คือ ให้มีสภาที่ปรึกษาที่ผมบอกเมื่อสักครู่ พอยกเลิกแล้วก็ตั้งอีกอย่างหนึ่ง ตั้งคณะกรรมการ ที่ปรึกษา ผมถามว่าคณะกรรมการที่ปรึกษาเข้าใจคนในพื้นที่มากกว่าสภาหรือครับ มากกว่า สภาที่ปรึกษาการบริหารงานหรือเปล่าครับ ไม่ใช่ครับ เพราะอะไร เพราะสภาที่ปรึกษา มาจากประชาชน มาจากคนหลากหลาย มาจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาจากนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัด มาจากหลากหลาย เพราะฉะนั้นความเข้าใจในการที่จะให้คำปรึกษาแก่ ศอ.บต. มันจึงมีผลประโยชน์ค่อนข้างมากกว่าคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาตินะครับ เพราะฉะนั้นผมเองอยากจะบอกว่ายกเลิกได้แล้วครับ คำสั่ง คสช. นี้ มันทำให้คนในพื้นที่ ทำงานลำบากมาก จะปรึกษา จะหารือ จะทำงานค่อนข้างยากมาก แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่ กอ.รมน. มีหน้าที่ให้คำปรึกษาเพิ่มเติม ซึ่งเราทราบกันดีว่า กอ.รมน. มาจากความมั่นคง ผมไม่ได้บอกว่า กอ.รมน. ไม่เก่ง กอ.รมน. ไม่ดี แต่ผมจะบอกว่า การทำงานหน้าที่ของแต่ละคนมันไม่เหมือนกันนะครับ กำลังจะบอกว่าหน้าที่ของทหารก็คือ รักษา ปกป้อง ชาติ บ้านเมือง ไม่ได้มีหน้าที่มาทำให้เศรษฐกิจของ ๓ จังหวัดดีขึ้น ไม่ได้มี หน้าที่มาทำให้การศึกษาของ ๓ จังหวัดดีขึ้น เพราะฉะนั้นเราควรจะเลือกคนให้ถูกกับงาน Put the Right Man on the Right Job ด้นสดครับ ขอโทษที ทำให้เอาคนมาถูกกับงาน ที่มันดำเนินงาน เพราะฉะนั้นผมยังยืนยันกับท่านประธานว่าผมขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ เพื่อที่จะมีสภาที่ปรึกษาอย่างเดิม อย่างน้อยที่สุด หรืออาจจะดีกว่าเดิมถ้ามีการตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้นะครับ ขอบคุณมากครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะครูนักเรียนโรงเรียนบ้านนิบง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับนะครับ ต่อไปท่านสุดท้าย ท่านซูการ์โน มะทา เชิญครับ
นายซูการ์โน มะทา ยะลา ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ ก็ขออนุญาตท่านประธาน อภิปรายสนับสนุนการยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ท่านประธานที่เคารพครับ พรรคประชาชาติจริง ๆ แล้วเราศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มายาวนาน หลาย ๆ ท่านได้ให้ความเข้าใจว่าปัญหาภาคใต้มีความรุนแรงเมื่อปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา แต่ข้อเท็จจริงปัญหาของความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีมาก่อนปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา ด้วยเหตุผลที่พี่น้องประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในอดีตกาลนั้นไม่สามารถที่จะมีหน่วยงานใดที่จะเข้าไปร้องเรียน เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมได้ จึงมีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อตั้งเป็นศูนย์บริหารราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมา เพื่อให้เป็นที่พึ่งของพี่น้องประชาชน เพื่อให้เป็นที่พึ่งของ ข้าราชการในพื้นที่ เพื่อเป็นการองค์กรที่ขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาทั้งหมด ไม่ว่าปัญหา เรื่องของสังคม ปัญหาเรื่องของการศึกษา ปัญหาเรื่องของความมั่นคงก็ตาม แต่ว่าหลังจาก เกิดเหตุการณ์ ๒๕๔๗ เป็นต้นมาศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านอดีตนายก ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้มีการยุบศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้พร้อมกับ พตท. ๔๓ ซึ่งอยู่ในค่ายสิรินธร ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคง ก่อนหน้านั้นยังไม่มี พ.ร.บ. กอ.รมน. มาบังคับใช้ ผมเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๓ ที่เห็นความสำคัญ ได้รวบรวม สส. ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าถึงเวลาแล้วที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส จะต้องผลักดันให้มีกฎหมายตราเพื่อเป็นพระราชบัญญัติศูนย์บริหารราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ ขึ้นมา ในการต่อสู้ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในยุคนั้นหลังจากมีการตั้งกรรมาธิการแล้ว เรามี ความเห็นว่าปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น มันเกิดขึ้นเฉพาะยะลา ปัตตานี นราธิวาส แต่การ ยกตรากฎหมายโดยรัฐบาลยุคนั้นพยายามจะใช้ครอบคลุมถึง ๕ จังหวัด ซึ่งมติใน คณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยมีมติเห็นชอบให้เอาแค่ ๓ จังหวัด แต่สุดท้ายผู้ที่นำกฎหมายนี้ เข้ามาพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรก็นำกลับมาใช้เสียงข้างมากในสภา ทำให้สภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบให้พระราชบัญญัติศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ครอบคลุมถึงจังหวัด สงขลาและไปถึงสตูล อันนี้คือที่มาที่ไป แต่ว่าหลังจากมีการปฏิวัติรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ก็มีการออกคำสั่ง คสช. หลายฉบับ เพื่อมาปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่มาจากพี่น้อง ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคประชาชาติมองเห็นว่าการยกเลิกคำสั่ง คสช. นั้นถ้าจะให้ Perfect ที่สุด ให้มันสมบูรณ์แบบที่สุด มันต้องยกเลิกถึง ๓ ฉบับ ฉะนั้นพรรคประชาชาติ จึงยื่นร่างพระราชบัญญัติยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๙ และคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๗/๒๕๕๙ ทำไมพรรคประชาชาติถึงเล็งเห็นตรงนี้ เพราะการแก้ปัญหาทั้งหมดนี้เราจะต้องแก้ให้ครบ วงจร แต่ที่เราพยายามวันนี้ผมก็พยายามจะบอกว่าวันนี้พรรคประชาชาติแม้ว่าเราจะไม่สามารถ เอาร่างกฎหมายของเรามาพิจารณาในสภาได้ เพราะเรามีเกี่ยวข้องกับการเงิน แต่ที่เราทำมา เราคิดว่าเป็นจดหมายที่สมบูรณ์แบบที่สุดนะครับ ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตเวลา เพิ่มเติมนิดหน่อย เนื่องจากเนื้อหาสาระที่สำคัญก็คือในการยกเลิกประกาศคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้กล่าวขึ้นว่าเป็นการยกเลิก สภาที่ปรึกษา ในการยกร่างพระราชบัญญัติศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เราให้อำนาจพี่น้องประชาชนสามารถคัดเลือกตัวแทน คัดสรร เลือกตั้ง ตัวแทนของพี่น้อง ประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในองค์กรทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทในการพิจารณา งบประมาณของศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พิจารณาเรื่องของการดำเนินการ ภายในกระบวนการของการพัฒนา ว่าเราจะพัฒนาทิศทางใดเพื่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้อง ประชาชน แต่คำสั่งนี้ก็ได้ยกเลิกแล้วก็ไปตั้งคณะทำงานอย่างที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไว้ ทั้งนี้ทั้งนั้นผมเชื่อว่าในรัฐบาลยุคที่ผ่านมา โดยเฉพาะคณะปฏิวัติรัฐประหารที่ใช้อำนาจ ยึดอำนาจจากรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยนั้นมีความหวาดระแวง และไม่มีความไว้วางใจ องค์กรที่มาจากการเลือกตั้งของพี่น้องประชาชน ผมถามกลับไปว่า ถ้ายังมีความหวาดระแวง มีข้อสงสัยในตัวแทนของพี่น้องประชาชนที่มาเป็นองค์กรพิจารณางบประมาณของ ศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว วันนี้ผ่านไป ๒๐ ปี รัฐบาลที่แล้วพยายาม ผลักดันงบโครงการลงไปเกือบ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ผมถามว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทในการ แก้ปัญหาเหตุการณ์ความสงบอะไรเพิ่มขึ้น เหตุการณ์ก็ไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม เศรษฐกิจก็ไม่ดีขึ้น กว่าเดิม แถมที่สุดวันนี้พี่น้องประชาชนกับถูกกระทำโดยการปิดปาก พี่น้องประชาชน แต่งชุดมาลายูก็ไม่มีใครกล้าออกมาพูด พี่น้องประชาชนแสดงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ที่เป็นคน พื้นเมือง ซึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๖๐ มาตรา ๗๐ ก็ไม่มีใครมาดูแล กลับไปลิดรอนสิทธิ กล่าวหาว่าพวกนี้เป็นอั้งยี่ ซ่องโจร อันนี้เพราะว่าอะไร เพราะในสภา ศอ.บต. นั้นไม่มีคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาที่มาจากการเลือกตั้งของ พี่น้องประชาชน ผมอยากฝากผ่านท่านประธานถึงคณะทำงานที่จะเข้าไปทำหน้าที่เป็น คณะกรรมาธิการได้พิจารณายกเลิกคำสั่งที่ ๑๔/๒๕๕๙ แล้วอยากให้มองภาพรวมว่าอะไร ที่จะเป็นองค์ประกอบที่เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อนศูนย์บริหารราชการจังหวัด ชายแดนภาคใต้ โดยให้ ศอ.บต. เป็นแม่งานนำการพัฒนา ไม่ใช่เอาทหารนำการพัฒนา ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ตามข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ผู้เสนอมีสิทธิอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่เราจะ ลงมตินะครับ มี ๒ ท่าน ท่านแรกท่านจาตุรนต์ ฉายแสง อภิปรายแทนท่านชูศักดิ์ ศิรินิล ท่านที่ ๒ ท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม อภิปรายแทนนายรอมฎอน ปันจอร์ เชิญท่านจาตุรนต์ ฉายแสง ครับ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม จาตุรนต์ ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ผมได้รับ มอบหมายจากเจ้าของญัตติคือท่านอาจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ให้เป็นผู้อภิปรายสรุป เข้าใจว่า ในระยะหลัง ๆ เนื่องจากระบบเสียงจะไม่ค่อยดี เวลาอภิปรายสรุปสมาชิกก็จะคาดหวังว่า ก็อภิปรายกันสั้น ๆ ก็พอ เพราะว่าไม่มีใครได้ยินใคร แต่ว่าวันนี้ระบบเสียงน่าจะดีขึ้นบ้างแล้ว ผมก็จะพยายามใช้เวลาอย่างจำกัดอยู่ดี ไม่ต้องการใช้เวลานานเกินไป แต่ว่ามีเนื้อหาสาระ ที่จะต้องอภิปรายพอสมควร จะเห็นได้ว่าการเสนอญัตติในครั้งนี้ของทุกพรรคและการ อภิปรายของท่านสมาชิกทุกท่านเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือต้องการให้มีการเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะ คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการ ที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ พ.ศ. .... คำสั่งของคณะ คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ นี้ที่เขาออกเขาอ้างว่าภายใต้ พ.ร.บ. บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้ สภาที่ปรึกษาตาม พระราชบัญญัตินี้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ จึงมีคำสั่ง มีเนื้อหา สำคัญ ๓ ประการ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๑. คือให้งดใช้ทุกมาตรา ที่เกี่ยวข้องกับสภาที่ปรึกษา และให้คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้มาทำหน้าที่แทน จากสภาที่ปรึกษาก็เปลี่ยนมาเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๒. คือให้เลขาธิการ ศอ.บต. ปรึกษาหารือ รับฟังข้อคิดเห็นจากเลขาธิการ กอ.รมน. อันนี้จริง ๆ แล้วมันก็คือสัญญาณบอกว่า กอ.รมน. กำลังจะมีบทบาทมาก และอาจจะมากกว่า ศอ.บต. ซึ่งผมจะได้อภิปรายต่อไป
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๓. เนื้อหาของคำสั่ง คสช. นี้ก็คือให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ปกป้องและ บรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นเรื่องที่จริง ๆ แล้วควรจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานฝ่ายพลเรือน และควรจะได้รับการดูแลโดย ศอ.บต. ถ้าเราดูว่าทำไม คสช. จึงต้องหวั่นไหวกับ พ.ร.บ. บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำไมจึงไม่อยากให้สภาที่ปรึกษามีบทบาทอย่างที่ควร จะเป็น เราจะเห็นว่าในพระราชบัญญัตินี้ได้ออกแบบไว้ให้มีการส่งหรือจัดวางองค์กร ระดับประเทศเข้าไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วก็ให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ระบบนี้จะมีการวางองค์กรออกเป็น ๓ ขา ขาที่ ๑ คือมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้าน พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กพต. คณะกรรมการนี้มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มี ๑๗ รัฐมนตรี และมีหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ความจริงก็เรียกกันว่าเป็น ครม. น้อยบ้าง ครม. จชต. บ้าง ขาที่ ๒ คือ ศอ.บต. ที่เราได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ตามมาตรา ๘ เป็นองค์กรหลัก มีเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นระดับ ๑๑ ความจริงก็เทียบเท่าปลัดกระทรวง และใหญ่กว่า แม่ทัพภาคด้วย ขาที่ ๔ คือสภาที่ปรึกษาตามมาตรา ๑๙ เกิดจากการเลือกตั้งมาจาก ภาคส่วนต่าง ๆ ของประชาชน ตรงนี้ล่ะครับคือประเด็นที่เรากำลังพิจารณากันอยู่ในวันนี้ มีภาคส่วนต่าง ๆ ๙ กลุ่ม มีผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งหมดแล้วมี ๔๙ คน วาระ ๓ ปี ขาที่ ๓ นี้เป็น สิ่งที่ คสช. ซึ่งท่านอาจารย์ชูศักดิ์ได้อภิปรายไปแล้วว่าพอมีการยึดอำนาจ มีระบบความคิด แบบเผด็จการเขาก็ไม่พอใจ เขาไม่ต้องการ เขาเกรงกลัวมากเพราะอะไร เพราะสภาที่ปรึกษานี้ มีอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้เป็นเรื่องสำคัญ ๆ ถึง ๙ ข้อ ผมก็ไปเร็ว ๆ เพราะสมาชิกหลายท่าน ก็ได้พูดไปแล้ว ให้ความเห็นชอบต่อนโยบายของ สมช. ให้คำปรึกษา ศอ.บต. ทำงานร่วมกับ ศอ.บต. ตรวจสอบประเมิน ศอ.บต. รายงานต่อนายกได้ ให้ความเห็นเรื่องที่นายกและ ศอ.บต. ต้องฟัง หาข้อเท็จจริงจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ถ้าพบว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ไม่เป็นธรรมกับประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ สามารถเสนอเลขา ศอ.บต. ให้ย้ายเจ้าหน้าที่ออกจากพื้นที่ก็ยังได้ พิจารณาข้อร้องเรียนของ ประชาชน ลงไปรับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยงานได้ตาม ความเหมาะสม และออกระเบียบการประชุมอื่น ๆ ได้ที่จำเป็น อันนี้จะเห็นว่าโดยระบบ โดยพระราชบัญญัตินี้เขาวางไว้ให้สภาที่ปรึกษามีอำนาจหน้าที่อย่างมาก และที่สำคัญที่สุด ก็คือมีความเชื่อมโยงกับประชาชน สภาที่ปรึกษานี้ยังเชื่อมโยงกับฝ่ายที่ออกกฎหมาย ออกระเบียบต่าง ๆ และเชื่อมโยงกับการพูดคุยสันติภาพ พูดคุยสันติภาพที่ท่านสมาชิก ท่านประธานก็อาจได้ยินอยู่บ้างแล้วว่ารัฐบาลปัจจุบันนี้ รัฐบาลท่านนายกเศรษฐาก็เพิ่ง ตั้งคณะพูดคุยคณะใหม่ และการพูดคุยกำลังเริ่มต้นขึ้น ศอ.บต. เขามีหน้าที่นี้ และสภา ที่ปรึกษาก็จะมีหน้าที่ในการเชื่อมโยง ในการป้อนความคิดเห็นต่าง ๆ สภาที่ปรึกษาต่อมา เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา มันมีปัญหาอะไร ทำไมเราจึงต้องมายกเลิกคำสั่งนี้ มีคณะกรรมการที่ปรึกษาขึ้นมา เหมือนกับว่าก็ตั้งคนชุดเดิม ๆ แต่จริง ๆ คือนายกตั้ง ไม่ได้มี ที่มาเหมือนอย่างสภาที่ปรึกษาและอำนาจก็เหลือเพียงให้คำปรึกษาประสานงาน ศอ.บต. ให้ความเห็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีเห็นว่าสมควรฟังความคิดเห็น หมายความว่านายกรัฐมนตรี ไม่ถามก็ไม่ต้องให้ความคิดเห็น มันแตกต่างจากการที่มีสภาที่ปรึกษาที่มีหน้าที่ต้องให้ คำปรึกษา ให้ความเห็นอยู่เป็นประจำโดยอัตโนมัติ นอกจากนั้นคณะนี้ก็แต่งตั้งคณะทำงาน ได้ตามความเหมาะสม แต่ว่าจากการที่อำนาจหน้าที่หายไป จากการที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับ ประชาชน ไม่มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชน ปัญหาจึงเกิดขึ้นมากในทุก ๆ ด้าน ด้านที่ สำคัญ ๆ เช่น เรื่องการเยียวยา เยียวยาไม่ครบ คนเดือดร้อน ผู้ได้รับผลกระทบได้รับการ เยียวยาไม่ครบ ผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ๓ ฝ่ายก็ไม่สามารถได้รับ การเยียวยา ลูกหลานเจ้าหน้าที่ได้รับผลกระทบ ไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอ ไม่มีสภา ที่ปรึกษาแล้วไม่มีใครช่วยเสนอความเห็น การพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ด้านการศึกษา ปัญหาการศึกษามีมาก ถ้าหากว่ามีสภาที่ปรึกษาเขาจะ สามารถเสนอความเห็นต่อ ศอ.บต. ได้ และจะไปผลักดันให้เกิดการปรับปรุงการจัดการศึกษา ซึ่งมีศึกษาธิการส่วนหน้าอยู่ที่นั่น
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ด้านเศรษฐกิจ ผมไปรับฟังความเห็นมาจากประชาชนในพื้นที่ก็จะพบว่า ประชาชนในพื้นที่ ๓ จังหวัดเคยพยายามเสนอความเห็นต่อทางภาครัฐหลายครั้งหลายหน แต่ไม่มีใครฟัง ปกติถ้ามีสภาที่ปรึกษาเขาก็จะสามารถเสนอผ่านสภาที่ปรึกษาได้ อันนี้ก็ ขาดหายไป ยังมีเรื่องอื่น ๆ อีกหลาย ๆ เรื่องที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากไม่มีสภาที่ปรึกษา แต่ผมขอข้ามไปเนื่องจากว่าท่านสมาชิกบางท่านก็ได้พูดเรื่องนี้แล้วอย่างค่อนข้างจะละเอียด ท่านประธานครับ ปัญหาของคำสั่ง คสช. ฉบับนี้นอกจากทำให้ไม่มีสภาที่ปรึกษาอย่างที่ ผมกล่าวไปแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการที่ให้เลขาธิการ ศอ.บต. ปรึกษารับฟังความเห็นจาก เลขาธิการ กอ.รมน. จะให้ กอ.รมน. มามีบทบาทดูแลบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งหมายความว่า ขยายอำนาจ กอ.รมน. เข้ามาล้วงลูก เข้ามาแทรกแซง เข้ามาทำแทนหน่วยงานทางด้าน พลเรือน ซึ่งมันทำให้เจตนารมณ์ของการมี ศอ.บต. นั้นถูกเปลี่ยนไป แทนที่จะให้ฝ่าย พลเรือนมีอำนาจ มีบทบาทมาก ๆ และรับฟังประชาชนก็เลยเปลี่ยนไป มีสมาชิกบางท่าน ได้อภิปรายว่าความจริงสภาที่ปรึกษานี้ต่อไปอาจจะมีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผมคิดว่า จากที่ศึกษาข้อมูลมาก็ควรจะมีการปรับปรุง แต่ว่าคณะกรรมาธิการที่จะไปพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ทั้งหลายนี้อาจจะไม่สามารถไปปรับปรุงได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากว่าร่างนี้เป็นร่างยกเลิก คำสั่ง แล้วกลับไปเหมือนกฎหมายเดิม แต่ที่สำคัญก็คือว่ายังสามารถที่จะไปทำข้อเสนอ ข้อสังเกต กลับมายังสภาได้ ในเรื่องการปรับปรุงองค์ประกอบก็ดี บทบาทหน้าที่ก็ดี ของสภาที่ปรึกษา ท่านประธานครับ สภาที่ปรึกษาจะทำให้ ศอ.บต. กลับมามีบทบาทมากขึ้น แต่ในสภาพการณ์ความเป็นจริงปัจจุบันเราจะพบว่า สภาที่ปรึกษาจะไปมีบทบาท การมี สภาที่ปรึกษากลับมาจะเป็นเพียงก้าวสำคัญก้าวหนึ่งเท่านั้น ยังไม่ใช่ยาวิเศษครับ ศอ.บต. ที่ท่านสมาชิกหลายท่านได้อภิปรายกันไปตาม พ.ร.บ. ศอ.บต. นี้จะมีบทบาทมาก แต่ว่า ในระยะหลังนี้มีองค์กรและมีกฎหมายที่สลับซับซ้อนมากจนทำให้ ศอ.บต. มีบทบาทน้อย มีบทบาทไม่มากเท่าความตั้งใจดั้งเดิมตอนที่ออก พ.ร.บ. นี้เมื่อปี ๒๕๕๓ ทำไมผมจึงพูดอย่างนั้น ปัจจุบันนี้มีองค์กรสำคัญองค์กรระดับประเทศถึง ๓ องค์กรอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พูดไปแล้วก็เหมือนเป็นรูปแบบการปกครองพิเศษอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่หลายท่านอาจจะไม่เห็นปัญหานี้ ก็ไปคิดแต่ว่ามีการพูดถึงรูปแบบการปกครองพิเศษทีไร ก็ถามว่าทำไมต้องมีรูปแบบการปกครองพิเศษที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ในสภาพความ เป็นจริงคือมีรูปแบบการปกครองพิเศษอยู่ที่นั่นอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ามันดีหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ มีสภาความมั่นคงแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภา กำหนดนโยบายความมั่นคงใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด องค์กรที่ ๒ คือ กอ.รมน. มีนายกรัฐมนตรีเป็น ผอ. กอ.รมน. มี ผบ.ทบ. เป็นรอง ผอ. ในพื้นที่ ผอ. กอ.รมน. ก็คือ ผอ. กอ.รมน. กองทัพภาคที่ ๔ คือ แม่ทัพภาคที่ ๔ และ กอ.รมน. มีบทบาทอย่างมาก ไม่ต้องสงสัยเลยว่ากองทัพทำไมจึงมี บทบาทมากและมากกว่า ศอ.บต. องค์กรที่ ๓ คือศูนย์อำนวยการบริหาร ก็คือตัว ศอ.บต. เอง นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ท่านจะเห็นว่า ๓ องค์กรนี้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานทั้งหมด แต่ไม่มีระบบประสานเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดการทำงานเป็นเอกภาพ นี่คือปัญหาใหญ่ที่ทำให้ ศอ.บต. ยังมีบทบาทที่จำกัด
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการสุดท้าย กฎหมายพิเศษ ๓ ฉบับอยู่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ พระราชบัญญัติบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงภายใน และพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก กฎอัยการศึกนี้มีความสำคัญ อย่างไร กฎอัยการศึกนี้มีเนื้อหาสำคัญ นอกจากการตรวจค้น การจับกุมอะไรต่าง ๆ ได้ตาม สบายใจชอบแล้ว ที่สำคัญเขาบอกว่าในพื้นที่ที่ประกาศกฎอัยการศึกก็คือจังหวัดชายแดน ภาคใต้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือฝ่ายพลเรือนทั้งหมดทุกหน่วยงาน จะเห็นได้ว่า โดยองค์กรและโดยระบบกฎหมาย ฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายกองทัพ คือผู้มีบทบาทเป็นหลัก เป็นองค์กรที่มีบทบาทกดทับ ศอ.บต. อยู่ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ถ้าหากว่ามีการยกเลิกคำสั่ง วันนี้เราเห็นชอบให้ยกเลิกคำสั่ง คสช. กลับไปเป็น พ.ร.บ. ศอ.บต. ปี ๒๕๕๓ มันจะเป็น ก้าวสำคัญให้เกิดความร่วมมือจากประชาชน ระดมความคิดจากประชาชนมาเพื่อแก้ปัญหา ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกันโดยตรงก็คือ จะเกิดการมาคิดกันว่าเราจะออกแบบระบบโครงสร้างและการบังคับใช้กฎหมายอย่างไร จึงจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้จริง จึงจะทำให้เกิดสันติสุข จะทำให้เกิดสันติภาพ จะทำให้เกิดความมั่นคงของประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั้งประเทศได้ เพราะฉะนั้นในวันนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดี เป็นจังหวะเวลาที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากสภาก็ได้ ตั้งคณะกรรมาธิการศึกษา พิจารณา และจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการส่งเสริมกระบวนการ สร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลก็เพิ่งตั้งคณะพูดคุย การพูดคุยก็เริ่มต้น ขึ้นแล้ว มันกำลังเป็นสัญญาณที่ดีว่าถ้าสภาเห็นชอบให้มีสภาที่ปรึกษาหมายความว่าเข้าใจ ปัญหานี้ และกำลังจะเป็นก้าวสำคัญไปสู่การแก้ปัญหาที่มากยิ่งขึ้น ได้ผลมากยิ่งขึ้น ผมจึงขอ สรุปว่าหากที่ประชุมแห่งนี้เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติที่มีการเสนอทั้งโดยอาจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล พรรคเพื่อไทย และจากพรรคอื่น ๆ ที่ได้ร่วมกันเสนอในวันนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการ แก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ผู้สรุปอีกท่านหนึ่ง ท่านรอมฎอน ปันจอร์ เชิญครับ
นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ขอความสันติสุขมีแต่ท่านประธาน มีแต่เพื่อนสมาชิกในสภาแห่งนี้ แล้วทุกท่านที่กำลัง ติดตามอยู่ด้วยนะครับ กระผม รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แล้วก็ เป็นหนึ่งในผู้เสนอกฎหมายประกบเข้าไปด้วยในครั้งนี้ครับ ผมอยากจะใช้เวลาสั้น ๆ ในการที่ จะกล่าวขมวดกล่าวสรุป แล้วก็ชี้ให้เห็นว่าการยกเลิกคำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ มีประโยชน์ต่อเรา ต่อสังคมไทยอย่างไร และนี่คือความเห็นพ้องที่สภาแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลได้แสดงออกมาจากผู้อภิปรายทั้ง ๑๐ ท่าน ผู้เสนอกฎหมาย ๓ ร่าง ผมอยากจะพูด ๒ เรื่องเพื่อปิดท้ายตรงนี้สั้น ๆ ครับ เรื่องมรดกกับเรื่องความไว้วางใจ
นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องมรดกนี้มี ๒ แง่มุม เป็นเรื่องมรดกที่เรารับต่อมา ตกทอดมาถึงเรา แล้วก็ เป็นเรื่องที่เราจะต้องส่งต่อไปให้ลูกหลาน ไปให้คนรุ่นหลัง กฎหมายนี้จริง ๆ แล้วมีไม่กี่มาตรา แต่ว่าเป็นมาตราที่สำคัญที่จะวางหมุดหมายของการกำหนดทิศทางของการแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อเรื้อรังมา ๒๐ ปีแล้ว และถ้านับย้อนหลังกลับไปก็เป็น ๑๐๐ ปี มันเป็นมรดกที่เราต้องจัดการโดยใช้อำนาจของสภาผู้แทนราษฎร เพราะว่ามันเป็นคำสั่งของ คณะรัฐประหาร อย่างที่หลายท่านได้อภิปรายไป จริง ๆ แล้วไปดูเนื้อในมันก็จะมีอยู่แค่ ๒-๓ ประเด็นก็คือเรื่องว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อันนี้คือใช้อำนาจของ ของคณะรัฐประหาร แล้วก็ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายในระดับ พระราชบัญญัติบางมาตรา แต่คำสั่งของ คสช. ก่อนหน้านี้มันมีหลายตัวที่เป็นอำนาจฝ่ายบริหารอันนั้นไม่มีปัญหาเท่าไร อันนี้เราต้องลงแรงกันเยอะหน่อย พูดง่าย ๆ ก็คือเราต้องใช้แรงกันเยอะในการที่จะยกเลิก มรดกของคณะรัฐประหารที่ล้มล้างประชาธิปไตยในประเทศนี้ แล้วก็ตัดความสัมพันธ์หรือว่า ตัดโอกาสความเป็นไปได้ในการที่จะสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาแห่งนี้อยู่ใน จุดของประวัติศาสตร์ในการที่จะรื้อฟื้นกลไก Set Zero กลับไปสู่กลไกที่เคยออกแบบกันมา เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนคือสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นมรดกที่เราต้องล้างครับ แต่ผมจะขออนุญาตพูด Highlight เรื่องหนึ่งครับ เรื่องมรดกที่สำคัญเป็นเทคโนโลยีในทาง การเมือง เทคโนโลยีในทางการปกครองที่ประเทศนี้ใช้ออกแบบแล้วก็ตกทอดมาตั้งแต่ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ผมพูดอย่างนี้ก็เพราะว่าหลายเรื่องที่อยู่ในพระราชบัญญัติ การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่งมอบอำนาจเหล่านั้นให้สภาที่ปรึกษา นี่สำคัญมาก และตกทอดมาจากรัฐประศาสโนบายของรัชกาลที่ ๖ ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่แล้ว จริง ๆ ถ้านับปี ๒๕๖๗ เข้าไปก็ ๑๐๑ ปีครับ ปีที่แล้ว ศอ.บต. หรือว่าหลายหน่วยงานก็พยายามจะรำลึกถึง พูดถึงตัวข้อเสนอ ๖ ประการ ของรัชกาลที่ ๖ ที่กำหนดเอาไว้ว่าใครก็ตามจะไปปกครองในดินแดนที่เรียกว่ามณฑลปัตตานีในเวลานั้น ต้องระมัดระวังให้ดี ผมขออนุญาตพูดถึงข้อ ๕ ในรัฐประศาสโนบายนะครับ ข้อ ๕ บอกว่า ข้าราชการที่จะแต่งตั้งออกไปประจำตำแหน่งในมณฑลปัตตานีพึงเลือกเฟ้นแต่คนมีนิสัย ซื่อสัตย์ สุจริต สงบเสงี่ยม เยือกเย็น ไม่ใช่สักแต่ว่าจะส่งไปบรรจุให้ตำแหน่งหรือส่งไปเป็น ทางลงโทษเพราะเลว เมื่อจะส่งไปต้องสั่งสอนชี้แจงให้รู้ลักษณะทางการอันพึงประพฤติ ระมัดระวังโดยหลักที่กล่าวได้ว่าในข้อ ๑ และข้อ ๔ ข้างบนนั้น หมายถึงก่อนหน้านั้นนะครับ ผู้ใหญ่ในท้องที่พึงสอดส่อง ฝึกฝน อบรม กันต่อ ๆ ไปในคุณธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่คอยให้ พลาดพลั้งลงไปก่อนแล้วจึงจะว่ากล่าวโทษ ที่ผมต้องหยิบยกตัวบทสำคัญเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน ขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นว่ามันมีร่องรอยตกทอดถึงเรา เมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้น ในปี ๒๔๗๕ ประชาธิปไตยค่อย ๆ เติบโตขึ้น เบ่งบานสะสมประสบการณ์ หลาย ๆ กฎหมาย ที่ให้ความสำคัญของเสียงประชาชน เรามีตัวแทนของประชาชนมาจากการเลือกตั้ง อย่างเช่น ผู้คนในสภาแห่งนี้ ความเป็นตัวแทนของประชาชนก็สำคัญมากขึ้น และนี่คือที่มาของข้อเสนอ ในการอภิปรายในสภาแห่งนี้เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อน ในช่วงปี ๒๕๕๒ ถกเถียงกันว่าตกลงแล้ว การใช้อำนาจบริหารของ ศอ.บต. ในเวลานั้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยสงครามเย็นนะครับ เกิดขึ้นในปี ๒๕๒๔ หนึ่งในเรื่องที่สำคัญที่สุดของการปกครองแบบพิเศษอย่างที่เมื่อสักครู่ ท่านจาตุรนต์ ฉายแสง เพื่อนสมาชิกของผม ท่านประธานกรรมาธิการวิสามัญสันติภาพ ได้กล่าวถึง คือการปกครองพิเศษในความหมายที่ดินแดนเหล่านั้น ผู้คนเหล่านั้นมีความพิเศษ บางอย่างที่ข้าราชการที่จะทำหน้าที่ลงไปทำงานที่นั่นต้องระมัดระวัง อำนาจที่สำคัญที่สุด ของ ศอ.บต. ในช่วง ๒๕๒๔ เป็นต้นมาก่อนที่จะมีการยุบในปี ๒๕๔๕ คือการย้ายข้าราชการ ที่ประพฤติไม่ดีครับ แต่หลังปี ๒๕๕๒ เรามีการยกร่างพระราชบัญญัติการบริหารราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ หนึ่งในเรื่องที่สำคัญคืออำนาจในการให้คำแนะนำนี้ เป็นหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอให้ เลขาธิการครับ ผมขออนุญาตทวนอีกทีหนึ่ง อำนาจที่สำคัญเลยคือการเสนอความเห็นต่อ เลขาธิการ เพื่อประกอบการพิจารณาในการสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือนออกไปจาก จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามมาตรา ๑๒ และหากมีกรณีฉุกเฉินหรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้จะเสนอความเห็น ไปก่อนก็ได้ แล้วรายงานให้สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทราบโดยเร็ว อันนี้คือการมอบอำนาจให้ตัวแทนของประชาชน ตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง ทางอ้อม ของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ได้เสนอความเห็น และอำนาจตรงนี้หลังการรัฐประหาร ๒๕๕๗ โดนตัดออกไป ที่ผมเล่ามาทั้งหมดนี้เพื่อชี้ให้เห็น ว่าเรากำลังอยู่ในพัฒนาการ อยู่ในเส้นทางของการออกแบบการบริหาร การจัดการ การปกครอง จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และเราจำเป็นต้องส่งต่อมรดกนี้ครับ เรา Set Zero รอบนี้ และอย่างที่ท่านจาตุรนต์เมื่อสักครู่ได้กล่าวสรุปไปว่าถึงเวลาที่เรา อาจจะต้องช่วยกันออกแบบว่าเราจะปกครองดินแดนและผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรให้มีความยุติธรรม ให้มีความเป็นธรรม และสร้างสันติภาพ ยุติความรุนแรง ยุติสงคราม ที่เกิดขึ้นมาต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน นี่คือภารกิจของเรา และเราเริ่มต้นจากกฎหมาย ฉบับนี้ครับท่านประธาน
นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญคือเรื่องความไว้วางใจ ผมเพิ่งเรียนรู้จาก การเรียนแล้วก็จากการทำงานในฐานะ สส. ว่าการเมืองคือการไว้วางใจครับ คำสั่งของ คสช. ๑๔/๒๕๕๙ หัวใจของมันเลยคือการไม่ไว้วางใจประชาชนครับ การไม่ไว้วางใจประชาชน สะท้อนออกมาจากหลายเรื่องเลยครับ โดยเฉพาะอำนาจที่เขาตัดออกไปจากสภาที่ปรึกษา อย่างเมื่อสักครู่ที่ผมเล่าถึงอำนาจที่สำคัญที่สุดคือเรื่องการจัดการกับข้าราชการที่ประพฤติตัว ไม่ชอบ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ลดเงื่อนไข ปัญหาตรงนี้เป็นปมสำคัญของ การบริหารปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้มาโดยตลอด ความไม่ไว้วางใจเกิดขึ้นก็เพราะว่า สายตาจากมุมมองทางการทหารนั้นมองข้าศึกอยู่เสมอ และมักจะมองใครต่อใครที่อาจจะ พูดจาแปลกแปร่งออกไป มีความเห็น มีความคิดที่แปลกแปร่งออกไปเป็นข้าศึกอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้ยังมีอยู่ในปัจจุบันครับ และทั้งหมดนี้สิ่งที่สภาแห่งนี้จะทำได้ก็คือการออกแบบ การปกครองการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้บนฐานของการไว้วางใจและเชื่อมั่นต่อ ประชาชน ทั้งเรื่องมรดกและความไว้วางใจเป็นเรื่องสำคัญที่ผมอยากจะกล่าวสรุปในครั้งนี้ แล้วก็อยากจะให้ท่านประธานแล้วก็เพื่อนสมาชิกได้ใคร่ครวญต่อว่าต่อไปจากนี้เราจะส่งต่อ มรดกที่มอบความไว้วางใจให้กับประชาชนมากกว่านี้ได้อย่างไร ผมเห็นด้วยกับท่านจาตุรนต์ ฉายแสง ว่านี่คือถึงเวลาแล้วที่เราอาจจะต้องช่วยกันออกแบบครับ หนึ่งในหน้าที่ที่ผมแล้วก็ ท่านจาตุรนต์ แล้วก็เพื่อนสมาชิกบางท่านในสภาแห่งนี้กำลังทำอยู่ก็คือในคณะกรรมาธิการ วิสามัญสันติภาพชายแดนใต้ปัตตานี กำลังทำงานอยู่ เรากำลังคิดใคร่ครวญว่าเราจะสามารถ เปลี่ยนหนทาง เปลี่ยนแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่การสร้าง สันติภาพที่ยั่งยืนได้อย่างไร หลายเรื่องเราจำเป็นต้องแตะ และเรื่องที่สำคัญที่สุดคือ การบริหารการปกครองพื้นที่และผู้คนแถบนั้นที่มีความสัมพันธ์ที่ดีอย่างไร จะมีความสัมพันธ์ ที่เหมาะสมอย่างไรกับรัฐส่วนกลาง นี่คือโจทย์ใหญ่ และแน่นอนครับ คิดว่าอีกไม่นาน หลังจากนี้คงได้มีการนำเสนอข้อเสนอเหล่านั้นมาสู่สภาแห่งนี้ การยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เป็นหมุดหมายสำคัญผมขอย้ำอีกที เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางไกลของการ รื้อโครงสร้างของประเทศนี้ที่จะโอบอุ้ม โอบรับ ความแตกต่างหลากหลายและความขัดแย้ง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการประชาธิปไตยไทย นี่เป็น ส่วนหนึ่งของชุดกฎหมายที่ผมอยากจะเรียกในที่นี้ว่าเป็นชุดกฎหมายสันติภาพครับ เราอาจจะต้องเริ่มต้นจากการรื้อมรดกเก่า ๆ ที่คิดแบบทหาร ในขณะเดียวกันก็ลดบทบาท ทางการทหาร เพิ่มพื้นที่ทางการเมือง เพิ่มพื้นที่ให้เสียงที่แตกต่างได้มีที่มีทางในระบอบ การเมือง ในสถาบันการเมืองของประเทศนี้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นหลักประกันว่ากระบวนการ สันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่จะมีความหมายจริง ๆ ข้อตกลงสันติภาพจะได้รับการถกเถียง อภิปรายกันในสภาแห่งนี้ นอกสภาแห่งนี้ ทำให้เรื่องสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องของประเทศนี้ เป็นชะตากรรมของเรา ไม่ใช่แค่ผู้คนที่บาดเจ็บล้มตายในจังหวัด ชายแดนภาคใต้เท่านั้น เสียงพวกเขาสำคัญก็จริง แต่อนาคตเราต้องร่วมออกแบบครับ ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตจบการสรุปเพียงเท่านี้ แล้วก็ขอให้เพื่อนสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรแห่งนี้ได้ลงความเห็นอย่างเห็นพ้องต้องกัน และแน่นอนครับคงได้มีข้อสังเกต สำคัญ ๆ ที่เก็บเอาไว้จาก ๑๐ ท่านที่เสนอไปก่อนหน้านี้ ในกรรมาธิการวิสามัญคงได้อภิปราย กันต่อครับ ขอบพระคุณครับท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ก่อนที่เราจะลงมติ ผมขอตรวจสอบองค์ประชุมนะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านสมาชิกที่อยู่ข้างนอก เชิญเข้าห้องประชุมนะครับ
นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ สรัสนันท์ แสดงตนค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
สักครู่นะครับ
นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ๔๔๐ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ยัง ๆ ครับ ท่านสมาชิกที่เข้ามาแล้วเชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิแสดงตนนะครับ โปรดเสียบบัตร แสดงตนครับ ท่านใดที่ไม่มีบัตร เชิญครับ เอาใหม่ครับ
นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
๔๔๐ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๔๐ แสดงตนครับ
นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ
๔๐๓ แสดงตนค่ะท่านประธาน รอบที่ ๒ ค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๐๓ แสดงตนครับ
นายรชตะ ด่านกุล นครราชสีมา ต้นฉบับ
๒๙๓ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๙๓ ครับ
นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สุรินทร์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ในห้องงบประมาณ เขาโทรมาบอกว่าอย่าเพิ่งรีบครับ ขอเวลาอีกนิดเดียว
นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม ชาดา ไทยเศรษฐ์ ๐๙๑ ครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๐๙๑ ครับ
นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน จันทบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ๑๑๔ ญาณธิชา แสดงตนค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑๑๔ ครับ . นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล (แบบบัญชีรายชื่อ) : ท่านประธานครับ สิทธิพล ๔๑๘ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๑๘ แสดงตนนะครับ
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน ๒๘๙ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๘๙ แสดงตนนะครับ
นายประเสริฐ บุญเรือง กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๒๑๗ ประเสริฐ บุญเรือง แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๑๗ แสดงตนครับ
นายกรุณพล เทียนสุวรรณ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ๐๐๖ กรุณพล เทียนสุวรรณ พรรคก้าวไกล แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๐๐๖ แสดงตนครับ
นางสาวเบญจา แสงจันทร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ เบญจา ๑๙๙ แสดงตนค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑๙๙ แสดงตนนะครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
ท่านประธาน ขออนุญาตนิดหนึ่งครับ ผม ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ในคณะวิปฝ่ายค้านนะครับ หน้าจอไม่แน่ใจว่าตัวแสดงผลตอนนี้ มันแสดงผลหรือเปล่าครับ เพราะมองไม่เห็นเลย ทีนี้เวลาถ้าเกิดเราไม่เห็นองค์ประชุม ไม่แน่ใจของท่านประธานเห็นไหม สัปดาห์ที่แล้วเราเคยคุยเรื่องนี้ไป ถ้าเกิดยังไม่มีการทำให้ เห็นว่าองค์ประชุม บางทีอาจจะมีข้อผิดพลาดได้ แล้วรบกวนข้อที่ ๒ เรื่องระบบเสียงครับ หารือครั้งนี้รอบที่ ๕ แล้วนะครับทั้ง ๒ ฝั่ง เวลามีการพูดไมค์ ผมไม่ได้ยินท่านประธานบ้าง ไม่ได้ยินเพื่อนสมาชิกบ้าง ไม่แน่ใจว่าพอจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ไหม เพราะว่าก็เหมือน ท่านประธานก็จะรับไปหลายครั้ง แต่ว่ายังไม่มีแนวทางการปฏิบัติเพื่อแก้ไขอย่างชัดเจน อย่างไรรบกวนท่านประธานด้วยนะครับ เพราะเสียงในห้องประชุมได้ยินน้อยมาก บางที ยืนอยู่ข้าง ๆ แค่นี้ ผมยังไม่ได้ยินเพื่อนสมาชิกเป็นผู้อภิปรายเลยว่าเนื้อหาเป็นอย่างไร อย่างไรรบกวนท่านประธานด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เดี๋ยวจะไปดำเนินการนะครับ ตอนนี้ระบบปกติครับ ท่านสมาชิกแสดงตนกัน หมดแล้วนะครับ ขอปิดการแสดงตน มีผู้เข้าร่วมประชุม ๔๑๒ ท่าน ครบองค์ประชุมนะครับ บวก ๑๐ ท่าน เป็น ๔๒๒ นะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปผมขอถามมติจากที่ประชุมว่าจะรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหาร และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ พ.ศ. .... ทั้ง ๓ ฉบับหรือไม่ เชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดเห็นว่าควรรับหลักการ โปรดกดปุ่ม เห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่าไม่ควรรับหลักการ โปรดกดปุ่ม ไม่เห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่าควร งดออกเสียง โปรดกดปุ่ม งดออกเสียง เชิญท่านสมาชิกครับ
นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ สรัสนันท์ เห็นด้วยค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๐๓ เห็นด้วยนะครับ
นายกรุณพล เทียนสุวรรณ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๐๐๖ กรุณพล เทียนสุวรรณ พรรคก้าวไกล เห็นด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๐๐๖ เห็นด้วยนะครับ ท่านสมาชิกได้ลงคะแนนเรียบร้อยนะครับ ถ้าไม่มีท่านใดเพิ่มเติม ขอปิดการลงคะแนนครับ เจ้าหน้าที่แสดงผลครับ จำนวนผู้ลงมติ ๔๒๑ ท่าน เห็นด้วย ๔๑๙ บวก ๒ เป็น ๔๒๑ ไม่เห็นด้วย ไม่มีนะครับ งดออกเสียง ๑ ท่าน ไม่ลงคะแนนเสียง ๑ ท่าน เป็นอันว่าที่ประชุมมีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ พ.ศ. .... ทั้ง ๓ ฉบับนะครับ
นางนันทนา สงฆ์ประชา แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ นันทนา เห็นด้วยค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
บันทึกไว้นะครับ บันทึกไว้นะครับ ท่านนันทนาเห็นด้วยนะครับ เชิญเสนอคณะกรรมาธิการ ทางวิปครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอจำนวนกรรมาธิการ ๓๑ ท่าน ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้องครับ ที่ประชุมกำหนดให้มีกรรมาธิการ ๓๑ ท่าน สัดส่วนกรรมาธิการของ รัฐมนตรี ๗ ท่าน สัดส่วนของกรรมาธิการพรรคการเมือง จำนวน ๒๔ ท่าน เชิญคณะรัฐมนตรี เสนอรายชื่อกรรมาธิการครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะวิปของคณะรัฐมนตรีนะคะ ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการ ที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี จำนวน ๗ ท่าน ดังนี้ ๑. พลตรี ไพศาล หนูสังข์ ๒. นายชนธัญ แสงพุ่ม ๓. นางสาวพันไมล์ ธาราสุข ๔. รองศาสตราจารย์มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง ๕. นายสุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ ๖. นายณัฐพงศ์ บุญเหลือ ๗. นางสุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปครับ สัดส่วนของพรรคการเมือง ๒๔ ท่าน พรรคก้าวไกล ๗ ท่าน พรรคเพื่อไทย ๗ ท่าน พรรคภูมิใจไทย ๓ ท่าน พรรคพลังประชารัฐ ๒ ท่าน พรรครวมไทยสร้างชาติ ๒ ท่าน พรรคประชาธิปัตย์ ๑ ท่าน พรรคชาติไทยพัฒนา ๑ ท่าน พรรคประชาชาติ ๑ ท่าน เชิญแต่ละพรรคการเมืองเสนอรายชื่อตามข้อบังคับ ข้อ ๙๑ เชิญพรรคก้าวไกลก่อนครับ
นายอานุภาพ ลิขิตอำนวยชัย สมุทรสงคราม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอานุภาพ ลิขิตอำนวยชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรสงคราม พรรคก้าวไกล ผมขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญ สัดส่วน พรรคก้าวไกล จำนวน ๗ คน ดังนี้ครับ ๑. นายรอมฎอน ปันจอร์ ๒. นายจุลพงศ์ อยู่เกษ ๓. นางสาวรัชนก สุขประเสริฐ ๔. นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ ๕. นายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ๖. นายอันวาร์ อุเซ็ง ๗. นายฟารีด ดามาเร๊าะ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ ต่อไปพรรคเพื่อไทย ๗ ท่านครับ
นายณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยครับ วันนี้ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย จำนวน ๗ ท่านครับ ๑. นายจาตุรนต์ ฉายแสง ๒. นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ ๓. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ๔. นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ ๕. นายฮานาฟี หมีนเส็น ๖. นายสุรภัทร์ พิไชยแพทย์ ๗. นายปริญญา นวลเปียน ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ ต่อไปพรรคภูมิใจไทย ๓ ท่านครับ เชิญครับ
นายสยาม เพ็งทอง บึงกาฬ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม สยาม เพ็งทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขต ๑ พรรคภูมิใจไทย ขอเสนอรายชื่อ กรรมาธิการร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการ ที่ปรึกษาชายแดนใต้ และข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ในสัดส่วนของ พรรคภูมิใจไทยจำนวน ๓ ท่านครับ ๑. สส. ซาการียา สะอิ ๒. นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา ๓. นายนัจมุดดีน อูมา ขอผู้รับรองครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้องนะครับ ต่อไปพรรคพลังประชารัฐ ๒ ท่านครับ
นายอัคร ทองใจสด เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายอัคร ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ ผมขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการ วิสามัญในสัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐ จำนวน ๒ ท่าน ดังนี้ ๑. ท่านอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ๒. ท่านอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ พรรครวมไทยสร้างชาติ ๒ ท่านครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ ขอเสนอคณะกรรมาธิการ ในส่วนของร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ของพรรครวมไทยสร้างชาติ จำนวน ๒ ท่านครับ ท่านแรก สส. วัชระ ยาวอหะซัน ท่านที่ ๒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ณัฐวรรณ สาสิงห์ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ ต่อไปพรรคประชาธิปัตย์ ๑ ท่านครับ
ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในนามของพรรคประชาธิปัตย์ขอเสนอ กรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ขอเสนอชื่อ นายยูนัยดี วาบา ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ ต่อไปพรรคชาติไทยพัฒนา จำนวน ๑ ท่านครับ
นายเสมอกัน เที่ยงธรรม สุพรรณบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ เสมอกัน เที่ยงธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรีจากพรรคชาติไทยพัฒนา ในสัดส่วน ของพรรคชาติไทยพัฒนาขอเสนอ นายเอกสิษฐ์ อัครศักดิ์กีรติ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ พรรคประชาชาติ ๑ ท่านครับ เชิญครับ
นายสาเหะมูหามัด อัลอิดรุส ปัตตานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายสาเหะมูหามัด อัลอิดรุส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ ขอเสนอ ๑ ท่านครับ นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ขอผู้รับรองครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ เชิญท่านเลขาธิการอ่านรายชื่อกรรมาธิการครับ
นายณัฏฐกฤษฎ์ วงศ์เจริญ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ปฏิบัติหน้าที่ แทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ การกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ พ.ศ. .... จำนวน ๓๑ ท่าน ๑. พลตรี ไพศาล หนูสังข์ ๒. นายชนธัญ แสงพุ่ม ๓. นางสาวพันไมล์ ธาราสุข ๔. รองศาสตราจารย์มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง ๕. นายสุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ ๖. นายนัฏพงศ์ บุญเหลือ ๗. นางสุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์ ๘. นายรอมฎอน ปันจอร์ ๙. นายจุลพงศ์ อยู่เกษ ๑๐. นางสาวรัชนก สุขประเสริฐ ๑๑. นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ ๑๒. นายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ๑๓. นายอันวาร์ อุเซ็ง ๑๔. นายฟารีด ดามาเร๊าะ ๑๕. นายจาตุรนต์ ฉายแสง ๑๖. นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ ๑๗. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ๑๘. นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ ๑๙. นายฮานาฟี หมีนเส็น ๒๐. นายสุรภัทร์ พิไชยแพทย์ ๒๑. นายปริญญา นวลเปียน ๒๒. นายซาการียา สะอิ ๒๓. นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา ๒๔. นายนัจมุดดีน อูมา ๒๕. นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ๒๖. นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ๒๗. นายวัชระ ยาวอหะซัน ๒๘. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐวรรณ สาสิงห์ ๒๙. นายยูนัยดี วาบา ๓๐. นายเอกสิษฐ์ อัครศักดิ์กีรติ และ ๓๑. นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญกำหนดระยะเวลาแปรญัตติครับ เชิญครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอระยะเวลาแปรญัตติ ๑๕ วันครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้อง แปรญัตติใน ๑๕ วัน กรณีนี้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติมากกว่า ๑ ฉบับ จะใช้ร่างพระราชบัญญัติฉบับใดเป็นหลักในการพิจารณาในวาระที่ ๒ เชิญครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอร่างของท่านอาจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นร่างหลักครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้อง ไม่มีท่านใดขัดข้อง ใช้ร่างของท่านอาจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นร่างหลัก นะครับ ท่านสมาชิกครับ เรื่องที่ประชุมเห็นชอบให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ลำดับที่ ๒ พิจารณาร่วมกันกับเรื่องที่ที่ประชุมเห็นชอบให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ลำดับที่ ๑ นั้นเราได้ จัดไปแล้วนะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๓ รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ไม่มี
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๕.๑ ร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครอง บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ กับคณะ เป็น ผู้เสนอ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... มายัง สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๓๓ (๒) ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและรายงานผล การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้วตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๗ และประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการการรับฟังความคิดเห็น และการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่จัดวางไว้ ให้ท่านสมาชิก ท่านสมาชิกมีอะไรครับ
นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ กาญจนบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ กระผม นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดกาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย ก่อนที่จะเข้าสู่การพิจารณาระเบียบวาระ ผมขอหารือท่านประธานผ่านไปยัง ผู้เสนอร่างด้วยความเคารพครับ ถึงร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้า และการ คุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยหลักการกระผมและพรรคเพื่อไทยสนับสนุน ความเท่าเทียมทางเพศ แล้วก็ยินดีมาก ๆ ถ้าพรรคก้าวไกลมีแนวคิดในการเสนอกฎหมาย ฉบับนี้เข้ามา ซึ่งรัฐบาลเองก็มีแนวทางในการสนับสนุนเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เช่น ในเรื่องของกฎหมายสมรสเท่าเทียม อย่างไรก็ดีกระผมได้รับทราบมาว่ามีภาคประชาชนที่มี แนวคิดที่จะเสนอร่างคล้าย ๆ กันที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาถึง ๒ ฉบับ ของคณะกรรมการ GEN-ACT ซึ่งอยู่ในระหว่างการระดมรายชื่อให้ครบ ๑๐,๐๐๐ รายชื่อตามรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดไว้ แล้วก็ ๒. คือร่างของกลุ่มบุคคลที่เป็น Intersex และ Nonbinary ในนาม Intersex Thailand ท่านประธานที่เคารพครับ หัวใจในการออกกฎหมายคือการรับฟังเสียง ของประชาชน ถ้าภาคประชาชนมีความประสงค์ที่จะเสนอร่างกฎหมาย และมีการดำเนินการ ไปแล้ว กระผมคิดว่าหากเราจะรอให้ร่างกฎหมายของภาคประชาชนได้มีโอกาสเข้ามา พิจารณาสู่สภา ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาเป็นอย่างมากครับ ผมคิดว่ามี ความจำเป็นที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นข้อกังวลต่าง ๆ จากทุกภาคส่วนที่อยู่ในกลุ่ม LGBTQ และที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม LGBTQ เพื่อให้กฎหมายเป็นของทุกกลุ่ม ไม่ให้กฎหมายเกิดข้อกังขาว่า อาจจะนำไปสู่การลดทอนสิทธิเสรีภาพของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ ดังนั้นผมจึงขอเสนอ เจ้าของร่างได้พิจารณาถอนร่างฉบับนี้ออกไปก่อน เพื่อให้ร่างกฎหมายจากภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ได้มีโอกาสเข้ามาพิจารณาร่วมกัน รวมถึงให้มีเวลาการทำงาน ระดม ความคิด รับฟังเสียงสะท้อนจากภาคประชาชน ทั้งจากส่วนที่อยู่ในกลุ่ม LGBTQ และกลุ่มที่ ไม่อยู่ LGBTQ ครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านผู้เสนอร่างจะถอนก่อนไหมครับ หรือว่ายืนยันครับ
นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ต้องขอบคุณผู้ที่พูดถึง ในเรื่องของการให้ถอนไปก่อน คือจริง ๆ ธัญคิดว่าเรื่องนี้เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่การมี ส่วนร่วมของทุกฝ่ายได้อยู่แล้ว นั่นหมายถึงว่าการที่เราตั้งคณะกรรมาธิการแล้วก็รวบรวม กลุ่ม NGO กลุ่มที่ผลักดันเรื่องประเด็นดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายเพื่อนกระเทยไทย หรือสมาคมฟ้าสีรุ้งและองค์กรอื่น ๆ เราสามารถสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วม หากเราเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วประเทศรออยู่ เราก็ควร จะต้องผลักดัน และธัญคิดว่าสภาผู้แทนราษฎรของเรานั้นเปิดกว้างอยู่แล้ว ธัญจึงต้องฝาก ท่านพิจารณากลับไปว่า แล้วการทำงานของกระทรวง พม. จากการทำงานที่ผ่านมาก็ต้อง สอบถามไปทางคณะรัฐมนตรีว่ามีความคืบหน้าในการทำร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างไร ธัญเห็นว่าเรื่องนี้มันไม่ได้เป็นเรื่องที่เพิ่งจะมาผลักดันกันในเวลาที่ธัญยื่นกฎหมาย เมื่อเดือนสิงหาคม แต่เรื่องนี้ผลักดันกันมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ แล้วเราก็จะมีคำพูดอยู่เสมอว่า สิทธิความหลากหลายทางเพศนั้นประเทศไทยไปไม่ถึงไหนเสียที ธัญจึงขอยืนยันว่าวันนี้ถึงจุด ที่เราจะต้องไปถึงไหนเสียทีค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านผู้เสนอยืนยันที่จะไม่ถอน ก็เป็นไปตามนี้นะครับ ถ้าอย่างนั้นขอเชิญผู้เสนอได้แถลง หลักการและเหตุผล เชิญครับ
นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ก็ขอเสนอหลักการ กฎหมายร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความ หลากหลายทางเพศ พ.ศ. ....
นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีหลักการคือ ให้มีกฎหมายว่าด้วยการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ
นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุผล โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรับรองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรับรองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ จึงส่งผลให้เกิด การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลผู้มีความ หลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะเอกสารของรัฐไทยยังกำหนดให้ใช้คำนำหน้านามซึ่งถือตาม เพศกำเนิด ได้แก่ เด็กชาย เด็กหญิง นาย นางสาว และนาง ส่งผลให้บุคคลข้ามเพศและผู้มี ความหลากหลายทางเพศอื่นประสบปัญหาในการแสดงตัวตน การตัดสินใจกำหนดวิถีทาง เพศของตน และกระทบต่อการดำเนินชีวิต อย่างไรก็ตาม กฎหมายระหว่างประเทศและหลัก สิทธิมนุษยชนสากลได้รับรองเรื่องความหลากหลายทางเพศ ซึ่งยอมรับเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ และรสนิยมทางเพศที่มีความหลากหลาย ดังนั้น สมควรมีกฎหมายว่าด้วยการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมุ่งให้เกิดการคุ้มครอง และรับรองสิทธิในเรื่องการใช้คำนำหน้านาม การระบุเพศของบุคคลผู้มีความหลากหลาย ทางเพศ ตามหลักสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เสรีภาพ และความเสมอภาคของ บุคคล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้
นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ Gender ธัญขออนุญาตใช้ภาษาอังกฤษค่ะ ที่แปลเป็นไทย ว่า เพศสถานะ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประกอบสร้างขึ้นมาจากอดีตด้วยมือของพวกเราทุกคน และการประกอบสร้างจากอดีตที่ผ่านมานี้ก็ประกอบสร้างเพียงแค่ ๒ เพศ และบุคคลผู้มี ความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์และเป็นธรรมชาติที่เราอยู่ร่วมบนโลกใบนี้ ไม่ได้ถูกเห็นค่ะ และโลก ๒ เพศนี้เองก็จึงออกแบบกฎ ระเบียบ วัฒนธรรม เรื่องเล่าต่าง ๆ ที่ส่งต่อมารุ่นต่อรุ่น สืบสานเรื่อง ๒ เพศต่อกันมา และแน่นอนที่สุดแม้แต่สิ่งที่เราเรียกว่า รัฐธรรมนูญไทยก็ยังไม่มีพวกเราบัญญัติหรือมีตัวตนอยู่ในนั้น วันนี้สภาผู้แทนราษฎรจึงเป็น จุดสำคัญที่เราในฐานะผู้แทนราษฎรสามารถที่จะร่วมประกอบสร้างสังคมใหม่เพื่อแก้ไข กฎหมายให้รับกับคนทุกเพศ แก้ไขอดีตที่เราออกกฎหมายและไม่ได้คำนึงถึงพวกเขา ออกกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ไม่ได้คำนึงถึงพวกเขา จึงทำให้พวกเราดำรงชีวิตดำเนินวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศร่วมกับสังคมไม่ได้ เหมือนโลกที่กลับตาลปัตรค่ะ เพราะเรื่องเพศ จริง ๆ แล้วเวลาที่เราพูดเรื่องเพศนั้นเรื่องเพศเป็นทุกลมหายใจของพวกเรา เรื่องเพศเป็น เรื่องของทุกก้าวเดินของพวกเรา ทุกคำพูดตั้งแต่ที่เราตื่นนอน และตอนที่เราเข้านอน ทุกการกล่าวคำทักทาย สวัสดีค่ะ สวัสดีครับ ก็เป็นเรื่องเพศของพวกเรา แล้วก็ของพวกเขา ที่ต่างฝ่าย ฝ่ายหนึ่งได้รับการยอมรับเพราะเป็นไปตามมาตรฐานของสังคมและวัฒนธรรม แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับถูกมองว่าเป็นพวกเบี่ยงเบนและผิดปกติ สร้างความตลกขบขันให้กับ สังคม และในวันนี้หากเราจะเปลี่ยนแปลงการประกอบสร้างสังคมได้อย่างไร ก็คือการที่เรา คืนเจตจำนงในเรื่องของการระบุเพศให้กับพวกเขา เรื่องเพศเป็นเรื่องที่สำนึกภายในที่เขาจะ บอกตนเองได้เหมือนกับพวกเราว่าจริง ๆ แล้วเขาเป็นเพศอะไร และอยากที่จะดำเนินชีวิต แบบไหน ทั้งวิถีการแสดงออกของพวกเขา และนี่คือหลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Self Determination คือกำหนดเพศด้วยตัวเอง แล้วนี่ละค่ะคือจุดเริ่ม ที่เราจะเปลี่ยนแปลง การที่ให้สิทธิเขามีการกำหนดเพศ และเราต้องเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ต่อ ๆ ไป และมีอีกหลายก้าวสำคัญที่จะต้องผลักดัน เพื่อให้ความหลากหลายของสังคม และกฎหมายได้โอบรับความหลากหลาย วันนี้เวลาที่เราพูดเรื่องเพศในสภาชุดนี้ ไม่ว่าจะเป็น การประชุมสมรสเท่าเทียม หรือไม่ว่าจะเป็นในการประชุมคณะกรรมาธิการต่าง ๆ เวลาที่เรา พูดเรื่องเพศเราก็จะเข้าใจในเชิงกฎหมายว่าเพศชายคือเพศทางกายภาพ เพศหญิงคือเพศ ทางกายภาพ แต่วันนี้กฎหมายเราต้องบัญญัติให้พูดถึงอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพ เพศวิถี เพราะเพศมันมีคำอธิบายมากกว่าเรื่องของร่างกายและเพศทางกายภาพค่ะ ร่างกฎหมาย ฉบับนี้ ร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และคุ้มครองผู้มีความหลากหลาย ทางเพศนั้น เรามีนิยามอัตลักษณ์ทางเพศ ซึ่งจริง ๆ เราก็ได้คัดลอกมาจากประเทศอาร์เจนตินา และมอลตาว่าอัตลักษณ์ทางเพศคืออะไร อัตลักษณ์ทางเพศ คือการที่บุคคลหนึ่งรับรู้ต่อตนเอง ว่าเขาคือใคร เป็นเพศอะไร ซึ่งจะสอดคล้องกับสิ่งที่สังคมกำหนดหรือไม่ก็ได้ หมายรวมถึง การแสดงออกทางเพศ และนี่คือหนึ่งหลักการสำคัญของ Yogyakarta เพื่อเป็นมาตรฐาน ในการปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ เราจำเป็น ต้องออกกฎหมายที่ต้องคำนึงถึงอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพ เพศวิถี ไม่ใช่เพียงแค่เพศ ทางกายภาพเท่านั้น ร่างกฎหมายฉบับนี้ให้การคุ้มครองใครบ้าง กลุ่มแรกคือบุคคลข้ามเพศ บุคคลข้ามเพศคือใคร บุคคลข้ามเพศก็คือมีเพศกำเนิดเป็นหญิงและอาจจะต้องการข้ามมา เป็นเพศชาย หรือในทางกลับกันเพศชายในทางกำเนิดและต้องการข้ามมาเป็นเพศหญิง เราจะให้สิทธิในการที่จะแสดงเจตจำนงในการดำรงอัตลักษณ์ทางเพศของเขาในสังคมค่ะ หรือกลุ่มที่ ๒ กลุ่มบุคคลที่ไม่นิยามตัวตนว่าเป็นชายหรือเป็นหญิง ไม่มีอัตลักษณ์ที่เป็นชาย หรือมีอัตลักษณ์ที่เป็นหญิง ตัวอย่างเช่น กลุ่มบุคคล Non-Binary ซึ่งมีตัวตนอยู่ในสังคม ซึ่งกลุ่มนักขับเคลื่อนกลุ่มเพศความหลากหลายนี้ก็เกิดขึ้นในประเทศไทย มีการรวมตัวก่อตั้ง ขับเคลื่อนสิทธิ ขับเคลื่อนในเรื่องการต่อสู้ให้มีตัวตนทางกฎหมาย ให้ตระหนักรู้ถึงความเป็น ทอม ความเป็นกระเทย ซึ่งมีตัวตนอยู่ในสังคมคู่กับพวกเรามายาวนาน บุคคลที่เป็น Intersect ต้องขออนุญาตใช้ภาษาอังกฤษ แต่ว่าในกฎหมายภาษาไทยแล้วก็ระเบียบของภาษาไทย เราพูดถึงบุคคลที่มีลักษณะ ๒ เพศหรือเพศกำกวม กลุ่มเหล่านี้ก็จะประสบปัญหา ถึงจะมี จำนวนน้อย มีประมาณ ๙๐๐ กว่าคนในประเทศไทย แต่สิ่งหนึ่งที่ชุมชนกลุ่ม Intersect ได้ ต่อสู้ก็คือการผ่าตัดยืนยันโดยแพทย์ เลือกเพศให้พวกเขาโดยที่เขาไม่ได้แสดงเจตจำนง สิ่งเหล่านี้ก็จะได้รับการคุ้มครองว่าเพศนั้นพวกเราต้องเลือกเอง นี่คือหลักการสำคัญของ Self Determination คือการกำหนดเพศต้องเกิดจากพวกเรา ไม่ใช่ เกิดจากรัฐ นี่คือการกลับวิธีคิดที่เราบอกว่าเราจะประกอบสร้างสังคมใหม่อย่างไร เมื่อเรา เกิดขึ้นมาแล้วรัฐจะบอกเราว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิงตามกายภาพของเรา แต่การ ประกอบสร้างจากวันนี้ไปเราจะต้องเปลี่ยนให้บุคคลทุกคนสามารถที่จะกำหนดเพศตัวเองได้ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร หลาย ๆ ท่านอาจจะมองว่าจากที่เราได้ Pop Up หรือได้นำเสนอเรื่องกฎหมายนี้เมื่อสัก ๒-๓ วันที่ผ่านมา จากประเด็นของคนดังคนหนึ่งกับ คำนำหน้าว่า คุณ ก็มีเสียงที่ไม่เห็นด้วย เสียงว่ามันจะเกิดการสับสน เสียงมันอาจจะมีความ กังวลว่าจะเกิดการหลอกลวง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนทุกคน นักเคลื่อนไหวทุกคนได้ทำงานมา แล้วก็เป็นสิ่งที่ไม่เกินคาดที่เราจะได้รับคำถามเหล่านี้ หรือสิ่งที่เป็นข้อกังวลของสังคมค่ะ แต่ธัญจะบอกว่าเรื่องการกำหนดเจตจำนงเรื่องเพศนั้นเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะว่า อัตลักษณ์ทางเพศนั้นเป็นเรื่องสำนึกภายในของพวกเขา เป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นเรื่องปัจเจก บุคคลที่เขาจะกำหนดตัวเองได้ คำถามว่าถ้าวันนี้กลัวการหลอกกัน ธัญเชื่อว่าการหลอกกัน ไม่ได้เกี่ยวกับเพศ เรามีผู้หญิงหลอกผู้ชาย เรามีผู้ชายหลอกกระเทย เรามีบุคคลผู้มีความ หลากหลายทางเพศหลอกผู้หญิง เรามีบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศหลอกผู้ชาย การหลอกลวงกันนั้นมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศ แต่มันขึ้นอยู่กับความเป็นปัจเจกและความ ซื่อสัตย์ของแต่ละคน นิยามคำว่าหลอกลวงคืออะไร วันนี้เรามีผู้ชายรักกับผู้หญิงข้ามเพศ อันนี้คือเรื่องจริงนะคะ ท่านในที่นี้อาจจะจริงหรือจะมีผู้ชายรักผู้หญิงข้ามเพศหรือ มีจริง ๆ ค่ะ เดี๋ยวจะมี สส. อีกหลายท่านอภิปรายเรื่องนี้ เรามีผู้หญิงที่รักผู้ชายข้ามเพศ มีจริง ๆ หรือ มีค่ะ เรามีผู้หญิงข้ามเพศที่รักผู้ชายข้ามเพศไหม มีค่ะ อยู่ในห้องประชุมสมรสเท่าเทียม ธัญเคยไปเป็นเพื่อนแจ้งความ เพื่อนของธัญซึ่งเป็นนางโชว์ไปแจ้งความเนื่องจากเขามีปัญหา กับแฟนผู้ชายของเขา ซึ่งตามสะกดรอยแล้วก็สร้างความหวาดกลัวให้กับเพื่อนธัญ เมื่อเพื่อน ของธัญไปแจ้งความก็มีเจ้าหน้าที่ตอบกลับมาบอกกับเพื่อนธัญว่ามันจะเป็นไปได้หรือที่ผู้ชาย จะมาตามกระเทย ธัญนั่งฟังเพื่อนธัญอยู่จนธัญอดทนไม่ไหว จนธัญต้องลุกขึ้นมาบอกกับ ตำรวจท่านนั้นว่าท่านกำลังเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ กฎหมายในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลง รัฐไปอย่างไร วันนี้ประเทศไทยเรามีข้อมูลผู้ชาย ผู้หญิง คำถามต่อมามันจะดีแค่ไหน ถ้ากฎหมาย รับรองเพศนี้ผ่านและจะเปลี่ยนข้อมูลประชากรศาสตร์ของประเทศไทย ที่ไม่จำเป็นต้อง เก็บข้อมูลเพียงแค่ผู้ชายผู้หญิง แต่เก็บไปถึงว่าเรามีบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศกี่คน ในประเทศไทย มันจะดีไหมพอเรามีข้อมูลประชากรศาสตร์เราสามารถคาดคะเนงบประมาณ สวัสดิการที่อาจจะต้องมีความจำเพาะในเรื่องของเพศ มันจะดีไหมที่เราจะประมาณการ หรือออกแบบนโยบายได้ตอบโจทย์ จากข้อมูลประชากรศาสตร์ที่รัฐจะสามารถเก็บได้จาก ร่างกฎหมายฉบับนี้ ธัญคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะบอกได้ว่าเรามีการเลือกปฏิบัติมากเท่าไร เราจะต้องใช้งบสวัสดิการจำเพาะเพศมากเท่าไร เราควรมีนโยบายแบบใดที่จะโอบรับ Inclusive คนทุกเพศเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สิ่งที่น่าเสียใจวันนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า แม้แต่เป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ที่เราพูดถึงเรื่อง Gender Equality ก็ไม่มีบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศในนั้น ก็มีการพูดถึงเรื่องของ ผู้หญิงและเด็ก วันนี้ท่านอ่าน Gender Gap Report ที่พูดถึงเรื่องช่องว่างระหว่างเพศทั่วโลก เราอยู่อันดับที่ ๗๔ จาก ๑๔๗ ประเทศ ซึ่งชี้วัดในด้านทางการเมือง การศึกษา สุขภาพ และ เศรษฐกิจ น่าเสียใจไหมคะ ก็ไม่มีข้อมูลของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ธัญคิดว่า ถ้าเราต้องการที่จะเป็นผู้นำและสร้างความเท่าเทียมก้าวเข้าสู่สากลจริง ๆ เราต้องมีกฎหมาย ฉบับนี้ และเราจะต้องมีงานที่จะต้องทำอีกมากมายเหลือเกินที่จะผลักดันความเท่าเทียมให้ เกิดขึ้น ร่างกฎหมายฉบับนี้ธัญเข้าใจว่าในสังคมส่วนใหญ่อาจจะมีข้อกังวลในหลาย ๆ อย่าง อาจจะมีกฎหมายหลายฉบับที่จะต้องแก้ แต่ธัญคิดว่าเราร่วมมือกันในด้านนิติบัญญัติที่จะทำ ให้กฎหมายในประเทศไทยนั้นโอบรับความหลากหลาย เราสามารถร่วมที่จะทำ Campaign ให้คนเข้าใจและยุติความกังวล ยุติความกลัว ซึ่งฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยให้หมดสิ้นไปได้ พวกเราทุกคนคือคนเหมือนกัน ตัวธัญเองก็ไม่จำเป็นต้องกลัวอะไร ธัญก็เป็นมนุษย์ ถึงจะมี คนบอกว่าธัญเป็นกระเทยหรือว่าธัญจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ธัญก็คือมนุษย์เหมือนกับทุก ๆ ท่าน ที่ต้องการใช้ชีวิต ที่ต้องการที่จะสมรส ที่ต้องการดำเนินเพศวิถีหรืออัตลักษณ์ทางเพศของ ตนเอง และมันถึงเวลาที่กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้อง กับอัตลักษณ์ทางเพศค่ะ สุดท้ายธัญไม่ได้อคติกับคำว่า อรชรหรืออ้อนแอ้น แต่ธัญกำลังจะ อธิบายว่ากระเทยก็จะไม่มีที่ทางและตัวตนทางกฎหมาย เพราะว่าเมื่อเด็ก ๆ เราก็จะถูก อธิบายตัวของเราว่าเด็กคนนี้อ้อนแอ้นแทนคำว่า กระเทย ซึ่งธัญก็เห็นว่าผู้หญิงก็อ้อนแอ้น เหมือนธัญ แต่ก็จะไม่ได้ถูกหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา มันถึงเวลาที่ทำให้พวกเรามีชื่อ มีภาษา มีวัฒนธรรมทางกฎหมายและเรื่องเล่าจากวันนี้เหมือนกับเพศชาย เพศหญิงที่เราต้องยืน อย่างทัดเทียมเท่าเทียมกันค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ มีท่านสมาชิกเข้าชื่ออภิปราย ท่านแรก ท่านธีระชัย แสนแก้ว ท่านที่ ๒ ท่าน ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ท่านที่ ๓ ท่านประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ท่านที่ ๔ ท่านสิริลภัส กองตระการ เชิญท่านธีระชัย แสนแก้ว ครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายธีระชัย แสนแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ท่านประธาน ผมขออนุญาตในการที่จะร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติรับรองเพศ คำนำหน้านาม และ การคุ้มครองบุคคลผู้มีหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... ที่เสนอโดยเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การออกกฎหมายใด ๆ จะต้องเป็นไปตามพัฒนาของสังคม สอดคล้องกับบริบทของสังคม หากกฎหมายใดสุดโต่งเกินไป เกินกว่าความต้องการของสังคม กฎหมายนั้นก็ไม่ได้สร้าง ประโยชน์ให้กับสังคม แล้วก็ไม่สามารถตอบโจทย์สภาพสังคมได้ กฎหมายฉบับนั้นก็อาจจะสร้างปัญหาต่อสังคม ติดตามมาเช่นเดียวกัน ท่านประธานครับ ประเทศไทยเราปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เรามีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ได้รับความไว้วางใจจาก ประชาชน เราได้ให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างมากมาย ไม่ว่าท่านจะแต่งกายอย่างไร ใส่กางเกงอย่างไร ใส่กระโปรงอย่างไร ทุกวันนี้ก็เป็นสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมเสมอภาคเท่ากัน ของทุกคน แล้วทุกวันนี้การคุ้มครองผู้มีความหลากหลายทางเพศทุก ๆ เรื่อง ทุก ๆ คนมี ความเท่าเทียมกัน อันนี้ก็เป็นความสวยงามของระบอบประชาธิปไตย ท่านประธานที่เคารพ ที่ผ่านมาสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งเราก็ได้มีการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อให้ใช้สิทธิเสรีภาพในการสมรสรับรองความเป็นคู่สมรสของ คน ๒ เพศ และเพศเดียวกัน และกระผมก็ได้อภิปรายสนับสนุนเรื่องนี้มาโดยตลอด เพราะ กระผมคิดเสมอว่าไม่ว่าใครบนโลกนี้ ต่างก็มีความรักไม่ควรถูกปิดกั้น เพราะเพียงแค่เกิดมา เป็นเพศใดเพศหนึ่ง และไม่ควรถูกปิดกั้น เพราะถูกจำกัดเพียงคำนำหน้านาม ท่านประธาน ที่เคารพครับ คำนำหน้าชื่อไม่ว่าจะเป็น นาย นาง นางสาว ที่เป็นการแบ่งเพศตามสภาพ มาตั้งแต่กำเนิด ผมก็มีความห่วงใยและมีความกังวลกับการเปลี่ยนได้ตามสมัครใจ เพราะ ในต่างประเทศสามารถให้เปลี่ยนคำนำหน้าได้ มีเกณฑ์ มีเงื่อนไขยากง่ายแตกต่างกันไป ซึ่งตรงนี้ก็เป็นการพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากว่ามีการผ่านไปหรือจะมีการเสนออะไรต่าง ๆ ก็ต้องมีคุยในวาระต่าง ๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผมมองว่าไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ทุกคนควร มีสิทธิได้เลือกความเป็นตัวเอง หากเขาไม่สะดวกในการที่จะต้องใช้คำนำหน้าหรืออาจไม่ตรง กับเพศสภาพ ณ ปัจจุบัน ผมว่าเขาควรมีสิทธิเลือกไม่ใส่คำนำหน้านามก็ได้นะครับ ใส่เป็นชื่อ ของเขาเลยก็ได้ อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของการอภิปรายในวันนี้ เพื่อความเสมอภาค และเท่าเทียม คือไม่ต้องไปบังคับเขา บางประเทศก็ง่าย บางประเทศยากมาก เช่น ประเทศ มอลตา ประเทศอาร์เจนตินา ประเทศไอซ์แลนด์ ถือว่าเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนง่าย กระบวนการตรวจสอบไม่มาก แต่อย่างประเทศญี่ปุ่น ประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง ประเทศ สิงคโปร์ การเปลี่ยนคำนำหน้าจะต้องมีการแปลงเพศอย่างสมบูรณ์ก่อน นั่นคือการแปลงเพศ ซึ่งการผ่าตัดแปลงเพศโดยสมบูรณ์ส่วนบนของร่างกาย เราก็ไม่ได้ว่าง่าย ๆ เพราะทุกอย่างมี ค่าใช้จ่ายสูง เป็นหลักแสนหลักล้าน ซึ่งคนจะผ่าตัดแปลงเพศโดยสมบูรณ์ได้นั้นก็ต้องมีฐานะ เศรษฐกิจค่อนข้างดีระดับหนึ่ง แล้วท่านได้นึกถึงคนที่อยู่ชนบทที่มีสภาพอย่างนี้ เขาเป็นคน ยากจน แล้วไม่มีฐานะดีพอที่จะผ่าตัดแปลงเพศโดยสมบูรณ์แล้ว และเขาไม่มีเงินไปผ่าตัด แปลงเพศได้เพียงพอ มันจะเกิดประเด็นปัญหาสังคมใหม่ขึ้นมาเป็นประเด็นนะครับ ปัญหา ความเท่าเทียมและปัญหาความเสมอภาคและการเปลี่ยนคำนำหน้านามอีกหรือไม่ ผมอาจจะ คิดมาก ทั้งที่สนับสนุนสิทธิเสรีภาพอะไรต่าง ๆ พอมานึกถึงแล้วคิดสารตะแล้ว ประเทศ ที่เปิดแล้วไม่ได้คัดค้านนะ คำนำหน้าอะไร แต่เป็นความเห็นของผม ท่านประธานครับ ประเทศที่เปิดโอกาสให้สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามได้ประเทศแรก เมื่อปี ๑๙๗๒ คือ ประเทศสวีเดน ก็ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนกันง่าย ๆ แบบร่างกฎหมายฉบับนี้ ประเทศสวีเดน ขั้นตอนการตรวจสอบเยอะมาก มีทั้งต้องไปพบจิตแพทย์ก่อน เพื่อจะต้องได้ข้อสรุปให้ได้ ชัดเจนก่อน ทำไมท่านต้องการเปลี่ยนคำนำหน้านาม เพราะถ้าไม่ตรวจสอบผ่านกระบวนการจิตแพทย์แล้วมันก็จะเกิดปัญหาทีหลัง อันนี้ของ ประเทศสวีเดน ผมจะยกตัวอย่างมาพอสมควรที่ประเทศที่ได้เกิดอย่างนี้ เพราะเขา ระมัดระวังว่าการเปลี่ยนคำนำหน้านามแล้ววันดีคืนดีอยากเปลี่ยนกลับ จะเปลี่ยนกลับไป กลับมาท่านคิดว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคมหรือไม่ครับ นั่นคือปัญหาสับสนเรื่องการใช้ชีวิต ในสังคม ข้อกังวลของสังคมเป็นอย่างไร ระบบนายจ้างลูกจ้างที่จะต้องใช้แรงงานเฉพาะด้าน เป็นอย่างไร ความสับสนของหน่วยงานราชการ ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลบุคคลจะต้องดำเนินการ อย่างไร นี่เป็นประเด็นที่มีข้อกังวล หรืออย่างประเทศฟินแลนด์ประเทศนี้หลักเกณฑ์ในการ เปลี่ยนคำนำหน้านามจะต้องทำหมันก่อนครับ เพราะป้องกันกรณีที่มีท้องโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นกรณีข่มขืน ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ พลาดตั้งท้องขึ้นมาจะเกิดปัญหาสิทธิ ใคร เป็นพ่อเด็ก ใครเป็นแม่เด็กอะไรต่าง ๆ ปัญหาก็ไม่ได้เกิดแก่พ่อแม่เด็ก แต่ปัญหาเกิดต่อ ตัวเด็กเป็นประเด็นใหญ่ ท่านประธานครับผมขออนุญาตเพราะว่าพรรคเพื่อไทยพูดไม่กี่คน ขอให้ผมได้พูดจนจบเถอะครับ ประเทศฟินแลนด์มองว่าเรื่องนี้จะต้องสร้างระบบป้องกัน ปัญหาในอนาคตได้อย่างยั่งยืนที่สุด นี่เป็นหลักคิดของประเทศฟินแลนด์ แล้วแต่ละประเทศ ไม่เหมือนกัน แล้วประเทศเราจะใช้หลักอะไร จะใช้การตรวจสอบอย่างไร เรายินยอมให้มี การเปลี่ยนคำนำหน้านาม ถ้าเรายินยอมให้มีการเปลี่ยนคำนำหน้านามได้เราจะทำอย่างไร อันนี้เป็นข้อกังวลของผม การที่จะมีกฎหมายให้ใช้สิทธิว่าถ้าบรรลุนิติภาวะแล้วสามารถ เปลี่ยนคำนำหน้าเองได้ตามที่ตัวเองต้องการ มันเลยสุ่มเสี่ยงก่ออาชญากรรมมากเกินไปครับ ในกรณีที่มีคนที่ไม่มีความประสงค์ในช่องทางนี้ อย่างเช่น การเปลี่ยนคำนำหน้านามเพื่อที่จะ ไปหลอกทรัพย์ หรือเปลี่ยนคำนำหน้านามเพื่อที่จะลวนลามบุคคลอีกเพศหนึ่ง โดยหลอกว่า เป็นเพศเดียวกัน แล้วปัญหามันจะว่าอย่างไร สรุปจากรับฟังความคิดเห็นหลายฝ่ายยังไม่เห็น ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้โดยเฉพาะกรมราชทัณฑ์ เมื่อบ่ายวันที่ ๑๗ ที่ผ่านมานั้นวันอาทิตย์ครับ ผมได้มีโอกาสได้ไปกับท่านทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ไปเยี่ยมผู้ต้องขัง ที่เรือนจำจังหวัดอุดรธานี อยากจะขอเรียนว่าเมื่อไปแล้วผมไปเห็นการแบ่งแยกนักโทษชาย และนักโทษหญิง ถ้าสมมุติว่าเพศทางเลือกได้กระทำผิด ซึ่งเขามีจิตใจไม่ตรงกับเพศสภาพ แล้วเขาเข้าไปอยู่ในเรือนจำ เขาต้องอยู่ร่วมกับผู้ต้องขังชายหรือหญิงครับ ผมเห็นบางคนว่า เพศสภาพอาจจะเป็นชายแต่จิตใจเขาเป็นผู้หญิง พอเขาเข้าไปในเรือนจำอยู่ร่วมกับผู้ต้องขังชาย บางคนหน้าอกอย่างนี้อยู่ผมแลเห็น เพราะ ๓,๒๐๐ คนอยู่นั่นแล้วตัดผมสั้นด้วย แล้วสภาพจิตใจ ของคนประเภทนี้เขาจะมีสภาพจิตใจอย่างไร เพราะว่านมก็ยังไม่ได้ออก ต้องตัดผมสั้นอีก อย่างนี้เราสามารถที่จะให้พวกเขาได้รับสิทธิเลือกได้บ้างหรือไม่ครับ หรือเราสามารถเปิด พื้นที่อีกส่วนหนึ่งไว้ให้เขา หญิง ชายและเพศ มันจะต้องใช้สถานที่ เรือนจำจังหวัดอุดรธานี จะย้ายแล้ว เพราะว่าจะย้ายไปอยู่อีกที่หนึ่งแล้ว ถ้ากฎหมายอย่างนี้ผ่านมันก็ต้องดำเนินการ ในการจัดการ แล้วจะต้องใช้งบประมาณเท่าไร เปลี่ยนแดนเป็นแดนที่ ๓ หญิง ชาย และ อีกต่าง ๆ อันนี้เป็นข้อคิดเห็นนะครับ ในเรื่องของข้อกฎหมายผิดก็ว่าไปตามผิดอยู่แล้ว ผิดก็คือชาย ถึงแม้ว่าจะเป็นเพศสอง นี่ละครับผมเป็นห่วง บางคนเหมือนผู้หญิงจริง ๆ สวย น่ารักมากครับ นี่แหละสภาพจิตใจของผู้ต้องขังเหล่านี้คิดว่ามันสำคัญเหมือนกันนะครับ การทำกิจกรรมร่วมกันมันจะแยกอย่างไร การคุมขังกรณีผู้ต้องขังชายข้ามเพศมีเพศกำเนิด เป็นหญิง และเป็นผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพศแล้วจะทำอย่างไร และกรมราชทัณฑ์ จัดให้อยู่เรือนจำคุมขังชายหรือเปล่า แล้วต้องสร้างแดนใหม่ขึ้นมาอย่างที่ผมได้กราบเรียนไป เบื้องต้น หรือกรณีผู้ต้องขังที่เป็นผู้หญิงข้ามเพศมีเพศกำเนิดชายเป็นผู้ที่ได้รับการผ่าตัด เปลี่ยนอวัยวะเพศแล้ว และกรมราชทัณฑ์จัดให้อยู่ในเรือนจำคุมขังหรือเปล่า ผมเป็นคน คิดมากนะครับ ทั้ง ๆ ที่ผมสนับสนุนเรื่องอย่างนี้มาโดยตลอด หากพระราชบัญญัตินี้มีผล บังคับใช้อาจก่อให้เกิดปัญหาล่วงละเมิดทางเพศได้อีกครับ หรือทำร้ายร่างกาย ถ้าอยู่ในคุก ก็ขาใหญ่ละครับ ระหว่างเพศที่เป็นเพศที่ชาติกำเนิดอะไรต่าง ๆ มันคนละเรื่องกันนะครับ ท่านประธาน ก็เลยห่วงบางคนก็สภาพไม่เหมือนกัน บางคนสามารถเป็นนักมวยเตะก้านคอ ผู้ชายสลบอย่างนี้ก็มี แต่เขาสามารถแปลงเพศได้ เขาเป็นอรชรอ้อนแอ้น แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเกิดมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในขณะนั้นผมห่วงเพราะว่าเดี๋ยวนี้ยาบ้ามันเยอะ ที่คุมขังมันก็จะ ไม่มีอยู่แล้ว แต่ผมไม่ห่วงว่าคนที่จะแปลงเพศอะไรอย่างนี้ ถ้าสมมุติว่าเขามีความผิดจะเข้าไป อยู่นั้นมันมีปัญหา อย่างอื่นผมจะไม่ยกตัวอย่าง เพราะสภาพรูปร่างร่างกายเดิมของการขัง สภาพมันเปลี่ยนไป การเปลี่ยนอวัยวะเพศ หน้าอก ยากแก่การควบคุมดูแลด้วยก็จะมีปัญหา เกิดขึ้นมา และความเป็นธรรม ความไม่เท่าเทียม สามารถเปลี่ยนให้เกิดความเป็นธรรม สามารถสร้างให้เกิดความเท่าเทียมได้ เพียงแต่เปลี่ยนคำนำหน้านามนั้น ผมคิดว่ามันจะเป็น อย่างไร เปลี่ยนแล้วมันมีความเป็นธรรมหรือเปล่า เพราะการจะสร้างความเป็นธรรมเท่าเทียม เราสามารถสร้างได้ด้วยตัวเองมากกว่า เราสามารถผลักดันให้ผู้มีอำนาจใช้กลไกทางกฎหมาย สร้างความเป็นธรรมให้เป็นรูปธรรมได้ดียิ่งกว่าการเปลี่ยนนายเป็นนาง หรือเปลี่ยนนางเป็นนาย กระผมไม่อยากมองว่าแค่คำนำหน้านาม นาย นาง นางสาว เด็กชาย เด็กหญิง เป็นกรอบ กำหนดต่าง ๆ ในชีวิต เพราะไม่ว่าท่านจะเป็นนาย นาง นางสาว คือมนุษย์เสมอภาคกันทุกคน ท่านก็คือคนเหมือนกัน อย่าได้เพียงแต่ว่าคำนำหน้านาม แต่ถ้าหากว่าจะทำกันจริง ๆ ขอให้ มันละเอียดรอบคอบกว่านี้ ทุกคนในบ้านในเมือง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลก็ดี ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ก็ดี หรือทุกพรรคการเมือง หรือพี่น้องภาคประชาชนเอาเข้ามาให้จริง ๆ จัง ๆ ถ้ามันผ่านไป ยังคณะกรรมาธิการจะต้องละเอียดถี่ถ้วนเรื่องอย่างนี้ทุกฉบับ ผมนั่งอ่านตั้งแต่เช้า ผมว่า จะไม่ได้อภิปราย ผมอ่านไปอ่านมามันก็ทำให้ได้รู้ กระผมเชื่อว่าถ้าคนเรารักกันจริง คำนำหน้านาม นาย นาง ไม่จำเป็นครับ เป็นกำแพงปิดกั้นความรัก ถ้าเรามัวแต่เอาคำว่า นาย นาง นางสาว มาเป็นอุปสรรคเพื่อที่จะเอาไปปิดกั้นความรักแล้วกระผมมองว่ามันไม่ใช่ ความรักครับ สุดท้ายครับท่านประธาน กระผมขอถามว่าสังคมควรเปลี่ยนเพื่อเรา หรือเรา ควรเปลี่ยนเพื่อสังคมกันแน่ แล้วอะไรจะดีกว่ากันครับ แล้วอะไรมันจะเหมาะสมในบริบท ของสังคมทุกวันนี้ก็เท่านี้เองครับ แล้วก็ไม่ได้คัดค้าน ไม่ได้ขัดแย้ง ไม่อะไร เพียงแต่เป็น ข้อคิดเห็นประสบการณ์ที่เกิดมานานพอสมควร เล่าให้ท่านฟังว่ากลัวมันจะมีปัญหา เท่านั้นเองครับ ขอกราบขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเปลี่ยนลำดับท่านผู้อภิปรายนะครับ ท่านแรก ท่านเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ท่านที่ ๒ ท่านภัณฑิล น่วมเจิม ท่านที่ ๓ ท่านประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ เตรียมตัวนะครับ เชิญท่านเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร เชิญครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร ธนบุรี คลองสาน บางกอกใหญ่ พรรคก้าวไกล ผมหวังว่าการที่ผมเรียกชื่อตัวเองว่า นายเท่าพิภพ เมื่อสักครู่นี้จะเป็นหนึ่งในครั้งสุดท้ายที่ผมจำเป็นต้องเรียกคำนำหน้านามของผมว่า นาย ผมเองไม่ใช่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ อาจจะเป็นเพศที่ตรงโดยกำเนิด ผมก็ไม่ได้รู้สึกว่าการขึ้นคำนำหน้านามของผมจะมีความสำคัญใด ๆ ถ้าผมได้ละ ๑ คำออกไป ผมก็รู้สึกเป็นคนขี้เกียจ ผมก็สบายขึ้นเท่านั้นเองนะครับ นี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่อาจจะดูโง่ ๆ ของผมที่ผมมีความเห็นด้วยกับ พ.ร.บ. ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการรับรองเพศคำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งผมยืนยันนะครับ ได้ฟังเพื่อนสมาชิก ของทั้ง ๒ ฝั่งของสภาแห่งนี้ ผมว่าสิ่งที่เหมือนกันอย่างเดียวเลยที่เห็นตรงกันแน่นอนนะครับ ก็คือหลักการที่เราเห็นความเท่าเทียมทางเพศเป็นเรื่องหลัก ก็โอเคครับ ก็เห็นมีก่อนหน้า ผู้เสนอจะได้เสนอก็มีเพื่อนสมาชิกได้บอกว่าการที่จะเสนอกฎหมายนี้ อยากให้ผู้เสนอคือ คุณธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ได้ถอนไปก่อน ซึ่งผมเองคิดว่าจะถอนกันทำไม ถ้าเห็นด้วย ในหลักการก็ควรจะให้ผ่านไปก่อน ซึ่งถ้าผมมาดูในหลักการของกฎหมายนี้ที่แจกให้สมาชิก ได้ดู หลักการในขั้นตอนวาระที่ ๑ เราโหวตเพื่อรับหลักการ จริง ๆ เราไม่ได้โหวตเพื่ออะไร เราโหวตเพื่อ ๑ บรรทัดนี้ครับ หลักการของกฎหมายนี้ก็คือให้มีกฎหมายว่าด้วยการรับรอง เพศคำนำหน้านามและการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ แค่นี้เองครับ เห็นด้วยใช่ไหมครับ เห็นด้วยก็โหวตผ่านใช่ไหมครับ แล้วถามว่าความสำคัญที่เข้าใจว่า มีร่างประชาชนที่จะเข้ามาอยู่ ผมว่าร่างของประชาชนผมไม่แน่ใจว่าเนื้อหาข้างใน ความตั้งใจ จะแตกต่างหลากหลายกันอย่างไร หรือร่างของ ครม. จะเป็นเช่นไร แต่ผมเชื่อว่ามันไม่หนี จากหลักการนี้แน่นอน ก็ยืนยันนะครับว่าอยากให้เพื่อนสมาชิกรัฐสภาแห่งนี้รับหลักการ ในวาระที่ ๑ ไปก่อน เพราะมันเป็นหลักการที่มันเปิดกว้างที่สุดแล้ว ใครจะแก้อย่างไรก็ได้ ผมเชื่อว่าเรามีขั้นตอนในกรรมาธิการที่จะไปแก้ไขได้อย่างที่เพื่อนสมาชิกผู้อภิปรายก่อน หน้าผมได้มีข้อกังวลต่าง ๆ นานา เรามีสภาแห่งนี้เพื่อเรามาคุยกันครับ เห็นตรงกันบ้าง เห็นไม่ตรงกันบ้าง ผมก็ยืนยันเหมือนเดิมว่าเรามีกระบวนการที่ออกแบบ Design มาเพื่อ การแก้ปัญหาของสังคมอยู่แล้ว กรรมาธิการครับเป็นที่ที่เราไปถกเถียงกันครับ รายมาตรา อะไรก็ว่าได้ว่ามาตรานี้เราจะเอาอย่างไร มาตรานั้นเราจะเอาอย่างไร ปกป้องสิทธิ คนเขา กลัวว่าจะโดนหลอกจากคำนำหน้านามแล้วก็ไปแต่งงานอย่างไร ผมเชื่อว่าถ้าเรามาช่วยกัน คิด ช่วยกันทำในกรรมาธิการได้แน่นอนครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ แน่นอนครับว่าที่เพื่อนสมาชิกกังวลว่าถ้าหากร่างของประชาชน ไม่ได้เข้ามา ณ ตรงนี้จะเป็นการเสียสิทธิของประชาชน ผมไม่รู้นะครับท่านประธานว่า พรรคอื่นเขาทำอย่างไร แต่พรรคก้าวไกลเราปกติแล้วกรรมาธิการต่าง ๆ ทั้งวิสามัญในเรื่อง เกี่ยวกับการศึกษาเองหรือกฎหมายเอง เราจะแบ่งโควตาครึ่ง ๆ อยู่แล้ว ส่วนใหญ่บางครั้ง ภาคประชาชนที่อยู่ข้างนอกสภาที่ไม่ใช่เป็นสมาชิกเรา ไม่ใช่อดีตผู้สมัครของที่เคยลงกับเรา ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นประเด็นนั้น ๆ อย่างผมเองกับท่านประธานในสมัยก่อนก็ได้เคยนั่ง อยู่ใน พ.ร.บ. กัญชา กระท่อมด้วยกัน ก็จะสังเกตว่าเพื่อนสมาชิกของผมที่เป็นกรรมาธิการ จากพรรคก้าวไกลก็เป็นบุคคลนอกทั้งนั้น ซึ่งถามว่าถ้าเราตั้ง โควตาของพรรคก้าวไกลคงไม่พอ ที่จะให้ หรือพรรคต่าง ๆ คงไม่พอที่จะให้ภาคประชาชนที่เขาจะเสนอร่างเข้ามา ไม่เป็นอะไร ผมเสนอข้อเสนอนี้ให้เพื่อนสมาชิกเพื่อความสบายใจ เพราะเรารักประชาชนเหมือนกัน ตามข้อบังคับเราสามารถกำหนดกรรมาธิการกี่ท่านก็ได้ เสนอมากกว่าปกติก็ได้ แล้วแบ่ง โควตาไปตามพรรคการเมืองต่าง ๆ แล้วเป็นที่รู้กันครับว่าจะนำภาคประชาชนเหล่านั้นเข้ามา ในสภา อีกทั้งแม้ร่างนี้จะไม่เป็นร่างกฎหมายที่ ครม. ได้เสนอเข้ามาในสภาแห่งนี้ แต่ตาม ข้อบังคับของสภาแล้ว ครม. มีสิทธิที่จะเสนอกรรมาธิการได้ไม่เกิน ๑ ใน ๓ ของสภานี้อยู่แล้ว ผมเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกผู้แทนราษฎร พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับ ครม. ก็น่าจะขอท่านได้ เพราะหลายครั้งหลายนามที่ผมเคยเห็นที่ผ่านมาในสภาแห่งนี้จาก ครม. บางครั้งเป็นการเสนอจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐบาลเองด้วยซ้ำ ผมว่าแบ่งโควตาให้ ประชาชนได้อย่างแน่นอนนะครับ ผมเลยเรียนด้วยเหตุผลทั้ง ๓ ข้อเหล่านี้ ผมจึงขอให้เพื่อนสมาชิกทั้งสภาได้สบายใจได้ ไม่ว่า ตอนนี้กระบวนการของทาง ครม. จะเป็นอย่างไร ผมคงไม่ไปว่ากล่าวอีกแล้ว เพราะเพื่อน สมาชิกผมทุกสัปดาห์ก็ได้ว่ากล่าวถึงกระบวนการทำงานทางนิติบัญญัติของทาง ครม. ไว้ เยอะแล้ว รวมถึงหากกังวลว่าประชาชนที่เขามีความเห็นในอีกส่วนหนึ่งจะไม่ได้รับสิทธิ ในการที่เขารวบรวมรายชื่ออยู่ ซึ่งตอนนี้มีแค่ ๖,๐๐๐ รายชื่อเอง ถ้า ครม. เห็นใจก็นำร่างนั้น มาได้เลยนะครับ และจริง ๆ แล้วตามที่ผมเรียนไปว่าเสนอชื่อกรรมาธิการเอาคนเหล่านั้น เข้ามาแล้วก็มาทำงานกันในกรรมาธิการ ผมเชื่อว่า พ.ร.บ. คำนำหน้านามนี้ต้องผ่านให้ได้ เพราะว่ามันเป็นหมุดหมายสำคัญในการแสดงว่าประเทศไทยเราเดินไปข้างหน้า เราก้าวไปได้ ไกลกว่าที่อื่นแล้ว ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านภัณฑิล น่วมเจิม เชิญครับ
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตวัฒนา คลองเตย ก็ขอร่วม อภิปรายในวาระนี้ด้วยนะครับ การเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศอาจมี ผู้แย้งที่ให้เหตุผลเรื่องการถูกหลอก เช่น ถูกผู้หญิงข้ามเพศหลอกว่าเป็นหญิงตามเพศกำเนิด ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่ทัศนคติแล้วครับ เรื่องการมองว่าผู้หญิงข้ามเพศไม่ใช่หญิงแท้ แต่ถ้าจะให้ พูดตามมุมมองของผู้ที่อาจจะยังมีทัศนคติแบ่งแยกหญิงแท้หญิงเทียมอยู่ การโดนหลอก ถ้าเกิดขึ้นจริงก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะมาแย้งเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ ทางเพศ เพราะอะไรครับ เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นมันเป็นระดับปัจเจกบุคคล มาจากการที่คนที่ บอกว่าตัวเองถูกหลอกนั้นบางทีก็อาจจะไม่มีวิจารณญาณหรือวุฒิภาวะเพียงพอในการเลือก คบคนหรือเปล่า ซึ่งหากเกิดขึ้นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะมาเหมารวมว่าบุคคลข้ามเพศจะมาเปลี่ยน คำนำหน้านามเพื่อมาหลอกลวงทั้งหมด หากมีอาชญากรรมเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนคำนำหน้านาม เช่น การปลอมแปลงตัวตนเพื่อก่ออาชญากรรม ก็เป็นประเด็นเรื่องอาชญากรรมที่ต้องจัดการ กันในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป ไม่ใช่มาต่อต้านการเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ ทางเพศไปเสียทั้งหมด เนื่องจากการเปลี่ยนคำนำหน้านามก็เป็นสิทธิของผู้ที่ต้องการจะเปลี่ยน อย่างเช่น กลุ่มคนข้ามเพศสมควรได้รับเป็นสิทธิที่ไม่ควรถูกต่อต้านเพียงเพราะความ หวาดระแวงจากการกระทำของคนกลุ่มน้อย นอกเหนือจากการโดนหลอกลวง อีกสาเหตุหนึ่ง ที่คนมักต่อต้านการเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศ ก็คือมาจากความเกลียด กลัวบุคคลข้ามเพศนั่นเอง หรือ Transphobia ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมในสังคม ของเราเอง เป็นสิ่งที่เราต้องร่วมกันแก้ไขซึ่งยากก็จริง แต่หากลองพิจารณาดูโดยปราศจาก อคติหรือความเกลียดกลัว คนที่เกิดมาตรงเพศอย่างผมไม่ต้องดิ้นรนเพื่อให้ใครมายอมรับ อัตลักษณ์ของตัวเอง แต่คนข้ามเพศเขาต้องดิ้นรน เรียกร้องมาเพื่อสิทธิของตน การเปลี่ยน คำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศก็เป็นสิทธิที่กลุ่มคนข้ามเพศเขาสามารถเรียกร้อง และสมควรได้รับ ไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นมาเป็นอย่างไร เราต่างต้องการให้อัตลักษณ์ของเราได้รับ การยอมรับทั้งนั้น สิ่งที่เราควรทำคือช่วยกันขจัดความเกลียดกลัวที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคม ยอมรับตัวตนของทุกคนอย่างเท่าเทียม ซึ่งการเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ ทางเพศก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะเปิดทางไปสู่สังคมที่ทุกเพศเท่าเทียมกันและเป็นสังคมที่โอบรับ ความหลากหลายครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ เชิญครับ
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ สมาชิกผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล จังหวัดปทุมธานี เขต ๗ อำเภอลำลูกกา ธัญบุรีและอำเภอหนองเสือ วันนี้ผมขอมีส่วนร่วมอภิปรายสนับสนุน พ.ร.บ. การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ท่านประธานครับ ผมอภิปรายมาประมาณ ๓๐ ครั้ง ตั้งแต่เปิดสมัยประชุมคราวที่แล้ว ผมไม่เคยใช้คำนั้นหน้านามเลย ไม่เคยใช้คำว่า นาย นำหน้าคำว่า ประสิทธิ์ เลย อันนี้เป็น เรื่องที่หนึ่ง เพราะว่าผมมีความเข้าใจในส่วนของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ท่านประธานครับ วันนี้ผมก็มาทำงานปกติเลย เดินมาทำงานปกติ ร่วมอภิปรายปกติในกฎหมายที่ปกติ ทำไม ผมถึงพูดอย่างนี้ เพราะว่าหลายท่านมองเห็นว่ากฎหมายนี้ไม่ปกติ กฎหมายนี้มีความก้าวหน้า เกินไป กฎหมายนี้ยังไม่ถึงเวลา แต่ผมก็ขอเรียนให้ทราบตรงนี้นะครับว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ได้แปลก แตกต่างจากหลาย ๆ ประเทศเลยนะครับ มีมากกว่า ๓๐ ประเทศที่ยอมรับความหลากหลาย ทางเพศ และให้มีการระบุเพศหรือว่าระบุเป็นเพศที่สามกว่า ๓๐ ประเทศทั่วโลก เราไม่ใช่ ประเทศแรก แม้แต่ประเทศปากีสถานหรือประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเคร่งครัด ในศาสนามาก ๆ แล้วก็มีกฎหมายที่ต่อต้านการรักร่วมเพศมาเป็นพัน ๆ ปีนะครับ ปัจจุบันนี้ ก็มีการยอมรับเพศที่สามแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของมนุษยชาติในปัจจุบัน เป็นกฎหมาย ระหว่างประเทศ แล้วก็เป็นสิทธิมนุษยชนด้วยนะครับ ปัญหาที่เกิดขึ้นของบุคคลที่มีความ หลากหลายทางเพศ ผมจะยกตัวอย่างให้ดูนะครับ ยกตัวอย่างของรายที่ ๑ นักธุรกิจเจ้าของ คลินิกเสริมความงาม นักธุรกิจรายนี้เดินทางไปต่างประเทศบ่อยมาก และมีครั้งหนึ่ง Passport ใกล้จะหมดอายุก็เลยเป็นต่อ Passport ก่อนเพื่อจะเดินทางไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่เมื่อไปถึงกรมการกงสุลของประเทศไทย ไปต่อ Passport กลับถูกเหยียดว่าหน้าไม่ตรงปก เพราะว่านักธุรกิจรายนี้เป็นกระเทยไปทำศัลยกรรมมา แล้วหน้าตาสวยกว่าเดิมก็เลยบอกว่า หน้าไม่ตรงปก ผมขออ่านเลยดีกว่าจะได้ไม่ผิด เจ้าหน้าที่จุดซักฟอกประวัติไม่ให้ผ่านและ บล็อก Passport ของตนเนื่องจากหน้าไม่ตรงปก และใช้คำพูดหยาบคาย เสียดสีว่าเป็น สาวประเภทสองจะต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะกลัวข้ามประเทศไปแล้วจะทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนเองมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างเพศ เมื่อให้เหตุผลแล้วว่าจะยื่นเดินทางไป ต่างประเทศเพื่อไปทำธุรกิจก็ยังไม่ได้รับการตอบสนอง สุดท้ายตนก็ไม่ได้ต่อ Passport ก็เลย ขอ Visa เลยแล้วก็ไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้ ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่กลับมีปัญหาที่ กรมการกงสุล อันนี้เป็นเคสที่เกิดขึ้นในข่าวนะครับ ผมอ่านตามข่าวเพื่อป้องกันการผิดพลาด
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ จะมีนักแสดงโชว์ของประเทศไทย มีความหลากหลายทางเพศ แต่ว่าการแสดงโชว์ของเขาเป็นที่ต้องการของต่างประเทศจึงต้องเดินทางไปโชว์ตัว ไปโชว์ การแสดงหลาย ๆ ประเทศ แล้วบางครั้งเกิดปัญหาว่าไม่สามารถผ่านด่าน ตม. ของ ต่างประเทศได้ เนื่องจากว่า Passport ยังเป็นนายอยู่ แต่รูปร่างเป็นผู้หญิงแล้วนะครับ บางคนถูกตรวจ แม้กระทั่งให้เปลื้องผ้านะครับ เพื่อตรวจดูว่าเพศตรงหรือเปล่า ซึ่งตรงนี้ ก็กลายเป็นปัญหา แทนที่เราจะได้ไปสร้างเม็ดเงินกลับมาประเทศ แต่กลับถูกบล็อกเพราะ เรื่องตรงนี้นะครับ ท่านประธานครับ ผมอยากให้ท่านประธานแล้วก็สมาชิกผู้มีเกียรติ ในสภาเหล่านี้ลองดูไปที่ Monitor ของเรา ดูไปที่หน้าจอมุมล่างขวา ท่านเห็นอะไรไหมครับ ล่ามภาษามือของเรา ทำไมเราจึงต้องมีล่ามภาษามือ เพราะเรามีผู้พิการทางการได้ยิน ในประเทศไทยมีอยู่ ๒ ล้านคน นับเป็น ๓ เปอร์เซ็นต์ของคนไทยทั้งหมด เรายังมีล่ามภาษามือ เพื่อให้คนที่มีความพิการทางการได้ยินได้รับรู้ได้สัมผัสเหมือนกับพวกเรา ให้รู้สึกว่าเป็นคนปกติ และกลุ่ม LGBT มีมากกว่านี้เยอะ มี ๔ ล้านคน อย่างน้อย ๆ ที่ลงบันทึกไว้มี ๔ ล้านคน หรือ ประมาณ ๖ เปอร์เซ็นต์ ทำไมเราถึงไม่ออกกฎหมายเพื่อเอื้อให้เขารู้สึกเป็นปกติเหมือนพวก เราครับ อันนี้คือสิ่งที่เราสามารถทำได้ ไม่ใช่เรื่องยากเลยนะครับ สมาชิกผู้มีเกียรติ ในสภาเราเข้ามาเพื่ออะไร เพื่อทำงานให้ประชาชนใช่ไหมครับ เพื่อให้ประชาชนทุกคน มีส่วนร่วมกับเรา รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำไมเราจะต้องแบ่งแยก ทำไมเราจะต้องทำให้ เขารู้สึกว่าเขาถูกเหยียด ไม่ปกติ อันนี้อยากฝากให้ทุกท่านได้คิดดูนะครับ ถ้าท่านคิดไม่ออก ก็ลองมองอีกครั้งหนึ่ง Monitor มุมล่างขวาของเรา สุดท้ายถ้าท่านมีเพื่อนอยู่ในกลุ่ม LGBT ท่านลองไปถามเขาดูถึงกฎหมายฉบับนี้ ท่านลองไปถามเขาดู ผมเคยคุยแล้วเขาบอกว่าเขารอ กฎหมายฉบับนี้มาทั้งชีวิต ทั้งชีวิตนะครับท่าน ไม่ใช่แค่ ๑ ปี หรือ ๒ ปี แต่เขารอมาทั้งชีวิต แล้วเราจะเอาความหวังของเขาออกไปหรือครับ ถ้าท่านมีความรู้สึกเพื่อประชาชนจริง ๆ ถ้าท่านเห็นแก่กลุ่ม LGBT จริง ๆ ท่านต้องยอมรับกฎหมายฉบับนี้ แล้วเราไปแก้ปัญหาที่มี ต่อไปด้วยกันในคณะกรรมาธิการวิสามัญครับท่าน เราไม่ควรปิดโอกาสตั้งแต่ตรงนี้ครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านแรกท่านรวี เล็กอุทัย ท่านที่ ๒ ท่านสิริลภัส กองตระการ ท่านที่ ๓ ท่านเอกราช อุดมอำนวย เชิญท่านรวี เล็กอุทัย ครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต ๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ สำหรับประเด็นในเรื่องของความเท่าเทียมและการคุ้มครองผู้มีความ หลากหลายทางเพศนั้น ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับว่าเราควรให้ความสำคัญและเคารพ ถึงความเป็นปัจเจกบุคคล รวมถึงสิทธิเสรีภาพที่มนุษย์ทุกคนพึงจะได้รับ ไม่ว่าเขาจะมี เพศสภาพแบบใดก็ตาม เพราะนี่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของสิทธิเสรีภาพเท่านั้นครับท่านประธาน แต่ยังรวมถึงความเสมอภาคและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ตามหลักการของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งทางฝ่ายนิติบัญญัติและสภาผู้แทนราษฎรของเราก็ได้มีการ เดินหน้าเพื่อขับเคลื่อนในประเด็นเรื่องนี้ด้วยแล้วเช่นเดียวกัน นั่นก็คือร่างของ พ.ร.บ. สมรส เท่าเทียม ซึ่งผมได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายไป และกำลังอยู่ในขั้นพิจารณาของคณะกรรมาธิการ วิสามัญอยู่ ณ ขณะนี้ ขอสไลด์ขึ้นด้วยนะครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ในส่วนของการรับรองเพศ คำนำหน้านาม ของผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้นผมเห็นว่าเป็นประเด็นที่สำคัญเช่นเดียวกัน และมี ความสอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียม แต่ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นประเด็นที่ยังมีความละเอียดอ่อน และมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง กับกฎหมายหลายฉบับ รวมไปถึงการจัดทำบริการสาธารณะของภาครัฐด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นผมมองว่าในเรื่องนี้เราจำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบเป็น อย่างมากครับ สำหรับผมครับผมขอย้ำนะครับว่าผมเห็นด้วยถึงความเป็นมนุษย์ที่จะต้องมี ความเท่าเทียมกันและเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่เมื่อเราคลอดและอยู่รอดมาจน เป็นทารก ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม สถานะของความเป็นบุคคลของเราก็ได้เกิดขึ้นแล้วครับ และต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ดีครับสิ่งที่เราไม่อาจละเลยหรือ มองข้ามได้ นั่นก็คือประเด็นด้านชีวภาพของบุคคล ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงสิทธิและหน้าที่ ของพลเมืองไทยต่อไปอีกด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งสองหลักการนี้ครับสำหรับผมแล้วเราจะต้อง มีการพิจารณาให้รอบคอบ เพราะมันเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อการกำหนดทั้งสิทธิและ หน้าที่ ตลอดจนการจัดทำบริการสาธารณะที่เกี่ยวข้อง ผมจึงมองว่าเราไม่สามารถพิจารณา สิ่งเหล่านี้แยกออกจากกันได้เลย อีกทั้งเมื่อพูดถึงการจัดทำบริการสาธารณะให้กับพี่น้อง ประชาชนด้วยแล้ว ย่อมเกี่ยวเนื่องกับการใช้จ่ายงบประมาณของแผ่นดิน และเพื่อให้เงิน ทุกบาททุกสตางค์ที่ลงทุนไปนั้นสามารถตอบโจทย์ในการอำนวยความสะดวกและยกระดับ คุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชนทุกคนทุกวัยครับ โดยให้ความสำคัญและยืนอยู่บนหลัก ของความเสมอภาคเท่าเทียม ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นเพศกำเนิดอะไร มีเพศวิถีแบบไหน หรือ เลือกว่าจะใช้คำนำหน้าอย่างไรด้วยเช่นเดียวกันครับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่สิ่งที่ผมเป็นกังวล นั่นก็คือในประเด็นของการพิสูจน์ทราบอัตลักษณ์ของบุคคล และการจัดทำบริการสาธารณะ ยกตัวอย่างเช่น การจัดทำบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข โดยกระบวนการดูแลรักษา สุขภาพย่อมเกี่ยวเนื่องกับเพศกำเนิดของบุคคลนั้น ๆ แน่นอนอยู่แล้ว ซึ่งการเปิดช่องให้มี การใช้คำนำหน้านามที่อิสระจนเกินไปอาจทำให้เกิดขั้นตอนที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน และ อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อกระบวนการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งเรื่องของเวลาและความ รวดเร็วของขั้นตอนต่าง ๆ ทางการแพทย์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการรักษาโรคภัย ต่าง ๆ ให้กับพี่น้องประชาชน หรือในกรณีหากเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น กรณี สึนามิในปี ๒๕๔๗ ที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในกรณีเช่นนี้สิ่งสำคัญคือการพิสูจน์ทราบ ทางอัตลักษณ์ เพื่อนำคนที่เรารักกลับบ้าน ดังนั้นผมจึงเป็นกังวลถึงปัญหาความยุ่งยากที่ อาจจะเกิดขึ้นจากการพิสูจน์ทราบอัตลักษณ์ และต้องการให้มีการปรึกษาหารือกับผู้ที่เป็นฝ่ายปฏิบัติด้วย เพื่อให้เห็นถึงแนวทางที่จะ เกิดผลชัดเจนถึงการป้องกันปัญหาอย่างรอบด้านก่อนครับ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงประเด็น อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ นานาตามมาเช่นเดียวกัน เช่น ผลกระทบ ที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การเข้าเมืองของแต่ละประเทศ การแข่งขันกีฬาในระดับสากลที่ใช้ เพศกำเนิดเป็นตัวกำหนดในการแข่งขัน สิทธิภายหลังจากการสมรสเพื่อต้องการสร้าง ครอบครัวและมีบุตรทางสายเลือด และผลกระทบจากเหตุแห่งการฟ้องหย่าตามเนื้อความ ในร่างของกฎหมายฉบับนี้ หรือแม้กระทั่งผลกระทบของร่างกฎหมายฉบับนี้ที่จะส่งผลต่อ กฎหมายที่เกี่ยวข้องตามมา รวมถึงแนวทางป้องกันปัญหาของหน่วยปฏิบัติ ท่านประธานครับ การให้เกียรติและเคารพในความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าทุกท่านในสภาแห่งนี้ รวมถึงพี่น้องคนไทยทุกคนที่กำลังมองอยู่ ต่างมองเห็นความสำคัญและต้องการทำให้เกิดขึ้น ในประเทศไทยของเรา แต่การพิจารณาเรื่องเพศกำเนิดและการจัดทำบริการสาธารณะของ ภาครัฐตามที่ผมอภิปรายไปนั้นเป็นสิ่งที่เราก็มองข้ามไม่ได้จริง ๆ ครับ เพราะนี่เป็นสิ่งที่ส่งผล กระทบต่อวิถีชีวิตของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งผม คิดว่าเป็นประเด็นที่เราจะต้องพิจารณาให้รอบคอบเป็นอย่างยิ่ง โดยสรุปผมขอให้กำลังใจ ต่อเพื่อนสมาชิกที่เสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เข้ามาสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ของเรา และผมเชื่อมั่นครับว่ารัฐบาลก็ให้ความสำคัญต่อหลักความเท่าเทียมและเคารพ ในอัตลักษณ์ที่มีความหลากหลายของคนไทย ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าในพัฒนาการที่สภาของเรานี้ ได้มีการริเริ่มขึ้นแล้ว ในร่างของ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมนั้นแนวทางการยกระดับความเป็น บุคคลที่มีความเท่าเทียมกันของประเทศไทยของเราจะต้องดีขึ้นเรื่อย ๆ แน่นอนครับ แต่อย่างไรก็ตามความละเอียดรอบคอบและการมีแนวทางปฏิบัติที่สามารถนำไปปฏิบัติ ใช้ได้จริง ก็เป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญควบคู่ไปด้วยเช่นเดียวกัน ผมจึงอยากขอเสนอให้มี การศึกษาเรื่องนี้ให้มีความละเอียดรอบคอบชัดเจนมากกว่านี้ก่อน โดยมีการศึกษาและรับฟัง จากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาคนโยบาย ภาคปฏิบัติ และที่สำคัญคือภาคประชาชนด้วย เช่นเดียวกันครับ ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ต่อไปท่านสิริลภัส กองตระการ เชิญครับ
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาค่ะ ดิฉัน สิริลภัส กองตระการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร บางกะปิ วังทองหลาง จากพรรคก้าวไกลค่ะ ดิฉันอยากให้เพื่อน ๆ สมาชิกทุกคนได้รับรู้ถึงการต่อสู้ของกลุ่ม ผู้มีความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานแล้ว ตั้งแต่สมัยที่สังคมนั้นยังไม่มี การยอมรับเรื่องของความหลากหลายทางเพศเลย กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับความเกลียดชัง ได้รับ การทำร้ายร่างกายและจิตใจ ถูกกีดกันจากสังคม ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมเหมือนชายหญิง ทั่วไปตามกฎหมายค่ะ ดิฉันขออ้างถึงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาว่ากว่าสังคมจะตระหนักและ ยอมรับถึงเรื่องของความหลากหลายทางเพศนั้น กลุ่มคนเหล่านี้เขาต้องต่อสู้อะไรกันมาบ้าง
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องแรก เป็นเรื่องของ อลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) เป็นอัจฉริยะที่เกิดผิดยุคค่ะ เขาเป็น นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะเลยนะคะที่จบการศึกษาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้านคณิตศาสตร์ ที่ King’s College ซึ่งถือว่าเป็นคนหนึ่งที่ช่วยยุติสงครามโลกครั้งที่ ๒ จากการถอดรหัส Enigma เรื่องราวของเขาได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงมาก ๆ นั่นก็คือ The Imitation Game การที่เขาได้เป็นส่วนหนึ่งในการยุติสงครามโลกครั้งที่ ๒ นี่ถือว่าเป็น คุณูปการอย่างใหญ่หลวงของโลกของเราเลยนะคะ แต่ว่าความไม่เท่าเทียมในโลกในสมัยนั้น ที่ยังมองคนจากเพศสภาพอยู่ ทำให้เขาถูกตีตราว่าเป็นอาชญากร และเขาถูกลงโทษและ ละเมิดสิทธิอย่างร้ายแรงเพียงเพราะว่าเขามีรสนิยมที่ไม่ตรงกับเพศสภาพของตัวเอง เขาถูก บังคับให้ฉีดยาทำให้เป็นหมัน รับเคมีบำบัด ฉีดฮอร์โมนเพื่อรักษาอาการรักเพศเดียวกัน ของเขาที่ในสังคมยุคนั้นอย่ามองว่าเรื่องการรักเพศเดียวกันเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ สุดท้ายแล้ว อลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) ตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเองด้วย Cyanide เพราะว่าน้อยใจกับโชคชะตาชีวิต
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องต่อมาเป็นเรื่องของซิลเวีย ริเวรา (Sylvia Rivera) และมาร์ชา พี. จอห์นสัน (Marsha P. Johnson) กับเหตุการณ์จลาจลที่เกิดขึ้นที่ผับ Stonewall Inn นำไปสู่การเรียกร้อง ความเท่าเทียมของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ มาร์ชา พี. จอห์นสัน (Marsha P. Johnson) หรือว่า มัลคอล์ม ไมเคิลส์ จูเนียร์ (Malcolm Michaels Jr.) เกิดจากครอบครัว African American ชนชั้นใช้แรงงาน เธอแค่ชอบใส่กระโปรงเหมือนเด็กผู้หญิงค่ะ แต่นั่นคือสาเหตุ ที่ทำให้เธอถูกเพื่อนในละแวกบ้านตัวเองนั้นทำร้ายร่างกาย ล่วงละเมิดทางเพศจนทำให้เธอ ไม่กล้าใส่กระโปรงอีก และทำให้เธอคิดว่าการที่เราจะมีความรักระหว่างเพศเดียวกันนั้นเป็น เรื่องที่สามารถเกิดขึ้นเพียงแค่ความฝันได้เท่านั้น ต่อมาซิลเวีย ริเวรา (Sylvia Rivera) หรือว่า เรย์ (Ray) จากการที่พ่อของเธอทิ้งไปตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ และคุณแม่ก็ฆ่าตัวตายเลยทำให้เธอ ต้องมาอาศัยอยู่กับยายที่มีการเลี้ยงดูที่ค่อนข้างเข้มงวด เธอถูกทุบตีเป็นประจำจากยาย เพียงเพราะว่าเธอมีพฤติกรรมที่เหมือนเด็กผู้หญิงค่ะ ทำให้เธอหนีออกจากบ้านมา แล้วก็ ได้มาพบกับมาร์ชา พี. จอห์นสัน (Marsha P. Johnson) ในปี ๑๙๖๓ ที่นิวยอร์ก ในสมัยนั้น กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศไม่ได้รับการยอมรับเลย ถูกมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่อง ผิดบาป ทำให้บ่อยครั้งกลุ่มคนเหล่านี้ถูกตำรวจจับเพียงเพราะแต่งกายไม่ตรงกับเพศสภาพ ตัวเองค่ะ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๑๙๖๙ ที่ Stonewall Inn ที่เมืองนิวยอร์กเป็น พื้นที่ปลอดภัยของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เนื่องจากในสมัยนั้นอย่างที่บอกไปว่า เขายังไม่มีการยอมรับ ในระหว่างที่กลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้นกำลังสังสรรค์กัน อย่างสนุกสนาน มีตำรวจกว่า ๒๐๐ นาย เข้ามาทำการจับกุมทำลายข้าวของในบาร์ รวมไปถึง ใช้อาวุธทำร้ายร่างกาย โดยเจาะจงไปที่กลุ่มคนที่แต่งหญิง นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้ กำลังกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่ว่านี่เป็นครั้งแรกที่กลุ่มคนเหล่านี้จะไม่ยอม ถูกกดหัว ถูกลดทอนสิทธิความเป็นมนุษย์ของพวกเขาอีกต่อไป พวกเขาจึงต่อสู้กลับโดยการ ใช้อิฐและหินปาใส่ตำรวจ การจลาจลครั้งนี้ก่อตัวใช้เวลายาวนานถึง ๖ วัน และได้เป็นการจุด ประกายการรวมกลุ่มการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ อย่างเช่น กลุ่ม Gay Liberation Front ในการเรียกร้องการยอมรับอัตลักษณ์ของตัวเองทั้งมาร์ช่า พี. จอห์นสัน (Marsha P. Johnson) และซิลเวีย ริเวรา (Sylvia Rivera) ก็ได้เป็นผู้ที่รณรงค์และก่อตั้ง ในหลาย Campaign เลยค่ะ ทั้งการสนับสนุนชาว LGBTQ+ ในการเปิดเผยตัวเอง การจัด Pride Parade ที่ประเทศไทยเราก็จัดเช่นเดียวกันเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่ The Stonewall Inn นี่เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้หลาย ๆ คนได้ตระหนักถึงตัว T ใน LGBTQ+ ว่า Transgender เหล่านี้เขาต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นมนุษย์ผ่านการดูถูกเหยียดหยาม และด้อยค่าพวกเขา มามากมายขนาดไหน มาร์ชา พี. จอห์นสัน (Marsha P. Johnson) และซิลเวีย ริเวรา (Sylvia Rivera) ได้ผลักดันเรียกร้องกฎหมายและนโยบายทางการเมืองมากมายเลยค่ะ อย่างเช่น การกดดันสมาคมจิตแพทย์สหรัฐอเมริกา เพื่อบอกว่าการรักเพศเดียวกันนั้น ไม่ใช่โรคค่ะ ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะจากไปแล้วแต่ว่าการต่อสู้ของพวกเขาได้ทำให้เราเห็นว่ากลุ่มผู้มี ความหลากหลายทางเพศนั้นผ่านความยากลำบากมามากมายขนาดไหนที่จะทำให้สังคม ยอมรับตัวเอง เขามีที่ยืนของตัวเองและมีสิทธิเท่าเทียมกับเพศอื่น ๆ จนถึงวาระสุดท้าย ของชีวิต ในประเทศไทยขณะเดียวกันเองเราก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้มีความหลากหลาย ทางเพศมาอย่างยาวนาน เริ่มตั้งแต่กฎหมายที่สะท้อนไปถึงการไม่ยอมรับของการมีผู้ที่ หลากหลายทางเพศอยู่ อย่างเช่น กฎหมายลงโทษการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคนเพศเดียวกัน อย่างเช่น Sodomy Law เรื่อยมาจนถึงการพยายามปรับตัวเพื่อให้กฎหมายก้าวทันตาม ทัศนคติของคนในสังคมมากขึ้น มีการโอบรับความหลากหลายในทางเพศมากขึ้น อย่างเช่น พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ถึงแม้ว่าจะยังไม่มี แนวนโยบายในการไปปฏิบัติอย่างชัดเจน แต่ก็ถือว่ากฎหมายของไทยนั้นได้รับการปรับตัวแล้ว หรือว่าในสภาชุดนี้ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมที่เพื่อน ๆ สส. หลายคนได้ร่วมกันอภิปรายกัน อย่างหลากหลาย แล้วก็ร่วมผ่านโหวตระเบียบวาระที่ ๑ ให้ผ่านไปแล้วนะคะ เราได้สะท้อน ให้เห็นแล้วว่าเราพร้อมที่จะทำให้กฎหมายนั้นปรับตัวแล้วก็โอบรับในบริบทของสังคมที่ แตกต่างกันออกไป ในปัจจุบันนี้แนวคิดทัศนคติของเราโอบรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพิ่มมากขึ้น เรามี Series Y ที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก อุตสาหกรรม Series Y ที่สร้าง เม็ดเงินมามากมายให้กับประเทศของเรา เรามี Pride Month มี Parade ที่ต่างชาติเข้ามา ร่วมงานมากมาย ในขณะที่สังคมโอบรับและเดินหน้าไปขณะนี้ กฎหมายของเรายังเดินตาม ไปไม่ทันถึงแม้ว่าเราจะผ่าน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมมาแล้ว แต่ว่าในประเทศไทยของเรายังมี อีกหลากหลายมิติที่กฎหมายของเราต้องออกมาสะท้อนแล้วค่ะว่าประเทศของเราเปิดรับ และโอบรับความหลากหลายทางเพศนี้ พ.ร.บ. นี้ก็จะเป็นอีก ๑ ฉบับ ที่จะสะท้อนว่า สภาผู้แทนราษฎรในชุดนี้พร้อมที่จะโอบรับความหลากหลายทางเพศ สุดท้ายดิฉันอยากฝาก คำพูดของมาร์ชา พี. จอห์นสัน (Marsha P. Johnson) เป็นวลีของเธอว่า How many years has it taken people to realize that we are all brothers and sisters and human beings in the human race เราจะต้องใช้เวลากี่ปีผู้คนถึงจะเข้าใจว่าเราทุกคน ล้วนเป็นพี่น้องและมนุษย์เหมือนกัน ร่วมเผ่าพันธุ์เดียวกัน ดิฉันอยากให้ พ.ร.บ. ฉบับนี้นะคะ ได้คืนสิทธิความเป็นมนุษย์ให้กับผู้มีความหลากหลายทางเพศทุกคน และได้ตอบคำถามของ มาร์ช่า พี.จอห์นสัน (Marsha P. Johnson) ว่าถึงแม้ว่ามันอาจจะใช้ระยะเวลาในการต่อสู้ ยาวนานหลายปี แต่การต่อสู้นั้นไม่ได้สูญเปล่าในหลากหลายประเทศทำสำเร็จแล้ว และ ประเทศไทยเองก็กำลังต่อแถวจ่อรอคิวอยู่ที่จะให้ สส. ในสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ทำให้มัน สำเร็จและเกิดขึ้นได้จริงค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๖ และครูโรงเรียน บ้านตะโละ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับครับ ต่อไปท่านเอกราช อุดมอำนวย เชิญครับ
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ต้องขอบคุณท่านประธานที่ได้เปิดโอกาสให้ได้อภิปรายสนับสนุนร่างที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอ คุณธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ท่านประธานครับเป็นที่น่าเสียใจมาก
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ผมเป็นหนึ่งในกรรมการ วิปฝ่ายค้านก็ได้สอบถามบรรดาข้าราชการจากกระทรวง พม. และหน่วยงานอื่น ๆ ปรากฏว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในการสอบถามความพร้อมของร่างพระราชบัญญัตินี้ว่าทาง ครม. หรือหน่วยงาน ที่ดูแลมีร่างที่จะสามารถที่จะยื่นประกบหรือเป็นร่างในทำนองเดียวกันได้หรือไม่ แต่ปรากฏ ว่าได้รับคำตอบว่าไม่มีความพร้อม ครม. ก็ไม่พร้อม เพราะฉะนั้นร่างของพรรคก้าวไกลวันนี้ ผมต้องนำเสนอครับ เพราะว่าร่างของพรรคก้าวไกลมีความพร้อม ท่านประธานครับร่างนี้ เป็นเจตจำนงเรื่องของเพศคือสิทธิมนุษยชน สไลด์ถัดไปจะเห็นว่าการรับรองเพศคือสิ่งที่ทำ ให้ตัวเองให้ความสำคัญ มันไปไกลมากกว่าคำนำหน้านามตามอัตลักษณ์เพศ มันเป็นเรื่อง ของการรับรองสิทธิการมีอยู่ของคนเหล่านั้น และต้องการแสดงเจตจำนงเสรีทางเพศ ท่านประธานครับมนุษย์ทุกคนเกิดมาก็มีอิสระและความเสมอภาคกันถูกไหมครับ กติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเขาก็บอกชัด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา พวกนี้คือสิ่งที่จะเลือกปฏิบัติไม่ได้ และประเทศไทยเราทำไมถึงจะไม่พร้อม ล่ะครับ การมีร่างกฎหมายนี้มีข้อดีหลายประการ ผมอยากจะให้ท่านประธานช่วยดูครับ ผมพามาดูข้อดีของการมีกฎหมายรับรองเพศ ไม่ว่าจะเป็นการรับรองความเท่าเทียมและสิทธิ มนุษยชน ซึ่งการรับรองเพศสภาพไม่เฉพาะคำนำหน้านามอย่างเดียว มันจะเป็นการยืนยัน สิทธิของตัวเองและสะท้อนความเท่าเทียมในสังคม ซึ่งมันควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เราควรจะ ได้รับได้แล้ว นอกจากนี้หากเรารับรองกฎหมายฉบับนี้ แน่นอนว่าการรับรองเพศสภาพจะช่วย ให้บุคคลสามารถใช้ชีวิตและแสดงออกถึงตัวตนได้อย่างเต็มที่ ลดความเครียดและปรับปรุง เรื่องสุขภาพจิต และเสริมสร้างความมั่นคงทางกฎหมายครับ คือการที่กฎหมายจะช่วยให้ บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองและขจัดการเลือกปฏิบัติและการกีดกันที่ช่วยให้เขาเข้าถึง การบริการสิทธิต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม ผมคงไม่ลงรายละเอียด Detail เล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่อง การเปลี่ยนชื่อคำนำหน้านาม แต่ผมพยายามอธิบายถึงหลักการ แน่นอนว่ามันก็มีข้อเสีย แต่ผมมองว่ามันคือสิ่งที่ท้าทายในการปฏิบัติครับ เพราะถ้ากฎหมายเหล่านี้ผ่าน แน่นอนว่า เราจะต้องช่วยกันทำความเข้าใจและให้เกิดการยอมรับจากสังคมว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ มันจะมีผลดีอย่างไร และแน่นอนว่ากฎหมายนี้ก็อาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ที่มีความเชื่อ และค่านิยมที่แตกต่าง แต่ผมขอเรียนแบบนี้ครับท่านประธาน ในพหุวัฒนธรรมในสังคมที่ หลากหลาย หากเราอยากให้สังคมอื่น ๆ หรือความเชื่ออื่น ๆ ยอมรับท่าน ท่านต้องยอมรับ ผู้อื่นด้วย นี่คือหลักการสำคัญพื้นฐาน เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่งที่พรรคก้าวไกลพยายามรณรงค์ว่า เราเห็นความสำคัญของทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกเพศสภาพ และอีกด้านหนึ่งก็คือความท้าทายด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงบริการสาธารณะ เอกสาร ราชการและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในการปรับตัว พวกนี้คือความท้าทายที่เราจะทะเยอทะยาน ให้รัฐราชการรวมศูนย์ปรับตัวเพื่อดูแลประชาชน ปรับตัวอะไรบ้าง ๑. ก็คือเรื่องของ กฎหมาย ซึ่งแน่นอนว่าถ้าร่างนี้อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้บอกไว้ว่ามีร่างของภาคประชาสังคม จะยิ่งดี ถ้ามีร่างของพรรคเพื่อไทย ร่างของ ครม. เข้ามารวมกัน ร่างจะได้ผ่าน เราจะได้มา ช่วยกันพิจารณารายละเอียด ซึ่งมันเถียงกันได้ครับท่านประธานในชั้นกรรมาธิการ ผมคิดว่า เราสามารถปรับกันได้ Tune กันได้ นอกจากนี้ครับท่านประธาน เราจะต้องดูแลเรื่องของ สภาพของระบบกฎหมายที่จะต้องสร้างการยอมรับ ถ้ากฎหมายนำหน้าแน่นอนว่าการยอมรับ มันต้องตามมา แล้วเราต้องสื่อสารเปิดกว้างครับเป็นกุญแจที่จะขับเคลื่อน ท่านประธานครับ มันมีกฎหมายที่สนับสนุนเรื่องสิทธิของบุคคลข้ามเพศแล้วก็ไม่ยึดติดกับเพศทางชีววิทยา อย่างโดดเด่น ไม่ใช่แค่ที่พรรคก้าวไกลเสนอ แต่ทั่วโลกเขามีมาก่อนแล้ว ผมพาท่านประธาน ไปดูที่อาร์เจนตินา อาร์เจนตินาเป็น ๑ ในประเทศแรก ๆ ที่เขารับรองเพศสภาพโดยผ่าน กฎหมายอัตลักษณ์ในปี ๒๐๑๒ ซึ่งอนุญาตให้บุคคลเปลี่ยนเพศสภาพและชื่อในเอกสาร ประจำตัว ไม่ต้องผ่านการรักษาหรือพิสูจน์เพศ นี่อาร์เจนตินานะครับ ที่แคนาดาล่ะ แคนาดา เขาครอบคลุมเกี่ยวกับสิทธิ LGBTQ+ รวมถึงการรับรองเพศสภาพเขาก็มี แล้วก็ปกป้อง การเลือกปฏิบัติตามเพศสภาพในระดับประเทศ ที่เดนมาร์กครับเป็นประเทศแรกในยุโรป ที่ลบการระบุเพศข้ามเพศออกจากการเป็นโรคในปี ๒๐๑๗ และสนับสนุนให้บุคคลเปลี่ยน เพศสภาพและชื่อโดยไม่มีข้อจำกัดที่เข้มงวด ไปดูอีกประเทศหนึ่งครับท่านประธาน เนเธอร์แลนด์ เขาเป็นหนึ่งในประเทศที่เปิดกว้างและสนับสนุนสิทธิ LGBTQ โดยมีกฎหมาย ที่อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนเพศบนเอกสารประจำตัว และนอร์เวย์ สหราชอาณาจักร หรืออเมริกาก็เป็นกฎหมายในทำนองเดียวกัน กลับมาดูประเทศเราครับท่านประธาน วันนี้ ถึงเวลาแล้วหรือยังครับที่เราจะต้องเดินหน้ารับรองเพศสภาพของบุคคล แล้วก็การคุ้มครอง บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผมหวังว่าสภาแห่งนี้จะพูดด้วยปากและเชื่อด้วยใจจริง ๆ ว่าเราต้องการสนับสนุน ไม่ใช่พูดอีกอย่างแต่ทำอีกอย่าง ขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๒ ท่านนะครับ ท่านแรก ท่านกัณตภณ ดวงอัมพร คนที่ ๒ ท่านธิษะณา ชุณหะวัณ เชิญท่านกัณตภณ ดวงอัมพร ครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ นิดเดียวครับ ณัฐวุฒิครับ อยากจะหารือก่อนท่านผู้อภิปรายต่อไปสักนิดเดียวครับ เนื่องจากว่าทางเพื่อน สมาชิกพรรครัฐบาลท่านเสนอให้ถอน แล้วท่านก็เหมือนจะไม่อภิปราย แต่ว่าพอพวกผม ลงชื่อกันครบถ้วนสมบูรณ์ท่านก็ค่อย ๆ ใส่ทีละชื่อ ทีละชื่อ มีคนสุดท้าย แล้วมีคนขอหลัง คนสุดท้ายอีกนะครับ ก็เลยต้องปรึกษาท่านประธานว่าตกลงระบบการเรียกจะเป็นอย่างไร หรือว่าท่านจะปิดการลงชื่ออภิปรายสักเวลาตอนไหนอย่างไรครับ วาระวันนี้ค้างอยู่ ๒๐ วาระ ถ้าท่านยืนยันว่าไม่รับ พวกผมเดินหน้ากฎหมายฉบับนี้ไปก็จะได้ไปถึงกฎหมายฉบับอื่นต่อไป ก็ต้องขอเรียนสอบถามท่านประธานนิดหนึ่งครับ งงนะครับท่านประธาน ขอคนสุดท้ายแล้วมี คนหลังคนสุดท้ายอีก ผมก็เกรงว่าท่านประธานจะลำบากใจเวลาจะเรียกครับ ต้องขอปรึกษา ท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ไม่เป็นอะไรครับ เพราะว่าเราต้องหาความร่วมมือซึ่งกันและกัน ถ้าเกิดว่าเข้าสภาแล้วก็ ช่วย ๆ กันออกความเห็น เชิญท่านกัณตภณ ดวงอัมพร แล้วก็ท่านธิษะณา แล้วก็ไปทาง ฝ่ายรัฐบาลนะครับ เชิญครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตัวแทนของพี่น้อง ชาวพญาไท ดินแดง กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศครับ ผมรู้ครับ ผมเองไม่ใช่คนไทยคนแรกที่มาพูดเรื่องนี้ แต่วันนี้ผมจะจับเรื่องนี้ครับ ให้ทุกคนเข้าใจเลยครับว่าคน ๆ หนึ่งที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับ คำนำหน้าเขามีความลำบากขนาดไหน ในสมัยก่อนอาจจะมองว่าการข้ามเพศหรือกลุ่มคนที่ อยู่ในเพศทางเลือกนั้นมีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตใจ โดยมีเอกสารราชการระบุ ว่ากระเทยเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตถาวรและเป็นโรคจิต วิกลจริต ซึ่งความคิดเหล่านี้ ล้วนถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมหรือบรรทัดฐานทางสังคมจนเกิดการเลือกปฏิบัติ ทำให้คน กลุ่มนี้ไม่ได้รับสิทธิเท่าที่เขาควรจะได้รับ ในปัจจุบันสังคมเริ่มมีการเอาอิทธิพลทางความคิด และบรรทัดฐานทางสังคมแบบสากลเข้ามา จึงทำให้เราพบเห็นกลุ่มคนเหล่านี้เป็นเพศ ทางเลือกได้ทั่วไป ในทางการแพทย์บุคคลเหล่านี้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ได้เป็นโรค หรือมีความผิดปกติทางจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นส่วนผสมทั้งภายในและภายนอก ที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น ฮอร์โมน สารเคมีในสมอง การเลี้ยงดู วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่ง พื้นฐานทางสังคมที่หล่อหลอมตัวบุคคล จึงไม่ใช่ความผิดปกติแต่อย่างใด ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา WHO หรือองค์กรอนามัยโลกเคยนิยามผู้ที่เป็นกระเทย เก้ง กวาง กุ้งนาง Gay ก้ามปู King Queen ไทเป นิ้งหน่อง Briony สลัวจิต สว่างจิต ทอมดี้ หรือคนที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับ เพศกำเนิดครับ ให้เขาพวกนั้นเป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตใจและพฤติกรรม ซึ่งดูแล้ว ไม่สอดคล้องกับความบกพร่องทางจิตใจและพฤติกรรมที่มี Scope ไว้อยู่ ๓ อย่าง ๑. ก็คือ บุคลิกภาพของผู้ป่วยจะเปลี่ยนไป ๒. ไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น มีอาการประสาท หลอน ได้ยินเสียงคนด่าตลอดเวลาทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครด่า ๓. ไม่รู้สภาวะตัวเองครับ ซึ่ง WHO ก็ได้ถอดถอนภาวะการข้ามเพศออกจากหมวดความบกพร่องทางจิตและพฤติกรรมแล้ว และได้บรรจุภาวะการข้ามเพศในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศหรือ Sexual Health ซึ่งบรรจุอยู่ในบทที่ ๑๗ ของบัญชีจำแนกโลกสากล ICD-11 ฉบับใหม่นี้ โดยมีการใช้ คำใหม่ในการจำแนก ภาวะข้ามเพศในกลุ่มประชากรมี ๒ กลุ่มนะครับ ๑. สภาพเพศไม่ตรงกับ เพศกำเนิดในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ๒. สภาพเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิดในวัยเด็ก องค์กร WHO ได้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการจัดกลุ่มแบ่งแยกโรคต่าง ๆ ซึ่งมีการประกาศในสภาวะความ ไม่สอดคล้องทางเพศให้ออกจากกลุ่มบัญชีโรคความผิดปกติทางจิต ทำให้บุคคลกลุ่มข้ามเพศ ไม่ถูกสังคมตราหน้าอีกต่อไปว่าพวกเขาป่วย มีปัญหาทางด้านจิตและความผิดปกติของสมอง ทุกคนครับ กระเทยไม่ใช่โรคครับ และไม่สามารถที่จะติดต่อได้ อีกอย่างหนึ่งท่านประธานครับ กระเทยกินยาพาราก็ไม่หาย ไม่ต้องไปพยายามเปลี่ยนแปลงเขา กระเทยหลายคนสร้างสรรค์ ความสวยงาม กระเทยหลายคนเป็นคนเก่ง เป็น สส. เป็นคนที่สังคมต้องการครับ แต่อีก หลาย ๆ ที่ยังตีตราหน้ากระเทย ทอม ให้เขามีความแปลกประหลาดจากคนอื่นเพียงเพราะว่า คำนำหน้าเป็นนาย แต่ร่างกายเขาเป็นหญิง งานวิจัยที่มีการร่วมทางเศรษฐกิจของ LGBTI ในประเทศไทย ๒๕๖๑ จากธนาคารโลกหรือ World Bank ซึ่งสำรวจกลุ่ม LGBTQ+ และคน ที่ไม่ใช่ LGBTQ+ จำนวน ๓,๕๐๒ คน พบว่าการเลือกปฏิบัติต่อ LGBTQ+ ร้ายแรงที่สุด เกิดขึ้นในตลาดแรงงานครับท่านประธาน ซึ่งลิดรอนโอกาสตั้งแต่เห็นใบสมัครแล้วครับ งานวิจัยโชว์ปัญหามากมายที่กลุ่ม LGBTQ+ ต้องเผชิญในที่ทำงาน เรื่องที่ว่าใครก็ไม่ชอบ แต่ทำไมถึงยังสาดสิ่งเหล่านี้ใส่ให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศอยู่ครับ ยกตัวอย่างนะครับ ถูกปัดไปสมัครงานทิ้งเพียงเพราะอัตลักษณ์ทางเพศ การถูกมองข้ามการเลื่อนตำแหน่ง ถูกห้าม ไม่ได้แสดงออก และบอกใคร ๆ ว่าฉันเป็นอะไร ทุกคนครับไม่ใช่ว่ากระเทยทุกคนจะต้องเป็นตัวตลก คนที่เต้นเก่ง คน Show Cabaret แต่เขาคือคน เขาคือบุคคลที่มีความสามารถไม่น้อยกว่าชายจริงหญิงแท้ วันนี้ครูธัญครับ ใครว่าท่านไม่เก่งไม่มีนะครับ ทุกคนมีความเก่ง ความถนัดที่แตกต่างกันไป เพียงแต่สังคม ไม่ยอมรับเพียงแค่คำนำหน้าชื่อไม่ตรงสภาพเพศที่พูดมาครับ ทุกท่านครับ หาข่าวอ่านได้ มีหลายสำนักลงไว้ชัดเจนว่าคนข้ามเพศบริษัทไม่รับเข้าทำงาน อันนี้คือโลกในปี ๒๐๒๔ แล้วนะครับก็ควรจะเปิดกว้างกันหน่อยครับ กระเทยเป็นเพศอ่อนแอ โปรดเลิกรังแกกระเทย ได้ไหม วิงวอนสังคมเห็นใจกระเทยไม่ใช่ใครก็ลูกหลานคนไทย คนไทยด้วยกัน ผมเข้าใจว่า ตอนนี้ทุกท่านที่นั่งฟังอยู่ในห้องนี้และประกาศเสียงอยู่รอบสภานี้คงลังเลใจ หรือคงประชุม กันมาแล้วมีธงในใจท่านแล้ว แต่ถามจริง ๆ ว่าธงในใจของท่านมันนั่งอยู่ในใจของคนไทย ด้วยกันหรือเปล่า ผมอยากวิงวอนให้ทุกท่านร่วมกันผ่านร่างพระราชบัญญัตินี้ไปด้วยกันครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านแรก ท่านธิษะณา ชุณหะวัณ ท่านที่ ๒ ท่านศรัณย์ ทิมสุวรรณ ท่าน ที่ ๓ ท่านอนุสรณ์ แก้ววิเชียร เชิญท่านธิษะณา ชุณหะวัณ ครับ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน สาธร และราชเทวี ขออนุญาตสไลด์ขึ้นค่ะ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ขอร่วมอภิปรายร่าง พ.ร.บ. การรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองผู้มีความหลากหลายทางเพศ ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าในสังคมที่มีความหลากหลายของกลุ่มคนเพศสภาพต่าง ๆ หรือ LGBTQAI+ และการครอบคลุมความหลากหลายเหล่านั้นเรียกว่า Inclusivity สิ่งสำคัญ อย่างแรกคือภาษา หรือแม้กระทั่งการประยุกต์ใช้ของภาษาในแต่ละสังคมนั้น ๆ ก็จะ ครอบคลุม เช่น การใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงทางด้านกฎหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มีกันให้เห็นอยู่ ในหลายประเทศ ซึ่งเพื่อนสมาชิกก่อนหน้านี้ก็ได้ยกตัวอย่างไปก่อนหน้าแล้ว ดิฉันมองว่า การคำนึงถึงรายละเอียดเหล่านี้และค่านิยมเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ และสะท้อนให้เห็นถึง การพัฒนาของสังคมเราไปสู่สังคมที่หลากหลาย เพราะว่าในขณะนี้พวกเราทุกคนกำลังทำ หน้าที่ขับเคลื่อนเพื่อที่จะนำประเทศไปสู่ความก้าวหน้าบนเวทีโลก และการเป็นประเทศผู้นำ หรือต้นแบบในด้านเหล่านี้ยังสามารถช่วยผลักดันเสริมศักยภาพที่สอดคล้องกับนโยบายของ รัฐบาลด้าน Soft Power ให้แก่ประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน จริงอยู่ว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้าง Soft Power นั้นมีอยู่หลายอย่าง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็ควรจะ เป็นแนวทางต่อประเด็นในเรื่องของความหลากหลายทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และ บทบาททางเพศ ซึ่งดิฉันได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ก็ได้เห็นว่าในภาษากฎระเบียบต่าง ๆ ที่เขียน ใช้เกี่ยวกับภาษาช่วยส่งเสริมให้ไม่มีการแบ่งแยก พร้อมถึงการแสดงถึงความหลากหลายและ ครอบคลุมถึงกลุ่มคนต่าง ๆ ภาษามีการวิวัฒนาการแล้วก็ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น มีมาหลาย ศตวรรษแล้ว ภาษาเรามีการวิวัฒนาการเรื่อยมาให้สอดคล้องกับยุคสมัยนั้น ๆ นั่นเป็นการ สะท้อนถึงสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ของสังคมหรือโลกาภิวัตน์ ซึ่งทำให้เรื่องนี้ไม่ใช่ ปรากฏการณ์ใหม่ หรือไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรเลย เพราะจริง ๆ แล้วคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็มาจากวิวัฒนาการของภาษาและสังคมตามกาลเวลา การวิวัฒนาการ เกิดขึ้นในทุก ๆ ประเทศ ดิฉันขอยกตัวอย่างประเทศสวีเดน เมื่อปี ๒๐๑๑ ประเทศสวีเดน ได้มีการบัญญัติเพิ่มคำสรรพนามหรือคำนำหน้าให้มีความเป็นกลางทางเพศ ไม่ระบุเพศ หรือ ที่เรียกว่า Gender Neutral นั่นคือคำว่า Hen นอกจากนี้ยังมีใช้คำว่า Hon ที่ใช้สำหรับผู้ที่ ระบุตนกับเพศสภาพชายและ Han ที่ใช้สำหรับระบุตนกับเพศสภาพหญิง ซึ่งเป็นคำเดิม ที่มีอยู่แล้ว นั่นเป็นการสะท้อนถึงสังคมของสวีเดนที่มีความหลากหลายและครอบคลุมคน ทุกกลุ่มมากยิ่งขึ้นค่ะ และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่ประเทศสวีเดน แต่ประเทศอื่น ๆ เองก็มีการ บัญญัติศัพท์ที่ช่วยส่งเสริมความเป็นกลางทางเพศเช่นเดียวกัน อย่างในประเทศนอร์เวย์ล่าสุด เพิ่มคำว่า Hen เพื่อเป็นอีก ๑ ช่องทาง อีก ๑ ทางเลือกในการใช้สรรพนามเช่นเดียวกัน หรือประเทศใกล้ ๆ บ้านเราในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างประเทศฟิลิปปินส์ก็มีสรรพนาม คำว่า Siya ที่ไม่ได้มีการระบุว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิงอยู่ด้วย ซึ่งนั่นก็ใกล้เคียงกับ คำสรรพนามว่า They ในภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นบางภาษาก็ไม่มีเพศสภาพทางไวยากรณ์ ด้วยซ้ำไป อาทิเช่น ประเทศตุรกี ประเทศฟินแลนด์ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นได้ชัดว่าโลก ของเราพลวัตมาไกลมากแล้วค่ะท่านประธาน ประเด็นสำคัญที่ดิฉันอยากพูดถึงต่อมาก็คือ ภาษาที่เอามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในเชิงกฎหมาย การพัฒนาและประยุกต์ใช้ ภาษาให้สอดคล้องกับความหลากหลาย ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลก หากมองผ่าน บุคคลที่ไม่ได้ต้องการระบุอัตลักษณ์ทางเพศใด ๆ หรือไม่ได้รู้สึกว่าจำเป็นต้องผูกมัดตัวเองกับ เพศสภาพชายหรือหญิง กลุ่มคนกลุ่มนี้ก็ควรจะมีทางเลือกให้ใช้คำที่พวกเขารู้สึกสบายใจ และเข้าถึงได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็น Transgender หรือว่าบุคคลข้ามเพศ หรือ Non-binary ก็ตาม บางคนใช้คำว่า นาย แม้จะไม่ตรงกับเพศสภาพของตนเองหรืออัตลักษณ์ทางเพศของ บุคคลนั้น บางคนประสงค์ที่จะใช้คำว่า นางสาว แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับ เช่นเดียวกัน บางคนไม่ได้อยากใช้ทั้งสองคำ แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่นค่ะ ถ้าจะให้พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่ เราใช้คำนำหน้านามหรือเรียกสรรพนามผู้ใดก็ควรจะขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น และความตกลง ปลงใจของบุคคลนั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องเรียกก็ได้เช่นกัน และไม่ได้เป็น Flight บังคับนะคะ เพียงแต่ว่าการใช้ภาษาหรือคำศัพท์เป็นการระบุเพศเราอาจจะต้องคำนึงถึงการปรับเปลี่ยน ให้เกิดความเหมาะสมเพื่อให้เกียรติทุก ๆ คน และทุก ๆ เพศสภาพค่ะ และเมื่อมองลึกลงไป ในประเด็นนี้ทำให้ดิฉันนึกถึงคำสรรพนามที่มีความเป็นกลางในภาษาไทยของเราที่มีคำว่า นาย หรือ นางสาว ถ้าเราลองดูคำว่า นาม ไปด้วยก็น่าสนใจนะคะ เพราะคำว่า นาม หมายถึง ชื่อและยังเป็นไวยากรณ์ที่ไว้ใช้เรียก คน สิ่งของ โดยไม่มีการระบุใด ๆ อันนี้ก็เป็นข้อคิด หรือ ว่าใช้คำว่า คุณ เรียกชื่อบุคคลนั้นไปเลยก็ได้เช่นเดียวกัน เหมือนตัวอย่างในประเทศนอร์เวย์ และประเทศนอร์ดิกที่ดิฉันได้ยกตัวอย่างไป ที่ต่างประเทศยังมีการใช้ Mr. Mrs. แล้วก็ Mx. ด้วยนะคะ เพิ่มเติมในด้านของกฎหมายอย่างที่กล่าวมาความสำคัญของภาษา คำที่ใช้ นอกจากสังคมแล้วก็ย่อมสะท้อนถึงกฎหมายเช่นเดียวกัน ที่ผ่านมาในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงไทยสำหรับกลุ่มข้ามเพศหรือ Transgender ที่มักไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย ทุกคนต้องเผชิญกับปัญหาในการใช้คำนำหน้าหรือสรรพนาม กรณีถูกปฏิเสธการรับรอง สถานะเพศ สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิด้านร่างกาย แต่กลุ่มประเทศ Nordic ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ผลักดันนโยบายที่จะขยายความครอบคลุมไปจนถึงกลุ่มคนเหล่านี้ เข้าไปในภาครัฐ การศึกษา และการพัฒนามุมมองของสังคมและสร้างความปลอดภัยต่อบุคคล ทั้งทางวาจา และทางปฏิบัติมาเป็นทศวรรษแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรับรองสถานะทางเพศ เปิดโอกาสให้ เลือกอัตลักษณ์ตามความเหมาะสม และการเข้าถึงสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตามดิฉันทราบว่า การใช้คำนำหน้าอาจจะทำบางท่านงงหรือว่าอาจจะไม่คุ้นชิน แต่ก็ควรแลกมาด้วยค่าใช้จ่าย ทางเลือกของกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศเหล่านี้ ดังนั้นการผลักดันให้ประเทศไทย กลายเป็นต้นแบบต่อนานาประเทศในเรื่องนี้ยังช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะไป พร้อมกับสังคมที่ครอบคลุมทุกกลุ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับ Soft Power ของไทย ในเวทีโลกเช่นเดียวกัน จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดมีประเทศตัวอย่างอื่น ๆ อีกมากมาย ตั้งแต่ กลุ่มประเทศ Nordic ไปจนถึงเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งที่พยายาม ส่งเสริมและการรวมความหลากหลายให้ครอบคลุมทุกกลุ่มทั้งในด้านภาษาและกฎหมาย ก็ยอมรับว่าประเทศไทยเองมาไกลพอสมควร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ที่ยังมีอีกหลายเรื่องที่เรา จะต้องแก้ไขและพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ตามโลกาภิวัตน์หรือว่า Globalization ถึงแม้ว่า ตัวดิฉันจะมีสิทธิในการใช้คำศัพท์ที่ระบุเพศในที่นี้ แต่มันเป็นทางเลือกของดิฉัน แต่เมื่อเวลา ที่ดิฉันเห็นคนรอบข้างที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศก็อยากให้รัฐและสังคมมองเห็น และนึกถึงสิทธิของพวกเขาที่จะมีทางเลือกได้เช่นเดียวกันค่ะ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเรา เพื่อนสมาชิกทุกคนจะตระหนักถึงประเด็นนี้ว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ดิฉันได้กล่าวมาข้างต้น พร้อมทั้งมีความเข้าใจในบริบทของสังคมไทยในด้านของความหลากหลายมากยิ่งขึ้น พร้อม ที่จะเปิดทางเลือกให้ทุก ๆ คน ในรอบด้าน เพราะอย่าลืมว่าประเทศไทยไม่ได้มีเพียงความ หลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ยังมีความหลากหลายในอัตลักษณ์ทางเพศเช่นเดียวกัน ขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านศรัณย์ ทิมสุวรรณ เชิญครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินี้ ผมคิดว่าในสภาแห่งนี้เราไม่ได้คุยกันว่าบุคคลที่มีความหลากหลายนั้น ควรจะต้องมีสิทธิ เท่ากับผู้อื่นหรือไม่ เพราะว่าคำตอบมันชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นใครเราควรต้องมีสิทธิ เท่าเทียมกันอยู่แล้ว อันนี้เป็นประเด็นแรกที่อยากจะให้เราเข้าใจตรงกันว่าวันนี้เราไม่ได้ ทะเลาะกันว่าเราควรที่จะกดสิทธิของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ เราเห็นด้วยว่าทุกคนควร จะมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน แต่สิ่งที่เรากำลังคุยกันคือร่างกฎหมายที่สภาแห่งนี้จะมีการเสนอ หรือปรับเปลี่ยน ซึ่งจะบังคับใช้กับประชาชนว่าสิ่งที่จะได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่มีการ แก้ไขนั้นจะเป็นไปในทิศทางใด เพราะฉะนั้นผมจึงอยากให้เรากลับมาที่ประเด็นตรงนี้ก่อนว่า เราไม่ได้เถียงกัน เราไม่ได้บอกว่าเราควรจะกดกลุ่มใดไว้ แล้วผมเชื่อว่าเราทุกคนเข้าใจและ เราเห็นชัดดีว่าในประเทศไทยนั้นเราให้ความสำคัญ เราไม่เคยกดสิทธิหรือระงับสิทธิของ คนกลุ่มใดมากกว่าคนกลุ่มอื่น เราส่งเสริมให้คนที่มีความหลากหลายทางเพศทางรสนิยม ในการที่จะแสดงออก ในการที่จะสามารถไปถึงศักยภาพของตนได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้อง คุยกันในวันนี้คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังร่างกฎหมายนี้ผ่าน ซึ่งเรามีความเป็นห่วงอย่างที่ ท่านสมาชิกหลาย ๆ ท่าน ได้อภิปรายไป เราไม่ใช่ประเทศแรกที่เรามาคุยกันเรื่องนี้ ไม่ใช่ ประเทศแรกที่จะเสนอกฎหมายเรื่องนี้ แต่สิ่งที่เราได้เห็นจากหลาย ๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่ได้ผลักดันกฎหมายนี้มาเป็นสิบปีแล้ว หรือประเทศที่กำลังเริ่มที่จะพิจารณา หรือ แม้แต่ประเทศที่เพิ่งจะใช้กฎหมายนี้ไป เราเห็นถึงความเสี่ยงต่าง ๆ เราเห็นถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในประเทศที่เขาพัฒนามากกว่าเราในแนวคิดเรื่องสังคมทางเพศต่าง ๆ ความเสี่ยงเหล่านั้น คือสิ่งที่เราคำนึงถึง และผมต้องบอกกับสภาแห่งนี้และท่านประธานว่าจริง ๆ แล้วรัฐบาลเอง ก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้ เราจะเห็นได้ถ้าเราย้อนกลับไปดูในช่วงเดือนกันยายนของปีที่ผ่านมา มีการพูดถึงเรื่องนี้ในสื่อ ไม่ว่าจะมีการเปิดเผยร่างของทางกระทรวงเอง ร่างของภาคประชาชน รวมถึงร่างของเพื่อนสมาชิกเองได้มีการเคยเปรียบเทียบถึงความต่างของแต่ละร่าง ซึ่งแสดง ให้เห็นว่านี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่เรื่องที่เราไม่เคยให้ความสำคัญ แต่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรา กำลังทำอยู่ในวันนี้มันมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ผมจะยกตัวอย่าง อย่างเช่นในร่างของท่านเอง ว่าเมื่อมีการรับรองแล้วเอกสารใดบ้างที่จะต้องมีการปรับเพื่อให้เข้ากับเพศสภาพที่มีการ รับรองไปแล้ว ผมยกตัวอย่างก็คือ บัตรประชาชน เอกสารใบขับขี่ต่าง ๆ แต่สิ่งที่เรามองว่า อาจจะมีปัญหาและต้องมีการประสานและฟังความคิดเห็นของหน่วยงาน รวมถึงประเทศ ที่เกี่ยวข้อง ก็คือในประเด็น ถ้ามีการรับรองเพศสภาพแล้วสามารถขอให้ออกสูติบัตรใหม่ได้ สามารถขอให้ออกหนังสือเดินทางที่ตรงกับเพศที่รับรองได้ ผมไม่ได้ค้านการที่จะมีกฎหมาย รับรองเพศให้กับผู้มีอัตลักษณ์ที่ไม่ใช่ Binary แต่สิ่งที่ตามมาคือสิ่งที่เราต้องคำนึงก่อนที่เราจะ ออกกฎหมายใดก็ตาม ถามว่าถ้าเราออกกฎหมายนี้ และประชาชนหรือบุคคลใดสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ สามารถมีการรับรอง หลังจากมีการรับรองมีการเปลี่ยนแปลงไป หนังสือ เดินทางเอง ถ้าเราออกแล้วประเทศอื่นเห็นด้วยหรือไม่ ตรงกับประเทศของเขาหรือไม่ ทีนี้มัน ก็ต้องกลับไปดูถึงความเกี่ยวข้องต่าง ๆ อีกครับท่านประธาน ว่าหลักเกณฑ์ในการที่เราจะ อนุญาตให้คนคนหนึ่งสามารถรับรองเพศที่เปลี่ยนไปได้ ตรงกับหลักเกณฑ์ที่ต่างประเทศหรือ ประเทศที่เราจะมีความเกี่ยวข้องด้วย ที่เราจะเดินทางไปนี้ตรงกันหรือไม่ อันนี้ก็ยังไม่ชัดเจน ในหลายประเทศที่มีการบังคับใช้หรือในอเมริกาเองในหลายรัฐก็ยังมีปัญหาว่าเมื่อหลักเกณฑ์ ไม่เหมือนกันแล้ว เราจะมี Standard เราจะมีมาตรฐานอย่างไรในการตรวจสอบคนที่ใช้สิทธิหรือใช้กฎหมาย เหล่านี้ เราไม่ได้พูดถึงประชาชนที่ใช้สิทธิในกฎหมายสิทธิโดยชอบ แต่ทุกกฎหมายที่เกิดขึ้น มีคนพร้อมที่จะนำมาใช้ประโยชน์อยู่เสมอ ซึ่งนี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นในหลายประเทศที่มี การผลักดันกฎหมายนี้ออกไปแล้วก็ยังตามแก้กันอยู่ ในบางประเทศยังมีการปรึกษาหารือกัน ว่าควรจะปรับแก้กฎหมายนี้อย่างไรดี เพราะฉะนั้นนี่ก็คือสิ่งที่ทางรัฐบาลก็กำลังทำอยู่ เช่นเดียวกัน อย่างที่ผมเรียนท่านประธานครับว่าทางรัฐบาล ทางหน่วยงานเองก็มีร่าง ทางภาคประชาชนก็มีร่างอยู่แล้ว เราสามารถย้อนกลับไปดูได้ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว แต่สิ่งที่ทำให้เรายังไม่สามารถเสนอได้ ก็คือเรื่องเหล่านี้ว่าสิทธิหรือผลที่จะเกิดขึ้นจาก การแก้ไขกฎหมายหรือการให้สิทธิต่าง ๆ นั้นจะผูกพันไปถึงหน่วยงานใด ไปถึงประเทศ ใดบ้าง อันนี้คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราไม่ทำให้ชัดเจน ถ้าเราไม่ดูความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ให้ดี สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาสุดท้ายเราก็ต้องตามแก้เช่นเดียวกัน ผมขอย้ำอีกครั้งว่าประเทศไทย รัฐบาลไทยเองมีความพยายามอย่างเต็มที่ในการที่จะส่งเสริมให้สิทธิแก่กลุ่มผู้มีความ หลากหลายทางเพศ ในสภาของเราได้พูดคุยถึงร่างพระราชบัญญัติที่เราเรียกว่าสมรสเท่าเทียม เพื่อให้สิทธิทุกคนในการที่จะแต่งงานโดยไม่ต้องกำหนดกับเพศใดก็ตาม แต่สิ่งที่เรามาคุยกัน ในวันนี้ครับมันเป็นอีกประเด็นมันคนละเรื่องกันเลย อันนี้เป็นเพียงความเป็นห่วง และนี่ไม่ใช่ ความเป็นห่วงเฉพาะในฐานะรัฐบาลหรือในฐานะของคนไทย แต่ในหลายประเทศเองก็มี ปัญหาเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิของผู้คุมขังเองก็ตาม ในหลายประเทศมีคนที่ใช้ ช่องว่างของกฎหมายนี้ในการทำร้ายประชาชนท่านอื่น ๆ แล้วมันก็จะยิ่งทำให้กลุ่มคนที่ได้รับ ผลประโยชน์จากกฎหมายนี้นั้นถูกมองภาพเสียจากสังคมโดยรอบ เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่า เราควรใช้ความตั้งใจ เราควรใช้เวลากับเรื่องเหล่านี้ให้มากที่สุด เพราะมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวพัน กับประชาชน และไม่ใช่เฉพาะคนในประเทศ แต่เกี่ยวพันไปถึงประเทศอื่น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้น ผมจึงคิดว่าในขณะนี้เมื่อรัฐบาลเองก็ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้อยู่แล้วว่าเคยทำร่างแล้วก็กำลัง ศึกษาอยู่ รอว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นมันจะเป็นอย่างไร ภาคประชาชนเองก็ยังผลักดันร่างของ เขาอยู่ เพราะฉะนั้นผมจึงมองว่าเรื่องนี้ยังต้องมีการพูดคุยกันมากกว่านี้ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอนุสรณ์ แก้ววิเชียร ครับ
นายอนุสรณ์ แก้ววิเชียร นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อนุสรณ์ แก้ววิเชียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี พรรคก้าวไกล วันนี้ผม ขออนุญาตอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และ การคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผมขออนุญาตเรียนท่านประธานอย่างนี้ครับ วันนี้ผมลุกขึ้นยืนจากสามัญสำนึกของความเป็นมนุษย์ของผมนะครับ และในฐานะที่ผมจบ การศึกษาด้านกฎหมายการแพทย์ จึงจำเป็นต้องอภิปรายร่างกฎหมายฉบับนี้ ผมขออนุญาต เรียนท่านประธานสภาอย่างนี้ว่าตั้งต้นของการรับรองเพศหรือคำนำหน้านามนี้เราต้องตั้ง คำถามก่อนครับว่า ในปัจจุบันนี้การมีตัวตนหรือการมีอยู่จริงของบุคคลผู้มีความหลากหลาย ทางเพศ เรายอมรับบุคคลเหล่านี้หรือไม่ว่าเขามีตัวตนและมีอยู่จริงในสังคม คำถามนี้ตอบได้ ง่าย ๆ ครับ เพราะว่าเพื่อนสมาชิกแห่งนี้ได้รับรองกฎหมายที่เรียกว่าสมรสเท่าเทียมไปแล้ว ถ้าท่านไม่ยอมรับความมีอยู่จริงของพวกเขา ท่านคงไม่ผ่านกฎหมายฉบับนั้นในวาระแรก ในทางการแพทย์เหมือนที่เพื่อนสมาชิกหลายคนอภิปรายไปแล้ว บุคคลผู้มีความหลากหลาย ทางเพศมิใช่ผู้ป่วย นิยามคำว่า เพศ ที่จะระบุไว้แต่เพียงเพศชายและเพศหญิงนั้นไม่ได้ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ผมขออนุญาตพูดถึงชายข้ามเพศ หญิงข้ามเพศ ซึ่งเรา ก็ทราบอยู่แล้วว่าลักษณะของชายข้ามเพศและหญิงข้ามเพศเป็นอย่างไร แต่บุคคลที่เรา เรียกว่าบุคคลเพศกำกวม หลายท่านที่อภิปรายอาจจะยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าบุคคลเพศกำกวม คืออะไร บุคคลเพศกำกวมคือบุคคลที่เกิดขึ้นมามี ๒ เพศอยู่ในคนเดียวกันตั้งแต่กำเนิด กับอีกกรณีหนึ่งคือบุคคลที่มีความหลากหลายในอัตลักษณ์ทางเพศ บุคคลพวกนี้ไม่ประสงค์ จะนิยามตนเองว่าเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย ไม่ประสงค์ที่จะแสดงว่าตนมีความรักกับชาย หรือหญิง และไม่ประสงค์ที่จะแสดงว่าตัวเองมีความรู้สึกทางเพศกับเพศใดเพศหนึ่ง หรือ ทั้ง ๒ เพศ อันนี้เป็นหลักฐานในทางการแพทย์ครับ WHO หรือองค์การอนามัยโลกได้รับรองไว้แล้ว ก่อนที่เพื่อนสมาชิกจะอภิปราย ผมขอถามท่านก่อนว่าท่านยอมรับความมีตัวตนและการมี อยู่จริงของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือไม่ ประเด็นต่อไปคือตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคือผู้แทนของปวงชนชาวไทย ซึ่งรวมถึงบุคคลผู้มีความหลากหลาย ทางเพศด้วย ประเด็นต่อมาหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฝ่ายนิติบัญญัติคือการออก กฎหมาย โดยหลักกฎหมายแล้วการออกกฎหมายจะต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งมันเป็นหลักกฎหมายธรรมชาติที่อยู่เหนือจากรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร ภายใต้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีอยู่อีกหลักหนึ่งที่เรียกว่า หลักความเสมอภาค หลักความเสมอภาคนี้ มิได้ประสงค์จะให้รัฐปฏิบัติต่อบุคคลแบบเดียวกันในทุกกรณี ความเสมอภาคดังกล่าว ประสงค์ที่จะปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกัน ไม่ให้แตกต่างกัน และจะต้องปฏิบัติ ต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญไม่เหมือนกัน ให้เท่าเทียมกัน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือไม่ประสงค์จะให้มี การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม หลักดังกล่าวที่ผมพูดมานี้ผมขออนุญาตสรุปมาเป็น คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๒๑/๒๕๔๖ ประเด็นง่าย ๆ ของคำวินิจฉัยนี้ครับท่านประธาน คือกรณีที่พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๒ มาตรา ๑๒ กำหนดให้หญิงที่สมรสแล้ว ต้องใช้นามสกุลของสามี กรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่าเป็นบทบังคับให้หญิงที่มีสามี ต้องใช้ชื่อสกุลของสามีนั้น เป็นบทบังคับที่ลิดรอนสิทธิในการใช้ชื่อสกุลของหญิงมีสามี และทำให้ชายและหญิงมีสิทธิไม่เท่าเทียมกัน เกิดความไม่เสมอภาคทางกฎหมายด้วยเหตุ แห่งความแตกต่างในเรื่องเพศและสถานะของบุคคล อีกกรณีหนึ่งครับท่านประธาน ผมขอ ยกตัวอย่างพระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งให้สิทธิหญิงที่สมรสแล้ว สามารถเลือกใช้คำนำหน้านามได้ระหว่าง นาง และ นางสาว เหตุผลในการประกาศ พระราชบัญญัติคำนำหน้านามดังกล่าวคือ การใช้คำนำหน้านามของหญิงที่จดทะเบียน สมรสแล้ว และหญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้วต่อมาได้การสมรสได้สิ้นสุดลงต้องใช้คำ นำหน้านามคำเดียวโดยมิอาจเลือกได้ตามความสมัครใจ มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศ สมควรกำหนดให้หญิง มีทางเลือกในการใช้คำนำหน้านามตามความสมัครใจ ซึ่งสอดคล้องกับการเลือกใช้นามสกุล ตามกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล สิ่งที่ผมนำเรียนท่านประธานนี้คือกรณีของหญิงซึ่งมีสิทธิ ที่จะเลือก คำถามผมคือสิทธิที่จะเลือกนี้เราจะนำไปใช้กับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือไม่ เมื่อสักครู่นี้ผมฟังเพื่อนสมาชิกหลายท่านพูดถึงพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม แล้วแต่ละท่านก็ให้เหตุผลนานานับประการว่าสนับสนุนและเห็นด้วยตามที่ท่านได้ผ่านร่าง กฎหมายฉบับนั้นไป แต่ผมถามว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ตั้งต้นตั้งแต่กำเนิด ยอมรับ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศตั้งแต่กำเนิด รับรองตั้งแต่เพศที่เขาติดตัวมาตั้งแต่ต้น รับรองเจตจำนงของเขาในการประสงค์จะใช้คำนำหน้านามหรือสิทธิที่จะเลือก และให้ความ คุ้มครองกับบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ท่านประสงค์จะรับรองแต่เพียงสิทธิในการ สร้างครอบครัวผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่ถ้าหากท่านไม่ประสงค์จะไปให้เขามีตัวตน ในทางสังคมตั้งแต่แรกเกิด ตรงนี้ผมวิงวอนเพื่อนสมาชิกทั้งหลายท่านลองพิจารณานะครับ ท่านรับรองสิทธิในขั้นปลาย แต่ท่านไม่รับรองสิทธิในขั้นต้น ประเด็นที่ผมอภิปรายอยู่ในวันนี้ เป็นวาระที่ ๑ ในวาระขั้นรับหลักการ ยังมีวาระที่ ๒ และวาระที่ ๓ ที่ท่านจะไปแก้ไขเพิ่มเติม ในรายละเอียดต่อไปได้ ผมขอสรุปอย่างนี้ว่าบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นบุคคล ที่มีตัวตนและมีอยู่จริงในสังคม ในฐานะของผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย ซึ่งรวมถึงบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วย ผมเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และหลักความเสมอภาค ผมจึงเห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้และวิงวอนไปยังเพื่อนสมาชิกที่ เห็นด้วยกับกฎหมายสมรสเท่าเทียมให้เห็นด้วยกับสิ่งที่ผมนำเสนอและสนับสนุนร่างกฎหมาย ฉบับนี้ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับนักศึกษา บุคลากร และอาจารย์ หลักสูตร ครุศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ จังหวัดปทุมธานี ยินดีต้อนรับ นะครับ เชิญท่านต่อไป ท่านครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ขออนุญาตข้ามก่อนนะครับ ขอโทษครับ ใบรายชื่อของผมไม่ Update นะครับ ถ้าไปที่ท่านอนุสรณ์พร้อมไหมครับ เชิญท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ผมรู้สึกมีความสุขแล้วก็ภาคภูมิใจทุกครั้งที่สภาเราได้เปิดพื้นที่ให้ ความสำคัญกับเรื่องของการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน หลาย ๆ ครั้ง ก็รู้สึกเท่ด้วยนะครับที่สภาไทยพูดถึงเรื่องที่เป็น Trend ของโลก ผมเป็นผู้หนึ่งที่เห็นด้วยกับ การตั้งกรรมาธิการวิสามัญสมรสเท่าเทียม เพราะผมเชื่อและเคารพในสิทธิเสรีภาพ เชื่อและเคารพในความเท่าเทียม กฎหมายสมรสเท่าเทียมนั้นมีหลายเรื่องที่ให้ความเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมิติสินสมรสและเรื่องเสรีภาพขั้นพื้นฐานอื่น ๆ แต่พอมาเป็นเรื่องของ การเปลี่ยนคำนำหน้านาม ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่เราต้องพิจารณารับฟังให้ครบถ้วนรอบด้าน อย่าเหาะเกินลงกา อย่าไปไกลชนิดสุดลิ่มทิ่มประตู เพราะว่าเดี๋ยวมีปัญหาติดตามมา จะเป็นไปในลักษณะสร้างปัญหาต่อ ก่อปัญหาใหม่ ท่านประธานที่เคารพครับการที่เราจะ ภาคภูมิใจ หรือไม่ได้ภาคภูมิใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ไม่ได้ขึ้นเพียงเพราะว่าเราใช้คำนำหน้านาม ว่าอะไร การที่เราจะภาคภูมิใจหรือไม่ภาคภูมิใจเรื่องใดก็ตามนั้น น่าจะมีสาเหตุและปัจจัย จากหลายประการ คงไม่ใช่ว่าปกติก็เป็นคนหม่นหมองตรอมเศร้า ผลไม้ที่ชอบก็ชอบระกำ ปลูกดอกไม้ก็ปลูกดอกลั่นทม ครั้นจะปลูกหญ้าก็ปลูกหญ้าตรอมใจ เป็นคนประเภทระทม ระกำตรอมใจ แต่พอเปลี่ยนคำนำหน้านามแล้วก็จะลุกขึ้นมา Happy ชนิดที่เรียกว่าเปลี่ยนปุ๊บ Happy ปั๊บ คงไม่ใช่เช่นนั้น ผมไม่รู้ว่าความภาคภูมิใจในความเป็นตัวของเราเอง ไม่ว่าเราจะ เป็นชาย เราจะเป็นหญิง เราจะเป็น LGBTQ+ หรือเป็นอะไรก็ตาม เราสามารถภาคภูมิใจได้ ในอดีตเคยมีศิลปินหมอลำชื่อว่า ปอยฝ้าย มาลัยพร เคยร้องเพลงว่า ฉันภูมิใจ ภูมิใจที่เป็น กระเทย ไผสิเว้าเยาะเย้ย กะส่างเถาะเว้ย. กะส่างเถาะเว้ยปากคน เป็นกระเทยก็ภาคภูมิใจ ได้ครับ แล้ววันนี้คำว่า กระเทย คำที่บ่งบอกถึงเพศสภาพ เพศที่ ๓ ๔ ๕ ไม่ใช่สิ่งที่จะไป Bully กัน ไม่ใช่คำที่ฟังแล้วรู้สึกว่าถูกประณามหยามหมิ่น สังคมเราเปิดกว้างแล้วก็เปิดรับ กับความหลากหลายทางเพศ วันนี้สิ่งที่ต้องตั้งข้อสังเกตก็คือว่าเราจะเป็นชายจริงหญิงแท้ เราจะเป็น LGBTQ เราก็ควรจะภาคภูมิใจในสิ่งที่เราจำเป็น มีงานเทศกาลที่เขาเรียกว่า งาน Pride Pride แปลว่าภาคภูมิใจ ก็ไหนว่าเราภาคภูมิใจในความเป็น LGBTQ แล้วเราจะ ไปเปลี่ยนจากสภาพ LGBTQ ไปเป็นนาย ไปเป็นนางสาว ก็เท่ากับว่าอย่างนั้นเราไม่ได้ Pride ไม่ได้ภูมิใจกับเพศสภาพกับสถานะที่เราเป็นหรือเปล่า เราจะเป็นนาย จะเป็นนางสาว เราก็สร้าง คุณค่าแห่งความภาคภูมิใจด้วยตัวของเราเองได้ ผมเห็นเพื่อนสมาชิกบางท่านพยายามลุก ขึ้นมา Update สถานการณ์ว่าวันนี้เราไม่ได้คุยกันว่าเพศที่ ๓ ๔ ๕ ไม่ได้รับการยอมรับ มัน Out ไปแล้วครับ วันนี้ไม่มีใครคุยเรื่องนั้น แต่วันนี้เรากำลังจะคุยกันว่านอกจากสมรส เท่าเทียมที่กำลังพิจารณาศึกษากันอยู่ตอนนี้ เราจะไปไกลถึงขั้นเปลี่ยนคำนำหน้านามหรือไม่ สิ่งที่จะเป็นข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ หากทุกคนลุกขึ้นมาเปลี่ยนคำนำหน้านาม ผมดูเอกสาร บอกว่าสามารถยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐเพื่อให้สามารถออกเอกสาร ให้จัดทำเอกสาร หรือให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลเอกสารได้ ไปเปลี่ยนอะไรบ้างครับ ให้บุคคลที่รับการรับรอง เพศตามมาตรา ๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๙ วรรคสามแล้วแต่กรณี ไปยื่นคำขอต่อหน่วยงาน ของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ออกเอกสาร ให้จัดทำเอกสาร หรือให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ในเอกสาร ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลคำนำหน้านามและเพศตรงกับเพศที่ตนได้รับการรับรอง ในเอกสารดังต่อไปนี้ ทะเบียนบ้านก็จะมีคนไปเปลี่ยน บัตรประจำตัวประชาชน สูติบัตรหรือ สำเนาสูติบัตร หนังสือเดินทาง ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ เอกสารสิทธิหรือ เอกสารราชการอื่นใดที่หน่วยงานของรัฐออกให้ตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง ท่านประธานลองนึกภาพตามนะครับ ถ้าคน LGBTQ หรือแม้แต่ชายจริงหญิงแท้ ลุกขึ้นไปเปลี่ยนคำนำหน้านาม จะมีคนไปติดต่อหน่วยงานราชการจำนวนมากขนาดไหน จะต้องใช้งบประมาณในการเปลี่ยนข้อมูลและการจัดทำบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สูติบัตร หนังสือเดินทาง ใบขับขี่ เอกสารสิทธิต่าง ๆ มันจะสับสนอลหม่านขนาดไหน อย่างไร ในระหว่างที่ผมเตรียมการจะพูดครับ มีเพื่อนสมาชิกเดินมาถามว่า อนุสรณ์อภิปรายแน่นะ ผมแน่ครับ ตัดสินใจเปลี่ยนหรือยัง ผมหันกลับไปตอบด้วยความมั่นใจว่า ยังครับ ผมยัง ไม่เปลี่ยนคำนำหน้านาม เพราะผมเชื่อมั่นว่าจะใช้คำนำหน้านามว่าอะไรเราก็สามารถภาคภูมิใจ ในสิ่งที่เราเป็นได้ ท่านประธานที่เคารพครับ ก่อนที่เราจะเรียกร้องให้คนอื่นเคารพเรา เราควรเคารพผู้อื่นก่อน ก่อนที่เราจะเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้กับตัวเอง เราหันไปมองให้ รอบด้านเสียก่อนว่าสิทธิที่เราเรียกร้องนั้นได้ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นหรือไม่ และต้อง ระมัดระวังถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมา ดา เอ็นโดรฟิน เคยร้องเพลงไว้ครับว่า ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ นั่นก็ลำบากแล้วนะครับ ถ้าเราเปลี่ยนคำนำหน้านามมันจะไม่หยุดแค่ ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ แต่มันจะกลายเป็น ไม่รู้จักชาย ไม่รู้จักหญิง ไม่รู้จัก LGBTQ และขอยืนยันตรงนี้ ครับว่าเราภาคภูมิใจในความเป็นตัวของเราเองได้ตลอดเวลา ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ ครับ
นางสาวกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ ชลบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ วันนี้มาขออภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติรับรองเพศ คำนำหน้านาม และคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ท่านประธานคะ กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ เกิดมาด้วยเพศหญิง วันนี้ขอพูดเลยว่ากฤษฎิ์ใช้ชีวิตเหมือนเด็กผู้ชายมาตลอดตั้งแต่เด็ก มีความรู้สึกชอบและรักเพศหญิงมาตั้งแต่เด็ก ไม่แน่ใจว่าเป็นโรคหรือเปล่า แต่ก็ใช้ชีวิตแบบนี้ มาเป็นปกติจนกระทั่งวันนี้อายุ ๔๖ ปีแล้ว กฤษฎิ์ภูมิใจในความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้อยากจะเปลี่ยนคำนำหน้าเป็นชายแต่อย่างใด แต่เวลาที่เราไปติดต่อราชการหรือเวลาที่ เราแนะนำตัวเราเอง จะต้องมีการหันกลับมามองทุกครั้ง และมีความไม่แน่ใจว่าตกลงเรา ผู้ชายหรือผู้หญิงกันแน่ เพราะเมื่ออ่านในใบสมัครข้าราชการเองหรือเอกสารข้าราชการต่าง ๆ คำนำหน้าขึ้นด้วยนางสาว ก็จะมีเสียงซุบซิบนินทาตามหลังมาเสมอ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็น เรื่องใหญ่อะไรมากมาย แต่ก็เป็นเรื่องที่น่ารำคาญใจ และบางครั้งตอนที่เรายังไม่ได้คุยกับใคร ทุกคนก็ยังไม่ได้มองถึงข้อบกพร่องตอนนี้ พอเราเริ่มเอ่ยพูดคุยและลงท้ายด้วยค่ะ สิ่งที่ ตามมาก็คืออคติของผู้ที่พูดคุยกับเรา และมักจะมีคำนินทาตามหลังเสมอว่า ไอ้ทอมอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้น ซึ่งเป็นคำพูดที่ค่อนข้างจะทำร้ายจิตใจกัน ผู้ใหญ่บางท่านที่เป็นหัวอนุรักษ์ โบราณ บางครั้งถึงกับมีการนินทาลับหลังว่า ไม่อยากจะไปคุยกับไอ้ทอมอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้น ซึ่งบางทีงานที่เราไปติดต่อดูแล้วเป็นประโยชน์กับสังคมเสียส่วนมาก แต่กลับโดน เหยียดด้วยอัตลักษณ์ทางเพศของเรา อันนี้เป็นตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่กฤษฎิ์ซึ่งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันนี้อยากจะสะท้อนให้กับสภาแห่งนี้ได้รับฟังนะคะ มาพูดถึง ความเป็นห่วงของเพื่อนสมาชิกเกี่ยวกับเรื่องราชทัณฑ์ จากที่กฤษฎิ์เข้าไปสัมผัสในราชทัณฑ์ เมื่อมีการรับนักโทษเข้าไปแล้ว ปัจจุบันนี้ก็จะมีการแบ่งการกักตัวตามเพศสภาพอยู่แล้ว ไม่ได้ เป็นปัญหาใด ๆ ถึงแม้เราจะผ่าน พ.ร.บ. นี้หรือไม่ก็ตามนะคะ พูดถึงการบริการสาธารณะ เช่นห้องน้ำสาธารณะ เป็นต้น หากมีการใช้หรือออกแบบในแบบ Universal ก็ยิ่งจะเป็นการดี การประหยัดให้กับงบประมาณของรัฐ เพราะปัจจุบันนี้ในการแบ่งห้องน้ำชายหญิง เราจะ สังเกตได้ว่าไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำในปั๊ม หรือที่สาธารณะต่าง ๆ ห้องน้ำชายจะเป็นห้องน้ำที่ สกปรกมาก เพราะบ่อยครั้งกฤษฎิ์ก็เข้าไปใช้ห้องน้ำชายเหมือนกัน เพราะว่าห้องน้ำหญิงเต็ม จะสกปรกมากกว่าห้องน้ำหญิงมาก แต่หากเรารวมห้องน้ำเป็นแบบ Universal Design ใช้ห้องน้ำร่วมกัน งบประมาณในการทำความสะอาดเอย งบประมาณในการก่อสร้างเอย ในการเท่าเทียมในการใช้ห้องน้ำก็จะทำให้รัฐประหยัดมากขึ้น และเรื่องสุขภาพอนามัยก็จะดี ยิ่งขึ้น เพราะมีการดูแลอย่างทั่วถึง สำหรับเรื่องนี้เรื่องความหลากหลายทางเพศ เรื่องการ ยอมรับในสังคม ต้องยอมรับว่าในประเทศไทยนี้ยังมีความคับแคบอยู่ในเรื่องแนวความคิด วันนี้กฤษฎิ์มีความดีใจเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ที่นำเรื่องนี้ ขึ้นมาพูด เพื่อจะได้เป็นประตูแห่งเสรีภาพ และเพื่อจะได้เป็นการเปิดทางแห่งความเท่าเทียม อย่างแท้จริง และจะได้ขจัดการเลือกปฏิบัติในเรื่องเพศเสียที ในวันนี้เรื่องกฎหมายครอบครัว ที่เพื่อนสมาชิกเป็นห่วง กฤษฎิ์มองว่าต่อไปหากฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านมติและถูกบังคับ ใช้แล้ว ปัญหาเรื่องการหย่าร้างที่เพื่อนสมาชิกเป็นห่วงนั้นก็จะหมดไปนะคะ ถึงแม้ว่า กฎหมายดังกล่าวจะยังไม่มีสภาพบังคับในความเป็นจริงที่เป็นอยู่ทุกปัญหาเรื่องทรัพย์สิน ของคู่สมรสก็ยังไม่น่าจะ โอเคไม่ทันแล้ว อย่างไรก็ขอให้สภาแห่งนี้ช่วยรับหลักการ พ.ร.บ. นี้ ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
นางสาวกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ ชลบุรี ต้นฉบับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง : ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านภัสริน รามวงศ์ ครับ
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ ผู้แทนคนบางซื่อ คนดุสิตค่ะ วันนี้ดิฉันขอร่วมอภิปรายในญัตติ ร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความ หลากหลายทางเพศค่ะ มนุษย์ชอบแยกแยะค่ะท่านประธาน ใส่กล่องติดป้าย ทุกอย่างให้เป็น หมวดหมู่ แต่ทว่าโลกนี้ไม่ใช่แค่ผู้หญิงผู้ชายเท่านั้นค่ะ แล้วก็ไม่ใช่แค่คนข้ามเพศจากชาย ข้ามไปเป็นหญิง จากหญิงข้ามไปเป็นชาย เรายังมีมากกว่านั้นค่ะ ยังมีบุคคลที่ไม่ระบุว่าตัวเอง เป็นเพศหญิงหรือเพศชายด้วย นี่ไม่ใช่เรื่องของความสับสน แต่เป็นเรื่องของความกล้าหาญ ถ้าใครสักคนหนึ่งจะลุกขึ้นมาพูดว่าเราไม่ใช่ทั้งหญิง เราไม่ใช่ทั้งชาย สิ่งเหล่านี้ควรจะได้รับ การชื่นชมเสียมากกว่าค่ะ วันนี้ดิฉันขอพูดแทนเด็กเยาวชนที่มีอัตลักษณ์ที่ทับซ้อน มีความ แตกต่างที่หลากหลาย แต่เราไม่เคยพูดถึงเขาเลยค่ะ เราเคยตั้งคำถามหรือไม่ว่าพวกเขา เติบโตมาเป็นตัวเองไม่ใช่คนอื่น จะดีแค่ไหนถ้าในหนังสือเรียนสุขศึกษามีวิชารู้จักตัวตน มีการสอน คุณครู คณาจารย์มีองค์ความรู้เรื่องเพศที่มากกว่า ๑ เพศ แต่เรามีกิจกรรมที่ แบ่งเพศแค่ ๒ เพศเท่านั้น ในวิชาเรียนควรบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่จำกัดแค่เพศ ๒ เพศนี้เท่านั้น ด้วย การศึกษาที่คับแคบ การจำกัดให้มีแค่เพศตรงกำเนิดทำให้คนข้ามเพศต้องเอาสุขภาพ ทั้งกาย สุขภาพทั้งใจไปเสี่ยง จนเขาได้รับการแปะป้ายว่าเป็นเด็กหรือเป็นคนที่เบี่ยงเบน ท่านประธานคะ ยังมีเรื่องราวผู้คนที่ถูกติดป้ายว่ามีแค่ ๒ เพศ ๒ ขั้วเท่านั้น เรายังมีคนพิการ ที่เป็น LGBTQ เป็นบุคคลที่มีความสามารถแต่ถูกสังคมปฏิบัติซ้ำซ้อน เมื่อความแตกต่างทาง เพศวิถีผนวกกับความพิการย่อมผลักให้คนกลุ่มนี้กลายเป็นประชากรชายขอบ ความรุนแรง ต่อกลุ่มคนพิการที่เป็น LGBTQ ไม่ได้แสดงออกมาเฉพาะความรุนแรงทางตรงค่ะ แต่ถูกกด ทับด้วยโครงสร้างทางสังคมและโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่สั่งสอนมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะ เป็นนโยบายรัฐที่ไม่เอื้อต่อคนพิการ อคติจากคนในครอบครัวที่ไม่ยอมรับความหลากหลาย ทางเพศที่มีมากกว่า ๒ เพศ การเกลียดกลัวความแตกต่างทางอัตลักษณ์ที่ซับซ้อนด้วย แม้ว่า สังคมจะมีการเปิดรับความหลากหลายทางเพศจนเราสามารถผ่าน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ในช่วงที่ผ่านมาได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข ดังนั้นหมุดหมาย ที่เราต้องผลักดันไปต่อก็คือการยอมรับความแตกต่างทางเพศวิถี ผ่านการอนุญาตให้บุคคล สามารถเลือกใช้คำนำหน้านามได้ตามเพศวิถีของตน ซึ่งไม่เพียงเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคล สามารถเลือกเป็นในสิ่งที่เขาต้องการได้เท่านั้นค่ะ โดยไม่ถูกจำกัดภายใต้กรอบกฎหมาย แล้วก็ยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ สร้างการยอมรับ การเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการตามที่ มีเพศวิถีเพิ่มมากขึ้นค่ะ มีตัวอย่างจากกรณีจากต่างประเทศที่ทำสำเร็จในออสเตรเลียค่ะ กฎหมายรับรองเพศสภาพบังคับใช้ตั้งแต่ปี ๒๐๑๓ ระบุว่ารัฐบาลออสเตรเลียให้การรับรอง ว่าปัจเจกบุคคลนิยามตัวตนด้วยเพศสภาพอื่น ๆ นอกจากเพศกำเนิดได้ โดยไม่ใช่ทั้งหญิงหรือ ชายก็ได้ และมีบันทึกในเอกสารทางราชการของรัฐบาล นั่นคือคนจะสามารถระบุตัวตนเองว่า เป็นเพศสภาพอะไรก็ได้ในเอกสารราชการ เช่น บัตรประชาชน Passport เป็นต้น ในประเทศ แคนาดา ในทุกรัฐได้มีการแก้กฎหมาย อนุญาตให้ไม่ต้องมีเอกสารผ่าตัดแปลงเพศก็สามารถ เปลี่ยนเพศ และกฎหมายให้การรับรองสถานะได้ และสเปนมีกฎหมายอนุญาตให้เปลี่ยนเพศ ทางกฎหมายได้ค่ะ วันนี้ถ้าท่านเพื่อนสมาชิกในสภาหลายคนเชื่อถึงการมีสิทธิ เชื่อในเสรีภาพ ของมนุษย์ เชื่อในความเป็นคน ดิฉันขอให้ท่านเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำทาง เพศ และการขยายโอกาสให้กับผู้มีความหลากหลายทางอัตลักษณ์ได้เข้าถึงสิทธิอย่างพึงมี ได้อย่างเหมาะสมค่ะ เราควรสร้างระบบของสังคมคนรอบตัวเรา คนรอบตัวเด็ก จะทำให้ การกำหนดเพศไม่ใช่ความกล้าหาญอีกต่อไปค่ะ แต่เป็นความหวังค่ะ เราต้องการอยู่ในโลก ที่มีความเท่าเทียมทางเพศและให้ทุกความหลากหลายทางเพศได้มีสิทธิเท่าเทียมกัน ในสังคมไทยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านจุลพงศ์ อยู่เกษ ครับ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม จุลพงศ์ อยู่เกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลนะครับ เมื่อสักครู่มีเพื่อนสมาชิกบางท่านได้แนะนำว่าเราควรจะนำร่างพระราชบัญญัตินี้กลับไป ศึกษาเพิ่มเติม ผมขอเรียนท่านประธานอย่างนี้นะครับ เรื่องนี้เราศึกษามาหลายครั้งแล้ว ผมจะย้อนประวัติศาสตร์ให้ฟัง เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๐ มีคณะกรรมการชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรี ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน ในสมัยนั้นคณะกรรมการชุดนี้เห็นชอบในหลักการ ที่จะสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับคำนำหน้า เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและความ เปลี่ยนแปลงในสังคม มีการศึกษามากมายครับในสมัยนั้นผมไปศึกษามา ทีนี้เรามาดูว่า รัฐสภาเมื่อก่อนนี้ได้ทำอะไรบ้าง ในปีเดียวกันครับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติคำหน้านาม ร่างกฎหมายดังกล่าวให้เลือกใช้คำว่า นางสาว หรือ นาง แทนคำว่า นาย เหตุผลให้ไว้อย่างน่าฟังนะครับ เหตุผลว่า คนควรจะมีสิทธิเปลี่ยนหรือเลือกใช้ คำหน้านามได้ เช่น หากมีการเปลี่ยนแปลงเพศ หากใช้คำว่า นาย ต่อไปย่อมมีความยากลำบาก ในการดำรงชีวิตในระดับสากล ดังนั้นจึงควรให้สิทธิกับบุคคลเหล่านั้นใช้คำว่า นางสาว หรือ นาง ได้นะครับ แต่หลังจากนั้นเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองเรื่องเหล่านี้ก็เบาลงไป ถัดมาอีกหน่อยครับ ๕ ปีต่อมาในเดือนสิงหาคม ปี ๒๕๕๕ มีบุคคลคนหนึ่ง ชื่อนาย ส อายุ ๒๕ ปี ได้มาร้องกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะว่าเขาเองมี ๒ เพศ เขามาร้องว่า ขอเปลี่ยนจากคำนำหน้า นาย เป็น นางสาว เดินทางมาพบกรรมการสิทธิมนุษยชนท่านหนึ่ง ขณะนี้ท่านก็ยังมีชีวิตอยู่นะครับ แล้วก็ไปติดต่อกับเขตหนองจอก มีสูติบัตร มีทะเบียนบ้าน มีสำเนาผู้ป่วย ผมขออนุญาตท่านประธานอ่าน อาจจะเหมือนกับไม่สุภาพนัก มีคำร้องระบุว่า มีอวัยวะเพศ ๆ กำกวม แต่ถูกเลือกให้เป็นผู้ชายตามความต้องการของบิดา และเมื่อโตขึ้น กลับมีจิตใจเป็นผู้หญิง เขตหนองจอกใช้เวลา ๙๐ วัน จึงได้ยอมเปลี่ยนคำนำหน้าหลังจากดู ใบรับรองแพทย์ต่าง ๆ แล้ว จาก นาย เป็น นางสาว โดยชื่อว่า นางสาวศิริรดา ผมขอเอ่ยแค่นี้ แล้วกัน เพื่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลนี้ มีเพื่อนสมาชิกอ้างถึงต่างประเทศ เป็นกังวลว่า ต่างประเทศเขาจะมีกฎหมายยอมรับหรือไม่ เพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกลของผม ยกตัวอย่าง ออสเตรเลียครับ จริง ๆ แล้วในต่างประเทศเขาดูหลักฐานราชการของประเทศต้นทาง แล้วเขาก็ไม่สนใจด้วยว่าเป็น นางสาว หรือ นาง ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ ออสเตรเลียก็ตาม แล้วทำไมผมเอามาพูดได้ ท่านประธานครับผมขึ้นทะเบียนเป็นเนติบัณฑิต ของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ขึ้นทะเบียนเป็นเนติบัณฑิตของรัฐวิกทอเรีย ประเทศ ออสเตรเลีย ผมขอยืนยันในส่วนนี้ว่าจริง ๆ แล้วประเทศเหล่านี้ก้าวหน้าไปมากถึงขนาดว่า เขาไม่สนใจคำนำหน้านามแล้วครับ เขาดูเอกสารจากประเทศต้นทางว่าเป็นผู้ชาย ผู้หญิง แล้วก็มี X X แปลว่าไม่ต้องการระบุครับ ดังนั้นท่านไม่ต้องกังวลเลยว่าไปต่างประเทศแล้ว จะมีปัญหาเรื่องต่างประเทศ ถ้าท่านผ่านกฎหมายนี้ในขั้นรับหลักการ แล้วมีกรรมาธิการวิสามัญตั้งขึ้นมา มีประเด็น กฎหมายต่างประเทศผมยินดีครับ ผมยินดีเข้าไปชี้แจงกับคณะกรรมาธิการ ย้อนไปทีแรก มีเพื่อนสมาชิกบางท่านยังแนะนำให้มีการรับฟังเพิ่มเติมนะครับ ท่านประธานที่เคารพครับ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เปิดรับฟังความคิดเห็นมาตั้งแต่วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๖ คำถาม ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่จุด จุด จุด มีทั้งหมด ๗ ข้อ เพื่อนสมาชิกลองไปดู ในเอกสารที่แจก ไม่ใช่ที่ไหนครับ มากกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ แล้วท่านจะไปรับฟังอะไรเพิ่มเติมอีกครับ หรือว่าการรับฟังที่ผ่านมาโดยรัฐสภาเป็นการรับฟัง โดยส่งเดชไปเท่านั้นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายครับ สุดท้ายนี้ผมขอเรียกร้องให้เพื่อนสมาชิก เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัตินี้ไปก่อน ผ่านวาระที่ ๑ ไปก่อน จะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการ รัฐบาลเองก็สามารถจะตั้งกรรมาธิการจากหน่วยงานต่าง ๆ มาให้ความเห็นชอบ ท่านประธาน เราอย่าหยุดนาฬิกาอีกเลยนะครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านซูการ์โน มะทา ครับ
นายซูการ์โน มะทา ยะลา ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ ขอมีส่วนร่วมในการ อภิปรายร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มี ความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... ท่านประธานครับ หลายท่านได้บอกว่ามีเพื่อนสมาชิก ให้ความเห็นชอบในร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เมื่อลงวาระที่ ๑ เมื่อการพิจารณาของสภา แห่งนี้ ผมก็ขออนุญาตยืนยันเป็นตัวแทนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ เพื่อบันทึกไว้ทั้งในโลกดุนยาและโลกอาคิเราะฮ์ ว่าพรรคประชาชาติและผู้สนับสนุน พรรคประชาชาติ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับร่างรับรองเพศ คำนำหน้านามเพศ และการคุ้มครองและผู้มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... แล้วก็ การรับรองสมรสเท่าเทียม เราก็ไม่เห็นด้วย อันนี้ขอยืนยันในจุดยืน และผมมีเหตุผลที่จะต้อง อภิปรายให้เพื่อนสมาชิกได้เข้าใจในจุดยืนการทำหน้าที่ของพวกเราในสภาผู้แทนราษฎร ท่านประธานที่เคารพครับ พรรคประชาชาติเป็นพรรคหนึ่งที่ก่อตั้งขึ้นในพื้นที่ ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาเราได้รับเสียงการสนับสนุนจากพี่น้องประชาชน ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ เสียง และในการรณรงค์หาเสียงตอนนั้น เราบอกแล้วเราไม่สนับสนุนและไม่เห็นด้วยกับร่างสมรสเท่าเทียม ซึ่งการลงมติในครั้งนั้น ก็เป็นที่ปรากฏชัดว่าเรายังยืนหยัดในจุดยืนของเราเหมือนเดิม ท่านประธานครับ ในเรื่องของ ความหลากหลายทางเพศ หรือกลุ่ม LGBT โดยส่วนตัวผมเองไม่มีอคติใด ๆ หรือมีความรู้สึก ใด ๆ กับกลุ่มเหล่านี้ แต่ด้วยความศรัทธาการยึดมั่นในหลักการของการนับถือศาสนานั้น ก็ไม่ได้ต่างจากท่านประธานว่าในหลักการของศาสนาอิสลามนั้น เรายึดมั่นในพระมหาคัมภีร์ อัลกุรอาน พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน คือวจนะของพระองค์อัลเลาะฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงแม้แต่อักขระเดียว ฉะนั้นในคำจำกัดความในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ได้กำหนดว่า เราจะเห็นด้วยกับความหลากหลายทางเพศไม่ได้ นั่นคือสิ่งที่เราต้องยึดและ ปฏิบัติ เฉกเช่นเดียวกับท่านประธาน สำหรับการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครอง ผู้มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... ฉบับนี้ มีเพื่อนสมาชิกที่อภิปรายเห็นด้วย มีเพื่อนสมาชิกอภิปรายไม่เห็นด้วย และผมคนหนึ่งที่ ขออภิปรายว่าเราไม่เห็นด้วยที่จะแก้การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคล ที่มีความหลากหลายทางเพศ ท่านประธานครับผมก็เกิดในประเทศไทย นับถือศาสนาอิสลาม ผมใช้ นายซูการ์โน มะทา ตอนนี้ก็ ๖๓ ปี แต่คำว่า นาย มันไม่ใช่มีแค่ ๖๓ ปี นาง หรือ นางสาว ก็ไม่ใช่มีแค่ ๖๓ ปี มันมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน วันนี้ผลพวงจากการรับหลักการใน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผมเข้าใจว่าท่าน มีความต้องการที่จะแก้ไขในร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่ในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ที่เขานับถือ ศาสนาอิสลาม ที่เขาเคร่งครัดกับหลักการความเชื่อเขาจะรู้สึกอย่างไร ในเมื่อตัวแทนที่เป็น ตัวแทนของพวกเขาต้องมาเห็นชอบกับสิ่งที่ขัดกับพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ท่านประธานครับ เรากำลังเดินทางที่ตรงข้ามกับหลักข้อเท็จจริงที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ วันนี้ ในหลักการของอิสลามแล้วเราเชื่อว่าสิ่งที่จะธำรงโลกนี้ได้ด้วยมนุษย์อยู่ ๒ เพศ คือเพศชาย กับเพศหญิง ฉะนั้นเมื่อสภาแห่งนี้พยายามที่จะมาแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว ผมเป็นห่วงว่า จะกระทบกับความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนของคนไทยอีกหลายสิบล้านคน วันนี้ผมไม่แน่ใจว่า เพื่อนสมาชิกจะเห็นด้วยมากน้อยแค่ไหน แต่พรรคประชาชาติก็ยืนหยัดว่าเราไม่เห็นด้วยกับ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ดังนั้นเพื่อเป็นการบันทึกและยืนยันในจุดยืนทางการเมืองของ พวกเราทุกคน ทั้ง ๙ คนในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ เราก็ไม่สามารถที่จะรับร่างพระราชบัญญัติ การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองผู้มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... ได้ ซึ่งผมเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกที่นำเสนอร่างฉบับนี้เข้าใจในความมีจุดยืนทางการเมืองของพวกผม ผมไม่ได้มีปัญหากับกลุ่มหลากหลายทางเพศ แต่ผมต้องยึดมั่นในหลักการของศาสนาอิสลาม ต้องยึดมั่นในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน เพราะวันหนึ่งเราต้องกลับไปคืนสู่พระองค์อัลเลาะฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ชีวิตเราเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ซึ่งเราก็จะถูกสอบสวนสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องสำคัญ ก็อยากเรียนผ่านท่านประธานถึงเพื่อนสมาชิกด้วยความเคารพว่า พรรคประชาชาติไม่สามารถที่จะรับร่างหรือเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... ได้ ซึ่งมีเหตุผล อื่นประกอบอีกมากมาย เพื่อเป็นการยืนยันครับท่านประธาน ก็ขออนุญาตนำเสนอเพียงแค่นี้ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ผมขออนุญาตใช้สิทธิพาดพิงนะครับ พอดีท่านผู้อภิปรายพาดพิงว่าผมมีความ เชื่อแบบเดียวกัน ต้องเรียนว่าใน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมรอบแรกผมงดออกเสียงเพื่อรักษา จุดยืนของศาสนาคริสต์ ส่วนในสมัยประชุมนี้ผมโหวตเห็นด้วยนะครับ เพราะผมเชื่อมั่นว่าเรา สามารถจะรักษาศาสนาไปได้โดยที่ไม่ได้ไปขัดกับสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นนะครับ เพราะฉะนั้น จุดยืนเราไม่เหมือนกันนะครับท่าน ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านปารมี ไวจงเจริญครับ
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน ปารมี ไวจงเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ปกติในการอภิปรายในสภาแห่งนี้ ดิฉันเป็นครูทุกครั้งดิฉันจะใช้สไลด์ แต่วันนี้ ดิฉันจะขออภิปรายโดยไม่ใช้สไลด์ และไม่ใช้ Script ดิฉันจะขอใช้ร่างกายของดิฉันเป็นสไลด์ และใช้หัวใจเป็น Script สิ่งที่ดิฉันจะพูดจากนี้จะพูดจากก้นบึ้งแห่งจิตวิญญาณและหัวใจของ ดิฉันที่เป็นหญิงข้ามเพศอายุ ๕๑ ปีคนหนึ่ง ดิฉันเจ็บปวดกับคำนำหน้านามว่านาย นอ อา ยอ นาย มาตลอดชีวิต นี่เป็นความฝันสูงสุดของดิฉันสิ่งหนึ่ง ในการที่จะได้เปลี่ยนคำนำหน้าให้ตรงกับอัตลักษณ์ ทางเพศของดิฉันในปัจจุบัน ดิฉันฝันสิ่งนี้มานาน ความฝันสิ่งหนึ่งของดิฉันคือการได้เป็น ผู้หญิงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งดิฉันได้บรรลุความฝันเป็นผู้หญิงอย่างสมบูรณ์ไปหลายสิบปีแล้ว แต่ความฝันที่ ๒ ที่สูงสุดของดิฉันอีกประการหนึ่งคือออกจากความเจ็บปวดที่ดิฉันถูกเรียกว่า นายทุกครั้ง เหมือนกับที่ท่าน สส. กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ พรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นชายข้ามเพศ อีกคนหนึ่งได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้ ใครไม่เป็นบุคคลข้ามเพศไม่มีทางเข้าใจสิ่งนี้หรอกค่ะ ท่านประธาน ทุก ๆ ครั้งที่เราต้องไปติดต่อสถานที่ราชการ ทุก ๆ ครั้งที่มีการเอ่ยเรียกชื่อ ดิฉันว่า นายปารมี และพอดิฉันออกไปแสดงตัว คนที่เรียกจะถามว่า เรียกนายปารมีนะคะ ดิฉันเจ็บปวดที่จะต้องยืนยันกลับไปว่า นี่ละค่ะ ปารมี ไวจงเจริญ โดยดิฉันไม่เคยทวนคำว่า นายสักครั้ง ดิฉันฝันมาตลอดชีวิตที่จะให้ประเทศนี้และสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้มาร่วมกัน ถกเถียง ปรับแก้ สิ่งใดที่ท่านท้วงติงว่ามันจะต้องมีการแก้ไขและเกี่ยวข้องกับหน่วยราชการ ต่าง ๆ หรือกฎหมายอื่น ๆ เรามาร่วมกันปรับแก้ได้ ดิฉันขอวิงวอนจากหัวใจของหญิงข้ามเพศ ที่รอสิ่งนี้มานานตลอดชีวิต ขอวิงวอนพรรคร่วมรัฐบาลและสมาชิกอันทรงเกียรติทุกท่าน ท่านมีข้อท้วงติงและมีข้อสงสัยในบางเรื่อง ข้อกังวลใจในบางเรื่อง เรามาร่วมกันแสดงข้อสงสัย หรือปรับแก้ในขั้นกรรมาธิการแปรญัตติได้ ดิฉันอยากขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่เมื่อวาน ท่านได้ประกาศหลักการสำคัญของพรรคเพื่อไทย ขออนุญาตดิฉันต้องเอ่ยนาม ว่าได้เคย หาเสียงเอาไว้จะสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของ LGBT หญิงข้ามเพศ ชายข้ามเพศ และคนที่มี ความหลากหลายทางเพศอย่างเต็มที่ ดิฉันต้องขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี ดิฉันถือว่าสิ่งที่ ท่านได้แถลงข่าวเมื่อวานนี้เป็นสัญญาประชาคมที่ท่านได้ให้ไว้กับดิฉันและกลุ่มคนข้ามเพศ และกับประชาชนชาวไทย ดิฉันขอให้พรรคร่วมรัฐบาลได้โปรดเปลี่ยนใจทำตามนโยบายของ ท่านนายกรัฐมนตรีที่ได้ให้สัญญาประชาคมว่าจะผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่ สิ่งนี้ไม่ว่าท่านมี ข้อกังวลใจในเรื่องว่าคำนำหน้านามที่อาจจะเกี่ยวกับกระทรวงอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวง สาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย หรือกังวลในเรื่องใบสูติบัตรก็ตาม หรือเอกสารทางราชการต่าง ๆ ดิฉันว่าปัจจุบันระบบทะเบียนราษฎรในไทยเป็นระบบ Online แล้ว สิ่งเหล่านี้เราน่าจะหากลไกที่จะป้องกันแก้ไขไม่ให้เกิดข้อบกพร่องได้ เพียงแต่ว่าขอความจริงใจและจริงจังจากพรรคร่วมรัฐบาลที่เราจะมาทำสิ่งนี้ ทำสิทธิเสรีภาพ ให้เต็มที่ คืนสิทธิเสรีภาพ คืนศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนให้กับบุคคลข้ามเพศทุก ๆ ประเภท ดิฉันยังมีความหวังอยู่ว่าไม่กี่นาทีหลังจากนี้พรรคร่วมรัฐบาลหลังจากได้ยินคำอภิปรายของ เพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านคงจะไปทบทวนดู อยากให้ทุกท่านมาร่วมกันเปิดประตูแห่งสิทธิ เสรีภาพคืนให้กับบุคคลข้ามเพศทุก ๆ กลุ่ม เพื่อเติมความฝันทั้งของคนข้ามเพศทุก ๆ กลุ่ม เติมความฝันของตัวดิฉันด้วย อย่าให้ดิฉันต้องเจ็บปวดกับคำนำหน้านามที่ดิฉันไม่ได้เลือก ขอวิงวอนทุกท่านมาร่วมมือกับพรรคก้าวไกล ร่วมมือกับดิฉันทำสิ่งนี้ ปรับแก้ตรงไหนได้ เรามาปรับแก้กัน ดิฉันขอวิงวอนเลยค่ะ ขอขอบคุณท่านประธานมากค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ ครับ
นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ กาญจนบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัด กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นเลยผมต้องขอยืนยัน ผมและพรรคเพื่อไทยขอยืนยัน ในการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งรัฐบาลเองก็มีแนวคิดในการสนับสนุนความเท่าเทียม ของคนทุกเพศ ดังเช่นการเสนอร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายสมรส เท่าเทียมก็มีร่างถึง ๔ ร่าง จากรัฐบาล ฝ่ายค้าน และสำคัญยังมีร่างของภาคประชาชนที่ได้ เข้าสู่การพิจารณาพร้อมกัน และสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ยังได้ผ่านร่างกฎหมายทั้ง ๔ ฉบับ และในขณะนี้ร่างทั้ง ๔ ฉบับก็อยู่ในชั้นกรรมาธิการ แล้วก็พิจารณาใกล้แล้วเสร็จ ซึ่งผมเอง ก็อยู่ในกรรมาธิการนี้ด้วย ซึ่งการที่เรามีกฎหมายจากภาคประชาชน ตัวแทนจากภาคประชาชน ที่ยังมีโอกาสมานั่งเป็นกรรมาธิการในสัดส่วนของภาคประชาชนในจำนวนที่มากขึ้น แล้วก็ ส่งผลดีต่อการทำงานของกรรมาธิการเอง เนื่องจากประสบการณ์ที่ผมนั่งกรรมาธิการนี้ ผมรับทราบข้อมูลและการสะท้อนถึงความจริงที่ภาคประชาชนได้สะท้อนถึงความจริงที่ เกิดขึ้นในสังคมนี้ แล้วผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ หากกฎหมายที่เรากำลังทำขึ้นได้ให้ พวกเขาได้ออกมาแสดงสิทธิ แสดงความเห็น และได้มีโอกาสที่จะออกแบบกฎหมายไป พร้อม ๆ กับเรา อย่างไรก็ดีตามที่ผมนำเรียนหารือไปก่อนหน้านี้ ภาคประชาชนมีแนวคิด ที่จะเสนอร่างกฎหมายที่มีหลักการคล้าย ๆ กับที่เรากำลังพิจารณาอยู่ถึง ๒ ฉบับ อันได้แก่ ๑. ของคณะกรรมการ GEN-ACT ซึ่งอยู่ในระหว่างการระดมรายชื่อให้ครบ ๑๐,๐๐๐ รายชื่อ ตามรัฐธรรมนูญ ๒. ก็คือร่างของกลุ่มบุคคลที่เป็น Intersect และ Non-Binary ในนาม Intersect Thailand ซึ่งรัฐธรรมนูญปี ๒๕๖๐ ระบุไว้ว่าหากมีการนำร่างพระราชบัญญัติที่เสนอ โดยภาคประชาชนเข้าสู่ชั้นกรรมาธิการจะสามารถมีสัดส่วนกรรมาธิการที่มีภาคประชาชน มากถึง ๑ ใน ๓ ทำให้ตัวแทนภาคประชาชนมีบทบาทในการพิจารณากฎหมายมากขึ้น ผมจึง เห็นว่าการที่เรารอร่างจากภาคประชาชนน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาเป็นอย่างมาก และในช่วงเวลานี้ผมคิดว่ามีความจำเป็นที่ต้องมีการทำงาน รับฟังความเห็นต่อข้อกังวลต่าง ๆ จากทุกภาคส่วน จะเป็น LGBT หรือไม่ใช่ LGBT เพื่อให้กฎหมายเป็นของคนทุกกลุ่มครับ และไม่ให้กฎหมายเกิดข้อกังขาว่าอาจจะนำไปสู่การลิดรอนสิทธิเสรีภาพของคนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งหรือไม่ ดังนั้นผมจึงขอเรียนท่านประธานว่าการลงมติในวันนี้ของพวกเราไม่ได้ หมายความว่าเราไม่ได้เห็นด้วยในหลักการของกฎหมายฉบับนี้ แต่เพื่อความรอบคอบและ ประโยชน์สูงสุดในการออกกฎหมาย จึงเห็นว่าการมีร่างของภาคประชาชนและภาคส่วน อื่น ๆ มาร่วมพิจารณาจะเกิดประโยชน์สูงสุดและนำไปสู่การตกผลึกทางความคิด ทั้งจาก กลุ่ม LGBTQ และกลุ่มที่ไม่ใช่ LGBTQ ได้มีโอกาสแสดงความเห็นอย่างรอบด้านมากที่สุด ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม เป็นผู้อภิปรายท่านสุดท้ายครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านประธาน ที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทองครับ ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตที่จะบอกท่านประธานว่าก็คงต้องหนักใจ แทนท่านประธานนะครับว่าท่านจะตั้งคำถามในการลงมติอย่างไร เพราะว่าทุกท่านก็บอกว่า ไม่มีใครไม่เห็นด้วยกับเรื่องของการออกกฎหมายรับรองเพศ คำนำหน้านาม หรือว่าการ คุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ แต่ว่าช่องลงมติมันมีแต่เพียงเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย รับ หรือไม่รับหลักการของร่างฉบับนี้ ฉะนั้นคงเป็นการบ้านของท่านประธานที่จะต้องพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ว่าจะออกแบบคำถาม ในการลงมติอย่างไร ผมต้องบอกถัดไปว่าผมรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งว่าขณะนี้เรากำลัง อภิปรายต่อขั้นรับหลักการของกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งที่เสมือนว่า อยู่ดี ๆ มันก็ลอยมาจาก ฟากฟ้าแล้วก็ลงมาอยู่ในสภาแห่งนี้ โดยที่ไม่เคยมีการศึกษาใด ๆ มาก่อน ทั้ง ๆ ที่ในมือผมมี รายงานมากมายที่มีการศึกษา เอาเข้าจริง ๆ เวลาเราพิจารณางบประมาณ แล้วมีหน่วยงานใด ที่จะขอศึกษาเรื่องกฎหมายรับรองเพศอีก ถ้าท่านเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจพิจารณา งบประมาณ ผมเองยังเห็นว่าควรจะต้องตัดออกได้ด้วยซ้ำ กฎหมายไม่ได้ลอยมาจากฟากฟ้า กฎหมายคือคนที่เขียนขึ้น แต่ทุกกฎหมายนั้นมีพัฒนาการ มีความเป็นมา อย่างน้อยที่สุด ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ที่มีงานวิจัยฉบับแรกออกมาโดยท่านอาจารย์มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในตอนนั้นก็พูดถึงการควรจะมีกฎหมายการรับรอง การแปลงเพศ หรือแม้กระทั่งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมากระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ได้ให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทำการวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมายรับรองเพศออกมาทั้งหมด ๔๔๐ หน้า ผมเชื่อมั่นครับ อยู่ในมือผม นาน ๆ จะ Save ลงมาเป็น e-Book สักทีหนึ่ง แต่ผมเชื่อมั่นว่าไม่มีคำถามใด ที่เพื่อนสมาชิกยังคลางแคลงใจอยู่ในวันนี้ และไม่มีคำตอบอยู่ในรายงานฉบับนั้น ถ้าท่าน ไม่เชื่อลองกลับไปอ่านดู หรือถ้าท่านเชื่อแบบใดแบบหนึ่งที่ผิดแผกไปจากนั้นก็คงเกินกำลัง ที่พวกผมจะสามารถเข้าไปพูดคุยได้ ผมรู้สึกประหลาดใจ ประการที่ ๒ ว่า ณ ขณะนี้เรากำลัง จะบอกให้มีการถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ โดยบอกถึงความไม่พร้อมและเป็นความไม่พร้อมที่ ท่านเอาพี่น้องประชาชนมาบังหน้า ท่านต้องกล้าพูดกันอย่างตรงไปตรงมา ถ้าต้องหงายการ์ด เหมือนหลายครั้งที่ผ่านมาว่าขออุ้มไปก่อน ๖๐ วัน ๑๕ วัน ๓๐ วัน ที่กฎหมายชาติพันธุ์ สภาชนเผ่าพื้นเมือง ท่านอุ้มไปเกิน ๖๐ วันแล้วนะครับ อย่าคิดว่าผมไม่รู้ อย่าคิดว่าผมไม่ดู ท่านส่งกลับมา ๑๖ กุมภาพันธ์ยังไม่มีการบรรจุวาระ กฎหมายเรื่องของเช็ค กฎหมายเรื่อง อื่น ๆ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ท่านก็อุ้มไปเกินแล้วนะครับ แล้วทำไมรอบนี้ไม่หงาย การ์ดอุ้มอีกล่ะครับ หรือทำไมรอบนี้ไม่หงายการ์ดว่าขอรออีกสักอาทิตย์หนึ่งได้ไหม เพราะ ขณะนี้ร่างของหน่วยงานรัฐบาลยังไม่มีเลย แต่ผมไม่รู้ว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงใดส่งเอกสารมา ให้ผมแล้วเขียนตรงนี้เป็นร่างของรัฐบาล อักษรย่อ พม. ไม่ใช่ลายมือพวกผมนะครับ ผมไม่รู้ว่า กระทรวงนี้ชื่อย่อกระทรวงใด ความจริงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่อักษรย่อ พม. ซึ่งเป็น เพื่อนสมาชิกเหมือนกับพวกเรา อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะต้องมาตอบคำถามในสภาแห่งนี้ว่า ความไม่พร้อมที่ท่านบอกว่าต้องขอรอไปก่อน ท่านไปพูดในห้องประชุมหนึ่งในวันจันทร์ ที่ผ่านมา ขอกรกฎาคมปี ๒๕๖๗ ท่านมาพูดอีกวันหนึ่งในการประชุมในวันอังคารที่ผ่านมา ขอมิถุนายนปี ๒๕๖๗ ตกลงเอาอย่างไรครับ อย่างไรครับ ท่านไม่เคยประชุมคณะรัฐมนตรี กันหรือครับ ท่านไม่เคยฟังนายกรัฐมนตรีแถลงเมื่อ ๒๖ ตุลาคมหรือครับ ว่าจะเร่งผลักดัน กฎหมายฉบับนี้ เสมือนว่าเราอยู่คนละโลกเดียวกัน และการ์ดที่ท่านเคยหงายวันนั้นทำไม่ได้ อีกแล้ว ท่านประธานดูตัววิ่ง นี่ผมไม่ได้สั่งการเจ้าหน้าที่นะครับ แต่จะชี้ประเด็น ท่านลองดู ดี ๆ นะครับ ขณะนี้เป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และ การคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ เดี๋ยวท่านคอยดูนะครับ เขาจะมีวงเล็บที่ใส่ ไว้ว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชน สตรี ความหมายคืออะไรครับ ความหมายคือ ตามข้อบังคับการประชุมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เช่น ข้อบังคับ การประชุม ข้อ ๑๒๔ นี่ท่านไปเอาออกได้อย่างไรครับตัววิ่งขอประทานโทษ เมื่อ ๑๐ นาที ที่แล้วตัววิ่งเขียนนะครับ กฎหมายนี้เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชน สตรี ท่านสอบสวนให้ผมนะครับ เจ้าหน้าที่ที่เอาออกไม่ถูกนะครับ ข้อ ๑๒๔ บอกว่ากรณีจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการจะต้องมีสัดส่วนของคนที่ทำงานในองค์กร เรื่องเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือใด ๆ ต่าง ๆ นี้จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของ จำนวนกรรมาธิการทั้งหมด อันนี้คือคำตอบว่าภาคประชาชนที่ท่านพูดถึงนั้นจะสามารถ เข้ามามีส่วนในการตัดสินใจ ท่านถามเขาสิครับว่าเขาไม่อยากรับหลักการกฎหมายฉบับนี้ หรือครับ เขาอยากรับครับ แต่อาจจะมีความเห็นแตกต่างกันในเชิงรายละเอียด ซึ่งไม่ได้ผิด ไปจากการรับหรือไม่รับหลักการกฎหมายฉบับอื่นซึ่งเคยเกิดขึ้นแต่ประการใด แต่ถ้าหาก ท่านใจกว้างจริง ซึ่งพวกผมยอมเอง พวกผมก็ใจกว้างมากพอว่าถ้าเราเห็นว่าเกรงว่าร่าง ภาคประชาชนจะไม่ถูกนำเสนอ ท่านก็เอาร่างภาคประชาชนมาให้เพื่อนสมาชิกเรา ๒๐ คน เซ็นชื่อเสนอสิครับ หรือท่านก็เอาร่างภาคประชาชนไปให้คณะรัฐมนตรีดูว่าหลักการแบบนี้ รับได้หรือไม่ ส่งมาสิครับ หรือเราก็ขยายจำนวนคณะกรรมาธิการที่จะมีการพิจารณา ผมแบ่ง สัดส่วนให้พี่น้องประชาชนจากองค์กรต่าง ๆ ความเป็นจริงก็เป็นคนที่ทำงานกับพวกเรามา โดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Intersex ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Non-binary พรรคก้าวไกลก็มี สัดส่วนเหล่านั้นอยู่แล้ว และพร้อมที่จะเพิ่มสัดส่วนเหล่านั้นเข้ามาในชั้นการพิจารณา มาร่วม เป็นกรรมาธิการด้วยกัน ฉะนั้นหลักการที่พรรคก้าวไกลเสนอนั้นคือหลักการที่บอกว่า เห็นควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความ หลากหลายทางเพศ หลักการของภาครัฐเท่าที่มีอยู่ในมือ ณ ขณะนี้เห็นว่าให้มีกฎหมาย ว่าด้วยการรับรองเพศ หลักการของภาคประชาชนที่มีการเข้าชื่อการรับฟังความคิดเห็น ต่าง ๆ นั้นก็ล้วนแต่อยู่บนบริบทของคำว่า เห็นควรให้มีกฎหมายรับรองเพศ หรือกฎหมายที่ รับรองอัตลักษณ์ทางเพศ ท่านประธานครับ แบ่งกันให้หยาบที่สุด แบ่งกันให้เข้าใจได้ง่าย ที่สุด เพศมี ๓ ระดับด้วยกัน เพศระดับที่ ๑ เราเรียกว่าเพศโดยสรีระหรือ Sex เพศในระดับ ที่ ๒ ก็คือเพศสภาพ เพศสภาวะหรือ Gender ซึ่งอยู่ที่เขาเลือกที่จะเป็น หรือไม่เป็นแบบใด หรือแม้กระทั่งเลือกที่จะไม่เป็นแบบใดแบบหนึ่ง เพศระดับที่ ๓ เราเรียกว่า Sexuality หรือ วิถีทางเพศ สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะเป็นเพศโดยสรีระ ซึ่งไม่อาจเลือกโดยตนเองได้แต่กำเนิด แต่อัตลักษณ์ทางเพศ วิถีทางเพศ รสนิยมทางเพศ หรือการเลือกที่อยากจะระบุตัวตนว่าฉันมี คำนำหน้าแบบใดประการใด ล้วนเป็นสิทธิในการเลือกของชีวิตร่างกายของตัวตนของเขา รัฐมีหน้าที่เพียงเรื่องการรับรองบุคคลเหล่านั้นครับ ด้วยความเคารพครับ ถ้าท่านเชื่อแบบเรา ว่าคนเราเท่ากันจริง ๆ แล้วเหตุใดท่านจะไม่เชื่อว่าเขามีสิทธิในการเลือกได้ ถ้าท่านเชื่อว่า บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศมีตัวตนจริง แล้วเพราะเหตุใดถึงจะไม่รับหลักการของ ร่างกฎหมายฉบับนี้ ถ้าท่านเชื่อว่าในเชิงรายละเอียดยังมีข้อคิดเห็นที่มีความแตกต่างกัน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่อาจจะมีการแก้ไข แต่ผมเชื่อในใจลึก ๆ ในส่วนตัว ผมเชื่อว่าท่าน อาจจะไม่ได้เชื่อแบบที่พวกผมเชื่อ แบบนั้นต่างหากคือเจตนาซ่อนเร้นที่ท่านต้องการล้ม กฎหมายฉบับนี้ แม้กระทั่งแค่การรับหลักการ พรรคก้าวไกลไม่มีอะไรต้องกังวล ไม่มีอะไร ต้องเสีย ไม่มีอะไรต้องเสียใจ เสียดายแต่เพียงว่าคนที่บอกว่ากำลังสู้เพื่อบุคคลผู้มีความ หลากหลายทางเพศนั้น ท่านเชื่อแบบเดียวกับพวกเราจริงหรือไม่ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สมาชิกทุกท่านได้อภิปรายแล้วนะครับ ต่อไปจะเป็นตามข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ครับ ท่านอนุสรณ์ประท้วงหรือครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตหารือท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านครับท่านประธาน ที่เคารพครับ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยครับ ผมขออนุญาต มี ๒ ดาบ ดาบแรกหารือก่อน ถ้าเกิดว่าการดำเนินการเป็นปัญหาผมจะขอใช้ สิทธิประท้วง ผมได้ฟังการอภิปรายแล้วไม่สบายใจ ผมเดินไปหาเจ้าหน้าที่ว่าถ้อยคำที่บอกว่า มีการตัดไป ฟังเสมือนหนึ่งว่ามีกระบวนการที่จะทำให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบ ถ้อยคำที่ว่า ถูกตัดไปนั้นคือถ้อยคำที่เขียนว่า เป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน และสตรี
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานช่วยกรุณาดูด้วย นะครับ เพื่อประกอบการอภิปรายของท่านอนุสรณ์ ข้อความเพิ่งกลับมานะครับ เมื่อสักครู่นี้ ตัดจริง ขอให้ท่านประธานตั้งกรรมการสอบด้วยนะครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
นี่ผมยังพูดไม่จบเลยนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เดี๋ยว ให้ท่านอนุสรณ์ก่อนนะครับ ขออนุญาตทีละท่าน เชิญท่านอนุสรณ์ต่อครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานวินิจฉัยได้ ถูกต้องครับ ขอบคุณครับ ข้อความที่หายไปที่ท่านอ้างเป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีสาระสำคัญ เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน และสตรี ซึ่งถูกตัดจริงครับ แต่ไม่ได้ถูกตัดเพื่อให้ความได้เปรียบรัฐบาล หรือให้ใครเสียเปรียบ ผมไปถามเจ้าหน้าที่ว่าตัดเพราะอะไร เจ้าหน้าที่ให้เหตุผล น่าเห็นใจ เจ้าหน้าที่ครับ เขาบอกว่าเขาขึ้นข้อความ ยินดีต้อนรับคณะผู้มาดูงาน เท่านั้นเองครับ ดังนั้น ผมจึงเรียนว่าการที่อภิปรายในลักษณะทำนองว่ามีการตัดถ้อยคำเพื่อให้เกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบ จึงไม่เป็นความจริงครับ ขอให้ถอนในประเด็นนี้ครับ และอีก ๑ ประเด็นกับการใช้ ถ้อยคำว่า รัฐบาลใช้ประชาชนบังหน้า ผมเห็นว่าเป็นการใช้คำพูดที่เล่นใหญ่เกินเบอร์เกินไป ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องแรก เท่าที่ผมฟังท่านณัฐวุฒิ ท่านไม่ได้บอกว่า ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ แต่เป็นการขึ้นหัวข้อกฎหมายที่ไม่ถูกต้อง อันนี้ก็คิดว่าผมเข้าใจไม่ผิดนะครับ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ได้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบแต่อย่างไร แต่เหตุผลที่ท่านอนุสรณ์พูดเป็นความจริงครับ ก็คือหน้าจอเราไม่พอก็เลยมีการตัดท่อนที่จะทำให้ขึ้นข้อความอันต่อไปไม่ได้ ส่วนข้อที่ว่า ใช้ประชาชนบังหน้า ท่านเห็นว่าต้องถอนนะครับ คำวินิจฉัยของผมคิดว่าไม่จำเป็นนะครับ ยังเป็นคำที่สามารถพูดได้ อาทิตย์ที่แล้วนี้เรามีทั้งชังชาติ หนักแผ่นดิน ล้มเจ้า หนักกว่านี้ เยอะเลยครับ เราก็ยังใช้สภาพูดคุยกันได้ ฉะนั้นผมขอความกรุณา คำนี้เป็นคำที่พูดได้นะครับ ขอบคุณครับ ต่อไปจะเป็นข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ผู้เสนอมีสิทธิอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่งครับ ท่านธัญวัจน์จะใช้สิทธิไหมครับ
นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ใช้ค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญ ท่านธัญวัจน์ ครับ
นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนของบุคคลผู้มีความ หลากหลายทางเพศ ธัญขอพูดถึงร่างกฎหมายที่เราได้ศึกษา ธัญต้องชี้แจงนิดหนึ่งเพราะว่า บางท่านก็อาจที่จะพูดในทำนองว่ากฎหมายยังไม่ได้รับฟังความคิดเห็นรอบด้านมากเพียงพอ ธัญคิดว่ารายงานการศึกษาฉบับนี้ ตั้งแต่สภาชุดที่แล้ว ธัญเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสภาชุดที่แล้ว เวลา ๔ ปี เรื่องรับรองเพศเป็นเรื่องที่ธัญติดตามมาตลอด เป็นเรื่องที่หลายฝ่าย มีความคิดเห็นสอดคล้องกันบ้าง ขัดแย้งกันบ้าง ธัญทราบเรื่องนี้ดีแล้วก็ติดตามมาตลอดค่ะ ร่างกฎหมายฉบับนี้ที่สุดแล้วสิ่งหนึ่งที่บุคคลกลุ่มชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศเห็นพ้อง ต้องกันก็คือหลักการของประเทศอาร์เจนตินาและประเทศมอลตา ซึ่งธัญจะขอสรุปตรงนี้ว่า Self Determination หรือเจตจำนงในการเลือกเพศของตนเองนั้นคืออะไร อัตลักษณ์ทางเพศ คือสำนึกทางเพศภายในของตนเองที่เขาต้องการดำเนินชีวิตของเขาให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ ทางเพศของเขาและเพศสภาพของเขา กลไกของกฎหมายที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกนี้คือประเทศ มอลตากับประเทศอาร์เจนตินา เราให้สิทธิของคนทุกคนในการเปลี่ยนคำนำหน้า โดยไม่มี เงื่อนไข นั่นหมายถึงว่าการเข้าถึงสิทธิในการเปลี่ยนคำนำหน้า ไม่ควรจะเป็นอุปสรรคใด ๆ ไม่ควรที่จะต้องมีใบรับรองแพทย์ ไม่ควรจะต้องมีนักจิตวิทยา หรือไม่ควรจะมีกระบวนการใด ๆ เพื่อที่จะบอกว่าพวกเขามีคุณสมบัติหรือไม่ เพราะเรื่องเพศฉันบอกของฉันเอง ฉันไม่ต้องการแพทย์ที่จะมาบอกว่า โอเคค่ะ ฉันเป็นกระเทย แพทย์วินิจฉัยว่าฉันเป็นกระเทย เวลาฉันไปหาแล้วบอกว่า ฉันเป็นกระเทย ไม่ใช่ ฉันเป็นกระเทยและรู้ตัวของฉันว่าฉันคือ กระเทย เราเดินไปได้เลย รัฐให้สิทธินั้นคุณ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ทันที เข้าใจว่าทางสังคม ก็อาจจะมองว่าสิ่งเหล่านี้สร้างข้อกังวลอะไรให้กับสังคม กฎหมายมอลตา อาร์เจนตินาให้สิทธิ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ของคนทุกคนที่จะเปลี่ยนเพศ แต่ในการเปลี่ยนครั้งที่ ๒ จะต้องผ่านศาลค่ะ เราไม่ได้พูดถึงบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศเท่านั้น ถ้าท่านกังวลในเรื่องผู้ที่จะใช้ กฎหมายดังกล่าวโดยทุจริต ถ้ามีผู้ชายคนหนึ่งต้องการที่จะใช้กฎหมายดังกล่าวทุจริต และไป เปลี่ยนคำนำหน้าเพื่อที่จะหนีทหาร ท่านคะ อัตลักษณ์ทางเพศและการดำรงชีวิตในเพศนั้น ผู้ชายคนนั้นเขาจะต้องเปลี่ยนกลับมาเป็นผู้ชายอีกครั้ง และศาลก็จะเห็นว่าคุณใช้กฎหมาย ดังกล่าวด้วยชอบหรือมิชอบ กฎหมายฉบับนี้และวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ไม่ส่งผลต่อบุคคลผู้มี ความหลากหลายทางเพศที่ต้องการแสดงเจตจำนง แต่จะส่งอุปสรรคให้กับคนที่ใช้กฎหมาย โดยมิชอบ เรื่องข้อกังวลของทางศาสนาของพรรคประชาชาติที่เมื่อสักครู่ได้ฟัง ขออนุญาต เอ่ยนามชื่อพรรคของท่าน ธัญยืนยันเหมือนกับสมรสเท่าเทียมว่าธัญมีความเข้าใจเรื่อง ดังกล่าว และท่านก็จำเป็นที่จะต้องยืนขึ้นและเพื่อชุมชนที่เลือกท่านเข้ามาสู่สภาแห่งนี้ แต่ Gender Recognition หรือกฎหมายรับรองเพศนี้เป็นสิ่งที่รัฐให้กับประชาชนในฐานะรัฐ รัฐให้สิทธิประชาชนในพื้นที่ของประเทศไทย เพราะว่าอะไร กลับไปที่ธัญได้พูดก่อนหน้านี้ Gender คือสิ่งที่สังคมประกอบสร้าง และเราประกอบสร้างเพียงแค่ ๒ เพศ แต่วันนี้เราจะ เปลี่ยนมันสู่ความหลากหลาย ความเชื่อท่านจะเป็นอย่างไร เราไม่ลบหลู่ เราไม่รบกวน เราเคารพในสิ่งที่ท่านยึดถือ แต่ธัญยืนยันว่ากฎหมาย Gender Recognition การรับรอง เพศนั้นเราให้เพศในฐานะที่รัฐรับรองสิทธิเขาในฐานะเพศที่เขาต้องการที่จะกำหนดเจตจำนง ร่างกฎหมายฉบับนี้ที่ท่านบอกว่าอาจจะต้องพิจารณารายละเอียดอย่างรอบด้าน ธัญก็ต้องขอ ชี้แจงว่าร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวธัญได้รับฟังความคิดเห็นมา ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม แพทยสภา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และอีกหลากหลายหน่วยงานที่มาให้ข้อมูลในเรื่องของสาธารณสุข เรื่องการออกแบบ นโยบายเพศที่เหมาะสม เรื่องการจ้างแรงงาน กฎหมายแรงงาน เรื่องการศึกษา นี่ค่ะคือเล่มนี้ ถ้าท่านบอกว่าจำเป็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ท่านคิดว่าธัญได้เขียนลงไปอย่าง ชัดเจนแล้วว่าผู้ที่รับรองเพศในฉบับดังกล่าวและเปลี่ยนคำนำหน้าจะต้องได้สิทธิตามเพศใด และไม่ได้สิทธิในประเด็นเฉพาะใด รวมถึงท่านมองเห็นการรับรองเพศนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน หรือไม่ หากธัญย้อนกลับไปที่ท่านอภิปรายครั้งแรกคือ วันนี้จากในอดีตที่ผ่านมาเรามีการ ผลิตซ้ำ ความเป็น ๒ เพศมาช้านานตั้งแต่ในอดีต วันนี้การที่เราจะมาพูดถึง ๆ เรื่องเพศ หลากหลาย สังคมก็อาจจะยังมีความไม่เข้าใจ มีความกังวล ซึ่งธัญเองก็ได้รับกระแสตอบรับ แล้วก็เข้าใจ แต่นั่นเป็นเพราะว่าเราอยู่ในระบบ ๒ เพศ ถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกไปจะเปลี่ยนแปลงอะไร จะเปลี่ยนแปลงโรงเรียนของเรา จะเปลี่ยนแปลง หลักสูตรเพศของเราว่าเราไม่ควรที่จะเรียนเรื่องของชายหญิงเท่านั้น เราควรจะต้องมีความ เข้าใจความหลากหลายทางเพศ และเด็กที่เติบโตมาที่เขาเป็นเพื่อนกัน ที่เขาอาจจะมีความ หลากหลาย มีความไม่เข้าใจกัน เพราะสิ่งที่เราพร่ำสอนว่าโลกเรามีแค่ ๒ เพศ เด็กเหล่านั้น ก็จะมีความเข้าใจกันมากขึ้น โลกเราจะเปลี่ยนตั้งแต่วัยเด็กเลยค่ะ เด็กจะเติบโตและได้รับ การยอมรับ และพัฒนาตัวตนเป็นศักยภาพเป็นแรงสำคัญของประเทศมากกว่าที่จะต้องมา ต่อสู้ถึงความไม่เท่าเทียมและต่อสู้เพื่อบอกตัวตนว่าฉันคือเพศอะไรและไม่มีการยอมรับ ทำไม เราไม่ผลักดันสิ่งเหล่านี้และเติมเต็มความเป็นมนุษย์ให้กับเขาจากกฎหมายที่เราควรจะต้อง ผ่านวาระที่ ๑ โลกเราจะเปลี่ยนไปอย่างไร ที่ทำงานก็จะมีการโอบรับความหลากหลายทางเพศ ท่านทราบใช่ไหมคะ กลุ่มคนข้ามเพศนั้นเป็นกลุ่มคนที่ถูกเกลียดชัง ถูกเลือกปฏิบัติ อย่างที่ ท่านจะจินตนาการไม่ออก ท่านมีเพื่อนที่เรียนจบปริญญาโท เรียนเก่ง ทำงานเก่ง เป็นผู้หญิง ข้ามเพศไปสมัครงานได้รับการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ได้รับคำพูดที่เข้าใจว่าเขาใช้คำว่า อ้าวน้องไม่ใช่ผู้หญิงจริง ๆ หรือ ธัญถึงบอกว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้คือความจริง มันไม่ใช่มีผู้หญิงจริง ผู้หญิงไม่จริงค่ะ เพราะพวกเราคือวิทยาศาสตร์ แล้วท่านต้องไม่ลืมว่า Gender คือสิ่งที่พวกเราสร้างเอง แล้วทำไมรัฐถึงจะให้พวกเขาไม่ได้ ท่านทราบไหมคะ เขาหางานอยู่ ๕ ปีไม่มีเงิน และท่านทราบไหมคะว่าเขาต้องบินไปต่างประเทศเพื่อทำงาน ที่เขาไม่อยากทำ วันนี้เราต้องคืนสถานะ ถ้ารัฐเราให้การรับรองสิทธิให้เขาเดินทางไป ต่างประเทศ ให้เขามีสิทธิ มีศักดิ์มีศรีเหมือนกับชายหญิงทั่วไปมันจะยากเย็นสักแค่ไหนกัน เพียงแค่ว่าเรายอมรับสิ่งที่เราผิดพลาดมาหรือเปล่าว่าเรามองแค่ผู้ชาย ผู้หญิง และมอง ไม่เห็นความหลากหลาย พวกเราอยู่ในสถานะที่เป็นคนที่เบี่ยงเบนในสังคม หลาย ๆ ท่าน อาจจะมีความกังวลนะคะ ธัญเข้าใจเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดคุยกันยังไม่เป็นวงกว้าง แต่เชื่อธัญ เถอะค่ะว่ากระเทยไม่ได้น่ากลัว อย่ากลัวพวกเราเลย ลองหยิกแก้มดูได้ว่าพวกเราไม่ใช่ผีค่ะ ทำไมท่านถึงกลัวคนที่จะเปลี่ยนคำนำหน้า ท่านอ้างเรื่องอาชญากรรม ถามว่าอาชญากรรม คืออะไร ท่านมีลายนิ้วมือ มีบัตรประชาชนที่เป็น Number ๑๓ หลักอยู่แล้ว ถ้าท่านกังวล เรื่อง Safe Space ของเพศเฉพาะ ร่างกฎหมายของพรรคก้าวไกลก็มีบทบัญญัติที่ครอบคลุม ให้ทุกคนปลอดภัยในพื้นที่เฉพาะเพศที่ป้องกันไม่ให้บุคคลมิชอบใช้กฎหมายโดยมิชอบเข้า เรามีการคำนึงอย่างรอบด้าน ธัญรู้สึกเสียใจเหลือเกินที่การขับเคลื่อนของภาคประชาชน ต่างหากที่ขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ทุกคนทำงานอย่างหนัก แต่วันนี้สภาบอกว่าสภา ยังไม่พร้อม เรากำลังจะก้าวเข้าสู่การ Bidding Inter Pride จริงหรือเปล่าคะ เรากำลังจะให้ ท่านนายกรัฐมนตรีก้าวไปสู่เวทีโลกพูดเรื่องสิทธิมนุษยชนจริงหรือเปล่าคะ อย่ากังวล อย่ากลัวค่ะ เราเป็นมนุษย์เหมือนกัน เราเพียงแค่เรียกร้องในสิ่งที่รัฐไม่เคยประกอบสร้าง Gender ให้กับพวกเรา เราเรียกร้องความเป็นธรรม เราเรียกร้องความเป็นปกติ เราเรียกร้อง เพศสภาพและเพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศของเรา เพราะสิ่งเหล่านี้คือสิทธิมนุษยชนที่เรามี สิทธิที่จะดำเนินชีวิตตามเจตจำนงเพศของเราค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ที่ประชุมครับ เนื่องจากการอภิปรายครบถ้วนแล้ว แล้วผู้เสนอญัตติ พ.ร.บ. ก็สรุปแล้ว ต่อไปจะเป็นการลงมติ เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ได้กดสัญญาณเรียกในห้องกรรมาธิการ นานพอสมควรนะครับ ฉะนั้นผมขอตรวจสอบองค์ประชุมครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอเชิญสมาชิกใช้สิทธิแสดงตนครับ โปรดเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตนครับ
นายวันนิวัติ สมบูรณ์ ขอนแก่น ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ วันนิวัติ ๓๓๓ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๓๓๓ ครับ
นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ ขอแสดงตนค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๔๐๓ แสดงตนครับ ตัวเลขยังไม่นิ่ง เรารอสักครู่นะครับ มีท่านใดยังไม่ได้ใช้สิทธิไหมครับ
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ สิทธิพล ๔๑๘ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๔๑๘ ครับ
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ยอดชาย ๒๙๐ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒๙๐ ครับ
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน กฤษฐ์หิรัญ ๐๑๐ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
หมายเลขอะไรนะครับ
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
๐๑๐ ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๐๑๐ ครับ คิดว่าทุกคนได้ลงครบถ้วนแล้ว ขอปิดการแสดงตนครับ เจ้าหน้าที่แสดงผลครับ จำนวนผู้เข้าประชุมเป็น ๔๐๑ ท่าน บวก ๕ ท่าน องค์ประชุมครบ ๔๐๖ ท่านครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ต่อไป จะเป็นการลงมติครับ ผมขอถามมติจากที่ประชุมว่าจะรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... หรือไม่ ขอเชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดเห็นควรรับหลักการ โปรดกดปุ่ม เห็นด้วย ผู้ใดเห็นควรว่าไม่ควรรับหลักการ โปรดกดปุ่ม ไม่เห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่าควรงดออกเสียง โปรดกดปุ่ม งดออกเสียง ครับ
นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ ไม่เห็นด้วยค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๔๐๓ ไม่เห็นด้วยครับ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญท่านปกรณ์วุฒิครับ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ขอหารือนิดหนึ่งครับ คือตอนนี้จอภาพที่แสดงว่ามีผู้แสดงตนแล้วทั้งหมดกี่ท่าน ด้านหน้า บัลลังก์นี้ไม่สามารถใช้งานได้ ผมก็อาจจะมีความสงสัยนิดหน่อยครับว่า ตกลงเรา Check ได้ไหมครับว่าตัวเลขที่โชว์กับตัวเลขที่กดจริงมันตรงกันหรือไม่ เพราะว่าปกติมันก็ใช้ได้ อยู่ตลอด แล้วก็สามารถเดินไปตรวจสอบได้ตลอดว่ามีผู้แสดงตนกี่คนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เข้าใจว่ามีการหารือตอนช่วงเช้าตอนลงมติครั้งแรกแล้วนะครับ ถ้าหน้าจอทางด้านฝ่ายค้าน ใช้ไม่ได้ ทางด้านขวานี้ดูได้นะครับ น่าจะมีปัญหาเฉพาะจุดครับ
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล พรรคก้าวไกล ๔๑๘ รับหลักการครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๔๑๘ รับหลักการนะครับ
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ยอดชาย ๒๙๐ รับหลักการครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒๙๐ รับหลักการครับ ใช้สิทธิครบถ้วนแล้วนะครับ ขอเชิญเจ้าหน้าที่แสดงผลครับ ขอปิดการ ลงคะแนนครับ จำนวนผู้ลงมติ ๔๑๐ บวก ๓ เห็นด้วย ๑๕๒ บวก ๒ ไม่เห็นด้วย ๒๕๖ บวก ๑ งดออกเสียง ๑ ไม่ลงคะแนนเสียง ๑ ครับ ที่ประชุมมีมติไม่รับหลักการในวาระนี้ครับ
นางทิพา ปวีณาเสถียร ลำปาง ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ โหวตเห็นด้วย ๑๕๒ ค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
บันทึก ย้อนหลังไว้นะครับ
นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ๐๘ เห็นด้วยครับ เมื่อสักครู่นี้กดไม่ทันครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
บันทึก ไว้ครับ ขอบคุณนะครับ ผมขอเข้าสู่ระเบียบวาระต่อไปเลยนะครับ ๕.๒
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญท่านณัฐพงษ์ครับ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับ ก่อนที่ท่านประธานจะดำเนินการ ประชุมเข้าสู่ระเบียบวาระต่อไป ผมขออนุญาตเสนอญัตติตามข้อบังคับ ข้อ ๕๕ (๒) เรื่อง ขอให้รวมระเบียบวาระการประชุมที่เป็นเรื่องเดียวกัน ทำนองเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อพิจารณาพร้อมกัน เนื่องจากว่าผมเองเป็นทั้งผู้เสนอ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน ที่เรากำลังจะ พิจารณาในวาระต่อไป แล้วก็เป็นผู้ที่เสนอร่างประมวลกฎหมายที่ดินที่เป็นการแก้ไขปัญหา ในเรื่องทำนองเดียวกัน ก็คือเรื่องที่หน่วยงานของรัฐควรจะต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาถนน หนทาง ทางเท้า ให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนได้ ไม่ว่าที่ดินนั้นจะเป็นที่ดินใน พ.ร.บ. จัดสรร หรือเป็นที่ดินนอก พ.ร.บ. จัดสรร หรือที่ดินตามชุมชนต่าง ๆ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เดี๋ยว ขอผู้รับรองญัตติก่อนนะครับ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญท่านณัฐพงษ์ต่อครับ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในความคิดเห็นของผม นะครับท่านประธาน ขออนุญาตเสนอเหตุผลประกอบการเสนอญัตติดังต่อไปนี้ ในช่วง สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับฝั่งสำนักการประชุมแล้วก็เจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าใจว่าทางฝั่ง สภาได้ใช้การตีความแบบเคร่งครัดไว้ก่อนเพื่อเห็นว่าเป็นคนละร่างพระราชบัญญัติกันนะครับ แล้วก็หลักการเป็นคนละหลักการกันแน่นอน ก็เลยแยกระเบียบวาระออกจากกัน แต่ว่า จากที่ผมได้หารือจากทางฝั่งข้าราชการประจำ ก็ได้นำเรียนตัวผมเองว่าตามข้อบังคับใช้คำว่า เรื่องทำนองเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมาในสภาชุดที่แล้วก็เคยมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ คนละร่าง อย่างเช่น พ.ร.บ. คู่ชีวิต แล้วก็ พ.ร.บ. ประมวลแพ่งพาณิชย์ อย่างเช่น เรื่องของ สมรสเท่าเทียม ๒ ร่างพระราชบัญญัติในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกันก็สามารถทำได้ ผ่านมาแล้ว เพราะเป็นเรื่องทำนองเดียวกัน ดังนั้นเพื่อให้การพิจารณาของสภามี ประสิทธิภาพ แล้วก็ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่เราสามารถพิจารณาไปพร้อมกันได้ เพื่อแก้ไขปัญหา ให้กับพี่น้องประชาชนทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินในจัดสรรหรือที่ดินนอกจัดสรรก็ตาม อยากจะให้สภาแห่งนี้ได้พิจารณาเพื่อที่จะรวมระเบียบวาระเอาประมวลที่ดินที่ผมเป็นผู้เสนอ มารวมเข้ากับ พ.ร.บ. จัดสรร ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ตอนนี้ มีร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน ๒ ร่าง ของท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แล้วก็ของ ท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ซึ่งประกบกันแล้วเป็นร่างทำนองเดียวกัน แต่ท่านณัฐพงษ์ เสนอเพิ่มเติมว่าจะให้นำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลที่ดิน ซึ่งอยู่ในอีกวาระหนึ่ง มาร่วมด้วยนะครับ ตรงนี้ทางสมาชิกมีท่านใดขัดข้องไหมครับ เชิญท่านศรัณย์ครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ผมต้องขออนุญาตว่าผมก็ได้ มีการพูดคุยประเด็นนี้ แล้วก็ได้มีความเป็นห่วงจากทางฝ่ายกฎหมายเองแล้วก็ทางสำนักเอง ว่าการจะนำร่างพระราชบัญญัติที่ถึงแม้จะบอกว่ามีจุดมุ่งหมายหรือมีเป้าหมายหลักการ คล้ายกัน แต่เป็นร่างพระราชบัญญัติคนละฉบับกัน เกรงว่าจะมีปัญหาที่จะนำมาพิจารณา พร้อมกัน เพราะฉะนั้นผมจึงไม่เห็นด้วยที่จะให้นำมารวม เพราะว่าร่างพระราชบัญญัติที่เรายกขึ้นมานี้ เป็นเรื่องการจัดสรรที่ดิน ซึ่งอันนี้ขึ้นมารวมด้วยความที่เป็นกฎหมายเดียวกันและหลักการ คล้ายคลึงกันอันนี้ขึ้นมาร่วมด้วยความที่เป็นกฎหมายเดียวกันและหลักการคล้ายคลึงกัน แต่อีกร่างหนึ่งที่ต้องขออภัยที่เอ่ยนาม ท่านณัฐพงษ์ จะขอนำขึ้นมาประกบนั้นเป็นร่าง ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นกฎหมายคนละส่วนกัน ผมจึงมองว่าไม่ควรจะนำมารวมกัน ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
สมาชิกได้ศึกษาหลักการเหตุผลของทั้งหมดแล้วใช่ไหมครับ เพราะถ้ามี ๒ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ในเรื่องของการร่วมวาระ ก็จำเป็นที่จะต้องลงมติครับ มีท่านใดแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ไหมครับ ถ้าไม่มี ผมขอให้มีการลงมตินะครับว่าจะเห็นชอบตามญัตติที่ท่านณัฐพงษ์เสนอ หรือไม่ ในการนำระเบียบวาระที่ ๕.๕ และวาระที่ ๕.๑๓ มาพิจารณาพร้อมกับระเบียบวาระ ที่ ๕.๒ และระเบียบวาระที่ ๕.๓ หรือจะเห็นด้วยกับท่านศรัณย์ว่าไม่สมควรให้มีการนำเข้ามา พิจารณาพร้อมกัน ก่อนลงมติผมขอตรวจสอบองค์ประชุมครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอเชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิแสดงตน เสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตนครับ
นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ
ท่านประธาน ๔๐๓ แสดงตนค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๔๐๓ ใช้สิทธิแสดงตนนะครับ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ปกรณ์วุฒิ ๒๐๒ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒๐๒ แสดงตนนะครับ
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ยอดชาย พึ่งพร ๒๙๐ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒๙๐ ครับ ใช้สิทธิแสดงตนครบถ้วนแล้วนะครับ ขอเจ้าหน้าที่แสดงผลครับ จำนวน ผู้เข้าประชุม ๓๘๙ บวก ๓ เป็น ๓๙๒ ครบองค์ประชุมครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ต่อไป จะเป็นการลงมติ ผู้ใดเห็นชอบกับญัตติของท่านณัฐพงษ์ ให้มีการรวมระเบียบวาระที่ ๕.๕ และระเบียบวาระที่ ๕.๑๓ มาพิจารณาพร้อมกับระเบียบวาระที่ ๕.๒๕ และระเบียบวาระที่ ๕.๓ โปรดกดปุ่ม เห็นด้วยครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานนิดเดียวครับ ด้วยความเคารพครับ คำถามของท่านประธานไม่ตรงกับที่ท่านณัฐพงษ์เสนอครับ นิดเดียวครับ ท่านประธาน ณัฐวุฒิ บัวประทุม บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลครับ ท่านประธานครับ ที่ท่านณัฐพงษ์เสนอนั้นเป็นการเสนอขอให้รวมระเบียบวาระเฉพาะระเบียบวาระที่ ๕.๑๓ แต่ไม่ได้รวมกรณีของระเบียบวาระที่ ๕.๕ เนื่องจากเราเข้าใจดีว่าระเบียบวาระที่ ๕.๕ นั้นมี ความแตกต่างกันในเชิงหลักการครับ ฉะนั้นคำถามต้องเป็นลักษณะว่าระเบียบวาระที่ ๕.๑๓ นั้นสามารถรวมพิจารณากับระเบียบวาระที่ ๕.๒ และระเบียบวาระที่ ๕.๓ ได้หรือไม่ครับ เพื่อไม่ให้ผิดพลาดในการถามครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านไม่มีอะไรท้วงติงนะครับ ก็คือเป็นของท่านณัฐพงษ์ท่านเดียว ผมขอถาม อีกครั้งนะครับ ที่ประชุมจะมีมติเห็นชอบให้รวมระเบียบวาระที่ ๕.๕ เพื่อนำมาพิจารณา พร้อมกับระเบียบวาระที่ ๕.๒ และระเบียบวาระที่ ๕.๓ หรือไม่ครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานด้วยความเคารพ ไม่ตรงครับ ต้องระเบียบวาระที่ ๕.๑๓ ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขออภัยครับ ขอถามมติจากที่ประชุม จะเห็นชอบกับให้รวมระเบียบวาระที่ ๕.๑๓ เพื่อนำมา พิจารณาพร้อมกันกับระเบียบวาระที่ ๕.๒ และระเบียบวาระที่ ๕.๓ หรือไม่ครับ ท่านใด ที่เห็นด้วยกดปุ่ม เห็นด้วย ผู้ใดไม่เห็นด้วยกดปุ่ม ไม่เห็นด้วย ผู้ใดงดออกเสียงกดปุ่ม งดออกเสียง ครับ
นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ
ท่านประธาน ๔๐๓ ไม่เห็นด้วยค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๔๐๓ ไม่เห็นด้วยครับ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ปกรณ์วุฒิ ๒๐๒ เห็นด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒๐๒ เห็นด้วยนะครับ ไม่มีจอนี่ลำบากนะครับ ดูวิ่งกันไกลเลย ช่วยแก้ไขจอให้ด้วยนะครับ
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ยอดชาย พึ่งพร ๒๙๐ เห็นด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒๙๐ เห็นด้วยนะครับ ตอนนี้จอใช้ได้ปกติแล้ว ท่านใดยังไม่ได้ลงมติไหมครับ ครบแล้ว นะครับ ผมขอปิดการลงคะแนนครับ เจ้าหน้าที่แสดงผลครับ จำนวนผู้ลงมติ ๔๐๓ บวก ๓ เห็นด้วย ๑๕๓ บวก ๒ ไม่เห็นด้วย ๒๔๙ บวก ๑ งดออกเสียง ๑ ไม่ลงคะแนนเสียง ๐ ครับ ที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วยให้มีการนำระเบียบวาระอื่นเข้ามาประกบนะครับ ขอดำเนินการ ตามเดิมนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๕.๒ ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
และเนื่องจากมีร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ คือร่าง พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ เพราะฉะนั้นจะเป็นการนำระเบียบวาระทั้ง ๒ ข้อมาพิจารณารวมกัน และลงมติ ในคราวเดียว ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๑๗ วรรคสาม มีสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ ถ้าไม่มี ขอดำเนินการตามนี้ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมา เพื่อพิจารณา ตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๑๓ (๒) ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้จัดให้มี การรับฟังความคิดเห็นรายงานผลกระทบตามมาตรา ๗๗ และเสนอนะครับ ซึ่งในเอกสาร ทั้งหมดได้นำเสนอการรับฟังเรียบร้อยแล้ว และได้แจกเอกสารที่ได้วางไว้กับสมาชิก ขอเจ้าหน้าที่ดูเรื่องของเอกสารให้พร้อมด้วยนะครับ ที่ประชุมครับ ต่อไปจะเป็นการเสนอ หลักการและเหตุผล ท่านแรกท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ท่านที่ ๒ ท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ผมขอความสงบในที่ประชุมด้วยนะครับจะได้มีการเสนอญัตติ แล้วก็ไม่รบกวน เพื่อนสมาชิกที่กำลังอภิปราย เชิญท่านณัฐพงษ์ครับ ท่านปกรณ์วุฒิ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขออนุญาตหารือ ท่านประธานสั้น ๆ ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญครับท่านครับ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ผม ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมคิดว่าในช่วง ๒-๓ สัปดาห์ที่ผ่านมาผมสังเกตหลายครั้งนะครับ โดยเฉพาะในช่วงที่สมาชิก เดินเข้าห้องเยอะ ๆ หรือว่าโหวตเสร็จแล้วเดินออกจากห้อง เสียงไมโครโฟนของผู้ที่อภิปราย ท่านสุดท้ายของญัตติที่แล้วกับท่านแรกของญัตติถัดไปแทบไม่ได้ยินเลยครับ ผมต้องบอก อย่างนี้ว่าผมเข้าใจนะครับว่า ไม่ได้กล่าวหาว่าท่านสมาชิกมีเจตนาที่จะพูดคุยเสียงดังเพื่อ รบกวนท่านอื่น เพียงแต่ว่าสภาพของห้องนี้เวลาพูดคุยกันแม้ว่าจะเบาก็ตามมันจะสะท้อน ค่อนข้างดังมาก ดังนั้นผมคิดว่าท่านประธานอาจจะต้องกำชับเพื่อนสมาชิกด้วยว่าเวลา เดินเข้าเดินออกอาจจะต้องออกไปคุยกันด้านนอกก่อน เพราะว่าถ้าเพื่อนสมาชิกหลายท่าน คุยกันเองเบา ๆ เสียงเบา ๆ หลาย ๆ คนรวมกันมันก็รบกวนเสียงของผู้อภิปรายได้เช่นกัน แล้วก็เข้าใจดีอีกครั้งนะครับ ผมก็ไม่ได้กล่าวหา ผมก็เข้าใจดีว่าทุกท่านก็พูดเสียงดังครับ แต่ด้วยสภาพห้องมันทำให้เสียงทั้งหมดรวมกันแล้วมันดังรบกวนครับท่านประธาน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อันนี้ก็เหมือนที่ท่านสมาชิกให้ความเห็นเรื่องของเสียงในห้องประชุมนะครับ ก็หารือในการแก้ไขหลายรอบแล้วครับ แต่ปรากฏว่าหลังคากับการออกแบบที่เป็นโดม แบบโรงละครมันทำให้เปิดลำโพงดังมากไม่ได้ แล้วก็ผมเคยไปนั่งฟังอยู่ด้านหลัง สมาชิก ด้านหลังแทบไม่ได้ยินเลยใช่ไหมครับ ไม่รู้จะแก้อย่างไรจริง ๆ เพราะว่ามันติดที่การออกแบบ ของอาคาร เพราะฉะนั้นต้องขอความร่วมมือสมาชิกรักษาความสงบด้วยนะครับ เพื่อนสมาชิกที่อภิปรายจะได้ยินได้ฟังกันอย่างครบถ้วนเนื้อหาสาระ แต่ผมว่าอย่างไรเราก็ ต้องแก้ปัญหาเสียงให้ได้สักวัน คงไม่ได้ยากเกินกว่า Sound Engineer ที่เรามี แต่ว่า ขออนุญาตว่าไม่สามารถแก้เร็ว ๆ นี้ได้ เพราะต้องอาศัยความรู้พอสมควร ผมขอเชิญ ท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ครับ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อ พรรคก้าวไกลครับ ท่านประธานครับ ผมเชื่อว่าวันนี้จะมีผู้แทนราษฎรจากทั้ง ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้แทนแบบแบ่งเขตที่จะลุกขึ้นอภิปรายในเรื่อง ของปัญหาพ่อแม่พี่น้องประชาชน ปัญหาในพื้นที่ ปัญหาถนนหนทาง ทางเท้า ไฟฟ้าส่องสว่าง การระบายน้ำ ที่มีปัญหาและหน่วยงานภาครัฐไม่สามารถเข้าไปดำเนินการแก้ไขให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือเป็นที่ดินตาม พ.ร.บ. จัดสรรที่อยู่ในโครงการจัดสรรต่าง ๆ แต่ผม อยากจะย้ำเพื่อนสมาชิกผ่านท่านประธานไปครับว่าจริง ๆ ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้มีแค่เฉพาะใน หมู่บ้านจัดสรรเพียงเท่านั้น ตามที่ผมได้นำเรียนไปในญัตติเมื่อสักครู่จริง ๆ มีทั้งปัญหาตาม ชุมชนต่าง ๆ รวมถึงที่ดินที่อยู่บนที่ดินของรัฐวิสาหกิจ อย่างเช่น การรถไฟที่ในกรุงเทพมหานครก็มีที่ดินหลายชุมชนที่ใช้ถนนหนทางต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ บนที่ดินของรัฐวิสาหกิจ ที่ทำให้กรุงเทพมหานครในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐที่อยู่ใกล้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนมากที่สุด ไม่สามารถลงไปดำเนินการ แก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จึงเป็นที่มาญัตติสักครู่ผมได้นำเสนอให้ขอรวมระเบียบวาระในเรื่อง ของการแก้ไขประมวลที่ดินเข้ามารวมพิจารณาพร้อมกับญัตติในวาระนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นอะไรครับ ในเมื่อสภามีมติว่าไม่รวมระเบียบวาระ ผมก็จะขออภิปรายเฉพาะในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับตัวร่าง พ.ร.บ. จัดสรร ท่านประธานครับ ผมอาจจะใช้เวลาไม่นาน แล้วเดี๋ยว อาจจะให้ทางเพื่อนสมาชิกส่วนที่เหลือทุก ๆ ท่านได้ลุกขึ้นชี้แจงปัญหาให้เห็นภาพรวมว่า ปัญหานี้ใหญ่ขนาดไหน ในแต่ละปี ๆ มีโครงการหมู่บ้านจัดสรรที่มีการก่อสร้างขึ้นใหม่จำนวน หลายหมื่น Unit หรือคิดเป็นจำนวนโครงการก็หลายร้อยหลายพันโครงการ แต่ถ้าเรา ย้อนกลับไปดูสถิติการจัดตั้งนิติบุคคลจากกรมที่ดินจะเห็นว่าต่อปีมีการจัดตั้งนิติบุคคล สำเร็จเพียงแค่หลัก ๑๐๐ หลัก ๒๐๐ โครงการเท่านั้น สิ่งนี้แสดงให้เห็นครับว่าในเชิงสถิติ การจัดตั้งนิติบุคคลสามารถจัดตั้งได้สำเร็จแทบจะไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนโครงการ จัดสรรทั้งประเทศ ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้จัดสรรที่ดินหรือเจ้าของโครงการไม่ได้เข้าไป บำรุงรักษาสาธารณูปโภคอย่างดีเพียงพอ ทำให้ลูกบ้านเกิดความเดือดร้อนมากมาย เต็มไปหมดทั่วทั้งประเทศ จึงเป็นที่มาที่ทำให้ผมขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.จัดสรร ที่ผมเป็นผู้เสนอนี้เพียงแค่ ๒ ประเด็น หลัก ๆ ด้วยกัน ๒ ประเด็นหลัก ๆ นี้ก็คือแก้ไข เพิ่มเติมในมาตรา ๔๔ (๑) แล้วก็ ๔๔/๑ ครับ ทำไมผมถึงแก้ไขเพียงแค่ ๒ มาตรานี้ครับ เพื่อต้องการเพิ่มอำนาจการต่อรองของลูกบ้านให้มีอำนาจต่อรองที่เทียบเท่ากับเจ้าของ โครงการนะครับ ปัญหาของโครงการหมู่บ้านจัดสรรนี้เป็นปัญหาที่ลงรายละเอียดยิบย่อย เยอะแยะเต็มไปหมดครับท่านประธาน ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างไม่ตรงแบบ การปล่อยให้ โครงการทิ้งร้าง ไม่มีการบำรุงรักษา การจัดตั้งนิติบุคคลไม่ได้ เนื่องจากลูกบ้านไม่สามารถ รวมเสียงกันเกินกึ่งหนึ่งได้ หรือแม้แต่มีการแบ่งเฟสหลาย ๆ เฟสในการก่อสร้าง บางทีเฟส หน้าก่อสร้างเสร็จ เฟสหลังยังก่อสร้างไม่เสร็จ เจ้าของโครงการก็ไม่อยากที่จะเรียกให้มีการ จัดตั้งนิติบุคคลในเฟสหน้า เพราะต้องการใช้ทางเข้าออกผ่านไปยังเฟสหลังถัด ๆ ไป ปัญหา เหล่านี้มีเป็นร้อยเป็นพันที่ผมคิดว่าเราไม่มีทางที่จะ List หรือว่าเขียนกฎหมายให้ครอบคลุม ทุกประเด็นได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องของการสร้างอำนาจต่อรองให้ลูกบ้านมีอำนาจต่อรองทัดเทียม กับเจ้าของโครงการครับ จึงเป็นที่มาที่ผมได้มีการระบุไปในมาตรา ๔๔ (๑) ที่มีการแก้ไข เพิ่มเติมเพื่อตีกรอบเวลาครับว่าเจ้าของโครงการหมู่บ้านจัดสรร เมื่อใดก็ตามที่เจ้าของได้ขาย โครงการไปเกินกึ่งหนึ่งของโครงการแล้ว เขาจะต้องมีการเรียกให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลทันที ภายในกรอบระยะเวลา ๓ ปี เมื่อพ้นกรอบระยะเวลา ๓ ปีแล้ว ถ้าเจ้าของโครงการยังไม่มี การเรียกให้มีการจัดตั้งนิติบุคคล ก็สามารถใช้ช่องทางตามมาตรา ๔๔/๑ ที่ลูกบ้านเกิน กึ่งหนึ่งสามารถรวมเสียงกันเพื่อขอจัดตั้งนิติบุคคลได้เองนะครับ เพราะฉะนั้น ๒ มาตรานี้ ประกอบกันจึงเป็นการสร้างอำนาจต่อรองให้กับลูกบ้านที่จะมีอำนาจในการต่อรองให้กับ เจ้าของโครงการที่จะต้องเร่งรัดให้ก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว หรือจะต้องมีการก่อสร้าง ให้ถูกแบบ บำรุงรักษาให้ดี เพื่อที่เจ้าของโครงการเองก็จะได้ถอนเงินค้ำประกันออกจาก กรมที่ดินได้นะครับ เป็นที่มาที่ผมคิดว่าเพียงแค่ ๒ มาตรานี้เป็นหัวใจหลัก ๆ แต่อย่างไร ก็ตามผมอยากจะอภิปรายสนับสนุนของร่างอีกร่างหนึ่งของเพื่อนสมาชิกครับ คือร่างของ ท่านธีรรัตน์ จริง ๆ ต้องบอกว่าร่างของท่านธีรรัตน์ก็มีประเด็นในส่วนที่ให้ลูกบ้านเกินกึ่งหนึ่ง สามารถเรียกจัดตั้งนิติบุคคลได้เองครับ แต่มีประเด็นอื่น ๆ ที่ครอบคลุมยิ่งกว่า ยกตัวอย่าง อย่างเช่น ในเรื่องของการที่บอกว่าถ้าลูกบ้านไม่สามารถรวมเสียงกันได้เกินกึ่งหนึ่งสามารถ ร้องขอไปที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดิน เพื่อให้คณะกรรมการสั่งว่าใช้เสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ในการขอจัดตั้งนิติบุคคลก็ได้ หรือมีช่องทางที่บอกว่าถ้าลูกบ้านแสดงเจตจำนงว่าต้องการ จะโอนให้เป็นสาธารณประโยชน์สามารถระบุได้ตั้งแต่ตอนที่เซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย ก็คือตั้งแต่ตอนที่ซื้อบ้านเลยนะครับ ถ้ามีการระบุว่าต้องการจะโอนให้เป็นสาธารณประโยชน์ เกินกึ่งหนึ่งตั้งแต่ตอนจะซื้อจะขาย ก็ให้ถือว่าหลังจากที่เจ้าของโครงการได้พ้นสภาพการดูแล แล้วก็ให้โอนเป็นของสาธารณประโยชน์ได้ทันทีอัตโนมัตินะครับ ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่ไม่ว่าจะเป็น สส. จากฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลก็เห็นประเด็นปัญหาตรงกันที่คิดว่าประเด็นโครงการหมู่บ้าน จัดสรรเป็นประเด็นที่พ่อแม่พี่น้องเจอปัญหากันทั่วทั้งประเทศนะครับ ดังนั้นถ้ายังเป็นไปได้ ผมคิดว่าจากการศึกษาในที่ประชุมวิปฝ่ายค้านมีตัวแทนจากกรมที่ดินมาชี้แจง ท่านรองอธิบดี เองก็มาชี้แจงด้วยตนเองนะครับ ที่บอกว่าร่างที่กรมที่ดินมีกับมือค่อนข้างสอดคล้องกับ หลักการในร่างของผมนะครับ เพราะฉะนั้นวันนี้ผมคิดว่าสภาเองก็สามารถที่จะลงมติรับ หลักการทั้ง ๒ ร่างไปได้เลย เพราะอย่างที่ผมได้นำเรียนว่าร่างของผมตรงกับร่างของทาง หน่วยงาน ผมก็คิดว่าร่างของทางท่านธีรรัตน์ก็เป็นร่างที่ครอบคลุมมากกว่า ก็คือรองรับร่าง ของผมด้วย แล้วก็มีมาตรการต่าง ๆ ที่ดียิ่งขึ้นกว่าด้วย เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการแก้ไข ปัญหาให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชน ผมคิดว่าสภาเราสามารถที่จะรับหลักการทั้ง ๒ ร่างไปได้ ก่อนนะครับ แล้วก็ให้กรมที่ดินเจ้าของร่างเขามาแก้ไขเพิ่มเติมในชั้นระเบียบวาระที่ ๒ ได้ เพราะว่าได้รับทราบเสียงสะท้อนมาว่าตามมติวิปรัฐบาลอาจจะขอให้คณะรัฐมนตรีรับทั้ง ๒ ร่างกลับไปพิจารณาก่อน ซึ่งถ้าตีกรอบภายในระยะเวลา ๖๐ วัน ผมก็เกรงว่าอาจจะไม่ทัน ปิดสมัยประชุมนี้ แล้วจะทำให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งเป็นการแก้ไข ปัญหาให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนทั่วทั้งประเทศต้องล่าช้าออกไปอีก ไม่ต่ำกว่าครึ่งปี ก็ขออภิปรายแสดงหลักการและเหตุผลรวมถึงการให้เหตุผลสนับสนุนว่าอยากจะให้สภา ผู้แทนราษฎรของเรารับหลักการผ่านทั้ง ๒ ร่างภายในวันนี้เลย ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ครับ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉัน ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทยค่ะ ดิฉันก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่ขออนุญาตท่านประธานในการที่จะเสนอ ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... พร้อมกับคณะ ให้สู่สภาผู้แทนราษฎร ให้พวกเราได้ร่วมกันพิจารณาอย่างที่ทางท่านผู้เสนอ ท่านณัฐพงษ์ได้กล่าวเมื่อสักครู่ว่าเรามี ความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในเรื่องของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ท่านณัฐพงษ์ ขออนุญาต ที่เอ่ยนามผิดนะคะ ซึ่งหลักการในส่วนของการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ การจัดสรร ที่ดิน พ.ศ. .... นี้ ที่ดิฉันได้มีการแก้ไขเราพบเห็นตรงกันว่ามีส่วนที่จะต้องแก้ไขในเรื่องของ การกำหนดให้มีคำนิยามคำว่า เจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ กำหนดหลักเกณฑ์การพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภค ของผู้จัดสรรที่ดินและการให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรหรือการอุทิศทรัพย์สินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งประชาชนโดยทั่วไปใช้สอย ร่วมกันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔๔
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กรณีปรากฏว่าคะแนนเสียงของผู้ซื้อที่ดินที่จัดสรรประสงค์จะให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังและโครงการค่ะ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔๕/๑
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกี่ยวกับการบำรุง รักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะในที่ดินจัดสรรเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๕๓/๑
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเพื่อคุ้มครองผู้ซื้อที่ดิน จัดสรรมิให้ได้รับผลกระทบจากการที่ผู้จัดสรรที่ดินละเลย หรือทอดทิ้งไม่บำรุงรักษา สาธารณูปโภค ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้เป็นการเพิ่มเติมมาตรา ๕๓/๒
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๖ มีการกำหนดให้นำหลักเกณฑ์การพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษา สาธารณูปโภคของผู้จัดสรรที่ดิน การอุทิศทรัพย์สินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์และ มาตรการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัตินี้มาบังคับใช้แก่ การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยอนุโลมนะคะ อย่างที่เราได้กล่าวถึงสภาพปัญหาไปว่าเราได้พบเห็นตรงกัน ดิฉันเองในฐานะผู้แทนของกรุงเทพมหานคร รวมถึงผู้สมัครในฐานะตัวแทนของทั้ง พรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานครเราประสบพบปัญหาเดียวกัน นั่นก็คือเราไม่สามารถที่จะเข้าไปดูแลพี่น้องที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรนี้ได้ค่ะ นี่เป็นเหตุผลที่ ดิฉันจะขออนุญาตกล่าวต่อที่ประชุม โดยการที่จัดสรรที่ดินในปัจจุบันยังมีปัญหาเกี่ยวกับ การจัดตั้งนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร และการจัดการการบำรุงรักษาทรัพย์สินอันเป็น สาธารณูปโภคให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตลอดจนยังขาดหน่วยงานและ มาตรการในการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรร หรือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการ จัดสรรที่ดินอย่างเหมาะสม จึงสมควรให้กำหนดหลักเกณฑ์การพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษา สาธารณูปโภคของผู้จัดสรรที่ดินและการให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติ บุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือการอุทิศทรัพย์สินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ซึ่งประชาชน โดยทั่วไปใช้สอยร่วมกันได้ กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกี่ยวกับการ บำรุงรักษาสาธารณูปโภคและการบริการสาธารณะที่ดินจัดสรร รวมถึงอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดเพื่อคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่ให้ได้รับผลกระทบจาก การที่ผู้จัดสรรที่ดินละเลยหรือทอดทิ้งไม่บำรุงรักษาสาธารณูปโภค จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ค่ะ ท่านประธานคะอย่างที่ดิฉันได้กราบเรียนไปว่าเรามีการกำหนดนิยาม เพิ่มเติมขึ้นมาในเรื่องของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่จะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่เข้ามาดูแลหลังจากที่มีการ ยกที่ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์แล้ว ดิฉันจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขในหลาย ๆ มาตรา ด้วยกัน แต่ดิฉันจะขอเรียนดังนี้ว่าสิ่งที่เราได้นำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่เราได้หยิบยกกันขึ้นมา ปัญหานี้เราพบมาโดยตลอดตั้งแต่ดิฉันได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เรามีความพยายามที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ข้อบัญญัติต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการที่จะทำให้พวกเราสามารถดูแลพี่น้องประชาชนได้ ต้องยอมรับค่ะไม่ว่าจะเป็นพี่น้องที่อยู่ในชุมชนต่าง ๆ พี่น้องที่อยู่ในหมู่บ้านหรือแม้แต่พี่น้อง ที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นประชาชนที่พวกเราจะต้องดูแล โดยการที่ให้ได้รับ การสนับสนุนจากทางภาครัฐอย่างดีที่สุด ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่ดิฉันเองทำหน้าที่สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ในวันนั้นเราได้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการบังคับใช้ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และหามาตรการแก้ไขปัญหาการบำรุงรักษาที่ดิน การพัฒนา ทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกันในพื้นที่ส่วนบุคคลและพื้นที่เอกชนทั่วประเทศ นี่คือรายงานฉบับที่ออกมาเป็นผลจากการประชุมกรรมาธิการวิสามัญในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ดิฉัน ยังติดตามการทำงานถึงความคืบหน้าต่าง ๆ มาโดยตลอด แล้วก็ได้รับฟังปัญหาของพี่น้อง ประชาชนมาตลอดโดยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเมื่อน้ำท่วมในหมู่บ้านจะทำ อย่างไร ภาครัฐจะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างไร เพราะที่ผ่านมาเมื่อมีปัญหาเกิดน้ำท่วม ในหมู่บ้านขึ้น แต่หมู่บ้านนั้นยังเป็นพื้นที่เอกชนอยู่ ภาครัฐไม่สามารถเข้าไปได้เลยค่ะ หรือ แม้แต่เวลาที่มีปัญหาเรื่องของไฟฟ้าส่องสว่าง ถ้าหากว่าไม่มีตัวแทนที่เป็นนิติบุคคลของ หมู่บ้านในการที่จะไปประสานการทำงานหรือการดูแลรับผิดชอบแล้ว ก็ไม่มีหน่วยงานใด สามารถที่จะเข้าไปทำงานได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นดิฉันจึงคิดว่าถ้าหากว่าเรายังปล่อยให้ ปัญหานี้มีต่อไปก็จะทำให้พี่น้องประชาชนไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จึงเป็นที่มาของ การแก้ไขในพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย ซึ่งความแตกต่างของพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน ของปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เราจะพบว่าผู้ที่เป็นผู้จัดสรรที่ดินจะมีอำนาจเพียงฝ่ายเดียวในการที่จะ จัดตั้งนิติบุคคล ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจะไม่สามารถที่จะขอทำเรื่องในการจัดตั้งเป็นนิติบุคคล หรือว่าจะทำให้พื้นที่นั้นได้รับประโยชน์จากทางภาครัฐได้เลย แต่ในการที่เราแก้ไขฉบับนี้ มีการกำหนดระยะเวลา รวมถึงสัดส่วนของผู้ที่เป็นผู้ซื้อที่ดินที่จัดสรรแล้วด้วยว่าสามารถที่จะ ลงชื่อร่วมกัน หรือแม้แต่ถ้าหากว่าอยากที่จะให้ทางผู้จัดสรรที่ดินได้ทำการจัดตั้งนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรรทางผู้ซื้อที่ดินจัดสรรก็สามารถที่จะใช้สิทธิในเรื่องนั้นได้ และถ้าหากว่าเรามี การกำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แล้ว ถือว่าเป็นหน้าที่ตามกฎหมายอาญาที่เราจะต้องถือเป็นบังคับใช้นะคะ ทีนี้จะทำให้กฎหมายมี ความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นถ้าหากว่าเราได้แก้ไขในกระบวนการเหล่านี้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วก็รอบคอบค่ะ แต่กระนั้นค่ะท่านประธานเมื่อเราได้มีการรับฟังความคิดเห็นจาก หน่วยงาน ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ก็เป็นทางกรมที่ดินจากกระทรวงมหาดไทยนะคะ ได้ประสานมาทางสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็เข้ามาชี้แจงให้พวกเราทราบว่าในขณะนี้ทาง กระทรวงมหาดไทยเองก็ได้มีร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินแก้ไขในเรื่องนี้อยู่ด้วย เหมือนกันค่ะ แล้วก็มีความสอดคล้องกับร่างของทางท่านณัฐพงศ์ แล้วก็ทางเรื่องที่เราได้ กำลังปรึกษากันอยู่ แล้วก็ยังได้กรุณาให้ข้อมูลว่าในเงื่อนไขที่ติดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ สัดส่วนของผู้ที่เป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแล้วอาจที่จะไม่ต้องเป็นกึ่งหนึ่งก็ได้ นั่นก็หมายความว่า เงื่อนไขในการที่จะจัดตั้งเป็นนิติบุคคลสามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว แล้วก็เป็นประโยชน์กับ ผู้อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้นค่ะ ทางวิปรัฐบาลได้แจ้งว่าในส่วนของการพิจารณาในวันนี้จะมีทาง ครม. มาขอรับเรื่องที่จะนำไปศึกษาประกอบกับร่างของทางรัฐบาลที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันให้มี ความสอดคล้อง แล้วก็ได้รับฟังความคิดเห็นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ดิฉันคิดว่าถ้าหากว่า เป็นไปในกรอบนี้จริง ไม่เกิน ๖๐ วัน นำไปดูถึงความเรียบร้อยและนำกลับเข้าสู่สภาให้เร็ว ที่สุด ไม่ต้องถึง ๖๐ วันก็ได้นะคะ ถ้าหากว่าดูแล้วมีความสอดคล้องไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน และจะส่งกลับมาโดยให้ทางท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ตรวจสอบ ความถูกต้อง ดิฉันก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างมากค่ะ สิ่งหนึ่งที่ทาง เพื่อนสมาชิกของพวกเราที่ได้เคยรับฟังปัญหามา ที่พี่น้องประชาชนได้เคยมาร้องเรียน เราไม่เคยนิ่งนอนใจ แล้วเราก็คิดว่าถ้าหากว่าการแก้ไขนั้นเป็นไปอย่างเป็นระบบ เราเอง ที่เป็นผู้แทนราษฎรสามารถประสานหน่วยงาน นำงบประมาณเข้าไปพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ได้ เพราะต้องยอมรับค่ะ ในกรุงเทพมหานครเองหรือแม้แต่ในจังหวัดต่าง ๆ ที่เป็นหัวเมือง ใหญ่ ๆ มีหมู่บ้านจัดสรรที่ถูกทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก แล้วก็ไม่สามารถที่จะตามหาเจ้าของ หมู่บ้านเจอด้วยนะคะ บางทีพยายามติดต่อหลายครั้งก็ไม่ได้รับการติดต่อกลับมาเลย สภาพหมู่บ้านกลายเป็นหมู่บ้านร้างก็มีทั้ง ๆ ที่ยังมีคนอาศัยอยู่ ตรงนี้ดิฉันคิดว่าถ้าหากว่า เราได้ร่วมกันแก้ไข พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... นี้ให้ประสบความสำเร็จ ปัญหาของพี่น้องประชาชนก็จะถูกแก้ไขโดยเร็วค่ะ ซึ่งในรายละเอียด ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของข้อเสนอแนะหรือว่าสิ่งที่ยังเป็นความกังวลใจของพี่น้องประชาชนเดี๋ยวจะมี เพื่อนสมาชิกท่านต่อ ๆ ไปในพรรคเพื่อไทยรวมถึงพรรคร่วมรัฐบาลได้กรุณานำเสนอสู่สภา แล้วก็เราเองก็จะนำข้อมูล ข้อเสนอแนะเหล่านั้นส่งต่อไปถึงคณะรัฐมนตรีด้วย เพื่อที่จะ หาทางในการที่จะทำให้กฎหมายฉบับนี้สามารถบังคับใช้ได้โดยที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับ พี่น้องประชาชน แล้วก็ไม่สร้างปัญหาใหม่ หรือว่าจะไปทำให้กระทบกับกฎหมายฉบับอื่น ๆ ด้วย จึงเป็นที่มาว่าเรามาร่วมกันพิจารณาในวันนี้ก็ยังรับฟังความคิดเห็นจากทุก ๆ ท่านด้วย เพื่อที่จะให้มีความเข้าใจที่สอดคล้องแล้วก็ตรงกัน นำมาซึ่งการแก้ไขของพี่น้องประชาชนให้ ปัญหาหมดไปอย่างเร็วที่สุดค่ะ จึงเป็นที่มาของการเสนอร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ฉบับนี้ เรียนท่านประธานค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านสมาชิกที่ลงชื่อขออภิปรายก็ ๑๐ กว่าท่านนะครับ ท่านแรก เชิญท่านนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ ครับ
นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับท่านประธาน เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม นนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จังหวัดนนทบุรี เขต ๘ บางบัวทอง ไทรน้อย วันนี้ ขอร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งมีผู้ยื่นเพื่อ ปลดล็อกปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนมาอย่างยาวนานนะครับ คนกลุ่มนี้คือ คนกลุ่มที่ครอบครองที่อยู่อาศัยบนที่ดินจัดสรรประเภทต่าง ๆ ทั้งหมู่บ้าน ที่ดินตัดแปลงขาย เป็นโครงการต่าง ๆ คนเหล่านี้หรือไม่ก็ถูกปฏิเสธการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ในระดับท้องถิ่น ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นที่ดินเอกชน ผมในฐานะผู้แทนราษฎรแบบเขต จังหวัด นนทบุรีลงพื้นที่ไปพบปะพี่น้องประชาชน ทั้งหมด ๘ ตำบล ของอำเภอบางบัวทองและอำเภอไทรน้อยที่ผมเป็นผู้แทนราษฎร กลับพบกับปัญหาความ ยากลำบากของประชาชนและน้ำตาของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิเสธ การเยียวยาจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบำรุงรักษาถนนหนทาง การขยายเขต น้ำประปา หรือเกิดภาวะวิกฤติอย่างน้ำท่วมในฤดูฝน คนเหล่านี้ถือเป็นประชาชนคนไทยที่มี บัตรประชาชน มีสิทธิขั้นพื้นฐานเหมือนกันทุกคน แต่ในเมื่อเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มันไม่ สามารถโอนเป็นที่ดินสาธารณะได้หรือสาธารณประโยชน์ เท่ากับว่าเขาอาจจะต้องถูกตัดขาด จากประเทศไทยเลยหรือไม่ ทีนี้เรามาดูปัญหากัน เดี๋ยวขอสไลด์ขึ้นนิดหนึ่งนะครับฝ่ายโสต
นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ
อันนี้เป็นภาพนะครับ ภาพนี้จะอยู่ ที่ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย ตรงนี้เขาเรียกว่าที่ดินสวนเกษตร โครงการลักษณะนี้มันจะมี เยอะแยะมากมายในไทรน้อย พื้นที่ไทรน้อยก็มี บางบัวทองก็มี มีการแบ่งแปลงขาย แล้วก็ ทำเป็นโครงการ มีถนน มีไฟให้เรียบร้อย เป็นโครงการเมื่อ ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๓๐ ปีที่แล้ว แต่ไม่ว่าถนนหนทางจะใช้ตัดผ่าน ใช้สัญจรในโครงการ จนท้ายสุดที่ตรงนั้นถึงจะตกเป็นที่ ภาระจำยอมเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะให้ภาครัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาดำเนินการบรรเทาทุกข์บำรุงสุขได้ เห็นไหมครับว่าถนนพอมันเกิดน้ำท่วมมันก็ต้องถึงขั้น ใช้เรือกัน เนื่องด้วยเหตุผลนี้ก็คือไม่อยากถูกยกเป็นที่สาธารณประโยชน์ พอฤดูฝนทำให้ เห็นภาพทั้งน้ำท่วมระดับหัวเข่าถึงขั้นพายเรือดังในภาพนะครับ ทีนี้ไม่พอครับ จะขอร้องให้ ท้องถิ่นมาช่วยเหลือหรือแม้กระทั่งเรื่องของการสูบระบายน้ำออกจากถนนก็ไม่สามารถทำได้ ด้วยเหตุผลเดิมครับ ไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์จนชาวบ้านต้องลงขันช่วยเหลือเงิน ช่วยเหลือแล้วก็มาควักทุนตัวเองเพื่อดูแลตัวเอง ขอภาพถัดไปครับ อันนี้เป็นอีกจุดหนึ่ง เหมือนกันที่อยู่ในตำบลบ้านคูรัด อำเภอบางบัวทอง เห็นไหมครับว่าภาพนี้เป็นสถานที่รับน้ำ ซึ่งเต็มถนนผุพัง ท่อแตก ขับรถไปเห็นเป็นน้ำท่วมจริง รถตกไปหลายคันแล้ว ประปาก็ ไม่มีใช้เนื่องจากไม่สามารถขยายเขตได้ ต้องพ่วงน้ำจากถนนใหญ่คือถนนวัดลาดปลาดุก ไปเกือบครึ่งกิโลเมตร ชาวบ้านต้องอยู่กันอย่างยากลำบาก ทุกอย่างล้วนต้องพึ่งพาตัวเอง งบประมาณเงินกระเป๋าตัวเอง ด้วยเหตุผลเดิมครับ ไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ นี่ยังไม่ได้ นับกรณีหมู่บ้านที่ถูกทิ้งร้างอย่างนิติบุคคล เห็นไหมครับนี่จะเป็นนิติบุคคลที่มีความล่มสลาย ไปแล้ว แม้กระทั่งไฟทางเพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชน ลูกเล็กเด็กแดงที่เลิกเรียนแล้ว ต้องเดินกลับบ้านเข้ามาในหมู่บ้าน ท้องถิ่น อบต. เทศบาล ก็ยังไม่สามารถเข้าไปบรรเทาทุกข์ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนได้ ด้วยการให้เหตุผลว่ายังไม่ได้ยกเป็นที่สาธารณประโยชน์ อีกเช่นเคย ตัวอย่างที่ผมยกมาเป็นเรื่องจริงยิ่งกว่าละคร มีแต่ความลำบาก ความทุกข์ยาก น้ำตาที่กลั้นเอาไว้ของพี่น้องประชาชนชาวไทย ชาวไทรน้อย บางบัวทอง ผมเข้าใจผู้นำ ท้องถิ่น ผู้นำ อปท. ต่าง ๆ ถึงเหตุผลที่ไม่กล้าจะเอางบหลวงมาดูแลพี่น้องประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบ ที่ไม่ได้อยู่ในที่สาธารณประโยชน์ เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะถ้าเขาทำเขา อาจจะต้องโดน สตง. เข้ามาตรวจสอบ โดน ป.ป.ช. เล่นงาน แม้เขาจะมีความประสงค์ดี ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ไม่ได้ให้รับความเดือดร้อน แบบนี้ใครเขาจะกล้าช่วยเหลือ ประชาชนครับ ถ้าสิ่งที่เขาทำต้องโดนเรียกเงินคืน บางกรณีถึงขั้นต้องติดคุกติดตะรางจาก การกระทำดังกล่าว ท้ายที่สุดผมก็ต้องขอขอบพระคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ๒ ท่าน ที่เห็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และได้ทำการยื่นแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดินในสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ฉะนั้นผมจึงขออนุญาตสนับสนุน พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านนพดล ทิพยชล เชิญครับ
นายนพดล ทิพยชล นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ อำเภอปากเกร็ด พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินที่เสนอโดยเพื่อนสมาชิก พรรคก้าวไกล คุณณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และเพื่อนสมาชิกพรรคเพื่อไทย เพื่อสะท้อนถึง ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในจังหวัดนนทบุรี ในฐานะที่ผมเป็นตัวแทนของ พี่น้องประชาชนคนนนทบุรีครับ ท่านประธานครับผมและประชาชนในนนทบุรีเฝ้ารอ พ.ร.บ. แก้ไขการจัดสรรที่ดินฉบับนี้ว่าเมื่อไรจะได้นำเข้ามาพิจารณาเข้าสู่สภาสักที เพราะเป็นปัญหา เรื้อรังในหลายหมู่บ้านและหลายชุมชนครับ ซึ่งผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนมา ครั้งใด ผมก็ได้แต่เพียงตอบว่า ท้องถิ่นไม่สามารถแก้ไขให้ท่านได้แน่นอน เพราะว่ากฎหมาย ของประเทศเรายังเป็นแบบนี้อยู่ ซึ่งพรรคก้าวไกลเราทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชน และก็ได้ยื่น พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินเข้าสภาไปแล้วรอเข้าสู่วาระการพิจารณา วาระที่ ๑ ในสภาแห่งนี้ ท่านประธานครับ ปัญหาไม่ได้มีแค่เรื่องที่ดินที่อยู่ในพื้นที่จัดสรร เท่านั้นนะครับ ที่ดินนอกพื้นที่จัดสรรก็มีปัญหามากเช่นกัน ดังนั้นหากจะแก้ไขปัญหาให้ ครอบคลุมปัญหาของพี่น้องประชาชนในทุกมิติ นอกจาก พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินฉบับนี้ ผมยัง หวังว่ายังมี พ.ร.บ. ประมวลกฎหมายที่ดินอีกฉบับของพรรคก้าวไกล เพื่อเพิ่มอำนาจให้ ท้องถิ่นสามารถแก้ปัญหาที่ดินนอกพื้นที่จัดสรรให้ประชาชนได้ และหวังว่าจะได้รับการ พิจารณาควบคู่กับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ไปพร้อม ๆ กันด้วยครับ ท่านประธานครับ ผมเป็น ผู้แทนราษฎรของประชาชนอำเภอปากเกร็ด ตำบลบางพูด ตำบลบ้านใหม่ ตำบลคลองเกลือ และตำบลบางตลาด ซึ่งพื้นที่ทั้ง ๔ ตำบลนี้เป็นเมืองที่มีความแออัดของประชากรมากที่สุด ของจังหวัดนนทบุรีครับ แน่นอนครับสิ่งที่ตามมาคือปัญหาที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่จัดสรร และก็นอกพื้นที่จัดสรร พี่น้องประชาชนได้ร้องเรียนเข้ามาที่ผมเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่ง ครอบครัวผมเองครับก็หนีไม่พ้นเป็นผู้ประสบภัยเช่นเดียวกับพี่น้องประชาชน มารดาผม ซื้อบ้านอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ๑๐ ปีแล้ว ปัจจุบันยังไม่สามารถตั้งนิติบุคคลได้เลย ทั้งที่เจ้าของโครงการได้จำหน่ายบ้านหลังสุดท้าย หมดไปนานตั้งแต่ ๕-๖ ปีที่แล้ว เพียงเหตุผลเดียวครับ เพราะทางบริษัทผู้จัดสรรที่ดินยังไม่มี ความประสงค์จะให้ผู้ที่ซื้อบ้านทำการจัดตั้งนิติบุคคลครับ เหตุผลเดียวเท่านั้นเองที่ยัง ไม่สามารถจัดตั้งนิติบุคคลได้ ผลปรากฏว่าเป็นอย่างไรครับตอนนี้ระบบสาธารณูปโภค เละเทะหมดครับ ไม่มีการทำข้อตกลง ไม่มีการร่างกฎกติกา การอยู่ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน ใครอยากต่อเติมบ้านก็ทำตามใจตัวเองโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อเพื่อนบ้านข้างเคียง อยากนำขอมาวางไว้หน้าบ้าน อยากนำของมาวางไว้ข้างบ้านนอกพื้นที่ของตัวเองก็ทำกันตาม อำเภอใจ รถขยะก็ Indy มากครับ อยากมาเก็บวันไหนก็มา อาทิตย์ไหนไม่อยากมาเขาก็ ไม่มา ทำงานตามเสียงด่าของพี่น้องประชาชนในหมู่บ้าน ไฟถนน ท่อระบายน้ำก็รอกันอย่าง เลื่อนลอยว่าเมื่อไรทางเจ้าของโครงการจะมาแก้ปัญหาให้ กรณีต่อไปครับผมได้รับเรื่อง ร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนที่อยู่อาศัยในซอยต้นสน ๑๑ อยู่ที่ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด ถนนในซอยนี้ยังเป็นดินลูกรังอยู่เลย และที่สำคัญไม่มีท่อระบายน้ำด้วย คราวนี้พอฝนตก วิบากกรรมก็มาเยือนครับ นอกจากถนนจะเป็นหลุมเป็นบ่อแล้วน้ำก็ยังท่วมขัง เพราะว่าไม่มี ท่อที่จะระบายน้ำ ประชาชนต้องทนอยู่กันแบบนี้มากกว่า ๒๐ ปี ร้องเรียนไปที่เทศบาลตั้งแต่ ปี ๒๕๖๔ เทศบาลก็ไม่สามารถนำงบประมาณเข้ามาดำเนินการได้ เนื่องจากช่วงปากซอย มีพื้นที่แค่ประมาณ ๑๐ เมตรที่เป็นพื้นที่ของเอกชน แค่ ๑๐ เมตรนี้ทำให้ประชาชนเดือดร้อน กันไปทั้งซอยทั้งชุมชนครับ ไปต่อกันครับที่หมู่บ้านพบสุขที่ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด ทีนี่ประชาชน ๆ กว่า ๓๐๐ ครัวเรือนต้องจมอยู่กับปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมากว่า ๒๐ ปีครับ เนื่องจากแนวท่อน้ำทิ้งของชุมชนได้รอดผ่านถนนไปในที่ดินของเอกชนก่อนที่จะปล่อยออก สู่คลองบางตลาด อันนี้เป็นปัญหาที่ผู้จัดสรรที่ดินใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายหลีกเลี่ยงตั้งแต่ ในอดีตที่เขาทำจัดสรรที่ดินขาย คือไม่นำแนวท่อน้ำทิ้งของชุมชนนี้เข้าไปในโครงการจัดสรร หลังจากนั้นก็นำที่ดินแปลงนี้ออกไปขายในเวลาต่อมา ทำให้เทศบาลไม่สามารถนำ งบประมาณมาดำเนินการลอกท่อในพื้นที่ดินของเอกชนให้ได้ ท่านประธานครับความจริงยัง มีอีกหลายชุมชนที่ได้ร้องเรียนมาที่ผม แต่เนื่องจากเวลาวันนี้มีจำกัดเหลือเกินก็ขอสะท้อน ปัญหาและความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนของชาวปากเกร็ดเพียงเท่านี้นะครับ สรุปครับ พ.ร.บ. แก้ไขการจัดสรรที่ดินฉบับนี้จะช่วยแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้ใน ๓ ประเด็น หลัก ๆ ดังนี้
นายนพดล ทิพยชล นนทบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ ช่วยบังคับกรอบเวลา ให้โครงการหรือผู้จัดสรรที่ดินต้องเรียก จัดตั้งนิติบุคคลภายใน ๓ ปี โดยที่นับตั้งแต่ขายไปแล้ว ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของโครงการ
นายนพดล ทิพยชล นนทบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ กรณีที่โครงการยังไม่เรียกจัดตั้งนิติบุคคล ให้อำนาจลูกบ้าน เข้าชื่อกันเกินกึ่งหนึ่งขอตั้งนิติบุคคลได้เลย ซึ่งในปัจจุบันต้องรอทางโครงการแจ้งความ ประสงค์ให้ผู้ซื้อบ้านจัดตั้งนิติบุคคลเท่านั้น
นายนพดล ทิพยชล นนทบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ในกรณีที่รัฐบาลไม่มีความประสงค์บำรุงรักษาพื้นที่จัดสรรเอง ภายหลังจัดตั้งนิติบุคคลแล้วก็สามารถโอนเป็นสาธารณะประโยชน์ได้เช่นกันครับ
นายนพดล ทิพยชล นนทบุรี ต้นฉบับ
ดังนั้นผมขอร่วมสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินฉบับนี้ที่เสนอโดย เพื่อนสมาชิกพรรคก้าวไกลและผู้ร่วมเสนอจากพรรคเพื่อไทย และยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสภา จะรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดินอีกฉบับที่เสนอโดย พรรคก้าวไกลเข้ามาพิจารณาร่วมกันไปด้วยในคราวเดียวกันนี้เช่นกันครับ ขอบคุณครับ ท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอปิดรับรายชื่อผู้อภิปรายนะครับ ต่อไปท่านชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ เชิญครับ
นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ กระผม ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยครับ วันนี้ผม ขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่มีการนำเข้ามาพิจารณาทั้ง ๒ ฉบับ โดยเฉพาะร่างของ สส. ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทยครับ ท่านประธานครับปัญหาเรื่องการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ตลอดจน การจัดการเรื่องการบำรุงรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งไฟฟ้าแสงสว่าง การจัดการขยะ การซ่อมบำรุงถนน ทางระบายน้ำ ต้นไม้ ตลอดจนพื้นที่ส่วนกลางต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นควบคู่กับการขายโครงการบ้านจัดสรร เป็นปัญหาที่สร้างความทุกข์ร้อนให้ พี่น้องประชาชนในหลายโครงการหลายครอบครัวครับ ผมเห็นว่าการตรากฎหมายเพื่อตั้ง เกณฑ์เพื่อคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมิให้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเลยทอดทิ้ง โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้พัฒนาโครงการ รวมไปถึงศักยภาพในการบริหารจัดการขององค์การ บริหารส่วนท้องถิ่นที่อาจต้องเข้ามาบริหารจัดการแทนเป็นเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการพูดคุย และสร้างกรอบแนวทางในการดำเนินการที่ชัดเจนครับ ผมขอสไลด์นะครับ
นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
โดยปกติแล้วกรรมสิทธิ์ ในที่ดินส่วนกลางและหน้าที่ในการดูแลสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายใต้โครงการที่มีการ ขออนุญาตจัดสรรจะสามารถอยู่ได้ใน ๓ ลักษณะครับ ครอบคลุมผู้มีส่วนร่วม ๓ กลุ่ม หรือ ๓ Stakeholder ตามแผนภาพ โดยเริ่มต้นเลยก่อนที่จะเริ่มจัดสรรโครงการที่ดิน กรรมสิทธิ์เหล่านี้จะเป็นของผู้พัฒนาโครงการ หรือเจ้าของโครงการ แล้วก็มีการขายที่ดิน จัดสรร หากมีการขายมากเพียงพอในระดับหนึ่งก็จะมีการนัดประชุมเพื่อจัดตั้งนิติบุคคล โครงการ หลังจากการจัดตั้งนิติบุคคลโครงการก็จะมีการโอนถ่ายทรัพย์สินส่วนกลางให้เป็น กรรมสิทธิ์ของนิติบุคคลหรือว่าเป็นของผู้ซื้อเข้ามาร่วมกันบริหารจัดการ กลุ่มผู้ซื้อผู้อยู่อาศัย ที่ร่วมกันบริหารจัดการนี้ก็มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลร่วมกัน แล้วก็ต้องมีการจ่ายเงิน ค่าส่วนกลางและจ้างบริษัทที่เข้ามาบริหารจัดการครับ แต่ท้ายที่สุดแล้วหากไม่สามารถดูแล ร่วมกันได้อาจจะมีการพิจารณายกทรัพย์สินส่วนกลางนี้ให้เป็นสาธารณประโยชน์หรือก็คือให้ มีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาดูแลแทน แล้วก็เปิดให้เป็นสาธารณะเข้ามาใช้งานได้ หลักคิดจริง ๆ เรียบง่าย มีแค่ ๓ ส่วน เคลื่อนจาก Developer ไปเป็นนิติบุคคลโครงการ แล้วก็ไปเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ที่บริหารโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ด้วย หลักการปฏิบัติที่ยังไม่มีกรอบกติกาที่ชัดเจน ไม่มีกรอบระยะเวลาที่เร่งรัดการดำเนินการ นำมาซึ่งปัญหาในหลาย ๆ กรณีที่เกิดขึ้นเป็นข้อพิพาทอยู่ในปัจจุบัน ผมขอยกตัวอย่าง อย่างเช่นในกรณีจากการตั้งนิติบุคคลโครงการ บางกรณีโครงการขนาดใหญ่มีอัตราการขายที่ ค่อนข้างช้า ใช้ระยะเวลาในการขายที่ยาวนาน ทำให้การตั้งนิติบุคคลขึ้นมาบริหารอาจจะ เกิดขึ้นได้ล่าช้า ลูกบ้านต่าง ๆ อาจจะบ่นว่าไม่สามารถมีนิติบุคคลเข้ามาดูแลได้สักที ในระหว่างที่เจ้าของโครงการเองอาจจะบริหารจัดการพื้นที่ส่วนกลางได้ไม่ดี มีการใช้ถนน ก่อสร้างร่วมกันกับถนนโครงการ มีปัญหาเรื่องมลพิษต่าง ๆ หรือว่าเสียงจากการก่อสร้าง ต่าง ๆ ลูกบ้านเองหรือว่าผู้ซื้อเองก็อยากจะเร่งรัดให้มีการตั้งนิติบุคคลขึ้นมาเพื่อดูแลกันเอง แล้วออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อมาบังคับใช้กับ Developer พัฒนาโครงการ ให้ปฏิบัติโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้อยู่อาศัยด้วย ในทางกลับกันบางกรณีเราก็จะเห็นผู้พัฒนา โครงการที่ต้องการเร่งรัดให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลโครงการ เพื่อโอนหน้าที่ในการดูแลพื้นที่ ส่วนกลางให้ผู้ซื้อหรือลูกบ้านเป็นผู้ดูแลเอง แต่ไม่สามารถจัดประชุมได้ครับท่านประธาน อาจจะด้วยที่ลูกบ้านไม่มีความพร้อมในการที่จะรับพื้นที่ส่วนกลางนั้น จึงไม่เข้ามาร่วมประชุม องค์ประกอบในการประชุมไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถจัดประชุมเพื่อตั้งนิติบุคคลได้ หรือในบาง กรณีอาจจะมีการดึงเวลาเพื่อรอให้มีความพร้อมมากขึ้นหรืออยากจะให้ผู้พัฒนาโครงการ เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินส่วนกลางไปก่อน อีกกรณีในกรณีที่นิติบุคคลมีการบริหารจัดการแล้ว แต่มีปัญหาก็จะเกิดในกรณีที่มีการเก็บค่าส่วนกลางจากผู้อยู่อาศัยได้ไม่ครบทุกหลัง หรือไม่ ครบทุกแปลง จนเกิดการที่ว่าเงินที่เป็นกองกลางไม่เพียงพอสำหรับการบริหารจัดการหรือว่า การดูแลสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมไปถึงอาจจะเกิดปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่าง ลูกบ้าน ลูกบ้านบางรายจ่ายค่าส่วนกลาง ลูกบ้านบางรายไม่จ่ายค่าส่วนกลาง และเกิดเป็น ข้อพิพาทกันเองระหว่างผู้อยู่อาศัย กรณีเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีมติเพื่อยกให้เป็น สาธารณประโยชน์ แต่กระบวนการต่าง ๆ ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนที่จะสามารถแก้ปัญหา ให้พี่น้องประชาชนได้ การจะยกให้เป็นสาธารณประโยชน์ เดิมต้องทำโดยผู้จัดสรรที่ดินและมี คณะกรรมการพิจารณามาพิจารณาถึงความเหมาะสมในการยกให้เป็นสาธารณประโยชน์ ดังนั้นในหลายกรณีทำให้หมู่บ้านถูกทิ้งร้าง เพราะว่าไม่สามารถยกเป็นสาธารณประโยชน์ได้ และนำมาซึ่งการขาดการดูแล การเปลี่ยนให้ลูกบ้านสามารถมีมติร่วมกันเพื่อยกให้เป็น สาธารณประโยชน์อาจจะเป็นประโยชน์ในเชิงภาพรวม แต่ในทางกลับกันก็ต้องพิจารณาถึง สิทธิของผู้ที่ไม่เห็นด้วยด้วยว่าหากถูกบังคับให้ยกสาธารณูปโภคต่าง ๆ กลายเป็น สาธารณประโยชน์โดยที่ไม่เห็นด้วย จะมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง เรื่องของการยกให้เป็นสาธารณประโยชน์ก็คือเป็นการเพิ่ม ภาระหน้าที่ให้กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ต้องเข้ามาจัดการดูแล การเพิ่มภาระหน้าที่ เหล่านี้ เป็นเหตุผลที่ทำให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหลาย ๆ กรณี ไม่เลือกที่จะรับทรัพย์สิน ส่วนกลางของหมู่บ้านมาเป็นสาธารณประโยชน์ เพราะว่าเป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ให้เขา จนเกินไป และเขาอาจจะไม่มีทรัพยากรหรือบุคลากรในการดูแลที่เพียงพอ ดังนั้นหากเรามี การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีการปลดล็อกให้สามารถยกให้ท้องถิ่นเข้ามาดูแลง่ายขึ้น ก็อาจจะ ต้องมีการพิจารณาถึงการสนับสนุนทั้งงบประมาณหรือบุคลากรต่าง ๆ ทรัพยากรต่าง ๆ เข้ามาดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความสามารถเพียงพอในการบริหารจัดการพื้นที่ ส่วนกลางที่มีมากขึ้นด้วยครับ
นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท้ายที่สุด ท่านประธานครับ ผมขอกล่าวโดยสรุปว่าการปรับปรุงกฎหมาย การจัดสรรที่ดินที่เรากำลังพิจารณาอยู่นี้มีความสำคัญไม่น้อย และผมเองก็สนับสนุนเป็น อย่างยิ่งให้มีการรับหลักการทั้ง ๒ ร่าง เพื่อเปิดให้มีการศึกษาและหาข้อสรุปร่วมกันจากทุก ฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อวางกรอบในการปฏิบัติร่วมกันต่อไป และเชื่อว่าการแก้ พระราชบัญญัตินี้จะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และทางออกของหลายปัญหาที่พี่น้อง ประชาชนในหลายหมู่บ้านประสบอยู่ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านปรีติ เจริญศิลป์ ท่านเกียรติคุณ ต้นยาง ท่านนิพนธ์ คนขยัน เชิญ ท่านปรีติ เจริญศิลป์ ครับ
นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพครับ ผม ปรีติ เจริญศิลป์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๕ ผมขอสนับสนุน การแก้ไขกฎหมายร่าง พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน ตามที่ได้มีการเสนอไป แต่ส่วนหนึ่งก็แอบเสียดาย ที่ร่างของคุณณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ไม่ได้นำเข้ามาด้วย จึงไม่แน่ใจว่าจะแก้ปัญหาที่ผมจะ นำเสนอได้หรือไม่นะครับ ขอสไลด์ครับ
นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนพื้นที่ในจังหวัด นนทบุรี เขต ๕ ของผม พื้นที่ส่วนใหญ่พื้นที่หมู่บ้านจัดสรร วันนี้นนทบุรีมีประชากรประมาณ ๑.๒๙ ล้านคน มีรายได้ต่อครัวเรือน ตอนนี้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย สิ่งที่ตามมา คือจะมีหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมาก ผมจะชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันโครงการจัดสรรในจังหวัด นนทบุรีมี ๑,๗๓๗ โครงการ มีบ้านทั้งหมด ๓๓๖,๓๙๑ หลัง ผมอยากจำแนกให้เห็นว่า หมู่บ้านต่าง ๆ นี้ ที่ผมจำแนกตามปัญหาที่เกิดขึ้นตามการจัดสรรนิติบุคคลเป็นอย่างไร มี ๔ ประเภท
นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ
อย่างแรก คือหมู่บ้านจัดสรรที่ยังไม่มีนิติบุคคลกรณีนี้จะเป็นหมู่บ้านที่เพิ่ง สร้างใหม่กำลังขายหรือขายเสร็จแล้วแต่ยังตั้งไม่ได้
นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ
อย่างที่ ๒ หมู่บ้านจัดสรรที่มีนิติบุคคลแล้ว ก็เป็นหมู่บ้านทั่วไปที่มีการบริหาร จัดการได้ดี และยังมีนิติบุคคลต่อเนื่องไป
นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ
อย่างที่ ๓ เป็นปัญหาหลักเลยที่เกิดขึ้นที่ผมได้เจอ คือหมู่บ้านจัดสรรที่เคยมี นิติบุคคล แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว เพราะว่าเป็นหมู่บ้านที่เรียกว่ามีอายุนาน เช่น ๒๐ ปี ๓๐ ปี ความเป็นนิติบุคคลก็หาย การจ่ายค่าส่วนกลางไม่มีครับ แต่เขาก็มีการจัดตั้งกรรมการ หมู่บ้านขึ้นมาแทน ซึ่งผมจะบอกในลำดับถัดไปว่าต่างกันอย่างไร
นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ
อย่างที่ ๔ หมู่บ้านที่อยู่ในการดูแลของหน่วยงานรัฐ เช่น ของการเคหะ แห่งชาติในพื้นที่ผม ซึ่งมีพื้นที่เคหะชุมชนจังหวัดนนทบุรี ๑ อยู่ด้วย ในพื้นที่เขต ๕ ของผมมี โครงการจัดสรรประมาณ ๓๐๐ โครงการ เฉลี่ยแล้วมีบ้านเรือนเกือบ ๕๐,๐๐๐ หลังเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเส้นถนนชัยพฤกษ์และราชพฤกษ์ที่เกิดมามีหมู่บ้านจัดสรรขึ้นมากมาย ถ้าเรา ไม่รีบแก้ไขกฎหมายตัวนี้ในอนาคตหมู่บ้านเหล่านี้จะเป็นหมู่บ้านที่ถูกทิ้งร้างได้ในอนาคตและ เป็นหมู่บ้านที่อาจจะไม่มีนิติบุคคล ในอีกประมาณ ๑๐ ปี ๒๐ ปีข้างหน้า ความแตกต่างของ การมีนิติบุคคลกับกรรมการหมู่บ้านคืออะไร ผมพยายามคิดครับ ทำไมต้องมีนิติบุคคล ทำไม ไม่ใช้กรรมการหมู่บ้าน ความเป็นที่มีนิติบุคคลเขาจะมีสาธารณูปโภคที่ดีกว่า ถนน ไฟ ส่วนกลาง มีการบำรุงรักษา มีการจัดการบริหารที่ดี แต่ส่วนหนึ่งที่ต้องแลกมาคือก็ต้องมี การจ่ายค่าส่วนกลาง ซึ่งปัจจุบันหมู่บ้านใหม่ ๆ ค่าส่วนราชการตารางวา ๑ อย่างน้อย ๔๐ บาท ขึ้นไปแล้วในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ส่วนกรณีที่มีนิติบุคคลนี้เขามีสภาพบังคับทาง กฎหมายเหมือนกัน ถ้าหากคุณมีบ้านอยู่ในโครงการจัดสรรคุณต้องการขายบ้าน คุณต้องไป ขอใบปลอดหนี้ก่อนจากนิติบุคคล ไม่อย่างนั้นสำนักงานที่ดินเขาไม่โอนให้ นี่คือความผูกพัน ทางกฎหมายส่วนหนึ่ง ที่ความเป็นนิติบุคคลผูกมัดให้คุณต้องจ่ายค่าส่วนกลาง และคน ในหมู่บ้านที่มีนิติบุคคลก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเพียงแค่กรรมการหมู่บ้าน ผมขอ ยกตัวอย่างปัญหาในพื้นที่ของผม อันนี้เป็นหมู่บ้านพญาไทวิลเลจ ในตำบลปากเกร็ดเป็น หมู่บ้านเก่าที่ปัจจุบันนี้ก็มีพยายามจัดตั้งกรรมการหมู่บ้านขึ้นมา ผมเคยเข้าไปร่วมฟัง ร่วมประชุมกับเขาครับ เขามีปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อเวลามีฝนตก แต่สิ่งที่ยังแก้ไม่ได้คือเทศบาล ไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่เอกชนได้ นี่คือปัญหาหนึ่งที่ผมก็รับมา ผมคิดว่าสิ่งที่ผู้แทนราษฎร ในบทบาทที่เราทำได้คือการแก้ไขกฎหมาย แล้ววันนี้ก็ถึงโอกาสที่ผมจะได้ทำสิ่งที่ต้องแก้ไข ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนครับ อันนี้หมู่บ้านดิเอมเมอรัลพาร์ค 3 อยู่ในตำบลบางพลับ หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านเก่าครับในช่วงที่ผมเคยเดินลงไปพบหาประชาชนมีประชาชนบอกว่า ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อเดินทางลำบากมาก รูปด้านขวามือนี้เป็นส่วนกลางพื้นที่สนามเด็กเล่น ไม่มีการดูแลบำรุงรักษา เพราะเขาไม่มีนิติบุคคลแล้วเป็นหมู่บ้านที่มีมากกว่า ๓๐ ปี ในตำบล บางพลับ ถ้าเราแก้กฎหมายให้ท้องถิ่นสามารถเข้ามาช่วยดูแลเขาได้ นี่คือโอกาสดีเลยที่เรา จะช่วยเหลือพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่เขาอยู่ในหมู่บ้านที่เคยมีนิติบุคคล และวันนี้ไม่มีแล้ว ทั้งที่เขาก็เสียภาษีให้ท้องถิ่นเช่นกัน อันนี้เป็นหมู่บ้านการเคหะแห่งชาติ ก็เป็นเคหะชุมชน นนทบุรี ๑ นี่เองครับ เมื่ออยู่ภายใต้การดูแลของการเคหะแห่งชาติ เทศบาลก็ไม่สามารถเข้า มาขุดลอกคูคลองได้เพราะเป็นพื้นที่ของรัฐวิสาหกิจ สนามฟุตบอลหญ้าสูงไม่มีการดูแล เพราะว่าการดูแลต้องใช้เวลาในการทำงบประมาณจัดซื้อจัดจ้าง การเข้าถึงไม่เร็วเท่าท้องถิ่น เข้าถึงแน่นอนครับ เมื่อมีหญ้าขึ้นก็ต้องบริหารจัดการกันเอง ช่วยกันตัดหญ้า อันนี้หมู่บ้าน มณียามีปัญหาเช่นกันที่ยังไม่มีนิติบุคคลหมู่บ้านแต่มีการจัดตั้งกรรมการหมู่บ้าน ปัญหาคือ เวลาน้ำขังน้ำท่วมเป็นปัญหาเรื่องการระบายน้ำ ซึ่งเขาจำเป็นต้องใช้งบประมาณเยอะมาก ในการสร้างระบบระบายน้ำให้ดีขึ้นครับ ถัดไปหมู่บ้านวิโรจน์วิลล์ ก็เป็นอีกหมู่บ้านในตำบล ละหาน เส้น ๓๔๕ ที่เป็นหมู่บ้านเก่าก็ยังขาดการดูแลจากท้องถิ่น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ ยกให้กับท้องถิ่น ถัดไปหมู่บ้านคันทรีพาร์ค แคลิฟอร์เนีย 16 เช่นเดียวกัน ผมเคยไปทำ กิจกรรมที่นี่ สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่นก็ยังไม่มีงบที่จะบำรุงรักษาได้ ท้องถิ่น อบต. คลองข่อยอยากเข้ามาดูแลแต่ไม่ใช่พื้นที่เขาครับ การจะยกให้ก็ต้องเป็นมติเอกฉันท์ของคน ทั้งหมู่บ้าน ซึ่งยากมากครับที่มีการรวมทุกคนเซ็นยินยอมทั้งหมด ข้อที่ ๗ ปัญหาสุดท้ายที่อยากจะแชร์ให้ฟังครับ รูปด้านขวาเป็นพื้นที่ถนนสาธารณะที่มีการ เดินทางเข้าออกมากกว่า ๓๐ ปี วันหนึ่งเจ้าของบ้านเขาไปดูโฉนดว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นของเขา มีการมาล้อมรั้วครับ นี่คือเกิดปัญหาขึ้นเลยครับว่าที่ที่เคยยกให้เป็นทางสาธารณะไปแล้ว โดยไม่ได้มีการจดทะเบียนที่ดิน วันนี้เอกชนสามารถเรียกคืนได้หรือไม่ ซึ่งผมได้ไปค้น คำพิพากษาศาลฎีกาเขาก็บอกว่าการยกให้เป็นทางสาธารณะมันไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน แต่มีการใช้ติดต่อกันมาเกิน ๑๐ ปีถือว่าเป็นทางสาธารณะโดยกฎหมาย เรื่องนี้ได้เคยหารือ ในสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ตอนนี้เรื่องที่เหลืออยู่ที่กรมชลประทานครับ
นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ
สุดท้ายครับ ปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้บทบาทที่ สส. จะทำได้คือการแก้ไข กฎหมายหลาย ๆ ตัวเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เขาก็เสียภาษีเช่นกันครับ ให้ท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบจ. เทศบาล อบต. เข้าไปดูแลพื้นที่เอกชนได้ครับ ดังนั้นผมจึงขอ สนับสนุนการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินฉบับนี้ครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไป ท่านเกียรติคุณ ต้นยาง เชิญครับ
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผม นายเกียรติคุณ ต้นยาง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๗ อำเภอบางบัวทอง อำเภอไทรน้อย ผมเป็น สส. จังหวัดนนทบุรีคนที่ ๔ ที่ต้องลุกขึ้นมาอภิปรายร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... นี้ จังหวัด นนทบุรีของผมมี สส. ทั้งหมด ๘ คน ที่จริงจะต้องอภิปรายทั้งหมด ๘ คนครับ แต่บังเอิญ เกรงใจเวลาของสภาก็เลยโหวตกันว่าเอาแค่ ๕ คนก็พอ เดี๋ยวหลังจากผมนี่ก็จะมีทนายไวท์ อีกคนหนึ่งที่จะมาอภิปราย เพราะฉะนั้นจะชี้ให้เห็นนะครับท่านประธานว่าปัญหาหมู่บ้าน จัดสรรมันเป็นปัญหาที่เรื้อรัง ร้ายแรง และมันเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ทุกเดือนและ ทุก ๆ ปี ไม่อย่างนั้นนนทบุรีไม่ลุกขึ้นมาอภิปรายกันถึง ๕ คนหรอกครับ หมู่บ้านจัดสรร มันเหมือนกับคนที่เขาเคยรักกัน วันที่มี Promotion ก็ดูแลกันดี อบอุ่น เห็นใจกัน แต่วันที่ ผ่านพ้นเลยช่วง Promotion ไป ต่างคนต่างอยู่ ที่ที่เป็นสาธารณูปโภค ที่ที่เป็นสาธารณะก็จะ ถูกทิ้งร้างว่างเปล่า ไม่มีใครดูแล ถามว่าลูกบ้านอยากจะเจอสภาพเช่นนั้นไหม ไม่เลย ไม่มีใคร อยากเจอสภาพเช่นนั้นเลย แต่เพราะอะไรครับ เพราะเริ่มจากการที่ผู้ที่ขายที่ดินจัดสรร ผู้ที่ทำหมู่บ้านจัดสรรพูดความจริงให้กับคนซื้อบ้านจริงหรือเปล่า ภาพที่คุณโฆษณาส่วนกลาง ถนนเข้าบ้าน ถนนเข้าซอย สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ มันตรงปกหรือเปล่า ช่วงดี ๆ ๓-๔ ปีมันก็ไม่มีปัญหาครับท่านประธาน แต่ถ้ามันผ่านไป ผ่านไป ระหว่างที่มันผ่านไป มันหมด Promotion โครงการเขาไม่ดูแล แล้วถามว่าลูกบ้านจะดูแลกันเองได้ไหม ได้ แต่การที่จะดูแลสาธารณูปโภค การที่จะดูแลสาธารณะมันจะใช้แค่จิตใจที่เป็นอาสาไม่ได้ มันต้องใช้คนที่มีความรู้ มีความสามารถ และที่สำคัญคือมีประสบการณ์ในการที่จะบริหาร ในการที่จะจัดการทรัพย์สินที่เป็นส่วนกลางของทุกคนร่วมกัน มันจะใช้มือสมัครเล่นทำไม่ได้ การที่ลูกบ้านแต่ละคนเช้าต้องออกจากบ้านทำมาหากิน มืดค่ำก็กลับมาพักผ่อน ใครละครับ ที่จะมาดูแลได้ การจัดตั้งนิติบุคคลก็ทำยากทำเย็นแสนเข็ญ ต้องรวมกันเท่านั้นเท่านี้ เท่านี้เท่านั้น ครึ่งหนึ่งบ้าง ๓ ใน ๔ บ้างถึงจะทำกันได้ กว่าจะรวมตัวกันได้ไม่ใช่ว่าทุกคนหยุด วันเสาร์ วันอาทิตย์นะครับ บางคนก็หยุดวันจันทร์ บางคนก็หยุดกันอังคาร วันหยุดพร้อมกัน ไม่มี แล้วเวลาจะประชุมมีได้อย่างไร นี่ล่าสุดผมลงพื้นที่ไปนะครับ ในเขตตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย ขออนุญาตที่เอ่ยชื่อนะครับ ไม่ได้เสียหายกับหมู่บ้านเขา หมู่บ้านพฤกษา ๓๐ อยู่กันมา ๒๐ ปี สภาพไม่ได้แตกต่างดิเอมเมอรัลด์ ๓ ของทนายแตงเลย หมู่บ้านใกล้ ๆ กัน ดิเอมเมอรัลด์ ๒ ของผมนี้อยู่ติดกับบางพลับ ตำบลบางบัวทอง สภาพก็ไม่ต่างจากสไลด์เมื่อสักครู่เลย ต้องขอบคุณทนายแตงนะครับที่มีสไลด์ ผมไม่ต้องมีก็ได้ เพราะสภาพมันไม่ต่างกันเลย สภาพ หมู่บ้านที่ผ่านพ้นมาเกิน ๕ ปี มันเหมือนกับภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ท่านประธานเคยชมไหมครับ ลัดดาแลนด์มันอ้างว้าง หมู่บ้านจัดสรรที่อยู่ในตำบลบางบัวทอง โสนลอย พิมลราช อำเภอ บางบัวทอง หมู่บ้านจัดสรรที่อยู่ในตำบลไทรน้อย ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย รับนะครับใครที่จะไปถ่ายภาพยนตร์ โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่เป็นภาพยนตร์บ้านร้าง ภาพยนตร์ผี ภาพยนตร์สยองขวัญ คุณไม่ต้องทำอะไรแล้วครับ แค่มีควันประกอบแค่นั้น หมู่บ้านนั้นถ่ายหนังผีได้แล้ว เพราะสภาพมันรกร้างว่างเปล่า เด็กที่ไปวิ่งในสนามเด็กเล่นวันดี คืนดีก็มีงูเลื้อยมาเป็นเพื่อนเล่น เด็กบางบัวทอง เด็กไทรน้อยทุกวันนี้มีงูเป็นเพื่อนเล่น แล้วนะครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นผมถึงอยากจะสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน เพื่ออะไรครับ เพื่อพี่น้องประชาชนคนที่เสียภาษี คนที่เขาจะต้องดูแลครอบครัว คนที่เขาไม่มี เวลาที่จะต้องมาดูส่วนกลาง ให้หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขาเข้ามาดูแล ผมเห็น ใจนายกเทศบาลเมืองบางบัวทอง ผมเห็นใจนายกเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง ผมเห็นใจ นายกเมืองพิมลราช ผมเห็นใจนายก อบต. ไทรน้อย ผมเห็นใจนายกเทศบาลไทรน้อย เห็นใจ อปท. ทุก อปท. ในจังหวัดนนทบุรี เขามาจากการเลือกตั้งไม่ต่างกับผม เขาก็อยากทำให้ พี่น้องประชาชนของเขามีความสุข มีความสะดวก มีความสบาย แต่ทำไม่ได้ เพราะพื้นที่ ตรงนั้นมันเป็นที่เอกชนมันไม่เป็นสาธารณะสักที ชาวบ้านก็อยากให้เป็นสาธารณะ แต่ติดขัด เรื่องกฎหมายระเบียบเยอะแยะมากมาย เพราะฉะนั้นร่างพระราชบัญญัติที่เรากำลัง สนับสนุนอยู่ทุกวันนี้ตอนนี้ก็คือร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... นี้ ร่างพระราชบัญญัตินี้ล่ะครับ ท่านประธานครับ มันจะเป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ มันจะเป็น กุญแจดอกแรก และมันจะเป็นกุญแจดอกสุดท้าย ผมเรียกง่าย ๆ คือมันเป็น Master Key ที่มันจะไขแก้ปัญหาทุก ๆ อย่าง ความทุกข์ของพี่น้องที่อยู่หมู่บ้านจัดสรร ความทุกข์ของเด็ก เยาวชนที่จะต้องเสี่ยงอันตรายในสนามเด็กเล่น ความไม่ปลอดภัยไฟถนน ทางเดิน ฝาท่อ ระบายน้ำหน้าหมู่บ้านแตกพังไปก็ยังทำอะไรไม่ได้ ได้แต่นั่งมองตาปริบ ๆ ว่าชีวิตนี้จะอยู่กัน อย่างไร ผมจึงขอวิงวอนเพื่อนสมาชิกทุกท่านไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ช่วยสนับสนุน ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินฉบับนี้ เพื่อจะได้เป็นคุณูประโยชน์ คุณูปการกับพี่น้องประชาชน ที่เขาฝากชีวิต ฝากความหวัง ฝากทุกสิ่งทุกอย่างไว้กับเราในฐานะที่เป็นผู้แทนราษฎร ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านนิพนธ์ คนขยัน เชิญครับ
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขตเลือกตั้งที่ ๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน เอกชน ทำธุรกิจเกี่ยวกับการจัดสรรบ้านจัดสรรนะครับ เพื่อนสมาชิกก็ได้ลงรายละเอียดไปมาก พอสมควรแล้ว ในเมืองผมเชื่อมั่นอย่างเพื่อนสมาชิกที่พูดไป บ้านจัดสรรมากต่างจังหวัด ก็ไม่แพ้เหมือนกันครับ วันนี้ชนบทต่างจังหวัดอย่างบึงกาฬบ้านผมนี้ บ้านจัดสรรที่สร้างมา นานพอสมควรแล้ว ขายหมดแล้ว เหลือแต่พี่น้องประชาชนที่อยู่ในบ้านจัดสรร สิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ มีปัญหานะครับ แล้วบางหมู่บ้านที่บึงกาฬ ยกตัวอย่าง น้ำก็ไม่พอใช้ ไฟก็ดับ ๆ เปิด ๆ ถนนก็ทุลักทุเลนะครับ ดังนั้นวันนี้ต้องขอบคุณเพื่อนสมาชิก นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ขออนุญาตเอ่ยนามท่านที่เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ต้องขอบคุณทั้ง ๒ ท่าน หากท่านไม่เสนอวันนี้เพื่อนสมาชิกคงไม่ได้ร่วมอภิปรายเสนอปัญหา ในแต่ละท้องถิ่นท้องที่ของตนเองให้สภาได้รับพิจารณา โดยเฉพาะวันนี้เพื่อนก็พูดไปแล้ว ท้องถิ่น ก็ขออนุญาตพูดอีกครั้งหนึ่ง เพราะหลายนายก อบต. เทศบาล อบจ. ก็บ่นเหมือนที่ เพื่อนสมาชิกพูดเมื่อสักครู่นี้ว่าเห็นใจพี่น้องผู้อยู่ในบ้านจัดสรร มันก็คนเหมือนกันบ้านเรา นี่ละ แต่ไปอยู่บ้านจัดสรร ไม่มีเงิน มีนาแปลงใหญ่ ที่แปลงใหญ่ ต้องไปอาศัยบ้านจัดสรรอยู่ แต่ท้ายที่สุดสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่บ้านจัดสรรมีไม่เพียงพอดูแลไม่ทั่วถึง ส่วนบ้านจัดสรร ที่ดีขายแล้วดูแลถูกต้องบริการดีก็ต้องขอบคุณครับ แต่ส่วนที่ไม่ดีอันนี้คือปัญหา ปัญหาตรงนี้ ที่เราจะต้องให้เพื่อนสมาชิกได้รับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อส่งไปให้ ครม. หรืออะไร ก็แล้วแต่จะเป็นผู้ที่จะมากลั่นกรองใช้สภาหรือจะตั้งวิสามัญ ไม่ตั้งวิสามัญ หรือ ครม. รับไป แต่ผลสรุปเป้าหมายคือผู้อยู่ในบ้านจัดสรรจะได้มีความสุขเสียที ปัญหาต่าง ๆ เกิดใน บ้านจัดสรรได้จะได้แก้ปัญหาเสียที ผมเชื่อมั่นว่าเพื่อนท้องถิ่นทั่วประเทศที่มีบ้านจัดสรร เวลาเดือดร้อนมาเขาไปร้องใคร เขาก็ไปร้องนายก อบต. เทศบาล อบจ. เทศบาลเมืองนั่นล่ะ เพราะเป็นที่พึ่งของเขา แต่ท้ายที่สุดก็ได้มองตาปริบ ปริบ ปริบ ทำอะไรไม่ได้ ทำได้อย่างไร ไม่ใช่ที่ของตัวเอง ทำได้อย่างไรมันเป็นที่เอกชน สุดท้ายวันนี้ที่เพื่อนสมาชิกเสนอญัตติ ถ้าออกเป็นนิติบุคคลไม่ได้ ก็ยกเป็นสาธารณสมบัติไป สาธารณสมบัติก็บอกชัดเจนว่าเป็น สาธารณสมบัติ เป็นสมบัติของพี่น้องประชาชนทุกคนในเขตนั้น ๆ ที่จะใช้บริการสาธารณ สมบัติ ดังนั้นวันนี้เห็นด้วยอย่างยิ่งในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่จะได้แก้ไขปัญหาความ เดือดร้อนของพี่น้องทุกท่านที่อยู่ในบ้านจัดสรรจะได้มีโอกาสมีความสุขกับเขาเสียที บางที่ ไฟไม่พอ เปิดพัดลมก็ไม่ได้ ดังนั้นวันนี้ผมเชื่อมั่นว่าหาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่านเป็นกฎหมาย ออกมาใช้สมบูรณ์เรียบร้อยปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่ทั่วประเทศ เรื่องบ้านจัดสรรคงจะหมด ปัญหาเสียที ดังนั้นผมอนุญาตเห็นด้วยอย่างยิ่งและขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ การจัดสรรที่ดินหรือจัดสรรพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อให้แก้ปัญหาได้ทันท่วงทีฉับไว พี่น้อง จะได้หมดทุกข์เสียที ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านแรก ท่านคุณากร มั่นนทีรัย ท่านที่ ๒ ท่านวิทวัส ติชะวาณิชย์ ท่านที่ ๓ ท่านพชร จันทรรวงทอง เชิญท่านคุณากร มั่นนทีรัย เชิญครับ
นายคุณากร มั่นนทีรัย นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผมทนายไวท์ คุณากร มั่นนทีรัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี พรรคก้าวไกล ผมลุกขึ้นมาอภิปรายวันนี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดนนทบุรี คนที่ ๕ แล้ว นะครับ วันนี้ขออภิปรายสนับสนุนการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผมเรียนประธานอย่างนี้นะครับ ว่าพื้นที่ในอำเภอบางใหญ่ ข้อร้องเรียนที่ประชาชนร้องเรียนมายังผมเป็นอันดับต้น ๆ นั้น คือเรื่องเกี่ยวกับสาธารณูปโภค ไม่มีไฟส่องสว่างตามถนน น้ำท่วมถนนบ้าง ถนนเป็นหลุม เป็นบ่อบ้าง ทั้งถนนภายนอกหรือแม้กระทั่งจะเป็นถนนภายในหมู่บ้านก็ตามนะครับ เมื่อผมตรวจสอบ ก็พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เหล่านั้นเป็นพื้นที่ของเอกชน หรือเรียกกันว่าพื้นที่ที่มีผู้ขอจัดสรรที่ดิน มาจัดสรรเป็นหมู่บ้าน เพื่อการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อขายบ้านเสร็จแล้วก็ทิ้งไว้ไม่ได้ จัดตั้งนิติบุคคล บางหมู่บ้านอยู่รวมกันเป็นจำนวนกว่า ๑๐๐ หลัง ผู้จัดสรรไม่ก่อสร้างตาม แบบที่แจ้งการจัดสรรก็มีปัญหานะครับ จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นไม่ได้ ทำให้ระบบสาธารณูปโภค ภายในหมู่บ้านจะซ่อมแซมก็ไม่มีเงินซ่อมแซมนะครับ เนื่องจากเป็นพื้นที่เอกชน ทางองค์การ บริหารส่วนท้องถิ่นก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปดูแลให้กับพี่น้องประชาชนได้ ประชาชน ก็เดือดร้อน ไม่มีไฟฟ้าใช้ตามถนนส่วนกลาง เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม เสี่ยงต่อการเกิด อุบัติเหตุ ไม่มีระบบรักษาความปลอดภัย โจรขึ้นบ้านก็ไม่มีกล้องวงจรปิดให้ดู ปัญหาที่กล่าว มาทั้งหมดตกอยู่ที่ใครรู้ไหมครับ ก็มาตกอยู่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี่ละครับที่เป็น ด่านหน้า ที่ถูกร้องเรียน ถูกประชาชนตำหนิว่า ไม่เข้ามาบำรุงดูแลรักษาทั้งที่เป็นพื้นที่ของ เอกชน บางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปรารถนาดีต่อประชาชน เข้าไปช่วยเหลือซ่อมแซม อาจจะมีการโยกงบประมาณบางส่วนไปช่วยเหลือประชาชนในเขตของตนเองบ้าง ช่วยติดไฟ ส่องสว่าง ช่วยตัดต้นไม้ทั้งที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานเขาเลยนะครับ แต่ต้องมา เสี่ยงต่อการถูก สตง. ตรวจสอบ มองอีกมุมหนึ่งเทศบาลหรือ อบต. ก็แล้วแต่ไม่สามารถเข้า ไปดูแลพื้นที่นั้นได้นะครับ ประชาชนก็ยังร้องเรียนไปยังหน่วยงานอื่น ๆ อีก แม้กระทั่ง ร้องเรียนมาถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง สส. ก็ไม่สามารถเข้ามาก้าวก่ายการบริหารงาน ของรัฐได้นะครับ ฉะนั้นการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการกำหนดหน้าที่และกรอบเวลาที่ชัดเจนในการจัดตั้งนิติบุคคล ให้กับบริษัทที่มาประกอบกิจการทำโครงการขายบ้านจัดสรร ให้มีหน้าที่ในการจัดตั้ง นิติบุคคล เพื่อเป็นส่วนที่พัฒนาระบบสาธารณูปโภคของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อไม่ให้ เกิดหมู่บ้านที่ไร้นิติบุคคล ถูกทิ้งร้าง เหมือนเพื่อนสมาชิก สส. นนทบุรีที่บอกคล้าย ๆ จะเป็น ลัดดาแลนด์ในอนาคต และไม่ผลักภาระไปให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกนะครับ ซึ่งการตั้งนิติบุคคลเป็นการให้ประชาชนมีส่วนร่วม การสร้าง Community ของสังคมได้อีก ทางหนึ่งด้วยนะครับ ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับบทกำหนดโทษนิดหนึ่งของพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากว่าปัจจุบันบริษัทที่ประกอบกิจการทำโครงการบ้านจัดสรรส่วนใหญ่จะเป็นบริษัท ระดับมหาชนทั้งนั้นนะครับ ซื้อขายบ้านกันเป็นหลักล้านบาท หลัก ๑๐ ล้านบาท แต่เมื่อดู อัตราโทษที่กำหนดในแต่ละมาตรานั้น โดยเฉพาะโทษปรับอยู่ระหว่าง ๕๐,๐๐๐-๑๐๐,๐๐๐ บาท การใช้อัตราโทษเดิมอาจไม่สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบกิจการ ก็อาจจะทำให้บริษัทผู้ขอจัดสรรมิได้เกรงกลัวที่จะฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใด สำหรับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยก่อน ๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน เพราะมี ข้อจำกัด แต่ ณ เวลานี้ได้มีเพื่อนสมาชิกของผมได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน ได้เสนอญัตติเพื่อแก้ไขปัญหา ณ สภานิติบัญญัติแห่งนี้ ผมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงขอสนับสนุนและผลักดันญัตตินี้ เพื่อให้พิจารณาในวาระต่อไปด้วยครับ ผมทนายไวท์ คุณากร มั่นนทีรัย คนบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านวิทวัส ติชะวาณิชย์ เชิญครับ
นายวิทวัส ติชะวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นายวิทวัส ติชะวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๕ ตัวแทนชาวคันนายาวและบึงกุ่ม จากพรรคก้าวไกลครับ วันนี้ครับท่านประธาน ผมดีใจ แทนประชาชนทั่วทั้งประเทศที่สภาของเรากำลังร่วมกันพิจารณาปลดล็อกร่างกฎหมายที่เป็น ประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนอย่างมากฉบับนี้ เพราะมันหมายถึงการที่พวกเขาจะได้รับ การดูแลสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจากภาครัฐในฐานะผู้เสียภาษีที่ควรจะได้รับการดูแลอย่าง เท่าเทียมกัน จากการลงพื้นที่ของผมและทีมงานครับ พบว่าปัญหาเรื่องการพัฒนาทรัพย์สิน ที่ประชาชนใช้สอยร่วมกันนั้นส่วนใหญ่ประสบปัญหาคล้าย ๆ กัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าที่ถูก ทิ้งร้างไม่ได้รับการพัฒนา บำรุง ซ่อมแซมและดูแลจากเจ้าของโครงการครับ ในบางหมู่บ้าน จัดสรรเจ้าของโครงการหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนใหญ่ส่วนรวมนั้นเสียชีวิตไปแล้ว หาเจ้าของไม่ได้ ติดจำนองกับธนาคาร ล้มละลาย หรือเจ้าของโครงการไม่ประสงค์ที่จะ ยกภาระจำยอมให้ลูกบ้าน เนื่องจากมูลค่าที่ดินสูงขึ้น รวมถึงโครงการหมู่บ้านจัดสรรที่ทำ ขยายขนาดโครงการไปเรื่อย ๆ ทำให้ชาวบ้านได้รับความเสียหายเดือดร้อนในเรื่องของการ บำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ปัญหาไฟฟ้าส่องสว่าง ถนนเสียหายชำรุดเป็น หลุมเป็นบ่อ เมื่อถึงฤดูฝนเกิดน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ในบางครั้งก็เป็นเหตุทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและ ทรัพย์สิน เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ไม่ใช่แค่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่เกิดขึ้น ในหลายจังหวัดเช่นกัน และยังไม่ได้รับการแก้ไขมาอย่างยาวนาน รบกวนขอสไลด์ครับ
นายวิทวัส ติชะวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านจะเห็นตัวอย่างรายชื่อ หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบที่มีมากกว่า ๑๕ หมู่บ้าน ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่างหมู่บ้านที่กำลัง ประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ในเขตพื้นที่เฉพาะที่ผมดูแลครับ ขออนุญาตยกตัวอย่างปัญหาคร่าว ๆ ในเขต ๑๕ ให้ทุกท่านได้ลองนึกภาพตามครับ หมู่บ้านแรกครับเป็นหมู่บ้านเก่าที่ถูกสร้าง มานานหลายสิบปี มีมากกว่า ๓๕๐ หลังคาเรือน แต่ไม่มีนิติบุคคลดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง บริเวณลานกีฬาซึ่งเคยเป็นที่รกร้าง ชาวบ้านต้องระดมทุนส่วนตัวพัฒนาพื้นที่กันเองเพื่อที่จะ ใช้จัดกิจกรรมให้ผู้ใหญ่ได้ออกมาเต้น Aerobics วัยรุ่นและเด็ก ๆ ออกมาออกกำลังกายและ เล่นกีฬากัน ลานดังกล่าวไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างครับ ส่วนไฟฟ้าตามถนนตามซอยลูกบ้านใช้วิธี พ่วงไฟจากในบ้านแต่ละหลังเพื่อพื้นที่ถนนภายในหมู่บ้านได้มีแสงสว่างในเวลากลางคืน ต่อมาเป็นตัวอย่างปัญหาเรื่องน้ำท่วมในหมู่บ้านที่ไม่มีท่อระบายน้ำสาธารณะ เวลาฝนตก จึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่หลายสัปดาห์ ประชาชนที่อยู่ในซอยดังกล่าวต้องเดินลุยน้ำ เข้าออกแทบจะทุกวันในช่วงฤดูฝน และตัวอย่างปัญหาสุดท้ายครับ คือเรื่องถนนชำรุด เมื่อถนนเป็นหลุมเป็นบ่อจึงทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งถนนดังกล่าวยังตั้งอยู่ใกล้สถานศึกษา ตลาด ห้างสรรพสินค้า และอีกทั้งยังเป็นทางเข้าออกบ้านเรือน ผู้คนกว่าร้อยหลังคาเรือน คิดง่าย ๆ ครับท่านประธาน ประชาชนหลายพันคนต้องสัญจรผ่านถนนที่ไม่สมประกอบนี้ ทุกวัน ผมเชื่อครับว่าปัญหาเหล่านี้เคยเกิดขึ้นกับหมู่บ้านอีกหลาย ๆ หมู่บ้านทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ปัญหานี้ยังคงเกิดขึ้นอยู่ และผมเชื่อว่า ปัญหาจะยังเกิดขึ้นต่อไปโดยที่ไม่ได้รับการแก้ไขครับ ผมจึงขออนุญาตมีส่วนร่วมในการ อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินที่เพื่อนสมาชิกได้ร่วมกันเสนอร่าง เข้ามาในวันนี้ครับ ทั้งร่างของ สส. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ จากพรรคก้าวไกล และร่างของ สส. ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ จากพรรคเพื่อไทย โดยผมเห็นว่าร่าง พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินทั้ง ๒ ฉบับนี้เป็นร่างที่จะเอื้อให้พี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนจากปัญหาที่กระผมได้กล่าวไว้ เบื้องต้นได้รับประโยชน์มากที่สุดครับ และเพื่อบรรเทาทุกข์จากปัญหาที่ชาวบ้านพบเจอ มานานแสนนาน ต่อมาครับผมขออนุญาตยกตัวอย่างร่างมาตราต่าง ๆ ที่ พ.ร.บ. ๒ ฉบับนี้ เสนอแก้ จากภาพด้านซ้ายนะครับ เพื่อการสรุปจุดมุ่งหมายให้เข้าใจได้ง่ายคือ เพื่อตั้งกรอบ เวลาบังคับให้ต้องจัดตั้งนิติบุคคลภายในระยะเวลา ๓ ปีนับตั้งแต่มีการจดทะเบียนโอน ทรัพย์สินดังกล่าว แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ และถูกร่างเพื่อการเปิดช่องให้ลูกบ้านสามารถ รวมตัวกันจัดตั้งนิติบุคคลเองได้ในกรณีที่เจ้าของโครงการไม่ทำ ส่วนด้านขวา หมายถึงหากเจ้าของโครงการมีความประสงค์จะยกที่ดินให้โครงการให้เป็นที่ สาธารณะตั้งแต่แรกแล้ว แต่ไม่ทำการยกให้เสียที ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรสามารถรวมตัวกันไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังสามารถมีมติยกให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ได้ สุดท้ายนี้ครับท่านประธาน ด้วยเหตุผลที่ผมกล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนี้ ผมขอวิงวอนให้เพื่อน สมาชิกร่วมกันเร่งรัดและผลักดันให้รีบพิจารณารับร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินทั้ง ๒ ฉบับนี้ รวมถึงพิจารณารับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดินของเพื่อนสมาชิก ท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ซึ่งเป็นผู้เสนอ เนื่องจากมีเนื้อหาที่สัมพันธ์และทำนองเดียวกัน แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายครับ เมื่อสักครู่การรวมร่าง พ.ร.บ. ทั้ง ๓ ฉบับนี้ ก็ถูกปัดตกไป แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้นร่าง พ.ร.บ. ทั้งหมดนี้จัดทำมาเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ลูกบ้านมีอำนาจต่อรองกับเจ้าของ โครงการ และเป็นการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการที่ถูกผู้จัดสรร ที่ดินละเลยหรือทอดทิ้งไม่บำรุงรักษาสาธารณูปโภค จึงจำเป็นต้องขอเพื่อนสมาชิกทุกท่าน รับรองร่าง พ.ร.บ. ทั้ง ๒ ฉบับนี้ครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านพชร จันทรรวงทอง เชิญครับ
นายพชร จันทรรวงทอง นครราชสีมา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายพชร จันทรรวงทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต ๑๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ วันนี้ผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปราย ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน ท่านประธานครับ บ้านหรือที่อยู่อาศัยถือเป็นอีก ๑ ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน อีกทั้งยังถือได้ว่ามีความสำคัญ ในการพัฒนาคุณภาพวิถีชีวิตของพี่น้องประชาชน เนื่องจากว่าที่อยู่อาศัยไม่ได้เป็นเพียง สถานที่ที่ใช้ในการพักผ่อนเพียงเท่านั้น แต่ยังเปรียบเสมือนศูนย์รวมของครอบครัวที่ช่วย ในการสร้างความอบอุ่น ความมั่นคง และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้การลงทุน ในที่อยู่อาศัยยังเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการออมทรัพย์ เพราะเป็นการลงทุนในทรัพย์สิน ที่มีความมั่นคงอย่างหนึ่งเหมือนการลงทุนในด้านอื่น ๆ เพราะฉะนั้นในการเลือกซื้อ ที่อยู่อาศัยประชาชนย่อมมีความคาดหวังที่จะได้อยู่ในที่อยู่อาศัยที่มีความสะดวกสบาย เพียบพร้อมในทุก ๆ ด้านเพื่อเป็นหลักประกันของความมั่นคงในการดำรงชีวิต จากการพัฒนา ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับ สถานการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจจัดสรร ที่ดินที่มีการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ส่งผลให้ผู้ประกอบการ จำนวนมากมีการลงทุนพัฒนารูปแบบของที่อยู่อาศัยในลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Townhouse Townhome บ้านแฝดหรือบ้านเดี่ยว หรือที่รู้จักกันในธุรกิจบ้านจัดสรร โดยการนำที่ดินแปลงใหญ่มาแบ่งขายและได้มีการปรับปรุงพัฒนาเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยมีการจัดระบบสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสิ่งอำนวยความสะดวกในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบถนน ระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สโมสรเป็นต้น เพื่อจูงใจให้มีผู้คนมาซื้ออันเป็นลักษณะของการแข่งขันทางธุรกิจ แต่จาก ความเจริญเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจบ้านจัดสรร ก็ได้มาพร้อมกับปัญหา ความขัดแย้งระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เนื่องจากมาตรการในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรร ที่ดินที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันพบว่ายังมีช่องโหว่ของกฎหมายส่งผลให้มีปัญหาของเรื่อง การร้องเรียนของหมู่บ้านจัดสรรระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายมีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังขาดมาตรการ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและให้ความคุ้มครองแก่ผู้ซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ การที่ไม่ดูแลรักษาระบบสาธารณูปโภคของผู้จัดสรรที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้ซื้อต้องประสบ ปัญหาจากการที่ผู้จัดสรรที่ดินละทิ้งโครงการ ส่งผลให้ผู้ซื้อไม่ได้รับระบบสาธารณูปโภค ตามที่กฎหมายกำหนด หรือการที่ผู้จัดสรรที่ดินทำสาธารณูปโภคไม่ถูกต้องตามแบบ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน หรือการที่ผู้จัดสรรที่ดินทอดทิ้งหรือละเลยการดูแล ระบบสาธารณูปโภค ส่งผลให้ผู้ซื้อต้องประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมหรือถนนทรุด ตลอดจนปัญหาในการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อมาดูแลโครงการจัดสรร เนื่องจากยังไม่มีบทบัญญัติ ในการกำหนดมาตรการหรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ โดยที่ผ่านมาแม้ว่าภาครัฐจะได้มี มาตรการทางกฎหมายในการกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ก่อนได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน เพื่อรองรับและคุ้มครองผู้ซื้อบ้านจัดสรรในการใช้ประโยชน์ จากสาธารณูปโภคและบริการของบ้านจัดสรรก็ตาม แต่มาตรการต่าง ๆ เหล่านั้นยังไม่เพียงพอ ต่อการที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ซื้อบ้านจัดสรร อีกทั้งมาตรการที่ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถ แก้ไขปัญหาที่พี่น้องประชาชนได้รับได้ โดยเฉพาะการจัดการและบำรุงรักษาระบบ สาธารณูปโภค การขาดมาตรการเกี่ยวกับการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ตลอดจนการ ขาดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมาตรการในการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรร หรือผู้ที่ได้รับความ เดือดร้อนจากการจัดสรรที่ดิน ด้วยเหตุนี้จึงควรมีการกำหนดมาตรการทางกฎหมาย ที่เหมาะสมและเพียงพอในการคุ้มครองหรือเยียวยาผู้ซื้อโครงการในบ้านจัดสรร ให้มีความ เหมาะสมและมีความชัดเจนเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ให้กับผู้ที่ซื้อ ท่านประธาน ครับจากที่ผมได้อภิปรายมาทั้งหมดนี้เพื่อให้มีข้อกฎหมายที่มาคุ้มครองพี่น้องประชาชนผู้ที่ ซื้อโครงการในโครงการจัดสรรต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสม ผมจึงอยากจะขอเสนอให้ ครม. รับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปพิจารณาเพื่อพี่น้องประชาชน ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านแรก ท่านทิสรัตน์ เลาหพล ท่านที่ ๒ ท่านสิริน สงวนสิน ท่านที่ ๓ ท่านเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม เชิญท่านทิสรัตน์ เลาหพล ครับ
นางสาวทิสรัตน์ เลาหพล กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางสาวทิสรัตน์ เลาหพล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ผู้แทน ของชาวเขตบางแค เขตหนองแขม พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ร่วมขออภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน เนื่องจากในพื้นที่ของดิฉันเอง เป็นย่านชานเมืองที่มีโครงการหมู่บ้านจัดสรรรุ่นแรก ๆ ของประเทศไทย เช่น หมู่บ้าน เศรษฐกิจไปจนถึงหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งพี่น้องประชาชนในพื้นที่ของดิฉัน ต่างร้องเรียนสารพัดปัญหาเกิดขึ้นในหมู่บ้านของโครงการหมู่บ้านจัดสรรเข้ามาโดยตลอด ดิฉันจึงขอสะท้อนปัญหาเหล่านั้นมาในที่ประชุมแห่งนี้เพื่อสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ค่ะ
นางสาวทิสรัตน์ เลาหพล กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ปัญหาใหญ่ในพื้นที่ของดิฉัน คือการละเลยจากเจ้าของโครงการ โดยหมู่บ้านจัดสรรหลายโครงการทางเจ้าของโครงการ ไม่ได้เรียกให้ลูกบ้านจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้าน ทำให้ขาดการดูแลรักษาพื้นที่ส่วนกลาง ส่งผลให้ พื้นที่ส่วนกลางไม่ได้รับการดูแลและมีสาธารณูปโภคที่ดีได้ เช่น ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ท่อระบายน้ำอุดตัน ไฟส่องสว่างดับ กล้องวงจรปิดเสียหาย สวนที่รกร้าง สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬามักถูกทอดทิ้ง เกิดปัญหาทั้งความปลอดภัย ความเสื่อมโทรมและยังเกิดปัญหา น้ำท่วมตามมาอีก ทางเจ้าของโครงการเองก็จะละทิ้งหน้าที่ไม่มีการกลับเข้ามาดูแลรักษา สาธารณูปโภคดังกล่าวอีกเลย ตามตัวอย่างในสไลด์ที่เห็นอยู่นะคะ นี่คือหมู่บ้านศรีเพชร หมู่บ้านพงษ์ศิริชัย ๔ หมู่บ้านสุขสันต์ ๒ และหมู่บ้านเพชรเกษม ๑ ตั้งแต่มีการเปิดขาย โครงการมา บางหมู่บ้านยังไม่มีการเรียกจากเจ้าของโครงการให้ลูกบ้านจัดตั้งนิติบุคคล หมู่บ้านเลยด้วยซ้ำเจ้าของโครงการก็ไม่มาดูแล เช่น หมู่บ้านทวีทอง ลูกบ้านพยายามดูแล กันเอง จ่ายสตางค์กันเอง โดยไม่มีการตั้งนิติบุคคลและไม่มีการตั้งเป็นชุมชน แต่ส่วนหมู่บ้าน สุขสันต์ ๙ เจ้าของโครงการก็ไม่ได้เรียกลูกบ้านมาจัดตั้งนิติบุคคลเช่นกัน ลูกบ้านจึงพยายาม หาทางแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ด้วยการจัดตั้งขึ้นเป็นชุมชนกับทางสำนักงานเขต แต่ก็ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เพราะหน่วยงานรัฐก็ยังไม่สามารถเทงบเข้ามาเพื่อ แก้ไขปัญหาสิ่งนี้ได้ เพราะที่ส่วนกลางยังไม่ได้ยกเป็นที่สาธารณะค่ะ หลายโครงการมักจะเกิด น้ำท่วมเป็นประจำโดยเฉพาะหมู่บ้านศรีเพชร น้ำท่วมขังเป็นปี ๆ ไม่สามารถระบายน้ำ ออกไปได้ ซึ่งตัวดิฉันเองได้ไปลงพื้นที่พบเจอปัญหาดังกล่าวที่มีน้ำขังและมีตะไคร่น้ำ ทั่วพื้นถนนค่ะ ณ ตอนนั้นมีเด็ก ๆ ขี่จักรยานผ่านแล้วลื่นต่อหน้าต่อตาดิฉัน และคนแถวนั้น ก็บอกว่าตรงนี้ลื่นล้มกันเป็นประจำ เคยมีมอเตอร์ไซค์ลื่นจนแขนหัก ซึ่งนี่คืออุบัติเหตุที่ไม่ควร จะเกิดขึ้นกับพ่อแม่พี่น้องประชาชนค่ะ หมู่บ้านเหล่านี้เผชิญปัญหาไปในทางเดียวกันคือ น้ำท่วม ไฟส่องสว่างถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ เพราะขาดการดูแลรักษาพื้นที่ส่วนกลาง ไม่มี นิติบุคคลหมู่บ้านเข้ามาทำหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณูปโภคได้ ซึ่งเป็นผลกระทบที่ตามมา ลูกบ้านต้องพยายามหาทางแก้ไขปัญหากันเอง มิหนำซ้ำทางหน่วยงานรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานเขตในพื้นที่ไม่มีอำนาจเข้าไปแก้ไขปัญหาสิ่งนี้ เพราะไม่ได้ถูกยกให้เป็นพื้นที่ สาธารณะ จึงไม่มีงบประมาณเข้าไปเพื่อแก้ไขปัญหาค่ะ นี่คือตัวอย่างปัญหาการละเลยจากเจ้าของโครงการที่ส่งผลกระทบต่อลูกบ้านในระยะยาว ร่างกฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการถูกละเลย และผลกระทบที่ตามมาในระยะยาวด้วยหลักการ ๒ ข้อดังนี้ค่ะ
นางสาวทิสรัตน์ เลาหพล กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๑. เร่งรัดการจัดตั้งนิติบุคคลด้วยการกำหนดระยะเวลาให้เจ้าของโครงการ เรียกลูกบ้านมาจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้าน ภายในระยะเวลา ๓ ปีหลังจากโอนกรรมสิทธิให้ ลูกบ้านแล้วเกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของจำนวนบ้านทั้งโครงการ เพราะถ้าหากไม่มีการจัดตั้ง นิติบุคคลขึ้นมาจะทำให้ลูกบ้านได้รับความเดือดร้อน ขาดผู้ดูแลรักษา และไม่มีช่องกฎหมาย เดิมที่กำหนดกรอบระยะเวลาบังคับให้เจ้าของโครงการต้องจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้าน การกำหนดกรอบระยะเวลานี้เป็นการบังคับให้เจ้าของโครงการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อเป็น คนดูแลรักษาสาธารณูปโภคที่ร่วมกันของหมู่บ้าน
นางสาวทิสรัตน์ เลาหพล กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๒. เพิ่มอำนาจให้ลูกบ้าน ในกรณีที่เจ้าของโครงการไม่ดำเนินการตาม ระยะเวลาที่กำหนด ให้ลูกบ้านมีสิทธิจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านขึ้นมาเองได้ โดยรวมตัวกึ่งหนึ่ง ของจำนวนบ้านสามารถแต่งตั้งตัวแทนเพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านได้ เพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ที่ลูกบ้านจะต้องได้รับตามกฎหมาย เพราะกฎหมายฉบับเก่า ไม่มีการบังคับให้ต้องมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้าน ทำให้เกิดปัญหาตามมา ดิฉันจึงขอ สนับสนุนร่างฉบับนี้และขอฝากปัญหาในพื้นที่ที่ดิฉันได้กล่าวมาไปยังเพื่อนสมาชิกทุกท่าน เพื่อรับหลักการร่างกฎหมายนี้และสนับสนุนให้ร่างกฎหมายผ่านพิจารณาในวาระ ๒ และ วาระ ๓ ด้วยค่ะ ดิฉันไม่อยากให้รอเวลานานไปกว่านี้ เพราะปัญหาความเดือดร้อนของพ่อแม่ พี่น้องทุกคนไม่สามารถรอได้ และนี่คือหนทางที่พวกเราจะช่วยพวกเขาได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านสิริน สงวนสิน เชิญครับ
นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม สิริน สงวนสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา วันนี้ผมขอมาร่วมอภิปรายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน ปี ๒๕๔๓ พระราชบัญญัตินี้จะแก้ไขให้ผู้จัดสรรที่ดิน จะเป็นการกำหนดระยะเวลาให้ผู้จัดสรรที่ดิน ต้องจดแจ้งจัดตั้งนิติบุคคล ถ้าที่ดินที่เขาจัดสรรขายเกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว ลูกบ้านสามารถ รวมตัวกันเพื่อขอจัดตั้งนิติบุคคลได้ หลายคนอาจจะงงว่าทำไมเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ การจัดตั้งนิติบุคคลมันค่อนข้างสำคัญกับคนที่อยู่ในหมู่บ้าน ถ้าหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านที่เก่าแล้ว บางหมู่บ้าน ๒๐ กว่าปี ลูกบ้านก็อาจจะไม่อยากจ่ายค่าส่วนกลางแล้ว นิติบุคคลก็สามารถ โอนที่ดินที่เขาใช้สอยร่วมกันไปให้กับทางราชการเข้ามาดูแลได้ เพราะว่าในเขตของผม ผมอยู่ในเขตทวีวัฒนา และเขตตลิ่งชัน มีหมู่บ้านจัดสรรกว่า ๓๐๐ หมู่บ้านในเขตทวีวัฒนา อย่างเดียวมีประมาณ ๒๐๐ หมู่บ้าน ในเขตตลิ่งชันประมาณ ๘๐ หมู่บ้านกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นหมู่บ้านที่ค่อนข้างมีอายุนาน มีอายุนานกว่า ๒๐ ปี แล้วก็มีประมาณ ๘๐ หมู่บ้านที่กำลัง สร้างอยู่ ถ้ากฎหมายนี้ผ่านเรื่องที่มันเกิดขึ้น หรือปัญหาที่มันเกิดขึ้นกับหมู่บ้านเก่า ๆ มันก็จะ หมดไป พระราชบัญญัตินี้จะช่วยให้ชาวบ้านสามารถขอถนน ถนนไหนที่น้ำท่วมก็สามารถ ขอให้มาลอกท่อได้ ถ้าไม่ลอกท่อก็สามารสร้างท่อได้ใหม่ครับ ให้เขตเข้ามาดูแลจัดสรร ตัดต้นไม้ อำนวยความสะดวกให้ชาวบ้านได้ ตามกฎหมายนี้ก็ยังจะช่วยให้ข้าราชการสามารถ เข้ามาดูแลประชาชนได้ โดยไม่ต้องกลัวจะถูก สตง. มาตรวจสอบทีหลังปัจจุบันไม่ได้มีการ กำหนดระยะเวลาให้ผู้จัดสรรที่ดินต้องจดนิติบุคคล บางผู้จัดสรรก็ค่อนข้างเรียกได้ว่า ไม่มีจริยธรรม เอาที่ดินของหมู่บ้าน เอาที่ดินถนนส่วนกลางของหมู่บ้านไปจดจำนองกับแบงก์ แล้วมันทำให้มีปัญหาที่คาราคาซังมากครับ ผมเลยอยากจะวิงวอนให้เพื่อน ๆ สมาชิกทุกท่าน ช่วยกันรับหลักการนี้ เราจะได้ร่วมกันแก้ปัญหานี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม เชิญครับ
นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต ๘ พรรค เพื่อไทย ขออนุญาตอภิปรายร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของ ท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กับคณะ ซึ่งเป็นร่างหลัก กับท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ จากพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่แก้ไขเพิ่มเติม ท่านประธานที่เคารพครับ การจัดสรรที่ดิน ในเขตปริมณฑลและ กทม. ซึ่งส่วนมากแล้วผมได้ยินได้ฟังก็มีแต่คนบ้านผม นนทบุรีทั้งนั้น ที่ออกมาพูดเรื่องบ้านจัดสรร ท่านประธานครับ การจัดสรรที่ดิน ผมขอ อนุญาตแยกให้เห็นว่าที่ดินจัดสรร หมายถึง ที่ดินที่เราเอามาบริหารจัดการบ้านจัดสรร ซึ่งจะ มีภาษีที่ดิน ภาษีธุรกิจเฉพาะ และปัจจุบันนี้การจัดสรรที่ดินเราสามารถที่จะแยกออกเป็น โดยไม่ต้องชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ คือไม่เกิน ๙ แปลง หรือ ๙ หลัง ฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะ ช่วยแก้ไขปัญหาราคาที่อยู่อาศัยให้พี่น้องประชาชนได้ระดับหนึ่ง แต่การจัดสรรที่ดิน สำหรับ การจัดสรรที่ดิน ถือว่าเป็นเรื่องที่เราจะต้องดูแลแก้ไข ไม่ว่าจะทั้งในชุมชนเมือง ใน กทม. และปริมณฑลหรือในชนบท ที่จังหวัดอุดรธานีบ้านผมก็มีการจัดสรรที่ดินทำกินในเขตทหาร นะครับ อันนี้ก็เป็นข่าวที่ได้รับคำชมว่านายกเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ท่านดอกเตอร์ สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ซึ่งท่านได้เดินทาง ไปมอบสัญญาเช่าที่ดินทำกินในเขตทหารโดยราชพัสดุ ซึ่งกรมธนารักษ์ดูแลอยู่ให้พี่น้อง ประชาชน อันนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องไม่เคยมีในประเทศไทย เป็นแห่งแรกคือหนองวัวซอโมเดล แล้วก็ตรงนี้สามารถนำไปทำสัญญาเช่าให้พี่น้องประชาชนคนไทยทุกจังหวัดทั่วประเทศได้ นี่ถือว่ามีเอกสารสิทธิแล้วนะครับอันนี้ ไม่ใช่เอกสารสิทธิขออนุญาตท่านประธานเป็นสัญญา เช่า คล้าย ๆ กับโฉนดที่ดิน สามารถเอาเป็นแลกเป็นเงินตราได้ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เป็น ประโยชน์กับพี่น้องประชาชน แล้วต้องขอขอบคุณทางกองทัพที่ให้การสนับสนุน และ กรมธนารักษ์ที่ดูแลพี่น้องประชาชน แต่ท่านประธานครับ การจัดสรรที่ดินหรือที่ดินบ้าน จัดสรร สำคัญก็ต้องมีนิติบุคคล เพราะนิติบุคคลจะต้องดูแล รปภ. ความปลอดภัย สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ ระบบไฟฟ้า ประปา ความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน อันนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่พี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนและหมู่บ้านต่าง ๆ จะต้องได้รับ ไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียม ไม่ว่าจะเป็นบ้านจัดสรร ซึ่งทั้งกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑลจะเจอปัญหาว่าในการดูแลแก้ไข บางแห่งที่ท่านสมาชิกได้เสนอไปว่าเป็นบ้านเก่า ที่ไม่มีนิติบุคคลมาดูแล ฉะนั้นหน่วยงานที่จะเข้าไปแก้ไข ไม่ว่าเทศบาล ไม่ว่าจะเป็นเขต ต่าง ๆ หรือแม้แต่ กทม. แต่ผมก็คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ทาง กทม. และปริมณฑล จะต้อง รับภาระอันยิ่งใหญ่ ซึ่งไม่ทราบว่าจะแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้อย่างไร แต่มั่นใจ นะครับว่ารัฐบาลนี้มีทางออกให้พี่น้องประชาชน ผมต้องขอขอบคุณทางรัฐบาลนำโดย ท่านนายกเศรษฐา ทวีสิน ที่เห็นความสำคัญในการจัดสรรที่ดินทำกิน ในการจัดสรรที่อยู่ อาศัยให้พี่น้องประชาชน ทั้งชุมชนเมือง ชุมชนคนต่างจังหวัดที่อยู่ในชนบท พี่น้องชาว เกษตรกร ประชาชนทั่วไปต้องทำมาหากิน แต่ที่ดินเป็นเรื่องที่เราจะต้องอาศัยการบูรณาการ ร่วมกันทั้งหน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นอย่างที่ผมกล่าวเรียนท่านประธานว่า กรมธนารักษ์กับกองทัพบกหรือกระทรวงกลาโหมจะต้องบูรณาการร่วมกัน ซึ่งท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ท่านสุทิน คลังแสง ก็ได้ประชุมกับหน่วยงานที่ท่านรับผิดชอบถึงได้ออกมาเป็น สัญญาเช่าให้พี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ อันนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้ได้ทุ่มเทการทำงาน ให้พี่น้องประชาชนคนไทยทุกจังหวัด ไม่ว่าจะยากดีมีจน โดยเฉพาะพี่น้องชาวเกษตรกรของเรา ตอนนี้ก็มีความหวังว่าที่ทำกินกันมา แม้แต่โรงเรียนก็ยังอยู่ในที่เขตทหาร แต่ทำอย่างไรจะ สามารถเข้าไปทำกินได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ถ้ามีสัญญาเช่าโดยกรมธนารักษ์ก็ถือว่าตรงนี้ ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถทำกินไปชั่วลูกชั่วหลาน แล้วต่อไปวันข้างหน้าจากก้าวแรก ก็อาจจะมีก้าวต่อไป ได้เอกสารสิทธิหรือไม่อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องช่วยกันดูแล แก้ไข และเป็นห่วงใยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งมีคนแออัดจำนวน หลายล้านคนมาอยู่ ตรงนี้ก็ต้องมีอุปโภคบริโภค สาธารณะประโยชน์ อำนวยความสะดวก แก่พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะรัฐบาลต้องเข้าไปจัดการดูแลแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง นิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัย สาธารณูปโภคต่าง ๆ ในคอนโดมิเนียม ในบ้านจัดสรร ต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่ว กทม. และปริมณฑล โดยเฉพาะพี่น้องนนทบุรีร้องเรียนมามากครับ ก็ขอขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านแรก ท่านภัณฑิล น่วมเจิม ท่านที่ ๒ ท่านประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ท่านที่ ๓ ท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เชิญท่านภัณฑิล น่วมเจิม ครับ
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตคลองเตยและเขตวัฒนา พรรคก้าวไกล ก็ขอร่วมอภิปรายร่างแก้ไขพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน ท่านประธานครับ ตามที่ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และแก้ไขเพิ่มเติม มีเจตนารมณ์เพื่อแก้ไขปัญหาการ จัดสรรที่ดินของเอกชน โดยกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่ส่งมอบกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน ส่วนกลางให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิในการบริหารจัดการ หมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค อาทิเช่นไฟทางส่องสว่าง ท่อระบาย น้ำ ถนน การจัดการขยะ การบำบัดน้ำเสีย และอื่น ๆ อย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหาในการ ถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนกลาง และปัญหาการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรอย่างต่อเนื่อง ผมในฐานะโฆษกกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับปัญหาร้องเรียน เยอะมากในเรื่องของการซื้อหมู่บ้านจัดสรรแล้วมีปัญหาในการจัดสรรสาธารณูปโภคแล้วก็ การจัดตั้งนิติบุคคลนะครับ ในส่วนของปัญหาการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนกลางเกิด จากผู้จัดสรรที่ดินไม่ยอมยกกรรมสิทธิ์ส่วนกลาง กล่าวคือก่อนที่ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน ๒๕๔๓ จะประกาศใช้ ผู้จัดสรรที่ดินอาศัยช่องโหว่กฎหมาย ไม่มีการดำเนินให้มีการเรียกประชุมใหญ่ เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้จัดสรรที่ดินไม่ยอมมอบกรรมสิทธิ์ส่วนกลางให้กับผู้ซื้อ ที่ดินจัดสรร ดังนั้นเมื่อทรัพย์สินส่วนกลาง ได้แก่ ถนน ระบบบำบัดน้ำเสีย เกิดความชำรุด ทรุดโทรม ทำให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อน เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่สามารถดำเนินการปรับปรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินส่วนกลางได้ นอกจากนี้แม้ว่าการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้จัดสรรที่ดินก็ ประวิงเวลาไม่ยอมให้มีการเรียกประชุมผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่อจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร ประกอบกับมีช่องโหว่ของกฎหมายเกี่ยวกับเงื่อนไขของการจัดตั้งนิติบุคคล ที่ระบุจำนวนผู้ซื้อที่ดิน แล้วไม่มีการบังคับให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร สิ่งที่เลวร้ายกว่านั้นคือปัญหาสินค้าไม่ตรงปก กล่าวคือผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีการร้องเรียนว่า ทรัพย์สินส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรรไม่มีมาตรฐาน ที่ดินทรุด ถนนชำรุด ไม่มีการดูแล ระบบสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพที่ดี ทำให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่สามารถรับโอน กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนกลางจากผู้จัดสรรที่ดินได้ เพื่อให้ท่านประธานและเพื่อนสมาชิก มีความเข้าใจมากขึ้น เนื่องจากบางท่านอาจไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านจัดสรร ท่านจึงไม่ทราบนะครับ ว่าประชาชนที่เขาออมเงินมาซื้อบ้านหลังละ ๓ ล้านบาท ๔ ล้านบาท เนื่องจากเขาได้รับ ข้อมูลจากผู้จัดสรรที่ดินว่าหมู่บ้านจัดสรรมีระบบรักษาความปลอดภัย มีสวนสาธารณะ ที่สวยงาม มีการจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบ มีบ่อบำบัดน้ำเสีย แต่เพียงไม่กี่ปีผ่านไปทรัพย์สิน ส่วนกลางก็ชำรุดเสียหาย ซึ่งในบางกรณีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้มีการรับโอนกรรมสิทธิ์ ทำให้ผู้จัดสรรที่ดินปฏิเสธ ความรับผิดชอบ ผู้ซื้อที่ดินได้รับผลกระทบมีการร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐและมีการฟ้องร้อง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ในทัศนะของผมเราควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ มีการ แก้ไขร่าง พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่ประชาชนปัจจุบันหันมานิยม ซื้อบ้านจัดสรรเพิ่มมากขึ้น และจะต้องช่วยให้ผู้ซื้อที่ดินสามารถจัดตั้งนิติบุคคลจัดสรร หมู่บ้านจัดสรรได้ ผมก็จึงขอสนับสนุนให้มีการแก้ไข พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน โดยเฉพาะยิ่งร่าง ของ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินของ สส. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ พรรคก้าวไกล ซึ่งสาระสำคัญของ ร่างฉบับดังกล่าวก็คือ ภายในระยะ ๓ ปี ผู้ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งสามารถเข้าชื่อกันเพื่อให้มีการเรียกประชุมใหญ่ เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อให้ผู้จัดสรรที่ดินมีการส่งมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ทั้งนี้เพื่อให้ ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้านจัดสรรได้รับการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี และทำให้ผู้ ซื้อที่ดินได้รับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนสมาชิกทุกท่านเห็นชอบ กับร่างการแก้ไข พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ สมาชิกผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จังหวัดปทุมธานี เขต ๗ อำเภอลำลูกกา ธัญบุรี และอำเภอหนองเสือครับ วันนี้ผมขอมีส่วนร่วมอภิปรายสนับสนุน พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน ของพรรคก้าวไกลและของพรรคเพื่อไทยร่วมกัน ปัญหาเท่าที่ผม ได้รับฟังมาจากเพื่อนสมาชิกทั้งหมดก็เป็นปัญหาคล้าย ๆ กันเลย ทั้งปัญหาน้ำท่วม ปัญหา ถนนขรุขระปัญหาโจรขโมย ไฟฟ้า ไฟทางมีปัญหา สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาจริง ๆ ในหมู่บ้าน จัดสรรเท่าที่ฟังมาส่วนใหญ่จะเป็นเมืองใหญ่ เมืองที่เป็นกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พื้นที่ของผมก็จะมีบึงคำพร้อย ลำลูกกา บึงทองหลาง ลำไทร บึงคอไห พืชอุดม บึงสนั่น บึงน้ำรักษ์ บึงบอน บึงบา หนองสามวัง ศาลาคลุ ๑๒ ตำบลนะครับท่านมีปัญหาทั้งสิ้นเลย ผมจะยกตัวอย่าง
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ปัญหาแรก ก็คือปัญหาของการใช้เวลานานมากในการที่ผู้จัดสรรที่ดินจะโอน ให้กับทางเจ้าของบ้านกว่าจะจัดตั้งได้ อย่างน้อยคือ ๗ ปี อันนี้คือหมู่บ้านที่ขายดีด้วย ขายหมดภายในปี ๒ ปี แต่กว่าเขาจะให้โอนนี่ใช้เวลานานมากนะครับ ใช้เวลาถึง ๗ ปี อันนี้ คือหมู่บ้านที่เป็นปัญหาแรก
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ปัญหาที่ ๒ ก็คือไม่สามารถจัดตั้งนิติบุคคลได้ก็คือหมู่บ้านเก่า ๆ ก็คือตั้งแต่ ๑๕ ปี ๒๐ ปีถึง ๓๐ ปี ลำลูกกามีหลายหมู่บ้านเลยที่เป็นเช่นนั้นนะครับ ตอนนี้เมื่อไม่มีการ ตั้งนิติบุคคลปัญหาก็คือว่าไม่มีการดูแลพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหาทะเลาะวิวาทระหว่าง ๒ บ้าน เพราะว่ามีการต่อเติม มีการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ พื้นที่กลับรถ มีการนำกระถางดอกไม้มาวาง มีปัญหาน้ำท่วม หลาย ๆ อย่าง ยกตัวอย่างหมู่บ้าน ๑ ที่ผมเข้าไปคุยน้ำท่วมถึงเข่าตรงนี้ ร้องเรียนมานานมากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เราจะพยายามเข้าไปช่วยก็คือท่อตรงนั้นเป็น ท่อเก่า หมู่บ้านนี้ประมาณ ๒๕ ปี ท่อระบายน้ำก็เล็ก พอฝนตกทีไรน้ำก็ท่วม ทำได้เต็มที่คือ ลอกท่อ แต่เมื่อท่อระบายน้ำมันเล็กลอกไปเท่าไรมันก็ไม่ออก แล้วปัญหาที่ต้องแก้คือจะต้อง รื้อท่อใหม่ทั้งหมู่บ้าน ซึ่งเทศบาลเข้ามาช่วยไม่ได้เพราะเป็นพื้นที่ของเอกชน อันนี้คือปัญหาที่ เราเจอแล้วก็พยายามให้เขาจัดตั้งนิติบุคคลก็ไปล่ารายชื่อ ล่าเท่าไรก็ได้ไม่ถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นอันนี้ผมถึงสนับสนุนร่างของคุณธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ โดยเฉพาะมาตรา ๕ ร่างมาตรา ๕ ที่ว่าให้ที่ประชุมเกินกึ่งหนึ่งก็สามารถที่จะจัดตั้งนิติบุคคลได้แล้ว ไม่ต้องไปล่า รายชื่อทั้งหมู่บ้าน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของหมู่บ้าน ยากมาก ๆ ครับ เพราะหลายคนทิ้งบ้านไป แล้วตามหาไม่เจอ หลายบ้านก็เป็นบ้านเช่าตามหาไม่เจอจริง ๆ อันนี้เป็นกฎหมายที่ดีมาก ๆ อยากจะสนับสนุนให้ท่านผ่านร่างตรงนี้กันไปเพื่อเราจะได้มาแก้ปัญหาร่วมกัน
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ปัญหาที่ ๓ ก็คือว่าเมื่อเทศบาลไม่สามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาได้แล้วถูก ลูกบ้านร้องเรียนมา ถูกลูกบ้านด่า เทศบาลไม่รู้จะทำอย่างไร จะเข้าไปช่วยก็อาจจะโดน ตรวจสอบจาก สตง. ป.ป.ช. เพราะฉะนั้นเทศบาลบางคนควักกระเป๋าตัวเองออกไปนะครับ ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ บางครั้งเขาก็ออกให้เพื่อไปซ่อมบำรุงให้ อันนี้คือไม่ได้ลงเป็นการทำงานนะครับ แต่ว่าเอาเงิน ส่วนตัวช่วยเหลือเขาไป ตรงนี้ก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนี้อะไรอีก ก็คือยาเสพติด ยาเสพติด ยาบ้า กัญชาก็ไม่มีคนดูแล เพราะว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้มีนิติบุคคลที่จะไปดูแล ไม่มี ตำรวจวิ่งเข้ามาตรวจสอบให้นะครับ เวลาจะติดต่อตำรวจก็จะยากนิดหนึ่ง เพราะว่าไม่มี นิติบุคคลช่วยดูแล ชุมชนต้องดูแลกันเอง ปัญหาลักขโมย การบุกรุก การจี้ปล้นก็เกิดขึ้น อุบัติเหตุต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาที่เป็นเรื่องปกติของหมู่บ้านเก่า ๆ ในเมืองใหญ่ ๆ ที่ผมได้กล่าวมาทั้งสิ้นเลยนะครับ ปัญหาเพิ่มเติมอย่างที่กล่าวไปก็พวกไฟดับไฟทาง เมื่อไฟดับไม่มีคนมาซ่อม โดยเฉพาะหมู่บ้านที่ต้องขับรถเข้าไปลึกนิดหนึ่งไฟทางไม่มีก็เกิด อุบัติเหตุได้ เกิดการจี้ปล้นได้นะครับ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ก็อยากให้ร่างนี้ผ่าน โดยขอบคุณ ท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ พรรคก้าวไกล แล้วก็คุณธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย ที่ร่วมกันเสนอร่างนี้มา เพราะฉะนั้นผมก็สนับสนุนร่างนี้แล้วก็อยากให้ผ่าน เราจะช่วยกัน แก้กฎหมายนี้ไปด้วยกันนะครับ ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เชิญครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผมอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... ซึ่งเสนอโดยท่าน สส. ดอกเตอร์ ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ที่อยู่อาศัยนั้นถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่สำคัญของมนุษย์ รัฐบาลแทบจะทุกประเทศก็ประกาศ พันธกิจว่าคนในประเทศของเขาประชากรของเขานั้นทุกคนจะต้องมีบ้าน รัฐบาลไทยก็เคย ประกาศว่าภายในปี ๒๕๗๙ คนไทยทุกคนต้องมีบ้าน บ้านหรือที่อยู่อาศัยนั้นก็มี หลายรูปแบบ มีวิวัฒนาการ มีลำดับขั้นตอน แต่สิ่งที่เราจะชี้ชัด ๆ Focus ลึก ๆ ไปที่ธุรกิจ บ้านจัดสรร เพราะว่ากระทบกับคุณภาพชีวิตของผู้คนจำนวนมากในสังคมไทย ในแต่ละปี มูลค่าหรือขนาดธุรกิจของธุรกิจบ้านจัดสรรอย่างไม่ได้ ๆ แต่ละปีตกประมาณเฉียด ๆ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ปีนี้ก็ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทครับ มีผู้คนได้รับผลกระทบจำนวนมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่าเรามีวิวัฒนาการมีขั้นตอนของการแก้ปัญหา ปัญหามีไว้แก้ครับ แล้วก็มา โดยลำดับขั้น แต่ว่าธุรกิจบ้านจัดสรรในอดีตปัญหาเยอะกว่านี้ครับ เช่น ดาวน์น้อยผ่อนนาน ดาวน์ไปตั้งนานไม่ได้เห็นตัวบ้านก็มีครับ ตอนซื้อบ้านบอกว่าจะได้บ้านต่างระดับ อยู่ไปไม่ถึง ๒ ปีต่างระดับจริง เพราะบ้านทรุด แล้วก็ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาช่วยเหลือ เราก็วิวัฒนาการ ออกกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น สคบ. หรือแม้แต่กลไกของสภาเราก็มีกรรมาธิการคุ้มครอง ผู้บริโภคและช่องทางอื่น ๆ ก็ต้องให้เครดิตของวิวัฒนาการและขั้นตอนการพัฒนาทาง กฎหมาย ผมชี้ชัดไปที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งชื่อว่าร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... ซึ่งเสนอเข้ามาได้ครบถ้วนรอบด้าน ความจริงก็ต้องขอเอ่ยนามว่าอีก ๑ ฉบับนอกเหนือจากฉบับของท่าน สส. ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย ก็มีฉบับของ สส. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ กับคณะ ผมจะชี้ไปให้เห็นปัญหาของนิติบุคคล ความจริง นิติบุคคลไม่ได้มีเฉพาะนิติบุคคลบ้านจัดสรรนะครับ มีนิติบุคคลอาคารชุดและอีกหลาย รูปแบบ แต่ในชั้นนี้เราจะชี้ปัญหานิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มันเป็นเรื่องแปลกว่าพอจะตั้ง นิติบุคคลบ้านจัดสรรมันจะมีป้อมแยกทางความคิดแตกต่างกัน ๒ ค่าย บางโครงการก็เป็น การเห็นต่างระหว่างผู้จัดสรรที่ดินกับผู้ซื้อหมู่บ้านจัดสรร หรือบางโครงการก็แตกเป็น ๓ ฝ่าย คือผู้จัดสรรที่ดิน ผู้ซื้อบ้านฝ่ายหนึ่ง แล้วก็ผู้เห็นต่างกับผู้ซื้อบ้านอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นเรื่องนี้ ถ้าบริหารจัดการไม่ดีแม้จะมีเครื่องหมายมันก็จะถูกลิดรอนและประชาชนเข้าถึงสิทธิ ประโยชน์ขั้นพื้นฐานของการเป็นเจ้าของบ้านถามว่าเราจะแก้ปัญหาเรื่องนิติบุคคลนี้ได้ อย่างไร ผมมีข้อสังเกตอยู่ ๕ ประการด้วยกัน ซึ่งก็ต้องขอเรียนว่ายึดเอาตามร่างที่ สส. ดอกเตอร์ธีรรัตน์นั้นเป็นผู้เสนอ ผมมีข้อสังเกต ๕ ประการ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ ควรจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาให้ผู้จัดสรรที่ดินนั้น จะต้องเรียกหรือจะต้องแจ้งให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรนั้นได้ทราบถึงสิทธิ แล้วก็จัดประชุมเพื่อจัดตั้ง นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้จัดสรรที่ดินทำเฉย ๆ เลย ๆ โทรศัพท์ที่ท่านเรียกติดต่อไม่ได้ นี่ไม่ได้นะครับ เพราะฉะนั้นประการที่ ๑ เป็นเรื่องสำคัญต้องกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน ซึ่งในชั้นที่จะส่งไปให้รัฐบาลดูนั้น ผมคิดว่าจะมี Guru ผู้รู้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันตรวจ ช่วยกันคิด ช่วยกันดู
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ที่ขออนุญาตตั้งข้อสังเกต ท่านประธานครับ ควรจะมีบทบัญญัติ ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรนั้น สามารถจะเป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรได้ กรณีนี้แยก เป็น ๒.๑ กรณีที่ซื้อบ้านแล้ว ผู้จัดสรรที่ดินติดต่อไม่ได้หายไป โทรไปไม่รับ โทรกลับก็มีโทร อันนี้ควรจะให้สิทธิกับผู้ซื้อบ้านจัดสรร ๒.๒ ระยะเวลาที่มันเนิ่นนานเกินไปทำให้ผู้ซื้อบ้าน จัดสรรนั้นเสียสิทธิ ก็เปิดโอกาสให้มีบทบัญญัติให้สามารถจัดตั้งนิติบุคคลได้
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ สามารถเรียกประชุม เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรโดยสามารถ ใช้เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง หมายความว่าถ้าหมู่บ้านนั้นมี ๑๐๐ Unit หรือพูดภาษาชาวบ้านคือมี ๑๐๐ หลังคาเรือน ผู้มาจัดตั้งนิติบุคคลก็ควรจะมีตั้งแต่ ๕๑ หลังคาเรือน หรือ ๕๑ Unit เป็น ต้นไป แต่เรื่องนี้ระมัดระวังอย่างนี้ว่าจะต้องไม่ลิดรอนสิทธิของผู้ซื้อบ้านเสียงข้างน้อย เช่น เสียงข้างมาก ๖๐ ๔๐ นี้ก็ต้องมีส่วนร่วมมีพื้นที่ความเห็นต่างให้เขาด้วยจะเลือก รปภ. บริษัทไหน จะเอาไม้กั้นเข้าหมู่บ้านยี่ห้ออะไร กล้องวงจรปิดจะติด ๘ ตัว ๔๐ ตัว หรือกี่ตัว เขาต้องมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจด้วย แม้จะเป็นเสียงข้างน้อย
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๔ ต้องมีการกำหนดอำนาจของคณะกรรมการเพื่อคุ้มครอง ผู้ซื้อที่ดินด้วย เพราะไม่เช่นนั้นเมื่อได้รับผลกระทบแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะต้องไปร้องเรียนใคร ไม่ฉะนั้นก็มาสภา ไม่เช่นนั้นก็ไป สคบ. ควรจะมีการกำหนดบทบาทหน้าที่
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๕ ถ้าทำ ๔ ข้อนี้ได้ ท่านประธานครับ จะเป็นการฟื้นเรียกคืน ความมั่นใจ เรียกคืนความเชื่อมั่นของธุรกิจบ้านจัดสรรและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมเชื่อมั่น เหลือเกินว่าถ้าสภาของเราได้ร่วมด้วยช่วยกันในการพิจารณาทุกข้อเสนอ ทุกร่างแบบ ครบถ้วนรอบด้าน เปิดพื้นที่คนเห็นต่างอย่างสร้างสรรค์ เราจะนำมาซึ่งการสร้างความเชื่อมั่น ให้กับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภาคที่อยู่อาศัยของคนไทย และขอให้มั่นใจว่าภายใต้การนำ ของรัฐบาลชุดนี้ ภายในปี ๒๕๗๙ คนไทยทุกคนจะมีบ้านอยู่อย่างแน่นอนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
อีก ๓ ท่าน ท่านแรก ท่านกิตติภณ ปานพรหมมาศ ท่านที่ ๒ ท่านธนเดช เพ็งสุข ท่านที่ ๓ ท่านสรวีย์ ศุภปณิตา เชิญ ท่านกิตติภณ ปานพรหมมาศ เชิญครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม กิตติภณ ปานพรหมมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต ๔ พรรคก้าวไกล ผมขอร่วมอภิปรายสนับสนุนญัตติ หลักการและเหตุผล ของ สส. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และเพื่อนสมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่เสนอแก้ไขเพิ่มเติมของพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ก่อนอื่นผมขอเกริ่นในประเด็นที่ผมจะอภิปรายเป็นต้นตอของ ปัญหาที่อาจจะไม่ได้ถูกพูดถึงเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน คือเรื่องของโครงสร้างของโครงการ โดยปกติการทำพื้นที่การจัดสรรเพื่อการทำหมู่บ้านจะมีถนนที่เป็นพื้นที่ส่วนกลาง ที่ใช้ร่วมกันกับคนในหมู่บ้าน ซึ่งเจ้าของโครงการและผู้รับเหมาจะมีการทำแบบขออนุญาตสร้าง ส่งไปที่ท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบต. หรือเทศบาลก็ตาม โดยในแบบต้องมีขนาดตามกฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งเราจะเห็นว่าแบบก่อสร้างถึงแม้จะมี มาตรฐานตามหลักวิศวกรรมไว้แล้ว แต่ในความจริงเลย การทำหมู่บ้านจัดสรรในกรณีที่ เจ้าของลงทุนเองเป็นส่วนใหญ่ ก็เมื่อทำการก่อสร้างในพื้นที่ที่ไม่สามารถขายได้หรือโครงการ ที่เหมือนจะขาดทุนนะครับ ส่วนนี้ก็จะกลายเป็นการเพิ่มต้นทุนของเจ้าของโครงการ จึงมีการ ก่อสร้างที่ไม่ได้เป็นตามรูปแบบที่กำหนด ลด Spec ไม่ว่าจะเป็นเหล็กเส้น ความหนาของ ถนน เพราะไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาตรวจสอบในระยะยาว ทั้งนี้ปัญหานี้ก็นับว่าเป็นปัญหา หนึ่งในความเดือดร้อนที่จะตกกับลูกบ้านที่เป็นพี่น้องประชาชนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม เข้าใจว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลเป็นพื้นที่ภาคเอกชนนะครับ ไม่ใช่พื้นที่ สาธารณะที่ท้องถิ่นจะเข้าไปดูแลได้ แต่ในมุมมองของผู้บริโภคก็มองว่าท้องถิ่นอาจจะต้องเข้า ไปควบคุมดูแลตรวจสอบคุณภาพให้เป็นไปตามแบบก่อสร้างหรือไม่นะครับ เพื่อลดความ เดือดร้อนในอนาคตที่จะเกิดขึ้นและโดยตรง โดยส่วนใหญ่เลยโครงการเหล่านี้ครับเมื่อผ่านไป เวลาสัก ๓ ปีก็จะมีการยกพื้นที่ส่วนนี้ให้ท้องถิ่นหรือยกเป็นสาธารณะ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ทั้งนี้ผมขอกล่าวเล่ายกตัวอย่าง ทำให้มีกรณีหมู่บ้านหลาย ๆ หมู่บ้านที่อาจจะเป็นหมู่บ้าน ๖-๗ หลังที่ไม่เข้าข่ายการจัดสรร ที่ดินตรงนี้ ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ครับท่านประธาน เพราะถึงจะเป็นโครงการขนาดเล็ก แต่ก็มีความ จำเป็นที่ใช้ถนนสัญจรเข้าออกไปมาเช่นกัน ผู้ประกอบการหรือโครงการต่าง ๆ ก็มักจะ แก้ปัญหาในการลด Spec แล้วก็รีบยกให้กับท้องถิ่น หรือยกให้สาธารณะ หลังจากเสร็จสิ้น โครงการหรือขายหมด ท้องถิ่นก็รับมาโดยไม่ทราบว่าถนนที่ได้รับมานี้มีมาตรฐานแบบใด ทำให้กลายเป็นปัญหาของท้องถิ่นในอนาคตที่ต้องใช้งบประมาณตรงนี้ในการแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ผมขอยกตัวอย่างในอีกโครงการที่เกิดปัญหาในการขออนุญาตใช้ทางสาธารณูปโภค ในพื้นที่จัดสรรที่ดิน ในตำบลนาราภิรมย์ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผม เป็นผู้แทนราษฎร มีการจัดสรรที่ดินแบ่งขายล็อก และมีถนนทางเข้าโครงการที่มีระยะทาง กว่า ๒ กิโลเมตร แต่พื้นที่ส่วนกลางนั้นก็ยังไม่ได้ยกเป็นสาธารณะ เพราะเจ้าของมีโครงการ แล้วก็มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ถนนเส้นนี้ผ่านเข้าออก ดังนั้นถนนเข้าหมู่บ้านจึงถูกใช้ ร่วมกับถนนรถสิบล้อขนดิน ซึ่งผ่านเข้าโครงการตลอดไปมา มีทั้งฝุ่นแล้วก็เศษดินตกลง ถนนมากมาย ทำให้เกิดถนนทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว เพราะว่าถนนที่ทำมานั้นรับรองเพียงรถ ขนาดเล็กเท่านั้น ไม่ได้รองรับรถบรรทุกที่วิ่งขนดินวิ่งเข้าออกไปมาสร้างความเดือดร้อนที่ตก กับพี่น้องประชาชนที่อยู่บ้านการจัดสรรแห่งนี้ โดยไม่สามารถกระทำใด ๆ เลย เนื่องจาก ที่ดินนั้นก็เป็นถนนอีก ๑ แปลงที่อยู่ในการครอบครองของโครงการหมู่บ้านเช่นกัน อีกประเด็นครับท่านประธาน ระบบน้ำประปาเข้ากับการจัดสรรที่ดินในพื้นที่ต่างจังหวัด ท่านประธานครับ ผมคิดว่าปัญหานี้อาจจะไม่ได้เกิดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่มัน เกิดในพื้นที่ต่างจังหวัด เป็นที่ทราบกันดีครับว่าระบบน้ำประปาในต่างจังหวัดนั้นส่วนหนึ่ง จะเป็นระบบน้ำประปาบาดาล ซึ่งในพื้นที่การทำน้ำประปาบาดาลของหมู่บ้านนั้น เจ้าของ โครงการจะขุดเจาะน้ำบาดาลเอง ซึ่งแน่นอนก็จะสามารถลดต้นทุนได้เป็นอย่างมาก โดยอาจจะไม่คำนึงว่าการทำน้ำประปานั้นจะต้องมีแหล่งน้ำที่มีปริมาณเพียงพอใช้ไปได้ อีกกี่ปี หรือระยะความลึกที่จะไปจะตื้นลึกแค่ไหนจะมีการปนเปื้อนของน้ำผิวดินหรือไม่ เพราะเน้นราคาที่ถูก แต่หากระบวนการนี้มีการโอนเข้ามาท้องถิ่นตั้งแต่เริ่มอาจจะมีการเจาะ ที่เพียงพออย่างน้อยลึก ๑๖๐ เมตร ถึง ๒๐๐ เมตร เพื่อลดการปนเปื้อนจากน้ำผิวดินที่ทำให้ คุณภาพน้ำดีขึ้นได้เช่นกัน อีกครั้งในสภาพความเป็นจริงการวางท่อ Main เพื่อจ่ายไปในบ้าน ต่าง ๆ ที่จะใช้ท่อ PVC ที่มีความหดตัวได้น้อย และมีความเปราะบาง การขุดฝังท่อลักษณะนี้ เกิดการทรุดตัวได้ง่าย แต่ในโครงการรัฐก็จะมีการวางท่อ PE ที่ไม่มีเส้นรอยต่อ มีขนาดยาว ได้หลายร้อยเมตร เหมาะกับการฝังดินมากกว่า แต่แน่นอนครับอาจจะต้องแลกกับการลงทุนที่สูงขึ้น คุณภาพ เหล่านี้จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อมีระเบียบและกฎหมายที่บังคับอย่างชัดเจน สุดท้ายผมหวังว่า สภาแห่งนี้จะสนับสนุนให้มีการปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน ที่กำหนดให้อำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น คณะกรรมการเพื่อคุ้มครองพี่น้องประชาชนและ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะป้องกันไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการจัดสรรที่ดินที่ละเลยพี่น้อง ประชาชน และควรมีมาตรการแก้ไขและมุ่งไปที่การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งจะเป็น วิธีที่ทำให้ผู้ที่ซื้อที่ดินจัดสรรนั้นได้รับผลประโยชน์อย่างถึงที่สุด แล้วก็ปิดช่องทางที่จะสร้าง ผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืนครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านธนเดช เพ็งสุข เชิญครับ
เรืออากาศโท ธนเดช เพ็งสุข กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม เรืออากาศโท ธนเดช เพ็งสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม พรรคก้าวไกลครับ ท่านประธานที่เคารพครับร่าง พ.ร.บ. ทั้ง ๒ ร่าง ที่ผู้เสนอยื่นต่อสภาวันนี้ ล้วนมีความสอดคล้องกัน และถูกร่างมาจากปัญหาความทุกข์ร้อนของพี่น้องประชาชน ที่ประสบพบเจออยู่ทุกคืนวัน เป็นปัญหาที่ยืดเยื้อและเรื้อรัง ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่เรา ไม่เห็นทางออกอย่างชัดแจ้งมาเป็นเวลานาน ก่อนที่ผมจะลุกขึ้นอภิปรายครั้งนี้ผมได้ ปรึกษาหารือกับเพื่อน สส. หลายคน ได้โทรศัพท์ไปถามเพื่อนสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ว่าเขาเจอปัญหาเดียวกับที่สภาแห่งนี้กำลังเจออยู่หรือเปล่า ก็เจอคล้าย ๆ กันปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับที่ดินที่ถูกทิ้งร้าง จึงทำให้คิดได้ว่าวันนี้สภาแห่งนี้ควรที่จะไว้วางใจและเห็นชอบ ร่างนี้และแก้ไขไปพร้อม ๆ กันครับ ปัญหาหมู่บ้านเอกชนถูกทิ้งร้าง ปัญหาที่ดินเอกชนที่ไม่ใช่ สาธารณประโยชน์ที่พี่น้องประชาชนกำลังพบเจอกับความเดือดร้อนทุกวันนี้ เป็นปัญหาที่ ไม่มีใครอยากเจอ แล้วก็เป็นปัญหาที่พวกเขาไม่คิดว่าจะเจอด้วยซ้ำไป วันที่พี่น้องประชาชน ตัดสินใจซื้อหมู่บ้านหลังหนึ่ง ย้ายสำมะโนครัวไปที่ ๆ หนึ่ง หรือไปตั้งถิ่นฐานในภูมิลำเนาใด ภูมิลำเนาหนึ่ง พวกเขาคาดหวังว่าพื้นที่ที่เขาจะตั้งมั่นอยู่ ณ ตรงนั้นจะเป็นพื้นที่ที่สร้างความสุข สร้างความสงบ แล้วก็เป็นพื้นที่ที่อบอุ่นสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจและใช้ชีวิตในอนาคต สืบไป แต่สิ่งที่พี่น้องประชาชนพบเจอกับความเป็นจริงในหมู่บ้านนั้น ๆ ก็คือการถูกทอดทิ้ง บ้างเลือกซื้อในหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่คิดว่าเป็นกลุ่มทุนชั้นขนาดใหญ่ที่มั่นใจได้ว่าไม่ทอดทิ้ง แน่ ๆ แต่ก็ยังถูกทอดทิ้ง บ้างลดขนาดหมู่บ้านลงมาก็ยังถูกทอดทิ้งเหมือนกัน วันที่เขา ตัดสินใจจากวันนั้นจนวันนี้หลายคนก็ได้แต่มองหน้ากันแล้วก็ยอมรับชะตากรรม พวกเขาคิด ว่าน่าจะได้อยู่ในบ้านที่มีสาธารณูปโภคที่ครบ น่าจะได้อยู่ในบ้านที่มีการดูแลระบบระบายน้ำ ต่าง ๆ ได้ดี แต่แล้วกาลเวลาหลังจากที่ถูกเขาทิ้ง กาลเวลาก็ค่อย ๆ ทยอยทำท่อระบายน้ำ เหล่านั้นตีบตัน แล้วก็ตื่น สุดท้ายก็เกิดน้ำท่วม หันซ้ายหันขวาโทรหาข้าราชการ หันซ้ายหันขวา โทรหาผู้แทน ข้าราชการก็บอกว่าเข้าไปช่วยไม่ได้ เพราะว่านั่นคือที่เอกชน ผู้แทนราษฎร ผู้แทนท้องถิ่นหลาย ๆ คนก็ต้องควักเนื้อสนับสนุนและจ้างภาคเอกชนเข้ามาทำ ปัญหาเหล่านี้เรื้อรังมาตราบนานเท่านานครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องให้ความเป็นธรรมแล้ว ความชอบธรรมกับกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่ว่าเขาไม่พยายามทำอะไรเลย อย่างน้อยเขาก็ พยายามที่จะลอกท่อระบายน้ำในเส้น Main หลัก แต่จะมีประโยชน์อันใด ในขณะที่เส้นเลือด ฝอยที่เป็นหมู่บ้านนั้นยังท่วมสูงถึงเข่า บางบ้านมีเด็ก บางบ้านมีผู้ป่วย ในวันที่ฝนตก มันน่าเศร้าครับท่านประธาน มองออกมายังถนนที่แห้งกริบ แต่บ้านของเขาท่วมถึงเข่า ปัญหาเหล่านี้ถูกละเลยแล้วถูกการที่พยายามจะแก้ไขมานานครับ แต่ก็ยังไม่เคยมีการแก้ไข ที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ชัดเจน พวกเขาหวังจะได้อยู่ในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัย มี รปภ. รักษาการอย่างมั่นคง แต่สิ่งที่พบเจอจริงคือป้อม รปภ. ที่ถูกทิ้งร้างพร้อมกับกล้องวงจรปิดที่ ห้อยเสียหาย ความหวังสุดท้ายของพวกเขาคือไฟส่องทางถนนครับ แต่ก็เฉกเช่นเดียวกัน กาลเวลาไฟแต่ละดวงก็ค่อย ๆ ดับชำรุดทรุดโทรมกันไป การไฟฟ้าก็ช่วยไม่ได้ ภาคราชการ ก็ช่วยไม่ได้ ก็ด้วยเหตุผลเดิมครับ นี่คือที่เอกชน หรือที่ที่มีบุคคลครอบครองอยู่ บางหมู่บ้านคาดหวังว่าจะมีสวนสาธารณะที่ดี มีทางถนนผ่าน ที่สะดวก แต่เมื่อชำรุดแล้วสุดท้ายพวกเขาก็ต้องรวมหารสตางค์กันเพื่อซ่อม หรือไม่ก็ต้อง ปล่อยไปตามยถากรรม นี่คือทุกข์ร้อนของพี่น้องประชาชนที่เจออยู่ทุกคืนวัน และมากขึ้น ในทุกวี่ทุกวัน ผมยกตัวอย่างหมู่บ้านในเขตลาดพร้าวครับ มีหมู่บ้านลาดพร้าววิลเลจที่ยัง ไม่เคยได้แก้ไข หมู่บ้านระเบียงทอง หมู่บ้านอยู่เจริญ ๑๑ หมู่บ้านเลิศอุบล ๔ โครงการ ๒ หมู่บ้านเสนานิเวศ โครงการ ๒ เสนานิเวศ โครงการ ๒ นี่แล้วใหญ่เลยครับท่านประธาน เจ้าของหมู่บ้านเป็นกลุ่มทุนน้ำเมาขนาดใหญ่ ทิ้งร้างไม่สนใจใยดีใด ๆ เลย สวนสาธารณะ ที่เคยเป็นที่ออกกำลังกายกลายเป็นพงหญ้าเกิดเพลิงไหม้อยู่หลายครั้ง และยังมีซอยลาดพร้าว วังหิน ๔๙ อีก ที่เจ้าของโครงการเอาที่ดินส่วนกลางเข้าไปจำนอง และยังมีหมู่บ้านอีกหลาย หมู่บ้านในเขตบึงกุ่ม ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านเสนา ๘๘ หมู่บ้านเคหะธานี ๒ หมู่บ้านพรบดินทร์ ซอยนวมินทร์ ๑๕๗ หมู่บ้านปัฐวิกรณ์ ๒ รามอินทรา ๔๔ หรือแม้กระทั่งหมู่บ้านทอรุ้ง ซอยนวมินทร์ ๑๑๑ นี่คือตัวอย่างจาก ๒ เขต คือลาดพร้าว-บึงกุ่ม จาก ๕๐ เขต กรุงเทพมหานคร ปัญหาที่พวกเราเจอกันอยู่นี้มิใช่เพียงแค่ตัวแทนจาก สส. กทม. มา อภิปรายอยู่ ผมได้หารือกับเพื่อน สส. สุภกร เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขาก็พบเช่นกัน ผมได้หารือกับ สส. ฝั่งธนบุรี ท่าน สส. ปวิตรา จิตตกิจ ๕ เขต ๑๑ แขวง ก็เจอปัญหาเฉกเช่น เดียวกัน สส. กทม. ๓๒ คนของพรรคก้าวไกล ก็เห็นพ้องต้องกันว่านี่คือปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข และอยากให้มันจบ มิเพียงแค่นั้น แต่ยังเป็น สส. กทม. ทั้งจังหวัด ๓๓ เขตรวมถึงเพื่อน สมาชิกอีกหลาย ๆ เขตเลือกตั้งที่อยากแก้ไขปัญหานี้ให้จบในห้วงเวลาเดียวกัน ท่านประธาน ที่เคารพครับ ร่าง พ.ร.บ. นี้จึงเปรียบเป็นเหมือนแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่จะช่วยเยียวยา และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่กำลังทนทุกข์ทนลำบาก ผ่านฤดูฝน ผ่านฤดูหนาว ผ่านฤดูร้อน แต่ก็ไม่เคยแก้ไขปัญหาได้ ฤดูฝนที่ควรอยู่บ้านอย่างสงบกับต้อง แบกถุงทรายมากั้นประตูบ้าน เอาให้มันจบในสภาชุดนี้ล่ะครับ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อนสมาชิกทุก ๆ คนจะเห็นชอบและร่วมสนับสนุน พ.ร.บ. แห่งนี้และจบปัญหานี้ ในสภาชุดที่ ๒๖ ของพวกเรา แก้ไขหาทางออกร่วมกันและพาพี่น้องประชาชนไปสู่แสงสว่าง ด้วยกันครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านสรวีย์ ศุภปณิตา เชิญครับ ท่านสรวีร์อยู่ไหมครับ
นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทน ราษฎรที่เคารพครับ กระผม นายสรวีย์ ศุภปณิตา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต ๑ พรรคก้าวไกลครับ วันนี้จะขอร่วมอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน ฉบับของท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แห่งพรรคก้าวไกล และร่วมกับท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ แห่งพรรคเพื่อไทย ทั้ง ๒ ฉบับครับ ขอสนับสนุนการร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับนี้ คือพี่น้องประชาชนผู้เก็บออมเงินจะมาซื้อบ้านจัดสรรแต่ละหลังนี้ต้องใช้เงินจำนวนมาก เพื่อเป็นความหวังของครอบครัวทั้งตนเองและอนาคตของบุตรหลาน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น มันมากมายครับ ท่านเพื่อน ๆ ผู้แทนราษฎรได้อภิปรายไปแล้วปัญหาไม่ซ้ำกัน กระผมอาจจะ อภิปรายบางส่วนที่อาจจะซ้ำกันบ้างนะครับ เริ่มจากการจัดสรรที่ดินเดิมมีประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ พ.ศ. ๒๕๑๕ ก่อนหน้านั้นยังไม่มีพระราชบัญญัติควบคุมการจัดสรร ที่ดิน จึงมีประกาศคณะปฏิวัติขึ้นมา ก็มีช่องโหว่ครับผู้ประกอบการบางรายจะนำที่ดินมา จัดสรรซื้อโฉนดก็อาจจะแพงจะกำไรน้อย ก็ใช้ช่องโหว่ของกฎหมายไปหา น.ส. ๓ หรือ น.ส. ๓ ก. เป็นช่องโหว่ในการมาจัดสรร เพื่อจะได้ไม่ต้องเข้าสู่พระราชบัญญัติการจัดสรรหรือ กฎหมายประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ พ.ศ. ๒๕๑๕ เมื่อเวลาผ่านไปทางสภาก็ได้ออก พระราชบัญญัติใหม่ปี ๒๕๔๓ เพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยต่อเหตุการณ์ในขณะนั้น ต่อมาถึงวันนี้ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนไม่ขาดสายครับ โดยเฉพาะผู้ประกอบการจำนวนมากจัดสรร แบบหลีกเลี่ยง ไปแบ่งแยกโฉนดภายในโฉนดละไม่เกิน ๙ แปลง หลาย ๆ โฉนดรวมเป็นบ้านร้อย ๆ หลัง โฉนดที่ดินส่วนใหญ่เป็นชื่อของนิติบุคคลที่เป็นส่วนบุคคลหรือของเจ้าของโครงการที่เป็น บุคคลธรรมดา สาธารณูปโภคก็ทำอย่างไม่น่าเชื่อถือ ใช้ต้นทุนที่ต่ำ ใช้วัตถุดิบในราคาถูก เสร็จแล้วบางแห่งนำโฉนดไปจำนองสถาบันการเงิน ถ้ากิจการล้มเหลวก็ถูกสถาบันการเงินยึด ยึดไปทั้งสิ่งสาธารณูปโภคทั้งหมดครับ ก็เกิดเหตุนี้ขึ้นเป็นเนือง ๆ ต่อมาเมื่อถึงเวลาน้ำท่วม ไฟดับ ท่อระบายน้ำเสีย หมู่บ้านจัดสรรเหล่านั้นซึ่งเป็นพื้นที่เอกชนพี่น้องประชาชนที่ได้รับ ความเดือดร้อนก็ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐก็ขอไม่ได้ เพราะเป็นที่เอกชน หน่วยงานของรัฐก็ไม่สามารถมาช่วยได้ ก็เป็นที่เดือดร้อนของพี่น้องประชาชนอย่างหนักครับ
นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ
ปัญหาต่อมาก็คือ เมื่อถึงเวลาจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็จดไม่ได้ เพราะ ผู้ประกอบการไม่ทำไว้ให้ตั้งแต่แรกเพราะหลีกเลี่ยงการจัดสรรที่ดินมาแต่แรกแล้ว แต่บาง นิติบุคคลที่สามารถทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จก็จดทะเบียนนิติบุคคลมาให้เรียบร้อยครับ แต่ปัญหาคือพี่น้องประชาชนในหลาย ๆ หมู่บ้านส่วนใหญ่เก็บเงินค่าส่วนกลางได้ไม่เต็มที่ เงินจะมาบูรณะหรือซ่อมแซมสาธารณูปโภคก็ทำไม่ได้เงินไม่พอครับ ปัญหาใหญ่พวกนี้มัน ต้องแก้ด้วยการออกกฎหมายครับ ออกกฎหมายฉบับนี้ คือผมอยากจะขอออกความเห็นว่า ควรจะบังคับให้ธุรกิจจัดสรรที่ดินที่ขายแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อขายไปแล้วเกินกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์จะต้องบังคับให้นำสาธารณูปโภค เช่น ถนนที่เป็นโฉนดส่วนบุคคลยกเป็น สาธารณะโดยบทบังคับของกฎหมายเลยครับ หรือแม้แต่บางโครงการที่ขายไม่สำเร็จ เจ้าของ โครงการหนีไป หรือไม่สามารถประกอบกิจการได้แล้ว แต่พี่น้องประชาชนซื้อไว้ไม่เกิน ๓๐ เปอร์เซ็นต์ของโครงการก็อยู่อาศัยลำบาก เมื่อฝนตกน้ำท่วม ท่อระบายน้ำตัน หรือไฟฟ้าดับ ก็ใช้งบประมาณของรัฐบาลมาบูรณะไม่ได้ จะเอาเงินของสมาชิกในหมู่บ้านมาก็มีไม่พอครับ จึงเห็นควรบังคับเลยว่าธุรกิจจัดสรรที่ดินขายไปแล้วประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วกิจการ ล้มเหลวไม่สามารถดำเนินการต่อ พี่น้องประชาชนที่ซื้อไปแล้วขอให้มีคำร้องไปยังหน่วยงาน ของรัฐหรือกรมที่ดินเพื่อนำสิ่งสาธารณูปโภคหรือถนนที่เป็นส่วนบุคคลในหมู่บ้านนั้น ๆ ยกเป็นสาธารณะโดยทันทีครับ โดยบังคับของกฎหมายเพื่อให้การดูแลพี่น้องประชาชน ที่เสียภาษีได้อย่างทั่วถึงครับ เพราะพี่น้องประชาชนเสียภาษีแล้วรัฐบาลควรดูแลอย่างทั่วถึง ไม่จำเป็นต้องไปตั้งนิติบุคคลที่ยุ่งยากต่อไปกรณีที่ธุรกิจจัดสรรของเจ้าของธุรกิจที่จัดสรร แล้วล้มเหลว ควรจะบังคับด้วยกฎหมายให้ยกสาธารณูปโภคเป็นสาธารณะทันทีเลยครับ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐมาดูแลพี่น้องประชาชนให้ทั่วถึงกันครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ ท่านศิริโรจน์ ธนิกกุลศิริ ท่านธัญธร ธนินวัฒนาธร เชิญท่านไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ เชิญครับ
นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ปูอัด ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตจอมทอง ยกเว้นแขวนบางขุนเทียนและเขตบางขุนเทียน เฉพาะแขวงท่าข้าม พรรคไทยก้าวหน้า ท่านประธานครับ ผมนี่เฝ้ารอจริง ๆ ครับในส่วนของ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินนั้น รอมาโดยตลอดทั้ง ๒ ฉบับครับ เพราะว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผมพบเจอมาในการเดินพื้นที่พบหา พี่น้องประชาชนมาโดยตลอด โดยเฉพาะหมู่บ้านจัดสรรที่ถูกทอดทิ้ง ใน กทม. ทั้ง ๓๓ เขต พบเจอเรื่องนี้มาทุกคนแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องของหมู่บ้านที่ถูกทอดทิ้งร้างไว้ โดยเฉพาะ หมู่บ้านที่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำ ไฟ ต้นไม้ โจร ทุกอย่างครับ รัฐไม่สามารถเข้าไป ทำได้ และสิ่งที่ผมมักจะพูดเสมอก็คือ ขอโทษนะครับพี่น้องประชาชนทุกคน รัฐไม่สามารถ เข้าไปทำได้จริง ๆ เพราะว่าเป็นพื้นที่เอกชน แล้วผมคิดว่าคำตอบนี้ผู้แทนราษฎรหลายคน ก็ต้องไปตอบแบบนี้
นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ผมขอยกตัวอย่างให้ดู อย่างเช่น หมู่บ้านสินทวี ท่านประธานครับ ท่านลองดูครับ นี่คือบ้านของประชาชนหน้าบ้าน ของเขาครับ ผมไม่แน่ใจว่าแผ่นดินไหวกี่ Richter แต่หน้าบ้านเขาไปแบบนี้ปัจจุบันแล้ว ซ้ำร้ายเด็กก็ยังหกล้มจนเลือดไหลมาแล้ว แต่ว่าเราพยายามแจ้งไป แต่รัฐก็ไม่สามารถเข้าไป ทำได้ครับ อีกทีหนึ่งครับท่านประธานครับที่เดียวกันเลยครับ นี่อย่างกับชายหาดสินทวีครับ ท่านประธาน น้ำท่วมทีไรขึ้นข้อทุกทีกว่าจะลงมาก็ ๔-๕ ชั่วโมง ๖ ชั่วโมง บางทีก็ไม่ลงเลย แล้วก็บางบ้านมีผู้ป่วยติดเตียงที่ซ้ำร้ายที่ต้องเจอน้ำท่วมแบบนี้ในหมู่บ้านที่ถูกทอดทิ้งร้างมา โดยตลอด ท่านประธานที่เคารพครับ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ใช่ว่าเจ้าหน้าที่ไม่อยากจะแก้ไขนะครับ ผมได้ นำมาให้ดูว่าสิ่งที่เจ้าหน้าที่ตอบกลับมา คือเขาบอกว่าขอแจ้งเบื้องต้นนะครับว่า เป็นซอย ส่วนบุคคล ยังไม่ได้ยกเป็นสาธารณะ ทางเขตไม่สามารถนำงบลงไปปรับปรุงซ่อมแซมได้ ไม่ว่าจะเป็นท่อระบายน้ำ เพราะว่าเจ้าของที่ดินยังไม่ยกเป็นสาธารณะ และต้องยกให้ได้ อย่างน้อย ๑๕ ปี จึงจะสามารถเข้าไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงได้ และหมู่บ้านนี้ยังมี การจดนิติบุคคล จึงไม่สามารถดำเนินการทำอะไรได้ทั้งหมดเลย เพราะว่าติดกับดักของ ข้อกฎหมาย ผมยกตัวอย่างอีกอย่างหนึ่งครับ ใครเห็นก็ต้องบอกนะครับ ซอยนี้ต้องเป็นซอย สาธารณะแน่นอน คือพระราม ๒ ซอย ๒๕ แต่จริง ๆ แล้ว คือพื้นที่เอกชนครับท่านประธาน ตอนนั้นจัดสรรอย่างไรก็ไม่ทราบครับ แต่ปัจจุบันนี้มีรถที่เข้าออกมากกว่าหลายพันคันทุกวัน แต่ก็ไม่มีใครทราบ โดยพื้นที่ถนนพังไปหมดแล้ว ประชาชนก็แจ้งมาบอกว่า ปูอัด ทำไม สำนักงานเขตไม่เข้ามาซ่อมแซมเลย ผมก็ลองแจ้งไป ตอนแรก ๆ ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ปรากฏว่าสำนักงานเขตก็มาบอกครับว่า ตรงนี้เป็นพื้นที่ที่เป็นเอกชน สมัยก่อน ที่จัดสรร แล้วต้องยกให้อย่างน้อย ๑๕ ปี โดยทำหนังสือสอบถามไปยังกรมที่ดินให้ด้วย ทางเจ้าหน้าที่เขตแล้วก็บอกว่าเจ้าของมี ๑๒ คน แล้วก็เสียชีวิตไปแล้วอีก ๒ คน จึงไม่ สามารถให้เจ้าของยกเป็นสาธารณะได้ ท่านประธานดูสิครับ กับดักกฎหมายขนาดนี้ผมคง ต้องจุดธูปแล้วขอให้ท่านมาเซ็นยกที่ดินก็คงเป็นไปไม่ได้แล้ว ท่านประธานที่เคารพครับ ท้ายที่สุดแล้วผมคาดหวังจริง ๆ ว่า ใน พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินทั้ง ๒ ฉบับนี้ ไม่ว่าจะเป็นของ พรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะเป็นของพรรคก้าวไกล ก็อยากให้ทุกคนช่วยกันลงมติรับทั้ง ๒ ร่างนี้ไว้ เพื่อแก้ไขปัญหาในหมู่บ้านจัดสรรที่ดินที่เป็นปัญหามาอย่างยาวนาน ให้ตรงนี้ได้รับการแก้ไข ที่เป็นทางออกให้กับประชาชนให้มีโอกาสในการมีชีวิตที่ดีที่เท่ากัน ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไป ท่านศิริโรจน์ ธนิกกุล
นายศิริโรจน์ ธนิกกุล สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม ศิริโรจน์ ธนิกกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต ๒ จากพรรคก้าว ไกลครับ วันนี้ผมขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอภิปรายและสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของ สส. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส. บัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ ท่านประธานครับ ต้องบอกว่าในปัจจุบันปัญหาสาธารณูปโภค ในพื้นที่ต่าง ๆ นั้นมีจำนวนที่มากขึ้นเรื่อย ๆ และมักได้รับการแก้ไขค่อนข้างช้าในหลาย ๆ พื้นที่ ไม่อย่างนั้นเพื่อน สส. ไม่ต้องมานั่งหารือกันทุกเช้าหรอกครับท่านประธาน ในวันที่ มีประชุมสภา ปัญหาเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ครับ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน หมู่บ้านปิด หมู่บ้านเปิด หมู่บ้านเอื้ออาทร การเคหะชุมชน หรือบริเวณที่พักอาศัยที่เป็นของพี่น้องประชาชน ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่ในวันนี้ผมจะขอหยิบยกปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านจัดสรรเพื่อให้ สอดคล้องกับการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินฉบับใหม่นี้ให้มากที่สุด พื้นที่ของผมครับ จังหวัดสมุทรสาคร เขต ๒ เป็นชุมชนเมือง หมู่บ้านจัดสรรค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะ ตำบลอ้อมน้อย ตำบลสวนหลวง ตำบลคลองมะเดื่อ ตำบลนาดี และอีกหลาย ๆ ตำบล ซึ่งมีจำนวนประชากรที่หนาแน่นครับ ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรหลาย ๆ ที่ ที่เกิดก่อนปี ๒๕๔๓ หรือเกิดก่อนที่จะมี พ.ร.บ. จัดสรร ปัจจุบันเป็นปัญหาอย่างมาก ชาวบ้านรวมตัวเรียกร้อง กันหลายต่อหลายครั้ง แต่ปัญหานี้ก็ไม่ถูกแก้ไข ในหลาย ๆ พื้นที่เริ่มมีปัญหาชำรุดทรุดโทรม ไปตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นถนน ฝาท่อระบายน้ำ ไฟฟ้าหรือความสะอาด แต่ท่านประธาน ทราบไหมว่าถ้าหมู่บ้านไหนที่ไม่มีการจัดตั้งนิติบุคคล หรือมีก็มีแต่ชื่อ แต่ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้ถูก ดูแลสภาพความเป็นอยู่ หรือเจ้าของที่ดินจัดสรรนี้ปล่อยปะละเลย ทิ้งไปเป็นเวลานาน ความเดือดร้อนของชาวบ้านในประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ใครจะดูแลล่ะครับ ก็ต้องเป็นชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นที่ต้องดูแลกันเอง บางโครงการนี้เลวร้ายมาก ๆ ที่ต้อง ใช้คำว่า เลวร้าย เพราะว่าถึงขั้นบอกให้ชาวบ้านรวมตัวกันซื้อถนนกลางหมู่บ้าน ทั้งที่เป็น ถนนที่ชาวบ้านใช้ร่วมกันมาตั้งแต่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านแล้ว ดูเถอะครับว่าผู้จัดสรรที่ดินนั้น หัวหมอขนาดไหน จะไปพึ่งท้องถิ่นก็ไม่ได้ครับ เพราะว่าพื้นที่มันยังไม่ได้ยกเป็นที่ สาธารณประโยชน์ ตัวผมเองในฐานะผู้แทนประชาชนก็เข้าใจทั้ง ๒ ฝ่าย ท้องถิ่นเองก็อยาก เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านอยู่แล้ว ในฐานะผู้แทนระดับท้องถิ่นที่ชาวบ้านเลือกตั้งกันเข้ามา เพื่อให้ทำงาน แต่ก็ต้องติดระเบียบกฎหมายที่ว่า ถ้านำเงินของรัฐไปดำเนินการในพื้นที่ที่เป็น เอกชน หรือว่าพื้นที่ส่วนบุคคล ก็อาจจะถูกตรวจสอบได้จาก สตง. ส่วนในมุมชาวบ้านเมื่อได้รับความเดือดร้อนก็ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐก่อน บางคนก็เข้าใจว่าทำไมท้องถิ่นหรือภาครัฐเข้าไปช่วยไม่ได้ แต่บางคนก็ไม่เข้าใจใน รายละเอียดและระเบียบทางกฎหมายครับ แถมยังตำหนิเจ้าหน้าที่รัฐกลับมาด้วย วันนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผมจะได้ทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติได้อย่างเต็มที่ที่จะสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดินฉบับนี้เพื่อแก้ปัญหาที่ยังค้างคานี้และไม่มีใครต้องเสียผลประโยชน์ สาระสำคัญของร่างนี้มี ๒ ข้อครับท่านประธาน ข้อ ๑ เราจะกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินต้องแจ้ง ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรนี้จัดตั้งนิติบุคคลภายในระยะเวลา ๓ ปีนับแต่ได้มีการจดทะเบียนโอน ทรัพย์สินไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนแปลงย่อย ข้อ ๒ หากผู้ขายที่ดินจัดสรร ไม่แจ้งให้ผู้ซื้อนั้นจัดตั้งนิติบุคคลภายในระยะเวลา ๓ ปีนับแต่ได้มีการโอนทรัพย์สินไปแล้ว ร้อยละ ๕๐ ของแปลงย่อย ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรนั้นเข้าชื่อร่วมกันเพื่อมีมติให้จัดตั้งนิติบุคคล หมู่บ้านได้เลย ซึ่งทั้ง ๒ ประเด็นนี้ที่จะแก้ไขใน พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดินก็จะมีประโยชน์ให้กับ พี่น้องประชาชนที่ซื้อที่ดินจัดสรรสามารถจัดตั้งนิติบุคคลได้ง่ายขึ้น ทำให้มีส่วนร่วมในการ รักษาสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งถนน ท่อระบายน้ำ การไฟฟ้า ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาขยะใน โครงการที่ตนเองอาศัยอยู่ และในอนาคตยังสามารถร่วมกำหนดการบริหารพื้นที่ตามที่อยู่ อาศัยที่สามารถที่จะยกพื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ได้ เพื่อให้ท้องถิ่นเข้ามาร่วม ดูแลได้ด้วยโดยไม่ขัดต่อระเบียบและกฎหมาย น่าเสียดายครับ น่าเสียดายจริง ๆ ที่เมื่อสักครู่ สส. เท้ง ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ เสนอญัตติให้พิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย ที่ดิน ที่มีเนื้อหาของร่างใกล้เคียงกันโดยมีประเด็นที่จะให้อำนาจกับท้องถิ่นในการที่จะเข้ามา ดูแลพื้นที่ที่เป็นที่รกร้างถูกปล่อยปละละเลยไว้เป็นเวลานาน แล้วก็สร้างความเดือดร้อนแล้ว ก็ความรำคาญให้กับชาวบ้าน ยกตัวอย่างช่วงสักเดือนเมษายน ปัญหามาแล้วครับ ป่าปรือ ดอกอ้อ แต่ละที่ก็จะเรียกไม่เหมือนกัน ตากผ้ากันไม่ได้เลยครับ ปลิวกันให้ว่อนเลย ก็มาจาก ที่รกร้างนี่ละครับ เสียดายมากเลยครับที่สภามีมติไม่เห็นด้วยกับอีกร่าง ไม่อย่างนั้นจะได้ พิจารณาไปพร้อม ๆ กันจะได้ไม่เสียเวลาของสภาด้วย ผมไม่เห็นด้วยเลยครับถ้าวันนี้รัฐบาล จะขออุ้มร่างกฎหมายฉบับนี้ไป รวมถึงร่างของ สส. ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ จากพรรคเพื่อไทยด้วย ก็เป็นประโยชน์ไม่น้อยไปกว่ากันเลย แต่ต้องถูกเตะถ่วงเวลาจากฝ่ายบริหาร ฝ่ายรัฐบาล ชาวบ้านต้องทนเดือดร้อนกันมานานแล้วครับ วันนี้เป็นโอกาสดีแล้วครับที่ร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดินนี้ได้เข้าสภา ได้บรรจุเป็นวาระประชุม อย่าต่อเวลาความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนเลยครับ ปัญหานี้ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ดังนั้นผมจึงขอสนับสนุน ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินฉบับนี้เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและ เท่าเทียมกันอย่างยั่งยืนครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปคุณธัญธร ธนินวัฒนาธร เชิญครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ธัญธร ธนินวัฒนาธร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ ๓๐ บางแคและภาษีเจริญ จากพรรคก้าวไกลครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
วันนี้ผมขอมีส่วนร่วมในการ อภิปรายร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ .... เสนอโดย สส. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และ สส. ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ โดยหลักการ พระราชบัญญัตินี้ก็มีเนื้อหา สำคัญอยู่ ๒ ประการ ประการแรก ก็คือกำหนดระยะเวลาให้ผู้จัดสรรที่ดินแจ้งหรือเรียกให้ ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตั้งนิติบุคคลเป็นภายในระยะเวลา ๓ ปีนับตั้งแต่ที่ได้มีโอนทรัพย์สินแล้ว ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนแปลงย่อยที่ได้จัดสรรที่ดินแล้ว สำหรับประเด็นที่ ๒ ก็คือ กำหนดให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่จัดสรรแล้ว แต่งตั้งตัวแทน เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้เองครับ โดยผมและทีมงานในเขต พื้นที่ก็ได้ลงพื้นที่มาประมาณกว่า ๒ ปีแล้วสำหรับพื้นที่หมู่บ้านจัดสรรที่เป็นชุมชน ดังที่เห็น อยู่ในรูปนะครับ เราได้ประชุมรับฟังปัญหากับพี่น้องประชาชนซึ่งอยู่ในหมู่บ้านชัยมงคล ในเขตบางแค ปัญหาของพี่น้องประชาชนที่รับฟังในพื้นที่นี้ หลัก ๆ ๒ เรื่องครับ ก็หนีไม่พ้น น้ำท่วมและแสงสว่างนะครับ ซึ่งก็นับว่าเป็นปัญหาที่พี่น้องประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงทั่วประเทศไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็หนีไม่พ้น ๒ เรื่องนี้แน่นอนนะครับ ปัญหาน้ำท่วมขัง หน้าบ้านท่านจะเห็นที่ผมลงพื้นที่อยู่แล้วจะอยู่ได้ในรูปด้านขวามือ ไม่ว่าจะไปลงพื้นที่ ตอนไหนครับแม้ว่าฝนจะตกเพียง ๕ นาที ๑๐ นาที หมู่บ้านนี้ก็น้ำท่วมขังทั้งในบ้านและ ออกมานอกบ้าน ไม่ว่าประชาชนจะเดินทางไปอย่างไรก็ยากลำบากมากครับ ต้องเดินลุยน้ำ ขี่มอเตอร์ไซค์ลุยน้ำกันไป แล้วถามว่าหมู่บ้านนี้เขาแก้ปัญหากันอย่างไร ก็อยู่ที่สไลด์ถัดไป นี่คือวิธีการแก้ปัญหานะครับ เครื่องสูบน้ำของกรุงเทพมหานครจะต้องไปตั้งประจำในชุมชน แล้วถามว่าตามมาด้วยอะไรครับท่านประธาน ตามมาด้วยปัญหาราคาน้ำมัน ซึ่งค่าน้ำมัน สำนักงานเขตก็ช่วยออกให้ในฐานะที่เป็นชุมชนอยู่นะครับ รวมถึงประชาชนก็ต้องเรี่ยไร ออกค่าน้ำมันกันเองในกรณีที่ฝนตกหนักและเดินเครื่องตลอดเวลานะครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ปัญหาต่อมาก็คือปัญหามลภาวะทั้งกลิ่นและเสียงของเครื่องสูบน้ำ เครื่องนี้ครับ บ้านไหนที่บ้านอยู่ใกล้ ๆ กับเครื่องสูบน้ำแล้วฝนตกหนักตอนกลางคืน ก็ไม่เป็น อันหลับอันนอนนะครับ ด้วยเครื่องสูบน้ำนี้ในฐานะที่ผมเคยเป็นอนุกรรมการของสำนัก การระบายน้ำกรุงเทพมหานคร ก็เป็นเครื่องลักษณะเก่าซึ่งมีลักษณะเป็นหอยโข่งมีปัญหา ในการบำรุงรักษา สูบไปแป๊บหนึ่งถ้าสูบขึ้นมาเจอกับสิ่งของเสียที่อยู่ในท่อก็จะติดบริเวณ หอยโข่ง เขาก็ต้องหยุดเครื่องแล้วก็ต้องล้วงมือไปดึงของเสียนั้นออกมาครับ ซึ่งบางที ก็หนีไม่พ้นกับประชาชนซึ่งอยู่ในชุมชนหมู่บ้านจะต้องเป็นคนดำเนินการเอง เพราะเรียก เจ้าหน้าที่มาก็อาจจะไม่ทันการณ์นะครับ ซึ่งก็เป็นปัญหาในการบำรุงรักษาอีกทางหนึ่งครับ ปัญหาต่อไปก็หนีไม่พ้นภาระงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งเพิ่มมากขึ้นนะครับทั้งเจ้าหน้าที่ของ สำนักงานเขตเองและเจ้าหน้าที่ของสำนักระบายน้ำ กทม. อย่างที่เห็นในรูปก็มาจากทาง สำนักระบายน้ำ ซึ่งมาคอยบำรุงรักษาให้ตลอดเวลานะครับ ปัญหาเหล่านี้แก้อย่างไรครับ ท่านประธาน ในช่วงหนึ่งปีกว่าที่ผ่านมาผมได้ประชุมจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยรวบรวมประชาชนเจ้าของกรรมสิทธิ์จำนวนครึ่งหนึ่งครับ ด้วยความที่เป็นลักษณะของ หมู่บ้านจัดสรรเก่ามาจัดตั้งนิติบุคคล ซึ่งก็จัดตั้งนิติบุคคลเสร็จสิ้นแล้วนะครับ แต่ปัญหา ก็คือการรวบรวมเอกสารซึ่งต้องประกอบด้วยสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาโฉนดที่ดิน ซึ่งก็ต้องใช้เวลาพอสมควรในการดำเนินการและไปจดทะเบียนกับกรมที่ดิน
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ส่วนนี้ก็คือปัญหาของหมู่บ้านจัดสรรเก่าครับ สำหรับที่ดินเอกชนที่เมื่อสักครู่ สส. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ก็ได้พูดไปว่ามีความเห็นที่ถ้าประกบกับ พ.ร.บ. ที่ดิน ก็จะเป็น ผลดีนะครับในกรณีดังรูปผมไปถ่ายที่แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ ในเขตของผมเองก็เป็น พื้นที่ที่เป็นที่ดินของเอกชนมีปัญหาน้ำท่วมขังมายาวนาน ที่ดินตรงนี้ก็เป็นที่ดินที่พี่น้อง ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน แต่ที่ดินตรงนี้ก็ยังโชคดีที่เราประสานกับเจ้าของพื้นที่ แล้วเจ้าของพื้นที่ก็ยินยอมที่จะยกที่ดินส่วนนี้มาให้สาธารณประโยชน์ ในรูปก็คือการลง หินคลุกในขั้นแรกซึ่งสำนักงานเขตภาษีเจริญก็จะได้ดำเนินการตัดถนนและซ่อมแซมระบบ ท่อประปา ท่อระบายน้ำต่อไป ซึ่งส่วนนี้ก็ต้องเป็นเครดิตของพี่น้องประชาชนซึ่งอยู่บริเวณนั้น ที่ร่วมกันประสานงานให้เกิดขึ้นจริง แต่ในกรณีที่เป็นที่ดินที่ใช้สอยร่วมกันอื่น ๆ เช่น หลังตลาดบางแค ก็มีพื้นที่เหล่านี้เช่นเดียวกันครับ พี่น้องประชาชนใช้สัญจรผ่านกันไปมา ประจำ หาก พ.ร.บ. ที่ดินผ่าน ก็ทำให้เจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียสิทธิในที่ดินของตัวเอง และรัฐ ก็สามารถนำงบประมาณมาพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ผมจึงขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินทั้งของ สส. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แล้วเพื่อน สส. ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ให้สภาได้ร่วมกันลงมติรับหลักการในวาระแรก ให้ปัญหาของพี่น้องประชาชนได้แก้ไขจริง ๆ จัง ๆ เสียทีครับ หากวาระแรกววาระนี้ไม่ผ่าน ถูกนำไปพิจารณาก่อนจะเกิดอะไรขึ้นครับท่านประธาน เราอาจจะพิจารณากันไม่ทันวาระ การประชุมของสภาชุดนี้ เราอาจจะต้องมาล่าช้ากันไปกว่าครึ่งปีเลยกว่าจะได้รับการ พิจารณา พ.ร.บ. ฉบับนี้อีกครั้งครับ ก็ขอเรียกร้องให้พี่น้อง สส. ทั้งหลายร่วมกันลงมติ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนร่วมกันครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๔ ท่านนะครับ ท่านแรกท่านศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ท่านที่ ๒ ท่านณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ ท่านที่ ๓ ท่านบุญเลิศ แสงพันธุ์ ท่านที่ ๔ ท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ เชิญท่านศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ครับ เชิญครับ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน ดิฉัน ทนายแจม ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต ๑๑ เขตสายไหม พรรคก้าวไกลค่ะ สำหรับปัญหาวันนี้ที่จะมาพูดคุย ในเรื่องของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็หลาย ๆ ท่านได้พูดไปแล้วค่ะท่านก็เกี่ยวกับปัญหาว่าทำไมเรา ต้องมาแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ด้วยกัน แล้วก็น่าเสียดายมาก ๆ ที่เราไม่ได้มีการรวมทั้ง ๒ เรื่อง เข้าด้วยกัน เพราะว่าเดี๋ยวจะอธิบายให้ฟังจะเห็นเลยว่าปัญหามันเป็นปัญหาที่มันใกล้เคียงกัน แล้วก็คล้าย ๆ กันมาก ๆ ก็ขออนุญาตขอสไลด์ขึ้นด้วยนะคะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ขออนุญาตพูดปัญหา ของเขตสายไหมค่ะ แขวงคลองถนน แขวงออเงินด้วยก็ตามมีหมู่บ้านจำนวนมากนะคะ เป็นหมู่บ้านที่ถูกทิ้งร้างไว้นาน แล้วก็ไม่สามารถจดตั้งนิติบุคคลได้ รวมไปถึงที่ดินเอกชน หลายที่มาก ๆ ที่มีปัญหาเรื่องของถนน สาธารณูปโภคทำให้ไม่สามารถเข้าไปซ่อมแซมได้ ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมในช่วงหน้าฝนเขตสายไหมบางซอย คือเข้าไม่ได้เลยก็มี ต้องลุยน้ำเข้าไปก็หลายที่มาก ๆ ปัญหาก็จะคล้าย ๆ กับที่เพื่อนสมาชิกหลาย ๆ คนพูดไป ก็คือการที่ที่ดินเป็นเอกชน แล้วก็บางทีก็ไม่สามารถที่จะค้นหาได้ด้วยว่าใครเป็นเจ้าของที่ อะไรอย่างนี้ เป็นการสร้างปัญหาให้กับประชาชนมาก ๆ ค่ะ สำหรับชุมชนเขตสายไหมที่ดิฉัน ได้ลงพื้นที่ไป แล้วก็เจอกับปัญหาก็จะเป็นชุมชนตามหน้าจอนี้เลย แล้วก็เดี๋ยวขออนุญาต ยกตัวอย่างสัก ๒-๓ ชุมชนแล้วกันนะคะ ที่มีภาพให้ดูประกอบค่ะ ชุมชนธาราทิพย์พัฒนา อันนี้มีปัญหาหลายซอยเหมือนกัน อันนี้คือช่วงที่น้ำลงแล้ว ซอยนี้ถ้าเป็นช่วงที่ฝนตกหนัก ๆ ก็คือบางทีต้องลุยน้ำเข้าไปหรือบางทีก็ต้องถกกางเกงเดินเข้าเลยนะคะ แล้วก็เป็นปัญหาที่มี เจอกันทุกปีค่ะ แล้วก็หินคลุกแล้วคลุกอีก ชาวบ้านก็รวมเงินกันมาคลุกหินแล้วหลายครั้ง สุดท้ายก็ยังเป็นหลุมเป็นบ่อเหมือนเดิม ชุมชนนี้ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม หน้าฝนทุกปี เพราะว่าเป็นซอยที่เจ้าของที่ดินเองก็ยังไม่ได้ยกเป็นที่สาธารณะ แม้ประชาชน จะใช้สัญจรมากว่า ๔๐ ปีแล้วก็ตาม ประธานชุมชนก็แจ้งว่าซอย ๕ ซอย ๗ เป็นซอยที่มีคน อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ดิฉันก็ได้เดินไปจนสุดทางก็เห็นว่ามีหมู่บ้าน มีประชาชนอาศัยอยู่ อีกหลายครัวเรือนมาก ๆ ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ถ้าเราสามารถแก้กฎหมายตรงนี้ได้ ก็จะเป็นผลประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างมากนะคะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สไลด์ถัดไปหมู่บ้านอรุณนิเวศน์ค่ะ อันนี้เป็นที่ดินส่วนกลางในชุมชนมีเนื้อที่ ประมาณ ๑ ไร่เศษ เนื่องจากเจ้าของโครงการได้ทิ้งร้างไปเช่นกัน แล้วก็ไม่ได้ยกเป็น ที่สาธารณะค่ะ แม้ในปัจจุบันคณะกรรมการชุมชนได้ใช้พื้นที่ทำกิจกรรม เช่น ทำแปลงผัก ชุมชนอันนี้น่ารักมาก ๆ ชาวบ้านก็ปลูกผักรับประทานกันบ้าง แล้วก็ทำเอาไปขายบ้าง นำเงิน มาใช้จ่ายในชุมชน ทำสนามฟุตซอลให้เด็ก ๆ ในชุมชนเล่นนะคะ แล้วก็กำลังจะมีโครงการ ที่จะนำเครื่องเล่นเด็กมาติดตั้ง แต่ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าติดปัญหาเรื่องที่ดิน ทำให้การมาใช้ กิจกรรมกว่า ๑๒ ปีแล้วก็ยังไม่สามารถที่จะใช้พื้นที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ หมู่บ้านที่ ๓ หมู่บ้านเทพทิพย์นิเวศน์ หมู่บ้านนี้เกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๒ เจ้าของหมู่บ้านได้นำพื้นที่ไปจำนอง กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ จากนั้นก็มีการซื้อขายเพราะเจ้าของคนแรกล้มละลาย คนที่มา ซื้อต่อลำดับที่ ๒ ก็ถูกฟ้องล้มละลายเช่นกัน ขายต่อมาให้อันดับที่ ๓ ก็ล้มละลายอีกอาถรรพ์ น่าดูเลยนะคะ จนปัจจุบันทางชุมชนก็มีคดีฟ้องร้องกับธนาคาร ส่วนปัญหาสำคัญตอนนี้ก็คือ ว่าถนนในหมู่บ้านและพื้นที่ออกกำลังกายในสนามเด็กเล่นต่าง ๆ ยังคงเป็นของเอกชนอยู่ แล้วก็บ้านอีกหลายหลังก็ยังโอนไม่ได้ เพราะว่าติดปัญหาเรื่องการฟ้องร้อง ทางชุมชนก็เลย คิดว่าถ้ากฎหมายนี้ผ่านได้อาจจะช่วยปลดล็อกปัญหาตรงนี้ แล้วก็เรื่องถนนให้มันซ่อมแซม ไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ แล้วก็พื้นที่ออกกำลังกายก็จะเป็นพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนสามารถ เข้ามาใช้ได้ สามารถซ่อมแซมได้ถูกต้องตามกฎหมาย ชุมชนสุดท้ายค่ะ อันนี้ชุมชนหมู่บ้าน อัมรินทร์ ๓ ผัง ๒ อันนี้ก็ลงพื้นที่หลายครั้งมาก ๆ ก็เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่ข้างในได้ยกเป็น สาธารณะแล้วค่ะ แต่ยังติดปัญหาตรงที่ดินส่วนกลาง นี่เป็นพื้นที่สนามเด็กเล่นที่ยังไม่ได้ยก เป็นสาธารณะ เนื่องจากเจ้าของที่ดินเสียชีวิต แล้วก็ทางราชการไม่สามารถอนุญาตให้ค้นได้ ว่าผู้สืบมรดกเป็นใคร ทางสำนักที่ดินก็ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นค้นเรื่องที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นเรื่อง ส่วนบุคคล ทางชุมชนก็เลยไม่สามารถนำที่อันนี้มาใช้สาธารณะประโยชน์ได้อย่างถูกต้องตาม กฎหมาย ก็อยากสนับสนุนญัตตินี้ แล้วก็อยากให้ช่วยกันแก้ปัญหา แล้วก็เพื่อให้การแก้ไข ปัญหาของเรามันจะได้หลุดพ้นวงโคจรที่ว่าต้องใช้ควักเงินส่วนตัวในการซ่อม แล้วก็ติดป้าย ต่าง ๆ เปลี่ยนเป็นให้มีการซ่อมอย่างถูกต้องโดยรัฐ ก็ขอขอบคุณท่านประธานค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ นะครับ
นายณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตประเวศ เขตสะพานสูง พรรคก้าวไกลครับ ท่านประธานครับวันนี้ผมขอร่วมอภิปรายเพื่อสนับสนุน ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินของท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ครับ และท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้แทนราษฎรในเขตพื้นที่ที่ติดต่อกับผม เหตุผลเนื่องจากว่าการลงพื้นที่ ของผมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผมเองได้พบกับปัญหาของพี่น้องประชาชนจำนวนมาก เดี๋ยวขออนุญาตขอสไลด์ด้วยนะครับ
นายณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ปัญหาของพ่อแม่พี่น้อง ประชาชนจำนวนมากไม่ใช่เรื่องที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือว่าใช้เทคนิคทางวิศวกรรมอะไร เลยครับ มันเป็นปัญหาที่ Basic มาก เป็นปัญหาเรื่องของถนนผุพังที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา เป็นปัญหาง่าย ๆ อย่างเช่น ไฟส่องสว่าง เนื่องจากว่ากลางคืนไม่มีไฟมันก็มืดมันก็เปลี่ยว หรือว่ามันอาจจะเป็นปัญหาที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของน้ำท่วมที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจาก การที่ท่อมันอาจจะไม่เพียงพอหรือไม่ไม่ได้รับการดูแลรักษา ซึ่งสิ่งที่ท่านเห็นในภาพเป็น ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นพื้นที่ที่เป็นซอยที่มีประชาชนใช้งานจำนวนมากหลายหมู่บ้านก็ได้ หรือว่าบางพื้นที่อาจจะเป็นเพียงหมู่บ้านจัดสรรเพียงไม่กี่หมู่บ้านก็เช่นเดียวกัน ก็เป็นปัญหา ที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เมื่อพี่น้องประชาชนมาแจ้งปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ รับผิดชอบกลายเป็นว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ เนื่องจากว่าเขาได้รับเหตุผลใน เรื่องของคำว่าพื้นที่เอกชน ในเรื่องของพื้นที่เอกชนก็ต้องเข้าใจทางหน่วยงานราชการซึ่งผม เองก็เข้าใจว่าหน่วยงานราชการก็คงจะอยากที่จะช่วยเหลือประชาชน เพียงแต่ว่ามันติดใน เรื่องว่าพวกเขาไม่อยากที่จะเสี่ยงกับข้อหาเรื่องของการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน นั่นก็คือ ปัญหาที่เป็นข้อติดขัดทางกฎหมาย ดังนั้นในเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งมันมีอยู่ทั้งหมด ๒ ประเภท อย่างที่ท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ได้กล่าวไปแล้วก็คือปัญหา ๒ ประเภทนี้ มีความแตกต่างกันในเรื่องของสถานที่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่เป็นนอกหมู่บ้าน หรือในหมู่บ้าน เพราะฉะนั้นมันจะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ๒ ฉบับ เพียงแต่ว่ากฎหมายในส่วนของฉบับแรก เป็นในเรื่องของประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นปัญหาที่พวกเราได้พบเจอกันเป็นประจำก็คือ การที่พบเจอว่าซอยที่พี่น้องประชาชนได้สัญจรใช้งานจำนวนมากหลายหมู่บ้าน ไม่สามารถ ที่จะซ่อมแซมได้ เนื่องจากว่ายังเป็นพื้นที่เอกชนอยู่ ซึ่งเกิดขึ้นปัญหาพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งท่านเห็น ในตัวอย่างของในสไลด์นี้ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ของซอยอ่อนนุช ๘๐ หรือว่าซอยอ่อนนุช ๖๖ หรือ ว่าถนนซอยเฉลิมพระเกียรติ ๖๒ เฉลิมพระเกียรติ ๖๗ หรือว่าจะเป็นซอยกาญจนาภิเษก ๒๕ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งก็น่าเสียดายที่เราไม่สามารถที่จะนำมาพิจารณาพร้อมกันในวันนี้ได้ เพราะฉะนั้นวันนี้ผมเองก็คงจะลงรายละเอียดในส่วนของแบบที่ ๒ นั่นก็คือปัญหาที่เกิดขึ้นใน เรื่องของสาธารณูปโภคในพื้นที่ในโครงการหมู่บ้านจัดสรรหมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่ง ซึ่งพื้นที่ ที่เกิดขึ้นก็แน่นอนว่าเป็นเรื่องของหมู่บ้านที่บางครั้งอาจจะถูกทิ้งโครงการไป หรือว่าไม่ได้รับ การดูแลรักษา หรือว่าอาจจะเป็นเรื่องของการที่บริษัทล้มละลาย ล้มหายตายจากไปแล้ว ทำให้ไม่มีนิติบุคคลที่มาดูแลโครงการ ไม่มีใครมาดูแลโครงการ ซึ่งอันนี้คือสิ่งที่พวกเราจะต้อง แก้ไขด้วย พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินที่พวกเรากำลังอภิปรายกันอยู่ขณะนี้ ตัวอย่างในส่วนของ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน ผมคงจะต้องยกตัวอย่างในส่วนที่ผมเองได้เคยมีโอกาสไปลงพื้นที่มา นั่นก็คือพื้นที่บริเวณหมู่บ้านชมเดือน ซอยอ่อนนุช ๕๙/๑ อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างหมู่บ้าน เดียวที่นอกเหนือจากที่พี่น้องในสภาแห่งนี้เพื่อนสมาชิกต่าง ๆ ได้อภิปรายในพื้นที่ต่าง ๆ ไปแล้ว อันนี้เป็นส่วนของในเขตประเวศที่ท่านจะเห็นว่าพี่น้องประชาชนพบปัญหา ผมเองได้รับการ ร้องเรียนจากประธานหมู่บ้านเขาชื่อป้าหริ แล้วก็ทางพี่น้องประชาชนต่าง ๆ ในหมู่บ้านก็ ร้องเรียนมาเช่นเดียวกันว่าถนนทรุดในตัวหมู่บ้านก็ไม่มีเงินไปซ่อม เพราะว่าไม่มีการเก็บค่า ส่วนกลางแล้ว รวมไปถึงเรื่องของน้ำท่วมภายในหมู่บ้านพื้นที่นี้น้ำท่วมติดอันดับ ๑ ใน ๓ ของเขตประเวศ ร่วมกับในส่วนของหมู่บ้านสุธาทิพย์ ในถนนเฉลิมพระเกียรติ หรือว่าหมู่บ้าน เหมืองทองบนถนนพัฒนาการ นี่คือหมู่บ้านที่เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักมากในเขตประเวศ แต่ว่าเมื่อมีการแจ้งไปนั้นก็แน่นอนว่าก็เป็นปัญหาในเรื่องของพื้นที่เอกชน ซึ่งก็ทำให้ สำนักงานเขตก็สามารถแก้ปัญหาได้เพียงแค่การปะผุ ไม่สามารถที่จะแก้ในระยะยาวได้ เป็นเพียงการแก้แบบการเอาน้ำมาสูบทีละครั้งแบบที่ท่านธัญธรได้อภิปรายไปเมื่อสักครู่ ไม่สามารถที่จะแก้ไขในเรื่องของท่อหรือว่าเรื่องของถนนได้ ทีนี้ถ้าเกิดว่าจะให้พวกเราผู้แทนราษฎรควักเงินตัวเองไปลงให้กับพี่น้องประชาชนเราก็คง ไม่ใช่ไหมครับท่านประธาน เนื่องจากว่าพวกเราเองเป็นผู้แทนราษฎรเพียงเท่านี้เงินเดือน พวกเราก็แทบจะหมดไปในแต่ละเดือนอยู่แล้วนะครับ เราเองคงไม่สามารถที่จะไปควักเงิน ในการซ่อมถนนให้กับประชาชนได้ หรือว่าการที่จะไปทำท่อให้กับพี่น้องประชาชนได้ ดังนั้น สิ่งที่พวกเราสามารถทำได้ครับนั่นก็คือการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างครับ นั่นก็คือการที่เราควร ที่จะสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ในการที่จะผลักดันในเรื่องของ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน ของทั้ง ท่านณัฐพงษ์แล้วก็ท่านธีรรัตน์ ในการที่จะให้กฎหมายนี้สามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ให้กับ พี่น้องประชาชนได้นะครับ ทำให้พี่น้องประชาชนสามารถที่จะตั้งนิติบุคคลขึ้นมาดูแลพื้นที่ เก็บค่าส่วนกลาง บริหารจัดการในส่วนของหมู่บ้านของพวกเขาได้ครับ ซึ่งถ้าหากว่าพี่น้อง ประชาชนไม่อยากจะตั้งนิติบุคคล สิ่งที่ง่ายกว่านั้นครับพี่น้องประชาชนสามารถรวมตัวกันตั้ง นิติบุคคลขึ้นมา เสร็จแล้วยกให้เป็นสาธารณะก็ยังได้ท่านประธาน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เป็นคำตอบ ที่พี่น้องประชาชนก็สามารถที่จะดำเนินการได้แล้วก็แก้ปัญหาในหมู่บ้านได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผมเองก็อยากจะฝากผ่านท่านประธานไปถึงเพื่อนสมาชิกในสภาแห่งนี้ให้ทุกท่าน ร่วมกันในการที่จะสนับสนุนร่างกฎหมายในฉบับนี้ ขอเรียกร้องนะครับ ว่าถ้าหากว่า ท่านคิดว่าท่านอยากจะชะลอไปอีก ๖๐ วัน มันคงไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น นอกจากว่าถ้าหากว่า การชะลอไปอีก ๖๐ วัน มันเป็นสิ่งที่พี่น้องประชาชนจะต้องเจอกับหน้าฝนอีกแล้วครับ ถ้าเกิด ๖๐ วัน ที่ชะลอไปพี่น้องประชาชนจะต้องเจอกับเรื่องของน้ำท่วมในหมู่บ้าน แล้วไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้อีกแล้ว ดังนั้นก็ขอให้พวกเราช่วยกันสนับสนุนทั้ง ๒ ร่าง ให้สามารถที่จะผ่านสภาในวันนี้เพื่อให้ปัญหาของพี่น้องประชาชนแก้ทันสภาสมัยนี้ครับท่าน ประธาน ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไป ท่านบุญเลิศ แสงพันธุ์ เชิญครับ
นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๗ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอ พระประแดง เฉพาะตำบลบางจาก จังหวัดสมุทรปราการ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอมี ส่วนร่วมในการอภิปรายสนับสนุนร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ท่านประธานครับ พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่าด้วย กฎหมายจัดสรรที่ดินที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้ผู้จัดสรรที่ดิน ดำเนินการแจ้งหรือให้ผู้ซื้อจัดสรรที่ดินดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ภายหลัง ที่ได้มีการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินเป็นผู้ซื้อที่จัดสรรที่ดินแล้วจึงก่อให้เกิดปัญหา และผลกระทบต่อสิทธิและประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรพึงมีตามกฎหมาย ก่อนอื่น ต้องขอขอบคุณผู้ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน โดย ส.ส. เท้ง นะครับ อันนี้ ก็ขอขอบคุณมากเลย เพราะว่าเนื่องจากในพื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์และผมในฐานะ ผู้แทนราษฎรก็ได้รับปัญหาเรื่องนี้มามากพอสมควร และอีกอย่างหนึ่งในฐานะ คณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค อันนี้ก็ขออนุญาตเป็นตัวอย่างบางตัวอย่างนะครับ สิ่งที่เห็นอยู่นี่นะครับ เป็นเรื่องทุกข์ร้อนของหมู่บ้านของผู้บริโภคที่ได้เป็นลูกหนี้ ซื้อบ้าน ทั้งนั้นเลยนะครับ รวมถึงในกระเป๋านี้ด้วย อันนี้ขอให้เป็นส่วนหนึ่งนะครับ ถ้าเอามาหมดก็คง ต้องยกรถที่ผมขับมาทั้งคัน เพราะว่าปัญหามันมีมากจริง ๆ ผมก็อยากให้ผู้ที่ออกกฎหมาย ไปรับรู้ถึงปัญหาที่คุณได้สร้างไว้ สิ่งนี้เรากำลังจะแก้ไขกันอยู่ ขอภาพสไลด์ด้วยนะครับ
นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
อันนี้ขอยกตัวอย่างเป็นเคสนะครับ ท่านประธานพอจะเห็นภาพนะครับ อันนี้ด้านหน้ามีลักษณะที่สวยหรู แต่เนื่องจากมีรอยต่อ ภาพที่ ๒ มีรอยต่อเนื่องจากโครงการนี้ได้เป็นสาธารณะบางช่วง ซึ่งช่วงหลังของโครงการ ไม่ได้ยกเป็นสาธารณประโยชน์นะครับ ท่านประธานเห็นอะไรไหมครับ หมู่บ้านนี้น้ำท่วม ท้ายซอย ๘ หลัง ท่วมทีครึ่งเข่าครับ เพราะอำเภอพระสมุทรเจดีย์น้ำขึ้นทุกวัน น้ำลงทุกวัน ไม่ว่าจะขึ้นจะลงมีปัญหาทั้งนั้นเลยนะครับ ท่านประธานครับ อันนี้ก็เป็นอีกภาพหนึ่ง ในสวนสาธารณะซึ่งโครงการไม่ได้ยกให้เป็นสาธารณะประโยชน์ แล้วก็โครงการนี้ไม่ได้ มีการจัดตั้งเป็นนิติบุคคล ปัญหานี้ตั้งแต่ผมเป็นผู้แทนราษฎรก็รับเรื่องมาตั้งหลายเดือนแล้ว แล้วก็ได้หาเจ้าของที่ หาวนไปวนมา แล้วก็ผู้ร้องที่เดือดร้อนก็วนไปวนมาเช่นเดียวกัน จนสุดท้ายไม่ใช่เป็นที่ของใคร ไม่ใช่เป็นที่ของบุคคล กลายเป็นที่ของโครงการที่ถูกทิ้งและละเลยไว้ และส่งผลให้กับพ่อแม่ พี่น้องในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ได้รับความเดือดร้อน อันนี้ก็ยกตัวอย่างเป็นอีกเคสหนึ่ง ที่ผู้จัดสรรที่ดินไม่ได้มีการประชุมเพื่อจัดตั้งนิติสำหรับบางเฟส ตามที่ท่านประธาน เห็นจากภาพมีรถบรรทุกวิ่งผ่าน เนื่องจากโครงการมีการปลูกสร้างจัดสรรด้านหลังอีก โครงการหนึ่ง ส่วนถนน Main ไม่ยอมจัดตั้งนิติบุคคล แล้วพอมีประชาชนไปร้องเรียน ก็บอกว่าเป็นถนนของโครงการ ก็ต้องรอ ก็ต้องเดือดร้อนกันอยู่หลายเดือน ทุกวันนี้ก็ยัง เดือดร้อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นรถสิบล้อที่วิ่งผ่านเที่ยวรอบเยอะมาก เพราะเนื่องจากเป็นพื้นที่ของ เขา ประชาชนร้องไปคุณก็บอกว่าเป็นพื้นที่ของเอกชน จะร้องไปทำไม เดี๋ยวพอถนนมันพัง การที่คุณจะมาตั้งนิติบุคคลเดี๋ยวส่งต่อผมก็ซ่อมคืนให้ อันนี้เป็นแค่คำพูดนะครับ แต่ผมเชื่อ คนที่เดือดร้อนนะครับ ถ้าเป็นไปได้ผมอยากจะให้คนที่เป็นผู้ประกอบการ ผมถามหลาย โครงการแล้ว คุณได้ซื้อบ้านในโครงการไหม ไม่มีหรอกครับ เพราะเขาเป็นคนสร้างบ้าน แล้วเขาให้ลูกค้าเป็นหนี้ ผู้บริโภคเป็นหนี้บ้านแต่ละหลัง ผมอยากจะสลับที่นั่งระหว่าง ผู้ประกอบการกับผู้ซื้อจริง ๆ เลย เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นอย่างเคสหลาย ๆ เคสที่ผม ยกตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นไม่ยอมจัดตั้งนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการส่งคืนสาธารณูปโภค ส่วนกลาง หรือว่าไม่ทำตามที่โฆษณาไว้ ผมถามหน่อยครับ ในเมื่อวันนี้เราอยู่กันแบบนี้แล้ว เราเห็นว่ากฎหมายไม่ได้คุ้มครองผู้บริโภคจริง ๆ คนซื้อบ้านเป็นหนี้นะครับ ผ่อนทีไม่ใช่ ๔-๕ ปีนะครับ ไม่เหมือนรถนะครับ ไม่เหมือนรถยนต์เลย ผ่อนที ๓๐ ปี หรือแม้แต่ผมเอง ผมยังมีปัญญาซื้อบ้านแค่หลังเดียวเลย ผมเชื่อครับ พ.ร.บ. ฉบับนี้มีความสำคัญมาก แล้วก็ ต้องแก้อีกหลายมาตราเลย เพราะว่ามันจะได้ไปคุ้มครองผู้บริโภค ทุกวันนี้ผู้บริโภคคุณเอาอะไร ไปคุ้มครองเขาครับ วันหนึ่งเขามาร้องว่าจัดสรรที่ดินถูกต้องไหม ผมเชื่อครับ ผู้ประกอบการ ทำตามข้อกฎหมายที่ดินตามอนุญาต ก่อสร้างตามอนุญาต ตามแบบแปลนทั้งหมด แต่สุดท้ายปัญหาที่ทิ้งไว้คือผู้ซื้อ ผู้ซื้อที่ได้รับความเดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นต้องผ่อนตาม กำหนด ผมไม่เห็นยกให้เขาพักชำระหนี้บ้างล่ะครับ หรือแม้แต่การบริการหลังการขาย ก่อนจะซื้อคุณแทบจะปูพรม คุณแทบจะกราบเข้าไปเลย แต่ทุกวันนี้พอหลังจากซื้อแล้ว เซ็นสัญญาปั๊บ ๑ ปีประกันบ้านหมดอายุครับ เราแทบจะจุดธูปหรือแทบจะเอาพวงมาลัย แทบจะอ้อนวอนขอความอนุเคราะห์ต่าง ๆ มากมายเลยครับ อันนี้ในเวทีนี้มีผมก็ขอพูดไปยัง ผู้ประกอบการด้วยนะครับว่าคนที่เดือดร้อนเป็นประชาชน เป็นลูกหนี้ของคุณ แล้วเราใน ฐานะผู้แทนราษฎรก็ไม่สามารถที่จะยืนอยู่ตรงนี้ด้วยความภาคภูมิใจได้ เพราะประชาชน เขาเดือดร้อน ถ้าเขามีตัวเลือก เขามีทางเลือก เขาคงไม่ซื้อหมู่บ้านจัดสรรหรอกครับ ถ้าเขามี เงินเป็นหลาย ๆ ล้านเขาคงไปซื้อที่แล้วปลูกเอง เพราะจะได้ไม่ต้องมาจัดตั้งนิติบุคคล แล้วก็ ไม่ต้องมารอรับการดูแลของโครงการ
นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ก็อยากจะฝากเพื่อนสมาชิกทุกท่านช่วยสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน เพื่อให้สามารถนำประเด็นนี้ไปช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนได้นะครับ เพื่อนำไปสู่ชีวิตที่ดีของประชาชน ขออนุญาตท่านประธานนะครับ นอกจากแสงสว่างในมือผม ก็ขอให้พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นแสงนำทางคุ้มครองผู้บริโภคด้วยครับ ขอบคุณครับ ท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านสุดท้ายนะครับ ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ เชิญครับ
นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตอนาคตใหม่ ปัจจุบันพรรคก้าวไกล ขออภิปรายรับร่างหลักการและเหตุผลของ ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของ สส. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ กับคณะ ซึ่งตัวร่างนี้เป็นร่างที่ได้มีการเสนอไม่กี่มาตราหรอกครับ แต่ว่าในแง่ของทางปฏิบัติ ของตัวพระราชบัญญัติเดิมการจัดสรรที่ดินนี้มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายครับ โดยเฉพาะประเด็นของการมีอยู่ของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินระดับจังหวัดครับ ที่ผ่านมามี ข้อร้องเรียนไปสู่ชั้นกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ของเรา ซึ่งผมอยู่ในชุดกรรมาธิการชุดนี้ด้วย เราพบข้อบกพร่องของกรรมการจัดสรรที่ดิน จังหวัดที่ไปเอื้อประโยชน์กับกลุ่มเอกชน บริษัทต่าง ๆ ที่ยื่นขออนุญาตจัดสรรที่ดินขายบ้าน ขายคอนโด ท่านประธานทราบไหมครับว่ามีโครงการหนึ่งถูกเปิดโปงในชั้นกรรมาธิการว่า ท่านประกาศขายไปแล้ว ผ่านกรรมการจัดสรรที่ดินไปแล้ว ปรากฏว่าบ้านปราศจากทางเข้าที่ ประกาศขาย สุดท้ายผมต้องจี้ไปที่กรรมการจัดสรรที่ดินว่าท่านผ่านการอนุญาตจัดสรรที่ดิน มาได้อย่างไร ผลปรากฏมารุ่งขึ้นกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดต้องรีบไปแจ้งความดำเนินคดี นี่คือผลของการปฏิบัติตามกฎหมายของกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด ซึ่งสร้างความเดือดร้อน ให้กับผู้บริโภคชัดเจน ผมอยากให้ท่านคำนึงถึงการรับหลักการของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ สะท้อนไปถึงข้าราชการผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะในกรมที่ดิน ซึ่งแน่นอนว่าที่ผ่านมาไม่ค่อย ประทับใจเท่าไรครับของการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมที่ดิน วันนี้ท่านฟังผมด้วยนะครับ ผ่านท่านประธานไป ไม่ว่าจะเป็น ส.ค. ๑ บิน น.ส. ๓ ก. บิน หรือแม้กระทั่งการไปออกโฉนด บนเกาะลันตาที่ติดกับเขตอุทยานแห่งชาติ นี่ประชาชนร้องเรียนมาครับ ผมอยากให้ ท่านรัฐมนตรีชาดาซึ่งเคยตอบกระทู้ที่ผมตั้งเอาไว้ และท่านก็มาบ่นเป็นการส่วนตัวกับผมว่า ปัญหากรมที่ดินนี้แก้ยากเหลือเกิน แต่ผมเชื่อว่าความท้าทายที่ท่านเป็นรัฐมนตรีดูแล กรมที่ดินอยู่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้ ซึ่งการแก้ไขตัวร่างพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ในชั้นกรรมาธิการแน่นอนว่าหลักการรับแน่ แล้วก็เรื่องตัวบทอื่น ๆ ก็ได้คงจะได้มีการ ตั้งข้อสังเกตและก็ข้อกังวล ซึ่งข้าราชการกรมที่ดินควรจะต้องเอาไปทบทวน โดยเฉพาะใน ตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด ที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็น ผู้แต่งตั้งและเอื้อให้กับพวกพ้องตนเอง ซึ่งไม่ได้รักษาผลประโยชน์กับพี่น้องประชาชนที่ไปซื้อ คอนโดมิเนียม ซื้อบ้านจัดสรรเลย ต้องฝากประเด็นนี้ทิ้งไว้ด้วยครับท่านประธาน ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ผู้เสนอมีสิทธิอภิปรายสรุป เชิญท่านแรก ท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ เชิญครับ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อ พรรคก้าวไกลครับ ท่านประธานครับ ผมขอใช้เวลาในการสรุปญัตตินี้ไม่นานนักครับ เพื่อที่อยากจะโน้มน้าวเพื่อนสมาชิกทุกท่าน เพราะผมเชื่อว่าสภาเป็นพื้นที่ในการพูดคุยกัน ผมเองก็ไม่ได้หวังลม ๆ แล้ง ๆ ว่าจะสามารถกลับมติต่าง ๆ ที่วิปได้ตกลงกันได้ แต่ว่าเราเอง ก็เคยเกิดเหตุการณ์ที่ในสภาชุดที่แล้วไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม หรือสุราก้าวหน้า ที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากทุกฝ่ายในการผ่านวาระที่ ๑ ได้ ซึ่งจากการติดตามการอภิปราย ของเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ถึงแม้โดยส่วนมากจะมาจากทางพรรคก้าวไกล แต่ทางฝั่งรัฐบาล เองเท่าที่ผมติดตามฟังมาก็ยังไม่ได้มีใครค้านในส่วนของร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับนี้ นาน ๆ เราจะมีญัตติที่สภาเห็นตรงกัน ตราบใดที่ยังเป็นปัญหาให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชน และผมก็เชื่อว่าทุกปัญหาที่วันนี้เพื่อนสมาชิกมาสะท้อนปัญหาชาวบ้านในสภาผู้แทนราษฎรเรา เป็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในวันนี้ ปีนี้ หรือ ๑๐ ปีที่ผ่านมา ๒๐ ปีที่ผ่านมา ๓๐ ปีที่ผ่านมา หลาย ๆ หมู่บ้านเจอปัญหามาทั้งใกล้และไกลครับ ผมว่าเป็นปัญหาสะสมมาเป็นระยะ เวลานาน ดังนั้นผมจึงอยากจะเชิญชวนเพื่อนสมาชิกคิดไปพร้อมกันกับผม ในเมื่อหน่วยงาน อย่างกรมที่ดินได้เข้ามาชี้แจงในวิปฝ่ายค้านอย่างชัดเจนว่าร่างที่เขาถืออยู่นั้นเป็นร่างที่ สอดคล้องกับหลักการของร่างที่ผมเป็นผู้เสนอ และในขณะเดียวกันเพื่อนสมาชิกของ พรรคก้าวไกลและตัวกระผมเองก็เห็นว่าจริง ๆ แล้วร่างของท่านธีรรัตน์นั้นน่าจะครอบคลุม มากกว่า พวกเราเองก็สนับสนุนครับ เพราะฉะนั้นผมมองไม่เห็นเหตุผลเลยที่วันนี้ถ้าพวกเรา จะต้องดำเนินตามมติวิปรัฐบาลที่ออกมาบอกว่าจะขอให้ ครม. อุ้มร่างนี้กลับไปพิจารณาก่อน ภายใน ๖๐ วันนั้นจะเป็นด้วยเหตุผลประการใด เพราะในเมื่อร่างของกรมที่ดินก็สามารถ สอดรับกับหลักการและเหตุผลของร่างกระผมได้ สภาเราสามารถรับได้ทั้ง ๒ ร่างครับเข้าไป พิจารณาพร้อมกัน แล้วก็ให้หน่วยงานมาแก้ไขเพิ่มเติมตามที่เขาต้องการเสนอในชั้น กรรมาธิการวาระ ๒ วาระ ๓ เราจะทอดเวลาออกไปอีกประมาณ ๖๐ วันเพื่ออะไรครับ ท่านประธาน หรือท่านคิดว่าเวลา ๖๐ วันนี้เมื่อเทียบกับเวลา ๓๐ ปี ๔๐ ปีที่ชาวบ้านเขาต้อง เจอปัญหาในหมู่บ้านจัดสรรเก่าซ้ำ ๆ หมู่บ้านจัดสรรใหม่ก็มี ไม่ได้มีนัยสำคัญ ๖๐ วัน เทียบกับ ๒๐-๓๐ ปีไม่สำคัญหรือครับ ผมไม่เชื่อแบบนั้น แล้วท่านอย่าลืมว่าถ้าวันนี้เรา ลงมติว่าให้ส่งไป ครม. พิจารณาก่อน เกิดไม่ทันปิดสมัยประชุมรออีกกี่เดือนกว่าเราจะเปิด สมัยประชุมกลับเข้ามาแล้วได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ดังนั้นผมอยากจะขอ การสนับสนุนอยากจะขอฟังความคิดเห็นด้วยเหตุและผลที่ผมกล่าวมาทั้งหมดครับ จริง ๆ อยากจะส่งตรงไปยังท่านธีรรัตน์ ขออนุญาตเอ่ยนามด้วยความเคารพ แล้วก็เพื่อนสมาชิก ทุกท่านที่ลุกขึ้นอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับนี้ว่า ในเมื่อท่านก็ได้รับฟัง เหตุผลรอบด้านแล้วท่านเองก็ได้มีการติดต่อกับหน่วยงานแล้ว ทางกรมที่ดินก็ยืนยันแล้วว่า ร่างที่เขาถืออยู่นี้สอดรับกับหลักการของร่างผม ไม่มีเหตุผลที่วันนี้สภาเราจะต้องปล่อยให้ ร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับที่เป็นการแก้ไขปัญหาให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนจะต้อง ส่งไปให้ ครม. ไปพิจารณาก่อน ผมอยากจะให้ทุกท่านตั้งกรรมาธิการวิสามัญแล้วก็เริ่ม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชน ที่ผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตทุกคนต้องได้รับเสียงสะท้อนมาแน่นอนครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านที่เสนอญัตติท่านที่ ๒ เชิญครับ ท่านธีรรัตน์ เชิญครับ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉัน ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธานคะวันนี้เราเองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมีความคิดเห็นที่ไป ในแนวทางเดียวกันเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สมาชิญกได้ร่วมกันอภิปรายกันอย่างหลากหลาย ได้มีการได้ชี้ถึงสภาพปัญหาในพื้นที่ของ แต่ละท่าน ได้ชี้ถึงความจำเป็นของการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งดิฉันเองในโอกาสที่ได้ เป็นผู้นำเสนอร่างนี้เข้าสู่สภาก็ได้รับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากมายค่ะ แล้วก็คงจะ ใช้เวลาไม่นานในการที่จะสรุปร่างพระราชบัญญัติให้กับทางที่ประชุมได้รับทราบ ซึ่งดิฉัน ขอเรียนอย่างนี้ว่าทางท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ที่ได้อยากให้ทางสภาผู้แทนราษฎร ของเราได้รับหลักการ แล้วก็ได้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อที่จะพิจารณาในชั้นต่อไป ในชั้นนี้ดิฉันคิดว่าทุกคนรับหลักการร่วมกันค่ะ ที่เห็นถึงความสำคัญแล้วก็ได้ประสบปัญหา ร่วมกันกับพี่น้องประชาชน เพราะว่าหลาย ๆ ท่านในสมาชิกที่อภิปรายไปก็บอกว่าอยู่ในบ้าน ในหมู่บ้านที่มีปัญหาเช่นเดียวกัน อยากที่จะให้เกิดการแก้ไขแล้วก็การปรับปรุงที่มีการพัฒนา พื้นที่ให้ทุกคนได้รับการดูแล อย่างพวกเราเองในขณะที่มีการอภิปรายในเรื่องของ งบประมาณในห้องงบประมาณ ดิฉันก็คิดว่าส่วนหนึ่งก็อย่างที่ได้เห็นถึงการพัฒนาพื้นที่ ไม่ว่า เฉพาะในหมู่บ้านจัดสรรเท่านั้น ยังเป็นในพื้นที่รกร้างว่างเปล่าอื่น ๆ ด้วย แล้วก็ดิฉันก็ขอ นำเรียนให้ที่ประชุมได้ทราบอีกครั้งหนึ่ง ย้ำเตือนว่าทางท่านผู้ชี้แจงจากกระทรวงมหาดไทย ทางกรมที่ดิน ท่านรองอธิบดีก็ได้เข้ามาชี้แจงในเรื่องของสาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ซึ่งอย่างที่ทางท่านณัฐพงษ์ได้บอกว่าเรายังมีประมวลกฎหมายที่ดิน อีกฉบับหนึ่งที่อยากจะให้ ได้พิจารณาร่วมกันด้วย ดิฉันก็ได้รับฟังคำชี้แจงจากทางกรมที่ดิน จากกระทรวงมหาดไทยว่า ทางกรมเองก็มีร่างนั้นรออยู่แล้วด้วยเช่นเดียวกัน ดิฉันก็คิดว่าน่าจะเป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ ถ้าหากว่าให้มีร่างของทางกระทรวงมหาดไทยที่เป็นผู้ที่จะต้องใช้กฎหมายตัวนี้ ในการบังคับ ใช้ต่อมาในอนาคตได้มีร่างของเขาเข้ามาประกอบในการที่จะพิจารณาในชั้นต่อไป ก็จะทำให้ การทำงานของเรานั้นประสบความสำเร็จได้เร็วมากยิ่งขึ้นด้วย อย่างที่เราได้เห็นตัวอย่างมา จากหลาย ๆ ร่างพระราชบัญญัติแล้ว ถ้าหากว่าเรามีความเข้าใจที่ตรงกันเห็นพ้องต้องกัน อยากที่จะให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องจริง ๆ ในเวลาที่ยังมีอยู่ในการทำงาน ดิฉันก็คิดว่าเป็นสิ่ง ที่เรารับได้ ดิฉันต้องขอบคุณทางท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ที่ได้กรุณาศึกษารายละเอียด ของร่างพระราชบัญญัติทั้งในส่วนของท่านเอง แล้วก็ในส่วนของดิฉันด้วย แล้วก็ได้เห็นว่ามัน ยังมีประเด็นสำคัญที่ถ้าหากว่าเราได้มาประกอบกันแล้ว รวมร่างกันเป็นร่างที่ทำให้เกิด ประโยชน์จริง ๆ ครอบคลุมทุก ๆ มิติของการใช้กฎหมาย ดิฉันก็อยากจะให้การทำงานของ เราเป็นไปได้อย่างราบรื่นที่สุด ต้องขอบคุณทุก ๆ คนนะคะ ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการ ทำหน้าที่ของพวกเราในฝ่ายนิติบัญญัติ แล้วก็ร่วมกันผลักดันกฎหมายที่มีความสำคัญต่อไป ให้ประสบความสำเร็จด้วย ดิฉันคิดว่ายังมีภารกิจมากมายที่เราต้องเดินไปด้วยกัน เพื่อที่จะให้ พี่น้องประชาชนนั้นได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ต้องขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกด้วยที่ได้ร่วมกัน อภิปรายในวันนี้ ขอบคุณทาง ครม. ที่มีความประสงค์ แล้วก็ได้แจ้งเจตจำนงมาแล้วว่าจะ ร่วมกันผลักดันร่างพระราชบัญญัตินี้ ให้ประสบความสำเร็จโดยเร็วที่สุด แล้วเมื่อถึงเวลาที่ เหมาะสม แล้วก็มีความลงตัวในเรื่องของการทำงานของเรา ดิฉันมั่นใจว่าร่างพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ จะสามารถผ่านสภาผู้แทนราษฎรในสมัยของเราได้แน่นอน ขอบคุณท่านประธานค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านสมาชิกครับ เราได้ประชุมกันมาพอสมควรแล้วนะครับ เอาไว้ต่ออาทิตย์หน้านะครับ ขอปิดประชุมครับ