กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม นายวิทวัส ติชะวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๕ เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม เฉพาะแขวงคลองกุ่ม วันนี้ผมมีเรื่องจะปรึกษาท่านประธาน ๓ หัวข้อด้วยกัน
ข้อ ๑ ปัญหาบริเวณแยกรามอินทรา กม. ๘ เนื่องจากการขยายตัว ของประชากรในพื้นที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน ผมจึงอยาก ขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันบรรเทาปัญหาการจราจร รวมถึง ความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของพ่อแม่พี่น้องประชาชนดังนี้ ผมอยากขอฝาก ท่านประธาน ช่วยเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู เนื่องจากปัจจุบันมีการขยาย ระยะเวลาก่อสร้างมานานกว่า ๓ ครั้ง และกำหนดสิ้นสุดเดือนมิถุนายน ปี ๒๕๖๗
ข้อ ๒ จากในรูปท่านประธานจะเห็นแผ่นเหล็กวางปิดไว้บริเวณปากซอยคู้บอน ตรงทางเลี้ยวเข้าสู่ถนนรามอินทราซึ่งค่อนข้างอันตราย โดยเฉพาะในช่วงเวลาฝนตก รถมอเตอร์ไซค์ที่ขับผ่านแผ่นเหล็กดังกล่าวลื่นล้มเป็นจำนวนมาก ประชาชนเขาฝากถามมา มีไว้ทำไม รวมถึงสภาพถนนที่ไม่เรียบเป็นหลุมเป็นบ่อทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ผมขอฝาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเจ้าหน้าที่สำรวจและดำเนินการปรับปรุงคืนถนนให้เรียบคืนให้ ประชาชนด้วยครับ ปัญหาที่ ๓ ปัญหาทางม้าลาย อยากให้เพิ่มสัญญาณไฟกำกับการข้าม ทางม้าลายเพื่อช่วยความปลอดภัยให้แก่ประชาชนที่ข้ามแยกดังกล่าว ปัญหาที่ ๔ กล้องและ ไฟจราจร ผมอยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนและซ่อมแซมอุปกรณ์ที่จำเป็นให้อยู่ ในสภาพพร้อมใช้งาน การลงพื้นที่จากในรูปท่านประธานจะเห็นว่ากล้องที่สามารถใช้ได้นั้น มีเพียงแค่ ๒ ตัว จากเดิมมี ๘ ตัว
ข้อ ๓ ปัญหาเรื่องการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนใช้สอยร่วมกัน ผมทราบดีว่า ปัจจุบันทางกรุงเทพมหานครกำลังแก้ไขกฎหมายเรื่องนี้อยู่ แต่ผมอยากปรึกษาหารือ ท่านประธานถึงมาตรการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนที่กำลังเดือดร้อน อยู่ระหว่างที่รอ การแก้ไขกฎหมาย พอจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อนได้หรือไม่ เพื่อช่วยให้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้อย่างสะดวกและสามารถแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้ ผมขอยกตัวอย่างในภาพ ภาพนี้เป็นซอยนวมินทร์ ๔๒ แยก ๘ ฝั่งซ้ายและ ๒๓ ฝั่งขวา Slide ถัดมา จะเป็นซอยนวมินทร์ ๒๔ หมู่บ้านศรีนคร ซอย ๕ ปัญหาตอนฝนตกทำให้เกิด น้ำท่วมขังหลายวัน ชาวบ้านร้องเรียนไปหลายครั้ง แต่ก็ยังสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เพราะเป็นที่ดินเอกชนเป็นแบบนี้มายาวนานกว่า ๓๐ ปี เจ้าของหมู่บ้านเดิมยังไม่โอน กรรมสิทธิ์ให้ กทม. ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ผลเลยตกมาที่ประชาชน จากในรูปฝนตก ตกทีถนนเปลี่ยนเป็นคลอง เพราะไม่มีการลอกท่อมานานแสนนานครับ ปัญหาสุดท้าย ผมขอฝากท่านประธาน ถนนประเสริฐมนูกิจ บริเวณหน้าร้านอาหาร ชอกโกแลตวิลล์เป็นแบบนี้มายาวนานกว่า ๑ ปีที่ไม่มีแสงสว่างครับ สุดท้ายนี้ผมอยากขอ ขอบคุณทุกคะแนนเสียงของพี่น้องประชาชนชาวคันนายาว ชาวบึงกุ่ม ผมจะไม่ทำให้ ท่านผิดหวัง จะทำอย่างสุดความสามารถ คันนายาว บึงกุ่มต้องไม่เหมือนเดิม ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นายวิทวัส ติชะวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๕ วันนี้ผมมีเรื่องอยากปรึกษาหารือท่านประธาน ๔ หัวข้อด้วยกัน
เรื่องแรกครับ ปัญหา ผักตบชวา ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการกำจัดผักตบชวาให้เรียบร้อย ดังต่อไปนี้ ๑. คลองจรเข้บัว ๒. คลองลำบึงกุ่ม ๓. คลองคอตัน ภาพที่ท่านเห็นด้านขวามือคือ ซากผักตบชวาที่เจ้าหน้าที่แจ้งผมกลับมาว่าไม่รู้จะนำไปทิ้งที่ไหน เพราะฉะนั้นผมขอฝาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยอำนวยความสะดวกหาสถานที่ในการกำจัดผักตบชวาด้วยครับ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เน่าเสียอีกครั้ง
เรื่องที่ ๒ คือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในที่เอกชนที่ประชาชนใช้สอยร่วมกัน สืบเนื่องจากที่ผมหารือไปเมื่อครั้งก่อน พื้นที่ส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เขต ๑๕ นั้น เป็นพื้นที่เอกชนถูกทิ้งร้าง ไม่ได้รับการปรับปรุงมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้ปัญหาของประชาชน ในพื้นที่ไม่ได้รับการแก้ไข ผมขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งช่วยแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ให้ประชาชนได้ก่อนหรือไม่ ช่วยออกนโยบายช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในอนาคตด้วยครับ เพื่อน ๆ สมาชิกจะได้ไม่ต้องนำเข้าวาระหารือบ่อย ๆ และนี่คือภาพตัวอย่างปัญหาของ ซอยรามอินทรา ๖๒ ซอยรามอินทรา ๙๓ และนวมินทร์ ๗๐
เรื่องที่ ๓ คือเรื่องการเก็บค่าไฟย้อนหลัง เป็นข่าวล่าสุดที่สวนสยามถูกเก็บ ค่าไฟย้อนหลังมากกว่า ๑๑ ล้านบาท และมีชาวบ้านอีกหลายหลังคาเรือนได้ประสบปัญหานี้ เช่นกัน เขาฝากผมมาถามว่ารอบ Bill ค่าไฟครั้งหน้าต้องสำรองเงินเผื่อการเรียกเก็บย้อนหลัง ไว้ใช่หรือไม่ ผมขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล Case นี้ และหาวิธีการจัดการ อย่างเป็นธรรมให้ลูกบ้านผมด้วยครับ
สุดท้ายครับ คือการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ในระหว่างการรอดำเนินการ ตามสถานที่ต่าง ๆ สามารถให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดระเบียบสายสื่อสารได้ก่อน หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ลดอุบัติเหตุ และลดความเสี่ยงกรณีเพลิงไหม้ สายสื่อสาร ขอบคุณครับท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นายวิทวัส ติชะวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๕ วันนี้ครับท่านประธานผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธาน ๒ หัวข้อด้วยกันครับ
เรื่องแรก เรื่องปัญหาสายสื่อสารครับ ผมทราบดีครับว่าทางสำนักงาน กสทช. ได้มีการออกแผนการจัดระเบียบสายสื่อสารออกมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๕ แต่ปัญหา ณ ตอนนี้คือ ตามชุมชนแออัดและบางสถานที่ที่ควรได้รับการแก้ไขแต่ไม่อยู่ในแผนงานครับ ต่อมาครับคือ ซอยรามอินทรา ขอสไลด์ครับ
จะมีตัวอย่าง ขอภาพซอย รามอินทรา ๔๖/๑ แยก ๑ รามอินทรา ๘๓ เสรีไทย ๙ และชุมชนสมหวัง จากภาพที่ ท่านเห็นคือจุดที่เสี่ยงต่อเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนโดยรอบ ผมไม่อยากเห็นข่าวเหตุการณ์เพลิงไหม้สายสื่อสารที่จะทำให้เกิดความสูญเสียอีก เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยให้วัวหายแล้วค่อยล้อมคอกครับ
ถัดมา คือภาพที่ผมและทีมงานได้มีการแจ้งเรื่องเตือนผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Traffy Fondue สำนักงานเขตและ Line Official ของทาง กสทช. แต่ก็ยังไม่ได้ รับการแก้ไขใด ๆ สรุปได้ว่าโยนกันไปโยนกันมา ไฟไหม้อีกรอบแน่นอนครับท่านประธาน ผมขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาวิธีการแก้ไขปัญหาสำหรับชุมชนที่ไม่ได้อยู่ในแผนงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยครับ
ปัญหาสุดท้ายครับท่านประธาน คือเรื่องไฟถนนและไฟป้ายรถเมล์สาธารณะดับ ภาพด้านซ้ายมือคือ กม.๘ อยู่หน้าคอนโดมิเนียมลุมพินี และภาพด้านขวามือคือถนนนวมินทร์ตั้งแต่ซอย ๗๐ ที่มีทั้งดับทั้งติดสำหรับไฟ และมีการแจ้งเรื่องไปตั้งแต่วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๖ สไลด์สุดท้ายคือภาพปัจจุบันที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ผมขอความอนุเคราะห์จากท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครช่วยหาสาเหตุว่าเหตุใดการแก้ไขนี้ถึงล่าช้า มีเจ้าหน้าที่เพียงพอหรือไม่ หรือเพราะเหตุผลใด เพื่อแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้อย่างทันท่วงที ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นายวิทวัส ติชะวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๕ ตัวแทนจากพี่น้องชาวคันนายาวและบึงกุ่ม จากพรรคก้าวไกลครับ วันนี้ครับ ท่านประธาน ผมมีเรื่องอยากปรึกษาหารือท่านประธาน ๔ เรื่องดังนี้
เรื่องแรก ผมขอฝาก ท่านประธานประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยมอบหมายเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ชุมชน บางเตยกลางเพื่อ ๑. ปรับปรุงสะพานทางเดินเลียบลำรางสาธารณะให้ปลอดภัยได้มาตรฐาน ๒. ขุดลอกลำรางเพื่อเป็นการป้องกันน้ำท่วมในหน้าฝน ๓. เพิ่มเสาไฟฟ้าพร้อมติดตั้งไฟฟ้า ส่องสว่างเนื่องจากไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณทางเดินเลียบคลองทำให้มีความเสี่ยง เกิดอันตรายครับ ยังมีทางเดินสะพานเลียบริมน้ำสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อีกมากมายที่เป็นแบบนี้ ผมจึงขอฝากถึงท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครช่วยเร่งหาทาง แก้ไขจุดดังกล่าวทั่วทั้งกรุงเทพมหานครให้ได้ตามมาตรฐานได้หรือไม่
เรื่องที่ ๒ ซอยนวมินทร์ ๗๐ ไปเกือบถึงซอยนวมินทร์ ๗๔ หลอดไฟฟ้า LED ที่เพิ่งเปลี่ยนยังไม่ติดครับ จากวงกลมรูปด้านขวามือ พี่น้องประชาชนข้ามถนนบริเวณ ดังกล่าวเป็นประจำผมเกรงว่าจะเกิดอันตราย
และเรื่องสุดท้ายครับ ผมเคยแจ้งเรื่องเหล่านี้ให้ทาง กทม. รับทราบเมื่อ เดือนกันยายนที่ผ่านมา รวมถึงได้นำมาหารือในครั้งที่แล้วในเรื่องไฟฟ้าป้ายรถเมล์ดับ ในบริเวณพื้นที่ ๑. หน้าคอนโดมิเนียมลุมพินี กม.๘ ๒. ตรงข้ามโรงพยาบาลพญาไทนวมินทร์ ๓. ตรงข้ามหมู่บ้านวังทองเฮ้าส์ เสียมาเกิน ๖ เดือนแล้วครับ ปัจจุบันก็ยังคงเสียอยู่เช่นเดิม โปรดเร่งแก้ไขให้พี่น้องประชาชนในเขตการดูแลของกระผมเสียทีเถอะครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนประธานสภา ที่เคารพครับ กระผม นายวิทวัส ติชะวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๕ ครับ วันนี้ครับท่านประธานผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายสนับสนุนการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพง ตามญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้ร่วมกันเสนอมาครับ โดยวันนี้ผมขออนุญาตไม่พูดถึงปัญหาโครงสร้างของค่าไฟฟ้า หรือทำไมค่าไฟฟ้าเราถึงแพง แสนแพงในยุคปัจจุบันนะครับ เนื่องจากมีเพื่อนสมาชิกหลายท่านได้ทำการอภิปราย เรื่องโครงสร้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในวันนี้ครับท่านประธาน ผมขอเป็นตัวแทนในการ นำเสนอปัญหาความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงการใช้ไฟฟ้าของพี่น้องประชาชนในหลาย ๆ พื้นที่ครับ ปัจจุบันนี้การเข้าถึงไฟฟ้าถือเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ อย่างเท่าเทียมกัน จากการลงพื้นที่ของผมและทีมงานพบว่าชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ ประสบปัญหาที่ไม่สามารถทำการขอมิเตอร์ไฟฟ้าได้
เนื่องจากเหตุผลหลายประการ เช่น ไม่มีเลขที่บ้านหรือไม่มีสำเนาทะเบียนบ้าน จึงทำให้ภาระในการจ่ายค่าไฟฟ้า ที่แพงกว่าปกติ โดยบางชุมชนจะมีการใช้วิธีขอติดตั้งมิเตอร์ชั่วคราวแทน ซึ่งในกรณีดังกล่าว จะมีการเก็บค่าใช้ไฟฟ้าในราคาสูงกว่าปกติ ตามรูปนะครับ ฝั่งซ้ายคืออัตราการคิดค่าบริการ แบบปกติ โดยจะเริ่มคิดค่าไฟฟ้าหน่วยละ ๒.๓๐ บาท ไปจนถึง ๔.๔๐ บาท ส่วนด้านขวา ครับท่านประธาน คือการคิดค่าไฟฟ้าจากมิเตอร์ที่ขอมาชั่วคราว โดยจะเป็น Flat Rate หรือเป็น Rate เดียวที่ต้องทำการจ่ายคือหน่วยละ ๖.๘๐ บาทครับ ผมลองคำนวณ เปรียบเทียบค่าไฟฟ้าระหว่างแบบปกติและแบบชั่วคราวให้ทุกท่านได้ดู โดยตั้งโจทย์ว่า หากบ้านทั้ง ๒ หลัง ใช้ไฟฟ้าเท่ากันอยู่ที่ ๑๐๐ หน่วยต่อเดือน แต่มิเตอร์ต่างกัน การคำนวณไฟฟ้าจะแตกต่างกันเท่าไร และนี่คือผลที่ได้ครับ หลังจากใช้มิเตอร์แบบปกติ จะจ่ายค่าไฟอยู่ที่ ๔๐๗ บาท ๖๔ สตางค์ แต่ในเมื่อใช้มิเตอร์แบบชั่วคราวหรือการขอมิเตอร์ แบบชั่วคราวจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าอยู่ที่ ๗๗๐ บาท ๓๗ สตางค์ จะเห็นได้ว่าบ้านหลังที่ใช้ มิเตอร์ชั่วคราวนั้นต้องจ่ายแพงกว่าเกือบ ๒ เท่าครับ ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเราก็ประสบปัญหาเรื่องนี้เช่นกัน อย่างปัญหาชุมชนแออัดหรือผม ทราบดีครับว่าทะเบียนบ้านชั่วคราวนั้น เป็นทะเบียนบ้านที่ออกให้กับบ้านที่ปลูกสร้าง ในพื้นที่สาธารณะหรือโดยบุกรุกป่าสงวน โดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการ คุ้มครองก่อสร้างอาคารหรือตามกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งกฎต่าง ๆ เหล่านี้บีบให้พวกเขาทั้งหลาย ต้องหาวิธีอื่น ๆ ในการเข้าถึงการใช้ไฟฟ้าครับ โดยชาวบ้านในชุมชนซึ่งแบ่งเป็น หลายหลังคาเรือนจะใช้วิธีโยงสายไฟฟ้าเข้าบ้านของตัวเอง และในแต่ละชุมชนจะมีการตกลง การคิดค่าบริการไฟฟ้าที่แตกต่างกันไปครับ เหตุการณ์ที่พบเจอ ๑. คิดค่าไฟฟ้าโดยการ ถัวเฉลี่ยเท่ากันทุกหลังคาเรือนที่มีการโยงไฟฟ้าไปใช้ เหตุการณ์ที่ ๒ คิดค่าไฟฟ้าจาก จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือนนั้น ๆ ตาม Rate ของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท ที่กินไฟไม่เท่ากัน ตามมูลค่าที่แต่ละชุมชนกำหนด เหตุการณ์ที่ ๓ คือการคิดค่าไฟฟ้า ตามจำนวนผู้อยู่อาศัยในครัวเรือนนั้น ๆ ตาม Rate ต่อหน่วยต่อคนที่ชุมชนถัวเฉลี่ย จากยอดที่ถูกเรียกเก็บจากการไฟฟ้า อีกหนึ่งกรณีเป็นชุมชนที่ไม่มีบ้านเลขที่ครับ จึงจำเป็นต้องดึงไฟฟ้ามาใช้จากบ้านใกล้เคียงที่มีบ้านเลขที่ และตอนนี้จ่ายค่าไฟอยู่หน่วยละ ๑๑-๑๒ บาทครับ ทุกท่านครับ ลองจินตนาการตามภาพผมนะครับ ชาวบ้านบางราย ต้องจ่ายค่าไฟหน่วยละ ๑๒ บาท และค่าน้ำเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท เนื่องจากพวกเขา ไม่มีทะเบียนบ้าน จึงไม่สามารถขอมิเตอร์ไฟ มิเตอร์น้ำได้ จึงทำให้พวกเขาเหล่านี้ ไม่มีทางเลือกต้องยอมทนจ่ายค่าไฟในอัตราที่สูง และจำเป็นที่ต้องมีการเชื่อมต่อ การใช้ไฟฟ้าหรือเรียกง่าย ๆ ว่ามิเตอร์หม้อรวมครับ ที่ต้องต่อมาจากบ้านหลังอื่นในขณะที่ ค่าไฟฟ้า ณ ปัจจุบันที่สูงอยู่แล้วและสูงขึ้นไปอีก ยิ่งไปกว่านั้นบางครอบครัวมีอาชีพ และรายได้ที่ไม่แน่นอน หาเช้ากินค่ำ อาศัยเก็บของเก่าขายพอประทังชีวิตไปวัน ๆ บางครอบครัวมีผู้ป่วยติดเตียงที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา ทุกวันนี้ครับท่านประธาน ค่าแรงขั้นต่ำที่สุดอยู่ที่ประมาณ ๓๓๐ บาท ส่วนค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับรายได้ รวมถึงการเกิดระบาดของโควิด-๑๙ และสถานการณ์ความขัดแย้งตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ในระยะยาวชาวบ้านเหล่านี้ไม่สามารถแบกรับภาระดังกล่าวได้ไหวอย่างแน่นอนครับ หากจะให้ขอมิเตอร์เป็นปกติ ก็เป็นไปได้ยาก เนื่องจากกฎระเบียบในการขอติดตั้งมิเตอร์ใหม่ มีเงื่อนไขหลายประการ และจะต้องใช้เงินในการขอรับการติดตั้งหรือวางมัดจำมิเตอร์ไฟฟ้า เป็นจำนวนเงินค่อนข้างสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นประเทศไทยเรายังพอมีความหวังครับ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ปี ๒๕๖๗ ท่านนายกรัฐมนตรีได้เปิดเผยมติ ครม. ว่าที่ประชุมได้มอบหมาย ให้กระทรวงมหาดไทยแก้ระเบียบให้คนมีทะเบียนบ้านชั่วคราวสามารถขอใช้ไฟฟ้า เช่นเดียวกันได้กับผู้ที่มีทะเบียนบ้านปกติในอัตราที่เท่ากัน แต่จะเริ่มนำร่องที่จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดแม่ฮ่องสอนครับ แต่ผมอยากจะขอร้องไปยัง ท่านนายกรัฐมนตรีครับ สามารถเร่งปลดล็อก ปรับ แก้ไข ระเบียบนี้ทั่วประเทศได้หรือไม่ เพื่อลดต้นทุนของพี่น้องประชาชนในการใช้ชีวิตในทุก ๆ วันและปัญหาที่ผมได้กล่าว ก่อนหน้านี้ครับ ด้วยปัญหาหลายประการผมจึงอยากขอความอนุเคราะห์จากเพื่อนสมาชิก ร่วมกันสนับสนุนญัตติการตั้งกรรมาธิการวิสามัญนี้ขึ้นมา เพื่อพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหา ค่าไฟแพงและแนวทางการแก้ไขปัญหาของประชาชนต่อไป สุดท้ายนี้ผมอยากขอให้ทบทวน หรืออนุโลม กฎ ระเบียบ และการคิดค่าธรรมเนียม ในการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟชั่วคราว สำหรับบุคคลธรรมดาหรือบุคคลที่ยากจนอีกครั้งครับ เช่น หากเป็นชุมชนที่ถูกรับรอง ได้จัดตั้งเป็นชุมชนจากกรมการปกครองแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่มีทะเบียนบ้านหรือทะเบียนชั่วคราว ก็สามารถขอสิทธิในการติดตั้งมิเตอร์ชั่วคราวได้ รวมถึงจ่ายค่าไฟในอัตราปกติเพื่อการ สนับสนุนการขึ้นทะเบียนการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง ทั้งได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย ลดการเกิดอันตรายจากการพ่วงโยงสายไฟกันเอง เรื่องนี้สำคัญครับ เพราะจะไปช่วยลด ภาระค่าครองชีพให้กับชาวบ้านและเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนด้วย ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นายวิทวัส ติชะวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๕ ตัวแทนชาวคันนายาวและบึงกุ่ม จากพรรคก้าวไกลครับ วันนี้ครับท่านประธาน ผมดีใจ แทนประชาชนทั่วทั้งประเทศที่สภาของเรากำลังร่วมกันพิจารณาปลดล็อกร่างกฎหมายที่เป็น ประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนอย่างมากฉบับนี้ เพราะมันหมายถึงการที่พวกเขาจะได้รับ การดูแลสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจากภาครัฐในฐานะผู้เสียภาษีที่ควรจะได้รับการดูแลอย่าง เท่าเทียมกัน จากการลงพื้นที่ของผมและทีมงานครับ พบว่าปัญหาเรื่องการพัฒนาทรัพย์สิน ที่ประชาชนใช้สอยร่วมกันนั้นส่วนใหญ่ประสบปัญหาคล้าย ๆ กัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าที่ถูก ทิ้งร้างไม่ได้รับการพัฒนา บำรุง ซ่อมแซมและดูแลจากเจ้าของโครงการครับ ในบางหมู่บ้าน จัดสรรเจ้าของโครงการหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนใหญ่ส่วนรวมนั้นเสียชีวิตไปแล้ว หาเจ้าของไม่ได้ ติดจำนองกับธนาคาร ล้มละลาย หรือเจ้าของโครงการไม่ประสงค์ที่จะ ยกภาระจำยอมให้ลูกบ้าน เนื่องจากมูลค่าที่ดินสูงขึ้น รวมถึงโครงการหมู่บ้านจัดสรรที่ทำ ขยายขนาดโครงการไปเรื่อย ๆ ทำให้ชาวบ้านได้รับความเสียหายเดือดร้อนในเรื่องของการ บำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ปัญหาไฟฟ้าส่องสว่าง ถนนเสียหายชำรุดเป็น หลุมเป็นบ่อ เมื่อถึงฤดูฝนเกิดน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ในบางครั้งก็เป็นเหตุทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและ ทรัพย์สิน เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ไม่ใช่แค่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่เกิดขึ้น ในหลายจังหวัดเช่นกัน และยังไม่ได้รับการแก้ไขมาอย่างยาวนาน รบกวนขอสไลด์ครับ
ท่านจะเห็นตัวอย่างรายชื่อ หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบที่มีมากกว่า ๑๕ หมู่บ้าน ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่างหมู่บ้านที่กำลัง ประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ในเขตพื้นที่เฉพาะที่ผมดูแลครับ ขออนุญาตยกตัวอย่างปัญหาคร่าว ๆ ในเขต ๑๕ ให้ทุกท่านได้ลองนึกภาพตามครับ หมู่บ้านแรกครับเป็นหมู่บ้านเก่าที่ถูกสร้าง มานานหลายสิบปี มีมากกว่า ๓๕๐ หลังคาเรือน แต่ไม่มีนิติบุคคลดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง บริเวณลานกีฬาซึ่งเคยเป็นที่รกร้าง ชาวบ้านต้องระดมทุนส่วนตัวพัฒนาพื้นที่กันเองเพื่อที่จะ ใช้จัดกิจกรรมให้ผู้ใหญ่ได้ออกมาเต้น Aerobics วัยรุ่นและเด็ก ๆ ออกมาออกกำลังกายและ เล่นกีฬากัน ลานดังกล่าวไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างครับ ส่วนไฟฟ้าตามถนนตามซอยลูกบ้านใช้วิธี พ่วงไฟจากในบ้านแต่ละหลังเพื่อพื้นที่ถนนภายในหมู่บ้านได้มีแสงสว่างในเวลากลางคืน ต่อมาเป็นตัวอย่างปัญหาเรื่องน้ำท่วมในหมู่บ้านที่ไม่มีท่อระบายน้ำสาธารณะ เวลาฝนตก จึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่หลายสัปดาห์ ประชาชนที่อยู่ในซอยดังกล่าวต้องเดินลุยน้ำ เข้าออกแทบจะทุกวันในช่วงฤดูฝน และตัวอย่างปัญหาสุดท้ายครับ คือเรื่องถนนชำรุด เมื่อถนนเป็นหลุมเป็นบ่อจึงทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งถนนดังกล่าวยังตั้งอยู่ใกล้สถานศึกษา ตลาด ห้างสรรพสินค้า และอีกทั้งยังเป็นทางเข้าออกบ้านเรือน ผู้คนกว่าร้อยหลังคาเรือน คิดง่าย ๆ ครับท่านประธาน ประชาชนหลายพันคนต้องสัญจรผ่านถนนที่ไม่สมประกอบนี้ ทุกวัน ผมเชื่อครับว่าปัญหาเหล่านี้เคยเกิดขึ้นกับหมู่บ้านอีกหลาย ๆ หมู่บ้านทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ปัญหานี้ยังคงเกิดขึ้นอยู่ และผมเชื่อว่า ปัญหาจะยังเกิดขึ้นต่อไปโดยที่ไม่ได้รับการแก้ไขครับ ผมจึงขออนุญาตมีส่วนร่วมในการ อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินที่เพื่อนสมาชิกได้ร่วมกันเสนอร่าง เข้ามาในวันนี้ครับ ทั้งร่างของ สส. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ จากพรรคก้าวไกล และร่างของ สส. ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ จากพรรคเพื่อไทย โดยผมเห็นว่าร่าง พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินทั้ง ๒ ฉบับนี้เป็นร่างที่จะเอื้อให้พี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนจากปัญหาที่กระผมได้กล่าวไว้ เบื้องต้นได้รับประโยชน์มากที่สุดครับ และเพื่อบรรเทาทุกข์จากปัญหาที่ชาวบ้านพบเจอ มานานแสนนาน ต่อมาครับผมขออนุญาตยกตัวอย่างร่างมาตราต่าง ๆ ที่ พ.ร.บ. ๒ ฉบับนี้ เสนอแก้ จากภาพด้านซ้ายนะครับ เพื่อการสรุปจุดมุ่งหมายให้เข้าใจได้ง่ายคือ เพื่อตั้งกรอบ เวลาบังคับให้ต้องจัดตั้งนิติบุคคลภายในระยะเวลา ๓ ปีนับตั้งแต่มีการจดทะเบียนโอน ทรัพย์สินดังกล่าว แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ และถูกร่างเพื่อการเปิดช่องให้ลูกบ้านสามารถ รวมตัวกันจัดตั้งนิติบุคคลเองได้ในกรณีที่เจ้าของโครงการไม่ทำ ส่วนด้านขวา หมายถึงหากเจ้าของโครงการมีความประสงค์จะยกที่ดินให้โครงการให้เป็นที่ สาธารณะตั้งแต่แรกแล้ว แต่ไม่ทำการยกให้เสียที ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรสามารถรวมตัวกันไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังสามารถมีมติยกให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ได้ สุดท้ายนี้ครับท่านประธาน ด้วยเหตุผลที่ผมกล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนี้ ผมขอวิงวอนให้เพื่อน สมาชิกร่วมกันเร่งรัดและผลักดันให้รีบพิจารณารับร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินทั้ง ๒ ฉบับนี้ รวมถึงพิจารณารับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดินของเพื่อนสมาชิก ท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ซึ่งเป็นผู้เสนอ เนื่องจากมีเนื้อหาที่สัมพันธ์และทำนองเดียวกัน แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายครับ เมื่อสักครู่การรวมร่าง พ.ร.บ. ทั้ง ๓ ฉบับนี้ ก็ถูกปัดตกไป แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้นร่าง พ.ร.บ. ทั้งหมดนี้จัดทำมาเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ลูกบ้านมีอำนาจต่อรองกับเจ้าของ โครงการ และเป็นการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการที่ถูกผู้จัดสรร ที่ดินละเลยหรือทอดทิ้งไม่บำรุงรักษาสาธารณูปโภค จึงจำเป็นต้องขอเพื่อนสมาชิกทุกท่าน รับรองร่าง พ.ร.บ. ทั้ง ๒ ฉบับนี้ครับ ขอบคุณครับ