เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม รชตะ ด่านกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต ๑๕ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมขออภิปรายสนับสนุนญัตติ เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหา ภัยแล้งจากปรากฏการณ์ El Nino ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเห็นถึงความสำคัญ ของการแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมอย่างมาก แต่ก็ขอนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาชุดที่แล้วได้ศึกษาไว้ โดยเฉพาะการบริหารจัดการลุ่มน้ำ ของภาคอีสานก็คือโครงการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขง เลย ชี มูล และสงคราม ด้วยแรง โน้มถ่วง ขอ Slide ด้วยครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ นี่คือ โครงการศึกษาที่แม่น้ำโขง แก่งคุดคู้ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ โดยธรรมชาติ ก็คือว่าเขาทั้งลูกกั้นแม่น้ำโขงทั้งลำทำให้เกิดการชะลอตัวของการไหล ทำให้ ระดับน้ำที่แม่น้ำเลยอยู่ที่ระดับ ๒๑๒ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งถ้าเทียบกับที่ โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ระดับแม่น้ำโขงอยู่ที่ ๑๑๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทำให้เห็นว่าห่างกันถึง ๑๐๐ กว่าเมตร นั่นคือการผันน้ำโขงด้วยแรงโน้มถ่วง (Gravity) ผันน้ำอย่างไร เราเปิดปากแม่น้ำเลยระยะทาง ๙๐๐ เมตร และมีอุโมงค์ทั้งหมด ๑๖ ช่อง อุโมงค์นี้เชื่อมเป็นระยะทางจากแม่น้ำเลยมาแม่น้ำชี ๘๓.๔ กิโลเมตร มาเชื่อมที่ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เชื่อมแม่น้ำชี แล้วเราก็ปล่อยตามระบบธรรมชาติ ตามคลองธรรมชาติ ตรงไหนที่เป็นอุปสรรคทางธรรมชาติ เช่น ระดับความสูงหรือว่าติดภูเขา ใช้เทคโนโลยีก็คือการเจาะอุโมงค์ เชื่อมจากแม่น้ำชีมาแม่น้ำมูลระยะทางทั้งสิ้น ๑๗๔ กิโลเมตร พอแม่น้ำเลยมาแม่น้ำชี แม่น้ำชีมาแม่น้ำมูล เท่ากับว่าภาคอีสานนั้น ทั้ง ๒๑ จังหวัดจะได้รับประโยชน์จากการผันน้ำจากแม่น้ำโขงซึ่งถือว่าเมื่อฤดูฝนหลาก มีน้ำเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นผมผมใช้คำว่าเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่คุ้มค่าและต่อยอด เติมเงินในกระเป๋าให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวอีสานทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการนี้ ได้ศึกษาแล้วใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ ๒ ล้านล้านบาท แต่ถ้าจะใช้งบประมาณปกติ ผมทราบดีว่าไม่มีทางที่จะทำสำเร็จภายในเร็ววัน ทางคณะกรรมาธิการในขณะนั้นได้คิดถึง แนวทางว่าเราต้องออกพันธบัตรของรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยที่พี่น้องประชาชนสนใจ โดยใช้ เป็นโครงการ Megaproject เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งทั้งระบบของภาคอีสาน โดยมีทั้งหมดเป็น ๕ ระยะด้วยกัน ตาม Slide ที่ท่านประธานเห็นนี่คือรูปแบบการจำลอง ทางชลศาสตร์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทานได้ทำการทดลองไว้ นี่คือปากแม่น้ำเลยที่เราทดลองกัน นี่คืออุโมงค์ที่เจาะที่ปากแม่น้ำเลยโดยมีประตูบานเลื่อน ปิดเปิดสำหรับบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้งทั้งระบบ และ Slide รูปนี้เป็นการบริหารน้ำ ทั้งแม่น้ำโขง แม่น้ำเลย แม่น้ำชี แม่น้ำมูล ทั้งภาคอีสาน ๒๑ จังหวัด พื้นที่การเพาะปลูก ทั้งสิ้น ๑๐๐ กว่าล้านไร่ จะได้ประโยชน์จากการบริหารแม่น้ำโขง แม่น้ำเลย แม่น้ำชี แม่น้ำมูล ขอบพระคุณมากครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม รชตะ ด่านกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ ๑๕ อำเภอด่านขุนทด อำเภอเทพารักษ์ และอำเภอพระทองคำ ผมมี ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาหารือต่อสภาแห่งนี้ ดังต่อไปนี้ครับ
เรื่องที่ ๑ เรื่องของโรงพยาบาลด่านขุนทด ด้วยโรงพยาบาลด่านขุนทดต้องให้บริการพี่น้องประชาชนกว่า ๑๕๐,๐๐๐ คน ยังไม่นับรวม ประชากรแฝง และประชากรข้างเคียง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานสาธารณสุขได้วาง ยุทธศาสตร์ให้โรงพยาบาลแห่งนี้เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย ๑ ใน ๕ ของจังหวัดนครราชสีมา เพื่อรองรับความแออัดยัดเยียดในการบริการของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ฉะนั้น ท่านประธานครับ เราเลยมีแนวคิดที่จะสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ที่มีพื้นที่กว้างขวาง ตอนนี้ เราได้แล้วครับเนื้อที่กว่า ๑๒๔ ไร่ กว่า ๑๐ ปีที่ผ่านมาที่เราพยายามสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้ ยังไม่สามารถเปิดใช้บริการ หรือดูแลพี่น้องประชาชนได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะว่าเราขาด อาคาร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ท่านประธานครับ อาคารนี้คืออาคารผ่าตัดคลอด ๔ ชั้น พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ งบประมาณทั้งสิ้น ๒๑๕ ล้านบาท ถ้าได้อาคารผ่าคลอดตึกนี้ โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ จะสามารถให้บริการพี่น้องประชาชนทั้งอำเภอด่านขุนทด เทพารักษ์ พระทองคำ รวมทั้งอำเภอใกล้เคียง เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนครับ
เรื่องที่ ๒ ครับท่านประธาน ด้วยกรมทางหลวงถนนหมายเลข ๒๒๑๗ ระหว่างอำเภอด่านขุนทดเชื่อมไปอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ช่วงกิโลเมตรที่ ๖ ถึงกิโลเมตรที่ ๗ ถนนเส้นนี้โค้งหักศอก S Curve ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เสียชีวิต และทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน นี่คือภาพตัวอย่าง ผมลงพื้นที่ดูมาด้วยตัวเอง ท่านประธานครับ ตรงนี้ขอให้กรมทางหลวงได้ทำการติดตั้งไฟแสงสว่าง และรวมทั้ง Guard Rail สำหรับป้องกันรถแหกโค้งนะครับ นี่คือถนนสาย ๒๒๑๗ ของกรมทางหลวง
เรื่องที่ ๔ ครับ กรมทางหลวงเช่นเดียวกัน ถนนหมายเลข ๒๒๕๖ ช่วงเทศบาลตำบลด่านขุนทดได้งบประมาณมาก่อสร้างจากแขวงการทางนครราชสีมาที่ ๒ คือสร้างระบบระบายน้ำและทางเท้า แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าในขณะนี้ผู้รับจ้างทำการย้ายเสาไฟ จราจร ก็เลยขอให้ทางแขวงการทางนั้นได้นำงบประมาณมาติดตั้งสัญญาณไฟจราจรให้กับ เทศบาลตำบลด่านขุนทดครับ ขอบคุณครับ
ท่านประธานครับ รชตะ ด่านกุล ๒๙๓ แสดงตนครับ
ท่านประธานครับ ๒๙๓ แสดงตนครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม รชตะ ด่านกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา อำเภอด่านขุนทด อำเภอเทพารักษ์ และอำเภอพระทองคำ มีปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน มาเรียนท่านประธานดังนี้ครับ
เรื่องที่ ๑ ขอให้กรมชลประทานได้ลงมาดูพื้นที่ แล้วก็มาซ่อมฝาย บ้านกุดน้ำใส ตำบลหนองบัวตะเกียด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ฝายตัวนี้ ไม่ได้รับการดูแลมานาน แล้วก็พี่น้องประชาชนต้องเชื่อมระหว่างหมู่บ้านไม่สามารถสัญจรได้
เรื่องที่ ๒ ขยาย ๔ ช่องจราจร สายบ้านปะคำ-บ้านเหลื่อม นม.๒๓๖๙ ของกรมทางหลวง เส้นนี้เชื่อมไปอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เป็นเส้นทางระบายรถ พี่น้องประชาชนช่วงเทศกาล ก็ฝากท่านประธานไปถึงกรมทางหลวงด้วยครับ
เรื่องที่ ๓ ขยาย ๔ ช่องจราจร ถนนสาย ๒๒๕๖ แยกกุดม่วงไปถึงลำนารายณ์ เป็นเส้นทางประตูสู่อีสาน ภาคเหนือ ซึ่งมีปริมาณการจราจรที่หนาแน่น พี่น้องประชาชน เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องขยาย ๔ ช่องจราจร ขอบพระคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม รชตะ ด่านกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา พรรคเพื่อไทย เขต ๑๕ อำเภอด่านขุนทด อำเภอเทพารักษ์ และอำเภอพระทองคำ ท่านประธานที่เคารพครับ ในวันนี้ผมขออภิปราย และมีข้อสอบถามถึงสำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือที่เราเรียกย่อ ๆ ว่าสำนักงาน กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคมของชาติ ท่านประธานครับ
ในการอภิปรายและข้อสอบถามในครั้งนี้ ผมได้ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากรายงานผลการปฏิบัติงานสำนักงาน กสทช. พุทธศักราช ๒๕๖๕ เป็นหลักครับท่านประธาน ในประเด็นอภิปรายมี ๓ ประเด็น
ประเด็นที่ ๑ คลื่นความถี่ 5G และการนำไปใช้งาน ท่านประธานครับ คลื่นความถี่ 5G ที่ได้จัดประมูลไปนั้นมีการนำไปใช้งาน ใช้ประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน อย่างไร และในเมื่อคลื่นความถี่ 5G นั้นถือเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าของประเทศชาติ ท่านมีนโยบายทำอย่างไร
ประเด็นที่ ๒ การคุ้มครองผู้บริโภค ผมขอตั้งข้อสังเกตทั้งในเรื่องของ การดำเนินการแก้ไขปัญหา Call Center เถื่อน แก๊งมิจฉาชีพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ในส่วนของการผูกขาดทางการค้า
ประเด็นที่ ๓ คุณภาพของการให้บริการของพี่น้องประชาชน มีตัวชี้วัด มีมาตรฐานสากลเพียงใด สามารถตรวจติดตาม หรือตัวชี้วัดได้อย่างไรครับท่านประธาน
ในส่วนประเด็นของการอภิปรายข้อสอบถามคลื่นความถี่ที่เราได้นำมา ใช้งานนั้นมีประสิทธิภาพ ผมต้องขออธิบายการพัฒนาของคลื่นความถี่ ความแตกต่าง และการนำไปใช้งานครับท่านประธาน ยกตัวอย่าง 1G ถึง 5G คลื่น 1G ใช้สำหรับเสียง 2G ใช้สำหรับใช้งานเสียงและข้อความ 3G สำหรับ Multimedia 4G สำหรับ Multimedia และ Real time 5G สำหรับแก้ไขปัญหาการหน่วง หรือ Delay ของเวลา ยกตัวอย่าง เช่น การผ่าตัดโดยเครื่องมือกลผ่านเทคโนโลยี 5G Telemedicine หรือแม้กระทั่งรถยนต์ ไร้คนขับ หรือ Smart Car เป็นต้น ที่ต้องการแก้ปัญหาการ Delay หน่วงอย่างแท้จริง จากการที่ผมได้กล่าวข้างต้น ทางสำนักงาน กสทช. ได้พยายามทำโครงการต้นแบบ ดัง Slide ที่ผมได้แจ้งให้กับที่ประชุมในครั้งนี้ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการต้นแบบ 5G AI โรงพยาบาลศิริราช โครงการนำร่องเกษตรดิจิทัล หรือแม้แต่กระทั่งโครงการ 5G Case ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ท่านประธานครับ นี่คือตัวอย่างโครงการนำร่อง กสทช. ที่พยายามนำเสนอต่อพี่น้องประชาชน ผมมีข้อสอบถามง่าย ๆ ว่าโครงการนำร่องเหล่านี้สำนักงาน กสทช. สามารถนำเสนอ มาพัฒนา มาต่อยอด สนับสนุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชน ผู้ประกอบการ เอกชน หรือแม้แต่ภาครัฐได้อย่างไร รวมทั้งนำมาใช้เชิงพาณิชย์ในปัจจุบันได้หรือไม่ ประเด็น คำถามครับ ผมมีข้อสอบถามไปยังสำนักงาน กสทช. ดังต่อไป ข้อ ๑ โครงการที่ผมกล่าว ข้างต้นมีโครงการใดสำเร็จบ้าง ข้อ ๒ งบประมาณที่นำไปใช้คุ้มค่าหรือไม่ ข้อ ๓ ประเทศไทย ของเรามี 5G แต่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผมจึงขอตั้งข้อสังเกตว่าการที่ เราใช้เทคโนโลยี 5G เป็นการผลักภาระให้กับผู้บริโภค ซึ่งทางผู้ประกอบการก็ต้องผลักภาระ ให้ผู้บริโภคในการประมูลคลื่นนั่นเองครับท่านประธาน
ประเด็นคำถามส่วนของข้อ ๒ คือการคุ้มครองผู้บริโภค จากแผนภาพ Slide ครับท่านประธาน จะเห็นว่า Call Center เถื่อนมาจาก ๒ แหล่งเป็นหลัก แหล่งที่ ๑ จากคู่สัญญาจากต่างประเทศ มาเชื่อมต่อสัญญาณผ่าน Operator ในไทย ส่วนที่ ๒ มาจาก ตะเข็บชายแดนของไทย ผ่านเพื่อนบ้าน ผ่าน SIM Card หรือที่เรียกว่า SIM Box คือ 1 Box มีเบอร์โทรศัพท์เป็นร้อย SIM สามารถใช้ต่อเชื่อมโทรศัพท์มาประเทศไทยได้อย่างง่ายดาย นี่คือต้นตอของ Call Center แต่ประเด็นปลายทางก็คือว่าในเมื่อจะเป็นปลายทาง จากต่างประเทศหรือตะเข็บชายแดน ก็ยังต้องผ่าน Operator ที่ประเทศไทยก็คือผู้ให้บริการ ซึ่งกำกับดูแลโดยสำนักงาน กสทช. เหตุใดจึงไม่มีการกวดขัน คัดกรอง หรือว่าระงับยับยั้ง เบอร์ที่ต้องสงสัย เบอร์ที่โทรออกผิดปกติ เป็นต้น ทำให้เกิดความเสียหายกับพี่น้องประชาชน เสมอมาครับท่านประธาน
ในส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภค อีกด้านหนึ่งครับ ขอพูดในเรื่องของ การรวบตลาด ขออนุญาตใช้เป็นสีแทนผู้ประกอบการนะครับ สีน้ำเงินคือผู้ประกอบการ ที่ส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด สีเขียวอันดับ ๒ ชมพูอันดับ ๓ สีเหลืองอันดับ ๔ เมื่อไม่นาน มานี้เขียวกับชมพูควบรวมกิจการกัน ทางสำนักงาน กสทช. ให้ความเห็นว่าไม่เป็นการผูกขาด การตลาด เพราะว่ายังมีสีเหลืองคือ NT เป็นรายที่ ๓ อยู่ ซึ่งถ้าท่านดูแล้วจะทราบเลยครับว่า NT นั้นมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง ๒.๓๙ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าไม่มีผลเลย ทำให้ผู้เล่นหลัก มีแค่ ๒ เจ้า ฉะนั้นการแข่งขันทางการค้าไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทำให้ภาระการบริโภค ตกไปกับพี่น้องประชาชนครับท่านประธาน
ในเรื่องสุดท้าย คุณภาพบริการ ผมขอสอบถามว่าในระยะการซ่อมซึ่งไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง มันเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งผมตอบท่านเองเลยครับว่าไม่เป็นจริง ก็ขออนุญาตสรุป ง่าย ๆ ว่าผมมีความเห็นว่าปัญหาในสำนักงาน กสทช. ยังมีอีกหลายด้านที่ยังไม่ดีเท่าที่ควร เช่น การจัดระเบียบสาย การบริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง หรือที่เรียกว่า USO และดาวเทียม เป็นต้นครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน
ท่านประธาน ผม รชตะ ด่านกุล หมายเลข ๒๙๓ รับหลักการครับ
ผม รชตะ ด่านกุล หมายเลข ๒๙๓ รับหลักการครับ
๒๙๓ แสดงตนครับ