กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจากทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เนื่องจากท่านติดภารกิจในการเดินทางไปดูเรื่องของการเตรียม ความพร้อมที่สนามบินจังหวัดภูเก็ต วันนี้กระทู้ถามแยกเฉพาะเรื่องของปัญหาการก่อสร้าง ทางหลวงชนบท สาย รย. ๒๐๑๕ ดิฉันจะขอตอบคำถามแรกก่อนนะคะ ต้องขอบคุณ ท่านสมาชิกชุติพงศ์ พิภพภิญโญ เพราะว่าท่านเป็น สส. ครั้งแรก แล้วท่านก็มีความสนใจ ใส่ใจต่อปัญหาของพี่น้องประชาชน แล้วก็ได้ติดตามปัญหาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
คำถามแรก ต้องยอมรับว่ากระทรวงคมนาคมได้มีโครงการก่อสร้างถนน ทั้ง ๒ สายทางที่ท่านได้ตั้งข้อสอบถามมา เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวมีความจำเป็น เพราะเส้นทางที่ผ่านนิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด แล้วก็ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ซึ่งอยู่ในระเบียงเศรษฐกิจ EEC ซึ่งโครงการสายแรกก็คือ โครงการก่อสร้างถนน สาย รย. ๒๐๑๕ แยกทางหลวงหมายเลข ๓๖ ทางหลวงหมายเลข ๓๓๑ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ปี ๒๕๖๒ เนื่องจากเส้นทางนี้มาจากตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ไปสิ้นสุดที่ เขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี กรมทางหลวงชนบทได้อนุมัติแผนการก่อสร้าง ดังกล่าวแล้วก็เร่งรัดการปฏิบัติงานสำหรับสัญญาในเส้นทางสายนี้ ได้รับความช่วยเหลือ ในการที่จะมีอัตราค่าปรับร้อยละ ๐ เปอร์เซ็นต์ของกรมบัญชีกลาง ตามหนังสือของ กรมบัญชีกลาง ที่ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ และกรมบัญชีกลาง ที่ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ กรมบัญชีกลาง ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ซึ่งหนังสือดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก เกิดผลกระทบเรื่องของการติดเชื้อ Coronavirus 2019 ซึ่งผู้รับจ้างได้รับผลกระทบปัญหา ความเดือดร้อนในระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้าง โดยกระทบเรื่องของการว่าจ้างแรงงาน จึงไม่สามารถดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ แล้วก็ผู้รับจ้างได้รับสิทธิอัตราค่าปรับร้อยละ ๐ จนถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ซึ่งขณะนี้ผู้รับจ้างวางแผนว่าจะสามารถก่อสร้าง ให้แล้วเสร็จ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ซึ่งกรมทางหลวงชนบท จะเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาตามรูปแบบของการก่อสร้างเป็นการขยาย ถนนเดิมขนาด ๒ ช่องจราจร เป็น ๔ ช่องจราจร ซึ่งผิวจราจรเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ช่วงชุมชนก็จะมีเกาะกลางมีความกว้าง ๔.๖๐ เมตร มีระบบระบายน้ำ แล้วก็มีทางเท้า ๒ ข้างทาง และช่วงนอกเขตชุมชนเป็นถนนขนาด ๔ ช่องจราจร มีเกาะกลางกว้างถึง ๔.๒๐ เมตร และไม่มีทางเท้า เนื่องจากไม่มีบ้านเรือนพักอาศัยหนาแน่น กรมทางหลวง ชนบทจึงเล็งเห็นความปลอดภัยที่พี่น้องประชาชนสัญจรไปมา จึงจัดให้มีไฟฟ้าแสงสว่าง อย่างเพียงพอ และให้ติดตั้งบริเวณเกาะกลางตลอดสายทางเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๑๑ กิโลเมตร นี่คือเป็นคำถามแรก เนื่องจากท่านสมาชิกได้ถามถึง สายทางของ รย.๒๐๑๕ ก่อน เพราะดิฉันเห็นว่าเห็นคำถาม ท่านชุติพงศ์ถามเรื่องของ รย.๓๐๑๓ ด้วยเลยไหมคะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ตอบคำถามที่ ๒ เรื่องของความล่าช้าในการก่อสร้างเส้นทาง รย.๓๐๑๓ ท่านประธานคะ ในสัญญาผู้รับจ้างได้วางแผนไว้ว่าเขาจะมีการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ปีหน้า
ซึ่งจากภาพ ที่ท่านสมาชิกได้นำขึ้นภาพ ดิฉันก็เห็นใจถึงปัญหาความเดือดร้อน เนื่องจากเราทราบว่า ผู้รับจ้างเกิดสภาพคล่อง ในขั้นตอนตรงนี้เมื่อสัญญาระบุว่าจะต้องแล้วเสร็จในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ทางกระทรวงคมนาคม ทางหน่วยงานก็จะต้องไปกำชับให้มีการก่อสร้าง ให้แล้วเสร็จตามกำหนดของสัญญา เนื่องจากว่ารูปแบบการก่อสร้างเส้นนี้เป็นถนนเดิม ๒ ช่องจราจร สายทางดังกล่าวมีปริมาณการจราจรที่หนาแน่นและเป็นเส้นทางที่สนับสนุน ระเบียงเศรษฐกิจ EEC ผิวจราจรเป็นชนิดแอสฟัลต์คอนกรีต และเป็นถนน Logistic แล้วก็ เชื่อมโยงกับสนามบินสุวรรณภูมิ และท่าเรือแหลมฉบัง การเป็นถนน ๔ ช่องจราจรช่วงชุมชน จึงมีเกาะ เกาะกลางกว้างถึง ๑.๕๐ เมตร มีระบบระบายน้ำและทางเท้า ๒ ข้างทาง ช่วงปกติ ถนนช่วงนอกเขตชุมชนจะมีเกาะกลางกว้าง ๔.๒๐ เมตร แล้วก็ไม่มีทางเท้า แล้วก็มี ไฟแสงสว่างติดตั้งบริเวณเกาะกลางตลอดทาง ระยะทางทั้ง ๑๖ กิโลเมตร ตามที่ท่านสมาชิก ได้โชว์ภาพสักครู่ ก็นำเรียนว่าปัญหาทั้งหมดกระทรวงคมนาคมจะไม่นิ่งนอนใจ ขณะนี้ สถานการณ์คลี่คลายลง เราจะเร่งรัดให้ผู้รับจ้างเข้าไปดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ ตามกำหนดเวลาในสัญญา ก็คือวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ นี่คือเป็นคำถามที่ ๒ นอกจากนั้นกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงชนบท ก็ยังตระหนักถึงความปลอดภัย และมาตรการเยียวยา รวมทั้งผลกระทบที่พี่น้องประชาชนได้รับจากความล่าช้า ของการก่อสร้างนี้ ไม่ว่าเรื่องของการกำชับดูแลป้ายไฟฟ้าส่องสว่าง และเครื่องหมายจราจร ที่สามารถมองเห็นชัดเจนตามจุดที่มีความเสี่ยงว่าจุดนั้นจะเกิดอันตรายหรือไม่เพื่อป้องกัน การเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนั้นยังมีเครื่องอำนวยความสะดวกความปลอดภัยระหว่าง การก่อสร้างให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา เพราะว่านอกจากความเสียหายในวัสดุอุปกรณ์ เหล่านั้นแล้วทางกรมทางหลวงชนบทก็จะเร่งรัดรีบเปลี่ยนให้ทันที นอกจากนั้นกรณีที่ ประชาชนได้รับอุบัติเหตุในการสัญจรไปมาทั้ง ๒ โครงการสามารถแจ้งมาที่กรมทางหลวง ชนบทโดยสามารถแจ้งไปยังที่เบอร์ ๑๑๔๖ หรือหมายเลขโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ ประสานงานโครงการ หมายเลข ๐๘ ๗๘๑๗ ๓๒๒๕ เพื่อประสานงานให้กับผู้รับจ้าง นำสินไหมทดแทนจากประกันภัยของโครงการมาจ่ายให้แก่ประชาชนผู้ได้รับอุบัติเหตุ ในทันที ซึ่งปัจจุบันนี้ประชาชนที่ใช้สัญจรไปมาได้รับอุบัติเหตุก็ได้ประสานงาน แล้วก็ได้มี การจ่ายเงินค่าชดเชยในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้กับประชาชนไปบ้างแล้ว นี่คือคำตอบ ของคำถามที่ ๒ ค่ะท่านประธาน ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันมาตอบกระทู้ถามแทนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เนื่องจากท่านติดภารกิจในการเดินทางไปดูเรื่องความคืบหน้าของสนามบินภูเก็ต คำถามแรก ของท่านสมาชิก ต้องขอบพระคุณท่านมาก ๆ ที่ได้ให้ความใส่ใจทั้งเส้นทาง แล้วก็ ไฟส่องสว่าง
คำถามแรก ท่านถามถึงว่ากระทรวงคมนาคมมีมาตรการการแก้ไขปัญหา หม้อแปลงไฟฟ้าถูกขโมย ขอเรียนให้ทราบว่ากระทรวงคมนาคมเป็นกระทรวงที่ดูแลเรื่องของ ระบบการขนส่งทางบก ทางเรือ แล้วก็ทางอากาศ ความปลอดภัยในการขนส่งผู้โดยสาร ต้องไปถึงก่อนเวลา ต้องมีความปลอดภัย แล้วราคาที่ทุกคนเข้าถึงการบริการที่ดีได้ นั่นคือ สิ่งที่กระทรวงคมนาคมได้ปฏิบัติต่อพี่น้องประชาชนคนไทย กรมทางหลวงให้ความสำคัญ เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการโจรกรรมทรัพย์สินในงานทางเป็นลำดับต้น ๆ โดยเฉพาะได้มีกำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เสี่ยง สำหรับกรณีหม้อแปลงไฟฟ้า ถูกขโมย กรมทางหลวงมีมาตรการการป้องกัน ดังนี้
๑. เราได้กำชับเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงให้เฝ้าระวังและตรวจตราหม้อแปลง ไฟฟ้าในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ และให้ความสำคัญเป็นพิเศษในพื้นที่เสี่ยง ในจุดที่ท่านสมาชิก ได้รายงานท่านประธานไปสักครู่ ดิฉันอยากกำชับให้เจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบหลังจากที่ กระทู้ถามนี้ทางดิฉันได้ตอบไปเรียบร้อย แล้วจะสั่งการให้ไปตรวจสอบในพื้นที่ที่ท่านนำเสนอ โดยทันที
๒. เราก็จะมีการประชาสัมพันธ์ แล้วก็สร้างเครือข่ายให้ดูแลอุปกรณ์เหล่านี้ โดยกำชับทุกหน่วยงานในสังกัดของกรมทางหลวงให้ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์พี่น้องประชาชน ผู้ใช้เส้นทางนี้ให้รับทราบถึงปัญหาการถูกขโมย และให้เชิญชวนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ได้เข้าร่วมเป็นภาคเครือข่ายในการแจ้งเหตุไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้อีกในครั้งต่อไป
๓. เราได้เพิ่มช่องทางการจ้างเหตุนอกจากสายด่วนของกรมทางหลวง รย.๑๕๘๙ แล้ว เช่น สื่อสังคม Online ทาง Facebook แล้วก็ทาง Twitter รวมทั้ง Website ต่าง ๆ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของกรมทางหลวง
๔. เราได้บูรณาการทำงานร่วมกันและวางหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยงาน การไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ เพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปราม การโจรกรรมที่เหมาะสมแล้วก็ให้ทันท่วงที นี่คือเป็นคำตอบของคำถามแรกค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในคำถามที่ ๒ ต้องขอบคุณท่านสมาชิกอีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่หม้อแปลงไฟฟ้าได้ถูกขโมย ในพื้นที่เสี่ยงแบบนี้ นั่นหมายถึงทางกรมทางหลวงก็จะโฟกัสไปในการเฝ้าระวังในพื้นที่นี้ แล้วก็หามาตรการ นอกจากนั้นท่านยังได้แนะนำถึงกระบวนการว่าเราจะใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ นวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการที่จะป้องกันการโจรกรรมเหล่านี้ ต้องยอมรับว่าวันนี้ กรมทางหลวงชนบท หรือว่ากรมทางหลวง หน่วยงานทุกหน่วยงานในคมนาคม ไม่ได้นิ่งนอนใจในการที่จะใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการที่จะช่วยกันในการที่จะรักษา ทรัพย์สมบัติของหน่วยงานหรือทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน เพราะเราต้องยอมรับว่าทุกสายทาง ทั่วทั้งประเทศไทยมีบางสายทางที่สมบูรณ์ทั้งถนนดี แล้วก็ไฟส่องสว่าง แต่บางสายทาง ถนนดีแต่ยังขาดไฟฟ้า ทางกระทรวงคมนาคมจะไม่นิ่งนอนใจ รวมทั้งเรื่องของการจัดซื้อ จัดหาว่าบางครั้งหลอดไฟฟ้าชำรุดแล้วต้องไปตั้งงบประมาณใหม่ในปีถัดไป วันนี้กระทรวง คมนาคมได้เตรียมทำการสำรวจเรื่องเหล่านี้ไว้แล้ว ถ้าตรงไหนที่จะต้องเสียหายแล้วก็ จะจัดสรรงบประมาณลงไปซ่อมแซม แล้วก็ทำให้ผู้ขับขี่ใช้รถใช้ถนนมีความปลอดภัยในที่สุด นั่นคือสิ่งที่กระทรวงคมนาคมจะทำให้ดีที่สุด รวมทั้งต้องขอบคุณคำแนะนำของท่านสมาชิก ทางกระทรวงคมนาคม ทางกรมทางหลวงชนบทจะน้อมรับแล้วก็นำไปแก้ไขปรับปรุงต่อไป ขอบคุณค่ะท่านประธาน
ท่านประธาน ที่เคารพคะ ท้ายที่สุดนำเรียนท่านประธานและผ่านไปทางท่านสมาชิก การตอบกระทู้ถาม ไม่ว่าจะเป็นกระทู้ถามทั่วไป หรือกระทู้ถามสดด้วยวาจา นำเรียนว่าคณะรัฐบาลชุดนี้ ครม. ทุกท่าน ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้กำชับว่าในวันที่ตอบกระทู้ถาม ไม่ว่า จะเป็นกระทู้ถามสดด้วยวาจา กระทู้ถามแยกเฉพาะ ขอให้รัฐมนตรีทุกท่านได้เสียสละเวลา เพื่อมาตอบกระทู้ถาม นอกจากตอบกระทู้ถามในทางการแล้ว ถ้าเจอดิฉันในฐานะ อีกสถานะหนึ่ง ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกสามารถยื่นจดหมายคำร้อง ของพี่น้องประชาชนได้ บางครั้งการตอบกระทู้ถามอาจจะทำความล่าช้าในการที่จะได้รับ คำตอบในเวลานั้น ๆ ก็ติดต่อดิฉันผ่านไปที่กระทรวงคมนาคมได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะเราคือ รัฐบาลของประชาชน แล้วก็เพื่อประชาชนค่ะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พรรคเพื่อไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งอันเนื่องจากปรากฏการณ์ El Nino ในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี จำนวน ๘ ท่าน ดังนี้ ๑. นายกุศล โชติรัตน์ ๒. นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ ๓. นายขจร ศรีชวโนทัย ๔. นายชยันต์ เมืองสง ๕. นายปลอดประสพ สุรัสวดี ๖. นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ๗. นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ ๘. นางสาวชนกนันท์ ศุภศิริ ขอผู้รับรองค่ะ
ท่านประธานสภาที่เคารพคะ ดิฉัน มนพร เจริญศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย ขอความกรุณาสักครู่ที่ท่านเลขา เรียนว่าจะใช้หมายเลข ๑-๒๐ เนื่องจากมีสมาชิกท่านใหม่หลายท่าน ดิฉันขอความกรุณา ได้ขานชื่อสมาชิก เช่น หมายเลข ๑ มนพร เจริญศรี หมายเลข ๒ เพื่อให้สมาชิกได้จำ หมายเลข แล้วก็ชื่อตัวเองค่ะ ขอความกรุณาค่ะ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พรรคเพื่อไทย จากประเด็นของ ท่านปกรณ์วุฒิที่ได้หารือท่านประธานสักครู่นี้นะคะ เดิมทีเราได้มีการคุยกันว่าหลังจากโปรด เกล้าฯ ทางนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ววันนี้เราได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดิฉัน คิดว่าในห้วงเวลา ๒-๓ วันนี้นะคะ นอกจากท่านประธานได้มอบหมายให้ท่าน รองประธานสภาท่านที่ ๒ แล้ว ดิฉันคิดว่าถ้าเรามีการได้รับโปรดเกล้าฯ ทางนายกรัฐมนตรีแล้ว รอให้ทางท่านนายกรัฐมนตรีได้โปรดเกล้าฯ ครม. ชุดใหม่ เพื่อจะได้รู้ว่าสัดส่วนของ กรรมาธิการสามัญแต่ละคณะนั้นใครที่จะดูแล และไปนั่งเป็นประธานกรรมาธิการแต่ละคณะ เพื่อให้การทำงานราบรื่น ถ้าเราจะรอไปอีกนิดหนึ่ง ซึ่งวันนี้เรามีวาระรับทราบเพียงแค่ ๒ วัน ถ้าเราจะมีการคุยกันอาทิตย์หน้าก็ยังไม่สายนะคะ จึงนำเรียนท่านประธานเพื่อพิจารณา อีกทางหนึ่งค่ะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาผลประโยชน์ของการมีกฎหมายควบคุม กำกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของความเป็นจริงในประเทศไทย ในสัดส่วนของ คณะรัฐมนตรีจำนวน ๘ ท่านดังนี้ค่ะ ๑. นายไผ่ ลิกค์ ๒. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ๓. นายเกรียงยศ สุดลาภา ๔. นายธนยศ ทิมสุวรรณ ๕. นายโอภาส อาลมิสรี ๖. นางจิติธาดา ธนะโสภณ ๗ . นางสาวจารุมน วนิชสุวรรณ ๘. นายแพทย์ชยนันท์ สิทธิบุศย์ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ให้มาตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ จากจังหวัดระนอง จากคำถามแรก ดิฉันขอขึ้น Slide ในภาพรวมของโครงการ Landbridge ก่อน
Slide แรก ท่านประธานที่เคารพคะ จากมติของ ครม. เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ ได้เห็นชอบ กรอบแนวคิดของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช กระทรวงคมนาคมจึงได้มอบหมายให้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้ศึกษาความเหมาะสมแล้วก็ได้ออกแบบ เบื้องต้นไว้ และประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบ Model การลงทุนเรียกว่า Business Development Model ซึ่งโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนี้จะเป็นการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภูมิภาคภาคใต้ แล้วก็เชื่อมโยงกับการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามันหรือที่เรียกว่าโครงการ Landbridge
Slide ที่ ๑ เราจะเห็นว่าความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่ ประเทศไทย เป็นประเทศด้ามขวาน ทางตะวันออกและทางใต้เรามีมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นศูนย์กลางที่ทำหน้าที่เป็นประตูเชื่อมการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้าทางภูมิภาคอาเซียน โดยโครงการนี้จะลดระยะเวลาการเดินทางการขนส่งจากเดิมที่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา ทำให้มีการประหยัดต้นทุนการขนส่งและหลีกเลี่ยงการติดขัดบริเวณช่องแคบมะละกา และมีแนวโน้มที่จะจูงใจให้ผู้ประกอบการขนส่งและนักลงทุนมาใช้เส้นทางนี้
Slide ที่ ๒ เราจะเห็นว่าบทบาทของโครงการ Landbridge การศึกษา ที่กำหนดไว้ในบทบาทมีถึง ๓ แนวทาง ๓ บทบาท ในบทบาทแรก บทบาทของประตูการค้า หรือว่า Gateway เราจะเป็นการรองรับการนำเข้าสินค้าส่งออกของประเทศไทย รวมทั้ง ประเทศในกลุ่ม GMS และรวมทั้งทางจีนตอนใต้ด้วยค่ะ บทบาทที่ ๒ บทบาทของการลำเลียง สินค้าที่ขนไปมาระหว่างประเทศในมหาสมุทรอินเดีย และกลุ่มประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนบทบาทที่ ๓ บทบาทในการขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่า หมายถึงว่า Port Industry ในพื้นที่จังหวัดระนองและจังหวัดชุมพรซึ่งเป็นจังหวัดที่ท่านสมาชิกได้อยู่ที่จังหวัด ระนอง รวมทั้งจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้เช่นเดียวกันค่ะ นี่คือคำถามแรกที่ท่านสมาชิกได้ถาม ขอบคุณค่ะท่านประธาน
ท่านประธาน ที่เคารพคะ ในประเด็นคำถามที่ ๒ ดิฉันขอขึ้น Slide เรื่องของการคาดการณ์ปริมาณสินค้า ที่จะผ่านเข้าออกของโครงการ Landbridge
เราคาดการณ์ไว้ ตลอดระยะเวลาของทั้งโครงการนะคะ ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นเราคาดการณ์ว่าปริมาณ ที่จะผ่านสินค้าของโครงการ Landbridge ตลอดระยะเวลาทั้งโครงการจะมีสินค้าที่มี แนวโน้มมีกลุ่มประเภทของสินค้าอยู่ ๓ กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่ ๑ ท่านจะเห็นว่า เป็นกลุ่มที่สินค้านำเข้าและส่งออกจากประเทศไทย คือกลุ่มที่ ๑ กลุ่มที่ ๒ เป็นกลุ่มสินค้า ไปมาระหว่างประเทศในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก คือกลุ่มที่ ๒ ส่วนกลุ่มที่ ๓ เป็นสินค้านำเข้าและส่งออกจากประเทศในกลุ่ม GMS รวมถึงจีนตอนใต้ โดยเราคาดการณ์ ว่าทั้งโครงการจะมีปริมาณตู้สินค้า Container ในฝั่งจังหวัดระนอง ๑๙.๔ ล้านตู้ และในฝั่ง จังหวัดชุมพรประมาณ ๑๓.๘ ล้านตู้ ตลอดระยะเวลาทั้งโครงการค่ะ
Slide แผ่นถัดไปค่ะ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่ใช้ระหว่าง การขนส่งสินค้าผ่านโครงการ Landbridge กับขนส่งสินค้าที่ผ่านช่องแคบมะละกา เราก็จะ พบว่าโครงการ Landbridge จะช่วยลดระยะเวลาการขนส่ง ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เฉลี่ยแล้วประมาณ ๔ วัน และสามารถลดค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็คือ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายถึงเป็นการลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทย กลายเป็นศูนย์กลางของการรวบรวมและกระจายสินค้าในภูมิภาค Asia และในภูมิภาค ASEAN ประเทศไทยจะเป็นเหมืองทองให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งค่ะ นี่คือคำตอบ ของคำถามที่ ๒ ค่ะ
แล้วมาดู Slide สุดท้ายของคำตอบคำถามที่ ๒ จะเห็นว่าโครงการ Landbridge จะประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก ๒ ฝั่ง ฝั่งจังหวัดชุมพรแล้วก็ฝั่งจังหวัดระนอง เราก็จะมี การเชื่อมโยงเส้นทางที่ประกอบไปด้วยรถไฟทางคู่แล้วก็ Motorway ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลา ทางรถไฟแล้วก็ Motorway ประมาณ ๙๐ กิโลเมตร โดยจะมีการออกแบบเป็นอุโมงค์ ในช่วงที่ต้องผ่านภูเขาเพื่อย่นระยะเวลาการเดินทาง แล้วก็ให้เส้นทางขนส่งไม่ลาดชัน จนกระทั่งจะต้องมาตามแก้ไขปัญหาเรื่องของความลาดชันแล้วก็ป้องกันอุบัติเหตุในภายหลัง นี่คือสิ่งที่ทางกระทรวงคมนาคมได้ออกแบบในภาพรวมของโครงการ Landbridge นี่คือ คำตอบของคำถามที่ ๒ ค่ะท่านประธาน
ท่านประธาน ที่เคารพคะ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขอตอบคำถามที่ ๓ ของท่านสมาชิก ในเรื่องของมูลค่าการลงทุนและ Timeline ของการดำเนินงานโครงการ ดังกล่าวนะคะ
Slide แรก ท่านจะเห็นว่าทั้งในส่วนของงบประมาณการลงทุนโครงการ Landbridge เราได้มีการศึกษา และได้มีการแบ่งพัฒนาโครงการออกเป็น ๔ ระยะ ดูตามผลคาดการณ์ว่าปริมาณตู้สินค้า ที่ผ่านโครงการนี้จะมีมูลค่าของการลงทุนรวมทั้งโครงการนี้ประมาณ ๑ ล้านล้านบาท โดยจะมี การลงทุนในระยะแรกประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งรูปแบบของการลงทุนเบื้องต้น รัฐบาลจะทำหน้าที่เวนคืนที่ดินก่อนค่ะ แล้วหลังจากนั้นจะเชิญชวนให้ภาคเอกชนมาลงทุน ในโครงการอีก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนแผนพัฒนาโครงการดิฉันขึ้น Chart ให้ดูถึง Timeline เพื่อให้เกิดความชัดเจน รัฐบาลของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เราไม่ได้คิดเรื่องของการเมืองและไม่ได้คิดเรื่องของว่า นโยบายใดจะเป็นของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ทุกโครงการที่เป็นประโยชน์ ต่อพี่น้องประชาชนเราพร้อมที่จะสานต่อเช่นเดียวกับโครงการ Landbridge นี้ค่ะ สำหรับ Timeline ที่ดิฉันได้โชว์ให้ท่านสมาชิกได้เห็นก็จะเป็นความก้าวหน้าของโครงการในปัจจุบัน ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้ดำเนินการตามกรอบของแนวทาง การพัฒนาให้โครงการแล้วเสร็จ ปัจจุบันนี้กำลังดำเนินการออกแบบอยู่ค่ะ เบื้องต้นท่าเรือ ทั้งฝั่งระนองแล้วก็ชุมพรพร้อมทั้งกำลังดำเนินการศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะมี การจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนทุกมิติ ส่วนแนวทางการดำเนินงาน ของโครงการในขั้นตอนต่อไป กระทรวงคมนาคมก็จะดำเนินการขอมติ ครม. เพื่อเห็นชอบ ในหลักการเร็วที่สุดก็ภายในเดือนตุลาคมปีนี้ค่ะ เพื่อให้กระทรวงคมนาคมสามารถไปทำ Roadshow ในต่างประเทศ แล้วก็เชิญชวนนักลงทุนรวมทั้งรับฟังความคิดเห็นตามแผนการ ก็น่าจะเป็นประมาณเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖ พอในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ เราก็จะเอาความเห็นและข้อเสนอแนะเหล่านี้จากภาคเอกชนมาปรับปรุงรายละเอียด ของโครงการก่อนที่จะนำเสนอเข้า ครม. เพื่ออนุมัติโครงการอีกครั้งหนึ่งค่ะ โดยรายละเอียด ความชัดเจน และรูปแบบของการดำเนินงานโครงการสิทธิประโยชน์ ก่อนที่จะสู่ขั้นตอนของการคัดเลือก ผู้ลงทุนโครงการจะต้องเป็นไปตามแผนดำเนินการ ประกาศประกวดราคาไปในช่วงปี ๒๕๖๘ ก็คิดว่ายังคงทันรัฐบาลในสมัยนี้อยู่นะคะ และในระยะเวลาดังกล่าวก็จะใช้ระยะเวลาการก่อสร้างทั้งสิ้น ๕ ปี ท่านประธานที่เคารพคะ ทั้งหมดที่ดิฉันได้นำเรียนถึงความคืบหน้าของโครงการ Landbridge ตามที่สมาชิก ได้สอบถามมาดิฉันอยากจะนำเรียนว่าการทำงานภายใต้ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้ริเริ่มโครงการใหญ่ ๆ และท่านนายกรัฐมนตรีก็มุ่งมั่นที่จะให้ประเทศชาติมีรายได้ สร้างรายได้ใหม่ ๆ สร้างเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการสำคัญ ๆ เช่นโครงการ Landbridge เราจะสร้างนักลงทุนใหม่ สร้างรายได้ใหม่ให้กับคนไทยทั้งประเทศ ให้พี่น้องประชาชน มีความอยู่ดีกินดีและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติต่อไปค่ะ ขอบคุณท่านสมาชิก ที่มีความห่วงใยและติดตามความคืบหน้า ถ้ามีโอกาสอีกดิฉันจะรายงานความคืบหน้า โครงการ Landbridge ต่อสภาอีกครั้งหนึ่ง ขอบพระคุณท่านประธานค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ให้มาตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิก จากจังหวัดภูเก็ตท่านสมชาติค่ะ ต้องขอขอบคุณคำถามที่ท่านสมาชิกได้ให้ความสนใจ จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในกลุ่มทะเลอันดามันและเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ของประเทศที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศแล้วก็พี่น้องประชาชน
คำถามแรก ท่านได้ถามถึงว่ากระทรวงคมนาคมมีนโยบายเร่งรัดการจัดทำโครงการก่อสร้างเพื่อพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดภูเก็ตและนักท่องเที่ยวหรือไม่ และจะดำเนินการเสร็จเมื่อใด เนื่องจากท่านได้ถามคำถามหลาย ๆ โครงการในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม ดิฉันขอไล่เลียงกับภาพรวมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดภูเก็ตเป็นด้าน ๆ ดังนี้ค่ะ
Slide แรก ภาพรวมของโครงการของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้ ความสำคัญของจังหวัดภูเก็ตที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับ ประเทศไทย และได้ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตหลาย ๆ ครั้งเพื่อฟังความเห็น ความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชน และในส่วนของกระทรวงคมนาคมนั้นเรามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบ ขนส่งเพื่อรองรับการเดินทางท่องเที่ยวของพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวให้มี ประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการพัฒนาระบบ ขนส่งมวลชนในทุกด้านค่ะ กระทรวงคมนาคมมีโครงการสำคัญหลายโครงการในการเดินทาง ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ แล้วก็ทางอากาศ โดยได้เริ่มตั้งแต่ประตูสู่จังหวัดภูเก็ตในการพัฒนา การอากาศยานและการเดินทางจากการท่าอากาศยานเข้าสู่ตัวเมืองและแหล่งท่องเที่ยว ต่าง ๆ โดยมีแผนการพัฒนาโครงสร้างที่สำคัญดังนี้
โครงการที่ ๑ โครงการพัฒนาการท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ ๒
โครงการที่ ๒ โครงการการพัฒนาการท่าอากาศยานอันดามัน
โครงการที่ ๓ โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร คำถามที่ท่านได้ถามสักครู่ ทล.๔๐๒๗ ช่วงบ้านพารา-บ้านเมืองใหม่
โครงการที่ ๔ โครงการการสร้างทางแนวใหม่เชื่อม ทล.๔๐๒๗ ไปจนถึง สามแยกสนามบิน
โครงการที่ ๕ โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับจุดตัดที่ ทล.๔๐๒ และ ทล.๔๐๒๗ ตรงบริเวณแยกท่าเรือ
โครงการที่ ๖ โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง
โครงการที่ ๗ โครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้
โครงการที่ ๘ เรื่องระบบขนส่งมวลชนของภูเก็ต
Slide ที่ ๒ เพื่อจะเห็นภาพของการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ ๒ เราได้เพิ่มความสามารถในการที่จะรองรับผู้โดยสารจาก ๑๒.๕ ล้านคนต่อปี ให้เพิ่มขึ้นถึง ๑๘ ล้านคนต่อปี ซึ่งปัจจุบัน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) อยู่ในระหว่างการทำ รายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือว่า EIA จากงบประมาณในส่วนของการดำเนินการ ประมาณ ๖.๒๑ ล้านบาท แล้วเราก็ใช้เงินของ ทอท. คาดว่าเราจะเปิดบริการให้ได้ ในปี ๒๕๗๒
Slide ที่ ๓ เราได้พูดถึงการพัฒนาท่าอากาศยานในฝั่งอันดามัน ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการรองรับการเดินทาง และนักท่องเที่ยวและประชาชนในฝั่งอันดามัน โดยสามารถรองรับผู้โดยสารตรงจุดนี้ ๒๒.๕ ล้านคนต่อปี แล้วประมาณการก่อสร้างอยู่ที่ ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ปัจจุบันก็อยู่ใน ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ คาดว่าโครงการนี้จะเสร็จในปี ๒๕๗๐
Slide ที่ ๔ โครงการก่อสร้างขยายช่องจราจรทางหลวง ๔๐๒๗ ช่วงบ้านพารา-บ้านเมืองใหม่ ระยะทาง ๔.๕๕ กิโลเมตร เป็นช่วงสุดท้ายของ ทล.๔๐๒๗ จากระยะทางทั้งหมด
ขออนุญาต ได้ตอบคำถามของท่านสมาชิกต่อไปนะคะ
ท่านประธานได้แจ้งให้ท่านผู้รับชมทางบ้านทราบด้วยว่าขณะนี้ทางสภาเราเกิดเหตุการณ์ อะไรขึ้นค่ะ
ดิฉันขอต่อนะคะ ว่างบประมาณที่ดิฉันได้นำเรียนต่อท่านประธานผ่านไปยังท่านสมาชิกสักครู่ ค่าก่อสร้าง ประมาณ ๖๐ ล้านบาทนี้เราจะใช้งบปราณจากภาครัฐ ส่วนการก่อสร้างช่วงบ้านเมืองใหม่ ไปจนถึงสามแยกสนามบินเชื่อมต่อกับ ทล.๔๐๒๗ เป็นทางแยกต่างระดับ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการเตรียมการขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ป่าชายเลน แล้วก็จะนำเสนอต่อในการขอ ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินก่อนเพื่อจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดิน คาดว่าจะเสนอขอรับ งบประมาณในการก่อสร้างประมาณปี ๒๕๖๘ และเปิดบริการให้ได้ในปี ๒๕๗๐ วงเงิน ก่อสร้างตรงจุดนี้ ๑,๒๐๐ ล้านบาท
Slide ที่ ๕ การก่อสร้างทางแยกต่างระดับ จุด ทล.๔๐๒ กับ ทล.๔๐๒๗ ตรงแยกท่าเรือ หรือวงเวียนอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร บริเวณอนุสาวรีย์ตรงนี้ จะเป็นออกแบบทางลอดตามแนวทางของ ทล.๔๐๒ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด อย่างมากเลย และจะอำนวยความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการรับรายงานของ EIA และขอความเห็นจากคณะกรรมการ ผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน แล้วก็ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คาดว่าความเห็น เหล่านี้จะได้รับความเห็นชอบภายในเดือนธันวาคม ปี ๒๕๖๖ นี้ หลังจากนั้นกรมทางหลวง ก็จะดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะเปิดบริการให้ได้ในปีงบประมาณ ๒๕๗๐ ซึ่งเป็น งบประมาณทั้งสิ้น ๒,๓๘๐ ล้านบาท โดยใช้งบประมาณจากภาครัฐค่ะ
Slide ที่ ๖ โครงการพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง นี่ก็เป็นอีกหนึ่งเส้นทาง ที่จะเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างฝั่งตัวเมืองภูเก็ตกับหาดป่าตองซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว สำคัญของเกาะภูเก็ต เป็นเรื่องของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้จัดรับฟังความเห็น อยู่ในขณะนี้เป็นครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายนที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้อยู่ในระหว่าง การพิจารณาแนวทางการดำเนินการโครงการ โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในประมาณ เดือนธันวาคม ๒๕๗๑ มูลค่าการลงทุนเป็นค่าเวนคืนที่ดินประมาณ ๕.๗ ล้านบาท โดยใช้ งบประมาณแผ่นดินและค่าก่อสร้าง ๘,๘๗๘ ล้านบาท โดยใช้เงินการทางพิเศษแห่งประเทศไทย นี่คือโครงการพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง
Slide ที่ ๗ โครงการทางพิเศษของสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ เป็นการเชื่อมโยง การเดินทางจากท่าอากาศยานภูเก็ตสู่เมืองภูเก็ตและเชื่อมต่อการทางพิเศษ สายกะทู้-ป่าตอง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างสรุปผลศึกษาความเหมาะสมของโครงการ และเตรียมการเสนอรายงาน EIA ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา คาดว่าจะเปิดบริการ ให้ได้ประมาณเดือนเมษายน ปี ๒๕๗๒ วงเงินลงทุนประมาณ ๒๒ ล้านบาท จึงขอใช้ งบประมาณแผ่นดินและค่าก่อสร้างวงเงิน ๒๐,๒๘๐ ล้านบาท โดยใช้วิธีเอกชนร่วมลงทุนค่ะ
Slide ที่ ๘ เรื่องระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดภูเก็ต หรือที่เราเรียกว่า โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต จะประกอบไปด้วยระยะที่ ๑ ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ตไปจนถึง ห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ ๔๑.๗ กิโลเมตร จำนวน ๒๑ สถานี และระยะที่ ๒ ต่อขยาย จากสนามบินไปท่านุ่นระยะทางประมาณ ๑๖.๘ กิโลเมตร จำนวน ๓ สถานี ท่านประธาน ท่านสมาชิกคะ ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาเห็นถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า จังหวัดภูเก็ต และเส้นทางส่วนใหญ่ก็จะอยู่บนถนนหมายเลข ๔๐๒ ในขณะที่ประชาชน ในจังหวัดภูเก็ตไม่มีเส้นทางอื่นในการสัญจรไปมา และทำให้เกิดปัญหาการใช้เส้นทางจราจร ติดขัด ต้องบอกว่าวิกฤติของพี่น้องประชาชนจังหวัดภูเก็ตและนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ทางกระทรวงคมนาคมก็ไม่นิ่งนอนใจ จึงได้เร่งรัดให้มีการก่อสร้างสาย ทล.๔๐๒๗ ให้แล้วเสร็จ โดยเร็วค่ะ เพื่อใช้เป็นเส้นทางเลี่ยงในระหว่างการก่อสร้างที่ดำเนินการโครงการนี้สำหรับ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าของจังหวัดภูเก็ตต่อไป สถานะปัจจุบันของ รฟม. หรือการรถไฟฟ้า ยังอยู่ในระหว่างของการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม การปรับปรุงโครงสร้าง ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ระยะที่ ๑ ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ตไปจนถึงห้าแยกฉลองค่ะ
Slide ที่ ๙ เรื่องของการพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่หรือว่า Cruise Terminal บริเวณฝั่งอันดามัน กรมเจ้าท่าได้ทำการศึกษาการพัฒนาท่าเรือสำราญ ขนาดใหญ่ในจังหวัดภูเก็ต ๑ แห่ง ตามที่ท่านสมาชิกได้อภิปรายไปเมื่อสักครู่ นั่นก็คือ การพัฒนาจุดทอดสมอและพักอ่าวป่าตองและท่าเทียบเรือขนส่งขนาดเล็กด้านหน้าอ่าวป่าตอง และการปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตที่ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันอยู่ใน ระหว่างการพิจารณารายงานศึกษาความเหมาะสมฉบับสมบูรณ์เพื่อเตรียมการที่จะ ดำเนินการก่อสร้างต่อไป
ทั้งหมดที่เป็นคำถามแรกของท่านสมาชิก ท่านสมาชิกยังได้มีโอกาส ถามคำถามที่ ๒ รวมไปในคำถามแรกเป็นคำถามเรื่องของการใช้งบประมาณว่าโครงการ ต่าง ๆ โครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดภูเก็ตที่จะรองรับบริการพี่น้องประชาชนนั้นมีการที่จะใช้ เงินงบประมาณมาจากที่ไหนบ้าง ดิฉันขอตอบอีก ๑ คำถามที่ท่านสมาชิกได้ถามไป เมื่อสักครู่ว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมของจังหวัดภูเก็ตสามารถ แยกได้เป็น ๒ ประเภท ๒ รายการ ประเภทแรกเป็นโครงการโดยกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทเป็นงานก่อสร้างขยายถนนทางหลวง ซึ่งงบประมาณที่ใช้ ในการเวนคืนที่ดินและใช้ในการก่อสร้างเราจะใช้งบประมาณแผ่นดินซึ่งมาจากภาษีอากร ของพี่น้องประชาชนที่ขอรับการจัดสรรจากรัฐบาล ส่วนประเภทที่ ๒ จะเป็นโครงการ ที่ดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจ เช่น โครงการการพัฒนาการท่าอากาศยานภูเก็ตระยะที่ ๒ โดย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือโครงการก่อสร้างทางด่วนพิเศษ โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งเงินลงทุนทั้งหมดในส่วนของการเวนคืน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจจะขอเงินจากงบประมาณแผ่นดิน นั่นคือเงินที่จะต้องจ่ายค่าเวนคืน จะใช้งบประมาณจากงบประมาณแผ่นดิน แต่ถ้าเป็นเงินลงทุนในการก่อสร้างเราจะใช้เงิน ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินโครงการในการก่อสร้างนั้น ๆ ในส่วนของการดำเนินงาน ให้บริการและการซ่อมบำรุงก็จะเป็นเรื่องของภาระในรูปแบบของเอกชนร่วมทุน ซึ่งหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการ กระทรวงคมนาคมขอยืนยันว่าทุกโครงการที่ดิฉันได้ตอบคำถาม ของท่านสมาชิกไป ทางกระทรวงคมนาคมและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีความพร้อมในด้านเงินทุนสำหรับดำเนินการก่อสร้างเพื่อพัฒนาจังหวัดภูเก็ตทางด้าน โครงสร้างพื้นฐานค่ะท่านประธาน ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ๓ โครงการที่ท่านสมาชิกได้ถามถึงนะคะ เนื่องจาก ๓ โครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่าง การทำ EIA เพราะการทำ EIA จะมี Timeline ของการเริ่มต้นโครงการและการศึกษา การทำ EIA เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพราะเราต้องรับทราบปัญหาทุกมิติ การแสดง ความเห็นต่อพี่น้องประชาชนว่า EIA โครงการนั้น ๆ มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของพี่น้องประชาชนอย่างไร ใน ๓ โครงการดังกล่าวเมื่อทำ EIA เสร็จแล้วก็จะอยู่ในขั้นตอน ของการจัดสรรงบประมาณนะคะ
ส่วนอีกคำถามหนึ่งค่ะ สายกะทู้-ป่าตอง ที่ท่านสมาชิกฝากถึงว่าจะเร่งรัดให้มี การก่อสร้างภายในปี ๒๕๖๗ ซึ่งสายทางดังกล่าวที่ผ่านมาท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน และท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ลงไปที่จังหวัดภูเก็ตแล้วก็เดินทางไปดูเส้นทางดังกล่าว เพื่อจะเร่งรัดให้มีการก่อสร้างสายทางนี้ในปี ๒๕๖๗ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมการ ที่จะจัดสรรงบประมาณลงนะคะ ดิฉันจะเร่งรัดให้มีการจัดสรรงบประมาณในเส้นทาง สายกะทู้-ป่าตอง ในปี ๒๕๖๗ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการรวบรวม ต้องขอบคุณท่านสมาชิก ที่ได้ตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ดิฉันขอนำปัญหาของท่านสมาชิก จากจังหวัดภูเก็ตเพื่อจะนำคำถามของท่านไปบรรจุลงในแผนการก่อสร้างในงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ ต่อไป ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้มาตอบ กระทู้ถามของท่านสมาชิก ต้องขอขอบคุณท่านสมาชิกนะคะ ท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งในเวทีสภาผู้แทนราษฎรทุก ๆ ครั้งที่มีการประชุมสภา ท่านจะนำปัญหาของพี่น้องประชาชนมาเสนอต่อสภาทั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา กระทู้ถาม ทั่วไป แล้วก็กระทู้ถามแยกเฉพาะ ดิฉันขอชื่นชมของความใส่ใจต่อพี่น้องประชาชนนะคะ ในประเด็นคำถามของท่าน ถึงทางหลวงหมาย ๓๒๙๑ เบิกไพร-เตาปูน ซึ่งมีระยะทาง ๒๑.๙๗ กิโลเมตร ที่เริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ ๒๓-๖๒๘ แล้วก็กิโลเมตรที่ ๔๕-๖๐๕ ซึ่งปัจจุบัน ที่บอกว่ามีขนาด ๒ ช่องทาง ๒ ช่องทางที่ไม่มีเกาะกลางแล้วมีผิวจราจร มีผิวทางชนิด Asphaltic Concrete ซึ่งเราก็จะเห็นว่ากรมทางหลวงได้รับงบประมาณเมื่อปี ๒๕๖๖
จะได้ ให้ท่านสมาชิกได้เห็นภาพด้วยนะคะ
ในระหว่าง รอ Slide การก่อสร้างของเส้นทางจาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจร เท่าที่เราเห็นก็จะ ประสบปัญหาใกล้เคียงกัน ๑. เรื่องของปัญหาการเจาะเกาะจุดกลับรถ ในขณะที่ขณะนี้ภาวะ ของสถานการณ์หลายจังหวัดถูกน้ำท่วม ปัญหาในเรื่องของอุทกภัยเรื่องของน้ำท่วม แล้วก็ ทำให้บริเวณสะพานหรือว่าตอม่อขาดก็อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน โดยดิฉัน จะขออนุญาตเปิด Slide แล้วก็ตอบประเด็นคำถามของท่านสมาชิกเรื่องของการเจาะเกาะ ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชน ทางกรมทางหลวงก็ไม่ละเลย เพราะว่า ความต้องการความเจริญจะมาพร้อมกับสิ่งที่ประชาชนหมดไปจากความเคยชินที่เป็นอยู่ จากเคยข้ามถนนแล้วจู่ ๆ ก็มีถนน ๔ เลนมาจะต้องมีที่กลับรถไกลขึ้น ทางกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงก็คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ การก่อสร้างความเจริญเข้ามา ประการหนึ่ง ก็จะต้องไม่ให้พี่น้องประชาชนลำบากในการสัญจรไปมาเช่นเดียวกัน นี่คือเส้นทาง ที่ท่านสมาชิกได้เห็นในงบประมาณ ปี ๒๕๖๖ เราก็ได้รับงบประมาณที่ขยายจาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจร แล้วก็มีเกาะกลางชนิดเกาะยก แล้วก็มีผิวจราจร ชนิด Asphaltic Concrete ในกิโลเมตรที่ ๓๓ + ๕๗๐ แล้วก็กิโลเมตรที่ ๓๗ + ๒๕๐ ซึ่งระยะทางทั้งหมด ๓.๖๘ กิโลเมตร ได้เริ่มก่อสร้างในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ แล้วก็ไป สิ้นสุดสัญญาเอาเมื่อปี ๒๕๖๖ บริเวณจุดที่ท่านสมาชิกที่ขอให้กรมทางหลวงสร้างทางลอด ใต้ทางหลวงเห็นไหมคะ บริเวณดังกล่าวอยู่ที่กิโลเมตรที่ ๓๙ + ๕๐๐ บริเวณที่ตำบลคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จะอยู่ในช่วงที่ขอรับงบประมาณในปี ๒๕๖๗ ขณะนี้เตรียมขอรับงบประมาณ ในปี ๒๕๖๗ ท่านสมาชิกสามารถแจ้งประชาชนได้เลยว่าโครงการนี้จะได้รับการจัดสรร งบประมาณอย่างแน่นอน เราก็จะเร่งรัดให้มีระยะเวลาก่อสร้างให้เร็วที่สุดเพื่อพี่น้อง ประชาชนจะได้ใช้เส้นทางนี้ นี่คือสิ่งที่ผู้แทนราษฎรได้ตระหนัก เราเองก็ตระหนักเช่นเดียวกัน ในภารกิจของกรมทางหลวง จะเป็นการลดอุบัติเหตุให้กับผู้ใช้เส้นทางดังกล่าว ทั้งนี้ข้อเสนอ ของการก่อสร้างจุดกลับรถ เห็นไหมคะบริเวณทางลอด กรมทางหลวงได้ทำการดำเนินการ แล้วสำรวจ ทั้งลักษณะกายภาพของพื้นที่แล้วก็บริเวณดังกล่าวว่าจะสามารถก่อสร้าง ได้หรือไม่ หากมีความเหมาะสมกรมทางหลวงก็จะดำเนินการก่อสร้างตามสภาพ ความต้องการแล้วก็สภาพของพื้นที่ความพร้อม ซึ่งจริง ๆ แล้วกรมทางหลวงก็ตระหนักว่า ความสำคัญของการแก้ไขปัญหาของการจราจรจะต้องตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้รถใช้ถนน ตอบโจทย์ทั้งผู้อยู่อาศัยของพี่น้องประชาขนบริเวณใกล้เคียง นอกจากนั้นจุดที่ท่านสมาชิก ได้พูดเมื่อสักครู่เรื่องของความเดือดร้อนที่จะต้องทำสะพานเบี่ยงก็จะกำชับให้ทางหลวง จังหวัดได้ลงไปดูป้ายบอกสัญญาณว่าขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างสะพานทางเบี่ยง ในขณะที่พี่น้องสัญจรไปมาจะต้องมีป้ายบอกทางที่ชัดเจน มีไฟส่องสว่างที่เป็นสัญญาณเตือน เรื่องนี้ดิฉันขอรับปัญหาของท่านสมาชิก แล้วก็จะกำชับให้ทางกรมทางหลวงจัดการแก้ไข เบื้องต้นแล้วก็เร่งรัดให้มีการก่อสร้างสะพานในขณะที่ตอม่อมันขาดโดยเร็วที่สุด ขอบคุณค่ะท่านประธาน
ขอบคุณ ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จากคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิกเป็นเรื่องที่ฝาก โดยเฉพาะเรื่องของนำเรียนว่าโครงการอุโมงค์ กรมทางหลวงได้ทดสอบ ได้ทดลองมาหลายที่ ที่เราได้ดำเนินการก่อสร้างปรากฏว่าเราลด อุบัติเหตุได้เยอะมาก เพราะว่าเรามาทำสถิติว่าหลังจากอุโมงค์แต่ละจุด ๆ ๑. ลดอุบัติเหตุ ๒. พี่น้องประชาชนได้ทราบว่าตรงนี้มีอุโมงค์ผู้ขับขี่ไปมาก็ลดความเร็วลง ซึ่งสิ่งนี้จะเป็น สิ่งที่ทางกรมทางหลวงเน้นย้ำว่าจุดไหนเป็นจุดบริเวณสี่แยกที่ไม่มีปัญหา แทนที่จะเจาะเกาะ แล้วข้ามมาใช้การขุดอุโมงค์แทน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในโครงการที่กรมทางหลวงได้กระจายไปสู่ ทุกพื้นที่แล้วก็ได้ให้นโยบายเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน
เรื่องที่ ๒ เรื่องของลาดยางเป็นคลื่นไม่ได้มาตรฐาน นี่คือการที่เรามีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรคอยตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ สิ่งที่ผู้แทนราษฎรได้เห็นกับตา ได้ฟังกับหู เราก็เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาช่วยกันตรวจสอบการทำงานภาครัฐให้โปร่งใส และให้ผลงานที่ดีเป็นที่ประจักษ์ต่อพี่น้องประชาชน เพราะว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ ล้วนมาจากภาษีของพวกเราทุกคน ต้องขอบคุณท่านสมาชิกนะคะ ดิฉันจะนำปัญหาเหล่านี้ กำชับให้หน่วยงานของกรมทางหลวงได้ลงไปกำชับดูแลผู้รับเหมาให้ทำงานให้ได้มาตรฐาน แล้วก็ท่านมีอะไรท่านแจ้งมาเลยนะคะ นอกจากว่าท่านจะตั้งกระทู้ถามแล้ว ดิฉันมี เบอร์โทรศัพท์ติดต่อโดยตรงดิฉันจะได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานของกระทรวง คมนาคมให้สอดส่องดูแลให้การก่อสร้างให้ได้มาตรฐานแล้วก็เป็นประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้อง ประชาชน ขอบคุณค่ะท่านประธาน
ท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พรรคเพื่อไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขอถือโอกาสขอบพระคุณท่านสมาชิกที่เสนอ ญัตติแล้วก็ท่านสมาชิกทุกท่านที่ได้อภิปรายในญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน เพื่อส่งเรื่อง ให้รัฐบาลดำเนินการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ดิฉันเองได้รับทราบนโยบายต่าง ๆ ที่ ท่านนายกรัฐมนตรีท่านเศรษฐา ทวีสิน ได้แถลงนโยบายต่อพี่น้องประชาชน ขณะนี้ ในสถานการณ์หลายจังหวัดได้ประสบปัญหาน้ำท่วม และท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้กำชับให้ คณะรัฐมนตรีทุกท่านที่กำกับดูแลแต่ละกระทรวงได้เฝ้าติดตามและให้ความช่วยเหลือพี่น้อง ประชาชนอย่างเร่งด่วนแล้วก็ทันท่วงที ไม่ให้พี่น้องประชาชนพบกับปัญหาความยากลำบาก และมีการตั้งศูนย์ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในแต่ละจังหวัดด้วย นอกจากนั้น ท่านนายกรัฐมนตรียังมีหมายกำหนดการที่จะลงพื้นที่ของพี่น้องประชาชน ในวันศุกร์ที่ ๖ และวันเสาร์ที่ ๗ จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดอุบลราชธานี ถ้าท่านสมาชิก ท่านใดที่อยู่ในพื้นที่ได้ขอความร่วมมือได้ลงไปพื้นที่เพื่อไปพบกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ด้วยกันนะคะ นอกจากการเตรียมความพร้อมเรื่องของภัยแล้ง ซึ่งในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ในบางพื้นที่ที่ยังประสบปัญหาภัยแล้งอยู่ ท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้สั่งการให้ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้มาช่วยเรื่องการทำฝาย แกนดินซีเมนต์ ซึ่งจะเป็นเรื่องของการเก็บกักน้ำ ลอกคูคลอง การทำฝาย Soil-Cement จะสามารถเก็บกักน้ำสะสมน้ำใต้ดินเพื่อให้มีน้ำปริมาณมาก เนื่องจากในโครงการต่าง ๆ ล้วนเป็นโครงการที่มีประโยชน์ จากคำแนะนำของท่านสมาชิกทุก ๆ ท่านรัฐบาลก็มีมาตรการ มีการวางแผนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง แล้วก็ระยะยาว ทุกปัญหาทุกข้อเสนอแนะรัฐบาล ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ขอน้อมรับและจะนำไปวางแผนเพื่อพัฒนาแก้ไขปัญหา น้ำท่วมและน้ำแล้งต่อไป ขอขอบคุณท่านสมาชิกอีกครั้งค่ะ ขอบคุณค่ะ
ได้ค่ะ
ต้องตกไป
ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ ไว้โอกาสหน้า
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้มาตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิกนะคะ ในโครงการดังกล่าวดิฉันอยากจะขออนุญาต ฉาย Slide ให้เห็นภาพรวมของทั้งโครงการ จะใช้เวลาประมาณ ๓.๕ นาที เชิญรับชมค่ะ
ท่านประธาน ที่เคารพคะ นี่คือวีดิทัศน์ในภาพรวมของโครงการบางปะอิน-นครราชสีมา หรือเราเรียกว่า โครงการ M6 ซึ่งเป็นโครงการทางหลวงพิเศษสายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ซึ่งมี ระยะทางทั้งสิ้น ๑๙๖ กิโลเมตร การก่อสร้างโยธาอย่างที่ดิฉันได้อยู่ในวีดิทัศน์มีทั้งหมด ๔๐ สัญญา โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จในจำนวนทั้งสิ้น ๒๘ สัญญา แล้วก็อยู่ในระหว่าง การก่อสร้างอีก ๑๒ สัญญา ซึ่งความก้าวหน้าของงานโยธาแล้วเสร็จประมาณ ๙๑.๙๖ เปอร์เซ็นต์ ส่วนการก่อสร้างในการที่จะสร้างด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง ร้อยละ ๒๐.๕๒ เปอร์เซ็นต์ ส่วนงานก่อสร้างด่านเก็บค่าธรรมเนียม เราก็จะเร่งรัดให้ดำเนินการ ก่อสร้างให้แล้วเสร็จทั้ง ๙ ด่าน ภายในเดือนกันยายน ปี ๒๕๖๗ นี้ ทั้งนี้ โครงการได้รับการ จัดสรรงบประมาณจากเดิมเป็นแบบอย่างที่จัดสรรเพิ่มเติมเข้ามาอีกจำนวนหนึ่ง เป็นเงิน ๔,๙๗๐ ล้านบาท แล้วก็จะมีการเร่งรัดให้ดำเนินการก่อสร้างทั้งหมดให้แล้วเสร็จประมาณ เดือนพฤศจิกายน ปี ๒๕๖๘ ถึงอย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงก็เตรียม โครงการดังกล่าวเพื่อเสนอต่อ ครม. ในการอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมอีกในวงเงิน ๑,๗๔๐ ล้านบาท สำหรับงานโยธาก็ได้มีการปรับแบบในบางส่วน ขณะนี้ได้ดำเนินการ ก่อสร้างไปแล้วทั้งระบบ ทั้งงานก่อสร้างในส่วนของโยธาและงานระบบจะแล้วเสร็จในเดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๘ ท่านประธานคะ ขณะที่ถนนเส้นทางดังกล่าวเป็นประตูสู่ภาคอีสาน ซึ่งมีทั้ง ๒๐ จังหวัด แล้วก็เป็นถนนสายหลัก ทางกรมทางหลวงโดยกระทรวงคมนาคมก็ได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้าง ดำเนินการก่อสร้าง ส่วนของการขอรับงบประมาณเพิ่มเติม ทางกระทรวงคมนาคมได้มี ความพร้อมแล้วที่จะเร่งรัดแล้วก็นำเสนอ ครม. ในงบประมาณที่เหลือ ถ้าเส้นทางดังกล่าว ได้มีการเปิดใช้ดิฉันเชื่อมั่นว่าเส้นทางนี้จะอำนวยความสะดวกให้หลายเส้นทางไปสู่อีสาน มีความสะดวกสบายแล้วก็ร่นระยะเวลาการเดินทาง โดยเฉพาะการขนส่งทางบก นอกจากนั้นพี่น้องชาวอีสานก็หวังว่าความเจริญในภาพของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ที่กำกับดูแลกระทรวงคมนาคม จะมีการผลักดันโครงการ เหล่านี้ให้สำเร็จแล้วก็เป็นความหวังของพี่น้องคนอีสานต่อไป ดิฉันขออนุญาตตอบ คำถามแรกของท่านสมาชิกค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จากประเด็นคำถามที่ ๒ ที่ท่านสมาชิกได้นำเสนอ
ก็ขอ กราบเรียนว่าวีดิทัศน์ที่ดิฉันนำเสนอนั้นเป็นวีดิทัศน์ที่เกี่ยวกับรายละเอียดภาพรวมของ โครงการทั้งหมด เราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวีดิทัศน์นี้ได้ เพราะวีดิทัศน์นี้คือมาจาก พื้นฐานความเป็นจริง มาจากโครงการจริง ๆ การเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมก็คืออย่างที่ดิฉัน ได้นำเสนอว่าเรามีการของบประมาณเพิ่มเติมต่อ ครม. รายละเอียดดังกล่าว การสั่งงาน ในเชิงลึก ปัจจุบันการกำกับดูแลจะไม่มีการสั่งงานในเชิงลึก มีการสั่งงานโดยเปิดเผย ตรงไปตรงมา ถูกต้องตามระเบียบของการกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม ในการนำเสนอ โครงการในหน่วยงานดังกล่าว กระทรวงคมนาคมก็ได้เร่งรัดที่จะให้มีการเปิดการใช้ อย่างเร็วที่สุด แต่เราต้องยอมรับว่าการใช้เงินงบประมาณทุกโครงการที่เป็นเงินมาจากภาษี ของพี่น้องประชาชนต้องมีการใช้อย่างรอบคอบและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อโครงการนั้น ๆ
ในคำถามที่ ๒ ดิฉันจะพูดถึงแผนงานการเปิดใช้งานของโครงการดังกล่าว ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี ๒๕๖๗ ใกล้ ๆ อีกเพียงไม่กี่เดือนนี้ ก็เป็นนโยบายที่เราจะเปิดใช้ ในช่วงของปากช่องถึงทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ดังในภาพ ก็จะเปิดให้ใช้ในระยะทางแรกก่อนในจำนวน ๘๐ กิโลเมตร นอกจากนั้นก็จะมีการทดลอง ระบบเดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายนในปี ๒๕๖๘ ต่อจากนั้นก็จะมีการเปิดทดลอง ให้ใช้บริการฟรีประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ภายหลังปี ๒๕๖๘ ภายหลังงาน ก่อสร้างแล้วเสร็จก็จะประมาณเดือนพฤศจิกายน ก็เป็นปี ๒๕๖๘ แล้วก็จะให้มีการเปิด บริการเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งมีการเก็บค่าผ่านทางแต่ละด่านตลอดเส้นทางทั้ง ๑๙๖ กิโลเมตร ต้นปี ๒๕๖๙ นี่คือภาพรวมของการเตรียมการให้เปิด ท่านประธานที่เคารพคะ จริง ๆ โครงการทุกโครงการล้วนมีความสำคัญ เพียงแต่รัฐบาลจะให้ความสำคัญโครงการไหน ก่อนหลัง เพราะการคิดโครงการแต่ละโครงการซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่เราจะต้องอาศัย งบประมาณจากการเก็บภาษีของพี่น้องประชาชนแต่ละไตรมาส แล้วมาลำดับความสำคัญ ของโครงการนั้น ๆ เราทราบข่าวว่าฐานะเศรษฐกิจของประเทศที่ผ่านมาเรามีภาระเงินกู้ มหาศาล ความจำเป็นเร่งด่วนในภาพรวมของพี่น้องประชาชนที่ยังลำบาก เพราะฉะนั้น การจัดสรรงบประมาณแต่ละบาท ทุกบาททุกสตางค์รัฐบาลจึงเล็งเห็นความสำคัญ ของแต่ละโครงการเช่นเดียวกัน แม้กระทั่งโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของสาย บางปะอิน-นครราชสีมา หรือ M6 ท่านประธานคะ บ้านดิฉันอยู่นครพนม อยู่ภาคอีสาน เป็นจังหวัดชายขอบ ดิฉันก็อยากให้โครงการนี้สำเร็จเหมือนทันใจว่าสำเร็จเดือนนี้ได้ไหม ปีหน้าได้ไหม ปีโน้นได้ไหม เฉกเช่นเดียวกับความรู้สึกของท่านสมาชิก แต่เราต้องยอมรับว่า ข้อสำคัญคืองบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรไป ไม่เพียงแค่กระทรวงคมนาคมเท่านั้น ยังมี กระทรวงอื่น ๆ อีก
ข้อซักถามของท่านสมาชิกที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการสร้างเมืองทาง เลี่ยงเมืองสายบางปะอินไปจนถึงนครราชสีมา ดิฉันจะนำข้อเสนอของท่านสมาชิก ในการเตรียมการขอรับงบประมาณเพิ่มเติมจาก ครม. แล้วก็เร่งรัดกำชับผู้รับจ้างแต่ละช่วง สายทางให้ดำเนินการก่อสร้างอย่างเร็วที่สุด ขณะเดียวกันก็กำชับเรื่องของความปลอดภัย ในช่วงระหว่างก่อสร้าง และกำชับให้พี่น้องประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงไม่ให้มีผลกระทบ ในระหว่างก่อสร้างเช่นเดียวกัน ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต่อข้อฝากของท่านสมาชิกที่ได้ฝากประเด็นไว้ ดิฉันจะนำไปปฏิบัติแล้วก็จะมีการเปิดเผย ข้อมูลทุกสัญญา ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการสื่อสาร ทั้ง Website ของกระทรวงคมนาคม แล้วก็ ของโครงการแต่ละจุด ๆ ขอกราบขอบพระคุณที่ท่านสมาชิกได้เป็นตัวแทนของคนภาคอีสาน ทั้ง ๒๐ จังหวัด ได้สอบถามความคืบหน้าของโครงการดังกล่าว ส่วนดิฉันเองซึ่งมาจากทาง ภาคอีสานเช่นเดียวกัน ก็จะทุ่มเททำงานเพื่อให้เส้นทางดังกล่าวเปิดใช้ให้เร็วที่สุด ตามแผนงานการดำเนินงานที่เราได้วางแผนไว้ ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับ มอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรี และท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ให้มาตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิก เรื่อง การแก้ไขปัญหาโครงสร้าง พื้นฐานของจังหวัดพัทลุง ก่อนอื่นดิฉันขอขึ้น Slide ในภาพรวมของโครงสร้างพื้นฐาน ด้านต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคมก่อนนะคะ
โครงสร้าง แรก เป็น Slide ในภาพรวมของกระทรวงคมนาคม จะเห็นว่าสีแดงเป็นโครงการที่อยู่ใน ระหว่างการก่อสร้าง ในการเสนอขอรับงบประมาณปี ๒๕๖๗ สีฟ้าอยู่ในระหว่างการขอรับ งบประมาณปี ๒๕๖๗ ส่วนสีน้ำเงินเป็นโครงการที่อยู่ในแผนงานที่เตรียมขอรับงบประมาณ ในปีถัดไป หน่วยงานแรกเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ดิฉันขอนำเรียน ต่อท่านประธานผ่านไปที่ท่านสมาชิก หน่วยงานแรกคือกรมทางหลวง ในปีงบประมาณ ปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๗๑ กรมทางหลวงมีแผนงานสำคัญ ๆ ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและมี แผนงานจำนวน ๘ โครงการ ดังนี้
โครงการที่ ๑ อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ก็จะมีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ ให้มีสายทางหลวงสายหลัก ที่ ทล.๔ พัทลุง-หาดใหญ่ ตอนห้วยทราย และบ้านพลุพ้อ อยู่ในงบประมาณปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๖ ในเส้นทางดังกล่าวจำนวน ๕๑๔ ล้านบาท
โครงการที่ ๒ เป็นการก่อสร้างถนนสายหลัก ที่ ทล.๔๑ ตอนบ้านไม้เสียบ-พัทลุง ซึ่งเป็นงบประมาณระหว่างปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๖ เป็นงบประมาณ ๘๘๙ ล้านบาท
โครงการที่ ๓ เป็นโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ที่ ทล.๔๐๔๙ สามแยก ทล.๔ ห้วยทราย ต่อจากเทศบาลตำบลปากพะยูน งบประมาณปี ๒๕๖๔ จะสิ้นสุด ในปี ๒๕๖๗ วงเงินงบประมาณ ๑๗๙ ล้านบาท นี่คือโครงการในส่วนของกรมทางหลวง ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างแต่ว่ายังไม่แล้วเสร็จ
เรายังมีโครงการที่จะเตรียมการในการขอรับงบประมาณในปี ๒๕๖๗ ถึง ๓ โครงการค่ะท่านประธาน
โครงการแรก เป็นโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ที่ ทล.๔๑๘๗ สามแยก ทล.๔๑ ถึงทะเลน้อย เป็นงบประมาณผูกพัน ๓ ปี นับตั้งแต่ปี ๒๕๖๗ ถึงปี ๒๕๖๙ จำนวน ๓๒๐ ล้านบาท ดังในภาพนะคะ
โครงการที่ ๒ เป็นโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ ตรงจุดตัดทางหลวง ทล.๔๑๖๔ ตัดสาย ทล.๔๑๘๗ บริเวณแยกโพธิ์ทอง เป็นงบประมาณผูกพัน ๓ ปีเช่นกัน ปี ๒๕๖๗ ถึง ปี ๒๕๖๙ ในวงเงินงบประมาณ ๖๐๐ ล้านบาท
โครงการที่ ๓ เป็นโครงการทางแยกต่างระดับ ดังในภาพท่านสมาชิกกรุณาดู ตามภาพ เพื่อจะได้เข้าใจและติดตามดูแลช่วยกันในการผลักดันงบประมาณเหล่านี้ เมื่องบประมาณเหล่านี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โครงการที่ ๓ ตรงบริเวณ ทล.๔๑ ตัด ทล.๔๐๔๘ แยกวังปีบ เป็นงบประมาณผูกพัน ๓ ปี ในวงเงิน ๓๐๐ ล้านบาท
โครงการทั้ง ๓ โครงการที่เตรียมการขอรับงบประมาณในปี ๒๕๖๗ ส่วนอีก ๒ โครงการเราจะนำไปบรรจุไว้ในแผนงบประมาณปี ๒๕๖๘ นำเรียนท่านประธาน ว่าในห้วงของการพิจารณางบประมาณในปี ๒๕๖๗ เราคาดว่างบประมาณตามแผน การดำเนินงานเสนอขอรับงบประมาณจะมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาประมาณ เดือนเมษายน มีเวลาในการใช้งบประมาณปี ๒๕๖๗ เพียงแค่ ๕ เดือน หลังจากนั้นก็จะมี การทำแผนเพื่อขอรับงบประมาณในปี ๒๕๖๘
โครงการที่ ๑ เตรียมนำเสนอของจังหวัดพัทลุงก็จะมีโครงการก่อสร้าง ทางเลี่ยงเมืองและสะพานข้ามทางรถไฟ ที่ ทล.๔๐๘๑ สามแยก ทล.๔ ท่านางพรหม-จงเก เป็นงบประมาณ ปี ๒๕๖๙ ถึงปี ๒๕๗๑ จำนวนวงเงิน ๔๐๐ ล้านบาท
โครงการที่ ๒ เป็นถนนทางเลี่ยงเมืองข้ามสะพานข้ามทางรถไฟบน ทล.๔๑๘๑ สามแยก ทล.๔ โคกทราย ต่อจากเขตเทศบาลตำบลปากพะยูนที่กิโลเมตร ๑๒ วงเงินงบประมาณ ๒๘๐ ล้านบาท นี่คือ ๒ โครงการที่เตรียมขอรับงบประมาณในปี ๒๕๖๘
ส่วนอีกกรมหนึ่งที่เราได้ดูแลนอกจากทางกรมทางหลวงแล้ว นั่นคือ กรมทางหลวงชนบท ในรอบปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ไปจนถึงปี ๒๕๖๙ กรมทางหลวงชนบท มีแผนงานโครงการในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ซึ่งอยู่ในระหว่างก่อสร้างและมีแผนงานที่จะ ดำเนินการในอนาคตจำนวนทั้งสิ้น ๑๑๓ โครงการ ทั้งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ในระหว่าง ดำเนินการก่อสร้าง ๓ โครงการ นอกจากนั้นก็เป็นโครงการปีเดียว ทั้งการก่อสร้างสะพาน งานสะพาน งานบำรุงรักษา และงานอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย ที่ใช้งบประมาณ ในปี ๒๕๖๖ ถึง ๔๔ โครงการ และนอกจากนั้นยังถูกบรรจุไว้ในแผนงบประมาณปี ๒๕๖๗ ถึง ๖๖ โครงการ ดิฉันขออนุญาตใช้เวลาตรงนี้เพื่อให้กระชับ ๖๖ โครงการนี้อยู่ในแผนงาน โครงการก่อสร้าง ๓ โครงการ
โครงการที่ ๑ เป็นโครงการบริหารจัดการการท่องเที่ยวบริเวณบ้านจงเก อำเภอเมืองพัทลุง เขาชัยสน ๑๖๕ ล้านบาท
โครงการที่ ๒ เป็นเรื่องของทำถนนยกระดับบริเวณทะเลน้อยไปควนขนุน ซึ่งเป็นงบประมาณปี ๒๕๖๔-๒๕๖๖ ขณะนี้ทางผู้รับจ้างเร่งรัดในการดำเนินการก่อสร้างอยู่ ในวงเงิน ๒๔๙ ล้านบาทค่ะท่านประธาน
โครงการที่ ๓ เป็นเรื่องของถนนท่องเที่ยวบริเวณ ทล.๔๐๘๑ ไปถึง บ้านฝาละมี อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว และอำเภอปากพะยูน อยู่ในงบประมาณ ที่กำลังก่อสร้างอยู่ แต่ว่ายังเบิกจ่ายไม่แล้วเสร็จ ในวงเงินงบประมาณ ๔๓๐ ล้านบาทค่ะ ท่านประธาน
ดิฉันขอนำเสนอเรื่องของโครงการที่เป็นปีเดียวอีก ที่เห็นตามภาพ เป็นโครงการปีเดียว เป็นโครงการซ่อมสร้างผิวทาง Asphaltic Concrete เป็นสายทาง ที่บ้านคลองใหญ่-ป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และซ่อมสายทางถนนสาย พท.๒๐๔๑ แยก ทล.๔๑ ไปจนถึงบ้านทุ่งชุมพล-ป่าพะยอม นอกจากนั้นไปถึงสาย พท.๔๐๑๙ ไปถึง บ้านแหลมโตนด อำเภอเมืองพัทลุง ต่อจากนั้นเราก็จะมีโครงการติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่าง ให้พี่น้องประชาชนสัญจรไปมาได้รับความสะดวกและปลอดภัย
อีกโครงการหนึ่งที่จะนำเสนอต่อข้อสอบถามของท่านสมาชิก คือโครงการ ที่เรานำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในงบประมาณปี ๒๕๖๗ จะเป็นทั้งหมด ๖๖ โครงการ จะมีโครงการใหญ่ ๑ โครงการ คือก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ซึ่งโครงการนี้ จะอยู่ในวงเงินถึง ๔,๘๒๙ ล้านบาท จะเป็นโครงการที่ใช้เงินกู้จากต่างประเทศ และขณะเดียวกันเราก็จะใช้เงินงบประมาณของแผ่นดินสมทบอีก ซึ่งบรรจุไว้ในแผน งบประมาณปี ๒๕๖๗
ส่วนโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศ ทางกระทรวงคมนาคมก็ไม่ละเลย เพราะว่าเราได้มีแผนการศึกษาสำเร็จไปแล้วในปี ๒๕๖๔ มีการศึกษาทางด้านวิศวกรรม ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่บริเวณ ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จะต้องใช้พื้นที่ถึง ๑,๔๙๖ ไร่ ผลการศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รอเพียงจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างในวงเงิน ๒,๒๘๒ ล้านบาท
คำถามสุดท้ายของท่านสมาชิก ก็คือในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทางราง ก็จะมีแผนงานการดำเนินงานก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่ แล้วก็ เป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะกลาง ซึ่งจะขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี คาดว่า คณะรัฐมนตรีจะมีการอนุมัติในกรอบของงบประมาณปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะรองรับขบวนรถไฟ ที่เพิ่มขึ้นปัจจุบันถึง ๒ เท่า และจะช่วยลดต้นทุนเรื่องของการขนส่ง Logistics และเพิ่ม ความปลอดภัย มีประโยชน์สูงสุดต่อจังหวัดพัทลุง เพราะว่าจังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดที่เป็น เมืองรองและเป็นเมืองที่มีความเจริญและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศไป จึงขออนุญาตนำเรียนถึงภาพรวมโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดพัทลุงต่อไป ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพ ในประเด็นคำถามที่ ๒ ขออนุญาตนำเรียนต่อท่านสมาชิกว่า ถนนสายเส้นเอเชียไม่มีไฟส่องสว่างและการก่อสร้างล่าช้า ดิฉันจะนำปัญหาเหล่านี้ไปกำชับ หน่วยงานกรมทางหลวง หรือว่ากรมทางหลวงชนบทที่กำกับดูแลให้เร่งรัดให้มีการก่อสร้าง เร็วขึ้น และให้มีจุดไฟส่องสว่างเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สัญจรไปมา แต่ในส่วน เส้นทางที่ท่านสมาชิกได้ฝากไว้ขอนำเรียนว่าในปี ๒๕๖๗ นั้น เราได้จัดสรรงบประมาณ ในภาพรวม ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคมที่ลงไปพัฒนาจังหวัดพัทลุง เป็นวงเงิน ๗,๑๒๙ ล้านบาท เส้นทางที่ท่านสมาชิกฝากไว้จะต้องใช้เวลา ดิฉันจะนำเรียนเป็นเอกสาร ให้ทราบว่าเส้นทางที่ท่านสมาชิกฝากไว้อยู่ในแผนงานโครงการดังกล่าวหรือไม่ ต้องขอบคุณ ท่านสมาชิกที่ได้สนใจ ใส่ใจต่อปัญหาของพี่น้องประชาชน ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับ มอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้มาตอบ กระทู้ถามของท่านสมชาติ จากพรรคก้าวไกล ในเรื่องการซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำในอุโมงค์ ทางลอด ดิฉันขอ Slide ในภาพรวมของอุโมงค์ก่อนนะคะ
เป็น Slide แสดงตำแหน่งทางลอดแยกดาราสมุทร ตรงจุดนี้อยู่บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ส่วน Slide ที่ ๒ เป็น Slide ที่ให้เห็นถึงสภาพช่องจราจรและอุปกรณ์ภายในทางลอด แยกดาราสมุทรที่ติดตั้งไว้อยู่แล้วอย่างครบถ้วน เพื่อที่จะสามารถระบายน้ำจากอุโมงค์ ออกไป ซึ่งอุโมงค์ดังกล่าวมีความยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร สูง ๕ เมตร มี ๓ ช่องจราจร ช่องละ ๓.๕ เมตร ภายในอุโมงค์มีระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ระบบดูดมลพิษ และมีระบบ CCTV มีป้ายบอกการใช้ช่องการจราจร นอกจากนั้นมีระบบเครื่องสูบน้ำ มีระบบไฟฟ้า ระบบ ความปลอดภัยทางด้านอื่น ๆ นอกจากตรงเครื่องมีไฟฟ้าส่องสว่างแล้วจะมีเครื่องสูบน้ำ อีก ๓ ตัว มีกำลังสูบ ๙๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อ ๑ ชั่วโมง Slide ที่ ๓ ตรงบริเวณอุโมงค์ ทางลอด ซึ่งเป็นจุดตัดทางหลวง หมายเลข ๔๐๒๐ กับหมายเลข ๔๐๒๔ เราจะเห็นว่า ในขณะที่น้ำท่วมจากฝนตกหนัก ภาพนี้เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ปี ๒๕๖๖ ปัจจุบัน ได้ดำเนินการซ่อมระบบเครื่องสูบน้ำเสร็จและตอนนี้ใช้งานได้ตามปกติ ภาพที่ท่านเห็น คือภาพของการบูรณาการร่วมกันของกระทรวงคมนาคม ท่านประธานคะ กระทรวง คมนาคมโดยกรมทางหลวง มีภารกิจในการซ่อมแซมบำรุงรักษาเส้นทางให้อยู่ในสภาพที่ พร้อมให้กับพี่น้องประชาชนได้รับความสะดวกในการสัญจรไปมาและปลอดภัย นโยบาย ในเรื่องการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน Preventive Maintenance เป็นสิ่งที่กรมทางหลวง ได้เล็งเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ แล้วก็เป็นสิ่งใหม่สำหรับกรมทางหลวง ที่เราจะต้องนำไปศึกษาขอบเขตและวิธีการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ รวมไปถึงการจัดซื้อ จัดจ้างให้สอดคล้องกับระเบียบของกระทรวงคมนาคม จึงขอนำเรียนท่านประธานว่า การนำเสนอขอรับงบประมาณใด ๆ จะไม่เป็นเพียงหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมเท่านั้น หน่วยงานสำนักงบประมาณเองซึ่งก็มีความสำคัญ เพราะเป็นหน่วยงานที่ได้อนุมัติ งบประมาณ ได้กำกับดูแลเรื่องของการเบิกจ่าย จะเห็นว่าในภารกิจดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่ ต้องขอบคุณท่านสมาชิกที่ได้นำเสนอปัญหาเช่นนี้ ถึงแม้ว่าปั๊มน้ำหรือว่าการซ่อมบำรุงนี้ จะรวมอยู่ในโครงการ แต่ถ้าเราแยกประเภทของงานนี้ออกไปเราจะเอาเหตุการณ์นี้ ที่จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่องว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้กระทรวงคมนาคมเสนอขอรับ งบประมาณ สำนักงบประมาณมีความเห็นเป็นเช่นไร เพราะว่างานดังกล่าวประเภทนี้ เป็นงานเชิงซ่อมบำรุง ซึ่งทางกระทรวงเห็นว่าไม่ใช่เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดเดียว เราคงต้องมีการเตรียมการในจังหวัดอื่น ๆ ที่มีถนนแล้วก็เป็นอุโมงค์แบบนี้อีก จึงขออนุญาตนำเรียนต่อท่านประธานว่าความทันสมัยที่ท่านสมาชิกได้นำเสนอ รวมทั้ง เงื่อนไขและข้อผูกพันสัญญาของรัฐ ทางกระทรวงคมนาคมจะไปหารือแนวทางการขอรับ งบประมาณจากสำนักงบประมาณแล้วก็จะนำเสนอเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับกรมทางหลวง ชนบทด้วยและหน่วยงานที่กระทรวงคมนาคมดูแล จึงขอตอบคำถามท่านสมาชิกในคำถาม แรกก่อน ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องขอบคุณสำหรับคำถามที่ ๒ ในเรื่องของกระทู้ถามที่จะต้องหารือเรื่องของการจัดสรร งบประมาณในประเด็นดังกล่าว ในภาระความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคมจะนำ กระทู้ถามที่เราได้หารือกันในวันนี้ไปนำเรียนสำนักงบประมาณ แล้วก็หารือกับ กรมบัญชีกลางว่ากรอบแนวทางของการซ่อมบำรุงแบบนี้ แนวทางการเขียนโครงการควรจะ ออกรูปแบบไหนเพราะมันเป็นลักษณะเชิงซ่อมสร้างและบำรุงในเรื่องของวัสดุ อุปกรณ์ ภายในอุโมงค์ต่าง ๆ แล้วจะให้ทางสำนักงบประมาณได้ตรวจสอบเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ ให้กับหน่วยงานอื่น ๆ เช่นเดียวกัน ท่านสมาชิกไม่ต้องถามภาระนี้ ดิฉันจะขอรับภาระ คำถามนี้ไปประสานงานต่อทางสำนักงบประมาณแล้วก็จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง
คำถามที่ ๒ เราบอกว่าถ้าเกิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นต่อพี่น้องประชาชน ชาวจังหวัดภูเก็ตหรือนักท่องเที่ยวว่าถ้าเกิดมีใครเสียชีวิต ท่านประธานที่เคารพคะ ทุก ๆ โครงการไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใด การก่อสร้างใด ๆ เรามีสำนักงานควบคุม ความปลอดภัยตั้งแต่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างไปจนถึงมีการเปิดใช้ ขณะทุกวันนี้เราคง ไม่ต้องการให้ใครต้องมาเสียชีวิตหรือในช่วงระหว่างสัญจรไปมาหรือจุดใดจุดหนึ่ง เพราะว่า ชีวิตประชาชนสำคัญกว่ามูลค่าการก่อสร้างใด ๆ เช่นเดียวกันเราก็จะพยายามกำกับดูแล ไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ เพราะทุกชีวิตมีความหมายและเราก็หวังว่านักท่องเที่ยวที่เดินทาง ไปเที่ยวภูเก็ตจะใช้ชีวิตในการท่องเที่ยวในภูเก็ตอย่างมีความสุข และเขาก็จะได้กลับไปที่ ภูเก็ตอีกครั้งหนึ่งเราไม่ต้องการให้ใครต้องไปเสียชีวิตบนท้องถนนหรือว่าบนเส้นทาง ที่กระทรวงคมนาคมดูแล หรือแม้กระทั่งหน่วยงานอื่น ๆ เช่นเดียวกัน แล้วก็ขอขอบคุณ ท่านสมาชิกที่ท่านมีความเป็นห่วงเป็นใยและหาแนวทางมาตรการป้องกัน ซึ่งอาทิตย์ที่แล้ว ดิฉันก็ได้ตอบกระทู้ถามเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดภูเก็ต ดิฉันขอชื่นชม ท่านสมาชิกนะคะ ถึงแม้ท่านเป็น สส. สมัยแรก ท่านได้ถามถึงโครงการสำคัญ ๆ แล้วกระทรวงคมนาคมก็จะมีโอกาสเผยแพร่ผลงานของกระทรวงคมนาคมที่เราเร่งรัด ดำเนินการก่อสร้าง ในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางราง รวมไปถึง ทางน้ำด้วย เพื่อพัฒนาภูเก็ตซึ่งเป็นเพชรเม็ดงามของฝั่งทะเลอันดามัน ต้องขอบคุณ ท่านสมาชิกช่วยขยายความ นำปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ต มาเยอะ ๆ นะคะ เพราะจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่สร้างมูลค่ารายได้ให้กับประเทศ โดยเฉพาะนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี ในเรื่องของการ Free Visa แล้วก็เชื่อมั่นว่า นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศหรือว่าในประเทศจะกลับมาท่องเที่ยวภูเก็ตอีกครั้งหนึ่ง ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้มาตอบกระทู้ถามของท่านไชยามพวาน ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจาก กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล เรื่องของมาตรการการป้องกันเหตุอันตรายจากโครงการ ทางยกระดับถนนพระราม ๒ ดิฉันจะขออนุญาตฉายภาพโครงการของการก่อสร้าง ก่อนนะคะ
โครงการ ก่อสร้างบนถนนพระราม ๒ ที่ท่านสมาชิกได้แสดงความห่วงใยต่อการก่อสร้างถนนดังกล่าว และท่านสมาชิกได้มีคำถามก็คือ
๑. เรื่องของผู้รับจ้างแอบทำงานนอกเวลา เรื่องดังกล่าวท่านสมาชิกสามารถ แจ้งได้ เพราะว่าตรงจุดบริเวณดังกล่าวเรามีเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลกำกับโครงการร่วมกับ กรุงเทพมหานครอยู่ ท่านสามารถแจ้งได้ถ้ามีปัญหาที่เกิดขึ้นนอกเวลาทำการ เพราะว่า เราจะมีกำหนดว่าเวลาทำงานต้องเป็นช่วงเวลากี่โมง ถ้าเกิดว่ามีการก่อสร้าง ถ้าเกิดอันตราย มาในภายหลัง เราไม่อยากให้มีการสูญเสียเกิดขึ้นในการก่อสร้างดังกล่าว
ส่วนเรื่องของการก่อสร้างทางพิเศษเส้นทางดังกล่าวของโครงการพิเศษ ที่บอกว่ามีผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน กราบเรียนท่านประธานที่เคารพว่า การจะดำเนินการก่อสร้างโครงการใด ๆ กระทรวงคมนาคมจะต้องมีการสำรวจทำ EIA โครงการนั้น ๆ ว่ามีผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ แต่ในช่วงที่มีการทำ EIA ก็จะมี Timeline ว่า EIA นั้นอยู่ในระหว่างกี่เดือน แล้ว EIA นั้น ก็จะปรากฏอยู่ในการแสดงความคิดเห็นต่อพี่น้องประชาชนบริเวณใกล้เคียง แล้วเราก็เอา ความเห็น ความต้องการของพี่น้องประชาชนมาสรุป เมื่อสรุปว่าสิ่งที่เขาต้องการคืออะไร สิ่งที่ไม่ต้องการคืออะไร เราก็จะเอาความต้องการที่บอกว่าเห็นด้วยก็โอเคผ่าน แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ประชาชนไม่ต้องการแบบนี้เราก็จะให้เจ้าหน้าที่ที่ไปทำ EIA กลับไปถามชาวบ้านว่า เขาต้องการแบบไหน โครงการดังกล่าวได้มีการทำ EIA จนครบกระบวนการ มาจนถึง การจัดตั้งขอรับงบประมาณ แล้วมีการก่อสร้าง แต่ต่อมาในภายหลังถ้าพี่น้องประชาชน เดือดร้อน กระทรวงคมนาคมก็ไม่ละเลย เราก็จะลงไปตรวจสอบว่าผลกระทบอันไหนที่เรา สามารถเยียวยาได้ อันไหนที่เราสามารถจะคุยกับผู้รับจ้างเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับพี่น้อง ประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เรื่องนี้จะเป็นเรื่องอันดับแรกที่การดำเนินการ โครงการใด ๆ ก็ตาม จะเป็นโครงการเล็ก หรือโครงการใหญ่ จะต้องไม่สร้างปัญหาภาระ ต่อผู้ใช้เส้นทางสัญจรไปมา และจะต้องไม่สร้างปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนผู้ที่อยู่อาศัย ในบริเวณดังกล่าว นอกจากนั้นท่านสมาชิกได้ถามถึงโครงการเยียวยา ถ้าเกิดว่าพี่น้อง ประชาชนเกิดผลกระทบเสียชีวิตหรือว่าเกิดอุบัติเหตุ ก็จะมีผู้รับจ้างในโครงการนี้รับผิดชอบ ให้เป็นเรื่องของระหว่างผู้รับจ้างว่าเยียวยาในเม็ดเงินเท่านี้ที่เขาเสียหายอยู่ในขั้นพอใจไหม ที่ผ่านมาในโครงการที่เกิดอุบัติเหตุในเส้นทางพระราม ๒ ผู้รับจ้างได้จ่ายเงินชดเชยให้กับ ผู้ที่ได้รับความเสียหายอยู่ในวงเงินที่พอใจเป็นที่เรียบร้อยแล้วไม่มีผู้เสียหายใด ๆ ร้องขอ กลับมาที่กระทรวงแม้เพียงรายเดียว แต่ถ้าท่านสมาชิกได้พบว่าเสียงเหล่านั้นของพี่น้อง ประชาชนยังไม่ดังพอถึงกระทรวงคมนาคม ท่านสมาชิกสามารถเอาปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนเหล่านั้นเสนอมาทางกระทรวงคมนาคมที่กำกับดูแลการก่อสร้างดังกล่าว จะรีบลงไปแก้ไขให้นะคะ
ในส่วนของกระทรวงคมนาคมก็จะนำเรียนว่ามันเป็นโครงการพิเศษ ทั้งสาย พระราม ๓-ดาวคะนอง แล้วก็วงแหวนรอบนอกของกรุงเทพมหานครทางฝั่งตะวันตก ซึ่งมีระยะทางอยู่ ๑๘.๗ กิโลเมตร แล้วก็เป็นการก่อสร้างทางยกระดับ ทางหลวงสาย ๓๕ ธนบุรี-ปากท่อ ตอนบางขุนเทียน-เอกชัย ระยะทางอีก ๘.๓ กิโลเมตร ต่อเนื่องยังโครงการ ทางหลวงพิเศษ M82 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว เป็นระยะทาง ๑๖.๔ กิโลเมตร และโครงการ แยกต่างระดับที่บ้านแพ้วไปถึงสมุทรสาครอีกประมาณ ๑.๒ กิโลเมตร แล้วก็เส้นทางดังกล่าว เชื่อมระหว่างถนนพระราม ๒ กับทางหลวงหมายเลข ๓๗๕ บ้านบ่อ-พระประโทน สู่จังหวัด นครปฐม ซึ่งเราคาดการณ์ว่ากระทรวงคมนาคมเมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีการเปิด ให้ใช้เต็มรูปแบบในปี ๒๕๖๘ ในขณะที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างค่ะท่านประธาน กระทรวงคมนาคมก็ได้มีการสั่งการอย่างใกล้ชิด เพราะเราได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วนะคะ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่มีการก่อสร้างบนถนนพระราม ๒ ไม่ว่าจะประกอบไปด้วย กรมทางหลวง แล้วก็การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินบูรณาการร่วมกันกับมาตรการ ความปลอดภัยให้เคร่งครัด แล้วก็กำชับตลอดเวลาว่าอย่าให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซ้อนที่ส่งผล ต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนอีก เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด เราได้มี การประชุมถึงการเตรียมการความปลอดภัย การบริหารจัดการจราจร เตรียมทั้งบุคลากร เครื่องไม้เครื่องมือ ความปลอดภัยบนที่สูงในทุกกิจกรรม เช่น มีการติดตั้งเครือข่ายนิรภัย ที่ป้องกันวัสดุตกหล่นลงมา หรือว่า Safety Net ดังในภาพจะเห็นว่าเรามีการติดตั้ง Safety Net เพื่อป้องกันวัสดุตกหล่นระหว่างที่รถสัญจรไปมา แล้วก็ตรวจสอบการทำงานของบริษัท ของคนงานไม่ให้มีการประมาทเลินเล่อ ไม่ให้เอาความมักง่ายในการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น เวลาไหน ถ้าท่านสมาชิกบอกว่ามีการลักลอบการก่อสร้างนอกจากเวลาที่กำหนดไว้ ดิฉันจะสั่งการให้กรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ไปตรวจสอบ แล้วจะรีบ รายงานท่านสมาชิก ขอบพระคุณท่านที่ได้เป็นหูเป็นตาช่วยกันเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขึ้น ในภายหน้าเราจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกนะคะ
นอกจากนั้นเราก็มีการติดตั้งชุดอุปกรณ์เหล็กเพื่อรับแรงดึงดูดในที่สูง แล้วก็ ติดตั้งกล้อง CCTV ที่ท่านสมาชิกบอกนะคะ ดิฉันจะให้เจ้าหน้าที่ไปดูกล้อง CCTV ว่า มีการลักลอบทำงานนอกจากเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ บนโครงเหล็กเลื่อนเพื่อตรวจสอบ การทำงาน แล้วก็มาตรการอื่น ๆ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและลดความสูญเสียเกิดขึ้นต่อผู้ใช้รถ ในเส้นทางของถนนพระราม ๒ นี่คือคำถามแรกที่ท่านสมาชิกถามค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จากประเด็นคำถามของท่านสมาชิกเรื่องของปัญหาน้ำท่วมขัง ปัญหาน้ำท่วมขังซึ่งเราต้อง อาศัยความร่วมมือจากทั้งกรุงเทพมหานคร จากทางกรมทางหลวง ซึ่งบางช่วงที่ท่านได้พูดถึง สัญญาที่ ๓ เป็นสัญญาที่อยู่ในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ส่วนสัญญาที่ ๒ นั้นเป็นสัญญาที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ซึ่งก็ต้องนำเรียนว่า ปัญหาน้ำท่วมไม่เพียงแค่ในเส้นทางดังกล่าว ในเมื่อความเจริญต่าง ๆ เหล่านั้นมาถึง สิ่งที่เป็น ผลกระทบก็จะตามมา แต่ทางกระทรวงคมนาคมก็ไม่ได้ละเลยนะคะ ได้ประสาน ความร่วมมือทางกรุงเทพมหานคร เรื่องของน้ำท่วมขังไม่ว่าจะเป็นหิน กรวด วัสดุที่ตกลงไป ในช่วงระหว่างการก่อสร้าง ให้มีการล้างท่อแล้วก็อย่าให้น้ำท่วมขังที่พี่น้องประชาชนเข้าออก บริเวณถนนหรือเข้าออกตามตรอกซอกซอยลำบาก แล้วก็ให้ดูเรื่องของหิน กรวด ทรายที่เข้า ไหลลงไปตามท่อ รวมทั้งเศษขยะต่าง ๆ ไม่ให้เข้าไปเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง แล้วก็น้ำที่ไหลลงไป จะมีทางระบายน้ำให้กับช่องทางตามบริเวณทางระบายของถนนเส้นนั้น ๆ
อีกเรื่องหนึ่งที่ท่านสมาชิกแจ้งว่าท่านต้องนั่งหัวโต๊ะในการประชุมต่อภาพรวม ของหน่วยงานในการบริการ แล้วก็ในการทำความเข้าใจกับโครงการของเส้นพระราม ๒ ดิฉันขอชื่นชมนะคะว่าการมาเป็นผู้แทนราษฎร เราเรียกว่าการเป็นผู้แทนราษฎรคือเงา สะท้อนประชาชน เมื่อคุณเป็นผู้แทนราษฎรสะท้อนประชาชน คือประชาชนเดือดร้อน อย่างไร เราก็เอาปัญหาของพี่น้องประชาชนมานั่งหัวโต๊ะ ดิฉันคิดว่าคุณได้ทำหน้าที่ ของพี่น้องประชาชน ตัวแทนที่ผ่านระบบการเลือกตั้งในสภาผู้แทนราษฎรมาอย่างยอดเยี่ยม แล้วก็ขอให้เป็นแบบนี้ตลอดไปนะคะ แล้วก็พี่น้องประชาชนจะได้มีความหวังว่าเขาตัดสินใจ เลือกผู้แทนราษฎรมาถูกแล้ว และครั้งหนึ่งที่เขาได้มีปัญหาความเดือดร้อนผู้แทนราษฎร ก็ไม่ได้ละเลย แล้วก็เอาปัญหาเหล่านั้นมาเสนอต่อสภา ต่อตัวแทนของกระทรวงต่าง ๆ ที่กำกับดูแลในเส้นทางพระราม ๒ ดังกล่าว
อีกคำถามหนึ่งในเรื่องของบทลงโทษ บทลงโทษตามกฎหมายก็จะมี ๒ บทลงโทษ บทลงโทษแรกก็คือผู้รับเหมาก่อสร้างแล้วทำให้ล่าช้า เราก็จะมีค่าปรับ เปรียบเทียบปรับ แต่ถ้าผู้รับเหมาได้ดำเนินการก่อสร้างในระหว่างนั้นและเป็นอันตราย ถึงแก่ชีวิตหรือเป็นอันตรายต่อพี่น้องประชาชนก็จะมีเรื่องของการเยียวยาตามความเสียหาย ที่เกิดขึ้น ส่วนบทลงโทษที่ท่านบอกว่าเป็นมาตรฐานเหมือนต่างประเทศ เราก็อยากจะให้เป็น เช่นนั้น แต่ด้วยจิตสำนึก ด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เราคงต้องอาศัยความร่วมมือแล้วก็ พยายามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิตของพี่น้องประชาชน นั่นก็คือ กฎหมาย ทั้งนิติศาสตร์แล้วก็รัฐศาสตร์ในการบริหารงานองค์กรให้ประสบความสำเร็จ แล้วก็ สร้างความผาสุกให้กับพี่น้องประชาชนต่อผู้ใช้รถใช้ถนน ขอบคุณค่ะ
ท่านประธาน ช่วงสุดท้าย กราบขอบพระคุณค่ะ ส่วนคำถามที่ฝากไว้นะคะว่าจะมีโครงการถนนพระราม ๒ ต่อหรือไม่ เดี๋ยวดิฉันจะไปตรวจสอบและจะแจ้งให้ท่านสมาชิกเป็นเอกสารนะคะ จริง ๆ ความเจริญทุกเส้นทางก็ต้องนำเรียนว่าเราอยากให้สร้างความเจริญไปทุกเส้นทาง แล้วก็ กระจายความเจริญไปสู่หัวเมืองต่าง ๆ เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในซีกของฝั่งตะวันตกนะคะ ก็จะนำเรียนเป็นเอกสารอีกครั้งหนึ่งเรื่องของการจัดสรรงบประมาณว่าจะไปต่อหรือไม่ ในเส้นทางของพระราม ๒ นะคะ ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพราะว่าท่านติดภารกิจในการเดินทางไปต่างประเทศร่วมกับคณะของท่านนายกรัฐมนตรี ในการเยือนประเทศจีนแล้วก็ประเทศอิหร่าน วันนี้ต้องขอขอบคุณคำถามจากท่านสมาชิก จังหวัดสมุทรปราการ ในประเด็นคำถามแรกดิฉันจะฉาย Slide ให้ดูซึ่งจะเห็นภาพ ของปัจจุบันก่อนนะคะ
จากแผนผัง บริเวณท่าเรือพระสมุทรเจดีย์ หรือว่าตลาดน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นแหล่ง เศรษฐกิจเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพซึ่งมีประชากรจำนวน ๑๕๓,๐๗๕ คน โดยมีท่าเรือ พระสมุทรเจดีย์ตั้งอยู่บริเวณร่องน้ำซึ่งอยู่ในพื้นที่ของเกาะพระสมุทรเจดีย์ และเป็นที่ตั้ง ของพิพิธภัณฑ์ป้อมผีเสื้อสมุทร และมีเส้นทางเดินเรือรอบเกาะเพื่อข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังท่าเรือวิบูลย์ศรี ตั้งอยู่บริเวณปากน้ำจังหวัดสมุทรปราการ ในปัจจุบันมีผู้ใช้สัญจรไปมา แต่ละวัน วันละประมาณ ๗๐๐ คน อีกทั้งยังเป็นเส้นทางเดินทางจากจังหวัดสมุทรปราการ ไปยังกรุงเทพมหานครส่วนใต้ รวมถึงจากกรุงเทพมหานครส่วนใต้ไปเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อเดินทางสู่กรุงเทพมหานครชั้นในได้อย่างรวดเร็วตามที่ท่านสมาชิกได้นำเสนอนะคะ จาก Slide สภาพปัญหาของน้ำแห้งจนเรือโดยสารข้ามฟากระหว่างอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ตลาดน้ำ สืบเนื่องมาจากเป็นการสะสมของดินตะกอนในร่องน้ำตามธรรมชาติซึ่งมีอยู่ทุกปี แล้วก็ทุกฤดูกาล ซึ่งบางช่วงเป็นเวลาแล้วก็เป็นฤดูที่มีน้ำน้อยทำให้เรือโดยสารที่จะให้บริการ พี่น้องประชาชนไม่สามารถเดินเรือได้ นอกจากนั้นทางหน่วยงานกรมเจ้าท่าซึ่งเป็นหน่วยงาน ที่มีภารกิจในการดูแลรักษาร่องน้ำเส้นทางเดินเรือก็ได้ดำเนินการขุดลอกดินตะกอนออก ในเส้นทางเดินเรือระหว่างท่าเรือพระสมุทรเจดีย์ ตลาดน้ำของอำเภอเมืองสมุทรปราการ เมื่อปี ๒๕๖๓ เราได้จัดสรรงบประมาณลงไป เป็นการขุดลอกร่องน้ำขนาดกว้าง ก้นร่อง ๕ เมตร ความลึก ๑ เมตร ซึ่งวัดจากระดับน้ำต่ำสุด ความยาว ๑.๕ กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงของท่าเทียบเรือ ใช้ระยะเวลา ก้นร่อง ๕ เมตร ความลึก ๑ เมตร จากระดับน้ำลดต่ำสุดความยาว ๑.๕ กิโลเมตร แล้วก็ดำเนินการขุดลอกใน ๓๐ วัน สำหรับการขุดลอกดินตะกอนนะคะท่านสมาชิก ซึ่งร่องน้ำดังกล่าวกรมเจ้าท่าจะดำเนินการขุดลอกร่องน้ำอีก ขณะนี้ได้บรรจุอยู่ในแผน การขอรับงบประมาณในปี ๒๕๖๘ อีกประมาณ ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งในแต่ละปีกรมเจ้าท่า ก็ได้รับงบประมาณเพียงน้อยนิดนะคะ ร่องน้ำแต่ละร่องน้ำก็มีดินตกตะกอนเป็นจำนวนมาก แต่เราก็ไม่ละเลยปัญหาที่พี่น้องชาวพระสมุทรเจดีย์ได้รับทราบ แล้วก็ได้ประสบปัญหาดังกล่าว Slide ต่อมาค่ะ สำหรับข้อเสนอของท่านสมาชิกเรื่องของการปรับปรุงร่องน้ำ เราก็มี การสร้างเขื่อนกั้นดินให้ถาวร และเราจะมีการสร้างท่าเรือรองแห่งใหม่ ซึ่งขณะนี้ กระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่าจะดำเนินการศึกษาผลกระทบให้รอบด้าน ทั้งในเรื่องของ อัตราการตกตะกอน ทิศทางการไหลของกระแสน้ำ ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ และความเหมาะสมที่ดิฉัน Mark ไว้ตรงช่องสีแดงเห็นไหมคะ นั่นละค่ะคือรูปแบบ ที่เราจะต้องเร่งศึกษาจากปัญหาที่มีผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน แล้วเราก็ยังจะศึกษา รูปแบบทางด้านวิศวกรรม ตลอดจนผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อให้การแก้ไข ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นไปอย่างยั่งยืน และนอกจากนั้น ก็ยังจะสนับสนุนการสร้างท่าเรือรองแห่งใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางของพี่น้อง ประชาชนต่อไปค่ะ นี่คือคำถามแรกที่ท่านสมาชิกได้ถาม ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ในคำถามที่ ๒ จากที่ท่านสมาชิกได้นำเสนอปัญหา แน่นอนการศึกษา เรื่องของผลกระทบสิ่งแวดล้อมเราจะดำเนินการในระยะเวลาของกรอบงบประมาณปี ๒๕๖๗ แล้วดูความเป็นไปได้นั่นก็คือนำมาซึ่งการผลักดันงบประมาณในปี ๒๕๖๘ ขณะนี้ อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณางบประมาณต่อ ครม. ขณะนี้งบประมาณบางส่วน ได้ผ่านมติของ ครม. ไปเรียบร้อยแล้วก็คงจะให้ท่านสมาชิกได้ช่วยผลักดันโครงการขุดลอก ร่องลำน้ำสำคัญ ๆ ของกรมเจ้าท่า แล้วก็หน่วยงานอื่น ๆ ของกระทรวงคมนาคมเพื่อจะช่วย แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนต่อไปค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ดิฉันกราบเรียนท่านประธานไปยังท่านสมาชิก ขออนุญาต แนะนำนะคะว่า เวลาท่านสมาชิกได้ถามกระทู้ถามทั่วไปในคำถามของท่านสมาชิก พอท่านสมาชิกได้เขียนด้วยกระดาษแล้วก็ยื่นกระทู้ถามทั่วไป แต่พอท่านสมาชิกมาถาม อาจจะไม่ครบประเด็น ในประเด็นดังกล่าวดิฉันขออนุญาตเสริมจากคำถามกระทู้ถามทั่วไป ในคำถามที่ ๒ แต่ว่าท่านอาจารย์ตื่นเต้นเลยลืมถาม ก็ขออนุญาตตอบอย่างนี้นะคะว่า คำถามที่ ๒ ที่ท่านได้ตั้งคำถามและเขียนมาในกระดาษยื่นต่อท่านประธานท่านถามว่า กระทรวงคมนาคมควรจะเพิ่มเส้นทางเชื่อมต่อ ๒ ฝั่งแม่น้ำโดยอาจจะมีสายที่ขึ้นทางด่วน เพื่อความรวดเร็ว หรือรถเมล์สายที่ไปตามเส้นทางปกติเพื่อเพิ่มโอกาสให้คนในพื้นที่ใกล้เคียง สามารถใช้งานได้ด้วยหรือไม่ ซึ่งประเด็นคำถามนี้ดิฉันจะขอตอบไปในคราวเดียวกัน แล้วก็ได้ให้พี่น้องประชาชนทางบ้านได้ทราบถึงความใส่ใจของกระทรวงคมนาคมที่มีต่อพี่น้อง ประชาชนว่า ปัจจุบัน ขสมก. โดยกระทรวงคมนาคมเรามีเส้นทางรถเมล์บริเวณดังกล่าวนี้ ๙ เส้นทาง แบ่งออกเป็นฝั่งท่าน้ำเจดีย์ ๒ เส้นทาง คือสาย ๒๐ และสาย ต ๑๐๖ ซึ่งฝั่งตลาดปากน้ำจำนวน ๗ เส้นทาง คือสาย ๒๕ สาย ๑๐๒ สาย ๑๔๒ สาย ๑๔๕ สาย ๕๐๘ สาย ๕๑๑ แล้วก็สาย ๕๓๖ ซึ่งไม่สามารถเชื่อมต่อ ๒ ฝั่งแม่น้ำโดยตรง จากท่าน้ำเจดีย์ไปยังตลาดปากน้ำ ในกรณีนี้หากประชาชนมีความสนใจที่จะเดินทางข้าม ๒ ฝั่งแม่น้ำ จากท่าน้ำเจดีย์ไปยังตลาดปากน้ำจะต้องเดินทางด้วยรถเมล์สาย ๒๐ หรือขึ้นรถตู้ สาย ต ๑๐๖ ไปที่ท่าน้ำเจดีย์ เพื่อไปต่อรถเมล์สาย ๑๔๒ ที่ป้ายถนนสุขสวัสดิ์ ดังแผนที่ ตรงกิโลเมตรที่ ๙ ใต้ทางด่วน แล้วเดินทางต่อไปยังตลาดปากน้ำรวมระยะทางทั้งสิ้น ๔๕ กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดินทางถึง ๒ ชั่วโมง แล้วก็มีค่าใช้จ่ายเดินทางประมาณ ๔๕ บาท ซึ่งจะทำให้พี่น้องประชาชนไม่ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ดังนั้น กระทรวงคมนาคมในฐานะที่หน่วยงานกำกับดูแลการบริหารจัดการด้านขนส่งมวลชน ทั้งทางบกแล้วก็ ขสมก. เราได้เปลี่ยนแปลงเส้นทางเดินรถให้กับพี่น้องประชาชนในจำนวนเวลา แล้วก็จำนวนเที่ยวของการเดินรถเมล์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยยึดหลักยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคม คือสะดวก ปลอดภัย แล้วก็ตรงเวลา ในราคาสมเหตุสมผลโดยให้ ขสมก. เดินรถตัดช่วงของรถเมล์สาย ๒๐ ที่ทางด่วนพิเศษ หมายเลข ๙ ตรงด่านทุ่งครุไปลงทางด่วนตรงด่านช้าง ๓ เศียร แล้วก็ต่อเนื่องไปจนถึงสุขุมวิท ไปถึงจุดหมายปลายทางที่ตลาดปากน้ำ ระยะทาง ๑๗ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเพียง ๓๐ นาที และมีค่าใช้จ่ายเพียง ๒๕ บาท นั่นก็คือจะส่งผลให้พี่น้องประชาชนได้รับความสะดวกสบาย ลดระยะเวลาการเดินทางจาก ๑๘ กิโลเมตร ลดลงเหลือเพียง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางลงคือประหยัดเงินไป ๒๐ บาท ซึ่งกระทรวงคมนาคม โดย ขสมก. จึงเสนอทางเลือกนี้ในการเดินทางให้พี่น้องประชาชนสามารถเชื่อมต่อ ทั้ง ๒ ฝั่งแม่น้ำ และเป็นรถเมล์สายหนึ่งที่ขึ้นทางด่วนได้รวดเร็ว และจะประหยัดให้พี่น้อง ประชาชนโดยทั่วไป พี่น้องก็จะสามารถเลือกเส้นทางนี้เป็นอีกเส้นทางหนึ่ง กราบเรียน ท่านประธานไปถึงท่านสมาชิกได้บอกกล่าวพี่น้องประชาชนด้วยนะคะว่า วิสัยทัศน์ ของ ขสมก. คือรถเมล์เป็นของคนทุกคน เป็นของพี่น้องประชาชนทุกคนค่ะ ท่านประธานที่เคารพ ดิฉันขอยืนยันอีกครั้งว่าปัญหาของพี่น้องประชาชน ของคนทุกคน ของคนทุกกลุ่มรัฐบาล ของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม เราจะไม่ละเลย เราจะเอาปัญหาของพี่น้องประชาชนมาแก้ไข และตอบสนอง ทุกปัญหาของพี่น้องอย่างเท่าเทียมกันค่ะ ต้องขอถือโอกาสขอบคุณท่านประธานไปยัง ท่านสมาชิกที่ท่านได้ใส่ใจปัญหาของพี่น้องประชาชนในทุกมิติที่พี่น้องประชาชนมอบ ความไว้วางใจให้ท่าน ขอขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ
ท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมาย จากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในการมาตอบกระทู้ถามแทนท่าน เนื่องจากท่านเดินทาง ไปร่วมกับคณะของท่านนายกรัฐมนตรีในการเยือนที่ประเทศจีนแล้วก็เยือนที่อิหร่านในวันนี้ จากคำถามของท่านสมาชิกในเรื่องของการศึกษาความเป็นไปได้ถึงความเหมาะสม ในการดำเนินการก่อสร้างสนามบินพัทลุง จังหวัดพัทลุงไว้หรือไม่ อย่างไร
ดิฉัน ขอนำเรียนว่าโดยกระทรวงคมนาคมได้มีการจัดทำแผนงานทำการขับเคลื่อนการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานในภาพรวมของจังหวัดพัทลุงมาอย่างต่อเนื่องทุกรูปแบบของการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของถนน ทางราง ทางน้ำ แล้วก็ทางอากาศ รวมทั้งหน่วยงานราชการ แล้วก็หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในสังกัดของกระทรวงคมนาคม จากคำถามของท่านสมาชิก พูดถึงการศึกษาและความเหมาะสมในการดำเนินการก่อสร้างสนามบินพัทลุงนั้นดิฉัน ขอนำเสนอในภาพรวมของโครงสร้างพื้นฐานจากกระทู้ถามของท่านสมาชิกในครั้งก่อนเรื่อง ของโครงสร้างพื้นฐานโดยภาพรวม แต่ในครั้งนี้ท่านสมาชิกได้โฟกัสไปในเรื่องของการก่อสร้าง สนามบิน ดิฉันขอนำเรียนอย่างนี้ว่าปัจจุบันในพื้นที่ของภาคใต้มีท่าอากาศยานทั้งสิ้น ๑๓ แห่ง จากท่าอากาศยานทั้งหมด ๓๙ แห่ง แบ่งตามหน่วยงานผู้ที่รับผิดชอบในพื้นที่ของท่าอากาศยาน ดังนี้ค่ะ ท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน ๑๐ แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานหัวหิน ท่าอากาศยานชุมพร ท่าอากาศยานระนอง ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยาน สุราษฎร์ธานี ท่าอากาศยานกระบี่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานปัตตานี ท่าอากาศยาน นราธิวาส และท่าอากาศยานเบตง ส่วนท่าอากาศยานที่เป็นของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีอยู่ ๒ แห่ง นั่นก็คือท่าอากาศยานภูเก็ตและท่าอากาศยานหาดใหญ่ ส่วนท่าอากาศยานของเอกชนของบางกอกแอร์เวย์ มีจำนวน ๑ แห่ง คือท่าอากาศยานสมุย
ขออนุญาตนำเรียนข้อมูลโดยภาพรวมของจังหวัดพัทลุงนะคะ พัทลุงมีพื้นที่ ทั้งสิ้น ๓,๔๒๔ ตารางกิโลเมตร มีประชากร ๕๐๐,๐๐๐ กว่าคน ในปี ๒๕๖๒ มีพื้นที่ติดกับ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา มีมูลค่าผลิตภัณฑ์ GDP ต่อหัวในปี ๒๕๖๔ ๘๑,๕๒๙ บาทต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าแล้วกับรายได้ต่อหัว ของภาคใต้เทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งประเทศโดยผลิตภัณฑ์ภาคใต้ต่อหัวนี่มีมูลค่า ๑๓๑,๘๐๗ บาท นั่นก็หมายถึงว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวมีมูลค่าอยู่ที่ ๒๓๑,๙๘๖ บาท ถ้าเราได้มีสนามบินไปลงที่พัทลุงแล้วมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวคาดว่า รายได้ต่อหัวของพี่น้องประชาชนในจังหวัดพัทลุงจะเพิ่มมากขึ้นค่ะ กลับมาดูจังหวัดพัทลุง เป็นจังหวัดที่มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและท่องเที่ยวเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งกระทรวง คมนาคมและรัฐบาลได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายท่าอากาศยานและรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างประเทศซึ่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและมี Lagoon ที่สวยงามดังที่ท่าน สมาชิกได้นำเสนอนะคะ กระทรวงคมนาคมโดยกรมท่าอากาศยานจึงดำเนินการศึกษา ความเป็นไปได้ของโครงการเมื่อเดือนกันยายน ปี ๒๕๖๓ แล้วก็มาแล้วเสร็จในปี ๒๕๖๔ โดยมีการศึกษาในด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อมในการพัฒนาท่าอากาศยาน โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ตั้งสนามบินที่ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยใช้พื้นที่อยู่ที่ ๑,๔๙๖ ไร่ มีระยะห่างจากตัวเมืองเพียงแค่ ๑๐ กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้ ผลของการศึกษานี่ได้สำเร็จเรียบร้อยแล้วรอเพียงการจัดคำขอเพื่อตั้งงบประมาณ ในการก่อสร้างต่อไป โดยมีวงเงินทั้งสิ้น ๒,๒๘๒ ล้านบาทค่ะท่านประธาน จากรายงานของ การศึกษาความเป็นไปได้ของสนามบินพัทลุงเราคาดการณ์ว่าในปี ๒๕๖๙ จะมีผู้โดยสาร จำนวน ๒๑๔,๑๒๙ คนต่อปี แล้วในปี ๒๕๙๙ คาดว่าผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นมีจำนวนถึง ๖๑๗,๗๙๖ คนต่อปี ส่วนจำนวนเที่ยวบินรายงานการศึกษาประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยว เพิ่มขึ้นนั้นในปี ๒๕๖๙ เราคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนถึง ๑,๔๐๐ เที่ยวบินโดยรวมทั้งปีนะคะ แล้วในปี ๒๕๙๙ จะมีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นประมาณ ๔,๐๓๘ เที่ยวบิน นี่คือภาพรวมของ การศึกษาความเป็นไปได้ค่ะท่านประธาน จากข้อมูลแล้วก็ความคาดการณ์ที่จะมีผู้โดยสาร ในเที่ยวบินนั้นเราแบ่งองค์ประกอบสำคัญของพื้นที่ใช้สอยอยู่ ๒ ส่วนนั่นก็คือพื้นที่ในเขต ทำการบินเรียกว่า Airside และพื้นที่นอกเขตทำการบินก็คือ Landside ดังที่ท่านประธาน ท่านสมาชิก เห็นในภาพว่าพื้นที่ที่อยู่ใน Airside ประกอบไปด้วยลานจอดท่าอากาศยาน จำนวน ๔ หลุมจอด ขนาดความกว้าง ๑๓๕ เมตร ความยาว ๑๗๔ เมตร รับเครื่องบินจอด พร้อมกันถึง ๔ ลำค่ะ ส่วนทางวิ่ง Runway จำนวน ๑ ทางวิ่ง ขนาดกว้าง ๔๕ เมตร ความยาว ๒,๕๐๐ เมตร จะรองรับเครื่องบินขนาดความจุประมาณ ๑๘๐ ที่นั่ง หรือว่า Airbus 320 Boeing 737
ส่วนในภาพ ๓ ก็จะเป็นเรื่องของสาธารณูปโภคภายในสนามบินก็จะมีอาคาร ดับเพลิง แล้วก็อาคารกู้ภัยหอบังคับการบินค่ะท่านประธาน ส่วนนอกเขตทำการบิน ก็คือ Landside ก็จะประกอบไปด้วยอาคารผู้โดยสารจำนวน ๑ อาคารที่จะรองรับผู้โดยสาร ในชั่วโมงเร่งด่วนได้ถึง ๕๔๐ คนต่อ ๑ ชั่วโมง นอกจากนั้นก็เป็นอาคารประกอบอื่น ๆ ทั้งอาคารสนามบิน อาคารสนับสนุน ลานจอดรถ แล้วก็บ้านพักเจ้าหน้าที่ค่ะ นอกจากนั้น เราได้มีความใส่ใจแล้วก็นำเอาวัฒนธรรมที่สวยสดงดงามของหนังตะลุงหรือว่ามโนราห์เข้ามา ในการนำศิลปะการแสดงของหนังตะลุงและมโนราห์แล้วก็นำยอยักษ์ซึ่งเป็นอุปกรณ์จับปลา ที่ส่อถึงความเป็นประมงพื้นบ้านมาเป็นแนวคิดในการออกแบบ License ของอาคารผู้โดยสาร ส่งเสริมเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของจังหวัดพัทลุงค่ะ ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวทั้งไทย แล้วก็ต่างชาติประทับใจในความสวยสดงดงามและความโดดเด่นของจังหวัดพัทลุงค่ะ ท่านประธาน ดิฉันขอนำเสนอในคำถามแรกของท่านสมาชิกค่ะ
เชียงราย ๒,๐๐๐ ไร่
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในคำถามที่ ๒ สำหรับการดำเนินการก่อสร้างสนามบินพัทลุง จังหวัดพัทลุง เรื่องของ การสนับสนุนงบประมาณอย่างไร ด้วยกรมท่าอาศยานจะมีการขอรับการสนับสนุน งบประมาณช่วงแรกก่อนในการจ้างออกแบบ แล้วก็งานก่อสร้างทางวิ่ง ทางขับ แล้วก็ ลานจอดเครื่องบิน รวมทั้งองค์ประกอบอื่น ๆ และอาคารที่พักผู้โดยสารโดยได้ศึกษารายงาน ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในครั้งแรกเราจะขอในวงเงินงบประมาณ ๗๗ ล้านบาทก่อนค่ะ เมื่อโครงการดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้วกรมท่าอากาศยานถึงจะดำเนินการขอรับการจัดสรร งบประมาณการก่อสร้างท่าอากาศยานพัทลุงต่อไป นี่คือครั้งแรก ดิฉันขอยืนยันว่า ถึงแม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณถึง ๒,๐๐๐ กว่าล้านบาท ดิฉันเชื่อมั่นว่ากระทรวงคมนาคม เรามีแผนการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางอากาศ ทางบก ทางราง แล้วก็ทางน้ำ ซึ่งภาพรวมของโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศ จังหวัดพัทลุงจะไม่เป็น จังหวัดที่เป็นเมืองรองอีกต่อไป แต่ขณะเดียวกันรัฐบาลเองก็มีการส่งเสริมการท่องเที่ยว ไม่เพียงแต่จังหวัดที่เป็นเมืองหลัก เมืองรองมากมายในภาคใต้ที่มีความสวยงามเป็นที่ชื่นชอบ ของนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะความมี Lagoon สวย ๆ ความมีวัฒนธรรมอันโดดเด่น วิถีชีวิต ความน่ารักของคนจังหวัดพัทลุงนั่นก็คือจะเป็นสิ่งจูงใจให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย แล้วก็ชาวต่างประเทศเข้าไปเดินทางท่องเที่ยว ส่วนของนโยบายของกระทรวงคมนาคม อะไรก็ตามที่เป็นแผนเราจะไม่คิดเพียงแค่เป็นแผน ประกอบกับมองดูความสำคัญจัดลำดับ ความสำคัญของแต่ละจังหวัดทั้งเมืองหลักและเมืองรองค่ะ จึงขออนุญาตนำเรียน ต่อท่านประธานไปยังท่านสมาชิกว่านโยบายของท่านนายกเศรษฐา ทวีสิน ณ วันนี้ก็คือ การกระจายรายได้ไปสู่หัวเมืองในภูมิภาคให้มากที่สุด แล้วเอาความเจริญเหล่านั้นไปถึงมือ พี่น้องประชาชนของคนทุกคน ของคนทุกกลุ่ม และของคนทุกจังหวัดค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ก่อนอื่นดิฉันขอขอบพระคุณท่านสมาชิกทุก ๆ ท่านที่ได้ลุกขึ้นมาอภิปรายแสดงความคิดเห็น เรื่องของการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญในโครงการ Landbridge แห่งนี้ นอกจากนั้น ความคิดเห็นของสมาชิกทุกท่านจะถูกนำไปพิจารณากันอีกครั้งหนึ่งในชั้นของกรรมาธิการ วิสามัญที่มาจากทุกพรรคการเมืองแล้วก็มาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ในโอกาสนี้ ดิฉันขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีจำนวน ๘ ท่านดังนี้ ๑. นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ ๒. นายปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล ๓. นายจิรโรจน์ ศุกลรัตน์ ๔. นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ๕. นายนรินศักย์ สัทธาประสิทธิ์ ๖. นางธิดา พัทธธรรม ๗. นายพิทย อุทัยสาง ๘. นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากท่านติดภารกิจเดินทางไปทำ Road Show เรื่องของรถไฟรางคู่ที่ประเทศญี่ปุ่นค่ะ ต้องขอขอบคุณท่านสมาชิกที่ท่านได้มีกระทู้ถามเรื่องโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดกะทู้ แล้วก็ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต มีสมาชิกหลายท่านที่ได้ให้ความสนใจเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ของจังหวัดภูเก็ต แล้วก็ท่านสมาชิกท่านนี้ก็เช่นกันค่ะ ท่านได้ให้ความใส่ใจกับปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนตลอดมานะคะ
คำถามแรก เรื่องของกระทรวงคมนาคมจะดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ ทางลอดกะทู้-ป่าตอง ได้เมื่อใด ดิฉันขออนุญาตนำเรียนถึงท่านประธานผ่านไปยังท่านสมาชิกว่า กระทรวงคมนาคม โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ขอเรียนให้ทราบว่าการทางพิเศษ แห่งประเทศไทยได้ดำเนินการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ดิฉันได้ยก Timeline ให้ดูว่าในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ รูปแบบ PPP คือ Net Cost ต่อมาในวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ประกาศเชิญชวนให้บริษัทเอกชนทั้งประเทศไทยและต่างชาติให้ความสนใจซื้อเอกสาร REP รวมทั้งสิ้นที่บริษัทเอกชนมาซื้อทั้งสิ้น ๑๓ ราย ต่อมาในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖ ได้กำหนดการยื่นซอง ปรากฏว่าไม่มีเอกชนรายใดมายื่นข้อเสนอในการเข้าร่วมซองดังกล่าว แต่อย่างใด ในวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๖ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยยังได้เปิดเวที อย่างกว้างขวางเพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนว่าเหตุใดถึงไม่มายื่นในการยื่นข้อเสนอ ดังกล่าวเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ต่อมาในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ คณะกรรมการก็ได้คัดเลือกตามมาตรา ๓๖ แห่ง พ.ร.บ. การร่วมลงทุน พ.ศ. ๒๕๖๒ เมื่อคราวประชุมเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ ได้พิจารณาความเห็นของภาคเอกชน แล้วเห็นพ้องต้องกันกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย แล้วที่ปรึกษาให้ความเห็นว่า ความเห็นของภาคเอกชนให้ความเห็นว่าอาจจะส่งผลกระทบของโครงการที่ ครม. อนุมัติ จึงเห็นชอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการเสนอต่อผู้มีอำนาจเพื่อลงนาม พิจารณาทบทวนหลักการของโครงการอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ภาคเอกชนไม่ได้มาร่วมลงทุน ต่อมาวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา คณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้รับทราบว่าการปรับรูปแบบการดำเนินโครงการมาเป็นลงทุนสร้างเอง โดยให้การทางพิเศษ แห่งประเทศไทยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการลงทุนทุกมิติว่าผลประกอบการ เมื่อลงไปทุนไปแล้วในระยะกี่ปีถึงจะมีจุดคุ้มทุน แล้วก็สร้างผลกำไรให้กับองค์กร แล้วก็ ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการลงทุน แล้วก็นำเสนอให้คณะกรรมการการทางพิเศษ แห่งประเทศไทยเพื่อให้เห็นชอบในการประชุมครั้งต่อไป นี่ก็คือภาพรวมที่ดิฉันได้พูด Timeline ว่าแต่ละช่วงเวลาเราได้ทำอะไรไปแล้ว
นี่คือ Slide ภาพรวมของโครงการ ท่านสมาชิกจะได้เห็นภาพชัดเจนตรงเส้นสีเหลืองว่าโครงการเริ่มต้น ที่ตำบลป่าตอง บริเวณจุดตัดของถนนพระเมตตา และก่อสร้างเป็นทางยกระดับ แล้วอุโมงค์ ขนาด ๔ ช่องจราจรต่อทิศทาง แล้วก็เป็นทางยกระดับ ข้ามตรงถนนพิศิษฐ์กรณีย์จนถึงเขานาคเกิด แล้วก็จะกลายเป็นอุโมงค์คู่ท่านสมาชิกเห็นไหมคะ หลังจากนั้นก็ถึงจะเป็นทางยกระดับ แล้วสิ้นสุดโครงการที่ตำบลกะทู้ บริเวณจุดตัดที่ ทล.๔๐๒๙ ระยะทาง ๓.๙๘ กิโลเมตร ที่ท่านสมาชิกได้ถามเมื่อสักครู่ รวมมูลค่าการลงทุนเป็นค่าเวนคืนที่ดิน ๕,๗๙๒ ล้านบาท และค่าก่อสร้างอยู่ที่ ๘,๘๗๘ ล้านบาท รวมเป็นค่าลงทุนทั้งโครงการ ทั้งค่าเวนคืนที่ดิน และค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๑๔,๖๗๐ ล้านบาท ขณะนี้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย อยู่ในระหว่างดำเนินการเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดินของโครงการ ควบคู่ไปกับการพิจารณา แนวทางการดำเนินโครงการ โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะลงทุนก่อสร้างในงานโยธา ระยะแรกช่วงกะทู้-ป่าตองไปก่อน โดยคาดว่าจะสามารถประกวดราคาได้ในปี ๒๕๖๗ แล้วคาดว่าจะเปิดบริการในปี ๒๕๗๑ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการ Quick win ของ กระทรวงคมนาคมที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปที่ภูเก็ต แล้วนายกรัฐมนตรีก็ได้กำชับให้ กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดในการก่อสร้างโครงการนี้ โดยโครงการพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง มีแผนการเวนคืนที่ดินทั้งสิ้น ๒๔ เดือน หรือ ๒ ปี ตั้งแต่กรกฎาคม ๒๕๖๖ ไปจนถึงปี ๒๕๖๘ ที่ดินที่ต้องถูกเวนคืนทั้งสิ้นจำนวน ๑๙๒ แปลง และสิ่งปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนพี่น้องประชาชน อีกจำนวน ๓๐๒ หลัง ปัจจุบันอยู่ในระหว่างที่ดำเนินการเวนคืนที่ดินดังกล่าวอยู่ ขอนำเสนอ ต่อท่านสมาชิกว่าเมื่อสำรวจแนวเขตพิเศษแล้ว มีที่ดินที่อยู่ในแนวเขตจำนวน ๖๐ แปลง แล้วก็ ได้โชว์รูปของแปลงที่ประกอบการทำแฟ้มประเมินราคาค่าที่ดินแล้วเสร็จจำนวน ๑๖๑ แปลง ได้ทำการสำรวจแล้วก็ประเมินราคาไว้เรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นเมื่อมีการสำรวจที่ดินแล้ว ยังมีการสำรวจสิ่งปลูกสร้างแล้วเสร็จจำนวน ๙๐ หลัง ตอนนี้สำรวจแล้ว ๙๐ หลัง ยังต้อง สอบสวนสิทธิที่ดินแล้วเสร็จอีก ๒๗ แปลง ตอนนี้อยู่ในระหว่างสอบสวนอยู่อีก ๒๗ แปลง เพราะฉะนั้นการสอบสวนสิทธิสิ่งปลูกสร้างแล้วเสร็จแล้วทั้งหมด ๑๐๑ หลังคาเรือน ก็คิดเป็น ประมาณว่าค่าสอบสวนสิทธิที่ดิน ค่าประเมินของชดเชยหลังคาเรือน ค่าประเมินชดเชยที่ดิน เสร็จแล้วประมาณ ๑๗ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งขออนุญาตรายงานว่าขณะที่ตัวเลขที่ดิฉันรายงาน ต่อท่านประธานไปถึงท่านสมาชิกอยู่ในกรอบของ Timeline ก็คือ ๑ ตุลาคมปีนี้นะคะ ส่วนความคืบหน้าจะเป็นอย่างไรต่อ ดิฉันจะขออนุญาตนำเรียนต่อท่านสมาชิกโดยตรง หรือว่าท่านสมาชิกต้องการทราบความคืบหน้า ท่านสมาชิกก็สามารถยื่นกระทู้ถามต่อ กระทรวงคมนาคมได้ในโอกาสต่อไป ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิก ท่านสมาชิกได้ถามถึงถนนหลวงปู่สุภา ซึ่งถนนหลวงปู่สุภา ดิฉันเข้าใจคลาดเคลื่นหรือเปล่าคะ เพราะว่าในคำถามที่ ๒ ที่ท่านสมาชิกได้ยื่นเป็นเอกสาร ต่อท่านประธานสภานั่นก็คือคำถามที่โชว์อยู่ในจอนะคะ คำถามที่ ๒ ท่านถามว่า กระทรวงคมนาคมจะแก้ปัญหาในระหว่างที่รอการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ตอย่างไรเพื่อปกป้องชีวิตของประชาชนจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในเส้นทางนี้ เส้นทางเดียวกันใช่ไหมคะท่านสมาชิก ขออนุญาตค่ะท่านประธาน
ขอบคุณค่ะ
ในส่วนของ เส้นทางหลวงปู่สุภา ดิฉันไม่ทราบข้อมูลของหลวงปู่สุภาแต่เป็นคำถามนอกจากคำถามตรงนี้ ดิฉันจะเอาคำตอบมาให้ เนื่องจากหน่วยงานดังกล่าวเป็นหน่วยงานที่ดูแลกำกับโดยกรมทางหลวง แต่ดิฉันจะเอาคำตอบต่อเนื่องจากที่คำถามที่ ๒ นะคะ ซึ่งคำถามที่ ๒ ภาพของถนน ทางหลวงสาย ๔๐๒๙ คงจะต้องเชื่อมต่อกับถนนหลวงปู่สุภาว่าเป็นเส้นทางหลังระหว่าง อำเภอกะทู้กับตำบลป่าตอง โดยเส้นทางดังกล่าวเป็นทางภูเขาที่มีความคดเคี้ยว แล้วมี ความลาดชันสูง กระทรวงคมนาคมขอเรียนว่าในแขวงทางหลวงเป็นการก่อสร้างอุโมงค์ ทางลอดดังกล่าว กลายเป็นการก่อสร้างที่อยู่นอกพื้นที่กรมทางหลวง แล้วก็ไม่ได้ส่งผล ต่อการติดขัดของการจราจรบนทางหลวง ๔๐๒๙ แต่อย่างใดดังภาพที่เห็นนะคะท่านสมาชิก ซึ่งการเดินทางดังกล่าวเป็นการเดินทางระหว่างอำเภอกะทู้และตำบลป่าตอง ก็ยังคงสามารถ ใช้เดินทางได้ตามปกตินะคะ ในระหว่างที่มีการก่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าว แขวงทางหลวงภูเก็ต ก็ยังได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของการป้องกัน แล้วก็การแก้ไขอุบัติเหตุบนสายทางดังกล่าว โดยได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุให้กับ พี่น้องประชาชนด้วย ดังนี้ ในแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุต่อพี่น้องประชาชน ในแขวงทางหลวงภูเก็ต ในงบประมาณประจำปี ๒๕๖๔ จากสำนักบำรุงทาง กรมทางหลวง ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ๒๙.๘ ล้านบาท แล้วได้ดำเนินการก่อสร้างฟื้นฟูเส้นทาง ๔๐๒๙ แล้วได้มีการปรับปรุงเสถียรภาพของคันทาง ก่อสร้างระบบระบายน้ำ ปรับปรุงผิวจราจร แล้วมี การตีเส้นจราจร ทำให้การเดินทางขึ้นเขาสะดวกสบาย และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ลดการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยลง นอกจากนั้นยังมีการสร้างรางระบายน้ำเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ในภาพเห็นไหมคะ เพราะบ่อยครั้งที่ขณะที่พี่น้องประชาชนสัญจรไปมาก็เกิดการพังทลายของดิน ในช่วงหน้าฝน นอกจากนั้นก็ยังมีการปรับปรุงผิวจราจรเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง รวมทั้งมีการติดตั้งป้ายให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นทางขึ้นเขา ทางลงเขา แล้วก็เป็นทางคดเคี้ยวค่ะ ท่านประธาน นี่คือภาพทั้งหมดของเส้นทางต่อเนื่องที่ท่านสมาชิกได้ถามถนนทางหลวงปู่สุภา สิ่งหนึ่งที่กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมได้เล็งเห็นความสำคัญตามนโยบายของท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นั่นก็คือให้พี่น้องประชาชนขับขี่ปลอดภัย ให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในการใช้รถใช้ถนน แล้วก็เดินทางอุ่นใจไปกับกรมทางหลวง ขอบคุณทุกคำถามของ ท่านสมาชิกนะคะ ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้มา ตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิก เนื่องจากท่านเดินทางไปทำ Roadshow แล้วก็ไปประชุม ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
คำถามแรกของท่านสมาชิก ดิฉันต้องขอบคุณท่านสมาชิกเป็นอย่างยิ่งค่ะ ซึ่งคำถามดังกล่าวเป็นคำถามที่อยู่ในความสนใจของสื่อมวลชนและพี่น้องประชาชนคนไทย ถึงความคืบหน้าของการทำ Roadshow และสิ่งต่าง ๆ ที่ประเทศไทยจะได้รับโอกาสในเรื่อง ของโครงการก่อสร้างแลนด์บริดจ์ จากที่ท่านสมาชิกได้ถาม โครงการ Roadshow ครั้งแรก ที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปก็คือที่เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ ๑๗ ถึงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา และต่อมาที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ ๑๘ ธันวาคม ปรากฏว่ามีบริษัทชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นเกือบ ๓๐ บริษัท เรามีห้องประชุม ที่เชิญชวนบริษัทเข้ามา ปรากฏว่าวันนั้นบริษัทต่าง ๆ ที่ลงทะเบียนแล้วก็ไม่สามารถเข้าร่วม ประชุมได้ยังต้องนั่งรอนอกห้อง นั่นก็คือสิ่งหนึ่งที่นักธุรกิจของประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจ นอกจากนั้นท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้พูดถึงของประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจนะคะ นอกจากนั้น ท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้พูดถึงว่าความจำเป็นของการที่จะต้องมีโครงการแลนด์บริดจ์นั่นคือ เราจะลดความแออัดของการจราจรขนส่งทางน้ำที่จะต้องผ่านช่องแคบมะละกา ปัจจุบันนี้ ช่องแคบมะละกาถ้าเรามีเรือที่จะขนส่งผ่านแดนตรงนี้ เราจะใช้สัดส่วนจะให้มีเรือขนส่งตรงนี้ ได้ถึง ๖๐ เปอร์เซ็นต์ พบว่ามีความหนาแน่นนะคะ แล้วก็นอกจากนั้นจากความหนาแน่น ดังกล่าวก็ส่งผลให้มีการขนส่งสินค้าล่าช้า นั่นก็คือส่งผลถึงต้นทุนที่มีราคาสูงขึ้น แล้วก็ ในขณะที่การจราจรทางน้ำหนาแน่นก็เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ ดังนั้นโครงการ แลนด์บริดจ์เป็นโครงการที่ส่งเสริมธุรกิจเป็นอีกทางหนึ่งในเรื่องของระบบการขนส่ง Logistics ทางน้ำ นอกจากนั้นในการที่ไป Roadshow ที่ประเทศญี่ปุ่นยังให้ความสนใจ และรายงานมาว่าอยากต้องการที่จะพบกับท่านนายกรัฐมนตรีแล้วก็ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อีก ๑๐-๒๐ ราย นอกจากนั้นหลังจากที่ท่านไป Roadshow ที่ประเทศจีนก็ตาม ญี่ปุ่นก็ตาม และอเมริกาก็ตาม ดิฉันขออนุญาตว่าในช่วงที่ ท่านนายกรัฐมนตรีเดินทางไปที่ซานฟรานซิสโก อเมริกา ช่วงวันที่ ๑๒ ถึงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ก็ได้มีนักลงทุนของกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริการ่วมหารือถึง ๒๐ บริษัท และมีนักลงทุน ในภาคของทั่วยุโรปแล้วก็ในภาคของอเมริกาบอกว่าโครงการนี้ไม่คิดว่าประเทศไทยจะมี โครงการดังกล่าว เพราะขณะนี้สายการเดินเรือต่าง ๆ ทั่วประเทศต้องการที่จะนำสินค้า เหล่านั้นเข้ามาสู่ประเทศ ASEAN แต่ยังมีปัญหาเรื่องของการจราจรขนส่งที่มีความหนาแน่น ในทางทะเล ดิฉันต้องขออนุญาตตอบคำถามของท่านสมาชิกนะคะว่าจากที่ล่าสุดนอกจาก ไปอเมริกาแล้ว ขณะนี้ท่านนายกรัฐมนตรีอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่กรุงดาวอส ร่วมกับท่านรัฐมนตรี ก็ได้มีการเสนอโครงการดังกล่าวให้กับกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งได้รับ เสียงตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งดิฉันเห็นว่าวันนี้โครงการแลนด์บริดจ์ได้รับความสนใจแล้วก็ได้รับ การตอบรับจากนักธุรกิจในเชิงบวก นั่นคือแสดงให้เห็นถึงความสนใจดังกล่าว ถึงแม้ว่า จะไม่เป็นการเริ่มต้น แต่เราก็ได้ขยายความคิด ขยาย Project เหล่านี้ให้กับนักลงทุนต่างชาติ ดิฉันเข้าใจคำว่า โอกาส ประเทศไทยต้องการโอกาสค่ะ ให้มีโครงการดี ๆ Megaproject นี้ เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การลงทุนของประเทศไทยและภูมิภาค ASEAN นี้เกิดขึ้นในเร็ววันค่ะ ดิฉันขอตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกค่ะ ขอบคุณค่ะ
ท่านประธานสภาที่เคารพคะ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในประเด็นคำถามที่ ๒ นะคะ ขณะนี้ดิฉันเข้าใจค่ะว่าทุก ๆ โครงการที่เป็นโครงการ Megaproject ขนาดนี้จะต้องมีฝ่ายที่เห็นด้วยแล้วก็ไม่เห็นด้วยในโครงการ ซึ่งดิฉันยอมรับ ว่าความที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่าง ๆ จากการที่เรามีโครงการดังกล่าว ทุก ๆ โครงการ ก็จะต้องได้ฟังความเห็น ได้มีการออกกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมจึงได้เสนอ ให้ทางสภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อทำการศึกษาโครงการ แลนด์บริดจ์ ซึ่งดิฉันเองก็เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวนะคะ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญก็ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ ทั้งกลุ่มผู้เห็นด้วยแล้วก็ผู้เห็นต่างมาให้ข้อมูลกับ กรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนั้นการศึกษาในกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติเราก็มี การศึกษาทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติของทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มิติทางด้านของความมั่นคง มิติทางด้านอุตสาหกรรม มิติทางด้านต่างประเทศ รวมทั้ง มิติรับฟังความคิดเห็นทางภาครัฐแล้วก็ภาคเอกชน รวมทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมของพี่น้อง ประชาชนและพื้นที่ใกล้เคียงที่จะต้องได้รับผลการดำเนินการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ อย่างไรก็ตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของโครงการแลนด์บริดจ์หรือว่าเขตเศรษฐกิจ พิเศษภาคใต้ย่อมมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและพี่น้องประชาชนบางส่วน ซึ่งเป็น ความท้าทายของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกันว่าเราจะต้องมีการรองรับ แล้วก็วางแผนต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนที่อาศัย อยู่ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งเราจะมีการดำเนินการโครงการ แล้วก็แนวทางที่จะมีการเวนคืน ที่ดินในราคาที่เหมาะสมในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งการดูแลสวัสดิการของพี่น้องประชาชน ที่อาศัยในพื้นที่นั้นมาอย่างยาวนาน เราเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องส่งผลกระทบต่อ พี่น้องประชาชน ส่งผลต่อลูกหลานที่พี่น้องประชาชนบางกลุ่มได้สะท้อนปัญหาต่อดิฉัน รวมทั้งที่ดินทำกิน สวน ไร่นา สวนทุเรียน สวนมังคุด นอกจากนั้นในวันที่ ๖ วันที่ ๗ ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการวิสามัญได้ลงไปในพื้นที่ รับฟังความเห็นที่อำเภอหลังสวน จังหวัด สุราษฎร์ธานี ที่อำเภอพะโต๊ะ แล้วก็ที่จังหวัดระนอง จะเห็นว่าเสียงของพี่น้องประชาชน ส่วนหนึ่งคัดค้าน เสียงคัดค้านทุกเสียงของพี่น้องประชาชน รัฐบาลไม่ละเลย รัฐบาลกลับ สดับตรับฟังมากกว่าเสียงเล็ก ๆ ที่บอกว่าต้องการแลนด์บริดจ์ เพราะนั่นคือปัญหาและ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่เราต้องตระหนัก ความเจริญ ความเปลี่ยนแปลง ย่อมนำไปสู่สิ่งที่ดีเสมอค่ะ เราจะเห็นว่าในการเสวนาในวันนั้นมีทั้งนักธุรกิจ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาคมการท่องเที่ยว เห็นด้วยค่ะ แต่ก็มีพี่น้องประชาชนที่แสดงถึงความห่วงใย ของการสูญเสียที่ดิน บางท่านบอกว่าที่ดินนี้เขาอยู่ตั้งแต่เกิดจะต้องมาสูญเสียเพราะโครงการ แลนด์บริดจ์ จึงขออนุญาตกราบเรียนท่านประธานไปยังท่านสมาชิกและพี่น้องประชาชนว่า โครงการใด ๆ ก็ตามรัฐบาลเราตระหนักเรื่องนี้เป็นอย่างดี ซึ่งการเวนคืนที่ดินดังกล่าวเราก็มี นโยบายที่จะทำกฎหมาย เขาเรียกว่ากฎหมาย SEC หรือ Southern Economic Corridor เป็นกฎหมายระเบียงเขตเศรษฐกิจทางใต้ เช่นเดียวคล้าย ๆ กับกฎหมาย EEC ซึ่งกฎหมาย EEC ซึ่งเราก็ได้มีการเวนคืนกับพี่น้องประชาชนในกลุ่มของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ความกังวลใจเหล่านี้รัฐบาลก็จะดำเนินการตามแนวทางที่พี่น้องประชาชนได้แสดงความเห็นไว้ ความเห็นของพี่น้องประชาชนในเวทีเสวนาวันนั้นพูดถึงการสูญเสียของกรรมสิทธิ์ ที่ดินทำกิน ความต้องการบ้านเรือน แล้วก็พูดถึงทรัพยากรธรรมชาติในเรื่องของการ ทำประมงพื้นบ้าน เราก็จะเห็นว่าการทำประมงพื้นบ้านที่เราจะต้องสร้างท่าเทียบเรือไปนั้น เราเห็นถึงความจำเป็นและเดือดร้อน แต่การถมทะเลออกไปจากที่เราไปดูในพื้นที่ ซึ่งในภาพ พอได้พูดคุยกับชาวประมงจริง ๆ เขากลับภูมิใจเสียอีกว่าการสร้างท่าเรือออกไปนั่นไม่ได้ กระทบของอาชีพการหากุ้งหรืออาชีพประมงของเขาแต่อย่างใด เขากลับดีใจเสียอีกว่า ความเจริญเหล่านั้นมาถึงเขาก็จะได้ขยายภาคธุรกิจของการประมงให้มีมากขึ้น แล้วก็ มีคมนาคมขนส่งที่ไม่ต้องส่งปลา ส่งกุ้ง ส่งหอยของเขาไปสู่พ่อค้าคนกลางที่ถูกกดทับราคา ครั้งแล้วครั้งเล่า นี่คือเสียงจากพี่น้องประชาชน พี่น้องของชาวประมงพื้นบ้านค่ะ ส่วนประเด็นต่าง ๆ ที่พี่น้องประชาชนมีความห่วงใยเราเองอยู่ในระหว่างของการศึกษา ความเป็นไปได้ EIA เราก็พร้อมที่จะรับฟังความเห็นทุก ๆ ความเห็น ดิฉันขอตอบคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิกค่ะ
ท่านประธาน สภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สำหรับคำถาม สุดท้ายของท่านสมาชิกนะคะ ซึ่งเป็นคำถามที่หลายคนคงแสดงความห่วงใย หลายคน ได้ถกถามกันในส่วนของท่านสมาชิกเองก็ตาม ดิฉันเดินไปในสภาท่านสมาชิกภาคใต้ หลายท่านก็เป็นห่วงและให้กำลังใจว่าอยากให้โครงการแลนด์บริดจ์นี้เกิดขึ้น แต่พอติดตาม ทางสื่อมวลชน สื่อมวลชนบางช่องก็อาจจะเห็นด้วย บางช่องก็อาจจะไม่เห็นด้วย นั่นก็ เพราะว่าเรายังมีการศึกษายังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการ แล้วก็ตั้งข้อสงสัย ซึ่งข้อสงสัย ความกังวล ความห่วงใยของท่านสมาชิกหรือหลายท่านดิฉันมองว่าเป็นโอกาสดีเสียอีกค่ะ ที่ทางกระทรวงคมนาคมได้ลุกขึ้นชี้แจงว่าขั้นตอนดังกล่าวได้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว แล้วเราก็จะได้มาช่วยกันว่าความเห็นต่าง ๆ หรือผลกระทบต่าง ๆ จะทำให้พี่น้องประชาชน ได้รับผลกระทบหรือว่าประเทศไทยจะได้อะไรจากโครงการแลนด์บริดจ์แห่งนี้นะคะ ขณะนี้ โครงการแลนด์บริดจ์ซึ่งเป็นโครงการ Megaproject และอย่างที่ดิฉันได้กราบเรียนแต่แรก ว่ามันเป็นโอกาส ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ เพราะประเทศไทยเปรียบเสมือน ประเทศที่เป็นด้ามขวาน ในฝั่งซ้ายมีทั้งประเทศที่มีทั้งทะเลอ่าวไทยแล้วก็ทะเลอันดามัน ศักยภาพเหล่านี้เรามองไปถึงกลุ่มประเทศ ASEAN ไม่มีประเทศไหนที่มีภูมิศาสตร์ตั้งแบบ ทำเลที่ดีที่สุดเท่ากับประเทศไทยอีกแล้ว แล้วเราละเลยโอกาสนี้ไปได้อย่างไรคะท่านสมาชิก สำหรับความคืบหน้าที่ท่านสมาชิกได้ถาม ดิฉันขอสรุปสั้น ๆ นะคะว่าเรามีโครงการศึกษา ของแลนด์บริดจ์นี้ ๓ ส่วน
ส่วนแรกเป็นการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ซึ่งเป็นการออกแบบ ท่าเรือ ก็จะมีการศึกษาในเรื่องของด้านสิ่งแวดล้อมของงานก่อสร้างท่าเรือ รวมถึงศึกษา รูปแบบของการลงทุน งานในส่วนนี้เป็นความรับผิดชอบของสำนักนโยบายและแผน การขนส่งและจราจร ซึ่งความก้าวหน้าขณะนี้ สนข. ได้ออกแบบของท่าเรือเสร็จแล้ว และอยู่ในระหว่างการศึกษา EIA ซึ่งเราก็เริ่มต้นในการศึกษาได้มาเกือบปีแล้วค่ะ แต่ที่ผ่านมา ที่ยังไม่ได้ศึกษาเพราะว่าอยู่ในช่วงของสถานการณ์โควิด แล้วก็เราจะต้องใช้ระยะเวลาศึกษา EIA นี้อีก ๑๒ เดือน ส่วนความคืบหน้า EIA ในเรื่องของการก่อสร้างท่าเรือคืบหน้าอย่างไร ดิฉันจะได้มีโอกาสมาชี้แจงให้ท่านสมาชิกทราบเป็นระยะ ๆ นะคะ
ส่วนสำหรับความศึกษาเรื่องของแนวทางที่ ๒ เป็นการศึกษาในเรื่องของ สิ่งแวดล้อมทางด้านรถไฟ ด้านแรกจะเป็นของ สนข. เราจะแบ่งเป็นหน่วยงาน ๆ ด้านแรก จะเป็นเรื่องของ สนข. ด้านที่ ๒ จะเป็นภาระความรับผิดชอบของการรถไฟ เนื่องจาก โครงการดังกล่าวมีการก่อสร้างรางรถไฟในการขนส่งสินค้าด้วยค่ะ ขณะนี้ รฟท. ได้ ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาแล้วค่ะ อยู่ในระหว่างการเตรียมพื้นที่ทำการสำรวจแนวเส้นทาง วางหมุดเพื่อเวนคืน รวมถึงกระบวนการรับฟังความเห็นของพี่น้องประชาชนหลังจากได้ ดำเนินการวางหมุดแล้ว ทำเรื่องของเวนคืนที่ดินแล้ว ฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้ว ทั้งหมดทุกกระบวนการก็จะมีการก่อสร้างรางรถไฟต่อไปค่ะ
งานในส่วนที่ ๓ เป็นงานการศึกษา EIA ในเรื่องของการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ ซึ่งเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของกรมทางหลวงของกระทรวงคมนาคม ก็อยู่ในช่วงระหว่างนี้ ล่ะค่ะที่เราเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณในกรอบงบประมาณปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะเป็น การจ้างที่ปรึกษาในการออกแบบเบื้องต้น เราก็จะมีการศึกษา EIA รับฟังความคิดเห็นของ พี่น้องประชาชนในพื้นที่ นอกจากนั้นหากกรมทางหลวงได้รับการจัดสรรงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ ขอความร่วมมือสมาชิกให้ผ่านงบประมาณนี้ด้วยค่ะ เราจะได้เริ่มต้นโครงการนี้ โดยกรมทางหลวงในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษานะคะ หลังจากได้งบประมาณเรียบร้อยแล้ว เราถึงจะดำเนินการจ้างที่ปรึกษาในการศึกษาในเรื่องของมอเตอร์เวย์ต่อไป ทั้ง ๓ กระบวนการ ในการศึกษาของโครงการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ สนข. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรถไฟ ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของกรมทางหลวง ดิฉันจึงขออนุญาตว่าความคืบหน้าอย่างไรดิฉันจะขออนุญาต มากราบเรียนท่านสมาชิกอีกครั้งหนึ่งค่ะ ขอบคุณทุกคำถามของท่านสมาชิก ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในการมาตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิก เนื่องจากท่านได้เดินทางไปที่สวิตเซอร์แลนด์ร่วมกับท่านนายกรัฐมนตรีค่ะ ต้องขอบคุณ คำถามจากท่านสมาชิก ท่านสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ จากพรรคก้าวไกล ซึ่งดิฉันชื่นชอบท่าน ตั้งแต่อยู่ฝ่ายค้านด้วยกัน เพราะว่าเวลาท่านนำเสนอข้อมูลในประเด็นของงานโครงสร้าง พื้นฐานของคมนาคมต้องยอมรับว่าท่านเป็น Expert จริง ๆ ค่ะ แล้วก็เป็นคำถามที่ยอดฮิต เพราะว่ามีกระทู้ทั้งจากฝั่งของรัฐบาลและจากฝั่งของฝ่ายค้านที่ให้ความสนใจเรื่อง แลนด์บริดจ์ เราจะใช้เวทีของสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ในการเผยแพร่ข้อมูลบางส่วนที่เรา ได้รับอยู่แล้วให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยได้รับทราบนะคะ จากคำถามของท่านสมาชิก ในเรื่องของประเด็นคำถามที่ท่านบอกว่า อยากได้หรือไม่อยากได้ ควรทำหรือไม่ควรทำ ฝันนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ ท่านประธานที่เคารพค่ะ ทุก ๆ คนล้วนมีความฝัน ถ้าเราไม่ลงมือ ทำเลยความฝันเหล่านั้นคงไม่เป็นจริง เฉกเช่นเดียวกันค่ะ พวกเราทุกคนมาจากพี่น้อง ประชาชนเราก็ฝันว่าเรามาเป็นตัวแทนพี่น้องประชาชน เราอยากให้ประเทศมีการพัฒนา ให้พี่น้องประชาชนได้รับความเท่าเทียมจากนโยบายของภาครัฐ ให้พี่น้องประชาชนอยู่ดีกินดี จากโครงการต่าง ๆ ที่รัฐบาลได้ชักชวนนักลงทุนมาลงทุน เพราะฉะนั้นความฝันของเราจะ เป็นจริงหรือไม่ย้อนกลับถามตัวเองค่ะว่าวันนี้เรามาทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของพี่น้อง ประชาชน ข้อมูลที่ท่านสุรเชษฐ์ได้ถามดิฉันขอตอบว่าดิฉันเองก็จะเป็นส่วนหนึ่งของ การผลักดันความฝันของแลนด์บริจด์นี้ให้เป็นจริงร่วมกับท่านสมาชิก รวมทั้งการที่จะต้อง มาแชร์ข้อมูลที่เป็นความจริงแล้วก็ได้ลงมือทำค่ะ
ประเด็นคำถามในเรื่องของระยะทาง ก็จะขออธิบายในภาพรวมว่าปัจจุบัน โครงการแลนด์บริดจ์เราคาดการณ์ว่าจะมีการขนส่งตู้สินค้าที่จะส่งไปที่เอเชียใต้ที่จะมา ที่ท่าเรือระนอง เนื่องจากตู้สินค้าที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกไปที่ออสเตรเลีย ก็จะมาขึ้นที่ท่าเรือชุมพร หรือตู้สินค้าที่ส่งในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะมาที่ แลนด์บริดจ์นี้ ทำไมในเมื่อมีท่าเรือช่องแคบมะละกาแล้วจะลดระยะทางนี้อย่างไร เนื่องจาก โครงการแลนด์บริดจ์ดังนี้ได้ถูกออกแบบไว้เพื่อลดระยะเวลาและลดต้นทุนในการขนส่ง เนื่องจากปัจจุบันนี้ปัญหาความคับคั่งของการขนส่งสินค้าทางเรือของช่องแคบมะละกานี้ ทำให้ความหนาแน่นมีมากขึ้น เรือจึงต้องลดความเร็วในการที่จะเข้าจอดช่องแคบนะคะ นอกจากนั้นปัญหาของการถูกปล้นดังที่หลายท่านได้ทราบข่าว เรือสินค้าถูกปล้นในช่องแคบ มะละกาก็มีข้อมูลและสถิติการปล้นเรือขนส่งสินค้ามากขึ้นทุก ๆ ปี ดังนั้นการขนส่งสินค้า ในเส้นทางยุโรปเอเชียใต้ ซึ่งปัจจุบันก็มีตู้สินค้าบางส่วนถูกส่งมาที่ท่าเรือในช่องแคบมะละกา ก่อนส่งต่อเรือ ขึ้นเรือก็คือ Feeder กลับไปในประเทศของเอเชียใต้ เช่น อินเดีย ด้านตะวันออก บังคลาเทศ แล้วก็เมียนมานะคะ นอกจากนั้นเส้นทางสำหรับเอเชียตะวันออกที่จะไปประเทศออสเตรเลียปัจจุบันมีการขนส่ง สินค้าจากประเทศจีนไปออสเตรเลียทางเรือ แต่ว่าประเทศจีนมีขนาดพื้นที่ใหญ่มาก หลายพื้นที่ของประเทศจีนไม่ได้ติดทะเล เช่น จีนตอนใต้ ก็จะเห็นว่าผ่านมาที่ประเทศ บังคลาเทศ ผ่านมาที่ทาง สปป. ลาว และก็ถึงจะเชื่อมเข้ามาในฝั่งของประเทศไทย ทำให้ การขนส่งตู้สินค้าจากจีนตอนใต้ออกไปทางทะเล จะทำให้ร่นระยะเวลาได้เร็วขึ้น ซึ่งถ้าเรา มีโครงการแลนด์บริดจ์ดังกล่าวตู้สินค้าจากจีนตอนใต้ก็จะมีโอกาสอย่างมากที่จะมาออกที่ ท่าเรือฝั่งระนองแล้วก็ท่าเรือที่ชุมพร นอกจากนั้นประเด็นตู้สินค้าที่จะมาแลนด์บริดจ์ว่าทำไม ต้องมาที่แลนด์บริดจ์ เพราะว่าท่าเรือหลายท่าในช่องแคบมะละกาจะมีการขนส่งสินค้า หลาย ๆ ประเภท มีทั้งเรือขนาดใหญ่ เรือขนาดกลาง หรือเรือ Feeder ซึ่งประเภทของเรือ ดังกล่าวเราก็ทำการศึกษาอยู่ แล้วก็ประมาณการเรื่องตู้สินค้าว่าในเรือขนาดนี้ควรจะเป็น เส้นทางขนาดไหน แล้ว Feeder จะต้องใช้เรือ Size ไหนที่จะเข้าสู่ Feeder ของการขนส่ง สินค้าในร่องทะเลลึก ๆ ในร่องทะเลลึกแต่ละร่องเหล่านั้น นอกจากนั้นปริมาณตู้สินค้าก็จะ เป็นเส้นทางที่จะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ไม่ใช่ทุกเส้นทางที่มาใช้แลนด์บริดจ์ที่จะ ประหยัดเวลา แต่จากการศึกษาข้อมูลที่ขณะนี้เราทำการศึกษาอยู่ว่าการขนส่งโดยเรือ ขนาดใหญ่ไม่ประหยัดกว่าทั้งหมด ดังนั้นเราจึงเอากลับมาศึกษาอีกว่าเอาเฉพาะเส้นทางที่ ขนส่งสินค้าที่ใช้เรือ Feeder เท่านั้นที่จะประหยัดในช่วงแรก แต่ว่าในระยะยาวหากจำนวน ตู้สินค้านี้มีเข้ามาเพิ่มมากขึ้น ๆ โอกาสที่เรือใหญ่จะเข้ามารับตู้สินค้าในฝั่งเรือระนองก็จะมี ความเป็นไปได้ เนื่องจากระนองอยู่ไม่ไกลจากเส้นทางเดินเรือในปัจจุบันนี้ แต่สำหรับ ประเด็นคำถามในเรื่องของสินค้าที่ยังบอกว่าเรามีสินค้าในการคุ้มไหม ในเรื่องของตู้สินค้า ก็จะมีสินค้าอีกประเภทหนึ่งเขาเรียกว่า สินค้าเทกอง เช่น สินค้าประเภทปูนซีเมนต์หรือไม้ ปัจจุบันสินค้าทั้งสองนี้ก็เอาใส่ตู้มา ซึ่งสินค้าเหล่านี้ถ้าเราเข้ามาที่ท่าเรือระนองก็จะเป็นการ ลดต้นทุนสินค้า นอกจากนั้นเราก็ยังได้ประมาณการว่าเมื่อมีโครงการดังกล่าวเกิดขึ้น ปริมาณ ของการเติบโต
แล้วก็ทุกประเด็นที่ท่านสมาชิกได้ถามถึงหลักวิชาการว่าการจ้างที่ปรึกษานั้น มีความคุ้มค่าหรือไม่ แล้วเราจะทำโครงการขนาดใหญ่ขนาดนี้หรือจะเป็นเพียงแค่ความฝัน ท่านประธานที่เคารพคะ โครงการดังกล่าวไม่ว่าการจ้างที่ปรึกษา ทางกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐแล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เราก็หวังว่าบริษัทที่ปรึกษาเหล่านั้น จะศึกษาความเห็น แล้วก็ความเหมาะสมในทุกมิติ เฉกเช่นเดียวกันเมื่อเราทำการศึกษาแล้ว กลุ่มประเทศที่เขาต้องการลงทุนเขาก็ต้องมีบริษัทที่ปรึกษาของเขามาศึกษาในแบบแผน ของการศึกษาว่าประเทศไทยเราที่จ้างที่ปรึกษานั้นมีมาตรฐานไหม มีการ Fake ตัวเลข เข้าไปไหม ถ้าบริษัทเหล่านั้นไม่เชื่อว่าผลการศึกษาของประเทศไทยเป็นไปได้ บริษัททั่วโลก เขาก็ไม่มาลงทุน แต่นี่คือโอกาสค่ะว่าเราได้เริ่มต้นศึกษาแล้ว ประเด็นไหนที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้ เราก็ต้องกลับมาทบทวน นี่คือคำถามแรกของดิฉันต่อคำถามของท่านสมาชิกค่ะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพค่ะ ในคำถามที่ ๒ ดิฉันคิดว่าที่ดิฉันตอบว่าไม่ประหยัด ถ้าเรา มีการศึกษาโครงการแล้วพบว่าโครงการหรือว่าเส้นทางเดินเรือไม่ประหยัดเราก็ต้องเอา สิ่งเหล่านั้นกลับมาทบทวน แล้วดูเส้นทางที่ว่าไม่ประหยัดอะไรที่คุ้มค่าแล้วประหยัด อะไรที่ คุ้มค่าแล้วทำให้ผู้ประกอบการพอใจว่าจะสามารถลดต้นทุนของเขาได้จริง ๆ นะคะ
ส่วนประเด็นคำถามที่บอกว่าสินค้าเทกองหรือสินค้าที่เป็นโรงกลั่นน้ำมัน ท่านประธานคะ นี่คือการศึกษาค่ะ เราไม่ได้บอกว่าเราจะก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันหรือว่า จะเอาสินค้าประเภทบรรทุกผลผลิตประเภทใด ๆ เข้าสู่ นั่นก็คือเป็นปลายทางของ ผู้ประกอบการหรือบริษัท เรากำลังมองว่านี่คือศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ สิ่งที่ท่าน สมาชิกได้เรียนถามก็คือรายละเอียดที่ลงไปว่าประเภทของสินค้านั้นควรจะเป็นประเภทไหน โรงกลั่นก็เช่นเดียวกันค่ะ เคยมีสมาชิกถามในขณะที่ดิฉันลงพื้นที่ว่าชาวบ้านห่วงว่าจะมี โรงกลั่นน้ำมันต่อไป แล้วมีท่อน้ำมันหรืออะไร อย่างไร ทาง สนข. ก็ได้ตอบว่าการจะมี โรงกลั่นน้ำมันหรือว่าอะไรนี้ปกติแล้วบริษัทเดินเรือขนาดใหญ่เราจะต้องมีการวางท่อไว้ สำรอง เพราะเป็นการใช้น้ำมันของบริษัทที่ต้องใช้น้ำมันเป็นปริมาณมาก ๆ นี่คือสิ่งหนึ่ง ที่เป็นความห่วงใยแล้วก็ต้องขอบคุณท่านสมาชิกว่า ขณะนี้เราอยู่ในระหว่างการศึกษา ถ้าจะ ลงไปในรายละเอียดของประเภทสินค้า ของเรือประเภทใด จะคืบหน้าอย่างไร ขณะนี้ผลของ การศึกษายังไม่เสร็จสิ้นค่ะ อยู่ในกระบวนการเพิ่งเริ่มต้น แต่ถ้าผลการศึกษาได้เสร็จสิ้น กระบวนการทุกอย่าง ดิฉันก็จะนำมาชี้แจงให้ท่านสมาชิกแล้วก็รายงานความคืบหน้าในทุกมิติ ของการลงทุนแล้วก็การศึกษาค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ในประเด็นคำถามที่ ๓ ขออนุญาตกราบเรียนท่านประธาน ผ่านไปยังท่านสมาชิกนะคะว่า โครงการแลนด์บริดจ์เป็นโครงการ Megaproject ของ ประเทศไทย หน่วยงานนิติบัญญัติคือเป็นฝ่ายผู้ออกกฎหมาย หน่วยงานบริหารก็คือบริหาร งบประมาณที่สภาได้อนุมัติงบประมาณไป จะเห็นว่าโครงการใด ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อพี่น้อง ประชาชน เราจึงมีการเสนอญัตตินี้ต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสมาชิกหลายท่านก็เสนอญัตติ แล้วเราก็นำมาสู่การตั้งกรรมาธิการวิสามัญ การตั้งกรรมาธิการวิสามัญก็ประกอบไปด้วย พรรคการเมืองทุกพรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล องค์กรภาคเอกชน หน่วยงาน บุคคลภายนอก ในขณะที่กรรมาธิการพิจารณาศึกษาถึง ๑๐ ครั้ง เชิญหน่วยงานมาถึง ๕๐ หน่วยงาน ท่านสมาชิกก็แสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แล้วกรรมาธิการวิสามัญก็ลงไปพื้นที่ไปดูว่าที่ศึกษากันในวิชาการในห้องแอร์ชาวบ้านได้รับ ผลกระทบจริงไหม นอกจากนั้นยังเชิญผู้ได้รับผลกระทบเดินทางมาจากระนอง ชุมพร หลังสวน เพื่อมาให้ความเห็น นี่คืออำนาจนิติบัญญัติ แล้วเมื่อสรุปในชั้นของกรรมาธิการ วิสามัญเสร็จแล้วก็นำมาให้สภาพิจารณาว่าจะรับผลของการศึกษากรรมาธิการนี้หรือไม่ ตอนนั้นท่านสมาชิกก็สามารถให้ความเห็นที่หลากหลายได้นะคะ ซึ่งยังไม่ได้เสร็จสิ้น ถ้าสมาชิกส่วนใหญ่เห็นชอบส่งเรื่องนี้ไปยังรัฐบาล รัฐบาลก็จะมาดูว่าร่างดังกล่าวมีเนื้อหา สาระที่สามารถที่จะไปทำโครงการเหล่านี้หรือไม่ ถ้ารัฐบาลตั้งโครงการดังกล่าวเริ่มขึ้น รัฐบาลก็กลับมาขอเงินจากสภาแห่งนี้เช่นเดียวกันค่ะท่านสมาชิกบอกไม่เห็นด้วยท่านก็กด ไม่เห็นด้วย แต่ท่านสมาชิกว่าเห็นด้วยท่านก็กดเห็นด้วย นี่คืออำนาจนิติบัญญัติและ อำนาจบริหาร สิ่งที่ท่านสมาชิกท่านสุรเชษฐ์ได้พูดถึงดิฉันคิดว่านี่คือความสวยงามของ ระบอบประชาธิปไตยที่สมาชิกทุกคนได้มีความห่วงใยต่อประเทศชาติ ที่แสดงความคิดเห็น อย่างหลากหลาย เพราะว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ล้วนมาจากเงินภาษีอากรของประชาชน คนไทย ในประเด็นที่บอกว่ามีการตั้งตัวเลขที่สูงเกินจริง ถ้าร่างดังกล่าวเข้าสู่สภาท่านก็ สามารถอภิปรายแล้วก็ตัดงบได้เลยค่ะว่ามันตั้งสูงเกินกว่าความเป็นจริง ส่วนเรื่องของ โครงการ PPP ๑.๔ ล้านล้านบาทนั้น ดิฉันจะรับข้อเสนอดังกล่าวของท่านสมาชิก แล้วก็ ไปประสานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงคมนาคมที่กำลังทำ EIA อยู่ขณะนี้นะคะ
นอกจากนั้นประเด็นของขั้นตอนต่าง ๆ ดิฉันขอได้เพิ่มเติมประเด็นว่าขั้นตอน ต่าง ๆ ที่จะครบกระบวนการของการศึกษาขณะนี้จะมีส่วนงานอยู่ทั้งหมด ๑๐ ส่วน ขออนุญาตในเวลาที่เหลือนะคะ เพื่อท่านจะได้ไม่เป็นกังวลว่าเราจะมีการหมกเม็ดของ ความคิดเห็นในโครงการหรือเปล่า ในงานส่วนที่ ๑ จะเป็นงานเรื่องของการพัฒนาระบบ Logistics ขณะนี้ได้รายงานการศึกษาก็คือกรรมาธิการวิสามัญที่พิจารณาไป ในงานเรื่องของ ยุทธศาสตร์ระบบ Logistics ในการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้า ขณะนี้อยู่ในสถานะที่กำลัง ศึกษาอยู่ นอกจากนั้นในส่วนงานที่ ๓ เป็นการคัดเลือกทำเลที่ตั้งโครงการที่ท่าเรือที่เชื่อมโยง กับการขนส่ง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ดำเนินการเสร็จแล้ว คือโครงการแลนด์บริดจ์จะประกอบ ไปด้วย ๔ จังหวัด ก็คือจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัด สุราษฎร์ธานี ในส่วนของจังหวัดที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนส่วนนี้ดำเนินการเสร็จแล้วนะคะ
ต่อมาเรื่องของแนวคิดของการออกแบบและศึกษาความเหมาะสมทางด้าน เศรษฐกิจ การเงิน วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระหว่างของการศึกษา ขณะนี้ศึกษาไปได้ ประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ในส่วนงานที่ ๕ เป็นการวิเคราะห์รูปแบบของการลงทุนหรือว่า Business Development Model ก็อยู่ในระหว่างการศึกษา ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ แต่อย่างใด ซึ่งประเด็นที่ท่านสมาชิกได้กล่าวสักครู่ดิฉันจะนำข้อมูลดังกล่าวเข้าไปในกรณีของ Business Model ด้วยนะคะ นอกจากนั้นส่วนที่ ๖ เรื่องของการออกแบบรายละเอียด เบื้องต้นของท่าเรือก็อยู่ในระหว่างการศึกษา เสร็จประมาณร้อยละ ๘๔ ในงานส่วนที่ ๗ เรื่องของสถานะ ประเมินผลสิ่งแวดล้อมก็กำลังทำอยู่ค่ะ ไม่ว่าจะลงไปถามความเห็น เรื่องของประมงพื้นบ้าน เรื่องของเจ้าของสวนมังคุด สวนทุเรียน ที่อำเภอพระโต๊ะ ที่พี่น้อง ประชาชนยังมีความกังวลอยู่ นอกจากนั้นในเรื่องของโครงการ PPP ของท่าเรือก็อยู่ใน สถานะที่ดำเนินการอยู่เช่นเดียวกัน ในงานส่วนที่ ๙ เป็นการสร้างกระบวนการความเข้าใจ การสร้างการเรียนรู้ใน ๔ จังหวัด ซึ่งขณะนี้เองเพิ่งลงไปแค่จังหวัดชุมพรแล้วก็ระนอง สุราษฎร์ธานีที่หลังสวน นครศรีธรรมราชยังไปไม่ถึงเลยค่ะ สุราษฎร์ธานียังไปไม่ถึงเลยค่ะ ในงานส่วนที่ ๑๐ เป็นแผนการขับเคลื่อนแล้วก็เป็นรายงานของการร่วมทุน ทั้งหมดนี้คือ กระบวนการแต่ละส่วนที่ดิฉันขอใช้เวลาสภาแห่งนี้ได้นำเรียนต่อท่านสมาชิกนะคะ
และท้ายที่สุดทุกประเด็นของความห่วงใยของท่านสุรเชษฐ์ ดิฉันขอน้อมรับ แล้วก็นำประเด็นต่าง ๆ ที่ท่านมีความห่วงใยไปใส่ไว้ในกรณีของการศึกษาทุก ๆ มิติ ขอบพระคุณทุกคำถาม ทั้งซีกของฝ่ายค้านและซีกของรัฐบาลที่ให้ความสนใจในเรื่องของ โครงการแลนด์บริดจ์ค่ะ ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจาก ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากวันนี้ท่านได้เดินทางไปร่วมประชุมที่ประเทศญี่ปุ่นร่วมกับท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน ก็ได้มอบหมายให้ดิฉันมาตอบกระทู้ของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ท่านประธานที่เคารพคะ จากคำถามของท่านสมาชิกได้ถามคำถามแรกนะคะว่า ขณะนี้ ทางกระทรวงได้รับหนังสือเรื่องของที่ทาง อบต. ได้ส่งมาให้เรียบร้อยแล้วนะคะ ดิฉันจะได้ อธิบายความของขั้นตอนในโอกาสต่อไป ในขณะนี้ดิฉันขอกราบเรียนท่านประธานค่ะว่า กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบทได้สำรวจว่าบริเวณที่จะก่อสร้างสะพานดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ที่ท่านสมาชิกได้นำเรียนว่าใกล้ ๆ กับ จวนผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วก็มีพี่น้องประชาชนที่ใช้เส้นทางสัญจรไปมา ๓ หมู่บ้านมีจำนวน ประชากรทั้งสิ้น ๕,๗๓๒ คน ประกอบไปด้วยบ้านเกาะกลาง บ้านคลองประสงค์ แล้วก็ บ้านคลองกำ กรมทางหลวงชนบทได้สำรวจแล้ว พบว่าพี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน ตามที่ท่านสมาชิกได้ตั้งกระทู้สอบถามในวันนี้ แล้วดิฉันต้องถือโอกาสขอบพระคุณ เป็นอย่างสูงที่ท่านสมาชิกได้เข้าใจปัญหา แล้วก็นำปัญหาเหล่านี้มาตั้งเป็นกระทู้ถามถึง ภารกิจของกระทรวงคมนาคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้แน่นอนค่ะ เมื่อเราได้รับทราบปัญหาได้รับ หนังสือจากองค์การบริหารส่วนตำบลเราก็รีบบรรจุเรื่องราวดังกล่าว ดิฉันขออธิบายความต่อค่ะ
รูปแรกก็คือ รูปที่เห็นคือปัจจุบันที่ขึ้นอยู่ในขณะนี้ พื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ประกอบไปด้วยพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราไปถึงที่หมู่เกาะพีพี ในพื้นที่ที่ ๒ พื้นที่ ดังกล่าวนี้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งมีความสำคัญระหว่างประเทศ เขาเรียกว่าปากแม่น้ำกระบี่ ที่ในภาพนะคะ และส่วนที่ ๓ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองกระบี่ใหญ่และป่าคลองเหนือ และพื้นที่ป่าชายเลนตามมติ ครม. เมื่อปี ๒๕๔๓ พบว่าการดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวจะต้อง ปฏิบัติตามระเบียบของกฎหมายและมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง โดยขั้นตอนแรกจะต้องทำ รายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามระเบียบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เรื่องของการกำหนดกิจการโครงการหรือการดำเนินงานในการที่จะมีเงื่อนไข ที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนังสือฉบับลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ปี ๒๕๖๑ อีกทั้ง คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ปี ๒๕๓๔ ได้มีการระงับใช้พื้นที่ป่าชายเลนแห่งนี้ โดยเด็ดขาด พร้อมทั้งระงับการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนของ ทางราชการ ในกรณีนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้พื้นที่ป่าชายเลนนี้ในการก่อสร้าง สะพานดังกล่าว และจะต้องใช้มติของ ครม. ผ่อนผันพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว แต่ในประเด็นนี้ ท่านสมาชิกไม่ต้องกังวลใจนะคะ ทางกระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดให้ใช้มติของ ครม. ผ่อนผัน การใช้พื้นที่ในการก่อสร้างสะพานดังกล่าวอย่างเร็วที่สุดค่ะ นอกจากนั้นกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นี่คือขั้นตอนก่อนที่จะ ดำเนินการ ส่วนรายละเอียดที่ท่านสมาชิกถามก็จะนำเรียนว่าเราได้จัดสรรงบประมาณ ซึ่งท่านสมาชิกได้ถามในคำถามที่ ๒ ดิฉันขอเปรียบเทียบว่าท่านสมาชิกบอกว่าค่าใช้จ่าย การก่อสร้างสะพานแห่งนี้อาจจะสูง แต่จากภาพที่เราเห็นจากสิ่งที่ท่านสมาชิกได้นำเรียนต่อ ท่านประธานดิฉันเชื่อมั่นว่าถึงค่าใช้จ่ายจะสูงเพียงใด แต่ปัญหาความยากลำบากของ พี่น้องประชาชนคงประเมินค่าไม่ได้ กระทรวงคมนาคมก็จะไม่ละเลยในการที่จะดำเนินการ ก่อสร้างสะพานแห่งนี้ ดิฉันขออนุญาตตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกก่อนค่ะ ขอบคุณค่ะ
ท่านประธานคะ เนื่องจากคำถามของท่านสมาชิกดิฉันเข้าใจว่าจากกระดาษคำถามท่านสมาชิกมีคำถามที่ ๒ จริง ๆ ดิฉันควรจะตอบคำถามของท่าน แต่ว่าพอดิฉันเห็น Paper ที่คำถามปรากฏว่า ท่านมี ๒ คำถาม แต่ไม่เป็นอะไรนะคะ ดิฉันขออนุญาตทวนคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิก ท่านสมาชิกถามว่า หากในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ยังไม่สามารถ ดำเนินการได้ กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดให้มีการวางแผนและจัดเตรียมงบประมาณ เพื่อศึกษาการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะดังกล่าวในปีงบประมาณใด ขอทราบรายละเอียด จากที่ท่านสมาชิกได้นำเรียนต่อท่านประธานสักครู่นะคะ ดิฉันก็ขออนุญาตขอบพระคุณ ท่านสมาชิกอีกครั้งหนึ่งนะคะว่า จริง ๆ ภารกิจทุกภารกิจที่เป็นปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชน ทุกกระทรวงก็ได้ทุ่มเททำงาน การ Win Win นั่นก็คือ Win Win ที่ท่านสมาชิกได้หยิบคำถาม หยิบความห่วงใยของพี่น้องประชาชน หยิบความเดือดร้อน ขึ้นมาสู่การตั้งกระทู้ในวันนี้นะคะ
ส่วนคำตอบข้อที่ ๒ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบต่อทรัพยากร ในพื้นที่ กรมทางหลวงชนบทจึงได้ทำเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๗ เพื่อดำเนินการจ้างที่ปรึกษาทำรายงานประเมินผลสิ่งแวดล้อมสะพานเชื่อมเกาะกลาง และถนนต่อเชื่อมอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๐ ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ ๒ ล้านบาท และงบผูกพันปี ๒๕๖๘ เป็นเงิน ๘ ล้านบาท ทำไมแบ่งงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ เพียงแค่ ๒ ล้านบาท ท่านประธานที่เคารพคะ เนื่องจากกรอบของการพิจารณา งบประมาณปี ๒๕๖๗ เรามีความล่าช้าไปประมาณ ๕-๖ เดือน ทำให้กรอบระยะเวลาของ การใช้เงินงบประมาณเพียงแค่ ๕ เดือน งบประมาณกว่าจะเข้าสู่สภาก็คือประมาณต้นปี กว่าจะพิจารณางบประมาณเสร็จวาระรับหลักการ วาระที่ ๒ แล้วก็วาระที่ ๓ ประกาศใช้ ก็ประมาณเดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคม เดือนกันยายน แล้วก็ไปกรอบงบประมาณใหม่ ท่านสมาชิกจะเห็น Timeline ที่เรา ได้ขึ้นภาพในจอนะคะว่า นี่คือแผนงานของการดำเนินงานเราจึงตั้งงบประมาณเพียงแค่ ๒ ล้านบาท แล้วไปทำงบผูกพันในปี ๒๕๖๘ ถึง ๘ ล้านบาทค่ะ ท่านประธานที่เคารพคะ การศึกษาการทำรายงานประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือ EIA จะต้องใช้ระยะเวลา ดำเนินงาน ๑๘ เดือน ซึ่งหากได้รับการจัดสรรตามที่เสนอกรมทางหลวงชนบทก็จะดำเนินการ จัดทำรายงาน EIA เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการจัดสรรตามที่เสนอ แล้วก็นำไปเสนอต่อ คณะกรรมการผู้ชำนาญการ พิจารณารายงานประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือว่า คชก. และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วก็ขอผ่อนผัน ยกเว้นมติ ครม. เพื่อขอใช้พื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว เมื่อมติ ครม. เห็นชอบ กรมทางหลวง ก็จะเสนอขอรับงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างสำรวจออกแบบ แล้วก็ขออนุญาต ใช้พื้นที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ท่านประธานที่เคารพคะ กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบทได้มีความห่วงใย และมีความต้องการที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของ คนไทยดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนที่ไหน จังหวัดใดที่เป็นคนไทย เราจึงมีการพัฒนาโครงข่ายของ ทางหลวงชนบทเข้าสู่พื้นที่ทั่ว ๆ ไปอย่างทั่วถึง ไม่เฉพาะพื้นที่ของพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่งหรือว่าภาคใดภาคหนึ่งนะคะ แต่การกระจายความเจริญเหล่านี้ ไปสู่พี่น้องชนบทและถนนดังกล่าวก็จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเราจะยกระดับ การเดินทางของพี่น้องประชาชนให้มีความรวดเร็ว สะดวกและปลอดภัย เพราะถนนดังกล่าว จะเชื่อมโยงทุกสายไปสู่ความเจริญ ถนนทุกสายไปสู่พี่น้องประชาชนทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล และเชื่อมั่นว่ากรมทางหลวงชนบทเชื่อมใจคนทั้งชาติ แล้วก็ยั่งยืนตลอดไปค่ะ ขอบพระคุณ ท่านประธาน ขอบพระคุณท่านสมาชิกนะคะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากวันนี้ท่านติดภารกิจในการเดินทางไปประชุมที่ประเทศญี่ปุ่นร่วมกับท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จึงไม่ได้มาตอบกระทู้ในวันนี้ค่ะ ต้องถือโอกาสขอบพระคุณท่านสมาชิก ที่ได้ตั้งคำถามดังกล่าวขึ้นมา จากคำถามของท่านสมาชิกนะคะ
คำถามแรก ท่านบอกว่าโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ปัจจุบันมีความคืบหน้าในการดำเนินการอยู่ในขั้นตอนใด และมีระยะเวลาดำเนินงาน แล้วเสร็จในแต่ละช่วงจนสิ้นสุดโครงการเมื่อใด ขอทราบรายละเอียดค่ะ ท่านประธาน ที่เคารพคะ ดิฉันมีคำอธิบายพร้อมทั้งสไลด์ประกอบค่ะ
ขึ้นสไลด์ที่ ๓ นี่คือภาพของผังโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายฉลองรัช–นครนายก-สระบุรี เห็นท่านสมาชิก ได้นำเรียนต่อท่านประธานว่าท่านมีความสนใจเรื่องดังกล่าว ต้องขอบคุณแทนพี่น้องประชาชน ที่พี่น้องประชาชนได้ตัดสินใจเลือกท่านมาเป็นผู้แทน นั่นก็คือสิ่งหนึ่งที่ผู้แทนราษฎรนั้นสนใจ ความเป็นอยู่ความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชนค่ะ วันนี้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม ทางด้าน เศรษฐกิจ ทางด้านการเงิน แล้วก็ผลกระทบของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการออกแบบ รายละเอียดโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช–นครนายก-สระบุรี โดยมีระยะทางทั้งสิ้น ๑๐๓.๒๓ กิโลเมตร และแบ่งการทำงานออกเป็น ๔ ระยะ ดังนี้ ท่านจะเห็นว่าแต่ละสีก็คือ ระยะที่ ๑ จะเป็นช่วงของจตุโชติ-ถนนลำลูกกา เชื่อมต่อกับทางพิเศษฉลองรัชบริเวณทางลง จตุโชติยาวไปจนถึงทางทิศตะวันออกผ่านถนนหทัยราษฎร์ และถนนนิมิตใหม่เชื่อมต่อกับ ถนนลำลูกกา มาดูอีกสีหนึ่งระยะที่ ๒ ช่วงถนนลำลูกกาไปถึงองครักษ์โดยมีทางขึ้นลง เชื่อมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตองครักษ์ อีกหนึ่งสีที่เป็นท่อน ๆ ระยะที่ ๓ เป็นช่วงขององครักษ์ไปจนถึงถนนสุวรรณศร ผ่านสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ อำเภอบ้านนา โดยมีทางเชื่อมต่อถนนสุวรรณศรเพื่อเดินทางไปยังจังหวัดนครนายกและจังหวัดปราจีนบุรีค่ะ ช่วงสุดท้ายคือช่วงที่ ๔ จะเป็นช่วงถนนสุวรรณศรไปจนถึงถนนมิตรภาพ จังหวัดสระบุรี โดยมีทางเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข ๖ หรือ M6 บางปะอิน-โคราช ถนนทุกสายจะสามารถเชื่อมต่อกันทั้งระยะที่ ๑ ระยะที่ ๒ แล้วก็ระยะที่ ๓ จนกระทั่ง ระยะที่ ๔ ที่เชื่อมต่อกับ M6 นะคะ ขณะนี้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมได้มีมติเห็นชอบ รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๒ เมื่อปี ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม เมื่อปี ๒๕๖๔ ค่ะท่านประธาน ต่อมากระทรวงคมนาคมได้มอบหมายนโยบายดังกล่าวให้กรมทางหลวงและการทางพิเศษ แห่งประเทศไทยบูรณาการโครงการเหล่านี้ด้วยกัน โดยโครงการพิเศษสายดังกล่าวกับ โครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองก็คือ MR-MAP ประกอบกับปัจจุบัน การเดินทางขนส่งสินค้า ระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียงมีปริมาณ เพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก และทำให้การขยายตัวของพี่น้องประชาชนที่ขยายบ้านเรือน ออกไปเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองรองได้เติบโตขึ้นมา อย่างรวดเร็ว จึงก่อให้เกิดการขยายตัวทางพื้นที่อาศัยการคมนาคมขนส่งและพื้นที่ อุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดรอบนอกของกรุงเทพมหานคร การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจึงได้เสนอ ครม. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติดำเนินการ โครงการพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงที่ ๑ ระยะที่ ๑ ก็คือช่วงจตุโชติ-ลำลูกกา ต่อมาได้มีการปรับชื่อโครงการใหม่ เป็นชื่อโครงการพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยายช่วง จตุโชติ-ถนนลำลูกกา ตามความเห็นชอบของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติค่ะ ต่อมาสไลด์ที่ ๕ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีการประชุมปรึกษาหารือกัน เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ แล้ว จึงได้มีการลงมติอนุมัติให้ดำเนินการโครงการทางพิเศษฉลองรัช ส่วนต่อขยายช่วงจตุโชติไปถนนลำลูกกาตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ที่ดิฉันขึ้น Chart ให้เห็น เพราะท่านสมาชิกจะได้เข้าใจว่าขั้นตอนแต่ละช่วงแต่ละ Timeline นั้น กระทรวง คมนาคมได้ทำอะไรบ้าง รัฐบาลนี้ทำอะไรบ้าง ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อจากรัฐบาลที่แล้วจนกระทั่ง มาถึงรัฐบาลนี้ ทุกรัฐบาลก็มีความจริงใจที่จะพยายามเร่งรัดให้มีการก่อสร้างถนนสาย ดังกล่าว ปัจจุบันการทางพิเศษอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนด แนวทางเวนคืนที่ดินของโครงการดังกล่าว แล้วขณะนี้อยู่ในระหว่างของการจัดหาผู้รับจ้าง งานก่อสร้างควบคู่กันไปและผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้าง นี่คือประเด็นที่ท่านสมาชิก ได้ถามว่าจริง ๆ โครงการดังกล่าวจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ประมาณเดือนพฤศจิกายน ปี ๒๕๖๗ ก็คือประมาณปีหน้าถ้าเราเสร็จตามขั้นตอนดังกล่าวทั้งหมดค่ะ ดิฉันขออนุญาต ตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ตอบคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิกนะคะ กราบเรียนอย่างนี้ค่ะ ท่านประธาน ทุกโครงการไม่ว่าจะเป็นโครงการขนาดใหญ่หรือโครงการขนาดเล็กมีข้อจำกัด ก็คือ ๑. สภาพความพร้อมของพื้นที่ ๒. สภาพของการเวนคืน ๓. เรื่องของงบประมาณ จริง ๆ โครงการขนาดนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่มาก แล้วการทำโครงข่ายของแต่ละรัฐบาล เราก็จะเห็นว่าข้อจำกัดเหล่านี้ทุก ๆ เงื่อนไขของการทำ EIA จะเป็นเงื่อนไขที่เราเองก็ตระหนัก ว่ามันทำให้เกิดความล่าช้า ขณะเดียวกันเราต้องยอมรับว่าการมีโครงการขนาดใหญ่ในจังหวัด ที่รอบกรุงเทพมหานคร ขณะนี้พี่น้องประชาชนมีความกังวลเรื่องของการเวนคืนที่ดิน เพราะบางครั้งราคาของการประมูล ราคาของการซื้อขายที่ดิน การเวนคืนราคาสภาพที่ดิน สูงมาก ทำให้รัฐบาลเองก็รับทราบปัญหาเหล่านี้ การเวนคืนที่ดินในจังหวัดที่รอบ ๆ กรุงเทพมหานครจึงเป็นปัญหาที่ทางรัฐบาลเอง ทางกระทรวงเอง ก็ไม่ได้ละเลยอย่างน้อย ความเป็นธรรมที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินค่าเวนคืนมีจำนวนมาก แต่ขณะที่การลงทุนมูลค่าที่ดิน เกิดมีราคาสูงขึ้นทุกวัน แต่กว่าเราจะลงทุนภายในกรอบระยะเวลา ๑๐ ปี อย่างที่ท่านสมาชิก บอกทำไมล่าช้าเกิดจาก ๑. ปัญหาที่นำเรียน ๒. ข้อจำกัดของงบประมาณในประเทศไทย เราเอง มีโครงการใหญ่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ใช่เพียงเฉพาะโครงการของ กระทรวงคมนาคม ในรอบของรัฐบาลที่ผ่านมามีปัญหาทั้งเกิดสถานการณ์โควิดมีปัญหา พี่น้องประชาชนอยู่อย่างลำบาก มีปัญหาทั้งเรื่องของสังคม ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ ในมิติของโครงสร้างพื้นฐานเราเองก็ไม่ละเลย เพราะฉะนั้นถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ แบบนี้ใจของท่านสมาชิกเองอาจจะบอกว่าทำไมสร้างยังไม่เสร็จนะคะ อยากจะ ให้สร้างเร็ว ๆ ซึ่งถ้าเรามามองขั้นตอน Timeline ที่ดิฉันโชว์ให้นี้ ดิฉันเชื่อว่าโครงการนี้ ไม่ช้าเลยเมื่อเทียบกับโครงการอื่น ๆ แต่ขณะนี้ก็มาจนถึงขั้นตอนที่เตรียมการศึกษา EIA แล้ว พิจารณาเรื่องของการเวนคืนที่ดินแล้ว เตรียมการที่จะก่อสร้างแล้ว ดิฉันเชื่อมั่นว่าถ้าลงมือ ดำเนินการก่อสร้างภายในปีหน้า ก็จะเป็นผลงานอีกผลงานหนึ่งที่ท่านสมาชิกได้นำเอาปัญหา ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวได้มาตั้งกระทู้ถามในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงท่านสมาชิก ได้สนใจความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนค่ะ ซึ่งปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ภายใต้สังกัดของกระทรวงคมนาคมก็ยังคงดำเนินงานในโครงการดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหา จราจร ขยายโครงข่ายทางพิเศษไปยังภูมิภาคอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง แล้วก็เชื่อมต่อการเดินทาง และการขนส่งแบบไร้รอยต่อ ไม่ว่าการขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ การขนส่งทั้งทางราง การขนส่งแบบไร้รอยต่อทุก ๆ มิติ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาแล้วก็เร่งรัดที่จะดำเนินงาน ให้เชื่อมต่ออย่างที่ท่านสมาชิกเห็น ไม่ว่าการไปเชื่อมต่อของทางรถไฟ ไม่ว่าการเชื่อมต่อของ M6 บางปะอิน-โคราชดังกล่าว นี่คือการเสริมสร้างศักยภาพแล้วก็ให้พี่น้องประชาชนสัญจรไปมา ด้วยความสะดวกและปลอดภัย ขอบคุณคำถามของท่านสมาชิกนะคะ ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมค่ะ เนื่องจากวันนี้ท่านสุริยะติดประชุมนะคะ เดินทางไปกับท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ในการเดินทางไปร่วมประชุมที่ประเทศญี่ปุ่น จึงได้มอบหมายให้ดิฉันมาตอบกระทู้ของ ท่านสมาชิกในวันนี้ค่ะ
ต้องขอขอบคุณท่านสมาชิกนะคะ จากกระทู้ถามเรื่องของการก่อสร้าง ท่าอากาศยานสารสินธุ์นะคะ เนื่องจากโครงการดังกล่าวได้ริเริ่ม ได้มีการคิดโครงการนี้ มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดิฉันขอยกตัวอย่างให้ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่ว่าจะเป็นท่านประเสริฐ บุญเรือง ท่านคุณป้ารื่น สมาชิกหลายท่าน ที่เป็นอดีต สส. ได้นำเรื่องโครงการดังกล่าวนี้นำเสนอต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในคราวนั้น แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด วันนี้ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติเพิ่งได้รับเลือกตั้งจาก พี่น้องประชาชนชาวกาฬสินธุ์ ดิฉันขอชื่นชมนะคะ ท่านได้หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาตั้งเป็นกระทู้ถาม แล้วท่านมีความใส่ใจต่อความเจริญของพื้นที่ แล้วดิฉันเชื่อมั่นว่าในสมัยของรัฐบาล ท่านเศรษฐา ทวีสิน เราจะมีการริเริ่มโครงการแล้วก็ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ดังกล่าวเอากลับขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นความหวังของคนจังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วก็ความหวัง ของพี่น้องชาวอีสานค่ะ
คำถามนะคะ เนื่องจากกระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนงาน แล้วก็ทำการ ขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภาพรวมของประเทศมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ในรูปแบบของการขนส่งทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ แล้วก็ทางอากาศ ทั้งหน่วยงานที่เป็น ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดของกระทรวงคมนาคม จากคำถามของ ท่านสมาชิกเรื่องของความคืบหน้าของโครงการ การสร้างท่าอากาศยานสารสินธุ์ ใช้คำว่า สารสินธุ์ เพราะตอนนั้นได้มีการตั้งว่าถ้าจะมีโครงการการท่าอากาศยานขึ้นมาน่าจะมีชื่อ ที่ไม่ใช่ว่าสนามบินกาฬสินธุ์นะคะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านก็หยิบประเด็นนี้ หยิบชื่อนี้ขึ้นมา เป็นชื่อที่มีความงดงามแล้วก็มีความสำคัญ แล้วก็สื่อสารถึงคำว่า จังหวัด สารสินธุ์ นะคะ จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ แล้วก็มีศักยภาพในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานที่กระทรวงคมนาคมนะคะ
นี่คือแผนที่ ของความจำเป็นพื้นฐานที่จะต้องมีสนามบินค่ะ ได้มีการศึกษาเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ของกาฬสินธุ์มาอย่างต่อเนื่องนะคะ จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้าง สนามบิน พบว่าตั้งอยู่บริเวณ ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งใช้พื้นที่ ๑,๖๐๕ ไร่ ห่างจากสนามบินจังหวัดขอนแก่น ๘๘ กิโลเมตร และห่างจากท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ๖๓ กิโลเมตร สไลด์ต่อไปค่ะ
สำหรับความก้าวหน้าในการดำเนินการในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อกรมท่าอากาศยานดำเนินการตามความเห็น เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะนำเสนอกระทรวงเพื่อให้ความเห็นชอบและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติดำเนินการโครงการนี้ต่อไปนะคะ ซึ่งแต่ละช่วงเวลานี้ถ้ามีความคืบหน้าอย่างไร ดิฉันจะนำมาแจ้งให้กับท่านสมาชิกในโอกาสต่อไปค่ะ
ขั้นตอนต่อไปเมื่อมติของคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว กระทรวง คมนาคมก็จะได้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการพัฒนา เช่น ระยะเวลาที่ ๑ จะอยู่ในช่วง ระยะเวลา ๑๐ ปี โดยมีวงเงินก่อสร้าง ๒,๓๔๖ ล้านบาท นี่คือคำถามแรกที่ท่านสมาชิก ได้ถามนะคะ ก็แสดงให้เห็นถึงว่าเราเองก็ไม่ละเลย ขณะนี้ได้มีแผนงานแล้วก็วงเงิน ที่จะเตรียมการก่อสร้างสนามบินดังกล่าวในวงเงิน ๒,๓๔๖ ล้านบาท ดิฉันขออนุญาต ตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
จังหวัด มหาสารคามไม่มีสนามบินค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขออนุญาตท่านประธานค่ะ เนื่องจากเวลาท่านสมาชิกต้องลุกขึ้นถามกระทู้ ท่านสมาชิก ต้องยึดถือกระทู้ที่ท่านเขียนลงไปในกระดาษและส่งให้ถึงท่านประธาน ถึงท่านจะมีคำถาม อย่างไร แต่ท่านต้องอ่านตามคำถามที่ท่านเขียนลงไปในกระดาษ เพื่อจะเป็นบรรทัดฐาน แนวทางของการปฏิบัติตัวในฐานะผู้ตั้งกระทู้ และจะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับสมาชิกท่านอื่น ๆ
คำถามที่ ๒ ท่านสมาชิกได้ถามว่าจากการศึกษาผลกระทบ ถามคำถามที่ ๒ นะคะ เชิญค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ในคำถามที่ ๒ ดิฉันขออนุญาตตอบคำถามที่ ๒ ของ ท่านสมาชิกนะคะว่าจากการศึกษาความเป็นไปได้ พบว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุนการก่อสร้าง ท่าอากาศยานสารสินธุ์ในทุกมิติ ทั้งมิติของทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทางด้านสังคมและ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ดิฉันขอขยายความแต่ละมิติดังนี้นะคะ
มิติของทางด้านสังคม ก็ต้องบอกว่าเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงของ คนทุกกลุ่มในเรื่องของเส้นทางที่เดินทางอากาศ
ส่วนทางด้านของมิติทางเศรษฐศาสตร์ จังหวัดกาฬสินธุ์มีความเหมาะสมและ มีความคุ้มค่าของการลงทุน และเป็นโครงการที่ได้มาตรฐานตามมาตรฐานของการท่าอากาศยาน กำหนดไว้นะคะ
ส่วนมิติของทางสิ่งแวดล้อมนะคะ ต้องบอกว่าสามารถกำหนดมาตรการ การพัฒนาโครงการให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานของทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำนักนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สผ. กำหนดนะคะ นอกจากการลงทุนในความ คุ้มค่าของ ๓ มิติแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาโครงการดังกล่าวจะสอดคล้องกับนโยบาย ของรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ที่แถลงนโยบายนี้ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๖ โดยรัฐบาลเน้นย้ำว่าจะมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ของประเทศทั้งทางบก ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางและ การขนส่งของประชาชน อำนวยความสะดวกให้ประชาชน เปิดประตูการค้าขายและ เปิดโอกาสให้ประเทศไทยมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการผลักดันการสร้างรายได้จาก การท่องเที่ยว โดยจะมีการปรับปรุงสนามบินและจัดการเที่ยวบินของสนามบินทั่วประเทศ ให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มจำนวนเที่ยวบินให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสู่ประเทศไทยมากขึ้น ตลอดจนทำการพัฒนาพื้นที่ทั้งชั้นในและพื้นที่ชั้นนอก โดยเฉพาะจังหวัดรองให้สนองตอบ ความต้องการของพี่น้องประชาชน เป็นการกระจายความเจริญและกระจายกิจกรรม ทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคให้มากที่สุดค่ะ นี่คือคำตอบที่ ๒ ค่ะท่านประธาน
ท่านประธานคะ เดี๋ยวดิฉันขออนุญาตตอบเพื่อให้ครบประเด็นที่ท่านสมาชิกถาม
เดี๋ยวสักครู่ ท่านสมาชิกที่ถูกพาดพิงนะคะ
ท่านประธานคะ จากคำถามของท่านสมาชิกนะคะ ท่านมีคำถามเว้นไว้ช่วงสุดท้ายของคำถามที่ ๒ ซึ่งดิฉันเกรงว่าถ้าตอบรวบ เกรงว่าท่านจะไม่แยกประเด็น ดิฉันก็เลยเว้นไว้ว่าท่านมีคำถามที่ ๓ ในกระดาษคำถามนะคะ ท่านถามว่าหลังจากรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของ ประชาชนแล้ว กระทรวงคมนาคมมีข้อสรุปและรายละเอียดอย่างไร ดิฉันขอตอบว่าจาก ผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนในครั้งที่ ๒ เขาเรียกว่า ปัจฉิมนิเทศ ของโครงการ ณ บริเวณพื้นที่ ตำบลอุ่มเม่า ตำบลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ประชุม ในขณะนั้นมีความเห็นว่าเหมาะสมในการก่อสร้างท่าอากาศยานกาฬสินธุ์นะคะ โดยมีความเห็นร้อยละ ๘๒ ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยเพียงแค่ร้อยละ ๗ ประเด็นของการ ไม่เห็นด้วยเกิดจากประเด็นของการเวนคืนที่ดิน แล้วก็ไม่แน่ใจอีกร้อยละ ๑๑ จากผู้เข้าร่วม ประชุม แล้วก็ผู้มีส่วนได้เสียที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดค่ะ การพัฒนาการท่าอากาศยานสารสินธุ์ ดังที่ท่านสมาชิกได้เพิ่มเติมประเด็นที่บอกว่ากาฬสินธุ์ย่อมาจากส่วนหนึ่ง คือมหาสารคามกับ กาฬสินธุ์นะคะ ซึ่งเป็นความงดงามของชื่อแล้วก็การผนึกกำลังของการมีส่วนร่วมของพี่น้อง ประชาชนทั้ง ๒ จังหวัด จะเห็นว่าท่าอากาศยานสารสินธุ์ของภาครัฐของกระทรวงคมนาคม มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้เกิดการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางท่าอากาศยาน แล้วก็เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้การเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แหล่งโบราณคดี แหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน ตามคำขวัญของจังหวัด รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวยุคก่อนประวัติศาสตร์ แล้วเมืองกาฬสินธุ์เป็นเมืองงดงามของทั้งภูมิศาสตร์ และงดงามทั้งผู้คนที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิม แล้วก็เป็นวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนานของพี่น้องคนอีสานนะคะ กระทรวงคมนาคม ก็ได้พิจารณาความเห็น แล้วก็ได้เตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน แล้วก็โครงข่าย เพื่อรองรับการเดินทางเรียกว่า Supply ให้มีความพร้อม รวมกระทั่งสอดรับกับความต้องการ ในการเดินทาง หรือเราเรียกว่า Demand โดยบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ดังที่ท่านสมาชิกจากจังหวัดมหาสารคามได้พูดเมื่อสักครู่นี้นะคะ ไม่ว่าจะเป็นงานในสังกัดของกระทรวงคมนาคมนั้น คือเตรียมการในเรื่องของถนน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก วิทยุการบินแห่งประเทศไทย รวมทั้งการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมการท่องเที่ยว สมาคมธุรกิจการบิน และสมาคมโรงแรม นี่คือสิ่งที่ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับพี่น้อง ทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมหาสารคามค่ะ ท่านประธานที่เคารพคะ ดิฉันขอยืนยัน อีกครั้งหนึ่งต่อหน้าท่านสมาชิกนะคะว่า ทางกระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาระบบคมนาคม ในทุกจังหวัดของประเทศไทยให้กับพี่น้องประชาชนทุกจังหวัดค่ะ รวมทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์เอง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่นโยบายนี้ ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ที่ท่านต้องการให้มี การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย ทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นและจังหวัด ในภาคอีสานจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว และจังหวัดกาฬสินธุ์จะไม่ถูกเป็นเมืองรองอีกต่อไป ดิฉันถือโอกาสขอบคุณท่านสมาชิกนะคะ ทั้งท่านสมาชิกที่ยื่นกระทู้นี้ขึ้นมาถาม ทั้งท่านสมาชิก ที่เกี่ยวข้องนะคะ ขอบพระคุณท่านประธานค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติคะ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ให้เสนอต่อที่ประชุม เพื่อขอรับร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ของนายศักดิ์ดา แสนมี่ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๑๒,๘๘๘ คน ซึ่งเป็นผู้เสนอ แล้วก็มี การพิจารณาไปก่อนที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาลงมติในวาระที่ ๑ ตามข้อบังคับ การประชุมของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๑๑๘ นั้นนะคะ เนื่องจาก พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นร่างที่มีหลักการเป็นการให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และเพื่อให้มีกลไกส่งเสริม มีการประสานงานและมีการแก้ไขปัญหาชนเผ่าพื้นเมือง ได้อย่างครอบคลุมทุกด้าน และสนองตอบต่อวิถีทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย โดยหลักการดังกล่าวได้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตของ กลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมกำลังเตรียมเสนอร่าง นอกจากนั้นยังมี ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ. .... ของนายเลาฟั้ง บัณฑิตเทิดสกุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ รวมทั้งร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิและส่งเสริม วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ. .... ของนายสุริยันต์ ทองหนูเอียด กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน ๑๔,๙๕๔ คน เป็นผู้เสนอ ซึ่งมีหลักการทำนองเดียวกัน โดยร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. การเงิน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างท่านนายกรัฐมนตรี พิจารณาให้คำรับรอง ดังนั้นค่ะท่านประธาน เพื่อเป็นความรอบคอบในการพิจารณาและ ศึกษาร่างกฎหมายทุกฉบับให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน และเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน ของคนทุกกลุ่ม มีความถูกต้องในการที่จะตราและบังคับใช้กฎหมาย จึงขอรับ ร่าง พ.ร.บ. ชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ของนายศักดิ์ดา แสนมี่ กับประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน ๑๒,๘๘๘ คน เป็นผู้เสนอ ไปพิจารณาก่อนที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาลงมติในวาระที่ ๑ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ๒๕๖๒ ข้อ ๑๑๘ โดยคณะรัฐมนตรีขอรับไปพิจารณาภายใน ๖๐ วัน จึงขอกราบเรียน ต่อท่านประธานสภาเพื่อพิจารณาและต่อสมาชิกผู้ทรงเกียรติค่ะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ดิฉันมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ตัวแทนของคณะรัฐมนตรี ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม จากคำชม นะคะ แล้วก็มีคำถามของท่านสมาชิกทั้ง ๒ ท่านนะคะ ดิฉันขอตอบประเด็นแรกนะคะ เรื่องของร่าง พ.ร.บ. ชนเผ่าพื้นเมืองที่เข้าสู่การพิจารณาของท่านสมาชิกเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ในตอนหลังมาเราพบว่ามันมีร่างที่เข้าไปสู่ความรับผิดชอบของท่านนายกรัฐมนตรี แต่ว่า ท่านนายกรัฐมนตรียังไม่ได้ลงนาม จริง ๆ ขออนุญาตกราบเรียนต่อท่านสมาชิกอย่างนี้นะคะ ว่าคณะคณะรัฐมนตรีหรือว่ารัฐบาลไม่ได้มีความรู้สึกว่าเกียจคร้าน หรือว่าดองเรื่องใด ๆ นะคะ ในขณะที่ภาระปัญหาของพี่น้องประชาชนที่นำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ ร่าง พ.ร.บ ไม่ว่า พ.ร.บ. ประมง ที่ท่านสมาชิกได้พูดถึงเมื่อสักครู่ ก็อยู่ในระหว่างติดตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระทรวงต่าง ๆ เพราะว่ากฎหมายที่เราพิจารณาผ่านสภาผู้แทนราษฎร ในชั้นของวาระรับหลักการ พิจารณาวาระที่ ๒ จนนำไปสู่การรับหลักการในวาระที่ ๓ กฎหมายทุกฉบับจะมีผลในทางปฏิบัติต่อพี่น้องประชาชนคนไทยทุกกลุ่ม ในร่างของพี่น้อง ประชาชน แล้วก็ในร่างของกระทรวงวัฒนธรรมที่นำเสนอ ขณะนี้ในส่วนของกฤษฎีกา และส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ในระหว่างของการตรวจสอบความถูกต้อง แล้วก็ให้ ครอบคลุมทุกประเด็น ทุกมิติ นอกจากนั้นค่ะ ยังมีร่างบางร่างที่ต้องเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. การเงินนะคะ ซึ่ง พ.ร.บ. การเงินตามระเบียบกฎหมายแล้ว ทางนายกรัฐมนตรีต้องลงนาม รับรองใน พ.ร.บ. การเงินดังกล่าว ส่วนการพิจารณาว่าในกรอบของกฎหมายมาตรา ๑๘๘ นั้นจะต้องมีกรอบของการพิจารณาในวาระ ๖๐ วัน ซึ่งดิฉันเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในฐานะ ตัวแทนของพี่น้องประชาชนเช่นเดียวกันค่ะ ดิฉันจะไปเร่งรัดให้ทางในส่วนนายกรัฐมนตรี แล้วก็ส่วนที่เกี่ยวข้องได้พิจารณากฎหมายนี้อย่างเร็วที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อพี่น้อง ประชาชน นอกจากนั้นกฎหมายอื่น ๆ ดิฉันขอยกตัวอย่างนะคะ เรื่องของ พ.ร.บ. สมรส เท่าเทียม หลังจากที่ได้ส่งไปจากสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีได้รับทราบ เราก็ประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนกระทั่งวันอังคารที่ผ่านมา ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ก็ได้ ส่งร่างดังกล่าวกลับมาสู่ให้สภาพิจารณา ซึ่งทราบว่าจะมีการบรรจุวาระการประชุมนี้ ในวันพรุ่งนี้ นี่คือสิ่งหนึ่งที่กฎหมายใด ๆ ก็ตาม ฝ่ายรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ แล้วก็เร่งรัดให้ เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในทุกฉบับ ก็ขอฝากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านด้วยนะคะ ว่าวันพรุ่งนี้ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะเข้าสู่การพิจารณา ก็ร่วมด้วยช่วยกัน ให้ พ.ร.บ. นี้ ให้มีความเท่าเทียม อย่างที่หลายคนบอกว่าอยากให้คนไทยทุกคนเท่าเทียมกันไม่ว่าหญิง หรือชายค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจาก ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้มา ตอบกระทู้ของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ เนื่องจากวันนี้ท่านสุริยะได้มีการประชุมเรื่องของ ติดตามโครงการในรอบปีงบประมาณ ๒๕๖๘ แล้วก็งบประมาณที่จะเข้าสู่การพิจารณา ของสภางบประมาณของปี ๒๕๖๗ ต้องขอขอบคุณท่านสมาชิก ท่านสมาชิกเป็น สส. สมัยแรก อาทิตย์ที่แล้วท่านก็ได้ถามเรื่องความคืบหน้าของการก่อสร้างสนามบินจังหวัด กาฬสินธุ์ ในอาทิตย์นี้ท่านก็มีคำถามมีกระทู้อีก ๒ กระทู้ ซึ่งดิฉันขอชื่นชมในความใส่ใจของ ท่านสมาชิกทุกปัญหาของพี่น้องประชาชน ท่านสมาชิกไม่เคยละเลยแล้วก็หยิบขึ้นมา ตั้งกระทู้ถามต่อฝ่ายบริหาร ต้องขอถือโอกาสขอบพระคุณท่านสมาชิกท่านประธาน
คำถาม ของท่านสมาชิก ก็ขออนุญาตคำถามว่า ถนนทางหลวงหมายเลข กส. ๒๔๑๖ จุดเริ่มต้น ที่ท่านสมาชิกได้ถามอยู่ที่ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ไปสิ้นสุดที่ เขื่อนลำปาว ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ นั้น เป็นเส้นทางหลักที่พี่น้อง ประชาชนใช้สัญจรไปมาเป็นจำนวนมากเพื่อขนส่งผลผลิตทางการเกษตรและเดินทางสู่ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ คือเขื่อนลำปาว โดยกรมทางหลวงได้จัดลำดับ แผนดังกล่าวเป็นลำดับต้น ๆ นั่นคือเส้นทางดังกล่าวเราเรียกว่าเป็นทางหลวงชั้นที่ ๔ ชั้นที่ ๔ หมายถึงอะไรคะ นั่นคือเป็นทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอสู่อำเภอ ทางหลวง จะมีแต่ละระดับการแบ่งระดับของทางหลวง เช่น อำเภอต่ออำเภอ จังหวัดต่อจังหวัด ในทาง หลวงเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางหลวงชั้นที่ ๔ ก็คือระหว่างอำเภอต่ออำเภอ โดยมี ระยะทางทั้งสิ้น ๒๖๐ กิโลเมตรค่ะ ต่อไปไปดูสไลด์ที่ ๓ จะเห็นไหมคะว่าในเส้นทางดังกล่าว เป็นบริเวณย่านชุมชน ซึ่งมีช่วงต้นทางเรียกว่าอำเภอยางตลาดเป็นทางหลวงที่มีผิวลาดยาง Asphaltic Concrete ขนาด ๔ ช่องจราจรเป็นระยะทางเพียง ๕.๖๕ กิโลเมตร ส่วนที่เหลือ คือตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาดยาวไปจนถึงเขื่อนลำปาว ท่านสมาชิกเห็นไหมคะยังคง เป็นถนน ๒ ช่องจราจรเป็นระยะทาง ๒๐ กิโลเมตร ๓๕ เมตร แล้วก็ผิวจราจรคับแคบมาก ดังที่สมาชิกได้ตั้งกระทู้ถามก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งค่ะ กระทรวงคมนาคมโดย กรมทางหลวงก็ได้รับทราบปัญหานี้เป็นอย่างดีจากที่ท่านสมาชิกได้นำเสนอตอบปัญหาการใช้ รถใช้ถนนของพี่น้องประชาชน ในปี ๒๕๖๗ จากคำถามของท่านสมาชิกในคำถามดังกล่าว เมื่อกรมทางหลวงได้รับทราบปัญหาเราก็นำปัญหาเหล่านี้ไปบรรจุอยู่ในกรอบของ งบประมาณปี ๒๕๖๗ ซึ่งประมาณ วันที่ ๓ วันที่ ๔ วันที่ ๕ นี้ท่านสมาชิกก็จะต้องเข้าไปรับ การพิจารณาร่างงบประมาณในปี ๒๕๖๗ ขอฝากท่านสมาชิกได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ด้วยนะคะ เพราะมีถนนเส้นทางดังกล่าวนี้อยู่ แต่เมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้วค่ะ ท่านประธาน เราก็จะดำเนินการขยายเป็นถนน ๔ ช่องจราจร โดยใช้งบประมาณช่วงแรก ๕๐ ล้านบาท ทำไมเป็นเพียง ๕๐ ล้านบาท เนื่องจากว่าในกรอบงบประมาณปี ๒๕๖๗ เรายังมีระยะเวลาของการใช้เงินงบประมาณนี้เพียงแค่ ๕ เดือน จึงได้จัดสรรงบประมาณ เริ่มต้นอยู่ที่ ๕๐ ล้านบาท ในช่วงตำบลบัวบานและจะใช้งบประมาณอีก ๓๐ ล้านบาท ในช่วงของตำบลนาเชือกเป็นการใช้งบประมาณพัฒนาจังหวัดอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งงบประมาณ ในการก่อสร้างมาหลายช่องทาง ช่องทางแรกคืองบประมาณฟังก์ชัน โดยตรงจากกระทรวง คมนาคม งบประมาณอีกส่วนหนึ่งเป็นงบของบูณาการจังหวัดจากทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะฉะนั้นในส่วนที่เหลือที่ยังคงเป็น ๒ ช่องจราจร เราก็จะดำเนินการบรรจุไว้ในแผนของ ปีงบประมาณ ๒๕๖๘
เนื่องจากท่านสมาชิกเองได้รวบคำถามทั้ง ๓ คำถามเป็นเพียงคำถามเดียวนะคะ ดิฉันจะขออนุญาตตอบในคำถามที่ ๒ แล้วก็คำถามที่ ๓ ไปในคราวเดียวกันเลยนะคะ ท่านประธาน ท่านประธานที่เคารพค่ะ กระทรวงคมนาคมโดยเฉพาะสถานที่สำคัญคือ เขื่อนลำปาวเป็นเขื่อนดินสูงที่สูงจากบริเวณผิวน้ำ ๓๓ เมตร สันเขื่อนมีความยาวถึง ๗.๘ กิโลเมตร กว้าง ๘ เมตร ซึ่งสามารถกักน้ำได้ ๑,๙๘๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนลำปาว ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง ๒ จังหวัด คือจังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วก็จังหวัดอุดรธานี แล้วก็เขื่อนลำปาวนี้ ดังในภาพ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนกลางและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยว เดินทางมาเยี่ยมชมเขื่อนลำปาวและเป็นแหล่งพลังงานสำคัญใน ๒ จังหวัดนี้ แล้วก็เป็นแหล่ง ที่เก็บกักน้ำให้พี่น้องเกษตรกรได้ใช้น้ำในยามฤดูแล้ง ดิฉันขอไปที่สไลด์ที่ ๗ จะเห็นว่าการเดิน ทางเข้าสู่เขื่อนลำปาวนั้นที่เดินทางมาจากอำเภอยางตลาดก็จะผ่านทางหลวงหมายเลข ๒๔๑๖ จะเป็นทางหลวงแผ่นดิน แล้วก็จะเชื่อมต่อกับเส้นทางของทางหลวงชนบท ทางหลวง ชนบทจะเป็นเส้นทางของทางหลวงชนบทสายที่ กส. ๒๐๗๑ ดิฉันทำภาพออกมาให้เห็นว่า ช่วงหนึ่งจะเป็นของกรมทางหลวง อีกช่องที่เข้าไปสู่ในเขื่อนลำปาวจะกลายเป็นเส้นทางของ ทางหลวงชนบท เมื่อผ่านบริเวณดังกล่าวก็จะผ่านบริเวณอาคารของอาคารระบายน้ำล้น เขาเรียก ก็คือ Spillway ของเขื่อนลำปาวก็จะเป็นการเดินทางเข้าสู่เมืองกาฬสินธุ์ซึ่งมีเพียง แค่ ๒ ช่วงจราจร เพราะฉะนั้นการก่อสร้างใด ๆ ที่เราจะสามารถเข้าไปที่สร้างเขื่อนลำปาวนั้น จึงเป็นเรื่องยาก เพราะว่าถนนมาทีหลังเขื่อน เขื่อนมีการสร้างก่อนถนน เพราะฉะนั้น ท่านประธานที่เคารพค่ะ สำหรับทางหลวงหมายเลข ๒๔๑๖ ตรงที่ทางเข้าเขื่อนลำปาว โฟกัสกลับไปที่ภาพอีกครั้งหนึ่งค่ะ เพื่อให้ท่านประธานได้เห็นว่ามันมีเส้นทางบางส่วนที่ต้อง ตัดเข้าพื้นที่ของป่าดงระแนง ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าที่เป็นเป็น Zone เขาเรียกว่า Zone C ก็คือเป็น Zone ของพื้นที่อนุรักษ์ ในพื้นที่ดังกล่าวสิ่งที่เราจะดำเนินการก่อสร้าง จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานของกระทรวงอื่น คือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จึงจะต้องมีการศึกษาแล้วก็ทำ EIA เพราะว่าเขื่อนลำปาวบางส่วนอยู่ในเขต ห้ามล่าสัตว์ แล้วก็การทำ EIA เหล่านั้นก็จะนำมาซึ่งการพิจารณาตั้งงบประมาณภายหลัง หลังจากที่เราทำ EIA เสร็จแล้วค่ะ ท่านประธานที่เคารพค่ะ กระทรวงคมนาคมเราได้ใส่ใจใน ทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวงหรือว่ากรมทางหลวงชนบท เมื่อเราได้รับผลการศึกษาจาก EIA แล้วก็จะนำมาพิจารณาในการตั้งงบประมาณในโอกาสต่อไปค่ะ นอกจากนั้นสิ่งหนึ่งที่จะ นำเรียนถึงท่านสมาชิกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นของเส้นทางดังกล่าว กระทรวงคมนาคมไม่นิ่งนอน ใจ นอกจากกระทรวงของเราแล้วเรายังได้ประสานว่าเส้นทางที่มันเป็นความเดือดร้อนจริง ๆ ก็ยังประสานในงบของทางกระทรวงมหาดไทย งบของผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นกลุ่มจังหวัด เพื่อจัดสรรลงมาช่วยกันในการสร้างเส้นทางดังกล่าวให้พี่น้องประชาชนมีความสะดวกแล้วก็ สัญจรไปมา ดิฉันต้องถือโอกาสขอบพระคุณในกระทู้ถามนี้ ดิฉันขอรวบยอดตอบทุกคำถาม ของท่านสมาชิกทั้ง ๓ คำถาม ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายในการมาตอบกระทู้ของท่านสมาชิกจาก ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมค่ะ เนื่องจากวันนี้ท่านสุริยะติดประชุมเรื่องของการติดตาม นโยบายและการพิจารณากรอบงบประมาณ ในวันนี้ต้องขอถือโอกาสขอบพระคุณ ท่านสมาชิกที่ท่านได้ให้ความใส่ใจ สนใจต่อปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ท่านประธานที่เคารพค่ะ ปัญหาของพี่น้องประชาชนมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของถนน หนทาง เรื่องของการก่อสร้างสนามบิน เรื่องของปัญหาน้ำกิน น้ำแล้ง น้ำใช้ ฉันขอ ชื่นชมท่านสมาชิกว่าท่านได้ตั้งใจทำหน้าที่ตัวแทนของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วก็อยากจะให้เป็นต้นแบบเป็นตัวอย่างให้กับสมาชิกท่านอื่น ๆ ว่าเวทีของสภา ผู้แทนราษฎรเป็นเวทีที่เป็นเงาสะท้อนประชาชน เราเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน ท่านก็ มีคำถามมากมายค่ะ คำถามของท่านสมาชิกดิฉันขอขมวดตอบเช่นเดียวกัน เนื่องจาก ท่านสมาชิกรวบคำถามเป็นเพียงคำถามเดียว ฉันขอขึ้นสไลด์ในภาพของเส้นทางทางหลวง สาย ๒๑๑๖ ซึ่งเป็นสี่แยกยางตลาดไปจนถึงดอนตาลมีจุดเริ่มต้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัด กาฬสินธุ์จะผ่านไปจากจังหวัดร้อยเอ็ดจะยาวไปถึงจังหวัดยโสธร แล้วก็ไปสิ้นสุดที่อำเภอ ดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร มีระยะทางทั้งสิ้น ๑๙๑.๕ กิโลเมตร โดยกรมทางหลวง ได้จัดลำดับทางหลวงเส้นดังกล่าวเป็นทางหลวง ชั้นที่ ๓ ซึ่งสักครู่ที่ฉันตอบกระทู้ของ ท่านสมาชิกไปเขาเรียกว่าทางหลวง ชั้นที่ ๔ ก็คือระหว่างอำเภอต่ออำเภอ แต่นี่คือเป็น เส้นทางที่มีขนาดยาวผ่านหลายจังหวัด เราจึงเรียกทางหลวงเส้นนี้ว่าเป็นทางหลวง ชั้นที่ ๓ นั่นหมายถึงเป็นทางหลวงที่เชื่อมระหว่างจังหวัดกับจังหวัด ซึ่งเป็นทางหลวงขนาดใหญ่ แต่มีเพียง ๒ ช่องจราจรเท่านั้น โดยมีการปรับปรุงช่วงที่ผ่านมาย่านชุมชนเป็น ๔ ช่องจราจร เป็นช่วง ๆ โดยช่วงแรกจะเป็นช่วงของยางตลาดไปจนถึงสี่แยกหนองแปน จากตำบล ยางตลาด อำเภอยางตลาดไปที่หนองแปน ตำบลกมลาไสย ตรงนี้จะมีระยะทาง ๒๑.๙ กิโลเมตร เป็นทางหลวงที่มี ๔ ช่องจราจรผิวลาดยาง Asphaltic Concrete แล้ว ๖.๙๐ กิโลเมตรดังท่านสมาชิกเห็นในภาพ ต่อมาเส้นทางดังกล่าวบางช่วงยังคงเป็น ๒ ช่องจราจร แล้วก็ไม่มีเกาะกลางซึ่งแบ่งพื้นผิวจราจรอยู่ในระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร ซึ่งเป็น ถนนที่สามารถรองรับการจราจรได้ระดับหนึ่ง นอกจากมีการก่อสร้างทางแล้วสิ่งสำคัญ นั่นก็คือความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนน ระยะทางทั้งหมดของหมายเลข ๑๒ นั้น ที่ท่าน สมาชิกได้ถามยังเป็นเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจสายตะวันออกเชื่อมต่อไปยังตะวันตก หรือ East-West Economic Corridor และเป็นเส้นทางหลวงสายหลัก ลำดับที่ ๑ นี้ หมายถึงว่าเป็นเส้นทางหลวงที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศเป็นสายทางหลักที่รองรับ การเดินทาง ซึ่งถนนสายนี้จะไปเชื่อมโยงกับเส้นทางสายหลัก อย่างไรก็ตามท่านประธาน ที่เคารพว่าการดำเนินการก่อสร้างเส้นทางหลวงเส้นสายที่ ๒๑๑๖ ยังเป็นทางหลวงของ ๔ ช่องจราจร เราเองยังจำเป็นจะต้องศึกษาและรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือทำ EIA เสียก่อน เนื่องจากทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่มีแหล่งโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว นั่นก็คือสถานที่ใบเสมาบ้านหนองแปน ขอสไลด์สถานที่ด้วยค่ะ ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดหนองแปน ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นใบเสมาหินทรายที่มีภาพของ การสลักชาดก แล้วก็พุทธประวัติของพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมาก แล้วก็มีการขุดพบเจอ ที่บริเวณหมู่บ้านหนองแปน ซึ่งตั้งอยู่นอกเมืองคูกำแพงเมืองฟ้าแดดสูงยางอำเภอทาง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ห่างออกมาอีกประมาณ ๓.๕๐ กิโลเมตร แล้วก็สถานที่ดังกล่าวเป็นแหล่ง โบราณสถานที่มีการขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ก็จะเห็นว่านี่คือปัญหาและอุปสรรคเช่นเดียวกัน ถ้าเราได้มีการศึกษา EIA แล้วก็มีความเหมาะสมทั้งพี่น้องประชาชนทั้งกฎหมายที่เปิดโอกาส ให้เราได้ดำเนินการก่อสร้าง อุปสรรคเหล่านี้เราก็จะต้องแก้ด้วยกฎหมายก็จะนำเรียนถึง ความคืบหน้าหลังจากเราทำ EIA เสร็จเรียบร้อยแล้วท่านสมาชิกค่ะ
ต่อมาท่านสมาชิกถาม เรื่องของว่ากระทรวงคมนาคมมีแผนรองรับการเชื่อม ถนนสายรองและเส้นทางหลวงสาย ๒๑๑๖ ให้สอดคล้องกับระบบการขนส่งในอนาคต หรือไม่ ก็ขออนุญาตตอบแล้วก็ขยายความถึงความคืบหน้าของโครงการเส้นทางดังกล่าว ต่อท่านประธานต่อไปยังท่านสมาชิกว่าขณะนี้จังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วก็เส้นทางดังกล่าวเรามี โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่แนวใหม่เริ่มจากสายบ้านไผ่-ขอนแก่น-นครพนม ซึ่งเป็นหนึ่ง ในโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางรางที่สำคัญของกระทรวงคมนาคม ซึ่งปัจจุบันโครงการ ดังกล่าวได้ดำเนินการก่อสร้างโดยมีระยะทางทั้งสิ้น ๓๕๕ กิโลเมตร มีสถานีย่อยแต่ละสถานี ทั้งสิ้น ๑๘ แห่ง มีลานจอดตู้สินค้าจำนวน ๓ แห่ง โดยแบ่งโครงการก่อสร้างเป็น ๒ ช่วง คือ
ช่วงที่ ๑ ช่วงบ้านไผ่ถึงอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งในโครงการ ช่วงแรกจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีแผนงานก่อสร้างแล้วเสร็จตอนนี้ ประมาณ ๒.๓๔ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพิ่งเริ่มดำเนินการก่อสร้างก็จะเป็นความหวังแล้วก็เป็น เส้นทางรองรับในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบขนส่งทางบก แล้วก็ระบบรางที่ท่านสมาชิก ได้มีความห่วงใย
ช่วงที่ ๒ จะเป็นช่วงของโพนทองไปยังจังหวัดร้อยเอ็ดจะยาวไปถึงสะพาน มิตรภาพ แล้วก็แห่งที่ ๓ ของจังหวัดนครพนมจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๒๘,๓๐๐ ล้านบาท ขณะนี้มีผลงาน แล้วก็เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วซึ่งถ้าโครงการ ๒ โครงการนี้ ๒ ช่วงนี้ แล้วเสร็จก็พร้อมที่จะเปิดบริการให้พี่น้องประชาชนในปี ๒๕๗๑ ซึ่งท่านสมาชิกก็สามารถ เดินทางไปเยือนนครพนมได้โดยใช้ทางรถไฟสายบ้านไผ่-ขอนแก่น
คำตอบต่อมาที่ท่านสมาชิกได้ถาม ฉันก็จะพูดถึงเรื่องของว่าขณะนี้ กรมทางหลวงอยู่ในระหว่างการจ้างที่ปรึกษา ศึกษาถึงความเหมาะสมว่าการพัฒนา ระบบเครือข่ายของกระทรวงคมนาคมที่จะต้องเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่แนวใหม่ สายบ้านไผ่-ขอนแก่น จะช่วยสนับสนุนระบบคมนาคมขนส่งทางรางสายใหม่ ซึ่งเราเรียกว่า สายบ้านไผ่-นครพนม ส่วนทางหลวงหมายเลข ๒๑๑๖ กับสายอื่น ๆ ซึ่งเป็นถนนสายรอง ก็จะควบคู่ไปกับเส้นทางของรถไฟเส้นทางใหม่นี้ เขาเรียกว่าถนนทางคู่ที่อยู่ระหว่างมีราง รถไฟแล้วก็มีถนนควบคู่กันไป กระทรวงคมนาคมเมื่อได้ศึกษาเส้นทางดังกล่าวเราก็จะเร่งรัด ดำเนินการก่อสร้าง ที่ขออนุญาตพูดถึงเส้นทางรถไฟ เพราะว่าท่านสมาชิกจะได้เห็นภาพว่า เมื่อมีทางรถไฟมา ถนนเส้นนี้ก็จะได้รีบเริ่มทำการก่อสร้าง
นอกจากนั้นท่านสมาชิกมีคำถามในคำถามที่ ๓ ประเด็นที่ดิฉันจะตอบคือ ประเด็นของคำถามที่ ๓ รวบกันว่า การจัดสรรงบประมาณหลังจากเรามีการสำรวจออกแบบ EIA แล้ว ในงบประมาณปี ๒๕๖๘ กรมทางหลวงกับจังหวัดกาฬสินธุ์อย่างที่ดิฉันได้ตอบ คำถามท่านสมาชิกสักครู่เรื่องอีกเส้นทางหนึ่ง แต่ในเส้นทางดังกล่าวก็จะขอตอบยาวไปถึง ปี ๒๕๖๘ ว่ากรมทางหลวงร่วมกับจังหวัดกาฬสินธุ์ก็ได้ทำการเสนอแผนงบประมาณ โดยใช้งบของกลุ่มพัฒนาจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่เราเรียกว่า ร้อยแก่นสารสินธุ์ ร่วมกับทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดในการขยายช่องจราจรจาก ๒ ช่องจราจรให้เป็น ๔ ช่องจราจรในบริเวณที่ตำบลยางตลาดถึงตำบลหัวงัว อำเภอยางตลาด ระยะทางอีก ๒.๑๙ กิโลเมตร ในวงเงิน ๕๐ ล้านบาท นอกจากนั้นในช่วงที่เป็น ๒ ช่องจราจร กระทรวง คมนาคมโดยกรมทางหลวงก็จะเร่งรัดในการจัดสรรงบประมาณในปี ๒๕๖๘ เมื่อขณะนี้อยู่ใน ระหว่างการทำแผนงบประมาณปี ๒๕๖๘ ไปควบคู่กันก็ขอให้ท่านสมาชิกได้รวบรวมปัญหา เส้นทางพี่น้องประชาชนที่ต้องใช้สัญจรไปมาลำบาก แล้วก็ขอเสนอแผนไปยังกรมทางหลวง ชนบทหรือว่าเสนอแผนไปยังทางหลวงชนบทจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ท่านอยู่ในพื้นที่ ท่านประธานที่เคารพค่ะทุกปัญหาของกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะการใช้เส้นทางทางหลวง การใช้เส้นทางของกรมทางหลวงชนบททั้ง ๒ หน่วยงานก็ตาม กรมทางหลวงชนบทเอง ซึ่งไม่ได้มาตอบในกระทู้นี้ แต่ว่าท่านก็ได้ฝากมาว่าอะไรที่เป็นปัญหาความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชน ๒ หน่วยงาน แล้วก็หน่วยงานทุกหน่วยงานในกระทรวงคมนาคมเราจะ ทำงานควบคู่กัน แล้วก็พัฒนาความเจริญให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย ขอบคุณท่านสมาชิก ที่ได้ตั้งกระทู้ถาม ขอบพระคุณท่านประธานค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะตัวแทนของคณะรัฐมนตรีค่ะ ก่อนอื่นดิฉันต้องขอบคุณท่านสมาชิกทุก ๆ ท่านที่ท่าน ได้ใช้ที่ประชุมสภาแห่งนี้แสดงความเห็นที่มีความหลากหลาย แต่เป็นความสวยสดงดงามใน เวทีของประชาธิปไตยในร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ทุกประเด็น ทุกความเห็นที่ท่านสมาชิก ได้ให้ความเห็นในวันนี้ หลังจากเรารับร่างนี้แล้วก็จะนำไปสู่การพิจารณาในชั้นของ คณะกรรมาธิการวิสามัญ ดิฉันขอฝากทุกความเห็นไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มาจากทุกหน่วยงาน ของภาคราชการ แล้วก็ภาคประชาชนจะร่วมกันแสดงความเห็นแล้วก็ขับเคลื่อนในสิ่งที่ ร่าง พ.ร.บ. นี้จากคณะรัฐมนตรี จากท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ดิฉันขอถือโอกาส กราบขอบพระคุณท่านสมาชิก แล้วก็เราจะร่วมกันพิจารณาในชั้นของคณะกรรมาธิการ วิสามัญอีกครั้งหนึ่งค่ะ ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี จำนวน ๖ ท่าน ดังนี้ค่ะ ๑. นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร ๒. นายธนสุนทร สว่างสาลี ๓. นายมานะ สิมมา ๔. นายจิตรพรต พัฒนสิน ๕. นายสรชัด สุจิตต์ ๖. นายชานันท์ ยอดหงษ์
ท่านประธาน สภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมค่ะ วันนี้ดิฉันได้รับ มอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเนื่องจากท่านติด ภารกิจเดินทางไปกับท่านนายกรัฐมนตรีที่จังหวัดเชียงใหม่ เรื่องของการเตรียมการก่อสร้าง สนามบิน แห่งที่ ๒ จังหวัดเชียงใหม่ และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่จังหวัดเชียงใหม่ เพราะจังหวัดเชียงใหม่เป็น ๑ ในจังหวัดที่เป็นยุทธศาสตร์ของการพัฒนาจังหวัดในภาคเหนือ และเรื่องของการรองรับนักท่องเที่ยว ในคำถามของท่านสมาชิกนะคะ ดิฉันต้องขอบคุณ ท่านสมาชิก ท่านพลากร สมาชิกผู้ทรงเกียรติจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งท่านได้ให้ความสนใจต่อ การพัฒนาพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นคำถามของการก่อสร้างสนามบิน จังหวัดกาฬสินธุ์ การขยายถนนจาก ๔ เลน เป็น ๘ เลน วันนี้ท่านก็ได้ให้ความสนใจในเรื่อง ของการก่อสร้างสะพานเขื่อนลำปาวแห่งที่ ๓ นะคะ
ในประเด็น คำถามของท่านสมาชิก กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงชนบท ขอเรียนให้ทราบว่า การสร้างเขื่อนอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาวอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งครอบคลุม ๒ จังหวัด ทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่รองรับน้ำฝนประมาณ ๓ ล้านกว่าไร่ แล้วก็เก็บกักน้ำได้ประมาณ ๑,๘๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เพาะปลูก ที่ทำการเกษตรกรให้กับพี่น้องประชาชน จำนวน ๓๑๔,๓๐๐ ไร่ และเขื่อนลำปาวนี้ได้สร้าง เป็นระยะเวลานานแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ ส่งผลให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่อ่างเก็บน้ำได้มีอาชีพ ประมงพื้นบ้าน ได้ทำอาชีพเกษตรกรที่ใช้น้ำจากเขื่อนลำปาว นอกจากนั้นเกษตรกร ยังได้ใช้เส้นทางดังกล่าว ก็คือใช้แพในการที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน แล้วก็เชื่อมต่อระหว่าง ตำบลในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเป็นการลดระยะเวลาของการเดินทาง กระทรวงคมนาคมไม่เคย ละเลยปัญหาที่พี่น้องได้สะท้อนมา แล้วเราก็ยังได้ทำการลดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว แล้วก็พร้อมกับสร้างโอกาสให้พี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกันทุกกลุ่มนะคะ โดยกรมทางหลวงชนบทได้มีการศึกษาการก่อสร้างสะพานเพื่อพัฒนาโครงข่ายพื้นที่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาวเป็นจำนวน ๓ แห่ง โดยแห่งที่ ๑ เป็นสะพานเทพสุดา ซึ่งเป็นสะพาน คอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด ๒ ช่องจราจร ความยาว ๒,๐๔๐ เมตร ใช้งบประมาณในการ ก่อสร้างโครงการดังกล่าว ๔๙๘ ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงข่ายคมนาคมที่รองรับการสัญจรไปมา ของพี่น้องประชาชน ทั้งแนวของตะวันตกแล้วก็ไปที่แนวของตะวันออกของอ่างเก็บน้ำ อยู่ในระหว่างตำบลนนท์บุรี อำเภอสหัสขันธ์ แล้วก็ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งสะพานดังกล่าวเปิดใช้งานเมื่อปี ๒๕๕๔ สมัยท่านนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นี่คือภาพของการก่อสร้างสะพาน แห่งที่ ๒ ที่อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ กรมทางหลวงชนบทได้ทำรายงานการประเมินผลงานทั้ง EIA แล้วก็สำรวจ ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเป็นสะพานคอนกรีตขนาด ๒ ช่องจราจร ความยาว ๑,๗๖๐ เมตร งบประมาณก่อสร้าง ๙๕๐ ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงข่ายอีก ๑ โครงข่าย ที่จะลด ความหนาแน่นของการจราจรของพี่น้องประชาชนจะอยู่เป็นแนวทางเหนือ เมื่อสักครู่ที่ดิฉัน ให้เห็นภาพ ก็คือแนว Zone แรก คือตะวันตกและตะวันออก แต่แนวของถนนสะพาน ดังกล่าวจะเป็นแนวของทางเหนือแล้วก็ทางใต้ของอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว ซึ่งถ้าเรามี การก่อสร้างสะพานนี้ขึ้นก็จะสามารถร่นระยะเวลาเดินทางจากอำเภอสหัสขันธ์ไปถึงอำเภอ สามชัย ได้ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตร ซึ่งโครงการดังกล่าวบรรจุอยู่ในร่างงบประมาณ ๒๕๖๗ ที่ท่านสมาชิกได้ยกมือรับหลักการไปเรียบร้อยแล้ว แล้วก็ขอความกรุณาผ่านไปที่ท่านสมาชิก นะคะ อย่าตัดโครงการนี้ซึ่งในโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่ใช้งบประมาณ ปี ๒๕๖๗ ในวงเงิน ๑๔๒ ล้านบาท แล้วก็ไปทำงบผูกพันในปี ๒๕๖๘ ไปจนถึง ๒๕๖๙ เป็นงบผูกพัน ทั้งสิ้น ๓ ปี ในวงเงิน ๘๐๗ ล้านบาท มีคำถามว่าทำไมตั้งงบประมาณ ๒๕๖๗ เพียงแค่ ๑๐๐ กว่าล้านบาท เนื่องจากกรอบของการใช้เงินงบประมาณปี ๒๕๖๗ กว่างบประมาณจะ ผ่านวาระที่ ๒ วาระที่ ๓ ก็ประมาณเดือนเมษายนน่าจะมีผลของการใช้งบประมาณเริ่มต้น เดือนพฤษภาคม เราจึงไม่อยากให้งบประมาณไปกระจุกอยู่ที่คอขวดของกรอบงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ มาก จึงตั้งเพียง ๑๐๐ กว่าล้านบาท ต่อมาสะพาน แห่งที่ ๓ ท่านประธานคะ ในภาพ เป็นโครงการก่อสร้างสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาวที่อำเภอหนองกุงศรี ขณะนี้ กรมทางหลวงชนบทกำลังจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA แล้วก็มีการ สำรวจออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด ๒ ช่องจราจร ความยาว ๑,๔๗๕ เมตร เป็นงบประมาณก่อสร้างประมาณ ๖๖๐ ล้านบาท และเป็น โครงข่ายที่จะรองรับการสัญจรของพี่น้องประชาชนในช่วงเหนือแล้วก็ช่วงใต้ แต่เป็นช่วงที่ ๒ ของอ่างเก็บน้ำ ซึ่งในเส้นทางดังกล่าว ระยะเวลาก็จะสามารถร่นระยะเวลาได้ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ทั้งหมดนี้ก็คือแผนงานของการสร้างสะพานในบริเวณรอบเขื่อนลำปาว ทั้ง ๓ สะพาน สะพานที่ ๑ สะพานที่ ๒ แล้วก็สะพานที่ ๓ ท่านประธานที่เคารพคะ ดิฉันทราบค่ะ กระทรวงคมนาคมทราบค่ะ ว่าความจำเป็นเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมี เป็นจำนวนมาก ไม่เพียงเฉพาะที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พี่น้องประชาชนอีกหลายจังหวัดยังมี ความจำเป็นที่ต้องการระบบสาธารณูปโภคที่มีความพร้อม แต่เนื่องจากเขื่อนลำปาวเป็น เขื่อนลำปาวที่มีขนาดใหญ่ พี่น้องประชาชนอยู่รอบบริเวณหนองน้ำ ทางกระทรวงคมนาคม ก็จะจัดลำดับความสำคัญเพื่อบรรจุงบประมาณต่อไป ขอบคุณค่ะ
เรียนท่าน ประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉัน ได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในการตอบคำถามของท่านสมาชิก ท่านพลากร จากพรรคเพื่อไทย
ในคำถามที่ ๒ เนื่องจากท่านสมาชิกได้ถามคำถามที่ ๒ แล้วก็คำถามที่ ๓ ขออนุญาตท่านประธานได้รวบรวมคำถามทั้ง ๒ คำถาม มาไว้เป็นคำถามเดียวนะคะ จากคำถามของท่านสมาชิกว่ากระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบทได้ศึกษาปริมาณ ความหนาแน่นของการใช้สะพานของพี่น้องประชาชน ปัจจุบันพบว่าสะพานเทพสุดามีระดับ การใช้บริการ เขาเรียกว่า Level Of Service ซึ่ง Level Of Service ในทางวิชาการในทาง วิศวกรก็จะมีแบ่ง Level Of Service เป็นแต่ละ Level เขาเรียกว่า Level ของการใช้รถใช้ถนน โดยนับจำนวนรถที่ใช้สัญจรไปมา ปรากฏว่า Level ของผู้ใช้รถใช้ถนนในเส้นทางดังกล่าวอยู่ ในระดับ C ระดับ C คืออะไรคะ รถสามารถเคลื่อนที่ได้ มีปริมาณจราจรอยู่ในระดับปาน กลาง เราเชื่อมั่นว่าจากการคาดการณ์ เมื่อพี่น้องใช้สะพานทั้ง ๒ สะพานไป Level นี้ นั่นหมายถึงว่าในอนาคต ปริมาณการใช้รถจะมีจำนวนมากเพิ่มขึ้น ในเส้นทางของสะพาน ตรงนี้ก็จะกลายเป็นว่าปริมาณจราจร ในปี ๒๕๗๒ จะมีระดับการให้บริการในระดับ ระดับ E ระดับ E คือ A B C D E ก็ปริมาณของการจราจร ในปี ๒๕๗๒ ก็มีความจำเป็นที่จะต้อง สามารถจัดสร้างได้ เพราะฉะนั้นกราบเรียนท่านประธานไปถึงท่านสมาชิกว่าการพิจารณา โครงการใด ๆ ก็ตามเรามีการศึกษา EIA ความจำเป็นของโครงการว่าโครงการที่เราใช้ งบประมาณไปนั้นคุ้ม มีความคุ้มค่าในการใช้เงินงบประมาณของภาษีพี่น้องประชาชนหรือไม่ เมื่อก่อสร้างแล้วโครงการดังกล่าวได้ตอบสนองความต้องการไหม มีประชาชนมาใช้เส้นทางนี้ ไหม ไม่ใช่ว่าจะเอาโครงการมาสร้าง แต่ในที่สุดโครงการดังกล่าวก็ถูกร้างเปล่า พี่น้อง ประชาชนไม่สามารถมาใช้ได้ นั่นคือการสูญเสียงบประมาณความไม่คุ้มค่าในการใช้เงินภาษี อากรของพี่น้องประชาชน ในระดับ E ของโครงการดังกล่าว เราคาดการณ์ว่าจะมี การก่อสร้างได้ประมาณปี ๒๕๗๒ เมื่อมีปริมาณรถเยอะขึ้น มีความชัดเจนขึ้น กรมทางหลวง ชนบทก็มีแผนงานที่จะก่อสร้างสะพานช่วงที่ ๓ ก็คือช่วงตำบลเสาเล้า ไปที่หนองกุงศรี ตำบล นาเชือก ดังแผนที่ดังกล่าว ในปี ๒๕๗๒ ต่อไป กราบเรียนท่านประธานว่ากระทรวงคมนาคม ได้มีความห่วงใยแล้วก็ต้องการให้คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนดีขึ้นจากเม็ดเงินของภาษี อากรพี่น้องประชาชนในทุกมิติของการเดินทาง ไม่ว่ามิติทางรถ มิติทางราง มิติทางน้ำ แล้วก็ มิติของทางอากาศค่ะ โดยเฉพาะกรมทางหลวงชนบทเองที่มีกรมนี้ขึ้นมา เรามั่นใจว่า การสร้างโครงข่ายของถนน ไม่เพียงแต่กระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวง แต่โครงข่ายของ กรมทางหลวงชนบทจะกระจายไปทุกพื้นที่ของพี่น้องประชาชนในชนบท ในจังหวัด ในอำเภอเล็ก ๆ ที่ถูกทอดทิ้ง โดยเฉพาะปีนี้กรมทางหลวงชนบทได้รับการจัดสรรงบประมาณ แล้วเราก็จะใช้งบประมาณเหล่านั้นอย่างคุ้มค่าตาม Slogan ของกระทรวงคมนาคมว่า เราจะ เชื่อมโยงถนนทั่วไทย เชื่อมใจคนทั้งชาติอย่างยั่งยืน ขอบคุณค่ะท่านประธาน
ท่านประธาน ขออนุญาตค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะวิปของคณะรัฐมนตรีค่ะ ขออนุญาตกราบเรียน แล้วก็ที่ท่านสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจากพรรคก้าวไกลได้ชี้แจงสักครู่นะคะ เรื่องของประเด็นที่ท่านนายกรัฐมนตรีเพิ่งเซ็น ลงนามรับรองในร่างของพรรคก้าวไกล ขออนุญาตกราบเรียนอย่างนี้ว่าร่างของประชาชน ที่เข้ามาสู่คณะรัฐมนตรีได้มีหน่วยงานที่รับรองในทุกหน่วยงาน แต่เนื่องจากร่างของพรรค ก้าวไกลส่งมาเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม แล้วเราบันทึกเสนอความเห็นไปเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ช่วงนั้นเป็นช่วงของวันหยุดนะคะ กว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะใช้เวลาวินิจฉัยและแจ้งกลับมา เนื่องจากเมื่อวันก่อนเราส่งร่างไปที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่งลงนาม รับรอง แล้วส่งไปที่กฤษฎีกาเมื่อวานตอนเย็น จึงขออนุญาตว่าท่านนายกรัฐมนตรีเดินทางไป ปฏิบัติภารกิจที่จังหวัดเชียงใหม่ เราก็มีความเข้าใจว่าทุกร่างจะต้องรวมกันพิจารณา ในวันนี้ จึงส่งร่างดังกล่าวให้ท่านนายกรัฐมนตรีลงนาม โดยผ่านเครื่องบินไปเมื่อคืนนี้ และท่านนายกรัฐมนตรีก็เซ็นลงนาม ถ้าท่านสมาชิกจะตำหนิในประเด็นดังกล่าว ดิฉันขอเรียน ให้ทราบว่าเงื่อนเวลาที่ท่านสมาชิกจากพรรคก้าวไกลส่งมามีความล่าช้า และคณะรัฐมนตรี ต้องรอลงความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงขออนุญาตได้ชี้แจงผ่านท่านประธานไปยัง ท่านสมาชิกด้วยค่ะ เพื่อความเข้าใจที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงค่ะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้มา ตอบกระทู้ของท่านสมาชิก เนื่องจากวันนี้ที่กระทรวงคมนาคมมีการทำ Workshop ในกรอบ ของงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ แล้วก็ ปี ๒๕๖๘ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงไม่สามารถมาตอบกระทู้ของท่านสมาชิกได้ ท่านจึงได้มอบหมายให้ดิฉันมาตอบกระทู้ ของท่านสมาชิก ต้องถือโอกาสขอบคุณท่านสมาชิกนะคะที่ได้ถามกระทู้นี้ ท่านเลิศศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดเลย จากคำถามของท่านสมาชิกนะคะ ดิฉันขอฉายภาพ ให้เห็นถึงภาพโดยรวมของเส้นทางต่าง ๆ ที่เข้าสู่จังหวัดเลย แล้วก็จังหวัดใกล้เคียงก่อนนะคะ
จังหวัดเลย เป็นจังหวัดส่วนหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือว่าอีสานตอนบน มีเส้นทางสายหลัก ที่เข้าสู่จังหวัดเลยทั้ง ๓ เส้นทาง เส้นทางแรกก็คือทางหลวงหมายเลข ๒๑ จากจังหวัดเพชรบูรณ์ จากอำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า เข้าสู่ที่อำเภอภูเรือ เข้าสู่จังหวัดเลยค่ะ เส้นทางหมายเลขที่ ๒ หมายเลข ๒๐๑ จากอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ผ่านอำเภอภูกระดึง อำเภอหนองหิน อำเภอวังสะพุง เข้าสู่จังหวัดเลย แล้วก็เชื่อมต่อไปที่อำเภอเชียงคาน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเลย ส่วนทางหลวงหมายเลข ๓ ก็คือหมายเลขที่ ๒๑๐ เป็นเส้นทางจากจังหวัดอุดรธานี ผ่านจังหวัดหนองบัวลำภู ผ่านอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ซึ่งประเด็นคำถามของท่านสมาชิกจะเห็นว่าในการประชุม ครม. สัญจรที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในระหว่างวันที่ ๓ วันที่ ๔ ธันวาคมของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่ประกอบไปด้วยจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งในวันนั้นท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ลงพื้นที่ไปรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน แล้วก็รับทราบปัญหา ความเดือดร้อนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็พบว่าถนนเส้นดังกล่าวมีความต้องการ ในวงกลมสีแดงที่ดิฉันโชว์ให้เห็นในภาพนะคะ ซึ่งทั้ง ๒ ท่านก็ได้มอบหมายนโยบายเหล่านี้ ให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงได้เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถ้าเส้นทาง ดังกล่าวได้มีการก่อสร้างก็จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการขนส่งสินค้า การเดินทาง การท่องเที่ยว ตามนโยบายของรัฐบาล แล้วก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของการท่องเที่ยวในภาค อีสานเหนือตอนบน
สำหรับโครงการทางเลี่ยงเมือง ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็วในการเดินทางสัญจรไปมาเข้าสู่ตัวเมืองเลย แล้วก็ในเส้นทางดังกล่าวก็จะมีข้อจำกัด เรื่องของการขยายขอบเขตที่ไม่เพียงพอ ทำให้การขยายช่องจราจรก็มีปัญหานะคะ แต่กระทรวงคมนาคมก็ได้เร่งรัดว่า ถ้าเกิดเส้นทางดังกล่าวเราจะลดความหนาแน่นของรถ การหนาแน่นของจราจรก็จะเป็นอีกหนึ่งทางในการเสริมสร้างโครงข่าย ซึ่งจะเป็นถนนที่เชื่อม ของจังหวัดเลยต่อไปยัง สปป. ลาว ผ่านทางสะพานมิตรภาพ ข้ามแม่น้ำเหืองระหว่างไทย กับลาว แล้วก็จะทำให้เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางเศรษฐกิจ แล้วก็จะทำให้การขนส่งสินค้า มีประสิทธิภาพ แล้วก็เพิ่มมูลค่าการขนส่งของประเทศไทยมากยิ่งขึ้นนะคะ หันมาดูการศึกษา ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านวิศวกรรม และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ทางกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการศึกษาเสร็จแล้วค่ะ ท่านสมาชิกคะ โดยผลการศึกษา แนวเส้นทางจะมีลักษณะเป็นวงแหวนรอบเมืองเลยในพื้นที่ ท่านสมาชิกเห็นไหมคะว่า อำเภอเมืองเลยแล้วก็อำเภอวังสะพุง รวมไปถึงเข้าตัวจังหวัดเลยก็จะมีความยาวประมาณ ๖๓.๕๖ กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณทั้งสิ้น ๘,๖๐๐ ล้านบาท นี่ก็คือผลของการศึกษา ความเหมาะสมนะคะ มันจะมี ๒ ฝั่ง แนวเส้นทางทางด้านฝั่งตะวันออกนี้ยาวประมาณ ๓๖ กิโลเมตร แนวเส้นทางฝั่งตะวันตกยาวประมาณ ๒๗ กิโลเมตร ซึ่งลักษณะโครงการนี้ จะเป็นการก่อสร้างขนาด ๒-๔ ช่องจราจร แล้วก็จะเป็นชุมชนที่มีความหนาแน่นมากที่สุด ในบริเวณนี้นะคะ ซึ่งจากผลของการศึกษาก็ได้พบว่าแนวทางด้านตะวันตกมีความเหมาะสม ที่จะต้องเร่งรัดในการก่อสร้างก่อน เนื่องจากมีผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจซึ่งคุ้มค่ากว่า ในแนวเส้นทางตะวันออก และเราคาดการณ์ว่าถ้าเราก่อสร้างในเส้นทางแนวตะวันตกนี้ ปริมาณจราจรหรือว่ารถที่จะมาใช้เส้นทางนี้จะมีมากกว่า และจะรองรับปริมาณการจราจร ในอนาคตได้อย่างเหมาะสม แล้วก็จะช่วยให้คลายความหนาแน่นกับพี่น้องประชาชนที่จะ เข้าไปสู่ตัวเมืองได้ สำหรับแนวเส้นทางตะวันออก ผลการศึกษาได้ออกมาแล้วค่ะว่ายังไม่คุ้มค่า ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมสำหรับการลงทุนในการก่อสร้างในขณะนี้ เพราะฉะนั้น กรมทางหลวงจึงมีความพร้อมค่ะ ศึกษาทั้งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องการก่อสร้าง แนวทางทางทิศตะวันตกเป็นลำดับแรกนะคะ โดยปัจจุบันรายงานของ EIA อยู่ระหว่าง การพิจารณาของสำนักนโยบายและแผนของกระทรวงคมนาคม ขอให้ท่านสมาชิกได้มั่นใจว่า ทุกปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะอยู่ที่จังหวัดใดหรือภูมิภาคใด กระทรวง คมนาคมเราจะไม่เคยละเลยต่อปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนดังกล่าว ดิฉัน ขออนุญาตตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ดิฉันขอตอบคำถามของท่านสมาชิกเป็นคำถามที่ ๒ นะคะ ในประเด็นเรื่องของคำถาม เรื่องความเหมาะสม จากคำถามที่ ๑ ว่าทำไมเราถึงมีการตัดสินใจที่จะดำเนินการก่อสร้าง ทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งจากผลการศึกษาของ EIA แล้วก็ความคุ้มค่าในการลงทุน ก็จะเห็นว่าทำไมเราถึงมีการ ก่อสร้างในทางด้านทิศตะวันตกก่อน ซึ่งแนวทางเส้นทางทิศตะวันออกเราก็ไม่ละเลยนะคะ เราคาดการณ์ว่าในอนาคต ถ้าเกิดมีพี่น้องประชาชนมาใช้เส้นทางดังกล่าว การจราจร หนาแน่นมากยิ่งขึ้นก็จะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะต้องมีการขยายในเส้นทางทิศตะวันออก ในอนาคตนะคะ ซึ่งขณะนี้เองกรมทางหลวงได้มีการพิจารณาความพร้อมแนวเส้นทางด้าน ทิศตะวันตก ซึ่งมีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่ทางหลวงสาย ๒๐๑ บริเวณบ้านนาโป่งผ่านไปที่ ตำบลนาอาน ตัดผ่านช่องทางหลวงหมายเลข ๒๑ บริเวณตำบลน้ำหมาน ถึงทางหลวง หมายเลข ๒๑๑๕ บริเวณอำเภอเมืองไปสิ้นสุดที่ทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ที่บริเวณ ตำบลนาอ้อ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวก็เป็นเส้นทางที่จะต้องผ่านพื้นที่อนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ แล้วก็ในส่วนขั้นที่ ๒ ยังจะต้องผ่านพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โบราณสถาน ประเด็นสิ่งเหล่านี้เราต้องมีความระมัดระวังในเรื่องของการประเมินผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมก่อนดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้ EIA นี้ดำเนินการอยู่ในขั้นตอนของการ พิจารณา EIA แล้วก็จะนำเสนอ สนข. ต่อไป ท่านประธานที่เคารพคะ ในปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา กรมทางหลวงเองได้จัดงบประมาณเพื่อดำเนินการสำรวจ แล้วก็ออกแบบในแนวเส้นของ ทางทิศตะวันตก ซึ่งปัจจุบันถ้าได้มีการสำรวจออกแบบแล้ว ก็จะดำเนินการออกกฎหมาย พระราชกฤษฎีกาเวนคืน แล้วก็ของบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในระหว่าง ปี ๒๕๖๘ ถึง ปี ๒๕๖๙ ใช้ระยะเวลา ๑ ปีในการที่จะต้องชดเชยจ่ายเงินของค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน หลังจากนั้น ก็จะมีการเตรียมการในการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างแนวเส้นทางทางด้าน ทิศตะวันตก ในปี ๒๕๗๐ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ๓ ปี แล้วก็เปิดให้บริการพี่น้อง ประชาชน ในปี ๒๕๗๓ ดิฉันเชื่อมั่นว่าคงยังอยู่ในสมัยที่ท่านสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อยู่ใน ปี ๒๕๗๐ แต่เมื่อโครงการนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้วก็จะสามารถที่ลดปัญหา การจราจรที่ผ่านตัวเมืองไปได้ แล้วนอกจากนั้นก็จะทำให้อำเภอเมืองเลย พี่น้องประชาชน ก็จะได้มีความสะดวกสัญจรไปมาอย่างรวดเร็วค่ะ
ท่านประธานที่เคารพค่ะ ขออนุญาตตอบคำถามซึ่งท่านสมาชิกได้รวบคำถาม ที่ ๒ แล้วก็คำถามที่ ๓ เข้ารวมไว้ด้วยกันว่า กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงเราก็ได้ ให้ความเข้าใจแล้วก็ตระหนักถึงการขยายถนนจาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจร แล้วก็ ให้ความสำคัญในการขยายเส้นทางดังกล่าวไปทั่วทั้งประเทศนะคะ เพื่อแก้ไขปัญหา การจราจรติดขัด แล้วก็อำนวยความสะดวก สำหรับถนนสายเมืองเลยไปอำเภอภูเรือ ช่วงบ้านภูสวรรค์ ที่ท่านสมาชิกได้สอบถาม มีระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร เป็นเส้นทาง หมายเลข ๒๑ แล้วก็เป็นเส้นทางที่สำคัญมากค่ะ ในการที่จะเป็นทางเชื่อมระหว่างพื้นที่ ภาคกลางไปสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ แล้วจังหวัดเลย ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่างอำเภอภูสวรรค์ จังหวัดเลย เป็นช่วงที่มีการจราจรหนาแน่น แล้วก็เส้นทางคดเคี้ยว แล้วมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงมีความ จำเป็นที่จะต้องขยายจาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจร เพื่อประสิทธิภาพในการเดินทาง โดยปัจจุบันก็มีการขยายถนนแล้ว ขนาด ๔ ช่องจราจร เป็นระยะประมาณ ๙.๒ กิโลเมตร ซึ่งบริเวณที่บ้านกอไร่ใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย แล้วก็ยังคงเป็นทางขนานดังในภาพนะคะ เป็น ๒ ช่องจราจร รวมระยะทางอีก ๑๐.๘ กิโลเมตร โดยกระทรวงคมนาคมอยู่ในระหว่าง การสำรวจออกแบบ แล้วก็จะดำเนินการก่อสร้างในทันทีที่เราได้งบประมาณ ซึ่งขณะนี้ ระยะทางในเส้นทางดังกล่าวทั้งหมด ๘๕.๙ กิโลเมตร นอกจากนั้นเรายังมีแผนงานที่จะติดตั้ง สัญญาณไฟจราจร ไฟส่องสว่าง แล้วก็สิ่งอำนวยความสะดวก ดังที่ท่านเสนอท่านสมาชิก ได้บอกว่าจะต้องมีการติดตั้งไฟส่องสว่างเพราะถ้าถนนดีจาก ๒ ช่องเป็น ๔ ช่องจราจร ติดไฟ ส่องสว่าง มีสัญญาณไฟแดงบริเวณสี่แยก มีสัญญาณเตือนในบริเวณพื้นที่พี่น้องประชาชน สัญจรไปมา เราก็เชื่อมั่นว่า ๑ ในกรมทางหลวงจะสามารถลดอุบัติเหตุจากการที่พี่น้อง ใช้เส้นทางดังกล่าว ท่านประธานคะ ถึงแม้ว่าโครงการดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จนะคะ ทางกระทรวงคมนาคมก็ได้ดำเนินการที่จะเตรียมการในการที่จะอำนวยความสะดวกให้กับ พี่น้องประชาชนในการสัญจรไปมา แล้วก็ในการที่จะจัดสรรงบประมาณเมื่อเราได้มี การศึกษา EIA เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดิฉันเชื่อมั่นว่า กระทรวงคมนาคมที่ใส่ใจทุกเส้นทางให้ พี่น้องประชาชนสัญจรไปมาด้วยความปลอดภัย ขอบคุณคำถามของท่านสมาชิกนะคะ ดิฉันขอชื่นชมท่านนะคะ ที่ท่านได้ใส่ใจปัญหาของพี่น้องประชาชนในทุกมิติ ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในการมาตอบกระทู้แทนท่านสมาชิก เนื่องจากวันนี้ ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ประชุม Workshop อยู่ที่กระทรวงคมนาคม และเป็นการประชุม Workshop ในการเตรียมแผนพัฒนาในกรอบงบประมาณของปี ๒๕๖๗ และปี ๒๕๖๘ ต้องขอถือโอกาสขอบคุณคำถามของท่านสมาชิก ที่วันนี้ท่านได้ให้ความสนใจในการผลักดัน โครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดตรังนะคะ คำถามของท่านสมาชิก ดิฉันขอทวนคำถามว่า กระทรวงคมนาคมจะมีการผลักดันโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง กลับมาพิจารณาอีกครั้งหรือไม่ ดิฉันขออนุญาตเกริ่นนำถึงภาพรวมของโครงการดังกล่าวก่อน
ท่านก็จะ เห็นว่าภาพสไลด์แรก กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบท ขอเรียนให้ทราบว่า โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นโครงการที่กรมทางหลวง ชนบทได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษา แล้วก็จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลการศึกษาสิ่งแวดล้อม EIA ไปตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ซึ่งที่ตั้งโครงการคือที่วงกลมไว้บริเวณสีแดง ซึ่งอยู่ในแผนที่ ซึ่งเป็นแผนที่ ที่เชื่อมระหว่างบ้านท่าเรือ ตำบลวังวน อำเภอกันตัง กับบ้านหินคอกควาย ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน ซึ่งจะมีพี่น้องประชาชนในพื้นที่ตำบลวังวน และตำบลบ้านนาได้ประโยชน์ จากโครงการก่อสร้างถนน ได้มีการก่อสร้างถนนและสะพานในเส้นทางดังกล่าวประมาณ ๑๓,๗๔๒ คน ซึ่งจากผลรายงานการศึกษาของพี่น้องประชาชนพบว่า พี่น้องประชาชน บางส่วนเห็นด้วย แต่มีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งเราเรียกว่าองค์กรพัฒนาเอกชน หรือว่า NGO ซึ่งออกมาต่อต้านโครงการนี้ แล้วก็บอกว่า ถ้าเราดำเนินการโครงการก่อสร้างสะพาน ดังกล่าว ก็จะไปทำลายระบบนิเวศป่าชายเลน แล้วก็ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากนั้น ยังไปขัดขวางการเจริญของสัตว์น้ำวัยอ่อนที่เป็นทรัพยากรสำคัญที่พี่น้องในแถบลุ่มน้ำนั้น ใช้เป็นที่ทำมาหากิน แล้วก็ใช้เป็นอาชีพที่เลี้ยงครอบครัวมาตลอด ถ้าเราไปทำการก่อสร้าง สะพานดังกล่าวในพื้นที่ก็จะเป็นการทำลายอาชีพของพวกเขาในกลุ่มของประมงพื้นบ้าน นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ไม่ดำเนินการ ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างสะพานดังกล่าว แต่กระทรวง คมนาคมก็ไม่นิ่งนอนใจนะคะ เราเองก็ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และได้ลงไป ร่วมประชุมกับพี่น้องประชาชน แล้วก็ยังจะได้ดำเนินการโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็น โอกาสอย่างดีที่เราบอกว่า ถ้า NGO ไม่เห็นด้วย มีประเด็นไหนบ้างที่กระทรวงคมนาคมหรือ ทางรัฐบาลจะชดเชย นี่คือโครงการอีก ๑ โครงการค่ะท่านประธาน เราจะเห็นว่าวันนี้การที่ เราเอาโครงการพัฒนาหรือความเจริญไปในพื้นที่ใด ๆ ถ้ามีพี่น้องประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือกลุ่ม NGO ไม่เห็นด้วย ก็เป็นการชะงักของโครงการ ก็เป็นการสร้างความที่เราบอกว่า พี่น้องประชาชนลำบาก ต้องการถนนบ้าง ต้องการอ่างเก็บน้ำบ้าง ต้องการสะพานบ้าง แต่พอ NGO ดิฉันไม่ทราบว่า NGO เหล่านั้นอยู่ในพื้นที่ หรือ NGO ที่อยู่ต่างถิ่น แต่ NGO เหล่านั้นได้แสดงออกเลยว่า เขาขอคัดค้านโครงการดังกล่าว ซึ่งดิฉันขอฝากท่านประธาน ไปถึงท่านสมาชิกนะคะ พวกเราเองในฐานะตัวแทนพี่น้องประชาชน สำคัญที่สุดคือการลงไป รับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน แล้วการลงไปเหล่านั้นเราต้องชี้แจงรายละเอียดความจำเป็นว่า เมื่อโครงการสะพานไปแล้ว จะไม่กระทบของการทำลายธรรมชาติระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อม มิฉะนั้นเกิดอีกกี่ปี ๆ ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้สร้างสะพาน เพราะมีกลุ่ม NGO กลุ่มเล็ก ๆ เหล่านี้ เห็นด้วย เพราะฉะนั้นดิฉันฝากท่านประธานไปถึงท่านสมาชิกนะคะว่า ขอให้สร้าง กระบวนการมีส่วนร่วมให้พี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม นั่นก็จะเป็นโอกาสดีที่ท่านสมาชิกจะได้ มีโอกาสไปชี้แจงและทำความเข้าใจกับกลุ่มของ NGO ดังกล่าวต่อไปค่ะ
ต่อมาในปี ๒๕๖๔ คณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก จังหวัดตรัง หรือเราเรียกว่า อจร. จังหวัดตรัง ก็ได้มอบหมายให้กรมทางหลวงชนบทกลับมาพิจารณา อีกครั้งว่า การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปะเหลียนแนวใหม่นี้ เปลี่ยนชื่อดูค่ะว่า ถ้าเปลี่ยนชื่อ เป็นโครงการตัดถนนและสร้างสะพานเชื่อมอำเภอกันตัง กับอำเภอหาดสำราญ มุ่งสู่ จังหวัดสตูลได้ไหมคะ แนวแผนที่ที่โชว์ให้ดู นั่นคือบริเวณเส้นวงกลมที่ Mark ให้เห็นนะคะ ดังที่แสดงในแผนที่ว่า ถ้าเราเปลี่ยนชื่อโดยที่ไม่ได้บอกว่าเป็นการก่อสร้างสะพานปะเหลียน จะเกิดอะไรขึ้น แต่ปัญหาก็เป็นอย่างนี้ค่ะท่านประธาน ซึ่งจริง ๆ แล้ว นโยบายของรัฐบาล ที่ทุก ๆ โครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม เราก็จะมีกระบวนการรับฟัง ความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน แล้วก็ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทุกภาคส่วน หลังจากที่ทาง กระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นจาก อจร. ตรัง เรียบร้อยแล้ว เราจึงกลับมาพิจารณาว่า แนวเส้นทางที่ อจร. ตรังเสนอนั้น จะมีศักยภาพที่จะพัฒนาเส้นทางเพื่อการเดินทาง แล้วก็ ท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ท่านจะเห็นภาพ ถ้าเราได้สร้างมันก็จะเป็นภาพ ที่สวยงาม ประกอบกับสำนักนโยบายและแผนของการขนส่งและการจารจร ของกระทรวง คมนาคม ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น แล้วก็ การออกแบบ แล้วก็มาดูว่า ถ้าเราใช้เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางอีกเส้นทางหนึ่งที่ส่งเสริม การท่องเที่ยว แล้วก็เป็นเส้นทางที่พี่น้องประชาชนสัญจรไปมาในเลียบทะเลชายฝั่งอันดามัน ช่วงจังหวัดระนองไปจนถึงจังหวัดสตูล ก็จะมีพื้นที่ที่สามารถครอบคลุมได้ถึง ๖ จังหวัด รวมทั้งจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง แล้วก็จังหวัดสตูล ซึ่งการศึกษาก็จะเป็นการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการคมนาคม เพื่อสนับสนุน การท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการสัมภาษณ์ แล้วก็หารือ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องของการพัฒนาการท่องเที่ยวและพัฒนาเมือง รวมทั้งสำรวจ กายภาพในการที่จะมีโครงข่ายของถนน เพื่อกำหนดเส้นทางตามแนวการพัฒนาในกลุ่ม ของยุทธศาสตร์จังหวัดนั้น ๆ ด้วย ท่านประธานที่เคารพคะ กระทรวงคมนาคมจึงได้รับทราบ ถึงการขอพื้นที่ในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปะเหลียนแล้ว และได้มอบหมายให้ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร พิจารณาตามความสอดคล้อง แล้วก็ความ เหมาะสมนะคะ เพราะมันเป็นถนนที่เลียบชายฝั่งทะเล เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาของการ ขนส่งทางบก และเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามันต่อไป ทั้งนี้คาดว่า เราได้มีการศึกษา EIA แล้วนะคะ จะแล้วเสร็จประมาณ ปี ๒๕๖๘ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งหากผลการศึกษาพบว่าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปะเหลียนเข้าหลักเกณฑ์ เพื่อเป็นถนน เพื่อการท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน และบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการ กรมทางหลวงชนบทถึงจะขอรับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป อย่างที่กราบเรียนท่านประธาน ที่ท่านสมาชิกได้ถามว่า ในส่วนของที่กลุ่ม NGO ออกมา คัดค้านในการสร้างสะพาน แล้วก็ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทางกระทรวง คมนาคมจึงมีแผน ๒ ที่ออกมารองรับในการก่อสร้างสะพานดังกล่าว นอกจากนั้นมีประเด็น อื่น ๆ ดิฉันอนุญาตตอบในคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิก ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน ในคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิก ดิฉันขอทวนคำถามอีกครั้งว่า ถ้าหากกระทรวง คมนาคมได้มีการผลักดันโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปะเหลียนอีกครั้ง จะสามารถ ดำเนินการก่อสร้างได้ปีงบประมาณใด จากคำถามของท่านสมาชิก นอกจากนั้นท่านยังถาม ถึงว่าโครงการดังกล่าวจะมีปัญหาหรือติดขัดในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นใด ซึ่งดิฉันได้ศึกษา โครงการนี้ แล้วก็รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมได้ลงไปทำงานจริง เราจึงทราบว่า การก่อสร้างโครงการนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ง่ายแต่เราจะใช้หน่วยงาน ก็คือมติ ครม. ในการผ่อนผัน ยกเลิกในประเด็นของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบท ขอเรียนให้ทราบว่าพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ที่สำคัญ ประกอบไปด้วย ๗ แห่ง แห่งแรกก็คือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะเหลียง แห่งที่ ๒ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ คืออุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า หมู่เกาะลิบงไปจนถึงปากแม่น้ำตรัง เป็นป่าชุ่มน้ำที่มีความสำคัญต่อพี่น้องชาวจังหวัดตรัง นอกจากนั้นก็จะอยู่ในพื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองกันตัง แล้วก็ป่าคลองไหโล๊ะ และป่าคลองแห่งชาติ ป่าคลองแตหรำ ป่าคลองบางแรด และป่าเขาหนุ่ย ต่อมาเป็น ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนเกาะเหลาตำ รวมทั้งป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองปรน แล้วก็ ป่าเลนคลองควนยาง รวมถึงป่าเลนคลองหินคอกควาย และสุดท้ายเป็นป่าเลนตามมติ ของ ครม. ปี ๒๕๔๓ ท่านประธานคะ นี่คือเขตป่าอุทยานแห่งชาติทั้ง ๗ แห่ง ก็จะเห็นว่า การดำเนินการใด ๆ ของโครงการดังกล่าว เราต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อกฎหมายของมติ ครม. แต่ขออนุญาตกราบเรียนท่านประธานต่อไปถึงท่านสมาชิกนะคะว่า ท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน คำนึงถึงสิ่งเหล่านี้สำคัญ ประเด็นไหนที่ติดกฎระเบียบ ท่านก็จะให้แก้ไข ระเบียบ ประเด็นไหนที่ติดด้วยมติ ครม. ท่านไม่ละเลย แล้วก็เร่งรัดให้ทุกหน่วยงาน จะเห็นว่า มติ ครม. ครั้งล่าสุดที่มีปัญหาเรื่องการที่ข่มขืนเด็กนักเรียน เรื่องไม่ให้ครูเฝ้าเวร ท่านก็ใช้มติ ครม. ในการประชุมแก้ไขปัญหา ประเด็นนี้ก็เช่นกันค่ะ ดิฉันจะถือโอกาส นำเรียนการใช้มติ ครม. แก้ไขให้มีการริเริ่มโครงการดังกล่าวในโอกาสต่อไป แล้วก็ขอให้ ท่านสมาชิกได้มั่นใจนะคะ ในโครงการที่กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบท จะดำเนินการฃซึ่งขณะนี้การจัดทำรายงาน EIA โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมก็ได้ดำเนินการกำหนดโครงการ หรือกำหนดการดำเนินงาน ซึ่งจะต้องทำการ ประเมินตามวิธีการ แล้วก็หลักเกณฑ์ในการประเมินผลสิ่งแวดล้อม ที่ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๖ ที่เห็นในภาพก็คือเป็นขั้นตอนนะคะ อีกทั้งมติ ครม. ในปี ๒๕๓๔ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ก็มีการระงับไม่ให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ในป่าชายเลน แล้วก็ระงับข้อพิจารณาไม่ให้ใช้ ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ที่ดิฉันกราบเรียนเป็นเบื้องต้น ดิฉันจะนำเรื่องนี้ ใช้มติ ครม. ในการยกเลิกมติของทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วก็มติ ครม. เดิม ทั้งนี้รวมทั้งอนุญาตให้ใช้พื้นที่ห้ามล่าสัตว์ สัตว์ป่า ป่าสงวนแห่งชาติ แล้วก็ป่าชายเลน จากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช แล้วก็พันธุ์พืชของกรมป่าไม้ กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งก่อนที่จะดำเนินการต่อไป ทั้งนี้หากผลการศึกษาออกมาเรียบร้อยแล้ว ตามเส้นทางที่ดิฉันได้นำเสนอไปนะคะ ก็จะมีโครงการการตัดถนน แล้วก็การสร้างสะพาน เชื่อมต่ออำเภอกันตังกับอำเภอหาดสำราญ มุ่งสู่จังหวัดสตูล ตามที่ อจร. ตรัง ได้เสนอ แล้วก็ มีความเหมาะสมที่จะเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งกรมทางหลวง มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินการจัดทำรายงาน EIA พร้อมกับสำรวจออกแบบ แล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการ ผู้ชำนาญการพิจารณารายงานประเมินผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม หรือ คชก. และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในโอกาสต่อไป แล้วก็จะขอ ผ่อนผันมติของ ครม.
ประเด็นสุดท้าย ขออนุญาตท่านประธานผ่านไปถึงท่านสมาชิกว่า กรมทางหลวงชนบทได้มีความห่วงใยต่อการใช้เส้นทางของพี่น้องประชาชน ทำไมจึงมี กรมทางหลวงชนบทเกิดขึ้น เพราะเราทราบดีค่ะว่าพื้นที่ต่างอำเภอ พื้นที่ที่ทุรกันดารออกไป พี่น้องประชาชนยังมีความต้องการถนน ต้องการสะพาน สิ่งเหล่านี้กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดดำเนินการตามที่สมาชิกได้ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากวันนี้ที่กระทรวงคมนาคมมีการทำ Workshop ในกรอบงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ แล้วก็ ปี ๒๕๖๘ ท่านจึงได้มอบหมายให้ดิฉันมาตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิกท่านปวิตรานะคะ
จากคำถาม ของท่านสมาชิก ดิฉันขออนุญาตทวนคำถามอีกครั้งนะคะว่า กระทรวงคมนาคม มีแผนที่จะใช้ทางลาดขึ้นเครื่อง ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานแทนบันไดตามหลักอารยสถาปัตย์ หรือว่า Universal Design ในสนามบินทุกแห่ง ทั้งสนามบินที่อยู่ภายใต้กรมท่าอากาศยาน และสนามบินที่อยู่ภายใต้ บริษัท ท่าอากาศยาน จำกัด (มหาชน) หรือว่า AOT โดยไม่ต้อง ร้องขอในกรณีพิเศษหรือไม่ อย่างไร ดิฉันขอตอบท่านสมาชิกดังนี้นะคะ
ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ท่านนายกรัฐมนตรี แล้วก็นโยบาย ของท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ที่มีแผนจะพัฒนาระบบการคมนาคม แล้วก็ Logistics ที่มีประสิทธิภาพ ให้ผู้โดยสารถึงที่หมายก่อนเวลาแล้วก็ปลอดภัย แล้วก็อยู่ในราคา ที่เหมาะสม แล้วก็ให้มีความสมบูรณ์ที่จะเชื่อมต่อกันอย่างครอบคลุมในทุกมิติ แล้วก็เรื่องของ การท่าอากาศยาน การใช้บริการสนามบินซึ่งเป็นประตูของการค้าแล้วก็การลงทุน แล้วก็ นโยบายเรื่องของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกมิติของกระทรวงคมนาคม เราได้พัฒนา เน้นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานนะคะ ทั้งทางบก ทางน้ำ แล้วก็ทางอากาศ ทั้งทางราง โดยเฉพาะ การเพิ่มขีดความสามารถของการท่าอากาศยานตามาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือน ระหว่างประเทศ หรือว่า ICAO รวมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงระบบการขนส่งสาธารณะของ พี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึง โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนที่จะใช้ทางลาดขึ้นเครื่อง ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานแทนบันไดตามหลักอารยสถาปัตย์ ซึ่งนั่นหมายถึงว่าการออกแบบ สภาพแวดล้อมให้เหมาะกับคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ คนปกติ หรือว่าคนพิการ ซึ่งจะทำให้ไม่มีอุปสรรคในการใช้งาน และสร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงพื้นที่ นอกจากนั้นการออกแบบ แล้วก็การบริการที่ดิฉันได้ขึ้นสไลด์ ก็จะให้ทุกคนได้ใช้บริการอย่าง เท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ เป็นหลักการพัฒนาพื้นที่ให้สังคมของผู้ใช้บริการนี้มีคุณภาพ โดยเฉพาะเรื่องดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์ระดับโลกที่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัย ซึ่งเป็น มาตรฐานของ ICAO ที่ดิฉันกราบเรียนไปเมื่อสักครู่นะคะ ซึ่งประเทศไทยเองในฐานะสมาชิก ที่ต้องปฏิบัติตาม แล้วก็ต้องเป็นไปตามแผนของกระทรวงคมนาคม ซึ่งแต่ละสนามบิน ได้จัดการบริการให้ดังนี้ค่ะ ในหน่วยงานของกรมท่าอากาศยาน ก็ได้มีสะพานเทียบเครื่องบิน ให้บริการที่ท่าอากาศยานจำนวน ๘ แห่ง ดังที่ท่านสมาชิกได้พูดถึงการจัดสรรงบประมาณ ที่ได้ใช้ไป รัฐบาลเดิมที่ได้จัดสรรงบประมาณ เขาก็ได้มีการจัดหาสะพาน ๘ แห่ง ได้แก่ การท่าอากาศยานจังหวัดกระบี่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดพิษณุโลก อำเภอแม่สอด และจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนอยู่ใน ความรับผิดชอบของ บริษัท ท่าอากาศยาน จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันการจอดแบบประชิด อาคารจะมีสะพานเทียบในการให้บริการทั้งหมด ๖ ท่าอากาศยาน ไม่ว่าจะเป็นสุวรรณภูมิ ดอนเมือง หาดใหญ่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ แล้วก็แม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงรายค่ะ
สำหรับการท่าอากาศยานในสังกัดของกรมท่าอากาศยานที่ไม่มีสะพานเทียบ เครื่องบิน จำนวน ๑๖ แห่ง ไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดชุมพร อำเภอเบตง จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดน่าน จังหวัดเลย จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัด ร้อยเอ็ด จังหวัดนครพนม จังหวัดตรัง หัวหิน จังหวัดระนอง จังหวัดนราธิวาส เราก็ได้จัดให้มี ทางลาดลำเลียงขึ้นลงเครื่องบิน ซึ่งเป็นไปตามหลักของอารยสถาปัตย์เช่นเดียวกันค่ะ
สำหรับผู้โดยสารปกติ หรือผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ ท่านสมาชิกได้เอ่ยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่ได้เจ็บป่วยไม่สะดวกในการที่จะต้องขึ้น เครื่องบินและลากกระเป๋าหรือใช้รถเข็น เราก็ส่งเสริมให้ผู้โดยสารเหล่านี้สามารถร้องขอได้ ซึ่งจะต้องมีการแจ้งล่วงหน้า อย่างไรก็ดีกระทรวงคมนาคมก็มีความพร้อมในการที่จะรองรับ ในการเดินทางให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารเหล่านี้เต็มที่ ซึ่งบางเที่ยวบินสำหรับผู้โดยสาร หรือว่าประเภทของอากาศยานในปัจจุบัน เราจะไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ขอเรียนให้ทราบว่า จริง ๆ ข้อเท็จจริงก็ยังไม่มีท่าอากาศยานที่ประเทศใดทำ เพราะว่าขนาดของอากาศยานต่างกัน คือ Size ของเครื่องบินก็ต่างกัน และปริมาณเที่ยวบินต่อวันก็มีหลายร้อยเที่ยวบิน ซึ่งในทางปฏิบัติผู้โดยสารท่านใด เช่นต้นทางเราทราบว่าเราจะต้องใช้ผู้โดยสารที่ไม่สบาย ต้องใช้รถเข็น ต้องใช้คนยก ก็จะมีการแจ้งเจ้าหน้าที่ในสายการบินนั้น ๆ เพื่อเวลาทั้งตอนขึ้น แล้วก็ตอนที่จะลงจากเครื่องบินก็จะมีการลง เช่น สมาชิกได้โชว์ภาพผู้โดยสาร ๑ คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการบนเครื่องบินก็จะต้องให้ความสำคัญกับผู้โดยสารนั้นเป็นกรณีพิเศษ เพราะว่าท่านที่ขึ้นไปอาจจะไม่สบาย ไม่มีความพร้อมในเรื่องของสภาพร่างกาย และ ผู้โดยสารที่จะต้องขึ้นจะต้องแจ้งความจำนงในการเดินทาง หลายท่านจะเห็นว่าถ้าท่าน ไม่แจ้งความช่วยเหลือ ก็จะมีการตรวจ Check แม้กระทั่งบางท่านไม่สบายยังต้องมีการตรวจ Check อุณหภูมิ บางท่านที่สภาพร่างกายไม่พร้อม เจ้าหน้าที่ของสายการบินนั้นก็ต้อง ตรวจ Check นะคะ เพราะว่าเราเกรงว่าถ้าเกิดขึ้นไปบนเครื่องแล้วเกิดอุบัติเหตุหรือเกิด เรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อผู้โดยสาร ฉะนั้นสายการบินนั้น ๆ ต้องรับผิดชอบ ซึ่งปัจจุบันนี้เราก็ให้ มีการร้องขอผ่านสายการบิน
นอกจากนั้นในสิ่งที่ท่านสมาชิกได้ถามว่า นโยบายของรัฐบาลนั้นจะมุ่งเน้น ให้กับพี่น้องประชาชนสำหรับทุกกลุ่มหรือไม่ ทางกรมท่าอากาศยานมีความยินดีค่ะ แล้วก็ พยายามที่จะปรับปรุงการบริการให้เข้าถึงผู้โดยสารทุกกลุ่ม รวมทั้งนอกจากภารกิจของ การลำเลียงผู้โดยสารแล้ว เราก็จะเพิ่มความระมัดระวัง แล้วก็ความปลอดภัยสำหรับ ผู้โดยสารด้วยค่ะ ขอบคุณสำหรับคำถามแรกค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ในคำถาม ที่ ๒ ของท่านสมาชิกนะคะ ขออนุญาตทวนคำถามว่า กระทรวงคมนาคมมีแผนที่จะ กำหนดให้มีการวางทางลาดพาดระหว่างพื้นที่ต่างระดับ ระหว่างทางเข้าเครื่องบินและ งวงช้างเพื่อให้ผู้ใช้ Wheelchair สำหรับผู้สูงอายุและผู้โดยสารที่ขนสัมภาระขึ้นเครื่อง ได้รับความสะดวกในการเดินทางตามหลักอารยสถาปัตย์หรือไม่ อย่างไร
ในประเด็นคำถามของท่านสมาชิกในคำถามที่ ๒ ขอเรียนให้ทราบว่า กระทรวงคมนาคมในความรับผิดชอบ มีกรอบแล้วก็อำนาจหน้าที่ในการให้บริการภาคพื้น ส่วนการใช้ทางลาดระหว่างพื้นต่างระดับ ระหว่างทางเข้าเครื่องบินแล้วก็งวงช้างหรือว่า Jet Bridge ที่ท่าอากาศยานในสังกัดของกรมท่าอากาศยานจะเป็นความรับผิดชอบของ สายการบินค่ะ ที่ท่านจะเห็นใช่ไหมคะว่าเวลาเราขึ้นไปในสายการบินไหน หรือบันไดทางลาด ที่มารับนี้ก็จะเป็นของสายการบินนั้น ๆ เพราะฉะนั้นในส่วนของกรมท่าอากาศยาน ก็จะมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องของการปรับปรุงการให้บริการ แต่เราก็จะไม่ละเลยค่ะ เพราะกรมท่าอากาศยานมีหน้าที่กำกับดูแลในเรื่องดังกล่าว ซึ่งเราก็มีการประชุมร่วมกัน โดยสำนักงานการบินพลเรือน กรมท่าอากาศยาน แล้วก็บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) แล้วก็สายการบินอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่วมกัน ซึ่งประเด็นนี้ดิฉันเอง ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็เคยร้องขอนะคะ ซึ่งสนามบินจังหวัดนครพนม บ้านดิฉันเอง ก็เคยเกิดปัญหาเรื่องนี้ แล้วก็ได้ร้องขอเหมือนกัน ทางกรมการบินพลเรือนก็แจ้งว่าเนื่องจาก เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของสายการบินนั้น ๆ จะไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบของ กรมท่าอากาศยาน แต่ในฐานะที่กำกับดูแลโดยกรมการบินพลเรือน ซึ่งเราได้มีการประชุม ร่วมกัน ก็จะเน้นย้ำเรื่องดังกล่าวต่อไป ซึ่งวันนี้สนามบินของประเทศไทยเราก็จะได้มี การพัฒนายกระดับขึ้นให้เป็นสนามบินที่ได้มาตรฐานสากล แล้วก็การยกระดับดังกล่าว ก็จะต้องมีความพร้อมในเรื่องของการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็ก แล้วก็ผู้ที่ได้รับความเจ็บป่วย และต้องใช้บริการโดยสารทางเครื่องบิน นอกจากนั้นเราก็เชื่อมั่นว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็น การพัฒนาขีดความสามารถให้สายการบินของประเทศไทยยกระดับสูงมาตรฐานสากลของ การบิน และนอกจากนั้นเราก็มีการเตรียมความพร้อม ผู้โดยสารของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทุกวัน กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เรากำกับดูแลกับสายการบินก็จะเร่งรัดทำเรื่องนี้ อย่างเร่งด่วนต่อไป
นอกจากนั้น ดิฉันขออนุญาตกราบเรียนท่านประธานว่ากระทรวงคมนาคม เองก็มีแผนที่จะใช้สะพานเทียบเครื่องบินและทางลาดขึ้นเครื่อง ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน แทนบันไดตามหลักอารยสถาปัตย์เช่นเดียวกัน ทั้งสนามบินที่อยู่ภายใต้กรมท่าอากาศยาน และสนามบินที่อยู่ภายใต้ของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT ซึ่งนโยบายของรัฐบาล ท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ก็ให้เน้นย้ำเรื่องดังกล่าว แล้วก็เราจะให้ พี่น้องประชาชนเข้าถึงการบริการในทุกสายการบิน แล้วก็เข้าถึงการบริการในการเดินทาง ทุกเส้นทางของกระทรวงคมนาคมและทุกเส้นทางของทุกมิติของกระทรวงคมนาคมต่อไป ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะวิปของคณะรัฐมนตรีนะคะ ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการ ที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี จำนวน ๗ ท่าน ดังนี้ ๑. พลตรี ไพศาล หนูสังข์ ๒. นายชนธัญ แสงพุ่ม ๓. นางสาวพันไมล์ ธาราสุข ๔. รองศาสตราจารย์มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง ๕. นายสุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ ๖. นายณัฐพงศ์ บุญเหลือ ๗. นางสุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จากประเด็นคำถามของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติในเรื่องของประเด็นกระทู้ถามสดด้วยวาจา ในวันนี้นะคะ เนื่องจากประเด็นคำถามของท่านที่จะถามกระทู้สดมีภารกิจในส่วนที่เกี่ยวข้อง คือขนส่งทางบก เนื่องจากท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมท่านสุรพงษ์วันนี้ ท่านติดประชุมเรื่องของรถไฟฟ้า แล้วท่านมีนัดหมายก่อนหน้านั้นแล้ว จริง ๆ ท่านก็ได้ถาม นะคะว่าจะมีการเลื่อนกระทู้ถามสดด้วยวาจาไปสักประมาณบ่ายโมงหรือไม่ แต่ปรากฏว่า มันเลื่อนไม่ได้ เนื่องจากเป็นกระทู้ถามสดด้วยวาจา จริง ๆ ทางกระทู้ในส่วนของกระทรวง คมนาคม ไม่ว่าจะเป็นกระทู้ถามทั่วไป กระทู้ถามสดด้วยวาจา กระทู้แยกเฉพาะ ถ้าท่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมท่านติดภารกิจ ท่านก็จะมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม แต่เนื่องจากช่วงเช้าดิฉันติดกระทู้แยกเฉพาะของท่านสมาชิกจากจังหวัด ลำปางของพรรคก้าวไกล ดิฉันก็เลยบอกว่าดิฉันจะไม่สะดวกในการที่จะใช้เวลามาตอบกระทู้ ถามสดด้วยวาจา แล้วก็ดิฉันมีกระทู้ถามทั่วไปในเรื่องของท่านสมาชิกจากจังหวัดสงขลา ในเรื่องของแลนด์บริดจ์ ดิฉันจึงรับกระทู้ ๒ กระทู้นะคะ ส่วนกระทู้ของท่านสมาชิก ดิฉันทราบค่ะไม่ว่าท่านจะเป็นกระทู้ถามสดหรือว่าท่านมีการ Post แล้วก็ท่านเป็น คณะกรรมาธิการคมนาคมท่านก็ได้หยิบประเด็นเรื่องนี้ ทางกระทรวงคมนาคมก็ไม่นิ่งนอนใจ ท่านสุรพงษ์ฝากดิฉันมาค่ะว่าอาทิตย์หน้าขอหยิบกระทู้ดังกล่าวมาถามอีก ในเรื่องของการ แก้ไขปัญหาของกระทรวงคมนาคมไม่ใช่เพียงแค่ถามกระทู้ ในกระทรวงคมนาคมเองก็ได้ ริเริ่มการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของท่านสมาชิกที่ท่าน Post ใน Facebook ของท่าน แล้วก็ ได้ทำการแก้ไข แต่ว่ากระทู้ถามสดนั้นก็จะได้รับทราบกระทู้ถามที่มีประเด็นคำถามเพิ่มเติม และนำไปแก้ไขต่อไปค่ะ ดิฉันขออนุญาตตอบแทนของท่านสุรพงษ์นะคะ ขอบคุณค่ะ
ท่านประธานสภาที่เคารพคะ จากประเด็นคำถามของท่านสมาชิกสักครู่ในเรื่องของการ มอบหมายงาน ถึงแม้ว่าท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะมอบหมายงานขนส่ง ทางบกให้ท่านสุรพงษ์ ขสมก. ได้มอบหมายงานให้ดิฉัน แต่เนื่องจาก ๒ หน่วยงานนี้มีความ เชื่อมโยงกัน การลุกตอบกระทู้ใด ๆ ดิฉันไม่ได้รู้สึกกังวลใจเลยค่ะ แต่การตอบกระทู้ถามสด ด้วยวาจาถ้ามีการตอบกระทู้ที่ไม่ครบถ้วนด้วยข้อมูลก็จะทำให้พี่น้องประชาชนคลาดเคลื่อน และคำถามของท่านสมาชิกก็ไม่สามารถตอบให้กระจ่างชัด ซึ่งครั้งหน้าท่านสุรพงษ์ได้รับปาก แน่นอนค่ะว่าจะมาตอบกระทู้ของท่านสมาชิก ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจาก ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในการมาตอบกระทู้ถามของ ท่านสมาชิก ท่านศาสตรา ศรีปาน ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติจากจังหวัดสงขลา พรรค รวมไทยสร้างชาติ แล้วก็ดิฉันถือโอกาสนี้กล่าวชื่นชมท่านสมาชิกนะคะ เพราะท่านศาสตรา ท่านเป็นสมาชิกที่ขยัน ทั้งขยันลงพื้นที่ ขยันที่จะตั้งกระทู้ถามหลายเรื่องในสภา ทั้งขยัน ในการที่จะเอาปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในการหารือในช่วงเช้า และใน โอกาสนี้ก็เป็นโอกาสที่ดีที่ดิฉันได้สื่อสารถึงพี่น้องประชาชนคนไทยถึงความคืบหน้าของ โครงการแลนด์บริดจ์ค่ะ คำถามของท่านสมาชิกได้ถามว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบาย เกี่ยวกับงบประมาณในการก่อสร้างแลนด์บริดจ์อย่างไรบ้าง ขอทราบรายละเอียดนะคะ ท่านประธานที่เคารพคะ ดิฉันขอขึ้นสไลด์ที่ ๑ ค่ะ
ท่านประธาน จะเห็นว่าโครงการแลนด์บริดจ์เป็นโครงการที่ประเทศไทยหรือว่ารัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้เล็งเห็นถึงความได้เปรียบทางด้านยุทธศาสตร์ที่ตั้งของประเทศไทยที่อยู่ ในคาบสมุทรอินโดจีน ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาที่เป็นศูนย์กลางของการขนส่งภูมิภาค ที่เชื่อมโยงระหว่าง ๒ ประเทศ ๒ มหาสมุทร ไม่ว่าจะในฝั่งของประเทศมหาสมุทรอินเดีย ที่จังหวัดระนอง แล้วก็มหาสมุทรทะเลจีนใต้ในฝั่งของจังหวัดชุมพร หลักการของโครงการ พัฒนาแลนด์บริดจ์แห่งนี้นะคะท่านประธาน ประเทศไทยหรือว่ารัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา เรามองเห็นโอกาสและรูปแบบในการลงทุน เราให้เอกชนในการลงทุน ซึ่งไม่ใช่เป็น โครงการก่อสร้างพื้นฐานแบบเดิม ๆ ที่รัฐเป็นผู้ออกในเรื่องของการศึกษารายละเอียด รัฐเป็นผู้จ้างเหมา ผู้รับเหมาก่อสร้างมาทำ หรือว่าจ้างเอกชนมารับเหมาโครงการนี้นะคะ เหมือนที่ทำกันในปัจจุบันหรือว่าโดยทั่ว ๆ ไปที่ทุกกระทรวงทำอยู่ในปัจจุบันนี้ เนื่องจาก โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ แล้วก็วงเงินที่จะลงทุนการก่อสร้างถึง ๑ ล้านล้านบาท เราจึงต้องทำรูปแบบปัจจุบันโดยที่เราคำนึงถึงว่าการทำโครงการเหล่านี้จะมีผู้มาใช้บริการ หรือไม่ และโครงการนี้เมื่อไม่มีผู้มาลงทุนเราก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการโครงการต่อไปได้ แต่การพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ในครั้งนี้ ที่ดิฉันกราบเรียนตั้งแต่แรกว่าเราเอาที่ตั้ง ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่เป็นยุทธศาสตร์มาทำการพัฒนา โดยให้เอกชนเห็นถึงคำว่า โอกาส แล้วก็โดยได้เชิญชวนเอกชนที่มีศักยภาพทางด้านการแข่งขัน มีความพร้อมในเรื่อง ของเงินทุน มีความรู้ความสามารถเข้ามาดำเนินการ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง การขนส่งและประตูการค้าของประเทศในภูมิศาสตร์ของทะเลจีนใต้อย่างแท้จริง เรื่องเหล่านี้ เราได้มีการพูดคุยกันเป็นระยะเวลานานมาก ถ้าดิฉันจะคาดเดาได้ประมาณ ๓๐-๔๐ ปี แต่ก็ ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเรามีปัจจัยที่กระตุ้นหรือว่าปัจจัยที่เร่งเร้าให้เกิดขึ้น โดยดิฉัน ได้นำเสนอปัจจัยที่เร่งเร้าทั้ง ๓ ด้าน นี่คือความคืบหน้าท่านประธานผ่านไปถึงท่านสมาชิก แล้วก็ดิฉันจะนำเสนอข้อมูลที่ Update แล้วก็ข้อมูลใหม่ ๆ ให้ ซึ่งปัจจัยเร่งเร้าประกอบไปด้วย ๓ ด้าน นั่นก็คือ
ปัจจัยที่ ๑ เป็นเรื่องของความคับคั่งของเรือที่เดินในช่องแคบมะละกาตามที่ สถาบันต่างชาติหลายประเทศได้คาดการณ์ไว้ว่าจำนวนเรือที่อยู่ในช่องแคบมะละกาดังที่ ดิฉันขึ้นภาพสไลด์นะคะว่า ปัจจุบันช่องแคบมะละการับเส้นทางการเดินเรือได้ประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ ลำ ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าจะทำให้เส้นทางดังกล่าวมีการเดินเรือที่หนาแน่น จึงจำเป็น ที่จะต้องให้บริษัทเหล่านั้นหาเส้นทางในการขนส่งทางเดินเรือแบบใหม่ เพื่อรองรับปริมาณ การบริโภคและปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้น นั่นคือปัจจัยที่ ๑ ค่ะ
พอมาดูปัจจัยที่ ๒ ในเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทางบริษัท เหล่านั้นจึงต้องมองหาเส้นทางเดินเรือสำรองในการขนส่งสินค้าเพื่อลดความเสี่ยง เช่น ปัญหากระทบกระทั่งของกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่ได้เกิดผลกระทบต่อกรณีการขนส่งสินค้า ทางทะเล ดังเช่นกลุ่มของประเทศทะเลแดงที่มีปัญหาการโจมตีในเรื่องของการปล้นเรือสินค้า ในปัจจุบัน
หันกลับมาดูปัจจัยที่ ๓ ในเรื่องความสำเร็จในการพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ ที่เรา ได้นำระบบของท่าเรืออัจฉริยะนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารการขนส่ง สินค้า นั่นก็คือเมื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้วจะทำให้ลดระยะเวลาและการลดค่าใช้จ่ายของ ผู้ประกอบการในการขนถ่ายสินค้าลงในระบบต่อไปได้ค่ะ
ท่านประธานคะ นี่คือปัจจัย ๓ ปัจจัยที่เร่งเร้าให้จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนา และเดินหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ค่ะ อีกหนึ่งภาพที่ดิฉันได้โชว์ภาพให้ท่านสมาชิกได้เห็น นั่นคือรัฐบาลภายใต้ท่านนายกเศรษฐา ทวีสิน ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม จึงได้เดินสายที่จะทำการ Roadshow เพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟัง ความเห็นของนักลงทุนทั่วโลก เพื่อมองเห็นศักยภาพของโครงการ ดิฉันขอเน้นย้ำอีกครั้งนะคะ ว่าโครงการนี้รัฐให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโครงการดังกล่าวเราจึงต้องการ เงินลงทุนที่ประเมินไว้เบื้องต้นในระยะที่ ๑ ถึงระยะที่ ๔ รวมทั้งสิ้น ๑ ล้านล้านบาท โดยใน ระยะที่ ๑ เป็นระยะแรกของการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน จะประกอบไปด้วยท่าเรือทั้งสองฝั่ง ที่จะรองรับตู้สินค้าในฝั่งของจังหวัดระนอง ๖ ล้านตู้ และฝั่งของจังหวัดชุมพรอีก ๔ ล้านตู้ นอกจากนั้นก็จะมี Motorway และรถไฟฟ้าสำหรับการเชื่อมโยงของ ๒ ฝั่งทะเลในวงเงิน ของการลงทุนในระยะที่ ๑ ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้รายละเอียดของการคืบหน้า ของการลงทุนซึ่งจะขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนของภาคเอกชน โดยรัฐจะเป็นผู้กำกับเชิง นโยบาย ย้ำอีกครั้งนะคะ จะเป็นการลงทุนของภาคเอกชนใน ๑ ล้านล้านบาท รัฐบาลจะเป็น เพียงผู้กำหนดในเชิงนโยบายของโครงการแลนด์บริดจ์ โดยรัฐบาลจะคำนึงถึงประโยชน์ของ ประเทศแล้วก็ของพี่น้องประชาชนค่ะ นอกจากนั้นอย่างไรก็ตามจากปัญหาของการดำเนินการ โครงการแลนด์บริดจ์ขณะนี้ซึ่งจะมีผลกระทบทั้งพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบของ ประมงพื้นบ้าน ผลกระทบของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ได้สูญเสียในเรื่องของการเวนคืนที่ดิน หรือว่า ขาดรายได้จากอาชีพที่พี่น้องประชาชนทำอยู่นะคะ รัฐบาลเองก็มีแนวทาง จากที่กรรมาธิการ วิสามัญได้ลงไปพื้นที่ จากการที่ท่านนายกรัฐมนตรีไปประชุม ครม. สัญจรที่จังหวัดระนอง ท่านนายกรัฐมนตรีไปฟังข้อมูลจากผู้ที่เห็นด้วยแล้วก็จากผู้ที่เห็นต่างนะคะ โดยรัฐบาลได้วาง แนวทางแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนไว้ดังนี้ค่ะ
ประเด็นที่ ๑ อาชีพประมงพื้นบ้านที่สูญเสียรายได้ รัฐบาลเองก็จะเยียวยา โดยจะทำการส่งเสริมอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการประมง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาอุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้าทางการเกษตรและสัตว์ทะเล รวมถึงการชดเชย รายได้ที่ขาดหายไป โดยจะมีการจัดตั้งกองทุนเยียวยาขึ้นมา รวมทั้งให้ภาคเอกชนในการ ลงทุนแลนด์บริดจ์เข้ามาลงทุนโดยไม่ใช้งบประมาณของภาครัฐ ย้ำอีกครั้งไม่ใช้งบประมาณ ของภาครัฐค่ะ
ประเด็นที่ ๒ เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน รัฐบาลหรือว่าเราจะ ใช้เงินกองทุนของภาคเอกชนเหล่านี้ ก็จะชดเชยเยียวยาทั้งที่ดินที่มีเอกสารสิทธิและที่ดินที่ ไม่มีเอกสารสิทธิในราคาที่เหมาะสมโดยไม่กระทบถึงภาวะของการครองชีพ ภาวะของความ มั่นคงของครอบครัวนั้น ๆ
ประเด็นที่ ๓ ประชาชนในพื้นที่ที่ยังไม่มีสัญชาติ ซึ่งในการประชุม ครม. สัญจรที่ผ่านมา ขออนุญาตเอ่ยชื่อ มะ หรือว่าประชาชนพลัดถิ่นเหล่านั้น สิ่งที่เขาต้องการ ก็คือเขาต้องการสัญชาติไทยหรือบัตรประชาชนคนไทย ในการประชุม ครม.ท่านนายกก็ได้ไป มอบบัตรประชาชนคนไทยส่วนหนึ่งให้พี่น้องประชาชนคนไทยพลัดถิ่นที่จังหวัดระนอง ในขณะนี้ท่านนายกได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเร่งรัดกระบวนการเหล่านี้ ตั้งแต่การ รวบรวมข้อมูล การพิสูจน์สัญชาติ และการมอบสิทธิหรือให้สัญชาติไทย ซึ่งขณะนี้กระทรวง มหาดไทยได้ลงไปสำรวจโดยได้รับความร่วมมือจากทางพื้นที่ได้อย่างดีนะคะ แล้วก็ขอ อนุญาตว่าสิ่งไหนที่จะมีความคืบหน้าอย่างไรดิฉันจะขอ Update ข้อมูลให้กับท่านสมาชิก ขอบคุณทุกคำถาม คำถามแรกของท่านสมาชิก ท่านศาสตรา ศรีปาน ค่ะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต่อคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิกนะคะ คำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิกได้ถามว่าแผนการ ดำเนินงานโครงการก่อสร้างแลนด์บริดจ์ในปีงบประมาณใด และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปีใด ดิฉันขอตอบคำถามของท่านสมาชิกดังนี้ว่า ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้ทำการ ศึกษาเบื้องต้นในเรื่องของแผนธุรกิจ Business Model ได้ดำเนินการไปเกือบเสร็จแล้ว เดี๋ยวสักครู่ดิฉันจะขึ้น Chart นะคะ แล้วในส่วนของทางกรรมาธิการวิสามัญที่ตั้งโดย สภาผู้แทนราษฎรที่ท่านสมาชิกได้เป็นกรรมาธิการวิสามัญอยู่ ขณะนี้ทราบว่าผลการศึกษา เสร็จแล้ว ส่งโรงพิมพ์ เมื่อโรงพิมพ์เสร็จแล้วก็จะนำส่งให้ท่านประธานสภาบรรจุระเบียบ วาระ และท่านสมาชิกก็สามารถแสดงความเห็นในเรื่องของผลการศึกษาจากกรรมาธิการวิสามัญ ของสภาผู้แทนราษฎรได้ โดยขณะนี้ท่านนายกเศรษฐา ทวีสิน แล้วก็ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้นำข้อมูลของการศึกษาเบื้องต้นไป Roadshow ในเวทีระดับโลกแล้วก็นานาชาติ ซึ่งการ ประชุมที่ซานฟรานซิสโก ประชุมที่สหรัฐอเมริกา การประชุมผู้นำ ASEAN ที่ญี่ปุ่น แล้วก็การ ประชุมล่าสุด World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ก็ได้รับฟัง ความเห็นของผู้ที่หลากหลาย แล้วก็มีหลายประเทศที่สนใจลงทุนที่ท่านสมาชิกได้นำเรียน ไม่ว่าจะเป็นประเทศอินเดีย ประเทศดูไบ แล้วก็ยังมีประเทศที่สนใจเข้ามาดูพื้นที่ ประเทศจีน แล้วก็ประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้ข้อมูลของการรับฟังความเห็นจากกลุ่มของนานาประเทศได้เข้า มาประสานงานในการสนใจโครงการดังกล่าว นอกจากนั้นผลการทำ Roadshow ดังกล่าว เราก็จะนำความเห็นของนักลงทุนเหล่านี้มาปรับรายละเอียดแล้วก็รูปแบบของการก่อสร้าง รูปแบบของการลงทุนให้เหมาะสม เพื่อสามารถที่จะดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อไปได้ ขออนุญาตขึ้น Chart ของการออกแบบรายละเอียด การศึกษาโครงการสิ่งแวดล้อมของ ท่าเรือ ของการรถไฟ แล้วก็ของ Motorway ในเรื่องของท่าเรือทั้ง ๒ ฝั่งดังขึ้นใน Chart ก็จะเป็นด้านของฝั่งอ่าวไทยที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และฝั่งอันดามันที่อำเภอเมือง ระนอง ซึ่งขณะนี้สำนักงาน สนข. ได้ออกแบบเบื้องต้นเสร็จแล้ว สนข. อยู่ในระหว่างของการ ทำ EIA คาดว่าจะเสร็จประมาณเดือนกรกฎาคม ปี ๒๕๖๗ ในเส้นทางที่ ๒ เป็นเส้นทางของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันบริษัทนี้อยู่ในความดูแลที่ปรึกษาของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย กำลังออกแบบเส้นทางรถไฟ รวมถึงศึกษาในเรื่องของ EIA และอยู่ในเรื่องของ แผนการที่จะดูกรรมสิทธิ์ที่ดินและการเวนคืนที่ดิน และองค์ประกอบสุดท้ายคือเรื่องของ Motorway โดยกรมทางหลวง ขณะนี้กรมทางหลวงได้ใช้งบประมาณ ปี ๒๕๖๗ ในการ ดำเนินการออกแบบแล้วก็สำรวจสิ่งแวดล้อม EIA เช่นกัน หลังจากเราทำ ๓ ส่วนนี้เสร็จ เรียบร้อยแล้ว สนข. จะเป็นเจ้าภาพในการรวบรวม ๓ ส่วนนี้เข้ามาด้วยกัน แล้วก็ทำร่างเชิญชวน ให้ภาคเอกชน กลุ่มนานาชาติเหล่านั้นได้ทำการร่างประกวดราคา โดยจะทำการเปิดประมูล ท่าเรือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของท่าเรือ แล้วก็ท่าเรือของ Motorway แล้วก็การรถไฟ โดยเปิด โอกาสให้นักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนต่าง ๆ สามารถเข้าร่วมการยื่นซองประมูล แล้วก็เข้าร่วมการเสนอราคาในโอกาสต่อไป สำหรับการเปิดประมูล แนวทางของ สนข. ที่ได้ วางไว้คือการเปิดประมูลเพียงสัญญาเดียว เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนเพียงรายเดียว เข้ามาบริหารโครงการ และจะทำให้เกิดการบูรณาการที่สามารถบริหารโครงการได้มี ประสิทธิภาพ การประกวดราคาตามแผนน่าจะเริ่มได้ประมาณปลาย ปี ๒๕๖๘ หรือคาดว่า ปี ๒๕๖๙ นั่นก็คือแผนการดำเนินการดังกล่าวค่ะ ท้ายที่สุดดิฉันต้องขอถือโอกาสขอบคุณ ท่านสมาชิกอีกครั้งหนึ่ง ว่าโครงการแลนด์บริดจ์เป็นโครงการและเป็นโอกาสสำคัญของ ประเทศในการขับเคลื่อนที่จะมีประโยชน์ต่อประเทศ แล้วก็ประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนใน จังหวัดระนองและจังหวัดชุมพร รวมไปถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งกระทรวงคมนาคมเองเราให้ความสำคัญกับโครงการ ท่านนายกรัฐมนตรีวันนี้ถึงแม้ ท่านจะเดินทางไปต่างประเทศนั่นก็คือการเดินทางไปทำงาน การไปสร้างภาพลักษณ์ให้กับ ประเทศไทย การไปเชิญชวนนักลงทุนให้มาลงทุนในประเทศไทย โดยเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน รวมทั้งท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ๒ ท่านนี้พี่น้องประชาชนต่างก็ฝากความหวัง ไว้ว่าประเทศไทยในรอบ ๓๐-๔๐ ปีนี้ที่ผ่านความขัดแย้งมาอย่างยาวนาน เราจะเดินหน้าสู่ ประเทศที่มีการพัฒนาในทุก ๆ มิติ ในทุก ๆ ด้านของประเทศต่อไป ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง คมนาคม วันนี้จากกระทู้ถามของท่านสมาชิก ท่านสมาชิกได้ถามไปที่ท่านนายกรัฐมนตรี แล้วก็ท่านนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ทางกระทรวงคมนาคม ท่านประธานคะ เวลาประเด็น ของคำถามหรือว่ากระทู้ของท่านสมาชิก ก็อยากจะให้ท่านสมาชิกถามตรงมาที่กระทรวง คมนาคม เพราะว่าท่านนายกรัฐมนตรีมีภารกิจเยอะมาก ซึ่งวันนี้ท่านนายกรัฐมนตรีก็ลาป่วย ท่านไม่สบาย อยากจะให้ท่านประธานได้ให้คำชี้แนะต่อท่านสมาชิกว่ามีประเด็นคำถามใด ๆ ที่ไปถึงกระทรวงใดก็อยากจะให้ถามถึงกระทรวงนั้น ๆ ต้องขอบคุณคำถามของท่านสมาชิก ที่ท่านได้มีความห่วงใยต่อการใช้รถใช้ถนนของพี่น้องประชาชน คำถามแรกของท่านสมาชิก ดิฉันเห็นว่ามีเพียงคำถามเดียว แต่จะขออนุญาตที่จะรวบทุกประเด็นในคำถาม ซึ่งถึงแม้ว่า ท่านจะมีคำถามเดียว แต่ว่าเมื่อแยกประเด็นออกมาแล้วมีอยู่ประมาณ ๓-๔ ประเด็น ขอสไลด์ในประเด็นคำถามแรกค่ะ
ดิฉันจะฉาย ให้เห็นภาพถึงความเป็นจังหวัดลำปางหรือว่านครลำปาง นครลำปางตั้งอยู่ทางภาคเหนือของ ประเทศไทย ระยะห่างจากกรุงเทพมหานครตามถนนทางหลวงหมายเลข ๑ เป็นระยะทาง ๖๐๒ กิโลเมตร ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มล้อมรอบด้วยหุบเขาทุกด้าน และทำให้ลักษณะ ของตัวจังหวะเป็นแอ่งกระทะ มีแม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำวัง มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒,๕๓๓ ตารางกิโลเมตร แล้วก็เป็นพื้นที่ที่ใหญ่อันดับ ๕ ของภาคเหนือ รองจากจังหวัดเชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน และเพชรบูรณ์ มีประชากรในพื้นที่ประมาณ ๗๑๘,๗๙๐ คน มีรายได้ต่อหัว เฉลี่ยต่อปี ๑๔๗,๕๑๔ บาทต่อปี อาณาเขตติดต่อของจังหวัดลำปาง ทิศเหนือติดต่อกับ จังหวัดเชียงราย ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดตาก ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดแพร่ ทิศตะวันออก เฉียงเหนือติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย แล้วก็ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน นี่คือภาพรวมที่ดิฉัน ฉายภาพให้เห็นถึงความเป็นจังหวัดนครลำปาง โครงข่ายของกระทรวงคมนาคมประกอบด้วย ทางหลวงหมายเลข ๑ และทางหลวงหมายเลข ๑๑ ซึ่งเป็นสายทางหลัก ทางหลวงหมายเลข ๑ เริ่มจากจังหวัดลำปางที่ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริกถึงอำเภอบ้านร้อง อำเภองาว รวมระยะทาง ๒๓๑ กิโลเมตร ช่วงตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ ที่ท่านสมาชิกได้ยื่นกระทู้ถาม ก็เป็นทางหลวงขนาด ๔ ช่องจราจร มีผิวลาดยาง ปริมาณจราจรหมายถึงความหนาแน่นของ รถที่วิ่งต่อวันประมาณ ๑๗,๙๗๕ คัน ซึ่งทำให้มองเห็นภาพว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลปีใหม่ปริมาณรถที่ใช้เส้นทางถนนเส้นนี้มีความหนาแน่นเป็นอย่างมาก นอกจากนั้น ตามภาพนะคะถนนก็มีความโค้งและความชัน หากใช้ความเร็วเกินกำหนดก็จะทำให้เกิดการ ควบคุมรถที่ยากขึ้น จากสถิติของอุบัติเหตุจะเห็นว่ากรมทางหลวงได้รวบรวมสถิติปริมาณ อุบัติเหตุบนทางหลวงในช่วงเวลาดังกล่าวย้อนหลัง ๓ ปี วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๗ เกิดอุบัติเหตุทั้งหมด ๒๘ ครั้ง พบว่าสาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุมูลเหตุ ก็คือขับรถเกินกำหนด ใช้ความเร็วเกินกำหนดถึง ๒๗ ครั้ง ขับรถย้อนศร ๑ ครั้ง จากสถิติรถ ที่เกิดอุบัติเหตุส่วนมากก็คือรถกระบะ ๔ ล้อ จากที่เราได้ทำข้อมูลสถิติปรากฏว่ารถกระบะ ๔ ล้อ ที่เกิดอุบัติเหตุส่วนมากจะเป็นรถขนส่งของที่ต้องใช้ความเร็วแล้วก็ใช้ระยะเวลาที่จำกัด เพื่อสามารถส่งสินค้าได้รวดเร็วก่อนเวลา จึงทำให้มีการเร่งความเร็วและใช้ความเร็ว เกินกำหนด ซึ่งกรมทางหลวงก็ได้รับทราบปัญหา ไม่ได้ละเลยนะคะท่านประธาน แต่เรา กลับเร่งรัดที่จะมีการแก้ไขปัญหาในเรื่องของการติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์ความปลอดภัย นอกจากนั้นแล้วก็ยังได้สื่อสารไปถึงที่น้องประชาชนว่าเมาอย่าขับ ในขณะที่ห้ามใช้ ความเร็วเกินก็ใช้สื่อทุกช่องทางในการขอความร่วมมือจากผู้ใช้รถใช้ถนน จะเห็นไหมคะ ว่าในช่วงที่มีฝนตกถนนลื่นผู้ขับขี่ก็ใช้ความเร็วในบริเวณดังกล่าวก็ทำให้รถเสียหลักลงข้างทาง จึงต้องดำเนินการติดตั้งป้ายเตือนไม่ให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด ก็คือ ๕๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ก็คือมาตรฐานของการขับขี่รถบนถนนทางหลวง แต่ท่านประธานคะ เนื่องจากการใช้ แนวเส้นถนน ๔ ช่องจราจร ผู้ขับขี่มักจะใช้ความเร็ว จึงดำเนินการติดตั้งเส้นชะลอความเร็วอีก เพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ขับขี่ได้ชะลอความเร็วเมื่อเข้าพื้นที่ในโค้งบริเวณดังกล่าว ดังในภาพค่ะ เส้นทางดังกล่าวที่ดิฉันกราบเรียนตั้งแต่แรกเนื่องจากเป็นเส้นทางที่มีความโค้ง และมีความลาดชัน เรายังเพิ่มความปลอดภัยเข้าไปอีก นั่นก็คือติดตั้งราวกันอันตราย เพื่อลดอันตรายในขณะที่รถขับขี่ด้วยความเร็วแล้วก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งในภาพก็จะเป็น ภาพของรถที่เข้าความเร็วแล้วก็ตกร่องลงข้างทาง ขออนุญาตนำเรียนท่านประธานว่าจาก ปัญหาทั้งหมดกระทรวงคมนาคมก็ได้จัดสรรงบประมาณในกรอบวงเงินของงบประมาณ ปี ๒๕๖๘ ในการติดตั้งราวกันอันตรายเพิ่มเติมในเส้นทางของทางหลวงหมายเลข ๑ ที่ตำบล บ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปาง ช่วงแรกก็คือ ๓.๕ ล้านบาท อีกช่วงหนึ่งก็คือบริเวณบ้านดง อำเภอแม่เมาะ อีก ๓.๕ ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาไม่ให้รถแฉลบลงข้างทาง แล้วก็เพิ่มขีดความสามารถในการที่จะลดอุบัติเหตุของกรมทางหลวงต่อไป เนื่องจากเส้นทาง ดังกล่าวเป็นเส้นทางโค้งทำให้มีระยะการมองเห็นที่จำกัด เราจึงได้ดำเนินการติดตั้งหลักล้มลุก มันก็จะเป็นแนวเพื่อให้เป็นสัญญาณเตือนที่เห็นชัดเจนไม่ว่าจะในช่วงบริเวณยามค่ำคืนเพื่อใช้ ในการนำทาง เพิ่มจุดสังเกตให้กับผู้ขับขี่อีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทาง ที่มีความลาดชัน อย่างที่ดิฉันกราบเรียนว่าส่วนมากผู้ขับขี่รถยนต์ก็จะใช้ความเร็วเกินกำหนด เราจึงได้ดำเนินการติดตั้งกล้องอีก ภาพอยู่ขวามือนะคะ เพื่อตรวจจับความเร็ว โดยได้ ดำเนินการติดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการบังคับให้ใช้กฎหมาย ไม่ให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็ว เกินกำหนด แล้วก็จะเป็นการลดอุบัติเหตุอีกชั้นหนึ่ง จากการดำเนินการและสำรวจ ความเสียหายของท้องถนน อย่างที่ท่านสมาชิกได้นำเสนอประเด็นของปัญหา เราก็จะเห็นว่า ถนนนี้สร้างมาหลายปีพบว่าความเสียดทาน เราเรียกภาษาช่างว่าความเสียดทาน แต่ภาษา ที่ชาวบ้านจะเข้าใจคือความฝืดของถนน เราก็ได้ทำการสำรวจ พบว่าค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์ ความเสียดทานของพื้นผิวจราจรในเส้นนี้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่แขวงทางหลวงในพื้นที่ ได้นำเสนอมาที่กรมว่าให้มีการปรับปรุงผิวลาดยางเป็นผิวคอนกรีตเพื่อเพิ่มความหนืด ของถนน นั่นก็คือเมื่อเพิ่มความหนืดของถนนของผิวทางแล้ว เราก็เชื่อมั่นว่าผู้ขับขี่ที่ใช้รถ ยานพาหนะ รถเหล่านั้นก็จะมีการยึดเกาะพื้นผิวที่เป็นความหนืดของถนนพื้นผิวคอนกรีต แล้วก็จะเพิ่มความเสียดทานและต้านทานการเกิดร่องล้อ ร่องล้อรถถ้าถนนด้วยความฝืด ร่องล้อก็จะชะลอความเร็วลง โดยเบื้องต้นเราได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างผิวทาง คอนกรีตในกรอบปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ช่วงตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ ในวงเงิน งบประมาณ ๑๗,๙๙๙,๐๐๐ บาท ท่านสมาชิกก็นำข้อมูลเหล่านี้ไปสื่อสารถึงพี่น้องประชาชน ในโอกาสที่ท่านได้ลงพื้นที่ด้วยนะคะ ท่านประธานที่เคารพ สุดท้ายเนื่องจากท่านสมาชิก ได้มีคำถามในกระทู้ถามดังกล่าว ดิฉันได้ขออธิบายความทั้งหมดจากประเด็นคำถาม กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าระบบทางหลวงที่สะดวกแล้วก็ปลอดภัยเชื่อมโยงการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนน พี่น้องประชาชนคนไทยมั่นใจว่า กรมทางหลวงใส่ใจทุกการเดินทางให้ปลอดภัย ขอบคุณคำถามของท่านสมาชิกค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง คมนาคม ขอบคุณสำหรับคำถามที่ ๒ นี่คือภาพของการเป็นผู้แทนราษฎรที่ท่านสมาชิก ได้ใส่ใจทุกประเด็นคำถาม ต้องขอบคุณค่ะ เวลากระทู้ถามท่านนายกรัฐมนตรีแล้วมันมี บูรณาการทุกภาคส่วน ดิฉันได้ขออนุญาตนำเรียนและขอบคุณท่านสมาชิกค่ะ
ในประเด็นคำถามที่ ๒ ในเรื่องของงบประมาณปี ๒๕๕๗ เป็นแค่ช่วงเดียว แล้วก็เราจะตั้งในงบประมาณปี ๒๕๖๘ อีก ซึ่งเวลาเข้าในชั้นอนุกรรมาธิการก็ฝากท่านสมาชิก จากพรรคก้าวไกลด้วย เสนออย่าตัดโครงการนี้ ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้มา ตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิกจากจังหวัดชุมพรค่ะ ประเด็นคำถามของท่านคือท่านถามว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของ อ่าวไทยในพื้นที่จังหวัดชุมพรไม่เชื่อมต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร ดิฉันขออนุญาตต่อท่านประธาน ขอตอบคำถามของท่านสมาชิกดังนี้นะคะ
กระทรวง คมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบทได้มีการก่อสร้างถนนเลียบจากชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือว่า ไทยแลนด์ริเวียร่า ประกอบด้วยโครงการพัฒนาถนนท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเล ด้านตะวันตกที่ปรากฏบนภาพนะคะ แล้วก็ทั้งฝั่งด้านตะวันออก ทางฝั่งตะวันออกของ อ่าวไทยจะครอบคลุมจังหวัดระยอง แล้วก็จังหวัดจันทบุรี ส่วนถนนเลียบชายฝั่งทางด้าน ตะวันตก จะประกอบไปด้วยจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพรแล้วก็จังหวัดระนอง ซึ่งถนนสายดังกล่าวเป็นเป้าหมายของกระทรวงคมนาคม ที่จะมีการพัฒนาโครงข่าย แล้วก็ความต่อเนื่องของถนนที่สร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงท่องเที่ยวในฝั่งทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้จะพัฒนาไปสู่ความเป็น ระดับสากลและเป็นถนนที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่ชุมชนให้เป็นรูปธรรม ยกระดับ คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในกลุ่มภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวยังจะได้รับ ความสะดวกสบายในการเดินทางด้วยนะคะ โดยเฉพาะกรมทางหลวงชนบทเองได้ดำเนินการ ก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันออกอ่าวไทยมาตั้งแต่ ปี ๒๕๔๙ จากภาพ ได้มี จุดเริ่มต้นที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ไปสิ้นสุดที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น ๑๑๑ กิโลเมตร ซึ่งผิวการจราจรของการก่อสร้างถนนเป็น ๒ ช่องจราจร ๖-๘ เมตร แล้วก็มีไหล่ทางข้างละ ๑.๕๐ เมตร แล้วก็เป็นการเพิ่มศักยภาพของการท่องเที่ยว ในฝั่งทะเลด้านตะวันออกนะคะ แล้วก็เพิ่มมูลค่าต่อทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมทั้งเป้าหมาย สำคัญคือส่งเสริมการท่องเที่ยว นอกจากนั้นก็ยังมีการพัฒนาให้ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก ได้มีความปลอดภัย แล้วก็มีความสวยงามดังที่ดิฉันได้ขึ้นภาพสไลด์ ต่อมาจะเห็นว่าโครงการ ก่อสร้างถนนดังกล่าวเลียบชายฝั่งด้านตะวันตก เมื่อสักครู่ดิฉันฉายภาพของทางด้าน ตะวันออก ทีนี้มาชายฝั่งทางด้านตะวันตกบ้าง ทางชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศไทย เราได้ริเริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน โดยมีจุดเริ่มต้นการก่อสร้าง ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วก็ไปสิ้นสุดที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ ๖๕๙ กิโลเมตร ซึ่งสายทางตรงนี้ก็จะยาวกว่าฝั่งของทาง ด้านตะวันออก การก่อสร้างถนนยังคงเป็น ๒ ช่องจราจร กว้าง ๖-๗ เมตร ไหล่ทางข้างละ ๑.๕๐ เมตร เพื่อเป็นถนนสำหรับท่องเที่ยวระดับสากลเช่นเดียวกันค่ะ โดยเฉพาะเป็นการ ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ แล้วก็เป็นการสร้างถนนเพื่อสร้างการเรียนรู้บนพื้นฐาน ของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านจะเห็นดังในภาพนะคะ โดยให้ถนน เส้นดังกล่าว เราก็จะเน้นให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวมีส่วนร่วมในการพัฒนาแล้วก็ การดูแลรักษา รวมทั้งช่วยแบ่งเบาปริมาณการจราจรที่มีความหนาแน่นในเส้นทางหลัก นอกจากนั้นก็ยังมีสัญลักษณ์ให้เห็นถึงกรณีที่พี่น้องจะต้องใช้ยานพาหนะอื่นในเส้นทาง ของทางที่มันอยู่ในสถานที่คับขัน แล้วก็มีพื้นที่ที่มีการใช้รถใช้ถนนอย่างหนาแน่น ต่อมาก็มี ช่วงถนนที่ท่านสมาชิกได้ถามว่าในช่วงการก่อสร้างที่ยังไม่แล้วเสร็จ ตามกระทู้ถามของ ท่านสมาชิก คือช่วงบ้านจระเข้ ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร ถึงบ้านท้องเกร็ง ตำบลด่านสวี อำเภอสวี หรือว่าแนวเส้นสีเหลือง ที่ดิฉันขึ้นภาพให้เห็นนะคะ ที่แสดงใน แผนที่ จะมีระยะทางที่ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จจำนวน ๒๔ กิโลเมตร ซึ่งการก่อสร้างถนน แห่งใหม่เส้นนี้จะไม่มีแนวเส้นถนนเดิมแต่อย่างใด เพราะว่าแนวเส้นทางดังกล่าวเป็น แนวเส้นทางที่จะต้องตัดผ่านพื้นที่อนุรักษ์ที่มีพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติได้กำหนดไว้ว่า จะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม แล้วก็จะต้องมีมติ ครม. ที่จะต้องควบคุมดูแลพื้นที่ของอุทยานดังกล่าว ทำให้การดำเนินการ ใด ๆ จะต้องมีการศึกษา EIA ก่อน ตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นก็ยังมีเงื่อนไขของการประเมินผลกระทบของสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๖ ในการที่เราจะขอใช้พื้นที่ดังกล่าว ท่านประธานที่เคารพคะ เราจะต้องทำเรื่องขอผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งได้รับอนุญาตให้ใช้ พื้นที่จากหน่วยงานของเจ้าของพื้นที่เสียก่อนจึงจะดำเนินการก่อสร้างได้ค่ะ ซึ่งพื้นที่ที่อนุรักษ์ ดังกล่าวก็จะประกอบไปด้วยพื้นที่อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะชุมพร อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชค่ะ อีกพื้นที่หนึ่งดังภาพ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชายเลน อ่าวทุ่งคาและป่าอ่าวสวี ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง นอกจากนั้นภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเช่นเดียวกัน ท่านประธานที่เคารพค่ะ ถึงอย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีกฎระเบียบของการทำ EIA แต่ว่าการ ก่อสร้างถนนดังกล่าวตามที่ดิฉันได้ฉายภาพสักครู่ ก็จะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศของป่าชาย เลน แล้วก็การเจริญพันธุ์ของสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติอันสำคัญสำหรับ ประกอบอาชีพของชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ กรมทางหลวงชนบทเองจึงได้ประสานขอ ความร่วมมือไปที่จังหวัดชุมพร เพื่อบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แล้วลงเป็นมติ เดียวกันว่าจะมีความพร้อมในการดำเนินการก่อสร้างในระยะทางที่เหลือ ๒๔ กิโลเมตรหรือไม่ ขณะเดียวกันกรมทางหลวงชนบทเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะไปอยู่ใน ความรับผิดชอบของจังหวัดชุมพร กรมทางหลวงก็ได้สนับสนุนข้อมูลแหล่งความรู้ แล้วก็ส่วน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการที่จะไปลงรับฟังความคิดเห็น โดยเฉพาะความคิดเห็นของพี่น้อง ประชาชนที่ได้รับผลกระทบในการก่อสร้างถนนสายดังกล่าว หากว่าผลการพิจารณาหรือผล การประชุมหรือผลการแสดงความเห็นในเวทีของส่วนราชการ ในเวทีของพี่น้องประชาชน พบว่าโครงการดังกล่าวมีความเป็นไปได้ที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจท่องเที่ยวของจังหวัด กรมทางหลวงชนบทก็ยินดีที่จะรับโครงการดังกล่าว พร้อมที่จะมีการสำรวจออกแบบและ เสนอให้คณะกรรมการพิจารณา หลังจากนั้นแล้วก็จะเสนอให้คณะมนตรีมีมติยกเว้นในการ ก่อสร้างถนนสายดังกล่าวแน่นอนค่ะ กรมทางหลวงชนบทเองเรามีความห่วงใยต่อความ ต้องการ คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ดิฉันโชว์ภาพขั้นตอนการดำเนินงานให้ท่าน ประธาน ท่านสมาชิกได้เห็นภาพว่า ถ้าเรามีมติด้วยกันแล้วผ่านขั้นตอนแต่ละขั้นตอนให้เห็น นะคะ ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นตอน ๓ ขั้นตอนที่ ๔ ขั้นตอนที่ ๕ ขั้นตอนที่ ๖ ถ้า ๖ ขั้นตอนได้ผ่านเรียบร้อยแล้ว กรมทางหลวงเองก็พร้อมที่จะจัดสรรงบประมาณเข้าไป ดำเนินการ และแน่นอนค่ะ กรมทางหลวงชนบทเองมีความห่วงใยต่อการเดินทางสัญจรไปมา ของพี่น้องประชาชนให้มีความสะดวกรวดเร็ว แล้วก็เชื่อมโยงกับทุกเส้นทาง แล้วก็ข้อสำคัญ อยากให้ท้องถิ่นได้มีความเจริญเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวง คมนาคม ขออนุญาตได้ตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกก่อนนะคะ ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ต้องขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ นะคะ จริง ๆ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้เป็นผู้แนะนำดิฉันมาตลอด เรื่องของการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานในส่วนของจังหวัดชุมพร แล้วก็จังหวัดระนอง ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ เพราะเราจะเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจของภาคใต้นอกจากอาชีพของชาวประมง แล้วก็ สวนผลไม้แล้ว นั่นก็คือการสร้างถนนเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว ดิฉันเองก็ทุกครั้งที่มาตอบกระทู้ ก็มีหลายกระทู้ที่จะต้องไปเกี่ยวเนื่องกับการขออนุญาตใช้พื้นที่ในเรื่องของป่าอุทยานแห่งชาติ ดิฉันก็นำปัญหานี้ไปปรึกษาทางรัฐมนตรี แล้วก็เจ้าหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่า การทำถนนของเส้นทางคมนาคมจะติดเรื่องเหล่านี้ มีประเด็นไหนบ้าง ที่เราพอจะหาทางออกช่วยกัน ซึ่งถ้าเราไปรอใช้กฎหมายนี้ ไม่รู้ว่าอีก ๓-๔ ปีที่สมาชิก ครบวาระการดำรงตำแหน่งจะได้ก่อสร้างถนนเส้นดังกล่าวหรือไม่ เพราะว่าจริง ๆ สมาชิก ทุกท่านที่มาจากพี่น้องประชาชนก็หวังว่าเราเข้ามาจากการเลือกตั้ง เราก็อยากเห็นว่าเรามา เป็นปากเป็นเสียงแทนพี่น้องประชาชน แต่กว่าจะได้ถนนสักสาย มันติดด้วยข้อกฎหมาย เหล่านี้ จะมีการปลดล็อกอย่างไร ซึ่งจะมีคณะทำงานที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้สั่งการ โดยมี ท่านรองสมศักดิ์เป็นผู้ที่จะเร่งรัดเรื่องกฎหมาย แล้วก็เราเรียกว่า ข้อติดขัดของกฎหมาย บางกระทรวง ซึ่งขณะนี้เราก็จะมีการประชุมทุกวันศุกร์ ดิฉันก็นำเรื่องนี้ซึ่งอยู่ในวาระที่จะ เตรียมหารือ เชิญเจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กฤษฎีกาแล้วก็ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหาทางออกร่วมกัน ส่วนจะคืบหน้าอย่างไร ดิฉันจะนำเรียนให้ ทางท่านประธาน แล้วก็ท่านสมาชิกให้ทราบเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งนะคะ กราบขอบพระคุณ ท่านประธาน แล้วก็ท่านสมาชิกที่ใส่ใจต่อความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ดิฉันก็ยินดี ที่จะมาตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิกทุก ๆ ครั้งนะคะ กราบขอบพระคุณท่านประธานค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้มา ตอบกระทู้ของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ เนื่องจากวันนี้ท่านสุริยะมีนัดหมายประชุมสำคัญ ที่กระทรวงคมนาคม ดิฉันต้องขอถือโอกาสขอบคุณคำถามของท่านสมาชิกนะคะ ท่านรังสรรค์ มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน พรรคเพื่อไทย ในประเด็น คำถามของท่านสมาชิก ดิฉันขอฉายภาพโดยรวมของถนนเริ่มจากที่อำเภอเถิน ขอภาพสไลด์ ภาพแรกค่ะ
อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ทางใต้ของจังหวัดลำปาง ก่อนจะถึงอำเภอเมืองลำปาง มีระยะทางประมาณ ๙๘ กิโลเมตร แล้วก็มีเส้นทางที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดแพร่ และจังหวัดลำพูน ซึ่งมีอยู่ ๓ เส้นทางที่จะสามารถเชื่อมต่อไปยัง จังหวัดลำพูน โดยเส้นทางหลวงหมายเลข ๑ เริ่มจากอำเภอเมืองตาก แล้วก็ไปที่อำเภอ บ้านตาก อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ไปจนถึงอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน แล้วก็ไปที่อำเภอ สบปราบ อำเภอเกาะคา ยาวไปจนถึงอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง นี่คือเส้นทางแรกที่ใช้ เส้นทางไปสู่จังหวัดลำพูน เส้นทางที่ ๒ เป็นทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ เริ่มจากอำเภอสวรรคโลกไปจนถึงอำเภอทุ่งเสลี่ยม ไปถึงจังหวัดสุโขทัย แล้วก็ไปเชื่อมกับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ยาวไปถึงอำเภอลี้ แล้วก็ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง เข้าไปที่ตัวเมืองจังหวัดลำพูนค่ะ ในเส้นทางที่ ๓ คือทางหลวง หมายเลข ๑๑๒๔ เริ่มจากอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ไปถึงอำเภอวังชิ้น อำเภอลอง แล้วก็ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ค่ะ ท่านประธานที่เคารพ นี่คือ ๓ เส้นทางที่เป็นเส้นทางเข้าสู่ ตัวจังหวัดลำพูน สำหรับอำเภอลี้ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดลำพูนอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด ลำพูน และเป็นอำเภอที่ห่างไกลจากตัวเมืองมากที่สุดถึง ๑๐๖ กิโลเมตร ซึ่งสภาพพื้นที่ โดยทั่วไปที่อำเภอลี้เป็นป่าเขาสูง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นพื้นที่ที่มี ความสวยสดงดงาม เป็นโบราณสถานที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ท่านสมาชิกได้นำเสนอ ตามรูปภาพ โดยถนนเส้นนี้เป็นถนนสายหลักที่ตัดผ่านอำเภอคือทางหลวงหมายเลข ๑๒๖ เชื่อมต่อระหว่างอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ผ่านอำเภอลี้ แล้วก็เชื่อมต่อไปยังอำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง อำเภอเมือง แล้วก็เข้าสู่จังหวัดลำพูน ทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ นี้มีระยะทาง ๕๒ กิโลเมตร แล้วก็เป็นถนน ๔ ช่องจราจร ซึ่งมีระยะทางรวมแล้ว ๕.๖ กิโลเมตร ในตัวชุมชน ที่อำเภอลี้ ซึ่งคำถามที่ท่านสมาชิกได้ถามในช่วงที่ผ่านมา ทางกระทรวงคมนาคมก็ไม่ได้ นิ่งนอนใจในการที่จะพัฒนา แล้วก็บำรุงรักษาในเส้นทางดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากว่าถนนสายดังกล่าวจะต้องเป็นถนนช่วงที่ต้องตัดผ่านภูเขา มีทางลาดชัน แล้วก็ ต้องผ่านพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันทางกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการ เตรียมความพร้อมที่จะมีการพัฒนาถนนให้เป็น ๔ ช่องจราจร โดยขออนุญาตเท้าความ ไปเมื่อปี ๒๕๖๕ ได้รับงบในการศึกษาออกแบบ หรือว่า EIA เป็นระยะทาง ๒๙ กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ในระหว่างศึกษา ที่ดิฉันโชว์ภาพให้ดูในกรอบของวงกลมสีแดงค่ะ อยู่ในระหว่าง การศึกษา EIA แล้วก็เมื่อศึกษา EIA เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะดำเนินการตามขั้นตอนของ กฎหมาย ในขั้นตอนตรงนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในปี ๒๕๗๐ ทางกระทรวงคมนาคมก็จะเสนอ ขอรับงบประมาณซึ่งจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น ๓ ปี คาดว่าในปี ๒๕๗๓ ถนนเส้นนี้ก็จะมี การก่อสร้างเสร็จ แล้วพี่น้องประชาชนก็จะได้ใช้เส้นทางนี้ต่อไป นอกจากนั้นในงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ ทางกระทรวงคมนาคมก็ได้รับการจัดสรร ซึ่งอยู่ในช่วงของการพิจารณาในวาระที่ ๒ อยู่ในเล่มขาวคาดแดง ได้ดำเนินการก่อสร้างในระยะทาง ๒.๓ กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง ๓๐ ล้านบาท ก็ฝากท่านสมาชิกให้อนุมัติผ่านงบประมาณในก้อนนี้ด้วย ซึ่งถนนดังกล่าวก็จะ สร้างเสร็จภายใน ๑ ปีงบประมาณ ก็จะสามารถให้พี่น้องประชาชนได้ใช้สัญจรไปมาได้ ส่วนบางช่วงที่เป็น ๒ ช่องจราจรดังในภาพข้างล่าง ก็จะเห็นว่าเป็นระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ทางกรมทางหลวงก็ได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนา โดยจะขอรับการสนับสนุน งบประมาณในปีถัดไป ขออนุญาตตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกค่ะ
ท่านประธานสภาที่เคารพ สำหรับคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิกนะคะ กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงมีแผนงานที่จะขยายเส้นทางทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ ช่วงอำเภอลี้ ถึงอำเภอบ้านโฮ่ง ซึ่งระยะทางในเส้นทางดังกล่าวมีระยะทางทั้งสิ้น ๖๗ กิโลเมตร ซึ่งจะขยายเป็น ๔ ช่องจราจรแล้ว แล้วก็ระยะทางที่ขยายเป็นระยะทางไปแล้ว ๑๓.๙ กิโลเมตร บริเวณชุมชนที่อยู่ในตัวของเทศบาลอำเภอบ้านโฮ่ง ในปี ๒๕๖๖ ค่ะท่านประธาน ได้รับ การจัดสรรงบประมาณเพื่อขยายเป็นถนน ๔ ช่องจราจร บริเวณที่บ้านแม่ป่าไผ่ ตำบลแม่ตืน ที่ท่านสมาชิกได้มีคำถาม เป็นระยะทาง ๑๓.๔ กิโลเมตร เป็นวงเงินก่อสร้างทั้งสิ้น ๖๕๐ ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างดังที่ดิฉันได้โชว์รูป ซึ่งขณะนี้ได้มีการดำเนินการ ก่อสร้างแล้ว มีปริมาณผลงานอยู่ที่ประมาณ ๑๓ เปอร์เซ็นต์ ต้องขออภัยพี่น้องประชาชนว่า ในช่วงระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างพี่น้องที่ใช้เส้นทางสัญจรไปมาไม่สะดวก แต่กรม ทางหลวงก็ได้กำชับว่าต้องมีสัญญาณจราจร มีไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อป้องกันอุบัติเหตุให้พี่น้อง ในระหว่างช่วงการเดินทางแล้วก็ช่วงที่มีการก่อสร้างค่ะท่านประธาน ในปี ๒๕๖๘ ก็จะสามารถ ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ แล้วก็สามารถที่จะเปิดดำเนินการให้พี่น้องประชาชนใช้เส้นทาง ดังกล่าว ซึ่งนโยบายนี้ ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้มีนโยบายที่จะ ขยายโครงข่ายของเส้นทางคมนาคมไปสู่หัวเมืองต่าง ๆ ให้มีความเจริญเทียบเท่ากับ เมืองใหญ่ ๆ เช่นเดียวกับที่จังหวัดลำพูนค่ะท่านประธาน ในปี ๒๕๖๘ ซึ่งขณะนี้กระทรวง คมนาคมได้ดำเนินการที่จะบรรจุงบประมาณเพื่อขยายเส้นทางดังกล่าวเป็น ๔ ช่องจราจร บริเวณบ้านศรีบุญเรืองที่ตำบลบ้านโฮ่ง ระยะทาง ๑๙ กิโลเมตร เป็นวงเงินก่อสร้างทั้งสิ้น ๘๐๐ ล้านบาท ซึ่งจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น ๓ ปี จะมีการดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปี ๒๕๗๑ ดิฉันเข้าใจว่าก็คงจะอยู่ในสมัยที่ท่านสมาชิกยังดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรอยู่ เป็นผลงานของท่านรังสรรค์ มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้ หยิบกระทู้นี้ขึ้นมาถามกระทรวงคมนาคม สำหรับช่วงที่ยังเหลืออีก ๒ ช่องจราจร ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร กรมทางหลวงก็จะได้บรรจุไว้ในแผนการพัฒนาโดยจะเสนอขอรับงบประมาณ ในปีถัดไป โดยในส่วนของกระทรวงคมนาคมก็จะเป็นกระทรวงที่ได้สนับสนุนยุทธศาสตร์ การพัฒนาของจังหวัดลำพูนเพื่อเน้นให้จังหวัดลำพูนเป็นบ้านเมืองแห่งอุตสาหกรรม หัตถอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดลำพูน นอกจากนั้น จังหวัดลำพูนก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แล้วก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อวางรากฐานของระบบทางหลวงที่เราเน้นเรื่องของความสะดวก ความปลอดภัย เชื่อมโยง กับโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมของประเทศและเพื่อความอุดมสุขของพี่น้อง ประชาชน ท่านประธาน สุดท้ายดิฉันต้องขอบคุณท่านสมาชิกนะคะ ท่านรังสรรค์ มณีรัตน์ นอกจากท่านเองได้มีความสนใจพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะมีปัญหาในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ท่านยังได้นำเสนอปัญหาเรื่องของราคาลำไยไม่เป็นราคา ผลผลิตการเกษตรไม่เป็นราคา ซึ่งถ้าเกิดเราได้ถนนเส้นนี้ขยายเป็น ๔ ช่องจราจร ดิฉันเชื่อมั่นว่าถนนเส้นนี้ก็จะเป็นเส้นทางหนึ่ง ในการที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน แล้วก็ขยายไปสู่การท่องเที่ยว ขยายไปสู่การขนส่ง คมนาคมให้พี่น้องประชาชนในจังหวัดลำพูนได้เดินทางโดยสะดวกและปลอดภัย ขอบคุณ ท่านประธานค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมค่ะ วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้มาตอบกระทู้ของท่านพิมพ์พิชชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรคเพื่อไทย และต้องขอบคุณท่านสมาชิกเป็นอย่างยิ่งที่ได้กรุณาถามคำถามนี้ เพราะคำถามนี้เป็นคำถาม ที่พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมาอย่างยาวนานค่ะ ดิฉันขออนุญาตทวนคำถามของท่านสมาชิก อีกครั้งหนึ่งนะคะ กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงชนบทมีแผนการก่อสร้างยกระดับ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม ๒ สายคือ ถนนสายบ้านวังแดง ตำบลบางระกำ ไปถึงบ้านบางบ้า ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และถนนสายบ้านหนองพะยอม บ้านตระแบกงาม ตำบลชุมแสงสงคราม บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก หรือไม่อย่างไร รวมทั้ง ท่านสมาชิกได้ถาม ๒ คำถามคือ ความคืบหน้าและมีแผนการอย่างไร ดิฉันขออนุญาต ท่านประธานในการที่จะตอบคำถามของ ท่านสมาชิกทั้ง ๒ คำถามเลยนะคะ
คำถามแรก กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงชนบท โดยเฉพาะ ถนนช่วงแรกเป็นถนนสายช่วงบ้านวังแดงหรือบ้านบางระกำ ตำบลบางระกำ อำเภอบางบ้า ตำบลชุมแสงสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ขออนุญาตขึ้นสไลด์ค่ะ
ตามสไลด์ ก็จะเห็นว่าเส้นสีเขียวดังแสดงที่เห็นในแผนที่เป็นถนนท้องถิ่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ช่วงบ้านบางระกำถึงบ้านบางบ้า ซึ่งถนนดังกล่าว เป็นการก่อสร้างถนนยกระดับดังกล่าวเพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งภารกิจดังกล่าวเป็นภารกิจของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกและอยู่ในความรับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัดก็มีงบประมาณที่จะต้องสร้างและแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน ดังกล่าว พอมาดูสายที่ ๒ เป็นถนนสายบ้านหนองพะยอมถึงบ้านตระแบกงาม คือเส้นสีแดงที่ แสดงในแผนที่ ซึ่งเดิมเป็นถนนท้องถิ่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบจ. พิษณุโลก ประทานโทษค่ะ เส้นดังกล่าวเป็นเส้นอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล ชุมแสงสงคราม ก็คือ อบต. และไม่ได้เป็นเส้นทางที่กรมทางหลวงชนบทถ่ายโอนนะคะ แล้วก็ เป็นภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ประกอบกับองค์การบริหาร ส่วนตำบลชุมแสงสงครามมีงบประมาณไม่เพียงพอและบุคลากรที่จำกัดที่ไม่สามารถดูแล รับผิดชอบในถนนสายดังกล่าว จึงมีมติโดยใช้ที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถ่ายโอนเส้นทางดังกล่าวมาอยู่ในความรับผิดชอบของทางหลวงชนบทเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๖ เมื่อปีที่แล้ว ท่านประธานที่เคารพ ขณะนี้มีถนนหลายสายที่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นไม่มีศักยภาพที่จะดูแลบำรุงรักษาหรือมีงบประมาณไม่เพียงพอ กรมทางหลวง ชนบทได้มีการประสานความร่วมมือแบบบูรณาการโดยประสานกับคณะกรรมการกระจาย อำนาจนะคะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าถนนเส้นใดที่มีงบประมาณไม่เพียงพอและ ไม่สามารถที่จะดูแลเส้นทางให้พี่น้องประชาชนสัญจรไปมา ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ใช้มติที่ประชุมสภา แล้วนำเสนอท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ๆ เพื่อประสานงาน ต่อที่สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดทุกจังหวัด สามารถส่งมอบเส้นทางนี้มาให้ทาง กรมทางหลวงชนบท ก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมแล้วก็ประสานร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็คือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นั่นก็คือภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมี การถ่ายโอน ขณะนี้มีอยู่หลายเส้นทางนะคะ ซึ่งขณะนี้ในเส้นทางดังกล่าว ขอยกตัวอย่าง กรณีภารกิจนี้เรามีการริเริ่มทำที่จังหวัดบึงกาฬ โดยเอาเส้นทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็นจังหวัดแรกที่เรานำร่อง คาดว่าถ้าเราได้ดำเนินการนำร่อง ไปแล้วเราจะได้รู้ว่าข้อไหนที่มีประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน ข้อไหนที่ต้องมีการปรับปรุง ก็จะนำเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึงการถ่ายโอนภารกิจเหล่านั้นกลับคืนมาให้ กรมทางหลวงชนบทในอนาคตต่อไปค่ะ ต่อมาเมื่อกรมทางหลวงชนบทได้รับมอบและบรรจุ เป็นโครงการทางหลวงชนบทแล้ว เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ปี ๒๕๖๗ เราก็จะขึ้นทะเบียนเป็น ทางหลวงชนบท ก็จะมีหมายเลข ยกตัวอย่างเช่น หมายเลข ๑๒๙๓ ที่บ้านหนองพะยอม ไปจนถึงบ้านตระแบกงาม ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็น ระยะทาง ๑๐ กิโลเมตร ตลอดแนวเส้นทางดังกล่าว ซึ่งเส้นทางนี้ก็จะมีพี่น้องประชาชนที่ใช้ สัญจรไปมา ประกอบไปด้วย ๔ หมู่บ้านก็คือ บ้านหนองพะยอม บ้านบางบ้า บ้านชุมแสงสงคราม และบ้านตระแบกงามค่ะ กรมทางหลวงชนบทเมื่อได้สำรวจแล้ว เพิ่งรับโอนเมื่อเดือนที่แล้ว เมื่อสำรวจแล้วเราก็ได้รับทราบว่าเมื่อประชาชนเดือดร้อน ตามที่ท่านสมาชิกได้ถามกระทู้ วันนี้ กรมทางหลวงชนบทก็จะบรรจุลงไปในแผนเพื่อขอรับงบประมาณปี ๒๕๖๘ ก็ขออนุญาต นำเรียนเบื้องต้นในคำถามแรก
คำถามที่ ๒ ขณะนี้กรมทางหลวงชนบทได้ซ่อมบำรุงบริเวณที่ชำรุดเสียหาย ดังขึ้นในภาพ ก่อนการปรับปรุง ขณะการปรับปรุง แล้วก็หลังการปรับปรุงแล้ว ซึ่งปกติ การบำรุงเส้นทางที่ชำรุดเสียหายจากน้ำท่วมก็จะเป็นงานปรับปรุงอำนวยความสะดวก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ปัจจุบันนี้เส้นทางนี้เราเรียกว่าเส้นทาง ทล.๔๐๕๘ ก็สามารถใช้สัญจรไปมาได้แล้ว อาจจะเพราะว่าตอนที่ท่านสมาชิกได้ตั้งกระทู้ ถามแยกเฉพาะก็คงเป็นเวลาก่อนที่ทางหน่วยงานจะเข้าไปดำเนินการ ขณะนี้เส้นทาง ดังกล่าวได้ทำการปรับปรุง แล้วก็พี่น้องประชาชนได้สัญจรไปมาเรียบร้อยแล้ว ส่วนการแก้ไข ปัญหาในระยะยาว เราก็จะมีการยกระดับมาตรฐานของถนนพร้อมกับก่อสร้างระบบระบายน้ำ อาทิเช่น ท่อลอดกลม ท่อลอดเหลี่ยม หรือว่าสะพาน เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้อย่าง เพียงพอกับปริมาณที่น้ำมาแต่ละปี โดยกรมทางหลวงชนบทได้พิจารณาเข้าแผนงบประมาณ ตามลำดับ ซึ่งความสำคัญของถนนสายนี้ก็จะอยู่ในลำดับต้น ๆ ที่สามารถที่จะแก้ไขปัญหา ในระยะยาวต่อไปได้ค่ะ โดยเฉพาะกรมทางหลวงชนบทซึ่งเป็นกรมที่ได้มีโครงสร้างพื้นฐาน ไปสู่พี่น้องประชาชนในระดับอำเภอซึ่งเป็นตำบล แล้วก็อำเภอเล็ก ๆ เราก็จะเข้าใจดีว่า ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในการสัญจรไปมาขนพืชผลการเกษตรเป็นสิ่งที่จำเป็น และขณะเดียวกันโครงข่ายของทางหลวงชนบทเองก็ได้มีการปรับปรุงเส้นทางต่าง ๆ ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นระดับ อบจ. หรือว่าระดับเทศบาล หรือว่า อบต. กรมทางหลวงชนบทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการพัฒนาถนนหนทางเหล่านี้จะสร้างความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ในประเด็นคำถามที่ ๒ ก็จะอยู่ในขั้นตอน ขั้นตอนแรกก็คือ นำปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนทำหนังสือถึงสมาชิกสภาจังหวัดในเขตนั้น ๆ ผ่านไปถึงท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อบรรจุระเบียบวาระของการโอนเส้นทาง ดังกล่าวให้ทางหลวงชนบท เมื่อมติสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ทางท่านนายกก็ทำหนังสือถึง ทางหลวงชนบทจังหวัดพิษณุโลก ทางหลวงชนบทจังหวัดพิษณุโลกก็ทำหนังสือถึง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท แล้วเราก็จะบรรจุเรื่องราวเหล่านั้น คงมี อปท. หลายแห่ง มีความประสงค์ที่จะโอนเส้นทางดังกล่าวกลับมาอยู่ในความรับผิดชอบของทางหลวงชนบท กรมทางหลวงชนบทก็จะรวบรวมแล้วก็นำเสนอในส่วนของผู้ที่รับผิดชอบนำเสนอรัฐมนตรี เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการกระจายอำนาจร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นในการถ่ายโอนเส้นทางดังกล่าวมาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ในโอกาสต่อไปค่ะ ซึ่งทุกภารกิจที่เป็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน กรมทางหลวง ชนบท กระทรวงคมนาคมเราได้ให้ความใส่ใจ แล้วก็ต้องขอบคุณท่านสมาชิกนะคะ ท่านพิมพ์พิชชาที่ท่านได้ลงไปดูแลพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของถนนหนทาง เรื่องของปัญหาอุทกภัย ก็ต้องขอชื่นชมท่านและให้กำลังใจนะคะ แล้วก็หวังว่าพี่น้อง ประชาชนจะได้พึ่งพาท่านสมาชิกที่สนใจปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้มาตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจาของท่านสมาชิก ท่านวรรณรัตน์ ชาญนุกูล สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนากล้า ต้องขอถือโอกาสขอบพระคุณ สำหรับคำถามนี้นะคะ เพราะจะเป็นโอกาสที่ดีที่กระทรวงคมนาคมได้รายงานถึงความคืบหน้า ของโครงการก่อสร้าง M6 ค่ะ
ดิฉัน ขอนำสไลด์จากคำถามของท่านสมาชิกนะคะ ท่านประธานที่เคารพคะ โครงการก่อสร้าง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข M6 ระหว่างสายบางปะอิน-นครราชสีมา เป็นระยะทางทั้งสิ้น ๑๙๖ กิโลเมตร ซึ่งแบ่งเป็นงานโยธาสำหรับก่อสร้าง ๔๐ สัญญา และงานระบบ ซึ่งเป็นระบบที่ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางทั้งสิ้นจำนวน ๙ ด่าน ๑ สัญญา ปัจจุบันมีความก้าวหน้า งานโยธาก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน ๒๙ สัญญา และอยู่ในระหว่าง การก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๑ สัญญา ดิฉันได้ขึ้นภาพให้ดูนะคะว่าช่วงเริ่มต้นก็คืออยู่ในระหว่าง ที่ดำเนินการก่อสร้าง แล้วปลายที่เห็นภาพสีแดง ๆ ก็คืออยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ในสัญญา แล้วก็ช่วงสีน้ำเงินคือช่วงที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว ซึ่งในประเด็นของความล่าช้าค่ะ ท่านประธาน กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะเร่งรัดงานก่อสร้าง ทั้งในส่วนของการก่อสร้างในส่วนของงานโยธาและงานระบบ โดยให้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ทุกสัญญาภายในเดือนธันวาคม ปี ๒๕๖๘ โดยมีเป้าหมายดังนี้ ๑. เราสามารถที่จะ เปิดทดลองให้บริการฟรีตลอดเส้นทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ถึงปี ๒๕๖๙ แล้วก็พร้อมที่จะ เปิดให้บริการเต็มรูปแบบและเริ่มเก็บค่าผ่านทางในช่วงต้นปีของปี ๒๕๖๙ ค่ะท่านประธาน ขอให้ดูถัดไป ซึ่งเป็นสไลด์ที่ท่านสมาชิกได้มีความห่วงใยว่าในบางช่วงที่อยู่ในระหว่าง งานก่อสร้าง ดิฉันจะฉายภาพให้ดูนะคะว่าปัญหาอุปสรรคที่ทำให้เกิดความล่าช้า ในบางสัญญา ก็ขอเรียนให้ทราบว่าโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข ๖ คือ บางปะอิน-นครราชสีมา เกิดจากการดำเนินการก่อสร้างที่มีขั้นตอนต่าง ๆ อยู่ ๔ ประเด็น ซึ่งเป็นขั้นตอน แล้วก็เป็นสาเหตุที่ทำให้งานล่าช้านะคะ
ประเด็นแรก จะเห็นว่าสภาพพื้นที่ในขั้นตอนของการก่อสร้างได้เปลี่ยนไป จากขั้นตอนของการออกแบบ ตัวอย่าง เช่น แบบก่อสร้างเดิมพื้นที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ แต่ปัจจุบันสภาพเปลี่ยนเป็นบ่อที่ขุดลึก แล้วสภาพที่มีการสำรวจกับตอนก่อสร้างจริง ก็พบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เก็บกักน้ำ จึงจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงแบบ ซึ่งงานปรับถมดิน พื้นที่เป็นงานก่อสร้างสะพาน ซึ่งจะต้องข้ามบ่อน้ำลึก แล้วก็คงบ่อน้ำนั้นไว้เพื่อให้พี่น้อง เกษตรกรได้ใช้บ่อน้ำลึกดังกล่าวนะคะ
ประเด็นที่ ๒ การปรับปรุงรูปแบบวิศวกรรมให้สอดคล้องกับลักษณะ ทางกายภาพในปัจจุบันของพื้นที่ เช่นดังในภาพว่าสภาพภูมิประเทศก็เป็นสภาพที่หินแข็ง จึงต้องปรับปรุงรูปแบบงานก่อสร้าง แล้วก็เปลี่ยนแปลงระบบฐานราก
ประเด็นที่ ๓ จะเห็นว่าการปรับปรุงให้เหมาะสมกับโครงสร้างของ เขตสาธารณูปโภค หรือความจำเป็นของหน่วยงานโครงการก่อสร้างเพื่อให้ตัดผ่าน ดังในรูป เห็นไหมคะท่านประธาน ว่าแนวก่อสร้างพื้นที่ดังกล่าวจะต้องผ่านระบบคลองน้ำชลประทาน ทำให้เราจะต้องเพิ่มระยะห่างของตอม่อสะพาน เพื่อยังคงระบบชลประทานนั้นไว้ให้กับ พี่น้องประชาชนต้องใช้น้ำจากระบบคลองชลประทานดังกล่าว จึงต้องมีการเปลี่ยนแบบ แล้วก็ให้เหมาะสมกับรูปแบบของกรมชลประทานและคงคลองน้ำเหล่านั้นไว้
ประเด็นที่ ๔ การปรับเปลี่ยนรูปแบบของการก่อสร้างทางเชื่อมการเดินทาง ของ ๒ ชุมชนฝั่งถนน ซึ่งมีปัญหาในเรื่องนี้เป็นอย่างมากค่ะว่า เมื่อถนนหรือความเจริญไปสู่ ชุมชนใด ก็จะมีประเด็นที่พี่น้องประชาชนได้ร้องขอหลังการก่อสร้างเสร็จว่า พี่น้องประชาชน ไม่สามารถสัญจรไปมา นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราต้องมีการปรับปรุงแบบให้พี่น้องประชาชน ๒ ฝั่งถนน สามารถสัญจรเดินทางไปได้ นี่คือประเด็นคำถามแรกของท่านสมาชิกค่ะ ปัญหาและความล่าช้า จึงขอสรุปในเรื่องของความล่าช้าทั้ง ๔ ประเด็น ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน สำหรับคำถามแรกค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ในประเด็นคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิก เรื่องของผิวจราจร ที่มีความขรุขระ แล้วก็เรื่องของรอยต่อ เรื่องของความไม่เรียบร้อยของผิวการจราจรดังกล่าว กรมทางหลวงได้เปิดทดลองให้ใช้บริการช่วงของปากช่องถึงทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา โดยไม่เก็บค่าผ่านทางตั้งแต่ช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา จนกว่าจะมีการ เปิดบริการให้เต็มรูปแบบ ก็คืออย่างที่ดิฉันเรียนตั้งแต่แรกก็คือในช่วงของเริ่มต้น ปีงบประมาณ ๒๕๖๙ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนในการเดินทางสู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสถิติผู้ใช้ถนนในช่วงทดลองที่เราใช้เปิดบริการที่ผ่านมา ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คันต่อวัน แต่ในขณะที่เราเปิดทดลองให้ใช้ที่ผ่านมา ไม่ปรากฏว่า มีการเกิดอุบัติเหตุจากพื้นผิวจราจร หรือว่าช่วงรอยต่อสะพานคอนกรีตแต่อย่างใด แต่ด้วยความห่วงใยของท่านสมาชิก เราเองกรมทางหลวงก็ได้ใส่ใจในเรื่องของพื้นผิวจราจร หรือว่าคอสะพานที่จะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุ ขณะนี้เราได้กำชับและได้ลงไปดู จุดแต่ละจุดที่ท่านสมาชิกได้มีความห่วงใย แต่ขอให้ได้เชื่อมั่นว่าทุกเส้นทางทุกพื้นที่ของ เส้นทางดังกล่าว กระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง ได้มีความใส่ใจแล้วก็จะลงไปดูเรื่องของ ความปลอดภัย เรื่องของผิวจราจร เรื่องของรอยต่อของสะพานคอนกรีตค่ะ ทั้งนี้เราก็ได้มี สายด่วนของกรมทางหลวงก็คือ ๑๕๘๖ ถ้าเกิดมีอุบัติเหตุทางใด ก็ขอให้โทรติดต่อเครือข่าย ของกระทรวงคมนาคมได้ที่หมายเลข ๑๕๘๖ ค่ะท่านประธาน
ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน สำหรับคำถามที่ ๓ ของท่านสมาชิก ซึ่งเป็นคำถามที่หลาย ๆ คน หลาย ๆ ท่าน รวมทั้งท่านสมาชิกเองซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรี แล้วก็ท่านเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ท่าน ได้ใส่ใจปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน แล้วก็เป็นความห่วงใยของผู้ใช้รถใช้ถนน ที่ท่านต้องใช้เดินทางประจำระหว่างกรุงเทพมหานครไปถึงนครราชสีมานะคะ
ก็ขออนุญาต กราบเรียนว่า สำหรับการพิจารณาเรื่องของการกำหนดค่าธรรมเนียมบนโครงการ ทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมืองหมายเลข ๖ บางปะอิน-นครราชสีมา ซึ่งเปิดให้บริการ เต็มรูปแบบเรามีระเบียบของการเก็บค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงของคมนาคมที่ประกาศไป เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ปี ๒๕๖๓ เรื่องการกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์ทางหลวง พิเศษหมายเลข ๖ โดยค่าธรรมเนียมผ่านทางได้ติดตามระยะทางและประเภทของรถยนต์ ดังนี้ค่ะ ดิฉันได้ขึ้นภาพให้ท่านสมาชิกได้เห็นว่ารถยนต์ ๔ ล้อ มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า ๑๐ บาท และคิดค่าธรรมเนียมตามระยะทางที่ใช้จริง ๑.๒๕ บาท ต่อ ๑ กิโลเมตร ส่วนรถยนต์ ๖ ล้อ ก็จะเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า ๑๖ บาท และคิดค่าธรรมเนียม ตามระยะทางที่ใช้จริง ๒ บาทต่อ ๑ กิโลเมตร ส่วนรถยนต์ที่มากกว่า ๖ ล้อ ก็จะคิด ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ๒๓ บาท และคิดค่าธรรมเนียมตามระยะทางที่ใช้จริง ๒.๘๘ บาท ต่อ ๑ กิโลเมตร ซึ่งพี่น้องประชาชนที่ใช้เส้นทางก็จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตามระยะทาง ที่ใช้จริง ตัวอย่าง เช่น ท่านสมาชิกเดินทางต้นทางที่ด่านบางปะอินปลายทางไปถึง ด่านขามทะเลสอ สำหรับรถยนต์ ๔ ล้อ ๒๔๐ บาท รถยนต์ ๖ ล้อ ๓๘๐ บาท และรถยนต์ มากกว่า ๖ ล้อ ๕๕๐ บาท นี่คืออัตราค่าธรรมเนียมที่เราได้ประกาศไปเมื่อปี ๒๕๖๓
นอกจากนั้นแล้วการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษ M6 ดิฉันเชื่อมั่นว่า มันจะเป็นเส้นทางที่เพิ่มเส้นทาง ที่จะทำให้พี่น้องประชาชนสามารถเลือกเส้นทางไปสู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งต้องมีความสะดวกรวดเร็วและจะช่วยลดความแออัดบนเส้นทาง ของถนนมิตรภาพ ซึ่งพี่น้องประชาชนยังคงใช้เส้นทางนี้เป็นเส้นทางเลือกอีกเส้นทางหนึ่ง และเราเชื่อมั่นว่าเมื่อถนนนี้สร้างเสร็จ เราจะลดความแออัดแล้วก็ยกมาตรฐานการบริการ ของการขนส่งที่รวดเร็วแล้วก็ปลอดภัย นี่คือสิ่งหนึ่งที่กระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง เชื่อมั่นว่าถนนสาย M6 จะเป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคพี่น้องคนอีสานทั้ง ๒๐ จังหวัด ขอบคุณสำหรับคำถามของท่านสมาชิกทั้ง ๓ คำถาม ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมค่ะ วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายมาตอบกระทู้ของท่านสมาชิกจากท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน ต้องขอถือโอกาสขอบคุณท่านสมาชิก ท่านสาธิต ทวีผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี จากพรรคก้าวไกล ซึ่งท่านเป็นนักการเมืองคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสนใจต่อปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนตลอดมาค่ะ จากคำถามแรกของท่านสมาชิก ดิฉัน ขอได้ขึ้นสไลด์นะคะ
โดยกระทรวง คมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบท ขอเรียนให้ทราบว่าโครงการก่อสร้างข้ามแม่น้ำป่าสัก อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นโครงการก่อสร้างสะพานใหม่เชื่อมระหว่างตำบลหนองบัว กับตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ซึ่งขณะนี้อยู่ในพื้นที่ตำบลหนองบัว ตำบลมะนาวหวาน ตำบลน้ำสุด และตำบลห้วยขุนราม ซึ่งถ้าเราได้รับการก่อสร้างดังกล่าว ประโยชน์ที่พี่น้องประชาชนจะได้รับประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน นี่พูดถึงเฉพาะในพื้นที่ของพี่น้อง ประชาชนในตำบลที่ดิฉันได้นำเรียนสักครู่นะคะว่า พื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างขณะนี้ เป็นพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ห้ามล่าสัตว์ป่าของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แล้วก็การดำเนินการ ในพื้นที่ดังกล่าวเราจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของกฎหมายที่เกี่ยวข้องค่ะ โดยขณะนี้ เราจะต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบของสิ่งแวดล้อมตามประกาศของกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องของการกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ปี ๒๕๖๖ พร้อมทั้งจะต้อง ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชก่อน ถึงจะดำเนินการต่อไปได้ค่ะท่านประธาน นอกจากนั้นเขตห้ามล่าสัตว์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นพื้นที่ที่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการล่าสัตว์ป่า เก็บ หรือภยันตรายแก่ไข่ หรือรังไข่ของสัตว์ป่า เช่น จำพวกนกหรือว่าสัตว์เลื้อยคลาน เช่น นกกระสาแดง นกโพระดก หรือนกกระเต็นน้อย ที่ดิฉันขึ้นภาพให้ดูเป็นภาพของสัตว์หรือว่านกที่อนุรักษ์ไว้ นอกจากนั้นประชาชนยังต้อง ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพประมง อาชีพเกษตรกรรม อาชีพของปศุสัตว์ และเรื่อง ของการท่องเที่ยวค่ะ
ท่านประธานที่เคารพคะ ถึงอย่างไรก็ตามเรื่องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนที่จะกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเอง ในปีงบประมาณ ปี ๒๕๖๐ จังหวัดลพบุรีได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นงบพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลาง ตอนบน ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและจัดทำรายงานดังที่ท่านสมาชิกได้กล่าว สักครู่นะคะ เรื่องของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA พร้อมทั้งสำรวจออกแบบ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก โดยแขวงทางหลวงชนบทลพบุรีได้มอบหมาย ให้เป็นหน่วยดำเนินการและจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดิฉันได้ขึ้น Chart ให้ท่านสมาชิกได้เห็นถึงการดำเนินงานในแต่ละช่วง ปัจจุบันนี้อยู่ในระหว่าง การเสนอรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ให้กับคณะกรรมการผู้ชำนาญการ พิจารณารายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือว่า คชก. พิจารณาให้ความเห็นชอบในลำดับ ต่อไป ซึ่งถ้าเราดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวประชาชนจะได้รับประโยชน์ โดยดิฉัน ได้แยกมิติของพี่น้องประชาชนที่จะได้รับประโยชน์
มิติแรกเป็นมิติทางด้านสังคม พี่น้องประชาชนก็จะได้เดินทางสัญจรไปมา ไปติดต่อสถานที่ราชการดังที่ท่านสมาชิกได้เกริ่นนำเมื่อสักครู่นะคะ ได้มีความสะดวกรวดเร็ว มากยิ่งขึ้น ประหยัดเวลาในการเดินทาง ร่นระยะทางของพี่น้องประชาชนตำบลมะนาวหวาน ตำบลน้ำสุด ตำบลห้วยขุนราม ในการไปติดต่อราชการ ไปโรงพยาบาลยามเจ็บป่วย และพี่น้องในตัวอำเภอพัฒนานิคมได้ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร
มิติทางด้านเศรษฐกิจ พี่น้องเกษตรกรก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง พืชผลทางการเกษตรให้ร่นระยะเวลาการเดินทาง ถ้าร่นระยะเวลาการเดินทางได้เร็ว นั่นหมายถึงเป็นการลดต้นทุน ให้พี่น้องเกษตรกรได้มีผลกำไรในการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมนั้น ๆ
มิติของด้านการท่องเที่ยว เราก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ถ้าไปลพบุรี ก็คงไม่เพียงแต่ไปดูลิง แต่เราก็จะมีสะพานที่สวยงาม นั่นก็คือดึงดูดนักท่องเที่ยวเกิดการ กระจายรายได้ให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ให้กับชุมชนในโอกาสต่อไป ดิฉันขออนุญาตตอบ คำถามแรกของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติค่ะท่านประธาน ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ในประเด็นคำถามที่ ๒ ดิฉันขอย้อนไปในประเด็นคำถามแรก นะคะว่าทางกระทรวงคมนาคมเห็นด้วยหรือไม่กับการทำโครงการนี้ ท่านประธานที่เคารพคะ ดิฉันขอกราบเรียนว่ารัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ท่านได้เห็นความสำคัญ ของการพัฒนาโครงข่ายของประเทศไทยในทุกมิติ ไม่ว่ามิติทางน้ำ มิติทางบก มิติทางราง หรือมิติทางอากาศค่ะ เพราะว่าทางรัฐบาลเชื่อมั่นว่าเมื่อความเจริญถนนหนทาง หรือเส้นทางไปสู่ นั่นก็คือการลดความเหลื่อมล้ำและความเท่าเทียมต่อพี่น้องประชาชน กระทรวงคมนาคมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะริเริ่มแล้วก็ดำเนินโครงการ นอกจากนั้นระยะทางที่ดิฉันนำเรียนว่า ๑๓ กิโลเมตรนั้น ดิฉันได้ข้อมูลจากผลของการศึกษา EIA ที่ทำอยู่ แต่ถ้าจะมีความคลาดเคลื่อนสิ่งใด ท่านในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็สามารถสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในการแสดงความเห็นในพื้นที่ ของจังหวัดลพบุรีได้ ซึ่งความเห็นของพี่น้องประชาชนและความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็จะเป็นผลดีต่อการทำ EIA นี้ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นค่ะ
นอกจากนั้น คำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิกโดยกรมทางหลวงชนบท ขอเรียนให้ทราบว่าจังหวัดลพบุรี ได้ริเริ่มดำเนินการศึกษา แล้วก็ทำรายงานประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง สำรวจออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก อำเภอลพบุรี เมื่อปี ๒๕๖๐ เมื่อคณะกรรมการศึกษาหรือทำ EIA เรียบร้อยแล้ว หรือว่าเรียบร้อยเสร็จแล้ว ก็จะพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อคณะกรรมการ คชก. ที่พิจารณาไปเมื่อปี ๒๕๖๔ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการแก้ไขรายงาน EIA ตามข้อเสนอของ คชก. ในประเด็นที่ท่านสมาชิกได้ถาม ท่านก็สามารถไปนำเสนอว่าระยะห่างของกิโลเมตร ไม่ใช่ ๑๓ กิโลเมตร อาจจะเป็น ๔๐ กิโลเมตร เพื่อให้การศึกษาของ EIA มีความสมบูรณ์ มากยิ่งขึ้น ฝากท่านสมาชิกไปด้วยนะคะ เมื่อ คชก. มีมติเห็นชอบรายงานดังกล่าว จังหวัดลพบุรีก็จะส่งรายงาน EIA นี้ให้กับกรมทางหลวงชนบท เมื่อกรมทางหลวงชนบท ได้รับรายงานนี้แล้วก็จะดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่เขตล่าสัตว์ป่ากับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เมื่อได้รับอนุญาตแล้วก็จะดำเนินการก่อสร้างสะพานต่อไป แล้วบรรจุ ลงในการขอรับงบประมาณหลังจากขั้นตอนดังกล่าวได้ผ่านหมดแล้วค่ะ
ท่านประธานที่เคารพคะ ไม่ว่าจะรัฐบาลใด ๆ ก็ตามเมื่อถึงฤดูหาเสียง หรือท่านที่สมาชิกว่าแน่นอนค่ะ สิ่งดี ๆ ที่ทุกรัฐบาลนำเสนอต่อพี่น้องประชาชนนั้นก็เป็นสิทธิ ที่พี่น้องประชาชนจะตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองใดก็ตามที่สามารถนำประโยชน์ให้พี่น้อง ประชาชน แต่ท้ายที่สุดนโยบายใด ๆ เมื่อรัฐบาลที่ได้เข้ามาก็ต้องเป็นสัญญาประชาคมว่า เมื่อสัญญาต่อพี่น้องประชาชนแล้วรัฐบาลนั้นได้ทำตามสัญญาหรือไม่ แต่สำหรับรัฐบาล ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน แล้ว เราจะทำทุกนโยบายที่ได้ให้สัญญากับพี่น้องประชาชน ขณะนี้เราได้เข้ามาทำงานเป็นเดือนที่ ๗ แล้ว หลาย ๆ นโยบายที่เราได้สัญญาไว้ก็จะริเริ่มทำ แล้วก็เชื่อมั่นว่ารัฐบาลท่านเศรษฐา ทวีสิน ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ภายใต้การกำกับดูแล ของกระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบท เราเองมีความห่วงใยและจะทำให้ คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนดีขึ้น จึงมีการพัฒนาโครงข่ายในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง แล้วก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการก่อสร้างสะพานเขื่อนป่าสัก ไม่เพียงแต่ว่า ความเจริญถึง แต่ขณะเดียวกันเราต้องอนุรักษ์ป่าซึ่งมีอยู่อย่างยาวนานของเขื่อนป่าสักแห่งนี้ โดยมีโครงการที่การก่อสร้างสะพานป่าสักแห่งนี้ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับ การเดินทางของพี่น้องประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว แล้วก็ปลอดภัย เพื่อเชื่อมโยง กับทั่วไทย เชื่อมโยงกับคนไทยทั้งชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นคำขวัญของกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ขอบคุณท่านประธานต่อคำถามของท่านสมาชิกนะคะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจาก ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มาตอบกระทู้แยกเฉพาะของท่านสมาชิก ท่านอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากจังหวัดศรีสะเกษ ของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติท่านนี้ท่านได้ให้ ความสนใจต่อปัญหาและความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนตลอดมา ทั้งท่านตั้งกระทู้ถามทั่วไป และตั้งกระทู้ถามแยกเฉพาะค่ะ
คำถามแรกของท่านสมาชิก ดิฉันขออนุญาตตอบต่อท่านประธานไปยัง ท่านสมาชิกนะคะว่ากระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงชนบท ที่พี่น้องประชาชนใช้เส้นทาง เดินทางสัญจรไปมา จากอำเภออุทุมพรพิสัย-อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งประกอบ ไปด้วย ๓ สายทางหลัก สายทางแรกเป็นถนนท้องถิ่น สายอุทุมพรพิสัย-บ้านกำแพง อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลกำแพง ส่วนสายทางที่ ๒ เป็นถนนทางหลวงชนบท สาย ศก. ๔๐๒๐ บ้านกำแพง-บ้านหนองเชียงทูน อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ชนบท และอีกสายหนึ่งถนนสายที่ ๓ เป็นถนนท้องถิ่น สายบ้านหนองเชียงทูน-อำเภอปรางค์กู่ อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษค่ะ การแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในการก่อสร้างหรือว่าปรับปรุงถนนดังกล่าว ซึ่งเป็น ภารกิจของแต่ละหน่วยงานตามอำนาจหน้าที่ที่ดิฉันได้นำเรียนไปเมื่อสักครู่ว่า เป็นความ รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท สำหรับถนนสาย ศก. ๔๐๒๐ สายบ้านกำแพง อำเภอเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่และ อำเภออุทุมพรพิสัย ดังที่ดิฉันได้ขึ้นในภาพนะคะ
เป็นระยะทาง ทั้งสิ้น ๒๘ กิโลเมตร มีสภาพผิวจราจรเป็นถนนลาดยางสลับกับถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและ กว้าง ๖ เมตร ไหล่ทาง ๐-๒.๕ เมตร เนื่องจากบางช่วงไม่มีไหล่ทาง แต่บางช่วงมีไหล่ทาง ตลอดแนวเส้นทางดังกล่าวมีพี่น้องประชาชนสัญจรไปมาที่ใช้เส้นทางดังกล่าว ๖ ตำบล ใช้เส้นทางดังกล่าวประมาณ ๔๐,๑๕๖ คน ซึ่งประกอบไปด้วยตำบลกำแพง ตำบลก้านเหลือง ตำบลทุ่งไชย ตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย รวมทั้งตำบลโรงปราสาท ตำบลเชียงทูน และพี่น้องอำเภอปรางค์กู่ โดยกรมทางหลวงชนบทมีแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชนทั้ง ๓ กรณี ซึ่งขออนุญาตได้เรียบเรียงคำถาม ประกอบกับท่านได้ตั้งกระทู้ ดิฉันได้ดูคำถามในเอกสารที่ท่านได้ตั้งกระทู้ถามไว้ แยกเป็น ๓ กรณีนะคะ ที่ดิฉันรวบรวม ได้ตอบไปครั้งเดียว ขอประทานโทษท่านประธานค่ะ เนื่องจากดิฉันมีกระทู้ถามทั่วไปที่อยู่ ในห้องใหญ่ เดี๋ยวเสร็จจากกระทู้ถามแยกเฉพาะ ดิฉันต้องขึ้นไปตอบกระทู้ที่ห้องใหญ่ ก็เลยขออนุญาตได้รวบรวมคำถามของท่านสมาชิกไปในคราวเดียวกันเลยนะคะ ซึ่งดิฉันเห็น ในคำถามที่ท่านถามในเอกสารแล้วนะคะว่า ในกรณีที่มีการปรับปรุงซ่อมแซมผิวจราจร ที่ชำรุด แล้วกรณีที่ ๒ เรื่องของการขยายถนนพร้อมปรับปรุงรางระบายน้ำ และกรณีที่ ๓ เรื่องไฟส่องสว่างและอุปกรณ์อำนวยความสะดวก กรมทางหลวงชนบทมีแนวทางที่จะแก้ไข ปัญหาทั้ง ๓ กรณีอย่างไร
กรณีแรก ได้ขออนุญาตนำเสนอเรื่องของการแก้ไขปรับปรุงซ่อมแซมถนนที่มี ความชำรุดเสียหายดังที่ขึ้นในภาพนะคะว่า ปกติเราจะมีงบซ่อมบำรุงปกติที่ชำรุดเสียหาย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนดังแสดงในภาพค่ะ ถนนสายดังกล่าวก็จะ เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยการซ่อมผิวลาดยางที่ได้บรรจุในร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อมาดำเนินการ ระยะทางประมาณ ๗๓๐ เมตร งบประมาณ ๙.๙ ล้านบาท เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายได้ผ่านสภา เรียบร้อยแล้ว กรมทางหลวงชนบทก็จะดำเนินการก่อสร้างซ่อมแซมถนนสายดังกล่าว ส่วนการซ่อมแซมดังกล่าวก็จะมีว่า ถ้าเราได้รับงบประมาณบำรุงพิเศษหรือว่าซ่อมแซมกรณี ที่ความเสียหายชำรุดเป็นบางช่วง เราก็จะนำบรรจุในงบประมาณในภาพใหญ่ต่อไป อย่างไรก็ดี การบำรุงซ่อมแซมก็จะเห็นว่ากิจกรรมที่ทางหลวงชนบทเองที่ไม่ได้รับงบประมาณจำนวนมาก เราก็จัดสรรลำดับความจำเป็นและความเดือดร้อน เนื่องจากงานบำรุงรักษาซ่อมทาง อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ในเส้นทางที่เราได้ขึ้นทะเบียนไว้เราเอง ก็จะพยายามที่จะจัดสรรปัญหาความเดือดร้อนดังที่ท่านสมาชิกได้นำเสนอเป็นลำดับ ๆ ไปค่ะ
กรณีที่ ๒ เรื่องของการขยายถนนพร้อมปรับปรุงระบบระบายน้ำ ก็จะเห็นว่า ในการขยายถนนเส้นทางดังกล่าวเรามีระบบปรับปรุงระบบระบายน้ำตามสภาพเขตทาง ซึ่งมีอยู่ ๒ รูปแบบ รูปแบบแรกเป็นปรับปรุงรางระบายน้ำที่อยู่ในเขตชุมชน ในภาพที่ ๒ เป็นระบบปรับปรุงระบายน้ำนอกเขตชุมชน ซึ่งจะเห็นว่าการขยายเขตในเขตชุมชนส่วนมาก เราแทบจะขยายไม่ได้ เพราะว่าปกติแล้วผิวจราจรกว้าง ๕ เมตร จะมีพื้นที่ที่อยู่อาศัยของ พี่น้องประชาชนอยู่แล้ว แต่เราก็มีการขยายดังที่ท่านสมาชิกได้ถามนะคะว่ามีการขยาย ผิวจราจรกว้าง ๖ เมตร แต่ว่าไม่มีไหล่ทาง แต่มีเพียงแค่รางระบายน้ำ ส่วนนอกเขตชุมชนเรา ก็มีการขยายพื้นผิวจราจรให้เป็นกว้าง ๖ เมตร แล้วก็ไหล่ทางข้างละ ๒.๕๐ เมตร พร้อมกับ รางระบายน้ำ เช่น สร้างท่อลอดกลม ท่อลอดเหลี่ยมหรือว่าสะพาน เพื่อให้สามารถระบายน้ำ ได้อย่างเพียงพอต่อสภาพเขตทางที่มีอยู่แล้วระยะทาง ๓.๔ กิโลเมตร นอกจากนั้นเรายังได้ บรรจุถนนสายทางดังกล่าวไว้ในร่างของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๗ ระยะทางอีก ๓.๙ กิโลเมตร เป็นงบประมาณทั้งสิ้น ๔๙.๕ ล้านบาท เมื่อพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๗ ผ่านแล้ว ก็จะดำเนินการหาผู้รับจ้างจัดซื้อจัดจ้าง ในโอกาสต่อไป แต่ว่าส่วนระยะทางที่เหลือเราก็จะจัดลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับ ความจำเป็นเร่งด่วนของกรอบงบประมาณในปี ๒๕๖๘ ต่อไป
สำหรับบริเวณบ้านกำแพงที่จะให้ท่านสมาชิกได้เห็นถึงความหนาแน่นที่เป็น จุดเชื่อมโยงของถนนสาย ศก.๔๐๒๐ ผ่านถนนท้องถิ่น ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ เทศบาลตำบลกำแพง ก็จะไปบรรจบกับถนนราชการรถไฟใต้ ระยะทางประมาณ ๑๘๐ เมตร ซึ่งมีลักษณะคอขวดที่ดิฉันได้โชว์ภาพสไลด์บนจอนะคะว่า ก็จะส่งผลให้สภาพการจราจร ติดขัด เราจึงเห็นว่าเมื่อสภาพการจราจรติดขัดแล้ว จึงเสนอให้เทศบาลตำบลกำแพง บูรณาการร่วมกับตำรวจในพื้นที่ ให้มีการบริหารจัดการสภาพของจราจรในช่วงที่เป็นชั่วโมง เร่งด่วน เช่น กำหนดลักษณะประเภทเข้าออก หรือว่าให้กำหนดที่จอดรถในช่วงเวลา ที่กำหนด หรือมีป้ายเตือนและป้ายห้ามจอด นี่คือการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานค่ะ
ต่อไปเป็นประเด็นที่ท่านสมาชิกได้มีความห่วงใย เรื่องของไฟฟ้าส่องสว่าง และอุปกรณ์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบทเองก็ได้ดำเนินการติดตั้งไฟส่องสว่าง อุปกรณ์ ความปลอดภัยของท้องถนน ท่านประธานเห็นไหมคะ มีสัญญาณไฟกระพริบ มีเครื่องหมาย สัญญาณจราจรบนผิวทาง และมีเครื่องหมายนำทางในบริเวณชุมชนและจุดเสี่ยงอันตราย เพราะระยะทางดังกล่าวเป็นระยะทางถึง ๑๐.๖๔๐ กิโลเมตร สำหรับเส้นทางในส่วนที่เหลือ กรมทางหลวงชนบทก็จะมีการพิจารณาติดตั้งไฟส่องสว่างป้ายสัญญาณเตือนจราจรบนผิวทาง รวมทั้งเครื่องหมายนำทางในโอกาสต่อไป นั่นก็คือในกรอบวงเงิน งบประมาณปี ๒๕๖๘ ค่ะ
ท้ายที่สุดกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ต้องขอบคุณท่านสมาชิก เป็นอย่างสูงยิ่งนะคะ ที่ท่านได้นำเสนอปัญหาและเส้นทางดังกล่าวต่อท่านประธานในการ ที่จะมาถามคำถามของกระทู้ถามแยกเฉพาะที่ท่านมีความห่วงใย และกระทรวงคมนาคมเอง ก็ต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในต่างจังหวัด โดยเฉพาะการพัฒนา โครงข่ายทางหลวงชนบทได้กระจายความเจริญไปสู่ท้องที่ต่าง ๆ นอกจากนั้นสำคัญสูงสุดคือ การก่อสร้างทางหลวงชนบทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับการเดินทางของพี่น้อง ประชาชนให้มีความสะดวกรวดเร็วแล้วก็ปลอดภัย เชื่อมโยงกับพี่น้องทั่วไทย เชื่อมใจคนทั้งชาติ อย่างยั่งยืน จากกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ขอบคุณค่ะท่านประธาน
ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริม วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี จำนวน ๗ ท่าน ดังนี้ ๑. นายโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ๒. นายอภินันท์ ธรรมเสนา ๓. นายกิตติ อินทรกุล ๔. นางสาวอุดมลักษณ์ บุญสว่าง ๕. นายอนันต์ ผลอำนวย ๖. นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ๗. นางสาวมิรันตี บุญแก้ว ขอบคุณค่ะ ขออนุญาตเพิ่มนิดหนึ่งค่ะ ในการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ขอใช้ร่างของ ครม. เป็นหลักนะคะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้มา ตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ท่านฐิติมา ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากจังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย เนื่องจากท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้มีคำถามนี้ในการ ปรึกษาหารือในการประชุมสภาที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ หลังจากที่เรา รับทราบข้อปรึกษาหารือของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติแล้วเราก็รีบดำเนินการต่อ ดิฉันขอตอบ คำถามของท่านสมาชิกดังนี้นะคะ ว่ากระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวง ว่าถนนสาย ๓๑๔ บางปะกง-ฉะเชิงเทรา หรือว่าสิริโสธร ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่ให้พี่น้องประชาชนสัญจรไปมา เดินทางจากอำเภอบางปะกง อำเภอเมือง เพื่อจะเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยใช้ เส้นทางของถนนสุวินทวงศ์ โดยมีจุดกลับรถดังกล่าว เดิมมีความเหมาะสมในการกลับรถ
ดังที่ดิฉัน ได้ขึ้นสไลด์นะคะ เดิมมีจุดกลับรถที่มีความเหมาะสมในการกลับรถ แต่เนื่องจากว่าปัจจุบัน ความเจริญแห่งนี้ได้กลายเป็นชุมชนเมือง มีการขยายตัวของพี่น้องประชาชนชุมชนเมืองมากขึ้น จึงส่งผลให้มีการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น โดยปริมาณของรถที่เฉลี่ยต่อวันตลอดทั้งปีเราได้เก็บ สถิติมา อยู่ที่ ๕๑,๒๔๓ คันต่อวัน ทำให้ไม่สามารถที่จะทำจุดกลับรถได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งได้มีการขับขี่ย้อนศรดังที่ท่านสมาชิกได้หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาหารือนะคะ ซึ่งถ้าเรายัง เปิดจุดกลับรถนี้ก็จะทำให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงก็ได้มีการแก้ แล้วก็เพิ่มความปลอดภัยให้พี่น้องประชาชนในการสัญจร ไปมา ตามที่ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้พูดถึงประเด็นสักครู่นะคะ เราจึงได้จัดทำแผน งบประมาณปรับปรุงความปลอดภัยบริเวณทางแยกอันตรายทางหลวงหมายเลข ๓๑๔ ตอนแสนภูดาษไปถึงฉะเชิงเทรา เพื่อขอรับงบประมาณในปี ๒๕๖๗ วงเงิน ๓,๙๗๒,๐๐๐ บาท ถ้างบประมาณได้ผ่านสภาในวาระที่ ๒ วาระที่ ๓ แล้ว กรมทางหลวงก็จะเร่งรีบในการที่จะ จัดหาผู้รับจ้างให้ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ นอกจากนั้นค่ะ การเปิดจุดกลับรถเดิม ที่โรงเบียร์ ให้มากลับรถที่ทางแยกใหม่ที่ซอยประชาสรรค์ ภาพเล็ก ๆ ที่ให้ท่านสมาชิกได้เห็น เราก็จะมีการติดตั้งไฟสัญญาณจราจร แล้วก็ปิดจุดกลับรถเดิม และเปิดทางแยกดังกล่าว ซึ่งการเปิดทางแยกดังกล่าวก็จะอำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนสัญจรไปมาได้ แล้วก็ ลดปัญหาการขับขี่ย้อนศร ถ้าเราลดปัญหาการขับขี่ย้อนศรนั้นก็จะช่วยให้ระยะเวลาของการ ขับรถไม่กระชั้นชิด รวมไปถึงต้องสื่อสารไปถึงพี่น้องประชาชน ฝากท่านสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรว่าก็ฝากไปถึงพี่น้องประชาชนในการคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แล้ว ก็ปฏิบัติตามกฎระเบียบของการใช้รถใช้ถนนเพื่อลดอุบัติเหตุต่อไป ดิฉันขออนุญาตตอบ คำถามแรก ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ในประเด็นคำถามของท่านสมาชิกในประเด็นแรก เรื่องของ เส้นแบ่งถนน เดี๋ยวจะมอบให้ทางกรมทางหลวงได้ไปดำเนินการ แล้วก็หาแนวทางว่า จะทำเส้นแบ่งถนนอย่างไรเพื่อให้พี่น้องประชาชนเห็นด้วยระดับสายตาให้เห็นชัดเจน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในอนาคต
สำหรับคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิกว่าในกรมทางหลวง โดยกระทรวง คมนาคม ว่าในบริเวณดังกล่าวถนนดังกล่าวตั้งอยู่ทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ เรียกว่า ตอนคลองหลวงแพ่ง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่บริเวณหน้าหมู่บ้านสานฝัน และหน้าหมู่บ้าน สุวินธารา ขอขึ้นภาพสไลด์เพื่อจะได้เห็นภาพว่าโดยพื้นที่ดังกล่าวก็เป็นเส้นทางที่มีพื้นที่ แล้วก็มีการจราจรหนาแน่น รถประมาณ ๕๑,๒๑๓ คัน ซึ่งแขวงทางหลวง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ปี ๒๕๖๗ เพื่อดำเนินการ จุดที่จะดำเนินการก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามที่เหมาะสมตามที่ท่านสมาชิกได้นำเรียนสักครู่ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรียกว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลคลองหลวงแพ่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาแดง ได้มีการประชุมกัน แล้วก็เมื่อมีการประชุมแล้ว ก็ไปขอความยินยอมจากเจ้าของตึกในบริเวณ ๒ ฟาก ท่านจะเห็นว่านี่คือภาพที่เราได้มี การขอรับความยินยอม ปรากฏว่าพี่น้องประชาชนหรือว่าตึกที่อยู่บริเวณทั้ง ๒ ฝั่ง ไม่ให้ความยินยอมค่ะ เมื่อไม่ให้ความยินยอมดังกล่าว การก่อสร้างสะพานลอยบริเวณ หน้าที่ดินของตัวเอง เคยมีกรณีของการพิพาททุกครั้งเวลากรมทางหลวงจะต้องสร้าง สะพานลอย พี่น้องทั้ง ๒ ฝั่ง ต้องได้รับความยินยอม แต่ถ้ามีคำถามเกิดขึ้นมาว่าในเมื่อ ที่ตรงนั้นเป็นที่สาธารณะทำไมกรมทางหลวงจะสร้างไม่ได้ เคยมีกรณีพิพาทที่ศาลทุก ๆ ครั้ง กรมทางหลวงจะแพ้คดีนี้ทุก ๆ ครั้ง เพราะตอนนี้กฎหมายเขาเน้นถึงสิทธิของการใช้พื้นที่ สาธารณะ ถ้าคุณมาสร้างสะพานลอยตรงบ้านเขาขณะที่เขาค้าขายเขาก็สูญเสียรายได้ ขาดลูกค้า นี่จึงเป็นคำพิพากษาของศาลและให้กรมทางหลวงยึดถือแนวทางนี้เป็นแนวทาง ปฏิบัติ จึงทำให้เราไม่สามารถที่จะสร้างสะพานลอยตรงนี้ได้ แต่เราก็มีการประชุมร่วมกันว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีมาตรการต่อไปอย่างไร หากดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวก็คือ ตอนนี้ต้องขอความร่วมมือทางท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นว่าลองกลับไปพูดว่าถ้าเรายังต้องมีมาตรการแบบนี้ ถ้าเรายินยอมให้สร้าง สะพานลอยตรงบริเวณนั้นมีเซเว่น-อีเลฟเว่นด้วย บางครั้งก็เป็นช่องทางหนึ่งให้ลูกค้ามา เพิ่มขึ้นก็ได้ ที่ลูกค้าสามารถข้ามสะพานลอยมาใช้บริการ หรือว่าเป็นร้านค้า นั่นก็เป็นเหตุผล หนึ่งในการจูงใจให้ทางเจ้าของยินยอม ก็ฝากท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปประสานต่อ แต่ถ้าตรงอาคารดังกล่าวให้ความยินยอมแล้วกรมทางหลวงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้มี การจัดสรรงบประมาณในการสร้างสะพานลอยในโอกาสต่อไป นี่ก็คือภาพของสะพานลอยทั้ง ๒ ฝั่ง แต่ว่าเบื้องต้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย เราก็อยู่ในระหว่าง รอการจัดสรรงบประมาณบริเวณวัดคลองเจ้า โดยผู้ใช้ทางสามารถใช้จุดกลับรถใต้ สะพานลอยคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตได้อีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งมุมภาพด้านขวา โดยมีระหว่าง ประมาณ ๑๐๐ เมตร ถ้าประชาชนไม่สามารถข้ามจุดตรงที่เป็นจุดสีแดงก็สามารถมาใช้ข้าม ตรงจุดสีฟ้าที่เห็น ก็ระยะห่างจากจุดเดิมเพียงแค่ ๑๐๐ เมตร โดยกรมทางหลวงจังหวัด ฉะเชิงเทราก็จะดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยเพิ่มขึ้น แล้วก็จะช่วยลด ความเร็วสำหรับรถในการขับขี่ ก็คือสัญญาณเตือนว่าให้ชะลอความเร็วในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งก็จะติดตั้งป้ายจราจร ไฟกระพริบให้มีการชะลอความเร็ว พร้อมทั้งประสานกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้สื่อสารกับพี่น้องประชาชนว่าถึงแม้ตรงนี้เราไม่สามารถสร้าง สะพานลอยได้นะ แต่เรามีอีกทางหนึ่งที่จะเปิดทางให้พี่น้องประชาชนข้ามถนนได้อย่าง ปลอดภัย ในส่วนของที่ท่านสมาชิกได้พูดว่าบริเวณดังกล่าวมีรถจำนวน ๕๐,๐๐๐ กว่าคัน เราก็ได้กำหนดจุดก่อสร้างให้เห็นอย่างที่นำเรียนว่าถึงอย่างไรก็ตาม การอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยทางกรมทางหลวงก็จะรอการจัดสรรงบประมาณ แล้วก็สามารถให้พี่น้อง ประชาชนใช้สัญจรไปมาได้ ในการออกแบบก็ขออนุญาตนำเรียนท่านประธานไปถึง ท่านสมาชิกว่าในการออกแบบ ๑๐ ช่องจราจรนี้ ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่เข้าสู่กรุงเทพมหานคร เราก็จะมีพื้นที่ทางหลักและพื้นที่ทางคู่ขนาน เราก็ต้องพิจารณาถึงการใช้ยานพาหนะในการ ออกแบบ ลักษณะการจราจร ความสัมพันธ์ของกระแสจราจร ก็คือว่าถนนดังกล่าวมีความ หนาแน่นของการใช้รถเพียงใด ขีดความสามารถของทาง ระดับการให้บริการผู้ขับขี่แล้วก็คน เดินถนน ซึ่งการจัดการอำนวยความสะดวกเหล่านี้รวมทั้งผู้ขับขี่รถจักรยาน หรือ รถจักรยานยนต์เป็นต้น ทุกมิติของการออกแบบกรมทางหลวงได้คำนึงถึงว่าหลังจาก ออกแบบแล้วมิติของความปลอดภัย มิติของความสะดวกสบาย ตลอดไปจนถึง การบำรุงรักษาในอนาคตเราจะช่วยกันให้พี่น้องประชาชนสัญจรไปมาได้อย่างปลอดภัย อย่างไร โดยทางหลักเส้นนี้เป็นทางถนน ๑๐ เลน แล้วก็เป็นรถที่ต้องใช้ความเร็วสูง และเป็น จุดเชื่อมต่อกับพื้นที่ที่เป็นทางเล็กหรือว่าทางระดับข้าง ๆ มีการควบคุมการเข้าออกอย่างเป็น ระบบ ก็ต้องระวังด้วยเช่นกัน เพราะว่าเป็นเส้นทางหลัก นอกจากนั้นในบริเวณดังกล่าว เราก็ทราบว่าถนนเป็นสายเมนหลัก แล้วก็รถต้องใช้ความเร็วสูง เพราะว่าเป็นรถที่ต้องใช้ เส้นทางที่เป็นระยะทางไกล พาหนะส่วนใหญ่ก็จะเป็นรถยนต์ และเส้นทางคู่ขนานที่เป็นทาง เชื่อมต่อกับพื้นที่และบริเวณริมทาง ปริมาณการจราจรน้อย เส้นหลักจะใช้รถความเร็วสูง เส้นรองจะใช้รถความเร็วต่ำ ก็ทำให้การเดินทางระยะใกล้และพาหนะส่วนใหญ่จึงเป็น จักรยานยนต์ ที่ดิฉันโชว์ภาพทั้งหมดทั้งมวลค่ะท่านประธานที่เคารพ กระทรวงคมนาคมเอง โดยกรมทางหลวงก็มุ่งมั่นพัฒนาแล้วก็พยายามที่จะจัดการบริหารโครงข่ายทางหลวงที่ สามารถเชื่อมโยงสะดวก ปลอดภัยตามมาตรฐานของทางหลวงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ให้พี่น้องประชาชนได้ใช้เงินภาษีอย่างคุ้มค่า แล้วก็เข้าถึงการบริการของคนทุกกลุ่ม ต้อง ขอบคุณท่านสมาชิกเป็นอย่างสูงที่ได้สะท้อนปัญหา ไม่ว่าเรื่องของการก่อสร้างสะพานลอย ไม่ว่าปัญหาเรื่องของจุดกลับรถ ทุกประเด็นของปัญหาจะได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วภายใต้ รัฐบาลของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากท่านติดภารกิจเดินทางไปใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้พร้อมกับท่านนายกรัฐมนตรี ดิฉันก็ต้องขอขอบคุณท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรตินะคะ ท่านศศินันท์ ท่านเป็น สส. จาก พรรคก้าวไกล ซึ่งได้มีความขยันเป็นอย่างมากที่ได้นำปัญหาของพี่น้องประชาชน ทั้งการ ปรึกษาหารือ ทั้งการตั้งกระทู้ถาม ทั้งเป็นกรรมาธิการงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ด้วยนะคะ
ในคำถาม แรกของท่านสมาชิกค่ะ การดำเนินการโครงการการทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ของกระทรวงคมนาคมจากคำถามว่า หากปรากฏว่าที่ดินแปลงใดที่ได้รับผลกระทบจากการ เวนคืนเรื่องของทางเข้าออกที่ท่านสมาชิกได้ถามว่าเมื่อไม่มีทางเข้าออกแล้วสิทธิเดิม ที่กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการอย่างไร โดยเบื้องต้นการทางพิเศษก็จะมีส่วนของ การวิเคราะห์ผลกระทบการจราจรทางด้านโครงสร้างและการบำรุงรักษาการทางพิเศษ มาเป็นข้อมูลในการประกอบว่าเราจะพิจารณากำหนดตำแหน่งใด รูปแบบทางเข้าออก แบบไหนเพื่อเป็นการบรรเทาให้กับพี่น้องประชาชนในหมู่บ้านนั้น ๆ ที่สามารถใช้เป็น ทางเข้าออกได้ โดยผ่านเขตการทางพิเศษแล้วก็เข้าสู่ในรูปแบบของทางสาธารณะ ที่มีสิทธิอยู่เดิมนั้นก่อนนะคะ นอกจากนั้นทราบว่าหมู่บ้านนี้ได้สร้างขึ้นก่อนที่ทาง การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะไปสร้างหรือทางด่วนจะไปในภายหลัง ก็ปรากฏว่าหากมี พื้นที่ใดที่ว่างใต้ทางพิเศษหรือพื้นที่ว่างที่ใกล้กับชุมชนแล้วก็พื้นที่ดังกล่าวก็จะเป็นที่สุ่มเสี่ยง ต่อการบุกรุกของประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว เราก็มีมาตรการในการที่จะ ดูแลรักษาและป้องกันการบุกรุกในพื้นที่ ดังนั้นในพื้นที่ดังกล่าวนั้นโดยได้มีการกำหนด แผนงานดำเนินงานตามภารกิจในการจัดการพื้นที่ดังกล่าวในการบุกรุก ดิฉันขอโชว์ภาพเรื่อง ของการทำงานร่วมมือกับประสานงานในพื้นที่ของเขตนั้น ๆ เพื่อร่วมกันปรับปรุงสภาพ ใต้ทางด่วน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ของสาธารณะ เช่น การจัดทำลานกีฬา ที่ลานกีฬาแสงทิพย์ เขตทวีวัฒนา สวนสาธารณะวัชราภิรมย์ในเขตบางเขน แล้วก็สวนสาธารณะ ๕๐ สุข ในเขตคลองเตย คือมีมิติทั้งเรื่องของการจัดทำลานกีฬา สวนสาธารณะ แล้วก็เรื่องของการใช้ ลานกีฬาเหล่านั้นเป็นที่ออกกำลังกายของเยาวชน ลูกหลานในเขตนั้น ๆ เพื่อให้พี่น้อง ประชาชนหรือชุมชนที่อยู่ใกล้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเหล่านั้นได้มีโอกาสมาใช้ พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ นอกจากนั้นเมื่อเราได้สร้างสวนสาธารณะแล้ว สถานที่ออกกำลังกายแล้ว สิ่งที่ต้องขอความร่วมมือคือช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่นั้นให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะมีการเพิ่ม พื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพมหานครแล้วก็ใช้เป็นที่พักผ่อนให้กับพี่น้องประชาชนค่ะ ดิฉันขอ อนุญาตตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกก่อน ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพคะ ในประเด็นคำถามที่ ๑ เนื่องจากดิฉันได้ฉายภาพโดยภาพรวม ของภารกิจของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย แล้วก็สิ่งที่ท่านสมาชิกได้มีความห่วงใย เนื่องจากดิฉันเห็นว่าคำถามที่ ๒ ก็จะเกี่ยวเนื่องกัน ดิฉันก็จะหยิบคำถามที่ ๒ ขึ้นมา ในประเด็นของคำตอบว่าในความเห็นที่ ๒ เรื่องของที่ท่านสมาชิกได้พูดถึงเรื่องของโครงการ หมู่บ้านจิรทิพย์นี้ค่ะ เป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรที่อยู่กันต่อเนื่อง อย่างที่กราบเรียนว่า สร้างก่อนที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะไปสร้างนะคะ จึงต้องมีการเวนคืนเพื่อการ ก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าว หรือว่าการก่อสร้างทางพิเศษฉลองรัช ตามที่ได้ขึ้นรูป เรียกว่า ถนนรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันรถยนต์ในโครงการหมู่บ้าน สามารถเข้าออกสู่ถนนสุขาภิบาล ๕ ได้ภายหลังการเวนคืน แนวทางพิเศษได้ตัดผ่านหมู่บ้าน จิรทิพย์ ออกเป็น ๒ ส่วน เห็นไหมคะว่า ส่วนแรกในฝั่งตะวันออกเป็นแนวเขตทางพิเศษ ยังคงเข้าออกถนนสุขาภิบาล ๕ ได้อยู่ แต่สำหรับหมู่บ้านจิรทิพย์ในส่วนที่ ๒ ฝั่งด้านตะวันตก อีกทางหนึ่งนะคะ จะเป็นแนวเขตทางพิเศษที่ไม่สามารถสัญจรเชื่อมต่อกันเพื่อเข้าออกสู่ถนน สุขาภิบาล ๕ ได้ เนื่องจากว่าถูกแนวเขตของการทางพิเศษขวางกั้นไว้ โดยการการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ได้แก้ไขปัญหาผลกระทบดังกล่าวเรื่องของทางเข้าออก ของพี่น้องประชาชนในหมู่บ้านจิรทิพย์ฝั่งตะวันตก โดยจัดทำถนน Service Road ดังที่ ท่านสมาชิกได้พูดถึงสักครู่ ใต้ทางพิเศษทดแทนให้สามารถสัญจรไปมาได้ แล้วก็นอกจากนั้น ถนนสุขาภิบาล ๕ นี้ มีระยะทางทั้งสิ้น ๗๘๐ เมตร เป็นถนนที่รถสวนทางเข้าออกกันเป็น จำนวนมาก ซึ่งความยาวของช่อง ช่องละ ๓.๕๐ เมตร แล้วก็มีไหล่ทางข้างละ ๑ เมตร รวมความกว้างของถนนดังกล่าวรวมปรับไหล่ทาง ๙ เมตร พร้อมทั้งติดตั้งไฟส่องสว่างตลอด แนวถนน แล้วอนุญาตให้จัดทำผิวถนนจราจร กว้าง ๓.๕๐ เมตร และใช้เป็นทางออก อีก ๑ ช่องทางต่อจากถนนลูกรังที่มีความกว้าง ๕ เมตร โดยเราได้จัดทำถนนทดแทน ท่านสมาชิกเห็นภาพไหมคะ เราได้มีการจัดทำถนนทดแทนให้แล้ว โดยลอดผ่านใต้โครงการ ก่อสร้างทางพิเศษฉลองรัช บริเวณกึ่งกลางระหว่างเสาตอหม้อของทางพิเศษให้เชื่อมกับ ทางลงทางพิเศษของรถที่มาจากถนนจตุโชติ เห็นไหมคะ ในเส้นทางสีฟ้า ที่ตำแหน่งห่างจาก ป้ายเตือนทางโค้งประมาณ ๔๐ เมตร เพื่อใช้เป็นทางออกของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ ในหมู่บ้านจิรทิพย์ฝั่งตะวันตก เพื่อออกสู่ถนนสุขาภิบาล ๕ เพิ่มเติมอีก ๑ เส้นทางค่ะ เคยมี กรณีเรื่องดังกล่าวว่าสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสายไหมนี้ค่ะ ได้แจ้งเรื่องของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ว่าได้รับเรื่องร้องเรียนจากลูกบ้าน หมู่บ้านจิรทิพย์นี้ละค่ะ เรื่องของความจำเป็นที่จะบรรเทาเรื่องของการจราจรให้ พี่น้องเวลาขับรถลงทางด่วนจะสามารถเลี้ยวซ้ายเข้าโครงการได้เลยในระยะทาง ๒๐๐ เมตร นั้น แล้วก็ตรวจสอบ พบว่าการก่อสร้างถนนระยะทาง ๒๐๐ เมตร ที่ไปเชื่อมกับถนน Service Road ซึ่งตรงข้ามตรงบริเวณหัวเกาะของถนนทางพิเศษของสายสุขาภิบาล ๕ ซึ่งไป บรรจบกับคู่ขนาน ดังภาพ ก็จะเป็นเส้นทางที่คู่ขนานกับค่าผ่านทางพิเศษสุขาภิบาล ๕ จากบริเวณที่จุดกลับรถใต้ทางพิเศษ ท่านสมาชิกก็จะเห็นว่าลักษณะกายภาพก่อนจะถึงทาง ราบเป็นลักษณะทางโค้ง และรถที่ลงมาจากทางด่วนพิเศษจะมาด้วยความเร็วมาก จึงเห็นว่า ถ้าเราจะทำถนนดังกล่าวจะเกิดผลกระทบต่อการจราจรและเกิดอุบัติเหตุในทางพิเศษอย่างมี นัยสำคัญ เนื่องจากตำแหน่งดังกล่าวตรงกับบริเวณหัวเกาะของทางลงพิเศษ ซึ่งไปบรรจบกับ ถนนคู่ขนานที่มาจากจุดกลับรถใต้ทางพิเศษ เพราะฉะนั้นรถที่ลงจากทางพิเศษจึงต้องการใช้ ช่องทางเข้า ทำให้ต้องมีการชะลอตัว แล้วก็จอดบริเวณหัวเกาะเพื่อรอรถที่หักหัวเลี้ยวเข้า ช่องทางดังกล่าว ทำให้รถที่ตามมาด้วยความเร็วจากทางด่วนพิเศษเบรกไม่ทัน เพราะอยู่ ในช่วงทางโค้งและลงจากทางพิเศษมาด้วยความเร็ว อาจทำให้เกิดการชนท้ายและยังมีการ ตัดหน้ารถที่วิ่งมาบนถนนคู่ขนานที่มาจากจุดกลับรถใต้ทางพิเศษอีกด้วย การทางพิเศษ แห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม จึงไม่อาจพิจารณาที่จะดำเนินการตามคำขอได้ นี่ดิฉัน ยกกรณีตัวอย่างที่ท่านสมาชิก หรือว่าท่าน สก. ของเขตสายไหมขึ้นมา แล้วก็เป็นแนวคำตอบ ที่ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ถามขึ้นมา แล้วก็มีหนังสือแจ้งให้ทราบไป เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม จากที่ท่านสมาชิกได้ขอใช้พื้นที่นะคะ ตอนนี้สำนักผังเมือง ใต้ทางด่วนพิเศษ ที่ท่านสมาชิกได้ถาม ตอนนี้สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ได้มีการสำรวจพื้นที่ที่จะทำเป็น สถานที่สวนสาธารณะและเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของพี่น้องประชาชนในชุมชนนั้นแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการนะคะ นี่คือเป็นคำตอบในคำถามที่ ๒ ค่ะ
ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน ในประเด็นคำถามท่านสมาชิกนะคะ เรื่องของการพิจารณาการดำเนินงาน เนื่องจากเรื่องดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของผังเมือง กรุงเทพมหานครด้วย แล้วก็จะประสาน เรื่องของผังเมืองกรุงเทพมหานครค่ะ นอกจากนั้นก็อยากจะชี้แจงเรื่องของแนวทางปฏิบัติว่า พื้นที่ใต้ทางด่วนที่เป็นพื้นที่เสี่ยงอันตราย เราก็ได้กำหนดเจ้าหน้าที่ออกตรวจสัปดาห์ละ ๔ ครั้ง ถ้าพบเกิดเหตุการณ์อันตรายเราก็จะมีป้ายเตือน ไม่ว่าจะป้ายเตือนเรื่องทิ้งขยะ พื้นที่นี้ ห้ามบุกรุกว่าตรงไหนมีพื้นที่ใหญ่ปกคลุม การทางพิเศษแห่งประเทศไทยก็จะดำเนินการแก้ไข ในเบื้องต้น โดยภาพที่สมาชิกได้โชว์เราจะเร่งรัดแล้วก็เข้าไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เป็นสถานที่ ที่ไม่ได้เป็นแหล่งมั่วสุมของยาเสพติด ขณะเดียวกันเรื่องของป้ายเตือน เราก็ยังมีติดมี หมายเลขด่วนที่สามารถโทรศัพท์แจ้งได้ คือหมายเลขด่วน ๑๕๔๓ ของการทางพิเศษแห่ง ประเทศไทยที่จะแจ้งข้อมูลของประชาชนว่าถ้าเกิดเหตุการณ์อันตรายใด ๆ ในบริเวณ ของพื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ก็สามารถแจ้งได้ หมายเลข ๑๕๔๓ ทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก็จะเก็บบันทึกนี้นะคะ แล้วก็ทำเป็นข้อสังเกตว่าพื้นที่นี้ เป็นพื้นที่เสี่ยงแล้วก็พื้นที่อันตรายที่จะต้องเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ แล้วก็นอกจากนั้นค่ะ เส้นทางที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ดูแลขณะนี้มีระยะทางถึง ๒๐๐ กิโลเมตร เราก็ได้ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งเขตการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับฟัง ความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับของผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร สก. แล้วก็สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเอาความคิดเห็นเหล่านั้นมา บริหารจัดการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก้ไขปัญหาให้ตรงกับความต้องการ แล้วก็บริหารพื้นที่ใต้ทางด่วนด้วยความรอบคอบแล้วก็คุ้มค่ากับเม็ดเงินแล้วก็ภาษีของพี่น้อง ประชาชนต่อไป ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน