เรียนประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล ดิฉันขออนุญาตมีส่วนร่วมในการอภิปรายรายงานปี ๒๕๖๕ ของกองทุน เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จากการศึกษารายงานฉบับนี้ของ กสศ. พบว่างานหลัก ของกองทุนคือการสนับสนุนเงินให้กับเด็กยากจนและเด็กยากจนพิเศษ และเพื่อการพัฒนาครู ให้มีคุณภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หากแต่เกณฑ์ในการเข้าถึงและกระบวนการ ในการคัดกรองอาจจะยังเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายสูงสุดของกองทุน ซึ่งส่งผลให้เรา ยังคงเห็นสถิติของการที่มีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา และอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยง ที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ดิฉันขออนุญาต ยกตัวอย่าง Case เพื่ออภิปรายในวันนี้ และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อกรณี ข่าวล่าสุดที่สร้างความสะเทือนใจให้กับสังคมเป็นอย่างมากที่เพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่าน ให้เกียรติกล่าวถึง และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ดิฉันลุกขึ้นมาอภิปรายในวันนี้ คือกรณีที่ คุณพ่อตัดสินใจจบชีวิตคุณลูก และตัดสินใจจบชีวิตตัวเองจากโลกนี้ไปเพราะความยากจน ยากจนในขนาดที่ว่าทางคุณพ่อเองไม่มีเงินที่จะให้ลูกไปโรงเรียนต้องงัดสังกะสีที่บ้านไปขาย ยากจนในระดับที่ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ บ้านถูกตัดทั้งน้ำทั้งไฟ อาศัยอยู่ในความมืดมายาวนาน กว่า ๓ ปีจนเพื่อนบ้านต้องแบ่งน้ำให้ใช้ และเหตุการณ์สลดหลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ก็พบว่า ในบ้านของน้องมีแบบ Form การขอทุนจากทาง กสศ. อยู่ด้วย ซึ่งวันนี้ดิฉันก็ได้ Print มาด้วย สิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าน้องอยู่ในครัวเรือนที่มีสภาวะรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความยากจนของไทย อย่างแน่นอน แล้วก็เป็นนักเรียนที่น่าจะเข้าข่ายที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับทุนมาไม่น้อยกว่า ๓ ปีแล้วด้วย แต่ตกหล่นและกำลังอยู่ในกระบวนการการพิจารณารับสิทธิ ดิฉันจึงขออนุญาต กล่าวถึงกระบวนการเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นว่ากระบวนการคัดกรองเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้ เห็นกระบวนการที่อาจจะมีปัญหาที่อยากจะตั้งข้อสังเกตฝากท่านประธานไปถึงกองทุนดังนี้ การสำรวจคือจะต้องให้ครูประจำชั้นไปเยี่ยมบ้านเพื่อสำรวจความยากจนของนักเรียน ที่จะมีสิทธิได้รับทุน ต้องมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความยากจนประมาณ ๒,๗๐๐ กว่าบาท และ/หรือต่ำกว่าเกณฑ์ความยากจนพิเศษคือ ๑,๙๐๐ กว่าบาท ซึ่งนอกนั้นยังไม่พอ เท่านั้น ยังไม่พอ ยังมีวิธีการคัดกรองที่ทาง กสศ. เองใช้คำว่าการวัดรายได้ทางอ้อม ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอื่น ๆ อีก ๘ ด้าน เช่น ลักษณะที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ ของใช้ในครัวเรือน เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง น่าเศร้าที่เราจำเป็นจะต้องเอาความจนของเรามาวัดเป็นคะแนนเพื่อจัดอันดับว่าเราจะได้รับ ทุนนั้นหรือไม่ คุณครูก็จะคัดกรองอย่างที่เพื่อนสมาชิกได้กล่าวถึง นำข้อมูลเหล่านี้ส่งไปที่กองทุน ซึ่งกระบวนการ ที่ว่ามาทั้งหมดใช้เวลาอย่างน้อย ๓ เดือน เห็นได้ว่านอกจากเราจะมีเกณฑ์ที่พิสูจน์ ความยากจนซ้ำจนซ้อนอย่างมากแล้ว ใช้เวลาพิจารณานานแล้ว สิ่งนี้อาจจะเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เด็กที่เข้าข่ายเกณฑ์ได้รับทุนตกหล่นและไม่ได้รับสิทธิจากกองทุน และซึ่งอาจจะเป็น เหตุผลที่ทำให้มีความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาอย่าง Case ตัวอย่างนี้ เป็นอีกจำนวนมากค่ะ
จากสถิติของทาง กสศ. เองในปี ๒๕๖๕ มีนักเรียนที่คัดกรองแล้วว่า มีครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนจำนวน ๒.๕ ล้านคน แต่มีนักเรียนที่ได้รับ การสนับสนุนเงินอุดหนุนเพียง ๑.๘ ล้านคน คิดตัวเลขง่าย ๆ นะคะท่านประธาน เท่ากับว่า มีนักเรียนอีกประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ คนที่ไม่ได้รับการอุดหนุนจากทั้ง กสศ. เอง และการอุดหนุน ปัจจัยขั้นพื้นฐานอื่น ๆ เลย ดิฉันจึงอยากจะฝากท่านประธานผ่านไปยังผู้ชี้แจงตัวแทนกองทุน เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาว่า
ข้อที่ ๑ สถิติที่ดิฉันกล่าวมาข้างต้นทางกองทุนมีแนวทางในการที่จะขยาย ฐานการอุดหนุนเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร
ข้อที่ ๒ ท่านเองมีแนวทางที่จะทบทวนเกณฑ์การคัดกรองเพื่อให้นักเรียน ที่เข้าข่ายเข้าถึงกองทุนนี้ สิทธิการได้รับเงินทุนนี้ได้ง่ายขึ้นหรือไม่
ข้อที่ ๓ ท่านจะเร่งรัดกระบวนการให้รวดเร็วยิ่งขึ้นเพื่อรองรับนักเรียนที่มีสภาวะ ครอบครัวยากจนกะทันหันที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เพื่อให้การช่วยเหลือได้ ทันท่วงทีหรือไม่
สุดท้ายค่ะท่านประธาน แม้ดิฉันจะเห็นว่ากองทุนนี้มีการดำเนินการส่วนใหญ่ เป็นไปเพื่อการสงเคราะห์และแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลไกของกองทุน ยังสำคัญและจำเป็นอย่างมากในปัจจุบันที่เรายังไม่มีรัฐสวัสดิการที่จะครอบคลุมการศึกษา อย่างถ้วนหน้า ที่ซึ่งจะสามารถป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กไทย และสร้างความเสมอภาคได้อย่างแท้จริง ดิฉันจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในปีต่อ ๆ ไปจะได้เห็น การดำเนินการในมิติอื่น ๆ ของทางกองทุนนี้ที่จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการผลักดัน ประเด็นการปฏิรูปการศึกษาเชิงระบบที่เราต่างก็ทราบดีว่าเป็นต้นตอของความเหลื่อมล้ำ ทางการศึกษาในประเทศไทย ด้วยความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าในไม่ช้าการศึกษาจะต้อง เป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน ดิฉันมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่จะให้ความร่วมมือกับ กสศ. ในทุก ๆ ด้านเพื่อให้การศึกษาที่เท่าเทียมกัน ตัดวงจร การส่งต่อความจน ส่งต่อความเหลื่อมล้ำจากรุ่นสู่รุ่นแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้เด็กไทย ทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค ถ้วนหน้า เท่าเทียม และไม่ต้องพิสูจน์สิทธิความยากจน แบบนี้อีกต่อไป ขอบพระคุณค่ะ
เรียนประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกลค่ะ วันนี้ดิฉันจะอภิปรายรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิรูปประเทศ ปี ๒๕๖๕ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการเมือง ประกอบไปด้วย ๓ ประเด็น ๑. ด้านการเมือง ๒. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน และ ๓. ด้านการปราบปรามทุจริต ท่านประธานคะ ประเด็นการปฏิรูปทั้ง ๓ ด้านที่ดิฉันกำลังจะกล่าวถึงนี้มีจุดร่วมเหมือนกันกับประเด็น การปฏิรูปอื่น ๆ ที่เพื่อนสมาชิกพรรคก้าวไกลกำลังจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป นั่นก็คือ ในตอนแรกเริ่มเดิมทีแผนนี้นะคะ ปี ๒๕๖๑ ก็เสนอออกมาเสียสวยหรู แทบจะปรับโครงสร้าง เปลี่ยนประเทศ แต่สุดท้ายเมื่อปิดฉากครบ ๕ ปี ผลการดำเนินงานก็ออกมาว่าเป็นไปเพียง เพื่อการโฆษณาเท่านั้น
มาเริ่มกันที่แผนการปฏิรูปด้านการเมืองฉบับปรับปรุงค่ะ ซึ่งได้กำหนดตัวชี้วัด ที่เข้าใจง่าย ๆ ไว้ ๒ ตัว แต่ดิฉันมาเปิดดูรายงานผลการปฏิรูปเล่มนี้ไม่มีกล่าวถึงนะคะ ฉะนั้นเดี๋ยวจะมาดูกันว่าทำไมเขาถึงไม่ใส่ไว้ในรายงานเล่มนี้ ตัวชี้วัดแรกคือการประเมิน สถานการณ์ความเป็นประชาธิปไตยที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันพระปกเกล้าในปี ๒๕๖๔ ที่ตั้งเป้าไว้ที่คะแนน ๖๓ คะแนน แต่กลับได้คะแนนจริงเพียง ๕๕ คะแนนเท่านั้น ในอีก ๑ ตัวชี้วัดหนึ่งค่ะ คือ Democracy Index ของ Economist ที่แม้คณะกรรมการ จะกำหนดเกณฑ์ไว้ค่อนข้างต่ำ ตั้งเป้าหมายไว้แค่ ๗ ซึ่งเทียบเท่ากับการเป็นประเทศ ประชาธิปไตยบกพร่อง ในปี ๒๕๖๕ ก็กลับไปไม่ถึงเป้าหมายนั้น เพราะได้คะแนนเพียง ๖.๖๗ เท่านั้นค่ะ แต่ดิฉันเองก็ไม่ได้แปลกใจนะคะที่การปฏิรูปการเมืองจะไม่สามารถทำได้ ตามตัวชี้วัดที่วางไว้ เพราะตลอดเวลา ๕ ปีที่ผ่านมาสิ่งที่เราได้รับกลับมาจากแผนการปฏิรูป คือ Clip ใน YouTube ที่ไม่มีคนดู Application ของ กกต. ที่ไม่มีคนใช้ และกิจกรรมอบรม ที่ไม่มีการวัดผลใด ๆ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงวิสัยทัศน์อันคับแคบของพวกท่านที่มองว่าประชาชน ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยและการเมือง ทำให้ต้องผลิตสื่อออกมาอบรม สั่งสอนพี่น้องประชาชนแบบนี้ค่ะ ท่านประธานคะ ส่วนตัวดิฉันเองมองว่าประชาชน มีความเข้าใจประชาธิปไตย เข้าใจพลวัตรทางการเมืองเป็นอย่างดี ดูจากผลการเลือกตั้ง ที่ผ่านมาประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลง ต้องการยุติการสืบทอดอำนาจ ส่วนคน ที่ไม่เข้าใจประชาธิปไตยจริง ๆ แล้วคือกลุ่มผู้มีอำนาจที่ผูกขาดการตัดสินใจทุกอย่างไว้ และบรรดา สว. อีก ๒๕๐ คนต่างหาก ทีนี้เรามาพูดถึงรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ กันค่ะ ที่เป็นปัญหาและอุปสรรคขัดขวางการปฏิรูปการเมืองไทยให้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ ที่มีกลไกกำหนดไว้อย่างที่เพื่อนสมาชิกเพิ่งกล่าวถึงไปนะคะว่า สว. ที่มาจากการแต่งตั้ง ของ คสช. สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ด้วย นี่นับว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ ของการบิดเบือนเจตจำนงของประชาชนที่ขัดต่อหลักการทางประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ทั้งที่จริงแล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็น ๑ Big Rock ที่สำคัญของแผนปฏิรูปฉบับปรับปรุงนี้ ด้วยซ้ำ แต่เรากลับไม่เคยเห็นการแก้ไขธรรมนูญจากคณะกรรมการปฏิรูปคณะนี้เลย อย่างในสมัยประชุมที่แล้วนะคะ เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคก้าวไกลเรายื่นร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าไปหลายต่อหลายฉบับ สุดท้ายถูกปัดตกโดย สว. ท้ายที่สุดแล้ว การปฏิรูปการเมืองไม่มีทางสำเร็จได้เลย ถ้ากลไกตามรัฐธรรมนูญยังไม่มีความเป็น ประชาธิปไตย
ด้านต่อไปนะคะท่านประธาน ขออนุญาตกล่าวถึงการบริหารราชการแผ่นดิน ในตอนริเริ่มคิดไว้ยิ่งใหญ่มาก ๖ แผน ๒๔ กลยุทธ์ ๕๖ แผนงาน วาดฝันไว้ว่าจะทำสิ่งต่าง ๆ มากมาย สุดท้ายปรับปรุงแผนปี ๒๕๖๔ มาแก้เก้อว่าบางเรื่องทำสำเร็จแล้วค่ะ บางเรื่อง สามารถทำได้ในภารกิจปกติอยู่แล้วปรับให้เหลือเพียง ๕ เรื่อง ซึ่งถ้าถามดิฉันและถาม พี่น้องประชาชนทั่วไปนะคะ ก็ไม่ได้รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญใด ๆ เลย ท่านอาจจะกล่าวอ้างถึงความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ อย่างการผลิต Application ต่าง ๆ ออกมามากมายของหลากหลายหน่วยงาน ให้ประชาชนเข้าไป Download ใช้กันจน Memory เต็ม แต่ว่าข้อมูลไม่เชื่อมโยงกันสักนิด ท่านบอกว่าท่านเปลี่ยนข้อมูลจากกระดาษเป็น Digital มีการบูรณาการข้อมูลขนานใหญ่ แต่คำถามที่อยากจะฝากท่านประธานถามไปยังผู้ชี้แจงคือแล้วประชาชนสะดวกขึ้นจริง หรือไม่ ประชาชนรับรู้และได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เป็นผลงานที่ท่านได้แสดงออกมา จากแผนปฏิรูปของท่านแล้วหรือยัง ทุกวันนี้ดิฉันและพี่น้องประชาชนยังคงต้องใช้เวลา เป็นวัน ๆ ในการไปติดต่อราชการ นอกเหนือจากนี้สิ่งหนึ่งที่หายไปจากแผนปฏิรูปประเทศ ฉบับปรับปรุง ซึ่งเป็นเรื่องแรกของแผนดั้งเดิมในการบริหารราชการด้วยซ้ำ นั่นก็คือ ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ หรือศูนย์ ๑๙๑ ปัจจุบันนี้ยังไม่แล้วเสร็จนะคะ เนื่องจาก ติดปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง ประมูลล่มมาถึง ๒ ครั้ง ฝากท่านประธานเรียนถามไปยัง ผู้ชี้แจงอีก ๑ ข้อนะคะว่าปัจจุบันนี้คืบหน้าไปถึงไหนแล้ว
อีกส่วนหนึ่งที่น่าเสียดายมาก ๆ อันนี้สำคัญมาก ๆ จนถึงวันนี้เรายังไม่เห็น การเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเลย คือการปฏิรูประบบราชการด้วยกฎหมาย ๒ ฉบับนี้ ๑. ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ๒. ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารข้าราชการ พลเรือน จริง ๆ ถ้าแก้ ๒ กฎหมายฉบับนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนะคะ จะสามารถเป็น จุดเริ่มต้นของการปฏิรูปโครงสร้างระบบบริหารราชการของไทย ทั้งเรื่องของงาน ทั้งเรื่อง ของคน ให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน พร้อมรับกับ ความท้าทายใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่ แต่เหตุใด ๒ ร่างนี้ยังไม่ออกมาคะ ไม่มีแม้แต่ผลการศึกษา ที่ท่านได้พยายามทำกันมาตลอด ๕ ปี ไม่ว่าจะเป็นการลดความเป็นนิติบุคคลของรัฐ หรือระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของรัฐ อันนี้ถือว่าเป็นกฎหมายสำคัญมาก ๆ นะคะ ของการบริหารราชการแผ่นดิน
ด้านสุดท้ายที่จะขอพูดถึงคือการปฏิรูปประเทศด้านการปราบปรามทุจริต และประพฤติมิชอบ ท่านไปถามคนทั่วไปได้เลยค่ะ คงไม่มีใครรู้สึกว่าการแก้ปัญหาการทุจริต ประพฤติคอร์รัปชันได้รับการแก้ไขได้ดีขึ้นเลย เพราะเรายังคงเห็นการทุจริตจากเจ้าหน้าที่รัฐ ในข่าวบ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่นล่าสุดเรื่องส่วย ที่เพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกลเคยนำเสนอ ปัญหาเหล่านี้สู่สังคมมาโดยตลอด อย่าง สว. ทรง A ส่วยรถบรรทุก อย่างล่าสุดที่เกิด ความเสียหายต่อสาธารณะจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อย่างส่วยพลุ มูโนะ แต่ในรายงานฉบับนี้หน้า ๑๕๖ กลับระบุว่าท่านได้บรรลุผลลัพธ์ ๒ เป้าหมายสำคัญ แล้วคือ ๑. ประเทศไทยไม่มีการทุจริตและประพฤติมิชอบคือดัชนีมันลดลง ๒. หน่วยงาน ภาครัฐมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่ซื่อสัตย์สุจริต ทุกท่านคะลองมาดูผลการประเมิน ที่เป็นรูปธรรมกันดีกว่าค่ะ จากตัวชี้วัดที่อยู่ในแผนปฏิรูปฉบับปรับปรุงปี ๒๕๖๔ นะคะ หน้า ๒๗๕ คือคะแนน CPI คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของสากล ประเทศไทยถ้าจะดีขึ้น ต้องอยู่ที่ ๔๕ แต่ปี ๒๕๖๕ CPI ของไทยอยู่ที่ ๓๖ คะแนน แพ้ทั้งมาเลเซีย แพ้ทั้งเวียดนาม และดัชนี ITA การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐต้องเกิน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ในความเป็นจริงหน่วยงานภาครัฐทั้งประเทศผ่านการ ประเมิน ITA เพียง ๗๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แบบนี้จะถือว่าบรรลุเป้าหมายได้อย่างไรคะ ท่านกำลังโกหกต่อหน้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่กำลังรับทราบรายงานเล่มนี้อยู่ หรือไม่ นอกเหนือจากตัวชี้วัดที่มันฟ้องชัดมาก ๆ ขณะนี้ในรายงานยุทธศาสตร์ชาติ ที่พวกท่านเองก็เป็นคนทำรายงานขึ้นมานะคะ ระบุว่าประเทศไทยอยู่ในระดับวิกฤติในการ บรรลุเป้าหมายของการปลอดทุจริตและประพฤติมิชอบ รายละเอียดระบุว่าการต่อต้าน ทุจริตและประพฤติมิชอบยังคงมีปัญหาและข้อจำกัด ประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมเข้าไป ตรวจสอบได้ ไม่สามารถติดตามการใช้งบประมาณและการดำเนินการโครงการของ หน่วยงานภาครัฐได้อย่างแท้จริง เมื่อดิฉันมาเปิดรายงานเล่มนี้ดูนะคะ พบว่าผลสัมฤทธิ์ ในการดำเนินการส่วนใหญ่เป็นไปเพื่ออะไรคะ ที่ครอบคลุมหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของ ประชาชนคือการทำเครือข่าย การจัดอบรม การทำแผนงาน ปรับฐานข้อมูล สร้างฐาน Digital ซึ่งหลาย ๆ เรื่องไม่ควรอยู่ในแผนปฏิรูปด้วยซ้ำ มันควรจะอยู่ในงานปกติที่ต้องทำ ตามกฎหมายอยู่แล้วค่ะ ดิฉันมั่นใจว่าประชาชนแล้วก็เจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ พร้อมกับ การเปิดเผยและตรวจสอบนะคะ ท่านไม่จำเป็นต้องมาสิ้นเปลืองงบประมาณกับการจัดอบรม หรือการสร้างเครือข่ายอะไรมากมายเช่นนี้ แต่สิ่งที่ท่านควรจะทำคือการออกแบบโครงสร้าง การตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสยิ่งขึ้น
นอกจากนี้สุดท้ายสิ่งที่ดิฉันรอเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นจากผลงานแผนปฏิรูป ซึ่งมันตรงกันกับนโยบายของพรรคก้าวไกลคือการออกกฎหมาย Anti-SLAPP พูดมานานแล้ว กฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปาก เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบ ได้อย่างเต็มที่สุดท้ายก็ยังไม่มีอะไรออกมาเป็นรูปธรรม
สุดท้ายแล้วค่ะท่านประธาน ไม่มีข้อเท็จจริงใดที่จะแสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการปฏิรูปชุดนี้มีความสามารถในการพาประเทศไปในแนวทางที่ตั้งเป้าหมายไว้เลย ดิฉันจึงอยากฝากข้อสังเกตผ่านท่านประธานไปยังผู้ชี้แจงว่าการปฏิรูปด้านการเมืองนี้ เป็นไปเพื่อการพาประเทศไทยไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย หรือนำพาไปสู่สิ่งใดกันแน่ หากเป็นไปเพื่อการสานฝันให้บรรลุตามเป้าหมายของคณะรัฐประหารสืบทอดอำนาจ
ถือว่าท่านทำหน้าที่ได้อย่าง สมบูรณ์อย่างมากทีเดียว ขอบพระคุณค่ะ
เรียนประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายรับทราบรายงานของศาลรัฐธรรมนูญ ประจำปี ๒๕๖๕ ซึ่งดิฉันขอตั้งชื่อว่าแผนปฏิบัติราชการ Jigsaw แห่งความล้มเหลว ท่านประธานคะ ก่อนอื่น ดิฉันขออนุญาตชวนเพื่อนสมาชิกทุกท่านเปิดไปดูรายงานฉบับนี้ในหน้า ๕๗ ซึ่งเราจะเห็น แผนผังการปฏิบัติราชการที่เป็นรูป Jigsaw ๕ ชิ้นแบบนี้ที่ถูกวาดฝันไว้อย่างสวยงาม แต่ในภาพความเป็นจริงที่ปรากฏต่อสายตาดิฉัน และพ่อแม่พี่น้องประชาชนกลับไม่ได้เป็น เช่นนั้น ในการอภิปรายครั้งนี้ดิฉันจะพูดถึง Jigsaw ๓ ชิ้นสำคัญ คือวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์
Jigsaw ชิ้นที่ ๑ คือวิสัยทัศน์ของศาลรัฐธรรมนูญที่กล่าวไว้ว่าจะเป็นสถาบัน ที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญในระดับสากล ประเด็นนี้ดิฉันอยากจะฝากท่านประธานตั้งคำถามผ่านไป ยังศาลธรรมนูญว่าท่านจะเป็นองค์กรที่เทียบเท่า หรือแม้แต่เฉียดเข้าไปใกล้ในระดับสากล ได้อย่างไร ในเมื่อที่มาของท่านนั้นแตกต่างกับที่มาของศาลรัฐธรรมนูญในนานาอารยประเทศ อย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเยอรมนี ครึ่งหนึ่งมาจากการเลือกตั้งของ สภาผู้แทนราษฎร ตุลาการอีกครึ่งหนึ่งมาจากการเลือกของวุฒิสภา โดยที่ทั้งสองสภานี้ มาจากการเลือกตั้งของประชาชน หันกลับมามองที่ศาลธรรมนูญของประเทศไทย มาจาก การเลือกตั้งของวุฒิสภาเท่านั้น ซึ่งเราก็ทราบกันเป็นอย่างดีว่าในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๖๐ นี้ วุฒิสภาไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้มามีความเกี่ยวข้องยึดโยงกับประชาชน ดังนั้น แค่ประเด็นในเรื่องที่มาท่านก็ไม่เป็นสากลแล้วค่ะ นี่ยังไม่ต้องพูดถึงรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่มี ทั้งที่มา กระบวนการ และเนื้อหาที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย และขาดความเป็นสากล อย่างชัดเจนอีกนะคะ
Jigsaw ชิ้นที่ ๒ คือพันธกิจของศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุว่าจะคุ้มครอง ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ สิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยยึดหลักนิติธรรม ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน สำหรับพันธกิจการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนนั้น ด้วยความสัตย์จริงค่ะ ดิฉันคิดว่าท่านล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหากจะยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจนดิฉันต้อง ขออนุญาตยกตัวอย่าง กรณีคำวินิจฉัยของศาลธรรมนูญว่าด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ ที่ให้สิทธิการสมรสเฉพาะหญิงและชายเท่านั้น ไม่ได้ให้สิทธิสมรสแก่บุคคล ต่อบุคคลนะคะ แน่นอนค่ะกฎหมายข้อนี้ลิดรอนสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่ตัดสินใจจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ที่ควรจะได้รับสิทธิอย่างเสมอภาค เท่าเทียมต่อหน้ากฎหมายเดียวกัน โดยไม่มีเงื่อนไขเรื่องเพศมากำหนด แต่เมื่อได้ทำคำร้อง ไปยังศาลธรรมนูญศาลกลับมีคำวินิจฉัยว่ากฎหมายมาตรานี้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้ง ๆ ที่ เมื่อดิฉันเปิดอ่านรายงานฉบับนี้นะคะ ก็พบว่ามีการจัดอบรมให้ความรู้บุคลากรหลายต่อหลาย หน่วยงาน หลายโครงการเรื่องความเท่าเทียมทางเพศอยู่บ่อยครั้ง ดิฉันจึงมีข้อสงสัย ฝากท่านประธานผ่านไปยังผู้ชี้แจงนะคะ ถึงความจริงจัง และจริงใจ ว่าท่านมีมากแค่ไหน ในการให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของพี่น้องประชาชน
Jigsaw ชิ้นที่ ๓ เป้าประสงค์ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งรายงานฉบับนี้มีอยู่ ๔ ข้อ
ข้อแรก คือการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการพิจารณาคดี ในส่วนนี้ ดิฉันอยากจะกล่าวถึงผลการดำเนินงานด้านคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๕ ที่มีคดีค้าง การพิจารณาจากปีก่อนหน้านี้ ๒๑ คดี และในปี ๒๕๖๕ ก็มีคดีค้างอีก ๒๐ คดีมาพิจารณา ปี ๒๕๖๖ ตามรายงานฉบับนี้เราจะเห็นเพียงสถิติเท่านั้นนะคะ แต่สิ่งที่ดิฉันอยากจะเห็น ในรายงานในปีต่อ ๆ ไป ก็คือปัญหา และอุปสรรคที่ทำให้มีคดีค้างการพิจารณา ข้ามปีงบประมาณแบบนี้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ระยะเวลาเฉลี่ยที่จะทำคำวินิจฉัยสำเร็จนี่ ทำเสร็จภายในกรอบเวลาเท่าไร กี่เดือน หรือการยกคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญสามารถ จำแนกได้หรือไม่ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ซึ่งจะสามารถยกระดับการทำงาน และมาตรฐานการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มที่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบด้วย
ข้อที่ ๒ เป้าประสงค์ของการเสริมสร้างการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ องค์กรให้มีความเข้มแข็ง ในข้อนี้ดิฉันคิดว่าพื้นฐานของการบริหารจัดการองค์กรอย่างมี คุณภาพนั้นต้องมีจุดเริ่มต้นจากการจัดสรรงบประมาณอย่างสมเหตุสมผลและตรงจุด แต่จากรายงานฉบับนี้เห็นว่าการใช้จ่ายงบประมาณยังมีหลายจุดที่ดิฉันตั้งข้อสงสัย ค่ะท่านประธาน หนึ่งในนั้นคือค่าใช้จ่ายด้านที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกว่า ๔๔ ล้านบาท ดิฉันสงสัยมาก เพราะว่าศาลธรรมนูญและสำนักงานศาลธรรมนูญตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ และไม่มีสำนักงานอยู่ที่ต่างจังหวัด จังหวัดอื่น ๆ ก็ไม่ได้เห็นว่ามีความจำเป็น จะต้องมีโครงการการก่อสร้างอะไรมากมายนะคะ เหตุใดถึงมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ดิฉันก็ไปค้นพบ ข้อมูลที่ว่าค่าใช้จ่ายนี้เกี่ยวกับการปรับปรุงบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ที่เขตพระนคร ใกล้ ๆ นี้นะคะ ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของศาลธรรมนูญ โดยที่ทางสำนักงานตั้งใจว่าจะบูรณะให้เป็น พิพิธภัณฑ์ ซึ่งทางพรรคก้าวไกลเคยให้ความเห็นไว้ถึงความจำเป็นและการถือครองทรัพย์สิน ชิ้นนี้ เพราะว่ามันจำเป็นแค่ไหน และมันไม่ได้มีภารกิจโดยตรงของสำนักงานศาลธรรมนูญเลย จะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ก็อยู่ไกลจากศาลมาก บุคลากรที่ทางสำนักงานจัดสรรไว้ดูแลก็มีเพียง ๕ คน เหตุใดต้องมาตั้งงบประมาณมากถึงขนาดนี้เพื่อปรับปรุงอาคาร ดิฉันจึงอยากจะ ฝากท่านประธานอีก ๑ ข้อผ่านไปยังผู้ชี้แจงว่าท่านมีแนวทางในการทบทวนหรือไม่ ว่าจะคืนทรัพย์สินนี้ให้เป็นของแผ่นดิน เพื่อให้หน่วยงานที่มีความสามารถเข้ามาดูแล
เป้าประสงค์ข้อที่ ๓ เรื่องบุคลากรจะมีความสามารถควบคู่คุณธรรม และจริยธรรม ในข้อนี้ดิฉันไม่ได้มีความกังขาใด ๆ ในความสามารถของบุคลากรในองค์กร ของท่าน แต่ดิฉันมีความกังวลต่อประเด็นความเป็นอิสระ และความเป็นกลางขององค์กร ทั้งเรื่องที่เพื่อนสมาชิกพรรคก้าวไกลได้อภิปราย แล้วก็เรื่องที่สามารถมีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ เป็นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ในสังกัดองค์กรอื่น ๆ ได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่องค์กรศาลอื่น ๆ อย่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองไม่มี
เป้าประสงค์ข้อที่ ๔ ข้อสุดท้าย คือเพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและศรัทธา ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนอื่นต้องบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วกันว่า เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจตุลาการ และคำวินิจฉัยนี้ผูกพันกับองค์กรของรัฐ ทุกองค์กร ทั้งรัฐสภา ฝ่ายบริหาร และศาลอื่น ๆ หากแต่ไม่มีองค์กรใดสามารถเข้ามา ตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้เลย ดิฉันจึงอยากจะฝากท่านประธานผ่านไปยัง ผู้ชี้แจงว่าท่านจำเป็นจะต้องรับฟังเสียงสะท้อนจากสังคม รับฟังประชาชนว่าประชาชน พูดอะไรบ้าง หากท่านไม่ฟังเลยองค์กรจะเกิดวิกฤติศรัทธามากขึ้นไปเรื่อย ๆ ท่านต้อง พิจารณาทบทวนตัวเองบ้างว่าคำวินิจฉัยที่ออกมานั้นทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็งขึ้นหรือไม่ ทำไมยิ่งนานวันยิ่งมีศัพท์ใหม่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ จากตุลาการภิวัตน์ในวันนั้น มาจนถึงนิติสงคราม ในวันนี้ แน่นอนค่ะประชาชนควรมีสิทธิคาดหวังต่อกระบวนการยุติธรรมที่สมเหตุสมผล ถ้าคนทั้งแผ่นดินบอกว่าดูอย่างไรก็ไม่เป็นธรรม ท่านก็ต้องกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า ท่านได้ใช้อำนาจวินิจฉัยตามหลักนิติธรรมและอำนาจที่ได้รับมอบมาจากประชาชนหรือไม่ เพราะสุดท้ายศาลต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชน ศาลต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ศาลไม่สามารถอ้างอิงอำนาจอธิปไตยจากแหล่งอื่นได้เลย เพราะประชาธิปไตยมาจาก ประชาชนและตุลาการต้องยึดโยงกับประชาชนค่ะ
ดิฉันมีคำแนะนำด้วยความปรารถนาดีที่อยากจะฝากท่านประธานผ่านไปยัง ผู้ชี้แจงว่า ท่านควรที่จะรีบเรียกคืนความเชื่อมั่นและกู้ศรัทธาประชาชนกลับคืนมา ไม่ใช่เพียง เพื่อองค์กรของท่านเท่านั้น แต่หมายถึงต่อระบบกฎหมายทั้งหมดของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนยังคงมองเห็นแสงสว่างแห่งความหวังและเชื่อว่าสังคมนี้ยังมีความยุติธรรม อยู่บ้างไม่มากก็น้อย จากแผนปฏิบัติการ Jigsaw แห่งความล้มเหลวที่ดิฉันได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีในด้านที่ ๖ ซึ่งคือการพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ โดยที่ท่านตั้งเป้าหมายไว้ว่าหน่วยงานของท่านจะมีการทำงานที่มุ่งไปที่ ผลสัมฤทธิ์ และผลประโยชน์ส่วนรวม และตอบสนองความต้องการของประชาชน
สุดท้ายดิฉันอยากจะให้ท่าน Highlight ประโยคเมื่อสักครู่นี้แล้วลองอ่าน ทบทวนซ้ำ ๆ แล้วลองนึกดูดี ๆ ว่านับเฉพาะแค่ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ท่านทำลายความหวัง และความฝันของประชาชนไปมากขนาดไหนแล้ว หากในรายงานฉบับนี้ท่านตั้งเป้าหมายไว้ว่า ท่านจะไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ดิฉันคงใช้เวลา ๗ นาทีนี้ในการกล่าว สรรเสริญและชื่นชมผลงานที่ท่านได้ทำสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้เรียบร้อยแล้ว ขอบคุณค่ะ
เรียนประธาน ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันมีปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมานำเรียนท่านประธานดังนี้
๑. ปัญหาการจราจรติดขัดในซอยทรัพย์บุญชัย ท่านประธานคะ เนื่องจาก ในซอยนี้มีลักษณะเป็น Super Box มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เนื่องจาก การขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรอย่างต่อเนื่อง หากแต่ถนนที่พี่น้องประชาชนใช้ดังใน Slide มีเพียง ๒ เลนเท่านั้น ไม่สามารถทำการขยายช่องทางได้ ดิฉันสอบถามไปยังเทศบาล ได้ข้อมูลว่าเทศบาลเคยมีโครงการจะตัดถนนเพิ่มเติมบริเวณใต้ทางด่วนกาญจนาภิเษก แต่ยังขาดทั้งงบประมาณและขาดอำนาจในการจัดการ ดิฉันจึงนำมาหารือเรื่องนี้ต่อที่ประชุม อนุกรรมการการจราจรทางบกจังหวัดสมุทรปราการ ดิฉันอยากฝากท่านประธานอีกท่านค่ะ ผ่านไปยังอนุชุดนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวงชนบท ให้พิจารณา แก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้สำเร็จโดยเร็ว เพื่อให้สอดรับกับการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ของจำนวนประชากรในพื้นที่ ต่อไป Slide ถัดไปค่ะ
การแก้ปัญหาน้ำประปาเข้าไม่ถึงในชุมชนสามแพรกพัฒนา หมู่ที่ ๔ ดิฉันไม่มั่นใจว่าเกิดการตกหล่นของการสำรวจหรืออย่างไร จึงทำให้พี่น้องในชุมชนนี้ ยังต้องใช้น้ำบาดาลในการอุปโภคบริโภค ดิฉันจึงอยากฝากให้ทางการประปานครหลวง ให้เขามาจัดการปัญหาให้พี่น้องประชาชนเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกันค่ะ
ต่อไปเป็นปัญหาถนนเป็นหลุมเป็นบ่อทางเข้าซอยโรงพยาบาลเปาโล ผิวถนน มีลักษณะเป็นหลุมลึกส่งผลให้พี่น้องประชาชนสัญจรได้ลำบาก อันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินของชาวชุมชนมาก ๆ โดยเฉพาะรถเล็ก ในเวลาฝนตกมีน้ำท่วมขังมองไม่เห็น พื้นถนน อยากฝากผ่านไปยังเทศบาลตำบลบางเมืองให้เข้ามาช่วยปรับปรุงพื้นผิวถนน ให้เรียบร้อยค่ะ
ปัญหาต่อไปการปล่อยของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดมลพิษ ทั้งดินเสีย น้ำเสีย อากาศเสีย หากการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศนั้นต้องแลกมาด้วย สุขภาพของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ดิฉันคิดว่า GDP กี่จุดก็ไม่คุ้มค่ะ ขอฝากท่านประธาน ผ่านไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ ให้เข้ามาตรวจสอบการดำเนินงาน ของโรงงานอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรมคนต่อไปจะเร่งทำ PRTR ตามคำสั่งของศาลปกครองโดยเร็ว กฎหมายที่จะให้ เปิดเผยรายงานการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารพิษให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบ ลดผลกระทบต่อสุขภาพพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศค่ะ
ต่อไปปัญหาคลองตื้นเขินเรือประมงออกไม่ได้ พี่น้องชุมชนบอกดิฉันว่า ชื่อคลองนี่ชื่อคลองแสนสุข แต่คุณภาพชีวิตประชาชนแสนสาหัสค่ะ จะออกเรือแต่ละครั้ง แสนยากเย็น จะออกไปหาปลาตอนตีสาม ๔ ทุ่มต้องออกไปจอดนอนรออยู่ที่ปากคลองแล้ว เพราะว่าเรือออกไม่ได้ คลองตื้นมีตะกอนสะสม ดิฉันอยากฝากท่านประธานผ่านไปยัง หน่วยงานท้องถิ่นให้เข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่ขุดแค่คลองตรงกลางแล้วเอาไป แปะไว้ซ้ายขวา น้ำขึ้นมาดินก็ Slide กลับลงมาที่เดิม ปัญหาก็วน Loop
ปัญหาสุดท้าย ปัญหาบ่อขยะปริศนาซอยหลังโรงเรียนหาดอัมรา จากการเดิน สำรวจพื้นที่ของดิฉันไปพบกับลานกว้างตรงนี้ค่ะ ตรงข้ามกับโรงกำจัดขยะมูลฝอยของ อบจ. สมุทรปราการเต็มไปด้วยขยะมูลฝอย มีลักษณะเปิดโล่งใกล้ชุมชน พี่น้องประชาชน ในพื้นที่ไม่ทราบที่ไปที่มานะคะ ดิฉันสืบค้นข้อมูลก็ไม่เจอ อยากฝากท่านประธานผ่านไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบตรงนี้ว่าขยะพวกนี้มาจากไหน ใครเป็นผู้รับผิดชอบ แล้วมีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ถูกต้องตามกระบวนการหรือเปล่า ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล ผู้แทนของพ่อแม่พี่น้องชาวปากน้ำ ท้ายบ้าน บางเมือง บางโรง บางด้วน วันนี้ดิฉันขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาผลประโยชน์ของการมีกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับ บริบทความเป็นจริงในประเทศไทย ดิฉันคิดว่าสิ่งที่สภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ รวมถึงองค์กร ภาครัฐทุกองค์กรจะต้องมีความเห็นให้ตรงกันก่อน คือเราต้องยอมรับความเป็นจริงว่า มีคนไทยจำนวนมากที่ใช้งานบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งในลักษณะที่เป็นบุหรี่ไฟฟ้าตามคำจำกัดความ ของกฎหมายและอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และไม่ใช่แค่การใช้งานเท่านั้น ยังมีการนำเข้าและจำหน่ายโดยคนไทย ซึ่งสิ่งที่ดิฉันกล่าวมานี้ มีหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างชัดเจน ดูได้จากข่าวการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลของทางกรมศุลกากรเท่าที่มีรายงาน เท่าที่ดิฉันจะสามารถค้นเจอได้ เฉพาะในเดือนมกราคมที่ผ่านมามีการจับกุมผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าถึง ๔๕ คดี มีของกลางมูลค่า สูงถึง ๔ ล้านบาท เอาแค่นี้ก็ชัดแล้วว่ามีการนำเข้า มีการจำหน่าย และมีการใช้งานอยู่จริง ๆ ทีนี้เมื่อเรายอมรับความจริงกันแล้ว เราเล็งเห็นตรงกันแล้ว หนึ่งสิ่งที่สภาผู้แทนราษฎร อย่างเราต้องทำ คือการทำให้กฎหมายรองรับและควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องมี กฎหมายควบคุมให้ชัดเจนว่าหากจะนำเข้าได้เราจะมีเงื่อนไขอย่างไร หากอนุญาตให้ผลิต จะมีกระบวนการอย่างไร หากจะต้องชำระภาษีต้องเสียภาษีเท่าไร จะจำหน่ายต้อง จดทะเบียนร้านค้าในลักษณะแบบไหน และหากจะครอบครองหรือใช้งานต้องมีกฎหมาย ควบคุมลักษณะการใช้งานอย่างไร ผู้สูบอายุเท่าไร สูบได้ที่ไหน การโฆษณา และมาตรการ ป้องกันผู้สูบหน้าใหม่จะทำอย่างไร เมื่อมีการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าวทั้งหมดที่ว่ามานี้ เราจะมีบทลงโทษอย่างไร ทั้งหมดนี้ที่ดิฉันกล่าวมาว่ากันอย่างตรงไปตรงมา ก็คือนำสิ่งที่อยู่ ใต้ดินขึ้นมาอยู่บนดิน เพราะอีกหนึ่งปัญหาของบุหรี่ไฟฟ้าคือเมื่อไม่มีกฎหมายควบคุมที่ ชัดเจนและ Practical ก็จะเป็นช่องโหว่ในทางกฎหมายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจ เรียกรับประโยชน์จากประชาชนโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด กฎหมายของประเทศเรายังไม่มีบทบัญญัติจำกัดถึงสิ่งที่เราเรียกกันว่า Port ดังนั้นสถานะ ของสิ่งนี้จึงเป็นเพียงของหนีภาษีเท่านั้น ของหนีการชำระภาษี ไม่ได้นับว่าเป็นบุหรี่ไฟฟ้า แต่อย่างใด แต่กลับมีเจ้าหน้าที่ทางปกครองตั้งด่านสกัดตรวจค้นสิ่งนี้แล้วเรียกรับประโยชน์ จากประชาชนคนใกล้ ๆ ตัวดิฉันก็เคยโดนมาแล้ว ๒๐,๐๐๐ บาท ทั้ง ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๕,๐๐๐ บาท ซึ่งราคาเหล่านี้ถูกตั้งโดยเจ้าหน้าที่หน้างานใช้ดุลยพินิจเป็นหลัก แม้ในตอนนี้ เราจะมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า แต่อย่างที่ดิฉันกล่าวไปบทนิยามของคำว่า บุหรี่ไฟฟ้ายังมีช่องโหว่อยู่มาก ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินคดีทางกฎหมายมีมาตรฐานเดียวกัน เราต้องเร่งผลักดันให้มีกฎหมายควบคุมที่มีบทนิยามควบคุม และชัดเจนเป็นไปตามยุคสมัย และบริบทความเป็นจริงในประเทศไทยและสากล นอกจากป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ ต่าง ๆ แล้วการนำสิ่งนี้ขึ้นมาบนดินจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ ซึ่งนั่นก็คือการจัดเก็บภาษี จัดเก็บค่าธรรมเนียม การออกใบอนุญาต ลองนึกดูเล่น ๆ ที่ดิฉัน กล่าวมาข้างต้นเพียงเดือนมกราคมเดือนเดียวดำเนินการได้ถึง ๔๕ คดี มูลค่าของกลาง ๔ ล้านบาท ยังไม่ได้นับกรณีที่ยังไม่ได้มีการดำเนินคดีและไม่มีรายงานอีกตั้งเท่าไร มูลค่าเท่าไร เราลองไปเดินที่ถนนห้วยขวางดูเล่น ๆ ก็ได้ เราจะเห็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ มหาศาล ดังนั้นนอกจากการออกกฎหมายควบคุมแล้วก็จำเป็นจะต้องออกแบบระบบ การจัดเก็บภาษีสำหรับบุหรี่ไฟฟ้าให้เหมาะสมอีกด้วย
สุดท้ายนี้ดิฉันคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องยอมรับว่าในสังคมไทยเรา มันมีบุหรี่ไฟฟ้าอยู่จริง ๆ มันคือเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาใหม่ แล้วรัฐเองก็ไม่สามารถขจัดมัน ออกไปจากสังคมไทยได้ พยายามจะใช้กฎหมายห้ามนักสูบก็ห้ามไม่ได้ มันมีความต้องการสูง มันมี Supply Demand สูง สิ่งที่รัฐจำเป็นจะต้องทำคือเป็น Regulator ที่ดีเป็นผู้กำกับ ควบคุมการใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อ
๑. ความปลอดภัยของผู้สูบ ทุกวันนี้ผู้บริโภคว่าสูบอะไรเข้าไปในร่างกาย เพราะว่าไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่รู้เลยว่ามันคือสารอะไรบ้าง
๒. ความปลอดภัยของผู้ที่ไม่ได้สูบ ขนาดคนสูบยังไม่รู้เลยว่าสูบอะไรเข้าไป คนที่อยู่รอบ ๆ ตัวได้รับกลิ่น ควัน ก็ไม่รู้ว่าอะไรเข้าไปสู่ในร่างกายตัวเองแล้วมันอันตรายแค่ไหน
๓. รัฐจะได้ประโยชน์จากมันอย่างไร เพราะทุกวันนี้บุหรี่ไฟฟ้าอย่างที่ดิฉัน ได้กล่าวถึง เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการหารายได้โดยมิชอบของรัฐ ทีนี้เอาขึ้นมาบนดินให้เงิน เหล่านั้นเข้ามาสู่ส่วนกลางของภาครัฐเพื่อนำมาพัฒนาประเทศชาติของเราจะดีกว่า
๔. เพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ข้อนี้สำคัญที่สุด ไม่ให้เข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้โดยง่าย
อย่างในปัจจุบันนี้ที่ดิฉันไถ Feed TikTok เห็นจากสื่อต่าง ๆ นักสูบหน้าใหม่ อายุลดลงเรื่อย ๆ น่าตกใจมาก ๆ เราจำเป็นแล้ว วันนี้ถึงเวลาแล้วที่ไม่ให้เกิดความเสียหาย กับพี่น้องประชาชนคนไทยไปมากกว่านี้ ดิฉันขอสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อ พิจารณาศึกษาประโยชน์ของการมีกฎหมายเพื่อควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้เหมาะกับบริบท ความเป็นจริงในประเทศไทยในปัจจุบัน ขอบคุณค่ะ
เรียนประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล ดิฉันขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ จำนวน ๑๕ ท่าน สัดส่วน พรรคก้าวไกล จำนวน ๕ คน ๑. นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล ๒. นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ๓. นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ๔. นายศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์ ๕. นายจุลพงศ์ อยู่เกษ สัดส่วน พรรคเพื่อไทย จำนวน ๔ คน ๑. นายรวี เล็กอุทัย ๒. นางสาวณัฐจิรา อิ่มวิเศษ ๓. นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ ๔. นางสาววิภาณี ภูคำวงศ์ สัดส่วนพรรคภูมิใจไทย จำนวน ๒ คน ๑. นายฤกษ์ อยู่ดี ๒. นายสุวรรณา กุมภิโร สัดส่วนพรรคพลังประชารัฐ จำนวน ๑ คน คือนายเพชรภูมิ อาภรณ์รัตน์ สัดส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ จำนวน ๑ คน คือนางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน ๑ คน คือนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ พรรคประชาชาติ จำนวน ๑ คน คือผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู ขอบคุณค่ะ ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันขออนุญาตมีส่วนร่วมในการอภิปรายญัตติเรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา ติดตาม และส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดน ภาคใต้/ปาตานี หากเราจะพูดถึงสันติภาพชายแดนใต้ ส่วนใหญ่เรามักจะพูดถึงมิติของ ความมั่นคงแห่งรัฐเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วยังมีอีกหลายปัญหาที่พี่น้อง ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้กำลังเผชิญหน้าอย่างยากลำบาก และเราในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถ มองข้ามได้นั่นก็คือปัญหาปากท้อง การขาดความมั่นคงทางรายได้ ความเหลื่อมล้ำที่กำลัง เกิดขึ้นอย่างรุนแรงไม่แพ้ด้านอื่น ๆ เลย จากข้อมูลของสภาพัฒน์ทำให้เห็นความรุนแรง ในระดับที่ว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ติด ๑๐ อันดับจังหวัดแรกที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุด หรือมีความยากจนหนาแน่นสูงที่สุดในประเทศ โดยเฉพาะปัตตานีที่มีคนจนมากที่สุด ในประเทศถึง ๓ ปีซ้อน มีสัดส่วนสูงถึง ๔๓.๙๖ เปอร์เซ็นต์ เกือบครึ่งของประชากร ทั้งจังหวัดเป็นผู้ยากจน ทั้ง ๆ ที่ตัวเลขนี้เมื่อเทียบกับ ๓ ปีก่อนที่จะเกิดความไม่สงบในพื้นที่นี้ในปี ๒๕๔๗ ไม่ได้อยู่ใน บัญชียากจนอันดับต้น ๆ เช่นนี้แต่อย่างใด สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจปากท้องในพื้นที่ เป็นปัญหาระดับโครงสร้างที่รัฐต้องเร่งให้ความสำคัญ การขาดตลาดแรงงานที่ใหญ่พอจะ รองรับกับคนรุ่นใหม่รวมถึงประชากรในวัยทำงานกว่า ๑ ล้านคน เด็กเรียนจบแล้วไม่มีงานทำ เกิดภาวะสมองไหลออกจากพื้นที่หมด ภาคเกษตรกรรมก็ไม่สามารถทำรายได้ให้พี่น้อง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่หลุดพ้นกับเส้นความยากจนได้ อีกทั้งปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน การไม่มีเอกสารสิทธิ มิหนำซ้ำในบางพื้นที่ก็กำลังจะถูกประกาศเป็นพื้นที่อุทยานอีก แน่นอนในกรณีเช่นนี้หากพี่น้องประชาชนจะตั้งคำถามต่อรัฐหรือรวมตัวกันเรียกร้อง เพื่อความเป็นธรรมในสิทธิที่ดินทำกินนั้นก็ทำได้ยากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศนี้อย่างมาก เพราะถูกฝ่ายความมั่นคงกำกับด้วยกฎหมายพิเศษที่กระทบกับสิทธิในการรวมกลุ่ม และเสรีภาพในการแสดงออก เมื่อเรามามองดูการบริหารสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้ ที่ทุกโครงการจะมีนามสกุลต่อท้ายว่าเพื่อความมั่นคง จะพบว่าตลอด ๒๐ ปีที่ผ่านมาเราใช้ งบประมาณไปกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท มีกฎหมายพิเศษถึง ๓ ฉบับ ทั้ง พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก พ.ร.บ. ความมั่นคง สูญเสียไปกว่า ๔,๐๐๐ ชีวิต บาดเจ็บไปกว่า ๑๐,๐๐๐ คน ทั้งหมดนี้เป็นต้นทุนที่เราต้องจ่ายแบบไม่สามารถประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรม กระบวนการ การสร้างสันติภาพที่เดินหน้ามากว่า ๒๐ ปีนี้มีความคืบหน้าไปมากแค่ไหนแล้ว คุ้มค่าหรือไม่ ที่เราจะดำเนินยุทธศาสตร์เดิมต่อไป สิ่งหนึ่งที่ทำให้ดิฉันต้องลุกขึ้นมาตั้งคำถามคือตัวเลข งบประมาณกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทที่ดิฉันเพิ่งกล่าวถึงไปเมื่อสักครู่ ก่อให้เกิดตัวเลข ความยากจนสูงที่สุดในประเทศนี้ได้อย่างไร งบประมาณนี้ถูกใช้ไปยึดโยงกับความต้องการ ของพี่น้องประชาชนหรือไม่ ในเมื่อข้อมูลสำคัญที่ดิฉันค้นพบชี้ว่าภายหลังรัฐประหารของ คณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ คสช. ในปี ๒๕๕๗ งบประมาณชายแดนใต้มุ่งเน้นการให้ ความสำคัญกับงานด้านความมั่นคงและโครงการก่อสร้าง หากแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ การศึกษา สวัสดิการ การพัฒนาอาชีพ และรายได้เลย เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คุณรอมฎอน ปันจอร์ ผู้เสนอญัตตินี้เคยให้ความเห็นที่น่าสนใจว่าชายแดนใต้คือสะพาน ไม่ใช่กำแพง เรามองเห็นโอกาสที่ชายแดนใต้จะเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากกว่านี้ เรามี ศักยภาพที่จะเชื่อมต่อข้ามภาษา ข้ามวัฒนธรรม หากไม่อยู่ภายใต้การกำกับทิศทางของ ฝ่ายความมั่นคง สิ่งนี้กระตุ้นเตือนให้เราเห็นถึงโอกาสมากกว่าข้อจำกัดที่เราเห็นมาตลอด เพราะเรามีทั้งความร่ำรวยทางวัฒนธรรม ภาษา ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่พร้อมจะเปิดพื้นที่และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ที่จะสามารถเพิ่มรายได้ต่อหัวประชากร หยุดการส่งต่อความจนรุ่นสู่รุ่นทำให้ชีวิตพี่น้อง ประชาชนดีกว่านี้ สิ่งนี้เน้นย้ำคำนี้ชัดเจนมาก ๆ ว่าปากท้องทุกคนจะอิ่มได้มากกว่านี้หากเรา มีสันติภาพ สุดท้ายนี้ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐสภาแห่งนี้จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญ ในการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ในมิติใหม่ ๆ ที่มุ่งเน้นเอาผลประโยชน์สูงสุดของ พี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง ยกระดับคุณภาพชีวิตพี่น้องชายแดนใต้ในทุก ๆ ด้าน คำนึงถึง ปากท้องก่อน ลดอำนาจทางการทหารลง ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ เปิดพื้นที่ทางการเมือง ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และดิฉันจึงขอสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญศึกษาและติดตามการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดอนาคตของตัวเองในทุกมิติผ่านการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อแสวงหา ทางออกร่วมกันด้วยฉันทามติของทุกฝ่าย ในฐานะที่พวกเราทุกคนเป็นผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนของทุกกลุ่มความคิด ความเชื่อ ที่จะมองเห็นทุกโอกาสและความเป็นไปได้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างสันติภาพชายแดนใต้อย่างแท้จริง ขอบคุณค่ะ
เรียนประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้พี่น้องประชาชนฝากให้ดิฉันนำเรียนปัญหาต่อท่านประธานถึงความล่าช้าในการเปิด ให้บริการของตลาดท้ายบ้าน
ตลาดแห่งนี้เริ่มก่อสร้างขึ้น เมื่อปี ๒๕๕๘ และมีพิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ไปเมื่อวันที่ ๓ มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีรองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น คุณประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานเปิดงาน แม้พี่น้องประชาชน จะตั้งคำถามกันเป็นวงกว้างถึงความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ มองว่าขาดการมีส่วนร่วม ในการออกความเห็นของโครงการนี้ แต่เมื่อสร้างมาแล้วก็หวังว่าจะได้ใช้ประโยชน์จาก โครงการนี้ไม่มากก็น้อย เพราะว่าเนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาพี่น้องประชาชน พ่อค้าแม่ขาย ต้องประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจอย่างแสนสาหัส ค้าขายไม่ได้กำไร กำลังซื้อลดลง ตลาดปากน้ำที่เคยคึกคักทุกวันนี้ซบเซาลงอย่างมาก จึงมองว่าโครงการนี้ที่โฆษณาไว้ว่า จะเป็นตลาดเชิงท่องเที่ยว ทุ่มงบประมาณไปกว่า ๘๐๐ ล้านบาท บนเนื้อที่ประมาณ ๒๕ ไร่ ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็น Landmark ใหม่แห่งเมืองปากน้ำ จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ ในพื้นที่นี้ได้นะคะ พ่อค้าแม่ขายก็คาดหวังว่าจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วม เอาของไปขายในตลาดนี้เพราะว่าเป็นโครงการของท้องถิ่นตัวเอง แต่ผ่านมาจนแล้วจนรอดสร้างมา ๘ ปี รอมาแล้ว ๗ เดือนก็ยังไม่มีการเปิดให้ใช้บริการ กลายเป็นตลาดงง ๆ ใครขับรถผ่านไปผ่านมาก็งงค่ะ สภานี่ไม่แน่ใจว่าสร้างเสร็จหรือยังนะคะ แต่บอกว่าดำเนินการเสร็จแล้วผ่านการตรวจรับตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ดิฉันก็ไม่มั่นใจค่ะ เพราะว่านี่คือภาพปัจจุบันจึงขอนำเรียนผ่านท่านประธานไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการให้เร่งดำเนินการ เปิดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ให้พี่น้องประชาชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์เพื่อให้เงินภาษีทุกบาท ทุกสตางค์สร้างประโยชน์สูงสุดให้กับพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง ขอบพระคุณค่ะ
เรียนประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีแรงงานคือหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ในท่ามกลาง เศรษฐกิจที่ผันผวนแบบในปัจจุบันแรงงานทุกอาชีพกว่า ๓๙ ล้านคนทั่วประเทศ กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายและความไม่เป็นธรรมหลายประการ ทั้งค่าแรง ที่ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ สภาวะเศรษฐกิจถดถอย สถานภาพการจ้างงานที่ไม่มั่นคง การกำหนดค่าตอบแทนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน การทำงานเกินเวลาโดยไม่มีค่าชดเชย ความเสี่ยง ในการถูกเลิกจ้าง หรือยุติการทำงานเนื่องจากถูกทดแทนด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI สภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและร่างกาย รวมถึงเหตุสุดวิสัยต่าง ๆ อย่างโรคระบาด หรือการเกิดภัยพิบัติ เช่นโควิด ขณะที่แรงงานไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยง มากมายเหล่านี้เราเห็นว่ากลไกของรัฐยังไม่สามารถคุ้มครอง หรือเยียวยาความเสี่ยงของ พี่น้องแรงงานไทยทุกคนได้ค่ะ ส่งผลให้คนทำงานมีภาระ มีข้อจำกัด และมีความเสี่ยงสูง ทั้งการทำงานและการดำรงชีวิต ซ้ำยังขาดการสนับสนุนการอบรมทักษะแรงงานเพื่อให้ แรงงานไทยมีประสิทธิภาพและปรับตัวให้เท่าทันกับโลกปัจจุบันค่ะท่านประธาน ทั้งนี้ ในการดำเนินการเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะแรงงานมันมีความท้าทายหลายมิติ ทั้งการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความเหลื่อมล้ำ ในระบบการศึกษา โอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงงาน ดิฉันจึงจำเป็นต้องมีส่วนร่วม ในการอภิปรายสนับสนุนญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาการจ้างงานและเพิ่มทักษะของแรงงานนะคะ เพราะดิฉัน มองว่านี่คือปัญหาที่เร่งด่วนของสังคมไทย รัฐต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทบทวน วางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน ส่งเสริมการจ้างงาน เพิ่มทักษะผลิตคนที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ที่เหมาะสม รวมถึงพัฒนา ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นกับแรงงานในอนาคตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาการว่างงาน จากการขาดทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน และเป็นการวางแผนพัฒนาทักษะแรงงาน ให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตค่ะ ในช่วงเวลาที่ผ่านมานะคะ ดิฉันมองเห็นว่าหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงานเริ่มมีการวางมาตรการเพื่อรองรับการพัฒนา ทักษะแรงงานไปบ้างแล้ว อย่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเองก็ได้มีการเพิ่มทักษะ เพิ่มหลักสูตร ให้พี่น้องประชาชนได้สามารถเข้าไปศึกษากันได้ ทั้ง Onsite และ Online เน้นหนัก ไปที่หลักสูตรการฝึกอบรม หากแต่ปัญหาหนึ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญทำให้เราไม่สามารถเติมทักษะใหม่ให้กับแรงงานไทย ได้อย่างเต็มที่ สิ่งนั้นคือต้นทุนทางเวลา พี่น้องแรงงานที่จำเป็นจะต้องเพิ่มทักษะนี้ส่วนมาก ทำงานหนักแต่มีรายได้น้อย โดยครึ่งหนึ่งจะต้องทำงานเกินเวลา หากจะต้องไปเพิ่มทักษะ จำเป็นจะต้องลดเวลาทำงานลงทำให้เห็นได้ชัดว่าต้นทุนการเพิ่มทักษะทางแรงงานรัฐจะต้อง สนับสนุนไม่ใช่แค่ค่าเล่าเรียนเท่านั้น แต่จำเป็นจะต้องสนับสนุนการสูญเสียรายได้ ที่เป็นต้นทุนสำคัญสำหรับผู้มีรายได้น้อยด้วยค่ะ จากผลสำรวจของ World Economic Forum พบว่า ๓๘ เปอร์เซ็นต์ของแรงงานไทยที่ต้องใช้เวลา Upskill อย่างน้อย ๓ เดือน จึงจะสามารถปรับตัวเข้าสู่ทักษะใหม่ที่จะไปใช้กับงานในอนาคตได้ อย่างหลักสูตรการพัฒนา ฝีมือแรงงานเอง ฝึกอบรม ๓-๘ เดือนเลยกว่าจะเพิ่มทักษะแล้วมีผล แรงงานต้องลงทุน ยอมเสียรายได้ขนาดใหญ่ ถ้าจะให้พูดถึงพี่น้องแรงงานในสมุทรปราการของดิฉันเองที่ดิฉัน ได้เคยสัมผัส ดิฉันพบว่าเช้าต้องตื่นตีห้า ๖ โมงไปทำงาน เย็นเลิกงานกลับบ้าน ๑-๒ ทุ่มแล้ว ทำงานไป ๖ วันต่อสัปดาห์ จะเอาเวลาที่ไหนมาเพิ่มทักษะให้ตัวเอง เวลานอนยังไม่พอเลย นี่ยังไม่รวมถึงต้องเร่งทำ OT เพื่อได้ค่าล่วงเวลามาให้พอกินพอใช้ ส่งลูกไปเรียนอีก ไหนจะแรงงานหลายวันที่รับค่าตอบแทนแบบหาเช้ากินค่ำอีก นี่คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่แรงงาน จะหาเวลามาฝึกทักษะเพิ่มเติม หากรัฐมองว่าการเพิ่มทักษะให้แรงงานเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งเร่งด่วน และเป็นสิ่งจำเป็น เราจำเป็นจะต้องไปมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน และปิดช่องโหว่ด้านต้นทุนเวลานี้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการชดเชยรายได้ หรือกำหนดให้ เป็นนโยบายกฎหมายให้ผู้ประกอบการจัดสรรเวลาเพื่อพัฒนาทักษะแรงงานเพิ่มเติม
สุดท้ายนี้ค่ะท่านประธาน ดิฉันคาดหวังว่าคณะกรรมาธิการชุดนี้จะเป็นกลไก สำคัญกลไกหนึ่งที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานไทยเพื่อพัฒนาทักษะแรงงานไทยให้เท่าทัน กับโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว เพิ่มอัตราจ้างงานให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เพิ่มผลิตภาพ ที่สูงขึ้นด้วย เพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งระบบ และลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม วันนี้ดิฉันยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เพื่อน ๆ สมาชิกเห็นปัญหานี้ร่วมกันว่าการขาดทักษะของแรงงานไทย เป็นปัญหาสำคัญ ดิฉันอยากฝากคณะกรรมาธิการชุดนี้ด้วยนะคะว่าจะไม่มองข้ามต้นทุน ทางเวลาที่รัฐจำเป็นต้องเป็นเจ้าภาพในการเข้าไปลงทุนแล้วไม่ผลักภาระให้แรงงานไทย ต้องขวนขวายหาความรู้กันตามยถากรรมของตัวเอง ขอบคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมุทรปราการ เขต ๑ อำเภอเมือง ตำบลไทยบ้าน ปากน้ำ บางเมือง บางโปร่ง บางด้วน พรรคก้าวไกลค่ะ ดิฉันขอมีส่วนร่วม ในการอภิปรายสนับสนุนร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่เสนอโดยคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ท่านประธานคะดิฉันเชื่อว่าหัวใจสำคัญของการยกระดับรัฐสภาไทย คือการทำให้ รัฐสภาเป็นพื้นที่ของประชาชน การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างกว้างขวางในทุกระดับเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ รัฐสภาที่ดิฉันใฝ่ฝันถึงต้องเป็นรัฐสภาที่ยืนยัน ว่าพวกเราทุกคนคือผู้ที่มีศักยภาพในการออกแบบกติกาสังคม และมีสิทธิอันชอบธรรม ที่จะใช้อำนาจตามเจตจำนงของตนเองเพื่อผลักดันวาระต่าง ๆ ที่สำคัญได้ ดิฉันจึงขอ สนับสนุนให้มี Fast Track กฎหมายประชาชนค่ะ และเพิ่มสิทธิประชาชนในการเสนอญัตติ เข้าพิจารณา เพื่อที่จะทำให้รัฐสภาไทยก้าวหน้า โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเป็นสภาของประชาชนอย่างแท้จริง ดิฉันขออ้างอิงจากความเห็นของท่านประธานสภา วันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่แถลงต่อสื่อหลังรับตำแหน่งประธานรัฐสภา ท่านประธานเคยได้ กล่าวว่าสภายุคนี้ต้องมีการปฏิรูป ต้องมีการแก้ไขระเบียบและวิธีปฏิบัติ เพื่อให้มีการรับฟัง สิ่งที่เสนอจากประชาชนมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าร่างข้อบังคับการประชุมฉบับนี้ มีสาระสำคัญ ที่สอดคล้องกับคำพูดและนโยบายของท่านประธานที่เห็นได้ชัดเจนมากอยู่ ๒ ข้อ ๑. คือร่าง ข้อ ๓ กำหนดให้ พ.ร.บ. ที่ประชาชนเป็นผู้เข้าชื่อเสนอนั้นถือเป็นเรื่องด่วน และ ๒. คือร่าง ข้อที่ ๘ ที่เปิดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ คนสามารถเข้าชื่อเสนอญัตติเข้าพิจารณา ในรัฐสภาได้ หากเพื่อนสมาชิกท่านใดมีข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใดสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ จึงควรจะต้องมีข้อบังคับที่กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนเป็นผู้เข้าชื่อเสนอนี้ ถือเป็นเรื่องด่วน ดิฉันอยากให้ลองย้อนไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นในสภาชุดที่แล้วค่ะ ท่านประธานคะ ในสมัยสภาชุดที่ ๒๕ มีประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายเข้ามาพิจารณากว่า ๔๐ ฉบับ มีทั้งถูกบรรจุวาระ ได้รับการพิจารณาและถูกปัดตก มีทั้งที่ยังไม่ได้รับการบรรจุ วาระเพราะอยู่ในขั้นการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ แต่ที่แย่ที่สุดค่ะท่านประธาน มีหลายร่าง กฎหมายของประชาชนที่ได้รับการบรรจุวาระแล้ว แต่ไม่ได้รับการพิจารณาสักที เพราะถูก ญัตติอื่น โดยเฉพาะญัตติที่เสนอมาจากรัฐบาลเข้ามาแทรก เนื่องจากไม่มีกลไกใดมากำหนด ว่าการใช้ดุลยพินิจของประธานสภาในการบรรจุวาระการประชุมนั้นต้องให้ลำดับความสำคัญ กับร่างกฎหมายของประชาชนก่อน นี่จึงเป็นที่มาและความสำคัญ ดิฉันเห็นว่าข้อนี้เป็นข้อที่ น่าสนใจและควรจะผลักดัน ยกตัวอย่างในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยคุณพริษฐ์ คนเดียวกันกับที่เสนอร่างข้อบังคับในวันนี้นะคะ เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ Resolution มีประชาชนเข้าชื่อกว่า ๑๕๐,๐๐๐ คน ถูกเสนอเข้าสู่สภาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี ๒๕๖๔ กว่าจะได้รับการพิจารณาค่ะท่านประธาน ต้องรอจนถึงสิ้นปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน ในปีเดียวกันค่ะ หรืออย่างร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๔ เพื่อการกระจายอำนาจปลดล็อก ท้องถิ่น มีประชาชนเข้าชื่อเสนอกว่า ๘๐,๐๐๐ คน ถูกเสนอเข้าสู่สภาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี ๒๕๖๕ แต่กว่าจะได้รับการพิจารณามาพูดคุยกันในสภาต้องรอถึงสิ้นปีเหมือนกันค่ะ ดังนั้น ในประเด็นนี้ดิฉันจึงอยากชวนคิดค่ะว่าการที่ประชาชนทำ Campaign รณรงค์เข้าชื่อเสนอ กฎหมายเข้ามา มันแปลว่าจะต้องเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับประชาชนแล้วใช่ไหมคะ แต่เมื่อ เขายื่นเข้ามาที่สภากลับพบว่าต้องรอไปอีกครึ่งปีกว่าจะรับการพิจารณา มันสมเหตุสมผล แล้วหรือไม่ และจะดีกว่านี้ไหมถ้าหากเราแก้ข้อบังคับให้มีบทบัญญัติที่ให้ความสำคัญกับ ร่างกฎหมายของประชาชนอย่างแท้จริงแบบที่เรามักจะพูดกัน
ข้อต่อมาครับท่านประธาน คือการให้สิทธิผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ คน สามารถเสนอญัตติให้สภาพิจารณาได้ ท่านประธานคะ ถึงแม้การที่ให้ประชาชน เสนอญัตติเข้าสู่สภาพิจารณาไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน แต่ปัญหาที่เป็นสารตั้งต้น และเป็นที่มาของหลักการในเรื่องนี้มีมาอย่างยาวนานแล้วนะคะ ดิฉันอยากให้เพื่อนสมาชิก ลองนึกภาพว่าหากมีพื้นที่ใดมีปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งในพื้นที่ดังกล่าวมีมาอย่างยาวนานเลย แต่นักการเมืองในระดับท้องถิ่นอย่างเทศบาล อบต. อบจ. หรืออย่างระดับประเทศอย่าง สส. ไม่ได้ให้ความสนใจ ไม่ได้ใส่ใจที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อยากจะช่วยสะท้อนปัญหาประชาชน ไปขอความช่วยเหลือจากใครก็ไม่มีใครเหลียวแล พี่น้องประชาชนจะมีกลไกอะไรที่จะแก้ไข ปัญหาของพวกเขา แต่หากข้อบังคับฉบับนี้ผ่านพี่น้องประชาชนในพื้นที่ก็สามารถรวบรวม รายชื่อกันแล้วยื่นปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเข้ามาเองได้โดยตรง ไม่ต้องอาศัย อำนาจอื่น ไม่ก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์ด้วย ที่ใครใกล้ สส. มากกว่าก็มีสิทธิได้นำเรื่องปัญหา ของตัวเองเข้าสู่สภามากกว่า ร่างข้อบังคับนี้จะทำให้บุคคลมีสิทธิใช้อำนาจในรัฐสภาแห่งนี้ อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันค่ะ หรืออาจจะเป็นในกรณีความเดือดร้อนที่ไม่ได้ยึดโยง กับในพื้นที่ แต่เป็นปัญหาเฉพาะกลุ่ม อาจจะยึดโยงกับกลุ่มอาชีพ เช่น ปัญหาของพี่น้องประมง พี่น้องเกษตรกร พี่น้องแรงงาน หรือกลุ่มนักเรียนนักศึกษาก็สามารถรวบรวมรายชื่อกัน เสนอญัตติของเขาเข้ามาในรัฐสภาแห่งนี้พิจารณาได้ทันที นี่คือการเพิ่มความยึดโยงของ ประชาชนที่มีต่อสภาผู้แทนราษฎร และเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองที่ไม่ใช่ แค่หย่อนบัตรในคูหาเลือกตั้งแล้วก็จบกันไป นี่เป็นเพียงบางข้อเท่านั้นนะคะท่านประธาน ที่ดิฉันให้ความสนใจ ยังรู้สึกมีความหวังและเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะทำให้ รัฐสภาไทยตอบโจทย์โลกยุคสมัยที่เปลี่ยนไปขณะนี้ หากข้อเสนอของเพื่อนสมาชิกถูกนำไป พิจารณาต่อในวาระต่อไป ดิฉันมั่นใจว่ารัฐสภาไทยจะก้าวหน้าไปมากกว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา อย่างแน่นอน จากที่กล่าวมาทั้งหมดดิฉันมั่นใจว่ามีน้ำหนักมากเพียงพอต่อการเรียกร้อง ให้เพื่อนสมาชิกรวมกันยกมือเห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรฉบับนี้ เพราะท้ายที่สุดแล้วหากเราเชื่อมั่นกันอย่างจริงจังว่าที่นี่คือสภาผู้แทนราษฎร พวกเรา ในฐานะผู้แทนราษฎรก็ควรจะให้ความสำคัญกับพี่น้องประชาชนอย่างจริงใจด้วยการเปิดพื้นที่ ให้เสียงของพวกเขาถูกได้ยิน เพราะนี่คือเสียงของเจ้าของอำนาจอธิปไตย เจ้าของประเทศ ตัวจริง ขอบคุณค่ะท่านประธาน
เรียนประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉัน ขอมีส่วนร่วมในการอภิปราย ญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้ คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชน ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเสนอโดยเพื่อนสมาชิกพริษฐ์และพรรคก้าวไกล ท่านประธานคะ รัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง ของประเทศ หากเราอยากมีกระดูกสันหลังที่แข็งแรงสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือที่มา เนื้อหา และกระบวนการ เมื่อเราพูดถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สิ่งที่จะเป็นที่ยอมรับ ของทุกฝ่ายแล้วมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยสูงสุด เราจำเป็นต้องเน้นย้ำในหลักการ ว่าอำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นต้องเป็นของประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุด ในประเทศนี้ ดังนั้นในการที่อภิปรายนี้ดิฉันมีอยู่ ๒ ประเด็นด้วยกัน
ประเด็นแรก การกำหนดกรอบเนื้อหาในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จากการที่คุณภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไข ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กล่าวว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในครั้งนี้จะไม่แตะต้องเนื้อหาในหมวด ๑ และหมวด ๒ อย่างแน่นอน ดิฉันมีความกังวลใจและจำเป็นต้องอภิปรายถึงประเด็นดังกล่าว เพราะดิฉันเห็นว่าเราไม่ควร กำหนดกรอบเนื้อหาไปเสียก่อน แต่ให้เป็นหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญในการออกแบบ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับนะคะ ซึ่งหากท่านมีความกังวลใด ๆ ในมาตรา ๒๕๕ ในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ก็ได้กำหนดกรอบไว้แล้วว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็น รายมาตราหรือทั้งฉบับต้องไม่กระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และไม่กระทบกระเทือนต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ หากจะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ผ่านมาการยกร่างธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ไม่เคยมีใครกำหนดเงื่อนไขแบบนี้
ประเด็นที่ ๒ ที่มาและกระบวนการต้องมีความยึดโยงกับประชาชน รัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใดไม่ได้วัดกันเพียงแค่เนื้อหาเท่านั้น แต่ต้องวัดกันที่ต้นน้ำคือที่มาและกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย หากจะกล่าวถึง รัฐธรรมนูญฉบับที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีที่มาที่เป็นประชาธิปไตยสูงสุด เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชนก็คงต้องกล่าวถึงรัฐบาลฉบับปี ๒๕๔๐ ซึ่งมีภาพที่สะท้อนที่มาของความเป็น ประชาธิปไตยอย่างชัดเจน เนื่องจากมีการร่างรัฐธรรมนูญโดย สสร. ที่มาจากตัวแทน ของประชาชนทั้ง ๗๖ จังหวัด จังหวัดละ ๑ คน เลือกโดยรัฐสภา แล้วก็มีตัวแทนนักวิชาการ มีผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง คัดเลือกโดยสถาบันอุดมศึกษาแล้วให้รัฐสภาเลือกอีกทีหนึ่ง โดยมีจำนวนทั้งสิ้น ๙๙ คน เราก็จะเรียกสภาชุดนี้ว่ามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม เพราะรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นคนคัดเลือกในด่านสุดท้าย รัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดก็จริง แต่สิ่งเหล่านี้ ก็เป็นเพียงอดีตไปแล้ว จากวันนั้นจนถึงวันนี้ผ่านมา ๒๖ ปีแล้ว หากวันนี้เราต้องการ รัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดซึ่งหมายถึงดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ ด้วย การนำเอาอดีต มาเป็นบรรทัดฐานก็คงไม่เพียงพอ เราต้องเรียนรู้อดีตเพื่อเข้าใจปัจจุบันและสร้างสรรค์ อนาคตใหม่ หากเราต้องการรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีกว่าเดิม แต่เรายังคงทำแบบเดิม ผลลัพธ์ ไม่มีทางเปลี่ยนไปจากเดิมเลย ฉะนั้นวันนี้กระบวนการการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ จะต้องเป็นเพียงบรรทัดฐานขั้นต่ำที่สุดเท่านั้นที่เราจะนำมาปฏิบัติกันนะคะ
วันนี้เราต้องมีกระบวนการที่ยึดโยงกับประชาชนมากกว่านั้น วันนั้นมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม วันนี้ถึงเวลาแล้วที่ สสร. จะต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ ประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะมีตัวแทนที่สะท้อนทุกชุดความคิด ความเชื่อ ความเป็นอยู่ ของประชาชนที่มีอยู่ในสังคมอย่างแม่นยำ โดยไม่ผูกขาดการกำหนดกฎเกณฑ์ชีวิตของคน ทั้งประเทศเอาไว้ที่คนเพียงกลุ่มเดียว ให้ทุกคนมีส่วนในการรับผิดชอบ ให้ทุกคนออกแบบ อนาคตของตัวเองร่วมกัน ดิฉันเองก็ต้องการหลักประกันเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะมีตัวแทน คนจนแบบดิฉันเข้าไปร่วมร่างกฎหมายใหม่ของประเทศไทยด้วย พี่น้องบางกลอยเองก็อยากได้ ตัวแทนที่มั่นใจว่าจะเป็นตัวแทนพี่น้องชาติพันธุ์ที่ไม่มองข้ามปัญหาของพวกเขาเผชิญหน้ากัน อยู่เข้าไปร่วมร่างด้วย เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะปิดช่องรัฐประหาร ปกป้องเสียงของพี่น้องประชาชน ปกป้องสิทธิเสรีภาพ ยุติการสืบทอดอำนาจ คสช. หรือพี่น้องทั่วประเทศจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเราจะได้โอกาสจากการกระจายอำนาจปลดล็อก ท้องถิ่น หากเราไม่ได้มีโอกาสในการเลือกตัวแทนด้วยตัวเอง กล่าวคือหากท่านหวงแหนสิ่งใด ท่านก็ควรจะต้องมีตัวแทนเข้าไปรักษาประโยชน์สูงสุดของสิ่งนั้น นี่คือเหตุผลสำคัญที่สุดว่า ทำไม สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งของพี่น้องประชาชน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพื่อสร้าง ความชอบธรรมในการออกกฎหมายใหม่ กฎหมายแม่ที่จะเป็นตัวบังคับใช้กับคนทั้งประเทศ สิ่งที่เราจะต้องทำในวันนี้ก็คือให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือก สสร. แสดงความคิดเห็น นำเสนอสิ่งที่ต้องการ และที่สำคัญที่สุดคือออกเสียง ประชามติ ยิ่งประชาชนมีส่วนร่วมมากเท่าไร ความเป็นประชาธิปไตย ความชอบธรรม ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีมากเท่านั้น ซึ่งกระบวนการสำคัญที่จะยืนยันว่าประชาชนทุกคน มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็คือการทำประชามติ เพื่อสอบถามความเห็นจากเจ้าของอำนาจตัวจริงใช่ไหมคะ สิ่งที่เราจะต้องให้ความสำคัญ อย่างยิ่งก็คือการกำหนดคำถามในการทำประชามติที่จะเปรียบเสมือนการกำหนดกรอบว่า กระบวนการและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะมีแนวทางไปในทิศทางไหน คำถาม ต้องชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่มีพื้นที่ให้ปิศาจไปซ่อนไว้ในรายละเอียด พรรคก้าวไกล เราเสนอให้ตั้งคำถามในการทำประชามติสอดคล้องกับที่มีพี่น้องประชาชนร่วมกันเข้าชื่อ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ๒๐๐,๐๐๐ กว่ารายชื่อในโครงการ Conforall เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ที่ผ่านมาว่าท่านเห็นชอบหรือไม่ว่าประเทศไทยควรจะต้องมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งฉบับแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบันโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ที่จริงแล้วญัตติแบบนี้พร้อมคำถามเดียวกันนี้ เคยได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้วโดยผู้แทนจากทุกพรรคเห็นตรงกัน เป็นประชามติ เป็นฉันทามติร่วมกันค่ะ ดังนั้นไม่เพียงแต่คณะรัฐมนตรีจะเร่งทำประชามติ เพื่อเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่จำเป็นจะต้องตั้งคำถามในการทำประชามติ อย่างชัดเจนและเป็นหลักประกันว่าเราจะได้รัฐธรรมนูญที่มีที่มาเป็นประชาธิปไตย เพื่อเป็นประตูบานแรกในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ศักราชใหม่ของการเมืองไทยที่ถูกทาง อีกนิดค่ะท่านประธาน สุดท้ายแล้วการยกร่างธรรมนูญฉบับใหม่ครั้งนี้จะต้องไม่ใช่แค่สักแต่ทำแบบขอไปที ต้องทำ ด้วยการยึดหลักการที่ถูกต้องและมีกระบวนการที่ยึดโยงกับประชาชนให้ได้มากที่สุด มิฉะนั้นเราจะมีรัฐธรรมนูญที่เป็นดังกระดูกสันหลังที่คดเคี้ยวบิดเบี้ยวอันเป็นที่น่าทรมาน ทรกรรมของประชาชนไปอีกหลายปี ดิฉันจึงขอรับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกทุกท่าน โหวตเห็นชอบให้กับญัตตินี้เพื่อให้การออกเสียงประชามติครั้งนี้เป็นการฟื้นคืนอำนาจ ในการร่างธรรมนูญใหม่โดยประชาชน เพื่อประชาชน เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ทางการเมืองและคืนความเป็นปกติให้กับประเทศเรา ขอบคุณค่ะ
เรียนประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายสนับสนุนการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตราที่ว่าด้วยสิทธิในการสมรสและสิทธิของคู่สมรสหรือที่เราเรียกกันว่า สมรสเท่าเทียม ก่อนดิฉันจะเข้าเรื่องดิฉันอยากจะเกริ่นถึงการเกิดขึ้นและมีอยู่ของกฎหมายสมรสเท่าเทียม ทั่วโลก ในปัจจุบันมีอยู่ ๓๕ ประเทศที่มีกฎหมายรับรองสิทธิการสมรสนี้ โดยประเทศแรกที่มี กฎหมายนี้คือประเทศเนเธอร์แลนด์ ผ่านร่างกฎหมายในปี ๒๕๔๔ ๒๒ ปีที่แล้วค่ะ จากนั้น ก็มีอีกหลายประเทศตามมา เช่น ประเทศไอซ์แลนด์เมื่อ ๑๓ ปีที่แล้ว ซึ่งมีคู่สมรสคู่แรกก็คือ อดีตนายกรัฐมนตรี ๘ ปีที่แล้วประเทศลักเซมเบิร์กผ่านกฎหมายโดยสภาผู้แทนราษฎร และในเวลาต่อมานายกรัฐมนตรีของประเทศในขณะนั้นก็ได้ใช้สิทธินี้ตามกฎหมายเช่นกัน ประเทศไอร์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผ่านกฎหมายสมรส เท่าเทียมผ่านการทำประชามติของประชาชน ศาลสูงของประเทศสหรัฐอเมริกามีคำวินิจฉัยรับรองสิทธิในการสมรสของคนทุกเพศ ประเทศ ไต้หวันเป็นที่แรกในเอเชียที่มีสมรสเท่าเทียม และล่าสุดค่ะท่านประธาน ประเทศเนปาล เพิ่งผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ทีนี้มองกลับมาที่ประเทศไทยค่ะ ดิฉันไม่อาจทราบได้อย่างแน่ชัดว่าการต่อสู้ของผู้มีความหลากหลายทางเพศเพื่อทวงสิทธิ ขั้นพื้นฐานที่ถูกพรากไปนั้นเริ่มตั้งแต่เมื่อไร ปี พ.ศ. ใด แต่ดิฉันมั่นใจ ไม่ว่ายุคสมัยไหน จะ ๑๐ ปี ๒๐ ปี หรือ ๙๘ ปีที่แล้วนับตั้งแต่มีการประกาศใช้กฎหมายประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์บรรพ ๕ ในปี ๒๔๖๘ ก็คงมีผู้มีความหลากหลายทางเพศรุ่นทวดเราหลายคน ตั้งคำถามว่าทำไมกฎหมายประเทศนี้ถึงไม่รับรองสิทธิของพวกเขาเลย วันนี้ดิฉันจะพา ทุกท่านย้อนเวลากลับไปดู Timeline การต่อสู้เพื่อสมรสเท่าเทียมและการถูกกดทับของผู้มี ความหลากหลายทางเพศตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ๑๔ ปีที่แล้ว เกิดการรวมกลุ่มประท้วง คัดค้านการจัดงานพาเหรด Gay Pride ที่จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ประท้วงมีการใช้ความรุนแรงกับ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ๑๑ ปีที่แล้วมีคู่รักเพศเดียวกันไปจดทะเบียนสมรสแต่ถูก ปฏิเสธ ถึงแม้จะครองรักกันมานานกว่า ๑๙ ปี จึงได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๓ ปีที่แล้ว ปี ๒๕๖๓ พรรคก้าวไกลยื่นร่างสมรสเท่าเทียมเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร และถูกบรรจุในวาระการประชุม เดือนพฤศจิกายน ๒ ปีที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญอ่าน คำวินิจฉัยโดยมติเป็นเอกฉันท์ว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ ที่ให้ สิทธิการสมรสเพียงหญิงชายไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลธรรมนูญยกเหตุผลว่าการสมรส มีจุดมุ่งหมายเพื่อสืบเชื้อสายวงศ์ตระกูล การสมรสของชายหญิงจะเป็นไปโดยธรรมชาติ สอดคล้องตามจารีตประเพณีที่มีมาอย่างช้านาน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด เดือนมิถุนายนปีที่แล้วสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับร่างสมรสเท่าเทียมของพรรคก้าวไกล ในวาระที่ ๑ แต่ร่างสมรสเท่าเทียมก็ได้ตกไปด้วยกลไกตามรัฐธรรมนูญนะคะ
สุดท้ายในวันนี้ค่ะท่านประธาน วันที่ ๑๒๘๑ หลังจากพรรคก้าวไกลนำเสนอ ร่างนี้เข้าสู่รัฐสภาครั้งแรก สมรสเท่าเทียมเข้าสู่วาระการพิจารณาอีกครั้ง พร้อมทั้งร่างฉบับ ของพรรคก้าวไกล ฉบับคณะรัฐมนตรีจากกระทรวงยุติธรรมและประชาชน ทุกท่านจะเห็นได้ ว่าเราสู้เรื่องนี้กันมาอย่างยาวนาน และท่านประธานคะ ในวันนี้ดิฉันไม่ได้พูดในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งเท่านั้น แต่ดิฉันคือเสียงเรียกร้องของผู้มีความหลากหลาย ทางเพศคนหนึ่งที่เชื่อมั่นว่าหลาย ๆ ท่านในที่นี้เข้าใจในหลักการและพร้อมจะปิดฉาก ศตวรรษสังคม ๒ เพศ ที่อนุญาตให้เพียงหญิงชายเท่านั้นที่สมรสกันได้ แล้วมาร่วมกันเปิด ศักราชใหม่ที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งการเชิดชูคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม กันโดยไม่มีเงื่อนไขเรื่องเพศมาเป็นกฎเกณฑ์ขวางกั้น วันนี้จึงไม่ได้มาเพื่อร้องขอค่ะ ท่านประธาน แต่อยากจะมาใช้โอกาสนี้ในการสื่อสารผ่านไปยังหลาย ๆ ท่านที่อาจจะยัง ไม่เห็นด้วย หรืออาจจะยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ทำให้รู้สึกว่าเห็นชอบกับหลักการนี้ไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยความคิดหรือความเชื่อ ทุกท่านค่ะ สมรสเท่าเทียมคือความเท่าเทียมที่ไม่ได้ทำให้ ท่านเสียสิทธิหรือผลประโยชน์ใด ๆ ไม่มีใครต้องเสียอะไรเลยค่ะ ท่านมีสิทธิที่จะเชื่อใน แนวคิดหรือค่านิยมของท่าน แต่ดิฉันขอโอกาสให้สังคมนี้ได้ก้าวเข้าสู่วาระแห่ง การเปลี่ยนแปลง ก้าวเข้าสู่ลู่วิ่งมีเส้นไทยคือสังคมที่ตระหนักถึงการเคารพศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ปฏิบัติกับทุกคนโดยปราศจากอคติทางเพศและเป็นสังคม ที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างดิฉันจะกล้าพูดอย่างภาคภูมิใจว่าดิฉันรักใคร พร้อมกับ การได้รับสิทธิทุกประการเหมือนกันกับคนทุกคู่ไม่ว่าจะเป็นเพศใด เพราะดิฉันเชื่อมั่นเป็น อย่างยิ่งว่าเราทุกคนเท่ากัน อย่างน้อยที่สุดท่านจะไม่ร่วมยินดีกับความรักของดิฉันเพียง สักนิดก็ได้ ขอเพียงไม่ขัดขวางหรือกีดกันสิทธิที่เราควรจะมีเหมือนกันเท่านั้นพอ ดิฉันเชื่อว่า หลาย ๆ ท่านในที่นี้คงจะเห็นสีสันของงาน Pride Month ผ่านตามาบ้าง สวยงามใช่ไหมคะ สังคมแห่งการโอบรับความแตกต่างหลากหลายก็สดชื่นสดใสสวยงามอย่างนั้นเช่นกันค่ะ ขอเพียงอย่าใช้มันเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้นเลย คืนสิทธิความเสมอภาค เท่าเทียมต่อหน้ากฎหมายเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรมให้กับพวกเราด้วย อย่าให้ผู้มี ความหลากหลายทางเพศอย่างดิฉันต้องมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า ดิฉันผิดอะไร ความรักของ ดิฉันมีคุณค่าน้อยกว่าคนอื่นตรงไหน หรือเผลอไปแม้แต่สักวินาทีเดียวที่สงสัยในความเป็นตัว ของตัวเอง อย่างประวิงเวลาไปนานกว่านี้เลยค่ะ ในระหว่างที่เรากำลังรอให้กฎหมายฉบับนี้ ผ่านสภามีผู้มีความหลากหลายทางเพศหลายคนถูกลิดรอนสิทธิในการสมรสอย่างเท่าเทียม ขาดหลักประกันในการใช้ชีวิตคู่ และบางคนก็อาจจะรอนานกว่านี้ไม่ได้แล้วด้วยซ้ำ ดิฉันขอรับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนในที่นี้โหวตเห็นชอบ ในหลักการ คืนสิทธิทุกประการที่ควรจะเป็นของคนทุกคนให้กับพวกเรา ขอบคุณค่ะ
เรียนประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมุทรปราการ เขต ๑ อำเภอเมือง ตำบลท้ายบ้าน ตำบลปากน้ำ ตำบลบางเมือง ตำบลบางโปรง ตำบลบางด้วน พรรคก้าวไกลค่ะ
ในวันนี้ดิฉันจะขอนำ ข้อร้องเรียนของพี่น้องประชาชนหารือต่อท่านประธาน ผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของ Sky Walk ระยะทาง ๖๗๐ เมตร ใจกลางเมืองปากน้ำเชื่อมต่อสถานีไฟฟ้า BTS เชื่อมต่อหอชมเมืองสมุทรปราการ เชื่อมต่อศาลากลางจังหวัดและศูนย์ราชการอื่น ๆ ซึ่งเป็น โครงการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการที่ในปัจจุบันยังไม่เปิดใช้งาน ในวันนี้ ดิฉันเตรียมเรื่องมาหารืออยู่ ๒ ประเด็น
ประเด็นแรก คือเรื่องของความล่าช้าในโครงการนี้ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ มีกำหนดการแล้วเสร็จวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เป็นระยะเวลา ๓ ปี แต่ ณ วันนี้วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๗ เลยกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาของโครงการมาแล้ว ๘ เดือน ก็ยังไม่สามารถเปิดบริการให้กับประชาชนได้ ดิฉันรับทราบว่าโครงการนี้เข้าเงื่อนไข ของกรมบัญชีกลางที่ขยายระยะเวลาการก่อสร้างจากสถานการณ์โควิด แต่จากภาพในสไลด์ค่ะ ท่านประธาน เสร็จเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว ทางเชื่อม Sky Walk ก็จ่อไปถึงจุดต่าง ๆ แล้ว เหลือเพียงรั้วของทางสถานีรถไฟฟ้าที่ยังไม่เปิดให้เชื่อม คำถามคือยังติดปัญหาอะไรคะ ท่านประธาน หรือทาง อบจ. ยังเจรจากับทาง BTS ไม่ลงตัว แล้วทีนี้จะมีกำหนดการส่งมอบ เมื่อไร ประชาชนจะได้รับการชดเชยค่าเสียโอกาสในความล่าช้านี้อย่างไร เพราะโครงการนี้ ใช้งบประมาณสูงถึง ๔๘๕ ล้านบาท กับทางเดินลอยฟ้าระยะทางเพียง ๖๗๐ เมตรนี้ ดิฉันคงไม่ถามถึงความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณภาษีของพี่น้องประชาชนนะคะ ว่ามันสมเหตุสมผลแล้วหรือไม่กับการสร้างทางเดินลอยฟ้าทับทางเท้าที่มีอยู่เดิมแล้ว
ประการที่ ๒ ที่ดิฉันจะพูดถึงคือเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งเป็นปัญหา ต่อเนื่องมาจากความล่าช้า จากภาพในสไลด์ทุกท่านจะเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลาเกือบ ๔ ปี ที่ผ่านมา ในระยะเวลาก่อสร้างมีวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ บนทางเท้า บางจุดมีการปิดล้อมพื้นที่ พี่น้องประชาชนสัญจรไม่ได้ ช่วงนี้ดีขึ้นมาหน่อยมีการคืนพื้นผิวแล้ว หากแต่โครงสร้างของ ตัว Sky Walk มีขนาดใหญ่มาก มันส่งผลให้พี่น้องประชาชนไม่สามารถสัญจรบนทางเท้า ได้ปกติ ทีนี้เดินบนฟ้าก็ยังไม่ได้ เดินบนทางเท้าก็ลำบาก กลายเป็นว่าพี่น้องประชาชน ต้องมาเดินถนนแล้วค่ะ ขอฝากท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินการ ให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนให้ได้ใช้จ่ายจากภาษีงบประมาณ ที่ได้ลงทุนไปกับโครงสร้างนี้ ขอบคุณค่ะ
เรียนประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกลค่ะ วันนี้ขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่อง การทบทวนมาตรการการอารักขา ถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จ ที่เพื่อนสมาชิกจากพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรค ประชาธิปัตย์ได้เสนอเข้ามาในวันนี้ ท่านประธานคะ ดิฉันเห็นว่าหากจะพิจารณาเรื่อง การถวายความปลอดภัย เราต้องมองอย่างรอบด้านมากกว่าเรื่องการอารักขาขบวนเสด็จ เท่านั้น ดังนั้นอยากจะชวนเพื่อนสมาชิกและสังคมไทยทบทวนประเด็นนี้ผ่านเรื่องราวของ ตะวัน หรือคุณทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ผู้เป็นเจ้าของคลิปบีบแตรและมีปากเสียงกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจบนทางด่วนที่มีขบวนเสด็จ จนเป็นเหตุของญัตติในวันนี้ ซึ่งการอภิปราย ครั้งนี้ดิฉันไม่ได้มาออกความเห็นว่าการกระทำของคุณตะวันอันเป็นเหตุของญัตตินี้นั้น เหมาะสมหรือไม่ ถูกผิดอย่างไร แต่ดิฉันอยากชวนทุกท่านคิดตาม แล้วฝากข้อสังเกตผ่าน ท่านประธานไปยังนายกรัฐมนตรีถึงคำถามสำคัญที่เราทุกคนต้องช่วยกันหาคำตอบร่วมกัน ว่าเราเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร และจะสร้างการจัดการที่เหมาะสมอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิด เหตุการณ์ที่หลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก แรกเริ่มสังคมเห็นชื่อเยาวชนคนนี้ปรากฏในสังคม ในช่วงปลายปี ๒๕๖๔ จากคลิปเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนถีบรถมอเตอร์ไซค์ ของผู้ชุมนุมที่วิ่งมาด้วยความเร็วล้ม และเข้าใช้กำลังรุมทำร้ายร่างกายผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้าย ทราบภายหลังว่าหนึ่งในนั้นคือผู้ถูกกระทำในวันนี้คือตะวัน หลังจากนั้นก็ได้รับรู้ความ เคลื่อนไหวในหน้าสื่ออีกครั้งกับการถือกระดาษสอบถามความคิดเห็น ๑ แผ่นในสถานที่ สาธารณะต่าง ๆ ทั้งในห้าง รถไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งงานปราศรัยของแต่ละพรรคการเมือง ในช่วงเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมา Poll ที่ถามก็จะเป็นคำถามที่เรียบง่ายสอดคล้องกับความ คิดเห็นของเจ้าตัวที่สนใจในบริบทสังคมการเมืองและตัวบทกฎหมาย ก็มีผู้ให้ความสนใจ และมาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนหนึ่ง นอกจากทำ Poll ข้อเรียกร้องหลัก ๆ ของตะวันคือ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เรียกร้องการปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง นำมาสู่การอด อาหารประท้วงในเรือนจำ สู่โรงพยาบาล หน้าศาลฎีกา ทำให้สังคมตั้งคำถามครั้งใหญ่ถึงสิทธิ ในการประกันตัว จนเป็นที่มาของกิจกรรมยืน หยุด ขัง ที่เคยเกิดขึ้นที่เคยเกิดขึ้นพร้อมกัน ในหลาย ๆ พื้นที่ทั่วประเทศ ท่านประธานคะ จากการต่อสู้ที่ดูเหมือนจะเป็นสันติวิธีที่เธอ เลือกกลับทำให้เธอถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจอุ้มไปมากกว่า ๕ ครั้ง ถูกคุมขังในเรือนจำ ๒ ครั้ง
ขออนุญาตค่ะท่านประธาน ในข้ออภิปรายที่ดิฉันกำลังกล่าวถึงนี้ คือแรงจูงใจที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นการตั้ง สมมุติฐานว่าการปิดกั้นการแสดงออกอย่างสันติวิธีนี้ผลักให้ผู้ชุมนุมหรือนักกิจกรรมต้อง เคลื่อนไหวรุนแรงมากขึ้น ซึ่งก็เป็นอันตราย แล้วเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นในสังคมถูกไหมคะ
ขอบคุณค่ะท่านประธาน จริง ๆ แล้วดิฉันมีคำถามที่อยากจะฝากท่านประธานผ่านไปยังเพื่อนสมาชิก แล้วก็ทางรัฐบาล เช่นกันว่า ในเหตุการณ์วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ท่านไม่อยากให้เกิด ดิฉันเองก็ไม่อยากให้เกิด เราต่างกำลังเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา หลาย ๆ ท่าน เพื่อนสมาชิกเสนอให้มีการเพิ่มมาตรการการอารักขาให้เข้มงวดมากขึ้น ดิฉันก็เสนออีกแนวทางหนึ่ง ก็คือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเช่นกัน แล้วนี่อาจจะเป็นหนึ่งใน เหตุผลที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เราไม่อยากให้เกิด ซึ่งจาก Timeline ที่ดิฉันเล่ามาทั้งหมด ท่านจะเห็นได้ว่าการต่อสู้ของตะวันในวันแรกจนถึงตะวันในวันนี้มีท่าทีที่เปลี่ยนไป นั่นเกิด จากการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นในพื้นที่สาธารณะ ในพื้นที่ปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งหากท่านมองเพียงกระพี้ท่านก็จะเห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจ ที่หากเยาวชนคนนี้ยังไม่หยุดดื้อรั้นก็จะต้องกำราบ ปราบปรามไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะยอม แต่ดิฉันอยากชวนให้ทุกท่านมองให้ลึกถึงแก่นแกนของเหตุการณ์นี้ว่านี่คือผลลัพธ์ของ การปิดกั้นการแสดงออกอย่างสันติของประชาชนหรือไม่ เพราะจุดเริ่มต้นของการโดนคดีร้ายแรงของตะวันนี้เกิดจากกระดาษเพียงแผ่นเดียว ที่ทำ Poll เท่านั้นค่ะ ดิฉันคิดว่าเวลานี้ยังไม่สายเกินไปที่รัฐบาลจะจัดการเรื่องนี้ อย่างเหมาะสม สร้างทุกพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น พูดคุย ถกเถียง หากมีความผิดก็ว่าไปตามความผิดตามกฎหมายอย่างเหมาะสมที่ไม่เกินสัดส่วนและ ไม่ตีความรุนแรงเกินกว่าเหตุ ซึ่งบทบาทของนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำของรัฐบาลนั้นสำคัญ มาก ๆ ต่อการบริหารความสัมพันธ์ของประชาชนกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ความสัมพันธ์ ของประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ และรวมถึงแม้แต่ความสัมพันธ์ของประชาชนต่อประชาชนที่มี ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน บทบาทหลักของนายกรัฐมนตรีจะต้องถือธงนำในการแก้ไขปัญหานี้ ไม่ปล่อยให้ความขัดแย้งดำเนินต่อไปจนอาจก่อให้เกิดความรุนแรง แต่ท่าทีของนายกรัฐมนตรี ในช่วง ๒-๓ วันที่ผ่านมาทำให้ดิฉันเกิดความกังวลว่าท่านอาจจะกำลังจำกัดพื้นที่สนทนา เรื่องนี้ให้แคบลงไปกว่าเดิม และอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางลบมากกว่าเดิม ท่านประธานคะ หากท่านได้ลองสำรวจความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนในช่องทางต่าง ๆ ท่านจะเห็นว่า เวลานี้อาจจะไม่ใช่แค่ตะวันที่รู้สึกอัดอั้นตันใจ อาจจะมีหลายคนที่ยังมีคำถาม มีข้อคิดเห็น หรือแม้แต่คนที่มีแนวคิดขัดแย้งกับตะวันอย่างสิ้นเชิงก็ต่างไม่มีพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยกัน สิ่งที่ดิฉันกังวลที่จะทำให้เหตุการณ์นี้บานปลายขึ้น คือการเกิดขึ้นของขบวนการเก็บตะวัน ที่มีการ Post ขู่ฆ่าฝ่ายที่คิดต่างกับตัวเองอย่างเปิดเผย นี่เป็นโจทย์เร่งด่วนที่รัฐบาลต้องแก้ไข อย่างมีวุฒิภาวะ ดิฉันเชื่อว่าเราคงไม่อยากให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เงียบเชียบ ที่ทุกคนไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอะไร ออกมาพูดก็ถูกจับกุมคุมขัง เจอกับนิติสงคราม ถูกทำร้าย ร่างกาย ถูกทำให้ตาย ทั้งที่จริง ๆ แล้วสังคมประชาธิปไตยต้องยอมรับความแตกต่าง หลากหลายทางความคิดค่ะ มีพื้นที่ให้ผู้คนแสดงออกอย่างปลอดภัยภายใต้ความยุติธรรม ต่อหน้ากฎหมายเดียวกัน หากเราลดช่องว่างระหว่างความไม่เข้าใจกันของแต่ละฝ่ายจะทำให้ สังคมนี้เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น พูดคุย ถกเถียงกันได้มากขึ้น ดิฉันคิดว่า ตอนนี้ยังไม่สายเกินไปที่รัฐจะจัดการเรื่องนี้อย่างเหมาะสม จริงใจ สร้างสมดุลระหว่าง การรับฟังความคิดเห็น คำวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนกับการถวายการอารักขา ถวายความ ปลอดภัยคุ้มครององค์พระมหากษัตริย์ ถอดบทเรียนจากหลายเหตุการณ์ในอดีตจนถึง ปัจจุบัน อย่าขีดเขียนประวัติศาสตร์หน้าเดิมซ้ำ ๆ จนกลายเป็นรอยแผลร้าวลึกในความทรงจำ ของเราทุกคนอีกเลยค่ะ สุดท้ายนี้ตะวันเป็นเพียงภาพสะท้อนของประชาชนที่มีชุดความคิด ที่ไม่ถูกรับฟัง ไม่ได้รับการตอบสนองและไม่มีพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็น ปลายเหตุของการสะสมความไม่พอใจต่อระบบนี้เท่านั้น ขอฝากท่านประธานผ่านไปยัง นายกรัฐมนตรี ไม่เพียงแต่ทบทวนปรับปรุงมาตรการการรักษาความปลอดภัย แต่ต้อง แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เพื่อให้ความขัดแย้งหรือความเห็นต่างได้รับการรับฟังอย่างมีวุฒิภาวะ ได้รับการแก้ไขเพื่อยุติความขัดแย้งรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไม่ให้บานปลายไปมากกว่านี้ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขอบคุณค่ะ
ขออนุญาตค่ะท่านประธาน ขออนุญาตสักครู่นะคะ เมื่อสักครู่มันกดไม่ติด ขออนุญาตบันทึกไว้ได้ไหมคะ พนิดา มงคลสวัสดิ์ ๒๓๗ เห็นชอบค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ