เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรีและเขตสะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ขอหารือดังนี้ครับ
เรื่องแรก ถนนตรงวงแหวนกาญจนาภิเษก ตรงนี้เป็นที่เป็นหมู่บ้านไอเฟล ตัดกับตลาดซีรอ ขอไฟจราจรและไฟทางหลวง วอนไปทางกรมทางหลวงครับ
เรื่องที่ ๒ ถนนสุวินทวงศ์ แขวงแสนแสบไปยังเขตหนองจอก ต้องการทำถนน พร้อมท่อระบายน้ำ เน้นนะครับ ท่อระบายน้ำ ไม่เอาคูน้ำ ฝากกรมทางหลวงเช่นกันครับ
เรื่องที่ ๓ ถนนร่มเกล้า ๖/๑ มัสยิดอัตตั๊กวาตั้งแต่คลองสองต้นนุ่น ตั้งแต่ โรงเรียนปัญจทรัพย์ไปจนถึงเคหะร่มเกล้า ตรงนี้อยากจะให้ทำทางเดินเลียบคลอง หรือทางเดินที่เดินตามริมคลอง ฝากสำนักการระบายน้ำให้ช่วยด้วยครับ
เรื่องที่ ๔ เป็นเรื่องของศาลเจ้า ๑๐๐ ปี มีนบุรี ตรงนี้อยู่กับมีนบุรีมานานแล้ว ฝากทางกรมศิลปากร เพราะจะโดนเวนคืน อย่างไรขอให้กรมศิลปากรเข้าไปช่วยกันอนุรักษ์ วัฒนธรรมของชาวมีนบุรีด้วยครับ
เรื่องที่ ๕ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับท่าเรือเก่าที่ชำรุดของตลาดมีนบุรีเก่านะครับ ซึ่งก็อยู่ติดกับเรื่องของศาลเจ้า ๑๐๐ ปีพอดีเลย เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็อยากที่จะให้ทาง กรมเจ้าท่า สำนักการจราจร แล้วก็ขนส่ง กทม. ได้เข้าไปช่วยในการที่จะทำนุบำรุงเรื่องของ ท่าเรือมีนบุรีเก่าด้วย
เรื่องที่ ๖ เรื่องสุดท้าย ถนนรามอินทรา แล้วก็ถนนรามคำแหง มีการทำรถไฟฟ้า สายสีชมพูแล้วก็รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตรงนี้ขอให้คืนนะครับ เวนคืนพื้นผิวจราจร ตรงนี้ก็มี การบอกว่าจะทำให้เสร็จสิ้นภายในเดือนตุลาคมแล้วก็เดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ฝากทาง กระทรวงคมนาคมให้ทำตามสัญญาด้วยนะครับ และที่อยู่ในมือ อ.เอทก็คือเรื่องของจดหมาย ที่จะเรียนผ่านไปยังท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าคนจน มีสิทธิไหม คำตอบครับ คนจนมีสิทธิแน่นอน เพราะเราคือกระบอกเสียงที่ดังกังวานที่สุด ในประเทศไทย และ อ.เอทอยากที่จะเห็นข้าราชการไทยทำงานว่องไว ได้ใจประชาชน ขอบคุณครับ Respect
เรียนท่านประธาน ที่เคารพนะครับ ผม อ. เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เขตมีนบุรีและสะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ต้องขอขอบคุณคณะทีมที่มาชี้แจงนะครับ โดยเฉพาะท่านวาสนา ฟังท่านขอบคุณมากที่ท่านพูดถึง PDR ก็คือการป้องกัน แล้วก็ Detect การค้นหา แล้วก็การ Respond ซึ่ง อ. เอทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้มาตรการนั้นมาใช้ ในเร็ว ๆ นี้นะครับ ซึ่งวันนี้ที่จะมาคุยกับทุกท่านนี่เดี๋ยวจะเรียนฝากท่านประธานเลยครับ ก็อยากจะคุยแค่ประเด็นเดียวครับ ก็คือวันนี้ อ. เอทได้มีโอกาสไปสวัสดีพี่น้องในพื้นที่ของ อ. เอทเอง แล้วก็ไปเจอพี่น้องที่เป็นท่านรองสารวัตรด้วยของฝั่งที่เป็นผู้สืบสวนสอบสวน ก็ไปคุยกับท่านประมาณสักเกือบ ๆ ชั่วโมง แล้วก็ได้คุยท่านเองก็มีประสบการณ์ที่แลกเปลี่ยน กับ อ. เอท ประมาณ ๒ ท่านด้วยกัน ท่านแรกมีประสบการณ์ด้านเกี่ยวกับด้านนี้เลยครับ เกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีที่เป็นการป้องกันอาชญากรรมถึง ๔ ปี อีกท่านหนึ่งก็ ๑๐ ปี เพราะฉะนั้นการที่เราคุยกันก็จะได้ข้อมูลที่ค่อนข้างสะท้อนออกมาบางส่วนที่อยากจะมา เล่าให้ท่านฟังในสภาแห่งนี้นะครับก็คือ
ประเด็นแรกเลย เขาบอกว่าถ้าเกิดมี Case ที่เกิดขึ้นประมาณสัก ๑๐ เคส เขาบอกเลยว่า ๓ เคส ที่เป็น Case ซื้อขายนะครับ ไม่ใช่ Case เกี่ยวข้องกับการโดนฉ้อโกง ด้านอื่น ถ้าเป็นซื้อขาย Online จริง ๆ ถ้าเป็น ๑๐ เคส ๓ เคส จะเป็น Case ที่เป็น พ่อแม่พี่น้องจริง ๆ ที่ซื้อขายกัน แล้วเขาก็จะคืนเงินกันถ้าเกิดว่าอาจจะเกิดการผิดพลาด อะไรตามสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นอาจจะแบบไม่ตั้งใจ แต่ที่เหลืออีก ๗ เคส ตำรวจบอกกับ อ. เอทว่า ๑ ใน ๗ เป็น Case ที่อยากจะลองทำชั่วดู อยากจะลองเป็นมิจฉาชีพดู อันนี้ก็เป็น อีก Case หนึ่งที่เราต้องป้องกัน อันนี้ฝากท่านพี่วาสนาไว้นะครับ แล้วอีก ๖ เคส เป็นมิจฉาชีพแบบมืออาชีพ ท่านนึกออกใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้นการที่ตำรวจจะไปเรียกเงินคืน จะไปอายัดหรือจะไประงับ เราก็เมื่อสักครู่ผ่านทั้งมาตรา ๖ มาตรา ๗ ครับ ระงับได้ ๗ วัน ต้องผู้ที่เป็นเหยื่อต้องไปบอกภายในไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมง อันนี้เราพูดไปเยอะแล้วอย่างไรก็ไม่ทัน ถูกไหมครับ เพราะว่าสุดท้ายคนโกงที่ชั่วจริง ๆ นี่เขาเป็นวินาที แต่เรามาทำงานกันเป็นวัน เพราะว่าพี่ที่เป็น สน. ที่ อ. เอทเข้าไปคุยนี่เขาบอกเลยว่าการที่จะใช้นี่ OK ครับเราบอกว่า เราโทรไปหาได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือสุดท้ายก็ต้องมีการยื่นที่เป็นเอกสาร แล้วการยื่นเอกสาร ไปมานี่พี่ครับมันใช้เวลาเป็นเดือน ถ้าเกิดว่าให้ อ. เอทส่งจดหมายท่านไปบางครั้งยื่นตอน มกราคมแล้วตอบกลับมาอีกทีพฤศจิกายนหรือพฤษภาคม เพราะฉะนั้นการใช้เวลายาวนาน แบบนี้ อ. เอทก็เลยอยากที่จะบอกท่านว่าถ้าเรายังคงเป็นแบบนี้อยู่ พ.ร.ก. นี้คงช่วยเราไม่ได้ แน่ ๆ ถูกไหมครับ เพราะฉะนั้นทางพี่ที่เป็น สน. ก็ได้ฝากกับ อ. เอท มาแบบง่าย ๆ เลย เขาบอกว่า อ. เอทครับ ผมอยากจะให้ พ.ร.ก. นี้มันเป็นจริงนะ แล้วอยากที่จะให้ไม่ว่าจะเป็น กระทรวง DES หรือจะเป็น กสทช. หรือใครก็ตามแต่มารับผิดชอบจริง ๆ เขาบอกว่า ๑. เลย เราพูดกันมาเยอะแล้ว อย่างนั้นขอย้ำอีกรอบก็คือการ Promote แบบเมื่อสักครู่นี้ที่เพื่อน สส. อ. เอทบอก พี่วาสนาบอก SMS ที่ส่งมานี่ อ. เอทยังไม่รู้เลยว่าของแบงก์มันไม่มีจริงนี่หว่า ถ้าเป็นคนอื่นส่งมานี่มันเป็น Scam หรือมันเป็นการหลอกลวงจริง ๆ ฉะนั้นแสดงว่า พี่ตำรวจสะท้อนชัดเจนครับว่า ประเด็นที่ ๑ เราต้อง Promote อย่างจริงจัง เพราะฉะนั้นงบ ที่จะไปตั้งคณะอนุกรรมการอะไรนี่ อ. เอทไม่แน่ใจว่ามันจะตอบโจทย์หรือเปล่า แต่ควรจะมี งบประมาณอย่างจริงจังที่บอกทุกอณู ทุกตารางเซนติเมตรเลยว่าเหตุการณ์แบบนี้มันเกิดขึ้นแล้ว แล้วเราจะป้องกันอย่างไร ฉะนั้นการทำ Promote หรือการที่จะสื่อสารให้พี่น้อง พี่ ๆ ที่เป็นตำรวจถึงขั้นเอา Clip ให้ อ. เอทดูว่า Clip นี้ อ. เอทเอาไปเปิดเผยเลยจาก รายการรายการหนึ่ง ขออนุญาต เอ่ยว่าเป็น จิ๋วแต่แจ๋ว อะไรประมาณนี้นะครับ คือมันจะ เป็นอะไรที่ทำให้เปิดตาประชาชน นี่คือสิ่งที่ อ. เอทอยากจะบอกถ้าอย่างนั้นไม่ได้แล้ว ประเด็นแรกเลยก็คือฝากทางคณะทำงานว่าเราจะมีการ Promote อะไรดีกว่าไหม ดีกว่าที่ จะมาแก้ไขเป็นแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเพราะ อ. เอทก็ไม่มั่นใจว่าเราจะ Protect ได้ แต่ส่วนตัว ลึก ๆ ก็อยากที่จะให้มันเป็นจริง
และประเด็นที่ ๒ ที่พี่น้องฝากมา ทางตำรวจฝากมา ไม่ใช่ อ. เอทฝากมา เอาคนที่ทำหน้างานจริง เพราะถ้าเกิดเราอยากจะรู้ว่าเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นก็ต้อง เข้าหน้างานจริง ฉะนั้นหน้างานจริงก็คือเวลา ฝากด้วยครับว่าเวลาขอให้เร็วกว่าเดิม ขอให้ทำงานแล้วการตอบสนองระหว่างแบงก์กับตำรวจให้เร็วกว่าเดิมนะครับ
สุดท้ายขออนุญาตฝากคำพูดครับว่าคนทั่ว ๆ ไปก็มีเขาเรียกว่าข้อแม้ หรือข้ออ้างที่จะทำอะไรบางอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนตน ฉะนั้น อ. เอทอยากที่จะเห็น คนในอนาคต หรือคนที่เป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนรุ่นใหญ่ที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตน แล้วทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ขอบคุณครับ Respect ครับ
สวัสดีท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง วันนี้ต้องขอบคุณท่านประธานอีกครั้งที่ให้โอกาส อ.เอท ได้เข้ามาอภิปราย เรื่องเกี่ยวกับงบการเงินของ กสทช. ซึ่งตรงนี้เป็นงบการเงินที่ อ.เอท อยากที่จะพูดอยู่แค่ ๒ ประเด็นเท่านั้นเองนะครับ
ประเด็นแรก ก็คือประเด็นของการที่ใช้งบตัวนี้ตามหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ ซึ่งตรงตามหลักของคำว่า ธรรมาภิบาล อ.เอท ก็เคยได้ศึกษามาบ้าง ก็คือมันเป็น การบริหารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการใช้งบให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ให้งบมันมี ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการตอบสนองต่อทุกภาคส่วน และที่สำคัญ อ.เอท อยากจะเน้น ตรงนี้ก็คือเรื่องของการที่เป็นการกระจายอำนาจ ซึ่งตรงนี้พอพูดถึงคำว่า กระจายอำนาจ ก็มี Slide ที่อยากจะให้ท่านได้เห็น
วันที่ ๒๐ ตุลาคม เมื่อปีที่แล้ว ทาง กสทช. ก็ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งซึ่งเป็นการพิจารณาเรื่องของการควบรวม True กับ DTAC นะครับ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กับพ่อแม่พี่น้อง กับประชาชนทุกคนว่าเป็นการทำให้ การแข่งขัน ในตลาดมีผู้ให้บริการน้อยรายอยู่แล้วตอนนี้ ยิ่งน้อยรายเข้าไปใหญ่เลย ซึ่งตรงนี้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้วที่เป็นการเกี่ยวข้องกับหลักของธรรมาภิบาล ซึ่งพอเราหันไปดูอีก ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ประมาณสัก ๒ เดือนที่แล้ว ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๖ ก็ได้มี การตั้งอีก ๑ คณะกรรมการซึ่งเป็นการที่จะเอามาตรวจสอบเรื่องของการรวมหรือการควบ หรือมีโอกาสที่จะควบรวมของ ๒ บริษัท นั่นได้แก่ AIS หรือ 3BB ที่รวมกัน ๒ บริษัทนี้ ซึ่งถามว่ามีความแตกต่างไหม คำตอบครับ มีแน่นอน เรื่องของการที่เขารวบ True กับ DTAC เป็นการให้บริการในลักษณะของการใช้เครือข่ายของมือถือ แต่พอ AIS มารวมกับ 3BB เป็นเรื่องของการให้บริการ Internet ที่เป็นแบบ Internet บ้านนะครับท่านประธาน ซึ่ง Internet บ้านเป็นการใช้แบบเขาเรียกว่าเป็นระบบสาธารณูปโภคที่เป็นขั้นพื้นฐาน ของปัจจุบันนี้ ซึ่งเรากำลังนำไปสู่ยุค 5G เพราะฉะนั้นตรงนี้มันก็เลยเป็นสิ่งหนึ่งที่อยากจะ บอกกับทางท่านประธาน แล้วก็ฝากไปถึงพี่น้องว่าในการกระทำหรือการที่จะตัดสินใจของ กสทช. มันเป็นการตรงตามหลักธรรมาภิบาลที่ อ.เอท ได้ขีดเส้นใต้คำแรกไว้แล้วก็คือ เรื่องของการกระจายอำนาจหรือเปล่า
ประเด็นที่ ๒ ทีนี้พอเราเข้าไปสู่งบประมาณตามที่ สตง. ได้มีการตรวจ งบประมาณ อ.เอท ก็ได้ทำแบบย่อ ๆ ให้เห็นแบบง่าย ๆ เลยครับท่าน ก็คืองบประมาณ รายจ่ายของปี ๒๕๖๓ ขีดเส้นใต้อีกคำก็คือปี ๒๕๖๓ หลายท่านได้พูดแล้วว่าเป็นงบประมาณ ปีที่อาจจะล้าหลังไปนิดหนึ่ง แต่ไม่เป็นไรครับ ไหน ๆ ก็ทำแล้ว ในปี ๒๕๖๓ เรามีรายจ่ายของ กสทช. ถึง ๖,๕๐๐ กว่าล้านบาท ซึ่งตรงนี้ อ.เอท ก็ได้เจาะเข้าไป ลองมองลึก ๆ เข้าไปอีก นิดหนึ่งก็จะเห็นว่ามันจะมีงบอยู่ประมาณ ๑,๒๓๖ ล้านบาท ซึ่งตรงนี้เป็นงบประมาณที่ทาง กสทช. ได้จัดสรรไว้เพื่อใช้ใน ๔ โครงการหลัก ๆ ของ กสทช. ซึ่ง อ.เอท ก็อยากรู้อีก ก็เข้าไปดู อีกรอบ โครงการหลักของ กสทช. จะมีอยู่ ๑ โครงการเป็นงบประมาณยุทธศาสตร์หรือ Strategy ที่ ๑ เลย ซึ่งเขาเขียนไว้ว่าเป็นงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาล และเรื่อง ของสมรรถนะอย่างยั่งยืน ซึ่งมันก็ตรงกับปัจจัยแรกหรือประเด็นแรกที่ อ.เอท ได้แนะนำ เมื่อสักครู่นี้ก็คือเกี่ยวข้องกับเรื่องของธรรมาภิบาล ซึ่งเขาใช้งบประมาณในการที่จะ ทำเกี่ยวกับโครงการนี้ถึง ๗๖๕ ล้านบาท อ.เอท ก็เข้าไปดูครับ มันมีอะไรไหมที่อยู่ใน โครงสร้างที่ ๑ นี้ พอเข้าไปดูก็จะเห็นว่าใน ๗๖๕ ล้านบาท จะมีอยู่ประมาณ ๖๒๐ ล้านบาท ๖๓๐ ล้านบาทนี้ถูกใช้ไปกับงบก่อสร้าง ท่านครับ งบก่อสร้างอะไรบ้าง ก็เป็นสร้างบ้าน สร้างหอประชุมอะไรต่าง ๆ ซึ่งตรงนี้มันก็เลยสะท้อนกับทาง สตง. เมื่อสักครู่ท่าน สตง. ท่านเกล็ดนที อ.เอท ได้ฟังท่านชัดเจนมากครับ คืองบประมาณที่ท่านบอกนี่ การที่ทำ งบประมาณของ กสทช. เป็นงบประมาณที่ซ้ำซ้อนหรือเปล่า ประเด็นแรกที่อยากจะฝาก ท่าน สตง. ไปช่วยกันดูนะครับ เป็นงบประมาณที่ซ้ำซ้อนหรือเปล่า เมื่อสักครู่นี้ท่านเกล็ดนที ได้บอกอีกแล้วว่าเป็นงบเหลื่อมของปี อันนี้ก็สำคัญ งบเหลื่อมของปีเป็น ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาท ถามว่ามันใช้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพตามหลักของธรรมาภิบาลหรือไม่ และจุดถัดไป เรื่องของการใช้งบที่เรียกว่าเป็นการเจาะจงครับ ถ้าเข้าไปดูหลาย ๆ โครงการ ทาง กสทช. มีการเจาะจงผู้ซื้อหรือผู้ที่เอามารับเหมาต่อหลายโครงการเลย เพราะฉะนั้นทำให้การแข่งขัน ในการที่จะให้พี่น้องเข้ามาร่วมกิจกรรมของ กสทช. น้อยลง เพราะฉะนั้นการแข่งขันก็เป็น ส่วนหนึ่งของหลักธรรมาภิบาลที่ อ.เอท อยากจะเน้น เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทาง สตง. สามารถที่จะเข้าไปเสริม เข้าไปอ่าน แล้วก็เข้าไปแนะนำทาง กสทช. ได้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชนนะครับ และก่อนที่ อ.เอท จะจบการอภิปราย ในวันนี้หรือในครั้งนี้ก็อยากที่จะฝากคำพูดสักนิดหนึ่ง ประเด็นแรก อยากจะให้มีการกระจาย อำนาจ ลดทุนผูกขาด เพื่อประเทศชาติที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ขอบคุณครับ Respect ครับ ท่านประธาน
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เขตมีนบุรี และเขตสะพานสูง พรรคก้าวไกล ขอบคุณท่านประธานนะครับ วันนี้ อ.เอทขออนุญาต มาคุยการอภิปรายเรื่องการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษานะครับ ซึ่งการปฏิรูปประเทศวันนี้มันมาจาก Article ของ ๒๕๗ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของ การมีอุปสงค์หรือจุดประสงค์อยู่ประมาณ ๓ จุดประสงค์เท่านั้นเอง ก็คือ ๑. ทำให้ประเทศ ของเราเป็นประเทศที่มีความสุขขึ้น จุดประสงค์ที่ ๒ ทำให้ประเทศของเราหรือประชาชน ของเรามีความเสมอภาค และจุดประสงค์ที่ ๓ ทำให้ประเทศของเราหรือประชาชนของเรา มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ซึ่งในเรื่องของการปฏิรูปการศึกษาแบ่งออกเป็นการทำงาน ๕ Big Rock ด้วยกันนะครับ และใน Big Rock อันนี้แบ่งออกเป็น ๔ ประเด็นย่อย ๆ ซึ่งวันนี้ อ.เอทขออนุญาตมาพูดถึง ๔ ประเด็นย่อยที่จะให้ทุกท่านได้ฟังกันในวันนี้นะครับ
ประเด็นที่ ๑ เรื่องของการพัฒนาเกี่ยวข้องกับเด็ก ๆ หรือปฐมวัยของเรา การพัฒนาปฐมวัยของเราแน่นอนครับก็คือตั้งแต่ ๐-๖ ขวบ สิ่งที่เกิดขึ้นของการพัฒนา ปฐมวัยครับ ตามรายงานเล่มสีส้มชัดเจนมากครับว่าเรามีการให้ทุนของเด็ก หรือมีการให้ การศึกษาของเด็กที่เป็นปฐมวัยประมาณ ๕๐,๐๐๐ คนด้วยกัน ซึ่งเด็ก ๆ ๕๐,๐๐๐ คน ประกอบไปด้วยโรงเรียนกว่า ๓๐,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศไทย และใน ๓๐,๐๐๐ แห่งนี้ ในเล่มสีส้มนี้ยังเขียนชัดเจนครับว่าเป็นการให้ทุนหรือให้เด็ก ๆ ได้มีการศึกษาถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ทีนี้ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่ฟังแล้วก็ดูดี อ.เอทก็เลยได้มีโอกาสเข้าไปคุยกับพื้นที่ ของ อ.เอทเองนะครับ พอไปคุยกับพื้นที่ ศพด. สิ่งที่ค้นพบประเด็นแรกเลยครับ สิ่งที่ ๑ เลย ก็คือเด็ก ๆ ยังขาดทุนการศึกษาอีกมากที่ยังไม่สามารถจะเข้าสู่การเรียนได้
ประเด็นที่ ๒ ก็คือเรื่องของการที่ผู้ปกครองเหล่านั้นจะต้องเสียอีกเดือนละ ประมาณ ๕๐๐ บาทต่อเดือน ในการที่จะเข้าไปให้บุตรหลานตัวเองได้มีโอกาสร่ำเรียน ในศูนย์เด็กเล็ก และอีกประเด็นหนึ่งก็คืออันนี้ต้องขีดเส้นใต้ครับ รัฐมีการสนับสนุน ๖๐๐ บาทเป็นค่าครุภัณฑ์ต่อปีให้กับเด็ก ๑ คนในแต่ละศูนย์เด็ก ซึ่ง ๖๐๐ บาทต่อปีตรงนี้ ก็ยังเป็นประเด็นที่ลำบากแล้วแต่มีอีกจุดหนึ่งครับ ประเด็นหรือจุดที่ ๔ ที่เราอยากจะเล่า ให้ฟังในวันนี้ก็คือคุณครูครับ คุณครูที่อยู่ในศูนย์เด็กเล็ก คุณครูแต่ละท่านไม่มีสวัสดิการ ขาด ๑ วันก็โดนหักเงินประมาณ ๗๐๐ กว่าบาทนะครับ คุณครูขาดกำลังใจและขวัญอย่างยิ่ง ในการที่จะทำงาน ในการที่จะสอนเด็กของเราให้ดีขึ้นกว่าเดิม แบบนี้ถามว่ามันตรงกับ จุดประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีความสุขไหมครับ
ประเด็นที่ ๓ ที่อยากจะแนะนำหรืออยากที่จะพูดคุยในวันนี้ก็คือเรื่องของ งบประมาณ แน่นอนครับงบประมาณของทางภาครัฐได้จัดให้กับเด็ก ๆ ๖๐๐ บาทต่อเดือน ซึ่งในปี ๒๕๖๔ ได้มีการนำเสนองบประมาณนี้ให้กับเด็ก ๆ กว่า ๒,๒๐๐,๐๐๐ ราย ในปี ๒๕๖๔ ถามว่าจะดีกว่านี้ไหมครับ ถ้าเราเอางบประมาณเหล่านี้เป็นการลงทุนเพื่อที่จะ สร้างพื้นที่ให้กับเด็ก ๆ ได้มีการเรียนรู้นะครับ เป็นการลงทุนกับโครงการอาหารกลางวัน ของเด็ก ๆ ที่เต็มศักยภาพอย่างเต็มที่ แล้วก็เอาไปลงทุนกับเรื่องครุภัณฑ์ สื่อการเรียน การสอนต่าง ๆ ของเด็กให้สามารถที่จะแข่งขันกับโลกใบนี้ได้นะครับ นี่คือประเด็นที่ ๒ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเป็นศูนย์เด็กเล็ก
ประเด็นที่ ๔ เป็นประเด็นของการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาครับ ท่านประธาน การพัฒนาบุคลากรทางด้านการศึกษา สิ่งแรกที่ อ.เอทเห็นจากการรายงาน ของปฏิรูปเล่มนี้ชัดเจนมากครับ เขาเขียนว่าเขามีการนำคุณครูหรือบุคลากรไปอบรม ประมาณ ๒,๕๐๐ ท่าน ซึ่งตรงนี้เป็นเชิงปริมาณอย่างชัดเจนครับ แต่คุณครูจริง ๆ แล้ว เราน่าจะมีประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ ท่านถูกไหมครับ และด้านเชิงคุณภาพไปอยู่ตรงไหน ตรงนี้ ฝากท่านประธานด้วยนะครับ
ประเด็นที่ ๕ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร เรามีการทำ เขาเรียกว่า ทำดี DPA ในเล่มนี้เขียนนะครับว่า DPA ก็คือเรื่องของการใช้ Digital Performance Appraisal เป็นการประเมินคุณครูครับ โดยเน้นสุดท้ายครับ เป็นการเน้นเอกสาร อย่างมหาศาลอีกคำนะครับ ขีดเส้นใต้อีกคำครับ เน้นเอกสารอย่างมหาศาล ทำให้คุณครู ไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตกับเด็ก ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็ก ๆ ก็คงจะไม่มีความสุขแน่นอน และมีการทำ Test ให้กับการเพิ่มสมรรถภาพครู โดยการให้คุณครูไปทดสอบวิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย วิชาการทำสื่อ ต่าง ๆ เหล่านี้ครับ อ.เอทขอถามครับว่าถ้าเป็นคุณครู วิชานาฏศิลป์และไปทำข้อทดสอบอันนี้ แล้วเกิดได้คะแนนน้อยในวิชาภาษาอังกฤษ หรือในวิชาภาษาไทย ถามว่าคุณครูนาฏศิลป์ท่านนี้จะมีประสิทธิภาพในการสอนวิชา นาฏศิลป์ไหมครับ สิ่งเหล่านี้อยากจะให้เห็นการทดสอบที่เป็นมาตรฐานและใช้วัดผล ประสิทธิภาพของคุณครูในทุกสาขาวิชาได้อย่างชัดเจน
และประเด็นสุดท้ายครับ ประเด็นที่ ๖ นั่นก็คือเรื่องของการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงเฉพาะกับผู้เรียนตรงนี้สำคัญครับ เพราะเราใช้เรื่องของ PISA PISA คือ Performance International Student Assessment เป็นการวัดค่าของเด็ก ๆ ซึ่งอยู่กับ องค์กร OECD มีสมาชิกอยู่กว่า ๓๘ ประเทศ และเขาได้จัดทำการสอบอันนี้ทั้งหมด ๗๙ ประเทศด้วยกัน รวมเด็กทั้งหมด ๖๐๐,๐๐๐ คนทั่วโลก มาสอบทั้งหมด ๓ วิชาครับ วิชาแรกก็คือวิชาการอ่าน วิชาที่ ๒ คือวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาที่ ๓ คือวิชาด้านวิทยาศาสตร์ ท่านครับ ใน ๓ วิชานี้เด็กอายุ ๑๕ ปี ของประเทศไทยได้เข้าร่วมการสอบด้วยครับ เขาจะมี การสอบทุก ๆ ๓ ปี ประเทศที่ ๑ เดาได้ไหมครับ จีนครับ ประเทศที่ ๒ สิงคโปร์ ประเทศที่ ๓ ไม่เกี่ยวข้องกับของเรา ไทยยังไม่ถึงนะครับ ถ้าเป็นอันดับ ๕ คือญี่ปุ่น และอันดับที่ ๖ คือ เกาหลีใต้ ของไทยถ้าเป็นการอ่านเราอยู่อันดับที่ ๖๖ จาก ๗๘ ถ้าเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ เราอยู่ที่อันดับ ๕๖ จาก ๗๙ และคณิตศาสตร์เราอยู่อันดับที่ ๕๒ ซึ่งตรงนี้ถามว่าการปรับปรุง โครงสร้างหรือปรับปรุงหลักสูตรของเรามีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง รวมไปถึงเรื่องของเด็ก ๆ ที่เป็นอาชีวะ เรามีการทำให้เด็กที่เป็น อาชีวะไปเซ็น MOU กับต่างที่มากมาย สิ่งที่เกิดขึ้น คืออะไรครับ คุณครูเหล่านั้น หรือองค์กรเหล่านั้นเซ็นกันถึง ๖๕,๐๐๐ สถาบัน สิ่งที่เกิดขึ้น คืออะไร อ.เอทก็ได้เข้าไปถามท่าน ผอ. ท่านหนึ่งครับ ท่าน ผอ. บอกว่าเราเซ็นเยอะก็จริง แต่เรื่องของการปฏิบัติแทบไม่มี อันนั้นส่วนมากครับ ผมก็เลยถามว่าท่านขยันเซ็นแต่ท่าน ไม่ขยันทำนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงครับ
และประเด็นสุดท้ายครับ อย่างที่บอกว่าเรามีเรื่องของคำว่า Life Long Learning การเรียนรู้แบบตลอดชีพ ตรงนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไรครับ สามารถเอาเครดิตมารวม แล้วสามารถที่จะเอาไปเป็นเรื่องของเปรียบเทียบคุณวุฒิจบปริญญาได้ต่าง ๆ นานา สิ่งตรงนี้ ที่ขาดไปก็คือว่าอยากที่จะเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่านี้ครับ
สุดท้ายครับ การศึกษาดีนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำที่ลดลง ความเหลื่อมล้ำ ที่ลดลงนำไปสู่โอกาสในการทำงาน โอกาสการทำงานที่มากขึ้นนำไปสู่รายได้ที่มากขึ้น และสุดท้ายครับ เมื่อรายได้มากขึ้นประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรืองมากกว่านี้ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธาน ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เขตมีนบุรี และเขตสะพานสูงครับ พรรคก้าวไกล วันนี้ขออภิปรายถึงผลการรายงานของธนาคาร SME ซึ่งธนาคาร SME เขาพยายามที่จะผลักดันให้ตัวเองเป็นผู้นำของ BCG ซึ่งเราก็พอ จะทราบว่า BCG ก็คือเรื่องของ Bio Circular Green ซึ่งหลังจากที่ อ.เอทได้ดูตามผล การรายงานของท่าน ท่านให้การกู้เงินให้กับภาคธุรกิจต่าง ๆ เช่น การเกษตรประมาณ ๕๐๐ ล้านบาท การผลิต การก่อสร้าง ประมาณ ๖,๐๐๐ กว่าล้านบาท แล้วที่เหลือก็จะเป็น เรื่องของการบริโภคแล้วก็การให้บริการด้านต่าง ๆ ซึ่งรวมแล้วมันจะดีกว่านี้ไหมถ้าเรา ให้โอกาสกับภาคอื่น ๆ บ้าง เช่น ภาคอาหาร ภาคยา เกี่ยวกับการให้การบริการ ด้านการท่องเที่ยวที่มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจจะอยู่ในบริการของการบริการ เรื่องของ สิ่งแวดล้อม การให้บริการด้านพลังงาน และที่สำคัญด้านสุขภาพ อย่างไรก็ฝากท่านประธาน ผ่านไปยังผู้ชี้แจงด้วยนะครับ ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ชาติที่ อ.เอทได้อ่านจากเล่มนี้ ท่านทำชัดเจนครับ ท่านบอกว่าในปี ๒๕๖๖ จะให้เงินกู้ประมาณ ๕ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๗ -๒๕๖๘ ประมาณสัก ๕๐ ล้านบาท แล้วหลังจากนั้นก็เป็น ๑๐๐ ล้านบาท ซึ่งอันนี้ก็ถือว่าดี ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ แต่ อ.เอทขออนุญาตว่า GDP ของประเทศไทยเราประมาณ ๑๕ ล้านล้านบาท กว่าครึ่งแน่นอนมาจากธุรกิจ SMEs ซึ่ง SMEs ก็จะมีผู้ประกอบการ อยู่ประมาณเกือบ ๆ ๓ ล้านรายหรือเกิน ๓ ล้านราย และกว่า ๒.๗ ล้านรายผู้ประกอบการ ที่เป็นขนาดย่อยหรือขนาด Micro เพื่อน ๆ ของ อ.เอทหลายท่านได้พูดไปแล้วว่ารายย่อย คือผู้ที่ขับเคลื่อนประเทศชาติอย่างแท้จริงนะครับ ซึ่งจากที่ท่านได้ให้บริการกับผู้กู้ต่าง ๆ เราเห็นชัดเจนว่าปีที่ผ่านมาท่านให้กู้ไปประมาณสัก ๑๒,๐๐๐ ราย ซึ่งเรายังมีผู้ประกอบการ อีกเป็นแสน ๆ เกือบเป็นหลาย ๆ ล้านรายที่ต้องการเงินจากท่าน ซึ่งตรงนี้ฝากท่านประธาน ผ่านไปยังผู้ชี้แจงว่าอยากที่จะให้มีไม่ใช่แค่รายย่อม แต่เป็นรายย่อยเลย เป็น SMEs เป็นธนาคารซึ่งให้บริการ ไม่ใช่แค่ขนาดกลาง ไม่ใช่แค่ขนาดย่อม แต่เป็นขนาดย่อยด้วย ต่อมาครับ ทำไม SMEs ถึงเจ๊ง ก็เพราะว่าเขาขาดสภาพคล่อง ขาดเรื่องของเงินหมุน ๔๐ เปอร์เซ็นต์ที่ SMEs ไปไม่ได้ หรือขนาดจิ๋ว Micro ไปไม่ได้ เพราะขาดเงิน อันนี้เป็น หน้าที่หลักของพวกเราของธนาคาร SME ที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศของเราไม่เหมือนเดิม อีกต่อไปนะครับ ทีนี้เรามาดูงบรายงาน อ.เอทเข้าไปดูงบรายงานของท่าน หน้า ๑๗๐ หน้า ๑๙๑ ในหน้า ๑๙๔ เพื่อน อ.เอทพูดไปเยอะมากเรื่องของ NPL หรือ Non-Performing Loan หรือการกู้เงินไปปุ๊บเราก็เก็บเงินอะไรจากเขากลับมาไม่ได้ เป็นการแบบลงทุนโดยที่ไม่ได้อะไรกลับมา ก็เป็นการเสียเปล่า อันนี้เราพูดไปแล้วว่าท่าน มีอยู่ประมาณ ๙ เปอร์เซ็นต์ ไม่ขอพูดซ้ำ แต่สิ่งที่อยากจะพูดคือทางธนาคาร SME เอง เมื่อมี การให้กู้ ก็ต้องมีผิดพลาดบ้าง ท่านมีคดีที่ติดฟ้องอยู่ทั้งสิ้นประมาณ ๑๗ คดี รวมเป็นเงิน ที่ไม่แน่ว่าท่านต้องจ่ายหรืออาจจะไม่ต้องจ่าย อันนี้ อ.เอทก็ยังขึ้นอยู่กับชั้นศาลประมาณ ๑,๒๐๐ ล้านบาท อันนี้ฝากให้ท่านช่วยพิจารณาด้วยว่าทำอย่างไรให้งบตรงนี้น้อยลงนะครับ และอีกอย่างหนึ่งหน้า ๗๐ แล้วก็หน้า ๒๓๔ อ.เอทก็พยายามนั่งอ่าน แล้วก็พยายาม ทำความเข้าใจ สิ่งที่เกิดขึ้นคือรายได้หรือเงินชดเชยที่ท่านให้กับผู้บริหารระดับสูงของท่าน หน้า ๗๐ บอก ๒๓ ล้านบาท ส่วนหน้า ๒๓๔ ท่านบอกว่าเป็นกลุ่มนักบริหารแบบสูง กับแบบสำคัญ นักบริหารแบบสำคัญซึ่งหน้า ๗๐ บอก ๒๓ ล้านบาท หน้า ๒๓๔ บอก ๕๔ ล้านบาท อ.เอทก็เลยอยากจะให้ท่านช่วยชี้แจงนิดหนึ่งว่าอาจจะมีจำนวน ที่ไม่เท่ากันไหมหรืออะไรก็ตามแต่ อันนี้ไม่ได้ว่าอะไร แค่อยากจะให้ท่านช่วยชี้แจง สักนิดเดียวก็พอ เพราะว่ามันก็มีตัวเลขที่ต่างกันประมาณเกือบ ๆ ๒ เท่า และต่อมาก็จะมี คำถามที่อยากจะฝากไปยังท่านประธาน ไปยังผู้ที่มาชี้แจงในวันนี้ครับ
คำถามที่ ๑ ท่านมีวิธีการที่จะวัดค่าความโปร่งใสหรือเขาเรียกว่า Good Governance ของท่านในการที่จะให้กับผู้กู้ แล้วในการที่จะบริหารของคณะกลุ่มผู้บริหาร ของท่านเองอย่างไรครับ นี่คือคำถามที่ ๑
คำถามที่ ๒ ท่านมีวิธีการป้องกัน NPL หรือมีการจัดการให้น้อยลงได้อย่างไร กับ Non-Performing Loan หรือเขาเรียกว่าเป็นงบที่เป็นการสูญเสีย นี่อีกอันหนึ่งที่ อ.เอทชอบ ท่านเขียนว่างบที่กำลังจะหรือสงสัยว่าจะสูญเสียซึ่งเป็นหมื่นล้าน อ.เอท ชอบคำนี้สงสัยที่จะสูญเสีย อันนี้ก็ต้องให้ท่านช่วยพิจารณากับ อ.เอทด้วยว่ามันจะมีทาง ลดลงได้บ้างไหมคำว่าสงสัยที่จะสูญเสียนี่นะครับ
คำถามที่ ๓ เป็นเรื่องของการวางแผนว่ากว่า ๓ ล้านรายนี่มีประมาณ ๒.๗ ล้านรายที่ต้องการได้เงินกู้ หรือเรียกว่า Micro ขอให้ท่านช่วยอุดหนุนเขาหน่อยครับ ขอให้ท่านช่วยให้กำลังใจโดยการให้เงินกู้เขาหน่อย เพราะว่าตอนนี้เขาไปกู้หนี้นอกระบบ โดนพี่น้อง โดน Call Center กันหลากหลายเลยนะครับ ถ้าท่านช่วยเขาได้การที่ประชาชน จะโดนหลอกแบบมี Call Center นั้นจะลดลงอย่างมีตัวเลขที่เป็น Significance หรือมี ความนัยสำคัญนะครับ
คำถามที่ ๔ เป็นคำถามสุดท้าย ก็คือตอนนี้ทุกท่านเข้าใจดีว่าประเทศของเรา เข้าสู่เศรษฐกิจภาวะถดถอยหรือเรียกว่า Recession ซึ่งแน่นอนคนที่กู้เขามีแผนการ เขามี Idea อย่างมหาศาล แต่เขาขาดคำว่า Collateral หรือคำว่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน ก็เลยอยากที่จะให้ท่านช่วยพิจารณานิดหนึ่งว่าถ้าเขามี Plan แบบนี้ ท่านจะมีโอกาสไหม ที่ให้เขาได้รับเงินกู้ เพื่อให้ฝันของเขาเป็นจริงขึ้นมานะครับ
สุดท้ายครับ ก็อยากที่จะฝากท่านประธานไปยังผู้ชี้แจงว่าเรามี ๓ ป. แล้ว ๓ ป. ของเราก็คือเรื่องของประสิทธิภาพ โปร่งใส แล้วก็ทำเพื่อประชาชน อ.เอทอยากที่จะให้ SME D ของเรามี ๓ ง. ครับ ๓ ง. คือขอให้มีงบเพื่อสร้างงาน แล้วก็ให้ประชาชนมีเงินเต็ม กระเป๋าสักที ขอบพระคุณครับ Respect
เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เขตมีนบุรี และเขตสะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ อ.เอท ขออภิปรายเรื่องทำไมพี่น้องตำรวจถึงได้ มีการละเมิดจริยธรรมทางวิชาชีพของตนเอง วันนี้ อ.เอท ขอใช้ Model เรียกว่า Model Police ซึ่ง Police ก็คือ P O L I C E เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ๖ ตัวอักษร ตัวแรกก็คือ ตัว P มาจากคำว่า Patronize หรือคำว่า Patronage ซึ่งแปลว่าระบอบอุปถัมภ์ คำว่า ระบอบอุปถัมภ์ หมายความว่าอย่างไรครับ หมายถึงคนที่มีอำนาจมากก็จะมาช่วยคนที่ ไม่มีอำนาจ แต่ในวงการของพี่น้องตำรวจจะเป็นเรื่องของการแทรกแซงในกรณีของการที่จะ เข้าไปรื้อคดีต่าง ๆ ซึ่งคดีต่าง ๆ เขามีการทำวิจัยออกมาว่าประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ที่มีการ แทรกแซงคดีต่าง ๆ จากผู้ที่เป็นระบบอุปถัมภ์นี้ ฉะนั้นคำว่า P ตัวนี้ Patronage จบครับ ต่อมาตัวที่ ๒ คือตัว O ตัว O ย่อมาจากคำว่า Opportunity ซึ่งก็แปลว่าโอกาส แต่โอกาสที่ อ.เอท จะบอกในที่นี้มันเป็นโอกาสของผู้ที่มีตั๋ว อันนี้เราพูดบ่อยเมื่อสักครู่ สส. รังสิมันต์ ได้พูดไปแล้ว ไม่ใช่โอกาสของชั้นผู้น้อย เป็นโอกาสของคนที่มีตั๋วช้าง ตั๋วแมมมอธ หรือตั๋ว อะไรก็แล้วแต่ อันนี้คือสิ่งที่ทำไมตำรวจถึงได้มีการผิดจริยธรรมกันตลอดเวลา โอกาสยังน้อย มาก ๆ จริง ๆ สำหรับผู้ที่เป็นชั้นประทวน ตัวต่อไปคือตัว L ตัว L ในที่นี้คือ Lack of Listening แล้วก็ Lack of Punishment ซึ่งก็แปลว่าไม่ได้มีการลงโทษอย่างจริงจัง เมื่อสักครู่ เพื่อน อ.เอท หลายท่านบอกไว้ว่ามีการ ทำผิด พอผิดเสร็จปุ๊บก็ย้ายไปย้ายมา การลงโทษครับ เขาบอกชัดเจนว่า ๘๒ เปอร์เซ็นต์นั้นน้อยมาก ๆ จริง ๆ หรือเรียกว่าผิดก็เฉย ๆ ผิดก็ไม่มี อะไร เพราะสุดท้ายฉันก็แค่ย้ายไปย้ายมา เพราะฉะนั้น Lack of Punishment ก็คือการ ลงโทษที่น้อย และเสริมด้วยคำว่า ไม่มีการรับฟัง หมายความว่าถ้าเกิดประชาชนรับรู้รับทราบ ว่าใครทำผิดไม่รู้ร้องที่ไหน หรือร้องแล้วสุดท้ายก็ไม่ได้เกิดอะไรขึ้นมาเลย นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า ขาดการรับฟัง ต่อมาตัว I ครับ ตัว I คือ Income แปลว่ารายได้ของพี่น้องตำรวจ ถ้าเกิดเรา ไปดูระดับจ่าถูกไหมครับก็ประมาณสัก ๗,๐๐๐ กว่าบาท ถ้าเป็นนายพล นายพัน ก็ไล่ไป ตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ บาท จนถึง ๗๐,๐๐๐-๘๐,๐๐๐ บาท แต่โอกาสของรายได้ของ พี่น้องตำรวจที่เป็นชั้นประทวนยังน้อยมากจริง ๆ ทำให้เขาเกิดมีช่องทางในการหาเงิน ระบบส่วยต่าง ๆ เลยเกิดขึ้นมา ฉะนั้นเรามาช่วยกันดีกว่าไหมในการที่จะทำให้รายได้ ของตำรวจ ของข้าราชการไทยให้ดีกว่าเดิม ถ้าเทียบกับรายได้ของชาวอังกฤษ ชาวอเมริกา ตำรวจเหล่านั้นเขาได้ปีหนึ่งประมาณ ๔๐,๐๐๐ กว่าเหรียญ หรือปีละ ๑ ล้านกว่าบาท ตกเป็นต่อเดือนก็เกือบ ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ว่าเราคงไม่พูดถึงตอนนั้น เอาเป็นว่าให้เหมาะสม กับค่าครองชีพของบ้านเราดีกว่า ตอนนี้มันน้อยเกินไปเรื่องของ Income ต่อมา P O L I ไปแล้ว ต่อมาเป็นตัว C ตัว C คืออะไร C คือคำว่า Culture คำว่า Culture แปลว่าอะไร แปลว่าวัฒนธรรมองค์กรของตำรวจเรา จะเป็นแนวไหน ตอบครับ ตามน้ำ หรือไม่ก็ถ้าไม่ทำแล้ว เขิน ไม่ทำแล้วเขิน หรือว่าผิดจนชินมันอินในหัวใจ คือผิดตลอด ผิดก็ชินแล้ว ชินแล้วก็ย้าย ไม่เป็นไรเกิดใหม่ นี่ละครับคือวัฒนธรรมองค์กรที่ยังไม่ไปไหนสักทีหนึ่งอยากที่จะให้เรามี วัฒนธรรมองค์กรใหม่ ๆ New Culture New Normal ให้เกิดขึ้นกับพี่น้องตำรวจไทย อ.เอท รักตำรวจทุกท่านนะครับ เราเองก็มีเพื่อนหลายท่านที่เป็นตำรวจ แล้วเขาบอกว่า ๗๖ เปอร์เซ็นต์ ของพี่น้องตำรวจยังคงเปลี่ยนวัฒนธรรมตัวเองได้ยากมากจริง ๆ อันนั้น ก็เปลี่ยนยากนะครับ และตัวสุดท้ายก็คือตัว E ตัว E คืออะไรครับE คือคำว่า Empathy คือการใส่ใจครับ ใส่อกใส่ใจในการที่จะดูแลเหมือนตอนนี้พี่น้องใส่ใจเจ้านายตัวเองแต่ไม่หัน มาใส่ใจพี่น้องประชาชน ยังมีการข่มขู่ พอพี่น้องจะมาที่สถานีตำรวจก็บอกว่าเรื่องเอ็ง เรื่องเล็ก ๆ เดี๋ยวค่อยว่ากันเอาไว้ก่อน เรื่องมันมีเยอะเอาไว้ก่อน อย่างนี้คือท่านไม่ได้ใส่ใจ พี่น้องเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ท่านทำในวันนี้มันจะสะท้อนไป เรียกว่า ชั่วนิรันดร์ เพราะฉะนั้น เวลาท่านมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันอย่างไรก็ตามแต่เมื่อท่านตายไปสิ่งที่ท่านทำมันก็ยังคงอยู่อยู่ดี อ.เอท อยากที่จะเห็น อ.เอท อยากที่จะเห็นว่า Model Police เปลี่ยนเป็น Model Polite คำว่า Polite คืออะไร ก็คือคำว่า สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน ก็อยากจะเห็นพี่น้องตำรวจ ท่านอ่อนน้อมสุภาพกับเจ้านายท่านอย่างไร ก็อยากที่จะให้ท่านสุภาพอ่อนน้อมกับประชาชน อย่างนั้น แล้วตำรวจไทยจะไม่แพ้ใครในโลก ขอบพระคุณครับ Respect
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ. เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ขออภิปรายเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กที่ไม่มีทะเบียนราษฎร์ แล้วก็ไม่มีสัญชาติไทยนะครับ Model ที่จะขอนำเสนอในวันนี้ก็คือ Model School School ตัว S ตัวแรกก็คือคำว่า Stronger AEC แปลว่า AEC ต้องแข็งแรงกว่าเดิม เราอยู่ในประชาคม ASEAN ๑๑ ประเทศ ถ้าเรายังคงไม่เน้นเรื่องของการศึกษา แล้วเราจะเป็นผู้นำ AEC ที่จะไปแข่งขันกับประเทศ อื่น ๆ ได้อย่างไร ตัว S ตัวแรกคือ Stronger AEC Stronger Thailand ตัวที่ ๒ คือตัว C C ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า Cost หรือแปลว่ารายจ่าย C ในที่นี้คือคำว่า Create คำว่า Create คืออะไร คือการสร้างโอกาส เป็นการสร้างให้เด็ก ให้คนที่ใช้แรงงานที่อยู่กับเราเข้ามา มีส่วนร่วมในการที่จะพัฒนาประเทศของเรา เป็นการสร้างไม่ใช่ต้นทุน ไม่ใช่รายจ่าย Create คือการสร้าง ต่อมาคือตัว H H ตัวนี้คือคือคำว่า Home Home แปลว่าอะไร Home แปลว่า บ้าน บ้านของทุกคน Thailand is the home of all country ประเทศของเรา คือบ้านของทุกคน ใครที่อยากจะเข้ามาอยู่ในบ้านเรา เราต้องต้อนรับครับ และการศึกษา จะทำให้บ้านแห่งนี้ บ้านหลังนี้เป็นที่ที่มีประโยชน์และสร้างความสุขให้กับทุก ๆ คน เพราะฉะนั้น Home คือ Home ของ Labor Home ของคนที่ใช้แรงงาน ของพี่น้องทุกคน ต่อมาตัว O ครับ O คือ Open Arm เพื่อน อ. เอท หลายท่านพูดไปแล้ว Open Arm คือการเปิด เปิดในที่นี้คือเปิดแขนต้อนรับอะไร ต้อนรับยุคเมื่อครู่นี้พูดไปแล้วครับ ยุคของ สังคมผู้สูงอายุ ตอนนี้เด็กเกิดใหม่น้อยมากคงไม่ต้องพูดถึงสถิติแล้ว เพราะฉะนั้นแรงงาน ต่างด้าวหรือแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะลูกหลานของเขาจากสถิติตอนนี้ไม่ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คนที่เกิดหรือใช้ชีวิต เด็กที่เป็นเด็ก ๆ ต่างชาติอยู่ในประเทศเรา เราจะทำอย่างไร เราก็จะผลักเขาหรือครับ มันคงไม่ใช่แบบนั้นถูกไหมครับ เราต้องหาวิธีที่จะสนับสนุนเขา เราจะสนับสนุนเขาอย่างไร เรามาช่วยหาวิธีกันครับ ตัวต่อไปก็คือตัว O อีกอันหนึ่ง เมื่อสักครู่นี้ อ. เอท บอก Open Arm เปิดรับสังคมสูงวัย อีกตัวหนึ่งก็คือ Opportunity อันนี้สำคัญจริง ๆ Opportunity แปลว่า โอกาส การศึกษามันย่อมสร้างโอกาสอย่างแท้จริง แล้วไม่ใช่โอกาสทั่วไป มันคือโอกาสของการพัฒนาเยาวชนไม่ใช่แค่ลูกหลานของเรา ทุกคน คือลูกหลานเราเมื่อมาอยู่ในเมืองไทย ทุกคนเมื่อเข้าสู่สังคมสูงวัยเราต้องการแรงงานเหล่านั้น เราต้องการพี่น้อง เราต้องการเด็ก ๆ ที่จะมาช่วยกันพัฒนาประเทศไทย เพราะเรากำลัง พัฒนามากว่า ๓๐ ปีแล้ว เราต้องไปให้ไกลกว่าเดิม นี่คือตัว O ก็คือการสร้างโอกาส แล้วก็ สร้าง Opportunity ตัวสุดท้าย Model สุดท้ายคือตัว L L ในทีนี้เมื่อคราวที่แล้วตำรวจ อ. เอท บอกว่า Lack of opportunity แต่ L ในที่นี้ก็คือ Labor แล้ว Labor ทุกคนครับ อ. เอท เป็นอาจารย์ เราก็ขายแรงงาน คุณหมอก็ขายแรงงาน ทุกคนขายแรงงานหมด เพราะฉะนั้นแรงงานที่เป็นแรงงานต่างด้าว แรงงานที่อยู่ชายขอบเขาก็ควรที่จะได้รับสิทธิ เราไม่ต้องการที่จะมีคำว่า Dis-Priority หรือความเหลื่อมล้ำมันควรจะหมดจากประเทศไทย ระบบอุปถัมภ์ควรจะหมดไปได้แล้ว เพราะฉะนั้นเราควรจะดูแลพี่น้องที่มาใช้แรงงานแล้วเป็น ลูกหลานที่เกิดจากพวกเขา เราก็ต้องดูแลเขาให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ เราจะต้องหาวิธีการ มาสนับสนุนพวกเขาอย่างไรให้เขามีความสุข เป็นแรงงาน เป็นพลัง เป็นฐานที่ยิ่งใหญ่ ในการที่จะพัฒนาประเทศไทยไม่ให้เหมือนเดิมอีกต่อไป อันนี้คือ Model SCHOOL ทั้งหมด สุดท้าย อ. เอท อยากที่จะเห็นการศึกษาที่ไม่ใช่ภาระ แต่มันคือโอกาสในการที่จะพัฒนา ประเทศไม่ให้เหมือนเดิม ขอบพระคุณครับท่านประธาน Respect
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ วันนี้ขออภิปรายเรื่อง Project Landbridge ซึ่งใน Model Landbridge ก็ตรงตามตัวอักษรครับ L A N D Land B R I D G E Bridge ทั้งหมด ๑๐ ตัวอักษรครับ
เริ่มที่ตัว L ครับ L คือคำว่า Local Local แปลว่าท้องถิ่น Project นี้จะนำทั้งท้องถิ่นให้มีโอกาสด้านบวกและด้านลบ ด้านบวกคืออะไรครับ การท่องเที่ยวต้องมาแน่ ๆ ในบางส่วนที่ยังไม่มี และอีกด้านคืออุตสาหกรรมที่จะอยู่รอบ ๆ บริเวณสะพานต่าง ๆ หรือจะเป็นคู คลองต่าง ๆ ที่เราจะต้องมีการขุดเป็นท่อที่จะส่งแก๊สต่าง ๆ นี่คือสิ่งที่ด้านบวก แต่ด้านลบก็มีครับ เรื่องของที่อยู่อาศัยที่ต้องมีการเวนคืน หรือแม้กระทั่งอาชีพประมงที่ต้องถูกผลกระทบจากการเอาเสาเข็มไปตอกเพื่อที่จะสร้างเป็น Port หรือท่าเรือและที่สำคัญครับ การชดเชยของพื้นดินเพราะบริเวณเหล่านั้นกว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ยังไม่มีพื้นที่หรือคนที่เขาอยู่ยังไม่มีโฉนด เราต้องชดเชยเขาอย่างไร อันนี้สำคัญเลยนะครับ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ยังไม่มีโฉนดที่เราจะไปเวนคืนเขา เราจะชดเชยเขาอย่างไร อันนี้สำคัญนะครับตัว L
ต่อมาตัว A A คือ Advantage ครับ Advantage แปลว่าอะไรครับ แปลว่า ข้อได้เปรียบ แน่นอนครับ ถ้าเกิดเรา Project Landbridge จากการเดินเรืออ้อมมะละกา ๙ วัน จะเหลือแค่ ๕ วัน ลดถึงประมาณ ๓-๔ วัน นั่นคือการลดการใช้น้ำมันอย่างมหาศาล นี่คือข้อได้เปรียบ และที่สำคัญเราจะสร้างงานกว่า ๒๕๐,๐๐๐ งาน อันนี้ อ.เอท ชอบมาก ข้อได้เปรียบจะสร้างเขาเรียก Create Job สร้างงานได้กว่า ๒๕๐,๐๐๐ งาน ทั้ง ๒ ฝั่ง ไม่ว่า จะเป็นฝั่งของอันดามันหรือฝั่งอ่าวไทยยอดเยี่ยมมากครับ วันนี้ A จัดเต็มเห็นด้วย
ต่อมาเป็นตัว N N คือ Network เราจะมีเรือที่มาจอดทั้ง ๒ ฝั่ง กว่า ๕๐๐,๐๐๐ ลำ จะเป็น Network ที่มหาศาล สร้างเม็ดเงินมหาศาล ในเรื่องของการท่องเที่ยว เรื่องของ การโรงแรมเป็น Network ที่จะเชื่อมฝั่ง Pacific ไปยังฝั่ง Indian Ocean หรือทะเล หรือ มหาสมุทรต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุด มีแต่ข้อดีเห็นไหมครับ
ต่อมาครับ ตัว D D คือ Development ประเทศของเรา Project นี้ อาจจะ นำเงินมหาศาลและจะนำคำว่า พัฒนาประเทศได้อย่างมั่นคงมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอะไรครับ การพัฒนาอุตสาหกรรม ส่วนประกอบยานยนต์ พัฒนาอาหาร แล้วก็การพัฒนาระบบ Logistics หรือการขนส่งครับ อ.เอท ขออนุญาต Land จบครับ
ต่อมา มาดูคำว่า Bridge ครับ Bridge ก็คือ B R I D G E ตัว B R I อ.เอท ขอพูด ๓ ตัวนี้พร้อมกันเลยครับ B R I ก็คือเป็น Model ที่จีนเขาสร้างมาแล้วครับ ก็คือเรื่อง ของ Belt Road Initiative ตรงนี้ของไทยสร้าง ๑ ล้านล้านบาท แต่ของจีนสร้าง ๑ ล้านล้านเหรียญ ตั้งแต่จีนยันยุโรปไปยังแอฟริกาที่ประเทศเคนยา แล้ว Model ของ B R I เขายิงตั้งแต่ หนองคายยันระยอง Model B R I ตัวนี้ซึ่งเป็นการลงทุนโดยจีนน่าจะมีส่วนที่เกี่ยวข้อง กับการทำ Bridge Land น่าจะสร้างเม็ดเงินมหาศาล ตัวนี้ อ.เอท ก็เห็นว่าไม่ธรรมดา ถ้ามี น่าจะตื่นเต้นไม่เบาเพราะระยองเชื่อมกับชุมพรไปต่อออกที่ระนองมันสุด ๆ ครับ อันนี้ฝาก ท่านประธานไปบอกกับผู้ที่จะเป็นกรรมาธิการวิสามัญเลยว่าเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมากนะครับ
แต่ทีนี้พอเรามาดูตัวสุดท้ายครับ ๓ ตัวท้าย D G E ครับ D คืออะไรครับ Danger ครับ คำว่า Danger แปลว่าอะไรครับ อันตราย อันตรายจากอะไร อันตรายจาก เมื่อเราจะทำ Port แล้วเป็น Industrial Port หรือจะเป็น Port ที่มีอุตสาหกรรมอยู่รอบ ๆ ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ย้ำนะครับ ๕๐,๐๐๐ ไร่ จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อมหรืออาจจะเป็น ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ก็แล้วแต่ที่ท่านคิดเอา แต่จะสร้างมลพิษมหาศาลครับ รถไฟวิ่งไป วิ่งมา เกิดฝุ่นนี่คือ Danger ที่อาจจะเกิดขึ้นกับชีวิตของพี่น้องประชาชนกับ Lifestyle ของ เขา ตัว D ทำไมถึงต้องมีการสร้าง ถูกไหมครับ ทำไมถึงต้องมีการเรามาคุยกันว่าต้องมี คณะกรรมาธิการวิสามัญไปเพื่ออะไร นี่คือทำไมที่ต้องสร้าง เพราะเราต้องมีการศึกษาให้ดีว่า ตัว D มันจะมีผลกระทบกว่า เรียกว่าแรงกว่าข้อได้เปรียบหรือเปล่า
ต่อมาครับ อีก ๒ ตัวสุดท้าย ตัว G G ในที่นี้ อ.เอท ขอใช้คำว่า Growth Growth แปลว่าอะไรครับ แปลว่าการเจริญรุ่งเรือง การเจริญเติบโตของ GDP หลายท่านพูด ว่า GDP ต้องเติบโต แน่นอน Confirm ครับ GDP เติบโตแน่นอน ประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เขาไปคำนวณมาแล้วครับ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ แต่เป็น GDP ของภาคใต้ครับ ภาคใต้ ๑๔ จังหวัด ถูกไหมครับ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ โตแน่นอนของภาคใต้ แต่ก็มีส่วนลบ GDP ก็ไปลบกับ ๑๐ เปอร์เซ็นต์เหมือนกัน แต่เป็น ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของการที่เราไปลงทุนพืชไร่ทุเรียน ทุเรียน เป็นอีก ๑ องค์ประกอบ ภาคใต้ที่เป็นส่วนผลักดัน GDP ของภาคใต้ เพราะฉะนั้น GDP ของ ภาคใต้ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ทุเรียนโดนแน่นอนครับ เพราะว่าหนทางของการสร้างสะพานเหล่านี้ หรือสร้างถนนเหล่านี้จะไปรบกวนกับไร่ทุเรียน
ตัวสุดท้ายครับก็คือตัว E E ในที่นี้คืออะไร E ในที่นี้ อ.เอท ขอใช้คำว่า Environment Impact ก็คือเหมือนกับที่เรารู้จักกันดีครับ EIA ถูกไหมครับ มีการทำ Environment Impact Assessment เป็นการดูว่าสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร คำตอบครับอากาศ PM2.5 มาแน่ครับกับพี่น้องที่อยู่บริเวณสะพานเหล่านั้น เรื่องของน้ำ ปะการัง น้ำ ปลานีโม หรือปลาอะไรก็ตามแต่ที่อยู่บริเวณชายฝั่งทั้ง ๒ ฝั่ง มีผลกระทบ แน่นอน และอีกอย่างหนึ่งครับ การสร้างถนนหรือการสร้างบ่อต่าง ๆ มันจะไปขวางทางน้ำด้วย เมื่อขวางทางน้ำมีโอกาสน้ำท่วมครับ น้ำท่วมตรงนี้มาแน่ เพราะว่าปกติน้ำจะไหลลง แต่ทีนี้เราไปสร้างถนน สร้างรถไฟ ๒ รางด้วยครับ เป็นความเร็วสูงหรือไม่สูงอันนี้ก็แล้วแต่ ท่านนะครับ มันจะเป็นการขวางทางน้ำมีผลแน่นอนกับสิ่งแวดล้อมครับ เพราะฉะนั้น เราจำเป็นต้องคิดให้ดีครับว่า Project นี้ดีไม่ดี เราจำเป็นต้องมีการศึกษานะครับ และสุดท้ายนี้ อ.เอท อยากที่จะเห็นว่าสะพาน Landbridge นี่จะเป็นสะพานที่ก้าวข้าม ความเหลื่อมล้ำแล้วจะนำพาประเทศไทยไม่ให้เหมือนเดิมอีกต่อไปครับ ขอบคุณท่านประธาน Respect
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรี สะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ขออภิปราย Model กาสิโน C A S I N O ๖ ตัวอักษรน่ารัก ๆ
เริ่มที่ตัวแรก C คืออะไรครับ Cash แปลว่าเงิน มาจากไหนครับ ทั่วโลก รายได้กว่า ๙ ล้านล้านบาท ทั่วโลกของการทำกาสิโน มาถึงยุโรป อังกฤษได้สูงสุด รวมทั้ง ยุโรป ๓ ล้านล้านบาท มาเก๊า ๒๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ถ้าเป็นสิงคโปร์ เปิดหลังมาเก๊า ประมาณตั้งแต่ปี ๒๐๑๔ ก็ประมาณสัก ๒๓๘,๐๐๐ ล้านบาท EBIT หรือ Earnings Before Interest and Taxes ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ทีนี้ของไทยเท่าไร เดี๋ยว อ.เอท เล่าให้ฟัง
ต่อมาเป็นตัวอักษรตัว A ตัว A คือ Addiction แปลว่าจะมีผู้ที่ติดการพนัน งอมแงมมากมาย นี่เป็นเชิงลบอย่างชัดเจน ซึ่งผู้ติดก็ต้องมีหน่วยงานเข้าไปช่วยในการให้ คำปรึกษา เพราะฉะนั้นเราต้องมีการวางแผน วางกฎเกณฑ์ ออกระเบียบว่ารายได้ควรเป็น เท่าไร ควรจะมีอายุเท่าไร แล้วก็ต้องมีค่าสมาชิกไหม ตรงนี้หลายท่านพูดไปแล้วครับ Model สิงคโปร์ช่วยเราได้ครับ เพราะฉะนั้นอันนี้เราสามารถแก้ไขได้นะครับ
ต่อมาเป็นตัว S คืออะไรครับ อันนี้สำคัญเลยครับ S คือ Social life style เป็นวิถีของไทยที่เขาอยู่มานาน อ.เอท ชื่อว่า เอท มาจากไพ่ครับ คุณพ่อตั้งให้ แจ๊ค แหม่ม คิง เอท เอทนี่ละครับถึงชื่อ อ.เอท เพราะฉะนั้นมันก็เลยเป็นช่องทางธุรกิจที่ยังผิดกฎหมาย ทำอย่างไรที่ดีกว่านี้นะครับ เราต้องมาช่วยกันคิดในวันนี้
ต่อมาเป็นตัว I อันนี้สำคัญครับ I คือ Income แปลว่ารายได้ เมื่อสักครู่นี้ อ.เอทบอกไปครับ เฉพาะมาเก๊ามีประมาณ ๓๐ กาสิโน มีการจ้างงานกว่า ๖๐,๐๐๐ ราย เฉพาะสิงคโปร์นะครับ ๑ ที่กาสิโนจ้างแรงงานลูกจ้างถึง ๖,๐๐๐ ที่ เมื่อสักครู่นี้หลายท่าน อภิปรายครับ Thailand อย่างน้อยมีประมาณ ๕ ที่ ตีเฉลี่ยที่ละประมาณ ๕,๐๐๐ ท่าน เราจะสร้างงานมหาศาล เม็ดเงินไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท จะอยู่ที่ประเทศไทย เราจะ เก็บภาษีได้ทันทีเลยครับ มหาศาล เงินเหล่านี้จากภาษีนำมาแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้อง ประชาชน ความเดือดร้อนอย่างน้อยก็เอามาสร้างน้ำให้มันไม่ขาดจากประเทศไทยได้แน่นอน เพราะฉะนั้นอันนี้คือตัว I คือ Income มหาศาล ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาทแน่นอน
ต่อมาครับเป็นตัว N เรากลับมาที่เชิงลบบ้างครับ N คือ Negative เชิงลบ คืออะไรครับ ผิดศีลห้า ผิดจริยธรรม ผิดกฎหมาย ส่วย โกง เมื่อสักครู่ท่านรังสิมันต์ โรม พูดจริงจังมาก มีจริง ๆ ครับ แต่อย่างไรคนก็เล่นอยู่ดีถูกไหมครับ หนีไม่พ้น ทำไมเราไม่เอา คนที่หนีไปเล่นให้กลับมาเล่นที่บ้านเราแบบมีความสุขให้เขาได้อย่างน้อยเงินก็ยังอยู่ ในประเทศไทย ให้มันถูกกฎหมายเสีย หลายท่านบอกครับ กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของ การพนัน พ.ศ. ๒๔๗๘ ๘๘ ปีพอดีเมื่อสักครู่นี้ อ.เอทนั่งคิดเลขอยู่ มันล้าหลังไปไหม อันนี้ฝากท่าน
และตัวสุดท้ายครับตัว O เวลาพอดีเป๊ะ O คือ Opportunity คำนี้ อ.เอท ใช้บ่อยมาก แปลว่าโอกาส เมื่อสักครู่หลายท่าน เพื่อนสมาชิกเพิ่งพูดเมื่อสักครู่นี้ โอกาสเป็น คนที่กล้าคิดกล้าทำ O ในที่นี้ ท่านครับเมื่อสักครู่นี้หลายท่านพูดแล้วว่าประเทศไทยมีคน เข้ามาเที่ยว ๔๐ ล้านคนต่อปี จีนมาประมาณ ๑๑ ล้านคนต่อปี แล้วจีนที่ไปมาเก๊าเยอะมาก ไปที่มาเก๊าเพราะไปเล่นแล้วจีนเดี๋ยวนี้มาเก๊าบอกว่ามีการเก็บค่าภาษีจากคนที่เป็น Junket Junket คือพวกที่เล่นขาใหญ่ครับ ขาใหญ่นี่เล่นทีหนึ่งเราเล่นอาจจะ ๕ บาท ๑๐ บาท เขาเล่นทีหนึ่งเป็น ๕๐๐ เหรียญ ๑,๐๐๐ เหรียญ ๑๐,๐๐๐ เหรียญ คนเหล่านี้มาเก๊า เก็บภาษีแพงมากสำหรับคนที่เป็น Junket เพราะฉะนั้นเขาครับ ผู้ประกอบการของที่มาเก๊า บอกเลยว่าอยากจะหาที่สำรอง เขาก็มาดูแถว ๆ บ้านเราครับ ถ้าบ้านเราเปิดขาใหญ่จะมา การท่องเที่ยวมหาศาลเพราะว่า Opportunity ไม่ใช่แค่คนแจกครับ คนไทยจะไม่ใช่แค่เป็น Dealer จะมีแม่บ้าน จะมีพนักงานเสิร์ฟน้ำ จะมี Soft Power อันนี้น่ารักจะมีการเต้นระบำ เต้นแบบเหมือนกับ Water Dance ที่มาเก๊า อ.เอทก็อาจจะเคยไปเล็กน้อยไม่ค่อยได้ไปบ่อย จะมีเรื่องของการท่องเที่ยว การโรงแรม อาหารเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ย่อมเกิดขึ้นได้ที่นี่แน่นอน แต่ว่าเมื่อสักครู่นี้ อ.เอทได้พูดไปแล้ว มีทั้งข้อดีและข้อเสียจนต้องให้ สส. นนท์เข้าไปเป็น ผู้ดูแลว่าอันไหนเสีย นนท์จัดการ เพราะฉะนั้นตรงนี้คือโอกาสของเรา ฉะนั้นสุดท้ายครับ อ.เอท อยากที่จะเห็นวันนี้วันสุดท้ายพอดี ท่านประธานครับ ผมก็คุยกับท่านมาเยอะแล้ว วันนี้อยากจะเห็น Thailand แบบเดิม ๆ ให้เป็นดินแดนแห่งโอกาสของไทยทุกคนสักที ขอบพระคุณครับ ด้วยความเคารพ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง วันนี้ขอร่วมอภิปรายเกี่ยวกับสภาก้าวหน้าใน Model ที่เรียกว่า Forward Parliament Forward มีตัวอักษร ๗ ตัวครับ F O R W A R D ขอเริ่มที่ตัวแรกครับ F คือ คำว่า Fair Fair ในที่นี้คือคำว่า เป็นธรรม หรือ ยุติธรรม ณ จุดนี้ถ้าเราไปดูในข้อมูลที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเสนอ พ.ร.บ. แก้กฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะมาจากภาคประชาชน มาจากสภา ของเราเอง หรือ ครม. เอง ส่วนมากน้ำหนักจะไปอยู่ที่ ครม. เพราะฉะนั้นก็อยากที่จะให้มี คำว่า Fair หรือเป็นธรรมกับภาคประชาชนมากขึ้นนะครับ จากสถิติเราไปดูได้ครับว่า กฎหมาย กี่ฉบับที่ผ่านโดยประชาชนนะครับ นี่คือตัว F แรกนะครับ ตัวที่ ๒ คือตัว O ย่อมาจากคำว่า Open นะครับ แปลว่าเปิดให้มีคำว่า Transparency หรือเปิดให้โปร่งใส เพื่อนหลายท่าน พูดไปแล้วครับว่าจะดีกว่าไหมถ้ามีการเปิดทางอิเล็กทรอนิกส์ มีการถ่ายทอดสดอะไรต่าง ๆ เพราะฉะนั้นตรงนี้มันจะทำให้อย่างน้อย ๆ เราก็จะไม่เน้นคำว่า Security หรือคำว่าเป็นการ ป้องกันมากเกินไป เน้นคำว่า Prosperity ครับ ก็คือเปลี่ยนจากการว่า ป้องกัน เป็นคำว่า มั่งคั่ง นะครับ มั่งคั่งหรือร่ำรวยมากขึ้นทำให้เราสามารถจะเห็นข้อมูลได้ชัดเจน ทุกคนก็เห็น ข้อมูลได้ อันนี้ก็เป็นการเปลี่ยนจากคำว่า มั่นคง เป็น มั่งคั่ง นะครับ ต่อมาครับ ตัวที่ ๓ ตัว R for ตัวที่ ๓ คือคำว่า Regulate แปลว่า การควบคุมหรือการ สอดส่องดูแลก็ง่าย ๆ เลยครับ คนที่จะมาสอดส่องดูแลก็มีทั้งฝ่ายค้านแล้วก็ฝ่ายรัฐบาล ถูกไหมครับ เราก็ควรจะทำไมครับ ให้ฝ่ายค้านได้มีหน้าที่บทบาทอาจจะไม่จำเป็นต้อง เป็นสมัยนี้หรือสมัยหน้า ก็คือขอให้ทำไมครับ เน้นว่าถ้าฝ่ายรัฐบาลเป็นคนดูแลก็ให้ฝ่ายค้าน มาเป็นคนตรวจสอบดีไหม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ป.ป.ช. ปปง. หรืองบประมาณต่าง ๆ อันนี้ เพื่อนสมาชิกพูดไปเยอะแล้ว ก็ขออนุญาตประมาณนี้นะครับ ตัวที่ ๔ ก็คือคำว่า W ในที่นี้ ขอใช้คำว่า Worry Recognize ก็คืออย่างที่ให้สภาของเราเป็นผู้นำไม่ใช่แค่เป็นผู้ตาม แต่อย่างเดียว เป็นผู้นำระดับโลกก็ได้ ไม่เอาแค่ AEC เอาระดับโลกเลยนะครับ ให้ทุกคน เขาเอาเราเป็นตัวอย่างบ้าง ตอนนี้เราเองจากการทดสอบภาษาอังกฤษที่ผ่านมา PISA ก็ตกต่ำไปเรื่อย ๆ แล้ว ก็อยากที่จะให้เราไม่ใช่แค่คิดจะตามหรือคิดจะเท่ากัน ขอให้เป็น ผู้นำบ้าง เพราะฉะนั้นคำว่า Worry Recognize ก็เป็นการเขาเรียกว่ายอมรับระดับโลก ทำให้เรามีข้อมูลที่เปิดเผยได้และข้อมูลก็อาจจะต้องมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย อันนี้ ก็ฝากเอาไว้ตามที่เพื่อนสมาชิกได้พูดไปแล้ว ตัวที่ ๕ คือคำว่า Agility ซึ่งก็แปลว่า ว่องไว คล่องแคล่ว ตอนนี้เหมือนเราแบบอืด ๆ นิด ๆ ที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้ผ่านพระราชบัญญัติใด ๆ ทั้งสิ้นถูกไหมครับ ก็จะเป็นการอืดบ้างก็จากการดูแล ๖๐ วัน จาก ครม. เอาไปทำไม ไปศึกษาเมื่อมีการยื่นเข้าไปในสภาแล้ว แต่ก็ยังทำไมครับ เหมือนกับว่ามันยังไม่เร็วเท่าที่ควร หรือบางครั้งเป็นการทำไมครับ ให้นายกรัฐมนตรีของเราเอาไปดูแลจะเป็นงบประมาณไหม เกี่ยวข้องกับเงินไหม ๓๐ วันอีกอันนี้ก็เหมือนกับว่าจะดูโอเคนะครับ เพราะว่ามันต้องมีการ ทำไม ให้รอบคอบแต่สุดท้ายมันจะกลายเป็นว่า Against หรือการดองกฎหมายต่าง ๆ ที่ควรที่จะทำให้กับพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง ตัวนี้ก็จะเป็นตัว Activate อยากที่จะเน้นย้ำ มากขึ้นนะครับ ตัวที่ ๖ ก็คือตัว R R ในที่นี้ย่อมาจากคำว่า Related แปลว่า การสร้าง ความสัมพันธ์ ในที่นี้ก็ตรง ๆ เราเป็นผู้แทนที่มาจากประชาชนก็ต้องมีความสัมพันธ์ กับประชาชนและต้องมีการดูแลพี่น้องประชาชนให้สูงสุด เพราะฉะนั้นก็อยากที่จะไม่ใช่แค่ ปัจจุบันนี้ครับ ประชาชนอยากจะเสนอก็แค่จะยื่น ยื่นเสร็จก็รอ รอเสร็จก็ยื่น ประธานสภา ให้ผ่าน ไม่ผ่านถูกไหมครับ ก็อยากที่จะให้เขาอย่างน้อยครับ ไม่ใช่แค่ยื่นครับเข้ามามีส่วนร่วม ในการรับฟังหรือจะมีข้อเสนอต่าง ๆ ให้ได้มากขึ้นในทุกขั้นตอนในสภาบ้างก็ได้ หรือจะเป็น ในคณะกรรมาธิการก็ว่าได้ประชาชนทั่วไปกันเลยนะครับ ตัวที่ ๗ ก็คือ F O R W A R D ตัว D สุดท้ายถ้าเกิดจะให้เดาก็อาจจะยากครับ เขาใช้คำว่า Discretion ซึ่งตัวนี้แปลว่า ดุลพินิจ ตัวนี้เมื่อสมัยที่ผ่านมาเราค่อนข้างที่จะมีการถกเถียงกันมากเลยว่า เอ๊ะ อะไรด่วน อะไรเร่ง อะไรไม่เร่ง สุดท้ายก็อาจจะมีฝ่ายหนึ่งที่บอกว่า เอ๊ะ Flavour อีกฝ่ายหนึ่งหรือเปล่า ว่าทำไมคุณไม่ยอม ทำไมเห็นอกเห็นใจฝ่ายนั้น ฝ่าย ก มากกว่าฝ่าย ข หรือเปล่า ก็คือ ใช้ดุลพินิจของใครครับ ก็ของประธานสภาบ้างหรือของใครก็แล้วแต่ อันนี้ก็เลยอยากที่จะ เปลี่ยนแปลงบ้างว่าเราอาจจะมีกฎระเบียบที่ลดเรื่องของ Discretion หรือดุลพินิจให้น้อยลง โดยการใช้การโหวตกันเสียอย่างเดียวก็อาจจะเป็นอีกกฎระเบียบหนึ่งที่เสริมสร้างให้สภา ของเรา Worry Recognize หรือจำได้จากทั่วโลกมากขึ้นนะครับ นี่คือ ๗ ตัวอักษร Forward และสุดท้ายนี้ก็อยากที่จะเห็นสภาผู้แทนของเราใช้คำว่า Kaizen คำว่า Kaizen ไม่ได้แปลว่า ใครเซ็น ก็คือนายกรัฐมนตรีเซ็นคนเดียวแล้วก็จบไม่ใช่นะครับ คำว่า Kaizen ในที่นี้เป็น ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า Keep on Continuous หมายถึงว่าเราจะไม่หยุดยั้งความพึงพอใจ เราจะค่อยพัฒนาไปเรื่อย เพราะฉะนั้นแน่นอนครับกฎข้อบังคับทุกข้อ เราควรจะมีการ พัฒนาทุก ๆ ปีไปเรื่อย ๆ นี่คือภาษาญี่ปุ่นของเรานะครับ ขอบพระคุณครับ ด้วยความเคารพ Respect
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตมีนบุรีและเขตสะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ขออภัยการทำงานของท่าน กสทช. ในภารกิจ USO ซึ่งตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม ปี ๒๕๔๔ กสทช. ท่านได้บอกว่าเรามีการสร้างโครงข่าย พื้นฐานทั่วประเทศ ทุกพื้นที่ แล้วก็ทุกชุมชนตามมาตรานี้ ซึ่งท่านก็มีพันธกิจ 3A A แรก ก็คือ Available A2 คือ Accessible A3 คือ Affordable ซึ่งก็แปลว่าทั่วถึง เข้าถึง แล้วก็ ราคาถึงใจ ซึ่งตรงนี้ท่านก็ได้รับเงินสนับสนุน USO ได้รับเงินสนับสนุนจากงบที่เป็น ค่าธรรมเนียม ประมาณ ๒.๕ เปอร์เซ็นต์ กับบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากท่าน ไม่ว่าจะเป็น DTAC GSM หรือบริษัทต่าง ๆ ที่ทำธุรกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบโทรคมนาคมนะครับ ซึ่งในสิ้นปี ๒๕๖๕ อ.เอทได้ไปดูงบประมาณของท่าน ท่านได้มีงบประมาณทั้งสิ้นประมาณ ๗๒,๐๐๐ ล้านบาท แล้วท่านก็มีรายจ่ายอยู่ที่ประมาณ ๕๓,๐๐๐ ล้านบาท ท่านก็จะมี งบเหลือพอสิ้นปี ๒๕๖๕ ประมาณ ๑๙,๐๐๐ ล้านบาท สิ่งที่ท่านได้บอกกับพวกเราว่าท่านทำ อะไรไปบ้าง ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ เพราะ USO มีมาตั้งแต่ปี ๑๘๓๗ เราเพิ่งเอามาใช้งานจริง ๆ ประมาณสัก ๒๐ ปีที่แล้ว เมื่อปี ๒๕๔๘ ท่านบอกว่าท่านได้ติดตั้งโทรศัพท์ ท่านได้ทำ Internet ท่านได้มีการติดตั้ง Internet ให้กับโรงเรียนชายขอบ เมื่อสักครู่นี้ที่ อ.เอทได้บอก ไปแล้วกว่า ๕๐๐ ที่ ท่านมีการเข้าไป Internet ชุมชน มีการเข้าถึงผู้พิการ มีการเสริมสร้าง ในปี ๒๕๕๙ ท่านอ้างว่าท่านได้ทำเสรีทางการแข่งขัน ตอนนี้เสรีหรือเปล่า เหลือกี่บริษัท อันนี้ อ.เอทไม่แน่ใจนะครับ เรื่องของการลดค่าบริการ อันนี้ยิ่งหนักเลยยิ่งใช้ยิ่งแพง หรือเปล่า เรื่องของการที่จะทำให้ Internet Hi-speed จาก ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากร ในประเทศไทยให้เป็น ๘๐ เปอร์เซ็นต์ นี่คือสิ่งที่ท่านบอกว่าท่านกำลังจะทำ หรือท่านทำ ไปแล้วก็ไม่แน่ใจ นี่คือทั้งหมด แล้วยังมีการบอกว่าท่านเข้าถึงหมู่บ้านประมาณ ๔๕,๐๐๐ หมู่บ้าน โดยให้กระทรวง DES ก็คือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทำไปประมาณ ๒๕,๐๐๐ หมู่บ้าน แล้วท่านเองก็ทำประมาณ ๒๐,๐๐๐ กว่าหมู่บ้าน ซึ่งตรงนี้เป็นตัวเลขที่อย่างไรเดี๋ยวท่านค่อยชี้แจงให้กับ อ.เอททีหลังได้นะครับ แล้วก็ทำ Internet ความเร็ว ๓๐/๑๐ ซึ่งตอนนี้ถ้าเกิดได้สัก ๑ เมกะไบต์ อ.เอทก็ถือว่าหรูแล้ว และอีกอันหนึ่งที่ อ.เอทชอบมากคือท่านห่วงใยผู้พิการทางสายตา อ.เอทได้เข้าไปโทรศัพท์ มีเดซี่ ๑๔๑๔ ไปรับฟังดู อ.เอทก็โทรศัพท์ไปเองเลย ปรากฏว่าก็ยังมีหนังสือพิมพ์อีกหลายที่ ที่ยังไม่ได้มีเรื่องของการตอบรับ ยังไม่มีผลว่าฉบับไหนอ่านได้บ้าง อ่านไม่ได้บ้าง อย่างไร ฝากเรื่องนี้ด้วยนะครับ ทีนี้มาดูความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไรครับ พอเรารับโทรศัพท์ ถ้าไปชายขอบหน่อย No service ครับ หรือไม่มีสัญญาณนะครับ ท่านเปลี่ยนสัญญาจ้าง หลายรอบมาก เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา สุดท้าย USO ก็ยังประกอบเหมือนเดิม ไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลงนะครับ มีเรื่องที่ร้องเรียนอยู่ใน ป.ป.ช. เพียบ ในเรื่องของ Internet โรงเรียน สุดท้ายก็เข้าถึงไม่ได้ ชุมชนต่าง ๆ เดี๋ยวเปิดเดี๋ยวปิด สุดท้ายเวลาไหน อย่างไร ก็ยัง ไม่สามารถที่จะเข้าถึงได้ และที่สำคัญ สตง. บอกว่าท่านใช้งบประมาณ ๘,๐๐๐ ล้านบาท ไม่มีรายละเอียดเลยครับว่าท่านเอาไปซื้ออะไรบ้าง จ่ายอะไรบ้าง ไม่ได้ชี้แจงเลยว่า โครงการไหนถึงไหนแล้ว เรื่องของขาดความโปร่งใส เรื่องของ Phase 2 ท่านมีทั้งหมด 3 Phase ตอนนี้ท่านกำลัง Phase ที่ ๓ Phase 2 ตามมาตรา ๒๘ ท่านบอกว่าควรที่จะมี การรับฟังอย่างน้อย ๓๐ วัน ท่านฟังอยู่ประมาณสัก ๗ วัน อันนี้น้อยไปไหมครับ อย่างไร ฝากด้วยนะครับ บางบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโทรคมนาคม ยังไม่ได้มีเรื่องของใบอนุญาต ฝากท่านดูด้วยครับว่าบริษัทไหนที่ยังไม่มีใบอนุญาต และที่สำคัญครับ บางโครงการที่ท่าน ทำกับ กทปส. นี่เป็นกองทุนเพื่อที่จะทำให้มีการปรับปรุง พัฒนาด้านการโทรคมนาคม บางโครงการไปทับซ้อน ทับซ้อนกับใครครับ ทับซ้อนกับกระทรวงสาธารณสุขประมาณ ๓,๕๐๐ ล้านบาท อันนี้ทาง NT ซึ่งเขาบอกเองเลยว่ามัน Work ไหม มันใช่ไหม อยากที่จะ ฝากท่านจริง ๆ และนี่คือสิ่งที่ท่านกำลังนำเสนอแก่พวกเรา ท่านบอกว่าท่านทำ 3A ใช่ไหมครับ เมื่อสักครู่นี้ ก็คือ Available Accessible แล้วก็ Affordable ซึ่งแปลว่าทั่วถึง เข้าถึง แล้วก็ราคาถึงใจ อ.เอทว่าตอนนี้ท่านกำลังทำ 3D มากกว่า D ที่ ๑ คือ Delay หรือล่าช้า D ที่ ๒ คือ Dictatorship ก็คือเรื่องของการมีเผด็จการในกลุ่มบริหารของท่าน และ D ที่ ๓ ก็คือ Drone ในที่นี้ไม่ใช่โดนใจนะครับ ท่านกำลังโดนตำหนิจากองค์กรต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ท่านทำธุรกิจ ธุรกรรมด้วย ดังนั้น อ.เอทขอฝากครับ ให้ท่าน ช่วยทำให้เป็น กสทช. อย่างแท้จริง คำว่า กสทช. ในทีนี้คือเลิกการแสดง แล้วก็ทำเพื่อชาติ อย่างแท้จริง ขอบพระคุณครับ Respect
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ในเขตมีนบุรี เขตสะพานสูง วันนี้ขออนุญาตหารือ ๓ เรื่องหลัก ๆ เป็นปัญหาของพี่น้อง ในเขต กทม. ทั้งหมดครับ
เรื่องแรก แรงงานต่างด้าว ที่ทำงานผิดกฎหมายที่เข้ามาทำงานอาชีพสงวนของคนไทยกว่า ๒๗ อาชีพ ตัวอย่างเช่น การขนของ อาชีพขับรถ แล้วก็การขายของเป็นพวกหาบเร่แผงลอยต่าง ๆ ซึ่งตรงนี้เขาจะอยู่ ในพื้นที่ อ.เอท เสร็จปุ๊บก็จะย้ายไปอีกพื้นที่หนึ่งเหมือนเขาเล่นเก้าอี้ดนตรีกับตำรวจอยู่ อย่างไรฝากกระทรวงแรงงาน แล้วก็ฝากกระทรวงที่เกี่ยวข้องกระทรวงมหาดไทยด้วยนะครับ เพราะอันนี้เป็นปัญหาที่เขาย้ายไปทุกที่จริง ๆ แล้วสุดท้ายก็กลับมาที่เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง ที่เดิม นี่คือเรื่องที่ ๑
เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องของคุณครูอาสา คุณครูเด็กเล็ก เรามีเรื่องของศูนย์เด็กเล็ก ประมาณ ๒๙๒ ศูนย์ใน กทม. มีคุณครูกว่า ๒,๐๐๐ ท่าน คุณครูเหล่านี้แทบไม่มีสวัสดิการ น้อยมาก ถึงแม้ว่าจะได้เงินเดือนตามวุฒิการศึกษาก็จริงอยู่ แต่ว่าเมื่อเด็ก ๆ ขาด หรือว่าเด็ก ๆ น้อยลง สิ่งที่เกิดขึ้นคือเขาก็จะไม่มีอาชีพเหล่านั้นจริง ๆ เพราะฉะนั้น มันขึ้นอยู่กับจำนวนเด็ก และคุณครูเหล่านี้ไม่เคยมีสวัสดิการใด ๆ เลยครับ ฝากกระทรวง ศึกษาธิการและกระทรวง พม. อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าเด็ก ๆ ที่อยู่ในการดูแล ของครูเหล่านั้นประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน อันนี้เป็นปัญหาใหญ่จริงที่ครอบคลุมทั้ง กทม.
เรื่องสุดท้าย ที่จะหารือวันนี้เป็นเรื่องของรถไฟฟ้า Airport Rail Link สายสีแดง เราเข้าสู่เรื่องของสังคมสูงวัยแล้วเขาขึ้นบันไดไม่ไหวครับ ทางพี่น้องในฝ่ายของ พื้นที่ อ.เอท เขาบอกว่าอยากจะให้ทำบันไดเลื่อนในรถไฟฟ้าสายสีแดง อย่างไรฝากไปยัง พื้นที่ที่เกี่ยวข้อง กระทรวงคมนาคม ทุกพื้นที่เลย มันไม่ใช่แค่สายสีแดง สายสีเหลือง ก็เช่นกันบางทีเหมือนขึ้นบันได ๗ ชั้นแล้วเหนื่อยมาก สุดท้ายแล้วลงไม่ไหว สรุปอยากที่จะให้ ข้าราชการไทยทำงานว่องไวได้ใจประชาชน ขอบพระคุณท่านประธานครับ Respect
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรี และเขตสะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ขออนุญาตมาคุยเรื่อง Model น้ำ หรือเรียกว่า Water ตัว W ตัวแรก มาจากคำว่า Waste คือความสูญเสีย เรามีปริมาณน้ำ เอาเฉพาะน้ำฝนนะครับ ต่อปีเฉลี่ย ประมาณ ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร แต่ปีนี้เรามีถึง ๑,๘๐๐ มิลลิเมตร แสดงว่ามากกว่าเฉลี่ย ประมาณ ๒๓ เปอร์เซ็นต์ แต่ไฉนเหตุใดเราถึงไม่สามารถที่จะนำน้ำที่เกินหรือ Access มาทำ ประโยชน์ได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้คือการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงที่เราควรจะนำสิ่งที่มีอยู่แล้ว มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้ นี่คือตัว W ครับ ต่อมาตัว A ตัว A คือ Accessible แปลว่า เข้าถึง น้ำประปามีผู้ใช้บริการอยู่ประมาณ ๕.๓ ล้านราย แล้วก็มีการผลิตอยู่ประมาณ ๑๗๙ ล้านคิวบิกเมตร หรือ Cubic Metre ซึ่งตรงนี้ยังน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่อยู่ อาศัยในประเทศเราซึ่งมี ๗๐ ล้านราย เพราะฉะนั้นคำว่า Accessible ตัวนี้อยากจะให้เห็น ถ้าพูดถึงเปอร์เซ็นต์ท่านจะเห็นว่าคนที่เข้าถึงน้ำประปาจริง ๆ มีอยู่แค่ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ จากทั้งหมด ๗๐ เปอร์เซ็นต์ที่ยังเข้าไม่ถึง นี่คือปัญหาอย่างใหญ่หลวงที่เราต้องมาคุยกันว่า ทำไมน้ำทั้ง ๆ ที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในโลก หรือทรัพยากรที่เหล่ามนุษย์ต้องการใช้ แต่ยังขาดตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่เราควรจะต้องมานึกกันแล้วว่าเรามีตรงนี้ เรามีเรื่องของ การจัดการน้ำมาหลายปี ทำไมยังขาดอยู่ ตัว T ครับ T คือ Together แปลว่าด้วยกัน เรามีทรัพยากร เรามีกรม เรามีกระทรวงน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรมชลประทาน สำนักการระบายน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล คือเรามีเยอะมาก แต่เราคงยัง Supply น้ำ หรือบริการน้ำอยู่ได้แค่ประมาณสัก ๕-๖ ล้านราย อย่างนี้แสดงว่าเราต้องมีอีก ๒๐ กระทรวง หรือ ๒๐ กรมไหมครับ เพื่อที่จะทำให้น้ำเข้าถึง ๗๐ ล้านคนได้ นี่คือแสดงว่า สิ่งที่เรามีมา กรมต่าง ๆ ที่มีมายังคงไม่สามารถที่จะประสาน Synergies หรือรวมการทำงาน เป็น Teamwork ที่ดีได้ เราต้องศึกษาแล้วครับ ต่อมาตัว E ขอใช้คำว่า Edible แปลว่า ดื่มได้ หรือกินได้ หรือบริโภคได้ เราในฐานะที่เป็นพรรคก้าวไกล เรามีนโยบายชัดเจน ๗,๕๐๐ ล้านบาทต่อปี ทำต่อเนื่องกัน ๓-๔ ปี น้ำประปาดื่มได้ทุกบ้านในประเทศไทย นี่คือ สิ่งที่เราอยากจะทำเหลือเกิน แทนที่จะเอาเงินงบประมาณเป็นแสน ๆ ล้าน หรือหลาย ๆ ล้าน ไปทำอย่างอื่น เอามาทำน้ำ แล้วทุกคนจะมีรอยยิ้ม สุดท้ายเป็นตัว R ในที่นี้ย่อมาจากคำว่า Reservoir คือตัวอ่างเก็บน้ำ เรามีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ถึง ๓๕ ขนาดใหญ่นะครับ รวมถึง เขื่อนต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นอ่างเหมือนกัน และยังมีขนาดกลางอีกประมาณ ๔๕๒ ถ้า อ.เอท จำตัวเลขไม่ผิด แสดงว่าเรามีอ่างเก็บน้ำมหาศาลครับ เยอะมาก แต่ก็ยังคงเก็บน้ำได้อยู่ที่ ประมาณ ๗๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ยังไม่สามารถเก็บได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เรากลับไปดู ณ ปัจจุบันนี้ ยังมีจังหวัดอีกประมาณ ๑๕ จังหวัด ที่ยังมีน้ำท่วมอยู่ การจัดการมันถึงเป็นปัญหาแล้ว เป็นเรื่องของ Management Administration หรือการจัดการน้ำที่มีมวลน้ำมหาศาล แต่เรายังไม่สามารถที่จะนำน้ำเหล่านั้นที่มันเกินมาใช้ประโยชน์ได้ นี่คือสิ่งที่เราต้องมาคุยกัน และมาเรียนรู้ไปด้วยกัน และสุดท้ายครบ Water Model แล้วนะครับ สุดท้าย อ.เอท อยากจะเห็นคำว่า Water ที่ไม่ใช่ Disaster ซึ่งก็แปลเป็นไทยง่าย ๆ ว่าน้ำเป็น ทรัพยากรธรรมชาติ อย่าให้มันเป็นหายนะของประเทศชาติของเราอีกต่อไปครับ ขอบพระคุณครับ Respect
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ. เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรี-สะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ขอร่วมอภิปรายสนับสนุนร่างของอากาศสะอาด ก็คือ Clean Air แต่วันนี้มาใน Model คำว่า Pollute ซึ่งก็แปลว่ามลพิษ เริ่มที่ตัว P ก่อนเลยนะครับ มันจะเป็นการสรุปของทั้ง องค์รวมเลย P ในที่นี้คือคำว่า Punishment ครับ ซึ่ง Punishment แปลว่า การลงโทษ ที่ผ่านมาเรายังไม่มีบทลงโทษอย่างจริงจังนะครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่ยอมมาชี้แจง ผู้ที่ไม่ยอม ทำตามกฎหมายหรือกระทั่งไม่ยอมที่จะฟื้นฟู หรือการปรับปรุง หรือจะเป็นการสนับสนุน อากาศใด ๆ ทั้งสิ้นที่เป็นสิ่งที่ทุกคนควรที่จะได้รับ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เมื่อสักครู่นี้เพื่อน ๆ ผมได้พูดชัดเจนว่า ถ้าท่านไม่ทำตามมีทั้งบทลงโทษทางอาญา แล้วก็บทลงโทษทางด้านสังคม นะครับ มีการประณามอย่างจริงจัง เพราะฉะนั้น P ตัวแรก Punishment จัดเต็มแน่นอน สำหรับท่านที่ดื้อ ตัวที่ ๒ คือตัว O คือ Oversea Oversea แปลว่า ต่างประเทศ ครับ เราพูด กันหลายครั้งว่าเราต้องมีการร่วมมือเป็น International Law ต่าง ๆ กับประเทศนั้นประเทศ นี้สุดท้ายร่วมไปร่วมมาทำไมยังเหมือนเดิม อันนี้ อ. เอท ก็เลยสงสัยมากเลยครับว่าเราควรจะ มีวิธีการร่วมมือที่ดีกว่านี้ไหม เพราะฉะนั้นกฎหมายฉบับล่าสุดนี้ที่จะออกมาอีกไม่กี่วันนี้ หรืออีกไม่กี่เดือนนี้จะเป็นสิ่งที่ยืนยันชัดเจนว่าเราร่วมกันนะครับ ฝุ่นจะจบได้ในประเทศไทย อย่างแน่นอน เราหวังเป็นอย่างนั้น นั่นคือตัวที่ ๒ ตัวต่อไปคือตัวที่ ๓ ตัว L L ในที่นี้คือ Law แปลว่า กฎหมาย หลายท่านก็มาวันนี้แน่นอนครับ ผู้ที่มาจากประชาชนครับ เราเป็นตัวแทน ที่มาเปลี่ยนกฎหมายให้ทันสมัย เป็นกฎหมายครับ และที่สำคัญที่สุดกฎหมายจริง ๆ แล้วมี ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แต่วันนี้ในปี ๒๕๖๗ เราอยากที่จะมีกฎหมาย ที่ดูแลด้านฝุ่นละอองอย่างจริงจัง PM2.5 จะเป็น First Ever Drafted เป็นครั้งแรกที่สุดเลย ที่จะมีในประเทศไทย เพราะฉะนั้นขอให้ทุกคนเตรียมตัว เพราะเราจะปรับกฎหมาย ปรับสิ่งที่มันไม่ทัดเทียม ไม่เท่าเทียมให้ทุกคนได้มีอากาศที่สดชื่นไปด้วยกันครับ ต่อมาครับ L ตัวที่ ๔ L ตัวนี้ค่อนข้างง่าย ทุกท่านเดาได้ Live well แปลว่า มีชีวิตที่ดี คำว่า Live well ในที่นี้คือการมีอากาศที่สดใสตามมาตรา ๗ ของ พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม ทุกคนต้องช่วยกันดูแล รักษาสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทางประชาชนเองหรือจะเป็นภาครัฐ ทุกคนต้องร่วมมือกันอย่างเรียกว่าเป็นจริงเป็นจัง เพราะฉะนั้นตรงนี้เลยเป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐาน ของชีวิต เราต้องมีการควบคุม เมื่อมีการทำละเมิดต้องมีการจัดการโดยทันที สิ่งนี้คือสิ่งที่เรา อยากมาก ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อย ๆ ปีสองปีสุดท้ายคนทำผิดก็มีเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ อันนี้ก็ไม่ดี แน่นอน และที่สำคัญที่สุด อะไรที่ล่าช้าเราจะร่วมการปรับเปลี่ยนให้เร็วขึ้น นี่คือตัว L ที่ ๒ ซึ่งตอนนี้ อ.เอท ก็พูดมาทั้งหมด ๔ ตัว P O L L ต่อมาตัวที่ ๕ มีทั้งหมด ๗ ตัวครับ ตัวที่ ๕ คือตัว U United ก็ไม่ใช่ฟุตบอลนะครับ เป็น United ก็คือการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรประชาคม ประชาสังคมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วย อปท. เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ต้องร่วมมือกัน จริง ๆ แล้วทุกท่านอภิปรายมาหมดแล้ว เรามีหลายหน่วยมาก จนแต่ละหน่วยก็แย่งกันหนี แย่งกันเลี่ยง ไม่ได้แย่งกันทำงานนะครับ เราอยากจะให้ทุกท่านต้องแย่งกันทำงานนะครับ นี่คือหลักการที่ อ.เอท อยากเห็น เพราะฉะนั้นเราต้องร่วม ป้อง แก้ ก็คือร่วมมือ ป้องกัน แล้วก็แก้ไขทุกคน หลายท่านพูดกัน ในที่นี้ ไม่เป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลบอกว่าเราจำเป็นต้องใช้บูรณาการ ซึ่งก็แปลว่า Holistic คือการร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม ประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลงแน่นอน นี่คือตัวที่ ๖ ต่อไปตัว T T ในที่นี้คือคำว่า Tell ครับ Tell แปลว่าบอก บอกหรือรายงานจะเป็นอีก ๑ ฉบับที่ผ่านมา เราไม่เคยเรียกให้ใครมารายงานได้เลยครับ เรียกไปก็บอกไม่สน ฉันไม่สน เธอก็แค่ หน่วยงาน ๆ หนึ่ง เราจะมีคณะกรรมการกลาง ไม่ว่าจะเป็นคณะใหญ่ ชุดใหญ่ ชุดกลาง ชุดเล็ก ใหญ่ก็คือเป็นระดับประเทศครับ ก็คือมีรัฐมนตรีเป็นหลัก มาร่วมมือกับชุดกลาง ชุดเล็ก ในการที่จะ Summon หรือเรียกคนที่ทำผิดมาคุยกัน เรียกมาปรับ เรียกว่าเอามาให้ เข้าสู่กระบวนการกฎหมายอย่างแท้จริง ฉะนั้นคำว่า Tell ก็คือเรียกมาคุยนะครับ ต้องมี การแจ้งเตือนครับ อันนี้ สส. เพื่อน อ.เอท สส. ตี๋ได้พูดหลายครั้ง ใน กสทช. ต้องมี App ไหม ไม่ใช่แค่ SMS ไหม ต้องมีการทำรายงานอย่างจริงจังครับ เพราะฉะนั้นกฎหมายฉบับนี้ จะมีการสั่งให้ทุกคนหรือเป็นการบอกให้ทุกคนช่วยทำรายงานส่งหน่อย ถ้าไม่ทำเรามี Trace Back เรามีการสืบ ๆ กลับไปด้วยเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว เมื่อ ๕ ปีที่แล้วท่านเคยทำอะไรที่ผิด ต่อสิ่งแวดล้อมไว้หรือไม่นะครับ เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นของทุกคน เราควรสงวนไว้นะครับ เอาล่ะครับ เราก็ได้เดินทางไปถึง ตัวสุดท้าย คือตัว E ตัว E ของ อ. เอท. ท่านประธานจะลองเดาไหมครับ E คือ Electronic ครับ คำว่า Electronic ก็คือเป็น Electronic Devices หรือเราจะใช้ เทคโนโลยีที่เรามีระบบ Cloud สักครู่นี้ สส. เท้งได้อธิบายแล้วครับ เรามีระบบ Cloud ระบบการยืม ระบบ ต่าง ๆ ที่เอามาทำไมครับ ๑. เก็บข้อมูล ๒. เอามาวิเคราะห์ข้อมูล ๓. เอามาพยากรณ์ แล้วก็ เอามาแจ้งเตือนนะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้เรามีเทคโนโลยีแล้วทำไมเราถึงไม่เอาสิ่งเหล่านี้ มาใช้งาน เอามาบูรณาการ ไม่ว่าจะเป็นภาคของคน ภาคของเทคโนโลยี แล้วก็หน่วยงาน ต่าง ๆ มาร่วมมือกัน ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องไม่เหมือนเดิมนะครับ สุดท้ายนี้ อ.เอท ขอฝากครับว่า มลพิษทางอากาศก็แย่แล้วนะครับ ทีนี้ถ้าเป็นมลพิษทางความคิดยิ่งแย่กว่า ก็ขอให้ทุกคนมาร่วมกันคิดทำให้ประเทศไทยของเราดีขึ้นกว่าเดิมครับ ขอบพระคุณครับ Trace Back
สวัสดีครับ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง วันนี้ขอหารือ ๓ เรื่องครับ
เรื่องแรกเป็นเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับทางเดินริมคลอง ซึ่งเป็นทางเดินที่ อ.เอท พูดมาแล้วหลายครั้ง อย่างน้อย ๒-๓ ครั้ง เป็นทางเดินที่อยู่ที่ซอยร่มเกล้า ๖/๑ เป็นคลองที่เป็นคลองสองต้นนุ่น ตรงนี้ มีโรงเรียน มีชุมชนหลายที่เลยนะครับ เป็นคลองเริ่มตั้งแต่โรงเรียนปัญจทรัพย์ไล่ยาว ทางทิศเหนือลงมาถึงทิศใต้ก็คือการเคหะร่มเกล้า ตรงนี้เขาเรียกว่าเป็นทางเดินที่พังมากเลย ไม่สามารถที่จะซ่อมได้ อย่างไรขอสร้างใหม่เลยก็แล้วกัน พร้อมกับราวด้วย
เรื่องที่ ๒ ก็เป็นเช่นกัน ถ้าเกิดท่านดูจากภาพนะครับ เรื่องที่ ๒ ก็จะเกี่ยวข้อง กับเรื่องของราวกั้นอีกครับ ซึ่งผู้ที่ดูแลก็คือสำนักการระบายน้ำโดยตรงเลย ก็อยากที่จะ ฝากครับว่าราวกั้น แต่เป็นคนละที่นิดหนึ่งครับ ที่ที่ ๒ เกิดที่สุเหร่าลำนายโส หรือเป็น คลองลำนายโส ก็จะเป็นคลองคนละคลองกันแต่มีความต่อเนื่องกัน เพราะฉะนั้น ๒ เรื่องนี้ จะสังเกตว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งเขาเรียกว่ามีความเสียหายมานานแล้วด้วย เป็นการสร้างมา แบบสิบ ๆ ปี อย่างไรฝากให้ท่านประธานส่งไปยังหน่วยงานก็คือสำนักระบายน้ำช่วยดูแลด้วย สงสัยว่าราวกั้นนี้มันหายหรือมีคนแอบลักขโมย
เรื่องที่ ๓ สำคัญที่สุดครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวเข้ามาใช้พื้นที่ เข้ามาในประเทศเรา ไม่ว่าจะเป็นจาก ๓ ประเทศที่อยู่ติดกับเรานะครับ ทางเหนือคือลาว กัมพูชา หรือทางพม่าเองซึ่งเข้ามาทำอาชีพที่ต้องห้ามครับ อาชีพต้องห้ามของเรามีประมาณ ๔๐ อาชีพ ถูกไหมครับ แต่ ๑๐ อาชีพที่ห้ามจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการหาบเร่ แผงลอย ขับมอเตอร์ไซค์ ขายไก่ย่าง หรือจะเป็นลักษณะเกี่ยวกับเรื่องของการขับวิน พี่วินมอเตอร์ไซค์ มาแย่งอาชีพจากคนไทยไปเยอะเลย สร้างผลเสียด้านอะไรบ้างครับ ด้านสังคม เรื่องของ การอยู่กันเป็นกลุ่มเกิดเป็นอาชญากรรมได้ ด้านเศรษฐกิจแย่งงานคนไทย และแน่นอนครับ ด้านสิ่งแวดล้อมด้วย และที่สำคัญสุดก็คือด้านที่เรียกว่าเป็นเรื่องของการมีผู้อพยพ อันนี้ จากหลายประเทศเข้ามาในประเทศไทยถูกไหมครับ ก็ขอให้ทางกระทรวงแรงงาน เรื่องของ ตำรวจ พี่น้องตำรวจช่วยกันแก้ไขครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ Respect
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ ตัวแทนของมีนบุรี สะพานสูง พรรคก้าวไกลนะครับ ขออภิปรายเรื่องเกี่ยวกับค่าไฟแพง ค่าไฟแพงวันนี้มาใน Model 3 W 3 W คืออะไร W ตัวแรก ทำไมแพง Why ทำไมค่าไฟถึงแพงครับ หลายท่านพูดไปเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นค่า FT ไม่ว่าจะเป็นค่าที่เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐที่ไม่ตรงกับความต้องการและ Demand ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการเอาก๊าซ LNG เอามาใช้ ซึ่งก็เอาไปใช้อย่างอื่นแทน ไปผลิต อย่างอื่นแทนที่มันเป็นไฟนะครับ และที่สำคัญเมื่อสักครู่นี้ท่าน สส. แอนพูดไปครับ ก็คือ เรามีการผลิตไฟเพื่อที่จะเอามาสำรองมากเกินไปถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจริง ๆ แล้วเราควร จะสำรอง World Standard ที่ประมาณ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ นี่คือทำไมค่าไฟถึงแพงนะครับ ทีนี้เรามาดูที่ W ที่ ๒ ครับ W ที่ ๒ คือ What อะไรครับ อะไรที่ทำให้ค่าไฟแพง เมื่อสักครู่นี้ สส. แอนก็พูดไปแล้วครับ ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าบริการ ค่า VAT ค่า FT แต่วันนี้ อ.เอท ในฐานะที่ อ.เอทเรียนวิศวะมาเล็กน้อย ก็จะมาแจงเลยว่า เวลาเราไปเดินตามเอื้ออาทร ไปเดินตามเคหะรามคำแหง ไปเดินตามเคหะต่าง ๆ ที่เป็นบางชัน เวลาพี่น้องเขาเสียบปลั๊ก เขาเสียบอะไรบ้างครับ ในแต่ละห้อง ๆ หนึ่งค่าเช่าประมาณสัก ๒,๕๐๐-๓,๐๐๐ บาท สมมุติบ้าน ๑ หลัง หรือห้อง ๑ แฟลต ๑ ห้อง มีพัดลม ๑ ตัว ๕๐ วัตต์ เปิดสัก ๑๐ ชั่วโมงต่อวัน มีตู้เย็นสักตู้หนึ่งเอาสัก ๑๐ คิว ประมาณ ๑๐๐ วัตต์ ตู้เย็น ต้องเสียบ ๒๔ ชั่วโมงถูกไหมครับ ถ้าเราเสียบตู้เย็นแค่ ๑๐ ชั่วโมง อะไรก็เน่าหมด ก็ต้องเสียบ ๒๔ ชั่วโมงต่อวัน หลอดไฟ LED สมมุติบ้านนั้นมีแค่หลอดเดียวครับ หลอดหนึ่ง ก็ประมาณสัก ๒๐ วัตต์ เปิดสัก ๘ ชั่วโมงต่อวันตอนกลางคืน กลางวันไม่เปิดด้วยนะครับ มือถือครับทุกคนต้องมีมือถือเอาเป็นว่าเสียบมือถือเครื่องเดียว มือถือเครื่องหนึ่งกินไฟ ประมาณ ๖ วัตต์ สมมุติเรา Charge Battery Let’s Say หรือประมาณสัก ๖ ชั่วโมง ถึง ๘ ชั่วโมงต่อวัน ทีวีครับ สมมุติบ้านไหนที่มี TV แบบ LCD ก็ได้ประมาณ ๑๐๐ วัตต์ เปิดเต็มที่เลย ๒ ชั่วโมงต่อวัน อันนี้เราคิดแบบบ้าน ๆ กันเลย สมมุติมี Notebook ด้วยครับ หรือจะเป็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เสียบไว้ประมาณ ๕๐ วัตต์ หรือเราใช้ไฟประมาณสัก ๒ ชั่วโมงต่อการเล่น Notebook ทั้งหมดนี้พอคำนวณออกมาแล้วเราจะใช้ไฟต่อวัน ประมาณสัก ๓.๒๖ ยูนิต เดือนหนึ่งก็คูณอีก ๓๐ เข้าไป Let’s Say หรือประมาณสัก 100 Unit สมมุติ Unit ละ ๕ บาท หรือ ๔.๕ บาท ก็ประมาณ ๕๐๐ บาท ท่านเห็นไหมครับ ว่าค่าเช่าไปแล้วประมาณสัก ๒,๕๐๐-๓,๐๐๐ บาท ท่านครับนี่แค่ TV ๑ เครื่อง หลอดไฟ ๑ หลอด ตู้เย็น ๑ ตู้ ยังไม่ได้เปิดแอร์นะครับท่าน สมมุติว่าบ้านไหนที่แบบร้อนมากตอนนี้ ฝุ่น PM เยอะ อยากจะมีแอร์ ถ้าเอาแอร์ประมาณสัก ๑๒,๐๐๐ BTU หรือไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ BTU โดยเฉลี่ยแอร์ ๑ เครื่อง จะกินไฟประมาณ ๑,๕๐๐ วัตต์ โดยเฉลี่ยทั้งเดือนแอร์ ๑ ตัว ท่านจะเสียค่าไฟ นี่แค่เสียบแอร์นะครับ อยากจะ ให้ทุกท่านได้เห็นว่าทำไมค่าไฟมันถึงแพง เสียบแอร์ตัวหนึ่ง ๑ เดือน จะเสียค่าไฟประมาณ ๑,๖๐๐ บาท นี่ อ.เอทไปนั่งคำนวณมาแบบจริงจังเลยนะครับ ตามสูตร เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดบ้านทั่ว ๆ ไปไม่ติดแอร์ประมาณ ๕๐๐ ครับ ติดแอร์ ๑ เครื่องไปแล้ว ๓,๐๐๐ เห็นไหมครับ นี่ยังไม่รวมค่าเช่าบ้านนะครับ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดเรามาลองนึกภาพ อ.เอท ก็ไปอีก ๑ ซอย แถว ๆ เขตมีนบุรีของบ้าน อ.เอท หรือแถว ๆ เขตสะพานสูง ไปเจอบ้าน บ้านหนึ่งที่ท่านเป็นผู้ป่วยติดเตียง ถ้าเกิดผู้ป่วยติดเตียงจะเปิดพัดลมตัวหนึ่งแล้วก็เปิด ๘ ชั่วโมง ก็คงไม่ได้ถูกไหมครับ เพราะท่านเองอาจจะมีอาการเรื่องแผลกดทับ ก็ต้องเปิด อย่างน้อย ๒๔ ชั่วโมง หรืออย่างน้อยก็ ๒๐ ชั่วโมง เมื่อสักครู่ที่ อ.เอทคำนวณ พัดลม ยังแค่ประมาณ ๘ ชั่วโมง เห็นไหมครับว่าค่าไฟมันกินค่าใช้จ่ายมหาศาลจริง ๆ เพราะฉะนั้น นี่คือสิ่งที่ อ.เอท อยากจะให้ท่านเห็นว่าแค่เสียบปลั๊กและแค่ใช้ไฟ ๑ หลอด LED ยังเสียค่าไฟ มากขนาดนี้ นี่คือสาเหตุที่แท้จริงครับ เราไม่ต้องไปคุยกันเยอะนะครับว่าค่า FT แพง อันนี้คือแบบบ้าน ๆ กันเลย คิดแบบให้พี่น้องของพวกเราทุกบ้านได้เห็นว่าแค่เปิดปลั๊ก เสียบปลั๊ก เสียบไฟใช้ไฟนิดเดียวก็กินไฟมหาศาลแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นเราก็จะไปสู่ W ที่ ๓ ครับ W ที่ ๑ คือทำไม W ที่ ๒ คืออะไรที่เสียบปลั๊กแล้วทำให้ค่าไฟแพง W ที่ ๓ คือ Way out ครับ Way out คืออะไรครับ คือทางออก เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาดูทางออกกันว่า จะแก้ไขปัญหาไฟอย่างไร พี่น้องเราคุยกันไปเยอะ วันนี้ อ.เอท ขอเสนออีกครับ ๑. Due หรือการไปตกลงกับบริษัทที่เป็นบริษัทนายทุนใหญ่ ๆ แล้วต้องไปให้เงินเขา เพื่อให้เขา ปิดเครื่องหรือผลิตออกมาก็เอาไปเป็นพลังงาน Reserve หรือพลังงานเสริมไม่มีประโยชน์ครับ ตัด Due นั้นทิ้งนะครับ เราต้องให้ประชาชนเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดครับ ๒. Pool Gas อันนี้เพื่อน อ.เอท ได้พูดไปแล้วครับ ท่าน สส. หลายท่านครับ Pool Gas คือเมื่อมีพลังงาน มาเป็นแหล่งของ LNG ถูกไหมครับ หรือพลังงานจะมาจากอ่าวไทย ควรจะเอาพลังงาน ที่มีต้นทุนต่ำมาผลิตค่าไฟครับ นี่คือทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งตอนนี้ทำแล้วลดมาแล้ว ๗๐ สตางค์ ต่อ ๑ Unit ครับยอดเยี่ยม
ต่อไปเป็นเรื่องของการสำรองพลังงานไฟฟ้าครับ เราสำรองมาแล้วเมื่อสักครู่ สส. แอนเพิ่งพูดไปครับ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ทำไปเพื่ออะไรครับ เหลือ ๑๕ ก็พอไหม อันนี้ ต้องทำเดี๋ยวนี้เลย ไม่เช่นนั้นแล้วเราก็จะเสียค่าไฟแพงไปเรื่อย ๆ นะครับ อีก ๑ ข้อ ก็คือ Solar Rooftop หรือพลังงานไฟฟ้า อันนี้ Confirm ครับ อ.เอทไปถามเพื่อนที่มีกิจกรรม ด้านการผลิตไฟฟ้า เขาบอก ๑ เครื่อง ประมาณ ๕ กิโลวัตต์ บ้านเราโดยเฉลี่ยจะใช้ประมาณ ๓ กิโลวัตต์ ต่อ ๑ หลัง เพราะฉะนั้นถ้าเกิดเราเอา ๕ กิโลวัตต์มาใช้ ลงทุนประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท การจะได้คืนทุนหรือ Internal Rate of Return (IRR) มันจะมาประมาณ สักไม่เกิน ๕-๖ ปี เห็นไหมครับเราลงทุน ๒๐๐,๐๐๐ เราได้เงินกลับมา ๕-๖ ปีนะครับ เราสามารถที่จะคืนทุนแล้ว และนี่ละครับ คือการดูแลค่าใช้จ่ายของพวกเราอย่างยั่งยืน เพราะฉะนั้นรัฐบาลควรที่จะมีวิธีการที่จะทำให้พวกเราสามารถที่จะซื้อไฟเองได้ ขายไฟเองได้ จากการทำ Rooftop หรือเป็น Solar Rooftop นี่เป็นทางแก้ที่ยั่งยืนนะครับ เพราะฉะนั้น อ.เอท อยากเห็นประเทศไทยไฟต้องไม่แพงอีกต่อไป ด้วยความเคารพครับ Respect
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี และเขตสะพานสูง วันนี้ขอร่วมเห็นด้วยกับการตั้งวิสามัญ คืนธุรกิจทหารให้กับประชาชน ให้กับรัฐ แล้วก็ให้เป็นที่ของสาธารณะ ซึ่งวันนี้พอพูดถึงคำว่าสาธารณะก็ต้องเป็น Model คำว่า Public ครับ P ตัวแรกในที่นี้ขอใช้คำว่า Park แปลว่า สวนสาธารณะ ซึ่งแน่นอนถ้าเรา ไปดูในผังจะเห็นว่าเป็นสีเขียว หรือไม่ก็สีเขียวคาดขาว ซึ่งก็แน่นอนเป็นพื้นที่ที่เป็นเอาไว้ รับน้ำถูกไหมครับ แต่จริง ๆ แล้วนอกจากนั้นบางครั้งกลายเป็นเอาไว้ทำเป็นสนามกอล์ฟ ถูกไหมครับ ซึ่งแทนที่จะเป็นผลประโยชน์ของทุกคน กลายเป็นของบางคน ของบาง หน่วยงาน หรือของบางจุดเท่านั้นเองที่ไม่สามารถที่จะกระจายให้กับพี่น้องประชาชนอย่าง แท้จริง เพราะฉะนั้นตัว P ขอเน้นว่าให้เป็น Park ที่เป็นของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง ต่อมาเป็นตัว U ขอใช้คำว่า Utility ก็แปลว่า การเอามาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในที่นี้ คำว่า Utility เราต้องการเน้นใช่ไหมครับว่าธุรกิจต่าง ๆ ควรจะเป็นของรัฐ ของพี่น้อง ประชาชน แต่สุดท้ายก็ยังเป็นของกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเราเองก็อยากที่จะเอาสิ่ง เหล่านั้นให้กลับมาเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นประโยชน์ที่แท้จริงต้องขึ้นอยู่ กับประชาชนครับ เพราะประชาชนคือคนที่มีอำนาจสูงสุด ต่อมาครับ ตัว B ในที่นี้คืออะไร B ในที่นี้คือ Business Model Business ซึ่งจริง ๆ แล้ว Model Business ควรจะเป็นของ ประชาชน ไม่ใช่เป็นของทหารท่าน ท่านสังเกตไหมว่า Business นี้ต้องใช้อะไรบ้าง เราเคย เรียนมา ๔ M ถูกไหมครับ Method Material ซึ่ง อ.เอท ขอเน้นคำว่า Material ในที่นี้ก็คือ เรื่องของพื้นดิน ที่ดินของเรา เรามีพื้นดินอยู่ประมาณ ๓๒๐ ล้านไร่ เมื่อสักครู่นี้เพื่อน บอกแล้วนะครับ ใน ๓๒๐ ล้านไร่ มีพื้นที่ที่เป็นราชพัสดุถึงประมาณ ๑๒ ล้านไร่ และแน่นอน เมื่อเป็นที่ดินของราชพัสดุ ก็ต้องมีคนที่มาดูแลหรือเป็นแบบแนว Manager หรือผู้จัดการ ก็คือใครครับ ก็คือที่ธนารักษ์หรือกรมธนารักษ์จาก ๑๒ ล้านไร่ ก็จะดูประมาณ ๑๐ ล้านไร่ ซึ่งแน่นอน ๑๐ ล้านไร่ ก็จะเป็นที่ราชการ แล้วก็อีกประมาณล้านไร่ ประมาณใน ๑๐ ล้านไร่ มาหาผลประโยชน์ครับ สุดท้ายแล้วประโยชน์นี้ไปอยู่ที่ใคร เมื่อสักครู่นี้มีพี่ ๆ เพื่อน ๆ ที่บอกว่าบางครั้งควรจะไปเน้นเรื่องของการที่เอาไปเป็นรักษาความมั่นคง เรามีแล้วครับ ที่ที่กรมธนารักษ์เอาไปดูแลความมั่นคงถึงประมาณ ๒ ล้านไร่ น่าจะเพียงพอ เพราะฉะนั้น ตอนนี้เรากำลังมาดูกันว่าที่ที่ประมาณ ๑ ล้านไร่ เราจะเอาตรงนี้มาใช้ประโยชน์อย่างไร ให้กลับคืนสู่พี่น้องประชาชน นี่คือตัว P ต่อมาเป็นตัว L อยากเห็นครับ การที่เราเอาพื้นที่ ของทหารเอามากระจายออก คำว่า L ในที่นี้ก็คือ Local ครับ Local หรือเป็นการกระจาย อำนาจครับ เราควรที่จะเอาการกระจายอำนาจมาใช้ Model นี้ พรรคก้าวไกลต้องการเน้นตลอดเวลาว่า ถึงเวลาแล้วที่การจะอยู่กันเป็นกระจุกควรจะเป็นกระจายทุกคน เพราะฉะนั้นหน่วยงานที่ ท้องถิ่นควรได้รับโอกาสเหล่านั้นในการที่บริหารที่ดิน แล้วเมื่อได้กำไรก็เอามาแบ่งปันให้กับ พี่น้องประชาชน ภาษีเป็นของพี่น้องทุก ๆ คน นี่คือตัว L ต่อมาตัว Income คือ I เป็นตัวรอง สุดท้าย I คือ Income ครับ หลายท่านพูดมาแล้วว่าธุรกิจของพี่น้องที่เป็นทหารของเรา มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น มวย ม้า สนามกอล์ฟ แหล่งพลังงาน ซึ่งก็มีการคำนวณคร่าว ๆ จากพรรคของเรา พรรคก้าวไกลบอกว่างบประมาณ ๕๐,๐๐๐ ล้านบาทไหมที่เป็นผลกำไร แน่นอนครับ Income หรือรายได้ถ้าเป็นของพลังงานโดยตรงประมาณ ๗๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ถ้าเป็นของการเอาไปทำทีวีเอาไปทำช่องโน้นช่องนี้อีกก็เป็น ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาท นี่คือ Income ที่สร้างรายได้ สร้างผลกำไรกว่า ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ถ้าเอา Income ตรงนี้มา กระจายให้กับพี่น้องประชาชนจะมีโอกาสมากมาย ทำให้พี่น้องมีรัฐและสวัสดิการที่ดีขึ้น กว่านี้แน่นอนคือ ตัว I และตัว C สุดท้ายแล้วนะครับ P U B L I C ครับท่านประธาน ตัว C คืออะไร ตัว Common Common ก็คือเป็นของทุก ๆ คน แผ่นดินของเราเป็นของทุก ๆ คน เพราะฉะนั้น อ.เอท อยากจะให้เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะเอาที่ดินที่เป็นราชพัสดุ ซึ่ง Royal Property ราชพัสดุต้องเป็นของพี่น้องทุกคนมีส่วนร่วมในการที่จะเข้าไปบริหารโดยเป็น การปกครองส่วนท้องถิ่นหรืออะไรก็ตามแต่เพื่อให้ผลกำไรนั้นกลับมาสู่พี่น้องประชาชน เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นสุดท้ายนี้ก็ไม่อยากจะพูดให้ยืดเยื้อ สุดท้ายอยากจะเห็นทหาร ต้องใช้คำว่า เรียบอาวุธ ซึ่งหมายความว่าอะไร หมายความว่าให้วางมือจากธุรกิจที่เป็น เสนาพาณิชย์ แล้วกลับไปทำหน้าที่ของท่านที่ควรทำอย่างแท้จริง ขอบพระคุณ Respect
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตมีนบุรี เขตสะพานสูง วันนี้ ขอร่วมอภิปรายเรื่องยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ นะครับ คำว่า คสช. ภาษาอังกฤษ เขาเรียกว่า National Council for Peace and Order ย่อว่า NCPO วันนี้ อ.เอท ขอใช้ตัว NCPO เป็น Model อภิปรายครับ
เริ่มที่ N ตัวแรกคือ Normal แปลว่า พอกันที พอกันทีกับเรื่องของคำสั่ง ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เพราะอะไรครับ เพราะคำสั่งนี้เอามาทับปี ๒๕๕๓ หลังจากที่ปี ๒๕๕๗ มีการ ทำรัฐประหาร ปี ๒๕๕๙ ออกเป็น พ.ร.บ. ฉบับนี้ขึ้นมาให้ กอ.รมน. หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ พี่น้องทหารเข้ามาดูแล จากเดิมที่เราเคยมีสภาที่ปรึกษา กลายเป็นอะไรครับ กลายเป็น คณะที่ปรึกษา ซึ่งคณะที่ปรึกษามาจากไหนครับ ก็มาจากพี่น้องที่เป็น กอ.รมน. กว่า ๔๕ ท่านที่เห็นชอบ และที่เหลือก็มาจากใครครับ ก็มาจาก ๑. อาจจะเป็นผู้ว่าแนะนำมาสัก ๑๐ คน กลายเป็นว่าเดิมทีจากสภาที่ปรึกษาที่เราเคยมีโต๊ะอิหม่าม ท่านเจ้าอาวาส ท่านผู้แทนจากสตรี จากเด็กเล็ก หรือจากสมาคมสมาพันธ์ต่าง ๆ เขาเรียกว่าเป็นอย่างไรครับ มาจากประชาชนเอาง่าย ๆ ดีกว่าครับ กลายเป็นว่าตัดออกไปหมด เหลือทหาร นี่คือสิ่งที่ อ.เอท เห็นว่ามันไม่เป็นธรรมนะครับ ฉะนั้นคำแรกชัดเจนครับ N Normal เอาออกไปได้แล้ว เรื่องของคำสั่งนี้
ต่อมาครับ ตัวที่ ๒ ตัว C คือคำว่า Council แปลว่า สภา ครับ สภาก็คือ เราอยากที่จะเอาสภา ปี ๒๕๕๓ ที่ประกอบไปด้วยพี่น้องประชาชนกลับมา กลับมาทำอะไร กลับมาทำ ๓ ส ครับ กลับมาทำให้สภานั้นสง่างาม สร้างความสงบ และสวยงามกับพื้นที่ ภาคใต้ของเรา เห็นไหมครับ ๓ ส ทีนี้ทำอย่างไรครับเรื่องนี้ ง่ายมาก ๆ ครับ เพราะเรา ต้องการที่จะให้พี่น้องคนที่มีความเกี่ยวข้องกับภาคใต้ของเรา จชต. จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่แค่ ๓ จังหวัดนะครับ ตอนนี้รวมไปอีก ๒ ก็คือ ๒ ส ครับ ก็คือสงขลา แล้วก็สตูล อ.เอท อยากที่จะรวมเป็นภาพรวมใหญ่ ๆ เลย เพราะฉะนั้นการที่เราจะมารวมตัวในวันนี้ ทำให้กับพี่น้องไม่ใช่แค่ชาวใต้ครับ ทั้งประเทศที่กำลังโดนรบกวนหรือโดนใช้กฎหมายที่ ไม่ถูกต้องอยู่จากคำสั่งของ คสช. NCPO นะครับ เพราะฉะนั้นตัว C Council สภาคงจะต้อง มาจากพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริงได้แล้ว
ต่อมาตัว P P ในที่นี่หมายถึงอะไรครับ อ.เอท ขอใช้คำง่ายที่สุด People แปลว่าประชาชนคนทั่วไป พี่น้องเรานี้นะครับ เพื่อที่จะนำคำว่า Prosperity หรือนำคำว่า เจริญรุ่งเรืองครับ พอกันทีกับคำว่า Security ตอนนี้ประเทศเราก็ถือว่าสงบกันแล้ว เพราะฉะนั้นเราขาดคำว่าอะไรบ้าง สภาจะมาช่วยอะไรครับ สภาจะมาช่วยด้านเศรษฐกิจ สภาจะมาช่วยด้านการปกครอง สภาจะมาช่วยด้านสังคม และอีก ๑ อย่างที่ ศอ.บต. ต้องทำ ร่วมกับเราคือด้านจิตวิทยา สิ่งเหล่านี้ถ้าแค่เอาหน่วยงาน ๆ เดียวหรือ กอ.รมน. มา อย่างเดียวคงจะไม่สามารถแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ได้ อ.เอท ส่วนหนึ่งเป็นลูกหลาน คุณพ่อคุณแม่เป็นคนใต้ ขออนุญาตพูดแทนชาวใต้ด้วยในวันนี้ นี่คือตัว P P คืออะไรครับ P คือเราอยากได้อะไรบ้าง เศรษฐกิจครับ ท่านก็ต้องไปดูคนใต้ พี่น้องใต้ชอบอะไรครับ เกษตร การท่องเที่ยว เรื่องของตลาดชายแดน ท่านไปดูสงขลา อำเภอสะเดา หรือจะเป็น ตลาด ลงไปที่ยะลาครับ เบตง สุไหงโกลก ทุกตลาดนำพาเงินมหาศาลครับ เฉพาะที่สงขลา จังหวัดเดียวนำรายได้เข้าประเทศของเรามหาศาลนับเป็นแสนล้าน ๒.๓ แสนล้านครับ สงขลา จังหวัดเดียวมีนักท่องเที่ยวกว่า ๘ ล้านคนต่อปี แล้วถ้าเกิดไปดูที่อื่น ถ้าไปดู ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นที่เบตงหรือสุไหงโกลกมีนักท่องเที่ยวกว่า ๑,๕๐๐,๐๐๐ ราย นำ เงินเข้าประเทศเป็นหมื่นล้านครับ สิ่งเหล่านี้ถ้าเอาคนที่เป็นพี่น้องชาวทหารหรือ กอ.รมน. เข้ามาถามว่ามีความสามารถไหม มีครับ แต่มันไม่ถูกจุด ไม่ใช่ The Right Man On The Right Job ไม่ได้เอาคนที่เก่งมาทำหน้าที่ที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นตัว People ตัวนี้ อ.เอท เห็นว่าชัดเจนมาก ๆ ครับ เราจะทำอย่างไรก็ได้ให้คนที่ถูกส่วน ถูกที่มาบริหารประเทศ นี่คือ สิ่งที่ อ.เอท อยากจะเห็นมากที่สุด เพราะภาคใต้มี Soft Power มากมาย มีอันหนึ่ง Tales Run วิ่งที่ภาคใต้ของเราก็คือที่ตลาดเบตง เป็นการวิ่งออกกำลังกาย เป็น Soft Power ที่ดีที่สุดมาก เห็นไหมครับว่าเรายังขาดมาก แล้วภาคใต้พี่น้องที่เบตง หรือยะลา หรือนราธิวาส รายได้เขาต่อเดือนประมาณ ๑๘,๐๐๐ ต่อครัวเรือน ซึ่งทั้งประเทศต่อ ครัวเรือน ๒๘,๐๐๐ บาท แสดงว่าอะไรเกิดขึ้นครับ แสดงว่าเรื่องของความเป็นอยู่ Crouse of Living หรือค่าใช้จ่ายต่อเดือนยังไม่พอเพียง มันยังน้อยเกินไป ดังนั้น เราควรที่จะให้พี่น้องที่เป็นคนใต้มาดูแลกันเองดีกว่าไหมครับ ดีกว่าจะให้หน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งเข้ามาดูแลแทนพวกเขาครับ นี่แหละครับคือตัว P
และตัวสุดท้ายคือตัว O ครับ อ.เอท ขอใช้คำว่า Organize Organize แปลว่าการจัดการหรือการจัดระบบ เราให้สภาที่เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนเข้ามา ดูแล ๓ ง เถอะครับ ก็คือ งบประมาณ ท่านทราบใช่ไหมครับ ศอ.บต. มีงบประมาณต่อปี ๑,๕๐๐ ล้านบาท ใช้ในการจ้างคนเกือบ ๆ ๒๐๐ ล้านบาท มีงบค่าใช้จ่าย ๓๐๐ กว่าล้านบาท มีงบค่าอุดหนุน ๔๐๐ กว่าล้านบาท เกือบ ๕๐๐ ล้านบาท ๑,๕๐๐ กว่าล้านบาท ทำไม ไม่ให้พี่น้องประชาชนเข้ามาดูแล ทำไมต้องให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาดูแล นี่แหละคือ การจัดการที่ยังไม่มีระบบ ๑. งบ ๒. งาน ๓. จะสร้างเงินมหาศาลให้กับพี่น้อง ภาคใต้ทั้ง จังหวัด ทั้งภูมิภาคสร้างรายได้ให้กับประเทศ GDP ๑.๓ ล้านล้านบาท นี่คือเหตุผลที่เราต้อง ดูแลประเทศของพวกเรา ดังนั้นสิ่งที่เราอยากเห็น ไม่อยากที่จะเห็นระบบที่จนแล้วแจก หรือ เจ็บต้องไปรักษา หรือโง่แล้วค่อยไปปกครอง แล้วสุดท้ายเก็บภาษีเขายังไปแอบอ้างบุญคุณว่า ภาษีนี้เป็นของฉัน ไม่ใช่นะครับ ระบบนี้ควรเลิก และสุดท้ายนี้ สิ่งที่เราอยากเห็น อยากจะ เห็นประเทศของเรามี คสช. ซึ่ง คสช. คืออะไรครับ คืนสิทธิให้กับประชาชนเสียที เพื่อประเทศไทยที่ไม่เหมือนเดิม ขอบพระคุณครับ Respect
เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตมีนบุรี สะพานสูง วันนี้ ขอร่วมอภิปรายเรื่องที่มาของ สสร. แล้วก็อำนาจ คือสาเหตุว่าทำไมเราต้องคุยกัน หรือต้อง มีการตั้งคณะกรรมการ สสร. ชุดนี้ขึ้นมา เพราะว่าเราเองก็มีรัฐธรรมนูญ ๒๐ ฉบับแล้ว ถ้าเฉลี่ยต่อฉบับตั้งแต่เรามีเรื่องของประชาธิปไตยตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ ก็ประมาณ ๔-๖ ปี ต่อ ๑ ฉบับ นี่คือสาเหตุทำไมต้องมี และทำไมฉบับล่าสุด ปี ๒๕๖๐ ถึงยังต้องมีการเปลี่ยนกัน อีก ถ้าเกิดยกตัวอย่างง่าย ๆ เรื่องแรก ก็คือเรื่องของการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ยังคง เข้ายาก แล้วก็ยังมีความล่าช้า สาเหตุที่ ๒ ที่เราจำเป็นต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็คือเรื่อง ของการที่จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่มีปัญหาด้านกฎหมาย จะต้องเป็นผู้ที่ยากไร้ ผู้ที่เรียกว่า ยากจน ถึงจะได้รับสิทธิของการที่จะเข้าช่วยเหลือ ทำไมประชาชนทุกคนถึงไม่มีสิทธิ ที่จะได้รับสิทธิในการดูแลด้านกฎหมาย นี่คือ ๒ ประเด็น ง่าย ๆ และอีกประเด็นหนึ่ง สมมุติ ว่ามีการถูกกักขังที่ไม่ชอบธรรม สิทธิในการที่จะเรียกร้องสิทธิในการที่จะอุทธรณ์ต่าง ๆ นี้ ก็ยากจริง ๆ แล้วนี่คือสาเหตุแบบง่าย ๆ ที่สุดที่ อ.เอท ยกให้ ทีนี้ในการอภิปรายครั้งนี้ในการ ที่จะเป็นการตั้งคณะ สสร. ซึ่ง สสร. Model อ.เอท ก็มีครับ เราจะไม่ทิ้ง Model นะครับ สสร. ในที่นี้ Model คือ CDC CDC ย่อมาจากอะไร CDC ก็คือ Constitution Drafting Committee ก็คือเรื่องของการไปตั้งสภาที่จะมาตั้งคณะกรรมการที่จะออกแบบกฎหมาย รัฐธรรมนูญสูงสุดของเรา ย่อว่า CDC C ตัวแรก ขออนุญาตลงที่คำว่า Constitution เลย ก็คือ รัฐธรรมนูญ เมื่อสักครู่นี้ อ.เอท เพิ่งบอกไปใช่ไหมครับ มันก็มีความหลากหลาย มีการตั้งมา มีการเขียนมาหลายฉบับเหลือเกิน ทีนี้จะแก้ถูกไหมครับ เรามีการคุยกันเยอะว่า จะแก้ต้องมี ๑. เสนอโดยคณะรัฐมนตรี สส. ๑๐๐ คน สส. กับ สว. อีก ๑๕๐ คน หรือ ประชาชน ๕๐,๐๐๐ คน ต้องมีการเสนอ เสนอเสร็จต้องผ่านทีละวาระ วาระแรกก็ยกมือกัน ๓๗๖ คน โดยที่มี สว. ต้อง ๑ ใน ๓ ก็คือประมาณ ๘๖ คน วาระ ๒ แก้ไปทีละมาตรา ก็อีก ๓๗๖ คน วาระ ๓ ก็อีก ๓๗๖ คน ต้องมีฝ่ายค้าน ๒๐ คน ก็คือประมาณสัก ๔๐ คน ตอนนี้ เรามีอยู่สัดส่วนประมาณ ๒๐๐ คน และรวมไปถึงคนที่ต้องเป็น สว. ก็อีก ๘๖ คน การจะแก้นี่ยากจริง ๆ ไม่พอครับ ต้องมีการถาม Referendum ก็คือประชามติอีกไม่ต่ำกว่า ๒ ครั้ง ไม่ ๒ ก็ ๓ ตอนนี้เรากำลังวิเคราะห์กันอยู่ว่าจะทำ ๒ ครั้งดี หรือ ๓ ครั้งดี แต่ไม่ว่า จะเป็น ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้ง เราก็ถามแบบเดิม ๆ คือ ๑. ถามกับประชาชนว่าจะเอาใหม่ ทั้งฉบับไหม ๒. เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา ๒๕๖ ไหม แน่นอนถ้าเราอยาก ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องแก้ที่มาตรา ๒๕๖ และคำถามสุดท้าย เมื่อมีสภาร่างออกมาแล้ว เมื่อยกร่างแล้ว คำว่า ยกร่าง ก็คือเมื่อเขียนเสร็จแล้ว เมื่อทำเสร็จ ประชาชนจะยอมรับกับ ร่างนี้ไหม จะเป็นกฎหมายใหม่ไหม นี่คือการทำ Referendum หรือประชามติ ที่เราทำ ๓ ครั้งครับ งบประมาณอีกเป็นพันล้าน นี่คือสิ่งที่เราต้องเจอตลอดเวลากว่า ๒๐ ครั้ง ที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นก็เลยอยากที่จะบอกว่า C ตัวแรกนี้เราน่าจะมีปัญหากับตัวนี้จริง ๆ จริง ๆ หลาย ๆ ประเทศรัฐธรรมนูญเขาก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร มีไม่กี่แผ่น แต่ของเราทำไม ถึงเยอะ แล้วทำไมถึงมีปัญหา หลายท่านน่าจะทราบดี ต่อมาตัวที่ ๒ อยากที่จะสนับสนุนทาง คณะที่ทำร่างของ สสร. นี้ขึ้นมาก็คือตัว D D ในที่นี้คือคำว่า Drafting แปลว่า การที่จะเลือก คนหรือเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่แทนพวกเรา เมื่อสักครู่นี้ท่านจุลพงศ์ก็บอกแล้ว นักการเมืองไหม จริง ๆ แล้ว อ.เอท ก็เห็นว่าอย่างนี้ว่าควรจะมีทั้ง ๓ ภาคส่วน ตรงกับที่ท่านนำเสนอขึ้นมา ภาคส่วนแรกก็คือคนทั่ว ๆ ไปอย่างพวกเรานี่ละครับ ภาคส่วนที่ ๒ นักเชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจจะแบ่งเป็นมาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือจะเลือกแบบ Party List เอาทั้งประเทศเป็น ตัวแทน เป็นกลุ่ม Party List ก็ดี และกลุ่มที่ ๓ ชัดเจนมาก ก็คือความหลากหลาย ไม่ว่าจะ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอื่น ๆ ที่ต้องมีส่วนร่วมในการที่จะร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นของ ประชาชนอย่างแท้จริง นี่คือตัว D ที่ ๒ และ C สุดท้ายครับ Model อ.เอท วันนี้คือ C D C ตัว C สุดท้ายคือคำว่า Change ประเทศถึงเวลาแล้วที่มีการเปลี่ยนแปลง เราอยู่กับ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ซึ่งที่มาที่ไปทุกคนทราบดีว่ามาจากไหน เราถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนใหม่ ถามว่าการจะเปลี่ยนแปลงได้มันมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะเปลี่ยนได้ การที่เราจะเปลี่ยนได้ การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเอาชนะความต้านทาน ถามว่าตอนนี้เรามีอะไรที่ต้านอยู่ ตอบครับ สิ่งแรก อำนาจเดิม ๆ ที่ต้านความเปลี่ยนแปลงอยู่ ๒. เรื่องของการเสียผลประโยชน์ที่ ไม่อยากที่จะเปลี่ยนแปลง ๓. ท่านอาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญพอที่จะเจอกับการ เปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ๓ Factor นี้ หรือ ๓ ปัจจัยนี้คือปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ประเทศของเรา กฎหมายของเรายังไม่เข้มแข็งสักที ฉะนั้นวันนี้ อ.เอท อยากที่จะเห็นเหลือเกินว่าถ้าเรามี การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เริ่มที่กฎหมายสูงสุดของประเทศ มันจะดีแค่ไหนถ้าเราทำ เพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องทุกคนอย่างแท้จริง ทำเพื่ออำนาจที่สูงสุดที่เป็นของประชาชน อย่างแท้จริง สุดท้ายนี้สิ่งที่ อ.เอท อยากจะเห็น คืออยากจะเห็นการเมืองดี ปากท้องดี มีอนาคตครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ Respect
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ขอร่วมอภิปรายการแก้ไข พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ วันนี้ประมงก็แน่นอนครับ ภาษาอังกฤษคือคำว่า Fishery ก็ขอใช้ Model Fishery ในการ ที่จะร่วมการอภิปรายในวันนี้เลยนะครับ F ตัวแรก คือคำว่า Fishing แปลว่าประมง ทำไมต้องเป็น Fishing ครับ เพราะว่าการประมงสร้างมูลค่าเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจกว่า ๔.๖ ล้านตัน และใน ๔.๖ ล้านตันนี้ เขาเรียกว่าออกเรือไปหาปลาถึง ๑ ล้านตัน หรือ ๑.๔ ล้านตัน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากมายนับแสนล้านบาท เพราะฉะนั้นนี่คือ สิ่งที่เราจำเป็นต้องดูแลเป็นอย่างยิ่ง และผู้ที่เป็นชาวประมงจะมีเรือประมาณ ๖๐,๐๐๐ ลำ ใน ๖๐,๐๐๐ ลำ เป็นหมื่นลำที่เป็นเชิงพาณิชย์ แสดงว่าอีกประมาณ ๕๐,๐๐๐ ลำ เป็นพี่น้อง ชาวประมงที่เป็นเรือเล็ก ๆ ที่ออกไปหาปลาตามชายฝั่ง เราต้องดูแลเขานะครับ ไม่เช่นนั้นแล้ว ธุรกิจนี้จะหายไปแน่นอน และที่สำคัญเรามี Labor หรือแรงงานในการดูแลที่เกี่ยวกับ ธุรกิจประมงกว่า ๖๐๐,๐๐๐ คน ตรงนี้คือตัวเลขที่ยิ่งใหญ่จริง ๆ ถ้าเราไม่มีการปรับเปลี่ยน พ.ร.ก. ให้เหมาะสม ก็จะมีผลกระทบกับบุคลากรที่เป็นชาวประมงของเราอย่างแน่นอน และนี่คือตัว F แรกครับ
ต่อมาตัว I ครับ I คืออะไร ในที่นี้คือ Illegal ครับ Illegal แปลว่า ผิดกฎหมาย เรามีเรือที่ออกประมงใช้แรงงานไม่มีใบอนุญาตต่าง ๆ ซึ่งตอนนี้ถามว่ายังมีอยู่ไหม ก็ยังมีอยู่ แต่ที่สำคัญผิดกฎหมายอย่างเดียวไม่พอ เมื่อโดนปรับหลายท่านพูด เพื่อน ๆ อ.เอท ได้พูด เยอะแล้ว ปรับทีหนึ่งถ้าเป็นเรือขนาดเล็กปรับเป็นแสน บางครั้ง ๔๐๐,๐๐๐-๕๐๐,๐๐๐ บาท ถ้าเป็นเรือพาณิชย์เกิน ๕ ตัน มีขนาดใหญ่หรือจะเป็นเครื่องยนต์ที่มีแรงม้าสูงปรับกันทีหนึ่ง เป็นหลักล้าน ๕ ล้านบาท ๓๐ ล้านบาท หรือ ๑๐๐ ล้านบาทก็ปรับมาแล้ว นี่คือเหตุการณ์ ที่เราไม่ควรที่จะเกิดขึ้นอีก แล้วควรจะมีการบังคับหรือเปลี่ยนกฎหมายให้อย่างน้อยมีขั้นต่ำ ควรเป็นเท่าไรให้เหมาะสมนะครับ และนี่คือตัว I ที่ ๒ ครับ
ตัวที่ ๓ คือคำว่า S ครับ S ในที่นี้คือ Size ครับ Size คือขนาดและ Shape หรือรูปร่างของปลาครับ ปลาหลายตัวที่เราบอกว่าอวนควรจะมีขนาดไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ของตาของมันจริง ๆ แล้วปลาบางตัว Size โตเต็มวัยของมันก็ประมาณ ๒.๕ เซนติเมตรแล้ว เพราะฉะนั้นเราควรจะมีการบอกชัดเจนครับว่า Species ไหน หรือเผ่าพันธุ์ไหนของปลา ที่เหมาะสมควรที่จะมีการเก็บได้หรือประมงได้ หรืออันไหนที่ไม่ควร จะไปดูแลเขาหรือต้อง ไปจับเขาขึ้นมา ฉะนั้นตัวเรื่องของ S สำคัญมากครับ ไม่ใช่ว่าขนาดเล็ก ทีนี้เราไม่รู้ว่าเล็ก คือเล็กแค่ไหน อันนี้คือประเด็นเลยว่า Size ก็สำคัญครับ
ต่อมาตัว H ครับ H ในที่นี้คือ Hear ครับ Hear แปลว่าการรับรู้ การได้ยิน กฎหมาย พ.ร.ก. ของปี ๒๕๕๘ ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยง IUU ชัดเจนครับ ไม่ให้เราได้ใบเหลือง ไม่ให้เราได้ใบแดง ฉะนั้นเราก็เลยทำแบบรวดเร็วขาดการรับฟังจากพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นการรับฟังจากพี่น้องประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญ ฉะนั้นการที่จะแก้ไขในวันนี้ จะนำไปสู่การรับฟังพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง และนี่คือตัว H
ต่อมาตัว E E ในที่นี้คือ Eco หรือระบบนิเวศ หรือ Econ เศรษฐกิจครับ ขออนุญาตใช้ ๒ ตัวเลย Eco คืออะไรครับ ฝั่งตะวันออกคือฝั่งระยอง พอเราเดินไป สัก ๓ ไมล์ทะเล มันก็ยังตื้นเขินอยู่ถูกไหมครับ ฉะนั้นพอดูอีกฝั่ง ฝั่งอันดามันออกไป ไม่เกินไมล์ทะเลเป็นอย่างไรครับ ลงลึกแล้วทะเลก็จะลึกลง ฉะนั้นแสดงว่าระบบนิเวศ ในแต่ละที่มันแตกต่างกัน ฉะนั้นการที่จะบอกว่ากฎหมายฉบับเดียวสามารถที่จะ Fit All Size เป็นไปไม่ได้ เราต้องมีการให้คณะกรรมการดูแลประมงที่เป็นชาวบ้านไปบอกว่า ตรงนี้ ๓ ไมล์ทะเล ๕ ไมล์ทะเล หรือ ๑๐ ไมล์ทะเลให้มันเข้ากับบริบทในแต่ละพื้นที่ นี่ล่ะครับคือตัว E ส่วนตัว Econ หรือเศรษฐกิจ แน่นอนครับเราไม่ได้แค่ทำประมง โรงงานน้ำแข็ง โรงเหล็ก โรงไม้หรือจะเป็นช่างที่ดูแลเกี่ยวกับเรือหรือแม้กระทั่งคนที่ทำอวน มีผลกระทบหมดกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ชีวิต เขาเรียกว่าคนที่ทำด้านธุรกิจเกี่ยวข้องกับการประมง ทั้งสิ้น และนี่คือสิ่งที่มีผลกระทบต่อชีวิตเขาอย่างแน่นอน
ต่อมาคือตัว R ครับ R คือ Redress คำว่า Redress แปลว่าอะไรครับ เป็นการชดเชยครับ ท่านครับ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ เรามีคดีประมาณ ๑๘๙ คดี ที่ฝ่าฝืนเรื่อง พ.ร.ก. การประมงนี่ครับ พอมาปี ๒๕๖๖ หลังจากที่เรามี พ.ร.ก. แล้ว แทนที่จะมีเคสหรือ ผู้ที่ทำผิดน้อยลงกลับมากขึ้น เฉลี่ยตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ จนถึงปี ๒๕๖๖ คดีประมาณ ๕๐๐ กรณี หรือ ๕๐๐ เคสต่อปี แสดงว่ามีคนทำผิดอยู่อย่างจริงจัง เพราะฉะนั้นเราจะมีการเยียวยา เขาอย่างไรกว่า พ.ร.ก. ที่เราจะแก้กว่าจะผ่านอีกหลายปีอาจจะเป็นปี การชดเชยการเยียวยา เขาล่ะครับ ทำอย่างไรครับ นี่ละครับคือสิ่งที่เราต้องมาคุยกันในวันนี้ นี่คือตัว R ครับ
และตัวสุดท้ายครับ Fishery การประมงสุดท้ายเลยครับ คือตัว Y เดาเลยครับ Y นี่คือ Yesterday บางคนบอกมันเกี่ยวอะไรกับ Yesterday ครับ Yesterday แปลว่า เมื่อวานนี้ ซึ่ง อ.เอท จะบอกว่าอย่างนี้ครับการที่เราเอากฎหมายของเก่า ๆ ของในอดีตมาแก้ไข กับเรื่องของระบบเศรษฐกิจหรือมาแก้ไขกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้มันคงใช้ไม่ได้ อดีตก็คงอดีต ปัจจุบันเราควรจะมีการแก้ไขเอากฎหมายที่ทันสมัยเข้ามาดูแลพี่น้องชาวประมง
สุดท้ายนี้ครับ อ.เอท อยากจะเห็นการประมงคือ Fishery ไม่ใช่ Finish ซึ่ง Finish แปลว่า จบสิ้น การประมงจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว ไม่ใช่แน่นอนครับ เราอยากเห็น การประมงไทยที่ไม่เหมือนเดิม ขอบพระคุณท่านประธานครับ Respect
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง วันนี้ อ.เอท ขอเข้าร่วมอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษาพัฒนา เขตเศรษฐกิจภาคเหนือนะครับ หรือบางท่านจะย่อว่า NEC Creative LANNA วันนี้ อ.เอท ขอมาใน Model ก็คือคำว่า ล้านนา ครับ ล้านนา ก็คือ L A N N A ล้านนาครับ เรามาเริ่ม กันที่ตัวแรกเลยครับ
ตัวแรกก็คือตัว L การที่เราจะมีเศรษฐกิจที่มีความเป็นพิเศษได้ มันต้อง มาจากคำว่า Lifelong Learning ก่อนครับ ก็คือการเรียน หรือเป็นการเสริมให้มี การเรียนรู้ตลอดชีวิต ทำไมหรือครับ ท่านครับกว่า ๖.๒ ล้านราย ที่เป็นแรงงานของ ภาคเหนือตอนบน ๔.๘ หรือ ๔.๒ หรือประมาณสัก ๖๘ เปอร์เซ็นต์ที่ทำอาชีพหรือ ประกอบอาชีพที่เป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งก็คือการหาบเร่แผงลอย หรือเขาเรียกว่า Freelance ท่านครับกว่า๖๘ เปอร์เซ็นต์หรือ ๔.๒ ล้านคนที่เป็นแรงงานนอกระบบ อ. เอทแอบไปดูในตัวเลขมา ตัวเลขน่าสนใจมากครับ คือประมาณเกือบ ๆ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ที่ยังไม่ได้ผ่านการเรียนหรือพูดง่าย ๆ ว่ายังต่ำกว่ามัธยมหรือประถมนี่ละครับ ก็คือการใช้ แรงงานหรือผู้ที่ประกอบอาชีพกว่าครึ่งหรือเกินครึ่งยังไม่มีการศึกษาที่เกินมัธยม หรือระดับประถม อ.เอทอยากที่จะเห็นเหลือเกินครับว่า เราควรที่จะมีการพัฒนา Lifelong Learning ให้กับพี่น้องที่ทำงานไปแล้วยังไม่ได้มีโอกาสในการเรียนรู้ ให้เขาได้ศึกษาเก็บ หน่วยกิตแล้วก็ทำให้เขาได้มีการศึกษาที่สูงขึ้น อย่างน้อย ๆ ก็ระดับมัธยมต้นหรือมัธยมปลาย ก็ยังดีนะครับ นี่คือสิ่งที่ อ.เอทอยากจะเห็นมากที่สุดกับการที่ทำเศรษฐกิจที่ภาคเหนือ ควรจะเริ่มจากการพัฒนาด้านการเรียนครับ
ต่อมาตัว A A ในที่นี้คือ All แปลว่าเท่าเทียมทุกคน พื้นที่ทุกตารางนิ้ว ทุกตารางเซนติเมตรของประเทศไทย เหนือ ใต้ ออก ตก เป็นของชาวไทยทุกคน แน่นอนครับ การลงทุนล่าสุดที่ผ่านมา ถ้าท่านเห็นว่าการลงทุนของเรากว่า ๕๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท เมื่อปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ท่านจะเห็นว่าแค่ ๑๐,๐๐๐ กว่าล้านบาทที่ลงไปสู่ภาคเหนือตอนบน และที่สำคัญที่สุดครับ ไปไม่ครบทุกจังหวัด แน่นอนครับ ๒ เชียงไปครับ เชียงใหม่ เชียงราย ๒ ลำไปครับ ลำพูน ลำปาง แต่ในจังหวัดน่านบ้าง จังหวัดแพร่บ้าง หรือจังหวัดแม่ฮ่องสอนบ้าง ยังน้อยมากจริง ๆ เราอยากที่จะให้การลงทุนมันเท่าเทียม มิฉะนั้นแล้วก็จะกลายเป็นการลงทุนที่กระจุก กระจายครับ แล้วสุดท้ายคนที่จะได้ก็เป็นแค่นักลงทุน ไม่ใช่ของประชาชนอย่างแท้จริงครับ นั่นคือตัว A ที่ ๒ ครับ
ต่อมาเป็นตัว N ที่ ๓ Model ตัว N นี้คืออะไรครับ N นี้คือคำว่า Nature ซึ่งก็แปลว่าธรรมชาติ เรามีบทเรียน ท่านประธานครับเรามีบทเรียนจาก EEC หรือเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก ชัดเจนมากว่าเขาทำมาทุกอย่าง หลายท่านได้พูดไปแล้ว แต่สิ่งที่เป็น ธรรมชาติ สิ่งที่เรายังไม่สามารถทำได้ ก็คือการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับพวกมลภาวะ น้ำเป็นสิ่งสำคัญ ฝุ่นเป็นสิ่งสำคัญ และที่สำคัญครับพื้นที่ก็เป็นสิ่งสำคัญ ทำไมถึงบอกว่าน้ำ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะภาคเหนือเพื่อน อ.เอท พูดไปเยอะมากครับ เรายังมีปัญหาน้ำอยู่เลย ทีนี้ถ้าทำเป็นระบบเศรษฐกิจ ต้องมีด้านเกษตรไม่พอยังมีด้านอุตสาหกรรม เราจะเอาน้ำ ที่ไหนมาทำ น้ำกินยังไม่มีเลย เห็นไหมครับ และที่ดินก็เช่นกันครับ ตอนนี้เราต้องกลาย เป็นเช่า นักลงทุนซื้อที่ ชาวนาต้องไปเช่าที่ ค่าที่ก็แพงขึ้น สุดท้ายก็ไม่มีผลกำไร นี่ละครับคือ Nature หรือผลกระทบด้านธรรมชาติอย่างแท้จริง ขอให้พวกเราช่วยกันพิจารณานะครับ เราถึงต้องมีการจัดการทำวิสามัญขึ้นมาเพื่อที่จะมาศึกษาด้านนี้ ท่านครับ
ต่อมาอีกด้านหนึ่ง N อีกตัวหนึ่ง Model ล้านนาคือ L A N N ถูกไหม N ตัวที่ ๒ คือคำว่า New ในที่นี้คือ New Idea To Self Own Product ซึ่งก็แปลว่าเราต้องมี Idea ใหม่ ๆ มาขายของเก่า ของเก่าในที่นี้ อ.เอท หมายถึงอะไร ก็คือหมายถึงพวก ทรัพยากรธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรมของไทยที่อยู่ภาคเหนือมีวัด มีอีกอย่างจริง ๆ แต่มันทรุดโทรมมากครับ จากงบประมาณปีล่าสุด ปี ๒๕๖๖ เรามีอยู่ ประมาณ ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ไปสร้างถนน ไปสร้างสาธารณูปโภค ที่เหลืออีกประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาท ไปดูเกษตร ไปดูภาคอื่น ๆ สุดท้าย อ.เอท เห็นครับ ๑๔ ล้านบาทไปอยู่ไหนครับ ไปอยู่กับการท่องเที่ยว อ.เอท ก็ไม่เข้าใจว่าไปอยู่ท่องเที่ยวนี้ไป ปรับปรุงอะไรหรือเปล่า หรือไปทำอะไรที่มันเกี่ยวข้องกับระบบที่เป็นการท่องเที่ยวที่เป็นเชิง อนุรักษ์ หรือเป็นเชิงธรรมชาติหรือเป็นเชิงที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม อยากจะให้มีงบ ตรงนี้เยอะ ๆ มิฉะนั้นแล้วเราจะมีเศรษฐกิจที่ดี ๆ ไปเพื่อชาวเหนือทำไมถูกไหมครับ ต้องเป็น ของทุกคน เพราะฉะนั้นอันนี้คือตัว N รองสุดท้ายครับ
และก็มาถึงตัวสุดท้ายแล้ว คือตัว A A ในที่นี้คือคำว่า Agriculture ซึ่งก็แปล โดยตรง ๆ เลย ก็คือเกษตร อ.เอท อยากจะเห็นเป็นเกษตร AI ครับ เป็นเกษตรรูปแบบใหม่ เป็นเกษตรเชิง เขาเรียกว่าเป็นเกษตรที่เรียกว่ามีอัจฉริยะเกษตร ทำอย่างไรครับ ต้องมีการ ลดต้นทุน ต้องมีการเพิ่มผลผลิต ต้องมีการแปรรูป ต้องมีเทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้เราพูด ไปเยอะมาก เรื่องของการเกษตรที่ตกต่ำ เราต้องมีเทคโนโลยีครับ ถ้าท่านไปเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่นคงไม่ต้องพูดครับ เขามีเทคโนโลยีทำคนเดียวเป็นหลาย ๆ สิบเอเคอร์ บ้านเรา เรามีแรงงานของภาคแรงงานของเรากว่า ๖.๒ ล้านคน ท่านครับแรงงาน ๖.๒ ล้านคน ทำการเกษตรอยู่ที่ประมาณ ๒.๘ ล้านคน ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งไปทำด้านอื่น อัตราส่วนคือ ๑ ต่อ ๑ หนึ่ง เห็นไหมครับ เกษตร ๑ ด้านอื่น ๆ อีก ๑ แต่ผลผลิตทาง GDP ถ้าภาคเหนือ มีผลผลิต GDP ประมาณ ๑.๒๕ ล้านล้าน เกษตรมีอยู่แค่ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ กว่าล้าน ที่เหลือไปอยู่ภาคอื่นหมด แสดงว่าเราใช้ประชากรหรือเราใช้แรงงานเท่ากัน แต่ผลผลิตต่ำ กว่าด้านอื่นถึงประมาณ ๓ เท่า นี่คือผลผลิตที่ยังไม่เข้าตา เพราะฉะนั้นจบเลยครับล้านนา สุดท้ายนี้ อ.เอท อยากจะเห็นการลงทุนของล้านนาที่เป็นล้านนา ไม่ใช่การลงทุนแบบลั้ลลา ไปวัน ๆ ขอบพระคุณท่านประธานครับ ด้วยความเคารพครับ Respect
ท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรี สะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ขอร่วมอภิปรายโครงการแลนด์บริดจ์ จากชื่อโครงการก็คือ แลนด์บริดจ์ แต่ทำไปทำมา อ.เอท กลัวว่ามันจะกลายเป็น Landslide คำว่า Landslide ก็คือแผ่นดินถล่ม ก็กลัว แบบนั้น ทีนี้เหตุการณ์มันจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ก็เลยขออนุญาตให้ข้อสังเกต แล้วก็เป็น ข้อสงสัย คำว่า Landslide นี้มันก็คือคำว่า Slide ทั้งหมดมี ๕ ตัวอักษร เรามาเริ่มที่ตัวแรก เลยครับ
ตัวที่ ๑ คือตัว S เราเน้นคำว่า Sustainable Economy ซึ่งก็แปลว่าเป็นการ ทำเศรษฐกิจให้ยั่งยืน ท่านประธานครับ เราจะยั่งยืน โครงการแลนด์บริดจ์มันมีมา ๓๐๐ ปีแล้ว และนอกจาก ๓๐๐ ปี เมื่อสัก ๕๐ ปีที่ผ่านมาเราก็จะมีโครงการที่เรียกว่า คอคอดกระ หรือเป็นเหมือนกับขุดคลองกระ ซึ่งก็มีการศึกษามาเยอะแยะมากมาย สุดท้ายแล้วจาก ขุดคลองเรามาเปลี่ยนเป็นเรื่องของการสร้างเป็นถนน หรือเป็น Railway ก็คือเป็นการใช้ รถไฟแทน ถามว่ามันจะคุ้มค่าหรือมีความยั่งยืนไหม คำตอบเมื่อสักครู่นี้เรื่องของ GDP มีท่านสมาชิกได้ตอบแล้วครับว่าจะเพิ่มประมาณ ๑.๕ เปอร์เซ็นต์ อ.เอทถามว่ามันคุ้มค่า จริง ๆ ไหม เพราะว่ารายงานจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานจาก สนข. หรือรายงาน จากสภาพัฒน์ก็ได้บอกแล้วว่ามันจะคุ้มค่าจริงหรือเปล่า นี่คือสิ่งที่ อ.เอท ก็เป็นห่วง เพราะฉะนั้นเราต้องมานั่งคิดให้ดีว่า สุดท้ายแล้วโครงการนี้มันจะทำให้พวกเราที่เป็นผู้ใช้ แรงงานหรือกับดักของคนที่มีรายได้ปานกลางหลุดออกมาจากรายได้ปานกลางไหม อันนี้คือ สิ่งสำคัญครับ เราจะปลดล็อกให้พวกเรามีรายได้ที่สูงขึ้นเทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาได้ หรือเปล่า นี่คือตัว S แรก เรียกว่า Sustainable Economy เศรษฐกิจแบบยั่งยืน
ต่อมาตัวที่ ๒ คือตัว L L ในที่นี้คือ Logistic หลายท่านครับ เพื่อนสมาชิก อ.เอท พูดเยอะมากครับ คุ้มทุนไหม หรือเวลามันจะสั้นลงจริงไหม เดี๋ยวเรามาคำนวณกันเลย เรือปกติประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ตัน หรือ ๑๐๐,๐๐๐ ตัน เรือ ๑๐๐,๐๐๐ ตัน เราก็จะบรรทุกได้ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ T ก็คือเรื่องของ Twenty Equality เรื่อง Unit ก็คือเป็นเหมือนกับตู้ ๒๐ ฟุต เรือลำหนึ่งสมมุติ ๑๐๐,๐๐๐ ตัน ก็จะมีตู้ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ตู้ เวลาเอาตู้ขึ้นตู้ลงจาก ฝั่งหนึ่งคืออันดามันไปอีกฝั่งหนึ่งของชุมพร ถ้าเราเอาตู้ขึ้นตู้ลง Load และ Unload รวมกัน ก็ประมาณ ๔ ครั้ง ค่าใช้จ่ายต่อครั้ง ต่อทั้งหมดเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นการเอาขึ้น เอาลง แล้วก็ ผ่านทางรถไฟ เฉลี่ยแล้วประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ ยูเอสดอลลาร์ ถ้าไปเปรียบเทียบกับอีกที่หนึ่ง ก็คือที่ช่องแคบมะละกา เขาจะใช้ประมาณ ๓,๐๐๐ หรือประมาณสัก ๑๐๐ ดอลลาร์ ท่านสังเกตไหมว่าค่าใช้จ่ายถูกลงแล้ว นี่คือเฉพาะแค่ค่า Load กับ Unload ทีนี้เรามาคิดต่อ แล้วเวลาล่ะ เวลามันจะคุ้มค่าไหม เราบอกว่ามีเวลาประมาณสัก ๕ วัน ๗ วัน ไม่ต้องอ้อม สมมุติท่าเรือจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง มีเรือมาจอดสัก ๑๐ ลำ เรือ ๑ ลำมีอยู่ ๑๐,๐๐๐ ตู้ ๑๐ ลำก็ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ตู้ ๑๐๐,๐๐๐ ตู้ที่ต้องคอยขึ้นลง ๆ เสร็จไม่พอต้องผ่านทาง รถไฟ รถไฟ ๑ ขบวนประมาณ ๕๐๐ TEU หรือ ๕๐๐ ตัวที่เป็นตัว Load ฉะนั้นขบวนหนึ่ง ๕๐๐ ตู้ แต่เรามีรออยู่ ๑๐๐,๐๐๐ ตู้ อ.เอทคำนวณแล้วครับ วันหนึ่งต้องใช้ ๒๐๐ เที่ยว แล้วเราจะเอาเวลาตรงไหน มันจะ Save จริงไหม นี่คืออีกหนึ่งปัจจัย เมื่อสักครู่เพื่อนสมาชิก ถามครับ เวลา Save ไหม ๒. ต้นทุนถูกไหม ๒ อย่างนี้ถ้าเราคำนวณแบบเล่น ๆ ก็ไม่ถูกแล้ว เห็นไหมครับ นี่คือ L ตัวที่ ๒ ที่ อ.เอทอยากที่จะชี้แจง
ต่อมาตัว I ครับ I คืออะไร I คือ Infrastructure อ.เอทอยากจะแนะนำว่าเรา เอาไปทำอย่างอื่นก่อนดีไหมครับ สนามบินให้ดีขึ้นกว่านี้ดีไหม หรือจะทำระบบที่เป็น Network รถไฟจาก ๑๔ จังหวัดเลยครับ ให้มันดีขึ้นกว่าเดิม ถนนให้ดีขึ้นกว่าเดิม ระบบราง รถเมล์ครับ ตอนนี้รถเมล์ภาคใต้ถามว่ามีจริงหรือเปล่า นี่คือ สิ่งที่ อ.เอทอยากจะเห็นว่าเราไปทำ Infrastructure อย่างอื่นจะดีกว่าไหม หรือตอนนี้ Infrastructure ที่เราจะทำอีก ปี ๒๕๖๘ ก็คือท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เฟส ๓ เอาอีกแล้ว ทีนี้มีเฟส ๓ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง แล้วมาเจอตรงจังหวัดระนองอีก เจอกับจังหวัดชุมพรอีก เราจะแข่งกันเองไหมครับ นี่คือคำถามหรือข้อสังเกตที่ อ.เอทอยากจะฝากไป
ต่อมาครับ ๑ ตัวก็คือตัว D D ที่นี้คือ Domestic ครับ Domestic คืออะไร แปลว่าท้องถิ่น เมื่อสักครู่นี้เพื่อนสมาชิก แม้กระทั่งคณะกรรมาธิการเองก็บอกกับ อ.เอทว่าเรามี การประท้วงเยอะจากพี่น้องประชาชน สิ่งเหล่านั้นที่เขาประท้วงเพราะอะไรครับ เพราะพี่น้อง ในคนท้องถิ่นเขาไม่อยากได้ ถามว่าเขาอยากได้อะไร แน่นอนครับ เรื่องของเทคโนโลยีการ ทำยาง เรื่องของการเกษตร เรื่องของภาระ เรื่องของการใช้น้ำถูกไหมครับ เรื่องของพลังงาน ในอนาคต เมื่อสักครู่นี้ท่าน สส. ก็คือพิธาก็ได้พูดไปแล้วด้วย เพราะฉะนั้นเรามาลงทุน ด้านอื่น ยังมีเงินเหลืออีกมหาศาล นี่คือสิ่งที่ อ.เอทอยากที่จะบอกว่าเราได้ปรึกษาแล้วหรือยัง กับคนที่เป็นพี่น้องประชาชนว่าเขาอยากได้จริงไหม หรือเราแค่อยากทำเพื่อเอาใจนักลงทุน นี่คือสิ่งที่อยากจะเน้น เพราะว่าตอนนี้นายกรัฐมนตรีของเราก็ไป Salesman ขายทุกที่ งาน BI ล่าสุดที่เขาครบ ๑๐ ปีที่ผ่านมาก็ยังคงไปนำเสนออยู่ ขออนุญาตครับ นำเสนอให้กับ พี่น้องที่เป็นท้องถิ่นก่อน นี่คือตัว D ครับ
สุดท้ายครับ SLIDE ตัว E สุดท้ายก็คือ Environment ซึ่งก็แปลว่าสิ่งแวดล้อม อันนี้สำคัญครับ เมื่อสักครู่เพื่อน สส. ร่มธรรมก็ได้พูดมาครับ ท่านครับ ถ้าเราจะทำท่าเรือ ต้องถมดินฝั่งซ้ายและฝั่งขวาทางตะวันออก ตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นฝั่งอันดามันหรือจะอ่าว ไทย ถ้าเป็นฝั่งอันดามันต้องถมอีก ๗,๐๐๐ ไร่ ถ้าฝั่งของอ่าวไทยอีกประมาณ ๖,๐๐๐ ไร่ ถมที่ลงไปในทะเล ทีนี้ใครเดือดร้อน ปลาใช่ไหมครับ สิ่งแวดล้อมใช่ไหมครับ ป่าชายเลน ใช่ไหมครับ อีกเป็นหมื่น ๆ ไร่ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่จะทำให้สิ่งแวดล้อม ทำให้การท่องเที่ยว GDP ของภาคใต้ ๑.๓ ล้านล้านบาทเราดีอยู่แล้ว เสริมเกี่ยวกับอะไรเข้าไปครับ เสริมเกี่ยวกับ เรื่องของการท่องเที่ยวเข้าไป เสริมเรื่องการเกษตรเข้าไป อ.เอทคิดว่าน่าจะดีกว่า อย่างมหาศาล เพราะภาคใต้ก็คือไข่มุก ก็คือเป็นพื้นที่ที่ดีที่สุดในการที่จะท่องเที่ยว หนึ่งในประเทศไทย ฉะนั้นสุดท้ายนี้ อ.เอทอยากที่จะเห็นแลนด์บริดจ์คือการลงทุนแห่งชาติ ไม่ใช่หายนะของชาติในอนาคต ขอบพระคุณครับ Respect
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง วันนี้ขอหารือประมาณ ๓-๔ เรื่องนะครับ
เรื่องที่ ๑ ป้ายรถเมล์ ถนนรามคำแหง ๑๒๒ ไม่มีความเป็นมาตรฐาน อันนี้อย่างไรฝากทาง กทม. เข้าไปดูแล ด้วยนะครับ
เรื่องที่ ๒ ก็คือท่าเรือที่ชำรุด ตอนนี้หลังตลาดมีนบุรีเก่า อันนี้เป็นเรื่องที่ อ.เอท ได้พูดไปแล้วเมื่อคราวที่แล้ว ตอนนี้มันพังไปแล้วครับ ตอนแรกมันยังไม่พัง ถ้าเป็น รูปนี้ท่านจะเห็นว่ามันเจ๊ง และใช้การไม่ได้เรียบร้อยแล้ว อย่างไรฝากทางกรมเจ้าท่าด้วย นะครับ เพราะว่าถ้าเกิดท่านไม่ทำจะกลายเป็นไม่เข้าท่าแล้วนะครับ
เรื่องที่ ๓ เป็นเรื่องของการทิ้งขยะที่ไม่ถูกที่ ที่เคหะชุมชนรามคำแหง ซอยรามคำแหง ๑๙๐/๑ ซึ่งตรงนี้ก็อยู่ในการดูแลของสำนักพระพุทธศาสนาและการเคหะแห่งชาติ อย่างไรก็ฝากด้วยครับ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะเกิดกลิ่นเหม็นแล้วก็เผาไหม้ มีการเกิดไฟไหม้ มาแล้วหลายครั้งแล้วในที่ที่ ๓ นี้
เรื่องที่ ๔ เรื่องของการมีคนเร่ร่อนในพื้นที่ของ อ.เอท มีคนเร่ร่อน มีผู้ป่วย แล้วก็มีผู้ติดยา หรือบางครั้งก็คนเดียวเป็นทั้ง ๓ อย่างเลย ก็คือทั้งเร่ร่อน ทั้งติดยา แล้วก็เป็น ผู้ป่วย ก็อยู่ในเขตพื้นที่มีนบุรีและเขตสะพานสูง ตอนนี้มีหลายท่าน แต่ อ.เอทว่า น่าจะเกิน แล้วครับ คำว่า เกิน ในที่นี้คือไม่ใช่มีแค่เฉพาะใน ๓ พื้นที่หรือ ๒ พื้นที่ น่าจะมีทั่วประเทศ เลยนะครับ ก็อยากจะฝากให้ทาง พม. ช่วยเข้ามาดู หรืออย่างน้อยก็สร้างเป็นที่อยู่ชั่วคราว เป็น Shelter ชั่วคราวให้เขาได้มีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น
และนี่คือ ๔ เรื่องที่ อ.เอทอยากจะฝากนะครับ เรื่องแรกป้ายรถเมล์ ๒. เรื่องของท่าเรือที่ตอนนี้ไม่เข้าท่าแล้ว ๓. เป็นเรื่องของขยะที่รามคำแหง ๑๙๐ และ เรื่องที่ ๔ เป็นเรื่องของคนเร่ร่อนที่มีอยู่ทั่วประเทศ อย่างไรฝาก พม. ด้วยครับ สุดท้ายนี้ครับ อยากที่จะเห็นข้าราชการไทยบริการด้วยใจที่ไม่เหมือนเดิม ขอบพระคุณครับ Respect
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ขอร่วมอภิปรายเรื่องของระบบบำนาญขั้นพื้นฐาน คำว่า บำนาญ ภาษาอังกฤษเราจะเรียกว่า Pension P E N S I O N ๗ ตัวอักษรวันนี้ อ.เอท ขออนุญาต มาร่วมอภิปรายกับตัว ๗ อักษรนี้ ตัวที่ ๑ คือตัว P P ในที่นี้ อ.เอท ขอใช้คำว่า Property ซึ่งก็แปลว่า ความจน ท่านครับโลกใบนี้มีประชากรที่จนไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ ล้านคน ซึ่ง ๗๐๐ ล้านคนนี้เขามีรายได้ต่อวันไม่ถึง ๒ ดอลลาร์หรือประมาณ ๖๐ บาท นี่คือความจน ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แล้วเราล่ะครับอยู่ตรงไหน ประเทศไทยของเราก็จนเหมือนกันมีอยู่ ประมาณ ๔.๒ ล้านคนหรือประมาณ ๔ ล้านคนที่มีรายได้ต่ำกว่าประมาณ ๓,๐๐๐ บาท แล้วยังมีคนที่นับเป็น ๑๐๐,๐๐๐ คนเลยที่มีรายได้ไม่ถึงวันละ ๗๐ บาท นี่คือความชอกช้ำ ที่ประเทศไทยของเรายังคงต้องรับกรรมอยู่ ก็อยากที่จะให้ประเทศของเราก้าวข้ามความจน ไปได้สักที นี่คือประเด็นที่ ๑ ที่เราอยากจะนำเสนอ ซึ่งคนที่เป็นผู้สูงอายุที่อายุเกิน ๖๐ ปีนี้ มีความจนอยู่ค่อนข้างเป็น ๑๐๐,๐๐๐ คน เพราะฉะนั้นเราควรที่จะปรับตรงนี้ได้แล้ว ตัวที่ ๒ คือตัว E E ในที่นี้ อ.เอท ขอใช้คำว่า Economy ซึ่งแปลว่าเศรษฐกิจ ถ้าเราลงทุน ประมาณสัก ๔๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ในการทำระบบที่เป็นบำนาญอย่างแท้จริง เราจะมีคำว่า Fiscal Multiplier หรือตัวทวีคูณด้านการคลังประมาณ ๑.๕ เท่าหมายความว่าเราจะสร้าง GDP สร้างเม็ดเงินได้อีกประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่งที่มันจะเป็น ตัวเสริมเลย ถามว่ามันมาอย่างไร ๑. เลยครับ มาจากค่าใช้จ่ายที่เขาจ่ายรายวัน รายเดือน ๒. มาจากการลงทุนที่ผู้สูงอายุอาจจะนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนได้ หรืออาจจะเป็นการซื้อ ประกันแบบที่เพื่อน อ.เอท ได้พูดมา มันก็สร้างโอกาสด้านการเสริม GDP ได้ นี่คือผลดีใน ขยับเป็นขั้นบันไดการที่จะเสริมเงินเข้าไปในสิ่งที่ถูกที่ควร ต่อมาเป็นตัว N N ในที่นี้คือ New Life ขอใช้คำว่า New Life แปลว่าชีวิตที่ดี แน่นอนเรามาตรงนี้เราต้องการเห็นอะไรไหมครับ เราต้องการเห็นคำว่า กระจายอำนาจ ลดทุนผูกขาด สวัสดิการมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำให้ ทุกคนมีโอกาสถ้วนหน้า ชีวิตใหม่ ๆ เหล่านี้กับครอบครัวทุกครอบครัว ตั้งแต่ปู่ย่าตายาย หลานเขาจะมีความสุขมากขึ้น New Life ชีวิตที่ใหม่มาแน่นอนกับระบบที่เป็นบำนาญขั้น พื้นฐานที่เราจะใช้ในอนาคตเหลืออีกไม่กี่วันนี้ ต่อมาเป็นตัว S S อ.เอท ขอใช้คำว่า Step Rising คำว่า Step Rising แปลว่าขยับเป็นขั้นบันได เราคงจะอยู่ไม่ไหวกับ ๖๐ ปี ๖๐๐ บาท ๗๐ ปี ๗๐๐ บาท ๘๐ ปี ๘๐๐ บาท ๙๐ ปี ๑,๐๐๐ บาท เหตุการณ์แบบนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นใน ประเทศไทย เราควรจะเปลี่ยนเป็นปี ๒๕๖๘ รับ ๑,๒๐๐ บาท ปี ๒๕๖๙ รับ ๒,๐๐๐ บาท ปี ๒๕๖๙ รับ ๒,๐๐๐ บาท ปี ๒๕๗๐ รับ ๓,๐๐๐ บาท นี่คือ Step Rising ที่มันมีอภินิหาร มากกว่าเยอะ ดีกว่าจะรับ ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ๙๐๐ บาท หรือ ๑,๐๐๐ บาท นี่คือ Step Rising ที่ อ.เอท และทุกคนอยากเห็น เพราะในพื้นที่ อ.เอท เขาถามทุกวัน ต่อมา ตัว I I คือ Income แปลว่ารายได้ ถ้าคนสูงอายุมีการทำ Research มากมายจาก หลายมหาวิทยาลัย เขาบอกว่าถ้าเกิดท่านมีเงินเดือนก่อนเกษียณ เงินเดือนสุดท้ายสัก ๓๐,๐๐๐ บาท จะอยู่แบบชิล ๆ สบาย ๆ ควรจะมี ๑๕,๐๐๐ บาท เห็นไหมครับ คือครึ่งหนึ่ง ของรายได้เดือนสุดท้ายของท่าน จะอยู่แบบมีความสุข แต่ประเทศไทยเราไม่ต้องเอาเคสนี้มัน เกินไป เอาว่าอยู่แบบอด ๆ หน่อย อยู่แบบลำบากหน่อยก็ไม่ควรที่จะต่ำกว่า ๑,๕๐๐ บาท ต่อเดือน เขาศึกษามาอย่างจริงจัง แต่ของเราท่านครับ สวัสดิการตอนนี้ กับผู้สูงอายุยัง ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ยังงง ๆ อยู่เลย เราอยู่ไหนกันครับประเทศของเรา ฝากท่านด้วยว่าเราควรที่จะมาคิดใหม่ทำใหม่กันแบบจริงจังได้แล้วอันนี้คือตัว I และตัวก่อน สุดท้าย คือตัว O O คืออะไร O คือ Open Open คือการเปิดโอกาส เราจะมีการเปิดโอกาส ให้กับการเก็บภาษีใหม่ ๆ เช่น ภาษี VAT จาก ๗ อาจจะเป็น ๑๐ ไหม ภาษีจาก Entertainment Complex ภาษีจากเรื่องของสรรพสามิตไหม เรื่องของน้ำมันไหม เรื่องของ ยาสูบไหม มีอีกหลาย ๆ อย่างที่เราจะเก็บได้ เมื่อสักครู่เพื่อน ๆ อ.เอทพูดมาเยอะมาก ภาษี ที่เป็นเรื่องของการที่ท่านได้มาจากเรื่องของมรดกถูกไหมอันนี้ หรือภาษีการท่องเที่ยวที่เก็บ จาก Visa โอกาสอีกมากมายที่ประเทศไทยยังต้องได้ในอนาคตโอกาสมาแล้ว เราควรจะฉวย โอกาสนี้ไว้ เปิดเลยครับ เปิดโอกาสให้กับการเก็บภาษีใหม่ ๆ เพื่อเอามาให้ใครครับ ให้กับ พี่น้องประชาชนคนสูงอายุ และตัวสุดท้ายก็คือตัว N N ในที่นี้ อ.เอท ขอใช้คำว่า Nation แปลว่าประเทศไทย ทำไมครับ ท่านครับ เราไปดูการเก็บข้อมูลจาก MCGPI คำว่า GPI ในที่นี้ Global Pension Index เป็นการเก็บข้อมูลของการทำเขาเรียกว่าระบบบำนาญพื้นฐาน ทั่วโลก เขาเก็บ ๔๔ ประเทศ เก็บจากการได้ใช้ Index เขาดูแค่ ๓ Criteria หรือ ๓ เขา เรียกว่ารูปแบบเท่านั้นเอง ๑. คือความพอเพียงของบำนาญ ๒. คือความยั่งยืนของบำนาญ และ ๓. คือความน่าเชื่อถือของบำนาญ ทั้ง ๓ อย่างนี้ ประเทศของเราความพอเพียงได้ ๔๑ คะแนน จากเฉลี่ยเขาได้กัน ๖๓ คะแนน ความยั่งยืนเราได้ ๓๖ คะแนน เฉลี่ยเขาคือ ๕๓ คะแนน และความน่าเชื่อถือ เราได้ประมาณ ๕๐ คะแนน เฉลี่ยเขาคือ ๗๒ คะแนน ท่านครับ ทั้งหมดนี้จาก ๔๔ ประเทศ เราอยู่ลำดับที่ ๔๔ คือสุดท้าย ท่านครับ คะแนน PISA หรือการเก็บคะแนนจากการใช้การศึกษานี้เราก็เกือบสุดท้ายแล้ว ตอนนี้เรามาสุดท้ายด้านการให้ Pension หรือบำนาญพื้นฐานอีก คงอยู่แบบนี้ไม่ได้นะครับ เราต้องเปลี่ยนแปลงครับ เพราะฉะนั้นสวัสดิการไม่ใช่การสงเคราะห์ ไม่ใช่จนแล้วแจก สุดท้ายนี้ อ.เอท อยากที่จะเห็น Pension ที่ไม่ใช่ Pain Point ซึ่งสวัสดิการไม่ใช่ความ เจ็บปวดของประเทศไทยอีกต่อไป ขอบพระคุณท่านประธานครับ Respect