กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ในฐานะผู้แทนคนดอนเมือง
ท่านประธานครับ ต้องขอบคุณท่านประธานที่ได้บรรจุกระทู้ถามแยกเฉพาะนี้ ซึ่งเป็นปัญหาพี่น้องประชาชน คนดอนเมืองและคนกรุงเทพมหานครที่อยู่ Zone เหนือมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ไม่เฉพาะ ในกรุงเทพมหานคร พี่น้องจังหวัดปทุมธานีจังหวัดใกล้เคียงก็ได้รับผลกระทบ และความเดือดร้อน ตลอดจนถนนเส้นนี้คู่ขนานกับสนามบินนานาชาติอย่างสนามบินดอนเมือง ซึ่งนักท่องเที่ยวคนต่างชาติก็ล้วนแต่ใช้ถนนเส้นนี้ ปัญหาพื้นถนนใต้ทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ถนนกำแพงเพชร ๖ เป็นปัญหาเรื้อรังครับ เพราะว่ามีประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุล้มตาย จำนวนมาก ภาพที่ถ่ายเมื่อสักครู่นี้เป็นภาพที่ผมถ่ายเองด้วยมือช่วงประมาณปี ๒๕๖๕ ถนนกำแพงเพชร ๖ หรือว่าถนน Local Road มีความยาวระยะประมาณ ๓๐ กว่ากิโลเมตร จาก GPS แต่ว่าระยะทางที่การรถไฟแห่งประเทศไทยรับผิดชอบ รวมประมาณ ๒๑ กิโลเมตร ซึ่งอยู่ตั้งแต่ถนนเลียบทางรถไฟสายเหนือจนถึงชุมทางบางซื่อ ก็จะเห็นว่า สภาพของถนน ๒๔ ปีเกินเยียวยาเหลือเกินนะครับ ผมได้เคยถ่ายปัญหานี้ลงใน Facebook ทางสื่อ Social Online ถูกตีแผ่ไปจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นไทยรัฐทีวี ผู้จัดการออนไลน์ หน่วยงานราชการที่ดูแลไม่สามารถแก้ไขได้ หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงอย่างการรถไฟก็ส่ง คนมาซ่อม โดยการซ่อมนั้นก็ซ่อมแบบปะผุ ถนนนี้ประชาชนเดือดร้อนจำนวนมาก มีผู้บาดเจ็บล้มตายส่งข้อมูลหาผมไม่เว้นเดือน ไม่เว้นวัน ประสบอุบัติเหตุพิการบ้าง ประสบ อุบัติเหตุเสียชีวิตบ้าง นี่คือสภาพจริงที่ผู้สื่อข่าวถ่ายจาก Website The Standard นี่คือ สภาพที่บริเวณถนนกำแพงเพชร ๖ ที่มุ่งหน้าจากดอนเมืองไปบริเวณสำนักงานเขต อยู่หน้าสำนักงานเขต แต่สำนักงานเขตไม่สามารถทำอะไรได้เพราะว่าอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลของการรถไฟ การรถไฟโดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น ผู้รับผิดชอบมีสัญญากันกับการรถไฟ และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) มาแก้ไขให้กับการรถไฟอยู่ ๓ ครั้ง ในปี ๒๕๖๔ ๒ ครั้ง และปี ๒๕๖๕ หลังจาก ที่เป็นข่าวแล้วครับท่านประธาน ที่เป็นข่าวแล้วถึงมาซ่อมเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม แล้วเชื่อ ไหมครับท่านประธาน ซ่อมแล้วก็ยังเป็นปัญหาเหมือนเดิม สุดท้ายบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หมดสัญญารับประกันชำรุดบกพร่องไปแล้วเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๖ ผมได้ไปพบทั้งการรถไฟ ทั้งสำนักการโยธา ปรากฏว่าการรถไฟก็ก็บอกว่า ไม่มีงบประมาณ ไม่สามารถซ่อมได้ต่าง ๆ หน่วยปฏิบัติบอกว่าทำไม่ได้ และมีแผนที่จะทำ แต่ ระยะเวลาก็นานมาก ส่วนสำนักการโยธาก็พูดเช่นเดียวกัน บอกว่ารอการรถไฟส่งมอบ ในสภาพดี แล้วสาเหตุที่มันพังทรุดโทรมเกิดจากอะไรครับ รถบรรทุกเกินกว่าที่กฎหมาย กำหนดวิ่งในเส้นนั้น เพราะว่าวิ่งมาจากปทุมธานี ซึ่งคนดอนเมืองไม่ได้ใช้ หรือรถบรรทุกดิน บรรทุกทรายที่ไปก่อสร้างในหมู่บ้านต่าง ๆ สภาพดินบริเวณนั้นอ่อนเพราะว่ามีโครงสร้าง โฮปเวลล์อยู่ แล้วถนนเกิดการทรุดตัวก็เลยเป็นคลื่นของตอม่อขึ้นมา เมื่อเรารู้แล้วผมก็มาดู แผนงานการซ่อมที่การรถไฟ อันนี้ต้องบอกนะครับ การรถไฟส่งแผนนี้ให้ผมบอกว่าใช้ เวลาซ่อมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๕๖๕ ผ่านมาบอกว่าจะซ่อมอะไรต่าง ๆ ท่านประธาน ลองดูนะครับ แต่สุดท้ายก็จะเห็นว่าการซ่อมต่าง ๆ มันไม่บรรลุผล สุดท้ายมันก็เหมือนเดิม แล้วแบบนี้การดำเนินการที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันทำอะไรครับ ทั้งเรื่องของการส่งมอบ ถนนสาธารณูปโภค ให้ กทม. ดูแล นี่คือสิ่งที่ตั้งเป้าว่าจะทำ แต่ยังไม่ได้ทำ กทม. มีเงื่อนไขว่า รฟท. จะต้องแก้ไขเรื่องการชำรุดบกพร่องให้เสร็จสิ้น และวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๖ หมดสัญญาแล้ว ณ ตอนนี้ไม่มีงบประมาณที่จะไปแก้ไขให้กับพี่น้องคนดอนเมือง ถนนเส้นนั้นเลย บาทหนึ่ง สลึงหนึ่งก็ไม่มี คำถามของผมที่อยากให้ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการ ที่ให้เกียรติสภาแห่งนี้มาครับท่านประธาน อยากให้ท่านตอบผมหน่อยว่าเนื่องจาก กรุงเทพมหานครที่ไปซ่อมถนนกำแพงเพชร ๖ ไม่ได้ เพราะถนนดังกล่าวอยู่ในกรรมสิทธิ์ การดูแลของหน่วยงานในกำกับของท่าน และยกเลิกสัญญาที่อนุญาตให้ กทม. ใช้สิทธิ เหนือพื้นดิน เหตุใดถึงมีการยกเลิกดังกล่าว และกระทรวงคมนาคมจะดำเนินการอย่างไร กับถนนเส้นนี้ ยังไม่หมดเท่านั้นนะครับ กระทรวงคมนาคมหรือการรถไฟที่จะมีแผนปรับปรุง แก้ไขผิวถนนจราจรดังกล่าวหรือไม่ แล้วจะบูรณาการเสร็จเมื่อไรครับ ถ้าหากท่านไม่พร้อม ท่านจะสามารถโอนภารกิจของหน่วยงานท้องถิ่นให้ไปดูแลได้หรือไม่ อย่างไร ขอทราบ รายละเอียด ขอบคุณครับ
ต้องขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ เพราะผมหวังว่าท่านรัฐมนตรีซึ่งมาจากหน่วยงานท้องถิ่นมาก่อนคงเข้าใจหัวอกของปัญหา ราชการระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานส่วนกลางเป็นอย่างดี
นอกจากเรื่องถนนครับ ท่านรัฐมนตรี ท่านประธานครับ จะเห็นว่านอกจากสภาพผิวจราจรที่เป็นขรุขระแล้ว บริเวณ ดังกล่าวไฟมืดแบบนี้เลย แบบในภาพนี้เลยครับ ๒ ทุ่ม ทุ่มหนึ่งไปพอรถโล่ง แสงไฟจาก หน้ารถไม่มีแล้ว ใต้รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นแบบนี้เลยครับ นี่หรือครับที่จะทำเพื่อต้อนรับ นักท่องเที่ยว นี่หรือครับที่อยากจะจูงใจให้คนมาใช้รถไฟฟ้าเยอะ ๆ ขนาดแสงไฟใต้รถไฟฟ้า มืดขนาดนี้เลยครับ นี่คือเสียงของประชาชนบอกว่าใต้รถไฟฟ้าโคตร ขออภัยนะครับ สว่างมาก แต่ถนนมืดสนิท ผมก็ไปคุยกับการไฟฟ้านครหลวงให้ท่านเห็นเลย เมื่อ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ ปัญหาเกิดจากแบบนี้ครับ ไฟส่องสว่างถูกโจรตัดสายไปหมดเลย รวมถึงตู้ควบคุมไฟ ที่อยู่เส้นถนนกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ในความดูแลของท่านการรถไฟ ก็เลยไม่สามารถที่จะ ส่องสว่างได้ เมื่อเกิดการตัดไปแล้วปรากฏว่าผมไปแจ้ง รฟท. บอกจะทำเสร็จปี ๒๕๖๗ จะให้ ประชาชนตาดำ ๆ ทนใช้ถนนกลางคืนที่เป็นคลื่นและมืดจนถึงปี ๒๕๖๗ แบบนี้หรือครับ เพราะฉะนั้นวันนี้ท่านรัฐมนตรีมีโอกาสผมฝากครับ อันนี้ผมให้เห็นเปรียบเทียบสภาพ ที่โค้งแบบนี้ ที่สภาพถนนเป็นคลื่นแบบนี้ แต่พอเวลากลางคืน นี่คือเหตุซ้ำร้ายที่พี่น้อง คนดอนเมือง ที่พี่น้องใช้ถนนเส้นนี้ได้รับความทุกข์ร้อนแสนสาหัส อยากจะฝากท่านประธาน ไปถึงท่านรัฐมนตรีว่าปัญหาเรื่องไฟฟ้าส่องสว่างที่ถูกโจรขโมยตัดไปและหน่วยงานไม่มี งบประมาณ และไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร อยากให้ท่านรัฐมนตรีช่วยกำกับและอยากให้ รัฐมนตรีช่วยตอบหน่อยครับว่าท่านจะแก้ปัญหานี้อย่างเร่งรัดอย่างไรที่ไม่เป็นไปตามแผน ของการรถไฟคือเสร็จปี ๒๕๖๗ ขอบพระคุณครับ
ท่านประธาน เรียนนิดเดียว ขอนิดเดียวครับ กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม เอกราช ผู้แทนคนดอนเมือง วันนี้ผมดีใจที่ท่านรัฐมนตรีได้เข้าอกเข้าใจปัญหาท้องถิ่นนี้เป็นอย่างดี ก่อนที่ท่านจะเดิน ออกไปจากที่ประชุมสภาแห่งนี้ ก็อยากให้ท่านมองประชาชนที่มารับฟังท่านวันนี้ มีทั้งผู้ที่เคย เป็นเหยื่อของอุบัติเหตุต้องใส่ Silicone ที่หน้า มีผู้ที่ใช้ถนนอยู่ทุกวัน อายุท่านก็มากแล้ว ท่าน พลโท ลมูล ขับกลางคืน อยากให้ท่านช่วยสบตาพี่น้องประชาชน
ประเด็นที่ ๒ ก็คืออยากฝากว่าตอนที่รถไฟฟ้าไปทำสัญญาที่จะทำรถไฟฟ้า สายสีแดง อันนี้เป็นข้อฝากไปไหน ๆ ท่านมาแล้วนะครับ ตอนนั้นไปรับปากพี่น้องชาวบ้านว่า อยากจะมีที่จอดรถข้างล่าง จะมีเส้นทางที่ข้ามถนนอะไรแบบนี้ ไหน ๆ ท่านมาแล้วก็ฝาก ทั้ง ๒ ประเด็นนี้ไปดูแลในระหว่างที่ท่านจะทำควบคู่ไป ก็หวังว่าท่านจะเร่งรัดได้เร็วกว่า แผนงานปกติที่ทำ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรนะครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกลนะครับ วันนี้ต้องขอบคุณบรรดาเจ้าหน้าที่ที่ได้มาตอบคำถามต่อสภาแห่งนี้ ขอ Slide ขึ้นนะครับ
มีข้อสังเกตจาก การตรวจสอบรายงานงบการเงินของกองทุนประกันสังคมนะครับ ข้อสังเกตเรามาดูรายได้ จากเงินสมทบประจำปี ๒๕๖๔ ๑.๔๙ แสนล้านบาท ซึ่งลดลงจากปี ๒๕๖๓ ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ในขณะที่รายจ่ายที่เป็นค่าประโยชน์ทดแทน ๑.๕๙ แสนล้านบาท เป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นเช่นกันกว่า ๒.๕ หมื่นล้านบาท ท่านเห็นตัวเลขอะไร ท่านเห็นว่ารายได้ ของกองทุนกับรายจ่ายนั้นเรียกได้ว่ามีรายจ่ายมากกว่ารายได้นะครับ มาดูตัวต่อไปว่า ค่าประโยชน์ทดแทนที่ประกันสังคมได้จ่ายไปกรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร ๑.๓๐ หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า ๒๒ เปอร์เซ็นต์ และกรณีสงเคราะห์บุตรกว่า ๒๗ เปอร์เซ็นต์ ตามโครงสร้างประชากรจากข้อสังเกตของปี ๒๕๖๓ เราจะเห็นว่า กลุ่มประชากรที่มีอายุ ๑๖ ปี ถึง ๒๕ ปี ๗.๖๒ ล้านคน ในขณะที่กลุ่มประชากรระหว่าง อายุ ๔๖ ปี ถึง ๖๕ ปี ๑๘.๖๒ ล้านคน เป็นสัดส่วนที่มากทีเดียว เท่ากับว่าคนที่จะเติมเงิน หรือว่าเป็นผู้ที่จะสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะนำเงินเข้ากองทุน น้อยกว่าผู้ที่มีแนวโน้มที่จะต้องใช้เงินจากกองทุนประกันสังคมมากกว่า ๒ เท่า ๓ เท่า
อีกข้อสังเกตหนึ่งนะครับ ปัญหาของการจ่ายเงินของประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกรณีการว่างงานนะครับ เมื่อสมทบในกองทุน ๖ ใน ๑๕ เดือน นายจ้าง แจ้งออกจากระบบ แต่ว่านายจ้างใหม่ก็จะแจ้งล่าช้า และผู้ประกันตนก็ยังได้รับ เงินทดแทนอยู่ ในขณะที่การสงเคราะห์บุตรเช่นเดียวกันก็มีการแจ้งล่าช้า ซึ่งอยากให้ สำนักงานประกันสังคมอุดรูรั่วที่จะเกิดขึ้น ระเบิดเวลาที่เริ่มนับถอยหลังแล้วไม่ว่าจะเป็น ๑. เรื่องของเพดานค่าจ้างการจ่ายเงินสมทบไม่ได้ถูกปรับมาเป็นเวลานาน เพดานการคำนวณ สูงสุดที่เงินเดือน ๑๕,๐๐๐ บาทนั้นคงที่มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ แล้ว ก็ไม่แน่ใจนะครับว่ากองทุน ประกันสังคมจะมีมาตรการ หรือจะสื่อสารกับสังคมอย่างไรในการที่จะต้องปรับเพดาน หรือไม่
ในส่วนที่ ๒ นะครับท่านประธาน เป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เป็นสิทธิประโยชน์ ถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ของพี่น้องประชาชน เราไม่ปฏิเสธ เรื่องของการปรับในเรื่องของสวัสดิการที่จะต้องให้กับผู้ประกันสังคมได้เพิ่มขึ้น พี่น้อง ผู้ใช้แรงงานได้ผลประโยชน์มากขึ้น แต่ท่านต้องดูเพดานของการจ่ายเงินประกันสังคม ให้สอดคล้องกันกับสวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ประการต่อมาครับ เรื่องของบำนาญชราภาพ มีการเก็บเงินสมทบเข้ากองทุน จากโครงสร้างสังคมผู้สูงอายุในอนาคต และจำนวนผู้ประกันตนที่ลดลง อยากให้ท่าน ลองไปดูแรงงานนอกระบบที่ยังไม่เข้าสู่ระบบประกันสังคม ท่านต้องทำงานเชิงรุกนะครับ ในภาวะของความเสี่ยงในโลกเศรษฐกิจที่ผันผวน เพดานค่าจ้างการจ่ายเงินสมทบ ไม่ได้ถูกปรับอย่างที่บอกเอาไว้ ในขณะเดียวกันความเสี่ยงการว่างงานในสังคมไทยก็เพิ่มขึ้นจากปัจจัยนอกโลกไม่ว่า จะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ภัยพิบัติ หรือสงคราม โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวย ต่อการจ้างงาน หรือการทดแทนแรงงานด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยี เพราะฉะนั้น อยากจะให้หน่วยงานประกันสังคมนั้นปรับตัว ท่านต้องทำงานเชิงรุก ท่านต้องไปหา ผู้ประกันตนมากขึ้นหรือเปล่า ยังมีวินมอเตอร์ไซค์หน้าวัดดอน ผมไปสอบถามจำนวนมาก ไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคมนะครับ ท่านไปเชิญชวนเข้าตามมาตรา ๓๓ ได้ เงินประกัน ที่มั่นคงกับแรงงานนะครับ กลุ่มคนทำงานที่ได้รับค่าจ้าง ๑๐ เปอร์เซ็นต์แรก กรณีว่างงาน รับเงินประกันเพียง ๓,๒๕๐ บาท ในส่วนนี้มันจะเพียงพอต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือไม่ หรือท่านจะต้องไปปรับเงินประกันให้ส่งเสริมการได้งานใหม่ที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การเติมทุนในการฝึกทักษะ หรือเพิ่มโอกาสในการหางาน หรือติดตามหลักฐาน ติดตาม การฝึกทักษะการหางานเพิ่มขึ้น
ท่านประธานครับ จากรายงานผู้สอบบัญชีหน้า ๔๓ หมายเหตุที่ ๒๑ สังเกตว่าในปี ๒๕๖๔ มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๑๓ ก็คือใช้เงินลงทุนไปประมาณ ๑,๓๗๙ ล้านบาท คำถามว่าท่านใช้เงินลงทุนอะไรในช่วงโควิด-๑๙ ก๊อก ๒ เยอะขนาดนั้น และผลตอบแทนมันคุ้มค่า และมีความเสี่ยงต่อกองทุนหรือไม่ ในขณะเดียวกันที่ผม ตั้งข้อสังเกตจากหน้า ๔๔ ดอกเบี้ยรับของปี ๒๕๖๔ ทำไมถึงลดลงจากปี ๒๕๖๓ ทั้งที่ เงินฝากท่านเพิ่มมากขึ้น ผมอยากขอเสนอว่าสุดท้ายอยากให้สำนักงานประกันสังคมพิจารณา เรื่องของการที่หาเชิญชวนประชาชน จูงใจให้เขาเข้าสู่กองทุนเพิ่ม และท่านต้องทำงาน แข่งกับบริษัทเอกชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมาตรการในการจูงใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การปรับโครงสร้างการทำงานแบบเชิงรุก ผมเคยมีประสบการณ์ในการโทรศัพท์เข้าเบอร์ ประกันสังคม ๑๐ กว่าสายก็ไม่ติดนะครับ ต้องโทรศัพท์เข้า Call Center อย่างเดียว บางครั้ง นายจ้างก็พยายามจะติดต่อสำนักงานประกันสังคมก็มีความไม่สะดวกติดขัด เพราะฉะนั้น ก็ฝากเอาไว้เป็นข้อสังเกต แล้วก็หวังว่าในรายงานปีหน้ากองทุนประกันสังคมจะได้มี รายละเอียดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้จ่ายเงิน ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภานะครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกลนะครับ ขออนุญาตใช้สิทธิพาดพิงเมื่อสักครู่นี้นะครับ ท่านเลขาธิการท่านได้ กรุณาชี้แจงนะครับ คำถามที่ผมได้ตั้งคำถามไป แต่ว่าเพื่อพูดให้ชัดเจนขึ้นกว่านี้นิดหนึ่ง เพราะเมื่อสักครู่ตอนที่ผมเอาอภิปรายมีเวลาจำกัดนะครับ เรื่องของการรับสายโทรศัพท์ ซึ่งเป็นปัญหาของพี่น้องประชาชนเหลือเกินนะครับ ผมต้องพูดให้ Clear แบบนี้ว่าสายด่วน ๑๕๐๖ ท่านบอกว่ามี ๓๐๐ คู่สาย แต่แท้จริงแล้วเวลาที่ติดต่องานที่ประชาชนโทรเข้าไป ไม่สามารถติดต่อได้ เขาก็พยายามค้นหาเบอร์ที่จะติดต่อไปยังสำนักงานนะครับ ก็จะไม่สามารถติดต่อได้ ไม่ค่อยมีการรับสายนะครับ ทั้งสาเหตุที่มันเกิดขึ้นเนื่องจากว่าระบบ ในการที่ท่านทำ FAQ เกี่ยวกับการถามตอบยังไม่ดีเพียงพอนะครับ นอกจากนี้สำนักงานของท่าน ยังต้องให้ประชาชนไปยื่นเอกสารในแบบ Paper ต้อง Print ออกมา ต้องไปยื่นที่ สำนักงาน ต้องไปเซ็น ยังไม่มีระบบ Online ท่านลองไปดูสักนิดที่กระทรวงพาณิชย์ ระบบของ DBD เขาดีมากเดี๋ยวนี้คือยื่นทาง Online ได้แล้ว มันก็จะลดปัญหาของพี่น้อง ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเดินทางไปสำนักงานท่านทีหนึ่งก็ต้องใช้เงินนะครับ แล้วบางทีก็ต้องไปต่อคิว หมดเวลา ๔ โมงครึ่งปิดสำนักงาน คือก็เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งก็ตั้งใจทำงานแล้ว ทำงานหนัก แต่ว่าอยากให้พูดถึงข้อเท็จจริงนะครับเพื่อที่นำไปสู่การแก้ปัญหา ท่านจะได้ ปรับปรุงนะครับ เพื่อให้บริการพี่น้องประชาชนได้ดีมากยิ่งขึ้น ขอบคุณมากครับ
กราบเรียนประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ขอบคุณท่านประธานที่เปิดโอกาสให้อภิปรายเรื่องพระราชกำหนดในการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ก่อนอื่นขออนุญาตขึ้น Slide นะครับ เพื่อจะอภิปรายเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง
ผมอยากฉายภาพให้เห็นว่า อาชญากรรมทาง Cyber ทั่วโลกในปี ๒๕๖๖ เป็นฝันร้ายของผู้คนและภาคธุรกิจในยุค Digital เพราะว่ามีคดีทั่วโลกมากกว่า ๖๕๐,๐๐๐ คนนะครับ ๕๐,๐๐๐ คดีที่ได้รับผลกระทบ ๓ อันดับคดีที่เกิดมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการหลอกลวง เรื่องของการละเมิด แล้วก็เรื่องของการโกงกัน แน่นอนว่ากฎหมายของไทยก็ต้องปรับตัวให้ทันกับอาชญากรรม ทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ขอ Slide ถัดไปก็จะเห็นว่าผมอาจจะรวบรัดเพื่อให้เป็นประโยชน์ ต่อพี่น้องประชาชนทางบ้านที่จะได้เห็นว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้มีความสำคัญกับพี่น้องอย่างไร Slide ถัดไปจะเห็นนะครับว่าเมื่อมีการถูกหลอกและตกเป็นเหยื่อขอให้พี่น้องประชาชนรีบไป แจ้งธนาคารและตำรวจทันที แต่ท่านแจ้งธนาคารเพื่ออายัดได้ทันทีนะครับแล้วท่านต้องไป แจ้งความภายใน ๗๒ ชั่วโมง ซึ่งก็จะสามารถระงับธุรกรรมให้รวดเร็ว
ประเด็นที่ ๒ ก็คือเรื่องของบัญชีม้า SIM ม้า หากมีการโฆษณาซื้อขายมีโทษ ก็ต้องเตือนพี่น้องประชาชนที่อาจจะตกเป็นเหยื่อ หรือว่าอาจจะถูกล่อลวงก็ต้องระวัง เพราะว่าการกระทำผิดถ้าหากว่าสืบทราบมาว่าท่านไปเปิดบัญชีก็จะมีโทษหนักขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้เปิดบัญชีเองหรือผู้โฆษณา
ประเด็นที่ ๓ ก็คือเรื่องของการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถที่จะแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างกันไม่ว่าจะเป็นธนาคารกับตำรวจ DSI ป.ป.ช. หรือว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์ ที่เป็นทั้ง ๓ เจ้า ตอนนี้เหลือ ๒ เจ้าแล้วครับ ควบรวมไป ก็มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ผมมีคำถามเรื่องของการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และความรวดเร็วในการส่งข้อมูลข่าวสารกัน และมาตรการรองรับจากภาครัฐ Slide ถัดไป ก็จะเห็น นี่คือการแลกเปลี่ยนกัน ขอ Slide ถัดไปเลยนะครับ ข้อมูลคนไทยหลุด ๕๕ ล้านคน มันเกิดจากหน่วยงานภาครัฐ หรือไม่ ชื่อ นามสกุล วันเกิด ที่อยู่ เบอร์โทร เลขบัตร โทรศัพท์ เคยเกิดเหตุแบบนี้ พิธีกรชื่อดัง ขออนุญาตเอ่ยนามท่านนะครับ แต่ไม่เสียหาย คุณสรยุทธ สุทัศน์จินดา พิธีกรข่าว ก็ได้ยืนยัน ว่ามีข้อมูลหลุดจริง ขอ Slide ถัดไปนะครับ นอกจากนี้ภายใน ๔ ปีหน่วยงานรัฐของไทย ทำข้อมูลหลุดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรงพยาบาล การสอบ TCAS หรือว่าข้อมูลจาก นักท่องเที่ยว หรือในโรงพยาบาลต่าง ๆ ไม่ใช่ว่าหน่วยงานจะผิดนะครับ แต่ว่าเป็นการที่จะ สะท้อนให้เห็นว่าจะต้องมีมาตรการในการป้องกันที่ไม่ให้ข้อมูลจากภาครัฐหลุดไปถึงอาชญากร ผมขออนุญาตเปรียบเทียบ Slide ถัดไปจะเห็นนะครับว่าตั้งแต่มีพระราชกำหนดป้องกัน และปราบปรามฉบับนี้ ผมนำข้อมูลจากกองบังคับการการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเทคโนโลยีนะครับ ช่วงสถิติระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๖๕ จนถึง ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ ก็จะพบว่าคดีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ๓๑ เปอร์เซ็นต์ และเมื่อเปรียบเทียบกันก็จะเห็นว่า มีการหลอกลวงซื้อขาย การหลอกลวงให้ทำงาน การหลอกลวงกู้เงิน หรือหลอกลวงให้ลงทุน เพิ่มขึ้นทุกวัน เฉลี่ยแล้วอย่างการหลอกลวงซื้อขาย ๓๒๒ ราย/วัน ที่ถูก มีเฉพาะ Call Center ที่รัฐปราบปรามอย่างหนัก จึงลดลงเล็กน้อย แต่เฉลี่ยทุกคดีเพิ่มขึ้น ๓๑ เปอร์เซ็นต์ ผมชวน ที่ประชุม ท่านประธานลองมาดูยุทธศาสตร์ชาติและความมั่นคง ท่านเขียนเอาไว้ตั้งแต่ ปี ๒๕๖๐ ว่าท่านรู้อยู่แล้วว่าปัญหามันจะมีตั้งแต่เรื่องของการโจมตีทาง Cyber โดย Hacker จะมีการโจรกรรมแก้ไขข้อมูล จะมีการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ การเผยแพร่ข้อมูล เพื่อความปั่นป่วน และท่านก็เขียนเองในยุทธศาสตร์ชาติว่าจะต้องป้องกันแก้ไขปัญหา ความมั่นคงทาง Cyber Slide ถัดไปด้วยครับ เพราะฉะนั้นในเมื่อท่านรู้อยู่แล้ว คำถามคือ ท่านมีอำนาจมาตั้งแต่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ ปี ๒๕๕๗ แล้วยุทธศาสตร์ชาติท่านเขียน ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ ทำไมเพิ่งมาออกพระราชกำหนดเอาในปี ๒๕๖๖ ขอ Slide ถัดไปก็จะเห็นว่า ตั้งแต่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ออกพระราชกำหนดไปแล้ว ๓๑ ฉบับ ซึ่งเมื่อเทียบเท่ากับ ๓๐ ปีที่ผ่านมาเพิ่งออกไป ๓๑ ฉบับเท่านั้นเอง ดังนั้นรัฐบาล รักษาการ คุณประยุทธ์ตอนมีอำนาจก็พยายามลดขั้นตอนของการออกกฎหมายไม่ให้เกียรติสภา ที่ ท่านควรรีบออกท่านไม่ออกกฎหมาย แต่ที่ท่านไม่ควรออกท่านก็ไปออก อย่างพระราชกำหนดใน การเลื่อนการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันการซ้อมทรมาน หรือ พ.ร.บ. อุ้มหาย ที่เราเรียกกันนี่นะครับ ยังไม่มีใครแสดงความรับผิดชอบเลย และเมื่อพิจารณาตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๒ ที่บอกว่าเพื่อประโยชน์อันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ ผมก็เห็นชอบนะครับว่าพระราชกำหนดฉบับนี้มีความจำเป็นจริง ๆ เพื่อป้องกันความเสียหาย แต่สุดท้ายก็อยากจะท้วงติงนิดหนึ่งว่า ก็ยังขาดเรื่องของการรับรองความปลอดภัยของข้อมูล ภาครัฐ แต่เท่าที่มีจำเป็นก็ต้องบังคับใช้ไปก่อน สุดท้ายไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล ผมก็ฝากว่า ขอให้ท่านให้เกียรติสภาแห่งนี้ ถ้าท่านคิดว่ามีปัญหาก็ควรจะใช้เวทีสภาในการออก พระราชบัญญัติ อย่าทำเหมือนรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ที่ผ่านมา ขอบคุณครับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้อภิปรายในวันนี้ โดยเฉพาะ ในเรื่องของการตรวจสอบรายงานผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับ กสทช. ก็ต้องขอ ชื่นชม สตง. ที่ได้ทำรายงานชิ้นนี้แบบละเอียด แต่ว่าผมก็ได้ไปตรวจสอบดูจากรายงานที่ได้ส่งสภา มีข้อสังเกต อยากจะขอ Slide ขึ้นเพื่อจะได้เห็นภาพพร้อมกันนะครับ
สำหรับหน่วยงาน กสทช. ในงบการเงินเล่มนี้มีข้อมูลที่แสดงถึงรายงานที่ขัดต่อข้อเท็จจริงจำนวน ๓๖ รายการ ตัวอย่าง ข้อสังเกตผลต่างจากการตรวจสอบ คือผลต่างรวมรายได้และรวมรายจ่าย รวม ๒ ส่วนนี้ถือเป็น มูลค่าหลักพันล้านบาท ส่งผลประโยชน์ต่อการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่โปร่งใสและส่อถึง พฤติกรรมวินัยการเงินของหน่วยงานหรือไม่ อย่างไร อยากจะให้ สตง. ลองชี้แจงดูนะครับ อีกข้อสังเกตหนึ่ง ก็คือการใช้จ่ายเกี่ยวกับคดีความ เหตุใดจึงไม่มีรายงานในส่วนของค่าใช้จ่าย ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ตามรายงานประจำปี แล้วก็หมายเหตุ ข้อ ๔๙ ข้อพิพาท และคดีความสำคัญ พบว่า กสทช. เป็นผู้ถูกฟ้อง ๓๐ คดี รวมเป็นทุนทรัพย์ ๑.๒ แสนล้านบาท เกิดอะไรขึ้นกับแนวทางการดำเนินงานของ กสทช. จึงมีมูลค่าทุนทรัพย์ที่สูง แต่ถึงอย่างไรก็ดี ตัวเลขพวกนี้ส่งผลต่องบการเงินอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ครับ
ผมพาให้มาดูสัดส่วนงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๓ กว่า ๖,๕๐๐ ล้านบาท จากรายงานภาษีพี่น้องประชาชนถูกใช้จ่ายอย่างเหมาะสมหรือไม่ ก่อนอื่นผมขอยก ให้เห็นภาพรวมว่าเขาแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน คือมีส่วนของการดำเนินงานของ กสทช. เอง เป็นพวกค่าจ้าง บุคลากร เงินเดือน แล้วก็ส่วนที่ ๒ เป็นเรื่องของโครงการ จำนวน ๙๔ โครงการ งบ ๑,๖๐๐ กว่าล้านบาท แล้วกองทุนประมาณ ๘๐๐ กว่าล้านบาท Slide ถัดไปท่านจะเห็นว่า ในโครงการที่ผมเลือกมาที่อยู่ในรายงานชิ้นนี้จาก ๑,๖๔๗ ล้านบาท มีงบในการรักษา ความปลอดภัย Cyber ๘.๗ ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการยกระดับสถานภาพดัชนีของสหภาพ โทรคมนาคมระหว่างประเทศ ผมอยากสอบถามว่าการรักษาความปลอดภัย Cyber ท่านให้งบ ๘.๗ ล้านบาท แต่ว่าก็ยังมีหน่วยงานราชการถูก Hack ข้อมูล ถูกเจาะข้อมูลอยู่ และอีก ๒ โครงการที่ผมสงสัยมาก ก็คือมีงบประมาณ ๓ ล้านบาทในการกำกับดูแลสื่อและปราบปราม แนวคิดสุดโต่ง มันคืออะไรครับ ผมขอเรียกมันเป็น IO กสทช. แล้วกันนะครับ
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตในเรื่องการจัดสรรเงินเข้ากองทุน ๘๓๕ ล้านบาท เงินส่วนนี้ถูกนำไปใช้อะไร เพราะขึ้นชื่อว่ากองทุนวิจัยและพัฒนา มันมีอะไรที่เป็นตัวชี้วัดว่า เป็นการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และเผยแพร่ที่โปร่งใสหรือไม่ การตั้งงบประมาณ ส่วนนี้ไว้สูงมันจะเป็นช่องทางในการใช้งบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือเปล่า อยากให้ สตง. ลองไปล้วงโครงการพวกนี้มาดูซึ่งมันสอดคล้องกัน
ข้อสังเกตอีกอันหนึ่ง ก็คือการนำส่งรายได้ภายใต้ กทปส. เหตุใดไม่ถูก ตรวจสอบโดย สตง. สตง. จะบอกว่าไปตรวจสอบแล้ว แต่อยู่ในรายงานอีกเล่มหนึ่ง ฉบับหนึ่ง เดี๋ยวเข้ามาในสภาก็จะได้พิจารณาดูกันต่อไป แต่ผมตั้งข้อสังเกตแบบนี้ว่า รายละเอียดของงบ กสทช. ข้อ ๒.๒ ท่านระบุไว้ว่าจะไม่รวมบัญชีของ กทปส. ผมก็สงสัยว่า เหตุใดมันจะต้องไปแยกอีกฉบับหนึ่ง การจัดสรรงบประมาณจะต้องถูกต้องตามวัตถุประสงค์ และโปร่งใส อย่างไรก็ตามอยากให้ท่านไปตรวจสอบให้ละเอียด และการใช้เงินภายใต้ USO ในปี ๒๕๖๓ ๑๒.๘๖ ล้านบาท มันมีโครงการอย่างผลิตภาพยนตร์ ๘ เรื่อง ตัวชี้วัดคือ การรับรู้ไม่น้อยกว่า ๑,๑๑๑ คน เฉลี่ยออกมาจากงบประมาณตก ๑๑,๕๗๕ บาทต่อคน นี่คือดัชนีชี้วัดมันมีเป้าหมายที่จะเผยแพร่มันหวังผลน้อยไปหรือไม่ มันส่อถึงประสิทธิภาพ ในการใช้จ่ายที่แทบจะไม่คาดหวังผลลัพธ์อะไรเลย และยังมีโครงการที่ไปซ้ำซ้อนกับ หน่วยงานราชการอีก Slide ถัดไปก็จะเห็นว่ากองทุนของ กทปส. หรือตัว กสทช. ก็มี การจัดการที่ซ้ำซ้อน ไปสนับสนุนหน่วยงานราชการอื่น ๆ ผมจึงตั้งข้อสังเกตว่าการจัดสรร พวกนี้ สตง. ได้ไปดูโครงการไหมว่าเป็นการเบิกซ้ำซ้อนหรือทำโครงการรายจ่ายที่ทับซ้อนกัน หรือเปล่า เพื่อป้องกันการทุจริต และผมอยากจะบอกว่าการใช้เงินของ กสทช. มีพฤติกรรม ที่อนุมัติการใช้จ่ายมูลค่าหลักพันล้านบาท แต่ว่าไปจ่ายโครงการที่ไม่ใช่ภาระของตัวเอง แต่ที่เพื่อนสมาชิกหลายคนอภิปรายมาเรื่องของสายสื่อสาร วันนี้ผมให้ดูตัวเลขเลยว่าสายสื่อสาร สำเร็จไปตามแผนเพียง ๑๓ เปอร์เซ็นต์กว่าเท่านั้นเอง จากงบประมาณที่ท่านได้ทำเอาไว้ เพราะฉะนั้นการจัดระเบียบสายสื่อสารท่านต้องเอาลงดินให้เรียบร้อย ไม่ให้เกิดอันตราย กับพี่น้องประชาชนนะครับ เพราะฉะนั้นก็ฝากว่าการดำเนินงานของ กสทช. ขออย่าให้มี หน่วยงานหรือกลไกอื่นมาล้วงลูก จะเห็นได้ว่าคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติมีความครอบงำองค์กรนี้หรือไม่ มันจะทำให้ กสทช. ที่จะต้องเป็นอิสระตามหลักการ พ.ร.บ. ที่สภาแห่งนี้ได้ออกไป แต่สุดท้ายมันอิสระจริงอยู่หรือเปล่า เพราะมีคณะกรรมการ ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งมาจากภาคการเมือง หวังว่าในการรายงานต่อไป ของ สตง. จะได้ไปตรวจสอบอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้นนะครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพนะครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ผมได้รับทราบรายงานประจำปีของกองทุนสื่อสร้างสรรค์ และปลอดภัยของปี ๒๕๖๕ ต้องชื่นชมว่ารายงานอ่านง่าย แต่อยากขอให้ท่านลองลง รายละเอียดของสถิติประเภทของโครงการที่จะเห็นสัดส่วนของผู้ที่เข้ามายื่นขอรับทุน จากโครงการสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัยนะครับว่าเป็นใครและได้รับทุนเท่าไรจะดีมาก คือมีอยู่ในท้ายรายการ แต่ว่าอยากจะเห็นภาพรวมสรุปที่จะเห็นภาพชัดเจนตรงกัน กองทุนนี้ ก็เป็นความตั้งใจที่จะต้องการสื่อที่ส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม และความมั่นคง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตของประชาชน โดยกลุ่มเป้าหมาย เป็นเด็กและเยาวชน ตลอดจนต้องการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวและสังคม ส่งเสริมความสามัคคี ชื่อยาวนิดหนึ่งนะครับ ซึ่งใน พ.ร.บ. เขียนเอาไว้แบบนี้มันกว้าง เหมือนแม่น้ำ ถ้าจะเปลี่ยนแปลงให้สอดรับกับโลกแห่งอนาคตก็สงสัยจะต้องขอแรง เพื่อนสมาชิกในที่ประชุมมาคุยกันใหม่ว่ากองทุนแบบนี้ควรจะมีทิศทางในแบบไหน แล้วโครงสร้างของกรรมการก็จะคล้าย ๆ กับคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แบบนี้อาจจะเกิดการแทรกแซงจากภาครัฐหรือไม่ มันควรจะเป็นอิสระและยึดโยงกับ ประชาชน หรือควรจะไปรวมกับกองทุนหรือว่าสื่อที่เป็นสื่อสาธารณะแบบ Thai PBS หรือไม่ เพื่อให้ตรงกับเจตนารมณ์ที่ต้องการเป็นสื่อที่สร้างสรรค์และปลอดภัยอย่างแท้จริง กับท่านผู้อำนวยการกองทุนท่านมีความตั้งใจในการบริหารกองทุนนี้ แต่ผมคิดว่าผมอยากมี ข้อเสนอแนะว่าอยากให้ท่านสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อการดำเนินงาน เพราะว่าเท่าที่ ผมอ่านนี่มันขาดการดำเนินงานในวัตถุประสงค์ข้อ ๔ ในเรื่องของการสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของประชาชนอย่างกว้างขวาง ไม่เห็นอย่างเด่นชัดเลยว่ากองทุนสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนอย่างไร
อีกเรื่องที่นำเรียนนะครับท่านประธาน ก็คือว่าความร่วมมือในการเผยแพร่ อยากจะให้มีความหลากหลายมากกว่านี้ แล้วต้องมีการเก็บสื่อวีดิทัศน์รวบรวมไว้ใน ฐานเดียวกัน บริหารจัดการเนื้อหาให้เป็นระบบมากขึ้น และสามารถเชื่อมโยงกันได้นะครับ อาจจะทำเป็น Application กลางแบบ Netflix ที่จะสามารถเผยแพร่ให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงและรับชมได้ง่ายนะครับ หรืออาจจะไปร่วมมือในการเผยแพร่สื่อให้สามารถเข้าถึงได้
ตัวอย่างรายการที่เห็น ใน Slide เป็นรายการปริศนาฝาผนัง เป็นรายการที่ได้รับการสนับสนุน บางรายการเน้นผลิต แต่ว่าคนดูอาจจะน้อยหรือแทบจะไม่คุ้มกับสัดส่วนการลงทุนเลย ผมก็ลองไปตรวจสอบ รายการนี้ก็ดีนะครับ ให้อธิบายความรู้ด้านศิลปะบนกำแพงวัดอะไรแบบนี้ก็ได้รับเงินทุน ๑ ล้านบาท แต่ว่ารายการมีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนอย่างไรบ้าง และทำอย่างไรจะให้คนเข้าไปดู ไม่เบื่อหน่าย อันนี้ที่เป็นตัวอย่างของรายการผู้ผลิตอิสระ ผมอยากจะเปรียบเทียบให้เห็นว่า ในขณะที่ Influencer สามารถที่จะไปถ่ายรายการสารคดีท่องเที่ยวในต่างประเทศ ประชาชนรับชม ยอดชมเป็นแสนเป็นล้านนะครับ ก็เป็นรายการที่เข้าเกณฑ์ของการพิจารณา หรือไม่ ก็อาจจะต้องทำงานเชิงรุกในแง่ของการสนับสนุนรายการแบบอิสระประเภทนี้หรือเปล่า หรือว่าสื่ออย่างประชาไทยที่เป็นข้อมูลข่าวสารที่เป็น Website ก็ควรจะได้รับการสนับสนุน หรือเปล่า ผมเห็นรายการอย่างเช่นรายการนอกแผนที่ ซึ่งได้รับงบประมาณแบบบุคคล เป็นโครงการยุทธศาสตร์ได้รับ ๕,๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่ตัวชี้วัดของรายการแบบนี้ก็ไม่ชัดเจนนะครับ ผมคิดว่าทิศทางของกองทุนในอนาคตก็ต้องไม่ผูกขาดกับเจ้าใดเจ้าหนึ่ง แต่ว่าต้องให้ สื่อท้องถิ่น สื่อรายย่อย ผู้ผลิตรายย่อยได้รับการส่งเสริมมากขึ้น ซึ่งกองทุนนี้ก็จะตอบโจทย์ ในแง่ของการให้ทุนสนับสนุนนะครับ ซึ่งสังคมก็ตั้งคำถามเยอะ เพราะว่ากองทุนนี่แน่นอน มีผู้เสนอเข้ามา ๓๐๐ กว่าราย แต่ว่ามีผู้ที่พิจารณา คือมีงบประมาณที่จะสามารถผ่านเกณฑ์ได้ ก็เพียง ๕๗ ราย ผมเข้าใจก็อาจจะถูกวิพากษ์วิจารณ์บ้าง แต่ว่าผมชวนมาดูตัวเลขงบประมาณ ที่ได้รับการสนับสนุนตามประเภทโครงการนี่จะเห็นว่าในโครงการแต่ละด้านไม่ว่าจะเป็น ด้านโครงการทั่วไป เชิงยุทธศาสตร์และความร่วมมือ เมื่อลงไปดูรายละเอียดเชิงลึกจริง ๆ นี่ผมแทบจะไม่เห็นความแตกต่างนะครับ แทบจะแยกไม่ออกมันดูไม่มีหลักเกณฑ์ ดังนั้น ผมจึงเสนอว่าจริง ๆ การแบ่งประเภทนี่อาจจะต้องเป็นชนิดประเภทบุคคล ประเภท บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ หรือหน่วยงานรัฐ คืออาจจะแบ่งตามเกณฑ์ผู้ผลิตเพื่อให้เกิด การแข่งขันอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม หรือว่าถ้ามหาวิทยาลัยต้องการสนับสนุนงบ ที่ผลิตสื่อก็ควรเป็นการผลิตสื่อที่สนับสนุนให้นักศึกษานิเทศศาสตร์ เพราะถ้าจะผลิตสื่อ เพื่อเป้าหมายผู้รับชมนี่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ก็ต้องให้ผู้ผลิตเหล่านั้นส่งมาในนามบุคคล ไปเลย เป็นต้น แบบนี้นะครับ
ส่วนโครงการที่ผ่านการพิจารณา ผมขอเสนอแนะว่าอยากให้ท่านลง รายละเอียดไปในรายงานไปเลยให้เห็นว่าสัดส่วนเนื้อหาของรายการนี่ให้คะแนนน้ำหนัก เท่าไร ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ประสบการณ์ในการทำสื่อ คุณภาพของแผน โครงงาน หรืออื่น ๆ เขียนไปเลยให้ชัดเลยครับว่าท่านให้น้ำหนักการพิจารณาคืออะไร จะได้ไม่เป็น ข้อครหา
และส่วน Slide สุดท้าย ผมจัดกลุ่มก้อนให้เห็นว่ากลุ่มบริษัทนี่ได้รับการจัดสรร สูงสุด และมีงบประมาณสูงสุดคือ ๑๔ ล้านบาท ในขณะที่บุคคลได้รับงบประมาณสูงสุดนี่ ๖.๔ ล้านบาท และผมจึงอยากจะเสนอแนะว่าอยากให้สนับสนุนสื่อรายเล็ก เพราะว่า พวกเขามีกำลังความคิด มีความสร้างสรรค์ มีความคล่องตัวอยู่แล้วนะครับ ก็อยากจะให้ท่าน เพิ่มลงไปหรือว่าสื่อท้องถิ่น สื่อเฉพาะกลุ่ม Website ที่มีคุณภาพ ปราชญ์ชาวบ้านก็ควร ได้รับการสนับสนุนถ้าจะเป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือท่านจะต้องเพิ่มเกณฑ์ การพิจารณา อาจจะเป็นประเภทของสื่อ เช่น กองทุนจากเดิมที่แบ่งเป็นทั่วไป เชิงยุทธศาสตร์ ร่วมมือ ท่านอาจจะให้เป็นลักษณะของสื่อ Digital สื่อ Website แบ่งประเภทของมันใหม่ นี่เป็นข้อเสนอแนะที่หวังว่าจะเป็นประโยชน์ แล้วก็หวังว่าในรายงานของปีถัด ๆ ไปจะเห็น ดัชนีชี้วัดที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของโครงการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นนะครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม นายเอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ก่อนอื่นต้องขอบคุณท่านประธานที่เปิดให้สมาชิกสภาแห่งนี้ ได้อภิปรายหน่วยงานรับงบประมาณองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะได้รายงานผลการดำเนินงาน แต่ผมก็เห็นด้วยกับเพื่อนสมาชิกหลายคนที่บอกว่ารายงานชุดนี้ ปี ๒๕๕๙ เหมือนเจาะเวลา หาอดีตท่านส่งมาได้อย่างไร แต่ว่าอยากจะให้ท่านเร่งนำรายงานฉบับปัจจุบันมาส่งต่อสภา แห่งนี้เพื่อรายงานให้พี่น้องได้เห็น ให้ตัวแทนของพี่น้องประชาชนได้ตรวจสอบ ยืนยันอีกครั้งว่า ท่านจะต้องรีบ ไม่ใช่เอาปี ๒๕๕๙ มาให้สภาดู แล้วก็ไม่รู้ว่าดูแล้วจะพูดไปเพื่อประโยชน์อะไร แต่ว่ากองทุนการออมท่านมีเป้าหมายแน่นอนเป็นแรงงานนอกระบบ หรือว่าผู้ประกอบอาชีพ อิสระ ผู้มีรายได้น้อย ออมเพื่อวัยเกษียณ แต่ปัญหาก็คือว่าสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่ยังตั้ง รัฐบาลกันไม่ได้ เพราะว่ามันไม่มีคนไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจ รายได้ก็น้อย รายจ่ายภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูง ส่งผลให้คนไม่มีเงินที่จะไปออม เขาไม่อยากสมัครเข้าเป็นกองทุนการออม แห่งชาติแบบนี้เพราะเขาไม่เห็นประโยชน์ คือรายได้ยังไม่เพียงพอเหลือที่จะไปออม จึงเสนอว่า ท่านต้องทำงานแข่งกับภาคเอกชน ธนาคาร ประกันสังคม ไม่อย่างนั้นถ้าเอามาเรียงตัว องค์กรท่านรั้งท้ายเลยนะครับ ท่านต้องหาลูกค้าเพิ่ม หาประชาชนที่จะมาเข้าร่วมออมเพิ่ม และคนที่เป็นสมาชิกการออมอยู่ท่านต้องส่งเสริมให้เขา Active ไม่ใช่ออมมาแล้วก็ไม่รู้ จะออมต่ออย่างไร แล้วไม่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อะไรเลย อยากให้องค์กรอยู่ได้ก็เสนอแนะว่า ท่านจะต้องปรับแบบ ๓๖๐ องศา โดยเฉพาะเรื่องสำคัญที่ผมจะพูดในวันนี้ก็คือการประชาสัมพันธ์ ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไหน ๆ พูดถึงปี ๒๕๕๙ แล้วผมก็อยากให้ท่านดูก็แล้วกันว่าในแผน ประชาสัมพันธ์ที่ท่านรายงานมาในรอบปี ๒๕๖๙ ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ ๑๕ ครั้ง สื่อวิทยุ Facebook มันไม่ตอบโจทย์ ไม่เห็นผลสัมฤทธิ์ว่าสื่อที่ท่านทำมันจะช่วยจูงใจให้ประชาชนมาออมอย่างไร หรือในหน้าที่ ๕๑ ท่านไปจัด Event งานแสดงนิทรรศการวันออมแห่งชาติ Thailand Smart Money 2016 OTOP City ท่านคิดว่าผู้ที่เข้าไปร่วมงานเป็นกลุ่มเป้าหมายของท่านหรือครับ หรือเป็น คนมีสตางค์ หรือคนที่ไปจัด Event เพราะฉะนั้นแผนประชาสัมพันธ์ของท่านมันต้องทบทวน แล้วนอกจากนี้ในการใช้สื่อ ผมไปตรวจสอบทั้งใน Facebook Website ขององค์กร มีข้อความเยอะแยะเต็มไปหมด ถ้ากลุ่มเป้าหมายของท่านคือผู้สูงอายุผมก็ไม่อ่านหรอกครับ เปิดมาเยอะมาก แล้วท่านต้องไปดูของที่อื่นว่าเขาปรับสื่ออย่างไร ไปดูของธนาคารเอกชน ก็ได้ครับ ปรับภาพลักษณ์องค์กรให้ดูเข้าถึงง่าย ไม่ใช่ดูแล้วก็เป็นองค์กรที่เหมือนลับแล ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ที่ท่านใส่มาว่าจะต้องสื่อสารเชิงรุก ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะเชิงรุกอย่างไร มันไม่ชัดเจนนะครับ ท่านจัดกิจกรรมนิทรรศการแบบนี้ และในสื่อใหม่ อย่างเช่น Facebook ท่านก็เปิด Facebook นะครับ ผมก็ไปดูมีผู้ติดตาม ๑๐๐,๐๐๐ คน ยอดผู้ติดตามยังน้อยกว่า คุณไอซ์ รักชนก ศรีนอก อีกนะครับ แล้วท่านก็ยังมี Promotion ๘ เดือน ๘ มีคนมากด Like ๑๕ คน แสดงความคิดเห็น ๓ คน มี Knock Knock พบกัน คุยกัน Live กับ กอช. เวลาเที่ยง ใครจะดูท่านตอนเที่ยง ถ้าสมมุติว่ากลุ่มเป้าหมายของท่านเป็นแรงงานนอกระบบ เพราะฉะนั้นจึงเสนอว่าท่านจะต้องมีการปรับแผนของการทำสื่อเชิงรุกเพื่อหาลูกค้าให้ ประชาชนเข้าถึงการออมได้มากขึ้น มันจะมีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ ต้องมีคนที่เข้ามา ร่วมกับท่าน ท่านจะให้ประชาชนรักกองทุนของท่าน ปกป้องกองทุนของท่าน ประชาชน เป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กให้กับท่านได้ แต่ตอนนี้ถ้าสมาชิกทุกคนบอกว่าปิดกองทุนนี้ ไม่มีใครรู้สึกอะไรเลย เพราะว่ามันไม่สามารถที่จะสร้างให้ประชาชนรู้สึกว่ามันสำคัญอย่างไรได้ เพราะฉะนั้นผมจึงเสนอแนะด้วยความหวังดีนะครับ และอีกประเด็นหนึ่งสำคัญก็คือว่า การออมจะมีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ท่านต้องทำให้มันแตกต่าง ตอนนี้มันมีกองทุน ประกันสังคม มาตรา ๔๐ ผมอยากให้ท่านผู้ชี้แจงช่วยตอบด้วยนะครับว่า ในใจลึก ๆ ท่านอยากจะยุบรวมกันไหม เอามาตรา ๔๐ ยุบรวมมา ท่านบริหารจัดการอย่างเดียว หรือท่านจะยุบไปให้มาตรา ๔๐ เขาทำ เพราะฉะนั้นข้อมูลที่ผมฟังเพื่อนสมาชิกหลาย ๆ คนอภิปรายมานี่ แสดงความเห็นในทิศทาง เดียวกันว่า ยุบกองทุนของท่านไปรวมกับกองทุนประกันสังคมดีกว่าไหม ประหยัดทรัพยากร ไม่ต้องเสียเงินค่าบริหาร ไม่ต้องเสียเงินค่าจ้างบุคลากร นอกจากนี้ก็ยังยืนยันว่าถ้าหากว่า ท่านจะส่งเสริมให้มีการออมของแรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมและเสมอภาค ท่านอาจจะต้อง เพิ่มการเข้าถึงการออมของผู้มีรายได้ต่ำที่ต่ำกว่าเส้นความยากจน แรงงานนอกระบบเหล่านี้ ที่เขาประสงค์อยากจะสะสมอาจจะต้องประยุกต์ใช้แนวคิดของสวัสดิการสำหรับการทำงาน หรือการทำงานสาธารณะเอามารองรับ แล้วท่านอาจจะต้องไปหาพี่น้องที่เข้าไม่ถึงสื่อ อย่างพี่น้องชนบทที่อยู่ห่างไกล เพราะฉะนั้นฝากสุดท้ายเลยสำคัญว่าองค์กรท่านจะอยู่ได้ ท่านจะต้องมีเครื่องมือ และเครื่องมือสำคัญที่ท่านจะให้คนเข้ามาร่วมกับท่านคือสื่อ ประชาสัมพันธ์ เพราะฉะนั้นวันนี้ผมรับทราบรายงานของท่านแบบนี้นะครับ ปี ๒๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ ไปก่อน แต่หวังว่ารายงานฉบับถัด ๆ ไป ปี ๒๕๖๕ ปี ๒๕๖๔ ท่านจะปรับปรุง มันก็ไม่ทันแล้ว ปี ๒๕๖๖ ปี ๒๕๖๗ ในอนาคตแล้วกันท่านจะปรับปรุงในเรื่องของ การประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มให้ประชาชนเข้าถึงและเห็นความสำคัญ ของการออม ปรับรูปแบบขององค์กรใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ให้ประชาชนเห็นประโยชน์ และที่สำคัญกลุ่มเป้าหมายท่านเจาะให้ชัดเจนนะครับ ท่านจะเอากลุ่มออมตั้งแต่วัยเด็ก ออมวัยชรา ท่านโฟกัสสื่อให้ตรงว่าท่านจะสื่อสารแบบไหน ทั้งหมดนี้อภิปรายด้วยความหวังดีจริง ๆ หวังว่าท่านจะปรับในอนาคต แล้วเดี๋ยวเรามาเจอกันในรายงานฉบับถัด ๆ ไป ขอบคุณครับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ผมขออภิปรายสั้น ๆ เรื่องของกองทุนหมุนเวียน พี่น้องที่รับฟังอยู่ทางบ้าน อาจจะงงว่าคืออะไร กองทุนนี้เป็นรายงานของคณะกรรมการนโยบายบริหารทุนหมุนเวียน โดยกรมบัญชีกลางมีหน้าที่ประเมินผลในการดำเนินงาน บรรดากองทุนต่าง ๆ ที่ต้องรายงาน ต่อสภาแห่งนี้ในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมกองทุนที่ตั้งขึ้น ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ มักไม่ต้องส่งรายได้ ต่อแผ่นดิน หรือว่าเป็นเงินนอกงบประมาณ ผมได้อ่านเล่มนี้ ก็มีคำถามถึงผู้ชี้แจงว่า เงินที่ไม่ต้องนำเข้าส่งคลัง ที่เงินเยอะ ๆ เขาเอาไปใช้โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพอย่างไร ปรากฏว่าต้องชมเชยนะครับ เพราะผมก็มาดูว่าท่านไม่ได้ดูแค่บัญชีอย่างเดียว ท่านประเมิน ผลสัมฤทธิ์มาด้วย แต่ตัวชี้วัดบางตัวก็เหมือนที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปราย ก็อาจจะต้องมีการปรับปรุงกันบ้าง แต่ผมขอตั้งข้อสังเกตนะครับว่าบางกองทุนปี ๒๕๖๓ เป็นอย่างไร ปี ๒๕๖๔ ก็เป็นแบบนั้น ผมอยากให้ท่านมีเครื่องมือในการควบคุมในการเสนอแนะต่อกองทุนต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ ต่อพี่น้องประชาชน ท่านประธานครับ กองทุนหมุนเวียนที่ไม่เข้าสู่ระบบการประเมินของ กรมบัญชีกลางมีทั้งหมด ๑๗ กองทุน เยอะนะครับ ๑๗ กองทุน มี ๙ กองทุนที่มีกฎหมาย แยกไปต่างหาก เช่น กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สสส. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นต้นแบบนี้ หรือกองทุน กทปส. พวกนี้งบประมาณเยอะทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการจัดทำ เขาก็จะมีเกณฑ์ของเขา แต่มันไม่มีเกณฑ์ของกรมบัญชีกลาง ผมอยากให้ท่านทำครับ จะได้ ให้คะแนนกันไปว่าผ่านหรือไม่ผ่าน เพราะเขาก็จะมีเกณฑ์รายละเอียดของเขา บางหน่วยงาน ๙ ด้าน บางหน่วยงาน ๔ ด้าน แล้วการให้น้ำหนักคะแนนของแต่ละเกณฑ์ก็ไม่เท่ากัน เช่นของท่านเป็นค่าน้ำหนักด้านการเงิน ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ท่านอาจจะต้องปรับ หรือว่าอาจจะต้อง หาตัวชี้วัดที่สามารถจะประเมินหน่วยงานกลางทั้งหมดที่มองและเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
อันที่ ๒ ทุนหมุนเวียนที่มีสถานะไม่พร้อมในการดำเนินงาน ผมสอบถาม กองทุนเดียว คือกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย เพราะว่างบปี ๒๕๖๓ บอกว่าอยู่ในส่วนของ การจะยุบหรือเลิก แต่ล่าสุดก็เป็นไม่ยุบแล้ว อยู่ในรายงานของท่านเรียบร้อยท้ายฉบับนี้ เพราะฉะนั้นทุนหมุนเวียนท่านใช้เกณฑ์อะไรว่าหน่วยงานนี้จะยุบ จะเลิก มันมีกฎหมาย หรืออย่างไรครับ หรือว่าท่านประเมินเอาเองว่าถ้ามันไม่ผ่านการประเมินสัก ๒-๓ ปีก็ปิด มันไป เพราะฉะนั้นอยากจะเห็นหลักเกณฑ์เหล่านี้ และยังมีทุนหมุนเวียนที่อยู่ระหว่าง การเตรียมความพร้อม ๓ กองทุน เตรียมมา ๓ ปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจ เพื่อสังคม กองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือกองทุนเพื่อพัฒนาการตรวจเงิน แผ่นดิน และอีกกองทุนหนึ่งคือกองทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ เพราะฉะนั้นอยากจะให้ท่านเข้มงวดว่ากองทุนไหนที่จะต้องรายงานต่อสภาแห่งนี้ ทำรายงาน ให้ชัดเจน อยากให้ท่านเร่งรัด สำหรับการประเมินผลของการดำเนินงานของกรมบัญชีกลาง นอกจากนี้ ก็อยากจะให้ท่านคำนวณเรื่องของความคุ้มค่าการใช้จ่ายของงบประมาณ แล้วปรับเข้า ผมเห็นว่าท่านได้เสนอแนะเรื่องของการประเมินผลในเรื่องของความคุ้มค่า ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมารวมกัน แต่ท่านแยกได้ไหมครับ เศรษฐกิจด้านหนึ่ง สังคม ด้านหนึ่ง ให้เห็นชัดไปเลยว่ากองทุนนั้นมีผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจขนาดไหน อย่างไร แล้วให้ค่าน้ำหนักคะแนน หรือด้านสังคมมีความจำเป็นอย่างไร และกองทุนไหนมันจะเจ๊ง ท่านเขียนเลยครับ มันจะเจ๊ง จะได้เป็นข้อเสนอต่อผู้บริหารกองทุนหรือรัฐบาล หรือสภา แห่งนี้จะได้รับทราบว่ากองทุนเหล่านั้นมันมีปัญหาอย่างไร ท่านขึ้นตัวแดง ๆ หรือว่าขึ้น คำเตือนเอาไว้เลย พี่น้องประชาชนก็จะได้ร่วมกันตรวจสอบและเห็นด้วย
เพราะฉะนั้นสุดท้ายผมก็เสนอแนะ มีเวลา ๒ นาที ว่ากองทุนหมุนเวียน ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในแต่ละปีประเภทไหนที่วงเงินค่อนข้างต่ำ แล้วก็มีลักษณะ การดำเนินงานที่อยู่ภายใต้ภารกิจของส่วนราชการได้ ก็ควรไปขอรับการจัดสรรงบประมาณ รวมกับส่วนราชการ ไม่จำเป็นต้องจัดเป็นกองทุนหมุนเวียนท่านก็เสนอมานะครับ อย่างเช่น อาจจะมี KPI ว่างบที่ไม่ถึง ๑ ล้านบาท อย่างนี้เป็นต้น หรืออย่างกองทุนที่ส่งเสริมและพัฒนา การศึกษาสำหรับคนพิการไม่ผ่าน ก่อนหน้านี้ก็ไม่ผ่าน โดยท่านมีความเห็นว่ากองทุน ไม่สามารถจัดสรรเพื่อดำเนินงานได้ตามเป้าหมายเนื่องจาก Coronavirus เพราะอะไร กรมบัญชีกลางบอกว่าเขาประชุมกันไม่ได้ แบบนี้นะครับ ก็ตั้งคำถามไปถึงผู้บริหารกองทุน เหมือนกัน หรืออย่างกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ผลค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก การสำรวจความพึงพอใจ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย ท่านก็ Highlight เลยว่า เป้าหมายด้านไหน และอย่างไร เพื่อให้กองทุนเหล่านั้นปรับ นอกจากนี้ทุนหมุนเวียนที่ได้รับ การจัดสรรเป็นทุนประเดิมครั้งเดียวแต่ไม่มีรายงานความก้าวหน้า หรือผลการดำเนินงาน ให้รัฐสภาทราบยังมีอยู่ไหม ที่ปิดบัญชีไปแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ท่านอาจจะใส่ไว้ตอนท้าย ก็ได้นะครับ อยากจะทราบรายละเอียด ทีนี้นอกจากนี้ก็เสนอแนะว่ากรมบัญชีกลางควรเสนอควบรวมทุนหมุนเวียนที่มีวัตถุประสงค์ คล้ายคลึงกัน หรือมีภารกิจรับผิดชอบที่เกี่ยวพันคล้ายกัน หรือทับซ้อนกัน เพื่อใช้ทรัพยากร ด้านรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
สุดท้าย กองทุนที่มีความเสี่ยง ก็อยากให้ท่าน Highlight เอาไว้ ก็หวังว่า ข้อเสนอแนะจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ ในการทำรายงานของปีถัด ๆ ไป เพราะเข้าใจว่า เดี๋ยวของปี ๒๕๖๕ ปี ๖๕๖๖ ก็จะเข้า ก็ขอบคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ยังคงอยู่ในห้องประชุมแห่งนี้ ผม นายเอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกลครับ ผมรู้สึกเป็นเกียรติอีกครั้งที่ได้อภิปรายในวันนี้ โดยหัวข้อการอภิปรายเป็นเรื่องของ การตรวจสอบรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปี ๒๕๖๕ จากรายงานจุดที่ผมชวนสังเกตจากแผนแม่บทที่ ๑๔ ศักยภาพทางด้านกีฬา เรื่องของ การพัฒนาศักยภาพสาธารณูปโภค และศักยภาพของนักกีฬาให้มีมาตรฐานระดับสากล ก่อนอื่นอยากให้ท่านปรับวิธีการนำเสนอในเล่มนี้นะครับ เพื่อนสมาชิกที่พูดหลายคนก็คงพูด ตรงกันว่ามันใหญ่และอ่านไม่รู้เรื่องนะครับ ท่านอาจจะต้องศึกษาหน่วยงานที่อยู่ภายใต้แผน ของท่านว่าเวลาเขาส่งรายงานเข้าสภาทำอย่างไรถึงจะอ่านง่ายขึ้นนะครับ ผมขออ้างอิง จากในรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติแผนที่ ๑๔ สถานการณ์การบรรลุ เป้าหมายการกีฬาของประเทศไทย ก็พบว่าการได้รับเหรียญรางวัลของประเทศไทย มีแนวโน้มลดลง ตัวอย่างเช่นการแข่งขันกีฬา Asian Games ครั้งที่ ๑๘ ณ กรุงจาการ์ตา และเมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย ในปี ๒๕๖๑ ที่ไทยอยู่ในระดับที่ ๑๒ ในระดับเอเชีย ซึ่งลดลงจากปี ๒๕๕๗ ที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ ๖ ในระดับเอเชีย และการแข่งขัน พาราลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ ๑๖ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี ๒๕๖๓ ไทยอยู่ลำดับที่ ๙ ในระดับ Asia ซึ่งลดลงจากอันดับที่ ๗ ในระดับเอเชียจากปี ๒๕๕๙ โดยภาพรวม อันดับการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องนะครับ อีกทั้งในการ สรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติยังมีการกล่าวอีกว่าการบรรลุเป้าหมายของไทย ยังมีความเสี่ยงที่จะบรรลุ ทำไมท่านไม่เขียนให้เข้าใจง่าย ๆ เลยว่ามันไม่เป็นไปตามแผน ยุทธศาสตร์ มันไม่เป็นไปตามที่ท่านคิดเอาไว้ ก็เพราะว่าสิ่งที่ท่านคิดมันเพ้อฝัน มันคิดมาก เกินไป สิ่งเหล่านี้ผมมานี่ไม่ได้มีเจตนาที่จะมากล่าวหา หรือว่ามาด้อยค่านักกีฬาของไทย ที่ได้ทำการแข่งขันอย่างสุดความสามารถเพื่อประเทศชาติของเรา แต่เขาเขียนแผนประเมิน กันมา ตัวชี้วัดเป็นแบบนี้ เขียนจะเอาแบบนี้ จะเอามันให้ได้ สุดท้ายมันไม่เป็นไปตามแผน แต่ผมอยากจะแสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เกิดจากตัวนักกีฬานะครับ แต่เป็นเรื่องของการจัดการของภาครัฐที่อาจขาดความพร้อม หรือไม่ได้ให้ความสำคัญกับ นักกีฬามากเพียงพอ ยุทธศาสตร์ชาติที่ท่านนั่งเทียนเขียนนี่มันไม่สอดคล้องกับกลไกภาครัฐ ที่ท่านทำขึ้น ปัจจัยท้าทายที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายกีฬาของประเทศไทย ผมจะบอกให้มันคือความพร้อมของภาครัฐ การสนับสนุนของสมาคมกีฬา หรือหน่วยงาน การกีฬาแห่งประเทศไทย อย่างเช่นในเรื่องของการแข่งขัน การฝึกซ้อม สนามต่าง ๆ นะครับ จริงหรือไม่สนามกีฬาเอาไปทำสัญญากับเอกชนทำ Concert ระยะยาวแบบนี้ สรุปท่านทำตาม ยุทธศาสตร์ชาติด้านกีฬา แต่เน้นนันทนาการแบบนี้หรือเปล่าครับ หรือยุทธศาสตร์ชาติ เขียนเท่ ๆ ไหนว่าวางแผนมาแล้ว คิดกันมาแล้วดิบดี แต่ภาคปฏิบัติทำจริงไม่ได้มีแต่น้ำ สภาพแวดล้อมของนักกีฬา แรงจูงใจในการเป็นนักกีฬาอาชีพ การเอาจริงเอาจังของภาครัฐ กับกิจการกีฬาของประเทศไทย สุดท้ายก็ต้องพึ่งภาคเอกชนมาช่วยประคับประคองสนับสนุน การทุจริตคอร์รัปชันก็มี สาธารณูปโภคกิจการกีฬาขาดความพร้อม อาทิ สนามกีฬา สนามฝึกซ้อม สนามแข่งขันกีฬานานาชาติ อย่างในตัวอย่างราชมังคลากีฬาสถานซึ่งเป็น สนามกีฬาแห่งชาติ หรือกล่าวได้ว่าเป็นสนามกีฬาที่เป็นหน้าตาของประเทศไทย เพราะว่า มีการแข่งขันกีฬาระดับโลกที่เคยจัดมาแล้วที่นี่ แต่ว่าสนามกีฬาขาดความพร้อมเช่น มีระบบ ระบายน้ำที่ไม่เป็นระบบสากล หญ้าที่มีการชำรุดทรุดโทรม การจัดกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากการแข่งขัน เขาว่ากันมานะครับ กระผมจึงอยากฝากท่านประธานให้หน่วยงาน ช่วยดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเร่งสร้างสนามกีฬาและพัฒนาสนามกีฬาทุกแห่ง ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ หรือสนามกีฬาประจำตำบลในหมู่บ้าน ให้ประชาชนเข้าถึง และมีความพร้อมในการใช้สนามใช้งานอยู่เสมอ เพราะมันเป็นพื้นที่ รวมตัวกันของพี่น้องประชาชนนะครับ
ถัดไปคือเรื่องของการสร้างแรงจูงใจให้กับนักกีฬาให้สามารถทุ่มเทกับ การฝึกซ้อมหรือการแข่งขันอย่างเต็มที่ เพราะนักกีฬาหลายคนเขาก็มีความกังวลเรื่องของ อนาคตของตัวนักกีฬา หรือว่าอาชีพหลังจากเกษียณจากการแข่งขัน เพราะฉะนั้นเราจึงควร ให้ความเชื่อมั่นกับนักกีฬาของเราในหน้าที่การงานในอนาคต เช่นให้ความช่วยเหลือ ด้านการศึกษา ผมก็อยากเสนอในเรื่องของการทำ MOU ระหว่างกรมสามัญศึกษา กรมพลศึกษา สมาคม สโมสรกีฬาต่าง ๆ เพื่อให้นักกีฬาที่อยู่ในช่วงการแข่งขัน หรือการฝึกซ้อมนี่สามารถเก็บตัว ทุ่มเทได้อย่างเต็มที่ มีสวัสดิการหลังเกษียณให้แก่ นักกีฬาอาชีพ เพิ่มความมั่นคงให้สามารถเลี้ยงชีพได้หลังจากที่ไม่สามารถเล่นกีฬา หรือรับใช้ชาติได้
แผนการพัฒนากีฬาไทยไปสู่ระดับโลก คุณพอลลีน งามพริ้ง ว่าที่ผู้สมัคร นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เสนอผ่านผมมาครับท่านประธาน บอกว่าอยากให้รีบ พัฒนาสาธารณูปโภคด้านกีฬา เช่น สนามกีฬา สนามฝึกซ้อม ให้มีความพร้อมอยู่เสมอ และจากกีฬาเชิงรุกกับธุรกิจกีฬาอาชีพ เช่น สโมสรกีฬาต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ด้านกีฬา โรงเรียนการฝึกซ้อม Academy โดยเพิ่มเป็นตัวชี้วัดตามแผนปฏิรูปให้กระจายอยู่ทั่วภูมิภาค
๒. คือส่งเสริมภาคเอกชนที่จัดกิจกรรมด้านกีฬา โดยให้สามารถได้รับ ลดหย่อนภาษี เพื่อเป็นแรงจูงใจก่อให้เกิดงบประมาณมาสนับสนุน ทั้งกีฬาในระดับเยาวชน และอาชีพโดยนำมาเป็นเกณฑ์ เป้าหมาย แผนแม่บทระดับย่อย และในการส่งเสริมให้ ประชาชนมีส่วนร่วมทางด้านกีฬา
๓. กำจัดระบบปรสิตทุจริตคอร์รัปชันในวงการกีฬา และเสนอให้มีการแก้ไข พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ ทั้งนี้การแก้ไขก็เน้นไปในเรื่องของสวัสดิการนักกีฬา และควบคุมการทุจริตในวงการกีฬาอย่างจริงจัง
สุดท้ายเสนอให้มีการจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนกิจการกีฬา อาทิ กองทุนฟุตบอลไทยไปบอลโลก โดยอาจจะนำรายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาลนำเข้ากองทุน เป็นต้น ผมเสนอแบบนี้ท่านอาจจะลองดูในยุทธศาสตร์ชาติ ใส่เป็นค่าเป้าหมายที่ต้องบรรลุ ก็จะง่ายและเห็นภาพชัดเจนขึ้น เนื่องจากฟุตบอลเป็นกีฬาที่ขึ้นตรงกับสมาพันธ์นานาชาติ หรือ FIFA ก็อยากจะให้ลองใส่ไปในยุทธศาสตร์ชาติ หรือทำแผนขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิด การแทรกแซงจากภาครัฐ การเมืองผ่านหน่วยงานรัฐ อาจจะทำให้ประเทศไทยถูก Ban จาก การแข่งขันได้ บทบาทของรัฐบาลจึงอยากให้ส่งเสริมปัจจัยพื้นฐาน องค์ความรู้ และพัฒนา เยาวชน ไม่ใช่กำหนดตัวบุคคลให้มามีอิทธิพลในวงการแบบอ้อม ๆ
สุดท้าย ๓ บรรทัด คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่ตั้งขึ้นมาเพื่อกำหนด ทิศทางของชาติเรา ควรให้ความสำคัญกับกีฬานอกเหนือจากแผนที่มองแค่ด้านสุขภาพ และนันทนาการ อยากให้มองว่ากีฬาเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล ในอนาคต ก็ฝากไว้เท่านี้ครับท่านประธาน ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ขออนุญาตเสนอแนะท่านประธานครับ คือแบบนี้ได้ไหมครับเนื่องจากว่า เราใช้เวลาในที่ประชุมมาพอสมควรนะครับ เนื่องจากมีประเด็นที่หลากหลายด้านและคำถาม ของเพื่อนสมาชิกก็เยอะมาก รายละเอียดบางประเด็นที่อาจจะยังไม่ได้ตอบ หรือตอบวันนี้ ไม่ได้นี่ อยากให้เป็นหนังสือมาทีหลังได้ไหมครับ เพื่อนสมาชิกจะได้ช่วยกันดู เพราะว่า เป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติที่มีความสำคัญนะครับ จะได้คำตอบที่รายละเอียดครบถ้วน ทุกประเด็นและเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎร ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนดอนเมือง พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขออภิปรายเรื่องประสิทธิภาพในการตรวจสอบทรัพย์สิน ซึ่งขณะนี้ ในรายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ส่งมาต่อสภาแห่งนี้ก็ยังมีเรื่องค้าง ๒๖,๓๑๒ บัญชี ก็คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๔๔ แล้วก็ท่านตรวจเสร็จไปแล้วประมาณ ๔๓,๙๗๐ บัญชี โดยการตรวจสอบปกติและเชิงลึก อย่างเรื่องของการตรวจสอบการมีอยู่จริงและบัญชี ยอมรับนับถือจริง ๆ ว่าคณะ ป.ป.ช. เก่ง เอาผิดนักการเมือง ข้าราชการทุจริตได้อย่างมาก แต่ว่าบางเรื่องก็เหมือนถูกละเว้น จากการตรวจสอบทรัพย์สินบัญชีที่เพิ่มขึ้นแบบผิดปกติ มีการฟ้องสู่ศาล แต่ว่าน่าเสียดายในรายงานของท่านน่าจะสรุปเรื่องของคดีลงไป ในรายงานด้วย รายงาน ๒ แผ่นนี้ผมโหลดมาจาก Website ของ ป.ป.ช. แต่ไม่อยู่ในรายงาน ประจำปี ก็เสนอแนะท่านเพื่อที่จะให้ได้สภาแห่งนี้ได้เห็นว่า การที่ท่านนำคดีขึ้นสู่ศาล มีรายละเอียดการพิจารณาอย่างไรบ้าง และผลของการดำเนินคดีเป็นอย่างไรบ้างนะครับ
อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. นี่ มีมติชี้มูล ซึ่งอันดับแรก เป็นเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างมันลดลงจากปี ๒๕๖๔ อย่างมาก อันนี้ผมก็สงสัยว่าคนทุจริต น้อยลงหรือครับ หรือท่านปราบปรามมากขึ้น อันนี้ก็เป็นคำถามข้อสังเกต
นอกจากนี้ผมกลับมาที่เรื่องของการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน ผมอยาก สอบถามว่าบรรดาผู้ตรวจ เจ้าหน้าที่มีการฝึกอบรมเรื่องคุณวุฒิอื่นหรือเปล่า เพราะว่า นอกจากบัญชีมีหลายประเภท มันไม่ใช่มีแค่นักบัญชี นักเศรษฐศาสตร์ นักบริหาร ที่จะตรวจสอบได้ มันมีเรื่องพระเครื่อง นาฬิกา ก็เลยอยากจะสอบถามว่าเกณฑ์ ในการตรวจสอบหรือประเมินทรัพย์สินเหล่านี้ ท่านฝึกอบรมหรือใช้หลักเกณฑ์อย่างไร
อีกประเด็นหนึ่ง ในเรื่องของการส่งบัญชีทรัพย์สินที่ต้องอาศัยเอกสาร ประกอบ บางอย่างก็ไม่ต้องควรมีการให้ยื่นซ้ำซ้อน อย่าง ภ.ง.ด. มันไม่สามารถสะท้อนการมี อยู่จริงของบัญชีได้ มันคือการยื่นรายได้และแสดงรายได้ของกรมสรรพากร มันไม่ใช่ภารกิจ ของหน่วยงานท่านนะครับ แต่ถ้าท่านพบว่ามันมีการยื่นไม่ตรงกับบัญชีรายได้ที่ท่านให้แสดงนี่ ก็ท่านอาจจะแค่ส่งข้อมูลให้สรรพากรเขาดำเนินการ ทุกคนเป็นนักการเมืองย่อมพร้อม ที่จะตรวจสอบ แต่เครื่องมือบางอย่างนี่ก็อยากจะให้เชื่อมโยงกับข้อมูลภาครัฐอย่างมี ประสิทธิภาพ ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารสำเนาจำนวนมาก บางอย่างนี้ท่านเก่งล้ำหน้าไปเลย แต่บางหน่วยงานอาจจะไม่เดินตามท่าน อาจจะต้องมีเครื่องมือ หรือหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม ผมอาจจะเสนอแนะตรงนี้ อย่างเช่น กรมที่ดินในรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลมันแตกต่าง จากหน่วยงานของท่านแน่นอน กรมที่ดินก็ยังคงต้องทำเป็นหนังสือมีโฉนด แล้วก็ไม่สามารถ ตรวจสอบการซื้อการขายได้ราคาประเมินแบบอัตโนมัติทันท่วงที ต้องใช้ระยะเวลานะครับ ท่านอาจจะต้องระบุหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนขึ้น ที่ดินท่านอาจจะต้องกำหนดให้ชัดเจนไปเลยว่า จะเอาตัวเลขไหน จะเอาราคาประเมินภาครัฐ จะเอาราคาตลาด หรือราคาซื้อขาย เพื่อไม่ให้ เป็นช่องว่าง เป็นหอกที่เอามาทิ่มแทงกันในภายหลังของบรรดาผู้ที่ยื่น เพราะบางคน หน่วยงานบางท่านก็อาจจะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการประเมิน หรือการจัดการ ทรัพย์สินเหล่านี้ ดังนั้นในเรื่องต่าง ๆ นี้ท่านอาจจะต้องเสนอสภาแห่งนี้มาเลยครับ ว่ามันมี กฎหมายที่มันปรับปรุงได้ไหม หรือการตรวจสอบความถูกต้อง และมีอยู่จริงของบัญชี ทรัพย์สินจะทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ จัดกลุ่มความสำคัญและความเสี่ยง และท่านควรจะ มีตัวชี้วัดเพื่อพิจารณาระบบฐานข้อมูลที่เน้นสัมฤทธิผล เพราะบางอย่างมันก็ไม่สะท้อนตัวเลข ราคาประเมินต่าง ๆ ผมคิดว่ายังคงจะต้องหาตัวชี้วัดที่เหมาะสมมากกว่าในแบบฟอร์ม ที่ท่านให้ทุกคนได้ยื่น เจ้าหน้าที่ของรัฐต่าง ๆ ผมก็คิดว่าควรจะมีการยื่นบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สิน โดยอาจจะพิจารณาเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลกลาง หรือว่าหน่วยงานต้นสังกัด อาจจะไม่ต้องยื่นต่อท่านก็ได้ แต่ว่าเผื่อท่านได้ใช้ในอนาคต กรณีที่ข้าราชการเหล่านั้น เป็นใหญ่เป็นโต หรือว่าเติบโตขึ้นมาในสายงานที่ถึงตามที่กฎหมายระบุไว้ให้ต้องยื่น แล้วก็ ผมอยากเห็นท่านทำงานใหญ่ ๆ ให้สัมฤทธิผล คือการจับช้าง ไม่ใช่จับตั๊กแตน เมื่อพิจารณา คดี Size XL ที่ท่านเขียนไว้ มันมีเพียงแค่ ๑๔๖ เรื่อง จาก ๑,๐๐๐ กว่าเรื่อง ทำไมหลัง ๆ นี่ ที่ท่านมี พ.ร.ป. จำนวนคดีมันถึงลดลง อันนี้ผมก็อยากฝากตั้งคำถาม ตั้งข้อสังเกต ให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ
สุดท้ายผมอยากเห็นคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ต้องมาจากภาคประชาชนด้วย อันนี้ก็ฝากผ่านไปยังท่านประธาน และเพื่อนสมาชิกด้วยกันว่าคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามที่เขียนเอาไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นอดีต ข้าราชการ มีตำแหน่งอธิบดีไม่น้อยกว่า ๕ ปี ไม่มีสัดส่วนของภาคประชาชนเลย และไม่มี ที่มาขององค์กรวิชาชีพที่กำหนดให้เห็นว่ามีความสามารถ หรือคุณสมบัติที่เกี่ยวกับ ความรู้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชัน การสรรหาก็มีที่มาจากประธาน ศาลฎีกา OK ครับ เป็นตัวแทนของศาล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร OK เป็นตัวแทนจากการเลือกตั้ง แต่ศาลปกครองสูงสุด หรือตัวแทน จากศาลรัฐธรรมนูญ ผมก็คิดว่าตรงนี้ไม่ยึดโยงกับประชาชน
สุดท้ายก็ยังฝากท่านในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีในการจัดข้อมูลเพื่อให้ ประชาชนมีการตรวจสอบ และระยะเวลาที่เพื่อนสมาชิกได้บอกไปแล้วว่าในการดำเนินคดี ผมไป Load มาดูคดีหนึ่งนี้เป็นคดีทุจริตโครงการจ้างเหมาขุดลอกคลองสระน้ำในปี ๒๕๔๘ ตั้งเรื่องในปี ๒๕๖๒ มาเสร็จเอาปี ๒๕๖๕ แบบนี้ผมก็คิดว่าท่านจะต้องมีกรอบระยะเวลา การทำงานที่เหมาะสมนะครับ
สุดท้ายในรายงานนี้ผมอยากเห็นในปีถัด ๆ ไปในเรื่องของศูนย์ TACC ศูนย์ความร่วมมือกับต่างประเทศตามมาตรา ๑๓๘ ไม่มีเขียนไว้เลยว่าท่านดำเนินงาน เป็นผลสัมฤทธิ์อย่างไรบ้าง ขออีกสักครู่นะครับท่านประธาน
นอกจากนี้ในหมวด ๑๐ เรื่องของกองทุน ป.ป.ช. ที่สนับสนุนเรื่องของ การเผยแพร่การป้องกันการทุจริต ซึ่งให้สำนักงานมีอำนาจในการให้เอกชนเผยแพร่ รณรงค์ เกี่ยวกับการคุ้มครอง ช่วยเหลือ ค่าตอบแทน เงินรางวัล หรือการประชาสัมพันธ์ ผมไม่เห็น ว่าในการดำเนินงานส่วนนี้เป็นอย่างไรบ้าง อยากให้ท่านรายงานลงไปในรายงานครับ เพราะว่ามันเป็นงบประมาณของแผ่นดินที่ท่านไม่ต้องนำส่งคลัง แต่อยากให้พี่น้องประชาชน ได้เห็นว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ได้ใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตรงตามกฎหมาย และท่านได้ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ขอบคุณท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ ขอครับ
ด้วยความเคารพครับ ท่านประธาน ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านตอบไม่ละเอียดครับ เพราะว่าในกองทุน ป.ป.ช. ท่านได้เงินไปจากสภา ท่านก็พูดเอง ๑๐๐ ล้านบาท ปีหน้า ๒๐๐ ล้านบาท แต่ไม่มีรายงานผลการดำเนินงานครับ ผมไม่ได้ถามว่าท่านได้เท่าไร ทำอะไรบ้าง ผมแค่อยากจะกำชับท่านว่าปีที่ผ่านมา ที่ท่านได้ดำเนินงานไปนี่ได้สรุปไว้ที่ไหน Website หรือเพราะในเล่มนี้ไม่มี ผมจึงอยากจะ เน้นย้ำว่าผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมานี่ท่านได้ลงใน Website หรือดำเนินงานไป อย่างไรบ้าง เท่านั้นเองครับท่าน ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ พ.ร.บ. ฉบับนี้มีที่มาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พวกทหารยึดอำนาจ จากประชาชน ตั้งพวกพ้องตัวเอง มีรัฐบาลขิงแก่ แล้วก็ตั้งสภานิติบัญญัติขึ้นมาที่ไม่ยึดโยงกับ ประชาชน ตอนนั้นก็มีการปิด itv แล้วก็ปั๊มกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาอย่างเร่งด่วน
เอาภาษีสุรา ยาสูบมา ๒,๐๐๐ ล้านบาท ตามมาตรา ๑๒ ที่มาผมค่อนข้างรังเกียจพอสมควร แต่ว่าการทำหน้าที่ ที่ผ่านมาผมยอมรับนับถือในการปรับตัวขององค์กรแห่งนี้ ท่ามกลางการขาดทุน ของอุตสาหกรรมสื่อในช่วงยุค TV Digital แต่ว่า Thai PBS เอาตัวรอดได้ด้วยการสนับสนุน จากเงินภาษีบาป ในรายการกล่องรางวัลเต็มไปหมด แต่อย่าถามหาคนดู เพราะหาก มาคำนวณแล้วอาจจะไม่คุ้มค่า แต่นี่ก็คือเงินมหาศาลที่ถูกใช้ไปท่ามกลางความท้าทาย อย่ามาโกรธเรื่องของความคุ้มค่ากันนะครับ มองคนละเลนส์ วันนี้ผมเอาเลนส์ของความเป็น ผู้แทนมาสะท้อนไปยังท่านเจิมศักดิ์กรรมการนโยบาย ซึ่งเป็นความท้าทาย ก็ยังมีเรื่องของการเกิดสื่อใหม่ เรื่องของ Fake News และความมั่นคงทางรายได้ช่วงวัยของ ผู้ชมด้วยนะครับ สื่อสาธารณะของทุกคนทุกวัยเพราะรูปแบบของสื่อ Digital ทุก Platform ผมชวนท่านมาดู ถามตามมาตรา ๘ (๓) ว่าท่านได้ให้การสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพ และสร้างสรรค์รายการของผู้ผลิตรายการใหม่ ๆ แบบนี้อยากให้ท่านลองคำนวณสัดส่วน การใช้เงินงบประมาณของท่าน เพราะจะยึดสรณะว่าท่านเป็นสื่อสาธารณะศูนย์กลาง อย่างเดียวไม่ได้ วันนี้อยากให้ท่านสนับสนุนสื่อท้องถิ่นหรือศูนย์สาขาของท่านให้บริหาร จัดการได้อย่างอิสระและมีความใกล้ชิดกับประชาชน ผมชวนท่านดู Slide อันนี้ผลสำรวจ ในการเข้าถึงสื่อสาธารณะพบว่าครึ่งหนึ่งกลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษาไม่ติดตามสื่อ Thai PBS และมีพนักงานบริษัทราว ๑ ใน ๓ ที่ไม่ติดตาม Thai PBS เหมือนกัน และในกลุ่ม พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่ แผงลอย รวมถึงกลุ่มรับจ้างก็ไม่รู้จัก Thai PBS ดังนั้นสื่อสาธารณะวันนี้ ผมตั้งคำถามว่าเป็นของทุกช่วงวัยจริงหรือเปล่า นี่ผมยังไม่ได้ Check ความรอบด้านของ เนื้อหานะครับ นอกจากนี้ผมยังพบว่าการให้บริการสื่อกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการได้ยิน ซึ่งอาศัยการรับรู้ผ่านภาษามือมีปริมาณลดลงร้อยละ ๒๗ หรือว่า ๑ ใน ๓ ผมอยากเห็น ในทุกรายการของ Thai PBS มีล่ามภาษามือ และขอฝากท่านประธานให้ช่วยดูแล ล่ามภาษามือและรายการต่าง ๆ ของ TV รัฐสภาด้วย
กลับมาที่ ส.ส.ท. นะครับ ผมเข้าใจว่าท่านจะมีบริการล่ามภาษามือ ที่กำหนดไว้สูงกว่าที่ กสทช. เขากำหนดหลักเกณฑ์ไว้ แต่ว่าท่านอาจจะต้องทบทวน มาตรการว่าเอาความทั่วถึง แล้วก็รายการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ในรายงานฉบับนี้ที่ท่าน เสนอต่อสภาผมไม่แน่ใจว่ามีผลการดำเนินงานของศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมหรือเปล่า คุณณาตยา แวววีรคุปต์ อุตส่าห์ไปทำ The Active ผมคิดว่าเนื้อหาน่ารับชม รูปแบบ รูปลักษณ์ทันสมัย มี Podcast น่ารับชม แล้วก็ขอชื่นชมช่อง ๔ ALTV ก็ดีมาก ผมคิดว่า มาถูกทาง แต่ว่าถ้าเราไปดูสื่อต่าง ๆ ของเอกชนเขาจดทะเบียนอยู่ที่ ๓๐ ล้านบาท ปัจจุบัน ประกอบธุรกิจสำนักข่าวผลิต Content Online เขายังมีกำไรเลย ดังนั้น ๒,๐๐๐ ล้านบาท ท่านต้องทำได้ดีกว่าเอกชนแน่นอน ผมเสนอแนะว่าท่านลองไปฟังรายการอย่างที่เพื่อนสมาชิก ได้ให้ดู ใด ๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์เป็นเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่เอามาย่อย ผมอยากเห็นจาก The Active ทำ Style แบบนี้บ้าง หรือ Thai PBS ทำรายการแบบนี้บ้างนะครับ
ผมชวนท่านมาดูว่างบประมาณปี ๒๕๖๖ แผนงบประมาณ ๒,๖๘๒ ล้านบาท ตั้งรายจ่ายเอาไว้ ๒,๘๔๐ ล้านบาท อีก ๑๕๘ ล้านบาทท่านจะทำอย่างไร เพราะท่านทำ ติดลบมาอย่างนี้ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕ ติดลบแบบนี้ไม่ได้นะครับ ผมฝาก ท่านประธานดูอีกอันหนึ่งครับ ตาม Slide ที่ขึ้นอยู่ตอนนี้มาตรา ๕๑ เขาบอกว่าให้ทบทวน ที่มาของรายได้และสัดส่วนเงินบำรุงองค์กรให้เหมาะสมกับความจำเป็นของภารกิจ ผมไม่แน่ใจว่าจะรื้อใหม่ทั้งฉบับหรือทบทวนดีหรือเปล่า มันติดตรงไหนครับ มันติดขัดตรงที่ รายการดีแต่ไม่มีคนดู เหมือนเทน้ำลงกองทราย ท่ามกลางความข้าวยากหมากแพงแบบนี้ ผมดูจากงบการเงินของท่าน ผมคิดว่าต้องหาเงินเพิ่ม ต้องอยู่ให้เป็น รายได้จากรายการ TV Digital ก็ดี หรือว่าจากทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ก็ดีนะครับ ผมชวนมาดูที่ BBC หรือว่า Thai PBS เขาก็มีแหล่งรายได้ที่ยึดโยงกับประชาชนจากค่าธรรมเนียมการรับชมหรือการโฆษณา เฉพาะผ่าน Website Online หรือ Platform ต่าง ๆ มาผสมผสานกัน โดยยังสามารถ คงเป้าหมายทิศทางขององค์กรและยังคงอยู่ได้
อีกอย่างหนึ่งฝากท่านประธานครับก็คือเรื่องของสวัสดิการ สวัสดิภาพ ของพนักงาน Thai PBS ผมทราบมาว่าบรรดาผู้ประกาศหรือว่าบรรดาคนที่ทำงาน อาจจะไม่สามารถไปรับงานที่อื่นได้ อาจจะติดขัดเรื่องค่าตอบแทน ไม่รู้ยังเป็นแบบนั้นอยู่ หรือเปล่า แต่แบบนี้ครับท่านประธาน ผมชวนสื่อมวลชนทั้งประเทศช่วยดูอัตราเงินเดือน ของสื่อสาธารณะ นี่คือองค์กรในฝัน ผมอยากให้มาตรฐานแบบนี้เกิดขึ้นกับสื่อมวลชนอื่น ๆ บ้าง ไม่ใช่แค่ผู้ที่มีอยู่หน้าจอเป็นดารา เป็นผู้ประกาศที่จะได้เงินเยอะอย่างเดียว ผมคิดถึงชีวิต ของช่างภาพ ช่างไฟ ช่างหน้า ช่างผม เครื่องแต่งกายด้วย ก็ฝากดูสวัสดิการของพี่น้อง ในองค์กรให้ทั่วถึงนะครับ
สุดท้ายที่ผมอยากจะฝากนะครับ ที่บอกว่าอยากจะแก้พระราชบัญญัติฉบับนี้ มาดูกันแบบนี้ผลประโยชน์ทับซ้อนหรือเปล่า เสียดายมากท่านประธานกรรมการนโยบาย ท่านเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ท่านต่อต้านเรื่องของสภาผัวเมียมาโดยตลอด วิจารณ์นักการเมือง นักหนาผมเรียกร้อง Spirit ของท่าน อยากรู้ท่านคิดอย่างไรกับมาตรา ๑๘ หนึ่งในการสรรหา คือผู้จัดการ สสส. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเลือกท่านมา แล้วท่านก็ไปเลือก ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ที่ท่านเป็นครอบครัวเดียวกันกับผู้จัดการกองทุน สสส. แบบนี้ เป็นกรรมการผัว กรรมการเมียหรือเปล่า ชัด ๆ นะครับ คนผัวเลือกท่านมาเป็น Board นโยบาย ท่านก็ไปเลือกกรรมการมาเป็นผู้อำนวยการต่อ ๒ สมัยเงินเดือนปีละ ๔ ล้านบาท แบบนี้ผมอยากจะถามเหมือนกันว่าท่านทำได้อย่างไร แต่ผมไม่ได้มีปัญหาส่วนตัว ขอเวลา อีกสักครู่ครับท่านประธานไม่ยาวเกิน ท่านรองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ท่านกล่าวว่ากรรมการนโยบายได้แต่งตั้งกรรมการสรรหาผู้อำนวยการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับสูงจำนวน ๙ คน มีคุณสมบัติอะไรต่าง ๆ มีฉันทามติ ใช้คำว่าฉันทามติเลยนะครับ ผมไม่ได้มีอคติหรือไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวกับท่านผู้อำนวยการปัจจุบันมาก่อน แต่ผม กำลังพูดถึงหลักการว่าการทำงานต่าง ๆ แบบนี้ การเลือกสรรหาแบบนี้ยังสมควรมีอยู่ หรือไม่ เพื่อเชิญชวนให้มาดูว่าถึงเวลาที่จะต้องทบทวนเรื่องการคัดเลือกต่าง ๆ แบบนี้ หรือเปล่า ผมชวนทวนอีกท่านหนึ่งมาดูนะครับ ข้อครหาเงินเดือนผมไม่ติดใจหรอก แต่ว่าเรื่องของรางวัลโบนัสประจำปีไม่เป็นตามระเบียบ ชวนดูหนังสือลับของ สตง. ฉบับลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๓ แจ้ง ผอ. ส.ส.ท. โดยให้ตรวจสอบงบการเงินปี ๒๕๖๑ ท่านไหนเป็น ผอ. ส.ส.ท. ช่วงนั้นพบว่ามีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างและระเบียบองค์การ ฉบับที่ ๖ หลักเกณฑ์การจ่ายเงินรางวัลประจำปี ก่อให้เกิดความเสียหายให้ชดใช้ ๑๕.๓๗ ล้านบาท ขอให้ท่านเร่งตรวจสอบ อยากถาม ความคืบหน้าของเรื่องนี้เป็นอย่างไรครับ ไม่เห็นมีอยู่ในรายงาน
สุดท้ายครับ ท่านกรรมการนโยบาย ท่านผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้วยความเคารพ ผมชื่นชมติดตาม โดยเฉพาะท่านเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เวลาท่านให้สัมภาษณ์รายการต่าง ๆ ความคิดเห็นใช้ได้เลยทีเดียวครับ ผมอยากวัดใจท่านว่าต่อไปนี้ถ้าประเทศนี้เกิดรัฐประหารขึ้น อีกครั้งหนึ่ง ท่านจะนำสื่อสาธารณะออกมาปกป้องเป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาลพลเรือน กล้าชนกับรัฐประหาร ผมเห็นศูนย์ต้านภัยพิบัติของ Thai PBS แล้วผมอยากเสนอครับ อยากให้ท่านตั้งศูนย์ต่อต้านรัฐประหารด้วยตัวท่านเอง ขอบพระคุณครับ
เรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพนะครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากคนดอนเมือง ผมขออนุญาตนะครับ เมื่อสักครู่นี้ผู้ชี้แจงท่าน ผอ. ส.ส.ท. บอกว่าที่มา ของ Thai PBS องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ผมทราบดี แค่ผมพูดให้ฟัง ผมอยากจะพูดถึงข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง ผมไปเจอรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ของ TDRI ซึ่งมีผู้เขียนคือคุณสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ คุณเทียนสว่าง ธรรมวณิช เป็นรายงาน วิจัยฉบับสมบูรณ์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. แล้วก็เขียนเอาไว้เรื่องการศึกษา ความเป็นไปได้ และแนวทางการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและครอบครัว และท้าย รายงานฉบับนี้มีร่างพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพเอาไว้ คล้าย ๆ กับฉบับที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านไปเลยครับ รัฐประหารปี ๒๕๔๙ เขียนตัวนี้ปี ๒๕๕๐ ใช้ปี ๒๕๕๑ ท่านบอกศึกษามา ไม่จริงหรอกครับ ผมคิดว่าอันนี้คือรัฐบาลขิงแก่ปั๊มมา เพราะไม่พอใจ itv ตอนนั้น ไม่พอใจกระแสสื่อตอนนั้น ผมไม่ติงเรื่องที่มาที่ไปหรอก แต่ผม อยากพูดให้พี่น้องประชาชนได้เห็นด้วยการพูดเรื่องพวกนี้เป็นประวัติศาสตร์บันทึกเอาไว้ มันเป็นแบบนี้ครับ ผมอยู่มาผมทราบ ผมไม่ได้อคติ แต่ผมอยากจะชี้แจงว่าองค์กรแห่งนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไรก็ช่าง แต่สุดท้ายแล้วตอนนี้ผลงานของท่านก็ถือว่าผ่านเข้าตา สมาชิก หลายท่านก็พูดเหมือนกันว่าอยากให้มี TV มีองค์กรสาธารณะแบบนี้อยู่ คำว่าองค์กร สื่อสาธารณะไม่ใช่เฉพาะ TV หรือวิทยุนะครับ เป็นได้ทุกสื่อ ทุก Platform YouTube ก็ใช่ TikTok ก็ใช่ ทุกสื่อใช่หมด แต่ว่าการผลิตเนื้อหาที่สำคัญต้องยึดโยงกับประชาชนนี่คือ หลักการ นี่คือคุณค่าที่สื่อสาธารณะจะต้องทำ แล้วผมก็เรียกร้องว่าในการทำงานขององค์กร แบบนี้ต่อ ๆ ไปที่ท่านใช้เงิน ๒,๐๐๐ ล้านบาทยังทำติดลบเลย แต่ผมก็เห็นว่าท่านหารายได้ จากช่องทางอื่นได้ อันนี้ผมเสนอแนวทางด้วยกันว่าประชาชนยุคข้าวยากหมากแพง ผมก็คิดว่า อนาคตถ้าท่านหารายได้จาก Platform อื่นที่ไม่ต้องไปเสียค่าสัญญาณโทรทัศน์ ไม่ต้องไปเสีย ค่าวิทยุกระจายเสียงท่าน Podcast ท่านทำ YouTube ท่านทำ Multimedia อื่นที่สามารถ เข้าถึงผู้ชมได้ และมีคนดู คนรับชมจำนวนมากก็คุ้มค่าเพียงพอกับค่าใช้จ่ายแล้ว เพียงแต่ว่า องค์กรอาจจะต้องฝึกในการหารายได้ช่องทางอื่นเพื่อไม่เป็นภาระทางภาษี อนาคตท่าน อาจจะค่อย ๆ ลดสัดส่วนลงไปก็ได้ เพราะตามกฎหมายแล้วกระทรวงการคลังมีอำนาจ ทบทวนการให้เงิน เขาบอกไม่เกิน ๒,๐๐๐ ล้านบาท แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องถึง ๒,๐๐๐ ล้านบาท ให้ ๑,๐๐๐ ล้านบาทก็ได้ ให้ ๕๐๐ ล้านบาทก็ได้ เพราะฉะนั้นก็ฝาก ตั้งข้อสังเกตไว้ประมาณนี้ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพนะครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ สสส. นี้ตั้งขึ้นในปี ๒๕๔๔ ปีนี้ก็ ๒๐ ขวบแล้วนะครับ ซึ่งตาม พ.ร.บ. กองทุนการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนี่ ต้นแบบมาจาก ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีความสำเร็จในเรื่องของการดูแลสุขภาวะของพี่น้องประชาชน ๒๐ ปี มีอะไรที่ สสส. สร้างความจดจำบ้าง ผมไป Check ดูนะครับ มีการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใส ซึ่ง ป.ป.ท. ให้ท่าน ๙๓.๖๘ เปอร์เซ็นต์ โฆษณาที่เป็นที่จดจำนะครับ ถูกตั้งคำถามมีอะไรอีก แหล่งทุนขององค์กรต่าง ๆ ผมไปทบทวนย้อนดูว่าถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่เราอาจจะต้องทบทวนพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ผมอยากเสริม ให้กับ สสส. ว่าโครงการของท่านในแต่ละปีส่งเสริมโฟกัสไปในเรื่องของการป้องกันโรค ที่กว้างขวางมากกว่านี้จะมีประสิทธิภาพและตรงจุดในการแก้ปัญหาสุขภาพประชาชนหรือไม่ ผมเห็นในเล่มนี้รายงานของท่านพูดถึงเรื่องของการรณรงค์การป้องกันโรคเกี่ยวกับ NCDs ดูแลความชุกในเรื่องของความดัน เบาหวานให้ลดลง เพราะว่าแน่นอนว่าโรคเหล่านี้ เป็นโรค ที่เป็นระเบิดเวลาที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในสังคมสูงวัย ที่ชุมชนที่ดอนเมืองของผม ที่กรุงเทพฯ มีพี่น้องป่วยกันมากเลยครับ ระเบิดกันตูมตาม เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตบ้าง เพราะว่าโรคเหล่านี้ซึ่งเกิดจากการบริโภคน้ำตาล ฝากหน่วยงาน สสส. ที่ในการลงพื้นที่ ในการเสริมภูมิคุ้มกันทางความคิดด้านสุขภาพ รณรงค์ป้องกันโรคเหล่านี้มากขึ้นโดยเฉพาะ แล้วก็รวม ๆ ทิศทางการดูแลโรคเหล่านี้ย่อมดีกว่าท่านจะไปโฟกัสเฉพาะเรื่องของการดื่มสุรา ยาสูบตามที่ข้อมูลที่ สส. หมิว สิริลภัส ได้อภิปรายไปแล้วผมไม่พูดซ้ำ แต่ผมขอชี้ไปว่า งบประมาณส่วนนี้ที่ท่านนำมาใช้ในกองทุน ๒,๐๐๐ ล้านบาท ให้ Thai PBS ผมยังเห็น ผลลัพธ์ที่จับต้องได้ ยังเห็น TV สาธารณะช่องหนึ่ง เห็นสื่อที่ครอบคลุมเนื้อหา เห็นผลลัพธ์ที่จับต้องเป็นรูปธรรมได้ แต่ ๔,๐๐๐ ล้านบาท เราเห็นอะไรนอกจากโฆษณา ผลงานวิจัยหรือครับ กี่ชิ้น กฎหมายกี่ฉบับหรือครับที่แนะนำ หรือว่าเป็นองค์ความรู้ ผมอยากให้คนจดจำท่านมากกว่าโฆษณาของ สสส. ฝากรัฐบาลใหม่นะครับ ไปทบทวน แผนงานด้านสาธารณสุขด้วยว่าเราอาจจะต้องปฏิรูป สสส. นำเงิน ๔,๐๐๐ ล้านบาท ไปสนับสนุนหน่วยงานหน้าด่านอย่าง อสส. อสม. หรือว่าโรงพยาบาลปฐมภูมิ จะครอบคลุม หรือบูรณาการการทำงานร่วมกันชนิดไหนก็ได้ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่านี้ ท่านประธานครับ กองทุนนี้มีใจความสำคัญคืออะไร ก็คือการให้คนไทยมีสุขภาพดี มียุทธศาสตร์ที่เป็นจุดเน้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดการบริโภคยาสูบ การบริโภคสุราและสิ่งเสพติด การเพิ่มสัดส่วน อาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล หรือการเพิ่มกิจกรรมการออกกำลังกาย การลดอุบัติเหตุ ในท้องถนน หรือว่าเพิ่มสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตที่ดี และผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม และปัจจัยอื่น ๆ แต่ผมอยากถามท่าน ท่านบุกไปร้านกัญชาบ้างหรือยังครับ ไปทำความเข้าใจ ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผู้ที่ใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคอะไรก็ตามบ้างหรือยังครับ อยากจะเห็นงาน เชิงรุกที่ท่านส่งคน หรือว่าไปทำแนวการป้องกันการเสริมสร้างสุขภาพในมิติอื่น ๆ ด้วย ที่กล่าวมาทั้งหมดผมชื่นชมในแนวคิดตามกฎหมายนี้ แต่ว่ามันเป็นหลักการที่ดี แต่ความจริง บริบทมันเปลี่ยนไป แล้วแต่ละด้านที่ สสส. ส่งเสริม มันอาจจะขัดกับสถานการณ์ปัจจุบัน ของสังคมไทยไปแล้ว หรือมันอาจจะตามหลังไปด้วยซ้ำ มันอาจจะยากที่ สสส. จะดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์เหล่านี้ได้ทั้งหมด เพราะมันครอบคลุมหลายด้านมาก กฎหมายก็เปลี่ยนไป บริบทสังคมก็เปลี่ยน ผมอยากเสนอแบบนี้ครับท่านประธานว่าอยากให้ สสส. ไปเน้นในเรื่อง ของการสนับสนุนกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ แต่กลายเป็นว่าตอนนี้สถานการณ์การมี กิจกรรมทางกายของประชาชนคนไทยลดลง หมายถึงว่าการมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการออกกำลังกายทุกกลุ่ม ทุกวัย เด็กไม่ได้พัฒนาการด้านร่างกายที่สมวัย คนชราไม่มีที่ ออกกำลังกาย เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นส่งผลกระทบเป็น Domino ท่านประธานครับ สุขภาพของพี่น้องประชาชนมันเป็นงบประมาณที่เราต้องจ่ายเพิ่มเติมเพื่อดูแลพวกเขา ตอนเจ็บป่วย จะดีกว่าไหมถ้ารัฐบาลใหม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้มี การออกกำลังกาย โดยเฉพาะหน่วยงานที่ตั้งมาเฉพาะอย่าง สสส. สนับสนุนไปเลยให้คน ออกกำลังกาย จัดสรรพื้นที่สาธารณะให้เหมาะสม หรือพื้นที่ออกกำลังกายแก่เด็ก เยาวชน ทุกกลุ่ม ผมเสนอ Idea นะครับ อยากให้ท่านนำเม็ดเงินลงไปที่ชุมชน เป็นไปได้ไหมครับ หรือทำคูปองออกกำลังกายสำหรับประชาชน อัดเม็ดเงินไปที่ประชาชน หรือว่าไปเสริม เป็นการเสริมแรงทางบวกในการที่อยากให้ประชาชนออกสุขภาพ หรือด้านการบริโภคก็ได้ นอกจากที่ท่านจะบอกว่าการบริโภคอะไรไม่ดี อาจจะต้องสนับสนุนในเรื่องของการบริโภค ประเภทผัก เพราะว่าคน กทม. ซื้อผักก็แพง เพราะฉะนั้นมันจะต้องมี Model อื่น ๆ ไหม ที่ท่านอาจจะได้ทำงานเรื่องพวกนี้มากขึ้น
เรื่องที่ ๒ สสส. มีเป้าหมายในเรื่องของการลดยาสูบ แต่ว่าปัจจุบันอย่างที่ได้ กล่าวไปแล้วว่ากัญชาก็มีปัญหาโดยเฉพาะในสถานศึกษา พวกเขาสามารถเข้าถึงสิ่งนี้ได้ง่าย มีข่าวออกกันทุกวัน คลั่งยาบ้าง ฆ่ายกครัวบ้าง เป็นข่าวที่สลด เห็นฟังกันทุกวัน มันมีหลากหลายรูปแบบนะครับ ก็อาจทำให้เกิดความหวาดระแวงในหมู่พี่น้องประชาชน ในครอบครัว ทำร้ายร่างกายกัน ก็อยากจะให้ท่านเก็บประเด็นนี้ไปดูแลพี่น้องประชาชนด้วย
และอีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องของการลดผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ เพราะว่าคนไทยเราเจอกับปัญหาฝุ่นควันซ้ำซากหลายปีติดต่อ กันแล้ว แต่ยังไม่เห็นมาตรการที่ชัดเจนในเรื่องของการจัดการปัญหาเรื่องมลพิษจากภาครัฐ ผมไม่ได้โทษ สสส. นะครับ แต่ผมอยากจะเสนอว่าเรื่องของปัญหาฝุ่น สสส. ดูแล ส่งเสริม ป้องกันภัยได้มากกว่านี้ไหมครับ ช่วยดูแลพี่น้องประชาชนในเรื่องของสุขภาพได้ไหมครับ ท่านประธาน ขออีกนิดหนึ่ง ไม่ยาวเกินนะครับ ประเด็นที่ผมสงสัยมาตลอด เรื่องสุดท้ายก็คือ ผมอยากฝาก สสส. ไปดูระเบียบที่ตั้งหน่วยงานลักษณะพิเศษในปี ๒๕๖๒ ก็คือสถาบัน การเรียนรู้ การสร้างสุขภาพ และศูนย์กิจการสร้างสุข มันนอกวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย หรือเปล่า ผมเห็นไปดูแล้วมีการใช้จ่ายในเรื่องของการบริการ เงินเดือนบุคลากร ๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท รวมกัน ๒ ด้าน ๘,๐๐๐ กว่าล้านบาท แต่ว่ารู้สึกเหมือนท่านไปขายของ ได้มา ๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท บวกไปมามันน่าจะติดลบหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ ผมอยากให้เชียร์ อยากให้กำลังใจท่านว่าอยากให้ทำเงินส่วนนี้ในการเลี้ยงองค์กรได้จะได้นำไปใช้จ่าย ในส่วนอื่น อยากจะเห็นทิศทางเรื่องของกิจการสร้างสุขที่ชัดเจนมากขึ้น
และสุดท้ายแม้ว่าในมาตรา ๕ มันไม่มีตรงไหนที่ผมไปดูว่าให้ท่านตั้ง หน่วยงานซ้อนหน่วยงาน เพราะว่า สสส. ถูกออกแบบมาให้เป็นหน่วยงานที่พิเศษ และเป็นองค์กรที่คล่องตัว บริหารจัดการต่ำเพื่อให้เม็ดเงินนี้ไปถึงคนทำงานในพื้นที่ใช่ไหมครับ วันนี้อยากให้ท่านลองทบทวนแล้วก็ลองดูว่าในปีถัด ๆ ไปจะมีกิจการหรือว่าหน่วยงานไหน ที่มีประสิทธิภาพ และไม่เป็นภาระของงบประมาณมากกว่านี้ ขอบคุณมากครับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎร ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล อยากให้ท่านคณะกรรมการ ท่านประธาน สสส. ผู้จัดการกองทุน คือในเรื่องของศูนย์สร้างสุข ที่เป็นเรื่องของการขายสินค้านี้ครับ อยากให้ท่านลองสรุปด้วยวาจาสักนิดหนึ่งได้ไหมครับว่า เป็นอย่างไร แล้วทิศทางของกิจกรรมนี้หรือโครงการนี้เป็นอย่างไรครับขอบพระคุณครับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ ผมรวบรวมปัญหาต่าง ๆ ของชาวดอนเมืองมาปรึกษาหารือกับท่านประธานดังนี้นะครับ
เรื่องที่ ๑ ปัญหาถนน ในเขตดอนเมือง ผิวจราจรถนนกำแพงเพชร ๖ ที่ดูแลโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย สภาพถนนเกิดความเสียหาย เป็นหลุมลึก ฝาท่อทรุดตัว ทำให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ เกิดอุบัติเหตุ
เรื่องที่ ๒ คือจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุหลายสี่แยกในเขตดอนเมือง ไม่มีไฟจราจรถูกเรียกว่า แยกวัดใจ ทั้งแยกนาวงประชาพัฒนาหรือแยกศิริสุขที่เป็นข่าวดัง มีผู้จอดรถมอเตอร์ไซค์แช่กลางสี่แยกเป็นเวลานานแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่าไม่กล้าขับ ข้ามแยกเพราะไม่มีสัญญาณไฟ และฝากให้สำนักการจราจรและขนส่ง กทม. ช่วยปิดจุดกลับรถ บริเวณหน้าตลาดโอโซนวันเพราะเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง รวมถึงการส่งตำรวจเข้ากวดขัน วินัยจราจรโดยเฉพาะการจอดรถแช่ขายของริมทาง และช่วยแก้ปัญหาการจราจรถนนเส้น เชิดวุฒากาศถึงเส้นสรงประภาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน ฝากพี่น้องหลีกเลี่ยงการใช้ถนน เส้นเชิดวุฒากาศถึงคูนายกิมสาย ๑ ซึ่งกำลังมีการปรับปรุงผิวถนนและท่อระบายน้ำใหม่นะครับ
เรื่องที่ ๓ ฝากท่านประธานเร่งกำชับ กสทช. และการไฟฟ้านนทบุรี ช่วยปรับปรุงสายไฟและสายสื่อสารที่ไม่เป็นระเบียบ และผมได้รับร้องเรียนมาตั้งแต่ ๑๔ พฤษภาคม ตามภาพนี้ใน Traffy Fondue ก็ยังเงียบหายนะครับ
เรื่องที่ ๔ คือจุดใช้ประโยชน์สาธารณะ จุดแรก ก็คือขอให้สร้างทางม้าลาย สะพานลอยใต้รถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีดอนเมือง จุดที่ ๒ คือทางเท้าเทิดราชันย์
เรื่องที่ ๕ ก็คือเรื่องของปัญหาน้ำท่วมเรื้อรัง ฝากผู้ว่า กทม. ตรวจสอบ การลอกท่อหลังวัดไผ่เขียว ถนนวัดเวฬุวนาราม ฝนตก ๕๐ มิลลิเมตรน้ำก็ท่วมแล้วนะครับ และสำรวจจุดเสี่ยงน้ำท่วม นำเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งเพื่อระบายน้ำได้ทันในช่วงฤดูฝน
เรื่องสุดท้าย การจราจรถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้าสนามบินดอนเมือง เกิดอุบัติเหตุ บ่อยครั้ง ฝากท่านประธานไปยัง สน. วิภาวดี กวดขันวินัยจราจรอย่างจริงจังเพื่อแก้ปัญหา เรื้อรังนี้ให้จบ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ๔๙๘ แสดงตนครับ
ผม เอกราช อุดมอำนวย ๔๙๘ เห็นชอบครับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนราษฎรคนดอนเมือง พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมขออภิปราย สนับสนุนญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะเรื่องของสิทธิและที่ดินในการทำกินนะครับ ท่านประธานครับ โครงการก่อสร้าง บ้านมั่นคงแล้วก็การก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำแบบคอนกรีตในคลองลาดพร้าว คลองเปรม ประชากร เป็นโครงการที่รัฐบาลมีนโยบายเพื่อป้องกันการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมันเกิดมา จากน้ำท่วมใหญ่ในช่วงปี ๒๕๕๔ โดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหาส่วนหนึ่งก็คือจะต้องรื้อย้าย บ้านเรือนที่รุกล้ำคลองเพื่อก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำ ทีนี้ก็เลยเป็นที่มาที่กรุงเทพฯ เขาก็ จะต้องไปร่วมมือกับหน่วยงานรัฐหน่วยงานหนึ่งชื่อว่า พอช. ในการจัดทำแผนในการรองรับ ด้านที่อยู่อาศัยชาวริมคลอง ซึ่งจะมีทั้งคลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ เป็นต้นมามีข้อมูลสำหรับผู้ที่อาศัยรุกล้ำประมาณ ๔,๓๙๘ หลังคาเรือน แล้วก็คิดเป็น ครัวเรือนประมาณ ๕,๘๗๖ ครัวเรือน ผู้อาศัยเหล่านี้ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ผมอยากจะบอกท่านประธานแบบนี้ว่าในเรื่องของที่อยู่อาศัย พี่น้องที่อยู่ริมคลองเขาอยู่มา ยาวนานมาก แต่ถูกรัฐมองว่าเป็นปัญหาจึงจะต้องไล่รื้อเขา ผมไม่พูดถึงเรื่องของกรรมสิทธิ์ ไม่พูดถึงเรื่องของความชอบด้วยกฎหมาย เพราะรู้กันอยู่ว่าที่ตรงนั้นแน่นอนครับ เถียงกันอย่างไร ก็แพ้ด้วยกฎหมาย แต่เป็นที่ที่พี่น้องประชาชนเขาอยู่กันมาดั้งเดิม อยู่กันมาตกทอด หลายชั่วอายุคน พอรัฐจะไปทำโครงการขนาดใหญ่ก็ไปทำโครงการโครงการหนึ่งที่ชื่อว่า บ้านมั่นคงก็ไปเสนอให้เขาว่ารัฐจะพยายามจัดสรรโครงการให้ทุกท่านได้มีที่อยู่อาศัย แต่ไม่ได้เป็นการให้ที่ดิน ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว เป็นการแก้ปัญหาแบบปะผุ เพราะอะไรครับ ผู้ที่เป็นคนจนเมืองมีทั้งผู้ที่ไม่มีศักยภาพหรือว่าเป็นผู้ที่อาจจะรายได้น้อย ลำดับที่ ๒ คือเป็นผู้ที่ชราภาพอยู่ตัวคนเดียว และซ้ำไปกว่านั้นบางท่านชราภาพด้วย และป่วยติดเตียงด้วย คำถามคือจะเอาชีวิตของพี่น้องเหล่านี้ จะไล่เขาเหมือนหมูเหมือนหมาหรือ พี่น้องเหล่านี้อยู่กันมาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่าเขาก็ไม่มีที่ดินทำกิน แต่ว่าเขากลับถูกรัฐไล่ ให้ไปอยู่ที่อื่น และศักยภาพของตัวเขาอายุ ๕๐-๖๐ ปีแล้ว เงินเก็บก็ไม่มี จะให้เขาไปอยู่ในที่ ที่จะต้องไปเสียเงินผ่อนเดือนละ ๒,๐๐๐ กว่าบาท เขาก็ไม่มีศักยภาพ เงินคนแก่ได้แค่ ๖๐๐ บาทเองครับ จะเอาเงินอะไรกิน เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาของโครงการบ้านมั่นคง ริมคลองเปรมประชากรทั้งหมด ผมถึงอยากจะให้มีการศึกษาทบทวนว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่พี่น้องคนจนเมืองในกรุงเทพมหานครที่เขาอยู่มาดั้งเดิมแต่ก่อนควรจะมีสิทธิ ในการครอบครอง ผมจะยกตัวอย่างให้ท่านประธานได้เห็นภาพว่าที่ราชพัสดุของ ประเทศไทย กระทรวงกลาโหมคือหน่วยงานที่ถือครองที่ราชพัสดุมากที่สุด รวมกัน ๖.๒๕ ล้านไร่ หรือ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของที่ราชพัสดุทั่วประเทศ หรือประมาณ ๕ เท่า ของกรุงเทพมหานคร และในการถือตรงนั้นผมถามว่าในกรุงเทพมหานครมีที่กองทัพ มากมายเลย จะทำ MOU ได้ไหม หรือจะทำการประสานอย่างไรได้ไหมที่จะให้พี่น้อง ได้มีสิทธิในการครอบครองที่ดิน อย่าไปมองว่าพวกเขาเหล่านั้นคือคนที่บุกรุกผิดกฎหมาย อย่าไปมองว่าอันนี้คือสมบัติชาติเอามาใช้หาเสียง ไม่ใช่หรอกครับ นี่คือเรากำลังจะต้อนคน อีกกลุ่มหนึ่งที่เขาไม่มีกำลัง ไม่มีความสามารถ ซึ่งเขาเกิดบนผืนแผ่นดินนี้และควรจะมีสิทธิเหมือนกัน เพียงแค่เขายากจน เพราะฉะนั้น การที่เขาอยู่มาก่อน การที่เขาครอบครองมาก่อนแล้วกฎหมายของเราตามไม่ทันพี่น้อง ประชาชน เราควรจะทบทวน ผมจึงเสนอแบบนี้ว่าในการศึกษาในการทบทวนที่เพื่อนสมาชิก ได้พูดไปแล้ว การกระจายที่ดินให้พี่น้องที่มีสิทธิในการครอบครองเป็นเรื่องของ ความชอบธรรมที่ทำให้คนจนกระจายความมั่งคั่งให้เขาสามารถที่จะยืนได้ด้วยขาของเขา ไม่เพียงเฉพาะเรื่องของการช่วยเหลือเรื่องของเงินทองนะครับ การกระจายที่ดินนี่ละครับ ที่จะเป็นโครงการ เป็นสวัสดิการที่จะทำให้เขาได้มีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ผมไม่อยาก เห็นคนชราจำนวนมากที่จะต้องไปแออัดกันอยู่ริมถนน ผมไม่อยากเห็นคนยากจนไม่มีที่อยู่ อาศัยจะต้องรอนแรมไปเรื่อย ๆ แล้วสุดท้ายพวกเขาเหล่านี้ก็ถูกชี้ว่าเป็นตัวปัญหา เป็นคนก่อ เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่จริง ๆ จุดเริ่มต้นมันเริ่มมาจากอำนาจรัฐที่อยู่ในมือของพวกเรา นี่ละครับ วันนี้เพื่อนสมาชิกในที่แห่งนี้เท่าที่ผมฟังมาทุกคนก็เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะ กระจายทรัพยากรเหล่านี้ไปให้ถึงมือ แต่ผมขอที่จะชี้ให้เห็นความคิดที่แหลมคม มากขึ้นว่าอย่าลืมพี่น้องคนจนเมือง คนจนที่อยู่ต่างจังหวัดเขายังมีพืชไร่ ยังมีที่นาที่อาศัย ธรรมชาติในการเก็บกินได้ แต่คนจนเมืองเวลาจนไม่มีจริง ๆ ครับลำบากมาก โดยเฉพาะ พี่น้องในเขตดอนเมืองของผม วันนี้ผมก็ฝากท่านประธานนะครับ ฝากเพื่อนสมาชิก ผมจึงอภิปรายสนับสนุนญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้ตั้งขึ้น และหวังว่าข้อเสนอต่าง ๆ จะนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงในอนาคต ขอบพระคุณท่านประธานครับ
เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการการทหาร จำนวน ๑๕ ท่าน สัดส่วนของพรรคก้าวไกล จำนวน ๖ คน ๑. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ๒. นายชยพล สท้อนดี ๓. เรืออากาศโท ธนเดช เพ็งสุข ๔. นายเชตวัน เตือประโคน ๕. นายเอกราช อุดมอำนวย ๖. นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สัดส่วนจากพรรคเพื่อไทย จำนวน ๔ ท่าน ๑. นายสุรเกียรติ เทียนทอง ๒. นายโกศล ปัทมะ ๓. นางสาวพิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ ๔. นายพนม โพธิ์แก้ว สัดส่วน พรรคภูมิใจไทย จำนวน ๒ ท่าน ๑. นายสยาม เพ็งทอง ๒. นายเรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์ สัดส่วนจากพรรคพลังประชารัฐ จำนวน ๑ ท่าน คือนายองอาจ วงษ์ประยูร สัดส่วนจาก พรรครวมไทยสร้างชาติ จำนวน ๑ ท่าน คือนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ และสัดส่วนจาก พรรคประชาธิปัตย์ ๑ ท่าน คือนายเดชอิศม์ ขาวทอง ขอผู้รับรองครับ
ท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ เขตดอนเมืองมีพี่น้องประชาชนตั้งบ้านเรือน อาศัยใกล้คลองเปรมประชากร ขณะนี้ก็กำลังมีการสร้างเขื่อนแต่ว่ายังไม่แล้วเสร็จ ก็อยากจะ กระทุ้งในเรื่องของการที่หน่วยงานรัฐไปดูเรื่องของความกว้างของคลองว่าจะเหมาะสม ในการระบายน้ำหรือไม่ ในเขตดอนเมืองก็เป็นหน้าเป็นตานะครับ นักท่องเที่ยวมาใช้ สนามบิน มาพักอาศัยในโรงแรม เจอสภาพน้ำท่วมขัง ปัญหาต่าง ๆ ก็อายเขานะครับ อยากจะให้หน่วยงานท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเร่งรีบในการที่จะแก้ปัญหา เพราะว่าดอนเมือง ก็คือหน้าตาของประเทศ ท่านผู้ว่า กทม. ก็เคยไปติดตามเรื่องสถานการณ์น้ำที่ดอนเมือง อยู่บ่อย ๆ ก็มีการเสนอเรื่องของการลอกท่อระบายน้ำปีละ ๓,๐๐๐ กิโลเมตร ก็เลยอยากจะ สอบถามนะครับว่าการที่เสนอ ๓,๐๐๐ กิโลเมตร ความคืบหน้าดำเนินการถึงไหน แล้วเรื่อง ของการสร้างแก้มลิงเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการรองรับและระบายน้ำ การพัฒนาข้อมูล Digital ในพื้นที่เสี่ยงความปลอดภัย ผมรอติดตามนะครับ เพราะว่าในเขตดอนเมืองการลอกท่อดูยัง ไปไม่ถึงไหนเลย ก็กลัวว่าน้ำจะท่วมบ้านของพี่น้องประชาชน ท่านประธานครับ การสร้าง ระบบระบายน้ำที่ดีมีประสิทธิภาพถือเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้เครือข่าย คู คลอง แม่น้ำ ท่อระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ ประตู ระบายน้ำ อุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทยโดยเร็ว ปัจจุบันนี้ขีดความสามารถในการรองรับการระบายน้ำนี่ก็จะอยู่ที่ฝนตกสะสมรวมไม่เกิน ๗๘ มิลลิเมตร ใน ๑ วันนะครับ ๑ วัน เฉลี่ยตกได้ประมาณ ๓ ชั่วโมง หรือว่าแปลงเป็น ความเข้มของฝนไม่เกิน ๕๘.๗ มิลลิเมตรต่อชั่วโมงนะครับ คน กทม. จะรู้ดีว่าถ้ายิ่งฝนตก ในช่วงที่ชั่วโมงเร่งด่วนทั้งเช้าทั้งเย็นก็มีโอกาสที่จะน้ำท่วมขังได้นะครับ ประเด็นที่ผมอยากจะ เสนอแนะก็คือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ที่ กทม. ก็เป็นความหวังที่จะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ หรือในพื้นที่เขตลุ่มต่ำ พื้นที่ที่มีระบายน้ำที่เป็นพื้นที่ จำกัดซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีการสร้างอุโมงค์ระบายน้ำไปแล้ว จากข้อมูลปี ๒๕๖๕ ก็คือประมาณ ๔ แห่ง รวมระยะทางประมาณเกือบ ๒๐ กิโลเมตร มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำประมาณ ๑๙๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไม่ว่าจะเป็นโครงการผันน้ำคลองเปรมประชากร การก่อสร้าง บึงมักกะสัน หรือว่าอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าว และโครงการ ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อจากลาดพร้าวเพื่อระบายลงในแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นว่าในปี ๒๕๖๖ นี่ก็มีแผนที่จะก่อสร้างอีก ๒ แห่ง ใช้วงเงินกว่า ๒.๖๐,๐๐๐ ล้านบาท ผมก็ติดตามนะครับ หวังว่าโครงการระบายน้ำจากคลองเปรมประชากร จากคลองบางบัว สู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่เดิมกำหนดปี ๒๕๖๙ คลองนี้เป็นอย่างไรครับท่านประธาน จะเป็น อุโมงค์ที่ระบายน้ำจากคลองเปรมประชากร จากคลองบางบัวไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยาก็จะเริ่ม ลอดไปใต้คลองวัดหลักสี่ คลองเปรมประชากร ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ออกไปสู่ แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณคลองซุงใกล้สะพานพระราม ๗ เพื่อป้องกันน้ำท่วม ครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ ๑๐๙ ตารางกิโลเมตร รวม ๕ เขต ทั้งดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางเขน จตุจักร ผมหวังว่าอุโมงค์ที่จะสร้างนี่ก็จะสามารถเร่งรัด เพื่อให้ทันในฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ในขณะนี้นะครับ และในส่วนของมาตรการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนจากน้ำเหนือหนุนซึ่งก็ที่ เพื่อนสมาชิกได้ประสบปัญหา น้ำตรงนั้นจะไม่ระเหยไปไหน ก็ต้องระบายมาสู่คลองต่าง ๆ รวมถึงมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะฉะนั้นผมว่ามาตรการไม่ว่าจะเป็นการเรียงกระสอบทราย การติดเครื่องสูบน้ำการระบายน้ำ สำนักการระบายน้ำของ กทม. ก็คงจะมีแผนที่จะรองรับ แล้วนะครับ แต่ผมก็หวังว่าการขุดคลอง ๑๗ จุด การเสริมผิวจราจรต่าง ๆ ที่อยู่ในแผนนี้ ไม่ทราบว่ามีคลองเปรมประชากรหรือไม่ เพราะว่าผมยังไม่เห็นนะครับ ดังนั้นผมจึงหวังว่าจะ มีการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม กทม. ไม่ว่าจะเป็นเขตไหน และบริหาร จัดการได้ดีและแตกต่างจากยุคที่ผ่านมา ผมจึงอยากให้มีการติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยาและสถานการณ์ฝนตลอด ๒๔ ชั่วโมง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข สถานการณ์แบบเร่งด่วน มี Radar ตรวจวัดสภาพอากาศอย่างติดตามใกล้ชิด ดังนั้นพี่น้อง กทม. ก็จะได้อุ่นใจว่าในช่วงที่ฝนตกหนักแบบนี้อย่างน้อยจะมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมได้ และถ้าหากมันท่วมจริง ๆ ก็อย่าลืมนะครับ ในเรื่องของการเยียวยา เพราะคนจนเมือง ถ้าบ้านยากจนแล้ว ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง แล้วยังต้องออกไปทำงานถ้าเขาไม่สามารถไป ทำงานได้ รายได้เขาก็จะหายไป เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่งสำคัญที่อยากจะเห็นด้วยกับเพื่อน สมาชิก ผมจึงได้อภิปรายสนับสนุนว่าเห็นด้วยกับญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้ตั้งขึ้น และหวังว่า สภาแห่งนี้จะได้รวบรวมข้อเสนอต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้อง ประชาชนต่อไป ขอบพระคุณครับท่านประธาน
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ก่อนอื่นขอชื่นชมสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินที่ท่านจัดทำรายงานฉบับนี้ เรียบเรียงเนื้อหา แล้วก็เรื่องร้องเรียน ผลประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะที่ผมเป็น ผู้ที่ใช้บริการในการร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินบ่อย ๆ นะครับ แต่ละปีท่านก็จะมีการส่ง แบบประเมินปลายปีมาให้ช่วยทำ แล้วก็จะมีหน้ากาก ของที่ระลึกจากชาวบ้าน เจลแอลกอฮอล์อะไรอย่างนี้ครับ ก็เป็นการเข้าถึงประชาชนแบบมีประสิทธิภาพ เป็นการทำงานเชิงรุก ก็มองครบทุกมิติ ได้มีการติดตามผู้ที่ร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับ วันนี้ผมมีเรื่อง ๔ ประเด็น ที่อยากจะชวนท่านประธานมาดูข้อสังเกตสำหรับรายงานประจำปี ๒๕๖๕
เรื่องแรก เป็นเรื่องของสถิติ ในการดำเนินการจัดการเรื่องร้องเรียน ๒ ปีย้อนหลังจะเห็นว่าสัดส่วนการดำเนินงานเสร็จสิ้น ประมาณ ๕๕ เปอร์เซ็นต์ในทั้ง ๒ ปี และอีก ๔๕ เปอร์เซ็นต์จะถูกยกยอดไปดำเนินการในปี ถัดไป ผมมีข้อสงสัยนะครับว่าท่านได้ลำดับความสำคัญในการตรวจสอบและเร่งรัด การร้องเรียนอย่างไร จะเห็นว่ามีเรื่องร้องเรียนเกือบครึ่งหนึ่งถูกยกไปดำเนินการในปีถัดไป ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องระยะเวลา ก็จะเห็นว่าระยะเวลาในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกินกว่า ๖ เดือนขึ้นไป เมื่อรวมกับเรื่องที่ร้องเรียนเกินกว่า ๑ ปี รวมกันมากกว่าร้อยละ ๔๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ เกือบ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นเรื่องร้องเรียนเกือบครึ่งถูกยก ในปีถัดไปมันก็เป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะว่าปัญหาความเดือดร้อนพี่น้อง ประชาชนรอนานแบบนี้ไม่ได้
ข้อสังเกตที่ ๒ คือตัวอย่างของการดำเนินงานรับเรื่องร้องเรียนที่ สตง. ได้ลงในรายงานนะครับ ผมขอยกมา ๔ เรื่อง ต้องขอชื่นชมว่าประเด็นที่ท่านได้ให้ความสำคัญ ส่วนใหญ่ก็ยึดโยงกับชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนโดยตรง โดยเฉพาะเรื่องการจ่าย เบี้ยผู้สูงอายุ ท่านได้เคยมีข้อเสนอแนะให้กระทรวงมหาดไทยปรับแก้หลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ย ผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้าเมื่ออายุครบ ๖๐ ปี ให้ได้รับเงินทันที แต่ว่าตอนนี้มันมี การเปลี่ยนแปลงการจ่ายผู้สูงอายุ เพราะว่า ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐมนตรี ช่วยว่าการในขณะนั้นมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผู้ได้รับเบี้ยยังชีพ เป็นผู้ที่ไม่มีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติที่กฎหมายว่าด้วย ผู้สูงอายุกำหนด อันนี้ผู้ตรวจการจะ Follow หรือจะติดตามในประเด็นแบบนี้อย่างไร หรือว่าอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องของการที่มีการเสนอให้ ครม. ดำเนินการแก้ไข ให้ประชาชนเข้าถึงไฟฟ้าในครัวเรือน ซึ่งผมเห็นข้อมูลแล้วก็ตกใจนะครับว่ามีพี่น้องคนไทย ยังไม่มีไฟฟ้าเกือบ ๕๐,๐๐๐ ครัวเรือน รวมถึงโรงเรียนอีกกว่า ๔๐๐ แห่งทั่วประเทศ จึงอยากฝากผู้ตรวจการว่าจะติดตามเรื่องนี้กับรัฐบาล อยากให้ท่านเสนอในหน้า Website ของสำนักงานเลขว่ารอเรื่องนี้มากี่วันแล้ว อยู่ในขั้นตอนไหน ท่านจะได้สรุปให้พี่น้อง ประชาชนได้เห็น ซึ่ง พ.ร.ป. ก็เขียนชัดในเรื่องของการรายงานต่อพี่น้องประชาชน
อีกตัวอย่าง ก็คือเรื่องของการที่ผู้ตรวจการมารับเรื่องกรณีหน่วยงานรัฐจัดหา วัคซีนที่ประชาชนร้องเรียนที่ผ่านมา เรื่องของวัคซีนต่างๆ ผมก็อยากจะรู้ว่าเรื่องที่ร้องเรียนมานี้ รับมาวันไหน และท่านได้ส่งเรื่องอย่างไร แล้วก็การติดตามจากหน่วยงานนั้นเป็นอย่างไร อยากให้ท่านระบุใส่ไปในรายงานเพื่อจะได้เห็นกรอบระยะเวลาและการให้ความสำคัญของ เรื่องงานและการปฏิบัติของหน่วยงานว่ามันเร่งรัดขนาดไหน อย่างเช่นถ้าลงไปมันจะชัดเจน มากขึ้น
อีกเรื่องที่ผมสะดุดใจมากก็คือเรื่องของมีคนไปร้องท่านว่าคำสั่งของ สตช. ที่ ๓๒๗/๕๗ หลักเกณฑ์เงื่อนไขการพิจารณาคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร ท่านวินิจฉัยว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติและไม่เป็นธรรม ซึ่งขัดกับหลัก ความเสมอภาค ผมก็อยากให้ท่านตามเรื่องดังกล่าวต่อไปด้วย และ Slide นี้เป็นเรื่องของ งบทางการเงินซึ่งทาง สตง. ได้ตรวจสอบว่าท่านมีงบประมาณที่ติดลบ ๔๐ ล้านบาท ผมก็เลย อยากจะถามว่าท่านจะทำอย่างไร เพราะว่างบประมาณส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับบุคลากร เกือบร้อยละ ๗๐ เป็นไปได้หรือไม่ว่าท่านจะทบทวนการใช้จ่ายงบประมาณในหมวดนี้ มีส่วนไหนที่สามารถปรับลดหรือตรวจหาจุดบกพร่องทางวินัยขององค์กรต่อไปได้
ข้อสังเกตสุดท้ายครับท่านประธาน เรื่องของสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ได้มีผู้อภิปรายเรื่องของนโยบายการจัดสรรการผลิตสาธารณูปโภคโดยเฉพาะไฟฟ้า โดยตามรัฐธรรมนูญระบุว่ารัฐจะต้องเป็นผู้ผลิตสาธารณูปโภคเอง ๕๑ เปอร์เซ็นต์ แต่รายงาน ผู้ตรวจการแผ่นดินพบว่ารัฐบาลที่ผ่านมามีตัวเลขการผลิตอยู่ที่ ๓๓ ส่วนที่เหลือซื้อไฟฟ้า จากเอกชน เท่ากับว่ารัฐไม่ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซ้ำยังเป็นสาเหตุที่ผลักภาระ ส่วนต่างสัมปทานต่าง ๆ ไปให้พี่น้องประชาชนจึงอยากฝากให้ท่านตรวจสอบรัฐบาลปัจจุบัน ด้วยว่าจะดำเนินการตรวจสอบเงื่อนไขทั้งในแง่กฎหมาย ในเรื่องของการปฏิบัติในการผลิตไฟฟ้า เพื่อเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน ไม่ใช่นายทุน ผู้ตรวจราชการมีจุดยืนเรื่องนี้อย่างไร และจะติดตามเรื่องนี้อย่างไร ผมเห็นใจในเรื่องของการดำเนินงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน ท่านได้เขียนปัญหาอุปสรรคเอาไว้ โดยเฉพาะเรื่องของการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองเอาไว้ในเรื่องของความไม่ชัดเจนในการตีความ พ.ร.ป. ประกอบ รัฐธรรมนูญ ทั้งเรื่องของการฟ้องคดีรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๔๗ (๒) (๔) หรือว่าเงื่อนไข การฟ้องคดีตามมาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีความชัดเจน มีความซับซ้อนจนทำให้ ผู้ร้องเรียนประชาชนที่ต้องการใช้สิทธิไม่เข้าใจ ไม่เข้าถึงสาระสำคัญและการร้องเรียน อ่านแล้วยาก ขนาดสภาแห่งนี้หรือนักกฎหมายบางท่านก็ยังงงกับลำดับขั้นตอนต่าง ๆ และในส่วนของที่ท่านลงไว้ว่ากรณีที่หน่วยงานรัฐไม่ยอมให้ข้อมูลหรือไม่ยอมชี้แจงข้อเท็จจริง ผมในฐานะผู้แทนราษฎรก็อยากจะเสนอว่าให้ท่านใช้ช่องทางทางกฎหมายในฐานะที่ท่าน เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ใน พ.ร.ป. นี้ มาตรา ๒๙ และเขียนบทกำหนดโทษ เอาไว้ชัดเจนตามมาตรา ๕๕ อยากให้ท่านจัดการหน่อย ลงดาบหน่อย อยากให้หน่วยงาน ของท่านลุกขึ้น นอกจากท่านจะรอรับเรื่องร้องเรียนอยากให้ท่านตั้งเรื่องสำคัญ ๆ ของสังคม อย่างกรณีเรื่องความเท่าเทียมทางเพศข้อบังคับของเนติบัณฑิตยสภาสอดคล้องกันไหม ท่านตั้งเรื่องเสนอปรับปรุงพวกกฎ ระเบียบต่าง ๆ ในกระทรวง ทบวง กรมได้เลย ก็อยากให้ ท่านลองติดตามนะครับ ด้วยเวลาจำกัดก็ฝากท่านประธานเพียงเท่านี้ ขอบพระคุณครับ
เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ก่อนอื่นต้องขอบคุณที่ได้ให้โอกาสสมาชิกได้อภิปราย และขอบคุณ สำนักงานศาลยุติธรรม ท่านผู้ชี้แจงที่ให้เกียรติสภาแห่งนี้มารับฟังความเห็นของตัวแทน พี่น้องประชาชนราษฎรกว่า ๖๐ ล้านคนทั่วประเทศ ท่านประธานครับ ผมขอเริ่มต้นด้วย การตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับงบประมาณประจำปี ๒๕๖๕ ของสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีหน่วยงานในสังกัด ๒๘๗ หน่วยงาน หมายถึงว่าศาลต่าง ๆ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแรงงาน เมื่อเฉลี่ยแล้วจะได้รับงบประมาณอยู่ที่ ๗๐ ล้านบาทต่อศาลโดยเฉลี่ย ซึ่งเดือนหนึ่งก็จะใช้ สักประมาณ ๖ ล้านบาทต่อศาล ทีนี้ในภาพท่านจะเห็นว่าการจัดสรรถูกออกแบบ เป็น ๓ หมวดใหญ่ ๆ คือ เรื่องของบุคลากร เรื่องของการดำเนินงาน บุคลากรประมาณ ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท แล้วก็ในการดำเนินงานประมาณ ๔,๒๐๐ ล้านบาท แล้วก็เป็น ค่าครุภัณฑ์ ๓,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งจะเห็นว่างบประมาณส่วนใหญ่ถูกใช้กว่าร้อยละ ๖๔ ของงบประมาณทั้งหมด ท่านจะเห็นว่าหากดูรายละเอียดของส่วนนี้มันจะมี เรื่องของการจัดหารถประจำตำแหน่งสูงกว่าร้อยละ ๑๐ หรือประมาณ ๑,๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งงบประมาณส่วนดังกล่าวมีรายละเอียดปลีกย่อยคือค่าตอบแทนในการจ่ายรถประจำ ตำแหน่ง น่าจะถูกจัดสรรตามลำดับของตำแหน่งที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการของศาล ยกตัวอย่างเช่น ประธานศาลอุทธรณ์ ท่านอธิบดี ผู้พิพากษาภาค เลขาธิการ และอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นพิพากษาศาลฎีกา จะได้รับสูง อยู่ที่ประมาณ ๔๑,๐๐๐ บาทต่อเดือน ต่อคน ชวนตั้งคำถามว่างบประมาณส่วนนี้เหมาะสมหรือยัง
ข้อต่อมา ผมชวนดูรายรับของสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีเงินเกี่ยวข้องอยู่ ๒ ส่วน ส่วนแรกเป็นการจัดสรรซึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดิน และอีกส่วนหนึ่งมาจาก ค่าธรรมเนียมศาล ค่าปรับผู้ประกัน ๓.๒ พันล้านบาท รวมกันสำนักงานศาลยุติธรรม มีรายได้สูงทีเดียวนะครับ ผมอยากให้ท่านเก็บค่าธรรมเนียมศาลแล้วจากคดีแพ่งต่าง ๆ อบรมเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมให้มี Service Mind กับพี่น้องประชาชนหน่อย คำแนะนำคือ เวลาพี่น้องประชาชนเดินเข้าศาลต้องเคารพยำเกรงศาลถูกต้อง แต่ว่าเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ถ้าบางทีเขาไม่มีทนายหรือเดินไปโต้ง ๆ นี่ครับ อย่าตวาด อย่าตะคอกเลย เขาคือคนที่ จ่ายค่าธรรมเนียมให้พวกท่านมาทำงาน อยากจะให้ท่านบริการประชาชนให้ดีกว่านี้ เข้าใจว่าท่านมีแรงกดดัน เจ้าหน้าที่บุคลากรอาจจะไม่พอ ทั้งหน้าบัลลังก์ก็ยุ่ง ไหนต้อง Scan CIOS ไหนต้อง Scan e-Filing อีก ท่านเพิ่มคนได้ ไม่ติดใจ ท่านเพิ่มคนได้ ถ้าอัตรามันขาด แล้วในส่วนของคนที่มีหน้าที่จะต้องเจอประชาชนนี่เผลอ ๆ ถ้ามี การ Service ที่ดีจากเจ้าหน้าที่ศาลนี่แทบจะไม่ต้องใช้บริการทนายเลยบางคดี เช่น เป็นจำเลยในคดีแพ่งธรรมดา ท่านผู้พิพากษาก็น่ารักทุกคนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอยากจะ ให้ท่านปรับในส่วนนี้นะครับ ถ้าท่านจะอบรมเรื่อง Service Mind หรืออะไรไม่ติดใจ สภาแห่งนี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมีข้อจำกัด แล้วก็ มีค่าใช้จ่ายที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ ส่วนหนึ่งที่เป็นเครื่องมือของศาลยุติธรรม ในขณะนี้ที่ผมอภิปรายสนับสนุนเลย คือการใช้ระบบ CIOS และ e-Filing มีประสิทธิภาพ มากทีเดียว อย่าให้อะไรมาเป็นข้อจำกัด แต่ฝากนิดหนึ่งครับว่าการดำเนินการชั้นอุทธรณ์ ยังไม่สามารถยื่นผ่าน e-Filing ได้ อย่างไรศาลยุติธรรมถ้าสมมุติว่ามีเวลาข้อความเห็น ของเพื่อนสมาชิกก็จะได้เอาไปเสนอในการแก้ปรับระเบียบกันต่อไป หรือถ้าจะต้องแก้ไข ประมวลกฎหมายแพ่งอะไรก็อาจจะต้องมีการปรับแก้กันต่อไปนะครับ
ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้รับเรื่องร้องเรียนนะครับว่า มีประชาชน อยากจะต้องใช้บริการศาลยุติธรรม บางทีเขาก็ไม่มีแรงที่จะต้องไปจ้างทนายในคดีแพ่งก็ดี หรืออะไรอย่างนี้ครับ ผมฝากสิ่งที่ท่านลดได้ก็คือ ค่านำหมาย ค่าหมายศาลนี่ละที่เป็นต้นทุน อย่างหนึ่งเลย หรือแม้กระทั่งการใช้ต้นทุนทางด้านเวลาของผู้ที่เป็นจำเลยในคดีแพ่ง วันเวลา ของวันเสาร์ วันอาทิตย์ ปกติคดีแพ่งจะอยู่วันจันทร์ วันอังคารที่ศาลนัดใช่ไหมครับ เป็นไปได้ไหมครับว่าถ้าจะเปิดโอกาสให้จำเลยมีโอกาสได้มาศาลมากขึ้นและได้รับรู้คดี ของตนมากขึ้น ท่านย้ายคดีพวกนี้ในเมื่อท่านเก็บค่าธรรมเนียมมาแล้วไปใช้เวลาในวันเสาร์ วันอาทิตย์ได้ไหมครับ เพื่อให้พี่น้องที่เป็นจำเลยในคดีแพ่งได้มีโอกาสเข้าถึง เพราะถ้าเขา จะต้องหยุดงาน ๑ วันเพื่อจะไป ยากจนอยู่แล้ว เป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่แล้วก็ต้องเสียเวลา อีก ๑ วัน โดนหักอีก บางทีวันหยุดหมดเวลา ก็ฝากในส่วนนี้เอาไปด้วยนะครับ
ท่านประธานครับ หากจะพิจารณาแล้วก็จะพบว่าที่มาของเงินในส่วนนี้ โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมศาลมีระเบียบการเก็บค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งศาลจะหักไว้ร้อยละ ๕๐ ก่อนนำส่งคลัง ผมอยากจะสอบถามนะครับว่า นอกจากมีรายได้ในการเสริมงบประมาณเป็นไปได้ไหมครับ ผมเข้าใจว่าหน่วยงานศาล ก็ต้องใช้งบประมาณในส่วนนี้ในการดำเนินการเหมือนกัน แต่เป็นไปได้หรือไม่ว่า อัตรามากกว่านี้ส่งคืนคลังแล้วจัดสรรลงมาตามลำดับ เพื่อจะได้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น แต่ว่าถ้าท่านจะมีโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนร้อยละ ๕๐ หรือท่านไม่ส่งเลย เราก็ยินดี แต่การที่ท่านส่งมาเพื่อให้สภาแห่งนี้ผ่านขั้นตอนได้พิจารณาก็จะมีความโปร่งใส และมีความชอบธรรมมากขึ้นในการใช้งบประมาณ ท่านประธานครับ จากการตรวจสอบ ในสัดส่วนของค่าธรรมเนียมศาลที่เรียกเก็บจากพี่น้องประชาชน และสัดส่วนที่ถูกไปใช้จ่าย ในการจัดสรรลดตำแหน่งจะเห็นว่า ๕๑ เปอร์เซ็นต์เอามาจากค่าธรรมเนียมศาลเลย อันนี้ผมก็เลยทำตัวเลขมาให้ท่านดูว่าจะปรับได้หรือไม่ และเมื่อพิจารณาข้อจำกัด ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของพี่น้องประชาชนในการเรียกเก็บค่าประกันตัวสูง ๆ บางทีเขาจ่ายไม่ไหว ก็ต้องไปพึ่งการใช้ประกันอิสรภาพ ผมชวนตั้งคำถามว่าการใช้สิทธิ และเสรีภาพมันควรจะเป็นเรื่องของธุรกิจหรือเปล่า เวลาบุคคลที่ไปประกันท่านยังจะต้อง พิจารณาว่ามีความเกี่ยวข้องเป็นสามี ภรรยา เป็นญาติหรือไม่ แต่ว่าบางคดีที่เรียกค่าประกันสูง เป็นหลักหมื่นขึ้นไป ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ บาท บางทีก็ต้องเสียค่าประกันที่จ่ายเปล่าไปเลย เพื่อประกันอิสรภาพตัวเอง ก็อยากให้สำนักงานศาลยุติธรรมทบทวนอัตราที่ใช้ และควรจะ แบ่งเป็นภูมิภาค เพราะอัตรารายได้ของพี่น้องแต่ละศาลไม่เหมือนกัน เช่น ศาลที่ จังหวัดอุบลราชธานี ศาลต่างจังหวัด ศาลจังหวัดขอนแก่นกับศาลในเมือง ศาลในกรุงเทพมหานครแบบนี้ก็อยากให้ท่านลองพิจารณา และยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องแบกรับ อย่างเช่น ค่าส่งหมายศาล ๕๐๐-๑,๕๐๐ บาท แพงกว่าไปรษณีย์นะครับ เป็นไปได้ไหมที่จะปรับให้เหมาะสมลง กระบวนการการยุติธรรมและสิทธิเสรีภาพ ในการประกันตัวนั้นมีราคาที่ต้องจ่ายนะครับท่านประธาน ผมอยากจะสอบถามเป็นเรื่องที่ สำคัญมาก คือเวลาที่คนไทยได้รับอิสรภาพในการประกันตัวจะสาบานตัวก็ดี หรือใช้หลักประกันก็ดีท่านไม่ได้มีการสั่งใช่ไหมครับว่าห้ามเดินทางไปต่างประเทศ หรือเป็นเฉพาะบางคดี แต่ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเกิดมาเผลอกระทำความผิด อย่างเช่น ล่าสุดเป็นชาวฝรั่งเศสที่เผลอไปวิวาทกับราษฎรชาวไทยแล้วเป็นคดีขึ้นมา สุดท้ายเมื่อคดี ถึงศาลต้องถูกยึด Passport ผมถามว่านี่คือการดำเนินการที่เลือกปฏิบัติทางด้านเชื้อชาติ หรือไม่ นี่ก็คือสิ่งที่ผมรวบรวมมาเพื่อฝากท่านประธานไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรม ไม่รบกวนเวลาสภาแห่งนี้มากจนเกินไป ฝากด้วยนะครับท่านประธาน ขอบพระคุณครับ
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ขอบคุณท่านประธานที่ได้เปิดโอกาสให้อภิปรายในเรื่องญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอเกี่ยวกับ การขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การขนส่งทางบกเพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและประชาชน และป้องกัน การเรียกรับผลประโยชน์ ท่านประธานครับ ในเขตดอนเมืองนี้จะมีถนนสายหนึ่งชื่อว่า ถนนกำแพงเพชร ๖ ถนนเส้นนี้มีระยะทางตั้งแต่เขตหลักสี่จรดจนถึงจังหวัดปทุมธานี เป็นเขตติดต่อกัน และการขยายตัวของชุมชนเมืองไม่ว่าจะเป็นพี่น้องในเขตดอนเมือง มีชุมชนมีหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นจำนวนมาก มีการขนบรรทุกหิน ดิน ทราย เพื่อใช้ ในการก่อสร้างจำนวนมาก ในขณะเดียวกันเขตตรงนั้นก็เป็นพื้นที่ที่มีกองทัพอากาศตั้งอยู่ แล้วก็มีการขนบรรทุกในการใช้รถใช้ถนนที่มีขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน การสัญจรบริเวณ ดังกล่าวแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อถนน ต่อพื้นผิวจราจรเป็นปัญหามากทีเดียวครับ เพราะว่ารถบรรทุกที่บรรทุกเกินย่อมทำให้สภาพถนนนั้นพังไว จากระยะการใช้งาน สัก ๑๕ ปีอาจจะลดเหลือสัก ๕ ปี ๑๐ ปีก็พังแล้ว ไม่ถึงด้วยนะครับ และงบประมาณก็ไม่เพียงพอ ที่จะไปซ่อมแซม และปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นก็คือเรื่องของการกวดขันในเรื่องของ ระยะเวลาที่รถบรรทุกต่าง ๆ ที่ขนส่งนั้นอาจจะมาปะปนกับรถที่สัญจรในช่วงเวลาเร่งด่วน หรือชั่วโมงปกติ เพราะฉะนั้นการกวดขันไม่ว่าจะเป็นทางด้านกฎหมายในเรื่องของระยะเวลา การขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำหนักในการขนส่งย่อมส่งผลกระทบเป็นวงจรกันไป ท่านประธานครับ ทำไมรถขนส่งรถบรรทุกขนาดใหญ่ถึงต้องบรรทุกหลาย ๆ รอบ ผมก็พยายาม มองจากเลนส์ความเป็นผู้ประกอบการ อาจจะเกิดจากปัญหาต้นทุนขนส่งที่ราคาแพง ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างหรือค่าน้ำมันจึงต้องบรรทุกเยอะ ๆ เพื่อให้รอบที่ขนส่งน้อยลง แต่ปัญหา กลายเป็นว่ารัฐต้องมาแบกรับงบประมาณในการซ่อมแซมพื้นถนน ในขณะเดียวกันปัญหานี้ กฎหมายที่มาบังคับใช้ก็อาจจะมีความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการยึดรถ เพราะรถคันหนึ่ง ก็ราคาไม่ใช่น้อย เพราะฉะนั้นการที่รถของผู้ประกอบการจะถูกยึดไปก็ย่อมเป็นปัญหา เพราะฉะนั้นมันมีรายละเอียดปลีกย่อยของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ไม่ว่าจะเป็น ตัวผู้ประกอบการก็ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้ขับก็ดี หรือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาครัฐ การบังคับใช้กฎหมายก็ดี ล้วนแต่มีช่องว่างทั้งสิ้น ผมชวนท่านประธานมาดูในรายงาน ที่ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำมา ผมอยากจะนำเสนอให้พี่น้องได้เห็นว่ามีการสำรวจความคิดเห็น ของนิด้า เป็นเรื่องของการเปิดเผยผลสำรวจส่วย Sticker รถบรรทุก ซึ่งเก็บข้อมูล จากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๗ ผลสำรวจบอกว่าร้อยละ ๘๒.๙๐ เห็นว่าส่วนใหญ่มีการบรรทุกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และสาเหตุที่รถบรรทุกเกินกว่า กำหนดนั้นเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งร้อยละ ๗๓ และเพื่อเพิ่มกำไรในธุรกิจขนส่ง ร้อยละ ๖๓.๑๙ และขนาดน้ำหนักที่กฎหมายกำหนดไม่สะท้อนกับความเป็นจริง ร้อยละ ๒๗.๐๗ เนื่องจากกระแสข่าวในช่วงของส่วย Sticker เพราะฉะนั้นข้อมูลจาก สำนักงานการควบคุมยานพาหนะกรมทางหลวงบอกว่าสถานีตรวจน้ำหนัก ๙๗ สถานี ทั่วประเทศมีการร้องเรียนเรื่องน้ำหนักเกินย้อนหลัง ๓ ปี ๑,๔๗๙ เรื่อง และจับได้ ๔๖๘ คัน คือตัวเลขมันสวนทางกับความรู้สึกจริง ๆ เพราะเมื่อดูจากสภาพท้องถนน นี่ขนาดในดอนเมือง ที่อยู่ทางกรุงเทพฯ เหนือยังขนาดนี้ แล้วทั่วประเทศจะมีผู้ที่ลักลอบผิดกฎหมายขนาดไหน ไปดูในต่างประเทศเขามีการสำรวจศึกษาพฤติกรรมผลกระทบของสินบนที่ผู้ขับขี่รถบรรทุก ต้องจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ในประเทศหนึ่ง ซึ่งมีการนำข้อมูลวิจัยมาพบว่ามีการจ่ายสินบน มากกว่า ๖,๐๐๐ ครั้ง และค่าสินบนคิดเป็นร้อยละ ๑๓ ของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับ การเดินทาง เท่ากับว่าถ้าสามารถศึกษาเรื่องนี้แก้ปัญหาเรื่องนี้ได้จบก็จะทำให้สภาพของ ผู้ประกอบการจะสอดคล้องกับความเป็นจริง ภาครัฐก็ไม่ต้องมาแบกรับในเรื่องของ การซ่อมถนน ซ่อมไปแก้ปัญหาไปไม่จบและกระทบไปถึงพี่น้องประชาชนคนอื่นด้วย ผมจึงอภิปรายวันนี้อยากจะสนับสนุนให้สภาแห่งนี้ช่วยพิจารณากันว่า ตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญชุดนี้เถอะครับ เพื่อศึกษาให้เห็นว่าปัญหาการขนส่งของพี่น้องประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบจะได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น และทำให้ช่วยกันพิจารณาถึงการปรับแก้ กฎระเบียบต่าง ๆ และปกป้องการเรียกรับผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้น หวังว่าเพื่อนสมาชิก แห่งนี้ก็จะได้เห็นความสำคัญของญัตตินี้ที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนราษฎรคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ขอบคุณท่านประธานและท่านผู้ชี้แจงที่ให้เกียรติสภาแห่งนี้นำรายงาน การปฏิบัติงานของ กกต. ประจำปี ๒๕๖๕ เข้าสู่การพิจารณาของสภา ผมได้เห็นในรายงาน เล่มนี้แล้ว ก็รวบรวมสถิติเกี่ยวกับคดี ผมมีเรื่องที่ติดใจอยู่ ๑ เรื่อง ก็คือเรื่องของ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีรายงาน ผมไม่ทราบว่าจำเลยเป็นใคร แต่ว่ามีการฟ้องคดี หมิ่นประมาท ผมก็ไม่แน่ใจว่าถ้าเป็นหน่วยงานรัฐเสียหายถึงขนาดจะต้องไปไล่ฟ้องในคดี หมิ่นประมาทด้วยหรือเปล่า อันนี้ก็อยากจะให้ลองทบทวนนะครับ
ประเด็นถัดมา ปัญหาในการจัดการเลือกตั้ง ปัญหาอุปสรรคที่คณะกรรมการ การเลือกตั้งเจอ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น ทั้ง กทม. ทั้งพัทยา แล้วก็ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ นี่คือความหนักอึ้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปัญหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเนื่องจากช่วงมีการเว้นวรรค ก็ทำให้พนักงานต่าง ๆ ของ กกต. อาจจะขาดความรู้ ขาดการ Update กฎหมาย ทำให้การจัดการเลือกตั้งมีข้อโต้แย้ง ข้อวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในการทำงานถัด ๆ ไปผมก็คิดว่า กกต. ก็ต้อง มีการฝึกอบรมผู้ที่ดำเนินการประจำหน่วยเลือกตั้งให้มีความรู้พร้อมเพรียงกัน
ส่วนที่ ๒ ในเรื่องของการที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นมีส่วน ได้เสียกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง เรื่องนี้ถ้ากรณีมีการร้องเรียน หรือว่ามีการที่จะต้องตรวจสอบ ก็จะเกิดความยากลำบาก เกิดกระบวนการติดขัดในชั้นสอบสวน ก็อยากจะให้ กกต. ลองออกระเบียบหรือวิธีการที่จะแก้ไขปัญหานี้ เพื่อที่จะทำให้การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น โปร่งใสมากยิ่งขึ้น
การตรวจสอบผู้สมัคร คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งของสภาท้องถิ่น ก็จะมีปัญหาเรื่องของการตรวจสอบอย่างล่าช้าทั่วประเทศเลยทีเดียว ซึ่งผมเข้าใจว่า ตามกฎหมายแล้วจะต้องไม่เกิน ๗ วัน นับตั้งแต่ปิดรับสมัคร การวินิจฉัยคุณสมบัติตรงนี้ มีส่วนสำคัญมากทีเดียว แม้กระทั่งการเลือกตั้งทั่วไปก็มีข้อกังขาในเรื่องของการตรวจสอบ จึงอยากให้ กกต. ลองตอบคำถามหน่อยว่าแนวทางต่อไปที่ท่านจะสามารถแก้ไขได้เร็วขึ้น อาจจะต้องพึ่งพาระบบปัญญาประดิษฐ์ต่าง ๆ หรือว่าระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ท่านประธานครับ
ผมจะใช้เวลาสักเล็กน้อยที่จะสะท้อนเป็นกระจกไปถึงคณะกรรมการ การเลือกตั้งในเรื่องของการเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมาว่าปัญหาที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์ ในการจัดการเลือกตั้งผมคิดว่าคงจะไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นปี ๒๕๖๕ หรือปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๓ ทั้งหมดมันจะเป็นปัญหาเดิม ๆ วันนี้ผมรวบรวมได้ข้อมูลมาจาก iLaw
อันดับแรก เรื่องของการเอาจำนวนคนที่ไม่มีสัญชาติไทยมาคำนวณ สส. จนสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญก็ได้วินิจฉัยว่าการคำนวณของ กกต. นั้นไม่ถูกต้อง ทำให้เกิด การต้องคิดคำนวณใหม่และมีการแบ่งเขตใหม่ อันนี้ก็สะท้อนถึงเรื่องของทีมกฎหมาย สะท้อนถึงเรื่องของการคิดวิเคราะห์ของ กกต. หรือไม่
เรื่องที่ ๒ เรื่องของการแบ่งเขต การเลือกตั้งแบบแยกเขต ทำให้ประชาชน สับสน ตรงนี้ก็ต้องใช้ระยะเวลาในการที่จะให้ประชาชนเข้าใจว่าการแบ่งเขตนี้ทำให้ฐานนิยม ในพื้นที่มีการได้เปรียบเสียเปรียบกันอย่างไร และการเริ่มต้นทำพื้นที่ของผู้สมัครหน้าใหม่ ในขณะเดียวกันก็สร้างความสับสนให้กับประชาชน มีการแบ่งแขวงแปลก ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ท่าน กกต. ส่วนใหญ่มันก็เป็นเรื่องของการให้ความรู้กับพี่น้องประชาชน การส่งเสริม การเลือกตั้ง
เรื่องที่ ๓ ก็คือเรื่องของการรายงานคะแนนแบบไม่ Real Time เรื่องนี้ เป็นสิ่งที่น่ากังวลต่อวิธีการรายงานคะแนนการเลือกตั้ง เพราะว่าประชาชนต่างก็อยากจะ สนใจการนับคะแนน แต่ว่าท่านก็ได้อาศัยหน่วยงานภายนอกซึ่งมาร่วมจัด ผมก็เชื่อว่า ในการเลือกตั้งในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่น ในการเลือกตั้งตามภูมิภาค ก็จะได้รับการแก้ไข และ กกต. ก็จะให้ความสำคัญให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วม ในการติดตามตรวจสอบมากขึ้น
เรื่องต่อไปเป็นเรื่องของการใช้บัตรโหล ซึ่งเป็นการผลักภาระให้ประชาชน ต้องจำเบอร์ผู้สมัคร นี่ก็คือเป็นเรื่องของการที่จะออกแบบบัตรเลือกตั้ง ในต่างประเทศ ก็จะมีหน้าของผู้สมัครใช่ไหมครับ มีรายละเอียดที่ชัดเจนในใบ เรื่องนี้ก็ได้รับการวิจารณ์ อย่างกว้างขวาง ผมก็สะท้อนไปว่าอยากจะให้ท่านลองหาแนวทางที่จะพัฒนาอย่างไรก็ได้ ให้มีนวัตกรรมในการเลือกตั้งที่จะทำให้ประชาชนไม่สับสนและเป็นคะแนนที่เป็นจริง และเป็นธรรมมากขึ้น
อันที่ ๕ ก็คือระบบลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าล่มวันสุดท้าย ใน Website กกต. ลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขต ทำให้ประชาชนจำนวนมากที่ตั้งใจลงทะเบียนให้ทัน ตามกำหนดแต่ไม่สามารถเข้า Website ได้ ที่พูดนี่เข้าใจว่าท่านได้มีการแก้ไขแล้ว แต่อยากจะให้ท่านเตรียมพร้อมในการเลือกตั้งทุก ๆ ครั้งและครั้งถัดไปว่าการเลือกตั้งนั้น มีส่วนสำคัญที่พี่น้องจะเข้ามามีส่วนร่วมในอำนาจของพี่น้องประชาชน เป็นอำนาจอธิปไตย สูงสุด จึงอยากให้ท่าน กกต. เตรียมรับมือพวกนี้ และที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากในช่วง ๕-๒๒ เมษายน ที่ผ่านมาว่าจะมีการบินไปดูงานต่างประเทศในช่วงใกล้วันเลือกตั้ง ตรงนี้ ท่านก็ได้ชี้แจงผ่านสื่อมวลชนแล้วนะครับท่านประธาน แต่ว่าสภาแห่งนี้ผมก็ท้วงติงไว้ นิดหนึ่งว่ามันเกิดความไม่สบายใจของผู้สมัครก็ดี ของประชาชนก็ดี ก็ทำให้รู้สึกว่าท่านไม่ได้ สนใจกับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้น ท่านประธานครับ นอกจากเรื่องของรายละเอียด ที่ผมได้กล่าวไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะนำสอบถามท่าน กกต. ก็คือเรื่องของการใช้ Application ตาสับปะรด ผมเป็นคนหนึ่งที่ Download Application ตาสับปะรด ของ กกต. เข้ามา ในส่วนของการลงทะเบียนก็จะมีการยืนยันผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือ ใช่ไหมครับ และมีการแจ้งข้อมูลการทุจริตในการเลือกตั้ง ในการแจ้งนั้นมีการลงทะเบียน เพื่อยืนยัน คำถามผมคือประชาชนที่ไหน ใครกล้าที่จะให้ข้อมูลส่วนตัวในการที่จะแจ้ง กับท่าน แล้วประชาชนก็อาจจะรู้สึกกังวลถึงความปลอดภัยที่เกิดขึ้น ใน Application ตาสับปะรดมีทั้งช่องให้กรอกชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประชาชน ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด รวมถึง File เสียง Clip เสียงที่เป็นพยานหลักฐาน เข้าใจว่าท่านก็พยายามออกแบบ ให้ดีที่สุดที่จะให้เข้าถึงพี่น้องประชาชน แต่สุดท้ายแล้วก็อยากให้ท่านลองช่วยดูว่าจะทำ อย่างไรที่ Application ตัวนี้จะพัฒนาได้มากขึ้น และพี่น้องมีความมั่นใจที่ร้องเรียนไปแล้ว การคุ้มครองพยานหรือการที่จะดูแลผู้ที่ร้องเรียนจะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ฝากไว้ เท่านี้ครับท่านประธาน ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ขอบพระคุณที่ท่านประธานได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายเกี่ยวกับรายงานประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๕ ของศาลปกครอง และขอบคุณท่านผู้ชี้แจงที่ได้ให้เกียรติสภาแห่งนี้ มารับฟังผู้แทนของปวงชนชาวไทยในการเป็นกระจกสะท้อนสำหรับการปฏิบัติงาน จากรายงานที่ท่านได้เสนอต่อสภา ผลการดำเนินงานของศาลปกครองนะครับท่านประธาน เขามีค่าเป้าหมายเป็นเชิงตัววัดเชิงปริมาณ ๑๗,๕๐๐ คดี แต่ว่ามีการพิจารณาคดีที่แล้วเสร็จ ประมาณ ๑๓,๐๗๘ คดี แต่ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพของศาลปกครองจากแผนงานพื้นฐานมีปัญหา ที่สุดคือร้อยละคดีที่บังคับเสร็จแล้ว คือศาลปกครองเขาตั้งเป้าตัวเองไว้ร้อยละ ๘๐ แต่ว่า ผลการปฏิบัติราชการได้จริงแค่ร้อยละ ๕๗.๗๙ ซึ่งเข้าใจว่าคณะผู้ดูแลศาลปกครอง ก็คงเข้าใจในประเด็นที่ผมได้อภิปรายไป แต่ว่าก่อนอื่นขอชื่นชมเรื่องของระบบการฟ้อง Online แล้วก็ระบบการให้คำปรึกษา Online ผมคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ถูกร้อง ผู้ถูกฟ้อง ประหยัดทรัพยากรอย่างมาก และตัวผมเองก็เคยพาพี่น้องประชาชนเดินทางไปฟ้อง ไปร้องเรียนศาลปกครองที่แจ้งวัฒนะก็มีระบบคิว มีระบบการให้บริการที่เป็นระเบียบ แล้วก็ เจ้าหน้าที่ให้บริการดีมากเลย มีห้องให้คำชี้แนะ ซึ่งคิดว่าตรงนี้ควรจะเป็นมาตรฐาน ที่ศาลยุติธรรมอื่น ๆ จะได้นำไปปรับใช้ต่อไปในการให้บริการประชาชน ท่านประธานครับ ปัญหาที่ผมอยากจะสะท้อน จริง ๆ อาจจะเกี่ยวเนื่องกับสภาแห่งนี้ด้วยเรื่องปัญหาของ การออกระเบียบตัวหนึ่ง ผมแคลงใจมากครับ สภาชุดที่ ๒๕ ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ การจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๑๔) พุทธศักราช ๒๕๖๔ ราชกิจจานุเบกษาก็ได้ประกาศระเบียบตัวหนึ่งของคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง หรือว่าตัวย่อ ก็คือ ก.บ.ศป. ตามความหมายนิยามของพระราชบัญญัติจัดตั้งได้ออกว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษ ของข้าราชการศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๔ อาศัยตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พูดให้ประชาชนเข้าใจง่าย ๆ ก็คือว่า ในปี ๒๕๖๔ สภาแห่งนี้ ได้ผ่านกฎหมายฉบับหนึ่ง แก้ไขไม่กี่มาตราครับ แก้ไขในมาตราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเงิน ค่าตอบแทน เพิ่มค่าตอบแทนพิเศษให้กับพนักงาน ข้าราชการ ตุลาการของศาลปกครอง ในคราวนั้นศาสตราจารย์อานนท์ มาเม้า หนึ่งในกรรมาธิการเสียงข้างน้อยได้คัดค้านเรื่องของ การบัญญัติถ้อยคำการคัดค้านไว้ว่า การบัญญัติดังกล่าวไม่ควรร่างเนื้อหาที่กว้างจนเกินไป เนื่องจากว่ารายงานการจัดทำร่างกฎหมายและต้นร่างที่สภามีมติรับหลักการในวาระ ๑ เห็นชอบให้แก้กฎหมายจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแก่บุคลากรศาลปกครอง ๒ กรณีเท่านั้น ก็คือ กรณีพื้นที่เสี่ยงภัยพิเศษ และภารกิจที่ต้องปฏิบัติงานเร่งด่วน หรือเหนื่อยยากกว่าปกติ แต่เนื้อหา เนื้อความที่ได้ผ่านสภาไปไม่ได้มีการนำ ๒ วัตถุประสงค์นี้ไปเป็นเงื่อนไขนะครับ สุดท้ายเราเห็นระเบียบตัวนี้ที่ศาลปกครองได้ออกมาก็คือกฎหมายที่ให้อำนาจในการ ออกระเบียบ ก็จะทำให้เห็นว่าศาลปกครองสามารถไปออกระเบียบจ่ายเงินค่าตอบแทน พิเศษโดยไม่เกี่ยวอันใดกับภารกิจที่เร่งด่วน หรือว่าเหนื่อยยากกว่าปกติ หรือเป็นเพียงแค่ ผ่านการทดลองงานก็ได้รับเงินดังกล่าวแล้ว หรือว่าผ่านการประเมินเงินเดือนตามรอบวง อยู่ในเกณฑ์ดีก็ได้รับแล้ว สรุปการจ่ายเงินเพื่อปฏิบัติงานในงานประจำเป็นกรณีทั่วไป ไม่ใช่เพื่อพื้นที่พิเศษหรือการปฏิบัติงานพิเศษตามที่กรรมาธิการเสียงข้างน้อยได้เคย ตั้งข้อสังเกตไว้ในสมัยนั้น เพราะฉะนั้นเท่าที่ดูผู้ที่คัดค้านเคยตั้งข้อสังเกตไว้ในตอนนั้น ก็จะบอกว่าการบัญญัติกฎหมายจะต้องมีความชัดเจน แล้วก็จะต้องไม่ไกลกว่าคำขอที่ได้พูด ไปกับสภาแห่งนี้ ซึ่งร่างกฎหมายก็ออกมาแบบไม่ตรงไปตรงมาหรอกครับ แต่ว่าก็ไม่ผิดจาก ที่กรรมาธิการได้เคยทักท้วงเอาไว้ สุดท้ายพอไปออกระเบียบแบบนี้คณะกรรมการ บริหารศาลปกครองก็ยิ้มเลยมันออกไปลักษณะที่กว้างจนเกินไป ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เงินค่าตอบแทนพิเศษที่คณะทำงานได้รับไปจะได้อย่างคุ้มค่าสมความตั้งใจที่จะได้ทำ แบบนั้นจริง ๆ ท่านประธานครับ นอกจากเรื่องของระเบียบที่ผมได้กล่าวถึงแล้วผมก็มาดู กระบวนการของศาลปกครอง ซึ่งท่านได้รายงานปัญหาและอุปสรรคของแนวทางแก้ไขเอาไว้ด้วย เพราะว่าท่านก็ทราบดีอยู่ว่าปัญหาสำคัญก็คือการพิจารณาคดีที่ล่าช้าเกินกว่าเป้าหมาย ที่ท่านอยากจะสะสางคดีต่าง ๆ แล้วก็เรื่องของแนวทางว่าจะทำอย่างไรต่อไปนี้คดีที่เข้าสู่ การพิจารณาจะได้มีการพิจารณาที่ไวมากยิ่งขึ้น ผมก็เข้าใจในฐานะที่เป็นนักกฎหมายว่า บางเรื่องก็ต้องรอ ทั้งเรื่องของการเปิดโอกาสให้ผู้ชี้แจงได้แสวงหาพยานหลักฐานใช้ระบบไต่สวนเข้ามา แต่ว่า ในเรื่องของการขีดเส้นระยะเวลาเอาไว้ก็จะเป็นกรอบจำกัดที่ไม่ให้เป็นช่องว่างที่มาก จนเกินไปที่จะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ซึ่งตรงนี้ผมเข้าใจว่า คณะตุลาการน่าจะมีประสบการณ์ในการหาค่าเฉลี่ยที่เหมาะสมในการที่จะหาเอกสาร พยานหลักฐานชี้แจงต่อคณะตุลาการได้ไวมากขึ้น และนำไปสู่การพิจารณาที่สามารถ ลงความเห็นอะไรต่าง ๆ ได้ไวมากขึ้น เพราะฉะนั้นมาตรฐานที่ท่านทำไว้ดีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการให้บริการประชาชนในสำนักงาน แต่ผมเห็นที่กรุงเทพฯ ยังไม่ได้มีโอกาส ไปตามต่างจังหวัด เพราะว่าเข้าใจว่าท่านก็มีที่นั่นด้วย แต่ว่าหวังว่า Model ที่ท่านได้ใช้ ที่กรุงเทพฯ จะไปเป็นมาตรฐานที่จะได้ดูแลประชาชนต่อไป ฝากนะครับว่าอย่าให้กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือว่าอะไรมาเป็นอุปสรรคในการขัดขวางในการพิจารณาคดีแบบ Online ผมคิดว่าเป็นเครื่องมือที่ประหยัดเวลาในการที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมากขึ้นที่บางที พี่น้องประชาชนจะร้องเรื่องสิ่งแวดล้อม การที่จะต้องเดินทางไปยังศาลหรือว่าการรวมตัวกัน ก็จะมีความยากลำบาก ก็ไม่รบกวนสภาแห่งนี้ฝากไว้เพียงเท่านี้ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอ และตัวผมเองได้ยื่นญัตติเพื่อให้สภาแห่งนี้ พิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาปัญหาค่าครองชีพ อยากจะให้ทางทีมสื่อ ได้ขึ้น Slide ที่ผมเตรียมมาจะเห็นภาพชัดเจนไปพร้อมกัน
ท่านประธานครับ ค่าครองชีพแพง ค่าแรงถูก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ รายได้เฉลี่ยของประเทศไทย อยู่ที่ ๑๙,๖๓๘.๑๑ บาท ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ๕๐,๐๐๐ Up ๗๐,๐๐๐ บ้าง ๑๐๐,๐๐๐ บ้าง ซึ่งค่าครองชีพเฉลี่ยเมื่อรวมกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นก็ทำให้เหลือเก็บต่อเดือนน้อยมาก เรียกได้ว่า ติดลบ นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นจริงโดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมืองหลวงในฐานะผู้แทนของ คนกรุงเทพฯ ผู้แทนของคนดอนเมืองก็อยากจะบอกว่าค่าครองชีพมันแพงจริง ๆ ไปดู Slide ที่ ๒ จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่เฉลี่ยในเมืองต่าง ๆ นอกจากกรุงเทพมหานครแล้วนี่ ก็จะสูงสุด ๕ อันดับ ก็จะเห็นว่าที่นนทบุรี ภูเก็ต ปทุมธานี ชลบุรี ก็มีค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนที่สูง ๓๐,๐๐๐ กว่าบาท ที่สำรวจโดยภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ต่ำสุด ๕ อันดับ ก็คือเรียกว่าค่าครองชีพที่อาจจะไม่แพงมากอยู่ที่เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ศรีสะเกษ และสุโขทัย ไปดู Slide ถัดไป ท่านประธานครับค่าครองชีพต่าง ๆ ผมเอาให้ดู สินค้าโภคภัณฑ์ก็จะเห็นว่าอย่างที่ท่านวิทยา ขออภัยที่เอ่ยนามได้บอกว่าราคาตอนที่ยื่นญัตติ ฉบับนี้ก็ได้สูง แต่ว่าตอนนี้ก็ปรับลดลงมาผมก็ได้เปรียบเทียบให้ดูนะครับว่าในช่วงปี ๒๕๖๕ เปรียบเทียบกับปีปัจจุบันอย่างหมูสามชั้นราคาก็ลดลงต่อกิโลกรัม อกไก่ สันในวัว ราคาต่อกิโลกรัมก็ลดลง ส่วนไข่ไก่ราคาก็สูงขึ้นอยู่ แก๊สโซฮอล์ แก๊สหุงต้มก็ยังคงสูงขึ้นอยู่ ทั้งหมดนี้ที่ให้ท่านประธานได้เห็นเพื่อให้เห็นว่าปัจจัยในการดำรงชีพของคนที่อยู่นี่ เมื่อเทียบ กับประเทศอื่น ๆ รายได้กับรายจ่ายมันไม่สัมพันธ์กัน ผมก็เลยยื่นญัตตินี้ขึ้นมาเพื่ออยากจะให้ สภาแห่งนี้ได้พิจารณาแนวทางที่จะหาข้อสรุป ถอดบทเรียนต่าง ๆ เพื่อจะเป็นแนวทาง ให้กับพี่น้องประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาในการลดค่าครองชีพ ในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งจะเป็นสถานการณ์ ที่ทำให้เกิดวิกฤติมากขึ้น เพราะว่าองค์การสหประชาชาติก็คาดการณ์ไว้จนถึงปี ๒๕๙๓ ว่า ทวีป Asia หรือว่าประชากรสูงวัยที่อายุตั้งแต่ ๖๕ ปีขึ้นไปมากที่สุดในโลก โดยประเทศไทย มีสัดส่วนสูงวัยเฉลี่ยต่อประชากรเทียบกับช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ๑๗.๒ เปอร์เซ็นต์เป็นอันดับ ๕ ใน Asia ตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ รองจากเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และมาเก๊า เพราะฉะนั้นเมื่อสังคมผู้สูงวัยมากขึ้น เส้นแบ่งความยากจนของเราที่ตอนนี้อยู่ที่ ๓,๐๐๐ บาท ถ้าหากว่ารัฐบาลมีนโยบายที่จะสามารถทำให้ผู้สูงอายุได้รับเงินเบี้ยบำนาญ หรืออะไรก็แล้วแต่ สุดแท้แต่ที่จะเรียกนี่ ขยับตัวสูงขึ้นก็จะทำให้ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ผู้สูงอายุ ที่ยากจน คนที่เป็นคนจนเมือง ก็สามารถที่มี ค่าเฉลี่ยรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้วก็ความยากจน ก็น้อยลง อย่างน้อยก็ใช้ประคับประคองได้ ท่านประธานครับในเรื่องของการใช้ชีวิต ในกรุงเทพมหานคร ๑ คนเปรียบเทียบแล้วกันในการที่ออกไปทำงาน มีตั้งแต่ค่าเรือ ค่าเดินทาง ค่ารถไฟฟ้า ไปจนถึงที่ทำงานลงมากินข้าวกลางวัน ทานข้าวกล่องต่อมื้อตอนนี้ก็ ๕๐ บาท ตัก ๒ อย่าง ๖๐-๗๐ บาทแล้ว ก๋วยเตี๋ยวชามหนึ่ง ๕๐ บาทขึ้นไปแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นเมื่อเปรียบเทียบแล้วการอยู่ที่มีชีวิตอยู่ในเมืองหลวงนี่ค่อนข้างลำบาก แต่จะทำ อย่างไรถึงจะลดปัจจัยค่าครองชีพของพี่น้องประชาชนได้ อย่างค่าเดินทางถ้าเป็นคนที่อาศัย รถไฟฟ้า ๒๐ บาทแค่ ๒ เส้น แต่สายสีเขียวที่คนใช้เยอะ ๆ ก็ไปไม่ถึง ก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่แพงอยู่ หรือแม้กระทั่งด้านที่อยู่อาศัย ค่าเช่าก็เฉลี่ยอยู่ที่ ๕,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาทแล้ว ในการเช่า ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครหรือจะมีคอนโดมิเนียมดี ๆ ที่เป็นห้องชุด อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ตอนนี้เฉลี่ยต่อตารางเมตรก็ค่อนข้างสูงทีเดียว เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าเขาจะต้องไปอยู่ เมืองที่ออกไปไกลขึ้นก็ต้องไปเสียค่าเดินทางมากขึ้น ทั้งหมดนี้ที่ผมพูดเพื่อให้เห็นภาพ สะท้อนของชีวิตของคนกรุง คนเมือง อย่างคนพี่น้องในเขตดอนเมืองก็มีความยากลำบาก แต่โชคดีหน่อยว่ามีรถไฟฟ้าสายสีแดงก็นั่งรถมา แต่สุดท้ายค่าครองชีพต่าง ๆ ที่แวดล้อมเขา ทั้งหมดก็สูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของประเทศไทยรายได้ขั้นต่ำก็เท่าเดิมมาโดยตลอด ทั้งหมดนี้ ผมถึงเห็นว่าคณะกรรมาธิการซึ่งเรามีอยู่แล้วในคณะหนึ่ง ก็คือเรื่องของการแก้ไขปัญหา หนี้สินน่าจะรับข้อเสนอในการตั้งไปศึกษาเพื่อแก้ปัญหาเป็นรายสินค้าหรือว่าเป็นอะไร Segment ก็ได้ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการที่จะลดค่าครองชีพให้กับผู้สูงอายุ ลดค่าครองชีพ ให้กับคนจนเมือง ลดค่าครองชีพให้กับพี่น้องที่อยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ที่เขาไม่สามารถที่จะดูแลได้ ต้องอาศัยข้อมูลที่ศึกษามาอย่างรอบด้าน และหาทางออกที่ทำให้พี่น้องประชาชนมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น จึงขอสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิก หากเห็นว่าควรจะตั้งหรือจะเห็นว่า ส่งต่อก็สุดแท้แต่ขอที่ประชุมช่วยกันพิจารณา ขอบพระคุณท่านประธานครับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ตอนที่ผมเห็นญัตติ ชื่อญัตติผมตกใจมากเลย ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ปัญหาดูแลเด็ก เยาวชน และความมั่นคงของสถาบันครอบครัว แต่พอมาอ่านหลักการและเหตุผลด้านในแล้วนะครับ กลับเป็นเรื่องของการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระหว่างปี ๒๕๖๓ แล้วผู้เสนอญัตติ บอกว่าการแจ้งข้อกล่าวหาและบังคับคดีแก่ผู้ชุมนุมใช้กฎหมายหลายฉบับส่งผลให้เยาวชน มีประวัติในการถูกดำเนินคดี และกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันครอบครัว เพียงเพราะ ปฏิบัติตามสิทธิเสรีภาพของเยาวชนปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งในกรณีดังกล่าว เกี่ยวข้องกับประโยชน์สำคัญของแผ่นดินที่จำเป็นเร่งด่วนต้องรักษาความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี แล้วก็ความมั่นคงของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ หรือว่าการขจัดเหตุ ที่กระทบกระเทือนต่อเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ก่อนอื่นครับท่านประธาน ผมอยากจะบอกว่าญัตตินี้จริง ๆ แล้วเจตนาก็คงจะหวังว่าจะดูแลเด็ก และเยาวชนที่ไป ร่วมการชุมนุมว่าทำอย่างไรที่จะมีความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี แต่ก็เป็นไปตามที่ เพื่อนสมาชิกคุณรักชนก ศรีนอก ได้อภิปรายไปเมื่อสักครู่นี้ แล้วก็อยากจะให้ท่านผู้เสนอ ญัตติ คุณจุติ ไกรฤกษ์ ซึ่งเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. มาหลายสมัย ตอนที่ท่านเป็น รัฐมนตรีท่านก็คงได้เข้าใจเรื่องนี้กันอย่างดีว่าปัญหาของเด็กและเยาวชนเป็นอย่างไร แต่ที่ ท่านเพื่อนสมาชิกได้อภิปรายถึงสาระสำคัญของเด็กและเยาวชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิ ต่าง ๆ การมีส่วนร่วม การพัฒนา การคุ้มครอง การมีชีวิตรอดซึ่งเป็นสิทธิตามหลักสากลแล้ว ท่านประธานเมื่อพิจารณาถึงหลักเหตุผลเหล่านี้แล้วก็คิดว่ารัฐไทยเป็นหนึ่งในรัฐที่ควบคุม พยายามจะสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาครอบทุกอย่าง พยายามจะสร้างระเบียบแบบแผนขึ้นมา ทุกอย่าง สิ่งต่าง ๆ ที่นอกเหนือไปจากที่ตัวเองเคยเห็น นอกเหนือไปจากที่ตัวเองเคยได้ยิน ได้ฟังก็บอกว่าพวกนี้คือแปลกประหลาดไม่เคยเจอมาก่อน พวกนี้คือผิดขนบธรรมเนียม ผิดประเพณี ท่านประธานครับ นอกจากประเทศไทยแล้วใน Internet ก็มีประเทศอื่น ๆ ในรายงานนี้ที่ทางฝ่ายวิชาการได้ทำมาก็ได้ยกตัวอย่างที่ประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีเหตุการณ์ มีเรื่องของตัวอย่างกรณีการคุ้มครอง กรณีพิเศษ กรณีที่ถ้าเด็กกระทำความผิดเขาก็ให้ ความสำคัญในเรื่องของการคุ้มครองมาตรการของการดูแลมากกว่าลงโทษเอาผิด หรือว่า มีการจ้อง ชี้นำในทางที่ให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ต้องหาเป็นจำเลยของสังคม ท่านประธานครับ ผมอยากจะทบทวนนิดหนึ่งว่ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมืองกระบวนการยุติธรรมของเด็กและเยาวชนเขามีมาตรฐานไว้ชัดเจนว่า ทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ผมคงไม่ลงรายละเอียดครับ แต่อยากให้เพื่อนสมาชิกแห่งนี้ ได้ยึดถือด้วยกันว่าอนุสิทธิสัญญาเด็กอะไรก็ดี การลิดรอนสิทธิเด็กด้วยกระบวนการ ทางกฎหมายต้องเป็นมาตรการสุดท้ายที่รัฐจะนำมาใช้ นั่นหมายความว่าจะต้องใช้ กระบวนการทางสังคมในการดูแล ในการสร้างความเข้าใจในทุกมิติของสังคมก่อน สื่อมวลชนก็ดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาแห่งนี้ก็ดี ก็ต้องช่วยกันธำรงสังคมในลักษณะ ของการพลวัตเปลี่ยนไปตามสากลโลก ไม่ใช่ว่าท่านเคยเป็นมาแบบนี้จะต้องกระทำ การแบบเดิม แบบนี้ก็จะทำให้สังคมเกิดการวิพากษ์วิจารณ์และเกิดการไม่รู้เท่าทัน ท่านประธานครับ อย่าว่าแต่เด็กและเยาวชนเลยครับ ผู้สูงอายุสมัยนี้ก็ไม่รู้เท่าทันสื่อ เป็นหัวข้อของวารสารและการวิจัยเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน เรื่องของ Media Literacy หรือการรู้เท่าทันสื่อ ผมคงไม่ลงรายละเอียดครับ แต่ผมอยากจะบอกว่ามันเป็นเรื่องของการที่ผู้ใหญ่ที่ยังขาด ความรู้ ความระมัดระวังในเรื่องของการเท่าทันสื่อ แต่เด็กสมัยนี้อยู่กับสื่อ อยู่กับเทคโนโลยี ผมเข้าใจว่าเด็กและเยาวชนนั้นมีความรู้เท่าทันสื่อต่อข้อมูลข่าวสารและกระแสท่วมท้นตาม พลวัตของข้อมูลมากกว่าผู้ใหญ่เสียด้วยซ้ำ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใหญ่จะต้องทำความเข้าใจกับเด็ก ก็คือปรับตัวตามพลวัต ตามกระแสสังคมของสากลโลกที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับ เพราะฉะนั้นวันนี้ผมก็คิดว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาการดูแลเด็ก เยาวชน และครอบครัวก็เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลแล้วส่งให้ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญ ในการพิจารณาดูแลแก้ไขปัญหา แต่ผมก็ติดใจเหมือนที่บอกครับว่าถ้าจะศึกษาเรื่องนี้แล้วไป จำเพาะเจาะจงว่าเด็กคือปัญหา ผมคิดว่าอันนี้เป็นโจทย์ที่ผิด แต่ถ้าบอกว่าการศึกษาเรื่องนี้ แล้วนำไปสู่ Solution แนวทางออกใหม่ ๆ สำหรับประเทศนี้ สำหรับการเปิดพื้นที่ให้เด็ก และเยาวชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองแบบนี้คือสิ่งที่น่าสนใจ และเป็นประตูบานแรกที่จะ เปิดให้ใช้เวทีสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ในการรับฟังปัญหาของเด็กและเยาวชนที่มีข้อคิดเห็นต่อ ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมต่อไป ก็ฝากท่านประธานไว้เพียงเท่านี้ ขอบพระคุณครับ
ท่านประธานครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ในหมวด ๘ ตามข้อบังคับ บททั่วไป ในข้อ ๑๕๐ การประชุมครั้งหนึ่ง ๆ สามารถถามกระทู้ได้ ๓ ครั้ง ในเมื่อท่านนายกรัฐมนตรีอุตส่าห์เสด็จ อุตส่าห์มาแล้วนะครับ อยากจะให้ท่านนายกรัฐมนตรีช่วยตอบคำถามกับเพื่อนสมาชิก ท่านหัวหน้าพรรคก้าวไกล ไหน ๆ เป็นสมัยประชุมครั้งสุดท้าย แล้วก็ไม่ได้ผิดระเบียบ ท่านหัวหน้าพรรคชัยธวัชบอกว่า ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว แต่วันนี้ผู้ที่เกี่ยวข้อง คือนายกรัฐมนตรีมาแล้ว ท่านอย่าหันหลังให้กับสภาแห่งนี้เลยครับ ให้โอกาสที่จะได้ถามนะครับ ท่านประธาน ขอให้ท่านวินิจฉัยครับ
ท่านประธานครับ เข้าใจว่า ญัตติที่ท่านประธานได้พูดไปเมื่อสักครู่นี้เป็นญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้ถอนแล้วนะครับ แต่ว่า เป็นญัตติอีกอันหนึ่งที่ทางสมาชิกผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกลได้ยื่นจะเป็นในทำนองเดียวกัน ขอทางเจ้าหน้าที่ช่วยส่งเอกสารให้ท่านประธานได้ดูด้วยครับ
ของคุณกันต์พงษ์ครับ
ใช่ครับ
ท่านประธานครับ ขออนุญาตครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ขออนุญาต หารือท่านประธานสักครู่ไม่รบกวนเวลาสภามาก ดูจากลำดับรายชื่อแล้วอยากจะขอ ความเมตตาท่านประธานช่วยพิจารณาว่าลำดับการเรียกถ้าจะเป็น ๑ ต่อ ๓ จะเหมาะสมไหม เนื่องจากว่าฟากฝั่งรัฐบาลได้ลงชื่อน้อยกว่าเยอะมาก ขอบพระคุณท่านประธานครับ
ขอบคุณท่านประธานครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมอภิปราย เพื่อสนับสนุนญัตติเพื่อนสมาชิกที่ได้เสนอขึ้นมา เรื่องการพิจารณาสถานบันเทิง แบบครบวงจร หลายท่านเพื่อนสมาชิกก็พูดถึงเรื่องการพนันในหลากหลายรูปแบบไปแล้ว แต่ว่าผมจะขอพูดถึงการพนันชนิดหนึ่งก็คือการพนันพื้นบ้านที่คนดอนเมืองเขานิยมเลี้ยงกัน นั่นก็คือไก่ชน ปัญหาระหว่างที่ผมการลงพื้นที่ในการพูดคุยกับพี่น้องคนดอนเมือง ที่เขาเลี้ยงไก่ก็ทราบมาว่าราคามีตั้งแต่หลักร้อยจนหลักล้าน ไก่ที่มีศักยภาพในการที่ไปชน แต่ว่าเรื่องนี้ยังถูกมองในมิติด้านของกรอบจริยธรรมต่าง ๆ อยู่ รวมถึงกฎ ระเบียบของ ประเทศไทยด้วย ระเบียบของการควบคุมการพนันโดยเฉพาะการพนันพื้นบ้าน มีเรื่องของ การใช้อำนาจผูกขาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกรณีการขอใบอนุญาตเปิดบ่อนหรือใบอนุญาตการเล่นการพนัน ตามพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช ๒๕๔๘ มาตรา ๔ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๗ ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งหัวหน้า คสช. และกรณีของการเปิดบ่อนก็ยังมี กฎกระทรวงย่อย ๆ ออกมาอีกมากมาย หนังสือกระทรวงมหาดไทย ข้อจำกัดและเงื่อนไข ใบอนุญาต รวมถึงโทรสารในราชการกระทรวงมหาดไทยที่แจ้งกำกับเรื่องของการตรวจ โรคไก่ต่าง ๆ ยิบย่อยเต็มไปหมด นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของการใช้ดุลยพินิจครับ การใช้ดุลยพินิจในการให้ใบอนุญาตย่อมเกี่ยวข้องกับวิถีของผู้ที่เล่นในเรื่องของการชนไก่ ท่านประธานครับ ที่ผมพูดแบบนี้เพราะอยากจะบอกว่าในการศึกษาผลการพิจารณาของสภา ที่ผ่านมาใช้เงินภาษีอากรสภาชุดที่ ๒๕ แล้วเพื่อนสมาชิกก็ได้พูดไปแล้วว่ามีข้อเสนอแนะ และรายละเอียดต่าง ๆ ค่อนข้างครบถ้วน แต่ผมอภิปรายนี้ว่าที่ สส. จรยุทธได้เสนอญัตติ ขึ้นมามีเรื่องของการพนันพื้นบ้านด้วย ผมจึงอยากจะให้คณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะได้ตั้งขึ้น ศึกษาเรื่องของการพนันพื้นบ้าน เพราะมันคือวิถีของคนไทย ไม่ใช่เฉพาะที่ดอนเมืองหรอกครับ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ผมเชื่อว่ามีการตีไก่กันหมด ก่อนหน้านี้ผมก็ไปดูว่าผู้มีอำนาจ ในรัฐบาลเก่า ๆ ก็เคยพูดถึงเรื่องของการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะมิติในเรื่องของ การที่อยากจะสนับสนุนไก่ ด้วยเหตุผลที่ว่าอย่างในประเทศออสเตรเลียเขาก็จะมีการแข่งขันม้า หรือว่าที่สเปนก็จะมีวัวกระทิงที่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพี่น้องเกษตรกรนะครับ บ้านเรา อย่างที่ผมได้บอกไปว่าก็มีไก่ชน ผมจึงเห็นว่าแบบนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญก็สามารถบูรณาการ กฎ ระเบียบกระทรวงต่าง ๆ และจากความยิบย่อยให้ย่อยและสามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้จริง อย่าขอเพียงแค่ว่าการตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้เพียงแค่ศึกษาแล้ววางบนหิ้งเฉย ๆ แต่ศึกษาแล้ว ต่อยอดจากเล่มเดิมแล้วให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและพร้อมใช้งานที่จะสามารถเปลี่ยนแปลง สังคมนี้ได้จริง ๆ ผมหวังว่าถ้าศึกษาแล้วและสามารถนำเอาไปใช้นี่คือความคุ้มค่าที่จะเกิดขึ้น ผมจึงฝากเอาไว้ว่าผู้ใดก็ตาม ท่านกรรมาธิการที่จะได้ศึกษาเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้อย่าลืมพิจารณา เรื่องของการแก้ไขกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับไก่ชน ที่เกี่ยวข้องกับการพนันพื้นบ้านไปด้วย ขอบพระคุณครับท่านประธาน
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ผมลุกขึ้นอภิปรายวันนี้เพื่อจะสนับสนุนญัตติของคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ในเรื่องของการเสนอร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ท่านประธานครับ ที่คุณพริษฐ์เสนอในการแก้นี้จะทำให้สภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ฉับไวขึ้น ทุกท่านก็เห็นนะครับว่าญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอก็ดี ร่างกฎหมายก็ดี มันช้าเหมือน เต่าคลานนะครับ คืออายุเรายังไปไวกว่าญัตติที่จะเข้าที่ประชุมเลยครับ เผลอ ๆ ครบรอบปี ก่อนด้วยซ้ำญัตติยังไม่เข้าเลย เพราะฉะนั้นการที่จะแก้ให้ร่างกฎหมาย ไม่เฉพาะ สส. แต่ร่าง ของภาคประชาชนที่รวมเสนอกันมาด้วยความยากลำบากได้เข้าสู่การพิจารณาแห่งนี้ น่าจะ เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน และสะท้อนว่าสภาแห่งนี้มีประสิทธิภาพ ท่านประธานครับ การสร้างอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรมันมี ๒ ความหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอำนาจในเชิง ของสมรรถนะ เรื่องของการบริหารขีดความสามารถ ซึ่งท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต่าง ๆ ก็ต้องมีกลไกในการบริหาร ซึ่งอีกด้านหนึ่งก็คือเรื่องของมิติเชิงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ นิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร ท่านประธานครับ ผมขอสั้น ๆ นิดเดียวว่าที่ผมคิดว่าหลักการของ ร่างข้อบังคับแห่งนี้ที่ประชุมควรจะเห็นชอบด้วยกัน เนื่องจากว่ามันจะเป็นกลไก เป็นเครื่องมือ ที่จะทำให้สภาแห่งนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันมันก็เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ สภาแห่งนี้สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ดีมากยิ่งขึ้นด้วย สภาในขณะนี้มันมี ความหมายไหมครับ เวลาที่ สส. ยื่นญัตติลงไปถามใจตัวเองทุกท่านดูครับ ยื่นกระทู้ใด ๆ ไป ได้รับการตอบรับไหม มีกระทู้ที่ผมตั้งไปตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปัจจุบันยังไม่ตอบลงใน ราชกิจจานุเบกษาเลยครับ หรือแม้กระทั่งกระทู้ที่เพื่อนสมาชิกตั้งแล้วตอบกันไม่ทัน สุดท้าย ก็สูญเปล่าทางด้านเวลา เสียทั้งงบประมาณ เสียทั้งเวลา เพราะฉะนั้นเราก็อยากให้สภาแห่งนี้ มีความหมายในสายตาของพี่น้องประชาชน ก็จะสะท้อนว่าสภาชุดที่ ๒๖ เราได้สร้างการ เปลี่ยนแปลง ท่านประธานครับ นอกจากนี้ผมไปดูในงานของ UNDP ซึ่งเขาก็ได้เขียน เรื่องของประสิทธิภาพของสภาผู้แทนราษฎรเอาไว้บอกว่า ภายใต้ระบบที่การปกครองที่มี รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติที่ไร้ประสิทธิภาพ ผู้ที่มีแนวคิดประชาธิปไตยพึงจัดให้มีการ ปฏิรูปรัฐธรรมนูญเพื่อให้รัฐสภามีประสิทธิภาพเสียให้จงได้เป็นอันดับแรก นั่นคือสิ่งแรก แต่ในขณะนี้กลไกที่เราจะไปแก้รัฐธรรมนูญต่าง ๆ ก็ติดขัดไปหมด ด้วยกลไกต่าง ๆ ที่ท่าน สภาและเพื่อนสมาชิกได้เจออยู่ในขณะนี้ เราควรมีมติเห็นด้วยกันครับว่าเราควรจะให้ ข้ออุปสรรคทางด้านกฎหมาย ร่างข้อบังคับต่าง ๆ เดินหน้าไปได้ เหมือนที่ผมได้พูดไปแล้ว สร้างความหมายฉับไวและจะทำให้สภาแห่งนี้เข้มแข็งขึ้น ท่านประธานครับ เราอยากเป็นแค่ ตรายางไหมครับ อยากให้สภาแห่งนี้เป็นแค่ตรายางไหมครับ เราจะดูการพิจารณากฎหมาย เพื่อนสมาชิกหลายคนก็อภิปรายไปแล้วนะครับว่ากฎหมายสักฉบับที่จะผ่านสภาแห่งนี้ ในสมัยประชุมที่แล้วไม่มีเลยสักฉบับ และที่ต่อเข้ามาก็จะเป็นกฎหมายเฉพาะของ ครม. หรือไม่ก็ไม่รู้ที่จะถูกพิจารณาผ่านสภาแห่งนี้ เพราะฉะนั้นเพื่อจะให้กฎหมายที่เราได้ทำหน้าที่ นิติบัญญัติอย่างแท้จริงควรจะเปิดโอกาส เปิดพื้นที่ให้มีการแก้ไข ปรับปรุงเครื่องไม้เครื่องมือ อันเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้กฎหมายผ่านได้ ใช้กฎหมายรวดเร็วขึ้น มีเครื่องไม้เครื่องมือ ที่จะทำให้พี่น้องประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐสภา ของสภาผู้แทนราษฎร แห่งนี้ได้ มันไม่ใช่เรื่องที่ยากลำบากเลยนะครับ เป็นเรื่องที่ง่ายด้วย แล้วผมเข้าใจว่า ท่านประธานก็อยากมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ตรงตามนโยบายที่แต่ละท่านได้แถลงเอาไว้ ท่านประธานครับ ร่างข้อบังคับของคุณพริษฐ์ฉบับนี้ผมเชื่อว่าเป็นร่างที่ก้าวหน้าและ ทันสมัยมาก และเป็นร่างที่ไม่เคยมีใครร่างมาก่อน แต่อาจจะมีร่างที่อาจจะเสนอมาประกบเพื่อที่จะให้ บางข้อเสนอที่สามารถผลักดันร่วมกันได้จากข้อเสนอ ๑๐ กว่าข้อผ่านไปได้สัก ๕-๖ เรื่อง ก็ถือว่ามีความก้าวหน้าแล้ว เพราะฉะนั้นในฐานะที่เป็นผู้แทนราษฎรคนหนึ่งที่มาทำหน้าที่ ตรงนี้ก็อยากจะได้ทำหน้าที่ทั้งเรื่องของการตั้งกระทู้ ที่มีคนตอบแบบจริงใจ ไม่ใช่มา ตั้งคำถามไปแล้ว กระทู้ไปแล้ว ไม่มีคนตอบ หรือเรื่องของความโปร่งใส เรื่องของระยะเวลา รวดเร็วที่จะยื่นกฎหมายแล้วได้รับการพิจารณา และร่างกฎหมายไม่ถูกดองแล้วถูกทิ้งไป ก็ขอใช้เวลาสั้น ๆ เพียงเท่านี้ ขอบคุณท่านประธานครับ
ท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมขอหารือท่านประธานในประเด็นความเดือดร้อนของพี่น้อง คนดอนเมืองประเด็นดังต่อไปนี้ครับ
เรื่องแรก ที่หมู่บ้านพิพรพงษ์ ๑ ทางเข้าหมู่บ้านปากซอยวิภาวดี ๔๑ ป้ายหายไปทำให้เวลาพี่น้องสัญจรเกิดความสับสนขับเลยซอยบ้างนะครับกลางคืนก็มอง ไม่เห็น แล้วก็ทางกลับรถก็ไกล ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลด้วยนะครับ
ประเด็นที่ ๒ วันที่ ๑๕ มกราคม ที่ผ่านมา ขสมก. เพิ่งมีการประกาศ เปลี่ยนเลขสายรถโดยสารประจำทาง ๓๖ สาย ซึ่งทำให้เกิดความสับสนในเลขโดยสาร แล้วก็สับสนในเส้นทางเดินรถแทนที่ ขสมก. จะใช้เลขที่จำง่าย แต่ว่าเจอ Font ที่เล็ก แล้วก็บางอ่านยากอีกนะครับ ก็ฝาก ขสมก. ดูแลเรื่องนี้ด้วยนะครับ นอกจากนี้ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ปีที่แล้วมีการหยุดเดินรถชั่วคราวของรถเมล์สายสีฟ้า BLK เนื่องจากช่างเขา ประท้วงทำให้มีรถวิ่งน้อย นอกจากนี้ GPS ของ ขสมก. ที่เชื่อมกับระบบก็ใช้งานไม่ได้มา ๑๐ กว่าวันแล้ว ฝากท่านประธานไปถึง ขสมก. แล้วก็กรมขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ดูแลเรื่องดังกล่าวด้วยนะครับ
ในประเด็นถัดมา ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องชุมชนศรีดอนเมืองครับ ตอนนี้เขาเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากทางเข้าออกจากเดิมที่กว้างตอนนี้มีสภาพที่แคบ แล้วก็ขรุขระทำให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการยากลำบากมากยิ่งขึ้น ก็ฝากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลให้กับพี่น้องประชาชนด้วย
เรื่องสุดท้ายครับท่านประธาน ฝากไปถึงกระทรวงยุติธรรมระบบ CIOS ของสำนักงานศาลยุติธรรมในการขอพิจารณาคดี Online หรือคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ตอนนี้ มีการปิดระบบ ฝากกระทรวงยุติธรรมประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกความยุติธรรม ให้สอดรับกับยุคสมัย แล้วก็นโยบายในการอำนวยความยุติธรรมต้องสะดวกรวดเร็ว และทันสมัย ขอบพระคุณครับท่านประธาน
เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธาน ที่ผมต้องลุกอภิปรายในญัตตินี้เนื่องจากว่าพี่น้องประชาชนในเขตดอนเมือง ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาของสายไฟที่ถูกลักขโมยโดยโจรซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนปัจจุบันนี้ ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ ทางสัญจรของพี่น้องประชาชนก็มืด ท่านประธานครับปัญหา นี้เกิดเรื้อรังมาไม่ใช่แค่เพิ่งเกิด แต่ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นขบวนการ ดังนั้นใน ฐานะที่เป็นผู้แทนของพี่น้องประชาชนอยากจะเสนอมาตรการที่จะทำให้หน่วยงานรัฐ มีมาตรการในการป้องกัน
ประเด็นที่ ๒ นอกจากจะเรื่องของการป้องกันแบบเป็นระบบแล้วนั่นก็คือ เรื่องของการซ่อมไฟถนนกำแพงเพชร ๖ ซึ่งมีการกระทำมากกว่า ๒๐ ครั้ง แล้วถนนก็มืด แบบที่ท่านประธานเห็น ท่านประธานครับ ในเสาไฟ ๑ ต้นมีอะไรบ้าง เห็นไหมครับ มีโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นทองแดง ทองแดงที่ปอกแล้ว โจรที่ลักขโมยสายไฟก็จะนำสายไฟ ไปเผาเพื่อเอาทองแดงมาแล้วก็นำไปขายนะครับ สัดส่วนในสายไฟ ๑ เส้นมีมูลค่ามากทีเดียว นี่คือมูลค่ารับซื้อต่อกิโลกรัม ก็จะเห็นว่าแนวทางของการแก้ปัญหาในปัจจุบัน
๑. ก็คือเรื่องของตำรวจที่ดูแลในพื้นที่ในการดำเนินการกระทำผิด แต่ว่า มันเป็นแนวของการปราบปราม ซึ่งการป้องกันจะต้องมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็น จุดที่ใช้ในการตัดสายไฟจะต้องมีวิธีการที่รัดกุมมากกว่านี้
๒. ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนในการช่วยกัน ร่วมกันเป็นหูเป็นตา ในการแจ้งเบาะแส ทั้งรณรงค์เรื่องของโทษการกระทำความผิดซึ่งเป็นความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฐานลักทรัพย์ หรือว่าการลักทรัพย์ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สาธารณะ หรือว่าผู้ที่ซื้อ รับซื้อสายไฟหรือว่าผู้ที่รับซื้อสายไฟ ทองแดงต่าง ๆ นี้ก็ผิดในฐานะ ที่เป็นผู้รับของโจรมีโทษทางอาญา ท่านประธานจะเห็นว่ามูลค่าความเสียหายของการตัดสายไฟมันไม่ได้มีที่ประเทศไทยนะครับ มีที่อเมริกา ที่อินเดีย แอฟริกาใต้ บราซิล ต่างมีมูลค่าความเสียหายที่เกิดเรื่องของการตัด สายไฟนี้ด้วย
การจัดการปัญหา CCTV จะร่วมกันวิเคราะห์ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว ครอบคลุมเป็นวงกว้าง แล้วก็มีระบบแจ้งเตือนที่จะสามารถทำให้เจ้าหน้าที่รับรู้ได้ว่าเกิด การตัดหรือลักขโมยสายไฟ แล้วก็เป็นหลักฐานที่สำคัญที่สามารถทำให้ตำรวจเอาผิดได้ เพราะพฤติกรรมบางพฤติกรรมสามารถติดตามได้ง่ายเพราะว่าเป็นกลุ่มที่ทำซ้ำ เรื่องของการ เคลือบสายไฟ ไม่ว่าจะเป็นการรับซื้อ การขโมยต้องระบุที่มาของสายไฟให้ได้ จะต้องหา วิธีการเพื่อจะได้เห็นตรวจสอบได้ว่าที่มาของสายไฟนั้นมาอย่างไร แล้วก็การแก้ปัญหาที่ดี ที่สุดเลยคือสายไฟทั้งหมดถ้าอยู่ใต้ดินก็จะมีจุดที่ทำให้คนที่ทุจริตจะไปตัดสายไฟมีจุดที่จะ ลักลอบตัดได้น้อยลง
สายไฟลงดินดีอย่างไรครับท่านประธาน ๑. ก็คือระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มั่นคง ลดปัญหาไฟดับจากภัยธรรมชาติและอุบัติเหตุ ๒. ก็คือสามารถที่จะรองรับไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ๓. ก็จะทำให้ทัศนียภาพสวยงาม แต่อาจจะลงทุนเยอะ แต่การลงทุนก็มีความคุ้มค่า ทำให้ ทัศนียภาพสวยงาม มีความปลอดภัย แล้วก็จะสามารถจัดการปัญหาได้อย่างชัดเจน แล้วก็ ไม่มีสายไฟห้อยระโยงระยางให้โจรขโมยลักไป ดังนั้นผมก็ฝากไปยังผู้ที่เสนอญัตติหรือ กรรมาธิการ เรามีแนวทางตัวอย่างแนวทางการพิจารณาสายไฟลงดิน ไม่ว่าจะเป็นที่ ต่างประเทศ ที่สหรัฐอเมริกาพิจารณาถึงความแน่นหนาของประชากร ดูเรื่องของความ น่าจะเป็นของแผ่นดินไหว สามารถที่เอามาเป็นแนวทางที่จะนำไฟฟ้าลงดิน นี่คือข้อเสนอ ที่ผมได้มีนะครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ วันนี้ผมขอบคุณที่ได้เปิดโอกาสให้อภิปรายรายงานของ กสทช. หลังจากเลื่อน เป็นโรคเลื่อน ไม่เข้ามาหลายสัปดาห์ ก็ขอบพระคุณที่ท่านได้ให้โอกาส ให้เกียรติสภาแห่งนี้
ก่อนอื่นผมชวนท่านดู Slide อันแรกก่อนเลย เป็นเรื่องของการจัดระเบียบสายสื่อสาร ซึ่งได้รับการร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง จากประชาชนในเขตดอนเมืองที่ผมเป็นผู้แทนราษฎร หรือว่าตามสื่อต่าง ๆ ที่เพื่อนสมาชิก ที่เป็นผู้แทนราษฎรของเขตต่าง ๆ ย่อมทราบดีว่ามันมีปัญหามากมายทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการรกรุงรัง สายสื่อสารเมื่อเปรียบเทียบผลงานการจัดระเบียบและแผนการตั้ง งบประมาณในการดำเนินงานร่วมกับ กฟผ. และ กฟน. สำเร็จตามแผนเพียงร้อยละ ๑๓ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เงินเดือนท่านคนละเท่าไรครับ ซึ่งปริมาณน้อยมาก แสดงถึงศักยภาพ ในการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามแผน ถ้าเป็นการดำเนินงานของบริษัทเอกชน ก็ต้องมี การทบทวนการจ้างหรือเลิกจ้างไปแล้ว
ในส่วนของการจัดระเบียบสายสื่อสารลงดินร่วมกับ กฟผ. และ กฟน. เช่นกัน ก็พบว่าระยะทางที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปี ๒๕๖๕ ตามรายงานที่ท่านเขียนมาอยู่ที่ ๓๕ กิโลเมตรโดยประมาณ เป็นตัวเลขที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับระยะทางสายสื่อสาร ทั้งหมดในประเทศไทย แล้วแบบนี้คำถามคือเมื่อไรเราจะเห็นการจัดระเบียบสายสื่อสาร ที่ไม่รบกวนสายตา ไม่รบกวนทัศนียภาพ และไม่เสี่ยงต่อความปลอดภัยการเดินทาง ของพี่น้องประชาชน รวมถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่เป็นระเบียบเหล่านี้ จึงอยาก เน้นย้ำกลับไปที่ กสทช. ว่าที่มีการตั้งงบประมาณในการจัดระเบียบสายสื่อสาร ขอให้ ดำเนินการตามแผนงบประมาณที่เป็นภาษีของพี่น้องประชาชน จะได้เกิดความคุ้มค่าและมี ประสิทธิภาพมากกว่านี้
ในกรณีเรื่องของการจัดสรรงบประมาณการวางแผนค่าใช้จ่ายของ กสทช. ผมอยากเรียนท่านประธานว่าขั้นตอนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของ กสทช. เขาประหลาดมาก เขาไปออกระเบียบคณะกรรมการ กสทช. ให้อำนาจของกรรมการ อีกคณะหนึ่งในการจัดทำงบประมาณรายจ่าย จะต้องไปขออนุมัติจากคณะกรรมการดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ความเห็น อันนี้แกล้งขัดขาตัวเองหรือว่าขัดขากันเองครับ ประธานหรือคนของใครเขาก็พูดกันทั่ว หรือว่ากรรมการที่ไปนั่งอยู่เป็นตัวแทนของเอกชน รายไหนหรือเปล่า ผมไม่กล้านะครับ แต่ประชาชนเขาเคลือบแคลงใจ เพราะตลอดเวลา ที่ผ่านมาไม่ค่อยรักษาผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชน นั่นหมายถึงว่า กสทช. เวลาจะ วางแผนอะไร ขอความเห็นก็ต้องรายงานไปยังคณะกรรมการดังกล่าวก่อน ก่อนที่จะได้อนุมัติ ใช้เงิน แล้วแบบนี้จะเป็นองค์กรอิสระไปทำไมครับ แล้วผมชวนมาดูโครงสร้างของ คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มีบทบาทในการให้ความเห็นวางแผน งบประมาณรายจ่าย มีใครบ้าง เป็นภาคการเมืองทั้งนั้นเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นประธาน รองประธาน กรรมการ ตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิล้วนเป็นบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่ในคณะรัฐมนตรี จึงอยากตั้งข้อสังเกตว่ากระบวนการดำเนินงานของ กสทช. การวางแผนต่าง ๆ ถูกฝ่ายการเมือง ครอบงำแล้วหรือไม่ อะไรจะเป็นตัว Guarantee ผมไม่อยากให้ถูกครอบงำและกลืนกินไป ทั้งหมด นอกจากนี้คณะกรรมการที่มีบทบาทในการให้ความเห็น ล้วนเป็นบุคคลที่มีส่วน ได้เสียในการดำเนินกิจการของ กสทช.
ผมอยากชวนดูอีก Slide หนึ่ง ข้อกังวลเรื่องความโปร่งใสในการบริหารงาน ผมชวนตั้งข้อสังเกตว่า กสทช. มีความโปร่งใสหรือไม่ ประการแรกก็คือกรณีที่ประธาน กสทช. ไม่ยอมรับมติปลดรักษาการเลขาธิการ กสทช. ที่มีมติจากคณะกรรมการ กสทช. ให้ปลดรักษาการ โดยมีการอ้างอำนาจในการแต่งตั้งรักษาการเลขาธิการ กสทช. ว่า เป็นอำนาจของประธานโดยผู้เดียว
ประเด็นที่ ๒ คือการใช้อำนาจในทางมิชอบในการออกคำสั่งยกเลิก คณะกรรมการสอบวินัยของตนเอง ของรักษาการ ประหลาดมาก จะเห็นได้ว่า ๒ ตำแหน่งนี้ มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง ซึ่งอาจหมายถึงผลประโยชน์ที่มีร่วมกันระหว่างประธาน และตำแหน่งของเลขาธิการ กสทช.
ผมอยากขอตั้งข้อสังเกตว่าท่านประธานเห็นไหมครับว่าตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. มีบทบาทมากอย่างไรภายใต้การดูแลงบประมาณหลักหมื่นล้าน ต้องมีความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติงาน ออกบังคับบัญชาพนักงาน ดำเนินกิจการต่าง ๆ ภายใต้โครงการงบประมาณ โดยตรง อันที่ ๒ ก็คือเลขาธิการ กสทช. ก็ยังต้องดูแลงบประมาณรายจ่าย อันดับที่ ๓ ก็คือ เรื่องบทบาทในการทำให้กองทุน กทปส. บรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ในการบริการโทรคมนาคม โดยทั่วถึง ซึ่งกองทุนนี้เป็นทุนหมุนเวียนและดำเนินกิจการหมื่นล้านต่อปี
จะเห็นว่าความสำคัญของเลขาธิการ กสทช. นั้นมีอำนาจมหาศาล แต่ล่าสุด กระบวนการในการสรรหาตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. ก็มีความกังวลเกิดขึ้นเรื่องของ กระบวนการคัดเลือกการสรรหาคุณสมบัติ การออกประกาศสะท้อนความไม่โปร่งใสที่ต้อง เปิดกว้างและตรวจสอบได้ รวมถึงโครงสร้างองค์กรที่มีความเสี่ยงต่อการถูกครอบงำ ที่มี ผลประโยชน์เกี่ยวพันกับเอกชนรายใดรายหนึ่งหรือไม่ หรือการดำเนินงานบริหารของ กสทช. ซึ่งมีเลขาธิการในการชี้นำบทบาทขององค์กรแห่งนี้ จึงอยากเรียนทางสำนักงาน กสทช. ท่านประธานกรรมการต่าง ๆ หรือว่าที่เลขาธิการใหม่ ว่าท่านจะดำเนินการอย่างไรขอให้ คำนึงถึงผลประโยชน์ของพี่น้องเป็นตัวตั้งเสมอ และที่ท่านบอกว่าได้เลขาธิการคนใหม่แล้ว เขาก็ทราบมาว่ามีการร้องเรียนกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกคำสั่งโดยไม่ชอบ แล้วก็ ขัดกันของผลประโยชน์ ผมก็อยากเรียนว่าตามพระราชบัญญัติการจัดสรรคลื่นความถี่ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๖๑ ให้การแต่งตั้งและถอดถอนเลขาธิการ กสทช. กระทำโดย ประธาน กสทช. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ไม่ใช่ของประธานคนเดียวนะครับ ฝากเอาไว้ ขอบพระคุณครับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล
วันนี้ผมมีเรื่องขอหารือ ท่านประธานในความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนคนดอนเมือง
ประเด็นที่ ๑ ประชาชนบริเวณชุมชนศรีดอนเมืองได้รับความเดือดร้อน จากสภาพพื้นผิวไม่พร้อมใช้งาน และมีเสาไฟกีดขวางทางสัญจรทำให้ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ จำเป็นที่ต้องใช้พื้นถนนที่ดีพอและความกว้างที่เพียงพอ แล้วก็มีสิ่งกีดขวางแบบนี้ไม่สามารถ ไปพบแพทย์ได้ตามนัดหมายร่วม ๑ ปีแล้ว อีกทั้งบริเวณดังกล่าวถูกใช้เป็นทางลัดสัญจร สำหรับผู้ขี่รถจักรยานยนต์ เมื่อพอเวลามีสิ่งกีดขวางแบบนี้ก็ทำให้พี่น้องประชาชนบริเวณ ดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน จึงฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบบูรณาการ เร่งนำเสาไฟฟ้าที่กีดขวางออก
เรื่องต่อมา ท่านประธานครับ ผมได้รับเรื่องร้องเรียนมาไม่เว้นแต่ละวัน ปัญหาจราจรที่ไม่คล่องตัว แล้วก็การจอดรถริมทางบริเวณถนนสรงประภาและถนนเทิดราชัน บ่อยครั้งพบว่ารถจอดค้างคืน อีกทั้ง ๒ ถนนยังมีปัญหาเรื่องของไฟจราจรมืดอย่างที่เห็นนี้ ประชาชนร้องเรียนบ่อย แล้วก็ไฟเกาะกลางถนนก็เสียหลายจุด อยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดูแลแก้ไขเพื่อให้พี่น้องประชาชนดูแลปลอดภัย
อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือตอนนี้ กทม. เข้าสู่ช่วงของการห้ามเผาแล้วนะครับ เมื่อวาน มีประชาชนโทรร้องเรียนการเผาขยะเกิดขึ้น แม้ว่าประชาชนจะอยู่ห่างจากจุดเผาขยะกว่า ๖๐๐ เมตร แต่ก็ยังได้กลิ่น แล้วก็อยากจะฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกวดขันดูแล ควบคุมเรื่องของการเผาขยะและเอาผิดผู้ฝ่าฝืนคำสั่งอย่างเคร่งครัด
ในประเด็นสุดท้าย ฝากตรงนี้ครับท่านประธานไปถึงการรถไฟ ถนนกำแพงเพชร ๖ ยังไม่ได้รับการแก้ไขนะครับ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ก็มีทั้งผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต ขอให้เร่งรัดแล้วก็หาแนวทางแก้ไขเรื่องของสภาพผิวจราจร
สุดท้ายอีกนิดเดียวครับท่านประธาน รถบรรทุกหนักวิ่งบนถนน แล้วก็ไม่มี ผ้าคลุม หินตกเป็นอันตรายบริเวณถนนเทิดราชัน และมีรถวิ่งเข้าไปในซอยเทิดราชัน ๔๕ ผ่านบ้านเรือนของประชาชนได้รับความเดือดร้อน ขอบพระคุณครับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ก็วันนี้นะครับ ผมลุกขึ้นอภิปรายเพื่อสนับสนุนร่างที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอเป็น พระราชบัญญัติยกเลิกว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค กฎหมายนี้ก็เป็นกฎหมาย ที่ล้าหลังแล้วก็เป็นกฎหมายที่ใช้กันมานานนะครับ แต่ว่าท่านประธานครับ เรื่องปัญหา ความไม่เหมาะสมในการลงโทษ เนื่องจากมันไม่ได้มุ่งหมายที่จะทำให้ผู้ที่กระทำเจตนาทุจริต ต้องได้รับโทษทางอาญาจากการใช้เช็ค แต่ว่าก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือเหมือนที่เพื่อนสมาชิก ได้พูด แต่ว่ามันก็ต้องยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมาครับว่ามีธุรกิจรายย่อยจำนวนมาก ที่ใช้เช็ค และเป็นการใช้เช็คที่ทำให้เกิดสภาพคล่องแล้วก็เกิดการยอมรับในธุรกิจ ในการใช้จ่ายกัน ท่านประธานครับ แน่นอนว่าพรรคก้าวไกลแล้วก็ส่วนตัวของผมเห็นด้วย ว่าจะไม่ควรนำโทษจำคุกมาใช้กับความผิดเกี่ยวกับเรื่องของเช็ค ซึ่งเป็นความผิด ทางธุรกิจ แล้วก็ประสบปัญหาในการสั่งจ่ายเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีนะครับ แต่ว่าบางครั้ง สภาวะทางเศรษฐกิจหรือความจำเป็นบางประการก็ทำให้ผู้ที่ออกเช็คที่เขาไม่ได้มีเจตนา ทุจริตต้องถูกลงโทษไปด้วย มันก็เกิดความไม่เสมอภาคใช่ไหมครับ แล้วก็ขัดกับหลัก สหประชาชาติ หลักกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมือง แต่ว่าท่านประธานครับ ที่ผมจะตั้ง คำถามนั้นก็คือว่ารัฐบาลจะดูแล จะจัดการอย่างไรกับบรรดาธุรกิจที่จะต้องอาศัยเช็ค ในการดำเนินการในการจัดการธุรกิจ เนื่องจากผมก็เห็นว่าปัจจุบันการเงินการธนาคาร ก็มีความเจริญก้าวหน้า แล้วก็ตัวเทคโนโลยีเองก็สามารถที่จะทำให้ธนาคารตรวจสอบข้อมูล ของผู้ใช้เช็คได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็ไม่มีมาตรการอื่นเข้ามารองรับ ในการใช้เช็คเลย ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือในการใช้เช็คในที่สุด แล้วก็ ปัญหาก็คือกฎหมายฉบับนี้ที่จะยกเลิกยังช่วยให้เช็คมีมูลค่าอยู่ แล้วต่อไปนี้จะทำให้เกิด ความเชื่อมั่นกับผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยอย่างไร นอกจากนี้โทษอาญาที่กฎหมายได้ยกเลิกไป ผมก็ยังเห็นว่ารัฐบาลหรือว่าทางคณะรัฐมนตรีควรจะมีมาตรการที่อาจจะต้องดูแลเรื่องของ การใช้เช็คในส่วนของทางแพ่ง อาจจะเป็นโทษปรับ โทษวินัยหรือว่าการกระทำที่ใช้เช็คซ้ำ ๆ หรือมาตรการที่จะไปควบคุมธนาคารต่าง ๆ ในการออกบัญชีกระแสเงินสดหรือบัญชี ฝากประจำที่ผูกกับเช็คในการที่ดูแลไม่ให้มีการเปิดเยอะจนเกินไป หรือมีโทษปรับในกรณีที่มี เจตนาการใช้เช็คแล้วเด้งซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้ ก็จะทำให้สามารถที่จะเพิ่มตรงนี้ได้ ก็อยากจะให้ รัฐบาลลองทบทวน แล้วหามาตรการในส่วนนี้เพื่อจะให้ภาคธุรกิจ Run ต่อไปได้
ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง คือภาคประชาชนที่พี่น้องประชาชนที่ได้ฟ้องคดีเช็คไปแล้ว เป็นโจทก์ก็ดี ส่วนที่เป็นจำเลยถ้ากฎหมายนี้ผ่านนะครับ ก็จะได้รับการปล่อยตัวอยู่แล้ว แต่ว่าปัญหาคือผู้ที่ฟ้องในคดีไปแล้วและไม่ได้ฟ้องคดีแพ่งไปในส่วนนี้ รัฐบาลหรือกฎหมายจะ รองรับดูแลพี่น้องประชาชนที่ใช้สิทธิโดยสุจริตในการฟ้องคดีอาญาตรงนี้อย่างไร นี่ก็คือสิ่งที่ กังวลถ้าหากว่าเราดูแลเรื่องของการปล่อยโทษ ตรงนี้ก็เป็นสิทธิที่พลเมืองควรจะได้รับที่รัฐจะไม่เอาโทษทางอาญามาบีบบังคับในการใช้หนี้ แต่ในขณะเดียวกันเราก็อยากจะดูแลคุ้มครองผู้ที่ใช้สิทธิโดยสุจริต และผู้ที่เข้าไปใช้สิทธิ ทางศาลแล้วไม่ให้เกิดกระทบในเรื่องของธุรกิจการเงินแบบนี้ ก็เป็นเรื่องที่เห็นด้วยนะครับ แล้วเดี๋ยวก็จะได้รายละเอียดเพื่อนสมาชิกคนอื่นก็จะได้กล่าวต่อไปนะครับ ขอบคุณ ท่านประธานครับ
เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ สถานการณ์การทุจริตของประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในระดับ ที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย อย่างปีล่าสุดปี ๒๕๖๕ ไทยในอันดับที่ ๑๐๑ จาก ๑๘๐ ประเทศทั่วโลก ปัญหามันเกิดจากอะไร การรับสินบนจาก เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อออกใบอนุญาต ความโปร่งใสของการเปิดเผยข้อมูลหรือระบบอุปถัมภ์ ในหน่วยงานราชการ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ระบบราชการล้าหลัง ปัญหาการทุจริต เหล่านี้ ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลงทุนของนักลงทุน ต่างชาติที่ต้องเจอกับต้นทุนที่แฝงในการเรียกรับสินบนจากเจ้าหน้าที่รัฐ หรือว่าเป็นปัญหา การทุจริตที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนภายในประเทศต่อระบบราชการไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้องเอาผิดกับผู้ที่ประพฤติมิชอบกับการทุจริตนี้เป็นไปอย่างล่าช้า แล้วก็ เอื้อประโยชน์ต่อผู้ที่มีอำนาจ อีกทั้งประชาชนก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบหรือเอาผิด กับผู้ที่กระทำผิดได้ ร่างกฎหมายมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปราม การทุจริตฉบับพรรคก้าวไกลนี้ ได้ผนวกเอาสิ่งที่พรรคก้าวไกลได้เคยสัญญากับประชาชนไว้ ก็คือข้อเสนอในการคุ้มครองคนที่ออกมาแฉข้อมูล หรือว่าให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสมรู้ร่วมคิด ก่อนทุจริตให้ได้รับโทษหรือว่าการกันไว้เป็นพยาน โดยเป็นระบบที่ทำให้คนที่จะร่วมโกง เช่น คนที่จ่ายกับคนรับสินบนระแวงกันเองจนหวังว่าจะไม่มีใครที่จะกล้ามาร่วมกันโกง หลักการในการต้านโกงผสมผสานอย่างลงตัวอยู่ในร่างพระราชบัญญัติมาตรการบริหารนี้ แน่นอน มีทั้งมาตราที่สนับสนุน จูงใจให้คนที่คิดจะโกงนี้ระแวงกันเองแบบที่ผมได้กล่าวไป แล้วก็พยายามหลีกเลี่ยง แล้วก็มีการคุ้มครองคนที่ให้เบาะแสแรกที่กระทำความผิด ใครที่ มอบตัวก่อนแฉกันเองก่อนก็ได้รับการคุ้มครอง หรือแม้กระทั่งคนที่โกงก็ได้รับความปลอดภัย คุ้มครองนะครับ แล้วก็มีรางวัลเพื่อสร้างสังคมต้านโกงด้วยกฎหมายที่คุ้มครองความปลอดภัย แล้วก็ความก้าวหน้าทางอาชีพให้กับเจ้าหน้าที่ที่แฉการทุจริตในหน่วย เพิ่มรางวัลให้กับ ประชาชนที่แจ้งเบาะแส ท่านประธานครับ อีกประเด็นก็คือร่างฉบับนี้ฉบับดังกล่าวของ พรรคก้าวไกลไม่มีระยะเวลามาเป็นตัวกำหนดว่า คณะกรรมการ ป.ป.ท. นี้จะตัดสินใจเอาผิด กับข้าราชการคนดังกล่าวอยู่หรือไม่ เรียกได้ว่ามีอายุความติดตัวไปตลอด เพราะเราทราบกัน ดีครับว่าคดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตนั้นมันไม่สมควรมีอายุความ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักนี้ นะครับ กับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต้านทุจริต ข้อ ๒๙ แต่ในขณะเดียวกันการ ทำงานของ ป.ป.ท. ของพรรคก้าวไกลก็คิดว่าควรจะกำหนดกรอบระยะเวลาที่ทำงานให้ กระชับขึ้น ไม่ยืดเยื้อยาวนาน แม้ว่าจะต้องไปขอพยานหลักฐานจากต่างประเทศนี้ก็พยายาม ตีกรอบให้กระชับที่สุด ท่านประธานครับ พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร กำหนดให้กองทัพมีศาล เป็นเฉพาะของตัวเอง เราเรียกกันง่าย ๆ ว่าศาลทหาร ซึ่งแตกต่างจากศาลปกติในหลาย ประการในมาตรา ๕ ที่กำหนดให้โครงสร้างของศาลทหารนี้อยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งกำหนดว่าเป็นอำนาจของศาลทหารไม่ได้แยกจากฝ่ายบริหารผู้มีอำนาจสามารถเข้าไป แทรกแซงกลไกกระบวนยุติธรรมได้ ซึ่งในมาตรา ๓๐ กำหนดให้ตุลาการศาลทหารมาจาก การแต่งตั้งกันเองโดยนายทหารผู้บังคับบัญชา พูดง่าย ๆ ว่ากระบวนการยุติธรรมลายพรางก็ ถูกรวมศูนย์ไว้ที่ผู้บังคับบัญชาอยู่ดี ดังนั้นการที่ทหารชั้นผู้น้อยจะลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจของ ทหารชั้นผู้ใหญ่ก็อาจจะไม่มีหลักประกันในกระบวนการยุติธรรม หลักการตามร่างของ พรรคก้าวไกลฉบับนี้ก็พยายามแยกถ่วงดุลอำนาจ หากอัยการทหารมีคำสั่งไม่ฟ้อง แต่ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นควรว่าจะฟ้องเรื่องดังกล่าวควรจะส่งให้อัยการสูงสุด ซึ่งเป็น หน่วยงานภายนอก มีอำนาจในการพิจารณาก็จะทำให้กองทัพโปร่งใสมากขึ้น นี่คือ Detail รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ร่างมาตรการของฝ่ายบริหารในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แห่งนี้เป็นกลไกเครื่องมือ และเป็น กฎหมายที่สำคัญในการจัดการปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วก็หวังว่า เพื่อนสมาชิกก็จะเห็นชอบรับหลักการของร่างฉบับของพรรคก้าวไกลนะครับ เพื่อที่จะได้ นำไปเป็นเครื่องมือในการใช้ในการบริหารและหวังว่าจะทำให้กับระบบการตรวจสอบ การทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอบพระคุณท่านประธานครับ
เรียนท่านประธานครับ ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหาร ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ในสัดส่วนของพรรคก้าวไกล จำนวน ๖ คน ๑. พันตำรวจเอก ปฏิญญา บุญผดุง ๒. นายนิสิต อนันตรักษ์ ๓. นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ ๔. นายธีรัจชัย พันธุมาศ ๕. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ๖. นายเอกราช อุดมอำนวย ขอผู้รับรองครับ
ท่านประธานครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยใช้ประมวล กฎหมายนี้มาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๘ จนวันนี้ ๙๘ ปีมาแล้วที่กลุ่ม หลากหลายทางเพศ ต้องผ่านคืนวันที่โหดร้าย ๙๘ ปีที่ไม่มีสิทธิในการจัดตั้งครอบครัวจาก บทบัญญัติเดิมบุคคลจะสมรสกันได้ก็ต่อเมื่อชายหญิงเขียนไว้แบบนี้ครับ มีอายุ ๑๗ ปี บริบูรณ์ซึ่งทำให้ บทบัญญัติเรื่องของการสมรสนี้เป็นเฉพาะชายและหญิงในทุกร่างที่เสนอ ในวันนี้ เขาเสนอแก้ง่าย ๆ เลยครับ ถ้าผู้ชมฟังแล้วก็เข้าใจเขายกกล่องเพศออก บัญญัติใหม่ เป็นการสมรสจะทำได้ก็ต่อเมื่ออายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ในร่างของพรรคก้าวไกลหรือ ๑๗ ปี บริบูรณ์ในร่างของ ครม. ซึ่งแตกต่างกันนิดเดียว แต่หลักการที่เพื่อนทุกคนอภิปรายมานี้ก็จะ เห็นตรงกันว่าบุคคลจะสมรสกัน คำว่า สมรส คือการให้สิทธิในการจัดตั้งครอบครัวกับบุคคล นั้น ๆ การจดทะเบียนสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายมีทั้งสิทธิ หน้าที่และศักดิ์ศรีที่พึงมีต่อกัน ในการใช้ชีวิตร่วมกัน ผู้ที่ออกกฎหมายสมัยนั้นอาศัยอะไรครับ ความเชื่อสืบต่อกันมาว่า การสมรส รักกันรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวนี้สามารถกระทำได้เฉพาะชายหญิงความ เชื่อนั้นมาจากไหน ใครเป็นคนบอก การศึกษาหรือ สังคมหรือ จารีตหรือ ต่างบอกแล้วว่าต้อง เป็นชายนะ ต้องเป็นหญิงนะ แต่แบบนั้นมันไม่ใช่ตัวเรา การจะอ้างว่าประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติและเป็นจารีตที่ทำมานานเพื่อให้อยู่กินฉันสามี ภรรยา สร้างสถาบันครอบครัวมีบุตรดำรงเผ่าพันธุ์ตามธรรมชาติ สืบทอดทรัพย์สมบัติมรดก ส่งต่อความผูกพันระหว่างพ่อ น้อง ลุง ป้า น้า อา การสมรสระหว่างผู้ที่มีความหลากหลาย ทางเพศก็สามารถสร้างความผูกพันที่ละเอียดอ่อนดังกล่าวได้เฉกเช่นเดียวกัน ไม่ต่างกันเลยครับ สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ท่านประธานครับ ประเทศไทยให้คำปฏิญาณ โดยสมัครใจกับกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน UPR ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ว่าจะทบทวนเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่จำกัดสิทธิการสมรส เอาไว้ ปัจจุบันหาการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้สำเร็จ แน่นอนว่าประเทศไทยก็จะเป็นที่ยอมรับ จากนานาชาติไปโดยปริยาย และถือเป็นการปฏิบัติตามคำสัญญาพันธกรณีระหว่างประเทศที่ลงนามรับรองไว้ด้วย ถ้าท่าน สมาชิกท่านใดจะกังวลถึงประเด็นสวัสดิการของรัฐว่าในกรณีที่ไม่ได้กำหนดเพศสำหรับ การสมรสไว้ อาจจะเกิด เช่น สามีเบิกค่ารักษาพยาบาลมะเร็งปากมดลูก ภรรยาเบิกค่ารักษา ต่อมลูกหมาก หรือสามีเบิกค่าทำคลอดต้องให้พิสูจน์นะครับ ทั้งสภาพเพศและมีใบรับรอง แพทย์ทุกกรณี เมื่อคำนึงถึงสัดส่วนที่พึงจะเกิดขึ้น หรือว่าจะอ้างว่าเป็นการเพิ่มภาระของรัฐ ทำให้สิทธิของสามีภรรยาที่เป็นชายหญิงจริงนี้ ซึ่งเป็นมหาชนต้องถูกตรวจสอบด้วย ฟังไม่ขึ้นครับ แล้วทำไมคนที่เป็นข้าราชการสักคนหนึ่ง ถ้าไม่ได้แต่งงานกับเพศที่ตัวเอง ไม่ได้ชอบก็หมดสิทธิในการดูแลครอบครัวเขาอย่างนั้นหรือ แบบนี้เสมอภาคตรงไหน ท่านประธานครับ ผมได้ยินเพลงหนึ่ง เขาบอกจะมีแต่เธอที่แสนดีร่วมทางตราบวันจนสิ้นใจ มันเป็นจริงได้ ถ้ากฎหมายฉบับนี้ให้โอกาสพวกเขาได้สมรสกัน ได้ดูแลกันยามแก่เฒ่า ไม่ต้อง กลัวครับว่าเขาจะมาหวังประโยชน์ในสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐ มันเป็นสิทธิของเขาอยู่แล้ว จะบอกว่าประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีหรือครับ ผมยิ่งคิดว่าในประเทศไทยในขณะนี้ ประสบปัญหาอัตราการเกิดน้อยลงและก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตแห่งชาติลดลง การเปิดให้เพศทางเลือกแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย คำว่า แต่งงาน นี้ไม่ใช่จัดงาน แต่งนะครับ เพราะไม่มีกฎหมายนี้เขาก็จัดงานแต่งกันได้ คำว่า แต่งงาน คือจดทะเบียนสมรส ที่ไปจดกันต่อหน้านายทะเบียน รัฐให้การรับรอง คือการยอมรับความแตกต่างในสังคม ย่อมดึงดูดให้คนเข้ามาอาศัยทำงานนำไปสู่การจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้น ในปี ๒๐๒๐ เขาบอกว่า ผู้ที่สมรสเพศเดียวกันสามารถกระตุ้นทางเศรษฐกิจท้องถิ่นได้ราว ๓.๘ พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ เพราะมีจำนวนเจ้าภาพและแขกที่ต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับงานแต่งมากขึ้น หรือ ชาวต่างชาติที่อาจจะหวังว่าเขาจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เช่น นักการทูต เจ้าหน้าที่ก็สามารถได้รับความคุ้มครองและมีศักดิ์ศรีตามที่เคยได้รับในประเทศ ต้นทางที่มีกฎหมายความเสมอภาคในเรื่องการสมรสเช่นเดียวกัน ท่านประธานครับ จากบุคคลคนหนึ่ง ความรู้สึกส่วนตัวจากรักแห่งสยาม หนังที่สะท้อนฉายสังคมเมื่อ ๑๖ ปีที่แล้ว ปัญหาการยอมรับตัวตนจนมาสู่กระแสสูง วันที่๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๓ ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยพรรคก้าวไกลเสนอร่างแก้ไขสมรสเท่าเทียมนี้ต่อสภาผู้แทนราษฎร เปิดรับฟัง ความคิดเห็น มีผู้แสดงความคิดเห็นมากกว่า ๕๐,๐๐๐ คน และมีคนเข้ามารับชมร่างดังกล่าว สูงถึง ๑,๓๐๐,๐๐๐ คน นับเป็นปรากฏการณ์ที่ประชาชนต่างให้ความสนใจและกระตือรือร้น ในการแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างมาก การสมรสเท่าเทียมในมุมมองหลาย ๆ ท่านที่เข้าใจ และยอมรับ ผมขอบคุณด้วยหัวใจที่ท่านเห็นถึงความสำคัญและเคารพในความหลากหลาย ซึ่งกันและกัน แล้วหลายท่านที่ยังไม่เปิดใจมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับ ประเทศไทย ยากที่จะยอมรับ แต่ทุกท่านครับ หลายประเทศก็พากันผ่านกฎหมายแล้ว ล่าสุดประเทศเอสโตเนียก็ยอมรับกฎหมายนี้และเขาจะบังคับใช้วันปีใหม่ปีหน้านี้ ปี ๒๕๖๗ นั่นเป็นจุดเปลี่ยนแปลงคู่ชีวิตที่จะมั่นคงขึ้น คู่สมรสที่จะอยู่กันได้อย่างสมบูรณ์ วันนี้เรามี ๔ ร่างเข้าสภาย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประเทศไทย ทั้งมิติสังคมและการสร้าง ครอบครัว ทำให้เกิดการยอมรับทางกฎหมาย ง่าย ๆ เลยครับ ใครบอกว่ามันคือการขยายสิทธิ ท่านต้องเข้าใจใหม่ มันคือการคืนสิทธิที่รัฐพรากเขาไป การสมรสเท่าเทียม หรือการสมรส ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับทุกบุคคลในประเทศไทย ไม่ใช่การเรียกร้องสิทธิที่ได้เหนือมากกว่าใคร เขากลุ่มนี้แค่ต้องการอะไรที่ทุกคนทำมาก่อน ให้สิทธิทุกคนเท่ากันอย่างเท่าเทียม ฝากสภา ชุดที่ ๒๖ ขอบพระคุณครับ
ท่านประธานครับ
ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ เมื่อสักครู่นี้ที่ท่านประธานก็ได้บอกเอง ว่าในฐานะที่เป็นห่วงเป็นใยพี่น้องชาวประมง แล้วจากรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ในชุดนี้ก็มีร่างพระราชบัญญัติที่เป็นการแก้ไขกฎหมาย แล้วผมก้มดูระเบียบวาระการพิจารณา ที่บรรจุไว้แล้ว ตั้งแต่ระเบียบวาระพิจารณา ข้อ ๕.๕๓ ตั้งแต่ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนดการประมง พุทธศักราช ๒๕๕๘ ร่างของท่านอนุทิน ชาญวีรกูล กับคณะ จนถึงร่างพระราชบัญญัติแก้ไขที่คุณวรภพ วิริยะโรจน์ และคณะเป็นผู้เสนอ จากร่างทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขกฎหมายสอดคล้องกับที่กรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ได้เสนอ ดังนั้นครับท่านประธาน ในเมื่อเราเห็นความสำคัญของร่างญัตติดังกล่าว ผมจึงขออาศัย ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๕๔ (๒) ในการเสนอญัตติขอเปลี่ยนวาระ การประชุมให้เข้ามาพิจารณาในลำดับถัดจากญัตติ เรื่อง การขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาค่าไฟแพง ขอผู้รับรองครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกลครับ ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... สัดส่วนของพรรคก้าวไกล นายวีรนันท์ ฮวดศรี ขอผู้รับรองครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ตั้งแต่มีรัฐบาล ชุดใหม่ ประชาชนก็มีความคาดหวังนะครับว่า ต่อไปนี้เรื่องของการแก้ไขค่าครองชีพจะได้รับ ความสนใจดูแลมากขึ้น เนื่องจากว่าปัญหาค่าไฟ ๔ บาท ๗๐ กว่าสตางค์ แล้วก็ขึ้นมาเรื่อย ๆ มีลดไปช่วงหนึ่ง แล้วก็ทำให้พี่น้องก็มีความคาดหวังว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ได้อย่างเข้าที่เข้าทาง โดยเฉพาะเรื่องของค่าครองชีพครับ แต่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คือว่า ผมได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนในเขตดอนเมืองที่เป็นผู้ยากไร้ ที่อยู่ริมคลอง เปรมประชากรจำนวนกว่า ๑,๐๐๐ ครัวเรือน รวมถึงพี่น้องประชาชนที่เป็นผู้ชรา ที่รับเฉพาะ เงินบำนาญ หรือบางท่านประชาชนที่ยากจน ไม่มีเงินประทังชีพรายวัน สิ่งที่ประชาชน เรียกร้องและอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือก็คือค่าไฟในอัตราขั้นต่ำ นั่นก็คือคนที่ใช้ไม่ถึงหน่วย ในอัตราที่ใช้ค่าครองชีพ เช่น การประกอบอาหารประจำวันปรุงสุก หรือว่า พัดลม หรือ แม้กระทั่งผู้ป่วยที่มีความจำเป็นในการใช้เครื่องพยุงชีพ ดังนั้นในการพิจารณาญัตตินี้ผมจึง ลุกขึ้นเพื่ออภิปรายสนับสนุนว่าควรจะศึกษานโยบายที่รัฐไทย โดยเฉพาะรัฐบาลที่เป็น ความหวังทางด้านเศรษฐกิจ ควรจะดูแลแก้ไขอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องของปัญหาการใช้ ไฟฟ้าของพี่น้องประชาชนในคนจนเมือง อย่างน้อยให้พวกเขามีสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐาน ในการดำรงชีพ ผมไปร่วมงานวันเด็กสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคุณลุงท่านหนึ่งมาพูดกับผมด้วย ความหวังบอกว่า เดิมทีในรัฐบาลชุดที่แล้วมีการช่วยเหลือในเรื่องของอัตราค่าไฟขั้นต่ำ แต่ปัจจุบันนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว เขาจึงหวังเป็นอย่างยิ่งนะครับว่า นโยบายที่พอที่จะช่วยให้เขา สามารถที่ไม่ต้องจ่ายค่าไฟได้บ้าง หรือว่าที่จะช่วยให้กับคนจน โดยเฉพาะบางรายต้องนอน ติดเตียงอยู่ ก็จะต้องหาเงินมาเพื่อจ่ายในการพยุงชีพ แล้วก็เป็นปัญหาที่หลายคนก็ทราบ อยู่แล้วว่าถ้าหากว่าบ้านนั้นถูกตัดไฟ แม้ว่าการไฟฟ้าจะมีโครงการที่ไปบอกว่า ถ้าบ้านนั้น มีผู้ป่วยติดเตียงอยู่ก็จะอนุโลมไม่ตัดหม้อไฟ แต่ว่าอันนั้นคือการแก้ปัญหาระยะสั้น เราเป็น สภาผู้แทนราษฎร เราต้องศึกษากฎหมายอย่างจริงจังว่า ถ้าหากว่าบ้านนั้นมีผู้ป่วยหรือว่า บ้านนั้นจะต้องใช้สิ่งจำเป็นพื้นฐาน นั่นคือไฟฟ้าเราจะช่วยเหลือพวกเขาอย่างไร นี่คือความหวัง นี่คือความตั้งใจที่ผมจะพูดกับท่านประธานเพื่อที่จะฝากไปผู้ที่พิจารณาศึกษาญัตตินี้ในการ มองกฎหมายให้รอบด้าน โดยเฉพาะการคุ้มครองผู้ป่วย หรือว่าคนจนที่จะต้องได้รับการ ช่วยเหลือต่อไป ขอบพระคุณครับท่านประธาน
ท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร คนดอนเมือง พรรคก้าวไกล วันนี้ผมในฐานะผู้เสนอญัตติ ขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางในการย้ายสนามกอล์ฟกานตรัตน์ หรือว่าสนามงูออกจากพื้นที่ Airside สนามบินดอนเมืองเพื่อความปลอดภัยตามมาตรฐาน องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
ที่ผมได้อภิปรายตั้งญัตติ แบบนี้ เนื่องจากสอดคล้องเป็นทำนองเดียวกันกับเพื่อนสมาชิกทั้งคุณเบญจาในการอภิปราย ว่าธุรกิจกองทัพจะทำอย่างไร เดี๋ยวผมจะชี้ให้เห็นถึงปัญหาก่อน อันนี้เป็นเคสที่ผมยกขึ้นมา ท่านประธานครับ ผมดูจากข่าวเมื่อที่เกิดขึ้นไม่นานนี้สนามบินดอนเมืองเป็นหนึ่งใน ๒๙ สนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก หากมองจากประเทศอื่น ๆ พบว่าใน ๒๙ ประเทศนี้ เขามีเหตุผลทางด้านภูมิประเทศหรือว่าทางด้านวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่ ผมยกตัวอย่างเช่น ที่อันตรายอันดับที่ ๑ ที่เขายกมานี่คือสนามบินนานาชาติคันไซจากประเทศญี่ปุ่นที่มีเหตุผล ด้านแผ่นดินไหวบ้างนะครับ หรือว่าสูงในระดับเดียวกับน้ำทะเล ในขณะที่สนามบินเบอร์ลิงตันจากนิวซีแลนด์นี้ เป็นข้อจำกัดด้านวิศวกรรมก็คือว่าในการสร้าง Runway สั้นมาก แล้วก็เป็นประเทศที่มี ลมแรงจึงติดอันดับมา กลับกันครับท่านประธาน ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อสนามบินดอนเมืองนี้ ติดสนามบินที่อันตราย เพราะว่ามีสนามกอล์ฟอยู่กลาง Runway ย้อนกลับไปในช่วงหาเสียง เลือกตั้ง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมสนใจมาโดยตลอดผมก็ตั้งคำถามว่าเหตุใดถึงมีสนามกอล์ฟ มาอยู่กลาง Runway แบบนี้ หากท่านสงสัยว่าสนามกอล์ฟใกล้กับ Runway แบบนี้ ผมชวน ดูสไลด์ถัดไปครับท่านประธาน เส้นสีเขียว ๒ เส้นคือ Runway สนามบิน ส่วน Highlight สีแดงนี้คือสนามกอล์ฟกานตรัตน์หรือเรียกว่าสนามงู จะเห็นว่าสนามกอล์ฟนี้ไปอยู่กลาง Runway ทั้งสองข้าง ซึ่งผมเป็นห่วงเรื่องความกังวลทั้งเกี่ยวกับกิจการการบินที่ประชาชน มาใช้บริการ รวมถึงผู้ที่มาใช้บริการสนามกอล์ฟด้วย มันใกล้กันมากครับ แม้ท่านจะยืนยันว่า การมีอยู่ของสนามกอล์ฟนี้ปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบหรือความเสี่ยงใด ๆ หรือว่า อุบัติเหตุ แต่ผมมั่นใจถ้าหากว่ามันเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินขึ้นมา ผมก็ไม่อยากเห็นภาพของผู้นำ เหล่าทัพทำได้แค่มารับผิดชอบด้วยการขอโทษ หรือถึงเวลาก็มาทบทวนเอาในภายหลัง วันนี้ ผมถึงชวนเพื่อนสมาชิกมาดูรายละเอียดกัน ก่อนหน้านี้มีการแถลงว่าการตั้งอยู่ของสนาม กอล์ฟกานตรัตน์ภายในสนามบินดอนเมืองนี้ไม่ส่งผลต่อมาตรฐานการบินของ ICAO แต่ว่า ท่านน่าจะทราบดีอยู่แล้วว่าการคาดธงแดงนี้ คือการมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ที่ธงแดงนี้มันเกิดขึ้นในสนามบินดอนเมืองนี้ก็เกิดมาจากการมีสนามกอล์ฟอยู่ แต่ตอนนี้ เหมือนบุญหนุนนำ ICAO ปลดธงแดงให้ เพราะว่าสนามบินดอนเมืองนี้กำลังมีแผนพัฒนา เพื่อรองรับการขยายตัวของสนามบิน เขาก็เลยยกเลิกธงแดงไป พูดง่าย ๆ เป็นการยกเว้น การดำเนินการตามมาตรฐานแบบชั่วคราวเท่านั้น ฉะนั้นหากพิจารณาถึงเงื่อนไขในประเด็น ส่วนปัจจัยที่มีผลในเรื่องของความปลอดภัยก็ดี มาตรฐานของสนามบินก็ดี ผมมีอยู่ ๓ คำถาม หลัก ๆ ๑. พื้นที่รอบความปลอดภัยสนามวิ่ง ๑๕๐ เมตรนี้ทับซ้อนกับทางวิ่งหรือไม่ คืออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ครับท่านประธาน บริเวณ Runway วัดจากจุดกึ่งกลาง บางจุด รุกล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ปลอดภัยทางวิ่ง แม้ว่ากองทัพอากาศจะยืนยันว่าการตั้งอยู่ของสนาม กอล์ฟหรือสนามงูไม่ส่งผลต่อมาตรฐาน ICAO แล้วก็ได้รับรองจาก LSS แต่ว่าท่านประธานครับ ผมก็ยังตั้งคำถามว่ามันรุกล้ำเข้ามาได้อย่างไร ในส่วนที่ ๒ ก็คือระยะของรางระบายน้ำที่มี การทับซ้อนในเขตความปลอดภัยทางวิ่ง ผมขออธิบายครับท่านประธานให้เห็นภาพและ พี่น้องประชาชนเห็นภาพ Runway นี้ซ้ายขวาช่องมีรางระบายน้ำ เรานึกถึงเวลาเราขับรถ แล้วถนนไม่เรียบก็ต้องมีการระบายน้ำทั้ง ๒ ข้างทางเพื่อให้เรียบถ้ากรณีที่ฝนตก ปรากฏว่า ด้านขวาที่ชิดขอบกับอาคารสนามบินมีรางระบายน้ำ แต่ด้านซ้ายดันไปติดกับสนามกอล์ฟ ผมถามว่าแบบนี้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ เพราะฉะนั้น Runway กลายเป็นพื้นที่ เปราะบางเลยนะครับ ดังนั้นมันไม่ควรมีความเสี่ยงใด ๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะการวัดระยะทาง ที่เกิดขึ้นไม่ควรมีสิ่งกีดขวางทางน้ำใน Runway เลยแม้แต่น้อย ผมยังอยากทราบว่า รางระบายนั้นท่านจะแก้ปัญหาอย่างไร ผมมาช่วยดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทางวิ่งของ สนามบินดอนเมือง สนามบินดอนเมืองประกอบไปด้วย ๒ Runway 21R 03L ซึ่งใช้ในเชิง พาณิชย์ และอีก Runway หนึ่งเขาใช้ของกองทัพอากาศ จะเห็นได้ว่าภาพของสนามกอล์ฟ กานตรัตน์ที่อยู่ระหว่าง ๒ ทางวิ่งนี้ ผมขอโฟกัสไปข้อกังวลที่เกิดขึ้นในทางวิ่งเชิงพาณิชย์ ลักษณะกายภาพและข้อมูลที่เห็นจะเห็นว่า ขนาดของทางวิ่งในเชิงพาณิชย์จะกว้างอยู่ที่ ๓,๗๐๐ คูณ ๖๐ เมตร ซึ่งตัวเลขความกว้างนี้จะต้องมีเงื่อนไขการวิ่งตามมาตรฐาน ซึ่งเครื่องบินหลัก ๆ จะต้องมี คุณสมบัติที่เรียกว่า พื้นที่ความปลอดภัยอยู่รอบวิ่ง ๑๕๐ เมตร เมื่อวัดจาก Central Line ๒ ข้างร่วมกัน ๓๐๐ เมตร ผมก็ใช้การวัดจาก GPS เพื่อให้ทุกท่านได้เห็นว่าทั้ง ๒ ส่วนนี้ ในส่วนของกรณีทางวิ่งสนามบินดอนเมืองมันไม่ตรงอย่างไร นี่คือภาพมุมสูงครับท่านประธาน เมื่อวัดมาแล้วพบว่ามีส่วนที่ไม่ถึง ๑๕๐ เมตรตามมาตรฐานความปลอดภัยทางวิ่งเลย ดังนั้นหากรวมแล้วพื้นที่นี้จึงเป็นพื้นที่เปราะบาง ในส่วนของข้อกังวลอีกข้อหนึ่ง คือทางกองทัพเคยให้ข้อมูลในชั้นกรรมาธิการว่าสนามกอล์ฟกานตรัตน์นี้เป็นสวัสดิการของ กองทัพ แต่ใน Website ของสนามกอล์ฟก็ยังมีการเปิดให้บริการสำหรับบุคคลทั่วไป ฉะนั้น การคัดกรองบุคคลนี้ก็ยังคลุมเครือว่าได้มาตรฐานไหม นอกจากนี้เรื่องระบบคัดกรองที่ผมตั้ง คำถามนี้ ผมก็ยังคิดว่ามันก็ต้องมี Human Error เป็นธรรมดา มันจะมีอะไรไป Guarantee ละครับ แล้วผมคิดว่าการที่จะเสี่ยงให้คนที่เข้าไปในพื้นที่เขตสนามบินนี้ต้องมีการเข้มงวด นอกจากนี้ครับท่านประธาน ผมขอแอบแซวนิดหนึ่งว่าผู้ที่ไปตีกอล์ฟที่นั้นไม่ต้องห่วงเรื่อง ความร้อนเลย เพราะต้นไม้เขาจะตัดเรียบเลย แล้วก็มีคนเสนอวิธีการคลายร้อนให้แล้ว แล้วก็ไม่ต้องกลัวหิวด้วยเพราะในสนามกอล์ฟมีราดหน้าใส่ดอกกะหล่ำขายครับท่านประธาน แสดงว่าสนามกีฬาแห่งนี้ไม่ใช่เปิดให้เฉพาะบุคคลทั่วไป การเข้าไปใช้บริการนี้ แน่นอนว่า นี่คือชัดเจนว่าเป็นเสนาพาณิชย์ เสนาพาณิชย์ที่กองทัพมีรายได้จากสนามกอล์ฟเหมือนที่ เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไป ดังนั้นแล้วผมชี้ให้เห็นว่านี่คือรายได้ของกองทัพ แล้วรายจ่ายล่ะ เกี่ยวกับสนามกอล์ฟกานตรัตน์พื้นที่โดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นระบบระบายน้ำ ภาษีที่ดิน ใครรับผิดชอบ ลำพังจะเอาเงินจากผู้เล่นกอล์ฟ ผู้ตีกอล์ฟหรือครับ มันก็หนีไม่พ้นภาษีพี่น้อง ประชาชน ท่านประธานครับ การรับผิดชอบของสนามบินดอนเมืองหรือ ทอท. ท่านประธาน เงินบางส่วนถูกนำไปใช้แบกรับจ่ายภาษี จ่ายค่าเช่าที่ให้กับสนามกอล์ฟนี้แทน หมายความว่า ที่ราชพัสดุที่กองทัพอากาศเคยครอบครองมาแต่เดิม แม้ว่าภายหลังให้กับสนามบินดอนเมือง ดูแลแล้ว แต่ค่าใช้จ่าย ค่าเช่าต่าง ๆ สนามบินดอนเมืองรับไปด้วย ดังนั้นครับท่านประธาน ผมชวนมาดูประกาศ วันที่ ๑ เมษายน ที่กำลังจะมาถึงนี้จะมีการเก็บภาษีสนามบินกับ ประชาชนเพิ่มอีก ๓๐ บาท เท่ากับว่าแม้คุณไม่ Load กระเป๋า แม้คุณจะเดินตัวเปล่าไป ขึ้นเครื่องก็ตาม คุณก็ต้องเสียค่าภาษีสนามบินในประเทศ ๑๓๐ บาท ระหว่างประเทศ ๗๓๐ บาท นี่คือต้นทุนแฝงที่ทำให้เห็นว่าสาเหตุหนึ่งที่ขึ้นหรือเปล่า แน่นอนว่าการท่าปฏิเสธ ไม่ได้ว่าค่าเช่าที่แบกไป นี่คือส่วนหนึ่งของต้นทุนที่เอามาเก็บกับประชาชนตรงนี้ ที่ผม ชี้ให้เห็นนี้เพื่อให้พี่น้องทั่วไปได้เห็นว่านี่คือผลกระทบทางอ้อม ๆ ที่เราเจอ นอกจากนี้ครับ ท่านประธาน การนำภาษีประชาชนมาใช้ในส่วนประโยชน์ของกองทัพเพื่อมาบำรุงเสนา พาณิชย์ กำไรทั้งหมดมันไปไหน มันกลับเข้าไปที่กองทัพ มันไม่ได้ส่งคืนหลวงนะครับ ดังนั้น ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากส่วนนี้เลย มิหนำซ้ำตรวจสอบไม่ได้ด้วย ภาษีแพง แสนแพงไปใช้บำรุงธุรกิจของกองทัพ เพราะฉะนั้นสุดท้ายแล้วประโยชน์ไปตกอยู่ที่ใครครับ และผมนี่เป็นลูกนายทหารชั้นประทวน ผมยืนยันได้เลยครับ อยากจะรู้เหมือนกันว่าสนาม กอล์ฟมีไว้สำหรับสวัสดิการให้กับนายทหารทุกหมู่เหล่าจริงหรือไม่ เพราะอะไรครับ เพราะผมมั่นใจเลยว่าคนที่ไปใช้สนามกอล์ฟในระดับราคาที่ผมได้นำเสนอไป ส่วนใหญ่ก็เป็นใครครับ นายพล นายพัน รัฐมนตรี สส. จะมีทหารผู้น้อยสักกี่คนที่เคยไปใช้ สนามกอล์ฟแห่งนี้ สู้เอาเงินที่ท่านลงทุนลงแรงไปกับสนามกอล์ฟนี้ไปใช้สร้างสวัสดิการให้กับ ทหารทุกหมู่เหล่าไม่ดีกว่าหรือครับ นี่คือข้อเสนอที่เป็นอุเบกขาที่สุดว่าอยากจะให้เพื่อน สมาชิกช่วยกันสนับสนุนญัตตินี้เพื่อศึกษาครับ ผมยกตัวอย่างของสนามกอล์ฟกานตรัตน์ให้ เห็นว่านี่คือเหตุผลหนึ่งที่เราจะต้องย้ายธุรกิจกองทัพออกจากพลเรือนแยกกัน ตามข้อเสนอ ของคุณเชตวันก็ได้ครับ ถ้าท่านไม่คืนท่านก็โอน ถ้าท่านไม่โอนท่านก็เปิดเป็นพื้นที่สาธารณะ วันนี้ถึงเวลาแล้วครับที่กรรมาธิการที่อาจจะตั้งขึ้นจะได้ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางครับ กรอบระเบียบและต้องดำเนินการมีผลออกมาจริง ๆ ว่ารัฐบาลชุดนี้เอาจริงกับที่ท่านได้ หาเสียงเอาไว้ว่าจะปฏิรูปกองทัพ ผมก็หวังรอนะครับว่าญัตติของเพื่อนสมาชิกทั้ง ๓ คน ที่จะไปสู่การพิจารณาจะมีผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและหวังว่าจะเกิดประโยชน์กับพี่น้อง ประชาชนทุกบาททุกสตางค์ กองทัพจะได้ไม่ถูกครหาเป็นแดนสนธยาที่เป็นหลุมดำดูดเงิน ภาษีกลืนกินไปแบบนี้ ท่านคลายผลประโยชน์ออกมาครับ คลายให้กับรัฐบาล คลายกลับให้ พี่น้องประชาชน เปิดความโปร่งใส ขอบคุณครับท่านประธาน
ท่านประธานครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร คนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ขอบคุณท่านประธานนะครับ ที่ให้ผมได้สรุปญัตติที่ผมได้เสนอไป แล้วก็จากการฟังเพื่อน สมาชิกได้อภิปรายมา ผมก็คิดว่าสุดท้ายนี้ผมก็จะต้องทำความเข้าใจว่าเหตุใดจึงจะต้องมี การศึกษาแนวทางการถ่ายโอนหน้าที่ในการบริการของกองทัพไปอยู่ในหน่วยงานที่เหมาะสม มากกว่า หรือว่าธุรกิจต่าง ๆ ไปอยู่ในความดูแลของรัฐบาล ผมยกตัวอย่างครับ ไม่ว่าจะเป็น เคสที่เกิดขึ้นในเขตดอนเมืองกรณีของสนามบินดอนเมือง ซึ่งเป็น ๑ ในสนามบินที่ถูกระบุว่า มีความอันตราย มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในเรื่องของพื้นที่ Airside ที่มีสนามกอล์ฟ ตั้งอยู่ด้านข้าง อันนั้นก็เป็นรายละเอียดที่สามารถถกเถียงกันได้ แต่ท่านประธานครับ มันเป็น สิ่งที่เสี่ยงด้านความปลอดภัยการบิน มันเพิ่มความยากลำบากในการควบคุมการจราจรทาง อากาศหรือนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยต่าง ๆ เพราะฉะนั้นผมต้องเป็นกระบอกเสียง เป็นปาก เป็นเสียง หน่วยงาน ทอท. นี้นะครับ มีการให้ข้อมูลที่จะบอกว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ กองทัพอากาศจะต้องให้ความร่วมมือ ทั้งเรื่องของการขยายรางน้ำ ทั้งเรื่องของการปรับปรุง พื้นที่ ทั้งเรื่องของการพิจารณาว่าจะต้องมีการเชื่อมโยงในเรื่องของสนามกอล์ฟกานตรัตน์ อย่างไร อย่างที่ทราบครับ ที่ผ่าน ๆ มานั้น นอกจากรายได้จะเข้าไปเพื่อสวัสดิการต่าง ๆ ที่กองทัพอากาศได้อ้างมาต่าง ๆ นี้นะครับ แต่ส่วนหนึ่งรายจ่ายครับ การท่าอากาศยาน ซึ่งเป็นหน่วยงานต้องแบกรับรายจ่ายส่วนนี้ให้กับกองทัพอากาศ และรายได้ที่กองทัพอากาศ ได้ก็ไม่มีความโปร่งใส เพราะสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ไม่สามารถรู้ได้เลยว่ารายได้จำนวนมาก เท่าไรและนำไปใช้อะไร นอกจากนี้ธุรกิจของกองทัพเอง นอกจากสนามกอล์ฟแล้วก็มีธุรกิจ อื่น ๆ อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปราย แต่ถ้าจะเห็นชัดสุดว่าตัวอย่างของสนามกอล์ฟ กานตรัตน์ ถ้าหากปรับปรุงพื้นที่ให้เกิดความปลอดภัยตามมาตรฐานการบินแล้ว และกองทัพอากาศให้ความร่วมมือในการเป็นประตูหน้าบ้านให้กับสนามบินดอนเมือง ให้สามารถที่จะเป็นจุดพักคอยหรือว่าจูงใจให้นักท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้มาใช้และเก็บภาษี เก็บรายได้จริงจัง ทำเป็นเชิงธุรกิจพาณิชย์ที่รัฐบาลดูแลหรือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ ในด้านของสนามกอล์ฟมาดูแลก็จะทำให้เป็นประโยชน์ต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว ต่อสนามบินต่อรายได้ของประเทศมากขึ้น ผมจึงเรียกร้องว่าอยากให้กรรมาธิการชุดนี้ ได้ศึกษาว่าสนามกอล์ฟควรจะถูกย้ายออกจากพื้นที่ Airside หรือไม่ หรือถ้าหากยังจะคงอยู่ จะรักษาความปลอดภัยการบินอย่างไร ในความเห็นของผมเพียงคนเดียวคงไม่พอ แต่การตั้งกรรมาธิการชุดนี้น่าจะเอาผู้เชี่ยวชาญด้านการบิน เอาผู้ที่มีประสบการณ์ หรือว่า ทำการศึกษาอย่างรอบด้านว่าจะต้องทำอย่างไรให้ได้เป็นมาตรฐาน รวมถึงปรับปรุงพื้นที่ แล้วโอนธุรกิจเพื่อดูแลเชื่อมต่อผลประโยชน์ของชาติ ท่านประธานครับ แนวทางการปฏิรูป ของกองทัพนำธุรกิจให้รัฐบาลดูแลในยุคปัจจุบันนี้มันควรจะมีความโปร่งใสหรือ ความรับผิดชอบต่อสังคม แล้วก็ควรจะเพิ่มขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปกองทัพให้ ธุรกิจมาอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จำเป็นนะครับ เพราะเป็นเรื่องของ ความโปร่งใสในการจัดการทรัพยากรและการปฏิบัติงาน การปฏิรูปนี้จะมุ่งเน้นไปที่การแยกธุรกิจออกจากการดำเนินงานทางการทหารเพื่อลด ความขัดแย้งของผลประโยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการทรัพยากร ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลนี้จะเอาจริงหรือไม่ อย่าลืมนะครับ ท่านแถลงต่อสภาแห่งนี้เอาไว้ เพราะฉะนั้นการกำหนดแนวนโยบายการปฏิรูปก็เริ่มต้นด้วยการ ๑. มีนโยบายที่ชัดเจนก่อน ว่าจะดำเนินธุรกิจของกองทัพ กระทรวงกลาโหมจะทำอย่างไร รูปแบบของการบริหารจัดการ ที่เหมาะสมคืออะไร และสร้างกรอบการทำงานที่ชัดเจน แยกหน้าที่ระหว่างกิจกรรม ทางทหารและกิจกรรมทางธุรกิจ เพราะว่ากองทัพก็จะอ้างว่ามันคือสวัสดิการ แต่แท้จริงแล้ว สวัสดิการเพื่อใครเราก็ไม่รู้ได้ ๒. ก็คือต้องตรวจสอบและควบคุมให้มีความเป็นอิสระ และการดำเนินธุรกิจของกองทัพจะต้องโปร่งใสเดินคู่ขนานกันไป ป้องกันการใช้ผลประโยชน์ ที่ไม่เหมาะสม ๓. ต้องเปิดเผยข้อมูลและการดำเนินงานธุรกิจของกองทัพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ประชาชนและองค์กรตรวจสอบ โดยการเข้าถึงข้อมูลและเข้าใจในการดำเนินงาน อย่างแท้จริง ทุกวันนี้เราไม่เข้าใจจริง ๆ ครับ สนามกอล์ฟตั้งอยู่รายจ่ายมีอะไรบ้าง รายรับ มีอะไรบ้าง จ่ายกันภายในแล้วเบิกภาษีไปอย่างไร ใช้งบประมาณประจำปีอย่างไร นี่คือ ข้อขัดแย้งในตัวมันเอง และ ๔. ก็คือว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรพลเรือน ก็คือว่าประชาชนและองค์กรพลเรือนรัฐบาลควรจะกำกับได้ ทุกวันนี้ผมไม่แน่ใจนะครับว่า ท่านสุทินจะสามารถกำกับธุรกิจในกองทัพได้หรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานอยู่ภายใต้ การดูแลของพลเรือนอย่างถูกต้องและเหมาะสม และสมกับความต้องการของสังคม และเหมือนที่ท่านผู้อภิปรายหลาย ๆ คนได้พูดครับว่ามันจะนำไปสู่อะไร นำไปสู่การพัฒนา และฝึกฝนบุคลากรในการบริหารงานอย่างมืออาชีพ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลชุดนี้ จะต้องทำ เห็นแก่พี่น้องประชาชน เห็นแก่ทหารทุกหมู่เหล่า เราไม่ได้มาโจมตีที่จะบอกว่า กองทัพทำไม่ดีนะครับ วันนี้ที่เราตั้งญัตติเพื่อบอกว่าเราจะช่วยให้กองทัพมีธุรกิจที่ดูแล สวัสดิการได้อย่างแท้จริงและโปร่งใส ทำอย่างไร ตรงนี้เรามาถกกันในรายละเอียด แต่สิ่งหนึ่ง เราอยากให้เรียกร้องให้มีการศึกษาว่าจะต้องวางกรอบการทำงานอย่างไรระหว่างหน้าที่ ทางทหารและกิจกรรมทางธุรกิจ เรื่องนี้ไม่เคยพูด หรือพูดมาก็ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ รอบนี้ ละครับที่เราจะต้องจริงจังสักที เพราะฉะนั้นผมหวังว่าการปฏิรูปกองทัพในแนวทางนี้จะส่งผล ไปสู่การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส แล้วเราจะช่วยให้สร้างความเชื่อมั่นให้กับ กองทัพและจัดการทรัพยากรของประเทศได้อย่างเหมาะสม ทุกองคาพยพก็จะช่วยกัน แล้วผมก็หวังว่าญัตตินี้จะเป็นประโยชน์ต่อกองทัพและประชาชน ขอบพระคุณครับ ท่านประธาน
ท่านประธานครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร คนดอนเมือง พรรคก้าวไกลครับ ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางธุรกิจ กองทัพ ไปอยู่ในความดูแลของหน่วยงานอื่นหรือย้ายไปในสถานที่อื่นที่เหมาะสม ในสัดส่วนของพรรคก้าวไกล จำนวน ๖ คน ๑. นางสาวเบญจา แสงจันทร์ ๒. นายเชตวัน เตือประโคน ๓. นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ๔. นายกิตติพงษ์ ปิยะวรรณโณ ๕. รองศาสตราจารย์พวงทอง ภวัครพันธุ์ ๖. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ขอผู้รับรองด้วยครับ
ท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ วันนี้ผมก็จะนำเสนอปัญหาของขยะที่พี่น้องคนดอนเมืองต้องเผชิญ ใน ๓ ด้านมาให้ท่านประธานได้ดูก่อนที่จะอภิปรายว่าผมเห็นด้วยกับญัตติที่เพื่อนสมาชิก ได้เสนอ ท่านประธานครับ พี่น้องคนดอนเมืองต้องเผชิญกับปัญหาขยะที่ประชาชนมาแอบทิ้ง เอาไว้ในพื้นที่รกร้าง
เขาทิ้งแล้วอย่างไรครับ เขาก็ แอบเผา ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว สร้าง PM สำนักงานเขตก็ทำอะไรไม่ได้ ยิ่งบริเวณถนนเทิดราชัน เขตดอนเมืองก็ได้รับผลกระทบจากกลิ่น เพราะเป็นพื้นที่ใกล้เคียง แต่ไม่ได้เกิดในเขตเท่านั้น มันแก้ปัญหายากมาก เพราะพื้นที่ที่ติดกัน อย่างเช่น อบต. หลักหก ก็มีคนแอบเอาขยะไปทิ้ง จำนวนมาก แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ท่านประธานครับ เรื่องที่มันเกิดขึ้นนี้ การทิ้งขยะนี้ไม่มีกฎ ไม่มีระเบียบหรอกครับ มันมีอยู่ แต่การบังคับใช้นี้เป็นปัญหา เพราะฉะนั้นจะต้องหา มาตรการหรือว่าการเคร่งครัดมากขึ้นที่จะทำให้ลงโทษจัดการเรื่องของระเบียบจัดการขยะ รกร้างข้างทางออกไป นี่คือสิ่งที่เร่งด่วนแล้วต้องลงโทษผู้ที่เผาขยะด้วย ขอเติมไปนิดหนึ่ง และเลียบทางรถไฟสายสีแดง หรือว่าทางรกร้างตรงไหนก็ตามมีการแอบเอาขยะเอาไปทิ้ง ทั้งหมด เพราะฉะนั้นเราต้องจัดการบรรดาบริษัทที่รับขนขยะ หรือต้องจัดการกับคนรับขน ต่าง ๆ ต้อง Check ตรวจสอบเส้นทางให้ได้ว่านำขยะไปทิ้งในจุดใดบ้าง นอกจากนี้ครับ ท่านประธาน ผมอยากฉายภาพในพื้นที่ให้เห็นก่อนแล้วผมจะเสนอแนะต่อไป
เรื่องที่ ๒ ขยะเมื่อสักครู่นี้ที่ได้เห็นแล้ว ในเขตดอนเมืองผมก็ไปดูมามี อะไรบ้าง มีทั้งขยะจากอุตสาหกรรม ขยะจากครัวเรือน เคมีอันตราย ขยะจากก่อสร้าง ขยะติดเชื้อ มันก็มาจากหลากหลายที่มา ถ้าจะดูจากประเภท ไม่ว่าจะเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสาร คอมพิวเตอร์ Sensor อะไรอีกที่นึกออก ขยะทางเคมี หรือครับ ยานพาหนะ อุปกรณ์ทางทหาร ในเขตดอนเมืองมีค่ายทหารอยู่ มีสนามบินอยู่ ปลอกระสุน สร้างอุปกรณ์วัสดุจำลองหรือครับ หรือแม้กระทั่งขยะที่สร้างบำรุงการก่อสร้าง การทำอาคารต่าง ๆ ก็ล้วนแต่เกิดขยะได้ หรือแม้กระทั่งในคลินิกในเขต โรงพยาบาลในเขต ผมก็มานึกออกว่าเขาจัดการปัญหาขยะอย่างเป็นระบบหรือไม่ อย่างไร หรือแม้กระทั่ง ในสนามบินดอนเมืองซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่คนไปใช้มีกิจกรรมจำนวนมาก ปริมาณขยะก็ต้อง เยอะแน่นอน ทั้งอาหาร บรรจุภัณฑ์ ความหลากหลายของขยะ พลาสติก กระดาษ สิ่งเหล่านี้ แน่นอนว่าจะต้องมีการขนย้าย ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องของการบำรุงรักษาอากาศยาน ก็ต้องการจัดการขยะแบบพิเศษ เคยมีการพูดถึงเรื่องนี้หรือไม่ ผมต้องการเป็นกระบอกเสียง ให้คณะกรรมาธิการหรือผู้ที่ได้ศึกษาเรื่องนี้ได้ตรวจสอบอย่างละเอียด เพราะว่าเป็นเรื่องที่ กระทบกับวิถีชีวิตของพี่น้องคนดอนเมือง ท่านประธานครับ ผมก็ไม่อาจจะไปแนะนำวิธีการ แก้ปัญหาได้ ผมก็ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องการกำจัดขยะ แต่ผมก็จะพยายามสร้างการตระหนักรู้ แยกขยะนะครับ แต่ผมก็อยากพาท่านประธานไปดูตัวอย่างในต่างประเทศในเรื่องของ การจัดการขยะ ผมพาท่านประธานไปดูการแยกขยะต้นทางที่ประเทศสวีเดน เขาจัดการขยะ ได้ดีมาก เพราะว่าเขามีกฎหมายระเบียบที่เข้มงวด มีการรณรงค์ให้ประชาชนแยกขยะ ที่ต้นทาง แล้วเอาขยะนี้ไปผลิตไฟฟ้า แล้วก็รัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลางเขาทำงาน สอดคล้องกันมากครับท่านประธาน มีการส่งเสริมการลดใช้พลาสติกและวัสดุที่ย่อยสลายได้ ซึ่งประเทศสวีเดนถูกยกเป็นแบบ Very Good เลยท่านประธาน รูปแบบของขยะถูกจัดการ ไปสร้างพลังงานทั้งไฟฟ้า พลังงานความร้อน แล้วก็ใช้ในการจ่ายไฟฟ้า ทำให้ระบบความร้อน ในบ้านเรือนและอาคารต่าง ๆ แม้ว่าจะมีการเผาขยะอาจจะสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ว่า ถ้าจัดการอย่างเหมาะสมนี้ก็สามารถที่จะให้ปล่อยมลพิษต่ำกว่าการกำจัดขยะในรูปแบบ อื่น ๆ ได้ ซึ่งเขาถือว่าขยะเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญของเขา ด้านการจัดการก็อย่างที่ บอกไปว่าเขาก็มีความเข้มแข็ง อีกประเทศหนึ่งท่านประธาน ผมพาไปดูที่ประเทศเยอรมนี เขามีระบบจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลกเรื่องการ Recycle เลย เพราะเขา แยกขยะได้อย่างแม่นยำ การ Recycle กว้างขวาง เขาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีทั้งระบบ ที่เขาเรียกว่า Green Dot System ก็คือเป็นระบบที่ส่งเสริมให้ผู้ผลิตเขารับผิดชอบต่อบรรจุ ภัณฑ์ต้อง Recycle หรือว่ากระทั่ง ระบบ Deposit Refund System ซึ่งเขาใช้ส่งเสริมให้ คนที่บริโภคต้องคืนขวด กระป๋องต่าง ๆ แล้วเขาเก็บเงินมัดจำจาก Supermarket ไว้ แล้วก็ ถ้าสมมุติว่ามีการคืนขวดหรือว่านำไป Recycle ก็จะได้เงินคืน ยกตัวอย่างเช่นขวดน้ำที่ใช้ได้ ถ้าเป็นพลาสติกก็สามารถใช้ซ้ำได้ถึง ๕๐ ครั้ง เขาก็มีการคืนค่ามัดจำให้อยู่ที่ระหว่าง ๐.๐๘ หรือ ๐.๒๕ ยูโร หรือประมาณราว ๓-๙ บาทต่อขวด แบบนี้เป็นต้น หรือกระป๋องที่ใช้ ครั้งเดียวทิ้งก็คืนได้อยู่ที่ประมาณ ๙ บาท แล้วก็นอกจากนั้นประเทศเยอรมนีเขาก็ไปออก กฎหมายด้วย ที่เป็นพระราชบัญญัติที่ขยายครอบคลุมถึงเกี่ยวกับ Packaging ต่าง ๆ โดยที่ กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้บริโภคต้องมีส่วนรับผิดในเรื่องของการจัดการขยะหรือว่า มีกฎระเบียบที่ออกโดยรัฐในการกำหนดมาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ของสินค้า นอกจากนี้ผมก็ จะพาท่านประธานย้อนไปดูระเบียบโลกหรือกติการะหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยลงนาม เอาไว้เรื่องของการจัดการขยะ ไม่ว่าจะเป็นอนุสัญญาบราซิล ซึ่งอนุสัญญานี้ควบคุมการขนส่ง ขยะอันตรายและขยะอื่น ๆ ข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันขยะ อันตรายนำไปทิ้ง ตอนนี้เรายังมีข่าวเรื่องที่ประเทศไทยเป็นที่รับทิ้งขยะหรือเปล่า ก็ต้องไปดู นะครับ อันที่ ๒ อนุสัญญาสตอกโฮล์ม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลดขยะการใช้สารเคมีอันตราย ซึ่งสามารถพบได้ในพวกขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือขยะอุตสาหกรรม หรือกติกาอัมสเตอร์ดัม ซึ่งเขามุ่งเน้นไปที่เรื่องของการควบคุมการค้าระหว่างประเทศสารเคมีอันตราย สารศัตรูพืช ที่จะต้องใช้ในการจัดการกับขยะที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี และอันสุดท้ายครับท่านประธาน อนุสัญญามินามาตะ ซึ่งสนธิสัญญานี้เขาจะควบคุมเรื่อง ของปรอทในการเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร แล้วก็ผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ ทั้งหมดนี้ผมก็ เห็นด้วยกับญัตตินี้นะครับ แล้วก็อยากให้เรื่องที่ผมได้อภิปรายนี้ถูกบรรจุ แล้วก็เป็นเนื้อหาที่ อย่างน้อยเป็นข้อเสนอแนะที่เพื่อนที่จะได้ไปศึกษา สมาชิกที่ได้ไปศึกษาคณะกรรมาธิการ นำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะไปเรียบเรียง แล้วมีประโยชน์ในการออกกฎระเบียบที่เป็น ประโยชน์ต่อไป ขอบพระคุณครับท่านประธาน
ท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ต้องขอบคุณท่านประธานที่ได้เปิดโอกาสให้ได้อภิปรายสนับสนุนร่างที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอ คุณธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ท่านประธานครับเป็นที่น่าเสียใจมาก
ผมเป็นหนึ่งในกรรมการ วิปฝ่ายค้านก็ได้สอบถามบรรดาข้าราชการจากกระทรวง พม. และหน่วยงานอื่น ๆ ปรากฏว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในการสอบถามความพร้อมของร่างพระราชบัญญัตินี้ว่าทาง ครม. หรือหน่วยงาน ที่ดูแลมีร่างที่จะสามารถที่จะยื่นประกบหรือเป็นร่างในทำนองเดียวกันได้หรือไม่ แต่ปรากฏ ว่าได้รับคำตอบว่าไม่มีความพร้อม ครม. ก็ไม่พร้อม เพราะฉะนั้นร่างของพรรคก้าวไกลวันนี้ ผมต้องนำเสนอครับ เพราะว่าร่างของพรรคก้าวไกลมีความพร้อม ท่านประธานครับร่างนี้ เป็นเจตจำนงเรื่องของเพศคือสิทธิมนุษยชน สไลด์ถัดไปจะเห็นว่าการรับรองเพศคือสิ่งที่ทำ ให้ตัวเองให้ความสำคัญ มันไปไกลมากกว่าคำนำหน้านามตามอัตลักษณ์เพศ มันเป็นเรื่อง ของการรับรองสิทธิการมีอยู่ของคนเหล่านั้น และต้องการแสดงเจตจำนงเสรีทางเพศ ท่านประธานครับมนุษย์ทุกคนเกิดมาก็มีอิสระและความเสมอภาคกันถูกไหมครับ กติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเขาก็บอกชัด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา พวกนี้คือสิ่งที่จะเลือกปฏิบัติไม่ได้ และประเทศไทยเราทำไมถึงจะไม่พร้อม ล่ะครับ การมีร่างกฎหมายนี้มีข้อดีหลายประการ ผมอยากจะให้ท่านประธานช่วยดูครับ ผมพามาดูข้อดีของการมีกฎหมายรับรองเพศ ไม่ว่าจะเป็นการรับรองความเท่าเทียมและสิทธิ มนุษยชน ซึ่งการรับรองเพศสภาพไม่เฉพาะคำนำหน้านามอย่างเดียว มันจะเป็นการยืนยัน สิทธิของตัวเองและสะท้อนความเท่าเทียมในสังคม ซึ่งมันควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เราควรจะ ได้รับได้แล้ว นอกจากนี้หากเรารับรองกฎหมายฉบับนี้ แน่นอนว่าการรับรองเพศสภาพจะช่วย ให้บุคคลสามารถใช้ชีวิตและแสดงออกถึงตัวตนได้อย่างเต็มที่ ลดความเครียดและปรับปรุง เรื่องสุขภาพจิต และเสริมสร้างความมั่นคงทางกฎหมายครับ คือการที่กฎหมายจะช่วยให้ บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองและขจัดการเลือกปฏิบัติและการกีดกันที่ช่วยให้เขาเข้าถึง การบริการสิทธิต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม ผมคงไม่ลงรายละเอียด Detail เล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่อง การเปลี่ยนชื่อคำนำหน้านาม แต่ผมพยายามอธิบายถึงหลักการ แน่นอนว่ามันก็มีข้อเสีย แต่ผมมองว่ามันคือสิ่งที่ท้าทายในการปฏิบัติครับ เพราะถ้ากฎหมายเหล่านี้ผ่าน แน่นอนว่า เราจะต้องช่วยกันทำความเข้าใจและให้เกิดการยอมรับจากสังคมว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ มันจะมีผลดีอย่างไร และแน่นอนว่ากฎหมายนี้ก็อาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ที่มีความเชื่อ และค่านิยมที่แตกต่าง แต่ผมขอเรียนแบบนี้ครับท่านประธาน ในพหุวัฒนธรรมในสังคมที่ หลากหลาย หากเราอยากให้สังคมอื่น ๆ หรือความเชื่ออื่น ๆ ยอมรับท่าน ท่านต้องยอมรับ ผู้อื่นด้วย นี่คือหลักการสำคัญพื้นฐาน เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่งที่พรรคก้าวไกลพยายามรณรงค์ว่า เราเห็นความสำคัญของทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกเพศสภาพ และอีกด้านหนึ่งก็คือความท้าทายด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงบริการสาธารณะ เอกสาร ราชการและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในการปรับตัว พวกนี้คือความท้าทายที่เราจะทะเยอทะยาน ให้รัฐราชการรวมศูนย์ปรับตัวเพื่อดูแลประชาชน ปรับตัวอะไรบ้าง ๑. ก็คือเรื่องของ กฎหมาย ซึ่งแน่นอนว่าถ้าร่างนี้อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้บอกไว้ว่ามีร่างของภาคประชาสังคม จะยิ่งดี ถ้ามีร่างของพรรคเพื่อไทย ร่างของ ครม. เข้ามารวมกัน ร่างจะได้ผ่าน เราจะได้มา ช่วยกันพิจารณารายละเอียด ซึ่งมันเถียงกันได้ครับท่านประธานในชั้นกรรมาธิการ ผมคิดว่า เราสามารถปรับกันได้ Tune กันได้ นอกจากนี้ครับท่านประธาน เราจะต้องดูแลเรื่องของ สภาพของระบบกฎหมายที่จะต้องสร้างการยอมรับ ถ้ากฎหมายนำหน้าแน่นอนว่าการยอมรับ มันต้องตามมา แล้วเราต้องสื่อสารเปิดกว้างครับเป็นกุญแจที่จะขับเคลื่อน ท่านประธานครับ มันมีกฎหมายที่สนับสนุนเรื่องสิทธิของบุคคลข้ามเพศแล้วก็ไม่ยึดติดกับเพศทางชีววิทยา อย่างโดดเด่น ไม่ใช่แค่ที่พรรคก้าวไกลเสนอ แต่ทั่วโลกเขามีมาก่อนแล้ว ผมพาท่านประธาน ไปดูที่อาร์เจนตินา อาร์เจนตินาเป็น ๑ ในประเทศแรก ๆ ที่เขารับรองเพศสภาพโดยผ่าน กฎหมายอัตลักษณ์ในปี ๒๐๑๒ ซึ่งอนุญาตให้บุคคลเปลี่ยนเพศสภาพและชื่อในเอกสาร ประจำตัว ไม่ต้องผ่านการรักษาหรือพิสูจน์เพศ นี่อาร์เจนตินานะครับ ที่แคนาดาล่ะ แคนาดา เขาครอบคลุมเกี่ยวกับสิทธิ LGBTQ+ รวมถึงการรับรองเพศสภาพเขาก็มี แล้วก็ปกป้อง การเลือกปฏิบัติตามเพศสภาพในระดับประเทศ ที่เดนมาร์กครับเป็นประเทศแรกในยุโรป ที่ลบการระบุเพศข้ามเพศออกจากการเป็นโรคในปี ๒๐๑๗ และสนับสนุนให้บุคคลเปลี่ยน เพศสภาพและชื่อโดยไม่มีข้อจำกัดที่เข้มงวด ไปดูอีกประเทศหนึ่งครับท่านประธาน เนเธอร์แลนด์ เขาเป็นหนึ่งในประเทศที่เปิดกว้างและสนับสนุนสิทธิ LGBTQ โดยมีกฎหมาย ที่อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนเพศบนเอกสารประจำตัว และนอร์เวย์ สหราชอาณาจักร หรืออเมริกาก็เป็นกฎหมายในทำนองเดียวกัน กลับมาดูประเทศเราครับท่านประธาน วันนี้ ถึงเวลาแล้วหรือยังครับที่เราจะต้องเดินหน้ารับรองเพศสภาพของบุคคล แล้วก็การคุ้มครอง บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผมหวังว่าสภาแห่งนี้จะพูดด้วยปากและเชื่อด้วยใจจริง ๆ ว่าเราต้องการสนับสนุน ไม่ใช่พูดอีกอย่างแต่ทำอีกอย่าง ขอบพระคุณครับท่านประธาน
ท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ก่อนอื่นต้องขอบคุณสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ที่ได้ให้เกียรติสภาแห่งนี้นำรายงานที่ท่านได้รวบรวมประจำปีมารายงานต่อ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งผมก็ได้ไปอ่านทั้งตัวเนื้อหาแล้วก็รูปเล่มก็เพลิดเพลินเจริญใจมากทีเดียว พอดูเรื่องของวิทยาศาสตร์ ขอสไลด์ขึ้นด้วยครับ
ท่านประธานครับ แน่นอนว่า เพื่อการตอบโจทย์ของความต้องการของประเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงานสะอาด คุณภาพการศึกษา และที่สำคัญที่สุดก็คือการลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ของประชาชน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าวิทยาศาสตร์มันเป็นกุญแจที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต ไม่ว่าจะเป็นภาคแรงงาน ภาคอุตสาหกรรมของเรา แล้วก็เศรษฐกิจมันก็เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว บริบทภายในประเทศไทยวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีปัจจุบันถ้าพิจารณา จากแผนที่เรียกว่า Thailand 4.0 เป้าหมายหลักของเราวางเอาไว้ว่าจะพัฒนาเทคโนโลยี มุ่งไปที่ ๑๐ อุตสาหกรรมหลัก หรือว่า S-Curve ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มหลักและกลุ่มที่มีโอกาส เติบโตสูง ดังนั้น สวทช. เรียกว่ามีบทบาท เป็นผู้ที่จะไปกำหนดในเรื่องของการวิจัยและ พัฒนา ซึ่ง สวทช. เขาก็อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวง อว. แล้วก็ดำเนินงานวิจัย ยุทธศาสตร์ ๒ เป้าหมายหลัก ๆ ก็คือ BCG หรือว่าเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว แล้วก็แผนปฏิบัติงานด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อพัฒนาประเทศไทย แต่ท่านประธานครับ สวทช. เขาก็ยังมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์วิจัยและพัฒนา เพื่อตอบโจทย์ทั้งด้านการเกษตรอุตสาหกรรม ๔ ตัวอย่างที่ผมเห็นก็คือ ด้านการเกษตร และอาหารก็มีการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช อันที่ ๒ ด้านสุขภาพ และการแพทย์ ก็คือเทคโนโลยีการประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด แล้วก็ Telehealth แล้วก็อันที่ ๓ ด้านพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ เช่น รถโดยสารไฟฟ้าจากองค์ความรู้ นักวิจัยไทยที่ร่วมพัฒนาโดยเอกชน แล้วก็ ๔ ด้าน Digital แล้วก็เทคโนโลยี Traffy Fondue ด้านพลังงานคือรถโดยสารไฟฟ้าที่ถูกค้นมานี้เขาก็เอามาแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับขนส่ง มวลชน เช่น การไม่ครอบคลุมต่างจังหวัด การที่ใช้รถเมล์ทดแทนเนื่องจากความต่อเนื่องของ สัมปทาน หรือแม้กระทั่ง Idea เรื่องรถไฟฟ้าเพื่อลดปัญหามลภาวะฝุ่นควัน PM2.5 สวทช. เขาก็มีการพัฒนารถไฟฟ้า ๔ คัน แล้วก็มีการดัดแปลงรถ ขสมก. ใช้แล้ว แล้วก็มีโครงการ นำร่องที่สามารถลดต้นทุนการนำเข้ารถใหม่กว่า ๓๐ เปอร์เซ็นต์ หรือว่าราวประมาณ ๗ ล้านบาทต่อคัน แล้วก็ไปพัฒนาร่วมกับเอกชน ผมพูดไปพูดมา ท่านประธาน ขออภัย เริ่มเหมือนโฆษก อว. โฆษก สวทช. แต่ไม่ใช่นะครับ คือผมพยายามชี้ให้เห็นความสำคัญของ วิทยาศาสตร์ Traffy Fondue ที่ประชาชนใช้แจ้ง อันนี้ก็เป็นการพัฒนาระบบที่เป็น Chatbot ก็ดี การตอบโต้ผู้แจ้งหรือการวิเคราะห์ส่งต่อปัญหาไปยังหน่วยงานที่ใช้ในการ แก้ปัญหา ไม่ใช่มีเฉพาะ กทม. เดี๋ยวนี้ท้องถิ่นก็เริ่มใช้แล้ว ระบบดี ๆ แบบนี้ สวทช. เขาก็ทำ อันนี้คือผมชี้ให้พี่น้องประชาชนเห็น บางคนอาจจะเดินไปถามแม่ค้าในตลาด พ่อค้าอะไร ก็อาจจะไม่รู้ สวทช. ทำอะไร นอกจากนี้ก็ยังดูแลเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณชั้นสูง แล้วก็ สวทช. เองเขาก็ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย Supercomputer เพราะว่าปัจจุบันนี้เราก็รู้ว่ามันต้องการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนมหาศาล แล้วก็พัฒนา ความรู้หลายอย่างจากข้อมูลจำนวนเยอะนี้ ท่านประธานครับ ผมชวนดูผลงานอีกอันหนึ่ง ก็คือศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเขาก็ออกแบบแล้วก็ผลิตเพื่อลดวงจร อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปบรรจุใช้ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา มือถืออะไรอย่างนี้ นี่ก็คือ บทบาทที่ผมฉายให้เห็น แต่ท่านประธานครับ การสนับสนุนของภาครัฐเราไม่เห็นในแง่มุมของ การที่จะให้ความสำคัญเลย งบประมาณด้านนี้กลับลดลง โดยที่ผมดูจากข้อสังเกตจาก งบการเงินนะครับ เปรียบเทียบปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๕ ก็จะพบว่า สวทช. มีรายได้รวมลดลง ๙๖๔ ล้านบาท และเมื่อพิจารณารายละเอียดก็จะเห็นว่ารายได้จากงบประมาณก็ลดลงด้วย ปี ๒๕๖๔ ๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท ปี ๒๕๖๕ ๔,๙๐๐ ล้านบาท ลดลงประมาณ ๒๓๐ ล้านบาท แล้วก็ทำให้ผมรู้สึกประหลาดใจว่าการที่ สวทช. ได้รับเงินอุดหนุนโครงการวิจัยลดลงจาก ปี ๒๕๔๔ ๑,๙๐๐ กว่าล้านบาท เหลือ ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาทนี้ หายไป ๙๐๐ ล้านบาท อยู่กันได้อย่างไรองค์กรนี้ เป็นไปได้อย่างไรครับท่านประธาน สวทช. เป็นหน่วยงานหลัก ในการวิจัยและพัฒนาของประเทศแต่กลับได้รับส่วนของวิจัยลดลง จะเห็นว่าสถานการณ์ ของงบประมาณในปี ๒๕๖๗ ที่มีสัดส่วนใกล้เคียงกับงบประมาณที่รายงานมาในฉบับที่กำลัง อภิปรายอยู่จะเห็นว่าก็มีการปรับลดในปี ๒๕๖๕ กลายเป็นฐานงบประมาณ ๓ ปี ก็คือ ปี ๒๕๖๕ ปี ๒๕๖๖ ปี ๒๕๖๗ จากการพิจารณาสัดส่วนของงบประมาณของ สวทช. นี้ ในปี ๒๕๖๗ ที่กำลังพิจารณาจัดสรรอยู่นี้ก็อยู่ในลำดับ ๙ ของหน่วยงานภายใต้ อว. ทั้งหมด จึงอยากตั้งข้อสังเกตว่าประเทศไทยเราให้ความสำคัญกับการวิจัยมากน้อยเพียงใด ซึ่งอันนี้ เป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากประเทศไทยเราต้องการความก้าวหน้าและการแข่งขัน ในเวทีโลก การลงทุนในการวิจัยและการพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน แล้วก็การลด งบประมาณแบบนี้มันจะส่งผลต่อการพัฒนาและการแข่งขันประเทศในระยะยาวไหม เดี๋ยวท่านผู้ชี้แจงช่วยบอกหน่อยว่าถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปท่านจะทำอย่างไร ท่านประธาน ผมอยากชวนดูในเรื่องของการสนับสนุนงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศนิดหนึ่ง ขอสัก ๒ นาทีไม่เกินครับท่านประธาน ประเทศที่มีการเติบโตในเศรษฐกิจระดับสูงนี้เขาจะมี กลุ่มองค์กรความร่วมมือและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ OECD เขาก็ให้ความสำคัญในการจัดสรร งบประมาณในการลงทุนเกี่ยวกับนโยบายด้านวิจัย หรือ R&D ในปี ๒๕๖๔ จะอยู่ที่ ๔.๗ เมื่อเทียบกับ GDP หรือว่าอย่างที่อิสราเอลเขาลงทุนด้านการวิจัย ๕.๖ เปอร์เซ็นต์ เกาหลีใต้ ๔.๙ เปอร์เซ็นต์ เป็น ๒ ประเทศที่ลงทุนกับ R&D มากที่สุดในโลก ในกลุ่ม OECD แต่ประเทศไทยผมไปคำนวณมาอยู่ที่ ๑.๓๓ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น สะท้อนว่าประเทศไทย ให้ความสำคัญกับงานวิจัยมากน้อยแค่ไหน มัวแต่ไปซื้ออาวุธให้กองทัพอยู่นั่น ท่านประธาน ผมอยากจะฝากข้อเสนอถึงกระทรวงและหน่วยงาน สวทช. ผมพยายามสื่อสารทั้งหมดนี้ เพราะอยากจะให้ประเทศไทยลงทุนกับวิทยาศาสตร์มากขึ้น แล้วก็รัฐบาล หน่วยงาน ก็ต้อง พยายามดูแลในเรื่องของการให้ความรู้กับประชาชน แล้วก็สร้างเจตจำนงร่วมกัน ให้ความสำคัญในการสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่จะไปซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อะไรทำได้ แต่ลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ไม่มี ดังนั้นผมดูตัวเลขของนักวิจัย ๑ ล้านคน ประเทศไทย มี ๒,๐๐๐ คนเท่านั้น ประเทศฟินแลนด์ ๗,๕๐๐ กว่าคน เดนมาร์ก ๗,๖๐๐ กว่าคน เกาหลีใต้ ๘,๐๐๐ กว่าคนต่อสัดส่วนประชากร ๑ ล้านคน น้อยไหมครับ เพราะฉะนั้นก็ฝาก ๓ ข้อเสนอ ๑. ก็คือเพิ่มและกำกับการบริหารจัดการในแง่งบประมาณและทิศทางนโยบายครับ ท่านผู้อำนวยการต้องไป Fight มากกว่านี้ ๒. ก็คือต้องกระตุ้นในการสร้างนวัตกรรมที่ ทะเยอทะยานมากขึ้นครับท่านประธาน และ ๓. ก็คือช่วยบูรณาการพัฒนาระบบการศึกษา ทั้งหมดนี้ก็ขอบพระคุณนะครับ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวหน้า แล้วก็แข่งขันได้อย่างมี ประสิทธิภาพในโลกยุคใหม่ ก็หวังว่าในรายงานปีถัดไปก็จะได้เห็นการพัฒนามากขึ้น ขอบพระคุณมากครับท่านประธาน
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมขออภิปรายสนับสนุนญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งกรรมาธิการ วิสามัญศึกษาการจัดทำข้อเสนอในการส่งเสริมให้เยาวชน เป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในระบอบ ประชาธิปไตย ส่วนจะเป็นกรรมาธิการวิสามัญหรือจะเป็นอนุกรรมาธิการตรงนี้ผมไม่ติดใจ แต่ว่าที่ผมจะต้องลุกขึ้นเพื่ออภิปรายเพราะผมอยากจะทำความเข้าใจ อยากจะสะท้อนให้ เพื่อนสมาชิกได้รับฟังร่วมกัน เรื่องของปัญหาที่อาจจะมีเพื่อนสมาชิกได้พูดถึงเรื่องของการให้ พลเมืองจะต้องมีคุณภาพภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ก่อนอื่นเรานิยามคำว่า พลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศไทยก่อน พลเมืองที่มีคุณภาพ คืออะไรครับ เราจะกำหนดความเป็นคุณภาพด้วยตัวเราเองไม่ได้ แน่นอนครับเราต้องศึกษา แล้วมันมีแบบแผนที่เป็นสากลมาอยู่แล้ว และแน่นอนว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นี่คือการที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก เพราะฉะนั้นการที่เราจะบอกว่าเราจะต้องสร้างคนคนหนึ่ง แบบไหน อย่างไร แน่นอนมันเป็นสิ่งที่ควรจะศึกษา แต่ผู้ที่ศึกษาจะต้องมีใจเป็นกลาง และมี ทัศนคติที่ดีต่อการเปิดพื้นที่ร่วมกันก่อน ท่านประธานครับ ความเป็นอิสระของความคิดและ การแสดงออกในปัจจุบันนี้การศึกษาหรือว่าโครงสร้างในการสร้างพลเมืองตั้งแต่ในรั้วโรงเรียน มันอะไร มันจำกัดความเป็นอิสระในความคิดและการแสดงออกหรือเปล่า เรามีแบบแผน มากมายเลยครับ แม้กระทั่งเวทีในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้เผลอ ๆ เนื้อที่ที่เหลือในการพูดคุย ในมันเล็กลง เล็กลง เล็กลงเรื่อย ๆ แล้วแบบนี้เราบอกว่าเรามีเสรีภาพ แต่มันถูกจำกัดเล็กลง เล็กลงเรื่อย ๆ เราถึงถามหาเสรีภาพที่แท้จริงว่าอะไรคือเสรีภาพในประเทศนี้ที่รัฐธรรมนูญ รองรับเอาไว้กันแน่ ผมยกตัวอย่างสถานการณ์ในเรื่องของการส่งเสริมให้ค่านิยมบางอย่าง ที่มันอาจจะไม่ถูกใจกับวัฒนธรรมไทย อย่างเช่นเรื่องของความเป็น LGBTQ ท่านประธาน รู้ไหมว่ากว่าสังคมไทยจะยอมรับ LGBTQ หรือผู้มีความหลากหลายทางเพศมาจนถึงปัจจุบันนี้ ถกเถียงกันมาเป็นร้อยปีครับ เมื่อก่อนนักแสดง ดารา ที่เป็น LGBTQ ก็ถูกสร้างมูลค่า Value ในลักษณะของเชิงตลกขบขันบ้าง และไม่แคล้วที่ในสังคมที่เราใกล้ตัวกันก็ยังใช้คำพูดดูถูก และมองคนไม่เท่ากันผ่านสายตาแบบนี้เลย ไอ้นี่ไอ้ตุ๊ด ขออภัย แต่ไม่ได้ตั้งใจที่จะเอ่ยนะครับ แต่ยกตัวอย่างคำพูดให้ฟังว่าคำพูดเหล่านี้ การเหยียดเหล่านี้ยังมีอยู่ นี่คือความไม่เข้าใจ เรื่องง่าย ๆ แม้กระทั่งผู้ใหญ่ที่แบบอาวุโสแล้วเรื่องแบบนี้ยังไม่ทำความเข้าใจกันเลยครับ เพราะฉะนั้น เราจะบอกว่าจะต้องสร้างพลเมืองที่คุณภาพ ผมก็เลยเรียกร้องว่าตัวเราเองที่เราจะไปสร้าง กฎเกณฑ์กับคนอื่นเราต้องสำรวจตัวเราเองก่อน ว่าวันนี้เราเข้าใจค่านิยมและหลักการที่เป็น Core Values ของประชาธิปไตยอย่างแท้จริงแล้วหรือไม่ แต่ถ้าเรามี Core Values ที่เรารู้ แล้วว่าอันนี้คือการเคารพสิทธิความแตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศที่ผมยกตัวอย่าง ใกล้ตัวที่สุด เราต้องเข้าใจเรื่องพวกนี้แล้วเคารพก่อน เคารพความเป็นคนก่อน กว่าสภาแห่งนี้ จะผ่านวาระหนึ่ง พ.ร.บ. การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านประธานก็ทราบดี นะครับ ยากเย็นแสนเข็ญกว่าเราจะเข็นกันไปได้ นี่คือการยกตัวอย่างว่าสังคมไทยมันมีเรื่อง อีกหลายเรื่องที่เราจะต้องเปิดเวทีพูดคุย แม้กระทั่งเรื่องเพศก็เป็นเรื่องเล็ก ๆ เพราะฉะนั้น ผมถึงบอกว่าการพัฒนาพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยมันต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต มันไม่ใช่แค่ จำเพาะ จำกัด อยู่ในเฉพาะโรงเรียน รั้วสถาบัน แม้กระทั่งท่านประธาน ขออภัยนะครับ บางทีท่านอาจจะต้องไปอบรมเพิ่มในเรื่องของการทำความเข้าใจด้วยซ้ำในมิติเรื่องเพศ หรือว่า ความเข้าใจเรื่องอื่น ๆ ที่ท่านอาจอยากจะแสวงหาข้อมูลว่าเรื่องนี้เราด้อยลงไป ต้องตื่นตัว ในการเรียนรู้จะทำอย่างไร ต้องมีแรงจูงใจ มีหลักสูตรที่อยากให้คนเข้าไปเรียนรู้อยู่สม่ำเสมอ หรือแม้กระทั่ง ขออภัยนะครับ บางทีผู้ที่ใช้อำนาจผ่าน ๓ อำนาจ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ ผู้ที่อยู่ในอำนาจเองท่านก็ต้องพยายามใฝ่หา เรียนรู้ และเข้าใจ ในวิถีประชาธิปไตยและวิถีในการเคารพความแตกต่างหลากหลาย ผมยกตัวอย่างครับ ผมเรียนกฎหมาย ผมเรียนนิติศาสตร์มาเรื่อย ๆ จนผมห่างไกลความเป็นรัฐศาสตร์ จนวันหนึ่งผมไปนั่งดูอธิบายอรรถคดีในคดีที่เป็นเยาวชนและครอบครัว ผมอาจจะหลงลืม บางครั้งแทนที่จะไกล่เกลี่ยด้วยความเข้าใจในคดีครอบครัวอะไรก็ตาม อาจจะไปกดทับคำพูด คำจาอะไรแบบนี้ก็ได้ นี่คือเรื่องเล็กน้อยที่ผมยกตัวอย่างให้ฟังว่าการเรียนรู้ในเรื่องของวิถี ประชาธิปไตย การเรียนรู้การเปิดพื้นที่คือสิ่งสำคัญจำเป็นที่มันอยู่รอบตัวทุกมิติเลยครับ เพราะฉะนั้นผมฝากกรรมาธิการหรือผู้ที่จะเป็นอนุกรรมาธิการใด ๆ ก็ตามที่จะศึกษา อย่าไป สร้างผลรายงานการศึกษาที่เป็นลักษณะของการ Knowledge เลยครับ แต่อยากให้สร้าง เครื่องมือที่เป็นเวทีที่ทำให้ประชาชนมีพื้นที่ มีข้อเสนอแนะที่ทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่ใน ทุกโอกาสที่เราจะได้พูดถึงปัญหา ที่เราจะได้แก้ปัญหาไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องเล็ก ที่สุด อย่างเรื่องเพศที่ผมยกตัวอย่างไป หรือปัญหาเรื่องใหญ่แม้กระทั่งถามหาความเป็น ประชาธิปไตยในประเทศไทยต้องพูดได้ เพราะฉะนั้นผมจึงไม่รบกวนเวลาสภาแห่งนี้มาก และผมก็ฝากความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าญัตตินี้จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมที่แท้จริง และไม่ต้อง พูดเรื่องนี้กันอีกในเวทีสภาถัด ๆ ไป แต่หวังว่าเรื่องพวกนี้จะเป็นเรื่องที่ทุกคนตระหนักและ ทุกคนใส่ใจร่วมกันครับท่านประธาน ขอบพระคุณครับ
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกลครับ ท่านประธานครับ ขอบคุณท่านผู้ชี้แจงที่ได้นำรายงานฉบับสมบูรณ์ของสำนักงานป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งเป็นรายงานประจำปี ๒๕๖๕ และเข้าใจว่าเดี๋ยวปีถัด ๆ ไป ก็ต้องมารายงานต่อสภาแห่งนี้ตามกฎหมาย ก็เปิดโอกาสให้ได้เห็นการทำงานของ ปปง. นะครับ จากที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปก็ดี ผมก็จะมีในเรื่องของข้อเสนอแนะที่จะมีความคิดเห็น ต่อการทำงานจากการดูรายงานดังกล่าว ผมเข้าใจดีในเรื่องของการผลักดันในเรื่องของ ข้อระเบียบให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งประเทศไทยก็พยายามผลักดันมา ซึ่งเข้าใจว่ามีทั้งหมด ๔๐ ข้อ ในเรื่องของนโยบายในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แต่ว่าเรายังไม่บรรลุ ข้อตกลงอีก ๙ ข้อ ที่สำนักงาน ปปง. จะต้องแก้ไขข้อบกพร่องและมาตรฐานดังกล่าวใช่ไหม เรื่องส่วนนี้ก็คิดว่าภายใน ๑-๒ ปีนี้น่าจะทำได้สำเร็จนะครับ ก็จะคอยติดตามนะครับว่า จะเป็นด้านไหนที่ยังขาดไป แล้วก็อาจจะต้องบูรณาการหน่วยงานอื่น ๆ ในการจัดการต่อไป
อันที่ ๒ เรื่องของการดำเนินงานโครงการสายลับของ ปปง. ผมมาดูจำนวน น้อยนิดจริง ๆ ทั้งที่ภาคประชาชนน่าจะเป็นส่วนร่วมในการที่จะช่วยโครงการของท่านได้ ผมจึงอยากอภิปรายสนับสนุนว่าโครงการสายลับของ ปปง. ที่จะดึงภาคประชาชนเข้ามาให้ ข้อมูลข่าวสารก็จะเป็นประโยชน์ จะเหมือนเครือข่ายคอยบอกชี้เป้าว่ากระทำผิดตรงนี้ มีทรัพย์สินตรงนี้น่าจะเป็นประโยชน์ ดังนั้นผมจึงอยากสนับสนุนว่าโครงการดังกล่าวควรจะมี การจูงใจให้ประชาชนเข้ามาเป็นสายลับของ ปปง. มากขึ้น แล้วท่านอาจจะต้องไปปรับปรุง เรื่องของการประชาสัมพันธ์ เรื่องของหลักเกณฑ์และการพิจารณา
ท่านประธานครับ แต่มันไม่เท่านี้ ผมก็ไปดูงานวิจัยเกี่ยวเนื่องกับ ปปง. มา ซึ่งก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ กว่า ก็เคยมีข้อเสนอแนะรายงานวิจัยเอาไว้เกี่ยวกับเรื่องของ การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ปี ๒๕๕๔ ซึ่งในรายงานนั้นก็เขียนได้ดีมาก ผมอาจจะขออนุญาตนำข้อเสนอแนะนี้ได้บอกต่อ ป.ป.ช. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการส่งเสริมภาคประชาชน ในการเป็นส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ ของ ปปง. หรือการชี้เป้าเองก็ดี สำนักงานก็ต้องสนับสนุนเรื่องของเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น ค่าเดินทาง ค่าพาหนะ เบี้ยประชุมอะไรต่าง ๆ ก็ต้องให้เหมาะสม แล้วก็การยกย่อง ชมเชย ให้รางวัลก็เป็นสิ่งสำคัญ แล้วรูปแบบของการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในระดับประเทศ ในจังหวัด ในอำเภอต่าง ๆ ก็ควรจะมีความเหมาะสมมากขึ้น เพราะผมเชื่อว่าการที่ ปปง. สามารถที่จะมีเครือข่ายในการแจ้งเบาะแสจะทำให้งานในการชี้เป้ายึด อายัดต่าง ๆ สามารถ สำเร็จลุล่วง แล้วก็ได้เครือข่ายที่เรียกว่าลากมาทีเดียวลากไส้ยกแก๊งนะครับ เพราะว่ามัน ย่อมมีคนที่เสียผลประโยชน์ หรือประชาชนที่เป็นหูเป็นตาให้เรื่องพวกนี้อยู่แล้ว วัน ๆ หนึ่ง ผมได้รับสายจากพี่น้องประชาชนแจ้งเบาะแส ในฐานะเป็นผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับเครือข่าย ยาเสพติดก็ดี เกี่ยวกับเครือข่ายตามความผิดมูลฐานก็ดียังเยอะเลย ผมก็เชื่อว่า ปปง. น่าจะ มีหูมีตาเรื่องพวกนี้ด้วย ท่านประธานครับ นอกจากนี้ผมก็หวังว่าในปีถัด ๆ ไปในเรื่องของ การบูรณาการการปฏิบัติงานของตรงนี้ ก็จะสามารถที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และที่ผมตั้งข้อสังเกตอีกเรื่องหนึ่งครับท่านประธาน ก็คือเรื่องของการยึด อายัด ที่คดีความเมื่อไปถึงในศาลที่สูงขึ้น ก็มีลักษณะของคดีที่ถูกยกจำนวนมาก ผมก็ ตั้งข้อสังเกตนะครับว่า ๑. ความไม่รอบคอบของการปฏิบัติงาน หรือการที่เราไปยึดในส่วนที่ มันไม่ถูกต้องตั้งแต่ในชั้นสอบสวนหรือเปล่า หรือว่ามันเกิดจากความผิดพลาดประการใด เพราะว่าท้ายที่สุดแล้ว ถ้าสมมุติว่าท่านได้เครือข่ายแล้วท่านชี้เป้าล็อก มันควรจะเอาผิดได้ ในระดับตั้งแต่ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกามันไม่ควรให้ พอไปศาลสูงกลับกลายเป็นว่า หลุดไปมากขึ้น เพราะผมก็สันนิษฐานเชื่อมาก่อนว่า ปปง. ทำงานโดยพื้นฐานของความสุจริต อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็พยายามให้กำลังใจท่านในการทำงานว่าอยากจะล็อก ในคดีพยายาม ให้มีความรอบคอบ เพื่อที่ไปศาลสูงตัวอัตราส่วนตรงนี้มันก็จะชี้วัดว่าการทำงานตั้งแต่ชั้นต้น ของท่านมีความรอบคอบ ทั้งข้อกฎหมายและการเอาผิดที่สามารถเอาผิดได้อย่างแท้จริง ถ้าไม่แน่ใจครึ่ง ๆ กลาง ๆ ท่านก็ต้องพิจารณาแล้วว่าควรจะมีมาตรการหรือระเบียบที่จะทำ อย่างไร สำหรับเคสเหล่านี้นะครับ
นอกจากนี้เรื่องของการแจ้งเบาะแส ในแต่ละปีมันเป็นตัวเลขที่น้อยลงนะครับ ไม่ว่าท่านจะเปิดกี่ช่องทาง จดหมาย สายด่วน Website E-mail ตู้ ปณ. อื่น ๆ ส่วนราชการ ภายนอกส่วน จะสังเกตว่าความร่วมมือตรงนี้มันสะท้อนเหมือนที่ผมได้กล่าวไปตอนต้นว่า การมีส่วนร่วมมันน้อยจริง ๆ จะทำอย่างไรที่เราจะได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชน แล้วตัวเลขคดีที่เราจะเห็น ไม่ว่าจะเป็นส่วนใหญ่ก็ดูแล้วท่านจะไปเน้นตามประมวลกฎหมาย ยาเสพติดตามมาตรา ๓ ซึ่งผมก็ยังไม่แน่ใจว่าสุดท้ายกฎหมายใหม่ที่ปรับแก้นี้ มันจะส่งผล ต่อการดำเนินงานตรงนี้หรือไม่อย่างไร ก็สอบถามท่านผู้ชี้แจงด้วย
แต่ก็หวังว่าในมูลความผิดมูลฐานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฉ้อโกง ไม่ว่าจะ เป็นการหนีภาษีหรือว่าความผิดฐานอื่นที่ร้ายแรง อย่างเช่นที่ประชาชนเดือดร้อนมากก็คือ บรรดา Gang Call Center ที่เงินโอนเข้าบัญชีแล้วตามอายัดนี้ อยากจะให้ท่านโฟกัส ช่วยเหลือหน่อย เพราะประชาชนที่เดือดร้อนไปแล้ว โดนแก๊งเครือข่ายพวกนี้หลอกไปแล้ว น้อยคนมากที่จะได้เงินคืนมา แล้วมันควรจะมีระดับของการทำงานเลยว่าประชาชนที่ถูก มูลค่าของการถูกหลอกลวงนี้ ควรจะตามคืนให้เขาได้สักเท่าไร แบบนี้นะครับ ไม่อย่างนั้น มันไม่มีจุดหมาย ไม่มีปลายทาง ก็เหมือนว่าอายัดได้ก็ดี อายัดไม่ทันก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ปปง. ต้องมาไล่ตามให้ สุดท้ายก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้นที่เดือดร้อนจริง ๆ เลยครับ ท่านประธาน ผมในฐานะผู้แทนราษฎรผมขอสรุปตรงนี้เลยว่า อยากจะให้ท่านโฟกัสช่วยเหลือ ในเรื่องเฉพาะการที่ประชาชนถูกฉ้อโกงจาก Gang Call Center แล้วก็ถูกหลอกไป ในโครงการเยอะ ๆ แล้วก็อยากให้ท่านตามให้ประชาชนให้ได้ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอบคุณท่านประธานนะครับ สวัสดีครับ
ท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตอภิปรายสนับสนุนญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอในเรื่องของ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘/๒๕๖๐ เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการบริหารงานส่วนบุคคลท้องถิ่น ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ. .... ของท่าน วรภพ วิริยะโรจน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ ท่านประธานครับ ปัญหาของการสอบแข่งขันในส่วนของท้องถิ่น วันนี้ผมก็คงจะไม่ได้อภิปรายซ้ำกับ เพื่อนสมาชิกที่ได้อภิปรายไปแล้ว แต่ว่าอยากจะให้เห็นภาพของการสอบครับท่านประธาน ในเรื่องของการสอบท้องถิ่นมีปัญหาในการสอบส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อสอบบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกล่าวหาว่าอาจจะมีความไม่โปร่งใสบ้าง ผมมีข้อเสนอแนะครับ ท่านประธานถ้าหากว่ายกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ตอนนี้ แน่นอนว่าจะต้องกลับไปให้ท้องถิ่น ดูแล ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง และพรรคก้าวไกลก็ยืนยันในเรื่องของการกระจายอำนาจมา โดยตลอดเพราะอะไรครับท่านประธาน การที่ท้องถิ่นสามารถจัดการสอบด้วยตัวเองนั้น ก็จะรู้และเข้าใจว่าในตำแหน่งงานนั้น ในความต้องการการจัดการสอบนั้นจะต้องการบุคคล แบบไหน มีลักษณะความเชี่ยวชาญด้านใดบ้าง แต่ท่านประธานครับ ผมก็มีความกังวล ก็เป็น ข้อสังเกตเอาไว้ ไม่ว่าการจัดสอบนี้ท้องถิ่นจะจัดได้อย่างไรในรายละเอียด แต่ก็มีความกังวล ว่าข้อสอบหรือว่าแนวทางการสอบก็อาจจะต้องมีการดูแลจากส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการป้องกันในการออกข้อสอบที่มีความแตกต่างกันของแต่ละท้องถิ่น ไม่ใช่ว่า ไปสอบในท้องถิ่น A หรือว่าท้องถิ่น B นี้มีความยากง่ายที่แตกต่างกัน อันนี้คือข้อกังวล แต่ว่า เป็นในรายละเอียดที่สามารถควบคุมกันไปได้ แต่ไม่ใช่หมายความว่าการสอบดังกล่าวนี้ จะเกิดความเหลื่อมล้ำ ก็จะเป็นเรื่องของการที่เราจะอุดช่องว่างว่าการสอบท้องถิ่น จะสอบอย่างไรให้มีคุณภาพ และการสอบอย่างไรที่จะมีข้อกฎเกณฑ์ ดังนั้นเมื่อดูจาก หลักการทั้ง ๓ ร่าง ที่มีผู้เสนอเข้ามาในร่างพระราชบัญญัติที่เสนอในวันนี้ทั้ง ๓ ร่าง ก็ไป ในทำนองเดียวกัน ดังนั้นผมก็อยากจะขอให้ดูในเรื่องของการที่สอบแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น อปท. การจัดสอบที่ อปท. จะต้องรับผิดชอบในการจ่ายงานให้กับโรงเรียนที่รับผิดชอบ ในการสอบ ผมก็มีความกังวลว่ามหาวิทยาลัย เดิมส่วนกลางเป็นผู้ดูแลในการจัดสอบก็จะใช้ มหาวิทยาลัยตามภูมิภาคต่าง ๆ แต่ว่าเมื่อให้ท้องถิ่นจัดสอบก็จะต้องไปจัดสอบผ่านโรงเรียน ขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่ในจังหวัดนั้น ๆ หรือว่าในท้องที่นั้น ๆ ตรงนี้ก็ไม่ติดขัดครับ ท่านประธาน แต่เราจะต้องมีงบประมาณในการสนับสนุนตรงนี้ด้วย ก็ไม่แน่ใจว่าท้องถิ่น จะสามารถปรับในส่วนของการจัดสอบตรงนี้ได้หรือไม่อย่างไร หรืองบประมาณจะต้องมา อย่างไร อันนี้ก็เป็นข้อสังเกตเอาไว้ว่าในคณะกรรมาธิการก็ต้องไปถกเถียงกันให้รอบคอบว่า จะต้องทำอย่างไรต่อไป รวมถึงเรื่องของปัญหาตำแหน่งที่มีผู้สอบแข่งขันน้อย เรื่องของ การประชาสัมพันธ์ในตำแหน่งที่อาจจะหาคนได้ยาก ไปอยู่ไกล ๆ อันนี้ก็ต้องไปดูกันทั้งระบบ เลยครับว่าจะต้องช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์จัดสอบอย่างไร และสุดท้ายครับ ท่านประธาน ก็คือปกติในการสอบแข่งขันจากส่วนกลางก็จะมีการเปิดเผยข้อมูล ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พุทธศักราช ๒๕๔๐ ดังนั้นในการอำนวย ความสะดวกครับ ทั้งการสมัครสอบ ทั้งการเปิดเผยคะแนนสอบหรือการตรวจสอบต่าง ๆ ก็จะทำอย่างไรที่จะต้องโปร่งใสและเป็นธรรม เพราะฉะนั้นตรงนี้คือสิ่งที่ผมอภิปราย เพื่อที่จะให้ท้องถิ่นเตรียมรับมือล่วงหน้าว่าจะต้องเจออะไรบ้าง เพราะฉะนั้นการเปิดเผย คะแนนก็ดี หรือการนำคะแนนขึ้น Website ให้ตรวจสอบได้ก็ดี พวกนี้คือองค์ประกอบ ต่าง ๆ ทั้งหมดที่จะต้องไปพิจารณาให้รอบคอบว่าจะต้องบัญญัติบทเฉพาะกาล หรือว่า ในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านในการดูแลตรงนี้อย่างไร เพราะว่าเพื่อไม่ให้เกิดการติดขัดใน การสอบต่าง ๆ ท่านประธานครับ แต่อย่างไรก็ดีครับ เรื่องดังกล่าวที่เพื่อนสมาชิก ท่านวรภพได้เสนอสะท้อนให้เห็นว่าอะไรครับ สะท้อนให้เห็นว่าการที่คณะรัฐประหารออกคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาจุดหนึ่ง สุดท้ายไปเจอปัญหาอีกจุดหนึ่ง สุดท้ายสิ่งเหล่านั้นเราต้องตัดสินบนอะไรครับ บนหลักการ พรรคก้าวไกลยืนยันในหลักการของการกระจายอำนาจ ถ้าเรา ยืนยันว่าการกระจายอำนาจคือสิ่งที่ถูกต้อง การสอบก็เช่นเดียวกัน เมื่อท้องถิ่นได้จัดสอบ ด้วยตนเอง ก็จะได้แก้ปัญหาท้องถิ่น ทั้งได้คนที่ตรงกับความต้องการนะครับ รวมถึงตลอดจน การกระจายให้บุคลากรที่มีคุณภาพไปสู่ท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ ช่วยกันพัฒนาประเทศไทย นี่คือหลักการที่เราจะต้องยืนเอาไว้ แต่ผมก็ไม่ติดนะครับ ว่าในรายละเอียดของเพื่อน ๆ สมาชิก ร่างอื่น ๆ จะมีรายละเอียดที่อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ก็ถกเถียงกันได้ในชั้น คณะกรรมาธิการ แต่ทั้งหมดนี้ผมก็ขอสนับสนุนร่างดังกล่าว แล้วก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ ผู้ที่รอสอบหรือว่าจะได้กลับไปทำงานในราชการท้องถิ่นเขาจะได้รับรู้รับทราบนะครับ แล้วก็ เตรียมเอาไว้ว่าเราจะมีการแก้ไขในเรื่องนี้ ขอบพระคุณครับท่านประธาน
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมขอบคุณท่านประธานที่เปิดโอกาสให้ผมได้อภิปรายรายงานผล การพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) ท่านประธานครับ ผมอ่านรายงานฉบับนี้แล้วก็เห็นแต่ด้านดี เห็นแต่ รายงานที่เป็นด้านเดียวที่อยากจะให้เห็น ลองดูง่าย ๆ ครับท่านประธาน ปกติแล้วในบทที่ ๒ ในเรื่องของการรวบรวมแหล่งข้อมูลที่เป็นข้อมูลสำคัญที่จะต้องมีความละเอียดรอบคอบ ปรากฏว่ารายงานเล่มนี้ก็อ้างอิงจากแหล่งอ้างอิงเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อ แนวคิด การทบทวนวรรณกรรมที่นำแนวคิดเชิงระบบมาหรือว่านำมติคณะรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ แล้วก็ต่าง ๆ มานี้ก็จะทำให้เห็นว่าเป็นความต้องการจากรัฐเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่ขาดไป นั่นก็คือเสียงของประชาชน เสียงของคนที่เขาอยากจะสะท้อนครับ วันนี้ผมขออนุญาต ท่านประธานทำหน้าที่อธิบายถึง ๑๐ เหตุผลที่คนชุมพรเขาค้านโครงการแลนด์บริดจ์ ผมขออนุญาตเติมลงไปครับท่านประธานที่จะให้ท่านประธานได้เห็นว่าชาวบ้านกลุ่มนี้ เขาอยากจะบอก ส่งเสียงอะไรบ้าง เขาอยากจะบอกว่าโครงการนี้สร้างความเสียหายต่อที่ดิน ทำกินของชาวสวนทุเรียนที่เป็นอาชีพหลักและสร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาลและสร้าง ความเสียหายต่อชาวประมงริมทะเล ชาวบ้านเขาอยากจะบอกว่าเป็นการทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติ ชาวบ้านเขาอยากบอกว่าเป็นการทำลายการท่องเที่ยวของคนในพื้นที่ ชาวบ้านเขาบอกว่าการประกาศให้บริเวณท่าเรือตลอดแนวยาวริมทะเลและส่วนอื่น ๆ กว่า ๕๐,๐๐๐ กว่าไร่ของตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน เป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจะได้รับ ผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำทะเลเสีย อากาศเสีย ขยะมลพิษ สารตกค้าง ทะเลไปทำลายสัตว์น้ำต่อไป มีการละเมิดสิทธิที่ดินส่วนบุคคลของชาวบ้าน แม่น้ำพะโต๊ะ ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลังสวนซึ่งเป็นแหล่งสำคัญด้านการเกษตรอาจถูกทำลายเพื่อเส้นทาง รถไฟมอเตอร์เวย์และท่อน้ำมัน อำเภอหลังสวนซึ่งเป็นแหล่งทุเรียนและตลาดทุเรียนที่มีชื่อเสียง โดยมี GDP อันดับ ๑๐ ของประเทศสามารถส่งออกทำรายได้เข้าประเทศมหาศาลก็ถูกทำลาย เพื่อสร้างทางรถไฟและมอเตอร์เวย์ ท่อน้ำมัน น้ำใช้ของประชาชนอาจถูกแย่งชิงไปเพื่อใช้ ในการอุตสาหกรรมและทำให้ชาวบ้านขาดน้ำ ต้องซื้อจากเอกชนที่มีราคาแพง ชุมพรเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยง กับเกาะเต่า เกาะนางยวน เกาะสมุย อาจจะทำให้โอกาสในการ เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้หมดไปด้วย และแม่น้ำหลังสวนมีประเพณีแห่พระ แข่งเรือ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแหล่งลุ่มน้ำหลังสวนมายาวนาน เป็นที่รวมความสามัคคีของคน ชาวหลังสวน และใช้ในการแข่งเรือยาวประจำปีซึ่งจะได้รับผลกระทบด้วย นี่คือส่วนหนึ่งของ เสียงของพี่น้องประชาชนที่เขาไม่เห็นด้วย แต่ไม่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้แบบละเอียดครับ นี่คือเสียงของประชาชนที่เราไม่ได้มองไปครับท่านประธาน ผมคงไม่เจาะรายละเอียดที่ลึกไป กว่านี้เหมือนที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไป แต่ผมอยากสะท้อนแบบนี้ครับว่าผมไม่เห็นด้วย และคัดค้านรายงานฉบับนี้ที่ออกมาด้วยเหตุผลความจำเป็นเรื่องนี้ว่าท่านยังขาดการรับฟัง เสียงของประชาชน และแหล่งอ้างอิงจากเล่มรายงานนี้ที่นำมาจาก สนข. ฉบับเดียวก็มีปัญหา เพราะเมื่อผมไปตรวจสอบแล้วกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ ก็เป็นเพียงด้านเดียว เพราะว่าประชาชนเขาก็สะท้อนมาว่าไม่ได้รับฟังเสียงของพวกเขา และผมก็มาดู จริง ๆ แล้ว ก็ไม่ปรากฏรายงานที่เป็นข้อที่ผมได้กล่าวไปเลย ดังนั้นครับท่านประธาน ผมไม่ได้อยากจะ คัดค้านโครงการแลนด์บริดจ์ แต่มันมีข้อเสนออื่น ๆ ที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น รายงานของสภาพัฒน์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เคยระบุว่าทางเลือกในการสร้าง แลนด์บริดจ์มีความเหมาะสมในลำดับ ๓ ด้วยคะแนน ๑๙.๓ แล้วก็บรรดา ๔ ทางเลือกก็เป็น ส่วนที่ทางเลือกได้คะแนนน้อยที่สุดคือโครงการคลองไทย แต่อย่างนี้ก็แล้วกันครับ ท่านประธาน คือในการวิเคราะห์ต่าง ๆ ว่าโครงการไหนควรจะสร้างเป็นระเบียงเศรษฐกิจ ภาคใต้อย่างยั่งยืนหรือ SEC ก็ต้องมาดูคะแนนและพิจารณาจากหลากหลายแหล่งข้อมูล ต้องการข้อมูลมากเพียงพอที่จะทำหรือตัดสินใจ ไม่ใช่ข้อมูลเพียงด้านเดียวที่จะบอกว่าดีนะ ควรทำนะ นี่คือความต้องการทางการเมือง วันนี้เราเป็นผู้แทนราษฎรของประชาชน เราอย่าลืมเสียงของพวกเขา โอเค ถ้าท่านมีเหตุผล เพียงพอที่จะบอกว่าวันนี้เราจะต้องพัฒนา แต่ว่ามันจะต้องมีทางเลือกที่เหมาะสมและดีมาก เพื่อจะตอบประชาชนได้อย่างทุกฝ่าย วันนี้เราเป็นสภาผู้แทนราษฎรที่เปิดรับทุกคน ผมก็ขอ อภิปรายสรุปอย่างนี้ครับท่านประธานว่าผมไม่เห็นด้วยกับรายงานการพิจารณาศึกษาญัตติ เล่มนี้ แล้วผมหวังว่าในการพัฒนาศึกษาต่อ ๆ ไป เพราะในเล่มนี้เห็นบอกว่าท่านศึกษาแล้ว แต่ว่ารัฐบาลควรจะศึกษาอีก คือออกเป็นพระราชบัญญัติใช่ไหมครับที่เกี่ยวกับเรื่องของ ด้านกฎหมาย ดังนั้นก็เป็นบทเรียนหนึ่งว่าในการทำรายงานนี้ก็อยากให้มีความรอบด้าน และคำนึงถึงเสียงของพี่น้องประชาชนมากยิ่งขึ้น ขอบพระคุณท่านประธานครับ
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกลครับ ท่านประธานครับ ต้องขอบพระคุณท่านประธานนะครับ ที่เปิดโอกาสให้ได้อภิปรายรายงาน การสร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปี ๒๕๖๕ แต่ว่าก็ขอตินิดหนึ่งครับว่า กว่าท่านเลขาธิการ สปสช. จะมานี้ เลื่อนหลายสัปดาห์เหลือเกินนะครับ ผมก็เตรียมเอาไว้ ที่จะรายงานเพื่อสะท้อนปัญหาต่าง ๆ ที่ท่านมี แล้วก็จะได้เอาปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อไปปรับปรุงต่อไป
ท่านประธานครับในเขตดอนเมืองนี้ มีคลินิกชุมชนอยู่หลายแห่งด้วยกันนะครับ อาทิ คลินิกโกสุมรวมใจ คลินิกเวชกรรมวัดไผ่เขียว หรือที่สรงประภา ซอย ๒๖ ณัฐธิดาคลินิก อันนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งนะครับ ยังมีในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเพื่อนสมาชิกก็ได้ตั้งกระทู้ได้อภิปรายกันไปแล้ว เขาถามหาว่าบัตรทอง กทม. เงินไปไหนหมด ท่านประธานครับ นี่คือสิ่งที่ผมทนไม่ได้ที่ในรายงานนี้ไม่ได้ระบุปัญหาที่มีเกี่ยวกับ ศูนย์บริการสุขภาพที่เขต กทม. จะต้องเจอเลย ฝากท่านประธานไปถึงผู้ชี้แจงนะครับว่า ถ้าท่านติดตามข่าวสารแล้วก็ใส่ใจพวกเขา อย่างน้อยก็จะได้ลงไปในรายงาน เพราะว่า ผมทราบมาเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่รับรู้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ท่านประธานครับ นอกจากที่เขา จะติดป้ายประท้วงแบบนี้ พวกเขาก็ยังไปพบผู้สื่อข่าว ไปยื่นหนังสือถึง สปสช. พวกนี้ เขาทำกันมาหมดแล้ว แต่ดูเหมือนว่ามันก็ไม่เพียงพอที่จะกดดันในการแก้ไขปัญหาได้ แต่ก่อนที่ผมจะไปลงในรายละเอียดครับท่านประธาน ผมฝากท่านประธานไปยังหน่วยงาน สปสช. นะครับว่า การทำงานผมอยากจะช่วยให้ท่านทบทวนในการเข้าถึงที่พี่น้องจะเข้าถึง ศูนย์บริการสุขภาพของชุมชนได้มากกว่านี้ ผมถอดบทเรียนมาจากนี้ครับ เราเรียนรู้อะไรบ้าง จากโควิดหลังปี ๒๕๖๕ ผมว่าท่านทราบดีถึงความสำคัญของคลินิกเหล่านี้ ท่านทราบดีนะครับ แต่ว่าสิ่งที่พวกเขาจะต้องรับผิดชอบ หน่วยงานของท่านเป็นผู้กำหนดทั้งหมดนะครับ มีตราหน่วยงานของท่าน พอผมอ่านแล้วก็มีบริการครอบคลุมมาก ไม่ว่าจะเป็นการรักษาฟรี ทั้งโรคเบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือด โรคผิวหนัง การทำแผล ล้างแผล อุบัติเหตุ ฝากครรภ์ ตรวจครรภ์ ฉีดยาคุมกำเนิด ตรวจภายใน ตรวจสุขภาพประจำปี แล้วก็ยังมีคลินิกชุมชนอบอุ่น ใช่ไหมครับ ใกล้บ้าน ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา อันนี้คือข้อดีเรารู้อยู่แล้ว แต่ท่านประธานครับ ซึ่งพี่น้องประชาชนก็ชื่นชอบว่าการมารับบริการมันไม่ต้องสำรองจ่าย มันก็ลดภาระ แต่ว่าศูนย์พวกนี้กลับต้องแบกรับครับ แบกรับอะไรบ้างครับท่านประธาน คลินิกต้องใช้ เงินหมุนเวียนไปก่อนจากเงินที่ สปสช. ชดเชยให้ แต่ตอนนี้พวกคลินิกเขาขาดทุนต่อเนื่อง เบิกได้เพียงแค่ร้อยละ ๕๐-๗๐ เท่านั้น ที่เหลือคลินิกเขาต้องรับผิดชอบ ยังมีรายการ บางรายการที่เขาเบิกไม่ได้ด้วย ท่านประธานครับ สปสช. จะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร ผมก็อยากจะให้ท่านจเด็จตอบเหมือนกัน ท่านรู้ไหมครับว่าในไตรมาสปี ๒๕๖๗ มีการใช้จ่าย งบประมาณค่าบริการไปมากกว่าร้อยละ ๕๐ แล้ว ผมก็ฝากไปถึงเจ้ากระทรวงด้วยนะครับ คุณหมอชลน่าน ขออนุญาตกล่าวถึงไม่เสียหาย ช่วยดูแลงบประมาณในส่วนนี้ด้วย เพราะว่าปัญหามันจะกระทบกับระบบการให้บริการสาธารณสุขโดยตรง ท่านรู้ไหมว่า ค่าใช้จ่ายที่ศูนย์เขาแบกรับในแต่ละเดือน ผมไปสอบถามมานะครับ เขาใช้เป็นแสน ๆ ท่านประธาน มีทั้งค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร พยาบาล ๒ คน นักวิชาการ แล้วจริง ๆ มันเยอะมาก แล้วก็ยังไม่รวมค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเวชภัณฑ์ ค่าตึกอีกหลายอย่าง ฉะนั้นผมขอเป็นกระบอกเสียง นี่คือข้อเสนอที่ผมได้รับมา ที่เสนอต่อท่านตรงนี้เสียงสะท้อน ของบุคลากรทางการแพทย์ในคลินิกชุมชนที่ขาดทุน เป็นไปได้ไหมว่าจะเอาเงินของกองทุน ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรคมาใช้ไปพลางก่อน ส่วนอีกท่านหนึ่ง เขาก็เสนอมาว่าไม่ควรให้คลินิกมารับความเสี่ยงทางการเงิน ขอให้ สปสช. อย่าเพียงแต่ว่า ประชาสัมพันธ์หาคลินิกเพิ่ม แต่ว่าไม่ดูแลรายจ่ายให้เพียงพอ นี่คือสิ่งที่พวกเขาฝากผม สะท้อนมา ผมไม่รู้ว่าท่านเรียนรู้อะไรจากสถานการณ์โควิดมาบ้างนะครับ แต่แน่นอนว่า มันก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีล่ะครับ ที่เราจะต้องตั้งคำถามว่าเราสามารถที่จะพึ่งพาระบบ ได้มากน้อยเพียงใด
ท่านประธานครับ ผมยกตัวอย่าง ๔ ด้าน ที่เราจะเข้าถึงระบบสาธารณสุข ในชุมชน กทม. ประชากรแฝงกว่า ๑๐ ล้านคน แล้วการเข้าถึงทางการแพทย์อาจจะยังไม่ทั่วถึง ครอบคลุมมากนัก แล้วก็มีเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ที่อาจจะครอบคลุมทุกพื้นที่ ข้อเสนอที่เป็น อุเบกขามากสำหรับผมนะครับ คืออยากให้ท่านใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการมากยิ่งขึ้น มันก็จะช่วยลดงานบุคลากร แล้วก็อยากให้ท่านเร่งในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้ป่วยหรือว่า Big Data เทคโนโลยีที่จะคัดกรองเบื้องต้น แพทย์ทางไกลก็จะลดความแออัด
ในส่วนสุดท้ายก็คือ อยากให้ท่านสนับสนุนหน่วยบริการสุขภาพอย่างสมเหตุสมผล แล้วก็ทบทวนจำนวนของการเข้าใช้บริการของโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาล ประจำตำบล หรือว่าศูนย์บริการชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณ และเรื่องนี้ เราพูดกันมาเยอะครับท่านประธาน ก็คืออนาคตที่เราจะต้องมีความทะเยอทะยานที่จะทำให้ ครอบคลุมทุกคนจะทำได้ไหม คือรวมสิทธิการรักษาของพี่น้องประชาชนบัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการมา ผมอยากจะเห็นแผนการในอนาคตที่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะมี ความเข้มแข็งและดูแลอย่างไร ผมจะรอฟังคำตอบจากท่านจเด็จ ขอบคุณครับท่านประธาน
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมได้อ่านข้อเสนอของรายงานคณะกรรมาธิการชุดนี้ ท่านคณะอนุกรรมาธิการดูน่าดูตาแล้ว ผมมั่นใจมากว่าจะต้องมาศึกษาอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะตัวอย่างของบำนาญจากประเทศต่าง ๆ ผมอ่านแล้วทึ่งมากครับ ก็คือไม่ได้บอกแค่ ว่าต้องจ่ายเท่าไร จ่ายใคร แต่บอกละเอียดไปกว่านั้น แหล่งที่มาของเงินด้วย เอาตัวอย่างจาก ต่างประเทศให้ดูแล้วก็เรียกหน่วยงานในประเทศมาซักไซ้ไล่เลียงตั้งแต่กรมสรรพากร กรมศุลกากร ยันกองสลาก การสอบถามซักไซ้ไปซักไซ้มานี้รายงานเขาสรุปมา ๖ ข้อ แหล่งรายได้ที่ต้องเอาเงินมาสำหรับทำบำนาญ ไม่ว่าจะเป็นเงินนำส่งออกจากการออกสลาก รางวัลค้างจ่ายดอกผลสัมปทาน ค่าธรรมเนียมกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ภาษีมรดก แบบนี้ เป็นต้น และยังมีรายได้ในอนาคตอีก ๙ แหล่ง ขอพูดตรง ๆ แล้วตัดประเด็นที่ไม่อ้อมค้อม ในวันนี้นะครับ ก็คือว่ารายงานที่เราพิจารณาอยู่นี้เขาศึกษามาอย่างละเอียดแล้ว ผมยืนยันว่า รายงานชุดนี้เป็นมากกว่าแค่กระดาษ ไม่เปลืองคาร์บอน แต่มันจะเป็นประโยชน์อย่างไร ถ้ารัฐบาลไม่เอาไปทำ อยากจะให้รัฐบาลจริงใจกับพี่น้องประชาชน และรัฐบาลยิ่ง พรรคเพื่อไทยหาเสียงเอาไว้เกี่ยวกับบำนาญผู้สูงอายุ อยากจะดูหน่อยว่าท่านจะสนใจเรื่องนี้ มากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญรายงานชุดนี้เปิดเผย มีร่างแก้ไขข้อเสนอของพระราชบัญญัติ ซึ่งเก่าแก่มาก แก้ไขได้เลย ท่านนำจากเล่มนี้มายื่นต่อสภา ผมคิดว่าเพื่อนสมาชิกทุกคน ที่อภิปรายมา ผมฟังมา ๓๐ กว่าท่านเห็นด้วยไปในแนวทางเดียวกัน ก้มดูบริบทความจริง ของประเทศไทยในวันนี้ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยบอกคิดใหญ่ ทำเป็น หาเงินเก่ง ผมก็อยากดู ครับท่านประธาน เขาเขียนเสนอแนะมาในรายงานฉบับนี้ ๑๐ ปีที่ผ่านมามันไม่ได้ปรับ ปรับทีหนึ่งนี้คณะอนุ กรรมาธิการ ท่านวรรณวิภาเขียนมาเป็น ๓ ขั้นบันได ผมอ่านแล้วตกใจ ทำไมเป็นแบบนั้น ล่ะครับ ทำไมไม่ขึ้นไปเลย ๓,๐๐๐ บาท ไม่ใช่มารองบประมาณปี ๒๕๗๐ ผมไม่เห็นด้วย รัฐบาลพรรคเพื่อไทยบอกคิดใหญ่ ทำเป็น หาสตางค์ได้ ๓,๐๐๐ บาท ทำเลยงบประมาณ ปี ๒๕๖๘ เฉพาะงบกลางอย่างเดียวก็ ๔๐,๐๐๐ บาทแล้ว ไหนจะเรื่องแก้ระเบียบมันไม่เกิน ความสามารถนายกรัฐมนตรีหรอก แล้วก็รายงานเสนอแนะเขาบอกไปหมด ไม่ว่าจะเป็น การเรียกคืนที่ราชพัสดุก็หวังว่าตรงนี้กรมธนารักษ์ร้อยละ ๙๑ เพื่อนำมาเป็นรายได้ แหล่งที่มาไหนอีกล่ะ กองทุนที่จะเข้ากองทุนผู้สูงอายุมากขึ้น แหล่งงบประมาณเยอะแยะ ในนี้ ท่านนายกรัฐมนตรีเปิดดูนะครับ นอกจากนี้ผมหวังว่าการที่เราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พี่น้องเพื่อนสมาชิกในที่ประชุมแห่งนี้จะให้ความสำคัญในการเพิ่มเบี้ยบำนาญตรงนี้ ไม่ใช่เป็น ขั้นบันไดครับ แต่ปี ๒๕๖๘ ควรจะทำเลย และเราไม่ต้องรอครับ หวังว่ารัฐบาลที่กำลังหาเงิน อยู่ในขณะนี้ใส่ตรงนี้ก่อน ดูแลผู้สูงอายุก่อน อย่างน้อยเส้นแบ่งรายได้ความยากจน ๓,๐๐๐ บาท หายไปปริมาณหนึ่งเลย ช่องว่างลูกหลานที่ต้องมาดูแลผู้สูงอายุลดรายจ่ายลง ไปได้ นี่คือ Jigsaw ตัวสำคัญที่ผมหวังว่ารัฐบาลเศรษฐาจะไม่เพียงแค่อ่านผ่าน ๆ แต่ทำเลย เริ่มง่าย ๆ เลย ๑. ท่านดูร่างพระราชบัญญัติแก้ไขที่คณะอนุกรรมาธิการทำมาแล้ว รวบรวม เสนอมาได้เลยครับ สภาชุดนี้ยินดีพิจารณา แก้กฎหมายแล้วท่านเตรียมหาเงินเลยครับ ปี ๒๕๖๘ ผมคิดว่าถ้าท่านคิดใหญ่ทำเป็นจริงเราจะได้เห็นบำนาญ ๓,๐๐๐ บาท หวังว่าจะ เป็นเช่นนั้นนะครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
ท่านประธานสภาผู้แทน ราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมืองพรรคก้าวไกล ผมต้องขอบพระคุณท่านประธานที่เปิดโอกาสให้ผมได้อภิปราย ซึ่งผมอ่านรายงานผล การพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งและ การป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐของคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร อ่านแล้วก็มีรายละเอียดที่ค่อนข้างครบทุกประเด็นครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นผมก็จะขอ อภิปรายสนับสนุนคร่าว ๆ ด้วยความเห็นที่ผมได้อ่านมาครับ ท่านประธานจากที่ผมได้ดูก็จะ มีข้อเสนอแนะต่อรายงานที่ท่านคณะอนุกรรมาธิการ ท่านประธานได้เขียนเอาไว้ ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องของการแก้ไขพระราชบัญญัติทางหลวง พุทธศักราช ๒๕๓๕ ที่เกี่ยวข้องกับ การบรรทุกน้ำหนักเกิน หรือการกำหนดโทษเอาผิดผู้ว่าจ้างการขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถ นี่ก็คือกรณีการขยายโทษผู้ที่เกี่ยวข้องออกไป หรือในกรณีที่เขารู้เห็นเป็นใจ ซึ่งอันนี้ก็ต้องไปถกเถียงกัน และมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นมาตรา ๗๐ ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มโทษ หรือว่ามาตรา ๗๓/๒ ที่เกี่ยวกับเรื่องของการคงโทษจำคุกเอาไว้ แล้วก็มีการกำหนดโทษปรับแบบอัตราก้าวหน้าตามน้ำหนักรถบรรทุก ซึ่งเขียนเป็นข้อ ๆ แบบนี้ แต่จริง ๆ ผมอยากเสนออีกนิดหนึ่งว่า ถ้าท่านทำเป็นร่างมาเลยพร้อมให้เพื่อนสมาชิก หยิบมาใช้ ที่ประชุมสภาแห่งนี้น่าจะเห็นด้วยที่จะนำร่างไปปรับปรุงหรือว่าร่วมกันเสนอ สภาชุดนี้ก็อยากจะแก้ไขกฎหมาย แต่ท่านประธานครับ มีเรื่องหนึ่งที่ผมอาจจะขออนุญาต พูดถึงเพิ่มเติม นั่นก็คือเรื่องของการที่มีโทษจำคุกอยู่ในกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งแบบนี้ บางครั้งผมก็ไม่แน่ใจว่าการกำหนดมาตรการที่เข้มมากจนเกินไป หรือว่าอ่อนมากจนเกินไป แบบไหน ตรงนี้ต้องมาถกเถียงกัน สิ่งหนึ่งที่เราขาดไปคือเราไม่เคยเอาผู้ที่ถูกพิพากษา หรือถูกยึดรถ หรือผู้ประกอบการมาให้ความเห็นว่าเขาคิดอย่างไร แล้วเขามีแนวทางที่จะ เสนอแนะแก้ไขอย่างไร เราก็น่าจะมีส่วนหนึ่งในการหาข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติม อันนี้คือ ข้อเสนอแนะ เพราะว่าบางครั้งในการออกกฎหมายอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เราลงนามไว้ หรือที่ทำไว้จะเห็นว่าการออกกฎหมายใหม่ ๆ ก็จะพยายามหลีกเลี่ยงโทษจำคุก ยกตัวอย่าง กฎหมายยาเสพติดถ้าหากว่าโทษจำคุกมีผลก็คงไม่มีผู้ค้ายาเสพติดในประเทศไทยแล้ว ดังนั้น ผมก็เลยมีข้อเสนอแนะต่อรายงานนี้เล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องการเสนอกฎหมายว่าอยากให้เป็น ร่างมาเลย และประเด็นที่ ๒ คือเรื่องของการเพิ่มโทษจำคุก แต่ในส่วนของโทษปรับที่เป็น พินัยก้าวหน้าทันสมัยมาก
อีกประเด็นหนึ่งครับท่านประธาน ก็คือว่าเรื่องของแนวทางข้อสังเกต ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสภาพรถ ตรงนี้ผมก็ประสบด้วยตัวเอง ก็เห็นเหมือนกันกับที่ ท่านคณะอนุกรรมาธิการได้เสนอว่ากรมการขนส่งทางบกควรแก้ไขระเบียบหรือมาตรการ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับนายช่างในการตรวจรถ การถ่ายภาพอะไรต่าง ๆ ระเบียบพวกนี้เก่าหมดเลยครับ แล้วก็ไม่ทันสมัย แล้วก็ไม่เชื่อมโยงด้วย ควรทำทันที เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่งที่อยากจะให้รัฐบาลหรือกระทรวงคมนาคมรับข้อเสนอของ คณะกรรมาธิการชุดนี้ไปดำเนินการอย่างเร่งด่วน ในเรื่องของการที่ควรทำทันที Highlight สีแดงไว้เลย
อีกอันหนึ่งที่ผมชื่นชมมาก ก็คือเรื่องของประเด็นข้อมูลเกี่ยวกับแนวทาง การเปลี่ยนยานยนต์เครื่องสันดาปให้เป็นยานยนต์ไฟฟ้า นี่คือ Trend ใหม่ที่ตอนนี้ ตลาดรถไฟฟ้าเข้ามาแล้ว ซึ่งการออกกฎหมายก็ต้องเท่าทันและทันสมัย นี่คือสิ่งที่เป็น ข้อเสนอที่ดีมาก โดยเฉพาะที่ท่านรายงานเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระทรวงการคลัง กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร หรือคณะรัฐมนตรีที่ควรจะดำเนินการแก้ไขทั้งแนวทางในการ ยกเว้นหรือการลดภาษี อัตราภาษีนำเข้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการสันดาปให้กับรถยนต์ไฟฟ้า หรือว่ามาตรการในการลดภาษีนำเข้า หรือเสนอแนะที่ ครม. จะต้องไปดูในเรื่องของการจัด งบอุดหนุนสำหรับผู้ที่เข้าร่วมโครงการในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า นี่คือสิ่งที่ทันสมัยมากและผม คิดว่าพี่น้องประชาชนตอบรับ ผมก็มีข้อเสนอที่เกี่ยวเนื่องกับรายงานนี้อยู่ในประเด็นที่ได้ กล่าวไป และอยากขอเสริมสักนิดหนึ่ง ถ้าหากว่าจริง ๆ แล้วรัฐบาลที่นำรายงานชุดนี้ไปให้ เกิดประโยชน์อย่างไรแล้วก็อยากจะให้กรรมาธิการคมนาคมเร่งติดตามตรวจสอบต่อไป เพราะว่าบางกรณี บางรายการพี่น้องประชาชนเดือดร้อนมากทีเดียว อย่างเช่น กรณีการยึด รถบรรทุกอะไรแบบนี้ หรือว่าแม้กระทั่งเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้านี้ประชาชนเฝ้ารอที่จะมี การปรับตัวของกฎหมายมากขึ้น แล้วหวังว่ารายงานนี้จะเป็นประโยชน์ ไม่เป็นคาร์บอนที่เสีย ไปเปล่า ๆ นะครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ต้องขอบคุณท่านประธานที่เปิดโอกาสให้รายงาน แล้วก็ขอบคุณ ท่านประธานคณะกรรมาธิการที่ได้จัดทำงบประมาณไทยไม่เหมือนเดิมเล่มนี้นะครับ สวยสะดุดตาอ่านง่ายมากเลยนะครับ แต่ว่าไม่ใช่อวยกันเองนะครับ ก็มีข้อเสนอแนะต่าง ๆ เดี๋ยวผมจะได้พูดเป็นลำดับถัด ๆ ไปนะครับ ท่านประธาน ผมเปิดดูลอง Scan QR Code ในหน้า ๒๐ วิสัยทัศน์และแผนการดำเนินงาน ซึ่งพอเข้าไปแล้วผมก็ Scan จริงนะครับ ก็เห็นรายละเอียดที่ท่านประธานได้ Link เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่องบประมาณไทย ที่ไม่เหมือนเดิมงบประมาณไทยที่มีการตรวจสอบ มีมาตรการต่าง ๆ รูปภาพ ตัวอย่าง แต่นิดหนึ่งครับท่านประธานมันเห็นแค่รูปภาพ บางครั้งผมคิดว่าพอมีรายละเอียด อย่างเช่น PBO น่าจะมี Link ที่สามารถเชื่อมต่อ Hyper Link ไปถึงหน้า Website ของ PBO หรือว่า แหล่งข้อมูลนั้นจริง ๆ ได้ เพราะว่าจริง ๆ ผมคิดว่าไม่เกินความสามารถท่านประธานอยู่แล้ว แต่เป็นข้อเสนอแนะเพื่อที่ว่าพอเวลาคนอ่านต่อแล้วก็จะได้เห็นว่าความเชื่อมโยงเป็นอย่างไร
ประเด็นที่ ๒ ครับท่านประธาน ในเล่มนี้ผมเข้าใจว่าก็มีการเผยแพร่อยู่แล้ว แต่ผม ก็มาคิดต่อว่าในหน้า Website ของรัฐสภานี้ ถ้าออกแบบได้ทันสมัยแบบนี้จะน่าอ่านมาก ดังนั้นเพื่อเชื่อมโยงระหว่างกระดาษแบบคาร์บอน กับ Website นี้เพื่อที่ให้เข้าถึงพี่น้อง ได้มากขึ้น ก็น่าจะเพิ่ม Link หรือว่ารายงานที่จะสามารถเห็นได้ หรือว่าปรับโฉมรูปแบบของ การรายงาน ในขณะเดียวกันในเล่มนี้ถ้าคนที่เห็นแล้วอยากจะอ่านเพิ่มเติม เช่น กรณีเรื่อง ของการที่ท่านไป การประชุมครั้งที่ ๔ ศูนย์ข้าวห้องสมุด ลดควบคุม การสั่งการนี้เป็นหัวข้อ ใช่ไหมครับ แล้วก็มีรายละเอียดว่าท่านไปเรียกผู้แทนหน่วยงานที่เป็นกรมการข้าวนี้มา ประชุมแล้วมีมติอย่างไรนี้ จริง ๆ ถ้าสมมุติว่ามี Scan ต่ออีกนิดหนึ่งเพื่อที่จะกระโดดไปเห็น หน้า Website ซึ่งในนั้นจะมีบันทึกการประชุมที่เป็นลักษณะแบบทางการ คือในนี้ก็เป็น ลักษณะของการย่อสั้นมา แล้วก็เป็นสรุปประเด็นเพื่อให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายใช่ไหมครับ แต่ว่า ในขณะเดียวกันก็อาจจะมีนักวิชาการหรือว่าผู้ที่จะทำ นักศึกษาที่อยากจะแสวงหาข้อมูลหรือ ว่าติดตามรายละเอียดมากขึ้น ถ้าจะได้ Scan กระโดดไปมาแบบนี้มันเป็นเรื่องที่ท้าทายและ สนุกมากในการหาข้อมูลนะครับ แล้วก็ชื่นชมว่ามีความตั้งใจ แต่ว่าอย่างไรก็ดีผมคิดว่า ในรายงานเล่มนี้ก็เป็นนวัตกรรมของสภาที่มีการรายงานการทำงานให้พี่น้องประชาชนเห็น ความคืบหน้านอกเหนือจากหน้า Website แล้วก็มาเป็นสรุปเป็นประเด็นให้เห็น ซึ่งผมคิดว่า นี่คือนวัตกรรมที่น่าที่จะดำเนินตาม ผมก็ต้องไปคิดไปทบทวนว่าเราก็จะต้องแข่งกันทำงาน เพื่อประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนนะครับ แล้วในส่วนของกิจกรรมที่ท่านประธาน คณะกรรมาธิการได้จัด ลองดูได้ในหน้าท้าย ๆ ของเล่มนี้ จริง ๆ แล้วน่าจะใส่รายละเอียด ของการไปจัดกิจกรรมสัมมนา เพื่อให้ถอดบทเรียนได้เห็นข้อมูลที่เยอะมากขึ้นกว่านี้ แต่ว่าผม เข้าใจว่าเป็นตรงนี้เพื่อประหยัดกระดาษนะครับ แต่ว่าในรายงานอนุที่มี Link เข้าไป ผมก็ ลองเข้าไปดูแล้วก็เยี่ยมยอดมาก แต่ว่าไหน ๆ ท่านสรุปมาได้หลายหน้า ผลการศึกษาก็น่าจะทำ อยากเห็นรูปเล่มที่สวยงาม ก็ฝากไว้เท่านี้ครับท่านประธาน ก็ชื่นชมนะครับ แล้วก็หวังว่าจะ เป็นมาตรฐานในการทำงานของเพื่อนสมาชิกต่อไปในอนาคต ขอบพระคุณครับ