นายปรเมษฐ์ จินา

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ แล้วก็ผู้เข้าร่วมชี้แจง ท่านเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ กำกับกิจการพลังงานและคณะ ตอนแรกผมมองไปนึกว่าช่วงที่ท่านประธานพัก มีสมาชิก ของท่านประธานขึ้นไปนั่งข้างบน บังเอิญว่าแต่งตัวเหมือนกันนะครับ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ในส่วนของรายงานกิจการเล่มนี้ก็คงจะว่า ไปตามระเบียบในเรื่องของการตรวจสอบการ Audit ในเรื่องของหลักการบัญชี ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของการแสดงฐานะทางการเงินในส่วนของการแสดงงบดำเนินการ แล้วก็ในเรื่องของ งบกระแสเงินสด แต่ว่าส่วนที่น่าสังเกตส่วนหนึ่ง ก็คือคงจะเป็นเรื่องของการจ้างที่ปรึกษา เนื่องจากว่าอาจจะเป็นเทคนิคชั้นสูง ผมมองว่าในส่วนที่ สส. นำเสนอเข้าไป ถ้าทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้ Lecture แล้วก็นำไปถอดบทเรียน แล้วก็คงจะลดในเรื่องของค่าที่ปรึกษาได้เยอะมากพอสมควร แต่ส่วนหนึ่งในเรื่องของบทบาท หน้าที่ ผมมองว่าในเรื่องของการกำกับแล้วก็คงจะต้องกำหนดด้วย เพราะว่าเมื่อสักครู่ ท่านก็บอกว่าจะดูในเรื่องของนโยบายแล้วก็ในเรื่องของการกำหนดโครงสร้าง ถ้าเป็นไปได้ ก็คงจะต้องเป็นที่พึ่งให้กับพี่น้องประชาชน ส่วนหนึ่งที่จะเสนอแนะเพื่อการพัฒนา นั่นก็คือว่า ปัจจุบันในส่วนที่อยากจะให้เป็นนโยบายระดับชาติ นั่นก็คือในเรื่องของการใช้พลังงานทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Solar Rooftop ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมองว่าถ้าเราปล่อยให้ เป็นกลไกตามธรรมชาติก็คงจะพัฒนาได้ช้า บางประเทศที่เขาเจริญแล้วรัฐบาลเขาจะอุดหนุน เป็นต้นว่าในเรื่องของให้เงินอุดหนุนหน่วยงานราชการ บ้าน วัด โรงเรียน หรือว่าสถานที่ราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนปัจจุบันเราเห็นว่าท้องถิ่นน่าจะเป็นคำตอบ เพราะฉะนั้นถ้าเราทำ เป็น Low Model ในเรื่องของการที่จะทำเป็น Pilot Project ติดตั้งให้ฟรีในส่วนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะว่าถ้าเขาเห็นแบบแล้วไปตั้งสัก ๑ แห่งในจังหวัดนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล แล้วก็องค์การบริหารส่วนตำบล ถ้าเขาเห็น ของจริงแล้วเขาสามารถที่จะเปรียบเทียบได้เขาก็ให้ความสนใจ แล้วก็จะเกิดการขยายผล ในที่สุด แล้วอีกส่วนหนึ่งที่อยากจะให้เห็นความสำคัญ เมื่อก่อนผมก็ได้มีการของบของ กองทุนอนุรักษ์พลังงาน แล้วก็ในเรื่องของกองทุนทดแทน มองว่าถ้าเราสามารถที่จะบูรณาการได้ ให้มองเป้าหมายถึงประชาชนเป็นหลัก เราอย่ามากั้นห้องว่าตรงนี้เป็นของกำกับกิจการ พลังงาน อันนี้เป็นของพลังงานทดแทน อันนี้เป็นการอนุรักษ์พลังงาน แต่เรามองว่า ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรบ้างในเรื่องของการที่จะใช้พลังงานทางเลือก ส่วนที่สำคัญที่สุด นอกจากในเรื่องของสถานที่ราชการแล้ว ส่วนที่เราจะทำให้เป็นต้นแบบนอกจากสถานที่ ราชการแล้ว ก็ไปดูในส่วนของสนามกีฬาที่อยู่ในชุมชน แล้วชุมชนเขาไปใช้ทั้งกลางวัน กลางคืน ท่านก็ไปออกแบบกันดูว่าจะใช้ On Grid Off Grid หรือว่าแบบ Hybrid เพื่อให้ เหมาะสมกับพื้นที่ แล้วก็จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ อีกส่วนหนึ่ง ณ วันนี้เรามีผลไม้ แปลงใหญ่ ในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ก็จะมีทุเรียนแปลงใหญ่ เป็นไปได้ถ้าเราสามารถจะผันน้ำ ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สนับสนุนให้เขาสามารถจะใช้ Solar Cell ในการผันน้ำด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ ผันน้ำจากแหล่งกำเนิดน้ำธรรมชาติ แล้วก็เข้าสู่ท่อ Main ไปตามถนน สาธารณะ แล้วชาวบ้านที่จะ Jump จากท่อ Main เข้าไปในส่วนของสวนของตนเองก็ลงทุนเอง เราลงทุนเฉพาะในส่วนของเป็นทางหลัก หรือว่าในส่วนของบางพื้นที่ ณ วันนี้เราเห็น หลายจังหวัดที่เขาเกิดภัยแล้ง หว่านข้าวแล้วต้นกล้าก็เริ่มที่จะเสียหาย ถ้าเรามีแหล่งน้ำธรรมชาติ แล้วเราไปทดลองทำในเรื่องของการผันน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สูบด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์แล้วก็ปล่อยไปตามห้วย หนอง คลอง บึง หรือว่าสระที่มันแห้งในช่วงหน้าแล้ง อาจจะช่วงต่อจากนั้นไป ชาวบ้านก็เอา Motor หรือว่าเอาเครื่องสูบน้ำมาสูบต่อจาก แหล่งกำเนิด ก็จะทำให้มีประโยชน์กับชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง แล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือ ถ้าจะอุดหนุนในเรื่องของพลังงานทางเลือกอื่น ๆ เป็นต้นว่าตอนนี้เรามีไฟฟ้าชีวมวล ถ้าพื้นที่ไหนที่เขามีแหล่งกำเนิดวัตถุดิบ เช่นมีสวนยางพารา แล้วปัจจุบันไม้ที่ไม่ได้ขนาด สำหรับการทำ Furniture เช่น ปลายไม้ หรือว่ารากไม้ เขาจะมาสับ ๆ แล้วก็สามารถจะส่ง โรงไฟฟ้าชีวมวล พื้นที่ไหนที่คิดว่าสามารถที่จะป้อนวัตถุดิบได้ตลอดเวลาก็คงจะต้องมี การสนับสนุนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง อีกส่วนหนึ่งผมมองว่าให้มันเป็นเรื่องของการแก้ปัญหาตัวอื่นเข้ามาจากการใช้นโยบายพลังงาน ตัวนี้ ก็คือเรื่องของการวิเคราะห์ต้นทุน หา Unit Cost ในส่วนของการใช้ปาล์มน้ำมันมาผลิต พลังงานไฟฟ้า ลองดูว่าต้นทุนมันเป็นอย่างไร แล้วก็เปรียบเทียบ แม้ว่ามันจะเท่ากับดีเซล แต่หนทางอ้อมของเรามันจะช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์มให้เขาสามารถจะมีราคา ผลผลิตปาล์มที่สูงขึ้น บางครั้งเราต้องชั่งน้ำหนักดูว่าบางทีขาดเหลือกันเศษสตางค์ แต่ว่า เราสามารถที่จะช่วยชาวสวนปาล์มได้ หรือว่าเอายางพารา น้ำยางพารา หรือว่ายางแผ่น ยางพารา มาลองดู มาเผาแล้วก็ผลิตพลังงานไฟฟ้าดูว่าต้นทุนมันเป็นอย่างไร มันได้หลายเด้ง เป็นเรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียน แล้วก็ชาวบ้านก็คงจะได้ประโยชน์เต็มที่อันนี้ก็อยากจะ เสนอแนะให้กับท่านประธานฝากผ่านไปยังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อได้ออกแบบ ไหน ๆ ตอนนี้เราก็มาดูข้อมูลย้อนหลังในปี ๒๕๖๔ แต่เราเข้ามาเป็น ผู้แทนชุดที่ ๒๖ เป็นไปได้ก็คงจะให้ทางท่านได้นำเรียนรัฐบาลชุดหน้านะครับ ได้ดูแลทบทวน ทั้งระบบในเรื่องของโครงสร้างพลังงานด้วย ในเรื่องของราคาด้วย ในเรื่องของการต่อยอด พลังงานด้วยนะครับ ก็คงจะให้เป็นแนวทางในเรื่องของการทำงาน ที่ผ่านมาก็เป็นเรื่อง ของการกำหนดในอดีต แล้วก็เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในปัจจุบัน แล้วก็สร้างสรรค์ นวัตกรรมในอนาคตครับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาแล้วก็ ผู้ทรงเกียรติที่เคารพรักทุกท่านครับ ปรเมษฐ์ จินา รวมไทยสร้างชาติ สุราษฎร์ธานี ผมก็ขออนุญาตร่วมด้วย เนื่องจากว่าในส่วนของการประชุมสมัยที่ผ่านมามองว่าจริง ๆ ถ้าเราควบคุมประสิทธิภาพในเรื่องของการประชุมให้มันได้ผล แล้วก็ในส่วนของกฎหมาย สามารถประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษานั่นก็คือผลลัพธ์ แต่ว่าเราทำอย่างไรให้กระบวนการ ประชุมมีประสิทธิภาพ คงจะไม่ใช่ผลสำเร็จอยู่ที่จำนวนวัน เพราะฉะนั้นมองว่าในส่วนของ การประชุมวันพุธ วันพฤหัสบดีก็เหมาะสมนะครับ แล้วก็ที่ทางบ้านเขาฝากมาว่าก่อนที่ จะนำกฎหมายเข้ามาพิจารณาในสภาน่าจะมีการให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและได้ ประชาพิจารณ์ด้วย ผมมองว่าถ้าเวลาที่เหลือยกตัวอย่างว่าวันอังคารพรรคพวกของเรา ส่วนหนึ่งก็อาจจะต้องไปเป็นคณะรัฐมนตรี ซึ่งก็จะต้องมีผู้ช่วยหรือว่ามีผู้ติดตามต่าง ๆ มากมาย เพราะฉะนั้นก็ต้อง Save วันอังคารให้กับการประชุมคณะรัฐมนตรี แล้วก็ส่วนหนึ่งวันจันทร์ กับวันศุกร์ นอกจากพิธีทางศาสนา แล้วก็เราจะมีการประชุมคณะกรรมาธิการด้วยนะครับ ก็จะ Save วันตรงนั้น เราไม่ได้มีการประชุมแค่ ๒ วัน เพราะฉะนั้นในส่วนของทั้ง ๕ วันแล้ว เราก็ใช้ให้มีประสิทธิภาพ แล้วก็ที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือการประชุมร่วมกันแบบนี้ถ้าข้อมูล รายละเอียดไม่มีการทำการบ้านให้มีการตกผลึกให้มากที่สุดมันก็จะเสียเวลา เพราะฉะนั้น ชุดย่อย ๆ กรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายตัวนั้น ๆ ท่านไปทำการบ้าน แล้วก็ลงไปทำ ประชาพิจารณ์กับพี่น้องประชาชน แล้วก็ที่เหลือต้องขออนุญาตด้วยเพราะว่าบางท่านที่เป็น สส. บัญชีรายชื่ออาจจะไม่ได้ลงพื้นที่เหมือนกับตัวแทนเขต ตัวแทนเขตนอกจากจะต้องไป ร่วมงานพิธีต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่เราลงไปก็จะเป็นปัญหาที่ชาวบ้านฝากให้เรามาแก้ในระดับประเทศ เพราะว่าในจังหวัดหรือว่าในเขตเขาไม่สามารถแก้ได้แล้ว มันเหนือกว่าความสามารถของเขาแล้ว ก็จะฝากเรามา เพราะถ้าเราลงไปในพื้นที่ปัญหาก็จะได้เข้ามาที่สภาโดยตรงครับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ต้องขอขอบคุณทาง ป.ป.ส. ที่ได้ให้ข้อมูล นำเข้า แล้วก็จากประสบการณ์ จะได้นำมาผนวกกันแล้วก็เป็นข้อเสนอแนะที่จะให้มี การปรับปรุงรูปแบบใหม่ ๆ ในเรื่องของการแก้ปัญหายาเสพติด สืบเนื่องจากว่าหลายกิจกรรม ที่เราทำมา ๓๐ ปี แต่ว่าเราก็ยังทำแบบเดิมมาตลอดนะครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถ ที่จะแก้ไข ปรับปรุง แล้วก็หานวัตกรรมที่คิดว่ามันเหมาะสมแต่ละพื้นที่ได้ ก็น่าจะเป็นการดี ในเรื่องของการแก้ปัญหายาเสพติด ซึ่งก็คงจะไม่ง่ายเช่นกัน ก็มองว่าปัญหาการพนัน ปัญหายาเสพติด แล้วก็ปัญหาเรื่องโสเภณีมันอยู่คู่กับสังคมมานานช้านาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทำอย่างไรให้เราสามารถที่จะ Console ในส่วนของยาเสพติดไม่ให้เป็นพิษเป็นภัยกับ ลูกหลานของเรานะครับ ทีนี้มาดูในเรื่องของมาตรการที่ผ่าน ๆ มา เหมือนที่หลาย ๆ ท่าน ได้นำเรียนเมื่อสักครู่ว่าไม่ว่าจะเป็น ๖ มาตรการหลัก หรือว่า ๔ ด้าน ด้านป้องกัน ด้านปราบปราม แล้วก็ด้านบริหารจัดการ ด้านบำบัดรักษา อันนี้เราก็ทำมาโดยตลอดนะครับ แต่ที่สำคัญที่สุดนั้น ณ วันนี้ที่ผมเข้าไปในพื้นที่ แล้วก็โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผ่านมา เนื่องจากว่า อดีตก็เป็นหมออนามัย แล้วก็เป็นรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเขาก็จะไว้ใจ เวลามีปัญหา ในพื้นที่เขาก็จะแจ้งตรงมา เพราะว่าบางครั้งเขาแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบปกติ เขาเอาแต่ รับฟังนะครับ ไม่ได้รับไปแก้ไขปัญหา เนื่องจากว่าจุดอ่อนของทางราชการก็ต้องรองบประมาณ แล้วก็รอในส่วนของหนังสือสั่งการหรือว่าแนวปฏิบัติของผู้บังคับบัญชา ทีนี้ปัญหาที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ก็ไม่ได้รับการแก้ไข ถ้าไปแจ้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในเรื่องของการปราบปราม บางครั้งเราก็คงจะได้ยินคำว่าในเรื่องของการเรียกผลประโยชน์ ในเรื่องของการยัดยา ก็เลยทำให้เขามีความกังวล ปัญหาก็ลงมาที่ผู้แทนอย่างพวกเราที่จะต้องรับปัญหาเข้ามา นำเสนอเพื่อที่จะปรับปรุงรูปแบบวิธีการให้เหมาะสม ทีนี้ถ้าเรามาดูว่าในเรื่องของการบำบัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการบำบัดที่ผ่านมาเราจะใช้วิธีการแจ้งไปที่ผู้นำในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายอำเภอว่าจะต้องเข้าบำบัดค่ายละ ๕๐ คน ทีนี้ด้วยความที่เป็นระบบบังคับบัญชาก็ต้องหาให้ได้ค่ายละ ๕๐ คน ทำให้มีการปะปนกัน ในแต่ละระดับ ไม่มีการแยกระดับว่าคนไหนเป็นผู้เสพ คนไหนเป็นผู้ติด คนไหนเป็นผู้ที่มี ปัญหาทางจิต ไม่มีการแยกแยะตรงไหน เหมือนมะเร็งก็เช่นกัน มะเร็งเรามี ๔ ระยะ อันนี้ ยาเสพติดเราก็ต้องมีการคัดกรอง ผู้ที่เสพทำอย่างไรที่จะไปเข้าค่ายที่เป็นในส่วนของการที่จะ หลีกมาจากสังคมปกติของเขา ในส่วนของผู้ที่ติดมันก็จะมีระบบการบำบัด ในส่วนของผู้ที่มี ปัญหาทางจิตอันนี้ก็ค่อนข้างที่จะมีปัญหาเช่นกันนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของพื้นที่ ในจังหวัดเขาจะไม่มีโรงพยาบาลจิตเวชโดยเฉพาะ ทีนี้โรงพยาบาลจิตเวชโดยเฉพาะก็จะมี ปัญหาเช่นกัน เพราะเขาจะต้องให้ผ่านโรงพยาบาลประจำอำเภอรักษาโรคทางกายก่อน แล้วก็จึงจะมารักษาโรคทางจิต ทำให้มีปัญหากับผู้ปกครอง แล้วก็ผู้ป่วยที่จะบำบัด เกิดความสับสน เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถที่จะทำนวัตกรรมด้านนี้ โดยการสนับสนุนงบ แบบ Lump Sum ให้แต่ละพื้นที่ ให้แต่ละจังหวัดเขาไปพิจารณาเองว่าเขาจะทำอะไร ในพื้นที่จังหวัดเขาให้มันเหมาะสม แล้วที่สำคัญที่สุดก็คือการที่จะใส่องค์ความรู้ในเรื่องของ การแก้ปัญหายาเสพติด แต่ละวัยมันก็ไม่เหมือนกัน เช่น วัยเด็กอาจจะให้พ่อแม่แนะนำ เพราะว่าเขายังเชื่อผู้ปกครอง แต่พอมาในวัยรุ่นเขาเชื่อเพื่อนแล้ว มันก็ต้องมีกิจกรรม ในส่วนของการที่จะ Young Smart Camp หรือว่าในส่วนของการที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกลุ่มของวัยรุ่นนะครับ ในส่วนของผู้ใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา ถ้าเขาผ่านระดับเด็กมาได้ ผ่านระดับวัยรุ่นมาได้ เขาก็รอดปากเหยี่ยวปากกามาแล้ว เพราะว่ายาเสพติดส่วนมาก มันอยู่ที่วัยคน เป็นเรื่องของความคึกคะนอง ถ้าทะลุวัยที่เขาเป็นผู้ใหญ่มาแล้วมันก็หมดปัญหา ในเรื่องของการที่จะเข้าไปทดลองในส่วนของยาเสพติดนะครับ ทีนี้ในส่วนของการที่เรา จะแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องอันนี้ก็สำคัญเช่นกัน ผมมองว่า ป.ป.ส. ก็คงจะมีข้อมูล ยกตัวอย่าง เท่าที่ประสบการณ์ที่เขาไม่มีทางไปแล้ว เขาให้ผมพาไปบำบัดรักษาที่เขาเรียกว่าฟ้าใหม่ แถวสวนผึ้ง ผมต้องพาวัยรุ่นที่ติดยาจากสุราษฎร์ธานีแล้วก็เข้ามาบำบัดของเอกชน เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้รูปแบบแต่ละจังหวัด ป.ป.ส. ลองดูระเบียบ ไม่จำเป็นที่จะต้อง ให้ส่วนราชการ เราต้องยอมรับว่าบางทีเอกชนเขาทำได้ดี แล้วก็ทำในเรื่องของคุณภาพได้ผล เราก็ต้องสนับสนุนในส่วนของเอกชน เพื่อมองเป้าหมายด้านคุณภาพ อย่ามองเฉพาะปริมาณ อย่างเดียว ปริมาณอย่างเดียวเราก็ทำมาทุกปี ทำมาทุกปี ทำมาทุกปี แล้วก็ที่จะเสนออีกส่วนหนึ่ง ก็คือในเรื่องของการเข้าค่ายบำบัด ๙ วัน ๘ คืนที่เราทำกันมาเยอะ แล้วก็ทำมาไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี ผมมองว่าย้อนหลังไปสัก ๕ ปี หรือว่า ๑๐ ปี เราลองติดตามแล้วก็ดูว่าเขามีปัญหา อะไรบ้าง มีปัญหาในเรื่องของการประกอบอาชีพ ก็จะต้องมีการติดตามแล้วก็สนับสนุน มีหลายหน่วยงานที่เขามีงบประมาณในการที่จะติดตามสนับสนุน เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถ ที่จะเปิดโอกาสให้มีนวัตกรรม เปิดโอกาสให้มีการป้องกันตั้งแต่ตอนต้นนะครับ ครู D.A.R.E. แบบนี้ที่เขาเป็นตำรวจสนับสนุนเลยงบประมาณ ครู D.A.R.E. นี้รับรองว่าเขาไม่เป็นการหา ผลประโยชน์ ไม่มีการยัดยาอยู่แล้ว เพราะว่าจิตใจเขาอยากเป็นครู และเขาอยากจะไป แนะนำ อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถป้องกันได้ แล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างเวทีให้กับวัยรุ่น กิจกรรม To Be Number One มองว่าอยากจะให้มีการสนับสนุน งบประมาณ แล้วก็อีกส่วนหนึ่งที่ประสบปัญหามาก็คือในเรื่องชุดตรวจสารเสพติดนะครับ ท่านต้องสนับสนุนตำรวจ ท่านต้องสนับสนุนกับเรือนจำให้เขาทำงานได้อย่างคล่องตัว อันนี้ ก็ฝากในเรื่องของนวัตกรรม แล้วก็ในเรื่องของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้ปรับไป ในส่วนของการแก้ปัญหาในอนาคตข้างหน้าด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ สวัสดีครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ สุราษฎร์ธานี ก็เห็นด้วยกับท่านอนุสรณ์ เนื่องจากว่าที่ผ่านมา เราก็คงจะเห็นว่าเป็นการตั้งรับเสียส่วนใหญ่ แต่ว่าปัญหาที่เกิดในพื้นที่เป็น ๑๐-๒๐ ปี ยังค้างคาอยู่แล้วก็ไม่ได้รับการแก้ไข แล้วก็เมื่อสักครู่ที่น้องเขาได้นำเสนอในเรื่องของผู้อพยพ อันนี้ผมก็มี Case Study ในส่วนของอำเภอเล็ก ๆ อำเภอพระแสง เขามีการจับโรฮิงญา ไปไว้ ๑๗ คนแล้วก็ไม่มีหน่วยงานไหนที่รับผิดชอบ ส่งไปหน่วยงานไหนก็ไม่ได้ก็ไปไว้ที่โรงพักเล็ก ๆ ๑๗ คน แล้วก็เกิดกรณีที่ค่าเลี้ยงดูเป็นเดือน แล้วหลังจากนั้นก็เกิดกรณีแหกห้องขังมา หนีไปทั้ง ๑๗ คน แต่ว่าด้วยความตั้งใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้วก็กู้ภัยที่เกี่ยวข้องก็เฝ้าระวัง แล้วก็ตามจับมาได้หมดทั้ง ๑๗ คน อันนี้ผมหารือว่าจะต้องมีหน่วยงานกลางหรือว่ามีองค์กรอะไร ที่เข้าไปรับผิดชอบ อย่าปล่อยให้พื้นที่เล็ก ๆ เขาต้องรับผิดชอบด้วยตัวของเขาเองนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้มาในส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่มาในวันนี้ ก็ต้องขอขอบคุณมากนะครับ เนื่องจากผมก็เคยนำเรียนแล้วว่าในส่วนของญัตติต่าง ๆ หรือว่ารายงานต่าง ๆ ที่จะเข้ามาให้ทางสภาเห็นชอบผู้ที่รับผิดชอบหรือว่าเจ้าของหน่วยงาน ต้องมาชี้แจงด้วยตนเอง ไม่ใช่ว่าส่งเอกสารมาหรือว่าเป็นการฟอกรายงานว่าจะต้องนำเสนอสภา ให้รับทราบเป็นรายปีอันนั้นไม่เป็นการสมควร จะต้องให้เกียรติกับสภา วันนี้ผมก็อยากจะ ยกตัวอย่างของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กสม. ที่ทำรายงานได้สวยงาม ดูง่าย แล้วก็ที่สำคัญก็คือเป็นปัจจุบันด้วย มีการเปรียบเทียบปี ๒๕๖๔ แล้วก็ปี ๒๕๖๕ แต่ว่าในเรื่องของ รายงาน หน้า ๑๑๒ ก็ขอตั้งข้อสังเกตไว้นิดหนึ่ง เนื่องจากว่ามันมีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นผิดสังเกต นั่นก็คือในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ปี ๒๕๖๔ จ่ายเพียงแค่ ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท แต่มา ปี ๒๕๖๕ เพิ่มขึ้นมา เป็น ๗,๒๐๐,๐๐๐ บาท แล้วก็ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ปี ๒๕๖๔ ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท ปี ๒๕๖๕ ๕,๑๐๐,๐๐๐ บาท แล้วก็รายจ่ายค่าโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ปี ๒๕๖๔ จ่ายไป ๓,๙๐๐,๐๐๐ บาท แต่ว่าปี ๒๕๖๕ จ่ายถึง ๘,๘๐๐,๐๐๐ บาท อันนี้ก็คือ การตั้งข้อสังเกต เดี๋ยวสักครู่ก็คงจะขอคำตอบด้วยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้มาในเรื่องของการที่จะพัฒนาในส่วนของ กสม. ให้ยกระดับมากยิ่งขึ้น ก็มีปัญหาอยู่ในส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมันมีโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ๓,๓๓๐ ล้านบาท ทำมาแล้ว ๑๓ ปี ทีนี้ชาวบ้าน ๒ ข้างทางของริมคลองชลประทาน เขาก็หวังว่าเมื่อทำเสร็จแล้วถ้าเขามีน้ำใช้ในการเกษตรหรือว่าการทำอุตสาหกรรมเขาก็คง จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ว่านี่สร้างมาแล้ว ๑๐ กว่าปี ๑๓ ปี ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท สร้างเป็น อนุสาวรีย์ไม่สามารถใช้ได้ ความเดือดร้อนของชาวบ้านก็คือเหมือนกับเราทำถนนเกาะกลาง แล้วก็น้ำมันไม่สามารถไหลผ่านจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำตามธรรมชาติได้ ทำให้มันแช่น้ำอยู่ แล้วก็ผลผลิตทางการเกษตรของเขาไม่ว่าจะเป็นยางพาราหรือว่าพืชผลอื่นแช่น้ำ แล้วก็เกิดความเสียหายตาย แล้วก็อีกส่วนหนึ่งก็คือในเรื่องของการสัญจร เนื่องจากว่า เหมือนเรามีคลองชลประทานผ่านมาจากบ้านคุณปู่คุณย่าหรือว่าบ้านสามีภรรยา ที่อยู่ ๒ ฝั่งคลองชลประทานมันไม่สามารถจะเชื่อมต่อกันได้ แล้วก็เป็นเวลานาน เขาก็เดือดร้อนในการใช้ทางอ้อม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือว่าความยุ่งยากในการขนส่ง สินค้าหรือว่าขนส่งวัสดุทางการเกษตรไปจำหน่ายตามร้านค้าหรือว่าตามตลาด มันมี ความยุ่งยาก แล้วก็หลายขั้นตอน แล้วก็มันเป็นเวลาเนิ่นนานมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ ๓ อำเภอ อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอพุนพิน แล้วก็อำเภอท่าฉาง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ทราบว่า เขามีการเสนอเรื่องขึ้นมาแล้วนะครับ ส่วนหนึ่งก็มองว่าในส่วนของคณะกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติก็อาจจะมีบุคลากรน้อย เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็มีอยู่ ๔-๕ ท่าน แต่ว่าด้วยปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านผมมองว่าต้องใช้ภาคีเครือข่ายให้เป็น ประโยชน์ ๑. ก็คือในเรื่องของศูนย์ดำรงธรรมในพื้นที่แต่ละจังหวัด ๒. ผู้นำ ๓. ถ้าเป็นไปได้ มีความกังวลว่าลงไปพื้นที่แล้วไม่รู้ว่าไปติดต่อใคร หรือว่าประสานงานใคร ให้ใครเป็น คนช่วยเหลือก็ติดต่อ สส. ในพื้นที่ได้เราพร้อมที่จะช่วยดำเนินการ อำนวยความสะดวก แล้วก็ลงไปร่วม เพื่อให้ปัญหาของชาวบ้านที่ค้างคามานานได้มีการแก้ไขนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • แล้วก็อีก Case หนึ่ง ก็คือในส่วนของนิคมสร้างตนเอง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็มีการสร้างเขื่อนของโครงการชลประทาน แล้วก็สร้างเขื่อนโดยทำ Spillway สูง ทีนี้พื้นที่เหนือเขื่อนที่ปลูกพืชผลทางการเกษตรก็ลักษณะเดียวกันเกิดการใช้น้ำ เป็นปริมาณกว้าง เขาก็ต้องการที่จะให้ลด Spillway ลงมานิดหนึ่ง เพื่อลดพื้นที่ที่เกิด ความเสียหายให้น้อยลง แล้วก็ร้องเรียนไปแล้วกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะไปแล้วนะครับ แต่ไม่ได้รับการแก้ไข เขาก็เลยถวายฎีกา พอถวายฎีกาเสร็จแล้วมันก็ต้องย้อนลงมาที่ต้นเรื่องเดิมอีกครับ ก็วิ่งไปวิ่งมาอยู่แบบนี้ปัญหา ชาวบ้านไม่ได้รับการแก้ไข ผมมองว่าเป็นส่วนหนึ่งที่อยากจะให้มีการดำเนินงานเชิงรุกมาก ยิ่งขึ้นนะครับ ลงไปดูในพื้นที่ด้วยตนเอง แล้วก็แสวงหาทางออกด้วยการบูรณาการ ใช้ภาคี เครือข่ายภายในพื้นที่ ทุกจังหวัดช่วยกันทำแล้วก็ช่วยกันแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน ผมมองว่า เป็นส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็น บางทีเราอาจจะทำเรื่องของการตั้งรับอยู่อย่างเดียว แล้วก็ ดูเอกสารในห้อง Air อยู่อย่างเดียวนะครับ ถ้าลงไปพื้นที่ด้วยเราจะเห็นหน้างานนะครับ แล้วก็ จะเห็นสภาพความเดือดร้อนของชาวบ้านที่เขาต้องทนทุกข์ทรมานมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปีนะครับแต่ละแห่งที่ผมเข้าไปดู แล้วก็เขาร้องเรียนเข้ามานะครับ ก็อยากจะฝาก ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ท่านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ช่วยลงไปดูในพื้นที่ที่ผมเสนอแนะตรงนี้ด้วย แล้วก็อยากจะให้ทำงานเชิงรุกในส่วนของ พื้นที่อื่น ๆ ด้วยนะครับ ก็น่าจะมีปัญหาในพื้นที่หลายจังหวัด ขอบคุณมากครับ สวัสดีครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ แล้วก็ผู้เข้ามาชี้แจง ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ขอต่อเนื่องจากท่าน สส. ชุติมา คชพันธ์ เนื่องจากว่าสิ่งที่ผ่านจากสภา แห่งนี้ต้องเป็นสิ่งที่เป็นอัจฉริยะ หรือว่า Smart เราไม่สามารถที่จะให้หน่วยงานเข้ามาเพียง เพื่อผ่านให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญเท่านั้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนที่อยากจะนำเรียนในภาพรวม เนื่องจากว่าประเด็นแรกก็คงจะเป็น ในเรื่องของ ๑๑๖ กองทุน ทีนี้ที่เป็นนิติบุคคลเพียงแค่ ๑๕ กองทุน อีก ๑๐๑ กองทุน ยังไม่เป็นนิติบุคคล เบื้องต้นการที่เราจะทำให้มีคุณภาพได้ ๑๐๑ กองทุนที่เหลือก็คงจะต้องมี การยกระดับเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะได้เข้าไปตรวจสอบ แล้วก็ให้มีรายงานบัญชีงบดุลประจำปี จะทำให้งบประมาณของแผ่นดินมีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น แล้วก็ในส่วนของหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ในที่นี้หมายถึงกรมบัญชีกลาง วันนี้ท่านได้ลงไปประเมิน ๖ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเงิน ด้านสนองประโยชน์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านปฏิบัติการ ด้านบริหารจัดการ แล้วก็ด้านคณะกรรมการการบริหาร แล้วก็ในส่วนของการตอบสนองนโยบายของรัฐ อันนี้ ก็เป็นส่วนที่สำคัญ แต่ว่าการประเมินผลก็คงจะต้องมีการติดตามด้วย ๑๑๖ กองทุนนี้ก็คง จะต้องมีคณะกรรมการลงไปติดตามเพื่อให้มีคุณภาพนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ก็คือผมได้อ่านรายละเอียดทั้งเล่มแล้วนะครับ ทั้งปี ๒๕๖๓ แล้วก็ปี ๒๕๖๔ พบว่ามีชื่อกองทุนที่ซ้ำซ้อนกัน ยกตัวอย่างว่าเรามีเอกสาร หน้า ๑๓ กับหน้า ๒๗ จะมีลำดับ ๗ กองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พอไปดูลำดับที่ ๓๗ ก็จะมีกองทุนจัดรูปที่ดิน อันนี้ก็มองว่าถ้าเป็นไปได้เราน่าจะ Group รวมนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • แล้วที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง บางทีในชื่อภาษาไทยกับชื่อภาษาอังกฤษ เช่น กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่บังเอิญว่าไปมีกองทุนอีกกองทุนหนึ่ง ชื่อว่ากองทุนพัฒนา SMEs เป็นตัวเดียวกันนะครับ SMEs ก็คือ Small and Medium Enterprises ซึ่งก็คือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อันนี้ก็อยากจะให้ลงไปตรวจสอบ ด้วยนะครับ เพราะว่าปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าในส่วนขององค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย เยอะแยะมากมาย ทีนี้พอมีองค์กรขึ้นมาก็จะต้องดึงงบประมาณจากทางแผ่นดินลงไปใช้ ต้องมีคน ต้องมีงาน แล้วก็ต้องมีการบริหารจัดการ ซึ่งก็คงจะมีลักษณะการซ้ำซ้อน มองว่า ๑๑๐ กว่ากองทุนนี้เป็นไปได้ไหมครับ เรามาทำให้สภาอัจฉริยะ ซึ่งก็หมายถึงว่าเราไปจัดกลุ่ม จริง ๆ แล้วในส่วนของวัฏจักรแห่งความชั่วร้ายของมนุษย์ แก้โง่ แก้เจ็บ แก้จน เพราะฉะนั้น เราไปทำในเรื่องของกองทุนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข เกี่ยวข้อง กับเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับรายได้ จัดมาดู แล้วก็เอามาจัด Group จัดหมวดหมู่ให้เขา อยู่ร่วมกัน ทีนี้เราก็จะเห็นภาพว่ากองทุนไหนที่มันซ้ำซ้อนกัน เราก็ให้เข้ามาอยู่ด้วยกัน แล้วก็ บูรณาการร่วมกัน อาจจะต้องลดจำนวนคน แล้วก็เอาเงินลงไปทำงานแบบเชิงรุกได้มาก ยิ่งขึ้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • แล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือเราจะลงไปดูกองทุนที่มีชื่อแปลก ๆ เช่น มีกองทุน โรงงานเภสัชกรรมทหาร กองทุนโรงงานผลิตวัตถุระเบิด กองทุนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้มากมาย เป็นไปได้ไหมว่ารื้อระบบกันเสียที ให้มันเป็นปัจจุบัน กองทุนไหนที่ไม่มีความจำเป็น หรือว่าโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว ยุคปัจจุบันมันเปลี่ยนไปแล้ว ก็มาปรับปรุงพัฒนา โดยทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงจะไม่ให้เขาเดือดร้อน เพียงแต่ว่าเราบูรณาการ แล้วก็ เดินต่อไปข้างหน้า อันนี้ก็เป็นส่วนที่อยากจะฝากทางท่านประธานนำเรียนทางหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้มีการรื้อระบบ แล้วก็ปฏิรูปในส่วนของกองทุนต่าง ๆ นี้ขึ้นมา เพราะว่าปัจจุบัน เรื่องของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็แสนกว่าล้านบาท กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน หรือว่ากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาแบบนี้มันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เหมือนที่ ผมเรียนตอนต้นถ้าเกี่ยวข้องกับการศึกษา เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข เกี่ยวข้องกับรายได้ สนับสนุนไปเลยนะครับ เพราะว่ามันเป็นเรื่องของการพัฒนาศักยภาพคนของประเทศไทย เพื่อจะให้งานอื่น ๆ ในมิติอื่น ๆ มันจะได้ไปด้วยกันได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากจะให้จัดระบบ ในเรื่องของการสังคายนากองทุนต่าง ๆ เหล่านี้ให้เป็นระบบ แล้วก็มีคุณภาพ คุ้มค่าเงิน งบประมาณของแผ่นดิน เราอยากจะเห็นว่ามีเรื่องของ One Stop Service ชาวบ้าน ไปรับบริการแล้วได้เบ็ดเสร็จครบทุกอย่าง ทีนี้พอมีหลายหน่วยงานชาวบ้านก็งงครับ ส่วนที่ เป็นองค์กรต่าง ๆ นี้ก็อาจจะเกี่ยงกันว่าอันนี้ไม่ใช่หน้าที่ตรงของเรา ให้ไปหน่วยงาน SMEs อันนี้ให้ไปวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม อันนี้ก็เป็นส่วนที่อยากจะฝาก ท่านประธานนำเรียนทางผู้ชี้แจงได้ไปหารือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง แล้วก็ช่วยกัน ปฏิรูปสังคายนาสักครั้งหนึ่ง ขอบคุณมากครับ สวัสดีครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธาน ท่านสมาชิก แล้วก็ผู้ร่วมชี้แจงครับ ปรเมษฐ์ จินา รวมไทยสร้างชาติ สุราษฎร์ธานี ก็คงจะต่อเนื่องจากของ คุณทรงยศนะครับ เนื่องจากว่าคงจะเป็นปัญหาที่ค้างคากันมานาน แล้วก็ไม่ได้รับการแก้ไข ในส่วนของความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศ ซึ่งทางผู้ชี้แจงได้นำเรียน ก็มีความก้าวหน้าแล้วก็พัฒนาไปตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวินัยด้านการเงิน แล้วก็ผลงานต่าง ๆ ความมั่นคงทางการเงินการคลังก็ทราบว่าทางรัฐบาลได้ทำเป็นอย่างดี แต่ว่าในส่วนที่จะเพิ่มเติมก็คือส่วนที่ยังเป็น Gap เป็นช่องว่างในแต่ละด้านทั้ง ๑๓ ด้าน ยกตัวอย่างในส่วนของด้านการเมือง วันนี้เราทำไมไม่ลงไปรื้อระบบในส่วนของการตรวจสอบ คุณสมบัติของผู้สมัครผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หรือว่าสมาชิก อบต. อบจ. แล้วก็ในส่วนของพวกเราเอง เนื่องจากว่า ที่ผ่านมาบางทีก็ลงสมัครแล้ว เริ่มทำงานแล้ว พอมาตรวจสอบย้อนหลังมันเสียอารมณ์ บางครั้งถ้ามีการตรวจสอบให้ชัดเจนตั้งแต่เบื้องต้น มันก็จะทำให้คนที่รู้ตัวว่าเขาไม่สามารถ เดินต่อได้มันก็ได้ปรับตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่นี่เราปล่อยมาเป็นยุค เป็นสมัย เป็นวาระแล้วเพิ่งมา ตรวจสอบ อันนี้ก็คงจะต้องมีการปฏิรูปในส่วนของระบบด้านการเมืองนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนของการบริหารราชการแผ่นดิน อันนี้เป็นส่วนที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของการที่จะเดินต่อในเรื่องของ Smart Government นะครับ เพราะฉะนั้น ในส่วนของ Big Data ในแต่ละกระทรวง ทบวง กรม ต้องมีการจัดระบบตรงนี้ให้ชัดเจน ในส่วนของการที่จะขับเคลื่อนเป็นรัฐบาลอัจฉริยะก็คงจะต้องมีแผนงานที่จะต้องโฟกัส ไปในแต่ละเรื่องเพิ่มเติมจากในแผนที่เราได้นำเรียนกันมานะครับ เช่นยกตัวอย่าง ในเรื่องของการศึกษาอัจฉริยะ หลายท่านก็ได้นำเสนอแล้วรูปแบบการศึกษาอัจฉริยะ เป็นอย่างไร ให้ทันสมัยแล้วก็ดูแลตั้งแต่เด็กอนุบาล แล้วก็ในส่วนของการที่จะให้ เด็กค้นพบตัวเองตั้งแต่เบื้องต้น ยกตัวอย่างผมไปดูงานที่ประเทศนิวซีแลนด์เขาจัดระบบ เป็นอย่างดี เด็กชอบอะไรก็ให้ค้นพบตัวเองตั้งแต่เริ่มต้น แล้วก็เดินหน้าไปแนวที่เขาชอบ ไม่ใช่ว่าตามเพื่อน ไม่ใช่ว่าตามผู้ปกครองเหมือนบ้านเรา อันนี้ก็เป็นส่วนที่จำเป็นที่จะต้องไป ปรับปรุงในเรื่องของระบบการศึกษา

    อ่านในการประชุม

  • ด้านการสาธารณสุขก็เช่นกันนะครับ ณ วันนี้เราต้องมีการแบ่งระดับในเรื่อง ของงานส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู แล้วก็ในเรื่องของการรักษาพยาบาลแบบนี้ เราก็คงจะต้องมีการปรับให้มันทันสมัยให้ทันยุคนะครับ เอาให้มีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามา มีส่วนร่วมในด้านสุขภาพมากยิ่งขึ้น เช่นเอกชน เช่นมหาวิทยาลัย เช่นท้องถิ่น ถ้ามีหน่วยงาน หลายหน่วยงานเข้ามาดูแลในเรื่องของสุขภาพก็จะเกิดการแข่งขัน ประชาชนก็จะได้รับ การดูแลที่ดีแล้วก็มีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • ด้านเศรษฐกิจ ณ วันนี้ทำอย่างไรให้คนที่อยู่ทางบ้าน การตลาดชุมชน OTOP มีการออกแบบ Form ที่เรียกว่า Platform สำหรับการค้าขายของเศรษฐกิจชุมชนนะครับ แล้วก็งานสารบรรณมียกตัวอย่าง ผมเคยเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เวลามี การประชุมต้องแจ้งล่วงหน้า ๓ วัน แล้วก็เวลาแจ้งมันต้องให้คนเอาเอกสารไปถึงเจ้าตัว อันนี้ก็เช่นกันของเราปัจจุบันใช้ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยแจ้งทาง Online แล้วก็ในส่วนของ เอกสารก็คงจะต้องส่งในระบบให้หมดเลยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันแม้ว่าจะมีการป้องกันเป็นอย่างดีก็ยังต้องมีการตามจ่าย การเรียกเข้ามาตกลงราคา หรือว่าในส่วนของการที่จะฮั้วกันนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • แล้วก็ที่สำคัญก็คือในเรื่องของการอุทธรณ์นี่เป็นปัญหาอย่างยิ่งของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนะครับ อุทธรณ์แล้วให้ยืนตามเดิม แต่ว่าช่วงเวลาที่อุทธรณ์ ๓-๔ เดือน ยกตัวอย่างเราดำเนินกิจกรรมในช่วงเดือนมิถุนายนกว่าผลอุทธรณ์จะออกมา สิ้นเดือนกันยายนงบประมาณต้องพับไป ชาวบ้านก็เสียประโยชน์ แล้วก็คนที่อุทธรณ์นั้น ก็ไม่มีการรับผิดชอบใด ๆ ถ้ามีการออกระเบียบให้มันชัดเจน ถ้าคุณอุทธรณ์แล้วผลอุทธรณ์ เหมือนเดิมคุณต้องจ่ายค่าปรับกี่เปอร์เซ็นต์ของจำนวนค่าจ้างก็ว่ากันไป อันนี้เป็นส่วนสำคัญ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขาฝากมานะครับ

    อ่านในการประชุม

  • แล้วก็ส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของการกระจายอำนาจ เรามี พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจมา ๒๐ กว่าปี แต่ถามว่า ณ วันนี้เป็นการกระจาย อำนาจจริงหรือไม่ มันไม่ใช่นะครับ มันเป็นเรื่องของการกระจายแต่หน้าที่ อำนาจไม่มา อำนาจยังอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด อำนาจยังอยู่ที่อธิบดี เรื่องของท้องถิ่นไม่มีใครที่จะรู้แจ้ง เห็นจริง แล้วก็เข้าถึงมากกว่าคนของท้องถิ่น อันนี้ก็คงจะต้องมีการปฏิรูปในเรื่องของระบบ บริหารราชการแผ่นดินนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนของการมอบอำนาจในที่สาธารณะหรือว่าเขาต้องการใช้ประโยชน์ ในส่วนที่เป็นสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของทางสาธารณะก็น่าจะมอบอำนาจให้กับทางท้องถิ่น ได้ดำเนินการด้วยตนเองครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนของด้านกฎหมายแน่นอนว่าหลายท่านพูดไปแล้ว กฎหมายที่ยังล้าหลัง ที่ไม่ทันสมัย ที่ไม่เป็นธรรมกับพี่น้องประชาชนก็สมควรที่จะ Review กันให้มันยกใหญ่ กระบวนการยุติธรรมเราก็มีหลายหน่วยงานเข้ามาชี้แจง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องที่ค้างคาอยู่ที่ศูนย์ดำรงธรรมแต่ละจังหวัด หรือว่า เรื่องที่ต้องส่งไปถึงขั้นตอนของการถวายฎีกา ทำอย่างไรให้มีการแก้ไข ชาวบ้านเขาจะได้ ไม่เป็นทุกข์ทรมานเป็น ๑๐ ปี ๒๐ ปี บางครั้งเรื่องของที่ดินทำกิน หรือว่าเรื่องของโครงการ ของรัฐบาลที่ไปทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนมันก็ไม่มีการแก้ไข เพราะฉะนั้นถึงเวลาที่เราจะต้องมี การดำเนินงานให้เกิดการทำงานแบบเชิงรุก มีทนายความอาสาสัญจรไปพบปะพี่น้องประชาชน ทุกเทศบาล ทุก อบต. และเรามีแผนแจ้งล่วงหน้า วันนี้ทนายอาสาจะออกพื้นที่ไหน อันนี้ ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่จะแก้ปัญหาเชิงรุกแล้วก็ลดความทุกข์ให้กับพี่น้องประชาชน

    อ่านในการประชุม

  • ด้านเศรษฐกิจแน่นอนนะครับ ในวันนี้บ้านเราเป็นเรื่องของเมืองเกษตร ทำอย่างไรเราจะยกระดับการเกษตรให้มันทันสมัย Young Smart Farmer เกษตรมูลค่าสูง เกษตรอัจฉริยะ ทำในเรื่องการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ด้านการประมง ด้านการแปรรูป หรือว่า ด้านการตลาด อันนี้ก็เป็นส่วนที่สำคัญครับ รวมทั้งในเรื่องของการใช้ Application แล้วก็ในส่วนของการออกแบบ Platform ที่มัน คล่องตัวแล้วก็ทันสมัย ด้านอื่น ๆ ก็คิดว่าคงจะเป็นเรื่องที่รวบรวมประเด็นที่หลายท่านได้ นำเสนอในครั้งนี้ แล้วอีกส่วนหนึ่งขอนิดเดียวนะครับท่านประธาน เนื่องจากว่าหลายท่าน พูดคุยกันในเรื่องของเอกสารสิทธิที่ดิน ทำไมผ่านมาแล้วหลายสมัยไม่มีการแก้ปัญหา อย่างเป็นรูปธรรม ผมมองว่าถ้าให้สำนักนายกรัฐมนตรีมีคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ คทช. ทำอย่างไรให้มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง แล้วก็เอาปัญหาทั้งหมดนี้ลงไปดำเนินการในพื้นที่ ให้มันเป็นลักษณะที่จับต้องได้ ไม่ใช่ว่ามาพูดกันทุกครั้งทุกปีมันก็ยังอยู่แบบนี้ ผมก็อยากจะ ให้ท่านประธานได้นำเรียน หรือว่าเราในฐานะที่เป็นหัวใจของอำนาจการตัดสินใจ ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง ผมก็พร้อมที่จะอาสาเข้าไปทำเรื่องนี้ให้ทั่วประเทศนะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา รวมไทยสร้างชาติ สุราษฎร์ธานีนะครับ มีประเด็นที่หารือในส่วนของปัญหา ข้อร้องเรียนของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่นะครับ ขอ Slide ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรกก็คงจะเป็นเรื่องของ ถนนสาย ๔๐๐๙ นะครับ สืบเนื่องจากว่าผมดูข้อมูลของหลายท่านที่เสนอแล้ว มันค่อนข้าง ที่จะมีความสำคัญน้อยกว่าเรื่องของชีวิตในส่วนของพื้นที่ผมเยอะนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่อำเภอพระแสง จากสะพานข้ามแม่น้ำตาปีถึงถนนเซาเทิร์น สาย ๔๔ จนชาวบ้าน เขาเรียกว่าถนนสาย ๓ ค นะครับ นั่นก็คือโค้งตลอดสาย พอหมดโค้งก็ลงควน ทางใต้ เขาเรียกควนก็คือเนินนะครับ แล้วก็ตลอดเส้นจะแคบ และที่สำคัญเพิ่มมาอีก ๑ ค ณ วันนี้ ก็คือคร่าชีวิตผู้คนด้วยนะครับ ทุกสัปดาห์จะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากว่าผมต้องไปร่วมพิธีงานศพ ชาวบ้านก็ฝากว่าถ้าผมเข้ามาเป็น สส. วาระนี้ ถ้าไม่ได้ถนนสายนี้ผมก็คงจะไม่ได้มาอยู่เป็น เพื่อนท่านประธานในโอกาสต่อไปนะครับ ก็ขอฝากให้ความสำคัญเส้นนี้เป็นเส้นหลักด้วย

    อ่านในการประชุม

  • แล้วก็เส้นที่ ๒ เป็นสาย ๔๐๑ ครับ จากที่ว่าการอำเภอพนมถึงอุทยาน แห่งชาติเขาสก เนื่องจากว่าเส้นทางนี้เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างอันดามันกับอ่าวไทยนะครับ แล้วก็มีรายได้ทางเศรษฐกิจเข้ามาสู่ประเทศชาติปีละไม่น้อยกว่าพันล้านบาทนะครับ เพราะฉะนั้นก็อยากจะฝาก ๒ เส้นนี้ไว้ในส่วนของถนนหนทาง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิ ทำกิน อันนี้ก็เป็นส่วนที่สำคัญ เนื่องจากว่าสมาชิกหลายท่าน ไม่ว่าจะปลูกสินทรัพย์หรือว่ามี ผลอาสิน มียางพาราที่หมดอายุแล้วไม่สามารถโค่นได้อันนี้ก็เป็นปัญหาในเรื่องของอุทยาน ก็อยากจะนำเรียนทางท่านประธานช่วยผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นในส่วน ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วก็อีกส่วนหนึ่งก็คือกระทรวงมหาดไทย ที่ดูแลเรื่องของที่ดินหมดสัมปทานของรัฐนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถามว่าเป็นไปได้ไหม หลายปีที่ชาวบ้านเขาดิ้นรนมาแล้วก็ไม่สามารถจะมีใครแก้ไขได้นะครับ ผมก็ต้องขอขอบคุณ ท่านนายกประยุทธ์ แล้วก็ท่านพีระพันธุ์นะครับ เนื่องจากว่าท่านลงไปดู แล้วก็ในวันที่ ๖ กันยายนที่จะถึงนี้อำเภอชัยบุรีเขาจะเป็นพื้นที่นำร่องในการที่จะมอบเอกสารสิทธิที่ดิน แล้วก็ ให้ชาวบ้านเข้าไปทำที่ดินทำกินในพื้นที่ที่เป็นสัมปทาน แล้วก็ในส่วนของที่อุทยาน แล้วก็ รวมทั้งที่สงวนถ่านหิน ในเขตพื้นที่อำเภอเคียนซา ก็มีหลาย ๆ แบบพื้นที่ของทางราชการ ก็อยากจะให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาแก้ปัญหาที่ดินของรัฐ โดยเฉพาะให้ชาวบ้านพึ่งพาได้

    อ่านในการประชุม

  • แล้วก็ประเด็นสุดท้ายนะครับ อันนี้ท้องถิ่นทุกแห่งเขาฝากมาว่าถ้ามีโอกาส ให้ไปรื้อระบบในส่วนของการอุทธรณ์การจัดซื้อจัดจ้าง เนื่องจากว่าพอมาอุทธรณ์ช่วงนี้ ท่านประธานก็จะเห็นว่าพอถึงเดือนกันยายนเขาก็จะพับงบไป เป็นไปได้ที่จะต้องมีการ Guarantee ว่าถ้าอุทธรณ์แล้วผลยังเหมือนเดิม คนอุทธรณ์จะต้องมีค่าปรับครับ อันนี้ก็ฝาก ท่านประธานไปยังกรมบัญชีกลาง แล้วก็ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยช่วยรื้อระบบตรงนี้ ให้ด้วย ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ต้องขอขอบคุณทางผู้สอบบัญชี แล้วก็รายงานการเงินกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล สืบเนื่องจากว่าในส่วนของวัตถุประสงค์ หลัก ๆ แล้วก็คงจะเน้นในเรื่องของการศึกษา วิจัย พัฒนา การสร้างความตระหนัก แต่ที่เป็นไปได้ที่ชาวบ้านต้องการก็อยากจะได้ในสิ่งที่ชาวบ้านเขาจับต้องได้เป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นก็อยากจะฝากข้อเสนอแนะไป ๒-๓ ประเด็น แล้วก็อยากจะให้ท่านประสาน กับทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเพื่อที่จะทำให้ชาวบ้านได้ประโยชน์อย่างแท้จริงนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรก ก็เป็นเรื่องของการทำงานแบบเชิงรุก ถ้าเป็นไปได้ท่านก็คงไปดู ข้อมูลจากศูนย์ดำรงธรรมหรือว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความขาดแคลนของแหล่งน้ำ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือว่าเทศบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมมีอยู่แห่งหนึ่งก็คือ ในส่วนของเทศบาลตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ ที่ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ พอช่วงหน้าแล้งชาวบ้านก็จะต้องซื้อน้ำที่เป็นรถกระบะแล้วก็ มีค่าใช้จ่ายเยอะ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ณ ปัจจุบันในส่วนของภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็จะมีการทำพืชเศรษฐกิจตัวใหม่นั่นก็คือในเรื่องของทุเรียนแปลงใหญ่ ถ้าเป็นไปได้เราอยากจะให้จับต้องตรงนี้ได้ ก็สามารถจะไปช่วยเหลือเขาตรงนั้นได้

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ สิ่งสำคัญเมื่อมีการดึงน้ำบาดาลมาใช้เยอะ เราก็คงจะต้องมี การเติมน้ำบาดาลลงไปในแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งจากการศึกษาหลาย ๆ แห่งก็พบว่าเราแนวคิด ระบบธนาคารน้ำใต้ดิน ถ้าเป็นไปได้ก็เอาผลการศึกษาวิจัยแล้วเอามาใช้ไปเติมน้ำใต้ดินให้กับ แหล่งน้ำบาดาลเพื่อจะได้เกิดความต่อเนื่องไม่ขาดแคลน อันนี้ก็เป็นส่วนที่อยากจะเสนอแนะ เพิ่มเติมนะครับ แล้วก็ส่วนที่อยากจะหารือเพิ่มเติมในเรื่องของระบบรายงานเนื่องจากว่า ผมดูแล้วค่าใช้สอยเพิ่มขึ้นจาก ๑๒ ล้านบาท มาเป็น ๘๑๐ ล้านบาท แต่ว่าดูระบบรายงาน ข้อมูลเป็นเรื่องของการใช้จ่ายในการผลักเงินเป็นรายได้แผ่นดิน อาจจะต้องแยกหมวด เพื่อไม่ให้ชาวบ้านสับสนครับ ขอนำเรียนท่านประธาน เชิญท่านวิชัยต่อครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ท่านสมาชิก แล้วก็อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองและคณะ ผม ปรเมษฐ์ จินา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พรรครวมไทยสร้างชาติ ขอเพิ่มเติมจากประเด็นที่เพื่อนสมาชิกได้นำเสนอซึ่งก็เป็นประโยชน์ แล้วก็ต้องขอชื่นชมทางกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากว่างบประมาณที่ได้มาแต่ละปีจากรัฐบาลก็เพียงน้อยนิด เพียงแค่ ๔๐ ล้านบาทต่อปี แล้วก็ถ้าเราดูข้อมูลจากเอกสารประกอบก็พบว่าได้แค่สัญญาเดียวก็หมด ที่ร่มโพธิ์ของ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ๓๙,๙๐๐,๐๐๐ กว่าบาท คิดว่าถ้าเป็นโครงการเดียวแล้วก็ ไม่สามารถจะต่อยอดไปโครงการอื่นได้ แต่ว่าท่านก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    อ่านในการประชุม

  • แต่ส่วนหนึ่งที่อาจจะได้นำมาพิจารณานั่นก็คือเงินเหลือจ่ายสะสมมาจาก ปีก่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ทั้งหมด ๒๖๕ ล้านบาท หรือว่าสินทรัพย์หมุนเวียน ๕๗ ล้านบาท ตัวนี้ก็คงจะมีการต่อยอดในเรื่องที่ผมจะเสนอในโอกาสข้างหน้านี้ได้ เป็นต้นว่าในส่วนของ การดำเนินงานเป็นไปได้ไหมว่าโครงการเรามีวัตถุประสงค์ในเรื่องของกู้ยืม ในเรื่องของ อุดหนุน กู้ยืมแน่นอนว่าจะต้องมีดอกเบี้ยอันนี้ก็อาจจะน้อยหน่อย แต่ว่าจากการดูข้อมูล ก็ประมาณครึ่งหนึ่ง ๒๐๐ กว่าล้านบาท ในส่วนของการอุดหนุนองค์กรต่าง ๆ รวมทั้ง หน่วยราชการ อันนี้ก็เป็นประโยชน์ แต่ว่าส่วนหนึ่งที่อยากจะให้ปรับแนวทาง ในการดำเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ นั่นก็คือในเรื่องของการค้นคว้า วิจัย แล้วก็ ในเรื่องของการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการทำ Role Model หรือว่าทำ Pilot Project เพราะที่ผ่านมาผมมองว่าคนไทยเรานิสัยอย่างหนึ่งก็คือชอบแข่งขัน ชอบการประกวด แล้วก็ชอบการพนัน เพราะฉะนั้นเป็นไปได้ไหมว่าถ้าเราจะมีโครงการให้เขาประกวดพื้นที่ นำร่องในแต่ละหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็จะมีที่ดินในสังกัดเยอะแยะมากมายเป็นต้นว่า ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็จะมีพื้นที่ ส.ป.ก. ทำขึ้นมาสักแห่งประกวด เราให้ Concept เขาว่าจะสร้างพื้นที่ตรงนี้มีอะไรบ้างในพื้นที่ โดยการออกแบบในเรื่องของ งบประมาณที่จะทำนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเราได้รูปแบบหรือว่าได้มีการออกแบบแล้วก็ค่อย เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นสมมุติว่า ถ้าเป็นถนนหนทางก็กระทรวงคมนาคมลงไปทำ ถ้าเป็นไฟฟ้าก็การไฟฟ้าลงไปทำ ถ้าเป็นแหล่งน้ำก็กรมชลประทานลงไปทำ อันนี้เป็นเรื่องของ การออกแบบนะครับ ทีนี้ในหน่วยงานอื่น ๆ ก็เช่นกัน ที่ราชพัสดุไม่ว่าจะเป็นที่สงวนถ่านหิน หรือว่าที่สงวนต่าง ๆ ที่ขึ้นกับกระทรวงการคลัง เขาก็จะมีพื้นที่อยู่ว่าจะออกแบบกันอย่างไร จะสร้างสถานพยาบาล จะสร้างศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ จะสร้างพื้นที่เกษตรให้กับคนที่ร่อนเร่ พเนจร คนที่ไม่มีที่ดินทำกิน เอามาไว้สักจุดหนึ่งแล้วก็แข่งขันกันออกแบบ ให้มีการลงไปดู แล้วก็ค่อยสนับสนุนงบประมาณ ในส่วนของพื้นที่อื่น ๆ ก็มีอีกเยอะแยะมากมายเช่น พื้นที่ของโรงเรียนขนาดเล็กที่ยกเลิกกิจการบางแห่งก็มีพื้นที่ที่ทำเลสวยงามมากนะครับ ถ้าให้กระทรวงศึกษาธิการไปออกแบบมา แล้วก็มาของบประมาณในการออกแบบของท่าน ผมก็ว่าเป็นประโยชน์ แล้วก็มีพื้นที่เรื่องของป่าชายเลน พื้นที่ของป่าพรุ ในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ แล้วก็ที่สงวนเลี้ยงสัตว์ ที่สงวนตัดฟืน ที่ดินหลวงมีเยอะแยะมากมาย ผมว่าเป็นไปได้ ถ้ามีการประกวดออกแบบ แล้วก็เกิดการพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่ง เราใช้งบประมาณที่มีอยู่ จำกัดจำเขี่ยนี้ได้เป็นประโยชน์มากที่สุด ในส่วนนี้ผมก็อยากจะเสนอแนะเพิ่มเติมจากที่ เพื่อน ๆ สมาชิกได้นำเรียน ซึ่งจากการที่ไปพบไปเห็นมาหลาย ๆ ประเทศก็มีการทำ รูปแบบนี้เหมือนกับ Resort ผู้สูงอายุ เหมือนกับเรื่องของการดูแลผู้พิการให้มาประกอบ อาชีพในพื้นที่ต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะฝากท่านประธานไปยังกรมโยธาธิการ และผังเมือง ช่วยกันปรับเปลี่ยนลองดูว่าโอกาสข้างหน้าเราใช้วิธีการนี้เพื่อใช้งบประมาณ ตรงนี้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ ขอเสนอกรรมาธิการวิสามัญในสัดส่วนของ พรรครวมไทยสร้างชาติ ๒ ท่านนะครับ ๑. นายชนาธิป ศุภศิริ ๒. นายทศพร ทองศิริ ขอผู้รับรองด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านประธาน ไม่น่าจะลืมเลยนะครับ ของผมมีผู้ที่สันทัดกรณีด้วย ขอเสนอคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน ๒ ท่าน ท่านแรก นายศาสตรา ศรีปาน ท่านที่ ๒ นายชัชวาลล์ คงอุดม ขอผู้รับรองด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีข้อหารือที่นำเรียน ท่านประธานเพื่อผ่านไปหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้ ถ้าเป็นปัญหาในระดับประเทศ ก็จะมีอยู่ ๒-๓ เรื่อง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก ก็คงจะเป็นเรื่องของการให้กระทรวงสาธารณสุขแล้วก็กระทรวง มหาดไทยปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด เนื่องจากขณะนี้มีปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นคน เงิน ของ แล้วก็ระเบียบเงินบำรุง แล้วที่สำคัญก็คือในเรื่องของการจ่ายเงิน COVID-19 เพราะว่าที่ผ่านมาก็ดำเนินงานในภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุข แต่หลังจาก ถ่ายโอนแล้วเงินเพิ่งเกิดขึ้นเรียกว่า Postpaid เพิ่งจ่ายตามหลังกับผลงาน แต่ว่าไม่สามารถ ที่จะนำเงินตรงนี้มาจ่ายได้

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ก็เป็นเรื่องของ ส.ป.ก. ที่ท่าน สส. ธานินท์ นวลวัฒน์ ฝากมาว่า มีปัญหาในการปฏิบัติก็คือในส่วนของพ่อแม่ที่เป็นเกษตรกรท่านขยันแล้วก็ดิ้นรน จนสามารถที่จะส่งลูกให้เป็นข้าราชการได้ แต่มาวันหนึ่งท่านได้เสียชีวิตลงแล้วทรัพย์สมบัติ ก็สมควรที่จะเป็นของลูก แต่เนื่องจากว่าลูกเป็นข้าราชการแล้วก็ติดขัดในเรื่องการเป็น เกษตรกรของระเบียบ ส.ป.ก. อันนี้ก็คงจะต้องมีการทบทวนนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ก็เป็นเรื่องขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ฝากมา เรื่องให้ ส.ป.ก. ได้เร่งรัดในการอนุมัติในการขอเข้าไปใช้ที่ปรับปรุงด้านสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ประปา หรือว่าถนน เพราะว่าถ้าเอาเครื่องจักรลงไปทำแล้ว ส.ป.ก. ยังไม่อนุญาตก็จะเกิดปัญหาในเรื่องของการปฏิบัติ มีการยึดเครื่องจักรกล เครื่องมือหนัก ก็ทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติระหว่างข้าราชการด้วยกันนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องถัดไป ก็ขอให้กรมทางหลวงได้ขยายเส้นทางระหว่างจังหวัด ถนนสาย ๔๐๓๗ ช่วงอำเภอชัยบุรีถึงสามแยกควนสว่างวัฒนา แล้วก็ให้ขยายจากสามแยกเป็นสี่แยก ตัดทะลุถนนสาย ๔๔ ก็คือถนน Southern เพื่อร่นระยะทางในการสัญจรของพ่อแม่ พี่น้องประชาชน แล้วก็ถนนสายบ้านตาขุน-อุทยานแห่งชาติเขาสก ๔๐๑ ก็เป็นถนน สายท่องเที่ยว แล้วก็ในส่วนของการที่จะให้ทางกรมทางหลวงชนบทไปซ่อมแซมถนน แล้วก็ขยายสะพาน เนื่องจากว่าทั้ง อบจ. แล้วก็ อบต. เทศบาลเขาไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะว่ากรมทางหลวงชนบทเป็นเจ้าของ เขาก็เลยไม่สามารถจะใช้งบไปดำเนินการได้ ก็ฝากท่านประธานไปสู่กรมทางหลวงชนบทได้เข้าไปแก้ไขปรับปรุงตรงนี้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ขออนุญาตแลกเปลี่ยนมุมมองอีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากว่าชื่อชั้นของผู้ตรวจการแผ่นดินก็คงจะเป็นที่พึ่งของพ่อแม่พี่น้องประชาชน เพราะชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องของการตรวจการแผ่นดินนะครับ เพราะฉะนั้น ในประเด็นต่าง ๆ ที่สมาชิกพวกเราได้นำเสนอก็คงจะเป็นประโยชน์ แล้วก็จากการศึกษา รายงานของท่าน ปี ๒๕๖๕ ทั้งเล่ม ก็ขอประมวลภาพสรุปไม่นานนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนที่อยากจะนำเรียนเพราะว่าเรื่องที่ท่านรับมา ๕,๒๕๐ เรื่อง ในปี ๒๕๖๕ ตามเอกสารมันเป็นเรื่องที่ยกมาจากปีก่อน ๒,๑๙๑ เรื่อง แล้วก็รับใหม่ในปี ๒๕๖๕ ๓,๐๕๙ เรื่อง อันนี้ถ้าเรามาดูข้อมูลแล้วก็พบว่ามันเป็นเรื่องที่อาจจะต้องมีการปรับรูปแบบในการทำงาน เนื่องจากว่ามันจะมีคำกล่าว หลายท่านก็คงจะได้ยินว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็เปรียบเสมือน ความอยุติธรรม อันนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะว่าถ้ากรณีที่ชาวบ้านเขาค้างคาอยู่ถึง ๒,๑๙๑ เรื่อง อันนี้ก็จะเป็นทุกข์เขาข้ามปีเลยนะ เราจะมีวิธีการทำอย่างไร อาจจะมีการถอดบทเรียน ที่ผ่านมาว่าทำอย่างไร แล้วก็มีการจัดลำดับความสำคัญว่าจะดำเนินการเชิงรุกอย่างไร ให้สามารถที่จะ Clear ได้ในแต่ละปี เหมือนที่ศาลเขาก็จะมีผู้ไกล่เกลี่ย มีคดีมโนสาเร่ เราก็ลองไปจัดรู้ว่าเรื่องอะไรที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เราก็มีการจัดระบบ แล้วก็ที่สำคัญ มองว่าถ้าเราจะทำงานเชิงรุก แทนที่จะรับเรื่องร้องเรียนจากเส้นทางต่าง ๆ จากช่องทางต่าง ๆ ณ วันนี้ผมมองว่าผมเข้ามาอยู่ในสภาก็ได้ดูข้อมูล ข้อหารือก่อนที่เราจะมีการประชุม ถ้ามีการรวบรวมแล้วก็ประสานทางเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือว่าเลขาธิการรัฐสภา แล้วก็ประสานข้อมูลไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินก็จะเป็นอีกช่องทางหนึ่ง แล้วก็อีกช่องทางหนึ่ง ถ้าเป็นไปได้ท่านประธานอาจจะมี Connection ในส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัด ก็จะมี ศูนย์ดำรงธรรมของแต่ละจังหวัด ซึ่งแต่ละเรื่องส่วนมากก็จะร้องไปที่ศูนย์ดำรงธรรมก่อน ก่อนที่จะถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน ถ้าเราสามารถจะเก็บข้อมูลตรงนั้น บูรณาการข้อมูลตรงนั้นได้ เราก็สามารถที่จะลดข้อร้องเรียนหรือว่าทำการเกลี่ยปัญหา หรือว่าแบ่งในส่วนของ ที่ยังค้างคาอยู่ให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เขาสามารถจะแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ ช่วยกันแก้ไข เราก็เลือกประเด็นที่มันใหญ่ ๆ แล้วก็กระทบกระเทือนทั้งระบบ อันนี้ก็จะมาจัดลำดับความสำคัญ

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้มาดูว่าในส่วนของ Top Five ในหน่วยงานที่มีเรื่องร้องเรียนมากที่สุด ลำดับแรกเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลำดับที่ ๒ กระทรวงมหาดไทย ลำดับที่ ๓ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลำดับที่ ๔ กระทรวงคมนาคม แล้วก็ลำดับที่ ๕ เป็นของ กระทรวงยุติธรรมเอง ๕ ลำดับนี้เรามาทำอย่างไรให้มีการตั้งคณะทำงานและเข้าไปดู แล้วก็ทำการแก้ไขในส่วนของ ๕ ลำดับแรกนี้ให้สามารถจะทุเลาเบาบาง แล้วก็ในส่วนของจังหวัด ๕ จังหวัดแรกที่มีปัญหาเรื่องร้องเรียนมากที่สุด ลำดับที่ ๑ กรุงเทพมหานคร ๑,๓๐๐ กว่าเรื่อง ลำดับที่ ๒ นนทบุรี ลำดับที่ ๓ ชลบุรี ลำดับที่ ๔ ร้อยเอ็ด ลำดับที่ ๕ เชียงใหม่ ลองดูว่านอกจากจะจัดทีมงานลงไปทำการแก้ไขปัญหาในหน่วยงานแล้วก็มาดูในรายจังหวัด แล้วเราก็สามารถจะทำงานแบบบูรณาการ สามารถจะดำเนินการให้เสร็จไปแต่ละปี เพื่อป้องกันในเรื่องของความล่าช้าของแต่ละหน่วยงาน ยกตัวอย่าง พื้นที่ที่เขาอยู่ก่อนหน้านี้ และส่วนราชการไปประกาศเป็นที่ของส่วนราชการทับพื้นที่ที่เขาอยู่มาชั่วปู่ชั่วย่าแล้ว ทีนี้เขาก็เข้าใจว่าเขาดำเนินการมาแล้วหลายชั่วคน เขาก็ส่งเครื่องจักร สมมุติว่าเอารถแบคโฮลงไป ปรับสภาพที่เมื่อผลผลิตแรกของเขาหมดอายุที่จะต้องเปลี่ยนไปปลูกรุ่นใหม่ พอเข้าถึงปั๊บ มันก็จะมีหน่วยงานเข้าไปยึดรถ ยึดเครื่องมือทำมาหากิน ถ้าเราค้างไว้เป็นปีแบบนี้ เขาก็อาจจะล่มสลายได้ อันนี้ก็คงจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ยกตัวอย่างให้ท่านได้เห็นภาพ

    อ่านในการประชุม

  • ในส่วนประเด็น ผมก็มองว่าท่านคงจะมีประสบการณ์อยู่ตรงนี้มาหลายปี เพราะว่าข้อมูลเบื้องต้นที่ท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดินได้นำเรียนว่าท่านสามารถที่จะ แก้ปัญหาไปแล้วถึง ๕๐,๐๐๐ กว่าเรื่อง เกือบ ๖๐,๐๐๐ เรื่องแล้ว ดูจากเอกสาร เล่มนี้ก็พบว่า

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรกก็คือในเรื่องของการบริหารจัดการที่ดินในรูปแบบต่าง ๆ มา ที่คุณร่มธรรม ขำนุรักษ์ ได้นำเรียนเบื้องต้น อันนี้ก็เป็นอีก Model หนึ่งที่คิดว่า มีหลายจังหวัดแล้วก็มีหลายรูปแบบที่เขามีต้นแบบในการแก้ปัญหาแล้ว ถ้าเรามีปัญหาเดิม เกิดขึ้น แล้วก็มีการร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินมาที่ปัญหาเดิม เราก็คงจะมีช่องทาง แล้วก็เป็นบทเรียนที่สามารถจะให้คนอื่นเข้าไปแก้ไขได้แล้ว เพราะว่าเรามีมาตรฐาน ในการแก้ปัญหาตรงนั้นอยู่แล้ว ก็ลองพิจารณาดูเป็นรายกรณีไปนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ก็คงจะเป็นในเรื่องของการประเมิน หรือว่าในส่วนของ การค้างจ่ายค่าตอบแทนต่าง ๆ ของส่วนราชการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการกู้ชีพ กู้ภัย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ COVID-19 อันนี้ก็มีปัญหาอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถจะเข้าไปดูข้อมูลตรงนั้นก็สามารถจะแก้ไขปัญหาได้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ ก็เป็นเรื่องของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากสถานประกอบการ ต่าง ๆ ณ วันนี้ที่เราได้รับข้อมูลผ่านมาที่สภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะเป็นโรงงานแปรรูป โรงงานเกี่ยวข้องกับการทำน้ำแข็ง หรือว่าโรงงานที่ผลิตแล้วก็มีสารปนเปื้อนไปกระทบ กับสิ่งแวดล้อมซึ่งก็เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๔ ในเรื่องของการเข้าถึงระบบบริการไฟฟ้า มีหลายแห่ง ที่เขาไปสร้างเป็นหมู่บ้านแล้วก็ไม่มีไฟฟ้าใช้ แล้วก็บางแห่งที่อยู่ไกลจากการขยายเขต ของการไฟฟ้าก็ไม่สามารถจะใช้ไฟฟ้าในการดำรงวิถีชีวิตของตนเองได้นะครับ อันนี้ก็เป็น ประเด็นที่เรียบเรียงมาไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสำนักงาน ไม่ว่าจะเป็นของจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นประเด็น ก็อยากจะนำเรียนท่านประธานผ่านไปยังคณะว่า ถ้าเป็นไปได้ก็ลองดูว่า มาพลิกรูปแบบในการทำงานใหม่ ซึ่งจากการที่ท่านทำมาก็ขอชื่นชมนะครับ แล้วก็ ขอให้กำลังใจที่จะทำ แล้วก็หารูปแบบใหม่ ๆ มาทำเพื่อไม่ให้มันมีการค้างอยู่ในแต่ละปี มากเกินไปขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีข้อหารือที่จะนำเรียนผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก เป็นเรื่องของจากเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีน้ำท่วมไหลผ่าน ๒ ครั้ง ทำให้ถนนชำรุด เป็นหลุม เป็นบ่อ แล้วก็ไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งที่ผ่านมาทางท่านกำนันแล้วก็ทางท่านนายกองค์การ บริหารส่วนตำบลคลองศกก็ได้รับเสียงตำหนิจากพี่น้องประชาชน แล้วเสียงนั้นก็คงจะทำให้ ผมต้องเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย จึงขอความเร่งรัดจากกรมทางหลวงได้ช่วยลงไปดำเนินการอย่างเร่งด่วน แล้วเมื่อวันศุกร์ ที่ผ่านมาก็มีชาวบ้านนำต้นมะพร้าวแล้วก็ต้นไม้ไปปลูกกลางถนน ก็เป็นข่าวเป็นคราวมา ทีหนึ่งแล้ว ก็อยากจะให้กรมทางหลวงได้รักษาภาพลักษณ์ของระบบทางราชการให้แก้ปัญหา อย่างเร่งด่วน แล้วก็จากกรณีเดียวกัน เนื่องจากว่าพื้นที่ดังกล่าวท่านก็คงจะเคยได้ยินว่า เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก แล้วก็มีดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั่นก็คือดอกบัวผุด ทำให้ บริเวณนี้เวลาฝนตกแล้วน้ำป่าก็จะไหลบ่ามาอย่างรวดเร็วแล้วก็รุนแรง ก็ทำให้ลำคลองที่อยู่ ในอุทยานแห่งชาติเขาสกตลิ่งพัง โดน Resort โดนบ้านเรือน โดนเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน เสียหายเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ลงไปดูแล้วก็ทำเขื่อนกั้นน้ำ เพราะว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยว ในระดับโลกเช่นกันนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องถัดไปก็เป็นเรื่องของที่ดิน เนื่องจากว่ามีพื้นที่ระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วก็จังหวัดกระบี่ เดิมทีผมก็ไม่มั่นใจว่ากี่สิบปีแล้ว พื้นที่จังหวัดก็อยู่ฟากหนึ่ง พื้นที่อำเภอ ก็อยู่ฟากหนึ่ง ทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่นั้นสับสนกับหลักเขต เพราะฉะนั้นเป็นไปได้ ก็อยากให้กรมที่ดินแล้วก็กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ลงไปดูในพื้นที่แล้วก็ ช่วยจัดการตรงนี้ให้มันเป็นอาณาเขตที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้าย ในเรื่องของการแก้ปัญหาแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคแล้วก็น้ำทาง การเกษตรของเทศบาลตำบลบ้านเสด็จ เนื่องจากว่าทั้งตำบลไม่มีระบบน้ำประปาใช้ แล้วก็ ช่วงแล้งชาวบ้านต้องซื้อน้ำ เป็นไปได้ไหมครับว่าในโอกาสเฉลิมพระเกียรติในวันพรุ่งนี้ อยากจะให้กระทรวงพลังงานได้จัดโครงการเฉลิมพระเกียรติ แล้วก็ลงไปทำระบบผันน้ำ ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับเทศบาลตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วย ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตเพิ่มเติม ปรเมษฐ์ จินา กรรมาธิการ ขออนุญาตขยายความในเรื่องของความมั่นคงของน้ำ เนื่องจากว่ามันเป็นภาพ เป้าหมายสุดท้ายของการที่เราอยากจะเห็นนั่นก็คือ Ultimate Outcome ซึ่งก็หมายถึง การเข้าถึง หมายถึงความเพียงพอ แล้วก็ในเรื่องของความมั่นคงในด้านต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น ความมั่นคงในครัวเรือน ความมั่นคงในชุมชน ความมั่นคงทางลุ่มน้ำ ความมั่นคง ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะรวมถึงธนาคารน้ำใต้ดิน แล้วก็ในเรื่องของความมั่นคงทาง ระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหาร แล้วก็สุดท้ายก็คือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็หมายถึงว่า น้ำคือชีวิต น้ำคือหัวใจการผลิต น้ำคือรายได้ ก็ทำนองนั้นในเรื่องความมั่นคงของน้ำ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญ ในสัดส่วนของพรรครวมไทยสร้างชาติ จำนวน ๒ ท่าน ดังนี้ ๑. นายพงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว ๒. นายนนทิวรรธน์ นนทภักดิ์ ขอผู้รับรองด้วยครับ (มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีประเด็นที่จะหารือ ผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓ ประเด็นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรก ก็คงจะเป็นเรื่องของถนนสาย ๔๔ ก็คือถนนสายเซาท์เทิร์น ซีบอร์ด เนื่องจากว่าตามโครงการดั้งเดิมก็จะมีการทำหัวทำท้ายให้สามารถที่จะขนส่งทาง ทะเลได้ แต่ว่าปัจจุบันก็ไม่มีการดำเนินงาน ก็อยากจะฝากไปยังกรมทางหลวงซึ่งรับผิดชอบ โดยตรงได้ช่วยเดินงานต่อตามเจตนารมณ์แล้วก็ตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลสมัยนั้นที่ตั้งไว้ อย่างสวยหรู ซึ่ง ณ วันนี้มันไม่ได้เป็นไปตามที่ตั้งโครงการไว้ แล้วถ้ายังไม่มีแผนการดำเนินงาน ที่ชัดเจนก็อยากจะฝากทางกรมทางหลวงประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดสรรที่ดินระหว่างถนนทั้งซ้ายทั้งขวา เพื่อจะให้ชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ได้อาศัยปลูกพืชระยะสั้นเพื่อเป็นการดำรงชีวิตไปก่อนนะครับ อันนี้ก็อยากจะฝากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องหลัก ๆ ไป ๒ หน่วยงาน ทั้งกรมทางหลวงแล้วก็ในส่วนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ปัจจุบันเราได้ดูราคาปาล์มน้ำมันของเกษตรกร เมื่อต้นเดือน ขึ้นไปถึง ๖.๕๐ บาท แต่พอมากลางเดือนระยะเวลาเพียงไม่กี่วันทำไมลงมาถึง ๔.๙๐ บาท อันนี้ก็เป็นความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์มนะครับ ก็อยากจะฝากทาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งดูแลในเรื่องของกลไกการผลิต ไปดูว่าทำอย่างไรโรงงานเขามีการเล่นแร่แปรธาตุหรือทำอย่างไรกันบ้าง หรือว่าอีกส่วนหนึ่ง กระทรวงพาณิชย์อยากไปดูในเรื่องของราคา เดือดร้อนจริง ๆ เพราะว่าเกษตรกรชาวสวนปาล์ม เขาก็มีรายได้ด้านเดียว เพราะฉะนั้นถ้ามีการแก้ปัญหาตรงนี้ให้ตรงจุดก็จะทำให้เขาสามารถ ที่จะลืมตาอ้าปากได้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ ก็คงจะเป็นเรื่องของการที่จะทำให้แต่ละพื้นที่ได้มีการดำเนินงาน ปัจจัยที่เขาเดือดร้อนในการทำเรื่องของโครงการต่าง ๆ ถ้าเป็นโครงการขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่เป็นโครงการสาธารณะ เช่น ทำโดม ทำสนามกีฬา แล้วก็อยู่ในพื้นที่ของ ทางราชการ พื้นที่ของอุทยาน พื้นที่ของนิคม หรือพื้นที่ของ ส.ป.ก. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดดึงขึ้นมาแล้วก็เร่งรัดทำให้เขาหน่อยนะครับ เพราะว่าจะเจาะบ่อบาดาลก็ไปติดที่ ส.ป.ก. ไม่อนุญาต แล้วทำอย่างไรให้อนุญาตให้เร็ว ๆ เพราะว่าปัญหาภัยแล้งในปีถัดไปนี้ จะเป็นปัญหาที่รุนแรงมาก ก็อยากจะกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเร่งดำเนินการ หน่อยครับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ แล้วก็สมาชิกทุกท่าน ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ วันนี้ก็จะมีปัญหาที่จะมานำเรียนท่านประธานเพื่อแจ้งไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไข เนื่องจากว่าในส่วนของการทำงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นองค์การการบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและองค์การ บริหารส่วนตำบล พบว่าหนังสือที่เขาขออนุญาตใช้ของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อก่อสร้างถนน หรือว่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการด้วยกัน มันก็จะติดขัดจากการตามไปดูที่ หน่วยงานก็พบว่ากองไว้เป็น ๑๐,๐๐๐ เรื่อง เพราะฉะนั้นเวลาจะดำเนินการก็ค่อนข้างที่จะ ประสบกับปัญหาทั้งประเทศ ก็อยากจะฝากทางคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ได้เชิญทาง กรมบัญชีกลางที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง ที่แก้ปัญหาในเรื่องของการอุทธรณ์ที่ไม่เป็น มรรคเป็นผล แล้วก็ในส่วนของกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ช่วยกันแก้ปัญหานี้ด้วย

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องของการพัฒนา สืบเนื่องจากว่าในส่วนของจังหวัด สุราษฎร์ธานี มีการสร้างถนนสาย ๔๔ หรือว่าถนนเซาท์เทิร์น ทีนี้ในส่วนเขตรับผิดชอบของผม อำเภอพระแสงก็จะมีอยู่จุดหนึ่ง เรียกว่าเป็นสามแยก พอมีถนนสายนี้ขึ้นมาจากอำเภอชัยบุรี ที่อำเภอพระแสง แล้วก็ทะลุไปถนนสาย ๔๔ น่าจะมีการตัดเป็นสี่แยกเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการ เดินทาง การขนส่ง แล้วก็การสัญจรของพี่น้องประชาชน ซึ่งก็ประกอบไปด้วยหลายจังหวัด ตั้งฝั่งอันดามัน ทั้งในส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเอง แล้วก็จังหวัดใกล้เคียง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ก็คงจะเป็นเรื่องข้อเสนอแนะ สืบเนื่องจากว่าในพื้นที่อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางท่านนายอำเภอ ทางท่านเกษตรอำเภอ ทางปศุสัตว์อำเภอ แล้วก็ ทางผู้อำนวยการนิคมสร้างตนเองหรือว่าผู้ปกครองนิคม ท่านได้เห็นนโยบายของรัฐบาลว่า จะมีโคเงินล้านนะครับ เขาก็ได้ระดมความคิดกัน แล้วก็อาสาสมัครน่าที่จะเป็นพื้นที่นำร่อง ในการที่จะทำเรื่องของโคพันธุ์ใหม่ นั่นก็คือโคศรีวิชัยก็จะเป็น Brand ให้กับประเทศไทย เหมือนกับว่าโควากิวของญี่ปุ่น เหมือนกับโคสกลนครโพนยางคำ อันนี้ก็นำเสนอทาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงไปดำเนินการตรงนี้เป็นพื้นที่นำร่องให้ด้วย ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอหารือนำเรียน ผ่านท่านประธานไป ๓ เรื่อง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก ก็คงจะเป็นปัญหาเร่งด่วน แล้วก็เป็นปัญหาเรื้อรัง แล้วก็ได้พูดคุยกัน เมื่อวานในส่วนของคณะกรรมาธิการชุดที่ ๒๕ เขาได้สรุปผลการศึกษาแล้วก็แนวทางออกมา เรียบร้อยแล้วนั่นก็คือในเรื่องของการแก้ปัญหาช้างป่า เนื่องจากว่าที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวานซืนผู้ใหญ่บ้านนำทีมไปขับไล่ช้างป่าเพื่อไม่ให้เข้ามาทำร้ายพี่น้องประชาชน แล้วก็ ที่สำคัญที่สุดก็คือมาใกล้โรงเรียน ก่อนหน้านี้นายพรานที่ไปสำรวจเส้นทางเพื่อให้ประชาชน หนีช้างก็โดนช้างกระทืบเสียชีวิต แล้วเมื่อวานซืนผู้ใหญ่บ้านก็โดนกระทืบเสียชีวิต ณ วันนี้ใกล้เข้ามาที่โรงเรียนก็เลยเป็นปัญหาที่อยากจะให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ สภาผู้แทนราษฎรเรานำข้อศึกษาที่ได้ทำมาแล้วยื่นให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งไปดำเนินการ อาจจะต้องใช้งบกลางเป็นการเร่งด่วนก่อนที่จะเหยียบนักเรียน เพราะว่าในส่วนของอำเภอท่าชนะ เดิมทีที่ผมเสนอปัญหามีช้างแค่ ๔ เชือก ณ วันนี้ ๕๐ เชือก อันนี้เป็นเรื่องที่ ๑

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ เป็นปัญหาที่เกิดจากการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อวานทางนายกสมาคมแล้วก็ตัวแทนสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ก็ได้มาพูดคุยเพื่อที่จะให้ปลดล็อก ๒-๓ ประเด็น ประเด็นแรกก็คือในเรื่องของวิธีการจัดซื้อ จัดจ้าง เนื่องจากว่าช่วงที่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านหรือว่าช่วงที่ผ่านมาวิกฤติโควิดก็ใช้วิธีพิเศษ เพื่อให้ผู้บริหารได้ตอบโจทย์แล้วก็พัฒนาพื้นที่ได้เร็วขึ้นนะครับ แล้วช่วงเปลี่ยนรัฐบาล ก็เช่นกันมองว่างบประมาณปี ๒๕๖๗ ก่อนที่จะปล่อยได้ก็เกือบครึ่งปี ก็อยากจะให้มีการใช้ วิธีพิเศษในการแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสุดท้าย ก็คงจะเป็นเรื่องของขอให้ท่านประธานได้นำเรียนหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เร่งรัดในเรื่อง ของการที่จะจัดสรรที่ดินให้กับพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางสวรรค์ เนื่องจากว่า หมดสัมปทาน รอนิดเดียวก็คือรอให้ทาง คทช. จังหวัดประกาศ ๑ เดือน แล้วหลังจากนั้น สามารถที่จะลงไปรังวัดแล้วก็จัดสรรให้ชาวบ้านได้ ขั้นตอนตรงนี้มันล่าช้า ก็เลยอยากจะให้มี การเร่งรัดดำเนินการโดยเร่งด่วน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี วันนี้มีข้อหารือและข้อเสนอแนะ ที่ชาวบ้านฝากมา ประกอบไปด้วยในเรื่องของดิน น้ำ ลม ไฟ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรกก็เกี่ยวข้องกับเรื่องของดิน สืบเนื่องจากว่าชุมชนศรัทธาพัฒนา ชุมชนเหมืองแกะ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขาได้เข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่ที่ หมดสัมปทานของเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งหมดสัมปทานไปนานแล้ว แต่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ในการดำรงชีพ ก็คือเวลาต้นไม้ล้มหรือว่าเวลาจะทำอะไรสักอย่างก็จะโดนแจ้งความ แล้วตำรวจก็เข้าไปดำเนินคดี อันนี้ก็อยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นทาง ผู้ว่าราชการจังหวัด ส.ป.ก. แล้วก็ทางอุทยาน ซึ่งก็จะเป็นในเรื่องของป่าบ้านนาท่าเรือ เคียนซานะครับ เรื่องดินนี้ก็คงจะเป็นเรื่องของริมตลิ่งที่มันพัง เนื่องจากว่าช่วงที่น้ำเต็มตลิ่ง และน้ำก็จะอุ้มไม่ให้ดินมันพัง แล้วทีนี้ช่วงนี้หน้าแล้งน้ำก็ลดก็ทำให้พาดินสไลด์ลงมาด้วย ก็จะมีอยู่ ๓ จุด จุดแรกก็เป็นริมแม่น้ำตาปี เทศบาลตำบลย่านดินแดง อำเภอพระแสง ซึ่งนายก พิจิตร ศรีทองสม ท่านก็ฝากมา จุดที่ ๒ ก็เป็นจุดที่เป็นคลองอิปัน ท่านนายก อาภรณ์ อนุกูล หมู่ที่ ๒ ตำบลสาคู ท่านก็ฝากมา จุดที่ ๓ ก็คือเป็นริมคลองสก ในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม ที่ท่านนายกธีรยุทธ แต่งนวล ท่านก็ฝากมา อันนี้เป็นเรื่องดิน ๒ เรื่อง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ก็เป็นเรื่องของน้ำ เนื่องจากว่าในพื้นที่หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๙ แล้วก็ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลต้นยวน รวมแล้วประมาณ ๑,๐๐๐ หลังคาเรือน ไม่มีน้ำใช้ เนื่องจากว่า ทางการประปาส่วนภูมิภาคเดินมาระดับหนึ่งแล้วก็ไม่มีการขยายเขตต่อ ซึ่งก็มีความ เดือดร้อนมากพอสมควร ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะฝากไปทางการประปาส่วนภูมิภาค แล้วก็ใน เรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ก็ในเรื่องของลม สืบเนื่องจากว่าในเรื่องของอากาศเป็นพิษ Air Pollution หรือว่าในส่วนของ PM2.5 ผมก็อยากจะฝากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างในเรื่องของการควบคุมอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา ถ้าเรามอบ นโยบายให้กับทางผู้ว่า แล้วก็แข่งกันในเชิงบวก ถ้าพื้นที่จังหวัดไหนสามารถควบคุมไม่ให้ PM2.5 ขึ้นสูงสุดในแต่ละวัน ในแต่ละช่วง เช่นในเรื่องของการหมุนเวียน การให้โรงงาน เดินเครื่องไม่พร้อมกัน กลางวันบ้าง กลางคืนบ้าง ในส่วนของที่ทำถนนก็อยากจะให้เพิ่ม ความถี่ในการราดน้ำให้มากขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสุดท้าย ก็เป็นเรื่องของไฟ ในส่วนของถนนสาย ๔๑ ถนนสายเอเชีย ผ่านมาที่อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐ อำเภอบ้านตาขุนก็จะมีไฟสว่างตลอดทาง แต่พอเข้า เขตเลือกตั้งของผมอำเภอพนม จากหน้าอำเภอพนม สาย ๔๐๑ ไปถึงอุทยานแห่งชาติ เขาสก ฝรั่งมาอยู่เยอะแยะมากมายมืดตึ๊ดตื๋อ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะให้ทางกรมทางหลวง ช่วยดูในจุดที่เสี่ยง จุดที่มืด จุดที่เป็นอันตรายให้ด้วย ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎร แล้วก็สมาชิกที่เคารพรักทุกท่าน ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ขอสนับสนุนในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาในญัตตินี้ เนื่องจากว่าเพื่อน ๆ สมาชิกของเราหลายคนได้นำเรียนไปแล้ว ก็ขออนุญาตในส่วนของ การที่จะร่วม Jam ตรงนี้ด้วยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรกก็คงจะเป็นเรื่องของสถานการณ์ แล้วก็นิยามในส่วนของขยะ จริง ๆ แล้วถ้าเรานำสิ่งที่มันมีอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันมาจัดแบ่งกลุ่มขยะ มันก็จะจำได้ง่าย ยกตัวอย่างในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขที่เขาจำแนกคนเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง แล้วก็ กลุ่มป่วย โดยใช้สัญญาณจราจร ยกตัวอย่างว่าถ้าเป็นกลุ่มปกติก็เป็นสีเขียว ถ้ากลุ่มเสี่ยง ก็เป็นสีเหลือง แล้วก็ถ้าเป็นกลุ่มที่ป่วยแล้วก็เป็นสีแดง อันนี้ก็เช่นกัน ขยะถ้าเราจะให้ประชาชนในประเทศของเราจำได้ง่ายเราก็คงจะต้องมีการแบ่ง ขยะคล้าย ๆ กับปฐมบทของสัญญาณจราจร เช่นยกตัวอย่างว่าถ้าเป็นถังขยะสีเขียวเราก็จะ เป็นในส่วนของขยะอินทรีย์หรือว่าขยะที่ย่อยสลายได้นะครับ สีเหลืองก็เป็นขยะ Recycle ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือว่านำไปแปรรูป นำไปจำหน่ายเป็นธนาคารขยะอะไรพวกนี้ได้ ในส่วนของสีแดง ก็คือในส่วนของขยะอันตราย ซึ่งแน่นอนว่าในส่วนของการดำเนินงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขาก็ได้มีการจัดแยกขยะเป็นสี ๆ เพื่อความชัดเจนนะครับ ส่วนขยะที่ไม่เข้าเกณฑ์ใน ๓ สีไฟจราจรก็เป็นในส่วนของถังสีน้ำเงิน นั่นก็คือขยะทั่วไป อันนี้เป็นต้นว่าในเรื่องของการแยกสีถังขยะเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ แล้วก็ง่ายต่อการที่จะ แยกนะครับ ทีนี้ปัจจุบันในส่วนที่จะมีเพิ่มเติมมา ยกตัวอย่างเมื่อ ๒-๓ ปีที่ผ่านมา เราก็จะเห็นความสำคัญของขยะอีกตัวหนึ่ง ในนั่นก็คือในเรื่องของขยะติดเชื้อในสถานการณ์ โควิด-๑๙ ซึ่งในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขาก็ได้มีการจัดระบบตรงนี้ ยกตัวอย่างใน ส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ถ้าเป็นขยะติดเชื้อเขาก็จะให้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหรือว่าสถานีอนามัยเดิม มีการจัดสรรงบประมาณให้เป็นจุดพักขยะติดเชื้อ หลังจากนั้น แล้วก็ให้ทางโรงพยาบาลประจำอำเภอ หรือเรียกว่าโรงพยาบาลชุมชนมาดำเนินการในการ รวบรวมแล้วก็ส่งไปกำจัด แน่นอนว่าในส่วนของการกำจัดก็จะมีลักษณะพิเศษของกระทรวง สาธารณสุข เนื่องจากว่าถ้าไปเผาแบบเตาเผาขยะทั่วไปมันก็จะมีสปอร์ของเชื้อโรคบางอย่าง เช่น บาดทะยักแบบนี้มันสามารถที่จะยังอยู่ได้ มันมีความทนความร้อนสูง เขาก็ต้องจัดการ ในวิธีพิเศษ เรื่องนี้นำเรียนให้เห็นสถานการณ์

    อ่านในการประชุม

  • แล้วก็ขยะตัวต่อไปก็คงจะเป็นขยะที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็คือในส่วนของขยะ อิเล็กทรอนิกส์ ณ วันนี้เราได้เห็นคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ที่จะพยายามทำให้ประเทศไทย เป็นเมืองอัจฉริยะ Thailand ในส่วนของการที่จะทำเรื่องของ SMART Education ในเรื่องของ Smart Farmer หรือว่าในส่วนของใช้ขยะต่าง ๆ ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์นี้มันจะ เพิ่มมากขึ้น เราต้องการที่จะมีมิเตอร์วัดน้ำ มิเตอร์ไฟฟ้าสามารถที่จะ Control ได้ด้วยระบบ IT จากบ้าน อย่าว่าในเรื่องของการรดน้ำในแปลงเกษตร อันนี้คือยกตัวอย่างในส่วนของขยะที่จะเพิ่มขึ้น และอาจจะมีอีกขยะหนึ่งที่เอาพวกเรากำลังปวดหัวอยู่มาก นั่นก็คือขยะสังคมนะครับ ท่านก็ จะเห็นว่าในปัจจุบันมีมิจฉาชีพหรือว่าคนที่เป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวชจากการที่เขา ติดยาเสพติด อันนี้ก็เป็นปัญหาอีกส่วนหนึ่งซึ่งก็คงจะเป็นวาระที่ให้พวกเราได้ตั้งญัตติขึ้นมา ในส่วนของการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างครบวงจรในโอกาสต่อไปนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • สำหรับในวันนี้เป็นเรื่องของการจัดการขยะ ปัญหาที่เกิดขึ้นหลายท่านก็คงจะ พูดมาแล้ว ยกตัวอย่างในส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เราก็จะเคยได้ยินข่าวในเรื่องของ การจัดการขยะที่เกาะสมุยที่เกิดขึ้นแล้วก็คั่งค้างอยู่ วันก่อนผมเคยเป็นคณะกรรมการที่จะไป พิจารณาผู้ที่จะมาประมูลขยะจากเกาะสมุยขึ้นมาจัดการบนพื้นที่แผ่นดินใหญ่ ก็คือใน ตัวเมือง ๓๐๐ ล้านบาท ซึ่งก็เป็นงบประมาณที่เยอะมากพอสมควรในแต่ละครั้ง เพราะฉะนั้น ในส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นมันจะสวนทาง ยกตัวอย่างเมื่อสักครู่นี้ทางท่านผู้แทนจากจังหวัด สุโขทัยบอกว่าเรามีการรณรงค์ที่จะให้คนมาเที่ยวประเทศไทยมากยิ่งขึ้น เป็น ๓๗ ล้านคน หรือว่า ๔๐ ล้านคนต่อปี แน่นอนว่าเมื่อคนเข้ามาเยอะ ปัญหาการใช้หรือว่าปัญหาขยะก็จะ ตามมาเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีข้อมูลเมื่อสักครู่นี้ว่าวันหนึ่งเราสร้างขยะให้กับพื้นที่ ๑.๐๗ กิโลกรัมต่อคนต่อวัน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่จะสวนทาง เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมีมาตรการ ในเรื่องของการจัดการตรงนี้ แล้วก็วิธีจัดการขยะ ของผมอาจจะมองก้าวข้ามก่อนที่จะเป็นปัญหา เนื่องจากว่าในพื้นที่ที่ผม เป็นตัวแทน สส. เขต เป็นพื้นที่อำเภอพระแสง อำเภอชัยบุรี อำเภอพนม แล้วก็อำเภอเคียนซา ก็อยู่ห่างจากอำเภอเมือง แล้วก็พื้นที่ท่องเที่ยวก็ไม่มีสักเท่าไร แต่ว่าก่อนที่ปัญหาจะเข้าไปใน พื้นที่ของผมในเรื่องของการจัดการขยะก็คงจะมีส่วนร่วมตรงนี้อีกสักเล็กน้อย เพื่อที่จะ ป้องกันไม่ให้ขยะเป็นปัญหาในเขตพื้นที่ที่ผมเป็นตัวแทนอยู่ แล้วก็ในส่วนของปัญหาอื่น ๆ ก็จะมีเยอะแยะมากมาย เพราะว่าส่วนที่เอาขยะไปทิ้งได้หรือว่าส่วนที่ไปฝังกลบนั้น อาจจะ เป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีคนอยู่ แล้วก็เป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีราคา ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ว่างเปล่า หรือพื้นที่ที่เป็นหลุมฝังศพหรือว่าเป็นพื้นที่เผาศพสมัยก่อนก็จะไม่มีคนไปอยู่ แล้วก็เริ่มที่จะ เอาขยะไปทิ้งตั้งแต่น้อย ๆ ก่อน แล้วหลังจากนั้นก็อาจจะเป็นการฝังกลบ ทีนี้พอพื้นที่ที่ไม่มี ราคาตรงนั้นมันก็จะเป็นปัญหาในส่วนของพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ผมคงจะใช้เวลาเท่ากับ คุณพิธา เพราะว่าใช้เวลาเกินไปประมาณ ๑ นาที ๕๑ วินาที ก็คงจะใช้เวลาเท่า ๆ กัน ในส่วนของพื้นที่เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่น้ำท่วมซ้ำซาก แน่นอนว่าทั้งกลิ่น แล้วก็ทั้งเวลาน้ำท่วม ก่อนที่จะถึงฤดูกาลพื้นที่ที่ฝนตกผิดปกติก็จะทำให้เกิดปัญหาขยะกระจายไปทั้งสองฝั่งคลอง ก็จะเป็นปัญหาอีกส่วนหนึ่ง ทีนี้แนวทางจากเพื่อน ๆ ที่ได้นำเสนอก็คงจะเริ่มตั้งแต่ในเรื่อง ของการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง แน่นอนว่าพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง ก็คงจะต้องจัดการในเรื่องของการแนะนำให้ประชาชนมีจิตสำนึก แล้วก็สร้างความตระหนัก ในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ทั้งขยะเปียก ตอนนี้ก็มีหลายรูปแบบ เช่น การเลี้ยงไส้เดือน พันธุ์แอฟริกาที่มันสามารถจะแปลงเศษอาหาร เศษหญ้าไปเป็นมูลปุ๋ยใส้เดือน แล้วก็นำมา ปลูกพืชได้ อันนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง แล้วก็ในส่วนของการที่จะกำหนดเป็นหลักสูตรจัดการ ขยะในโรงเรียน อันนี้ก็จะเกิดความยั่งยืน แล้วก็สนับสนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกแห่งจัดตั้งธนาคารขยะเพื่อจัดตั้งเป็นกองทุน แล้วก็สร้างแรงจูงใจให้กับคนที่จะมาร่วมกัน จัดการขยะด้วย แล้วที่สำคัญที่สุดก็คือในเรื่องของการบูรณาการ แน่นอนว่าขยะเรามีหลาย หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ต่อไปก็คงจะเป็น DES เข้ามาอีกกระทรวงหนึ่ง ให้ทุกกระทรวงร่วมกันบูรณาการ แล้วก็ แก้ปัญหาในพื้นที่อย่างเป็นระบบ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ ครับ ก็มีเรื่องที่จะนำเรียน ท่านประธานอยู่ ๓ เรื่อง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก ก็คงจะเป็นเรื่องที่ติดตามกันมาหลายครั้งแล้ว เนื่องจากว่าในส่วน ของเทศบาลตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านนายกลักคณา ดำนิล ท่านมีงบประมาณที่จะเจาะบ่อบาดาล ขอไปทั้งหมด ๑๗ บ่อ แต่ว่าเป็นเรื่องของการตีความ ระหว่าง ส.ป.ก. กับในส่วนของสำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาลที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่ เขาใช้ คำว่า อนุญาต มาแล้ว แต่ว่าก็ต้องใช้คำว่า ยินยอม ผมไม่มั่นใจว่าส่วนราชการเขาทำอย่างไร คำว่า อนุญาต กับ ยินยอม ตีความกันไม่ได้ อันนี้ก็ขอฝากนำเรียนว่าให้ช่วยเร่งดำเนินการ เพราะว่า ณ วันนี้เดือดร้อนอย่างสาหัสในเรื่องของการใช้น้ำในส่วนของตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซานะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ก็คงจะเป็นเรื่องน้ำเช่นกัน ผู้ใหญ่สมคิด รักษาแก้ว หมู่ที่ ๒ บ้านปากพัง ตำบลชัยบุรี อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็จะมีความเดือดร้อนในเรื่องของ น้ำบาดาลที่ปล่อยมาแบบล้นทะลักเลย ก็อยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปช่วยดูแล้วก็ ปรับปรุงสภาพน้ำให้กับชาวบ้านได้ใช้น้ำที่ใสเหมือนกับของที่อื่นด้วยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสุดท้าย อันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากว่าในส่วนปัจจุบันเวลาจะก่อสร้าง ซ่อมแซม หรือว่าในส่วนของการต่อเติมสถานที่ราชการก็จะต้องมีเอกสารสิทธิในการขอใช้ ไม่ว่าจะเป็นที่ของส่วนราชการไหนนะครับ แล้วก็มันเพิ่งมีปัญหาในส่วนของการถ่ายโอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เมื่อก่อนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขก็อาจจะมีการใช้ แบบเดิม ๆ มาได้ แต่พอถ่ายโอนไปอยู่ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด การที่จะใช้เงิน สมทบไปก่อสร้างหรือว่าในเรื่องของการต่อเติมซ่อมแซมต่าง ๆ มันไม่สามารถที่จะทำได้ เนื่องจากว่าไม่มีเอกสารสิทธิ อันนี้ในส่วนของเทศบาลตำบลย่านดินแดง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านนายกพิจิตร ศรีทองสม ท่านก็ได้ขอความร่วมมือให้ผมมาพูดคุย ในที่ประชุมแห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของบ่อถ่านศิลาของกรมธนารักษ์ให้ช่วยไปดู ด้วยว่าตอนนี้มีปัญหาเดือดร้อนตรงนี้ในส่วนของอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ขอขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ และสมาชิกทุกท่านนะครับ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ ครับ ก็ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในส่วนของการที่จะยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ นะครับ สืบเนื่องจากว่าเราก็คงจะไม่ว่ากัน นะครับว่าในส่วนของสถานการณ์แต่ละยุคแต่ละช่วงเขาก็จะมีในเรื่องของการแก้ปัญหา ยกตัวอย่างว่าถ้าย้อนกลับไปในวันนั้นที่เรามานั่งในที่ทำการแห่งนี้เราก็คงจะตัดสินเช่นนี้ เหมือนกันนะครับ แต่ว่าในเมื่อเวลามันล่วงเลยผ่านมาแล้วก็คงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ เข้ากับยุคกับสมัย สืบเนื่องจากว่าในส่วนของพระราชบัญญัติดังกล่าวมันก็จะสอดคล้อง แล้วก็ไปเกี่ยวเนื่องกับ พ.ร.บ. บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ซึ่งก็กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการไว้ค่อนข้างที่จะชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การจัดทำแผน การทำแผนปฏิบัติการ การดำเนินงานตามแผน แล้วก็การควบคุมกำกับพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้นะครับ แต่ในส่วนที่สำคัญก็คือในเมื่อเรามีการวิเคราะห์ เรามีการ ถอดบทเรียน เรามีการประเมินมาเป็นช่วงระยะเวลา ก็คิดว่าบางครั้งก็ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ผมกราบเรียนท่านประธานว่าผมเคยศึกษาอยู่ที่จังหวัดยะลาช่วงปี ๒๕๒๕-๒๕๒๖ ซึ่งช่วงนั้นสถานการณ์ค่อนข้างที่จะปลอดภัย แล้วก็สามารถที่จะลงไปสำรวจบ้าน ตอนนั้น เป็นพนักงานอนามัยที่จะต้องไปสำรวจบ้านดูในเรื่องของการวางแผนครอบครัว แล้วก็ ดูในเรื่องของการทำส้วม ก็จะอยู่ด้วยกันด้วยความสงบนะครับ แต่ว่าเมื่อเวลามันเปลี่ยนไป ก็คิดว่าคงจะมีการปรับปรุงในส่วนนี้นะครับ มองว่าอยากจะใช้รูปแบบใหม่เหมือนสมัย ท่านชาติชาย ชุณหะวัณ ที่เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ถ้าเป็นไปได้คณะกรรมการ ที่ปรึกษาที่เราจะปรับเปลี่ยนองค์ประกอบในส่วนของคณะกรรมการ หรืออาจจะให้ใช้ชื่อว่า สภาที่ปรึกษามันก็จะเข้าท่าเข้าทางนะครับ ก็มาดูในเรื่องของคณะกรรมการตามมาตรา ๔๔ มองว่าถ้าเราใช้รูปแบบเดิมก็คงจะทำให้มีการชี้นำ แล้วก็มันไม่ได้มีการตอบโจทย์ในเรื่องของ การมีส่วนร่วมของคนพื้นที่ ๕ จังหวัด ผมมองว่าถ้าคณะกรรมการส่วนหนึ่งที่เราให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคณะกรรมการ แต่ส่วนหนึ่งที่คาดว่าคงจะหลีกหนีไม่ได้เพื่อให้มีการ ดำเนินงานอย่างผาสุก นั่นก็คือถ้าเรามีผู้ว่าราชการจังหวัดที่ทางรัฐบาลแต่งตั้งไปแล้ว ทีนี้ เราต้องเอาผู้ว่าราชการจังหวัดจากที่ประชาชนเลือกตั้งมาด้วยนั่นก็คือนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนะครับ อันนี้ก็เป็นส่วนสำคัญ แล้วก็ตัวแทนของนายกเทศมนตรี ตัวแทนของ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ ๕ จังหวัด จังหวัดไหนมีตัวแทนของเทศบาลแล้ว จังหวัดอื่นก็เอาเป็นตัวแทนของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อไม่ให้คณะกรรมการ มันมากเกินไป ใหญ่เทอะทะ เวลาการประชุมบางครั้งมันก็ไม่ครบองค์ประชุมหรือว่าบางครั้ง มันก็ขับเคลื่อนได้ช้า อันนี้ก็อยู่ที่กระบวนการในเรื่องของการแปรญัตติหรือในเรื่องของ การที่จะดูองค์ประกอบส่วนนี้ ซึ่งก็ใช้คำว่าในเรื่องของการติดกระดุมเม็ดแรกถ้าทำองค์ประกอบ ตรงนี้ให้มันครอบคลุม ชัดเจน แล้วก็มีส่วนร่วมจากพื้นที่ก็คงจะทำให้การดำเนินงานมี ความผาสุกมากยิ่งขึ้นนะครับ ผมยกตัวอย่างที่ผ่านมาในประเทศไทยเราก็จะมีในเรื่องสถานการณ์คอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย สู้รบกันมาหลายปีแต่ก็มาเจรจาได้ด้วยในเรื่องของคำสั่ง ๖๖/๒๕๒๓ แล้วก็หมด หายไปมาจนถึงทุกวันนี้นะครับ แล้วก็ถ้ายกตัวอย่างประเทศที่ผมเคยไปศึกษาเล่าเรียน ในส่วนของประเทศนิวซีแลนด์ เราก็จะเห็นว่าชนพื้นเมืองของเขาคือเมารี ถามว่าทำไม เขาสามารถที่จะอยู่ด้วยกันด้วยความรัก สมัครสมานสามัคคี แล้วก็ไม่เคยมีปัญหา สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น เพราะว่าเขาให้เกียรติซึ่งกันและกัน เมารีเป็นชาวเผ่าในประเทศ นิวซีแลนด์นะครับ แล้วก็พอฝรั่งเขาเข้าไปสำรวจแล้วก็เข้าไปยึดครองตรงนั้นเขาก็จะมี การทำสนธิสัญญา ผมก็มาดูว่าในเรื่องของการที่เราทำตรงนี้ให้มันพลิกแนวไปจากเดิม ก็คงจะต้องมีการใส่รายละเอียด เช่น ไปถอดดูว่าสนธิสัญญาที่ชาวยุโรปทำกับชาวเมารี เขาเขียนว่าอะไรบ้าง นโยบาย ๖๖/๒๕๒๓ เขาเขียนว่าอย่างไรบ้าง แล้วก็ถอดบทเรียน แล้วก็นำมาปรับตรงนี้ เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ทำตรงนี้ให้เป็นเรื่องของการมีรายได้ ของคนในพื้นที่ ก็คงจะทำให้สิ่งตรงนี้มันก็จะชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผมยกตัวอย่าง ๕ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ตรงนี้ ธรรมชาติให้สมบัติมาเยอะมากกว่าพื้นที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ น้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของก๊าซธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการประมง ถ้าทำให้ ดี ๆ ตรงนี้ก็จะเป็นสนามการค้าที่ยิ่งใหญ่ต่อไป ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ ขอเสนอคณะกรรมาธิการ ในส่วนของร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ของพรรครวมไทยสร้างชาติ จำนวน ๒ ท่านครับ ท่านแรก สส. วัชระ ยาวอหะซัน ท่านที่ ๒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ณัฐวรรณ สาสิงห์ ขอผู้รับรองด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ ขอนำเรียนท่านประธาน ผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒-๓ ประเด็น

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรก ก็ได้รับหนังสือจากประธานชมรมลูกจ้างประจำของจังหวัด สุราษฎร์ธานีว่า ในส่วนของสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลหลังจากที่เขาเกษียณอายุแล้ว โดนเปลี่ยนไปใช้อีกระบบหนึ่ง ก็อยากจะหารือผ่านไปยังอธิบดีกรมบัญชีกลางนะครับว่า ให้ปรับปรุงระเบียบตรงนี้ให้ลูกจ้างประจำได้มีสิทธิในเรื่องของการรักษาพยาบาล ในช่วงที่ เหมือนที่เขาอยู่ในระบบราชการด้วยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ท่านประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดอกเตอร์ วันสาด ศรีสุวรรณ ก็ได้ฝากประเด็นเรื่องของการเร่งรัดในส่วนของการช่วยเหลือ ประชาชนที่ไม่มีสิทธิในที่ทำกิน แล้วก็ได้อาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ ๒ ฉบับ ฉบับแรกเป็นพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ ฉบับที่ ๒ เป็นพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ก็ขอนำเรียนผ่านไปยังท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตราเป็นพระราชกฤษฎีกานั้น เนื่องจากว่าในส่วน ของการกำหนดเขตบริหารพื้นที่ เพื่อการอนุรักษ์เป็นพื้นที่ในส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีการสำรวจเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นถ้าคณะรัฐมนตรีได้เสนอเห็นชอบ แล้วก็ตราเป็น พระราชบัญญัติก็สามารถจะดำเนินการได้ แล้วในช่วงที่ยังไม่ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ก็ขออนุโลมให้ชาวบ้านได้ใช้ในการทำประโยชน์ แล้วก็ขอให้มีการปรับพืชที่หมดสภาพ หรือทรุดโทรม ให้สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ เพื่อให้มีอนาคตในโอกาส ต่อไปนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสุดท้าย ก็คงจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับช่วงที่มีการอภิปรายงบประมาณ ผมอยากจะเสนอ ๓ ส่วน ส่วนแรกก็เป็นเรื่องของกรมชลประทานให้ไป Review โครงการ ของชลประทานที่ดำเนินการแล้วแต่ว่าไม่สามารถใช้งานได้ ให้ลงไปทำให้เกิดประโยชน์ ส่วนที่ ๒ ก็คงจะเป็นเรื่องของกรมบัญชีกลาง ส่วนที่จะทำให้การอุทธรณ์มีระยะเวลา ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่วนที่ ๓ ก็คงจะเป็นเรื่องของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีหนังสือขอใช้สถานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จริง ๆ แล้วระเบียบมันมีอยู่แล้ว ถ้าเป็นส่วนท้องถิ่นก็ให้พี่ใหญ่คือนายก อบจ. เป็นคนอนุมัติได้ ถ้าระหว่างส่วนราชการ กับส่วนราชการด้วยกันก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ถ้าเป็นส่วนกลางลงไปดำเนินการก็ให้อธิบดี ถ้าทำเป็นระบบตรงนี้ได้ผมว่าประเทศชาติมันก็จะพัฒนาไปได้มากมาย ตอนนี้กองอยู่ เยอะแยะมากมายให้ไป Review ๓ ส่วนนี้โดยด่วนด้วย ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ ก็คงจะมีส่วนร่วม เนื่องจากว่าในส่วนของสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๙ อำเภอ แต่ว่าอยู่ติดชายทะเล อยู่ในพื้นที่ประมงชายฝั่งถึง ๙ อำเภอ ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขอเรียนว่าในส่วนของการแก้ปัญหาในสถานการณ์ขณะนั้น ในปี ๒๕๕๘ ก็คงจะเป็นอีกสถานการณ์หนึ่งเราก็คงจะไม่ว่ากัน สืบเนื่องจากว่า ณ วันนั้นรัฐบาลขณะนั้น จะต้องมีการปลดล็อกใบแดง ใบเหลือง ซึ่งทาง EU สหภาพยุโรปหรือว่าในส่วนขององค์กร IUU เขาก็ได้กำหนดเพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าเรามองโลกในแง่ดีก็จะเห็นว่า ในส่วนของธรรมชาติ ในส่วนของการฟื้นฟู ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรหรือว่าในส่วนของพื้นที่ ในเรื่องของชายฝั่งแล้วก็ปะการังต่าง ๆ มันก็กลับคืนมาสู่สภาวะที่ดีขึ้น แต่เมื่อสถานการณ์ มันผ่านมาถึง ๙ ปี ในส่วนที่ชาวประมงได้นำเสนอปัญหาแล้วจากการที่ท่านรัฐมนตรี แล้วก็คณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ นั้นได้ลงในพื้นที่ ก็พบว่ามันมีปัญหาที่เกิดขึ้นบ้างเหมือนกัน เป็นต้นว่าในเรื่องของการกำหนดในส่วนของกฎหมายการเดินเรือระหว่างประเทศ หรือว่า ในส่วนของการกำหนดในพื้นที่ชายฝั่ง

    อ่านในการประชุม

  • แล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือในเรื่องของการห้ามใช้เครื่องมือในเรื่องของการทำ การประมง ซึ่งแน่นอนว่าในส่วนของการที่เราจะแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้ เราก็มีแนวทางที่จะ ดำเนินการอยู่หลายข้อตามที่เพื่อน ๆ สมาชิกได้นำเรียน แล้วที่สำคัญที่สุดในส่วนของ พรรครวมไทยสร้างชาติเราก็ได้เสนอร่างประกบเช่นกัน ส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งก็คืออยากจะให้ ทางจังหวัดได้มีการจัดการตนเอง เนื่องจากว่าในส่วนของปัญหาแต่ละพื้นที่ก็อาจจะ ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่าง ในสถานการณ์ที่ผ่านมาเราเกิดวิกฤติในส่วนของสถานการณ์ ของคอกหอยในอ่าวบ้านดอน แล้วก็มีการจลาจล มีถือปืนไล่ยิงกัน อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะต้องมีการแก้ปัญหา ยกตัวอย่าง ในเรื่องของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ผมมองว่าในร่างตัวที่จะแก้ไขเขาก็กำหนดให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน แล้วก็จะมีในส่วนของประมงจังหวัดเป็นเลขา แต่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติดังกล่าว ผมได้ไปร่วมแก้ปัญหาแล้วก็ได้เชิญทุกภาคส่วน เพราะฉะนั้นอย่างน้อย ๆ ผมก็มองว่า ในเรื่องของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องน่าจะมีเบญจภาคี ยกตัวอย่าง ก็คือ ๑. ในส่วนของ ราชการ ๒. ก็คือเอกชนหรือว่าผู้ประกอบการ ๓. ก็คือชาวประมง ๔. ก็เป็นนักวิชาการ แน่นอนว่าจะต้อง Backup ข้อมูล ส่วนที่ ๕ ที่สำคัญเช่นกันนั่นก็คือสื่อมวลชน ก็อยากจะให้ เติมเต็มตรงนี้ให้ง่ายต่อการปฏิบัติ เพื่อให้จังหวัดได้สามารถที่จะดำเนินการในการแก้ปัญหา เพื่อความอยู่ดีมีสุขของในพื้นที่แต่ละจังหวัด ในส่วนอื่น ๆ หลายท่านก็คงจะพูดมาแล้ว ยกตัวอย่างเรื่องของบทกำหนดโทษเป็นต้นว่าเรือไปทำผิด ๑ ลำ ต้องมีความผิดทั้งอ่าว อันนี้ก็คงจะต้องมีการปรับปรุง หรือว่าในส่วนของชาวประมงคนเดียวทำผิดก็จะต้องมีโทษ ทั้งชาวประมง ๙ หมู่บ้าน อันนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกันนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • แล้วอีกส่วนหนึ่งที่หลายท่านพูดมาแล้วก็คือในเรื่องของค่าปรับที่โหดร้าย เหลือเกิน ก็คงจะต้องมีการปรับปรุงตรงนี้ แล้วก็จะมีข้อเสนอแนะกว้าง ๆ

    อ่านในการประชุม

  • ๑. ในเรื่องของการแก้พระราชบัญญัติที่เราจะทำเป็นในส่วนของพระราชกำหนด ฉบับที่ ๒ เมื่อปี ๒๕๖๐ ต้องดูว่าตัวไหนที่ท่านรัฐมนตรีหรือว่ากรรมาธิการลงไปรับเรื่องแล้ว ยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็เอามาดูเพื่อให้ความเป็นธรรมกับชาวประมง

    อ่านในการประชุม

  • ๒. ในส่วนของเครื่องมือทำการประมง ในส่วนของที่เรียกว่าลอบพับได้ หรือที่ชาวบ้านเขาเรียกว่า ไอ้โง่ เนื่องจากว่าชั่วปู่ ชั่วย่า ชั่วตา ชั่วยาย เป็นวิถีทำกินของ ชาวบ้านอยู่แล้ว แต่ถ้ามันมีเรื่องของตาข่ายที่ชิดเกินไปเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์สัตว์น้ำ ก็คงจะต้องมีการกำหนดว่าความถี่ ความห่างเท่าไร เพื่อให้ชาวบ้านในการประกอบอาชีพ ตามวิถีชีวิตของเขาสามารถหากินได้ด้วย แต่ว่าจะต้องอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำให้มีความยั่งยืน ตรงนี้ก็คงจะต้องมีการกำหนดเพิ่มเติมในกฎหมาย

    อ่านในการประชุม

  • ๓. ก็คงจะเป็นเรื่องของการจัดตั้งกองทุน แน่นอนที่ผ่านมาเราเยียวยา หลายกลุ่มหลายเป้าหมายที่ได้รับความกระทบ ในเรื่องของสถานการณ์โควิด-๑๙ แต่ในส่วน ของชาวประมงอันนี้ก็คงจะต้องมีการเยียวยาเขาด้วยเช่นกัน

    อ่านในการประชุม

  • ๔. ก็คงจะต้องมีการขึ้นทะเบียนสิทธิ แน่นอนว่าในส่วนชาวบ้านที่เขาอยู่มา แต่เก่าก่อนเขาอาศัยทำกินในพื้นที่ของเขา แล้วก็มีการยกที่ที่ชาวประมงเขาเรียกว่า ขนำ หรือว่ากระต๊อบในพื้นที่เพื่อที่จะเฝ้าระวังดูแลสมบัติของเขา ที่ผ่านมาก็จะมีการจัดระเบียบ สังคมได้ทาง ศรชล. ไปรื้อ แต่ขอเรียนว่าการรื้อก็อาจจะรื้อเฉพาะในส่วนของที่เหนือน้ำขึ้นมา แต่ว่าในส่วนที่ยังอยู่ใต้น้ำก็เป็นอันตรายต่อการเดินเรือเช่นกัน เพราะฉะนั้นก็ต้องมีการดูแล อย่างเป็นระบบ แล้วผมมองว่าให้มาขึ้นทะเบียนให้ชัดเจนส่วนหนึ่ง เมื่อเราจัดรูปแบบตรงนี้ได้ เราก็สามารถที่จะเก็บภาษีเข้ามาพัฒนาประเทศได้ด้วย แต่ต้องจัดระบบโดยพื้นที่ เหมือนที่ ผมบอกว่า ถ้าเราตั้งคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดได้ครอบคลุมทั้งเบญจภาคี ก็สามารถ จะแก้ปัญหาตรงนี้ได้ แล้วส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือให้ชาวประมงเขาได้รวมตัวกัน ตั้งเป็นสหกรณ์ประมงหรือว่ากลุ่มเกษตรกรผู้มีอาชีพทำการประมง ส่วนนี้ก็จะแก้ไขแล้วก็ เพิ่มอำนาจในการต่อรองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ชาวบ้านเขาสามารถจะดำเนินการได้ ผมก็ขอนำเรียนประเด็นที่เกี่ยวข้องประมาณนี้ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ มีเรื่องหารือท่านประธาน ผ่านไปยังหน่วยงาน ๒-๓ เรื่อง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก เรื่องของไฟส่องสว่าง เนื่องจากว่าอำเภอพระแสง จังหวัด สุราษฎร์ธานี ผู้นำชุมชนเขาปรารภมาว่าในส่วนของไฟส่องสว่างทางถนน อำเภอพระแสง ก็มีไฟแดงเพียงแค่จุดเดียว จุดนี้ก็ห่างจากไฟแดงไม่เยอะ แต่ว่าหลังจากไฟแดงไปแล้วมันก็ จะมืดท่านผู้นำท้องถิ่นท่านก็เลยบอกว่าในถนนสาย ๔๐๐๙ จุดตัดกับถนน ๔๑๓๓ ช่วงอำเภอพระแสงอยากจะให้มีการเพิ่มไฟส่องสว่าง จากสี่แยกไปยังอำเภอเคียนซา แล้วก็ จากจุดหนึ่งก็จากสี่แยกไปในพื้นที่อำเภอพระแสง ซึ่งเป็นจุดตลาด

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ก็คงจะเป็นเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากว่าเรากำลังเข้า สู่ภาวะวิกฤติในเรื่องของน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นเมือง แห่งการเกษตร ซึ่งในส่วนของคำแนะนำของผู้ที่เกี่ยวข้องเขาก็บอกว่า ให้ทางกรมทรัพยากรน้ำ หรือว่าทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปจัดตั้งคณะกรรมการบริหาร จัดการน้ำที่บริเวณต้นน้ำทุกพื้นที่ในเขตอุทยาน เพื่อที่จะให้คณะกรรมการ ๒ ฝั่งน้ำ ได้มีการจัดสรรน้ำเพื่อป้องกันการแย่งน้ำในส่วนที่เป็นเมืองผลไม้ อันนี้ก็น่ากลัวจริง ๆ ถ้ามี การแย่งชิงเรื่องน้ำก็อาจจะเป็นอันตราย เบื้องต้นก็เป็นการป้องกันไว้ ก็คงจะต้องไปจัดตั้ง คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำทุกสายน้ำในส่วนของอุทยานดูแลอยู่ แล้วก็ขอขอบคุณ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ได้ทำโครงการ Model ผันน้ำด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์เข้าสู่อำเภอบ้านนาสาร ซึ่งเป็นเมืองแห่งการจัดการน้ำด้านการเกษตร

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสุดท้าย ก็อยากจะให้ผ่านไปยังทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในส่วนของอำเภอพนม อุทยานแห่งชาติคลองพนมเก็บรายได้ ได้ปีละเกือบ ๑๐๐ ล้านบาท แล้วก็เป็นลำดับ ๖ ประเทศ อยากจะให้มีการเสริมศักยภาพในด้านการท่องเที่ยว ก็คือ การสร้างสนามกีฬาประจำอำเภอครับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ สมาชิกผู้ทรงเกียรติที่รักทุกท่าน ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ ก็ขอร่วมอภิปราย และเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองในส่วนของกลุ่ม ชาติพันธุ์ของรัฐบาล ซึ่งนำโดยกระทรวงวัฒนธรรม สืบเนื่องจากว่า ผมได้เข้าไปร่วมประชุม ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม แล้วก็กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็พบว่า ที่ไปที่มาในส่วนของคำว่า ชาติพันธุ์ แล้วก็ในเรื่องของชนเผ่าพื้นเมือง มันก็อาจจะมี การทับซ้อนกันเล็กน้อย เนื่องจากว่าในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม เขาก็จะมีตัวแทน ไปนั่งประชุมที่สหประชาชาติว่าประเทศไทยเราไม่มีชนเผ่าพื้นเมือง โดยเขาให้คำนิยามว่า ในส่วนของชนเผ่าพื้นเมือง ขอยกตัวอย่างของอินเดียนแดงในต่างประเทศ ที่เขาเข้ามา แล้วก็ขับไล่คนที่อยู่เดิมให้ออกจากพื้นที่ แล้วก็ไปยึดครอง แต่ของประเทศไทยเรา มันไม่ใช่ อย่างนั้น ของประเทศไทยเราเขาเรียกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ เนื่องจากว่าเป็นความหลากหลาย ความสวยงามเหมือนดอกไม้ที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราดูในส่วนของกลุ่ม ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ถ้าแบ่งประเด็นเป็นพื้นที่ ชาวเขา ชาวป่า ชาวนา ชาวเล หรือว่าชาวทะเล ยกตัวอย่างในส่วนของพื้นที่เขา เมื่อสักครู่เพื่อนเราหลายท่านก็ได้นำเรียนไปแล้วนะครับ ไม่ว่าจะเป็นกะเหรี่ยง ม้ง ข่า หรือว่าในที่ราบสูง ส่วนของชาวนาเป็นพื้นที่ราบ ไม่ว่าจะเป็น ไทดำ ไทลื้อ ในส่วนของภูไท ในส่วนของญ้อ กูย แล้วก็กะเลิง แล้วก็ในส่วนของชาวป่า ก็จะเป็นส่วนของมานิ ซาไกหรือมลาบรี ในส่วนของชาวเล เราก็จะเคยได้ยินในช่วงหนึ่ง ที่เกิดสึนามิ แล้วก็มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งที่เขามีสัญชาติญาณ แล้วก็สามารถที่จะรู้ตัวล่วงหน้า ในการที่จะหนีภัยสึนามิ นั่นก็คือเรารู้จักคำว่า มอแกน อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของชาวเล นอกจากนี้ก็จะมี อูรักลาโวยจ ในส่วนของชาวเล อันนี้ก็คือความสวยงามตามธรรมชาติของ แต่ละชาติพันธุ์ ทีนี้ถ้าถามว่า หัวใจหลัก ๆ ที่กลุ่มชาติพันธุ์ต้องการ ผมก็ได้เข้าไปสัมผัส ไปศึกษาดูงาน ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน แล้วก็ในส่วนของภาคใต้ ในกลุ่ม ของซาไก ก็พบว่าส่วนที่เขาต้องการหลัก ๆ ที่เป็นหัวใจของเขาก็คือ สถานะบุคคล เขาอยากจะได้สถานะบุคคล เขาอยากจะได้บัตรประชาชน ๑๓ หลักเหมือนกับคนไทยทั่วไป เนื่องจากว่าพอเขามีสถานะบุคคลแล้ว สิทธิต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล หรือว่าการอาศัย อยู่ในพื้นที่แหลมทองแห่งนี้มันก็จะได้มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน บางคนที่เขาก้ำกึ่งไม่รู้ว่า จะเป็นคนไทยตกสำรวจ หรือว่ากลุ่มชาติพันธุ์ เขายังมาหาหน่วยราชการ ครั้งหนึ่งที่เข้ามาหาผม เพราะเขาต้องการที่จะพิสูจน์ DNA ซึ่งใช้งบประมาณเกือบ ๑๐,๐๐๐ บาทในการพิสูจน์ DNA แต่ละครั้งเพื่อที่จะหาเครือญาติที่จะเชื่อมโยง ทำอย่างไรให้เขาได้ เขาอยากจะได้ บัตรประชาชน แล้วก็สามารถที่จะมีสถานะบุคคล ไม่เหมือนกับเป็นคนที่เลื่อนลอย ไม่มีตัวตนในแผ่นดินนี้ อันนี้ก็คือหัวใจหลักนะครับ หลังจากที่มีสถานะบุคคลตรงนั้นแล้ว สิทธิตามมาก็คือเป็นเรื่องของปัจจัย ๔ เขาก็อยากจะมีที่อยู่อาศัย แน่นอนว่าสิทธิในการทำกิน สิทธิในเรื่องของการที่จะสร้างบ้าน หรือว่าในเรื่องของการรักษาพยาบาล การเข้าถึงยา อันนี้ ก็แน่นอนว่าในส่วนของประเทศไทยเรา กระทรวงสาธารณสุขก็ขึ้นชื่อในระดับ Top Five Top Ten ของโลก ช่วงที่โควิด-๑๙ ที่ผ่านมาเราก็จะเห็นแล้วว่า ในเรื่องของระบบสาธารณสุข ของไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ในพื้นที่แห่งนี้เขาก็อยากจะได้สิทธิในการที่จะรักษาพยาบาลเหมือนกับ คนทั่ว ๆ ไปนะครับ สิทธิอีกส่วนหนึ่งที่จะตามมา นั่นก็คือในเรื่องของการเล่าเรียน แน่นอนว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม แล้วก็ธรรมชาติก็ต้องมีดำรงเผ่าพันธุ์ เมื่อมีลูกขึ้นมาแล้ว ก็อยากจะ ให้ลูกได้มีเลขสถานะ ลูกได้เข้าเรียนเหมือนกับคนอื่น ๆ ที่เขาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หมู่บ้านเดียวกัน ตำบลเดียวกัน อำเภอเดียวกัน แต่ว่าลูกเขาไม่มีสิทธิเข้าไปเรียนตรงนั้น บางทีก็อาจจะมีมูลนิธิ หรือว่ากลุ่มจิตอาสาต่าง ๆ ลงไปสอน แต่ว่าหลังจากเรียนจบแล้ว ประเทศไทยเราก็จะมีการ Guarantee ต้องมีหลักฐานการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการว่า จบจากโรงเรียนไหนมา หลังจากนั้นก็เข้าไปเรียนในระดับที่สูงขึ้น หลังจากนั้นพอจบมาแล้ว ก็จะต้องมีการประกอบ อาชีพ ซึ่ง ณ วันนี้ถ้าสิทธิเบื้องต้น กระดุมเม็ดแรกตรงนั้นเขาไม่มี เขาเข้าศึกษาบางทีก็มี ความรู้ แต่ว่าไม่สามารถจะใช้สิทธิในการศึกษาต่อ ไม่สามารถใช้สิทธิในการประกอบอาชีพได้ อันนี้ก็เป็นส่วนสำคัญ เขาอยากจะเป็นแพทย์ อยากจะเป็นพยาบาล อยากจะเป็นครู แล้วก็ กลับไปเพื่อพัฒนาในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ของเขา แต่ว่าพออยู่ในสิทธิตรงนี้มันก็ทำให้เขา ไม่มีสิทธิที่จะได้อาชีพที่เขาใฝ่ฝัน แล้วก็เขาไม่มีสิทธิที่จะไปทดแทนบุญคุณของคนในพื้นที่ ของเขา เราก็จะเห็นว่ามีครูคืนถิ่น มีพยาบาลคืนถิ่น มีหมอชนบท อันนี้ก็เป็นส่วนสำคัญ อีกส่วนหนึ่งที่เขาอยากจะได้สิทธิในหัวใจตรงนั้นนะครับ แล้วก็มีสิทธิอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่า จะเป็นในเรื่องของการที่จะอาศัยอยู่ในชุมชน อาศัยอยู่ในสังคม อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เป็น หัวใจหลักในความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตามที่ได้ไปรับประสบการณ์ แล้วก็ไป ทัศนศึกษาดูงานมา แล้วก็สิ่งที่เป็นเรื่องที่อยากจะให้เราได้ย้อนกลับไปดูนิดหนึ่ง นั่นก็คือว่า ปัจจุบันสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต้องมี พ.ร.บ. ตัวนี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากว่ามันมีเรื่องของมายาคติ มันมีเรื่องของอคติ มันมีเรื่องของมุมมองเหมือนที่หลายท่านได้นำเรียนไปแล้วนะครับ ไม่ว่า จะชนชายขอบ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเกี่ยวข้องกับการปลูกฝิ่น ในเรื่องของการค้ายาเสพติด การทำไร่เลื่อนลอย อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีบางกลุ่มบางคนอาจจะมองภาพแบบนั้นขึ้นมา เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญผมก็มองว่าเราจะลบภาพตรงนั้นออกนะครับ เพื่อที่จะกลับมาในส่วน ของการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการให้ความสำคัญ แล้วก็ที่สำคัญที่สุดวันนี้รัฐบาลใช้ คำว่า Soft Power นะครับ เราทำอย่างไรให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม จารีตประเพณีของเขา แล้วก็สนับสนุนงบประมาณ อบจ. เทศบาล อบต. หรือว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงการท่องเที่ยว กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ อุดหนุน จัดสรรทรัพยากรให้เขาได้จัดกิจกรรมที่เป็นวันสำคัญ ของเขา อันนี้ก็เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก เราต้องการที่จะให้มีการอยู่ร่วมกัน ไม่แบ่งพรรค แบ่งพวก ไม่แบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะว่าเราคือเผ่าไทยด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดที่กังวลอยู่ ก็ในเรื่องของความมั่นคง ถ้ารวมตัวกันแล้วเป็นเขตที่รัฐเข้าถึงไม่ได้ หรือว่าการถือ ๒ สัญชาติ แล้วก็เป็นภัยต่อความมั่นคง อันนั้นเราก็ร่วมกันพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออุดช่องว่างตรงนั้น ถึงอย่างไรก็ขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ. .... ของรัฐบาล ซึ่งวันนี้ท่านรัฐมนตรีเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ก็มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ๒๐๕ แสดงตนครับ

    อ่านในการประชุม