กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ ผม ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคก้าวไกล เขต ๓ สันกำแพง แม่ออน ดอยสะเก็ด วันนี้ผมมีประเด็นปรึกษาหารือท่านประธาน ดังนี้นะครับ
เรื่องแรก เรื่องการจัดสรรพื้นที่ให้คนพิการได้ทำมาค้าขาย ท่านประธานครับ คนพิการที่อยู่อำเภอรอบนอกอย่างอำเภอสันกำแพง แม่ออน ดอยสะเก็ด และอีกหลายอำเภอ ทั่วประเทศ พื้นที่เหล่านี้ไม่ได้มีห้างสรรพสินค้า ไม่ได้มีธนาคารแบบในตัวเมือง ก็ขอ ความอนุเคราะห์ผ่านท่านประธานไปยังกระทรวง พม. ให้ท่านพิจารณาขอความร่วมมือไปยัง ที่ว่าการอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สถานที่ เหล่านี้กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ขอให้ท่านจัดสรรพื้นที่ให้กับคนพิการได้ทำมาค้าขาย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ด้วยครับ
เรื่องที่ ๒ เรื่องพนักงานโรงงานเย็บผ้าที่อำเภอสันกำแพง ซึ่งถูกนายจ้างที่เป็น ชาวต่างชาติลอยแพ คดีนี้เป็นที่สิ้นสุดแล้ว แต่ปัญหาคือผู้กระทำความผิดยังคงมีหลบหนี อยู่ต่างประเทศ ก็ขอฝากเรื่องนี้ไปยังกระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ติดตามเร่งรัดจับกุมผู้กระทำความผิดตามคำพิพากษาฎีกา ๑๐๙๔๐-๑๐๙๖๓/๒๕๕๙
เรื่องที่ ๓ เรื่องการขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ป่าของกรมป่าไม้ ขณะนี้การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคดอยสะเก็ด เตรียมสายไฟแบบหุ้มเปลือกเพื่อจะเปลี่ยนสายส่งไฟให้กับพ่อแม่ พี่น้องตำบลลวงเหนือ เชิงดอย ป่าเมี่ยง และเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด สายไฟพร้อมแล้ว แต่ทางกรมป่าไม้ยังไม่อนุญาตให้เข้าไปทำ ก็ขอฝากผ่านท่านประธานไปยังกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรุณาเร่งแก้ไขปัญหาการอนุญาตล่าช้า และช่วย พิจารณากระจายอำนาจในการเซ็นอนุญาตให้จบได้ในแต่ละจังหวัดนะครับ
เรื่องที่ ๔ เรื่องการขาดแคลนอุปกรณ์ในการรับมือไฟป่า ที่ตำบลแม่ทา ตำบล ทาเหนือ ตำบลห้วยแก้ว และอีกหลายตำบลทั่วจังหวัดเชียงใหม่ ในทุก ๆ ปีพ่อแม่พี่น้องที่อยู่ หน้างานคอยทำแนวกันไฟ คอยดับไฟ ประสบกับปัญหาการขาดอุปกรณ์ ก็ขอฝากผ่าน ท่านประธานไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ให้ช่วยสำรวจความต้องการในแต่ละตำบลเป้าหมายว่าขาดแคลนอะไรบ้าง เพื่อจะได้จัดสรรอุปกรณ์และงบประมาณก่อนฤดูกาลหมอกควัน ไฟป่าจะมาถึงครับ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จังหวัดเชียงใหม่ เขต ๓ ก่อนที่ผมจะเสนอญัตติผมขอเท้าความนิดหนึ่งครับ เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม เพียงแต่ ๕ วันก่อนเหตุการณ์ที่ตลาดมูโนะ ที่ตำบลสันปู่เลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เกิดเหตุการณ์โรงงานผลิตพลุระเบิดเช่นเดียวกันครับ ดังนั้นผมเลยขอเสนอ ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสถานที่ผลิตพลุ เพื่อป้องกันการระเบิดต่อไป ขอผู้รับรองครับ
ขอบพระคุณท่านประธานครับ เรียนประธานสภาที่เคารพครับ ผม ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ เขต ๓ อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน อำเภอดอนสะเก็ด พรรคก้าวไกล ผมจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอภิปรายญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร หรือไม่มีสัญชาติไทย ผมขอเล่าเรื่องเท้าความให้เพื่อน ๆ สมาชิก แล้วก็ประชาชนที่ได้ฟังอยู่ได้เข้าใจสักเล็กน้อย ผมยอมรับตามตรงเลยว่าเริ่มแรกผมไม่มีความรู้ใด ๆ เลยเกี่ยวกับเด็กเลข G เด็กที่ไร้สถานะ โดยรัฐ แต่ผมมีโอกาสได้พบกับเจ้าอาวาสท่านหนึ่งที่วัดน้ำจำ ตำบลร้องวัวแดง และได้พบกับ คุณครู เขาก็เชิญชวนผมว่าให้กรุณาไปเยี่ยมที่โรงเรียนหน่อยเพราะว่าที่โรงเรียนลำบากมาก เด็กไม่ได้รับการอุดหนุน ไม่ได้รับอะไรเลย และมีเด็กจำนวนมากเป็นเด็กผู้ลี้ภัย เด็กที่เป็น ลูกหลานชาติพันธุ์ เด็กที่เป็นลูกของแรงงานข้ามชาติ ผมก็ได้มีโอกาสไปครับ ผมก็ไปที่ โรงเรียนแห่งนั้น โรงเรียนแห่งนั้นชื่อว่าโรงเรียนเพื่อชีวิต ตั้งอยู่ที่อำเภอดอยสะเก็ด อยู่บน ภูเขา ผมไม่ได้เตรียมรูปมานะครับ แต่ผมคิดว่าคำพูดผมน่าจะอธิบายสภาพของโรงเรียนได้ ทางเข้าเป็นดินแดงที่รถเก๋งเข้าไม่ได้ ห้องเรียนไม่มีผนัง โรงนอนของน้อง ๆ นักเรียนคือ สังกะสีที่ผุ โรงอาหารคือไม่มีพื้นที่ทำอาหาร ไม่มีครัวที่เป็นกิจจะลักษณะ ที่นั่นมีเด็กอยู่ ประมาณ ๑๐๐ คน เด็กเหล่านี้ล้วนเป็นเด็กที่ลี้ภัย เป็นลูกผู้ลี้ภัย เป็นลูกแรงงานข้ามชาติ เป็นลูกของพี่น้องชาติพันธุ์ เด็กเหล่านี้ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐ โรงเรียน สพฐ. ได้ เพราะว่าเขาไม่มีสถานะใด ๆ เลย ทีนี้ผมได้คุยกับทางท่านเจ้าอาวาสนะครับ ท่านเจ้าอาวาส ก็บอกว่าอยากให้ สส. ได้ช่วย ผมก็ถามเขาครับว่าแล้วผมช่วยอย่างไรได้บ้าง สิ่งที่ ท่านเจ้าอาวาสตอบมากับสิ่งที่คุณครูตอบมาก็คือเขาต้องการให้เด็กเหล่านี้ได้รับเลข G นี่คือ เป็นครั้งแรกของผมเลยครับ ที่ผมได้ยินคำว่า เด็กเลข G เด็กรหัส G เด็กหัว G ก็เป็นเรื่องใหม่ สำหรับผม แล้วผมก็เห็นความทุกข์ยากตรงนั้น คือมันทุกข์ถึงขนาดที่ท่านเจ้าอาวาสบอกว่า จะให้หลวงพ่อทิ้งเด็กเหล่านี้ได้อย่างไร หลวงพ่อต้องเอาอาหารที่วัดใส่รถตู้เก่า ๆ ของท่าน แล้วก็ขับขึ้นมามอบให้เดือนละ ๒ ครั้ง มันก็เป็นเรื่องที่คงไม่มีใครที่จะกล้าทิ้งเด็กเหล่านี้ ปล่อยให้เขาอยู่ตามยถากรรม ผมก็นำเรื่องเด็กเลข G มาพูดคุยกับเพื่อน ๆ สส. ในพรรคก้าวไกล ที่อยู่ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายสิทธิด้วย มีหลายท่าน ก็ได้หารือกันอยู่บ่อยครั้งว่าเด็กเลข G คืออะไร สถานการณ์เป็นอย่างไร เราหารือทั้ง Online ได้ลงพื้นที่อย่างที่ สส. ปารมีได้เล่าไปนะครับ เราไปที่เชียงดาว เชียงใหม่ เราประชุม Zoom Online กับเครือข่ายมูลนิธิต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อน เรื่องพวกนี้ จนถึงวันนี้ผมพูดได้เลยว่าแม้แต่ตัวผมเองยังหาข้อสรุปไม่ได้เลยว่าเราจะจัดการ เรื่องนี้อย่างไร มีอยู่หลายประการที่ผมหาข้อสรุปไม่ได้จริง ๆ ครับ
ข้อแรก ตามคำนิยามเด็กรหัส G รหัส G คือรหัสที่โรงเรียนจะมอบให้กับเด็ก ที่เข้าโรงเรียน เด็กเหล่านั้นต้องเป็นเด็กที่ไม่มีสถานะทางบุคคล คือไม่มีบัตร ไม่มีอะไรเลย และเด็ก ๆ ต้องได้รับรหัสนี้ต่อเมื่อเข้าโรงเรียนเท่านั้น คำถามที่มันย้อนอยู่ในตัวของมันเอง คือถ้าเด็กเหล่านี้แม้แต่จะเข้าโรงเรียนไม่ได้เลยแล้วเขาจะได้รับรหัสเหล่านี้ได้อย่างไร
ข้อ ๒ มีความสับสนที่ผมก็ยังหาคำตอบไม่ได้ คือมีความเข้าใจในพื้นที่ เข้าใจ ในหลาย ๆ โรงเรียนที่แตกต่างกันที่ได้ไปพบมา คุณครูก็มักจะบอกว่าถ้าเด็กได้เลข G เด็กจะได้เงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันรายวันและจะได้นมโรงเรียน ซึ่งผมก็ยังหาคำตอบ ไม่ได้ เพราะบางข้อมูลก็บอกว่าต่อให้ได้เลข G แล้ว เลข G เป็นแค่รหัสนักเรียน ไม่ใช่สถานะ ทางบุคคล ไม่ใช่เลข ๑๓ หลักแบบที่เด็กไทยได้ ถ้าเด็กไทยได้นั่นคือเข้าโรงเรียนของรัฐ แล้วจะได้รับเงินอุดหนุน ถูกไหมครับ แต่เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ได้คำตอบว่าเด็กที่ได้เลข G แล้วได้รับ การอุดหนุนหรือไม่
มีอีกประการหนึ่ง ก็ยังสับสนอยู่ดี แต่ละโรงเรียนนะครับ โรงเรียนในประเทศเรา มีหลายประเภท โรงเรียนเอกชนที่เป็นมูลนิธิ โรงเรียน สพฐ. โรงเรียนที่เป็นของท้องถิ่น โรงเรียนในสังกัด กทม. ก็มี เมื่อเราได้หาข้อมูลเพิ่มขึ้นเยอะ ๆ กลับพบว่าโรงเรียนเหล่านี้ไม่ใช่แค่เชียงใหม่ ภาคเหนือ จังหวัดที่ติดชายแดน กรุงเทพมหานครที่มีแรงงานข้ามชาติเข้ามาเยอะ ๆ ก็มีเด็กเหล่านี้ แฝงตัวอยู่ตามโรงเรียนเหล่านี้ แล้วจากการประเมินที่เป็นการประเมินไม่ชัดเจนเหมือนกัน มีข้อมูลว่ามีเด็กเหล่านี้ที่ไม่ได้มีสถานะใด ๆ เลย หรือไม่มีแม้แต่เลข G หรือไม่รู้ว่าได้อยู่ใน โรงเรียนหรือเปล่า ทั่วประเทศไทยประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ราย สิ่งที่ผมอยากจะสนับสนุน ให้เราได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะศึกษาเรื่องนี้ คือหลายท่านได้บอกกับผมว่า การศึกษา หลักการ Education for All สำหรับเด็กคนหนึ่งมันเป็นหลักการสิทธิที่เด็กทุกคน บนโลกนี้พึงมี มีการยกข้อมูลเปรียบเทียบว่าการที่เราลงทุนกับเด็ก ๑ คน มันมีค่าเฉลี่ย ของมันอยู่ครับ เด็ก ๑ คนที่เราจะลงทุนกับเขาให้เขาได้เรียนจนจบมันมีมูลค่าเท่าไร แต่สิ่งที่ จะได้รับกลับมาจากที่เขาเรียนจบแล้วได้ทำงานไป มูลค่าที่เขาจะสามารถสร้างให้กับ เศรษฐกิจรายได้ต่าง ๆ มันทวีคูณไปมหาศาล ก็อยากจะสรุปตรงนี้ว่าเป็นเรื่องที่มิอาจหา ข้อสรุปได้ ณ วันนี้ และเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานอย่างที่ สส. ปารมีได้อภิปรายไป เมื่อสักครู่
เรียนประธานสภาที่เคารพครับ ผม ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล เชียงใหม่ เขต ๓ สันกำแพง แม่ออน ดอยสะเก็ด ท่านประธานครับ ผมจำเป็นที่ต้องอภิปรายเรื่องนี้นะครับ ด้วยที่ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง ในเขตเลือกตั้งของผมผมได้พบกับพ่อแม่พี่น้องชาวไร่ ที่ปลูกยาสูบรวมตัวกันเป็นเครือข่ายผู้ปลูกใบยาสูบ เมื่อประมาณ ๒ เดือนที่แล้วก็มีโอกาส ได้ไปพบกับพ่อแม่พี่น้องที่นั่นก็ได้รับทราบปัญหาของเรื่องใบยาสูบมาเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ก็ขอพูดในส่วนของพี่น้องที่ปลูกใบยาสูบซึ่งมีทั้งที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน แล้วก็จังหวัดลำปางก็มีเช่นเดียวกัน ปัญหาก็คล้าย ๆ กับที่ท่านจักรัตน์ กับที่ท่านทรงยศพูดมานะครับ ปัญหาของราคาตกต่ำ โควตาที่ลดลง โควตาที่เกษตรกร จะได้ปลูกใบยาสูบ ปัญหานี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ตามที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปว่า ตั้งแต่มีการปรับโครงสร้างภาษีก็ทำให้ยอดขายของบุหรี่ลดลงก็ทำให้เกิดโควตาลดลง แล้วก็ถ้าดูจากตามข้อมูลตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ จนถึง ๒๕๖๕ เป็นต้นมา รัฐบาลที่ผ่านมา ก็มีการชดเชยให้กับเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบมาในทุก ๆ ปี จนปีล่าสุดก็มีมาตรการชดเชย แต่อันนี้ไม่แน่ใจว่ามีการจ่ายเงินเยียวยาชดเชยกับเกษตรกรของปีล่าสุดไปแล้วหรือยังนะครับ เรื่องนี้ถ้าเราแยกปัญหาเป็น ๒ เรื่องใหญ่
เรื่องแรกคือยอดขายลดลง ยอดขายบุหรี่ลดลงจริงครับตามข้อมูลจากกราฟ ยอดขายบุหรี่ลดลง แต่ปัญหาก็คือจำนวนผู้สูบไม่ได้ลดลงนะครับ สาเหตุที่จำนวนผู้สูบ ไม่ได้ลดลงอย่างที่มันควรจะเป็นตามยอดขายที่ลดลง คือยอดขายลดลงมากกว่า แต่ผู้สูบ ลดลงน้อยกว่า มันก็สะท้อนว่าจริง ๆ แล้วผู้ที่สูบบุหรี่ก็ไปใช้ทางเลือกอื่น แต่ด้วย การที่ยอดขายลดลงส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะนโยบายของรัฐเรานี่ละที่จะทำให้ราคามันสูงขึ้น เมื่อสูงขึ้นแล้ว โดยเรามุ่งหวังว่าจะให้ผู้สูบบุหรี่ลดลง แต่ผลมันไม่ได้กลับเป็นอย่างนั้น แต่ผลมันดันไปตกกระทบกับเกษตรกรผู้ปลูก อันนั้นคือสาเหตุของปัญหาที่ ๑ ยอดขายลด โควตาการปลูกลดลง เกษตรกรลำบาก
อีกเรื่องหนึ่ง อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดกับเกษตรกรก็คือปัญหาต้นทุน คือเกษตรกรชาวไทยไม่ว่าจะปลูกอะไรก็ตามแต่ ผมคิดว่าต้นทุนในการทำการเกษตร ในหลายปีช่วงหลังมานี้ ค่าไฟ ค่าน้ำมันต่าง ๆ นานามันก็ส่งผลกระทบกับเกษตรกร ทุกประเภท ผมคงใช้เวลาไม่มาก ผมขอเข้าสู่ข้อเสนอเลยแล้วกัน ผมมี ๔ ข้อเสนอนะครับ
ข้อเสนอแรก ก็จะฝากไปถึงคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน ว่าโครงสร้างภาษีที่ได้พิจารณามา ผมเข้าใจดีว่าต้องการทำ ให้ราคาบุหรี่มันสูง เพื่อที่จะลดจำนวนผู้สูบ แต่จากข้อมูลแล้วโครงสร้างภาษีนี้ทำให้ยอดขาย บุหรี่ที่เราปลูกโดยการยาสูบแห่งประเทศไทยลดลง แต่จำนวนผู้สูบไม่ได้ลดลงตามเป้าหมาย อย่างที่ต้องการให้เป็น อันนี้อาจจะต้องทบทวนว่าผลดีผลเสียมันสมดุลกันหรือเปล่า
ข้อเสนอที่ ๒ ผมอยากจะเน้นไปที่เกษตรกรมากกว่า คือเราคงไม่อยากจะให้ มีผู้สูบบุหรี่เยอะขึ้น ทุกคนคงอยากให้มีผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยลดลง ข้อเสนอที่ ๒ ที่ผมอยากจะส่งตรงไปถึงเกษตรกร คือเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบไม่ได้รับการดูแล จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ดูแลโดยการยาสูบแห่งประเทศไทยที่กำกับดูแล โดยกระทรวงการคลัง ข้อเสนอของผม คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรที่จะเข้าไป ช่วยเหลือเขาที่จะเปลี่ยนให้เขาได้ไปปลูกอย่างอื่น จากข้อเท็จจริงที่ผมได้พบกับพ่อแม่พี่น้อง คือเมื่อโควตาลดลงเขาก็ไม่ได้ว่าทู่ซี้ที่จะปลูกใบยาสูบ ก็มีหลายครอบครัว หลายที่ ที่เขาพยายามที่จะปลูกอย่างอื่นแล้ว เพราะว่าก็มีที่อยู่แล้ว มีต้นทุน มีความรู้อยู่แล้ว เขาก็อยากจะขอ ถ้าจะให้เขาลดลงอยู่แบบนี้ เขาก็ไม่อยากจะไปฝากชีวิตไว้กับโควตาแล้ว แต่ถ้าเราช่วยเหลือเขาให้เขาได้ปลูกอย่างอื่นได้มันก็น่าจะดีกว่า
ข้อที่ ๓ ก็อย่างที่เราทราบว่าตอนนี้มี กมธ. วิสามัญเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ก็ไม่รู้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ก็มีประเภทของบุหรี่ไฟฟ้าที่เป็นประเภทที่เป็นไส้ Heat-not-burn ที่ในส่วนผสมนั้นยังต้องมีส่วนผสมของใบยาสูบอยู่ ก็มีเกษตรกรบางส่วน ที่เห็นด้วยว่าถ้าเกิดบุหรี่ไฟฟ้าประเภทนี้มันถูกกฎหมาย เขาก็อยากจะมีส่วนร่วมที่เขาจะได้ ปลูกใบยาสูบเพื่อเป็นส่วนผสมของบุหรี่ประเภทนั้น แต่อันนี้ก็เป็นเรื่องของอนาคต
ข้อเสนอข้อสุดท้าย เกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบที่ผมไปพบมา และผมก็เชื่อว่า ในหลายพื้นที่เป็นเกษตรกรที่เป็นผู้สูงวัย เสียงสะท้อนจากเกษตรกรที่ผมได้รับมาจริง ๆ ถึงแม้ว่าพรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นรัฐบาล แต่เขาก็มีความคาดหวังครับ เงินบำนาญผู้สูงวัย อันนี้ก็ฝากมาว่าถ้าเป็นไปได้ พรบ. บำนาญผู้สูงวัยหรือเบี้ยผู้สูงวัยที่มันจะสูงขึ้นได้มากกว่า ที่เป็นอยู่ จะมากกว่า ๖๐๐ บาท อย่างน้อย ๆ เกษตรกรผู้สูงวัยที่ปลูกใบยาสูบฝากมาครับ ก็เป็น ๔ ข้อเสนอ สำหรับวันนี้ขอบพระคุณครับ
เรียนประธานสภาที่เคารพครับ ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จังหวัดเชียงใหม่ เขต ๓ อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน อำเภอดอยสะเก็ด วันนี้หารือ ๒ เรื่องครับ
เรื่องแรก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน ฝากเรื่อง มาครับ ถนนทางหลวงท้องถิ่น หมายเลข ๑๓๘-๐๘ ที่อยู่ในการดูแลของ อบต. บ้านสหกรณ์ ได้รับโอนมาจากกรมทางหลวงชนบท ถนนเส้นนี้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ทาง อบต. เอง ก็ไม่มีงบประมาณมากพอที่จะทำการสร้างใหม่ ใน ๓ ปีที่ผ่านมา อบต. ก็พยายามขอ งบอุดหนุนเฉพาะกิจจากกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น แต่ไม่เคยได้รับแม้แต่ครั้งเดียว มูลค่า ถนนใหม่แค่ ๓.๕ ล้านบาท แต่จะมีประชาชนได้รับประโยชน์กว่า ๑,๕๐๐ คน ก็ขอฝาก เรื่องนี้ไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นนะครับ
เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่อง PM2.5 แต่ว่าจะเป็นต้นตอของ PM ที่มาจากการเผา เศษขยะ การเผาใบไม้จากเพื่อนบ้านของเรา จากคนข้างบ้านของเรา คนในหมู่บ้านของเรา ที่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วก็เชื่อว่าในหลาย ๆ จังหวัดทั่วประเทศพื้นที่ที่เป็นกึ่งเมือง กึ่งชนบท ก็จะมีพ่อแม่พี่น้องส่วนหนึ่งที่ยังคงเผาเศษขยะ เผาใบไม้กิ่งไม้อยู่ ในความเป็นจริงการเผา ลักษณะนี้ที่มันก่อให้เกิดความรำคาญมันผิด พ.ร.บ. สาธารณสุขด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงก็ไม่มีใครจะกล้าไปบังคับใช้กฎหมายจับกุมกันจริง ๆ แล้วอย่างในจังหวัด เชียงใหม่ในทุก ๆ ปีผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องออกคำสั่งห้ามเผาอย่างเด็ดขาดเป็นช่วงเวลา ไปในทุกต้นปี ซึ่งอันที่จริงแล้วมันก็ไม่ควรที่ต้องมีการเผาตลอดทั้งปี ผมมี ๓ ข้อเรียกร้อง ที่จะเรียกร้องไปยังรัฐบาลเลยนะครับ
ข้อแรก คือรัฐจะต้องบังคับใช้ พ.ร.บ. สาธารณสุข มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๘ อย่างจริงจัง ซึ่งนั่นหมายความว่าการเผาขยะ การเผาใบไม้ จะต้องไม่ได้รับการยกเว้น อีกเลยนะครับ
ข้อ ๒ ประชาชนรู้ว่าบ้านไหนเผา คนไหนเผา แต่ประชาชนไม่ทราบว่า ต้องแจ้งไปทางไหน ดังนั้นรัฐบาลต้องจัดช่องทางในการแจ้งให้ประชาชนแจ้งได้อย่างสะดวก และต้องประชาสัมพันธ์ช่องทางในการแจ้งนี้ให้รับทราบอย่างทั่วถึงนะครับ
ข้อ ๓ แค่แจ้งเหตุอย่างเดียวไม่พอ แต่พนักงานฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่หมายถึงเทศบาล อบต. อบจ. ที่อยู่ใกล้อยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุมากที่สุด ก็ต้องตรวจตราอย่างจริงจัง แล้วก็ต้องกล้าร้องทุกข์กล่าวโทษกับผู้กระทำผิด ท้ายนี้ผมอยาก ส่งข้อความไปถึงนักการเมืองทุกระดับ ขอให้ท่านอย่ากลัวว่าท่านจะเสียคะแนนเสียง จากการไปห้ามประชาชนไม่ให้เผา แต่จากนี้ไปขอให้ท่านกลัวว่าท่านจะเสียคะแนนเสียง จากการที่ท่านไม่แก้ปัญหา PM2.5 และท่านปล่อยปละละเลยให้ปัญหามันเรื้อรังอยู่แบบนี้ ขอบพระคุณครับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคก้าวไกล เขต ๓ อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน อำเภอดอยสะเก็ด ก่อนอื่นคือผมต้องบอกว่าดีใจมาก ที่ญัตตินี้เรื่องปัญหาของประปาได้เข้าสู่สภาเสียที เพราะว่าเรื่องประปาก็เป็นเรื่องที่ในเขต ๓ อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน อำเภอดอยสะเก็ดเอง ผมได้รับเรื่องร้องเรียนมาเยอะมาก ผมขอยกตัวอย่าง
ขอท่าน สส. ช่วยมาดูประปาที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลเชิงดอยหน่อยค่ะ ขอท่านมาดูประปาที่หมู่ที่ ๙ ตำบลออนกลาง หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่คือ หมู่ที่ ๘ ตำบลออนใต้หมู่ที่ ๖ ตำบลสำราญราษฎร์ หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่โป่ง หมู่ที่ ๔ ตำบลป่าเมี่ยง ขอมาดูที่หมู่บ้านกาญจน์กนก หมู่บ้านวรารมย์พรีเมี่ยม หมู่บ้านพรสวรรค์ หมู่บ้านฟ้าใส หมู่บ้านพฤกษ์พนา ที่ตำบลสันปูเลย ขอให้ท่าน สส. ช่วยมา ดูประปาที่อำเภอสันกำแพงหน่อย บ้านอยู่ห่างจากการประปาสาขาสันกำแพงแค่ไม่กี่เมตร แต่ไม่มีประปาใช้ นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งสำหรับเรื่องร้องเรียนที่ผมได้รับมา แล้วก็เชื่อว่าหลังจาก การอภิปรายนี้ไปผมก็น่าจะได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับประปาเข้ามาเพิ่มอีก ทีนี้ผมคงไม่ต้อง พูดถึงปัญหา เพราะว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านจากหลายพรรคก็พูดไปแล้ว ทั้งในส่วนของ ประปาบาดาล ประปา อปท. ประปาส่วนภูมิภาค ปัญหาขยายเขตไม่ทัน ปัญหาน้ำประปาขุ่น ปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำดิบ ปัญหาแหล่งน้ำดิบอยู่ไกลจากหมู่บ้าน ปัญหาขยายเขตต้องใช้ งบประมาณสูง เพราะว่าผังเมือง การวางแผนการเจริญเติบโตของเมืองไม่ได้ถูกคิดไว้ล่วงหน้า แต่ผมมีข้อมูลที่น่าสนใจอยู่ชุดหนึ่ง มาจาก Page ที่ชื่อว่า ลงทุนแมน ข้อมูลนี้เป็นข้อมูล ในปี ๒๐๑๙ ถ้าให้อธิบายเป็นตัวเลขกลม ๆ ข้อมูลนี้ระบุว่า ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ของประปา ในประเทศไทย ๒๕ เปอร์เซ็นต์นั้น ผู้ให้บริการคือการประปาส่วนภูมิภาคและการประปา นครหลวง อีก ๑๕ เปอร์เซ็นต์ เป็นระบบน้ำบาดาล และอีก ๖๐ เปอร์เซ็นต์นั้น ก็เป็นประปา หมู่บ้านที่อยู่ตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ถ้าพูดในภาษาธุรกิจ ก็หมายความว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการประปา หมู่บ้านคือผู้ให้บริการน้ำประปารายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทีนี้ในพื้นที่ของ อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน อำเภอดอยสะเก็ดเอง อย่างที่เพื่อน สส. อิทธิพล จากจังหวัดขอนแก่น พรรคก้าวไกล ได้พูดไปว่ากระทรวงมหาดไทยเคยมีหนังสือส่งไปยัง อปท. ทั่วประเทศว่าให้สำรวจข้อมูลว่ามีประปาหมู่บ้านอยู่กี่จุด กี่แห่ง ซึ่งตัวผมเองก็ยังไม่ได้ ทราบข้อมูลนั้น แต่จากการคาดคะเนในเขต ๓ จังหวัดเชียงใหม่เอง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นประปาหมู่บ้าน อีก ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่นั้นเป็นการประปาส่วนภูมิภาค ทีนี้ปัญหา ประปาที่ได้รับการร้องเรียนมาอย่างต่อเนื่องสำหรับผม ผมก็ใช้เวลาในการหาคำตอบ หาข้อมูลว่าที่ผ่านมาเขาแก้อย่างไร แล้วในอนาคตเราจะแก้ปัญหาประปาได้อย่างไร ที่ผ่านมา เขาแก้อย่างไร ที่ผ่านมารัฐบาลส่วนกลางก็พยายามที่จะมอบอำนาจ มอบหน้าที่ มอบภารกิจ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เป็นผู้ให้บริการน้ำประปา แต่ทีนี้สิ่งที่ขาดมาโดยตลอด ก็คืองบประมาณครับ ไม่เคยมีงบประมาณเพียงพอ ทุกวันนี้ไม่มีงบเพียงพอที่จะซ่อม ระบบเดิม ไม่มีงบเพียงพอที่จะสร้างระบบใหม่ มันก็เป็นปัญหาวน Loop อยู่แบบนี้ แต่เพื่อ ความเป็นธรรมนะครับ ในรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มา ในแต่ละปีกระทรวงมหาดไทยก็จะมีงบอุดหนุน เฉพาะกิจรายปี ซึ่งก็จะเป็นทางแต่ละท้องถิ่นก็จะขอมาว่าของบเพื่อไปซ่อมระบบประปา หมู่บ้าน แต่ทีนี้งบที่ไปก็ได้แค่ซ่อม ได้แค่สร้างใหม่ สุดท้ายแล้วผู้ที่ให้บริการนั้นคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่สามารถบริหารจัดการให้ระบบประปาของตัวเองนั้นมีเงินทุน หมุนเวียนได้ ก็ไม่เหลือเงินไว้เปลี่ยนไส้กรอง ไม่เหลือเงินไว้ซ่อมแซมชิ้นส่วนต่าง ๆ ของระบบ ประปา ที่ผ่านมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงมหาดไทย มีคู่มือแนะนำมาตรฐานวิธีการต่าง ๆ ที่ส่งไปยังผู้ดูแล ประปาในแต่ละระบบว่าควรจะดูแลอย่างไร ควรจะตรวจวัดอย่างไร แต่สุดท้าย สภาพความเป็นจริงอย่างที่หลาย ๆ ท่านอภิปรายมาก็เห็นแล้วครับว่าเพียงแค่คู่มือ คำแนะนำนั้นมันไม่ได้ผล แล้วก็ในส่วนของการประปาส่วนภูมิภาค ผมขอใช้พื้นที่ตรงนี้ เรียนพ่อแม่พี่น้องอำเภอดอยสะเก็ด ปัญหาการประปาส่วนภูมิภาค ผมพยายามที่จะขอ เข้าพบกับผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาคสาขาดอยสะเก็ด จนถึงทุกวันนี้ผมก็ยังไม่ได้รับ ให้นัดเข้าพบ แล้วในอนาคตเราจะแก้อย่างไร ผมมี ๓ ข้อเสนอ
ข้อเสนอแรก ก็ไม่พ้นเรื่องของการจัดสรรงบประมาณ แต่ทีนี้ในการจัดสรร งบประมาณในรอบนี้ก็ไม่ควรเป็นแค่การซ่อมหรือสร้างใหม่ แต่การจัดสรรงบประมาณรอบนี้ มันต้องครอบคลุมไปถึงการวางระบบท่อไหม ไปถึงการติดตั้งตัว Sensor ต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายก๊อกของผู้ใช้น้ำ ทีนี้ตัวชี้วัด KPI มีแค่ตัวเดียวเลยครับ คือคนไทยต้องมีน้ำสะอาด ที่ใช้ได้และดื่มได้
ข้อเสนอที่ ๒ อย่างที่ผมบอกไปว่าเรามีคู่มือ มีคำแนะนำต่าง ๆ แต่สิ่งที่ เราไม่มีคือเราไม่มีกฎหมายใด ๆ เลยที่ควบคุมคุณภาพน้ำประปา ผมเสนอว่าอยากให้เรามี กฎหมายที่ควบคุมคุณภาพน้ำประปา นั่นหมายความว่าผู้ผลิตและผู้จำหน่ายน้ำประปา มีหน้าที่รับผิดชอบที่ต้องทำน้ำประปาให้ได้ตามมาตรฐาน และผู้ใช้น้ำประปาคือประชาชน ของเราต้องสามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้ในกรณีที่น้ำไม่ไหล น้ำสกปรก
ข้อเสนอที่ ๓ นอกจากงบประมาณและกฎหมายแล้ว เราควรที่จะเพิ่ม ขีดความสามารถให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งจำนวนบุคลากร ทั้งองค์ความรู้ และถ้าหากเพิ่มแล้ว ทำทุกอย่างแล้วยังทำไม่ได้อีก ผมคิดว่ามันถึงเวลาที่เราอาจจะต้อง ปลดล็อกการประปาให้เอกชนได้สามารถเข้ามาทำแทนได้แบบบางประเทศที่เขาทำกัน
สุดท้ายครับท่านประธาน ปัญหาน้ำประปาก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพื่อน สส. เรา หลายท่านอภิปรายกันในทุกสัปดาห์ ปรึกษาหารือกันในทุกสัปดาห์ จำนวน ๔๐ ท่าน ที่อภิปรายในวันนี้ก็น่าจะสะท้อนแล้วว่าปัญหาประปามีอยู่ทั่วประเทศ ที่น่าเจ็บใจยิ่งกว่า ย้อนไปเมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้วตอนคุณพ่อผมเป็น สส. ผลงานของท่านเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว คือการขยายเขตประปาที่จังหวัดเชียงใหม่ ๒๐ กว่าปีผ่านไปจนถึงทุกวันนี้เราก็ยังคงประสบ ปัญหาประปาอยู่ ในสภาแห่งนี้เราอภิปรายถึง Megaproject ถึง Landbridge ถึงการขุด ท่าเรือน้ำลึก รัฐบาลที่แล้วทำรถไฟรางคู่ ทำรถไฟความเร็วสูง แต่ไม่เคยมีใครพูดถึง Megaproject ที่เราจะทำน้ำประปาให้ประชาชนดื่มได้ ใช้ได้อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศเลยนะ แต่ผม ก็หวังว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะให้ความสำคัญตรงนี้ หวังว่าเม็ดเงินที่ท่านต้องการจะนำเข้า ประเทศมันจะแปรเปลี่ยนกลับมาเป็นคุณภาพชีวิตดี ๆ ที่ประชาชนจับต้องได้เสียที และถ้าหากรัฐบาลชุดนี้ยังทำไม่ได้ รอบหน้าให้รัฐบาลพรรคก้าวไกลทำครับ เราจะทำให้ น้ำประปาดื่มได้ทั่วประเทศ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๓ พรรคก้าวไกล ผมจะอารัมภบทให้น้อย วันนี้มีสมาชิกหลายท่านได้พูดไปถึงเรื่องของ World Pride แต่เผื่อที่ถ้าหากหลายท่านยังไม่เข้าใจว่า World Pride คืออะไร ผมขอเล่าย้อนไปที่ คำว่า Pride เทศกาล Pride Month งาน Pride ขอสไลด์ด้วยนะครับ
สไลด์ต่อไปเลยครับ งาน Pride นะครับ Pride หมายถึงความภาคภูมิใจ งาน Pride มันเกิดจากเหตุการณ์ในปี ๑๙๖๙ ที่สหรัฐอเมริกา ในยุคนั้นก็คือเป็นยุคที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศนี้ถูกกดขี่ มีอยู่วันหนึ่ง ก็ทางเจ้าหน้าที่รัฐเขาก็บุกทลายผับแห่งนี้นะครับ จากเหตุการณ์ครั้งนั้นก็คือมีผู้มีความหลากหลายทางเพศเริ่มออกมาประท้วงเดินขบวน จากนั้นเป็นต้นมา จากเหตุการณ์ในวันนั้นก็เกิดขบวน Pride เกิดขึ้นตามหัวเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกากระจายออกมาตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยเองผมหา จุดเริ่มต้นไม่ได้ว่าขบวน Pride งาน Pride มันเกิดมาตั้งแต่เมื่อไร อาจจะเกิดมาตามที่เพื่อน สมาชิกได้พูดไปก็ได้นะครับ เชียงใหม่ปี ๒๕๕๒ เราบอกไม่ได้ครับ แต่สิ่งที่เราต้องยอมรับกัน ว่าในช่วง ๓ ปีหลังมานี้งาน Pride งานที่แสดงถึงความภาคภูมิใจการแสดงถึงตัวตนของผู้มี ความหลากหลายทางเพศ การออกมาเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ มันเสียงดังขึ้นมีงาน Pride เกิดขึ้น มากขึ้นสไลด์ต่อไปเลยก็ได้ครับ
อันนี้เป็นรูปงาน Pride ที่เกิดขึ้น ในช่วง ๒-๓ ปีหลังมานะครับ ก็ได้รับความนิยมมีผู้มาร่วมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี ทีนี้ในสภาแห่งนี้มีหลายท่านพูดไปถึง World Pride ขอเล่านิดหนึ่งนะครับ ก็คืองาน Pride แบบนี้ แต่จัดโดยองค์กรที่รวบรวมกลุ่มองค์กร Pride ในแต่ละประเทศมาอีกทีหนึ่ง มีสมาชิกกว่า ๓๐๐ องค์กร ทีนี้ World Pride ก็จะจัดงานลักษณะนี้เหมือนกัน แต่เป็นงาน ที่จะเรียกร้องในระดับโลกเพื่อให้เสียงมันดังในระดับโลก World Pride จัดโดยองค์กร Inter Pride ซึ่งผมก็ได้ทราบข้อมูลมาว่า ณ ขณะนี้ประเทศไทยเราโดยภาคประชาชน โดยภาครัฐภาคเอกชนเองด้วยก็พยายามที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน World Pride ก็ถ้าดู ในสไลด์ว่า World Pride จัดครั้งแรกเมื่อปี ๒๐๐๐ ในหลายเมืองหลายประเทศทั่วโลก ครั้งล่าสุดคือที่เมืองซิดนีย์ หลายท่านอาจจะคิดว่างาน Pride มีแค่ขบวนพาเหรดหรือเปล่า จริง ๆ ไม่นะครับ ถ้าเป็นงาน World Pride ก็จะมีแผนที่ว่าในเมืองซิดนีย์มีจุดอะไรต่าง ๆ บ้าง มาทั้งโซนที่เป็นการแสดง โซนดนตรี โซนที่เป็นการเสวนาการประชุม Conference ระดับโลก ที่เรามาพูดกันถึงเรื่องสิทธิต่าง ๆ ผมโชคดี ผมได้ข้อมูลชุดนี้มาจาก TCEB ก็เป็นองค์กร ภาครัฐของเราที่ขับเคลื่อนเรื่อง Event ต่าง ๆ จาก Timeline นี้เรากำลังที่จะเสนอ ตัวเองเป็นเจ้าภาพ World Pride ในปี ๒๐๒๘ แต่เดือนเมษายนปีหน้านี้เราต้องทำการส่ง Proposal แล้วนะครับ หลายท่านอาจจะคิดว่าการผ่านสมรสเท่าเทียมในวันนี้จะเป็นการติด อาวุธให้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพหรือเปล่า ซึ่งผมจะตอบว่าการผ่านสมรสเท่าเทียมในวันนี้ ก็อาจจะทำให้เราไม่ได้เป็นเจ้าภาพ เพราะว่า ๔ ประเทศที่ผมยกตัวอย่างมานี่คือ ๔ ประเทศ ที่เป็นคู่แข่งของเราที่พยายามจะเป็นเจ้าภาพ World Pride ปี ๒๐๒๘ ดูจากตาราง ประเทศ อาร์เจนตินา ประเทศเม็กซิโก ประเทศยูเครน แล้วก็เซาท์แอฟริกา ทั้ง ๔ ประเทศนี้มีทั้ง กฎหมายสมรสเท่าเทียม การเปลี่ยนคำนำหน้านาม การเปลี่ยนเพศในเอกสารราชการ แล้วก็ มีกฎหมายที่รับรองอัตลักษณ์ให้สิทธิต่าง ๆ ตามเพศสภาพ ส่วนประเทศไทยวันนี้สมรส เท่าเทียมเรากำลังจะมีส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศอีก ๒ ฉบับนั้น ณ วันนี้ยังไม่มีนะครับ แต่ว่าก็อยู่ระหว่างทางนะครับ
ทีนี้ที่ผมมาอภิปรายในวันนี้คือหลายท่านอาจจะตีความได้เช่นเดียวกันว่า ผมเอาเรื่อง World Pride มาเร่งรัดให้เราผ่านกฎหมายต่าง ๆ เพื่อที่จะเป็นเจ้าภาพ หรือเปล่า เพื่อที่เราจะสร้างเศรษฐกิจสีรุ้ง เพื่อที่เราจะดึงการท่องเที่ยวสร้างเม็ดเงิน สร้างกิจกรรมสร้างเทศกาลระดับโลกหรือเปล่า มันก็ไม่ผิดที่ท่านจะคิดแบบนั้น อย่างที่ สส. เบญจาได้พูดไปเศรษฐกิจสีรุ้งมันมาแน่ครับ แล้วก็อย่างที่ สส. พนิดาได้พูดไปเหมือนกัน เราก็ไม่ควรที่จะนำเศรษฐกิจสีรุ้งมาเป็นเครื่องมือที่จะมาผลักดันการโอบรับความหลากหลาย ในประเทศเรา ที่ผมพูดวันนี้ผมอยากให้ทุกท่านได้ฉุกคิดครับ ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน ภาคธุรกิจผู้มีอำนาจ สส. อย่างเราเองก็ตาม เรื่องนี้เราต้องหาจุดสมดุลมันให้ได้ เราต้อง นึกย้อนไปถึงสิ่งที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งอาจรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่ม Minority ต่าง ๆ สิ่งที่เขาเรียกร้องกันมาตลอดตามประวัติศาสตร์เกือบ ๑๐๐ ปีว่าสิ่งที่เขาต้องการมัน คืออะไรนะครับ เป้าหมายของพวกเขามันไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่มันคือเรื่องของ คนเท่ากัน ผมฝากไว้เพียงเท่านี้ครับ ขอบพระคุณครับ
เรียนประธานสภาครับ ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคก้าวไกล เขต ๓ สันกำแพง แม่ออน ดอยสะเก็ด วันนี้มีถนน ๔ เส้นจะหารือผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงคมนาคม
เส้นที่ ๑ ทางหลวงชนบท หมายเลข ๔๐๖๒ บริเวณตั้งแต่บ้านแม่ฮ่องไคร้ ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด มุ่งไปยังน้ำพุร้อนสันกำแพง เส้นนี้มืดครับ ไม่มีไฟส่องสว่าง ขอฝากผ่านท่านประธานไปยังกรมทางหลวงชนบทเข้าไปตรวจสอบแล้วพิจารณาติดตั้ง ไฟส่องสว่างครับ
เส้นที่ ๒ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๑๓๑๗ บริเวณโค้งดอยสามหงก ตำบล ห้วยแก้ว บริเวณจุดนั้นเป็นโค้งรูปตัว S แต่ไม่มีป้ายเตือนป้ายให้ลดความเร็วใด ๆ อันนี้ขอฝาก กรมทางหลวงเข้าไปติดตั้งป้าย
เส้นที่ ๓ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๐๓๑ ตั้งแต่บ้านออนกลาง หมู่ที่ ๙ ตำบลออนกลาง วิ่งขึ้นภูเขาไปยังตำบลทาเหนือ ไหล่ทางตอนนี้หญ้ารกมากบดบังวิสัยทัศน์ แล้วก็มีความเสี่ยงจะเกิดอันตรายได้ ก็ฝากเรื่องนี้ไปยังกรมทางหลวงเช่นกันให้เข้าปรับปรุง ไหล่ทาง
เส้นสุดท้ายทางหลวงหมายเลข ๑๒๑ วงแหวนรอบ ๓ ของจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณแยกต้นเปาจนถึงแยกหนองจ๊อม เรื่องนี้ผมพูดหลายครั้งในหลายช่องทางก็ยังไม่ได้รับ คำตอบเรื่องของไฟส่องสว่างบริเวณช่วงถนนนี้ ขอพูดเรื่องนี้อีกครั้งฝากไปยังกรมทางหลวง เผื่อที่จะได้มีการบรรจุโครงการนี้เข้างบประมาณในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ต่อไป ขอบพระคุณครับ
ขอบคุณครับท่านประธาน ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๓ อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน อำเภอดอยสะเก็ด จริง ๆ เป็นนิมิตหมายอันดีนะครับที่ได้เห็นเพื่อนสมาชิก จากทั้งฟากฝั่งรัฐบาลที่อยู่ภาคเหนือตอนล่าง และเพื่อนสมาชิกของพรรคก้าวไกลเอง จากหลายจังหวัดภาคเหนือตอนบน รวมถึงเพื่อนที่มีประสบการณ์ตรงจาก EEC ได้ให้ ความเห็นมากมาย ผมคงไม่ต้องลงรายละเอียดไปเยอะนะครับ แต่ขอจะรวบ ๆ ไว้อยู่ที่ ๓ ประเด็นก็แล้วกันนะครับ
ประเด็นแรก ที่เพื่อนได้พูดกันไป หลายคนบอกว่าเราต้องนำทรัพยากรที่มี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศิลปะ การท่องเที่ยว การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติใด ๆ ก็ตาม เพื่อนำมา ต่อยอดให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจได้มากกว่านี้ แล้วก็หลายคนก็พูดเช่นเดียวกันว่า ต่อให้คุณสร้างเศรษฐกิจได้ดีเพียงใดแต่ถ้าคุณลืมที่จะ รักษาสิ่งเหล่านั้นไว้ ลืมที่จะให้คนที่อยู่ในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากตรงนั้น มันก็ไม่เกิด ประโยชน์ใด ๆ นะครับ เป็นที่น่าเสียดายที่พวกเราทุกคนไม่อาจจะสามารถที่จะนั่งใน คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ได้ ผมขอฝากเป็นข้อเสนอไว้ ๑ ข้อนะครับ ที่อยากให้ กรรมาธิการชุดนี้ได้ศึกษา ผมอยากให้ศึกษาความเป็นไปได้ที่คุณจะสร้างฐานภาษีใหม่ในเขต พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ฐานภาษีนี้ให้เก็บจากผู้ที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากการเป็นเขตเศรษฐกิจ พิเศษเพื่อให้นำมาใช้กับผู้ที่ไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงที่อยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อันนี้ ขอฝากไว้ในประเด็นที่ ๑ ให้ศึกษาความเป็นไปได้
ประเด็นที่ ๒ อย่างที่เพื่อนสมาชิกจาก EEC ได้พูดไปนะครับ การศึกษาครั้งนี้ มันต้องไปจบอยู่ที่กลไกอะไรสักอย่าง กลไกที่มักจะเกิดขึ้นในประเทศไทยมันจะเกิดขึ้นเป็น กลไก คณะกรรมการจัดทำนโยบายต่าง ๆ นานา หรืออาจจะไปจบอยู่ที่ พ.ร.บ. เขตเศรษฐกิจ พิเศษอย่างที่เพื่อนได้พูดไป คือ พ.ร.บ. EEC เพื่อนได้บอกไปแล้วนะครับว่า พ.ร.บ. EEC นั้น มีข้อเสียอย่างไร ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน แล้วก็เปลี่ยนแปลงอะไรได้ยาก ผู้กำหนด ไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ ขณะเดียวกันคณะกรรมการที่เกิดขึ้นที่ไม่ได้มาในรูปแบบของ พ.ร.บ. ทุกวันนี้ มติ ครม. สมัยรัฐบาลที่แล้วก็ได้กำหนดเขตเศรษฐกิจขึ้นมาแล้ว จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปางที่เป็น NEC ตามมติ ครม. เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว ทุกวันนี้ก็มีคณะกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ แต่ว่าคณะชุดนี้ทุกวันนี้ ๒ ปีผ่านไป ยังคงทำ SWOT Analysis กันอยู่เลยนะครับ ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เป็นรูปธรรมเลย ได้เพียงแค่ให้ทำการศึกษาจัดทำนโยบายรับฟังความคิดเห็น สุดท้ายก็ยัง ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ยังไม่เกิดการลงทุน ยังไม่เกิดสิ่งที่จะทำให้เราได้มองเห็นและ จับต้องได้ อันนี้ก็ต้องฝากไว้เช่นเดียวกัน ในการศึกษาของกรรมาธิการชุดนี้ว่า จุดหมาย ปลายทางนั้นจะเป็นออกมาเป็น พ.ร.บ. หรือว่าจะเป็นคณะกรรมการที่ประชาชนในพื้นที่ มีส่วนร่วม ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วม และปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ไม่ใช่ว่ากำหนดแล้ว กำหนดเลย จะเปลี่ยนนโยบายอะไรก็เปลี่ยนยากไปหมด ต้องมาคุยกันในสภา ต้องรอมติ ครม. แบบนั้นมันคือการกระจุกตัวของนโยบายของแนวคิดและของอำนาจ นั่นคือประเด็นที่ ๒
และประเด็นที่ ๓ วันนี้ยังไม่มีใครพูดถึง ทั้งหมดทั้งมวลต่อให้คุณศึกษากันไป มันทำไม่ได้เลยถ้าเราไม่มีเงินงบประมาณ
ประเด็นที่ ๓ ที่ต้องทำการศึกษา คือต้องปฏิรูประบบงบประมาณแผ่นดิน ทุกวันนี้งบประมาณแผ่นดินมันมาในรูปแบบที่มีงบบูรณาการ การสร้างรายได้จากการ ท่องเที่ยว มีงบบูรณาการต่าง ๆ นานา ซึ่งแต่ละกระทรวงก็เขียน ๆ จับใส่กันขึ้นมา โดยที่เรา มองไม่เห็นภาพรวมเลยว่าจริง ๆ แล้วมันพัฒนาไปสู่อะไร เรามีงบพัฒนา EEC นั่นก็มาจาก พ.ร.บ. EEC ซึ่งเพื่อนสมาชิกที่อยู่ในเขต EEC ก็บอกแล้วว่ามันมีแต่แผน มีแต่นโยบาย มีแต่ การศึกษา แต่ไม่เกิดการลงทุนสักที ทีนี้ระบบงบประมาณแผ่นดินเรานี้ ต่อให้เราคุยกัน ในจังหวัด คุยกันในภูมิภาค คุยกันในกลุ่มจังหวัดรู้เรื่อง แต่เวลาเราเขียนงบประมาณขึ้นมา มันก็แตกไปเป็นกระทรวง ถนนไปอยู่กระทรวงคมนาคม พัฒนาแรงงานไปอยู่กระทรวง แรงงาน จะพัฒนานักเรียนหรือนักศึกษาก็ไปอยู่ที่ อว. ไปอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการ จะพัฒนาแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติก็ไปอยู่ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม แล้วคนที่อนุมัติงบประมาณ คนที่ตัดลดงบประมาณ เวลาเห็นไม่ได้เห็นทั้งก้อน เห็นแยกมาเป็นรายกระทรวงแบบนี้ ถ้าเกิดท่านประธานเป็นกรรมาธิการวิสามัญงบประมาณ และท่านตัดไปสักโครงการหนึ่ง ของกระทรวงหนึ่ง แผนการพัฒนาที่เขาคุยกันมาในจังหวัด มันก็ชะงักถูกไหมครับ ดังนั้นเป็นข้อเสนอของผมนะครับ เราต้องมีการปฏิรูประบบ งบประมาณให้เป็น Project based ให้เป็น Area based อาจจะเป็นแผนบูรณาการเขต พื้นที่ภาคเหนือตอนบน พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง หรือพื้นที่ภาคเหนือทั้งหมดก็ได้ อันนี้น่าจะ ทำได้เลยโดยที่ไม่ต้อง มี พ.ร.บ. เขตเศรษฐกิจพิเศษ แล้วก็อีกอย่างหนึ่งนะครับ งบประมาณ แผ่นดิน ผมคิดว่าต่อให้เราสามารถศึกษาแล้วเราระบุได้ว่าเราจะทำเขตพัฒนาเศรษฐกิจ มันก็ต้องมีการลงทุน ผมไม่รู้ว่าเราจะใช้วิธีการลงทุนแบบไหน รัฐจะต้องใช้งบประมาณที่มีอยู่ รีดไขมันออกมาแล้วไปลงทุน หรือว่าจะเปิดให้เอกชนได้ร่วมลงทุน หรือต้องกู้เงิน ออก พ.ร.บ. เงินกู้แล้วก็มาลงทุน อันนี้ก็ต้องศึกษาเช่นเดียวกันนะครับ เพราะว่าการกู้เงินทุกวันนี้ สำหรับฝ่ายบริหารก็ดูไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายนะครับ มิเช่นนั้นการศึกษาที่เราทำกันไปก็ไม่เกิด ประโยชน์ใด ๆ เสียงบประมาณนะครับ การตั้ง กมธ. วิสามัญขึ้นมาศึกษาเรื่องหนึ่ง แล้ววันหน้า การศึกษาอันนี้ถ้าไม่ดีมากพอวันหน้าก็ จะมีหน่วยงานอื่นตั้งงบเพื่อศึกษาอีกครับ ศึกษา ศึกษา ศึกษา แล้วงบศึกษาของแต่ละ หน่วยงานในแต่ละเรื่องหลัก ๑๐ ล้านบาท ๒๐ ล้านบาท ๓๐ ล้านบาท ผมไม่อยากให้เรื่องนี้ เกิดขึ้นนะครับ ก็ขอฝากทั้ง ๓ ประเด็นนี้ไว้กับคณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะศึกษาเรื่องนี้ ขอบพระคุณครับ
เรียนประธานสภาครับ ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๓ พรรคก้าวไกล วันนี้ ผมมีเรื่องปรึกษาหารือทั้งหมด ๕ เรื่อง ขอสไลด์ด้วยครับ
เรื่องที่ ๑ อันนี้เป็นทางหลวง ๑๑๘ จากจังหวัดเชียงใหม่ถึงจังหวัดเชียงราย บริเวณปากทางเข้าของเขื่อนแม่กวง จริง ๆ แล้ว ตรงนี้เป็นจุดกลับรถ แต่ว่าสภาพทุกวันนี้คล้าย ๆ ราวกับเป็นสี่แยกนะครับ ก็ขอฝากไปถึง กรมทางหลวงช่วยพิจารณานะครับ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นสี่แยกไฟเขียวไฟแดงนะครับ เพราะว่ามันจะผิดหลักของถนนใหญ่ที่ต้องการให้รถวิ่งเร็ว แต่ช่วยติดไฟ ติดป้ายเตือนต่าง ๆ เพื่อให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นนะครับ
เรื่องที่ ๒ อันนี้คือทางหลวง ๑๐๐๖ ถนนสันกำแพงสายเก่า ท่านประธาน เห็นในรูปไหมครับว่า เส้นถนนสีต่าง ๆ หายไปหมดเลย อันนี้ก็ฝากถึงกรมทางหลวงเช่นกัน ทาสีถนนใหม่ ตีเส้นใหม่ไม่ใช่เรื่องยากนะครับ
เรื่องที่ ๓ อันนี้คือทางหลวง ๑๐๐๖ เช่นเดียวกันนะครับ บริเวณนี้เป็นบริเวณ หน้าโรงเรียนบ้านหนองโค้ง ด้านขวาคือโรงเรียนบ้านหนองโค้ง และด้านซ้ายคือศูนย์เด็กเล็ก ตอนเช้ากับตอนเย็นรถติด เพราะว่าบริเวณนี้มีนักเรียนอยู่ราว ๆ ประมาณกว่า ๖๐๐ คน ทีนี้ ผมอยากจะมีข้อเสนอไปยังกรมทางหลวง พื้นที่บริเวณหน้าโรงเรียนที่เป็น Footpath แล้วพื้นที่ที่เป็น Footpath หน้าศูนย์เด็กเล็กยังพอที่จะบากเข้าไปเพื่อให้เป็นที่จอดรถ ชั่วคราวให้ผู้ปกครองได้ในการรับส่ง แล้วก็ขอฝากให้พิจารณาทำสะพานลอยเพื่อให้เด็ก สามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัยนะครับ
เรื่องที่ ๔ อันนี้เป็นแยกสันกลางที่กำลังทำการก่อสร้างทางยกระดับ ๒ ชั้นอยู่ พ่อแม่พี่น้องประชาชนฝากมาครับว่า อยากให้ติดแสงสว่างเพิ่ม แล้วก็ตั้ง Barrier ให้มัน เต็ม ๆ เพราะว่ามันดูเป็นอันตราย ก็เกรงว่าจะเกิดอันตรายกับผู้ใช้รถใช้ถนนนะครับ
เรื่องสุดท้ายครับ การประปา อันนี้ฝากถึงการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัด เชียงใหม่ เมื่อเดือนที่แล้วมีการประกาศว่า จะหยุดจ่ายน้ำนะครับ ประกาศ ๑ วัน แต่น้ำ ไม่ไหลไป ๔ วัน ประชาชนตำบลลวงเหนือก็เดือดร้อน ผมพยายามที่จะติดต่อกับทางผู้จัดการ การประปาเพื่อสอบถาม แต่ติดต่อไม่ได้ อันนี้ก็ฝากผ่านท่านประธานสภาผ่านไปยัง การประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่ด้วย ขอบพระคุณครับ