ข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ 26
ปีที่ 1
สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง
ครั้งที่ 26 วันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 เวลา 10.31 - 22.05 นาฬิกา
เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรียนท่านสมาชิกครับ ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมจะมีการปรึกษาหารือตามข้อบังคับ โดยตามรายชื่อแล้วก็เวลาท่านละ ๒ นาที ผมขอความกรุณาไม่ Late นะครับ วันนี้ญัตติเรา เยอะมากเลย จะได้เปิดประชุม ๑๐.๓๐ นาฬิกาตรงเวลา ขอเรียนเชิญท่านแรกเลย ท่านสุรเกียรติ เทียนทอง ครับ
นายสุรเกียรติ เทียนทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม สุรเกียรติ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมขอหารือท่านประธาน ๒ ประเด็น
นายสุรเกียรติ เทียนทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ เนื่องจากผม ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนมาจากคุณพรพงษ์ เสาวคนธ์ นายก อบต. ทัพราช และคุณสวัสดิ์ กั๊วจรัญ สมาชิก อบต. ทัพราช แล้วก็คุณโกเมศ เพชรโกมล กำนันตำบลทัพราช จังหวัด สระแก้ว เรื่องช้างในอุทยานแห่งชาติปางสีดาเข้ามาทำลายพืชผลการเกษตรของชาวบ้าน หมู่ที่ ๑๒ บ้านคลองยาง ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว โดยฝูงช้างป่า ประมาณ ๑๒ เชือกได้เข้ามาในพื้นที่หมู่บ้านแล้วก็ทำลายพืชผลการเกษตร เช่น ข้าว กล้วย มันสำปะหลัง ชาวบ้านได้รับความเสียหายในพื้นที่เป็นจำนวนมากครับ หลายครัวเรือนได้รับ ความเดือดร้อนโดยช้างจะเข้ามาในเวลากลางคืน ซึ่งเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติปางสีดา ได้เข้ามาดูบ้าง แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด จึงขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามา ดูแลรับผิดชอบแล้วก็เยียวยาชาวบ้านด้วยครับ
นายสุรเกียรติ เทียนทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ผมได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนผ่านมายัง ทีมงานพรรคเพื่อไทย เขตจตุจักร เขตหลักสี่ ถึงความเดือดร้อนเรื่องป้ายจราจรบริเวณ ถนนกำแพงเพชร ๖ จากอุโมงค์บางซื่อไปจนถึงตำบลหลักหก จังหวัดปทุมธานี โดยถนนเส้นนี้ จะเป็นถนนที่ผ่านซอยเป็นจำนวนมาก มีการสลับช่องจราจรไปมาข้าม ๑ เลนบ้าง ๒ เลนบ้าง บางทีก็เป็น One-way และไม่มีป้ายจราจรบอกที่ชัดเจน ทำให้เกิดอุบัติเหตุนับเป็นรายวันเลย แล้วก็รวมถึงรั้วกั้นกันตกคลองระบายน้ำบริเวณทางเท้าหน้าชุมชนเคหสถานเจริญชัย ซึ่งแต่เดิม มีรั้วอยู่ครับ แต่พอมีการสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงก็ได้มีการรื้อถอนออกไป แล้วก็ไม่ได้มี การนำมาติดตั้งเหมือนเดิมหลังจากมีการสร้างเสร็จแล้ว ทำให้เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง จึงขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการรถไฟแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานครช่วยดำเนินการ แก้ไขให้ด้วยครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ ครับ
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ในเขตมีนบุรี เขตสะพานสูง วันนี้ขออนุญาตหารือ ๓ เรื่องหลัก ๆ เป็นปัญหาของพี่น้อง ในเขต กทม. ทั้งหมดครับ
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องแรก แรงงานต่างด้าว ที่ทำงานผิดกฎหมายที่เข้ามาทำงานอาชีพสงวนของคนไทยกว่า ๒๗ อาชีพ ตัวอย่างเช่น การขนของ อาชีพขับรถ แล้วก็การขายของเป็นพวกหาบเร่แผงลอยต่าง ๆ ซึ่งตรงนี้เขาจะอยู่ ในพื้นที่ อ.เอท เสร็จปุ๊บก็จะย้ายไปอีกพื้นที่หนึ่งเหมือนเขาเล่นเก้าอี้ดนตรีกับตำรวจอยู่ อย่างไรฝากกระทรวงแรงงาน แล้วก็ฝากกระทรวงที่เกี่ยวข้องกระทรวงมหาดไทยด้วยนะครับ เพราะอันนี้เป็นปัญหาที่เขาย้ายไปทุกที่จริง ๆ แล้วสุดท้ายก็กลับมาที่เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง ที่เดิม นี่คือเรื่องที่ ๑
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องของคุณครูอาสา คุณครูเด็กเล็ก เรามีเรื่องของศูนย์เด็กเล็ก ประมาณ ๒๙๒ ศูนย์ใน กทม. มีคุณครูกว่า ๒,๐๐๐ ท่าน คุณครูเหล่านี้แทบไม่มีสวัสดิการ น้อยมาก ถึงแม้ว่าจะได้เงินเดือนตามวุฒิการศึกษาก็จริงอยู่ แต่ว่าเมื่อเด็ก ๆ ขาด หรือว่าเด็ก ๆ น้อยลง สิ่งที่เกิดขึ้นคือเขาก็จะไม่มีอาชีพเหล่านั้นจริง ๆ เพราะฉะนั้น มันขึ้นอยู่กับจำนวนเด็ก และคุณครูเหล่านี้ไม่เคยมีสวัสดิการใด ๆ เลยครับ ฝากกระทรวง ศึกษาธิการและกระทรวง พม. อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าเด็ก ๆ ที่อยู่ในการดูแล ของครูเหล่านั้นประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน อันนี้เป็นปัญหาใหญ่จริงที่ครอบคลุมทั้ง กทม.
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ที่จะหารือวันนี้เป็นเรื่องของรถไฟฟ้า Airport Rail Link สายสีแดง เราเข้าสู่เรื่องของสังคมสูงวัยแล้วเขาขึ้นบันไดไม่ไหวครับ ทางพี่น้องในฝ่ายของ พื้นที่ อ.เอท เขาบอกว่าอยากจะให้ทำบันไดเลื่อนในรถไฟฟ้าสายสีแดง อย่างไรฝากไปยัง พื้นที่ที่เกี่ยวข้อง กระทรวงคมนาคม ทุกพื้นที่เลย มันไม่ใช่แค่สายสีแดง สายสีเหลือง ก็เช่นกันบางทีเหมือนขึ้นบันได ๗ ชั้นแล้วเหนื่อยมาก สุดท้ายแล้วลงไม่ไหว สรุปอยากที่จะให้ ข้าราชการไทยทำงานว่องไวได้ใจประชาชน ขอบพระคุณท่านประธานครับ Respect
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอเชิญท่านพลพีร์ สุวรรณฉวี ครับ
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี นครราชสีมา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม พลพีร์ สุวรรณฉวี นครราชสีมา เขต ๙
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องแรก ที่จะขอหารือท่านประธานในวันนี้คือเรื่องการก่อสร้างโรงพยาบาล ห้วยแถลง ซึ่งได้มีการลงนามสัญญาไปเมื่อเดือนมีนาคม ปี ๒๕๖๕ และหลังผ่านมาประมาณ ๒๐ เดือน ตอนนี้เห็นแต่เสา ขอ Slide ด้วยครับ
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี นครราชสีมา ต้นฉบับ
นี่สภาพ ๒๐ เดือนหลังจาก ลงนามสัญญามีแค่นี้ครับ เนื่องจากตอนนี้พี่น้องประชาชนอำเภอห้วยแถลงมีการขยายตัว ต้องรับการรักษาเป็นจำนวนมาก หมอ ห้องพัก และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เพียงพอ ก็ขอให้ ท่านประธานนั้นได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเร่งรัดการก่อสร้างด้วยนะครับ
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ การประปาส่วนภูมิภาคได้รับเรื่องร้องเรียนมาจากเทศบาล ตำบลห้วยแถลงเทศบาลตำบลหินดาด เทศบาลตำบลจักราช ประปาหมู่บ้านบ้านโนนรัง ตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง บ้านช่องโค ตำบลศรีละกอ อำเภอจักราช บ้านสระมะค่า ตำบลหลุ่งตะเคียน อำเภอห้วยแถลง สภาพของน้ำเดี๋ยวเป็นไปตาม Slide ที่ผมจะขึ้น ณ ตอนนี้เป็นสภาพน้ำที่ไม่สามารถใช้ได้เลย ไม่ว่าจะซักผ้า ไม่ว่าจะอุปโภคบริโภค อาบน้ำ หรือล้างรถมันไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้ได้แล้ว ก็ขอท่านประธานได้ประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องนั้นช่วยดูแลด้วยนะครับ
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ที่อยากจะปรึกษาท่านประธานหรือหารือท่านประธานในวันนี้ก็คือ ขุดลอกลำฉมวก ลำฉมวกเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่มาก แล้วก็ใช้น้ำในลำฉมวกกันทั้งหมดประมาณ ๓-๔ อำเภอ ก็มีอำเภอพิมาย อำเภอจักราช อำเภอห้วยแถลง และอำเภอชุมพวง แต่สภาพ ของลำฉมวกนั้นไม่สามารถกักเก็บน้ำได้แล้ว เนื่องจากไม่มีการขุดลอกมาเป็นระยะเวลานาน ก็ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยลงมาดูแลด้วยนะครับ
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ซ่อมแซมถนนหินดาด-บ้านหนองปื๊ด แล้วก็ถนนท้องถิ่น นม.ถ.๓๙๐๑๖ หรือถนนบ้านหนองแมว แล้วก็ถนนบ้านกงรถ หมู่ที่ ๑ ไปยังหมู่ที่ ๒ ทั้ง ๓ เส้นนั้นไม่ได้อยู่ในสภาพที่สามารถให้พี่น้องประชาชนได้สัญจรโดยสะดวกแล้ว จริง ๆ แล้วช่วงฤดูฝนที่ผ่านมาแค่เดินยังลำบากเลย ก็ขอกราบเรียนท่านประธานส่งเรื่องนี้ ต่อไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนะครับ
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ที่ผมจะหารือกับท่านประธานก็คือค่าตอบแทนให้กับพี่น้อง ชาว อสม. มติ ครม. นั้นได้อนุมัติค่าตอบแทน อสม. ขึ้นเป็น ๒,๐๐๐ บาทตั้งแต่ ๗ มีนาคม ก็เชื่อว่าจะใช้เงินงบประมาณภายในปีนี้ แต่ว่า อสม. นั้นไม่มั่นใจว่าสิ้นเดือนตุลาคมนี้จะได้ ค่าตอบแทน ๒,๐๐๐ บาทหรือไม่ ก็ขอให้ท่านประธานประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประชาสัมพันธ์ให้ อสม. เขาได้อุ่นใจว่าสิ่งที่เขาทำนั้นจะได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมต่อไปครับ กราบขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอมรเทพ สมหมาย ครับ
นายอมรเทพ สมหมาย ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายอมรเทพ สมหมาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต ๕ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพครับ ผมได้รับร้องเรียนจาก นายสารี โพธิ์เตี้ย อยู่บ้านเลขที่ ๒๗ หมู่ที่ ๓ บ้านตานวน ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
นายอมรเทพ สมหมาย ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
บิดาของนายสุริยนต์ โพธิ์เตี้ย ผู้เสียชีวิตซึ่งใช้แรงงานทำงานที่ประเทศไต้หวันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยครอบครัว ของผู้เสียชีวิตได้ขอความอนุเคราะห์ในการติดตามให้การช่วยเหลือและสิทธิประโยชน์ ที่พึงได้ตามกฎหมาย ขอฝากท่านประธานไปถึงกระทรวงแรงงานครับ
นายอมรเทพ สมหมาย ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ สถานที่ท่องเที่ยวอยู่ในอำเภอขุนหาญ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย โดยเฉพาะในอำเภอขุนหาญและอำเภอภูสิงห์ มีน้ำตก เช่น น้ำตกสำโรงเกียรติ น้ำตกห้วยจันทร์ น้ำตกแซร์สะโบว์ ซึ่งมีนักท่องเที่ยว มาเที่ยวเป็นจำนวนมาก น้ำตกทั้ง ๓ แห่งที่กล่าวมาไม่มีศาลาหรือที่พักหลังคา วันใดฝนตก นักท่องเที่ยวไม่มีที่หลบฝน จะรับประทานอาหารก็ต้องรับประทานอาหารท่ามกลางสายฝน นักท่องเที่ยวบางส่วนจึงเลือกที่จะเดินทางกลับ ทั้งที่บางคนบางคณะเพิ่งจะมาถึง ทำให้พ่อค้าแม่ค้าเสียโอกาสในการค้าขาย กระผมขอเสนอให้กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดสร้างศาลาที่พักให้นักท่องเที่ยว แล้วก็เสนอไปถึงท่านประธาน ผ่านไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยากให้น้ำตกทั้ง ๓ แห่งให้น้ำตกตลอดปี ขอบคุณ ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านธนยศ ทิมสุวรรณ ครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม นายธนยศ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย อำเภอวังสะพุง อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว พรรคภูมิใจไทย วันนี้ผมมีประเด็นหารือกับท่านประธาน ทั้งหมด ๔ ประเด็น รบกวนฝ่ายโสตขอ Slide ด้วยนะครับ
ประเด็นที่ ๑ ถนนทางหลวงหมายเลข ๒๑๑๔ ช่วงตำบลนาดี ตำบลปากหมัน อำเภอด่านซ้าย ซึ่งยังขยายไหล่ทางไม่แล้วเสร็จนั้น ถนนเส้นนี้เป็นถนนเลียบกับแม่น้ำเหือง กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับ สปป. ลาว รถบรรทุกขนาดใหญ่ใช้ขนส่งสินค้าและวิ่ง ผ่านศูนย์กลางหมู่บ้านแต่กลับมีขนาดเล็กชำรุดหลายจุดจนเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
ประเด็นที่ ๒ ถนนและคอสะพานคับแคบ ถนนทางหลวงหมายเลข ๒๐๑๖ ช่วงโค้งภูเสี้ยวจนถึงสะพานบ้านบุ่งค้อ ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง ถนนช่วงดังกล่าวแคบ แล้วก็สะพานเป็นโค้งหักศอก ไม่มีไฟส่องสว่าง ไม่มีไฟเตือนโค้ง ทำให้เกิดอุบัติเหตุเป็นประจำ
ประเด็นที่ ๓ ถนนที่เชื่อมระหว่างบ้านปลาบ่า ตำบลปลาบ่า ถึงบ้านบง ตำบลท่าศาลา แล้วก็ถนนที่เชื่อมระหว่างตำบลบ้านบง ตำบลท่าศาลา ถึงบ้านห้วยลาด ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ ถนน ๒ เส้นนี้เป็นถนนเส้นหลักที่เกษตรกรใช้ในการเข้าไปทำไร่ ทำสวนแล้วก็ใช้สัญจร แต่ช่วงหน้าฝนเส้นทางไม่สามารถใช้ได้เลยทำให้ชาวบ้านได้รับ ความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
ประเด็นที่ ๔ เรื่องสุดท้าย สะพานข้ามลำน้ำห้วยน้ำทบ ตำบลทรายขาว ตำบลวังสะพุง เนื่องด้วยสะพานแห่งนี้ชาวบ้านได้สมทบร่วมเงินกันในการสร้างเพื่อการสัญจร แล้วก็ลำเลียงผลผลิตทางการเกษตร แต่ช่วงหน้าฝนน้ำตกท่วมขังสะพานไม่สามารถใช้งานได้ จึงขอความกรุณาท่านประธานทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อความสะดวกและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านณัฐพงษ์ สุมโนธรรม ครับ
นายณัฐพงษ์ สุมโนธรรม สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม นายณัฐพงษ์ สุมโนธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดสมุทรสาคร พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขออนุญาตปรึกษาหารือกับท่านประธาน ๒ เรื่องด้วยกัน
นายณัฐพงษ์ สุมโนธรรม สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องแรก ถนน สค.๒๐๐๔ แยกทางหลวงหมายเลข ๓๕ ศาลพันท้ายนรสิงห์ กิโลเมตรที่ ๙+๖๘๕ ถึงกิโลเมตรที่ ๑๑+๙๖๐ มีประชาชนแจ้งว่าไฟริมถนนดังกล่าวได้ชำรุด ดับมืดมานาน ประชาชนและร้านอาหารบริเวณนั้นได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เสี่ยงต่อ อุบัติเหตุและการถูกจี้ปล้นนะครับ นอกจากนี้ที่ผ่านมาสาเหตุโดยมากที่ไฟฟ้าสาธารณะดับ มาจากการขโมยตัดสายไฟไปขาย จึงฝากท่านประธานประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยกวดขันดูแลสอดส่องการกระทำผิด รวมถึงที่กำลังอยู่ระหว่างการซ่อมแซมช่วยดูแล ความปลอดภัยให้ประชาชน และฝากท่านประธานประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปซ่อมแซมแก้ไขปัญหาให้ประชาชนโดยไวครับ
นายณัฐพงษ์ สุมโนธรรม สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เรื่องสะพานข้ามฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณสะพานมหาชัยที่ขณะนี้ เศรษฐกิจและชุมชนบริเวณนั้นมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป็นเส้นทางหลักในการเดินทาง ของประชาชนและการขนส่งของภาคธุรกิจนะครับ แต่ถนนบริเวณนี้มีจุดข้ามเพียงจุดเดียว เท่านั้นเอง ส่งผลให้สะพานถูกใช้งานอย่างหนักจนต้องมีการปิดซ่อมตอม่อเพื่อป้องกัน อุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และเมื่อปิดซ่อมสะพานรถย่อมติดก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ครับ ท่านประธาน สร้างความไม่สะดวกให้กับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก หรือแม้แต่ในยามปกติ ด้วยการขยายตัวของชุมชนสะพานมหาชัยก็มีการถูกใช้สัญจรกันอย่างหนาแน่นด้วย ด้วยเหตุนี้ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว คุณภาพชีวิตของประชาชน และสำคัญคือป้องกัน ความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากสะพานมหาชัยยังมีเพียงแห่งเดียว อย่างนี้อยู่ต่อไป ที่ถูกใช้งานอย่างหนักจากการขยายตัวของพื้นที่เศรษฐกิจชุกและชุมชน จึงฝากท่านประธานประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเร่งแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้อง ประชาชนตามที่เห็นสมควรด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านพัฒนา สัพโส ครับ
นายพัฒนา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับท่านประธาน กราบเรียน ท่านประธาน ผม พัฒนา สัพโส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ผมมีเรื่องหารือท่านประธานอยู่ ๒ เรื่อง
นายพัฒนา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องแรก อยากจะหารือท่านประธานผ่านไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สว่างแดนดินช่วยมาขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำ ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยส่องดาว ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสาขาสว่างแดนดินเขาได้สำรวจแล้วก็เสนอขยายเขต ๑๓ สายทางในพื้นที่ตำบลปทุมวาปี ซึ่งในรายละเอียดครัวเรือน ข้อกำหนดต่าง ๆ ถูกต้อง ตามระเบียบ ซึ่งระยะเวลาที่ขอมาปีกว่า ๆ แล้วนะครับ อย่างน้อยก็ควรจะพิจารณาให้กับ พี่น้องประชาชน ขอ Slide ด้วยครับ
นายพัฒนา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องเดิม ก็คือบ้านโนนเจริญ ตำบลกกปลาซิว ซึ่งผมเคยหารือในสภาแห่งนี้นะครับ หลังจากผมหารือเขายื่นหนังสือ ขอกรมป่าไม้มา ๓ ปี หารือเสร็จวันที่ ๒ กรมป่าไม้อนุญาตแล้วก็ส่งเรื่องต่อไปยัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอ Slide ที่ ๒ ผมจะให้ดูพื้นที่ ก็คือจากเดิม เป็นสะพานไม้ซึ่งสัญจรไม่ได้ ท้องถิ่น อบต. กกปลาซิวเขาก็มาก่อสร้างสะพาน แล้วก็ใช้ งบท้องถิ่นมาเตรียมถนน ค.ส.ล. รอแค่สะพาน อบต. กกปลาซิวก็ไปของบประมาณ จากกรมทางหลวงชนบท แต่มันติดปัญหาตรงที่ว่าส่งไปกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมตอนนี้ยังอยู่หน้าห้องท่านรัฐมนตรี ไม่ทราบว่าทำไมถึงไม่อนุญาต ถ้าบอก เขาผิดระเบียบตรงไหนก็ต้องตอบกลับมา พี่น้องบ้านโนนเจริญเขารออยู่นะครับ ทางหลวงชนบท เขารออยู่ เพราะฉะนั้นฝากเสียงดัง ๆ ถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าพี่น้องบ้านโนนเจริญ ตำบลกกปลาซิว จังหวัดสกลนคร เขารออนุญาต จากกระทรวงแล้วเขาจะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป กราบขอบพระคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านภัสริน รามวงศ์ ครับ
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชาวบางซื่อ เขตดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันมีเรื่องปรึกษาหารือกับท่านประธานดังนี้
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ไฟทางไม่ส่องสว่าง บริเวณสถานีกลางบางซื่อ ขอให้การไฟฟ้าเข้าไปติดไฟส่องสว่างให้กับบริเวณสถานีกลาง บางซื่อด้วยค่ะ ประชาชนสัญจรอย่างยากลำบากมาก
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอให้ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรแยกวัดสะพานสูง ประชาชนสัญจรไปมา ชาวบ้านต่างบอกว่าเป็นแยกวัดใจค่ะ ใครจะล้ม ใครจะรอดขึ้นอยู่กับดวง ดังนั้นจึงขอให้มี การติดตั้งสัญญาณไฟจราจรจะได้ปลอดภัยมากขึ้น
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ขอให้มีอุปกรณ์ให้อาสาสมัครกู้ภัยชุมชน ในช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา ฝนตกแทบทุกวัน เขตบางซื่อ เขตดุสิตเป็นพื้นที่ที่มีตรอกและซอกซอยเยอะมาก งูเข้ามา กินแมวในบ้านเกิดความเสี่ยงต่อประชาชน เมื่อเจ้าหน้าที่กู้ภัยเข้าไปในบ้านก็ไม่มีอุปกรณ์ ใช้มือเปล่าในการจับงู ก็ขอฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยค่ะ เพื่อความปลอดภัย ของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ฝุ่นจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ประชาชนที่อยู่ละแวก แถวบริเวณบางโพ เส้นทางสามเสน เกิดโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง เกิดผลเสียต่อระบบ ทางเดินหายใจ ยิ่งช่วงหน้าหนาวแล้วก็ฝุ่น PM2.5 ทำให้เกิดแพ้ฝุ่นเยอะขึ้นมาก ขอฝาก ท่านประธานไปด้วยค่ะ
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ ฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐที่ไม่ตรงกัน รัฐ Update ไม่ตรงกัน ประชาชนไม่สามารถประกอบธุรกิจได้ กรณีนี้เป็นเรื่องการขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ที่เขตบางซื่อ ประชาชื่น ร้านบอมเบย์บลัด จึงขอให้หน่วยงานราชการปรับฐานข้อมูล ให้ตรงกัน
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๖ ขอให้มีสวัสดิการด้านความปลอดภัยในอาชีพและทรัพย์สิน ของอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอาสาสมัคร ในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เคยใช้สารเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน หลายครั้งที่เจ้าหน้าที่ ต้องกังวลถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน จึงอยากฝากท่านประธานถึงมาตรการ ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๗ ดิฉันขอฝากอีกครั้งในการปรึกษาหารือครั้งที่แล้วก็ยังไม่ได้รับ คำตอบเลยในเรื่องของสถานบันเทิงทีบาร์ที่ส่งเสียงไปละแวกโดยรอบของชุมชน ในเขตบางซื่อ โดยที่ร้านนี้ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการเปิดได้อย่างไรถึง ๖ ปี ประชาชน ใช้ชีวิตลำบากยากยิ่งผวาเสียงดังทะลุโสตประสาท ขอความคืบหน้าในข้อร้องเรียนนี้ด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านคำพอง เทพาคำ
นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม คำพอง เทพาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วน ภาคอีสาน มีเรื่องหารือท่านประธานดังนี้ ปีนี้ ๘ สองหน แต่ฝนดีขนาด ที่ภาคอีสาน ข้าวงามมากผลผลิตน่าจะดีนะครับ
นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
แต่บางพื้นที่ก็มีน้ำท่วม ที่อุบลราชธานีเสียหายประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ ยโสธร ร้อยเอ็ด อำเภอโพนทอง หนักหนาสาหัสเลย อยากจะหารือท่านประธานว่ารัฐบาลได้เตรียมการเรื่องราคาข้าว สำหรับข้าวที่จะมีปริมาณออกมา รวมถึงการช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องที่ได้รับผลกระทบ จากน้ำท่วมอย่างไร มีการเตรียมการหรือยัง ถนนของกรมทางหลวงชนบททั่วภาคอีสาน ก็เสียหายกันทุกหมายเลขนะครับ ทั้งอุดรธานี ขอนแก่นเสียหายหมด ก็คิดว่าน่าจะมี การบูรณะ แทนที่จะเอาเงินดิจิทัลมาแจก เอาไปลงทุนสร้างงาน บูรณะชุมชน หมู่บ้าน ตำบลดีไหมครับท่านประธาน
นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ มีเรื่องของการใช้งบประมาณงบกลางของปี ๒๕๖๖ ในการทำโครงการเศรษฐกิจ BCG เดี๋ยวผมจะเอาเอกสารให้ท่านดู ปรากฏว่ามีการโอนเงิน เข้าไปให้กับแกนนำพรรคการเมืองรัฐบาลชุดที่แล้ว เดี๋ยวชุดนี้ก็เข้ามาด้วย โอนทั้งวันทั้งคืนเลย ทีเดียว
นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่ง เรื่องของพี่น้องเสื้อแดงที่ตอนนี้พ้นคุกออกมาแล้วแต่ก็ได้รับ ความยากลำบากในการดำรงชีวิต วีรบุรุษประชาธิปไตย มิตรสหายได้เป็น สส. ได้เป็น รัฐมนตรี แต่คนกลุ่มนี้ยังเดือดร้อนเป็นหนี้เป็นสิน ไม่มีเงิน ไม่มีเครดิต ไม่มีทุน ในการประกอบอาชีพ รัฐบาลชุดนี้ช่วยไปโอบรัดเขาหน่อยได้ไหมครับ ให้เขาได้มีที่ยืน ให้เขามีที่ทำกินประทังชีวิต ในฐานะที่เป็นวีรบุรุษประชาธิปไตย ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านทศพร เสรีรักษ์ ขอข้ามนะครับ ท่านเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ข้ามนะครับ เชิญท่านบัญชา เดชเจริญศิริกุล
นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม บัญชา เดชเจริญศิริกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคท้องที่ไทย ขอหารือท่านประธานตามข้อบังคับการประชุมสภาดังนี้ กระผมได้รับการร้องเรียนมาจากพี่น้องกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แล้วก็ชาวบ้านของจังหวัดชัยภูมิ พี่น้องได้รับความเดือดร้อนมาจากการสร้างอ่างเก็บน้ำลำชี
นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ชลประทานในโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำชี โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ อำเภอหนองบัวระเหวและอำเภอบ้านเขว้าของจังหวัดชัยภูมิ ตามพิกัด PQT 984-485 แผนที่มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐ ตามระวางเส้นแบ่งเขตของสันเขื่อน ๑,๕๘๐ เมตร พื้นที่ถูกเวนคืน ๑๘,๐๐๐ ไร่ ตามงบประมาณทั้งสิ้น ๓,๑๐๐ ล้านบาท รวมก่อสร้างทั้งหมดประมาณ ๙๐๐ ล้านบาท เนื่องจากพี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน จากการไม่เป็นธรรมในการจ่ายเวนคืนที่ดิน ซึ่งที่ดินถูกนำไปใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ จนถึงปัจจุบันนี้ พี่น้องก็เดือดร้อนที่ไม่สามารถเข้าไปทำกินในพื้นที่นั้นได้ แล้วค่าเวนคืนก็ยังไม่ได้คืน อีกหลายราย ก็มีความเดือดร้อน ก็ได้ไปประท้วงกันอยู่จนถึงปัจจุบัน จนถึงทุกวันนี้นะครับ เมื่อวันที่ ๑๖ ก็เข้าไปประท้วงกันอยู่อีกรอบหนึ่ง จากความไม่ชัดเจนของเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานคือนายสุวิทย์ ชูเกิด หัวหน้าฝ่ายจัดหาที่ดิน รวมถึงผู้ร่วมงานคือ นายสน จินดาสงวน ผอ. โครงการ หลังจากนั้นชาวบ้านได้นัดรวมตัวกันปักหลักกางเต็นท์บริเวณ โครงการเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคมจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีความชัดเจนกับชาวบ้าน โดยชาวบ้าน ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อไปตามที่หน่วยงานต่าง ๆ เรื่องนี้เป็นความเดือดร้อนของชาวบ้าน จริง ๆ ผมก็เลยฝากหารือประธานผ่านไปถึงท่านนายกรัฐมนตรี ผ่านไปถึงรัฐมนตรี และถึง อธิบดีกรมชลประทานให้เร่งรัดช่วยเหลือชาวบ้านในเขตพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยเร่งด่วน กราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านฐากร ตัณฑสิทธิ์ ครับ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย ผมขออนุญาตหารือ ท่านประธานปัญหาใหญ่ ๓ เรื่องที่กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและส่งผลกระทบ ต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ เพื่อเสนอให้รัฐบาลรีบหามาตรการรองรับ ทั้งระยะสั้นและระยะปานกลางดังนี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ สถานการณ์สงคราม ระหว่างรัสเซียกับยูเครนซึ่งยังคงยืดเยื้อยาวนานต่อไปนับถึงวันนี้ ๕๗๐ วันเต็ม ๆ ผลกระทบ ของสงครามกระเทือนไปทั่วโลก ราคาน้ำมัน ราคาพลังงานพุ่งกระฉูด การคมนาคมขนส่ง สภาวะชะงักงัน ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามมา
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ สถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสซ้ำเติมให้ สถานการณ์โลก ซึ่งเพิ่มความตึงเครียดอยู่แล้ว ยิ่งเพิ่มความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น ไม่รู้สงคราม จะจบลงเมื่อไร และสงครามจะขยายวงเพิ่มเติมอีกเมื่อไร อย่างไร แม้ประเทศไทยจะวางตัว เป็นกลาง แต่ก็ได้รับผลกระทบจากแรงงานที่ไปทำงานประเทศอิสราเอลกว่า ๓๐,๐๐๐ คน แรงงานคนไทยโดนลูกหลงจากพิษสงครามเสียชีวิตไปแล้ว ๓๐ คน มากเป็นอันดับ ๒ รองจากสหรัฐอเมริกา ถูกจับเป็นตัวประกัน ๑๙ คน และบาดเจ็บ ๑๖ คน รัฐบาลไทย ต้องรีบจัดหาเครื่องบินลำเลียงรับแรงงานไทยอีก ๘,๔๐๐ คนเพื่อกลับไทยโดยเร็วที่สุด พิษของสงครามอิสราเอลกับฮามาสยิ่งฉุดรั้งให้เศรษฐกิจของโลกซึ่งเดิมก็ถดถอยหนักอยู่แล้ว ยิ่งถดถอยลงกว่าเดิมอีก ราคาพลังงานเกิดภาวะผันผวน จนมีนักวิเคราะห์ประเมินว่า ถ้าอิสราเอลกับฮามาสถล่มกันไม่หยุดและบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งในภูมิภาค ตะวันออกราคาน้ำมันในในตลาดโลกอาจจะพุ่งแตะถึง ๑๕๐ เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขนาดน้ำมันดิบโลกในขณะนี้เฉลี่ย ๘๘ เหรียญต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบขายปลีกในบ้านเรา ยังแพงขนาดนี้ ถ้าราคาน้ำมันโลกพุ่งกระฉูดถึง ๑๕๐ เหรียญสหรัฐจริง ราคาขายปลีกน้ำมัน ในประเทศไทยจะแพงขึ้นอีกเกือบ ๒ เท่าตัวในราคาปัจจุบัน แล้วประชาชนจะอยู่กันอย่างไร ต่อไปครับ เมื่อราคาน้ำมันแพง ข้าวของทุกอย่างก็ต้องแพงเป็นเงาตามตัวมา เพราะน้ำมัน คือทุนการผลิตของสินค้าที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้ายครับท่านประธาน ตลาดหุ้นไทยที่ดิ่งเหวอย่างหนัก ดัชนีต่ำกว่า ๑,๔๐๐ จุด เงินทุนไหลออก มูลค่าที่หายไปในตลาดกว่า ๑.๗ ล้านล้านบาท ในระยะเวลา ๔๐ วันเศษ ค่าเงินบาทอ่อนตัว ตัวเลขหนี้สินครัวเรือนขยับสูงขึ้นถึง ๑๖ ล้านล้านบาท เฉลี่ยครัวเรือนละประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาทเศษ อัตราดอกเบี้ยแพงที่สุด ในรอบ ๑๐ ปี สภาวะสงครามที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณบ่งชี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ ประชาชนมีรายได้ต่ำ หนี้กระจาย รวยกระจุก ฝากท่านประธานกราบเรียนถึงท่านนายกรัฐมนตรี เพื่อเตรียมหามาตรการรองรับปัญหาใหญ่ ๆ ๓ เรื่องดังกล่าว เพราะรัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาล ที่มาจากประชาธิปไตยจึงเป็นความหวังของพี่น้องประชาชนที่ฝากไว้กับรัฐบาลในการแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ครับ ฝากเพิ่มเติมอีกเรื่อง ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ท่านครับ หมดเวลาแล้ว ขออนุญาต เดี๋ยวเรื่องที่เหลือมาที่หน้าบัลลังก์ เกินมา ๑ นาทีแล้ว ขอโทษด้วยครับ ขอบคุณครับ ต่อไปเชิญท่านนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ ครับ
นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพครับ ผม นนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี พรรคก้าวไกล เขตเลือกตั้งที่ ๘ อำเภอบางบัวทอง อำเภอไทรน้อย วันนี้ขออนุญาตนำเรื่องหารือ ท่านประธานผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมถึงแผนการจัดทำรถไฟฟ้า EV ขออนุญาต Slide ด้วยครับ
นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ
เพื่อบริการขนส่งสาธารณะ ในท้องถิ่นให้กับพี่น้องประชาชนชาวอำเภอบางบัวทองแล้วก็อำเภอไทรน้อยที่ครอบคลุม ประชากรกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คนที่ขาดตกบกพร่องในการใช้รถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นถนนวัดลาดปลาดุก ถนนบางกรวย-ไทรน้อย แล้วก็ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ที่มีประชากรพี่น้องบางบัวทอง ไทรน้อยอาศัยอยู่มากมาย แล้วก็มีเด็กนักเรียนที่จำเป็นต้องใช้รถโดยสาร ทุกวันนี้พี่น้อง ประชาชนชาวเขต ๘ จังหวัดนนทบุรี โหนรถสองแถวลูกหลานมีความอันตรายเป็นอย่างมาก หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเห็นถึงความปลอดภัย เห็นถึงความสำคัญของพี่น้อง ประชาชน รบกวนเสนอแผนขนส่งสาธารณะ EV เพื่อเชื่อมต่อตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีแดง แล้วก็อีกเส้นหนึ่งที่อยากให้ทำก็คือพุ่งตรงไปยังสถานีบางหว้าเพื่อเชื่อมต่อ กับ BTS นะครับ อย่างไรก็ฝากรัฐมนตรีหารือกับท้องถิ่นทำเป็นแผนนำเสนอพี่น้องประชาชน ยังดีกว่าที่จะไปลดเฉพาะค่ารถไฟฟ้า ๒๐ บาท เนื่องจากว่าจะออกจากบ้านแล้วใช้เงิน เป็นร้อยกว่าจะถึงรถไฟฟ้า ๒๐ บาท ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านสนอง เทพอักษรณรงค์ ครับ
นายสนอง เทพอักษรณรงค์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิก ผู้มีเกียรติ กระผม สนอง เทพอักษรณรงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดบุรีรัมย์
นายสนอง เทพอักษรณรงค์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ
ประการแรก ผมต้องขอกราบ ขอบพระคุณท่านนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานเกี่ยวข้องที่สามารถลำเลียงเอาพี่น้องแรงงาน จากอิสราเอลมาได้ จังหวัดบุรีรัมย์ของผมมีแรงงานไปทำงานอยู่ที่อิสราเอลประมาณ ๑,๔๐๐ คน เวลานี้กลับมาส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังค้างอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ประการสำคัญ ต้องขอบพระคุณท่านรัฐมนตรีพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่บูรณาการกันทำให้งานสำเร็จ ประการ สำคัญเลยก็คือกองทัพอากาศที่ได้ส่งเครื่องบินของกองทัพอากาศไปรับแรงงานคนไทย ของเรากลับสู่ภูมิลำเนา ทำให้พี่น้องประชาชนได้หูตาสว่างแล้วก็รู้ว่าทหารมีไว้ทำไม
นายสนอง เทพอักษรณรงค์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเป็นสมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ท่านนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ค่าตอบแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ ครั้งสุดท้ายมีการปรับขึ้นในปี ๒๕๕๔ เป็นเวลา ๑๐ กว่าปีแล้ว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. แล้วก็องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กคือ อบต. ได้มีการปรับแล้ว แต่ส่วนของเทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นยังไม่ได้มีการปรับ ขอความกรุณาจากรัฐบาลได้พิจารณา ปรับเพื่อให้บุคลากรเหล่านี้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ฝากทางท่านรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย และท่านนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาถึงเรื่องนี้ด้วย ขอบพระคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านวรรณิดา นพสิทธิ์ ครับ
นางสาววรรณิดา นพสิทธิ์ ชลบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน วรรณิดา นพสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต ๒ พรรคก้าวไกล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ประกอบไปด้วย ๔ เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองบ้านสวน เทศบาลตำบลบางทราย และเทศบาลตำบลนาป่า ดิฉันมีเรื่องหารือกับท่านประธาน ขอให้หน่วยงานให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยแก่ประชาชนในพื้นที่ พื้นที่ของดิฉัน เป็นที่ตั้งของส่วนราชการหลายส่วนด้วยกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นศาลจังหวัด อัยการจังหวัด และศาลากลางจังหวัดชลบุรี นอกจากนี้แล้วพื้นที่ ตัวเมืองชลบุรีก็ยังมีพี่น้องประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และจังหวัดชลบุรีก็เป็นหนึ่ง ในจังหวัดของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC และทำรายได้ ให้กับประเทศเป็นอันดับต้น ๆ ท่านประธานที่เคารพคะ แต่หากมองในเรื่องของความปลอดภัย มันเทียบกันไม่ได้กับเมืองท่องเที่ยวและเมืองเศรษฐกิจของประเทศ
นางสาววรรณิดา นพสิทธิ์ ชลบุรี ต้นฉบับ
ดิฉันเป็นผู้แทนราษฎรที่อยู่เขตเมือง ท่องเที่ยวและเมืองเศรษฐกิจ ดิฉันอยากเห็นจังหวัดของดิฉันมีความปลอดภัย มีมาตรการ ป้องกันภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หนึ่งในหลายมาตรการที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับ ประชาชนได้คือกล้องวงจรปิดในพื้นที่สาธารณะ ดิฉันในฐานะผู้แทนราษฎรได้รับคำร้องเรียน จากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ว่า พอเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ขอดูกล้องวงจรปิดเทศบาลก็แจ้งว่า กล้องเสีย ความสำคัญของการมีกล้องไม่ใช่เพียงแต่บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เท่านั้น ยังสามารถ ป้องกันการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ได้อีกด้วย ดิฉันเคยนำเรื่องนี้หารือกับเทศบาลบ้านสวน ในพื้นที่ของดิฉันแล้ว แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรค่ะ กล้องวงจรปิดมี ๘๐๐ กว่าตัว แต่สามารถใช้ได้เพียง ๓๐๐ ตัวเท่านั้น ขอให้ท่านประธานแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยในพื้นที่ สิ่งที่ดิฉันเรียนท่านประธานนั้นเป็นสิ่งที่ พี่น้องประชาชนอยากให้มีและอยากให้ทำค่ะ ดิฉันขอกราบเรียนท่านประธานด้วยความเคารพ ให้มีหนังสือไปยังหน่วยงานในพื้นที่ให้ดำเนินการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อเป็นมาตรการรับรู้ ทางหน่วยราชการที่ตระหนักถึงความปลอดภัยและความเชื่อมั่นกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ของดิฉันค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ ครับ
นายภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร เขต ๑ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ผมมีเรื่องหารือกับท่านประธาน
นายภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร ต้นฉบับ
เรื่องแรก ก็คือการขอขยายเขต โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง โครงการส่งน้ำท่อทองแดงจำกัดการส่งน้ำมาแค่ ตำบลประชาสุขสันต์ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และส่งไปอำเภอคีรีมาศ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอวชิรบารมีเป็นเขตติดต่อกับอำเภอลานกระบือ อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ตำบลหนองหลุม อำเภอวังโมกข์ จะอยู่ในเขตอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร เมื่อถึงฤดูทำการเกษตรไม่มีน้ำ ทำการเกษตร เมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็ไหลจากอำเภอลานกระบือและอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชรมาท่วมในอำเภอวชิรบารมีของจังหวัดพิจิตรทุกปี เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมผมขอฝากท่านประธานนำเรียนไปยังกรมชลประทาน กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพท่อทองแดง NC3 และขยายแนวเขตคลองส่งน้ำด้วย ทราบมาว่าทางกรมชลประทานเคยทำการศึกษาเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพท่อทองแดงนี้ มาแล้ว การจะขยายพื้นที่ชลประทานนอกเขตได้จะต้องส่งน้ำเพื่อไปยังพื้นที่เพาะปลูกของ เกษตรกรอย่างน้อย ๑ ครอป หรือรอบการปลูกต่อปี ทางกรมชลประทานเองก็ไม่มั่นใจว่า จะสามารถส่งน้ำได้ครบหรือไม่ และการส่งน้ำผ่านท่อทองแดง NC3 มีประสิทธิภาพเพียง ๕๐-๖๐ เปอร์เซ็นต์ คือเวลาน้ำไหลมาจะซึมลงดินประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์
นายภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ โครงการประตูระบายน้ำฝายวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ผู้รับเหมาชนะงานประมูลก่อสร้าง ๒๓๑ ล้านบาท เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ สิ้นสุดสัญญาวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ เกือบ ๗ ปีแล้วยังสร้างไม่เสร็จ ผมจะขอฝากท่านประธานนำเรียนไปยังกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ช่วยติดตามเรื่องนี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านพลากร พิมพะนิตย์ ครับ
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพลากร พิมพะนิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตอำเภอ ยางตลาด อำเภอฆ้องชัย พรรคเพื่อไทย มีเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนเรื่องถนนครับ
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๑. ถนนเส้นดอนตาปู่ บ้านโนนสูง หมู่ที่ ๙ บ้านนางาม หมู่ที่ ๖ ตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๒. ถนนสายสี่แยกกำนันถึงปากทางบ้านตูม ที่ตั้งหมู่ที่ ๑ ตำบลเขาพระนอน
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๓. ถนนเข้าบ้านหนองหัวช้าง หมู่ที่ ๖ ตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด ผิวจราจรชำรุดระยะทาง ๓๐๐ เมตร
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๔. ถนนเส้นบ้านหัวงัว ตำบลยางตลาด หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ เชื่อมไปตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด ระยะทาง ๒ กิโลเมตร
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๕. ถนนบ้านโคกสี ไปบ้านหนองบัวหน่วย ไปบ้านขาม ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะทาง ๓ กิโลเมตร
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๖. ถนนเส้นบ้านห้วยเตย หมู่ที่ ๖ บ้านเตยคำ ตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด ระยะทาง ๕๐๐ เมตร
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๗. ถนนเชื่อม ๓ ตำบล คือตำบลฆ้องชัยพัฒนา ตำบลเหล่ากลาง ตำบลลำชี เป็นหลุมเป็นบ่อมีน้ำขังสัญจรไปมาลำบาก ระยะทาง ๒ กิโลเมตร
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๘. ถนนทางเข้าบ้าน หมู่ที่ ๗ บ้านคำมะยาง ตำบลหนองอิเฒ่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะทาง ๕๐๐ เมตร
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๙. ถนนเชื่อม ๒ ตำบล ข้างโรงแรมรุ่งอรุณบังกะโล หมู่ที่ ๗ บ้านเหล่าแดง ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย ระยะทาง ๒ กิโลเมตร
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๑๐. ทางหลวง AH12 กาฬสินธุ์-ขอนแก่น ยาวไปถึงหน้าวัดป่าอัมพวัน ถนนแตกเป็นหลุมเป็นบ่อ ระยะทาง ๗๕๐ เมตร ฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฝากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ช่วยตรวจสอบดูแลด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านกมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล ครับ
นางสาวกมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล ระยอง ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ดิฉัน กมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง เขต ๑ พรรคก้าวไกล ดิฉันขอหารือกับท่านประธานเพียงเรื่องเดียว แต่สำคัญมากสำหรับพ่อแม่ พี่น้องที่ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติอย่างเช่นน้ำท่วม เพราะทุกครั้งที่โดนน้ำท่วมมีมูลค่า ความเสียหายที่มากโข แต่ระเบียบราชการในการชดเชยเยียวยาตามไม่เคยทันค่ะ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ว่าระเบียบราชการยังไม่ได้ถูกแก้ไขให้ตามทัน กับความเสียหายนั้น ๆ ดิฉันได้รับข้อกังวลใจจากพ่อแม่พี่น้องในตำบลทับมา จังหวัดระยอง ในเรื่องของการชดเชยเยียวยาน้ำท่วมเมื่อครั้งวันที่ ๓ ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีหนังสือราชการ ออกมาแล้วนะคะ เป็นหนังสือราชการที่ออกทันทีในขณะที่มีน้ำท่วม แล้วก็ตอนนี้ ทางเทศบาลเอง ก็ได้ให้ประชาชนได้มาลงทะเบียน แล้วทางเจ้าหน้าที่ก็ได้ไปสำรวจ น้ำท่วมกันแล้ว แต่ก็ยังมีข้อกังวลในเรื่องของระเบียบการจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน ที่อาจทำให้การจ่ายเงินไม่สมเหตุสมผลและไม่สอดคล้องกับ ความเสียหายจริง ยกตัวอย่างเช่นบ้านที่โดนน้ำท่วมสูงกว่า ๖๐ เซนติเมตร ตู้เย็น Sofa Furniture ของใช้ที่มีมูลค่าสูง ๆ เสียหาย ใช้ไม่ได้ต้องทิ้ง ต้องซ่อม แต่พอเจ้าหน้าที่มาสำรวจ บอกว่าของใช้เหล่านี้ไม่สามารถจ่ายเป็นค่าชดเชยเยียวยาให้ได้ จะจ่ายเฉพาะความเสียหาย ของตัวบ้านแล้วก็ที่ติดกับตัวบ้านเท่านั้น หรืออย่างเช่นน้ำท่วมรถยนต์ซึ่งเป็นเครื่องมือ ทำมาหากินของประชาชนถูกน้ำท่วมจนมิดคันแบบนี้ แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าจะจ่ายให้เฉพาะ ที่ท่วมตัวบ้านเท่านั้น แบบนี้ก็แย่นะคะท่านประธาน ประชาชนจะต้องถูกซ้ำเติมกันไปถึงไหน กำลังจะตั้งตัวได้โดนน้ำท่วมซ้ำแล้วซ้ำอีก ช้ำแล้วก็ช้ำอีก ระบบเตือนภัยก็ไม่มี การระบายน้ำ ก็ไม่ดี น้ำท่วมทีชดเชยเยียวยาก็เล็กน้อย จึงขอเรียนท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาชดเชยเยียวยาผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมให้เหมาะสมแล้วก็สอดคล้องกับ ความเป็นจริง และสุดท้ายนะคะ ดิฉันขอให้ท่านประธานช่วยเร่งรัดติดตามข้อหารือต่าง ๆ ที่เพื่อนสมาชิกได้ทำการหารือกันไปแล้ว เพราะว่าหลาย ๆ ข้อหารือยังไม่ได้คำตอบจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านซูการ์โน มะทา ครับ
นายซูการ์โน มะทา ยะลา ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ วันนี้ผมมีปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนขอหารืออยู่ ๓ เรื่องด้วยกัน
นายซูการ์โน มะทา ยะลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ผมได้รับการร้องเรียนจากนายอับดุลซูกูร ซายากะ เป็นนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
นายซูการ์โน มะทา ยะลา ต้นฉบับ
เนื่องจากเขื่อนกันตลิ่งที่เป็นแนวป้องกันตลิ่ง ที่บริเวณชุมชนบ้านละแอ บ้านบาลูกาปาลัส หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๗ ชำรุดเสียหาย ก็อยากประสาน ผ่านท่านประธานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
นายซูการ์โน มะทา ยะลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ผมได้รับการร้องเรียนจากผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เรื่องขอให้รื้อถอนอาคารเรียนหลังเก่าซึ่งชำรุด เกรงว่าจะเกิดอันตราย กับลูกหลานของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในโรงเรียนที่มาศึกษาอยู่ เนื่องจากสภาพที่เห็น เสาค้ำยันของอาคารแตกเห็นเหล็กอยู่ ก็อยากฝากถึงกระทรวงศึกษาธิการให้จัดสรร งบประมาณในการรื้อถอน แล้วก็สร้างอาคารใหม่ทดแทนอาคารหลังเก่าให้กับโรงเรียน บ้านบุดี ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
นายซูการ์โน มะทา ยะลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ผมได้รับการร้องเรียนจากผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ และสมาชิก สภาเทศบาลตำบลบุดี เรื่องปัญหาถนนเส้นทางสัญจรของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ตำบลบุดี ๔ สายหลัก ได้แก่ สายเบอเส้ง บ้านกำปงดาระ สายศูนย์เด็กเล็กถึงโรงเรียนบ้านบุดี และสายบ้านตืองอถึงกำปงดาระ เวลาเข้าหน้าฝนตอนนี้สภาพถนนพังเสียหายชำรุด ก็อยากร้องเรียนผ่านท่านประธานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ให้จัดสรรงบประมาณดำเนินการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชน ต้องขอฝากท่านประธานว่าหลาย ๆ เรื่องที่ผมได้หารือวันนี้ได้รับการตอบสนอง จากรัฐบาล แต่หลายเรื่องก็ยังไม่มีความคืบหน้า ก็อยากฝากท่านประธานได้กำชับ หลังจากนี้ ผมก็อยากฝากเอกสารถึงท่านด้วยเพื่อให้ประกอบรายละเอียดในการปรึกษาหารือครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านณพล เชยคำแหง ครับ
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ณพล เชยคำแหง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู เขต ๓ พรรคเพื่อไทย ขอหารือถึงปัญหาความเดือดร้อนในพื้นที่กับท่านประธานเป็นจำนวน ๓ เรื่อง ดังต่อไปนี้
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ผมได้รับเรื่องร้องเรียน จากชาวบ้านในพื้นที่ว่าถนนหนทางของชาวอำเภอสุวรรณคูหาที่สัญจรไปมาลำบากมาก โดยเฉพาะถนนเชื่อมเข้าสู่ตัวอำเภอ จะไปที่ว่าการอำเภอ จะไปโรงพยาบาล จะไปธนาคาร จะไปส่งลูกหลานไปโรงเรียนประจำอำเภอก็แสนลำบากยากเข็ญ เป็นอย่างนี้มาเป็นเวลา ช้านานแล้วครับ เส้นทางที่ไปตัวอำเภอเป็นเส้นทางที่คาบเกี่ยวกับหลายตำบล เช่น ถนนบ้านบนศรีวิไลไปบ้านวิจิตรพัฒนาประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ถนนจากบ้านปล้อง ตำบลบ้านโคกไปอำเภอสุวรรณคูหาประมาณ ๙ กิโลเมตร ถนนทางเข้าบ้านส้มป่อย ไปค่ายเมืองแสนประมาณ ๕ กิโลเมตร ถนนกลางบ้านกุดฮูไปชมภูทองประมาณ ๕ กิโลเมตร ถนนบ้านโคกไปตำบลบุญทันประมาณ ๑๓ กิโลเมตร และถนนบ้านโนนอุดมไปบ้านเซิน อีกประมาณ ๕ กิโลเมตรไปยังตัวอำเภอสุวรรณคูหา ทั้งหมดนี้คือถนนทางเข้าหมู่บ้านที่จะไป เชื่อมต่อกับอำเภอสุวรรณคูหาซึ่งลำบากมาช้านานแล้วครับ
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ผมได้รับข้อมูลจากพระครูศรีปัญญาวิสิทธิ์ เจ้าอาวาสวัดศิริบุญธรรม ตำบลกุดดินจี่ และนายกวี นายกเทศมนตรีตำบลนาหนองทุ่ม ก็เป็นเรื่องถนนเช่นเดียวกัน แต่ข้ามมาฝั่งอำเภอนากลาง โดยเฉพาะเส้นทางทุ่งโพธิ์มายังตำบลกกค้อ อำเภอนากลาง มีระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่ใช้สัญจรไปมาหลายหมู่บ้านเพื่อจะเข้าไปยัง ตัวอำเภอนากลาง ชำรุดเสียหายมาก ขอให้เร่งแก้ไขโดยด่วน เพราะถ้าเกิดการแก้ไขแล้วก็ จะใช้เส้นทางนี้ได้หลายตำบลทีเดียว อีกเส้นหนึ่งก็คือของอำเภอนากลางเช่นเดียวกัน ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูเส้นทางเส้นบ้านภูดินทองไปตำบลกุดแอกมีระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตร ชาวบ้านเรียกถนนเส้นนี้ว่าถนนดาวอังคาร ดูจากภาพนะครับ ขอให้หน่วยงาน เข้าไปดูแลสอดส่องโดยด่วนนะครับ
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เรื่องสุดท้าย ผมได้รับเรื่องประสานงานความร่วมมือจากนายอำเภอ นากลาง นายอำเภอทศพล จักรบุญมา เป็นเรื่องของน้ำ เนื่องจากลำพะเนียงของอำเภอ นากลางเป็นแม่น้ำที่มาจากจังหวัดเลยทอดยาวเป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนในอำเภอ ขาดการดูแลสภาพแวดล้อมของลำน้ำ ทำให้ลำน้ำที่ห้วยเชื่อมกับลำพะเนียงรับน้ำได้ ไม่เพียงพอและระบายน้ำได้ไม่ทัน ส่งผลให้เกิดความตื้นเขิน มีวัชพืชมากั้นทางระบายน้ำ ส่งผลทำให้ฤดูฝนระบายน้ำไม่ทัน ในระหว่างที่มีหน้าฝนน้ำก็จะท่วมถนนอย่างที่เห็นในภาพ ก็อยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อนุมัติงบประมาณจากกรมชลประทานมาขุดลอกคลอง เพื่อจะให้แม่น้ำเส้นเลือดใหญ่ของอำเภอนากลางนี้เป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงหลากหลายหมื่นชีวิต ในพื้นที่เช่นเคยเหมือนในอดีต ขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านไปยังท่านประธานนะครับ ขอรายงานทั้ง ๓ เรื่องเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านสมดุลย์ อุตเจริญ ครับ
นายสมดุลย์ อุตเจริญ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม สมดุลย์ อุตเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเขียงใหม่ เขต ๗ พรรคก้าวไกล ประกอบด้วยอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอำเภอแม่อายและอำภอฝางเข้ามาร้องเรียน เรื่องได้รับ ผลกระทบจากข้าวราคาตกต่ำ สวนทางกับราคาต้นทุนการผลิต เรียกร้องต้องการให้ ผู้ประกอบการโรงสีข้าวและสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่เข้ามารับซื้อข้าวในราคา ที่เป็นธรรมให้เกษตรกรไม่ขาดทุน ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มว่าราคาจะถูกลงอีก จึงอยากให้ทาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือพยุงราคาข้าวไม่ให้ตกต่ำไปกว่านี้ และขณะนี้ต้นทุนการผลิตมีการขยับราคาขึ้นทุกปี สวนทางกับราคาขายที่นับวันจะถูกลง ขอเรียนผ่านท่านประธานไปยังภาครัฐให้เข้ามาแก้ไขควบคุมราคาต้นทุนการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช และเครื่องมือต่าง ๆ ให้มีราคาถูกลง ซึ่งขณะนี้มีราคาสูงมาก การผลิตข้าวที่มีต้นทุนสูงเลยทำให้เกิดความเดือดร้อน ไม่มีความมั่นคง ในอาชีพการปลูกข้าวของเกษตรกร อยากให้รัฐบาลเตรียมการสำหรับปีต่อ ๆ ไปให้ประสาน ผู้ค้าส่งออกข้าว ผู้ค้าภายในประเทศให้มีการจัดซื้อในปริมาณที่เหมาะสมกับการผลิต ที่ออกมาต่อปี รวมทั้งเตรียมงบประมาณในการช่วยเหลือผู้ปลูกข้าวไม่ต้องรอให้เกิด การเรียกร้องเช่นทุกปีที่ผ่านมาขอบคุณครับ ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านนิยม วิวรรธนดิฐกุล ครับ
นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล แพร่ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม นิยม วิวรรธนดิฐกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ ก็เป็นที่ทราบกันดี ช่วงนี้ก็เป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวของภาคเหนือ ทั้งข้าวเหนียว ข้าวเจ้า แล้วก็ข้าวโพด แต่ราคา สินค้าการเกษตรพวกนี้ช่วงนี้ผันผวน ที่ว่าผันผวนก็คือลงมาเรื่อย ๆ ปีนี้ข้าวน่าจะราคาแพง ที่สุดในรอบ ๑๖ ปี เพราะว่าอินเดียก็ไม่ส่งออก ผลผลิตก็ต่ำเพราะว่าฝนทิ้งช่วง โรคระบาด แต่ว่าราคาข้าวก็ยังลดลง แต่ก็ต้องขอขอบคุณทางกระทรวงพาณิชย์ โดยท่านรัฐมนตรีภูมิธรรม ที่ได้มีโครงการพาณิชย์ช่วยชาวนา ซึ่งช่วงนี้ก็จะซื้อข้าวเปลือกเหนียวในราคาที่สูงกว่าตลาด ๒๐๐ บาทต่อตัน โดยการซื้อผ่านสหกรณ์การเกษตรแต่ละอำเภอ เป้าหมายที่ ๗ จังหวัด ภาคเหนือ ๓๐,๐๐๐ ตัน แต่จริง ๆ แล้วก็เป็นจำนวนเพียงน้อยนิด เพราะฉะนั้นจึงขอให้ทาง รัฐบาลรีบออกมาตรการต่าง ๆ ที่จะรองรับข้าวที่จะออกมาทั้งระบบ แล้วก็เช่นเดียวกัน ข้าวโพดช่วงนี้ภาคเหนือเราก็ปลูกกันเยอะ ผลผลิตกำลังจะออก ราคาก็ตกต่ำลง แบบกรณีเดียวกันนะครับ
นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล แพร่ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ อันนี้เป็นเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนนะครับ เป็นเรื่องที่ ขอเรียกชื่อว่าเรื่องถังเขียวก็แล้วกันของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยเขียนไว้ว่าโครงการ พัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ปี ๒๕๖๔ (งบกลาง) โดยกรมทรัพยากร น้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหลายสิบแห่งในจังหวัดแพร่ เร่งสร้างมากในช่วงก่อนเลือกตั้ง แต่ปัจจุบันนี้ปรากฏว่าบางแห่งใช้ได้ บางแห่งใช้ไม่ได้เลย เรียกว่าใช้ไม่ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ อย่างเช่นที่ตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง คือไม่มีน้ำเลย ก็คงจะต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยไปดูด้วย แล้วก็แก้ไขนะครับ ไม่เช่นนั้นก็คงจะเป็นอนุสาวรีย์ไว้ให้ลูกหลานไว้ดูต่อไป ขอบพระคุณ ท่านประธานสภาครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ เชิญท่านอวยพรศรี เชาวลิต ครับ
นางอวยพรศรี เชาวลิต นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน อวยพรศรี เชาวลิต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต ๙ พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ได้นำปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๑ ในพื้นที่อำเภอท่าศาลามาหารือต่อท่านประธาน ๒ เรื่องค่ะ
นางอวยพรศรี เชาวลิต นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
เรื่องแรก เกี่ยวกับปัญหา การจราจรบริเวณสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จุดดังกล่าวเป็นพื้นที่ชุมชน มีทั้งตลาด โรงเรียน วัด และมัสยิด ใช้เป็นเส้นทางลัดสำหรับการเดินทางไปยังสนามบิน ทำให้ปริมาณรถจำนวนมากและวิ่งด้วยความเร็วสูง แต่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรจึงเกิดอุบัติเหตุ เฉี่ยวชนบาดเจ็บและเสียชีวิตบ่อยครั้ง เบื้องต้นดิฉันได้ประสานไปยัง ผอ. แขวงการทาง นครศรีธรรมราชที่ ๑ และทราบว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเรื่องจัดกรรมสิทธิ์ ชาวบ้านในพื้นที่ได้ฝากร้องเรียนไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าต้องให้บาดเจ็บและตาย อีกกี่ศพถึงจะมีไฟแดง ดิฉันจึงขอหารือท่านประธานไปยังกรมทางหลวงและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องขอให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็วด้วยค่ะ
นางอวยพรศรี เชาวลิต นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนจากการใช้รถใช้ถนน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๑ ในช่วงเวลากลางคืนระหว่างบ้านวัดโหนด หมู่ที่ ๑ ตำบลโมคลานถึงตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี ระยะทางกว่า ๑๐ กิโลเมตร บางช่วง เป็นทางโค้งไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างแม้แต่ดวงเดียว สภาพบนถนนมืดสนิทเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง บางรายบาดเจ็บและถึงขั้นเสียชีวิต ดิฉันได้ประสานไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลโมคลาน และทราบว่าขณะนี้ได้เสนอขอสนับสนุนงบประมาณโครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ดิฉันจึงขอหารือ ท่านประธานไปยังกรมทางหลวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้าผลักดันดังกล่าว เพื่อลดการสูญเสียของพี่น้องประชาชนด้วย ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอนันต์ ปรีดาสุทธิจิตต์ ครับ
นายอนันต์ ปรีดาสุทธิจิตต์ ชลบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อนันต์ ปรีดาสุทธิจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี พรรคเพื่อไทย วันนี้จะหารือท่านประธาน ๔ เรื่องด้วยกัน
นายอนันต์ ปรีดาสุทธิจิตต์ ชลบุรี ต้นฉบับ
เนื่องจากต้นเดือนที่ผ่านมานั้นมีพื้นที่ หลายจังหวัดน้ำท่วม แต่ผิดกับจังหวัดชลบุรีของผมน้ำยังไหลลงอ่างทุกอ่างยังไม่กี่เปอร์เซ็นต์ พี่น้องประชาชนนั้นเกิดความกังวลใจ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทรอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ ตอนนี้ Sprinkle ยังเหลืออีกประมาณ ๒ เมตรที่น้ำจะล้น Sprinkle แล้วก็กรมชลประทานนั้นได้สูบน้ำส่งไปหลาย ๆ พื้นที่ พี่น้องประชาชนเกิดความวิตกกังวล กังวลกลัวอีกหลายเดือนจะไม่มีน้ำใช้ แล้วก็อยากจะให้ท่านประธานทำหนังสือถึง กรมชลประทาน อยากจะสอบถามว่าท่านดูดน้ำส่งไปที่ไหนบ้าง อาจจะไปขายให้บริษัทเอกชน หรือเปล่า เนื่องจากโครงการอ่างพระราชดำรินั้นไม่สามารถที่จะเอาน้ำไปขายให้เอกชน เนื่องจากเราใช้ในการอุปโภคบริโภค
นายอนันต์ ปรีดาสุทธิจิตต์ ชลบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เนื่องจากอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ตำบลโคกเพลาะ ตำบลไร่หลักทอง ตำบลท่าข้าม ตำบลวัดโบสถ์ ตำบลวัดหลวง ตำบลหน้าพระธาตุ ส่วนใหญ่ เป็นทุ่งนา แล้วรอบ ๆ นั้นเป็นทางสัญจรประมาณ ๒-๓ เมตร รถไม่สามารถที่จะสวนกันได้ อยากจะให้ท่านประธานทำหนังสือถึงกรมส่งเสริมอุดหนุนงบประมาณลงไปในพื้นที่ ตำบลที่ผมได้กล่าวมาเพื่อขยายคลองให้เป็นรูปตัวยูแล้วจะทำให้ทางนั้นเพิ่มขึ้นไปอีก ๑.๕๐ เมตร
นายอนันต์ ปรีดาสุทธิจิตต์ ชลบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เส้นทาง ๓๓๑ จากสี่แยกหนองปรือไปถึงสี่แยกเนินหิน เป็นทางหลวงหลัก แล้วก็ได้ชำรุดเสียหายเป็นจำนวนมาก ฝากท่านประธานให้กรมทางหลวง รีบดำเนินการซ่อมแก้ไขโดยด่วน
นายอนันต์ ปรีดาสุทธิจิตต์ ชลบุรี ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย เส้นทางจากพนัสนิคมไปแปดริ้ว จากพนัสนิคมไปชลบุรี เกาะกลางนั้นหญ้าขึ้นสูงมากเนื่องจากว่าเกาะกลางไม่สามารถที่จะทำพื้นที่สวยได้ แต่ตอนนี้ หญ้าขึ้นสูงถึง ๒-๓ เมตร ฝากท่านประธานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาตัดหญ้า แล้วก็ ไม่จำเป็นผมว่าเกาะกลางน่าจะเอาออก เนื่องจากขวางทางน้ำแล้วก็ทำให้น้ำท่วมที่หน้า วิทยาลัย อี.เทค เป็นประจำ ขอขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านยุทธการ รัตนมาศ ครับ
ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เขตอำเภอชะอวด อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ท่านประธานที่เคารพครับ ผมได้รับเรื่องร้องทุกข์จากนายพัฒนาวิทย์ ตั้งเส้ง นายกเทศมนตรีตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องขยะล้นพื้นที่จัดเก็บซึ่งตั้งอยู่ในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลชะอวด โดยมีปริมาณ กองขยะเป็นภูเขาประมาณ ๗๐,๐๐๐ ตัน เนื่องจากเทศบาลตำบลชะอวดต้องรับปริมาณขยะ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอชะอวดและเขตอำเภอใกล้เคียงท้องถิ่น วันละประมาณ ๒๐ ตัน เฉลี่ยเดือนละ ๖๐๐ ตัน ปีละประมาณ ๗,๒๐๐ ตัน ซึ่งเป็นขยะ ที่ไม่มากเมื่อเทียบเคียงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ทั่วประเทศไทย แต่เนื่องจาก เทศบาลตำบลชะอวดเป็นเทศบาลตำบลขนาดเล็ก ยกฐานะจากสุขาภิบาลตำบลชะอวด เป็นเทศบาลตำบลชะอวด มีรายได้จากการจัดเก็บน้อยมาก จึงต้องแบกภาระเกินกำลังรายได้ ของเทศบาล หากจะให้เอกชนมาลงทุนกำจัดขยะเป็นพลังงานอาจจะไม่คุ้มทุนในระยะยาว ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเชื่อว่าเรื่องขยะมีปัญหาทุกท้องถิ่นทั่วประเทศไทยและมีเพื่อน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาแห่งนี้อภิปรายไปหลายคน หลายวาระแล้ว ผมจึงเรียน ท่านประธานไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ถึงนายกรัฐมนตรี ให้กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติอีกเรื่องหนึ่ง โดยการสนับสนุน งบประมาณหรือแนวทางการแก้ไขปัญหากรอบระยะเวลาให้เสร็จสิ้นในรัฐบาลชุดนี้ อย่างไรก็ตามผมเรียนท่านประธานไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นหรือหน่วยงาน ที่สนับสนุนทุกหน่วยงาน สนับสนุนงบประมาณให้เทศบาลตำบลชะอวดในการสร้างเตาเผา หรือเครื่องจักรกลในการบริหารกำจัดขยะในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมให้กับ เทศบาลตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ครับ
นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ เขต ๗ พรรคพลังประชารัฐ ท่านประธานครับ เขต ๗ ชัยภูมิประกอบด้วย อำเภอแก้งคร้อและอำเภอคอนสวรรค์ ทั้งนี้อำเภอคอนสวรรค์เป็นอำเภอที่ติดแม่น้ำชี แต่ปัจจุบันนั้นสภาพปัญหาน้ำท่วมถือว่าหนักที่สุดของจังหวัดชัยภูมิ เพราะว่าเป็นอำเภอ สุดท้ายที่น้ำของทุกอำเภอจากจังหวัดชัยภูมิจะไหลไปลงที่แม่น้ำชีผ่านอำเภอคอนสวรรค์ ในส่วนอำเภอแก้งคร้อนั้นเป็นอำเภอที่ถึงแม้ว่าจะอยู่ติดกับแหล่งเขา แต่เป็นพื้นที่ทางน้ำผ่าน ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ในหลายตำบลยังมีปัญหาแห้งแล้งอยู่ ดังนั้นผมจึงฝากท่านประธาน นำเรียนไปยังทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่กรมชลประทานดังนี้ อยากให้ขยายระบบ ส่งน้ำอ่างเก็บน้ำบ้านนาแก ระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำเหล่าใหญ่ ประตูระบายน้ำบ้านโนนแต้ ประตูระบายน้ำบ้านโนนสงเปลือย ประตูระบายน้ำบ้านโนนพันชาติ สถานีสูบน้ำไฟฟ้า พร้อมระบบส่งน้ำบ้านเก่าย่าดี สถานีสูบน้ำด้วยระบบไฟฟ้าบ้านนาหนองทุ่ม สถานีสูบน้ำ ไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านหนองรวก สถานีสูบน้ำบ้านโคกก่องไปบ้านโนนทอง สถานีสูบน้ำ ไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำไปบ้านดอนไข่ผำ สถานีสูบน้ำไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านยางหวาย สถานีสูบน้ำบ้านดอนหัน สถานีสูบน้ำบ้านโนนทอง สถานีสูบน้ำบ้านหนองมะกรูด สถานี สูบน้ำบ้านโนนแต้ไปบ้านโคกก่อง สถานีสูบน้ำไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำไปบ้านโนนพันชาติ แก้มลิงหนองน้ำขุ่นพร้อมอาคารประกอบ แก้มลิงหนองแสงพร้อมอาคารประกอบ แก้มลิง หนองทอนพร้อมอาคารประกอบ แก้มลิงหนองอ้อท่าแหพร้อมอาคารประกอบ สุดท้าย แก้มลิงโคกหนองแต้พร้อมอาคารประกอบ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านอภิชาติ แก้วโกศล ครับ
จ่าอากาศเอก อภิชาติ แก้วโกศล เพชรบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ผม จ่าอากาศเอก อภิชาติ แก้วโกศล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี พรรครวมไทย สร้างชาติ ผมขอนำเรื่องปรึกษาหารือดังนี้ การละเล่นหรือการแข่งขันกีฬาวัวลาน ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นที่มีมาอย่างยาวนานและเป็นที่นิยมมากในจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี
จ่าอากาศเอก อภิชาติ แก้วโกศล เพชรบุรี ต้นฉบับ
ซึ่งการละเล่นหรือการแข่งขัน กีฬาวัวลานนั้นเป็นการส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการค้าการขายให้กับผู้เลี้ยงวัวลาน สร้างธุรกิจ ให้กับท้องถิ่นนั้น ๆ และที่สำคัญส่งเสริมการท่องเที่ยว ของประเทศไทย ที่ผ่านมามีชาวต่างชาติ ได้มาชมการแข่งขันวัวลานนำไปเผยแพร่ แต่การแข่งขันวัวลานนั้นอดีตจนถึงปัจจุบันจะทำ การเล่นหรือการแข่งขันตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป จะทำการแข่งขันจนไปถึงหมด การแข่งขัน แต่การแข่งขันนั้นขัดกับระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ปี ๒๕๐๓ ฉบับที่ ๑๓ ผมอยากให้ท่านประธานสภาตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาเรื่องดังกล่าวเพื่อที่จะแก้ไขปรับปรุง กฎ ระเบียบของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้กีฬาวัวลานปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบ ตามข้อกฎหมายต่อไป เพื่อเป็นการส่งเสริมประเพณีอันดีงามนะครับ ขอบพระคุณ ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านภราดร ปริศนานันทกุล ครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ภราดร ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง พรรคภูมิใจไทย
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เรื่องแรก ขอหารือกับท่านประธาน เนื่องจากว่าได้มีการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนที่ตำบลโรงช้าง เรื่องถนนเชื่อมต่อเข้า หมู่บ้านจากถนนสายใหญ่คือสายทางหลวงหมายเลข ๓๓ บริเวณหมู่ที่ ๓ ตำบลโรงช้าง บริเวณแถวซอยโรงช้าง ซอย ๔ ตามภาพที่ปรากฏเชื่อมต่อกับถนนใหญ่ แล้วทำงานยังไม่ค่อย เรียบร้อยครับ กรมทางหลวงได้ดำเนินการแก้ไขไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ว่าก็ยังไม่เรียบร้อย สักเท่าไร ก็อยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ไขดำเนินการอีกครั้งหนึ่งนะครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องของเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่ตำบลบางเสด็จ เขื่อนตัวนี้ มีความยาวหลายกิโลเมตรจากสะพานอำเภอป่าโมกไปจนกระทั่งถึงวัดสระแก้ว ตำบล บางเสด็จ ปัญหาก็คือว่าได้รับแจ้งจากท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลว่ามีการปรับลด เนื้องานลง โดยเอาถนน ค.ส.ล. ที่อยู่หลังเขื่อน แล้วก็เอาสถานีสูบน้ำออกไป สถานีสูบน้ำเดิม ในแบบนี้มีอยู่ ๕ ตัวด้วยกัน แต่ว่าถูกตัดออกไปเหลืออยู่ ๒ ตัว ทำให้พี่น้องประชาชนได้รับ ความเดือดร้อนในกรณีที่ฝนตกแล้วน้ำท่วมไม่สามารถที่จะระบายออกได้ จึงขอไปทาง กรมโยธาธิการและผังเมืองให้ช่วยเพิ่มเติมงบประมาณ เพราะว่าได้ถูกปรับลดงบประมาณลงไป ก็ขอให้เพิ่มเติมงบประมาณในส่วนของสถานีสูบน้ำกับถนน ค.ส.ล. หลังเขื่อนครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ อาคารโรงเรียนตันติวิทยาภูมิ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ เป็นโรงเรียนประจำอำเภอ ห้องเรียนไม่เพียงพอสำหรับ นักเรียน ก็ขอให้กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการสร้างอาคารเรียน หลังใหม่ให้กับโรงเรียนแห่งนี้ครับ ทราบว่าขณะนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณ ไปแล้วในปี ๒๕๖๗ แล้วกำลังอยู่ในขั้นการพิจารณาของสำนักงบประมาณ ก็ฝากสำนัก งบประมาณด้วย
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ และเรื่องที่ ๕ เป็นเรื่องถนนของทางหลวงหมายเลข ๓๔๕๔ ขณะนี้ทางหลวงได้ขยายไปช่วงหนึ่งแล้ว เหลืออีกช่วงหนึ่งที่จะดำเนินการขยายต่อก็ขอให้ ทางหลวงดำเนินการต่อ ถนนหมายเลข ทช.๔๐๐๗ เช่นเดียวกันได้ขยายไปบางส่วนแล้ว ก็เหลืออีกบางส่วน อยากจะให้กรมทางหลวงชนบทได้จัดสรรงบประมาณเพื่อที่จะให้ ดำเนินการต่อด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านพิพิธ รัตนรักษ์ ครับ
นายพิพิธ รัตนรักษ์ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพิพิธ รัตนรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๒ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พรรครวมไทย สร้างชาติ กระผมขออนุญาตหารือท่านประธานสภาที่เคารพติดตามถึงความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนของอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๒ ประเด็นปัญหา อยู่ที่ว่าโรงพยาบาลอำเภอกาญจนดิษฐ์เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพี่น้องประชาชนมาใช้บริการของรัฐบาลมากมาย เฉพาะอำเภอ กาญจนดิษฐ์นั้นถือว่าเป็นพื้นที่อำเภอใหญ่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเด็นปัญหาคือ โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ปัจจุบันรองรับผู้ป่วยในขนาด ๑๒๐ เตียงต่อวัน แต่ปัจจุบัน มีผู้มาใช้บริการจริงขนาด ๑๕๐ เตียงต่อวัน ประเด็นปัญหาคือการดูแลรักษาพยาบาล ของผู้ป่วยไม่เพียงพอกับความต้องการของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ผู้มาใช้บริการ ในแต่ละวัน เรื่องดังกล่าวกระผมได้รับทราบจากท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาล จากท่าน สส. ธานินท์ นวลวัฒน์ กระผมได้ลงไปพื้นที่จริง ได้ไปดูโรงพยาบาล เรื่องดังกล่าว กระผมได้เคยหารือในที่ประชุมสภาแห่งนี้ครั้งหนึ่งแล้วครับ กระผมมีความจำเป็นที่จะต้อง ติดตามอีกครั้งหนึ่ง เพราะถือว่าเป็นเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน เพื่อต้องการ แก้ไขปรับปรุงถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน กระผมจึงขอความอนุเคราะห์ไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยบรรเทาทุกข์แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน เพราะปัญหาดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นปัญหาที่เปรียบเสมือนสะพานบุญได้รักษาผู้ป่วยให้กับ พี่น้องประชาชนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ท้ายสุดนี้กระผมขอฝากอ่าวไทยไว้ว่าในอ้อมใจ ของพี่น้องชาวไทยด้วยครับ ท่านประธานครับ ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอนุรัตน์ ตันบรรจง ครับ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง พะเยา ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อนุรัตน์ ตันบรรจง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขต ๒ พรรคพลังประชารัฐ วันนี้จะขอหารือกับท่านประธาน ๑ เรื่อง ผมได้รับการประสานงานมาจากท่านบุญสินธ์ มังคลาด สจ. ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เรื่องความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ทุ่งลอ กลุ่มทุ่งลอนั้นประกอบไปด้วย ๔ ตำบล ๑. ตำบลทุ่งรวงทอง ๒. ตำบลอ่างทอง ๓. ตำบลน้ำแวน ๔. ตำบลเชียงบาน ทั้ง ๔ ตำบลมีพื้นที่ในการปลูกข้าวมากกว่า ๒๐,๐๐๐ ไร่ เรียกว่าทุ่งลอ เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิของจังหวัดพะเยา ซึ่งข้าวหอมมะลิของจังหวัด พะเยานั้นเป็น Soft Power ปัญหาคือต้องการสูบน้ำจากแม่น้ำอิงเพื่อผันน้ำเข้าสู่ที่นา แต่เมื่อเกิดภัยแล้งลำน้ำอิงนั้นตื้นเขินจึงไม่สามารถสูบน้ำเข้าที่นาของเกษตรกรได้ทั่วถึง เพราะมีที่นาจำนวนกว่า ๒๐,๐๐๐ ไร่ จึงขอหารือท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงเกษตร และสหกรณ์เรื่องของบประมาณสนับสนุนเครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้า รวมถึงเรื่องระบบ การวางท่อน้ำให้ครอบคลุมที่นากว่า ๒๐,๐๐๐ ไร่ เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้รับ การจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านเฉลิมพงศ์ แสงดี ครับ
นายเฉลิมพงศ์ แสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายเฉลิมพงศ์ แสงดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๒ พรรคก้าวไกล ขอนำเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนมาหารือต่อท่านประธาน
นายเฉลิมพงศ์ แสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรื่องแรก ประชาชนในพื้นที่ได้รับ ความเดือดร้อนจากการใช้รถใช้ถนนสายกะรน-ป่าตอง และมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย จากปัญหาหินก้อนใหญ่ เนื่องจากฝนตกหนักทำให้หน้าดินเกิดการทรุดตัวส่งผลให้เสาไฟฟ้า ล้มทับถนน ตอนนี้แม้ว่าจะมีเครื่องจักรขนาดใหญ่จากสำนักงานทางหลวงที่ ๑๗ กระบี่ เข้ามาในการขุดเจาะหินเพื่อ Clear ในพื้นที่ ซึ่งต้องขอขอบคุณนายยุทธนา พิทักษ์ ผอ. แขวงทางหลวงภูเก็ต ที่ไม่นิ่งนอนใจต่อความเดือดร้อนของประชาชน แต่ขอให้รีบเร่ง อย่างเร็วที่สุด เพราะหน้า High Season กำลังจะมาถึง ไม่อยากให้เกิดอันตรายต่อประชาชน และนักท่องเที่ยว ฝากท่านประธานหารือไปยังกระทรวงคมนาคมครับ
นายเฉลิมพงศ์ แสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ประเด็นความเสียหายของทรัพยากรทางทะเล ท่านประธาน เคยได้ยินบ้างไหมครับ ไม่ว่าจะเป็นการเหยียบย่ำปะการัง การจับสัตว์น้ำในแนวปะการัง มาถ่ายรูป ซึ่งมักจะเกิดขึ้นทุก ๆ ปีในแถบอันดามันและอ่าวไทย เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ต่อทรัพยากรทางทะเล เราต้องร่วมกันอนุรักษ์เพื่อคืนความสมบูรณ์และสมดุลของระบบนิเวศ สร้างความยั่งยืนแก่ท้องทะเล โดยขอฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประชาสัมพันธ์ ถึงมาตรการต่าง ๆ การให้ความรู้ รวมถึงบทลงโทษให้กับผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว รับทราบและพึงปฏิบัติ ฝากท่านประธานหารือไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมครับ
นายเฉลิมพงศ์ แสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ในพื้นที่หาดฟรีด้อม ตำบลกะรน จังหวัดภูเก็ต มีบุคคลแอบอ้าง เป็นเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ได้ทำการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้ชื่อร้านวิสาหกิจ กรมป่าไม้ และยังมีการทำร่ม เตียงให้กับนักท่องเที่ยวเช่า รายได้เหล่านั้นได้ส่งไปที่ กรมป่าไม้หรือไม่ ก่อนหน้านี้เคยพูดว่าพื้นที่ชายหาดให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้ขอสอบถามว่าโครงการป่าสันทนาการจะเริ่มดำเนินการเมื่อไร ฝากอธิบดี กรมป่าไม้ช่วยลงมาดำเนินการตรวจสอบ และฝากท่านประธานหารือไปยังกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านรอมฎอน ปันจอร์ ครับ
นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขออนุญาตใช้เวลาหารือ ท่านประธานด้วยการใช้โอกาสนี้ในการรำลึกถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรมตากใบ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ หรือว่าเมื่อ ๑๙ ปีที่แล้ว ผมต้องใช้เวลาตรงนี้เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์นั้น เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ ผู้คนตายไป ๘๕ คน ผู้คนถูกจับกุมคุมตัว ๑,๓๗๐ กว่าคน มีผู้สูญหายไป ๗ คน ตลอดเกือบ ๒๐ ปีที่ผ่านมาหนึ่งในเรื่องที่เป็นการทวงถามมาตลอดคือการนำคนที่ต้อง รับผิดชอบมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมครับ การสลายการชุมนุมในวันนั้นสร้างปม บาดแผลในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือว่า ปาตานี ทำให้คนกังขาว่าอำนาจรัฐจะมีความชอบธรรมในการปกครองผู้คนอย่างเป็นสุข ได้อย่างไร มีความทรงจำร่วม มีความทรงจำเป็นบาดแผลที่ติดต่อต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ความยุติธรรมยังเป็นเรื่องที่ต้องทวงถามครับ อย่างวันนี้ผมใช้เวลาในที่นี้ไปพร้อม ๆ กับ กิจกรรมที่เกิดขึ้นในอำเภอตากใบ หลายจุดมีวงคุย มีการรำลึกถึงเหตุการณ์นี้ และมีการเริ่ม นับถอยหลังกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะว่าถ้านับจากวันนี้เป็นต้นไปเราจะเหลือ เวลาอีก ๑ ปี สำหรับโอกาสที่กระบวนการยุติธรรมไทยจะสามารถอำนวยความยุติธรรม ให้ความเป็นจริง หาคนผิดมาลงโทษ หาคนมารับผิดชอบต่อเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ นี่คือโอกาสสำคัญที่จะเหลืออยู่ใน ๓๖๐ กว่าวันที่เหลือ วันนี้ผมขออนุญาตให้เพื่อน ๆ จากพรรคก้าวไกลได้ส่งข้อความนี้ร่วมกับพี่น้องประชาชนที่เห็นอกเห็นใจนี้ ไม่ใช่แค่ คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมเชื่อว่าโศกนาฏกรรมแบบนี้คนไทยทั้งประเทศก็ไม่อยาก ให้เห็นนะครับ ผมขอใช้โอกาสนี้ร่วมนับถอยหลังไปด้วยกันกับทุกท่าน ขอบพระคุณครับ ท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านศรัณย์ ทิมสุวรรณ ครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย วันนี้มีเรื่องหารือกับ ท่านประธาน ๓ เรื่อง
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรื่องแรก เป็นเรื่องถนนที่ได้รับการร้องเรียนจากท่านมนูญ บุตตะนาม นายก อบต. ตำบลภูหอ ว่าถนนหมายเลข ๒๐๑๖ ของทางหลวงที่ผ่านระหว่างบ้านหนองบัว และบ้านศรีอุบล อำเภอภูหลวง ทุกครั้งที่ฝนตกน้ำจะไหลเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน เพราะว่าถนนนั้นไม่มีรางระบายน้ำซึ่งก่อให้เกิดความลำบากและก่อให้เกิดอุบัติเหตุ อยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย เรื่องถนนอีกเส้นหนึ่งได้รับ การร้องเรียนจากท่าน สจ. ลำดวน ผางทุม ซึ่งเป็นถนนของทาง อบจ. เลย ระหว่าง บ้านขัวแตะ ตำบลหนองหญ้าปล้อง ถึงบ้านโคกแฝก ตำบลผาน้อย ซึ่งถนนดังกล่าว ทาง อบจ. ก็พยายามดูแลอย่างเต็มที่ แต่เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวหรือก่อนถึงฤดูเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมามีฝนตกเป็นปริมาณมากทำให้ไม่สามารถดูแลได้อย่างเต็มที่ จึงร้องขอ กรมส่งเสริมช่วยเข้ามาดูแลเรื่องงบประมาณอาจจะเป็นการซ่อมฉุกเฉินหรืออย่างไรก็ตาม ขอให้ ช่วยเข้ามาแก้ไขปัญหาเนื่องจากใกล้ฤดูเก็บเกี่ยวแล้วชาวบ้านจำเป็นต้องใช้ถนนเส้นนี้จึงต้อง ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องของตลิ่ง ได้รับการร้องเรียนจากท่าน สจ. เกรียงไกร กลิ่นจันทร์ สจ. ของอำเภอภูหลวง ผมเคยหารือหลายครั้งว่าตลิ่งของแม่น้ำเลยเวลาที่น้ำเยอะ จะเกิดการกัดเซาะแล้วมันก็ใกล้บ้านเรือนชาวบ้าน ใกล้วัด โดยเฉพาะในบ้านห้วยหอม ในบ้านหนองคัน และบ้านฟากเลยบริเวณใกล้วัดสันติธรรมาราม ทั้งหมดตอนนี้อันตรายมาก และชาวบ้านหลายคน ประชาชนต้องย้ายที่อยู่ เพราะกลัวว่าดินจะถล่มตอนที่นอนอยู่ในบ้าน ก็ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย เป็นเรื่องของสำนักสงฆ์และที่พักสงฆ์ที่ในขณะนี้ยังไม่สามารถ ขอการตั้งวัดได้ซึ่งมีจำนวนมาก ชาวบ้านและผู้นำก็จึงขอให้มีการขยายเวลาในการขออนุญาต ตั้งวัดเพื่อให้แก้ปัญหาดังกล่าว เพราะเนื่องจากสถานที่เหล่านี้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน แต่ยังขาดการพัฒนาและดูแล ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เดี๋ยวผมจะอ่านรายชื่อสมาชิกที่ข้ามไปในรอบแรก ถ้าท่านอยู่นี่จะเป็นรอบสุดท้าย ที่ได้หารือ ท่านแรกท่านปรเมษฐ์ จินา เรียนเชิญครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอหารือนำเรียน ผ่านท่านประธานไป ๓ เรื่อง
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องแรก ก็คงจะเป็นปัญหาเร่งด่วน แล้วก็เป็นปัญหาเรื้อรัง แล้วก็ได้พูดคุยกัน เมื่อวานในส่วนของคณะกรรมาธิการชุดที่ ๒๕ เขาได้สรุปผลการศึกษาแล้วก็แนวทางออกมา เรียบร้อยแล้วนั่นก็คือในเรื่องของการแก้ปัญหาช้างป่า เนื่องจากว่าที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวานซืนผู้ใหญ่บ้านนำทีมไปขับไล่ช้างป่าเพื่อไม่ให้เข้ามาทำร้ายพี่น้องประชาชน แล้วก็ ที่สำคัญที่สุดก็คือมาใกล้โรงเรียน ก่อนหน้านี้นายพรานที่ไปสำรวจเส้นทางเพื่อให้ประชาชน หนีช้างก็โดนช้างกระทืบเสียชีวิต แล้วเมื่อวานซืนผู้ใหญ่บ้านก็โดนกระทืบเสียชีวิต ณ วันนี้ใกล้เข้ามาที่โรงเรียนก็เลยเป็นปัญหาที่อยากจะให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ สภาผู้แทนราษฎรเรานำข้อศึกษาที่ได้ทำมาแล้วยื่นให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งไปดำเนินการ อาจจะต้องใช้งบกลางเป็นการเร่งด่วนก่อนที่จะเหยียบนักเรียน เพราะว่าในส่วนของอำเภอท่าชนะ เดิมทีที่ผมเสนอปัญหามีช้างแค่ ๔ เชือก ณ วันนี้ ๕๐ เชือก อันนี้เป็นเรื่องที่ ๑
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นปัญหาที่เกิดจากการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อวานทางนายกสมาคมแล้วก็ตัวแทนสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ก็ได้มาพูดคุยเพื่อที่จะให้ปลดล็อก ๒-๓ ประเด็น ประเด็นแรกก็คือในเรื่องของวิธีการจัดซื้อ จัดจ้าง เนื่องจากว่าช่วงที่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านหรือว่าช่วงที่ผ่านมาวิกฤติโควิดก็ใช้วิธีพิเศษ เพื่อให้ผู้บริหารได้ตอบโจทย์แล้วก็พัฒนาพื้นที่ได้เร็วขึ้นนะครับ แล้วช่วงเปลี่ยนรัฐบาล ก็เช่นกันมองว่างบประมาณปี ๒๕๖๗ ก่อนที่จะปล่อยได้ก็เกือบครึ่งปี ก็อยากจะให้มีการใช้ วิธีพิเศษในการแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ก็คงจะเป็นเรื่องของขอให้ท่านประธานได้นำเรียนหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เร่งรัดในเรื่อง ของการที่จะจัดสรรที่ดินให้กับพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางสวรรค์ เนื่องจากว่า หมดสัมปทาน รอนิดเดียวก็คือรอให้ทาง คทช. จังหวัดประกาศ ๑ เดือน แล้วหลังจากนั้น สามารถที่จะลงไปรังวัดแล้วก็จัดสรรให้ชาวบ้านได้ ขั้นตอนตรงนี้มันล่าช้า ก็เลยอยากจะให้มี การเร่งรัดดำเนินการโดยเร่งด่วน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านทศพร เสรีรักษ์ ครับ
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ เรื่องที่อยากจะหารือท่านประธานก็คือเรื่องของการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งมีญัตติเข้าไปค้างอยู่มากมายที่จะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา เรื่องนั้นเรื่องนี้ ประเด็นที่ ๑ ก็คือมีความซ้ำซ้อนหรือไม่ เพราะคณะกรรมาธิการสามัญ เราก็มีอยู่ตั้ง ๓๕ คณะแล้ว ประเด็นที่ ๒ ใช้งบประมาณเกินไปหรือเปล่า ในการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญแต่ละชุด ๆ ส่วนใหญ่เราจะนิยมตั้งกัน ๓๕ คน แล้วก็ใช้เวลา ในการศึกษา ๙๐ วัน การประชุมแต่ละวันใช้เงินทั้งเบี้ยประชุม ทั้งค่าอาหาร ทั้งค่าเครื่องดื่ม ประมาณ ๘๐,๐๐๐-๙๐,๐๐๐ บาท เดือนหนึ่ง ๔ สัปดาห์ก็ใช้เงินประมาณ ๓๕๐,๐๐๐ บาท กว่าจะเสร็จ ๙๐ วันใช้เงินคณะละไม่ต่ำกว่า ๑ ล้านบาท แล้วถ้าศึกษาไม่เสร็จก็ยังสามารถ ต่อเวลาได้อีก มันก็ใช้เงินหลาย ๆ ล้านบาท พอได้ผลออกมานี้ส่งไปให้รัฐบาลก็ยังไม่รู้ว่า รัฐบาลจะทำได้หรือไม่ได้ การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญส่วนใหญ่ก็ใช้เวลาที่ซ้ำซ้อน กับคณะกรรมาธิการสามัญ เราจะเห็นได้ว่าห้องประชุมคณะกรรมาธิการทั้งสามัญ ทั้งวิสามัญ ส่วนใหญ่จะไม่มีกรรมาธิการนั่งได้เต็มคณะ ถ้านับองค์จริง ๆ บางครั้งน่าจะมีการล่ม บ่อย ๆ ถ้าจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญผมเสนอทางแก้ก็คือดูว่าถ้าเรื่องมันอยู่ใน คณะกรรมาธิการสามัญก็ส่งให้คณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาดีกว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญ ถ้าท่านทำไม่ไหวก็ตั้งคณะอนุกรรมาธิการขึ้นมา ถ้าตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจริง ๆ กำหนดไปเลยได้ไหมว่าให้ประชุมในวันศุกร์หรือออกกฎออกระเบียบมาว่าห้ามกรรมาธิการ ประชุมซ้ำซ้อนหลาย ๆ คณะในเวลาเดียวกัน
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ อาหารของสภาทุกวันพุธ วันพฤหัสบดี ยังเหลือเฟือ ผมยังต้องเอาไปแจกคนไร้บ้านอยู่เป็นประจำ ฝากท่านประธานพิจารณา ทำอย่างไรที่จะประหยัดงบประมาณแผ่นดิน จะให้ผมเข้าไปช่วยให้ความเห็นก็ได้
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
สุดท้าย ผมหารือจบแล้ว แต่จะขอบคุณท่านประธานตรงนี้ก็คือ เรื่องที่เคยหารือไว้เมื่อเดือนก่อนสี่แยกประชานุกูลว่ามีการแบ่งช่องจราจรไม่เหมาะสม พอหารือท่านประธานไปแล้วปรากฏว่า สน. ประชาชื่น กทม. มาแก้ไขเรื่องการแบ่ง Lane เรียบร้อย ทำให้รถหายติดไปแล้ว ก็อยากจะขอบคุณท่านประธานว่านี่คือเรื่องดี ๆ ของระบอบประชาธิปไตยที่เราเอาเรื่องมาพูดกันในสภาแล้วสามารถทำให้เกิดประโยชน์ กับประชาชนได้ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ เชิญท่านเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร ธนบุรี คลองสาน บางปะกอก พรรคก้าวไกล ผมขอนำเรื่องร้องเรียนของประชาชน ที่ร้องเรียนมาหาผมในช่องทางมากมายทั้งเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว Facebook แล้วก็ Traffy Fondue ในระบบทำงานของผมนะครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องแรก ตลาดนัดในแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี มีการจัด Concert อยู่บ่อยครั้ง ชาวบ้านอยู่คอนโดมิเนียมแถวนั้นก็ได้ร้องเรียนมาว่าเสียงดังมากนอนไม่ได้ เข้าใจว่า Promote ตลาดใหม่ วันนี้ผมเลย Promote ให้ไปเที่ยวกันเยอะ ๆ ไม่ต้องจัด Concert บ่อย ๆ ก็ได้ครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ปัญหาการจอดรถกีดขวางของทั้งแท็กซี่ รถสาธารณะ แล้วก็รถทัวร์ ซึ่งเกิดขึ้นหน้าห้างไอคอนสยาม เขตคลองสาน อย่างไรฝากตำรวจ สน. ในพื้นที่ช่วยไปจัดการด้วย รวมถึงปัญหาเดียวกันในบริเวณปากซอยเทอดไท ๓๐ ตรงตลาดพลูที่มีการจอดแช่ของ รถกระป๋อง อย่างไรฝากช่วยจัดระเบียบการจราจรตรงนั้นด้วย
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ นางสาวฝอยทองป่วยเป็นอัมพฤกษ์อาศัยอยู่ในซอยเชียงใหม่ เขตคลองสาน แต่น่าเศร้าไม่สามารถมีบัตรผู้พิการได้หรือรับสิทธิอะไรได้เลย เพราะตกสำรวจ ตามการสำรวจ พ.ศ. ๒๕๐๐ อย่างไรฝากกรมการปกครองช่วยเร่งให้ด้วยนะครับ อายุ ๗๐ ปี อยู่ในเพิงอนาถาอย่างยิ่ง
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ การพนัน ร้องเรียนจากพ่อแม่พี่น้องแขวงตลาดพลู แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี ถึงการเข้ามาของผู้มีอิทธิพล แล้วก็เปิดบ่อนการพนันอย่างโจ๋งครึ่ม จับยี่กีเอย อะไรเอย ผมลงพื้นที่ผมยังเห็นเลยครับ ผมว่าตำรวจไม่เห็นเป็นไปไม่ได้นะครับ อย่างไร กวดขันกันนิดหนึ่ง
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ ขอติดตามเรื่องที่ได้หารือไป ประชาชนผู้ร้องเรียนยังคงส่งมาให้ผม ทั้งวันทั้งคืน ทุกวันโทรศัพท์มาหาผมบ่นเรื่องโต๊ะสนุ๊กเกอร์ในซอยเจริญรัถ ๑๖/๑ เปิดเกินเวลา เปิด ๒๔ ชั่วโมงเสียงดัง รถมอเตอร์ไซค์จอดเต็ม รถ All-new จอดหน้าปากซอยเต็มไปหมด อย่างไรฝากตำรวจเข้าไปจัดการด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านเจษฎา ดนตรีเสนาะ ครับ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต ๒ พรรคก้าวไกล คนปทุมลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขออนุญาตขอ Slide ด้วยครับ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
จังหวัดปทุมธานีน้ำท่วมมาตั้งแต่ ปลายเดือนกันยายนจนถึงวันนี้วันที่ ๒๕ ตุลาคมก็ร่วม ๆ เดือนแล้ว บางพื้นที่ก็เกินเดือนแล้ว แต่ปรากฏว่ายังไม่มีประกาศเขตภัยพิบัติจากจังหวัดปทุมธานีเลย ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ยังไม่มี แล้วผมคิดว่ายังมีพื้นที่ตกที่ยังไม่ได้ประกาศเขตภัยพิบัติอีกหลายจังหวัด หลายพื้นที่ ทำไมผมต้องทวงถามเรื่องการประกาศเขตภัยพิบัติ เพราะว่าถ้าไม่มีประกาศเขตภัยพิบัติ มันจะมีผลกระทบต่อการจ่ายเงินเยียวยาหรือว่าการเยียวยาด้านอื่น ๆ ของหน่วยราชการ ที่จะมีให้กับประชาชนได้ การประกาศเขตเยียวยาผมอยากขอให้ประกาศอยู่ใน ๓ ข้อนี้
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ข้อ ๑ พื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำแล้วก็พื้นที่ที่เป็นทุ่งรับน้ำ ซึ่งอันนี้หน่วยราชการ ทราบแล้วว่าอยู่ในพื้นที่ใดบ้าง แล้วโดยส่วนใหญ่ก็จะประกาศในพื้นที่ข้อ ๑ แต่ข้อ ๒ ข้อ ๓ ส่วนใหญ่จะเป็นตกหล่นหรือไม่เคยประกาศเลยนะครับ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ข้อ ๒ พื้นที่ที่น้ำไหลผ่านจากการบริหารจัดการ เช่น คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองบางโพธิ์เหนือ คลองบางหลวง ๓ คลองนี้เป็นคลองที่หน่วยราชการใช้การผันน้ำ จากจุดหนึ่งมาลงแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ประชาชนที่อยู่ริมคลองก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ตกสำรวจเพราะหน่วยราชการมักจะบอกว่าอยู่หลังประตูระบายน้ำทำให้น้ำไม่ท่วมหรอก แต่ผิดครับ น้ำท่วมครับ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ข้อ ๓ พื้นที่พิเศษที่น้ำไม่มีทางออก ก็คือถ้าหากพื้นที่ของประชาชนท่านใด อยู่ในลักษณะที่ไม่มีท่อระบายน้ำ มีลักษณะเป็นแอ่ง เมื่อฝนตกมาไม่มีทางระบายน้ำก็ท่วมขัง มีกลิ่น มียุง เกิดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค ก็อยากฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานราชการ ช่วยดูแลเรื่องการประกาศเขตภัยพิบัติให้ประชาชนด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านสุดท้ายนะครับ ท่านชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว ไม่มีนะครับ ฉะนั้นผมขอปิด การหารือเท่านี้นะครับ สำหรับข้อหารือของเพื่อนสมาชิกในการที่ติดตามเรื่องราว ในการหารือตามข้อบังคับจะมีกำหนดเขียนไว้ชัดเจนว่าประธานสภาจะส่งเรื่องให้ นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องชี้แจงใน ๓๐ วัน และเมื่อครบ ๓๐ วันแล้วถ้ายัง ไม่ได้ทราบเรื่องอย่างไรหรือยังไม่มีการตอบรับ สมาชิกก็สามารถติดตามได้ที่ชั้น ๑๐ ศูนย์ประสานงานเรื่องราวร้องทุกข์และประสานงานการเมือง แต่ถ้าต้องการข้อผูกมัดในด้าน คำตอบที่ชัดเจนกว่านั้นผมแนะนำให้ทำเป็นกระทู้ถามแยกเฉพาะ หรือกระทู้ถามทั่วไป ให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา สมาชิกจะได้ความชัดเจนในโครงการต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งรัฐบาล ให้ความร่วมมือในการตอบกระทู้ถามอย่างดีครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ส่วนเรื่องข้อหารือของคุณหมอทศพร ตอนนี้ทางรองประธานท่านที่ ๒ ท่านพิเชษฐ์ได้มีการทบทวนในเรื่องของอาหารแล้วนะครับ คาดว่าจะมีมาตรการออกมา นำเสนอต่อเพื่อนสมาชิกเร็ว ๆ นี้ แล้วถ้าเพื่อนสมาชิกท่านใดมีข้อเสนอในการประหยัด อาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารของทั้งการประชุมเอง แล้วก็อาหารของคณะกรรมาธิการ ก็สามารถส่งความเห็นเข้ามาที่สำนักงานเลขาธิการได้ เราจะมีการปรับปรุงเรื่องนี้ให้ชัดเจน แล้วก็ประหยัดมากขึ้นนะครับ ส่วนวันประชุมคณะกรรมาธิการเดี๋ยวผมจะนำเสนอ ต่อท่านรองประธานพิเชษฐ์ต่อไปครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๗๐ คน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรียนสมาชิกครับ ขณะนี้มีสมาชิกมาลงชื่อประชุมแล้วจำนวน ๓๕๗ ท่าน ครบองค์ประชุม ผมขอเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ เชิญครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม ตามข้อ ๕๔ (๒) ขอให้นำวาระที่ ๕.๘ ขึ้นมาพิจารณาต่อจากวาระที่ ๕.๒ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ ตามข้อเสนอนี้เราดำเนินไปตามระเบียบวาระที่ ๒ ก่อน ๒.๑ ๒.๒ แล้วเท่าที่ทาง Whip หารือมาเราจะมีการเสนอชื่อกรรมการกองทุนด้วยในระเบียบวาระที่ ๗ ซึ่งเลื่อนเข้ามาก่อน ต่อด้วยเรื่องของการรับรอง แล้วก็ต่อด้วย ๕.๑ ๕.๒ ทางท่านศรัณย์เสนอ ๕.๘ ขึ้นมาต่อจาก ๕.๒ มีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ เราดำเนินการตามนี้นะครับ ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ซึ่งไม่ปรากฏในระเบียบวาระ มีทั้งหมด ๓ เรื่อง
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องแรก คือรับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไป ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามที่ท่านสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ได้มีหนังสือขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๐๑ (๓) ของรัฐธรรมนูญ ประกอบกับนายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับที่ ๑๕ ได้ลาออก จากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาตินั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีประกาศ สภาผู้แทนราษฎรประกาศให้ผู้มีชื่อในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรครวมไทยสร้างชาติ เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน ตามมาตรา ๑๐๕ (๒) ของรัฐธรรมนูญ คือนางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู เป็นลำดับที่ ๑๖ ของพรรครวมไทยสร้างชาติ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๑๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขอเชิญท่านศิริวรรณ ปราศจากศัตรู กรุณายืนขึ้นเพื่อกล่าวคำปฏิญาณตน โดยผมจะเป็นผู้กล่าวนำและโปรดระบุชื่อท่านด้วย ในตอนต้นนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
“ข้าพเจ้า นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้ และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ยินดีต้อนรับ เชิญนั่งครับ ดังนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปัจจุบันเท่าที่มีอยู่ และปฏิบัติหน้าที่ได้คือ ๔๙๙ ท่าน ครบองค์ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งคือ ๒๕๐ ท่าน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ รับทราบเรื่องข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๖ มีผลใช้บังคับตามที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๒๓ ในวันพุธที่ ๑๘ ตุลาคมที่ผ่านมา บัดนี้ข้อบังคับการประชุม ดังกล่าวได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๒๖๓ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ แล้ว ดังนั้นข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๖ จึงมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๖ จึงขอแจ้งให้ที่ประชุมทราบครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒.๑ รับทราบการพิจารณารายงานของวุฒิสภา
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามีหนังสือแจ้งว่าทางที่ประชุมวุฒิสภา ได้พิจารณารายงานตามระเบียบวาระ ๔ เรื่อง และเรื่องซึ่งไม่ปรากฏในระเบียบวาระ ๒ เรื่อง ดังนี้
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ การรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ การรับทราบรายงานผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน และรายงาน การประเมินผลค่าใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และรายงานสถานการณ์การทุจริตประเทศไทย ประจำงบปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ รายงานผลการปฏิบัติงาน กสทช. ประจำปี ๒๕๖๕ และรายงาน การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ประจำปี ๒๕๖๕
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ในการประชุมวันที่ ๑๖ และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ได้รับทราบรายงาน ๒ เรื่อง
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ปี ๒๕๖๕ และรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิรูปประเทศ ประจำปี ๒๕๖๕
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา ๒๗๐ ครั้งที่ ๑๘ (เดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๕) จึงขอแจ้งให้ที่ประชุมทราบครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒.๒ รับทราบร่างนโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗ และร่างแผนปฏิบัติการด้านการบริหารและพัฒนาชายแดนใต้ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ได้รับแจ้งจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติว่าพร้อมที่จะเข้ามา ชี้แจงต่อที่ประชุมในวันพรุ่งนี้คือวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ตุลาคม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรียนท่านสมาชิกก่อนที่ที่ประชุมจะมีการพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ผมขอปรึกษาที่ประชุม เพื่อจะขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ มาพิจารณาก่อนซึ่งจะใช้เวลาไม่มาก ที่ประชุม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
แต่งตั้งกรรมการกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ตามมาตรา ๘ แห่ง พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๖
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ตามที่มีคำสั่งรัฐสภาที่ ๑๔ ปี ๒๕๖๔ เรื่องการแต่งตั้งกรรมการกองทุนผู้เคย เป็นสมาชิกรัฐสภาในสัดส่วนได้มีการสิ้นสุดลง จำนวน ๕ ท่าน ดังนั้นผมจะขอดำเนินการ เพื่อที่ประชุมแต่งตั้งกรรมการกองทุนในสัดส่วนที่ขาดอยู่ ทาง Whip ทั้ง ๒ ฝ่ายพร้อม ขอเชิญสมาชิกเสนอชื่อกรรมการกองทุนในส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๕ ท่าน ตามจำนวนหรือสัดส่วนของแต่ละพรรคการเมืองและขอผู้รับรองตามข้อบังคับ สัดส่วนของกรรมการกองทุนเป็นดังนี้ครับ พรรคก้าวไกล ๒ ท่าน พรรคเพื่อไทย ๒ ท่าน และพรรคภูมิใจไทย ๑ ท่าน ขอเชิญพรรคก้าวไกลครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ เดี๋ยวผมขออนุญาตครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอเชิญท่านศรัณย์ครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอรายชื่อกรรมการ กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อผู้เคยเป็น สมาชิกรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๖ จำนวน ๕ ท่านที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสัดส่วน ของพรรคก้าวไกล ๒ ท่าน ๑. ท่านชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร ๒. ท่านทิพา ปวีณาเสถียร ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย ๒ ท่าน ๑. ท่านรังสรรค์ มณีรัตน์ ๒. ท่านพัฒนา สัพโส ในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย ๑ ท่าน ท่านอดิพงษ์ ฐิติพิทยา ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เป็นการรับรองทั้ง ๕ ชื่อของทุกพรรคการเมือง ตามนี้ไม่มีใครขัดข้องนะครับ เดี๋ยวเรา จะเสนออีก ๓ ท่านของผู้ที่เคยเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร ๓ ท่านก่อน แล้วทางเลขาธิการ จะอ่านในคราวเดียวกัน ขอเชิญสมาชิกเสนอกรรมการกองทุนในส่วนของผู้เคยเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๓ ท่าน และขอผู้รับรองตามข้อบังคับครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอรายชื่อกรรมการ กองทุนในสัดส่วนของผู้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๓ ท่าน ดังนี้ ๑. ท่านประกอบ รัตนพันธ์ ๒. ท่านรังสิมา รอดรัศมี ๓. ท่านชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้อง ทางฝ่ายเลขาธิการพร้อมไหมครับ ขอเชิญอ่านทั้ง ๘ รายชื่อ เริ่มจาก ทางกองทุนในสัดส่วนของผู้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนครับ
นายณัฏฐกฤษฎ์ วงศ์เจริญ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ปฏิบัติหน้าที่ แทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
รายชื่อกรรมการกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๖
นายณัฏฐกฤษฎ์ วงศ์เจริญ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ปฏิบัติหน้าที่ แทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๑. ในสัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๕ คน ๑. นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร ๒. นางทิพา ปวีณาเสถียร ๓. นายรังสรรค์ มณีรัตน์ ๔. นายพัฒนา สัพโส ๕. นายอดิพงษ์ ฐิติพิทยา
นายณัฏฐกฤษฎ์ วงศ์เจริญ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ปฏิบัติหน้าที่ แทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๒. ในสัดส่วนของผู้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๓ คน ๑. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๒. นางสาวรังสิมา รอดรัศมี ๓. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
สมาชิกตรวจสอบทั้ง ๘ รายชื่อ ถ้าไม่มีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่น ถือว่าที่ประชุมเห็นชอบ รายชื่อดังกล่าว เป็นอันว่าที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ปี ๒๕๕๖ มาตรา ๘ (๔) ในส่วนของ สภาผู้แทนราษฎรเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ เป็นอันสิ้นสุดระเบียบวาระที่ ๗
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ขออนุญาต หารือนิดเดียวก่อนจะเข้าสู่วาระครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญท่านณัฐวุฒิครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ผมขออนุญาตหารือท่านประธานนิดเดียวครับ ที่กระหืดกระหอบเนื่องจากว่าเมื่อสักครู่ ไฟเตือนการลงมติในทุกห้องการประชุมคณะกรรมาธิการหมดเลยครับ ฉะนั้นขณะนี้ กรรมาธิการทุกคนกำลังวิ่งลงมา เลยต้องขอความชัดเจนว่าตกลงเกิดอะไรขึ้น หรือว่า ซ้อมไว้ก่อนครับ เพราะว่าวันนี้น่าจะลงมติหลายรอบ ก็เลยต้องขอความชัดเจนจากทาง ฝ่ายเลขาคือท่านประธาน ผมเองมาจากห้อง ๓๐๕ เหนื่อยนะครับ เรามีภาวะที่เคยเป็น โรคหัวใจมาแล้ว ฉะนั้นต้องขออนุญาตว่าไม่ทดลอง เอาจริง ๆ ว่าตกลงเกิดอะไรขึ้นครับ ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรียนท่านณัฐวุฒิครับ คิดว่าเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดการกดสัญญาณ แล้วก็จะมีการลงมติ ในวาระที่ ๕ ซึ่งเป็นลำดับต่อมา เป็นความผิดพลาดนะครับ ขออภัยท่านสมาชิกด้วยครับ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ขออนุญาตค่ะ ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญครับ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ถ้าดูสถานการณ์ ในห้องประชุมขณะนี้ทางเพื่อน สส. วิ่งลงมาจากห้องกรรมาธิการกันด้วยความแตกตื่นเลยค่ะ เพราะว่าอย่างที่ทางสมาชิกบอกว่ามีการเตือนกันในห้องประชุมกรรมาธิการว่ามีออดลงมติ ดิฉันเองก็ขอให้ท่านประธานพูดให้ชัดเจนว่าตรงนี้เกิดความผิดพลาดจากทางส่วนไหน เพื่อเพื่อนที่วิ่งลงมาจะได้เข้าใจแล้วก็ไม่แตกตื่นกันอีกครั้งหนึ่งค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ไม่มีการลงมติในระเบียบวาระที่ ๓ นะครับ แล้วก็เป็นข้อผิดพลาด เดี๋ยวผมจะหาสาเหตุให้เจอ จะมีการลงมติในระเบียบวาระที่ ๕ แล้วก็เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เดี๋ยวจะรีบหาสาเหตุ ให้เจอ ท่านสมาชิกครับ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย เมื่อสักครู่เสียงที่เราปรึกษาหารือกัน ก็เบาด้วยนะคะ ท่านสมาชิกเข้ามายังแตกตื่นกันอยู่ ยังขอทราบว่าขณะนี้ไม่มีการลงมติใด ๆ เหตุที่เกิดขึ้นที่มีสัญญาณไฟเตือนคือความผิดพลาดทางเทคนิคของทางสภาเองนะคะ เป็นว่า เราเข้าใจตรงกัน ขอบคุณท่านประธานค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
สมาชิกที่เพิ่งเข้ามาครับ เราไม่มีการลงมติในระเบียบวาระนี้ เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ขออภัยสมาชิกด้วยนะครับ แต่เราคาดว่าจะมีการลงมติแน่นอนในระเบียบวาระที่ ๕ ก็ขอสมาชิกเตรียมตัวด้วย
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๓ รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ไม่มี
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๕.๑ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้ คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชน ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (นายพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นผู้เสนอ)
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม พริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมขออภิปรายในเช้าวันนี้เพื่อเสนอญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามกลไกของ พ.ร.บ. ประชามติ มาตรา ๙ (๔) แน่นอนว่าความสำเร็จของญัตตินี้ไม่สามารถรับประกัน ความสำเร็จในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ แต่ความสำเร็จของญัตตินี้จะเป็นกระดุม เม็ดแรกที่สำคัญในการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายดังกล่าว หลักการและเหตุผลของญัตติที่ผม และเพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกลเสนอในวันนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ องค์ประกอบหลัก ด้วยกัน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
องค์ประกอบที่ ๑ หลักการและเหตุผลว่าทำไมเราถึงเห็นความจำเป็น ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
องค์ประกอบที่ ๒ หลักการและเหตุผลว่าทำไมเราถึงมองว่ากระบวนการ ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นควรจะเริ่มต้นด้วยการทำประชามติ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
องค์ประกอบที่ ๓ หลักการและเหตุผลว่าทำไมเราถึงเสนอตัวคำถาม ประชามติให้เป็นไปตามคำถามที่ปรากฏอยู่ในตัวญัตติ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
องค์ประกอบที่ ๔ หลักการและเหตุผลว่าทำไมเราถึงเสนอเรื่องประชามติ ผ่านกลไกของสภาผู้แทนราษฎร
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขออนุญาตเริ่มต้นที่องค์ประกอบที่ ๑ หลักการและเหตุผลว่าทำไมเราถึงเห็น ความจำเป็นในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เรื่องนี้พรรคก้าวไกลคงไม่ต้องพูดยาวครับ เพราะพรรคก้าวไกลเรายืนยันมาตลอดว่าหากเราต้องการฟื้นฟูประชาธิปไตยและนำพา การเมืองไทยกลับสู่สภาวะปกติภารกิจหนึ่งที่ขาดหายไม่ได้คือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ที่เราใช้อยู่ปัจจุบันนั้นขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ทั้งในส่วนของที่มา กระบวนการ และเนื้อหา ในส่วนของที่มาครับ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นั้นไม่ได้ถูกขีดเขียนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในวงกว้าง แต่ถูกขีดเขียนโดยคนไม่กี่คน ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาโดยคณะรัฐประหาร ในส่วนของกระบวนการครับ แม้รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ จะมีการผ่านการทำประชามติในปี ๒๕๕๙ แต่ประชามติดังกล่าวก็ห่างเหินจากประชามติ ที่เสรีและเป็นธรรมตามมาตรฐานประชาธิปไตยสากล หลายคนที่ออกมารณรงค์คัดค้านนั้น ก็ถูกจับกุมดำเนินคดี ในส่วนของเนื้อหาครับ เราก็จะเห็นว่าธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นั้นยังมี เนื้อหาหลายส่วนที่ทำให้ประชาธิปไตยในประเทศเรายังคงมีความบกพร่อง หากจะพูดถึงโจทย์ของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เราก็จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นั้นมีการใช้ข้อความหลายส่วนที่ครอบคลุมและรัดกุมน้อยลงในการรับประกันสิทธิ และสวัสดิการขั้นพื้นฐานของพี่น้องประชาชน ในขณะที่มาตรา ๒๕ ของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ก็มีการไปเพิ่มเหตุผลหรือข้ออ้างเรื่องความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยที่รัฐสามารถ ตีความได้อย่างกว้างขวาง ก็นำมาใช้ในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชน หรือหากเรา จะมองไปถึงโจทย์ของการออกแบบสถาบันทางการเมืองให้มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เราก็จะค้นพบว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นั้นได้มีการขยายอำนาจของหลายสถาบันหรือกลไก ทางการเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่กลับสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่ง ทางการเมืองในการขัดขวางหรือบิดเบือนเจตนารมณ์ของพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นกลไก ของวุฒิสภา ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ หรือว่ายุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ดังนั้นในเมื่อ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นั้นมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตยทางด้านที่มา กระบวนการ และมีปัญหาในเชิงเนื้อหาสาระในหลายมาตราที่มีลักษณะพัวพันกัน เราเลย ต้องยืนยันว่าการแก้ไขรายมาตราเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาทั้งหมด แต่เราจำเป็นต้องมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ทั้งที่มา กระบวนการ และเนื้อหาผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยตรงทั้งหมด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
องค์ประกอบที่ ๒ นั่นก็คือหลักการและเหตุผลว่าทำไมเราถึงเสนอว่า กระบวนการในการจัดทำรัฐบาลฉบับใหม่นั้นควรจะเริ่มต้นด้วยการจัดทำประชามติ แม้พรรคก้าวไกลเรายันว่าเป้าหมายปลายทางที่เราต้องการเดินไปสู่นั้นคือการมีรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ที่จัดทำโดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่เราตระหนักดีว่าเป้าหมายนี้จะสำเร็จได้ ก็จำเป็นต้องผ่านหลายขั้นตอนที่ทุกฝ่ายนั้นมีส่วนร่วม หากเราจะดำเนินการตามกระบวนการ ที่ถูกกำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ แล้วก็คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ๔/๒๕๖๔ เราจำเป็นต้องจัดประชามติอย่างน้อย ๒ ครั้งด้วยกันครับ อย่างน้อย ๑ ครั้งก่อนที่เราจะมี สสร. มาดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วก็อีก ๑ ครั้งหลังจากที่ สสร. นั้นได้ ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของประชามติที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่ สสร. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ตรงนี้ไม่ได้มีข้อถกเถียงอะไรเท่าไรครับ เพราะเป็นการถามประชาชนอย่างตรงไปตรงมาว่าเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ สสร. ยกร่างขึ้นมาหรือไม่ ท่านประธานครับ แต่ในส่วนของประชามติก่อนที่จะมี สสร. ขึ้นมา ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ตรงนี้ต้องยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ ในสังคมว่าขั้นตอนต่าง ๆ นั้นจะต้องดำเนินการอย่างไร หรือจะต้องทำประชามติทั้งหมด กี่ครั้ง ๑ ครั้ง หรือ ๒ ครั้ง ก่อนจะมี สสร. ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในส่วนของพรรคก้าวไกลและเพื่อน ๆ สมาชิกรัฐสภาจากอีกหลายพรรค เราเคยยืนยันร่วมกันมาแล้วว่าในเชิงกฎหมายหากเราอยากให้มี สสร. เกิดขึ้นมา สิ่งที่เรา ต้องทำคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ เพื่อเพิ่มเรื่องกลไก สสร. เข้าไป โดยเริ่มต้นจาก การยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมนั้นเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เมื่อยื่นร่างเข้าไปแล้ว หากร่างดังกล่าวถูกพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาในทั้ง ๓ วาระ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕๖ (๘) ก็ได้กำหนดไว้อยู่แล้วว่า ในเมื่อการแก้ไขดังกล่าวนั้นเป็นการแก้ไข เกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราก็จำเป็นที่จะต้องมีการจัดประชามติหลังวาระ ๓ และก่อนทูลเกล้าฯ เพื่อขอความเห็นจากพี่น้องประชาชนโดยตรง ซึ่งพอเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้ เรามีประชามติทั้งหมด ๑ ครั้งก่อนมี สสร. ซึ่งก็ตรงกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ๔/๒๕๖๔ ที่บอกว่าเราต้องมีประชามติ ๑ ครั้งก่อนจะมี สสร. ท่านประธานครับ แต่หากเรียนตามตรง ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาทุกคนที่คิดแบบนี้หรือตีความคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเช่นนี้ หากเรา จำกันได้มีสมาชิกรัฐสภาบางส่วนที่กลับไปมองว่าประชามติที่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึงนั้นไม่ได้หมายถึงประชามติที่จะต้องเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติอยู่แล้วหลังจากร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญเรื่อง สสร. ผ่าน ๓ วาระของรัฐสภา แต่พวกเขากลับไปตีความว่าประชามติ ที่ศาลรัฐธรรมนูญหมายถึงนั้นคือประชามติที่ต้องเพิ่มเข้าไปอีก ๑ ครั้งก่อนจะมีการเสนอ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใด ๆ ก็ตามเข้าสู่รัฐสภา ซึ่งหากจะตีความกันแบบนั้นก็จะทำให้เรา ต้องเพิ่มจำนวนประชามติที่ต้องจัดก่อนมี สสร. เพิ่มจาก ๑ ครั้ง ขึ้นมาเป็น ๒ ครั้ง ดังนั้น ภายใต้ความเห็นที่แตกต่างกันว่าจะต้องทำประชามติกี่ครั้งก่อนจะมี สสร. แม้ในเชิงกฎหมาย ทางเราก็ยังคงยืนยันเหมือนเดิมว่าการทำประชามติแค่ ๑ ครั้งก่อนมี สสร. นั้นเพียงพอแล้ว แต่ในเชิงการเมืองเรายอมรับได้หากจะต้องทำประชามติเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ ครั้ง รวมเป็น ๒ ครั้ง ก่อนจะมี สสร.
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ท่านพริษฐ์ครับ รบกวน Break สักครู่ สมาชิกครับ ผมขอความสงบในที่ประชุมด้วย ตอนนี้ ผมไม่สามารถรับฟังญัตติของเพื่อนสมาชิกได้ชัดเจน ขอความสงบในห้องประชุมด้วยครับ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญต่อครับ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในเชิงการเมืองเรายอมรับได้ หากมีความจำเป็นต้องทำประชามติเพิ่มขึ้นมาจาก ๑ ครั้ง มาเป็น ๒ ครั้ง ก่อนจะมี สสร. ที่ผมพูดแบบนี้ครับท่านประธาน ก็เพราะตระหนักดีว่าหากเรายังคงยืนยันมุมมองทางกฎหมาย แบบเรา และเดินหน้าต่อไปในการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ สสร. เข้าสู่สภาเลย ก็อาจจะมีสมาชิกรัฐสภาบางส่วนที่ใช้อำนาจตนเองในการปัดตกร่างดังกล่าว เหมือนกับที่ พวกเขาเคยอ้างตอนปัดตกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ สสร. เมื่อเดือนมีนาคม ปี ๒๕๖๔ ด้วยการอ้างว่าต้องมีการทำประชามติ ๑ ครั้งก่อนจะเสนอร่างเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา แต่ในทางกลับกันหากเรายอมจัดประชามติเพิ่มขึ้นมา ๑ ครั้งก่อนจะเสนอร่างเกี่ยวกับ สสร. เข้าสู่สภา ประชามติดังกล่าวจะไม่เพียงแต่จะเป็นวิธีที่ตรงไปตรงมาในการสอบถามพี่น้อง ประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุดในประเทศว่าพวกเขาอยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ แต่หากประชาชนลงมติเห็นชอบกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผลของประชามติดังกล่าว นั่นจะเป็นหลักประกันที่ทำให้ไม่มีสมาชิกรัฐสภาคนไหนมีเหตุผลหรือข้ออ้างใด ๆ ในการปัดตก เจตจำนงของพี่น้องประชาชน ตรงนี้เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมวันนี้พรรคก้าวไกลเราถึงเสนอ ให้ริเริ่มกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยการจัดทำประชามติเป็นลำดับแรก
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
องค์ประกอบที่ ๓ หลักการและเหตุผลว่าทำไมเราถึงเสนอตัวคำถาม ประชามติให้เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในญัตติ แม้ในอนาคตวันหนึ่งหลายพรรคอาจจะเห็น ตรงกันว่าเราต้องเดินหน้าด้วยการจัดทำประชามติ ท่านประธานครับ แต่ปิศาจอยู่ใน รายละเอียดเสมอ และรายละเอียดที่สำคัญของการจัดทำประชามติทุกครั้งคือตัวคำถาม ที่จะถูกถามในประชามติ ซึ่งเราเสนอในวันนี้ว่าควรเป็นคำถามที่ใช้ข้อความว่าท่านเห็นชอบ หรือไม่ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับแทนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ของพี่น้องประชาชน เหตุผลที่เราเสนอคำถามนี้มีทั้งหมด ๓ ประการด้วยกัน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุผลประการที่ ๑ คำถามประชามติที่เราเสนอนั้นเป็นการถามประชาชน ถึงหลักการสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผมตระหนักดีว่าเราคง ไม่สามารถถามรายละเอียดทั้งหมดผ่านคูหาประชามติโดยตรงกับพี่น้องประชาชนได้ แต่เกณฑ์ที่เราควรจะยึดถือนั่นก็คืออะไรก็ตามที่เป็นหลักการสำคัญที่เราอยากให้ การตัดสินใจอยู่ในมือของพี่น้องประชาชนโดยตรง สิ่งเหล่านั้นก็ควรจะถูกบรรจุในตัวคำถาม ประชามติ แต่อะไรก็ตามที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่เราพร้อมจะให้ตัวแทนของประชาชน มาถกเถียงและหาข้อสรุปกันในรัฐสภา สิ่งเหล่านั้นก็ไม่จำเป็นต้องรวมอยู่ในตัวคำถาม ของประชามติ ถ้าจะถามพรรคก้าวไกลว่าอะไรเป็นหลักการสำคัญที่ควรจะอยู่ในตัวคำถาม ประชามติ เราก็ต้องกลับมาตั้งหลักกันว่าเป้าหมายของทั้งหมดที่เรากำลังทำอยู่นี้ไม่ใช่เพียง การมีรัฐธรรมนูญใหม่ที่ใหม่แค่โดยชื่อครับท่านประธาน แต่ต้องเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยและสะท้อนฉันทามติใหม่ของประชาชนทุกคนได้จริง ๆ พอเราตั้งเป้าหมายเป็นเช่นนั้นครับ เราจึงมองว่าหลักการที่สำคัญและควรถูกตัดสิน โดยพี่น้องประชาชนโดยตรงตั้งแต่วันแรกและบรรจุอยู่ในตัวคำถามประชามติจึงมีอยู่ ๒ หลักการด้วยกัน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
หลักการที่ ๑ ที่ควรจะรวมอยู่ในคำถามประชามติคือหลักการเรื่องการร่าง รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ท่านประธานครับ ผมเข้าใจดีว่าประชาชนนั้นย่อมมีความเห็น ที่แตกต่างกันว่าส่วนไหนของรัฐธรรมนูญนั้นเป็นส่วนที่เขามองว่าเป็นปัญหาที่อยากจะเห็น การแก้ไข ดังนั้นหากเราต้องการให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นโอบรับทุกความเห็นที่แตกต่างกัน ออกไปและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้จริง เราก็ไม่ควรไปกำหนดคำถามประชามติ ที่ไปคิดแทนพี่น้องประชาชนว่าส่วนไหนควรแก้หรือไม่ควรแก้ แต่เราควรจะต้องเขียนคำถาม ประชามติที่เปิดกว้างต่อทุกความเห็น ผมต้องย้ำเช่นกันว่าการเปิดให้เนื้อหาทั้งฉบับ ของรัฐธรรมนูญนั้นถูกแก้ไขได้ไม่ได้หมายความว่าเนื้อหาทั้งหมดนั้นจะถูกแก้ไข เพราะหากมาตราใดในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นั้นเป็นมาตราที่คนส่วนใหญ่มองว่าดีอยู่แล้ว ไม่ต้องแก้ไข มาตราเหล่านั้นก็ย่อมจะไม่ได้รับความเห็นชอบให้มีการแก้ไขอยู่ดี ในส่วนของ ข้อกังวลที่เพื่อนสมาชิกบางท่านอาจจะมีว่าการเปิดให้ร่างใหม่ทั้งฉบับนั้นจะนำไปสู่ผลกระทบ ต่อรูปแบบการปกครองหรือรูปแบบของรัฐหรือไม่ ผมก็ต้องย้ำอีกรอบหนึ่งว่าการร่าง รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับนั้นไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นได้อยู่แล้ว เพราะหาก เราไปเปิดดูรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕๕ ก็ได้กำหนดไว้ชัดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใด ๆ ก็ตามนั้นจะต้องไม่ทำ ๒ อย่าง นั่นก็คือข้อที่ ๑ ไม่เปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอย่างที่ ๒ คือไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ ของรัฐ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
หลักการที่ ๒ ที่ผมมองว่าควรจะถูกบรรจุอยู่ในตัวคำถามประชามตินั้นก็คือ หลักการว่า สสร. มาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ในขั้นพื้นฐานหากเรายึดหลักการ ประชาธิปไตย ในเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอำนาจในการมายกร่างกฎหมายทั่วไปนั้น ยังต้องมาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วทำไมสมาชิกสภาร่างธรรมนูญที่มีอำนาจ ร่างกฎหมายสูงสุดอย่างรัฐธรรมนูญจึงควรจะมีความยึดโยงกับประชาชนที่น้อยกว่าสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ยิ่งไปกว่านั้นหากเราไม่ต้องการให้ สสร. นั้นถูกผูกขาดโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นกระจกสะท้อนความหลากหลายในสังคม วิธีที่ดีที่สุดไม่ใช่การมี สสร. ที่มีส่วนผสม การแต่งตั้งที่มีความสุ่มเสี่ยงถูกแทรกแซงโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ควรจะเป็น สสร. ที่ประกอบไปด้วยตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพราะจะเป็นตัวแทน ของทุกชุดความคิดที่มีอยู่ในสังคมตามสัดส่วนที่มีอยู่ในสังคมจริง ๆ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในส่วนของข้อกังวลที่เพื่อนสมาชิกบางคนยังคงมีอยู่ว่าการกำหนดให้ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้นจะทำให้เราขาดผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายหรือไม่ ผมก็ต้อง อธิบายอีกรอบหนึ่งว่าแม้ สสร. จะมาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ สสร. ก็สามารถ ตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างขึ้นมาเพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายนั้นที่อาจจะไม่ประสงค์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างหรือให้คำแนะนำได้ แต่การทำให้ สสร. มาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นั้นจะเป็นเพียงการวางหลักประกันว่าเมื่อผู้เชี่ยวชาญ ดังกล่าวนั้นให้คำแนะนำหรือช่วยยกร่างขึ้นมาแล้ว ทุกการตัดสินใจจะต้องผ่านความเห็นชอบ ของตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเท่านั้น แต่เพื่อจะคลายข้อกังวลนี้ เพิ่มเติมไปอีกครับ ผมก็อยากจะมา Update ให้เพื่อน ๆ สมาชิกและท่านประธานได้ทราบ ว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทางคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมี ส่วนร่วมของประชาชน ก็ได้มีมติในการตั้งอนุกรรมาธิการขึ้นมาเพื่อมาจัดทำข้อเสนอ และทางเลือกเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้ในการเลือกตั้ง สสร. เพื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในอนาคต ผมเข้าใจดีว่าในที่สุดแล้วรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับ สสร. นั้นจะต้องถูกแปลงร่างมาเป็น ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกนำกลับเข้ามาถกกันในรัฐสภาแห่งนี้ แต่ผมก็เชื่อว่าหากเรามี การถามประชาชนโดยตรงเกี่ยวกับหลักการใด ๆ ก็ตามผ่านประชามติ และหากประชาชน ส่วนใหญ่ลงมติกันอย่างท่วมท้นว่าเห็นด้วยกับหลักการดังกล่าว ก็คงไม่มีสมาชิกรัฐสภา คนไหนที่จะกล้าฝืนผลของประชามติได้ลงคอครับ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุผลประการที่ ๒ ที่ทำไมเราถึงออกแบบคำถามให้เป็นไปตามคำถาม ที่ปรากฏอยู่ในญัตติ ก็เพราะว่าเรามองว่าคำถามประชามติที่เราเสนอนั้นเป็นคำถามที่เข้าใจง่าย ไม่ชี้นำ ท่านประธานครับ ถ้าเราจำกันได้ข้อวิจารณ์สำคัญข้อหนึ่งต่อคำถามพ่วงในประชามติ ปี ๒๕๕๙ ที่นำไปสู่มาตรา ๒๗๒ ของรัฐธรรมนูญที่เปิดอำนาจให้ สว. ที่มาจากการแต่งตั้ง มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีนั่น ก็คือข้อวิจารณ์ว่าคำถามในวันนั้นไม่ได้ถามเรื่องดังกล่าว อย่างตรงไปตรงมา แต่เป็นการเขียนคำถามที่มีลักษณะซับซ้อนและชี้นำโดยเจตนา ดังนั้น เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย เราจึงได้เสนอข้อความที่เรามองว่าน่าจะกระชับ เข้าใจง่าย และตรงไปตรงมาที่สุด
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุผลประการที่ ๓ ที่ทำไมเราถึงเสนอคำถามประชามติเช่นนี้ ก็เพราะ คำถามประชามติที่เราเสนอกันอยู่ในวันนี้เป็นคำถามประชามติที่ทุกพรรคการเมืองหลัก จากสภาชุดที่แล้วเคยลงมติเห็นชอบกันมาก่อน ผมสารภาพว่าคำถามที่ผมเสนอในญัตติวันนี้ ไม่ได้เป็นคำถามใหม่ครับ แต่เป็นคำถามที่เคยถูกเสนอแล้ว เป็นญัตติด่วน โดย สส. จาก ๒ พรรคการเมือง ก็คือ สส. จากพรรคก้าวไกลท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และ สส. จากพรรคเพื่อไทย ท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี ๒๕๖๕ ยิ่งไปกว่านั้น ญัตติด่วนที่เสนอคำถามประชามติดังกล่าวในวันนั้นก็ได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ จากสภาผู้แทนราษฎร จาก สส. จากทุกพรรคการเมืองหลักที่เข้าประชุมเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ดังนั้นสำหรับพรรคไหนก็ตามหรือ สส. ท่านใดก็ตามที่เคยลงมติเห็นชอบ กับคำถามประชามติที่เรากำลังอภิปรายกันอยู่ในวันนี้ ผมเชื่อว่าผ่านมาไม่ถึง ๑ ปี คิดรวมกัน เพียงแค่ ๓๕๖ วัน ท่านคงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะทำให้เท่านั้นเปลี่ยนจุดยืนไปจากเดิม แต่หาก วันนี้ถ้าจะเปลี่ยนจุดยืนท่านจริง ๆ ผมก็หวังว่าท่านจะมีความรับผิดชอบในการลุกขึ้นมา อธิบายต่อสภาแห่งนี้และต่อหน้าประชาชนทุกคนที่รับชมการประชุมสภาวันนี้อยู่ว่าทำไม จุดยืนของท่านจึงได้เปลี่ยนแปลงไป
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนองค์ประกอบสุดท้ายองค์ประกอบที่ ๔ นั่นก็คือหลักการและเหตุผลว่า ทำไมเราถึงเสนอเรื่องประชามติผ่านกลไกของสภาผู้แทนราษฎร ต้องเรียนท่านประธาน แบบนี้ว่าตามกฎหมาย พ.ร.บ. ประชามติ ปี ๒๕๖๔ การตัดสินใจว่าจะจัดประชามติเรื่องอะไร ด้วยคำถามแบบไหนสามารถกระทำได้ผ่าน ๓ ช่องทางหรือ ๓ กลไก ช่องทางที่ ๑ การที่ ครม. นั้นออกมติด้วยตนเองตามมาตรา ๙ (๒) ช่องทางที่ ๒ การที่ประชาชนเข้าชื่ออย่างน้อย ๕๐,๐๐๐ รายชื่อเพื่อเสนอให้ ครม. อนุมัติตามมาตรา ๙ (๕) และช่องทางที่ ๓ คือการที่ สมาชิกรัฐสภานั้นเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเห็นชอบตามมาตรา ๙ (๔) ผมเข้าใจ ว่าหลายท่านอาจจะสงสัยในเมื่อรัฐบาลเองก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาขึ้นมาแล้ว เพื่อหวังจะใช้อำนาจตามกลไกที่ ๑ และในเมื่อภาคประชาชนภายใต้ชื่อ Conforall ก็ได้มี การรวบรวม ๒๐๐,๐๐๐ กว่ารายชื่อเพื่อเสนอคำถามประชามติให้ ครม. แล้วตามกลไกที่ ๒ แล้วทำไมพรรคก้าวไกลเราถึงยังต้องเสนออีกช่องทางหนึ่งตามกลไกที่ ๓ ผมก็ต้องเรียน ตามตรงกับว่าเหตุผลที่เราเสนอญัตติในวันนี้ก็เพราะเราไม่รู้เลยว่าลึก ๆ แล้วรัฐบาล จะคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับจัดทำประชามติหรือตัวคำถามมติที่จะถูกถาม แต่เรามองแล้วเรา วิเคราะห์ว่าไม่ว่ารัฐบาลจะคิดเห็นอย่างไร การยื่นญัตติในสภาวันนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์ กับทุกฝ่าย แล้วไม่ได้ก่อความเสียหายแต่อย่างใด หากจะให้ผมลองอ่านใจรัฐบาลดูผมคิดว่า มีความเป็นไปได้หรือฉากทัศน์เพียงแค่ ๓ ความเป็นไปได้หรือ ๓ ฉากทัศน์เท่านั้น
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ความเป็นไปได้ที่ ๑ คือรัฐบาลนั้นคิดเห็นตรงกับพรรคก้าวไกลหมดเลย เกี่ยวกับการจัดทำประชามติและตัวคำถามประชามติ หากเป็นเช่นนี้เราคงไม่ต้องอภิปราย กันเยอะ แล้วผมก็เชื่อว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากซีกรัฐบาลก็คงไม่ลำบากใจอะไรที่จะ ลงมติสนับสนุนญัตตินี้ให้เดินหน้าต่อไปได้แบบคู่ขนานกับการทำงานของรัฐบาล เพราะไม่ว่า กลไกไหนจะไปได้เร็วกว่าหรือสำเร็จก่อน ท้ายที่สุดแล้วคนที่ได้ประโยชน์ก็คือพี่น้องประชาชน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
หรืออาจจะเป็นฉากทัศน์หรือความเป็นไปได้ที่ ๒ นั่นก็คือรัฐบาลยังไม่แน่ใจว่า จะเดินหน้าต่อเรื่องประชามติอย่างไรหรือคำถามควรจะเป็นเช่นไร หากเป็นเช่นนี้การที่เรา เสนอญัตติในสภาวันนี้เพื่อเปิดพื้นที่ให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนความเห็นกัน ก็น่าจะเป็น ประโยชน์กับรัฐบาลในการรวบรวมความเห็นของทุกฝ่าย ผมเข้าใจดีว่ารัฐบาลได้มีการตั้ง คณะกรรมการศึกษาขึ้นมา มีกรรมการ ๓๐ กว่าคนเพื่อมารับฟังความเห็นที่หลากหลาย แต่อย่าลืมว่าสภาแห่งนี้ต่างหากครับ ไม่ใช่คณะกรรมการศึกษาที่เป็นสถานที่ที่มีตัวแทน ของประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และที่เข้ามาตามสัดส่วนของชุดความคิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมจริง ๆ หรือ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ความเป็นไปได้และฉากทัศน์ที่ ๓ รัฐบาลนั้นจริง ๆ แล้วคิดต่างจากเรา อย่างสิ้นเชิงเลยเกี่ยวกับการจัดทำประชามติหรือตัวคำถามประชามติ หากเป็นเช่นนี้ เราในฐานะฝ่ายค้านก็ยิ่งจำเป็นต้องใช้กลไกของสภาในการยื่นญัตตินี้ครับ เพราะกลไกสภา จะกลายเป็นหนทางเดียวที่ความเห็นของเรานั้นจะมีโอกาสได้รับการตอบสนอง หากความเห็นนั้นได้รับความเห็นชอบจากเพื่อน ๆ สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติด้วยกัน ที่ผม พูดแบบนี้ก็เพราะว่าหาก ครม. จะใช้วิธีการออกมติ ครม. ด้วยตนเองเพื่อจัดประชามติ รัฐบาล ท้ายที่สุดแล้วจะฟังหรือไม่ฟังเรา จะทำตามหรือไม่ทำตามความเห็นเรา ก็เป็น สิทธิของรัฐบาล หรือหากเราจะหวังพึ่งกลไกของการรวบรวมรายชื่อจากภาคประชาชน เพื่อเสนอไปที่ ครม. แต่กลไกนี้ ครม. ก็ยังเป็นคนมีอำนาจชี้ขาดอยู่ดีว่าจะอนุมัติข้อเสนอ จากภาคประชาชนหรือไม่ แต่หากเราเสนอเป็นญัตติผ่านกลไกของสภา และเพื่อนสมาชิก ทั้ง ๒ สภาเห็นตรงกันกับเราจนเป็นฉันทานุมัติจาก ๒ สภา แม้เรื่องนี้อาจจะฟังดูเป็นเรื่อง ที่ยากครับ แต่หากเกิดขึ้นจริง พ.ร.บ. ประชามติมาตรา ๙ (๔) ก็ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ครม. นั้นจะต้องดำเนินการในการจัดประชามติตามข้อเสนอและตัวคำถามที่รับ ความเห็นชอบจาก ๒ สภา ไม่ว่าข้อมูลจะเห็นด้วยหรือไม่กับข้อเสนอและตัวคำถามดังกล่าว ดังนั้น ท่านประธานหากจะกล่าวโดยสรุป เพื่อให้เราเดินหน้าสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของประชาชนที่เริ่มต้นจากการให้ประชาชนมีอำนาจตัดสินใจโดยตรงผ่านคูหาประชามติ ว่าพวกเขาเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดย สสร. ที่มาจาก การเลือกตั้งทางตรง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ผมจึงจำเป็นที่จะต้องขอแรงสนับสนุนจากเพื่อน ๆ สมาชิกจากทุกพรรคในการลงมติเห็นชอบกับญัตตินี้ เพื่อยืนยันร่วมกันว่าผู้แทนราษฎร ทุกคนในสภาแห่งนี้พร้อมแล้วที่จะติดกระดุมเม็ดแรกในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เราพร้อมแล้วที่จะนับหนึ่งสู่การฟื้นฟูประชาธิปไตย และเราพร้อมที่จะสร้างฉันทามติใหม่ ของประเทศที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และโอบรับความฝันของพี่น้องประชาชนทุกคนครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ผู้เสนอญัตติได้เสนอแล้วก็อภิปรายเหตุผลประกอบเรียบร้อยแล้วนะครับ ต่อไป จะเป็นการอภิปรายของทางสมาชิก ตอนนี้มีสมาชิกที่มาลงชื่อฝ่ายค้าน ๔ ท่าน ฝ่ายรัฐบาล ๑๐ ท่าน ผมขอเริ่มที่ฝ่ายรัฐบาลก่อน ขอเชิญท่านทรงยศ รามสูต ครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย จากญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายเมื่อสักครู่ผมเชื่อว่าสมาชิกทุกคน ยอมรับว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมันไม่เป็นประชาธิปไตย มันสมควรจะต้องมีการแก้ไข แต่ว่าสิ่งที่ยังถกเถียงกันอยู่เราจะแก้หมวดไหนบ้าง ประเด็นใดบ้าง ตอนนี้ยังเถียงกันอยู่ โดยเฉพาะหมวด ๑ หมวด ๒ ความเห็นยังต่าง ซึ่งเป็นสาระสำคัญของญัตติที่เพื่อนสมาชิก เสนอว่าขอแก้ทั้งฉบับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ คนที่จะมาแก้ สสร. เพื่อนสมาชิกนำเสนอว่าควรจะมาจาก การเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ก็เท่าที่ผมทราบก็ยังถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะมาจาก แหล่งใดบ้าง
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ เนื่องจากจะต้องแก้รัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๕๖ (๘) เขาบอกว่าจะต้องทำประชามติ ทำประชามติแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ล้านบาท เพราะฉะนั้นเราต้องรอบคอบเงิน ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ล้านบาท เงินภาษีของประเทศ แล้วอย่างที่เพื่อนสมาชิกอภิปรายอย่างน้อยทำประชามติ ต้องไม่น้อยกว่า ๒ ครั้ง ครั้งแรกตอนจะแก้มาตรา ๒๕๖ (๘) ครั้งที่ ๒ รัฐธรรมนูญเสร็จ แล้วก็ไม่แน่ว่าจะมีครั้งที่ ๓ หรือเปล่าซึ่งได้ทราบว่าทางรัฐบาลก็ตั้งคณะทำงานมาพิจารณา เพื่อความรอบคอบ ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ประเทศไทยเรามีรัฐธรรมนูญค่อนข้างจะมาก เพราะฉะนั้นเราก็ทราบมีวงจรที่ไม่ปกตินะครับ มีปัจจัยอยู่ ๔ อย่างที่ทำให้รัฐธรรมนูญนี้ มีปัญหา อันดับแรก นักการเมืองคือพวกเรา อันดับที่ ๒ คนที่อยากมีอำนาจ แต่ไม่อยากลงมา เล่นการเมือง แต่ไม่อยากถูกตรวจสอบ อันดับที่ ๓ ประชาชนที่จะเลือกตัวแทนของเขา ผ่านชุดข้อมูลที่เขาได้รับ ณ ขณะนั้น อันดับที่ ๔ รัฐธรรมนูญซึ่งมันจะบังคับใช้ได้แต่เฉพาะ ในส่วนของนักการเมืองและประชาชน ส่วนฝ่ายที่ต้องการอำนาจเขาไม่พอใจก็ฉีกอยู่เรื่อย และในการฉีกรัฐธรรมนูญแต่ละครั้งข้ออ้างที่ใช้สม่ำเสมอคือเกิดความแตกแยก มีการทุจริต คอร์รัปชัน หลัง ๆ เพิ่มหมิ่นสถาบัน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาลึก ๆ ที่แท้จริงบางครั้งไม่แน่ใจว่า จะมีการเปลี่ยน ผบ.ทบ. หรือเปล่า เป็นการแย่งชิงอำนาจระหว่างหลายฝ่าย เพราะฉะนั้น ผมก็เลยนำเสนอว่าก่อนที่เราจะมาแก้รัฐธรรมนูญ เรามาดูวิวัฒนาการของ ๔ กลุ่มนี้ มันเกิดขึ้นตั้งแต่อดีตเป็นอย่างไรเพื่อมาแก้ไขในปัจจุบันไปสู่อนาคต ผมไม่ได้เข้าสู่สภานี้มา ๓๑ ปี แต่ผมก็ติดตามการเมืองมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยผมยังเด็กนะครับ ปี ๒๔๙๑ คุณตาผม เป็น สส. ของจังหวัดหนองคาย คุณตาเล่าว่านักการเมืองสมัยก่อนมีอยู่ ๒ ฝ่ายแค่นั้น ฝ่ายที่อยู่เคียงข้างประชาชนกับฝ่ายที่อยู่ฝั่งรัฐ สมัยปิดประชุมนักการเมืองนอนบ้านไม่ได้ เพื่อนคุณตาหลายคนเสียชีวิต เวลามีปัญหาช่วงปิดประชุมหนีไปหนองคาย ท่านส่งไปลาว กลับมาก็เรียบร้อย เพราะฉะนั้นคราวก่อนนักการเมืองในอดีตสามารถเลือกได้ ๒ ฝ่าย อยู่ฝั่งชาวบ้าน แต่ถ้ายอมอยู่ฝั่งรัฐก็อาจจะได้รับปูนบำเหน็จบางทีได้เป็นเสนาบดี นักการเมืองก็พัฒนาไปเรื่อย มีการปฏิวัติฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งคนที่ฉีกก็เป็นคนที่มีอำนาจทั้งคู่ ไม่ใช่ประชาชนนะครับ การเมืองพัฒนามาเรื่อย ผมจำได้ปี ๒๕๑๙ เป็นนักเรียนตามคุณตา ไปหาเสียงในเขตบึงกาฬ ดงสีชมพู วันนั้นจำได้พบเจอชาวบ้านจอดรถปุ๊บอาวุธพร้อมครบ หนุ่มสาวล้อมรถเต็มเลย หลังจากคุยกันทราบว่าเขาถูกรัฐบาลว่าเป็นความเห็นต่าง ผลักดันไปอยู่ในป่า เขาแสดงความจริงใจ พอเขารู้ว่าเป็นนักการเมืองเขาพอใจ นี่เป็นข้อมูล ที่รัฐให้ประชาชนนะครับ ก็กลับมา แต่โชคดีหลังจากนั้นทราบว่าถ้าวันนั้นขับรถผ่านสภา ชีวิตผมและครอบครัวคงไม่เหลือ เพราะว่าเราขับรถแลนด์สีเขียว ต่อมานี้ผมได้ศึกษา การพัฒนาการเมืองผ่านครอบครัวผมที่ลงสมัครเป็น สส. ไม่ว่าแม่ผม น้าผมที่จังหวัดหนองคาย พ่อผมที่จังหวัดเชียงใหม่ พ่อตาผมและพี่สาวภรรยาที่จังหวัดน่าน ผมเห็นการวิวัฒนาการ ทางการเมืองต่อมา ไม่ว่าสมัยก่อนนักการเมืองเริ่มต้นด้วยให้ส่วนรวม จากส่วนรวมมาสู่ ส่วนตัว จากส่วนตัวมีโรคร้อยเอ็ดระบาดสมัยอดีตการใช้เงินได้ผล ทำให้ระบาดกันไปหนักมาก ทำให้นักการเมืองเริ่มมีปัญหา แต่คนก็สงสัยว่าความดีมันเป็น อย่างไร ช่วยได้ไหม ผมก็ศึกษาจากคุณตาผมอีกคนที่เป็นน้องยาย จากเสรีไทยมาเป็น ท่านทูต แล้วเป็นปลัดกระทรวง เป็นรัฐมนตรี เป็น สส. ท่านดึงงบจากต่างประเทศมาทำ เขื่อนน้ำโมงที่บ่อ หนแรกชนะถล่มทลาย แต่พอหนที่สองพอการเงินแจกจ่ายกันเยอะ ผมเข้าใจสัจธรรมเลยว่าความดีมันมีอายุความนะครับ หลังจากนั้นเองผมก็ได้เข้าสู่แวดวง การเมืองในปี ๒๕๒๙ อายุ ๒๕ ปี ฟันน้ำนมทางการเมืองยังไม่เกิดเลย เพราะฉะนั้นผมก็ได้ เรียนรู้มันมีการใช้เงินใช้ทองกันเยอะ แล้วผมก็เลยเห็นสัจธรรมว่าความดีมันมีมูลค่าของมัน ถ้าเงินไม่มากเรายันอยู่ระดับกระเป๋าเจมส์บอนด์ แต่ถ้าเงินมาเยอะแบบกระเป๋าเสื้อผ้า เอาไม่ไหว ผมชื่นชมนักการเมืองจากหลายพรรค หลายภาค หลายจังหวัด ที่ยืนหยัดสู้กับ พวกที่ใช้เงินในการซื้อสิทธิขายเสียง ทำให้ภาพพจน์ของสภานี้มันไม่ดีนะครับ แต่ตอนหลัง ผมก็ทราบว่าหลายคนที่สู้ ก็เลยเห็นสัจธรรมอีกข้อหนึ่งว่าความดีไม่พอ ความดีต้องมีปลายนวม สู้กับพวกนี้ จนกระทั่งปี ๒๕๔๘ ผมเริ่มเห็นแสงสว่างในการพัฒนาประชาธิปไตยขึ้น พรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่ชนะการเลือกตั้งเมื่อปี ๒๕๔๔ นโยบายที่เขาชูเขาทำได้ เป็นนโยบายที่ชาวบ้านพอใจ เพราะฉะนั้นปี ๒๕๔๘ ถึงคนจะถือเงินมาขนาดไหนก็ไม่อาจจะ ซื้อเสียงชาวบ้านได้ แล้วพรรคนี้ก็ครองใจชาวบ้านมาโดยตลอด ผมจะไม่เอ่ยชื่อผู้นำพรรค เพราะว่าลายเซ็นท่านอยู่ที่ Necktie ผม ท่านทักษิณ ชินวัตร ผมใส่ตลอด นอกจากนั้น เมื่อพรรคนี้ครองใจมาก่อนก็ถูกต่อต้านจากภาครัฐมีวิบากกรรมโดนยุบพรรคโดนอะไรสารพัด แล้วผมเห็นการพัฒนาการเมืองชัดขึ้นในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม การเลือกตั้งที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่ากลุ่มการเมืองที่มีอำนาจรัฐที่มีเงินไม่สามารถซื้อเสียงคนไทยได้เกินครึ่ง ของประเทศ พรรคการเมืองหลายพรรคมีชุดความรู้ ให้ข้อมูลกับพี่น้องประชาชนว่า อยากเปลี่ยน อยากเปลี่ยน อยากเปลี่ยนโครงสร้าง ซึ่งผลก็ออกมาว่าอยากเปลี่ยนจริง ๆ แต่เนื่องจากกลไกของรัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่มีความมั่นใจ ในการตัดสินใจของประชาชน จะมีสภาพี่เลี้ยงมาควบคุมการตัดสินใจไม่ให้ไปในทิศทางใด ทิศทางหนึ่ง เพราะฉะนั้นโครงสร้างที่ประชาชนคาดหวังเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ยังดีเรายังปรับ โครงสร้างได้บางส่วนในรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันนี้ถ้าโทษนะครับ ผมก็อาจจะโทษว่าพรรคไทยรักไทยกับพรรคพลังประชาชน มีส่วน ทำไมผมถึงว่าอย่างนั้น เพราะปี ๒๕๔๙ เกิดรัฐประหารตอนนั้นเขาเขียนกฎหมาย ไว้เลยว่าให้มีผลย้อนหลังกำหนดโทษไปตัดสิทธินักการเมืองที่มีคดีรออยู่ ๕ ปี เมื่อสักครู่ คุยกับ Whip ว่าขอ ๑๐ นาที ไปตัดสิทธิ แล้วก็มั่นใจว่าคุยกับกลุ่มการเมืองไปได้ ซึ่งผล ปรากฏว่าผลการเลือกตั้งพรรคพลังประชาชนภายใต้ Gene ของพรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้ง หลายคนพูดว่าครั้งนั้นมันปฏิวัติเสียของ เพราะฉะนั้นพอปี ๒๕๕๗ มีการปฏิวัติมันก็เลยเป็นที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญที่เราพูดกันว่ารัฐธรรมนูญร่างมา เพื่อพวกเรา ก็เลยมัดไว้หลายอย่างนะครับ อย่างเช่นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ สว. ที่ตอนนั้นทำประชามติว่าจะบอกว่ามาจากสภาพี่เลี้ยงมาจากหลากหลายอาชีพ สุดท้าย ก็มาจากข้าราชการที่มีประสบการณ์ด้านความมั่นคงมากำหนดทิศทาง มัดแค่นั้นไม่พอ ยังกำหนดไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๕๖ (๓) กับ (๖) เสียง สส. ไม่พอ เสียงข้างมาก ต้องมีเสียง สว. ไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ผมจำได้สภาชุดที่แล้วช่วงที่กระแสแรง คนอยากแก้รัฐธรรมนูญช่วงแรกวาระ ๑ สว. สส. เห็นด้วยหมด พอเสียงของประชาชน เริ่มแผ่ววาระ ๓ ปรากฏว่าแม้ สส. จะเห็นด้วยเกือบ ๕๐๐ แต่ สว. เห็นด้วยไม่ถึง ๘๐ รัฐธรรมนูญนั้นก็ไม่ผ่าน แสดงให้เห็นว่า สว. จาก ๘๐ คนมีเสียงมากกว่า สส. ซึ่งมาจาก พี่น้องประชาชน ๕๐๐ คน เลือกตั้งมาใหม่ ๆ ผมอยากจะแก้จุดนี้ ปรากฏว่าติดที่ มาตรา ๒๕๖ (๘) บอกว่าถ้าจะแก้หมวด ๑๕ ต้องทำประชามติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ผมก็คิดว่าการจะทำประชามติเราต้องรอบคอบ เพราะว่ารัฐธรรมนูญเขาเขียนมัดไว้หลายปม เราจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เราต้องรอบคอบ ที่เพื่อนสมาชิกเสนอมาหลายอย่างดีนะครับ แต่เพื่อความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญประเด็นไหนที่เราควรจะแก้ ในส่วน ของ สสร. ผมฟัง สว. เขาอภิปรายว่าเขาไม่เห็นด้วยที่จะตั้ง สสร. ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เขาบอกว่ามันเหมือนตีเช็คเปล่า ในกระแสสังคมที่เลือกตั้งมาตอนนี้ไม่รู้จะไปทิศทางใด บางส่วนผมก็ต้องรับฟังความคิดเห็นก็เป็นจริงนะครับ ผมว่าถ้าตั้งมา ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นผมเองก็อาจจะนำเสนอซึ่งต่างจากเพื่อนสมาชิก ซึ่งได้ทราบข่าวว่ารัฐบาลเอง ก็มีนโยบายรับเป็นการศึกษาในเรื่องของประชามติ ในเรื่องของรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าตัวผู้ร่าง สสร. น่าจะมาจาก สส. เรา ๕๐๐ คน ตั้งตัวแทนเข้าไปเลย ๑๕๐ คน เพราะว่าถ้าเราตั้ง รัฐธรรมนูญโดยผ่าน สสร. นี่มันไม่ผ่านสภานะครับ ไปรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านที่ผ่านมามันเป็นแค่พิธีกรรม หลายครั้งเขามีธงอยู่แล้ว มีแต่ชาวบ้านมาระบาย สุดท้ายก็เอาตามเดิม เพราะฉะนั้นไม่เกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้น ผมจึงบอกว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญทุกที เราต้องเอามาจากทุกส่วน ไม่ว่าจะจาก สส. ทั้ง ๕๐๐ คน เราส่งตัวแทนเราไปเสนอความเห็น จาก สว. ให้เป็นพี่เลี้ยงเขาระแวงระวัง ก็ส่งตัวแทนไปสัก ๒๐ คน ๓๐ คน ๕๐ คน และจากการเลือกตั้งก็ตั้งมาเลย ๒๐๐-๓๐๐ คน เอา ๔๐๐-๕๐๐ คนมาพิจารณา ผมว่าถ้าอย่างนี้เราจะได้คนจากหลากหลาย เพราะฉะนั้น จากข้อมูลที่ผมนำเสนอ ณ วันนี้ก็ฝากให้เพื่อนสมาชิกได้พิจารณา ส่วนญัตติที่เพื่อนสมาชิก เสนอมา เห็นด้วยในหลักการ แต่ว่าไม่เห็นด้วยในรายละเอียดและวิธีการเพราะรัฐบาล ก็จะดำเนินการอยู่แล้ว และเพื่อความรอบคอบจึงเสนอข้อมูลมาประกอบวินิจฉัย ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ มาที่ฝ่ายค้านนะครับ เชิญท่านปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ ครับ
นางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๒ จังหวัดนนทบุรี พรรคก้าวไกล ขออภิปรายสนับสนุนญัตติด่วนขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็น ของประชาชนต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การทำประชามติเป็นจุดเริ่มต้นของการ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อเป็นการยืนยันว่าประชาชนต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อย่างแท้จริง ดังนั้นคำถามในการทำประชามติจึงเป็นกระดุมเม็ดแรกและเป็นกระดุม เม็ดสำคัญที่จะพาเราไปถึงการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากประชาชน คำถามประชามติ ที่ดีนั้นต้องเขียนให้ชัดเจนตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความให้วุ่นวาย เพราะการออก เสียงประชามตินั้นประชาชนตอบได้เพียงแค่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเท่านั้น ดิฉันหวังว่า รัฐบาลจะเห็นความสำคัญของภาคประชาชนที่ร่วมกันลงชื่อกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน ขอให้ รัฐบาลนำคำถามในการทำประชามติเพื่อเป็นประตูไปสู่การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ประชาชนอย่างแท้จริง แม้ว่าคำถามในญัตติของพรรคก้าวไกลไม่ได้เหมือนกับของภาค ประชาชนเป๊ะ แต่ก็สอดคล้องในหลักการสำคัญที่ต้องแก้ไขได้ทั้งฉบับ และสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญต้องมาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ สุดท้ายนี้มาร่วมกันทำให้ประเทศไทย ของเรามีกติกาที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นธรรม ผ่านกระบวนการที่ชอบธรรม เพื่อยืนยันว่าอำนาจ สูงสุดเป็นของประชาชน เขียนใหม่ทั้งฉบับเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอรรถกร ศิริลัทธยากร ครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส. จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตเลือกตั้งที่ ๒ พรรคพลังประชารัฐ ด้วยความเคารพท่านประธานครับ ผมจะขออนุญาต ใช้เวทีสภาในการอภิปรายในญัตติของเพื่อนสมาชิกก็คือคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ และเพื่อนสมาชิก ที่เซ็นชื่อรับรองญัตติด้วยความกระชับ ตรงประเด็น และใช้ภาษาง่าย ๆ โดยญัตตินี้เสนอให้ รัฐบาลพิจารณาว่าจะตอบรับหรือไม่ตอบรับในการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านกระบวนการ ประชามติ อันนี้ก็คือคร่าว ๆ ง่าย ๆ ต้องเรียนท่านประธานและที่ประชุมอย่างนี้ว่าในวันนี้ ในปี ๒๕๖๖ ผมยังยืนยันคำเดิมว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่ง ๔ ปีที่ผ่านมา สภาสมัยที่แล้วผมก็ยังยืนยันคำนี้นะครับ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเราต้องคำนึงว่าการแก้ไขนั้น ควรจะแก้ไขให้เหมาะสมกับเวลาสถานการณ์ในปัจจุบันด้วย แต่ต้องเรียนว่าการเสนอญัตติ ในครั้งนี้ได้มีการเสนอให้แก้ไขได้ทั้งฉบับ ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงหมวด ๑ และหมวด ๒ ซึ่งผมและพรรคพลังประชารัฐยืนยันมาตลอด ตั้งแต่การก่อตั้งพรรคในปี ๒๕๖๑ ว่าในการแก้ไขหมวด ๑ หมวด ๒ หรือว่าหมวดเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์ พรรคพลังประชารัฐจะไม่ร่วมแก้ไขอย่างแน่นอน ท่านประธานที่เคารพครับ พรรคพลังประชารัฐมีจุดยืนเรื่องนี้ชัดเจน เดี๋ยวขออนุญาตฝ่ายโสต ขอ Slide ครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ตั้งแต่วันแรกที่เราก่อตั้ง พรรคพลังประชารัฐโดยสิ่งที่ผมได้นำเสนอขึ้นอยู่บน Website ของพรรคพลังประชารัฐ อย่างชัดเจน โดยท่าน พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐได้บอก ชัดเจนว่าผมจะนำพรรคให้เกิดความเข้มแข็งภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข เราไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด ๑ หมวด ๒ นอกจากนี้กระผมยังเห็นถึงความจริงใจ และความตั้งใจของรัฐบาลที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ในอนาคตจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำไมผมถึงพูดอย่างนี้ ท่านประธานครับ ผมทราบมาว่าท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่านภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ท่านได้กรุณาลงนาม ในคำสั่งตั้งอนุกรรมการ ๒ คณะ คณะแรกเป็นอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นประชาชน และคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเองผมคิดว่าขณะนี้ เราในฐานะสมาชิกรัฐสภา เราควรจะให้เวลากับรัฐบาล เราควรจะให้เวลากับอนุกรรมการ ทั้ง ๒ คณะ ให้เวลาเขาเถอะครับ เรามาดูว่าเขาจะตั้งใจแก้ไขรัฐธรรมนูญมากน้อยขนาดไหน ถ้ากระบวนการไม่คืบหน้าผมก็จะเป็นคนหนึ่งที่จะใช้กลไกรัฐสภาแห่งนี้ในการทวงถาม ในการเร่งรัดไปยังรัฐบาล ไปยังทางประธานอนุกรรมการทั้ง ๒ คณะ ท่านประธานครับ ด้วยความเคารพนะครับ ผมคิดว่าถ้าผมเห็นชอบญัตติในวันนี้หมายความว่าความเห็นชอบ ของสภาแห่งนี้มันจะข้ามหัวรัฐบาล มันจะข้ามหัวอนุกรรมการทั้ง ๒ คณะที่เขากำลังทำอยู่ ข้ามหัวแล้วไปไหนครับ ไม่ทราบ ไปที่วุฒิสภา วุฒิสภาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เราก็ไม่รู้ได้ ถ้าผ่านวุฒิสภาก็ไปที่ ครม. ซึ่งผมก็ไม่สามารถคาดเดาคำตอบได้ แต่สิ่งที่ผมนำเรียนครับ ขณะนี้มี Protocol มีกระบวนการ ๑ ๒ ๓ ๔ อย่างชัดเจนที่รัฐบาลเขากำลังทำอยู่ ผ่านอนุกรรมการ ดังนั้นผมย้ำว่าให้เวลาเขาครับ เราให้เวลารัฐบาลได้ทำงานในด้านการเมือง นั่นคือการพิจารณาการทำประชามติ พร้อมทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหา ปากท้องให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งในขณะนี้ผมเรียนตรง ๆ จากการที่ได้รับรู้ ได้สัมผัสกับพี่น้อง ประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา เราก็ทราบความรู้สึกของพี่น้องประชาชนว่าผลลัพธ์ของการตั้งใจ ทำงานมันเริ่มออกดอกออกผล ผมยกตัวอย่าง ขณะนี้มีความคืบหน้าของโครงการเงินดิจิทัล ถึงแม้ว่าจะมีคนเห็นด้วยจำนวนมาก และมีคนที่ไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่วันนี้เราก็ทราบดีว่า กระบวนการในการผลักดันโครงการเงินดิจิทัลก็คืบหน้าไปมากพอสมควร
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เห็นได้ชัดว่าค่าไฟฟ้าโดยเฉพาะในเดือนที่ผ่านมาถ้าท่านประธาน หรือว่าเพื่อนสมาชิกได้ดู Bill เราก็เห็นเลยว่ารัฐบาลมีมาตรการในการลดค่าไฟฟ้า ค่าครองชีพอย่างจับต้องได้เห็นได้ชัดเจน
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ติดตามมาว่ามีการผลักดันในเรื่องของรถไฟฟ้า ๒๐ บาท ตอนนี้ ก็ประกาศเตรียมตัวได้นำไปใช้แล้ว หรือแม้แต่กระทั่งการจัดการผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ขณะนี้ ก็เข้าใจว่ากระบวนการในการบริหารจัดการเรื่องนี้ก็ถูกเริ่มต้นทำมาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ ท่านประธานครับ ในฐานะผมอยู่พรรคพลังประชารัฐท่านเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ท่าน ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า แล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านก็เดินหน้าในเรื่องของการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นการยกระดับเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดิน เพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งจากที่ได้ติดตามการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เบื้องต้นก็มีมติเห็นชอบหลักการในการปรับปรุงเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ เพื่อจะเป็น ประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรต่อไป ไม่ใช่เพื่อนายทุนครับ สรุปง่าย ๆ ผมยังยืนยันว่า ผมเชื่อมั่นและยังให้เวลากับรัฐบาล ให้ทำงานแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องควบคู่ไปกับ เรื่องการเมือง เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้การแก้ไขแล้วรัฐธรรมนูญจะถูกแก้ไขอย่างแน่นอน เพื่อไม่ให้ กระบวนการเป็นการสับสน การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลได้ทำอยู่ถ้าเรารับญัตติ ของเพื่อนสมาชิก ด้วยความเคารพคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ผมเคารพจากใจจริง ถ้าเรารับ มันจะเป็นเหมือนกับการทำงานซ้ำซ้อน ผมจึงคิดว่าญัตตินี้วันนี้อาจจะยังไม่ถึงเวลาครับ ก็ขออนุญาตนำเรียนท่านประธานและที่ประชุมด้วยความเคารพครับ กราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ครับ
นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จังหวัดเชียงใหม่ เขตอำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง ก่อนที่ผมจะเริ่มอภิปรายในวันนี้ผมขอฝากคำถามไว้ก่อนว่าทำไม รัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาชน เราพักคำถามนี้ไว้แล้วมาดูหลาย ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นจาก รัฐธรรมนูญฉบับนี้ฉบับที่ถูกขีดเขียนโดยกลุ่มบุคคลที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ หรือที่เราหลาย ๆ คนรู้จักกันดีว่าคณะรัฐประหารนั่นเองครับ เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันไม่ได้เริ่มต้นมาจากประชาชนมันจึงไม่มีอะไรที่เชื่อมโยงกับประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียว นอกจากเราจะมี สว. ๒๕๐ คนที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมดแล้วมาเลือกนายกรัฐมนตรี กับพวกเราแล้ว ท่านประธานทราบไหมว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังไม่มีคำว่ากระจายอำนาจเลย แม้แต่คำเดียว ท่านประธานนั่งฟังเพื่อนสมาชิกปรึกษาหารือก่อนเข้าวาระการประชุม ในทุก ๆ เช้า ผมเชื่อว่าท่านประธานทราบดีว่าปัญหากว่าครึ่งที่เพื่อนสมาชิกของพวกเรา ปรึกษาหารือกันมันควรที่จะได้รับการแก้ไขโดยผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชน แต่พวกเขากลับไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะแก้ไขได้ หากเรามีรัฐธรรมนูญที่ระบุ ให้ชัดเจนในด้านอำนาจหน้าที่ ท้องถิ่นสามารถจัดทำบริการสาธารณะในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้ทั้งหมด ยกเว้นการต่างประเทศ ความมั่นคง การทหาร ระบบเงินตรา ชัดเจนด้านหน้าที่ เพื่อปกป้องท้องถิ่นจากการถูกร้องเรียนและตรวจสอบอย่างไม่เป็นธรรม และชัดเจนในด้าน งบประมาณระบุให้ชัดไปเลยถึงอัตราส่วน รายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อรายได้สุทธิ ของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ในกี่ปีเอาให้มันชัดทั้งด้านภารกิจและด้านงบประมาณ เพื่อให้เพื่อนสมาชิกของพวกเราจะได้นำปัญหาที่มันใหญ่ ปัญหาที่เรื้อรัง แล้วแก้ไขไม่ได้ จริง ๆ สักทีมาเข้าสภากันมากขึ้น และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหานักการเมืองที่ก่อนเลือกตั้ง พูดอย่างหนึ่ง แต่หลังเลือกตั้งกลับทำอีกอย่างหนึ่ง เราต้องนำประชาชนกลับเข้ามาในสมการ ของรัฐธรรมนูญให้ประชาชนได้ตัดสินใจเองว่าพวกเขาต้องการมีสิทธิที่จะถอดถอน สส. ที่มาจากการเลือกตั้งของพวกเขาหรือไม่ และทั้งหมดนี้ต้องเริ่มต้นจากการทำประชามติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผมเคยได้ยินบางคนพูดว่าทำไมต้องร่างใหม่ทั้งหมด แก้บางข้อ ก็พอแล้ว ผมงงเลยนะครับ เพราะการแก้มันยากยิ่งกว่าเยอะ จะแก้ครั้งหนึ่งต้องทำอย่างไรบ้าง ข้อแรกเลยเราต้องมีเสียง สส. บวกกับ สว. มากกว่า ๓๗๖ เสียง ข้อแรกอาจจะดูไม่ยากเท่าไร มาดูข้อ ๒ เราต้องมีเสียง สว. เห็นชอบมากกว่า ๑ ใน ๓ หรือว่ามากกว่า ๘๔ เสียง ซึ่ง สว. ๒๔๔ คน จาก ๒๕๐ คน มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารซึ่งก็คือคนที่เขียน รัฐธรรมนูญฉบับนี้นั่นเอง แล้วท่านประธานคิดว่าคนที่เขียนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาเขาจะ ยอมให้ผู้แทนราษฎรมาแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มันเอื้อประโยชน์กับพวกเขาไหมครับ เห็นกันชัด ๆ กับการเสนอแก้มติมาตรา ๒๗๒ ตัดอำนาจ สว. เลือกนายกรัฐมนตรี ที่หลายต่อหลายครั้ง เสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพวกเราเห็นชอบกันท่วมท้นมากกว่า ๓๗๖ เสียง แต่ก็กลับไม่เคยที่จะผ่านเสียงของ สว. แม้แต่ครั้งเดียว เอากันอีกสักตัวอย่างหนึ่ง การเสนอ แก้รัฐธรรมนูญหมวด ๑๔ ซึ่งมีเพื่อนสมาชิกของพวกเราไม่เห็นชอบเพียงแค่ ๕๖ เสียง ก็เทียบเป็นประมาณ ๑๑ เปอร์เซ็นต์แค่นั้นเอง แต่ก็อีกนั่นละไม่ผ่าน สว. อีกเช่นเคย นับครั้งไม่ถ้วนที่เสียงของประชาชนนั้นชนะ แต่เสียงของผู้มีอำนาจกลับไม่ยอมรับ เรามาดู ความเคลื่อนไหวในภาคประชาชนกัน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมามีการลงรายชื่อเสนอ การจัดทำประชามติเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจากภาคประชาชนใช้เวลาแค่ ๓ วัน ได้รายชื่อทั้งหมดกว่า ๒๐๐,๐๐๐ รายชื่อ แล้วรายชื่อทั้งหมดเป็นการลงแบบ Offline ไม่ใช่ ลงแบบ Online ด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นผมจึงอยากจะฝากท่านประธานไปยังเพื่อนสมาชิกทุกท่านในห้องประชุมวันนี้ กลับมาฟังเสียงของประชาชนครับ แล้วร่วมกันขับเคลื่อนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้มัน เริ่มต้นที่ประชาชน เพราะการที่เราทำประชามติมันไม่ใช่การข้ามหัวรัฐบาล แต่ในทางกลับกัน มันเป็นการที่ทำให้รัฐบาลมีเกราะป้องกันฉันทานุมัติจากประชาชนที่จะป้องกันไม่ให้ กลุ่มอำนาจเก่าเข้ามาแทรกแซงจากการกระทำของพวกเราในวันนี้ ท่านประธานครับ รัฐธรรมนูญจะเอื้อประโยชน์กับใครขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น เพราะฉะนั้น ถึงเวลาที่เราจะคืนอำนาจให้กับประชาชน ให้ประชาชนได้ตัดสินใจผ่านการทำประชามติว่า พวกเขาอยากที่จะเลือกตั้งคนที่มาเขียนรัฐธรรมนูญของพวกเขาหรือเปล่า ให้เจตนารมณ์ ของประชาชนถูกแปลออกมาเป็นอักษรในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศไทย ให้รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านขัตติยา สวัสดิผล ครับ
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางสาวขัตติยา สวัสดิผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ถึงเวลานี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๖๐ นั้นมีปัญหาในแง่ของทั้งที่มาและเนื้อหา ดิฉันขอยกตัวอย่างปัญหาในแง่ ของที่มาค่ะ ทุกท่านทราบดีว่ากระบวนการในการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นั้น ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยเต็มใบ คือหลังจากที่มีกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วได้มี การจัดทำประชามติก็จริง แต่การทำประชามตินั้นไม่ได้เป็นการทำประชามติที่มีความเสรี เสมอภาค และเป็นธรรม การทำประชามติในครั้งนั้นมีการจำกัดการแสดงความเห็น ของประชาชน มีการใช้อำนาจคุมสื่อ มีการห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง มีการห้ามจัดเสวนา มีการห้ามจัดกิจกรรมสาธารณะที่จะแสดงให้เห็นถึงข้อเสียของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ มีการจับกุมและดำเนินคดีผู้รณรงค์ไม่รับร่าง และมีการใช้คำขู่ว่าหากไม่รับจะไม่สามารถ จัดการเลือกตั้งได้ และที่สำคัญมีการเชิญชวนให้สำคัญผิดว่ารับ ๆ ไปก่อนเดี๋ยวค่อยแก้ทีหลัง ส่วนตัวอย่างของปัญหาในแง่เนื้อหา เช่นสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ และปี ๒๕๕๐ ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ โครงสร้าง ที่มา และอำนาจ ของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระไม่ได้มีความยึดโยงกับประชาชน รวมไปถึงการกำหนด ให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับพลวัตของโลก ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และไม่เอื้อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสามารถทำงานได้ โดยอิสระ และก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ท่านประธานคะ ตลอดเวลาที่พรรคเพื่อไทยเดินสายหาเสียงเรานำเสนอนโยบายต่าง ๆ มากมาย เพื่อความชนะในการเลือกตั้ง หนึ่งในนโยบายสำคัญที่เราพูดในทุกเวทีก็คือหากพรรคเพื่อไทย ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเราจะจัดให้มีการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่โดยสมาชิกสภาร่างธรรมนูญ หรือ สสร. ดังนั้นวันนี้ดิฉันจะขอยืนยันว่าดิฉันต้องการ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับทางเพื่อนสมาชิกและประชาชนทุกคนว่า รัฐบาลภายใต้การนำ ของพรรคเพื่อไทยเราจะจัดให้มีการทำประชามติให้เกิดขึ้นจริง ให้มี สสร. เพื่อดำเนินการ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามที่เราเคยให้สัญญาไว้กับพี่น้องประชาชน ขอ Slide นะคะ
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ดิฉันเข้าใจดี ถึงการยื่นญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มี การออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ของ สส. พริษฐ์ วัชรสินธุ จากพรรคก้าวไกล ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม ซึ่งต้องการ ขับเคลื่อนการทำประชามติโดยใช้กลไกของรัฐสภาตามมาตรา ๙ (๔) ของ พ.ร.บ. ว่าด้วย การออกเสียงประชามติ ซึ่งเมื่อเราไปดูตามมาตรา ๙ ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้เขาก็ได้บัญญัติไว้ว่า มาตรา ๙ ให้กรรมการมีหน้าที่และอำนาจจัดและควบคุมดูแลการออกเสียงให้เป็นไป โดยสุจริตเที่ยงธรรม เสรี เสมอภาค และชอบด้วยกฎหมาย โดยการออกเสียงตาม พระราชบัญญัตินี้ให้มีดังต่อไปนี้ (๒) บอกว่าการออกเสียงกรณีเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่า มีเหตุสมควร หรือ (๔) การออกเสียงในกรณีที่รัฐสภาได้พิจารณาและมีมติเห็นว่าเป็นเรื่องที่มี เหตุสมควรที่จะให้มีการออกเสียง และได้แจ้งเรื่องให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ โดยหลักการแล้วดิฉันไม่ได้ปฏิเสธอำนาจในการทำประชามติ โดยใช้กลไกของรัฐสภา ตามมาตรา ๙ (๔) แต่อย่างใด ถ้า สส. กับ สว. เห็นพ้องต้องตรงกัน และส่งให้ ครม. ต่อไปเพื่อพิจารณาดำเนินการตามดุลยพินิจ แต่ดิฉันมองว่าในทางเทคนิค การใช้วิธีตามมาตรา ๙ (๔) นี้อาจนำไปสู่อุปสรรคที่ไม่จำเป็นได้ นั่นคืออะไร นั่นคืออาจทำให้ ความชอบธรรมที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ด่างพร้อย เพราะการออกเสียงประชามติ ที่ผ่านกระบวนการรัฐสภาจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจาก สว. ด้วย และถึงแม้ดิฉัน จะเชื่อมั่นในการใช้ดุลยพินิจของ สว. ก็ตาม แต่ในอีกมุมหนึ่งดิฉันก็มีความกังวลว่า สว. ชุดนี้ จะยอมให้มีการทำประชามติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ เพราะ สว. ชุดนี้ต่างมีที่มา จากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ที่เรากำลังบอกว่ามีปัญหาและต้องการร่างใหม่ ซึ่งเมื่อสักครู่ เพื่อนสมาชิกจากทางฟากฝ่ายค้านก็ได้อภิปรายว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่ผ่าน ความเห็นของ สว. ดิฉันจึงเห็นว่าเราควรทำประชามติด้วยวิธีการตามมาตรา ๙ (๒) คือการใช้มติของคณะรัฐมนตรีว่าเหตุอันสมควรให้มีการทำประชามติ เพราะมันจะเป็นกลไก ที่ไม่ต้องใช้ความเห็นชอบจาก สว. แต่อย่างใด และนั่นจะเป็นการย้ำว่าการทำประชามติ จะเกิดขึ้นแน่นอนค่ะ
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ เป็นที่ทราบกันดีว่าตอนนี้รัฐบาลได้เริ่มกระบวนการจัดตั้ง คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ โดยยึดตามแนวทางคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นสำคัญ โดยมีกรอบการศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการ จัดทำ รัฐธรรมนูญใหม่ควรเป็นอย่างไร การเลือกตั้ง สสร. ควรเป็นในรูปแบบใด ควรมาจาก การเลือกตั้งทั้งหมด หรือมาจากการเลือกตั้งด้วย และมีการตั้งเป็นคณะกรรมาธิการด้วย จำนวนครั้งในการทำประชามติที่กำลังศึกษากันอยู่ว่าควรจะมี ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้ง เพราะบางฝ่ายได้ตีคำวินิจฉัยของศาลธรรมนูญว่าต้องทำ ๓ ครั้ง ซึ่งเรื่องนี้ควรจะต้อง ถกเถียงกันให้ครอบคลุมในทุกมิติ เพราะมันจะส่งผลต่องบประมาณในการทำประชามติ แต่ละครั้ง และที่สำคัญที่สุดคำถามที่จะใช้ในการทำประชามติ ซึ่งตามญัตติของพรรคก้าวไกล ได้ให้สภากำหนดคำถาม ซึ่งดิฉันคิดว่าเราไม่ควรไปกำหนดคำถาม แต่สามารถให้เป็น ข้อเสนอแนะกับคณะกรรมการได้เพื่อให้นำไปพิจารณาต่อ และเพื่อให้คำถามเป็นอิสระ และไม่ชี้นำมากที่สุด ซึ่งก็อาจมีคำถามมากมายเกิดขึ้นในสังคมว่าแล้วกระบวนการของ คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำมติชุดนี้มันจะใช้เวลาหรือขั้นตอนมากเกินไปไหม แน่นอนมันอาจใช้เวลามากไป แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดก็เพื่อให้แน่ใจว่ารัฐธรรมนูญ จะถูกร่างใหม่จริง ๆ เพราะอย่าลืมว่าที่ผ่านมาการตีความเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการทำประชามติที่ไม่ตรงกันของหลายฝ่าย ทำให้เราต้องอาศัยคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ และนั่นทำให้กระบวนการแก้ไขในบางขั้นตอนขัดกับคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้กระบวนการแก้ไขทั้งหมดนั้นต้องหยุดชะงักหรือเริ่มต้นใหม่ ทำให้ประเทศเสียทั้งโอกาสในแง่ของเวลาและงบประมาณ สิ่งที่น่าจับตามองคือการทำ ประชามติของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยตามมาตรา ๙ (๒) นี้ มันจะแตกต่าง จากการทำประชามติในปี ๒๕๕๙ อย่างแน่นอน เพราะปี ๒๕๕๙ นั้นเราพูดได้เต็มปากว่า มันคือการทำประชามติแบบครึ่งใบ คือไม่เปิดกว้าง ไม่เสรี และไม่เป็นธรรม และในวันนี้ เราไม่ต้องการให้เหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้นอีก สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการทำประชามติในครั้งนี้ เราจะต้องพูดได้เต็มปากว่าเป็นการทำประชามติแบบเต็มใบ คือมันต้องเกิดขึ้นจากการรับฟัง เสียงของประชาชนอย่างแท้จริงทั้งในแง่ของที่มาและเนื้อหา
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ค่ะท่านประธาน ดิฉันอยากส่งเสียงถึง สสร. ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า ขอให้ดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้รอบคอบ รัดกุม มีรายละเอียดให้ครบถ้วน เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ไม่ทำให้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ต้องเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งในอนาคต และที่สำคัญเราจะได้ ไม่ต้องไปใช้บริการศาลรัฐธรรมนูญอยู่บ่อย ๆ ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ต่อไปจะเป็นท่านประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ หลังจากที่ท่านประสิทธิ์ อภิปรายเสร็จจะปิดการลงชื่อเพื่ออภิปราย เรียนเชิญท่านประสิทธิ์ครับ
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคก้าวไกล จังหวัดปทุมธานี เขต ๗ อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี และอำเภอหนองเสือ วันนี้ผมขอมีส่วนร่วมอภิปราย สนับสนุนญัตติขอให้ ครม. ทำประชามติสอบถามประชาชนในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งฉบับนะครับ รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ เป็นฉบับที่เราใช้กันปัจจุบันนี้เป็นมรดกที่มาจาก คณะรัฐประหาร คสช. ที่แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญหรือเรียกว่า กรธ. เขียนใหม่ ทั้งฉบับ หลังจากที่ได้ทำรัฐประหารฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญเก่าทั้งฉบับไปแล้ว แต่ถึงแม้ว่าที่มา อาจจะมาจากคณะ คสช. หรือคณะรัฐประหาร เราก็ไม่ได้ดูที่มาสักเท่าไร เราดูที่เนื้อหา เป็นสำคัญ ถ้าร่างนี้ดีอยู่แล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องแก้ใหม่ทั้งฉบับ มีปัญหาตรงไหนก็แก้ตรงนั้น แต่ร่างรัฐธรรมนูญนี้มีปัญหาแทบทุกจุด อย่างที่คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้เสนอญัตติได้อภิปราย ไปแล้วปัญหาเยอะจริง ๆ ท่านประธานครับ ท่านคงจะได้คุ้นเคยกับประโยคนี้ การเลือกตั้ง ครั้งนี้รัฐธรรมนูญเขา Design มาเพื่อพวกเรา ทุกคนคงจำประโยคนี้ได้ มีนักการเมืองซีกรัฐบาล ได้พูดไว้เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ก่อนการเลือกตั้ง ๔ เดือน ท่านลองฟังดูนะครับ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบอบการปกครอง ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน การออกแบบกฎหมายสูงสุดแบบนี้ควรจะ ยึดโยงกับประชาชนเป็นที่ตั้ง และเพื่อประโยชน์สูงสุดกับประชาชน แล้วนี่อะไรครับ หลุดปากมาได้อย่างไรว่ารัฐธรรมนูญนี้ถูกออกแบบมาเพื่อพวกเรา ออกแบบมาเพื่อนักการเมือง บางกลุ่ม พรรคการเมืองบางกลุ่ม มันผิดตั้งแต่ต้นแล้ว เรื่อง สว. ๒๕๐ คนที่แต่งตั้งมาจาก คณะ คสช. นี้ แต่งตั้งมาเสร็จก็มาเลือกนายกรัฐมนตรี อันนี้หลายท่านพูดไปแล้ว เรารู้กันอยู่แล้วว่าเป็นปัญหา แต่แค่นั้นยังไม่พอ สว. เหล่านี้ยังมีอำนาจแต่งตั้งองค์กรอิสระ ต่าง ๆ อีกมากมาย หลายต่อหลายหน่วยงานก็แต่งตั้งมาจาก สว. ชุดนี้ ทุกวันนี้องค์กรเหล่านี้ ก็ยังสร้างปัญหาอย่างต่อเนื่อง สร้างปัญหาต่อก่อปัญหาใหม่ ผมขอ Slide ด้วยครับ
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
อันนี้คนที่อยู่ตรงกลางเคยนั่ง ในสภานี้แล้วก็ยกมือด้วยความภาคภูมิใจ ผมเป็นคนทำรัฐประหารเอง แล้วก็ยิ้ม ด้วยความภาคภูมิใจ แต่ไม่รู้หรือว่าคนครึ่งค่อนประเทศเขาด่ากันเต็มไปหมด ท่านไม่กล้าเปิด Comment ใน Facebook หลายคนก็บอกว่าจะแก้รัฐธรรมนูญนี้ทำไม มีการทำประชามติ ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว ประชาชนทั้งประเทศเห็นด้วยได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง อันนี้ก็ต้อง บอกว่าย้อนไปเมื่อ ๔ ปีที่แล้ว มีคนหลายกลุ่มเลยที่ออกมารณรงค์คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้แต่ก็ถูกจับ นักกิจกรรม นักศึกษา ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ นักศึกษา ม. รามคำแหง พร้อมสมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์รวม ๑๒ คน ไปยืนแจกใบปลิวที่ตลาดเคหะหน้าตายิ้ม แย้มแจ่มใส หนึ่งในนั้นก็คือ สส. ของพรรคอนาคตใหม่ แล้วตอนนี้ก็เป็น สส. พรรคก้าวไกล ไปยืนแจก ตอนนั้นปี ๒๕๕๙ เขายังไม่ได้เป็น สส. ยืนกันอย่างนี้ถูกตำรวจลากคอ ล็อกคอ ขึ้นรถเลย แล้วข้อหาที่โดนก็คือว่ามีการชุมนุมมากกว่า ๕ คนขึ้นไป แล้วก็ก่อความวุ่นวาย สร้างความวุ่นวายให้บ้านเมืองในการรณรงค์ต่อต้านการโหวต No ครั้งนี้ จะเห็นได้ว่า อิทธิฤทธิ์ของ คสช. ยังอยู่ตอนนั้น ไม่สามารถรณรงค์ได้ อำนาจ คสช. ครอบงำในการทำ ประชามติอยู่ทั่วทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่ Case นี้ Case เดียว อันนี้เป็น Clip ล็อกคอ ไป Search ใน YouTube กันได้ อีกรายหนึ่งลุง ส. เดินแจกใบปลิวไปเสียบตามรถที่ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่าที่จังหวัดเชียงใหม่ ถูกจับควบคุมตัวไว้ในเรือนจำประมาณ ๙ วันก่อนจะได้ประกันตัว แค่เดินเสียบใบปลิว เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ ซึ่งเป็นข้อความที่พูดกันมานานมากแล้ว ก่อนหน้านี้ นาน ๆ หลายสิบปีมาก ๆ ก็มีคำพูดนี้อยู่แล้ว อันนี้จะเห็นได้ว่ามีมากกว่า ๑ เคส อันต่อไป ๒ แกนนำอันนี้ก็โดนจับ ๒ แกนนำที่ไปแจกโหวต No อันนี้เป็นที่ สภ. ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ Case ทั้งหมดที่ผมกล่าวมานี้สุดท้ายยกฟ้องนะครับ ส่วน Case นี้ไปถึงศาลอุทธรณ์เลย ศาลชั้นต้นยกฟ้องไปแล้วมีการอุทธรณ์ต่อแล้วก็ยกฟ้องอีก อันนี้ ๕ แกนนำ ข้อหา สร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย ออกเสียงประชามติตามมาตรา ๖๑ พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียง ประชามติรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๙ ศาลชั้นต้นยกฟ้องแล้วก็มีการอุทธรณ์เช่นกัน ดีนะครับ ยังไม่ดันทุรังไปศาลฎีกา แต่สุดท้ายทุกอย่างยกฟ้องหมด
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
อันนี้บอกให้เห็นว่ามันมีกระบวนการที่จับกุมคนที่รณรงค์โหวต No จริง ๆ เพราะฉะนั้นที่มาของรัฐธรรมนูญไม่ถูกต้องแล้ว การทำประชามติคุณปิดเสียงประชาชน คุณปิด Facebook ไม่พอ คุณยังปิดเสียงประชาชนอีก ถ้าคุณจะปิด Comment ใน Facebook ผมแนะนำให้ไป Post ลงหนังสือพิมพ์ ออกรายการวิทยุ TV ดีกว่าครับ โลก Social เขาต้องการการโต้ตอบกัน เขาไม่ต้องการให้คุณมาปิด Facebook สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายเปล่า ๆ แล้วก็ถ้าเกิดรัฐธรรมนูญฉบับนี้มันดีจริง ท่านต้องเปิด โอกาสให้ประชาชนเขาแสดงความเห็นคัดค้าน ประชาชนหลายคนต้องทำมาหากิน หาเช้ากินค่ำ ไม่มีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญ แล้วเขาอยากเลือกตั้ง เขาจึงไปลงมติเพื่อให้ ผ่าน ๆ ไปนะครับ อย่างที่หลาย ๆ คนพูดมาว่ารับ ๆ ไปก่อน เราได้ยินคำนี้เยอะมาก ในช่วงนั้น รับ ๆ ไปก่อนเดี๋ยวค่อยไปแก้ทีหลัง แต่แก้ยากมากเลย ๔ ปีที่ผ่านมาเราก็เห็นแล้ว ว่าเราแก้อะไรแทบไม่ได้เลย แก้ได้อยู่อย่างเดียวก็คือเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง อันนี้ก็ขอให้ ท่านอย่าปิดปากคนคัดค้านเลย เสียงส่วนน้อยท่านต้องยอมรับฟังในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะฉะนั้นผมอยากสนับสนุนให้ ครม. จัดทำ ประชามติโดยเร็ว แล้วก็ สสร. มาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ อย่างที่พรรคก้าวไกล ได้เคยเสนอไว้ในนโยบายครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านนิพนธ์ คนขยัน ครับ
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขตเลือกตั้งที่ ๓ พรรคเพื่อไทย ผมขออนุญาตอภิปรายเสนอแนวคิดเรื่องประชามติรัฐธรรมนูญ วันนี้รัฐธรรมนูญเห็นด้วย อย่างยิ่งต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เป็นของประชาชนที่แท้จริง แต่อยากกราบเรียน ท่านประธานว่าวันนี้ผมอยากนำเรียนอยู่ ๒-๓ ประเด็นครับ
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก วันนี้รัฐบาลได้แถลงต่อพี่น้องประชาชน สื่อมวลชนว่ากำลังจะ ดำเนินการทำกฎหมายฉบับใหม่ แต่ต้องศึกษาให้รอบคอบในเรื่องการทำประชามติว่า จะทำกี่รอบ ๒ รอบ หรือ ๓ รอบกันแน่ และสิ่งสำคัญวันนี้รัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทย ท่านรองหัวหน้าพรรคซึ่งได้รับมอบหมายให้พูดเรื่องทำประชามติ ทำการแก้รัฐธรรมนูญ ฉบับเพื่อประชาชน ท่านได้พูดชัดเจนว่าจะไม่แก้หมวด ๑ หมวด ๒ จะต้องธำรงไว้เหมือนเดิม ดังนั้นวันนี้เพื่อความรอบคอบในการที่จะให้รัฐธรรมนูญเป็นฉบับของประชาชนจริง ๆ ในเรื่องอื่น ๆ ผมจึงเห็นว่าในเมื่อรัฐบาลหรือว่าพรรคเพื่อไทยเราดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาให้รอบคอบอยู่ จึงเห็นว่าน่าจะรอให้รัฐธรรมนูญที่จะเป็นของประชาชนจริง ๆ นั้นต้องผ่านกระบวนการว่า สสร. จะมาอย่างไร จากการเลือกตั้งอย่างไร กำลังศึกษา หาวิธีการอยู่ ดังนั้นก็เห็นด้วยกับเพื่อนสมาชิกที่เสนอ แต่ยังไม่เห็นด้วยที่จะต้องแก้ทั้งฉบับ ดังนั้นวันนี้ ผมก็ขออภิปรายสนับสนุน แต่อย่างที่ผมกราบเรียนว่าวันนี้หมวด ๑ หมวด ๒ นั้นต้องคงไว้ ไม่แก้ทั้งฉบับ เพื่อนสมาชิกที่เสนอมานั้นก็ต้องการเป็นของประชาชนจริง ๆ ก็เข้าใจครับ แต่วันนี้เราต้องคำนึงถึงว่าไหน ๆ จะแก้ทั้งทีแล้วต้องคำนึงถึงความรอบคอบเพื่อให้เป็น กฎหมาย หรือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ออกมาให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ประโยชน์สูงสุด เห็นด้วย กับเพื่อนสมาชิกที่พูดเมื่อสักครู่นี้ว่ารัฐธรรมนูญที่ผ่านมาจาก คสช. ไม่ปฏิเสธ เห็นด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องการให้รอบคอบเพื่ออยากให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับของพี่น้องประชาชน จริง ๆ ครับท่านประธาน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านจุลพงศ์ อยู่เกษ ครับ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม จุลพงศ์ อยู่เกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ผมขออภิปราย สนับสนุนญัตติที่เสนอโดยเพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกล แต่ก่อนที่ผมจะอภิปรายในเรื่อง การทำประชามติ ผมขออภิปรายถึงปัญหาใหญ่ของการออกแบบกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ในประเทศไทยของเราสักเล็กน้อยครับ ท่านประธานครับ ทุกครั้งที่จะต้องร่างรัฐธรรมนูญ สักฉบับในประเทศไทยจะมีปัญหาใหญ่อยู่ ๒ ประการ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ปัญหาใหญ่ประการแรก คือการสร้างสมดุลระหว่างความคิดเห็นของ ประชาชนกับความต้องการของชนชั้นนำ หลักสากลยอมรับว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของ ปวงชน ประชาชนจึงเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล และเป็นผู้จำกัดอำนาจของรัฐบาล แต่ในความจริงแล้ว ในประเทศไทยผู้ปกครองชั้นนำต่างหากที่เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยมักอ้างว่าประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจ และการร่างรัฐธรรมนูญก็มักจะเกิดการครอบงำกระบวนการร่าง รัฐธรรมนูญโดยชนชั้นนำ โดยมีการอ้างสาเหตุ ๓ ข้อ ข้อแรก การอ้างว่ามีแต่เพียงผู้เชี่ยวชาญ เท่านั้นที่เข้าใจในการร่างรัฐธรรมนูญ ประชาชนไม่ได้เข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญเพียงพอ ข้อ ๒ การกล่าวอ้างว่ามีประเด็นละเอียดอ่อนที่จำเป็นต้องควบคุมในการร่างรัฐธรรมนูญ ข้อ ๓ การปกป้องสิ่งที่ชนชั้นนำต้องการด้วยการควบคุมกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ และเนื้อหาของรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้นจนจบ ในข้อสุดท้ายนี้เองครับ ประกอบกับแนวโน้ม การเติบโตของพรรคการเมืองฝ่ายเสรีนิยมจะทำให้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่จะเกิดขึ้นอาจนำมาซึ่งความพยายามครอบงำของชนชั้นนำยิ่งกว่าที่ผ่านมาจนอาจจะเกิด ความขัดแย้งในประเทศไทยมากขึ้น ความครอบงำที่เห็นชัดที่สุดในอดีตที่ผ่านมา คือเมื่อมี การรัฐประหารครั้งใดศาลไทยก็จะรับรองการรัฐประหาร แล้วก็มีการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่โดยคณะบุคคลที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ปัญหาใหญ่ประการที่ ๒ ในเมื่อจะต้องร่างรัฐธรรมนูญ ก็คือความยาก ในการเห็นพ้องถึงหลักการพื้นฐานที่สังคมจำเป็นจะต้องยอมรับร่วมกัน ซึ่งหลักการพื้นฐาน เหล่านี้คือการมีพรรคการเมืองที่หลากหลาย การตรวจสอบถ่วงดุลอันโปร่งใส การยึด หลักนิติรัฐ นิติธรรม และการพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล เมื่อกระบวนการ ร่างรัฐธรรมนูญให้ความสำคัญแก่ ๔ หลักการนี้แล้ว ไม่เพียงจะเกิดข้อดีในเชิงระบบ รัฐธรรมนูญ แต่ยังเป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด แต่หากเมื่อการร่างรัฐธรรมนูญถูก ครอบงำโดยชนชั้นนำแล้วการยึดหลักนิติธรรม นิติรัฐจะล้มเหลว การพิทักษ์สิทธิเสรีภาพ ของประชาชนก็จะถูกกำหนดโดยคำสั่งของชนชั้นนำ ท่านประธานที่เคารพครับ รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒๐ แล้วของประเทศไทย ประเทศไทยเราเป็นประเทศที่ ๔ ที่มีจำนวนรัฐธรรมนูญมากที่สุดในโลก สถิตินี้เป็นสถิติที่ไม่น่าภูมิใจอะไรเลยนะครับ นักวิชาการทางรัฐธรรมนูญได้เขียนว่า รัฐธรรมนูญคือการจัดความสัมพันธ์ระหว่างคนในชาติ ระหว่างชนชั้นปกครองกับคนใต้ปกครอง การที่ประเทศไทยเรามีรัฐธรรมนูญมาแล้ว ๒๐ ฉบับ ย่อมสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ที่ไม่ปกติของคนชั้นปกครองกับคนใต้ปกครองคือประชาชน ท่านประธานที่เคารพครับ ผมจะโทษคนรุ่นผมที่มีอายุ ๖๐ กว่า ๆ ได้ไหมว่าพวกรุ่นเราไม่มี ความสามารถเพียงพอในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางรัฐธรรมนูญ จึงส่งต่อประเทศไทย ให้คนรุ่นหลังในสภาพแบบนี้ ผมไม่คาดหวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะเป็นฉบับที่ ๒๑ จะไม่มีการแก้ไข แต่หากจะมีการแก้ไขก็ให้ทำโดยรัฐสภา ไม่ใช่โดนฉีกโดยการรัฐประหาร ท่านประธานที่เคารพครับ ตอนเวลาหาเสียงพรรคการเมืองมีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะนำไปแลก กับประชาชนคือคำสัญญาโดยนโยบายต่าง ๆ พรรคแกนนำรัฐบาลพรรคหนึ่งได้ประกาศ ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคแกนนำรัฐบาลได้ประกาศนโยบายการแก้รัฐธรรมนูญได้ว่า ผมขออนุญาตอ่านนะครับ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนโดยคงรูปแบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และผ่านการออกเสียงประชามติโดยประชาชน นอกจากนี้ในคำแถลงการณ์ที่แยกตัวจากการร่วมจัดรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล พรรคการเมือง พรรคนี้ยังเขียนด้วยว่าในการประชุมครั้งแรกของคณะรัฐมนตรีจะให้มีการจัดทำประชามติ และจัดตั้ง สสร. ไม่มีตรงไหนเขียนเลยว่าจะมีจัดตั้งคณะกรรมการมาศึกษาการทำประชามติ ขึ้นมาอีก ท่านประธานที่เคารพครับ ผมขอเรียนว่าในทางทฤษฎีการทำประชามติ คือการกลับไปหาประชาชนเท่านั้น เราหันไปพิงประชาชนในสิ่งที่ประชาชนต้องการ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ผมขออนุญาตท่านประธานกล่าวผ่านไปถึงเพื่อนสมาชิกที่เคารพ ทุกท่านอีกครั้ง พวกเราเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พวกเราเป็นผู้แทนของราษฎร แทนที่ พวกเราจะต้องคอยถามชนชั้นนำว่าพวกเขาต้องการอะไร กลับไปถามราษฎรที่พวกเรา เป็นตัวแทน เป็นการให้เกียรติราษฎร ให้เกียรติประชาชนครับ เลิกคิดเสียทีว่าประชาชน ไม่เข้าใจรัฐธรรมนูญ เลิกคิดเสียทีว่ามีประเด็นละเอียดอ่อนที่จำเป็นต้องควบคุมในการร่าง รัฐธรรมนูญ เลิกคิดเสียทีว่าต้องปกป้องชนชั้นนำเพื่อให้เขากำหนดเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ แล้วหันมาปกป้องประชาชนกันครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านธีระชัย แสนแก้ว เชิญครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายธีระชัย แสนแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย กระผม ใคร่ขออนุญาตท่านประธานเพื่อที่อภิปรายเกี่ยวกับเรื่องญัตติที่จะนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณา เกี่ยวกับเรื่องลงประชามติที่เพื่อนสมาชิกได้กรุณายื่นญัตติไว้ กระผมอยากจะขอกราบเรียน ท่านประธานว่ารัฐธรรมนูญคือเครื่องหมายถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ของประเทศ และรัฐธรรมนูญก็ยังเป็นเครื่องหมายที่เห็นว่าประเทศมีการปกครองแบบนิติรัฐ คือการปกครองด้วยกฎหมาย และกฎหมายที่ออกมานั้นบังคับใช้กับพี่น้องประชาชน อย่างเป็นธรรม เสมอภาค และเป็นไปด้วยหลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถ้าจำไม่ผิด ก็ ๒๐ ฉบับแล้ว ผมอาจจะเกิดมานาน แต่ไม่ใช่แก่เพราะเกิดนาน ยังมีความคิดที่ทันสมัยอยู่ ผมจำได้ว่ารัฐธรรมนูญหลาย ๆ ฉบับใน ๒๐ ฉบับ สมัยเมื่อก่อนนั้นเป็นรัฐธรรมนูญมีแค่ ๑๗ มาตราเท่านั้นเอง ก็คิดอยากจะประหารชีวิตใครยัดเยียดข้อกล่าวหาก็ประหารชีวิต ได้เลยใช้ ม. ๑๗ คือนายกที่ตายไปแล้วเอ่ยชื่อได้ ไม่ว่าจะเป็นยุค พลเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ประภาส จารุเสถียร ต่อไต่กันมา สุดท้ายมีการสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยใช้รัฐธรรมนูญของตัวเอง พอสมัครแล้วก็เอา เครือข่ายของตัวเองสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แล้วก็ยึดอำนาจตัวเองก็มี มันเป็นกลไก ที่ทำให้พี่น้องประชาชนขมขื่น แต่ในขณะเดียวกันพี่น้องประชาชนก็เริ่มที่จะฉลาดขึ้นทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประมาณ ๔๐ กว่าปีที่ผ่านมานั้น ปี ๒๕๑๖ ก็แล้วกันที่คิดว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่เราได้มาจากเลือดเนื้อที่พี่น้องได้เสียชีวิตไปแล้ว หลายร้อยหลายพันคน จนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบอกว่ามันเป็นวันมหาวิปโยค มันเกิดขึ้นด้วย เลือดเนื้อเชื้อไข รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๑๖ และปี ๒๕๑๗ ก็สมัครผู้แทนราษฎรปี ๒๕๑๘ สุดท้ายก็ยึดอำนาจคืนเมื่อปี ๒๕๑๙ ผมจำได้เพราะอะไรครับ ตอนนั้นเรียนอยู่ มศ. ๔ เท่านั้นผมถูกจับไปติดคุกบางเขน ความขมขื่นที่มันมี ระบอบประชาธิปไตยเด็ก ๆ สมัยเด็ก ๆ เอาท่านสุธรรม แสงประทุม เป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทยก็อยู่พรรคเดียวกัน ทุกคนเข้าป่า ทุกคนไปแสวงหา ทุกคนจับปืนขึ้นสู้ สู้ไม่ได้ก็มาสู้ในเมืองเหมือนทุกวันนี้ครับ ท่านประธานที่เคารพครับ กระผมอยากจะขอ กราบเรียนว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ มันก็เป็นส่วนหนึ่งจากการยึดอำนาจ ก่อนเข้ายึดอำนาจ ก็เกิดความแตกแยกให้ยึดอำนาจ ก็สู้กันในเมืองคือความคิดเห็นแตกต่างกันของพี่น้อง ประชาชน แล้วเมื่อไรความสมานฉันท์มันจะเกิดขึ้นได้สักที มันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ผมก็ไม่ได้ชอบนะครับ เพราะมันเกิดขึ้นจากที่เพื่อนสมาชิก ก็บอกไปแล้วไม่ได้ชอบ แต่ในขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ เลือกตั้งปี ๒๕๖๒ ก็เข็นเข้ามาในสภากัน ก็เท่ากับว่าถึงแม้ว่าจะขมขื่นแค่ไหนก็ยังจะต้องมีการยอมรับ ในรัฐธรรมนูญฉบับนั้น เพราะเราต้องการเข้ามาแก้กฎหมายแล้วมาแก้รัฐธรรมนูญ ภาษาหลักกฎหมาย ภาษาหลักนิติศาสตร์ เขาบอกว่ากฎหมายที่แก้ยากที่สุดคือกฎหมาย รัฐธรรมนูญใช่ไหมครับ นี่ก็คือปัญหา ขวากหนามต่าง ๆ ที่มันได้เกิดขึ้นในบ้านในเมืองนี้ สุดท้ายก็ยอมรับด้วยกติกา ถึงแม้ว่าจะยอมรับในวิธีการที่ขมขื่น แต่ก็ต้องเลือกตั้งกัน จากพี่น้องประชาชน ปี ๒๕๖๒ แล้วก็ปี ๒๕๖๖ อีกครับ ผมก็ได้มีโอกาสใช้รัฐธรรมนูญ เลือกตั้งปี ๒๕๖๖ เช่นเดียวกัน ก็ได้เข้ามาในสภาผู้แทนราษฎร ในสภาแห่งนี้ ๕๐๐ คน ต้องได้รับเกียรติจากพี่น้องประชาชนทั้งนั้น ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง เพราะเราได้รับฉันทานุมัติ จากพี่น้องประชาชนมา ๕๐๐ คน จะเป็นพรรคเล็ก พรรคน้อย พรรคใหญ่ พรรคกลาง พรรคอะไรก็แล้วแต่อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ซึ่งผมไม่ค่อยชอบ แต่ผมก็ต้องมา เพื่อที่จะเล่าเรื่องให้พี่น้องได้รับฟังกันว่าสาเหตุเพราะอะไร พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็ไปหาเสียง เขาพูดแม้กระทั่งพรรคผม พรรคเพื่อไทยนี่ก็ได้มีการประกาศเจตนารมณ์กับพี่น้องประชาชน บอกว่าจะต้องมาแก้รัฐธรรมนูญ จะต้องมาร่างรัฐธรรมนูญ จะเป็นวิธีการแบบไหน อะไร อย่างไร เราก็จะทำรัฐธรรมนูญโดยเอาสภาแห่งนี้ แต่มันก็มีขวากหนามครับ ก็ผลพวงที่เราพูด ถ้ามันไม่มีปัญหาผมอยากจะขอกราบเรียนต่อท่านทั้งหลายว่าว่าที่นายกรัฐมนตรีบางท่าน อาจจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็เพราะมันมีขวากหนาม มันมีหลุม มันมีบ่อหรือเปล่า เพราะฉะนั้นบ้านเมืองมันต้องเดินไปได้ จนถึงขณะนี้ผมก็เลยบอกว่าเห็นด้วยจะเป็น ประชามติ จะอะไรก็แล้วแต่ เพื่อที่จะให้มีการทำกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ ณ วันนี้ ผมอยากขอกราบเรียนว่าที่เป็นนโยบายอย่างเร่งด่วนรัฐบาลต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ ที่เขามีนโยบายแล้ว แล้วประชุม ครม. นัดแรกเขาก็ได้ดำเนินการในการตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาเพื่อศึกษาในการที่จะเป็นกลไก อาจจะต้องตั้งคณะต่าง ๆ ขึ้นมา โดยส่วนหนึ่งก็มาจาก การเลือกตั้งจากพี่น้องประชาชนทุกพรรคการเมืองที่เขาได้เชิญมา ผมก็เห็นว่าจะเอา ความจริงมาพูดกัน เพื่อให้ความจริงมันเกิดขึ้น แต่ถ้าความจริงเกิดขึ้นมันมีหลุมมีบ่อ ความเป็นไปได้มันแบบไหน ขอกราบเรียนเลยว่ามันเคยตกม้าตายไปรัฐธรรมนูญที่เรา เคยแก้มาแล้ว คำวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญที่เพื่อนสมาชิกก็ได้พูดไว้แล้ว ที่ ๔/๒๕๖๔ เกิดจาก กลไกกำหนดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยากขึ้น ทั้งต้องมีเสียง สว. ๑ ใน ๓ ต้องมีเสียงความเห็นชอบจากพรรคที่ไม่ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล อีก ๒๐ นี่คือขวากหนามที่ผมได้กราบเรียนไป ท่านประธานที่เคารพครับ รัฐบาลเริ่มต้น Start แล้ว ในการที่จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วก็ได้เชิญทุกฝ่ายเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายค้านก็ดี นักวิชาการก็ดี ผู้เชี่ยวชาญรัฐธรรมนูญก็ดี นักศึกษา นักธุรกิจ นักท่องเที่ยว กลุ่มเกษตรกร สมาคมอะไรต่าง ๆ มันก็น่าจะมีการครบถ้วนบริบูรณ์ความในการที่จะมา การประชามติมันต้องใช้เงินครับ และการทำประชามติไม่รู้จะประชามติ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง หรือ ๔ ครั้ง ก็ยังไม่รู้เหมือนกัน การตีความยังไม่แตกเลย ถ้าเกิดว่ามีการใช้ประชามติ ครั้งที่ ๑ หมดไปเท่าไรครับ ให้พี่น้องประชาชนมาเลือกตั้ง เราเลือกตั้งคราวที่แล้ว กกต. ก็มาสำรวจแล้วบอกว่าหมด ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ ล้านบาท คราวนี้เอา ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ล้านบาท ประชามติครั้งที่ ๒ อีกก็ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ล้านบาท ครั้งที่ ๓ อีก ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ท่านประธานที่เคารพครับ ผมก็เลยคิดว่ามันน่าที่จะต้องให้รัฐบาล แล้วก็มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปดำเนินการ และให้เกียรติกับทุกฝ่ายได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ถ้าหากเวลาเราผิดพลาดไปมันก็จะไปเจอตอ ตอคืออะไรครับ ก็นั่งอยู่ตอตรงนั้น ๒๐๐ ท่าน เพราะฉะนั้นผมอยากขอกราบเรียนอีกอันหนึ่งว่าความไม่แน่นอน ความไม่ชัดเจน จำนวนครั้ง ในการจัดทำประชามติก็เช่นเดียวกันที่ได้กล่าวไปแล้ว ขอกราบเรียนว่าท่าน Guarantee ได้หรือไม่ว่าถ้าจุดหมายปลายทางของรัฐธรรมนูญจะไม่ตีความว่าประชามติ ๒ ครั้ง ไม่เพียงพอ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่วินิจฉัยทุกอย่างที่เป็นไปอย่างเร่งรีบ ขาดความรอบคอบ และไม่เป็นโมฆะ ท่านกล้า Guarantee ได้หรือไม่ว่าจะไม่ต้องเริ่ม กระบวนการทั้งหมดใหม่ ถ้าเริ่มกระบวนการทั้งหมดใหม่ คืออย่างน้อยที่สุดมันก็ได้มี กระบวนการอะไรต่าง ๆ มันไม่ได้เสมอภาคกันเหมือน ๑๔ ตุลาคม ๑๖ ไม่ได้เหมือน พฤษภาทมิฬ ณ วันนี้เราสภาผู้แทนราษฎรครับ มันก็ทำมาอย่างนี้ เราต้องหลอมรวมพี่น้อง ทั้งหมดเพื่อที่จะให้ได้ จะไปกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ได้ อันนี้หลายพรรค ๑๑ พรรคที่เป็นฝั่งรัฐบาล แล้วในขณะเดียวกันผมเห็นด้วย พรรคฝ่ายค้านทำดีก็เห็นด้วย ไม่ใช่ไม่เห็นด้วย ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องรัฐธรรมนูญผมก็เห็นด้วยในการที่จะต้องให้มีการแก้ไข แต่กระบวนการในการแก้ไขนั้น ผมเกรงว่ามันจะมีปัญหา ขออนุญาตในการอภิปรายเท่านี้ครับ ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านแรกท่านวรายุทธ ทองสุข ท่านที่ ๒ ท่านลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ ท่านที่ ๓ ท่านธิษะณา ชุณหะวัณ เชิญท่านวรายุทธ ทองสุข ครับ
นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม วรายุทธ ทองสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขออภิปรายสนับสนุน ญัตติด่วนเรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ ให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ท่านประธานครับ ผมเชื่อมั่นในสภาผู้แทนราษฎรของเราทุกพรรคการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้งมา ล้วนเห็นด้วยกันว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ มีปัญหาทั้งในด้านที่มาและเนื้อหาที่ขัดกับหลักการ ประชาธิปไตย แม้ในรายละเอียดพวกเราจะเห็นแตกต่างกันบ้าง แต่ก็พยายามใช้กระบวนการ รัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ตลอดเวลา ย้อนกลับไปในรัฐสภาชุดที่ผ่านมา รัฐสภามีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน ๕ ครั้ง หากเฉลี่ยอายุของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีแค่ ๔ ปี เราต้องพูดคุยเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง คำถามก็คือแก้ไข ปีละ ๑ ครั้งเยอะไปไหม คำตอบก็คือเยอะ แต่เยอะไปก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะถ้าแก้แล้วทำให้ บ้านเมืองดีขึ้น มีกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ท่านประธานครับ แต่ผลลัพธ์ที่ออกมา ก็คือการแก้แต่ละครั้งกลับล้มเหลว ประเทศชาติไม่ไปไหน เพราะบรรดาร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกเสนอทั้งจากพรรคฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล และภาคประชาชนที่มีรวมแล้วกว่า ๒๖ ฉบับ สามารถผ่านรัฐสภาได้เพียงแค่ ฉบับเดียวคือการแก้ไขระบบเลือกตั้งให้กลับไปใช้บัตร ๒ ใบแบบรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ แต่ประเด็นอื่น ๆ กลับถูกปัดตก ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกอำนาจปฏิรูปประเทศของ สว. การปิดสวิตช์ สว. เลือกนายกรัฐมนตรี ยกเลิกนิรโทษกรรม คสช. เพิ่มสิทธิเสรีภาพ ประชาชน รื้อมรดก คสช. ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นหรือองค์กรอิสระ รวมทั้งการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง คำถามก็คือว่าปัญหาอะไรที่ทำให้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถึงแก้ไขได้ยากเย็นแสนเข็ญ คำตอบก็คือการวางกลไกสืบทอดอำนาจ ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ซึ่งผมสรุปได้ ๓ กลไก
นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ
กลไกแรก บทบัญญัติมาตรา ๒๕๖ ที่กำหนดเงื่อนไขให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยากกว่าปกติ โดยการกำหนดให้ สว. ๑ ใน ๓ หรือประมาณ ๘๔ คนจาก ๒๕๐ คน ต้องเห็นชอบด้วยรัฐธรรมนูญจึงจะผ่านได้
นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ
กลไกที่ ๒ สว. แต่งตั้ง ๒๕๐ คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งจาก คสช. ที่ขัดขวางไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้เสียงข้างมากในรัฐสภาจะเห็นชอบอยู่หลายครั้ง แต่ทุกครั้งต้องติดเงื่อนไข สว. ๘๔ คนเสมอ
นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ
กลไกที่ ๓ ศาลรัฐธรรมนูญ ผมคงไม่พูดถึงที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า ยึดโยงกับประชาธิปไตยหรือไม่ แต่ปัญหาที่ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและให้ สสร. มาจากการเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่ได้ก็มาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๔/๒๕๖๔ ที่ต้องให้ประชาชนได้ลงประชามติถามประชาชนก่อนว่าจะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่
นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ
นั่นจึงเป็นที่มาของความพยายามแสวงหาทางออกเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญของ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรของเราร่วมใจกันลงมติเห็นชอบให้คณะรัฐมนตรี จัดทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยเสียงของสภาผู้แทนราษฎรออกมาเป็น เอกฉันท์ แต่น่าเสียดายที่ญัตตินี้ถูกวุฒิสภาปัดตกไป ท่านประธานครับ เราเห็นอิทธิฤทธิ์ ของรัฐธรรมนูญชัดเจน ไม่ต้องอธิบายอะไรแล้ว เพราะพรรคการเมืองที่ผมสังกัดตั้งแต่ พรรคอนาคตใหม่ จนวันนี้เป็นพรรคก้าวไกลประสบชะตากรรมตั้งแต่ยุบพรรค แกนนำ ถูกตัดสิทธิ ถูกขัดขวางไม่ให้เป็นรัฐบาล และอนาคตถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังอยู่ไม่รู้อะไร จะเกิดขึ้นอีก แล้วยิ่งหลังจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเราก็เห็นพลังของพี่น้องประชาชน คนธรรมดาที่ร่วมมือร่วมใจกันเข้าชื่อเสนอคำถามประชามติมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ รายชื่อ โดยใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่วันเองครับ เพื่อขอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและให้มีสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นผมจึงอยากขอให้พวกเราสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันอีกครั้ง เหมือนสภาสมัยที่แล้วทำและร่วมกับพี่น้องประชาชน เสนอให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการออกเสียงประชามติเพื่อถามความเห็นของประชาชน ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไปด้วยกัน ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ ครับ
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพคะ การฟังคำอภิปรายของเพื่อนสมาชิก ผู้เสนอญัตติดิฉันเห็นด้วย และพรรคเพื่อไทยก็เห็นด้วยอย่างยิ่งในหลักการและเป้าหมาย ที่เพื่อนสมาชิกผู้เสนอญัตติกล่าวมา เพราะพรรคเพื่อไทยได้ประกาศต่อพี่น้องประชาชน ทั่วประเทศในช่วงของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งว่าเราจะมีการจัดทำประชามติเพื่อทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยรัฐบาลก็ได้บรรจุไว้ในประเด็นซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วน ที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา การจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่จึงถือเป็นฉันทามติร่วมของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ดังนั้นในหลักการ และเป้าหมายที่ว่าจะต้องให้มีการจัดทำประชามติและมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ดิฉันและเพื่อนสมาชิกพรรคเพื่อไทยรวมถึงเพื่อนสมาชิกท่านอื่น ๆ ในสภาแห่งนี้ย่อมเห็นด้วย อย่างเต็มที่และไม่มีข้อโต้แย้งใด ถึงแม้ว่าดิฉันจะเห็นด้วยและสนับสนุนในหลักการ และเป้าหมายที่เพื่อนสมาชิกผู้เสนอได้เสนอญัตตินี้ขึ้นมา แต่ดิฉันก็ไม่สามารถจะเห็นชอบ กับญัตตินี้ได้ เพราะว่ามีรายละเอียดและวิธีการของเพื่อนสมาชิกผู้เสนอญัตติด้วยเหตุผล ๒ ประการดังนี้
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการแรก ความละเอียดอ่อนในการจัดทำคำถามประชามติ รัฐบาล รับรู้ว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เป็นเรื่องยุ่งและยากมากกว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญ ในหลายครั้งที่ผ่านมา เพราะการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้อยู่ภายใต้กรอบคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญที่นำมาสู่ข้อถกเถียงในทางกฎหมายต่อมาว่าเราจะต้องทำประชามติ กี่รอบกันแน่ ดังนั้นการตั้งคำถามในการจัดทำประชามติจึงเป็นเรื่องที่เราต้องพิจารณา อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน พอดิฉันกลับมาพิจารณาคำถามประชามติที่ผู้เสนอญัตติ เสนอมานั้น คือท่านเห็นชอบหรือไม่ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งฉบับแทนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เมื่อพิจารณาคำถามประชามติของผู้เสนอ ดิฉันตั้งข้อสังเกตไว้ ๒ ประเด็น ดังนี้ ๑. การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และข้อสังเกตข้อ ๒ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยดิฉันขออนุญาต ขยายความข้อสังเกตทั้ง ๒ ประเด็นดังต่อไปนี้
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตประเด็นแรก การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ คำว่า ทั้งฉบับ นั้นอาจนำไปสู่ข้อกังวลของหลายภาคส่วนในสังคมที่ตั้งคำถามว่าทั้งฉบับนั้นย่อมหมายถึง การรวมกันแก้ไขหมวด ๑ หมวด ๒ ด้วยหรือไม่ คำถามประชามติที่ผู้เสนอญัตติเสนอมานั้น กลับไปตอกย้ำคำว่าทั้งฉบับ ซึ่งอาจเป็นการรื้อฟื้นข้อกังวลให้กลับมาปะทุขึ้นจนกลายเป็น ความขัดแย้งครั้งใหม่ค่ะ เพราะเรารู้กันอยู่แล้วภายใต้สังคมที่มีความหลากหลายทางความคิด ละเอียดอ่อนทางอุดมการณ์และความรู้สึก ประกอบกับการจัดทำรัฐธรรมนูญจะต้องอาศัย การยินยอมและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ดังนั้นพรรคเพื่อไทยจึงเสนอแนวทางว่า เราน่าจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้ไขหมวด ๑ หมวด ๒ เพื่อปลดล็อกข้อกังวล ของทุกฝ่าย โดยหวังว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะได้รับการยอมรับมากขึ้น
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตประเด็นที่ ๒ สภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ของประชาชน แน่นอนว่ารัฐบาลและพรรคเพื่อไทยเห็นด้วยอย่างยิ่งในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่นี้ต้องมาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่การระบุว่าต้องมาจาก การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนถือเป็นการตีกรอบที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จนเกินเหตุค่ะ เพราะว่าจริงอยู่มีเพื่อนสมาชิกหลายคนเห็นด้วยว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องมาจากการเลือกตั้ง เพราะเรายังถกเถียงและยังตกผลึกกันไม่ชัดเจน สมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องมาจากการเลือกตั้งในสัดส่วนเท่าใด ฝ่ายเสนอก็บอกว่า ควรจะมาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีหลายฝ่ายที่เสนอว่าควรจะมาจาก การเลือกตั้ง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ มาจากนักวิชาการ นักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญ อีก ๑๐ เปอร์เซ็นต์ จะเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกว่าไหม เรายังคุยกันไม่ครบถ้วนและยังไม่มี ความชัดเจน ยังมีข้อถกเถียงกันในรายละเอียดอย่างกว้างขวาง อีกทั้งระบุว่ามาจาก การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนก็เป็นสิ่งที่ตีกรอบอีกเช่นกัน เพราะหลายฝ่ายก็เสนอว่า ควรจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนทั้งหมด แต่ก็มีบางฝ่ายเสนอว่าเราจะเป็น การเลือกตั้งโดยอ้อมเหมือนสภาร่างรัฐธรรมนูญสมัยปี ๒๕๔๐ ได้หรือไม่ ซึ่งรายละเอียด เหล่านี้ต้องมีการตกผลึกให้ชัดเจน แต่สิ่งที่ญัตตินี้เสนอยังไม่ได้เกิดจากการตกผลึกค่ะ ดังนั้นดิฉันคิดว่าการจัดทำคำถามประชามตินั้นละเอียดอ่อน ต้องมีความรอบคอบและรับฟัง จากทุกภาคส่วน รัฐบาลตระหนักดีแล้วรู้ว่าทุกฝ่ายล้วนมีข้อกังวลเป็นของตนเอง นี่จึงเป็น เหตุผลว่าทำไมรัฐบาลจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการจัดทำ ประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ขึ้น ในวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นประธาน โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าว ออกแบบมาเพื่อเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งตัวแทนจากการเคลื่อนไหว ภาคประชาชน นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ และนักกฎหมาย ตัวแทนจากข้าราชการ ตัวแทน จากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลมีกระบวนการที่ชัดเจนอยู่แล้ว รอบคอบ และเปิดกว้างอย่างเต็มที่ในการพิจารณาคำถามประชามติ และดิฉันคิดว่าไม่มี ความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องเสนอญัตติคำถามประชามติขึ้นมาเองโดยเอกเทศ ไม่มีการเปิด รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และไม่มีการพูดคุยเพื่อตกผลึกของคำถามที่ชัดเจน ซึ่งดิฉัน มองว่าจะเป็นการสร้างความซ้ำซ้อนในกระบวนการจัดทำคำถามประชามติ และทำให้ ประชาชนสับสนในกระบวนการจัดทำคำถามประชามติ อีกทั้งรัฐบาลก็มีคณะกรรมการ พิจารณาเรื่องนี้อยู่แล้วซึ่งเป็นกลไกที่เปิดเผยและเปิดกว้าง และเปิดรับฟังทุกความคิดเห็น มีกรอบระยะเวลาในการทำงานที่ชัดเจน ซึ่งจะจัดให้มีการทำประชามติภายในไตรมาสแรก ของปี ๒๕๖๗ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสนอญัตตินี้อย่างที่ทำอยู่ค่ะ
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สรุปง่าย ๆ จากความกังวลทั้ง ๒ ประการที่ดิฉันไม่อาจสนับสนุนญัตตินี้ ท่านประธานที่เคารพคะ จากข้อกังวลทั้ง ๒ ประการที่ดิฉันได้กล่าวไปแล้วนั้นทำให้ดิฉัน ไม่อาจสนับสนุนญัตตินี้ได้ แต่จงอย่าเข้าใจผิดว่าดิฉันไม่สนับสนุนการทำประชามติ และคิดว่า ดิฉันไม่สนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อย่าเข้าใจผิดว่าดิฉันไม่สนับสนุนการให้มี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ในทางกลับกันดิฉันอยากให้เพื่อนสมาชิก พรรคเพื่อไทยเห็นด้วยในหลักการและเป้าหมาย แต่รูปแบบและวิธีการในการนำเสนอญัตติ ครั้งนี้ต่างหากขณะที่มีปัญหาค่ะ ถ้าเราอยากให้รัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญที่แท้จริงควรรับฟัง ความคิดเห็นของทุกฝ่าย และเปิดกว้างผ่านช่องทางที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านแรกท่านพนิดา มงคลสวัสดิ์ ท่านที่ ๒ ท่านนพดล ปัทมะ ท่าน ๓ ท่านธิษะณา ชุณหะวัณ เชิญท่านพนิดา มงคลสวัสดิ์ ครับ
นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรียนประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉัน ขอมีส่วนร่วมในการอภิปราย ญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้ คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชน ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเสนอโดยเพื่อนสมาชิกพริษฐ์และพรรคก้าวไกล ท่านประธานคะ รัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง ของประเทศ หากเราอยากมีกระดูกสันหลังที่แข็งแรงสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือที่มา เนื้อหา และกระบวนการ เมื่อเราพูดถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สิ่งที่จะเป็นที่ยอมรับ ของทุกฝ่ายแล้วมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยสูงสุด เราจำเป็นต้องเน้นย้ำในหลักการ ว่าอำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นต้องเป็นของประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุด ในประเทศนี้ ดังนั้นในการที่อภิปรายนี้ดิฉันมีอยู่ ๒ ประเด็นด้วยกัน
นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก การกำหนดกรอบเนื้อหาในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จากการที่คุณภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไข ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กล่าวว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในครั้งนี้จะไม่แตะต้องเนื้อหาในหมวด ๑ และหมวด ๒ อย่างแน่นอน ดิฉันมีความกังวลใจและจำเป็นต้องอภิปรายถึงประเด็นดังกล่าว เพราะดิฉันเห็นว่าเราไม่ควร กำหนดกรอบเนื้อหาไปเสียก่อน แต่ให้เป็นหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญในการออกแบบ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับนะคะ ซึ่งหากท่านมีความกังวลใด ๆ ในมาตรา ๒๕๕ ในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ก็ได้กำหนดกรอบไว้แล้วว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็น รายมาตราหรือทั้งฉบับต้องไม่กระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และไม่กระทบกระเทือนต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ หากจะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ผ่านมาการยกร่างธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ไม่เคยมีใครกำหนดเงื่อนไขแบบนี้
นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ที่มาและกระบวนการต้องมีความยึดโยงกับประชาชน รัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใดไม่ได้วัดกันเพียงแค่เนื้อหาเท่านั้น แต่ต้องวัดกันที่ต้นน้ำคือที่มาและกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย หากจะกล่าวถึง รัฐธรรมนูญฉบับที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีที่มาที่เป็นประชาธิปไตยสูงสุด เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชนก็คงต้องกล่าวถึงรัฐบาลฉบับปี ๒๕๔๐ ซึ่งมีภาพที่สะท้อนที่มาของความเป็น ประชาธิปไตยอย่างชัดเจน เนื่องจากมีการร่างรัฐธรรมนูญโดย สสร. ที่มาจากตัวแทน ของประชาชนทั้ง ๗๖ จังหวัด จังหวัดละ ๑ คน เลือกโดยรัฐสภา แล้วก็มีตัวแทนนักวิชาการ มีผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง คัดเลือกโดยสถาบันอุดมศึกษาแล้วให้รัฐสภาเลือกอีกทีหนึ่ง โดยมีจำนวนทั้งสิ้น ๙๙ คน เราก็จะเรียกสภาชุดนี้ว่ามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม เพราะรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นคนคัดเลือกในด่านสุดท้าย รัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดก็จริง แต่สิ่งเหล่านี้ ก็เป็นเพียงอดีตไปแล้ว จากวันนั้นจนถึงวันนี้ผ่านมา ๒๖ ปีแล้ว หากวันนี้เราต้องการ รัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดซึ่งหมายถึงดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ ด้วย การนำเอาอดีต มาเป็นบรรทัดฐานก็คงไม่เพียงพอ เราต้องเรียนรู้อดีตเพื่อเข้าใจปัจจุบันและสร้างสรรค์ อนาคตใหม่ หากเราต้องการรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีกว่าเดิม แต่เรายังคงทำแบบเดิม ผลลัพธ์ ไม่มีทางเปลี่ยนไปจากเดิมเลย ฉะนั้นวันนี้กระบวนการการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ จะต้องเป็นเพียงบรรทัดฐานขั้นต่ำที่สุดเท่านั้นที่เราจะนำมาปฏิบัติกันนะคะ
นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
วันนี้เราต้องมีกระบวนการที่ยึดโยงกับประชาชนมากกว่านั้น วันนั้นมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม วันนี้ถึงเวลาแล้วที่ สสร. จะต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ ประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะมีตัวแทนที่สะท้อนทุกชุดความคิด ความเชื่อ ความเป็นอยู่ ของประชาชนที่มีอยู่ในสังคมอย่างแม่นยำ โดยไม่ผูกขาดการกำหนดกฎเกณฑ์ชีวิตของคน ทั้งประเทศเอาไว้ที่คนเพียงกลุ่มเดียว ให้ทุกคนมีส่วนในการรับผิดชอบ ให้ทุกคนออกแบบ อนาคตของตัวเองร่วมกัน ดิฉันเองก็ต้องการหลักประกันเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะมีตัวแทน คนจนแบบดิฉันเข้าไปร่วมร่างกฎหมายใหม่ของประเทศไทยด้วย พี่น้องบางกลอยเองก็อยากได้ ตัวแทนที่มั่นใจว่าจะเป็นตัวแทนพี่น้องชาติพันธุ์ที่ไม่มองข้ามปัญหาของพวกเขาเผชิญหน้ากัน อยู่เข้าไปร่วมร่างด้วย เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะปิดช่องรัฐประหาร ปกป้องเสียงของพี่น้องประชาชน ปกป้องสิทธิเสรีภาพ ยุติการสืบทอดอำนาจ คสช. หรือพี่น้องทั่วประเทศจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเราจะได้โอกาสจากการกระจายอำนาจปลดล็อก ท้องถิ่น หากเราไม่ได้มีโอกาสในการเลือกตัวแทนด้วยตัวเอง กล่าวคือหากท่านหวงแหนสิ่งใด ท่านก็ควรจะต้องมีตัวแทนเข้าไปรักษาประโยชน์สูงสุดของสิ่งนั้น นี่คือเหตุผลสำคัญที่สุดว่า ทำไม สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งของพี่น้องประชาชน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพื่อสร้าง ความชอบธรรมในการออกกฎหมายใหม่ กฎหมายแม่ที่จะเป็นตัวบังคับใช้กับคนทั้งประเทศ สิ่งที่เราจะต้องทำในวันนี้ก็คือให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือก สสร. แสดงความคิดเห็น นำเสนอสิ่งที่ต้องการ และที่สำคัญที่สุดคือออกเสียง ประชามติ ยิ่งประชาชนมีส่วนร่วมมากเท่าไร ความเป็นประชาธิปไตย ความชอบธรรม ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีมากเท่านั้น ซึ่งกระบวนการสำคัญที่จะยืนยันว่าประชาชนทุกคน มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็คือการทำประชามติ เพื่อสอบถามความเห็นจากเจ้าของอำนาจตัวจริงใช่ไหมคะ สิ่งที่เราจะต้องให้ความสำคัญ อย่างยิ่งก็คือการกำหนดคำถามในการทำประชามติที่จะเปรียบเสมือนการกำหนดกรอบว่า กระบวนการและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะมีแนวทางไปในทิศทางไหน คำถาม ต้องชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่มีพื้นที่ให้ปิศาจไปซ่อนไว้ในรายละเอียด พรรคก้าวไกล เราเสนอให้ตั้งคำถามในการทำประชามติสอดคล้องกับที่มีพี่น้องประชาชนร่วมกันเข้าชื่อ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ๒๐๐,๐๐๐ กว่ารายชื่อในโครงการ Conforall เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ที่ผ่านมาว่าท่านเห็นชอบหรือไม่ว่าประเทศไทยควรจะต้องมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งฉบับแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบันโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ที่จริงแล้วญัตติแบบนี้พร้อมคำถามเดียวกันนี้ เคยได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้วโดยผู้แทนจากทุกพรรคเห็นตรงกัน เป็นประชามติ เป็นฉันทามติร่วมกันค่ะ ดังนั้นไม่เพียงแต่คณะรัฐมนตรีจะเร่งทำประชามติ เพื่อเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่จำเป็นจะต้องตั้งคำถามในการทำประชามติ อย่างชัดเจนและเป็นหลักประกันว่าเราจะได้รัฐธรรมนูญที่มีที่มาเป็นประชาธิปไตย เพื่อเป็นประตูบานแรกในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ศักราชใหม่ของการเมืองไทยที่ถูกทาง อีกนิดค่ะท่านประธาน สุดท้ายแล้วการยกร่างธรรมนูญฉบับใหม่ครั้งนี้จะต้องไม่ใช่แค่สักแต่ทำแบบขอไปที ต้องทำ ด้วยการยึดหลักการที่ถูกต้องและมีกระบวนการที่ยึดโยงกับประชาชนให้ได้มากที่สุด มิฉะนั้นเราจะมีรัฐธรรมนูญที่เป็นดังกระดูกสันหลังที่คดเคี้ยวบิดเบี้ยวอันเป็นที่น่าทรมาน ทรกรรมของประชาชนไปอีกหลายปี ดิฉันจึงขอรับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกทุกท่าน โหวตเห็นชอบให้กับญัตตินี้เพื่อให้การออกเสียงประชามติครั้งนี้เป็นการฟื้นคืนอำนาจ ในการร่างธรรมนูญใหม่โดยประชาชน เพื่อประชาชน เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ทางการเมืองและคืนความเป็นปกติให้กับประเทศเรา ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านนพดล ปัทมะ เชิญครับ
นายนพดล ปัทมะ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นพดล ปัทมะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ เมื่อ ๒๗ ปีที่แล้วเมื่อผมเป็น สส. สมัยแรกก็ได้มาอภิปรายในสภาเกี่ยวกับเรื่องการจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งขณะนั้นเข้าใจว่าเป็นมาตรา ๒๑๑ ซึ่งต้องให้เครดิตกับรัฐบาล ในขณะนั้นคือ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา และสภาในขณะนั้นได้ผลักดันจนมีการเลือกตั้ง สสร. วันนี้ ๒๗ ปีผ่านไปก็ต้องมาอภิปรายประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง ท่านประธาน ที่เคารพครับ วันนี้ผมจะไม่เสียเวลาท่านประธานเพื่อมาอภิปรายว่าเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๖๐ นั้นไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร วันนี้ผมจะไม่มาอภิปรายว่าเนื้อหา รัฐธรรมนูญในอุดมคติควรจะมีเนื้อหาในเรื่องใดบ้าง และวันนี้คงจะไม่มาอภิปรายว่า พรรคการเมืองได้มีจุดยืนเรื่องประชาธิปไตยมั่นคงกว่ากัน เพราะเรื่องนั้นก็คงจะสามารถ ตรวจสอบดูได้จากการดำเนินการของพรรคการเมืองแต่ละพรรคในอดีต พรรคเพื่อไทยนั้น เคยพยายามเสนอกฎหมายร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขให้มี สสร. ๒ ครั้งที่มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชนแต่ไม่สำเร็จนะครับ ซึ่งคงไม่มีเวลาที่จะมาอธิบายว่าไม่สำเร็จเพราะอะไร ในปี ๒๕๖๓ และปี ๒๕๖๔ เดือนสิงหาคมแล้วก็เดือนมิถุนายนแต่ก็ไม่สำเร็จ ผมคิดว่า ญัตติที่เสนอในวันนี้เป็นเรื่องที่ผมเห็นด้วยในหลักการว่าควรจะมีการทำประชามติเพื่อตั้ง สสร. ให้มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อันนั้นผมเห็นด้วย แต่ประเด็นไม่ใช่ว่าเราควรจะมี สสร. หรือไม่ แต่ประเด็นเราจะแก้ไขกฎหมายให้สำเร็จได้อย่างไรมากกว่าที่เป็นประเด็นในขณะนี้ พรรคเพื่อไทยมีนโยบายมั่นคงชัดเจนในการเลือกตั้งที่ผ่านมา เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ พรรคเพื่อไทยมีนโยบายว่าจะมีการตั้ง สสร. มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มาจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นั่นเป็นนโยบายหรือเป็นสัญญาหาเสียงหรือ Eelectoral Pledge ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งทันทีที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรกก็ได้มีมติการตั้งกรรมการ เพื่อมาศึกษาในการจัดทำประชามติเพื่อที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ท่านประธานที่เคารพครับ มีบางคนบอกว่าการทำเช่นนั้นเป็นการซื้อเวลาหรือไม่ ซึ่งผมอยากกราบเรียนว่าประเด็น เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาก แล้วก็มีความท้าทาย มีอุปสรรคค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องนี้ถ้ามีการปรึกษาหารือกันจากภาคส่วน ต่าง ๆ ทั้งเอกชน สื่อมวลชน พรรคการเมือง วุฒิสภา ผมคิดว่าจะทำให้โอกาสในการแก้ไข รัฐธรรมนูญให้มี สสร. มีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุดครับ ดังนั้นผมจึงมีความเห็นว่า การใช้เวลาเพิ่มเติมอีกไม่กี่สัปดาห์ ผมเข้าใจว่าท่านรองนายกรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะใช้เวลาไม่กี่เดือนและก่อนปีใหม่ ซึ่งเหลือเพียงประมาณ ๒ เดือนเท่านั้นเอง เดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคมควรจะต้องมี ข้อสรุป แล้วผมคิดว่าถ้าเกินกว่าปีใหม่ไปมากก็อาจจะถูกกล่าวหาว่าเป็นการซื้อเวลาได้ แต่ในขณะนี้ผมไม่เชื่อว่ารัฐบาลต้องการซื้อเวลานะครับ ท่านประธานที่เคารพครับ ดูองค์ประกอบของคณะกรรมการที่รัฐบาลได้แต่งตั้งขึ้นก็มีองค์ประกอบหลายฝ่าย มีทั้งสื่อมวลชน มีทั้งตัวแทนพรรคการเมืองต่าง ๆ เข้าใจว่ามีวุฒิสมาชิกด้วย แล้วก็มี ภาคเอกชนด้วย รวมทั้งนักวิชาการ เพราะฉะนั้นผมมั่นใจว่าครั้งนี้รัฐบาลที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำ เราจะมาสร้างประวัติศาสตร์ในการที่จะตั้ง สสร. แล้วก็มาร่างรัฐธรรมนูญที่คิดว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด ผมมั่นใจว่าตัวชี้วัดของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ มีความเป็นประชาธิปไตยมากพอสมควร แต่เราสามารถทำได้ดีกว่านี้ครับ เราก็มี วัตถุดิบ มีองค์ความรู้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก คิดว่าน่าจะทำ ได้ดี
นายนพดล ปัทมะ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ทีนี้มาถึงประเด็นความตั้งใจของรัฐบาลซึ่งผมไม่มีข้อสงสัยใด ๆ เลย วันนี้ผมลุกขึ้นมาอภิปรายนี่ผมเห็นด้วยในการทำประชามติ อยากจะกราบเรียนท่านประธาน และพี่น้องประชาชนที่ติดตามการอภิปรายว่าพรรคเพื่อไทยมีจุดยืนมั่นคงแน่วแน่สนับสนุน เดินหน้าทำประชามติเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชนในการทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หวังว่าในวันพรุ่งนี้การพาดหัว ก็คงจะไม่บอกว่ารัฐบาลหรือพรรคร่วมรัฐบาลคว่ำญัตติเพื่อที่จะขวางการทำประชามติ คงไม่ใช่เช่นนั้นนะครับ ผมอยากจะกราบเรียนว่าความท้าทายในญัตติของวันนี้มันมีอยู่ ๒-๓ ประเด็นที่อาจจะไม่ผ่านและไม่บรรลุผล
นายนพดล ปัทมะ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ก็คือว่าการเสนอญัตติเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเพื่อส่ง ให้คณะรัฐมนตรีทำประชามติตามมาตรา ๙ (๔) ของ พ.ร.บ. การออกเสียงประชามตินั้น นี่มันไม่ใช่เสียงของสภาผู้แทนราษฎร มันเป็นมติของรัฐสภา ซึ่งผมเข้าใจว่าถ้าใช้คำเช่นนั้น คงจะต้องไปขอความเห็นชอบจากวุฒิสภาอีกครั้งหนึ่ง เราลองคิดดูสิว่าญัตตินี้จะผ่าน หรือได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาหรือไม่ นั่นเป็นประเด็นแรก
นายนพดล ปัทมะ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ถ้าสมมุติว่ารัฐสภามีความเห็นชอบแล้วส่งญัตตินี้ไปให้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อทำการออกเสียงประชามติ คณะรัฐมนตรีก็ยังมีดุลยพินิจ หรือ Descretion ในการที่จะพิจารณาว่าจะเห็นชอบหรือไม่ อันนั้นก็ยังเป็นความท้าทาย ขั้นตอนที่ ๒
นายนพดล ปัทมะ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ คณะรัฐมนตรีในขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษา หาแนวทางการทำประชามติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นผมคิดว่าการเสียเวลาเพิ่มขึ้นอีกไม่กี่สัปดาห์ ผมใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ไม่ใช่เวลาเป็นเดือนครับ ก็ไม่น่าจะเป็นการซื้อเวลาหรือเสียเวลามาก จนเกินไปสำหรับการหาฉันทานุมัติ หาความเห็นชอบ หาการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน ในการที่จะผลักดันเรื่องนี้ต่อไปนะครับ
นายนพดล ปัทมะ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ผมคิดว่าประเด็นสำคัญที่คงจะต้องทำความเข้าใจกับท่านประธานสภา และท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติในขณะนี้ พรรคเพื่อไทยเคยเสนอให้มี สสร. ๒ ครั้งในปี ๒๕๖๓ และปี ๒๕๖๔ ในเนื้อหาของการแก้ไขมาตรา ๒๕๖ พรรคเพื่อไทยเขียนไว้ชัดเจนว่า เราจะไม่แก้ไขหมวด ๑ และหมวด ๒ ของรัฐธรรมนูญ ถ้าท่านประธานกรุณาพิจารณา ญัตติที่เรากำลังพิจารณาอยู่ในขณะนี้จะเห็นว่าคำถามในการออกเสียงประชามติค่อนข้างกว้าง เพราะฉะนั้นก็คือการจัดทำรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยไม่มีกรอบใด ๆ ซึ่งท่านจะให้เหตุผลว่า คุณกลัวอะไรในเมื่อตัวแทนจากประชาชนจะเป็นคนเลือก สสร. ก็ให้เขามีเสรีภาพในการร่าง แต่จุดยืนที่มั่นคงของพรรคเพื่อไทยก็คือพรรคจะไม่แก้ไขหมวด ๑ และหมวด ๒ ของรัฐธรรมนูญ นั่นเป็นประเด็นที่ชัดเจนที่เห็นแตกต่างกันในแง่ของคำถาม
นายนพดล ปัทมะ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ผมเห็นว่าโอกาสที่ญัตตินี้จะประสบความสำเร็จก็จะต้องฝ่าฟัน หรือจะต้องข้ามความท้าทาย ๒-๓ เรื่องอย่างที่บอก ความเห็นชอบจากวุฒิสภาจะต้องไปให้ คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีดุลยพินิจในการที่จะไม่เห็นชอบด้วย ซึ่งเรื่องนั้นก็เป็น ความท้าทายและโอกาสจะประสบความสำเร็จผมคิดว่าไม่ค่อยมากนะครับ เพราะฉะนั้น ผมก็เลยเห็นว่าการที่เราจะรอเวลาสักประมาณไม่กี่สัปดาห์หรือไม่เกิน ๒ เดือนที่จะให้ คณะกรรมการที่รัฐบาลได้แต่งตั้งขึ้นมาได้พิจารณาสอบถามความคิดเห็นอย่างรอบคอบ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เรามีโอกาสที่จะผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับมี สสร. ไปร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ผมมั่นใจว่าพรรคเพื่อไทยตั้งใจจริงในการที่จะให้มี สสร. มาจากการเลือกตั้งของประชาชนไปแก้ไขรัฐธรรมนูญทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย มากขึ้น แล้วผมมีความมั่นใจว่าสัญญาที่เราให้ไว้กับพี่น้องประชาชนในครั้งนี้เราจะทำตาม โดยไม่บิดพลิ้ว แล้วก็มั่นใจว่าเมื่อเวลามาถึงเราคงจะได้มีการอภิปรายอีกครั้งหนึ่งว่าเนื้อหา ของการแก้ไขหรือร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐบาลหรือของพรรคการเมืองต่าง ๆ จะเป็นอย่างไร ขอบคุณท่านประธานที่เคารพครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านธิษะณา ชุณหะวัณ เชิญครับ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพค่ะ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ เขตปทุมวัน เขตสาทร และเขตราชเทวี วันนี้ดิฉันมาอภิปรายสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิกคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ในการทำร่างประชามติเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ขอ Slide ค่ะ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สาเหตุและความสำคัญ ที่ต้องมีการทำประชามติ ดิฉันอาจจะไม่ต้องอภิปรายถึงเรื่องและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ที่มีหลักการขัดกับหลักประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญลูกผสม ไม่ต้องอธิบายแล้ว เพราะเพื่อนสมาชิกก็ได้พูดไปหมดแล้วถึงที่มาของรัฐธรรมนูญที่มาจาก คณะรัฐประหาร ที่มาของ สว. ที่มาจากการแต่งตั้งโดย สนช. ที่มาขององค์กรอิสระ ที่มาจาก การแต่งตั้งโดย สนช. เช่นเดียวกัน มาจากคณะรัฐประหาร หรือ คสช. นั่นเองค่ะ ดิฉันก็จะ เริ่มที่เนื้อหาที่เกี่ยวกับการประชามติเลย ดิฉันขออภิปรายสนับสนุนประเด็น ของเพื่อนสมาชิกในการพิจารณาเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มี การออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ การออกเสียงประชามติคือการนำนโยบายสำคัญในการนำร่างกฎหมาย หรือร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยสูงสุด และเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการตัดสินใจในแนวทางการปกครอง ประเทศ หรือที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยทางตรง หรือที่เรียกว่า Direct Democracy ตัวอย่างเช่นกรุงเอเธนส์สมัยกรีกโบราณซึ่งเป็นต้นแบบของระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก ที่เป็นประชาธิปไตยทางตรงนั่นเอง แต่ประเด็นปัญหาของประเทศไทยในการทำประชามติ อย่างเช่นในปี ๒๕๕๙ มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ดิฉันขอตั้งข้อสังเกต ดังต่อไปนี้ค่ะ ในกระบวนการการทำประชามติที่ดูเหมือนจะมีความไม่เป็นกลางเป็นอย่างยิ่ง อย่างเช่นการใช้ถ้อยคำในเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดและเนื้อหาในประชามติที่ส่งไปตาม ไปรษณีย์นั้นดูจะชักจูงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากจนเกินไป และเนื้อหาของประชามตินั้นเต็มไปด้วย คำศัพท์ที่เข้าใจยาก และอาจทำให้เกิดความสับสนในเชิงประเด็นและเนื้อหาที่สำคัญ ในการทำประชามติ หรืออีกประเด็นหนึ่งคือปัญหาในการปิดกั้นการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งเพื่อนสมาชิกก็ได้อภิปรายไปหลาย ๆ ฝั่งแล้ว หรือการที่แสดงออกจากฝั่งผู้ที่เห็นต่าง กับการรณรงค์โหวต No เช่น ในกรณีของคุณจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือคุณไผ่ ดาวดิน ขออภัยที่เอ่ยนามนะคะ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเนื่องจากมีการแจกเอกสารอันมีเนื้อหา การแสดงความเห็นต่อการลงประชามติ และถูกฝากขังที่เรือนจำภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ นี่เป็นตัวอย่าง ซึ่งยังมีอีกหลายกรณีที่ดิฉันไม่ได้เอ่ยถึงที่เป็นลักษณะคล้ายคลึงกัน ในหลัก ความเป็นจริงการทำประชามตินั้นควรจะเป็นการแสดงความเห็นได้อย่างเสรีเกี่ยวกับประเด็น ในการทำประชามติ เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เราควรจะได้รับการปกป้องอยู่แล้วค่ะ และเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีการทำประชามติในต่างประเทศที่ผ่านมาไม่นาน หรือที่ เรียกว่า A referendum on Scottish Independence ตัวอย่างในประเทศสกอตแลนด์ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๗ ประชาชนชาวสกอตแลนด์สามารถแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับอนาคตและกำหนดแนวทางของประเทศของพวกเขาในหลาย ๆ บริบท โดยเฉพาะ ในการประกาศอิสรภาพออกจากสหราชอาณาจักรหรือรวมถึงเรื่องการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ตามหลักแล้วกระบวนการนี้ทำให้ประชาชนได้เห็นว่ามีคุณค่าในการมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจ และส่งเสริมพันธกรณี ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไรก็ตามค่ะ ฉะนั้น ควรกำหนดให้มีคณะกรรมการที่เป็นอิสระและเป็นกลาง ในขณะเดียวกันต้องสามารถสื่อสาร และโฆษณาได้อย่างเสรี
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ในส่วนของฝ่ายการเมืองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียย่อมมีอิสระในการเข้าร่วม อภิปรายแสดงความเห็นอย่างอิสระ ไม่มีการปิดกั้นใด ๆ และที่สำคัญบุคคลที่สามารถ เข้าร่วมลงประชามติได้ ตัวอย่างเช่นผู้ที่ออกมาใช้สิทธิประชามติในสกอตแลนด์อยู่ที่ ๘๔.๖๐ เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนี้เป็นชาวสกอตแลนด์ที่อยู่หรืออาจจะไม่อยู่สกอตแลนด์ ในขณะนั้น หรือทั้งหมดนี้เป็นชาวสกอตแลนด์ที่เป็นเพียงผู้อยู่อาศัยในสกอตแลนด์มานาน แต่ยังไม่มี Citizen ด้วยซ้ำ หรือยังไม่ได้เป็นพลเรือนด้วยซ้ำ ในประเทศไทยเราเองอาจจะ ไตร่ตรองด้วยซ้ำว่าคนที่จะเข้าร่วมลงประชามติได้ควรรวมคนไทยที่อยู่นอกประเทศหรือไม่ หรืออีกอย่างที่พิจารณาก็คือผู้ที่อยู่อาศัยในประเทศไทยมานานหลายต่อหลายรุ่น แต่ยังไม่มี สถานะเป็นพลเมือง เราควรจะให้สิทธิคนกลุ่มนั้นในการลงประชามติด้วยหรือไม่ เพราะเขา ก็เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเช่นเดียวกัน
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ต่อมาในช่วงการลงประชามติ Brexit เป็นการลงประชามติเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ โดยสหราชอาณาจักรยังคงเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่ ผลปรากฏว่า ๕๙.๑๐ เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงให้สหราชอาณาจักร ต้องออกจากสหภาพยุโรป นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของสหราชอาณาจักรที่แสดงให้เห็นว่า การลงประชามติไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร แต่การทำประชามติสามารถทำให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยโดยตรงหรือเป็นประชาธิปไตยทางตรง และเมื่อพูดถึงการลงประชามติของชาวสกอตแลนด์และการทำประชามติ Brexit ทั้งสอง มีความเป็นกลางในด้านความอิสระสามารถที่จะรณรงค์ได้ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ไม่มีใครถูกจับกุมขังคุก แม้ว่าเขาจะไปไกลถึงขั้นที่ว่าอยากจะประกาศอิสรภาพออกมา จากสหราชอาณาจักรก็สามารถที่จะมีการจัดทำประชามติได้อย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ และไม่มีใครห้ามที่ให้กระทำเช่นนั้นค่ะ การลงประชามติของ Brexit มีข้อสังเกตในด้านที่มี ความไม่เป็นกลางมากกว่าของสกอตแลนด์เนื่องจากมีการแทรกแซงทางการเมือง แต่เทียบไม่ได้เลยกับประเทศเราที่ไม่ได้เพียงแต่แทรกแซงทางการเมือง แต่เป็นการจับกุม คุมขัง เป็นการทำร้ายร่างกายผู้รณรงค์ อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้ และผู้ที่รณรงค์โหวต No เรายังต้องเน้นย้ำในการสนับสนุนให้มีการรณรงค์อย่างเสรี ทั้ง ๒ ฝ่าย การเปิดพื้นที่ในฝ่ายที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ถัดไปค่ะ ความเป็นกลางในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๙ ในไทยการทำประชามติได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยกำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางในการจัดทำประชามติและมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทำประชามติอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และเป็นอิสระ อย่างไรก็ตามการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๙ มีข้อสังเกต ในด้านความไม่เป็นกลางอยู่หลายประการดังต่อไปนี้
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๑. กระบวนการในจัดทำประชามติมีความโปร่งใสไม่เพียงพอ มีประชาชน จำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับประชามติได้อย่างเท่าเทียม
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๒. กระบวนการจัดทำประชามติมีความยุติธรรมไม่เพียงพอ และดูเหมือน มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๓. กกต. มีความเป็นอิสระหรือไม่เป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อมองกลับมาการทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ เกิดขึ้นมาก็เนื่องจากมีความขัดแย้งทางการเมือง แต่สุดท้ายแล้วรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ สร้างปัญหาทางการเมืองมากมาย มีคนออกมาประท้วงตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ เป็นต้นมาให้แก่ ประเทศมาเกือบ ๖ ปีแล้ว ทุกคนน่าจะรับรู้และเข้าใจกันมาตลอดเกี่ยวกับปัญหา ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งสำคัญและมีความชอบธรรม และนั่นคือสิ่งที่รัฐบาลนี้ควรมีความเห็นชอบกับญัตตินี้ที่มอบอำนาจประชาธิปไตยทางตรง ให้กับประชาชนในการจัดทำประชามติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยตรง และรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง หรืออย่างที่อับราฮัม ลินคอล์น กล่าวว่า Democracy is a rule of the people, for the people and by the people. หรือกล่าวว่าระบอบประชาธิปไตยคือกฎเกณฑ์ที่มาจากประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ ดิฉันอยากขอให้ฝ่ายบริหารได้เข้าใจและคำนึงถึงประเด็นปัญหา ตรงนี้ดังที่ดิฉันกล่าวไปคือ ความเป็นกลางในกระบวนการทำประชามติจำเป็นต้องเปิดพื้นที่ ให้ทุกฝ่ายได้แสดงความเห็นอย่างเสรีค่ะ เพราะที่ผ่านมาอย่างที่กล่าวไปข้างต้นรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ สร้างปัญหาไปมากเพียงพอแล้ว ทางออกที่ดีที่สุดดิฉันว่าถึงเวลาแล้วที่จะมอบ อำนาจให้แก่ประชาชนโดยตรงในการทำประชามติ หวังว่าท่านจะไม่ปิดโอกาสของประชาชน ที่จะได้มีรัฐธรรมนูญใหม่เฉกเช่นเดียวกับที่พวกท่านได้หาเสียงไว้ค่ะท่านประธาน กราบขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะนักศึกษาระดับปริญญาโท อาจารย์ และเจ้าหน้าที่โครงการบัณฑิตศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ต่อไปอีก ๓ ท่าน ท่านแรกท่านภราดร ปริศนานันทกุล ท่านที่ ๒ ท่านรังสิมันต์ โรม ท่านที่ ๓ ท่านจำลอง ภูนวนทา เชิญท่านภราดร ปริศนานันทกุล ครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ภราดร ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง พรรคภูมิใจไทย ผมลุกขึ้น อภิปรายต่อญัตติของเพื่อนสมาชิกเรื่องที่ได้อภิปรายกันอยู่ในขณะนี้เพื่อที่จะยืนยันเจตนารมณ์ ของพรรคภูมิใจไทย แล้วผมประกาศกับท่านประธานชัด ๆ ว่าญัตตินี้พรรคภูมิใจไทยลงมติว่า ไม่เห็นด้วยกับญัตติของท่านพริษฐ์ ผมประกาศตั้งแต่วินาทีแรกครับ แล้วผมก็คาดเดาได้เลย ว่าหลังจากที่มีการลงมตินี้เสร็จสิ้น แน่นอนมันจะมีหลายฝ่ายที่พยายามที่จะบิดเบือนว่าคนที่ ลงมติไม่เห็นด้วยกับญัตติของคุณพริษฐ์คือคนที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ คือคนที่ ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้มีการทำประชามติเพื่อที่จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเทศนี้ ผมซื้อหวยตั้งแต่วินาทีนี้และเชื่อขนมกินได้ว่าหลังจากที่ลงมติมันจะต้องมีข่าวแบบนี้ ผมลุกขึ้นอภิปรายเพื่อที่จะบอกเจตนารมณ์ที่ชัดเจนว่าเพราะเหตุใดพวกเราพรรคภูมิใจไทย ถึงไม่สามารถที่จะเห็นด้วยกับญัตติดังกล่าวได้ ไม่ใช่เพราะพวกผมไม่เห็นด้วยกับกระบวนการ การทำประชามติ การสอบถามพี่น้องประชาชนเพื่อทำประชามติ สอบถามถึงการแก้ไข รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยเพราะพวกผมเหนี่ยวรั้งและกอดรัดอยู่กับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๖๐ ที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหาร ไม่ใช่ครับ มีเจตนารมณ์หลายครั้งในสภาแห่งนี้ เมื่อสมัยที่แล้ว แสดงให้เห็นชัดเจนว่าพวกผมพรรคภูมิใจไทยมีเจตนารมณ์ในการที่จะแก้ไข รัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นมาโดยตลอด ไปเปิดอ่านประวัติศาสตร์ได้ พวกผมเป็นพรรคการเมืองแรกก่อนพรรคก้าวไกลเสียด้วยซ้ำ ก่อนพรรคเพื่อไทยสมัยนั้น เสียด้วยซ้ำที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๖ เรื่องให้มีการตั้ง สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง เข้าไปแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ให้เป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากพี่น้อง ประชาชน นี่คือเจตนาที่ชัดเจนของพรรคภูมิใจไทยมาโดยตลอด และทุกครั้งที่มีการลงมติ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญท่านประธานไปเปิดดูครับ พวกเราเห็นด้วยที่จะเดินหน้าแก้ไข รัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันกับการทำประชามติ กฎหมายการทำประชามติที่เพื่อนสมาชิกได้ใช้ ในการยื่นญัตติครั้งนี้คือกฎหมายประชามติมาตรา ๙ (๔) ท่านประธานทราบไหมครับ ท่านประธานจำได้ไหมว่ามันเกิดขึ้นมาจากเหตุไหน ในร่าง กฎหมายประชามติของรัฐบาลขณะนั้นที่เสนอเข้ามาไม่มี (๔) พวกผมพรรคภูมิใจไทย อยู่ในฝ่ายรัฐบาลขณะนั้น ท่านอาจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ขออภัยเอ่ยนาม ท่านเป็นกรรมาธิการ ท่านขอเสนอแก้ไข ท่านขอเสนอแปรญัตติเอาไว้ในชั้นกรรมาธิการว่าขอให้สภานี้สามารถ ที่จะมีช่องทางเพิ่มอำนาจให้กับสภาที่จะเสนอญัตติต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อที่จะทำประชามติได้ พวกผมอยู่เสียงข้างมาก พรรคเสียงข้างมากขณะนั้นไม่เห็นด้วย แต่พวกผมกับพรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนญัตติของอาจารย์ชูศักดิ์เพื่อที่จะให้เปิดช่องให้สภาแห่งนี้สามารถที่จะมีอำนาจพิเศษ ในการที่จะเสนอให้รัฐบาลสามารถที่จะขอให้ทำประชามติได้ เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลใด ๆ เลย ที่พวกผมไม่เห็นด้วยกับกระบวนการขอทำประชามติของสภาแห่งนี้ เหตุผลหลัก ๆ ที่ผม ไม่เห็นด้วยกับญัตติของเพื่อนสมาชิกมีอยู่ด้วยกัน ๒-๓ เหตุผล ผมขอไล่เรียงกับท่านประธาน แบบนี้ครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เหตุผลที่ ๑ เพราะขณะนี้รัฐบาลตามที่เป็นข่าวได้มีการตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมา ๑ ชุดเพื่อที่จะศึกษาแล้วก็หาแนวทางในการเดินหน้าเพื่อที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ อยู่แล้ว ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีความชัดเจนว่ามาจากหลากหลาย มีความหลากหลาย ทั้งในภาคการเมือง ทั้งหลากหลายในภาคส่วนของนักวิชาการ คณะกรรมการชุดนี้มี ความน่าเชื่อถือต่อสังคมมากพอสมควรที่จะเดินหน้าชูธงเพื่อที่จะนำไปสู่การแก้ไข รัฐธรรมนูญในอนาคตได้ แต่น่าเสียดายที่พรรคก้าวไกลซึ่งผู้เสนอญัตติสังกัดอยู่นั้น ไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการชุดนี้ ถ้าพรรคก้าวไกลเข้าร่วมกับคณะกรรมการชุดนี้ ก็ไม่จำเป็นหรอกที่เพื่อนสมาชิกจะต้องมาเสนอญัตตินี้ในสภาแห่งนี้เพื่อที่จะส่งให้กับรัฐบาล เพื่อไปพิจารณาทำประชามติ เพราะท่านสามารถที่จะเสนอญัตติเช่นนี้ เสนอความเห็นเช่นนี้ ในคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องมาผ่านสภาแห่งนี้ แล้วผ่านวุฒิสภา เพื่อที่จะเสนอต่อรัฐบาล แล้วก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะรับฟังแล้วนำไปปฏิบัติหรือไม่ อันนี้คือ เหตุผลที่ ๑ นั่นคือขณะนี้รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาและมีความน่าเชื่อถือ เพียงพออยู่แล้ว
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เหตุผลที่ ๒ ก็คือว่าเนื้อหาของญัตตินี้เป็นเนื้อหาที่พวกผมรับไม่ได้ครับ พวกผมไม่อาจที่จะลงมติเห็นด้วยกับญัตตินี้ได้ด้วยตัวเนื้อหาของญัตติเอง ถามว่า ทำไมล่ะ มีคำถามที่จะเสนอกับรัฐบาลเพื่อให้รัฐบาลนำไปสู่การทำประชามติ คำถามถามว่า ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับแทนที่ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มี ๒ ประเด็น ประเด็นแรก คือจัดทำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ท่านประธานเห็นนะครับ วันนี้เพื่อนสมาชิกไม่มีแม้แต่ท่านเดียวที่ลุกขึ้นเหนี่ยวรั้งและกอดรัดกับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๖๐ ไม่มีใครเห็นด้วย ทุกคนเห็นตรงกันหมดว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จำเป็นที่จะต้อง ได้รับการแก้ไข และฉบับใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นจะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากพี่น้องประชาชน ทุกคนเห็นไปในทิศทางเดียวกันหมด อย่านำไปบิดเบือน แต่ที่ไม่เห็นด้วยเพราะคำถามนี่ละครับ คำถามถามว่าควรจะแก้ไขทั้งฉบับหรือไม่ ซึ่งแต่ละพรรคการเมืองได้แสดงเจตนารมณ์ชัดเจน พรรคเพื่อไทยก็บอกตอนหาเสียงว่าเขาจะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่จะไม่แตะต้อง ในหมวด ๑ ว่าด้วยเรื่องของรัฐ และเรื่องที่ ๒ หมวด ๒ เรื่องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ นี่คือ ๒ หัวใจหลักหมวด ๑ และหมวด ๒ ที่พรรคเพื่อไทยและพรรคการเมืองอื่น ๆ ไม่สามารถ ที่จะร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบนั้นได้ เมื่อสักครู่ผมฟังเพื่อนสมาชิกท่านผู้เสนอญัตติบอกว่าเขียนเอาไว้แบบนี้ ใช่ครับ แต่ในทาง ปฏิบัติอาจจะไม่มีการแก้ไขในหมวด ๑ หรือหมวด ๒ หรือหมวดใด ๆ ก็ได้ ก็เขียนเอาไว้ กว้าง ๆ แบบนี้ไปถามประชาชนเอาไว้แบบนี้ และในกรณีถ้าหากว่าประชาชนลงมติว่า เห็นด้วยที่จะแก้ทั้งฉบับ มันก็เป็นไปได้ใช่ไหมว่าอาจจะมีการแก้ไขในหมวด ๑ และหมวด ๒ ด้วยก็ได้ ซึ่งถ้าหากเป็นอย่างนั้นพวกเราก็รับไม่ได้ครับ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุผลที่สำคัญว่า เพราะเหตุใดพรรคภูมิใจไทยถึงยอมรับกับญัตติฉบับนี้ไม่ได้
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เหตุผลถัดไป ในเรื่องความหลากหลายของ สสร. เพื่อนสมาชิกแม้กระทั่ง พรรคก้าวไกลเองเมื่อสักครู่หลายท่านบอกว่าอยากจะเห็น สสร. มาจากทุกสาขาอาชีพ มาจากทุกภาคส่วนของสังคม มาจากทุกศาสนา มาจากแม้กระทั่งพี่น้องชนเผ่า มาจากพี่น้อง กลุ่มผู้หลากหลายทางเพศ เราจะมั่นใจได้อย่างไรครับท่านประธาน ในคำถามของญัตตินี้ บอกว่าให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการเลือกตั้ง ถ้าหากว่าเลือกตั้ง มาแล้วไม่มีตัวแทนของกลุ่ม LGBT จะทำอย่างไรครับ มันจะหลากหลาย มันจะเป็นไปตาม เจตนารมณ์ที่เราต้องการทำไหม เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเลือกตั้งแล้วจะมีตัวแทนของชนเผ่า ทุกชนเผ่าในประเทศนี้ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะมีตัวแทนของภิกษุสงฆ์เข้ามาอยู่ใน สสร. ชุดนี้ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่ามีตัวแทนของคริสตจักรเข้ามาอยู่ในตัวแทนชุดนี้ มาอยู่ใน สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่ามีพี่น้องกลุ่มประมง หรือกลุ่มชาวนา ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปอยู่ใน สสร. ชุดนี้ ไม่มีอะไร Guarantee ได้เลยว่า สสร. ที่มาจาก การเลือกตั้งทั้งหมดจะมีกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย หรือมีความหลากหลายทุกกลุ่มในประเทศนี้ ต้องไม่ลืมว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายมหาชน ท่านพูดเองว่ากฎหมายมหาชน กฎหมาย รัฐธรรมนูญปกครองคนทั้งประเทศจำเป็นต้องมาจากประชาชน และจำเป็นที่จะต้องรับฟัง ทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ และทุกศาสนา ซึ่งการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไม่สามารถที่จะ ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง แต่อย่าไปตีความเจตนารมณ์ผมผิดนะครับ ผมไม่ได้ไม่สนับสนุนการเลือกตั้ง สสร. แต่การเลือกตั้ง สสร. ต้องไม่ใช่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ท่านเลือกตั้งก่อนสิครับ แล้วกลุ่มไหนขาดมีการเสริมเข้าไปสิครับ แบบนี้ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่ไม่ใช่เลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
นี่คือ ๒-๓ เหตุผลที่บอกว่าผมไม่สามารถจะรับญัตติของเพื่อนสมาชิก ที่เสนอญัตตินี้ได้ ในท้ายที่สุดผมบอกกับท่านประธานสั้น ๆ อย่างนี้ครับ หลังจากการลงมติ อย่าตีความเจตนารมณ์พวกผมผิด และอย่าไปตีข่าวพวกผมผิดว่าพวกผมไม่เห็นด้วย กับการทำประชามติ หรือพวกผมไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ หรือพวกผมกอดรัดรัฐธรรมนูญที่มาจากการรัฐประหาร ซึ่งไม่ใช่ครับ ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านรังสิมันต์ โรม เชิญครับ
นายรังสิมันต์ โรม แบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ผม รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ขออภิปรายสนับสนุน ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียง ประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เสนอโดย ท่านพริษฐ์นะครับ ก่อนที่จะไปลงในรายละเอียดผมคิดว่าอยากจะแย้งในการอภิปราย ของเพื่อนสมาชิกบางท่านในประเด็นต่าง ๆ บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นส่วนแรกในเรื่องของ หมวด ๑ หมวด ๒ ที่เป็นข้อกังวลของเพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับจะนำไปสู่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องหมวด ๑ หมวด ๒ สร้างจินตนาการสะกดจิตตัวเอง ราวกับว่าเราจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ หรือรูปแบบการปกครอง ท่านประธานครับ เราผ่านการรัฐประหารมาหลายครั้ง ฉีกรัฐธรรมนูญมาแล้วหลายฉบับ จัดทำรัฐธรรมนูญตั้งแต่มาตรา ๑ ไปจนถึงมาตราสุดท้าย มาแล้วหลายครั้ง ปรากฏว่าไม่เห็นมีปัญหาเลย ทำไมทหารทำรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ แต่คนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนไม่สามารถทำรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ เรื่องนี้ผมว่า เป็นเรื่องที่น่าตกใจถ้าเรามีวิธีคิดแบบนี้ โดยเฉพาะถ้าวิธีคิดแบบนี้เกิดขึ้นจากผู้ที่มาจากการ เลือกตั้ง
นายรังสิมันต์ โรม แบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในประเด็นที่ ๒ ผมคิดว่าที่น่าตกใจต่อไป เมื่อลงไปดูรายละเอียดจาก คำอภิปราย แม้กระทั่ง สสร. ที่พวกเราสนับสนุนให้มาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ บางท่านก็อภิปรายราวกับว่าอย่าให้มี ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย เพราะไม่เชื่อว่าจะสะท้อนถึง ความหลากหลายได้ เป็นเรื่องที่น่าตกใจที่คำพูดแบบนี้มาจากคนที่มาจากการเลือก โดยราษฎร
นายรังสิมันต์ โรม แบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นถัดมา ว่าด้วยกรรมการที่มีการตั้งอยู่ กรรมการเป็นของฝ่ายบริหาร เราทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ การที่เราไม่เชื่อวิธีคิดหรือกระบวนการที่ท่านทำอยู่ แล้วเรา ก็พยายามพิสูจน์ว่าเรามีความจริงใจในการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญและนำไปสู่การทำ รัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยใช้กระบวนการทางนิติบัญญัติ ท่านมีปัญหาอะไรครับ การที่เรา ไม่เข้าร่วมเพราะเราไม่เชื่อว่ากระบวนการที่ท่านทำอยู่ซึ่งผิดไปจากการหาเสียงที่ท่านเคย สัญญาเอาไว้กับประชาชน การที่เราไม่เชื่อคนที่ไม่มีสัจจะพรรคก้าวไกลเราทำผิดตรงไหน ดังนั้นนี่คือ ๓ ประเด็น ที่ผมอยากจะแย้งกับเพื่อนสมาชิกที่อภิปรายในหลากหลายประเด็น
นายรังสิมันต์ โรม แบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ทีนี้มาสู่ในเรื่องของการสนับสนุนเกี่ยวกับประชามติที่ท่านพริษฐ์เสนอ ผมอยากจะเรียนอย่างนี้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่คู่ควรกับการเป็นกฎหมายสูงสุด ของประเทศนี้แม้แต่วินาทีเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็นการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาของ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ขาดความชอบธรรม และไม่ได้ทำให้สังคมไทยเดินหน้าไปสู่ความสงบ แต่กลับเป็นหนึ่งในต้นเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองที่ทำให้เราไม่สามารถเดินหน้า แก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้ และต้องวนเวียนไปเวียนมากับการแก้ไขและจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นต้นเหตุของปัญหาดังกล่าว ถ้าหากผม จะไล่เรียงถึงปัจจัยที่ส่งผลให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ขาดความชอบธรรม ก็ต้องพูดตั้งแต่การทำ ประชามติในปี ๒๕๕๙ ที่ถือเป็นกระดุมเม็ดแรกสู่หายนะทางการเมือง เนื่องจากกฎหมาย ประชามติที่บังคับใช้อยู่ รวมถึงคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ทำให้การรณรงค์หาเสียงไม่สามารถ ทำได้โดยเสรี ผมนี่ละครับคือหลักฐานที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะผมคือคนที่ถูกจับในเวลานั้น เนื่องจากการไล่จับกุมครั้งนั้นทำให้คนแบบผม ทำให้คนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่สามารถที่จะรณรงค์ได้อย่างเสรี หลายท่านพูดไปแล้ว ไผ่ จตุภัทร์ ถูกจำคุก ไม่สามารถ ไปใช้แม้กระทั่งสิทธิเสียด้วยซ้ำ นี่คือหัวใจที่ทำให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญที่ท่านบอกว่าเป็น รัฐธรรมนูญปราบโกง จริง ๆ แล้วมันคือรัฐธรรมนูญหลอกลวง หลอกลวงโดยบอกว่าถ้าท่าน ไม่รับกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สุดท้ายเดี๋ยวจะไม่เลือกตั้ง เดี๋ยวจะต้องอยู่กับ คสช. ต่อไป นี่คือ ปัญหาหัวใจที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สภาแห่งนี้ต้องพิจารณาและพูดคุยกันกับเรื่องรัฐธรรมนูญ อยู่บ่อยครั้ง และไม่สามารถที่จะเดินหน้าแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างเต็มที่ ทั้งหมด ที่ผมพูดมาเป็นข้อเท็จจริงที่สังคมทราบดี และเป็นเครื่องยืนยันแล้วว่าการทำประชามติ ในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญมากขนาดไหน ดังนั้นการทำ ประชามติที่เสรี เป็นธรรม ได้มาตรฐานสากล เพื่อนำมาสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ และผมต้องขอย้อนไปว่าตั้งแต่การทำประชามติปี ๒๕๕๙ กลุ่มพี่น้องคนเสื้อแดงที่มีคุณจตุพรเป็นประธาน นปช. ได้มีการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ เพื่อให้คนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยมาลงชื่อทำประชามติให้ได้มากที่สุด มากไปกว่านั้น ตัวแกนนำของพรรคเพื่อไทยเองในเวลานั้นหลายคนก็ได้ใช้สิทธิแสดงความเห็นว่าไม่ควร รับร่างรัฐธรรมนูญ จนหลายคนอาจจะถูกดำเนินคดี หรือเกือบจะถูกดำเนินคดีก็มี ดังนั้น การที่เราจะมาพูดคุยกันเพื่อที่จะทำประชามติและนำไปสู่การเปิดทางให้มีรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ จึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องทำ เป็นกระดุมเม็ดแรกที่เราต้องติดเพื่อให้ ประเทศนี้มีรัฐธรรมนูญเป็นของประชาชนเสียที นอกจากนี้คำถามที่ได้มีการเสนอให้มีการทำประชามติ ก็ไม่ใช่คำถามที่พรรคก้าวไกล คิดขึ้นมาใหม่ เป็นคำถามที่เคยถูกเสนอโดยคุณณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ จากพรรคก้าวไกล แล้วก็ทำนองเดียวกัน จากคุณจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย ซึ่งวันนี้เป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการคลัง คำถามแบบนี้ วิธีคิดแบบนี้ที่เราพยายามทำ สุดท้ายในเวลานั้น เราได้รับเสียงเอกฉันท์จาก สส. ที่เป็นทั้งฝ่ายรัฐบาลเดิมและฝ่ายค้านเดิม เพื่อส่งให้มี การดำเนินกระบวนการต่อไปในการทำประชามติ สุดท้ายไปล่มที่ สว. ดังนั้นผมจึงไม่สามารถ เห็นเหตุผลใดเลยที่พรรคเพื่อไทยในฐานะที่เป็นผู้ร่วมเสนอคำถามในเวลานั้นจะไม่สนับสนุน ญัตตินี้ และทำให้กระบวนการประชามติต้องล่าช้าออกไป ผมเป็นกังวลด้วยซ้ำท่านประธาน ที่บางท่านในรัฐบาลบอกว่าการเสนอญัตตินี้จะทำให้ประชาชนสับสน ผมฟังอย่างไรแล้ว ประชาชนไม่มีทางสับสนหรอกครับ เพราะประชาชนเขาเข้าใจดีว่ากระบวนการที่เรากำลัง ทำอยู่เคยทำมาตั้งแต่ในอดีต ถ้าประชาชนจะสับสนคือสับสนว่าทำไมวันนี้พอท่านได้ไปเป็น รัฐบาลท่านถึงมีการเปลี่ยนแปลงหลักการ เปลี่ยนแปลงจุดยืนที่เคยมีมาตั้งแต่เดิม ดังนั้น ผมเชื่อว่าหากสภาชุดนี้ให้ความเห็นชอบกับญัตตินี้ และดำเนินการให้มีการทำประชามติ ได้อีกช่องทางหนึ่ง นอกจากหลาย ๆ ช่องทางที่เรามีอยู่แล้ว ผมคิดว่าจะทำให้เรามี รัฐธรรมนูญที่เป็นรัฐธรรมนูญ ได้รับการยอมรับจากประชาชน เป็นรัฐธรรมนูญที่มี ความชอบธรรม ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ระยะยาวได้ต่อไป ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่ผมพูดมา ผมคิดว่าเราผ่านการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เสียงของพี่น้องประชาชนที่ประกาศกึกก้องพร้อมใจเลือกพรรคก้าวไกลมา ๑๕๑ เสียง เลือกพรรคเพื่อไทยมา ๑๔๑ เสียง ๒ พรรคนี้ตอนที่หาเสียงประกาศเอาไว้ อย่างชัดเจนว่าต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พรรคเพื่อไทยประกาศเอาไว้ อย่างชัดเจนว่า ครม. นัดแรกจะมีการดำเนินการให้มีการทำประชามติเพื่อถามประชาชน มันก็ชัดเจนอยู่แล้วว่ากระบวนการทั้งหาเสียง ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ผ่านการเลือกตั้งมันคือการรับฟังทุกฝักทุกฝ่ายแล้ว แล้วไฉนวันนี้ท่านกลับบอกว่าต้องรับฟัง เสียงให้รอบคอบ รับฟังเสียงให้รอบด้าน กระบวนการที่ท่านพูดมาแบบนี้คือการย้อนแย้ง ดังนั้นผมอยากให้สภาชุดนี้ทำในสิ่งที่ถูกต้องเถอะครับ บางท่านอาจจะบอกว่าท่านไม่สามารถ ที่จะให้ความเห็นด้วยได้ ไม่เป็นไร ให้พรรคก้าวไกลเห็นด้วยก็ได้ แต่ให้มันเดินหน้า อย่างน้อย ท่านงดออกเสียงก็ยังดี อย่าไปคว่ำเลย คือถ้าท่านจะให้มันคว่ำจริง ๆ พูดกันตรง ๆ ท่านประธาน ให้ไปคว่ำที่ สว. ก็ยังดี อย่างน้อยคือการรักษาเกียรติของคนที่มาจาก การเลือกตั้งโดยประชาชน ท่านมองเพื่อนร่วมพรรคของท่านบางท่านที่อาจจะเข้าสภา หรือไม่เข้าสภาแล้วเคยถูกดำเนินคดีจากประชามติ แล้ววันนี้ท่านกำลังจะไม่เห็นด้วย ท่านไม่รู้สึกอะไรบางอย่างในจิตใจเลยหรือ ดังนั้นด้วยความเคารพอย่างสูง ช่วยทำให้ญัตตินี้ ผ่านเถอะครับ เราจะได้เดินหน้ากัน ติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูก แล้วประเทศไทยของเราจะได้มี รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเสียที ขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจำลอง ภูนวนทา เชิญครับ
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม จำลอง ภูนวนทา ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ เขต ๓ พรรคพลังประชารัฐ ผมเป็นคนหนึ่งที่เติบโตมาท่ามกลาง ความขัดแย้งของประชาชนในประเทศ ครั้งแล้วครั้งเล่าฉีกรัฐธรรมนูญ และผมก็ไม่มั่นใจว่า เมื่อมีการตั้ง สสร. ขึ้นมาใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเคยมีการเลือกตั้งมาแล้วครั้งหนึ่ง ทั้งประเทศในปี ๒๕๔๐ จริง ๆ แล้วหัวใจสำคัญของรัฐธรรมนูญก็คือบัญญัติขึ้นมา เพื่อประชาชน โดยประชาชน และเป็นของประชาชน ทุกครั้งก็มีการฉีก ทุกครั้ง มีการนองเลือด ผมได้มีแนวความคิดในฐานะที่เคยเป็นกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ผมย้ำอยู่เสมอว่าการปลูกจิตสำนึก การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรักรัฐธรรมนูญของตัวเอง ใครปฏิวัติต้องเดินขบวน ต้องประท้วง ต้องไม่ยอม และมีสักครั้งไหมครับที่ประชาชนชนะ ไม่มี แต่วันนี้ที่ผมลุกขึ้นอภิปราย ในฐานะคนหนึ่งที่เฝ้าติดตามรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็น ปี ๒๕๔๐ ปี ๒๕๔๙ ปี ๒๕๕๐ หรือว่าปี ๒๕๖๐ ผมก็ไม่เห็นว่าประชาชนเดือดร้อนตรงไหน ผมก็ไม่เห็นว่าประชาชนจะไม่มีอยู่มีกิน มีแต่นักการเมืองเท่านั้นละครับที่อ้างว่าไม่ให้เกียรติ ประชาชน วันนี้คำนิยามของคำว่า ประชาธิปไตย ก็คือประชาชนต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง บรรทัดฐานของการเลือกตั้ง ในสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้มีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง ๕๐๐ คน โดยตรงนะครับ ประชาชนเลือกโดยตรง ผมก็มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ประชาชนไม่ได้บอกว่าคุณเข้าไปแล้วต้องไปแก้รัฐธรรมนูญ แต่บอกว่าคุณต้องไปเสนอ แนวความคิด ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนให้กับรัฐบาลได้รับทราบและนำมาแก้ไข แต่วันนี้ผมทราบว่ารัฐบาลให้ความสนใจ ให้ความสำคัญกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการตั้ง คณะอนุกรรมการขึ้นมา ๒ คณะ เรารอไม่ได้หรือครับ เดี๋ยว สว. ก็จะหมดวาระแล้ว เราอดทนหน่อยไม่ได้หรือครับ และการแต่งตั้ง สสร. นั้น ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ไม่ว่าจะมาจากการแต่งตั้งจากสาขาอาชีพ ครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ด้านรัฐศาสตร์ มีความรู้ด้านนิติศาสตร์ ทุกคนมีจิตสำนึก จิตสำนึกรักบ้านเมืองไม่ต่างจาก สส. หรอกครับ เพราะฉะนั้นผมอยากกราบเรียนท่านประธานด้วยความเคารพว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามญัตติที่ให้ไปขอความเห็นชอบของประชาชน ตามญัตติที่ผมอภิปรายอยู่นี้ ๕.๑ ผมไม่มั่นใจว่าการตั้ง สสร. การขอมติของประชาชนเพื่อมาตั้ง สสร. ท่านจะไม่แตะ หมวดแห่งความมั่นคง หมวด ๑ หมวด ๒ อย่าลืมว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศนะครับ จิตสำนึกของประชาชนทั้งประเทศมีความรัก มีความจงรักภักดี และมั่นคงในความเป็น อัตลักษณ์ของคนไทย ไม่ต้องยกประเทศนั้นประเทศนี้มาเปรียบเทียบหรอกครับ หลายคน ก็ศึกษาจากต่างประเทศ ส่วนผมศึกษาในประเทศ ก็อ่านตำราต่างประเทศเหมือนกัน ไม่แตกต่างหรอกครับ แต่ว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่ผมนำกราบเรียนมาตลอด เวลามีโอกาสได้เข้า มาสภา ในฐานะกรรมาธิการ ในฐานะนักวิชาการก็ตาม ผมก็บอกว่าต้องปลูกจิตสำนึก สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง อย่าสร้างแรงจูงใจโดย วิธีอื่น แต่ต้องเกิดจากการมีจิตสำนึกของประชาชนที่แท้จริงในการไปใช้สิทธิอย่างอิสระ ผมเห็นด้วยในการเสนอญัตติเพื่อให้มีการออกเสียงประชามติ แต่ไม่ใช่ตอนนี้ ผมไม่ได้ขัดแย้ง แต่ด้วยความเคารพ ในฐานะที่รัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาเพื่อศึกษาแนวทาง และเร่งรัดในการออกตาม พ.ร.บ. ออกเสียงประชามติแล้วนั้น ผมว่ารอสักหน่อย และคณะกรรมการที่มาเป็นกรรมาธิการในการดูเรื่องนี้ก็มาจาก สส. และมาจากนักวิชาการ ผมกราบเรียนท่านประธานไปแล้วว่านักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย ท่านเหล่านั้น มีจิตสำนึกดี รับผิดชอบต่อบ้านเมืองมากพอสมควร ท่านประธานครับ การทำประชามติ การเลือกตั้งในยุคที่ผ่านมานั้นมันไม่มีความเป็นกลางหรอกครับ ในทัศนคติของอีกฝ่าย ฝ่ายที่ เห็นชอบกับฝ่ายที่ไม่เห็นชอบ อย่างไรเสียก็ไม่มีทางที่จะประนีประนอมกันได้ทางความคิด เพราะเกิดความขัดแย้ง และผมก็ไม่มั่นใจว่าเมื่อมีการตั้ง สสร. ขึ้นมาแล้ว ตามญัตติของผู้ที่ เสนอญัตติขึ้นมาให้สภาแห่งนี้เห็นชอบนั้น เมื่อมีแล้วจะสงบ ผมก็ไม่เชื่อว่าจะสงบ เพราะว่าผมเติบโตมาผ่านรัฐธรรมนูญหลายฉบับ ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ ปี ๒๕๑๗ ผมก็เป็นวัยรุ่น เพราะฉะนั้นตราบใดที่ประชาชนยังมีความคิดว่าเสียงส่วนมากคือเสียงที่ถูกต้อง ผิดหลัก รัฐศาสตร์นะครับ หลักรัฐศาสตร์นี่เสียงส่วนมากใช่ครับ แต่ต้องเคารพเสียงส่วนน้อยด้วย เพราะฉะนั้นวิธีจะแก้ไขความขัดแย้ง วิธีที่จะให้สังคมมองว่ารัฐธรรมนูญฉบับไหนมี ความเป็นกลาง ไม่เป็นกลาง มาจากจิตสำนึกล้วน ๆ รัฐธรรมนูญที่เป็นกลางจะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากจิตใต้สำนึกของประชาชนอย่างพร้อมเพรียงกันโดยไม่แยกสี ไม่แยกฝ่าย ทุกวันนี้อะไรครับ ผ่านมากี่ฉบับ ผ่านมากี่ปี โดยจิตสำนึกของผมเองผมยังเข้าใจว่า ความขัดแย้งยังมีอยู่ในประเทศ ฉะนั้นรออีกสักหน่อย รอให้รัฐบาลทำ ซึ่งรัฐบาลก็ตั้งมาจาก สมาชิกสภาที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนเพื่อกลั่นกรองเรื่องนี้และนำไปสู่การตั้ง สสร. ผมเข้าใจว่าอย่างนั้นนะครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านฐากร ตัณฑสิทธิ์ ตามด้วยครูมานิตย์ สังข์พุ่ม เชิญครับ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ กระผม ฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย ผมขออนุญาต นำเรียนท่านประธานว่าในญัตติเรื่องนี้พรรคไทยสร้างไทยขอยืนยันว่าเราไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในหมวด ๑ และหมวด ๒ เรียนยืนยันว่าไม่มีการปรับปรุง แก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวด ๑ และหมวด ๒ ผมขออนุญาตท่านประธานว่าเราต้องดึงทุกท่านกลับมาสู่โลกของความเป็นจริง วันนี้ได้ไหมครับ โลกของความเป็นจริงก็คือรัฐธรรมนูญฉบับไหนก็ตามที่มาจากการยึดอำนาจ อย่างไรก็ตาม ผมเรียนท่านประธานว่าเขาต้องเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นการสืบทอดอำนาจ อยู่แล้ว ตรงนี้ผมเข้าใจว่าในวันนี้ทุกท่านเข้าใจตรงกันว่าเราจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คราวนี้อยากจะกราบเรียนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญของเรานี้ถ้าเราดึงกลับมาสู่โลกของ ความเป็นจริงของเรา ก็คือในมาตรา ๒๕๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เขียนไว้ ชัดเจนว่ากระบวนการในการที่เราจะปรับปรุง แก้ไขรัฐธรรมนูญ เราจะต้องเดินตาม กระบวนการใด ในมาตรา ๒๕๖ เขียนไว้ชัดเจนว่าเราจะต้องทำ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ จนไปถึง ใน (๙) ผมไม่อยากอ่าน ให้ทุกคนอ่านเองในรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๕๖ ตรงนี้ ซึ่งตรงนี้ อยากจะฝากเรียนว่าในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ว่าถ้าเกิดว่า เป็นการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมีการทำประชามติ แต่ถ้าเรามีการแก้ไขปรับปรุง รัฐธรรมนูญในมาตรา ๒๕๖ ในขั้นตอนเริ่มต้นยังไม่ต้องทำประชามติแต่อย่างใด เนื่องจากว่า เป็นการปรับปรุงแก้ไข ไม่ใช่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้าเป็นการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่เมื่อไรจะต้องมีการทำประชามติก่อน คือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา วันนี้เราต้องเดินหน้าร่วมกันในการที่จะปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญตั้งแต่หมวด ๓ ไปจนทั้งหมด เพื่อที่จะให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด โดยยกเว้นหมวด ๑ และหมวด ๒ ไว้ ผมขอนำเรียนท่านประธานว่าในปี ๒๕๓๙ เราได้เคยมีการทำกระบวนการ ยกร่างรัฐธรรมนูญมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งมีการจัดตั้ง สสร. ผ่านพี่น้องประชาชนที่มีการยกร่าง รัฐธรรมนูญดังกล่าวเข้ามาสู่รัฐสภา กราบเรียนท่านประธานครับ เราได้รัฐธรรมนูญฉบับนั้นก็คือรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ซึ่งถือว่า เป็นประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดที่ประชาชน ทุกคน หรือรัฐสภาของเราแห่งนี้ยอมรับว่ารัฐธรรมนูญฉบับนั้นคือรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ที่ยกร่างผ่าน สสร. แล้วก็นำมาสู่การพิจารณาของรัฐสภา เราจะทำอย่างไร เราดู Model ของปี ๒๕๓๙ เดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๖ เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่ายกร่างใหม่ เลยครับ เพราะว่าถ้ายกร่างใหม่เราอาจจะต้องทำประชามติถึง ๓ ครั้ง ถ้าทำประชามติถึง ๓ ครั้ง เราจะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณไปเป็นอย่างมาก ๓ ครั้ง ครั้งหนึ่งอาจจะต้องใช้เงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ถ้า ๓ ครั้ง อาจจะเป็น ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ถ้าเราเดินในการแก้ไข รัฐธรรมนูญโดยยกเว้นหมวด ๑ และหมวด ๒ ไว้ ก็คือเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๒๕๖ ผมขออนุญาตท่านประธานว่าถ้าเราเดินตามนี้ ปรับปรุงแก้ไข ในกระบวนการทั้งหมด ซึ่งก็คงจะไปคาบเกี่ยวถึงเดือนพฤษภาคม ปี ๒๕๖๗ อย่างที่ ท่านสมาชิกหลายท่านได้อภิปรายกันว่าพฤษภาคม ปี ๒๕๖๗ สว. ชุดปัจจุบันก็จะครบ วาระแล้ว ก็จะมีการสรรหา สว. ชุดใหม่ในการที่จะเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว ผมคิดว่าวันนั้น ฟ้าเปิดแล้วครับท่านประธาน หลังจากนั้นรัฐสภาของเราจะมีการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นตามมาตรา ๒๕๖ ที่ต้องเดินตามกระบวนการนี้ ผมคิดว่าวันนั้นสภาผู้แทนราษฎร แห่งนี้และรัฐสภาที่มีวุฒิสภาชุดใหม่ที่จะเกิดขึ้น ฟ้าเปิดที่รัฐสภาแห่งนี้ของเราแล้ว ผมคิดว่า ทุกคนอาจจะเห็นชอบร่วมกันว่ามีความเห็นตรงกันว่าเราต้องมีการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ มีการแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด กราบขอบพระคุณท่านประธานเป็นอย่างยิ่งครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจิราพร สินธุไพร เชิญครับ
นางสาวจิราพร สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน จิราพร สินธุไพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๕ พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอขอบคุณ ท่านประธานที่ให้โอกาสดิฉันได้ร่วมอภิปรายญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งดิฉันต้องเรียนว่า ในหลักการใหญ่ดิฉันเห็นด้วยที่จะให้มีการทำประชามติ และเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะให้มี การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ให้เป็นประชาธิปไตย อย่างไรก็ดีดิฉันมีข้อสังเกต ต่อการเสนอญัตติด่วนฉบับนี้ ซึ่งมีการกำหนดคำถามว่าท่านเห็นชอบหรือไม่ว่าประเทศไทย ควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับแทนที่รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งคำว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ มีข้อสังเกตว่าอาจจะขัดกับคำแถลงนโยบาย ของรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๖ ซึ่งมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งในหน้า ๖ มีรายละเอียดของนโยบายเร่งด่วนสุดท้ายระบุว่า การแก้ปัญหาความเห็นต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยยึดรูปแบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่แก้ไขในหมวด พระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในหมวด ๒ ของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเราไปดู ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๔/๒๕๖๔ ได้มีคำวินิจฉัยแบ่งเป็น ๒ ระดับ ๓ ลักษณะ โดยในระดับที่ ๑ สำคัญมาก กำหนดให้การแก้ไขเป็นไปได้ยากมาก อาทิ มาตรา ๒๕๕ ซึ่งบัญญัติว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ จะกระทำมิได้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวางหลักไว้ว่าห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญตรงส่วนนี้โดยเด็ดขาด ดังนั้นจึงอาจถือว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๔/๒๕๖๔ ช่วยตอกย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเว้นหมวด ๑ และหมวด ๒ จะเป็นการลดแรงเสียดทาน ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปลอดภัยที่สุด และเอื้อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น ท่านประธานที่เคารพคะ การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเว้นหมวด ๑ และหมวด ๒ ก็ไม่ได้ทำให้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญไร้ความหมายแต่อย่างใด เพราะถ้าเราสามารถผลักดันให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้เมื่อไร สสร. ที่จะเป็นตัวแทนเข้าไปแก้รัฐธรรมนูญสามารถเข้าไป แก้ไขหมวดที่เหลือได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นกลไกที่ถูกฝังไว้ ในรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจ หรือรักษาอำนาจของคนที่เชื่อมโยงกับระบอบเดิม ไม่ว่า จะเป็นอำนาจของวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ที่มาขององค์กรอิสระต่าง ๆ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี สสร. ก็สามารถเข้าไปพิจารณาแก้ไขได้ นอกจากนี้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๔/๒๕๖๔ ยังทำให้เกิดประเด็นที่ต้องถกกันต่อว่าสรุปแล้วการจัดทำประชามติต้องทำ กี่ครั้งกันแน่ จะเป็น ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้ง ซึ่งในส่วนนี้เราต้องการความรอบคอบและรัดกุม เพราะ ๑. การทำประชามติแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐-๕,๐๐๐ ล้านบาท ๒. การทำประชามติครั้งนี้ไม่ได้ง่ายเหมือนสมัยที่เราจัดทำรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ เพราะการทำ ประชามติรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ระบุว่าต้องทำแบบ Double Majority คือเสียงข้างมาก ๒ ระดับ ระดับที่ ๑ ประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งต้องเกินครึ่งของผู้มาใช้สิทธิ ซึ่งแม้ว่า ที่ผ่านมาสถิติการใช้สิทธิทำประชามติในปี ๒๕๕๐ มีคนออกมาทำประชามติประมาณ ๕๗ เปอร์เซ็นต์ การทำประชามติปี ๒๕๖๐ คนออกมาประมาณ ๕๙ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็เกิน ครึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ และในระดับที่ ๒ ก็คือการทำประชามติต้องได้เสียงข้างมากของผู้มา ใช้สิทธิ แต่ว่าบรรยากาศของการแก้ไขธรรมนูญในปีนี้กับเมื่อหลายปีก่อนมันไม่เหมือนกัน ดังนั้นการกำหนดคำถาม การดำเนินการจะส่งผลอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์การทำประชามติ ในครั้งนี้ ซึ่งเราต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่การทำ ประชามติไม่ผ่าน ท่านประธานที่เคารพคะ ด้วยเหตุผลรายละเอียดที่กล่าวมา จะเห็นว่า การออกแบบการทำประชามติมีความละเอียดอ่อนทั้งในแง่ของงบประมาณ และต้องคำนึง อย่างรอบด้านว่าการทำประชามติจะผ่านต้องทำอย่างไร คำถามต้องถามแบบไหน และต้อง ทำกี่ครั้ง เพื่อให้มีความรอบคอบ และให้การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ที่ถูกขนานนามว่า เป็นเหมือนค่ายกลแก้ไขได้ยากมาก ให้เราสามารถทะลวงค่ายกลนี้แล้วก็แก้ไขได้สำเร็จ ท่ามกลางความเห็นที่แตกต่างกันมากมายหลายประเด็น ดิฉันจึงสนับสนุนแนวคิดของรัฐบาล ที่ให้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหา ความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งเรา อาจจะต้องเสียเวลาเพิ่มอีกเพียงเล็กน้อยเพื่อศึกษาให้รอบคอบ เพื่อให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญให้สำเร็จเป็นจริงตามที่ได้สัญญาไว้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งจากการแถลง ของคณะกรรมการชุดนี้ ได้มีการประชุมนัดแรกไปแล้วเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ และมี การตั้งคณะอนุกรรมการ ๒ คณะ คือ คณะที่ ๑ คณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการทำ ประชามติให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และกำหนดว่าต้องทำประชามติ ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้งกันแน่ ชุดที่ ๒ เป็นคณะอนุกรรมการรับฟังความเห็นจากกลุ่มอาชีพ ต่าง ๆ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะที่เรากำลังถกญัตติประชามติอยู่ในวันนี้ คณะอนุกรรมการทั้ง ๒ คณะ กำลังมีการประชุมนัดแรก โดยคณะกรรมการวางเป้าหมายใหญ่ ที่จะได้ข้อสรุปทั้งหมดภายในสิ้นเดือนธันวาคม ปี ๒๕๖๖ ก็คืออีกไม่กี่วัน กี่เดือนนี้ค่ะ แล้วก็ จะมีการทำประชามติในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๗ นั่นหมายความว่าเหลือเวลาไม่กี่เดือน ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ Mode การรณรงค์ทำประชามติทั้งประเทศ สุดท้ายนี้ ตั้งแต่มี การอภิปรายมา ดิฉันยังไม่เห็นว่ามีสมาชิกท่านไหนลุกขึ้นอภิปรายว่าไม่เห็นด้วยกับการทำ ประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ และถ้าถามว่าถ้ามีพรรคการเมืองไหนที่อยากแก้ไข รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ มากที่สุด ดิฉันมั่นใจว่าพรรคเพื่อไทยจะเป็นพรรคอันดับต้น ๆ ที่อยาก แก้ไขร่างประมวลฉบับนี้อย่างแน่นอน แต่เมื่อดิฉันได้พิจารณาคำถามประชามติที่กำหนด ในญัตตินี้ ทำให้เห็นว่ายังมีรายละเอียดที่ทำให้เกิดข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่มาก ซึ่งหาก วันนี้จะมีมติออกมาว่าดิฉันไม่เห็นด้วยกับญัตติด่วนฉบับนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าดิฉัน ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ หรือไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ดิฉันไม่เห็นด้วย เพราะว่ามีข้อกังขาต่อคำถามการทำประชามติที่ระบุไว้ ดังรายละเอียดที่ดิฉันได้อภิปรายไป เมื่อสักครู่นี้ค่ะ อย่างไรก็ดีดิฉันคิดว่าวันนี้เป็นนิมิตหมายอันดีที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีการถกกันถึงญัตติ การออกเสียงประชามติเพื่อให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งตรงตามนโยบาย ของรัฐบาลที่นำโดยท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ดิฉันเห็นว่าความเห็นของสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลที่ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในวันนี้ ควรจะ ถูกรวบรวมส่งไปยังรัฐบาลเพื่อส่งต่อไปยังคณะกรรมการประชามติ ซึ่งขณะนี้มีการเปิดรับฟัง ความเห็นจากทุกภาคส่วนอยู่แล้ว ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ทำให้เสียง ของทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบการทำประชามติ นำไปสู่เป้าหมายใหญ่ คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ เชิญครับ
นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ คำถามที่ว่าท่านเห็นชอบหรือไม่ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ทั้งฉบับแทนที่รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือว่า สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ถ้าท่านไม่เห็นด้วยกับคำถามนี้ ท่านก็อยู่ประเทศนี้ไม่ได้แล้วครับ ประเทศนี้ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย คำถามแบบนี้ ไม่เห็นมีตรงไหนที่มันจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ และไม่ควรจะเป็นด้วย ทำไมต้องทำประชามติ ก็เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้ครับว่ารัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ได้โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อน นั่นคือความจำเป็นที่เราต้องมีการทำประชามติว่าด้วยเรื่องของทำไมต้องทำฉบับใหม่ อันนี้ ผมไม่ต้องพูดแล้วกระมังครับ ทั้งสภา ทั้งประเทศนี้เห็นพ้องต้องกันหมดแล้วว่ามันห่วย ขนาดไหน ปี ๒๕๖๐ นี่ มันพิสูจน์มาแล้วจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา พรรคการเมืองที่ได้ เสียงจากประชาชนส่วนใหญ่ชูนโยบายนี้ครับ จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ผมอยากย้ำคำว่า จัดทำใหม่ทั้งฉบับ เพราะพวกเรายืนยันกันเองว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ มันแย่ แต่ต้องทำ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อันนี้ผมก็เลยไม่เข้าใจว่าทำไมต้องไป ศึกษาก่อน ผมไม่เข้าใจว่า ครม. ไปศึกษาอะไร ท่านไม่เข้าใจอะไร เขาเข้าใจกันทั้งประเทศแล้วว่า มันต้องทำใหม่ทั้งฉบับโดยประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศนี้ผ่าน สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง เขาเข้าใจกันหมดแล้วเขาถึงไปลงคะแนนเลือกตั้งพวกท่านมา เพราะเราไปสัญญากับเขาว่า เราจะทำใหม่ทั้งฉบับ เขาถึงเลือกเรา ท่านยังไม่เข้าใจอะไร จะศึกษาอะไร ท่านไม่เข้าใจว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยมันเป็นอย่างไรหรือ ไม่เข้าใจหรือครับ การปกครอง โดยประชาชนเป็นอย่างไร อ้างว่าไม่รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ก็บอกว่า สสร. มาจาก การเลือกตั้งของคนทั้งประเทศ ยังไม่ครบทุกฝ่ายอีกหรือทั้งประเทศ ยังไม่หลากหลายพออีกหรือ ทุกฝ่ายที่ว่าคืออะไร กรรมการกี่คนในคณะที่ศึกษากัน ๔๐ คน ๕๐ คน ๑๐๐ คน ๑๐๐,๐๐๐ คน ยังไม่เท่า ๗๐ ล้านคนเลย มีปัญหาอะไรครับ หลายท่านลุกขึ้นมา ถ้าท่านลุกขึ้นมาบอกว่า อำนาจสูงสุดในประเทศนี้เป็นของนักกฎหมาย อำนาจสูงสุดในประเทศนี้เป็นของอาจารย์ มหาวิทยาลัย เป็นของชนชั้นนำ ผมเข้าใจได้ถ้าท่านเข้าใจแบบนั้น เรามาคุยกันได้ แต่ถ้า ยังยืนยันว่าเป็นของประชาชนแล้วมีปัญหาอะไรครับ ท่านมีปัญหาอะไรกับประชาชนนักหนา ผมไม่เข้าใจ อันนี้สงสัยจริง ๆ จะให้เขามาเขียนรัฐธรรมนูญของเขาเองไปยุ่งอะไรกับเขาหนักหนา ทำไมถึงไม่ไว้ใจประชาชน ท่านคิดว่าประชาชนในประเทศนี้โง่หรือ ถึงไม่กล้าปล่อยให้เขา ทำรัฐธรรมนูญเอง และเรื่องหมวด ๑ หมวด ๒ นี่ผมยังไม่มีใครเขามีปัญหากับหมวด ๑ หมวด ๒ เลย พวกท่านมีปัญหาอะไรกับหมวด ๑ หมวด ๒ นักหนา ถึงต้องห้ามเข้าไปแตะต้อง ท่านมีสิทธิอะไรไปห้าม เอาอย่างนี้ดีกว่า อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน ท่านมีสิทธิอะไรไปห้าม ท่านไม่ใช่ผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ครม. ก็ไม่ใช่นะครับ
นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กลับไปที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่บอกว่าต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจ สถาปนารัฐธรรมนูญลงประชามติเสียก่อน มันชัดเจนแล้วครับ ศาลรัฐธรรมนูญยืนยันแล้วว่า ประชาชนเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ การไม่ให้เลือกตั้ง สสร. ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มันขัดคำวินิจฉัยศาลชัด ๆ ที่แน่ ๆ มันขัดหลักการประชาธิปไตยแน่ ๆ พวกท่านไม่ใช่ผู้ทรง อำนาจ ครม. ก็ไม่ใช่ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงอำนาจคือประชาชน ไปขวางทำไม ไปเอาความมั่นใจ มาจากไหนว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญของประชาชนมันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ควรทำ บางคนสงสัยว่ามั่นใจได้อย่างไรถ้าเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ จะมีกลุ่มคนหลากหลาย กลุ่มคนชาติพันธุ์ พระสงฆ์ จะได้มาเป็น สสร. ทำไมต้องมั่นใจ เราไม่มีสิทธิไปมั่นใจอยู่แล้ว เราไม่มีสิทธิ ไม่มีอำนาจจะไปมั่นใจด้วย แต่การเลือกตั้ง สสร. โดยประชาชน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ประชาชนเขาตัดสินเอง การไปจิ้มเอา การไปล็อกโควตาเอาไว้ต่างหากที่มันปิดโอกาสให้คน เหล่านี้มีโอกาสได้เป็น สสร. น้อยลงไปอีก
นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กลับมาหมวด ๑ หมวด ๒ นิดหนึ่ง ที่ผมไม่เข้าใจว่าในเมื่อรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ มันล็อกเอาไว้อยู่แล้ว แล้วเราจะไปห้ามเพิ่มทำไม กลัวเหลือเกินครับ กลัวเหลือเกินว่า ประชาชนในประเทศนี้จะไปแตะต้องหมวด ๑ หมวด ๒ ท่านคิดว่าประชาชนในประเทศนี้ รักชาติน้อยกว่าท่านหรือ ท่านรักชาติเป็นอยู่คนเดียวหรือครับ ท่านคิดว่าประชาชน ในประเทศนี้จงรักภักดีน้อยกว่าพวกท่านหรือ ถึงต้องไปห้ามเอาไว้ ไปจำกัดเอาไว้ ให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจเขาตัดสิน ท่านไม่มีอำนาจไปขวางเขา ห่วงเหลือเกิน วันที่ทหาร ยึดอำนาจ วินาทีที่ฉีกรัฐธรรมนูญ วินาทีนั้นเราไม่มีชาติ เราไม่มีศาสนา เราไม่มีพระมหากษัตริย์ ไม่มีประชาชน ไม่มีสถานะใด ๆ เหลือเลย เป็นศูนย์ ฉีกรัฐธรรมนูญ ก็คือการล้มเจ้า ล้มประชาชน ล้มชาตินั่นละ และคนฉีกวันนี้ท่านก็อัญเชิญเขาลงจากหลังเสือ ไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ทั้ง ๆ ที่พวกเขาล้มเจ้ามาก่อนชัด ๆ แต่พอ ประชาชนเจ้าของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญจะทำรัฐธรรมนูญเองบ้าง ปัญหาเยอะเหลือเกิน ยังไม่เข้าใจรอบด้านต้องศึกษาก่อน แล้วที่ไปอ้างถึง สว. ไปอ้างถึงสมาชิกวุฒิสภา ผมไม่รู้ว่า ท่านกล้าอ้างได้อย่างไร พวกท่านไม่ได้อ่านนโยบายรัฐบาลของท่านหรือครับ ในนโยบาย รัฐบาลท่านเขียนว่าจะหารือแนวทางการทำรัฐธรรมนูญในรัฐสภา ก็ทำในรัฐสภาที่มี สว. รวมอยู่ด้วย ท่านยื่นดาบให้ สว. ตั้งแต่แรกแล้ว ท่านเป็นคนยื่นให้เอง ท่านตั้งใจยื่นดาบนี้ ให้ สว. เอง ศึกษาเสร็จไปผ่าน สว. ไม่ผ่านแล้วก็มาอ้าง สว. อีก ศึกษาไปเลยครับ ถึงเวลา เข้าไปในวุฒิสภา พอโดนคว่ำมาโทษ สว. แล้วท่านไปใส่ไว้ทำไมว่าจะทำในรัฐสภา การทำ รัฐธรรมนูญในรัฐสภายังแปลว่าอะไรอีกครับ มันแปลว่าจะไม่ได้ทำทั้งฉบับ การสถาปนา รัฐธรรมนูญคือการทำใหม่ตั้งแต่ต้น เริ่มจากศูนย์ เริ่มจากประหนึ่งว่าเราไม่มีรัฐธรรมนูญอยู่ นั่นคือการสถาปนารัฐธรรมนูญ แต่การบอกว่าไปทำในรัฐสภามันคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มันคือการใช้อำนาจไปแก้ไขเฉย ๆ แก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผู้ทรงอำนาจก็คือประชาชน เขาสถาปนารัฐธรรมนูญทิ้งเอาไว้ ซึ่งมันไม่ใช่แบบนั้น ก็เราบอกเองว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ มันห่วยทั้งฉบับ ถ้าท่านไม่เห็นด้วยกับญัตตินี้ มันแปลเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย นอกเสียจากว่า ท่านไม่ได้เห็นด้วยกับคำที่ว่าอำนาจสูงสุดมันควรจะเป็นของประชาชนในประเทศนี้ ไม่ต้อง แถไปไหนหรอกครับ ไม่ต้องเต้นไปเต้นมาหรอกครับ ทุกคนลุกขึ้นพูดว่าหลักการเห็นด้วย หมดเลย เห็นด้วยกับหลักการ ถ้าไม่เห็นด้วยอย่างที่ผมบอกครับ ท่านไม่เห็นด้วยท่านก็นิยม เผด็จการแล้วครับ ก็หลักการมันประชาธิปไตยชัด ๆ ถ้าบอกว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ มันห่วย มันต้องทำใหม่ แล้วให้มีการเลือกตั้ง สสร. ซึ่งก็คือการเลือกตั้งจากประชาชน มันคือ การที่ทำประชามติเพื่อที่จะยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมา ให้ทำฉบับใหม่โดยประชาชน นั่นเอง พูดง่าย ๆ คือเป็นการทำประชามติเพื่อยกเลิกฉบับเดิมนั่นละ การออกเสียงประชามติ คือประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรวมตัวกันแล้วก็ตัดสินใจจะทำลาย รัฐธรรมนูญฉบับเดิมซึ่งมันห่วยมันแย่ แล้วทำฉบับใหม่ของพวกเขาเอง อย่ามีปัญหากับ เรื่องนี้เลยครับ ประชาชนเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญครับ ท่านเข้าใจหลักการ ประชาธิปไตยดี ผมเชื่อว่าท่านยอมรับญัตตินี้ได้ครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านครูมานิตย์ สังข์พุ่ม เชิญครับ
นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สุรินทร์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ด้วยความเคารพ ท่านประธาน ผมขออนุญาตอภิปรายเท่าที่เวลาท่านประธานให้ แต่จะเหลื่อมไปสักนิดหน่อย เพราะว่าข้อเท็จจริงแล้วผมเห็นน้อง ๆ ผม เพื่อนผมในพรรคเพื่อไทย อภิปรายกันดีทุกคน โดยเฉพาะคนล่าสุด น้องน้ำผมนี่ ก็ได้แสดงทางด้านวิชาการไปหมดแล้ว แต่ผมอยากจะเอา ความจริงมาให้กับสภาแห่งนี้ฟัง แล้วเลยไปถึงพี่น้องประชาชนคนที่อยู่ที่บ้านด้วย ท่านประธานที่เคารพครับ เรื่องให้สภาพิจารณาให้ความเห็นชอบกับการทำประชามติแล้วส่ง ให้กับ ครม. นั้น ผมเชื่อว่าทุกคนเห็นด้วย แต่มีความต่าง แต่ถ้าถามว่าผมเห็นด้วย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไหม ท่านประธานเชื่อไหมใน ๒ เดือนที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ผมรับโทรศัพท์ จากชาวบ้านมาว่า ครูมานิตย์ ข้าวตอนนี้ออกแล้ว กิโลกรัมละ ๑๐ บาท ยางเริ่มลดราคา อีกแล้ว แต่โชคดีหน่อย ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐาลดค่าน้ำมันให้ ลดค่าไฟให้ ยังอยู่ได้ ส่วนใหญ่จะพูดแต่เรื่องนี้ทั้งนั้น ไม่มีนาย ก นาย ข ตาสีตาสา ยายมียายมา คนไหนถามว่า เมื่อไรจะแก้รัฐธรรมนูญ เมื่อไรจะทำประชามติ หรือผมอาจจะเป็นผู้แทนตลาดล่าง ท่านประธาน เพราะผมมาจากประชาชน แล้วผมสังกัดพรรคเพื่อไทยที่มีหัวใจคือพี่น้อง ประชาชน เราเป็นพรรคการเมืองที่แก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ เป็นพรรคการเมืองที่แก้ปัญหา ให้กับพี่น้องปากท้องมาด้วยดีตลอด เราว่างเว้นมา ๘ ปี ผมไม่ต้องถือความยาวสาวความยืดอะไรหรอกครับ แต่ถามว่าเราให้ ความสำคัญไหมกับเรื่องนี้ ให้ความสำคัญสุด ๆ เมื่อวานผมก็ไปออกรายการวิทยุว่า เรื่องการทำประชามติ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น พรรคเพื่อไทยเราเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพียงแต่ว่ามันยังมีความคิดที่ต่างกันอยู่ เช่นเรายืนยันมาตลอดในสมัยที่แล้ว ผมกับ พรรคก้าวไกลเราอยู่ฝ่ายค้านด้วยกัน ท่านประธานไปเปิด Tape ได้ ครูมานิตย์ลุกขึ้นมาว่า ผมเห็นด้วยกับการแก้ไข แต่ถ้าให้แก้หมวด ๑ หมวด ๒ ผมไม่เห็นด้วย แล้วพรรคเพื่อไทย ไม่เห็นด้วย แต่เมื่ออีกพรรคหนึ่งบอกว่าเขาเอาด้วยเลยมีความต่าง ไม่สามารถที่จะเซ็นชื่อกัน ได้ ไม่เห็นร่วมกัน ไปดูหลักฐาน ไปดูความเป็นปรากฏการณ์เรื่องนี้ แต่ไม่ใช่เอามาใส่ร้าย นี่คือความต่าง แล้วบังเอิญพวกเราก็มีประสบการณ์ เราโดนปฏิวัติมา ๒ ครั้ง ฉะนั้นเราก็ต้อง อาศัยความรอบคอบ วันนี้ตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มีท่านภูมิธรรม เวชยชัย เป็นประธาน ก็มีพรรคการเมืองมาร่วมทุกพรรค มีนักวิชาการ มีบุคคลภายนอก นี่ยังน้อยใจอยู่ อย่างเดียวแต่ไม่อยากจะพูด แต่ขออนุญาตได้เอ่ย น้อยใจว่าน้อง ๆ พรรคก้าวไกลนี่ ท่านผู้แทนพรรคก้าวไกล หรือตัวแทนพรรคก้าวไกลไม่ไป กลัวว่าเราจะเอาความชอบธรรม มาช่วยกันก่อนสิครับ มาแก้กันก่อน ถ้ามันไม่ดีตรงไหน มันไม่สมบูรณ์ตรงไหน ก็ค่อยว่ากันไป ท่านประธานเชื่อผมไหม ในประเทศไทยตราบใดที่ยังมีมนุษย์ หรือยังมีคน ไม่มีเรื่องไหน มันราบรื่นหรอกครับ รัฐธรรมนูญแก้มาไม่รู้กี่ฉบับแล้ว คนนั้นก็บอกว่าดี คนนี้ก็บอกว่าไม่ดี ผมก็บอกว่ารัฐธรรมนูญเที่ยวที่แล้วดีบางส่วน บางส่วนก็อาจจะมีข้อบกพร่องบ้าง ถ้าไม่ดี ทั้งหมดผมจะสมัครมาเป็นผู้แทนราษฎรทำไม ผมมาเป็นผู้แทนราษฎรภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ๒ สมัยแล้ว ก็ค่อย ๆ ทำ เพราะตรงนี้ประเทศไทย มีหลายคนบอกว่าคับใจอยู่ยาก คับที่อยู่สบาย ก็ต้องไปหาที่อยู่ที่สบายสิครับ ถ้าตรงนี้มันไม่สบาย วันนี้เราต้องยืนอยู่บนโลก แห่งความเป็นจริง ประเทศนี้ต้องยืนอยู่บนโลกความเป็นจริง เหมือนกับเที่ยวที่แล้ว ในการจัดตั้งรัฐบาล ไม่ใช่ไม่น้อยใจนะครับว่าพวกผมมาจับมือกับพวกเผด็จการบ้าง เผด็จการกับอะไรท่านประธาน นี่มาจากการเลือกตั้งหมด ประชาชนเขาเลือกมาหมด ที่นั่งอยู่ในสภาแห่งนี้ ยังไม่มี สส. โดยการแต่งตั้ง มาจากการเลือกตั้งทั้งนั้น แต่เราเห็นว่า อะไรที่ปรองดองกันได้ อะไรที่แก้ปัญหาของประเทศได้ อะไรที่ประเทศมันเดินหน้าได้ เราก็ค่อย ๆ ช่วยแก้วิกฤติ เพราะพวกเราผ่านมาแล้ว ผ่านทั้งเป็นรัฐบาล ผ่านทั้งเป็นฝ่ายค้าน ผ่านทั้งนอนอยู่สนามหลวง ท่านประธานก็ไปนอนอยู่กับผม ผ่านเวทีราชประสงค์ เราผ่านมา หมดแล้ว นี่ยังโชคดีว่าวันนี้เรามีชีวิตยืนอยู่ได้ เราไม่ได้มาพูดเอามันอย่างเดียว เราเอาภาคปฏิบัติ เราเอาโลกแห่งความเป็นจริงมาเล่าให้ฟังด้วยว่าโลกความเป็นจริงมันเป็นอย่างนี้ บางทีจะได้ แก้อยู่แล้วก็ติดขัดโน่นติดขัดนี่ เหมือนประชามติวันนี้ หลายคนบอกว่าไม่ต้องเอาเข้าสภาได้ไหม ผมบอกว่าไม่ได้ สภาแห่งนี้เป็นสภาเหตุและผล เราต้องมารับฟังความคิดต่างของพรรคฝ่ายค้าน เพราะในสภาแห่งนี้มันมี สส. ประกอบไปด้วย ๒ ฝ่าย คือฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน เราก็ฟังเขาดู แต่เราก็มีเหตุผลของเรา เพราะบางครั้งผมก็อดน้อยใจไม่ได้ท่านประธาน อาทิตย์ที่แล้วที่ผม ได้ลุกขึ้นมา นี่เป็นประเด็นใหญ่นะครับ เราอภิปรายเรื่องของเด็กไร้สัญชาติ เด็กไร้การศึกษา ก็มีมือดีไปลงใน TikTok ลงโน่นนี่ว่าพรรครัฐบาลไม่ให้ความสำคัญ ไม่แก้ ไม่เอาด้วย ไม่ใช่ เรามีคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร เรามีคณะกรรมาธิการอยู่ ๓๕ คณะ อะไรที่มีความจำเป็นที่จะต้องเอาไปทำก็ให้คณะนั้นไป เพราะการจะมาตั้งคณะกรรมาธิการ แต่ละคณะมันหมดเงินไป ๒-๓ ล้านบาท นี่เราก็ประหยัดงบ กลับมาเลือกประชามติ ทำประชามติครั้งหนึ่ง ท่านประธาน หมดไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ ล้านบาท แล้วเราก็ศึกษาดูแล้ว ถ้าเราทำ ๓-๔ ครั้งมันหมดไปหลายหมื่นล้านบาท บางคนบอกว่าไม่เป็นไร มันพูดได้ ผมกำลังจะนั่งรออยู่เหมือนกันว่าคนที่พูดเวลาปฏิบัตินี่ปฏิบัติได้ตามข้อเท็จจริงหรือไม่ มันไม่ใช่ของสนุกนะครับ การพูดมันพูดสนุก เพราะผมก็พูดในสภามาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ วันนี้ปี ๒๕๖๖ ท่านประธาน ทั้งโดนเขาปฏิวัติบ้าง ฝ่ายค้านบ้าง ก็หลายสิบปีมาแล้ว บางครั้ง พูดเอามัน สนุก แต่ข้อเท็จจริงปฏิบัติไม่ได้ ท่านประธานเห็นลูกเวลามันร้องไหม มันอยากจะ ได้โน่น อยากจะได้นี่ อยากจะได้นั่น แต่มันไม่รู้ว่าพ่อกับแม่คิดจนปวดหัวหมดแล้วว่าอะไร สามารถให้ลูกได้บ้าง อะไรทำได้บ้าง ผมอยากให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยและปีกของรัฐบาล ทุกพรรคเขาอยากแก้ แต่หลายหมวดที่เขามองแล้วว่ามันไม่เหมาะ เขามองแล้วมันไม่ใช่ เรื่องที่เราจะไปแตะ จะไปยุ่ง เช่นหมวด ๑ หมวด ๒ เราสงวนไว้ แต่เรื่องอื่นไม่ใช่ว่าสมอง มีแต่ขี้เลื่อยนะครับ นี่เป็นผู้แทนราษฎรมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ บางคนยังเรียนอยู่ชั้นประถม เรารู้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เราเข้าใจช่องว่างระหว่างข้อกฎหมาย ความไม่ได้รับความเป็นธรรม ปัญหาที่ดิน ปัญหาอะไร เราเข้าใจครับ แต่เราค่อย ๆ แก้ เราต้องทำแบบไทย ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป มาร่วมไม้ร่วมมือ ก่อนจะลงก็อยากเห็นว่าทางซีกอีกซีกหนึ่งอยากมาอยู่ใน คณะกรรมการ แล้วไปกดดันคณะกรรมการท่านประธานว่าให้รีบดำเนินการทำ เพื่อจะส่งเข้า มาในสภา อันนี้ผ่านวันนี้ไปแล้วมันก็ไม่จบ ส่งให้รัฐบาลไม่ได้ เพราะในกฎหมายเขียนไว้ ชัดเจนว่าต้องส่งให้ สว. แล้วก็ด่า สว. เขาอยู่ทุกวันนี้อย่างนี้เขาจะให้ผ่านหรือครับ ถ้าผมด่า ประธานทุกวันประธานจะคุยกับผมด้วยไหมครับ ประธานต้องหาเพื่อน เมืองไทยต้องมีมิตร มีเพื่อน ฉะนั้นผมอยากกราบเรียนกับพี่น้องที่อยู่ทางบ้านที่ฟังก็ดีว่าพรรคเพื่อไทย และพรรครัฐบาลเรามีความตั้งใจสูง แต่มันมีข้อจำกัด แต่จะทำให้ไวที่สุดเพราะเราก็เป็น สัญญาประชาคมไว้กับชาวบ้าน กับพี่น้องประชาชน เขาเลือกผมมานะครับท่านประธาน ผมก็ไม่ได้แต่งตั้ง เหมือนคนอื่นเขาละครับ เลือกมาเยอะด้วย เลือกผมในเขตว่าเราก็จะ แก้ปัญหาอย่างนี้ พร้อมกับแก้ปัญหาเรื่องปากท้อง แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มันมีปัญหากับพี่น้อง ล้วงกระเป๋าซ้ายเจอสตางค์ ล้วงกระเป๋าขวาเจอสตางค์ ไม่ใช่ล้วงซ้ายเจอมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ ล้วงขวาเจอมาตรา ๑๑ แล้วไปซื้อของในตลาดได้อย่างไรครับ ปัญหาปากท้อง เป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่ง เพราะผมมาเป็นผู้แทนราษฎรในแนวนั้น แต่ในฐานะที่เป็น นักประชาธิปไตยคนหนึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะขัดขวาง แต่อยากเห็นทำครั้งเดียว รัฐบาลเขาอาสา มาแล้ว ถ้ารัฐบาลไม่อาสาวันนี้สิครับ ผมจะช่วยลุกขึ้นตำหนิติเตียนรัฐบาลชุดนี้ด้วย ถึงแม้ว่า อยู่พรรครัฐบาล แต่นี่เขาทำอยู่แล้ว เราไม่จำเป็นต้องทำกันหลายครั้งหลายคราหรอกครับ มาช่วยกันประคับประคอง แล้วให้มันเป็นประชามติ ให้มันเป็นรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ แล้วแก้ไขได้ ไม่เหมือนกับรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ขอบพระคุณมากครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปอีก ๓ ท่านนะครับ ท่านแรก ท่านพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ท่านรวี เล็กอุทัย ท่านกัณตภณ ดวงอัมพร เชิญท่านพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ครับ
นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม พงศธร ศรเพชรนรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง พรรคก้าวไกล อำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา
นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ
อันดับแรก ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่ทุกคนในวันนี้ได้มาพูด ในสภาผู้แทนราษฎร และเห็นตรงกันว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ อันนี้คือเรื่องที่น่ายินดีครับ เพื่อนสมาชิกฝ่ายรัฐบาลเองก็ยืนยันว่ารัฐบาลจะทำประชามติตามนโยบายที่บางพรรค หาเสียงไว้อย่างแน่นอน และยินดียิ่งขึ้นที่ประกาศชัดในสภาว่าจะทำประชามติภายใน ไตรมาสแรก ปี ๒๕๖๗ อย่างแน่นอน อันนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเห็นตรงกัน ก็ยินดีมากครับ แต่เท่าที่ฟังดูมีเรื่องที่เห็นแย้งกันอยู่ ๒ เรื่องหลัก ๆ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของญัตตินี้ และเป็น สาระสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ๒ เรื่อง ก็คือ
นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เรื่องแก้ จะแก้ทั้งฉบับหรือไม่ หรือจะเว้นบางหมวด เรื่องนี้ครับ หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยของเราบอกว่า ประชาชนคือผู้ทรงอำนาจสูงสุด ดังนั้นจะเถียงกันทำไมครับ ถ้าบอกว่าประชาชนคือผู้ทรงอำนาจสูงสุดก็ต้องแก้ได้ทุกหมวด จะเว้นบางหมวดไปทำไม ถ้าเว้นบางหมวดได้ก็แปลว่าประชาชนไม่ใช่ผู้ทรงอำนาจสูงสุด อย่างแท้จริง อย่าคิดแทนว่าประชาชนอยากแก้หมวดไหน ไม่แก้หมวดไหน ดังนั้น ต้องใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างถึงที่สุด เปิดกว้างอย่างถึงที่สุด รับฟังความเห็นอย่างทั่วถึง ที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่เขาอยากแก้หมวดไหนก็ต้องให้แก้ ไม่ใช่เรื่องอะไรที่เราจะไป คิดแทนว่าควรแก้หมวดไหน ไม่แก้หมวดไหน ดังนั้นถ้าเราเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีประชาชนคือผู้ทรงอำนาจสูงสุดอย่างแท้จริง ต้องเปิดให้มีการแก้ทั้งฉบับโดยไม่มีเงื่อนไข
นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ มีการตั้งข้อสังเกตว่าทำไมต้องมี สสร. จากการเลือกตั้งทั้งหมด นี่ก็เรื่องเดิมครับ หลักการสำคัญว่าเราเชื่อหรือไม่ว่าประชาชนคือผู้ทรงอำนาจสูงสุด ถ้าเชื่อ ตามนี้ก็ต้องให้ สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ต้องไปกังวลว่าจะมา จากสัดส่วนตรงนั้นตรงนี้ มีส่วนร่วมหรือไม่ ก็ประชาชนเลือกทั้งประเทศ ทุกคนมีสิทธิเลือก ว่าจะเลือกใครที่จะเข้ามากำหนดกฎหมายสูงสุดของประเทศ ดังนั้นต้องเปิดให้มีการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนข้อกังวลที่ว่าจะมีสัดส่วนจากกลุ่มชาติพันธุ์ จากพระสงฆ์ จากกลุ่ม ผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มอาชีพต่าง ๆ หรือไม่ ตรงนี้เราใช้กระบวนการมีส่วนร่วม อื่น ๆ ได้ ดังเช่นการตั้งคณะกรรมาธิการยกร่าง ดังที่ผู้เสนอญัตติ คุณพริษฐ์ได้พูดไปแล้ว ดังนั้น ๒ เรื่องตรงนี้ที่อภิปรายกันมาตลอดมันอยู่ที่หลักการสั้น ๆ แค่นั้นเองว่าเราเชื่อมั่น จริง ๆ ไหมว่าประชาชนคนไทยทั้งประเทศคือผู้ทรงอำนาจสูงสุดตัวจริง ถ้าเห็นต่างจาก เรื่องนี้ แปลว่าท่านไม่เชื่อว่าประชาชนคืออำนาจสูงสุด
นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ
ถัดมาในเรื่องของเทคนิค Tactic ว่าถ้าเอาญัตตินี้ลงมติให้ผ่านไป มีผู้อภิปราย บางท่านกังวลว่าเดี๋ยวผ่านสภาผู้แทนราษฎรไปก็ไปติดขัดอยู่ที่วุฒิสภา เดี๋ยวกระบวนการ ร่างรัฐธรรมนูญจะด่างพร้อยหรือไม่ ผมคิดว่าไม่ต้องกังวลเรื่องนี้ครับ เราควรเปิดโอกาส ให้ฝ่ายนิติบัญญัติได้มีส่วนร่วมในการเสนอเรื่องนี้ ให้ไปถึง สว. ควรเปิดโอกาสให้ สว. ได้ทำ อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประชาธิปไตยบ้าง เป็นการทิ้งท้ายบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เป็นรถไฟขบวนสุดท้าย ให้ทุกคนสามารถกระโดดขึ้นร่วมกระบวนการผลักดันประชาธิปไตย ของประเทศไทยของเราได้ ดังนั้นไม่ต้องกังวลเรื่องนี้ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม และผมเชื่อว่าถึงเวลานี้เมื่อเสียงทั้งประเทศบอกว่าอยากแก้ สว. ไม่น่าจะขวางนะครับ แต่ว่าถ้าไปถึงสภาที่จะลงความเห็นแล้ว สว. เกิดขวางขึ้นมาจริง ๆ นี่ละจะเป็นใบเสร็จครับ เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่ายิ่งต้องแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะกระบวนการในการผ่าน รัฐธรรมนูญมันมีปัญหาจริง ๆ เป็นหลักฐานเลยครับ ถ้า สว. ขวางเรื่องนี้ ก็เป็นหลักฐาน เป็นใบเสร็จชัดเจนว่ายิ่งสมควรจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่มีปัญหาจากทั้งที่มา และเนื้อหาอย่างแท้จริง ดังนั้นก็ไม่ต้องกังวลถ้า สว. ไม่ผ่าน ครม. ก็ดำเนินการตามมาตรา ๙ (๒) ต่อไปได้เลย ตามใบเสร็จที่ให้เห็นว่ากระบวนการในการแก้รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้มีปัญหา จริง ๆ ดังนั้นก็ขอให้เพื่อนสมาชิกที่อภิปรายวันนี้ทั้งหมดที่บางท่านยังไม่เห็นด้วยกับญัตตินี้ ขอให้เปลี่ยนความคิดครับ ผมอยากเห็นพาดหัวข่าวเย็นนี้หรือพรุ่งนี้ บอกว่าสภาแห่งนี้ เห็นชอบให้เดินหน้ากระบวนการทำประชามติบนหลักการที่เห็นประชาชนมีอำนาจสูงสุด จริง ๆ ผมไม่อยากเห็นพาดหัวข่าวที่บอกว่า สส. ฝ่ายรัฐบาลขวางการทำประชามติ ที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ดังนั้นวิงวอนขอให้เพื่อนสมาชิกที่ยังไม่เห็นด้วย ได้เปลี่ยนความคิดมาร่วมกันผลักดัน เพื่อให้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญที่เราเห็นตรงกันว่า มีปัญหาได้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ถ้าจะดีก็ขอเชิญ ฝ่ายตุลาการมาร่วมผลักดันร่วมกันจะได้ครบ ๓ เสาหลัก ดังนั้นถ้าวันนี้สภาแห่งนี้ได้ผ่าน ญัตตินี้ ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้ประชาชนไม่เกิดความเคลือบแคลงสงสัย และมั่นใจได้ว่า เราจะเดินหน้าสู่กระบวนการทำประชามติ และแก้รัฐธรรมนูญบนหลักการพื้นฐานที่เห็น ประชาชนคือผู้ทรงอำนาจสูงสุดอย่างแท้จริง ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านรวี เล็กอุทัย เชิญครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม นายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต ๓ พรรคเพื่อไทย ผมในฐานะสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร และในฐานะประชาชนผู้ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยคนหนึ่ง ผมขอแสดงความเห็นต่อญัตตินี้ดังนี้ครับท่านประธาน
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ประการแรก ผมขอยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีความเป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่สุด ผมจึงเห็นด้วย กับการที่ต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากประชาชน ผ่านกระบวนการ ประชามติ อันนี้เป็นจุดยืนแรกที่ผมขอยืนยันให้ชัดเจนก่อนเป็นอันดับแรก
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ผ่านการประชามติของประชาชน ซึ่งผมคิดว่าเป็นประเด็นหลักที่สมาชิกในที่ประชุมแห่งนี้ กำลังพิจารณาถกเถียงกันอยู่ สำหรับผมการแสดงความเห็นเกี่ยวกับญัตตินี้นั้นมีคำถาม
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
คำถามแรกนั้น ก็คือความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการทำประชามติในหลาย ขั้นตอนระหว่างการก่อรูปรัฐธรรมนูญ จนถึงการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประเด็นนี้ ผมพบว่าหากพิจารณาตามญัตตินี้ จะสามารถตีความได้ว่าผู้เสนอญัตติมองว่าการเสนอญัตติ เพื่อให้ทำประชามติสอบถามประชาชนนั้น จะสอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๔/๒๕๖๔ และสอดคล้องกับความเห็นของ สส. และ สว. ที่ยังไม่มีการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าสู่รัฐสภา โดยใช้ช่องทางให้ ครม. มีมติตาม พ.ร.บ. ประชามติ พ.ศ. ๒๕๖๔ และนำไปสู่ การทำประชามติถึง ๓ ครั้ง คำถามก็คือการทำประชามติถึง ๓ ครั้งนั้นมีความจำเป็น จริงหรือไม่ เพราะนอกจากเวลาและงบประมาณเกี่ยวกับการทำประชามติในแต่ละครั้ง ที่เพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านได้อภิปรายไปว่าใช้เวลามาก แล้วก็เป็นงบประมาณที่จำนวน มหาศาล เราต้องยอมรับครับว่าการทำประชามติต้องมีการเตรียมคำถามในแต่ละครั้ง การทำ ประชาสัมพันธ์และการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนในการออกเสียง ประชามติในแต่ละรอบ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
คำถามที่ ๒ ในสาระของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ผมเชื่อว่าสมาชิกในสภา แห่งนี้ต้องการให้ยึดโยงกับประชาชนออกเสียงเลือกตั้ง ในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย ให้มากที่สุด และนำมาซึ่งการพิจารณาว่าการมี สสร. นั้นมีความจำเป็น แต่ในขณะเดียวกัน การมี สสร. ที่สะท้อนความต้องการของประชาชนสำหรับผมนั้นต้องครอบคลุมทุกภาคส่วน ซึ่งก็เป็นความตั้งใจของรัฐบาลอยู่แล้วที่จะให้ได้ตัวแทนที่ครอบคลุมภาคส่วนต่าง ๆ ของกลุ่ม ในสังคมให้ได้มากที่สุด หนทางนี้จึงน่าจะเป็นทางออกให้กับการลดจำนวนครั้งของการทำ ประชามติได้ และยังสามารถรักษาการยึดโยงกับเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง ซึ่งก็คือ ประชาชนไว้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง ที่ผมมองว่าการเสนอจัดทำประชามติของญัตตินี้ยังมี ประเด็นที่แตกต่างจากจุดยืนของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลอยู่ นั่นก็คือเรื่องของการแก้ไข รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะเรามีจุดยืนที่ชัดเจนมาโดยตลอดว่าเราจะจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ แต่จะเว้นแก้ไขในหมวด ๑ และหมวด ๒ นั่นจึงทำให้ผมมองว่าการเสนอญัตติ ถามความเห็นในครั้งนี้ที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ยังมีความเห็นไม่ตรงกันกับ แนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญของรัฐบาลอยู่ ปัญหาที่หลายส่วนเป็นกังวล รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ที่คณะกรรมการศึกษาที่รัฐบาลตั้งขึ้น และ สสร. ยกร่างขึ้น อาจจะไม่สะท้อน ความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงอย่างที่บางท่านกล่าว และไม่ลดปัญหาที่เกิดขึ้น จากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ แต่ผมมั่นใจว่าไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหนก็ตาม ทั้งตัวผู้เสนอ ญัตติเอง หรือจะเป็นใครก็ตาม ที่ต้องการเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญ ย่อมสามารถแสดงความเห็นไปยังรัฐบาลได้ เพราะรัฐบาล ณ ปัจจุบันนี้ที่กำลังทำงานอย่างขยันขันแข็งอยู่นั้น พร้อมเปิดรับฟัง ทุกความคิดเห็นอยู่แล้ว ยิ่งถ้าฟังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านที่อภิปรายในวันนี้ และเสียงของพี่น้องประชาชนที่สะท้อนถึงรัฐบาลอยู่แล้ว ผมมั่นใจว่าทุกเสียงเหล่านี้ได้ส่ง ไปถึงยังรัฐบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนแน่นอน ผมเข้าใจครับว่าประเด็นของการได้มา ซึ่งประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศต่างรอคอย และตั้งความหวังอยู่ ซึ่งผมอยากจะชี้แจงให้พี่น้องประชาชนทุกท่านที่รับฟังอยู่ในขณะนี้ ได้รับรู้ว่ารัฐบาลได้มีการดำเนินการเรื่องนี้มาโดยตลอด และได้มีการตั้งคณะกรรมการ ในการพิจารณาเรื่องนี้ และทุกกระบวนการขั้นตอนของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของประชาชน
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
สุดท้ายครับท่านประธาน ผมเชื่อมั่นว่ารัฐบาลนี้เห็นด้วยกับการให้ทำประชามติ เห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย สสร. และให้ความสำคัญสูงสุดในการจัดทำ รัฐธรรมนูญบนหลักของประชาธิปไตยที่ต้องการคืนอำนาจสูงสุดให้แก่พี่น้องประชาชน คนไทยทุกคน ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านกัณตภณ ดวงอัมพร เชิญครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎร ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร แรมโบ้ก้าวไกล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร แบบแบ่งเขต ดินแดง พญาไท พรรคก้าวไกล
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ผมขอนำเสนอข้อมูล เรียนท่านประธานเพื่อประกอบการพิจารณา ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็น ของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ท่านประธานครับ ความสำคัญในการใช้ กระบวนการออกเสียงลงประชามติคือการได้รับมติของประชาชนส่วนใหญ่ที่มาจาก การออกเสียง เป็นเรื่องที่เป็นผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมถึงผลกระทบ ต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติ การออกเสียงประชามตินั้น เป็นกลไกที่ตั้งอยู่บนหลักการ ประชาธิปไตยทางตรงแบบสมัยใหม่ โดยปกติแล้วแม้ประชาชนสามารถแสดงความเห็น หรืออยากให้การเมืองเป็นแบบใด แต่ในความเป็นจริงภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แบบตัวแทน ผู้มีอำนาจตัดสินใจสุดท้ายกลับเป็นนักการเมืองในฐานะผู้แทนราษฎรนั่นคือ พวกเราครับ ดังนั้นการออกเสียงประชามติจึงเสมือนเป็นการคืนอำนาจอธิปไตยชั่วคราว ให้แก่ประชาชนทุกคนที่มีโอกาสเลือกเส้นทางประเทศจากคำว่า เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เพราะเรื่องที่นำมาจัดทำประชามติเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ ของประชาชนในประเทศทั้งหมด ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีหลายหลากประเทศ ที่ใช้กลไกการลงประชามติเพื่อให้ประชาชนในประเทศนั้น ๆ ได้มีการแสดงความคิดเห็น นำไปสู่การแก้ไขปัญหาระดับประเทศ ทำให้เห็นผลเชิงประจักษ์แก่ประชาชนและคนทั่วโลก ผมขออนุญาตท่านประธานพูดถึง ๒ ประเทศ กับ ๒ ประเด็นหลัก การให้ประชาชนทำมติว่า จะอยู่ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU ต่อไปหรือไม่ โดยเสียงข้างมาก ๕๑.๐๙ เปอร์เซ็นต์ ที่เห็นว่าให้ถอนออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิมากถึง ๓๐ ล้านเสียง หรือคิดเป็น ๗๒ เปอร์เซ็นต์ นี่เป็นเรื่องใหญ่ในปี ๒๕๕๙ ที่เกิดขึ้น และเชื่อว่าหลาย ๆ ท่าน ก็ได้ติดตามเรื่องนี้ โดยคำถามในการทำประชามติถามเพียงแค่ว่าสหราชอาณาจักร ควรอยู่ต่อเป็นสมาชิกภาพในสหภาพยุโรปหรือควรออกจากสหภาพยุโรป ในปี ๒๕๕๘ ก่อนที่สหราชอาณาจักรจะมีการทำประชามติเรื่องสหภาพยุโรปนั้น ประเทศญี่ปุ่นเองก็มี การทำประชามติเกี่ยวกับการจัดตั้งมหานครโอซาก้า ซึ่งทำให้โอซาก้านั้นมีสถานะทัดเทียม กับโตเกียว ทำให้โอซาก้านั้นมีอำนาจในการบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ซึ่งผลจากการประชามติมีคนที่ไม่ต้องการให้มหานครโอซาก้า มากถึง ๕๐.๓๘ เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีการรณรงค์ ไม่ได้มีการจับกุมแต่อย่างใด จึงทำให้เรื่องนี้ต้องหยุดไป จากตัวอย่างที่ผม ได้ยกมาจะได้เห็นว่าเสียงของประชาชนคือเสียงที่เขาเองจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเกิดผล อย่างไรในระดับประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้นการที่จะหยิบยกประเด็นระดับประเทศ มาทำประชามติ เห็นจะไม่พ้นเรื่องการที่จะให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นรัฐธรรมนูญ ของประชาชนคนไทยได้เป็นผู้ตัดสินด้วยตัวเองว่าเห็นควรหรือไม่เห็นควรที่จะมาร่าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ไปด้วยกัน อย่างที่ทราบกันดีวิกฤติทางการเมืองที่ผ่านมาหลาย ๆ เรื่อง จุดเริ่มต้นมาจากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ซึ่งเขียนเอาไว้สืบทอดอำนาจที่เกิดจากการรัฐประหาร ปี ๒๕๕๗ โดยผู้กระทำการรัฐประหารก็มอบหมายให้ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้นำการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปัญหาที่ตามมาจนเกิดเป็นวิกฤติที่เราเห็นพ้องต้องกัน ก็คือเรื่องนายกรัฐมนตรีที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง สว. แต่งตั้งที่มาจาก คสช. ไหนจะแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ๒๐ ปี ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้วนั้น ๒๐ ปี โลกมันหมุนไว สิ่งที่ท่านเขียนออกมาอาจจะต้อง Renovate กันใหม่ด้วยซ้ำ ฉะนั้นแล้วการที่เราจะมา ร่างรัฐธรรมนูญกฎหมายสูงสุดของประเทศ คงไม่ใช่ว่าใครจะแต่งตั้งใครมาร่าง แต่ควรที่จะมี การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ จัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ สสร. ซึ่งประเทศเราเองนั้นไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นครั้งแรก เราเคยมีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่มาของ สสร. เองก็มีการเลือกจากรัฐสภา เป็นต้น โดยทั้ง ๔ ครั้งที่ผมกล่าวมาสภาร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มคนในประเทศไทย สุดท้ายให้ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินว่าเขาจะเห็นควรหรือไม่เห็นควรที่จะมี การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แทนรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน คือคืนอำนาจอธิปไตย ชั่วคราวให้กับประชาชนให้เขามีสิทธิตรงนี้ ฉะนั้นที่กล่าวมาทั้งหมดผมขอสนับสนุน และขอแรงสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดให้พิจารณาเห็นชอบในการแจ้งให้ คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชน ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เชิญครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อญัตติให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มี การออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังจาก พูดถึงชื่อญัตติแล้ว ผมขออนุญาตท่านประธานด้วยความเคารพครับ ในการที่จะ Headline พาดหัวหรือปักธงการอภิปรายว่า อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เห็นชอบให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เห็นชอบให้มีการทำประชามติ อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เห็นชอบให้มีการตั้ง สสร. เพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญ เหตุที่ต้องพาดหัว เช่นนี้เพื่อเป็นการปักธงป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะมีนำไปบิดเบือน หรือด้อยค่า แพร่มลทินกับผู้อภิปราย และ สส. ที่ได้ลุกขึ้นมาในการสนับสนุนเรื่องของการทำประชามติ ความจริงถึงตรงนี้ผมจะนั่งลงเลยก็ได้นะครับ แต่ว่าขออนุญาตอรรถาธิบายเพิ่มเติมว่าเมื่อสนับสนุนเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ก็เห็นชอบ เห็นด้วยทั้งเรื่องการทำประชามติ เรื่องตั้ง สสร. แต่ทำไมถึงจะไม่เห็นด้วย ตามข้อเสนอที่จะให้มีการทำประชามติจาก ๒ รอบ เป็น ๓ รอบ ไม่เห็นด้วยที่จะมี การซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองงบประมาณ และอื่น ๆ อีกหลายประการด้วยกัน
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สิ่งที่เราต้องยอมรับว่าหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมานั้น ในช่วงของการรณรงค์ หาเสียงเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยประกาศจุดยืนท่าทีชัดเจน แทบจะเรียกได้ว่าพรรคเพื่อไทย หัวใจคือประชาชน เป็นพรรคการเมืองที่เป็นเจ้าของทฤษฎีแนวคิด เป็นเจ้าของ Brand เรื่องนี้ คือเลือกตั้ง สสร. เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ระหว่างทางมีคนบอกครับว่าพรรคเพื่อไทย จะแก้ แก้จริงหรือเปล่า เราบอกว่ารอรับได้เลย ไม่เคยบิดพลิ้ว สัญญาเป็นสัญญา และเมื่อ ประชุม ครม. นัดแรก นอกเหนือจากเรื่องลดค่าไฟ ค่าพลังงาน เรื่องรัฐธรรมนูญก็เป็นไป ตามที่บอกว่ารอรับได้เลย นี่คือสิ่งบ่งชี้ที่สนับสนุนว่าสิ่งที่เราได้ประกาศไว้ไม่มีบิดพลิ้วครับ แล้วก็พิสูจน์ให้ได้เห็นชัดเจน เราตามไปดูข้อเท็จจริงต่อว่ารัฐบาลเขามีการตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมา ในชุดที่มีรองนายกรัฐมนตรีภูมิธรรม เวชยชัย เป็นประธาน เขาก็ไม่ได้อิดออดดึงเช็ง ซื้อเวลา เรียกว่าประชุมต่อเนื่องกันหลายครั้ง ถามว่ามีความหลากหลายของคณะกรรมการ หรือไม่ มีหลากหลายครับ ประกอบด้วยหลายภาคส่วนหรือไม่ มีความน่าเชื่อถือไม่ ครบถ้วนครับ ส่วนพรรคการเมืองใดจะไม่มาร่วมก็เป็นสิทธิของท่าน แต่รัฐบาลเขาก็บอกว่ารัฐบาลเขาไปต่อ ไม่รอแล้ว
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการต่อมา ที่ผมจะไม่เห็นด้วยกับญัตตินี้ คือตัวญัตติที่บอกว่าจะให้มี การออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อนสมาชิกหลายท่านอภิปรายว่าเป็นเหมือนการตีเช็คเปล่า เขียน Blank กว้าง ๆ เหมือนกับจะให้มีการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาทั้งฉบับ แต่จุดยืนพรรคเพื่อไทยเรา ประกาศตั้งแต่ต้นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยตั้งจิตมาแต่ไกล ตั้งใจมาแต่บ้าน อธิบายสื่อสารชัดเจนว่าเราจะไม่แก้หมวด ๑ คือบททั่วไป เราไม่แก้หมวด ๒ ไม่แตะ หมวดสถาบัน แล้วเราก็ดำเนินการตามพันธสัญญาเช่นนั้น
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ ที่ไม่เห็นด้วย คือการทำประชามติจะต้องทำโดยอาศัย พ.ร.บ. ประชามติ พ.ศ. ๒๕๖๔ มาตรา ๙ (๔) ก็หมายความว่าจะได้เสียงของรัฐสภานั้นก็ต้องไป ขอความเห็นชอบจาก สว. ด้วย ที่ผ่านมาสายัณห์ สัญญา เคยบอกว่าความรักเหมือนยาขม แต่เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นก็ต้องยอมรับว่า สว. ก็เป็นยาขมสำหรับเรื่องนี้ จุดยืนของแต่ละ องค์กร แต่ละฝ่ายก็ว่าไป ทุกคนมีเหตุผลของตัวเอง เพื่อพิทักษ์รักษา เพื่อป้องกัน ความขัดแย้งขยายวงอะไร เราก็ต้องเคารพแล้วก็รับฟัง แต่การจะไปขอเสียง สว. มา สนับสนุนนั้น ต้องเรียนว่าเป็นเรื่องที่ยากถึงยากมาก
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๔ อย่างที่ผมเรียนครับ พรรคเพื่อไทยแทบจะถามปุ๊บตอบปั๊บ ถามปั๊บตอบปุ๊บ ถามปุ๊บ ๆ ปั๊บ ๆ ตอบปั๊บ ๆ ปุ๊บ ๆ พรรคเพื่อไทยแก้ไหม แก้ครับ พรรคเพื่อไทยตั้ง สสร. ไหม ตั้งครับ พรรคเพื่อไทยทำประชามติไหม ทำแน่นอน ผมนั่งฟัง เพื่อนสมาชิกจากบางพรรคหลายท่านลุกขึ้นมาอภิปรายในทำนองว่าจะไปคิดแทนประชาชน ได้อย่างไร เอาอะไรไปคิดแทน ไม่มีใครคิดแทนใครครับ ในอดีตรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา เขียนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แต่ถ้าเราไม่รู้ว่าเรื่องใดที่เราทำ มันจะกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว เรื่องใดที่มันจะเกิดความขัดแย้ง เราไม่หลีกเลี่ยงหรือครับ รู้ว่าเดินชนตอแล้วก็จะชนอยู่ เช่นนั้นหรือ หรือประโยคที่อาจจะจำต่อกันมาในทำนองที่บอกว่ากลัวอะไรกับประชาชน ไม่มีใครกลัวหรอกครับ ตลอดระยะเวลา ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมาผมต้องเรียนว่าผมเป็นส่วนหนึ่ง ของความขัดแย้งทางการเมืองจากสงครามสีเสื้อ ผมผ่านออฟฟิศเก่าผมนะครับ ออฟฟิศเก่า ผมอยู่ตามสะพาน ตามแยก ไม่ว่าจะเป็นสะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานชมัยมรุเชฐ ไปถึง แยกราชประสงค์ วันนี้รัฐบาลมีเรื่องที่ต้องทำเร่งด่วนหลายเรื่อง และแต่ละเรื่องนั้นต้องจัดลำดับความสำคัญของปัญหาให้ดี ต้องเรียง Priority ให้ถูก มี ๑๐๘ เรื่องให้ทำ เราระมัดระวังอย่าไปทำเรื่องที่ ๑๐๙ ประโยคทองวรรคเด็ดจากหนัง เรื่องสัปเหร่อเขาบอกว่า ความตายฆ่าเฮาได้เพียงเทื่อเดียวเท่านั้น แต่ความฮักมันฆ่าเฮาได้ เรื่อย ๆ เรื่อย ๆ เรื่อย ๆ ผมก็อยากสรุปว่าความขัดแย้งมันสามารถฆ่าเราได้เรื่อย ๆ เรื่อย ๆ เรื่อย ๆ และถ้าเราหยุดความขัดแย้งได้เราพึงทำครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านสรรเพชญ บุญญามณี ต่อด้วยท่านจาตุรนต์ ฉายแสง แล้วก็ท่าน รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ๓ ท่านสุดท้าย เชิญท่านสรรเพชญ บุญญามณี ครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม นายสรรเพชญ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ผมและเพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ขอมีส่วนร่วม ในการอภิปรายเพื่อแสดงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ ในการสนับสนุนให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ผ่านญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถาม ความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่เพื่อนสมาชิกฝ่ายค้านได้เสนอ ท่านประธานที่เคารพครับ นับตั้งแต่ที่เรามีรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครอง ประเทศของเรา ปัจจุบันเรามีรัฐธรรมนูญมาถึง ๒๐ ฉบับ เคยผ่านการแก้ไขมาแล้ว ๒๒ ครั้ง สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าในแต่ละยุค แต่ละสมัย รัฐธรรมนูญของเรายังไม่มีความเป็น ประชาธิปไตยที่มากพอ หรือรัฐธรรมนูญบางฉบับยังไม่ถูกใจผู้กุมอำนาจในการบริหาร ประเทศที่มากพอจึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกันบ่อยครั้ง ตั้งแต่ผมจำความได้ เติบโตมา ผมก็ได้ยินเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีปัญหาทั้งเรื่องของที่มาและกระบวนการรับรอง โดยอาศัยกระบวนการ จัดทำประชามติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยตามครรลองที่ควรจะเป็น เนื่องจาก ในตอนนั้นมีการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นการรณรงค์ที่จะเสนอเนื้อหาว่ารัฐธรรมนูญ มีจุดบกพร่องอย่างไร จนมาถึงสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ที่ผ่านมาก็มีการเสนอแก้ไข รัฐธรรมนูญ โดยพรรคประชาธิปัตย์เองก็มีส่วนร่วมในการเสนอแก้ไข และได้ยื่นให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา จำนวน ๖ ฉบับ ได้แก่ ๑. เสนอให้มีการแก้ไข มาตรา ๒๕๖ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒. เรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่พรรคประชาธิปัตย์ ส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น ๓. เรื่องการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีบทบาท มากขึ้น ซึ่งเรื่องการกระจายอำนาจนั้น ตัวกระผมเองและเพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวย้ำเรื่องนี้มาโดยตลอด เราเห็นว่าถ้าท้องถิ่นสามารถดูแลตัวเองได้ นั่นหมายความว่า ประเทศชาติของเราก็จะมีความเจริญทัดเทียมกันมากยิ่งขึ้น ๔. เรื่องการแก้ไขมาตรา ๒๗๒ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ไขอำนาจของ สว. ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ๕. เรื่องการจัดตั้ง สสร. เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะต้องไม่แตะหมวด ๑ และหมวด ๒ ๖. เรื่องระบบ เลือกตั้งจากบัตร ๑ ใบให้เป็น ๒ ใบ ตามที่เราทุกคนเพิ่งใช้กันมาในการเลือกตั้งปี ๒๕๖๖ ซึ่งจากที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอไป ๖ เรื่องก็ได้ผ่านแค่เรื่องเดียว เพราะติดปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้หลายประการ ท่านประธาน ที่เคารพครับ ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้วว่าต้องมี การทำประชามติ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่ารัฐสภามีอำนาจและหน้าที่ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้แต่ต้องทำประชามติ ๒ ครั้ง ครั้งแรก ให้ประชาชนลงมติว่า ต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และครั้งที่ ๒ เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ต้องให้มีการลงมติว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หากรัฐบาลยังดึงดันไม่รับการทำ ประชามติก็เหมือนกับว่าเป็นการเตะถ่วงเวลา ผมคิดว่าอันที่จริงแล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรจะเป็นวาระแรก ๆ ที่ท่านจะดำเนินการเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลด้วยซ้ำ ท่านตั้งคณะกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นมา ผมเองก็ไม่ทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ของท่านว่าท่านมีความต้องการอะไรกันแน่ถึงได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยที่ท่านเองก็ตอบไม่ได้ว่าจะศึกษาเสร็จเมื่อไร ท่านอย่าเอารัฐธรรมนูญมาเป็นตัวประกัน แล้วให้เป็นระเบิดเวลาของตัวท่านเองเลยครับ นี่ผมยังไม่ยกตัวอย่างนโยบายอย่างอื่นที่ท่าน บอกว่าเร่งด่วนนะครับ แต่คนของรัฐบาลเองก็ยังตอบไม่ได้เลยว่าที่เร่งด่วนจะทำอย่างไร ผมยกตัวอย่างเงินดิจิทัล เป็นต้น เราไม่ต้องย้อนกลับไปไกลครับ เอาช่วงเวลาล่าสุดที่พูดถึง จากบรรดานักการเมืองและพรรคการเมืองในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ทุกพรรคการเมือง เห็นพ้องกันว่ารัฐธรรมนูญควรจะต้องได้รับการแก้ไข ผมว่าวันนี้เป็นโอกาสอันดีที่เพื่อนสมาชิก จะได้ทำตามที่เคยรับปากไว้กับพี่น้องประชาชนในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ท่านประธานที่เคารพครับ การแก้ไขรัฐธรรมนูญผมและพรรคประชาธิปัตย์เรามีจุดยืน ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาโดยตลอดว่าการแก้ไขปัญหานั้นจะต้องไม่แตะหมวด ๑ และหมวด ๒ ที่จะทำให้เกิดความแตกแยกมากยิ่งขึ้นในสังคม กระผมและพรรคประชาธิปัตย์จึงเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จำเป็นจะต้องแก้ไขในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มี ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน สุดท้ายครับท่านประธาน เรื่องของการแก้ไข รัฐธรรมนูญก็มีความสำคัญไม่แพ้กว่าเรื่องปากท้องหรอกครับ ผมเห็นหลายท่านในฝ่ายรัฐบาล บอกว่าท่านเป็นรัฐบาล สิ่งที่สำคัญที่สุดตอนนี้คือแก้ไขเรื่องปากท้อง แล้ววันนั้นท่านสัญญา กับพี่น้องประชาชนทำไมครับ นโยบายด้านเศรษฐกิจดีครับ ทำเถอะครับ ทำไปเลย พวกกระผม ในฐานะฝ่ายค้านจะทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของท่านอย่างเต็มที่ แต่ท่านระวัง อย่าให้มันเกิดปัญหาเหมือนในอดีตที่ผ่านมาทำให้เป็นปม เป็นอุปสรรค เป็นชนวนเกิดเหตุ ทำให้เรามีปัญหาทางการเมืองมาอย่างยาวนาน เพราะฉะนั้นเองวันนี้ผมขอท่านประธานว่า ขอให้สภาชุดนี้ได้ผ่านญัตติที่เพื่อนสมาชิกฝ่ายค้านได้เสนอ และขอให้ท่านได้ทำตามที่ ท่านได้รับปากกับพี่น้องประชาชนไว้ตอนหาเสียง ว่าท่านจะนำเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องเร่งด่วนและเป็นวาระระดับประเทศชาติกราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจาตุรนต์ ฉายแสง เชิญครับ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม จาตุรนต์ ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธาน ที่เคารพครับ เมื่อวานนี้ในที่ประชุม สส. พรรคเพื่อไทย ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับญัตตินี้ แล้วก็มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าส่งเสริมให้มีการพิจารณาญัตตินี้ในสภา เนื่องจากเห็นว่าเป็นญัตติ ที่สำคัญ และเป็นเรื่องที่สภาผู้แทนราษฎรควรจะได้ปรึกษาหารือกันในเรื่องนี้ อีกอย่างหนึ่ง ก็คือญัตตินี้เป็นญัตติของ สส. พรรคฝ่ายค้าน ซึ่งเราเห็นว่าถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรจะต้อง ไปขัดขวางหรือทำให้ญัตตินี้ไม่ได้รับการพิจารณา เพราะว่าการแก้รัฐธรรมนูญนั้นต้องการ ความร่วมมือจากทุกฝ่าย ถ้าไม่มีเสียงของฝ่ายค้านสนับสนุนในการแก้รัฐธรรมนูญรัฐบาลก็แก้ รัฐธรรมนูญไม่ได้ ผมอยากจะพูดแทนเพื่อนสมาชิก ซึ่งความจริงหลายท่านได้พูดไปแล้วว่า พรรคเพื่อไทยยืนยันว่าเราต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อทำให้อำนาจ เป็นของประชาชนจริง ๆ ไม่ใช่อำนาจเป็นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคล องค์กร ที่ไม่เชื่อมโยงกับประชาชนอย่างที่เป็นอยู่ นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังจำกัด สิทธิเสรีภาพของประชาชน และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เรามี นโยบายมาตลอดว่าเราสนับสนุนให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดย สสร. เป็นนโยบายตลอดมา หลายปี และยังเป็นนโยบายอยู่จนกระทั่งบัดนี้ ส่วนเรื่องการทำประชามตินั้น ตามที่เสนอ ในญัตตินี้มีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณา ทำไมต้องมีการทำประชามติ ผมคิดว่าเราก็ เข้าใจร่วมกันอยู่แล้ว ความจริงในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๖ ไม่มีเรื่องว่าด้วยการทำประชามติ ในกรณีที่ร่างใหม่ ก็คือไม่ได้พูดถึงการร่างใหม่ การร่างใหม่จะเกิดก็ต่อเมื่อมีการแก้ มาตรา ๒๕๖ เสียก่อน แต่รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้บอกไว้ว่าจะต้องทำประชามติหรือไม่ ไม่เหมือน กรณีสำคัญอื่น ๆ ที่บอกไว้อย่างชัดเจน แต่ต่อมาก็มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในระหว่าง ที่มีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญกันอยู่ว่า ถ้าจะร่างใหม่ต้องมีการทำประชามติ ปัญหาที่จะต้องพิจารณาก็คือว่ายังมีการตีความไม่ตรงกันว่าการทำประชามติจะต้องทำ ในขั้นตอนไหน อย่างไร จะต้องทำกี่ขั้นตอน ทำกี่ครั้ง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่าต้องทำ ประชามตินั้น ผมคิดว่าเราเข้าใจตรงกันว่าเป็นความสำคัญ จำเป็น และเป็นประโยชน์ ในการที่จะทำประชามติ แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือว่าญัตตินี้เสนอให้มีการทำประชามติ โดยอาศัยมาตรา ๙ (๔) ที่บอกว่าการออกเสียงในกรณีที่รัฐสภาได้พิจารณาและมีมติเห็นว่า เป็นเรื่องที่เหตุสมควรที่จะให้มีการออกเสียงและได้แจ้งเรื่องให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ คำว่า รัฐสภา เกิดมีการตีความว่าให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนแล้วมีมติเห็นชอบ ส่ง ครม. หรือจะต้องส่งไปที่วุฒิสภา เสร็จแล้วจะต้องมีมติของวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้ส่งไป ครม. ทั้ง ๒ สภาส่งไปยัง ครม. อันนี้เป็นการตีความว่าเท่ากับรัฐสภาได้พิจารณา และมีมติเห็นว่าเป็นเรื่องที่สมควรให้มีการออกเสียงประชามติแล้ว ซึ่งก็จะมีปัญหาว่า คำว่า รัฐสภาได้พิจารณาและมีมติ หมายความว่า ต้องพิจารณากันในที่ประชุมร่วมกัน ของรัฐสภาหรือไม่ ในความเห็นผม ผมยังเข้าใจว่าต้องเป็นการพิจารณาโดยที่ประชุมร่วมกัน ของรัฐสภา ซึ่งก็จะไม่มีเรื่องแบบนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา เว้นแต่ว่าจะมีการพิจารณา ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๖ เสียก่อน และมีมติอย่างน้อยในขั้นรับหลักการว่าจะให้มี การตั้ง สสร. มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ผมเข้าใจว่าจากกรณีอย่างนี้จึงมีประเด็นว่า ถ้าส่งเรื่องนี้ไปยังวุฒิสภาก็ดี หรือส่งไปยัง ครม. ก็ดี ถ้ามีการทำประชามติขึ้นจะมีผลทาง รัฐธรรมนูญอย่างไร จะมีผลต่อการแก้รัฐธรรมนูญได้จริงหรือ เพราะว่าที่ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยไว้ ท่านสมาชิกหลายท่านได้อ่านข้อความตรงผลคำวินิจฉัยบอกว่ารัฐสภามีหน้าที่ และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนา รัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประสงค์จะมีรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ว่าข้อความ ก่อนหน้านั้นที่ไม่ค่อยได้อ่านกัน คือมีข้อความบอกว่า หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ต้องจัดให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญออกเสียงประชามติเสียก่อน ว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ความสำคัญก็อยู่ตรงที่ว่าหากรัฐสภาต้องการจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ข้อความ ตรงนี้จึงมีประเด็นต้องพิจารณาว่าการจะแก้รัฐธรรมนูญต้องมีเจ้าของเรื่อง เจ้าของเรื่อง ก็คือรัฐสภา ถ้ารัฐสภายังไม่มีมติ ยังไม่มีการแสดงความต้องการที่จะให้มีการร่าง รัฐธรรมนูญใหม่ การทำประชามติจะมีผลได้อย่างไร ท่านประธานที่เคารพครับ นอกจากนั้นแล้วความยากในการเสนอญัตติแบบนี้ กระบวนการแบบนี้ ยังอยู่ที่วุฒิสภา จะพิจารณาอย่างไร ถ้าวุฒิสภาร่วมพิจารณาการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๖ ว่าจะให้มี การตั้ง สสร. และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เราต้องการเสียงวุฒิสภาไม่น้อยกว่า ๘๔ เสียง ซึ่งก็ยากอยู่แล้ว แต่ถ้าพิจารณาแบบนี้ กระบวนการนี้เราต้องการเสียงเกินครึ่งหนึ่ง ของวุฒิสภา ซึ่งจะยิ่งยากไปใหญ่ เป็นการใช้กระบวนการที่โอกาสสำเร็จน้อยมาก นอกจากนั้นกระบวนการทำประชามติตามพระราชบัญญัติประชามติ เป็นการทำประชามติ ที่ใช้กติกาแตกต่างจากการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ๒ ฉบับ ไม่เหมือนกัน ๒ ฉบับนั้นคือการลงประชามติแล้วใช้เสียงข้างมาก เสียงข้างมากให้ผ่านก็ผ่าน เสียงข้างมากไม่ผ่านก็ไม่ผ่าน แต่ในครั้งนี้เมื่อใช้ พ.ร.บ. ประชามติ มาตรา ๑๓ ของ พ.ร.บ. ประชามติบอกว่า การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จะทำประชามติ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิ ออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มา ใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น ความหมายก็คือว่าต้องมีคนมาออกเสียง เกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ ซึ่งเป็นกติกาที่แตกต่างจากการจัดทำประชามติ ๒ ครั้งนั้น ก็คือการทำประชามติด้วยกติกาแบบนี้จะทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติ ได้ยากอย่างมาก ท่านประธานครับ ยกตัวอย่างตัวเลขนิดหนึ่ง ก็คือว่าในการทำประชามติ สมมุติว่าเคยมีคนมาลงคะแนน ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่มาออกเสียง เสร็จแล้ว ใน ๗๐ เปอร์เซ็นต์นี้ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วย ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นด้วย หรือ ๔๕ เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วย ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นด้วย คนที่ไม่อยากให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญอ่านกติกาแล้วก็ จะใช้วิธีนอนอยู่บ้าน ๓๐ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๒๕ เปอร์เซ็นต์นอนอยู่บ้าน ไม่ต้องทำอะไรเลย ฝ่ายที่เห็นด้วยซึ่งความจริงเป็นเสียงข้างมากถ้ามีการมาลงคะแนนกันตามปกติ ๔๐-๔๕ เปอร์เซ็นต์ ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ ไม่ถึงครึ่งหนึ่งก็เท่ากับว่าการทำประชามตินั้น จะไม่ผ่านเพราะไม่เป็นไปตามกฎหมายประชามติ ซึ่งจริง ๆ แล้วรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกอย่างนั้น ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้บอกว่าให้ใช้กติกาแบบนี้ ตรงนี้ผมจึงเห็นว่าถ้าหากทำประชามติกันไป โดยไม่แก้ พ.ร.บ. ประชามติเสียก่อน มีความเสี่ยงอย่างสูงที่การทำประชามติแล้วจะไม่ผ่าน และไม่ผ่านเนื่องจากกติกามันพิสดารไปกว่าการทำประชามติ ๒ ครั้งของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ และรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ การทำประชามติกันไปในเงื่อนไขอย่างนี้จึงมีปัญหา ในแง่กระบวนการ มีปัญหาว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ มีผลต่อการแก้รัฐธรรมนูญ หรือไม่ และยังมีปัญหาในเรื่องการที่คนไม่มาใช้สิทธิและทำให้การทำประชามตินั้นตกไป ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นตกไป ที่หวังว่าจะเป็นผลดี แสดงให้เห็นว่าประชาชนเห็นด้วยกับ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะกลายเป็นข้ออ้างของฝ่ายที่ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญบอกว่า ประชาชนลงประชามติ ประชาชนไทยลงประชามติกันแล้วไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข รัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเท่ากับเป็นการปิดโอกาส ปิดทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปอีกเป็นเวลา ยาวนาน ตรงนี้ละครับท่านสมาชิกบางท่านที่เสนอญัตตินี้บอกว่านี่เป็นการติดกระดุมเม็ดแรก ความจริงคำว่า ติดกระดุมเม็ดแรก เขาใช้ในกรณีที่ติดกระดุมเม็ดแรกผิดไป ครั้งนี้มันอาจจะ กลายเป็นถ้าทำกันไปตามกระบวนการนี้จะกลายเป็นการติดกระดุมเม็ดแรกผิด และจะทำให้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปยากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็บัญญัติไว้หาทาง ป้องกันไม่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยวิธีต่าง ๆ แล้ว เราอาจจะกำลังไปเสริมให้การแก้ไข รัฐธรรมนูญยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เพราะฉะนั้นผมคิดว่ามีความจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องหารือกัน เราไม่ต้องการเอาชนะคะคานฝ่ายค้าน เราเข้าใจดีว่าจะแก้รัฐธรรมมนูญได้ต้องมีเสียง ฝ่ายค้านไม่ต่ำกว่า ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นฝ่ายรัฐบาลไม่มีเหตุผลเลยที่จะไป ขัดขวางหรือยับยั้งกระบวนการใด ๆ ที่จะทำให้เกิดการแก้รัฐธรรมนูญ เพียงแต่ว่าในกรณีนี้ ถ้าทำตามกันไปกลับจะเป็นผลเสียต่อการแก้รัฐธรรมนูญ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชา สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน ๑๐๐ ท่าน ยินดีต้อนรับนะครับ ต่อไปท่านสุดท้าย ท่านรองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล จากนั้นก็เป็นท่านพริษฐ์สรุปนะครับ เชิญครับ
รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ชูศักดิ์ ศิรินิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตที่จะอภิปรายญัตติที่คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ ได้นำเสนอต่อสภานี้โดยได้เขียนญัตติว่า ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามประชาชน ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ท่านประธานที่เคารพครับ ก่อนที่จะลงลึกในรายละเอียด ผมขอเท้าประวัติศาสตร์ความเป็นมาสักเล็กน้อย เนื่องจากพรรคเพื่อไทยและหลายพรรค การเมืองต้องการที่จะจัดทำธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นประชาธิปไตย เรามีความพยายามที่จะ เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี ๒๕๖๓ ต่อเนื่องมาถึงปี ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นที่มาของคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๔/๒๕๖๔ ซึ่งหลายท่านได้กล่าวอ้างไปแล้ว ในครั้งนั้นพรรคเพื่อไทย ได้นำเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๖ เพื่อจัดตั้ง สสร. โดยให้ สสร. มาจาก การเลือกตั้งของประชาชน จำนวน ๒๐๐ คน และมีคณะกรรมาธิการมายกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ร่างของพรรคเพื่อไทยในขณะนั้นขอทำใหม่ทั้งฉบับโดยยกเว้นหมวด ๑ หมวด ๒ ขออนุญาตที่จะกราบเรียนท่านประธานว่าในขณะเดียวกันก็มีร่างของพรรคพลังประชารัฐ ในขณะนั้น ขอประทานโทษที่ต้องเอ่ยถึงชื่อพรรคนะครับ ก็นำเสนอว่าขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เหมือนกัน สาระตรงกันก็คือว่ายกเว้นหมวด ๑ หมวด ๒ ในขณะเดียวกันก็แตกต่างกันคือว่าของพรรคเพื่อไทยนั้นเลือกตั้ง สสร. ทั้งหมด ของพรรค พลังประชารัฐในขณะนั้นบอกว่าเลือกตั้ง สสร. ๑๕๐ คน ที่เหลือมาจากรัฐสภา ๒๐ คน มาจากที่ประชุมอธิการบดี ๒๐ คน ที่ก้าวหน้าไปกว่านั้นคือขอให้มาจากนักเรียน นิสิต นักศึกษาด้วย ๒๐ คน อย่างนี้เป็นต้น ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ก็ต้องขอประทานโทษ พรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้นซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านกับพรรคเพื่อไทย ไม่ได้ร่วมลงชื่อด้วย เหตุผลที่ไม่ได้ร่วมลงชื่อผมอยู่ในเหตุการณ์ด้วย เพราะว่าร่วมคิดร่วมทำมาด้วยกัน ปัญหาใหญ่ก็คือว่าเมื่อพรรคเพื่อไทยยกเว้นหมวด ๑ หมวด ๒ พรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้น ไม่เห็นด้วยจึงไม่ร่วมลงชื่อด้วย ท่านประธานครับ ในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญขณะนั้น ไม่มีเรื่องคำถามประชามติ ขอย้ำนะครับ ไม่มีเรื่องคำถามประชามติ มีเพียงการขอแก้ไข มาตรา ๒๕๖ แล้วตั้ง สสร. ขึ้น เหตุที่ไม่มีประชามติเพราะว่าขณะนั้นเรื่องประชามติมีได้ตาม มาตรา ๒๕๖ ของรัฐธรรมนูญ กล่าวคือถ้าคุณแก้ไขรัฐธรรมนูญ วิธีแก้รัฐธรรมนูญแล้วต้องไป ทำประชามติ เพราะฉะนั้นต้องขอประทานโทษ ต้องขอท้วงติงการอภิปรายที่ผมได้ยิน เมื่อไม่นานมานี้ กล่าวอ้างถึงพรรคเพื่อไทย กล่าวอ้างถึงอดีตหัวหน้าพรรคว่าคำถามมันก็ เหมือนเดิม คำถามประชามติมันก็เหมือนเดิม มีถ้อยคำเหมือนเดิมหมด ทำไมครั้งนั้น ไม่คัดค้าน ครั้งนี้มาคัดค้าน ก็กราบเรียนว่าพรรคเพื่อไทยยังไม่เคยมีการตั้งคำถามประชามติ คราวที่แล้วเสนอร่างแก้ไขมาตรา ๒๕๖ เท่านั้น โดยเหตุนี้ก็ต้องชี้แจงทำความเข้าใจเพราะว่า มีการกล่าวอ้างถึงอดีตหัวหน้าพรรคผมว่าครั้งนั้นไม่คัดค้าน ครั้งนี้มาคัดค้านทำไม สรุปว่า ประชามติเกิดขึ้นครั้งนี้ครั้งแรกที่เราถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากมีคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๔/๒๕๖๔ เกิดขึ้น ท่านประธานครับ ในญัตตินี้ตั้งคำถามว่าท่านเห็นชอบ หรือไม่ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับแทนที่รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบันโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน พิจารณาจากญัตตินี้แล้ว ผมอ่านโดยละเอียดประกอบ ผมตีความแล้วก็เข้าใจตาม ลายลักษณ์อักษรที่ท่านเขียนในญัตติว่าท่านเสนอญัตติมาเพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัย ที่ ๔/๒๕๖๔ โดยท่านไปตีความคำวินิจฉัยนี้ว่าการทำประชามติต้องเริ่มต้นจากการถาม ประชาชนเสียก่อน ก่อนที่จะมีญัตติเข้าสู่รัฐสภา พูดง่าย ๆ พอเริ่มต้นยกที่ ๑ ก็ถามประชาชน ก่อนเลยว่าท่านเห็นชอบไหม ควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยยังไม่มีญัตติเข้าสู่สภา ถ้าเป็น เช่นนี้ก็แปลว่าท่านเชื่อว่าการทำประชามตินั้นต้องทำ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ก็คือถามประชาชน ตามคำวินิจฉัย ที่ ๔/๒๕๖๔ ครั้งที่ ๒ ก็คือแก้มาตรา ๒๕๖ ครั้งที่ ๓ เมื่อมีร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่แล้ว ขณะเดียวกันผู้เสนอญัตติอ้างมาตรา ๙ (๔) กฎหมายประชามติ ความหมาย ก็คือถ้าอ้างมาตรานี้มันก็คือสภานี้จะมีมติรับญัตติอย่างไรก็ตามทีไม่สิ้นสุด ต้องไปที่วุฒิสภา เพื่อให้เขามีมติให้สอดคล้องกับมติของสภาผู้แทนราษฎร ถ้าเขาไม่มีมติสอดคล้องกันก็แปลว่า ญัตติที่นำเสนอในวันนี้ตกไปไม่สามารถนำไปสู่รัฐบาลได้ ผมตั้งข้อสังเกตนะครับ ถ้าเราอ่าน กฎหมายประชามติดี ๆ แม้เราจะมีมติเป็นประการใดก็ตามที ทั้ง ๒ สภาก็ตามที แต่เขาไม่ได้บังคับรัฐบาลว่าต้องทำประชามติตามที่เราเสนอ เหตุผลสำคัญก็คือว่ารัฐบาล มีหน้าที่ที่จะต้องดูแลเรื่องงบประมาณ การทำประชามติแต่ละครั้งเป็นเรื่องของรัฐบาลที่ต้อง ใช้จ่ายเงินจำนวนมาก เพราะฉะนั้นถ้ารัฐบาลเขาไม่เห็นชอบกับมติของเราก็ไปทำอะไรไม่ได้ อันนี้คือปัญหา โดยรวมครับท่านประธานที่เคารพ ผมศึกษาเรื่องของรัฐธรรมนูญในขณะนี้ มันจะมีปัญหาความขัดแย้งกันอยู่ ๓ ประการ
รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการแรก ก็คือทำประชามติกี่ครั้ง ผมกราบเรียนไปแล้วว่าคนอ่าน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตอนท้ายเขาบอกว่าทำ ๒ ครั้ง แต่บางคนอ่านละเอียดเลย บอกว่าทำ ๓ ครั้ง อันนี้ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลกำลังพิจารณาว่าควรจะทำกี่ครั้ง
รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ก็คือแก้ไขทั้งฉบับเดียว มีความหมายเพียงใด บางท่านบอกว่า แก้ไขทั้งฉบับก็คือแก้ได้ทุกหมวด ทุกอะไรต่าง ๆ ก็ว่ากันไป แต่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วม รัฐบาลในขณะนี้หลายพรรคแก้ทั้งฉบับก็จริง แต่ข้อยกเว้นหมวด ๑ หมวด ๒ ที่เราขอยกเว้นนี้ ก็ขอมาตั้งแต่อดีตในการยกร่างคราวที่แล้ว หมวด ๑ ไม่มีอะไรมากครับ ส่วนใหญ่เขาไม่แก้ไข เหตุผลเพราะว่าประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ อำนาจ อธิปไตยเป็นของประชาชน ตรงนี้เคยแก้ในประวัติศาสตร์เหมือนกัน เมื่อก่อนใช้คำว่า อำนาจ อธิปไตยมาจากประชาชน เขาก็เปลี่ยนคำว่า มาจาก เป็น ของ ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น หมวดนี้ หมวด ๒ ก็ไม่แก้กันอยู่แล้ว เป็นที่รับรู้กันอยู่
รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ ก็คือว่าเราควรจะมี สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือว่า บางส่วน อันนี้ความเห็นอย่างคราวที่แล้วที่ผมยกให้เห็นตอนต้น พรรคพลังประชารัฐ ก็บอกว่าขอสรรหามาบางส่วน ขอเอาตัวแทนนิสิต นักศึกษามาด้วย แต่ของเราก็บอกว่า เอาเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด แล้วแก้ปัญหาโดยไปตั้งคณะกรรมาธิการเอาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งหลาย นี่คือความไม่ลงรอยกันในเรื่องของการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การทำประชามติ ท่านประธานครับ ขณะนี้ก็ทราบกันดีว่ารัฐบาลมีนโยบายแล้วก็ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อทำประชามติ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษา สิ่งที่เรา ได้จากรัฐบาลที่ผมฟังมาก็คือว่ารัฐบาลประสงค์จะทำประชามติ รัฐบาลประสงค์จะมี รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผมก็คิดว่าก็เป็นนิมิตหมายที่ดีว่าให้รัฐบาลเขาศึกษาให้สะเด็ดน้ำว่า ควรจะเป็นอย่างไร แล้วเราก็รอดู ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ติดขัดที่เราจะเสนอความเห็นทั้งหลาย ทั้งปวงไป แม้ว่าญัตติวันนี้อาจจะตกไป แต่ผมคิดว่าก็ไม่มีอะไรขัดข้องที่จะเสนอความเห็น ของเราไปให้รัฐบาลเขาพิจารณา จะเป็นเรื่องที่ว่าเราจะได้ตั้งความหวังว่าอนาคตไม่นาน เราจะมีการทำประชามติกัน อนาคตไม่นานเราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กัน อย่างนี้เป็นต้น ก็กราบเรียนท่านประธานด้วยความเคารพ ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ตามข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ท่านผู้เสนอญัตติสามารถอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่ง เชิญท่านพริษฐ์ครับ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม พริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมต้องขอเริ่มต้นด้วยการขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่าน โดยเฉพาะ เพื่อนสมาชิกจากซีกรัฐบาลทั้ง ๑๕ ท่าน ที่ได้อภิปรายแสดงความเห็น ข้อคิดเกี่ยวกับญัตติ ที่ผมและพรรคก้าวไกลได้เสนอในวันนี้เกี่ยวกับการจัดทำประชามติเพื่อเดินหน้าสู่การจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังจากได้ฟังคำอภิปรายของทุกท่านมาตลอดระยะเวลาประมาณ ๓-๔ ชั่วโมงที่ผ่านมานั้น ผมก็ได้ฟังข้อความของทุกท่าน แล้วต้องบอกว่า ณ เวลานี้ผมอาจจะ อยู่ในสภาวะที่สบายใจครึ่งหนึ่ง ครึ่งที่ผมสบายใจคือผมคิดว่าเราได้รับคำยืนยันจากตัวแทนของทุกพรรคการเมือง ในสภาแห่งนี้ว่าทุกพรรคนั้นมีความประสงค์ที่จะเดินหน้าสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และออกจากรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ที่พรรคก้าวไกลยืนยันว่าขาดความชอบธรรม ทางประชาธิปไตย ทั้งที่มา กระบวนการ และเนื้อหา แต่อีกครึ่งหนึ่งที่อาจจะทำให้ผมยัง ไม่สามารถสบายใจได้เต็มที่ ก็คือจากคำอภิปรายของตัวแทนแต่ละพรรคการเมืองแล้ว ผมคิดว่าเรายังมีความเห็นที่ค่อนข้างแตกต่างกันอยู่ ว่าถึงแม้เราเห็นตรงกันว่าควรจะออก จากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นั้น แต่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จุดหมายปลายทางที่เราอยากจะเดิน ไปสู่นั้นหน้าตาเป็นอย่างไร และกระบวนการรวมไปถึงตัวคำถามประชามติที่เราจะใช้ ระหว่างทางนั้นควรจะเป็นเช่นไร เพื่อให้การอภิปรายสรุปญัตติของผมในวันนี้นั้นไม่ซ้ำซ้อน กับเนื้อหาที่ผมได้อภิปรายไว้ตอนเปิดแล้ว หรือซ้ำซ้อนกับเนื้อหาที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไว้ ผมขออนุญาตแบ่งการสรุปเป็นเพียงแค่การชี้แจงประเด็นคำถามที่หลายท่านได้ตั้งขึ้นมา เกี่ยวกับรายละเอียดของญัตติตรงนี้ หลังจากจดทุกประเด็นมาครับท่านประธาน ผมสรุป ได้ว่ามีประเด็นที่ผมจำเป็นที่จะต้องชี้แจงและตอบคำถามเพื่อนสมาชิกทั้งหมด ๑๒ ประเด็น แบ่งเป็น ๖ หมวดหมู่ เริ่มต้นที่หมวดหมู่ที่ ๑ มีทั้งหมด ๒ ประเด็น เป็นการชี้แจงหมวดหมู่ เกี่ยวกับเรื่องกลไก พ.ร.บ. ประชามติ ที่ผมเกรงว่ายังมีบางส่วนที่อาจจะยังเป็นข้อมูล ที่คลาดเคลื่อน ในหมวดหมู่เรื่องของกลไก พ.ร.บ. ประชามติ ผมจับได้ทั้งหมด ๒ ประเด็น ที่ผมจำเป็นต้องชี้แจง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ มีเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งได้ตั้งคำถามว่าทำไมในการเสนอญัตติ เกี่ยวกับการทำประชามติครั้งนี้เราถึงได้ไประบุตัวคำถามในตัวญัตติเลยแทนที่จะเป็น การอภิปรายหลักการกว้าง ๆ เพื่อเสนอไปสู่คณะรัฐมนตรี ก็ต้องเรียนตามตรงครับท่านประธาน ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ขึ้น Slide หน้า ๑
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ที่เราต้องเสนอตัวคำถามก็เพราะ อันนั้นมันเป็นไปตามข้อบังคับ พ.ร.บ. ประชามติมาตรา ๙ (๔) และข้อบังคับที่ตามมา ก็กำหนดไว้ชัดว่าถ้าจะเสนอเป็นญัตตินั้นก็จำเป็นต้องมีตัวคำถาม เพราะฉะนั้นอันนี้ชี้แจง สั้น ๆ ว่าสิ่งที่ผมได้ทำไปนั้นก็เป็นไปตามข้อบังคับทุกประการ ไม่สามารถเสนอญัตติ ตามกลไก พ.ร.บ. ประชามติ มาตรา ๙ (๔) ได้หากไม่เสนอตัวคำถามประชามติ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ที่ผมเกรงว่าเรายังมีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่คือการตีความว่า หากมีการเสนอญัตติให้เดินหน้าจัดทำประชามติผ่านกลไกของ พ.ร.บ. ประชามติ มาตรา ๙ (๔) แล้ว หากสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ และหากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ พอส่งไป ที่ ครม. แล้ว ครม. จะมีดุลยพินิจในการตัดสินใจว่าจะอนุมัติหรือไม่ ผมเกรงว่าประเด็นนี้ ผมก็ยังเห็นต่างจากเพื่อนสมาชิกหลายท่าน Slide ที่ ๒ ที่ผมเห็นต่างครับ เพราะผมมองว่า หากเราอ่านกฎหมาย พ.ร.บ. ประชามติ ปี ๒๕๖๔ อย่างละเอียด จะเห็นชัดว่าข้อความที่ใช้ ในมาตรา ๙ (๔) นั้นดูเหมือนจะไม่ได้เปิดให้ ครม. นั้นมีดุลยพินิจในการตัดสินใจว่าจะอนุมัติ ฉันทานุมัติที่ได้รับจาก ๒ สภาหรือไม่ หากเราจะเปรียบเทียบง่าย ๆ ลองเปรียบเทียบกลไกของ พ.ร.บ. ประชามติ มาตรา ๙ (๔) กับมาตรา ๙ (๕) เราก็จะเห็นถึงความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ หากเราไปดูในส่วนของ พ.ร.บ. ประชามติ มาตรา ๙ (๔) จะเห็นว่าการออกเสียงใด ๆ ก็ตาม ที่รัฐสภาได้พิจารณาและมีมติเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีเหตุสมควรที่จะได้มีการออกเสียงและได้แจ้งเรื่อง ให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ สังเกตนะครับ ข้อความในกล่องสีแดงใช้คำว่า แจ้งเรื่อง ให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ ไม่มีส่วนไหนที่เขียนว่าขอให้คณะรัฐมนตรีนั้นอนุมัติหรือเห็นชอบ แต่ในทางกลับกัน หากเราไปดูกลไกของ พ.ร.บ. ประชามติ มาตรา ๙ (๕) อยู่ข้างล่างมา เพียงแค่ ๑ บรรทัด อันนี้เป็นกลไกที่เปิดให้ประชาชนนั้นสามารถเข้าชื่อได้ การเข้าชื่อกัน อย่างน้อย ๕๐,๐๐๐ รายชื่อต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ผมคิดว่าการเลือกใช้ ข้อความที่มีความแตกต่างกันระหว่างมาตรา ๙ (๔) กับมาตรา ๙ (๕) มันเป็นเจตนาที่ชัดเจน ว่าหากเป็นกรณีมาตรา ๙ (๕) ที่ภาคประชาชนเข้าชื่ออย่างน้อย ๕๐,๐๐๐ รายชื่อนั้น ครม. มีดุลยพินิจต้องให้ความเห็นชอบ แต่หากเป็นกลไกของ พ.ร.บ. ประชามติ มาตรา ๙ (๔) ที่ผ่านความเห็นชอบของ ๒ สภานั้น เราจะเห็นชัดว่าไม่ได้มีคำพูดไหนที่มีเจตนาจะบอกว่า ครม. นั้นมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบ มีเพียงแค่การบอกว่าให้แจ้งให้ ครม. นั้นดำเนินการ ตามฉันทานุมัติของรัฐสภา
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
มาสู่หมวดหมู่ที่ ๒ ที่จำเป็นต้องชี้แจง เป็นประเด็นที่ผมคิดว่ามีการอภิปราย ถึงพอสมควรในสภาวันนี้ นั่นก็คือข้อกังวลเกี่ยวกับเรื่องหมวด ๑ และหมวด ๒ ของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ กับหมวด ๑ เรื่องของบททั่วไป แล้วก็หมวด ๒ เรื่องของพระมหากษัตริย์ หลายท่าน ก็ได้อภิปรายแสดงความเห็นไว้ว่าไม่ได้เห็นด้วยกับการแก้ไขข้อความใด ๆ หรือมาตราใด ๆ ในหมวด ๑ หมวด ๒ ซึ่งผมก็เคารพความเห็นของท่าน แต่ผมต้องชี้แจงใน ๒ ประเด็น ดังนี้
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ สาระสำคัญของการอภิปรายและสาระสำคัญของญัตติ ในวันนี้มันไม่ได้เป็นข้อเสนอของพรรคก้าวไกลว่าจะต้องแก้ไขข้อความใด ๆ ในหมวด ๑ และหมวด ๒ นะครับ ย้ำอีกรอบ หัวใจสำคัญและสาระสำคัญของการเสนอญัตติในวันนี้ไม่ใช่ ข้อเสนอของพรรคก้าวไกลว่าจะแก้ไขข้อความใด ๆ ในหมวด ๑ และหมวด ๒ แต่เป็นเพียง การบอกว่าถ้าจะมีการแก้ไขมาตราใด ๆ ก็ตามในรัฐธรรมนูญนั้น เราควรจะให้ สสร. ไปถกกันว่าจะแก้ไขเรื่องอะไรหรือไม่
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ถึงแม้สมาชิกบางท่านก็อาจจะยังไม่สบายใจอยู่ดีว่าหากเรา ให้อำนาจ สสร. ไปพิจารณาแก้ไขทั้งฉบับแล้ว แล้วเกิดเสียงส่วนใหญ่ของ สสร. เห็นชอบ ในการแก้ไขบางข้อความในหมวด ๑ หมวด ๒ หลายท่านก็ได้แสดงความเห็นว่าไม่สบายใจ อยู่ดี ผมก็ต้องเรียนกับท่านตามตรง แล้วก็หวังว่าอาจจะพอคลายความกังวลของท่านได้บ้าง ว่าถึงแม้เป็นเช่นนั้นจริง ๆ ถึงแม้ สสร. มีอำนาจในการพิจารณาจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และมีการแก้ไขบางข้อความในหมวด ๑ และหมวด ๒ จริง ผมก็ต้องเรียนตามตรงว่า การแก้ไขดังกล่าวนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ด้วยเหตุผล ๓ ประการ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุผลที่ ๑ ไม่ว่า สสร. จะแก้ไขข้อความใด ๆ ในหมวด ๑ หมวด ๒ ผมก็ได้ ย้ำไปแล้วตอนเปิดญัตติว่ามาตรา ๒๕๕ ก็ได้กำกับไว้ชัดเจนว่าจะแก้ไขข้อความใด ๆ ก็ได้ จะต้องไม่ทำ ๒ อย่าง อย่างที่ ๑ คือต้องไม่เปลี่ยนรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอย่างที่ ๒ คือต้องไม่เปลี่ยนรูปแบบรัฐจากการเป็น รัฐเดี่ยว ดังนั้นท่านไม่จำเป็นต้องกังวลในประเด็นนี้
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุผลที่ ๒ ถ้าเราไปศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทย เราก็จะเห็นว่า ความจริงแล้วข้อความในหมวด ๑ หมวด ๒ นั้นก็มีการแก้ไขมาโดยตลอด ทุกครั้งที่มี การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ปี ๒๕๕๐ ปี ๒๕๖๐ ความจริงแล้วก็มีการปรับเปลี่ยนข้อความในหมวด ๑ และหมวด ๒ มาโดยตลอด
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุผลที่ ๓ เหตุผลสุดท้าย ถ้าท่านกังวลมากเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขข้อความ บางอย่างในหมวด ๑ และหมวด ๒ ผมก็ต้องเรียนตามตรงว่าแม้กระทั่งรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบันละครับ ก็เปิดให้สามารถแก้ไขข้อความในหมวด ๑ และหมวด ๒ ได้ เขาเพียงแค่กำหนดว่าถ้าไปแก้ไขนั้น จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองและรูปแบบรัฐ ตามมาตรา ๒๕๕ และหากเป็นการแก้ไขข้อความในหมวด ๑ หมวด ๒ มาตรา ๒๕๖ ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องมีการทำประชามติหลังจากผ่านสามวาระของรัฐสภา
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
มาสู่หมวดหมู่ที่ ๓ เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีการถกเถียงกันพอสมควร นั่นก็คือ เรื่องของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่พรรคก้าวไกลเสนอว่าควรจะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ในหมวดหมู่นี้ผมมี ๓ ประเด็นที่จำเป็นต้องชี้แจง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ ทางพรรคแกนนำรัฐบาลก็ได้มีสมาชิกหลายท่านที่ได้ย้ำว่าสิ่งที่ รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่นั้นเป็นไปตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ว่าจะเดินหน้าในการจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ผมเกรงว่าคำยืนยันของสมาชิกหลายท่านจากพรรคแกนนำรัฐบาล ได้ตกหล่นสาระสำคัญไปอย่างหนึ่ง หากฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์จะขึ้น Slide ให้เราดูประกอบ คือถ้าเราย้อนไปดูคำแถลงนโยบายหรือว่าตัวข้อความนโยบายที่ถูกเสนอโดยพรรคแกนนำ รัฐบาล ที่ส่งเป็นเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรไปให้กับ กกต. เมื่อเดือนเมษายน ปี ๒๕๖๖ ก่อนการเลือกตั้ง ๑ เดือน เราจะเห็นนะครับว่านโยบายของพรรคเพื่อไทยไม่ได้พูดถึงแค่ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประชาชนโดยคงรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเพียงแค่นั้น แต่มีการระบุในตัว ข้อความนโยบายเลยว่าต้องเป็นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดังนั้นสิ่งที่เรากำลังอภิปรายในวันนี้ แล้วเราให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับเรื่อง สสร. ที่มาจาก การเลือกตั้ง ก็เพราะว่าท่านเองนั้นเคยบรรจุอยู่ในนโยบายของท่านเช่นกัน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ มีเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งอภิปรายด้วยความกังวล ซึ่งผมก็น้อมรับ ความเห็นว่าถ้าเราให้ สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดตามที่ปรากฏอยู่ในเอกสารนโยบาย ของพรรคเพื่อไทยตรงนี้แล้ว จะทำให้ สสร. นั้นไม่มีพื้นที่สำหรับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย หรือไม่ อันนี้ผมก็ต้องเรียนเพื่อนสมาชิกว่าเราไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างการมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด กับการมีพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย อย่างที่ผมได้ย้ำไว้ ตอนเปิดการอภิปรายญัตตินี้ไปว่าทางออกที่เราสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ก็คือการให้ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้นไปตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาชุดหนึ่งที่อาจจะมีพื้นที่ กับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายเข้ามา มาช่วยยกร่าง มาช่วยให้คำแนะนำ เพียงแต่ว่า เมื่อผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมาแล้ว ก่อนที่จะถูกส่งไปหาพี่น้อง ประชาชนในการทำประชามติ ต้องผ่านความเห็นชอบจาก สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ก่อนเท่านั้นเอง หรือถ้าเปรียบภาพให้เห็นง่าย ๆ มันเสมือนกับว่า สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้นก็เป็นตัวแทนของเจ้าของบ้าน นั่นก็คือประชาชนทุกคน ที่เลือกตัวแทนเข้าไปเป็นคณะกรรมการชุดหนึ่งหรือว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ว่า ตัวแทนของเจ้าของบ้านนั้นอาจจะมีการเชิญชวนสถาปนิกบางคนที่มาช่วยออกแบบบ้าน ให้ตรงกับความต้องการของพี่น้องประชาชนหรือตัวแทนเจ้าของบ้านเท่านั้นเอง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ก็มีเพื่อนสมาชิกอีกท่านหนึ่งที่มีความกังวลว่าการที่เรามี สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้น จะทำให้เราไม่มีพื้นที่สำหรับกลุ่มที่อาจจะมีความหลากหลาย ทางวิชาชีพ หรือความหลากหลายทางกลุ่มสังคมหรือไม่
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการแรก ผมก็หวังว่าความหลากหลายทางอาชีพและความหลากหลาย ทางกลุ่มสังคมที่เราเห็นอยู่ในบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๕๐๐ คน หรือในบรรดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล ๑๕๐ คนนั้น ก็น่าจะเป็นหลักประกันได้ ในระดับหนึ่งว่าการเปิดให้มีการเลือกตั้ง สสร. ทั้งหมดนั้นก็ไม่จำเป็นต้องแลกมาด้วย การไม่ได้ความหลากหลายทางวิชาชีพและความหลากหลายทางกลุ่มสังคม
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ผมต้องย้ำอีกรอบหนึ่งว่าเราสามารถมาออกแบบระบบเลือกตั้ง ที่ทำให้เราไม่ต้องเลือกได้ ไม่ต้องเลือกระหว่างการมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด กับการมีพื้นที่ให้กับกลุ่มที่อาจจะมีความหลากหลายทางวิชาชีพหรือกลุ่มสังคมต่าง ๆ ผมยกตัวอย่างสั้น ๆ ครับ หากสมมุติว่าเรามี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ๑๐๐ คน ผมบอกก่อนว่าผมไม่ได้บอกว่าผมเห็นด้วยกับระบบเลือกตั้งนี้ แต่เราสามารถมีระบบเลือกตั้งได้ ที่บอกว่าในบรรดา สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ คน เราอาจจะแบ่งออกเป็น ๑๐ กลุ่ม ๑๐ กลุ่มทางวิชาชีพ ๑๐ กลุ่มทางสังคม แล้วก็เปิดให้บุคคลที่อยู่ในกลุ่มวิชาชีพหรือกลุ่ม สังคมนั้นเข้ามาเป็นผู้สมัครในโควตาใน ๑๐ กลุ่มนั้น เสร็จแล้วเราก็ให้ประชาชนไปเลือกว่า ใน ๑๐ กลุ่มนั้น ในแต่ละกลุ่มนั้นเขาต้องการจะเลือกผู้สมัครคนไหนให้เป็นตัวแทนของกลุ่ม วิชาชีพหรือกลุ่มสังคมต่าง ๆ ยกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้น หากสมมุติ ๑๐ กลุ่มนั้น อาจจะมี บางกลุ่มที่เป็นตัวแทนพี่น้องเกษตรกร อาจจะมีบางกลุ่มที่เป็นตัวแทนบุคลากรทางการศึกษา อาจจะมีบางกลุ่มที่เป็นตัวแทนเยาวชน เราก็เปิดให้บุคลากรทางการศึกษา เปิดให้ตัวแทน เกษตรกร เปิดให้เยาวชนสามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ และประชาชนก็เข้าคูหาไปเลือกว่า ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรการศึกษาเราจะเลือกผู้สมัครคนไหน กลุ่มที่เป็นตัวแทน เกษตรกรเราจะเลือกผู้สมัครคนไหน กลุ่มที่เป็นตัวแทนเยาวชนเราจะเลือกผู้สมัครคนไหน ดังนั้นจะเห็นว่าการมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่จำเป็นต้องแลกมากับ การที่เราไม่มีตัวแทนที่มีความหลากหลายทางวิชาชีพและความหลากหลายทางกลุ่มสังคม แต่หากท่านยังไม่สบายใจครับ ผมก็เพิ่มอีกข้อเท็จจริงหนึ่ง เพราะตอนนี้เราก็ได้มีการตั้ง คณะอนุกรรมาธิการขึ้นมาภายใต้คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อมาศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพื่อมาจัดทำข้อเสนอ เกี่ยวกับระบบเลือกตั้งต่าง ๆ ที่เราสามารถนำมาใช้ได้ในการเลือกตั้ง สสร. และผมก็ย้ำ อีกรอบหนึ่งว่าคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ก็มีการเปิดให้มีตัวแทนจากทั้งซีกรัฐบาลและซีก ฝ่ายค้านมาร่วมทำงานไปด้วยกัน เพราะฉะนั้นถ้าท่านกังวลเรื่องนี้ผมก็เชิญชวนคุยกับตัวแทน ของพรรคท่านในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมี ส่วนร่วมของประชาชน แล้วก็เสนอตัวมาอยู่ในคณะอนุกรรมาธิการนี้ แล้วมาทำงานร่วมกัน ว่าเราสามารถออกแบบระบบเลือกตั้งอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้มีตัวแทนที่มีความหลากหลาย ทางวิชาชีพและกลุ่มสังคม
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
มาสู่หมวดหมู่ที่ ๔ เกี่ยวกับเรื่องวุฒิสภา อันนี้มี ๒ ประการสั้น ๆ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ มีเพื่อนสมาชิกบางท่านก็มีความกังวลแล้วก็ได้แสดงความเห็น ออกมาว่าเราเคยมีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ สสร. เข้าสู่รัฐสภาแล้ว เพียงแต่ว่า พอไปสู่วาระที่สาม สว. ไม่ให้ความเห็นชอบ ผมก็ต้องย้ำอีกรอบว่าถ้าเราย้อนไปฟัง คำอภิปรายของ สว. ในวันนั้น และสมาชิกรัฐสภาในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรบางส่วน เราจะเห็นว่าเหตุผลที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ สสร. ถูกปฏิเสธไปในวาระที่สามนั้น ไม่ใช่เพราะว่าสมาชิกอภิปรายไม่เห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่เขาตัดสินใจ ไม่มาลงมติเห็นชอบเพราะไปอ้างคำวินิจฉัยของศาลธรรมนูญ ที่ ๔/๒๕๖๔ เพื่อบอกว่าให้เรา ต้องไปดำเนินการจัดประชามติครั้งหนึ่งก่อนที่จะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ สสร. เข้ามาสู่รัฐสภาในวาระที่หนึ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำอยู่วันนี้ก็คือเดินตามสิ่งที่เขาร้องขอ ในวันนั้น ดังนั้นหากเราเดินทางตามเส้นทางนี้ จัดประชามติครั้งหนึ่งก่อน มีผลของประชามติ มายืนยันและเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ สสร. เข้ามาสู่รัฐสภา ก็คงไม่มีเหตุผลใด ที่สมาชิกรัฐสภาเหล่านี้จะปัดตกเจตจำนงของประชาชนได้อีกต่อไป
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ เกี่ยวกับเรื่องวุฒิสภา ผมฟังเพื่อนสมาชิกหลายท่านอภิปราย เกี่ยวกับเรื่องบทบาทของวุฒิสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมยอมรับว่าผมค่อนข้างสับสนว่า ตกลงแล้วสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐบาลควรจะวางความสัมพันธ์กับวุฒิสภาอย่างไร ในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะในมุมหนึ่งก็มีเพื่อนสมาชิกจากซีกรัฐบาลท่านหนึ่ง ที่อภิปรายลักษณะว่าเราจำเป็นมากที่จะต้องฟังเสียงของวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ถึงขั้นที่ไปเสนอว่าเราไม่จำเป็นต้องมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง แต่ให้มี สสร. ที่มีตัวแทนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและตัวแทนจากสมาชิกวุฒิสภา ถ้าท่านประธานลองจินตนาการง่าย ๆ แทนที่เราจะมี สส. ๕๐๐ คน และ สว. ๒๕๐ คนนั้น ข้อเสนอนี้คือการตั้ง สสร. ขึ้นมาชุดหนึ่งที่อาจจะมีตัวแทนจากฝั่ง สส. สัก ๕๐ คน ตัวแทน จากฝั่ง สว. สัก ๒๕ คน เป็นต้น เพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผมคิดว่าทางออกแบบนี้ เป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะมันกลายเป็นว่าตัวแทนของ สว. ๒๕ คน บวกกับเสียงข้างน้อย ของตัวแทน สส. สามารถรวมกันเป็นเสียงข้างมากของ สสร. ชุดนี้ แล้วก็มีอำนาจชี้ขาดว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะหน้าตาเป็นอย่างไร ถ้าเรามี Model สสร. แบบนี้ อันนี้คือการต่อ ขยายอายุให้กับมาตรา ๒๗๒ ที่ปัจจุบันเปิดให้ สว. ที่มาจากการแต่งตั้งนั้นมีอำนาจร่วมเลือก นายกรัฐมนตรี และเปิดให้มีช่องที่ทำให้ สว. ๒๕๐ คน บวกกับ สส. ที่เป็นเสียงข้างน้อย ของสภาผู้แทนราษฎรสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีขึ้นมาดำรงตำแหน่งได้ อันนี้เป็นสิ่งที่ ขัดกับหลักการประชาธิปไตยพื้นฐาน และผมเกรงว่าเป็นรูปแบบของ สสร. ที่พรรคก้าวไกลนั้น ต้องขออนุญาตไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อีกประการหนึ่ง ก็มีเพื่อนสมาชิกจากพรรคเดียวกันมีการอภิปรายว่าไม่อยาก ให้ สว. มีส่วนร่วมเลย บอกว่าเกรงว่าถ้าเสนอญัตติเกี่ยวกับประชามติผ่านสภาผู้แทนราษฎร เกิดได้รับความเห็นชอบไปแล้ว เข้าไปสู่การพิจารณาของวุฒิสภา แล้ววุฒิสภาต้องลงมติ จะทำให้กระบวนการทั้งหมดมันด่างพร้อย เสมือนกับว่าการเสนอประชามติผ่านกลไก มาตรา ๙ (๔) ให้ สว. ต้องมาลงมติด้วยมันจะด่างพร้อย ผมก็ไม่ติดใจนะครับ ความจริง หลักการแบบนี้ผมก็รู้สึกว่าน่าสนใจดี เพราะผมก็คิดว่า สว. ที่มาจากการแต่งตั้งและมี ผลประโยชน์ทับซ้อนกับการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ก็เป็นสิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ แต่ถ้าท่านกังวลมากว่าไม่อยากให้ สว. มีส่วนร่วมเพื่อทำให้กระบวนการนี้ไม่มีจุดด่างพร้อย ผมเสนอแบบนี้ไหมครับ ถ้าอย่างนั้นเราก็เสนอญัตติเข้ามาในสภาผู้แทนราษฎรนี่ละครับ ที่มีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และสภาผู้แทนราษฎรเห็นเป็นอย่างไร เสียงส่วนมาก เห็นเป็นอย่างไร ถึงแม้โดยหลักการแล้วหากเห็นชอบต้องส่งไปที่วุฒิสภา แต่ ครม. ไม่ต้องรอครับ แค่ดูว่า สส. ส่วนใหญ่เห็นชอบคำถามประชามติแบบไหน แล้ว ครม. หยิบไปดำเนินการเลย ถ้าใช้ กระบวนการแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องให้ สว. นั้นเข้ามามีส่วนร่วม แต่มันเปิดพื้นที่ให้ สส. ที่เป็น ตัวแทนจากทุกพรรคการเมืองนั้นสามารถมาถกแล้วมาร่วมกันลงมติกันได้
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
หมวดหมู่ประการที่ ๕ เรื่องของคณะกรรมการศึกษา อันนี้ก็มี ๓ ประการ ด้วยกันที่จำเป็นจะต้องชี้แจง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ มีเพื่อนสมาชิกก็เกรงว่าหากเราเสนอญัตติให้มีการจัดทำ ประชามติผ่านกลไกของสภานั้น จะมีความซ้ำซ้อนกับความพยายามของรัฐบาล ณ ปัจจุบัน ที่จะมีการจัดทำประชามติ ผมก็ต้องเรียนตามตรงครับ เหมือนที่ผมได้สัมภาษณ์ออกสื่อ สาธารณะเมื่อวานว่าผมไม่คิดว่ามีความซ้ำซ้อน เพราะว่า พ.ร.บ. ประชามติก็ได้กำหนด ให้มี ๓ กลไก หรือ ๓ ช่องทางที่สามารถดำเนินการคู่ขนานได้อยู่แล้ว กลไกที่ ๑ ก็คือ ครม. กลไกที่ ๒ คือภาคประชาชนล่ารายชื่อ กลไกที่ ๓ คือผ่านกลไกของรัฐสภา ถ้าท่าน จะบอกว่าการใช้กลไกของรัฐสภานั้นมันซ้ำซ้อนกับการใช้กลไกของรัฐบาล อย่างนี้ท่านต้อง ไปบอกภาคประชาชนด้วยไหมครับว่าไม่ต้องล่ารายชื่อเลย เพราะว่าซ้ำซ้อนกับสิ่งที่รัฐบาล ทำอยู่ ถ้าเป็นเช่นนั้นผมก็เกรงว่าพี่น้องประชาชนที่เข้าชื่อกัน ๒๐๐,๐๐๐ กว่ารายชื่อ ที่ตอนนี้กำลังลุ้นอยู่ว่าข้อเสนอคำถามประชามติเขาจะได้รับความเห็นชอบจาก ครม. หรือไม่นั้น ก็อาจจะได้รับคำตอบที่ไม่ดีนักจากการอภิปรายของท่านในวันนี้ไปเรียบร้อยแล้ว
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ มีเพื่อนสมาชิกบางท่านบอกว่าเราไปตั้งคำถามว่าการตั้ง คณะกรรมการศึกษาขึ้นมาของรัฐบาลนั้นจะเป็นการยื้อเวลาหรือไม่ ผมก็ต้องยืนยันอีกรอบ เหมือนกับที่ผมเคยยืนยันกับรองนายกรัฐมนตรี ท่านภูมิธรรม ตอนที่มาตอบกระทู้ถามสดว่า สาระสำคัญของข้อกังวลผมไม่ใช่เรื่องของเวลา ในเมื่อท่านภูมิธรรมยืนยันแล้วว่า คณะกรรมการศึกษาชุดนี้อย่างไรใช้เวลาไม่เกินสิ้นปี ผมก็เชื่อท่าน เพราะฉะนั้นความกังวล ของผมในวันนี้มันไม่ใช่ว่าคณะกรรมการศึกษาชุดนี้จะใช้เวลานานเท่าไร แต่ความกังวลจริง ๆ ของผมก็คือว่าเมื่อคณะกรรมการศึกษาชุดนี้ศึกษาเสร็จหมดแล้ว คำถามประชามติที่ออกมา ที่คลอดออกมาจากคณะกรรมการศึกษานี้จะมีความแตกต่างหรือเหมือนกับหลักการ ของคำถามประชามติที่พรรคก้าวไกลเสนออย่างไรต่างหาก
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการสุดท้าย มีหลายท่านให้ความเห็นว่าพอมีการตั้งคณะกรรมการศึกษา ขึ้นมาแล้วทำไมพรรคก้าวไกลถึงไม่เข้าร่วม มีบางท่านถึงขนาดพูดว่าถ้าพรรคก้าวไกลเข้าร่วม ก็คงไม่มาเสนอญัตติในสภาวันนี้ อันนี้ก็ต้องชี้แจง ๒ ประการด้วยกัน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ ต้องชี้แจงว่าสถานะของเรากับคณะกรรมการศึกษาเป็นเช่นไร เราย้ำนะครับว่าถึงแม้เรายังไม่พร้อมจะเข้าร่วมคณะกรรมการในฐานะกรรมการ แต่เราได้ ประกาศตั้งแต่วันแรกว่าเรายินดีให้ความเห็นกับคณะกรรมการศึกษาชุดนี้ทุกประการ ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าความเห็นของเรานั้นก็ได้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะอยู่แล้ว ก็คิดว่า คณะกรรมการศึกษาก็น่าจะทราบดี แต่ในเมื่อคณะกรรมการศึกษามีการตั้งคณะอนุกรรมการ ศึกษาขึ้นมาเพื่อมารับฟังความเห็น แล้วได้ติดต่อมาที่พรรคก้าวไกลเพื่อมาขอฟังความเห็น จากพรรคก้าวไกล ผมก็อยากจะแจ้งให้สภาแห่งนี้ทราบเป็นที่แรกว่าทางหัวหน้า พรรคก้าวไกลก็ได้ตอบรับไปแล้ว แล้วก็จะมีการพบปะพูดคุยกันเพื่อยื่นความเห็นของ พรรคก้าวไกลให้กับคณะอนุกรรมการศึกษาอย่างเป็นทางการในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน เพราะฉะนั้นเราให้ความร่วมมือเต็มที่ในการให้ความเห็นและแสดงความเห็น เพียงแต่เราขอ ยังไม่ร่วมในฐานะกรรมการ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ที่จำเป็นต้องชี้แจงก็คือว่าถึงแม้ ณ วันนั้นย้อนกลับไป เพื่อนสมาชิกในพรรคก้าวไกลของผมตัดสินใจจะเข้าร่วมในฐานะกรรมการ ผมคิดว่า เราอย่างไรก็ต้องเสนอญัตตินี้ในสภาอยู่ดีด้วยเหตุผลสั้น ๆ ๓ ประการ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ ก็คือว่าถ้าอยากฟังความเห็นจาก สส. พรรคก้าวไกลโดยตรง คณะกรรมการศึกษาของรัฐบาลนั้นเป็นคำตอบให้ท่านไม่ได้ เพราะว่าท่านต้องไปกำหนดว่า คณะกรรมการศึกษาชุดนี้พอตีความทางกฎหมายแล้วไม่สามารถให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าไปนั่งในคณะกรรมการศึกษาได้ อย่างนั้นเพื่อนสมาชิกผมที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคก้าวไกล หากจะแสดงความเห็นอะไรโดยตรงถึงรัฐบาลก็จำเป็นละครับที่ต้องใช้ พื้นที่สภาแห่งนี้
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ เรามองว่าท้ายที่สุดแล้วการแสดงความเห็นของเราในสภานั้น เป็นการแสดงความเห็นในที่แจ้งที่ประชาชนสามารถรับฟังและตรวจสอบได้โดยตรง ท้ายที่สุดแล้ว หากจะมีการลงมติเรื่องใด ๆ ก็ตามเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การลงมติ ที่ดูจะมีความชอบธรรมที่สุด และสะท้อนถึงสัดส่วนชุดความคิดที่มีอยู่ในสังคมมากที่สุด ไม่ใช่การลงมติในคณะกรรมการศึกษา แต่เป็นการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร ที่ทั้ง ๕๐๐ คนนั้น ล้วนมาจากการเลือกตั้งทั้งนั้น
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนประการสุดท้าย เป็นประการสุดท้ายจริง ๆ แล้วเดี๋ยวจะปิดท้ายด้วย ประเด็นนี้ มีหลายท่านก็ได้อภิปรายโดยการแสดงความเห็นว่าท่านมีปัญหาหรือมีความคิด ที่ไม่เห็นด้วยกับตัวญัตติ เนื้อหาสาระของญัตติที่ผมเสนอในวันนี้ หลายท่านก็แสดงความเห็นว่า ดูเป็นการเสนอญัตติที่ไม่รอบคอบบ้าง หลายท่านแสดงความเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับตัวคำถาม ประชามติที่อยู่ในญัตติบ้าง มีหลายท่านบอกว่าไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาญัตติบางประการ มีบางท่านเหมือนกับจะสื่อว่าญัตตินี้ขัดรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ ในบรรดาข้อวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งหมดนี้เกี่ยวกับตัวเนื้อหาของญัตติที่ผมได้เสนอในวันนี้ ก็มีสมาชิกท่านหนึ่งเหมือนกัน ที่บอกว่าอยากให้ผมไปศึกษาประวัติศาสตร์การลงมติในสภาแห่งนี้ได้ครับ ผมน้อมรับครับ แล้วผมก็ไปศึกษาประวัติศาสตร์ว่าสิ่งใดบ้างที่เกิดขึ้นในสภาแห่งนี้ ญัตติที่ผมเสนอในวันนี้ ที่เสนอคำถามประชามติเข้าสู่สภาในวันนี้ไม่ได้เป็นญัตติใหม่ พอผมไปศึกษาประวัติศาสตร์ การเมืองไทยในช่วง ๑ ปีที่ผ่านมา แล้วผมก็ได้พูดไว้แล้วตอนเปิดญัตติในวันนี้ว่าญัตตินี้ เคยถูกถามแล้วในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี ๒๕๖๕ และผลเป็น อย่างไรครับท่านประธาน จำนวนผู้ลงมติ ๓๓๑ เห็นด้วย ๓๒๓ ไม่เห็นด้วย ๐ งดออกเสียง ๑ ท่าน คือท่านประธานสภา ณ เวลานั้น แล้วก็ไม่ลงคะแนนเสียง ๗ ท่าน เรียกได้ว่าสภา ลงมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จาก สส. ทุกพรรคการเมืองหลักของสภา
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
หลายท่านอาจจะสงสัยว่าอันนี้มันเอาแค่พาดหัวมาพูดกันหรือเปล่า เนื้อหาสาระของญัตติต่างกันหรือเปล่า ก็ต้องเรียนตามตรงครับว่าถึงแม้ข้อความก่อนหน้านั้น อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง แต่สาระสำคัญที่ถูกเสนอในสภาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ กับวันนี้ เป็นคำถามประชามติคำถามเดียวกัน ท่านอ่านได้เลยครับ คำถามคือท่านเห็นชอบ หรือไม่ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับแทนที่รัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ของประชาชน ย้อนไปเดือนพฤศจิกายน ปี ๒๕๖๕ มี ๒ ท่านที่เสนอญัตตินี้เข้าไป ด้านซ้าย ท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย ขออนุญาตที่เอ่ยนาม ด้านขวา ท่านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ จากพรรคก้าวไกล ดังนั้นต้องบอกว่าญัตตินี้เคยถูกเสนอโดยตัวแทนจาก ๒ พรรค แล้วผลเป็นอย่างไรครับ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนอีกรอบหนึ่ง จะเห็นว่าคำถามที่อยู่ใน ญัตติ ๒ ญัตติที่ถูกเสนอในปี ๒๕๖๕ นอกจากจะเหมือนกันแล้วระหว่าง ๒ ญัตติ ยังเหมือน เป๊ะ ๆ กับญัตติที่ถูกเสนอต่อสภาในวันนี้ด้วยที่ปรากฏอยู่ในภาพด้านขวามือ อันนี้คือ เปรียบเทียบข้อความคำถามของญัตติเมื่อปี ๒๕๖๕ ที่ถูกเสนอโดยตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย และข้อความของคำถามประชามติที่ผมและพรรคก้าวไกลเสนอในวันนี้ อย่างที่ผมบอกว่า เมื่อปี ๒๕๖๕ ทุกพรรคก็เห็นชอบด้วย ผมขอไม่เปิดรายชื่อว่ามีใครบ้างที่เห็นชอบด้วย ณ เวลานั้น แต่ผมเพียงให้ข้อมูลว่าในบรรดา ๓๐๐ กว่าเสียงที่ลงมติเห็นชอบมาจาก ทุกพรรคการเมืองหลักในสภา ณ เวลานั้น ๗๙ สส. จากพรรคเพื่อไทย ๕๗ สส. จากพรรคภูมิใจไทย ๖๒ สส. จากพรรคพลังประชารัฐ ๓๓ สส. จากพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีหลายท่านที่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สส. และลงมติเห็นชอบในวันนั้น วันนี้ก็นั่งอยู่ในสภา แห่งนี้ด้วยเหมือนกัน บางท่านอาจจะเปลี่ยนพรรคไปบ้างไม่เป็นไร แต่ก็มีหลายท่านที่ยังนั่ง และปฏิบัติหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ดังนั้นผมของทิ้งท้ายว่าถ้าท่านจะกล่าวหาว่าญัตติของผมนั้นไม่รอบคอบ เป็นคำถามที่ท่านไม่เห็นด้วย เป็นคำถามที่อาจจะขัดกับรัฐธรรมนูญ ผมก็ต้องถามกลับไปว่า ตอนปฏิบัติหน้าที่ในปี ๒๕๖๕ ท่านลงมติด้วยความไม่รอบคอบหรือครับ ท่านลงมติ โดยการเขียนคำถามที่ท่านไม่เห็นด้วยหรือครับ หรือว่าท่านลงมติกับญัตติที่ท่านมองว่า ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือครับ จริง ๆ วันนี้ผมคิดว่าผมเคารพความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ผมเข้าใจว่าแต่ละพรรคการเมือง สมาชิกแต่ละท่านก็มีชุดความเห็นที่แตกต่างกันออกไป ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับความคิดเห็นของพรรคก้าวไกล วันนี้ผมไม่ได้ขอให้ท่านเห็นด้วย กับพรรคก้าวไกล ผมขอให้ท่านเห็นด้วยกับตัวท่านเองในอดีตเมื่อ ๓๕๖ วันที่แล้วเท่านั้นครับ แล้วเดินหน้าสนับสนุนญัตตินี้เพื่อจะจัดทำประชามติและนับ ๑ สู่การจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งของพี่น้องประชาชน ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปผมจะขอมติจากที่ประชุมว่าจะเห็นชอบกับญัตติดังกล่าวหรือไม่ หากเห็นชอบ จะได้แจ้งผลการลงมติพร้อมสาระสำคัญของญัตติไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบ แต่ถ้าไม่เห็นชอบ ให้ญัตติเป็นอันตกไปตามข้อบังคับ ข้อ ๔๘/๑ ก่อนลงมติผมขอตรวจสอบ องค์ประชุมครับ
นางสาวรักชนก ศรีนอก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ รักชนก ศรีนอก ๒๙๘ แสดงตนค่ะ
นายภาณุ พรวัฒนา อุดรธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ภาณุ พรวัฒนา ๒๗๘ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒ ท่านแล้วนะครับ ท่านสมาชิกกดบัตรแสดงตนเลยนะครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ ท่านประธานครับ ขอหารือนิดเดียวครับ เนื่องจากว่าเมื่อเช้ามีความผิดพลาด ในเรื่องของออด ผมก็เลยไม่มั่นใจว่าบางคณะกรรมาธิการที่ประชุมอยู่ได้ยินเสียงออด หรือไม่ได้ยินเลย ไม่รู้นะครับ แต่ได้ยินเสียงแล้วจะคิดว่าแบบเมื่อเช้าหรือเปล่า คือไม่ลงมา ฉะนั้นอันนี้ผมจะมั่นใจได้อย่างไรว่ามีการประสานยืนยันชัดเจนทุกห้องที่กดไปว่าได้ยินเสียงออด และทุกห้องทราบว่าอันนี้ไม่ได้ซ้อมครับ เอาจริง อันนี้ขอความชัดเจนยืนยันจากท่านประธาน ด้วยความเคารพครับ ผมอยู่แค่ชั้น ๓ เมื่อเช้าใช้เวลา ๑๐ นาทีในการเดินมา ฉะนั้นถ้าเรา จะรอซึ่งสภาชุดที่แล้ว เราเคยรอถึง ๕๓ นาที ก็รอเพื่อนเราสักนิดหนึ่งครับ เพื่อความสมบูรณ์ เพราะว่าเดี๋ยว ๓๐๐ กว่า เดี๋ยวปีหน้ามาลงอีก แล้วท่านบอกว่าปีที่แล้ว ๓๖๕ วัน ลืมไปแล้ว ไม่ใช่ผมเมื่อวันนั้น เดี๋ยวจะผิดพลาดอีกครับ ก็เลยอยากได้ ๓๓๐ ให้ครบถ้วนเหมือนกับ ปีที่แล้วครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
คือตอนนี้ข้างนอกกดออด แต่ข้างในจะไม่ได้ยิน ก็กดอีกทีหนึ่งก็ได้ครับ มีท่านสมาชิก แสดงตนอยู่ ๔๑๙ ท่าน ขอปิดการแสดงตนนะครับ เป็น ๔๒๒ ท่าน มีผู้เข้าร่วมประชุม ครบองค์ประชุมแล้วนะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปเชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนนะครับ ผู้ใดเห็นชอบ โปรดกดปุ่มเห็นด้วย ผู้ใดไม่เห็นชอบ โปรดกดปุ่มไม่เห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่าควรงดออกเสียง โปรดกดปุ่มงดออกเสียง เชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิออกเสียงได้เลยครับ
นายภาณุ พรวัฒนา อุดรธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ภาณุ พรวัฒนา ๒๗๘ ไม่เห็นด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๗๘ ไม่เห็นด้วยนะครับ ท่านสมาชิกใช้สิทธิออกเสียงหมดแล้วนะครับ ผมขอปิด การลงคะแนน เจ้าหน้าที่แสดงผลครับ จำนวนผู้ลงมติ ๔๒๙ ท่าน เห็นด้วย ๑๖๒ ท่าน ไม่เห็นด้วย ๒๖๑ ท่าน บวก ๑ ท่าน เป็น ๒๖๒ ท่าน งดออกเสียง ๖ ท่าน ไม่ลงคะแนน ไม่มี เป็นอันว่าที่ประชุมไม่เห็นชอบกับญัตตินี้นะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปเป็นการพิจารณาระเบียบวาระที่ ๕.๒ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษามาตรการควบคุมฝูงชน และแสวงหาข้อเท็จจริง การสลายการชุมนุม อันเนื่องมาจากเหตุการณ์การชุมนุมของเยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๕ (นายปิยรัฐ จงเทพ เป็นผู้เสนอ) ขอเชิญ ผู้เสนอแถลงเหตุผลครับ
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายปิยรัฐ จงเทพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตพระโขนง เขตบางนา พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอเสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษามาตรการควบคุมฝูงชน และแสวงหาข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุม อันเนื่องมาจากเหตุการณ์การชุมนุมของเยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๕ ด้วยหลักการและเหตุผลดังต่อไปนี้
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เนื่องจากว่าการชุมนุมที่ผ่านมาเราสังเกตว่าปี ๒๕๖๓ จนถึงปี ๒๕๖๕ นั้น เป็นช่วงที่มีการชุมนุม การตื่นตัว และการออกมาเรียกร้องของประชาชนโดยเฉพาะเยาวชน คนหนุ่มสาวเป็นจำนวนมาก และมีตัวเลขการชุมนุมที่ถี่มากในรอบ ๓ ปีที่ผ่านมา ทำให้เรา ทราบว่าการชุมนุมใน ๓ ปีนั้นเป็นการชุมนุมที่มีจำนวนการชุมนุมจำนวนครั้งมากในรอบ หลายทศวรรษด้วยซ้ำไป โดยเนื้อหาใจความของการเรียกร้องการชุมนุมที่ผ่านมานั้นก็มี หลากหลายประเด็น หลากหลายเนื้อหา หลากหลายข้อเรียกร้อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้อง เพื่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเมืองการปกครอง เรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ จนถึงเรียกร้องให้หยุดการสืบทอดอำนาจ ของคณะ คสช. หรือรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ฉะนั้นข้อเรียกร้องเหล่านี้ ก็มาจากหลากหลายกลุ่ม หลากหลายองค์กร มีการชุมนุมต่อเนื่องยาวนาน และมีการชุมนุม หลายครั้งหลายครา และทุกครั้งนั้นก็จบลงด้วยทั้งในรูปแบบของการสลายด้วยตัวเอง และการสลายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ หรือการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่รัฐ แน่นอนครับ ที่ผมพูดวันนี้ ผมไม่ได้เจาะจง หรือจงใจให้ร้าย หรือว่าร้ายกลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่ง หรือเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างเดียวครับ แต่ในหัวข้อนี้เราต้องการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญนี้เพื่อศึกษาร่วมกัน ทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และคณะรัฐมนตรี เพื่อหามาตรการที่เป็นมาตรการที่เป็นที่ยอมรับ และเป็นสากลที่สุด ให้เราได้รู้ว่ามาตรการใดเป็นมาตรการที่ใช้ในการควบคุมการชุมนุม หรือควบคุมจำกัดขอบเขตของการชุมนุมให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและตามหลักการสากล ที่ได้รับการยอมรับ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลและผู้ปกครองทุกยุคทุกสมัยหลังจากนี้ ในการศึกษาและถอดบทเรียนเหล่านี้มาใช้ให้เหมาะสมที่สุดต่อสถานการณ์สังคมในยุค ปัจจุบัน ที่ผ่านมานั้นท่านประธานเราจะเห็นว่าการสลายการชุมนุมแต่ละครั้งนั้น นอกจาก คงไว้ซึ่งบาดแผล ความเจ็บปวด และปัญหาตามมาอีกมากมาย ที่สำคัญยังคงไว้ซึ่งปัญหา สะสมให้เป็นการบั่นทอนกำลังใจของประชาชนในการต่อสู้กับภาครัฐแล้วนำมา ซึ่งความเจ็บปวดรวดร้าว ที่สำคัญครับท่านประธาน ความเจ็บปวดนี้จะไม่ได้รับการยุติง่าย ๆ หากไม่มีกระบวนการยุติธรรมออกมาแสวงหาข้อเท็จจริงให้เกิดขึ้น ดังนั้นแล้วเราไปดูสถิติกันครับ ท่านประธาน ขอ Slide ครับ
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เราไปดูสถิติการที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมา ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ และปี ๒๕๖๕ นั้น มีการชุมนุมเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ๗๙๙ ครั้ง และไปดูปี ๒๕๖๔ สิครับ พุ่งขึ้นไป ๑,๕๑๖ ครั้ง แล้วค่อย ๆ ลดลงในปี ๒๕๖๕ ๗๖๓ ครั้ง ซึ่งตัวเลขนี้มีมากรวมกันกว่า ๓,๐๐๐ ครั้ง ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากในรอบหลายสิบปีเลย ซึ่ง ๕๐ เปอร์เซ็นต์นั้น เกิดขึ้นในปี ๒๕๖๔ การชุมนุมทุกครั้งที่ผ่านมานั้นก็มีทั้งที่ผมกล่าว ไปแล้วว่ายุติด้วยตัวเอง และถูกสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ไปดูปี ๒๕๖๓ ถูกสลาย การชุมนุมไปทั้งหมด ๗ ครั้ง และปี ๒๕๖๔ นั้น ถูกสลายการชุมนุมไปถึง ๖๐ ครั้ง ปี ๒๕๖๕ ถูกสลายการชุมนุมไป ๗ ครั้ง และลดลง ปี ๒๕๖๖ ที่ผมไม่ได้นำมาศึกษานี้ ก็เพราะว่าปี ๒๕๖๖ เราไม่ได้มีการสลายการชุมนุมหรือมีการชุมนุมครั้งสำคัญใด ๆ จึงจบ ไปที่ปี ๒๕๖๕ ต่อไปครับ ทุกการสลายการชุมนุมนั้นก็จะมีมาตรการของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเรา เรียกว่าการใช้กำลังของกลุ่มหรือคณะบุคคลซึ่งรัฐบาลมอบหมาย ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ซึ่งมีหน่วยควบคุมฝูงชนอยู่ภายใต้สังกัด หน่วยควบคุมฝูงชนนี้ก็จะอาศัยอำนาจ ที่รัฐบาลมอบหมาย หรือหน่วยงานมอบหมายให้เข้ามาดำเนินการสลายการชุมนุม ด้วยทั้ง กระสุนยาง แก๊สน้ำตา รถแรงดันสูง หรือรถฉีดน้ำแรงดันสูง จนถึงรถแรงดันน้ำที่ผสมสารเคมี เราจะเห็นว่าการใช้กระสุนยางมากถึง ๒๙ ครั้ง การใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงถึง ๑๖ ครั้ง การใช้ แก๊สน้ำตา ๑๓ ครั้ง และมีการใช้สารเคมีถึง ๕ ครั้ง ซึ่งมาตรการเหล่านี้เราไม่รู้เลยว่า ใครสั่ง และสั่งด้วยมาตรการที่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากล หรือแม้กระทั่งตามหลัก สิทธิมนุษยชนหรือไม่
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ทุกการสลายการชุมนุมนำมาซึ่งอะไร นอกจากเปลืองงบประมาณแล้วก็เกิด ความขัดแย้งเพิ่มเติม ขยายรอยร้าวเกิดขึ้น เรายังมีผู้บาดเจ็บครับ ที่ผมต้องพูดตัวเลข ผู้บาดเจ็บนี้ไม่ใช่แค่ฝ่ายผู้ชุมนุม เห็นไหมครับ ผมบอกแล้วว่าการมาพูดถึงตรงนี้เราไม่ได้มา โทษเฉพาะผู้ชุมนุม หรือมาโทษเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือรัฐบาล อย่างเดียว เรากำลังจะพูดข้อเท็จจริงนะครับ เราเห็นว่าตำรวจบาดเจ็บถึง ๑๔๖ นาย เอาเฉพาะปี ๒๕๖๔ นะครับ เพราะว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดแล้วในรอบ ๓ ปีนั้น ผู้ชุมนุม บาดเจ็บกัน ๓๘๒ คน มีผู้เสียชีวิตอีก ๑ คน อันนี้เฉพาะปี ๒๕๖๔ มีผู้ชุมนุมต้องสูญเสีย ดวงตาไปจำนวน ๒ ราย และนักข่าวหรือผู้สื่อข่าวบาดเจ็บไปถึง ๒๙ ราย และตลอด ๓ ปี คือปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ นั้น เราต้องสูญเสียชีวิตไปถึง ๔ ราย และมีผู้บาดเจ็บรวมกัน มากกว่า ๑,๐๐๐ ราย จากสถิติตัวเลขนี้เรายังได้ไปพบว่ายังมีผู้ต้องคดีทางการเมือง และความคิดตามมาอีกเป็นจำนวนมาก เป็นภาระต่อไปให้กระบวนการยุติธรรมที่ต้องไป พิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงกันยาวนานหลายปี จนกระทั่งปัจจุบันยังมีคดีค้างคาอยู่เป็น จำนวนมาก เพราะเรามีคดีอย่างน้อยเกิดขึ้นในช่วง ๓ ปีนั้นถึง ๑,๙๒๕ คน และมีคดีรวมกว่า ๑,๒๔๑ คดี ที่สำคัญคือมีผู้ต้องคดีเข้าออกคุก เข้าออกเรือนจำอยู่ ๑๐๐ กว่าราย คือ ๑๔๕ ราย ปัจจุบันยังมีผู้ต้องคดีทางการเมืองและความคิดสูงถึง ๒๖ รายที่ยังถูกจองจำ อยู่ในเวลานี้ ในจำนวนนั้น ๑,๐๐๐ กว่าราย มีเยาวชนหรือเด็กที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ถูกดำเนินคดีถึง ๒๘๖ คน ในจำนวนนี้มีเด็กอายุ ๑๔ ปีด้วยนะครับ
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เราจะมาชมว่าสิ่งที่ผมพูดมานั้นเป็นมาตรการการสลายการชุมนุมหรือไม่ และถูกต้องตามมาตรฐานสากลหรือไม่ นี่เป็นคำถามที่เราต้องมาคุยกันเพื่อหามาตรการกลาง ร่วมกันว่ามันเหมาะสมหรืออย่างไร หรือมีตัวอย่างมาตรฐานใดที่ใช้ในต่างประเทศ มาดู ตัวอย่างครับ เราจะเห็นกันว่าภาพถ่ายจาก UDD News นี้ เหตุเกิดขึ้นในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ บริเวณหน้าโรงพยาบาลตำรวจ เราเห็นไหมครับว่าจุดที่เกิดนี้เจ้าหน้าที่ กำลังใช้อาวุธลักษณะคล้ายปืนยิงไปทางฝั่งของผู้ชุมนุม ซึ่งอยู่ห่างจากแนวของผู้สื่อข่าว ไม่เกิน ๑๐ เมตร กระทำการต่อหน้าผู้สื่อข่าวเช่นนี้ แล้วอยู่ห่างจากรัศมีการใช้อาวุธปืนไม่ถึง ๑๐ เมตร ทำให้เกิดการสูญเสีย บาดเจ็บ ผมจำเหตุการณ์นี้ได้ครับ มีผู้บาดเจ็บสาหัส ๒ ราย สาหัสนะครับ ต้องส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งโชคดีที่โรงพยาบาลมีความทันสมัยและมี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุจึงสามารถช่วยชีวิตได้ทัน อันนี้ก็ต้องตั้งคำถามครับว่า มาตรการอย่างนี้ถูกต้องตามหลักการสลายการชุมนุมหรือไม่ ต่อไปเราจะไปชม Clip กันว่า เหตุการณ์ลักษณะอย่างนี้ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน ในวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ บริเวณดินแดง วิภาวดีรังสิต ท่านประธานครับ จะเห็นว่าเจ้าหน้าที่แต่งตัวพร้อมชุดปฏิบัติการ อาวุธครบมือที่ใช้ใน การสลายการชุมนุมนี้ พยายามใช้ปืนหรืออาวุธลักษณะคล้ายปืนนั้นยิงไปที่ผู้ที่สัญจรไปมา ที่ถนนยังเปิดโล่งปกติ ไม่มีการกั้นถนน หรือปิดการจราจร มีประชาชนที่สัญจรไปมา โดยทั่วไป แต่เจ้าหน้าที่ยังใช้กำลังบังคับโดยการใช้อาวุธคล้ายปืนนั้น ผมไม่ทราบว่า เป็นกระสุนจริงหรือกระสุนยาง เราไม่สามารถทราบได้เลยเพราะเราแยกอาวุธปืนของ เจ้าหน้าที่ไม่ออก และลักษณะนี้ยิงไปที่รถมอเตอร์ไซค์ของประชาชนที่สัญจรไปมา ซึ่งแยกไม่ออกเหมือนกันว่าเป็นผู้มาชุมนุม ผู้มาก่อเหตุร้าย หรือประชาชนทั่วไปที่ใช้รถ ใช้ถนนสัญจรไปมา จ่อยิงไปอย่างนั้น นี่คือมาตรการการสลายการชุมนุมที่รัฐไทยยอมรับ หรือไม่ หรือเป็นมาตรการสากลที่ถูกระบุไว้ในแผนของควบคุมฝูงชนของประเทศเราหรือไม่
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ต่อไปครับ เห็นไหมครับว่านี่คือเหตุการณ์บริเวณแยกดินแดนอีกเหตุการณ์หนึ่ง เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนอยู่บริเวณจุดสูงข่ม อันนี้ภาษาทางยุทธการของเขา เขาเรียกว่า จุดสูงข่ม คือจุดที่อยู่เหนือกว่าประชาชนแล้วสามารถหลบซ่อนได้ เช่นตามรางรถไฟฟ้า หรือตามบริเวณทางด่วน ยิงกระบอกแก๊สน้ำตาลงมาใส่ประชาชน ทำให้มีผู้ต้องสูญเสีย ดวงตาไป เหตุนี้ก็เป็นเหตุที่หลายคนเป็นที่ประจักษ์ว่าเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ และผม เชื่อว่าพรรคเพื่อไทยเองก็น่าจะเข้าใจหัวอกสถานการณ์นี้ไม่น้อยไปกว่าผมในเวลานี้ เนื่องจากเหตุการณ์ลักษณะนี้คล้ายเหตุเกิดในปี ๒๕๕๓
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ถัดไปครับ กระบอกแก๊สน้ำตาที่เห็นอยู่นี้ไม่ได้ไปเอารูปมาจาก Internet ไม่ได้ไปเอารูปมาจากสื่อมวลชนหรือสำนักข่าวไหนทั้งนั้น นี่เป็นกระบอกแก๊สน้ำตาที่ผม เก็บเองด้วยมือของผมในสถานการณ์ที่มีการสลายการชุมนุม ท่านจะเห็นว่ากระบอก แก๊สน้ำตาพวกนี้เกลื่อนถนนไปหมดในวันที่มีการสลายการชุมนุมทุกครั้ง ไม่ทราบว่า มีการเบิกมาจำนวนเท่าไร ไม่ทราบว่ามีการใช้จำนวนมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญ ท่านสังเกตไหมครับว่าบริเวณกระบอกแก๊สน้ำตานั้นไม่มี Code Name ไม่มี Serial Number ไม่มีภาษาอะไรเลยระบุว่านี่เป็นอุปกรณ์อะไร เบิกจ่ายเมื่อไร จำนวนสารเคมี คืออะไร และที่สำคัญ วันผลิต วันหมดอายุ เราไม่ทราบเลย ซึ่งเอามาใช้กับประชาชนอย่างนี้ ได้อย่างไร นี่คือคำถามว่าเรามีมาตรการตรวจสอบเรื่องนี้กันหรือไม่
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ต่อไปครับ เราจะเห็นว่าสิ่งที่ผ่านมานั้นเราบอกว่าเรามีหลักสากลที่ยึดถือกัน อยู่ในเวลานี้ ซึ่งแน่นอนหลักสากลที่ว่าในการสลายการชุมนุมนั้น ตั้งแต่เรื่องกระสุนยางเลย เราบอกว่าอะไรครับ ใช้ก็ต่อเมื่อบุคคลที่มีการพยายามกระทำความรุนแรง หรือกรณีอันเกิด อันตรายต่อตำรวจหรือประชาชน อันนี้ก็คือกระสุนยางนะครับ ควรหลีกเลี่ยงหรือควรยิง บริเวณตั้งแต่ท้องลงไปจนถึงขา การเล็งที่หัวอาจจะทำให้กะโหลกศีรษะแตกได้ การยิงทีละ หลาย ๆ นัด เป็นชุด ๆ นี้ ขัดต่อหลักความได้สัดส่วนหรือความจำเป็น เห็นไหมครับ มันก็จะมีหลักการของเขาอยู่ ซึ่งนี่ละเป็นคำถามที่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐในเวลานั้นได้ใช้เรื่องนี้ มาคำนึงกันหรือไม่ แม้กระทั่งแก๊สน้ำตาครับท่านประธาน ก็มีเหตุผลการใช้เหมือนกัน และหลักการสากลยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นการยิงนั้นต้องยิงไปเฉพาะกลุ่มที่ก่อเหตุรุนแรง และต้องยิงจากระยะไกล การเล็งไปที่ศีรษะหรือใบหน้านั้นก็อาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือบาดเจ็บสาหัสได้ การยิงแก๊สน้ำตาในพื้นที่อันอับอากาศนั้นก็อาจจะทำให้เกิดการขาด อากาศหายใจได้ และการใช้แก๊สน้ำตานั้นควรใช้ชนิดที่มีระดับความเป็นพิษที่ต่ำ แต่คงประสิทธิภาพอยู่
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ต่อไปครับ เราจะเห็นว่าสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดนั้น เพียงต้องการวัตถุประสงค์ ในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเรื่องนี้ ก็ไม่ใช่เพื่อหวังว่าจะเป็นผลงานของพรรคก้าวไกล จะเป็นผลงานของพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่เพื่อศึกษาร่วมกัน และจะเป็นประโยชน์ต่อเรา ทุกคนในอนาคต เพราะเราเชื่อมั่นว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น การชุมนุม เรียกร้องของประชาชนย่อมเกิดขึ้นได้เป็นปกติวิสัยธรรมดา แต่เหตุการณ์ที่อำนาจรัฐเข้ามาจำกัดการชุมนุมต้องเป็นไปอย่างพอเหมาะพอดี และที่สำคัญ คือเป็นไปตามมาตรฐานและเป็นหลักการร่วมกันว่านี่คือการยึดถือได้ถูกต้อง เหมาะสมแล้ว ไม่ใช่ว่าสามารถใช้อาวุธอย่างไรก็ได้ สามารถเรียกกองกำลังที่ไหนก็ได้มาสลายการชุมนุม และประเมินสถานการณ์ได้ทุกเมื่อว่ากลุ่มใดเป็นปฏิปักษ์ก็สามารถใช้กำลังทางอำนาจ ทางปกครอง และกำลังทางเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เรื่องนี้จะขยายความขัดแย้ง และเพิ่มความขัดแย้งจนหาจุดที่ยุติไม่ได้ ก็จะเป็นภาระต่อไปในรัฐบาลหน้าหรือในอนาคต ฉะนั้นผมจึงมองว่าเรื่องนี้เป็นของพวกเราทุกคนที่ต้องมาวางมาตรการนี้ร่วมกัน และแสวงหา ข้อเท็จจริงนี้เพื่อมาเป็นบทเรียน ไม่ได้เพื่อที่จะต่อว่าต่อขานใคร และไม่ได้เพื่อที่จะโจมตีใคร แต่เพื่อที่จะได้เป็นบทเรียนของเราร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ๑. การสืบเสาะแสวงหาข้อเท็จจริง ร่วมกันผ่านสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้เพื่อให้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ๒. การศึกษา หาแนวทางมาตรฐานในการปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับการชุมนุม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ สากล ๓. การอำนวยความสะดวกด้านข้อมูล ข้อเท็จจริงในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เกิด ความยุติธรรมต่อผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้สื่อข่าว และประชาชนโดยรอบ สุดท้ายนี้ผมจึง ขอเสนอญัตติดังกล่าวนี้เพื่อให้ที่ประชุมได้โปรดพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษามาตรการควบคุมฝูงชน และแสวงหาข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุม อันเนื่องมาจากเหตุการณ์การชุมนุมของเยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึง พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ ขอบคุณมากครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ขณะนี้มีผู้มาลงชื่อเพื่อจะขอร่วมอภิปรายจำนวน ๑๓ ท่าน ผมจะเรียกลำดับสลับกันไป ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยจะให้เวลาอภิปรายคนละ ๗ นาที ตามที่เราปฏิบัติกันมา ขอเชิญท่านแรก คุณขัตติยา สวัสดิผล ครับ
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพคะ ดิฉัน นางสาวขัตติยา สวัสดิผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ในโลกปัจจุบันจำนวนประชากรไม่เอื้อให้กระบวนการประชาธิปไตยทางตรง สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงต้องอาศัยกลไกในการใช้ระบบตัวแทนในการที่จะตัดสินใจ แล้วก็ใช้อำนาจบางอย่างแทนประชาชน แต่การใช้ระบบตัวแทนนี้ก็ไม่สามารถที่จะสะท้อน ความต้องการของประชาชนได้อย่างแนบสนิทเสมอ เพราะว่าเต็มไปด้วยข้อจำกัดแล้วก็ ช่องโหว่ต่าง ๆ ดังนั้นการเมืองภาคประชาชนกับการเมืองในระบบตัวแทนจึงเป็นเหมือน คู่แฝดที่อยู่คู่กันเพื่ออุดช่องว่างของกันและกัน แต่ว่าไม่ใช่ศัตรูกัน ท่านประธานคะ แม้ว่าการเมืองในระบบตัวแทนจะมาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ใช่ว่าจะเข้าใจความต้องการ ของประชาชนได้ทุกอย่างเสมอไป ส่งผลให้การเมืองภาคประชาชนต้องทำหน้าที่ เป็นกระบอกเสียงเพื่อส่งเสียงบอก ส่งเสียงเตือนถึงรัฐบาลแล้วก็ตัวแทนของพวกเขา ผ่านการชุมนุม ในแง่นี้ดิฉันเชื่อว่าทุกท่านในที่นี้เห็นตรงกันว่าการชุมนุมนั้นเป็นสิทธิ และเป็น สิ่งจำเป็นในระบอบประชาธิปไตย แต่อย่างไรก็ตามปัญหาที่ผ่านมาไม่ใช่การมีหรือไม่มี กฎหมาย แต่ปัญหาก็คือมุมมองของรัฐที่มีต่อการชุมนุมที่ไม่ได้มองการเมืองภาคประชาชนว่า เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ แม้ว่าจะมีการปิดช่องว่างทางกฎหมายอย่างไรก็จะมีการหาช่องโหว่ ในการตีความเกินกว่ากฎหมายเกินหลักสากลและสิทธิมนุษยชนเสมอ แม้ว่าเราต่างเข้าใจกัน ดีว่าการใช้กำลังในการควบคุมฝูงชนนั้นจะทำไม่ได้ ในสากลก็มีให้เห็นแล้วก็มีวิธีปฏิบัติ รองรับ แต่หลายครั้งที่การสลายการชุมนุมถูกเริ่มจากการสร้างความชอบธรรมให้กับ ผู้ถืออำนาจรัฐ ผ่านการสร้างวาทกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้พลเมืองผู้ที่มาใช้สิทธิชุมนุมนั้น กลายเป็นศัตรู สร้างความเป็นอื่น ลดทอนความเป็นมนุษย์ กลายเป็นภัยคุกคามในรูปแบบหนึ่ง นำไปสู่การใช้ความรุนแรงที่เลยเถิด นั่นเพราะรัฐไม่ได้มองว่าเป็นการควบคุมพลเมือง แต่มองว่านั่นคือการจัดการกับภัยคุกคามเท่านั้น ท่านประธานคะ เมื่อที่ผ่านมารัฐไม่ได้มอง การชุมนุมเป็นสิทธิอันพึงมี แต่มองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่จึงไม่ได้ อำนวยความสะดวกให้กับผู้ชุมนุม แต่ใช้วิธีการบริหารภัยความมั่นคงแทน สะท้อนผ่านการใช้กฎหมายในการจัดการชุมนุม ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้กฎหมายให้เป็นเครื่องมือในการปราบปราม เช่น พ.ร.บ. ชุมนุม สาธารณะ พ.ร.บ. จราจร พ.ร.บ. ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ร.บ. รักษา ความสะอาด พ.ร.ก. ฉุกเฉินเพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ COVID-19 หรือการคุกคามหลังการสลายการชุมนุมและระหว่างเคลื่อนไหว การถูกติดตาม ถูกข่มขู่ที่พัก ส่วนตัว การเจาะข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Pegasus โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการปราบปราม ไม่ใช่เพื่อฟังข้อเรียกร้องหรือการอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของประชาชนแต่อย่างใด ดิฉันจึงขอฝากท่านประธานผ่านไปยัง ครม. ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย แนวทาง หรือมาตรการที่จะมีต่อผู้ชุมนุมในอนาคต เป็นข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อแรก เราควรต้องมีการทบทวนกระบวนการฝึกเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนให้มีความเป็นมืออาชีพ ปฏิบัติโดยยึดถือว่าผู้ชุมนุมคือพลเมือง ที่กำลังช่วยกันพัฒนาประเทศ ไม่ใช่ศัตรูหรือภัยคุกคามที่ต้องเร่งกำจัดให้หมดสิ้น อีกทั้ง ต้องสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้สามารถปฏิเสธคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาได้หากเป็น สิ่งที่ละเมิดสิทธิดังกล่าว โดยรัฐสภาจะต้องเป็นผู้รับรองความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่เหล่านั้น
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อ ๒ ดิฉันขอแนะนำให้มีการสร้างแนวทางที่จะกีดกันเจ้าหน้าที่ทหาร ออกจากการควบคุมการชุมนุม และไม่อนุญาตให้มีการใช้อาวุธหนักกับประชาชน
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อ ๓ เราต้องสร้างความตระหนักรู้เรื่องภาระรับผิดชอบ หรือ Accountability ผู้ที่ทำหน้าที่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตจะต้องมีความผิดและได้รับโทษ
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นในการสลายการชุมนุมไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นรูปแบบเดิม ๆ ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานตั้งแต่การเมืองภาคประชาชนเกิดขึ้น พร้อมกับระบบตัวแทน เรามีบทเรียนมากมาย แต่เราไม่ได้เรียนรู้อะไร เราถึงต้องมานั่ง อภิปรายเรื่องนี้กันในสภาแห่งนี้ในวันนี้ ดิฉันหวังว่าปลายทางของเรื่องนี้เราจะสามารถ นำข้อเสนอของดิฉันที่พูดในวันนี้ทำให้เกิดขึ้นจริงได้ เพื่อเป็นมาตรการป้องกันเหตุการณ์ ไม่ให้เกิดเหมือนอดีตอีกครั้งหนึ่ง ขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณปิยชาติ รุจิพรวศิน ครับ
นายปิยชาติ รุจิพรวศิน นครราชสีมา ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ปิยชาติ รุจิพรวศิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต ๒ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ นอกจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะได้กำหนดให้มีการรับรองเสรีภาพ ในการชุมนุมโดยสงบของประชาชน อย่างที่เราทุกคนรู้กันอยู่แล้วว่าการชุมนุมโดยสงบ ยังเป็นสิทธิที่ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง International Convenance on Civil and Political Rights หรือเรียกโดยย่อว่า ICCPR อีกด้วย ซึ่ง ICCPR เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยประเทศที่เป็นสมาชิกจะต้องเคารพ และประกันสิทธิเสรีภาพดังกล่าวให้กับประชาชน ซึ่งประเทศไทยเองก็เข้าเป็นภาคี และมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ เราจะเห็นได้ว่านานาอารยประเทศที่ปกครองด้วย ระบอบประชาธิปไตยให้ความสำคัญต่อเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยปกติแล้วย่อมไม่มีใครอยากจะมาชุมนุม แต่เพราะมีเหตุต่าง ๆ ที่ไม่มีหนทางสื่อสาร พวกเขาจึงต้องออกมาชุมนุมเพื่อบอกให้ผู้มีอำนาจรู้ว่าบ้านเมืองกำลังมีปัญหา ในสังคม ประชาธิปไตย เสรีภาพในการชุมนุมถือเป็นเครื่องมือของประชาชนเพียงไม่กี่เครื่องมือ ที่จะทำให้ประชาชนได้มีโอกาสส่งเสียงของพวกเขาถึงผู้แทนราษฎรทั้งหลาย รวมถึงผม และทุกคนที่อยู่ในที่นี้ด้วย แต่จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี ๒๕๖๓ ทำให้ผมเห็นว่า ประเทศของเรายังมีการลิดรอนเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบที่ควรจะเป็นของประชาชน อย่างที่ทำเสมอมาจนเป็นเรื่องปกติ ในการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของประชาชน เมื่อปี ๒๕๖๓ ควรจะเป็นการชุมนุมที่รัฐบาลให้การสนับสนุน คุ้มครอง รวมถึงเฝ้าระวัง ความปลอดภัยให้กับประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมและไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมทุกคน สิ่งที่เกิดขึ้นคือเจ้าหน้าที่นอกจากจะไม่สนับสนุนและคุ้มครองประชาชนแล้ว กลับลิดรอน เสรีภาพอันควรจะเป็นของประชาชนโดยใช้วิธีสลายการชุมนุม ซึ่งการสลายการชุมนุม โดยหลักสากลแล้วควรจะกระทำต่อเมื่อการชุมนุมได้ก่อให้เกิดความไม่สงบ และไม่ควร จะใช้กำลัง เว้นแต่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จากที่ผมเห็นการชุมนุมในปี ๒๕๖๓ ผมเห็น เยาวชน ผมเห็นประชาชนมือเปล่าถูกสลายการชุมนุมด้วยรถฉีดน้ำแรงดันสูง ผมเห็น พวกเขาถูกสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตาและกระสุนยาง น่าเห็นใจเจ้าหน้าที่ที่เขาต้องจำใจ สลายการชุมนุมเพียงเพราะเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ท่านประธานครับ เสรีภาพ ในการชุมนุมถือว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของ การแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในสังคมประชาธิปไตย ผมในฐานะผู้แทนราษฎร ของประชาชน อยากขอให้เพื่อนสมาชิกสนับสนุนให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษามาตรการควบคุมฝูงชน และแสวงหาข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุม อันเนื่องมาจาก เหตุการณ์การชุมนุมของเยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทุกคนมีมาตรฐาน เพื่อเป็นการสร้าง บรรทัดฐานทางเสรีภาพของประชาชนให้ถูกต้องอย่างที่ควรจะเป็น เพื่อป้องกันความสูญเสีย ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะหนึ่งในผู้ชุมนุมอาจเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นลูก เป็นหลาน เป็นคนที่ท่านรู้จัก หรือเป็นคนที่ผมรู้จัก และเพื่อเสรีภาพของประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะฝั่งไหน ฝ่ายไหน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณนิพนธ์ คนขยัน ครับ
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขตเลือกตั้งที่ ๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ขออนุญาตนำเสนอที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอญัตติการสลายการชุมนุม พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยเฉพาะเพื่อนสมาชิกได้พูดรายละเอียด อย่างท่านขัตติยา สวัสดิผล ท่านก็เอารายละเอียดเพิ่มเติม ดังนั้นผมจะไปลงลึกและเสนอแนะอย่างนั้น แต่อยากสะท้อนให้เห็นว่าการแสดงออกทางสิทธิของนิสิต นักศึกษา เยาวชน หรือประชาชน ทั่วไป ในสิ่งที่มองแล้วว่าต้องการมาแสดงเพื่อเรียกร้องสิ่งที่ตัวเองต้องการตามแนวคิด อยากสะท้อนให้เห็นว่าในอดีตและที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าการกำกับ การสลายชุมนุม การควบคุมฝูงชนของเจ้าหน้าที่ โดยได้รับการบัญชามาจากผู้บังคับบัญชา อยากจะเรียนว่า วันนี้การแสดงออกตามสิทธิตามกฎหมายนั้น ก็อยากฝากว่าถ้าผู้มาชุมนุมเขาเรียกร้อง เพื่อแสดงออก ก็อยากมองเห็นว่าอย่าได้ทำเกินอำนาจการปฏิบัติในการควบคุมการชุมนุม พ.ร.บ. ต่าง ๆ ยกตัวอย่าง ในอดีตผมคนหนึ่งเคยได้มาร่วมชุมนุม การจะเคลื่อนออกมาจาก ต่างจังหวัด เราอยากมาแสดงความรู้สึกกับเพื่อน ๆ เพื่อสิ่งที่จะให้ชาติบ้านเมืองที่เราต้องการ ว่าต้องไปทางนี้ แต่ท้ายที่สุดโดนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ของบ้านเมืองสกัดกั้นตั้งด่านตั้งแต่ออก จากบ้าน ด่านตำรวจ ด่านอำเภอ สารพัดเรื่องที่จะสกัดกั้นไม่ให้พวกเรามาแสดงสิทธิ หรือว่า ลูกหลานเรามาแสดงสิทธิในการชุมนุม อันนี้ก็อยากฝากว่าในการแสดงออกทางที่ถูกต้อง ไม่ผิดกฎหมาย ก็ไม่อยากให้ใช้อำนาจตรงนี้นะครับ เป็นไปได้อยากส่งเสริม สนับสนุน ดูแล ความสงบ ขับเคลื่อนการจราจรถึงจะถูก ดังนั้นวันนี้เพื่อนสมาชิกที่ยื่นญัตติ ผมไม่อยากเห็น ประเทศไทย ไม่อยากเห็นนิสิต นักศึกษา ไม่อยากเห็นเยาวชน ลูก ๆ หลาน ๆ ของเรา พี่น้อง ประชาชนมาแสดงออก และท้ายที่สุดได้รับสิ่งที่ไม่ปรารถนา โดยเฉพาะขอย้อนอดีตนิดหนึ่ง ผมอยู่ในเหตุการณ์เหมือนกันเช่นนั้น ปี ๒๕๕๓ อดีตเป็นการชุมนุมเรียกร้อง แต่ท้ายที่สุดผู้บังคับใช้กฎหมาย รัฐบาลสั่งการ โดยเอาของจริงมา ไม่เอาแก๊สน้ำตา ไม่ได้เอากระสุนยางมายิง เอาของจริงมายิงกัน อย่างที่ เราเห็นวันนั้นมันสลดใจครับ บึงกาฬผมไป ๒ ศพ ไม่ได้ซ้ำเติมกัน ดังนั้นสิ่งที่ผ่านมา ทั้งในอดีตและปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ นี้เป็นบทเรียนชีวิตของเพื่อนร่วมชาติในการแสดงออก ที่ต้องการอยากให้ประเทศชาติบ้านเมืองเดินถูกทางตามที่ตัวเองคิด แต่ท้ายที่สุด ท่านประธานครับ อย่างที่ผมกราบเรียน วันนี้ขอให้เป็นครั้งสุดท้ายเถอะ เพื่อนร่วมชาติเรา จะได้แสดงออกตามสิทธิเสรีภาพ แต่ท่านจงมองเขาเหล่านั้นว่าเขาเป็นพลเมืองที่ ต้องการแสดง และเพื่อนที่จะมาแสดงในการชุมนุมก็ฝากเหมือนกัน เราต้องคำนึงถึงว่าสิทธิ ที่เราแสดงออกนั้นต้องอยู่ในกรอบกติกาของบ้านเมืองเหมือนกัน เพราะว่าหากเราทำ เกินกรอบของหน้าที่พลเมืองดี สิทธิในการชุมนุมมันก็ส่งผลกระทบไปให้มันบานปลายเช่นกัน ดังนั้นวันนี้ฝากรัฐบาล ฝาก ครม. ว่าในอนาคตของข้างหน้าเราจะทำอย่างไรจะให้การชุมนุม ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ จะทำอย่างไรชุมนุมให้มีความสงบ ปราศจากการปะทะ ปราศจากการใช้ อาวุธ ปราศจากการใช้กำลัง ก็ฝากวิงวอนในฐานะที่เราเป็นคนไทยด้วยกัน ในฐานะที่เรา ต้องการให้ประเทศไทยอย่างที่เราคิดว่าเรามองต่างมุม แต่เราสามารถมองได้ แต่การใช้ กำลังนั้นผมเห็นว่าไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะมาใช้กำลังในการสลายการชุมนุมจนมี การบาดเจ็บ ล้มตาย และเสียชีวิต ก็ขอฝากว่าวันนี้รัฐบาลหรือว่า ครม. ต้องได้ไตร่ตรอง คิดเรื่องการชุมนุมสิทธิของพี่น้องประชาชนในการแสดงออก ไม่อยากให้ซ้ำเติม บาดเจ็บ ล้มตายเหมือนในอดีต ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญคุณภัสริน รามวงศ์ ครับ
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางซื่อ เขตดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี พรรคก้าวไกล วันนี้ขอร่วมอภิปรายในญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษามาตรการการควบคุมฝูงชนและแสวงหาข้อเท็จจริงจากการสลายการชุมนุม ของเยาวชน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ ย้อนกลับไปปี ๒๕๖๓ มีเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เป็นเสมือนไอน้ำอันร้อนระอุที่กำลังรอการปะทุ นำไปสู่การเกิดการชุมนุมตลอดช่วงปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ จนถึงปี ๒๕๖๕ หลังจากที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่และดำเนินคดีอาญากับหัวหน้าพรรค และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคทั้ง ๑๖ คน เป็นเวลา ๑๐ ปี คนจำนวนมาก เห็นว่าคำวินิจฉัยนี้มีแรงจูงใจทางการเมือง ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวางต่อรัฐบาล ต่อมามีการชุมนุมเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินตั้งแต่ เดือนมีนาคม ปี ๒๕๖๓ ให้อำนาจล้นฟ้ากับหน่วยงานราชการในการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือในการระบาดของ COVID-19 ซึ่งพ่วงมากับมาตรการกำจัดสิทธิและเสรีภาพ ในการแสดงออก การใช้อำนาจ การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ ดำเนินคดีกับนักศึกษา นักกิจกรรม รวมทั้งแกนนำและผู้เข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบในเดือนตุลาคม รัฐให้ไฟเขียว กับตำรวจในการปราบปรามการชุมนุมโดยวิธีใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม ทั้งจากตำรวจ ควบคุมฝูงชน ทหาร และหน่วยสันติบาล จากหน่วยศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ มีการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓ จนถึง วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ มีประชาชนถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมและการแสดงความคิดเห็น ทางการเมืองไปแล้วอย่างน้อย ๑,๘๘๘ คน ในจำนวน ๑,๑๖๕ คดี ซึ่งในจำนวนนี้มีเยาวชน ที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปีเป็นถึง ๒๘๓ ราย และหากนับจำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในหลายคดีโดยไม่หักเลขออก จะพบว่ามีจำนวนผู้ชุมนุมถูกดำเนินคดีไปแล้วไม่น้อยกว่า ๓,๗๑๐ ครั้ง ในจำนวนนี้ เป็นความผิดในฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ไปกว่า ๒๓๖ คดี เป็นข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๖ อย่างน้อย ๑๒๗ คน เป็นข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กว่า ๑,๔๖๙ คน เป็นข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ กว่าอีก ๑๗๔ คดี ถือเป็นสถิติการดำเนินคดีทางการเมืองที่สูงที่สุด ในประวัติศาสตร์ประเทศไทย รัฐบาลถูกนานาประเทศแล้วก็องค์กรระหว่างประเทศ ประณามการใช้ความรุนแรงต่อประชาชน มองประชาชนเป็นภัยคุกคาม การกระทำผิด หลักสากล ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระสุนยาง การใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง จนส่งผลให้ประชาชน ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต จนมาถึงวินาทีนี้ที่ดิฉันกำลังอภิปรายอยู่ก็ยังไม่มีการให้ ความยุติธรรมกับประชาชนที่ถูกดำเนินคดี ดิฉันหวังว่าทุกท่านในสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ จะไม่ลืมว่ามีผู้ชุมนุมอย่างน้อย ๕๒๘ คนได้รับบาดเจ็บ หลายรายมีอาการบาดเจ็บสาหัสถึง ขั้นเสียชีวิตโดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตนั้นเป็นเยาวชนอายุเพียง ๑๕ ปี เป็นผลที่เกิดจากการสลาย การชุมนุมโดยใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งสิ้นค่ะ ยังไม่นับผลกระทบที่เกิดจากการใช้ แก๊สน้ำตา ถูกกระแทกด้วยของแข็ง ถูกยิงด้วยกระสุนไม่ทราบชนิด และยังทุพพลภาพอีก หลายคน ท่านประธานคะ ขอให้นึกถึงเสมอว่าตัวเลขนี้มีเลือดเนื้อเชื้อไขจริง ๆ เป็นชีวิต ของคนคนหนึ่ง และชีวิตเหล่านี้ยังไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐ ยังจะต้องมีภาระต่าง ๆ ที่พ่วงมาอีก ยิ่งไปกว่านั้นความรุนแรงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงกับร่างกายเท่านั้น ยังเกิดด้วยสภาพ จิตใจเด็ก เยาวชน ประชาชนที่ถูกดำเนินคดี เพราะเข้าร่วมการชุมนุมจะต้องพบกับ ความรุนแรงเหล่านี้ด้วย คดีทั้งหมดของเยาวชนที่ถูกกล่าวหาในการใช้สิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงออกการชุมนุมเพื่อต้องการเรียกร้องอนาคตที่ดีให้กับตัวเองและสังคมรอบข้าง ไม่ใช่อาชญากรรม แต่ระบบยุติธรรมกลับปฏิบัติกับคนเหล่านี้ราวกับอาชญากรคดีอุกฉกรรจ์ พวกเขาต้องรับมือกับกระบวนการต่าง ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย ที่สำคัญคือการสูญเสียโอกาสทางสังคมและโอกาสทางการศึกษา ต้องหลุดออกจากระบบ การศึกษาเพราะต้องรับมือกับกระบวนการยุติธรรมในลักษณะนี้ ส่วนหนึ่งต้องเผชิญกับ ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ต้องแยกออกจากครอบครัว เจอปัญหาด้านการเรียน ถูกกดดัน บางส่วนได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงจนเกิดอาการ PTSD หรือเกิดโรค ตื่นตระหนก Panic Disorder ตามมา ต้องใช้ชีวิตอยู่กับความหวาดระแวงเนื่องจาก เหตุการณ์การสลายการชุมนุม ถูกเจ้าหน้าที่รัฐติดตามตัว ไปเคาะประตูถึงบ้าน ถูกสอดแนม ผ่านโทรศัพท์ และดิฉันในฐานะผู้แทนราษฎรชาวดุสิต ชาวบางซื่อ ขอตั้งคำถามจากตัวอย่าง ที่ชัดเจนในพื้นที่ที่เกียกกาย ในวัด ในเขตบางซื่อ เขตดุสิต เป็นหน่วยที่พักของ คฝ. ซึ่งตั้งอยู่ ไม่ห่างจากเขตรัฐสภา สี่แยกเกียกกายนี่เองค่ะ ชาวบ้านต้องเผชิญกับความรู้สึกไม่ปลอดภัย จากการควบคุมของ คฝ. การตั้งลวดหนาม Container รถบรรจุน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สี แก๊สน้ำตา โฟม และการปิดถนนทั้งหลาย คนที่ตั้งเคยมาขออนุญาตล่วงหน้ากับชาวบ้าน ชาวดุสิต ชาวบางซื่อหรือไม่ หรือเคยแจ้งบอกกล่าวกับชาวบ้านผู้ที่ได้รับผลกระทบนี้หรือไม่ นี่คือความไม่ปกติของระบบการเมืองที่ใช้องคาพยพต่าง ๆ กระทำความรุนแรงต่อประชาชน ทั้งร่างกายและจิตใจ และเราไม่ควรปล่อยผ่านเสมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนท้องถนนในช่วงปี ที่ผ่านมา เราต้องไม่ทำเหมือนปลอกกระสุนยางกลาดเกลื่อนนั้นที่ไม่มีอยู่จริง ต้องไม่ปฏิเสธว่า เจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงกับประชาชน และต้องไม่ปล่อยให้ผู้กระทำสามารถลอยนวล พ้นผิดได้ ดิฉันเห็นชอบกับญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษามาตรการควบคุมฝูงชนและแสวงหาข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุมของเยาวชน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและคืน ความยุติธรรมให้กับประชาชน ขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปผมจะขอ เชิญคุณชลธิชา แจ้งเร็ว หลังจากคุณชลธิชาอภิปรายเสร็จแล้วผมจะขออนุญาตปิดการเสนอ ชื่อเพิ่มเติมนะครับ ถ้าเผื่อใครอยากจะอภิปรายก็มาเพิ่มเติมก่อนที่คุณชลธิชาจะอภิปราย เพราะผมเห็นว่าอภิปรายก็ไปในทิศทางเดียวกันแล้ว เดี๋ยวเราจะได้สรุปแล้วก็หาข้อยุติต่อไป เชิญคุณชลธิชาครับ
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ดิฉัน นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี พรรคก้าวไกล ขอ Slide ด้วยนะคะ
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
ครอบครัวเราขาดรอยยิ้มไปรอยหนึ่ง ดวงใจแม่ขาด ดวงใจแทบสลายแล้ว คดีนี้ควรที่จะกระจ่าง มันไม่ควรที่จะเงียบ ข้อความ ดังกล่าวนี้คือคำพูดของคุณแม่ต่อหน้าศพของน้องวาฤทธิ์ สมน้อย เยาวชนวัย ๑๕ ปีที่ถูกยิง ด้วยกระสุนจริงโดยบุคคลที่สาม ในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ คฝ. เข้าทำการควบคุม สถานการณ์และเข้าทำการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ปี ๒๕๖๔ ที่ผ่านมาค่ะ และในขณะเดียวกัน ๑ วันก่อนหน้านั้น คุณมานะ หงษ์ทอง ชายวัย ๖๔ ปี ขณะเดินทาง กลับบ้าน เขาได้ถูกลูกหลงจากกระสุนยางจากเจ้าหน้าที่ คฝ. ยิงเข้าที่ศีรษะจนเป็น ผู้ทุพพลภาพกว่าครึ่งปี ก่อนที่จะเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา โดยญาติ ได้เข้าไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สน. ดินแดง แต่อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มี การแจ้งกลับมาว่าได้งดการสอบสวนเพราะไม่ทราบตัวผู้กระทำความผิด นี่เป็นเพียงแค่ ๒ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ๒ ชีวิตที่สิ้นลมจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมในช่วงปี ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา การรอคอยความยุติธรรมให้กับคนรักที่สิ้นลมไปพร้อมกับความเคลือบแคลง ความสงสัย เป็นความทุกข์ทรมานที่เกินกว่าพวกเราในที่นี้จะเข้าใจความสูญเสียของญาติ ผู้เสียชีวิต โดยในวันนี้ดิฉันจะขอพูดถึง ๒ ประเด็น ที่จะเป็นหมุดหมายสำคัญของการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญในครั้งนี้
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ก็คือเรื่องของความรับผิด ความโปร่งใส แล้วก็การตรวจสอบได้ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สิ่งหนึ่งเลยที่ดิฉันมองว่าเป็นปัญหาอย่างมาก ๆ ก็คือประเด็นเรื่องของ การขาดการแจ้งแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ชัดเจน โดยที่ผ่านมาอย่างที่ เราทราบกันดีว่าในช่วงที่มีการชุมนุมตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๕ เป็นต้นมา เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้มีการแจ้งแผนการดูแลการชุมนุมล่วงหน้าว่าจะใช้อาวุธอะไรบ้าง กับผู้ชุมนุม หรือว่ามีแนวทางในการรับมือการชุมนุมอย่างไรบ้าง ไม่ได้มีการเปิดเผยว่าจะใช้ กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมพื้นที่การชุมนุมอย่างไร แล้วในขณะเดียวกันหลายครั้ง เราไม่สามารถที่จะระบุตัวตนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใช้กำลังในการสลายการชุมนุมได้ ซึ่งการไม่เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ยิ่งสร้างความไม่ไว้วางใจต่อกันระหว่างผู้ชุมนุม กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ คฝ. ว่าท้ายที่สุดแล้วการควบคุมการชุมนุมดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อที่จะมา รักษาความปลอดภัย หรือมาอำนวยความสะดวก หรือจะมาขัดขวาง หรือทำร้ายผู้ชุมนุม และเมื่อสิ้นสุดการชุมนุมแล้วเราก็พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้มีการรายงานผลการปฏิบัติงาน ให้สาธารณะทราบ โดยเฉพาะในประเทศไทยเองที่ไม่ได้มีกลไกในการให้ตั้งคณะกรรมการ ในการตรวจสอบ หรือการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ คฝ. จะต้องมารายงานผลการดำเนินงาน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสลายการชุมนุมต่อคณะกรรมการอิสระต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการอิสระในส่วนของฝ่ายรัฐบาลเอง ฝ่ายรัฐสภาเอง หรือแม้กระทั่งองค์กรอิสระ อย่าง กสม. เราพบว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีการชี้แจงหรือการตรวจสอบ ซึ่งดิฉันเองคาดหวัง เป็นอย่างมากว่าการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญในครั้งนี้จะเป็นหมุดหมายสำคัญครั้งหนึ่ง ที่เราจะช่วยกันเซตมาตรฐานในการตรวจสอบ แล้วก็สร้างความโปร่งใสในการใช้ความรุนแรง ของเจ้าหน้าที่รัฐต่อผู้ชุมนุมด้วยกันค่ะ
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ๆ ก็คือประเด็นเรื่องความรับผิดของ เจ้าหน้าที่ตำรวจ จาก Slide ด้านบนเราจะพบว่าทาง iLaw ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ได้มีการรวบรวมสถิติ ข้อมูลคดีการชุมนุมที่เกิดขึ้น เราพบว่าในคดีความหลาย ๆ คดี เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการควบคุมตัวผู้ชุมนุมที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมได้อย่างรวดเร็ว ในหลายครั้งเร็วสุดเท่าที่ดิฉันทราบมาก็คือ ๒ วัน สามารถจับกุมผู้ชุมนุมได้แล้ว แต่ว่า ส่วนกรณีของคดีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกฟ้องร้อง ถูกดำเนินคดีว่าสลายการชุมนุมโดยมิชอบเอง หรือว่าใช้กำลัง ใช้ความรุนแรงโดยมิชอบในการสลายการชุมนุม อย่างเช่น กรณีที่ตำรวจ ขับรถชนผู้ชุมนุมที่แยกดินแดง หรือว่ากรณีที่ตำรวจใช้ปืนลูกซองยิงประชาชนในระยะ ประชิดเอง คดีความต่าง ๆ เหล่านี้กลับไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด แต่เมื่อเทียบกับกรณีที่ ประชาชนถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากตำรวจ คดีความกลับรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันยิ่ง ทำให้พวกเราแล้วก็รวมถึงภาคประชาชนหลาย ๆ คนกังวลเป็นอย่างมากถึงความรับผิด ของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี ๒๕๖๓ เป็นต้นมา ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินร้ายแรง หรือ พ.ร.ก. ฉุกเฉินขึ้นมาเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด แต่ในขณะเดียวกันรัฐเองก็ใช้เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการควบคุมการชุมนุมด้วย ซึ่งอันนี้ ก็สร้างความกังวลถึงเรื่องของความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะไปส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรม ลอยนวลพ้นผิด
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ที่ดิฉันอยากพูดถึงก็คือเรื่องของการสลายการชุมนุมที่ขัดต่อ หลักการสากล ประเด็นแรกคือเรื่องของการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเวลาสลายการชุมนุม ขาดการพิจารณาถึงหลักการหรือแกนหลักในการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม ซึ่งในวันนี้ ดิฉันขอยกตัวอย่างหลักการ Three-prong Test ซึ่งในวารสารของอาจารย์พัชร์ นิยมศิลป ในวารสารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการพูดถึงหลักการนี้ ซึ่งเป็นหลักการที่คำนึง ถึงว่าทุกครั้งที่รัฐจะจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม รัฐจะต้องอธิบายว่าการจำกัดเสรีภาพ ในครั้งนั้นได้มีการทดสอบตามหลักการ Three-prong Test หรือไม่ ประเด็นแรกของ การตรวจสอบในขั้นแรกก็คือเรื่องของมีการใช้กฎหมาย หรือว่ามีกฎหมายรับรอง มี พ.ร.บ. รับรองที่จะให้อำนาจในการจำกัดเสรีภาพนั้น ๆ หรือไม่ อันนี้เป็นขั้นแรกที่จะต้องตรวจสอบ ขั้นที่ ๒ ก็คือเรื่องของการจำกัดเสรีภาพนั้น มีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และขั้นที่ ๓ คือการจำกัดเสรีภาพนั้น ๆ มีความจำเป็น มีความเหมาะสมในสังคมประชาธิปไตย หรือไม่ หรือว่ามีมาตรการอื่นอย่างไรที่จะสามารถทดแทนได้
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง ดิฉันอยากจะพูดถึงก็คือเรื่องของการที่เจ้าหน้าที่ คฝ. ใช้อาวุธผิดหลักการสากลในการทำร้ายผู้ชุมนุม ซึ่งในการนี้ดิฉันขอพูดแบบเร็ว ๆ นะคะ ขออนุญาตพูดถึง Slide ถัดไปเลย จากข้อมูลของภาคประชาสังคม ได้มีการทำข้อมูลสถิติ ออกมาว่าในกรณีที่ คฝ. ใช้กระสุนยางยิงผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรง หลายครั้งเวลาเรา พูดถึงการใช้กระสุนยาง โดยปกติแล้วตามหลักการสากลกระสุนยางเขาให้ยิงที่ส่วนล่าง ของร่างกาย แต่ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงการชุมนุมปี ๒๕๖๓ เป็นต้นมา เราพบว่า คฝ. ใช้กระสุนยางยิงส่วนบนของร่างกายของผู้ชุมนุม แล้วน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้หลายคน เกิดพิการ หรือว่าหลายคนสูญเสียดวงตา อย่างน้อย ๓ คนที่สูญเสียดวงตาไปแล้ว
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
อีกส่วนหนึ่ง คือการใช้กระบองของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งปกติแล้วการใช้ กระบองของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็มีเกณฑ์ในการใช้ คือใช้กับผู้ที่ใช้ความรุนแรงเท่านั้น หรือว่า ตีที่แขนหรือขา แต่ไม่ให้ตีที่ศีรษะหรือคอ แต่จากภาพที่เห็นหลายครั้งมากที่ คฝ. รุมผู้ที่ชุมนุม ถึงแม้ว่าเขาเองจะไม่ได้มีการพกพาอาวุธ หรือว่าไม่ได้มีพฤติกรรมของการใช้ความรุนแรง แต่อย่างใด สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นแล้วก็สะท้อนให้เห็นถึงการที่ คฝ. เองได้ใช้ กลไก ใช้มาตรการในการควบคุมฝูงชนที่ขัดกับหลักมาตรฐานสากล ดิฉันจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ณ วันนี้เราควรที่จะต้องมีการสร้างมาตรฐานร่วมกันในการใช้เสรีภาพในการชุมนุม โดยสงบของประชาชนให้มีความปลอดภัยเช่นเดียวกัน และในขณะเดียวกันคือเว้นวัฒนธรรม ลอยนวลพ้นผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณชุติพงศ์ พิภพภิญโญ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง พรรคก้าวไกล อำเภอบ้านค่าย อำเภอปลวกแดง อำเภอวังจันทร์ วันนี้ขอร่วมอภิปรายญัตติสนับสนุน ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษามาตรการควบคุมฝูงชนและแสวงหา ข้อเท็จจริงและการสลายการชุมนุมอันเนื่องมาจากเหตุการณ์การชุมนุมของเยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชนตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ ท่านประธานครับ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ เป็นต้นมา การชุมนุมของพี่น้องประชาชนเพื่อนำเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ณ ขณะนั้น นำมาซึ่งการปะทะ ปราบปราม จับกุม คุมขัง ฟ้องคดีความโดยคู่กรณี ก็คือรัฐต่อพี่น้อง ประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เอาเฉพาะในเวลาช่วงที่เป็นข้อสรุปจากข้อมูล โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รวบรวมไว้ ตลอดการชุมนุมตั้งแต่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓ จนมาถึงเดือนกันยายน ๒๕๖๖ มียอดรวมผู้ถูกดำเนินคดีกว่า ๑,๙๒๘ คน รวมเป็น ๑,๒๔๙ คดี สถิติในการดำเนินคดีซึ่งเป็นภาระของพี่น้องประชาชนในการพิสูจน์สู้คดี ต่อการเรียกร้องต่อรัฐบาล ซึ่งมีคู่กรณีโดยรัฐ มีข้อกล่าวหาจำนวนมาก ข้อกล่าวหากรณี กฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ มีอย่างน้อย ๒๕๘ คน จำนวน ๒๘๐ คดี ข้อหายุยงปลุกปั่น ตามมาตรา ๑๑๖ มีผู้ถูกกล่าวหา ๑๓๐ คน จำนวน ๔๑ คดี ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นจำนวนมากที่สุดอย่างน้อย ๑,๔๖๙ คน ในจำนวน ๖๖๓ คดี นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี ๒๕๖๓ ตาม พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย ๑๗๗ คน จำนวน ๘๘ คดี ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย ๑๘๖ คน จำนวน ๒๐๕ คดี ข้อหา ละเมิดอำนาจศาลอย่างน้อย ๓๐ กว่าคน ใน ๒๐ คดี และดูหมิ่นศาลอย่างน้อย ๓๔ คน ใน ๑๐ คดี ในจำนวน ๑,๒๔๙ คดีดังกล่าว มี ๔๒๐ คดีที่สิ้นสุดไปแล้ว เท่ากับว่ายังมีอีก อย่างน้อย ๘๒๐ คดี ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการตามกระบวนการชั้นต่าง ๆ จำนวน คดีความที่ปรากฏดังที่ผมกล่าวไว้ว่าเป็นภาระของผู้ถูกดำเนินคดีที่ต้องต่อสู้คดี เสียเงิน เสียทอง เสียทรัพย์สิน เสียเวลา เสียอิสรภาพ สูญเสียอวัยวะ บางคนหนักถึงขั้นเสียชีวิต ในการชุมนุมเรียกร้องสิทธิของพี่น้องประชาชนโดยรัฐ มาย้อนนับกันดูว่าในคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน คดีเหล่านี้เกิดขึ้นจากการชุมนุมทั้งหมดอย่างน้อย ๓,๘๒๑ ครั้ง ตลอดปี ๒๕๖๓-๒๕๖๕ มีการสลายการชุมนุมไปทั้งหมด ๗๔ ครั้ง โดยเฉพาะในปี ๒๕๖๔ สลายการชุมนุมไปถึง ๖๐ ครั้ง ผู้บาดเจ็บมากกว่า ๖๐๐ คน เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บาดเจ็บ ไป ๑๔๖ คน มีผู้เสียชีวิต ๒ คน ระหว่างการชุมนุมและการสลายการชุมนุม คนหนึ่งเป็น เยาวชนหน้า สน. ดินแดง อีกคนเป็นตำรวจที่หัวใจล้มเหลวระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ มีอีก ๒ รายเสียชีวิตหลังจากรักษาในโรงพยาบาลมาอย่างยาวนาน โดยไม่มีข้อมูลพบว่า มีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนโดยรัฐซึ่งเป็นคู่คดีแต่อย่างไร โดยในตัวเลขผู้ถูกดำเนินคดี ๑,๙๒๘ คนนั้น มีการถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ๒๙๑ ครั้ง โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่โดนสอบสวนและมีการประกาศความผิดจากการปฏิบัติ หน้าที่ทั้งหมด ไม่พบข้อมูล คนสั่งการให้มีการทำการสลายการชุมนุมและปราบปรามพี่น้อง ประชาชนถูกดำเนินการสอบสวนหรือฟ้องคดีกี่ครั้ง ไม่พบข้อมูล จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด ตั้งแต่มีการชุมนุมทางการเมืองมาตลอดกี่ปีต่อกี่ปี รัฐไทยทำอะไรกับประชาชนมากี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ไม่เคยต้องถูกตัดสินว่ามีความผิดเลย ไม่เคยมีการถอดบทเรียนว่ามาตรการใดเป็นมาตรการ ที่ยอมรับได้ มาตรการใดที่เกินกว่าเหตุ และที่สำคัญ ถ้าเกินกว่าเหตุแล้วก็ไม่เห็นต้องรับผล อะไรแม้จะมีมาตรฐานสากลรองรับ ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการสั่งการ ที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาด โดยใช้กฎหมายที่เอื้อให้รัฐกระทำความรุนแรงต่อประชาชน พอสั่งการมาโดยกฎหมายที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ผู้รับคำสั่งก็ปฏิบัติตามโดยใช้ดุลยพินิจประกอบและมีกฎหมายปกป้องตัวเอง ผลที่ตามมา ก็ยิ่งก่อความผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก และพอมีการตั้งคำถามจากพี่น้องประชาชนเข้าไปถึง การสลายการชุมนุมที่ผิดพลาดและผิดหลักสากลก็ไปสอบกันเอง ไม่เคยต้องตอบอะไร กับสังคม เห็นว่ามีการแถลงข่าวปกป้องกันเองโดยตำรวจอยู่เรื่อย ๆ ตามกฎหมาย แต่ก็ไม่เห็น มีใครต้องรับผิดชอบสักที ดังนั้นตามที่กล่าวมาทั้งหมดจึงเกิดเป็นการสั่งการและปฏิบัติงาน โดยไม่ต้องมีข้อยั้งคิด เพราะไม่เคยมีกรณีศึกษาที่จะทำให้เกิดความยับยั้งชั่งใจโดยเจ้าหน้าที่ ที่สั่งการและปฏิบัติหน้าที่ ผมมี Case ตัวอย่างที่ผมพบมาด้วยตัวเอง คือการลงพื้นที่ในช่วง ของการสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมที่อายุน้อยที่สุด อันนี้ Off Record ผมพบมาด้วยตัวเอง เป็นเด็กเยาวชนอายุ ๑๑ ปีถูกจับมาที่ สน. พหลโยธิน ตอนเวลาตีหนึ่งกว่า ๆ ผมเดินทาง ไปครั้งนั้นแล้วสอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจและการจับกุมตอนนั้น ก็ได้รับทราบว่าเด็กอยู่ในที่ เกิดเหตุก็เลยถูกจับมาด้วย ผลสุดท้ายไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาอะไร ผมต้องไปตามผู้ปกครอง ที่จังหวัดนนทบุรีมารับ และส่งเด็กกลับไปตอนตีสาม โดยที่เรื่องนี้ก็อยู่นอกเหนือจากรายงาน ทั้งหมดที่มี คำถามคือเราจะทำอย่างไรกับ Case พวกนี้ที่ยังไม่เคยมีการบันทึกลงไป ในความบกพร่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือบาง Case ในวันเดียวกันนั้น พนักงานบริษัทเอกชนเลิกงานเดินทางกลับมาจากบริษัทกำลังเดินทางกลับบ้าน ขี่มอเตอร์ไซค์มาโดนตำรวจจับด้วย โทรศัพท์ไปให้บริษัทยืนยันว่ากำลังเลิกงานกลับบ้าน ปรากฏว่าตำรวจไม่ฟังแล้วก็จับมาฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คำถามแบบนี้มันมีอีกกี่ Case อันนี้ คือคืนเดียวที่ผมเคยไปด้วยตัวเองแล้วก็รับทราบมา ถ้าเกิดเราไม่ศึกษาคำถามนี้เราจะทราบ ไหมว่ามันมีการปฏิบัติการที่ผิดจากหลักการแล้วก็ไม่ต้องลง Record ไว้อีกกี่ Case ในส่วน ของตำรวจเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติหน้าที่เองก็มีปัญหา หลาย ๆ ครั้งเราคงจะเห็นว่าเจ้าหน้าที่ ต่างจังหวัดที่มาประจำการเพราะถูกเกณฑ์มาเพื่อการควบคุมการชุมนุม หลาย ๆ คนต้อง นอนกองกันอยู่ในที่ที่ไม่ได้เหมาะสม ไม่ได้อาบน้ำ เบี้ยเลี้ยงเองก็มีคำถาม อาหารเองเราก็เห็น ว่าไม่ได้ถูกสุขลักษณะ ไม่รู้ว่าตรงตามงบประมาณที่มีการเบิกจ่ายหรือไม่ ในพื้นที่เองพอไม่มี ตำรวจ ถ้าเกิดยังโดนเกณฑ์อยู่เรื่อย ๆ อย่างนั้น ทางผู้บังคับบัญชาระดับพื้นที่ก็มีการพูดว่า แล้วจะทำอย่างไรต่อไป มีเหตุผมไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานแล้ว งบประมาณในการชุมนุมเอง ตอนนี้ก็ยังมีคำถามว่าใช้ไปกับอะไร เท่าไร เทียบราคาโล่กระบองใน Lazada ก็เบิกจ่ายกัน แพงกว่าที่ซื้อ Online ด้วยซ้ำอีก คำถามคือมีการคอร์รัปชันมากน้อยแค่ไหนในการควบคุม ฝูงชน โดยการชุมนุมปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ และถึงที่สุดผู้สั่งการเองไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ตอนนี้ทำอะไรอยู่ครับ เห็นลง Social Media ว่าไปกินไอศกรีมอยู่เมืองนอกสบายใจเฉิบ ตอนนี้ผมเองก็ไม่รู้ว่าเขาได้สำนึกผิดต่อการสั่งการที่ตัวเองได้ทำให้เกิดคดีความตั้งหลายพันคดี แล้วทำให้เกิดข้อครหาจากสังคมต่อการควบคุมฝูงชนมากน้อยเพียงใด นี่ไม่ต้องไปว่าถึง ตัวผู้สั่งการคนนี้ ที่ถ้าเกิดลากคดีไปนี่ยาวไปถึงเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมฝูงชน จนมีการสลายการชุมนุม ปี ๒๕๕๓ คนเสื้อแดงเสียชีวิตไปเป็นร้อย บาดเจ็บไปตั้งกี่พัน ดังนั้นจากที่กล่าวมาทั้งหมดหากจะเริ่มการตรวจสอบข้อมูลเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการใด ๆ ต่อพี่น้องประชาชน ผมก็อยากให้เราเริ่มต้นกันที่สภาชุดนี้จะได้มาร่วมกันชำระสะสาง วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดที่สืบต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน รวบรวมข้อมูลศึกษาข้อผิดพลาด ของเจ้าหน้าที่รัฐในการกระทำรุนแรงต่อประชาชน โดยอ้างข้อหาเรื่องความมั่นคงต่าง ๆ นานาโดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ร่วมกันสร้างวัฒนธรรม สร้างความยั้งคิดต่อการสั่งการใด ๆ ที่จะมีความรุนแรงต่อพี่น้องประชาชน ต่อเจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับเสียที ดังนั้นผมจึงขอสนับสนุน การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาข้อมูลทั้งหมดตลอดปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ ในการแก้ปัญหาและวางมาตรฐานต่อไปในอนาคต ขอบคุณมากครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ คุณวีรนันท์ ฮวดศรี ครับ
นายวีรนันท์ ฮวดศรี ขอนแก่น ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม วีรนันท์ ฮวดศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ ๑ พรรคก้าวไกล ตัวแทนพี่น้องชาวตำบลในเมือง ตำบลเมืองเก่า ตำบลพระลับ วันนี้ขอร่วม อภิปรายสนับสนุนญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา มาตรการควบคุมฝูงชนและแสวงหาข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุม อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ การชุมนุมของเยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๕ ดังต่อไปนี้ ท่านประธานครับ ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ที่มีการออกมาชุมนุมเรียกร้อง ทางการเมืองของพี่น้องประชาชนหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา นิสิต เยาวชน รวมถึง พี่น้องประชาชน ซึ่งออกมาชุมนุมเรียกร้องตามสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองตามธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง แต่ปรากฏว่าในการชุมนุม มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุม มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระบองของ คฝ. ฟาด หรือผลกระทบต่อระบบ ทางเดินหายใจหรือผิวหนังจากการที่มีส่วนผสมของสารเคมีในรถฉีดน้ำแรงดันสูง หรือจาก แก๊สน้ำตา รวมถึงการถูกทำร้ายร่างกายจากการสลายการชุมนุม ท่านประธานครับ ผมเห็นหลายเหตุการณ์ต่อหน้าต่อตา ซึ่งจากเหตุการณ์ที่ผมประสบด้วยตัวเองนั้นทำให้รู้สึกว่า การกระทำดังกล่าวของตำรวจควบคุมฝูงชนหรือที่เราเรียกว่า คฝ. นั้นเกินกว่าเหตุ ใช้ความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุและไม่เป็นไปตามหลักสากล และขัดกับหลักการตามสิทธิมนุษยชน ที่ให้การรับรองไว้ ทำราวกับว่าผู้ชุมนุมหรือผู้ออกมาใช้สิทธิในการชุมนุมเรียกร้องต่าง ๆ นั้นไม่ใช่เพื่อนมนุษย์ ซึ่งผมมีข้อสังเกตต่อหลายเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของ คฝ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ
นายวีรนันท์ ฮวดศรี ขอนแก่น ต้นฉบับ
ประการแรก หลักสูตรการฝึกอบรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต่อการฝึกอบรมของชุด คฝ. นั้น หลักสูตรมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และหลักสูตร ดังกล่าวนั้นได้รับการรับรองจากสากลหรือไม่ อย่างไร
นายวีรนันท์ ฮวดศรี ขอนแก่น ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ มีการตรวจสอบและประเมินผลของเจ้าหน้าที่ คฝ. ที่ผ่าน การฝึกอบรมหรือไม่ว่ามีสภาพจิตใจพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมฝูงชนหรือไม่ อย่างไร และมีการ Check คฝ. เพราะว่าในการปฏิบัติหน้าที่จริงนั้น คฝ. มาจากทั่วประเทศ เป็นการสนธิกำลัง ไม่ว่าจากนครบาล จากตำรวจภูธรจังหวัด จากตำรวจภูธรภาค ว่ามีมาตรฐานเดียวกันหรือไม่ในการควบคุมฝูงชน
นายวีรนันท์ ฮวดศรี ขอนแก่น ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมฝูงชน ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีที่ผสม ในน้ำที่ใช้ฉีดหรือว่าใช้สลายผู้ชุมนุม รวมถึงแก๊สน้ำตา หรือแม้กระทั่งกระสุนยาง ได้มี การตรวจสอบคุณภาพหรือไม่ อย่างไร ว่าสิ่งของเหล่านี้นั้นหมดอายุแล้วหรือยัง มีคุณภาพ หรือไม่ เพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายของผู้ที่เข้าร่วมชุมนุม
นายวีรนันท์ ฮวดศรี ขอนแก่น ต้นฉบับ
ประการต่อมา ในทางปฏิบัติการสลายการชุมนุมในหลายครั้งต่อผู้ร่วมชุมนุมนั้น ไม่ได้เป็นไปตามหลักสากล มีการสลายการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ เช่น ใช้กระสุนยางยิงผู้ชุมนุมในระยะกระชั้นชิดหรือยิงใส่ตัวโดยตรง ดังที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปราย ไปแล้ว เท่าที่ผมมีข้อมูล มีผู้สูญเสียดวงตาไม่น้อยกว่า ๓ คน จากการสลายการชุมนุม และมี ผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก หากท่านใดที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเหล่านี้ได้ทาง ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เป็นที่น่าสังเกตว่าตลอดการชุมนุมเรียกร้องของผู้ที่ ออกมาใช้สิทธิชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ จนถึงปี ๒๕๖๕ นั้น มีการดำเนินคดีกับ ผู้ร่วมชุมนุม แกนนำ นิสิต นักศึกษา เยาวชน และประชาชนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ หลายคนต้องมีภาระทางคดีจนถึงทุกวันนี้ หลายคนหมดเนื้อหมดตัวกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ในระหว่างการต่อสู้คดี เพื่อที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองว่าตัวเองนั้นใช้สิทธิ และเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง ซึ่งผู้ร่วมชุมนุมมีเพียงแค่การแสดงออกและความคิด ที่เห็นต่างจากฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้น แต่รัฐบาลกลับทำกับผู้ร่วมชุมนุมราวกับว่าพวกเขา เหล่านั้นเป็นอาชญากรร้ายแรง ทั้งที่จริงแล้วพี่น้องประชาชนที่ออกมาร่วมชุมนุม ทุกภาคส่วนนั้นมีความปรารถนาดีต่อประเทศ อยากให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย แต่ในทาง ตรงกันข้ามเรายังไม่มีมาตรการใด ๆ เลยที่จะดำเนินคดีหรือควบคุมการใช้อำนาจ หรือให้ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมฝูงชนที่ดำเนินการนอกเหนือกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติตาม ขั้นตอนหลักสากลในการสลายการชุมนุม หรือใช้ความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุกับผู้ร่วมชุมนุม นอกจากนี้เรายังไม่เห็นท่าทีจากทางรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะแสวงหาข้อเท็จจริง ในการสลายการชุมนุมที่เกิดขึ้นระหว่างปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ เลย นอกจากการดำเนินคดี แบบเดินหน้า ดำเนินคดีเอาเป็นเอาตายกับผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองครับ
นายวีรนันท์ ฮวดศรี ขอนแก่น ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ผมขอสนับสนุนญัตตินี้เพื่อทำให้ความจริงปรากฏ สรุปบทเรียน เพื่อทำความเข้าใจ รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านและเพียงพอที่จะชี้ได้ว่าใครถูก ใครผิด และเป็นข้อมูลที่ทุกฝ่ายยอมรับ เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีที่พึ่งและไว้วางใจ ในการแสวงหาข้อเท็จจริงได้ ผมจึงสนับสนุนในการดำเนินการตั้งคณะกรรมาธิการคณะนี้ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณจำลอง ภูนวนทา ครับ
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม จำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ เขต ๓ ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานที่ให้โอกาสผม ได้แสดงความคิดเห็น กระผมเป็นหนึ่งในผู้ชุมนุมหลายครั้งที่ผ่านมา การชุมนุมเป็นสิทธิ ตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชนที่มีสิทธิแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตัวเอง แต่การชุมนุมนั้นจะต้องปราศจากอาวุธ การชุมนุมหลายครั้ง ผมเป็นคนหนึ่งที่เริ่มต้น ในการชุมนุมสมัยราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำนานมาแล้ว ก็ไม่มีการสลายการชุมนุมนะครับ ปิดถนนอย่างสงบ แต่ว่าการชุมนุมหลายครั้งที่ผ่านมาผมมีส่วนในการไปสังเกตการณ์ ผู้ชุมนุมเองก็มักจะใช้ความรุนแรง แต่ฝ่ายราชการก็เกินกว่าเหตุ ผมก็คิดอยู่ตลอดเวลาว่า เราจะหาแนวทางที่มันบรรจบกันแบบ Happy ending คือมีความสุขทั้ง ๒ ฝ่ายได้อย่างไร เช่น ผู้ต้องการแสดงออกในการชุมนุมก็ชุมนุมแบบสงบตามสิทธิที่กฎหมายให้ในกรอบ อย่าละเมิดสิทธิของคนอื่น เพราะการชุมนุมที่สงบไม่ละเมิดสิทธิคนอื่นผมว่าเป็นสิทธิอันควร สนับสนุนและกระทำได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมตามแนวทางของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การชุมนุมหลายจุดหลายแห่ง ผมเป็นคนที่ติดตามตลอดและชอบขับรถไปดู บางครั้งใช้ ความรุนแรง ยั่วยุ รถติด ทำให้ประชาชนสัญจรไปมาเดือดร้อน อย่างนี้ผมก็ไม่เห็นด้วย ผมไม่อยากกล่าวหาว่ากลุ่มใดเป็นหลักนะครับ ท่านประธานก็พอจะทราบเหมือนตัวกระผมเอง อย่างดินแดงผมว่ามันรุนแรงจริงไหม ผมก็ไปดู การชุมนุมเมื่อปี ๒๕๕๓ ปี ๒๕๕๔ ผมก็อยู่ใน เหตุการณ์ การชุมนุมก่อนการสลายการชุมนุม ก่อนที่ผู้อภิปรายได้กล่าวถึงว่าไปกินไอศกรีม ผมพอเข้าใจได้ว่าเป็นใคร มันเกิดเหตุการณ์แบบไหน อย่างไร ถึงได้มีการสลายแบบนั้น การสลายการชุมนุมมีจากเบาไปหาหนัก ผมก็ไม่เห็นด้วยในการใช้กระสุนจริง ผมไม่เห็นด้วย ด้วยซ้ำ แม้แต่การใช้กระสุนยางก็ไม่เห็นด้วย เพราะว่าการใช้กระสุนยางหรือวัตถุใด ๆ ต่อให้ นุ่มแค่ไหนถ้าถูกยิงกระบอกปืนไปกระทบกับสิ่งมีชีวิตย่อมทำให้เกิดการบาดเจ็บ การใช้กระบอง เข้าสลายการชุมนุมเป็นอาวุธหนึ่งที่ทำให้คนล้มหายตายจากได้ทำให้คนเสียชีวิตได้ ผมก็ ไม่เห็นด้วย แต่ไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยกับการที่ควบคุมฝูงชนเข้าสลายการชุมนุมถ้าหากการชุมนุมนั้น ละเมิดสิทธิของคนอื่นตามรัฐธรรมนูญ ยกตัวอย่างที่ผมกราบเรียนท่านประธาน ก็คือว่า สิทธิในการสัญจรตามสิทธิของพี่น้องประชาชนในการใช้รถใช้ถนน สิทธิในการชุมนุม แบบสงบต้องไม่ปิดกั้นสิทธิของคนอื่น ไม่ละเมิดสิทธิของคนอื่น อย่างเช่นผมผ่านดินแดง ผมก็หงุดหงิดเหมือนกันเวลาเจอ Mob เพราะว่ากว่าจะผ่านไปได้ต้องรอแล้วก็ไม่รู้ว่าเมื่อไร ความรุนแรงจะเกิด เพราะติดตามข่าวก็เกิดความรุนแรงตลอด ผมสังเกตและเฝ้าติดตาม ตลอดเวลาว่าถ้าการชุมนุมอย่างสงบ ไม่ละเมิดสิทธิคนอื่น ไม่กระทำผิดกฎหมายอาญา ก็ย่อมไม่มีการจับกุม เพราะฉะนั้นหลายครั้งการชุมนุม หลายสีด้วยซ้ำ เกือบทุกคนที่มี การชุมนุมแล้วไปละเมิดสิทธิคนอื่นก็ถูกดำเนินคดี ล่าสุดก็มีการอายัดทรัพย์ของผู้ชุมนุม เพราะฉะนั้นสรุปนะครับท่านประธาน เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ถ้าหากไม่ปฏิบัติหน้าที่ก็จะ ถูกละเว้นตามกฎหมาย มาตรา ๑๕๗ เพราะฉะนั้นเขาก็มีสิทธิที่จะทำหน้าที่ แต่ถ้าเกินเลย ผมก็ไม่เห็นด้วยครับท่านประธาน ถ้ามีการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรงทำให้ประชาชน บาดเจ็บ ผมก็ไม่เห็นด้วย
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย ถ้าหากการชุมนุมนั้นละเมิดสิทธิอย่างที่ผมกราบเรียน ท่านประธานผมก็ไม่เห็นด้วย แล้วการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมผมก็ไม่เห็นด้วย เพราะว่า ผมคนหนึ่งละครับที่ชอบการชุมนุม แต่ว่าผมไม่ชอบการชุมนุมแบบใช้ความรุนแรง ผมยังไม่ เห็นมีการสลายการชุมนุมในครั้งใดที่มีการชุมนุมแบบสงบ สันติจากฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ของรัฐ แต่ผมก็พบหากมีการยั่วยุ และเกิดจากการใช้ความรุนแรงของฝ่ายชุมนุมเอง แล้วเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเข้าสลาย
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผมสรุปในทัศนคติของผม ผมคิดว่าคณะกรรมาธิการสามัญ ประจำสภาซึ่งตอนนี้มาจากการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง แล้วมา ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา มีวุฒิภาวะ มีอำนาจในการตรวจสอบ สอบสวน ติดตามการทำงานของฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองแล้วรายงานต่อสภาได้ เพราะฉะนั้นผมไม่เห็นด้วย กับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ครับ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ทนายแจม ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันมาอภิปรายเพื่อสนับสนุนญัตติของคุณปิยรัฐ เรื่อง ขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษามาตรการควบคุมฝูงชน และแสวงหาข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุม อันเนื่องมาจากเหตุการณ์การชุมนุมของเยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๕
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ดิฉันอยากกราบเรียนถึงเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่กำลังอยู่ใน ที่นี้ว่าจริง ๆ แล้วเหตุการณ์การชุมนุมเมื่อปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ มีจำนวนหลายครั้งมาก ๆ และไม่ใช่ทุกครั้งที่มีการปะทะกันเสมอไป เพื่อนสมาชิกอาจจะได้ไปตามชุมนุมแต่อาจจะ ไม่ได้ทุกครั้ง แต่ดิฉันเองติดตามแทบทุกครั้งจริง ๆ แล้วพบว่าหลายครั้งที่ Mob หรือว่า ผู้ชุมนุมมีการตอบโต้ ส่วนหนึ่งเองก็มาจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือตำรวจควบคุมฝูงชน มีการปรากฏกาย การปรากฏกายของตำรวจควบคุมฝูงชนเป็นหนึ่งในขั้นตอนการสลาย การชุมนุมแล้ว อันนี้ตามหลักการทั่ว ๆ ไปสามารถเปิดใน Google ได้ การปรากฏกาย ด้วยเครื่องแบบและอาวุธครบมือคือการเริ่มต้นของการสลายการชุมนุมแล้วเป็นหนึ่ง ในขั้นตอนนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นหลายครั้งที่มีการชุมนุมถ้าเราจำกันได้ เราจะมีคำพูดเล่น ๆ คำหนึ่งว่าถ้าไม่มีตำรวจมาตั้งเดี๋ยว Mob ก็จะสงบแล้วก็แยกย้ายกันไป แต่ทุกครั้งที่มี ตำรวจควบคุมฝูงชนแต่งกาย ใส่หมวก มีกระบอง มีโล่ ตั้งทีไรเดี๋ยวมีเหตุวุ่นวายทุกที อันนี้ ก็ไม่ทราบว่าทุกครั้งที่มีการสลายการชุมนุมหรือมีการปรากฏกายเพราะเหตุอะไร และนี่ก็เป็น อีกเหตุผลหนึ่งเหมือนกันที่เราจำเป็นจะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ เพราะเราเองก็ยังเถียงกันเรื่องนี้อยู่เลยนะคะท่านจำลอง เมื่อสักครู่ที่ท่านพูดว่าไม่เห็นด้วย กับการตั้ง ดิฉันกลับมองว่าการที่เรามีความคิดเห็นแตกต่างกันแบบนี้สมควรที่เราจะต้อง มานั่งตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อจะดูว่าข้อเท็จจริง จริง ๆ แล้วมันเป็นอย่างไร อาจจะมี ข้อเท็จจริงมากไปกว่าที่เราเห็นจากข่าวก็ได้ ดิฉันเองก็เป็นทนายความให้กับผู้ชุมนุม ในหลาย ๆ คดี หลาย ๆ ครั้งที่เราก็เห็นว่าในภาพข่าวกับสิ่งที่เราเจอในห้องพิจารณา หรือว่าในห้องสอบสวนมันแตกต่างกัน ไม่รู้ท่านยังจำได้หรือไม่ มี ๑ คดี คดีที่เราเรียกกันตาม Hashtag ของ Twitter ว่าตำรวจกระทืบหมอ Case นั้นมีความพยายามสร้างข้อมูลข่าวสารของฝ่ายรัฐเยอะมากว่าเหตุการณ์นั้นเกิดจาก ผู้ที่ถูกตำรวจ คฝ. กระทืบไปปาระเบิดก่อน มีการพยายามตัดต่อ Clip ให้คนเข้าใจว่า น้องที่เป็นอาสาแพทย์คนนั้นมีการไปปาระเบิดก่อนถึงโดนกระทืบโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ คฝ. แต่เมื่อดิฉันได้เข้าไปสอบถาม ได้เข้าไปในบริเวณห้องสอบสวน ได้พูดคุย จริง ๆ แล้ว เป็นการกระทืบผิดคนค่ะ สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไรรู้ไหมคะ สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ บางนาย ๑-๓ นายโทรศัพท์มาและขอว่าอย่าเอาเรื่องเขาเลย แล้วเดี๋ยวอย่างไรเราค่อยว่ากัน ทีหลังนั่นนี่ แล้วสุดท้ายอาสาแพทย์คนนี้ไม่ยอม เรื่องอะไรจะยอมใช่ไหมคะ เราโดนกระทืบ โดยที่เราไม่ได้ทำอะไรผิดด้วยซ้ำ เราเป็นอาสาแพทย์ด้วยซ้ำ สุดท้ายถูกตั้งข้อหา ดำเนินคดีด้วยเพราะว่าเหตุที่ไม่ยอม Case นี้ลองติดตามกันได้เคยมีข่าวอยู่ ดิฉันก็เป็นหนึ่ง ในผู้ให้ข้อมูลเรื่องนี้ด้วย นี่เป็นอีก ๑ ข้อมูลที่ไม่ตรงความเป็นจริงที่เราต้องค้นหาข้อเท็จจริง จากการตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้ค่ะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
นอกเหนือจากเรื่องการสลายการชุมนุม ซึ่งเพื่อนหลาย ๆ คนได้พูดไปแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่ควรจะตั้งในคณะกรรมาธิการชุดนี้ ในการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง หนึ่งในนั้นคือเรื่องของการเบิกกระสุนยางจำนวนมหาศาลในช่วงเวลาดังกล่าว เราสูญเสีย งบประมาณไปจำนวนมากกับการใช้กระสุนยางกับผู้ชุมนุมประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ กว่านัด จำนวนกระสุนยางมากมายขนาดนี้ถูกนำมาใช้กับลูกหลานของเราเองนี่ละค่ะ อยากฝากถึง เพื่อนสมาชิกทุกท่านเองที่ก็มีลูกมีหลาน ลองคิดดูว่าถ้าเราปล่อยให้มีพฤติกรรม หรือว่า การลอยนวลพ้นผิดของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ในอนาคตคนที่ถูกละเมิดก็อาจจะ เป็นลูกหลานของเราก็ได้ อยากชวนเพื่อนสมาชิกช่วยกันเสนอให้มีการเห็นด้วยกับการตั้ง คณะกรรมาธิการชุดนี้เพื่อให้มีการค้นหาความจริงในเรื่องนี้
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
นอกจากเรื่องกระสุนยาง ในเรื่องของตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็เหมือนกัน ในช่วงเวลาที่มีการชุมนุม ก็มีข้อเท็จจริง มีข่าว มีนั่นนี่มากมายว่าเอ๊ะ มันมีการเบิกเบี้ยเลี้ยง กันไปขนาดไหน ได้รับเบี้ยเลี้ยงกันเพียงพอหรือเปล่า เพราะฉะนั้นการตั้งคณะกรรมาธิการ ชุดนี้ นอกเหนือจากเรื่องของการค้นคว้าหาความจริงในเรื่องของการสลายการชุมนุมแล้ว ในเรื่องของการให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาเองก็สำคัญเช่นกัน สวัสดิภาพ ความเป็นอยู่ เบี้ยเลี้ยง อาหารการกิน นอนกลางดินกินกลางทราย นอนตามวัด ตามข้างทาง หากเรามีการเซตมาตรฐานในการควบคุมฝูงชนที่เป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้นก็จะเป็นผลดี กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยเช่นเดียวกัน อยากชวนทุกท่านให้เห็นด้วยกับการตั้ง คณะกรรมาธิการชุดนี้ มาช่วยกันสืบหาความเป็นจริง ค้นหาความเป็นจริงด้วยกัน เพราะปัจจุบันไม่เคยมีปรากฏเลยว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ คฝ. คนไหนถูกดำเนินคดี จากการสลายการชุมนุมที่มีผู้บาดเจ็บหรือว่าเกินกว่าเหตุเลย ก็อยากฝากท่านประธาน ไปด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณสหัสวัต คุ้มคง ครับ
นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาครับ ผม สหัสวัต คุ้มคง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต ๗ พรรคก้าวไกล ผมอยากจะเริ่มด้วยคำง่าย ๆ ความจริง ทำไมเราต้องแสวงหาความจริง หลายท่านอาจจะบอกว่าตอนนี้เราผ่าน การเลือกตั้งมาแล้ว เรากำลังจะทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้า เราจะก้าวข้ามความขัดแย้ง เราจะปรองดองสมานฉันท์ จะเอาเรื่องเก่ามาพูดทำไม ผมเรียนอย่างนี้ครับ เคยสงสัยกัน ไหมครับ ทั้งที่เราก็ผ่านความขัดแย้งมาแล้วหลายครั้ง มีฆ่ากันตายกลางเมืองมาแล้วหลายหน ทำไมประเทศเรายังวน Loop ความขัดแย้ง รัฐประหาร ฆ่ากันกลางเมืองอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีคณะปรองดองมาแล้วกี่คณะ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ว่าปรองดองมาแล้วกี่ฉบับ ทำไม ยังแก้ปัญหาไม่ได้ สำหรับผมนะครับ เพราะเราไม่เคยมีการแสวงหาความจริง แล้วไม่มี การสร้างกระบวนการรับผิดชอบกันอย่างเป็นรูปธรรม ประเทศไทยของเราผ่านความรุนแรง มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ พฤษภาทมิฬ เหตุการณ์ล้อมปราบฆ่าประชาชนในปี ๒๕๕๓ จนกระทั่งมาถึงเหตุการณ์ปราบปราม เด็กและเยาวชนด้วยความรุนแรงในปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ เหตุการณ์เหล่านี้มีจุดร่วม หลาย ๆ อย่าง มีผู้เสียหายจำนวนมาก มีคนเจ็บ มีคนตาย มีคนสูญหาย แต่สิ่งหนึ่งที่กลับไม่ค่อยมีใครพูดถึง คือเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นและจบไปโดยที่ไม่เคยมีผู้มีอำนาจคนใดรับผิดชอบเลย ทุกเหตุการณ์ที่ผมกล่าวมาแทบจะไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐคนใดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่มี เจ้าหน้าที่รัฐคนใดต้องติดคุก คนติดคุกเป็นใครบ้างครับ เป็นประชาชนที่เขาออกไปเรียกร้อง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในปี ๒๕๕๓ ผมก็ไปร่วมชุมนุมกับคุณแม่ในการชุมนุมของคนเสื้อแดง เหตุการณ์นั้นก็มีคนสูญเสียมากมาย หลังจากเหตุการณ์นั้นพี่น้อง คนรู้จักผมหลายคน ก็ถูกจับบ้าง ลี้ภัยบ้าง ตอนนั้นในใจผมคิดว่าเรื่องแบบนี้มันคงจะยังไม่จบหรอก และอาจจะ วนกลับมาอีก น่าเศร้าครับ ปรากฏว่าผมคิดถูก เพราะหลังจากการรัฐประหารปี ๒๕๕๗ จนถึงปี ๒๕๖๕ จนถึงปัจจุบัน ก็ยังมีเพื่อนพี่น้องของผมจำนวนมากที่ต้องติดคุก ต้องลี้ภัย หลายท่านในสภาแห่งนี้รวมถึงคณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้อาวุโส ก็เคยผ่านเหตุการณ์เหล่านี้มา บ่อยกว่าผมเสียอีก อาจจะเป็นภาพที่ท่านเห็นจนชินตา จนท่านสิ้นหวังหมดหวังไปแล้ว อันนี้ ผมก็ไม่ทราบได้ครับ แต่ผมยังไม่อยากให้ท่านหมดหวัง แล้วเราจะเอาความหวังเหล่านี้ กลับมาได้อย่างไร ก็กลับมาได้โดยการที่ต้องเริ่มต้นจากการค้นหาความจริงนี่ละครับ เราอาจจะคิดว่าประเทศไทยไม่เหมือนที่อื่นในโลก ปัญหานี้มันเฉพาะเจาะจง ที่อื่นไม่เป็น แบบเรา ไม่ใช่ครับ หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกเจอปัญหาแบบนี้ เคยอยู่ในวงจรอุบาทว์ รัฐประหารฆ่ากันตายกลางเมือง แต่ปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศก็ก้าวข้ามความขัดแย้งได้ เพราะอะไรครับ ผมจะไปดูกรณีศึกษาของต่างประเทศนะครับ ประเทศรวันดาครับ รวันดา เป็นประเทศที่มีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นตั้งแต่เมษายนถึงกรกฎาคมในปี ๑๙๙๔ เป็นสงครามความขัดแย้งระหว่าง ๒ ชนเผ่า มีคนตาย ประเมินว่าอาจจะถึง ๘๐๐,๐๐๐ คน หลังเหตุการณ์ผ่านไปหลายปีมีกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้น ในปี ๒๐๐๑ รัฐบาลก็ผ่าน กฎหมายที่เรียกว่า Gacaca Courts หรือศาลกาชาชา โดยศาลกาชาชาทำหน้าที่แสวงหา ความจริงในระดับชุมชน ในระดับหมู่บ้าน เพื่อให้ผู้ก่อเหตุและเหยื่อได้พูดคุยกัน ทำความเข้าใจกัน มีกระบวนการรับผิดชอบ ขอโทษขอโพย มีบทลงโทษต่าง ๆ มีการถูก ยอมรับ มีการถูกประณาม และรัฐบาลกลางเองก็ให้ความสำคัญ มีการสร้างอนุสรณ์สถาน มีการประกาศให้วันครบรอบเหตุการณ์เป็นวันหยุดประจำปี และประธานาธิบดีก็ไปร่วมทุกปี หรือเอามาใกล้บ้านเราหน่อยอย่างเกาหลีใต้ ในเหตุการณ์ ๑๘ พฤษภาคม ปี ๑๙๘๐ หรือที่เรารู้จักกันในนามเหตุการณ์ประท้วงที่กวางจู เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการประท้วง ของประชาชน แรงงาน นิสิต นักศึกษาที่ ออกมาประท้วงอดีตประธานาธิบดีเผด็จการ ช็อน ดู-ฮวัน เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการสังหารประชาชน โดยกองทัพที่สังหารบุคคล ไปประมาณ ๑๖๕ คน และผู้เสียหายอีกกว่าร้อยคน เวลาผ่านไป ๑๕ ปี รัฐบาลเกาหลีใต้ เริ่มมีการจับกุมและนำผู้ก่อการรัฐประหาร และนายพลต่าง ๆ มาดำเนินคดี ในปี ๒๐๒๐ มีการตั้ง Truth Commission หรือคณะกรรมการค้นหาความจริงขึ้น และเริ่ม สืบสวนคดีสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเพื่อแสวงหาความจริงและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ มีการสร้างอนุสรณ์สถานให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดแห่งชาติที่ประธานาธิบดีจะต้องมา ร่วมงาน และอีกหลาย ๆ ประเทศ กลับมาที่บ้านเรา มีกี่เหตุการณ์แล้วครับ มีเหตุการณ์ไหน เป็นวันหยุดบ้าง มีเหตุการณ์ไหนบ้างที่ผู้นำประเทศจะต้องออกมาแสดงความเสียใจ สร้างความทรงจำต่อไปบ้างไหมครับ เราพูดถึงนิรโทษกรรมกันบ่อยมาก นิรโทษกรรม ได้อย่างไรถ้าเราไม่ค้นหาความจริง เพราะถ้าเราไม่ทราบความจริงจะไม่มีวันเลยที่เราจะรู้ว่า บุคคลเหล่านี้ทำผิดจริงหรือไม่ ถ้าหากไม่ได้ทำผิดเราจะนิรโทษกรรมเขาได้อย่างไร กระบวนการรับผิดนี่สำคัญมากนะครับ อาจจะสำคัญกว่ากระบวนการรับโทษด้วยซ้ำ เพราะการรับผิดเป็นการแสดงความกล้าหาญและรับผิดชอบว่าตนได้กระทำผิดไป มีโอกาส ขอโทษคนอื่นอย่างจริงใจ อย่างสำนึกผิด ไม่ใช่รับโทษไปโดยที่ไม่ได้สำนึกผิด สิ่งที่ผมเสียดายมาก คือหนังสือที่อยู่ในมือผมเล่มนี้ หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่าความจริงเพื่อความยุติธรรม หนังสือเล่มนี้ เป็นอนุสรณ์ของความพยายามในการค้นหาความจริงในเหตุการณ์ปี ๒๕๕๓ ที่จัดทำโดย กลุ่มประชาชนและนักวิชาการ มีรายละเอียดเยอะแยะมากมายว่าใครถูกยิงที่ไหน อย่างไร เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ภาคประชาชนพยายามมาก ๆ แต่น่าเสียดาย ท้ายสุดหนังสือ เล่มนี้ไม่ได้รับความสนใจจากผู้มีอำนาจเลย ถ้าหากเราสามารถตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ มาศึกษาเรื่องการสลายการชุมนุมได้ ผมก็หวังว่าข้อเท็จจริงจะปรากฏ มีการเยียวยาเหยื่อ มีการปฏิรูปองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการนิรโทษกรรม และท้ายที่สุดมีการสร้าง กระบวนการที่ทำให้สังคมยอมรับ สรุปครับ เราได้อะไรจากกรณีศึกษาในต่างประเทศบ้าง เราได้รู้แล้วว่าประเทศประเทศหนึ่งจะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่ตั้งมั่นได้นั้น จะต้องมีประวัติศาสตร์บาดแผล จะต้องเห็นข้อผิดพลาดในอดีตแล้วต้องจดจำมัน ผมย้ำว่า การเดินไปข้างหน้าต้องเดินทางผ่านความเจ็บปวด ไม่ใช่การลืม เพราะการลืมมันจะทำให้เรา ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า การลืมมันจะทำให้แต่ละเหตุการณ์มีคำพูดเช่น Unfortunately some people died ออกมา ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่ Some people แต่เป็นคนไทยที่มีชื่อ มีพ่อแม่ มีครอบครัว มีคนที่รักเขา รอเขากลับบ้าน แล้วมันไม่ใช่ซ้ำ Some people แต่มันเป็น Many people died again again and again เราตายกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่เราไม่รู้ว่า ใครเป็นคนสั่งฆ่า ใครเป็นคนสั่งยิง เรารู้จักคนตายเหล่านี้ในฐานะวีรชน แต่วีรชนเหล่านี้ จะตายฟรีถ้าประชาธิปไตยของประเทศนี้ไม่ได้ถูกพัฒนาอย่างที่เขาตั้งใจ ผมไม่อยากให้ เหตุการณ์การสูญเสียเยาวชนอย่าง วาฤทธิ์ สมน้อย ที่ถูกยิงเสียชีวิตหน้าบริเวณ สน. ดินแดง เป็นสิ่งที่จะเลือนหายไปกับสายลมอีกเหมือนกับหลาย ๆ คนในอดีต แล้วผมไม่อยากให้เกิด การรัฐประหารซ้ำ ๆ แล้วก็มีการมาพูดว่าถึงตายก็พูดไม่ได้ในสภาแห่งนี้อีกแล้ว การค้นหา ความจริงจะต้องเริ่มขึ้นได้แล้ว และความจริงจะต้องถูกพูดได้ในสภาแห่งนี้ แล้วขออนุญาต เอ่ยนามท่านจำลอง ที่ท่านอภิปรายว่ารุนแรง ไม่รุนแรง เราเถียงกันไม่จบหรอกครับถ้าไม่มี การหาความจริง ซึ่งจะเริ่มได้จากการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ละครับ ขอบคุณครับ
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผมขอชี้แจงนิดหนึ่ง ผม จำลอง ภูนวนทา นะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม จำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ เขต ๓ ต้องกราบขอบพระคุณท่านประธานที่ให้โอกาส ผมได้ชี้แจง ผมอยากจะฝากไปยังท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติที่อภิปรายเมื่อสักครู่นี้ว่าผมไม่ได้ คัดค้านการแสวงหาความจริง แต่ส่วนตัวผมกำลังคิดว่าสภาแห่งนี้มีคณะกรรมาธิการสามัญ ประจำสภา ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการการตำรวจ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ซึ่งก็มีทุกพรรคการเมืองสังกัดอยู่ แล้วแต่ละคณะ ก็สามารถที่จะนำเสนอได้ครับท่านประธาน กราบขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ถือว่าเป็นการพาดพิง ก็แล้วกันครับ ต่อไปขอเชิญคุณวีรภัทร คันธะ ครับ
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วีรภัทร คันธะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมขอร่วมอภิปรายในญัตตินี้ เนื่องจากเป็นหนึ่งในคนที่ได้รับ ผลกระทบจากการชุมนุมครั้งที่ผ่านมา ในวันนั้นผมมาชุมนุมอยู่ที่แยกเกียกกาย และได้รับ ผลกระทบจากแก๊สน้ำตาของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาสลายการชุมนุมในวันนั้น ท่านประธานครับ ตามที่เพื่อนสมาชิกได้กล่าวมา การชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ เกิดจาก ความไม่พอใจของประชาชนหลังศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ และเรียกร้องให้เกิด การปฏิรูปการเมืองการปกครอง รวมทั้งปฏิรูปสถาบันทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ การเรียกร้องเหล่านั้นส่วนใหญ่แล้วหลาย ๆ ครั้ง เป็นไปด้วยสันติวิธี ปราศจากอาวุธ ส่วนมากแล้วการชุมนุมก็จะอยู่ในที่ตั้ง ผมไม่อาจกล่าว ได้ว่าการชุมนุมทั้งหมดนี้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ทั้งหมด การมาชุมนุมของหลาย ๆ คนนั้นล้วนมี คนที่ประสงค์ดีและไม่ประสงค์ดีพร้อมจะใช้ความรุนแรงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามครับ ตามหลักสากลแล้วรัฐไม่มีสิทธิที่จะมาขัดขวางการชุมนุม ในประเทศที่เป็น ประชาธิปไตย การชุมนุมประท้วงเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นหนทางที่คนหรือประชาชน ตัวน้อย ๆ จะสามารถส่งเสียงของตัวเองให้กับผู้มีอำนาจและสังคมได้รับรู้ว่าเขาต้องการอะไร หรือเขาเดือดร้อนเรื่องอะไร แต่การขัดขวางการชุมนุมในหลาย ๆ ครั้งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยการอ้างว่าผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรงนั้นเป็นการเหมารวมผู้ชุมนุมทั้งหมด แม้ว่าจะมีคน พยายามจะยั่วยุและสร้างความปั่นป่วนในการชุมนุมก็ตาม ผู้ที่มาชุมนุมนั้นมาจาก ร้อยพ่อพันแม่ เราไม่สามารถจัดให้คนอยู่อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือเป็นการชุมนุม แบบสันติ บริสุทธิ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ได้ มันมีคนที่อยากจะอาศัยจังหวะนี้เข้ามาก่อกวน แต่ก็มีอีกหลายคนที่อยากมาชุมนุมอย่างสันติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุม การชุมนุมก็คือต้องพยายามดึงเอาคนที่ต้องการก่อกวนและสร้างความรุนแรงออกไปจาก การชุมนุม ท่านประธานครับ หลายต่อหลายครั้งในการชุมนุม มีคนก่อความวุ่นวาย แล้วไปยั่วยุตำรวจ ทำให้ตำรวจเลือกที่จะเหมารวมผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อความไม่สงบทั้งหมด แล้วใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการสลายการชุมนุมจากหนักไปหาเบา ตลกมากครับ ซัดก่อน แล้วค่อยพูดคุยกัน วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ การชุมนุมในพื้นที่แยกปทุมวัน ตำรวจ คฝ. ๑๐๐ กว่าคน เคลื่อนตัวเข้ามาจัดการสลายการชุมนุม ใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง จับกุมผู้ชุมนุม ทั้ง ๆ ที่ผู้ชุมนุมเลือกที่จะชุมนุมอย่างสงบในจุดดังกล่าว การชุมนุมทุก ๆ ครั้งย่อมมี ผลกระทบในบางด้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่นั่นก็คือสารที่ผู้ชุมนุมพยายามจะส่งไปหา ทุก ๆ คนในสังคมให้ได้รับรู้ว่าข้อเรียกร้องความต้องการของเขาคืออะไร เป็นเรื่องของ การสร้างแรงกระเพื่อมให้กับสังคม การสลายการชุมนุมดังกล่าว ความรุนแรงที่เกิดขึ้น จากเจ้าหน้าที่ไม่ได้สัดส่วนกับสถานการณ์การชุมนุม หลังจากนั้นผู้ชุมนุมก็มีคดีตามมาอีก มากมายหลายต่อหลายครั้ง ก็เป็นการหว่านแหในการแจ้งความดำเนินคดีผู้ชุมนุมมากกว่า จะเป็นการเจาะจงหาผู้ต้องหาที่พยายามจะก่อความวุ่นวาย แกนนำบางคนขึ้นปราศรัย และมีการพาดพิงไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ผมก็เข้าใจว่าตำรวจก็มีการถอด Tape แจ้งความโดยใช้บางประโยคเท่านั้น โดยไม่ได้ดูบริบทของคำปราศรัยในที่ชุมนุม ผมก็เลย ไม่เข้าใจว่าแบบนี้คือการใช้กฎหมายกลั่นแกล้งกันอย่างที่เรียกว่านิติสงครามหรือเปล่า แน่นอนบางคนก็อาจจะบอกว่าก็คุณทำผิดกฎหมายนี่ครับ แต่กฎหมายนั้นได้เรียกว่ายุติธรรม ได้ดำเนินคดีไปตามหลักนิติธรรมหรือเปล่า ท่านประธานที่เคารพครับ การชุมนุมไม่ว่าจะเป็น ทางการเมืองหรือเรื่องของปากท้อง มันมีความเสี่ยงที่จะเกิดความวุ่นวาย แต่ในฐานะ เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นผู้ผูกขาดความรุนแรง มีทั้งอาวุธ กระบอง และอำนาจทางกฎหมาย สิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐควรจะทำก็คือการดูแลความสงบเรียบร้อยและเอาคนที่คิดจะก่อเหตุ หรือพยายามจะก่อความวุ่นวายออกไปจากที่ชุมนุม ไม่ใช่เรื่องของการเหมารวม ไม่ใช่การยัด คดีอย่างซี้ซั้ว หลาย ๆ ครั้งข้อเท็จจริงจากการชุมนุมมีทั้งฝั่งตำรวจและฝั่งของผู้ชุมนุม รวมทั้งสื่อมวลชน แต่เราไม่เคยมีข้อเท็จจริงร่วมกันในการหาความจริงจากการชุมนุมที่มี ความรุนแรงเกิดขึ้นว่าตกลงแล้วการชุมนุมนั้นใครเป็นคนเริ่มก่อน ใครเป็นคนสร้าง ความวุ่นวายหรือสร้างเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการสลายการชุมนุม รวมทั้งการใช้กำลัง เพื่อการสลายการชุมนุมนั้นได้สัดส่วนหรือไม่ ทุกคนเลือกที่จะเชื่อในมุมมองของตัวเอง และพยายามปฏิเสธข้อเท็จจริงในมุมมองของคนอื่น ดังนั้นท่านประธานครับ ผมขอสนับสนุน ให้เกิดการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญนี้เพื่อค้นหาความจริงในการชุมนุม เพื่อเป็น บรรทัดฐานและหลักประกันเสรีภาพในการชุมนุมครั้งต่อ ๆ ไปของประชาชน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญคุณรักชนก ศรีนอก ครับ
นางสาวรักชนก ศรีนอก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน รักชนก ศรีนอก ผู้แทนจากชาวบางบอน จอมทอง และหนองแขม ขอร่วมอภิปรายใน ญัตติการเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษามาตรการควบคุมฝูงชน และการแสวงหาข้อเท็จจริงในการสลายการชุมนุม ความสำคัญของคณะกรรมาธิการนี้นะคะ ท่านประธาน ดิฉันอยากยกตัวอย่างให้ได้ทราบกันง่าย ๆ ขนาด สส. ผู้ทรงเกียรติ คนที่เรียก ตัวเองว่าผู้ทรงเกียรติที่ได้รับการเลือกมาจากเสียงของพ่อแม่พี่น้องประชาชน ที่นั่งอยู่ในสภานี้ ยังไม่ทราบเลยว่าข้อเท็จจริงในการชุมนุมจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร ไม่เคยไปร่วมกับผู้ชุมนุมเลยแม้แต่ครั้งเดียวตั้งแต่เกิดการชุมนุมปี ๒๕๖๓ มา แต่กลับพูดได้ เป็นตุเป็นตะราวกับว่าอยู่ในเหตุการณ์ว่าผู้ชุมนุมมีการใช้ความรุนแรง เจ้าหน้าที่ถึงต้องมี มาตรการในการตอบโต้ ถ้าท่านไม่ทราบ ดิฉันจะเล่าให้ฟัง เพราะตัวดิฉันคือคนที่เข้าร่วม ชุมนุมตั้งแต่ครั้งแรกเรื่อยมาจนทุกวันนี้ เมื่อก่อนเป็นประชาชนที่เรียกร้องอยู่บนถนน ทุกวันนี้เข้ามาพูดแทนเพื่อน ๆ เหล่านั้นในสภา ดิฉันคือคนที่อยู่ในเหตุการณ์ ประชาชน ชุมนุมกันเรื่อยมาด้วยความสงบ ถึงเวลาพวกเราก็แยกย้าย แต่เหตุการณ์ความรุนแรงก็เริ่ม มาเรื่อย ๆ จากการใช้โล่ กระบองในการผลักดันฝูงชน เริ่มมาเป็นวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ กลางเมืองมีการใช้รถจีโน่ฉีดน้ำใส่สารเคมีใส่ผู้ชุมนุม กลางเมืองเลยวันนั้น สยามพารากอน ฉีดไปไม่รู้โดนใครบ้าง ทั้งผู้ชุมนุม ทั้งนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งคนที่ไปร่วม Shopping อยู่แถว ๆ นั้น นี่คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น คนที่อยู่ตรงนั้นมีอาวุธมากที่สุดก็แค่ร่ม เท่านั้น ไม่ได้มีใครเตรียมตัวมาเพื่อรับสถานการณ์เหล่านั้น มีหลายคนที่ต้องได้รับ ความบาดเจ็บเพราะหลังจากที่ฉีดน้ำแล้วโดนแรงดันของน้ำ ทำให้ล้มถลอกปอกเปิก หลายคนโดนน้ำฉีดเข้าตาต้องเข้าโรงพยาบาล นี่คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และหลังจากนั้น วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๑ เดือนต่อมา ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม พอเริ่มจาก รถจีโน่ปุ๊บ ฉีดน้ำปุ๊บ ทุกครั้งที่มีการชุมนุมก็จะเริ่ม ทีนี้ไม่มีมาตรการการบอกกล่าวใด ๆ แล้ว มาถึงตำรวจก็ฉีดน้ำเลย และวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ดิฉันจำได้ วันนั้นดิฉันก็มาที่ สภาเกียกกายนี้ค่ะ แต่ดิฉันไม่ได้ยืนอยู่ในห้องนี้ ดิฉันไม่ได้ยืนอยู่ในห้องสุริยัน แต่ดิฉันยืนอยู่ ข้างถนน ข้างสภาเกียกกายตรงนี้ ดิฉันจำได้ วันนั้นดิฉันก็เป็นประชาชนคนหนึ่งที่อยากจะ เรียกร้องรัฐบาลทรราชที่มาจากการยึดอำนาจให้ลงจากอำนาจ เป็นคนหนึ่งที่อยากจะเห็น ประเทศนี้มีรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน มีอนาคตที่สดใสให้คนวัยกลางคนแบบพวกเรา ได้สร้างครอบครัว ได้สร้างเนื้อสร้างตัว แต่วันนั้นที่ดิฉันมาเรียกร้อง ดิฉันจำได้นะคะ สส. ผู้ทรงเกียรติในสภาแห่งนี้หลายคนลงเรือหนีพวกเราไป นั่งรถหนีพวกเราไป เวลาท่าน หาเสียงท่านไปพนมมือ ไม่ว่าจะยากลำบาก ต้องมุดน้ำ ดำดิน ลงเรืออะไรลงไป ท่านไป ขอเสียงจากประชาชนให้เขาเลือกท่าน แต่วันที่ประชาชนมาขอให้ท่านฟังเสียงเขาท่านกลับ ลงเรือหนีไป นั่งรถหนีไป นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น ประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ การชุมนุมเห็นต่างทางการเมือง มีแล้ว ๑,๙๑๘ คน ในจำนวนนี้มี ๑,๒๓๐ คดี มีเยาวชน คนหนุ่มสาวที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ ทั้ง ๆ ที่วันนี้พวกเขาควรที่จะออกมาเรียนหนังสือ ออกมาทำงานสร้างเนื้อสร้างตัว ออกมาทำตามความฝันของเขา แต่พวกเขากลับต้องใช้ชีวิต อยู่ในห้องขัง สิทธิในการประกันตัวที่ควรจะเป็นของประชาชนทุกคนกลับถูกลิดรอน กับมีคนที่ต้องอดอาหารเกือบตายเพื่อที่จะเรียกร้องแค่สิทธิในการประกันตัวที่ควรจะได้รับ อยู่แล้วนะคะ ประชาชนที่เป็นเยาวชน เป็นคนหนุ่มสาว เป็นอนาคตของประเทศนี้กลับต้องไปอยู่ในห้องขัง แต่ตัวการใหญ่ของเรื่องนี้ ทรราชที่สร้างความฉิบหายให้ประเทศนี้มา ๑๐ ปี สร้างความโกรธแค้น ให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชน สร้างความเสียหายให้ประเทศนี้ ไม่รู้ว่าอีก ๑๐ ปีข้างหน้า จะแก้ไขสิ่งที่สร้างเอาไว้ได้หรือเปล่าเลย ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทุกวันนี้ลงจากอำนาจ ลอยหน้าลอยตาเสวยสุข ตอนนี้เที่ยวอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นค่ะ ยึดอำนาจจากคน ๗๐ ล้านคน กระทำสิ่งที่เรียกว่าอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด แต่ทุกวันนี้ลงจากอำนาจสบายใจเฉิบ เพื่อนที่ เคยกอดคอกันแล้วบอกว่าจะช่วยกัน Check Bill ทุกวันนี้จูบปากกับเผด็จการ แล้วก็ปล่อย ให้เผด็จการลอยหน้าลอยตาเสวยสุข ดังนั้นดิฉันคิดว่ามีความจำเป็น มีความสำคัญที่จะต้อง จัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญนี้เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพราะแม้กระทั่ง สส. ที่นั่งอยู่ ในห้องประชุมนี้ไม่เคยไปร่วมชุมนุม ไม่เคยออกไปฟังผู้ชุมนุมเลยสักครั้ง ไม่เคยรู้เลยว่า พวกเขาต้องการอะไร เรียกร้องอะไร พูดได้เป็นตุเป็นตะเลยค่ะว่าผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรง คฝ. ถึงต้องมีมาตรการตอบโต้ ถ้าท่านยังสร้างความชอบธรรมให้ตำรวจ ให้ คฝ. โดยการมา สร้างความชอบธรรมให้เขาในสภาแบบนี้ สุดท้ายเหตุการณ์แบบการสลายการชุมนุมเสื้อแดง ปี ๒๕๕๓ หรือแม้กระทั่งย้อนกลับไป ๖ ตุลาคม ทุกวันนี้มันก็ไม่มีใครที่ได้รับความเป็นธรรม คนที่อยู่ในอำนาจตอนนั้นยังลอยนวลพ้นผิด เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ คฝ. ยังลอยหน้า ลอยตา ไม่มีใครได้รับการลงโทษ มีแต่คนที่ออกมาเรียกร้องชีวิตที่ดีให้กับตัวเองที่ต้องใช้ชีวิต อยู่ในห้องขังวันนี้ นี่คือความสำคัญที่ต้องตั้งคณะกรรมาธิการนี้เพื่อศึกษาหาข้อเท็จจริง แล้วก็ หาทางออกให้กับประเทศนี้อย่างแท้จริง ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ตอนนี้เหลือผู้อภิปราย ๒ ท่าน ฝ่ายรัฐบาลคือท่านคุณหมอทศพร แล้วก็ ฝ่ายค้านคือท่านศุภณัฐ แต่เนื่องจากท่านทศพรขออภิปรายสรุปท่านสุดท้ายใช่ไหมครับ ถ้าอย่างนั้นผมยังไม่กลับไปที่ฝ่ายรัฐบาลนะครับ จะให้ฝ่ายค้านต่ออีก ๑ ท่านก่อน เป็นท่านศุภณัฐ มีนชัยนันท์ เรียนเชิญครับ
นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ กระผม นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๙ บางเขน จตุจักร หลักสี่ จากพรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ของผมเป็นประเด็น ที่เกี่ยวโยงกับเรื่องของมาตรฐานในการควบคุมฝูงชน เนื่องจากว่าในเขตของผมเองนั้นก็คือ เขตหลักสี่ที่แขวงตลาดบางเขน มีเรื่องของสโมสรตำรวจที่ซอยวิภาวดีรังสิต ๖๒ มีเรื่องของ การฝึกซ้อมในการควบคุมฝูงชน แล้วก็สร้างปัญหา สร้างผลกระทบให้กับประชาชนในพื้นที่ ร้องเรียนมาหลายรอบแล้วครับ มีการฝึกยิงปืน มีการฝึกซ้อมสลายชุมนุม และมีการยิงแก๊สน้ำตา สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไรครับ เสียงจากการยิงปืนดังมาก ๆ แล้วก็รบกวนพี่น้องประชาชนอย่างมาก
นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ แก๊สน้ำตา ทั้งควัน หรือแม้กระทั่งตัวกระบอกแก๊สเองก็เคย ตกไปอยู่ที่บ้านของพี่น้องประชาชนหลังข้าง ๆ ในบริเวณข้างเคียงกันครับ แล้วก็เป็นปัญหา ที่มีอยู่หลายปีแล้ว แต่ก็ไม่มีหน่วยงานไหนที่ออกมารับผิดชอบหรือจัดการเรื่องนี้ให้เด็ดขาด มันทำให้ผมต้องตั้งคำถามถึงมาตรฐานในการจัดการของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในเรื่องของ การฝึกซ้อม รวมถึงการสลายการชุมนุมว่าขนาดตัวท่านตอนที่ท่านฝึกอยู่ในบริเวณอาณาเขต ของท่านเองนั้นท่านยังจัดการดูแลได้ไม่ดีพอ กระทบกับพี่น้องประชาชนหลายคน และท่าน จะมาทำหน้าที่ตรงนี้ได้อย่างไร
นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ท่านประธานครับ คือเรื่องของเขตผมมีเรื่องของการสร้างอาคาร ที่พักตำรวจ ในตอนแรกก็แจ้งพี่น้องประชาชนแล้วก็แจ้งกับทางตำรวจว่าจะเป็นการสร้าง อาคารที่พักที่อยู่อาศัยให้กับพี่น้องชาวตำรวจทุกท่านที่อยู่ในเขต แต่ไป ๆ มา ๆ ถูกเปลี่ยน ไปเป็นที่พักอาศัยให้กับตำรวจควบคุมฝูงชน มูลค่า ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๖ ตึก นี่คือที่พักอาศัย สำหรับหน่วยงานเฉพาะตำรวจควบคุมฝูงชนเท่านั้น พร้อมกับครอบครัวของพวกเขา ท่านประธานครับ งบประมาณขณะนี้ใช้เพื่อกิจการเหล่านี้หรือครับ ที่สำคัญผมได้ ปรึกษาหารือเรื่องนี้ไปในสภาเกือบ ๒ เดือนแล้ว ถ้าเกิดตามมาตรฐานของสภา ตามระเบียบ ๓๐ วันหน่วยงานควรจะตอบกลับมา สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ๒ เดือนแล้วไม่มีหน่วยงานตอบกลับมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ตอบกลับมาครับ แล้วเรื่องนี้ผมมีการส่งหนังสือไปส่วนตัวอีกด้วย ส่งหนังสือแยกของผมต่างหาก ก็ไม่ได้รับการตอบกลับมา หน่วยงานแจ้งว่าไม่แน่ใจว่า ต้องส่งไปที่หน่วยงานไหนบ้าง มีการโยนเรื่องไปโยนเรื่องมา นี่หรือครับหน่วยงานที่มา ควบคุมฝูงชนแล้วมีโอกาสทำให้พี่น้องประชาชนได้รับบาดเจ็บได้รับการเสียชีวิตแบบนี้ เราฝากความหวังกับหน่วยงานแบบนี้ที่ไร้มาตรฐานแบบนี้หรือครับ เรื่องเดือดร้อนนี้อย่างไร ผมก็ต้องขอฝาก คือตัวผมเองนั้นเห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญในการพิจารณา เรื่องนี้ แล้วก็ขอฝากเรื่องนี้ให้กับทางคณะกรรมาธิการเข้าไปตรวจสอบแทนพี่น้องชาวหลักสี่ ทุกคนครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปเป็นผู้อภิปรายท่านสุดท้าย เชิญคุณหมอทศพรครับ
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ พรรคเพื่อไทย ญัตติ เรื่อง ผู้ชุมนุม การสลายการชุมนุมของเยาวชน นิสิต นักศึกษา ประชาชน เป็นญัตติที่พรรคเพื่อไทยและผม ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพิ่งจะมาให้ความสำคัญนะครับ
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ถ้าท่านประธานยังจำได้ ตอนเดือนกันยายน ๒๕๖๓ ตอนนั้นมีการนัดประชุมครั้งใหญ่ที่สนามหลวง เป็นการนัดชุมนุมที่มีการค้างคืน ครั้งแรก ท่านสมคิด เชื้อคง ขออภัยที่เอ่ยนาม ท่านได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมาธิการ การปกครอง เป็นคณะทำงานที่จะป้องกันความรุนแรงไม่ให้เกิดกับประชาชน แล้วท่านสมคิด ก็ได้ไปที่พรรคเพื่อไทย ก็มีการพูดคุยกันในพรรค แล้วทางพรรคก็ได้มีการแต่งตั้งผมเป็น คณะทำงาน ซึ่งผมก็ได้รื้อฟื้นคณะแพทย์ พยาบาลเพื่อมวลชนขึ้นมา คณะแพทย์ พยาบาล เพื่อมวลชนนี้เป็นคณะที่มีการทำงานอันยาวนานตั้งแต่สมัย ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ โดยเริ่มมาจากนักศึกษาแพทย์ พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ช่วยกัน อันนี้เป็น Slide แรก ที่พวกเราเวลาไปชุมนุมครั้งไหนก็จะเจอกับ คฝ. เจอกับ ลวดหนาม ผมก็จะทำหน้าที่เจรจาต่อรองกับ คฝ. กับเพื่อน ๆ ทางฝั่งโน้นหลายคนที่เจอกัน ในที่ชุมนุม
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ขอ Slide ต่อไปครับ รูปนี้เป็นวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ เป็นครั้งแรกที่มี การใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมที่สี่แยกปทุมวัน มีการใช้รถจีโน่ฉีดน้ำผสมสารเคมี ใส่ประชาชน แล้วอีก ๒ วันต่อมาผมก็โดนหมายเรียก แล้วก็โดนเอาไปขังที่ค่าย ตชด. ที่คลองห้า เป็นครั้งแรก
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
Slide ต่อไป อันนี้ถ้าจำได้เป็นรูปที่หน้าสภาเราเองเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ อันนี้เป็นรูปทางด้านแยกเกียกกาย ผมก็ติดล็อกอยู่ตรงนั้น ก็เจอทั้งรถจีโน่ฉีดน้ำ ผสมสารเคมี เจอทั้งแก๊สน้ำตา อันนี้ก็ช่วยล้างตาให้พี่น้องประชาชน ให้น้อง ๆ เจอแก๊สน้ำตา กันระนาว โชคดีที่แก๊สน้ำตาเข้ามาไม่ถึงสภา อันนี้ก็ล้างตา
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
รูปต่อไป คุณกร นามสมมุติ ถูกยิง อันนี้กระสุนจริงที่หน้าสภา กระสุนเข้าที่ ต้นขาซ้ายกระดูกแตก ซึ่งอันนี้ผมก็พาไปดูแลรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียง โรงพยาบาลหนึ่ง
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ต่อไปครับ อันนี้ก็เป็นผู้ที่ได้รับผลจากการฉีดน้ำผสมสารเคมี ผิวหนังจะพุพอง อย่างนี้ โดนกันหลายสิบคน ซึ่งหลังจากวันนั้นผมก็ได้ไปยื่นหนังสือที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วก็มีการเอาเรื่องเข้ามาในสภา เพื่อให้มีการดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบ
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ต่อไปครับ อันนี้น่าจะเป็นรูปการชุมนุมที่หน้าโรงพยาบาลตำรวจ ที่มี ผู้ถูกยิงเข้าที่ท้อง กระสุนไปตัดตับแล้วก็โดนที่ปอด อันนี้เป็นคนที่โดนยิง กระสุนเข้าถาก ๆ โชคดีโดนเข้าที่ศีรษะ น้องเยาวชนคนนี้โดนยิง โชคดีที่เป็นกระสุนยาง ถ้าสูงขึ้นไปอีกสัก ๑-๒ นิ้วก็คงตาบอด อันนี้โดนเข้าที่ศีรษะเลือดไหลโทรมเลย แล้วก็ฟันหัก กำลังปฐมพยาบาลกัน
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ต่อไปครับ คนนี้ที่ดินแดง คุณสอง คุณสองนี่ขนาดยืนหลบอยู่ข้างเสาไฟฟ้า โดนกระสุนยางทะลุหมวกกันน็อกเข้ามาโดนตาทั้ง ๒ ข้าง ตาข้างขวาแตก แล้วตอนนี้ บอดสนิทไปแล้ว ตาข้างขวาฝ่อไปแล้ว ส่วนตาข้างซ้ายผ่าตัดมาแล้ว ๖ ครั้ง ทุกครั้งที่ ไปโรงพยาบาลก็จะโทรศัพท์มาหา คุณหมอ ๆ ผมจะไปโรงพยาบาลแล้วนะ ค่ารถ ๆ อันนี้ เป็นภาพตาข้างขวาที่เสียไปแล้ว อันนี้ที่ผมตามไปดูว่าท่านพักอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง อาศัยข้าวพระ อันนี้พามาโรงพยาบาล อันนี้เป็นคนที่โดนที่ศีรษะ อันนี้เป็นภาพการชุมนุมกันเมื่อตอนที่มี การประชุม APEC อันนี้กระสุนไปโดนผู้สื่อข่าวท่านหนึ่ง อันนี้คุณรมย์ โดนเข้าไปที่ ตาข้างขวาในการชุมนุมครั้งเดียวกัน ท่านก็สูญเสียตาข้างขวาไป อันนี้ก็หน้าคุ้น ๆ คุณปิยรัฐ เจออยู่กับผมหลายที่ชุมนุม หลาย สน. แล้วก็หลายศาล เราก็ไปช่วยกันทำงาน ไปดูแล ผู้ที่ได้รับผลกระทบด้วยกัน อันนี้เมื่อสัปดาห์ล่าสุดก็พาคุณสองไปโรงพยาบาลอยู่เลย มาจนถึงวันนี้เยาวชนนักเรียน นักศึกษา ประชาชน หลายพันคนยังต้องเข้า ๆ ออก ๆ คุก ยังต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ยังไม่ได้รับการเยียวยา เรายังไม่รู้ว่าใครเป็นคนสั่งสลายการชุมนุม เรายังไม่รู้ว่าใครเป็นคนสั่งรถจีโน่ให้ฉีดน้ำผสมสารเคมีใส่ประชาชน เรายังไม่รู้ว่าใครเป็น คนสั่งยิงแก๊สน้ำตา กระสุนยางใส่ประชาชน เราจึงจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมาธิการขึ้น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าต่อไปนี้จะต้องไม่มีใครถูกยิงขาหักอย่างคุณกร ไม่มีใครถูกยิงไส้แตก ตับแตกอย่างคุณเมฆ ไม่มีใครต้องสูญเสียดวงตาอย่างคุณลูกนัท ขออภัยที่เอ่ยนาม อย่างคุณรมย์และอย่างคุณกร ไม่มีใครต้องสูญเสียชีวิตอย่างคุณมานะ หงส์ทอง และวาฤทธิ์ สมน้อย ซึ่งอายุเพียง ๑๔ ปี ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในรัฐบาลชุดนี้ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทุกคนต้องได้รับ ความยุติธรรมในการพิจารณาคดี ผู้ได้รับบาดเจ็บต้องได้รับการชดเชย ครอบครัวผู้เสียชีวิต ต้องได้รับการเยียวยา ผมขอคารวะผู้ได้รับบาดเจ็บ และผู้ต้องหาจากคดีการชุมนุมทุกท่าน และขอไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิตทุกท่าน ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ตอนนี้ผู้อภิปรายทุกท่านก็ได้อภิปรายเสร็จสิ้นแล้วนะครับ ตามข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ผู้เสนอมีสิทธิอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่ง ผู้เสนอจะใช้สิทธิอภิปรายหรือไม่ครับ
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ใช้สิทธิครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
แต่ขอเป็นอภิปรายสรุปนะครับ โดยเนื้อหาที่ไม่ซ้ำกับการอภิปรายที่ผ่านมา เรียนเชิญ ท่านปิยรัฐครับ
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม ปิยรัฐ จงเทพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตพระโขนง เขตบางนา พรรคก้าวไกล ผมขออนุญาตสรุปการเสนอญัตติในครั้งนี้ในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จากที่ฟัง เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไป ผมเห็นว่าแนวโน้มของเราเกือบทุกคนไปในทิศทางเดียวกัน คือเห็นว่าการสลายการชุมนุมและการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นยังมีข้อสงสัย ยังมีสิ่งที่จะต้อง มาหาข้อสรุปร่วมกัน ยังมีสิ่งที่ต้องมาพูดข้อเท็จจริงกันในวงที่ตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ เนื่องจากว่าเราไม่สามารถที่จะไว้วางใจให้หน่วยงานอื่นได้ดำเนินการเป็นตัวกลางได้ เพราะมี ส่วนได้เสียกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และเราไม่สามารถที่จะส่งให้ กมธ. หรือคณะกรรมาธิการสามัญ หน่วยใดหน่วยหนึ่งได้ เนื่องจากว่าไม่ใช่แค่เรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจ มันไม่ใช่เรื่องของทหาร อย่างเดียว มันไม่ใช่เรื่องของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเดียว แต่มันยังมีความสัมพันธ์ในหลาย ๆ ส่วน ที่จะอาศัยอำนาจของสภาแห่งนี้ในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาเรื่องนี้ อีกทั้งเราต้องการบุคลากรที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจำนวนมากเข้ามาเพื่อนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่สำคัญเรายังจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงขึ้นมาเพื่อนำไปสู่ ขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่เป็นจำนวนมากที่กระบวนการยุติธรรม ไม่สามารถเข้าถึงหลักฐานและกระบวนการที่เป็นเรื่องของเฉพาะทาง หรือวิชาการ เฉพาะทางได้ ผมจึงเห็นว่าสภาแห่งนี้ควรที่จะสนับสนุนญัตตินี้คือญัตติการตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณามาตรการการสลายการชุมนุม หรือศึกษามาตรการควบคุมฝูงชน และแสวงหาข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุมอันเนื่องมาจากเหตุการณ์การการชุมนุม ของเยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ จนถึงปี ๒๕๖๕ ขอบคุณ ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านผู้เสนอญัตติที่ได้อภิปรายสรุปญัตติ เนื่องจากผมไม่ได้ติดตามการประชุมตลอด แต่เนื่องจากเมื่อสักครู่ผู้สรุปยังยืนยันที่จะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ มีท่านใดเห็น เป็นอย่างอื่นไหมครับ เชิญครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ยังยืนยันขอเสนอให้ส่งไปที่ ครม. ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เนื่องจากผู้เสนอได้ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ แต่มีสมาชิกเสนอขอให้ส่งไปยัง คณะรัฐมนตรี ดังนั้นผมต้องขอมติจากที่ประชุมว่าจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือส่งให้ รัฐบาลรับไปพิจารณา ก่อนลงมติผมขอตรวจสอบองค์ประชุมครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญท่านสมาชิกไปรับบัตร กรุณาอย่าเพิ่งใช้การขานชื่อ เพื่อจะมีความสับสนน้อยที่สุด ผมยังรอนะครับ ไปรับบัตรได้ เชิญประจำที่แล้วแสดงตนตรวจสอบองค์ประชุมครับ ตอนนี้ องค์ประชุมพอแล้ว แต่ผมจะรออีกสักนิดหนึ่ง ให้สมาชิกมีความพร้อมในการลงมติด้วย ท่านใดยังไม่ได้ไปรับบัตรลงมติก็ขอเรียนเชิญครับ สมาชิกครับ มีท่านใดยังไม่ได้ใช้สิทธิ แสดงตนไหมครับ
นายภาณุ พรวัฒนา อุดรธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ภาณุ พรวัฒนา ๒๗๘ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒๗๘ ครับ
นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เฉลิมชัย กุลาเลิศ ๐๖๘ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๐๖๘ ครับ
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
นิพนธ์ คนขยัน ๑๘๙ ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๑๘๙ ครับ
นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม อุดรธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ เกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม ๐๒๙ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๐๒๙ ครับ
นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
สุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ๔๔๐ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๔๔๐ ครับ
นายอดิศร เพียงเกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๔๖๑ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๔๖๑ นะครับ
นายประเสริฐ บุญเรือง กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๒๑๗ ประเสริฐ บุญเรือง แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒๑๗ ครับ ท่านที่แสดงตนด้วยวาจาแล้วกรุณาไปรับบัตรด้วย จะได้ลงมติแล้ว ไม่มีข้อผิดพลาดนะครับ
นายบุญแก้ว สมวงศ์ ยโสธร ต้นฉบับ
๑๙๕ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๑๙๕ ครับ
นายนรากร นาเมืองรักษ์ ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
นรากร นาเมืองรักษ์ แสดงตนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ท่านหมายเลขอะไรครับ ท่านนรากร พอดีผมดูไม่ทัน คิดว่าลงครบถ้วนแล้วนะครับ ผมขอปิด การแสดงตน เจ้าหน้าที่แสดงผลครับ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ๓๕๗ ท่าน เป็นอันว่า มีผู้เข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุมครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ต่อไปจะเป็นการถามมตินะครับ ขอเชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดเห็นด้วย ควรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ โปรดกดปุ่มเห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่าควรส่งให้รัฐบาลรับไป พิจารณา โปรดกดปุ่มไม่เห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่าควรงดออกเสียง โปรดกดปุ่มงดออกเสียง ขอเชิญลงคะแนนครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ขออนุญาตท่านประธานครับ ผมได้รับแจ้ง จากเพื่อนสมาชิกว่าหลายท่านกำลังเข้ามา ขอให้รอสักครู่ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ยังรอได้นะครับ
นายภาณุ พรวัฒนา อุดรธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ภาณุ พรวัฒนา ๒๗๘ ไม่เห็นด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒๗๘ ไม่เห็นด้วยครับ
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม ทศพร ๑๕๐ เห็นด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๑๕๐ เห็นด้วยครับ เป็นเวลาสมควรแล้ว ผมขอปิดการลงคะแนน เจ้าหน้าที่แสดงผลครับ จำนวนผู้ลงมติ ๓๗๓ เห็นด้วย ๑๕๐ ไม่เห็นด้วย ๒๒๒ งดออกเสียง ๐ ไม่ลงคะแนนเสียง ๑ เป็นอันว่าที่ประชุมมีมติส่งให้รัฐบาลรับไปพิจารณา ท่านสมาชิกครับ ขออภัย เมื่อสักครู่ มีสมาชิกที่ขานด้วยวาจา คะแนนที่เสร็จสิ้นแล้วเป็น เห็นด้วย ๑๕๐ บวก ๑ เห็นส่งรัฐบาล ๒๒๒ บวก ๑ เป็น ๒๒๓ ขอให้มีการบันทึกคะแนนได้ถูกต้องด้วยนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๕.๘ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบาดาลและปัญหาน้ำบาดาล คุณภาพต่ำ (นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ เป็นผู้เสนอ)
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เนื่องจากญัตติดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการขาดแคลน และบริหารจัดการน้ำ จึงมีญัตติทำนองเดียวกันอีก ๓ ฉบับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ญัตติที่ ๑ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา แก้ไขปัญหาน้ำประปาไหลเบา (นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ เป็นผู้เสนอ) ปรากฏอยู่ใน ญัตติที่ ๕.๙
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ญัตติที่ ๒ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา แก้ไขปัญหาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอ (นายธนา กิจไพบูลย์ชัย เป็นผู้เสนอ) ระเบียบวาระที่ ๕.๑๒
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ญัตติที่ ๓ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำประปาทั้งระบบ (นางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ เป็นผู้เสนอ) ระเบียบวาระที่ ๕.๑๖
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เนื่องจากเป็นเรื่องทำนองเดียวกันสามารถรวมระเบียบระเบียบวาระได้ จึงขออาศัยข้อบังคับ ข้อ ๕๕ (๒) เพื่อรวมระเบียบวาระเข้าด้วยกัน ท่านสมาชิกเห็นเป็น อย่างอื่นไหมครับ ถ้าไม่มี ผมขอดำเนินการตามนี้ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ท่านสมาชิกครับ ต่อไปจะเป็นการเสนอญัตติ ผู้เสนอญัตติพร้อมไหมครับ ท่านแรกจะเป็นท่านอัครเดช ขอเรียนเชิญ พอดีท่านอัครเดชเข้ามาทันพอดี ญัตติยังไม่ตกไป ก็จะเป็นการแถลงญัตติแล้วก็อภิปรายเหตุผล โดยท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ขอเรียน เชิญครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผมขอหารือท่านประธานนิดหนึ่ง เนื่องจากผมมีญัตติ ๒ ญัตติ ที่เสนอมาพร้อมกัน ก็คือ ญัตติแรก เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาน้ำประปาไหลอ่อน กับญัตติที่ ๒ เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาน้ำบาดาล ผมขออนุญาตท่านประธาน ให้แถลงญัตติทีละญัตติ หรือว่ารวมกัน อภิปรายพร้อมกันเลยได้ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผมคิดว่าแถลงทีละญัตติ แล้วก็อภิปรายรวมกันได้ครับท่านอัครเดช
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
อย่างนั้นผมขออนุญาตแถลง ทีละญัตติ แล้วก็อภิปรายพร้อมกันเลยนะครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรียนเชิญครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต ๔ พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ผมได้ทำญัตติเสนอ ให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบาดาลและปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพต่ำ กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร จากอดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ น้ำผิวดินในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรมาโดยตลอด เนื่องจากในอดีตสังคมไทย เป็นสังคมเกษตรกรรมที่เน้นการผลิตพืชผลทางการเกษตรเพื่อยังชีพ จากนั้นต่อมาได้พัฒนา มาเป็นการผลิตเพื่อค้าขายและส่งออก ทำให้เกิดการขยายตัวพื้นที่ทำการเกษตร จึงทำให้มี การใช้น้ำการเกษตรมากขึ้นตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และขยายตัวของเมืองไปยังชนบท ทำให้เกิดการใช้น้ำอุปโภคบริโภคเพื่อดำรงชีวิตเพิ่มขึ้นสูง อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นต้นเหตุให้ฤดูกาลเปลี่ยนแปลง ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น มีฤดูแล้งที่ยาวนานมากกว่าเดิม หรือฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน รวมทั้งจำนวนป่าในประเทศก็ลดลงจากอดีตเป็นอย่างมาก เนื่องจาก การบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ป่าต้นน้ำถูกทำลาย แม่น้ำลำธารหลายสายที่เคยชุ่มชื้นและมี น้ำไหลตลอดทั้งปีก็กลับเหือดแห้ง นอกจากนั้นวิถีชีวิตของผู้คนก็เปลี่ยนแปลงจากอดีต เป็นอย่างมาก จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการขยายตัวของชุมชนเมือง มีการเกิดขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น การขยายตัวของชุมชนเมืองและภาคเกษตรกรรมมีการใช้สารเคมีมากขึ้น ทั้งปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า จึงทำให้สารพิษที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร รวมถึงการใช้ในชุมชน ไหลลงปะปนในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เกิดน้ำเน่าเสียมีคุณภาพต่ำ และมีสารเคมีปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของพี่น้องประชาชน ทำให้ไม่สามารถใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค ได้เหมือนอย่างในอดีตที่ผ่านมา รวมถึงมีการขาดแคลน ดังนั้นเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหา น้ำบาดาลอย่างยั่งยืน จึงเห็นควรให้รัฐบาลสนับสนุน ส่งเสริมการขุดเจาะน้ำบาดาลเพิ่มขึ้น โดยการจัดหาเครื่องขุดเจาะเพิ่มเติมให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาคุณภาพ น้ำบาดาลแบบบูรณาการจากทุกภาคส่วน จึงขอเสนอญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาน้ำบาดาลขาดแคลน และปัญหา น้ำบาดาลคุณภาพต่ำ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ ส่วนเหตุผลและรายละเอียดจะได้อภิปรายให้ท่านประธานและที่ประชุมทราบ ในลำดับต่อไป
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ สิ่งที่ผมได้แถลง เป็นญัตติต่อท่านประธานในเรื่องของปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพต่ำนั้น เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น ที่กระทบต่อการใช้ชีวิตของพี่น้องประชาชน ตอนนี้ถ้าท่านประธานไปดูในหัวเมืองแล้วก็ ในต่างจังหวัด น้ำบาดาลนั้นถือว่าเป็นน้ำที่มีความสำคัญที่ช่วยให้พี่น้องประชาชนนั้น ได้ทำการเกษตรแล้วก็ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค ในสมัยก่อนท่านประธานครับ ถ้าท่าน ยังเด็กท่านคงจำได้ น้ำบาดาลเราเจาะไป ๑๐๐ กว่าเมตร ๘๐ เมตร เลยน้ำผิวดินลงไป เราไปได้บาดาลที่น้ำคุณภาพ เจออะไรก็ต้องใช้อย่างนั้น เราไปเจอน้ำที่เป็นหินปูน เราเจอน้ำ ที่เป็นสนิม มีสารเคมีปนเปื้อน หรือเจอน้ำที่ยังไม่บริสุทธิ์ แต่ว่าเทคโนโลยีการขุดเจาะเราได้ แค่นั้น เราก็ต้องตั้งถังเอามาให้พี่น้องประชาชนมาใช้เพื่อยังชีพ น้ำบาดาลในสมัยก่อน ท่านประธานจะเห็นว่าเราเอามากินไม่ได้ ถ้าใครมากินน้ำบาดาลเราจะเห็นว่าพออายุมากขึ้น ไปหาหมอก็จะเป็นนิ่วในไต บางคนแคะนิ่วออกมาในไตหนักเป็นกิโลกรัมยังมีเลย เพราะอะไรครับ เพราะว่าปัญหาคุณภาพน้ำบาดาลนั้นไม่ได้คุณภาพ แต่ปัจจุบันนี้ผมเอง ได้มีโอกาสเป็นกรรมาธิการงบประมาณ แล้วก็เป็นอนุกรรมาธิการงบประมาณทางด้านครุภัณฑ์ ก็ได้รับทราบ ได้ความรู้จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีในการขุดเจาะน้ำบาดาลสูงมากขึ้น สูงจนขนาดเราเจาะลงไปได้ตอนนี้ เกือบ ๑ กิโลเมตร หรือ ๑,๐๐๐ เมตร ตามที่เจ้าหน้าที่ได้มาให้ข้อมูลในชั้นการพิจารณา งบประมาณ ตอนนี้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเรามีเทคโนโลยีมีเครื่องมือขุดเจาะที่ทันสมัย เราขุดไป เราเจาะไปสมัยก่อน ตอนนี้เอกชนเจาะไป ๑๐๐ กว่าเมตรก็ว่าลึก แต่ตอนนี้ เราสามารถเจาะไปได้หลายร้อยเมตร จนเราสามารถเจาะแล้วก็ตั้งเป็นน้ำแร่ให้พี่น้อง ประชาชนได้ใช้ในการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะเอามากินได้เลย เอามาบริโภคได้เลยโดยที่ ไม่เป็นนิ่ว เราจะเห็นตามชุมชนต่าง ๆ ตอนนี้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ต้องให้เครดิต ท่านอดีตอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ตอนนี้ท่านก็เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาญจนบุรีด้วย ท่านทำโครงการนี้ไปทั่วประเทศ ผมเองก็ได้โครงการต้นแบบจาก กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ท่านอธิบดีศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ สมัยที่ท่านเป็นอธิบดีท่านก็ไป ขุดเจาะที่เขตจังหวัดราชบุรีโดยเฉพาะที่อำเภอบ้านโป่ง ท่านก็ให้บ่อต้นแบบมา ๑ บ่อ ตามรูปที่นำกราบเรียนท่านประธานแล้วก็เพื่อนสมาชิกได้เห็น อันนี้เป็นโครงการที่ดีมาก โครงการนี้ดีอย่างไรจะเล่าให้ท่านประธานฟัง เป็นโครงการที่ผมอยากจะให้กรมทรัพยากร น้ำบาดาลทำให้กับพี่น้องคนไทยทั้งประเทศอย่างทั่วถึง แล้วก็ขอให้รัฐบาลรับไปดำเนินการ เพราะเป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก แท็งก์ที่ท่านประธานเห็นเป็นน้ำบาดาลที่เจาะลงไป ตรงนี้เจาะได้ประมาณ ๓๐๐ กว่าเมตร เจาะลงไปชั้นแรกอย่างที่บอก ๑๐๐ กว่าเมตร เอาไป Check ยังกินไม่ได้ ถ้ากินไปเป็นนิ่ว อย่างที่เรียนให้ท่านประธานฟัง เจาะไป ๒๐๐ เมตร เอาไปตรวจที่ อย. ยังกินไม่ได้ ก็เจาะลงไป ๓๐๐ กว่าเมตร จนไปเจอชั้นน้ำที่กินได้ ก็ตั้งเป็น จุดน้ำแร่เลย เอาไปตรวจ Grade มา เจ้าหน้าที่ทรัพยากรน้ำบาดาลภาค ๘ ก็มาให้ผมดู เอาผลทางวิทยาศาสตร์มาดูเลยบอกว่ามันเป็น Grade เดียวกับน้ำแร่ ก็ตั้งเป็นแท็งก์น้ำแล้วก็ เป็นจุดจ่ายน้ำแร่ให้กับพี่น้องประชาชน ทีนี้ท่านอดีตอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลในสมัยนั้น ท่านศักดิ์ดาก็ไปมอบให้กับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ก็คือ อบต. หนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โครงการนี้ เป็นโครงการที่ผมได้เอามาอภิปรายในสภาว่าประชาชนเดือดร้อนเรื่องน้ำอุปโภคบริโภค ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ไปสำรวจแล้วก็ไปตั้งแท็งก์นี้ขึ้นมา ท่านประธานครับ โครงการนี้นอกจากจะทำให้พี่น้องประชาชนได้ใช้น้ำ โดยราคาที่ใช้น้ำ ต่อคิวถูกกว่าประปาส่วนภูมิภาค แต่ว่าสิ่งที่พี่น้องประชาชนจะได้ก็คือเอามารับประทานได้ การรับประทานนั้นเอามาบริโภคก็ไม่เสีย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็แจกคูปองไป ส่วนค่าไฟมาจากไหน ค่าไฟก็มาจากการขายน้ำไปตามบ้านเรือนที่เอาไปใช้ในครัวเรือน แล้วก็เก็บเงินมาเป็นค่าไฟ แล้วก็มาจ่ายค่าไฟ ส่วนน้ำบริโภคที่เป็นน้ำแร่ก็เอามาแจกจ่าย ตามครัวเรือนต่าง ๆ ตามโควตาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นได้จัดสรรไว้ โครงการนี้ เป็นโครงการที่ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ผมลงไปสำรวจ เดิมหมู่บ้านตรงนี้มีอยู่ส่วนหนึ่งของหมู่บ้านชื่อว่าบ้านหนองแก แล้งมาก เจาะลงไปหาน้ำ ก็ไม่มี แล้วที่สำคัญประปาหมู่บ้านเดิมไปใช้จ่ายไปก็มีตะกอน มีตะกรัน พอมาได้โครงการนี้ พี่น้องประชาชนพูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่านอกจากจะได้น้ำที่มีคุณภาพใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังได้น้ำแร่ฟรี ๆ มาใช้ในการบริโภคทุกเดือน เราซื้อน้ำ ๑ ถังตอนนี้ ๒๐ ลิตร ราคา ๒๕ บาท แกลลอนหนึ่ง ๒ ถังต่อครัวเรือน เดือนหนึ่งผมคำนวณค่าใช้จ่ายแล้ว ในแต่ละเดือนประหยัด ไปได้ ๗๐๐-๘๐๐ บาท ปีหนึ่งประชาชน Save เงินได้ประมาณ ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาทต่อปี เฉพาะซื้อน้ำกิน ตรงนี้จึงเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์มาก ผมจึงขออนุญาตได้ตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญ ให้สภาแห่งนี้ได้ลงมาศึกษาแล้วก็มาช่วยผลักดันโครงการที่เป็น ประโยชน์อย่างนี้ให้กับพี่น้องประชาชน เพราะอะไรครับ เพราะว่าเมื่อปีที่ผ่านมาก็ได้ ส่งเรื่องนี้ให้ทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลไปสำรวจแล้วก็ขยายเพิ่มเติม แต่ติดปัญหา จนปัจจุบันนี้ว่ายังไม่สามารถขยายได้ ก็ไม่ทราบว่าเหตุผลเพราะอะไร อาจจะเรื่องงบประมาณ อาจจะเป็นเรื่องของบุคลากรหรือเปล่าผมไม่ทราบได้ แต่ว่าที่สำคัญคือพี่น้องประชาชน รอโครงการนี้ให้รัฐบาลได้เร่งดำเนินการ อันนี้คือในส่วนของน้ำบาดาลที่อยากจะเล่าให้ ท่านประธานแล้วก็เพื่อนสมาชิกได้สนับสนุน ทีนี้เนื่องจากปัจจุบันนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญ เราก็มีจำนวนมาก เราก็ได้ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นมาแล้ว ผมในฐานะที่เป็น Whip รัฐบาล ก็ได้หารือกับเพื่อนสมาชิกที่เป็น Whip รัฐบาล ก็เลยขออนุญาตให้ใช้ญัตตินี้ส่งเรื่อง ให้คณะกรรมาธิการที่เราจะตั้งขึ้นใหม่ จริง ๆ ก็ไม่ใช่ตั้งขึ้นใหม่ คือเปลี่ยนชื่อแล้วก็เปลี่ยน ภารกิจ เป็นคณะกรรมาธิการจัดการทรัพยากรน้ำรับไปดำเนินการ แล้วผมคิดว่าตรงนี้ ถ้าคณะกรรมาธิการสามัญที่ตั้งขึ้นมาใหม่ แล้วก็ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการขึ้นมาเพื่อมาศึกษา เรื่องนี้อย่างจริงจัง แล้วก็มาช่วยทางรัฐบาลในการผลักดันโครงการนี้ให้กับพี่น้องคนไทย ทั้งประเทศ ก็จะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพี่น้องประชาชน ที่อยู่ต่างจังหวัด
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
ผมขออนุญาตท่านประธาน ญัตติที่ ๒ ๕.๙ ก็คือญัตติเรื่องของน้ำประปาไหลอ่อน ขอแถลงญัตติตามระเบียบสภาครับ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญศึกษาแก้ไขปัญหาน้ำประปาไหลอ่อน เรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร จากการขยายตัวของชุมชนเมืองและความเจริญทางเศรษฐกิจในประเทศไทย มีแนวโน้มว่า จะมีจำนวนประชากรและปริมาณการใช้น้ำเพิ่มขึ้นในอนาคต ส่งผลให้ในปัจจุบันการบริโภค น้ำประปาประสบกับปัญหาแรงดันน้ำที่ให้บริการต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีแรงดันต่ำ ในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้น้ำสูง จึงเกิดปัญหาน้ำประปาไหลอ่อนจนถึงไม่ไหล จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคและผลกระทบในการบริหารจัดการน้ำประปา ในเขตเมืองที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค และไม่อาจสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ คาดหวังได้ ดังนั้นปัจจุบันนี้แรงดันน้ำที่สูงขึ้นจึงมีความจำเป็นที่การประปานั้นจะต้องพัฒนา ระบบการจ่ายน้ำให้สามารถตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชนได้ ปัจจุบันนี้ปัญหา การแตกรั่วของท่อน้ำ ทำให้ปัญหาแรงดันน้ำในปัจจุบันนั้นไม่สามารถที่จะตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคได้ จึงเป็นปัญหาที่ผมได้ตั้งญัตตินี้ขึ้นมาให้สภาแห่งนี้ได้ตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาน้ำประปาไหลอ่อนตามข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ ส่วนเหตุผลและรายละเอียดจะได้ ชี้แจงต่อท่านประธานและที่ประชุมครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ เรื่องปัญหาน้ำประปาไหลอ่อน เป็นอีกญัตติหนึ่งที่ผมได้ ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้เสนอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษา เพราะว่าปัญหาน้ำประปาไหลอ่อนหรือไม่ไหลเลย กระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในชุมชนเมืองเป็นอย่างมาก เพราะว่า น้ำประปาในเมืองก็คือการประปานครหลวง ส่วนที่ต่างจังหวัดเราเรียกว่าการประปา ส่วนภูมิภาค ท่านประธานเชื่อไหมครับ ในสมัยที่ผ่านมาผมเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร ผมได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็คือการประปาส่วนภูมิภาคและการประปานครหลวงมาหารือ สิ่งที่เราได้รับข้อมูล เป็นข้อมูลที่น่าตกใจมาก การประปาทั้งสองผลิตน้ำประปามา ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถ ขายได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ อีก ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ไหลทิ้ง ไหลทิ้งคือไหลอย่างไร ท่านประธานครับ ไหลใต้ท่อ ไหลใต้ดิน ท่อที่ฝังดิน เนื่องจากท่อที่ฝังอยู่ใต้ดิน ท่อประปาใช้มานานหลายสิบปี ก็ผุบ้าง ทรุด แตก หัก แล้วน้ำประปาก็รั่วซึมอยู่ใต้ดิน เจ้าหน้าที่การประปาก็มารายงาน ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการว่าปัจจุบันนี้ใช้งบประมาณในการที่จะต้องเดินท่อใหม่มหาศาล แล้วงบประมาณก็ไม่เพียงพอ สิ่งที่เจ้าหน้าที่การประปาแก้ปัญหาท่อประปารั่ว ท่านประธาน รู้ไหมครับ เจ้าหน้าที่การประปาเขาทำอย่างไรรู้ไหม จึงเป็นที่มาของปัญหานี้ แล้วผมก็ยื่น ญัตตินี้เข้ามาในสภา คือพอกลางคืนคนใช้น้ำประปาน้อย เจ้าหน้าที่การประปาก็ลดแรงดันน้ำ เพื่อให้น้ำที่รั่วใต้ดินลดความสูญเสียลงไป ทีนี้พี่น้องประชาชนที่ใช้น้ำกลางคืนก็ประสบ ปัญหาคือกลับบ้านมาดึก ๆ บางที่ก็น้ำไม่ไหลเลย บางที่น้ำก็ไหลอ่อน ก็มีผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ บางคนทำงานเหนื่อยกลับมา ออกกะมา ๔ ทุ่ม ๕ ทุ่ม กลับถึงบ้านมาเที่ยงคืน เปิดน้ำประปามาน้ำประปาไหลเบามากจนถึงไม่ไหล อันนี้คือคุณภาพชีวิตของคนเมืองที่เจอ ปัญหาเรื่องของคุณภาพน้ำประปา ทีนี้เราจะแก้อย่างไรครับ ทางการประปาส่วนภูมิภาค ก็พยายามจัดสรรงบประมาณมาเปลี่ยนท่อ ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะที่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ก็ได้ถามปัญหานี้ไปกับ เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในหลายจังหวัดที่ผมได้ขอให้เพื่อนสมาชิกรับรองญัตตินี้ ไม่ว่าจะเป็นที่สุราษฎร์ธานี ไม่ว่าจะเป็นที่สงขลา ไม่ว่าจะเป็นที่นครศรีธรรมราช ไม่ว่าจะเป็น ที่ตรัง ที่พิษณุโลก ก็เจอปัญหาเหมือนกันครับท่านประธาน เจอปัญหาคล้ายกันเลย กลางคืน น้ำประปาไหลเบามาก ที่ไหลเบาก็เป็นการแก้ปัญหาของเจ้าหน้าที่การประปา อันนี้ไม่ได้โทษ เจ้าหน้าที่ครับ เพราะว่าถ้าเปิดแรงดันกลางคืนก็มีปัญหาสูญเสียน้ำประปาเป็นจำนวนมาก ขนาดเบากลางคืนแล้วยังผลิตมา ๕๐ ขายไป ๕๐ เสียอีก ๕๐ ผลิตมา ๑๐๐ ใช้ได้ ๕๐ ที่เอาไปขาย แล้วก็อีก ๕๐ เสียไปใต้ดิน ฉะนั้นตรงนี้ผมจึงคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ทางรัฐบาล ต้องเข้ามาแก้ไข เลยขอเสนอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ แต่เนื่องด้วยปัญหาเดียวกัน ตอนนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญเราก็เยอะ แล้วเจ้าหน้าที่ ก็มีจำกัด เราได้ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นมาแล้ว ก็คือที่เราจะเปลี่ยนชื่อคณะกรรมาธิการจากคณะกรรมาธิการการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผล เกษตรกรรม มาเป็นคณะกรรมาธิการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แล้วก็เปลี่ยนภาระหน้าที่ ก็เลยขออนุญาตท่านประธานได้ส่งเรื่องนี้ให้ทางคณะกรรมาธิการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการขึ้นมาเพื่อที่จะได้ศึกษาแก้ไขปัญหาเรื่องของน้ำประปาไหลอ่อน ให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ เลยขออนุญาตนำกราบเรียนท่านประธาน ๒ ญัตติ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านอัครเดชก็ได้แถลงแล้วก็อภิปรายในญัตติที่ ๕.๘ แล้วก็ญัตติที่ ๕.๙ แล้วนะครับ ต่อไปจะเป็นการเสนอญัตติในทำนองเดียวกันของท่านธนา กิจไพบูลย์ชัย ขอเรียนเชิญครับ
นายธนา กิจไพบูลย์ชัย ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ธนา กิจไพบูลย์ชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต ๓ พรรคภูมิใจไทย ซึ่งประกอบไปด้วยอำเภอเบญจลักษ์ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอกันทราลักษ์ เฉพาะตำบลจานใหญ่ ตำบลตระกาจ ตำบลกระแชง อำเภอโนนคูณเฉพาะตำบลหนองกุง ตำบลโนนค้อ ตำบลเหล่ากวาง กระผมขอเสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญศึกษาแก้ไขปัญหาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอ ท่านประธานครับ น้ำบาดาลกับคนต่างจังหวัด เป็นของคู่กันมาอย่างช้านาน จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เราต้องใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค เพราะว่าเราไม่มีแหล่งน้ำผิวดินที่มีน้ำเพียงพอ ต่อการอุปโภคบริโภค สู้เขาบ้านเฮามันแล้ง เป็นคำพูดที่หลาย ๆ ท่านก็คงได้ยินจากอดีต จนถึงปัจจุบัน มันน่าเศร้ามากครับ ยิ่งเวลาผมลงพื้นที่เห็นความยากลำบากของพี่น้อง ประชาชน เวลาเขาไม่มีน้ำกินน้ำใช้ผมยิ่งรู้สึกหดหู่ใจมากครับ จังหวัดศรีสะเกษของผมตอนนี้ มีทุเรียนภูเขาไฟที่กำลังโด่งดัง และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค สร้างรายได้ให้กับจังหวัด และประชาชนในพื้นที่อย่างมาก แล้วจังหวัดของเรายังสามารถปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด ปลูกมัน และผลไม้ได้ทุกชนิด ยิ่งถ้าตอนนี้จังหวัดของผมมีน้ำบาดาลที่เพียงพอ เราจะสามารถ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้เยอะเลยครับ ผมขออนุญาตยกตัวอย่างคำว่า น้ำไม่พอ หรือน้ำไม่เพียงพอ ให้ท่านประธานฟังครับ ในอำเภอศรีรัตนะซึ่งเป็นเมืองข้าวโพดหวาน ในบางปีที่เขาปลูกข้าวโพดแล้วปีนั้นเป็นปีที่มีภัยแล้ง ชาวบ้านต้องสลับกันใช้น้ำบาดาล เพื่อรดน้ำข้าวโพดโดยแบ่งเวลากันรด น้ำในโอ่งต้องอาศัยน้ำจากองค์การบริหารส่วนตำบล สูบน้ำใส่รถน้ำมาใส่ในโอ่งให้เขา เขายอมสละน้ำที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของเขามาเพื่อรดน้ำ ข้าวโพด บางคนไม่ยอมอาบน้ำ เพราะว่าเขากลัวน้ำไม่พอสำหรับการเกษตร จากการที่ ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งเป็นระยะเวลานานต่อเนื่องกันมาเป็นประจำหลายปี ยิ่งปีนี้ เราจะเจอปรากฏการณ์ El Nino ประกอบกับมีการขยายตัวของชุมชน ส่งผลให้มีการใช้น้ำ ในการอุปโภคบริโภคมากขึ้น แหล่งน้ำผิวดินซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ต่อความต้องการ ส่งผลให้ราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และทำการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ศรีสะเกษ เขต ๓ ของผม ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ของราษฎรที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย กระผมจึงอยากขอว่าเราจำเป็น ที่ต้องการเจาะบ่อน้ำบาดาลขนาดใหญ่พร้อมกับก่อสร้างระบบประปาน้ำบาดาลในพื้นที่ ที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่เดือดร้อน และกระผมต้องขอขอบคุณนโยบายดี ๆ ของท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่ท่านได้มีนโยบายที่จะทำให้ทุกหมู่บ้านมีน้ำดื่มสะอาดไว้บริโภค สำหรับน้ำบาดาล เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เราใช้น้ำบาดาลเป็นน้ำบริโภค เนื่องจากน้ำบาดาลเป็นน้ำสะอาดที่มีแร่ธาตุสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ละลายอยู่ใน น้ำบาดาลหรือที่เราเรียกว่าน้ำแร่ ซึ่งประเทศไทยใช้น้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำหลักมากกว่า ร้อยละ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน และมีการใช้น้ำผิวดินในการอุปโภคบริโภค การเกษตรมาโดยตลอด เพราะประเทศของเราในอดีตขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นต้นเหตุให้ฤดูกาล เปลี่ยนไป อุณหภูมิสูงขึ้น มีฤดูแล้งที่ยาวนานมากขึ้น และฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน นอกจากนี้ จำนวนป่าไม้ของประเทศไทยก็ลดลงจากอดีตเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นการบุกรุกตัดไม้ ทำลายป่าก็มีจำนวนมากขึ้นครับ ทำให้ป่าต้นน้ำถูกทำลาย แม่น้ำลำธารหลายสายที่เคยชุ่ม ชื้นและมีน้ำไหลตลอดทั้งปีปัจจุบันเหือดแห้ง ยิ่งไปกว่านั้นวิถีชีวิตของคนไทยก็เปลี่ยนแปลง ไปจากอดีตเป็นอย่างมาก มีโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น การขยายตัวของชุมชนเมือง ส่วนภาคเกษตรกรรมเรามีการใช้สารเคมี ทั้งปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง จึงทำให้สารพิษ ที่เกิดจากอุตสาหกรรมชุมชนและภาคเกษตรไหลลงไปปะปนในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ คุณภาพน้ำเกิดการเสีย ไม่สามารถนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้อย่างเหมือนในอดีตครับ ดังนั้นโครงการสะดือน้ำเป็นธนาคารน้ำใต้ดินที่จะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำบาดาลไม่เพียงพอ ซึ่งน้ำในชั้นหินด้านล่างก็จะซึมขึ้นมาในท่อ ชาวบ้านสามารถดึงน้ำไปใช้ได้ ส่วนรอบสะดือน้ำ ก็จะใส่ก้อนหินใหญ่ไว้เพื่อเวลามีน้ำหลากน้ำจะได้ซึมกลับลงไปในใต้ชั้นหินเหมือนเดิม พื้นที่ ที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากทุกปีต้องใช้วิธีขุดเจาะบาดาล แต่เมื่อใช้น้ำบาดาลไปนาน ๆ ระดับน้ำ ก็ลดลง จึงหวังว่าสะดือน้ำนี้จะสามารถเติมกลับน้ำใต้ดินไปได้ และยังมีน้ำให้ชาวบ้านได้ใช้ ยามน้ำขาดแคลน จึงควรมีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาน้ำบาดาล ไม่เพียงพอเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพราะน้ำคือชีวิตของประชาชน การขุดเจาะน้ำบาดาล และการใช้น้ำบาดาลกันอย่างกว้างขวางมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต แต่ปัจจุบัน ยังไม่ได้มีการควบคุมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตามหลักวิชาการ จนปรากฏว่าแหล่งน้ำบาดาล บางแห่งเกิดขาดแคลนและเสียหาย ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นสภาพเช่นนี้ตลอดไปอาจเกิด ความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติของชาติ หรือทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เป็นอันตราย แก่ทรัพย์สินและสุขภาพของประชาชน จึงควรมีมาตรการป้องกันอย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน ดังนั้นผมจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวเพื่อให้ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาน้ำบาดาล เพื่ออุปโภคบริโภคไม่เพียงพอ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านผู้เสนอญัตติท่านถัดไปนะครับ ท่านรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ครับ
นางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ลำปาง ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน รภัสสรณ์ นิยะโมสถ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดลำปาง ตามที่ดิฉันได้เสนอญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ทั้งระบบ วันนี้ดิฉันจะพูดถึงที่มาถึงปัญหาที่ดิฉันต้องเสนอญัตตินี้ ตลอดระยะเวลา หลายเดือนที่ผ่านมาดิฉันมักได้รับปัญหาข้อร้องเรียนในพื้นที่อย่างต่อเนื่องถึงเรื่องเกี่ยวกับ ปัญหาน้ำประปา ประกอบกับที่ดิฉันได้ติดตามการหารือของเพื่อนสมาชิกรัฐสภาแห่งนี้ พบว่ากว่า ๕๑ ครั้ง เป็นการหารือเกี่ยวกับปัญหาน้ำประปาอีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น จากการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และประปาหมู่บ้าน จากน้ำที่ขุ่นแดง ไม่ได้มาตรฐาน และไม่เพียงพอต่อการใช้อุปโภคบริโภค และจากการรวบรวมข้อมูลปัญหา เกี่ยวกับน้ำประปา พบว่าปัญหาหลัก ๆ คือเรื่องของมาตรฐานประปา และปัญหาอื่น ๆ ที่ดิฉันจะกล่าวในรายละเอียดตอนท้าย ปัญหาเรื่องมาตรฐาน ดิฉันจะขอแบ่งออกเป็น ๓ มาตรฐานหลัก ๆ คือ
นางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ลำปาง ต้นฉบับ
มาตรฐานที่ ๑ ด้านแหล่งน้ำดิบ มาตรฐานการควบคุมการผลิต และบำรุงรักษา มาตรฐานสุดท้ายเป็นมาตรฐานด้านระบบประปา สำหรับมาตรฐานด้านแหล่งน้ำดิบก็จะมี น้ำดิบประเภทผิวดินและน้ำดิบประเภทน้ำบาดาล น้ำผิวดิน ในปัจจุบันประเทศไทยเรากำลัง เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาวะความรุนแรงของลมฟ้าอากาศทั้งในรูปแบบ ของภาวะภัยแล้งและน้ำท่วม ตลอดจนภาวะความรุนแรงของอุณหภูมิและคลื่นความร้อน ที่ส่งผลให้น้ำดิบมีปัญหาทั้งเชิงคุณภาพที่มีน้ำเค็มรุกล้ำ น้ำดิบด้อยคุณภาพ และความขุ่น ที่สูงขึ้น ในเชิงปริมาณ แหล่งน้ำดิบไม่เพียงพอที่จะใช้ตลอดทั้งปี ระบบประปาบางที่ที่เป็น ประปาแบบผิวดินไม่สามารถสูบน้ำจากแหล่งน้ำดิบขึ้นมาใช้ได้เพียงพอก็ต้องไปสูบน้ำบาดาล ขึ้นมาใช้ร่วมด้วย ซึ่งตรงนี้จะไม่สามารถกรองสารฟลูออไรด์หรือกรองสนิมเหล็กออกได้ ก็จะส่งผลต่อคุณภาพน้ำที่นำไปใช้จะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชนตามมาได้ เรื่องคุณภาพของน้ำบาดาล ดิฉันจะขอยกตัวอย่างจังหวัดลำปางที่มีปริมาณสนิมเหล็กอยู่ที่ ๕-๓๐ มิลลิกรัมต่อลิตร และปริมาณฟลูออไรด์สูงกว่าที่มาตรฐานของกรมอนามัยกำหนด ในเชิงปริมาณก็เช่นเดียวกันหลายพื้นที่ไม่เพียงพอถึงขั้นที่บางพื้นที่ อปท. จำเป็นที่จะต้อง ซื้อน้ำจากหน่วยงานอื่น ๆ มาบริการให้กับพี่น้องประชาชนอีกต่อหนึ่ง สุดท้ายประชาชน ก็ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
นางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ลำปาง ต้นฉบับ
มาตรฐานที่ ๒ คือการควบคุมการผลิตและการบำรุงรักษา ในรายละเอียด ส่วนนี้ดิฉันจะขอเน้นไปที่ผู้ที่ควบคุมระบบประปาที่จะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในการผลิต การดูแล การบำรุงรักษา และการบริหารจัดการ ในเรื่องของความเชี่ยวชาญ การผลิตประปา เนื่องจากจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปา ต้องผ่านการกรอง ต้องอาศัยการเติมสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นสารส้ม สารคลอรีน เพื่อให้น้ำที่ออกมาได้คุณภาพ ตามมาตรฐาน แต่หากผู้ที่ควบคุมระบบประปาขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญ เติมสารเคมี มากเกินไปก็จะส่งผลต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน
นางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ลำปาง ต้นฉบับ
มาตรฐานที่ ๓ ในเรื่องของการบำรุงรักษา หลายพื้นที่ในปัจจุบันต้องการ การซ่อมแซม อย่างในช่วงที่ผ่านมาเกิดอุทกภัยน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือน เสียหาย ท่อส่งน้ำของหมู่บ้านเสียหายทั้งหมู่บ้านก็จะต้องมีการวางท่อใหม่ทั้งหมด แต่งบประมาณไม่เพียงพอ ภาระหนักจึงไปตกอยู่ที่ผู้ที่ควบคุมประปาที่จะต้องมีการบริหาร จัดการต้นทุนผลิตน้ำประปาให้เหมาะสมให้สามารถมีเงินเหลือพอที่จะไว้ซ่อมบำรุง ไม่ว่า จะเป็นปั๊มน้ำ อุปกรณ์วางท่อต่าง ๆ ซึ่งเรากลับมามองที่ความเป็นจริงแล้วนั้น ต้นทุนหลัก ๆ ในการบริหารจะอยู่ที่การสูบน้ำจากแหล่งน้ำดิบ บางพื้นที่หาแหล่งน้ำดิบแทบไม่ได้ต้องสูบไกล เป็นกิโลเมตร เพื่อหาน้ำมาบริการต่อพี่น้องประชาชน อย่าว่าแต่เรื่องของการสูบน้ำเลย งบประมาณในการซื้อกรวดกรอง ทรายกรองมาเปลี่ยนก็ไม่มี เราไม่ต้องนึกถึงสารส้ม สารคลอรีนที่จะมาใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำเลย เราจึงมักจะเห็นน้ำประปาที่เราเห็นมันเป็น สีเหมือนโอวัลตินอยู่เสมอ ๆ และจากความเชี่ยวชาญที่เรากล่าวมาก็จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน ผู้ที่ควบคุมระบบประปาที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญที่จะจัดการประปา ทั้งระบบมีอยู่น้อยเหลือเกิน การฝึกอบรมผู้ดูแลประปามันไม่ครอบคลุมกับจำนวนประปา หมู่บ้านที่มีอยู่ในปัจจุบัน บ้างก็ต้องอาศัยวิธีครูพักลักจำ จำจากผู้ดูแลคนเก่า ๆ เขาเรียกว่า ถ่ายทอดกันเป็นรุ่นต่อรุ่นเป็นวิชาองค์ความรู้ที่ไม่ได้มีสอนกันทั่วไป
นางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ลำปาง ต้นฉบับ
มาตรฐานด้านสุดท้ายเป็นมาตรฐานเรื่องระบบประปา ประปาจะต้องมี มาตรฐานการผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้น้ำของชุมชนและต้องสามารถรองรับ ต่อปริมาณการใช้น้ำสูงสุดต่อวันได้ กล่าวคือเมื่อชุมชนมันขยายตัวมากขึ้นประชากรในพื้นที่ เพิ่มมากขึ้น แต่ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างน้ำประปากลับไม่สามารถขยายตาม ความหนาแน่นของประชากรได้ มันจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในช่วงเวลาใช้น้ำในช่วงเช้า หรือหัวค่ำน้ำประปาจึงไหลน้อย ไหลเบา ไหลกะปริบกะปรอยเสียเหลือเกินทั้ง ๆ ที่ค่าบริการ น้ำประปาพี่น้องก็ชำระไม่ใช้ฟรี ๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นการประปานครหลวง การประปา ส่วนภูมิภาค กลับไม่สามารถขยายเขตให้บริการให้พี่น้องประชาชนได้ และแม้กระทั่ง น้ำประปาหมู่บ้านก็ต้องรอของบประมาณแรมปีแรมชาติ อปท. บางแห่งไม่ได้มีผู้นำที่เป็นนักวิ่ง นักเต้น ชาวบ้านก็ต้องดูแลกันเองตามยถากรรม สูบน้ำ ใช้เอง และนอกเหนือจากปัญหาเรื่องมาตรฐานต่าง ๆ ที่ดิฉันได้กล่าวไป ยังมีอีก ๑ ปัญหาใหญ่ คือปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมือง ดิฉันจะขออนุญาตเล่าข่าวดัง จากเมื่อวาน ที่มีนายกเทศมนตรีได้เรียกรับเงินจากผู้รับเหมาที่เข้ามาประมูลก่อสร้างระบบ ประปาหมู่บ้านเป็นเงินกว่า ๖๐๐,๐๐๐ ล้านบาท หลายโครงการที่เป็นความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชน แต่กลับไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไข ๑ สาเหตุเลยก็คือเงินทอนไม่มากพอ เปอร์เซ็นต์น้อยเกินไป โครงการแบบนี้ผู้มีอำนาจไม่เหลียวแลเลยถ้าไม่ได้รับเงินทอน เลือกทำ เฉพาะโครงการที่ได้รับเงินทอนสูง ๆ ส่วนความเดือดร้อนของชาวบ้านจะเป็นอย่างไรช่างมัน อันนี้ก็คงต้องฝากผ่านทางท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วยให้ดูแล ตรวจสอบ แล้วจัดการอย่างเข้มงวดเพื่อไม่ให้เกิดกรณีแบบนี้ขึ้นอีก
นางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ลำปาง ต้นฉบับ
สุดท้ายค่ะท่านประธาน ประปาหมู่บ้าน ประปาท้องถิ่น ประปาส่วนภูมิภาค หรือประปานครหลวงก็ล้วนแล้วแต่มีผู้กำกับที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงหลายจังหวัด ในประเทศไทยไม่ได้มีประปานครหลวงเหมือนกรุงเทพมหานคร ไม่ได้มีประปาส่วนภูมิภาค เหมือนหัวเมืองใหญ่ ๆ หลายพื้นที่ใช้ประปาภูเขา ใช้ประปาหมู่บ้านที่ดูแลกันเอง และหาก เราพิจารณาถึงการแก้ปัญหาที่ผ่านมาจะเห็นว่ารัฐบาลแต่ละยุค แต่ละสมัย ก็ได้พยายาม ใช้หลากหลายวิธีเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ปัจจุบันนี้ก็ยังมีปัญหาเหล่านี้เข้ามาเสมอ นี่จึงเป็น ที่มาที่ดิฉันเสนอญัตติครั้งนี้เพื่อให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา แนวทางการบริหารจัดการน้ำประปาทั้งระบบ ตั้งแต่การจัดหาน้ำดิบ การผลิต การควบคุม กำกับดูแล เพื่อให้พี่น้องประชาชนคนไทยได้เข้าถึงน้ำประปาที่มีคุณภาพใช้เสียทีค่ะ ก็ต้องขอวอนต่อพี่น้องสมาชิกสภาแห่งนี้ได้โปรดให้ความเห็นชอบในการตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญขึ้นเพื่อศึกษาแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยค่ะ ขอบคุณท่านประธานค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ สมาชิกครับ ผู้เสนอญัตติทั้ง ๓ ท่านก็ได้เสนอ ๔ ญัตติครบถ้วนแล้ว ต่อไป จะเป็นรายชื่อผู้อภิปรายญัตตินี้ตามรายชื่อ ตอนนี้จำนวนผู้มาลงชื่อ ฝ่ายค้าน ๑๙ ท่าน แล้วก็ฝ่ายรัฐบาล ๒๐ ท่าน ก็คาดว่าจะใช้เวลาเกือบ ๆ ๔ ชั่วโมง อย่างไรเดี๋ยวทางวิป Whip ทั้ง ๒ ฝ่ายประสานกันได้ว่าเราจะเอาถึงท่านใด หรือว่าถ้าเอาจบก็ขอความร่วมมือในการช่วย อยู่ในการฟังการอภิปรายด้วยนะครับ ท่านแรก ขอเชิญท่านประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ครับ
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต ๗ อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี และอำเภอหนองเสือ จากพรรคก้าวไกล พื้นที่ของผมมีทั้งชุมชนที่หนาแน่น และชุมชนที่กระจาย ก็มีปัญหาเรื่องน้ำบาดาล น้ำประปาทุกพื้นที่เลย ผมจึงขอร่วมอภิปราย ญัตติเกี่ยวกับน้ำบาดาล น้ำประปาในครั้งนี้
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ปัญหาของน้ำเท่าที่กล่าวกันมา ก็จะคล้าย ๆ กันน้ำไหลอ่อนถึงไม่ไหล บางที่ไม่ไหล ๒-๓ วัน บางแห่งครึ่งเดือนไม่ไหล มีปัญหา อันนี้จะเป็นทั้งน้ำบาดาลแล้วก็น้ำประปาที่เคยได้รับคำร้องเรียนมา น้ำสกปรก มีตะกอน มีกลิ่น อันนี้เกิดที่หมู่บ้านผมเอง คลองเจ็ด ลำลูกกา เวลาซ่อมท่อ ท่อแตกบ่อยมาก พอซ่อมท่อปุ๊บโคลนก็เข้าไป อันนี้ไปหาเสียงทุกพื้นที่ผมใช้นโยบายน้ำประปาหาเสียงได้เลย ทุกพื้นจะมีปัญหาเหมือนกันหมด ทุกคนจะพูดเหมือนกันหมดเลย อันนั้นคือก๊อกน้ำที่ห้อยคออยู่ อันนี้ผมจะพูดถึงคลองสิบเอ็ด คลองสิบสอง คลองสิบสาม คลองสิบสี่ น้ำบาดาลจะมีตะกอน มีตะกรัน มีกลิ่นตลอดเวลา อันนี้คือตลอดเวลานะครับ ใช้อาบน้ำก็คัน แปรงฟันไม่ได้ หุงข้าว ก็ไม่ได้ ส่วนตำบลบึงคอไห อันนี้จะให้ดูว่าเวลาล้างรถจะมีคราบอย่างนั้นเลย แล้วเวลาล้างรถ เขาทำอย่างไร ก็คือต้องไปจ้างข้างนอกล้าง Car Care หรืออะไรก็ตาม แล้ว Car Care ทำอย่างไร Car Care สูบน้ำจากคลองมาล้างให้ เพราะถ้าเกิดเอาน้ำบาดาลจะเป็นตะกรัน แบบนั้น ต้องสูบน้ำคลองมาล้างรถ อันนั้นคือคราบตะกรันที่เขาสะสมมาแล้วก็เอามือลูบ ตามถังแล้วขึ้นมาอย่างนั้น
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ภาพต่อไป อันนี้คือชุมชน ส. พรรณนารา คลองสิบสอง บึงคอไห ลำลูกกา ภาพซ้ายน้ำประปาเข้าถึง แต่ปัญหาคือประชาชนไม่สามารถใช้น้ำประปาได้ เพราะค่าติด มิเตอร์ ๓,๕๐๐ บาท ไม่มีเงินจ่าย ไม่สามารถที่จะเข้าถึงน้ำประปาได้ และหน่วยต่อน้ำประปา ก็ ๑๐-๑๕ บาท แต่น้ำบาดาลหน่วยละ ๔-๕ บาท อันนี้คือคนที่มีปัญหาจริง ๆ แล้วทาง ด้านขวาคือท่อที่แตกบ่อย ผมก็ลงไปดู ทำไมถึงแตกบ่อย บางทีก็มีการก่อสร้าง บางที มีการทำเกษตร รถตักดิน รถขุด Backhoe ทำท่อแตกประจำเลย
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ภาพต่อไป อันนี้เป็นลาดสวาย ลำลูกกาเช่นกัน ผมก็ไปลงพื้นที่มาก่อนหน้านี้ น้ำประปามีปัญหาเช่นกัน เปิด Clip อันนี้ให้ดูปัญหาของประชาชนจริง ๆ เลย ลำบาก มาตลอดเลย คลองสิบสามมีคลองชลประทานและมีท่อประปาผ่าน แต่ไม่สามารถใช้ประปาได้ ยังใช้น้ำบาดาลอยู่ เพราะฉะนั้นก็ต้องซื้อน้ำถังอย่างนั้นมาหุงข้าว แปรงฟัน บางครั้งอาบน้ำ แล้วคันก็ต้องเอาน้ำนี้มาอาบ ส่วนน้ำดื่มไม่ต้องพูดถึง ต้องซื้อน้ำดื่มตลอดเวลา อันนี้คือ น้ำประปาดื่มได้ของต่างประเทศ ถ้าเกิดเราได้อย่างนี้บ้างจะเป็นอย่างไรบ้างในประเทศไทย มันไม่ยากเลยนะครับ จริง ๆ แล้วเราสามารถทำได้ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น นอร์เวย์ และอื่น ๆ ทำได้หมด
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ภาพต่อไป อันนี้คือเทศบาลตำบลอาจสามารถที่ผมไปดูงานมา ก่อนหน้านี้ ก็น้ำขุ่นเหมือนกัน นายกเทศมนตรีเทพพร จำปานวน เข้าไปบริหารแค่ ๙๙ วันทำน้ำประปา ดื่มได้ใสสะอาดเลย น้ำประปาตรงนี้ก็ใช้เวลาไม่นานแล้วก็ใช้งบไม่เยอะด้วย เพียงแต่ใช้ เทคนิคและใช้ความรู้เข้าไปผสมผสานก็สามารถทำน้ำประปาดื่มได้ให้กับทุกครัวเรือนแล้ว นอกจากน้ำประปาดื่มได้แล้วทางเทศบาลยังทำ Smart Meter ด้วย อันนี้สามารถตรวจสอบ คุณภาพน้ำ ถ้าเกิดน้ำมีตะกอนมีอะไร ส่งข้อมูลขึ้น Cloud เลยแล้วส่งไปที่ศูนย์ของเทศบาล ตำบลอาจสามารถ อันนี้ติดตั้งตามบ้านเรียบร้อยแล้ว
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ภาพต่อไป ทำไมคนไทยต้องซื้อน้ำดื่ม ทำไมเราถึงไม่สามารถเหมือน ต่างประเทศบ้าง เรามีประชาธิปไตยมา ๙๑ ปีแล้ว มีนายกรัฐมนตรีมา ๓๐ คน มี สส. มาแล้ว ๒๖ ชุด แต่คุณภาพน้ำประปา น้ำบาดาลบ้านเราแทบจะไม่ได้ปรับปรุงเลย เรามีความเจริญ ทางเทคโนโลยีทุกอย่าง เรามีตั้งแต่รถไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นเครื่องบิน มีรถเมล์เปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า เรามีเรือรบธรรมดาก็กลายเป็นเรือดำน้ำไปแล้วตอนนี้ เรามีเงินกระดาษเราก็ทำเป็นคริปโต ทำเป็นเงินดิจิทัลได้ เรามาไกลกันขนาดนี้ แต่คุณภาพน้ำก๊อกเราไม่ไปไหนเลย ๔๐-๕๐ ปี ที่ผ่านมาคุณภาพเหมือนเดิมแทบจะไม่มีการปรับปรุงเลย การทำน้ำประปาสะอาด นโยบาย พรรคก้าวไกลทำน้ำประปาดื่มได้ทั่วประเทศไทยใช้เงินแค่ ๖๐,๐๐๐ ล้านบาทเท่านั้น ๖๐,๐๐๐ ล้านบาทหมายถึงอย่างไร ถ้าเราแจกเงินดิจิทัลทุกคนตั้งแต่ ๑๖ ปีขึ้นไป เราใช้ ๕๖๐,๐๐๐ ล้านบาท ผมแล้วก็หลาย ๆ ท่านด้วยเสนอให้แจกเฉพาะคนจนได้ไหม ถ้าเรา แจกเฉพาะคนจนเราจะเหลือเงินประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เรามาทำน้ำประปาดื่มได้ ให้กับประเทศไทยอย่างนี้ Size ขนาดนี้ได้ประมาณ ๗ ประเทศเลย เพราะฉะนั้นผมคิดว่า น้ำประปาเป็นสิ่งสำคัญ น้ำคือชีวิต สุดท้าย อากาศสะอาด น้ำประปาสะอาด ควรเป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานของประชาชน ถ้ารัฐทำไม่ได้แสดงว่ารัฐล้มเหลว และรัฐก็ล้มเหลวมานานแล้ว อยากให้เปลี่ยนแปลงครับ ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านวิชัย สุดสวาสดิ์ ครับ
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม วิชัย สุดสวาสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร พรรครวมไทยสร้างชาติ กระผม ขอสนับสนุนท่านอัครเดชในการยื่นญัตติเรื่องของบ่อบาดาล เรื่องของบ่อบาดาล จริง ๆ แล้วเรามีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะกรมทรัพยากรน้ำบาดาล แต่ไม่รู้ว่าเหตุไฉน โดยเฉพาะใน Zone ของภาคใต้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร แล้วก็ Zone ใต้ทั้งหลายที่ผมได้นำเรียนแล้วก็สืบเนื่องมาตลอดเวลานั้น ไม่เคยมีบ่อบาดาล ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลในเรื่องของการเจาะแล้วใช้ในเรื่องของการเกษตร พี่น้องชาวใต้ โดยเฉพาะพี่น้องชาวจังหวัดชุมพร ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี พวกเรานั้นประกอบอาชีพ ด้านการเกษตร ต้องมีการใช้น้ำ โดยเฉพาะน้ำผืนดินแล้วก็น้ำบาดาล ที่ผ่านมาต้นปี ๒๕๖๖ เกิดภาวะภัยแล้งอย่างหนัก แล้วก็สืบเนื่องมาจากปรากฏการณ์ El Nino ที่จะเกิดขึ้นมาอีก ในปลายปีนี้และต้นปีหน้า ผมเชื่อว่าพี่น้องประชาชนคงจะเดือดร้อนมากพอสมควร เพราะฉะนั้นผมนำเรียนท่านประธานในเรื่องปัญหาของน้ำบาดาล ผมอยากจะให้หน่วยงาน ที่รับผิดชอบโดยเฉพาะกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ช่วยกระตุ้น ช่วยดูแลและแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะในเรื่อง ประสิทธิภาพของน้ำบาดาล โดยน้ำเค็มหนุนขึ้นมาทำให้น้ำบาดาลนั้นเป็นน้ำกร่อย น้ำเค็ม เกิดขึ้น แต่เมื่อตอนบ่ายผมได้ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญในเรื่องของการแก้ไขปัญหา ในเรื่องของ El Nino ขออนุญาตได้เอ่ยชื่อท่านนิดหนึ่ง ก็คือท่านศักดิ์ดา อดีตอธิบดี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ท่านบอกว่ามีหลายภาคส่วนที่เคยไปเจาะ หลายภาค หลายจังหวัด ไปเจาะ และแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้ เพราะฉะนั้นแล้วผมก็นำเรียนท่านประธาน ฝากถึงหน่วยงาน ฝากถึงกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ท่านช่วยออกไปบอกข่าว ออกไปตักเตือน ออกไปให้ข่าวพี่น้องประชาชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น เพื่อที่จะได้เขียนโครงการนำเรียนแล้ว เอาไปแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นแล้วพี่น้องประชาชนเราโดยเฉพาะ ภาคการเกษตรเราต้องใช้น้ำมากตลอด และต้องใช้น้ำที่เป็นน้ำเป็นหลักอยู่แล้ว และน้ำบาดาล เกี่ยวข้องไปถึงการใช้น้ำประปา โดยเฉพาะการประปาส่วนภูมิภาคในจังหวัดชุมพร การประปาส่วนภูมิภาคที่อยู่ในจังหวัดชุมพรผลิตน้ำประปาโดยพอถึงภัยแล้งจริง ๆ แล้วไปแย่งน้ำ พี่น้องประชาชนเสียอีก โดยแหล่งน้ำดิบเขาไม่มีเป็นของส่วนตัว ทำไมไม่เจาะบาดาลครับ ทำไมไม่หาแหล่งน้ำ เพราะฉะนั้นแล้วปัญหาอย่างนี้มันเกิดขึ้นมาหมักหมมแล้วก็สะสมมา ตลอดเวลา ผมอยากนำเรียนท่านประธานนะครับ ผมได้รับเรื่องจากท่าน สส. ธานินท์ นวลวัฒน์ สส. สุราษฎร์ธานี ท่านเองนั้นบอกว่าทางเขตของท่านก็เหมือนกัน ขาดน้ำ ทั้งอุปโภคบริโภค ขาดน้ำในเรื่องของคุณภาพน้ำบาดาล เพราะฉะนั้นแล้วเรื่องนี้เป็น เรื่องใหญ่ ผมอยากนำเรียนท่านประธานด้วยซ้ำว่าในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำบาดาล ในการแก้ไขปัญหาเรื่องประปา น่าจะสมควรหยิบยกมาเป็นวาระแห่งชาติด้วยซ้ำ เพื่อที่จะได้ แก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้ตรงจุด เพราะพี่น้องประชาชน ณ ปัจจุบันนี้ ทางภาคเหนือ ทางภาคกลาง ผมเข้าใจครับ ทางภาคอีสานน้ำท่วม แต่ทางภาคใต้ แล้งแล้วครับ ฝนที่ตกมาก็คือตกมาแบบไม่มีน้ำเท่าไร แล้วก็แล้งร้อนมาก ๒-๓ วัน ที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นผมนำเรียนท่านประธานด้วยความเคารพว่าช่วยกระตุ้น โดยเฉพาะ กรรมาธิการที่เขาเสนอญัตติในเรื่องนี้ เอามาศึกษาและแก้ไขปัญหาร่วมกับพวกผมที่เป็น ประธานคณะกรรมาธิการเรื่องแก้ไขปัญหาของ El Nino อยู่ ผมกลัวเหลือเกินครับ คณะกรรมาธิการวิสามัญ เราทำงานได้ไม่กี่เดือน แต่ปัญหาของพี่น้องประชาชนที่หมักหมม มาหลายรัฐบาลแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา เพราะฉะนั้นผมนำเรียนท่านประธาน ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนี้ ยังไม่หนำซ้ำพี่น้องประชาชนเดือดร้อนในเรื่องของการสรรหา น้ำบาดาล สรรหาน้ำผิวดิน ไปโดนพื้นที่ที่คาบเกี่ยวในเรื่องของเอกสารสิทธิ ก็โดนเรียกเก็บ โดนเรียกร้องจากหน่วยงานภาครัฐให้มีค่าเพิ่มขึ้นมาอีกจากผู้ประกอบการ แล้วตกไปถึง ผู้บริโภคก็คือพี่น้องชาวเกษตรกร เจาะบ่อบาดาลก็ราคาแพงกว่าเพื่อน ค่า Backhoe ก็แพง กว่าเพื่อน เพราะฉะนั้นแล้วผมนำเรียนท่านประธานครับ ถ้าเราไม่แก้ไขทั้งระบบโดยเฉพาะ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถ้าไม่เดินทางในเรื่องของการแก้ไขอย่างนี้ พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมานาน หมักหมมนานพอสมควร การเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่ยังมี หน่วยงานของราชการ หน่วยงานของรัฐ ผมยังไม่เจาะลงไปว่าจังหวัดใด แต่ถ้าใครได้ฟัง ท่านที่ชมอยู่ทางบ้านได้ฟังถึงหูท่านแล้ว ช่วยบอกหน่อย ไปเรียกเก็บเขาเป็นรายเดือนจากผู้ประกอบการในเรื่องของอาชีพ เจาะบ่อบาดาล เดือนละเป็นแสน เพราะฉะนั้นแล้วเรื่องนี้ถ้าผู้หลักผู้ใหญ่ที่บริหารประเทศ อยากรู้เรื่องนี้มาหาผมได้ เรียกผมถามได้ แต่ถ้ายังไม่หยุดในพฤติกรรมอย่างนี้เดี๋ยวผมจะมา ยื่นญัตติแล้วเอาให้ถึงตัวเลย เรื่องนี้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมากพอสมควร เมื่อเช้านี้ผมเอง ก่อนที่จะมาลงชื่ออภิปราย ผมได้สอบถามเรื่องน้ำบาดาลที่เกิดปัญหาขึ้นโดยเฉพาะในจังหวัด ของผม ผมเองได้รับข้อมูลแล้วใจหาย เพราะฉะนั้นแล้วผมนำเรียนท่านประธาน ด้วยความเคารพว่าสิ่งนี้โดยเฉพาะท่านรัฐมนตรี โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเอง ต้องลงมาดูแก้ไขปัญหาเรื่องการหาแหล่งน้ำให้กับพี่น้องประชาชน ผมเคยพูดครั้งหนึ่งตอนที่ ยื่นญัตติเรื่อง El Nino ให้พี่น้องประชาชนเราซื้อน้ำถังไปอาบ ให้พี่น้องประชาชนเราซื้อ น้ำขวดไปดื่มพอแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องให้พี่น้องประชาชนซื้อน้ำถังไปซักผ้า ไปล้างจาน เพราะฉะนั้นผมนำเรียนท่านประธานครับ จริง ๆ แล้วเรื่องนี้มันเป็นปัญหาที่หมักหมม และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนทั่วทั้งประเทศ มันเป็นปัญหาที่เราแก้ไขปัญหา ไม่ได้ พวกเราในฐานะของผู้นำที่พี่น้องประชาชนไว้วางใจเลือกมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถ้าพวกเราไม่มีการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้กับพี่น้องประชาชนได้ ผมเชื่อว่าต่อไปข้างหน้า พี่น้องประชาชนก็ไม่รู้จะพึ่งใคร จะพึ่งผู้แทนราษฎรของพวกท่านก็พึ่งไม่ได้ จะพึ่งกับ หน่วยงานภาครัฐก็เป็นอย่างนี้เสียหมด เพราะฉะนั้นแล้วผมนำเรียนท่านประธาน ด้วยความเคารพครับ ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สมาชิกครับ ผมได้รับการประสานงานจาก Whip ทั้ง ๒ ฝ่ายว่าจะมีการปรับลด เวลาอภิปรายลงให้เหลือท่านละ ๕ นาที เนื่องจากเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกัน แต่เราอยากให้ สมาชิกอภิปรายจนครบถ้วนภายในวันนี้ เชิญทาง Whip มีอะไรจะเสนอไหมครับ ผมได้รับ เอกสาร
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานครับ กระผม นายวรวงศ์ วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต ๕ อยากจะยืนยันกับ ทางที่ประชุมแล้วก็ตัวของท่านประธานให้ได้ทราบว่าทางฝั่ง Whip รัฐบาล แล้วก็ Whip ฝ่ายค้านได้มีการประสานกันแล้ว เนื่องด้วยเราอยากให้การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่น และอยากให้การประชุมจบภายในวันนี้ เนื่องด้วยยังมีวาระต่าง ๆ ที่สำคัญในวันพรุ่งนี้ ไม่อยากให้ข้ามไปถึงวันพรุ่งนี้ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ทางฝ่ายค้านเชิญครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง พรรคก้าวไกล ในฐานะ Whip ฝ่ายค้าน ได้มีการพูดคุยหารือกับทาง Whip รัฐบาลแล้วเห็นด้วย เห็นชอบ ตรงกันว่าจะให้จบ แต่ว่าเวลาเขาจะให้กระชับลงมากกว่าเดิมเพื่อให้ทุกท่านได้อภิปราย แล้วก็เอาให้จบภายในวันนี้เลย เพราะพรุ่งนี้ก็มีญัตติสำคัญแล้วก็มีรายงานอีกที่เป็นวันสุดท้าย ในการประชุมสภาก็ไม่อยากให้ตกหล่น แล้วอยากให้สมาชิกทุกท่านได้นำเสนอ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นก็เห็นด้วยกับทาง Whip รัฐบาลครับ ท่านประธาน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ก็เป็นตกลงตามนี้นะครับ แต่อย่างไรผมจะต้องขอ Break บ้าง ไม่มีประธานเปลี่ยนเลย ก็เป็น ท่านละ ๕ นาที เริ่มจากท่านสรพัช ศรีปราชญ์ แล้วก็ตามด้วยท่านปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช เรียนเชิญท่านสรพัชครับ
นายสรพัช ศรีปราชญ์ สระบุรี ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม สรพัช ศรีปราชญ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี เขต ๑ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ไฟฟ้า ประปา ถนนหนทาง เป็นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปอย่างเรา ๆ ต้องใช้ อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลเองนั้นก็นำมาเป็นจุดขาย เพื่อเชิญชวนนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศให้มาลงทุนในประเทศไทย แต่สาธารณูปโภคเหล่านั้นมีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นไฟตก ไฟดับ น้ำประปาไหลค่อย ไหลเบา ไหลอ่อน ไหลกะปริดกะปรอย จนถึงบางครั้งก็ไม่ไหลเลย ถนนหนทางนั้นยิ่งไม่ต้อง พูดถึงว่าปัญหานั้นมากมายขนาดไหน วันนี้ผมจึงขอร่วมอภิปรายเพราะเรื่องนี้เป็นปัญหา ที่เพื่อนสมาชิกนำมาปรึกษาหารือในทุกสัปดาห์กันบ่อย ๆ จนดูเหมือนเป็นปัญหาที่มี ผลกระทบกันทั่วทั้งประเทศ ไม่ใช่สระบุรีบ้านผมเท่านั้นครับ ท่านประธานครับ ระบบ การบริหารการประปาในประเทศไทยนั้นมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็น การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การประปาเทศบาล รวมถึงประปาหมู่บ้าน การบริหารการจัดการพื้นที่บริการนั้นชาวบ้านทั่วไปต้องใช้ความสามารถพอสมควรเลยครับ ถึงจะรู้ได้ว่าจะต้องไปติดต่อขอรับบริการที่ไหน น้ำประปาที่ชาวบ้านถูกมัดมือให้ใช้มีปัญหา เหมือน ๆ กัน คือไหลค่อย ไหลเบา ไปจนถึงไม่ไหลเลย บ้าน ๒ ชั้นขึ้นไปถ้าไม่มีปั๊มอย่าหวังว่า จะได้ใช้งาน นอกจากนี้ยังมีน้ำที่ไม่สะอาด มีสีดำคล้ำขุ่น ยิ่งประปาหมู่บ้านจะพบกันมากเลย ท่อ Main ไม่ทั่วถึงในพื้นที่บางจุดทำให้ขอน้ำประปาไม่ได้ ราคาน้ำที่ค่อนข้างสูง ไม่มีแผนการ รองรับการขยายตัวของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัยหรือภาคอุตสาหกรรม ท่านประธานครับ แทบทุกรัฐบาลที่ผ่านมามีการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้เกิดการสร้าง ผลผลิต สร้างงาน ในขณะที่ระบบโครงสร้างพื้นฐานของเรายังไม่รองรับ น้ำประปาไม่เพียงพอ ต่อการกินการใช้ในครัวเรือน คุณภาพของน้ำเองยังทำไม่ได้ตามที่หน่วยงานเคยโฆษณาไว้ น้ำประปาดื่มได้ ผมขอถามว่ามีใครดื่มน้ำจากก๊อกตรง ๆ ได้บ้างครับ ปัจจุบันคนทั่วไปไม่กล้า ดื่มน้ำจากท่อประปา ต้องซื้อน้ำบรรจุขวดด้วยกันแทบทั้งสิ้น ท่านประธานครับ เมื่อเรา เปิดน้ำแล้วพบปัญหาน้ำไหลค่อย ไหลเบา หรือไม่ไหล หากเราแจ้งปัญหาไปที่การประปา มีสิ่งหนึ่งที่เราได้คำแนะนำ คือให้ประชาชน ห้างร้าน โรงงาน หาถังน้ำหรือสิ่งอื่น ๆ มากักเก็บน้ำสำรองเอาไว้ เก็บน้ำเมื่อยามที่น้ำไม่ไหลหรือไหลเบา มันใช่หรือครับ ท่านประธาน นี่หรือครับคือการแก้ปัญหาแบบไทย ๆ
นายสรพัช ศรีปราชญ์ สระบุรี ต้นฉบับ
ถ้าดูจาก Slide จากการประปาแนะนำ เมื่อมีปัญหาเราก็ไปแก้ปัญหากันที่ปลายเหตุครับ ต้นเรื่อง ต้นเหตุ หน่วยงานรัฐ ไม่เคยคิด จะแก้ไข อย่าให้ประชาชนต้องย้อนถามนะครับ การประปาก็ไปซื้อมาให้เองสิ จะเอากัน แบบนี้จริง ๆ หรือ ท่านประธานครับ ค่าใช้จ่ายที่ประชาชนต้องแบกรับมันไม่ใช่บาทสองบาท ผมจะเอาข้อมูลคร่าว ๆ มาแสดงให้เห็นในแต่ละครัวเรือน ของคนธรรมดาทั่วไปทั่วประเทศ ต้องเสียค่าใช้จ่ายบ้านละเท่าไร
นายสรพัช ศรีปราชญ์ สระบุรี ต้นฉบับ
๑. ถังเก็บน้ำ เรามาคิดกันง่าย ๆ บ้านอยู่อาศัยกัน ๓-๔ คน พ่อ แม่ ลูก ต้องพิจารณาเพิ่มอีกว่าน้ำจะไม่ไหลบ่อยแค่ไหน จะได้เตรียมน้ำให้พอใช้ เอาเป็นว่าประเมิน ง่าย ๆ ถังประมาณ ๒,๐๐๐ ลิตร ตกใบละ ๕,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ บาท แล้วแต่ประเภทวัสดุ ที่ใช้ผลิต
นายสรพัช ศรีปราชญ์ สระบุรี ต้นฉบับ
๒. ปั๊มน้ำ เป็นตัวที่ใช้จ่ายน้ำเข้าระบบเพิ่มแรงดันเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ในบ้าน ๒ ชั้น ใช้ขนาด ๒๕๐-๓๐๐ วัตต์ ราคาเอาแบบพอใช้ได้พอ ประมาณ ๗,๐๐๐ บาท
นายสรพัช ศรีปราชญ์ สระบุรี ต้นฉบับ
๓. อุปกรณ์เดินระบบ ไม่ว่าจะเป็นวาล์ว ข้อต่อ ข้อลด ท่อประปา ทั้งชุด ผมคิดคร่าว ๆ ประมาณชุดละ ๑,๐๐๐ บาท นี่ก็ยังไม่รวมค่าแรงติดตั้งนะครับ ค่าแรงติดตั้ง ไปถามช่างรับเหมาที่รู้จักกัน เขาบอกราคากันเอง ๒,๐๐๐ บาท โดยรวมแล้วชาวบ้าน ต้องเสียเงิน แก้ปัญหาน้ำประปาไหลเบาประมาณ ๑๕,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมันเป็นเงิน ไม่ใช่น้อยเลยใช่ไหมครับท่านประธาน นี่ยังไม่รวมค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้กับปั๊มน้ำ ค่าบำรุงรักษาที่ต้องตามมาในอนาคต รวมถึงถังแตก ถังรั่ว ปั๊มน้ำพัง ต้องเปลี่ยนกันใหม่อีก เงินจำนวนนี้เป็นเงินที่ประชาชนไม่ควรต้องจ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำประปาที่บริหารงาน โดยหน่วยงานของรัฐ จะเป็นหน่วยงานที่ต้องบริการประชาชนโดยตรง ท่านประธานครับ ความจำเป็นอันนี้กลายเป็นสิ่งที่ต้องมีทุกบ้าน ทุกครัวเรือน ต้องมีการติดตั้งถังน้ำสำรอง ที่ผม ได้กล่าวถึงผมคิดว่าแม้แต่บ้านท่านประธานก็มีเหมือนกัน ยิ่งทุกวันนี้หมู่บ้านจัดสรรโครงการ ต่าง ๆ ต้องเพิ่มถังน้ำสำรองเข้าไปในการสร้างบ้าน หรือไม่ผู้ซื้อบ้านก็ต้องหามาติดตั้งเอาเอง กลายเป็นต้นทุนที่ผลสุดท้ายผู้รับผิดชอบก็คือประชาชน ท่านประธานครับ ด้วยปัญหา ที่กล่าวมา ผมจึงขอสนับสนุนญัตติที่มีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา แก้ไขปัญหาน้ำประปาทั้งระบบ เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้น้ำประปาจะได้ลดค่าใช้จ่าย มีความสะดวกสบาย และไม่กระทบต่อเงินในกระเป๋า สามารถใช้น้ำประปาของรัฐที่ปรับปรุง พัฒนาดีขึ้นเพื่อประชาชน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช ครับ
นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช เชียงราย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาหาแนวทาง การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งน้ำบาดาล น้ำบาดาลคุณภาพต่ำ และการบริหารจัดการ น้ำประปาทั้งระบบ ถือเป็นญัตติที่สำคัญและเป็นปัญหาภาพใหญ่ของประเทศที่มีปัญหา มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เพราะน้ำคือชีวิต เพราะน้ำคือทรัพยากรที่มีค่าอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบัน แต่การบริหารจัดการน้ำให้ประเทศไทยก็ยังดูจะไปคนละทิศคนละทาง ไม่ได้มี การประสานงานหรือร่วมมือกันอย่างเพียงพอที่จะทำให้มีการบูรณาการอย่างเป็นระบบ และยั่งยืน อีกทั้งในยุคปัจจุบันก็ล้วนแต่ใช้น้ำกันอย่างฟุ่มเฟือย มากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตร หรือการอุปโภคบริโภค วันนี้เราต้องยอมรับกันแล้วว่าบ้านเรา กำลังเข้าสู่ภาวะ El Nino ที่ต้องมีการเฝ้าระวังในเรื่องของภาวะแล้ง น้ำกิน น้ำใช้ หรือแม้กระทั่งน้ำที่จะทำการเกษตรอาจจะมีภาวะขาดแคลนอย่างรุนแรง ถึงแม่บ้านเราจะมี ความมุ่งมั่นในการทำแผนบริหารจัดการน้ำอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ จนถึงปี ๒๕๘๐ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการน้ำแห่งชาติหรือ กนช. รวมถึงได้จัดตั้งสำนักงาน ทรัพยากรน้ำแห่งชาติหรือ สทนช. ให้เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารงานในภาพรวม รวมถึงดึงความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐทั้ง ๓๘ หน่วยงาน โดยเน้นให้มีการบริหาร ทั้งในเรื่องน้ำกิน น้ำใช้ และมีเป้าหมายในการดูแล พัฒนา และปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน ทั้งหมดจำนวน ๑๐,๐๐๐ กว่าแห่ง และเพิ่มระบบประปาชุมชนเมือง รวมถึงขยายประปา อีกจำนวน ๑,๐๐๐ กว่าแห่ง แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินงานที่ผ่านมาของสำนักงานต่าง ๆ ที่เอ่ยมาข้างต้นก็ยังไม่ได้ตอบโจทย์ความขาดแคลนเรื่องน้ำที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ของประชาชนคนไทยในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทั้งในเรื่องน้ำประปา น้ำประปา หมู่บ้าน หรือแม้แต่กระทั่งเรื่องปัญหาของน้ำบาดาล อย่างในจังหวัดเชียงรายบ้านเกิด ของดิฉันค่ะ ทั้งอำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ต่างก็มีปัญหาในเรื่องของน้ำเช่นเดียวกัน อย่างในอำเภอเวียงชัย บางพื้นที่ได้ใช้น้ำประปา ส่วนในบางพื้นที่ยังคงใช้น้ำบาดาลเป็นหลัก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือในพื้นที่ของตำบลเวียงชัย และตำบลสิริเวียงชัยซึ่งอยู่ใกล้กับเขตเมืองมากเลย เกิดปัญหาน้ำประปาไหลเบาเหมือนแทบ จะขาดใจ ดิฉันและทีมงานเลยเข้าไปประสานติดต่อกับทางการประปาส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงราย ทางหน่วยงานแจ้งว่าการผลิตน้ำประปาของสาขาเชียงรายให้บริการในพื้นที่ ทั้งอำเภอเมืองและอำเภอเวียงชัย ๔๐,๐๐๐ กว่าหลังคาเรือน รวมเป็น ๑๐๐,๐๐๐ กว่าคน ซึ่งเต็มกำลังการผลิตของทางประปาเชียงรายแล้ว อีกทั้งท่อส่งน้ำยังเป็นแบบเก่า ๓๐-๔๐ ปี ระบบการควบคุมการจ่ายน้ำยังเป็นแบบ Manual ทำให้การผลิตน้ำไม่เพียงพอที่จะกระจาย ไปยังผู้ใช้ทุกครัวเรือนได้ จำเป็นต้องหางบประมาณกว่า ๗๐๐ ล้านบาท มาปรับปรุง และบำรุงการขนส่ง ตอนนี้ทางประปาจังหวัดเชียงรายได้ส่งหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และได้มีการส่งต่อไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำเข้า Board ผู้บริหารของประปา เป็นผู้พิจารณา แต่ก็อาจจะใช้ระยะเวลายื่นของบประมาณที่นานมาก และที่ดิฉันกล่าวมา ข้างต้นคือตัวอย่างเพียงบางส่วนของข้อจำกัดในการบริหารงานในเรื่องของน้ำของทาง ภาครัฐ และในพื้นที่ของตำบลผางาม อำเภอเวียงชัย แม้กระทั่งน้ำบาดาลยังไม่เพียงพอ จะเจาะตื้นน้ำก็ไม่มี จะเจาะลึกกว่าเดิมก็ไม่มีงบประมาณ ต้องขอรถขนน้ำจากหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งนำน้ำมาส่ง อย่างดีก็วันเว้นวัน หรือบางทีก็อาทิตย์ละครั้ง ประชาชน อย่างพวกเราจะอยู่กันได้อย่างไร ท่านประธานคะแล้วก็ในพื้นที่ของตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย น้ำประปาไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน การประปาส่วนภูมิภาคมีการแจ้งว่าถ้าจะขอขยายท่อประปา จะตกอยู่ที่กิโลเมตรละ ๑ ล้านบาท ๑ ล้านบาทนะคะท่านประธาน แล้วต้องให้ท้องถิ่นเป็นคนชำระ แค่นี้งบประมาณ ของท้องถิ่นก็ไม่เพียงพอในการบริหารแล้วค่ะ ข้อติดขัดเหล่านี้เราจะสามารถช่วยเหลือ ประชาชนคนไทยของเราได้อย่างไร แล้วถ้าหากเราวกกลับมาดูเรื่องของน้ำประปาหมู่บ้าน ซึ่งเป็นระบบที่สร้างขึ้นมาทดแทนระบบน้ำประปาโดยตรง ซึ่งควรที่จะมีความสะอาด หรือคุณภาพตามมาตรฐานสากลตามที่หน่วยงานได้วางระหว่างวัตถุประสงค์ไว้ แต่ท่านประธานคะ ดิฉันไปแต่ละพื้นที่ในเขตของดิฉันแล้วมันสะท้อนใจค่ะ น้ำประปา หมู่บ้านบางที่มีกลิ่น มีสีชาไทย สีโกโก้ สีโอวัลติน บางที่ท่อแตก ท่อเล็ก ท่อตัน Submerged ตัวเล็กดูดน้ำไม่ขึ้น ไม่เพียงพอ ค่าไฟอลังการเพราะ Submerged ต้องทำงานตลอด ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้นวันนี้เราต้องหันกลับมาทำเรื่องของประปาหมู่บ้านให้มีความแข็งแรง เพื่อให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในแต่ละพื้นที่ได้เบาบางลง ท่านประธานคะ เราต้องจัดทำงบประมาณที่จะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำของพ่อแม่พี่น้องประชาชน อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรงบ ขุดเจาะน้ำบาดาล อ่างเก็บน้ำ ฝาย การปรับปรุง ระบบน้ำประปาส่วนภูมิภาคให้มีความทันสมัย สรรหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ การใช้น้ำของประชาชน รวมถึงจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบประปาหมู่บ้านให้มี ท่อส่งน้ำที่ใหญ่มากขึ้น แข็งแรงมากขึ้น รวมถึง Submerged ที่ควรผสมผสานให้มีการใช้ Solar Cell เพื่อลดค่าไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน และนี่คือข้อคิดเห็นของดิฉันเบื้องต้น ที่จะตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในเรื่องน้ำอย่างแท้จริง ท่านประธานคะ หากในวันนี้จะส่งญัตติที่ดิฉันได้อภิปรายเข้าคณะกรรมาธิการสามัญที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะตั้ง อนุกรรมาธิการมาศึกษาเรื่องน้ำประปา น้ำบาดาลอย่างจริงจัง ดิฉันก็ยินดีที่สภาชุดนี้ จะเล็งเห็นถึงปัญหาที่อาจจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ ของคนในเมือง แต่สำหรับคนต่างจังหวัด อย่างดิฉัน เรื่องน้ำคือเรื่องใหญ่ เพราะว่าน้ำคือชีวิต
นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช เชียงราย ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลโดยท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุกท่านที่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ดิฉันมีความเชื่อและมีความหวังว่าการแก้ไข ปัญหาในเรื่องน้ำบาดาล น้ำประปา หรือเรื่องน้ำในการอุปโภคบริโภค ภายใต้รัฐบาล ชุดปัจจุบัน จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่ ไม่ช้าก็เร็ว อีกทั้งดิฉันจะขอฝากผ่านท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่กำกับดูแลการประปาส่วนภูมิภาคว่าดิฉัน เชื่อมือท่านและวิสัยทัศน์ของท่านในเรื่องของการบริหารเรื่องน้ำประปาส่วนภูมิภาคที่มี ปัญหาในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณมาอย่างช้านาน ท่านเป็นคนคิดเร็ว ทำเร็ว และเด็ดขาด ดิฉันอยากจะขอฝากปัญหาเรื่องน้ำประปาของประชาชนชาวจังหวัดเชียงราย ไว้ในมือของท่านด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ สมาชิกครับ ผมขอปิดการลงชื่อเพื่ออภิปรายนะครับ ต่อไปเป็นท่านเจษฎา ดนตรีเสนาะ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต ๒ พรรคก้าวไกล ขอ Slide ด้วยครับ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
อันนี้คือปัญหาน้ำประปา ของจังหวัดปทุมธานี น้ำไม่ไหล น้ำไหลอ่อน น้ำขุ่น จริง ๆ ผมทำตกไปอันหนึ่ง น้ำไม่ไหล ช่องแรกคือผมเอามาจากช่องทางต่าง ๆ ที่ประชาชนร้อง ไม่ว่าจะเป็น LINE ของการประปา หรือว่าใน Comment ของผม หรือว่าช่อง Comment ของการประปาเอง น้ำไหลอ่อน น้ำขุ่น อันนี้ผมเอามาจากบ้านผมเองเมื่อวันก่อน ขุ่นมากนะครับ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
Slide ถัดไป การแจ้งเตือนเป็นสิ่งสำคัญนะครับ แล้วก็ดูว่าจะเป็น ความบกพร่องของการประปามาก ๆ โดยหลัก ๆ การประปาจะแจ้งอยู่ช่องทางเดียวก็คือ ช่องทาง Online ไม่ว่าจะเป็น LINE หรือว่าเป็นหน้า Page Facebook จริง ๆ ถ้ามีกรณี ฉุกเฉินผมอยากจะให้เพิ่มการติดประกาศ ถ้าแจ้งล่วงหน้าประชาชนได้ รถประชาสัมพันธ์ ในกรณีที่ฉุกเฉิน หรือว่าเสียงตามสายในกรณีที่มีการวางแผน
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
Slide ถัดไป น้ำประปาดีกับน้ำประปาไม่ดีต่างกันอย่างไร น้ำประปาดี ประชาชนจ่ายแค่ค่าน้ำกับค่าไฟฟ้า อันที่ ๒ คือน้ำประปาไม่ดี ประชาชนต้องเพิ่ม ค่าเครื่องกรอง ค่าแท็งก์น้ำ ค่าปั๊มน้ำ ค่าบำรุงรักษา แล้วก็ค่าความเสียหายอื่น ๆ ทำให้ ค่าครองชีพประชาชนเพิ่มโดยปริยาย
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
Slide ถัดไป อันนี้คือรูปจริงจากในพื้นที่ รูปที่ ๓ คือเป็นรูปเครื่องซักผ้า คุณป้าบอกว่าไม่รู้ว่าน้ำมันจะขุ่น เปิดเข้าเครื่องซักผ้าปุ๊บ วันนั้นซักผ้าขาวพอดี ผ้าขาววันนั้น ทิ้งเลย ใช้ไม่ได้ เขาบอกว่าซักอย่างไรมันก็ไม่กลับมาขาว ต้องย้อมครามเอา ซึ่งมันก็ ไม่เหมือนเดิมแล้วครับ ด้านขวาสุดนั้นคือไส้กรองน้ำต้องทิ้งเหมือนกัน เพราะว่าแกะออกมา ก็คือโคลนทั้งนั้น ใช้ไม่ได้
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
Slide ถัดไป โดนตัดมาตรของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาปทุมธานี ค้าง ๑ Bill กับอีก ๗-๑๐ วัน ขึ้นอยู่กับวันทำการว่าติดวันเสาร์ วันอาทิตย์หรือเปล่า ถ้าคุณค้างเกิน กำหนดตัดทันที ไม่ว่าจะค้าง ๑ บาท ๒๐ บาท ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท ตัดหมด ค่าต่อมิเตอร์ เริ่มต้น ๓๒๑ บาท รวม VAT แล้ว ถ้าจ่ายก่อนบ่ายสองโมง ภายใน ๕ โมงเย็น เขาจะเอามา คืนให้ แต่ถ้าจ่ายหลังบ่ายสองโมงต้องวันถัดไป แปลว่าวันนั้นประชาชนจะไม่มีน้ำใช้ทั้งวัน ใช่หรือไม่ และถ้าหลังบ่ายสองโมงวันศุกร์ละครับท่านประธาน แปลว่าวันจันทร์ใช่หรือไม่
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
Slide ถัดไป อันนี้คือข้อเรียกร้อง น้ำประปาที่ไหลแรง สะอาด ดื่มได้ ไหลตลอด มันคงไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่มากเกินไปสำหรับชาวปทุมธานี อย่างไรก็ฝาก ท่านประธานไปยังรัฐบาลด้วย ช่วยดูแลประชาชนชาวปทุมธานีด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านปิยะนุช ยินดีสุข ครับ
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต ๗ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันขอร่วมอภิปรายในญัตติการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำประปา น้ำบาดาล ซึ่งดิฉันเชื่อว่าในขณะนี้เกือบทุกชุมชน เกือบทุกหมู่บ้านก็ล้วนแล้วแต่มีระบบน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นจากประปาส่วนภูมิภาค การประปาหมู่บ้าน ที่ส่วนท้องถิ่นได้จัดสรรงบประมาณติดตั้งระบบให้ บางที่มีการใช้ระบบน้ำประปา น้ำบาดาลด้วย ท่านประธานคะ ที่ดิฉันพูดว่าเกือบทุกชุมชน เกือบทุกหมู่บ้าน เพราะอะไรรู้ไหมคะ เพราะว่า ไม่ใช่ทุกที่จะมีระบบน้ำประปาใช้ ยังมีหมู่บ้านที่เขาลำบากเหลือเกิน คุ้มโนนทอง หมู่ที่ ๑๕ ตำบลช่องแมว อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา ไม่เคยมีน้ำประปาใช้ ไม่มีระบบ น้ำประปาอะไรทั้งสิ้นเป็นเวลามามากกว่า ๔๐ ปีแล้ว ทุกวันนี้ต้องรอน้ำจากทางเทศบาลขน รถน้ำมาเติม มาส่งให้กันทุกวัน ซึ่งดิฉันเองเคยหารือเรื่องนี้ในสภาแห่งนี้ไปแล้วถึงปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และทางท่านนายกเทศบาลตำบลช่องแมว ได้ยื่นของบจากหน่วยงานต่าง ๆ หลายครั้ง ก็ไม่เคยได้รับงบประมาณในการจัดสรรเลย ท่านประธานคะ เวลาที่ดิฉันลงพื้นที่ บ่อยครั้งที่ดิฉันได้รับเรื่องร้องเรียนจากพ่อแม่พี่น้อง ประชาชน ถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค นอกจากจะขาดแคลนแล้ว เรื่องคุณภาพน้ำ ก็เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้พี่น้องไม่สามารถนำน้ำนี้มาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ ดิฉันได้รับ เรื่องร้องเรียนถึงน้ำประปาหมู่บ้านบ้านโนนเพชร ตำบลโนนเพชร อำเภอประทาย ไม่มีระบบ กรองน้ำ ไม่มีแม้แต่ที่พักน้ำ ส่งผลให้คุณภาพน้ำที่ส่งให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนในหมู่บ้านนั้น ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน แถมยังมีกลิ่น ซึ่งทางดิฉันเองได้สอบถามไปทางนายก อบต. โนนเพชร ท่านก็แจ้งเหมือนกันว่าส่งไปหลายหน่วยงานแล้วแต่ก็ยังไม่เคยได้รับการจัดสรรงบประมาณเลย ซึ่งดิฉันเชื่อว่าหลาย ๆ หมู่บ้านในประเทศไทยก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ท่านประธานคะ ปัญหาคุณภาพน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของพ่อแม่พี่น้องประชาชน น้ำไม่ดี ใครจะอยากใช้ จริงไหมคะ เพราะน้ำถือเป็นระบบสาธารณูปโภคที่มีความสำคัญมากที่สุด ในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอุปโภคบริโภค ประกอบอาหาร ชำระล้างสิ่งสกปรก ซึ่งปัญหาคุณภาพประปาไม่ได้มาตรฐานก็เกิดจากหลายสาเหตุ ดิฉันได้รวบรวมมา
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
๑. แหล่งน้ำดิบที่นำมาใช้ในระบบน้ำประปาทั้งระบบผิวดินและน้ำบาดาล จะพบสารแขวนลอยต่าง ๆ จำนวนมาก หากไม่ผ่านการกรอง การบำบัด ก็จะส่งผลต่อ สุขภาพผู้บริโภคได้
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
๒. ท่อประปาที่จัดทำจากวัสดุเหล็กอาบสังกะสี เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็ทำให้ ท่อประปามีคุณภาพเสื่อมลง ก่อให้เกิดเป็นสนิม ส่งผลทำให้น้ำประปามีคราบแดง จากตะกอน สนิมปะปนมาในน้ำ น้ำไม่สะอาด มีสี มีกลิ่น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ใช้
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
๓. เครื่องสูบน้ำไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีการออกแบบในเรื่องของการติดตั้ง ตำแหน่งต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เช่น ในกรณีที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำโดยตรงจากเส้นท่อ ซึ่งมันอาจจะ ดูดสิ่งสกปรกจากบริเวณใกล้เคียง ทำให้น้ำที่ออกมาไม่สะอาด
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
๔. เครื่องกรองน้ำที่ใช้มานาน ถ้าไม่เคยมีการล้างเลย ไม่เปลี่ยนไส้กรองเลย ก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
๕. ถังเก็บน้ำหรือถังพักน้ำ หากไม่เคยล้างทำความสะอาด ก็ทำให้มีสิ่งมีชีวิต เล็ก ๆ เจือปนเข้าไป มันเจริญเติบโตขึ้นทุกวันและปะปนออกมากับน้ำ
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
๖. ปัญหาน้ำแรงดันต่ำ ทำให้ช่วงเวลาที่พี่น้องประชาชนใช้น้ำพร้อมกัน น้ำเลยไหลค่อย หรือบางบ้านที่อยู่ปลายท่อส่งน้ำ น้ำก็แทบไม่ได้เลย นี่เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้น ในระบบน้ำประปาภูมิภาค ส่วนน้ำประปาที่เป็นระบบประปาหมู่บ้าน ก็จะเจอปัญหา มากกว่านี้อีกค่ะ คือบางหมู่บ้านเขาเคยได้รับการจัดสรรงบประมาณเมื่อประมาณ ๑๐-๒๐ ปีที่แล้วในการทำระบบน้ำประปาหมู่บ้าน ตอนนั้นเขามีประชากรอยู่ ๑๐๐ ครัวเรือน ปัจจุบันมีคนมาอยู่เพิ่มขึ้น ๒๐๐-๒๕๐ ครัวเรือน แต่ระบบน้ำประปาไม่ได้รับการปรับปรุงด้วย ไม่ได้เปลี่ยน เพราะฉะนั้นทำให้น้ำไม่พอใช้ หรือแรงดันน้ำไม่พอไปถึงปลายทาง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นประปาหมู่บ้านบางพื้นที่ชำรุดจนใช้งานไม่ได้ ปัจจุบันกลายเป็นอนุสาวรีย์ ของหมู่บ้านไปแล้ว ชาวบ้านต้องขับรถพ่วงตักน้ำใส่โอ่งไปใช้ เป็นที่สะท้อนใจค่ะท่านประธาน ประเทศไทยเราอยู่ในยุคเทคโนโลยีไกลขนาดนี้แล้ว แต่ชาวบ้านคนไทยบางบ้านยังต้องขับรถ ใช้โอ่ง ใช้ถังมาตักน้ำไว้ใช้อยู่เลยค่ะ ท่านประธานคะ ดิฉันอยากเห็นปัญหาเหล่านี้ได้รับ การแก้ไขอย่างจริงจังเพื่อบรรเทาความทุกข์ร้อนของพ่อแม่พี่น้องประชาชน จึงขอฝาก คณะกรรมาธิการการบริหารจัดการน้ำพิจารณาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ติดตามหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องให้ผลักดันการจัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง เพื่อให้พ่อแม่พี่น้องของเรา ได้มีโอกาสใช้น้ำที่มีคุณภาพดี สะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านกิตติภณ ปานพรหมมาศ ครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กิตติภณ ปานพรหมมาศ ผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต ๔ พรรคก้าวไกล หลาย ๆ คนคงยังไม่ทราบว่านครปฐมก็อยู่ติดกรุงเทพฯ นี่เอง แต่ก็มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำประปา บาดาลเหมือนกัน ก็เลยร่วมอภิปรายในญัตติน้ำบาดาลและปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพต่ำ สนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ เพราะว่า จากการลงพื้นที่ครับ Slide ขึ้นด้วยครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ที่เป็นปัญหาสำหรับการขุดบ่อ บาดาลและตั้งหอถังสำหรับในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ผมและผู้ช่วยลงพื้นที่ เราก็ได้รับข้อมูล ว่าเรามีปัญหาอยู่ ๒ กรณี ดังต่อไปนี้
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
กรณีแรก เป็นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ พื้นที่ในจังหวัดนครปฐม มีหลาย อปท. ที่มีการทำระบบน้ำประปาบาดาล แต่กลับถูกตีความว่าเป็นการจัดหารายได้ จึงทำให้ อปท. ต่าง ๆ มีการถูกเรียกเก็บค่าเช่าย้อนหลังหลายเดือน เดือนละหลายหมื่นบาท อันนี้ ก็เป็นต้นทุนที่ทาง อปท. ต้องแบกรับไว้ ทั้งที่ความเป็นจริงการทำน้ำประปาบาดาลควรเป็น การบริการพื้นฐานของประชาชน โดยมีการเก็บค่าน้ำเพียง ๔-๕ บาทต่อหน่วย แต่ก็มี การขาดทุนตลอด แต่อย่างไรก็ตามมันเป็นผลประโยชน์กับประชาชนก็ควรทำ ถึงแม้ว่ายังมี การเก็บค่าเช่าที่ดินราชพัสดุเช่นนี้ ก็จะทำให้เพิ่มต้นทุนภาระที่สูงขึ้นให้กับหน่วยงาน อปท. มากขึ้น แล้วก็อาจจะเพิ่มค่าน้ำต่อหน่วยที่จะสูงมากขึ้นเช่นกัน
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
อีกกรณีหนึ่งเป็นกรณี Case ที่ดิน ส.ป.ก. ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งมี ทั้งหมด ๓ อำเภอ เป็นพื้นที่ของผมทุกอำเภอเลย ตัวอย่าง เช่น ในพื้นที่ตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในบางหมู่บ้านยังคงเป็นที่ดิน ส.ป.ก. ทั้งหมู่บ้านอยู่ ซึ่งจะเป็นข้อจำกัด ไม่สามารถทำระบบน้ำประปาบาดาลได้ เนื่องจากผิดวัตถุประสงค์ ในการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร แต่จากข่าวเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายนที่ผ่านมา ทาง ส.ป.ก. ก็ขานรับนโยบายดับภัยแล้งของรัฐบาล แต่นโยบายนี้ก็ไม่สามารถตอบสนอง ในการครอบคลุมการขุดบ่อเพื่อทำหอถังน้ำ แล้วประปาบาดาลเพื่ออุปโภคก็ยังทำไม่ได้ เพราะว่าผิดวัตถุประสงค์ที่จะใช้ในที่ดิน ส.ป.ก. ดังนั้นเช่นนี้ก็กลายเป็นว่าประชาชนที่อาศัย อยู่ในเขตหมู่บ้านที่เป็นที่ดินของ ส.ป.ก. ต้องกลายเป็นกลุ่มคนที่ขาดโอกาสในการใช้น้ำ ระบบประปาบาดาลไปเสียอย่างนั้น ปัญหาเหล่านี้กลายเป็นข้อจำกัดของ อปท. ต่าง ๆ ในพื้นที่ในการจัดการทำระบบประปาบาดาลไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นผมจึงเห็นว่าเราควรจะมี การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อแก้ไขและศึกษาระเบียบต่าง ๆ และแก้ไขโครงสร้างที่เป็น ปัญหาในการพัฒนาโครงการเหล่านี้
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
อีกประเด็นที่อยากจะสะท้อน ก็คือประเด็นคุณภาพน้ำประปาบาดาลที่ไม่ได้ มาตรฐาน ที่เกิดจากปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ของระบบ แม้กระทั่งในภาพเป็นตำบล บางภาษี อำเภอบางเลน เป็นหมู่บ้านจัดสรร ก็มีปัญหาน้ำขุ่นแล้วก็มีกลิ่นด้วย รวมถึงน้ำร้อน หมู่บ้านสิวารัตน์ ผมก็ลงพื้นที่แล้วก็ตรวจสอบ ก็ได้รับข้อมูล ได้รับเรื่องร้องเรียนมา มีหลายเรื่องซึ่งต้องได้รับการแก้ไข ตัวผมเองอยู่ในคณะกรรมาธิการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เช่นกัน แต่ผมคิดว่าคณะกรรมาธิการนั้นเราจะดูแลน้ำทั้งระบบ ซึ่งมันอาจจะไม่ได้ครอบคลุมที่มาจัดการเรื่องของประปาบาดาลหรือผิวดินที่เป็นน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค ผมคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาแล้วก็ตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญชุดนี้เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำบาดาลรวมถึงน้ำประปาผิวดินที่เป็นปัญหาอยู่ทั่วประเทศ แล้วพี่น้องชาวจังหวัดนครปฐมก็ฝากมาว่าตอนนี้น้ำประปาตอนนี้ก็เป็นสีโอวัลตินกัน ทั้งอำเภอบางเลน อำเภอดอนตูม แล้วก็อำเภอกำแพงแสน ในพื้นที่ตำบลสระพัฒนา และตำบลห้วยม่วงด้วย ประสบปัญหาอย่างมาก อยากให้ทางผู้แทนราษฎรรวมถึงรัฐสภา แห่งนี้ช่วยกันแก้ปัญหา แล้วก็ฝากไปยังรัฐบาล เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เป็นเรื่องสำคัญที่เรา จำเป็นต้องแก้ไขปัญหา รวมถึงศึกษาร่วมกันและหาทางออกเพื่อพ่อแม่พี่น้องประชาชน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านธนาธร โล่ห์สุนทร ครับ
นายธนาธร โล่ห์สุนทร ลำปาง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ธนาธร โล่ห์สุนทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมจะขอร่วม ในการที่จะพูดถึงเรื่องปัญหาการขาดแคลนและคุณภาพน้ำบาดาล และรวมถึงญัตติขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาระบบน้ำประปา ท่านประธานที่เคารพครับ การใช้ชีวิตของมนุษย์ทุกคนนั้นล้วนมีเรื่องน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยเสมอ เพราะน้ำคือปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตของพวกเราทุก ๆ คน แต่ในปัจจุบันนั้น มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องน้ำเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของสาธารณูปโภค และในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม ผมจึงอยากจะขอชี้ให้เห็นถึงผลกระทบหากเราไม่เร่งแก้ไขปัญหานี้
นายธนาธร โล่ห์สุนทร ลำปาง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ปัญหาน้ำในภาคส่วนสำหรับสาธารณูปโภคหรือที่เราเรียกกันว่า น้ำประปานั้น ที่เป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้ น้ำขุ่นแดงแล้วก็ไม่มีมาตรฐานเลย ทั้ง ๆ ที่เป็น ปัจจัยพื้นฐานสำหรับประชาชนในการดำรงชีวิต แล้วน้ำที่ประชาชนใช้ก็ไม่มีความสะอาด จากที่ผมได้ฟังจากเพื่อนสมาชิกทั้งการหารือผ่านสภาแห่งนี้ รวมถึงท่านสมาชิกก่อนหน้า รวมถึงทั้งท่านผู้เสนอญัตติ ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าน้ำที่ประชาชนในแต่ละจังหวัดใช้ ขาดความสะอาด ขาดมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงการจัดการต่าง ๆ ก็มีปัญหา โดยในส่วนปัญหา ของน้ำประปาก็เกิดจากหลายปัจจัย ผมก็จะขอพูดถึงเป็นข้อ ๆ ดังนี้ ปัญหาจากระบบ การจำหน่ายน้ำและการซ่อมท่อประปา และต้นทางก็เป็นปัญหาหนึ่งที่เป็นปัญหา รวมถึง ปัญหาการใช้น้ำบาดาล เนื่องจากน้ำบาดาลนั้นเป็นน้ำที่มีหินปูน มีสนิมเหล็ก แล้วก็แร่ธาตุอยู่ ทำให้ในบางครั้งเกิดคราบตะกอนออกมาด้วย รวมถึงปัญหาหลักที่เกี่ยวกับพวกเราทุกคน ก็คือการปนเปื้อนจากการกระทำของพวกเรากันเอง เช่นการทิ้งขยะใส่แหล่งน้ำ และการทำ ปศุสัตว์ต่าง ๆ
นายธนาธร โล่ห์สุนทร ลำปาง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือในส่วนของภาคเกษตรกรรม เกษตรกรนั้น เป็นอาชีพที่น่าเห็นใจ เราก็จะเห็นในแต่ละพื้นที่ ที่ไร่นาต่าง ๆ ถ้าไม่เกิดปัญหาน้ำท่วม ก็น้ำแล้ง วนไปอย่างนี้ทุก ๆ ปี ไม่มีความพอดี น้ำคือสิ่งที่เกษตรกรขาดไม่ได้ เพราะว่า เกษตรกรก็ต้องอยู่คู่กับน้ำในการทำการเกษตร และโดยสภาพของประเทศไทยส่วนใหญ่ มักอยู่นอกเขตชลประทาน ทำให้ไม่มีแหล่งน้ำผิวดินที่เพียงพอในฤดูแล้ง การนำน้ำบาดาล มาใช้ในด้านเกษตรกรรมก็ช่วยสร้างอาชีพให้สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี แต่น้ำบาดาลนั้น ก็ก่อให้เกิดปัญหาอย่างอื่นตามมาในการทำเกษตรกรรมในประเทศไทย เช่นการเสื่อมสภาพ ของแหล่งน้ำบาดาล การดึงน้ำบาดาลมาใช้ในการทำเกษตรกรรมอย่างมากทำให้แหล่งน้ำ เสื่อมสภาพ แล้วก็ลดความลึกของน้ำบาดาลตลอดเวลา ซึ่งก่อให้เกิดเป็นปัญหารุนแรง ในบางพื้นที่ที่มีการใช้น้ำบาดาลอย่างไม่รอบคอบ ขาดความรับผิดชอบ ทำให้แหล่งน้ำ มีความเสื่อมโทรม ทำให้ปัญหาต่าง ๆ รุนแรงเพิ่มมากขึ้น
นายธนาธร โล่ห์สุนทร ลำปาง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ก็คือการใช้น้ำบาดาลอย่างมากมายส่งผลให้มีการขาดแคลนน้ำ ในบางฤดูกาล ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาน้ำบาดาลอย่างมาก แล้วก็ในเรื่องคุณภาพน้ำ มีการปนเปื้อนจากสารเคมี แล้วก็มีสารเคมีบางอย่างที่ทำให้น้ำไม่เหมาะสมในการใช้ทำ การเกษตรกรรม
นายธนาธร โล่ห์สุนทร ลำปาง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ของน้ำบาดาลที่ผมอยากจะชี้ให้ท่านประธานก็คือปัญหา เกี่ยวความยากลำบากและค่าใช้จ่าย การสร้างหรือการดึงน้ำบาดาลมาใช้ อาจเป็นการลงทุน ที่มากและมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้น้ำบาดาลอาจจะไม่เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการทำ เกษตรกรรมในบางพื้นที่
นายธนาธร โล่ห์สุนทร ลำปาง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การดึงน้ำบาดาลอาจมีผลกระทบ เช่นการลดลำน้ำใต้ดินที่มีอิทธิพลต่อน้ำในแม่น้ำและลำคลอง ซึ่งจากปัญหาที่ผมชี้ให้ ท่านประธานเห็นแล้ว ผมเห็นควรจะส่งเรื่องนี้ไปที่คณะกรรมาธิการสามัญของสภาซึ่งเพิ่ง ตั้งขึ้นใหม่ หรือว่าเพิ่งเปลี่ยนชื่อ นั่นคือคณะกรรมาธิการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งผมก็ขอฝากในประเด็นนี้ เพราะว่าเหมือนที่เพื่อนสมาชิกกล่าวไว้ก็คือ น้ำคือชีวิตของเรา ทุก ๆ คน ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านคริษฐ์ ปานเนียม ครับ
นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม คริษฐ์ ปานเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก เขต ๑ พรรคก้าวไกล ขออภิปรายสนับสนุน ญัตติการแก้ไขปัญหาน้ำประปาดังนี้ ผมขอเริ่มที่แผนการจัดการน้ำอุปโภคบริโภค ของการประปาส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ผ่านมาในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ในด้านการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคของพี่น้องประชาชนในต่างจังหวัด
นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ
จากเอกสารของสำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดินในงบประมาณปี ๒๕๕๗-๒๕๖๒ ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการลงสำรวจพื้นที่ ๘ จังหวัด โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นจังหวัดใดบ้าง จำนวนทั้งสิ้น ๔๒ ตำบล ๕๘๕ หมู่บ้าน พบว่ามีถึง ๘๘ หมู่บ้าน ที่ไม่มีการให้บริการน้ำประปาเลย คิดเป็น ๑๕.๔ เปอร์เซ็นต์ จาก ๕๘๕ หมู่บ้าน และมีหมู่บ้านที่สำรวจแล้วอยู่ในแผนเพียง ๓๐ หมู่บ้านเท่านั้น ไม่อยู่ในแผนอีก ๕๘ หมู่บ้าน และมีหมู่บ้านที่มีน้ำประปาแต่ยังไม่ครอบคลุมอีก ๒๒๕ หมู่บ้าน คิดเป็น ๕๑.๓๑ เปอร์เซ็นต์ จากหมู่บ้านที่มีบริการ ๔๙๗ หมู่บ้าน เป็นข้อมูลที่น่าตกใจครับท่านประธาน เพราะเป็น การสำรวจเพียง ๘ จังหวัดเท่านั้น ยังขาดแคลนขนาดนี้
นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ
จากแผนแม่บทการจัดการน้ำ ๒๐ ปี ของปี ๒๕๖๑-๒๕๘๐ ระบุในเอกสารว่า เป้าหมาย ๒๐ ปี จะขยายเขตเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้าน ๒๕๖ หมู่บ้าน ตัวเลขนี้ ยิ่งน่าตกใจไปอีก เพราะเมื่อเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งประเทศที่มีถึง ๗๐,๐๘๖ หมู่บ้าน นั่นหมายความว่าประเทศไทยจะมีระบบน้ำประปาครบทั้งประเทศถ้าทำตามแผนนี้ เราจะใช้ เวลา ๖๐ ปี ผมไปดูรายละเอียดการจัดการทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีในปี ๒๕๖๕ งบอุดหนุนเฉพาะกิจของหน่วยงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน รายการเงินอุดหนุนสำหรับการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค แก่ประชาชนหรือโครงการน้ำประปาหมู่บ้านนั่นเอง มีการของบอุดหนุนอยู่ ๓ รูปแบบ โดยวงเงินไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท แต่ท้องถิ่นต้องเตรียมวงเงินสมทบอีก ๑๐ เปอร์เซ็นต์ แบบที่ ๑ ขนาดเล็ก ราคาไม่เกิน ๑ ล้านบาท แบบที่ ๒ ขนาดกลาง ราคาไม่เกิน ๒-๓ ล้านบาท แบบที่ ๓ ขนาดใหญ่ ราคาไม่เกิน ๕ ล้านบาท หากเราวางเป้าหมายว่าจะทำประปาหมู่บ้าน ให้ครบทั้งประเทศ ๗๐,๐๘๖ หมู่บ้าน เราต้องมีวงเงินถึง ๓๗๕,๔๓๐ ล้านบาท แต่นี่ก็ยังน้อย น้อยกว่า Digital Wallet แน่นอนครับ แต่สิ่งนี้สามารถสร้างคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้อง ประชาชนได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง
นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ
มาดูในส่วนของการประปาส่วนภูมิภาคกันบ้าง ปัจจุบันแบ่งงานออกเป็น ทั้งหมด ๑๐ เขตทั่วประเทศ ครอบคลุมเทศบาล ๖๔๗ แห่ง อบต. ๗๗ แห่ง หมู่บ้านอีก ๑๗๑ แห่ง เป็นข้อมูลที่ระบุไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ ปัจจุบันปี ๒๕๖๖ ผ่านมา ๒๒ ปี ไม่มีการขยาย เขตเพิ่ม หรือว่าอย่างไรเพราะข้อมูลไม่ได้ Update เลย สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าภาคการเมืองทอดทิ้ง ประชาชนมาอย่างยาวนานแล้วในเรื่องของการขยายเขต เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบ น้ำประปามาตรฐานในระดับภูมิภาค ประปาหมู่บ้านเป็นภารกิจที่ผูกพันกับคณะกรรมการ หมู่บ้าน ความใส่ใจจึงยึดโยงกับบุคคลเป็นหลัก เปลี่ยนคนน้ำก็เปลี่ยนสี กลิ่นและคุณภาพ ของน้ำก็เปลี่ยน การบำรุงรักษาผูกพันกับงบประมาณรายได้ของท้องถิ่นที่ทุกวันนี้ ก็ไม่เพียงพออยู่แล้ว ยิ่งกลายเป็นภาระผูกพันระยะยาวให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้น ๆ ยกเว้นประปาของเทศบาลตำบลอาจสามารถ ที่เราเห็นว่าใช้งานได้ดี มีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังติดขัดระเบียบในรูปแบบของ อบต. ถ้าเกิดจะสร้างและดำเนินการตามนั้น หากระเบียบ เหล่านี้มีการแก้ไขก็จะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนอย่างมาก จากข้อมูลเหล่านี้หากเราสามารถใช้คนให้ถูกกับงานโดยใช้เกณฑ์การขยายเขตของ เงินอุดหนุนเฉพาะกิจในการทำประปาหมู่บ้าน เปลี่ยนมาเป็นการขยายเขตของการประปา ส่วนภูมิภาคแทน เราอาจจะใช้เวลาน้อยลง จากการคำนวณของผมประมาณ ๒๐ ปี ด้วยงบประมาณ ๑๘,๗๗๑ ล้านบาทเท่านั้น ครบแน่นอนทั้งประเทศ เราจะได้มีน้ำกิน น้ำใช้ อย่างเท่าเทียมกันโดยที่ไม่ต้องแยกแยะว่าเป็นคนในเมืองแล้วมีประปาที่ดี เป็นคนต่างจังหวัด เป็นคนภูธรแล้วใช้น้ำขุ่น ๆ ไหลบ้าง ไม่ไหลบ้าง ฝนตกน้ำก็แดง อย่างนี้ครับ
นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ
ผมขอภาพสุดท้ายครับ ภาพนี้ผมอยากให้ทุกท่านมองดู ท่านสมาชิก ผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ นี่คือน้ำที่ประชาชนบ้านผมเขาใช้อยู่ ท่านกล้าใช้กันไหมครับ วันนี้ จังหวัดตากบ้านผมหลายหมู่บ้านยังไม่มีแม้น้ำประปาหมู่บ้านจะใช้งานเลยครับ เรื่องนี้ มาช่วยกันแก้ไขนะครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านทรงยศ รามสูต ครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบพระคุณเพื่อน ๆ ที่รวมญัตติในเรื่องของการแก้ไขระบบ ประปาทั้งระบบ เลยทำให้ผมมีโอกาสได้อภิปรายในเรื่องของการประปาส่วนภูมิภาคซึ่งเป็น ประปาผิวดิน ซึ่งถ้าทางรัฐไม่แก้ไขมันก็อาจจะไปเข้าญัตติว่าทำให้ประปาไหลเบา ที่ผ่านมา ผมก็อยากจะฝากเป็นข้อสังเกตว่าในช่วง ๗-๘ ปี ผมว่าปัญหาใหญ่คือการประสานงาน ระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค ทำไมผมถึงว่าเป็นอย่างนั้น ผมสังเกตการพัฒนาการประปา ผมยกตัวอย่างของจังหวัดน่านเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว ที่ผ่านมาเขาก็บริหารจัดการดี ซึ่งการประปาส่วนภูมิภาคของจังหวัดน่านดูแล ๓ หน่วยบริการ อันแรก บริการในเขต อำเภอเมืองและอำเภอภูเพียง ตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ เขาก็ไปลงมือแล้ว ๘๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ในการเพิ่มกำลังการผลิต ปี ๒๕๒๓ อีก ๒๐๐ ลูกบาศก์เมตร พอปี ๒๕๔๓ ปรับปรุงอีก ๔๐๐ ลูกบาศก์เมตร แต่ปัจจุบันนี้ ๒๐๐ กับ ๘๐ ใช้ไม่ได้ ก็เลยทำให้มีปัญหา โดยเขาเดินน้ำ จากเขตน้ำน่าน มีน้ำทั้งปี ๓ กิโลเมตรมาที่แถวราษฎร์อำนวย แล้วก็จ่ายน้ำไปในพื้นที่บริการ เทศบาลเมืองน่าน แล้วก็อำเภอเมืองน่าน มีตำบลดู่ใต้ ตำบลไชยสถาน และตำบลผาสิงห์ ส่วนอำเภอภูเพียงก็จะมีม่วงตี๊ดกับฝายแก้ว นอกจากนั้นก็จะมีหน่วยบริการของที่อำเภอเวียงสา แล้วก็อำเภอนาน้อย ซึ่งทางการประปาของน่านเขาก็วางแผนไว้ล่วงหน้า เพราะว่าไม่ใช่รอน้ำ ไม่มีแล้วค่อยวางแผน เขาวางแผนว่าตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ถึงปี ๒๕๗๑ เค้าจะขยาย เขาก็เลย ตั้งงบไว้ ๒๘๗,๘๑๕,๐๐๐ บาท คือโครงการนี้เราจะเดินท่อน้ำปรับปรุงระบบน้ำ เดินท่อ แล้วก็ปรับปรุงเครื่องสูบน้ำจากน้ำน่านมาที่หน่วยจ่ายน้ำราษฎร์อำนวย แล้วก็เดินท่อมาที่ อำเภอภูเพียง ระยะทาง ๘.๗๑ กิโลเมตร บริเวณข้างอำเภอ ๑๕ ไร่ ซึ่งจะมีตัวกรองน้ำ ตัวเก็บน้ำอีก ๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งโครงการนี้ถ้าสำเร็จก็จะขยายน้ำในพื้นที่เพิ่มเติม โดยตำบลท่าน้าว ตำบลน้ำแก่น ตำบลน้ำเกี๋ยน ส่วนพื้นที่บริการเดิมของไชยสถานก็ขยาย ไปถึง ม. พัน ๑๕ แล้วก็อีกหลาย ๆ พื้นที่ แต่ว่าปัญหามันเกิดขึ้น ส่วนอำเภอนาน้อยกับ อำเภอเวียงสาก็มีการปรับปรุงท่อ ทีนี้ปัญหามันเกิดขึ้นว่าตรงพื้นที่ที่จะใช้ที่ติดอำเภอ ๑๕ ไร่ บังเอิญมันเป็นพื้นที่ป่าก็ต้องไปเสียเวลาเดินเรื่อง ทำเรื่อง ซึ่งในที่สุดปี ๒๕๖๓ ทางสำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ก็อนุมัติเรียบร้อยให้ใช้พื้นที่ได้ ก็เลยมีปัญหา พอหลังจากทำถอนสภาพเสร็จตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ทางการประปาส่วนภูมิภาคสาขาน่านก็เลย เริ่มที่จะปรับตัวเลขใหม่ มีตรงไหนที่จะขยายบ้าง ซึ่งปรากฏว่าหน่วยงานก็ไปสำรวจตรวจสอบ ตั้งแต่นั้นจนวันนี้ตรวจสอบเสร็จก็ยังไม่สามารถรู้ว่าจะต้องใช้งบเท่าไร เมื่อสมัยรัฐบาลชุดที่ ๒๕ ภรรยาผม ท่าน สส. สิรินทรก็มีโอกาสอภิปรายเรื่องนี้ ๒๘๗ ล้านบาทน่าจะปรับเป็นเท่าไร จะได้ผลักดันต่อไป ก็ยังไม่ได้ดำเนินการ หลังจากเปิดสภามาใหม่ ๆ ผมก็มีโอกาสอภิปราย หารือว่าเมื่อไรจะส่งช่างไปสำรวจตรวจสอบแล้วก็ปรับตัวเลขว่ามันเท่าไร จะได้ของบ อย่างน้อยจะได้ทันงบปี ๒๕๖๘ ก็ยังดี ก็ยังไม่ไปนะครับ วันนี้ผมก็เลยมานำเสนอว่า มันขาดการล่าช้าเพราะอะไร อย่างน้อยเดิมกะว่าถ้ามันไม่ทันปี ๒๕๖๘ ปี ๒๕๖๗ ทันปี ๒๕๖๘ ก็ยังดี แต่ธันวาคม ต้องส่งงบปี ๒๕๖๘ แล้ว คาดว่าคงไม่น่าจะทัน ก็อยากจะฝากเร่งรัดให้กระทรวงมหาดไทย ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบแล้วก็ไปปรับตัวเลข อย่างน้อยปี ๒๕๖๙ จะได้ทัน จากแผนที่เขา กะว่าปี ๒๕๗๑ ก็ฝากไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันที่ ๙ กันยายน เดือนที่แล้ว โชคดีของ คนเมืองน่าน ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านอนุทินท่านขับเครื่องบินส่วนตัว ไปจังหวัดน่าน ไปไหว้พระที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ๖๐๐ กว่าปี และวัดภูมินทร์ อีก ๔๐๐ กว่าปี ชาวบ้านดีใจ ก็หวังว่าท่านจะเมตตาส่งช่างทีมงานไปให้คนจังหวัดน่านดูแล จะได้ดีใจ บุญใดไหนจะใหญ่เท่าบุญที่ท่านจะให้น้ำประปาแก่เมืองน่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต กว่า ๗๐๐ ปี ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอิทธิพล ชลธราศิริ ครับ
นายอิทธิพล ชลธราศิริ ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม อิทธิพล ชลธราศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น พรรคก้าวไกล วันนี้ขอร่วม อภิปรายเสนอปัญหาเรื่องน้ำประปาในพื้นที่ และขอให้แก้ไขระบบน้ำประปาทั้งระบบ ก่อนอื่นอยากให้ท่านประธานดูรูป ขอ Slide ด้วยนะครับ
นายอิทธิพล ชลธราศิริ ขอนแก่น ต้นฉบับ
นี่คือน้ำประปาในเขตพื้นที่ขอนแก่น เขต ๑ ของ สส. ทนายป๊อก เขต ๒ ของผมเอง แล้วก็เขต ๓ ของ สส. ใหม่เอี่ยมอ่องครับ มีทั้งน้ำประปาหมู่บ้าน น้ำประปาตำบล น้ำประปาภูมิภาค ครบทุกรูปแบบ และมีปัญหา ทุกระบบ ผมขอแยกเป็น ๒ ประเด็น ดังนี้
นายอิทธิพล ชลธราศิริ ขอนแก่น ต้นฉบับ
ปัญหาของระบบน้ำประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากรูป ใน Slide ใครก็ตอบได้ว่าไม่ได้มาตรฐาน คุณภาพไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด สีขุ่นเหลือง ไม่สามารถอุปโภคบริโภคได้แน่ ๆ ซักผ้าขาวก็เสียหายหมด ซักผ้าสีขาว ได้สีเหลือง นี่เป็นปัญหาที่มีมาตลอด ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและเป็นระบบเสียที กี่ยุค กี่สมัยเราก็ยังเห็น สส. มาหารือปัญหาเรื่องน้ำประปาในสภา นี่ยุคไหนแล้วครับ น้ำประปา ยังขุ่นเหลืองไม่สะอาดอยู่เลยครับ ในเขตพื้นที่ขอนแก่น เขต ๒ ของผมยังมีปัญหาน้ำประปา ตำบลที่ยังใช้น้ำประปาหมู่บ้าน ประปา อปท. หลายตำบลยังไม่มีประปาภูมิภาคเข้าถึง และเมื่อลงพื้นที่สำรวจปัญหาจากพี่น้องประชาชนร้องเรียนมา ปัญหาน้ำประปาเป็นปัญหา อันดับต้น ๆ ที่มีแทบทุกหมู่บ้าน ปัญหาส่วนใหญ่อยู่ที่ระบบการผลิตน้ำประปา การดูแล บำรุงรักษา ผู้ดูแลระบบน้ำประปาหมู่บ้าน ที่สำคัญเลยก็คือผู้ดูแลระบบน้ำประปาหมู่บ้าน ไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรมโดยตรง ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบน้ำประปา ผู้ที่ได้รับ การฝึกอบรมก็ไม่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้รับผิดชอบดูแลน้ำประปาหมู่บ้านโดยตรง แล้วบางพื้นที่มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันของผู้ดูแลระบบ ทำให้มีการดูแลระบบน้ำประปา ไม่ต่อเนื่อง ส่งผลต่อการชำรุดเสียหายของระบบน้ำประปา พอชำรุดเสียหายแก้ไขปัญหา แบบไม่ถูกหลัก ประยุกต์ใช้ระบบประปามั่วไปหมด เอาระบบกรองผิวดินมาใช้กับระบบน้ำ ใต้ดิน ประยุกต์ดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ถูกหลักการ ก็ทำให้คุณภาพที่ได้ออกมาไม่เหมาะ แก่การอุปโภคบริโภค บางหมู่บ้านเก็บค่าน้ำหน่วยละ ๑๕ บาท แต่คุณภาพน้ำคือใช้ไม่ได้เลย รวมทั้งยังมีการทุจริต ตรวจสอบไม่ได้ของผู้บริหารจัดการน้ำของแต่ละหมู่บ้าน ไม่ได้รับ การแก้ไขอย่างจริงจัง ประชาชนก็ร้องเรียนจนไม่รู้จะร้องใครแล้วครับ สุดท้ายก็ต้องทนใช้น้ำ ที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน บางบ้านต้องซื้อน้ำใช้ถังละ ๑๒ บาท ๑๕ บาท ในการอุปโภค บริโภค บางหมู่บ้านเก็บค่าน้ำประปาไม่เพียงพอค่าใช้จ่าย ค่าไฟ ค่าสารเคมี ก็ทำให้ไม่ซื้อ สารเคมีใส่ สุดท้ายก็ตกมาที่ผู้ใช้น้ำ เพราะน้ำไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน วนเวียนอยู่แบบนี้ ไม่รู้จบ
นายอิทธิพล ชลธราศิริ ขอนแก่น ต้นฉบับ
ปัญหาระบบน้ำประปาของประปาภูมิภาค เมื่อเทียบกับประปาหมู่บ้าน ประปาภูมิภาคก็ดีขึ้นมาหน่อย แต่สำหรับน้ำประปาภูมิภาคเริ่มต้นเลยครับ ปัญหาคือ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแรกใช้ของน้ำค่อนข้างสูงสำหรับพี่น้องประชาชน ปัญหาการจัดลำดับ ความสำคัญโครงการวางแผนขยายท่อจ่ายน้ำ ขยายเขตน้ำไม่ตอบสนองต่อความต้องการ ของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ขอยกตัวอย่างจากบ้านม่วงโป้ ตำบลสาวะถี มีการขยายพื้นที่การใช้น้ำประปาภูมิภาคเข้ามาในพื้นที่หมู่บ้าน และมีการทำ ประชาคมเพื่อยกเลิกการใช้น้ำประปาหมู่บ้านเดิม แต่ว่ายังมีน้ำประปาภูมิภาคไม่ทั่วถึง ทุกหลังคาเรือนก็ทำให้พี่น้องประชาชนต้องขุดเจาะบ่อบาดาลเอง ต้องซื้อน้ำใช้ หรือในพื้นที่ตำบลโคกสี อำเภอเมือง มีแหล่งน้ำส่วนใหญ่เป็นน้ำใต้ดินและมีเป็นน้ำเค็ม ค่าสารเคมีในน้ำไม่ได้มาตรฐาน ไม่เหมาะต่อการอุปโภคบริโภค และไม่มีแหล่งน้ำอื่น ในการเอามาผลิตน้ำประปา แต่ก็ยังไม่ได้รับการขยายเขตเพื่อให้เข้าถึงประปาภูมิภาค เป็นระยะเวลา ๑๐ กว่าปีแล้ว แล้วอีกปัญหาของน้ำประปาภูมิภาคที่ผมได้รับเรื่องร้องเรียน บ่อยที่สุดคือน้ำไม่ค่อยไหล ไหลสีขุ่นบ้างแล้วก็ไหลอ่อนบ้าง ประปาภูมิภาคก็แก้ปัญหา ครั้งคราวตามปัญหา ไม่ได้แก้ปัญหาแบบถาวรเสียที แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่จริงใจ ในการทำงาน บางส่วนอาจมาจากบางสาขาจ้างบริษัททำงานแทน มีผลประโยชน์ทับซ้อน ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการลดลง ขาดการเฝ้าระวัง ตัวชี้วัดที่กำหนดก็ผิดเพี้ยน ตัวเลข รายงานกับหน้างานจริงไม่สอดคล้องกัน อาจจะไม่ได้เป็นทุกสาขา อันนี้ผมพูดในส่วนที่ พื้นที่ที่ผมลงพื้นที่สำรวจในเขตพื้นที่ของตัวเอง ผมก็อยากให้แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ใช้น้ำดีขึ้น ท่านประธานทราบ ไหมครับว่าน้ำประปาที่ประเทศญี่ปุ่นเหมาะต่อการบริโภคตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๓๐ หรือ ๑๓๖ ปีมาแล้ว แต่กลับมาดูที่ของไทยครับ อย่าว่าแต่ดื่มได้เลย เอาให้สะอาด ให้ได้มาตรฐาน เหมาะต่อการอุปโภคบริโภคยังยากเลยตอนนี้ ผมเคยสอบถามการประปา ส่วนภูมิภาคว่าน้ำประปาที่เรากรองผ่านระบบการกรองแบบของไทยสามารถดื่มได้ไหม การประปาส่วนภูมิภาคแจ้งว่าสามารถดื่มได้ แต่ที่เรามาถึงบ้านแล้วมันดื่มไม่ได้เพราะว่า บ้านเราท่อส่งน้ำเก่าแล้วก็กร่อนเป็นสนิม รวมถึงหัวก๊อกของบ้านเราใช้จากวัสดุที่หลากหลาย ตั้งแต่ราคาหลักสิบไปจนถึงหลักพัน ในบ้านเราใช้หัวก๊อกที่คุณภาพไม่ดี ทำให้เกิดการสะสม ของเชื้อโรค เกิดการกัดกร่อนสีเคลือบต่าง ๆ ละลายลงเป็นสิ่งเจือปนในน้ำ จึงไม่เหมาะต่อ การอุปโภคบริโภค ท่อส่งน้ำส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นทำจาก Ceramic ที่ทนต่อการกัดกร่อน มีความทนทานนานไม่ว่าจะผ่านไปกี่ร้อยปี วัสดุพวกนี้ก็จะไม่สลาย ไม่บุบ ไม่เจือปนไปในน้ำ
นายอิทธิพล ชลธราศิริ ขอนแก่น ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้อยากฝากท่านประธานไปถึงกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ออกหนังสือถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดตั้งแต่วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ เรื่อง การพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ตรวจสอบสถานะ คุณภาพน้ำประปา สรุปข้อมูลประปาของหมู่บ้าน ชุมชน ประปา อปท. ประปาทุกหน่วยงาน ไม่ทราบว่าตอนนี้ข้อมูลเป็นอย่างไรบ้าง อยากให้รายงาน Update แล้วก็ส่งข้อมูลไปยัง คณะกรรมาธิการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประเทศไทยมีปัญหาที่หมักหมมแล้วแก้ปัญหา แบบลูบหน้าปะจมูกแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำประปา ก็แก้ปัญหากันแบบ หน้าแล้งขนน้ำไปหาคน หน้าฝนขนคนหนีน้ำ แต่ไม่ว่าหน้าแล้งหรือหน้าฝนพี่น้องประชาชน ก็ยังทนใช้กับน้ำที่ไม่สะอาดอยู่ต่อไป เพื่อการแก้ปัญหาของน้ำประปาทั้งระบบ อยากให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาด้วยความจริงใจ เพื่อพี่น้องประชาชนคนไทยจะได้ใช้น้ำ ที่สะอาด มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะอยู่คอนโดมิเนียมสูงในเมืองหลวง หรือหมู่บ้าน ตามชนบท ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านนิพนธ์ คนขยัน ครับ
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม นิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขตเลือกตั้งที่ ๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ เพื่อน ๆ ได้อภิปรายเรื่องน้ำประปา น้ำบาดาล ผมก็จะขอพูดเรื่องน้ำประปาบึงกาฬครับ วันนี้น้ำประปาบึงกาฬเป็นน้ำประปา และมีหน่วยงานหนึ่งซื้อเครื่องกรองน้ำไปต่อกับ น้ำประปาเพื่อให้สะอาด ท่านประธานครับ ซื้อไปใช้แล้วใช้งานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ งบประมาณ ๖๘ ล้านบาท ปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ทั่วประเทศ ทราบว่างบประมาณโครงการนี้ ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาท แต่บึงกาฬใช้ไม่ได้ ส่วนจังหวัดอื่นทั่วประเทศผมไม่ทราบ ทำไมบึงกาฬผมถึงทราบ เพราะมีข่าว ขออนุญาตเอ่ยก็แล้วกันว่า ป.ป.ช. จังหวัดบึงกาฬ ป.ป.ช. ภาค ๔ กำลังตรวจสอบโครงการน้ำประปาสะอาดที่จังหวัดบึงกาฬที่ใช้ไม่ได้ วันนี้กำลังส่งเรื่องสอบอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ๘ นายอำเภอของจังหวัดบึงกาฬ มี ๘ อำเภอ เพื่อนสมาชิกอภิปรายแล้วว่าวันนี้น้ำประปามีปัญหา น้ำประปาขาดแคลน น้ำประปาไม่สะอาด แต่บึงกาฬน้ำประปาใช้ไม่ได้เพราะเอาเครื่องกรองน้ำมาเพิ่มเติมใส่ ฉะนั้นวันนี้ต้องขอบคุณ ป.ป.ช. วันนี้ ป.ป.ช. เป็นหน่วยตรวจสอบ ขอบคุณมากครับ ครั้งก่อน ผมเคยพูดในสภานี้ละ หากไม่มี ป.ป.ช. ตรวจสอบแล้วก็สนุกกันเลย ขนาด ป.ป.ช. ตรวจสอบตลอดก็ยังมีขนาดนี้ ดังนี้วันนี้ฝากท่าน ป.ป.ช. จังหวัดบึงกาฬ ป.ป.ช. ภาค ๔ และ ป.ป.ช. ทั่วประเทศ ทำไมถึงว่า อย่างนั้น เพราะบอกวันนี้ทั้งประเทศ ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาท จังหวัดบึงกาฬที่เดียว ๖๘ ล้านบาท ใช้ไม่ได้เลย แล้วประชาชนจะดื่มน้ำสะอาดอย่างไร เมื่อผู้ดำเนินการซึ่งเป็น ส่วนราชการแล้วทำงานให้ประชาชนได้มีความสุข ได้ดื่มน้ำสะอาด แต่กลับไม่ได้ดื่มน้ำ ท่านประธานที่เคารพ ดังนี้วันนี้อยากสะท้อนให้เห็นว่าการทำงานของทางราชการในตำแหน่ง หน้าที่เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข โดยเฉพาะนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด บำบัดทุกข์บำรุงสุข พี่น้องประชาชนให้อยู่ดีกินดีมีความสุข วันนี้ความสุขจะได้ดื่มน้ำสะอาดไม่ได้ดื่ม ดังนั้นวันนี้ ต้องฝากผ่านท่านประธานแล้วว่าหากในประเทศไทยที่ผมกราบเรียนว่า ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาท ป.ป.ช. ทั่วประเทศต้องตรวจสอบโครงการนี้ ถ้าตรวจสอบแล้วไม่ผิดไม่เป็นไร แต่บึงกาฬ ใช้งบประมาณผิดประเภทด้วย ทำไมบอกว่าผิดประเภท อันนี้ข่าวจาก ป.ป.ช. บึงกาฬ และ ป.ป.ช. ภาค ๔ ให้ข่าวว่างบประมาณของจังหวัดบึงกาฬนี้เป็นงบภัยแล้ง ภัยแล้งคือ การป้องกันภัยแล้ง โดยเฉพาะ El Nino กำลังจะมา แต่ท่านประธานครับ จังหวัดบึงกาฬ เอาไปซื้อเครื่องกรองน้ำประปา ก็ขอบพระคุณครับถึงจะผิดประเภทก็ยังดี แต่ใช้ไม่ได้นี่ มันช้ำครับท่านประธานที่เคารพ ดังนั้นวันนี้ผมในฐานะเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน คนจังหวัดบึงกาฬ ในฐานะเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่งต้องการให้ประเทศชาติ โดยเฉพาะ น้ำคือชีวิต น้ำเป็นสิ่งที่ร่างกายก็ต้องใช้ ทุกคนต้องใช้น้ำ ต้นไม้ก็ยังต้องการน้ำ ดังนั้นหากขาดน้ำ อยู่ไม่ได้ครับ ฉะนั้นวันนี้ฝากอีกครั้งหนึ่งครับท่านประธาน ผ่านไปถึงท่าน ป.ป.ช. จังหวัด บึงกาฬ ป.ป.ช. ภาค ๔ เอาจังหวัดบึงกาฬเป็นตัวอย่างที่เอางบประมาณมาแล้ว ๖๘ ล้านบาท แต่ประชาชนไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามโครงการ และฝากต่ออีกว่าอีก ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาท ทั่วประเทศมีประโยชน์ไหม ถ้ามีประโยชน์ขอบคุณ ถ้าไม่มีประโยชน์เหมือนจังหวัดบึงกาฬ ใช้ไม่ได้ ท่าน ป.ป.ช. ที่เคารพลงดาบให้เต็มที่เลยครับ จะได้เข็ดหลาบ ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร แบบแบ่งเขต ธนบุรี คลองสาน บางปะกอก พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขออภิปรายญัตติที่เพื่อนสมาชิกเสนอเกี่ยวกับ น้ำบาดาล ปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพต่ำ ซึ่งทุกคนก็คงงง สส. กรุงเทพฯ มาพูดอะไร ยังใช้ น้ำบาดาลอยู่หรือเปล่า จริง ๆ แล้วผมอยากเป็นตัวแทนของคนทั้งประเทศว่าปัญหา น้ำบาดาลมันก็เหมือนปัญหาหลาย ๆ อย่าง ที่ผมเคยได้พูดไปแล้วว่าถ้าเราไม่มองโครงสร้าง ให้ลึกเราจะไม่มีทางแก้ปัญหานี้ได้เลย รวมถึงน้ำประปาดื่มได้ด้วย ท่านประธานทราบไหมว่า กรมทรัพยากรน้ำบาดาลที่ดูแลเรื่องนี้อยู่ก็มีการออกกฎมากมายที่จะมาควบคุม ซึ่งการเจาะ น้ำบาดาลขึ้นอยู่กับขนาดของบ่อ อย่างเช่น บ่อ ๒ นิ้ว เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ ๑๐๐ บาท ขนาด ๘ นิ้วขึ้นไป ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท ซึ่งทำไมผมมาพูดอย่างนี้ หลายคนก็คิดว่ามีแต่ ชาวบ้านที่ใช้น้ำบาดาล แต่ท่านประธานทราบไหมครับว่าตอนนี้ข้าง ๆ สภาเราเองก็เป็น แหล่งที่ใช้น้ำบาดาลเยอะครับ นั่นคือบริษัทเครื่องดื่มต่าง ๆ ถ้าคิดว่าน้ำบาดาลที่อภิปรายมา เป็นของทุกคนแล้ว ผมว่าไม่ยุติธรรมเลยที่บริษัทน้ำดื่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะทำเบียร์ ทำสุรา หรือแม้กระทั่งทำน้ำดื่มใส่ขวดนี้จะใช้ทรัพยากรของเราแล้วเอามาขายเรา แทบจะไม่เสีย ค่าน้ำเลยครับ ถามว่าน้ำค่าน้ำ ๑ ลูกบาศก์เมตร ท่านประธานทราบไหมว่าราคา ๘.๕ บาท เท่านั้น ผมลองเอามาคำนวณ ๘.๕ บาท ถ้าคำนวณมาเป็นลิตรละเท่าไร ๐.๐๐๘๕ บาท แล้วผมดูครับ น้ำดื่มนี้ที่ทางสภาเราไปทำมามีปริมาตร ๓๓๐ ซีซี ก็คือ ๑ ส่วน ๓ ของลิตร ดังนั้นต้นทุนในขวดนี้มันจะเท่ากับ ถ้าภาษาโบราณ ผมไปหาหน่วยที่เล็กกว่าสตางค์ จะเรียกว่า ๑ เบี้ย ๑ เบี้ยคือ ๑ ส่วน ๖,๔๐๐ บาท น้ำในนี้จะมีมูลค่าเพียงแค่ ๑.๕ เบี้ย ผมก็ไม่ทราบว่า สภานี้ซื้อมาเท่าไร หรือน้ำที่เราซื้อกัน ๕๐๐ ซีซี ที่มีมูลค่า ๒ เบี้ย หรือ ๐.๐๐๓๕ มาขายเรา ๘ บาทได้อย่างไร แล้วผมก็มองว่านอกจากน้ำนี้จะได้มาเหมือนกับฟรีแล้วมาขาย เอาผลประโยชน์ให้ได้ทุน แล้วขยะพลาสติกพวกนี้ใครรับผิดชอบ เสียภาษีขวดพลาสติก หรือไม่ ในต่างประเทศนี้น้ำดื่มใส่ขวดถือว่าเป็นของฟุ่มเฟือย เป็นของ Luxury มีการเก็บ Tax ท่านประธานลอง Search Bottle Water Tax ที่ชิคาโก ก็มีการเก็บ ๐.๐๕ เหรียญต่อขวด แล้วผมก็อดสงสัยไม่ได้ว่าอยู่ดี ๆ ผมเกิดมา ไปที่ไหนน้ำก็มีให้กินฟรี แต่อยู่ดี ๆ มีช่วงหนึ่ง ทุกคนก็ต้องซื้อน้ำกิน แล้วหลังจากนั้นเราสังเกตว่าประปาเราก็ห่วยลงเรื่อย ๆ ผมก็อดคิด ไม่ได้ประเทศนี้ที่นายทุนผู้ร่ำรวย เจ้าของธุรกิจน้ำดื่มที่มีมูลค่า ๕๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี จะไม่มีอิทธิพลต่อนโยบายภาครัฐในประเทศที่เราเป็นอย่างนี้มานาน ผมไม่เชื่อครับ แล้วผม คิดว่าถ้าเราไม่แก้ปัญหานี้ ผลประโยชน์ขนาดนี้ สิ่งที่เพื่อนสมาชิกอภิปรายมาทั้งหมด น้ำประปาต้องดื่มได้ เขาไม่ทำให้หรอกครับ ทำทำไมครับ นายทุนเสียผลประโยชน์ ผมก็เลย จะฝากไว้ถึงรัฐบาล ถ้าเรามีการส่งต่อรัฐบาลหรือเพื่อนกรรมาธิการเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ดูเรื่องนี้เถอะครับ หลายประเทศเริ่มดูเรื่องนี้ แล้วเขารู้แล้วครับว่าน้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน หรืออะไรต่าง ๆ ก็เป็นทรัพยากรที่ไม่แตกต่างจากน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติเลย ผมก็ไม่รู้ครับ โลกมันเปลี่ยนไปเร็วเหลือเกิน เด็ก ๆ ผมไม่กินน้ำขวด โตมาทุกคนต้องกินน้ำขวด แม้ในสภา ของเรานี้ แล้วผมก็ไม่แน่ใจว่าในอนาคตอันใกล้ อย่างปัญหา PM2.5 ถ้าไม่แก้ไขแล้วให้ คาราคาซัง เดี๋ยววันหนึ่งบริษัทนายทุนของประเทศนี้ก็เอาอากาศบริสุทธิ์ไปอัดกระป๋อง ขายพวกเราครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านพลากร พิมพะนิตย์ ครับ
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพลากร พิมพะนิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตอำเภอ ยางตลาด อำเภอฆ้องชัย พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ น้ำถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ต่อชีวิตทุกคนบนโลก ถือเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นปัจจัยผลิต ที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ทำให้น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญกับ มนุษย์ทุกคน ทั้งในด้านการดำรงชีวิตไปจนถึงด้านเศรษฐกิจปากท้อง ซึ่งสิทธิในการเข้าถึง น้ำสะอาดก็ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับ ปัญหาที่เกี่ยวข้อง ประเด็นคือ น้ำไม่สะอาด ท่านประธานครับ ประชาชนนำน้ำไปใช้อุปโภคบริโภค
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
น้ำประปาในปัจจุบันประกอบด้วย ๒ ประเด็นหลัก คือ ปัญหาด้านปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ และปัญหา ด้านคุณภาพน้ำที่ไม่เหมาะสมต่อการอุปโภคบริโภค ผมจึงขอยกตัวอย่าง เช่นในพื้นที่ ของกระผมเอง มีพี่น้องประชาชนร้องเรียนมาถึงปัญหาน้ำประปาที่ไม่สะอาด เช่น บ้านสร้างมิ่ง หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๑๓ ตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ได้รับ ความเดือดร้อนเรื่องน้ำประปาไม่พอใช้ในหมู่บ้าน อันเนื่องจากปั๊มน้ำพังและมีจำนวนปั๊ม ไม่เพียงพอในการผลิตน้ำประปาใช้ในหมู่บ้าน ต่อความต้องการของพี่น้องประชาชน กว่า ๘๐๐ หลังคาเรือน ถัดมาเป็นประเด็นที่ ๒ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่พี่น้องประชาชน ในตำบลเขาพระนอน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ต้องทนกับปัญหาน้ำประปาไม่ใส มีสีแดงขุ่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากบ่อพักน้ำไม่พอใช้ ตกตะกอนไม่ทัน เพราะมีน้ำขุ่นมาก แต่พี่น้องประชาชนจำเป็นต้องใช้น้ำ จึงต้องเอาน้ำไปให้ชาวบ้านใช้ก่อนโดยที่ไม่ผ่าน การตรวจสอบคุณภาพของน้ำ
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่งคือบ้านเสียว หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ ตำบลหัวงัว อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เครื่องผลิตน้ำประปามีอายุการใช้งานกว่า ๓๐ ปี ทำให้เกิดการชำรุดบ่อย และบ้านดอนข่า หมู่ที่ ๖ ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ น้ำประปา ไม่พอใช้ บ้านฮ่องฮี หมู่ที่ ๑๓ ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ น้ำประปา ไม่พอใช้ น้ำประปาไม่สะอาด สิ่งที่มองเห็นจากภาพของปัญหาเหล่านี้ คืออย่างที่ในปัจจุบัน เราพูดกันว่าน้ำประปาดื่มได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วอย่าพูดเลยครับว่าดื่มได้ แค่เอาให้ใช้ได้ ก่อนครับท่านประธาน ประชาชนไม่ได้ใช้น้ำฟรี ต้องจ่ายค่าน้ำ ซื้อมาเพื่อใช้ น้ำเพื่ออุปโภค บริโภค แต่ไม่มีหน่วยงานที่มารับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของน้ำ กับการที่พี่น้องประชาชน จ่ายสตางค์ซื้อน้ำ ได้น้ำไม่สะอาด ไม่มีหน่วยงานไหนมาแก้ปัญหา ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า ปัญหาทั้งหมดเกี่ยวข้องกับน้ำสะอาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ควรหยิบยกขึ้นมาสังเกต และตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ เนื่องจากถือเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในทุก ๆ วัน ของพี่น้องประชาชน ดังนั้นเพื่อตอบสนองปัญหาดังกล่าว มีความจำเป็นต้องมีการจัดการ และการแก้ไขอย่างรอบด้าน ผมจึงอยากเสนอและยกตัวอย่างวิธีการแก้ไข ดังนี้
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๑. ปรับปรุงและพัฒนาระบบประปาให้มีความทันสมัยและมีความทั่วถึง ในทุกพื้นที่
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๒. มีการติดตามและตรวจสอบคุณภาพของน้ำอย่างละเอียดและสม่ำเสมอ ในทุกพื้นที่
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๓. จัดให้มีการตรวจสอบ สำรวจ และพัฒนาระบบเจาะน้ำบาดาล เพื่อเป็น การเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนในการนำน้ำสะอาดไปใช้อุปโภคบริโภค
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
๔. พัฒนาบริหารจัดการแหล่งน้ำ สนับสนุนให้มีการพัฒนาแผนในการบริหาร จัดการทั้งในส่วนของน้ำประปาและน้ำบาดาล เพื่อให้สามารถใช้แหล่งน้ำได้อย่างยั่งยืน ไปจนถึงการสำรวจและควบคุมปริมาณน้ำเพื่อป้องกันการขาดแคลนที่อาจจะเกิดขึ้น ในอนาคต
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท้ายที่สุด ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องรับการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำไปสู่การแก้ไข ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่โดยตรงของภาครัฐ ที่ต้องสนับสนุนและหาทางออกของปัญหาดังกล่าว ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านชริน วงศ์พันธ์เที่ยง ครับ
นายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขตเลือกตั้งที่ ๒ อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช อำเภอบ้านแพรก และอำเภอท่าเรือ พรรคก้าวไกล ผมขออภิปรายสนับสนุนญัตติเรื่องน้ำประปาและน้ำบาดาล ของเพื่อน สส. ที่นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาในวันนี้ เพราะเป็นปัญหาจำเป็นที่ต้องเร่ง แก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อประชาชน ท่านประธานครับ ท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมทั้งที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาบ้านผมมีแม่น้ำผ่านหลายสาย เช่น แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อย ตลอดจนมีลำคลองมากมาย ทั้งคลองธรรมชาติ คลองชลประทาน เป็นใยแมงมุมทั่วทั้งจังหวัด น่าจะไม่มีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ ใช่ครับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้านผมไม่ขาดแคลนน้ำ มิหนำซ้ำยังท่วมทุกปี ท่วมมาก ท่วมน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ของแต่ละปี แต่ปีนี้โชคดี น้อยหน่อยครับ แต่น้ำที่มีอยู่นั้นไม่สามารถใช้ดื่มกิน อุปโภคบริโภค ได้เหมือนสมัยก่อน เพราะปนเปื้อนไปด้วยสารพิษ โลหะหนัก ยาปราบศัตรูพืช ไม่ได้ใสสะอาด เหมือนเก่า แม้กระทั่งน้ำฝนยังมีสารปนเปื้อน ใช้ดื่มกินไม่ได้ น้ำคือต้นทุนของทุกอย่าง น้ำที่ดี คุณภาพชีวิตก็จะดี น้ำคือชีวิต คนเราขาดน้ำไม่ได้ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ใช้ปรุงอาหาร ดื่มกิน ซักล้าง แม้กระทั่งชักโครกก็ต้องใช้น้ำ ผมคงไม่พูดเรื่องน้ำที่ใช้ เพื่อการเกษตรเหมือนจังหวัดอื่น ๆ แต่ผมขอพูดถึงน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค ดำรงชีวิต ของประชาชนเป็นหลัก พระนครศรีอยุธยามีการประปาส่วนภูมิภาคให้บริการ แต่ท่านประธานทราบไหมว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด การประปาส่วนภูมิภาคให้บริการ ไม่ทั่วถึง ในปี ๒๕๖๖ การประปาส่วนภูมิภาคให้บริการกับผู้ใช้น้ำเพียง ๘๑,๕๑๔ ราย ทั้ง ๆ ที่จำนวนที่อยู่อาศัยของประชาชนมีถึง ๓๕๔,๘๖๑ ครัวเรือน แล้วส่วนใหญ่ที่ใช้ น้ำประปาส่วนภูมิภาคก็คือโรงงานนิคมอุตสาหกรรม และสวนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จำนวน ๕ แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง สวนอุตสาหกรรมโรจนะ เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ รวมไปถึงเขตชุมชน ใหญ่ ๆ และบ้านจัดสรรที่การประปาส่วนภูมิภาคทำกำไรได้เท่านั้น ปล่อยให้ประชาชน ส่วนใหญ่ต้องใช้ประปาหมู่บ้านที่เทศบาลหรือ อบต. จัดทำขึ้นตามมีตามเกิด คุณภาพน้ำ ไม่ต้องพูดถึงครับ บางแห่งขุ่นข้น มีกลิ่น จะแปรงฟัน ซักผ้า ราดห้องน้ำก็ยังไม่ได้ นี่คือ ความทุกข์ของประชาชนชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาครับ ประปาหมู่บ้านหรือประปา ชุมชน ที่เทศบาลหรือ อบต. จัดทำและให้บริการกับประชาชนมี ๒ ลักษณะด้วยกัน คือ
นายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ
๑. ประปาที่ทำจากน้ำบนผิวดิน คือเอาน้ำดิบจากแม่น้ำลำคลองมาผ่าน กรรมวิธีละลายสารส้มให้ตกตะกอน ผึ่งแดด ผ่านการกรองด้วยหิน กรวด ทราย และบางที่ ดีหน่อยอาจจะมีคลอรีนฆ่าเชื้อโรคบ้าง แล้วส่งผ่านตามท่อไปยังชุมชน แต่อย่าลืมนะครับ ตอนนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาบ้านผมเป็นแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม อาจจะมีสารเคมีหรือสารอันตรายเจือปนอยู่ในน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแม่น้ำป่าสักซึ่งมี ท่าเรือขนถ่ายถ่านหิน ปุ๋ยเคมี ปูนซีเมนต์ แป้งมันสำปะหลัง ซึ่งปล่อยให้มีการใช้น้ำฉีดล้าง รั่วไหลลงสู่แม่น้ำตลอดทั้งวันตลอดทั้งคืน ไม่มีใครใช้ประกอบอาหารหรือดื่มกินได้ เพียงใช้ได้ ในการซักล้าง อาบ ชำระร่างกายเท่านั้น บางครั้งโชคร้ายระบบกรองน้ำมีปัญหาขาดสารส้ม ก็ปล่อยน้ำที่ไม่ผ่านกระบวนการส่งให้ประชาชนโดยตรง สกปรก ไม่สะอาดเหมือนน้ำประปา ในกรุงเทพมหานคร
นายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ
๒. เทศบาล และ อบต. ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้อยู่ใกล้แหล่งน้ำ จำเป็นต้องใช้ การขุดเจาะน้ำบาดาล ซึ่งเกือบทุกแห่งอายุของบ่อเกิน ๒๐-๓๐ ปีขึ้นไป สูบน้ำส่งขึ้นแท็งก์ แล้วปล่อยลงท่อส่งให้บ้านเรือนประชาชนใช้โดยตรง โดยไม่มีการตรวจคุณภาพน้ำหรือผ่าน การกรอง บางครั้งเปิดก๊อกน้ำออกมาน้ำดำเป็นโคลน ซึ่งพบเห็นอยู่บ่อยครั้ง
นายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ
อีกประการหนึ่ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในเขตพื้นที่วิกฤติการณ์ น้ำบาดาล มีมาตรการเข้มงวดกับการใช้น้ำบาดาล นอกจากจะเสียค่าใช้น้ำแล้วยังต้องมี ค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลอีก ทำให้น้ำแพง และถ้าหากชำระเกินกำหนดก็ถูกปรับอีกมาก ถึง ๒ เท่า ทำให้ผู้ที่จะขุดเจาะน้ำบาดาลใช้เองไม่กล้าขุดเจาะ หันมาใช้น้ำประปาหมู่บ้านแทน ทำให้ยิ่งขาดแคลนน้ำ ทางเทศบาลหรือ อบต. ก็ไม่มีงบประมาณขยายหรือปรับปรุงคุณภาพน้ำ นับเป็นความทุกข์ทับทวีคูณ นี่คือความทุกข์ของประชาชนที่รอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จึงขอสนับสนุนญัตติเพื่อให้หน่วยงานบริหารทรัพยากรน้ำนำไปแก้ไข พิจารณาจัดสรร งบประมาณในการขุดเจาะน้ำบาดาลให้มีคุณภาพ ไม่ใช่ขุดตื้น ๆ ไม่ถึงชั้นน้ำบาดาลที่สะอาด เหมือนที่ผ่านมา แล้วช่วยพัฒนาและปรับปรุงผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน ทั้งที่ใช้น้ำผิวดิน หรือน้ำบาดาลให้มีคุณภาพดื่มได้ เหมือนที่เทศบาลตำบลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว หรือให้การประปาส่วนภูมิภาคขยายเขตบริการให้ทั่วถึง และครอบคลุมทั่วประเทศ เหมือนการประปานครหลวงที่ให้บริการในกรุงเทพมหานคร นี่ขนาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงเหมือนกันยังย่ำแย่ขนาดนี้ แล้วจังหวัดอื่น ๆ จะไม่เลวร้ายไปกว่านี้หรือครับท่านประธาน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย ครับ
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย ผมขอสนับสนุนญัตติอภิปรายต่อท่านประธานสภา ถึงปัญหาน้ำประปา ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบันในหลายพื้นที่พบปัญหาเรื่องไม่มีน้ำประปาใช้ในที่อยู่อาศัย ปัญหาน้ำประปา ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของประชาชนในเขตพื้นที่นั้น ๆ ปัญหาน้ำประปาไหลเบา รวมถึง ปัญหาการไม่มีน้ำประปาที่ถูกสุขลักษณะอนามัย สำหรับการอุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิต ประจำวัน ท่านประธานสภาครับ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว น้ำถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ต่อการดำรงชีวิตเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค ผมขอยกตัวอย่างปัญหาการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้ ประชาชน ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีน้ำประปาใช้ในพื้นที่หลาย ๆ ตำบล หลายอำเภอ เมื่อถึง หน้าแล้งฤดูร้อนนั้น เรียกได้ว่าเป็นฤดูที่น้ำมีปริมาณลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้เมื่อต้องส่งน้ำ ไปใช้ในหมู่บ้านน้ำมีความแรงไม่พอเนื่องจากมีน้ำในปริมาณน้อย บ้านที่อยู่ไกลจากแหล่ง จ่ายน้ำจึงพบปัญหาน้ำไหลช้าและเบา ปัญหาน้ำขุ่น น้ำมีกลิ่น น้ำไม่สะอาด อันเกิดจากระบบ การกรองที่ไม่ได้มาตรฐาน การขาดการบำรุงรักษาอุปกรณ์การผลิตต่าง ๆ ของหน่วยงาน เกิดจากการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ ดังนั้นรัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ เช่น ภายในจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอพยุหะคีรี ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว มีการตั้งงบประมาณ มานานพอสมควรแล้ว คาดว่าปี ๒๕๖๗ การประปาส่วนภูมิภาคคงจะแก้ไขปัญหา ด้วยการขยายเขตให้พี่น้องประชาชนในตำบลนิคมเขาบ่อแก้วด้วย ตำบลเขากะลาก็ไม่มี น้ำประปาเลย เพียงแต่ปัจจุบันใช้น้ำประปาหมู่บ้านกัน เช่น ตำบลสระทะเล มีน้ำประปา แต่ยังไม่ครอบคลุมทั้งตำบล เช่น หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๑๑ หมู่ที่ ๑๒ เช่น อำเภอเมือง ตำบลหนองกรด ยังไม่มีน้ำประปา หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๐ หมู่ที่ ๑๑ หมู่ที่ ๑๒ หมู่ที่ ๑๕ บ้านหนองเขนงในกลุ่มหนองกระทุ่ม หมู่ที่ ๑๗ ตำบลหนองกระโดน ตำบลบ้านแก่ง และตำบลพระนอน อีกหลาย ๆ หมู่บ้านก็ยังไม่มี น้ำประปาใช้ ซึ่งถือว่าอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ องค์การบริหารส่วนตำบล อีกหลาย ๆ ตำบลที่ไม่มีน้ำประปาใช้ เช่น ตำบลยางตาล ยังคงพบปัญหาไม่มีน้ำประปา ส่วนภูมิภาคสำหรับการอุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิตประจำวัน ประกอบกับโครงการ ที่จะดำเนินการต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก จึงขอให้การประปาส่วนภูมิภาค สนับสนุนงบประมาณดังกล่าวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนด้วยครับ ท่านประธานครับ คำจำกัดความคำว่า รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรของรัฐซึ่งประกอบกิจการ เกี่ยวกับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และให้บริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ของพี่น้องประชาชน เช่นการประปาส่วนภูมิภาคที่มีบทบาทเรื่องการผลิตน้ำประปา ลักษณะการประกอบกิจการในเชิงธุรกิจ มุ่งแสวงหากำไรหรือเรียกเก็บค่าบริการจากประชาชน ผมจึงอยากให้มุ่งเน้นถึงความสุขและประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นใหญ่ การแก้ไขปัญหา เรื่องน้ำให้กับพี่น้องประชาชน ผมมองว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับประโยชน์ ที่ประชาชนจะได้รับในปัจจัยพื้นฐาน คือมีน้ำที่สะอาดและเพียงพอต่อการใช้เพื่ออุปโภคบริโภค กราบขอบพระคุณท่านประธานสภาที่เคารพครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ท่านสมาชิกครับ ผมขอพักการประชุมสัก ๑๐ นาที แล้วเราจะต่อให้จบ ตั้งแต่ลำดับ ๙ จนถึงลำดับที่ ๒๐ ขอพักการประชุม ๑๐ นาทีครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
พักประชุมเวลา ๑๙.๔๔ นาฬิกา
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เริ่มประชุมต่อเวลา ๑๙.๕๓ นาฬิกา
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
สมาชิกครับ ผมขอดำเนินการประชุมต่อนะครับ เชิญท่านสกล สุนทรวาณิชย์กิจ
นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม สกล สุนทรวาณิชย์กิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขตเทศบาล นครรังสิต เทศบาลคลองหลวง และอำเภอเมือง เฉพาะตำบลสวนพริกไทย จากพรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอส่วนร่วมในการอภิปรายญัตติเกี่ยวข้องกับน้ำประปา ขอ Slide ขึ้นมาด้วยนะครับ
นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ในพื้นที่เทศบาลนครรังสิต ปกติแล้วจะใช้การประปาส่วนภูมิภาค ก็เหมือนจะไม่มีปัญหา แต่ว่ามีอยู่มาวันหนึ่งประชาชน ก็บ่นขึ้นมาในเรื่องน้ำสกปรก ความเดือดร้อนนี้มันเกิดอะไรขึ้น ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมก็มี น้ำประปาขุ่น มีเศษดินตะกอนค้างเต็ม น้ำไม่สะอาด ก็มีพี่น้องประชาชนบ่นเข้ามา จำนวนมากบน Social เมื่อผ่านไปนาน ๆ ก็เหมือนจะค่อย ๆ ดีขึ้น หลังจากผ่านไป ๒ สัปดาห์ แต่น้ำประปาก็ยังมีตะกอนขุ่นค้างอยู่ตกค้างอยู่อีก ๑ สัปดาห์ สาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นเกิดมาจากการประปาได้แจ้งมาว่ามีการขยายท่อประปา จากของเดิม ๘๐๐ มิลลิเมตร เป็น ๑,๒๐๐ มิลลิเมตรเพื่อเพิ่มแรงดันก็ดี เหมือนจะเป็นโครงการดี ๆ แล้วก็อาจจะมีการตัดประสานท่อ เปลี่ยน เชื่อม ซึ่งตอนนี้มันต้องมีการหยุดน้ำประปา แต่เมื่อปล่อยน้ำประปากลับมา น้ำมันก็ควักเอาตะกอนโคลนขึ้นมา แล้วก็พัดเข้าไปบ้านคน ที่เปิดใช้ก็เกิดน้ำดำ ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่มีการเยียวยาด้วยครับ อันนี้เนื่องจากระเบียบของ การประปาอ้างว่าไม่สามารถเยียวยาได้ ไม่มีระเบียบให้มีอำนาจในการเยียวยา แต่พอมี การต่อประสานท่อใหม่แล้วน้ำก็ยังไม่แรงขึ้น ทำไมน้ำไม่แรงขึ้น ก็เพราะว่าน้ำจะแรงขึ้นได้ มันก็ต้องให้แรงดันต้นทางที่มีแรงดันสูงขึ้นกว่านี้ แต่ว่าการแค่ต่อประสานท่อใหม่ แรงดัน ต้นทางไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากท่อทางต้นทางก็ยังเก่าอยู่และยังไม่ได้เปลี่ยน ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ น้ำก็ยังเบาเหมือนเดิมไม่ได้แก้ปัญหาในพื้นที่ได้ ก็อธิบายว่าการขยายท่อ น้ำก็ได้ตีเอาตะกอนที่อยู่ข้างในระบบท่อฟุ้งขึ้นมา อันนี้ผมก็ลองคิดดูว่าเกิดอะไรขึ้น ภาพข้างบนสมมุติว่ามีน้ำประปาไหลจากต้นทางไปยังบ้านปลายทางอย่างเดียวก็ไม่มีการ ออกไประหว่างทาง แต่ว่าพอภาพที่ ๒ เนื่องจากระบบประปาที่เกิดขึ้นจริงจากต้นทาง ไปปลายทางก็จะมีน้ำออกไปตามบ้านต่าง ๆ ถูกดักไปเรื่อย ๆ หรืออาจจะมีท่อแตกรั่วซึม ซึ่งท่อประปาก็ฝังอยู่ใต้ดิน ดังนั้นน้ำก็รั่วซึมลงไปในดิน ภาพของการออกไปตามจุดต่าง ๆ ลองจินตนาการเปรียบเสมือนหลอดดูดน้ำที่เราดูดขึ้นมา แล้วบังเอิญเราไปใช้หลอดที่มัน แตกกลางทาง เราก็จะพบว่าแรงดันที่เราดูดขึ้นมามันก็จะไม่ได้น้ำที่ไหลแรงเท่าเดิม กลับกัน เปลี่ยนเป็นฝั่งผลักเหมือนกัน ก็จะทำให้น้ำที่จะออกไปยังปลายทางก็ต้องใช้แรงต้นทาง ในการผลักน้ำเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะให้ท่อน้ำปลายทางได้น้ำที่มีแรงดันมากพอ ทีนี้พอมีการตัด ประสานท่อ เมื่อหยุดปล่อยน้ำประปา น้ำที่ซึมออกมานอกท่อที่ไปโดนตะกอนโคลน ก็มีแรงดัน ส่วนนั้นจะไหลซึมกลับเข้ามาในระบบท่อ และเมื่อตัดประสานท่อเสร็จทำการเปิด ระบบน้ำที่อยู่ระหว่างทางไปจนผ่านจุดตะกอนโคลนก็จะพัดไปสู่ระบบปลายท่อทำให้ ปลายทางได้รับน้ำสกปรก แล้วกว่าจะหายก็คือต้องเปิดน้ำทิ้งเป็นเวลานาน ถึงแม้เจ้าหน้าที่ จะอธิบายว่ามีการปล่อย Blow น้ำออกที่หัวท่อดับเพลิง แต่ว่ามันก็จะมีบางจุดที่ไม่ได้ สามารถ Blow ออกได้ ก็จะรับกรรมไป ต้องใช้น้ำตะกอนไป ดังนั้นถ้าเราจะต้องการป้องกัน ปัญหานี้ เราก็ควรจะต้องซ่อมจุดรั่วต่าง ๆ ให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นได้
นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ
สำหรับราคาน้ำประปาก็จัดว่าแพงใช้ได้ แต่ถ้าเกิดเราทำให้ดื่มได้ก็จะถูกลง ทันที สำหรับ Slide นี้ผมขอเปรียบเทียบน้ำประปาคุณภาพ จากของไทยเรายังวนเวียนไม่พ้น กับการต้องมาเจอน้ำประปาที่เป็นตะกอน แต่ของต่างประเทศน้ำประปาเขาดื่มได้แล้ว น้ำประปานี่นะครับ ราคาของมันอยู่ที่ประมาณ ๐.๐๑-๐.๐๓ บาทต่อลิตร ถ้าเปรียบเทียบกับ ราคาน้ำดื่มบรรจุขวด ๔-๑๐ บาท หรือแม้กระทั่งน้ำกรอกตู้น้ำตามตู้ต่าง ๆ ก็ ๑ บาทต่อลิตร แต่ถ้าเราทำให้น้ำประปาสามารถดื่มได้ น้ำที่เราใช้ ๐.๐๑ บาท จะมีราคาถูกทันที เพราะเรา สามารถนำมาดื่มได้ สามารถประหยัดค่าครองชีพได้มากทีเดียว ทั่วถึงแก่คนทุกหมู่เหล่า ดังนั้นผมจึงขอสนับสนุนทำให้น้ำประปาดื่มได้ แก้น้ำประปาไหลอ่อน และปรับปรุงระบบ น้ำประปาทั้งระบบ เพื่อช่วยให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และลดค่าครองชีพ ของพี่น้องประชาชนได้ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ ครับ
นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ นครพนม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต ๑ พรรคเพื่อไทย กระผมขออภิปรายเรื่องปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำ เพื่อการเกษตร ด้วยในเขตเลือกตั้งของกระผมมี ๔ อำเภอ ๒๔ ตำบล ๒๘๑ หมู่บ้าน ประกอบด้วย อำเภอนาหว้า อำเภอนาทม อำเภอศรีสงคราม และอำเภอบ้านแพง ส่วนมาก ก็ใช้น้ำประปาหมู่บ้าน น้ำประปา อบต. ซึ่งจะมีคุณภาพต่ำ ด้วยสาเหตุที่เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลิตน้ำ เครื่องกรองน้ำเก่าชำรุด ไม่มีงบประมาณพอเพียง น้ำจึงขุ่น สกปรก มีกลิ่น
นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ นครพนม ต้นฉบับ
เช่นที่ตำบลนาทม อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม ใช้น้ำผิวดินจากน้ำหนองน้ำ ยิ่งในช่วงนี้ฤดูฝนน้ำจะขุ่นแดง หรือดูสี เหมือนกาแฟเย็น ซึ่งสกปรกมากแถมมีกลิ่นด้วย สาเหตุคือใช้น้ำจากหนองน้ำ พอฝนตก ก็ชำระสิ่งสกปรก สารพิษ สารตกค้าง ปุ๋ย สารเคมี ไหลลงสู่หนองน้ำ แล้ว อบต. ก็สูบน้ำนี้ มาเป็นน้ำประปาให้กับพี่น้องประชาชน ทำให้เป็นโรคผิวหนัง เป็นมะเร็งได้ นั่นคือปัญหา หลาย ๆ หมู่บ้านในเขตเลือกตั้งของกระผม ๒๘๑ หมู่บ้านจะใช้น้ำผิวดิน ใช้น้ำหนองน้ำ ประมาณ ๒๖๐ หมู่บ้าน อีก ๒๑ หมู่บ้าน ใช้น้ำของการประปาส่วนภูมิภาคซึ่งมีคุณภาพสูง แต่ราคาแพงกว่าน้ำประปาหมู่บ้าน จึงอยากจะให้รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย ได้ขยายเขต น้ำประปาส่วนภูมิภาคให้แก่พี่น้องประชาชนให้ทั่วถึงทั่วประเทศ ให้เป็นวาระแห่งชาติ เพราะเรื่องน้ำสำคัญต่อชีวิตมาก พี่น้องของเราเดือดร้อนกันมานาน และ สส. ของเราต้องมา อภิปรายกัน ๒ ทุ่ม ๓ ทุ่ม ๔ ทุ่ม และการหารือแต่ละวันก็ต้องมาพูดเรื่องการขาดแคลน น้ำกิน น้ำใช้ น้ำเพื่อการเกษตร
นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ นครพนม ต้นฉบับ
ฝายแกนดินซีเมนต์ซึ่งเป็นนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ท่านเป็นห่วงพี่น้องประชาชนของเราจะไม่มีน้ำในหน้าแล้ง หรือต่อไปเกิดความร้อน มากขึ้นที่เรียกกันว่า El Nino ก็จะทำให้ความร้อนสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้ขาดแคลนน้ำ ท่านจึงมีนโยบายสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ นอกจากนั้นเพื่อจัดเก็บน้ำ ชะลอน้ำไว้ใช้ ในหน้าแล้งและยังไม่พอ ท่านนายกรัฐมนตรีท่านยังให้มีธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งจะเก็บน้ำใต้ดิน แล้วหน้าแล้งได้สูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ ในภาพจะเห็นท่านนายกรัฐมนตรีสนใจมาก ลงลุยใน จังหวัดนครพนมของเราไปดูโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งท่านมีดำริจะให้ก่อสร้างธนาคาร น้ำใต้ดินทั่วประเทศเพื่อรองรับการขาดแคลนน้ำ ถ้ารัฐบาลของเราได้ทุ่มเทแบบนี้ ผมมี ความเชื่อมั่นว่าพี่น้องประชาชนของเราต่อไปก็จะไม่ขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ น้ำเพื่อการเกษตร ปัญหาอย่างเช่นในฤดูฝนน้ำก็จะท่วม ฤดูแล้งน้ำแห้ง ท่านนายกรัฐมนตรีก็มีดำริให้ทำฝาย เพื่อชะลอน้ำไว้ให้พี่น้องเกษตรกร พี่น้องประชาชนได้มีน้ำกิน น้ำใช้ตลอดปี ส่วนมาก ในเขตเลือกตั้งของผมจังหวัดนครพนม หนองน้ำตื้นเขิน ต้องมีงบประมาณในการขุดลอก ตอนนี้งบประมาณก็ไปไม่ทั่วถึง ทำให้พี่น้องประชาชน พี่น้องเกษตรกรขาดแคลนน้ำ นั่นคือ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรให้กับพี่น้องของเรา ต่อไป นั่นคือฝายแกนดินซีเมนต์ ซึ่งรัฐบาลนี้ตระหนักดีเกี่ยวกับเรื่องน้ำ กระผมก็มีความหวังว่า จะได้ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนของเรา กราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรี และเขตสะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ขออนุญาตมาคุยเรื่อง Model น้ำ หรือเรียกว่า Water ตัว W ตัวแรก มาจากคำว่า Waste คือความสูญเสีย เรามีปริมาณน้ำ เอาเฉพาะน้ำฝนนะครับ ต่อปีเฉลี่ย ประมาณ ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร แต่ปีนี้เรามีถึง ๑,๘๐๐ มิลลิเมตร แสดงว่ามากกว่าเฉลี่ย ประมาณ ๒๓ เปอร์เซ็นต์ แต่ไฉนเหตุใดเราถึงไม่สามารถที่จะนำน้ำที่เกินหรือ Access มาทำ ประโยชน์ได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้คือการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงที่เราควรจะนำสิ่งที่มีอยู่แล้ว มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้ นี่คือตัว W ครับ ต่อมาตัว A ตัว A คือ Accessible แปลว่า เข้าถึง น้ำประปามีผู้ใช้บริการอยู่ประมาณ ๕.๓ ล้านราย แล้วก็มีการผลิตอยู่ประมาณ ๑๗๙ ล้านคิวบิกเมตร หรือ Cubic Metre ซึ่งตรงนี้ยังน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่อยู่ อาศัยในประเทศเราซึ่งมี ๗๐ ล้านราย เพราะฉะนั้นคำว่า Accessible ตัวนี้อยากจะให้เห็น ถ้าพูดถึงเปอร์เซ็นต์ท่านจะเห็นว่าคนที่เข้าถึงน้ำประปาจริง ๆ มีอยู่แค่ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ จากทั้งหมด ๗๐ เปอร์เซ็นต์ที่ยังเข้าไม่ถึง นี่คือปัญหาอย่างใหญ่หลวงที่เราต้องมาคุยกันว่า ทำไมน้ำทั้ง ๆ ที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในโลก หรือทรัพยากรที่เหล่ามนุษย์ต้องการใช้ แต่ยังขาดตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่เราควรจะต้องมานึกกันแล้วว่าเรามีตรงนี้ เรามีเรื่องของ การจัดการน้ำมาหลายปี ทำไมยังขาดอยู่ ตัว T ครับ T คือ Together แปลว่าด้วยกัน เรามีทรัพยากร เรามีกรม เรามีกระทรวงน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรมชลประทาน สำนักการระบายน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล คือเรามีเยอะมาก แต่เราคงยัง Supply น้ำ หรือบริการน้ำอยู่ได้แค่ประมาณสัก ๕-๖ ล้านราย อย่างนี้แสดงว่าเราต้องมีอีก ๒๐ กระทรวง หรือ ๒๐ กรมไหมครับ เพื่อที่จะทำให้น้ำเข้าถึง ๗๐ ล้านคนได้ นี่คือแสดงว่า สิ่งที่เรามีมา กรมต่าง ๆ ที่มีมายังคงไม่สามารถที่จะประสาน Synergies หรือรวมการทำงาน เป็น Teamwork ที่ดีได้ เราต้องศึกษาแล้วครับ ต่อมาตัว E ขอใช้คำว่า Edible แปลว่า ดื่มได้ หรือกินได้ หรือบริโภคได้ เราในฐานะที่เป็นพรรคก้าวไกล เรามีนโยบายชัดเจน ๗,๕๐๐ ล้านบาทต่อปี ทำต่อเนื่องกัน ๓-๔ ปี น้ำประปาดื่มได้ทุกบ้านในประเทศไทย นี่คือ สิ่งที่เราอยากจะทำเหลือเกิน แทนที่จะเอาเงินงบประมาณเป็นแสน ๆ ล้าน หรือหลาย ๆ ล้าน ไปทำอย่างอื่น เอามาทำน้ำ แล้วทุกคนจะมีรอยยิ้ม สุดท้ายเป็นตัว R ในที่นี้ย่อมาจากคำว่า Reservoir คือตัวอ่างเก็บน้ำ เรามีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ถึง ๓๕ ขนาดใหญ่นะครับ รวมถึง เขื่อนต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นอ่างเหมือนกัน และยังมีขนาดกลางอีกประมาณ ๔๕๒ ถ้า อ.เอท จำตัวเลขไม่ผิด แสดงว่าเรามีอ่างเก็บน้ำมหาศาลครับ เยอะมาก แต่ก็ยังคงเก็บน้ำได้อยู่ที่ ประมาณ ๗๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ยังไม่สามารถเก็บได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เรากลับไปดู ณ ปัจจุบันนี้ ยังมีจังหวัดอีกประมาณ ๑๕ จังหวัด ที่ยังมีน้ำท่วมอยู่ การจัดการมันถึงเป็นปัญหาแล้ว เป็นเรื่องของ Management Administration หรือการจัดการน้ำที่มีมวลน้ำมหาศาล แต่เรายังไม่สามารถที่จะนำน้ำเหล่านั้นที่มันเกินมาใช้ประโยชน์ได้ นี่คือสิ่งที่เราต้องมาคุยกัน และมาเรียนรู้ไปด้วยกัน และสุดท้ายครบ Water Model แล้วนะครับ สุดท้าย อ.เอท อยากจะเห็นคำว่า Water ที่ไม่ใช่ Disaster ซึ่งก็แปลเป็นไทยง่าย ๆ ว่าน้ำเป็น ทรัพยากรธรรมชาติ อย่าให้มันเป็นหายนะของประเทศชาติของเราอีกต่อไปครับ ขอบพระคุณครับ Respect
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ครับ
นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สุโขทัย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ต้องขอชื่นชมสมาชิก ๒๐ กว่าท่านที่ได้กล่าวศึกษาเกี่ยวกับการแก้ปัญหา น้ำบาดาล จนถึงน้ำประปาที่ขาดแคลน ต้องขอบคุณพี่น้องทุกเขตที่มีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรที่มาสู่สภาแห่งนี้แล้วพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องชื่นชมแทนพี่น้องที่ได้ ผู้แทนราษฎรแบบนี้มา ท่านประธานครับ คงจะต้องกล่าวอะไรมากไม่ได้ เพราะว่า ๒๐ กว่าท่านนั้นคงพูดปัญหาจากน้ำที่ไม่สะอาด น้ำที่ไม่ไหล น้ำที่มีสารเจือปน ตลอดจน ปัญหาที่พี่น้องเรานั้นมีน้ำสีต่าง ๆ มีกลิ่นหลาย ๆ ที่ ทั้งสิ้นทั้งมวลนี้ท่านประธานครับ ผมสรุปไว้ตรงนี้ง่าย ๆ ว่ามันเกี่ยวกับงบประมาณ ปัญหาของประเทศมากที่สุดคือประปา หมู่บ้าน ซึ่งมีพี่น้องประชาชนทุกหมู่บ้านนั้นมีแท็งก์ประปาเอง ไม่ว่าจะเป็นแท็งก์ที่มี ขนาดใหญ่ ๔๐๐ ครอบครัว ๒๐๐ ครอบครัว เป็นแท็งก์ปูน จนถึงแท็งก์ที่เป็นเหล็ก เช่น แท็งก์นั้นเป็นปัญหามากที่สุดคือมีสนิมเกาะ วันนี้หลาย ๆ ที่อยากจะเปลี่ยนท่อในหมู่บ้าน ตัวเองโดยใช้งบประมาณพอสมควร แต่ในบางหมู่บ้านนั้นการบริหารจัดการน้ำประปา เป็นของผู้ใหญ่ เป็นของพี่น้องที่คณะกรรมการเองไม่ได้เกี่ยวข้องกับ อบต. หรือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะถูกปฏิเสธว่า ไม่ว่า Submerge เสีย หรือท่อแตก หรืออุปกรณ์ เครื่องกรองต่าง ๆ เสียหายนั้น อบต. ไม่สามารถจะเบิกจ่ายได้ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ คือว่าการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผมได้กราบเรียน ท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นไปว่าท่านลองอนุมัติเงินที่สะสมให้กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้แก้ปัญหาน้ำประปา โดยเฉพาะการเปลี่ยนท่อ และเปลี่ยนระบบกรองนั้น ถ้าทำได้นั้นคุณภาพชีวิตเรื่องอุปโภคบริโภคของน้ำในหมู่บ้านนั้น สำคัญ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น วันนี้เรามีการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค ถ้าเป็นไปได้เรามีการกระจายอำนาจลงไปในระดับตำบล มีเทศบาลที่ใหญ่ ๆ มี อบต. ที่มีชุมชนที่รวมกัน ๔-๕ หมู่บ้าน หากเป็นไปได้ขยายจากการประปาส่วนภูมิภาคเป็น ประปาภูมิภาคระดับตำบล ซึ่งให้ อบต. นั้นได้ก่อสร้างประปาระดับที่สามารถรองรับได้ หลาย ๆ หมู่บ้านซึ่งเป็นชุมชนแออัดอยู่เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ว่า ๑ หมู่นั้นมี ๑ ประปา ที่ผ่านมาเจาะบาดาลจนไม่รู้จะเจาะอย่างไร เพราะว่าเดี๋ยวนี้น้ำแล้ง ต้องเจาะลึกลงไปถึง ๑๐๐ กว่าเมตร หรือไม่ต่ำกว่า ๖๐ วา อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ ก็อยากให้การกระจายอำนาจนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือกระทรวงมหาดไทยนั้น โดยเฉพาะจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นเล็งเห็นความสำคัญ เวลาของบประมาณขอให้อุดหนุนไปเฉพาะกิจเลยว่า เรื่องน้ำโดยตรงให้เปลี่ยนระบบประปา จนแม้กระทั่งท่อต่าง ๆ ที่ฝังมาหลายสิบปี จาก ๔ นิ้ว เหลือไม่ถึง ๒ นิ้ว เพราะว่าเป็นสนิมตะกอนเกาะติดอยู่ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ ท่านประธานครับ ยกตัวอย่างที่ศรีสัชนาลัยในเขตเลือกตั้งผมใช้น้ำผิวดินที่ตำบลบ้านแก่ง ตำบลสารจิตร ซึ่งวางท่อ ๖ นิ้ว มาเกือบ ๓๐ ปีแล้ว ใช้น้ำยาวถึง ๑๐ กว่ากิโลเมตร ผมไม่ทราบปัญหา วันนี้ท่อ ๖ นิ้ว เหลือไม่ถึง ๓ นิ้ว เป็นตะกอนสนิมเกาะเหลือรูนิดเดียว แล้วก็แก้ไขโดยท่อแตก แล้วก็หักซ้ายหักขวาเป็นมุม ทำให้แรงดันน้ำจากที่เขื่อนท่าแพยาวเป็น ๑๐ กิโลเมตร เอามาใช้ที่ตำบลสารจิตรนั้นแรงน้ำไม่พอ แล้วน้ำก็ขุ่นมาก อันนี้คือสาเหตุที่คุณภาพน้ำไม่ดี จึงกราบเรียนว่าเวลาท้องถิ่นนั้นของบประมาณไปที่ท้องถิ่นจังหวัด หรืองบส่วนกลาง งบอุดหนุนนั้น อยากให้พิจารณาเรื่องท้องถิ่น ที่ขอไปก็คือน้ำอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะ อย่างที่มีโครงการใหญ่ ๆ ควบคู่กันไปหลายพันครอบครัว โดยมีคนใช้เป็นหมื่น ยกตัวอย่าง ที่บ้านแก่ง และบ้านสารจิตร ๒ ตำบลนี้ใช้ถึง ๑๐ กิโลเมตร เป็นไปได้ไหมส่งน้ำแค่ ๖ นิ้ว มาเกือบ ๓๐ ปี รูน้ำเหลือไม่ถึง ๓ นิ้ว จาก ๖ นิ้ว อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ จึงกราบเรียนว่า งบประมาณนั้นเป็นสิ่งสำคัญ จึงกราบเรียนท่านประธานถึงทางกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ถ้าเป็นไปได้เราขยายประปาจากภูมิภาคลงมา เป็นประปาระดับตำบล ซึ่งให้ อบต. หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีงบประมาณเยอะ ตลอดจนมีกำลังที่จะสร้างประปาระดับภูมิภาคและจ่ายน้ำไปหลาย ๆ หมู่บ้าน ในชุมชน ที่รวมกันแออัดอยู่ ไม่ต้องมาใช้ว่าหมู่ใครหมู่มัน ประปาใครประปามัน ไม่มีงบประมาณ เพราะว่าผู้ใหญ่หรือพี่น้องที่เป็นกรรมการอยู่นั้น บทที่ค่าไฟฟ้าแพงและต้นทุนสูงก็ไม่รู้ จะทำอย่างไร ไม่มีเงินซื้อเครื่องกรอง ไม่มีเงินซื้อไส้ หรือแม้กระทั่งทรายกรองไม่มี อันนี้ก็ทำให้คุณภาพน้ำเสียไป จึงกราบเรียนท่านประธานถึงกระทรวงมหาดไทยซึ่งดูแล เรื่องชีวิตปากท้องของพี่น้องประชาชน แล้วก็ดูแลเรื่องท้องถิ่นนั้น ฝากไปเรื่องงบประมาณ หากว่าได้อนุมัติเงินสะสมที่มีอยู่มากมายในท้องถิ่นนั้น นำมาใช้แก้ปัญหาน้ำตรงนี้ได้ โดยเฉพาะน้ำดื่มน้ำใช้ จะเป็นประโยชน์สูงสุดให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่แล้วก็พี่น้อง ในหมู่บ้านอย่างสูงครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านชยพล สท้อนดี ครับ
นายชยพล สท้อนดี กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ชยพล สท้อนดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตหลักสี่ เขตจตุจักร พรรคก้าวไกล วันนี้ในเรื่องของน้ำประปาทั้งระบบ ปัญหาของระบบน้ำประปา ตามรายงานเลย ที่มีการแจกให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด มีการระบุปัญหาไว้ ข้อที่ ๑ คือเรื่องของ แรงดันน้ำต่ำในช่วงเวลาที่ความต้องการน้ำสูง แล้วก็แรงดันน้ำสูงในช่วงที่ความต้องการต่ำ ซึ่งจะทำให้ท่อน้ำแตกและรั่ว ซึ่งผมอ่าน ๒ ปัญหาตรงนี้แล้วต้องบอกเลยว่าผมก็งงเลยครับ คือถ้าต้องการสูงความดันก็ไม่พอ ถ้าไม่มีใครต้องการความดันมากเกินไปจนท่อน้ำแตก คือเป็นท่อประปาที่ส่งน้ำได้นิดหน่อยแบบนั้นหรือครับ ทำไมระบบมันไม่สามารถที่จะรองรับ Operating Condition ของมันได้ ไม่ได้ Design มาให้รับกับความต้องการในทุกช่วงเวลา ในทุกช่วงความต้องการหรือครับ คือคำตอบของปัญหา ๒ ข้อผมมองว่ามันง่ายมากเลย คือการติดตั้ง Pressure Sensor Sensor ที่คอยดูเรื่องของแรงดันน้ำ บวกกับเรื่องของ IoT Internet of Things แล้วก็บวกกับ Automatic Valve Control ซึ่งผมคิดว่ามันจะช่วย แก้ปัญหาได้ ถ้าช่วงไหนที่แรงดันน้ำมันแผ่วลงไปเราก็เพิ่ม Valve เปิด Valve เพื่อให้ แรงดันน้ำเพิ่ม แต่ถ้าเกิดช่วงไหนที่ไม่มีความต้องการแล้วแรงดันน้ำมันถึงปริมาณที่เรา เซ็ตไว้แล้ว Valve มันลดลงก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องอัดน้ำเข้าไปจนท่อน้ำมันแตกก็ได้นี่ครับ และปัญหาข้อที่ ๓ คือปัญหาเรื่องของท่อน้ำที่อยู่ใต้ดิน ที่ทำให้การตรวจสอบยากว่า ไม่รู้ว่า จุดตรงไหนมันรั่ว ซึ่งตรงนี้ผมก็มองว่าคำตอบมันก็ง่ายเหมือนกัน คือติดตั้ง Flow Sensor ไหลเข้ามาแค่ไหน ไหลเข้ามากี่ลูกบาศก์เมตร มันก็ต้องไหลออกไปปริมาณเดียวกัน แล้ว Sensor มันก็สามารถบอกเราได้อยู่แล้วว่ามีการรั่วซึมที่ตรงไหนหรือเปล่า ซึ่งปัญหา ๓ ข้อตรงนี้ผมมองว่ามันไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงของวิศวกรในปี ๒๐๒๓ นี้อย่างแน่นอน และปัญหาต่อมาที่ผมอยากจะ Highlight คือเรื่องของแรงดันน้ำ ทุกวันนี้ถ้าเกิดเราเดินไป ที่ชุมชนตรงไหน หรือเดินไปบ้านตรงไหน ก็จะเห็นว่าไม่ว่าคุณจะอยู่ในชุมชน ไม่ว่าคุณ จะอยู่ในบ้านหลัง หรือคุณจะอยู่คอนโดมิเนียม ทุกที่จะต้องมีเครื่องกรองน้ำ แต่ถ้าเกิดที่ไหน ที่มันอยู่สูงหน่อย มีบ้าน ๒ ชั้น หรืออยู่บนคอนโดมิเนียมก็ต้องมีเครื่องปั๊มน้ำเพิ่มขึ้นมา คือเรื่องตรงนี้ KPI ของการประปามีการระบุไว้ว่าต้องเสียน้ำให้น้อยในแต่ละปี เขาก็เลย เลือกที่จะใช้ทางออกโดยการลดแรงดัน แต่ทีนี้คือการลดแรงดันไม่ได้ช่วยตอบปัญหาที่ต้นตอ คือเป็นการแก้ปัญหา Style แบบว่าถ้าเราเจอขยะล้นถังเราเก็บถังขยะไปทิ้งจะได้ไม่ต้องมีขยะ ที่ไหนมาล้นทั้งอีกใช่ไหมละครับ มันไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ที่ตรงต้นตอเลยครับ คือแรงดันน้ำมันสำคัญ เพราะว่ามันช่วยในการชะล้างสิ่งปฏิกูลที่ติดอยู่ในท่อด้วยครับ ถ้าเกิด แรงดันน้ำสูง Flow Rate มันดี พวกแคลเซียมและพวกสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมันก็ไม่สามารถ ที่จะติดตามท่อได้ ก็ไม่มีการสะสมของคราบ Plaque หรือคราบอะไรก็ตาม จะทำให้น้ำนั้น สะอาดขึ้นแล้วก็สามารถที่จะดื่มได้ แล้วทีนี้คือเรื่องของจุดรั่ว จุดรั่วก็จะมีความสำคัญ เรื่องของแรงดันน้ำด้วยเหมือนกัน เพราะว่าไม่ได้มีความกังวลแค่เรื่องของน้ำที่รั่วออกเท่านั้น แต่ถ้าเกิดแรงดันน้ำไม่มากพอ น้ำก็รั่วเข้าด้วยเหมือนกันเช่นกัน แล้วทีนี้เป็นเรื่องที่เราก็ต้อง มาลุ้นกันแล้วว่าท่อน้ำมันพาดผ่านตรงไหนบ้าง และใต้ดินตรงนั้นมันมีอะไรบ้าง จะมีอะไร หลายซึมเข้ามาในท่อน้ำบ้างก็ไม่รู้เหมือนกัน ซึ่งตรงนี้ต่างประเทศนะครับ ผมขอยกตัวอย่าง ว่ามันมีการ Guarantee แรงดันน้ำขั้นต่ำอยู่ ที่สหราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ถ้าเกิดว่าเราเปิด ท่อน้ำขึ้นมา น้ำของที่ ๒ ประเทศนี้จะพุ่งขึ้นสูงเป็นแนวตั้งถึง ๑๐ เมตร แคนาดา สหรัฐอเมริกา ๑๔ เมตร บราซิล ๑๕ เมตร เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง ๒๐ เมตร แอฟริกาใต้ ๒๔ เมตร แต่ประเทศไทย ๖ เมตร แค่ ๖ เมตรเท่านั้นเองครับ พอสภาพระบบน้ำประปา ของเราเป็นอย่างนี้มันทำให้เราต้องเกิดภาระกับประชาชน ภาระที่เขาไม่ควรจะต้องมารับ คือการต้องมาซื้อเครื่องกรองน้ำและเครื่องปั๊มน้ำเพื่อให้ตัวเองได้มีน้ำประปาใช้ถึงชั้น ๒ แล้วก็สามารถมีน้ำประปาที่สะอาดพอที่จะดื่มได้ แล้วอีกอย่างหนึ่งที่ผมอยากจะขอแถม คือในรายงานนี้ที่ท่านสมาชิกทุกท่านน่าจะมี ผมอยากให้ทุกท่านลองเปลี่ยนไปที่หน้า ๓-๒๕ เรื่องของเหตุใดน้ำประปาไทยจึงยังดื่มไม่ได้ มีการระบุสาเหตุไว้ว่าตัววาล์วเกิดสนิมง่าย ใช่ไหมครับ เลยทำให้เกิดการสะสมโรค แล้วก็หัวก๊อกประปาในประเทศไทยทำจากวัสดุหลากหลาย มีหลาย Grade หลายราคา ทำให้สะสมเชื้อโรค คือผมก็ไม่เคยเห็นเหตุผลนี้ในรายงานวิจัยที่ไหนมาก่อน ผมก็เลยลอง ไปอ่านดูตามต้นเรื่องของมันตามต้นข้อมูล ปรากฏว่าเป็น Website ขายเครื่องกรองน้ำ ซึ่งก็แน่นอนอยู่แล้ว เขาก็ต้องบอกว่าก๊อกน้ำมันไม่ดี เพราะว่าถ้าเกิดเลื่อนลงมาจากข้อมูล ตรงนี้ที่เขา Post ไว้ใน Website ของเขา เลื่อนลงอีกภาพหนึ่ง เป็นการขายชุดเครื่องกรองน้ำ พร้อมก๊อกน้ำคุณภาพสูง ก็แน่นอนละครับ Easy life ไหมละครับ ก็คือซื้อของเขาไปก็แก้ไข ปัญหาทุกอย่างได้ แต่ทีนี้ถ้าเกิดเราจะแก้ไขปัญหาทุกอย่างด้วยการซื้อเครื่องกรองน้ำ เครื่องปั๊มน้ำ มันก็เป็นการแก้ไขปัญหาลักษณะเดียวกันกับแบบว่าที่ไหนไฟตกก็ไล่ประชาชน ให้ไปซื้อเครื่องปั่นไฟ ถนนที่ไหนเป็นหลุมเป็นบ่อก็ให้ไปซื้อรถ Four Wheel Off-Road กันไปเลย ที่ไหนขนส่งสาธารณะไม่ดีก็ให้ไปซื้อรถส่วนตัว ไม่มีสวัสดิการถ้วนหน้าก็ไปซื้อ ประกันใช้เอง การศึกษาไม่ดีก็ให้ไปเรียนเอกชน คือมันฟังดูเหมือนเป็นเรื่องตลก แต่มันเป็น ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย แล้วทีนี้ผมก็คงต้องตั้งคำถามแทนประชาชนว่าเขาจะจ่าย ภาษีไปทำไมถ้าสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเรายังให้เขาไม่ได้เลย ก็ขอฝากไว้เท่านี้ครับ ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ ครับ
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จะขออภิปรายในวาระพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำประปาทั้งระบบ ท่านประธานคะ ตามที่นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้กล่าวไว้ว่าการบริหารจัดการน้ำ มีเรื่องที่สำคัญอยู่ด้วยกัน ๔ ส่วน ส่วนที่ ๑ คือภาคการเกษตร ส่วนที่ ๒ คือภาคอุตสาหกรรม ส่วนที่ ๓ คือการรักษาระบบนิเวศ และส่วนสุดท้ายที่มักมองข้ามก็คือน้ำเพื่อการอุปโภค และบริโภค หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบควบคุม และดูแลรักษาทรัพยากรน้ำสาธารณะ รวมถึงมีอำนาจในการออกระเบียบและข้อบังคับ ท้องถิ่น แต่กรณีน้ำประปาถือเป็นปัญหาเร่งด่วนพื้นฐานที่รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ควรเร่งผลักดันและแก้ไข เพราะว่ามันเป็นอำนาจหน้าที่ที่จะต้องจัดหาให้มีน้ำสะอาด ให้กับชุมชนอย่างพอเพียงและมีมาตรฐาน ล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาจากกองน้ำประปาเทศบาลนครพิษณุโลก
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ดิฉันต้องการอภิปราย ในญัตตินี้เพื่อแสดงให้เห็นภาพต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่าน้ำประปาที่ชาวพิษณุโลกใช้ บ้านเกิดที่ดิฉันเกิดและเติบโตนั้นมีปัญหาอย่างไร นี่คือสภาพน้ำประปาที่เกิดขึ้นในเขต เทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนของผู้อยู่อาศัยกว่า ๓๓,๒๔๕ ครัวเรือน ปัจจุบันนี้ท่อน้ำประปาที่ใช้กันอยู่ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกมีอายุเก่าแก่เกือบ ๘๗ ปี และเป็นระบบน้ำประปาที่มีการบริหารจัดการมานานเกือบ ๗๐ ปี ปัญหาน้ำประปา ในจังหวัดพิษณุโลก เทศบาลนครพิษณุโลก จึงเป็นปัญหาเรื้อรังที่มีมาอย่างยาวนาน ทั้ง ๆ ที่ พิษณุโลกแม้อาจไม่ใช่เมืองหลักด้านการท่องเที่ยว แต่เราเป็นเมืองรองที่เป็นยุทธศาสตร์ ที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง พิษณุโลกเป็นเมืองแห่งการบริการ มีศูนย์ราชการระดับภาค ตั้งอยู่มากมาย มีสถานพยาบาลของรัฐขนาดใหญ่ และมีโรงพยาบาลเอกชนถึง ๕ แห่ง รวมถึงมีสถานศึกษา มหาวิทยาลัยหลายแห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงแรมอีก ๑๑๔ แห่ง แหล่งน้ำ ที่เราใช้ก็คือจากแม่น้ำน่าน ทำให้ปัญหาน้ำประปาในจังหวัดไม่ใช่การขาดแคลนน้ำ แต่เป็น ปัญหาเรื่องของการบริหารจัดการน้ำให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะปัญหาน้ำขุ่นแดงและน้ำในช่วง ฤดูฝน และปัญหาน้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากมีปริมาณการรั่วไหล ท่อแตกที่เกิดจาก แรงดันน้ำ ทำให้สูญเสียน้ำปริมาณกว่าร้อยละ ๕๐ มีมูลค่าความเสียหายกว่าปีละ ๒๐ ล้านบาท ทำไมปัญหาเหล่านี้ถึงไม่ได้รับการแก้ไข เพราะเทศบาลมีอำนาจหน้าที่เพียงการบริหารจัดการ และการจัดเก็บจากการประปาเพียงแค่ ๔.๕๐ บาท จึงขาดแคลนงบประมาณในการนำมา จัดสรรเพื่อวางระบบน้ำประปาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพได้ค่ะ ท่านประธานคะ น้ำประปาเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในการรองรับให้เมืองเติบโตค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตในมิติด้านการท่องเที่ยว มิติด้านอุตสาหกรรม มิติด้านเกษตร และการดำรงชีวิต แต่ถ้าเราไม่สามารถทำให้เมืองเจริญเติบโตในมิติใด ๆ ได้เลย ถ้าน้ำประปา อันเป็นปัจจัยพื้นฐานยังไม่สามารถได้รับการแก้ไข ด้วยเหตุนี้ดิฉันจึงอยากจะประมวล วิธีการแก้ไขที่จะเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรไว้ ดังนี้
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อย่างแรก อยากให้รัฐบาลพิจารณาอุดหนุนให้เงินกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปจัดสรรในเรื่องของการสร้างระบบน้ำประปา ทั้งสถานที่ผลิต โรงผลิต รวมถึงถังพักน้ำ และระบบเส้นท่อที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อย่างที่ ๒ อาจให้มีการโอนย้ายให้การประปาส่วนภูมิภาคเข้ามาบริหาร ในการจัดเก็บ และสร้างระบบน้ำประปาใหม่ของเทศบาลนครพิษณุโลก แต่ปัญหาที่อาจจะ เกิดขึ้นตามมาก็คือภาระของค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้น อาจจำเป็นต้องมีการทำประชาคม เพื่อสำรวจความต้องการว่าประชาชนอยากได้น้ำประปาจากภูมิภาคหรือไม่
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อย่างที่ ๓ อันนี้เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ คือการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริหารได้ด้วยตนเองโดยการกู้ยืมเงินจากธนาคารออมสินออกมาบริหารจัดการระบบน้ำประปา ที่มีประสิทธิภาพด้วยการวางระบบท่อใหม่ทั้งระบบ แต่ต้องขออนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย สิ่งเหล่านี้เป็นแนวเสนอที่ดิฉันอยากนำเสนอต่อที่ประชุมแห่งนี้ ต่อนายกรัฐมนตรี รวมถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายแล้ว ดิฉันอยากให้นำเสียงของพี่น้องคนพิษณุโลกเรียนถึงท่านประธาน ผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งดำเนินการในการแก้ไขตามดำริของนายกรัฐมนตรี เพื่อนำน้ำอุปโภคบริโภคกลับมาให้มีความใสสะอาด คนเราขาดอาหารได้ ๓๐ วัน ๖๐ วัน แต่ถ้าเจอน้ำขุ่น ๆ น้ำไม่ไหลแค่วันเดียวใจจะขาดแล้ว ดังนั้นทุกนาทีที่ท่านจะดำเนินการ ต่อจากนี้จะมีคุณค่าต่อน้ำประปาของพี่น้อง และเป็นความคาดหวังที่คนไทยทุกคนมีต่อ รัฐบาลชุดนี้ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านชัชวาล แพทยาไทย
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน กระผม นายชัชวาล แพทยาไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๗ พรรคไทยสร้างไทย ดินแดนทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปทุมรัตน์ ท่านประธานครับ ผมต้องขออนุญาตร่วมอภิปรายในญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไข ปัญหาการขาดแคลนน้ำบาดาลและปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพต่ำ
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
ขออนุญาตนำเรียนท่านประธานครับ ผมขอจำแนกแหล่งน้ำในประเทศไทยออกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ ๆ ส่วนแรก นั่นคือน้ำบนฟ้า ก็คือฝน ส่วนที่ ๒ น้ำบนดิน ห้วย หนอง คลอง บึง ระบบชลประทานต่าง ๆ และส่วนที่ ๓ น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ทั้ง ๓ ส่วนล้วนมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และแหล่งน้ำที่เราอภิปรายอยู่ในวันนี้ก็มีความสำคัญที่สุดเช่นเดียวกัน นั่นก็คือแหล่งน้ำ บาดาลแหล่งน้ำใต้ดิน ปัจจุบันนี้ประเทศไทยเรามีขุมทรัพย์น้ำบาดาลมหาศาลถึง ๑.๑ ล้านลูกบาศก์เมตร ๑ ปีเรามีน้ำคุณภาพดีคือน้ำจืด น้ำบาดาล ที่สามารถใช้ได้เต็มที่ถึง ๔๕,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปี ๆ หนึ่งเราใช้แค่เพียง ๑.๔ หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร แค่นั้นเอง กล่าวคือน้ำที่ใช้ต่อสัดส่วนน้ำดีแค่ ๑ ใน ๓ ของจำนวนน้ำคุณภาพดีทั้งหมด และในจำนวนนั้นยังเหลือน้ำคุณภาพต่ำคือน้ำเค็ม น้ำกร่อยอีก ที่ยังไม่ถูกนำขึ้นมาใช้อีก ๑ ล้านลูกบาศก์เมตร ๓ เดือนก่อนครับ พี่น้องประชาชนหลายพื้นที่ทั่วประเทศประสบ ปัญหาภัยแล้งจากปรากฏการณ์ El Nino ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปกติ แหล่งน้ำผิวดิน ไม่มีที่กักเก็บ ไม่มีน้ำให้กักเก็บ ภาคครัวเรือนขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค ประชาชน ต้องทนใช้น้ำคุณภาพต่ำ ภาคอุตสาหกรรมก็ขาดแคลนน้ำในการผลิตไม่แพ้กัน แล้วหนักที่สุด ภาคการเกษตรกระทบที่สุด ข้าวต้องยืนต้นตาย พืชผลทางการเกษตรของพี่น้องเกษตรกรเสียหาย ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ๒ ล้านไร่ก็เช่นกัน ประสบปัญหาเช่นเดียวกับพี่น้องทั่วประเทศ โดยเฉพาะพี่น้อง อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอเมืองสรวง ใน Slide ที่เห็นด้านล่างสีชมพู หรือสีส้ม ๙๕ เปอร์เซ็นต์ของ ๓ อำเภอ เป็นพื้นที่ที่มีน้ำคุณภาพต่ำหรือน้ำเค็ม ไม่สามารถ นำมาอุปโภคบริโภคในครัวเรือนได้ ภาคการเกษตรยิ่งไปกันใหญ่ ไม่สามารถนำน้ำบาดาล ขึ้นมาใช้ได้ จะดีแค่ไหนหากเราสามารถนำน้ำคุณภาพต่ำ น้ำเค็มเหล่านี้มาปรับปรุงเพื่อแก้ไข ปัญหาน้ำฝนที่ทิ้งช่วง ปัญหาน้ำบนดิน ห้วย หนอง คลอง บึง ระบบชลประทานที่ไม่ทั่วถึง ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าญัตตินี้จะนำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพของน้ำบาดาลให้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น เพื่อแก้ไขการขาดแคลนน้ำทุกมิติ โดยภาครัฐเองต้องจริงจังและจริงใจ ใช้องคาพยพ ที่มีอยู่ในการแก้ไขปัญหาให้รวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ ยกตัวอย่าง ความไม่ชัดเจน ในมาตรการช่วยเหลือพี่น้อง ยกตัวอย่างพี่น้องเกษตรกรชาวนา วันนี้ข้าวในทุ่งกุลาร้องไห้ เริ่มออก โรงสีเริ่มประกาศรับซื้อกิโลกรัมละ ๑๑.๙๐ บาท ทั้ง ๆ ที่ผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก อย่างอินเดียประกาศบอกว่าจะไม่ส่ง แต่ชาวนายังขายข้าวได้แค่กิโลกรัมละ ๑๑.๙๐ บาท ความหวังของพี่น้องทุ่งกุลาร้องไห้ที่หวังว่าข้าวหอมมะลิที่พญาแถนมอบให้ ให้ปลูกในพื้นที่ ที่ดีที่สุดจะพาให้พี่น้องหลุดพ้นจากความยากจนคงไปไม่ถึงแล้วครับ มาตรการการช่วยเหลือ ต่าง ๆ ก็ไม่ชัดเจน การประกันรายได้ไม่มี การชะลอสินเชื่อที่ให้พี่น้องเกษตรกรตากข้าว แล้วขึ้นยุ้งฉางตันละ ๑,๕๐๐ บาทก็ไม่ชัดเจน โครงการของสถาบันทางการเกษตรก็ไม่มี ความชัดเจน แล้วหนักที่สุดที่พี่น้องเกษตรกรถามมาคือค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท ไม่มีความชัดเจน นี่ผมยกตัวอย่างถึงความไม่ชัดเจนของรัฐบาล ภาครัฐต้องจริงจังและจริงใจ ในการแก้ปัญหา หน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเรื่องน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมีองคาพยพ มีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีกองทุนพัฒนาน้ำบาดาลที่เก็บเงิน ได้ปีละเป็นพัน ๆ ล้านบาท โครงการขุดเจาะน้ำบาดาลที่ขุดเจาะได้ลึกที่สุดใน ASEAN ๑,๐๐๐ เมตรที่จังหวัดขอนแก่นผมก็ยังไม่เห็นขยายต่อ ผมจึงเห็นด้วยอย่างยิ่ง และต้อง ขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ร่วมกันอภิปรายหาทางออกในครั้งนี้ หากไม่แก้ไขการขาดแคลนน้ำ นับวันจะยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำและความยากจนให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
ท้ายที่สุด ท่านประธานครับ ท่านได้ดูหรือยังหนังเรื่องสัปเหร่อ เนื้อหา สะท้อนชีวิตของพี่น้องชาวอีสาน แทรกคติความเชื่อมากมาย ความตายมันฆ่าเฮาได้เทือเดียว แต่ความจน ความทุกข์ ความขาดแคลน ความแห้งแล้ง มันกำลังสิฆ่าพี่น้องชาวไทย ไปเรื่อย ๆ จนสิบ่เหลือจักคนแล้วครับ ด้วยความเคารพครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านนพพล เหลืองทองนารา ครับ
นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม นพพล เหลืองทองนารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิษณุโลก พรรคเพื่อไทย คนพรหมพิราม ท่านครับ ญัตติในเรื่องของน้ำก็มี เพื่อนสมาชิกเราได้พูดมาหลายท่านแล้ว ผมเองก็เห็นด้วย แล้วก็อยากจะนำเรียนว่า จริง ๆ แล้วบนโลกเราอย่างที่เราเรียนมาตั้งแต่ประถมว่าน้ำบนโลกเรามี ๓ ใน ๔ อีก ๑ ส่วน เท่านั้นที่เป็นแผ่นดิน ๓ ส่วนนั้นถ้าพูดถึง ถ้ามาเทียบเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ก็จะเป็นน้ำเค็ม อยู่ ๙๗ เปอร์เซ็นต์ น้ำจืดมีแค่ ๓ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ถ้าเอา ๓ เปอร์เซ็นต์นั้นมาเปรียบเทียบ เป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์อีก เป็นหิมะ เป็นน้ำแข็ง ร้อยละ ๗๐ เป็นน้ำใต้ดินร้อยละ ๒๙ แล้วก็ เป็นน้ำผิวดินที่เราแย่งกันนักแย่งกันหนาอีกเพียงเปอร์เซ็นต์เดียว ผมเองอยากจะให้แนวทาง ในการพัฒนาต่อไปนี้ให้มุ่งเน้นในเรื่องของน้ำ เพราะอย่าลืมว่าถ้าน้ำไม่มีทุกอย่างจะจบกัน ไม่ว่าจะภาคเกษตร หรือว่าภาคของการบริโภค ก็ตาม สิ่งที่ผมเสียดายแล้วก็อยากให้มีการปรับปรุงกันขนานใหญ่นั่นก็คือในส่วนที่เป็น การดูแลของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค ขอ ๒ หน่วยงานนี้ก่อน การประปานครหลวงในแต่ละเดือนต้องการน้ำที่จะมาผลิตน้ำประปาให้คนกรุงเทพฯ และอีก ๒ จังหวัด ในปริมณฑลใช้ ๑๗๐ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เชื่อไหมไว้ ๑๗๐ ล้านลูกบาศก์เมตร จำหน่ายหมด แต่ว่าจำหน่ายหมดนี่มันหมดกับข้างทางไปอีกเดือนละ ๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ท่านสมาชิกครับ การสูญเสียน้ำ ตกแล้วอันนี้ผมคิดเอาตัวเลขสูงสุด สูงสุดนั่นหมายความว่า Save ได้มากที่สุด ก็คือมีการจำหน่ายได้แค่ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็สูญเสียไป ๓๐ เปอร์เซ็นต์ คิดแล้วในแต่ละปีน้ำที่สูญเสียไปสำหรับการประปานครหลวงเชื่อไหมว่าเท่ากับน้ำในเขื่อน แควน้อยบำรุงแดนที่บ้านผมเต็ม ๆ เขื่อน ๗๐๐-๘๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนของ การประปาส่วนภูมิภาคก็เช่นเดียวกัน การสูญเสียของน้ำไม่แตกต่างกันเลย นั่นก็คืออยู่ใน อัตราที่สูญเสียประมาณร้อยละ ๓๐ เช่นกัน พวกเราก็มาแย่งน้ำกันมากมายว่าเดี๋ยวน้ำ จังหวัดนี้ก็จะไม่มีทำนา จังหวัดโน้นก็ไม่มีทำนา แต่ตรงนี้เราไม่ต้องไปหาที่ไหน เพียงแต่ว่า อุดรอยรั่วในส่วนของการประปาส่วนภูมิภาคและการประปานครหลวงให้ได้ เราจะได้น้ำ เพิ่มเติมมาปีหนึ่ง ๑,๐๐๐ กว่าล้านลูกบาศก์เมตร เกือบ ๒,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ท่านครับ น้ำใต้ดินอย่างที่ท่าน สส. เมื่อสักครู่ได้บอกแล้ว ปี ๆ หนึ่งใต้ดินที่กักเก็บอยู่ใน ผืนแผ่นดินไทยของเรา ๑,๑๓๗,๕๓๑ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ว่าเป็นน้ำที่เราเอามาใช้ได้เพียง ๖๐,๖๒๑ ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้นเอง แต่ว่าเราก็ไม่มีปัญญา ต้องขออนุญาตใช้คำนี้ ไม่มีปัญญาที่จะนำมาใช้ทั้ง ๖๐,๐๐๐ กว่าล้านลูกบาศก์เมตร เรามาใช้เพียงแค่ ๑๔,๔๐๐ กว่าล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้นเองในแต่ละปี เพราะฉะนั้นแล้วในเรื่องของการนำ น้ำบาดาลมาใช้ ผมเองอยากให้รัฐบาลได้ใส่ใจว่าเรามีทรัพยากรน้ำอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า เราแก้ไขปัญหาหรือเรามองปัญหานั้นตรงจุดหรือไม่ แล้วในส่วนนาทีสุดท้ายที่ผมอยากจะ ขอพูด จริงอยู่ว่าหัวข้อจะเน้นหนักไปทางน้ำประปา แต่อย่าลืมว่าในยุทธศาสตร์ของชาติ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ทุกอย่างเขียนรวมกันหมดว่าน้ำอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม และรักษาระบบนิเวศ เพราะฉะนั้นผมก็ถือว่าน้ำ ทางการเกษตรมีความสำคัญ การคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในฤดูนาปรัง ปีการผลิตปี ๒๕๖๗ ที่จะมาถึงนี้ คาดการณ์ว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง ๖,๗๗๐,๐๐๐ ไร่ และมีการคาดการณ์ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติว่าจะมีความต้องการใช้น้ำ ๑๒,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร วันนี้ชาวนาทั่วประเทศรอคอยว่าตกลงแล้วกรมชลประทาน จะว่าอย่างไร จะปล่อยน้ำให้พี่น้องนั้นได้ทำนาปรังกันหรือไม่ วันนี้น้ำมีอยู่ใน ๔ เขื่อนหลัก เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แล้วก็เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ๑๐,๔๕๑ ล้านลูกบาศก์เมตร ถ้าท่านไม่ปล่อยน้ำให้กับพี่น้องประชาชนในการทำนาปรัง พวกเราเสียใจมาก ท่านจะเก็บน้ำไว้ทำไม ท่านต้องใช้ให้เป็นประโยชน์ บางอย่างในชีวิต มันก็ต้องมีความเสี่ยงกัน ผมกลัวที่สุดในเรื่องของ El Nino จนกระทั่งอะไรขึ้นหัว จนทำให้ ไม่ปล่อยน้ำให้กับพี่น้องเกษตรกร ผมเองขอเรียกร้อง ณ เวลานี้ว่าให้กรมชลประทานได้รีบ พิจารณาในการปล่อยน้ำนาปรังให้กับพี่น้องเกษตรกร เพราะว่าพี่น้องต้องมีการเตรียมตัว ทั้งปลูกข้าวด้วยอะไรด้วย กราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านชลธิชา แจ้งเร็ว ครับ
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี พรรคก้าวไกล ขอ Slide ด้วยนะคะ
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
วันนี้ดิฉันขอมีส่วนร่วมในการอภิปราย ในประเด็นนี้ เนื่องจากว่าในพื้นที่ทั้งในเขตเทศบาลเมืองท่าโขลงและตำบลคลองสาม ของดิฉันก็มีปัญหาเรื่องนี้นะคะ ประเด็นแรกที่ดิฉันอยากจะพูดถึงก็คือปัญหาในพื้นที่ ของเขตเทศบาลเมืองท่าโขลง ซึ่งจริง ๆ แล้วต้องบอกว่าเทศบาลเมืองท่าโขลงเป็นหนึ่ง ในพื้นที่ที่อยู่ติดกันกับจังหวัดกรุงเทพมหานครของเรา แต่ว่านี่คือคุณภาพน้ำประปาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเทศบาลเมืองท่าโขลงนะคะ จริง ๆ แล้ว ในเทศบาลเมืองท่าโขลงประชาชนใช้น้ำประปา โดยเทศบาลเมืองท่าโขลงเป็นผู้บริหาร จัดการน้ำประปาในพื้นที่เอง โดยการทำสัญญาซื้อน้ำประปาจากบริษัทเอกชนมานาน หลายสิบปีแล้วนะคะ โดยดิฉันพบว่าน้ำประปาในพื้นที่มักจะมีสีขุ่น มีกลิ่นเหม็น ซึ่งทำให้ ประชาชนในพื้นที่ไม่สามารถใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคได้ จนบางครั้งประชาชนจะต้อง เสียเงินเป็นจำนวนมากเพื่อซื้อน้ำขวดจากเอกชนมาใช้ในการอุปโภคบริโภค ทั้งการซักผ้า อาบน้ำ หรือการทำกับข้าวต่าง ๆ ด้วย โดยในช่วงที่ผ่านมาดิฉันทราบว่าทางเทศบาล เมืองท่าโขลงเองก็ได้มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไขจัดการปัญหาดังกล่าว แต่ว่าปัญหา ดังกล่าวก็ยังคงมีอยู่ อันนี้คือภาพตัวอย่างของไส้กรองน้ำประปาในพื้นที่ท่าโขลงที่ใช้เวลา ไม่กี่สัปดาห์ก็มีสภาพดำแบบนี้แล้ว นั่นหมายความว่าในแต่ละเดือน แต่ละสัปดาห์ ประชาชน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการเปลี่ยนไส้กรองเป็นเงินจำนวนมาก
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
ปัญหาที่ ๒ คือปัญหาน้ำประปาในพื้นที่คลองสามที่ไหลอ่อน ต้องบอกว่า ในพื้นที่คลองสามของอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ที่มี ประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ปัญหาเรื่องน้ำประปาไหลอ่อนทำให้ประชาชนในพื้นที่ จะต้องติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำเอง แท็งก์น้ำเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการผลักภาระค่าใช้จ่าย ทั้งค่าอุปกรณ์แล้วก็ค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนในพื้นที่จนเกินควร จากปัญหาดังกล่าว ในพื้นที่ดิฉันได้มีการสอบถามทั้งจากหน่วยงานท้องถิ่นเอง ทั้งการประปาส่วนภูมิภาค ทั้งจากประชาชน แล้วก็รวมไปถึงเอกชนที่ให้บริการน้ำประปาในพื้นที่ ดิฉันจึงอยากจะ ขอฝากให้คณะกรรมาธิการได้พิจารณาถึงแนวทางในการแก้ไขน้ำประปาในพื้นที่ ดังนี้
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องแรก ก็คือเรื่องของการวางมาตรฐานการตรวจสอบการผลิตน้ำประปา ที่ชัดเจนและสม่ำเสมอ รวมไปถึงการสุ่มตรวจคุณภาพน้ำประปาจากจุดต่าง ๆ เป็นประจำด้วย อันนี้คือเรื่องแรกที่อยากจะฝากไว้
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ คือการสร้างมาตรฐานที่ชัดเจนในการวางระบบท่อประปา ไม่ใช่การวางขนาดท่อ หรือ Spec ของท่อแต่ละจุดที่แตกต่างกัน จนเกิดปัญหาในเรื่องของ เมื่อเพิ่มแรงดันน้ำก็ทำให้ท่อประปาแตกอีกต่างหาก อันนี้ก็ฝากไว้ให้พิจารณา
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง ก็คือเรื่องของการควบคุมความสะอาดของท่อประปา รวมไปถึงการตรวจสอบ การซ่อมท่อประปาที่ซ่อมแล้ว ซ่อมอยู่ แล้วก็ซ่อมต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งมันสิ้นเปลืองงบประมาณภาษีของประชาชนไปเป็นจำนวนมาก แต่สุดท้ายแล้วปัญหาของ การซ่อมท่อประปาไม่ถูกแก้ไขอย่างจริงจังเสียที ดิฉันคิดว่าหากเราหยุดระบบเงินทอน จากโครงการซ่อมท่อประปาเหล่านี้ได้ ก็คงจะทำให้ปัญหาในเรื่องของคุณภาพน้ำประปา ในพื้นที่ถูกแก้ไขได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของค่าน้ำสูญเสีย ซึ่งในจังหวัด ปทุมธานีได้มีการกำหนดเรื่องของค่าน้ำสูญเสีย ซึ่งก็ยิ่งทำให้ค่าน้ำในจังหวัดปทุมธานีเพิ่มสูง มากขึ้นด้วย และในกรณีเรื่องของน้ำประปาไหลอ่อน ดิฉันก็อยากจะฝากว่าการวางระบบท่อ แล้วก็สถานีส่งน้ำย่อยในพื้นที่ที่มีโอกาสเติบโตของชุมชนเมืองอย่างหนาแน่นเกิดขึ้น ในอนาคต การวางระบบท่อต่าง ๆ ก็ต้องคำนึงถึงประเด็นเรื่องเหล่านี้ด้วย เรื่องของความเติบโต ของชุมชนเมือง แล้วก็ความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย ที่ดิฉันอยากจะฝากไว้ก็คือว่าในปัจจุบันแหล่งผลิตน้ำประปา เริ่มลดน้อยลง และรวมไปถึงปัญหาเรื่องของน้ำทะเลหนุนสูงซึ่งทำให้น้ำประปาเค็ม ดิฉันคิดว่าอันนี้ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่อยากจะฝากให้คณะกรรมาธิการที่จะเข้ามาพิจารณา ปัญหาการแก้ไขน้ำประปาอย่างเป็นระบบได้ช่วยกันพิจารณาตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ แล้วก็หา แนวทางในการรับมือเรื่องนี้ในอนาคตด้วย ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล ครับ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ด้วยความเคารพ ดิฉัน มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต ๘ พรรคภูมิใจไทย ด้วยญัตติ เรื่อง การขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบาดาลและปัญหา น้ำบาดาลคุณภาพต่ำ จากการนำเสนอของเพื่อนสมาชิก ดิฉันขอสนับสนุนญัตติดังกล่าวด้วยโฟกัสไปที่เรื่องน้ำบาดาลโดยเฉพาะนะคะ เนื่องจาก ปัจจุบันทุกพื้นที่ขาดการบริหารจัดการน้ำที่เป็นระบบ ทำให้หลายพื้นที่เกิดความเดือดร้อน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่น้ำประปาเข้าไม่ถึงนะคะท่านประธาน แบบชุมชนเมือง จำเป็นต้องอาศัย การหาแหล่งน้ำจากธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำใต้ดินที่ต้องใช้วิธีขุดเจาะเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน น้ำอุปโภคและบริโภคที่ผ่านกระบวนการทางด้านเทคโนโลยีให้มีการผ่านการกรองให้น้ำ ใสสะอาด แนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบาดาลและปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพต่ำ ซึ่งปัญหาของน้ำบาดาลในปัจจุบัน กรมทรัพยากรน้ำบาดาลไม่มีสาขาทุกจังหวัดอย่างใน จังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งมีพื้นที่ ๒๓ อำเภอ มีประชากร ๑,๕๐๐,๐๐๐ เศษ แต่ไม่มี หน่วยงานน้ำบาดาล ต้องไปติดต่อประสานงานกับสำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาลเขต ๖ ที่จังหวัดตรัง
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
ซึ่งจังหวัดตรังเป็นจังหวัด ที่เล็กกว่าจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่เป็นที่ตั้งของสำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาล แล้วก็ดูแล ๓ จังหวัด เป็นเขตการดูแลเขต ๖ ดูแลจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ ซึ่งต้องรับผิดชอบพื้นที่มากเกินไป ทำให้ประชาชนไม่สามารถติดต่อประสานงานและเข้าถึง หน่วยงานได้อย่างสะดวก และที่สำคัญ ไม่ได้มีการสื่อประชาสัมพันธ์ไปถึงหน่วยงาน แม้แต่หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่ได้เชื่อมโยงในการขอความช่วยเหลือ มีการติดตั้งของ อปท. ในการขุดเจาะน้ำบาดาล แต่ส่วนใหญ่หลายจุดที่ไปขุดเจาะโดยไม่มีน้ำ กลายเป็นเอางบประมาณไปทิ้ง เป็นอนุสาวรีย์ของแท็งก์น้ำต่าง ๆ อยู่เกลื่อนกลาด แนวทาง การแก้ไขควรจะมีหน่วยงานรับผิดชอบทุกจังหวัด ขอฝากในเรื่องนี้ไว้ให้คณะกรรมาธิการว่า เพื่อความสะดวกของประชาชนในการติดต่อขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วในแต่ละจังหวัด
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
ปัญหาที่ ๒ การบริหารจัดการน้ำบาดาล โดยเฉพาะในการขอขุดเจาะบ่อ หน่วยงานออกแบบระเบียบมาให้ประชาชนรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ในการที่จะขอ ขุดเจาะ ซึ่งมีเป็น ๑๐๐ ครอบครัว ถึงจะขอขุดเจาะได้ ไม่สะดวกเนื่องจากประชาชน อยู่กระจัดกระจายตามพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร ไม่สามารถ ที่จะรวมพี่น้องได้หลาย ๆ ครอบครัวเหมือนกับที่ในชุมชนเมือง วิธีการแก้ไข ควรจะพิจารณา ถึงความเดือดร้อน ความจำเป็นของประชาชนในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องใช้ หลายครอบครัวถึงจะมาขอขุดเจาะได้นะคะท่านประธาน
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
ปัญหาที่ ๓ คุณภาพของน้ำบาดาลส่วนใหญ่มีกลิ่น มีสนิมเหล็ก และมีหินปูน มีกลิ่นโคลนตำแหน่งแหล่งน้ำใต้ดิน ทำให้ไม่สะอาดและมีปัญหาต่อสุขภาพของพี่น้อง ประชาชนในการอุปโภคบริโภค ดังที่เพื่อนสมาชิกได้ขึ้นจอภาพมาหลาย ๆ ท่านที่เป็นน้ำ ไม่สะอาดแล้วก็ขุ่น แนวทางการแก้ไข เมื่อมีการขุดเจาะน้ำบาดาล ควรติดตั้งระบบ กรองน้ำดิบให้ครบวงจรให้เป็นน้ำใสสะอาดและสามารถใช้ดื่มได้เลยเหมือนที่กรมทรัพยากร น้ำบาดาลกำลังดำเนินการอยู่ในเวลานี้ คือโครงการขุดเจาะน้ำบาดาลขนาด ๖ นิ้ว จำนวน ๒ บ่อต่อ ๑ จุดแล้วสูบน้ำสู่หอถังสูงขนาด ๘๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเรียกว่า Top แท็งก์ถังสีเขียว และมีระบบการกรองน้ำเก็บไว้ในถัง Stainless ขนาด ๒,๐๐๐ ลิตร ๔-๕ ถัง น้ำสะอาด จะบรรจุถังหรือขวดได้เลย ดังตัวอย่างที่ตั้งอยู่ในสำนักงานกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเขต ๖ จังหวัดตรัง งบประมาณแต่ละจุดใช้ ๕,๒๐๐,๐๐๐ บาทต่อจุด ซึ่งปัจจุบันกรมทรัพยากรน้ำบาดาล สามารถผลิตน้ำดื่มสะอาดเทียบเท่ากับน้ำที่เอกชนผลิตขาย รัฐบาลควรสนับสนุนให้เพียงพอ ทุกพื้นที่ ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลสามารถแจกจ่ายให้กับประชาชนฟรีทั้งแบบขวด และแกลลอนดังในภาพ Slide นะคะ ในแบบขวดของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลที่จังหวัดตรัง เป็นตัวอย่าง ขอให้ตั้งงบประมาณเพิ่มทำโครงการนี้ให้มาก จะถือได้ว่ารัฐบาลคืนความสุข ให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชนโดยรวม ดิฉันจึงขอสนับสนุนญัตติให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบาดาล และปัญหาน้ำบาดาล คุณภาพต่ำ ดังเจตนารมณ์และนโยบายของท่านอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ในฐานะ กระทรวงมหาดไทยที่เพื่อนสมาชิกได้พาดพิงไปในเบื้องต้นในการตั้งงบประมาณ ซึ่งต้องการให้ พี่น้องประชาชนได้ใช้น้ำอุปโภคและน้ำบริโภคที่สะอาดอย่างทั่วถึงทุกชุมชนตามแนวนโยบายนี้ ในนามพรรคภูมิใจไทย สามารถที่จะดำเนินการต่อยอดจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลที่มี ตัวอย่างที่จังหวัดตรังสามารถผลิตน้ำของรัฐบาลให้พี่น้องประชาชนทั่วประเทศได้ใช้ฟรี อย่างเต็มที่ ขอบคุณท่านประธานค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ
นายศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ พิษณุโลก ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม นายศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดพิษณุโลก เขต ๕ อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ อำเภอวัดโบสถ์ พรรคก้าวไกล ขออภิปรายญัตติ การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบาดาล รวมถึงการขาดแคลนแหล่งน้ำอื่น ๆ ต้องยอมรับว่า จริง ๆ แล้วการบริหารจัดการแหล่งน้ำควรจะมีการมาคุยกันแล้วก็แก้ไขก่อนหน้านี้นานแล้ว เพราะเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน แหล่งน้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำผิวดินหรือน้ำใต้ดินเป็นน้ำก้อนเดียวกัน ที่เราจะต้องมาบริหารจัดการเพื่อให้มันไม่ไปกระทบถึงกัน และปัญหาการขาดแคลนน้ำ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการเกษตรมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ พื้นที่ที่พี่น้องเกษตรกร ทำการเกษตรมักจะมีปัญหาแหล่งน้ำ เพราะว่าพื้นที่การเกษตรในประเทศไทยเป็นพื้นที่ ที่ใช้น้ำมากที่สุด หน่วยงานที่ดูแลเรื่องน้ำผิวดินตรงนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกรมชลประทานดูแลน้ำ แม่น้ำ ลำคลองต่าง ๆ เพื่อให้มีน้ำในการทำการเกษตรและสาธารณูปโภค เกษตรกรที่อยู่ใกล้ แหล่งน้ำธรรมชาติก็จะโชคดีไป มีน้ำใช้ตลอด มีการเพาะปลูกที่ดี ต้นทุนก็ต่ำ เกษตรกร ที่อยู่ไกลแหล่งน้ำธรรมชาติก็จำเป็นจะต้องมีการขุดบ่อไว้ใช้เพื่อทำการเกษตร อาจจะพอบ้าง ไม่พอบ้าง เพราะว่าบ่อที่ขุดไว้มันก็มีการตื้นเขินขึ้นทุกปี ก็ต้องไปขอเครื่องมือเครื่องจักร จาก อบต. บ้าง อบจ. บ้าง พอแหล่งน้ำไม่พอทำการเกษตรมันก็กระทบไปถึงน้ำอุปโภค บริโภคในบ้านเรือน ในครัวเรือน ก็ต้องไปร้องขอให้กับ อบต. อบจ. มาขุดเจาะน้ำบาดาล หรือใช้งบประมาณจากหน่วยงานอื่น ๆ มาขุดเจาะน้ำบาดาล ซึ่งก็ไปกระทบกับน้ำกิน น้ำใช้ในบ้าน การบริหารจัดการน้ำในประเทศไทยจะดีได้อย่างไร ในเมื่อกรมทรัพยากร น้ำบาดาลกับกรมชลประทานอยู่คนละกระทรวงกัน กรมทรัพยากรน้ำบาดาลสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมชลประทานสังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ผมไม่ได้ติดใจว่า ๒ กรมนี้จะอยู่คนละกระทรวงกัน เพราะว่าภารกิจดั้งเดิม ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การขุดเจาะน้ำบาดาล เพื่อนำมาใช้อุปโภคบริโภค แต่กรมชลประทานตั้งแต่ปี ๒๔๗๐ ภารกิจหลัก ๆ คือการบริหาร จัดการน้ำ หาแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเกษตรและการสาธารณูปโภค ก็เห็นควรที่จะ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อยู่แล้ว และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ควรจะอยู่กับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ปัญหาคือ ๒ หน่วยงานนี้เป็นหน่วยงาน หลัก ๆ ที่จะต้องดูแลบริหารจัดการน้ำก้อนใหญ่ ๆ ในประเทศเรา ๒ หน่วยงานนี้ควรจะ ทำงานร่วมกัน ควรจะบูรณาการในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน แล้วในปัจจุบันนี้ ทั้ง ๒ หน่วยงานก็มีการใช้น้ำทั้งบนดินและใต้ดินร่วมกันไปแล้ว เพราะฉะนั้นควรจะมี การบูรณาการในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน ปัญหาของน้ำประปาในเขตจังหวัดพิษณุโลก เอาตั้งแต่ในเขตเมืองเลย อำเภอเมืองในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก น้ำประปาก็ขุ่นแดง หน้าฝนก็จะแดงเพราะว่าน้ำเยอะเกินไป หน้าแล้งก็แดงเพราะน้ำน้อย เพราะฉะนั้นจะหาช่วง ที่น้ำใสพอดี ๆ นี่ยากมาก นั่นคือเขตเมืองครับ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ผม อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ อำเภอวัดโบสถ์ ปัญหาของการขาดแคลนน้ำบาดาล ผมขอพูดในประเด็น ที่เกิดจากการบริหารงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ การใช้งบประมาณในการขุดเจาะ น้ำบาดาล การติดตั้งหอสูงพร้อมระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานไม่ได้ครับ มีบางตำบลที่มีการขุดเจาะน้ำบาดาลพร้อมกับติดตั้งหอสูง ๑ จุดใช้งบประมาณถึง ๗๕๐,๐๐๐ บาท ติดตั้งหลายหมู่บ้าน และบางหอสูงส่วนใหญ่จะไม่มีท่อ มีแต่หอสูง แต่ไม่มีท่อไปที่บ้านเรือนของประชาชน ทำให้มีการใช้งบประมาณ แต่ประชาชนไม่ได้ใช้น้ำ เพราะไม่มีท่อไป ถ้าจะใช้น้ำก็ต้องเอารถกระบะใส่ถังน้ำ หรือเอารถเข็นใส่ถังน้ำไปรองน้ำ ใต้หอสูง ยิ่งกว่านั้นบางหอสูงไม่มีน้ำบาดาลขึ้นมาเลย นั่นคือปัญหาที่ ๑ คือการใช้ งบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ
นายศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ พิษณุโลก ต้นฉบับ
ปัญหาที่ ๒ คือการเข้าใช้พื้นที่ในการขุดเจาะน้ำบาดาล ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด ในพื้นที่ของผมก็คือปัญหาที่ดิน อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ อำเภอวัดโบสถ์ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ป่าไม้ เพราะฉะนั้นการจะเข้าไปขุดเจาะน้ำบาดาล จะเข้าไปขุดบ่อ เพื่อเป็นแหล่งน้ำในการทำการเกษตร ทำไม่ได้ครับ และเมื่อมีพื้นที่ที่เหมาะสม มีการสำรวจ แล้วว่าพื้นที่ตรงนี้มีน้ำบาดาลที่มีปริมาณมากพอ มีคุณภาพมากพอที่จะใช้อุปโภคบริโภค ในหลาย ๆ หมู่บ้าน ประชาชนได้ประโยชน์หลายหมู่บ้าน ก็ไม่สามารถเจาะได้ ทั้งที่เจาะแค่ ประมาณสัก ๑๒๐ เมตร อย่างนี้ทำไม่ได้ ต้องหาพิกัดใหม่ หาตำแหน่งในการเจาะ น้ำบาดาลใหม่ซึ่งอยู่นอกเขตป่าไม้ แต่ปริมาณน้ำน้อยกว่าหรือไม่มีเลย แล้วก็ต้องขุดเจาะ ลงไปลึกกว่า ใช้งบประมาณมากกว่า นั่นคือปัญหาที่เกิดขึ้น ทุกวันนี้ยังมีบางหมู่บ้านในเขต ของผมไม่มีน้ำประปาใช้ ไม่มีน้ำบาดาลใช้ ไม่มีน้ำอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ยังต้องใช้ น้ำประปาภูเขาซึ่งมาบ้างไม่มาบ้าง ตรงนี้เป็นปัญหาพื้นฐานที่คนไทยหลายคนต้องเจอ ก็ขอสนับสนุนให้เกิดการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบของประเทศนี้ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ครับ
นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผม นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ เขต ๗ พรรคพลังประชารัฐ ขอ Slide ด้วยครับ
นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ วันนี้ผมได้ฟัง ท่านสมาชิกหลาย ๆ ท่านอภิปรายในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ รวมถึงเรื่องของ น้ำบาดาล ผมก็อยากจะอภิปรายร่วมในญัตติดังกล่าว แล้วก็อยากจะนำเสนอแนวทาง การบริหารจัดการให้น้ำบาดาลมีการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ นี่ก็เป็นแผนที่นะครับ เป็นสภาพน้ำบาดาลในจังหวัดชัยภูมิ จากรูปภาพก็จะเห็นว่าบนแผนที่น้ำบาดาลจะมีทั้งสีฟ้า สีเขียว สีแดง สีฟ้าก็จะเป็นปริมาณน้ำจืด สีเขียวก็เป็นน้ำที่สามารถขุดเจาะได้ ส่วนสีแดง ก็จะเป็นน้ำเค็มซึ่งไม่สามารถขุดเจาะน้ำบาดาลได้ จากในรูปก็จะเห็นว่าที่จริงแล้วเรามี ศักยภาพในการใช้น้ำบาดาลอยู่ค่อนข้างหลายที่ แต่ว่าที่ผ่านมาการใช้น้ำบาดาลก็ไม่ได้มี การใช้เท่าที่มีประสิทธิภาพ รูปแบบการใช้น้ำบาดาลในปัจจุบัน ตามหมู่บ้านในหลาย ๆ พื้นที่ เราก็จะเห็นว่ามีหอถังเก็บน้ำ มีแผง Solar Cell มีระบบท่อ มีตัว Submerge ซึ่งหลาย ๆ หมู่บ้านในจังหวัดชัยภูมิ รวมถึงหลาย ๆ พื้นที่ เราก็จะเห็นว่ายังไม่มีระบบกรองน้ำ ซึ่งบางที ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพน้ำ ดังนั้นทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ก็ได้ริเริ่มโครงการหลาย ๆ โครงการขึ้นมา ในหลายพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการติดตั้งโครงการดังที่ปรากฏอยู่บน Slide นะครับ ซึ่งก็จะมี ทั้งระบบหอถัง ระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เป็นน้ำดื่ม ซึ่งอุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำบาดาลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เราก็จะเห็นว่าภารกิจของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลผูกพันกับ งบประมาณแผ่นดิน เมื่อกรมใช้งบหมดตามแผน ก็จะส่งผลให้โครงการใหม่ต้องรอ ปีงบประมาณถัดไป อันนี้ก็เหมือนกับของทางการประปาส่วนภูมิภาค แล้วก็การประปา นครหลวง เมื่องบใช้หมดแล้วก็จะต้องรอปีงบประมาณถัดไป
นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
การจัดเก็บค่าน้ำบาดาลจากชุมชนและเกษตรกร และการบริหารจัดการ ค่าน้ำยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน จากสภาพปัจจุบันเมื่อทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเข้าไป ดำเนินการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ดังที่ปรากฏอยู่ในรูปเมื่อสักครู่แล้ว ทางกรมทรัพยากร น้ำบาดาลก็จะมีการมอบโครงการดังกล่าวให้กับท้องถิ่น แล้วก็ให้ท้องถิ่นไปบริหารจัดการ กันเอง ซึ่งข้อดีก็คือทางท้องถิ่นที่ผ่านมาก็มีการจัดเก็บค่าน้ำจากชุมชนในอัตราที่ถูกกว่า การประปา อย่างเช่นในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิเขตของผม จะมีหมู่บ้านหนึ่งชื่อหมู่บ้านชนแดน อยู่ที่ตำบลห้วยไร่ ก็มีการจัดเก็บ ก่อนหน้านี้จัดเก็บอยู่ราวหน่วยละ ๑๐ บาท ก็จะถูกกว่า หน่วยของการประปา
นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
ผมมีข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องของน้ำให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลหรือการประปา เมื่อสักครู่ผมได้ฟังทางท่านสมาชิกจากทาง พรรคก้าวไกลได้พูดถึงเรื่องการใช้งบประมาณ ซึ่งต้องใช้สูงถึง ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท แล้วก็มี การประมาณการว่าจะใช้เวลาอีก ๖๐ ปี กว่าจะพัฒนาโครงการเสร็จ รวมถึงของ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเอง ซึ่งทุกปีก็จะมีงบประมาณอยู่ประมาณ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งก็ไม่เพียงพอที่จะเอามาพัฒนาน้ำบาดาลทั้งประเทศ ผมก็มีข้อเสนอ ก็อยากให้มีการเปิด ให้เอกชนเข้ามาร่วมบริหารจัดการกับรัฐในรูปแบบ PPP หรือ Public Private Partnership ซึ่งเอกชนกับรัฐเองก็สามารถจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือที่เขาเรียกว่า Special Purpose Vehicle หรือ SPV แล้วก็ขายน้ำในชุมชนและเกษตรกรในอัตราที่เป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อแก้ไข ปัญหาการจัดเก็บค่าน้ำบาดาล สร้างรายได้ให้กับภาครัฐ สามารถกำกับดูแลให้โปร่งใสดังเช่น รัฐวิสาหกิจที่สามารถตรวจสอบได้ทุกวันนี้ และที่สำคัญเมื่อต้องการงบประมาณเข้าไปลงทุน ในโครงการใหม่ ๆ ทางเอกชนก็สามารถเรียกเพิ่มทุนแล้วก็สามารถเข้าไปลงทุนได้เลย ไม่ต้อง รอเข้าสู่ปีงบประมาณถัดไปของภาครัฐ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล ครับ
นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคก้าวไกล เขต ๓ อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน อำเภอดอยสะเก็ด ก่อนอื่นคือผมต้องบอกว่าดีใจมาก ที่ญัตตินี้เรื่องปัญหาของประปาได้เข้าสู่สภาเสียที เพราะว่าเรื่องประปาก็เป็นเรื่องที่ในเขต ๓ อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน อำเภอดอยสะเก็ดเอง ผมได้รับเรื่องร้องเรียนมาเยอะมาก ผมขอยกตัวอย่าง
นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ขอท่าน สส. ช่วยมาดูประปาที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลเชิงดอยหน่อยค่ะ ขอท่านมาดูประปาที่หมู่ที่ ๙ ตำบลออนกลาง หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่คือ หมู่ที่ ๘ ตำบลออนใต้หมู่ที่ ๖ ตำบลสำราญราษฎร์ หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่โป่ง หมู่ที่ ๔ ตำบลป่าเมี่ยง ขอมาดูที่หมู่บ้านกาญจน์กนก หมู่บ้านวรารมย์พรีเมี่ยม หมู่บ้านพรสวรรค์ หมู่บ้านฟ้าใส หมู่บ้านพฤกษ์พนา ที่ตำบลสันปูเลย ขอให้ท่าน สส. ช่วยมา ดูประปาที่อำเภอสันกำแพงหน่อย บ้านอยู่ห่างจากการประปาสาขาสันกำแพงแค่ไม่กี่เมตร แต่ไม่มีประปาใช้ นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งสำหรับเรื่องร้องเรียนที่ผมได้รับมา แล้วก็เชื่อว่าหลังจาก การอภิปรายนี้ไปผมก็น่าจะได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับประปาเข้ามาเพิ่มอีก ทีนี้ผมคงไม่ต้อง พูดถึงปัญหา เพราะว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านจากหลายพรรคก็พูดไปแล้ว ทั้งในส่วนของ ประปาบาดาล ประปา อปท. ประปาส่วนภูมิภาค ปัญหาขยายเขตไม่ทัน ปัญหาน้ำประปาขุ่น ปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำดิบ ปัญหาแหล่งน้ำดิบอยู่ไกลจากหมู่บ้าน ปัญหาขยายเขตต้องใช้ งบประมาณสูง เพราะว่าผังเมือง การวางแผนการเจริญเติบโตของเมืองไม่ได้ถูกคิดไว้ล่วงหน้า แต่ผมมีข้อมูลที่น่าสนใจอยู่ชุดหนึ่ง มาจาก Page ที่ชื่อว่า ลงทุนแมน ข้อมูลนี้เป็นข้อมูล ในปี ๒๐๑๙ ถ้าให้อธิบายเป็นตัวเลขกลม ๆ ข้อมูลนี้ระบุว่า ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ของประปา ในประเทศไทย ๒๕ เปอร์เซ็นต์นั้น ผู้ให้บริการคือการประปาส่วนภูมิภาคและการประปา นครหลวง อีก ๑๕ เปอร์เซ็นต์ เป็นระบบน้ำบาดาล และอีก ๖๐ เปอร์เซ็นต์นั้น ก็เป็นประปา หมู่บ้านที่อยู่ตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ถ้าพูดในภาษาธุรกิจ ก็หมายความว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการประปา หมู่บ้านคือผู้ให้บริการน้ำประปารายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทีนี้ในพื้นที่ของ อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน อำเภอดอยสะเก็ดเอง อย่างที่เพื่อน สส. อิทธิพล จากจังหวัดขอนแก่น พรรคก้าวไกล ได้พูดไปว่ากระทรวงมหาดไทยเคยมีหนังสือส่งไปยัง อปท. ทั่วประเทศว่าให้สำรวจข้อมูลว่ามีประปาหมู่บ้านอยู่กี่จุด กี่แห่ง ซึ่งตัวผมเองก็ยังไม่ได้ ทราบข้อมูลนั้น แต่จากการคาดคะเนในเขต ๓ จังหวัดเชียงใหม่เอง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นประปาหมู่บ้าน อีก ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่นั้นเป็นการประปาส่วนภูมิภาค ทีนี้ปัญหา ประปาที่ได้รับการร้องเรียนมาอย่างต่อเนื่องสำหรับผม ผมก็ใช้เวลาในการหาคำตอบ หาข้อมูลว่าที่ผ่านมาเขาแก้อย่างไร แล้วในอนาคตเราจะแก้ปัญหาประปาได้อย่างไร ที่ผ่านมา เขาแก้อย่างไร ที่ผ่านมารัฐบาลส่วนกลางก็พยายามที่จะมอบอำนาจ มอบหน้าที่ มอบภารกิจ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เป็นผู้ให้บริการน้ำประปา แต่ทีนี้สิ่งที่ขาดมาโดยตลอด ก็คืองบประมาณครับ ไม่เคยมีงบประมาณเพียงพอ ทุกวันนี้ไม่มีงบเพียงพอที่จะซ่อม ระบบเดิม ไม่มีงบเพียงพอที่จะสร้างระบบใหม่ มันก็เป็นปัญหาวน Loop อยู่แบบนี้ แต่เพื่อ ความเป็นธรรมนะครับ ในรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มา ในแต่ละปีกระทรวงมหาดไทยก็จะมีงบอุดหนุน เฉพาะกิจรายปี ซึ่งก็จะเป็นทางแต่ละท้องถิ่นก็จะขอมาว่าของบเพื่อไปซ่อมระบบประปา หมู่บ้าน แต่ทีนี้งบที่ไปก็ได้แค่ซ่อม ได้แค่สร้างใหม่ สุดท้ายแล้วผู้ที่ให้บริการนั้นคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่สามารถบริหารจัดการให้ระบบประปาของตัวเองนั้นมีเงินทุน หมุนเวียนได้ ก็ไม่เหลือเงินไว้เปลี่ยนไส้กรอง ไม่เหลือเงินไว้ซ่อมแซมชิ้นส่วนต่าง ๆ ของระบบ ประปา ที่ผ่านมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงมหาดไทย มีคู่มือแนะนำมาตรฐานวิธีการต่าง ๆ ที่ส่งไปยังผู้ดูแล ประปาในแต่ละระบบว่าควรจะดูแลอย่างไร ควรจะตรวจวัดอย่างไร แต่สุดท้าย สภาพความเป็นจริงอย่างที่หลาย ๆ ท่านอภิปรายมาก็เห็นแล้วครับว่าเพียงแค่คู่มือ คำแนะนำนั้นมันไม่ได้ผล แล้วก็ในส่วนของการประปาส่วนภูมิภาค ผมขอใช้พื้นที่ตรงนี้ เรียนพ่อแม่พี่น้องอำเภอดอยสะเก็ด ปัญหาการประปาส่วนภูมิภาค ผมพยายามที่จะขอ เข้าพบกับผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาคสาขาดอยสะเก็ด จนถึงทุกวันนี้ผมก็ยังไม่ได้รับ ให้นัดเข้าพบ แล้วในอนาคตเราจะแก้อย่างไร ผมมี ๓ ข้อเสนอ
นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ข้อเสนอแรก ก็ไม่พ้นเรื่องของการจัดสรรงบประมาณ แต่ทีนี้ในการจัดสรร งบประมาณในรอบนี้ก็ไม่ควรเป็นแค่การซ่อมหรือสร้างใหม่ แต่การจัดสรรงบประมาณรอบนี้ มันต้องครอบคลุมไปถึงการวางระบบท่อไหม ไปถึงการติดตั้งตัว Sensor ต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายก๊อกของผู้ใช้น้ำ ทีนี้ตัวชี้วัด KPI มีแค่ตัวเดียวเลยครับ คือคนไทยต้องมีน้ำสะอาด ที่ใช้ได้และดื่มได้
นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ข้อเสนอที่ ๒ อย่างที่ผมบอกไปว่าเรามีคู่มือ มีคำแนะนำต่าง ๆ แต่สิ่งที่ เราไม่มีคือเราไม่มีกฎหมายใด ๆ เลยที่ควบคุมคุณภาพน้ำประปา ผมเสนอว่าอยากให้เรามี กฎหมายที่ควบคุมคุณภาพน้ำประปา นั่นหมายความว่าผู้ผลิตและผู้จำหน่ายน้ำประปา มีหน้าที่รับผิดชอบที่ต้องทำน้ำประปาให้ได้ตามมาตรฐาน และผู้ใช้น้ำประปาคือประชาชน ของเราต้องสามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้ในกรณีที่น้ำไม่ไหล น้ำสกปรก
นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ข้อเสนอที่ ๓ นอกจากงบประมาณและกฎหมายแล้ว เราควรที่จะเพิ่ม ขีดความสามารถให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งจำนวนบุคลากร ทั้งองค์ความรู้ และถ้าหากเพิ่มแล้ว ทำทุกอย่างแล้วยังทำไม่ได้อีก ผมคิดว่ามันถึงเวลาที่เราอาจจะต้อง ปลดล็อกการประปาให้เอกชนได้สามารถเข้ามาทำแทนได้แบบบางประเทศที่เขาทำกัน
นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชียงใหม่ ต้นฉบับ
สุดท้ายครับท่านประธาน ปัญหาน้ำประปาก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพื่อน สส. เรา หลายท่านอภิปรายกันในทุกสัปดาห์ ปรึกษาหารือกันในทุกสัปดาห์ จำนวน ๔๐ ท่าน ที่อภิปรายในวันนี้ก็น่าจะสะท้อนแล้วว่าปัญหาประปามีอยู่ทั่วประเทศ ที่น่าเจ็บใจยิ่งกว่า ย้อนไปเมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้วตอนคุณพ่อผมเป็น สส. ผลงานของท่านเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว คือการขยายเขตประปาที่จังหวัดเชียงใหม่ ๒๐ กว่าปีผ่านไปจนถึงทุกวันนี้เราก็ยังคงประสบ ปัญหาประปาอยู่ ในสภาแห่งนี้เราอภิปรายถึง Megaproject ถึง Landbridge ถึงการขุด ท่าเรือน้ำลึก รัฐบาลที่แล้วทำรถไฟรางคู่ ทำรถไฟความเร็วสูง แต่ไม่เคยมีใครพูดถึง Megaproject ที่เราจะทำน้ำประปาให้ประชาชนดื่มได้ ใช้ได้อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศเลยนะ แต่ผม ก็หวังว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะให้ความสำคัญตรงนี้ หวังว่าเม็ดเงินที่ท่านต้องการจะนำเข้า ประเทศมันจะแปรเปลี่ยนกลับมาเป็นคุณภาพชีวิตดี ๆ ที่ประชาชนจับต้องได้เสียที และถ้าหากรัฐบาลชุดนี้ยังทำไม่ได้ รอบหน้าให้รัฐบาลพรรคก้าวไกลทำครับ เราจะทำให้ น้ำประปาดื่มได้ทั่วประเทศ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ครับ
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ กระผม นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จังหวัดศรีสะเกษ ท่านประธานครับ ปัญหาเรื่องน้ำเป็นปัญหาที่กว้าง แต่ปัญหาที่ผมกังวลมาก ๆ ตอนนี้เลยก็คือปัญหาเรื่องของน้ำที่จะใช้ในการเกษตรกรรม ในช่วงเวลาที่จะมาถึง ๑-๓ ปีต่อไป เหตุผลเพราะว่าปัจจุบันนี้เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าทั่วโลก กำลังเผชิญกับปัญหา El Nino ซึ่งสำหรับประเทศไทยผลกระทบก็น่าจะเป็นเรื่องของ การขาดแคลนน้ำ น้ำแล้งแล้วก็น้ำจะไม่มาตามฤดูกาล แต่เดิมเราเคยมีปริมาณน้ำฝน ๘๐๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่เมื่อมีปรากฏการณ์ El Nino ปริมาณน้ำฝน ย่อมลดลงอย่างมากมายอย่างแน่นอน เราเคยสามารถกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้งานได้ถึง ๘๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่ปัจจุบันนี้ปริมาณน้ำฝนที่อยู่ในเขื่อนต่าง ๆ มีอยู่เพียง ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้นเอง ในขณะที่พื้นที่การเกษตรทั่วประเทศ มีประมาณ ๑๓๐ ล้านไร่ เป็นพื้นที่ในเขตชลประทานประมาณ ๓๐ ล้านไร่ นอกเขต ชลประทาน ๑๐๐ ล้านไร่ ศูนย์ติดตามภัยพิบัติของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บอกว่า ในปี ๒๕๖๖/๒๕๖๗ จะมีพื้นที่ในเขตชลประทานได้รับผลกระทบประมาณ ๗ ล้านไร่เศษ จะมีพื้นที่นอกเขตชลประทานได้รับผลกระทบประมาณ ๑๐ ล้านไร่ ผมก็ยังสงสัยครับ ท่านประธาน ในพื้นที่ชลประทานถ้ามีผลกระทบในช่วงหน้าแล้งประมาณ ๗ ล้านไร่ ประมาณ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ แต่ทำไมพื้นที่นอกเขตชลประทาน ๑๐๐ ล้านไร่ จึงได้รับผลกระทบ เพียงประมาณ ๙ ล้านไร่เศษ ถึง ๑๐ ล้านไร่เท่านั้นเอง เพียงแค่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์นะครับ ผมจึงมีความกังวลว่าตัวเลขที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ไว้อาจจะไม่ตรงกับ ความจริง เพราะผมก็ยังเชื่อว่าในสถานการณ์ที่เผชิญกับภัยแล้งนั้น พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จากปัญหาภัยแล้งคือพื้นที่นอกเขตชลประทานได้รับผลกระทบมากกว่าอย่างแน่นอน ซึ่งรัฐบาลก็มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาติดตามผลกระทบของสถานการณ์ El Nino ซึ่งก็มี ท่านรองนายกรัฐมนตรีภูมิธรรมเป็นประธาน ขออภัยที่เอ่ยนาม ไม่เสียหายนะครับ ซึ่งท่าน ก็มีนโยบาย ทางรัฐบาลก็มีนโยบายว่าจะมีการใช้ธนาคารน้ำใต้ดิน จะมีการใช้ฝายแกนดิน ซีเมนต์ ซึ่งก็จะแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ที่ผมกังวลก็คือว่าการใช้กระบวนการฝาย แกนดินซีเมนต์หรืออะไรก็แล้วแต่อาจจะไม่ทันต่อเหตุการณ์ เนื่องจากว่าถ้าหากเกิดปัญหาน้ำ แล้งขึ้นมาจริง ๆ จะไปรอน้ำที่ตอนนี้ก็เหลือน้อยเต็มที ในเขื่อนต่าง ๆ ก็เหลือน้อยเต็มที อาจจะไม่พอใช้ จึงมีความคิดอยากเสนอรัฐบาลว่าน่าจะพิจารณาวางแผนการใช้น้ำใต้ดิน โดยวิธีการขุดเจาะน้ำบาดาล ซึ่งน้ำบาดาลนั้นถ้าเอกชนทำขนาด ๔ นิ้ว ถ้าในภาคอีสาน ก็จะตกประมาณ ๘,๐๐๐-๔๐,๐๐๐ บาท ขึ้นอยู่กับพื้นที่นะครับ สามารถผลิตน้ำได้ประมาณ ๔๐ ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ก็คงพอใช้ได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าหากว่า เจอปัญหาเรื่องน้ำแล้งจริง ๆ ต้องใช้น้ำจำนวนมาก จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ไม่เช่นนั้นเราเกิดปัญหาน้ำแล้งขึ้นมาจริง ๆ ค่อยไปวางแผนในตอนที่เกิดปัญหาอาจจะไม่ทัน ต่อเหตุการณ์ จึงต้องวางแผนตั้งแต่ตอนนี้ว่าพื้นที่ใดจะใช้น้ำจากส่วนใด จะต้องขุดเจาะ น้ำบาดาลจำนวนเท่าไรจึงจะพอเพียง แล้วก็อาจจะต้องมีการขุดเจาะน้ำเพื่อมาตรวจสอบ คุณภาพของน้ำก่อน เนื่องจากน้ำบาดาลนั้นมีปัญหาในเรื่องของคุณภาพทางกายภาพ คุณภาพทางเคมี แล้วก็คุณภาพทางชีวภาพ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับการปลูก หรือการทำ การเกษตรบางชนิด จำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์คุณภาพของน้ำเพื่อที่จะได้วางแผนไว้ ล่วงหน้าว่าน้ำในพื้นใดจะต้องปรับปรุงในส่วนใดเพื่อที่จะให้เหมาะกับการทำการเกษตร ในพื้นที่นั้น ๆ ก็อยากจะฝากความกังวลไปยังท่านประธานไปถึงรัฐบาลว่าการวางแผน เรื่องน้ำในวิกฤติภัยภัยแล้งในช่วง ๑-๓ ปีข้างหน้ามีความจำเป็นต้องวางแผนระยะยาว และต้องดำเนินการตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ไม่เช่นนั้นถ้าหากว่ารอให้เกิดภัยแล้งแล้วค่อยไปวางแผน หรือดำเนินการอาจจะไม่ทันท่วงทีครับ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี ครับ
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา กระผม กฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขตเลือกตั้ง ที่ ๑ คนปากน้ำโพ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอภิปรายเพื่อสนับสนุน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาการขาดแคลน น้ำบาดาล และปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพต่ำ ผมขอยกตัวอย่างกรณีปัญหาน้ำขุ่นข้น ประปา ขุ่นข้นในจังหวัดนครสวรรค์ ท่านประธานทราบไหมครับ จังหวัดนครสวรรค์แม้จะเป็น แหล่งรวมของต้นน้ำสำคัญ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน รวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปัญหา เรื่องการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทั้ง ๆ ที่เราอยู่ในยุค ศตวรรษที่ ๒๑ ยุคแห่งเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ยุคแห่ง AI ปัญญาประดิษฐ์ แต่ปัญหา แค่น้ำประปาขุ่นข้น ไม่เพียงพอต่อการอุปโภค ยังแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชนเราไม่ได้ ผมขอยกตัวอย่างกรณีพื้นที่ที่ผมรับผิดชอบในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีตำบล ๑๒ ตำบล ๙ ใน ๑๒ ตำบลนั้นมีปัญหาน้ำประปาที่ขุ่นข้น ได้แก่ ตำบลนครสวรรค์ตก ตำบลนครสวรรค์ออก ตำบลตะเคียนเลื่อน ตำบลกลางแดด ตำบลแควใหญ่ ตำบลบางม่วง ตำบลบ้านมะเกลือ และตำบลบางพระหลวง จากการลงพื้นที่พบกับประชาชนผู้นำท้องถิ่น ลงดูหน้างานในพื้นที่จริงในฐานผลิตประปาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แล้วผมก็มีโอกาส นำปัญหาประปาขุ่นข้นมาหารือในสภาแห่งนี้ถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรก ในวันที่ ๓ สิงหาคมที่ผ่านมา และวันที่ ๒๘ กันยายนที่ผ่านมา ท่านประธานครับ วันนี้ผมขอยกตัวอย่างปัญหาน้ำประปา ขุ่นข้นในพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตกเพื่อให้เห็นถึงปัญหา และการเชื่อมโยงรูปแบบโรงผลิต ประปาควรจะมีกี่โรง ขนาดเท่าไร ว่าเราควรจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร จากข้อมูล เป็นข้อมูลทางเทคนิค ข้อมูลนี้ผมเรียกว่าคู่มือเลือกรูปแบบผลิตประปาของกรมทรัพยากรน้ำ มีการแบ่งรูปแบบการผลิตน้ำประปาเป็น ๒ รูปแบบ ก็คือ แบบบาดาล แล้วก็แบบน้ำผิวดิน แบบบาดาลแบ่งเป็นทั้งหมวด ๔ ประเภท เริ่มจากขนาด ๒.๕ ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ไปถึง๒๐ ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง แบบผิวดินเริ่มจากขนาดกลาง ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ไปจนถึงประปาขนาดใหญ่พิเศษ ๕๐ ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ยกตัวอย่างจากแผนที่นี้ เป็นพื้นที่ อบต. นครสวรรค์ตก ก็คือในพื้นที่เมืองติดกับเขตเทศบาล ก็จะชวนพี่น้อง ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงผู้นำท้องถิ่น อาจจะอยากรู้ว่าพื้นที่ตัวเองมีน้ำประปา โรงผลิต เพียงพอหรือไม่ ลองใช้ข้อมูลง่าย ๆ นำจำนวนครัวเรือน อย่างเช่น ตัวอย่าง อบต. นครสวรรค์ตก ๘,๔๑๘ ครัวเรือน ลองหาร ๑,๓๐๐ ดู แล้วเอา ประปาแบบ Jumbo ที่นี่ควรต้องมีประปาผิวดินขนาดพิเศษ ใหญ่พิเศษ ๗ แห่ง แต่ว่า ในพื้นที่นี้มีเพียง ๒ แห่ง จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องน้ำประปาขุ่นข้น น้ำประปาที่ไม่เพียงพอ ท่านประธานครับ จำนวนอีก ๕ แห่ง การผลิตแบบนี้ต้องใช้งบประมาณขั้นต่ำ ๔.๒ ล้านบาท ต่อหน่วยผลิต ฉะนั้นต้องใช้เงินประมาณ ๒๑ ล้านบาท แต่ท่านประธานครับ เป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่า อบต. เล็ก ๆ แห่งนี้มีงบประมาณเพียง ๕ ล้านบาทต่อปี การที่ผู้นำท้องถิ่นจะทำ ประปาจากขุ่นข้นให้สะอาดขึ้นให้บริโภคได้ ก็คงทำไปได้ยาก ก็เพียงแต่ต้องร้องขอหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ของบประมาณที่เกี่ยวข้อง เพราะงบประมาณไม่เพียงพอ ผมจึงขอเสนอแนวทาง แก้ไขปัญหาให้ท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงาน ดังนี้
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ก็คือปัญหาคุณภาพประปา ๘๐ เปอร์เซ็นต์เป็นปัญหาจากการขาด ความรู้ความเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ฐานผลิตประปาเอง
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ผู้นำท้องถิ่นต้องลงมือ มาลงแก้ปัญหาอย่างจริงจังกับองค์กร ของท่าน ท้องถิ่นควรจะมีอุปกรณ์เพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำประปา ตรวจวัดค่า pH และควร ตรวจทุกวันด้วย ให้ประชาชนเข้าถึงได้ผ่านระบบ Online ให้หน่วยงาน อาทิ หน่วยงาน กรมทรัพยากรน้ำเข้ามาตรวจสอบเป็นระยะ จัดให้มีการอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยประปาผลิต อย่างสม่ำเสมอ
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ให้ออกกฎหมาย พ.ร.บ. ประปาดื่มได้ ซึ่งพรรคก้าวไกลเตรียม นำเสนอ พ.ร.บ. นี้ในสมัยประชุมนี้ เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำประปา ปรับปรุงระบบท่อ ส่งประปาทั่วประเทศ อุดหนุนงบประมาณ ประมาณ ๗,๕๐๐ ล้านบาทต่อปี แผนระยะยาว ๘ ปี วางเป้าหมายให้ประชาชนสามารถดื่มน้ำสะอาดจากก๊อกได้ภายใน ๑๐ ปีนี้ เพื่อลด ค่าครองชีพของพี่น้องประชาชนแทนการซื้อน้ำดื่มน้ำใช้ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านเทียบจุฑา ขาวขำ ครับ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางเทียบจุฑา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ดิฉันขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลน น้ำบาดาลและแก้ปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพตกต่ำ ท่านประธานคะ น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญ น้ำคือชีวิต น้ำบาดาลก็เป็นทรัพยากรธรรมชาติ แล้วก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต ของพี่น้องเกษตรกร พี่น้องชาวไร่ชาวนาที่มีอาชีพเกษตรกรซึ่งต้องอาศัยน้ำบาดาลประกอบ อาชีพทำพืชผลสินค้าการเกษตร พื้นที่ดิฉันถ้าหากฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงจะพบปัญหา การขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อพืชผลการเกษตร เช่น ต้นอ้อย ข้าว มันสำปะหลัง ขาดน้ำแห้งเหี่ยวเฉาตาย ดังนั้นพี่น้องเกษตรในพื้นที่ดิฉันต้องอาศัย น้ำบาดาลเสียส่วนใหญ่ เพราะน้ำบาดาลช่วยพืชผลการเกษตร ช่วยเพิ่มผลิตผลการเกษตร ให้ได้มาก แล้วก็เป็นอาชีพหลักด้วย ท่านประธานคะ ดิฉันอยู่ภาคอีสาน อยู่จังหวัดอุดรธานี ภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แห้งแล้งเสียส่วนใหญ่ แล้วก็เป็นพื้นที่ที่หาแหล่งเจาะน้ำบาดาล ได้ยาก เนื่องจากปริมาณน้ำบาดาลนั้นมีน้อย แล้วถ้าเจาะแล้วยังพบน้ำบาดาลเค็มแล้วก็ น้ำกร่อยด้วย ทำให้พี่น้องประชาชนภาคอีสานได้ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค และบริโภค และปัญหาทำการเกษตรบางพื้นที่ไม่สามารถจะทำการเกษตรได้เลย ท่านประธานคะ ดิฉันขอโยงไปหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกที่ได้เริ่มใช้น้ำบาดาลแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
เช่น ประเทศเดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา ใช้น้ำบาดาลอุปโภคบริโภคเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ยังช่วยเหลือภาคเกษตรด้วย เป็นจำนวนมาก แล้วก็สามารถแก้ปัญหาภัยแล้งให้ประชาชนในประเทศเขาได้ แล้วอีกอย่างหนึ่ง ที่ดิฉันอยากจะขอยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนก็คือประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ ทะเลทราย มีพื้นที่เป็นทะเลทรายอยู่ตะวันออกกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขาแห้งแล้ง ล้อมรอบด้วยทะเลทราย แต่ทำไมเขาประสบผลสำเร็จในเรื่องของการเกษตร ส่งพืชผล สินค้า การเกษตรออกขายไปทั่วโลก ก็เพราะเขาจัดการบริหารน้ำอย่างเป็นระบบ เขาจัดการ บริหารน้ำอย่างเป็นระบบ แก้ปัญหากฎ ระเบียบให้มันชัดเจน จัดการน้ำทุกประเภท ต้องมี องค์กร หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง และทำให้ประเทศอิสราเอลได้พึ่งพาน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาลเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็ได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนาน้ำในระบบของเขา ใช้ระบบ วิศวกรน้ำบาดาลเข้ามาจัดการ ให้มีโครงสร้างเครือข่ายน้ำจืดต่อท่อระบบใต้ดินเพื่อขนน้ำจืด จากทางเหนือลงมาทางใต้ของประเทศ ระยะทาง ๖,๕๐๐ กิโลเมตร เขาใช้น้ำทั้งระบบ ๒,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่ออุปโภคและบริโภคแล้วก็ผลิตกระแสไฟฟ้า จะเห็นได้ว่า ประเทศอิสราเอลถึงแม้ภูมิประเทศของเขาห้อมล้อมด้วยทะเลทราย แต่เขาสามารถนำน้ำมา ปลูกพืช ผัก ผลไม้ ส่งออกไปต่างประเทศ ก็ทำให้แรงงานไทยภาคเกษตรไปทำงาน ที่ประเทศอิสราเอลเป็นจำนวนมากหลายหมื่นคน ใน ๑ เดือนทำงานด้านการเกษตร ที่อิสราเอล เขามีรายได้ประมาณเดือนละ ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ บาท เพราะฉะนั้นดิฉัน นำเสนอว่าถ้าหากประเทศไทยเราพัฒนาบริหารการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เหมือนประเทศอิสราเอล ประเทศไทยเราก็จะชุ่มฉ่ำ มีน้ำเพื่อการเกษตรจะเยอะ แล้วก็ยัง ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรไทยไม่ต้องไปขายแรงงานที่ประเทศอิสราเอล ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสิน เสี่ยงภัยไปทำงานที่ประเทศอิสราเอล กลับมาแล้วก็กลายเป็นโศกนาฏกรรม ดิฉันอยาก กราบเรียนท่านประธานว่าปัจจุบันนี้ประเทศไทยเราก็ใช้น้ำบาดาลเหมือนกัน แต่ใช้ได้น้อย เพราะว่าปัญหาเหมือนที่ดิฉันบอก เพราะปัญหาน้ำเค็มและน้ำใต้ดินมีน้อย แต่อยากจะ นำเสนอว่าขอให้แก้ปัญหาสถานที่เก็บกักน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงที่ตื้นเขิน ก็ควรจะดำเนินการขุดลอกระบบชลประทานให้เก็บน้ำให้ได้เยอะ ๆ ให้เพียงพอ ต่อการเกษตร ดังนั้นดิฉันก็ขอให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรมป่าไม้ได้บูรณาการกัน เข้ามาดูแล มาสำรวจขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลให้เป็นระบบ ดังนั้นดิฉันจึงขอสนับสนุนญัตตินี้ให้กับสภาผู้แทนราษฎรได้ศึกษาเพื่อแก้ปัญหา การขาดแคลนน้ำบาดาลให้กับพี่น้องประชาชนอย่างเร่งด่วนค่ะท่านประธาน ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านสาธิต ทวีผล ครับ
นายสาธิต ทวีผล ลพบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม สาธิต ทวีผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๒ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิก ท่านรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ขออนุญาตที่ต้องเอ่ยนามท่านครับ ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาการบริหารจัดการน้ำประปาทั้งระบบของเพื่อนสมาชิกนี้มีประโยชน์มาก ปัญหาน้ำประปาที่พี่น้องประชาชนนั้นประสบพบเจอในหลาย ๆ พื้นที่ หลาย ๆ ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นน้ำประปาไหลเบา มา ๆ หาย ๆ น้ำขุ่น ไม่ใสสะอาด คุณภาพของน้ำประปา ไม่สามารถอุปโภคบริโภคได้อย่างปลอดภัย หรือบางพื้นที่ไม่มีแม้แต่น้ำประปาที่จะใช้ ในการอุปโภคบริโภค ท่านประธานครับ พวกเราเหลือเวลาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พรุ่งนี้อีก ๑ วัน ก็จะปิดสมัยประชุมแล้วนะครับ ตลอดระยะเวลาวันนี้ที่พวกเราเข้าร่วม ประชุมกัน ผมผู้ไม่เคยขาด ลา หรือมาสายแม้แต่ครั้งเดียวเลยครับ ก่อนเข้าระเบียบวาระการประชุม สภาแห่งนี้จะเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ปรึกษาหารือ นำปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชนเข้ามาหารือในสภาแห่งนี้ ท่านละ ๓ นาที วันละ ๓๐ คน ต่อมาได้มีการปรับลด เวลาลงเหลือ ๒ นาที แต่เพิ่มจำนวนคนเป็น ๓๗ คน ผมได้มีโอกาสหารือในสภาแห่งนี้ไปแล้ว ๒ ครั้ง หมดสมัยประชุมพอดี ผมได้หารือเรื่องปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาและน้ำประปาขุ่น เกินมาตรฐาน จนบางครั้งไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ของพี่น้องบ้านดีลัง พี่น้องชาวอำเภอ พัฒนานิคม พี่น้องตำบลโคกตูม และพื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดลพบุรี ท่านประธานครับ ตลอดระยะเวลาที่พวกเราประชุมกันสัปดาห์ละ ๒-๓ วัน ผมเป็น สส. ใหม่สมัยแรก จึงต้อง ขยันศึกษาและหัดสังเกต ทุกครั้งที่มีการประชุม ทุกครั้งที่มีการปรึกษาหารือ จะมีเพื่อน สมาชิกจากพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดที่เจริญ ที่สุดในประเทศไทย พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดระยอง พื้นที่ที่เจริญพร้อมที่จะเป็น เขตปกครองพิเศษ ก็ยังมีเพื่อนสมาชิกนำปัญหาเรื่องน้ำประปาเข้ามาหารือ เพราะว่า ผมต้องการชี้ให้ท่านประธานและเพื่อนสมาชิกในที่นี้เห็นว่าปัญหาน้ำประปานั้นมีอยู่ ทุกพื้นที่ในประเทศไทย ท่านประธานครับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ อย่างกรุงเทพมหานครหรือเมืองพัทยา ถือว่าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เจริญที่สุด ในประเทศไทย ที่สุดในสยามประเทศแล้ว แต่พื้นที่ดังกล่าวยังมีปัญหาเรื่องน้ำประปา แล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับ อบต. หรือเทศบาลจะเหลืออะไรครับท่านประธาน ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่พวกเราสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรควรให้การสนับสนุนการแก้ไขปัญหา เรื่องน้ำประปาอย่างจริงจัง ด้วยการสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิกให้ตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาระบบน้ำประปาตามเครื่องมือกลไกที่รัฐสภาเรามี ถามว่าเรามีคณะกรรมาธิการสามัญหลักอยู่แล้วที่มีอำนาจ ขอบข่ายในการศึกษา พิจารณา ปัญหาต่าง ๆ เราจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่ออะไร ผมขออธิบาย ให้เพื่อนสมาชิกและพี่น้องทางบ้านเข้าใจง่าย ๆ ตามนี้ คณะกรรมาธิการสามัญหลักนั้น มีขอบข่าย อำนาจหน้าที่ค่อนข้างกว้างขวาง กรรมาธิการ ๑๕ ท่าน มาจาก สส. โดยตำแหน่ง มีหลายเรื่องหลายปัญหาที่ต้องศึกษาพิจารณา ดังนั้นปัญหาเรื่องน้ำประปาถามว่า มีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ตอบว่าจำเป็นมากครับท่านประธาน เพราะเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเมืองใหญ่หรือเมืองเล็ก ทุกพื้นที่มีปัญหา เรื่องน้ำประปา ท่านประธานครับ คณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นสามารถเปิดโอกาสให้คนนอก ที่ไม่ใช่ สส. เข้ามานั่งเป็นกรรมาธิการได้ เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ความเข้าใจ ในระบบของปัญหานั้น ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาพิจารณาหาแนวทางแก้ไข ผมไม่ได้ ตำหนิ ดูแคลน ด้อยค่า สส. ที่อยู่ในคณะกรรมาธิการสามัญหลักนะครับ แต่ต้องยอมรับ ความจริงว่าใน ๑๕ คนของคณะกรรมาธิการสามัญหลัก ใช่ว่าทุกคนจะมีความรู้ ความเข้าใจ ในระบบประปาอย่างลึกซึ้ง บางท่านมีความถนัดในเรื่องขอบข่ายตามอำนาจของ คณะกรรมาธิการนั้น แต่ก็ใช่ทุกเรื่อง บางคนประสงค์นั่งคณะกรรมาธิการนั้นเพราะถนัด แต่หลายท่านได้เข้าไปนั่งเพราะถูกจับยัดไปนั่งแบบงง ๆ ท่านประธานครับ คณะกรรมาธิการ วิสามัญนั้นยังมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งขึ้น แม้ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการหลักอยู่หลายคณะ อยู่แล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญนี้ไม่ได้อยู่ถาวรตามระยะเวลาของสภาชุดที่ ๒๖ ครับ คณะกรรมาธิการวิสามัญมีระยะเวลาพิจารณา ศึกษาตามกรอบระยะเวลาที่สภาแห่งนี้ กำหนดเท่านั้น ผมขอฝากท่านประธานผ่านไปยังเพื่อนสมาชิกให้โปรดช่วยพิจารณาเห็นชอบ ญัตติของเพื่อนสมาชิกด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอลงกต มณีกาศ ครับ
นายอลงกต มณีกาศ นครพนม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายแพทย์อลงกต มณีกาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พรรคภูมิใจไทย ท่านประธานครับ จังหวัดนครพนมมีอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งตับเป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศ จนนักวิจัยจากญี่ปุ่นและนักวิจัยจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติมาลงพื้นที่ จังหวัดนครพนม ข้อมูลที่ได้ก็คือว่ามะเร็งตับส่วนใหญ่แล้วจะกระจุกตัวแต่เฉพาะพื้นที่ Zone เขตใต้ของจังหวัดนครพนม Zone ใต้ก็จะมีอำเภอเมือง มีอำเภอปลาปาก อำเภอนาแก อำเภอวังยาง อำเภอธาตุพนม แล้วก็อำเภอเรณูนคร นักวิจัยกลุ่มนี้ได้นำน้ำใต้ดินไปตรวจ ทุกอำเภอ พบว่าน้ำใต้ดินของอำเภอ Zone ใต้ของจังหวัดนครพนมมีสาร Nitrate และสาร Nitrite สูงกว่ามาตรฐานอย่างมาก และมีข้อมูลเชื่อมโยงนัยสำคัญต่อการเกิดเป็นโรคมะเร็ง Nitrate หรือ Nitrite พอเข้าร่างกายแล้วจะเปลี่ยนเป็นสาร Nitrosamine สาร Nitrosamine ก็คือสารก่อมะเร็งนั่นเอง สิ่งนี้ละครับที่เป็นอุปสรรคของเรื่องประปาดื่มได้ หลายท่าน มีโอกาสได้พูดคุยกันถึงเรื่องอยากจะเห็นประเทศไทยเป็นประเทศที่น้ำก๊อก น้ำประปา สามารถดื่มได้ เป็นน้ำสะอาด แต่ผมอยากจะเพิ่มว่าสะอาดอย่างเดียวคงไม่พอ คงต้องให้มี ความปลอดภัย บ้านเราส่วนหนึ่งแล้วทุกครัวเรือนต้องเสียเงินซื้อน้ำ เดือนหนึ่งน่าจะเป็นเงิน ไม่น้อย แต่ผมมีข้อมูลจากกรมอนามัยซึ่งมีการวิเคราะห์เอาน้ำไปตรวจ ฟังแล้วน่าตกใจ ข้อมูลของกรมอนามัยเก็บตัวอย่าง ๘๖๓ ตัวอย่างทั่วประเทศในการสุ่มตรวจ เพื่อตรวจ คุณภาพน้ำในการบริโภคครัวเรือนของปี ๒๕๖๕ พบว่าน้ำบรรจุขวดปิดสนิท ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานของกรมอนามัยเพียงแค่ ๓๗.๕ เปอร์เซ็นต์ น้ำดื่มประชารัฐผ่าน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญครับ น้ำประปาหมู่บ้านผ่านแค่ ๒๐.๙ เปอร์เซ็นต์ น้ำประปาจากเทศบาลผ่านแค่ ๑๖.๗ เปอร์เซ็นต์ ส่วนน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาคและการประปานครหลวง ผ่านเกิน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ถึงแม้ผ่านก็ตาม เพียงแต่ว่าไม่สามารถที่จะเป็นน้ำที่ปลอดภัย ในพื้นที่ของผมเองในอำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร มีการประปาส่วนภูมิภาค สาขาธาตุพนม ก็ได้รับการร้องทุกข์จากพี่น้องในเขตอำเภอธาตุพนมหลายแห่งในเรื่องแรงดันของน้ำประปา ค่อนข้างที่จะเบา โดยเฉพาะบ้านแก่งโพธิ์ ตำบลน้ำก่ำ รวมถึงบ้านหัวดอนน้อย ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม หรือว่าที่เรณูนคร หมู่ที่ ๑๓ ตำบลเรณูนครเช่นกัน นอกจากนั้นแล้วก็ยังมี ปัญหาในเรื่องเครือข่ายของระบบการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงแม้แต่ ในเขตเทศบาลธาตุพนมเอง ซอยโรงขวด บ้านหนองหอยทุ่ง หมู่ที่ ๕ ตำบลธาตุพนมเหนือ ก็เช่นกันที่ชาวบ้านร้องมาว่ายังไม่มีประปาอยู่มาหลายปีแล้วทั้ง ๆ ที่อยู่ในเขตเทศบาล ของธาตุพนม
นายอลงกต มณีกาศ นครพนม ต้นฉบับ
ส่วนน้ำประปาของหมู่บ้านคงไม่ต่างจากเพื่อน ๆ ที่อภิปรายกันเมื่อสักครู่ ปัญหาค่อนข้างจะมาก โดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพน้ำแล้วก็เรื่องของการบริหารจัดการ ท้ายนี้ผมอยากจะสนับสนุนแล้วก็อยากจะเร่งรัดในเรื่องของการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ในการศึกษาการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะน้ำประปา ไม่เพียงแต่เฉพาะน้ำประปา สะอาด แต่อยากจะให้เป็นน้ำประปาที่ปลอดภัย สามารถดื่มได้จากก๊อกประปา แล้วผมยัง เชื่อมั่นในตัวท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจากพรรคภูมิใจไทย ว่าท่านจะสามารถทำได้ในรัฐบาลนี้ครับ เพราะเราพูดแล้วทำ เพราะฉะนั้นแล้วท่านอนุทิน พูดในที่ประชุมพรรคตลอดว่าจะสนับสนุนทุกวิถีทางที่จะทำให้พี่น้องประชาชนชาวไทย ได้บริโภคน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย ขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านอรพรรณ จันตาเรือง ครับ
ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน อรพรรณ จันตาเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ คนอำเภอ เชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันคิดว่า เรื่องน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับชีวิตทุกคน และเพื่อน ๆ สมาชิกทุกคนก็อภิปรายว่าน้ำคือชีวิต ขาดไม่ได้สำหรับทุกคนแน่นอน ซึ่งวันนี้ดิฉันจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมอภิปรายญัตติ พิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำบาดาล และปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพต่ำ ท่านประธานคะ ท่านลองคิดภาพ ตามดิฉันนะคะ ตั้งแต่เราเกิดจนถึงเราเสียชีวิต ตั้งแต่เราตื่นนอนจนถึงเราหลับ มีช่วงไหนบ้าง ที่เราไม่ใช้น้ำในการดำเนินชีวิตเลย ประเทศไทยเรามีปัญหามากมายตามที่เพื่อน ๆ สมาชิก ทุกท่านได้อภิปรายร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดการน้ำ ในเรื่องของปัญหา ขาดแคลนน้ำ ในเรื่องน้ำขุ่น น้ำไม่ใส อีกร้อยอัน พันอย่าง มีมากมาย แล้ววันนี้ ยิ่งไปกันใหญ่สำหรับพื้นที่ชายขอบชายแดนของดิฉัน ๘๐-๙๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ส่วนมาก ไม่ต้องถามหาว่าจะเป็นน้ำประปาภูมิภาค น้ำประปานครหลวง น้ำประปาอะไรก็ช่าง ที่เขตบ้านดิฉันมีแต่น้ำประปาภูเขา คำว่าน้ำประปาภูเขาของเรา ขอ Slide ด้วยค่ะ
ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง เชียงใหม่ ต้นฉบับ
น้ำประปาภูเขา อันนี้ ใช้วิธีการต่อตรงแบบนี้ น้ำประปาภูเขาของเราได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติแบบนี้ ใช้ต่อตรง แบบนี้ คำว่า ต่อตรง ของเราก็คือต่อตรงจากแม่น้ำเลย ซึ่งไม่ผ่านกรองอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น ทำไมถึงไม่ผ่านกรองใช่ไหมคะ ก็เพราะมีนายกคนหนึ่งท่านได้มาระบายให้ฟังว่าน้ำแม่แมะ สายหนึ่ง รู้ไหมว่าน้ำเส้นหนึ่งใช้กี่หมู่บ้าน ใช้ ๔-๕ หมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านแม่นะ บ้านป่าบง บ้านจอมคีรี บ้านห้วยโจ้ ใช้น้ำเส้นเดียวกันหมดเลยแต่ไม่ผ่านการกรอง เพราะอะไรคะ เพราะว่าพื้นที่ของเทศบาลไม่สามารถขอใช้พื้นที่ในเขตป่าได้ เนื่องจากติดปัญหาในเรื่อง ของป่า แค่จะใช้พื้นที่แค่ ๑ เมตร คูณ ๑ เมตร ต้องขออนุญาตอธิบดีกรมป่าไม้ แล้วยังไม่พอ พื้นที่ที่เคยขอไป ไปกองกันตรงที่อธิบดีกรมป่าไม้หมดแล้ว ตอนนี้มีประมาณ ๑๐,๐๐๐ กว่าเรื่อง แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาใด ๆ เลย ยังไม่พอ ยังมีพื้นที่ น.ส.ล. ที่เรียกว่าหนังสือสำคัญ สำหรับที่หลวง ขออนุญาตต้องขอจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายกบางรายทำเรื่องตั้งแต่ รับตำแหน่งจนหมดวาระไปแล้วยังไม่สามารถดำเนินการได้เลย แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดบางคน มาบรรจุไม่ถึงเดือนก็ต้องย้าย ยังไม่ทันรู้เลยว่าที่ น.ส.ล. อยู่ที่ไหนบ้าง แล้วใครที่รู้ปัญหา ที่ดีที่สุด ไม่ใช่นายกท้องถิ่นหรือคะ แล้วแบบนี้ยังไม่กระจายอำนาจอีกหรือ พี่น้องประชาชน บ้านดิฉันต้องซื้อน้ำอุปโภคบริโภค อันนี้คืออนุสาวรีย์ที่มีไว้แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ ซื้อน้ำวันละ ๒๐๐-๓๐๐ บาทต่อน้ำ ๒,๐๐๐ ลิตร แบบนี้ทุกวัน ไม่ต้องถามหาคุณภาพว่า น้ำจะดื่มได้หรือเปล่า แค่น้ำจะใช้ยังไม่มีพอเลย ยิ่งช่วงหน้าแล้งยิ่งไปกันใหญ่ อันนี้คือ น้ำในโรงพยาบาลเชียงดาว คุณภาพน้ำตามนี้เลยค่ะ ช่วงหน้าแล้งดิฉันอยากจะชวนมาดู มหกรรมขนน้ำที่อำเภอเชียงดาว วิ่งแข่งกันจนให้สมกับความต้องการของพี่น้อง ประชาชน ในพื้นที่ของดิฉันต้องนำเงินมาซื้อน้ำ ทั้ง ๆ ที่ควรจะซื้อข้าว ซื้ออาหาร ซื้อเครื่องใช้ให้ลูก ไปโรงเรียน แต่ชีวิตต้องมาถูกบีบบังคับให้ซื้อน้ำใช้อุปโภคบริโภค แล้วไม่สามารถเข้าถึง โครงสร้างพื้นฐานแบบนี้ได้ ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค การจัดการปัญหามากมาย หลายอย่างขึ้นอยู่กับอะไรกันแน่ ขึ้นอยู่กับกฎหมายหรือขึ้นอยู่กับการมีเงิน ปัญหาขาดแคลน น้ำอุปโภคบริโภค นี่คือการยกตัวอย่างในพื้นที่ของดิฉัน ไม่ว่าจะเป็นอำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ เกิดปัญหาแบบนี้ทั้งหมดเลย โดยเฉพาะ พื้นที่ที่เกี่ยวกับน้ำประปาขุ่น ยังไม่พอค่ะ พี่น้องบ้านของดิฉันฝากมาบอกว่าไม่ว่ารัฐบาล ชุดไหนเวลามาหาเสียงก็บอกว่าจะแก้ไขในเรื่องปากเรื่องท้อง แก้ไขในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนั้นเลย แต่วันนี้รัฐบาลก็ผ่านไปหลายรัฐบาลแล้วก็ยังไม่สามารถแก้ไขโครงสร้างพื้นฐาน แบบนี้ได้เลยแล้วจะแก้ไขปัญหาอะไรได้ ยังไม่พอค่ะ ชาวบ้านดิฉันฝากมาบอกว่า สูงไหนหื้อก๊ำ ต่ำล้ำหื้อยอ หลักต๋อหื้อขุดกุ่น ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ พิจารณาแนวทางการจัดการน้ำประปาทั้งระบบ และการแก้ไขน้ำประปาชาวไทยค่ะ ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านชูกัน กุลวงษา
นายชูกัน กุลวงษา นครพนม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ด้วยความเคารพ ผม ชูกัน กุลวงษา จังหวัดนครพนม เขต ๔ พรรคภูมิใจไทย ขณะนี้เรากำลัง พิจารณาญัตติเกี่ยวกับแก้ไขปัญหาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคและบริโภค สำหรับน้ำบาดาล หรือน้ำประปาเพื่ออุปโภคและบริโภคนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับพี่น้องประชาชน เพราะว่าโดยเฉพาะภาคอีสานของผมนั้น จังหวัดนครพนมขณะนี้ท่านประธานทราบไหมว่า น้ำบาดาลนั้นต้องเจาะลงไปประมาณ ๖๐ เมตร และเอาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เพราะน้ำบาดาล ก็เป็นกรด เป็นด่าง หรือว่าเป็นดาน ภาษาบ้านเรานะครับ เพราะฉะนั้นมันจะเป็นน้ำ ในการใช้ดื่มกินได้อย่างไร เพราะฉะนั้นปัญหานี้ก็ถือว่าเป็นปัญหาที่ประปาชนบทก็ดี ประปา หมู่บ้านก็ดี มันขาดเครื่องกรอง นโยบายพรรคภูมิใจไทยถ้าติดตั้งเครื่องกรองให้กับ ทุกหมู่บ้านแล้วน้ำก็จะสะอาด น้ำก็จะดื่มได้ ชาวบ้านก็จะปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ นี่เป็นสิ่งที่ ท่านประธานผ่านไปยังรัฐบาลควรที่จะทำเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับระบบน้ำสะอาดกับน้ำประปา เพราะประปาชนบทนั้น อย่างประปากรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ไม่มีเครื่องกรองสะอาด เมื่อไม่มีเครื่องกรองสะอาดแล้วน้ำบาดาลก็เป็นน้ำที่เป็นกรด เป็นด่าง เป็นดานแล้ว เอาขึ้นมาให้ประชาชนได้ใช้ดื่มกินหรือว่าบริโภคอุปโภคก็ทำให้เกิดโรคเกิดภัย
นายชูกัน กุลวงษา นครพนม ต้นฉบับ
เพราะฉะนั้นผมกราบเรียนท่านประธานว่า ปัญหาเหล่านี้ผมว่าควรจะแก้โดยการติดตั้งเครื่องกรองน้ำให้กับระบบประปาหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านได้ดื่มน้ำสะอาดกัน และติดตั้งแผง Solar Cell ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการที่จะทำให้ ชาวบ้านนั้นเสียค่าใช้จ่ายสูง ถ้าติดตั้งแผง Solar Cell ประปาของทุกหมู่บ้านแล้วชาวบ้าน ก็จะลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ชาวบ้านก็จะไม่เดือดร้อน ตรงนี้ฝากท่านประธานไปยังรัฐบาลว่า เป็นสิ่งที่ควรทำถ้าจะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเรื่องน้ำ ยกตัวอย่างประปาที่ท่านเห็นอยู่ในขณะนี้ ที่ได้ฉายให้เห็นอยู่ในขณะนี้ก็คือประปาระบบใหม่ ระบบแท่ง ตัวหนึ่ง ๕ ล้านกว่าบาท แต่ทำแล้วเป็นอนุสรณ์สถาน ทำแล้วไม่มีใครใช้เพราะค่าไฟแพง ตกเดือนหนึ่งหลายพันบาท เกือบหมื่นบาท อันนี้อยากฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เอาประปาอย่างนี้ลงไปให้ชาวบ้าน ใช้กันว่าเกิดประโยชน์ไหม คุ้มค่าไหมครับ อันนี้เป็นสิ่งที่ควรติดตาม เพราะงบประมาณ ทุกบาททุกสตางค์นั้นเป็นของพี่น้องประชาชน พี่น้องประชาชนอยู่ดีกินดี มีน้ำดื่มสะอาด มีน้ำอุปโภคบริโภคที่ดี พี่น้องประชาชนก็มีความหวัง โดยเฉพาะเศรษฐกิจปีนี้พี่น้องประชาชน ชื่นชมท่านนายกรัฐมนตรี เพราะว่าข้าวก็ขึ้นราคา มัน ยางพารา ก็ขึ้นราคา เพราะฉะนั้น พี่น้องประชาชนฝากว่าต่อไปถ้ารัฐบาลนั้นส่งเสริมให้ระบบน้ำสะอาดทุกหมู่บ้าน พี่น้อง ประชาชนก็ต้องขอความคาดหวังกับทางรัฐบาล และฝากเรื่องนี้ผ่านท่านประธานไปยัง รัฐบาลได้ช่วยพิจารณาว่าให้ทุกหมู่บ้านมีเครื่องกรองน้ำสะอาดให้พี่น้องได้ดื่มน้ำ กินน้ำ ที่สะอาดปราศจากโรคภัย ขอกราบขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านสุภาพร สลับศรี ครับ
นางสุภาพร สลับศรี ยโสธร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ท่านสมาชิก ผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ดิฉัน สุภาพร สลับศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร เขต ๑ เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ พรรคไทยสร้างไทย ซึ่งประกอบด้วยอำเภอเมือง อำเภอทรายมูล ตำบลกระจาย ตำบลศรีฐาน และตำบลทุ่งมน วันนี้ขออภิปรายในญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบาดาล และปัญหาน้ำบาดาลคุณภาพต่ำ ก่อนอื่นดิฉันก็ต้องขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ได้เสนอญัตตินี้ เพราะประเด็นการศึกษาเรื่องน้ำบาดาล ไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้ำบาดาลที่ขาดแคลน หรือคุณภาพน้ำบาดาลนั้นถือเป็นประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะทุกวันนี้ น้ำบาดาลหรือน้ำที่อยู่ใต้พื้นดินลึก ๑๕ เมตรขึ้นไปนั้น ณ ปัจจุบันมีการถูกนำมาใช้ทั้งอุปโภค บริโภค เพื่อการเกษตร การอุตสาหกรรม การพาณิชย์ เนื่องจากต้นทุนราคาน่าจะต่ำกว่า น้ำจากแหล่งอื่น ๆ ทั้งนี้ การนำเสนอประเด็นนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างยิ่งแก่พี่น้อง ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ดิฉันจึงขอสนับสนุนในญัตตินี้
นางสุภาพร สลับศรี ยโสธร ต้นฉบับ
ประการต่อไป ดิฉันขออนุญาตอภิปรายตั้งข้อสังเกตเล็กน้อยเกี่ยวกับประเด็น ปริมาณและคุณภาพน้ำบาดาลของจังหวัดยโสธรซึ่งเป็นบ้านเกิดของดิฉันเอง เพื่อเป็น ข้อสังเกต ขอ Slide ด้วยนะคะ
นางสุภาพร สลับศรี ยโสธร ต้นฉบับ
Slide นี้เป็นแผนที่น้ำบาดาลจังหวัดยโสธร ส่วนนี้ต้องขอขอบคุณสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร ที่ได้อนุเคราะห์ให้ข้อมูล ขออภัยที่เอ่ยนาม ไม่เสียหาย ท่านประธานคะ ดิฉันเชื่อว่า ทั่วประเทศไทยพื้นที่ทุกจังหวัด แผนที่น้ำบาดาล ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลจัดทำ และเผยแพร่อย่างทั่วถึงแน่นอน ในแผนที่น้ำบาดาลก็จะดูไม่ยากและมีความแม่นยำ น่าเชื่อถือสูง ดิฉันเคยสอบถามนักธุรกิจที่ประกอบธุรกิจน้ำแข็ง น้ำดื่ม ส่วนใหญ่แทบทุกราย จะมีแผนที่น้ำบาดาลทั้งสิ้น เมื่อเขาจะซื้อที่ดิน โรงงาน หรือสิ่งก่อสร้าง กางแผนที่ดูรู้ทันที จุดไหนเป็นจุดสีน้ำเงินแสดงว่าน้ำบาดาลเยอะและดีมาก ส่วนสีฟ้า สีอ่อน ๆ ก็จะอยู่ใน เกณฑ์ดี แต่ว่าถ้าเป็นสีเขียว สีส้มอ่อน ๆ อันนี้น้ำบาดาลมีปัญหาแน่ คือน้ำบาดาล มีปัญหาน้อย คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม อาจเค็มหรือกร่อย ไม่เหมาะสมต่อการใช้งานโดยตรง แผนที่น้ำบาดาลถือเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำได้ระดับหนึ่ง ขออนุญาต ยกตัวอย่างจังหวัดยโสธร ดูจากแผนที่จะระบุขนาดพื้นที่จังหวัดยโสธร มีพื้นที่ ๔,๑๓๑ ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำที่กักเก็บประมาณ ๔,๐๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถนำมาใช้ได้ต่อปีประมาณ ๔๑๕ ล้านลูกบาศก์เมตร อันนี้คือ ข้อมูลเบื้องต้นจากแผนที่น้ำบาดาลของกรมทรัพยากรน้ำ ท่านประธานคะ ในมุมมอง ความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉันลึก ๆ เชื่อว่าประเทศไทยน้ำบาดาลไม่น่าจะขาดแคลน แต่ปัญหาใหญ่ที่ขาดแคลนและไม่เพียงพอแน่นอนก็คืองบประมาณและการบริหารจัดการ เรื่องทรัพยากรน้ำอาจจะยังไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีประสิทธิภาพนัก รวมถึงนโยบายการดูแล รักษาเครื่องมือให้คงสภาพใช้งานอย่างต่อเนื่อง และใช้งานได้มากที่สุด อันนี้ดิฉันไม่มีเจตนา จะตำหนิบุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ เจตนาเพียงต้องการตั้งข้อสังเกตเพื่อให้เกิดการจัดการ เรื่องน้ำบาดาลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชน ท่านประธานคะ จังหวัดยโสธร บ้านดิฉัน มีประชาชนหลาย ๆ หมู่บ้าน หลาย ๆ ตำบล ร้องเรียนขอรับการช่วยเหลือ เรื่องน้ำบาดาลมากกว่า ๒๐๐ เรื่อง อย่างไรก็กราบขอความเมตตาจากรัฐบาลและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลพี่น้องชาวจังหวัดยโสธรและพี่น้องทั่วประเทศไทยที่มีความเดือดร้อน เรื่องน้ำบาดาล จะขอบคุณเป็นอย่างสูง ขอบคุณท่านประธานมากค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ สมาชิก ๒ ท่านสุดท้าย ฝ่ายรัฐบาล ท่านฐิติมา ฉายแสง เชิญครับ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ฐิติมา ฉายแสง สส. ฉะเชิงเทรา เขต ๑ พรรคเพื่อไทย ดิฉันดีใจที่ญัตติเรื่องเกี่ยวกับ น้ำบาดาลก็ดี หรือว่าน้ำประปาก็ดี ได้เข้าสู่สภา และวันนี้ สส. ของเราก็พูดทั้งเรื่องน้ำบาดาล น้ำประปาไหลเบา น้ำประปาภูมิภาค ประปาหมู่บ้าน เราพูดกันเยอะเลยทีเดียว ขอภาพด้วยนะคะ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพคะ อันนี้เป็น น้ำประปา หมู่บ้าน ซึ่งจะเห็นว่าไม่ได้คุณภาพเลย อันตรายต่อสุขภาพมาก พี่น้องประชาชน ส่งภาพมาให้ดิฉันแล้วก็บอกว่าซักเสื้อผ้าไม่ได้เลย ล้างจานก็แทบไม่ได้ ดิฉันก็บอกว่าอย่างนี้ ล้างพื้นบ้านยังไม่ได้เลย พี่น้องประชาชนจำเป็นต้องรองน้ำเอาไว้ แล้วเขาส่งมาให้ดิฉันดูว่า เขาทำแบบนี้และต้องทิ้งให้ตกตะกอน แล้วน้ำที่เขารองอยู่ในถังใช้ได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้นเอง อีกครึ่งหนึ่งก็ต้องทิ้งไปเพราะว่ามันตกตะกอนแบบนี้ มันสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ๆ สำหรับ พี่น้องประชาชน เพราะว่าเสียค่าน้ำที่ทิ้งไปก็ดี
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ภาพต่อไป คุณป้าแกรองน้ำไว้แล้วน้ำหน้าตาแบบนี้ เราจะต้องมานั่ง เสียค่ากรองน้ำซึ่งราคาประมาณการก็ ๒,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม น่าเห็นใจพี่น้องประชาชนมาก ท่านประธานคะ ดิฉันอยากจะพูดถึงเรื่องว่าเราเป็นห่วงว่า ปรากฏการณ์ El Nino นั้นมันทุบสถิติแล้วว่าตั้งแต่มกราคมถึงกันยายนปีนี้ เปรียบเทียบกัน ทุกเดือนเลย ในรอบ ๑๗๔ ปีที่ร้อนที่สุด ทุกเดือนเลยร้อนที่สุด แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ประปาหมู่บ้านจะต้องสูบน้ำจากคลอง อันนี้ที่ฉะเชิงเทราเป็นตัวอย่างแล้วกัน เขาสูบน้ำ จากคลองขึ้นไปแล้วก็ใช้ ท่านประธานรู้ไหมคะว่าประปาหมู่บ้านในประเทศไทยมี ๖๙,๙๔๑ แห่งด้วยกัน เยอะมากขนาดนั้น แล้วคิดว่าแต่ละที่ใสแจ๋วกันไหมคะ ไม่เลยวันนี้ สส. เราพูดกันตั้งเยอะ ทุกคนล้วนแล้วแต่โชว์น้ำดำทั้งนั้น ทีนี้มันคืออะไร มันคือปัญหาว่า ถ้าน้ำดำแบบนี้อันตรายมาก เราอาจจะเจอว่าพี่น้องชาวนาทำนาแล้วฉีดยาคุมหญ้า ฉีดยาฆ่าหญ้า ฉีดยาฆ่าแมลง สารเคมีปนเปื้อนต่าง ๆ น้ำมัน เศษอาหาร ไขมัน ลงไปในน้ำ แล้วยังจะมีโลหะหนักอยู่ในน้ำอีกที่เราพบเจอกันได้ สารหนู ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สังกะสี โครเมียม นิกเกิล แมงกานีส สารอินทรีย์จากสบู่หรือว่าผงซักฟอกเต็มไปหมดอยู่ในน้ำ แล้วก็สูบขึ้นมา ถ้าบริหารจัดการไม่ได้เสร็จแน่ท่านประธาน เพราะฉะนั้นเรามาพูดกัน ถึงเรื่องนี้ดีกว่าว่าเราควรจะจัดการอย่างไร และใครควรมีส่วนร่วมบ้าง การจัดการอย่างไร แน่นอนต้องมีผู้ดำเนินการ และผู้ดำเนินการนั้นก็ควรจะต้องมีองค์ความรู้ ถูกไหมคะ แล้วก็ ต้องมีความเข้าใจในการที่จะผลิตน้ำนั้นขึ้นมา มีการบำรุงรักษา มีการตรวจสอบ ดิฉัน อยากจะชวนคิดอย่างนี้ว่าแน่นอนท้องถิ่นจัดการ มีผู้ใหญ่บ้าน มี ส.อบต. ในการดูแล ควรจะมีหน่วยตรวจสอบ อยากเชิญชวนว่าจำเป็นที่สาธารณสุขต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องเข้ามาช่วยเหลือ เพราะว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น มีหน้าที่อะไร เขาบอกว่ามีหน้าที่และความรับผิดชอบสนับสนุน แก้ไขปัญหาด้านการสาธารณสุข ตรวจ วิเคราะห์ เพื่อประเมินความเสี่ยงและเตือนภัยทางสุขภาพ ท่านประธานที่เคารพคะ เราจำเป็นต้องระดมสรรพกำลังในการมาช่วยเหลือกันแล้ว ไม่ว่าจะบอกว่าสาธารณสุขก็ดี หรือว่าลองใช้นักวิทยาศาสตร์ด้วยสิคะ อย่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เขาก็มีนักวิทยาศาสตร์ มีมหาวิทยาลัย ต้องเอามาช่วยแล้ว เพราะว่า ๖๐,๐๐๐ กว่าแห่ง แน่นอนเป็นหมื่น ๆ แห่งที่จะต้องน้ำดำและมีอันตรายแบบนี้ จำเป็น ที่สภาแห่งนี้ต้องขอความช่วยเหลือกันไป รัฐบาลต้องขอความช่วยเหลือลงไปยังหน่วยงาน ที่มีความเกี่ยวข้อง คุ้มครองผู้บริโภคก็จำเป็นต้องเข้ามาช่วย เพราะว่าพี่น้องประชาชน จ่ายเงินค่าน้ำถึงแม้เป็นน้ำประปาหมู่บ้านก็ตาม ก็อาจจะจ่าย ๖ บาท ๗ บาท ๘ บาท ๑๐ บาท แล้วอย่างไรคะ ได้คุณภาพน้ำแบบนี้ เราจำเป็นต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้อง ประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีมากกว่านี้ เพราะฉะนั้นขอขอบคุณทั้ง ๓ ญัตติที่เข้ามาในวันนี้ แล้วขอขอบคุณท่านประธานที่เปิดโอกาสให้พวกเราได้พูดกันอย่างเต็มที่เพื่อที่จะยกระดับ ชีวิตค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ครับ
นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๙ บางเขน จตุจักร หลักสี่ จากพรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ การจัดการน้ำประปาในประเทศไทย มี ๒ หน่วยงานหลัก ๆ คือการประปานครหลวงที่ดูแลกรุงเทพมหานคร นนทบุรี แล้วก็ สมุทรปราการ แล้วก็การประปาส่วนภูมิภาคที่ดูแลจังหวัดอื่น ๆ ท่านประธานอยู่พิษณุโลก น่าจะทราบดีว่าคนต่างจังหวัดจริง ๆ แล้วนั้นจ่ายค่าน้ำประปาไม่เท่ากับคนกรุงเทพฯ คนต่างจังหวัดจ่ายค่าน้ำประปาแพงกว่าคนกรุงเทพฯ โดยเฉลี่ย ๒ เท่า ทั้งที่น้ำประปา คือปัจจัยพื้นฐาน ควรมีค่าใช้จ่ายที่เท่ากันทั้งประเทศแต่ราคากลับไม่เท่ากัน ๑ ในสาเหตุ ของน้ำประปาเบาแล้วก็ราคาแพง สรุปง่าย ๆ ในรูปนี้ครับ สิ่งที่เกิดขึ้นคือเรื่องของ การคอร์รัปชัน คือการใช้ท่อประปา Spec ต่ำที่แตกง่าย ไม่ตรงกับที่รัฐกำหนดให้ ปกติการตรวจสอบงานก่อสร้างที่ดีควรตรวจสอบระหว่างการก่อสร้างตอนรับงาน แล้วก็ ตอนที่ Operate ให้บริการ เพื่อที่เราจะได้ Check ได้ว่าคุณภาพท่อมันมีปัญหาหรือไม่ แต่ปัญหาก็คือเจ้าหน้าที่ไม่ตรวจสอบให้ดี ท่านประธานรู้ไหมครับว่าการตรวจสอบท่อประปา จะมีเอกสารทั้งหมด ๒ ใบด้วยกัน คือใบกำกับพัสดุ เรียกว่าใบสีส้ม และใบรับรองคุณภาพ เรียกว่าใบสีฟ้า ตั้งแต่ตอนวางท่อยันตรวจรับท่อต้องมีเอกสาร ๒ ใบนี้โชว์ แต่ปัญหาคือมันมี การขายใบสีส้มและใบสีฟ้าครับท่านประธาน Rate ก็ประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าท่อ หมายความว่าท่านสามารถใช้ท่อที่ Spec ต่ำกว่าแล้วบวกกับ ๒ ใบนี้เข้าไป เสร็จปุ๊บท่านก็ไป บอกว่านี่ละคือท่อที่ตรงกับ Spec ของรัฐบาล ถ้าซื้อท่อมา ๕๐ เปอร์เซ็นต์ บวกใบนี้เข้าไป ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ก็ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนจริงที่ท่านต้องจ่าย เจ้าหน้าที่เองก็รู้เห็นเป็นใจ ไม่ใช่ไม่รู้ แต่ประเด็นคืออะไร ก็ไปเรียกรับเงินเขาอย่างไรครับ ไปเรียกรับเงินเขาก็ต้องไปช่วย เขาลดต้นทุน ก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ปิดตาข้างหนึ่งครับ เรื่องพวกนี้เกิดเยอะมาก ภาคเหนือ ภาคใต้ เต็มไปหมด ไม่เชื่อลองไปรื้อท่อมาดูได้ครับ ไปรื้อท่อที่ฝังกันนี่ละ รื้อขึ้นมา ดูมาสุ่มตรวจกันดู ไม่นับงานของกรมชลประทาน กรมนี้มีหน้าที่ส่งน้ำดิบ อันนี้หนักกว่า ถ้าเกิดไปดูไกล ๆ บนภูเขา เจ้าหน้าที่ตอนไปตรวจงาน ปกติให้ไป ๑๐ วัน สิ่งที่เกิดขึ้น คืออะไรครับ ไปมันวันเดียว แต่เอาเสื้อไป ๑๐ ตัว ไปถึงเปลี่ยนเสื้อถ่ายรูป ๆ เปลี่ยนมัน ๑๐ ตัวในวันเดียวกัน ที่เหลืออีก ๙ วันคือโดดกลับมาอยู่บ้าน เพราะว่าไปแล้วมันกันดาร ก็เลยไปวันเดียว ลองไปดูภาพเก่า ๆ ที่เจ้าหน้าที่เอามาดูได้ ภาพตรวจงาน สิวบางเม็ด ยังไม่หายเลยครับ อยู่มันที่เดิม ที่สำคัญทำไมท่อน้ำประปาแตกบ่อย สาเหตุนี้อย่างที่ ผมแจ้งไป ทำให้ท่อประปาแตกบ่อย ก็เลยเป็นปัญหาที่ว่าค่าน้ำประปาแพงขึ้น เพราะมัน เกิดการสูญเสียน้ำ ซ่อมท่อซ้ำซาก ต้นทุนลดไม่ได้ การประปาลดต้นทุนไม่ได้ ก็มาขายน้ำแพง เหมือนเดิมให้พี่น้องประชาชน ไม่พอครับ แรงดันน้ำก็เบา น้ำก็ไม่สะอาดประชาชนลำบาก ค่าใช้จ่ายสูง ซื้อเครื่องปั๊มน้ำ ซื้อเครื่องกรองน้ำ ซื้อแท็งก์เก็บน้ำ ตลาดเครื่องกรองน้ำ ในประเทศไทยขนาดเป็นหมื่นล้านบาทนะครับ ตลาดน้ำดื่ม น้ำขวด ขนาดของมันประมาณ ๔๐,๐๐๐ กว่าล้านบาทได้ นี่คือค่าใช้จ่ายที่คนไทยต้องเสียฟรี ๆ ในทุก ๆ ปีกับเรื่องพวกนี้ บริษัทขายปั๊มน้ำให้รัฐโกยรายได้ปี ๆ หนึ่งหลายพันล้านบาท ไม่พอครับ จัดงานเลี้ยง และให้เจ้าหน้าที่รัฐไปด้วย งานเลี้ยงใหญ่โตเลย ผมเคยไปอยู่ครั้งหนึ่ง ไม่แปลกที่ว่า การจัดการแก้ปัญหาน้ำประปามันถึงได้ช้าขนาดนี้ จริง ๆ ในมือผมมีอีกเรื่องหนึ่งด้วย เป็นเรื่องร้องเรียนการคอร์รัปชันของการประปาส่วนภูมิภาคที่มีการเซ็นสัญญาล่าสุดเลย ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท จ้างให้เอกชนผลิตน้ำ แต่เซ็นสัญญาอย่างผิดระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องนี้ส่ง ป.ป.ช. เรียบร้อยแล้วครับ แล้วก็ร้องที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย แต่ด้วยเวลาที่จำกัด ผมขอเน้นไปที่เรื่องของปัญหาโครงสร้างพื้นฐานอย่างที่แจ้งไปก่อน อย่างไรก็ดี ผมฝากนะครับ เห็นบอกว่าจะส่งไปที่คณะกรรมาธิการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อย่างไรก็ฝากทางคณะกรรมาธิการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แล้วฝากรัฐบาล ไปตรวจสอบด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ สมาชิกก็ได้อภิปรายครบถ้วนแล้วนะครับ แล้วผู้เสนอญัตติทั้ง ๓ ท่านไม่มี การสรุปญัตติเพราะเห็นไปในทางเดียวกันว่าจะส่งไปที่คณะกรรมาธิการการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำ อย่างนี้ผมจะขออาศัยข้อบังคับ ข้อ ๘๘ ในการถามมติว่าท่านใดจะเห็น เป็นอย่างอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มีสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่น ถือว่าที่ประชุมลงมติเห็นชอบ ส่งญัตตินี้ให้กับคณะกรรมาธิการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพิจารณา ขอเชิญกำหนด ระยะเวลาในการพิจารณาด้วยครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอจำนวน ๙๐ วัน ขอผู้รับรอง ด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ ก็เป็นอันว่าญัตตินี้ส่งไปที่คณะกรรมาธิการการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำ เวลา ๙๐ วัน ที่ประชุมครับ วันนี้เราจบวาระเพียงเท่านี้ ขอบคุณที่อยู่กันนาน ขนาดนี้ หวังว่าการอภิปรายทั้ง ๓๙ ท่าน จะส่งถึงความเดือดร้อนให้กับคณะกรรมาธิการ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แล้วก็ขอบคุณทุกท่านที่อยู่ร่วมประชุมด้วยกัน ขอบคุณ มากครับ Respect ครับ