เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกล อำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ และอำเภอแม่ทะ ขอเรียนท่านประธานสภาผ่านไปยังผู้ชี้แจง ในฐานะผู้แทนคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในประเด็นของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ผมจะขออธิบายคร่าว ๆ ให้ท่านประธานฟังและพิจารณานะครับ ที่จังหวัดลำปางของเรา เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นเหมืองถ่านหินลิกไนต์แบบเปิดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เป็นเมืองแห่งความมั่นคงทางพลังงาน ผลิตกระแสไฟฟ้าให้คนไทยใช้ มีกำลัง การผลิตกว่า ๒,๒๒๐ เมกะวัตต์ แต่คุณภาพชีวิตของพวกเราครับท่านประธาน กลับสวนทาง ชาวแม่เมาะ ชาวลำปาง เสียสละบ้านที่อยู่ ชุมชน วัฒนธรรม รวมทั้งความปกติทางสุขภาพ ให้พี่น้องคนไทยได้ใช้ไฟอย่างสะดวกสบาย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ
อีก ๑ ประเด็นก็คือเรื่องของภาคการเกษตรในพื้นที่ที่ประสงค์จะรับเงิน อุดหนุนจากกองทุนนี้ก็มีอุปสรรคอีกประการหนึ่ง คือกรอบเวลาของการพิจารณาโครงการ ที่ต้องทำประชาคมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม จากนั้นผ่านกองจากหมู่บ้านไปสู่ตำบล ไปสู่อำเภอ ไปสู่จังหวัด จากนั้นเข้า กกพ. เขต ๑ เชียงใหม่ ส่งต่อ กกพ. กลาง จากนั้น โครงการอนุมัติส่งกลับมาที่จังหวัดเพื่อจัดสรรลง ๔๔ หมู่บ้าน ในช่วงเมษายน และพฤษภาคม กว่าจะจัดซื้อจัดจ้างซึ่งก็ไม่ทันช่วงเพาะปลูกของชาวบ้าน การขุดเจาะบาดาลกว่าโครงการ จะอนุมัติ หาผู้รับเหมาก็ไม่ทันภัยแล้งเสียแล้ว อยากให้ท่านพิจารณาแบ่งประเภทโครงการ ในการพิจารณาให้ตอบโจทย์พี่น้องประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ ผมขอให้ท่านแนะนำว่าใส่มาในรายงานปีต่อ ๆ ไปถึงโครงการต่าง ๆ ที่ได้อนุมัติภายใต้ กองทุนพัฒนาไฟฟ้า และวิงวอนให้ท่านผู้ชี้แจงตรวจสอบย้อนกลับว่าโครงการนั้น มีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อที่จะเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาปีต่อ ๆ ไป และผมหวังว่า ในรายงานปี ๒๕๖๕ ที่จะเข้าสภาครั้งต่อไปคงมีรายละเอียดประเด็นนี้
และอีกประเด็นหนึ่งที่อยากฝากไว้ก็คือการจัดสรรเงินกองทุนลงในแต่ละพื้นที่ เกณฑ์เดิมคือการพิจารณารายหมู่บ้าน ราย อปท. ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน เช่น หมู่บ้าน ก มีประชากรกว่า ๒,๐๐๐ คน หมู่บ้าน ข มีประชากร ๒๐๐ คน เป็น ๑ ต่อ ๑๐ แต่ท่านรู้ไหมครับว่างบประมาณกลับได้รับการจัดสรร ๔,๒๐๐,๐๐๐ บาท เหลื่อมหลักพันหลักหมื่นนะครับ ใกล้เคียงกัน ถามท่านว่ายุติธรรมไหมครับระหว่าง ๒,๐๐๐ คน กับ ๒๐๐ คนที่ได้งบประมาณใกล้เคียงกัน กองทุนนี้มีขึ้นมาเพื่อเยียวยา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต แต่สิ่งสุดท้ายเหล่านี้นะครับตอบโจทย์หรือไม่ อยากฝากการบ้าน ให้ท่านกลับไปคิดครับว่าเป็นไปได้ไหมที่เราจะหารายหัวให้กับชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้าน ด้วยเงินกองทุนนี้ชาวบ้านจะขอทำประชาคมเพื่อแยกหมู่บ้าน สร้างความคลางแคลงใจ เพื่อที่จะได้รับเงินอุดหนุนมากขึ้นผมคิดว่ามันวุ่นวาย และอาจจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ในระยะยาว การแก้ปัญหานี้จะตอบโจทย์หลาย ๆ อย่าง ขอให้ท่านผู้ชี้แจงช่วยปรับ หลักเกณฑ์ให้เข้าสภาวการณ์ปัจจุบันด้วยครับ
สุดท้ายนี้ผมอยากเรียนท่านประธานสภาผ่านไปยังผู้ชี้แจง การผลิตกระแสไฟฟ้า โดยถ่านหินลิกไนต์ แม้ว่าจะเป็นการผลิตต้นทุนเงินที่ต่ำ แต่ต้องแลกกับต้นทุนชีวิตของ พ่อแม่พี่น้องอำเภอแม่เมาะ พี่น้องจังหวัดลำปาง มีผลงานวิชาการทั้งในและต่างประเทศ ใช้โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นกรณีศึกษา ในเมื่อพวกเราเสียสละมากถึงขนาดนี้ท่านจะไม่ใยดี ท่านจะไม่เหลียวแลพวกเราอีกหรือครับที่จะต้องเผชิญหน้ากับความไม่เป็นธรรม ในวันที่ ถ่านหินลิกไนต์หมดพวกเราจะอยู่อย่างไรในสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย การใช้พลังงาน สะอาดต่าง ๆ Solar Cell หรือแม้แต่พลังงานน้ำก็สามารถทำได้ที่นี่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางท่ามกลางกระแสโลกที่หยุดการใช้ลิกไนต์ไปแล้ว เพราะฉะนั้นการอภิปราย วันนี้จะช่วยเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์แห่งการถูกเอารัดเอาเปรียบว่าพวกเรา ชาวอำเภอแม่เมาะ ชาวอำเภอแม่ทะ ชาวจังหวัดลำปาง ต้องเผชิญกับฝันร้ายซ้ำแล้วซ้ำอีก ขอบคุณครับท่านประธาน
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกล อำเภอเมือง อำเภอแม่ทะ อำเภอแม่เมาะ ผมลงพื้นที่และได้รับทราบความเดือดร้อน ของพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวลำปาง จึงขอเรียนปรึกษาหารือท่านประธานสภาผ่านไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นแรก ผ่านไปยังกรมทางหลวง ด้วยถนนทางหลวงหมายเลข ๑๐๓๗ ลำปาง-แม่ทะ ตั้งแต่ช่วงวงเวียนมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ตำบลชมพู อำเภอเมือง ผ่านวัดดอยม่วงคำไปจรดสามแยกเลี่ยงเมืองเข้าตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ และถนน ทางหลวงหมายเลข ๑๐๓๖ ตั้งแต่ช่วงแยกบ้านฟ่อน ตำบลชมพู อำเภอเมือง ถึงแยก บ้านแม่ปุง ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ ทั้งที่ถนนทั้ง ๒ เส้นเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างอำเภอ และมีผู้สัญจรนับพันคันต่อวัน ทั้งยังสามารถเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข ๑ ซึ่งเป็นถนน สายหลักของประเทศ จึงขอให้มีไฟส่องสว่างเพื่อลดอุบัติเหตุและอาชญากรรมที่เกิดขึ้น บ่อยครั้ง
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกล อำเภอเมือง อำเภอแม่ทะ อำเภอแม่เมาะ ผมลงพื้นที่และได้รับทราบความเดือดร้อน ของพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวลำปาง จึงขอเรียนปรึกษาหารือท่านประธานสภาผ่านไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นแรก ผ่านไปยังกรมทางหลวง ด้วยถนนทางหลวงหมายเลข ๑๐๓๗ ลำปาง-แม่ทะ ตั้งแต่ช่วงวงเวียนมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ตำบลชมพู อำเภอเมือง ผ่านวัดดอยม่วงคำไปจรดสามแยกเลี่ยงเมืองเข้าตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ และถนน ทางหลวงหมายเลข ๑๐๓๖ ตั้งแต่ช่วงแยกบ้านฟ่อน ตำบลชมพู อำเภอเมือง ถึงแยก บ้านแม่ปุง ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ ทั้งที่ถนนทั้ง ๒ เส้นเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างอำเภอ และมีผู้สัญจรนับพันคันต่อวัน ทั้งยังสามารถเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข ๑ ซึ่งเป็นถนน สายหลักของประเทศ จึงขอให้มีไฟส่องสว่างเพื่อลดอุบัติเหตุและอาชญากรรมที่เกิดขึ้น บ่อยครั้ง
ประเด็นที่ ๒ ผ่านไปยังกรมทางหลวงชนบท ถนนทางหลวงชนบทลำปาง หมายเลข ๔๐๔๒ ขอให้มีไฟส่องสว่างตลอดทั้งเส้น ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรหลักของหมู่บ้าน บ้านกล้วยแพะ ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง และมีประชากรมากกว่า ๒,๐๐๐ คน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชน
ประเด็นที่ ๓ ผ่านไปยังกรมทางหลวง รับทราบจากพี่น้องในเขตเทศบาลเมือง เขลางค์นคร กรณีการสร้างสะพานยกระดับ จุดตัดถนนทางหลวงหมายเลข ๑ และถนน ทางหลวงหมายเลข ๑๑ บริเวณแยกกิโลยักษ์ ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวก ในการจราจร ต้องไป U-turn กลับรถในระยะไกล และไม่สะดวกในการไปมาหาสู่ในพื้นที่ ของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จึงขอให้พิจารณาสร้างสะพานกลับรถเกือกม้า หรือจัดทำ แยกสัญญาณไฟจราจรเทียบเคียงแยกทางยกระดับเกษตรสุขในจังหวัดพะเยา
ประเด็นถัดมาผ่านไปยังกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เนื่องด้วยนายวีระชัย พรมศรี ผู้ใหญ่บ้านกิ่วห้อง ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ แจ้งว่าพื้นที่บ้านกิ่วห้องประสบปัญหา เรื่องของภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้เกษตรกรและผู้ใช้น้ำได้รับความเสียหาย เมื่อปี ๒๕๖๓ ประชาชนร่วมกันเข้าชื่อ เพื่อยื่นขอโครงการพัฒนาระบบการกระจาย น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรต่อผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต ๑ แต่ไม่มี ความคืบหน้า จึงขอให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน
ประเด็นถัดไปผ่านไปยังกรมชลประทานได้รับทราบจากผู้ใหญ่จันทร์ฟอง วงศ์เปี้ย ผู้ใหญ่บ้านนายาบ หมู่ที่ ๗ อำเภอแม่ทะ เนื่องด้วยอ่างเก็บน้ำแม่มอญ บ้านสามขา ตำบลหัวเสือ มีสภาพตื้นเขิน และปริมาณกักเก็บลดลง ขอให้ทำการขุดลอกเพื่อเป็นแหล่ง กักเก็บน้ำสำคัญของตำบล
ประเด็นสุดท้าย ขอเร่งรัดติดตามโครงการไปยังกรมชลประทาน รับทราบ จากนายฉลองชัย ทิพย์ธารากร และนายสมคิด วงศ์ปัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จางเหนือ ด้วยโครงการอ่างแม่จางตอนบนในพระราชดำริ ในตำบลจางเหนือ อำเภอแม่เมาะ ทำการ IEE ไปแล้วเรียบร้อย และได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อปี ๒๕๖๕ แต่เหตุใดยังไม่ได้รับ การดำเนินการจนปัจจุบัน ขอบคุณครับ
เรียนประธานสภาที่เคารพครับ ผม ชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกล อำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ และอำเภอแม่ทะ ประสงค์ที่จะอภิปรายร่วมในญัตติน้ำท่วมในพื้นที่ ภาคเหนือ ท่านประธานครับเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำป่าหลากเข้าท่วม บ้านเรือน ตัดเส้นทางสัญจร ทำความเสียหายเป็นอย่างมาก น้ำป่ามาเร็วแรง และไป อย่างเร็ว แต่ทิ้งความเสียหายไว้อย่างมหาศาล อาทิตย์นี้ทราบว่าจะมีพายุเข้ามาอีก ครับท่านประธาน ชาวบ้านเพิ่งทำความสะอาดบ้านไป ยังไม่ทันจะเรียบร้อยต้องมาเฝ้าระวัง อีกว่าอาทิตย์นี้จะไปอยู่ตรงไหน นอนหลับไม่เต็มตา ผมว่ามาตรการสำคัญคือเราจะมีการเตือน ชาวบ้านอย่างไรให้ทันท่วงทีก่อนน้ำป่ามาถึง เมื่อต้นน้ำต้องอุ้มน้ำเป็นจำนวนมากน้ำถึงจะ หลากลงมา ผมเชื่อว่าหน่วยงานที่จัดการน้ำย่อมมีข้อมูล ย่อมมีสถิติ เราควรจะนำข้อมูล เหล่านั้นมาประเมินเส้นทางน้ำ ปริมาณน้ำฝน หรือจุดติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ ซึ่งสามารถ ส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานหลักที่มีการบูรณาการร่วมกัน
ผมทราบมาว่าบางหน่วยงานก็มี Application แต่ว่าเป็นการเข้าถึงที่ยุ่งยาก มากครับ ต้อง Download เข้ามาในโทรศัพท์ส่วนตัว บางท่านพ่อแก่แม่เฒ่าอยู่ที่บ้าน คนเดียวใช้โทรศัพท์ 2G Download Application ไม่เป็น 3G ใช้ไม่เป็น เพราะฉะนั้น Cell Broadcast ควรจะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เรานำเข้ามาสำหรับภัยพิบัตินี้นะครับ อย่างเพื่อนผม สส. ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ซึ่งก็อภิปรายในประเด็นของ Cell Broadcast ไป เมื่อ กสทช. เข้ามารายงาน ซึ่งปีนี้ ปี ๒๕๖๖ แล้วประสิทธิภาพของ Cell Broadcast ดีกว่า SMS ครับ ไม่ใช่แค่เหตุการณ์น้ำท่วม แต่เหตุการณ์ยิงกันที่ห้างสรรพสินค้า เมื่อวาน ก็สามารถใช้เทคโนโลยีตัวนี้เข้ามาช่วยเหลือได้นะครับ
อีกประการหนึ่ง นอกจากการแจ้งเตือนแล้วก็คือปัญหาสุขภาพที่มากับน้ำป่า น้ำหลาก น้ำท่วม สมาชิกหลาย ๆ ท่านในสภาแห่งนี้ก็คงทราบดีและมีประสบการณ์ การลงพื้นที่ช่วยเหลือน้ำท่วม ฉี่หนูเอย ฮ่องกงฟุตเอย สุขภาพอนามัยจากการกินเอย ผมเพิ่งไปลงพื้นที่มาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ปัจจุบันก็ยังคันเท้าอยู่เลยครับท่านประธาน แต่พี่น้องประชาชนอยู่กับน้ำเกิน ๒๔ ชั่วโมง โรคที่ติดตามมาจะเป็นอย่างไร
ประเด็นสุดท้าย การซ่อมแซมเยียวยา ผมจะขอเน้นแค่ประเด็น สาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นถนน สะพาน หรือตลิ่งที่ทรุด ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ พื้นที่ ก็ติดเขตป่าใช้เวลาเป็นปี ๆ กว่าจะได้ซ่อมแซม หรือบางที่อาจจะทำไม่ได้เลย เป็นไปได้หรือไม่ครับว่าเราจะมีคณะกรรมการในแต่ละจังหวัดที่อนุญาต อนุมัติ ให้มีการซ่อมแซมบนสาธารณูปโภคเดิมได้เลย โดยไม่ต้องขอความเห็นจากหน่วยงาน ส่วนกลางเพื่อเป็นการลัดขั้นตอน หรือที่เราชอบพูดกันว่าเป็นการกิโยตีนกฎหมาย ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการประกาศเขตภัยพิบัติ เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานก็อยากให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา โดยมีการร่วมกัน ของหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดลำปางหรือในจังหวัดอื่น ๆ ที่จะสามารถอนุมัติงบประมาณ ในการซ่อมแซมในพื้นที่เดิม เราต้องยอมรับครับว่าในพื้นที่เขตภาคเหนือหรือในพื้นที่ ของจังหวัดลำปางมีหลายที่พ่อแม่พี่น้องไม่มีเอกสารสิทธิในการใช้ชีวิตเป็นถิ่นที่อยู่ แต่มีถนน มีสาธารณูปโภค มีสะพานที่ใช้ในการสัญจรมากว่า ๔๐-๕๐ ปี แต่ว่า เมื่อเกิดอุทกภัย หรือเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ไม่สามารถซ่อมแซมได้ทั้งที่เรามีงบประมาณ ปัญหาตัวนี้ต้องย้อนไปถึง พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ พ.ร.บ. ป่าสงวน พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่นิยามว่าพื้นที่ใดที่ไม่มีเอกสารสิทธิถือว่าเป็นพื้นที่ป่า เพราะฉะนั้นหน่วยงานท้องถิ่น หน่วยงานในจังหวัด อบจ. อปท. เทศบาลตำบล ไม่สามารถและไม่กล้าที่จะอนุมัติ งบประมาณเหล่านี้มาแก้ไข กฎหมาย ๒ ตัวนี้ไม่ทันยุคทันสมัย ถึงเวลาสังคายนากฎหมาย เพื่อให้อำนวยความสะดวกกับประชาชน ถ้าให้พูด Case นี้อีก ๒ ชั่วโมงก็พูดได้ครับ เพราะฉะนั้นเฉพาะหน้านี้การให้พื้นที่โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติแล้ว ควรให้อำนาจสั่งการกระจายอำนาจลงไป ท่านที่อยู่ส่วนกลาง อยู่กระทรวง จะไปรู้ดีเท่าคน ในพื้นที่ได้อย่างไร ฝากถึงรัฐบาล แม้ท่านเพิ่งจะมาเป็นรัฐบาล แต่เราทุกคนทราบปัญหาเหล่านี้ดี ในสภาชุดที่แล้วก็มีหลายท่านอภิปรายไว้เป็นอย่างดี ปัจจุบันหลายท่านก็ไปเป็นรัฐมนตรี ขอให้นำสิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางปฏิบัติ
สุดท้ายนี้ขอสรุป ๓ ประเด็นสั้น ๆ ๑. การเตือนภัยล่วงหน้า ๒. ภาวะ สุขภาพของประชาชนที่ประสบภัย และ ๓. การกิโยตีนกฎหมายและขั้นตอนในพื้นที่ เขตภัยพิบัติ ขอบคุณครับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม ชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกล อำเภอเมือง อำเภอแม่ทะ อำเภอแม่เมาะ ขอหารือความเดือดร้อนต่อท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง รับทราบจากนายธาราเงิน จันทร์คำ รองนายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร ด้วยสภาพผังเมืองในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ในปัจจุบันไม่มีการทำข้อมูลให้สอดคล้อง กับปัจจุบันจึงไม่สามารถขยายความเจริญได้ เช่น ฝั่งซ้ายของผังเมืองเป็นพื้นที่สีเขียวให้เป็น ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม บริเวณฝั่งตรงข้ามใกล้สถานีตำรวจภูธรเขลางค์นคร กำหนดไว้เป็นพื้นที่สีชมพูให้เป็นที่ดินประเภทคลังสินค้าทำให้ความเจริญกระจุกตัว จึงขอเรียน ผ่านไปยังกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย มาร่วมหารือกับเทศบาลเมือง เขลางค์นคร และพี่น้องประชาชนตำบลพระบาท ตำบลกล้วยแพะ ตำบลชมพู ตำบลปงแสนทอง เพื่อกำหนดสภาพพื้นที่ตามความเป็นจริงเพื่อขยายการพัฒนาเมืองต่อไป
ประเด็นต่อไปนะครับ รับทราบจากนายสองเมือง วงค์ไชย นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพิชัย ต้องการพัฒนาพื้นที่รกร้างบริเวณบ้านสันติสุข ตำบลพิชัย ประมาณ ๑๐๐ ไร่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ จึงต้องขออนุญาตการใช้พื้นที่กับกรมที่ดิน ซึ่งเป็น การขอใช้พื้นที่สาธารณะ น.ส.ล. จึงเรียนผ่านไปยังกรมที่ดินเร่งรัดการอนุญาตครับ
ประเด็นสุดท้าย ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนหลายตำบลในอำเภอแม่ทะ เช่นพื้นที่หมู่ที่ ๖ และหมู่ที่ ๗ ตำบลนาครัว หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๘ ตำบลสันดอนแก้ว หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๓ ตำบลน้ำโจ้ หมู่ที่ ๘ ตำบลดอนไฟ ถึงความกังวลของการใช้น้ำประปาหมู่บ้าน เพื่ออุปโภคบริโภค จึงเรียนผ่านไปยังกรมทรัพยากรน้ำดำเนินการวัดคุณภาพน้ำเพื่อสร้าง ความมั่นใจของประชาชนต่อไปครับ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกล อำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ อำเภอแม่ทะ ขอแสดงข้อคิดเห็นต่อท่านประธานสภาผ่านไปยัง ผู้ชี้แจง กสทช. ในประเด็นการกระจายโครงข่ายสัญญาณ ขอ Slide ด้วยครับ
เนื่องด้วยภารกิจขององค์กรคือการกำกับ ดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ในข้อ ๔ การจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน โดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม Universal Service Obligation ปัจจุบันประชาชนมีการใช้ เทคโนโลยีสื่อสารในประจำวันเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับข้อมูลจากสำนักงานสถิติ แห่งชาติ เพราะฉะนั้นนี่คือบทบาทสำคัญของ กสทช. การจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ และบริการ Internet ความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบ Zone C Plus และ Zone C โดยมี ๔ กลยุทธ์ ก็คือ ๑. เพื่อยกระดับการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ ๒. เพื่อผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในสังคม ๓. เพื่อผลประโยชน์สาธารณะ ๔. เพื่อความมั่นคง พื้ นที่ ชายขอบมี Zone C Plus ๓,๙๒๐ หมู่บ้ำน และ Zone ห่ำงไกล Zone C ๑๕,๗๓๕ หมู่บ้าน แสดงถึงความสำคัญ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุน จากภาครัฐ หากพิจารณาจากบริบทของพื้นที่ที่ห่างไกลการขยายด้านโทรคมนาคมนั้น อาจไม่มีแรงจูงใจที่ให้ผู้สนใจเข้าไปลงทุน เพราะฉะนั้นเมื่อลงทุนแล้วอาจมีผลตอบแทนที่ต่ำ บทบาทการดำเนินการจึงเป็นของ กสทช. ที่สามารถใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจัด ให้มีโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสะดวกต่อการเข้าถึงบริการ นี่คือ ภาพรวมของประเทศเรานะครับ ท่านจะเห็นช่องโหว่ที่ไม่มีสีม่วง นั่นคือการกระจายโครงข่าย ที่ไม่ทั่วถึง นี่ก็คือภาพรวมของจังหวัดลำปาง และเราก็จะโฟกัสที่ Slide ต่อไปครับ ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาท่านทำได้น่าพอใจ แต่เหตุใดในพื้นที่จังหวัดลำปางโดยเฉพาะ อำเภอแม่เมาะซึ่งเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้า สร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ ถึงยังไม่ครอบคลุม ทั้งที่ควรจะเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หลักด้วยซ้ำไป หน่วยงานควรปรับ หลักเกณฑ์ในการกำหนดพื้นที่ยุทธศาสตร์ ขอให้ทาง กสทช. พิจารณาทบทวนนโยบาย นอกจากตัวชุมชนเอง เส้นทางระหว่างชุมชนก็ขอให้ครอบคลุมด้วยครับ จากภาพแสดงพื้นที่ ตามถนนทางหลวงชนบทลำปาง หมายเลข ๓๐๑๓ ในตำบลจางเหนือ อำเภอแม่เมาะ ซึ่งจัดอยู่ใน Zone C Plus ซึ่งผมเคยไปลงพื้นที่ แต่ไม่แน่ใจเส้นทางเพราะไม่มีสัญญาณ โทรศัพท์ จึงจอดรถเพื่อโบกรถถาม แต่ประชาชนไม่สามารถหยุดจอดเพื่อให้สอบถามได้ เมื่อไปถึงหมู่บ้านจึงได้รับรู้ความจริงที่ว่าไม่จอดระหว่างทางเพราะเคยเกิดกรณีการปล้น ชิงทรัพย์ ชิงรถและลักพาตัวระหว่างเส้นทางสัญจร และระหว่างเดินทางไม่มีสัญญาณ จึงไม่สามารถที่จะติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทันท่วงที หรือแม้แต่ระหว่างเดินทางจาก หมู่บ้านไปโรงพยาบาล การขอคำแนะนำจากโรงพยาบาลถึงการดูแลผู้ป่วยในระหว่างขนส่ง ผู้ป่วยสัญญาณขาดหาย จนทำให้เกิดความสูญเสียในกรณีต่อมานะครับ และนี่คือพื้นที่ ในตำบลติดกัน ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ มีความเสถียรของสัญญาณตลอดเส้นทาง เพราะฉะนั้นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในแต่ละพื้นที่ อยากเรียนท่านประธานสภาผ่านไปยัง ผู้ชี้แจง โลกของเรา ประเทศของเราพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่มิจฉาชีพก็มีการปรับตัว ใช้ช่องโหว่ของสัญญาณในการกรรโชกทรัพย์หรือทำให้เสียทรัพย์ กรณีนี้พี่น้องประชาชน กลับรู้สึกถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ซึ่งต้องขอชมเชยว่าที่ผ่านมาท่านทำได้ดี แต่อาจยังไม่ทั่วถึง และดีพอ อยากวิงวอนให้ทาง กสทช. Recheck และให้ความสำคัญกับทุกพื้นที่ และให้มี การตรวจสอบว่าการกระจายโครงข่ายโทรคมนาคมนั้นมีความทั่วถึงแม้ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อเป็นประโยชน์กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนอย่างแท้จริงภายใต้ กสทช. ที่มีหน้าที่กำกับดูแล ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม ชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกลครับ ขอส่งสารผ่านท่านประธานไปยังเพื่อนสมาชิกผู้แทนราษฎรในสภาของเราที่จะร่วมพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า กฎหมายสมรสเท่าเทียมในวันนี้ ในฐานะน้องชายที่มีพี่สาวเป็นคู่รักที่มีความหลากหลาย ทางเพศ มันถึงเวลาแล้วครับสำหรับประเทศไทยที่การสมรสคือการวางรากฐานอนาคตไม่ใช่ แค่สำหรับชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่สำหรับคนทุกคน ผมขออภิปรายกฎหมายสมรสเท่าเทียม ในประเด็นของการจัดการทรัพย์สิน ท่านประธานครับ กว่าคนเราที่จะเลือกคนรักเพื่อใช้ชีวิต ด้วยกัน เป็นครึ่งหนึ่งของกันและกัน พวกเขาต้องก่อร่างสร้างตัวมาด้วยกันมากขนาดไหน แล้ววันหนึ่งพวกเขาอยากตกลงปลงใจมั่นหมายแต่งงานกัน ย่อมมีทรัพย์สินที่เกิดจาก การทำมาหากิน ย่อมมีการกู้ การทำธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นคง ปฏิเสธไม่ได้เลยครับว่า จะต้องมีมูลหนี้ครับ ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์บางแห่งเริ่มปล่อยกู้ให้คู่รัก LGBT สามารถ กู้ร่วมได้ เพื่อซื้อบ้าน ซื้อคอนโดมิเนียม เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างโอกาสการเติบโต แม้จะเป็น ลูกหนี้ร่วมกันแต่อสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาในฐานะคู่รัก ของ LGBT หากเกิดเหตุไม่คาดฝันทรัพย์สินจะถูกส่งต่อไปยังผู้สืบสันดานของแต่ละบุคคล ก็คือพ่อหรือแม่ตามลำดับ ซึ่งบางครั้งทรัพย์สินเกิดจากการทำงานของบุคคล ๒ คน แต่เมื่อคนใดคนหนึ่งจากไป คู่สมรสไม่ได้รับทรัพย์ของอีกคนหนึ่งมาเพื่อชำระหนี้ แต่ต้องแบก หนี้ต่อไปครับและผู้สืบสันดานที่ได้รับทรัพย์สินส่วนแบ่งไป ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มาร่วมสร้าง ทรัพย์สินกันครับ แต่ในกรณีนี้สินสมรสจะนำมาถูกชำระหนี้ก่อนสินส่วนตัวของทั้ง ๒ ฝ่าย และคู่สมรสก็จะเป็นผู้สืบสันดานอันดับหนึ่งของคู่สมรสด้วย ตัวบทกฎหมายนี้จะสร้าง ความเท่าเทียมให้คนไทยทุกคน ยกตัวอย่างเช่น การแต่งงานของชายหญิงรักต่างเพศในตัว บทกฎหมายปัจจุบันมีการรับรองไม่ว่าจะเป็นการหมั้น การแต่งงาน การจัดการทรัพย์สิน ต่าง ๆ เช่นนาย A และนางสาว B แต่งงาน สักพักเลิกรากันและมีเหตุให้ฟ้องร้องพวกเขา สามารถฟ้องร้องต่อกันเพื่อการจัดการทรัพย์สินได้ แต่คู่รัก LGBT หากคบกันแต่งงานกัน ในสักวันหากมีเหตุให้ต้องมีเหตุเลิกรา การจัดการทรัพย์สินย่อมเป็นเรื่องยาก เพราะกฎหมาย ไม่ได้โอบอุ้มคนทุกคนเท่าเทียมกัน บนพื้นฐานความสัมพันธ์มีทั้งรักกันและเลิกรา แต่สิทธิ ขั้นพื้นฐานไม่ได้โอบอุ้มคนทุกคนเท่ากัน ตามมาตรา ๑๕๓๒ กำหนดสิทธิในเรื่องของการหย่า และการจัดการสินสมรสให้มีการแบ่งสินสมรสอย่างเป็นธรรม โดยทรัพย์สินที่ทำมาหากินได้ ระหว่างร่วมสมรสจะเริ่มต้นเมื่อจดทะเบียนสมรสและสิ้นสุดลงเมื่อจดทะเบียนหย่า ทำให้คู่สมรสทราบว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสอย่างชัดเจน หากเป็นการหย่าโดย ความยินยอมก็ยึดวันที่ไปจดทะเบียนหย่า หากฟ้องร้องให้มีการหย่าก็ย้อนไปถึงวันฟ้องหย่า การผ่านกฎหมายฉบับนี้รัฐจะโอบอุ้มทุกคนเท่าเทียมกัน พวกเราขอยืนยันในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะทำให้ทุกคนเท่ากันด้วยกฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ครับ True Love Exist ครับ รักแท้มีอยู่จริงและไม่จำกัดเพศ และไม่จำกัดความแตกต่างทางสังคม ขอบคุณครับ
ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม นายชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกล พื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ อำเภอแม่ทะ ขอหารือผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานเกี่ยวข้องอื่น ๆ ในพื้นที่ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ ได้มีการอพยพชาวบ้าน ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองลิกไนต์ เพื่อผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะจังหวัดลำปาง เมื่อย้ายไปพื้นที่ใหม่ก็มีการสร้างโรงเรียน วัด ตลาด สาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อรองรับชุมชนที่ย้ายไปใหม่ จนปัจจุบันชาวบ้านเข้าอยู่ ครบทั้งพื้นที่ มีการก่อสร้างอาคารเรียนเพื่อจะย้ายโรงเรียนหัวฝาย ตำบลบ้านดง จากพื้นที่เดิม มาพื้นที่ใหม่ แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถทำการเรียนการสอนได้ ทั้ง ๆ ที่อาคารสร้างเสร็จมาแล้ว ๔-๕ ปี จนโรงเรียนทาสีใหม่รอบที่ ๒ แล้วครับ เนื่องจากโรงเรียนไม่มีรั้ว ไม่มีระบบอินเทอร์เน็ต ไม่มีระบบไฟฟ้าและระบบประปา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๑ ก็ไม่สามารถรับโอนจากกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ เพราะถ้าจะเปิดการเรียนการสอน ต้องมีองค์ประกอบทั้งสี่ร่วมด้วย เพราะตลอดแนวโรงเรียนเป็นคลองขนาดใหญ่รั้วจึงเป็น สิ่งสำคัญ การตั้งงบประมาณซึ่งไม่สอดคล้อง สร้างความลำบากให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชน ซึ่งปัจจุบันนักเรียนต้องกลับไปเรียนในโรงเรียนพื้นที่เก่า ซึ่งไม่สามารถซ่อมแซมได้ หลังคารั่ว ทรุดโทรมมากนะครับ คุณครูต้องไปขอรับบริจาคเทปกันน้ำมาแปะหลังคา ฤดูฝนจะต้องเอา กะละมังมารองน้ำและอื่น ๆ เนื่องจากพื้นที่ถูกคืนไปแล้ว งบประมาณในการขนส่งนักเรียน จากพื้นที่เก่าไปพื้นที่ใหม่ ผู้ปกครอง ครูก็ต้องลงขันกัน เพราะว่าเป็นการคืนพื้นที่ไปแล้ว โรงเรียนยังไม่มีรั้วก็ต้องเรียนกันไปตามสภาพ ท่านลองนึกถึงนะครับว่าอาคารเรียน โรงเรียน อยู่หน้าบ้านท่าน แต่ท่านต้องไปเรียนโรงเรียนในพื้นที่เดิมซึ่งห่างไป ๕-๖ กิโลเมตร ผมทำหนังสือถึงท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ตั้งแต่วันที่ ครม. มาแถลงนโยบายที่รัฐสภา อีกวันหนึ่งก็ส่งไปยังที่สำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวง พลังงาน ติดตามถามทางทีมงานทั้ง ๒ สำนักอยู่ตลอด ก็ทราบว่าท่านสั่งการแล้ว แต่ก็ไม่ได้มี การส่งหนังสือตอบกลับมา ไม่ทราบว่าเรื่องติดที่ตรงไหน จึงนำเรียนท่านประธานสภาผ่านไปยัง ผู้รับผิดชอบ เพราะประชาชนก็ยังรอคำตอบนั้นอยู่ครับ เผลอ ๆ อาจจะต้องทาสีรอบที่ ๓ กว่าจะตั้งงบประมาณมาบูรณะอาคารใหม่อีกรอบ น้อง ๆ นักเรียนถึงจะได้ใช้ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกล อำเภอเมือง อำเภอ แม่เมาะ อำเภอแม่ทะ ขอหารือผ่านท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมครับ กว่า ๑๘ ปีที่ชาวบ้านต่อสู้เพื่อเอกสารสิทธิที่ดินทำกินบ้านใหม่ ฉลองราช ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ ปัจจุบันวันนี้ชาวบ้านยังไม่มีโฉนดเลยครับ ทั้งที่มีมติ คณะรัฐมนตรีรองรับเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ มติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบการดำเนินงานและความคืบหน้า แก้ไขปัญหาให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ แล้วก็มีมติ ครม. อีก ๑ ครั้ง เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๙ สำทับอีกครั้งหนึ่งระบุชัดเจนเลยครับว่าทางราชการ จะดำเนินการออกเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินแก่ผู้อพยพ แต่ ๑๖ ปีผ่านมาครับท่านประธาน ๑๖ ปีไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับประชาชนเลยครับ จนชาวบ้านต้องมาพึ่งพาคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะลงพื้นที่ ๔ วันถึงมีความคืบหน้า ๑ ปีผ่านไป จากวันนั้น วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ สำนักการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๓ (ลำปาง) จัดทำ รายงานผลปฏิบัติงานสำรวจการครอบครองที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้กับอธิบดี กรมป่าไม้ และปัจจุบันกรมป่าไม้มีการร่างแผนที่พร้อมกฎกระทรวงและกำหนดเขตป่าสงวน แห่งชาติขึ้นใหม่ ขั้นตอนต่อไปหลังจากนี้คือกรมป่าไม้เสนอร่างกฎกระทรวงพร้อมแผนที่ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งก็คือคนเดียวกันครับ พิจารณาเห็นชอบเพื่อเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ ๕ จาก ๑๔ ขั้นตอน ๑๖ ปี ๕ ขั้นตอน และอีก ๑๔ ขั้นตอนจะใช้เวลาอีกเท่าไร จากวันแรกจนถึงวันนี้พี่น้องชาวบ้านต้องเสียสละ เสียโอกาส เสียน้ำตา จึงเรียนผ่านท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในการเร่งรัดดำเนินการครับ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม นายชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พื้นที่อำเภอเมือง อำเภอแม่ทะ อำเภอแม่เมาะ วันนี้ขอตั้งกระทู้ถามไปยังท่านนายกรัฐมนตรี แต่วันนี้ท่านก็ได้ มอบหมายท่านรัฐมนตรีมาตอบแทน เนื่องด้วยถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายลำปาง-งาว เกิดอุบัติเหตุ ขึ้นบ่อยครั้ง ส่งผลให้ประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกิโลเมตร ที่ ๗๔๗+๑๐๐ และ ๗๓๖+๑๐๐ ขอสไลด์ด้วยครับ
ถ้าเกิดมองที่สไลด์จะเป็น ๒ จุด พื้นที่หนึ่ง จะอยู่ในเขตตำบลบ้านดง และอีกพื้นที่หนึ่งจะเป็นก่อนถึงกองร้อยฝึกรบพิเศษที่ ๓ ของ ค่ายประตูผา พบว่าเป็นถนนที่เก่าแก่ตั้งแต่ในอดีต พื้นที่รอบข้างบางส่วนอยู่ในพื้นที่ป่า และสัดส่วนของความโค้งของถนนมีปัญหามาก ทำให้การสัญจรต้องมีการแจ้งเตือนความเร็ว ในระยะที่สอดรับกับส่วนโค้งของถนน หากมีความเร็วเกินกำหนดย่อมเกิดอุบัติเหตุสูง ประกอบกับรายงานสถิติข้อมูลอุบัติเหตุจากในสไลด์จะเห็นว่าในปี ๒๕๖๓ และปี ๒๕๖๔ ก็จะเกิดอุบัติเหตุเป็นจำนวนมาก และในปี ๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคมก็เกิดเคสมา ๓๖ เคส มาในเดือนมกราคมนะครับ คือถนนเส้นนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นในฤดูฝน แต่หากมีฝนลง เพียงนิดเดียวไม่ถึง ๕ นาทีในกลุ่มสังคม Social ของจังหวัดลำปางก็จะเห็นอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้น บางทีก็จะเป็นบุคคลนอกพื้นที่ บางทีก็เป็นบุคคลในพื้นที่ ซึ่งบุคคลในพื้นที่ก็ทราบ อยู่แล้วว่าโค้งนั้นมีความโค้งต้องมีความระมัดระวังแต่ก็ยังเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งผมก็ได้โชว์รูป อุบัติเหตุถนนสายลำปาง-งาว ทั้ง ๖ รูปนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี้เอง และผมก็ได้หารือ ร่วมกับหมวดทางหลวงบ้านเสด็จ แขวงทางหลวงลำปางที่ ๒ ก็ต้องขอขอบคุณที่หมวดทางหลวง ประสานงานและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ก็คือเข้าไปพูดคุยไม่ถึง ๑ อาทิตย์ก็มีป้ายเตือนเข้ามา ในการติดตั้งในจุดที่เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ แล้วก็มีการทำ Friction Tester ไปเมื่อประมาณ ๒ เดือนก่อนเพื่อทดสอบว่าความหนืดของถนนอยู่ในขั้นไหน เพราะว่าถนนนี้ก็เป็นถนน ทางหลวงหมายเลข ๑ แล้วก็มีการสร้างมาอย่างยาวนาน เพราะฉะนั้นอยากจะขอเรียนผ่าน ท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีว่ามีแนวทางในการสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน และพัฒนาคุณภาพของถนนหรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียดครับ
เรียนท่านประธานสภาผ่านไปยังท่าน รัฐมนตรี ก็ขอบคุณในความห่วงใยที่ว่าการตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีควรจะตั้งคำถามไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมโดยตรง แต่เนื่องจากพื้นที่ของถนนนี้คาบเกี่ยวกับพื้นที่ของ กรมป่าไม้และกองทัพบกด้วย เพราะฉะนั้นเพื่อการบูรณาการและการแก้ไขปัญหาในคราวเดียว ก็เลยตั้งคำถามไปยังท่านนายกรัฐมนตรี ผมขออธิบายในส่วนของพื้นที่เนื่องจากว่ารถยนต์ ที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เป็นรถส่วนตัว ไม่ใช่เป็นรถบรรทุก และหลังจากที่คุยกับทางกรม ก็เนื่องจากว่าถนนนี้ทำมายาวนานแล้ว ค่า Friction ที่ได้ก็คือ ๐.๓๑ ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าจะอันตรายคือ ๐.๒๙ ก็อีกนิดเดียว ก็ขอขอบคุณทางกระทรวงคมนาคมที่ห่วงใยจะแก้ไข ปัญหาในส่วนนี้ และมีอีกหนึ่งคำถามครับว่าในงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ ที่มี ๑๗,๙๙๙,๐๐๐ นี้ ครอบคลุมทั้ง ๒ จุดไหมครับว่างบประมาณที่จัดสรรมานี้เป็นจากกิโลเมตรที่เท่าไรถึงที่เท่าไร เพราะว่าจากที่ผมตั้งกระทู้ถามจะมีอยู่ ๒ จุด ก็เลยอยากทราบความครอบคลุมในส่วนนี้ และสุดท้ายขอขอบพระคุณหมวดทางหลวง แขวงทางหลวง กรมทางหลวงที่เข้ามาหารือและ แก้ไขปัญหาให้อย่างรวดเร็ว ก็ขอเป็นคำถามนี้ครับ ขอบคุณครับ