เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กทม. เขตคลองเตย วัฒนาครับ รบกวนขอ Slide ด้วยครับ
ก็จะพยายามไม่อภิปราย ให้ซ้ำประเด็นเยอะนะครับ เพราะว่าอภิปรายไปค่อนข้างหลากหลายในเรื่องของประเด็น ความเสียหายต่าง ๆ แล้วก็รูปแบบ อันนี้ก็อาจจะพูดถึงว่าการกำหนด KPI ของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพราะว่าปัจจุบันนี่ หน้าถัดไปเลยนะครับ เราอายัดมาได้แค่ ๑.๕ เปอร์เซ็นต์ จากมูลค่าความเสียหายเกือบ ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท แต่ว่าอายัดมาได้แค่หลัก ๔๐๐ กว่าล้านบาท ซึ่งอันนี้มันก็คือเหมือนกับไม่มีเงินคืนให้เขา เงินก็หายหมดนะครับ หน้าต่อไปเลยครับ อันนี้เราก็คงเคยเจอนะครับ เมื่อเช้าก็เพิ่งเจอ SMS ก็ยังส่งมา หรือไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ ผ่าน LINE หรือผ่าน Page ปลอมต่าง ๆ อันนี้ก็ตั้งคำถาม เพราะว่ายังไม่มีผู้อภิปรายเลยว่า ทำไมผมจ่ายค่ารายเดือนให้ Telecom Operator ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเดือนละ หลายร้อย หลายพันซึ่งทุกท่านก็จ่าย แต่ปรากฏเขาไม่คุ้มครองดูแลช่องทางที่จะเข้ามา ถึงผมเลย ปล่อยให้ SMS เหล่านี้เข้ามารบกวนผม ให้เป็นภาระของประชาชน ผู้ให้บริการ โทรคมนาคมมีเครื่องมือในการบล็อกเบอร์ ในการทราบว่าเป็น Voice over IP หรือเป็น ผ่านทาง Internet ช่องทางไหนมา แต่ก็ยังปล่อยให้เข้ามาอยู่เกือบทุกวัน ทำไมไม่เรียกร้อง ไปยัง Telecom Operator หรือผู้ให้บริการโทรคมนาคมให้ดูแลตรงนี้ให้รัดกุมมากขึ้นนะครับ Slide ต่อไปเลยครับ ก็อย่างที่ผมเรียนไปเงินหายอยากได้คืน อันนี้คือจุดประสงค์หลัก ที่เรามาอภิปรายกันวันนี้ ขบวนการมันก็มีอยู่แล้วคือเป็น Organize Crime คือมันเป็นรูปแบบ มันไม่ใช่ทำคนเดียว มันมีการจ้างลูกทีมโทรมาหลอก คือมันเป็นขบวนการครับ แต่ที่ผ่านมา เรายังไม่เคยจับใครได้แบบคาหนังคาเขาเป็นมูลค่าเยอะ ๆ เลย ไปไล่จับเอารายเล็กรายน้อย ควรจะต้องเชือดไก่ให้ลิงดู ต้องจับรายใหญ่ให้ได้สิครับ มันมีคน Organize อยู่ข้างหลัง ไปจ้างคนมา ไปหาบัญชีม้ามา ทำไมเรายังทำไม่ได้เลยครับ หลายปีผ่านมาแล้ว ยังไม่เห็นจับตัวใหญ่ ๆ ได้เลยนะครับ ก็ฝากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปด้วยนะครับ กับอีกอันหนึ่งก็คือต้องแก้ที่ต้นเหตุและปลายเหตุ ไม่ใช่แก้ระหว่างทางพอตอนเงินมันเข้าไป ที่บัญชีม้าแล้วมันเป็น Matter of Second คือมันไม่กี่วินาทีเขาโอนไปเป็นบัญชีที่ ๒ ๓ ๔ ๕ แล้วก็เป็น Crypto ท่านไปตามอย่างไรก็ไม่ทันแน่นอน โทรไปเขา Call Center ของแบงก์ กว่าจะคุยกว่าจะอายัดบัญชีผ่านไปครึ่งชั่วโมง แล้วก็ต้องไปแจ้งซ้ำไปแจ้งทาง สน. อีก ทำไมเราไม่ทำเป็น One Stop Service เป็น One single point of contact ที่เดียวจบ แจ้งทีเดียว ไม่ต้องไปเล่าเรื่องต่าง ๆ ซ้ำ บางทีผ่านไปแล้วเป็นวันหนึ่งยังอายัดไม่ได้เลยนะครับ อันนี้ก็คือว่าเราต้องพยายามทำให้ได้เร็ว แล้วก็ต้องไปที่ต้นทาง คือเวลาโจรเขาจะ Organize เขาต้องไปจ้างคนใช่ไหมครับ แล้วเงินมันจะกลับมามันต้องกลับมาที่เขา ก็ไป Track ดู เรื่องเส้นทางทางการเงินนะครับ สุดท้ายแล้วมันไม่มีใครเอาเงินไปอยู่ใน Crypto ตลอดเวลา หรอกครับ มันก็มีคนจ้างแล้วเงินมันก็วกกลับมา ทาง ปปง. ก็ไปสอบเส้นทางการเงินได้นะครับ Slide ต่อไปเลยครับ คือต่างประเทศเขาก็ทำกันมาแล้ว เราไม่ต้องคิดใหม่ทำใหม่ อย่างอังกฤษนี่เขาทำระบบให้ผู้ให้บริการทางการเงินกลุ่มธนาคารต้องร่วมรับผิดด้วย ผมไปฝากเงินกับบัญชีธนาคารก็อยากจะได้ความปลอดภัย เสียค่าธรรมเนียม เสียดอกเบี้ย อย่างนั้นผมก็เอาเงินไปฝังตุ่มไว้ที่บ้านไม่ดีกว่าหรือครับ ปลอดภัยกว่าตั้งเยอะ ทำไมธนาคาร ไม่มาร่วมรับผิดชอบเลยครับ โยนเป็นภาระให้กับหน่วยงานภาครัฐ โยนมาให้ประชาชน คือซวย แล้วเงินก็หายไม่มีประโยชน์อะไร คือมันต้องมีระบบที่สถาบันการเงินร่วมมารับผิดด้วย ในฐานะปล่อยให้มีบัญชีม้า ไม่ตรวจสอบการเปิดบัญชีให้ดี พอออกมาตรการแบบนี้มาเสริม รับรองแก้ได้เร็วแน่นอน เพราะว่าทางธนาคารเองก็ไม่อยากจะเสียหาย แต่ตอนนี้มันเหมือนกับประชาสัมพันธ์ ๆ ธนาคารไม่ต้องมาร่วมรับผิดอะไรเลยทั้ง ๆ ที่เขาเป็นคนคัดกรองคนที่มาเปิดบัญชี เช่นเดียวกันผมพูดไปแล้วผู้ให้บริการ Telecom Operator เขาก็ต้อง Screen เหมือนกัน กว่าจะเปิด SIM ได้มันไม่ควรจะต้องง่าย ปัจจุบันนี้ก็เปิดเป็นร้อย ๆ ล้านเบอร์ ประชากร ในเมืองไทยมี ๖๐ ล้านคนเองทำไมปล่อยให้เปิดเยอะขนาดนั้น เมื่อสักครู่ก็มีผู้อภิปรายว่า คนคนหนึ่งสามารถเปิด SIM ได้ตั้งไม่รู้กี่ SIM เป็นทั้งระบบ Voice ระบบ Data อันนี้ก็ต้อง มีมาตรการเพิ่มเติมให้กับทั้งสถาบันการเงินแล้วก็ผู้ให้บริการโทรคมนาคมร่วมรับผิดด้วยนะครับ ต่อไปครับ ๓ ป. ที่ดี ประชาสัมพันธ์ อันนี้ก็พูดกันมาเยอะแล้วให้ความรู้กับประชาชนว่า รูปแบบมันเป็นอย่างไรได้บ้าง เพราะว่าถ้ามาเทียบกันแล้วนี่คือโอนเงินประเทศไทย Mobile Banking ทำได้ง่ายจริง แต่ระบบความปลอดภัยนี่น้อยมาก ถ้าเทียบดู Ranking ในต่างประเทศเราจะเห็นว่าเราก็ไม่ได้อยู่ลำดับที่เท่าไรในเรื่องของการป้องกันอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี มันต้องไปป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุ เปิดต้องเปิดยาก เปิดทั้งบัญชีธนาคาร ไม่ใช่คนหนึ่งจะมีไม่รู้กี่บัญชี มีกี่ SIM เดี๋ยวก็จะมีข้อเสนอแนะในหน้าถัดไปนะครับ เรื่องการปราบปรามก็เหมือนกันคือมันต้องเอาผิดให้ได้ เอาเงินคืนมาให้ได้ ตั้งเป็น KPI เลย สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่แค่ ๑ กว่าเปอร์เซ็นต์ที่เอาเงินมาคืนหรืออายัดได้นะครับ หน้าต่อไปเลยครับ คือเทคโนโลยีมันก็มี เดี๋ยวนี้มันก็ก้าวหน้าใช้ระบบ Biometric เวลาจะโอนเงิน อันนี้เข้าใจละมันยุ่งว่าเราจะต้องมา Face ID มี Fingerprint ใช้ระบบ PIN OTP คือก็ต้องทำให้ยากกว่าเงินจะออกไปจากกระเป๋าเราได้ Voice over IP คือมันต้อง ลงทะเบียนระบบที่เป็นพวกขายประกันหรือส่ง SMS ทีเป็นขนาดเยอะ ๆ มันต้องใช้เครื่องมือ ในการทำ มันไม่ใช่คนเดียวทำได้นะครับ ทาง Operator ก็ต้องจับผู้ให้บริการรายใหญ่ ๆ ที่ส่ง SMS มาลงทะเบียนให้หมด คือจะอ้างว่าไม่มี SIM แต่เป็น Voice over IP ก็ลงทะเบียน ได้เหมือนกัน จำกัดจำนวนบัญชี ๑ เครื่อง ๑ คน ๑ บัญชีก็พอแล้ว จะมีไปทำไม Mobile Banking กี่เครื่อง จำกัดวงเงินอันนี้ปกติก็สามารถตั้งเองได้เหมือนกัน แต่ว่าในเชิงปฏิบัติแล้ว ก็อยากจะให้ทางธนาคาร เพราะว่าคงไม่น่าจะเยอะที่จะโอนเงินเป็นแสนเป็นล้านต่อวัน หลาย ๆ ครั้ง ถูกไหมครับ ก็ควรจะจำกัดเลยว่าถ้าเผื่อจะโอนเกินจำนวนเท่านี้ วันหนึ่งได้แค่กี่ครั้งก็จะเป็นการลดความเสียหายไปนอกเหนือจากการประชาสัมพันธ์ด้วย แล้วก็ให้รางวัลนำจับเลย ใครจับมาให้ได้สักคนหนึ่งให้คนที่มันต้องคุ้มเพราะรับเปิดบัญชีม้า ๑,๐๐๐ กว่าบาท แต่เพื่อรางวัลนำจับได้เยอะ ๆ ก็อาจจะมีคนออกมาแฉ ก็ขอฝากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องไว้ประมาณนี้นะครับ ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตคลองเตย เขตวัฒนา รบกวนขอ Slide ด้วยครับ
ก็จะเป็นเพิ่มเติมในเชิงของ ข้อเสนอแนะว่าข้อกังวลจากข้อตกลง Common Reporting Standard มีจุดไหนที่อาจจะ เป็นช่องโหว่ คือก็มีการบังคับใช้มาในหลายประเทศแล้วนะครับ เมื่อ ๒-๓ ปีที่ผ่านมา ก็มีหลายสถาบันองค์กรเขาก็ศึกษากันไว้นะครับว่าข้อปรับปรุงหรือข้อกังวลมีอะไรบ้าง
ประเด็นที่ ๑ ก็คือในเรื่องของบทลงโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามนะครับ เดี๋ยวจะมีในหน้าถัดไปว่ามันน้อยเกินไป ไม่ได้สัดส่วน ซึ่งอาจจะทำให้สถาบันการเงิน ไม่ปฏิบัติตามนะครับ
ประเด็นที่ ๒ ในเรื่องของการจัดการ ก็คือเรื่องของแบบฟอร์ม คือมันก็มี การบังคับนะครับว่าใน Common Reporting Standard ต้องมีการจัดเก็บฟอร์มแบบ S M L แล้วก็มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน แต่ในเรื่องของรูปแบบนี่อาจจะต้องมีการลงรายละเอียด มากขึ้น แล้วก็ระบบการรายงานยังไม่ชัดเจนว่าจะจัดเก็บข้อมูลไว้นานขนาดไหนนะครับ ขอหน้าต่อไปเลยครับ ถัดไปเลยครับ ในเรื่องบทลงโทษตาม MCAA Common Reporting Standard ของเราปรับ ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่ประเทศอื่นที่เขาบังคับใช้มาก่อนหน้าเรา ๓.๕ ล้านบาทนะครับ และจากการศึกษาพบว่าสถาบันการเงินเขาต้อง Compliance กับกฎนี้ต้องใช้บุคลากร ต้องทำงานเอกสารเยอะมาก อาจจะมีค่าใช้จ่ายรวม ๆ กันแล้ว หลายร้อยล้านบาทนะครับ แล้วเขาจะมาทำตามหรือเปล่าบทปรับมันไม่ได้สัดส่วนกันเลย อันนี้ก็เป็นข้อกังวลว่ามันได้คุ้มเสียหรือเปล่าสถาบันการเงินเขาจะมาทำตามหรือเปล่า อันนี้ก็อาจจะไปขยายความในเชิงของระเบียบข้อบังคับเพิ่มนะครับ หน้าต่อไปเลยครับ ในเรื่องแบบฟอร์มของกรมสรรพากรเราก็มี e-Filing อยู่แล้วในระบบจัดเก็บนะครับ แต่ว่าของสถาบันการเงินที่เขาจัดเก็บจากลูกค้าเขาที่เป็น Self-certification form ที่เจ้าของบัญชีต้องเซ็นมันไปด้วยกันหรือเปล่า มันสามารถ Link ไปใช้กับของทางราชการ หรือเปล่า อันนี้ก็เป็นอีกคำถามหนึ่งในเชิงของการปฏิบัติ หน้าถัดไปเลยครับ ข้อกังวลอื่น ๆ ก็จะมีในเรื่องของช่องว่างในการรายงานนะครับ มันรายงานเฉพาะเจ้าของบัญชีโดยตรง ซึ่งหลายครั้งเราทราบว่ามันมี Nominee มันมีการถือหุ้น หรือมี Beneficial owner หลายชั้น คือมี Shell Company แล้วมาถือแทน อันนี้มันรายงานไปไม่ถึงนะครับ ช่องว่างจากกติกาใน หลายประเทศที่บริษัทมหาชนไปจดอยู่ มีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเราเขาก็อาจจะหนีไปประเทศนั้น ที่อัตราภาษีที่เขาไปลงทุนในรูปแบบบริษัทมหาชนมีอัตราภาษีต่ำกว่านะครับ แล้วก็ ยังมีอีกหลายประเทศที่ยังไม่ได้อยู่ในข้อตกลง ร่วมกับข้อตกลง Common Reporting Standard ตรงนี้นะครับ ซึ่งอันนี้ก็ต้องไปสืบดูในเรื่องของการย้ายถิ่นที่อยู่ จำนวนวัน ต่าง ๆ นะครับ
สุดท้ายนะครับ ก็จะเป็นในเรื่องของการเปิดเผยผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด ให้เป็นข้อมูลสาธารณะ อันนี้ก็ยังสามารถถกเถียงกันได้นะครับว่าหลายครั้งก็มีการอภิปรายกัน ก่อนหน้านี้เรื่องของการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ คือคนที่ต้องรายงาน Subject ว่าต้องรายงาน ทรัพย์สิน คือมันก็มีการร้องเรียนในระบบ Whistleblower ว่าถ้ามีการตรวจสอบ มีการร้องเรียนนี่เราควรจะต้องสาวไปถึงคนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดหรือไม่ เพื่อ Break through พวก Shell Company หรือ Nominee ต่าง ๆ นะครับ แล้วก็รายงานสัดส่วน ในการถือครองบริษัทต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ก็ฝากไว้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลองไป ศึกษาเพิ่มเติมดูนะครับ ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กทม. เขตคลองเตย เขตวัฒนา ก็จะเป็นในเรื่อง การรับทราบรายงานของทาง กกต. ก็ผ่านไปทาง สตง. ขอ Slide แรกเลยครับ
ประเด็นแรก ก็จะเป็นในเรื่อง ของเงินนอกงบประมาณ เข้าใจว่าอยู่ในรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ในรายงานประจำปีจะมี การระบุเงินนอกงบประมาณ ๑,๘๑๕ ล้านบาท ก็เป็นคำถามผ่านทาง สตง. กลับไปทาง กกต. ว่ามันมีได้อย่างไร เพราะพันธกิจหลักของ กกต. ก็คือการจัดการเลือกตั้งให้โปร่งใส ยุติธรรม กกต. เป็นหน่วยงานรับงบประมาณ จริง ๆ ควรจะทำ Budgeting หรือทำเงินให้อยู่ ในงบประมาณให้ได้ทั้งหมดเลย ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน อ่านรายงานประจำปีกับตัวรายงาน ทางการเงินแล้ว คือในรายงานบัญชีมีเงินรับงบประมาณมา ๑,๗๐๐ กว่าล้านบาท แต่มี เงินนอกงบประมาณอีก ๑,๘๐๐ ล้านบาท อันนี้ก็คือตรวจสอบไม่ได้ว่าเอาเงินตรงนี้มาแล้วใช้ ทำอะไร ในงบดุลก็จะมีเรื่องของการถือครองที่ดินและอาคาร ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาท อันนี้ ก็เป็นคำถามเหมือนกันว่าหน่วยงานอย่าง กกต. มีที่ดินหรืออาคาร ผมเข้าใจว่าส่วนใหญ่ ต้องไปเช่าหรืออยู่กับหน่วยงานราชการอื่น ก็ไม่แน่ใจครับ เมื่อสักครู่นี้มีการพูดถึงเรื่อง การสร้างตึกเหมือนกันนะครับ ก็ไม่แน่ใจว่ามันเกี่ยวข้องกับพันธกิจหลักของ กกต. อย่างไร อันนี้ก็เป็นการตั้งคำถามว่ามันควรจะมีสินทรัพย์มูลค่าเป็น ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาทอยู่ในงบดุล ด้วยหรือเปล่า มีงบขาดทุนสะสมต่อเนื่อง พูดภาษาชาวบ้านง่าย ๆ คือรายจ่ายมากกว่ารายได้ เนื่องจากเป็นหน่วยรับงบประมาณก็ต้องมีการประเมินว่าตัวเองจะใช้จ่ายปีหนึ่งเท่าไร จริง ๆ ไม่ควรขาดทุนนะครับ ควรจะรู้ว่าปีนี้ ๆ มีการจัดการเลือกตั้งเท่านี้ ๆ จะต้องใช้เงินเท่าไร ไม่ควรจะต้องมีการทำ Budgeting หรือการประเมินที่ผิดพลาด
อีกประเด็นหนึ่งที่ฝากไว้นะครับ ผมไปดูงบเงินฝากกับสถาบันการเงิน รวมถึง เงินลงทุนอื่น ๆ ทั้งระยะสั้น ระยะยาว ๑,๙๐๐ ล้านบาท เป็นคำถามว่าทำไม กกต. ต้องมีเงิน ติดเก๊ะหรือเอาเงินไปทำอะไร ๑,๙๐๐ ล้านบาท มัน Plan ได้นี่ครับ จะมีจัดการเลือกตั้ง มีเลือกตั้งซ่อมเท่าไร อย่างไร ต้องมีบุคลากรในการส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยอะไร อย่างไร ทำไมต้องใช้เงินถึง ๑,๙๐๐ ล้านบาท แล้วแถม ๑,๙๐๐ ล้านบาทเอาไปฝาก ดอกเบี้ยนะครับ รายได้จากดอกเบี้ย ๑๐ กว่าล้านบาท ผมว่าคืนคลังไปดีกว่าไหมครับ แล้วให้เขาไปบริหาร จะเก็บเงินไว้ทำไมตั้งเกือบ ๒,๐๐๐ ล้านบาท แล้วรายได้ออกมาก็ ๑๐ กว่าล้านบาท ผลตอบแทนระดับแย่มาก ๑-๒ เปอร์เซ็นต์ ถือว่าบริหารเงินที่ติดเก๊ะอยู่ ผิดพลาดนะครับ
อีกประเด็นหนึ่งนะครับ ภาระผูกพันจากการถูกฟ้อง และเป็นผู้ฟ้องเอง ถูกฟ้อง ๒๐๐ กว่าล้านบาท เป็นผู้ฟ้องเอง ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท ก็ตั้งคำถามเหมือนกันว่า มันก็เป็นอะไรที่ทำให้ Balance Sheet หรือว่างบดุลมันงอกออกไปโดยไม่จำเป็น แล้วมี ผู้ฟ้องเป็นสิบ ๆ รายเลย เป็นกรรมการการเลือกตั้งไม่ใช่หรือครับ แล้วเที่ยวไปทะเลาะกับชาวบ้าน ไปสร้าง Liability มีคนฟ้อง คนถูกฟ้อง เข้าใจแล้วบางทีเป็นเรื่องกฎหมายมันต้องไปฟ้อง แต่ก็โดนฟ้องกลับ เหมือนกัน อันนี้ก็ฝากทาง สตง. ไป Comment ทาง กกต. นิดหนึ่งอย่าไปเที่ยวทะเลาะ กับคนอื่นเขา มันไม่ Work ครับ ยอดคงเหลือที่ไม่ได้เบิกจ่ายเมื่อสักครู่นี้มีพูดไปแล้วบางส่วน แสดงว่าอะไร ประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายงบประมาณ หมายความว่าอย่างไรเมื่อสักครู่นี้ ท่านบอกต้องเร่งรัดเบิกจ่ายให้หมด ก็คือต้องเอาเงินออกไปใช้ทั้ง ๆ ที่ตัวเองวางงบประมาณ ไว้ไม่เป๊ะ เบิกไปเบิกไม่หมด ก็นี่คือตั้งคำถามกลับไปในเรื่องของประสิทธิภาพการวางงบประมาณ แล้วเบิกจ่ายไม่หมด เข้าใจแล้วมีเรื่องโควิดเข้ามาแทรกนะครับ
หน้าถัดไปครับ ในงบดุลบอกมีเจ้าหนี้ระยะสั้น ผมก็ไปดูในหมายเหตุบอกเป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๒๐๐ กว่าล้านบาท ก็ไม่รู้ไปค้างจ่ายใคร กกต. นี่ก็ขยันมาก ทำ Application Smart Vote ตาสับปะรด Civic Education THAIVOTE ทำ Website ทำอะไร เยอะมาก แต่หลายท่านกดเข้าไปดู Invalid HTTP 404 ไม่เจออะไรเลย กดเข้าไปมีแต่ PDF เอาพวกกระดาษมา Scan ใส่ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันไปจ้างใครมาทำตั้งเยอะแยะ ข้อมูลก็ข้อมูล เดียวกัน เสียสตางค์ไป ๒๐๐ กว่าล้านบาท แล้วยังค้างไม่ยอมจ่ายเขาอีก ก็ไม่แน่ใจ Credit Term หรือเปล่า ก็ฝากไปตรวจดูแล้วกันว่า ๒๐๐ ล้านบาท ไปจ้าง Software อะไรวิลิศมาหราขนาดนั้น ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ประมวลผลออกมากว่าจะรู้ผลก็ตั้ง ๒ เดือนช้ามาก วิเคราะห์อะไรก็ไม่มีเลย ใช้เงินทำอะไร๒๐๐ กว่าล้านบาท
อีกอันหนึ่งนะครับ ผมก็เข้าไปดูพนักงานประเภทวิชาการ เข้าใจเป็นคำศัพท์ มันเป็น Pillar เป็นหมวด มันก็มีพนักงานระดับปฏิบัติการ มีอะไรอย่างนี้ ๑,๕๕๓ คน เพิ่งรู้ กกต. จ้างคนมาวิเคราะห์ มาทำวิจัยอะไรกันตั้ง ๑,๕๐๐ กว่าคนทั่วประเทศ มีผลงานอะไร วิเคราะห์อะไรกันครับ อยากจะรู้เหมือนกัน อยากจะอ่าน แทนที่คุณจะไปทำเรื่องคุณภาพ การอบรม กปน. หรือกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง พวกเรารู้ดีที่สุดเพราะเราเป็น สส. ไปดู Procedure Layout เวลาจัดวางขานคะแนนเละตุ้มเป๊ะได้หมดเลย ไม่มีคุณภาพเลย การเอาเงินไปใช้แทนที่จะเอาไปใช้ให้มันตรงจุด เพราะตัวเองมีหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้มัน โปร่งใส ยุติธรรม แต่กลับเอาไปทำอะไรครับ ไปดูงาน ผมไปดูงาน OK ก็มี เขาก็อยากไป เที่ยวกัน ไปนอร์เวย์บ้าง สวิตเซอร์แลนด์บ้าง ไปโอซาก้า ก็ OK อ้างว่าเป็นประเทศที่เจริญแล้ว แต่อันหนึ่งตกใจไปจอร์แดน ไม่รู้ไปทำไม จะไปดู World Heritage ไปดู Petra หรืออย่างไร จอร์แดนเขามีระบบการเลือกตั้งที่มันก้าวหน้าขนาดนั้นเลยครับ งงมากเลยไปจอร์แดน ไปทำไม
สุดท้ายนะครับ ความจริงมีอีกเยอะ คู่มือประชาชนพลเมืองคุณภาพ ๒๐๐,๐๐๐ กว่าเล่ม เป็น Booklet เล่มเล็ก ๆ เล่มหนึ่งก็คงไม่แพง ๓ บาท ๕ บาท ก็พิมพ์ ออกไปเยอะมาก ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันเอาไปแจกใคร หมดสตางค์ไปตั้งเยอะ โค่นต้นไม้ ไปกี่ต้น ไปทำรายงานพวกนี้ มันได้ประโยชน์อะไรครับ พลเมืองมันมีคุณภาพมากขึ้น หรือเปล่าครับ จากรายงานพวกนี้ที่พนักงานประเภทวิชาการ ๑,๕๐๐ คนมานั่งเขียน ผลิตอะไรพวกนี้ออกมา
KPI ของ กกต. มันคือการให้คนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งเยอะ ๆ แต่ปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๕ มีเลือกตั้ง อบต. เทศบาลนคร ปรากฏก็มีตัวเลขแปลก ๆ ออกมา อย่างเทศบาลนคร ๒๙.๕ เปอร์เซ็นต์ แต่แปลก อบต. ได้ตั้ง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ นี่จะมาอ้างอะไร อ้างว่าถ้าเผื่อ เลือกตั้งท้องถิ่นมันไกลตัวคนไม่ไปเลือก เดี๋ยวคนจะมาเลือก มันเป็นหน้าที่ตัวเองจะต้องดูแล ต้องทำ บริหารจัดการการเลือกตั้ง ประชาสัมพันธ์อะไรให้มีคุณภาพ
หน้าสุดท้าย ก็คงต้องขอตำหนิผ่านไปในเรื่องของประสิทธิภาพการใช้ งบประมาณ มีข้อร้องเรียนเยอะมาก แต่วันนี้ไม่อยากพูดเยอะ เพราะต้องการจะอยู่กับตัวเลข ทั้งการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรที่มีปัญหาเยอะมาก ลงทะเบียนไปแล้วก็ปรากฏเลือกไม่ได้ วันสุดท้าย หรือ Mailing ไป ไปรษณีย์วันสองวัน ที่อังกฤษก็มีข้อร้องเรียนเข้ามา เลือกตั้ง ล่วงหน้านอกเขตไปดูสิครับ กล่อง เงื่อนไขในการปฏิบัติการ บางทีตัวเองก็เซ็นผิดบ้าง ผมไปเลือกล่วงหน้า ผมยังต้องดูเลยว่าบัตรถูกต้องไหม กล่องถูกต้องไหม ทำไมไม่เอา งบประมาณไปจัดการเลือกตั้งให้มันมีประสิทธิภาพ ก็ฝากไว้แค่นี้ครับ ผ่านไปทาง สตง. ว่า KPI ของ กกต. ผมว่าล้มเหลวครับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตวัฒนา คลองเตย ขอ Slide ด้วยนะครับ
ก็จะเป็นการรับทราบรายงาน ประจำปี ซึ่งเดี๋ยวคงมีผู้อภิปราย ปี ๒๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ นี้มันก็ผ่านมาเนิ่นนานแล้ว แต่ผมคงขอข้าม ประเด็นนี้ไป ก็ขอถือวิสาสะเอาปี ๒๕๖๔ มาพูดเลยนะครับ ว่าปัจจุบันท่านก็บริหารทรัพย์สินอยู่ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ในหน้าถัดไป ซึ่งรวมรายได้แล้วท่านก็หาประโยชน์จากการไป ลงทุนต่าง ๆ รายได้อยู่ที่ ๑๕๐ ล้านบาท ก็คิดประมาณ ๑ กว่าเปอร์เซ็นต์ ผมว่าต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยนะครับ เอาไปฝากแบงก์ เอาไปฝากกองทุนต่าง ๆ หรือเอาเงินมาให้ผมบริหาร ผมบริหารได้ดีกว่านี้ ๑๕๐ ล้านบาทนะครับ ลำพังตัวท่านเองท่านมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่อดีต ผ่านมามากกว่ารายได้ รายจ่ายท่านตอนนี้ก็ ๑๖๐ ล้านบาท ขาดทุนนะครับ ลำพังตัวท่านเอง ท่านก็ยังเลี้ยงตัวท่านเองไม่ได้เลยนะครับ ขาดทุนครับ
หน้าต่อไปครับ Net Asset Value คือมูลค่าสินทรัพย์ ณ ปัจจุบัน เข้าใจว่า มันก็ผ่านมาแล้วเกือบ ๑๐ ปี ตอนนี้ก็ ๑๒,๐๐๐ ล้านบาทที่เป็นมูลค่าของกองทุนท่านนะครับ NAV ก็ตกอยู่ ๑๑ บาท คือมันไม่ค่อยขึ้นมาเยอะ ท่านไม่ได้สามารถสั่งสมความมั่งคั่งขึ้นมาได้เลย ทั้ง ๆ ที่ท่านได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ จากเงินสมทบจากรัฐ ๑๐ บาทตั้งต้น ตอนนี้เป็น ๑๑ บาทกว่า คำนวณแบบง่าย ๆ แล้วกัน ปัญหาคือตอนนี้ KPI ท่านต้องการให้คนเข้ามาอยู่ในการออมมากขึ้นซึ่งก็ดี พันธกิจของท่าน ก็คืออยากจะส่งเสริมการออมใช่ไหมครับ แต่ปัจจุบันดูสิครับ ท่านมีลูกค้าทั้งหมด เริ่มเข้าสู่ Plateau แล้ว คือมันค่อนข้างอิ่มตัวแล้วครับ จากเดิมท่านไปเกณฑ์คนมา ๓๐๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ คนผ่านกลไกต่าง ๆ กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน สหกรณ์ท่านก็ไปพยายาม ต้อนคนเข้ามา แต่การสั่งสมการออมมันไม่ขยับเลยนะครับ ดูนี่มันเฉลี่ย ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท หารด้วย ๒ ล้านกว่าคน เขาก็มีเงินติดบัญชีหรือกองทุนอยู่ประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ บาท ผมดู แล้วยอดมันก็นิ่งมาตลอด คือใส่เงินเข้ามาแล้วก็เท่าเดิมตลอด เทียบกันกับผู้ที่ถือบัญชีอยู่ ทั่วทั้งประเทศไทย คือประเทศไทยเรามี ๗๐ ล้านคน ติ๊งต่างนะครับ มีเงินฝากทั้งหมด อยู่ในระบบ ๑๐ กว่าล้านล้านบาท ซึ่งเฉลี่ยออกมาแล้วบัญชีหนึ่งจะมีเงินอยู่ในนั้นประมาณ ๔๐,๐๐๐ กว่าบาท ของท่านมี ๔๐๐ กว่าบาท ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเยอะมากเลยนะครับ ก็ไม่รู้ออมอย่างไร แล้วคิดเป็นสัดส่วนเข้าถึงประชากรอยู่แค่ ๓ เปอร์เซ็นต์เองครับ ผ่านมา ๑๐ ปีแล้วท่านส่งเสริมการออมให้มาเปิดเงินกับท่านได้แค่ ๓.๕ เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือ มันไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย กองทุนของท่านนี่ต้องการที่จะ Target แรงงานอิสระใช่ไหมครับ ผู้ประกอบการ หรือคนที่เขาไม่ได้อยู่ใน Payroll หรือเข้าข่ายอยู่ในประกันสังคมที่รับเงินเดือน แต่ปรากฏว่าท่านไปเอาเกษตรกรมาครับ เกษตรกรเขาเป็นหนี้เยอะอยู่แล้วนะครับ เขาจะมาออม ไหวหรือครับ ถ้าเผื่อรัฐสนับสนุนเงินควรจะไปช่วยเรื่องหนี้ของเกษตรกรมากกว่าครับ เขามาออมไม่ไหวหรอกครับ ๔๐๐-๕๐๐ บาท เรื่องอายุสมาชิกก็อีกประเด็นหนึ่ง มันไม่สอดคล้องกับโครงสร้างประชากร เด็ก ๑๘-๓๐ ปีเข้ามาใหม่น้อยนะครับ ส่วนคนอายุ ที่มากขึ้นไป มากกว่า ๖๐ ปีก็น้อยมาก ความจริงเขายังออมได้อยู่นะครับ ท่านจะทำอย่างไร กับเรื่องจำนวนสมาชิกที่จะให้มันเพิ่มขึ้น แล้วก็ยอดออมรวมถึงผลประกอบการ ก็ฝากไว้ด้วย แล้วกันนะครับ ในเรื่องของการบริหารจัดการ ซึ่งผมคิดว่าเอาเงินภาษีมาอุดหนุน เดี๋ยวคงมี ท่านอื่นอภิปรายนะครับ เรื่องเบี้ยประชุม เรื่องคนที่เข้ามาเป็นกรรมการ ผมว่ามันซ้ำซ้อนครับ เมื่อสักครู่ผมไปสมัครกับธนาคารกรุงไทย ผมว่าเขาอธิบายได้ดีกว่า Website ของท่านอีกครับ ทำไมเรามีกลไกภาครัฐอยู่แล้ว ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน พวกนี้ไม่ให้เขาทำล่ะครับ จะมาจัดตั้งกองทุนตรงนี้ใหม่ขึ้นมาทำไม เสียเงินเสียทอง ขาดทุน ผลตอบแทนก็ต่ำเตี้ย มากนะครับ แล้วก็ไม่ได้ส่งเสริมการออม มีคนในข่าววิพากษ์ถึงว่าปิดไปเลยดีกว่าไหมครับ กองทุนนี้ ฝากไปด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตคลองเตย เขตวัฒนา รบกวน ขอ Slide ด้วยครับ
ก่อนอื่นก็ขอชื่นชมและสนับสนุน การทำงานของสภาองค์กรผู้บริโภคนะครับ ที่ช่วยกันดูแลสิทธิของผู้บริโภค รับเรื่องร้องเรียน ต่าง ๆ ภารกิจค่อนข้างเยอะนะครับ ครอบคลุมหลายด้านอย่างที่สมาชิกหลายท่าน ได้อภิปรายก็จะมีภารกิจในเรื่องของการรับเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ สำรวจ วิเคราะห์ข้อร้องเรียน ต่าง ๆ แล้วก็ประสานความร่วมมือไปยังกับหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะ นโยบาย ก็มีข้อเป็นห่วงนิดหนึ่งครับ เพราะว่างบประมาณแต่ละปีที่ใช้ก็หลัก ๑๐๐ ล้านบาท ตอนนี้เงินก็ลดลงจากปี ๒๕๖๔ ๓๐๐ กว่าล้านบาท เหลือ ๑๐๐ กว่าล้านบาท อันนี้ก็เข้าใจ ว่าเป็นหน่วยงานรับงบประมาณนะครับ แต่ก็เรื่องความต่อเนื่องของการทำงาน ก็อยากจะให้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลในเรื่องของการงบประมาณ รับงบประมาณให้สามารถ Complete หรือทำภารกิจได้
ยกตัวอย่างเรื่องแรก เรื่องบริการสาธารณสุข ปัจจุบันก็มีปัญหาค่อนข้างเยอะ เรื่อง UCEP อุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน หลายครั้งไม่ฟรีจริงนะครับ ไปโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชนต้องวางเงินมัดจำ ไม่มีเงินก็คือต้องไปที่อื่น แล้วก็มีการตีความว่าเข้าเกณฑ์ สีเหลืองไหม ฉุกเฉินหรือเปล่า คือต้องใกล้ตายหรืออย่างไร ใช่ไหมครับ ถึงจะได้รับ การให้บริการ ไม่อย่างนั้นก็ไม่เข้าเกณฑ์ก็ต้องไปโรงพยาบาลอื่นที่ตัวเองมีสิทธิอยู่ ซึ่งอันนี้ สภาองค์กรผู้บริโภคก็น่าจะรับมาหลาย Case ก็ต้องเป็นการกำชับกับทางสถานพยาบาล ให้ทำตามกฎ กติกาที่วางเอาไว้ ไม่ควรมีสิทธิที่จะปฏิเสธผู้ที่เจ็บป่วยฉุกเฉินนะครับ
อีกเรื่องหนึ่ง ก็พูดกันไปเยอะเรื่อง SMS หลอกลวง ให้เงินกู้ต่าง ๆ การดูแล นักลงทุนรายย่อย อย่างเช่นในกรณีของ STARK หรือบัญชีม้าต่าง ๆ ที่ขายของแล้วก็โอนเงิน ไปแล้วไม่ได้รับสินค้า อันนี้ก็จะเป็นในเรื่องของการเงินและการธนาคารที่สภาองค์กร ของผู้บริโภคก็จะดูแลค่อนข้างเยอะนะครับ
อีกประเด็นหนึ่ง ก็เป็นเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ซึ่งท่านเพื่อน สมาชิกได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้ว่ายังมีการที่ไม่สามารถแก้ไขข้อร้องเรียนได้เยอะเพียงพอ ซึ่งก็ได้ไปร่วมงานกับทางสภาองค์กรผู้บริโภคหลายงานในเรื่องของผังเมืองของ กทม. แล้วก็ EIA ซึ่งมีข้อร้องเรียนค่อนข้างเยอะ มีการไม่ถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อยู่อาศัยโดยรอบ โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ขนาดตึกสูงซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่ทางสภาองค์กรของผู้บริโภค ก็ดูแลช่วยประสานไปยังหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ แล้วก็มีการจัดเวทีเสวนาต่าง ๆ ซึ่งเป็น เรื่องที่ดี
อีกเรื่องหนึ่งก็จะเป็นเรื่องของทางม้าลาย เราในฐานะผู้เสียภาษีก็ควรจะได้รับ ทางม้าลายที่ปลอดภัย เรื่องสัญญาณจราจรต่าง ๆ การติดกล้อง CCTV การใช้สีเสา ป้ายสัญญาณต่าง ๆ อันนี้ก็เป็นภารกิจหนึ่งที่สภาองค์กรของผู้บริโภคก็เห็นอยู่ในรายงาน ก็ขอชื่นชมนะครับ
เรื่องสุดท้ายที่เป็นตัวอย่างที่นำเสนอก็คือเรื่องของบรรจุภัณฑ์ว่าปัจจุบัน มีสินค้าอุปโภคบริโภคค่อนข้างเยอะที่มีส่วนผสมของกัญชา ซึ่งหลายท่านบริโภคเข้าไป เกิด Side Effect มีอาการข้างเคียงค่อนข้างเยอะ ทางสภาองค์กรของผู้บริโภคก็ระบุไว้ ในรายงานว่าจะมีการกวดขันดูแลร้านอาหารต่าง ๆ รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ที่มี ส่วนผสมของกัญชา ซึ่งก็ต้องระบุให้ค่อนข้างชัดนะครับ ไม่อย่างนั้นผู้บริโภคดื่มหรือกินเข้าไป จะแพ้หรือมีอาการข้างเคียงได้
โดยสรุปก็ขอชื่นชมนะครับ สภาองค์กรของผู้บริโภคที่ดูแลผู้บริโภค ในหลายมิติ ไม่ว่าจะเรื่องสาธารณสุข การเงิน ธนาคาร สินค้าอุปโภคบริโภค แล้วก็เรื่อง ความปลอดภัยในการสัญจร ก็ฝากในเรื่องของความต่อเนื่องของงบประมาณด้วยเพื่อจะทำ ภารกิจให้ครอบคลุมนะครับ ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตวัฒนา เขตคลองเตย รบกวน ขอ Slide ด้วยครับ ก็คงใช้เวลาไม่นานนะครับ
โดยหลักแล้วตัวเลขรวม ๆ ถือว่า ดีนะครับ ในเชิงของ Balance Sheet แล้วก็ Income Statement แต่จะมีคำถามหลัก คำถามหนึ่งในเรื่องของอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ซึ่งก็อยู่ใน Executive Summary หรืออยู่ในตัวบทสรุปผู้บริหารแรก ๆ เข้าใจว่าพันธกิจของท่านก็เป็นการส่งเสริมการนำเข้า ส่งออก เพราะฉะนั้นก็อาจจะไม่ได้คาดหวังที่จะมี Return on Assets ได้ดีขนาดนั้น แต่จริง ๆ ๐.๙ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเผื่อเอาสินทรัพย์ของท่านมาจากของรัฐทั้งหมดเลย เพราะท่าน ก็ใช้เงินจากงบประมาณจากภาษีประชาชน ๑๗๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ท่านมีสินทรัพย์ และท่านผลิตกำไรได้ ๑,๕๐๐ กว่าล้านบาท คิดเป็นแค่ ๐.๙ เปอร์เซ็นต์ ก็อาจจะคิดว่า ต่ำกว่ามาตรฐานนิดหนึ่ง แต่เข้าใจได้นะครับ พันธกิจท่านก็คือส่งเสริมในเรื่องของการนำเข้า และส่งออก ในหน้าถัดไปก็จะมีพูดถึงเรื่อง BCG Bio Circular Green แล้วก็ในเรื่องของ การส่งเสริมให้กับกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ สนับสนุนเงินกู้ร่วม พวกนี้ก็เป็นอะไรที่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศอยู่แล้ว แต่จริง ๆ ก็มีคำถามหนึ่งในเรื่องของ ยอดคงค้างวงเงินสินเชื่อ ๕๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ซึ่งอยู่ในหมวดธุรกิจสาธารณูปโภค เป็นอันดับหนึ่ง อันนี้ก็อาจจะถามนิดหนึ่งว่าท่านไปส่งเสริมส่งออกเงินทุนหรือทำอะไร ๕๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการทำเรื่องสาธารณูปโภค ขนาดนั้นเลยหรือครับ หรือว่าเงินนี้มันไปที่ไหน
หน้าถัดไปก็จะเป็นคำถามนะครับ ยกตัวอย่างเช่นท่านไปสนับสนุน ๑๕๐ ล้านบาทในการซื้อที่ดินพัฒนานิคมอุตสาหกรรมใน สปป. ลาวหรือเปล่า อันนี้ มันสนับสนุนผู้ประกอบการไทยหรือเปล่าในการจะส่งออกทุน หรือเราไปลงทุนในโครงการ ขนาดใหญ่ในลาวหรือในประเทศเพื่อนบ้าน มันตรงกับวัตถุประสงค์ ภารกิจของธนาคารท่าน หรือไม่ หรืออีกหลายโครงการไปสนับสนุนบริษัทขนาดใหญ่ในเขตพัฒนาภาคตะวันออก เข้าใจว่าคงเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เขาลงทุนเพื่อจะนำเข้าแล้วก็ส่งออก แล้วก็เป็น การส่งเสริมผู้ประกอบการด้วยเพราะเขาอยู่ในธุรกิจ Import Export แต่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า กลับไปที่พันธกิจของท่าน ที่ท่านพูดว่าท่านพยายามจะส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ หรือเปล่า ถ้าเผื่อในโอกาสหน้าท่านได้ทำตัว Annual Report อยากจะแนะนำให้ใส่ตัว Portfolio ของลูกค้าท่านว่ามันมีเล็ก กลาง ใหญ่อย่างไร เราตอบโจทย์สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยในการส่งออกและนำเข้ามากน้อยแค่ไหน ก็คงฝากไว้ประมาณนี้ ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตคลองเตย เขตวัฒนา รบกวนฝ่ายโสตขอ Slide ด้วยนะครับ
ก็ขออนุญาตเรียนผ่าน ท่านประธานไปยัง SME Bank ในเรื่องของการรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุลบัญชี กำไรขาดทุน ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เราเรียกกันว่า SME
ประเด็นแรก ก็คงเป็นเรื่องของผลการดำเนินงาน เงินให้สินเชื่อวงเงินที่มี ในรายงานปรากฏอยู่ ๑๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ก็มีการเบิกใช้จริงออกไปประมาณแค่ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ อันนี้ก็อาจจะด้วย Product ของผลิตภัณฑ์ทางการเงินของ SME ก็มีทั้ง OD ทั้ง Factoring ก็อาจจะมีการเบิกออกมาไม่หมด แต่อีกข้อสังเกตหนึ่งก็คือจำนวนลูกค้าที่อยู่ ในรายงานประจำปีของท่าน ๘๐,๐๐๐ ราย มีการเบิกใช้วงเงินออกไปจริง ๆ ประมาณแค่ ๑๖ เปอร์เซ็นต์ อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามว่าประสิทธิภาพในการที่จะปล่อยสินเชื่อออกไป จริง ๆ ในจำนวนเม็ดเงิน ดูในเรื่องของวงเงินด้วย แล้วก็จำนวนด้วย มันไปด้วยกันหรือเปล่า หารออกมาต่อรายความจริงแค่ ๕ ล้านกว่าบาท ถ้าเผื่อรายหนึ่ง ๖๘,๐๐๐ ล้านบาท หาร ๑๒,๐๐๐ กว่าราย จะตกอยู่ประมาณ ๕ ล้านบาท นี่คือค่าเฉลี่ย Port ของท่าน หน้าต่อไปเลยครับ ก็เป็นเรื่องของคำจำกัดความว่าตามคำจำกัดความของ สสว. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ก็จะมีเรื่องของรายได้ แล้วก็เรื่องของการจ้างงาน ว่าถ้าเผื่อเป็น ภาคบริการหรือภาคการผลิตก็จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างเล็กน้อย ขนาดย่อม ขนาดกลาง ก็อาจจะไปได้จนถึงรายได้ถึง ๕๐๐ ล้านบาท ในจำนวนการจ้างงานไม่เกินหลัก ๑๐๐ คน อันนี้ก็เป็นเกณฑ์ทั่วไปซึ่งก็จะอยู่ในรายงานของท่านเหมือนกัน แต่จริง ๆ พอพลิกไปดูหน้า ต่อไปนี้ก็จะเจอปัญหา ผมก็พยายามจะสุ่มดูว่าลักษณะ Portfolio ลูกค้าของท่านเป็นอย่างไร ก็เจอบริษัทหนึ่งชื่อ บริษัท สีเดลต้า จำกัด (มหาชน) ก็เป็นบริษัทที่หลายท่านคงรู้จัก เป็นบริษัทที่เป็น Brand แล้วก็อยู่มานาน ก็เดาได้ว่ามีรายได้ค่อนข้างสูง เป็นบริษัทมหาชนด้วย จริง ๆ รายได้เขาปีหนึ่งก็เป็นหลักหลายร้อยล้าน ก็เข้าใจว่าน่าจะเกินเกณฑ์ด้วย ก็ไม่แน่ใจ เหมือนกันว่าท่านปล่อยลักษณะบริษัทแบบนี้ได้อย่างไร ไปร่วมลงทุนเขาด้วยนะครับ ความจริง เขาไม่ได้ลำบาก เพราะเขาสามารถเข้าถึงธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ ได้อยู่แล้ว อันนี้ตอบโจทย์ พันธกิจท่านหรือเปล่าไปร่วมลงทุนกับบริษัทค่อนข้างใหญ่รายได้ ๕๐๐-๖๐๐ ล้านต่อปี เขาคงไม่ได้ลำบากอะไรในการจะเข้าถึงทุนอยู่แล้วนะครับ Slide ต่อไปเลยครับ จริง ๆ แล้ว Port ของท่านควรจะไปทางไหน อันนี้ก็เป็นลักษณะของผู้ประกอบการ SMEs โดยทั่วไป ในประเทศไทยก็จะเป็นภาคบริการเยอะ แล้ว Port ของท่านก็ไปทางภาคบริการค่อนข้างเยอะ แต่ในเชิงของกลยุทธ์แล้วเราควรจะให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมไหน Sector ไหน ที่มี ศักยภาพ แล้วเราต้องการจะไปส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันนะครับ ไม่อย่างนั้น ก็จะเป็นภาคบริการไปหมด
อีกประเด็นหนึ่ง ที่ขอตั้งคำถามก็คือ SME ที่ร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการ มีหลายบริษัทไม่ส่งงบ ล้มละลาย พิทักษ์ทรัพย์ ตั้งแต่ปีไหนแล้วด้วย ผ่านมากี่ปี ท่านจะทำ อย่างไรกับบริษัทเหล่านี้ ท่านไปร่วมลงทุนด้วยนะครับ ไม่ใช่แค่ปล่อยเงินกู้ มูลค่าก็คง สะท้อนมาในหน้าถัดมาคือ NPL เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพซึ่งเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น จากปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๕ เพิ่มขึ้นประมาณ ๕๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งผมดูไตรมาสล่าสุดก็ไม่ได้ ลดลง แล้วท่านก็เขียนไว้ใน Comment จะอยู่ในหน้าถัดไป ว่าก็มีความเสี่ยงหลังจากผ่าน วิกฤติโควิดอะไรกันมา ก็มีความเสี่ยงที่จะขึ้นไปได้ถึงหลายหมื่นล้าน มันมีตั้งสำรองเผื่อสงสัย จะสูญอะไรอีกเยอะแยะเลย ก็เป็น Concern หรือเป็นข้อที่เราเป็นห่วงเรื่องหนี้
หน้าสุดท้ายโดยสรุป ก็อยากจะสรุปว่า KPI ของท่านจากผู้ประกอบการ SMEs ทั้งหมด ๓ ล้านกว่ารายในประเทศ ถ้าเผื่อเราดูจากวิจัยของธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน SMEs ที่เข้าถึงเงินทุนจากสถาบันการเงินอยู่ประมาณ ๓๐-๔๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ ทุกรายที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินได้นะครับ โดยเฉพาะรายที่เป็น เล็กลงมา แต่ท่านมีลูกค้าที่ปล่อยสินเชื่อจริง ๆ ๑๐,๐๐๐ กว่าราย อันนี้ตีออกมาก็แค่ ๐.๔ เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเลย ก็ถือว่าไม่ได้เยอะเลยที่จะ Funnel ลงมาจากข้างบน ๓ ล้านกว่าราย ๓๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ สามารถเข้าถึงบริการธนาคารพาณิชย์ได้ เข้าถึงแหล่งเงินทุนสามัญได้ แต่มีเพียงแค่ ๐.๔ เปอร์เซ็นต์ที่ท่านสามารถไปเอาโอกาสตรงนี้ หรือไปส่งเสริมเขาได้ อันนี้ก็อาจจะต้องขยายเพิ่ม หนี้เป็นปัญหาใหญ่ จริง ๆ ก็มีทับซ้อนกันอีก คือหนี้นอกระบบของภาคครัวเรือน ซึ่งก็มี SMEs แฝงอยู่เหมือนกันเกือบแสนล้าน ปัญหาหนี้ เป็นปัญหาใหญ่ซึ่งมันยัง Under serve อยู่ ความหมายคือมันยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเท่าที่ควร เขาถึงต้องออกไปอยู่ที่หนี้นอกระบบ ซึ่งก็มี SMEs ระดับ Nano หรือ Micro ที่อาจจะแฝง อยู่ด้วย ก็ฝากประเด็นนี้ไปในเรื่องของดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของท่านนะครับ ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผมภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตวัฒนา เขตคลองเตย กทม. ขออนุญาตปรึกษาหารือ ผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนะครับ ก็ขอ Slide ด้วยนะครับ
ประเด็นแรกนะครับ คือเป็นเรื่องของต่างด้าวขายกัญชาบนทางเท้าแล้วก็พื้นผิวจราจรใน Food Truck ส่งผลกระทบให้ผู้สัญจรเดือดร้อน ผู้อยู่อาศัยในบริเวณซอยสุขุมวิท ๑๑ ๑๓ ๑๕ ย่านอโศก นานา ก็ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบ สน. ลุมพินี กรมแพทย์แผนไทย ตม. ไม่ใช่ทุกคนได้กลิ่นกัญชาแล้วจะหอม มันเดือดร้อนนะครับ เดี๋ยวนี้มาขายกันข้างถนนเหมือนก๋วยเตี๋ยวข้างถนนเลย ขอให้หน่วยงานตรวจสอบด้วยนะครับ
ประเด็นต่อมายังอยู่ใน Zone อโศก นานา แท็กซี่ป้ายดำกีดขวางการจราจร รับนักท่องเที่ยวนะครับ เผลอ ๆ บางทีไปแล้วก่อให้เกิดความเดือดร้อนด้วย ก็มีข่าวมากมาย ขอให้กรมการขนส่งทางบกแล้วก็ สน. ลุมพินีไปตรวจสอบด้วยนะครับ รวมถึงเรื่องส่วย เส้นสุขุมวิทใกล้บ้านท่านนายกเศรษฐาไม่กี่ร้อยเมตร จอดกันเต็มถนนเลย แล้วบางทีเป็น ป้ายขาวด้วย ไม่มีทะเบียนสาธารณะ ก็ขอเรียกร้องให้กองบังคับการตำรวจจราจรกลาง ในฐานะเป็นใต้บังคับบัญชาของท่านนายกก็ไปตรวจสอบด้วยแล้วกันว่ามีการรับส่วย ด้วยหรือเปล่า
ต่อมานะครับ ปัญหาอุบัติเหตุบนเส้นถนนอาจณรงค์ พื้นผิวจราจร ๒๐ กว่าปีแล้วไม่ได้รับการดูแลเลย ถ้าเผื่อท่านนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างบนถนนเส้นนี้ ก็ลอยตลอด มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เสียชีวิตตลอดเวลาทุกวันนะครับ ขอให้สำนักการโยธา เข้าใจว่าตอนนี้อยู่ในระหว่างของบอยู่ของสภา กทม. ในปี ๒๕๖๗ ก็ขอให้เร่งรัดดำเนินการ ไม่ใช่ปะปรุนะครับ ขอให้ทำใหม่ทั้งเส้นตั้งแต่ถนนเลียบริมทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ จนถึงกรมศุลกากร แล้วก็ตลาดคลองเตยเลยนะครับ
หน้าต่อไปปัญหาน้ำท่วมขัง ขาดการลอกท่อ ดูแลสาธารณูปโภครอบชุมชน หลังตลาดคลองเตยซึ่งอยู่บนพื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก็ฝากไว้นะครับ เก็บค่าเช่าเขา แต่ไม่เคยดูแลพื้นที่สาธารณูปโภค ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อแล้วก็น้ำขัง บางทีไม่ใช่หน้าฝนด้วย ขังเป็นหลาย ๆ เดือน เน่าเหม็น ตากเสื้อผ้ายังเหม็นเลย ฝากไปดูแลด้วยเรื่องการลอกท่อ ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
สี่แยกคลองเตยติดมากนะครับ เรียกร้องไปทาง สน. ลุมพินี สน. ท่าเรือ สน. ทองหล่อ กีดขวางการจราจรตลอดเวลาบนผิวจราจร ฝากไปดูแล กวดขันด้วยนะครับ
สุดท้าย เรื่องกลิ่นของเสียบนทางเท้า มีการโหลดไก่ที่บริเวณรอบตลาดคลองเตย โดยเฉพาะตั้งแต่ ๒ ทุ่มจนถึงตีสาม ตีสี่ เป็นเรื่องเป็นราวเลยไก่สด ฝากเทศกิจเขตคลองเตย ดูแลเรื่องความสะอาด บังคับใช้เรื่อง พ.ร.บ. ความสะอาดได้นะครับ ก็ฝากท่านประธานไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานสภาครับ ผม ภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เขตคลองเตย เขตวัฒนา วันนี้ก็ขอ อภิปรายประกอบสนับสนุนญัตติเรื่องการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน ขอ Slide ได้เลยนะครับ
ในเชิงเศรษฐกิจแล้ว เราหลีกเลี่ยงที่จะพูดไม่ได้เลยนะครับว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มันคู่กับสถานบันเทิง สถานประกอบการกลางคืน ในปี ๒๕๖๔ ถ้าไปดูสถิติการบริโภคเฉลี่ยต่อเดือนต่อคน สำหรับคนที่ดื่มคือ ๖๐ ล้านคนในประเทศไทยมีคนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ ๑๖ ล้านคน โดยเฉลี่ยแล้วใช้จ่ายต่อเดือนในการบริโภคประมาณ ๑,๖๐๐-๑,๗๐๐ บาท คูณออกมาตรง ๆ ก็ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท อันนี้ยังไม่รวมนักท่องเที่ยวที่บริโภค น่าจะอีกหลายแสนล้านนะครับ รวมถึงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกเวลาเราไปสถานบันเทิง สถานประกอบการกลางคืนเราก็รับประทานด้วย เราก็มีการใช้บริการอื่น ๆ ประกอบด้วย เพราะฉะนั้นมูลค่าตลาดสูงมากนะครับปฏิเสธไม่ได้ แต่กฎหมายที่เรามีนะครับ ในหน้าถัดไป เมื่อสักครู่เพื่อนสมาชิกที่เสนอญัตติก็ได้พูดไปบางส่วนแล้ว มันเก่ามาก มันโบราณมาก ผมอ่านครั้งแรกผมยัง เอ๊ะ มันมีคำว่ารองเง็ง มันแปลว่าอะไรเอ่ย มันมีคำว่าน้ำชา มันมีคำว่า ปรนนิบัติลูกค้า มันเก่ามากครับ อ่านมาเด็กสมัยใหม่คงไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร แต่โดยสาระ ผมสรุปสั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลา หรือจะเต้น ไม่เต้นได้ในสถานบันเทิงสถานบริการคือ ๑. มันต้องมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๒. มันมีดนตรี ๓. มันมีคนบริการ มันไม่ใช่ตู้อัตโนมัติ ที่เราจะไปกดแล้วเอาเบียร์ออกมาดื่มได้นะครับ สถานบริการมักจะมีองค์ประกอบอย่างน้อย ๑ หรือ ๒ อัน ใน ๓ อันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอาบ อบ นวด อาจจะไม่มีเพลง แต่แน่นอน มันต้องมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มันมีคนให้บริการเราถึงเรียกมันว่าสถานบริการ ซึ่ง มาตรา ๓ (๓) คือ อาบ อบ นวด ก็อยู่ในกฎหมายฉบับนี้เหมือนกัน อันนี้ข้อที่ ๑ เลยเรา ต้องปรับเรื่องคำนิยามใหม่นะครับ เพราะมันเก่ามากแล้ว ๒๕๐๙ ถ้าเผื่อผ่านมานี้ก็ ๕๗ ปี ก็เกือบเกษียณแล้วนะครับกฎหมายฉบับนี้ แต่โลกมันไปถึงไหนแล้วนะครับ เพื่อนสมาชิก หลายคนก็คงได้รับเรื่องร้องเรียนมากมายที่ส่งผลกระทบต่อการอยู่อาศัยของพี่น้องประชาชน ไม่ว่าเรื่องเสียงดัง เรื่องโศกนาฏกรรม อย่างในเขตผมเองซาติก้าตั้งหลายปีมาแล้ว เรื่อคลัสเตอร์ทองหล่อ มันออกแบบมาไม่เหมาะกับสภาพการใช้งานเลย มันเข้าไปอัดกันอยู่ ในนั้น แล้วก็มีการดัดแปลงอาคาร มีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องนะครับ จราจรครับ รถติดมาก นี่ยังไม่พูดถึงคนเมาขับออกมาอีก ส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยโดยรอบเหมือนกัน มีการละเมิดสิทธินะครับ มีการละเมิดสิทธิผู้ใช้แรงงาน ผู้ให้บริการในนั้น ความจริงหลายคน ก็ทำงานแบบ Part time ไม่ได้มีสัญญาจ้างที่ถูกต้อง มีต่างด้าวด้วย มีการใช้ยาเสพติดกัน ด้วยข้างใน แล้วก็มีเรื่องของการละเมิดสิทธิแรงงานที่ให้บริการอยู่ข้างใน อันนี้ก็จะเป็นอีก มุมมองหนึ่งในเชิงของผลกระทบ เพราะฉะนั้นมันมีปัญหาที่ต้องแก้ไขนะครับ เรามี เป้าประสงค์ที่เราอยากจะให้ได้ผลลัพธ์ออกมาจากการปรับปรุงกฎหมายพวกนี้คือ ๑. ในมุมมองผู้ประกอบการเราต้องการจะดูแลควบคุมต้นทุนในการประกอบธุรกิจให้ชัดเจน เพราะฉะนั้นคำนวณไม่ออกว่า มัน Feasibility Study นี่มันคุ้มหรือเปล่าที่จะลงทุน เพราะเรายังไม่รู้มันมี Hidden Cost หรือมีต้นทุนที่มันแอบแฝงเยอะขนาดไหน เดี๋ยวหน้า ต่อไปจะมีพูดถึงเรื่องการขออนุญาต ต้องมีใบอนุญาตกี่ประเภทนะครับ เรามองไม่ออกเลยว่า จะขออนุญาตเปิดผับที จะเปิดร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยนี่มันต้องเสีย ค่าใช้จ่ายเท่าไร ๒. ต้องแก้ไขระบบป้องกันอัคคีภัย เวลาเกิดเหตุร้ายขึ้นมาทางเข้า ทางออก ทางหนีไฟเป็นอย่างไรบ้าง ระบบระบายอากาศเป็นอย่างไรบ้าง ความปลอดภัย สุขอนามัยมันได้ไหม มลภาวะทางเสียง มี Outdoor ด้วยบางทีเสียงดัง ออกมา คอนโดมิเนียม บ้านที่อยู่อาศัยโดยรอบร้องเรียนหนักมากนะครับ แล้วตอนนี้ ก็มีกัญชา มีอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวด้วยนะครบ แล้วก็เราอยากจะให้มีการคุ้มครองสวัสดิการ ให้กับลูกจ้าง พนักงานที่เป็นธรรม อันนี้คือปัญหาที่เราอยากจะแก้ไข
ในเรื่องใบอนุญาตนะครับ ถ้าผมอยากจะเปิดสถานบันเทิง สถานบริการ กลางคืนขึ้นมาสักอันหนึ่งนี่ มีอะไรบ้าง ๑. ต้องไปขอฝ่ายปกครองกี่หมื่นบาท ซึ่งมันก็ต้องไป กับเรื่องผังเมืองด้วยนะครับ ๒. ควบคุมอาคาร อันนี้ตลกมากครับ สร้าง ๒๐๐ บาท ดัดแปลง ๑๐๐ บาท รื้อถอน ๕๐ บาท มันอะไร ทำไมมันถูกขนาดนี้ มิน่ามันถึงต้องมีการจ่ายอะไร ที่มันมากกว่านั้นเพราะอันนี้มันค่าธรรมเนียมมันถูกมาก ตลกมากครับอ่านดู สร้าง ดัดแปลง ๑๐๐-๒๐๐ บาท กรมสรรพสามิตเรื่องจำหน่ายแอลกอฮอล์ ๒,๒๐๐ บาท อันนี้ง่าย อันนี้ขอจ่ายสตางค์แล้วได้เลย ส่วนใหญ่ก็จะมีการขอค่อนข้างถูกต้อง ใบอนุญาตประกอบ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันนี้ก็หลักหมื่นเหมือนกันขึ้นอยู่กับประเภทและขนาด จริง ๆ มันต้องมีอีกทะเบียนการค้าเวลาจะเปิดร้านรวมถึงถ้าเกิดจดเป็นนิติบุคคล ก็ต้องมีเป็น หจก. บริษัทก็ต้องไปทำบัญชีอีก เพราะฉะนั้นต้นทุนในการทำธุรกิจนี่ มันเป็นหมื่นเป็นแสนเลยนะครับ
อีกปัญหาหนึ่ง คือเวลาเปิดปิดเดี๋ยวคงมีเพื่อนสมาชิกอภิปรายขยายความว่า ปัจจุบันมันไม่ตรงกับความเป็นจริง บอกว่าปิดเที่ยงคืนแต่จริง ๆ แล้วก็ตีบิลปิดเที่ยงคืน แต่ไปถึงตีสอง ตีสี่ก็ยังมีอยู่เสิร์ฟบอกสั่งมาก่อน Stock ไว้ก่อน แล้วมันก็ Late มาก บางทีถึงเช้าก็มีตามขนาด คือปัจจุบันการจ่ายค่าธรรมเนียมมันยังไม่ได้คำนึงถึงเรื่องพวกนี้ เท่าไร คือสูญเสียโอกาสในการจัดเก็บรายได้ ความจริงยิ่งเปิด Late ในต่างประเทศ คือต้องคิดแพงยิ่งมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเยอะ คุณต้องกันเสียงเยอะ คุณต้องควบคุม ความเสี่ยงเยอะ ค่าบริการหรือว่าค่าขอใบอนุญาตต้องผันแปรไปตามเวลาเปิดปิด เพราะมัน เสี่ยงต่อการที่จะถูกร้องเรียน เสี่ยงต่อการมีมลภาวะทางเสียงและทำให้ผู้อยู่อาศัยโดยรอบ ได้รับผลกระทบ มันก็ควรจะต้องมีการตั้งค่าธรรมเนียมอิงตามเวลาให้บริการ อิงตามขนาด ยิ่งใหญ่พื้นที่ตารางเมตรเยอะ จุคนได้เยอะก็ยิ่งต้องเสียแพงใช่ไหมครับ เปิดร้านเล็ก ๆ ผลกระทบน้อยอาจจะเสียถูกกว่า ประเภทเหมือนกัน ถ้าประเภทเพลงดังมาก แล้วมันเป็นกิจจะลักษณะ มีการเต้น มีการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญให้กับที่อยู่อาศัย โดยรอบ อันนี้อาจจะต้องพิจารณาว่าต้องเข้มงวดมาก ค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมก็ต้องแพง ไปตามนั้นนะครับ
อีกอันหนึ่งอันนี้ยกตัวอย่างเขตผมเลยนะครับ อโศก นานา เอกมัย ทองหล่อ ก็มีข้อมูลดูที่สำนักวิชาการย่านทองหล่อนี่ดูตาม Map เวลาคนเข้าไปเที่ยวพรึบเลยเป็นร้อย ปรากฏไปดูว่าคนที่ขออนุญาตถูกต้องในเขตคลองเตย เขตวัฒนา ของฝ่ายปกครอง มีกี่ราย ปรากฏไนท์คลับ บาร์ สถานเต้นรำ เขตคลองเตยมี ๔ ที่ เขตวัฒนามี ๒ ที่ อาบ อบ นวด มี ๑ ผับ คาราโอเกะ เธค มี ๕ กับ ๒๑ โอ้โฮ ท่านลองเดินก็ได้ครับ ทุก ๑๐๐-๒๐๐ เมตร มีเต็มไปหมดเลย แสดงว่ามันไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
ด้านสุดท้ายต้องปรับเลยอันนี้ก็จะเป็นการเข้าไปศึกษากันในชั้น คณะกรรมาธิการว่าต่างประเทศเขาทำกันอย่างไร เราต้องเปลี่ยนใหม่แล้วนะครับ การเก็บ ค่าบริการเพื่อจะลดพวกเรื่องส่วย การเรียกรับผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่รัฐนะครับ ผันแปร ไปตามเวลา ยิ่งเปิด Late เปิดดึกยิ่งต้องแพง ถูกไหมครับ ยิ่งมีกิจกรรมที่เสี่ยงต่อมลภาวะ ทางเสียง หรืออาจจะส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยโดยรอบก็ยิ่งต้องแพง ถูกไหมครับ ยิ่งคนเยอะ ประเภทที่มันมีตารางเมตรเยอะ ๆ ใหญ่ ๆ เป็น Complex เป็นอะไรพวกนี้ยิ่ง ต้องแพง แต่ OK ถ้าคุณเปิดคาราโอเกะริมทางอาจจะถูกหน่อยเพราะตามยอดขายผันแปรไป ก็ขออภิปรายสนับสนุนสรุปประมาณนี้นะครับ เพื่อให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อ ศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กทม. เขตวัฒนา เขตคลองเตย ขออภิปราย ประกอบญัตติเรื่องการขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลตลาดทุนของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อันสืบเนื่องมาจากกรณี บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แต่ตอนนี้ก็น่าจะเป็น เข้าคณะกรรมาธิการสามัญการเงิน การคลัง ก็อาจจะได้นอกเหนือจากที่จะส่งไปทาง ครม. ขอ Slide ด้วยครับ
ปัจจุบันมูลค่าความเสียหาย เพื่อนสมาชิกก็อภิปรายไปหลายท่านคาดว่าเกือบ ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท จริง ๆ มีความเสียหายเบื้องต้นก็คือผู้ถือหุ้น ๑,๐๐๐ กว่าราย ผู้ถือหุ้นกู้ ๔,๐๐๐ กว่าราย ทั้งหมด ๖,๐๐๐ กว่าราย ความเสียหายเฉพาะตรง ๆ เลย ความเสียหายเฉพาะในส่วนของหุ้น ๑๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท หุ้นสามัญ ๔,๐๐๐ กว่าล้านบาท หุ้นกู้เกือบ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เมื่อหลายเดือนที่แล้วก็มีประชาชน นักลงทุนรายย่อยมายื่นหนังสือร้องเรียนนะครับ ก็เป็นเงินที่เขาเก็บมาทั้งชีวิต แล้วอยู่ดี ๆ ก็หายไปโดยที่ไม่มีการชดใช้ จุดเริ่มต้น คงไม่เสียเวลามาก เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปแล้วนะครับ คือใช้คำว่า Backdoor มันก็ดู แปลก ๆ แล้วนะครับ ความจริงประตูหน้าก็มีให้เข้าแต่ทำไมไปเข้าประตูหลังก็แปลกดีเหมือนกัน แล้วก็เป็นบริษัท ทำหนังสือการ์ตูน แล้วก็ไปซื้อบริษัทที่ทำสายไฟ แล้วก็มาแปลงสภาพกลายเป็นบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แล้วก็ทำอะไรแปลก ๆ ความจริงมันควรจะต้องรู้ ตั้งแต่ต้นแล้วบอกเพิ่มทุนไปจะไปซื้อบริษัท LEONI Kabel GmbH บริษัทสายไฟของสัญชาติ เยอรมนีก็ไม่ได้ซื้อยกเลิก Deal คณะกรรมการลาออก ขาดส่งงบ คือมันต้องมีกระบวนการ ในการที่จะระงับให้ได้ทันท่วงที นี่ผ่านมากี่เดือนแล้วเรายื่นญัตตินี้ไปตั้งแต่เปิดสภาครั้งแรก ผมจำได้ผมทำ Slide นี้ตั้งแต่ ๓ เดือนอันนี้ปล่อยมาเกือบปีแล้วยังไม่ทำอะไรเลย คนผิด ก็ลอยนวลไปต่างประเทศแล้ว มันมีเงื่อนงำตั้งแต่แรกแล้วครับว่าความผิดปกติมันเกิดขึ้น ยอดขายผิดปกติ ๒๐๙ กว่าธุรกรรม ๘,๐๐๐ กว่าล้านบาท ยอดขายสินค้าคงเหลือก็ผิดปกติ คือมันเป็นยอดขายปลอมไม่ได้มีการซื้อขายกันจริงเวียนไปเวียนมา กระเป๋าซ้าย กระเป๋าขวา แล้วก็ยอมไปเสียภาษี อายุลูกหนี้ก็ไม่สอดคล้องบางทีมันก็วิเคราะห์ได้ถ้าเผื่อว่ามีการทำ Inner Control ให้ดี ตรวจสอบตั้งแต่ต้น มีการจ่ายเงินค่าสินค้าล่วงหน้าผิดปกติ ๘,๐๐๐ กว่าล้านบาท ก็คือ Siphon เงินออกไปตามที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไป มันมี Indicator ตัวชี้วัดที่บอกว่ามันผิดปกติตั้งแต่แรก ก่อน Special Audit ก็สร้างยอดขายปลอม ขึ้นมา ทำยอดขึ้นมา ก็คือปั่นหุ้นขึ้นมาทำให้ตัวเองดูมีกำไร ดูมีรายได้หลายพันล้าน แล้วก็ ระดมทุนเพิ่ม ขายหุ้นกู้ไปกู้แบงก์ แล้วพอ Special Audit ปี ๒๕๖๔ ติดลบ ๒๕๖๕ ยิ่งติดลบหนักขึ้นกว่าเดิม ต้องรู้ล่วงหน้านี่ ๒ ปีนะครับไม่ใช่เรื่องมันเพิ่งเกิด มีการตระเตรียม กันมาอย่างเป็นขบวนการ จริง ๆ เกณฑ์ในการจะเพิกถอนออกตลาดหลักทรัพย์ผมว่า มันอ่อนไป ปัจจุบันเขาพูดว่าบริษัทต้องหยุดประกอบกิจการทั้งหมด คือไม่แสดงความเห็น ต่อการงบการเงินต่อเนื่องเป็นเวลา ๓ ปี แล้วก็คือติดลบงบการเงิน มีส่วนของผู้ถือหุ้น น้อยกว่า ๐ นี่ต้องรอให้มันเละขนาดนี้หรือครับถึงจะเพิกถอนออกจากตลาด คือมันก็ช้าไป แล้วครับบริษัทก็เหลือแต่ซาก นักลงทุนก็ไม่เหลืออะไรนะครับ แล้วก็อ้างว่าการลงทุน มีความเสี่ยง คือตลาดหลักทรัพย์ต้องรับผิดชอบมากกว่านี้ ต้องแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทำให้รัดกุมกว่านี้ไม่ใช่ปล่อยให้มันล่วงเลยมาขนาดนี้ ด่วนมากนะความจริง ก็คือข้อสรุป สั้น ๆ ข้อเสนอแนวทางในการแก้ไข คือต้องเพิ่มคุณสมบัติกรรมการตรวจสอบ ที่บอกเป็น กรรมการอิสระส่วนใหญ่ก็คือเป็นการตอบแทนบุญคุณกัน ไปเอาผู้พิพากษา ไปเอา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มา แล้วก็มาตั้งเป็นคนของตัวเอง ไม่ได้รู้เรื่องในเกณฑ์วิชาชีพอะไรเลย ประสบการณ์ทำงานการเงินโดยตรงก็ไม่มี ไปดูได้รายชื่อที่รีบลาออกกันไปในวันสุดท้าย เป็นใครกันบ้างผมคงไม่ต้องไปพาดพิง ความเป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร กรรมการอิสระเอาไว้ตรวจสอบ ไม่ใช่เพื่อนของผู้บริหาร หรือเพื่อนผู้ถือหุ้นนะครับ อันนี้ มันต้องเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงให้ได้คดีอาญานะครับ อันนี้คือการ Inside Trading คือปั่นหุ้น ยักยอกเงินของผู้ลงทุนรายย่อยแล้วก็หนีไปต่างประเทศ ต้องแก้ไขให้มีการ ทานบัญชีหรือตรวจสอบบัญชีรายไตรมาสอย่างเข้มข้นในรายการยอดมูลค่าที่สูง ต้องเปลี่ยน เรื่องกฎ ระเบียบของ ๆ ก.ล.ต. ในการกำกับดูแลบริษัทที่อยู่ในตลาดทุน ไม่อย่างนั้น นักลงทุนรายย่อยก็คงสูญเสียความเชื่อมั่น อันนี้ไม่ต้องพูดถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น ต่อสถาบันการเงิน ซึ่งเงียบกันหมดนะครับ ไปขายหุ้นกู้ ไปขายหุ้นให้รายย่อย แต่ตอนนี้ คือไม่ได้ดูแลอะไรเลย ก็เรียนผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ ครม. หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญในอนาคตที่จะเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธาน ผม ภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กทม. เขตคลองเตย เขตวัฒนา ก็ขออภิปรายร่วมในเรื่องญัตติ ของขนส่ง เดี๋ยวรบกวนขอ Slide ด้วยครับ
เขตคลองเตยของผมก็เป็นปัญหา ค่อนข้างใหญ่เพราะเป็นที่ตั้งของท่าเรือกรุงเทพ มีรถบรรทุกขนาดใหญ่สิบล้อ Trailer เข้ามา ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศวิ่งมาที่ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งส่งผลกระทบไม่ใช่แค่ เรื่องจราจรหรืออุบัติเหตุอย่างเดียว เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องฝุ่น น้ำหนักบรรทุกที่เกิน วิ่งผิดเวลา ทุกอย่างมีส่วยหมดเลยนะครับ ปกติวิ่งได้เฉพาะช่วงเวลาที่ไม่ใช่เร่งด่วน ๖ โมง ถึง ๙ โมงเช้า ๑๐ โมงเช้าห้ามวิ่ง แล้วก็ ๕ โมงเย็นจนถึง ๒ ทุ่มก็ห้ามวิ่ง แต่ปรากฏว่าหน้าบ้านผมเอง เคยมีรถวิ่งเข้ามาชนตูมหน้าบ้านเสียงดังสนั่นหวั่นไหว ออกไปดู คำพูดแรกที่คนขับรถบรรทุก พูดว่าอย่างไรรู้ไหมครับ พูดว่าเขาเสียค่าปรับมาแล้ว เขาไม่ได้รู้สึกผิดเลยที่มาวิ่งผิดเวลา เขาบอกว่าเขาเสียค่าปรับมาแล้ว ไม่ใช่แค่รถบรรทุกอย่างเดียว จริง ๆ คำว่าขนส่งมันก็มี ขนส่งสาธารณะด้วย ก็เลยขอพ่วงประเด็นไปถึงแม้ว่าอาจจะไม่ใช่ประเด็นหลัก แท็กซี่ ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตป้ายดำจอดกันเต็มไปหมดเลย อันนี้ก็เป็นปัญหาเรื่องส่วยเหมือนกัน คือจอดแนวถนนสุขุมวิท จอดในที่ห้ามจอดชัดเจน อันนี้ยังไม่พูดถึงไม่ปลอดภัยต่อผู้โดยสาร ไม่กดมิเตอร์ ไม่รับ พาไปกระทำมิดีมิร้ายหลายอย่าง ส่งผลกระทบต่อเรื่องการท่องเที่ยวด้วย
ส่วยทางหลวง อันนี้ผมได้พูดไปแล้วนะครับ ตำรวจพูดทีก็หยุดไปทีหนึ่ง ไปตั้งด่านตรงสรรพาวุธ เขตบางนา เขตพระโขนง แต่ก็ไม่ช่วยนะครับ ร้องเรียนทีแก้ได้ แค่ทีเดียว พรุ่งนี้เอาใหม่แห่กันมาอีกแล้ว รถบรรทุกเข้าไม่ใช่เฉพาะเขตผมเขตเดียวนะครับ มันเข้ามาทุกเส้นหลักในกรุงเทพมหานครเลยที่จะวิ่งเข้ามาท่าเรือ ถนนสุขุมวิท ถนนพระรามที่ ๔ ถนนเส้นหลัก ๆ ที่เป็นแหล่งพาณิชยกรรม มีโรงเรียน มีการจราจรที่ติดขัดอยู่แล้วปล่อยให้วิ่ง เข้ามาได้อย่างไร เห็นก็ผิดอยู่แล้วนะครับ กีดขวางการจราจร อันนี้ไม่ใช่แค่รถบรรทุกอย่างเดียว บางทีจอดแช่เลยนะครับ จอดรอเวลา รวมถึงพวกแท็กซี่ก็เหมือนกัน จอดอย่างเป็นกิจจะลักษณะ โดยไม่ได้เกรงกลัวอะไรเลยทั้งที่รู้ว่าตัวเองทำผิดกฎหมายอยู่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเยอะมาก ถึงมีความจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว หรืออาจจะเป็น อนุกรรมาธิการภายใต้คณะกรรมาธิการการคมนาคม แต่ต้องมีการศึกษาเพราะเกี่ยวข้อง กับหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นกรมการขนส่งทางบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องร้องตลอด มีกี่ สน. ผมต้องทำหนังสือ ทั้ง LINE หา ทั้งโทรหา ปัญหารายวัน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นก็คือ กทม. ใน Case ของผม และจริง ๆ ถ้าเป็นปริมณฑลก็จะมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก ในกรณีนี้ไม่ใช่แค่ผู้สัญจรหรือผู้ที่อยู่อาศัยโดยรอบที่กระทบเท่านั้น จริง ๆ มีผู้ประกอบการรถบรรทุก ผู้ขับก็เป็นอีกคนหนึ่ง บางทีมันไม่ใช่รถของเขาเอง เขาไปเช่ามาขับต่างหากอีกทีหนึ่ง เขาก็รู้สึกไม่ปลอดภัยเหมือนกันที่มีกฎกติกาที่ไม่ชัดเจน กฎหมายที่เกี่ยวข้องนะครับ จราจรทางบก ทางหลวง รถยนต์ มันมีช่องว่างให้เกิดการรีดไถ เยอะมาก เพราะมันมีหลายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเยอะมาก ลงไประดับระเบียบเลยนะครับ ว่าด้วยการขนส่งทางบก ว่าด้วยการตรวจสภาพรถ อันนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ปัญหา สิ่งแวดล้อม ควันดำ อันตราย เบรกแตก ตรวจสภาพก็คือเข้าไปตรวจแบบขอไปที รู้ครับ ขับเข้าไปออกมาอย่างไรก็ผ่าน หลักเกณฑ์ขออนุญาตให้รถใช้แก้ไขดัดแปลงเพิ่มเติม บางที มันไม่ใช่ประเภทของเขาด้วยนะครับ ท่านทราบไหมครับ บางทีแต่ละประเภทมันมีส่วย คนละแบบกันด้วยนะครับ อันนี้ผมก็เพิ่งรู้หลังจากได้คุยกับคนขับรถบรรทุก ระเบียบ วิธีการ เงื่อนไขในการบันทึกคะแนนมันไม่มี คือจะยึดใบขับขี่หรือจะตัดแต้มเขาไม่กลัว คือเขาเสีย ค่าปรับไปแล้ว มันอยู่ในต้นทุนของเขาไปแล้วในการประกอบกิจการเดินรถ เขาไม่ได้เกรงกลัว ต่อเรื่องการตัดคะแนนหรือการยึดเลย คืออย่างที่บอกว่าเสียสตางค์ไปแล้ว เขาคิดว่าถูกแล้ว เขาไปได้หมดทุกที่นะครับ สถิตินะครับ อาจจะไม่ต้องลงรายละเอียดมาก แต่ดูตัวเลขใหญ่ ๆ ผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ ปี ๖๕๖๖ หลักแสนที่บาดเจ็บ สถิติจากตำรวจเสียชีวิต ๖๐๐ กว่าราย แล้วสังเกตดูมันจะมีกราฟต่าง ๆ ทุกอายุ หรือเป็นระดับช่วงเวลา ช่วงเวลาที่รถบรรทุกห้ามวิ่ง อย่างที่ผมบอกไป ๖ โมงเช้าถึง ๙ โมงเช้า แล้วก็ช่วงเย็นจนถึง ๓ ทุ่มเป็นช่วงเวลาที่มี อุบัติเหตุเยอะที่สุด เขาถึงไม่อยากให้รถบรรทุกเข้ามาวิ่ง เป็นเวลาที่มีนักเรียน มีการสัญจรเยอะ มีผู้อยู่อาศัยในชุมชนกลับบ้าน ออกจากบ้าน ควรจะต้องกวดขันดูแลไม่ให้มีการนำรถบรรทุก ขนาดใหญ่มาวิ่งในเวลาห้ามวิ่งนะครับ ถ้าเผื่อพูดถึงโดยรวมทั้งประเทศในหน้าถัดไปยิ่งแล้วใหญ่ ผู้เสียชีวิตหลักหมื่นคน ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ นะครับ การขนส่งรถพ่วง รถบรรทุกขนาดใหญ่ มันอันตรายมากเพราะมวลน้ำหนักมันเยอะมาก ด้วยความเร็วนิดเดียว ถ้าเกิดผิดปกติอะไรขึ้นมา ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมโหฬารเลยนะครับ เพราะฉะนั้น การกำหนดมาตรฐานต้องเข้มงวดมาก นี่ยังไม่พูดถึงผู้บาดเจ็บ ส่วนใหญ่จะเป็นมอเตอร์ไซค์ เยอะมากเลยที่เป็นมอเตอร์ไซค์ แล้วก็เป็นคนเดินถนน คนเดินที่ใช้ทางเท้าข้าง ๆ ไม่รู้ว่าวันดีคืนดี จะตายเมื่อไรนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็ขอแรงสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกด้วยในประเด็นญัตติ เรื่องขนส่งว่าเราจะต้องมีการศึกษาเรื่องนี้กัน แล้วก็เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในอนาคต ขอบคุณครับ
ผม ภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตวัฒนา เขตคลองเตย ก็ขอร่วมอภิปรายในญัตติตั้งเมืองหลวงแห่งที่ ๒ หรือจะทำแนวปราการเพื่อรับมือกับ Rising sea levels คือปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
โดยภาพรวมผมก็แอบตกใจ นิดหนึ่ง ครั้งแรกอ่านญัตตินี้จะเอาอีกแล้วหรือครับ จะตั้งเมืองหลวงใหม่ จะย้ายเมืองหลวง เราผ่านมากี่ครั้งแล้วครับ ผมคงไม่ต้องไปเท้าความถึงเพชรบูรณ์ หรือนครนายก หรืออะไร เราศึกษาดูจากต่างประเทศก็ได้ มันเกิดอะไรขึ้น มันไม่เข้ากับยุคกับสมัยแล้วครับ มีที่ไหน ประเทศที่เขาเจริญแล้ว พัฒนาแล้ว ย้ายเมืองหลวง มีแต่ความล้มเหลวทั้งนั้นเลย ย้ายเมืองหลวงนี่ประเทศด้อยพัฒนาทำกันทั้งนั้น ลากอสไปเมืองอะไรก็ไม่รู้ การาจี ไปอิสลามาบัต แล้วก็มีความเพ้อฝันของผู้นำเผด็จการย้ายเมืองไปในคาซัคสถาน พม่า ใช้เงิน ใช้ทองไปเท่าไร อินโดนีเซียนี่ใช้ไป ๓๕ พันล้านเหรียญ Billion นะครับ คูณออกมา ก็ล้านล้าน มันได้คุ้มเสียหรือเปล่าครับ เมืองจีนมี ๖๐๐ กว่าเมืองที่เขาสร้างใหม่ ผลวิจัย ก็บอกแล้วล้มเหลวหมด กลายเป็น Ghost town เป็นเมืองร้าง เมืองผี ไม่มีคนเข้าไปอยู่ สูญเสียทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่หลวง ไม่มีแล้วครับ Practice ถ้าเผื่อเราดูนะครับว่าที่ผ่านมา ดัชนีความเป็นเมืองที่มีคุณภาพมันคือเมืองประเภทไหนบ้าง ปรากฏเป็นเมืองเก่าเกือบ ทั้งนั้นเลย ประเทศที่เขาพัฒนาแล้วท่านจะเห็นดัชนีที่เป็นสีฟ้าเข้ม ๆ ด้านบน ก็จะเป็น ในภาคพื้นยุโรป อเมริกา หรือออสเตรเลีย เมืองที่เป็นเมืองอันดับต้น ๆ ของโลก เวียนนา โคเปนเฮเกน ซูริค เป็นเมืองหลวง แล้วก็เป็นเมืองที่เขาอยู่กันมาตั้งกี่ร้อยกี่พันปีเขาก็พัฒนา ไม่ได้ละทิ้งเมืองไป ทำให้เมืองมันดีขึ้น ลอนดอน ปารีสพวกนี้ก็เป็นเมืองเคยมีปัญหานะครับ -ก็ย้ายภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของเมืองออกไป
- - - พวกโรงงานอุตสาหกรรม อย่างกองทัพอย่างนี้เอาไว้ในเมืองทำไม รถถัง เครื่องบินจะไปจอด กลางเมืองหรือครับ มันไม่ใช่ภารกิจหลักของเมือง เราต้องทำให้เมืองเข้ากับยุคกับสมัย มีการพัฒนานำเรื่อง IT หรือเป็นเรื่องการศึกษาที่เข้ากับยุคกับสมัย เข้ามาเป็นพื้นที่ในเมือง มากขึ้นเพื่อตอบโจทย์เมืองสมัยใหม่ ดูสิครับ ด้านขวา Bottom ten ที่เป็นเมืองที่คุณภาพ ชีวิตต่ำ ลากอสอย่างนี้ ย้ายเมืองหลวงไปแล้วแก้ได้ไหมครับ การาจีอย่างนี้ ย้ายเมืองหลวง ไปแล้วแก้ได้ไหมครับ ก็ยังเป็น Bottom ten อันนี้มัน Prove แล้ว มันพิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว การย้ายเมืองหลวงหรือไปตั้งเมืองหลวงใหม่มันไม่ใช่คำตอบ ดูภาพสิครับ เนปิดอว์ลงทุนไป เท่าไร อียิปต์กำลังสร้างอยู่นะครับ In progress แล้วของอินโดนีเซียก็จะไปถางป่า ถางเกาะ ทำเมืองหลวงขึ้นมาใหม่อีก ทำไมเราไม่ดูล่ะครับว่าเราจะหยุดการขยายเมืองอย่างไร ที่ไร้ทิศทาง กระจายอำนาจ บุคลากร งบประมาณ ออกไปสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น ผมคง ไม่พูดเยอะในเรื่องผลกระทบของจำนวนประชากร เราถามหรือยังครับ เอะอะเราจะตั้ง เมืองหลวงใหม่ เราจะเกณฑ์คนออกไปย้ายไปที่อื่น กทม. มีคนอยู่ตั้ง ๖ ล้านคน รวมปริมณฑล ๑๐ กว่าล้านคน ขนาดพื้นที่ ๑ ล้านไร่ ปริมณฑลรวมแล้วก็ ๗,๐๐๐ กว่าตารางกิโลเมตร ถ้าเกิดคำนวณแบบเร็ว ๆ ว่าพนักงานรัฐ องค์กรที่เกี่ยวข้อง ๖-๗ เปอร์เซ็นต์ ก็ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ คน ที่จะต้องย้ายออกไป เราถามเขา หรือยัง จริง ๆ มันขัดรัฐธรรมนูญ เราไปเพิ่มภาระที่ไม่จำเป็นให้กับเขา เราไปถามเขาหรือยัง และนี่หน่วยงานเอกชนอีกตั้งเยอะ เราคำนวณได้ ๑ ล้านล้านบาท ไร่หนึ่งราคาสมมุติตีเฉลี่ย ไร่ละ ๑๐ ล้านบาท คูณเข้าไปสิครับ ๑๐ ล้านล้านบาท มูลค่าทางเศรษฐกิจ นี่ยังไม่รวม สิ่งปลูกสร้างนะครับ เราถามเอกชนหรือยังทำไมเราจะละทิ้งเมืองไป เรามีทรัพย์สิน ที่อยู่ในเมืองตั้งเยอะ มีรถไฟฟ้า มีสนามบิน สาธารณูปโภคที่เราลงทุนไปหมดแล้ว นี่เราจะไป เปิดพื้นที่ใหม่อีกแล้วหรือครับ อยากจะสร้างเมืองกันจังเลยหรือครับ อันนี้รัฐธรรมนูญ ผมพูดไปแล้วนะครับ เราไม่ควรจะไปเพิ่มภาระอันควรให้กับข้าราชการที่อาจจะต้องย้าย ออกไป คนที่เขาอาจจะไม่ได้สมัครใจแล้วก็เกณฑ์กันออกไป มีตัวอย่างเยอะแยะเกาหลีใต้ เขาก็พยายามจะย้าย สุดท้ายก็วกกลับมาที่เดิมคือไปไม่รอด ก็กลับมาอยู่ที่เดิมกันหมด อันนี้ผมคงไม่พูดเยอะ แต่ว่าจริง ๆ มันมีข้อมูลอยู่แล้วหลายท่านก็อภิปรายไปแนวชายฝั่ง กทม. กับอ่าวไทย ๕ กิโลเมตร แนวตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา ๖๐ กิโลเมตร ก็ลองคำนวณได้ว่า ถ้าเผื่อจะทำแนวต่าง ๆ นี่ลงทุนเท่าไร ดีดลูกคิดออกมาก็รู้แล้ว เทียบกันแล้วกับการย้ายเมือง ก็สามารถฟันธงได้เลยว่าการไปตั้งเมืองหลวงใหม่หรือย้ายเมืองหลวงใหม่นี่มันไร้สาระ ผมก็คงไม่ต้องพูดมากว่าพยายามกันมาแล้วกี่ครั้ง ๔-๕ ครั้ง นี่จะเอากลับมาอีกแล้วหรือ ยังไม่เรียนรู้จากอดีตที่มันล้มเหลว ยื่นเข้าสภาไปกี่รอบ มีแนวคิดนี้มากี่ครั้ง ก็ไม่รู้เหมือนกัน จะส่งไป ครม. ทำไมในเมื่อมันชัดเจนอยู่แล้ว สมการได้ไม่คุ้มเสีย ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตวัฒนา เขตคลองเตย ขอปรึกษาหารือผ่าน ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในปัญหาเหล่านี้ครับ
เรื่องแรก รถแท็กซี่ รวมถึง รถขนส่งสาธารณะพวกป้ายดำอื่น ๆ ก็มีจอดในที่ห้ามจอดตลอดแนวถนนสุขุมวิท ในเขตวัฒนา ตั้งแต่ซอยนานา คือสุขุมวิทซอย ๓ ไล่ไปจนถึงซอย ๑๕ จนถึง Terminal 21 ขอให้ สน. ลุมพินี เข้าไปกวดขันด้วยครับ
เรื่องที่ ๒ ขอทานต่างด้าวนำเด็ก ละเมิดสิทธิเด็กจำนวนเยอะมาก อยากให้ ตม. กับ พม. เข้าไปกวดขัน เพราะเป็นการละเมิดสิทธิเด็กชัดเจน เป็นต่างด้าวทั้งหมดเลย ทำกันเป็นกระบวนการ รวมถึงทางเท้าแล้วก็พื้นผิวจราจรมีการขายของผิดกฎหมาย โดยต่างด้าวทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นกัญชา เป็นแผงลอย ผมก็อภิปรายไปทีหนึ่งแล้ว ยังไม่แก้ไข เลวร้ายไปกว่านั้นมีคนผิวสีขายยาเสพติดอย่างเป็นกิจจะลักษณะเลยนะครับ รบกวนเข้าไปตรวจสอบดูแลด้วย
เรื่องถัดไป ต้นไม้ใหญ่ ต้องรอให้ล้มมาก่อนนะครับ มีพายุพัดผ่าน เวลาขอตัดดี ๆ ไม่มา ต้องรอให้ต้นไม้ล้มมา สุดท้ายก็ต้องเข้าไปตัดยู่ดี และต้องเสีย ค่าชดเชยให้สาธารณภัยเข้าไปชดเชยด้วย ป้องกันไว้ดีกว่านะครับ ชุมชนคลองเป้ง เอกมัย ๑๙ แล้วก็บ้านริมคลองแถวซอยแจ่มจันทร์ เอกมัย ๒๑
ปัญหาเส้นอาจณรงค์ ก็อภิปรายไปคราวที่แล้วเรื่องไฟส่องสว่างก็มีการแก้ไข เป็นบางจุด แต่ก็ยังมีอีกที่พื้นผิวจราจร ป้ายสัญญาณต่าง ๆ ยังไม่ครบถ้วน ก็ขอไปทางสำนัก การจราจรและขนส่ง กทม. รวมถึงฝ่ายโยธา สำนักงานเขตคลองเตยด้วย
รวมถึงปัญหาเรื่องป้ายรถเมล์บริเวณหน้าแฟลต ๑-๑๐ ชุมชนแฟลต ๑-๑๐ คลองเตย ก็รั่วมาก ไปสอบถามมาแล้วปรากฏเป็นชั่วคราว จะชั่วคราวมาเป็นสิบปีแล้วครับ ขอเรียกร้องให้สำนักการจราจรและขนส่งไปทำแบบถาวร ตรงนี้คนอยู่กันหลายพันคน นะครับ
เรื่องสุดท้าย ก็คือจะเป็นเรื่องของการดูแลสาธารณูปโภคภายในพื้นที่ท่าเรือ กรุงเทพ ปัจจุบันเสื่อมโทรมมาก ขอให้ทางท่าเรือกรุงเทพเข้าไปซ่อมแซมพื้นผิวจราจร ในพื้นที่ของตัวเองนะครับ
แล้วก็ไฟส่องสว่างบริเวณจุดตัดทางด่วนกับถนนอาจณรงค์ ถนนทางรถไฟ สายเก่า แล้วก็เส้นสุขุมวิท ๕๐ ขอให้ทางเขตและการไฟฟ้านครหลวง ขออนุญาตทาง การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเข้าไปซ่อมบำรุงไฟด้วย ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พูดถึงสถาบันพระปกเกล้านึกถึงอะไร ขอสไลด์ด้วยครับ
หลักสูตร ป. อะไรต่าง ๆ เยอะแยะมากมาย ลองถามเพื่อนสมาชิกในที่นี้ก็ได้ นึกถึงสถาบันพระปกเกล้านึกถึงอะไร นึกถึง Connection นึกถึง ยังไม่อยากให้พูดเลยครับ ปาร์ตี้ครับ นี่คือสิ่งที่ General Public สาธารณชนรับทราบเกี่ยวกับสถาบันพระปกเกล้า มิใช่เรื่อง Research Institute ของสภา ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า Perception คนทั่วไปต่อสถาบันพระปกเกล้าเป็นอย่างไร ลองไปทำ แบบสอบถามดูก็ได้ อาจตั้งข้อสงสัยได้ว่าเป็นแหล่งก่อกำเนิดของการสร้างเครือข่ายระหว่าง นักการเมือง พนักงานรัฐ และภาคธุรกิจ ซึ่งอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน ให้คุณให้โทษกับ ผู้ประกอบการธุรกิจที่เขามาแสวงหา คุณก็ไปเก็บค่าเล่าเรียนจากเขาใช่ไหมครับหลักหมื่น หลักแสน ผมก็เลยตัดสินใจไม่ไปเรียน เพราะมันมีต้องไปเที่ยวไปอะไรเสียสตางค์อีกเป็นแสน ผมไม่ไปเรียนครับ ไม่รู้เหมือนกันว่าหลักหมื่นหลักแสนที่เก็บไปมันไปอยู่ Classify เป็นรายได้ อื่น รายได้อุดหนุนจากแหล่งทุนภายนอกรวมแล้วหลักหลายล้านบาท ผมเห็นในรายงาน แต่ว่ามันไม่ได้มีหมายเหตุลงรายละเอียด แต่ปรากฏผลประกอบการของท่านขาดทุน ติดลบ ต้องพึ่งเงินสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ประกอบกับยังมีค่าใช้จ่ายจากการอุดหนุน การบริจาคหลักสิบล้าน ค่าใช้สอยอีกหลักร้อยล้าน ผมก็ไม่รู้เหมือนกันหมายเหตุมันไม่ได้ระบุ อะไรไว้ว่าค่าใช้จ่ายจากการอุดหนุนและบริจาคมันคืออะไร มันคือเขาอุดหนุนเราแล้วเรา ยังต้องมีค่าใช้จ่าย ไม่เข้าใจเหมือนกัน ขาดรายละเอียดหมายเหตุในรายงานนะครับ แต่ขอ ย้อนกลับไปหน้าเมื่อสักครู่ แต่ก็แปลกนะครับ ไปอ่านดูสถานะทางการเงินของท่าน ท่านมีเงิน สด ๒๕๒ ล้านบาท ท่านก็เป็นแบงก์หรือครับ เงินขาดทุนนะครับ แต่ไม่มีเงินสด Standby ไว้ ทำอะไร Petty Cash เงินลงทุนระยะสั้นอีก ๘๔๙ ล้านบาท ไม่รู้ ท่านมีหน้าที่ลงทุน ท่านไม่ได้มีหน้าที่วิจัยพัฒนา บุคลากรเพื่อสร้างขีดความสามารถของบุคลากรทางการเมือง ยังไม่พูดถึงความจำเป็น ของรายการที่ดินและอาคาร ๑,๑๓๘ ล้านบาท ผมเข้าใจว่าท่านอยู่ตรงศูนย์ราชการ ก็ไม่รู้ ท่านมีที่ดินหรืออาคารตรงไหน ทำไมท่านไม่เช่า มันไม่ใช่ภารกิจหลักของท่านในการที่จะ ถือครองที่ดินและอาคาร เพราะภารกิจหลักของสถาบันพระปกเกล้าซึ่งหลายเรื่องก็ดีนะ ผมอาจจะอภิปรายรุนแรงนิดหนึ่งนะครับ ท่านทำเรื่องวิชาการเยอะ เป็นหน่วยงานหลัก ของรัฐสภาในการให้ความรู้ พัฒนาความรู้ให้แก่บุคลากรทางการเมือง ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของภาคประชาชน เรื่อง Direct Democracy ก็ทำดีนะครับ ทำ Democracy Index ในรายงานท่านตั้ง ๒๐๐ กว่าหน้าก็มีประโยชน์หลายเรื่อง แต่กลับไปยังมีอีกหลายเรื่อง ที่ไม่ตรงกับพันธกิจ ภารกิจหลักของท่าน อาทิเช่น กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับภารกิจหลัก ของท่านคืออะไร พิพิธภัณฑ์ครับ ท่านเป็น Curator หรือครับ เพิ่มงบจาก ๗๐๐,๐๐๐ กว่า ในปี ๒๕๖๔ เป็น ๑ ล้านกว่า ทั้ง ๆ ที่มีผู้ชมเข้ามากขึ้น ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนท่านเก็บค่าชม พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า แล้วก็มีในรายงานผมก็อ่านก็บันเทิงดี จัดหาวัตถุโบราณเกี่ยวกับ ร.๗ งานพิธีกรรม CSR เพื่อสาธารณประโยชน์ แทนที่จะเอาไปสนับสนุนความรู้ด้านประชาธิปไตย ให้ประเทศเพื่อนบ้าน หรือเอาไปส่งเสริมความเป็นมืออาชีพของวิทยากร หรือเนื้อหาที่มัน ไม่ได้เน้นแต่ปริมาณ เน้นแต่จำนวน Cost แต่เน้นคุณภาพ ตัวชี้วัดก็ไม่ชัดเจน ผมอ่านเจอ แล้วมีประโยคหนึ่ง อบรมแล้วมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มันคืออะไรอบรมแล้วมีการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แทนที่จะใช้อะไรที่มันเข้าใจง่าย จำนวนผู้เข้าการอบรมหรือบุคลากร ทางการเมืองที่ท่านสามารถสร้างได้ ชี้วัดไปเลยมีคนมาเรียนเท่าไร เรียนแล้วมาเป็น สส. อย่างผมมากน้อยแค่ไหน ก็ขอเลยเสนอแนะอันนี้ก็จากประสบการณ์ส่วนตัวผมเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก เห็น Cost ท่าน ความมั่นคงด้านภูมิรัฐศาสตร์อะไร สักอย่างผมก็รีบลงไปเลย ลงไปปรากฏเป็นอดีตนายพล ชั้นพลเอกผมไม่เอ่ยนามมาบรรยาย ผมอายครับ ไป Copy Paste มา ผู้ช่วยผมที่อยู่ปี ๔ เขาบอกเด็กมัธยมยังทำได้ดีกว่า ท่านไป Qualify ท่าน Screen คนที่มาวิทยากรดี ๆ ไม่ใช่สักแต่เอาวิทยากรเข้ามาเพื่อจะให้เขา ได้หน้าได้ตา ในเนื้อหานี้อันตรายผิดหลายอย่าง ไปกล่าวหาองค์กรข้ามชาติ ไปสร้างทฤษฎี สมคบคิด Google Facebook ไปกล่าวโทษคนอื่นเขา ไป Copy and Paste ผมไม่รู้มัน Conspiracy Theory จากไหนมาแล้วเอามาบรรยาย ไม่ถูกต้องนะครับ ผมจำได้ตั้งแต่วันนั้น ผมเลยนึกเลยว่าเมื่อมีรายงานสถาบันพระปกเกล้าเมื่อไรผมจะเข้ามาอภิปรายทันที ขอเลย ตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม ลดงานพิธีกรรม CSR ท่านไม่ใช่องค์กรเพื่อการกุศลนะครับ ท่านเป็น องค์กรวิจัย พัฒนาความรู้ให้บุคลากร แล้วก็ขอเลยครับความเป็นมืออาชีพของวิทยากร และเนื้อหาที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่ไปโจมตีคนอื่นเขา ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตคลองเตย-วัฒนา พรรคก้าวไกลครับ ขอร่วมอภิปรายในญัตติการเปลี่ยนปีปฏิทินงบประมาณว่ามันจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง แล้วก็ปัจจัยอะไรที่เราควรคำนึงถึง เวลาเราจะส่งมตินี้ไปให้มติ ครม. ดูว่าจะมีวิธีการ ที่จะเปลี่ยนปีปฏิทินงบประมาณอย่างไร
ประเด็นแรก ก็ต้องศึกษาว่าในทั่วโลกเขาทำกันอย่างไร เราไม่ได้อยู่คนเดียว ในโลกใบนี้ เรามีค้าขายกับต่างประเทศมีการนำเข้าส่งออก ๒. หน่วยงานต่าง ๆ ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องของ Financial Reporting ก็คือการรายงานผลทางการเงินงบดุล ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ในโลกใบนี้ก็จะเป็น ๑ มกราคม ถึง ๓๑ ธันวาคม ตามปีปฏิทินปกติ อันนี้ก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ความจริงมีสไลด์นะครับ ฝ่ายโสตสามารถเอาขึ้นได้เลย
กับเรื่องฤดูกาลนะครับ แต่ฤดูกาลก็แตกต่างกันไปบนโลกใบนี้ ถ้าเผื่อไปดูประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จะเป็นการเก็บเกี่ยว พืชผล เก็บเกี่ยวเสร็จฤดูไหนไม่มีอะไรทำ ก็เป็นการเก็บส่วย เก็บภาษี นำรายได้เข้ารัฐ กับการวางนโยบายภาครัฐ ก็จะมีผลในการวางแผน ติดตาม จัดเก็บต่าง ๆ อันนี้ก็จะเป็น ปัจจัยที่ส่งผลต่าง ๆ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเราต้องคำนึงนะครับ ไม่ใช่แค่ภาครัฐหรือผู้ปฏิบัติ อย่างเดียว ภาคเอกชนที่จะต้องนำส่งภาษีให้กับทางภาครัฐ ประชาชนที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. ๙๐ ภ.ง.ด. ๙๑ รวมถึงต่างประเทศที่ผมได้พูดไปแล้วในเรื่องของการค้าขาย จัดเก็บงบประมาณส่วนใหญ่จะเป็นอย่างไร ตามปีปฏิทิน Cycle ปกติจะเป็นการทบทวน วางแผน อย่างสมมุติล่าสุดของปีปฏิทินนี้อาจจะล่าช้าไป แต่จริง ๆ ปกติก็จะเป็นการทบทวน วางแผนในช่วงตุลาคมถึงธันวาคม จัดทำในช่วงมกราคมถึงพฤษภาคม แล้วก็อนุมัติให้เสร็จ ก่อนสิ้นเดือนกันยายน ซึ่งอันนี้ต้องมาดูว่าปกติ Cash Cycle หรือว่า Cash Inflow Outflow มันจะประมาณไหน คือจัดเก็บมาเพื่อให้มีเงินเอาไปลงทุนใช่ไหมครับ นอกเหนือจากต้องไป กู้เงินมา จัดเก็บส่วนใหญ่เราจะยื่นภาษีกันภายใน ๒-๓ เดือนแรก ถ้าเป็นบริษัทเอกชน อาจจะปิดงบเร็วหน่อย แต่ถ้าเผื่อเป็นบุคคลธรรมดาก็ ๙๐ วัน ต้องยื่นภาษีภายในมีนาคม ช่วงเดือนมีนาคมถึงสิงหาคมรัฐก็จะเริ่มจัดเก็บรายได้ได้แล้ว ก็มีเงินเอาไปใช้ ซึ่งหลายท่าน ได้อภิปรายไปแล้ว ส่วนใหญ่ไปใช้ในหน้าฝนตั้งแต่พฤษภาคมจนถึงกันยายน ซึ่งก็จะมีปัญหาในเรื่องของโยธาเวลาไปสร้าง แต่แน่นอนโยธาก็ไม่ใช่งบประมาณส่วนหนึ่ง ของการลงทุน มีงบครุภัณฑ์ งบอบรม สัมมนา งบอย่างอื่นอีกด้วย แต่อันนี้ก็เป็นปัจจัย ที่เราต้องคำนึงถึง ข้อดี ข้อเสีย แบบใหม่ ถ้าเผื่อเราเปลี่ยนแน่นอนเราก็จะเลี่ยงฤดูฝนได้ ถ้าเผื่อเราขยับออกไปอีก ๓ เดือน ถ้าเผื่อเริ่มเป็น ๑ มกราคม เข้าใจง่ายตามหลักปฏิทินสากล ก็ Link กับพวกงบดุลของบริษัทเอกชน ธนาคารต่าง ๆ อันนี้เราก็คุยกับภาษาสากลได้ว่า ปิดงบวันไหน ไม่ต้องมาทำเหลื่อมปีกันนะครับ สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ก็มีหลายประเทศ เดี๋ยวจะมีในหน้าถัดไปว่าเขามีการปิดปีงบประมาณอย่างไรบ้าง ลดความซับซ้อนในการ ประสานงานต่างประเทศ ปรับตัวให้เข้ากับภาคธุรกิจ แล้วก็การลงทุนของต่างชาติ แต่แน่นอนเวลาเปลี่ยนทีมันก็มีข้อที่ต้องพึงระวัง ความท้าทายในการปรับเปลี่ยนอาจจะ ทำให้เกิดการสับสน ต้องใช้เวลาในการปรับตัว คือมันก็วุ่นวายในเชิงเอกสารต้องทำผลกระทบ รายงานทางการเงินกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องมา Comply กับแบบใหม่ ความท้าทาย ในการปรับตัวภาคธุรกิจ แต่ปัจจุบันก็มี Software มีการ Link สูตรได้ ก็สามารถทำให้ มันกระทบยอดกับปีปฏิทินแบบใหม่ได้ ไม่มีปัญหานะครับ รายงานทางการเงินซึ่งอาจจะต้อง มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ เรื่องการ Report ให้กับทางหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงาน ภาครัฐเองก็ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบรายงาน แล้วก็ต้องมีการเตรียมความพร้อม มีเพื่อน สส. อภิปรายจะต้องมีการปรับ เพื่อในช่วงระหว่าง Transition Period ระหว่างปี หรือ ๒-๓ ปีนี้ ก็จะต้องมีการปรับเพื่อให้มันเข้ากับตัวปีงบประมาณใหม่ รวมถึงการวางแผนทางการเมือง และนโยบายก็จะต้องมีการทำรอบใหม่ขยับไปอีก ๓ เดือน การจัดเก็บภาษี ขอบเขตวัน ระยะเวลา อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง การใช้เงินงบประมาณก็จะเปลี่ยนไปจากเดิม มาดูกันว่าที่เหลือในโลกนี้เขาทำวิธีไหนกันบ้าง มีประเทศใหญ่ ๆ เราก็ต้องคำนึงถึงประเทศ ที่เป็นคู่ค้าหลัก ประเทศที่เรามีมูลค่าการส่งออกนำเข้าเป็นคู่ค้าหลักของเราด้วย รวมถึง ประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศที่มีลักษณะฤดูกาลใกล้เคียงกับเรา มีลักษณะเศรษฐกิจ ใกล้เคียงกับเรา อย่าง ๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ กันยายน ปัจจุบันนี้ ประเทศใหญ่ก็คือสหรัฐอเมริกา ๑ เมษายน ถึง ๓๐ มีนาคม ก็ยังมีสิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย ฮ่องกง แต่ส่วนใหญ่จากรายงาน ที่ทางฝ่ายวิชาการสรุปเมื่อเช้าเป็นรูปเล่ม ประมาณกึ่งหนึ่งใช้ตามปีปฏิทินสากลแล้ว ๑ มกราคม ถึง ๓๐ ธันวาคม ก็จะมีประเทศจีน เกาหลีใต้ ประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เยอรมัน เวียดนาม ฝรั่งเศส ซึ่งก็ถือว่าประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศ ในโลกนี้ ปัจจุบันใช้ปีงบประมาณตามปีปฏิทินก็อยากจะให้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน แล้วก็ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ Stakeholder หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตวัฒนา คลองเตย ก็ขอร่วม อภิปรายในวาระนี้ด้วยนะครับ การเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศอาจมี ผู้แย้งที่ให้เหตุผลเรื่องการถูกหลอก เช่น ถูกผู้หญิงข้ามเพศหลอกว่าเป็นหญิงตามเพศกำเนิด ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่ทัศนคติแล้วครับ เรื่องการมองว่าผู้หญิงข้ามเพศไม่ใช่หญิงแท้ แต่ถ้าจะให้ พูดตามมุมมองของผู้ที่อาจจะยังมีทัศนคติแบ่งแยกหญิงแท้หญิงเทียมอยู่ การโดนหลอก ถ้าเกิดขึ้นจริงก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะมาแย้งเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ ทางเพศ เพราะอะไรครับ เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นมันเป็นระดับปัจเจกบุคคล มาจากการที่คนที่ บอกว่าตัวเองถูกหลอกนั้นบางทีก็อาจจะไม่มีวิจารณญาณหรือวุฒิภาวะเพียงพอในการเลือก คบคนหรือเปล่า ซึ่งหากเกิดขึ้นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะมาเหมารวมว่าบุคคลข้ามเพศจะมาเปลี่ยน คำนำหน้านามเพื่อมาหลอกลวงทั้งหมด หากมีอาชญากรรมเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนคำนำหน้านาม เช่น การปลอมแปลงตัวตนเพื่อก่ออาชญากรรม ก็เป็นประเด็นเรื่องอาชญากรรมที่ต้องจัดการ กันในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป ไม่ใช่มาต่อต้านการเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ ทางเพศไปเสียทั้งหมด เนื่องจากการเปลี่ยนคำนำหน้านามก็เป็นสิทธิของผู้ที่ต้องการจะเปลี่ยน อย่างเช่น กลุ่มคนข้ามเพศสมควรได้รับเป็นสิทธิที่ไม่ควรถูกต่อต้านเพียงเพราะความ หวาดระแวงจากการกระทำของคนกลุ่มน้อย นอกเหนือจากการโดนหลอกลวง อีกสาเหตุหนึ่ง ที่คนมักต่อต้านการเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศ ก็คือมาจากความเกลียด กลัวบุคคลข้ามเพศนั่นเอง หรือ Transphobia ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมในสังคม ของเราเอง เป็นสิ่งที่เราต้องร่วมกันแก้ไขซึ่งยากก็จริง แต่หากลองพิจารณาดูโดยปราศจาก อคติหรือความเกลียดกลัว คนที่เกิดมาตรงเพศอย่างผมไม่ต้องดิ้นรนเพื่อให้ใครมายอมรับ อัตลักษณ์ของตัวเอง แต่คนข้ามเพศเขาต้องดิ้นรน เรียกร้องมาเพื่อสิทธิของตน การเปลี่ยน คำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศก็เป็นสิทธิที่กลุ่มคนข้ามเพศเขาสามารถเรียกร้อง และสมควรได้รับ ไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นมาเป็นอย่างไร เราต่างต้องการให้อัตลักษณ์ของเราได้รับ การยอมรับทั้งนั้น สิ่งที่เราควรทำคือช่วยกันขจัดความเกลียดกลัวที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคม ยอมรับตัวตนของทุกคนอย่างเท่าเทียม ซึ่งการเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ตรงกับอัตลักษณ์ ทางเพศก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะเปิดทางไปสู่สังคมที่ทุกเพศเท่าเทียมกันและเป็นสังคมที่โอบรับ ความหลากหลายครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตคลองเตยและเขตวัฒนา พรรคก้าวไกล ก็ขอร่วมอภิปรายร่างแก้ไขพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน ท่านประธานครับ ตามที่ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และแก้ไขเพิ่มเติม มีเจตนารมณ์เพื่อแก้ไขปัญหาการ จัดสรรที่ดินของเอกชน โดยกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่ส่งมอบกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน ส่วนกลางให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิในการบริหารจัดการ หมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค อาทิเช่นไฟทางส่องสว่าง ท่อระบาย น้ำ ถนน การจัดการขยะ การบำบัดน้ำเสีย และอื่น ๆ อย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหาในการ ถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนกลาง และปัญหาการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรอย่างต่อเนื่อง ผมในฐานะโฆษกกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับปัญหาร้องเรียน เยอะมากในเรื่องของการซื้อหมู่บ้านจัดสรรแล้วมีปัญหาในการจัดสรรสาธารณูปโภคแล้วก็ การจัดตั้งนิติบุคคลนะครับ ในส่วนของปัญหาการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนกลางเกิด จากผู้จัดสรรที่ดินไม่ยอมยกกรรมสิทธิ์ส่วนกลาง กล่าวคือก่อนที่ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน ๒๕๔๓ จะประกาศใช้ ผู้จัดสรรที่ดินอาศัยช่องโหว่กฎหมาย ไม่มีการดำเนินให้มีการเรียกประชุมใหญ่ เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้จัดสรรที่ดินไม่ยอมมอบกรรมสิทธิ์ส่วนกลางให้กับผู้ซื้อ ที่ดินจัดสรร ดังนั้นเมื่อทรัพย์สินส่วนกลาง ได้แก่ ถนน ระบบบำบัดน้ำเสีย เกิดความชำรุด ทรุดโทรม ทำให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อน เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่สามารถดำเนินการปรับปรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินส่วนกลางได้ นอกจากนี้แม้ว่าการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้จัดสรรที่ดินก็ ประวิงเวลาไม่ยอมให้มีการเรียกประชุมผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่อจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร ประกอบกับมีช่องโหว่ของกฎหมายเกี่ยวกับเงื่อนไขของการจัดตั้งนิติบุคคล ที่ระบุจำนวนผู้ซื้อที่ดิน แล้วไม่มีการบังคับให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร สิ่งที่เลวร้ายกว่านั้นคือปัญหาสินค้าไม่ตรงปก กล่าวคือผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีการร้องเรียนว่า ทรัพย์สินส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรรไม่มีมาตรฐาน ที่ดินทรุด ถนนชำรุด ไม่มีการดูแล ระบบสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพที่ดี ทำให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่สามารถรับโอน กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนกลางจากผู้จัดสรรที่ดินได้ เพื่อให้ท่านประธานและเพื่อนสมาชิก มีความเข้าใจมากขึ้น เนื่องจากบางท่านอาจไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านจัดสรร ท่านจึงไม่ทราบนะครับ ว่าประชาชนที่เขาออมเงินมาซื้อบ้านหลังละ ๓ ล้านบาท ๔ ล้านบาท เนื่องจากเขาได้รับ ข้อมูลจากผู้จัดสรรที่ดินว่าหมู่บ้านจัดสรรมีระบบรักษาความปลอดภัย มีสวนสาธารณะ ที่สวยงาม มีการจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบ มีบ่อบำบัดน้ำเสีย แต่เพียงไม่กี่ปีผ่านไปทรัพย์สิน ส่วนกลางก็ชำรุดเสียหาย ซึ่งในบางกรณีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้มีการรับโอนกรรมสิทธิ์ ทำให้ผู้จัดสรรที่ดินปฏิเสธ ความรับผิดชอบ ผู้ซื้อที่ดินได้รับผลกระทบมีการร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐและมีการฟ้องร้อง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ในทัศนะของผมเราควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ มีการ แก้ไขร่าง พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่ประชาชนปัจจุบันหันมานิยม ซื้อบ้านจัดสรรเพิ่มมากขึ้น และจะต้องช่วยให้ผู้ซื้อที่ดินสามารถจัดตั้งนิติบุคคลจัดสรร หมู่บ้านจัดสรรได้ ผมก็จึงขอสนับสนุนให้มีการแก้ไข พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน โดยเฉพาะยิ่งร่าง ของ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินของ สส. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ พรรคก้าวไกล ซึ่งสาระสำคัญของ ร่างฉบับดังกล่าวก็คือ ภายในระยะ ๓ ปี ผู้ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งสามารถเข้าชื่อกันเพื่อให้มีการเรียกประชุมใหญ่ เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อให้ผู้จัดสรรที่ดินมีการส่งมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ทั้งนี้เพื่อให้ ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้านจัดสรรได้รับการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี และทำให้ผู้ ซื้อที่ดินได้รับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนสมาชิกทุกท่านเห็นชอบ กับร่างการแก้ไข พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธาน ผม ภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตคลองเตย-วัฒนา กรุงเทพมหานคร ขอร่วมอภิปรายรายงานผล การพิจารณาการศึกษา เรื่อง การจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงาน ของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ของคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ก็คง ๒-๓ ประเด็นสั้น ๆ คือ
๑. ที่มา สสร. ต้องยึดโยงกับประชาชน คือยึดหลักของ Representation คือ ต้องสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน คือต้องอิงจากจำนวนประชากรแล้วต้องเสมอภาค เท่าเทียม ๑ สิทธิ ๑ เสียง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คำนึงถึงมิติความหลากหลายของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นักกฎหมายด้วยอีกกลุ่มหนึ่ง
๒. วิธีการเลือกตั้งต้องง่ายต่อการเข้าใจ ไม่เป็นภาระต่อประชาชน ยกตัวอย่างกากบาทได้ ๑ คนต่อ ๑ ใบ ไม่ใช่มาลงได้ ๒ คน เลือกได้ ๓ คน หรือจะเป็น ระบบเรียง ผมเห็นว่าอาจจะซับซ้อนสำหรับประชาชน เลือกได้ ๑ คนต่อ ๑ เขตเลือกตั้ง แล้วก็สูงสุดไม่ควรมี ๒ บัตร ถ้าเผื่อมีเป็น ๓ บัตรขึ้นมาผมว่าเริ่มซับซ้อนแล้วสำหรับพี่น้อง ประชาชน แล้วก็สิ้นเปลืองงบประมาณในการพิมพ์บัตรด้วย ก็คือมี ๑. พื้นที่ ๒. ตัวแทนกลุ่ม ผมว่าก็น่าจะเพียงพอ จำนวนไม่ควรมากจนเกินไป เราก็เห็นในชั้นกรรมาธิการหลายคณะ เกิน ๕๐ คนเริ่มขาดการมีส่วนร่วมแล้ว เริ่มคุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว จำนวนมากเกินไปครับ ๕๐ คน ๑๐๐ คนก็พอ จะได้ไม่เป็นที่ครหาของพี่น้องประชาชนว่า ตั้งกันมาแล้วก็มากิน เบี้ยประชุม สิ้นเปลืองงบประมาณ เอาผลลัพธ์ดีกว่าครับ เขตเลือกตั้งไม่ควรเล็กกว่าจังหวัด เพราะเราไม่ใช่ระบบสหพันธรัฐว่า กทม. จะมี ๑ แล้วระนองต้องมี ๑ ผมเห็นว่าไม่เสมอภาค ไม่เท่าเทียม ไม่ถูกต้อง ควรจะต้องอิงจากจำนวนประชากรอย่างที่ผมพูดไปก่อนหน้านี้ การเลือกตั้ง สสร. ต้องรณรงค์ได้ ต้องชี้แจงให้เห็นถึงข้อดี ข้อเสียของแต่ละแบบกับ ประชาชนได้ สำคัญมาก ไม่ใช่เหมือน สว. ไม่มีการรณรงค์ เงียบกริบ ประชาชนไม่มีการรับรู้ เขาจะรู้ได้อย่างไรครับว่าเขาจะเลือกอะไร แบบไหน อย่างไร จะเลือกใคร เพราะอะไร ต้องมี การรณรงค์ได้
สุดท้าย กรอบระยะเวลาควรจะสั้นที่สุด ประชาชนอยากได้รัฐธรรมนูญใหม่ เราต้องทำงานเพื่อบรรลุผลลัพธ์ คือได้รัฐธรรมนูญออกมาเร็วที่สุด ไม่เอานะครับ แบบ ๒ ปี ๓ ปี ๔ ปีไม่เห็น เอาให้สั้นที่สุดเลยครับ เหมือนเวลาเรากำหนดกรอบของการทำงานของ กรรมาธิการวิสามัญ ๖๐ วัน ๙๐ วัน ๖ เดือนเต็มที่ มันจะพิจารณาอะไรกัน เราก็มี เล่มรายงานตั้งเยอะแยะแล้ว อย่าเสียเวลาอีกเยอะเลยครับ พี่น้องประชาชนกำลังรอ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อยู่ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตวัฒนาและเขตคลองเตย พรรคก้าวไกล ขอร่วมอภิปรายญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา เรื่องการสร้างคนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ ก่อนอื่นก็อยากจะพูดถึงความ จำเป็นของการเสนอญัตตินี้ ก็ยังคุยกับเพื่อน สส. เลยว่าญัตติมันรกสภา เยอะมากเลยครับ เอาอีกแล้วหรือครับ เราจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษากันอีกแล้วหรือครับ ผลาญงบ เบี้ยประชุมกัน
และอีกเรื่องที่หนึ่งครับ ปัญหาหัวข้อในการตั้งญัตติก็จะต้องมีท่อนสร้อย ทุกครั้งเลย เอาสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้องอีกแล้วหรือครับ นี่เรากำลังพูดเรื่องการสร้างพลเมือง ให้มีคุณภาพ แต่ต้องมีท่อนสร้อย โหนสถาบันอีกแล้วหรือครับ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ทุกครั้ง ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็ต้องอีแบบนี้ติดตามห้อยสอยมาทุกครั้ง คำนิยามของ พลเมืองคุณภาพเพื่อนสมาชิกก็อภิปรายกันไปหลายครั้ง ประโยชน์สาธารณะ Active Citizen ทักษะในการคิดเชิงวิพากษ์ สำคัญมาก ๆ นะครับ เราต้องเปิดให้คนคิดให้มีโอกาส ที่เขาจะสร้างสรรค์ ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของเขา เคารพกติกา การมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชน เห็นต่างก็อยู่กันได้ครับ อันนี้พูดไปเยอะแล้วผมคงไม่ต้องไปพูดถึงเรื่อง คุณภาพหรือคำนิยามของคนดีนะครับ ผมเห็นเลยมันต่างกันอย่างสิ้นเชิง ก็จะมีแนวคิดเก่า ๆ ที่ท่านอภิปรายกัน แล้วก็พวกผมก็อภิปรายก็เหมือนกับโลกคู่ขนาน เอาให้เป็นรูปธรรมดีกว่า เราอยากให้พลเมืองมีส่วนร่วม เราอยากให้พลเมืองมีคุณภาพผ่านการมีส่วนร่วม ที่เป็น รูปธรรมเลย ปรับเกณฑ์อายุของผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งให้เท่ากับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตอนนี้ ในสภาเราไม่มีอายุ ๑๘-๒๕ ปี หายไปหมดเลยครับ เขาจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร เขายัง ไม่สามารถลงสมัครเป็นผู้แทนได้เลย เรื่องนี้ไปแก้เลยอย่างแรกเป็นรูปธรรม
เรื่องที่ ๒ คณะกรรมการสถาบันการศึกษาหรือที่เราเรียกว่า School Board นักเรียน นักศึกษา เขาเรียนนะครับ เขาไม่มีส่วนร่วมในสถาบันเขาเลย ส่วนใหญ่ก็เป็นครู อาจารย์ควบคุมทุกอย่าง ผมเสนอให้มี School Board ประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และชุมชน ร่วมกันตัดสินใจในเรื่องของโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา
ขอ ๒ เรื่องที่เป็นรูปธรรมนะครับ เรื่องอื่นผมไม่ต้องพูดเยอะ สร้างโอกาสให้ เยาวชนคนรุ่นใหม่ ทำระบบนิเวศให้เอื้ออำนวย ไม่อย่างนั้นท่านอย่าพูดถึงเรื่องพลเมืองที่มี คุณภาพเลยครับ อีกหน่อยท่านจะไม่มีพลเมืองเหลืออยู่ถ้าเผื่อโครงสร้างประเทศเรายังเป็น แบบนี้ สมองไหลไปหมด ไม่อยากอยู่หรอกครับประเทศนี้ สุดท้ายก็วกกลับมายึดมั่นหลักพื้นฐาน ของการออกกติกาในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เพื่อให้มีการจัดสรรทรัพยากรสาธารณะได้ อย่างยุติธรรม แล้วเดี๋ยวคนเขาก็จะอยากอยู่แล้วก็ร่วมสร้างประเทศนี้ไปด้วยกัน ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธาน ผม ภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตวัฒนา เขตคลองเตย พรรคก้าวไกลครับ ก็ขอสอบถามท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สุรพงษ์ ในประเด็นแนวทาง การแก้ไขปัญหาที่ดินริมทางรถไฟสายท่าเรือ-ปากน้ำในเขตวัฒนา เขตคลองเตย ซึ่งก็ผ่าน หลายชุมชนนะครับ หลายร้อยครัวเรือนหลายพันคนใจกลางเมือง ตั้งแต่คลองแสนแสบ ต้นถนนสุขุมวิท พระราม ๔ ถนนเชื้อเพลิง จนถึงสถานีแม่น้ำ ซึ่งมีพื้นที่หลายร้อยไร่ รัฐ สูญเสียโอกาสในการจัดเก็บรายได้ การรถไฟในฐานะรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของ กระทรวงคมนาคมมีความสามารถศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพย์สินของตัวเองมาก น้อยแค่ไหนเพียงใด อีกส่วนหนึ่งก็ผ่านที่ดินของการท่าเรือด้วยก็อยู่ใต้กระทรวงคมนาคม ไป ยังคลังน้ำมัน โรงกลั่นบางจาก ซึ่งท่าเรือก็คงให้ข้อมูลท่านเหมือนกันว่ามีแผนที่จะพัฒนา Upgrade ท่าเรือเพื่อรองรับการขนถ่ายตู้สินค้าในอนาคต ก็ไม่แน่ใจว่าขายฝันหรือเปล่า เพราะว่าที่ดินริมทางกว้างแค่เมตรเดียวเอง ๒ เมตรก็เป็นบ้านคนครับ ท่านก็ขนถ่าย คลังสินค้าที่เป็นน้ำมัน แล้วจะมาขนถ่ายตู้สินค้าอีกในอนาคต หรือมีการวางแผนระบบขนส่ง มวลชนสาธารณะทางรางอย่างไร มันมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน แต่ก่อนอื่นท่านต้อง แก้ไขปัญหาที่ดินริมทางรถไฟให้กับชุมชนก่อน ไม่อย่างนั้นท่านไม่สามารถที่จะพัฒนา พาณิชยกรรมอื่น ๆ ได้อีกนะครับ เบื้องต้นขอแค่นี้ก่อนครับ
เรียนท่านประธานครับ ก็รับทราบครับ เพราะชาวบ้านในชุมชนที่อยู่บนที่การรถไฟก็ยินดีที่จะจ่ายค่าเช่านะครับ เพียงแต่เราอยากจะเอาขึ้นมาในระบบให้หมดเลย เพื่อจะให้เขามีสิทธิจริง ๆ แล้วก็มั่นคง ในที่อยู่อาศัยระดับหนึ่ง ก็ไปอีก ๒ คำถามที่อาจจะยังไม่ได้ตอบในเรื่องของแนวทางในการ พัฒนาระบบรางที่จะเข้าไปที่สถานีแม่น้ำ ซึ่งตรงนั้นก็มีเป็นที่อยู่อาศัยของอดีตเจ้าหน้าที่ พนักงานราชการรถไฟ ซึ่งติดกับเขตยานนาวาถนนเชื้อเพลิง อันนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่ใหญ่มาก ไม่ทราบท่านมีแนวทางหรือยัง ว่าจะพัฒนาพื้นที่อย่างไร ผมเองก็พยายามนัด ผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทยหลายรอบก็ไม่ประสบความสำเร็จ รวมถึงที่ Plan จะไป ขนถ่ายตู้สินค้าในท่าเรือ รวมถึงไปคลังน้ำมันแล้วก็โรงกลั่น ท่านจะเอาอย่างไรต่อครับ ท่านจะยังมีรางรถไฟแบบนี้ แล้วก็ขนถ่ายน้ำมันไปที่โรงกลั่น ไปที่คลังน้ำมัน รวมถึงตู้สินค้า จะมีการขนหรือเปล่าในอนาคต เพราะว่าไปที่ราบบ่อนไก่นี้ ผ่านถนนพระราม ๔ อันตรายนะครับ ชุมชนที่อยู่ริมข้าง ๆ อย่างที่ผมบอกมันกว้างไม่ถึง ๒-๔ เมตร ก็เคยเกิดอุบัติเหตุขึ้นหลายครั้ง ลากคนเมา ลากคนที่ไม่ได้รู้เรื่องอะไร คนสติไม่ดี มันไม่มีการรักษาความปลอดภัย แล้วก็ ส่งผลต่อระบบจราจรด้วยรถติด เพราะมันต้องผ่านถนนสุขุมวิทและถนนพระราม ๔ ทั้ง ๒ เส้น ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตวัฒนา-คลองเตย ขอปรึกษาหารือท่านประธาน ขอสไลด์ด้วยนะครับ
ประเด็นแรก ขอให้สำนัก การจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ติดป้ายห้ามจอดตลอดแนวปากซอยสุขุมวิท ๒๒ ข้างศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์
เรื่องที่ ๒ ขอให้สำนักงานประปาสุขุมวิทตรวจสอบคุณภาพบริษัทผู้รับเหมา ที่วางท่อใต้ทางเท้าตลอดแนวถนนพระรามที่ ๔ เพราะว่าไม่มีการป้องกันดูแลความปลอดภัย เพียงพอ รวมถึงไม่มีการแจ้งแผนงานระยะเวลาในการดำเนินงาน
เรื่องที่ ๓ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ชุมชนแฟลตเทพประทาน ร้องให้มีการดูแลสาธารณูปโภค ไฟทางส่องสว่าง ปั๊มน้ำ ลิฟต์ พื้นผิวจราจร เพราะว่าปัจจุบัน ก็ไม่แน่ใจว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผมต้องไปร้องที่ใคร ไม่รู้สังกัด หน่วยงานไหน ขอบคุณมากครับ
เรื่องที่ ๔ ปัญหาสุนัขจรที่มีจำนวนมากขึ้นในชุมชนแฟลต ๑๙-๒๒ ขอให้ ปศุสัตว์กรุงเทพมหานครมาทำหมันและฉีดวัคซีนสุนัขจรทั้งหมดในชุมชนแฟลต ๑๙-๒๒
เรื่องต่อไป เรื่องการปรับปรุงสาธารณูปโภคของแฟลต ๑๙-๒๒ เคยเรียก การเคหะแห่งชาติเข้ามาชี้แจงในชั้นกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม แต่ก็ยังไม่มีการทำ อะไรเลยนะครับ ฝาท่อระบายน้ำ ไฟฟ้าส่องสว่าง ประตูเหล็ก ห้องขยะที่พัง ตู้เก็บถังดับเพลิง
ต่อไป ปัญหาขอทานต่างด้าวละเมิดสิทธิเด็ก เคยร้องไปที่คณะกรรมาธิการ กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ เหมือนกัน ไม่มีความคืบหน้าครับ พม. ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เทศกิจเขตวัฒนา สน. ลุมพินี รบกวนเข้ามาตรวจตราด้วยนะครับ
ปัญหาแท็กซี่ป้ายดำ กรมการขนส่งทางบก ย่านอโศก-นานา รบกวนมาดูด้วย เคยร้องไปแล้วเหมือนกัน ทำหนังสือไป ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน สภานี้มันปาหี่หรือเปล่า พูดไปทุกสัปดาห์ พูดทุกครั้ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ผ่านไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีแล้วก็ไม่ได้รับ การแก้ไขครับ ผมว่า สส. ปัจจุบันนี้ประชาชนเขายังด่าเลยครับ ทำอะไรไม่ได้ เหมือน ประชาชนคนหนึ่ง ร้องไปก็เท่านั้น ทำหนังสือไปก็เงียบ บางทีหลายเรื่องเข้ากรรมาธิการ
เรื่องถัดไป ผมเอาเรื่องเข้าคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ไม่เคยจะมาตรวจ ไม่เคยบรรจุเรื่องผมเข้าวาระ ทำหนังสือถึงกรมการแพทย์แผนไทย เทศกิจเขตวัฒนา ยังขายกันโจ๋งครึ่มครับ ต่างด้าวจำหน่ายกัญชา
เรื่องต่อไป น้ำกระท่อมจะเอาอย่างไรครับ สน.คลองตัน แจ้งแล้ว บอกมาจับแล้ว ก็ยังมีขายอยู่ ผมขับรถไปส่งลูกหน้าโรงเรียนก็ยังมีขายน้ำกระท่อมอยู่ ขายไม่ได้ขายธรรมดา ขายบนทางเท้า ขายบนพื้นผิวจราจร
เรื่องสุดท้ายครับ ปรับปรุงไฟส่องสว่าง ร้อง Traffy Fondue ไปกี่ครั้งแล้ว สำนักโยธาธิการและผังเมือง เขตคลองเตย การไฟฟ้าเขตคลองเตยรบกวนมาจัดการด้วย ขอบคุณครับ