สวัสดีประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาทร และเขตราชเทวี วันนี้ดิฉันมาอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณของ กกต. นะคะ
ประเทศไทยของเรา ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน หนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง การเลือกตั้งเป็นการเปิดโอกาส ให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตย ในการเลือกตัวแทนของเขาเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา เข้าไปแก้ไขกฎหมายและวางกฎระเบียบ แนวทางของสังคม เพื่อดำเนินกิจการใด ๆ ของรัฐที่จะส่งผลต่อการพัฒนาชีวิต สังคม เศรษฐกิจและการเมืองของประชาชนในประเทศไทย การเลือกตั้งจึงถือเป็นเครื่องมือ แสดงออกถึงเจตนารมณ์ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเป็นเจตนารมณ์ที่ Free and Fair หรืออิสระ และยุติธรรม ปราศจากการแทรกแซงกระบวนการตัดสินใจหรือบิดเบือนเจตนารมณ์ และจิตสำนึกของประชาชน แต่ทว่าที่ผ่านมากระบวนการเลือกตั้งกลับพบปัญหาหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการรายงานว่ามีการซื้อเสียงหรือเกิดบัตรเขย่ง เกิดปัญหาไฟดับที่หน่วย นับคะแนนเลือกตั้ง กลับกลายเป็นว่าคนที่ ๒ กระโดดคะแนนนำขึ้นมาบ้าง หรือบัตรเสียกว่า ๒ ล้านใบในปี ๒๕๖๒ และ ๓ ล้านใบในปี ๒๕๖๖ ปัญหาเหล่านี้เรามักจะได้เห็นกันทุกครั้ง เมื่อมีการเลือกตั้ง การเลือกตั้งจะไม่สามารถสะท้อนเจตนารมณ์และจิตสำนึกของพี่น้อง ประชาชนหากไม่เข้ากับหลักเกณฑ์การเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ในกระบวนการขั้นพื้นฐานยังคงประสบปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เป็นคำถามต่อสังคมในวงกว้าง วันนี้ดิฉันจึงจะอภิปราย หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการเลือกตั้งนั่นคือเครื่องลงคะแนนเสียง เลือกตั้งค่ะ ก่อนจะเข้าประเด็นดิฉันขออ้างอิงตัวเลขงบประมาณการจัดการเลือกตั้งซ่อม ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ในรายงานนี้ระบุว่าการเลือกตั้งในปี ๒๕๖๔ มีการใช้งบประมาณ ซึ่งมาจากภาษีของประชาชนกว่า ๙ ล้านบาทในการเลือกตั้งซ่อม โดยคิดเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าพิมพ์บัตรเลือกตั้ง รวมถึงค่าใช้สอยต่าง ๆ เป็นเงินเกือบ ๔ ล้านบาทค่ะท่านประธาน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนเงินที่สูงทีเดียวสำหรับการเลือกตั้งเมื่อเทียบกับสากลโลก ดิฉันจะขอ อธิบายถึง e-Voting สั้น ๆ ระบบการลงคะแนนเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ คือนำระบบ อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการลงคะแนนหรือนับคะแนนเสียงทดแทนบัตรคะแนนเสียง เพื่อช่วยปรับปรุงการเลือกตั้ง ลดต้นทุนในการผลิต ลดระยะเวลาในการลงคะแนนเสียง เพิ่มความสะดวกสบายในการนับคะแนนเสียงและการลงคะแนนเสียงที่ถูกต้อง ไม่มีบัตรเสียค่ะ นับคะแนนได้อย่างโปร่งใส ถูกต้อง และรวดเร็ว ทำให้สามารถทราบผลเลือกตั้งได้ภายในทันที ค่ะทุกท่าน E-Voting ได้ใช้ในหลาย ๆ ประเทศ อย่างเช่น ประเทศอินเดียมีประชากรเยอะ ที่สุดในโลกตอนเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาแซงจีนไปแล้ว เอสโตเนีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และนอร์เวย์ เป็นต้นค่ะ การลงคะแนนเสียงอิเล็กทรอนิกส์แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท หลัก ๆ คือการลงคะแนนเสียงด้วยเครื่องเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าใช้เครื่องเลือกตั้ง ไม่สามารถที่จะแทรกแซงได้ เพราะว่าไม่ได้เชื่อมต่อกับ Internet ทำให้เครื่องลงคะแนนเสียงนั้น ปลอดภัยจากการแทรกแซงหรือการ Hack จากภายนอก และแหล่งที่ ๒ ก็คือ E-Voting หรือการลงคะแนนเสียงผ่าน Internet แต่ดิฉันขอเน้นประเภทลงคะแนนเสียงผ่าน อิเล็กทรอนิกส์นะคะ เพราะว่า I-Voting หรือผ่าน Internet นี่ก็ยังมีข้อครหาหรือว่า ข้อวิพากษ์วิจารณ์มากมายเนื่องจากความเป็นส่วนตัวในการลงคะแนนเสียงด้วย การลงคะแนนเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Voting Machine หรือที่เรียกว่า EVM ในหน่วยเลือกตั้งเครื่องดังกล่าวยังได้ใช้ในการลงคะแนนและนับคะแนน เลือกตั้งอีก สำหรับการใช้งานเพื่อให้เห็นภาพจะขอยกตัวอย่างคืออินเดีย ซึ่งดิฉันบอกไปแล้วว่า ขณะนี้มีประชากร ๑.๔ พันล้านคน คนมากเป็นอันดับ ๑ แซงจากประเทศจีนนะคะ เขาจึง ต้องทำการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและสะดวกสบายสำหรับประชากรที่มากขนาดนี้ อินเดียเป็นตัวอย่างประเทศที่ขึ้นชื่อในการใช้ EVM ในการเลือกตั้งโดยเริ่มตั้งแต่ปี ๑๙๗๗ และ EVM ตั้งอยู่ในหน่วยเลือกตั้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยการกดปุ่ม มีความโปร่งใส ในการตรวจสอบ แล้วก็เครื่องพิมพ์ผลการเลือกตั้งด้วยกระดาษโดยทันทีเมื่อเลือกตั้งเสร็จ เชื่อมต่อเข้ากับระบบ EVM เพื่อให้ผู้ลงคะแนนเสียงสามารถตรวจสอบได้ว่าผลโหวตของตน ถูกต้องตามที่ลงคะแนนได้แล้วหรือไม่ และเมื่อเสร็จแล้วจะมีการ Print slip ออกมาเป็น หลักฐานว่าได้ลงคะแนนเสียงเรียบร้อยแล้วนะคะ นอกจากนี้อินเดียยังมีกฎหมายที่ระบุว่า จะต้องมีเครื่องลงคะแนนเสียงในทุก ๆ ๒ กิโลเมตรจากบ้านเรือนของผู้คนที่มีประชากร อินเดียมากกว่า ๑,๓๐๐ ล้านคน ในการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. ๒๐๑๙ ที่ผ่านมามีผู้สิทธิ เลือกตั้งกว่า ๙๐๐ ล้านคน มากกว่าจำนวนประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทยหลายเท่าตัว แต่ทว่าก็ยังสามารถจัดให้มีการเลือกตั้งที่ Free and Fair จนได้รับขนานนามว่าเป็นประเทศ ที่มีประชาธิปไตยที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกนะคะ แล้วตัวแปรสำคัญก็คือเครื่อง EVM นั่นเอง จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าเครื่อง EVM ในประเทศเราหรือที่เรียกว่า Thai Voting Machine มีการทำการศึกษาอยู่หลายครั้งถึงความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ และแผนการนำมาใช้ และยังได้มี การทดลองใช้กับการเลือกตั้งขนาดย่อมตามหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และการเลือกตั้ง ภายในของพรรคการเมือง และในปัจจุบันเครื่อง TVM ของ กกต. ถูกนำมาพัฒนาจนมี ทั้งหมด ๔ รุ่น แต่ทว่ายังไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการกับการเลือกตั้งระดับชาติ เพราะเหตุใดคะ จากข้อมูลของอนุกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและประสิทธิภาพการเลือกตั้ง ในปี ๒๕๖๓ ที่ดิฉันนั่งเป็นที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการได้ไปสำรวจเครื่อง TVM มีราคาอยู่ที่ ๔๐๐,๐๐๐ บาทต่อเครื่อง หากนำมาใช้ในการเลือกตั้งของไทยโดยการวางไว้ ในทุก ๆ หน่วยจะเป็นหน่วยละ ๑-๒ เครื่อง จะมีจำนวนงบประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านบาท ในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ งบประมาณ ๑,๕๐๐ ล้านบาท และวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ งบประมาณ ๒,๑๕๙ ล้านบาท วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ งบประมาณ ๒,๕๒๑ ล้านบาท และในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๒ มีงบประมาณ ๔,๒๒๐ ล้านบาท วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ งบประมาณ ๕,๙๔๕ ล้านบาท ดังกราฟที่เห็นนะคะ จะเห็นว่า เราสามารถที่จะนำงบประมาณบางส่วนมาลงทุนกับเครื่อง EVM เพื่อความคุ้มค่าในระยะยาว เมื่อเทียบกันกับเครื่อง EVM ในราคาที่ของไทยผลิตได้ ๔๐๐,๐๐๐ บาทต่อเครื่อง ตอนนี้ เรามีอยู่เพียง ๒๐๐ เครื่อง แต่ดิฉันได้สอบถามกับวิทยุการบินแล้ว เขาก็แจ้งว่าถ้าเราผลิต ๑,๐๐๐ เครื่องขึ้นไปจะได้ราคา ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่เมื่อเทียบกับประเทศอินเดียแล้ว เขาได้ราคาการผลิต ๗,๒๐๐ บาทต่อเครื่อง ในขณะที่เครื่อง EVM ของไทยที่ผลิตโดย วิทยุการบิน ๔๐๐,๐๐๐ บาทต่อเครื่องอย่างที่ดิฉันแจ้งให้ฟังข้างต้น ซึ่งถ้าเราต้องการ ปริมาณมากที่สุดถึง ๑๐๐,๐๐๐ เครื่อง สำหรับ ๑๐๐,๐๐๐ หน่วยเลือกตั้ง ราคาจะตกที่ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท และเมื่อเทียบกับราคาผู้ผลิตที่อินเดียอยู่ที่เครื่องละ ๗,๒๐๐ บาท จะเป็นเงินสูงสุดเพียง ๗๒๐ ล้านบาทเท่านั้น สำหรับ ๑๐๐,๐๐๐ หน่วยทั่วประเทศ และราคาถูกกว่าวิทยุการบินถึง ๑,๓๘๙ เปอร์เซ็นต์ หมายเหตุนะคะ ราคาของวิทยุการบิน ที่ดิฉันยกตัวอย่างมาเป็นราคาที่ผูกขาดโดยผู้ผลิตแต่เพียงเจ้าเดียว ไม่มีการเปิดประกวดราคา ที่ต่ำที่สุดกับบริษัทเอกชน นั่นหมายความว่าหากมีการประมูลราคาอย่างโปร่งใส มีการสรรหา ผู้เสนอราคาที่ต่ำกว่านี้ย่อมประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้มากกว่าเดิม หากพิจารณาราคา ดูแล้วมีจำนวนที่สูงมากเมื่อเทียบกับผู้ผลิตต่างประเทศ ก็สามารถนำเข้าจากต่างประเทศได้ เช่นเดียวกันนะคะ ในส่วนที่ดิฉันจะฝากคำถาม ๒ ข้อ ก็คือ ๑. เหตุใดจึงไม่มีการเปิดเผย ข้อมูลการประมูลราคาเพื่อหาผู้ผลิตฝั่งเอกชนที่เปิดเผยสู่สาธารณชน ๒. ทำไมราคาผู้ผลิต ในไทยจึงสูงกว่าผู้ผลิตในต่างประเทศถึง ๑,๓๐๐ เท่า เมื่อนำงบประมาณที่ต้องการใช้ซื้อ เครื่อง EVM มาเทียบกับจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้งหมดในปี ๒๕๖๖ ประมาณค่าไปเลยว่า ๑๐๐,๐๐๐ หน่วย ใช้หน่วยละ ๑ เครื่อง ก็จะเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๗,๒๐๐-๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ในส่วนอุปกรณ์ ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายเลือกตั้งในปี ๒๕๖๖ ภารกิจจัดการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็จะอยู่ที่ ๒,๙๐๐ กว่าล้านบาท อ้างอิงจากค่าใช้จ่ายในการควบคุม และจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินการโดย กกต. นะคะ พบว่ามีจำนวน เพียง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ในกรณีนำเข้า ๗,๒๐๐ บาทต่อเครื่อง และแพงกว่า ๓ เท่าตัวของงบ ส่วนนี้ในการเลือกตั้ง หากผลิตในราคาที่สูงที่สุดสำหรับวิทยุการบินก็คือ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ต่อเครื่องนั่นเองค่ะ เพื่อให้ภาพความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นจึงอยากยกตัวอย่างสถานการณ์จำลอง ถ้าการเลือกตั้งปี ๒๕๖๖ มีงบสำหรับภารกิจจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๒,๙๐๐ ล้านบาท จำนวนเงินในก้อนนี้มีส่วนที่ใช้ไปกับค่าอุปกรณ์ เช่น กระดาษ ค่า Print สี ค่าพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ค่าคูหา ค่ากล่อง หากลงทุนซื้อเครื่อง EVM มามากที่สุด ๑๐๐,๐๐๐ เครื่อง เครื่องละ ๒๐,๐๐๐ บาท จากการประมาณค่ายื่นซองจะคิดเป็น ๒,๐๐๐ ล้านบาท เมื่อพิจารณาอายุการใช้งานสมมุติว่า ๒๐ ปี จำนวนเลือกตั้ง ๕ ครั้งตามครรลอง ประชาธิปไตยปกติจะเท่ากับว่างบประมาณที่ใช้ไปกับลงทุนเครื่อง EVM บวกลบเท่ากับ ๔๐๐ ล้านบาทต่อปีเพียงเท่านั้น และหากนำเข้าจากผู้ผลิตที่สามารถผลิตได้ราคาถูกกว่า อินเดียก็คือ ๗,๐๐๐ บาทต่อเครื่อง เครื่อง EVM ๑๐๐,๐๐๐ เครื่องจะมีจำนวนเพียง ๗๒๐ ล้านบาทต่อปีเพียงเท่านั้นนะคะ และเมื่อพิจารณาอายุการใช้งาน ๒๐ ปีตามครรลอง ประชาธิปไตยจะเท่ากับว่างบประมาณที่ใช้ไปกับการลงทุนซื้อเครื่อง EVM จะเป็นบวกลบ ๑๔๕ ล้านบาทต่อปี หมายเหตุนะคะ จำนวนเต็มอาจจะน้อยกว่านี้มากถ้าเกิดถูกกว่า ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลือกตั้งในแต่ละครั้ง นี่ก็ยังไม่รวมกับการนำมาใช้สำหรับการเลือกตั้ง ท้องถิ่นจำนวนมาก และไม่คิดถึงความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับอายุการใช้งานระยะยาวค่ะ
OK อันสุดท้ายแล้วค่ะ ท่านประธาน จริงอยู่ว่ามูลค่าอาจจะสูงในการลงทุนซื้อครั้งแรก แต่ถ้าเกิดประกอบกับสถิติ จำนวนงบประมาณเลือกตั้งที่สูงมาก ๆ ในทุก ๆ รอบ เปรียบเทียบกับงบประมาณที่ต้อง จัดสรรมาเพื่อลงทุนกับอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าที่จะได้มาทั้งเรื่องความโปร่งใส เป็นธรรมตรงไปตรงมา รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพนะคะ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แม้กระทั่ง ผู้พิการมีอักษร Braille แล้วก็มีสำหรับคนหูหนวกสามารถใช้ได้ ซึ่งเข้ากับหลัก Universal Design สรุปได้ว่าการลงทุนนำ EVM มาใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และควรนำมาแก่การพิจารณา กราบขอบพระคุณค่ะ
กราบสวัสดีประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาธร และเขตราชเทวีค่ะ วันนี้ดิฉันมาอภิปรายเรื่องรายงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน ปี ๒๕๖๕ เริ่มต้นก็จะพูดถึงอำนาจและหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินที่จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติ อย่างเคร่งครัดตามรัฐธรรมนูญ ก็คือหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ หมวด ๒ ในการรับเรื่องร้องเรียน แสวงหาข้อเท็จจริง และเสนอแนะต่อหน่วยงานรัฐให้แก้ไขความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชน และหน่วยงานรัฐจะต้องปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่กำหนด มีสายด่วน ๑๖๗๐ สำหรับประชาชนโทรศัพท์ร้องเรียน แล้วก็เรื่องที่ได้รับร้องเรียนจากผู้ตรวจการแผ่นดิน ๕,๒๕๐ เรื่อง จัดการเสร็จแล้ว ๒,๘๓๙ เรื่อง ซึ่งก็นับเป็น ๕๔ เปอร์เซ็นต์ของการแก้ไขปัญหา ส่วนมากจะเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน ผลกระทบจากโควิด เช่น กรณีช่วยเหลือโกดังเก็บ น้ำมันไฟไหม้ ปัญหาโรงเรียนเอกชนได้รับผลกระทบจากโควิด แล้วก็ผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ในปี ๒๕๖๕ มีกฎหมายที่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญทั้งหมด ๓๔ เรื่อง เสนอเรื่องต่อศาล ๑ เรื่อง ยุติการพิจารณา ๓๓ เรื่อง การกระทำของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ รัฐ ที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ๔๖ เรื่อง เสนอเรื่องต่อศาล ๓ เรื่อง ยุติการพิจารณา ๔๓ เรื่อง ๙๙ เปอร์เซ็นต์ที่ยุติการพิจารณาไป การถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพที่ขัดหรือแย้งกับ รัฐธรรมนูญ รับเรื่อง ๖๒ เรื่องยุติการพิจารณา ๖๒ เรื่อง ข้อสังเกตรายงานของผู้ตรวจการ แผ่นดินมีลักษณะที่จะต้องเป็นศูนย์ดำรงธรรมตามรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการควรที่จะทำ เฉพาะงานที่เป็นเรื่องที่สำคัญกับประชาชน เป็นการละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ หรือจาก หน่วยงานรัฐ หรือจากภาครัฐที่กระทำต่อประชาชน ดิฉันและประชาชนคนไทยจึงหวัง เป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะเป็นเสาหลักในการธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมแก่ประชาชนไทย ตามสิทธิเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องส่วนใหญ่ที่ผู้ตรวจการหยิบยกมา ดำเนินการเป็นเรื่องที่ประชาชนสามารถนำมาร้องเรียนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขต ของตน และตอนนี้ก็มี สส. ที่จะปฏิบัติหน้าที่เรียบร้อยแล้ว ข้อสังเกตของดิฉันคือประเด็น เรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมือง และเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้อำนาจ กดขี่ข่มเหงประชาชนจนเกิดกรณีพิพาทระหว่างรัฐและประชาชนค่ะ กรณีตัวอย่างที่อยากจะ ยกมาเข้าเกณฑ์เรื่องดังกล่าว เป็น Case ที่เกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยภายในเขตของดิฉันหรือ เขตราชเทวีนั่นเองค่ะ คือกรณีกระทรวงกลาโหมและสำนักนายกรัฐมนตรีไม่ดูแลการระงับ เหตุทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ๒๕๕๓ ผู้ได้รับผลกระทบแจ้งว่าได้มีการประสาน ไปยังทุกหน่วยงานรัฐเพื่อให้ดำเนินการ รวมทั้งติดต่อไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินหลายปีแล้ว แต่คำตอบที่ได้รับกลับเป็นเพียงหนังสือราชการที่ระบุว่าจะแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อประกอบ การพิจารณาโดยตลอด แบบนี้ถือเป็นการให้คำสัญญาเพียงลมปากหรือไม่คะ กรณีที่ ยกตัวอย่างมาเมื่อเปรียบเทียบกับรายงานที่ได้ค้นหา จะเห็นได้ว่าสำนักงานผู้ตรวจการ แผ่นดินมีแนวโน้มที่จะหยิบเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ น้ำไหลไฟดับ ชีวิตประจำวันมาดำเนินการ แต่เรื่องใหญ่ ๆ ที่ส่งผลกระทบกับปัญหาเชิงโครงสร้าง เชิงการเมือง หรือสิทธิพลเมือง สิทธิมนุษยชน สำนักงานกลับไม่มีท่าทีว่าจะเร่งดำเนินการพิจารณาข้อเท็จจริง เพื่อแก้ไข ปัญหาคลายทุกข์ คืนสุขให้แก่ผู้ร้องเรียนมาแต่อย่างใด แบบนี้หน่วยงานของท่านจะเป็นเพียง แค่หน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะน้ำไหลไฟดับทำนองนี้หรือไม่ จึงอยากขอ ชี้แจง ณ จุดนี้นะคะ ดิฉันขอรูปภาพประกอบด้วยค่ะ
มันเป็นภาพเหตุการณ์จริง ที่ผู้ร้องเรียนได้ส่งมาให้ดิฉันนะคะ เป็นภาพหลักฐานที่กองทัพไทยใช้ปลอกกระสุนยิ่งใส่เข้าสู่ บ้านเรือนของพลเรือนที่อยู่ในเขตของดิฉัน แล้วเขาได้รับอนุญาตจากผู้ร้องเรียนเรียบร้อย แล้วให้เผยแพร่ภาพดังกล่าวค่ะ
คุณภัทเป็นผู้อยู่อาศัย ในเขตราชเทวี ปัจจุบันเป็นผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกยิงจากการสลายการชุมนุม ขณะที่อาศัยอยู่ใน บ้านพักและมองผ่านช่องประตูบ้าน หลังถูกยิงคุณภัทต้องปีนตึกขึ้นหลังบ้านออกไปหาหมอ ด้วยความทุลักทุเล เนื่องจากบริเวณหน้าบ้านของเธอนั้นรถพยาบาลไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะเป็นพื้นที่สีแดงนะคะ คุณภัทเข้ารับรักษาพยาบาลหมดค่ารักษาไปเหยียบ ๓ ล้านบาท เธอได้รับผลกระทบด้านสุขภาพระยะยาวหลายประการ โดยเฉพาะระบบเส้นประสาท จุดที่ถูกยิง การรับรู้ร้อนหนาวผิดปกติ ได้รับผลกระทบกับระบบ Thyroid เกิดอาการบ้านหมุน ขาอยู่ไม่สุข ตัวกระตุก เวลานอนก็คือกระตุก ทำให้ต้องกินยารักษาที่ส่วนใหญ่มีผลกระทบ กับระบบประสาท คุณภัทต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายพยาบาลทุกวันนี้ที่มาจากผลกระทบ ในการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่รัฐประมาณเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ภายหลังการรักษา คุณภัทได้รวบรวมหลักฐานในที่เกิดเหตุพบกระสุนปืนจริง ๑๐ นัด จะเป็นหลักฐานที่จริง ๆ แล้วดิฉันมีรูปประกอบ แล้วก็ด้านหลังกระสุนปืนสลักไว้ว่า Royal Thai Army หรือว่า กองทัพไทยนั่นเองภายหลัง ซึ่งเป็นปลอกกระสุน M16 ๑๐ นัด และกระสุนยางอีก ๒ นัด คุณภัทเข้าแจ้งความกับสถานีตำรวจ ร้องต่อศาล ป.ป.ช. DSI กระทรวงต่าง ๆ รวมถึง ผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเลยแม้แต่น้อย จนกระทั่งถึงตอนนี้คุณภัท ได้ร้องเรียนมายังแก้ว แล้วได้พูดคุยอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งสิ่งที่เรียกร้องคือการชดเชยอย่างเหมาะสม จากการที่คนพิกลพิการในระยะยาว ไม่ใช่การเยียวยาเพียงระยะสั้นเท่านั้นนะคะ เพราะว่า ค่าใช้จ่ายก็ทวีคูณขึ้นจากผลกระทบที่ได้รับผลข้างเคียงจากการถูกยิงคราวนั้น ทั้งนี้การรื้อฟื้น คดีการสลายการชุมนุมเมื่อปี ๒๕๕๓ เรื่องราวของคุณภัทจะเป็นหนึ่งในเรื่องราวที่ถูกนำมา เป็นหลักฐานพยานเพื่อสืบค้นหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น การแสวงหาความจริง ความรับผิดชอบ การละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือที่เรียกว่า Accountability ความโปร่งใส และความซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อที่จะนำคนผิดมารับโทษ ยุติวงจรวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และคืนความยุติธรรมให้แก่เหยื่อความรุนแรงของรัฐค่ะ สิ่งนี้เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องที่ดิฉัน อยากจะเสนอแนะให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทำการแสวงหาข้อเท็จจริงและทำการใส่ใจมากยิ่งขึ้น ในประเด็นที่กระทบกับสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง หรือเรียกได้ว่าเป็นอาชญากรรม ต่อมนุษยชาติที่บัญญัติอยู่ในธรรมนูญกรุงโรม อยากให้ทุกท่านได้ให้ความสำคัญกับ เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ส่งผลกับประชาชนไทยหลาย ๆ คน นอกจากนั้นก็ยังมีข้อเสนอแนะที่จะรับเรื่องร้องเรียนผ่านระบบ Internet เมื่อเปรียบเทียบ กับระบบของประเทศนิวซีแลนด์ที่จะสามารถทำได้ครอบคลุมและง่ายดายกว่า จริง ๆ แล้ว ดิฉันจะต้องมีเปรียบเทียบระบบด้วย แต่ว่าตอนนี้เวลาไม่พอ ข้อสังเกตถึงปริมาณเรื่องร้องเรียน ที่ดำเนินการเสร็จแล้วของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่พูดมาข้างต้นแทบจะมีการยุติเรื่องร้องเรียน แทบทั้งสิ้นเลย แล้วก็ข้อสังเกตเรื่องร้องเรียนที่ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการเสร็จแล้ว โดยมากจะเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจและหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ
ขออนุญาตนะคะ กราบเรียนท่านประธานนะคะ ที่ท่านพูดว่ามันไม่ได้เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ มันเป็น การละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แล้วก็ผู้ร้องเรียนสามารถที่จะร้องเรียนการละเมิด ของเจ้าหน้าที่รัฐไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินได้ หากมันขัดกับสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลักฐานของดิฉันเป็นหนังสือที่ส่งให้กับผู้ตรวจการแผ่นดิน เลขที่ ผผ ๑๑๐๓/๕๖๗ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการช่วยเหลือเยียวยาของผู้ได้รับความเสียหายจากความไม่สงบ ทางการเมืองในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๓ บริเวณปากซอยเพชรบุรี ๒๙ ตรงสะพานชิดลม ก็เป็นเรื่องที่ดิฉันได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ หนังสือนี้ถูกส่งถึงสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินไปแล้ว ในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นหนึ่งในเอกสารที่ดิฉันไม่สามารถที่จะขึ้นหน้าจอได้ เมื่อสักครู่น่าเสียดาย แต่ว่าผู้ร้องเรียนก็ได้ส่งหนังสือไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องขออนุญาตชี้แจงมา ณ ที่นี้ เนื่องจากเมื่อสักครู่ไม่ได้มีโอกาสที่จะเปิดเลขหนังสือ ให้ท่านดูถึงผู้ร้องเรียน กราบขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพค่ะ ดิฉันธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานครเขต ๒ หรือปทุมทวัน สาทร และราชเทวี พรรคก้าวไกลค่ะทุกท่าน วันนี้ดิฉันมาพูดเรื่องการละเมิดสิทธิ ของผู้ลี้ภัยและหลักการไม่ส่งกลับ โดยอ้างอิงถึงรายงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของ กสม. ขอ Slide ด้วยค่ะ
ประเทศไทยมีผู้ลี้ภัย ทั้งหมด ๙๘,๐๐๐ คน ซึ่งประกอบด้วยลี้ภัยชาวเมียนมา ประมาณ ๙๔,๐๐๐ คน คนที่อาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงทั้ง ๙ ศูนย์ บริเวณชายแดนไทยและเมียนมา และผู้ลี้ภัยในเมือง ประมาณ ๔,๐๐๐ คน จาก ๔๐ สัญชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและเขตเมืองโดยรอบ อันนี้เป็นข้อมูลที่อ้างอิงจาก UNHCR นะคะ ตั้งแต่รัฐประหารปี ๒๕๕๗ คนไทยอย่างน้อย ๑๐๐ คนต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ ในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมามีนักเคลื่อนไหวอย่างน้อย ๖ คน หายตัวไปอย่างลึกลับ ในกลุ่มประเทศอาเซียนและมีผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่ลี้ภัยเข้ามา ในประเทศเรา ๕๘ คน ถูกควบคุมตัวโดยไม่มีกำหนดเวลาค่ะท่านประธาน โดยที่ ๒ คน เสียชีวิตไปแล้วในที่กักขังใน ตม. ค่ะ การเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานไม่สามารถที่จะรอ ได้อีกต่อไป ในวันนี้ดิฉันจึงอยากขออภิปรายกรณีผู้ลี้ภัยในประเทศเรา จากรายงานของ กสม. ได้มีรายงานว่าเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐพบกับผู้ลี้ภัยคือ ๑. การพิสูจน์ความกลัวที่มีมูลความจริง หรือที่เรียกว่า Well-founded fear ผู้อ้างสิทธิผู้ลี้ภัยต้องพิสูจน์ว่าพวกเขาทั้งสอง มีความหวาดกลัวต่อการถูกประหัตประหารหรือ Persecution หากพวกเขาเดินทางกลับไป ยังประเทศบ้านเกิดค่ะ ความกลัวของพวกเขานั้นมีพื้นฐานมาจากความรู้สึกที่เป็นกลาง และข้อเท็จจริง ๒. ต้องเคารพในหลักการไม่ส่งกลับหรือ Non-refoulement อย่างไรก็ดี ในอนุสัญญาผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ นั้น ไม่มีช่องทางร้องเรียนแม้แต่ประเทศที่ให้สัตยาบัน แล้วค่ะ ๓. มีการเคารพเจ้าหน้าที่ชายแดนเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ Geneva Conventions ซึ่งเป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่เป็น General Principle แล้วก็ Opinion Juris นะคะ
-๓๐/๑ หลักการการไม่ส่งกลับจึงเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ แต่ในส่วนนี้ ก็ยังพบปัญหาอยู่เมื่อมองในสถานการณ์ผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนะคะ โดยจะขอเน้นไปที่ข้อ ๒ คือเรื่องการเคารพหลักการ Non-refoulement หรือการไม่ผลักดัน ผู้ลี้ภัยกลับประเทศหรือส่งกลับไปตายนั่นเองค่ะ ขอ Slide ถัดไปค่ะ
ปัญหาการพิจารณาหลักการ Non-refoulement แยกออกเป็น ๓ ข้อ ดังต่อไปนี้
๑. โครงสร้างทางกฎหมายระบบกฎหมายของไทยไม่ยอมรับให้สามารถนำ กฎหมายระหว่างประเทศมาปรับใช้ได้โดยตรง เนื่องจากประเทศไทยเป็นระบบที่เรียกว่า Duelist หมายความว่าอนุสัญญาทุกอย่างที่เราให้สัตยาบันต้องมีการ Corporate หรือ Incorporate Formulate เข้าไปหรือบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย หรือ พ.ร.บ. ของไทยค่ะ การนำกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้โดยหลักแล้วต้องผ่านการอนุวัติ Implementation ทางนิติบัญญัติเสียก่อนจึงจะมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายค่ะ
๒. หลักการ Non-refoulement เป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ที่มีลักษณะเป็นหลักการอย่างกว้าง ถ้าไม่มีการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ในระบบกฎหมายของไทยเพื่อความมั่นคงแน่นอนและนิติฐานะ และเพื่อให้สามารถยึดหลัก ปฏิบัติที่ชัดเจนอาจก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้ทั้งสำนักงาน ตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องค่ะ กรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดสำหรับข้อนี้คือกรณีส่งผู้ร้ายข้ามแดนนายฮาคีม อัล อาไรบี บุคคลที่ได้สถานะผู้ลี้ภัยจากรัฐบาลออสเตรเลีย แต่เป็นที่ต้องการตัวจากทางการบาห์เรน ให้ไทยส่งตัวกลับไปดำเนินคดีที่บาห์เรนจำเป็นที่จะต้องพิจารณาหลักการ Non-refoulement ประกอบกับการพิจารณาส่งตัวบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน อย่างไรก็ดีในขณะนั้นในปี ๒๕๖๑-๒๕๖๒ ยังไม่มีกฎหมายไทยที่ระบุปรับใช้หลักการนี้ แต่อย่างใดค่ะ จึงไม่ได้มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาประกอบการพิจารณาไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายตุลาการ และเนื่องด้วยประเทศไทยไม่ได้อยู่ในภาคีหรืออนุสัญญาว่าด้วย สถานะผู้ลี้ภัยใด ๆ อันมีผลให้ต้องอนุวัติโดยการต้องตรากฎหมายในประเทศหรือปรับแก้ กฎหมายในประเทศเสียก่อนเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยประเทศไทยจึงจะมีความพยายามผลักดัน กฎหมายในระดับรองคือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีทำมาเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย แทนกฎหมายระดับรองนั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วระเบียบสำนักนายกก็มีปัญหาในหลายประการ ในเรื่องของการไม่มีส่วนร่วมของภาคประชาชนแต่อย่างใด ไม่ผ่านรัฐสภาด้วยนะคะ และการที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกได้โดยอาศัยอำนาจของฝ่ายบริหารแต่อย่างเดียว
ปัญหาการพิจารณาหลักการ Non-refoulement ข้อ ๓ การละเลยการปฏิบัติ หน้าที่การไม่มีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนอาจนำไปสู่การไม่ปฏิบัติตาม หลักการ Non-refoulement โดยไม่มีบทลงโทษใด ๆ กับเจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว อันก่อให้เกิดการละเมิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศหลายกรณี เช่น การส่งชาวอุยกูร์ จำนวนมากกลับประเทศที่จะต้องกลับไป Face กับการประหัตประหาร หรือการขังลืม ใน ตม. จนเสียชีวิตถึง ๒ รายมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ซึ่งทั้งหมดดิฉันก็เคยได้มายื่นหนังสือ กับ กมธ. ต่างประเทศแล้วกับ ๑๑ องค์กรที่เป็นองค์กร NGO ที่ทำเรื่องผู้ลี้ภัย นี่ขัดต่อกติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. ๑๙๘๖ หรือ ICCPR ซึ่งเป็น สนธิสัญญาที่ไทยเข้าร่วมภาคีมีผลบังคับใช้มาเกือบ ๓๐ ปีแล้ว ขอ Slide ถัดไปค่ะ ทางออก ของปัญหานะคะ
๑. การออกกฎหมายที่ไม่เลือกปฏิบัติ พรรคก้าวไกลกำลังผลักดัน พ.ร.บ. ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลรัฐต้องยึดมั่นปฏิบัติอย่างเท่าเทียมต่อหน้ากฎหมาย
๒. การเก็บส่วยจากแรงงานข้ามชาติเพื่อผ่าน Agent เพื่อให้ได้บัตรชมพู ต้องกำจัดส่วยแรงงานข้ามชาติค่ะ
๓. ให้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแก่ผู้ลี้ภัย เช่น สิทธิในการศึกษา สิทธิในการทำงาน เสรีภาพในการเคลื่อนย้าย เสรีภาพในการไม่ถูกกักขัง ที่ผ่านมารัฐให้การสนับสนุนน้อยมาก มีแต่มูลนิธิที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง การใช้ทัศนคติทางความมั่นคงในการจัดการกับผู้ลี้ภัยรัฐควรสนับสนุนและใช้ทัศนคติ สิทธิมนุษยชน
๔. ลงสัตยาบันอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสถานะผู้ลี้ภัย พ.ศ. ๒๔๙๔ และพิธีสาร ที่เกี่ยวข้องกับสถานะผู้ลี้ภัย พ.ศ. ๒๕๑๐ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๓ มีภาคีทั้งหมดแล้ว ๑๔๖ ภาคี และภาคีในอนุสัญญามี ๑๔๗ ที่สนับสนุนให้ประเทศไทยลงสัตยาบันกับอนุสัญญา ทั้ง ๒ ฉบับ ที่มีผลผูกพัน
และช่องทางที่ ๕ สำคัญมาก ประเทศเราต้องสร้างช่องทางการร้องเรียน สำหรับผู้ลี้ภัย หรือที่เรียกว่า Individual Complain Panel เพื่อพัฒนาช่องทางการร้องเรียน ให้เข้าถึงง่ายต่อผู้ลี้ภัย เพราะเป็นกลุ่มเปราะบางที่ถูกละเมิดสิทธิ และอาจถูกผลักดัน ให้เข้าไปอยู่ในกระบวนการค้ามนุษย์ได้อย่างง่ายดาย เช่น ช่องทางการร้องเรียนที่มีภาษา ของผู้ลี้ภัย เช่น ภาษาพม่า หรือเจ้าหน้าที่ กสม. ที่มีล่ามแปลภาษาทำงานเชิงรุกในค่าย ของผู้ลี้ภัยค่ะ และสร้างหน่วยงานรัฐอย่างเป็นกิจจะลักษณะที่มีอำนาจและหน้าที่ในการดูแล เรื่องสิทธิเสรีภาพของผู้ลี้ภัย การละเมิดสิทธิของผู้ลี้ภัยที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด หลักการ ไม่ส่งกลับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการเรียนและประกอบอาชีพค่ะ
สุดท้ายนี้ดิฉันขอเรียนด้วยความห่วงใยผ่านท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้โปรดมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาสิทธิประชาชน ในประเทศไทยตามหลักการ และกติกาสากลด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้คนทุกคนไม่ว่าจะวัยใด เพศสภาพ หรือเพศวิถีใด นับถือศาสนาใด หรือมีสถานะทางเศรษฐกิจอย่างไร มีความเท่าเทียมกันต่อหน้ากฎหมาย หรือ Everyone is equal before the law กราบขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน สาทร และราชเทวีค่ะ วันนี้ดิฉันจะมาอภิปรายเกี่ยวกับรายงานของการปฏิบัติงานและงบประมาณ ศาลรัฐธรรมนูญค่ะขอ Slide ด้วยค่ะ
Slide ถัดไปเลยค่ะ ในประเด็นแรกนะคะ ดิฉันอยากอภิปรายเรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ของศาลรัฐธรรมนูญค่ะ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้บัญญัติ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจและหน้าที่อยู่หลายประการ โดยหนึ่งในอำนาจของ ศาลรัฐธรรมนูญคือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทย การคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชนบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ที่บัญญัติว่าผู้ซึ่งถูกละเมิด สิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มี คำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติใน พ.ร.ป. หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ จากรายงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ของศาลรัฐธรรมนูญ พบว่านับตั้งแต่ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๕ เรื่องที่ประชาชนยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญมากที่สุดคือ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ค่ะท่านประธาน โดยในปี ๒๕๖๕ มีคำร้องเกี่ยวกับมาตรา ๒๑๓ มากกว่า ๗๐ คำร้องค่ะ แต่ก็เป็นที่ น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งนะคะที่การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ นั้นโดยส่วนใหญ่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำร้องและจำหน่ายคดีค่ะท่านประธาน โดยมิได้พิจารณาลงไปในเนื้อหาสาระว่ามีการละเมิดสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง ไว้หรือไม่ เหตุผลที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำร้องและจำหน่ายคดีเกิดจากการไม่ได้ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเกี่ยวข้องกับที่ผู้ร้องจะต้องส่งเรื่องให้ ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาเสียก่อน
ในปี ๒๕๖๕ ศาลมีคำสั่งไม่รับคำร้องและไม่จำหน่ายคดีสูงถึง ๗๐ คดี หรือให้พูดง่าย ๆ คือเกือบทุกคดีค่ะท่านประธานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชนคนไทย ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องและจำหน่ายคดีปัญหานี้ เป็นปัญหาเชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนดำเนินการก่อนที่ประชาชนจะยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญ ดิฉันเห็นว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญควรมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก อำนวยความยุติธรรมให้กับ ประชาชนคนไทย ให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองในสิทธิเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญค่ะ
แต่ในความเป็นจริงนั้น ณ ขณะนี้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญกลับกลายเป็นปัญหาและอุปสรรคค่ะ ดิฉันขอเรียนผ่าน ท่านประธานไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้โปรดพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ค่ะท่านประธาน ด้วยการประชาสัมพันธ์ข้อมูลหรือแนวทางการดำเนินการที่ถูกต้องให้กับประชาชนค่ะ และในกรณีที่เห็นว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณำ ของศาลรัฐธรรมนูญนี้สร้างภาระเกินสมควรแก่ประชาชนก็ควรจะเสนอแก้ไขข้อบัญญัติ ที่เป็นปัญหาและอุปสรรคนี้ให้สมกับค่านิยมของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่ายึดหลักนิติธรรม ค้ำจุน ประชาธิปไตย ห่วงใยสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ในประเด็นถัดไปนะคะ ดิฉันจะอภิปรายถึงการประเมินความพึงพอใจ ของประชาชน โดยขอกล่าวถึงบทวิเคราะห์รายงานการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ หรือ Government Evaluation System GES ค่ะ
ในส่วนมิติภายนอก การประเมินคุณภาพความพึงพอใจและความรู้ความเข้าใจ ของประชาชนที่มีต่อการบริการและภารกิจของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามรายงาน ประจำปี สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียเพื่อได้นำมาปรับปรุงคุณภาพในการบริการและการดำเนินภารกิจเป็นประจำ ทุกปี มีการดำเนินโครงการสำคัญดังนี้
๑. โครงการการพัฒนาเผยแพร่ความรู้ศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญในยุค Digital
๒. โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับระบบ การปกครองระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม
ดิฉันเห็นว่าในเมื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันกับทุกองค์กร ผลของคำวินิจฉัยย่อมส่งผลกระทบ ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อมกับประชาชนทุกคน ประชาชนทุกคนจึงเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบกับ การศึกษาวิจัยของศาลรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ โดยศาสตราจารย์ Albert H. Chen อธิการบดีคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮ่องกง พบว่าหนึ่งในตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็น ถึงความสำเร็จของศาลรัฐธรรมนูญในประเทศต่าง ๆ คือความเชื่อมั่น ความพึงพอใจ ของประชาชนโดยทั่วไป การทำหน้าที่และวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญในประเทศนั้น ๆ ดังนั้นดิฉันจึงขอเสนอความเห็นผ่านท่านประธานไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญว่าควรมีการเพิ่มการประเมินความเชื่อมั่น และความพึงพอใจในการปฏิบัติ หน้าที่ และการทำคำวินิจฉัยในคดีสำคัญ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วม นำความคิดเห็นเหล่านั้นไปเป็นตัวชี้วัดการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ดิฉันขอยกกรณีตัวอย่างในปี ๒๕๖๕ ที่มีคดี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีมาครบ ๘ ปีแล้ว หากได้มีความประเมินความเชื่อมั่นและความพึงพอใจ ในการปฏิบัติหน้าที่และผลของคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าว ดิฉันเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะได้รับ ทราบความเห็นของประชาชนโดยทั่วไป ว่ามีความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อการปฏิบัติ หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ และประชาชนเห็นด้วยหรือไม่กับผลของคำวินิจฉัยนี้ เพื่อที่จะได้นำข้อมูลความเห็นของประชาชนเหล่านี้ไปปรับปรุงแก้ไขพัฒนาองค์กรต่อไป ใกล้จะจบแล้วค่ะท่านประธาน ขออภัยด้วยค่ะ เนื่องด้วยเวลานี้ได้มีกระแสสังคม วิพากษ์วิจารณ์และนโยบายของพรรคการเมืองหลายพรรคในการขอแก้ไขจัดทำ รัฐธรรมนูญใหม่ ดิฉันจึงขอโอกาสนี้ในการอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องสักเล็กน้อย ที่ได้คำเสนอแนะมาจากศาสตราจารย์ Albert H. Chen ของมหาวิทยาลัยฮ่องกงที่ดิฉัน ได้กล่าวก่อนหน้านี้ งานวิจัยฉบับนี้ได้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญของ ๗ ประเทศในเอเชีย ประกอบไปด้วย ไต้หวัน เกาหลี มองโกเลีย กัมพูชา ไทย อินโดนีเซีย และเมียนมา และได้ข้อสรุปว่าประเทศที่ศาลรัฐธรรมนูญประสบความสำเร็จที่สุด คือเกาหลีใต้ ไต้หวัน และอินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยอยู่ในฐานะที่เป็นห่วงเพราะมีขอบเขต อำนาจที่กว้างมาก มีการตุลาการภิวัตน์ที่ค่อนข้างสูง หรือการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคดี และไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชน โดยผู้วิจัยได้ตั้งข้อสังเกตที่ประเทศไทยเป็นเช่นนี้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลทางการเมือง โดยมีปัจจัยพิจารณา คือ
๑. ขอบเขตอำนาจ
๒. ตุลาการภิวัตน์ หรือที่เรียกว่า Judicial Activism
๓. ความเป็นอิสระ หรือ Judicial independence
๔. ความเกี่ยวพันกับการเมืองระดับมหภาค หรือ Involvement in Mega Politics
๕. ความคาดหวังต่อประชาชนในหลักนิติธรรม หรือที่เรียกว่า Rules of Law
๖. การพิจารณาคดีในการประกอบการยุติธรรม หรือเรียกว่า Supply of Judicialization
๗. ความเชื่อมั่นของประชาชน หรือ Public Confidence
งานวิจัยดังกล่าวได้ข้อสรุปเป็นตารางดังต่อไปนี้ ตารางเปรียบเทียบที่ ๑ แกนนอน คือการแสดงถึงขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แกนตั้ง คือการแสดงให้เห็นถึง ตุลาการภิวัตน์ หรือการใช้ดุลยพินิจของศาลในการตัดสินคดีนอกเหนือตัวบทกฎหมายของ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไทยอยู่ตำแหน่งขวาบน ถ้าท่านเห็นบน Slide ของดิฉัน คือมีขอบเขตอำนาจที่กว้างมาก ตัดสินคดีเยอะแยะไปหมด และมีลักษณะของตุลาการภิวัตน์ ที่สูง คือใช้ดุลยพินิจที่อยู่นอกเหนือตัวบทกฎหมายสูงมาก ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งตั้งแต่ ปี ๒๕๔๘ เป็นต้นมา ในขณะที่ไต้หวัน เกาหลีใต้และอินโดนีเซีย มีอำนาจที่กว้าง และมี ตุลาการภิวัตน์ในระดับปานกลาง ซึ่งอยู่ในจุดกึ่งกลางของความสมดุล จากที่ศาสตราจารย์ Albert H. Chen นักวิจัยเขาได้ยกตัวอย่างมานะคะ
Slide ถัดไปค่ะ จะจบแล้วนะคะ แกนนอน ความเกี่ยวพันกับการเมือง ระดับมหภาค และแกนตั้งความเป็นอิสระของตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญไทยก็ได้รับ การวิพากษ์วิจารณ์ว่าอยู่ในระดับตำแหน่งขวาล่าง คือมีความเกี่ยวพันกับการเมืองระดับ มหภาค ระดับสูงค่ะ และกระบวนการพิจารณามีข้อสงสัย หรือข้อครหาถึงความเป็นอิสระ เลือกฝักเลือกฝ่ายทางการเมืองของฝั่งตุลาการ ซึ่งต่างจากไต้หวัน เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย ที่มีความเกี่ยวพันกับการเมืองระดับมหภาคสูงเช่นเดียวกันนะคะ แต่มี ความเป็นอิสระที่สูงเช่นเดียวกัน หรือสถิติในการตัดสินคดีไม่ได้เลือกข้าง ไม่ได้เข้าข้าง ฝักฝ่ายการเมืองฝั่งใดทั้งนั้น แกนนอน คือการตอบสนองต่อการพิจารณาคดีที่มีปริมาณ มากหรือน้อย แกนตั้งคือความคาดหวังต่อประชาชนในหลักนิติธรรม หรือ Rule of Law นั่นเอง ศาลรัฐธรรมนูญไทยอยู่ในตำแหน่งขวาล่าง ก็คือต่ำสุดเช่นเดิม ประชาชน ขาดความหวังต่อหลักนิติธรรม หมดหวังมีอยู่ในระดับต่ำมาก แต่ศาลรัฐธรรมนูญไทย กลับสนองตอบต่อการดำเนินการในระดับสูงกว่าที่ประชาชนคาดหวัง ก็คือพิจารณาคดี เยอะมาก ซึ่งต่างจากไต้หวัน เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย ที่ความคาดหวังของประชาชน ต่อหลักนิติธรรมอยู่ในระดับสูง แล้วก็มีการพิจารณาคดีที่สูงด้วยเช่นกันนะคะ
Slide ที่ ๔ Slide สุดท้ายแล้วค่ะ แกนนอนระดับตุลาการภิวัตน์ หรือการใช้ ดุลยพินิจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการตัดสินคดี และแกนตั้ง คือความเชื่อมั่น ของประชาชน ศาลรัฐธรรมนูญไทยอยู่ตำแหน่งขวาล่าง ความเชื่อมั่นในระดับต่ำ ลักษณะ ตุลาการภิวัตน์ ระดับสูงค่ะ และนอกจากนั้นรายงานผลการดำเนินงานประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของศาลรัฐธรรมนูญ โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ในการเข้าร่วมโครงการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ หรือที่เรียกว่า ITA หรือว่า Integrity and Transparency Assessment ในปี ๒๕๖๕ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแจ้งไว้ในรายงาน ฉบับนี้ ว่ามีความโปร่งใสถึง ๘๙.๑๒ เปอร์เซ็นต์ ในระดับ Grade A เลย ดิฉันจะอภิปราย เกี่ยวกับข้อบกพร่องและประเด็นปัญหาของระบบการประเมินความโปร่งใส หรือที่เรียกว่า ITA ของ ป.ป.ช. ถัดไปในการอภิปราย ป.ป.ช. นะคะ
โดยสรุปได้จะเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญมีลักษณะขอบเขตอำนาจที่กว้างมาก มีลักษณะตุลาการภิวัตน์ในระดับสูง มีปัญหาเรื่องความอิสระของตุลาการยึดโยงกับ ฝ่ายการเมืองใดการเมืองหนึ่ง มีการตอบสนองต่อหลักนิติธรรมสูงยิ่งกว่าความต้องการ ของประชาชน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนอยู่ในระดับต่ำค่ะ ซึ่งหากต้องการ นำข้อมูลนี้มาปรับปรุงแก้ไขโดยการลดอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพิ่มความอิสระ ไม่ยึดโยงกับฝ่ายการเมือง ลดการเป็นตุลาการภิวัตน์ และตอบสนองความต้องการของ พี่น้องประชาชนในด้านหลักนิติรัฐ นิติธรรมให้สมสัดส่วน ดิฉันเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญไทย จะได้รับความเคารพนับถือ มีความเชื่อมั่นจากสายตาประชาคมโลก และประชาชนไทย ให้สมกับเป็นองค์กรผู้พิทักษ์หลักการและค่านิยมตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความสงบ และระงับข้อพิพาททางการเมือง คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไทยด้วยความชอบ ด้วยกฎหมายบริสุทธิ์ ยุติธรรม และโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต ตามที่ประชาชนและสังคม คาดหวัง ขอบพระคุณค่ะ
ขอบพระคุณท่านประธาน สำหรับคำชี้แจงนะคะ กราบเรียนท่านประธานที่เคารพนะคะ วันนี้ดิฉันมาอภิปราย เรื่องรับทราบรายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ขอ Slide ด้วยค่ะ
เรียนท่านประธานนะคะ วันนี้ดิฉันจะขออภิปรายถึงรายงานประจำปีงบประมาณของ ป.ป.ช. โดยเน้นไปที่การจัดทำ ดัชนีความโปร่งใสของรัฐไทยค่ะ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวก เพื่อเป็นมาตรการป้องกันทุจริตและเป็นกลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐ มีการดำเนินการอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม โดยใช้ชื่อว่าการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือว่า ITA ซึ่งจากรายงาน ITA ล่าสุดในปี ๒๕๖๕ มีคะแนนให้ ๘๐ คะแนน เต็ม ๑๐๐ คะแนน แต่ทว่าหากเปรียบเทียบ กับคะแนนของการจัดทำดัชนีคอร์รัปชันที่จัดทำโดยระบบของสากลหรือระบบของ ต่างประเทศ กลับพบจุดบกพร่องหลายประการดังต่อไปนี้
จุดบกพร่องที่ ๑ คะแนนที่สวนทางกันระหว่างการจัดทำของรัฐไทย หรือ ป.ป.ช. กับสากล โดยคะแนนที่ออกมาดังที่ปรากฏบน Slide คะแนน ITA ของไทย ได้ ๘๗.๕๗ เต็ม ๑๐๐ คะแนน หมายถึงผลการประเมิน ITA ในภาพรวมระดับประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่เกิดความตระหนักและมีความพยายามที่จะ พัฒนามากขึ้นในผู้รับบริการมากขึ้น ตลอดจนความพยายามที่ให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของ หน่วยงานได้รับการเผยแพร่ใน Website ของหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนสามารถ เข้าติดตามหรือตรวจสอบได้ อ้างอิงจากรายงาน ITA ปี ๒๕๖๕ ในขณะที่คะแนนของ CPI ซึ่งวัดระดับดัชนีทุจริตคอร์รัปชันหรือความโปร่งใสไทย ได้คะแนนเพียง ๓๖ คะแนน เต็ม ๑๐๐ คะแนน เพียงเท่านั้นนะคะท่านประธาน ซึ่งหมายถึงการรับรู้คอร์รัปชันที่ต่ำมาก นั่นหมายถึงมีอัตราการคอร์รัปชันที่สูงหรือไม่ค่ะ และมีการจัดทำอันดับคือประเทศไทย ได้คะแนนเพิ่มขึ้นเป็น ๓๖ คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ ๑๐๑ ของโลก ดีขึ้นจากปี ๒๕๖๕ ที่ได้ ๓๕ คะแนน แต่เมื่อเทียบจากระดับโลกแล้ว ไทยอยู่อันดับที่ ๑๐๑ ของโลก เมื่อเปรียบเทียบ กับประเทศกลุ่มสมาชิก ASEAN หรือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยอยู่ในอันดับ ๔ ขณะที่ประเทศได้คะแนนสูงสุด คือประเทศสิงคโปร์ได้ ๘๓ คะแนน และจัดอยู่อันดับ ๔ ของโลก อันดับ ๒ และอันดับ ๓ คือประเทศมาเลเซีย และประเทศเวียดนาม โดยได้คะแนน ๔๗ คะแนน และ ๔๒ คะแนนตามลำดับค่ะ สิ่งนี้บ่งบอกว่าการทุจริตคอร์รัปชันของไทยเรา ดีขึ้นหรือยังคะ ดิฉันว่าไม่ค่ะ ซึ่งหากตั้งคำถามว่าเหตุใดการชี้วัดระหว่างคะแนนของไทย กับสากลถึงได้สวนทางกัน ดิฉันจึงอยากเชิญชวนทุกท่านมาดูเกณฑ์ในการวัด ซึ่งเราจะดูถึง หัวข้อในเรื่องบกพร่องเกี่ยวกับปัจจัยข้อคำถาม มาตราวัดที่ถูกนำมาพิจารณาเพื่อรวบรวม การวัดคะแนนของทั้ง ๒ หน่วยงานค่ะ เมื่อพิจารณาคะแนนที่สวนทางกัน จากรายงานที่ทำ โดยหน่วยงานรัฐไทยและสากล หากพิจารณาตามปัจจัยข้อคำถามมาตรฐาน มาตราวัด ที่ถูกนำมาพิจารณาจะพบช่องโหว่ หรือข้อบกพร่องในตัวปัจจัยคำถามอย่างมากดังต่อไปนี้ ปัจจัยที่ CPI เอามาวิเคราะห์ หรือของสากลนะคะ นำมารายงานองค์กรระหว่างประเทศ ที่มีความน่าเชื่อถือ อันประกอบไปด้วยหลายองค์กรที่โชว์ใน Slide ที่ประกอบนะคะ เมื่อพิจารณาดูคำถามตัวชี้วัด หรือมาตรฐานการวัดจะประกอบไปด้วย ๑. การวัดด้วย ความหลากหลายของประชาธิปไตย ๒. การถ่วงดุลของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ๓. การทุจริตของเจ้าหน้าที่ในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่าย ตุลาการ ๔. กระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตย และระบบเศรษฐกิจแบบ ตลาดเสรี หรือที่เรียกว่า Liberal Democracy นั่นเอง ๕. การวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับ ความเสี่ยงที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศจะต้องเผชิญ อาทิความโปร่งใสในการจัดสรร และใช้จ่ายงบประมาณ การแต่งตั้งข้าราชการจากรัฐบาลโดยตรง การมีหน่วยงานอิสระ ในการตรวจสอบการจัดการงบประมาณและด้านยุติธรรมค่ะ
ต่อไปการประเมินคอร์รัปชันในระบบการเมืองที่มีนักธุรกิจมักพบได้โดยตรง และบ่อยครั้ง อาทิการเรียกรับเงินหรือจ่ายสินบนเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาต ในเรื่องนี้ เรามักจะเห็นข่าวการรับส่วย และติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐอยู่เป็นประจำ ไม่ใช่ความลับอะไร หรือหลักวัดนิติรัฐและนิติธรรม หรือเรียก Rule of Law โดยมีเกณฑ์การวัด ๘ เกณฑ์ อาทิเช่น ๑. ขีดจำกัดของอำนาจรัฐบาล หรือ Constraints on Government Powers ๒. ปราศจากคอร์รัปชัน ๓. เปิดเผยข้อมูลภาครัฐ หรือว่า Open Government นั่นเอง ๔. สิทธิขั้นพื้นฐาน หรือเรียกว่า Fundamental Rights กระบวนการยุติธรรม Civil Justice และกระบวนการยุติธรรมทางอาญา หรือ Criminal Justice ค่ะ ในขณะที่ปัจจัยคำถาม หรือ Survey ของรัฐไทย ที่ ป.ป.ช. ทำ หรือตัวชี้วัดของ ITA ไทย ประกอบไปด้วยข้อมูลแค่ ๓ ส่วนเท่านั้น ๑. แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือแบบของ Internal Integrity and Transparency Assessment ITA และ ๒. แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภายนอก หรือที่เรียกว่า External Integrity and Transparency Assessment ๓. แบบวัด การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ Open Data Integrity and Transparency Assessment แบบวัดหรือมาตรฐานการวัดเหล่านี้ประกอบไปด้วยการทำแบบสอบถามในเรื่องเกี่ยวกับ ทำงานของหน่วยรัฐ อาทิเช่น ตัวชี้วัดการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบทำงานว่าปฏิบัติ ตามมาตรฐานหรือไม่ ตัวชี้วัดการใช้จ่ายงบประมาณว่ามีความโปร่งใสในกระบวนการจัดทำ งบประมาณ ลักษณะการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปได้อย่างคุ้มค่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ไม่เอื้อประโยชน์แก่ตนเอง และพวกพ้องหรือไม่ ๓. การชี้วัดการใช้อำนาจรัฐ โดยสอบถาม ถึงการมอบหมายการประเมินผลการปฏิบัติการ การคัดเลือกบุคลากรเพื่อให้สิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ ซึ่งต้องเป็นไปตามความเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ และตัวชี้วัดในการใช้ทรัพย์สินของ ข้าราชการ สอบถามเรื่องความรู้ความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและทรัพย์สินของรัฐ ตัวชี้วัด ในการแก้ไขปัญหาทุจริต ตัวชี้วัดคุณภาพการดำเนินการ ตัวชี้วัดในประสิทธิภาพการสื่อสาร และตัวชี้วัดการปรับปรุงระบบการทำงาน Slide หน้าเดิมนะคะ คำถามในแบบสอบถามกับ คำถามของไทยที่มีความผิวเผิน จับต้องได้ไม่ได้มีการทำการวิเคราะห์เชิงลึก เชิงนามธรรม ในหัวข้อต่าง ๆ อาทิความเห็นเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยและการเปิดเสรี หรือที่ เรียกว่า Democratization and Liberalization หรือไม่ได้มีการวัดการตรวจสอบถ่วงดุล ของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ไม่มีดัชนีชี้วัดหลักนิติรัฐ นิติธรรม หรือ Rule of Law หรือไม่มีหลักชี้วัดสิทธิขั้นพื้นฐาน หรือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ของประชาชนที่ได้รับการเคารพหรือไม่ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดของ ITA รวมไปถึงความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญา แล้วก็มาตรฐานของ World Justice Protect ด้วยค่ะ แต่กลับเป็นเพียงการหยิบ เอาปัจจัยมาพิจารณาแบบผิวเผิน ไม่มีสาระสำคัญ ไม่ได้สะท้อนคุณค่า ความโปร่งใสของ หน่วยงานอย่างแท้จริง เมื่อนำมาตรฐานมาวัด เช่น คำถามที่เกี่ยวกับ Routine ของภาครัฐ หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เน้นท่องจำ แต่ปฏิบัติไม่ได้จริงค่ะ
อีกตัวอย่างก็คือโครงการ STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต ในส่วนนี้ดิฉัน ไม่เห็นความเชื่อมโยงระหว่างการมีจิตพอเพียงกับการต่อต้านทุจริต กลับกันเรากลับเห็นว่า ข่าวผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับโครงการนี้ มีความเกี่ยวข้องกับคดีทุจริตคอร์รัปชันมากมาย หรือโครงการส่งเสริมความมีส่วนร่วม ทางศาสนาเพื่อสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต สิ่งนี้จะเป็นรูปธรรมหรือไม่ หากเราสร้างระบบที่ดี กฎหมายที่รัดกุม มีการตรวจสอบถ่วงดุล มิใช่การหวังพึ่งหลักการนามธรรมอย่างหลักศาสนา เพียงอย่างเดียว หากสอบถามว่าเหตุใดปัจจัยวิเคราะห์เชิงการเมือง เชิงประชาธิปไตย อย่างดิฉันกล่าวมาจึงต้องถูกนำมาพิจารณามาตรฐานความโปร่งใส คำตอบคือรัฐราชการไทย เป็นรัฐที่คลุมเครือ ขาดการตรวจสอบการมีส่วนร่วมของประชาชน การแก้ไขปัญหา หน่วยงานรัฐและราชการประเภทดังกล่าวต้องเริ่มจากโครงสร้างการเมือง การปกครองที่มี ประชาธิปไตย และมีส่วนร่วมของประชาชน การมีระบบที่ถูกตรวจสอบได้ภายใต้มาตรฐาน ที่เสรีและยุติธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดไม่ได้ถ้าไม่ได้มีการสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ไม่มีระบบนิติรัฐ นิติธรรม ความเท่าเทียมทางกฎหมาย หรือการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบ ประชาธิปไตยที่แท้จริง กราบขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาทร และเขตราชเทวี วันนี้ดิฉันมาอภิปรายในการที่จะสนับสนุนร่างญัตติของเพื่อนสมาชิก ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินและการพัฒนาสิทธิในที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินให้กับพี่น้อง ประชาชนคนไทย เพราะดิฉันเห็นว่าเป็นปัญหาหลักและเป็นกระดุมเม็ดแรกที่จะปลดล็อก ทางเศรษฐกิจ สร้างความมั่งคั่งและมั่นคงทางสถานะทางเศรษฐกิจให้กับพี่น้องคนไทยเรา ที่ดิฉันเห็นเป็นประเด็นปัญหามี ๓ ประการหลัก ๆ
๑. โครงการอำนาจ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง และการบริหารราชการแบบรวมศูนย์ หรือรัฐรวมศูนย์นั่นเอง
๒. จังหวัดที่ยังไม่มีโครงการในการจัดรูปที่ดินหรือปฏิรูปที่ดิน เนื่องจากไม่มี ผังเมือง หรือผังเมืองรวมหมดอายุบังคับใช้
๓. คือความขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน หรือเกษตรกร หรือคนจนเมือง
แนวทางแก้ไขปัญหา ดิฉันไล่เป็น ๓ ข้อหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
๑. การปรับปรุงภาษีหรือการใช้กลไกภาษีให้เป็นประโยชน์ในการนำที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นของเอกชนที่ปล่อยรกร้าง หรือเป็นของภาครัฐมาใช้เป็นประโยชน์ให้แก่ ประชาชนสูงสุด
๒. ธนาคารที่ดิน หรือที่เรียกว่า Land Bank
๓. โฉนดชุมชน
ประเด็นที่ ๑ โครงสร้างอำนาจของกรมโยธาธิการและผังเมือง มีผลงาน การดำเนินการที่ตั้งเป้าจากโครงสร้างอำนาจแบบบนลงล่างมากจนเกินไป คือกรมโยธาธิการ และผังเมืองมีนโยบายให้ทุกจังหวัดดำเนินโครงการจัดรูปที่ดิน พัฒนาพื้นที่เพียงจังหวัดละ ๑ แห่ง ซึ่งตัวกำหนดชี้วัดแบบนี้แสดงให้เห็นว่าไม่ได้กำหนดจากปัญหาในพื้นที่ของประชาชน จริง ๆ เพราะหากเป็นพื้นที่จริง ๆ จะต้องใช้หลากหลายจังหวัดเพื่อกำหนดพื้นที่ที่สมควร พัฒนาจริง ๆ การกำหนดเป็นรายจังหวัดอาจทำให้เกิดความไม่คุ้มค่า และเกิดเบี้ยหัวแตก และสิ้นเปลืองงบประมาณ ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิผลหรืออย่างไร
ประเด็นที่ ๒ ก็คือควรจะให้แต่ละจังหวัดร่วมกันหารือพื้นที่ที่มีศักยภาพ ในการจัดรูปที่ดินว่ามีประโยชน์ร่วมกันในแต่ละจังหวัดได้หรือไม่ และนอกจากนั้น ประเทศไทยมีผลปรากฏว่านายทุน นักธุรกิจ และนักการเมืองหลายคนเห็นช่องโหว่ในระบบ บริหารจัดการที่ดินของรัฐบาลในการครอบครองที่ดินของคนในชนบทที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน อย่างแท้จริง ความพยายามของรัฐบาลที่จะตอบแทนเจ้าของที่ดินโดยชอบธรรมไม่ประสบ ผลสำเร็จ และล้มเหลวในการเข้าถึงที่ดินอย่างเท่าเทียมมาจนถึงทุกวันนี้
จากข้อมูลของมูลนิธิสถาบันที่ดินแห่งประเทศไทยระบุว่าเอกสารที่ดิน กรมที่ดินออกไปทั้งหมด ๑๒๗ ล้านกว่าไร่ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ไปกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคน เพียง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ ๖ ล้านคน และที่น่าสนใจ กว่านั้น คือที่ดินตกไปอยู่ในกลุ่มคนนี้กว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ถูกปล่อยให้เป็นที่ดินรกร้าง ว่างเปล่า ไม่ได้มีประโยชน์ใด ๆ หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ ซื้อไว้ปลูกกล้วย ซื้อไว้เก็งกำไร ชี้ให้เห็นว่าการใช้ประโยชน์จากที่ดินของเมืองไทยไร้ประสิทธิภาพสิ้นดี ที่ดินส่วนใหญ่ เกือบ ๖๐ เปอร์เซ็นต์เป็นของรัฐ ความมั่งคั่งมาจากประชาชนที่เสียภาษีให้กับรัฐ ไม่ได้ มาจากภาครัฐ ถูกใช้ไว้เก็บไปเป็นประโยชน์ของทางราชการ และที่ดินส่วนที่เหลือ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นของภาคเอกชน แต่ที่ดินส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร และมีอีก กลุ่มใหญ่ คือประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้ที่พี่น้องสมาชิกได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้ ทั้งพี่น้องเกษตรกร ทั้งคนจนเมือง เป็น Landless Homeless ไม่มีที่อยู่อาศัย ไร้ที่ดินทำกิน ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไร้ประสิทธิภาพหลายประการในกระบวนการแก้ไขปัญหาของที่ดิน นอกจากไม่มีพื้นที่สาธารณะสำหรับชุมชนที่ถูกผลักออกจากผืนป่าแล้ว ยังถูกจัดระเบียบ และคืนทรัพย์สิน และถูกบังคับสูญหายไปด้วย หลายคนไม่เหลืออะไรเลย มีอุปสรรคมากมาย ขัดขวางไม่ให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถเรียกคืนที่ดินที่ถูกยึดไปหรือถูกเวนคืนได้ค่ะท่านประธาน ความขัดแย้งเรื่องที่ดิน
ประเด็นแรก คือความขัดแย้งเรื่องเขตแดนระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน ในพื้นที่อยู่อาศัยที่เกี่ยวข้อง ข้อพิพาทที่ดินมักเริ่มขึ้นเมื่อชนชั้นสูงหรือชนชั้นทุนนิยม ใช้อำนาจความสัมพันธ์ของตนกับเส้นสายกับเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อแก้ไขกฎหมาย และพวกเขา ออกเอกสารทางกฎหมายและมอบหมายให้ทนายความค้นหาช่องโหว่ทางกฎหมายที่หวังว่า พวกเขาจะสามารถสร้าง Resort สร้าง Farm ขนาดใหญ่ หรือพยายามเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ส่วนตนจากทรัพยากรอันมีค่าของพี่น้องประชาชนคนไทยในถิ่นกำเนิด ในที่ดินที่เป็น ข้อพิพาท จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พบว่าประชาชน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ทั่วประเทศเป็นเจ้าของที่ดินไม่ถึง ๑ ไร่ สถิติเดียวกันระบุว่ามีเพียง ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เป็นเจ้าของที่ดินมากกว่า ๑๐๐ เฮกตาร์ สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของที่ดิน ในประเทศไทยไม่ได้ใช้เลย ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าประเทศสูญเสียรายได้อย่างน้อย ๑๒๗,๓๘๔ ล้านบาทต่อปีจากที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ สูญสิ้นเปล่าไปเลยค่ะท่านประธาน เกษตรกรต้องละทิ้งอาชีพดั้งเดิมของตนและย้ายเข้าไปอยู่ในเมือง ส่งผลให้เกิดชุมชนแออัด ในตัวเมือง ท่านจะเห็นในภาพ Slide ประท้วงนะคะ เป็นชุมชนแออัดที่ถูกไล่รื้อถอน ในเขตของดิฉันเอง หรือเป็นคนที่ไม่มีทักษะในการทำงานมากยิ่งขึ้น ขาดมูลค่าพืชผล และหนี้ที่หมดสภาพ ทำให้เกษตรกรต้องขายที่ดินในราคาถูก ข้อมูลจากการเคหะแห่งชาติ ชุมชนสลัมมีมากกว่า ๒,๔๓๖ ครัวเรือนชุมชนในทุกภูมิภาค โดยมีจำนวนทั้งหมด ๕๘๓,๔๑๕ ครัวเรือน ในปี ๒๕๕๙ ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เมื่อเทียบกับ ๑,๙๖๘ ชุมชนสลัม ในปี ๒๕๔๔ ที่ดินจำนวนมากยังถูกใช้ในทางที่ผิด หรือถูกขโมย หรือเวนคืนไปจากพี่น้อง ประชาชน ยกตัวอย่างในชุมชนเขตราชเทวีที่ดิฉันเป็นผู้แทนราษฎรอยู่ ในขณะนี้มีพื้นที่เร่งด่วน ที่จะดำเนินการรื้อถอนอยู่ ๙๓๙ ครอบครัวในชุมชนรถไฟย่านราชเทวี กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน ขณะนี้อยู่ระหว่าง การพิจารณาพื้นที่ที่อยู่ที่เหมาะสมอยู่บริเวณริมบึงมักกะสัน แนวทางแก้ไขปัญหา แม้ว่า ปัญหานี้จะไม่ใช่เรื่องง่าย มันเป็นความท้าทายเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่ในกรอบของ รัฐธรรมนูญ เราต้องคำนึงถึงผลกระทบทางกฎหมายที่จะสร้างความเสียหายต่อประชากร กลุ่มเปราะบาง สิ่งแรกที่เราต้องเปลี่ยนแปลงคือหน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยเหลือชาวบ้าน ที่กำลังถูกฟ้องร้อง รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับศาล การประกันตัว ค่าทนายความ ค่าเดินทางไปศาล รวมถึงกองทุนยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ถูกตัดสินลงโทษในคดีพิพาทที่ดิน หรือถูกตัดสินว่าบุกรุก จัดการทรัพยากรข้อพิพาทในศาล ชาวชาติพันธุ์ควรได้รับสิทธิ ในการเป็นเจ้าของที่ดินในการชดเชยที่ยุติธรรมสำหรับการสูญเสียที่ดินตามปฏิญญา สหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง นอกจากนี้เราต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ให้ปกครองด้วยความเป็นธรรม และสร้างการเยียวยาทางนิเวศควบคู่กับความยุติธรรม เศรษฐกิจและสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานต้องอนุญาตให้กฎหมายใช้วิธีพิจารณาคดีให้มี การพิจารณาคดีที่เป็นมาตรฐาน กระบวนการยุติธรรมที่สามารถเข้าถึงงานได้โดยรวดเร็ว สะดวกสบาย และมีการพิจารณาคดีที่หลากหลาย การดำเนินการของธนาคารที่ดิน หรือการใช้ภาษีที่ดินเอกชนที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน โฉนดของชุมชน เมื่อสักครู่ดิฉันได้ยิน หลายท่านอภิปราย ก็จะไม่ลงรายละเอียด เป็นการให้ประชาชนมาร่วมกันแก้ไขปัญหา มีการตรวจสอบตนเองของชุมชน ระบบกรรมสิทธิ์ของชุมชนเข้ามาแทนที่ระบบกรรมสิทธิ์ ส่วนบุคคล ซึ่งป้องกันไม่ให้ที่ดินไปตกอยู่ในมือของนายทุนหรือภาครัฐ จัดการเป็นระบบโดยเจ้าของชุมชน เพื่อการใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคน ในชุมชนโดยตรง และสะท้อนถึงการแก้ไขปัญหาที่สำคัญและยั่งยืน การปรับปรุงระบบภาษี เช่น การร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมของ ภาษีบ้าน ภาษีบำรุงท้องถิ่น เพื่อรายได้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งยังต้องเก็บภาษี ที่ดินแบบก้าวหน้า รวมถึงภาษีกำไรจากการขายหุ้นเพื่อให้ใช้ที่ดินได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และอย่าปล่อยให้ที่ดินถูกทิ้งร้าง อีกทั้งยังเพิ่มต้นทุนให้กับนักลงทุนที่สะสมที่ดินเก็งกำไร ธนาคารที่ดินเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะปฏิรูปและกระจายที่ดินที่น่าสนใจที่สุดที่ใช้ในประเทศ สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ลัตเวีย เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวีเนีย สเปน และตุรกี และการใช้กลไกเก็บภาษีที่ดินที่น้อยลงสำหรับที่ดินส่วนบุคคล ที่ว่างเปล่าและไม่ได้ใช้ ซึ่งสามารถมาแปรรูปหรือเปลี่ยนแปลงเป็นสวนสาธารณะ สนามกีฬา ห้องสมุด เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ตอนนี้ดิฉันก็น่าจะต้องจบลงแล้วนะคะ เพราะว่า เลยเวลามา ๓ นาทีแล้ว ต้องกราบขออภัยทุกท่านนะคะ ในประเทศไทยมีคนรวยที่สุด ๕ เปอร์เซ็นต์ ถือครองที่ดินถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ยิ่งกว่านั้นคนไทยเพียงร้อยละ ๒๐ เป็นเจ้าของที่ดินร้อยละ ๒๐ ของร้อยละ ๗๕ ของประชาชนไม่มีโฉนดที่ดิน จากข้อมูล ของธนาคารโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสังคมที่มีความไม่เท่าเทียมกันมากที่สุดในโลก การดำเนินการของรัฐบาลจะพิสูจน์ค่ะ รัฐบาลนี้ถ้าท่านได้ปฏิรูปที่ดินอย่างสมบูรณ์แบบ จะเป็นการพิสูจน์ว่าประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน หรือนายทุนผูกขาดเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาทร และเขตราชเทวี พรรคก้าวไกล
เขตปทุมวันในเขตที่ดิฉัน ได้รับเลือกตั้ง เป็นย่านเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศมหาศาล มีนักท่องเที่ยวมาจาก ทุกสารทิศ คือห้างที่รายล้อม เช่น เอ็มบีเค เซ็นทรัลเวิลด์ และห้างสรรพสินค้ามากมาย เมื่อวานได้เกิดเหตุโศกนาฏกรรมค่ะ ก่อนอื่นดิฉันขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือ เยียวยาทั้งสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสมและเร่งด่วน
สรุปเหตุการณ์นะคะ ก่อนอื่นดิฉันต้องขอแสดงความเสียใจกับผู้เสียชีวิต และครอบครัวของผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับผลกระทบทุกท่านที่ต้องพบเจอกับเหตุการณ์ สะเทือนขวัญดังกล่าว เหตุที่ทุกคนทราบดีนะคะ เมื่อวานประมาณ ๔ โมงเย็น ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนซึ่งอยู่ในเขตปทุมวัน ในเบื้องต้นมีผู้ถูกกราดยิงทั้งสิ้น ประมาณ ๗ ราย ตัวเลขยังไม่นิ่งนะคะ เสียชีวิตแล้ว ๒ ราย และได้รับบาดเจ็บ ๕ ราย ผู้เสียชีวิตรายแรกเป็นนักนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มากับลูกสาวฝาแฝด เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และรายที่ ๒ เป็นหญิงแรงงานชาวเมียนมา นโยบาย Free Visa ประเทศจีน นี่จะส่ง ผลกระทบอย่างร้ายแรง และสิ่งสำคัญคือผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชนอายุเพียง ๑๔ ปีเท่านั้น ค่ะท่านประธาน ดิฉันจึงขอรบกวนให้สื่อมวลชนทุกท่านและพี่น้องประชาชนไม่เปิดเผยหน้าตา และชื่อจริงของผู้กระทำผิด เนื่องจากเป็นสิทธิของเด็ก และเพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ตัวอย่าง อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกามีพฤติกรรมเลียนแบบหลังจากเกิดเหตุการณ์กราดยิง ทุก ๆ ครั้งนะคะท่านประธานจากสถิติ หลังทราบข่าวดิฉันและเพื่อนสมาชิก สส. จรยุทธ จตุรพรประสิทธิ์ เขต ๓ กทม. ได้เร่งรุดไปยังที่เกิดเหตุในทันที และมีคำถามเกิดมากมาย ในหัวของดิฉันค่ะ ๑. อาวุธปืนเข้ามาในห้างสรรพสินค้าได้อย่างไร กฎหมายควบคุมอาวุธปืน นอกระบบที่มีความหละหลวมในเชิงปฏิบัติอย่างมาก และรัฐไทยยังไม่มีระบบเตือนภัย สาธารณะที่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดิฉันจึงขอฝากท่านประธานไปยังท่านนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ควรมีมาตรการแก้ไข อย่างเข้มงวดเรื่องนโยบายป้องกันอาวุธปืนเถื่อน หรือที่เรียกว่า Blank Firing Guns ซึ่งการดัดแปลงสืบเนื่องมาจาก พ.ร.บ. ควบคุมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๔ Blank Guns หรือปืนประดิษฐ์ ไม่ถือว่าเป็นอาวุธปืนตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งเป็นสิ่งเทียม อาวุธปืน และไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตในการซื้อปืนดังกล่าว จึงมีผู้ขายมากมาย ภายใน Internet และทำให้ถูกนำไปใช้ก่อคร่าชีวิตผู้อื่นอย่างเช่นเมื่อวานนี้
ประเด็นที่ ๒ มาตรการการตรวจอาวุธ ก็คือการตรวจอาวุธในพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงการเตือนภัยสาธารณะในเหตุฉุกเฉินเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย ดิฉัน แปลกใจว่าอาวุธปืนเช่นนั้นเข้าประตูห้างไปได้อย่างไร เครื่องตรวจจับโลหะที่ตั้งอยู่ เป็นเพียงเครื่องประดับหรือคะ เขตปทุมวันเป็นเขตเศรษฐกิจ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก มีชื่อเสียงเป็นหน้าตาของประเทศไทย ไม่เพียงแค่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน แต่ไม่ว่า จะเป็นที่อื่น ๆ ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ประชากรพลุกพล่าน ควรมีเครื่องตรวจจับโลหะ มีระบบรักษาความปลอดภัย มี SMS เตือนจากรัฐเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำในโศกนาฏกรรม กลางเมืองเช่นนี้อีก เพื่อรักษาชีวิตของพี่น้องประชาชนคนไทย กราบขอบพระคุณค่ะ
จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๘๐ คน
ขอ Slide ด้วยค่ะ
เรียนท่านประธานนะคะ วันนี้ดิฉันมาอภิปรายเรื่องการรับทราบรายงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ และรายงานผู้สอบบัญชี และรายงานการเงินของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประจำปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ดิฉันเข้าใจว่าปัญหาความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมของประชาชนชาวไทยที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐยังมีอยู่มากค่ะท่าน แม้แต่ตัวดิฉันเองก็ยังได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้อง ประชาชนในเขตของดิฉันและนอกเขตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับทุกวันนี้ประชาชน มีความตื่นรู้ถึงสิทธิและเสรีภาพของตนเองมากยิ่งขึ้นค่ะ ดิฉันจึงไม่แปลกใจที่จำนวน เรื่องร้องเรียนในปี ๒๕๖๕ ที่ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนได้ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน จะมีสูงถึง ๓,๐๕๙ เรื่อง ซึ่งเมื่อนำไปรวมกับเรื่องร้องเรียนที่ค้างพิจารณามาตั้งแต่ปี ๒๕๖๔ แล้วจะพบว่ามีเรื่องร้องเรียนที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะต้องพิจารณามากถึง ๕,๒๕๐ เรื่อง แต่เมื่อไปดูตัวเลขผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียนของผู้ตรวจการแผ่นดิน ดิฉันกลับพบว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ดำเนินงานเสร็จไปแล้วเพียง ๒,๘๓๙ เรื่องเท่านั้น ซึ่งคิดเป็น ๕๔.๐๘ เปอร์เซ็นต์ของเรื่องร้องเรียนที่ต้องพิจารณาทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีก ๒,๔๑๑ เรื่อง หรือคิดเป็น ๔๕.๙๒ เปอร์เซ็นต์ ให้ยกไปดำเนินการในปี ๒๕๖๖ จำนวนเรื่องร้องเรียน เหล่านี้ไม่ใช่แค่ตัวเลขประจำปี แต่คือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนไม่ได้รับความ เป็นธรรมจำนวนไม่ต่ำกว่า ๒,๔๑๑ คน ยังคงไม่ได้รับการเยียวยาหรือแก้ไขปัญหา หรือได้รับ ความเป็นธรรมจากความทุกข์ร้อนของพวกเขา เขามาขอร้องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นที่พึ่ง แต่สิ่งที่พวกเขากลับได้รับคือให้ยกไปดำเนินการในปี ๒๕๖๖ แทน ดิฉันจึงอยากฝากประเด็นนี้ ผ่านท่านประธานไปถึงผู้ตรวจการแผ่นดินให้เร่งดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของ พี่น้องประชาชนให้ได้รับการแก้ไขปัญหาโดยเร็วค่ะท่านประธาน โดยครั้งที่แล้วดิฉัน ก็ได้ยกยกตัวอย่างจากพลเรือนในเขตของดิฉันที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม ปี ๒๕๕๓ จนปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าหรือการ Update ถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งผู้ร้องเรียนก็ยังคงทวงถามจากดิฉัน Slide ถัดไปค่ะ นอกจากประเด็นเรื่องร้องเรียนที่ยกให้ ไปดำเนินการในปี ๒๕๖๖ ตามที่กล่าวมาแล้ว ดิฉันยังได้ไปค้นคว้าสถิติจำนวนเรื่องร้องเรียน ที่ค้างพิจารณาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นมา จากข้อมูลจะพบว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างมาก ที่เรื่องร้องเรียนที่ค้างพิจารณาของผู้ตรวจการแผ่นดินจะเพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี อันอาจจะทำให้ ปัญหานี้กลายเป็นปัญหาดินพอกหางหมูค่ะท่านประธานที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรง มากยิ่งขึ้น ดิฉันจึงอยากฝากประเด็นนี้ผ่านท่านประธานไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหานี้เพื่อให้ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือไม่ได้รับ ความเป็นธรรมได้รับการเยียวยา แก้ไขปัญหาหรือความเป็นธรรมโดยเร็วค่ะ
ในหัวข้อถัดไปที่ดิฉันจะอภิปรายในวันนี้ คือข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ โดยมากเป็นเรื่องที่ห้ามรับไว้พิจารณาของผู้ตรวจการแผ่นดินค่ะ ท่านประธาน ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ ตามกฎหมายฉบับนี้ที่บัญญัติเรื่องที่ห้ามไม่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรับไว้ตามมาตรา ๓๗ ในส่วนนี้ดิฉันขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดเนื่องจากข้อจำกัดทางเวลา โดยหลักรายงาน ผู้ตรวจการแผ่นดินฉบับนี้พบว่าในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ได้ดำเนินการร้องเรียนแล้วเสร็จ ทั้งสิ้น ๒,๘๓๙ เรื่อง แต่เมื่อได้ไปดูในเนื้อหาของเรื่องร้องเรียนที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จแล้ว โดยส่วนใหญ่กลับปรากฏว่าเป็นเรื่องตามมาตรา ๓๗ หรือเป็นเรื่องที่ห้ามรับไว้พิจารณาถึง ๒,๕๖๕ เรื่อง หรือคิดเป็น ๙๐.๓๕ เปอร์เซ็นต์ ของเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการพิจารณาแล้ว เสร็จทั้งหมด จากตัวเลขนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ตรวจการแผ่นดินได้ทุ่มเททรัพยากรที่มาจาก เงินภาษีน้ำพักน้ำแรงของพี่น้องประชาชนไปใช้ในการพิจารณาเรื่องที่ต้องห้ามไม่ให้พิจารณา ดิฉันคิดว่าหากเรานำทรัพยากรเหล่านี้ไปมุ่งเรื่องที่อยู่ภายใต้ขอบเขตอำนาจของผู้ตรวจ ราชการแล้วจะมีประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือได้รับความไม่เป็นธรรมได้รับการ เยียวยาแก้ไขปัญหาและได้รับความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ดิฉันคิดว่า หากปล่อยให้มีการดำเนินการเช่นนี้ต่อไปก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาหลายประการตามมาค่ะ เช่น เรื่องร้องเรียนที่ค้างพิจารณามีจำนวนมากยิ่งขึ้น ๒. เรื่องร้องเรียนที่อยู่ในขอบเขต อำนาจกลับไม่ได้รับการพิจารณาโดยเร็ว ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับ ความไม่เป็นธรรมต้องทนทุกข์จากความเดือดร้อนยิ่งกว่าที่ควร และการใช้จ่ายงบประมาณ ที่ไม่เกิดผลประโยชน์สูงสุด หรือไม่ถึงเป้า KPI นั่นเองนะคะ ดิฉันคิดว่าปัญหานี้น่าจะเป็น ที่มาของปัญหาที่ประชาชนอาจจะไม่เข้าใจถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ หรือไม่มี การประชาสัมพันธ์อย่างชัดเจนให้กับพี่น้องประชาชนถึงขั้นตอนตามกฎหมายที่ประชาชน ต้องดำเนินการก่อนยื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ดิฉันเชื่อว่าสามารถ แก้ไขได้ด้วยกระบวนการคัดกรองก่อนที่ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม จะยื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งดิฉันจะนำเสนอในส่วนถัดไป ขอ Slide ถัดไปค่ะ
ดิฉันได้ไปทดลองใช้ระบบการร้องเรียนผ่าน Internet ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีความโปร่งใสอันดับ ๑ ของโลกจากข้อมูลของ CPI ในปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา จากการทดลองใช้ระบบดังกล่าวดิฉันจึงมีข้อเสนอแนะให้ ผู้ตรวจการแผ่นดินท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ดังนี้ค่ะ ๑. ต้องมีกระบวนการคัดกรอง ก่อนที่ประชาชนจะยื่นเรื่องโดยอธิบายถึงขอบเขตอำนาจว่าเรื่องใดที่อยู่ในขอบเขตอำนาจ และเรื่องใดที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตอำนาจ รวมถึงขั้นตอนการดำเนินการให้ชัดเจนว่าประชาชน ต้องไปดำเนินการใด ๆ ก่อนทำเรื่องร้องเรียนหรือไม่ ๒. ให้คำแนะนำ โดยต้องมีทั้งตัวอักษร ภาพและเสียงประกอบด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ใช่ภาษากฎหมาย เพื่อให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าใจ ต้องสะดวกในการเข้าถึงของประชาชน มีความเชื่อมโยงกับจุดบริการ ให้คำปรึกษาหรือทำเรื่องร้องเรียนนั้น ๓. ในกรณีที่เรื่องใดไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ของผู้ตรวจการแผ่นดินต้องมีการอธิบายให้ประชาชนเข้าใจและแจ้งให้ไปใช้สิทธิต่อใคร หรือหน่วยงานใด เพื่อให้ประชาชนได้รับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องตามกระบวนการ ๔. ขั้นตอนการอธิบายเขียนเรื่องร้องเรียนเป็นลำดับขั้นตอน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอและคำอธิบายแก่ประชาชน เพื่อลดข้อผิดพลาดลงค่ะท่าน ๕. มีเจ้าหน้าที่ที่พร้อมให้ความรู้ คำอธิบายและคำแนะนำในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับ การทำเรื่องร้องเรียนแก่ประชาชนด้วยความเต็มใจ ความใส่ใจ เพื่อประชาชนได้เข้าใจ ลดข้อผิดพลาดลง และเป็นกระบวนการกลั่นกรองเรื่องร้องเรียนก่อนที่จะเข้าสู่ระบบ ๖. มีระบบคัดกรองที่สามารถตรวจสอบได้ว่าเรื่องร้องเรียนได้ที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เคยพิจารณาไว้แล้ว เพื่อที่ให้เจ้าหน้าที่และประชาชนสามารถตรวจสอบ และก่อนยื่น เรื่องร้องเรียนดิฉันเข้าใจว่าทุกวันนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ดำเนินการเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว บางข้อ แต่ยังขาดความเชื่อมโยง และขาดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ดิฉันจึงขอนำเสนอ ผ่านท่านประธานไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้นำข้อเสนอเหล่านี้ไปเป็นแนวทาง การพัฒนาการคัดกรองและรับเรื่องร้องเรียนต่อไปในอนาคต ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพค่ะ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาธร และเขตราชเทวี ดิฉันขออนุญาตนำ Slide ขึ้นค่ะ
วันนี้ดิฉันมาพูดอภิปราย เพื่อที่จะสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิกคุณรอมฎอน ปันจอร์ เรื่องความขัดแย้ง ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
๑. คือดิฉันคิดว่าปัญหาของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีคำว่า ความมั่นคง เข้ามาเป็นหลัก ประเด็นนี้มีมิติในความมั่นคงที่มีมิติที่ไม่ได้สร้างความปลอดภัยหรือว่า ภยันตราย แต่ว่ารัฐมิได้คำนึงถึงประเด็นการสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนภายในรัฐ ที่มีการสร้างความหวาดกลัวหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับประชาชนในรัฐ ในหลายประเด็นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งประเด็นการปัญหาละเมิด สิทธิมนุษยชน การคุกคามที่มีทั้งเด็กหรือเยาวชนในพื้นที่อีกด้วย ประเด็นนี้เกิดขึ้นจากรัฐ เปิดช่องในการเอื้อให้เกิดความรุนแรงโดยรัฐ ซึ่งเป็นกฎหมาย ๓ ฉบับที่เปิดทางให้รัฐ และส่วนกลางมีอำนาจควบคุมประชาชน นั่นคือ ๑. พ.ร.บ. กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๕๔๗ ๒. พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ที่เรารู้จักกัน และ ๓. พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยเป็นกฎหมายที่จัดตั้ง เรารู้จักกันในชื่อ กอ.รมน. หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรที่มีอำนาจบังคับตามกฎหมาย ๓ ฉบับ ได้เพิ่มอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และอำนาจอธิปไตยให้กับกองทัพในการควบคุมพื้นที่
๑. พ.ร.บ. กฎอัยการศึกและ พ.ร.ก. ฉุกเฉินให้อำนาจนี้ในการควบคุม หรือจับกุมผู้ต้องสงสัย ตรวจค้นอาคารหรือสถานที่ต่าง ๆ ดังปรากฏในข่าวที่ผ่านมา ในหลายกรณี ตรวจสอบสิ่งพิมพ์ หนังสือหรือเครื่องมือสื่อสาร หรือเรียกบุคคลใดก็ได้เพื่อให้ ข้อมูล มอบเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบได้
๒. พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แม้ว่าในตัวกฎหมายนั้น มิได้กำหนดในเรื่องของอำนาจเหมือนกฎหมายพิเศษใน ๒ ฉบับแรก แต่ก็มีปรากฏในมาตรา ๑๕ ซึ่งถ้ามีเหตุการณ์ที่เป็นความไม่สงบแต่เป็นสถานการณ์ที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศ เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายพิเศษ
๓. พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กอ.รมน. ก็มีอำนาจเพื่อที่จะยับยั้งระงับป้องกัน ปราบปรามและบรรเทาได้
เรื่องปัญหากฎหมายพิเศษดังกล่าวที่ได้อภิปรายไปข้างต้นคือการมอง เรื่องความมั่นคงของรัฐเป็นสำคัญ แต่อย่าลืมว่าการที่รัฐนั้นควบคุมขอบเขตที่มากเกินไป เป็นดาบสองคม หรืออาจเป็นช่องโหว่ต่อการสร้างปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่โดยใช้ ข้ออ้างเรื่องความมั่นคง โดยหลาย ๆ กรณีเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาของกฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจที่มากเกินไปในการบังคับโดยรัฐต่อประชาชน ที่กระทบต่อเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างร้ายแรง อย่างเช่นรายงานจาก Amnesty หรือว่าองค์กรนานาชาติที่ทำเรื่องสิทธิมนุษยชนลักษณะเป็นระบบของการซ้อมทรมาน และปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตภายใต้รัฐไทย เป็นผลมาจากกฎหมายบัญญัติ เช่นกฎอัยการศึกนำพลเรือนไปขึ้นศาลทหาร มีการจับกุมนอกศาลหรือจับกุมโดยที่ไม่มีหมายศาล หรือจับกุมโดยพลการ หรือที่เรียกว่า Extrajudicial Arrest การวิสามัญฆาตกรรม หรือว่า Extrajudicial Killing การปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยอย่างโหดเหี้ยมเป็นปกติ ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ที่ประกาศกฎอัยการศึก หรือพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยผลกระทบในพื้นที่บทบัญญัติเหล่านี้ก่อให้เกิดประเด็นปัญหา อาทิเช่น ๑. การเอื้ออำนวย ความสะดวกให้เกิดการซ้อมทรมาน โดยมีกฎหมายป้องกันเจ้าหน้าที่ต่อการดำเนินคดี ที่เจ้าหน้าที่กระทำสิ่งเหล่านี้ ๒. การจับกุมโดยไม่มีหมายศาลอย่างที่ดิฉันได้กล่าวไปข้างต้น และขยายเวลาการคุมขังได้อีก ๓. การปฏิเสธร้องขอไม่ให้ไปเยี่ยมผู้ต้องขังเป็นการส่วนตัว การใช้ศูนย์กักกันอย่างไม่เป็นทางการ และขาดความสม่ำเสมอ เป็นอิสระ และการติดตาม ศูนย์กักกันหรือการตรวจสอบโดยภาครัฐ ปัญหาสำคัญคือเพราะผู้ต้องขังในหลาย ๆ ศูนย์กักกัน กรณีนี้พวกเขาอยู่ที่ไหน และเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นปัญหาของการควบคุมตัวที่เสี่ยงต่อ การถูกละเมิดอย่างมาก เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยอมรับอย่างเป็นทางการว่า สถานกักกันเพียง ๒ แห่งที่ไว้สำหรับผู้ต้องสงสัยในการก่อความไม่สงบ คือค่ายอิงคยุทธบริหาร อยู่ที่จังหวัดปัตตานี และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติแนวหน้าจังหวัดยะลา ๗ รายงาน ได้รายงานชี้ว่าสถานคุมขังอย่างไม่เป็นทางการมีอย่างน้อย ๒๑ แห่งที่ถูกใช้งาน โดย ๑๑ แห่ง เคยควบคุมผู้ต้องขังหรือพยานของญาติผู้ถูกคุมขัง ซึ่งสัมภาษณ์โดย Amnesty ได้รับรายงาน เกี่ยวกับการทรมานที่ค่ายอิงคยุทธบริหารจำนวนมากในจังหวัดปัตตานี ระบุว่าทางการไทย ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการยุติการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่เหมาะสมในพื้นที่สถานกักกัน ซึ่ง Amnesty ได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือในจังหวัดนราธิวาสค่ายปิเหล็ง ค่ายเฉพาะกิจ วัดสวนธรรมที่ ๓๙ ถึงกลางปี ๒๕๕๑ ฐานทัพจุฬาภรณ์ ค่ายบางอ้อ ตำรวจภูธรรือเสาะ สถานีในจังหวัดปัตตานีวัดช้างให้ กองพันที่ ๒๔ ค่ายทหารพลากูรของค่ายทหารบก ค่ายบางลาน ศูนย์ประสานงานตำรวจกองทัพบก วัดหลักเมือง ค่าย สภ.อ. หนองจิก ในจังหวัดยะลา โรงเรียนฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค ๙ ค่ายทหารพรานบางส่วนกลาง ค่าย ฉก. ๓๙ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ และค่ายกรมทหารราบที่ ๔๑ ค่ายรัตนรังสรรค์ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วก็ค่ายวิภาวดีรังสิต จากประเด็นดังกล่าวดิฉันขอชี้แจง ดังต่อไปนี้ คือประเด็นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนถูกลดทอนเมื่อกล่าวอ้างถึงภัย ความมั่นคง ในประเด็นปัญหาตรงนี้ดิฉันจึงอยากจะตั้งคำถามในลักษณะที่ว่าความมั่นคงนั้น มีขอบเขตเป็นอย่างไร เนื่องจากในสภาวะปัจจุบันการกล่าวอ้างความมั่นคงดูมีความกว้าง จนเกินไป มีขอบเขตที่กว้างจนเกินไปจนไปรุกล้ำในประเด็นของสิทธิมนุษยชนของประชาชน ในพื้นที่ และในอีกแง่มุมหนึ่งคือสร้างความหวาดกลัวและความไม่ไว้วางใจต่อเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างรุนแรง การคุมขังโดยไม่ทราบสถานะความเป็นอยู่ของผู้ที่ถูกคุมขัง การขยายระยะเวลา คุมขังอย่างไม่มีกำหนด หรือการจับกุมโดยไม่มีหมายศาล จับกุมโดยไม่มีหมายจับ หรือประเด็น เรื่องเกี่ยวกับการซ้อมทรมานในค่ายคุมขังเหล่านี้ที่เป็นการกระทำละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่เป็นธรรม
บทเรียนหรือการเปรียบเทียบความยุติธรรมที่เปลี่ยนผ่านหรือที่เรียกว่า Transitional Justice ในประเทศต่าง ๆ ได้มีการนำมาใช้เพื่อตอบสนองการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างเป็นระบบและแพร่หลาย เป็นการแสวงหาการยอมรับในเรื่องของความเจ็บแค้นของผู้ที่ ตกเป็นเหยื่อเพื่อที่จะนำมาซึ่งความยุติธรรม สันติภาพ และความปรองดองในระบอบประชาธิปไตย ที่พร้อมจะฟื้นฟูสถาบันกับความขัดแย้งและสนับสนุนหลักนิติธรรม ซึ่งคำถามคือระบอบประชาธิปไตยที่เพิ่งเริ่มต้นควรคำนึงถึงการละเมิดสิทธิของประชาชน อย่างร้ายแรงอย่างไร ๓ กลไกหลักตอนนี้จะมี ๑. การพิจารณาคดีหรือการดำเนินคดี ๒. การลืมอดีต ๓. การเลือกจุดกึ่งกลาง แม้ว่าจะไม่ค่อยปฏิบัติทั่วไปก็ตาม และความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยน ผ่านของระบบการปกครองที่เป็นเผด็จการหรือสังคมในช่วงความขัดแย้งที่จะเปลี่ยนไปเป็น ประชาธิปไตยหรือสภาวะปกติ อาทิเช่น ในประเทศแอฟริกาใต้ ก่อนและหลังการแบ่งแยก ผิวสีหรือที่เรียกว่า Apartheid กลไกที่ใช้ในการปรองดองเรียกว่า Truth Commission and Reconciliation ที่ถูกใช้โดย Nelson Mandela ในปี ๒๕๓๘ พร้อมมีการฟื้นฟู รักษา และเยียวยากระบวนการในการจัดให้มีการพิจารณาคดีโดยมีพยานผู้เสียหายทั้ง ๒ ฝ่าย และผู้กระทำผิดของทั้ง ๒ ฝ่าย ในประเทศอาร์เจนตินาก่อนและหลังเผด็จการ Pinochet ในปี ๒๕๑๙-๒๕๒๖ กลไกที่ใช้คือกลไกนำสืบสวนการดำเนินคดีอาญาผ่านการใช้การสืบสวน และการรายงานซึ่งนำไปสู่การพิจารณาคดีของ Punta หรือว่าของผู้ดำรงตำแหน่งทหาร ระดับสูงและกลไกการชดใช้สินไหมทดแทน การตั้งคณะกรรมาธิการผู้สูญหายแห่งชาติ จัดให้มีการสอบสวนรายงานการจับเอกสาร ยกเลิกการนิรโทษกรรมทหาร และผ่านกฎหมาย ค่าชดเชย ในประเทศชิลีกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและทำให้มีการสูญหายภายใต้ การปกครองของ Augusto Pinochet ในระหว่างปี ๒๕๑๖-๒๕๓๓ กลไกที่ใช้ก็คือกลไก การนำสอบสวนและการดำเนินคดีอาญามาใช้ผ่านการสอบสวนและรายงาน หรือที่เรียกว่า Rethink Report แล้วก็กลไกการชดใช้หรือกระบวนการการ Reparation กระบวนการ การก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อความจริงและการปรองดอง ตัวอย่างความขัดแย้งที่ติดอาวุธ ในสงครามอิสราเอลและปาเลสไตน์ ถ้าท่านได้ติดตามข่าวในปัจจุบันนี้ ถ้าท่านไม่ใช้กลไก ในการที่จะตามหาความจริงและกระบวนการปรองดอง และการสืบสวนสอบสวน เพื่อนำมาซึ่งความสมานฉันท์และสันติภาพ ท่านจะไม่สามารถยุติความขัดแย้งได้เลย จนปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นปาเลสไตน์มีผู้เสียชีวิตที่เป็นพลเรือนมาแล้วถึง ๒๑,๕๐๐ ราย และสงคราม Kosovo ซึ่งมีตัวเลขผู้สูญเสียที่ใกล้เคียงกับของไทยซึ่งก็คือไปถึง ๘,๖๖๑ คน แต่เขาก็ได้รับการชดเชยสินไหมทดแทนและยุติความขัดแย้งได้ โดย Kosovo Albania ก็ได้ ประกาศอิสรภาพไปในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ แต่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ปัจจุบันมี ผู้เสียชีวิตถึง ๗,๕๒๐ ราย ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศ Kosovo แต่ปัญหายังไม่มีท่าทีที่จะยุติและสงครามก็ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ที่มีการโจมตีจากทั้ง ๒ ฝ่าย จากผู้ติดอาวุธที่เป็นฝั่ง Islamic Extremist แล้วก็ฝั่งรัฐที่มีความสูญเสียอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าญัตติของคุณรอมฎอนควรจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษและเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง รวมถึงอาชญากรรมสงคราม และการยุติอาชญากรรมต่อพลเรือนไทย ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธาน ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาทร และเขตราชเทวี ขออนุญาต Slide ขึ้นค่ะ
เมื่อต้นเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสไปพบปะกับพี่น้องชาติพันธุ์ชาวลาหู่แล้วก็เด็กรหัส G ที่อำเภอ เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มากับอาจารย์จวง ผู้ที่เสนอญัตตินี้ วันนี้ดิฉันก็มาอภิปราย เพื่อสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิก เรื่องการแก้ไขปัญหาของเด็กรหัส G หรือที่เรียกว่า กลุ่ม Generated Code เด็กรหัส G คือกลุ่มเด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชนคนไทย ซึ่งพวกเขา มีตัวเลขประจำตัวเพื่อใช้ในระบบการศึกษา แต่ไม่เกี่ยวกับเลข ๑๓ หลักของ กระทรวงมหาดไทย โดยเด็กรหัส G เหล่านี้เขาไม่ได้รับบัตรประชาชนไทย มีมาจาก หลากหลายสาเหตุ ที่สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
๑. ลูกหลานของชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐจัดทำข้อมูลหรือไม่ได้ จัดทำข้อมูลไว้ แต่เนื่องจากบิดามารดาไม่ได้มีสัญชาติไทยจึงไม่มีเอกสาร และลูกหลานไม่ได้ แจ้งเกิด และไม่มีเอกสารแจ้งเกิด
๒. เด็กที่ไร้รากเหง้า เด็กกำพร้า หรือเด็กที่ถูกทอดทิ้ง
๓. กลุ่มลูกของแรงงานข้ามชาติค่ะท่าน
๔. ลูกหลานของผู้ลี้ภัยในทั้ง ๙ แคมป์ค่ะ
หน่วยงานที่ทำทะเบียนรหัสเด็ก G ก็คือกระทรวงศึกษาธิการ แต่ปัจจุบันไม่มี ข้อมูลว่าเด็กรหัส G มีจำนวนเท่าไรกันแน่ เมื่อย้อนไปดูข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี ๒๕๕๘ ได้พบว่ามีนักเรียนรหัส G ราว ๖๗,๔๓๓ คน แต่ขณะนี้ในพื้นที่ที่ดิฉันได้ไป สำรวจกับเพื่อนสมาชิกพรรคก้าวไกล มีเด็กรหัส G ทั้งสิ้นกว่า ๑๐๓,๐๐๐ กว่าราย และอาจจะเยอะกว่านั้นค่ะ
แม้เด็กรหัส G จะมีโอกาสเล่าเรียนและได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการศึกษา แต่ทั้งนี้ผลมาจากสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือ สมช. ได้ออกยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา ทางสถานะและสิทธิของบุคคล เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ และมีผลบังคับใช้เรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกำหนดสถานะและสิทธิของบุคคล ที่อาศัยอยู่ในประเทศทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตามเด็กกลุ่มนี้ยังไม่มีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการอื่น ๆ ของภาครัฐ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการศึกษาต่อ ในการที่จะเข้าไปทำงาน ในการที่จะเดินทางออกนอกพื้นที่ และโดยเฉพาะที่เป็นอันตรายที่ดิฉันพูดถึงก็คือสิทธิ ในการรักษาพยาบาล อาจถูกปฏิเสธการรักษาพยาบาล ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต รวมถึง สิทธิในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่ต้องใช้เลขประจำตัว ๑๓ หลัก เช่น การทำธุรกรรม ทางการเงิน การทำใบขับขี่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่หลายหน่วยงานร่วมกันต้องแก้ไข ไม่ใช่แค่ ปัญหาของกระทรวงเดียว เพื่อนสมาชิกและดิฉันจึงคิดว่าเราควรจะตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ วิสามัญเพราะเหตุนี้ค่ะ แม้ว่าหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงานจะได้พยายามแก้ไขปัญหา ของคนกลุ่มนี้หนึ่งในแนวทางช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด คือจัดโครงการสำรวจเด็ก ทำรหัสทะเบียน G ของกรมการปกครอง เพื่อสำรวจเด็กที่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ที่จะได้บัตร ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน โดยมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นว่า ๑. ต้องเกิดในไทย ๒. มีถิ่นที่อยู่ถาวร ๓. คนเหล่านี้จะเข้าคุณสมบัติได้ บัตรผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน และสามารถยื่นคำร้อง ขอสัญชาติไทยตาม มาตรา ๗ ทวิ ได้ในอนาคต แต่การดำเนินการตามโครงการนี้ยังเต็ม ไปด้วยความล่าช้าและเจออุปสรรคมากมาย ทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพในการเร่งดำเนินการ
ในส่วนของปัญหาการพิจารณาอนุญาตให้เด็กกลุ่ม G สามารถขอยื่น สัญชาติไทยได้ มีอุปสรรคอยู่มากมายหลายประการซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และได้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ทำให้การขอสัญชาติของกลุ่ม G ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร โดยหลักเกณฑ์ในการขอสัญชาติของเด็กกลุ่ม G จะต้องกำหนดรายละเอียดอยู่ในประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการสั่งให้คนที่เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้รับสัญชาติไทย โดยมีบิดามารดาและคนต่างด้าวได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป และการให้สัญชาติไทย เป็นเฉพาะราย ซึ่งมีขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ในประกาศ ดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์หลายประการด้วยกันที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม G คือ ๓ ข้อ ให้เด็ก และบุคคลที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาแล้ว โดยบิดา และมารดาเป็นคนต่างด้าวอื่นที่ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ตามข้อ ๒ หรือไม่ปรากฏ บิดา หรือบิดามารดาทอดทิ้งตั้งแต่วัยเยาว์ ให้ได้สัญชาติเป็นการทั่วไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ โดยดิฉันจะยกประเด็นสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ข้อ ๑ มีหลักฐาน แสดงว่าเกิดในราชอาณาจักร เพียงแค่หลักเกณฑ์ข้อแรกก็ตัดสิทธิเด็กกลุ่ม G เป็นจำนวนมาก แล้วค่ะท่านประธาน จากที่ดิฉันได้ไปลงพื้นที่สำรวจเด็กกลุ่ม G อย่างที่ได้นำเรียนข้างต้น มีกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยสามเณรทั้งหมด ๕๖ คน แต่บุคคลเหล่านั้นหรือสามเณรเหล่านั้นไม่มี หลักฐานแสดงว่าเกิดในราชอาณาจักรไปแล้ว ๕๕ คนค่ะท่านประธาน ซึ่งอัตราเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลยนะคะ นี่ยังไม่รวมถึงโรงเรียนอื่น ๆ ที่มีการตกสำรวจ หรือหน่วยงานรัฐยังเข้าไม่ถึงอีกจำนวนมาก เงื่อนไขเหล่านี้จึงกลายเป็นปัญหามากกว่าวิธีการ แก้ไข และเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาสัญชาติของกลุ่ม G ไม่คืบหน้า
ข้อต่อไปที่ดิฉันคิดว่าเป็นปัญหาคือหลักฐานว่ามีการจบการศึกษา ระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาภายในประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการ รับรองวิทยฐานะ หรือหากจบจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับทุน ศึกษาจากหน่วยงานรัฐ ข้อแรกว่าน่าตกใจแล้ว มาดูเงื่อนไขข้อ ๖ น่าตกใจยิ่งกว่า เนื่องจาก หากการขยายโอกาสในการให้สัญชาติแก่กลุ่มคนเหล่านี้เป็นไปเพื่อให้เขาได้รับสิทธิ และการคุ้มครองในฐานะมนุษย์ เงื่อนไขนี้ก็เรียกว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่กลับหัวกลับหางที่สุด เราจะคาดหวังถึงคุณสมบัติการศึกษา อุดมศึกษาได้อย่างไร ในเมื่อพวกเขายังไม่สามารถ เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้เลย ดิฉันคงไม่ต้องอภิปรายในรายละเอียดว่าในปัจจุบันแม้แต่คนไทย ที่ถือสัญชาติไทยก็ยังไม่ได้รับสิทธิการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเลย แล้วท่านจะให้เกณฑ์ การขอสัญชาติท่านต้องจบระดับอุดมศึกษามันจะเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นกฎเกณฑ์ที่ พิลึกพิลั่น ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเลยสักนิด และควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ประกาศดังกล่าวยังกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของข้อ ๗ ว่ากรณีที่ นักเรียนคนดังกล่าวยังไม่สำเร็จการศึกษาก็ยังสามารถยื่นขอได้ หากเป็นไปตาม ความเห็นชอบดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งอย่างที่ดิฉันได้นำเรียนไป ใน Slide ก่อนหน้าว่าเราควรพิจารณาการให้สัญชาติเพื่อให้เด็กกลุ่ม G เข้าถึงการคุ้มครอง สิทธิขั้นพื้นฐาน ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งไม่ควรจะกีดกันพวกเขาเพียงเพราะว่าเขาไม่มี การศึกษาที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนไทย นอกจากเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่ที่ดิฉัน ได้นำเรียนขั้นต้น เนื่องจากเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคที่ดิฉันได้นำเรียนข้างต้น สำหรับเด็กกลุ่ม G ที่ระบุพ่อแม่ไม่ได้ หรือพ่อแม่ทอดทิ้งก็ว่าได้ เคราะห์ซ้ำกรรมซัดเข้าใส่พวกเขา ตามประกาศ กระทรวงดังกล่าวกำหนดให้พวกเขาต้องมีหนังสือรับรองความเป็นคนไร้รากเหง้า ซึ่งจะออก ได้โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ในกรณีที่ไม่จบการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี ท่านประธานคะ ดิฉันอยากตั้งคำถามถึงเงื่อนไขเหล่านี้ว่าควรกำหนดหลักเกณฑ์หรือขั้นตอนที่เอื้ออำนวย ความสะดวกและโอกาสให้การเข้าถึงการศึกษาของกลุ่มเด็กเหล่านี้และสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ง่ายกว่านี้หรือไม่ ในเมื่อเด็กเหล่านี้แค่เกิดมาก็เสียเปรียบคนส่วนใหญ่ในประเทศเราแล้ว หาตัวพ่อแม่ไม่ได้ ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งไม่พอ ยังจะไม่ได้สิทธิขั้นพื้นฐานในการศึกษา ในการเคลื่อนย้าย ในการทำงาน หรือแม้กระทั่งในการรักษาพยาบาลอีก ยังต้องมาถูก กวดขัน ตรวจสอบ ที่สร้างภาระให้พวกเขาเกินกว่าที่พวกเขาจะทำจริงได้ เงื่อนไข และหลักเกณฑ์เหล่านี้จึงไม่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในเชิงปฏิบัติเลย แต่กลับเป็นมาตรการ ทางกฎหมายในการอำพรางความรับผิดชอบและผลักภาระการคุ้มครองเข้าถึงโอกาส ให้ตกไปสู่ตัวเด็ก ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการปฏิเสธความเป็นมนุษย์และทอดทิ้งกลุ่มคนเหล่านั้น กราบขอบพระคุณค่ะ
ธิษะณา ชุณหะวัณ ๑๗๐ เห็นชอบค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาทร และเขตราชเทวี ขออนุญาต Slide ขึ้นค่ะฝ่ายโสต
สำหรับรายงาน ศาลปกครองในวันนี้ดิฉันมีประเด็นข้อกังวลเพิ่มเติมบางส่วน ซึ่งเนื้อหาก็ไม่ยาวนักที่จะขอ นำเรียนผ่านท่านประธานไปยังประธานศาลปกครองและเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อกังวลดังกล่าวในกระบวนการการทำงานของศาลปกครอง ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่นมากยิ่งขึ้นค่ะท่านประธาน ซึ่งในจุดนี้ดิฉันก็ต้อง ขอชื่นชมก่อนเป็นอันดับแรกว่ากระบวนการทำงานของศาลปกครองที่เรียกว่าการดำเนินการ ผ่านมาเป็นอย่างดี แล้วก็มีเพียงบางจุดเท่านั้นที่มีข้อบกพร่อง แล้วก็ถ้าแก้ไขได้ก็จะได้รับ ความเป็นประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนะคะ
สำหรับประเด็นแรก ดิฉันจะขออภิปรายถึงกรอบระยะเวลาของการพิจารณา คดีของศาลปกครอง ในปัจจุบันนี้มี พ.ร.บ. กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๕ และประกาศกำหนดระยะเวลาการดำเนินการคดีในศาลปกครองออกมา บังคับใช้แล้ว แต่ดิฉันยังตรวจสอบว่ามีคดีบางส่วนที่ยังค้างคา และใช้ระยะเวลา ในการดำเนินคดีที่ยาวนานอยู่ ซึ่งเป็นคดีที่ดิฉันให้ความกังวล โดยการตรวจสอบจากรายงาน มีการระบุว่าหากย้อนกลับไปในคดีที่มีการยื่นฟ้องระหว่างปี ๒๕๕๖-๒๕๖๐ ยังคงมีคดี ที่ค้างคาอยู่ในการพิจารณารวมทั้งหมดแล้วถึง ๔๒๐ กว่าคดี อย่างไรก็ตามรายงานดังกล่าว กลับไม่มีข้อมูลของตัวเลขจำนวนคดีที่คงค้างว่าเป็นคดีประเภทใดบ้าง ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ใดบ้าง และล่าช้ามาแล้วกี่ปี แต่ละปีมีตัวเลขเท่าใด ที่ดิฉันเห็นเป็นเพียงตัวเลขของคดีที่พิจารณา แล้วเสร็จแยกตามประเภทเท่านั้น
ประเด็นที่ ๒ ก็คือความยุติธรรมที่ล้าช้า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่ดิฉันคิดว่า ศาลปกครองควรต้องเปิดเผยในรายงาน เพื่อที่จะได้มีการตรวจสอบสาเหตุของความล่าช้า ในการพิจารณาคดีว่ามีนัยสำคัญแต่ละประเด็นหรือไม่ อย่างไร ดิฉันมีความกังวลและห่วงใย ต่อข้อพิพาทของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐที่มีการพิจารณาในศาลปกครอง หลายคดีเป็นคดี ที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชน หลายคนเป็นชาวบ้านตาสีตาสา หากใช้เวลา ในการพิจารณาคดีที่ยาวนานจนเกินไปอาจทำให้ทรัพยากรของประชาชนที่มาฟ้องร้องคดี ก็อาจจะหมดไปได้ แล้วก็ไม่ได้รับการคุ้มครอง หรืออำนวยความยุติธรรมได้อย่างที่ควร จะเป็นทั้งที่ยังเป็นช่องว่างที่เปิดให้คู่ความฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมักเป็นหน่วยงานรัฐหรือกลุ่มทุน ขนาดใหญ่ใช้โอกาสนี้ในการที่จะเป็นภาระที่ต่อสู้คดีที่ยาวนาน กดดัน และแสวงหาผลประโยชน์ โดยที่ยังไม่มีคำสั่งของศาล ดิฉันจึงอยากให้ศาลปกครองมีการปรับปรุงแก้ไขในข้อกังวล เหล่านี้ และรวมถึงรายงานและวิเคราะห์สาเหตุ และนัยของคดีที่มีความล่าช้า เพื่อให้ ศาลปกครองสามารถเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชนได้อย่างไร้ข้อกังขาค่ะท่านประธาน เพราะความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรมค่ะ
ประเด็นต่อมาคือประเด็นเรื่องกลไกของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ประเด็น ที่ควรปรับปรุงในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างที่ทุกท่านน่าจะได้ทราบกัน อยู่แล้วว่าศาลปกครองมีลักษณะของระบบไต่สวน ซึ่งแตกต่างจากศาลยุติธรรมหรือศาลแพ่ง ที่เป็นระบบฟ้องร้อง หรือระบบร้องเรียน ซึ่งผู้พิพากษา ตุลาการจะมีบทบาทในการสืบสวน และหาข้อเท็จจริงในคดี แต่ในขณะเดียวกันผู้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองก็ไม่จำเป็นที่จะต้อง มีทนายความ ซึ่งเห็นได้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้ศาลปกครอง ต้องเข้าไปชดเชยความสามารถในการสืบ และพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้วยกลไกการพิจารณาคดี เพราะคู่พิพาทในหลายครั้งจะไม่ใช่บุคคลทั่วไปที่มีฐานะเท่าเทียมกัน แต่จะเป็นประชาชน คนธรรมดากับหน่วยงานของรัฐ หรือประชาชนกับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ หรือกลุ่มทุนผูกขาด แต่ในความเป็นจริงอย่างที่ดิฉันกล่าวไว้ข้างต้นยังคงมีคดีที่ค้างคาและใช้เวลาในการพิจารณา ในศาลปกครองที่ยาวนานในหลายคดี เมื่อมีคำพิพากษาแล้วก็ไม่ทันท่วงทีต่อความเสียหาย ที่เกิดขึ้น ในกรณีนี้ดิฉันจึงอยากเสนอให้ศาลปกครองมีการศึกษาและจัดหามาตรการพิเศษ บางอย่าง เพื่อใช้ในการพิจารณาคดีด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะ เพื่อเป็น การสร้างความเท่าเทียม และโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม และได้ทันท่วงที ดิฉันขอยกตัวอย่างศาลปกครองในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีการใช้มาตรการ ต่าง ๆ เพื่อความรวดเร็วและป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างเช่น การปรับลดองค์คณะ และการยกเว้นขั้นตอนของตุลาการผู้แถลงคดี การกำหนดให้มีหน่วยงานภายในสำหรับ การวิเคราะห์คำฟ้องโดยเฉพาะ การนำกรอบระยะเวลาแบบสั้นมาใช้ในการพิจารณาคดีสิทธิ เสรีภาพโดยเฉพาะ รวมถึงจำแนกแยกโจทก์ที่มีรายได้น้อย และจัดหามาตรการช่วยเหลือ ให้แก่โจทก์ที่มีรายได้น้อยค่ะ
โดยสรุปแล้วดิฉันจึงขอนำเรียนไปยังท่านประธานและเลขาธิการสำนักงาน ศาลปกครองว่าดิฉันอยากให้ศาลปกครองปรับปรุงกลไกในการอำนวยความยุติธรรมเชิงรุก มากยิ่งขึ้นหรือระบบไต่สวนนั่นเองโดยเฉพาะคดีที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง หรือมีความสามารถในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงทางคดีที่จำกัด
ประเด็นสุดท้าย คือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นก่อนหน้านี้เช่นเดียวกัน ดิฉันขออนุญาตหยิบยกตัวอย่างคดีจำนวน ๒ คดี แต่ว่าก็ยังมีคดีอีกจำนวนมาก คือคดีเพิกถอนสิทธิเหมืองหินปูนดงมะไฟ ที่ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ดงมะไฟเป็นผู้ฟ้องร้อง และคดีเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างแอชตัน อโศก สำหรับรายละเอียดนั้นดิฉันขออนุญาต ไม่อภิปรายเพราะคงทราบกันดีอยู่แล้วนะคะ แต่จุดที่ดิฉันอยากชี้ให้ท่านประธานเห็นก็คือ ทั้ง ๒ คดีมีจุดร่วมเหมือนกันจุดหนึ่งคือในระหว่างการพิจารณาคดีศาลปกครองได้มีคำสั่ง ยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนจะมีคำพิพากษา ซึ่งส่งผลให้แม้ท้ายที่สุดแล้ว ฝ่ายผู้ฟ้องร้องคดีจะได้รับชัยชนะ แต่ในกรณีนี้ชาวบ้านดงมะไฟและชาวบ้านย่านอโศก ก็ส่งผลให้เกิดความเสียหายบางอย่างที่ยากจะเยียวยา และอาจต่อเนื่องกลายเป็นปัญหา คาราคาซังได้ เช่น กรณีดงมะไฟก็มีภูเขาถูกระเบิดเพื่อทำเหมืองไปแล้วเป็นบางส่วน ซึ่งก็ได้ละเมิดไปแล้วนะคะ ส่วนในกรณีของแอชตัน อโศก ก็ต้องพบกับปัญหาการรื้อถอน และการจัดหามาตรการเยียวยาผู้เช่าซื้อล่วงหน้า ซึ่งทั้ง ๒ ส่วนเป็นความเสียหายที่เยียวยา ในภายหลังได้ยาก และอาจได้ไม่คุ้มเสีย หากศาลปกครองอาจพิจารณามีคำสั่งคุ้มครอง ชั่วคราวตั้งแต่แรก ดังนั้นดิฉันจึงอยากนำเรียนท่านประธานไปยังศาลปกครองขอให้ท่าน ทบทวนและให้ความสำคัญกับการกำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางการพิจารณาในการมีคำสั่ง คุ้มครองชั่วคราวอย่างรัดกุม โดยเฉพาะคดีที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบยาวนาน และการเยียวยา ภายหลังได้ยาก ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรง และภาระในการติดตามมาตรการ เยียวยาเรามีบทเรียนจากหลายคดีที่ดิฉันได้ยกตัวอย่างไปแล้ว ๒ คดีล่วงหน้า ดิฉันขอเรียนย้ำว่า เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น และยังมีคดีที่เกิดขึ้นและสร้างความเสียหาย ดิฉันจึงอยากรบกวน ท่านประธานศาลปกครองให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เพราะมีประชาชนมากมาย เหลือเกินที่ยังไม่ได้รับความยุติธรรมอย่างที่ควร กราบขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขตกรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาทร และเขตราชเทวี ขออนุญาตเอา Slide ขึ้นค่ะ
วันนี้ดิฉันมาอภิปราย สนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิก เรื่อง การขอเสนอญัตติด่วนให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน โดยที่คุณอนุชา บูรพชัยศรี เป็นผู้เสนอญัตติ และคุณเอกราช อุดมอำนวย หนึ่งในสมาชิกพรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอญัตติ ขณะนี้ยังมีแนวคิดแล้วและทัศนคติที่ดูแคลนและโทษประชาชน อย่างเช่น ถ้าประชาชนโง่เราจะตายกันหมด ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็ยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหา เรื่องหนี้สินได้ขณะตลอด ๙ ปีที่ผ่านมา ทัศนคติแบบโทษประชาชนส่งผลต่อทิศทาง การศึกษาหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ที่ผ่านมามีงานการศึกษาออกมาโทษ คนรุ่นใหม่ว่าเป็นหนี้จากการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ Smartphone หรืออุปกรณ์ IT ซึ่งดิฉัน ต้องเรียนท่านประธานว่าในความเป็นจริงแล้วอุปกรณ์เหล่านี้หากสำรวจลึกลงไป จะกลายเป็นว่าจำเป็นต้องมีไว้ใช้งานไม่ใช่ของมันต้องมีค่ะ มีลักษณะเหน็บแนมว่า ไม่ประหยัดก็เป็นไปได้ แต่งานวิจัยเหล่านั้นกลับไปโทษคนรุ่นใหม่แทนที่จะสำรวจให้ลึกไปอีก ว่าที่ต้องซื้อเพราะผู้ว่าจ้างไม่ได้จัดเตรียมเครื่องมือต่าง ๆ ให้ทำงานไว้ให้พร้อมใช้งาน ใช่หรือไม่ หรือให้มีการทำงานเกินเวลาจนต้องกลับไปทำงานที่บ้าน หรือจัดหาเครื่องมือ ทำงานส่วนตัวมาไว้ใช้ ใช่หรือไม่เป็นต้นค่ะ ผลการศึกษาเหล่านี้ย่อม Misleading นำไปสู่การไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไรเลยและไปโทษ คนรุ่นใหม่ว่าไม่รู้จักประหยัดทั้ง ๆ ที่เป็นเครื่องมือทำมาหากิน ถ้าไม่มีก็อาจจะโดนไล่ออก จากงานง่าย ๆ จึงจำเป็นต้องซื้อ และจึงเป็นหนี้ให้กับตัวเองที่ต้องทำงานต่อไป ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจึงต้องเน้นย้ำไปกับท่านประธาน เพราะทัศนคติแบบนี้จะส่งผลซ้ำเติมต่อปัญหาหนี้สิน ปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชนโดยตรง ดิฉันจึงไม่ต้องการให้ผู้มีทัศนคติดังกล่าวมา แก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ปัญหาหนี้สินครัวเรือนไม่ใช่แค่กลุ่มหนึ่งรอดและที่เหลือจะรอด ทั้งหมด ปัญหาหนี้สินครัวเรือนของพี่น้องประชาชนไทยเป็นปัญหาที่น่ากังวลอย่างยิ่ง ถ้าหาก กล่าวถึงปัญหาแบบโทษประชาชนว่าเป็นเพราะพฤติกรรมที่ชอบฟุ่มเฟือย หรือก่อหนี้เกินตัว ไม่รู้จักประหยัดของประชาชนเอง เพราะหนี้เป็นปัญหาระดับประเทศแต่ไม่ใช่ปัญหา พฤติกรรมส่วนบุคคล และสุดท้ายคือการแก้ไขปัญหาไม่ได้ โดยในปี ๒๕๖๖ หนี้สินครัวเรือน ขยายตัวถึงร้อยละ ๑๑.๕ จาก ๕๐๑,๗๑๑ บาทต่อครัวเรือน เพิ่มเป็น ๕๕๙,๔๐๘ บาท ต่อครัวเรือน ในขณะที่รายได้ของพี่น้องแรงงานคือค่าแรงขั้นต่ำ โดยสำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์แจ้งว่าค่าแรงงานขั้นต่ำขยับได้เพียงแค่ ๘-๒๒ บาทต่อวัน อยู่ในช่วง ๓๒๘-๓๕๔ บาทต่อวัน เฉลี่ยอยู่ที่ ๓๓๗ บาทต่อวันหรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ ๕ เท่านั้น เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ภายหลังจากการไม่มีปรับขึ้นมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ เป็นเวลานานเกือบ ๓ ปีค่ะท่านประธานในช่วงสถานการณ์ Covid-19 ขณะที่เงินเดือน ปริญญาตรียังเริ่มต้นอยู่ที่ ๑๕,๐๐๐ บาท มาเป็นเวลากว่าทศวรรษและยังไม่มีการปรับ เพิ่มขึ้นตามการปรับเงินเดือนปริญญาตรีในระดับมหภาค GDP ในปี ๒๕๖๒-๒๕๖๕ ขยายตัวเพียงร้อยละ ๒.๑ หรือลบ ๖.๑ และ ๑.๕ และตามเฉลี่ย ๔ ปี GDP โตเพียงเฉลี่ย ร้อยละ ๐.๐๒๕ เปอร์เซ็นต์ หรือแทบจะไม่ได้โตเลย เห็นได้ว่าไม่ว่าจะมองจากรายได้ ตัวไหนของประชาชนก็มีรายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าปัญหาหนี้สินที่เพิ่มขึ้น และ GDP ที่โต เพียงร้อยละ ๒ ในปีที่ไม่ติดลบก็ไม่เพียงพอจะทำให้คนที่ไม่ได้อยู่บนยอด Pyramid ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตของ GDP ได้ เพราะเมื่อขายสินค้าได้ บริษัท ห้างร้าน โรงงานย่อมได้เค้กส่วนเติบโตเพิ่มขึ้นไปก่อน แต่เกิดจากการทุ่มเทแรงกายแรงใจจากแรงงาน เมื่อก่อนสิ้นปีค่อยมาดูว่าที่เหลือจะแบ่งให้พนักงานแรงงานหรือไม่เท่าใด และการโต เพียงเล็กน้อยเหล่านี้ย่อมยากที่พนักงานแรงงานทั่วประเทศจะได้รับอานิสงส์ อาจจะมีเพียง บางบริษัทที่เป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทั้งประเทศที่จะปันผลให้กับพนักงานได้โบนัส ในหลาย ๆ เดือน จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นปัญหาระดับประเทศที่ไม่ควรจะโทษแต่ประชาชน แต่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องค้นหาสาเหตุเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้ได้ค่ะ วันนี้ดิฉัน จึงมาอภิปรายประเด็นสำคัญ คือปัญหาหนี้สินครัวเรือนและปัญหาปากท้องของ พี่น้องประชาชน ปัญหาและปัจจัยที่ทำให้หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้น ดิฉันขออนุญาตเสนอ ญัตติด่วนในเลขรับ ๓๒/๒๕๖๖ ดังกล่าว อ้างอิงถึงผลสำรวจของดอกเตอร์ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในปี ๒๕๖๖ ว่าประชาชน มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายในชีวิตประจำวัน โดยหนี้ครัวเรือนขยายตัวถึงร้อยละ ๑๑.๕ คิดเป็นมูลค่าหนี้กว่า ๕๕๙,๔๐๘ บาทต่อครัวเรือน และจะพุ่งสูงสุดในปี ๒๕๖๗ ทั้งจาก ปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ เช่นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง ของสหรัฐอเมริกา สงครามการค้า ปรากฏการณ์ธรรมชาติ EL Nino และค่าครองชีพ ที่มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทะลุเพดาน ดิฉันยังเห็นว่าไม่เพียงพอ แต่ต้องเพิ่มการศึกษา ปัญหาเชิงลึกของหนี้สินครัวเรือนแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ แรงงานนอกภาคเกษตร และในภาคเกษตรด้วย ซึ่งถือเป็นประชากรและเป็นแรงงานส่วนใหญ่ในประเทศเรา ช่องทาง และแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือนค่ะ
๑. ทัศนคติของผู้มีอำนาจในคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาหนี้สิน ต้องเป็นทัศนคติที่ดีต่อประชาชน ไม่ดูแคลนกล่าวโทษประชาชน ท่านต้องไม่เป็น ผู้ที่มีทัศนคติบิดเบี้ยวที่มักยกตัวอย่างคนบนยอด Pyramid แล้วทำไมคนส่วนใหญ่ ถึงไม่รอด ต้องไม่ใช่เอาแต่รักษา Hedge ของนายทุนผูกขาด และเข้าข้างนายทุนไว้ก่อน เพื่อความจงรักภักดีต่อนายทุนก็เพื่อผลประโยชน์แห่งตนเพียงอย่างเดียว เพราะสุดท้าย ทำแบบนั้นแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนไม่ได้
๒. การสร้างการเติบโตของ GDP บนพื้นฐานของการกระจายรายได้ ที่เหมาะสม การสร้าง Soft Power ให้ลงไปถึงบุคคลหรือครอบครัว การ Upgrade Update ใบคุณวุฒิความรู้ต่าง ๆ ใบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เพื่อให้เสริมมีทักษะ สอดคล้องกับสถานการณ์ในเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ระดับปริญญามากกว่าปริญญาตรี จะเป็นตัวเร่งอัตราการเติบโตได้ดี การส่งเสริมให้นายจ้างหรือผู้ว่าจ้างลงทุนซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ให้แก่แรงงานเช่น Software การพัฒนาทักษะ ของแรงงานที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน ไม่ใช่ผลักภาระให้กับแรงงานแต่เพียงผู้เดียวกัน สัญญาการจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐ เช่นการจ้างที่ปรึกษา ควรจ้างระดับบุคคลไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้ทำงานได้รับรายได้เฉลี่ยรวมระยะเวลาไม่มีงานชั่วคราวต่ำจนเกินไปค่ะ เพราะจะไปเพิ่มมูลค่าโครงการเข้าไป ผู้ว่าจ้างองค์กรก็จัดสรรรายได้เท่าเดิมหรืออาจจะ น้อยลงค่ะ เพราะเห็นว่าคล่องขึ้นใช้เวลาทำลดลง แทนที่จะเพิ่มรายได้เพราะชำนาญขึ้น เหล่านี้เป็นวิธีเอาเปรียบคนทำงานหรือแรงงานทั้งสิ้น ถามว่าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ได้อย่างไร เป็นเพราะตลาดผูกขาด หรือที่เราเรียกกันภาษาอังกฤษว่า Monopolisation นั่นเองค่ะ งานเฉพาะทางภาครัฐไม่สามารถไปทำในภาคเอกชนได้ และภาครัฐก็จัดสรรแต่ กับเส้นสาย หรือองค์กรเหตุการณ์เช่นนี้จึงเกิดขึ้นกับแรงงานผู้ทำงานค่ะ
การส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อยหรือที่เรียกว่า SMEs ซึ่งเป็นแหล่งรายได้การจ้างงาน ที่อาจจะรองรับการจ้างงานที่นอกเหนือจากการจ้างงานของกิจการขนาดกลางและขนาดใหญ่ เพราะในช่วง ๙ ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงส่งเสริมธุรกิจขนาดใหญ่แต่อย่างเดียว หรือแค่นายทุนผูกขาด ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานมากเกินไปแล้วค่ะ เวลานี้จึงควรหันกลับมาให้สนับสนุนธุรกิจรายย่อย หรือ SMEs ที่ไม่ใช่ธุรกิจขนาดใหญ่ได้แล้ว เพราะเป็นแหล่งจ้างงานมากกว่าร้อยละ ๘๐-๙๐ ของแรงงาน หรือผู้ที่ต้องการทำงาน การปรับปรุงพิจารณายอดการชำระรวมทั้งปี หรือมากกว่าของลูกหนี้เปรียบเทียบกับมูลค่าหนี้ เช่นเป็นหนี้ ๑๐๐,๐๐๐ บาท อัตรา ดอกเบี้ย ๒๐ เปอร์เซ็นต์ต่อปี ลูกหนี้จ่ายไปแล้ว ๑๒ เดือน รวมกันเป็น ๑๒๐,๐๐๐ บาท แต่มูลค่าหนี้ยังคงอยู่ที่ ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรืออาจลดลงไปเล็กน้อยย่อมผิดปกติ รัฐบาล สามารถปรับปรุงโครงสร้าง รัฐบาลสามารถปรับปรุงโครงสร้างเหล่านี้โดยผ่านธนาคารของรัฐ โดยผู้บริหารธนาคารของรัฐจะต้องไม่เป็นเครือข่ายของสถาบันการเงินที่โหดเหล่านี้ค่ะ เพราะรายได้ที่แรงงานจะเอามาจ่ายหนี้สินอาจจะมาจากแหล่งรายได้อื่นที่ไม่มีความแน่นอน ปะปนอยู่ด้วยค่ะท่านประธานทำให้ผู้จ่ายชำระไม่ตรงวัน หรืออาจตรงวันก็ได้ไม่เต็มก้อน ต้องไปหารายได้จากที่อื่นมาโปะ ทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตรงวันและบรรดาสถาบันการเงินโหด คิดค่าปรับ ค่าติดตามทวงถาม และอื่น ๆ ทำให้มูลค่าหนี้ไม่ลดลง ติดหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อัตราดอกเบี้ยคิดเป็นรายปี แต่จ่ายคืนเป็นรายเดือน คิดค่าปรับ ค่าติดตามทวงถาม เป็นรายวัน ทำให้หนี้สินครัวเรือนไม่ลดลงแม้แต่น้อยค่ะท่านประธาน
สุดท้ายค่ะ ระยะห่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเงินกู้มากกว่าประเทศอื่น ๆ เมื่อเปรียบเทียบที่มีนักวิชาการพูดว่าช่วงนี้เป็นดอกเบี้ยขาขึ้น นั่นคือดอกเบี้ยเงินกู้ ในขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝาก หากไม่ยอมขึ้นตามย่อมไม่ส่งเสริมการออม หรือเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีภูมิคุ้มกันใด ๆ เลยค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉัน มาอภิปรายเกี่ยวกับรายงานของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่ดิฉันได้อ่านรายงานนโยบาย การบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ดิฉันไม่เห็นว่านโยบายไหน ของท่านจะนำมาซึ่งการปรองดองและยุติความขัดแย้งที่ติดอาวุธ และความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการตอบโต้กันไปมาระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน ท่านชี้แจงว่าหนึ่งในเงื่อนไข สำคัญของปัญหาคือระดับบุคคล แบ่งได้เป็นกลุ่มคนไทยบางกลุ่มที่เห็นต่างจากรัฐ ดิฉันเห็นว่าเงื่อนไขความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ศาสนา และประวัติศาสตร์บางช่วงเวลา ส่งผลต่อความรู้สึกมาสร้างความชอบธรรมในการต่อสู้ด้วยการใช้ความรุนแรงเพื่ออุดมการณ์ แค่ประโยคแรกก็สร้างความแตกแยกแล้วค่ะ เป็นการเหมารวม เป็นการเหยียดเชื้อชาติ เหยียดศาสนา เลือกปฏิบัติ ตามที่ท่านจำแนกประชาชนที่ท่านอ้างว่าเป็นปัญหาซึ่งเป็น กลุ่มประชาชนที่เห็นต่างทางการเมือง ตรงนี้ดิฉันเห็นว่ามุมมองของรัฐไทยที่ประสงค์จะสร้าง สันติสุข ดิฉันขอเรียกว่าสันติภาพในพื้นที่ ไม่ควรใช้คำที่สร้างบริบทที่สื่อถึงการรวมชาติ หรือมีอัตลักษณ์ที่แบ่งแยก เพราะประเทศไทยในแต่ละพื้นที่เรามีความหลากหลายของ วัฒนธรรม ศาสนา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา หรือแม้กระทั่งความคิดเห็นต่างทางการเมือง แต่ไปเรียกพวกเขาว่าคนไทยด้วยกัน อันนี้ดิฉันก็ว่าผิดอีกแล้วค่ะท่าน ไม่ต่างอะไรกับ Thaisification ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่สร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่ต้น โดยเงื่อนไข ความแตกต่างที่กล่าวขั้นต้นคือชาติพันธุ์ ศาสนา ประวัติศาสตร์บางช่วงเวลา และความคิดเห็น ทางการเมืองเป็นการขัดกับหลักการการเลือกปฏิบัติของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ ทางพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. ๑๙๖๖ ซึ่งประเทศไทยลงสัตยาบันไปแล้ว และจำเป็น ต้องปฏิบัติตามโดยสุจริต มาตรา ๒๖ ของ ICCPR ได้บัญญัติไว้ว่ากฎหมายจะห้ามเลือก ปฏิบัติใด ๆ และรับประกันแก่บุคคลทุกคนในการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน และมีประสิทธิภาพ ต่อการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลใด ๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือความคิดเห็นอย่างอื่น ชาติกำเนิด สังคม สถานะทางเศรษฐกิจ หรือสถานะอื่น ๆ หรือที่ภาษาอังกฤษเราเรียกว่า Everybody is equal before the law หรือทุกคน เท่าเทียมกันต่อหน้ากฎหมาย
ประเด็นต่อมาคือประเด็นปัญหาสถานการณ์ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ มีมาอย่างยาวนาน ส่วนหนึ่งการมองปัญหาที่แตกต่างกันของภาครัฐในระดับนโยบาย และในระดับการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง ความมั่นคง การปกครอง ซึ่งไม่ตรงกับ อัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำ ทางเศรษฐกิจ ซึ่งถือว่าเป็น ๓ จังหวัดที่จนที่สุดหรือเหลื่อมล้ำที่สุดในประเทศเรา และสังคม เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นและวัฒนธรรมอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ที่เป็นหัวใจของพวกเขา มองว่ามีความแตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ จึงทำให้การแก้ปัญหาไม่สามารถทำได้ และไม่มี ความชัดเจนเลย ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ที่เป็นระดับปฏิบัติหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรม ถูกร้องเรียนว่ามีการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก สาเหตุมาจากรัฐ ใช้กฎหมายพิเศษในรูปของพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ และพระราชกำหนด ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการปฏิบัติในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะในขั้นตอน การสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ความผิดปกตินี้เราเรียกใช้ในภาษาอังกฤษว่า Any can of following as when committee as a part of wild space and system medic attract direct against any sibilance population without knowledge of the attract หรือการกระทำผิดเหล่านั้นคือการจำคุก การทรมาน การฆาตกรรม หรืออื่น ๆ จะต้องเป็นไปด้วยการโจมตีอย่างกว้างขวางหรือเป็นระบบ และพุ่งเป้าไปที่พลเรือน ที่ไม่ติดอาวุธ และผู้โจมตีจะต้องมีองค์ความรู้หรือต้องมีเจตนารมณ์เกี่ยวกับการโจมตีนั้น เมื่อเรานำองค์ประกอบความผิดดังกล่าวมาพิจารณาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เป็นการกระทำรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐเราก็เห็นกันอย่างชัดเจน และมี การนำเสนอตามสื่อมวลชนทั่วไป มีทั้งการจำคุก มีทั้งการทรมาน การฆาตกรรม การบังคับ สูญหาย คุณสมชาย นีละไพจิตร ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม มีการวางแผนการจัดทำปฏิบัติการ อย่างเป็นระบบ ดังจะได้เห็นจากรายงานการสืบสวนดำเนินยุทธวิธีของหน่วยงานข่าวกรอง และหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย ทั้งที่เป็นการพุ่งเป้าไปที่พลเรือน ที่ไม่ติดอาวุธและกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นมืออาชีพที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความรุนแรงดังกล่าวเกี่ยวพันกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่บัญญัติอยู่ใน ธรรมนูญกรุงโรม ค.ศ. ๑๙๙๘ ดังนั้นแล้วดิฉันจึงขอนำเรียนท่านประธานว่าประเด็นความรุนแรง ในเรื่องพื้นที่ที่เกิดขึ้นมีความสลับซับซ้อนมากกว่าที่เห็น มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน และจำเป็นต้องใช้องค์กรทางองค์การระหว่างประเทศในการพิจารณาร่วมด้วย เพื่อให้ได้รับ ความน่าเชื่อถือในการค้นหาข้อเท็จจริง รวมทั้งการมองหาโอกาสในการแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจนำไปสู่ การเรียกร้องให้รัฐไทยลงสัตยาบันกับธรรมนูญกรุงโรมเพื่อเข้าไปอยู่ในขอบเขตอำนาจศาล ของศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อเป็นตัวกลางที่ได้รับความชอบธรรมในการยอมรับจาก ทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ยังไม่สามารถ แก้ได้จนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ ด้วยมาตรการสืบสวนแบบพิเศษนี้เองจึงต้องงดใช้ประเด็นเรื่อง สิทธิมนุษยชน อย่างเช่นผู้ต้องสงสัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความมั่นคง เจ้าหน้าที่รัฐสามารถ เชิญตัวมาซักถามได้ตามกฎอัยการศึกถึง ๗ วัน และห้ามเยี่ยมในช่วง ๓ วันแรก และสามารถ ควบคุมตัวตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินได้ ๓๐ วัน ควบคุมตัวตาม ป. วิ. อาญาได้อีก ๘๔ วัน สรุปเจ้าหน้าที่รัฐสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาที่ยังไม่มีพยานหลักฐานว่ากระทำผิดอย่างชัดเจน ได้ทั้งหมดแล้ว ๑๒๑ วัน เป็นการควบคุมตัวที่ยาวนานเมื่อเทียบกับคดีฆาตกรรมทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะการควบคุมตัวใน ๓๗ วันแรก ย่อมไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนอย่างแน่นอน และในช่วง ๓๗ วันนี้ยังเป็นช่วงการสืบสวนและงดใช้สิทธิมนุษยชนชั่วคราว หวังว่าจะเป็น การสืบสวนและขยายผลเพื่อหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ และดิฉันขอถือโอกาสนี้พูดถึง เหตุการณ์เมื่อวาน ซึ่งเป็นวันครบรอบวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ ครบรอบวันสลายการชุมนุม ตากใบ เป็นการชุมนุมโดยสงบเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมแก่ชุดรักษาความปลอดภัย หมู่บ้าน ชรบ. จำนวน ๖ คน ซึ่งถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า ๑ สัปดาห์ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ หลังเจรจาไม่เป็นผล กลุ่มผู้ชุมนุมได้ถูกทหารปิดล้อมในพื้นที่และสลายการชุมนุม เริ่มด้วยแก๊สน้ำตา และเริ่มด้วย รถฉีดน้ำ ต่อมาได้มีการอนุมัติให้ใช้กระสุนจริง มีผู้เสียชีวิตทันทีในเหตุการณ์ ๗ ศพ และหลังจากนั้นมีการจับกุมผู้ชุมนุมจำนวน ๑,๓๗๐ คน ความเลวร้ายยังไม่หมดเท่านี้ เพิ่งจะเริ่มต้นนะคะ เมื่อผู้ชุมนุมถูกขนย้ายไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารด้วยรถบรรทุก โดยข้ออ้างว่ารถขนย้ายไม่เพียงพอ จึงต้องถูกนอนทับซ้อนกันหลายชั้นค่ะท่านประธาน โดยเวลา ๖ ชั่วโมงเดินทาง ๑๕๐ กิโลเมตร ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง ๗๘ ศพด้วยสาเหตุ การขาดอากาศหายใจ ถูกกดทับ ขาดน้ำ แล้วก็อาการไตวายเฉียบพลัน ความรุนแรงเหล่านี้ มันชัดเจนและมีหลักฐานจนเกินกว่าที่จะเป็นที่ยอมรับได้ของคนไทยและมาตรฐานสากลค่ะ ดิฉันเห็นว่าความรุนแรงนี้ถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามธรรมนูญกรุงโรมอย่างที่แจ้ง ไปข้างต้น มีการบัญญัตินิยามของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติไว้ในมาตรา ๗ ซึ่งครอบคลุม ไปถึงการฆาตกรรม การจำคุก การทรมาน การบังคับสูญหาย แต่เงื่อนไขสำคัญที่เป็นฐาน ความผิดของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติแตกต่างไปจากฐานความผิดธรรมดา คือการให้ ฐานความผิดปกติเป็นการกระทำที่กว้างขวางและเป็นระบบ ซึ่งก็เกิดขึ้นกับพี่น้องที่มาชุมนุม ตากใบ จากข้อมูลสถิติในตัวเลขพบว่าปี ๒๕๕๑ มีคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง ๖,๑๐๓ คดี จับกุมได้ ๓,๓๑๖ คดี และงดการสอบสวน ๓,๒๐๖ ราย ศาลพิพากษาโทษไป ๑๕๕ ราย ชี้ให้เห็นว่าวิธีการดังกล่าวไร้ประสิทธิภาพที่จะช่วยค้นหาความจริงได้ และต้องแลกกับ ความหวาดระแวง ความไม่เชื่อมั่นในเจ้าหน้าที่รัฐ ความไม่ไว้วางใจในเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ ทำให้รัฐมีมุมมองในสถานการณ์พิเศษเรื่องสิทธิมนุษยชน มีทัศนะที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง อีกทั้งยังเป็นการกดดันความเป็นอิสระของตุลาการและอัยการให้จับกุมผู้ต้องหาก่อการร้าย โดยที่ยังมีหลักฐานและพยานไม่เพียงพอ ดิฉันขอยกตัวอย่างของผู้พิพากษา คณากร เพียรชนะ ซึ่งเป็นเจ้าของวลี คืนคำพิพากษา ให้ผู้พิพากษา และคืนความยุติธรรมให้กับประชาชน การจับกุมโดยพลการและการวิสามัญ ฆาตกรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่การประกาศกฎอัยการศึก อีกทั้งยังใช้อำนาจ ในการตรวจค้นประชาชนที่อาจจะไม่มีความผิด และละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของ พี่น้องใน ๓ จังหวัดซึ่งมีกว่า ๒ ล้านคนมานานหลายสิบปี ซึ่งผิดกับหลักสากลในกติกาว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมาตรา ๑๔ ในกระบวนการยุติธรรม ในการสันนิษฐานว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ก่อนที่จะพิสูจน์ความผิด และมาตรา ๑๖ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้ยอมรับว่า เป็นบุคคลตามกฎหมายทุกแห่ง มาตรา ๑๗ บุคคลใดถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัว ครอบครัว บ้าน หรือติดต่อสื่อสารโดยพลการ หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกโจมตี ต่อเกียรติและชื่อเสียงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมาตรา ๑๘ การไม่เลือกปฏิบัติต่อคน ต่างเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดเห็นทางการเมือง ดังนั้นในระดับนโยบายต้องยกเลิก แนวคิดการงดใช้หลักสิทธิมนุษยชนชั่วคราวและควรพิจารณายกเลิกพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพราะเป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้อง กับรัฐธรรมนูญหลักสิทธิมนุษยชน โดยให้เจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ต้องปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์พิเศษหรือปกติก็ตาม ดิฉันอยากจะยกตัวอย่างเหตุการณ์การละเมิด สิทธิมนุษยชน ในกรณีของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคงที่หมดสติ ระหว่างถูกควบคุมตัวไปที่ค่ายอิงคยุทธบริหารในจังหวัดปัตตานีเมื่อเดือนกรกฎาคม และเสียชีวิตไปอย่างสงบเมื่อเช้ามืดในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๒ หลังรักษาตัวในห้อง ICU นานถึง ๓๕ วัน หลังจากนั้นทางญาติได้ประกอบพิธีทางศาสนา โดยไม่ส่งชันสูตรแต่อย่างใด แม้ยังติดใจสงสัยถึงเหตุทั้งหมดที่ทำให้สมองบวมแล้วก็ทำให้หมดสติไป โดยที่ไม่มีหลักฐาน ทางนิติเวชว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขา โดยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ของสื่อแห่งหนึ่ง ลูกพี่ลูกน้อง ของนายอับดุลเลาะกล่าวไว้ว่าในวันที่เขาเสียชีวิต วันนั้นนางพยาบาลโทรเข้ามาแจ้งญาติว่า ความดันและชีพจรของนายอับดุลเลาะต่ำมาก และปอดของเขาก็พังไปหมดแล้ว หลังจากนั้น ไม่นานทางโรงพยาบาลโทรกลับมาช่วงตีสี่ว่านายอับดุลเลาะเสียชีวิตด้วยอาการปอดอักเสบ และมีอีกท่านหนึ่งที่ดิฉันไปลงพื้นที่และได้เจอวันครบรอบตากใบเมื่อปีที่แล้วชื่อคุณมะริกี ดอเลาะ ท่านนั้นก็ได้สูญเสียแขน ๑ ข้าง และขา ๑ ข้างของเขาไป โดยเมื่อเขาตื่นขึ้นมาก็ไม่ทราบว่า อะไรเกิดขึ้นกับเขา เขาต้องการหลักฐานทางนิติเวชก็สอบถามกับทางพยาบาล และทาง พยาบาลกับคุณหมอได้แจ้งว่าทางทหารได้รวบรวมหลักฐานทั้งหมดทางนิติเวชไปหมดแล้วว่า อะไรเกิดขึ้นกับเขา จากประเด็นที่ได้กล่าวไปดิฉันขอชี้แจง ดังนี้
๑. ไม่ควรสร้างความเข้าใจผิดต่อกลุ่มคนไทยบางกลุ่มที่จะเห็นต่างจากรัฐ การเห็นต่างไม่ผิดค่ะ หรือใช้เครื่องมือที่มีสื่อถึงการรวมชาติใดชาติหนึ่งเป็นอัตลักษณ์เดียวกัน หรือการแบ่งแยกพวกเขาให้กลายเป็นคนชายขอบ กลายเป็นชนกลุ่มน้อย กลายเป็นคนที่ ถูกมุ่งเป้าโดยรัฐ ถูกมุ่งโจมตีโดยรัฐ เหมือนอย่างที่เราเห็นกับชาวโรฮิงญาที่ถูกกระทำโดย รัฐเมียนมา หรือชาวอุยกูร์ที่ถูกกระทำโดยรัฐจีน ทั้งที่จริงแล้วประเทศเรามีความหลากหลาย ทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม และศาสนา ควรที่จะส่งเสริมความไม่เป็นชาตินิยม และต้องยอมรับ อัตลักษณ์ของผู้คนที่มาจากหลากหลาย Background ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดคือพูดคุย ด้วยสันติวิธี กระบวนการตามหาความจริง และความปรองดอง คืนความยุติธรรมให้กับ ผู้สูญเสีย ให้กับเหยื่อทุกท่าน เราควรจะมี Peace Dialogue ซึ่งจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง อย่างยั่งยืน
ประเด็นต่อมาคือปัญหาสถานการณ์ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้มีมาอย่างยาวนาน ส่วนหนึ่งมาจากการมองปัญหาที่แตกต่างกันของภาครัฐในระดับนโยบาย และภาคปฏิบัติ จึงทำให้การแก้ไขปัญหาไม่มีความชัดเจน
ประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับการมองเรื่องสถานการณ์พิเศษมาก่อนประเด็น สิทธิมนุษยชน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาภายในพื้นที่และมีความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชน จากประเด็นที่ดิฉันกล่าวไปให้ทั้งหมดนะคะ ดิฉันอยากฝากให้ทางฝ่ายบริหาร ทราบเพื่อหาทางออกในประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยจำเป็นต้องใช้วิธีแบบสันติวิธี ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่แบ่งแยกกลุ่มคนเป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง กลุ่มชายขอบ หรือผลักพวกเขาออกไป ให้เป็นผู้ก่อการร้ายโดยที่เป็นเพราะว่าพวกเขาแค่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ให้ยึดหลัก สิทธิมนุษยชน และโฟกัสแต่สถานการณ์พิเศษเพียงอย่างเดียว กราบขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๒ พรรคก้าวไกล ดิฉันขออภิปรายสนับสนุนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยอยากให้มีการเพิ่มเติมความเชื่อมโยงกับประชาคมโลก พร้อมเพิ่มอำนาจและช่องทาง การมีส่วนร่วมของประชาชน ท่านประธานคะ ดิฉันยังไม่เห็นข้อบกพร่องของร่างของ คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ แต่ในสิ่งที่ดิฉันมองว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ณ ตอนนี้มี ๕ ประเด็นหลัก ๆ ค่ะ ๑. คือโครงสร้างกฎหมายและกระบวนการ นโยบายที่ยังไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนมากเพียงพอ ๒. คือความพร้อมของรัฐค่ะ ท่านประธาน ๓. ยังขาดแคลนผู้มีทักษะในการใช้เครื่องมือสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วม ของประชาชน ๔. ยังไม่มีตัวชี้วัดหรือ KPI ที่ชัดเจนในการใช้เครื่องมือสร้างกระบวนการการ มีส่วนร่วมของประชาชน และไม่ได้มีตัวชี้วัดว่าประชาชนมีส่วนร่วมมากน้อยแต่เพียงใด ๕. เจ้าหน้าที่และประชาชนยังขาดการรับรู้ถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะฉะนั้นอุปสรรคที่ได้กล่าวมาข้างต้น ดิฉันจึงอยากเสนอแนะแนวทางในการบรรเทา ปัญหาและอุปสรรคในประเด็นดังกล่าวนะคะ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าประเทศในโลกนี้ มีความติดต่อเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน และสามารถส่งเสริมความก้าวหน้าและมั่นคงของประเทศ รวมถึงสวัสดิภาพของประชาชน ดังนั้นการยกระดับการติดต่อเชื่อมโยงกลไกที่เกี่ยวข้องกับ การประชุมของสภาผู้แทนราษฎรกับประชาคมโลกจะช่วยส่งเสริมให้กระบวนการประชุมสภา และของสมาชิกในแต่ละบุคคลคำนึงถึงหลักสากลมากยิ่งขึ้นค่ะ และช่วยลดบทบาท และกระบวนการที่ยึดโยงแต่เพียงผลประโยชน์หรือหลักการที่ละเมิดต่อผลประโยชน์ และสิทธิอันพึงมีตามหลักสากลของคนส่วนใหญ่ในประเทศเราค่ะ
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวกับการเกี่ยวโยงกับอุปสรรคทั้งข้อ ๑ และข้อ ๕ ที่ได้กล่าวไปขั้นต้นเราควรให้ประชาชนได้รับรู้ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงการมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการเมืองในเชิงนโยบายและการตัดสินใจค่ะ ท่านประธาน ซึ่งถ้าจะมีคำศัพท์ที่ใช้อธิบายในการแก้ไขอุปสรรคก็คงจะเป็น Co-Creation ที่ใช้กันในทางธุรกิจก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการนี้ได้เช่นเดียวกัน คือการเปิดรับ Idea ความคิดสร้างสรรค์และความคิดเห็นที่หลากหลายจากกลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคในภาคธุรกิจ หรือในกรณีนี้ประชาชนในภาคการเมืองเพื่อให้นำไปสู่กระบวนการนวัตกรรมทางการเมือง ซึ่งกระบวนการข้างต้นสามารถจัดหรือทำเพิ่มช่องทางการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Online หรือ Offline ค่ะท่านประธาน รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ป้องกัน การปลอมแปลงตัวตนหรือ Fake Identity ค่ะ พร้อมปกป้องและป้องกันการถูกคุกคาม โดยผู้มีอิทธิพล เช่น Blockchain และ Biometric ซึ่งนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ นี่ก็เป็น การเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นพร้อมกับได้รักษาความเป็นส่วนตัว หรือว่า Right to Privacy ไปด้วยเช่นเดียวกัน และเรายังสามารถนำนวัตกรรมเหล่านี้ไปปรับ โครงสร้างในสังคมในด้านเศรษฐกิจและสังคมได้เช่นเดียวกัน สุดท้ายในส่วนของค่าชี้วัด การใช้ช่องทางเหล่านี้ค่ะท่านประธาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงภาคประชาชน ที่ต้องการมีส่วนร่วม ในทางกลับกันประชาชนก็สามารถรับรู้ถึงกลไกรัฐได้ และยังทำให้ นโยบายที่ออกมาสะท้อนเจตนารมณ์และความต้องการของประชาชนที่มีส่วนร่วมได้ อย่างชัดเจนค่ะท่านประธาน กราบขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ ค่ะ
ดิฉันอยากขอปรึกษาหารือ กับท่านประธานถึงปัญหาการไล่รื้อถอนที่อยู่อาศัยของประชาชนและชาวบ้านในชุมชน หลังวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร โดยผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวคือสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีไล่รื้อถอนดังกล่าวเป็นเวลาหลายปี และในหลายคดีนั้นได้ผ่านศาลชั้นฎีกาและมีคำพิพากษาสูงสุดไปเกือบทั้งหมดแล้วค่ะ ท่านประธาน แต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาดิฉันได้เดินทางไปสังเกตการณ์การพิจารณาคดีของ ชาวบ้านที่ถูกทนายความผู้รับมอบอำนาจจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ฟ้องร้อง ซึ่งในขั้นตอนนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ยังคงประสบปัญหากับการหาที่อยู่อาศัยใหม่และ การย้ายออกจากพื้นที่ส่งผลกระทบให้ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งศาลได้ค่ะ เนื่องด้วย การขาดการเข้าถึงและเยียวยาจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสถาบันการพัฒนา ชุมชน หรือ พอช. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ที่ได้รับมอบหมายจากมติของ ครม. ให้มีหน้าที่ช่วยเหลือจัดหาที่อยู่ อาศัยแก่กลุ่มชาวบ้านดังกล่าวค่ะ ความล่าช้าและความไม่ใส่ใจที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานรัฐ ที่ต้องให้ความช่วยเหลือส่งผลให้ชาวบ้านกว่า ๒๐-๓๐ คน ต้องถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ตามหมายศาลและนำตัวไปจำคุกจนกว่าจะยอมย้ายออกจากพื้นที่ตามคำสั่งศาล หลายคน ต้องใช้เงินที่มีอยู่ไม่มาก หาเช้ากินค่ำนะคะท่านประธานไปเพื่อประกันตัวเองออกมาในราคา ๒,๐๐๐ บาท เพื่อหาทางเจรจากับทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากที่ดิฉันได้มอบหมายให้ผู้ติดตามลงไปให้ความช่วยเหลือพบว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่แม้แต่จะยอมออกหมายเลขรับหนังสือขอเจรจาให้ ชาวบ้านที่ส่งหนังสือไปด้วยซ้ำค่ะ ชาวบ้านในวันจันทร์ที่ผ่านมานะคะเป็นเพียงเคสแรกและ จะมีอีกหลายสิบเคสตามมา ตามที่ดิฉันได้ฟังคำพิพากษาของศาลท่านมีแนวคำพิพากษาที่จะ ให้โอกาสขยายระยะเวลาครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว จึงถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องด่วนอย่างมาก และมีอีกหลายสิบคนที่ต้องประสบปัญหาเดียวกันหากไม่ได้รับการแก้ไขและช่วยเหลือ อย่างทันท่วงทีในวันจันทร์นี้ ชาวบ้านผู้เดือดร้อนเหล่านี้และไม่ได้มีญาติพี่น้องที่อื่น ๆ ไม่สามารถย้ายเข้าไปอยู่ด้วยกันได้ พวกเขาหลายคนอาศัยอยู่ในที่ดินเหล่านี้ตั้งแต่บรรพบุรุษ และไม่มีเงินทุนหรือโอกาสที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น ตั้งแต่เกิดจนตายหลายคนรู้จักแต่พื้นที่ดินนี้ และอยู่ที่นี่ พวกเขาหมดหลังพิงในการหาที่อยู่อาศัยอื่นแล้วค่ะท่านประธาน นี่ยังไม่รวมถึง ปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจที่สภาวะข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ นับตั้งแต่วันที่ดิฉันได้พูดอยู่และ วันนี้นับถอยหลังไปเรื่อย ๆ ดิฉันขอนำเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอให้ช่วยติดตาม ต่อกรณีที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนเร็วที่สุดค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตกรุงเทพมหานคร เขต ๒ พรรคก้าวไกล ดิฉันมาอภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดค่ะ เนื่องจากปัญหาฝุ่น PM2.5 ยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่องและกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยตรงและไม่เห็นว่าสถานการณ์จะดีขึ้นค่ะ อากาศสะอาดเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานค่ะ ขอสไลด์ด้วยค่ะ
ถือเป็นสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งนะคะ และเป็นความเป็นความตายของประชาชนค่ะ เพราะทุกคน ควรจะได้รับคุณภาพอากาศที่ดีต่อสุขภาพโดยไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อ ผลกระทบจากมลพิษที่มีค่าวัดเกินมาตรฐานที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็งปอด โรคผิวหนัง หรือโรคหอบหืดที่มักตรวจพบในประชากร ที่เป็นเด็กเล็กด้วยค่ะ จากรายงานข่าวของ BBC Thailand พบว่าหลายพื้นที่ในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมไปถึงหลายจังหวัดทางภาคเหนือกำลัง ประสบปัญหามลพิษทางอากาศโดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวและยังไม่มีวี่แววที่จะลดลง อีกทั้ง ในเชิงของเศรษฐกิจเองทางธนาคารโลกก็ยังได้ระบุว่ามลภาวะทางอากาศทำให้เกิดมูลค่า ความเสียหายทางสุขภาพที่มีสัดส่วนมากถึง ๖ เปอร์เซ็นต์ GDP ในปี ๒๕๖๒ และแนะนำให้ประเทศไทยเพิ่มแนวทางการแก้ไขในด้านนโยบายให้มากขึ้นค่ะท่านประธาน ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานและองค์กร ทั้งภาคการเมืองและภาคประชาสังคมพยายาม ผลักดันและเสนอร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด รวมไปแล้วไม่ต่ำกว่า ๖ ฉบับ ไม่ว่าจะเป็น ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดฉบับประชาชน หรือโดยเครือข่ายอากาศสะอาด หรือร่าง พ.ร.บ. บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของสำนักงาน ป.ย.ป. หรือแม้แต่ทาง ครม. คณะรัฐมนตรี ก็ได้มีการชี้แจงที่จะนำร่าง พ.ร.บ. บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... เสนอต่อรัฐสภา และทางพรรคเพื่อไทยเองก็มี พ.ร.บ. อากาศสะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งทราบกัน ดีอยู่แล้วว่าอยู่ในช่วงพิจารณา ในส่วนของพรรคก้าวไกลค่ะ ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ฝุ่นพิษ และการก่อพิษมลพิษข้ามพรมแดน ซึ่งมีหลักการที่สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด เช่นกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแหล่งกำเนิดของปัญหามลพิษในและ นอกราชอาณาจักร มาตรการในการควบคุม กำหนดข้อกำหนดทางแพ่งและอาญาที่เพิ่มเติม ให้มีการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ประกอบการ และจะต้อง ครอบคลุมทั้งระบบตั้งแต่ต้นสายถึงปลายสายค่ะ รวมไปถึงแนะนำว่าให้มีการใช้เทคโนโลยี เข้ามาตรวจสอบ ให้มีโทษทางสังคม แล้วก็ผ่านการประกาศข้อมูลของแหล่งกำเนิดที่มาจาก ผู้ประกอบการทั้งในและนอกประเทศ โดยที่กล่าวมาข้างต้นดิฉันเห็นว่าสามารถนำ เรื่องร้องเรียนไปพิจารณาพร้อม ๆ กันกับฉบับอื่น ๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตามประเด็นที่สำคัญ อยู่ที่ข้อถกเถียงเรื่องมลพิษที่มาจากนอกราชอาณาจักรค่ะ ด้วยปัญหาเรื้อรังของฝุ่น PM2.5 ที่มาจากการเผาไฟในพื้นที่โล่งแจ้งในพื้นที่เกษตรกรรม กิจการระดับอุตสาหกรรมและการใช้ เชื้อเพลิง Fossil ของยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นต้นตอเหล่านี้มาจากประเทศเพื่อนบ้านค่ะ ท่านประธาน ซึ่งยังคงเป็นปัญหาระหว่างพรมแดน แต่ที่หนักที่สุดคือโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานไฟฟ้าถ่านหินหรือ Fossil Fuel มารร้ายของ Global Warming ไม่ใช่ เกษตรกรหรือคนตัวเล็กตัวน้อยแต่อย่างใด แต่เป็นกลุ่มนายทุนผูกขาดทางการไฟฟ้า อย่างเช่นบริษัทขึ้นตัวย่อด้วย ก แล้วก็นิคมอุตสาหกรรมจะนะอย่างเช่น อุตสาหกรรมเหมือง ถ่านหินของอำเภออมก๋อย และการปล่อยสารเคมีและสิ่งปฏิกูล ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ทางน้ำ ทางพื้นดิน ซึ่งสุดท้ายแล้ว พ.ร.บ. อากาศสะอาดก็อาจจะไม่พอในการจัดการมลภาวะ จากทุกช่องทางดิฉันกล่าวมาก่อนหน้านี้ รัฐบาลต้องมีความเด็ดขาดกับการปฏิรูป กระบวนการ EIA ที่ไม่เป็นกลางและสามารถที่จะ Lobby ได้โดยนายทุนผูกขาดค่ะ ที่สำคัญต้องมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ไม่ปิดกั้น ผู้เห็นต่างในการเข้าร่วมประชาพิจารณ์ ตัวอย่างเช่น นิคมอุตสาหกรรมจะนะ ดิฉันเคยแจ้งไป แล้วตอนที่ไปร่วมขบวนหน้าสหประชาชาติว่ามีการปิดกั้นผู้เห็นต่างไม่ให้เข้าร่วมทำ ประชาพิจารณ์ มีการออกหมายจับกุมผู้ออกมาต่อต้านโครงการนิคมอุตสาหกรรมหรือ ออกมาชุมนุมโดยสันติค่ะ จากข้อมูลที่ท่านเห็นในสไลด์เป็นข้อมูลของสถาบันสุขภาพ แห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุขและบริหารมนุษย์ของสหรัฐอเมริกา มลภาวะทางอุตสาหกรรมถูกสงสัยว่าเป็นต้นเหตุของมะเร็งหลายชนิดค่ะโดยเฉพาะมะเร็ง ต่อมน้ำเหลืองด้วย โดยพิจารณาจากความเกี่ยวพันทางการสัมผัสทางด้านเคมี เรามี การทำการศึกษาการควบคุมมลภาวะทั้ง ๔ ภาคของสหรัฐอเมริกา โดยที่สถานที่ตั้งมีการวิจัย จากผู้ติดเชื้อทั้งหมด ๘๖๔ ราย และการควบคุมใน ๖๘๔ รายในช่วง ๑๐ ปีก่อนที่จะมี การ Establish หรือมีการก่อตั้งอุตสาหกรรมขึ้นมา และมีการปล่อยสารเคมีที่เป็นสารพิษ ออกมา ๑๕ ประเภทด้วยกัน ซึ่งได้ประเมินความเสี่ยงแล้วจากสถานที่หนึ่ง จากอุตสาหกรรม ไปยังสถานที่ที่ใกล้ที่สุดกับชุมชนค่ะ อย่างต่ำคือ ๐.๕ กิโลเมตร ท่านจะเห็นในสไลด์จะมี อุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างเช่น อุตสาหกรรมการแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์ และบริเวณพื้นที่ ใกล้เคียงของที่อยู่อาศัยที่มีความเชื่อมั่นว่าจะไม่มีการเผยแพร่มลภาวะที่จะส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพ และช่วงความเชื่อมั่นส่วนมากจะอยู่ที่ ๓ กิโลเมตร ในรัศมี ๓ กิโลเมตรขึ้นไป เท่านั้น และโรงงานผลิตโลหะต่าง ๆ โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็น ที่จะต้องอยู่ห่างไกลจากที่อยู่อาศัย ในสูตรคำนวณที่อยู่ในสไลด์ดังต่อไปนี้ การต่อต้าน Green Washing หรือการโฆษณาของบริษัทที่โฆษณาตัวเองว่ารักสิ่งแวดล้อม แต่แท้จริงแล้วเป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมเสียเอง รวมถึงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ นายทุนขนาดใหญ่ หรือ Accountability นั่นเอง เช่น นายทุนผูกขาดอุตสาหกรรมการไฟฟ้า และโรงงานถ่านหินที่ปล่อยมลภาวะมากที่สุด ประเทศไทยเป็นภาคีข้อตกลงปารีสในปี ๒๕๕๙ ได้ลงสัตยาบันไปแล้ว และข้อตกลงเกียวโต ปี ๒๕๔๐ จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลง ทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยสุจริต หรือภาษาลาตินเรียกว่า Pacta Sunt Servanda ความตกลง ปารีสให้ลงนามอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ ซึ่งตรงกับวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนิวยอร์ก และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ มีประเทศร่วมให้สัตยาบันกว่า ๕๕ ประเทศและมีระดับการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกร่วมกันมากกว่า ๕๕ เปอร์เซ็นต์ของโลก นับตั้งแต่นั้นมาประเทศต่าง ๆ มีการเข้า ร่วมข้อตกลงมากขึ้นจนปัจจุบันมี ๑๙๕ ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยที่ให้สัตยาบันใน วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙ ความตกลงปารีส มุ่งเน้นให้ประเทศภาคีเกิดการเสริมสร้างและ ตอบสนองจากภัยคุกคามความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยจำกัดการเพิ่มขึ้นของ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า ๒ องศาเซลเซียส การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงสร้างทางการเงิน หรือ Climate Finance กลไก การสร้างความโปร่งใส หรือ Transparency การทบทวนการดำเนินการระดับโลกหรือ Global Stocktake การให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการพัฒนาการถ่ายทอด เทคโนโลยีที่จะลดโลกร้อน การเสริมสร้างศักยภาพของประเทศที่กำลังพัฒนา อย่างเช่น ผู้ประกอบการที่จำเป็นที่จะต้อง Add Cost ในการที่จะทำเข้ากับข้อตกลงนะคะ โดยประเทศ ที่เป็นภาคีต้องมีข้อเสนอแนะที่ดำเนินการแล้ว ชื่อว่า National Determine Contribution ของประเทศในทุก ๆ ๕ ปี ซึ่งจากการคาดการณ์ประเทศไทยจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มากที่สุดในปี ๒๕๗๓ และจะพยายามลดให้เป็น Net Zero ให้เร็วที่สุดในครึ่งหลังของ ศตวรรษนี้เพื่อให้เป็นความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ๒๖๐๘ รวมถึงการตั้งเป้าการลดก๊าซเรือน กระจกลงให้ได้ร้อยละ ๒๐-๒๕ ภายในปี ๒๕๗๓ และร่างแผนตามแนวทางของการลดก๊าซ เรือนกระจกในปี พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๕ ผลการดำเนินการ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนมาใช้ พลังงานหมุนเวียน การจำกัดทุนผูกขาดในอุตสาหกรรมการผลิตการไฟฟ้าที่สร้างมลภาวะ การอนุรักษ์พันธุ์พืชสัตว์ป่าและลดการทำลายป่าเพื่อแก้ไขการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายแล้วก็ ค้าพืชพันธุ์ที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากตลาดมืดสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีสูงถึง ๒๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี การตัดไม้ทำลายป่าและการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย จึงกลายเป็นกิจกรรมสำหรับกลุ่มอาชญากร และมีความเชื่อมโยงมากขึ้นเกี่ยวกับความรุนแรง ด้านอาวุธ การค้ามนุษย์ การขนยาเสพติดข้ามแดน และอาชญากรรมข้ามชาติอื่น ๆ ที่รัฐ จำเป็นที่จะต้องจัดการควบคู่กันไปด้วยค่ะ ดังนั้นเราต้องแก้ไขปัญหานี้ในเชิงโครงสร้าง การเจาะไปที่การตรวจ Check ควบคุมและสร้างความรับผิดชอบในทุกระดับ ไม่ว่าจะผ่าน กลไกหรือแนวทางใด ๆ ที่กำหนดไว้ในการลดมลพิษทางอากาศ การบังคับใช้กฎหมาย การกำหนดราคาคาร์บอน หรือ Carbon Pricing การกำหนดคาร์บอนเครดิต อีกทั้งยังต้อง ร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสื่อสารกับสาธารณชนให้เข้าใจในกลไกนี้ด้วย โดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต้องมีความชัดเจนเข้าใจง่าย เข้าถึงได้ และรวมถึงการเจรจา กับประเทศเพื่อนบ้าน และมีข้อตกลงเป็นพหุภาคีหรือทวิภาคีในการควบคุมมลภาวะทาง อากาศ ทางน้ำ ทางดิน และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องค่ะท่านประธาน ดิฉันอยากฝากไว้ มันคงเป็นเรื่องน่าเศร้าถ้าหากประชาชนต้องเผชิญกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและยัง ไม่สามารถมีอากาศบริสุทธิ์ที่จะหายใจได้ หรือสิทธิในการเข้าถึงอากาศสะอาด เพราะสิ่งนี้แทบ จะเป็นสิ่งเดียวที่ทุกคนจะมีได้ ดิฉันหวังว่าในอนาคตไม่มีใครต้องซื้ออากาศบริสุทธิ์ในการ หายใจ เพราะอากาศคือคุณภาพชีวิต คือสิ่งที่ธรรมชาติให้มา อากาศที่บริสุทธิ์เป็นปัจจัยหลัก ต่อสุขภาพของมนุษย์ และกรณีนายแพทย์กฤตไท ดิฉันต้องขออภัยที่เอ่ยนามนะคะ เรื่องของ นายแพทย์ท่านนี้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างมาก ท่านเป็นปูชนียบุคคลที่ทำให้สังคม ตระหนักถึงปัญหามลภาวะ ดิฉันไม่อยากเห็นความสูญเสียของบุคคลที่มีคุณภาพแบบนี้ ไปอีกแล้วเพราะอากาศที่ไม่สะอาด มีผู้เสียชีวิต ๑๒๕.๕ รายต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ในปีปัจจุบันนี้จากมะเร็งปอด และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากที่เพื่อนสมาชิกอภิปรายในกราฟก่อนหน้านี้ รวมไปถึง ภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายป่า และมลภาวะจาก อุตสาหกรรมต่าง ๆ มารร้ายของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศไม่ใช่เกษตรกรหรือคน ตัวเล็กตัวน้อย แต่เป็นกลุ่มนายทุนผูกขาดและเป็นรัฐที่ให้สัมปทานกับกลุ่มทุนโดยไม่คำนึงถึง ผลกระทบต่อชีวิตของคนและสุขภาพในประเทศเรา สุดท้ายดิฉันหวังว่ารัฐบาลจะนำ ร่าง พ.ร.บ. ทุกฉบับเข้าไปพิจารณาเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดกับคุณภาพชีวิตของ ประชาชน ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพค่ะ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ เขตปทุมวัน เขตสาทร และเขตราชเทวี วันนี้ดิฉันมาอภิปรายสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิกคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ในการทำร่างประชามติเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ขอ Slide ค่ะ
สาเหตุและความสำคัญ ที่ต้องมีการทำประชามติ ดิฉันอาจจะไม่ต้องอภิปรายถึงเรื่องและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ที่มีหลักการขัดกับหลักประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญลูกผสม ไม่ต้องอธิบายแล้ว เพราะเพื่อนสมาชิกก็ได้พูดไปหมดแล้วถึงที่มาของรัฐธรรมนูญที่มาจาก คณะรัฐประหาร ที่มาของ สว. ที่มาจากการแต่งตั้งโดย สนช. ที่มาขององค์กรอิสระ ที่มาจาก การแต่งตั้งโดย สนช. เช่นเดียวกัน มาจากคณะรัฐประหาร หรือ คสช. นั่นเองค่ะ ดิฉันก็จะ เริ่มที่เนื้อหาที่เกี่ยวกับการประชามติเลย ดิฉันขออภิปรายสนับสนุนประเด็น ของเพื่อนสมาชิกในการพิจารณาเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มี การออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ การออกเสียงประชามติคือการนำนโยบายสำคัญในการนำร่างกฎหมาย หรือร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยสูงสุด และเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการตัดสินใจในแนวทางการปกครอง ประเทศ หรือที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยทางตรง หรือที่เรียกว่า Direct Democracy ตัวอย่างเช่นกรุงเอเธนส์สมัยกรีกโบราณซึ่งเป็นต้นแบบของระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก ที่เป็นประชาธิปไตยทางตรงนั่นเอง แต่ประเด็นปัญหาของประเทศไทยในการทำประชามติ อย่างเช่นในปี ๒๕๕๙ มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ดิฉันขอตั้งข้อสังเกต ดังต่อไปนี้ค่ะ ในกระบวนการการทำประชามติที่ดูเหมือนจะมีความไม่เป็นกลางเป็นอย่างยิ่ง อย่างเช่นการใช้ถ้อยคำในเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดและเนื้อหาในประชามติที่ส่งไปตาม ไปรษณีย์นั้นดูจะชักจูงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากจนเกินไป และเนื้อหาของประชามตินั้นเต็มไปด้วย คำศัพท์ที่เข้าใจยาก และอาจทำให้เกิดความสับสนในเชิงประเด็นและเนื้อหาที่สำคัญ ในการทำประชามติ หรืออีกประเด็นหนึ่งคือปัญหาในการปิดกั้นการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งเพื่อนสมาชิกก็ได้อภิปรายไปหลาย ๆ ฝั่งแล้ว หรือการที่แสดงออกจากฝั่งผู้ที่เห็นต่าง กับการรณรงค์โหวต No เช่น ในกรณีของคุณจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือคุณไผ่ ดาวดิน ขออภัยที่เอ่ยนามนะคะ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเนื่องจากมีการแจกเอกสารอันมีเนื้อหา การแสดงความเห็นต่อการลงประชามติ และถูกฝากขังที่เรือนจำภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ นี่เป็นตัวอย่าง ซึ่งยังมีอีกหลายกรณีที่ดิฉันไม่ได้เอ่ยถึงที่เป็นลักษณะคล้ายคลึงกัน ในหลัก ความเป็นจริงการทำประชามตินั้นควรจะเป็นการแสดงความเห็นได้อย่างเสรีเกี่ยวกับประเด็น ในการทำประชามติ เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เราควรจะได้รับการปกป้องอยู่แล้วค่ะ และเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีการทำประชามติในต่างประเทศที่ผ่านมาไม่นาน หรือที่ เรียกว่า A referendum on Scottish Independence ตัวอย่างในประเทศสกอตแลนด์ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๗ ประชาชนชาวสกอตแลนด์สามารถแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับอนาคตและกำหนดแนวทางของประเทศของพวกเขาในหลาย ๆ บริบท โดยเฉพาะ ในการประกาศอิสรภาพออกจากสหราชอาณาจักรหรือรวมถึงเรื่องการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ตามหลักแล้วกระบวนการนี้ทำให้ประชาชนได้เห็นว่ามีคุณค่าในการมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจ และส่งเสริมพันธกรณี ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไรก็ตามค่ะ ฉะนั้น ควรกำหนดให้มีคณะกรรมการที่เป็นอิสระและเป็นกลาง ในขณะเดียวกันต้องสามารถสื่อสาร และโฆษณาได้อย่างเสรี
ในส่วนของฝ่ายการเมืองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียย่อมมีอิสระในการเข้าร่วม อภิปรายแสดงความเห็นอย่างอิสระ ไม่มีการปิดกั้นใด ๆ และที่สำคัญบุคคลที่สามารถ เข้าร่วมลงประชามติได้ ตัวอย่างเช่นผู้ที่ออกมาใช้สิทธิประชามติในสกอตแลนด์อยู่ที่ ๘๔.๖๐ เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนี้เป็นชาวสกอตแลนด์ที่อยู่หรืออาจจะไม่อยู่สกอตแลนด์ ในขณะนั้น หรือทั้งหมดนี้เป็นชาวสกอตแลนด์ที่เป็นเพียงผู้อยู่อาศัยในสกอตแลนด์มานาน แต่ยังไม่มี Citizen ด้วยซ้ำ หรือยังไม่ได้เป็นพลเรือนด้วยซ้ำ ในประเทศไทยเราเองอาจจะ ไตร่ตรองด้วยซ้ำว่าคนที่จะเข้าร่วมลงประชามติได้ควรรวมคนไทยที่อยู่นอกประเทศหรือไม่ หรืออีกอย่างที่พิจารณาก็คือผู้ที่อยู่อาศัยในประเทศไทยมานานหลายต่อหลายรุ่น แต่ยังไม่มี สถานะเป็นพลเมือง เราควรจะให้สิทธิคนกลุ่มนั้นในการลงประชามติด้วยหรือไม่ เพราะเขา ก็เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเช่นเดียวกัน
ต่อมาในช่วงการลงประชามติ Brexit เป็นการลงประชามติเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ โดยสหราชอาณาจักรยังคงเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่ ผลปรากฏว่า ๕๙.๑๐ เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงให้สหราชอาณาจักร ต้องออกจากสหภาพยุโรป นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของสหราชอาณาจักรที่แสดงให้เห็นว่า การลงประชามติไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร แต่การทำประชามติสามารถทำให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยโดยตรงหรือเป็นประชาธิปไตยทางตรง และเมื่อพูดถึงการลงประชามติของชาวสกอตแลนด์และการทำประชามติ Brexit ทั้งสอง มีความเป็นกลางในด้านความอิสระสามารถที่จะรณรงค์ได้ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ไม่มีใครถูกจับกุมขังคุก แม้ว่าเขาจะไปไกลถึงขั้นที่ว่าอยากจะประกาศอิสรภาพออกมา จากสหราชอาณาจักรก็สามารถที่จะมีการจัดทำประชามติได้อย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ และไม่มีใครห้ามที่ให้กระทำเช่นนั้นค่ะ การลงประชามติของ Brexit มีข้อสังเกตในด้านที่มี ความไม่เป็นกลางมากกว่าของสกอตแลนด์เนื่องจากมีการแทรกแซงทางการเมือง แต่เทียบไม่ได้เลยกับประเทศเราที่ไม่ได้เพียงแต่แทรกแซงทางการเมือง แต่เป็นการจับกุม คุมขัง เป็นการทำร้ายร่างกายผู้รณรงค์ อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้ และผู้ที่รณรงค์โหวต No เรายังต้องเน้นย้ำในการสนับสนุนให้มีการรณรงค์อย่างเสรี ทั้ง ๒ ฝ่าย การเปิดพื้นที่ในฝ่ายที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่
ถัดไปค่ะ ความเป็นกลางในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๙ ในไทยการทำประชามติได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยกำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางในการจัดทำประชามติและมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทำประชามติอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และเป็นอิสระ อย่างไรก็ตามการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๙ มีข้อสังเกต ในด้านความไม่เป็นกลางอยู่หลายประการดังต่อไปนี้
๑. กระบวนการในจัดทำประชามติมีความโปร่งใสไม่เพียงพอ มีประชาชน จำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับประชามติได้อย่างเท่าเทียม
๒. กระบวนการจัดทำประชามติมีความยุติธรรมไม่เพียงพอ และดูเหมือน มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
๓. กกต. มีความเป็นอิสระหรือไม่เป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อมองกลับมาการทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ เกิดขึ้นมาก็เนื่องจากมีความขัดแย้งทางการเมือง แต่สุดท้ายแล้วรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ สร้างปัญหาทางการเมืองมากมาย มีคนออกมาประท้วงตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ เป็นต้นมาให้แก่ ประเทศมาเกือบ ๖ ปีแล้ว ทุกคนน่าจะรับรู้และเข้าใจกันมาตลอดเกี่ยวกับปัญหา ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งสำคัญและมีความชอบธรรม และนั่นคือสิ่งที่รัฐบาลนี้ควรมีความเห็นชอบกับญัตตินี้ที่มอบอำนาจประชาธิปไตยทางตรง ให้กับประชาชนในการจัดทำประชามติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยตรง และรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง หรืออย่างที่อับราฮัม ลินคอล์น กล่าวว่า Democracy is a rule of the people, for the people and by the people. หรือกล่าวว่าระบอบประชาธิปไตยคือกฎเกณฑ์ที่มาจากประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
สุดท้ายนี้ ดิฉันอยากขอให้ฝ่ายบริหารได้เข้าใจและคำนึงถึงประเด็นปัญหา ตรงนี้ดังที่ดิฉันกล่าวไปคือ ความเป็นกลางในกระบวนการทำประชามติจำเป็นต้องเปิดพื้นที่ ให้ทุกฝ่ายได้แสดงความเห็นอย่างเสรีค่ะ เพราะที่ผ่านมาอย่างที่กล่าวไปข้างต้นรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ สร้างปัญหาไปมากเพียงพอแล้ว ทางออกที่ดีที่สุดดิฉันว่าถึงเวลาแล้วที่จะมอบ อำนาจให้แก่ประชาชนโดยตรงในการทำประชามติ หวังว่าท่านจะไม่ปิดโอกาสของประชาชน ที่จะได้มีรัฐธรรมนูญใหม่เฉกเช่นเดียวกับที่พวกท่านได้หาเสียงไว้ค่ะท่านประธาน กราบขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน สาทร และราชเทวี พรรคก้าวไกลค่ะ ขอสไลด์ด้วยค่ะ
วันนี้ดิฉันมาอภิปราย สนับสนุนร่างกฎหมาย พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมือง พร้อมให้มีกลไกการช่วยสร้างคุ้มครอง สิทธิต่าง ๆ สำหรับชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศไทย เมื่อเราพูดถึงสิทธิ ที่คนส่วนใหญ่มี คำถามหนึ่งที่สำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือคนส่วนน้อยที่เข้าไม่ถึงสิทธิ และบริการสาธารณะต่าง ๆ เช่น กลุ่มคนชาติพันธุ์และเสรีภาพในวัฒนธรรม และในสังคม ที่เป็นพหุวัฒนธรรม อย่างเช่น ประเทศไทยสิทธิขั้นพื้นฐานควรจะมีเท่าเทียมกันมิใช่หรือคะ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการพัฒนาความรู้พื้นเมือง การเข้าถึงบริการสาธารณสุข สิทธิในดินแดนที่ดิน และทรัพยากรด้วยความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติค่ะท่านประธาน รวมไปถึงสิทธิทางพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ซึ่งสหประชาชาติเองได้กล่าวไว้ว่ามนุษย์ทุกคนล้วนที่จะได้รับการรับรอง สิทธิที่เท่าเทียมกัน ดิฉันเชื่อว่าประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามภายใต้ข้อตกลง ของสหประชาชาติเช่นเดียวกัน ท่านประธานคะ ความพยายามที่จะกำหนดหรือบังคับ ให้สังคมมีวัฒนธรรมอัตลักษณ์เดียวกัน ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายทางเชื้อชาติ หรือพหุวัฒนธรรม ไม่ควรต้องแลกมาด้วยสิทธิของคนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ไม่ว่าสิทธิเหล่านั้นจะเป็นรูปแบบการเมือง เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรมก็ตาม
สไลด์ที่ ๓ ประเทศไทยอย่างที่เพื่อนสมาชิกได้กล่าวไว้ คุณมานพ คีรีภูวดล ได้กล่าวไว้นะคะว่าเราได้ลงสัตยาบันไปแล้วกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ อย่างเช่น อนุสัญญา ระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๖ แล้วก็ ICCPR หรือกติกาว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เราลงสัตยาบันไป เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เราลงสัตยาบันไปเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ ซึ่งมีผลผูกพันกับรัฐของเรา ในการที่จะปฏิบัติตามโดยสุจริต หรือที่เรียกว่า Oblige in Good Faith ภาษาละตินคือ Pacta Sunt Servanda สิทธิเหล่านี้ครอบคลุมในกลไกข้อตกลงและคำประกาศของสหประชาชาติ ไม่ว่าจะเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ ศาสนา และภาษา ซึ่งรับรองโดยฉันทามติของสหประชาชาติในปี ๒๕๓๕ หรือปฏิญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองหรือที่เรียกว่า UNDRIP เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ ของบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนาและภาษา ทั้งยังคงสนับสนุน ความเสถียรภาพทางการเมือง สังคม และรัฐที่พวกเขาอยู่อาศัยด้วย หรือว่าตามกติกา ว่าด้วยสิทธิพลเมืองหรือ ICCPR ที่ดิฉันได้กล่าวไปขั้นต้นที่ประเทศไทยลงสัตยาบันไปแล้ว ในปี ๒๕๓๙ มาตรา ๒๗ เป็นเกี่ยวกับ Minority Rights หรือว่าชนกลุ่มน้อยโดยตรง ได้บัญญัติไว้ว่า ในรัฐทั้งหลายที่มีชนกลุ่มน้อยทางเผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษาอยู่ บุคคลผู้เป็น ชนกลุ่มน้อยดังกล่าวจะไม่ถูกปฏิเสธในสิทธิอันที่จะมีวัฒนธรรมของตนเอง หรือนับถือ และประกอบพิธีทางศาสนาของตนเอง ใช้ภาษาของตนเองภายในชุมชนร่วมกับสมาชิกอื่น ๆ ของชนกลุ่มน้อยด้วยกัน ซึ่งจากข้อมูลของ Website ด้านสิทธิมนุษยชนของกระทรวง การต่างประเทศ ประเทศไทยก็ได้เข้าเป็นภาคีแล้ว อย่างที่ดิฉันได้กล่าววันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ มีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป ต่อให้มีคำจำกัดความของชนกลุ่มน้อยก็ตาม แต่ก็มีการให้คำจำกัดความโดยพฤตินัยโดยการยอมรับอย่างกว้างขวาง และคำจำกัดความนั้น ก็เกี่ยวโยงกับ ๒ ปัจจัย ๑. คือรูปธรรม อาทิเช่น เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และภาษา ที่ใช้ร่วมกัน ๒. ก็คืออัตนัย อย่างเช่น การระบุตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มน้อย ควบคู่ไปกับการได้รับจากสังคมคนส่วนมาก ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางตัวอย่างของข้อตกลง ร่วมพันธสัญญานานาประเทศที่ควรนำไปปฏิบัติตามโดยสุจริต รวมถึงประเทศไทยด้วย เช่นกัน
สไลด์ที่ ๔ ข้อมูลจาก Minority Rights Group และ Amnesty มีกลุ่มชาติพันธุ์ ต่าง ๆ ในประเทศไทยที่ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เขาอยู่ด้วย ซึ่งแนวทางสำหรับประเทศไทยยังต้องคำนึงถึง
๑. สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน บุคคลควรได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และควรเชื่อว่าบุคคลในสังคมมีสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกัน
๒. สิทธิในสภาชนเผ่าพื้นเมือง การมีสิทธิของสมาชิกชนเผ่าพื้นเมืองแต่ละ บุคคล ควรมีสิทธิที่เท่าเทียมกับสมาชิกรัฐสภาแต่ละบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่เทียบเท่ากัน
๓. รัฐควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยการเคารพ ปกป้อง และเติมเต็ม พร้อมกับ สร้างกลไกคุ้มครองสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง
เพราะฉะนั้นแล้วการที่มีสิทธิของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง บ่อยครั้งมักจะมากับ การปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลนั้นที่มีต่อส่วนรวมด้วย ในทางกลับกันสังคมส่วนมากก็ต้อง ยอมรับพวกเขาด้วยเช่นกัน เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ควรได้รับการยอมรับที่เท่าเทียมเช่นเดียวกัน
สไลด์ที่ ๕ กลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อยในนานาประเทศ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติไหน ทุกคนล้วนมีสิทธิตั้งแต่เกิดด้วยกันทั้งนั้น เว้นแต่ ๑. รัฐไม่ได้รับการยอมรับสิทธิ ๒. หากรัฐได้กล่าวให้สัตยาบันสนธิสัญญา แต่ไม่ได้ดำเนินการอย่างชัดเจนตามสัตยาบัน ที่ให้ไว้กับสหประชาชาติหรือสัญญากับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการผลักดัน วิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในนานาประเทศ ขอยกตัวอย่าง เปรียบเทียบสิทธิการเคลื่อนไหวของชนพื้นเมืองดังกลุ่มต่อไปนี้เป็น ๓ กลุ่มด้วยกัน ๑. คือกลุ่มชาวพื้นเมืองในรัฐ Alaska ๒. คือกลุ่มชาว Berber ในโมรอคโคและแอลจีเรีย และ ๓. คือกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย สำหรับใน Alaska ตามตารางที่ดิฉันขึ้นอยู่นะคะ ก็จะเห็นว่า ชาวพื้นเมืองใน Alaska ได้รับการยอมรับอย่างมากจากสภา Congress ภายใต้พระราชบัญญัติ การระงับข้อเรียกร้องของชาวพื้นเมือง Alaska หรือ Alaska Native Claims Settlement Act ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๑ ในแอลจีเรีย กลุ่มที่ ๒ มีกระบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม Berber ที่ช่วยส่งเสริมพหุวัฒนธรรม ซึ่งเป็นอัตลักษณ์พื้นฐานของประเทศโมรอคโค และแอลจีเรีย และยังเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติด้วย ซึ่งชาว Berber ประสบความสำเร็จอย่างมาก ในการถูกยอมรับในสังคมส่วนมาก และกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย ใน พ.ศ. ๒๕๕๐ มีการ จัดตั้งเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย หรือที่เรียกว่า คชท. และได้เป็นส่วนหนึ่ง ในคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความ หลากหลายทางเพศ และยังคงผลักดันสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ท่านประธานคะ นานาประเทศส่วนใหญ่ล้วนมีประชาชนชนกลุ่มน้อยทั้งสิ้น ไม่ใช่แค่ประเทศไทยนะคะ และยังมีการบังคับใช้สิทธิหลายรูปแบบที่สอดคล้องกับข้อตกลงในสหประชาชาติ เพียงแต่ว่า จากกรณีตัวอย่างใน Alaska และชาว Berber ในแอฟริกาเหนือแสดงให้เห็นว่ารัฐ และแต่ละรัฐ ก็ได้มีการดำเนินการเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อตกลง เพื่อสร้างกลไกที่ทั้งคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศของเขาให้มีบทบาทมากขึ้นในสังคม เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะฉะนั้นการสร้างกลไกการคุ้มครองสิทธิ ของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยและผลักดันสภาชนเผ่าพื้นเมือง จึงเป็นสิ่งที่ควร ให้ความสำคัญและความชอบธรรม และนั่นคือสิ่งที่รัฐบาลควรคำนึงถึงบริบทของสังคม ในพหุวัฒนธรรม และรับทราบถึงสิทธิของกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ควรได้รับค่ะท่านประธาน ดิฉันใกล้จะจบแล้วค่ะ ดังนั้นดิฉันจึงอยากฝากให้ฝ่ายบริหารได้เข้าใจและคำนึงถึงประเด็นนี้ ดังที่ดิฉันได้กล่าวไป คือสร้างกลไกที่ยอมรับสิทธิมากกว่าสิทธิขั้นพื้นฐาน พร้อมกับคุ้มครอง ประชาชนเหล่านี้ค่ะท่านประธาน เพราะที่ผ่านมาดิฉันไม่เห็นความจริงจังในมาตรการ หรือกลไกความคุ้มครองที่มุ่งมั่นและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิของชนกลุ่มน้อยหรือ กลุ่มชาติพันธุ์เลยค่ะท่านประธาน ที่สอดคล้องกับข้อตกลงของนานาชาติที่เราได้ลงสัตยาบัน ไปแล้วหลายทศวรรษแล้วนะคะ และดิฉันคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ประชาชนเหล่านี้ควรได้รับ การยอมรับสิทธิที่พวกเขาควรจะได้ตั้งแต่เกิดค่ะท่านประธาน ดิฉันหวังว่าทุกท่านในสภาแห่งนี้ จะรับทราบสิทธิของคนเหล่านี้และมองเห็นคนเท่ากันค่ะท่านประธาน กราบขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ กรุงเทพมหานครเขต ๒ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันมาอภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ซึ่งดิฉัน คิดว่าประเทศไทยเองก็ถึงเวลาอันควรแล้ว เพราะที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการริเริ่มเสนอ ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ และต่อด้วยการเสนอให้มีร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาจนถึงได้มีการเสนอ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ก็ต้องยอมรับว่าได้ผ่านร้อนผ่านหนาว ล้มลุกคลุกคลานมาพอ สมควรค่ะ และล่าสุดประเทศไทยเราก็เพิ่งได้จัดงาน Pride Month ในช่วงเมื่อกลางปีที่ผ่าน มานับว่าเป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีที่เกิดขึ้นในพื้นที่บุคคลที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Gay Lesbian Bisexual Transgender Pansexual Gender Queer หรือ แม้กระทั่ง Non-Binary และ Subculture ต่าง ๆ อย่างเช่น Drag Queen Drag King หรือ Fetish ต่าง ๆ ได้มาแสดงออกด้วยความเสรี และความภาคภูมิใจ บวกกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น กฎหมายสิทธิมนุษยชน และการปรับกลไกที่ให้มีความเสมอภาคเท่าเทียม และวิถี ในสังคมที่สอดคล้องกับประชาคมโลก และการปรับตัวของประเทศที่ใกล้เคียงทั้งหมดนี้ ก็ยังเปรียบเสมือนการสานประกายให้มีความสำคัญต่อการพิจารณากฎหมายอีกด้วยค่ะ ก่อนอื่นเลย ถ้าว่าด้วยกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนระดับสากล ๒ หลักการที่สำคัญ ๑. คือความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติค่ะท่านประธาน ซึ่งทุกคน ควรเข้าใจถึงสิทธิที่พึงมี ถูกได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมายที่เป็นธรรม และสอดคล้องกับหลักการสากล โดยไม่พิจารณาจากรสนิยมทางเพศ เพศสภาพ อัตลักษณ์ ทางเพศ ในกรณีนี้จากข้อมูลของสหประชาชาติได้ให้คำจำกัดความของการเลือกปฏิบัติ หรือเรียกว่า Discrimination ไว้ว่า การเลือกปฏิบัติคือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม แบ่งแยก ตามอำเภอใจ โดยพิจารณาจากเชื้อชาติ เพศ ศาสนา ชาติพันธุ์ รสนิยมทางเพศ ความพิการ อายุ ภาษา แหล่งกำเนิดทางสังคม หรือสถานะอื่น ๆ เช่น สถานะทางเศรษฐกิจของบุคคลนั้น ๆ เพราะฉะนั้นตราบใดที่ประชาชนกลุ่ม LGBTQIA++ ยังไม่ได้มีสิทธิเท่าเทียมขั้นพื้นฐาน เหมือนพลเมืองทั่วไป ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบหรือสถานะใดก็ตาม หรือยังไม่ได้รับการปฏิบัติ ที่เป็นธรรมในกลไกทางกฎหมาย เราก็ยังไม่สามารถก้าวข้ามปัญหาเรื่องการเลือกปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียมอย่างแท้จริงค่ะท่านประธาน ณ ปัจจุบันในประชาคมโลกมี นานาอารยะประเทศที่ยังคงผลักดันกฎหมายส่งเสริมความเท่าเทียมและความหลากหลาย อย่างต่อเนื่อง อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปแล้ว เรามี ๓๔ ประเทศทั่วโลกที่ได้มี กฎหมายสมรสเท่าเทียม หรือ Same-sex Marriage เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าบางประเทศ ในแถบยุโรปนั้นได้ก้าวไปไกลในประเด็นดังกล่าวแล้วค่ะ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลากหลายประเทศที่ใกล้บ้านเราที่ปรับตัวให้สอดคล้องกับ ประชาคมโลกอยู่ค่ะ และให้บุคคลเพศสภาพเดียวกันสามารถที่จะสมรสกันอย่างถูกต้องตาม กฎหมายในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ และลดข้อจำกัดเพิ่มเติมสิทธิให้พลเมืองด้วยค่ะ ในประเทศ ไต้หวันได้มีกฎหมายในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ และที่ญี่ปุ่นสภานิติบัญญัติได้ผ่านกฎหมายว่าด้วย รสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศเป็นฉบับแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ความเข้าใจและมิให้มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งอาจจะดูเป็นเพียงก้าวเล็ก ๆ แต่ก็ยังเป็นก้าวที่ก้าวไปข้างหน้าค่ะท่านประธาน แม้แต่ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรานี้เอง ในประเทศเพื่อนบ้านก็ไม่ต่างกัน เพียงแต่ว่า แถบนี้ก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคอันมากมาย ถ้าพูดในเชิงเปรียบเทียบกับในทางยุโรป ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. ๒๐๒๒ กระทรวงสาธารณสุขของประเทศ เวียดนามได้ยืนยันอย่างเป็นทางการว่าการดึงดูดต่อเพศเดียวกันและเพศที่สามนั้นไม่ใช่ สภาวะทางจิตหรือเป็นสภาวะทางสุขภาพจิต และยังส่งเสริมให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับกลุ่ม LGBTQIA+ ในด้านการแพทย์ และให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องรับประกัน ความเท่าเทียมทางเพศและยุติการเลือกปฏิบัติค่ะ ซึ่งเป็นการปรับนโยบายสาธารณสุขของ เวียดนามให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านสุขภาพ และสิทธิมนุษยชนในระดับสากล
อีกหนึ่งตัวอย่างที่ดิฉันจะพูดถึงก็คือ สิงคโปร์ ที่รัฐบาลเพิ่งจะยกเลิก กฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๗ เอ ที่ห้ามมิให้ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน เพราะเป็น มรดกตกทอดจากยุคอาณานิคมที่ตอนนี้เป็นกฎหมายที่ล้าหลังและทำให้กฎหมายของ ประเทศสิงคโปร์มีความสอดคล้องมากยิ่งขึ้นในวิถีสังคมปัจจุบัน
สุดท้ายประเทศตัวอย่างที่ ๓ คือประเทศฟิลิปปินส์ที่ได้มีการพยายามผลักดัน มาหลายทศวรรษกับร่างกฎหมายเท่าเทียมหรือว่า Sexual Orientation and Gender Identity Expression หรือก็คือการร่างกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ จนในปี ๒๐๒๒ ก็ได้ผ่านคณะกรรมาธิการวุฒิสภาว่าด้วยเรื่องสตรี เด็ก ความสัมพันธ์ในครอบครัว และ ความเท่าเทียมทางเพศ และมีแนวโน้มที่จะเดินหน้าต่อไป ดูเหมือนว่าประเทศฟิลิปปินส์ ก็จะมีความก้าวหน้าไปด้วยเช่นกัน
ในส่วนของประเทศไทยเรานั้นอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ก็ได้รับการขนาน นามว่าเป็นประเทศที่เป็นมิตรต่อ LGBTQ มากที่สุดในเอเชีย แล้วก็จากรสนิยมทางเพศ สามารถแสดงออกได้อย่างเสรี ไม่ต้องกลัวการคุกคาม ไปจนถึงการส่งเสริมด้านศิลปะ และวัฒนธรรม Drag Queen Series Boy’s love ต่าง ๆ Series Y ต่าง ๆ ที่ประเทศไทยนี้ มีความเปิดกว้างและมีความหลากหลายมากกว่าหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ ว่าในเรื่องของรายละเอียดทางข้อกฎหมายที่ควรจะได้รับการปรับปรุง รวมไปถึงช่วยส่งเสริม สิทธิโดยพฤตินัยไปจนถึงการผลักดันให้ออกมาบังคับใช้ค่ะท่านประธาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การหมั้น การจดทะเบียนสมรส ไปจนถึงสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวให้กับบุคคลในทุกเพศสภาพ และการจัดแจงทรัพย์สินหรือมรดกระหว่างคู่สมรส การเซ็นยินยอมให้ผ่าตัด นอกจากนี้ยัง ต้องมีการช่วยการส่งเสริมให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกลุ่ม LGBTA+ เพื่อให้ เป็นการช่วยปรับมุมมองของสังคมและลดการละเมิดทั้งในทางวาจา กายและจิตใจ แม้แต่ใน คำแถลงของคณะรัฐมนตรีที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ได้มีการระบุไว้ว่ารัฐบาลจะผลักดันให้มี กฎหมายสนับสนุนสิทธิและความเท่าเทียมของทุกกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ซึ่งดิฉันก็ เห็นว่าเป็นการดีที่จะพยายามพัฒนาก้าวไปข้างหน้า แต่อย่างไรก็ตามศักยภาพและโอกาส ตอนนี้เราสามารถก้าวไปได้ไกลกว่านี้ไหมคะ ซึ่งมากกว่าคู่ชีวิตคือสมรสเท่าเทียมค่ะ ทั้งนี้ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ประเทศอื่น ตามทันและสอดคล้องกับประชาคมโลก ส่งเสริม ภาพลักษณ์ของประเทศเรา จึงจำเป็นต้องจริงจังและให้ความสำคัญมากกว่านี้ค่ะ เพราะ ประชาชนที่เป็น LGBTQIA++ เองก็ไม่ถูกปล่อยให้รออีกต่อไป เพราะในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา จนกระทั่งตอนนี้บุคคลเหล่านี้มักถูกลืมและมองข้ามไปค่ะ ไม่มีใครควรถูกปฏิบัติเหมือน พลเมืองชั้นสอง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์กับกลุ่มเพศหลากหลาย มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นโชว์ Cabaret เรียกรายได้เข้าประเทศมหาศาลในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว Series Y ต่าง ๆ ขายให้กับคนรุ่นใหม่ค่ะท่านประธาน สามารถทำรายได้ให้กับประเทศเรา มหาศาล แต่การเปลี่ยนกฎหมายอาจจะไม่ได้เปลี่ยนวัฒนธรรมการเหยียดเพศไป โดยสิ้นเชิงหรือในทันที แต่จะเป็นพิมพ์เขียวที่นำสังคมไปสู่เสรีภาพและความเท่าเทียม เพราะทุกคนไม่มีเสรีภาพจนกว่าจะมีความเท่าเทียม ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน สาทร และราชเทวี พรรคก้าวไกลค่ะ จากที่ดิฉันได้ลงพื้นที่ พูดคุยกับประชาชนถึงปัญหาข้อร้องเรียนต่าง ๆ ก็พบว่าหนึ่งในปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ค่าไฟแพงค่าแรงถูก ซึ่งไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของ พี่น้องประชาชนและตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐ หมวดหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๕๖ กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้องจัดการหรือดำเนินการให้ประชาชนสามารถเข้าถึง สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืนค่ะท่านประธาน โดยต้องคำนึงถึงค่าบริการ ที่จะเรียกเก็บจากพี่น้องประชาชน แต่ที่ผ่านมารัฐบาลของเราได้ทำหน้าที่ตามที่บทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญกำหนดไว้หรือไม่ รัฐบาลได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาก น้อยเพียงใดคะท่านประธาน แนวนโยบายและการบริหารงานด้านพลังงาน ที่ผ่านมาคือคำตอบว่ารัฐบาลไม่ได้สนใจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างจริงจังเลย แม้แต่น้อยหากจะขายผ้าเอาหน้ารอดและปรับมาตรการตรึงค่าไฟที่เอาเข้าจริง ๆ ก็ยัง แพงอยู่นะคะทำให้ประชาชนคนทั่วไปไม่เคยได้สัมผัสถึงค่าครองชีพที่เรียกว่า เป็นธรรม ค่ะ ไม่ว่าจะผ่านมานานแค่ไหนนะคะท่านประธาน ความเดือดร้อนเหล่านี้ก็แพร่กระจายไปทุก พื้นที่ในประเทศเรา เพราะไฟฟ้าเป็นโครงสร้างขั้นพื้นฐานหรือเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตค่ะ ปัญหานี้จึงต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนค่ะท่านประธาน ตลอดเวลาที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการอนุมัติการผูกขาดอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า และการสร้าง โรงงานไฟฟ้าเอกชนจนมากเกินความจำเป็น ทำให้ทุกวันนี้ต้นทุนไฟฟ้าราว ๖๓ เปอร์เซ็นต์ หรือเกือบ ๒ ใน ๓ มาจากไฟฟ้าที่ทาง กฟผ. รับซื้อจากเอกชน เป็นมูลค่าสูงถึง ๔๔๔,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ค่ะท่านประธาน การสร้างโรงไฟฟ้าเกินจำเป็นส่งผลให้ค่าไฟฐานสูงเกินจำเป็น ทำให้รัฐต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่าย ซึ่งอยู่ในประมาณการค่าซื้อไฟฟ้าของทาง กฟผ. เป็นส่วนหนึ่งของค่า FTที่สูงเกินจริงด้วยค่ะท่านประธาน เพราะรัฐต้องจ่ายชดเชยค่าไฟ ในการจ่ายดำเนินงานให้กับโรงไฟฟ้าเอกชน ทำให้รัฐต้องมาเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มและประชาชน เป็นผู้รับกรรมค่ะ สุดท้ายผู้ที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายก็คือประชาชนตาดำ ๆ อย่างพวกเรา ทั้ง ๆ ที่ค่าแรงก็ต่ำเตี้ยเรี่ยดินเท่าเดิม ท่านประธานทราบใช่ไหมคะว่าช่วงโควิดที่ผ่านมามี ข้าราชการหลายท่านต้องประสบปัญหาไม่มีเงินจ่ายค่าไฟ เพราะแม้แต่ข้าราชการที่มี เงินเดือนประจำก็ยังไม่มีรายได้เพียงพอที่จะจ่ายค่าไฟ ดิฉันเล่าถึงประสบการณ์ส่วนตนไปลง พื้นที่ที่ สน. ปทุมวัน มีเจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้านครหลวงมาตัดไฟบ้านเจ้าหน้าที่ตำรวจใน สน. ปทุมวัน ที่แฟลตตำรวจค่ะ เขาบอกว่าขาดค่าไฟมาแล้ว ๕-๖ เดือน เพราะเงินเดือนของ พี่น้องตำรวจข้าราชการยังอยู่ที่เดิม แต่ค่า FT สูงขึ้น ๆ ทำให้ไม่มีเงินมาจ่ายค่าสาธารณูปโภค ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพค่ะ และดิฉันขออนุญาตยกตัวอย่างอย่างใกล้ตัวอีกสักเรื่องนะคะ จากที่ดิฉันได้ไปลงพื้นที่พี่น้องประชาชนที่หาเช้ากินค่ำในชุมชนการเคหะบ่อนไก่ ที่อยู่อาศัย ผู้มีรายได้น้อยชาวกรุงเทพฯ ที่ต้องอาศัยอยู่ในชุมชนดังกล่าวมามากกว่า ๕๐ ปี ต้อง ประสบปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เพียงเพราะสาเหตุมาจากรายรับไม่พอต่อการจ่ายค่าไฟ ซึ่งนั่นหมายความว่าประชาชนที่มีรายได้น้อย ประชาชนที่หาเช้ากินค่ำกำลังเผชิญกับวิกฤติ ค่าไฟแพงอย่างหนักเช่นกันนะคะท่านประธาน ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำของประชาชนยังอยู่ที่ เดิม ๓๒๘ บาทต่อวัน เงินเดือนปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน ยังไม่มีการปรับขึ้น มาเป็นเวลาหลายสิบปีตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำก็ยังไม่ถึง ๖๐๐ บาท และเงินเดือนปริญญาก็ยังไม่ถึง ๒๕,๐๐๐ บาทค่ะท่านประธาน ซึ่งดิฉันก็หวังว่าจะขึ้นไปถึง ภายใน ๔ ปี อย่างที่ท่านได้สัญญาไว้ให้กับประชาชนนะคะ และนี่ยังไม่รวมถึงผู้สูงอายุและผู้พิการนะคะท่านประธาน มีเบี้ยผู้สูงอายุและเบี้ยผู้พิการ เดือนละ ๕๐๐-๘๐๐ บาท ตกวันละ ๑๐-๒๐ บาท แต่ในทางกลับกันค่าครองชีพที่รัฐผูกขาด กลับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะท่านประธาน ชีวิตประจำวันของประชาชน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ขึ้นสวนทางกับรายรับของประชาชน ขณะที่สภาพเศรษฐกิจตอนนี้ไม่มีวี่แววว่า จะดีขึ้น จากที่ท่านเลขานุการนายกรัฐมนตรีท่านพรหมมินทร์เองก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน เมื่อ ๓ วันก่อนว่าประเทศนี้วิกฤติแล้ว และจำเป็นต้องผลักดัน Digital Wallet ค่ะ ท่านประธานดิฉันขอถามแทนประชาชนทั่วประเทศว่า Digital Wallet จ่ายค่าไฟและค่า สาธารณูปโภคได้หรือไม่คะ เพราะนี่อาจเป็นสิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนเป็นสิ่งที่ประชาชนหลายคน ถึงขั้นจำนวนมากอาจจะอยากนำเงินตรงนี้มาจ่ายค่าสาธารณูปโภคที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสาเหตุของสาธารณูปโภคที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต จะไปคิดงานเรื่องอื่น ๆ ออกได้อย่างไรคะท่านประธานในเมื่อเราต้องกังวลว่าบ้านเราจะถูกตัดน้ำ ตัดไฟ เมื่อไร นี่สิคะคือประเทศที่ถึงวิกฤติจริง ๆ ค่ะ ดิฉันขออธิบายเพิ่มเติมว่าสถานการณ์รุนแรงเพียงใด หากเราย้อนกลับไปปี ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการขยับขึ้นค่าไฟ โดยเฉพาะค่าไฟผันแปร หรือเรียกทั่วไปว่าค่า FT ที่เขาไปพูด ๆ กัน ในเวลานั้นอยู่ที่ประมาณ ๑.๓๙ บาท แต่วันนี้ ที่ท่านนายกรัฐมนตรีมีมาตรการตรึงราคาแล้ว แต่ค่า FT ก็ยังสูงมากโดยปรับขึ้นมาอยู่ที่ ๓๘.๗๕ บาท หรือกว่า ๒๗ เท่าของราคา เมื่อ ๒ ปีที่แล้วรัฐบาลประยุทธ์นะคะ และการ เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงนี้จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยกระจายอำนาจ Soft Power ไปท้าชิง แชมป์ประเทศค่าไฟแพงระดับโลกหรือเปล่าคะ โดยตอนนี้อยู่ในอันดับ ๔ ของประเทศเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ทั้งทวีปค่ะ เรากำลังจะเดินใกล้เข้าไปในจุดค่าไฟแพงเท่ากับสิงคโปร์ แต่ค่าแรงต่ำกว่าสิงคโปร์หลายเท่าค่ะท่านประธาน ในส่วนของภาคธุรกิจผลกระทบจาก ปัญหาค่าไฟสูงนั้นทำให้ประเทศเสียสถานภาพในการแข่งขันต่อประเทศเพื่อนบ้านที่มีอัตรา ค่าไฟและพลังงานที่ต่ำกว่า ตัวอย่างค่าไฟที่เวียดนามค่ะท่านประธาน ๒.๗๐ บาทต่อหน่วย อินโดนีเชีย ๓.๓๐ บาทต่อหน่วย ซึ่งอาจจะทำให้ในสายตาของนักลงทุนมองว่าประเทศไทย ดูเป็นตัวเลือกสุดท้าย นอกจากนี้แม้แต่ผู้ประกอบการ SMEs เอง ก็ได้รับผลกระทบจากอัตรา ค่าไฟและพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และอาจจะนำไปสู่การลดต้นทุนในส่วนอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินค้าหรือการบริการได้เช่นกัน และจะส่งผลกระทบไปยังผู้บริโภค ด้วยค่ะ ท่านคะตอนปี ๒๕๖๖ ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับ ๔ เรื่องค่าไฟแพงในอาเซียน แต่เมื่อไม่นานมานี้เท่าดิฉันทราบหลังจากมีมติ กกพ. และด้วยตามมติ ครม. ที่เห็นชอบเสนอ ปรับโครงสร้างและสูตรคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นต้นทุนการผลิต โดยการถัวเฉลี่ย ต้นทุนแหล่งก๊าซราคาถูก ปัจจุบันให้กลุ่มธุรกิจใช้รวมกับแหล่งก๊าซที่ราคาแพง เพื่อให้ลด ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลงส่งผลให้มีการปรับราคาค่าไฟอยู่ที่ ๔.๑๘ บาท เริ่มต้นเดือนมกราคม ไปจนถึงเดือนเมษายนปี ๒๕๖๗ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีการเกี่ยวโยงกับการยืดหนี้ กฟผ. ทำให้นี่ดูเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นแบบเร่งด่วน โดยที่รัฐหรือ กฟผ. นั้นอาจจะต้องแบก รับภาระต่อไปดังนั้นรัฐบาลจึงควรมีมาตรการและแนวทางต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหา ที่โครงสร้าง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวและควรกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน เพื่อตอบสนอง การมีประสิทธิภาพในระยะยาวค่ะท่านประธาน ดิฉันได้ไปพูดคุยนะคะ นี่จากประสบการณ์ ลงพื้นที่ในเขตปทุมวัน ดิฉันได้ไปพูดคุยกับผู้สูงอายุท่านหนึ่งที่ต้องใช้รถเข็นพยุงตัวเอง ในการเดินเขาจำเป็นที่จะต้องใช้ลิฟต์ขึ้นอาคารการเคหะบ่อนไก่เป็นประจำจากชั้น ๑ ผู้สูงอายุท่านนี้อาศัยอยู่ชั้น ๑๒ ของตึกค่ะ และที่น่ากลัวไปกว่านั้นก็คือค่าลิฟต์ที่ไม่ได้รับการ ดูแล ซ่อมแซมปรับปรุงเป็นเวลานาน ทำให้สายเคเบิ้ลและฟันเฟืองขัดข้องอยู่บ่อยครั้ง เพราะเนื่องจากค่าไฟและค่าซ่อมบำรุงลิฟต์ไม่เพียงพอ อย่าว่าแต่จะซ่อมแซมลิฟต์เลยค่ะ ค่าไฟก็ไม่พอแล้วค่ะค่าไฟสูงขนาดนี้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก นึกสภาพนะคะประธาน เดินก็ยังจะไม่ไหว ยังจะต้องมาเสี่ยงชีวิตทุกวัน เพราะค่าใช้จ่าย ค่าสาธารณูปโภคที่เกินตัว ไม่ใช่แค่นี้นะคะ ชาวกรุงเทพฯ ในชุมชนการเคหะบ่อนไก่ ยังต้องเจอปัญหาสายไฟที่มีความเสื่อมโทรมจากสภาพการใช้งานทำให้เกิดไฟฟ้ารั่ว หรือลัดวงจรค่ะ ทั้งนี้ก็มีส่วนมาจากงบประมาณที่ไม่เพียงพอในการดูแลชุมชนและประชาชนที่ต้องการ มากที่สุด และขอย้ำนะคะว่าชุมชนการเคหะบ่อนไก่ เขตปทุมวัน มีประชาชนถึง ๑๐,๐๐๐ คน ในใจกลางกรุงเทพมหานครที่เขาเรียกว่า กรุงเทพมหานครเมืองเทพสร้าง แต่ชีวิต ความเป็นอยู่กลับตรงข้ามเหมือนอยู่ในนรกค่ะ นี่ไม่นับรวมประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่ไม่มีทะเบียนบ้านนะคะ ในพื้นที่ที่ต้องดึงมิเตอร์รวมไฟจากที่อื่นเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ใส่พวกเขาค่ะ ไม่มีที่อยู่อาศัยของตนเองอย่างมั่นคงถาวรแล้ว ยังต้องจ่ายค่าไฟแพงกว่า ชาวบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนเองอีกค่ะ หากไม่มีการทลายการผูกขาดของ อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และเปิดเสรี กิจการไฟฟ้าพลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทน ก็เป็นไปได้ยากที่จะแก้ไขปัญหา เชิงโครงสร้างเนื่องจากผู้บริโภคเสียเปรียบเสมอจากการผูกขาดทางการค้า ด้วยปัญหา ที่ดิฉันกล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าปัญหาค่าไฟแพงไม่ได้เป็นปัญหาเส้นตรง แต่เป็นปัญหา ที่สลับซับซ้อนวนไปหน้าบ้างหลังบ้าง และส่งผลกระทบกลับไปกลับมา พร้อมทั้งขยาย และผลักดันปัญหาอื่น ๆ ที่พ่วงตามมาด้วยนะคะ อีกทั้งปัญหานี้คาบเกี่ยวกับหน่วยงานของ รัฐหลายหน่วยงานจึงจำเป็นที่จะต้องใช้กลไกและอำนาจที่เฉพาะและแตกต่างไป จากคณะกรรมาธิการสามัญปกติ ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ไขปัญหาค่าไฟเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ให้สมกับความเร่งด่วนและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน ให้รีบบรรเทาเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชน แค่วินาทีเดียวก็ลดค่าไฟได้เราก็ ช่วยเหลือประชาชนได้หลายร้อยหลายพันคนแล้วค่ะท่าน ดังนั้นดิฉันจึงขอความร่วมมือ และความตระหนักเห็นถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนค่ะ ให้ตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญเพื่อให้เราได้ช่วยกันรีบดำเนินการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และขอให้เพื่อนสมาชิกได้ตระหนักและยืนยันทำหน้าที่ของตน ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ พรรคก้าวไกลค่ะ จากรายงานความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ เรื่อง คณะกรรมาธิการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัด ชายแดนใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดิฉันขออภิปรายสนับสนุนและเรียกร้องควรให้การสนับสนุนร่างพระราชบัญญัตินี้เพื่อยกเลิก คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ในเรื่องคณะกรรมาธิการที่ปรึกษา บริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่มีการลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๙ การยกเลิกคำสั่งนี้ มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อรื้อฟื้นกลไกตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ เดิมชื่อว่าสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ที่เคย ดำเนินงานอยู่มาหลายปี ก่อนจะถูกยกเลิกเปลี่ยนแปลงโดยคำสั่งพิเศษของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แกนนำคณะรัฐประหารมาเป็นกลไกที่เรียกว่า คณะกรรมการที่ปรึกษา และถูก บังคับใช้มาจนถึงปัจจุบัน ดิฉันจะขอบอกเหตุผลของการที่จะต้องยกเลิกมรดกเผด็จการ และการสร้างภาพของคณะ คสช. ความจำเป็นที่ดิฉันต้องยกเลิกจะยกมา ๒ เหตุผลหลัก ๆ
เหตุผลแรก คือสิ่งนี้เป็นมรดกของการรัฐประหาร เราปฏิเสธไม่ได้ ขึ้นชื่อว่า เป็นคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ก็ชี้ชัดอยู่แล้วว่าเป็นคำสั่งที่ออกมาโดยไม่มีการ มีส่วนร่วมของประชาชน ไม่มีความชอบธรรมของการเป็นตัวแทนของประชาชน และเมื่อ ผสมโรงกับประเด็นของความขัดแย้งใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ก็ต้องบอกว่าการรับฟัง มากกว่าพูดสั่งสอน ต้องการความเห็นของคนในพื้นที่ ความเป็นมรดกของเผด็จการที่เอาแต่ ชี้นิ้วสั่งโดยที่ไม่รับฟัง อาศัยแต่ความคิดและความพึงพอใจของตน และไม่เป็นประชาธิปไตย ย่อมไม่อาจถูกยอมรับได้และไม่ใช่เครื่องมือแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง การยกเลิกสิ่งนี้จะเป็น ความจริงใจก้อนแรกของการคืนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาความ ขัดแย้งและสร้างสันติภาพที่เกิดขึ้นได้จริงค่ะ
เหตุผลที่ ๒ คณะกรรมการที่ปรึกษานอกจากจะมาจากระบบเผด็จการแล้ว ตัวที่ปรึกษาเองก็มีความเป็นเผด็จการและไม่รับฟังความคิดเห็น จำนวนสมาชิกทั้ง ๖๐ คน ของคณะกรรมการที่ปรึกษา จำนวนกว่า ๔๕ คนหรือ ๓ ใน ๔ มาจากการเสนอชื่อของ กอ.รมน. หรือ ศอ.บต. โดย กอ.รมน. เป็นหน่วยงานที่ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นหน่วยงานความมั่นคงจากส่วนกลางและกองทัพ ส่วนอีก ๑๕ คนที่เหลือมาจากการเสนอชื่อของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งผู้ว่าก็เป็นข้าราชการที่แต่งตั้ง ในกระทรวงมหาดไทย โดยสรุปแล้วคณะกรรมการนี้ไม่แตกต่างอะไรกับการสร้างภาพของ ระบอบเผด็จการที่พยายามฉายภาพของการมีส่วนร่วม แต่เป็นส่วนร่วมจากส่วนกลาง ภายนอกดูดี ข้างในกลวง ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะลบล้างความไม่จริงใจนี้และแก้ไขปัญหา ให้สิ้นซากไป ให้คนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมจริง ๆ และได้ แสดงความคิดเห็นของตนเพื่อพัฒนาพื้นที่บ้านเกิดของเขาและสังคมของพวกเขา โดยสภา ที่ปรึกษาการบริหารการพัฒนา ๓ จังหวัดชายแดนใต้แต่เดิมนั้น มีที่มาค่อนข้างหลากหลาย ในจำนวนทั้งหมด ๔๙ คน โดยมาจากตัวแทนของคนในพื้นที่ อาทิเช่น ตัวแทนองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนของกลุ่มสตรี กลุ่มผู้นำทางศาสนา หอการค้า และผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ การให้กลับไปเป็นสภาแบบที่ปรึกษาการบริหารการพัฒนาจังหวัด ชายแดนใต้นั้น เนื่องจากเราเห็นได้ว่าคำสั่งคณะกรรมการที่ปรึกษา ณ ขณะนี้ไม่มีผู้แทนจาก ประชาชนในพื้นที่ตามที่ได้นำเรียนไปข้างต้น รวมทั้งการที่ประชาชนในพื้นที่ก็ไม่มีบทบาท ในการมีส่วนร่วมใด ๆ อาทิเช่น การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญซึ่งควรให้คนในพื้นที่ ณ เวลานี้จะดีกว่าหรือไม่คะท่านประธาน ให้คนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดของเขาเองในการฟื้นฟูสภาที่ปรึกษา การช่วยเพิ่มสัดส่วนของการมีส่วนร่วมของประชาชน หากมีคนในพื้นที่มาสร้างความรู้สึก ปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่และสามารถที่จะเปิดรับฟังเสียงของคนที่มีลักษณะรูปแบบของ การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับคนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น เพราะขณะนี้เราขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและคนในพื้นที่ของ ๓ จังหวัดชายแดนใต้เป็นอย่างมากที่จะสะท้อนเสียง ของคนในพื้นที่อย่างแท้จริงให้นำมาสู่แนวทางการแก้ไข จากในรายงานมีการจัดทำ กระบวนการฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ในรายงานนี้มีข้อสรุปว่าคนส่วนใหญ่ ให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ผ่านกฎหมาย ซึ่งเห็นได้ว่าเราควรจะเอามาพูดคุยกันว่าคณะกรรมการ ที่ปรึกษาและการบริหารการพัฒนา ๓ จังหวัดชายแดนใต้อาจจะยังไม่ตอบสนองหรือสอดรับ กับกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการทำงานที่ผ่านมาค่ะ
ประเด็นสุดท้าย ที่ดิฉันอยากยืนยันต่อท่านประธานและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ว่าเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ดิฉันควรจะผลักดันร่างพระราชบัญญัตินี้ คือกระบวนการ สันติภาพที่จะก่อเกิดขึ้นได้จริงนั้นต้องมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย มีความจริงใจจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายบริหารค่ะ เพราะดิฉันได้พูดคุยกับนักวิชาการจากประเทศมาเลเซียที่เป็น หนึ่งในคณะกรรมการการสร้างสันติภาพในประเทศมาเลเซียเขาบอกว่าประธานาธิบดี ของมาเลเซีย ณ ขณะนั้นให้ความสำคัญเป็นวาระแห่งชาติในปัญหาความรุนแรงระหว่างลัทธิ ความรุนแรงในพี่น้องมุสลิมในประเทศมาเลเซีย จึงสามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างถ่องแท้ เมื่อขาดการมีส่วนร่วมและไม่ให้คนในพื้นที่ได้แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาย่อมไม่นำไปสู่ สันติภาพอย่างแท้จริง รวมไปถึงการขาดความจริงใจจากฝ่ายบริหารก็จะไม่นำไปสู่สันติภาพ อย่างแท้จริง เพราะเรื่องนี้จะไม่เป็นวาระแห่งชาติเลย ถ้าฝ่ายบริหารไม่ให้ความใส่ใจค่ะ อีกทั้งเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ คณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ นำโดย ท่านฉัตรชัย บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อปลายปีที่ผ่านมาได้พูดคุยอย่างเป็น ทางการกับตัวแทนของ BRN ครั้งที่ ๗ ภายใต้การอำนวยความสะดวกของทางการมาเลเซีย ปรากฏทิศทางที่ดี โดยในแถลงการณ์รายงานความคืบหน้าก็ระบุชัดเจนว่าจำเป็นต้องเปิด ให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาร่วมในกระบวนการ ดังนั้นดิฉันและเพื่อนสมาชิกเชื่อเป็นอย่างยิ่ง ว่าทุกท่านในนี้อยากเห็นสันติภาพของประชาชนทุกหมู่เหล่า อยากให้ประเทศไทยเปิดกว้าง และยอมรับความเห็นต่างอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ควรสนับสนุนร่างพระราชบัญญัตินี้ เปิดกว้างและเป็นมิตรต่อการสร้างสันติภาพที่มีคุณภาพเพื่อให้เกิดความคืบหน้าและ ขอความจริงใจจากฝ่ายบริหารในการผลักดันวาระของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปเป็น วาระแห่งชาติให้ได้ค่ะ ท่านประธานคะ ปัญหาความรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาของพวกเราทุกคนค่ะ หากใครสักคนถูกละเมิดสิทธิโดยภาครัฐ เท่ากับเราทุกคน ก็ไม่มีสิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกัน ลองคิดว่าหากเราไปอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น ถูกรัฐกดขี่ ด้วยกฎหมายความมั่นคงและละเมิดอย่างต่อเนื่องเราจะรู้สึกอย่างไรคะ สงครามกลางเมือง และความรุนแรงไม่ควรเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้แล้ว ดิฉันฝันเห็นสันติภาพใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ สังคมพหุวัฒนธรรมที่เคารพความแตกต่างและหลากหลาย หากรัฐบาลนี้ เชื่อในประชาธิปไตยและความเท่าเทียม ดิฉันคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ดิฉันขออนุญาตยืมคำของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) บิดาของประชาธิปไตย All men are created equal คือมนุษย์ทุกคนเกิดมาอย่างเท่าเทียมกันค่ะท่านประธาน แต่อย่างไรก็ตามตอนที่โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) พูดคำนี้ คนผิวดำก็ยัง ไม่มีสิทธิที่จะเลือกตั้ง ผู้หญิงก็ยังไม่มีสิทธิที่จะเลือกตั้ง แต่การเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย คำนี้ได้เป็น Blueprint หรือเป็นพิมพ์เขียวให้มีการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายไปสู่ความ เป็นจริงได้ การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายอาจจะไม่ได้เปลี่ยนสังคมไปทุกอย่าง ณ ทีเดียว ณ ทันที แต่จะค่อย ๆ เปลี่ยนสังคมไปแบบที่เราอยากเห็นได้ค่ะ และขอให้ปัญหาความรุนแรง ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากไม่มีใครควรถูกฆ่าตาย ซ้อมทรมาน หรือจับกุมเพราะอุดมการณ์หรือความเห็นที่แตกต่างจากภาครัฐอีกต่อไป ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน สาธร และราชเทวี ขออนุญาตสไลด์ขึ้นค่ะ
ขอร่วมอภิปรายร่าง พ.ร.บ. การรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองผู้มีความหลากหลายทางเพศ ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าในสังคมที่มีความหลากหลายของกลุ่มคนเพศสภาพต่าง ๆ หรือ LGBTQAI+ และการครอบคลุมความหลากหลายเหล่านั้นเรียกว่า Inclusivity สิ่งสำคัญ อย่างแรกคือภาษา หรือแม้กระทั่งการประยุกต์ใช้ของภาษาในแต่ละสังคมนั้น ๆ ก็จะ ครอบคลุม เช่น การใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงทางด้านกฎหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มีกันให้เห็นอยู่ ในหลายประเทศ ซึ่งเพื่อนสมาชิกก่อนหน้านี้ก็ได้ยกตัวอย่างไปก่อนหน้าแล้ว ดิฉันมองว่า การคำนึงถึงรายละเอียดเหล่านี้และค่านิยมเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ และสะท้อนให้เห็นถึง การพัฒนาของสังคมเราไปสู่สังคมที่หลากหลาย เพราะว่าในขณะนี้พวกเราทุกคนกำลังทำ หน้าที่ขับเคลื่อนเพื่อที่จะนำประเทศไปสู่ความก้าวหน้าบนเวทีโลก และการเป็นประเทศผู้นำ หรือต้นแบบในด้านเหล่านี้ยังสามารถช่วยผลักดันเสริมศักยภาพที่สอดคล้องกับนโยบายของ รัฐบาลด้าน Soft Power ให้แก่ประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน จริงอยู่ว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้าง Soft Power นั้นมีอยู่หลายอย่าง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็ควรจะ เป็นแนวทางต่อประเด็นในเรื่องของความหลากหลายทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และ บทบาททางเพศ ซึ่งดิฉันได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ก็ได้เห็นว่าในภาษากฎระเบียบต่าง ๆ ที่เขียน ใช้เกี่ยวกับภาษาช่วยส่งเสริมให้ไม่มีการแบ่งแยก พร้อมถึงการแสดงถึงความหลากหลายและ ครอบคลุมถึงกลุ่มคนต่าง ๆ ภาษามีการวิวัฒนาการแล้วก็ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น มีมาหลาย ศตวรรษแล้ว ภาษาเรามีการวิวัฒนาการเรื่อยมาให้สอดคล้องกับยุคสมัยนั้น ๆ นั่นเป็นการ สะท้อนถึงสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ของสังคมหรือโลกาภิวัตน์ ซึ่งทำให้เรื่องนี้ไม่ใช่ ปรากฏการณ์ใหม่ หรือไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรเลย เพราะจริง ๆ แล้วคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็มาจากวิวัฒนาการของภาษาและสังคมตามกาลเวลา การวิวัฒนาการ เกิดขึ้นในทุก ๆ ประเทศ ดิฉันขอยกตัวอย่างประเทศสวีเดน เมื่อปี ๒๐๑๑ ประเทศสวีเดน ได้มีการบัญญัติเพิ่มคำสรรพนามหรือคำนำหน้าให้มีความเป็นกลางทางเพศ ไม่ระบุเพศ หรือ ที่เรียกว่า Gender Neutral นั่นคือคำว่า Hen นอกจากนี้ยังมีใช้คำว่า Hon ที่ใช้สำหรับผู้ที่ ระบุตนกับเพศสภาพชายและ Han ที่ใช้สำหรับระบุตนกับเพศสภาพหญิง ซึ่งเป็นคำเดิม ที่มีอยู่แล้ว นั่นเป็นการสะท้อนถึงสังคมของสวีเดนที่มีความหลากหลายและครอบคลุมคน ทุกกลุ่มมากยิ่งขึ้นค่ะ และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่ประเทศสวีเดน แต่ประเทศอื่น ๆ เองก็มีการ บัญญัติศัพท์ที่ช่วยส่งเสริมความเป็นกลางทางเพศเช่นเดียวกัน อย่างในประเทศนอร์เวย์ล่าสุด เพิ่มคำว่า Hen เพื่อเป็นอีก ๑ ช่องทาง อีก ๑ ทางเลือกในการใช้สรรพนามเช่นเดียวกัน หรือประเทศใกล้ ๆ บ้านเราในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างประเทศฟิลิปปินส์ก็มีสรรพนาม คำว่า Siya ที่ไม่ได้มีการระบุว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิงอยู่ด้วย ซึ่งนั่นก็ใกล้เคียงกับ คำสรรพนามว่า They ในภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นบางภาษาก็ไม่มีเพศสภาพทางไวยากรณ์ ด้วยซ้ำไป อาทิเช่น ประเทศตุรกี ประเทศฟินแลนด์ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นได้ชัดว่าโลก ของเราพลวัตมาไกลมากแล้วค่ะท่านประธาน ประเด็นสำคัญที่ดิฉันอยากพูดถึงต่อมาก็คือ ภาษาที่เอามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในเชิงกฎหมาย การพัฒนาและประยุกต์ใช้ ภาษาให้สอดคล้องกับความหลากหลาย ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลก หากมองผ่าน บุคคลที่ไม่ได้ต้องการระบุอัตลักษณ์ทางเพศใด ๆ หรือไม่ได้รู้สึกว่าจำเป็นต้องผูกมัดตัวเองกับ เพศสภาพชายหรือหญิง กลุ่มคนกลุ่มนี้ก็ควรจะมีทางเลือกให้ใช้คำที่พวกเขารู้สึกสบายใจ และเข้าถึงได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็น Transgender หรือว่าบุคคลข้ามเพศ หรือ Non-binary ก็ตาม บางคนใช้คำว่า นาย แม้จะไม่ตรงกับเพศสภาพของตนเองหรืออัตลักษณ์ทางเพศของ บุคคลนั้น บางคนประสงค์ที่จะใช้คำว่า นางสาว แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับ เช่นเดียวกัน บางคนไม่ได้อยากใช้ทั้งสองคำ แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่นค่ะ ถ้าจะให้พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่ เราใช้คำนำหน้านามหรือเรียกสรรพนามผู้ใดก็ควรจะขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น และความตกลง ปลงใจของบุคคลนั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องเรียกก็ได้เช่นกัน และไม่ได้เป็น Flight บังคับนะคะ เพียงแต่ว่าการใช้ภาษาหรือคำศัพท์เป็นการระบุเพศเราอาจจะต้องคำนึงถึงการปรับเปลี่ยน ให้เกิดความเหมาะสมเพื่อให้เกียรติทุก ๆ คน และทุก ๆ เพศสภาพค่ะ และเมื่อมองลึกลงไป ในประเด็นนี้ทำให้ดิฉันนึกถึงคำสรรพนามที่มีความเป็นกลางในภาษาไทยของเราที่มีคำว่า นาย หรือ นางสาว ถ้าเราลองดูคำว่า นาม ไปด้วยก็น่าสนใจนะคะ เพราะคำว่า นาม หมายถึง ชื่อและยังเป็นไวยากรณ์ที่ไว้ใช้เรียก คน สิ่งของ โดยไม่มีการระบุใด ๆ อันนี้ก็เป็นข้อคิด หรือ ว่าใช้คำว่า คุณ เรียกชื่อบุคคลนั้นไปเลยก็ได้เช่นเดียวกัน เหมือนตัวอย่างในประเทศนอร์เวย์ และประเทศนอร์ดิกที่ดิฉันได้ยกตัวอย่างไป ที่ต่างประเทศยังมีการใช้ Mr. Mrs. แล้วก็ Mx. ด้วยนะคะ เพิ่มเติมในด้านของกฎหมายอย่างที่กล่าวมาความสำคัญของภาษา คำที่ใช้ นอกจากสังคมแล้วก็ย่อมสะท้อนถึงกฎหมายเช่นเดียวกัน ที่ผ่านมาในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงไทยสำหรับกลุ่มข้ามเพศหรือ Transgender ที่มักไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย ทุกคนต้องเผชิญกับปัญหาในการใช้คำนำหน้าหรือสรรพนาม กรณีถูกปฏิเสธการรับรอง สถานะเพศ สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิด้านร่างกาย แต่กลุ่มประเทศ Nordic ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ผลักดันนโยบายที่จะขยายความครอบคลุมไปจนถึงกลุ่มคนเหล่านี้ เข้าไปในภาครัฐ การศึกษา และการพัฒนามุมมองของสังคมและสร้างความปลอดภัยต่อบุคคล ทั้งทางวาจา และทางปฏิบัติมาเป็นทศวรรษแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรับรองสถานะทางเพศ เปิดโอกาสให้ เลือกอัตลักษณ์ตามความเหมาะสม และการเข้าถึงสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตามดิฉันทราบว่า การใช้คำนำหน้าอาจจะทำบางท่านงงหรือว่าอาจจะไม่คุ้นชิน แต่ก็ควรแลกมาด้วยค่าใช้จ่าย ทางเลือกของกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศเหล่านี้ ดังนั้นการผลักดันให้ประเทศไทย กลายเป็นต้นแบบต่อนานาประเทศในเรื่องนี้ยังช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะไป พร้อมกับสังคมที่ครอบคลุมทุกกลุ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับ Soft Power ของไทย ในเวทีโลกเช่นเดียวกัน จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดมีประเทศตัวอย่างอื่น ๆ อีกมากมาย ตั้งแต่ กลุ่มประเทศ Nordic ไปจนถึงเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งที่พยายาม ส่งเสริมและการรวมความหลากหลายให้ครอบคลุมทุกกลุ่มทั้งในด้านภาษาและกฎหมาย ก็ยอมรับว่าประเทศไทยเองมาไกลพอสมควร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ที่ยังมีอีกหลายเรื่องที่เรา จะต้องแก้ไขและพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ตามโลกาภิวัตน์หรือว่า Globalization ถึงแม้ว่า ตัวดิฉันจะมีสิทธิในการใช้คำศัพท์ที่ระบุเพศในที่นี้ แต่มันเป็นทางเลือกของดิฉัน แต่เมื่อเวลา ที่ดิฉันเห็นคนรอบข้างที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศก็อยากให้รัฐและสังคมมองเห็น และนึกถึงสิทธิของพวกเขาที่จะมีทางเลือกได้เช่นเดียวกันค่ะ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเรา เพื่อนสมาชิกทุกคนจะตระหนักถึงประเด็นนี้ว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ดิฉันได้กล่าวมาข้างต้น พร้อมทั้งมีความเข้าใจในบริบทของสังคมไทยในด้านของความหลากหลายมากยิ่งขึ้น พร้อม ที่จะเปิดทางเลือกให้ทุก ๆ คน ในรอบด้าน เพราะอย่าลืมว่าประเทศไทยไม่ได้มีเพียงความ หลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ยังมีความหลากหลายในอัตลักษณ์ทางเพศเช่นเดียวกัน ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาทรและเขตราชเทวี พรรคก้าวไกลค่ะท่านประธาน วันนี้ดิฉันมาอภิปรายรายงานผล การพิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของ สภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน พิจารณาสำเร็จแล้วค่ะ ถ้าหลังคา ยังรั่วอยู่ ผู้อยู่จะสุขใจได้อย่างไร ท่านประธานคะ รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากคณะรัฐประหาร คสช. ที่เราทราบกันโดยดีว่ามีแกนนำปฏิวัติที่ตั้งตน เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ปฏิวัติเอง เป็นนายกรัฐมนตรีเอง คนแรกของประเทศไทย รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ เป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกตั้งคำถามถึงความชอบธรรมในเรื่องความเป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นที่มาของตัวธรรมนูญ หรือเนื้อหาภายในที่ยังถูกจัดว่าอยู่ใน Hybrid Constitution หรือรัฐธรรมนูญกึ่งผสม จาก Economic Intelligent ไม่ว่าจะเป็นตัวของ รัฐธรรมนูญ กระบวนการ หรือเนื้อหาเอง ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ถูกนำมาถกเถียงว่าจะมีการจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เรากำลังถกเถียงกันอยู่ขณะนี้ เพื่อให้เป็นการเปิดกว้างในการถกเถียง ในหลาย ๆ ความคิดเห็นของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็ตามเพื่อให้มีการมีส่วนร่วม ในการร่างธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ดิฉันหวังว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายที่เป็นรัฐธรรมนูญ ของประชาชนค่ะ เราผ่านการรัฐประหารมา ๑๓ ครั้ง ทุกครั้งมีการฉีกรัฐธรรมนูญทุกครั้ง นี่เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๒๐ กว่าแล้วนะคะท่านประธาน เพื่อระบอบประชาธิปไตย ที่อำนาจอธิปไตยสูงสุดอยู่ที่ประชาชนค่ะ การมีส่วนร่วมดังกล่าวหากนำมาสู่ เรื่องกระบวนการนั้น คือการร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือที่เราเรียกโดยย่อ ๆ ว่า สสร. ที่ควรจะเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน และดิฉันยังยืนยันในหลักการว่า สสร. ต้องมาจาก การเลือกตั้ง และต้องมีความยึดโยงกับประชาชนเท่านั้นค่ะ แม้บางฝ่ายอาจจะไม่เห็นด้วย ในประเด็นนี้ ด้วยข้อกังวลต่าง ๆ อาทิเช่น ความกังวลที่จะไม่มีพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามามี ส่วนร่วม หรือความกังวลที่ไม่อาจรับประกันได้ว่าจะมีตัวแทนที่มีความหลากหลายทางสังคม หรือข้อกังวลอื่น ๆ แต่ดิฉันคิดว่าภายใต้กระบวนการเลือกตั้งนั้นสามารถออกแบบระบบ เลือกตั้งที่เหมาะสมต่อความกังวลเหล่านี้ได้ค่ะ จึงควรมองไปที่หมุดหมายหลัก คือ สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งทางตรงโดยพี่น้องประชาชน หรือยึดโยงกับประชาชนทั้งหมด เสียก่อน เฉกเช่นเดียวกันกับที่อนุกรรมาธิการนี้อ้างอิงจากรายงานของคณะอนุกรรมาธิการ หน้า ๖ ย่อหน้าที่ ๖ ทางอนุกรรมาธิการมองว่ากรอบคิดหลักหรือ Framework ในการ ออกแบบ สสร. ควรเริ่มต้นด้วยการมองว่า สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นไม่จำเป็นต้องมี สสร. ประเภทเดียว แต่อาจประกอบด้วย สสร. ที่เป็นหลายประเภทที่ล้วนมาจาก การเลือกตั้ง คล้ายกับ สส. ปัจจุบันที่มีการแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท เช่น สส. บัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขต ซึ่งอาจจะต้องมีการแยกย่อของประเภท สสร. ในประเภทต่าง ๆ ตามความ เหมาะสม แต่ต้องอยู่ในกระบวนการที่มีความยึดโยงกับพี่น้องประชาชนเท่านั้น ไม่ควรมี องค์กรที่คัดสรรหรือเลือก สสร. แทนพี่น้องประชาชน หรือกระบวนการที่พิสดาร พิลึกพิลั่น อย่างที่ผ่านมาที่ตั้งกันเอง ตั้งพี่น้องกันเองมาเป็นผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญ และมาเป็นตัวแทน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หลังคามันรั่วมานานแล้วทำให้เจ้าของบ้านซึ่งก็คือพี่น้อง ประชาชนเป็นผู้เลือกเถอะค่ะ ท่าน ๆ ทั้งหลายทราบดีว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยคือต้องอำนาจสูงสุดอยู่ที่พี่น้อง ประชาชน เขาสามารถที่จะตัดสินใจได้ว่าต้องการให้ระบอบการปกครองของประเทศนี้ เป็นอย่างไรค่ะ ตัวอย่างของประเทศ สสร. ในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมาที่ใช้ระบบเลือกตั้ง โดยประชาชน ตัวอย่างแรกคือประเทศชิลีที่ได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นทั่วประเทศเมื่อวันที่ ๑๕-๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา โดย สสร. ทั้งหมดจะมี ๑๕๕ คน โดยประเทศชิลีจะแบ่ง สสร. เป็น ๒ ประเภท ประเภท ก คือเป็นตัวแทนในพื้นที่ จำนวน ๑๓๘ คน หรือคิดเป็น ๘๙ เปอร์เซ็นต์ และประเภท ค คือที่นั่งสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นไปตามบริบทความเหมาะสมของประเทศชิลีที่มี ๑๗ คน หรือ ๑๑ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็น ตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศเขา ซึ่งทั้งหมดใน ๑๗ คนนี้แต่ละคนจะถูก คัดเลือกจากกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเอง และในประเทศชิลียังให้สิทธิในการกำหนดสัดส่วน เพศชายหญิงที่เท่ากันในทุกเขตเลือกตั้ง หรืออย่างประเทศไอซ์แลนด์มีการเลือกตั้ง สสร. เมื่อปี ๒๕๕๓ ในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ซึ่งมี สสร. ทั้งหมด ๒๕ คน โดยประเภท ก หรือ ตัวแทนพื้นที่ทั้งหมดต้องมีสัดส่วนให้ สสร. มีผู้แทนที่เป็นผู้หญิง ๔๐ เปอร์เซ็นต์จากทั้งหมด อันนี้เป็นตัวอย่างในต่างประเทศที่มีการเลือกตั้ง สสร. ในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีการออกแบบให้เปิดพื้นที่ให้หลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการที่จะร่างรัฐธรรมนูญค่ะ แม้ว่าในประเทศไทยที่ผ่านมายังไม่มีกระบวนการ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ทั้งหมด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในโลกนี้นะคะ ซึ่งดิฉันสนับสนุนว่า กระบวนการออกแบบที่มาของ สสร. ต้องผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชนหรือมีการยึดโยงกับ ประชาชนทั้งหมด โดยจะแบ่งประเภท สสร. เป็นประเภทต่าง ๆ อาทิเช่น นักวิชาการหรือ กลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนพี่น้องชาติพันธุ์ ตัวแทนสาขาวิชาชีพอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้สามารถ ไปออกแบบได้ในระบบเลือกตั้งของ สสร.
ประเด็นต่อมาดิฉันเห็นว่ามีความสำคัญไม่แพ้กับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นที่ประชาชนควรมีส่วนร่วมอยู่ตลอดและเป็นการเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการฟังความคิดเห็นโดยทุกกลุ่ม ทุกความแตกต่างค่ะ เพราะนั่นคือ รัฐธรรมนูญของพวกเขาทุกคนที่ไม่ควรมีใครถูกปิดกั้นในการแสดงความคิดเห็น
ประเด็นสุดท้าย ดิฉันสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สามารถแก้ไขได้ ทั้งฉบับ ทุกหมวด ทุกมาตรา ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องประชาชน ได้อย่างบริสุทธิ์ใจจริง ไม่มีการปิดกั้นบางหมวดหรือมาตราใด ๆ รวมถึงหมวด ๑ หมวด ๒ พวกเราเชื่อว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน ไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ
สรุป ประเด็นแรก ดิฉันสนับสนุนให้ที่มาของ สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยตรงผ่านประชาชนหรือมีการยึดโยงกับประชาชน ประเด็นที่ ๒ กระบวนการรัฐธรรมนูญ ของ สสร. ต้องมีความยึดโยงกับประชาชน ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกภาคส่วน และประเด็นสุดท้าย ร่างรัฐธรรมนูญนี้สามารถแก้ไขได้ทุกหมวด ทุกมาตรา เจ้าของบ้านต้องเป็นผู้ตัดสินใจเองค่ะในการซ่อมหลังคาบ้าน เขามีสิทธิที่จะซ่อม ในจุดไหนก็ได้ในบ้านของเขา ใครจะไปห้ามประชาชนมิได้ ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน สาทร และราชเทวี พรรคก้าวไกลค่ะ ในฐานะคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวนะคะ ดิฉันเห็นว่าไม่ควรลดอายุ หรือเพิ่มโทษเด็กและเยาวชนค่ะ หรือการยกเลิกกฎหมายเยาวชน เพราะในทางอาชญาวิทยา และหลักสากลทั่วโลกมองว่าเด็กและเยาวชนเป็นวัยที่ยังอ่อนต่อประสบการณ์และขาด ความคิดเห็นอย่างเป็นเหตุเป็นผลค่ะ ซึ่งแตกต่างจากผู้ใหญ่นะคะ ซึ่งอยู่ในวัยคึกคะนอง อยากรู้อยากลอง เขาอาจจะทำผิดพลาดไป ฉะนั้นการลงโทษเด็กและเยาวชนจึงควรเป็น การให้โอกาสแก้ไขฟื้นฟูนิสัยและพฤติกรรม ดิฉันเข้าใจดีว่าสังคมกำลังตั้งคำถามถึงกรณี เยาวชนที่ก่อเหตุโหดร้ายเกินความเป็นเด็กและเยาวชน เช่น เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน อันนี้เป็นเขตที่ดิฉันได้รับเลือกตั้งมาเองนะคะ ป้าบัวผัน และเหตุการณ์แทงเพื่อนนักเรียน มัธยมพฤติการณ์แห่งคดีเหล่านี้ถ้าจะต้องพิจารณาโทษแบบผู้ใหญ่หรือไม่ ดิฉันมองว่า ในส่วนนี้มีกฎหมายที่กำหนดขั้นตอนและมาตรการให้ผู้พิพากษาสามารถที่จะใช้ดุลพินิจ ในการพิจารณาคดีจากการกระทำและผลของการกระทำได้ โดยกฎหมายดังกล่าวจะเป็น บทบัญญัติ ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๙๗ วรรคสอง คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชน และครอบครัว ถ้าศาลเยาวชนและครอบครัวพิจารณาโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญาและนิสัยแล้ว เห็นว่าในขณะกระทำความผิดหรือในระหว่างการพิจารณาเด็ก หรือเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำความผิดมีสภาพเช่นเดียวกับบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป ให้มีอำนาจสั่งโอนคดีไปพิจารณาในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้อยู่แล้ว ดังนั้นแล้ว บทบัญญัติของกฎหมายที่มีแต่เดิมก็เพียงพอต่อการที่จะบังคับใช้กฎหมายให้มีความเท่าเทียม และเหมาะสมกับสภาพการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น อย่างกรณีข้างต้นศาลอาจใช้ดุลพินิจ พิจารณาว่ามีการเตรียมการวางแผนไว้หรือไม่ มีการตระเตรียมหรือไม่ พฤติกรรมที่ก่อเหตุ ทารุณ ทารุณกรรมโหดร้ายเกินกว่าที่เด็กและเยาวชนปกติจะกระทำหรือไม่ ด้วยสภาพจิต สติปัญญา นิสัย และร่างกาย สมควรจะดำเนินคดีโดยใช้มาตรการแบบเด็กหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ ต้องกล่าวว่าในศาลหากกฎหมายไม่ได้เปิดช่องเอาไว้แล้ว ดิฉันจึงขอยืนยันว่าไม่จำเป็น ที่จะต้องปรับอัตราโทษของเด็กและเยาวชนให้เพิ่มขึ้น ทั้งควรให้น้ำหนักและพิจารณาถึง สาเหตุและการกระทำความผิดของเด็กและสภาพแวดล้อมที่กล่อมเกลาตัวเด็กเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่อีก ๑๐ ล้านคนในประเทศนี้ค่ะ ถ้าหากอ้างอิงถึง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กหรือที่เรียกว่า Convention on the Rights of the Child (CRC) ที่เป็นสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับรองสัตยาบันในประเทศไทยแล้วในปี ๒๕๓๕ และได้มี การยอมรับถ้วนหน้าในระดับสากล โดยอนุสัญญาดังกล่าวได้ระบุรายละเอียดพื้นฐานต่าง ๆ ของทุกประเทศที่ต้องรับประกันให้เด็กและเยาวชนในประเทศของตน อาทิ เช่น สิทธิในการ มีชีวิตรอด สิทธิที่ได้รับการพัฒนา สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้มีส่วนร่วม ในการแสดงออกหรือในความคิดเห็น หรือในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อ สตรีทุกรูปแบบ หรือที่เรียกว่า The Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women หรือที่เรียกว่า CEDAW เพื่อขจัดการปฏิบัติต่อสตรี รวมถึงสตรีที่เป็นเด็กทั้งในเรื่องการการเมือง สังคม วัฒนธรรมและชีวิตครอบครัวด้วยค่ะ จึงเห็นได้ว่านานาประเทศมีแนวทางปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชน การไม่เลือกปฏิบัติต่อสตรี ไปในแนวทางเดียวกัน ปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่ไม่เหมาะสมจึงอาจจะเกิดจากปัจจัยอื่นที่ ไม่ใช่ด้านการเพิ่มโทษให้รุนแรงขึ้น ดิฉันขออนุญาตยกสถิติการกระทำความผิดเกี่ยวกับ เยาวชนที่ถูกจับกุมส่งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในปี ๒๕๖๕ จำแนกตาม ฐานความผิดให้เห็นดังนี้ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ๑,๘๒๘ คดี ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและ ร่างกาย ๑,๖๙๕ คดี ความผิดเกี่ยวกับเพศ ๖๑๒ คดี ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุข เสรีภาพ และชื่อเสียงการปกครอง ๔๐๗ คดี ความผิดอื่น ๆ เกี่ยวกับยาเสพติด ๔,๘๘๕ คดี และความผิดอื่น ๆ ๒,๗๖๕ คดี รวมทั้งหมดเป็น ๑๖,๑๙๒ คดี ในปี ๒๕๖๕ ซึ่งเรามี ประชากรที่เป็นเด็กและเยาวชนทั้งหมด ๑๐.๙ ล้านคน และผู้กระทำความผิดรวมทั้งหมด มีเพียง ๐.๑๒ เปอร์เซ็นต์ของประชากรเยาวชนทั้งประเทศ
ซึ่งดูจากสถิติแล้ว ตามภาพประกอบบนสไลด์จะเห็นว่าเยาวชนที่ก่อคดีตั้งแต่ปี ๒๕๕๓-๒๕๖๕ ในแต่ละปี มีจำนวนที่ลดลงเรื่อย ๆ ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นดิฉันมองเห็นว่ากฎหมายที่มีอยู่ปัจจุบันไม่ใช่ ปัจจัยหลักที่ทำให้เยาวชนก่อคดีอาชญากรรมมากขึ้น แต่เราอาจจะต้องไปดูการนำกฎหมาย ที่มีอยู่มาบังคับใช้อย่างจริงจังเป็นกรณีไปค่ะ เราไม่ควรนำกรณีเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นมาเป็น ข้ออ้างในการแก้กฎหมายเพื่อลงโทษเยาวชนไม่กี่คน และเยาวชนอีก ๑๐ ล้านคนก็ต้องรับ ผลกรรมนั้นไปด้วย สิ่งที่ดิฉันอยากให้มีการแก้ไขอย่างจริงจังมากกว่าการเพิ่มโทษในกรณีของ เยาวชนที่กระทำความผิดคือการมองลึกลงไปที่ปัญหาในระบบ ๑. ระบบการศึกษาที่ป้องกัน การกลั่นแกล้งในโรงเรียน เพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านก็ได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้แล้ว Anti-bullying หรือว่า Zero Tolerance to Bullying หรือระบบป้องกันการปลอดภัยในสถานศึกษา และ ๒. นักจิตเวชในโรงเรียนหรือสถานศึกษา และนักจิตเวชเฉพาะทางสำหรับเยาวชน ๓. การปฏิบัติตามหลักสากลตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่เราได้ลงสัตยาบันไว้แล้ว สิ่งที่ ดิฉันอยากให้มีการแก้ไข ทำไมพวกเขาเหล่านั้นถึงมีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบใช้ความรุนแรง ทำร้ายผู้อื่น พฤติกรรมเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไข พฤติกรรมเด็กก็จะเริ่มเบี่ยงเบนออกจาก สังคม หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะพาไปสู่การละเมิดกฎหมายในที่สุด และถ้าพฤติกรรม ที่ละเมิดกฎหมายยังไม่ถูกแก้ไขอีกก็จะเกิดความรุนแรงในการละเมิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็นคดีอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบันค่ะท่านประธาน สุดท้ายดิฉันอยากจะฝากให้กับ ทุกคนได้คิดว่าสิ่งสำคัญมากกว่าการแก้ไขกฎหมาย คือประเทศเราได้ดูแลคุณภาพชีวิตเด็ก และเยาวชนได้ดีมากน้อยเพียงใด ให้การศึกษาเพียงใดในการอบรมเลี้ยงดู มีคุณภาพเพียงพอ หรือไม่ ได้สร้างสวัสดิการต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับเยาวชนแล้วหรือยัง รวมไปถึง เยาวชนที่อยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้มีการฟื้นฟูเพื่อที่จะกลับมาสู่สังคม อีกครั้งแล้วหรือไม่ ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ พรรคก้าวไกล ดิฉันขออภิปรายสนับสนุนการตั้ง กมธ. วิสามัญเพื่อศึกษา พ.ร.บ. นิรโทษกรรม แก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิด อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งเป็น ร่างกฎหมายที่ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่พรรคการเมืองของดิฉันอย่างพรรคก้าวไกล แต่เราจะได้เห็นถึงการรณรงค์ นิรโทษกรรมของภาคประชาสังคมได้มีการทยอยจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและอย่างคึกคัก ในช่วงเวลาที่ใกล้จะถึงนี้ ทั้งนี้ดิฉันอยากขอนำเรียนไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านและ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ผ่านท่านประธานโดยเน้นย้ำว่าการนิรโทษกรรมไม่ใช่เรื่องใหม่ ของสังคมไทย แต่มีมานานหลายสิบครั้ง นับตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ รัฐธรรมนูญ โดยมีจำนวนทั้งหมดมากกว่า ๒๓ ครั้ง อย่างน้อย ๑๑ ครั้ง และมีตัวละคร ที่เรียกว่า คณะรัฐประหาร มาเกี่ยวข้องในบทบาทของผู้ถูกนิรโทษกรรมหลังจากเข้ามาทำ รัฐประหารอยู่เสมอ ดังนั้นนิรโทษกรรมไม่ใช่เรื่องใหม่ หากคณะรัฐประหารสามารถที่จะ นิรโทษกรรมตนเองได้ ประชาชนก็ต้องสามารถนิรโทษกรรมให้กับประชาชนได้เช่นเดียวกัน และหากร่างกฎหมายนี้ถูกบังคับใช้ ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่เราจะมาใช้แนวทางสันติวิธีในการกำจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างมีอารยะ อย่างมีวุฒิภาวะ และเคารพในสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนค่ะ ทำไมต้องนิรโทษกรรม คำตอบนั้นง่ายมากค่ะท่านประธาน ไม่มีใครสมควรถูกดำเนินคดีด้วยเหตุผลที่มีความคิด แตกต่างจากคนอื่นในสังคมหรือจากรัฐบาลค่ะ นับจากการเคลื่อนไหวในการแสดงออกของ ภาคประชาชนมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ จากรายงานของศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชน มีผู้ถูก ดำเนินคดีแล้วอย่างน้อย ๑,๙๓๙ คน ในจำนวน ๑,๒๖๔ คดี ยังไม่ย้อนไปถึงปี ๒๕๔๙ มีการ คาดการณ์ว่ามีการดำเนินคดีทางการเมืองแล้ว ๖,๐๐๐ คดี ซึ่งอาจจะมากไปกว่านั้น ๖,๐๐๐ คดีนี้ ไม่ใช่แค่หมายศาล แต่เป็นจำนวนของชีวิตคน จำนวนของครอบครัว จำนวน ของคนรอบข้าง พ่อแม่ พี่น้อง ปู่ย่า ตายายที่ได้รับผลกระทบจากความเจ็บปวด จากการ ดำเนินคดีกำจัดผู้เห็นต่าง เพียงเพราะสมาชิกในครอบครัวของเขาออกไปแสดงความคิดเห็น ออกไปชุมนุมเพื่อสิทธิ เพื่อเสรีภาพ เพื่อความเท่าเทียม เพื่อประชาธิปไตย และสิ่งที่เขาได้รับ คือลูกกรงและคราบน้ำตาค่ะ ท่านประธานดิฉันขอถามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านในนี้ ล้วนมาจากการเลือกตั้ง มาจากคุณค่าในระบอบประชาธิปไตยที่เชื่อถือในสิทธิเสรีภาพในการ แสดงออกและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่มีใครที่ตรวจสอบไม่ได้ ไม่มีใครที่วิพากษ์วิจารณ์ ไม่ได้ ไม่มีใครที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ หากพวกเราในฐานะสมาชิกผู้แทนราษฎร ในฐานะตัวแทน ของพี่น้องประชาชนไม่สามารถรักษาและปกป้องการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ได้แล้ว นี่เป็นสิ่งที่อัปยศที่สุดในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนของพี่น้องประชาชนค่ะ ดิฉัน อยากให้ทุกท่านตระหนักถึงชีวิตของพี่น้องประชาชนในเรือนจำ ชีวิตของพ่อแม่ ชีวิตของลูก ของใครสักคนที่แฝงอยู่ในตัวเลขเหล่านี้ อีกประเด็นที่ดิฉันอยากเน้นย้ำ การนิรโทษกรรม ของพรรคก้าวไกลไม่ได้ตั้งอยู่บนการยกโทษ แต่เป็นการคืนความยุติธรรมให้พวกเขาที่ไม่ใช่ อาชญากร ไม่ใช่ผู้กระทำผิด ในประวัติศาสตร์โลกไม่ว่าจะเกิดความขัดแย้ง เกิดสงคราม เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ มักมีศาล ที่ถูกตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจหรือวิสามัญเพื่อการปรองดองการสมานฉันท์ การตามหาความจริงจาก ยุคเปลี่ยนผ่านไปสู่สันติภาพ ตัวอย่างเช่น Nuremberg Trials ศาลอาญาระหว่างประเทศ รวันดา หลังจากมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศรวันดา ในปี ค.ศ. ๑๙๙๔ ศาลอาญาระหว่าง ประเทศในอดีตยูโกสลาเวียหรือว่า ICTY ในปี ๑๙๙๓ และที่เพื่อนสมาชิกได้กล่าวถึง คือ ประเทศแอฟริกาใต้ อาร์เจนตินา และชิลี ที่มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบค้นหา ความจริงเพื่อการปรองดองหรือที่เรียกว่า Truth And Reconciliation Commission บนพื้นฐานของหลักการคืนความยุติธรรมต่อเหยื่อเพื่อสร้างความปรองดองระหว่างผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ เคารพสิทธิมนุษยชนภายใต้อาณัติและข้อกำหนดของคณะตรวจสอบและค้นหา ความจริง โดยให้มีการเปิดให้มีการเจรจาสารภาพผิดหรือ Confession จากทุกฝ่าย เมื่อมีการ สารภาพผิดก็ต้องมีการให้อภัย รวมกับให้การสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้ระบอบ เผด็จการอย่างเป็นธรรมและต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งแนวทางนี้ถูกออกแบบมา เพื่อถอดบทเรียนจากมรดกอันเจ็บปวด เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ถูกกระทำ ป้องกัน ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อประเทศจะได้ก้าวไปข้างหน้า คณะกรรมการตรวจสอบ และค้นหาความจริง ได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีผลลัพธ์ที่ดีในประชาคมโลก ดิฉันจะ ไม่พูดถึงโครงสร้างคณะกรรมการสมานฉันท์ เพราะเพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้ แล้ว แต่จะเน้นไปที่กระบวนการ ซึ่งใน Model ของแอฟริกาใต้ นำโดยเนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela) การสารภาพความผิดหรือ Confession เป็นปัจจัยหลักที่นำมาซึ่ง การนิรโทษกรรมของแอฟริกาใต้ เพราะนำมาซึ่งการเยียวยาทางจิตใจหรือ Closure ของ เหยื่อเป็นกระบวนการที่คล้ายคลึงกับกระบวนการศาล แต่แทนที่ผู้พิพากษาจะให้โทษ กลับกลายเป็นให้การนิรโทษกรรมกับผู้ที่สารภาพผิด หากการกระทำเป็นอาชญากรรม ที่เกี่ยวข้องกับคดีที่มีเจตนารมณ์ทางการเมืองหรือ Politically Motivated Crimes เท่านั้น หรือมีเจตนารมณ์ทางการเมืองทั้งฝ่ายภาครัฐและฝ่ายภาคประชาชน ไม่เกี่ยวข้องกับคดี อาชญากรรมอื่น ๆ เช่น คดีโจรกรรม ทุจริตคอร์รัปชันไม่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่นการเปิดเผย ว่าการบังคับสูญหายได้เอาศพไปซ่อนไว้ที่ไหน ทำอะไรกับเหยื่อบ้าง ให้เหยื่อได้รับรู้ถึง ความเป็นจริง เพราะการที่เหยื่อจะสามารถเยียวยาทางจิตใจได้เขาต้องทราบก่อนว่าพ่อแม่ พี่น้องเขาถูกกระทำอย่างไรบ้าง เสียชีวิตได้อย่างไร ปัจจุบันในประเทศของเรา เหยื่อผู้ถูก บังคับสูญหาย ยังไม่รู้เลยว่าครอบครัวของพวกเขาถูกทำอะไรบ้างและอยู่ที่ไหน แน่นอน มันเป็นกระบวนการที่เจ็บปวดสำหรับทั้ง ๒ ฝ่าย ถ้าท่านเคยดูสารคดีของกระบวนการ สมานฉันท์ในแอฟริกาใต้ ทั้ง ๒ ฝ่ายก็ร้องไห้ แล้วก็สารภาพต่อความผิด แล้วก็มีความ เจ็บปวดจากผู้เสียหายและเหยื่อ แต่มันเป็นทางเดียวที่จะเยียวยาทางจิตใจหรือ Finding Closure ให้กับเหยื่อได้ คือการตามหาความจริง และการรับทราบความจริง ซึ่งของแอฟริกาใต้ ไปไกลกว่าเราด้วยซ้ำ คือทั้งฝั่งเจ้าหน้าที่รัฐ และฝ่ายประชาชนได้รับการนิรโทษกรรมจากทั้ง ๒ ฝ่าย ร่างของพรรคก้าวไกลมีเพียงประชาชนที่ได้รับการนิรโทษกรรม แต่ของแอฟริกาใต้ เขาได้รับการนิรโทษกรรมถ้าสารภาพผิด สารภาพผิดคุณก็จะได้รับการให้อภัย เช่น ในชิลี ครอบครัวของเหยื่อที่ถูกระบุโดยคณะกรรมการในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย ที่จะคืนความยุติธรรมให้นั้นจะทำการตรวจสอบทุกเดือนตามขอบเขตอำนาจของรัฐบาลใหม่ เพื่อค้นหาความจริงและคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อและครอบครัว พร้อมมีคณะกรรมาธิการ Restrict ที่จะช่วยเสริมสร้างประเทศจากยุคเผด็จการไปสู่ประชาธิปไตย ในแอฟริกาใต้ ใช้กลไกความปรองดอง โดยจัดตั้งคณะกรรมการตามหาความจริงในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เพื่อฟื้นฟูรักษาเยียวยาเหยื่อในยุคแบ่งแยกสีผิวหรือที่เรียกว่า Segregation พระราชบัญญัติ นิรโทษกรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทางการเมืองนี้เป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายนิติบัญญัติอย่าง พวกเราในการคานอำนาจกับกระบวนการยุติธรรมที่ไร้ประสิทธิภาพ อย่างที่ทุกท่านทราบดี ว่ามีการถกเถียงกันหลายครั้งถึงบทบาทกฎหมายต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการดำเนินคดี ทางการเมือง หลายท่านในพรรครัฐบาลดิฉันจะขอสงวนไม่อภิปราย ต่างเคยยืนยันว่าตัวบท กฎหมายไม่ได้เป็นปัญหา หากแต่ผู้บังคับใช้ต่างหากที่บิดเบี้ยวและนำกฎหมายไปดำเนินคดี กับประชาชนที่ไม่มีความผิด คำถามคือแล้วอย่างไรต่อ รัฐบาลและพรรครัฐบาลในขณะนี้เคย ได้แสดงความพยายามในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวหรือไม่ หรือสนใจเพียงแต่จะช่วยผู้ป่วย ท่านหนึ่งให้ออกมาจากเรือนจำให้ได้ ความยุติธรรมของพวกเราไม่เหมือนกันหรือคะ แม้ว่า พรรคของท่านจะได้เป็นรัฐบาลมากกว่าครึ่งปีแล้ว แม้ว่าประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรี ชื่อคุณเศรษฐา ทวีสิน แล้ว แต่ประเทศนี้ก็ยังคงมี การดำเนินคดีทางการเมืองแก่ผู้ที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพแสดงความคิดเห็นตามสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เคยลดลง ดังนั้นแล้วหากเพื่อนสมาชิกและ พรรครัฐบาลท่านอื่น ๆ ยังพอเชื่อในความยุติธรรม เชื่อในประชาธิปไตย เชื่อในความเท่าเทียม เชื่อในสิทธิมนุษยชน ดิฉันขอเน้นย้ำว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องคืนความยุติธรรมให้กับประชาชน ด้วยการลงมติเห็นชอบ พ.ร.บ. นิรโทษกรรม การกระทำความผิดที่มีส่วนเกี่ยวข้องทาง การเมืองนี้ค่ะท่านประธาน
ประเด็นสุดท้าย ดิฉันจะปิดท้ายคือความเปิดกว้างและการสมานฉันท์ของ ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมทุกท่าน ทุกท่านจะได้เห็นความจริงใจของพวกเราพรรคก้าวไกล ในการ สมานฉันท์ปรองดองเพื่อผลักดันสังคมให้ก้าวไปข้างหน้า ซึ่งคณะกรรมการค้นหาความจริง เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์กับการจัดการสภาพการเมืองหลังความขัดแย้ง เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดรองจากการเปิดเผยความจริง โดยที่มีเหยื่อเป็นศูนย์กลางในแนวนี้ และแนวทางกระบวนการปรองดองในสังคมที่เปลี่ยนผ่านจากเผด็จการสู่ระบอบประชาธิปไตย ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ พรรคก้าวไกลค่ะ ดิฉันขอปรึกษาหารือท่านประธานนะคะ ขออนุญาตสไลด์ขึ้นด้วยค่ะ
เรื่องแรก มีอยู่ ๒ เรื่องหลัก ๆ ไปถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากที่ดิฉัน และ สส. เขตบางขุนเทียน คุณกาย ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ และทีมงาน ได้ลงพื้นที่ ที่แฟลตการเคหะในเขตพื้นที่ของดิฉัน พบว่าแฟลตการเคหะบ่อนไก่และแฟลตการเคหะ บ้านเอื้ออาทรสวนพลูพัฒนา ตัวอาคารชำรุดทรุดโทรมและไม่ได้รับการซ่อมบำรุงเป็นจำนวนมาก ปัญหาที่พบเห็นได้อย่างชัดเจนคืออาคารแตกร้าว ชำรุด เป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้อยู่อาศัย ท่อน้ำประปาชำรุดทำให้เกิดการรั่วซึมเกือบทุกอาคาร แท็งก์น้ำบนดาดฟ้าแตก ลูกลอยชำรุด ทำให้น้ำเอ่อล้นจนไหลออกมาตามท่อระบายน้ำฝน ส่งผลให้น้ำประปาไหลช้าหรือบางที ก็ไม่ไหลเลย สภาพเก่าเสื่อมโทรม ระบบอัตโนมัติชำรุดหมดเลยนะคะ แล้วก็เกิดเสียงดัง ในเวลากลางคืนรบกวนผู้อยู่อาศัย นอนไม่หลับ หากไม่มีผู้ไปปิดปั๊มน้ำหรือไปปิดไฟไม่ทัน ปั๊มก็จะร้อนจนมอเตอร์ไหม้เสียหายเป็นอันตรายค่ะ ปัญหาที่มองไม่เห็น เช่น ท่อน้ำทิ้ง มีสภาพอุดตัน เนื่องจากบ่อดักไขมันมีไขมันจำนวนมากไปอุดตัน ไม่ได้มีการขุดลอก ท่อดักไขมันเต็มบ่อเป็นเวลานาน ขาดการดูแล ดิฉันจึงขอฝากท่านประธานเรียนไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าไปช่วยซ่อมแซมบำรุงโดยเร็วค่ะ
ประชาชนได้ร้องเรียนเกี่ยวกับค่าส่วนกลางของผู้อยู่อาศัยทำการชำระให้กับ นิติบุคคลที่ดูแลเป็นประจำ ๓๐๐ บาทต่อเดือน แต่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ไม่มีการ ล้างท่อ ไม่มีการทำความสะอาด ไม่มีการซ่อมแซมและบำรุงรักษา แถมลิฟต์ก็พัง เกือบทั้งหมด แล้วก็ยังส่งเสียงดังเวลาขึ้นลง สร้างความตกใจให้กับผู้อยู่อาศัยประกอบกับ การประสานงานการเคหะที่ล่าช้า จนผู้อยู่อาศัยต้องออกเงินจ้างเอกชนมาดำเนินการเอง หรือแม้แต่ความปลอดภัยก็ต้องช่วยกันดูแล เนื่องจากไม่มีกล้องวงจรปิดค่ะ
เรื่องสุดท้าย สืบเนื่องจากเมื่อวานนี้ค่ะ หากท่านประธานได้ติดตามข่าว ก็คงจะทราบดีว่ามีการพบปะกันของอดีต ๒ นายกรัฐมนตรี คือสมเด็จฮุนเซน (Samdech Hun Sen) อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่เข้าเยี่ยมอาการป่วยของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ดิฉันจึงฝากเรื่องนี้ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สื่อกระแสหลักทั่วไปจับจ้องการพบปะของทั้งสอง อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดิฉันให้ความสนใจ คือมีผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นพี่สาวของคุณวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ มาเฝ้ารอสมเด็จฮุนเซน (Samdech Hun Sen) เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับน้องชายของเขา ผู้นั้นคือ สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวของคุณวันเฉลิม สัตย์ศักย์สิทธิ์ นักกิจกรรมทางการเมืองที่ลี้ภัย ไปอยู่ในประเทศกัมพูชาและถูกบังคับสูญหายในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ ท่านประธานคะ แม้ประเทศไทยของเราจะมี พ.ร.บ. การป้องกันการทรมานอุ้มหาย ออกใช้บังคับมาเป็นเวลา เกือบ ๑ ปีแล้ว จนถึงตอนนี้คดีของวันเฉลิมเป็นหน้าที่ของอัยการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตาม พ.ร.บ. ป้องกันการซ้อมทรมาน ยังไม่มีการคืบหน้าแต่อย่างใด ดิฉันขอยืนยันว่าตราบใด ที่คดีวันเฉลิมยังไม่คลี่คลาย หมุดหมายของการใช้ พ.ร.บ. ป้องกันการซ้อมทรมาน ก็ยังไม่เกิดขึ้นในสังคมไทย และต้องเป็นประเด็นพิจารณาที่สำคัญที่รัฐบาลต้องทบทวน ถึงความน่าละอายของตนเอง
หากที่ยังกล้าเสนอตัว เป็นหนึ่งในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติค่ะ ขณะเดียวกันตามรายงาน คณะกรรมการว่าด้วยการบังคับสูญหายของสหประชาชาติ ได้ตั้งคำถามถึงการสูญหาย ของคุณวันเฉลิมที่ประเทศกัมพูชา ดิฉันจึงอยากขอฝากไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศให้คำตอบและให้การช่วยเหลือมากกว่านี้ เพราะแม้แต่รัฐบาลกัมพูชา ไม่ยอมรับ แต่กล้องวงจรปิดก็มองเห็นได้ชัดว่าหายไปที่กรุงพนมเปญ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาทร และเขตราชเทวี พรรคก้าวไกลค่ะ วันนี้ดิฉันขอร่วมอภิปราย ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ. .... ที่ผ่านมา ดิฉันได้เคยอภิปรายสนับสนุนร่างกฎหมายสภาชนเผ่าพื้นเมืองดังกล่าว พร้อมกับเสนอให้ มีการช่วยสร้างกลไก และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพต่าง ๆ สำหรับพี่น้องชาติพันธุ์และกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่อยู่ในประเทศไทย ดิฉันจึงขอผลักดันสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ใน ประเทศไทยต่อไปเพื่อความยุติธรรมความเท่าเทียมให้เป็นไปตามหลักสากล ประเด็นหลัก ที่ดิฉันอยากจะกล่าวถึงมีอยู่ ๓ ประการด้วยกันค่ะ คือ ๑. อุปสรรคในการขอสัญชาติ ๒. ความเหลื่อมล้ำทางทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และสิทธิที่ไม่เท่าเทียมกันของพี่น้องชาว ชาติพันธุ์ ๓. กฎหมายไทยที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่เราได้ลง สัตยาบันไปแล้ว และก็ยังไม่ได้อนุวัติมาเป็นกฎหมายไทยคะ ตัวอย่างเช่น กติกาว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง ๑๙๖๖ และกติกาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและ วัฒนธรรม ๑๙๖๖ และปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองหรือ UNDRIP ปี ๒๐๐๗ แม้ว่าทั้ง ๓ ประเด็นนี้จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงทับซ้อนกันอยู่บ้าง และหากพอกางออกมาแล้วในแต่ละประเด็นก็จะทราบว่า แต่ละประเด็นมีเนื้อหาอะไรและ มีความเกี่ยวโยงกันอย่างไรบ้าง อุปสรรคในการขอสัญชาติอย่างที่เพื่อนสมาชิกหลายคนได้กล่าว ก่อนหน้านี้นะคะ พ.ร.บ. สัญชาติ ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ปัจจุบันถ้าว่ากันตามพระราชบัญญัติสัญชาติตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๕ ไม่ว่าจะด้วยภายใต้หลักดินแดนและการเกิด บุคคลที่เกิดในประเทศไทย แต่บิดา มารดามีสถานะเป็นคนต่างชาติ และขณะที่บิดามารดาไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับสัญชาติ ตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีชนกลุ่มน้อยและพี่น้องชาติพันธุ์ซึ่งถูกจัดอยู่ใน กลุ่มข้อยกเว้นภายในหลักดินแดน ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะจัดกลุ่มอยู่ในประเทศ Jus Soli ภาษาลาติน หรือสิทธิสัญชาติโดยแผ่นดินก็ตาม แต่มีข้อจำกัดบางประการ เช่น บิดาหรือ มารดาจะต้องมีถิ่นอยู่ถาวรในประเทศไทยมาเป็นเวลาอย่างน้อย ๕ ปี ซึ่งคนเหล่านี้อาจจะ ต้องเผชิญอุปสรรคเมื่อจำเป็นต้องแสดงหลักฐานที่อยู่ และหลักฐานการเกิดในประเทศไทย และตามสถานะกฎหมายที่พวกเขาจะมีอุปสรรคและไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก หรือ ในกรณีการแปลงสัญชาติที่นอกจากจะต้องผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนดหลายข้อ รวมถึงการ แสดงเอกสารต่าง ๆ ในการตรวจ DNA ยังจะต้องมีการผ่านการประชุมคณะทำงานระดับ จังหวัดคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการไปจนถึงการลงนามเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดของกฎกระทรวงส่งประกาศราชกิจจานุเบกษา และรับหนังสือการแปลง ซึ่งในหลักขั้นตอนและกระบวนการอาจจะทำให้เกิดอุปสรรค จนเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง เช่น ออกเอกสารที่บุคคลนั้นไม่มี หรือการใช้อำนาจ ทางระบบราชการในขั้นตอนดังกล่าวหาประโยชน์ค่ะ ดิฉันทราบว่าที่กล่าวมาก่อนหน้านี้อันเนื่องด้วยมาจากผลกระทบหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น สถานะทั้งในและนอกประเทศหรือเศรษฐกิจการเมือง ประวัติศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามยังได้ มีการผลักดันอย่างต่อเนื่องเพื่อความเท่าเทียมสำหรับชนกลุ่มน้อย และพี่น้องชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในส่วนของการขอสัญชาติ รวมถึงการกลับคืนสัญชาติค่ะ นอกจากนี้ทรัพยากรทางธรรมชาติ และโอกาสทางเศรษฐกิจควรเปิดให้พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์และประชาชนทุกหมู่เหล่าสามารถ ที่จะเข้าถึงได้ แล้วก็ส่วนคนที่จะเป็นเจ้าของประเทศควรจะได้รับประโยชน์ ไม่ใช่แค่กลุ่มทุน ผูกขาดเพียงไม่กี่กลุ่ม และกลุ่มที่ยึดโยงกับรัฐประหารที่ได้รับผลประโยชน์ เพราะทุกคนล้วน เท่าเทียมกันและต้องถูกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อหน้ากฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึง บริการรัฐต่าง ๆ เช่น บริการทางสาธารณสุข บริการด้านการศึกษา และบริการในการที่จะ เข้าถึงบัตรประชาชนที่จำเป็นที่จะต้องมีบัตรประชาชนถึงจะเข้าถึงสิทธิเหล่านั้น ข้อกังวล เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. นี้อาจจะนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เนื้อหาใน Website ที่ได้รับฟังความคิดเห็นในส่วนของข้อมูลประกอบการพิจารณาที่มีการตั้งคณะกรรมการ ระดับชาติ และระดับจังหวัดนั้น ดิฉันมีข้อกังวลเล็กน้อยว่า หากใช้ระบบราชการเข้าไป ดำเนินการอย่างเต็มที่อาจจะเกิดปัญหาการสวมสิทธิปลอมแปลง สิทธิโดยผู้มีอำนาจ ทางการเมือง การปกครอง หรือกำลังทางเศรษฐกิจ หรือมีเส้นสายได้เหมือนที่เกิดขึ้นกรณี ส.ป.ก. ๔-๐๑ ที่กลับกลายเป็นเอาทรัพยากรส่วนกลางไปให้นายทุนผูกขาดสวมสิทธิ ใช้ประโยชน์ที่ดินอยู่เพียงไม่กี่บริษัท ดิฉันจึงอยากเรียนท่านประธานเพื่อให้ใช้พื้นที่สภา ผู้แทนราษฎรแห่งนี้ในการปรึกษาหารือรูปแบบแนวทางเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำของ ทางทรัพยากร และป้องกันความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ จากการสวมสิทธิตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ค่ะ สิทธิอื่น ๆ ที่จะต้องมีตามบัตรประชาชน พี่น้องชาติพันธุ์ก็จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงได้อย่าง เท่าเทียมกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ดิฉันเคยไปลงพื้นที่ในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และพบกับพี่น้องชาวลาหู่ มีอุปสรรคมากมายในการเข้าถึงการจดทะเบียนได้บัตรประชาชน ไม่มีหลักฐานในการเกิดในประเทศไทย ดิฉันบอกข้างต้นนะคะ ต้องจบปริญญาโท ต้องมี รายได้มากกว่า ๔๐,๐๐๐ บาท ต้องมีการตรวจ DNA ท่านคะ พี่น้องชาติพันธุ์ยังไม่มีสิทธิ ในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างเช่นสิทธิในการศึกษา ท่านจะเอาจากไหนมาจบปริญญาโท ท่านจะเอาเงินจากไหนมาตรวจ DNA คะ ท่านจะเอาเงินจากไหนมาให้รายได้ ๔๐,๐๐๐ บาท ต่อเดือนเพื่อที่จะได้รับบัตรประชาชน และได้สิทธิเท่าเทียมกับคนส่วนมาก ทั้ง ๆ ที่เขาเกิด ในแผ่นดินไทย อยู่ในแผ่นดินไทย ทำมาหากินได้อยู่ในแผ่นดินไทยมาตั้งแต่บรรพบุรุษของ พวกเขาแล้วค่ะ จะเอาเงินจากไหนไปเรียนต่อระดับอุดมศึกษา เป็นประกาศจากกระทรวง ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง พิลึกพิลั่นและแปลกประหลาดที่สุดค่ะ นอกจากนั้นในการ เข้าถึงปัจจัยขั้นพื้นฐาน อย่างเช่นการใช้ไฟฟ้าในเขตป่าสงวนเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่พี่น้อง ชาติพันธุ์เข้าไม่ถึง จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ สภาชนเผ่าพื้นเมืองจะเป็นเครื่องมือ ในการที่จะสร้างกลไกที่พี่น้องชาติพันธุ์จะได้สะท้อนเสียงและความต้องการของเขาเข้ามาสู่ สภาใหญ่ มีกลไกในการประสานงานกับชุมชนเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ค่ะ ๒. การคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ๓. การอนุรักษ์ส่งเสริมฟื้นฟูอัตลักษณ์ จารีตประเพณี ๔. ศึกษาติดตามประเมินผลกระทบ อันนี้สำคัญมากนะคะ ของโครงการ Mega Project ระหว่างนายทุนกับรัฐ ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของพี่น้องชาติพันธุ์ และทรัพยากรที่เป็นที่ดินทำกิน เป็นการทำมาหาได้ของพี่น้องชาติพันธุ์ นอกจากนี้นะคะ ท่านประธาน ทรัพยากรธรรมชาติและโอกาสทางเศรษฐกิจควรเปิดให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ที่ดิฉันได้กล่าวไปข้างต้นว่าด้วยมาตรา ๒๗ แห่งกติกา ว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง และกติกาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ได้บัญญัติไว้ว่า ในรัฐทั้งหลายซึ่งมีชนกลุ่มน้อยทางเผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษาอยู่ บุคคลผู้เป็นชนกลุ่มน้อย ดังกล่าวจะต้องไม่ถูกปฏิเสธสิทธิอันที่มีวัฒนธรรมของตนเอง หรือนับถือและประกอบ พิธีกรรมทางศาสนาของตนเอง หรือใช้ภาษาของตนเองภายในชุมชนร่วมกับสมาชิกอื่น ๆ ของชนกลุ่มน้อยด้วยกัน นอกจากนั้นในมาตรา ๒ ของกติกาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมยังกำหนดว่า รัฐภาคีซึ่งเราเป็นหนึ่งในภาคีจะต้องดำเนินการเป็นรายบุคคล และผ่านการช่วยเหลือและความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจ และเทคนิคโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็นประโยชน์สูงสุดที่จะนำมาซึ่งสิทธิและ เสรีภาพที่บัญญัติอยู่ในกติกา ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมนี้ ซึ่งรวมไปถึง มาตรา ๒๗ ที่ดิฉันกล่าวถึงก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นสิทธิของพี่น้องชาวชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อย ซึ่งประเทศไทยก็ได้ลงสัตยาบันไว้แล้ว วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๐ นอกจากนี้ ว่าด้วยบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๗๐ ได้ระบุ ไว้ว่า รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดำรงชีวิต ในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูก รบกวน ทั้งนี้เท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีต่อประชาชนหรือ เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐหรือสุขภาพอนามัย เมื่อรัฐธรรมนูญได้บัญญัติเช่นนี้ ทำไม ประชาชนชนกลุ่มน้อยยังไม่ถูกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมล่ะคะ ไหนจะเรื่องสัญชาติ การจัดแจง ทรัพยากร สถานะทางเศรษฐกิจไปจนถึงการใช้ชีวิตในสังคมไทย ท่านประธานคะ ที่ดิฉัน กล่าวมา ท่านประธานจะได้เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ประเทศไทยได้ลงสัตยาบันไปตั้งแต่ ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมากฎหมายไทยไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ดิฉัน กล่าวมาข้างต้นจวบจนถึงปัจจุบัน ดิฉันจึงอยากให้ร่าง พ.ร.บ. นี้ มีการพิจารณาคำนึง ครอบคลุมถึงประเด็นที่ดิฉันได้นำเสนอไปด้วย เพื่อที่จะได้รับสิทธิเท่าเทียมเพราะทุกคน เป็นคนเท่ากันค่ะท่านประธาน นอกจากนั้นในมาตรา ๑ ของ ICCPR ยังกำหนดไว้ว่า ยังยืนยันว่า ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการกำหนดตนเอง และถูกรับเป็นกฎหมายจารีต ประเพณีระหว่างประเทศที่ปฏิบัติโดยทั่วไป และเป็น Opinio Juris หรือว่าคำตัดสิน คำวินิจฉัยของศาลโลก ที่ทุกประเทศร่วมปฏิบัติเมื่อลงสัตยาบันโดยสุจริต Pacta Sunt Servanda สิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองในการกำหนดตนเองถือเป็นประเพณีที่มีมายาวนาน เคารพในการตัดสินใจที่เป็นอิสระ การปกครองตนเองและพึ่งพาตนเอง และเป็นสถาบันที่จะ ปกครองตนเองมานับ ๑๐,๐๐๐ ปี ตั้งแต่ก่อนล่าอาณานิคมได้เริ่มขึ้นแล้วค่ะท่านประธาน ในร่าง พ.ร.บ. พื้นเมือง จะให้ความหวังกับคำนิยามชาติพันธุ์นะคะ คือชาติพันธุ์ก็คือคน กำหนดนิยามชนเผ่าพื้นเมือง ตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมือง และตั้งคณะอาวุโสชนเผ่าพื้นเมือง ไปเป็นที่ปรึกษาของรัฐสภา ดิฉันอยากให้พี่น้องในสภาแห่งนี้ ร่วมกันเป็นหนึ่งในจุด เปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์ไทย ก้าวไปข้างหน้าสู่ความเท่าเทียม และสังคมพหุวัฒนธรรม และความหลากหลาย ขอบพระคุณค่ะ