นายภาณุ พรวัฒนา

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผม นายแพทย์ภาณุ พรวัฒนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต ๔ อำเภอบ้านดุงและอำเภอทุ่งฝน ผมได้อ่านรายงานที่ทางสภาพัฒน์ได้จัดทำแต่ละเล่ม สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย อ่านง่าย การเรียบเรียงเนื้อหาต่าง ๆ เป็นไปด้วยดีก็ขอชื่นชม ผู้จัดทำนะครับ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางสภาพัฒน์ ทุกหน่วยงาน ทางสำนักงาน ป.ย.ป. ส่วนราชการองค์กรในกำกับของรัฐ และภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ ก็เป็นหน้าที่ของท่าน ทั้งตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศที่ต้องขับเคลื่อน แผนระดับชาติทั้งสองนี้ แต่ว่าเมื่อได้พิจารณาถึงรายละเอียดของแผนและผลการดำเนินงานแล้ว กระผมมีความเห็นและข้อเสนอแนะที่จะต้องกราบเรียนท่านประธานไปถึงผู้เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศดังนี้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ในเรื่องของยุทธศาสตร์ชาติ เรามีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ๖ ยุทธศาสตร์ เรามีการแบ่งเป้าหมายไว้เป็น ๔ ระยะ ระยะละ ๕ ปี รวมทั้งหมด ๒๐ ปี ซึ่งเป้าหมายส่วนใหญ่ก็ถือว่ามีความท้าทาย โดยเราถอดออกมาจากเป้าหมายตัวชี้วัด ของการพัฒนาตามมิติต่าง ๆ ในระดับสากลเข้ามาสู่บริบทของประเทศไทย แล้วก็มีการถอด ออกมาอีกเป็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๓ ประเด็น ๓๗ เป้าหมายใหญ่ และ ๑๔๐ เป้าหมายย่อย ซึ่งบัดนี้การดำเนินการในระยะที่ ๑ ก็ได้สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อเปรียบเทียบ ภาพรวมการดำเนินการของปี ๒๕๖๕ กับปีก่อนหน้านั้น ผมพบว่ามีอยู่หลายประเด็น ที่นอกจากจะยังไม่บรรลุตามเป้าหมายระยะแรกแล้ว ยังอาจกระทบไปถึงเป้าหมายในระยะ ต่อไปและระยะยาวด้วย ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ความสามารถ ในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความก้าวหน้าทางสังคม และคุณภาพสิ่งแวดล้อม ต่างก็มีผลการดำเนินการที่ลดลงทั้งสิ้น ถ้าหากพิจารณาลงไปถึงเป้าหมายระดับแผนแม่บท พบว่า ณ สิ้นสุดปี ๒๕๖๕ มีเพียง ๑๒ จากทั้งหมด ๓๗ เป้าหมายเท่านั้นที่บรรลุผล ที่เหลือมีผลการดำเนินการที่ต่ำกว่า ที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น หากพิจารณาลงไปถึงระดับแผนแม่บทพบว่ามีหลายประเด็นที่มี ผลการดำเนินการย้อนหลังตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ เป็นต้นมา ที่ยังไม่เคยบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เลย ตัวอย่างเช่น แผนแม่บทว่าด้วยความมั่นคง การเกษตร การท่องเที่ยว การพัฒนาการเรียนรู้ หรือการศึกษาของคนไทย เราเคยได้ยินมานะครับว่าเด็กไทยอ่อนภาษาอังกฤษ อ่อนคณิตศาสตร์ ผ่านมากี่ปีแล้วปัจจุบันก็ยังอ่อนเหมือนเดิมครับ ท่านประธานที่เคารพครับ ถึงแม้ที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคปัญหามากมาย ทั้งความผันผวนทาง เศรษฐกิจ ทั้งการระบาดของโรค COVID-19 แต่หากการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นี้ได้มี การดำเนินการอย่างแข็งขันต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพกว่านี้ ผลกระทบด้านต่าง ๆ ก็คงจะ ไม่รุนแรง ไม่มีผลการดำเนินการเป็นสีแดงอย่างที่เห็นในเล่มรายการนี้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ต่อไปจะพูดถึงผลการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศ ท่านประธานครับ แผนการปฏิรูปประเทศทั้ง ๑๓ ด้านนั้นอาจจะมีปัญหาอยู่ในตัวของมันเองอย่างเช่น การจัดทำแผนที่ขาดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง การจัดลำดับความสำคัญที่ไม่ชัดเจน การไม่มีงบประมาณที่แยกไว้เป็นสัดส่วนชัดเจนกับงบประมาณประจำ นอกจากนี้แผนปฏิรูป ก็ยังมีประเด็น มีขั้นตอนโครงการจำนวนมาก ส่วนใหญ่ก็ดูเหมือนจะมีความซ้ำซ้อน กับงานประจำของหน่วยงาน ตลอดจนโครงการหรือกิจกรรมเหล่านั้นก็ยังเป็นที่กังขาของใครหลายคนว่าตกลงปฏิรูป จริงหรือไม่ ตัวอย่างข้างต้นอาจจะเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปประเทศดูแล้ว จะยังไม่บรรลุผลในสายตาของประชาชน รวมทั้งตัวผมเองด้วยครับ แม้ว่าทางสภาพัฒน์ จะได้สรุปในเล่มรายงานว่าการปฏิรูปประเทศนั้นบรรลุผลตามที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เรียบร้อยก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องขอชมเชย ก็ต้องขอให้เครดิตกับหน่วยงานของรัฐ ต่าง ๆ ที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจดำเนินการจนโครงการหลายอย่างมีผลช่วยให้ชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น สะดวกขึ้น และมีความทันสมัยขึ้น เช่นการวางรากฐาน Digital การใช้เทคโนโลยีช่วยติดต่อราชการ และมีการปฏิรูปให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย หลายฉบับ ซึ่งการดำเนินการในระยะต่อไปทางสภาพัฒน์ก็ได้เขียนไว้ว่าประเด็นการปฏิรูป ต่าง ๆ นั้นจะได้อยู่ในแผนปฏิบัติหรืองาน Routine ของหน่วยงานภาครัฐต่อไป ซึ่งผมเห็นว่า เราควรจะมีการติดตามผลต่อไปในระยะยาวครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ สุดท้ายนี้กระผมขอกราบเรียนท่านประธานฝากไปถึง รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยกันขับเคลื่อน หรือเร่งรัดพัฒนาในประเด็นดังต่อไปนี้ ให้เห็นผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมและโดยรวดเร็ว เพราะประเด็นเหล่านี้ผมเห็นว่าเป็นพื้นฐาน สำคัญที่จะทำให้เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติหรือการพัฒนาต่าง ๆ ประสบความสำเร็จได้จริง

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๑ การพัฒนาระบบข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูล และการเปลี่ยนผ่านไปสู่ ความเป็น Digital ของภาครัฐ ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าเริ่มมีการทำแล้ว แต่ยังกระจัดกระจาย การเชื่อมโยงยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประชาชนก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๒ การยกระดับประสิทธิภาพของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการกระจายอำนาจ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การพัฒนากำลังคน ตลอดจนการให้ขวัญและกำลังใจ แก่เขาเหล่านั้น เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๓ การกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศที่สิ้นสุดลงแล้ว แม้ว่าจะเป็นไปตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับ หลักสากล แต่เราต้องคำนึงว่าหน่วยงานในระดับปฏิบัตินำไปทำได้จริงแค่ไหน ความต้องการ ของประชาชนได้รับการตอบสนองจริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ดังตัวอย่างที่สภาพัฒน์รายงานว่า การดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศนั้นบรรลุเป้าหมายแล้ว แต่ผมเชื่อว่ายังมีประชาชน อีกจำนวนมากไม่ได้คิดอย่างนั้น หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้รู้สึกอย่างนั้น ผมจึงขอเรียน ท่านประธานฝากไปถึงรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายกำหนด แผนนโยบาย วางเป้าหมายไปที่ประชาชน โดยคำนึงถึงสิ่งที่ประชาชนจะได้รับ หากประชาชนรู้หรือรับรู้ได้ว่ามันมีจริง สำเร็จจริง รัฐบาลจะต้องจริงจังในการขับเคลื่อน และนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ยุทธศาสตร์ชาติบรรลุเป้าหมายในระยะยาวได้ ซึ่งนั่นก็เป็น หนึ่งในปัจจัยที่จะบอกได้ว่าเรายังมีความจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ชาติอยู่หรือไม่ หรือเรา มีความจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงอย่างไรในระยะต่อไป ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ กระผม นายแพทย์ภาณุ พรวัฒนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต ๔ พรรคเพื่อไทย อำเภอบ้านดุงและอำเภอทุ่งฝน กระผมขออภิปรายเกี่ยวกับร่าง พระราชบัญญัติอากาศสะอาด ซึ่งก็มีมาจากหลายฝ่ายหลายกลุ่มเข้ามาทราบว่าประมาณ ๗ ร่าง ขอสไลด์ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • แต่ผมจะขออ่านคร่าว ๆ ในส่วนของร่าง พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของ ครม. แล้วก็ร่างพระราชบัญญัติอากาศ สะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของพรรคเพื่อไทย โดยท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ผมเองมี ความยินดีที่ร่าง พ.ร.บ. ทุก ๆ ร่าง ได้นำเสนอเข้าที่ประชุมสภาเพื่อที่จะได้ร่วมกันพิจารณา อย่างรวดเร็ว ก็ถือว่าเป็นวาระแห่งชาติ เพราะทุกคนทุกฝ่ายก็ล้วนมีความปรารถนาดีอยาก ให้ประเทศของเรานี้อากาศที่สะอาด ดังนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการ แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศให้กับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ในฐานะที่ผมเป็นแพทย์ ผมยังตรวจคนไข้อยู่ ผมทราบดีว่ามลพิษที่เราเผชิญอยู่นั้นส่งผลต่อร่างกายอย่างไร องค์การ อนามัยโลกประมาณการว่ามีประชากรที่ต้องตายก่อนเวลาอันสมควรหรือว่าตายผ่อนส่ง เนื่องจากมลพิษในอากาศทั่วโลกมากกว่า ๖ ล้านคนในแต่ละปี ในจำนวน ๖ ล้านคนมี ๑๐ เปอร์เซ็นต์ โดยประมาณนะครับ คือประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ คนเป็นเด็กที่ต่ำกว่า ๕ ขวบ แล้วก็มีงานวิจัยที่แสดงว่าเมื่อคุณภาพอากาศเลวลง หมายถึงมลพิษทางอากาศมากขึ้น อัตราที่ประชาชนจะป่วยแล้วก็ไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลก็จะสูงขึ้น แล้วมลพิษนี้ก็จะ ส่งผลกระทบกับหลายส่วนของร่างกายเรา ไม่ว่าจะเป็นทางเดินหายใจ โรคปอด ภูมิแพ้ โรคหอบหืด ทั้งหอบหืดคนเป็นอยู่แล้ว เจอฝุ่น เจอหมอกพิษ ควันพิษนี้ก็จะกระตุ้นให้อาการ กำเริบขึ้นมา แล้วก็ระยะยาวมีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งปอดได้ ในระบบของหัวใจและ หลอดเลือดก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ เรื่องของสมอง ก็จะมีเรื่องของความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงมากขึ้น เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ด้วยสถานการณ์ที่ผมเจอมาทั้งในกรุงเทพมหานครแล้วก็พื้นที่ภาคอีสานจังหวัดอุดรธานีบ้านผม จากประสบการณ์ตรงที่ได้เห็นมาเกือบทุกปีโดยเฉพาะ ๒-๓ ปีหลังมีชาวบ้านป่วยด้วย โรคระบบทางเดินหายใจเช่นหอบหืด เด็ก ๆ มีอาการภูมิแพ้ แล้วก็มีอาการมากกว่าปกติ จำนวนป่วยมากกว่าปกติ ด้วยเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ผมอยากจะเรียกมันว่าเป็นหมอกพิษ หรือฝุ่นพิษ หรือควันพิษไปแล้วนอกจากจะส่งผลกระทบกับร่างกาย หมอกพิษ ควันพิษ ฝุ่นพิษก็ยังมีการกระทบกับเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวด้วย ด้านเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น การเสียค่ารักษาพยาบาล ก็ต้องเห็นใจพวกแพทย์นะครับ ลูกน้องท่านรัฐมนตรีชลน่าน ศรีแก้ว ก็ทำงานหนักกันทั้งกระทรวงคนก็ไม่ออกจากบ้าน การซื้อขายก็ลดลง ค้าขายไม่ได้ ในภาพรวมกระทรวงสาธารณสุขต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อดูแลโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นทุกปี ในเรื่องของการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว ก่อนจะไปเขาก็ Check ข้อมูลถ้าเขารู้ว่าที่ไหนมีปัญหา อย่างเช่นเมืองไทยจุดไหน ๆ เวลาไหนมีหมอกพิษ ควันพิษ ฝุ่นพิษนักท่องเที่ยวก็ไม่มาเที่ยวถึงขั้นยกเลิกทัวร์ก็มี เพราะฉะนั้นความเสียหายมากกว่าที่เราคิดเพราะว่าเป็นการเสียหายทั้งระบบ ทั้งบุคคล ทั้งครัวเรือน ทั้งชุมชน แล้วก็ทั้งประเทศครับ ปัจจุบันนี้การบังคับใช้กฎหมายเรามีกฎหมาย อยู่ ๒ ฉบับ ฉบับแรกเป็นกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๒ เป็นกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข แต่ว่าปัญหาในปัจจุบันนี้มันมีความ หลากหลายซับซ้อนเกินกว่ากฎหมายปัจจุบันนี้จะเอาอยู่เช่น แหล่งกำเนิดฝุ่นควันต่าง ๆ มีการกำเนิดข้ามพรมแดนมาจากประเทศเพื่อนบ้านหรืออาจจะจากของเราไปหาเพื่อนบ้าน ก็ได้ แล้วก็แหล่งกำเนิดฝุ่นที่มีความหลากหลาย ดังนั้นก็ควรจะต้องมีกฎหมายที่ว่าด้วย อากาศสะอาดโดยเฉพาะเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ กฎหมายที่ว่านี้คือกฎหมายอากาศสะอาด ก็ต้องให้มีความครอบคลุมมากขึ้นถึงแหล่งกำเนิดมลพิษทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ เผาป่า ผมเคยไปเจอเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ผมก็ถามเพราะว่าขับรถกลางคืนทำไมไฟไหม้ภูเขาเป็น ทางเลย เจ้าหน้าที่ป่าไม้บอกเขาเผาเอง ที่เผาเองนี้เพราะว่าเขาจะกำหนดเวลาเผา เพราะว่า ขนาดวัชพืชที่เริ่มแห้งปริมาณจะยังไม่มาก เขาจะเผาแล้วเขาจะคุมเป็นพื้นที่ ๆ แต่ถ้าปล่อย ให้เต็มที่จนวัชพืชมีขนาดมาก มีความสูงเกิดมีไฟป่าขึ้นมาเขาบอกว่ามันจะไปแรง คุมไม่อยู่ เพราะฉะนั้นเขาก็เลยคุมโดยวิธีการเผาเสียเองนะครับ อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ยังมีอยู่ตามต่างจังหวัดน่าจะหลายที่ด้วยนะครับ จากพื้นที่เกษตรกร ทำการเกษตร เช่น ข้าว อ้อย ข้าวโพด ก็เผากันเป็นเรื่องปกติ เรื่องของการเผาในที่โล่ง เช่น เผาขยะตามบ้านเรือน จากยานพาหนะ จากการจราจร อันนี้เราอย่าไปคิดว่าทุกอย่าง เป็นปัญหาใหญ่หมด บางทีเกิดจากเล็ก ๆ น้อย ๆ บางทีพาหนะทางการเกษตร เช่น รถสีข้าวเคยเห็นควันนี่คลุ้งเลย รถอีแต๊กบ้านเรานี้ก็เป็นส่วนหนึ่งทุก ๆ ปัญหา ไม่ว่าจะ เล็กจะใหญ่ก็คละเคล้ากันมันเป็นปัญหาใหญ่ได้ จากโรงงานอุตสาหกรรม จากการก่อสร้าง จากการประกอบกิจการ เช่นขายไก่ย่างนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดควันขึ้นมา แล้วนอกจาก ในประเทศก็ยังมีจากนอกราชอาณาจักร แล้วก็อื่น ๆ อีก อย่างเช่นเผาศพครับ เผาศพนี้ก็ควัน เหมือนกัน เล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ช่วยกันหลาย ๆ ปัญหา ส่วนร่าง พ.ร.บ. ปัจจุบันนี้จะมีอยู่ทั้งหมด ๗ ร่าง ล่าสุดจะมีร่างหลักที่ผมสนับสนุน ก็คือร่างของ ครม. ซึ่งเสนอโดยกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทราบว่าทำมาจากสำนักงาน ป.ย.ป. อันนี้ต้องขอชมไป ถึงผู้ที่ปิดทองอยู่เบื้องหลังพระ ข้าราชการที่ช่วยกันทำร่างต่าง ๆ ของ ป.ย.ป. นี้ผมเห็นคุณ หมอธงธน ทำหามรุ่งหามค่ำกว่าจะออกมาได้ ต้องขอชมไว้ ณ ที่นี้ด้วย และทุกร่างก็มีข้อดี ข้อเสียต่างกันไป อย่างเช่น พ.ร.บ. ของพรรคเพื่อไทย จุดเด่นน่าสนใจคือมีการเน้นพัฒนา ระบบฐานข้อมูลและการทำระบบข้อมูล Digital ของแหล่งมลพิษต่าง ๆ ร่าง พ.ร.บ. ของเครือข่ายอากาศสะอาด จุดเด่นคือให้มีเครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อ อากาศสะอาด มีการพูดถึงการจัดตั้งกองทุนอากาศสะอาดที่มีงบประมาณมาจากค่าปรับใน การทำให้เกิดมลพิษ ข้อเด่นจากของ ครม. คือจัดให้มีเจ้าหน้าที่พนักงานเพื่ออากาศสะอาด คล้ายกับร่างจากพรรคเพื่อไทย มีการใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์จูงใจให้ลดการเกิดหมอก ควัน และกำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย เมื่อพิจารณาแล้วผมเห็นว่าควรรับหลักการของร่าง พ.ร.บ. บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด จาก ครม. เป็นหลัก แล้วก็นำข้อเด่นของแต่ละร่าง พ.ร.บ. ที่ผมกล่าวมาทุก ๆ ร่างร่วมกันมา เป็นแนวทางในการจัดการ ใกล้จบแล้วครับท่าน ข้อเสนอแนะ ก็คือ ข้อ ๑ ให้มีการทบทวน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน ให้มีความสอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ. บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด เช่นกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมและกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ข้อ ๒ เรื่องการใช้แรงจูงใจในการ ให้ความร่วมมือในการลดมลภาวะ เช่นมีการประกันราคาผลิตผลทางการเกษตรในรายที่ เกษตรกรไม่เผาไร่ หรือลดหย่อนภาษีสำหรับภาคอุตสาหกรรมในรายที่สามารถลดมลพิษ ที่เกิดจากการผลิตได้เป็นต้น ข้อ ๓ เรื่องการบริหารจัดการกองทุนอากาศสะอาดควรมี การจัดสรรงบประมาณและกำหนดการใช้จ่ายให้มีความคล่องตัว สุดท้ายครับ อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ขอฝากไปถึงพี่น้องทางบ้านด้วยนะครับ เราจะรอแต่ภาครัฐบาลก็ใช่ที่นะครับ เราเองไปไหนมาไหนหน้ากากอนามัยเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีคนสวมแล้ว ถ้าเราจะหยิบขึ้นมาสวม ก็จะเป็นประโยชน์กับเรา ในแง่ป้องกันโควิด-๑๙ ด้วย หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ติดตาม การพยากรณ์อากาศวันไหนฝุ่นเยอะเราก็หลีก งดเผาลดฝุ่นในบ้านเรือน หลังตู้ ใต้ตู้ หยากไย่ต่าง ๆ ก็ทำความสะอาดบ้านเรือนของเรา แล้วก็ตรวจสภาพรถยนต์ด้วยนะครับ ที่ผมได้อภิปรายมาก็ขอสนับสนุนทุก ๆ ร่างนะครับ โดยขอสนับสนุนให้ร่างของ ครม. เป็นร่างหลักครับ แล้วก็ขอความสุขสวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ จงมีแด่ท่านประธานและทุก ๆ ท่านครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม