ท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ดิฉันได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ในสัดส่วนของ คณะรัฐมนตรี จำนวนทั้งหมด ๘ ท่าน ดังนี้ ๑. นายวัลลภ นาคบัว ๒. นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ ๓. นายนันพง ศรียานงค์ ๔. นายจาตุรนต์ ฉายแสง ๕. นายซูการ์โน มะทา ๖. นายซาการียา สะอิ ๗. นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ๘. นายอะห์หมัด บอสตา ขอบคุณค่ะ
ท่านประธานที่เคารพคะ ดิฉัน นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต ๙ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันขอนำความเดือดร้อนของพี่น้องทั้งหมด ๓ เรื่องดังนี้ค่ะ
เรื่องแรก ดิฉันได้รับคำร้องเรียนจากนายชัยวัฒน์ ดอกไม้งาม นายกองค์การ บริหารส่วนตำบลคอนฉิม อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากประชาชน บ้านดงบัง บ้านดอนโจด บ้านโคกสว่าง ตำบลคอนฉิม ขาดแคลนไฟฟ้าเพื่อการเกษตร และการดำรงชีวิตประจำวัน จึงอยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาพล ช่วยจัดสรรงบประมาณอย่างพอเพียงในการขอขยายเขตไฟฟ้าเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ค่ะ
อีกปัญหาใหญ่จากตำบลคอนฉิม อำเภอแวงใหญ่ คือน้ำอุปโภคที่ไม่สะอาด และมีสภาพน้ำขุ่น เนื่องจากหนองประจำบ้านเป็นน้ำดิบมีผลกระทบอย่างน้อย ๆ ๒๐๓ หลังคาเรือน จึงใคร่ขอการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอเข้าพื้นที่
เรื่องที่ ๓ พื้นที่ชาวไร่ชาวนาบริเวณโดยรอบโครงการขุดลอกแก้มลิง บึงละหานนา คือบ้านทุ่งมน บ้านโนนทองหลาง ตำบลละหานนา บ้านรวง บ้านลาด บ้านโนนไท ตำบลท่าวัด อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น รวมไปถึงพี่น้องอำเภอ แก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติน้ำท่วมทุก ๆ ปี ในฤดูน้ำหลาก สาเหตุหลักสืบเนื่องจากโครงการแก้มลิงบึงละหานนามีคันถนน ที่มีระดับสูงล้อมบึงและมีประตูกั้นน้ำระหว่างบึงกับห้วยนา ในฤดูน้ำหลากไม่สามารถ ระบายน้ำจากนาสู่บึงได้เพราะมีการเปิดปิดประตูน้ำที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณน้ำ จึงเกิดความเสียหายทุกปี บวกกับคันถนนที่กั้นบึงมีระดับสูงกว่าพื้นที่นาและลำห้วยนา น้ำจึงไม่สามารถผ่านได้ ที่ผ่านมามีการแก้ไขปัญหาโดยการสูบน้ำออกจากนาเท่านั้น เพื่อบรรเทาตามสภาพสถานการณ์ การแก้ไขปัญหาอย่างถาวรมีความจำเป็นต้องสร้าง ทางระบายน้ำ Bypass จากห้วยนาลงลำชี บึงละหาน จึงฝากไปถึงกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเร่งพิจารณาทำโครงการนี้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวค่ะ ขอบคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต ๙ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันมีข้อร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ทั้งหมด ๓ เรื่อง นำเรียนต่อสภาดังนี้ค่ะ
เรื่องแรก ดิฉันได้รับการร้องเรียนจาก นายธนกร พงษ์ศิลา นายกองค์การ บริหารส่วนตำบลโสกนกเต็น อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากรถเก็บขยะที่ใช้งาน ให้บริการประชาชนในพื้นที่อยู่นั้นชำรุดทรุดโทรมอยู่บ่อยครั้ง ไม่สะดวกอย่างยิ่งต่อการทำงาน ได้ของบประมาณไปอยู่หลายครั้ง แต่ไม่ได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด จึงใคร่ขอ สำนักงบประมาณและกระทรวงมหาดไทยกรุณาจัดสรรอนุมัติงบประมาณเพื่อปรับปรุง และช่วยเหลือการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโสกนกเต็น มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
เรื่องที่ ๒ ดิฉันได้รับการร้องเรียนจากนายประเสริฐ สีสุวอ นายกองค์การ บริหารส่วนตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากประชาชนหมู่ที่ ๒ บ้านนายาง หมู่ที่ ๓ บ้านนาคสะดุ้ง หมู่ที่ ๗ บ้านโคกกลาง และหมู่ที่ ๑๐ บ้านโนนแต้ ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ไม่มีน้ำประปาใช้สอยในชีวิตประจำวัน น้ำที่ใช้อยู่ เป็นน้ำที่เค็มและขุ่น จึงอยากใคร่เรียนไปถึงการประปาส่วนภูมิภาคและหน่วยงานที่ รับผิดชอบให้เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
เรื่องที่ ๓ ดิฉันได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านตำบลเก่างิ้ว อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากต้องการให้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างถนนลาดยางจาก บ้านคึมชาดลัดเข้าตัวเมืองพล ซึ่งปัจจุบันถนนเส้นนี้เป็นหินคลุก หน้าแล้งเป็นฝุ่น หน้าฝน เป็นบ่อ น้ำขัง ชาวบ้านได้สัญจรไปมาใช้ร่วมกันอยู่ ๕ หมู่บ้าน มีประชาชนอยู่ประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าคน เพื่อความสะดวกต่อการเดินทางแล้วก็ประหยัดเวลา ที่สำคัญเพิ่มความ ปลอดภัยให้กับผู้ปกครองเวลาส่งลูกหลานไปโรงเรียนตอนเช้า จึงอยากใคร่ขอหน่วยงานที่ รับผิดชอบกรุณาจัดสรรงบประมาณเพื่อบรรเทาและตอบสนองความต้องการของประชาชน ในพื้นที่ด้วยค่ะขอบคุณค่ะ
จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๖๘ คน
เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต ๙ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันในนามของพรรคเพื่อไทยขอร่วมเสนอญัตติต่อสภา ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยจากการสู้รบตามแนวชายแดน ไทย-เมียนมา ด้วยสาเหตุหลายประการดังนี้
เห็นพ้องต้องกันกับท่านสมาชิกที่เสนอไปอีก ๒ ญัตติว่า สืบเนื่องจาก สถานการณ์ความไม่สงบของประเทศเมียนมาเกิดความรุนแรง เกิดการรบราฆ่าฟัน มีสงคราม กลางเมืองกันมาต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า ๔๐ ปี เพราะฉะนั้นมันส่งผลกระทบถึงประชาชน คนเมียนมาในทุกหย่อมหญ้า ที่ผ่านมามีการอพยพข้ามฝั่งมาที่ประเทศไทยเพื่อที่จะหลบภัย สงครามเป็นจำนวนมาก ประเทศไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านกับเมียนมามีดินแดนติดต่อกัน ถึง ๒,๒๐๐ กิโลเมตร หน้างานเพื่อรับมือกับประชากรที่หนีภัยสงครามเข้ามาตามชายแดน รัฐบาลไทยได้กรุณาให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หลบภัย มีที่พักชั่วคราว มีอาหาร มียารักษา จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ เป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้ และ ยังคงต้องแบกภาระความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นความรุนแรงของสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ในเมียนมาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันมีศูนย์ พักพิงชั่วคราวอยู่ ๙ แห่ง ๔ จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก ราชบุรี และกาญจนบุรี รองรับ ผู้หนีภัยเป็นจำนวนมากกว่า ๗๐,๐๐๐ ไปจนถึง ๑๐๐,๐๐๐ คน แล้วแต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ วันนั้น ๆ เนิ่นนานกว่า ๔๐ ปี ศูนย์พักพิงเหล่านี้มีผู้คนเข้าออกเป็นจำนวนมาก สะท้อนให้ เห็นว่าความรุนแรงจากประเทศต้นทางไม่ได้ลดลงเลย ซ้ำร้ายเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มี การรัฐประหารเพิ่มขึ้นไปอีก มีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะยังคงสืบเนื่องต่อไปโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งตอนนี้ที่มีการสู้รบกันอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าประเทศไทยให้การช่วยเหลือโดยรองรับ ผู้อพยพโดยชั่วคราวเท่านั้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยแนวปกติ สากลที่ทำอยู่มีอยู่ ๓ หลัก แล้วรัฐบาลไทยก็มีความพยายามที่จะนำหลักปฏิบัติทั้ง ๓ อันนี้ เข้ามาช่วยเหลือผู้อพยพในกลุ่มดังกล่าว
แนวทางแรก คือจะต้องส่งผู้หลบภัยไปสู่มาตุภูมิตามหลักมนุษยธรรม แล้วก็ ด้วยความสมัครใจ รวมไปถึงภายใต้ความปลอดภัยว่าส่งไปแล้วจะได้รับความปลอดภัยนั้น หรือไม่ ซึ่งเป็นบางส่วนเท่านั้นค่ะ ผู้อพยพบางส่วนมีเจตนารมณ์ที่จะกลับไปมาตุภูมิตัวเอง ค่อนข้างน้อยจากจัดสัดส่วนที่เรารับอยู่เป็นจำนวนมาก
แนวทางที่ ๒ คือ Resettlement Program ก็คือการที่ทางราชการไทย รวมถึง UNHCR แล้วก็ NGOs ต่าง ๆ ร่วมมือกันเพื่อที่จะประสานประเทศที่สามให้รับ ผู้อพยพนี้ให้ไปเป็นผู้ลี้ภัยแล้วก็ตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในประเทศนั้น ๆ เราจะเห็นหลาย ประเทศที่รับกลุ่มคนเหล่านี้ไป แล้วที่ผ่านมาเราก็ได้ส่งคนไปที่ประเทศที่สามเพื่อที่จะ ลี้ภัยกว่าแสนคน แต่ในขณะเดียวกันมันไม่สามารถรองรับจำนวนที่มากขึ้นในแต่ละวันได้เลย ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประเทศที่สามที่รับผู้ลี้ภัยได้ปรับลดโควตาการรับผู้ลี้ภัยจากทวีป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงเป็นจำนวนมาก จึงทำให้การแก้ไขปัญหาแนวทางนี้เป็นไปได้ ด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะทุกวันนี้ที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะส่งไป
แนวทางที่ ๓ คือ Local Integration ก็คือการแก้ไขปัญหาโดยมีส่วนร่วม การปรับตัวกับประเทศที่พำนักอยู่ ณ ตอนนี้ก็คือประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกัน ทางประเทศไทยก็ยังไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจน แล้วก็ยังไม่ได้มีแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการ แก้ไขอย่างมีส่วนร่วม ขณะเดียวกันการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ผ่านมาเรามองว่างบประมาณ ที่ช่วยเหลือไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้หลบภัยที่เข้ามาเป็นจำนวนมากและอย่างต่อเนื่อง เงินบริจาคต่าง ๆ ที่มาจากองค์กรไม่ว่าจะเป็นจากทาง UN หรือว่าประเทศที่พัฒนาแล้วต่าง ๆ ผ่าน NGOs ๑๓ องค์กรมันมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันจำนวนผู้ลี้ภัย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดการขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการดำรงชีวิต ประจำวัน อาหารก็มีจำนวนลดลง แล้วก็รวมไปถึงการดูแลเรื่องสาธารณสุข เรื่องหยูกยา ต่าง ๆ รวมไปถึงการศึกษา เพราะฉะนั้นยังมีปัญหาต่าง ๆ อีกมากมายภายในค่ายพักพิงที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ๑. คือความยากจน ๒. ปัญหาสาธารณสุข ๓. ปัญหาเด็กไร้สัญชาติ หรือว่าจะเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ การเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มคนต่าง ๆ ที่ดูแลค่ายพักพิงเหล่านี้ สถานะทางกฎหมาย ที่เรียกว่า ผู้หลบหนีภัยสงคราม เราไม่สามารถใช้คำว่า ผู้ลี้ภัย ได้ เพราะว่าประเทศไทยไม่ได้ มีการเซ็นสนธิสัญญาในการร่วมที่จะช่วยเหลือดูแลผู้ลี้ภัย เพราะฉะนั้นกลุ่มคนเหล่านี้ เราเรียกว่า ผู้หลบภัยทางสงคราม ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ไม่สามารถออกจากค่ายพักพิงชั่วคราวได้ การที่ข้ามเส้นไปนั้นเขาจะเป็นคนที่ลักลอบเข้าเมืองทันที รวมไปถึงจะต้องถูกดำเนินคดี ตามกฎหมายในฐานะผู้ที่ลักลอบเข้ามา เพราะฉะนั้นการที่ถูกกักบริเวณไม่สามารถไปไหน มาไหนได้เป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่ทำให้คนที่อพยพมาอยู่ศูนย์พักพิงเหล่านี้ ไม่สามารถ ที่จะใช้ชีวิตอย่างปกติได้ ไม่สามารถทำมาหากินได้ ปัญหาเหล่านี้สั่งสมมากว่า ๔๐ ปี ปีนี้ เข้าปีที่ ๔๐ แล้ว ความช่วยเหลือทางด้านอาหาร ทางยา แล้วก็ที่พักพิงก็ยังคงไม่พอเพียงอยู่ดี กลุ่มคนเหล่านี้ต้องมีช่องทางในการสามารถช่วยเหลือตัวเองเพื่อลดภาระให้กับประเทศไทย รวมไปถึงองค์กรต่าง ๆ แต่ในวันนี้เรายังไม่มีการศึกษา ยังไม่มีการเอาจริงเอาจังที่จะหา แนวทางที่ชัดเจนอย่างยั่งยืน จึงมีความจำเป็นที่สภา รวมไปถึงรัฐบาลด้วยอาจจะต้องมา ร่วมกันถกเถียงเพื่อศึกษาร่วมกันหาทางออก มันจะเป็นประโยชน์มากสำหรับการทำงาน ของรัฐบาลค่ะ แล้วก็รวมไปถึงประชาชนคนไทยที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ ที่สำคัญกว่านั้นคือ เรามีความจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องช่วยเพื่อนมนุษย์ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก เพียงแค่เพราะว่าเขา เลือกประเทศที่จะเกิดไม่ได้ มีหลายความเห็นบอกว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะเปิดโอกาสให้ กลุ่มคนเหล่านี้โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวที่มีศักยภาพสามารถเป็นแรงงานได้หรือไม่ คนที่มี ความพร้อมอยู่แล้วเปิดโอกาสให้เขาทำมาหากินเป็นแรงงานช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยขณะนี้ประเทศไทยก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มันจะมีแนวทางไหนไหมที่จะสามารถปฏิบัติได้ โดยที่ไม่กระทบกับความมั่นคง แล้วก็อธิปไตยของประเทศไทย ดิฉันมองว่าแนวทางที่จะ สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการแบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่ เป็นการที่รัฐบาลหรือว่าผู้มีอำนาจสั่งงานลงมาอย่างเดียว ต้องรับฟังเพื่อที่จะมีแนวทางไป แก้ไขปัญหาต่อไปค่ะ จากการสู้รบของประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นตอของปัญหานี้ ดิฉันมองว่า ประเทศไทยที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วก็ปัญหาเรื่องศูนย์พักพิงที่เรา กำลังถกกำลังพิจารณาเหล่านี้เป็นหนึ่งในปัญหาปลายทางเท่านั้น นอกจากที่จะช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยสงครามแล้ว การระงับยับยั้งสงครามในประเทศเมียนมานำมาซึ่งสันติสุขนี้จึงเป็น เป้าหมายสูงสุดของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศไทยรวมไปถึง ASEAN ก็ให้ ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นภายใต้รัฐบาลใหม่ดิฉันก็เชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาล แล้วก็เล็งเห็นว่าทางรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ดิฉันเห็นสมควรว่าสภาชุดนี้รวมไปถึง สิ่งที่เพื่อนสมาชิกทุกคนกำลังพิจารณาจะให้ความเห็นชอบในการศึกษาพิจารณาแนวทาง และนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เพื่อสุดท้ายแล้วเราจะมีทางออกที่ดีที่สุด ได้สำหรับทุกภาคส่วน เพราะฉะนั้นไม่ว่ามติของสภาจะออกมาในลักษณะไหน ไม่ว่าจะมา ด้วยกลไกรูปแบบไหนเพื่อที่จะถกหาข้อสรุปแล้วก็แนวทางนโยบายต่าง ๆ ที่จะนำมาซึ่ง ผลสำเร็จได้ก็ขออนุญาตให้ท่านสมาชิกเห็นชอบในการลงมติครั้งนี้ด้วย กราบขอบพระคุณค่ะ
ท่านประธานค่ะ ๔๐๓ สรัสนันท์ แสดงตนค่ะ
ท่านประธานค่ะ ๔๐๓ สรัสนันท์ รับหลักการค่ะ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ แสดงตนค่ะ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ สรัสนันท์ แสดงตนค่ะ
๔๐๓ แสดงตนค่ะท่านประธาน รอบที่ ๒ ค่ะ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ สรัสนันท์ เห็นด้วยค่ะ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ ขอแสดงตนค่ะ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ ไม่เห็นด้วยค่ะ
ท่านประธาน ๔๐๓ แสดงตนค่ะ
ท่านประธาน ๔๐๓ ไม่เห็นด้วยค่ะ
ท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต ๙ พรรคเพื่อไทยค่ะ วันนี้ดิฉันขออนุญาตนำความเดือดร้อนของพี่น้อง เขต ๙ จังหวัดขอนแก่น ประมาณ ๓-๔ เรื่องดังนี้ค่ะ
เรื่องแรก ขอให้กรมทางหลวงแขวง ๓ กระทรวงคมนาคม เร่งพิจารณา งบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายถนนทางหลวงหมายเลข ๒๐๖๕ จากเทศบาลตำบล แวงน้อยไปจนถึงตำบลท่านางแนว จังหวัดขอนแก่น ให้แล้วเสร็จตลอดสายตามที่เคยมีแผน ตอนนี้เสร็จเป็นเพียงบางช่วงเท่านั้นค่ะ เพื่ออำนวยความสะดวกการสัญจรอย่างมีคุณภาพ และความปลอดภัยสำหรับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ค่ะ
เรื่องที่ ๒ คือถนนทางหลวงเส้น ๒๔๔๐ จากอำเภอพลไปอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ที่มีการขยายเส้นทางเป็นถนน ๔ เลน ซึ่งบางช่วงของถนนเส้นนี้ค่ะ กรมทางหลวงได้นำ Barrier ปูนขนาดใหญ่และสูงวางตามแนวกลางถนนเพื่อแบ่งเลนค่ะ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณชุมชนแออัด Barrier ปูนอันนี้เป็นอุปสรรคต่อประชาชนในพื้นที่ ในการข้ามถนนเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยและเป็นอันตรายต่อ ผู้ใช้รถ ใช้ถนน เพราะขับรถมาอยู่ดี ๆ ก็มีตอปูนโผล่มากลางถนนเป็นอันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาตอนกลางคืน หรือเวลาจะมีการขับแซงกันก็เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ที่ผ่านมามีการสูญเสียชีวิตไปแล้ว โครงการลักษณะนี้นอกจากจะไม่เป็นประโยชน์ต่อ ประชาชนแล้วยังส่อให้คิดถึงความไม่คุ้มค่า สามารถตั้งคำถามถึงการทุจริตได้อีกด้วย จึงอยากพิจารณาขอให้กรมทางหลวงนำ Barrier ออกค่ะ
เรื่องที่ ๓ ขอให้กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณา งบประมาณเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเทศบาลอำเภอพล จังหวัด ขอนแก่นค่ะ ก็คือการขุดลอกบึงละเลิงหวายที่ไม่สามารถกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ได้อย่างเพียงพอค่ะ จึงฝากนำเรียนท่านประธานเพียง ๓ เรื่องวันนี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ
ท่านประธานสภาที่เคารพคะ ดิฉัน สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต ๙ พรรคเพื่อไทย วันนี้ขอนำเรื่องเดือดร้อนของพี่น้องจังหวัดขอนแก่นทั้ง ๓ เรื่อง ผ่านท่านประธานไปยัง หน่วยงานรับผิดชอบดังนี้ค่ะ
เรื่องแรก ฝากไปถึงกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เรื่องการขอสัญญาณ ไฟจราจรบริเวณสามแยก จากเส้นโยธาธิการ ๒๐๔๖ เขาถนนเส้นหลักทางหลวง ๒๔๔๐ ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากบริเวณนี้มีโรงงานเสื้อผ้าขนาดใหญ่ มีพนักงานโรงงานหลายพันคน รวมถึงร้านค้าตลาดรอบ ๆ ทำให้การสัญจรบริเวณสามแยกนี้ เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง เพราะไม่มีสัญญาณไฟ และถนนเส้นนี้ก็อยู่ตรงทางโค้งพอดี ทำให้ วิสัยทัศน์ของคนใช้รถใช้ถนนเป็นไปได้ด้วยความลำบาก จึงใคร่ขอหน่วยงานที่รับผิดชอบ เร่งจัดสรรเพื่อแก้ไขปัญหานี้ค่ะ
เรื่องที่ ๒ ดิฉันได้รับการร้องเรียนจากนายสายัณห์ งวงช้าง นายกเทศมนตรี ตำบลแวงใหญ่ เรื่องการขอขยายถนนทางหลวง ๒๑๙๙ สายชนบท-กุดรู ช่วง กม.๑๖-๓๕๐ ถึง กม.๑๗ ตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง เพื่ออำนวย ความสะดวกการสัญจรของประชาชนในทุกพื้นที่ จึงใคร่ขอความกรุณากรมทางหลวง มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
เรื่องที่ ๓ ปัญหาชำรุดแตกพังของถนนรอบบึงละหานนา ตำบลละหานนา อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ที่เป็นปัญหาซ้ำซาก ดิฉันเคยร้องเรียนไปแล้ว ก็ได้รับการ ซ่อมแซมค่ะ แต่ในลักษณะขอไปที ถนนแตกก็เอายางมาหยอด ผ่านไป ๓-๔ เดือนเท่านั้น ถนนก็พังเช่นเดิม ปัญหาก็สืบเนื่องมาจากการก่อสร้างที่มีปัญหามาตั้งแต่ต้นค่ะ จึงอยาก ฝากความไปถึงกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เร่งหาแนวทางแก้ไขอย่าง เป็นรูปธรรมค่ะ อีกอย่างหนึ่งคือฝากไปถึงการตรวจรับงานที่หละหลวมจากผู้รับเหมาด้วย ขอบคุณค่ะ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ แสดงตนค่ะ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ แสดงตนค่ะ
ท่านประธานคะ ๔๐๓ เห็นด้วยค่ะ