เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ผมมีประเด็นวาระ หารือถึงท่านประธานเพื่อให้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ผมจะกล่าวถึงเกี่ยวข้อง กับกรณีเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เพื่อนสมาชิกหลายท่านอาจจะติดตาม ข่าวทราบดีว่า ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ถือเป็นการเกิดโศกนาฏกรรมที่ใหญ่มาก กับพี่น้อง หมู่ที่ ๑ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส นั่นก็คือเกิดเหตุระเบิด ในโกดังเก็บพลุดอกไม้ไฟ เป็นเหตุให้มีการเสียชีวิต ๑๒ ราย บาดเจ็บ ๑๑๑ ราย และบ้านเรือนเสียหายหลายร้อยหลังคาเรือน โดยเฉพาะบ้านของพี่น้องที่อยู่ในชุมชนที่อยู่ติด กับบริเวณของโกดังในระยะ ๕๐ เมตร ราบเป็นหน้ากลอง ผมในฐานะที่อยู่ในพื้นที่ เราอยู่ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบมาตลอด ๒๐ ปี เรายังไม่เคยเห็น ผมเองยังไม่เคยเห็น ความสูญเสียที่หนักขนาดนี้
ท่านประธานครับ นี่คืออีกภาพหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นเหมือนกับเป็น Spotlight ดวงใหญ่ที่สะท้อนให้เห็นว่าภายใต้สถานการณ์ ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รัฐสูญเสียงบประมาณมากมายนี่นะครับ ในอีกด้านหนึ่งมันสะท้อนให้เห็นถึงการหาผลประโยชน์ของธุรกิจสีเทา ผมอาจจะไม่ลง รายละเอียดมาก เพราะว่าตอนบ่ายอาจจะมีการยื่นญัตติด้วยวาจาแต่ผมมีข้อเสนอแนะไปยัง ท่านประธานเพื่อไปถึงนายกรัฐมนตรีถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึง กอ.รมน. ว่าอยากให้ ดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง ตัวการ แล้วก็ผู้สนับสนุนให้เร็วที่สุด แล้วก็ให้ตรงไปตรงมา
ประเด็นที่ ๒ อยากให้มีการตั้งคณะกรรมการกลางที่ไม่ใช่มาจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการหาผลประโยชน์ในเรื่องนี้เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วก็เพื่อป้องกัน ผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายกรณีที่เกิดขึ้นใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในลักษณะเช่นนี้ที่ยังไม่ เปิดเผย
ประเด็นที่ ๓ ก็คือให้มีหนังสือถึงกระทรวงการคลังนะครับ ให้ประสานงาน กับสถาบันการเงินไม่ว่าจะเป็นธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ สถาบันการเงินอื่น ๆ ให้เข้าไปดูแลเยียวยาให้กับผู้ประกอบการ ให้แหล่งเงินทุนกับ ผู้ประกอบการที่อยู่ในชุมชน
ประเด็นที่ ๔ ให้มีหนังสือถึงศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เสนอไปยังคณะกรรมการ กพต. เพื่อให้ได้รับการเยียวยา ตามระเบียบของ กพต. ปี ๒๕๕๕ กรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำความผิด เพราะว่าผมถือว่ากรณีลักษณะอย่างนี้เป็นกรณี ที่เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนในการให้เกิดเหตุโศกนาฏกรรมครั้งนี้ด้วยครับ
สุดท้ายท่านประธาน ผมอยากเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการเข้าไปดูโรงเรียน เอกชน ๒ แห่งที่ได้รับผลกระทบด้วยครับ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ อาศัยข้อบังคับ ข้อ ๕๐ และข้อ ๕๔ (๑) ผมจึงขอเสนอญัตติด่วนด้วยวาจาจากกรณีเหตุระเบิดที่หมู่ที่ ๑ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงประเด็นปัญหานำเสนอไปยัง ฝ่ายบริหาร คณะรัฐมนตรี เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุระเบิด ขอผู้รับรองด้วยครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ตามญัตติด่วนด้วยวาจาที่ผมได้นำเสนอ แล้วก็มีสมาชิกรับรองถูกต้อง ผมขออนุญาตอภิปราย ประกอบญัตติ และจริง ๆ เมื่อเช้า ๓ นาที ผมก็ได้หารือไปแล้วครั้งหนึ่ง ผมและ พรรคประชาชาติเราเล็งเห็นความเดือดร้อนจากการลงพื้นที่เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ได้เห็นสภาพความเดือดร้อน ได้รับฟังข้อมูลความเดือดร้อนของประชาชนที่นั่น แล้วก็ ขอบคุณท่านประธานที่ท่านเองก็ได้เดินทางไปในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๓๑ เช่นกัน ท่านประธานที่เคารพครับ ผมขออนุญาตเปิด Clip ที่ผมเตรียมไว้ให้เพื่อนสมาชิก และพี่น้องประชาชนได้ดูถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น ขอ Clip ด้วยครับ
Clip นี้สะท้อนให้เห็นถึงอานุภาพ ความร้ายแรงของเหตุที่เกิดที่หมู่ที่ ๑ โกดังเก็บพลุที่ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เราอยู่ในพื้นที่มา ๒๐ ปีกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รัฐสูญเสียงบประมาณไป ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เหตุครั้งนี้ มันร้ายแรงหลายเท่า ผมและพรรคประชาชาติต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว และพี่น้องประชาชนหมู่ที่ ๑ ตำบลมูโนะ และบริเวณใกล้เคียงประมาณ ๖๐๐ กว่า หลังคาเรือน อีกภาพหนึ่งสิ่งที่มันได้รับกับเหตุการณ์ฉบับนี้ก็คือมันสะท้อนให้เห็นถึง ความไม่ชอบมาพากลภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีหลายคนพูดว่าเหตุการณ์ ๓ จังหวัดมันไม่สงบง่าย ๆ มันมีผลประโยชน์อื่นแอบแฝง เหตุการณ์ที่มูโนะในครั้งนี้คือภาพสะท้อนให้เห็นชัดเจนครับท่านประธานว่า มันมีผลประโยชน์สีเทาอยู่ภายใต้สถานการณ์ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มานานแล้ว เพียงแต่ว่ามันไม่มีเหตุการณ์อื่นที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนเหมือนเช่นนี้ ท่านประธาน ที่เคารพครับ จริง ๆ มันเป็นหน้าที่ของรัฐด้วยซ้ำตามรัฐธรรมนูญ หมวด ๕ มาตรา ๕๓ รัฐมีหน้าที่ดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด หลังเหตุการณ์ที่มูโนะผมได้รอเวลา ที่รัฐบาล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ต้องดูแล รับผิดชอบหน่วยงาน ของท่านปรากฏว่ายังไม่มีคำตอบใด ๆ ที่ชัดเจนที่ออกมาแถลงโดยนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีรักษาการ ถึงแม้จะเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีรักษาการ แต่ท่านยังต้องมี หน้าที่ที่ต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านประธานครับ ผ่านมาหลายวันข้อเท็จจริงหลาย ๆ อย่างเริ่มปรากฏ พลุต่าง ๆ ที่อยู่ที่โกดังแห่งนี้มีเส้นทาง อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายว่ามันมาจากจีน แล้วก็มาทางแหลมฉบัง สุดท้ายก็มาทาง มูโนะ มาบางกล่ำ สงขลา แล้วก็มาทางมูโนะ ท่านประธานที่เคารพครับ ในพื้นที่ ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ การอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองพลุ ดอกไม้ไฟต่าง ๆ นี่นะครับ กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้าได้ออกประกาศชัดเจน การขออนุญาตต่าง ๆ ไม่เฉพาะแต่ยื่นที่กรมการปกครอง นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่สุดท้ายต้องไปจบที่ กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า ผมอยากเรียนท่านประธานว่าเส้นทางลำเลียงตรงนี้ ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้มีกฎหมายพิเศษเยอะแยะ ๒ ฉบับ ทั้งกฎอัยการศึก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มีด่าน เป็นร้อยด่านจากสงขลากว่าจะถึงมูโนะผ่านมาได้อย่างไร นี่คือคำถาม คำตอบที่ผมยังไม่ฟัง จาก กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า ที่ต้องให้คำตอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมถือว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการเก็บส่วยบ้าง และผมเชื่อว่ามีจริง เพราะหากไม่เช่นนั้น แล้วโกดังที่อยู่ใจกลางชุมชนที่เก็บพลุ ดอกไม้ไฟจำนวนเป็น ๑,๐๐๐ ตันอย่างนี้มันไม่น่าจะ อยู่ได้ และมันสะท้อนให้เห็นว่าอะไรครับ ท่านประธานครับ สะท้อนให้เห็นว่านี่คือการละเว้น ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน เราอาจจะ Focus ไปที่เจ้าของโกดังเมื่อไรจะมอบตัว จะดำเนินคดีกับเจ้าของโกดังยังไม่กลับมาสักที วันที่ ๑ สิงหาคม บอกจะกลับมามอบตัว ทางสะเดาก็ไม่มา มีหมายจับออกมาเฉพาะ ๒ รายนี้เท่านั้นเองก็คือเจ้าของโกดัง สามี ภรรยา สมปองกับปิยะนุช แต่สิ่งที่พี่น้องประชาชนอยากเห็นการดำเนินการตามกฎหมาย อย่างตรงไปตรงมาตามรัฐธรรมนูญก็คือ การปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด นั่นหมายความว่าเราอยากเห็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ กฎหมายพิเศษก็มี ใน ๓ จังหวัด ทำไมไม่เข้าสู่กระบวนการซักถาม เชิญมาสอบถาม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องสงสัยว่าไม่ชอบมาพากล หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ทั้งฝ่ายปกครอง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้ กอ.รมน. ภาค ๔ ก็เช่นกันพรรคประชาชาติเราได้ติดตามเฝ้าดูว่าเมื่อไรท่านจะออกมาแสดง ความรับผิดชอบ ยังไม่มีการแถลงใด ๆ จาก กอ.รมน. ภาค ๔ ว่าปล่อยมาให้ถึงมูโนะ ได้อย่างไร จากสงขลา บางกล่ำ ไปสุไหงโก-ลกได้อย่างไร แล้วมีด่านไว้ทำไมครับ พี่น้องใน ๓ จังหวัดบอกให้ยกเลิกด่านตั้งนาน เพราะเหตุนี้หรือเปล่า ที่ท่านไม่ให้มีการยกเลิกด่าน นี่เฉพาะในเรื่องของพลุ ดอกไม้ไฟ ยังไม่รวมถึงธุรกิจสีเทาอื่น ๆ ที่ลงไปใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบ ๒๐ กว่าปี ท่านประธานครับ ผมอยากเสนอแนะไปยังนายกรัฐมนตรีรักษาการ และคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องว่าถ้าท่านไม่ดำเนินการใด ๆ ถือว่าเป็นตราบาปในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่ง เพราะท่านต้องมีความรับผิดชอบ การดำเนินคดีต้องตรงไปตรงมา ไม่ใช่เฉพาะเจ้าของ โกดัง บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องให้ความมีอยู่ของโกดังแห่งนี้จนเกิดเหตุ ให้พี่น้องชาวมูโนะเสียชีวิต บาดเจ็บสูญเสียมากมายท่านจะว่าอย่างไร ลองดำเนินคดีให้เราเห็นสักครั้งเถอะครับ ตรงไปตรงมา
ประเด็นที่ ๒ ท่านประธานครับ เงินเยียวยาผมทราบว่าสำนักนายกรัฐมนตรี กองทุนบรรเทาสาธารณภัยได้ให้กับพี่น้องที่เสียชีวิต ๕๐,๐๐๐ บาท บ้านเรือนที่สูญเสีย ๒๓๗,๐๐๐ บาท ผมอยากเรียนเสนออย่างนี้ครับ เรียนท่านประธานผ่านไปยังคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหารว่า ถ้าดูตามจำนวนความเสียหายที่แท้จริงกับความเสียหายที่ได้รับ การเยียวยา ณ วันนี้ไม่เพียงพอกับสภาพความเป็นจริงที่พี่น้องเดือดร้อน ผมก็เลยอยากเสนอ อย่างนี้ครับ ถ้าบอกว่ามันมีกฎหมายแค่นี้ ไม่ใช่หรอกครับ มันยังมีกฎหมายที่ทำกับเจ้าหน้าที่ ในสมัยปี ๒๕๕๕ ก็คือระเบียบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย และได้รับผลกระทบ ปี ๒๕๕๕ มาใช้ มาใช้อย่างไรครับท่านประธาน กฎหมายระเบียบของ กพต. ฉบับนี้ กรณีที่พี่น้องได้รับความเสียหาย เดือดร้อน เสียชีวิต บาดเจ็บจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ จะได้รับทันทีศพละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่หาก ศอ.บต. มีความเห็นเสนอไปยังคณะกรรมการ กพต. โดยปัจจุบันนี้ก็คือ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน กพต. โดยตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ถ้า ศอ.บต. มีความเห็น ผมก็เลย อยากเรียนท่านประธานไปยัง ศอ.บต. ว่า ท่านช่วยลุกขึ้นมาดำเนินการเรื่องนี้ โดยเสนอ ความเห็นไปยังคณะกรรมการ กพต. ว่ากรณีนี้พอจะเอากฎหมายฉบับนี้มาให้กับครอบครัว ที่สูญเสีย ๕๐๐,๐๐๐ บาท แล้วก็ทำความเห็นว่าการกระทำลักษณะอย่างนี้ ที่เกิดเหตุอย่างนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการละเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เข้าเงื่อนไขของระเบียบนี้ แล้วจะได้รับเงินชดเชยอีกครัวเรือนละไม่เกิน ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างกรณีของตากใบ นี่คือ ทางออกครับ นี่คือทางออกที่พรรคประชาชาติเราอยากนำเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี ถึงแม้ท่านจะรักษาการอยู่ไม่นาน ทำของขวัญรางวัลให้กับเหตุการณ์นี้ให้กับพี่น้องชาวมูโนะ ได้สัมผัสเป็นรูปธรรม แล้วก็เรา ๓ จังหวัดอยากเห็นเป็นรูปธรรมเสียทีครับ ท่านประธานครับ จริง ๆ ยังมีอีกหลายประเด็นนะครับท่านประธาน
ประเด็นสุดท้ายครับท่านประธานก็คือว่า อยากให้มีการตั้งคณะกรรมการ อิสระสักชุดหนึ่ง เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่มีตำรวจไม่ใช่มีทหาร ไม่ใช่มี กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า หรือไม่ใช่มีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ เพื่อตรวจสอบ ข้อเท็จจริง นำเสนอ สอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะอย่างนี้อีก เพราะผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายโกดังตามตะเข็บชายแดนในจังหวัดนราธิวาส
สุดท้ายครับท่านประธาน ผมขอขอบคุณหน่วยงานภาคเอกชน พี่น้อง ที่ไปเยี่ยมพี่น้องหมู่ที่ ๑ ชาวตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๒๙ กรกฎาคมที่ผ่านมา และเงินบริจาคอีกหลายสิบล้านบาท ขอบคุณมาก ๆ ขออัลเลาะห์ได้ทรง ตอบแทนความดีงามให้ท่านด้วย แต่ผมขอให้คนที่เกี่ยว้องกับเรื่องนี้ มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เรื่องนี้จนเป็นเหตุให้พี่น้องเสียชีวิต บาดเจ็บ ล้มตายนี่นะครับ ขอให้พระผู้เป็นเจ้า อัลเลาะห์ จงลงบาลอฮ์ให้กับคนเหล่านี้ด้วย ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานที่เคารพครับ วันนี้เราได้มีการอภิปรายรับทราบรายงานหลายฉบับ ผมตั้งหน้าตั้งตารอที่จะอภิปราย รายงานของผู้ตรวจการแผ่นดินจนถึงเย็น มันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องแล้วก็จะฝากไปยัง ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นเรื่องสำคัญครับ แต่ก่อนจะถึงตรงนั้นก็ขออนุญาตอภิปรายตั้งคำถาม เกี่ยวกับรายงานการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ของปี ๒๕๖๔ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ในเล่มสีชมพูผมได้อ่านก็มีประเด็นคำถาม ๒-๓ คำถาม ก็เข้าใจว่าผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับงบประมาณน้อย ๔๐๐ กว่าล้านบาท ได้อ่านดูแล้ว งบบุคลากรอย่างเดียวก็ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหนึ่งในองค์กรอิสระภายใต้ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ผมว่าผู้ตรวจการแผ่นดินยังเป็นที่รู้จักน้อยกว่าเพื่อน จะดังหน่อย เมื่อ ๒-๓ อาทิตย์ที่แล้วที่ทางผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความ ข้อบังคับการประชุมสภาเรา ข้อ ๔๑ แล้วก็มีการขอคุ้มครองชั่วคราวเลื่อนการโหวต นายกรัฐมนตรี นั่นคือท่านปฏิบัติตามพระราชบัญญัติผู้ตรวจการแผ่นดิน ปี ๒๕๖๐ มาตรา ๒๓ แต่ดูอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของผู้ตรวจการแผ่นดินภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ตามมาตรา ๒๓๐ และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ แล้ว ผมว่าท่านอยู่ข้างประชาชนครับ หลายเรื่องอำนาจหน้าที่ของท่านคืออยู่เคียงข้างประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อน แต่ประชาชนยังไม่รู้จักท่าน และยังไม่มีความรู้สึกว่าผู้ตรวจการ แผ่นดินเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง ทั้ง ๆ ที่ท่านคือที่พึ่งของประชาชนเวลาได้รับ ความเดือดร้อน ท่านจะเป็นผู้บรรเทาเพื่อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี หรือหน่วยงานรัฐ เป็นข้อเสนอแนะ จะมีกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าไปเทียบเปอร์เซ็นต์ถามผู้ตรวจการแผ่นดินผมว่า มีไม่ถึงร้อยละ ๕๐ หรอกที่รู้จักอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือเวลาเดือดร้อน จะนึกถึงท่าน ผมดูในตารางรายงานงบประมาณปี ๒๕๖๔ นี่ปี ๒๕๖๖ รายงานการใช้จ่ายเงิน ปี ๒๕๖๔ เป็นของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๕ ในขณะนั้น ปรากฏว่าผมนั่งอ่านดูปี ๒๕๖๔ แผนยุทธศาสตร์ของท่านในการปฏิบัติงานลดลงกับปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๓ ก็มีสถานการณ์โควิด แล้วก็มาลดลงจากการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเหลือร้อยละ ๕๐ กว่า ลดลงมากครับ ก็เลย มีคำถามว่างบปี ๒๕๖๔ ลดลงโดยท่านอ้างสถานการณ์โควิดกับเรื่องร้องเรียนของชาวบ้าน พอปี ๒๕๖๕ มันขยับขึ้นหรือมีวิธีการอย่างไร เมื่อสักครู่ผมฟังทาง สตง. บอกว่าเนื่องจาก ขาดบุคลากร เรื่องร้องเรียนมันเยอะก็เลยทำให้การปฏิบัติงานล่าช้า ก็เลยอยากทราบว่า ท่านได้แก้ไขข้อบกพร่องตรงนี้อย่างไร แล้วในปี ๒๕๖๕ ท่านได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น หรือเท่าเดิมกับปี ๒๕๖๔ ท่านประธานที่เคารพครับ ประเด็นใหญ่ที่ผมเรียนตั้งแต่ต้นว่า ผมรอที่จะขอฝากไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินในเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส นั่นก็คือเหตุการณ์โกดังพลุระเบิดเมื่อวันที่ ๒๙ ปี ๒๕๖๖ ที่หมู่ที่ ๑ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ท่านอาจจะถามว่าแล้วมันเกี่ยวอะไร กับผู้ตรวจการแผ่นดิน วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖ สภาเราได้ยื่นญัตติด่วนด้วยวาจา เพราะถือว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโกดังพลุระเบิดที่มูโนะมีผู้เสียชีวิต ๑๒ ราย บาดเจ็บ ๑๐๐ กว่าราย บ้านเรือนเสียหายเกือบ ๖๐๐ หลังคาเรือน ท่านเพื่อนสมาชิกที่อยู่ในพื้นที่ หลายท่านได้อภิปราย ผมก็เป็นหนึ่งในเจ้าของญัตติด้วยวาจาพรรคประชาชาติเรา เราก็ได้ เสนอแนะไปยังนายกรัฐมนตรีรักษาการและคณะรัฐมนตรีรักษาการให้หันลงไปดูแล อย่างใกล้ชิด ปรากฏว่าวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ นายกรัฐมนตรีรักษาการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เดินทางไปมอบเงินเยียวยาตามระเบียบของกองทุนบรรเทาสาธารณภัย ตามจำนวนศพละ ๕๐,๐๐๐ บาท ค่าเสียหายตามจำนวนที่ชาวบ้านบอกว่าก็ยังไม่พอ ที่จะบรรเทา ผมสรุปอย่างนี้แล้วกัน วันที่ ๗ สิงหาคม เมื่อไม่กี่วันนี้ท่านรองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็เดินทางลงไป ผมก็ดีใจถือว่าญัตติด่วนด้วยวาจาของเรานี้ได้ผล ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการ เข้าไปดูแล แล้วก็ได้มอบถุงยังชีพ แล้วก็ไปกำชับหน่วยงานเอาสถาบันการเงินไป ปรากฏว่า อย่างไรครับ มันมีภาพสะท้อนตามภาพที่ผมให้ดู ตอนนี้มีเงินบริจาคกองทุนดูแลผู้บรรเทา ความเดือดร้อน มีคนบริจาคแล้ว ๒๖ ล้านบาทเศษถ้าผมจำไม่ผิด บัญชีนี้เป็นบัญชีดูแล โดยผู้ว่าราชการจังหวัด และมีคนเอกชนเข้าไปบริจาคเยอะมาก ท่านประธานครับ แต่ปรากฏว่าอย่างไรครับ ผ่านมาเกือบ ๒ อาทิตย์ชาวบ้านยังไม่ได้รับเงินบริจาค ยังไม่ได้รับ เงินบริจาคเลยนะครับ ขออนุญาตต่อนิดหนึ่งเพราะว่ามันเป็นประเด็นสำคัญ ยังไม่ได้รับ เงินบริจาค ตามภาพ Slide ที่ผมให้ดูนี้เที่ยวไปตั้งกล่อง ตั้งอะไรขอรับบริจาคหน้าบ้าน ตัวเอง ตามซากปรักหักพัง เป็นภาพที่มันย้อนแย้งกับคนที่มีใจที่จะบริจาค แต่ยังไม่ได้รับเงิน เขาต้องการบรรเทาความเดือดร้อนโดยการไปประกอบอาชีพบ้าง ถ้ารอบ้านเสร็จไม่รู้เมื่อไร สิ่งที่ผมอยากเรียนเสนอทางผู้ตรวจการแผ่นดินตามอำนาจหน้าที่ของท่าน ก็คือในมาตรา ๒๒ ของ พ.ร.บ. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผมอยากให้ท่านลงมาดูเรื่องนี้ ผมดูตามรัฐธรรมนูญก็เป็น อำนาจหน้าที่ของท่านนะครับ ให้ประชาชนมูโนะ คน ๓ จังหวัดได้รู้จักผู้ตรวจการแผ่นดินหน่อย นี่คือความเดือดร้อน ทำไมผมถึงยังพูดอย่างนั้น ก็รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๐ (๒) เขาบอกว่า ให้ท่านผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริง เมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่ และอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะ ต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัด หรือระงับความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรม ท่านประธานครับ กรณีมูโนะมันไม่ใช่เฉพาะเหตุพลุโกดังระเบิดกับเจ้าของพื้นที่ต้องรับผิด มันมีประเด็นที่สะท้อนให้เห็นถึงการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน เหมือนที่ เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายก่อนนี้ หรือก็ได้นำเสนอก่อนนี้ว่าส่วนหนึ่งมาจากการละเว้น ปฏิบัติหน้าที่นั่นคือเก็บส่วย จนเป็นเหตุให้โกดังตั้งอยู่ใกล้ชุมชน ผมอยากให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอแนะการเยียวยาเพิ่มเติม ขออนุญาตเรียนท่านประธานถึงผู้ตรวจการแผ่นดินนะครับ มันอย่างนี้ครับ ท่านมีอำนาจหน้าที่อยู่แล้วตามรัฐธรรมนูญ ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๒ (๒) ท่านเสนอไปยัง ศอ.บต. หน่อย ศอ.บต. ถ้าท่านเป็นคนเสนอเขาจะมี ความมั่นใจในการเสนอ เพราะกรณี ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มันจะมีคณะกรรมการ ด้านยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าด้วยการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จากการกระทำของเจ้าหน้าเกี่ยวกับความไม่สงบ ตรงนี้คณะกรรมการ กพต. โดยมี รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ นั่งหัวโต๊ะ แต่เขาจะต้องฟังความเห็น เสนอของ ศอ.บต. เสนอชงขึ้นไป ชงขึ้นไปแล้วถ้าได้รับเข้าเงื่อนไขตรงนี้มันจะได้เงินศพละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท แล้วก็จะได้ครอบครัวละไม่เกิน ๗ ล้านบาท ฝากท่านไปดูข้อกฎหมาย เพราะว่าคำว่าสถานการณ์ความไม่สงบไม่เฉพาะแต่การกระทำของผู้ก่อการร้าย การกระทำ ของเจ้าหน้าที่ การละเว้นปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรณีกรือเซะ-ตากใบก็ถือเป็นการกระทำ ของเจ้าหน้าที่ ศอ.บต. เคยจ่ายโดยเอาระเบียบ กพต. ไปจ่ายแล้ว ------------------------------- กรณีนี้ก็เช่นกันผมถือว่าเหตุตรงนั้นมันเกิดขึ้นจากการละเว้น ถึงไม่ใช่ผลโดยตรงจาก การกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่ถือว่าเป็นการละเว้น อยากให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตั้งคณะกรรมการไปแสวงหาข้อเท็จจริงในพื้นที่ ท่านจะได้รับรู้ข้อเท็จจริงตอนนี้ หลายประเด็น หลายเรื่อง ผมไม่มีเวลาที่จะอภิปรายตรงนี้ แล้วคน ๓ จังหวัดจะรู้จัก ผู้ตรวจการแผ่นดินมากกว่านี้ ฝากด้วยนะครับ ผมใช้เวลาของสภาเกินไป ๔ นาที ถ้าท่าน ดำเนินการไปแสวงข้อเท็จจริง ท่านเสนอไปยัง ศอ.บต. แล้วก็นำเสนอข่าวให้ชาวบ้านได้รับรู้ ผมจะตบมือดัง ๆ แทนพี่น้อง ๓ จังหวัด แทนพี่น้องชาวมูโนะให้ดังยิ่งกว่าพลุระเบิดอีกครับ ขอขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ขออนุญาตมีส่วนร่วม ในการอภิปรายรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๕ โดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือที่เรารู้จักกันดีที่เรียกว่า กสม. คือตามรายงานที่นำเสนอต่อสภาของเราในปีนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ถือว่าเป็นหนึ่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ที่ดูแลคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ปวงชนชาวไทยในหมวด ๓ ของรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นองค์กรสำคัญที่จะเป็นที่พึ่งของพี่น้องประชาชนในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ด้วยเวลามีจำกัด รายงานที่ท่านเสนอมามีหลายประเด็น แต่ผมขออนุญาตในฐานะที่เป็น สส. ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขออนุญาต ลงในประเด็นเฉพาะที่ท่านเสนอรายงานมาในบทที่ ๓ เกี่ยวกับสถานการณ์ในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ตั้งแต่หน้า ๕๑ ถึงหน้า ๕๕ ท่านประธานที่เคารพ ทุกครั้ง บ่อยครั้ง ที่ กสม. เสนอต่อสภาของเราในแต่ละปี ผมก็มีโอกาสได้อภิปรายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของ พี่น้องใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมขอเรียนอย่างนี้นะครับท่านประธานว่าตามรายงาน ของ กสม. ในปีนี้ของปี ๒๕๖๕ ถ้าดูความแตกต่างกับรายงานที่เสนอมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับ การละเมิดสิทธิมนุษยชนกับพี่น้องใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ข้อเท็จจริงยังไม่เท่าทันกับ สถานการณ์ แล้วสิ่งที่ผมอยากเห็นที่สุดก็คือตามรัฐธรรมนูญ กสม. มีอำนาจในการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะไปยังคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต้องมีความเห็นเสนอมายัง กสม. โดยไม่ชักช้าตามข้อเสนอของ กสม. แต่รายงานทุกฉบับผมยังไม่เคยเห็นที่ท่านเสนอ ไปยังคณะรัฐมนตรี แล้วรัฐมนตรีจะดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ท่านได้เสนอไปยังหน่วยงานของรัฐที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับพี่น้องใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ยังไม่เคยปรากฏในรายงาน ผมจึงอยากให้ทาง กสม. การเสนอรายงาน ใน พ.ศ. ๒๕๖๖ อยากให้ท่านเขียนรายงานเกี่ยวกับคำตอบของคณะรัฐมนตรีที่ท่านเสนอ ไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะว่าการละเมิดสิทธิ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นี้มันมีมานานแล้วก็ถือเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่เหตุการณ์ความไม่สงบ เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาหลายสิบปี กสม. ก็ถือเป็นองค์กรหนึ่งที่จะช่วยปรามลดเงื่อนไข แล้วท่านก็ต้องกล้าที่จะเสนอความจริงที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ฉบับนี้ ปี ๒๕๖๕ การละเมิดสิทธิที่ท่านเสนอมีอยู่ ๒ ข้อ มันเป็นเรื่องเดิม ๆ การไปตรวจผู้ต้องสงสัย ที่บ้านโดยเจ้าหน้าที่ทหาร มีเด็กอยู่ด้วย การควบคุมตัวถูกซ้อมทรมานก็มีอย่างนี้มาตลอด แต่ผมอยากเรียนท่านประธานผ่านไปยัง กสม. ว่าท่านต้องเท่าทันกับสถานการณ์ เพราะ การละเมิดสิทธิมนุษยชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนนี้มันกำลังกลายพันธุ์ เมื่อมี พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ผมก็อยากเห็น บทบาทของ กสม. ในการขยับทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เรามี พ.ร.บ. ฉบับนี้ ประกาศใช้ตั้งแต่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นเรื่อง ของการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วก็ปกป้องสิทธิมนุษยชนของพี่น้องเพื่อไม่ให้ละเมิด สิทธิมนุษยชน แต่ปัจจุบันนี้ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่ยัง ไม่เข้าใจ ยังเข้าไม่ถึงกฎหมายฉบับนี้ ทั้ง ๆ ที่ผมเอง ผมไม่อยากให้กฎหมายฉบับนี้ ดำเนินการเป็นไปตามข้อกฎหมาย เพราะเมื่อไรที่มีการนำกฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ นั่นหมายความว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ท่านในฐานะเป็น กสม. อยากให้มีบทบาท ในการทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าหากถูกทรมานจากการใช้กฎหมายพิเศษ ต้องดำเนินการอย่างไร หากมีญาติพี่น้องที่สูญหายต้องดำเนินการอย่างไร
ท่านประธานที่เคารพครับ ขอเพิ่มเติมประเด็นที่ผมเรียนให้ท่านประธาน ทราบว่าปัจจุบันนี้มันมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่เฉพาะแต่ เรื่องของการควบคุมตัว แต่มันเป็นเรื่องที่มีการกลายพันธุ์ ยกตัวอย่างการฟ้องคดี SLAPP ฟ้องคดี SLAPP ก็คือฟ้องปิดปาก มีหลายกรณีตอนนี้ที่นักกิจกรรมหรือภาคประชาสังคม ในพื้นที่ถูกฟ้องปิดปาก ฟ้องโดยไม่ได้หวังผลชนะคดีหรอกครับ แต่ไม่ให้มีการตรวจสอบ ยกตัวอย่างเช่น กรณี มีการปิดล้อมตรวจค้น หรือมีการปะทะเกิดการวิสามัญฆาตกรรม ด้วยยุคปัจจุบันนี้มีสื่อ Social แล้วก็ประชาชนเฝ้าติดตามอยากรู้ความจริงจากการเผยแพร่ของนักกิจกรรม ปรากฏว่าเวลามีการ Live สดก็มีการดำเนินคดีปิดปาก หลาย Case นักกิจกรรมในพื้นที่ ตอนนี้ที่ถูกฟ้องในคดีลักษณะอย่างนี้ มีกรณีหนึ่งมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็คือการฟ้องคดี กับครอบครัวญาติพี่น้องที่จะมีการขุดศพของญาติเขา เข้าไปขัดขวาง ทั้ง ๆ ที่ว่ามันเป็นเรื่อง การบกพร่องของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กับผู้เสียชีวิตฝังศพเสร็จแล้ว ผ่านไปไม่กี่วัน ก็จะไปขุดศพมาพิสูจน์ตัวตน ลักษณะอย่างนี้เขาก็ปกป้องสิทธิของเขา ก็ถูกฟ้องคดีหาว่า ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และมีอีกหลายกรณีที่นักกิจกรรมในพื้นที่ การเข้าไป ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบก็หาว่าเป็นพวกเดียวกัน การรักษาอัตลักษณ์ความเป็นมลายู การรักษาประเพณีวัฒนธรรมที่มันจะมีมากขึ้นในวันข้างหน้า ก็ถูกเพ่งเล็งกับเจ้าหน้าที่ว่า กำลังปลุกปั่น ปลุกระดมกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นี่คือ สถานการณ์ใหม่ที่มันกำลังเกิดขึ้น แล้วก็จะก่อให้เกิดเงื่อนไขใหม่ ผมก็เลยอยากให้ทาง กสม. ให้เท่าทันกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มันกำลังมีการกลายพันธุ์ ยังไม่รวมถึง การปิดล้อมตรวจค้นที่มีสถิติว่าวิสามัญฆาตกรรมตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ เสียชีวิตไปตั้ง ๕๘ ศพ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็ยังไม่ปรากฏในรายงาน แล้วก็ยังไม่ปรากฏว่า กสม. ได้เสนอแนะ ไปยังรัฐบาลให้ดำเนินการอย่างไรต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ประเด็นหารือของผม ในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องที่ผมเคยอภิปรายในสภามา ๒ ครั้ง นั่นก็คือเกี่ยวกับเหตุการณ์ กรณีโกดังพลุระเบิดที่มูโนะ ท่านประธานที่เคารพครับ ผ่านไปเดือนกว่าพรรคประชาชาติ ก่อนหน้านี้เราก็ได้ตั้งคณะทำงานติดตามการดำเนินการแก้ไขเยียวยาและการดำเนินคดี กับเจ้าของโกดัง เราได้บทสรุปอย่างนี้ครับท่านประธาน เราไม่อยากให้เสียงพลุเงียบหาย ไปตามกาลเวลากับการเอาใจใส่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เพราะตอนนี้ เขาตั้งความหวังให้กับรัฐบาลชุดใหม่ว่าจะดำเนินการอย่างไร ประเด็นมีอยู่ ๒ ประเด็นครับ ท่านประธานที่ผมอยากหารือท่านประธานเพื่อไปถึงหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ แยกเป็น ๒ เรื่องครับท่านประธาน ที่เป็นประเด็นคำถามหลาย ๆ เรื่องในพื้นที่ตอนนี้ก็คือ
ประเด็นที่ ๑ เกี่ยวกับเงินกองทุนที่มีอยู่ตอนนี้ ๑๐๐ กว่าล้านบาท ที่ได้รับ จากหน่วยงานรัฐ เงิน ๑๐๐ กว่าล้านบาทนี้ทางผู้ดูแลรับผิดชอบ หน่วยงานที่รับผิดชอบ จะดำเนินการในเรื่องอะไร อย่างไรบ้าง เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการเบิกจ่ายนะครับ
ประเด็นที่ ๒ ก็คือเงินบริจาค เงินบริจาคตอนนี้ที่อยู่ทางจังหวัดมีอยู่ทั้งหมด ๓๓ ล้านกว่าบาทเศษ เบิกจ่ายไปแล้ว ๕,๒๐๐,๐๐๐ บาท ยังเหลืออีก ๒๘ ล้านบาท ท่านเก็บไว้ทำไมครับ ชาวบ้านเขาขอให้ได้รับการเยียวยาช่วยเหลือในเรื่องหลาย ๆ เรื่อง ผมให้กำลังใจกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานครับ หลายหน่วยงานเจ้าหน้าที่ที่อยู่พื้นที่เหนื่อย แต่ระดับนโยบายมันมีเสียงหลาย ๆ อย่างที่พรรคเราไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ต้องส่งเสียง ในสภานี้ละครับว่าทางจังหวัดจะดำเนินการอย่างไรกับ ๒๘ ล้านบาทที่เหลือ และที่เบิกจ่าย ไปแล้วอยากให้มีการตรวจสอบ
ประเด็นสุดท้าย ท่านประธานครับ เรื่องการดำเนินคดีผมอภิปราย ๒ รอบว่า ตอนนี้เจ้าของโกดังไม่ได้รับการประกันตัว ดำเนินคดีอาญาก็ว่ากันไป แต่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ที่ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ยังไม่ได้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาเลยครับท่านประธาน ผมเชื่อว่า หลังจากนี้ไปหากมีการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่มันก็จะกลับไปสู่กฎหมายเรื่องการเยียวยา ชาวบ้านจะได้รับเงินเยียวยา ๕๐๐,๐๐๐ บาท ตาม ก.บ.ต. ตามกฎหมายที่มีอยู่ ตามระเบียบที่มีอยู่ ท่านประธานครับ ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ จังหวัดนราธิวาส พรรคประชาชาติ ขออนุญาตท่านประธานเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน จำนวน ๑๕ ท่านดังนี้ พรรคก้าวไกล จำนวน ๖ ท่าน ๑. นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ๒. นายคุณากร มั่นนทีรัย ๓. นายเกียรติคุณ ต้นยาง ๔. นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ๕. นางสาวนิตยา มีศรี ๖. นายวีรวุธ รักเที่ยง พรรคเพื่อไทยจำนวน ๓ ท่าน คือ ๑. นายชัยเกษม นิติสิริ ๒. นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ๓. นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ พรรคภูมิใจไทย จำนวน ๒ ท่าน คือ ๑. นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ๒. นายมานพ ศรีผึ้ง พรรคพลังประชารัฐจำนวน ๑ ท่าน คือนายองอาจ วงษ์ประยูร พรรครวมไทยสร้างชาติ จำนวน ๑ ท่าน คือนายวิทยา แก้วภราดัย พรรคประชาชาติ จำนวน ๑ ท่าน คือนายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ และพรรคเป็นธรรม จำนวน ๑ ท่าน คือนายกัณวีร์ สืบแสง ขอผู้รับรองด้วยครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๕ ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ในฐานะผมเป็นคนหนึ่งที่เสนอ ญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องขออนุญาตท่านประธานอภิปรายในเบื้องต้น ก็คือในเรื่องของหลักการและเหตุผล ในส่วนของหลักการก็คือขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาเสนอแนวทางกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนเหตุผลผมขออนุญาตเรียน ท่านประธานอย่างนี้ว่าปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ยืดเยื้อมานาน เป็นความขัดแย้ง ที่ยืดเยื้อแล้วก็ยืดเยื้อไปเรื่อย ๆ จนไม่สิ้นสุด หลายท่านอาจจะมองปัญหาความไม่สงบ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับ ๑ คือวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ มาจนถึงวันนี้ก็คือเกือบ ๒๐ ปี เกือบ ๒ ทศวรรษ แต่ความจริงแล้วปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอยู่ในพื้นที่ เกิดความขัดแย้งหลายสิบปี หลายรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้ แต่จนแล้วจนรอด จนถึงตอนนี้ปัญหาก็ยังคงอยู่ ผมจึงใช้คำว่าเป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ ถ้านับตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนที่ค่ายปิเหล็ง ปืนหายไปในค่ายกองพันพัฒนาที่ ๔ เจาะไอร้อง ๓๐๐ กว่ากระบอก ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ ก็เกิดเหตุการณ์ที่กรือเซะ มีผู้เสียชีวิต ๑๐๐ กว่าราย ที่ตากใบ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ อีกไม่กี่วันก็จะครบรอบแล้ว เสียชีวิตเกือบ ๑๐๐ ราย ๘๐ กว่าราย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ ผ่านมาหลายรัฐบาล พยายามแก้ไขปัญหา ทุ่มงบประมาณหมดไป ๕๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท แต่สิ่งที่ได้คำตอบ ก็คือเหตุการณ์ก็ยังคงอยู่ ปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ต่ำสุด การศึกษาก็ต่ำสุด ถามว่าสภาของเราไม่เคยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเลยหรือ ไม่ใช่ครับ ท่านประธาน บางท่านอาจจะบอกว่าเบื่อแล้วพูดถึงปัญหาความขัดแย้ง ๓ จังหวัด ทุกยุคทุกสมัยตั้งขึ้นทุกทีทุกคณะ ตั้งไปศึกษาไปปัญหาก็ยังคงอยู่ แต่รอบนี้ไม่ใช่เหมือนเดิม ท่านประธานครับ สภาได้มีการพิจารณาศึกษาปัญหาความขัดแย้งใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหา ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีมาทุกยุค ทุกสมัย แต่นั่นคือการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาภาพรวม แต่สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์การขอให้สภา ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรอบนี้เป็นเรื่องของการเจาะลึกลงไปหาทางออกที่ทุกคนมองว่า ดีที่สุด ดีที่สุดอย่างไรนักวิชาการหลายท่านหลายคนที่ศึกษาเรื่องนี้ทำวิจัยศึกษาความขัดแย้ง ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นที่มินดาเนา ฟิลิปปินส์ หรือที่อื่น ๆ ที่มีพื้นที่ความขัดแย้ง ทางออกที่ดีที่สุดไม่ใช่การปราบปราม ทางออกที่ดีที่สุดไม่ใช่การออกกฎหมายพิเศษบังคับใช้ กฎหมายพิเศษเราก็เห็นชัดอยู่ ๑๙ ปี ตอนนี้เรากำลังเรียกร้องให้มีการยกเลิก เพราะมันไม่ใช่ คำตอบ ถ้ามันเป็นคำตอบป่านนี้ก็คงสงบไปแล้ว แต่งานวิจัยหลาย ๆ ท่านที่มีการศึกษา ทางออกของความขัดแย้งก็คือการเจรจากับผู้ขัดแย้ง ผู้ขัดแย้งต้องหันหน้าเข้ามาเจรจา ไม่ใช่ การปราบปราม นี่คือเป็นที่มาที่จะให้สภาเรามีการศึกษาเจาะลึกเรื่องเหล่านี้ เพราะยังไม่เคย ปรากฏมาก่อน รอบที่แล้วหลายพรรคการเมืองที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปราย เมื่อสักครู่มีการยื่น แต่ไม่ทันได้มีการอภิปรายบรรจุเข้าระเบียบวาระ ยังไม่ทันได้เข้าอภิปรายในสภา มีการยุบสภาเสียก่อน นี่คือปรากฏการณ์ครั้งแรกที่มีการอภิปรายตั้งคณะกรรมาธิการเรื่องนี้เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ สภาเราจะได้มีส่วนร่วม ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่เฉพาะแต่เป็นเรื่องของคน ๓ จังหวัด แต่เป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ วันนี้ผมมีความรู้สึกว่าคนอื่น ภาคอื่น ๆ มองปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องปกติ แต่คนที่อยู่ในพื้นที่ถึงแม้ว่าเขาจะชาชิน แต่มันชาชิน บนความเจ็บช้ำ บนความบอบช้ำ และมันตกทอดเป็นมรดกถึงลูกหลานกับความขัดแย้ง ที่มีอยู่ในพื้นที่ ไม่ใช่ว่ารัฐบาลไม่เคยเจรจา สิ่งที่รัฐบาลหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๖ ผมไม่ได้พูดถึงการเจรจาในทางลับ มันมีมาก่อนแล้ว แต่การเจรจาในทางเปิด บนโต๊ะเจรจามันมีเมื่อปี ๒๕๕๖ สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีการพูดคุยกับผู้เห็นต่างในขณะนั้น มีการตั้งวงคุย ๓-๔ ครั้ง ปรากฏว่ายกเลิก ไม่สำเร็จ มาครั้งที่ ๒ หลังจากมีการปฏิวัติ รัฐประหารก็มีการตั้งโต๊ะที่ ๒ เจรจากับมารา ปาตานี ฝ่ายที่เห็นต่าง ก็มีการตั้งโต๊ะเจรจา หลายครั้ง มีการตกลงที่จะตั้ง Safe Zone พื้นที่ความปลอดภัย ท้ายที่สุดก็ไม่สำเร็จ พอมีการเลือกตั้งปี ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๓ ก็มีการเจรจาอีกครั้ง เจรจาไม่กี่ครั้งก็เกิดสถานการณ์ โควิด เมื่อสมัยรัฐบาลท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ผ่านมา การเจรจาว่างเว้นไป ๒ ปี กับสถานการณ์โควิด พอสถานการณ์โควิดลดลงก็มีการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง นำโดยท่าน พลเอก วัลลภ รักเสนาะ ปรากฏว่ามีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ โต๊ะก็ล้มอีกครั้ง ตรงนี้ต่างหาก ที่ผมจะชี้ให้เห็นว่านี่คือสิ่งที่เราต้องศึกษา สภาของเราต้องมีส่วนร่วมในการศึกษาว่า มันมีข้อบกพร่องอะไร ทำไม ๓ ครั้งที่ผ่านมาถึงไม่สำเร็จ ทำไมฟิลิปปินส์ที่มินดาเนาถึงสำเร็จ มันมีเหตุผลอะไร หลาย ๆ เหตุผลที่เราต้องศึกษา ต้องตั้งคณะกรรมาธิการ นี่คือความจำเป็น ตั้งกรรมาธิการแล้วศึกษาว่าที่ผ่านมา ๓ ครั้งเป็นอย่างไร แล้วก็ถ้าจะเดินต่อไปในรัฐบาลชุดนี้ การตั้งโต๊ะเจรจากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพซึ่งเป็นทางออกที่ดีที่สุดนี้ควรจะมีกรอบ โครงสร้างอย่างไรบ้าง ใครจะเป็นคู่เจรจา จะตั้งประเด็นเจรจาในเรื่องอะไร พูดคุยในเรื่อง อะไร การมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้องทำอย่างไร โดยเอาประสบการณ์ ๓ ครั้งหลัง หรือครั้งสุดท้ายที่มีการตั้ง สล.๓ ว่าเราจะต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่สภาเราต้องมีส่วนร่วม หรือจะต้องมีกฎหมายรองรับไหม เพราะที่ผ่านมาการเจรจาทั้ง ๓ ครั้ง ถามว่าเรามีกฎหมายอะไรรองรับไหม ไม่มีครับ แม้แต่ การหาทางออกพูดคุยว่าจะมีการตั้งเขตปกครองโน้นปกครองนี้ แต่ถ้าไปดูในรัฐธรรมนูญ ในหมวด ๑๔ ในเรื่องของการปกครองท้องถิ่นมันก็ไม่มีกฎหมายรองรับเช่นกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งว่าหากเราจะเดินหน้าต่อไปที่เรามองว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดนี้ อะไรบ้างที่เราต้องแก้ไข ถ้าจะต้องมีกฎหมายต้องมีกฎหมายอะไรบ้าง สภาเราจะต้อง มีส่วนร่วมอย่างไรบ้างสำคัญอย่างยิ่ง เพราะสิ่งเหล่านี้คือแผนที่ที่จะนำทางความสงบสุข ไม่ใช่เฉพาะกับพี่น้อง ๓ จังหวัด หาก ๓ จังหวัดสงบประเทศไทยก็จะมีความสงบไปด้วย ต่างชาติก็จะกล้ามาลงทุน เพราะ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีทรัพยากรมากมาย ท่านประธานและเพื่อนสมาชิกทุกท่านครับ ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสภาของเราจะช่วยกัน สร้างปรากฏการณ์ สร้างประวัติศาสตร์ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะในเรื่องของกระบวนการพูดคุยเป็นครั้งแรก และจะเป็น ไฟฉายส่องทางไปยังพวกเราให้เดินไปสู่เป้าหมาย นั่นคือความสงบสุขจะเกิดขึ้นกับ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๕ ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ผมมี ประเด็นหารือปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องอยู่ ๒ เรื่อง
เรื่องที่ ๑ ก็คือปัญหาความเดือดร้อนของลูกหนี้ กยศ. สืบเนื่องจากว่า พระราชบัญญัติกองทุน กยศ. ได้มีการแก้ไขใหม่ แล้วก็เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ โดยการปรับลดดอกเบี้ยเป็นร้อยละ ๑ แล้วก็เบี้ยปรับเหลือร้อยละ ๐.๕ ประเด็น ปัญหาก็คือว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่มีบทเฉพาะกาล ก็เลยต้องเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ แต่ปัญหาก็คือทาง กยศ. ไม่ได้ออกระเบียบ กฎเกณฑ์ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข ในการเรียกลูกหนี้ ให้ปรับโครงสร้างหนี้แล้วก็แปลงหนี้ใหม่ ตอนนี้ผมได้รับการร้องเรียนจากลูกหนี้ กยศ. หลายรายที่ได้มีการบังคับคดีในระหว่างที่รอการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งทางกระทรวงยุติธรรม แล้วก็กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพก็ได้เรียกทาง กยศ. มาเร่งดำเนินการในการปรับ โครงสร้างหนี้ใหม่โดยเร็ว ดังนั้นในระหว่างนี้ผมอยากให้ท่านประธานมีหนังสือถึง กยศ. ให้งด การบังคับคดีขายทอดตลาด แล้วก็การดำเนินคดีทั้งหมดในระหว่างก่อนที่จะมีการปรับ โครงสร้างหนี้ใหม่
เรื่องที่ ๒ ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวมูโนะ ๒ เดือนผ่านไปยังคง ความเดือดร้อนกับพี่น้องที่นั่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเยียวยาที่ยังไม่ได้รับอย่างทั่วถึง ประเด็นเรื่องการก่อสร้างบ้าน การซ่อมแซมบ้าน เท่าที่ทราบข้อมูลก็คือว่ายังรอทาง สำนักนายกรัฐมนตรีโอนเงินไปยังจังหวัดอีก ๑๐๐ กว่าล้านบาท เพื่อซ่อมแซมบ้านให้กับที่ยัง ไม่ได้รับการช่วยเหลืออีก ๓๐๐ หลังคาเรือน แล้วการเยียวยาที่ผ่านมาก็ไม่เพียงพอ อยากให้ ทางรัฐแล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องชาวมูโนะ อย่าลืมหาย กับระยะเวลาครับ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วยอำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ อาศัยข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๑๕๖ ผมขออนุญาตท่านประธานถามกระทู้สดด้วยวาจา เกี่ยวกับประเด็นที่เป็นที่สนใจของพี่น้องประชาชน นั่นก็คือในวันนี้ประเด็นที่ผมอยากถาม ในฐานะที่อยู่ฝ่ายนิติบัญญัติถามไปยังฝ่ายบริหารเกี่ยวกับปัญหาหนี้ กยศ. ครับ หนี้ กยศ. ถือว่าเป็นประเด็นปัญหาที่ได้รับความสนใจจากลูกหนี้ กยศ. เป็นจำนวนมาก สภาของเรา ได้ผ่านกฎหมายพระราชบัญญัติกองทุนกู้ยืมให้การศึกษา ล่าสุดก็คือฉบับที่ ๒ ฉบับปี ๒๕๖๖ มีการแก้ไข พ.ร.บ. กยศ. ฉบับเดิมนั่นก็คือสภาสมัยชุดที่ ๒๕ จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้ แล้วก็ประกาศใช้ประกาศราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ ประเด็นปัญหา ตอนนี้ที่เกิดขึ้น ถ้าไปดูตาม พ.ร.บ. กยศ. ฉบับที่มีการแก้ไขสาระสำคัญที่เป็นประเด็นปัญหา คำถามที่ลูกหนี้ กยศ. ต้องการคำตอบที่ชัดเจนก็คือสาระสำคัญในมาตรา ๑๘ ของ พ.ร.บ. กยศ. ที่มีการแก้ไขในมาตรา ๔๔ สาระสำคัญก็คือเป็นที่น่ายินดีว่ามีการปรับลด อัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ ๗.๕ เหลือร้อยละ ๑ เบี้ยปรับก็เหลือ ๐.๕ แต่ประเด็นสำคัญ ช่วงรอยต่อครับท่านประธาน กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ กยศ. ต้องมีการออกประกาศระเบียบประกอบการปรับโครงสร้างหนี้และแปลงหนี้ใหม่ภายใต้ พ.ร.บ. ที่มีการแก้ไข แต่ช่วงนั้นผมเข้าใจว่าสภาเราไม่มี มีการยุบสภา มีการเลือกตั้งใหม่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ช่วงที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับ ๒๐ มีนาคมเป็นช่วงที่มีการหาเสียง เป็นรัฐบาลรักษาการ สำคัญที่สุดก็คือระเบียบยังไม่ออกมา ระเบียบประกอบ พ.ร.บ. กยศ. นั่นหมายความว่า กยศ. ต้องร่างระเบียบกฎเกณฑ์ในการที่จะเรียกลูกหนี้ให้มีการมาแปลงหนี้ใหม่ ปรับโครงสร้างหนี้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ ปัญหาก็คือเมื่อมีการตั้งรัฐบาลขึ้นมาแล้ว ชุดใหม่มาแล้ว มีฝ่ายบริหารมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมทราบข่าวว่า ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๖ ในฐานะที่ดูแล กรมบังคับคดี ได้เรียกทางกรมบังคับคดีพร้อมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพพร้อมกับ กองทุนกู้ยืม กยศ. มาสอบถาม ให้เร่งออกระเบียบ หลักเกณฑ์ กฎเกณฑ์ในการปรับดอกเบี้ย แปลงหนี้ใหม่ ปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ให้เป็นไปตามกฎหมาย เพราะมันบังคับใช้แล้ว จะใช้ดอกเบี้ยอัตราเดิมไม่ได้แล้ว แล้วก็ทางรัฐมนตรีประกาศว่าวันที่ ๑ พฤศจิกายน จะมีการปรับใหม่ โดยออกระเบียบให้เสร็จภายในวันที่ ๑ พฤศจิกายน คำถามแรกถามว่า นี่ใกล้สิ้นเดือนแล้วนะครับ วันที่ ๑ พฤศจิกายน ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่จะใช้ไปถึงไหนแล้วครับ และวันที่ ๑ พฤศจิกายน จะทันไหม คำถามแรกครับ
ขอบคุณท่านรัฐมนตรีที่ได้ช่วยกรุณา ตอบประเด็นสำคัญเกี่ยวกับปัญหาหนี้ กยศ. ซึ่งเรากำลังรอประกาศเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ตามกฎหมายฉบับใหม่ ผมเชื่อว่าทาง กยศ. จะได้มีการออกประกาศ ระเบียบ กฎเกณฑ์ ทันในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เพื่อเป็นประโยชน์กับลูกหนี้ ท่านประธานครับ ในระหว่างที่เรารอประกาศระเบียบของ กยศ. ผมได้รับการร้องเรียนหรือว่าลูกหนี้ กยศ. ที่อยู่ในพื้นที่โดยเฉพาะที่บ้านนราธิวาส และผมเชื่อว่าในพื้นที่อื่น ๆ ก็คงมีปัญหา ลักษณะเดียวกัน ก็คือในระหว่างที่รอประกาศกฎหมายใหม่ก็ใช้บังคับแล้ว ระหว่าง รอประกาศของ กยศ. เพื่อจะให้ไปปรับโครงสร้างลูกหนี้เขาก็รออยู่ แต่ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริง บางข้อเท็จจริงที่ผมทราบแล้วก็เข้ามาหาผมโดยตรง แล้วก็สมาชิกพรรคประชาชาติ อีกหลายท่านก็ได้เล่ามาว่ามีลูกหนี้ที่มีการบังคับคดีในระหว่างนี้ ผมเข้าใจว่านโยบาย ของท่านรัฐมนตรีเป็นไปตามกฎหมาย แต่ระดับปฏิบัติงานในพื้นที่โดยเฉพาะสำนักงาน ทนายความที่รับจ้างจาก กยศ. ยังไม่ได้ชะลอการบังคับคดี ยังไม่ได้ชะลอในส่วนของการยึดทรัพย์ แล้วก็มีการประกาศขายทอดตลาด บางรายที่ถึง Due ประกาศขายทอดตลาด คือตอนนี้ การประกาศขายทอดตลาดเขาจะประกาศแต่ละครั้ง ๖ ครั้ง แล้วก็ในระหว่างที่รอประกาศ กำหนดของ กยศ. มันก็ถึง Due เวลาที่ประกาศขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี จะประกาศขายที่เขายึดที่ดินไว้แล้ว แต่ถ้าดูตามกฎหมายใหม่ต้องไปปรับโครงสร้างก่อน ต้องไปแปลงหนี้ก่อน จะบังคับคดีไม่ได้ เพราะฉะนั้นลูกหนี้ที่เจอผลกระทบลักษณะอย่างนี้ ที่เจอข้อเท็จจริงที่มีการบังคับคดีโดยไม่ได้รอประกาศหรือยังไม่ทันได้แปลงหนี้ใหม่ ปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ ที่ดินกำลังจะถูกขายทอดตลาดเขาจะต้องทำอย่างไรครับ ขอเรียนถามท่านรัฐมนตรีผ่านท่านประธานเป็นคำถามที่ ๒ ครับ
ท่านประธานครับ ก่อนที่จะถาม คำถามที่ ๓ ผมขออนุญาตต่อเนื่องกับประเด็นคำตอบของท่านรัฐมนตรีในคำถามที่ ๒ ข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ผมได้รับจากพื้นที่ ถ้าไม่ถูกต้องอย่างไรท่านรัฐมนตรีก็สามารถชี้แจงได้นะครับ เท่าที่ผมทราบตอนนี้ในส่วนของลูกหนี้ที่ถูกบังคับคดีหรือที่ถูกยึดที่ดินพูดง่าย ๆ ภาษาบ้านเรา ก็คือถูกยึดบ้าน ยึดที่ดินในระหว่างนี้ ผมก็เคยไปประสานงานสอบถามกรมบังคับคดีในพื้นที่ บอกว่าถ้าระเบียบกฎเกณฑ์ยังไม่ออก กฎหมายใหม่มันใช้บังคับแล้วจะไปยึดเขา ได้อย่างไร ก็ได้รับการชี้แจงกับเจ้าหน้าที่บังคับคดีว่ากรณีที่มีการขายทอดตลาดแล้ว ในระหว่างนี้ หากถึงเวลาที่มีการประกาศขาย สมมุติว่าวันข้างหน้าวันที่ ๒๕ จะมี การขายทอดตลาดที่ดิน เขาบอกว่าให้ลูกหนี้ไปติดต่อของดการบังคับคดีได้ ผมไม่แน่ใจ ท่านรัฐมนตรีสามารถชี้แจงได้นะครับ ผมได้รับข้อมูลมาอย่างนั้น ก็คือลูกหนี้เดินไปหา บังคับคดีจังหวัด สมมุติว่าผมอยู่นราธิวาสเดินไปหาเจ้าพนักงานบังคับคดีที่นราธิวาส บอกให้งดการบังคับคดีก่อน ยังไม่ต้องขายที่ดินก่อน เพราะว่าเราจะไปปรับโครงสร้างหนี้ ในส่วนที่มีการบังคับคดี หรือในส่วนที่มีการพิพากษา เป็นคำพิพากษาไปแล้ว ให้รอไปแปลง หนี้ใหม่ ผมไม่แน่ใจว่าอย่างนี้เป็นกระบวนการขั้นตอนที่กรมบังคับคดีมีนโยบายทั่วประเทศ หรือเปล่า
อีกส่วนหนึ่งก็คือว่าในส่วนของเจ้าหนี้ กยศ. ผมมองว่าเจ้าหนี้เอง อำนาจในการบังคับคดีมีอยู่ ๒ อย่าง ๑. ก็คือเจ้าหนี้ขอให้งดก็เป็นอำนาจของเจ้าหนี้ นั่นก็คือ กยศ. ๒. ลูกหนี้ไปขอให้งด ผมมองว่าการให้งดบังคับคดีโดยง่ายที่สุดในระหว่างนี้ ที่กรมบังคับคดีมีข้อมูลว่าจะขายที่ดินของลูกหนี้ กยศ. กี่ราย ๆ ตอนนี้มันมีประกาศอยู่แล้ว กยศ. สามารถแจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีในแต่ละพื้นที่ให้งดการขายทอดตลาดไปก่อน ในช่วงนี้ แล้วก็ในส่วนของลูกหนี้ก็สามารถที่จะไปยื่นความจำนงได้ นี่คือทางออกที่ผมมองว่า ทาง กยศ. สามารถดำเนินการในเบื้องต้นก่อนเลย แล้วก็ข้อเท็จจริงเท่าที่ผมทราบในพื้นที่ ก็เป็นลักษณะอย่างนี้ ไม่ทราบถูกต้องอย่างไรเดี๋ยวให้ท่านรัฐมนตรีชี้แจงได้นะครับ
ทีนี้มาถึงประเด็นคำถามสุดท้าย ตอนนี้เรารอประกาศ ทุกคนลูกหนี้กำลังรอ ประกาศเงื่อนไขของ กยศ. นะครับว่าจะออกมาอย่างไร สิ่งที่เขาตั้งความหวัง ดอกเบี้ย เขาจะได้ลดลง คดีที่ฟ้องไปแล้วเมื่อประกาศออกมาเขาก็จะต้องไปคิดคำนวณใหม่ ก็จะเป็นประโยชน์กับเขา ดอกเบี้ย เบี้ยปรับลดลงเยอะเลยครับ เขาดีใจในส่วนของลูกหนี้ แต่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่ก็ต้องชื่นชมลูกหนี้ที่ชำระหนี้เต็มจำนวน แต่ลูกหนี้ที่มีปัญหา ไม่มีงานทำลักษณะเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นประโยชน์กับเขา สิ่งที่เขาตั้งคำถามในพื้นที่กระผมเอง และเพื่อนสมาชิกของพรรคเองเขาตั้งคำถามว่า หลังจากประกาศออกมาแล้ว เขาถูกฟ้องแล้ว ศาลพิพากษาแล้ว หรือว่าบางคนถูกบังคับคดีแล้ว ถูกยึดทรัพย์แล้ว พอมีประกาศปั๊บ เขาต้องเดินไปนับ ๑ ที่ไหน ตรงไหน อย่างไร ที่จะทำเรื่องปรับโครงสร้างหนี้ หรือแปลงหนี้ใหม่เพื่อให้ปรับลดดอกเบี้ย แล้วก็ไปเข้าเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้ที่มีอยู่ เป็นคำถามที่ ๓ ครับ
ขออนุญาตท่านประธานครับ ทราบว่าเวลาผมยังเหลืออีกนิดหนึ่งครับ
ท้ายสุดก็คือว่าอนาคตนะครับ เพื่อความกระจ่างของลูกหนี้ เมื่อประกาศระเบียบ กฎเกณฑ์ของ กยศ. ผมฝากท่านรัฐมนตรี ให้ไปถึงทางกองทุน กยศ. ว่า การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่ผ่านมา ผมว่าจริง ๆ ก็เป็นนโยบายอยู่แล้วหลักเกณฑ์ในเรื่องของกฎหมาย แต่ขาดการสื่อสาร ไปยังลูกหนี้ โดยเฉพาะพี่น้องในชนบทเขาไม่ทราบเลย บางคนเขายังไม่รู้เลยด้วยซ้ำ ถ้าเราไม่ประชาสัมพันธ์ว่าตอนนี้ลูกหลานเขาเป็นหนี้ พ่อแม่เครียดลูกจบการศึกษาแล้วเป็นหนี้ เครียดเพราะว่าดอกเบี้ยเยอะมากในก่อนหน้านี้ เขาไม่รู้ว่าตอนนี้มีกฎหมายใหม่ เขาไม่รู้ว่าตอนนี้ลูกหลานเขาได้ประโยชน์แล้วนะครับ เพราะขาดคนสื่อสารไปถึงเขา โดยเฉพาะพี่น้องในพื้นที่ที่อยู่บ้านนอกนะครับ แต่อยากส่งเสียลูกหลานให้ได้รับการศึกษา เพราะฉะนั้นกฎหมายนี้เป็นประโยชน์กับลูกหนี้เป็นจำนวนมากนะครับ สำคัญที่สุด การสื่อสารให้เขาได้รู้ ให้เขาได้เข้าใจมันก็จะสลายความตึงเครียด บางคนไม่ใช่อะไรครับ พ่อแม่มาหาผมกินข้าวไม่ลง กลัว บางทีไม่เข้าใจถึงขนาดว่ากลัวลูกติดคุกด้วยซ้ำ เป็นหนี้ กยศ. นี่คือการขาดการสื่อสาร ผมก็เลยอยากฝากท่านรัฐมนตรีไปยังกองทุน กยศ. ว่า กระบวนการต่าง ๆ หลังจากนี้ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ เป็นกฎหมายใหม่ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่ และเป็นประโยชน์จะสลายความตึงเครียดที่สุมอยู่ในอกพ่อแม่นี่นะครับอยากให้ กยศ. ประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่นะครับ ทั้งสื่อ Social หรือว่า ทางวิธีอื่น ๆ ผมว่าตรงนี้จะเป็นประโยชน์ด้านจิตใจ แล้วก็เป็นประโยชน์กับลูกหนี้ กยศ. ที่ยังไม่มีงานทำซึ่งมีอีกเป็นจำนวนมาก ขอบคุณครับท่านประธาน
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๕ ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ในฐานะที่เป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรอยู่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเขตพื้นที่ตามที่ผมได้กล่าวถึงเมื่อสักครู่ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการอภิปรายพิจารณาวาระรับทราบเกี่ยวกับนโยบายการบริหาร การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ซึ่งถือว่าอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ ตามที่ผู้ชี้แจงได้ชี้แจงว่าในมาตรา ๔ ต้องมาชี้แจงต่อสภา ๓ ปีครั้ง ท่านประธานที่เคารพ เรื่องปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมพูดมาโดยตลอดพูดทุกครั้งที่มีญัตติเกี่ยวกับ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ อ่านนโยบายของรัฐบาล ของทาง สมช. ทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ มาโดยตลอด พบเห็นนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรสวยหรูมากครับ ถ้อยคำนโยบาย การแก้ปัญหาถ้าเป็นไปตามลายลักษณ์อักษรที่ได้มีการกำหนดแผน หรือสภาพปัญหา ที่อ่านแล้วมีความรู้สึกว่าท่านเข้าใจสภาพปัญหาดี แต่ปัญหาสำคัญทำไมยังต้องพูด วันนี้ก็ยังต้องพูดเรื่อง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกครั้งที่มีญัตติเกี่ยวกับเรื่องนี้สมาชิก หลายท่านที่อยู่ในพื้นที่ก็ลุกขึ้นมาพูด ลุกขึ้นมาเสนอแนะ แต่หลายเรื่องไม่ได้รับการแก้ไข นั่นหมายความว่าปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ดูเสมือนว่าทางฝ่ายรัฐรู้ปัญหา แต่ปัญหา สำคัญก็คือการนำนโยบายปฏิบัติให้เกิดผลนี่คือสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าดูตามรายงานของท่าน แผนยุทธศาสตร์ปัญหา ๓ จังหวัดนี้ผมไม่อยากให้เป็นเรื่องของหมอดู อยากให้มี การปรับเปลี่ยนได้ เพราะว่าท่านทำนายล่วงหน้าว่าจะทำโน่นทำนี่ล่วงหน้า บางเรื่อง อาจจะใช่ครับ แต่บางเรื่องต้องปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ผมไม่อยากให้แผนยุทธศาสตร์ มันมัดตายตัว พอเสนอคณะรัฐมนตรีแล้วแผนการดำเนินงานก็ต้องเป็นไปตามนั้น แต่สิ่งสำคัญที่สุด ปัญหาบางประการผมอภิปรายหลายครั้ง อ่านรายงานก็หลายครั้ง ในเรื่องการศึกษาท่านก็บอกว่าการศึกษาต่ำมาทุกครั้ง ท่านก็เข้าใจว่าการศึกษาใน ๓ จังหวัด มีทั้งสายสามัญแล้วก็สายศาสนา มีทุกครั้งเหมือนเข้าใจปัญหา แต่เวลาดูแผนงาน การดำเนินงาน แผนยุทธศาสตร์ที่จะแก้ปัญหาตอบโจทย์ หรือพูดง่าย ๆ เกาให้ถูกที่คัน เพื่อยกระดับการศึกษาให้คนในพื้นที่มีการศึกษา ลดปัญหาความขัดแย้ง ปรากฏว่าอย่างไรครับ การศึกษาในพื้นที่ก็เหมือนเดิม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แผนการดำเนินงาน ก็ไม่มีการแก้ไข ยกตัวอย่างอะไรครับ โรงเรียนตาดีกาสอนศาสนาอิสลามอยู่ภายใต้มัสยิด มัสยิดอยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย แต่ส่ง สมช. ไปคุม นั่นคือกระทรวงศึกษาธิการ เท่ากับว่า โรงเรียนตาดีกาอยู่ภายใต้ควบคุม ๒ กระทรวง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ มีที่ไหนล่ะครับ แต่ไม่มีงบประมาณ เมื่อเช้าท่านสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ก็ได้หารือต่อที่ประชุม แห่งนี้เสนอต่อท่านประธานให้มีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แก้ไขเรื่องเหล่านี้ แล้วผม ก็พูดมาตลอด พรรคประชาชาติเราส่งเสียงเรื่องนี้มาตลอด หวังว่าจะได้เห็นแผนงาน แผนยุทธศาสตร์ที่จะทำในอนาคต แต่สุดท้ายก็เหมือนเดิม งบประมาณไม่มีนะครับ อาคารเรียน คนต่างชาติเหมือนที่ท่านสมมุติพูดเมื่อเช้า คนมาเลเซียมาเขาบอกว่านี่หรือ สถานศึกษาของคน ๓ จังหวัด คนมลายู เมื่อไรแผนงานที่จะสนับสนุนอย่างจริงจัง ถ้าท่านประธาน ไป ๓ จังหวัดบ้านผม ผมจะชี้ให้ดูมีเป็นสิบ ๆ แห่ง ห้องเรียนไม่มีกั้นหรอกครับ ชั้นนี้ ที่เรียนติด ๆ กันก็ได้ยินหมด ครูผู้สอนก็เหมือนกัน ค่าตอบแทน ๒,๕๐๐ บาท แบ่งกัน ๗ คน อย่างนี้หรือแผนงานต้องการแก้ปัญหา นี่คือโจทย์สำคัญที่ต้องแก้ นี่คือสิ่งสำคัญที่ สมช. ต้องดำเนินการ อีกหลายเรื่องหลายประเด็น เวลาน้อยครับในประเด็นการศึกษา ผมพยายาม จะไปเรื่อย ๆ ว่าแผนงานการแก้ไขปัญหาอยากให้ตรงกับสภาพปัญหาเหมือนที่ท่านทราบ รายงานการศึกษาของท่านก็เหมือนกัน การดำเนินการต่าง ๆ ว่าจะสนับสนุนด้านศาสนา จะทำนุบำรุงบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน เขียนอย่างนี้มาตลอด แต่ท่านไปดูทุกปีงานมัสยิด หาทุนหารายได้ซ่อมแซมมัสยิดทุกปีมีจำนวนเป็นร้อยมัสยิดก็ไม่ได้รับการแก้ไข เหมือนกับว่า รู้ปัญหาแต่ไม่ทำแล้วมันจะแก้ได้อย่างไร ถ้าเป็นอยู่อย่างนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผมเอง พรรคประชาชาติก็ต้องลุกขึ้นมาพูดอย่างนี้ ก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร สำคัญที่สุดท่านเสนอแผน สมช. เสนอแผนไปยัง ครม. แต่เวลา ครม. จะนำไปปฏิบัติก็เรียกทหาร เรียก กอ.รมน. มาถาม ยกตัวอย่างการยกเลิก พ.ร.ก. ที่ผ่านมา ผมเข้าใจว่า สมช. เองเสนอให้มีการยกเลิก มากกว่า ๓ อำเภอ เท่าที่ทราบอาจจะมีถึง ๖ อำเภอ อยู่ในเขตบาเจาะบ้านผมด้วย แต่สุดท้ายประธาน สมช. ก็ไปฟังทหาร ไปฟัง กอ.รมน. โดยเอาสถิติเป็นตัววัดว่าเขตศรีสาคร ที่ยกเลิกไปแล้วมาเพิ่มเดี๋ยวจะเกิดเหตุภัยขึ้นมาก็ไม่สามารถป้องกันได้ อย่าลืมว่าท่านยังมี พ.ร.บ. กฎอัยการศึกอีกฉบับ สิ่งที่ผมสะท้อนให้เห็นว่าเวลาปฏิบัติจริง แผนของ สมช. เสนอ รัฐมนตรี แต่รัฐมนตรีบางทีไม่ฟัง สมช. กลับไปฟังหน่วยงานปฏิบัติซึ่งมีมุมมองที่ต่างกัน ผมก็เลยอยากฝากทาง สมช. แผนยุทธศาสตร์อยากให้ท่านปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ กระบวนการสันติภาพเมื่อวานท่านมาชี้แจงในคณะกรรมาธิการวิสามัญ ท่านบอกว่า กระบวนการพูดคุยสันติภาพไม่สำเร็จ ๗ ประการ ท่านลองเสนอสิครับ ๗ ประการที่ไม่สำเร็จ กับกระบวนการพูดคุย ขออนุญาตนิดหนึ่งท่านประธานครับ ลองเสนอเป็นแผนงานยุทธศาสตร์ ในกระบวนการสันติภาพ ซึ่งกระบวนการสันติภาพก็อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ แต่ไม่มีการนำเสนอ แผนงานที่จะให้ประสบความสำเร็จตามที่ท่านได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการเมื่อวาน นี่ต่างหาก คือสาระสำคัญของแผนงานเพื่อจะพัฒนา เพื่อจะให้ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสงบสุข เมื่อวานท่านก็เสนอว่าถ้าจะให้สำเร็จต้องมี พ.ร.บ. กระบวนการสันติภาพเสนอเข้าสู่สภา สภานิติบัญญัติต้องมีส่วนร่วม ต้องมีบทบาทมากกว่านี้ก็ไม่มีในแผนงานนี้ รอแต่ว่า ทางคณะกรรมาธิการของสภาจะเสนอให้ฝ่ายบริหารอย่างนั้นหรือครับ ฝากด้วยนะครับ ผมอยากให้มองความมั่นคงของรัฐสำคัญกว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพี่น้องมลายูครับ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๕ ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตอภิปรายรายงานการปฏิบัติงานของ กสทช. ปี ๒๕๖๕ แต่ก่อนที่จะลง รายละเอียด ผมอาจจะมีความเห็นต่างแล้วก็อาจจะแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็น ข้อกฎหมายให้ท่านประธานทราบผ่านไปยังผู้มาชี้แจงของ กสทช. อยู่สักเล็กน้อย ข้อกฎหมาย ที่ผมอยากแสดงความเห็นก็คือรายงานที่ กสทช. มาสามารถแสดงต่อสภาของเราในวันนี้ อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. ๒๕๖๐ ถ้าไปดูข้อกฎหมายข้อนี้ การชี้แจง ต่อสภามันเป็นหลักการที่อยู่ในหมวด ๗ ก็คือความสัมพันธ์กับรัฐบาลและรัฐสภา นั่นก็คือ กสทช. มีหน้าที่ที่ต้องมาชี้แจงต่อสภา ส่วนหลักการชี้แจงการทำรายงานใน พ.ร.บ. องค์กร จัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้ รายละเอียดทั้งหมดของเล่มที่ กสทช. มาเสนอต่อสภานี้ วิธีการทำรายงานก็คือจะอยู่ในมาตรา ๗๖ จะมีรายละเอียดว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แต่ประเด็นที่น่าสนใจที่ผมอยากเรียนต่อท่านประธานสภาก็คือว่า พอเราลงรายละเอียดดู ในมาตรา ๗๖ แล้ว ผมไม่แน่ใจว่าการดำเนินการที่เราพูดกันมาเกือบครึ่งวันนี้มันจะเป็นไป ตามมาตรา ๗๖ หรือไม่ อย่างไร เพราะอะไรครับ เพราะการรายงานของ กสทช. การจัดทำ รายงานก็ต้องจัดทำรายงานปฏิบัติงานประจำปี ขอใช้คำว่า ประจำปี แล้วก็ต้องเสนอต่อ รัฐสภาภายใน ๑๒๐ วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี แล้วก็ยังมีระบุอีกว่ารายงานการปฏิบัติงาน สิ่งที่ต้องดำเนินการมีทั้งหมด ๘ อนุมาตรา ๘ วงเล็บ สำคัญที่สุดใน (๒) แผนงาน โครงการ แผนงานประมาณที่จะต้องรายงานก็คือสำหรับปีถัดไป เรากำลังอยู่ในช่วงระยะเวลา ปี ๒๕๖๖ คำว่า แผนงานระยะเวลาปีถัดไป นั่นหมายความว่าระยะเวลาแผนงานของ กสทช. ที่ต้องดำเนินการในปี ๒๕๖๗ แต่รายงานที่เราพูดถึงก็คือมันตั้งแต่ปีโน้นแล้ว ปี ๒๕๖๕ แล้วก็ แผนงานที่ต้องปฏิบัติงานปีถัดไปที่ท่านกล่าวในรายงานก็คือของปี ๒๕๖๖ นั่นหมายความว่า ท่านดำเนินการไปหมดแล้วแต่สภายังไม่ทราบ จริง ๆ วันนี้ท่านต้องรายงานแผน การปฏิบัติงานของปี ๒๕๖๗ ถ้าเป็นไปตามมาตรา ๗๖ ของ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรร คลื่นความถี่ ท่านประธานครับ ผมก็เลยไม่ทราบว่ามันเป็นเพราะเหตุผลกลใดที่สภาของเรา ไม่รู้เลยว่าปี ๒๕๖๗ ที่จะมีการตั้งงบประมาณท่านมีแผนงานอย่างไร เรารู้ว่าปี ๒๕๖๖ คือแผนงานปี ๒๕๖๖ ซึ่งท่านปฏิบัติงานไปแล้วปี ๒๕๖๖ เหตุผลเหล่านี้ผมก็เลยอยากให้ ชี้แจงว่าเพราะเหตุผลใด มันเป็นเรื่องของสภาเรา หรือเป็นเรื่องที่ทาง กสทช. รายงานล่าช้า ท่านประธานครับ จะอย่างไรก็ตาม เมื่อทาง กสทช. มาชี้แจงแล้ว ตามอำนาจหน้าที่ ของ กสทช. ๑ ในนั้นก็คือเป็นเรื่องของการรับเรื่องร้องเรียน ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ว่า การรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาคลื่นความถี่โทรคมนาคม ผมในฐานะเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลายพื้นที่ของผมโดยเฉพาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอรือเสาะ อำเภอบาเจาะ อยู่ใน Zone C ผมดูการดำเนินกิจการที่ท่านรายงานของปี ๒๕๖๕ การดำเนินการขยายตั้ง USO NET ท่านบอกว่าท่านดำเนินการ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ รับเรื่องร้องเรียนดำเนินการไป ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ หมู่บ้านทั้งหมดในประเทศนี้มี ๗๐,๐๐๐ กว่าหมู่บ้าน ที่ท่านดำเนินการ ไปแล้วในปี ๒๕๖๕ ๑๐,๐๐๐ กว่าหมู่บ้าน ผมก็เลยอยากเรียนถามท่านว่าขณะนี้ ในปี ๒๕๖๗ ปีนี้ปี ๒๕๖๖ ยังมีหมู่บ้านอีกกี่หมื่นหมู่บ้านที่ท่านยังไม่ดำเนินการ ผมเห็นด้วย กับโครงการนี้ครับ แล้วในปี ๒๕๖๗ ท่านคิดว่าท่านจะดำเนินการติดตั้งศูนย์ USO NET ใน Zone C อีกกี่หมื่นหมู่บ้านกว่าจะครบ ๗๕,๐๐๐ หมู่บ้านของประเทศนี้
ประเด็นต่อมาเป็นเรื่องร้องเรียนที่ผมลงพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ชายขอบที่อยู่ ตามภูเขาในเขตพื้นที่ผม อำเภอศรีสาคร อำเภอรือเสาะ ตามเทือกเขาบูโด สัญญาณ Wi-Fi ที่มีการติดตั้งมันมีระยะที่รับสัญญาณเพียงไม่กี่เมตร ไม่กี่ร้อยเมตร ไม่กี่สิบเมตร ถ้าเลย ไปกว่านั้นก็ไม่สามารถใช้สัญญาณ Wi-Fi ได้ หลายพื้นที่ที่ผมลงพื้นที่ สัญญาณโทรศัพท์ไม่มี ในพื้นที่ยังไม่มีเยอะมากนะครับ ท่านลองไปตรวจสอบดูในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในนราธิวาส อำเภอศรีสาคร อำเภอรือเสาะ ปัญหามันมีครับ ตอนนี้ลูกหลานไปเรียนหนังสือ ที่กรุงเทพมหานคร พ่อแม่ก็ทำสวน ทำไร่ ช่วงนี้ต้องไปขึ้นทำสวนทุเรียน ลูกหลานเวลาพ่อแม่ ขึ้นไปที่สวนจะติดต่อพ่อติดต่อแม่ไม่ได้ หรือพ่อแม่มีเรื่องที่จะปรึกษาหารือกับลูกหรือแจ้งข่าว ให้ทราบว่ามีใครไม่สบายบ้าง ต้องกลับมาที่บ้านเพื่อสัญญาณ Wi-Fi อย่างเดียว ผมก็เลย อยากเรียนถามทาง กสทช. ให้ช่วยชี้แจงว่าท่านมีแผนประสานงานกับบริษัทเอกชนที่ใช้ ศูนย์บริการ ท่านมีแผนที่จะประสานงานกับการใช้เสาสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่ที่ยังไม่มี เสาสัญญาณโทรศัพท์ คลื่นความถี่โทรศัพท์อย่างไรบ้าง เพราะมันจำเป็นจริง ๆ ในพื้นที่ นราธิวาสแถบเทือกเขานะครับ หลายหมู่บ้านยังใช้โทรศัพท์ติดต่อลูกหลานที่มาเรียน ที่ต่างจังหวัดไม่ได้ ต้องใช้สัญญาณ Wi-Fi อย่างเดียว เวลาพ่อแม่ขึ้นไปทำสวนลูกจะติดต่อ ก็ไม่รู้ว่าพ่อแม่ไปทำสวนก็โทรศัพท์ติดต่อไม่ได้ โทรศัพท์ไม่ติด บางครั้งมีเรื่องด่วนก็ยังทำ ไม่ได้ ผมก็เลยอยากเรียนถามท่านที่มาชี้แจงว่าตามบทบาทหน้าที่ของท่าน ผมร้องเรียนท่าน อย่างนี้นะครับ ท่านมีโครงการเป้าหมายนโยบายในการแก้ไขปัญหาเสาสัญญาณคลื่นความถี่ โทรศัพท์อย่างไรบ้าง ท่านจะไปประสานกับ AIS หรือ True หรือ DTAC ให้หัน Cell site ให้มีความถี่มากขึ้นหรือไม่ อย่างไร นี่คือปัญหาที่ผมอยากเรียนถึงความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชน ถึงท่านประธานผ่านไปยังผู้มาชี้แจงของ กสทช. ขอบคุณมากครับ
ท่านประธานครับ ขออนุญาตครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๕ พรรคประชาชาติ ก่อนที่ผู้มาชี้แจงจะชี้แจง ผมขออนุญาตท่านประธาน พอดีเมื่อเช้าผมก็ได้อภิปรายประเด็น ของ กสทช. เกี่ยวกับ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วผมก็รอฟังคำตอบ อยากให้ท่านชี้แจงไป ในคราวเดียวกัน นั่นก็คือว่าผมอภิปรายเมื่อเช้าว่าในพื้นที่ชายขอบ Zone C ใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้เป็นเทือกเขาคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ชาวบ้านประสบ ปัญหาความเดือดร้อนในการใช้โทรศัพท์ ก็เลยอยากให้ท่านชี้แจงไปในคราวเดียวกัน เพ ราะว่าผมฟั งท่ำนชี้แจงบำงช่วงบำงตอนท่ำนยังไม่ตอบป ระเด็น นี้ว่า ในปี ๒๕๖๗ ในแผนงบประมาณปี ๒๕๖๗ ท่านมีโครงการจะแก้ปัญหาการใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่ชายขอบ Zone C ที่ยังไม่มีเสาสัญญาณอาจจะยังไม่มีคลื่นโทรศัพท์ อย่างไรบ้าง
ประเด็นที่ ๒ ก็อยากเพิ่มเติมที่เพื่อนสมาชิกจากพรรคเพื่อไทยได้อภิปราย เมื่อสักครู่เกี่ยวกับข้อกฎหมายมาตรา ๗๖ ๑๒๐ วันในปีงบประมาณปี ๒๕๖๗ ท่านได้ยื่น เสนอแผนงานต่อคณะรัฐมนตรีหรือยัง อย่างไรบ้าง ขอบคุณครับ จะได้ชี้แจงคราวเดียวกัน ขอบคุณท่านประธานครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ วันนี้ผมมี ประเด็นหารือ เพื่อขอให้ท่านประธานมีหนังสือถึงคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อแก้ไขปัญหาค่าตอบแทนของครูผู้สอนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำ มัสยิดหรือโรงเรียนตาดีกาที่ค้างชำระ ท่านประธานครับ ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากมีโรงเรียนสามัญ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแล้ว ยังมีศูนย์การศึกษาอิสลาม ประจำมัสยิด หรือที่รู้จักกันดีว่าโรงเรียนตาดีกา จะมีการสอนวันเสาร์ วันอาทิตย์ครับ ก็คือ ลูกหลานที่เรียนวันจันทร์ถึงวันศุกร์สามัญ ชั้นประถม วันเสาร์ วันอาทิตย์ก็จะมาเรียนอยู่ที่นี่ โดยคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนให้ค่าตอบแทนแก่ครูผู้สอนโดยคิดจำนวน อัตราเด็ก ถ้าไม่เกิน ๖๐ คน จ่ายค่าตอบแทนครูผู้สอน ๓,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๔ คน หมายความว่า ๑๒,๐๐๐ บาท ถ้าโรงเรียน ๖๐ คนขึ้นไป ก็จะได้ค่าตอบแทนครูผู้สอนคนละ ๓,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๖ คน ก็ประมาณ ๑๘,๐๐๐ บาท แต่บางโรงต้องอาศัยครูผู้สอน จำนวนมาก ครูผู้สอนก็มีการหารกันเพื่อเฉลี่ยค่าตอบแทน บางคนเดือนหนึ่งได้ประมาณ พันกว่าบาท แต่ปรากฏว่าตอนนี้นะครับท่านประธาน ในส่วนของครูผู้สอน ค่าตอบแทน ครูผู้สอนโรงเรียนตาดีกาในจังหวัดนราธิวาสค้างจ่ายตั้งแต่เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และจะเข้าเดือนที่ ๓ ก็คือเดือนธันวาคม เงินไม่มากหรอกครับ แต่ว่ามันมีค่ามากสำหรับ กำลังใจของครูผู้สอนที่เสียสละสอนกับลูกหลาน พี่น้องในพื้นที่บ้านผมกับโรงเรียนตาดีกา อยากให้ท่านประธานมีหนังสือถึงหน่วยงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ให้เร่งดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนที่ค้างชำระ อย่างไรก็แล้วแต่นะครับ ถึงเวลาแล้วอยากให้ คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาทบทวนค่าตอบแทน เหล่านี้ เพราะว่า ๑๐ ปีแล้วครับที่มีประกาศให้ค่าตอบแทนเพียงคนละ ๓,๐๐๐ บาท ที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขพิจารณาทบทวนเพิ่มค่าตอบแทน เพื่อเป็นกำลังใจให้กับครูผู้สอนด้วย ขอบคุณมากครับ
ท่านณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ มาแล้ว คิวท่านก่อนผมครับ ขออนุญาตให้ท่านณัฐวุฒิอภิปรายก่อนครับ
ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๕ ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ญัตติการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีตัวยกร่าง ๔ ฉบับวันนี้นะครับ ผมขอ เป็นส่วนหนึ่งที่จะมีส่วนร่วมในการอภิปราย แต่ฟังดูตั้งแต่ต้นผมอาจจะเป็นเสียงส่วนน้อย ของเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติหลาย ๆ ท่านที่ได้อภิปรายก่อนหน้านี้ ยกเว้นในส่วนของ พรรคประชาชาตินะครับ ที่เราแสดงจุดยืนของพรรคและของสมาชิกเรา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน พื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขออนุญาตท่านประธานเท้าความเพื่อให้พี่น้องประชาชน ได้เข้าใจว่า จริง ๆ กฎหมายฉบับนี้จุดยืนของเรามีมาตั้งแต่พรรคประชาชาติก้าวแรกที่เราได้ เข้ามาในสภาแห่งนี้ ก็คือเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ครั้งที่แล้ว ครั้งที่แล้วก็มี กฎหมายฉบับนี้เข้ามาเช่นกัน เป็นญัตติของพรรคก้าวไกลที่เสนอเข้ามาเมื่อชุดที่แล้ว แล้วทาง สภาได้โหวตวาระที่ ๑ ก็ผ่านในขั้นรับหลักการ แต่ในขณะนั้นผมจำได้ว่ามีเสียงที่ไม่เห็นด้วย ๑๕๐ กว่าเสียง เราพรรคประชาชาติก็คือหนึ่งในนั้น แต่ด้วยระยะเวลาของสภาชุดที่แล้ว มีการยุบสภาเสียก่อนจึงเป็นที่มา การตั้งรัฐบาลเองก็ล่าช้า เป็นเหตุให้ไม่อาจที่จะรับรอง ภายใน ๖๐ วัน จึงเป็นที่มาที่มีการเสนอร่างมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ผู้เสนอต่างกัน รอบที่แล้ว พรรคก้าวไกลก็เสนอ คราวนี้ก็เสนอเช่นกัน แต่คราวที่แล้วรัฐบาลไม่ได้เสนอนะครับ ตัวร่าง ของรัฐบาลชุดที่แล้วไม่ได้เป็นของตัวร่างของคณะรัฐมนตรี แต่เป็นร่างของพรรคร่วมรัฐบาล แต่มาในสมัยนี้ยุคนี้นอกจากพรรคก้าวไกลเสนอแล้ว ภาคประชาชนก็เสนอเข้ามา สิ่งที่ผม ต้องอธิบายเพราะว่าให้ประชาชนที่เพิ่งรับฟัง ความเป็นมาของกฎหมายฉบับนี้ได้เข้าใจ แล้วผมจะขอความเห็นใจนะครับ เพราะฉะนั้นความแตกต่างในการเสนอเข้ามา พอมาดูใน รายละเอียดของตัวร่างก็ต่างกันบ้าง แม้จะมีหลักการและเหตุผลตรงกัน เหมือนกันกับ ชุดที่ ๒๕ แต่มีประเด็นหนึ่งก็คือร่างของรัฐบาลที่ต่างกันไม่เคยมีมาก่อน จะอย่างไรก็แล้วแต่ จุดยืนพรรคประชาติเราก็คงต้องแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนเหมือนชุดที่แล้ว ก็คือเราไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ แม้ว่าจะมีข้อกฎหมายที่บัญญัติในตัวยกร่างของ คณะรัฐมนตรี มีอยู่ข้อหนึ่งครับท่านประธาน ก็คือในมาตรา ๖๖ คราวที่แล้ว ๔ ร่าง ไม่มีเลย ข้อความลักษณะอย่างนี้ก็ต้องขอบคุณ ทราบข่าวนะครับ ผมก็ติดตามเรื่องนี้มาตลอด พรรคประชาชาติเราติดตามเรื่องนี้มาตลอดว่าเมื่อกำลังจะเข้าสู่สภาเราพยายามทำอย่างไร ให้มีความเข้าใจเห็นอกเห็นใจพรรคประชาชาติ เพราะอยู่ในพื้นที่ที่มีความศรัทธาที่ต่างกัน นั่นก็คือในมาตรา ๖๖ ตัวร่างของคณะรัฐมนตรีมีการระบุข้อยกเว้นว่า ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ที่มีการแก้ไขไม่ให้ใช้บังคับกับพื้นที่ที่มีกฎหมายมรดกและครอบครัวอยู่ก่อนแล้ว แต่ก่อนไม่มีเลยนะครับ แต่มาปีนี้มี ตอนแรกก็สบายใจอยู่บ้าง แต่มันยังไม่ครบถ้วนสำหรับ ประชาชาติ ผมลุกขึ้นมา ๑. แสดงจุดยืน แต่ดูบรรยากาศอย่างไรก็แล้วแต่ผมเชื่อว่ากฎหมาย ฉบับนี้น่าจะผ่านในวันนี้ในขั้นรับหลักการ แต่สิ่งที่เป็นห่วงอยากเสนอไปยังกรรมาธิการที่จะมี การตั้งขึ้น แล้วก็มีประเด็นคำถามที่ผู้เสนอญัตติ ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนของฝ่ายคณะรัฐมนตรี ที่มาชี้แจง ตัวแทนภาคประชาชนที่มีการยกร่างและพรรคอื่นที่ผมไม่ได้กล่าวถึงนี้ว่าในส่วน ของมาตรา ๖๖ ที่เป็นตัวร่างของฝ่ายรัฐบาลนี้ของคณะรัฐมนตรี และผมเชื่อว่าหากผ่าน ขั้นรับหลักการในวาระที่ ๑ แล้ว เดี๋ยวเราก็ต้องมานั่งดูว่าจะใช้ร่างฉบับไหนในการพิจารณา ของกรรมาธิการ แล้วผมเชื่อว่าน่าจะเป็นร่างของคณะรัฐมนตรี สิ่งที่คงจะเป็นประเด็นคำถาม แล้วก็อยากฝากไปทางกรรมาธิการ แม้มีมาตรา ๖๖ ยกเว้น ผมถือว่าการให้ความเคารพหลัก รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑ นั่นคือในเรื่องของการนับถือศาสนา ความเชื่อแล้วก็หลักปฏิบัติ แล้วก็กฎหมายต้องให้สิทธิเสรีภาพ ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของ ประชาชน นั่นหมายความว่าผู้ที่ศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของศาสนาอิสลาม ต้องห้ามในเรื่องเหล่านี้ หากมีการระบุกฎหมายครอบครัวมรดกในมาตรา ๖๖ แล้วนี้ ผมถาม ว่าเป็นฉบับเดียวกันกับกฎหมายอิสลาม ปี ๒๔๘๙ ที่ว่าด้วยครอบครัวมรดกหรือไม่ อย่างไร ท่านประธานครับ หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นี้นะครับ ที่ผมถามอย่างนี้เพราะผมเกรงว่าจะไปขัดกับกฎหมายที่มีอยู่แล้ว ท่านประธานที่เคารพครับ ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่เฉพาะ ๓ จังหวัด สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในขณะนั้นท่านปกครอง แก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านเข้าใจ ในหลักปฏิบัติและให้ความเคารพกับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามส่วนใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ จึงมีการร่างพระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๔๘๙ ว่าด้วยครอบครัวและมรดก ให้บังคับใช้กับคู่กรณีที่มีปัญหาเรื่องมรดกและครอบครัวที่ต้องขึ้นสู่ศาลให้มีดาโต๊ะยุติธรรม แล้วก็ใช้หลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกในการพิจารณาคดี นั่นหมายความว่า หากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีการแก้ไขวันนี้ แล้วถ้าเกิดผ่านวาระที่ ๓ ขึ้นไป ถ้าไม่มีการระบุข้อความในทำนองลักษณะเดียวกันกับมาตรา ๖๖ แล้วนี้นะครับ ขออนุญาต อีกนิดหนึ่งครับท่านประธาน เพราะว่าเป็นประเด็นสำคัญครับ หากไม่มีการระบุบัญญัติ ชัดเจนว่าในพื้นที่ที่มีประกาศใช้ครอบครัวมรดกอยู่แล้ว ระบุชัดเลยว่าเป็นพระราชบัญญัติ ปี ๒๔๘๙ มันก็จะไปขัดในพื้นที่ มันก็จะไปขัดกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่ ผมเรียนอย่างนี้ครับ ท่านประธาน หลายท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ กฎหมายมรดกและครอบครัว ปี ๒๔๘๙ สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในขณะนั้นทำไมเขาใช้กับ ๔ จังหวัด จังหวัดยะลา จังหวัด ปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล เพราะขณะนั้นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย นับถือศาสนาอิสลามอยู่ ๔ จังหวัดครับ อยู่ ๔ จังหวัด ภาคอื่น ๆ ยังมีส่วนน้อย เขาเกรงว่าจะเกิดปัญหาในเรื่องของการปกครองระหว่างผู้ถูกปกครองที่มีความเชื่อศรัทธา ที่ต่างกัน สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามยังให้เกียรตินะครับ ยังเข้าใจในสภาพลักษณะ ขณะนั้น แต่ในขณะนี้ ท่านประธานครับ ในพื้นที่ ๔ จังหวัดที่ผมกล่าวถึงตาม พ.ร.บ. ๒๔๘๙ นี้ การสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนที่อำเภอเลยครับ ตอนนี้นะครับ ตอนนี้ใน ๔ จังหวัดที่ผมพูดถึงตาม พ.ร.บ. ปี ๒๔๘๙ ไม่จำเป็นต้องไปที่อำเภอ โดยใช้หนังสือ สมรสที่ไปหาโต๊ะอิหม่าม ผู้นำศาสนาประจำมัสยิด แต่งงาน ออกใบสำคัญการสมรสแบบ ศาสนาอิสลามก็ใช้บังคับได้ ผมเกรงอย่างนี้ครับ ผมเกรงปัญหาในอนาคต นี่คือความเป็นห่วง วันข้างหน้า วันดีคืนดีมีพี่น้องลูกหลานที่นั่นที่นับถือศาสนาเดียวกันไปจดทะเบียนสมรส ที่อำเภอ และกลับมาหาโต๊ะอิหม่ามผู้นำศาสนาให้ออกใบสมรสตามหลักการศาสนาอิสลาม ปัญหาโต๊ะอิหม่ามจะทำตัวอย่างไรดีครับ ต้องคิดอย่างนี้ด้วยครับ นี่คือประเด็นที่เป็นห่วงและ มันก็จะเกิดความขัดแย้งในพื้นที่ ด้วยความเคารพครับ ผมเคารพกับหลาย ๆ ท่านนะครับ เราอาจจะมีความเห็นต่างกัน แต่เรามีความศรัทธาที่ต่างกันตามหลักศาสนาที่แต่ละคนนับถือ ผมเคารพครับ แต่อย่างน้อยที่สุดผมขอความเห็นใจ ความเข้าใจในตรงนี้ด้วยครับ ผมเชื่อว่า ในชั้นกรรมาธิการเราก็คงต้องถกเรื่องนี้ และผมอยากให้ครอบคลุมถึงพี่น้องอิสลาม ทั้งประเทศ เพราะว่าตอนนี้พี่น้องอิสลามทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะ ๔ จังหวัดตาม พ.ร.บ. ๒๔๘๙ แต่มันมีจำนวนมากขึ้น แล้วก็มันจะเป็นปัญหาในสังคมกับในเรื่องของความศรัทธาที่แม้จะ ต่างกัน แต่เราเคารพซึ่งกันและกัน ขอบคุณมากครับท่านประธาน
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ก่อนอื่นที่ผมจะตั้ง กระทู้สดเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบางอำเภอ ในจังหวัดสงขลานี้ ต้องขอขอบคุณท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ที่ผมทราบมา ก่อนว่าวันนี้ท่านมีภารกิจมาก แต่ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยที่ต้องการให้พี่น้องได้รับผลกระทบ ผมเชื่ออย่างนั้นว่าท่านเองก็ต้องการให้พี่น้องได้สบายใจเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วม แล้วก็ทราบ ว่าเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคมก่อนปีใหม่ท่านเองก็ได้เดินทางไปที่จังหวัดยะลาที่ศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องในเรื่องนี้ แล้วก็ต้องขอบคุณ ท่านประธานเองนะครับ เกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา ถึงแม้ท่านติดภารกิจหลายอย่าง ท่านก็ยังเดินทางไปดูความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ตนเอง ท่านประธานที่เคารพครับ เมื่อเช้าในประเด็นวาระหารือ ท่านประธานเองก็คงได้ฟัง ผมก็ได้ฟังเพื่อนสมาชิกที่อยู่ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ได้ตั้งประเด็นหารือกับ ท่านประธานเกือบทุกท่านที่อยู่ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยความเป็นห่วงเป็นใย เพราะว่าถึงแม้น้ำจะลด แต่ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นมันยังไม่จบสิ้น แต่ผมเห็นว่า การตั้งกระทู้สดจะเป็นคำตอบที่ให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบเร็วยิ่งขึ้น เพื่อเรียกขวัญและ กำลังใจกับความเดือดร้อน ความท้อแท้ที่เกิดขึ้นภายหลังน้ำลด ท่านประธานที่เคารพครับ เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนสิ้นปี ตั้งแต่วันที่ ๒๕-๒๖ ธันวาคมเป็นต้นมา หนักที่สุดก็คือวันที่ ๒๖-๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๖
หลายคนทั่วประเทศช่วงนั้นกำลังวาง โปรแกรมวางแผนที่จะเที่ยวปีใหม่ แต่กับพี่น้อง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้กับบางอำเภอใน จังหวัดสงขลากลับไม่ได้ฉลองปีใหม่กับเขาเลย เพราะเหมือนกับว่าสิ้นปีเหมือนสิ้นหวัง หลายสิ่งหลายอย่างสิ้นปีต้อนรับปีใหม่พรากทุกสิ่งทุกอย่างไปจากเขา จากเหตุการณ์น้ำท่วม ที่เกิดขึ้นจากพายุเจอลาวัตกับความกดอากาศต่ำในทะเลอันดามันเป็นเหตุให้น้ำท่วมสูงขึ้น ในรอบ ๕๐ ปี ๖๐ ปีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในพื้นที่ดังกล่าวทั้งบ้านเรือนเสียหาย บ้านพัง อุปกรณ์การเกษตรเสียหาย อุปกรณ์การเรียนการสอน รถจมน้ำ รถจักรยานยนต์จมน้ำ หลายครอบครัวผมไปลงพื้นที่ในเขตพื้นที่อำเภอศรีสาครและอำเภอรือเสาะ และผมเชื่อว่ายัง มีอีกหลายพื้นที่ที่ไม่มีบ้านอยู่อาศัยจนถึงทุกวันนี้ ผมไปเจอมาเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวลูก ๔ ตอนนี้ ก็ยังไม่มีบ้าน หลายครอบครัวเหลือแต่เสื้อผ้าชุดเดียว ตอนที่หนีน้ำท่วมเขาบอกว่าขอแต่เอา ชีวิตรอดก็พอ บางคนลูกเล็กเอาใส่กะละมังลากหนีน้ำ นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบ ๕๐ ปี ๖๐ ปี ตอนนี้ถึงแม้น้ำจะลดรัฐบาลก็พยายามเข้าไปช่วยเหลือ พยายามบูรณาการหลาย กระทรวงด้วยกันที่จะพยายามเข้าไป แต่ความหนักหน่วงของความเสียหายที่เกิดขึ้นกำลังใจ เป็นสิ่งสำคัญตอนนี้ครับ วันก่อนผมไปเขาขอกระทะ ขอหม้อหุงข้าว ขอจานชามไว้ใส่ข้าวกิน หลายครอบครัวที่ยังอยู่ในลักษณะอย่างนี้ บางคนเขาบอกว่าไม่เหลืออะไรแล้ว เงินทองก็ไม่มี ไม่มีอะไรที่จะซื้อใช้จ่ายในปัจจุบัน ปัญหาเหล่านี้ผมเชื่อว่ารัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ความ ชัดเจนที่เขาต้องการทราบเพื่อเรียกขวัญกำลังใจกับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบที่ผมได้ กล่าวถึงเมื่อสักครู่ว่าในมาตรการการเยียวยาบ้านที่พัง บ้านที่เสียหายทั้งหลัง พื้นที่เกษตรกร ที่ได้รับความเสียหายหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนทางรัฐบาลมีมาตรการ อย่างไรที่จะเยียวยาเป็นคำถามที่ ๑ ครับ ขอท่านรองนายกรัฐมนตรีได้ตอบคำถามแรกครับ ขอบคุณครับ
ขอบคุณท่านประธานครับ ขอบคุณ ท่านรองนายกรัฐมนตรีนะครับ ก็อย่างน้อยที่สุดก็ได้ความกระจ่างที่พี่น้องประชาชนที่รับฟัง อยู่ทางบ้าน อย่างไรก็ตาม ผมอยากเรียนเสนออย่างนี้ว่าในส่วนของการเยียวยานี้
ประเด็นที่ ๑ ผมอยากให้พื้นที่มีการประชาสัมพันธ์มากกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ เพราะชาวบ้านผมเชื่อว่าอีกจำนวนมากที่ไม่ทราบกระบวนการต่าง ๆ ที่รัฐจะเข้าไปช่วยเหลือ ในเรื่องของการเยียวยานะครับ
ประเด็นที่ ๒ ก็คือผมดูระเบียบการจ่ายเงินเยียวยาแล้วอาจจะเป็นจำนวนน้อย อาจจะไม่เพียงพอกับความเสียหายที่ผมได้ลงพื้นที่กับบ้านเรือนที่เสียหายต่าง ๆ เป็นไปได้ไหมครับ คน ๓ จังหวัดอยากเห็นทางหน่วยงานของรัฐหรือ ศอ.บต. ก็ได้เปิด War Room รับบริจาคจากภาคเอกชน แล้วก็ผมเชื่อว่าจะมีประเทศมุสลิมอีกหลายประเทศเข้ามา ช่วยเหลือ เพราะว่าถ้าจ่ายตามระเบียบอาจจะไม่เพียงพอ ภาคเอกชนเหล่านี้อาจจะ มาสมทบช่วยเหลือในส่วนของประชาชนที่มีความเสียหายมากกว่าตามระเบียบของทาง ราชการ ศอ.บต. เป็นเจ้าภาพก็ได้ครับ รับเปิด War Room รับบริจาคต่าง ๆ ตอนนี้พี่น้อง มาเลเซียเข้ามาในพื้นที่ให้การช่วยเหลือเยอะมากครับ
ประเด็นต่อมาเป็นผลสืบเนื่องกับคำถามที่ ๒ อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับท่าน โดยตรง ก็คือในเรื่องของกระทรวงศึกษาธิการกับโรงเรียนที่ได้รับความเสียหาย ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะว่าผลกระทบจากน้ำท่วมนี้โรงเรียนได้รับความเสียหายจำนวนหลายสิบโรง เป็น ๑๐๐ โรงก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าความเสียหายมากหรือน้อย ผมไปเดินในพื้นที่มีบางโรงเรียน หลายโรงเรียนที่ผมไปเจอนี้เสียให้หมด คอมพิวเตอร์เสียหายหมด นาฬิกาทุกสิ่งทุกอย่าง เสียหาย มีโคลน สงสารผู้อำนวยการโรงเรียนครับ นี่ผมไปโรงเรียนบ้านกูยิ โคลนหน้า โรงเรียนหนาปึ๊กเลย ผอ. โรงเรียนต้องหารถแบคโฮควักเงินส่วนตัวจ่ายค่าน้ำมันเพื่อทำความ สะอาดจะได้เปิดโรงเรียน ก็เลยเป็นคำถามที่ ๒ เพื่อความสบายใจไม่ใช่เฉพาะครูอาจารย์ เพราะว่านักเรียนนักศึกษาที่เรียนอยู่โรงเรียนที่ได้รับผลกระทบเขาจะได้สบายใจด้วยว่า ในส่วนตรงนี้ทางรัฐบาลจะให้การช่วยเหลืออย่างไรบ้าง เป็นคำถามที่ ๒ ขอบคุณครับ
คำถามสุดท้าย ความเสียหายที่เกิดขึ้น ในรอบ ๕๐-๖๐ ปีนี้ ผมฟังชาวบ้านเขาพูดว่าปีหน้าอาจจะหนักกว่านี้หรือสถานการณ์ ถึงไม่หนักกว่านี้แต่ต้องเตรียมการรับเรื่องเหล่านี้ หลายพื้นที่เกิดจากน้ำป่าไหลหลาก ภูเขาสูง ๆ เห็นร่องน้ำเลยครับ ผมลงในพื้นที่ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นมาตรการระยะยาว ก็เลยอยากเรียน ถามท่านรองนายกรัฐมนตรีว่าเหตุการณ์ที่ผ่านมานี้หลายพื้นที่เขาสะท้อนให้ผมเห็นว่า คืนนั้นอุปกรณ์ที่จะขนย้ายชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ขาดแคลนที่สุดก็คือเรือ ผมได้รับ การประสานงานจากชาวบ้านที่มีเบอร์โทรศัพท์ผม โทรตั้งแต่เช้า ตอนเย็นโทรมาร้องไห้บอก ยังไม่ได้ออก น้ำกำลังจะจมหัว ผมต้องประสานงานกับทางอำเภอ อำเภอเขาบอกว่าเรือหมด จังหวัดก็หมด ต้องประสานงานไปขอเรือจากหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กว่าจะได้ออกมา ด้วยเสียงน้ำตาโทรมาบอกว่าขอบคุณ เรือเพิ่งมารับ แต่ก็ยังปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ความปลอดภัยในชีวิตก็ยังดี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันเป็นบทเรียนที่เราในฐานะเป็นรัฐบาล จะบริหารงานจัดการในเรื่องของอนาคตกับสิ่งเหล่านี้ มาตรการป้องกันสาธารณภัยอย่างไร เพราะว่าในบางพื้นที่ผมดูแล้วท้องถิ่น อบต. มีส่วนสำคัญมากในการตระเตรียมเรือเพื่อ รองรับอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในปีถัดไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็เลยอยากถามท่านรองนายกรัฐมนตรี ว่าในแผนระยะยาวเพื่อความสบายใจในอนาคต ทางรัฐบาลมีมาตรการเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ อย่างไรบ้างครับ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วยอำเภอ บาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ขออนุญาต เป็นส่วนหนึ่งในการอภิปรายประกอบญัตติด่วนเกี่ยวกับเหตุพลุระเบิดที่ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ขอเรียนอย่างนี้นะครับท่านประธาน เท้าความนิดหนึ่งว่า สภาของเราชุดที่ ๒๖ นี้ เรื่องพลุระเบิดแล้วก็มีการยื่นญัตติด้วยวาจา ๒ ครั้ง กับสภา ชุดที่ ๒๖ นี้ ในรอบไม่ถึง ๑ ปี สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นอะไรครับ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็น ปัญหายังคงอยู่ ผมไม่อยากให้การบรรจุญัตติด้วยวาจาเป็นเรื่องด่วนเป็นเพียงที่ระบาย ของ สส. เรา ผมอยากให้ฝ่ายบริหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยรับฟังข้อเสนอของ สส. ที่ได้อภิปรายก่อนหน้านี้ แต่ผมเข้าใจว่าเรื่องนี้จริง ๆ ไม่ใช่เพิ่งเกิดรัฐบาลนี้ เหตุการณ์ที่มูโนะ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เป็นช่วงรอยต่อของรัฐบาลชุดที่แล้วที่รักษาการ ในขณะนั้น เรายังไม่ได้นายกรัฐมนตรี ก็มีการเสนอแนะหลาย ๆ อย่าง ทั้งต้นเหตุของปัญหาของกฎหมายแล้วก็ประเด็นสำคัญก็คือการบริหารจัดการหลังเกิดเหตุ กรณีนี้ก็เช่นกันครับท่านประธาน ผมต้องขอมีส่วนร่วมอภิปราย เพราะอดเป็นห่วงและอยาก เสนอแนะ แต่ไม่ได้เสนอแนะเพราะเหตุการณ์ อยากเสนอแนะโดยเอาบทเรียนที่เกิดขึ้น ไม่ถึง ๑ ปีกับเหตุการณ์เดียวกัน เรื่องเดียวกัน ท่านประธานที่เคารพครับ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ผ่านมา ๖ เดือน วันที่ ๑๗ มกราคม ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง ผมมองอย่างนี้ว่า ต้นเหตุมันมาจากอะไรกันแน่ ถามว่ามีกฎหมายไหม มี เหตุการณ์โรงงานการควบคุมโรงงาน เก็บพลุดอกไม้ไฟ มันก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับหลายอย่าง เหตุการณ์ที่สุพรรณบุรี มีการตั้งคำถามว่าโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร ทางกระทรวงอุตสาหกรรมก็ออกมา ปฏิเสธว่าโรงงานที่สุพรรณบุรีไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องควบคุม โดย พ.ร.บ. โรงงาน อุตสาหกรรม เพราะอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ถึงจำนวนตาม พ.ร.บ. อุตสาหกรรม ในส่วนอื่นก็บอกว่า อยู่ในการควบคุมของ พ.ร.บ. ยุทธภัณฑ์ กระทรวงกลาโหม บางหน่วยงานก็ชี้แจงว่าอยู่ใน พ.ร.บ. อาวุธปืนการควบคุมดอกไม้ไฟ ดอกไม้เพลิง หรือสิ่งเทียมเหล่านี้ ถ้าดูลักษณะ อย่างนี้แล้วเหมือนกับว่าเรามีกฎหมายควบคุมอยู่แล้ว และทำไมมันเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันสะท้อนให้เห็นอะไรครับ ก็ต้องมานั่งดูว่าข้อบกพร่องกฎหมายที่มีอยู่แล้วมันมีอะไรบ้าง ก็ต้องแก้ไข แล้วก็ต้องรีบแก้นะครับ อย่างกระทรวงอุตสาหกรรมบอกว่ามันอยู่ในเกณฑ์ ที่ไม่ถึงเกณฑ์ ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องมีการแก้กฎกระทรวง แก้ระเบียบของ พ.ร.บ. ตาม พ.ร.บ. โรงงานอุตสาหกรรมให้การเก็บพลุดอกไม้ไฟเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์การควบคุมของ กระทรวงอุตสาหกรรมด้วย หรืออยู่ในการควบคุมตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ เมื่อมีกฎหมายอยู่แล้ว การออกใบอนุญาต ที่สุพรรณบุรีเท่าที่ติดตามข่าวมีการออกใบอนุญาตถูกต้อง ปัญหาว่าการออกใบอนุญาตด้วย ระยะเวลา ๑ ปี แล้วก็ไปต่ออีกครั้งจะมีการควบคุมโดยการไปตรวจสอบหรือไม่ อย่างไร สิ่งนี้ต้องติดตามแล้วก็ต้องตรวจสอบศึกษาให้ดีให้ละเอียดว่าเมื่อออกใบอนุญาตแล้ว ไม่ใช่ พอเซ็นออกใบอนุญาตใบแข็งแปะข้างฝาเสร็จ หน่วยงานก็ละเลยไม่ได้ติดตามว่าหลังจากที่ ออกใบอนุญาตแล้ว มีการเก็บดอกไม้ไฟหรือวัตถุระเบิดอะไรต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ตามที่ ขอออกใบอนุญาตหรือไม่อย่างไร สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือต้นเหตุของปัญหา ต้นเหตุที่ทำให้เกิด พลุระเบิด เพราะมาตรการการควบคุมที่มีกฎหมายมันบกพร่องตรงไหน อยากให้ฝ่ายบริหารรีบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบมาดู ถ้ามีกฎหมายที่มันขาดตกบกพร่องอย่างไรก็ต้องรีบแก้นะครับ
ประเด็นที่ ๒ จริง ๆ ไม่อยากให้เป็นเรื่องที่ต้องเอามาปฏิบัติเลยก็คือ การบริหารจัดการหลังเกิดเหตุ หมายความว่าเกิดเหตุแล้วเราจะบริหารจัดการอย่างไร เอาบทเรียนที่มูโนะ ที่สุพรรณบุรี เมื่อวานผมทราบว่ากระทรวงยุติธรรมก็ไปมอบเงินเยียวยา หน่วยงานอื่นว่าอย่างไรครับ ระเบียบเกี่ยวกับเงินเยียวยาเป็นอย่างไรบ้างกับครอบครัว ผู้สูญเสีย ผมอยากถอดบทเรียนที่มูโนะให้ท่านประธานได้รับทราบ ท่านทราบไหมครับว่า ผ่านมา ๕-๖ เดือน เงินบริจาคที่ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสทราบข่าวว่าเกือบ ๓๐ ล้านบาท เพิ่งเอามาใช้แค่ ๕ ล้านบาท จนถึงทุกวันนี้ ส่วนที่เหลือชาวบ้านตั้งคำถามว่า อยู่ตรงไหน เอาไปใช้ทำอะไร รัฐบาลรักษาการชุดที่แล้วมอบเงิน ๑๐๐ ล้านบาท ให้กรมโยธาธิการไปดำเนินการออกแบบแปลนบ้าน เพื่อสร้างบ้าน สร้างอาคารให้กับพี่น้อง จนถึงขณะนี้ปรากฏว่ามีการตกลงกันประมาณครึ่งหนึ่งเป็นที่พอใจของแบบแปลน แต่ก็ยังไม่ดำเนินการใด ๆ ทั้งนั้น เหมือนที่ท่าน สส. อามินทร์ มะยูโซ๊ะ ได้อภิปรายก่อนหน้านี้ แล้วความชัดเจนต่าง ๆ ในเรื่องเหล่านี้ พี่น้องบอกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้มีการแถลง อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่เขาค้างคาใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเยียวยาต่าง ๆ ไม่ได้เป็นไปตามที่ ประกาศ หรือการก่อสร้าง โดยเฉพาะพี่น้องที่ทำมาค้าขาย ตอนนี้เขาขาดรายได้ แล้วคนที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัย ๕-๖ เดือนนี้เขาต้องไปเช่าบ้าน เงินเยียวยาของรัฐก็เข้าไปไม่ถึง ความเสียหายเหล่านี้จะเอาอย่างไรจะเป็นอย่างไร แล้วจะสร้างบ้านเมื่อไร จะเริ่มเมื่อไร ไม่มีความชัดเจนใด ๆ ทั้งนั้น นี่ผมพยายามถอดบทเรียนให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลภายใต้ แกนนำของท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่ท่านประกาศหลังจากเกิดเหตุว่าท่านจะมีการแก้ไขกฎระเบียบ ก็อยากให้กำชับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องหันมาดูแลจริง ๆ จัง ๆ และโยงไปถึงเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ที่มูโนะด้วยครับว่า ตอนนี้ยังมีปัญหาคาราคาซังมากมาย อยากให้ท่านช่วยหันมาดูด้วยครับ ขอขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๕ ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ขอเรียนปรึกษาหารือ ท่านประธานเกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อน เพื่อให้ทางสภาได้มีหนังสือถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ
เรื่องที่ ๑ ผลพวงจากอุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นก่อนสิ้นปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในเขตตำบลโคกสะตอ บ้านน้ำปั่น อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ที่ดินถล่ม แล้วก็มีที่ดินขาด ถนนหนทางขาด ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ในเบื้องต้นต้อง ขอบคุณทางนายก อบต. ที่ได้แก้ไขปัญหาเบื้องต้น แต่ปัญหาอย่างนี้ครับท่านประธาน เนื่องจากถนนบ้านน้ำปั่น ตำบลโคกสะตอ อยู่ในที่ดินของนิคมสร้างตนเอง การดำเนินการ ใด ๆ ก็แล้วแต่ ในความรับผิดชอบของนิคมอุตสาหกรรมต้องได้รับความยินยอม ดังนั้น อยากให้ท่านประธานมีหนังสือถึงอธิบดีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพราะที่ดินนิคมไม่ได้อยู่ที่กรมที่ดินรับผิดชอบนะครับ แต่อยู่ที่กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งต่างกับที่ดินอื่น ให้หันมาดูแล้วก็ให้ความยินยอมเข้าไปดูแล ในการซ่อมแซมถนนที่ขาดในบริเวณที่บ้านน้ำปั่น ตำบลโคกสะตอ
เรื่องที่ ๒ เกี่ยวกับที่ดินนิคมเช่นกันครับ เนื่องจากบ้านซอแดะ ตำบลโคกสะตอ ได้มีการสร้างมัสยิดอยู่ในบริเวณที่ดินของนิคมอุตสาหกรรม ทางอำเภอรือเสาะได้ทำ ประชาสังคม แล้วก็มีหนังสือถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้ อธิบดียินยอมให้มัสยิดเป็นที่ตั้ง แล้วก็ได้ขึ้นทะเบียน จะได้รับค่าตอบแทนเหมือนเช่นมัสยิด อื่น ๆ แต่ตอนนี้หนังสือส่งไปแล้วประมาณเกือบปียังไม่ได้รับการอนุญาตจากกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นะครับ
เรื่องที่ ๓ เนื่องจากที่ดินบริเวณตำบลศรีบรรพต อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ในหมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ และหมู่ที่ ๕ ทราบมาว่าเป็นที่ดินที่มีการออกเอกสารสิทธิทับที่ดินของพี่น้อง ประชาชน ประมาณ ๑,๘๐๐ กว่าไร่ แล้วก็คนที่ออกเอกสารสิทธิปรากฏว่าเป็นนายทุนครับ ท่านประธานครับ แล้วก็ว่าตอนนี้ทาง DSI ได้มีการตรวจสอบ อยากให้ทางกรมสอบสวนคดี พิเศษ มีการตรวจสอบและชี้แจงให้กับพี่น้องประชาชนได้ทราบความคืบหน้า เพราะว่า ประชาชนรอความหวังที่จะได้คืนสิทธิเกี่ยวกับที่ดินของเขาที่ทำมาหากินหลายสิบปีอยู่ครับ ขอบคุณมากครับท่านประธานครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วยอำเภอ บาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ขออนุญาต มีส่วนร่วมในการอภิปรายญัตติร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ที่มีผู้เสนอญัตติได้เสนอญัตติต่อสภาแห่งนี้ก่อนหน้านี้ พรรคประชาชาติขอสนับสนุนร่าง ยกเลิกคำสั่ง คสช. ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ จริง ๆ แล้วในส่วนพรรคประชาชาติเองเราได้ยื่นขอให้ มีการยกเลิกคำสั่ง คสช. ฉบับนี้ไปก่อนแล้วด้วยเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๖ แต่เราเห็นว่า คำสั่ง คสช. ที่เกี่ยวกับการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ที่ยืดเยื้อมานาน มันไม่ใช่เฉพาะแต่คำสั่งที่ ๑๔/๒๕๕๙ ก่อนหน้านี้ก็มีคำสั่งอีก ๒ ฉบับ ก็คือคำสั่ง ที่ ๙๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ แล้วก็คำสั่ง ที่ ๕๗/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙ รวม ๓ ฉบับที่เรายื่นญัตติไป แต่เนื่องจากว่าอีก ๒ คำสั่ง นอกเหนือจากคำสั่ง ที่ ๑๔ นี้มันเกี่ยวข้องกับการเงิน ทางสภามีหนังสือแจ้งมายังผมในฐานะ เจ้าของญัตติต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรอง จึงเป็นที่มาที่พรรคประชาชาติเราไม่ได้เป็น หนึ่งในเจ้าของญัตติที่ให้ยกเลิกเฉพาะคำสั่ง ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ในญัตติของสภาเราในวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามอย่างที่ผมได้กล่าวตั้งแต่ต้นว่าพรรคประชาชาติเราสนับสนุนเห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่จะให้มีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว ผมเรียนอย่างนี้ครับว่าปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกยุคทุกสมัยสภาฝ่ายนิติบัญญัติได้มีการพูดถึงมาโดยตลอด เพื่อต้องการแก้ไขปัญหา ซึ่งยืดเยื้อมาหลายสิบปี เพราะว่าปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มันเชื่อมโยงหลายมิติ มีความละเอียดอ่อน หนึ่งในนั้นเหตุการณ์ที่ยังคงอยู่เป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดของ ฝ่ายบริหารในแต่ละยุคแต่ละสมัย หนึ่งในนั้นที่เรามองเห็นว่ามีการผิดพลาดก็คือ คำสั่งของ คสช. ท่านประธานที่เคารพครับ พ.ร.บ. ศอ.บต. ปี ๒๕๕๓ ได้ตราขึ้นตาม เจตนารมณ์ให้มีเจตนาเป้าประสงค์ให้ ศอ.บต. พัฒนาพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ควบคู่ กันไป เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐ โดยในมาตรา ๑๙ ให้อำนาจหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาซึ่งมา จากภาคประชาชนมีส่วนร่วมหลายหน่วยงาน หลายองค์กรในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำด้าน ศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผมอยู่ในพื้นที่นะครับ สภานี้ละครับเป็นสภาที่เสียงสะท้อนของ พี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง แต่ว่าปรากฏอย่างไรครับ เหมือนที่ท่านเพื่อนสมาชิกได้ อภิปรายก่อนหน้านี้ หลังจากเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร แทนที่จะมีการออกคำสั่ง ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เปรียบเสมือนหนึ่งว่ามีการแก้ไขกฎหมายแต่ไม่ได้ผ่านสภา แต่อาศัย รัฐธรรมนูญชั่วคราวในขณะนั้น มาตรา ๔๔ ให้อำนาจ คสช. ได้ออกคำสั่งต่าง ๆ หลายร้อยฉบับ อย่างที่เราทราบกันดีว่าหลายฉบับคำสั่ง คสช. ไปกระทบโครงสร้างต่าง ๆ ในการบริหาร ประเทศ หนึ่งในนั้นก็คือปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไปออกคำสั่งปิดปาก ผมใช้คำว่า ปิดปาก นะครับ เสียงสะท้อนของพี่น้องประชาชนจากสภาที่ปรึกษาไม่มีอีกแล้ว ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๙ ตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๙ ปัญหาหลาย ๆ อย่างที่พี่น้องฝากถึงสภาที่ปรึกษา ที่มาจากองค์กรศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาอิสลามหรือศาสนาพุทธ จากองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น คสช. ไปปิดปาก โดยให้ กอ.รมน. เป็นผู้นำในการตั้งสภาที่ปรึกษา แน่นอนที่สุดครับ ก่อนหน้านี้คนที่ได้รับผลกระทบ คนที่ถูกปิดปากเขาไม่กล้าส่งเสียง เพราะส่งเสียงไปหาว่า เป็นมุสลิมหัวรุนแรงอีก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จึงเป็นหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องส่ง เสียงแทนบุคคลเหล่านี้ที่อยากให้ ศอ.บต. กลับมาเป็นคนเดิมตามมาตรา ๑๙ และอำนาจ หน้าที่ตามมาตรา ๒๓ หลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ ประเด็นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมาเราไม่มีตัวแทนของ ศอ.บต. ที่เข้าไปอยู่ใน ศอ.บต. ที่ส่งเสียงสะท้อนให้ฝ่ายบริหาร ได้รับฟัง ท่านประธานที่เคารพครับ การปิดปากลักษณะเช่นนี้ผมว่าถึงเวลาแล้วที่สภาของเรา ต้องหยิบยกขึ้นมา ยกเลิกมรดกตกทอดหลาย ๆ คำสั่งของ คสช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหา ผมพูดมาโดยตลอดว่า ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันนี้กระบวนการสันติภาพต้องควบคู่ไป กับการพัฒนา กระบวนการสันติภาพที่กำลังมีขึ้น ที่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ให้มีคณะพูดคุยเพื่อกระบวนการสันติภาพ หนึ่งในคณะพูดคุยที่มีการ แต่งตั้ง นอกจากกระทรวงยุติธรรม แล้วก็มีตัวแทนของ ศอ.บต. อยู่ด้วย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าเรามีสภาที่ปรึกษา เราเอาสภาที่ปรึกษากลับคืนมา อย่างน้อยที่สุดทิศทางในกระบวนการ สันติภาพที่มี ศอ.บต. เป็นหนึ่งในคณะพูดคุยก็จะได้รับฟังเสียงสะท้อนกับพี่น้องประชาชนให้ มามีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุยผ่าน ศอ.บต. ด้วยเหตุดังกล่าวทางพรรคประชาชาติเอง เราจึงสนับสนุนแล้วก็ยินดีมาก ฟังการอภิปรายเมื่อสักครู่มีทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล เห็นด้วย ทั้ง ๒ ฝ่าย และผมเชื่อว่าการนำพระราชบัญญัติ ศอ.บต. พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการยกเลิกคำสั่ง คสช. ให้มาตรา ๑๙ ทำหน้าที่ในกลไกที่ควรจะเป็นตามเจตนารมณ์ของ ศอ.บต. จะทำให้ ส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม ขอขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ วันนี้มีประเด็นหารือท่านประธานถึงปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้อง ๔ เรื่องด้วยกันครับ
เรื่องที่ ๑ อยากให้มีหนังสือถึงสำนักงานเขตการศึกษาพื้นที่เขต ๑ นราธิวาส กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากได้รับการร้องเรียนว่ามีการค้างชำระจ่ายเงินค่าตอบแทน ครูวิทยากรรวม ๓ เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ๒๕๖๗ ซึ่งเป็นจำนวนไม่มาก วิทยากรแต่ละท่านได้ชั่วโมงละ ๒๐๐ บาทเอง แล้วบางครอบครัวก็คือประสบปัญหาน้ำท่วม เงินค่าตอบแทนก็ไม่ออกค้างชำระ ประสบปัญหาความเดือดร้อนนะครับ ก็อยากให้ทาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจ่ายที่ค้างชำระด้วยครับ
เรื่องที่ ๒ ผลสืบเนื่องมาจากปัญหาน้ำท่วมช่วงปลายปีที่ผ่านมาในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่นราธิวาสมีการลงทะเบียนเงินเยียวยาให้กับ ชาวเกษตรกรที่เป็นเจ้าของไร่สวน โดยเฉพาะสวนทุเรียนหรือสวนอื่น ๆ นะครับ ปรากฏว่า ตอนนี้หลายครัวเรือนที่ยังไม่ทันลงทะเบียน เนื่องจากไม่ทราบ ขาดการประชาสัมพันธ์ อยากให้มีการขยายระยะเวลาให้มีการลงทะเบียน แล้วก็ให้มีการผ่อนปรนในเรื่องของ การแสดงเอกสารสิทธิ เพราะว่าหลาย ๆ ครอบครัวมีการถือครองที่ดินโดยไม่มีเอกสารสิทธิ และได้รับผลเสียหายจากอุทกภัยน้ำท่วมที่ผ่านมาครับ
เรื่องที่ ๓ เป็นเรื่องที่ผมเคยนำมาหารือแล้วครั้งหนึ่ง แต่ว่ารอบนี้ขออีกครั้งครับ เนื่องจากว่าที่ดินที่ตั้งของมัสยิดบ้านซอแด๊ะ ตำบลโคกสะตอ อำเภอรือเสาะตั้งอยู่ ในนิคมสร้างตนเองศรีสาคร ซึ่งการจดทะเบียนมัสยิดต้องได้รับความยินยอมจากกระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบนิคมสร้างตนเอง ศรีสาครนะครับ ทางนิคมสร้างตนเองศรีสาครได้มีหนังสือถึงกระทรวงพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์แล้วนะครับ รอให้อธิบดีอนุมัติก็จะได้มีหนังสือยื่นขอจดทะเบียนแล้วก็ จะได้รับสิทธิต่าง ๆ ของมัสยิดและโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ด้วยครับ
เรื่องสุดท้าย ผมได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องที่ใช้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ กับสนามบินดอนเมือง ปัญหาความเดือดร้อนตอนนี้คือในห้องน้ำของสนามบินทั้ง ๒ แห่ง ไม่มีสายฉีดน้ำเลยนะครับ แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะแต่คนในประเทศเราที่ใช้บริการที่ไม่ได้รับ ความสะดวก คนต่างชาติที่เดินทางมา ผมก็ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องมาเลเซีย พี่น้อง อินโดนีเซีย ทำไมสนามบินบ้านเราไม่มีสายฉีดน้ำ อยากให้มีหนังสือถึงท่าอากาศยาน แห่งประเทศไทยและกระทรวงคมนาคมเร่งแก้ไข เรื่องใส่สายฉีดน้ำให้ทุกห้องน้ำในสนามบิน คงใช้งบประมาณไม่มากครับ ขอบคุณครับท่านประธาน