นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่ เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๒ นครสวรรค์

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖ สมาคมการค้าพืชไร่ โดยนายพรเทพ ปู ประเสริฐ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนมาที่ผมถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ที่ผลผลิตกำลังจะออกสู่ตลาด ปัจจุบันนี้โรงงานอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ได้ประกาศหยุด รับซื้อข้าวโพดที่ผลผลิตกำลังจะออกสู่ตลาดโดยไม่มีเหตุผลและไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ทำให้ เกษตรกรที่กำลังเก็บเกี่ยวข้าวโพดไม่มีที่ขาย หรือมีที่ขาย แต่ก็ขายได้ในราคาถูก ทำให้ เกษตรกรเกิดการเสียหายหรือขาดทุนในการทำการเกษตร สาเหตุเกิดจากการนำเข้าวัตถุดิบ ทดแทน เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ DDGS หรือที่เรียกกันว่ากากข้าวโพด การนำเข้าข้าวโพด จากประเทศเพื่อนบ้านเป็นจำนวนมากในช่วงที่เกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยว เป็นสาเหตุให้โรงงาน อุตสาหกรรมอาหารสัตว์หยุดรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรที่กำลังออกสู่ตลาด ทำให้ราคา ตกต่ำและขาดทุน เหตุการณ์การนำเข้าข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านจากอดีตเป็นการนำเข้า ของผู้ประกอบการรายย่อย หรือตามตะเข็บชายแดน หรือการค้าแบบบ้านพี่เมืองน้อง แต่ปัจจุบันเป็นการนำเข้าจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ครั้งละเป็นจำนวนมาก ๆ ทำให้ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารสัตว์หยุดรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรภายในประเทศ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ถนนตั้งแต่ 7-ELEVEN แยกตำบลบางประมุงถึงตำบลโกรกพระ โรงเรียนโกรกพระ ตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ไม่มีไฟส่องสว่าง ถนน ๔ เลนสร้างเสร็จมาเป็นเวลานาน แต่ไฟส่องสว่างไม่มีเลย ช่วงอื่น ๆ ติดตั้งหมดแล้ว ประชาชนพี่น้องกลับบ้านกลางค่ำกลางคืนเกิดอันตราย แสงสว่างไม่มีตลอดทาง พี่น้องฝาก ขอความช่วยเหลือมาครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ พี่น้องหมู่ที่ ๘ ตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ ได้ร้องเรียนมาว่า ถนนหมู่ที่ ๘ ตำบลยางตาล พังเสียหายมาเป็นเวลานานมากแล้ว พี่น้องประชาชนสัญจร ไปมาทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาอุบัติเหตุเกิดกับประชาชนบาดเจ็บ สาหัส พี่น้องได้ฝากร้องเรียนมานะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ พี่น้องประชาชนหมู่ที่ ๒ ตำบลโกรกพระ อำเภอโกรกพระ ต้องฝาก ขอบพระคุณการประปาส่วนภูมิภาค จังหวัดนครสวรรค์ ที่ได้ขยายเขตให้เรียบร้อยแล้ว และจัดเสร็จภายใน ๑๒๐ วัน ผมขอขอบคุณแทนพี่น้องหมู่ที่ ๒ ตำบลโกรกพระ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์อีกครั้งหนึ่ง ปัญหาทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้นฝากประธานสภานำปัญหา ที่เกิดขึ้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้รีบแก้ไขปัญหานี้โดยด่วน เพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่มีผลกระทบดังที่กล่าวมา รวมถึงพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในจังหวัดนครสวรรค์ และทั่วประเทศโดยด่วนครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๖ ได้มีตัวแทนจาก ๔ องค์กร ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อย แห่งประเทศไทย สมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย รวมทั้ง ๓๗ สถาบัน ต้องขออภัย อีก ๓๗ สถาบันที่ไม่ได้เอ่ยนามนะครับ ได้มีตัวแทนนายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ เลขาธิการ สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๘ จังหวัดกำแพงเพชร นายรัชชาพงษ์ ด้วงสั้น นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๑๑ จังหวัดนครสวรรค์ นายอำนวย กลิ่นสอน เลขานุการนายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๑๑ นายประทีป อ้นโต กรรมการสมาคม ชาวไร่อ้อยสี่แคว จังหวัดนครสวรรค์ นายไฉน เที่ยงพลับ กรรมการชาวไร่อ้อยสี่แคว จังหวัดนครสวรรค์ นายมารุต เกตุสวาสดิ์ กรรมการสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๕ จังหวัดสิงห์บุรี นายสมพงษ์ ฉัตรชัยรัตนเวช นายประจวบ พวงสมบัติ เกษตรกร ได้เข้ามายื่นหนังสือหารือ ถึงปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดนครสวรรค์และทั่วประเทศ ที่ปลูกอ้อยได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ประชุมเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ มีมติรับทราบและอนุมัติในหลักการ โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่ตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ในอัตราตันละ ๑๒๐ บาท โดยได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ จากรัฐบาลเพื่อลดต้นทุนในการตัดอ้อยสดให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย ๒ ฤดูการผลิต ได้แก่ ปีการผลิต ๒๕๖๔/๒๕๖๕ และการผลิต ๒๕๖๕/๒๕๖๖ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การช่วยเหลือในการตัดอ้อยสดไปอีก ๒ ฤดูคือ ปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ และปีการผลิต ๒๕๖๕/๒๕๖๖ ในฤดูแรก คือฤดูการผลิตของ ปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ที่ตัดอ้อยสดแล้ว ในอัตราตันละ ๑๒๐ บาท ส่วนในฤดูการผลิตของปี ๒๕๖๕/๒๕๖๖ นั้น หลังจากสิ้นสุดหีบอ้อยแล้วในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๖ เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ยังไม่ได้รับการชดเชย ช่วยเหลือจากรัฐบาลตามโครงการที่ผมกล่าวมาข้างต้น ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเดือดร้อน เนื่องจากได้สำรองจ่ายค่าแรง ค่าตัดอ้อยสดให้กับคนงานไปแล้วนั้น อีกทั้งเกษตรกร ยังต้องแบกรับภาระกู้เงินมาจ่ายค่าแรงงานตัดอ้อยสดที่เพิ่มขึ้นพร้อมทั้งเสียดอกเบี้ย โดยในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๖ ผู้แทน ๔ องค์กรชาวไร่อ้อยได้ขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อนำปัญหาเสนอช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสด เพื่อลดฝุ่น PM2.5 ในอัตราตันละ ๑๒๐ บาท ต่อมา ๔ องค์กรชาวไร่อ้อยดังกล่าวได้นำเรียนปัญหา ที่เกิดขึ้นต่อปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้ท่านนำเรียนเรื่องดังกล่าวเสนอคณะกรรมการ อ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อพิจารณาและนำเสนอรัฐบาลดำเนินการจัดสรรงบประมาณ ช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเข้าโรงงานปีการผลิต ๒๕๖๕/๒๕๖๖ โดยเร่งด่วน ซึ่งเกษตรกรมีความเข้าใจว่าจะจ่ายเงินให้เร็วเหมือนปีการผลิต ๒๕๖๔/๒๕๖๕ เกษตรกร ได้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหา ฝุ่น PM2.5 ถ้ารัฐบาลขาดการส่งเสริมให้ เกษตรกรตัดอ้อยสดจะทำให้เกิดปัญหาอ้อยไฟไหม้เพิ่มขึ้น ซึ่งอ้อยไฟไหม้นั้น เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวในช่วงฤดูการตัดอ้อย ทำให้เกษตรกร ถูกมองว่าไม่รับผิดชอบต่อสังคม ทั้งที่อ้อยไฟไหม้นั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่ผ่านมา เกษตรกรพยายามร้องเรียนผ่านตัวแทนต่าง ๆ แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับจากภาครัฐ ทั้งที่เกษตรกรทำตามนโยบายของรัฐบาล แต่ภาครัฐกลับจะใช้มาตรการทางกฎหมายกับ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ซึ่งไม่ได้ให้ความเป็นธรรมกับเกษตรกร เช่นอ้อยไฟไหม้ จากเดิม ตัดราคาตันละ ๓๐ บาท แต่กลับตัดราคาเพิ่มเป็นตันละ ๙๐ บาท ซึ่งเป็นภาระกับเกษตรกร อีก หน่วยงานราชการกลับเพิกเฉยไม่พูดถึงว่าจะดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรเมื่อไร กลายเป็นสร้างเงื่อนไข สร้างภาระให้เกษตรกร ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา สมาคมชาวไร่อ้อย ทั้ง ๓๗ สมาคมและ ๔ องค์กร พร้อมทั้งเกษตรกรชาวไร่อ้อยอีก ประมาณ ๒,๐๐๐ คน ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย โดยมีนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยในขณะนั้น ได้มารับหนังสือแทนท่านนายกรัฐมนตรี และให้กำลังใจตัวแทนเกษตรกรด้วยตนเอง ดังนั้นขอให้รัฐบาลดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยที่ปฏิบัติตามนโยบาย ของรัฐบาลโดยเร่งด่วน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ในจังหวัดนครสวรรค์ และทั่วประเทศที่ปลูกอ้อยและตัดอ้อยสดตามนโยบายของรัฐบาล ขอฝากเป็นเรื่องของนโยบายรัฐบาลใหม่ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ จากภาวะวิกฤติภัยแล้ง เห็นได้ว่าถึงแม้ข้าวโพดจะผลิตออกมาได้ ไม่มากเท่าที่ควร แต่ราคาข้าวโพดกลับลดลงต่ำทุก ๆ วัน ตาม Slide ที่ให้เพื่อนสมาชิก ได้รับทราบดูนะครับ จากการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนตามมาตรการ ๓ ต่อ ๑ ซึ่งมีการนำเข้า วัตถุดิบทดแทนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาข้าวโพดของเกษตรกรตกต่ำลงตามที่เกษตรกร ได้ร้องเรียนมา เพราะการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนนั้น เป็นการนำเข้าช่วงที่เกษตรกร กำลังเก็บเกี่ยว อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเรื่องมาตรการ ๓ ต่อ ๑ นำเข้านั้น สอดคล้องกับความเป็นจริงของฤดูการผลิตหรือเปล่า กราบขอบพระคุณท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผมเห็นโครงการที่เราอภิปรายกันถือว่าเป็นเรื่องที่ดี อยากเรียนถามว่า ที่ของจังหวัดนครสวรรค์มีตัวอย่างบ้างหรือเปล่า ตามนโยบายเห็นมีจังหวัดละ ๑ พื้นที่ ถ้าของนครสวรรค์ไม่มีก็อยากจะเสนอให้ไปลองดูตัวอย่างที่อำเภอพยุหะคีรี หรืออำเภอ โกรกพระก็ได้นะครับ เพื่อการพัฒนาเมืองหรือการพัฒนาของจังหวัดเราให้ดียิ่งขึ้นก็คงจะ ฝากเท่านี้ กราบขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ที่ผมจะขอหารือ ถนนสายเนินศาลา-โกรกพระ ตั้งแต่โรงเรียนคลองม่วงถึงตัวอำเภอโกรกพระ หรือที่เรียกกัน ติดปากว่าถนนสายอำเภอโกรกพระ-อำเภอทับทัน เป็นถนนเส้นหลักพังเสียหายมาก เวลาสัญจรไปมาทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน เป็นอย่างมากครับ ขอให้ขยายเป็น ๔ ช่องทางจราจร เพราะปัจจุบันการสัญจรไปมาของ ผู้ใช้รถใช้ถนนมีจำนวนมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ มีผู้ร้องเรียนขอให้เปิดช่องทางระบายน้ำบริเวณทางหลวง หมายเลข ๓๐๐๕ สายโกรกพระ-นครสวรรค์ ช่วงสะพานคลองบางปลาไหล เนื่องจาก มีน้ำท่วมขังจากการขยายผิวจราจรทำให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เวลาฝนตกจะมีน้ำท่วมขัง ไม่มีทางระบายน้ำ แขวงทางหลวงนครสวรรค์ที่ ๑ ได้ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงและได้ทำบันทึกร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ แต่จนถึงบัดนี้ ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๖ ผมได้ลงพื้นที่เยี่ยมพี่น้องประชาชน หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลโกรกพระ และได้รับหนังสือร้องเรียนไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้เป็นเวลานาน ๓๐ ปี และได้ยื่นหนังสือถึงหน่วยงานทางจังหวัดยังไม่ได้รับความช่วยเหลือแต่อย่างใด ทำให้ พี่น้องประชาชน หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลโกรกพระ ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ที่อยู่อาศัย รวมถึงการทำการเกษตรครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ กำนันตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ แจ้งว่ามีบ้านเรือนเพิ่มขึ้น จำนวนมากทำให้ไฟฟ้าตกและดับบ่อย เครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความเสียหาย มีเสาไฟฟ้า มากองไว้ ๒ ปีแล้วแต่ยังไม่มีการดำเนินการขยายเขต ขอให้ไฟฟ้าเร่งดำเนินการแก้ไข เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนตำบลบางประมุงด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบพระคุณการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอพยุหะคีรี ที่ส่งเจ้าหน้าที่คุณต้อม ไปดูแลแก้ไขปัญหาให้พี่น้องตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๒ และหมู่ที่ ๑๓ เรียบร้อยแล้ว ขอบพระคุณแทนพี่น้องประชาชนครับ กราบขอบพระคุณ ท่านประธานสภามากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธานสภา ที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย เรื่อง ขอยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอปากน้ำโพ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ ด้วยพระราชกฤษฎีกา เขตหวงห้ามที่ดินอำเภอปากน้ำโพ ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช ๒๔๗๙

    อ่านในการประชุม

  • พระราชกฤษฎีกาได้ประกาศ ครอบคลุมพื้นที่กว่า ๑๐๐,๐๐๐ ไร่เศษ ใน ๙ ตำบล ประกอบด้วย ตำบลหนองปลิง ตำบลพระนอน ตำบลสระทะเล ตำบลเนินมะกอก ตำบลพยุหะ ตำบลย่านมัทรี ตำบลยางตาล ตำบลกลางแดด และตำบลนครสวรรค์ออก ของจังหวัดนครสวรรค์ ประกาศทับพื้นที่ อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ของประชาชนเป็นจำนวนมาก เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียน โรงพยาบาล วัด ปั๊มน้ำมัน ขนาดใหญ่ ร้านค้า การทำการเกษตร ทำไร่ทำนา และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น ปัจจุบัน ที่ดินบางแปลงในเขตประกาศมีเอกสารสิทธิหรือมีโฉนดที่ดิน แต่ที่ดินส่วนใหญ่ในเขต ประกาศไม่มีเอกสารสิทธิที่ดินคือไม่มีโฉนด ชาวบ้านส่วนใหญ่ถือครองใบไต่สวนปี ๒๕๔๙ ออกให้ใหม่สมัยท่านอดีตนายกรัฐมนตรี ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ตามนโยบายแปลงทรัพย์สินเป็นทุน เพื่อจะนำมาออกโฉนดไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถที่จะออกโฉนดที่ดินทำกินได้ เพราะที่ดินอยู่ในเขตประกาศ พระราชกฤษฎีกาหวงห้ามอำเภอปากน้ำโพ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ นครสวรรค์ ตามพุทธศักราช ๒๔๗๙ ทำให้เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตประกาศ พระราชกฤษฎีกา ไม่สามารถทำตามความประสงค์ของตนเองได้ เช่น การขุดสระ หรือการขุดเจาะบ่อบาดาล การปลูกบ้าน และอื่น ๆ หรือการกระทำใดเพื่อดำรงชีพ แม้กระทั่งวัดวาอารามที่สร้างโบสถ์แล้วที่ไม่มีเอกสารสิทธิก็ไม่สามารถประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาได้ เช่น บวชพระ ก็ถือว่าเป็นที่เดือดร้อนของวัดวาอารามต่าง ๆ ที่ได้สร้างโบสถ์ เสร็จแล้ว และที่สำคัญพื้นที่ที่ประชาชนครอบครองประกาศพระราชกฤษฎีกาไม่สามารถ ออกโฉนดได้ ทำให้เศรษฐกิจโดยภาพรวมของอำเภอต่าง ๆ ไม่เติบโตเพราะที่ดินไม่มี มูลค่าเพิ่มและไม่มีเอกสารสิทธิ ที่ผ่านมาชาวบ้านขอความช่วยเหลือจากท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านสุทิน คลังแสง เมื่อวานวันที่ ๔ ตุลาคม พี่น้อง ประชาชน ๓ อำเภอ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอเมืองบางส่วน เช่น ตำบลหนองปิง ตำบลเขาทอง ที่มายื่นหนังสือกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อขอให้ท่านแก้ไขปัญหาจัดการเรื่องพระราชกฤษฎีกาที่มีผลกระทบ กับความเป็นอยู่ ของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ถูกประกาศพระราชกฤษฎีกา เสนอตามขั้นตอนกฎหมาย เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนมีที่ดินทำกิน มีเอกสารสิทธิในที่ดิน หรือมี การออกโฉนดที่ดินมีความสอดคล้องกับความเป็นอยู่จริงของพื้นที่ ณ ปัจจุบัน มีความเป็นธรรม กับประชาชนทุกคน ส่วนทหารถ้ามีความจำเป็นที่จะใช้ที่ดิน ให้แยกเป็นสัดส่วนควบคุม ตามความเหมาะสมที่ส่วนราชการจะใช้พื้นที่นั้น และพื้นที่ส่วนที่เหลือรัฐบาลควรจัดสรร ให้พี่น้องประชาชนที่อยู่มาก่อนที่จะประกาศพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดิน ตามหลักฐาน รูปถ่ายป้ายหินปูนที่แสดงการสร้างถนนและตลาดเขาทอง แล้วก็ยังเป็นวัด ที่ผ่านมา ก็ฝากกราบเรียนท่านประธานสภา ขอให้จังหวัดนครสวรรค์ลองถือเป็น Case study หรือว่า กรณีศึกษาสักจังหวัดหนึ่งว่าปัญหาที่เกิดก็คือเกิดจากการออกพระราชกฤษฎีกา เราลองใช้ อำนาจของรัฐบาลยกเลิกคณะรัฐมนตรี ยกเลิกพระราชกฤษฎีกานี้เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป เพราะว่าถ้าเราไม่ลองศึกษาดูว่าเราใช้มติ ครม. ยกเลิกพระราชกฤษฎีกา พี่น้อง เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเราก็จะมาอภิปรายแล้วก็วนเรื่องเดิม ๆ เราก็ไม่สามารถที่จะ แก้ปัญหาได้ ก็ฝากขอบพระคุณท่านประธานสภาที่เคารพครับ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธานสภา ที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย จากวิกฤติอุทกภัยหรือภัยน้ำท่วมที่ผ่านมาทั้งภาคเหนือ ในหลายจังหวัด เช่น แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก บริเวณลุ่มน้ำยมในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านก็ได้อภิปรายถึงวิกฤติภัยแล้งหรือ El Nino ที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรและประชาชนอย่างมาก เพียงไม่กี่สัปดาห์ก็กำลังเผชิญ ปัญหาใหม่นั่นคือปัญหาน้ำท่วมที่เป็นปัญหาใหญ่ ถ้าเราไม่แก้ไขปัญหาแบบบูรณาการต่อไปน้ำท่วมภาคเหนือก็จะไหลลงมาถึงนครสวรรค์ ซึ่งเป็นแหล่งรวมน้ำของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน หรือเรียกปากน้ำโผล่ เพี้ยนมาเป็นปากน้ำโพจังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้นน้ำเจ้าพระยาทั้งแม่น้ำ ๔ สาย น้ำมา รวมกันในพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงมาถึงจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และ กทม. ล้วนต่างได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำที่ท่วมลงมาจาก ภาคเหนือทั้งสิ้น ซึ่งจังหวัดเหล่านี้ล้วนต่างเป็นทางผ่านของน้ำทั้งสิ้น จากมวลน้ำจะถูกแยก ออกไปยังจังหวัดสิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการระบายน้ำคือ ชลประทานจะระบายน้ำไปยังสิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี น้ำที่ไปแต่ละจังหวัดก็จะเข้าทุ่งนา ลงห้วย หนอง คลอง บึงต่าง ๆ ในส่วนที่เป็นประตูน้ำโรงสูบน้ำขนาดใหญ่กรมชลประทาน ก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนประตูน้ำขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง หรือโรงสูบน้ำขนาดเล็ก หรือแม้กระทั่งประตูระบายน้ำที่อยู่ตามท้องทุ่งหรือคลองต่าง ๆ ค่อนข้างจะเป็นปัญหา อย่างยิ่ง เนื่องจากเมื่อสร้างเสร็จก็จะถ่ายโอนให้ท้องถิ่นดูแลจะเป็นองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล หรือ อบจ. ก็แล้วแต่ แต่กลับไม่ได้รับ การสนับสนุนงบประมาณท้องถิ่นในการซ่อมบำรุงประตูน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ถ้าอยู่ในสภาพปกติดี ก็สามารถช่วยระบายน้ำได้ดี รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับเส้นเลือดฝอยเหล่านี้ เพราะประตูน้ำหรือโรงสูบน้ำเหล่านี้ช่วยระบายน้ำไม่ให้น้ำท่วมและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังได้ ในระดับหนึ่ง แต่ปัจจุบันกลายเป็นว่าเวลาน้ำท่วมจะระบายน้ำเข้าทุ่งประตูน้ำก็ไม่สามารถ ใช้ได้ การเร่งระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาก็ไม่สามารถทำได้ เราเห็นตามข่าวประตูน้ำ หรือโรงสูบน้ำสร้างแล้วไม่ได้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ตามที่เราเคยเห็นข่าวท่านรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงสูบน้ำที่ไม่สามารถใช้งานได้ ผมอยากให้กรมชลประทานหันกลับมาดู ปัญหาเหล่านี้ที่เราสร้างแล้วเราถ่ายโอนให้ท้องถิ่นตาม พ.ร.บ. ถ่ายโอนว่าเราจะแก้ปัญหา อย่างไรดี เพราะวัตถุประสงค์กระทรวงหรือรัฐบาลต้องการให้ท้องถิ่นดูแลสร้างความเข้มแข็ง เพราะประตูน้ำหรือโรงสูบน้ำนั้นไม่ได้ใช้งานเพื่อป้องกันน้ำท่วมหรือระบายน้ำเท่านั้น ประตูน้ำ โรงสูบน้ำ ประโยชน์ที่ได้รับคือช่วยบริหารน้ำให้เกษตรกรชาวนาได้มีน้ำทำนา ทั้งนาปีและนาปรัง สรุปการดำเนินงานก่อสร้างอาคารชลประทานต่าง ๆ เช่น ท่อระบายน้ำ อาคารสถานีสูบน้ำ หลังดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและถ่ายโอนให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ตามภารกิจถ่ายโอนของกรมชลประทานเพื่อให้ท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นผู้ดูแล ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันน้ำท่วม การระบายน้ำหรือสูบน้ำเพื่อทำการเกษตรให้กับ พื้นที่เพาะปลูกในท้องถิ่นและให้ท้องถิ่นจัดเก็บรายได้เพื่อใช้ในการปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุงรักษาสถานีสูบน้ำ ท่อส่งน้ำ เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่มีความสะดวกคล่องตัวในการ สูบน้ำใช้ในการทำการเกษตรหรืออื่น ๆ และเพื่อให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งดูแลตัวเองได้ แต่กลับพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงปล่อยให้อาคารต่าง ๆ ที่ได้รับการถ่ายโอน เสียหาย ไม่สามารถสูบน้ำเพื่อทำการเกษตรหรือทำการระบายน้ำขังได้เวลาน้ำท่วมขัง เมื่อมี การร้องเรียนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นหน่วยงานราชการที่เป็นผู้สร้างให้เข้ามาซ่อมแต่ก็ไม่สามารถ ซ่อมบำรุงได้ เนื่องจากเป็นภารกิจถ่ายโอนและไม่สามารถจัดหางบประมาณสนับสนุนได้นั้น ทำให้เกิดปัญหาปล่อยอาคารรกร้างว่างเปล่าไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ มีปัญหาตั้งแต่ การถ่ายโอนจนถึงปัจจุบัน กรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานโดยตรงที่ก่อสร้างโรงสูบน้ำ ต่าง ๆ ให้เข้ามาดูแลและจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้จะได้ไหมครับ ถึงเราจะมี พ.ร.บ. ถ่ายโอนก็ตาม ควรจะปรับปรุง พ.ร.บ. แก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน รวมทั้งเกษตรกร ที่ทำนาด้วย ทั้งจังหวัดนครสวรรค์และทั้งประเทศที่ประสบปัญหาเรื่องนี้ กราบขอบพระคุณ ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย

    อ่านในการประชุม

  • ขอหารือกับท่านประธานสภา เรื่องการขอให้ยกเลิกคำสั่งเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ งดให้เกษตรกรพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยาเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องหลังการเก็บเกี่ยว ด้วยสำนักงานกรมชลประทาน มีหนังสือถึงอำเภอพยุหะคีรีและอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ บริเวณที่มีพื้นที่ ติดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ขอความร่วมมือเกษตรกรงดปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องหลังการเก็บเกี่ยว เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น กระผมเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวควรยกเลิก รายละเอียดในเอกสาร คาดการณ์ว่าปี ๒๕๖๖ มีปริมาณน้ำฝนใกล้เคียงกับปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ โดยทางการได้เห็น ว่าปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ให้ใช้อุปโภคบริโภค แต่สถานการณ์ในปัจจุบัน ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในบริเวณภาคเหนือมีปริมาณมาก โดยผมเห็นว่าถ้าสามารถบริหาร จัดการน้ำที่ไหลลงมาจากภาคเหนือ จะช่วยให้เกษตรกรมีน้ำใช้ได้อย่างเพียงพอสามารถ ทำนาได้ต่อเนื่องทั้งนาปีถึงปรัง คำสั่งดังกล่าวควรยกเลิกครับ กราบขอบพระคุณ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องพวกเรา ชาวนครสวรรค์

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ เนื่องจากเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๖ โรงเรียนวัดศรีอุทุมพร หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์ ได้ยื่นหนังสือถึงผม เรื่องขอรับการสนับสนุน อาหารกลางวันนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งในจังหวัด นครสวรรค์มีโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจำนวน ๑๑๐ โรงเรียน งบประมาณ อาหารกลางวันจากรัฐบาลนั้นจะสนับสนุนเฉพาะเด็กอนุบาลและนักเรียนประถมศึกษา เท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้จัดสรรงบประมาณให้เด็ก ม. ๑ ถึง ม. ๓ อย่าให้ต้องเป็นภาระครูอาจารย์ ผู้ปกครอง ที่ต้องทอดผ้าป่าเพื่อหาทุนอาหารกลางวันให้เด็ก ๆ เลยครับ ลูกหลานของเราที่จะเป็น อนาคตของชาติ เราควรช่วยพัฒนาเด็กตั้งแต่วันนี้ทั้งเรื่องคุณภาพการศึกษาและอาหารที่ดี ถูกสุขหลักอนามัย จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติอย่างมากในอนาคต กราบขอบพระคุณ ท่านประธานสภาที่เคารพครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย

    อ่านในการประชุม

  • ผมขอขอบคุณทาง กรมชลประทานเรื่องสร้างอาคารบังคับน้ำใช้ตัวที่ ๑ แม่น้ำปิง จังหวัดนครสวรรค์ เนื่องด้วย เกษตรกรตำบลบ้านแก่ง ตำบลหนองกระโดน ตำบลวัดไทรย์ ตำบลเขาดิน ตำบาลหนองกรด มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐,๐๐๐ ไร่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน ได้รับความเดือดร้อนมาเกือบ ๓๐ ปี เวลาเกิดภัยแล้งต้องไปหาแหล่งน้ำที่ไกลถึง ๒๐ กิโลเมตรในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัยและ คลองกระท้อน ต่อมา ๑๐ ปีย้อนหลังได้เกิดโครงการอาคารบังคับน้ำแม่น้ำปิงที่จะนำ น้ำบังคับเข้าคลองเขาดินเพื่อส่งจ่ายให้กับคลองท่าขนมจีน ตำบลอื่น ๆ และตำบลใกล้เคียง แต่ที่ผ่านมาอาคารบังคับน้ำได้ใช้ประโยชน์น้อยมาก ซึ่งในช่วงน้ำหลากช่วงเดือนสิงหาคม เดือนกันยายนทุกปีทำให้อาคารบังคับน้ำตัวนี้ขาดชำรุดเสียหายไม่สามารถบังคับน้ำไหลเข้า คลองเขาดินได้ ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน ต้องหาเครื่องสูบน้ำในบึงเขาดินและเหมืองไฟฟ้า เกษตรกรต้องออกค่าใช้จ่ายเอง ปัจจุบันอาคารบังคับน้ำตัวที่ ๑ แม่น้ำปิงกำลังก่อสร้าง ปรับปรุงให้มั่นคงถาวรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรในระยะยาวต่อไปครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ เนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๖ องค์การบริหารส่วนตำบล นครสวรรค์ตกได้ยื่นหนังสือถึงผม เรื่อง ขอความอนุเคราะห์เสนอพิจารณาปรับเพิ่มอัตรา ค่าจ้างพนักงานทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามประกาศคณะกรรมการกลาง พนักงานส่วนตำบล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ฉบับที่ ๔ ประกาศเมื่อ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๘ ให้ปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนพนักงานจ้าง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ กำหนดให้พนักงานแจ้งทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลได้รับ อัตราค่าตอบแทนพนักงานจ้างอัตราเดือนละไม่ถึง ๑๐,๐๐๐ บาท ฉบับที่ ๒ พนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างและค่าตอบแทนพนักงานจ้างองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพิ่ม เดิมไม่ถึง ๑๐,๐๐๐ บาท ให้ได้รับเป็น ๑๐,๐๐๐ บาทนั้น ท่านประธานครับ ในปัจจุบันค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ มีผลกระทบสินค้าอุปโภคและบริโภคและบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพมีการปรับ ราคาสูงขึ้น ประกอบกับประกาศข้างต้นได้บังคับใช้มาเป็นระยะเวลา ๑๐ กว่าปีแล้ว ซึ่งไม่สอดคล้อง กับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ จึงขอความอนุเคราะห์ ผ่านท่านประธานสภาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด นครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ จากที่ผมได้ลงพื้นที่ รับฟังปัญหาข้อร้องเรียนและปัญหาผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ณ ที่สำนักงานองค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองกรด นำโดยนายฉลอง จำนงค์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด และท่านกำนันบัญชา ชื่นชาติ และผู้ใหญ่ทุกหมู่และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกท่าน ปัญหาขอขยายเขตประปาส่วนภูมิภาค เนื่องจากตำบลหนองกรดเป็นตำบลใหญ่มีพื้นที่ ประมาณ ๘๓,๐๐๐ กว่าไร่ มี ๑๗ หมู่บ้านประชากรหนาแน่น มีจำนวนประชากร ๒๐,๐๐๐ กว่าคน และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครสวรรค์ ๔ กิโลเมตร แต่น้ำประปาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีทั้งใช้ประปาส่วนภูมิภาคและประปาหมู่บ้าน ประปาหมู่บ้านยังไม่มีคุณภาพ ประปา ส่วนภูมิภาคไม่ทั่วถึง ปัญหาอุปสรรคแหล่งน้ำดิบและงบประมาณที่จะดำเนินการขยายเขต จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดสรรงบประมาณและบรรเทาความเดือดร้อน ให้พี่น้องประชาชนด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ โครงการวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำประปา หมู่ที่ ๑ ถึง หมู่ที่ ๙ ตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี พี่น้องชาวตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี ฝากขอบคุณประปา ส่วนภูมิภาค เขตที่ ๑๐ ที่ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณปี ๒๕๖๗ ไว้แล้วนั้น ตามปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ฉบับปรับปรุงว่าแล้วเสร็จ เดือนพฤษภาคม

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ขอขอบคุณการประปาส่วนภูมิภาค เขต ๑๐ ที่อนุมัติก่อสร้างสถานี จ่ายน้ำประปาตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ขนาด ๑,๐๐๐ ล้าน ลูกบาศก์เมตร การประปาส่วนภูมิภาคสาขาพยุหะคีรีครับ กราบขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ หมู่ที่ ๑ เชื่อมต่อหมู่ที่ ๗ ตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ จังหวัด นครสวรรค์ ผิวจราจรมีปัญหาชำรุดเสียหายเวลาสัญจรไปมาเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง พี่น้อง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและได้รับการร้องเรียนเป็นอย่างมาก ฝากท่านประธานสภา นำปัญหาทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้นส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งแก้ปัญหาให้ พี่น้องประชาชนโดยเร่งด่วนครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานสภามากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย ผมขอสนับสนุนญัตติอภิปรายต่อท่านประธานสภา ถึงปัญหาน้ำประปา ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบันในหลายพื้นที่พบปัญหาเรื่องไม่มีน้ำประปาใช้ในที่อยู่อาศัย ปัญหาน้ำประปา ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของประชาชนในเขตพื้นที่นั้น ๆ ปัญหาน้ำประปาไหลเบา รวมถึง ปัญหาการไม่มีน้ำประปาที่ถูกสุขลักษณะอนามัย สำหรับการอุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิต ประจำวัน ท่านประธานสภาครับ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว น้ำถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ต่อการดำรงชีวิตเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค ผมขอยกตัวอย่างปัญหาการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้ ประชาชน ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีน้ำประปาใช้ในพื้นที่หลาย ๆ ตำบล หลายอำเภอ เมื่อถึง หน้าแล้งฤดูร้อนนั้น เรียกได้ว่าเป็นฤดูที่น้ำมีปริมาณลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้เมื่อต้องส่งน้ำ ไปใช้ในหมู่บ้านน้ำมีความแรงไม่พอเนื่องจากมีน้ำในปริมาณน้อย บ้านที่อยู่ไกลจากแหล่ง จ่ายน้ำจึงพบปัญหาน้ำไหลช้าและเบา ปัญหาน้ำขุ่น น้ำมีกลิ่น น้ำไม่สะอาด อันเกิดจากระบบ การกรองที่ไม่ได้มาตรฐาน การขาดการบำรุงรักษาอุปกรณ์การผลิตต่าง ๆ ของหน่วยงาน เกิดจากการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ ดังนั้นรัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ เช่น ภายในจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอพยุหะคีรี ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว มีการตั้งงบประมาณ มานานพอสมควรแล้ว คาดว่าปี ๒๕๖๗ การประปาส่วนภูมิภาคคงจะแก้ไขปัญหา ด้วยการขยายเขตให้พี่น้องประชาชนในตำบลนิคมเขาบ่อแก้วด้วย ตำบลเขากะลาก็ไม่มี น้ำประปาเลย เพียงแต่ปัจจุบันใช้น้ำประปาหมู่บ้านกัน เช่น ตำบลสระทะเล มีน้ำประปา แต่ยังไม่ครอบคลุมทั้งตำบล เช่น หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๑๑ หมู่ที่ ๑๒ เช่น อำเภอเมือง ตำบลหนองกรด ยังไม่มีน้ำประปา หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๐ หมู่ที่ ๑๑ หมู่ที่ ๑๒ หมู่ที่ ๑๕ บ้านหนองเขนงในกลุ่มหนองกระทุ่ม หมู่ที่ ๑๗ ตำบลหนองกระโดน ตำบลบ้านแก่ง และตำบลพระนอน อีกหลาย ๆ หมู่บ้านก็ยังไม่มี น้ำประปาใช้ ซึ่งถือว่าอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ องค์การบริหารส่วนตำบล อีกหลาย ๆ ตำบลที่ไม่มีน้ำประปาใช้ เช่น ตำบลยางตาล ยังคงพบปัญหาไม่มีน้ำประปา ส่วนภูมิภาคสำหรับการอุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิตประจำวัน ประกอบกับโครงการ ที่จะดำเนินการต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก จึงขอให้การประปาส่วนภูมิภาค สนับสนุนงบประมาณดังกล่าวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนด้วยครับ ท่านประธานครับ คำจำกัดความคำว่า รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรของรัฐซึ่งประกอบกิจการ เกี่ยวกับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และให้บริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ของพี่น้องประชาชน เช่นการประปาส่วนภูมิภาคที่มีบทบาทเรื่องการผลิตน้ำประปา ลักษณะการประกอบกิจการในเชิงธุรกิจ มุ่งแสวงหากำไรหรือเรียกเก็บค่าบริการจากประชาชน ผมจึงอยากให้มุ่งเน้นถึงความสุขและประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นใหญ่ การแก้ไขปัญหา เรื่องน้ำให้กับพี่น้องประชาชน ผมมองว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับประโยชน์ ที่ประชาชนจะได้รับในปัจจัยพื้นฐาน คือมีน้ำที่สะอาดและเพียงพอต่อการใช้เพื่ออุปโภคบริโภค กราบขอบพระคุณท่านประธานสภาที่เคารพครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธานสภา ที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย

    อ่านในการประชุม

  • สืบเนื่องจากผมได้ลงพื้นที่ เยี่ยมพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด และได้รับการร้องเรียนถึงปัญหาราคาข้าวโพดที่ตกต่ำ จึงขอให้รัฐบาลช่วยเหลือให้จ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท ไม่เกิน ๒๐ ไร่ต่อครัวเรือน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่มี ผลกระทบจากการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนที่มากเกินความจำเป็น เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ รำสกัด ข้าวโพดโม่ ข้าวโม่และอื่น ๆ ที่อยู่ในหมวดคาร์โบไฮเดรต

    อ่านในการประชุม

  • จากการตรวจสอบการนำเข้าข้าวสาลี ปี ๒๕๖๕ นำเข้ามาเพียง ๓๕๐,๐๐๐ ตัน ข้าวบาเลย์นำเข้ามา ๘๘,๐๐๐ ตันโดยประมาณ ส่วนปี ๒๕๖๖ มีการนำเข้าข้าวสาลีตั้งแต่ เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมประมาณ ๑,๙๐๐,๐๐๐ ตัน ถ้าถึงเดือนธันวาคมน่าจะประมาณ ๒,๒๐๐,๐๐๐ ตัน ข้าวบาร์เลย์มีการนำเข้าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมประมาณ ๖๔๐,๐๐๐ ตัน ถึงสิ้นปีคาดว่าจะประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ ตัน ส่วนข้าวโพดจากประเทศ เพื่อนบ้าน ๑,๓๐๐,๐๐๐ ตัน DDGS นำเข้ามาประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ข้าวโม่ ๗๐,๐๐๐ ตัน ข้าวโพดโม่ ๖,๐๐๐ ตัน รำสกัด ๑๔,๐๐๐ ตัน แนวทางแก้ปัญหา อยากขอให้รัฐบาล แก้ปัญหาโดยการนำเข้านั้นเท่าที่จำเป็น ไม่ควรนำเข้าช่วงที่เกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยวนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๓ นำภาษีกลับมาใช้ให้เหมือนเดิมเพื่อปกป้องเกษตรกร ท่านประธานครับ จะเห็นได้ว่าการนำเข้าปี ๒๕๖๖ จะมีปริมาณการนำเข้ามากกว่าปี ๒๕๖๕ อย่างเห็นได้ชัด การนำเข้าที่มากเกินความจำเป็นคือการสร้างภาระให้กับประเทศ ทำให้เกิดผลกระทบกับ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด และชาวนาที่ทำนาแทนที่จะขายข้าวเปลือกได้ราคาสูงขึ้นพอสมควร กลับขายไม่ได้ในราคาเท่าที่ควร มีผลกระทบกับการนำเข้าวัตถุดิบทดแทน เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ DDGS รำสกัดครับ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขด้วยครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานสภาที่เคารพครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย ปัญหาค่าไฟฟ้าที่มีราคาสูงทำให้มีผลกระทบ กับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า ทั้งชาวนา ชาวไร่ ผู้ใช้แรงงาน หรือผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือน รวมทั้งพ่อค้า ประชาชนทั่วไป และภาคอุตสาหกรรม ที่ใช้ไฟฟ้าทำให้ผลกระทบกับเศรษฐกิจ และการลงทุน ปัญหาค่าไฟแพงเริ่มจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๗๙ ที่กำหนดให้ประเทศมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๕ ของความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด ขณะที่มาตรฐานสากลขององค์การระหว่างประเทศ IEAให้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่เหมาะสมอยู่ไม่เกินร้อยละ ๑๐-๑๕ ของความต้องการใช้ไฟฟ้า สูงสุดการที่แผน PDP 2015 กำหนดไฟฟ้าสำรองแบบกลับด้าน จึงกลายเป็นการขยายเพดาน เปิดช่องให้โรงงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง ถึง ๕๐-๖๐ เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันมีโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ ๑๓ โรง เกิดภาวะว่างงานไม่ได้ผลิต ไฟฟ้า แต่ได้รับเงินค่าความพร้อมจ่ายที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องจ่ายตามสัญญา ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย หรือ Take or Pay ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ๒๕๖๖ มี ๒ โรงงาน ว่างงาน ได้ค่าพร้อมจ่ายรวมเป็นเงิน ๑,๔๑๕ ล้านบาท และในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖ มีถึง ๖ โรงงาน ไม่ต้องเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเลย แต่ได้ค่า ความพร้อมจ่าย รวมเป็นเงิน ๖,๑๘๗ ล้านบาท และมีหลายโรงงานไฟฟ้าแม้จะเดินเครื่อง แต่ก็ไม่ได้เดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต ประกอบกับเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่มี ราคาสูงทำให้อัตราค่าไฟฟ้าสูงตั้งแต่ ๖ บาท ถึง ๑๒ บาทต่อหน่วย ค่าใช้จ่ายทั้งค่า ความพร้อมจ่ายและค่าซื้อไฟฟ้าเหล่านี้ ถูกนำมาอยู่ในค่า FT ที่เรียกเก็บกับประชาชนนั่นเอง ค่า FT หรือค่าไฟฟ้าผันแปรโดยอัตโนมัติที่มีการปรับทุก ๆ ๔ เดือน หรือ ๓ ครั้งต่อปี ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน หรือเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม และ เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคมนั้น ปัจจุบันคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือ กกพ. ใช้สูตรคำนวณการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าและการประเมินการราคาซื้อเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชนเป็นการคาดการณ์เฉลี่ยล่วงหน้า ๔ เดือน ส่วนต่างระหว่างต้นทุน ที่ใช้ผลิตไฟฟ้าจริงและค่า FT ที่เรียกเก็บจะถูกนำไปคิดเพิ่มหรือลดในค่า FT รอบถัดไป สูตร ค่า FT จึงไม่ได้คำนวณจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง จึงย่อมมีความคลาดเคลื่อนได้ เช่น การคิดค่าเชื้อเพลิงในงวดเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ๒๕๖๖ คาดการณ์ว่า LNG ตลาดโลกจะพุ่งขึ้นไปที่ ๑,๓๐๐-๑,๔๐๐ บาทต่อล้าน BTU จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ ๓๗ บาท ต่อ ๑ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และคาดการณ์น้ำมันดิบดูไบ จะสูงขึ้นที่ ๙๐ เหรียญ ถึง ๑๐๐ เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในขนาดความเป็นจริง LNG ราคาหลังจากเดือนกันยายน ๒๕๖๖ ได้ลดลงมาอยู่ที่ ๖๐๐ บาท ต่อล้าน BTU ในเดือน มีนาคม ๒๕๖๖ อัตราแลกเปลี่ยนมาอยู่ที่ ๓๔ บาทต่อดอลลาร์ และราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ ๘๐ เหรียญต่อบาร์เรลเท่านั้น การคาดการณ์ราคาเชื้อเพลิงที่คลาดเคลื่อนเกินจริง จึงกลายเป็นภาระ FT ในรอบ ๔ เดือนนั้น ท่านประธานครับ ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ทำให้เกิดผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน และกระทบกับเศรษฐกิจ รวมถึงนักลงทุนที่จะมาลงทุนในประเทศไทย เพราะนักลงทุนเขาสามารถเปรียบเทียบ เรื่องกระแสไฟฟ้ากับประเทศที่เขาจะมาลงทุนได้ด้วยครับ กราบขอบพระคุณท่าน ประธานสภาที่เคารพครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธานสภา ที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย ผมได้ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาลพยุหะคีรี ได้พบปะพูดคุยกับ แพทย์หญิงศิริพรรณ ชมพูภู่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพยุหะคีรี ถึงปัญหาความหนาแน่น ของผู้ป่วยที่ได้เข้ามารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลพยุหะคีรี

    อ่านในการประชุม

  • โรงพยาบาลพยุหะคีรี เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด ๓๐ เตียง แต่ปัจจุบันเปิดให้บริการจริง ๔๒ เตียง ถือว่า อัตราการครองเตียง ปี ๒๕๖๖ ถึง ๑๑๖ เปอร์เซ็นต์ จำนวนผู้ป่วยในเฉลี่ย ๓๔ คนต่อวัน จำนวนผู้ป่วยนอกเฉลี่ย ๓๕๒ คนต่อวัน ประชากรตามสิทธิรักษาพยาบาล ๔๑,๔๓๐ คน สิทธิบัตรทอง หรือบัตร ๓๐ บาทรักษาทุกโรค บัตรประกันสังคม ๗,๙๐๓ คน ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ๕,๓๐๐ คน ประชากรที่ขึ้นทะเบียนสิทธิต่างด้าว ๒,๔๖๓ คน ปี ๒๕๖๖ อุบัติเหตุโรคทั่วไป ๑๙,๙๔๔ คน บุคลากรทั้งหมดมี ๑๕๘ คน เป็นโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ติดถนนสายเอเชีย ตำบลพยุหะคีรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ถือว่าเป็นโรงพยาบาล ประตูสู่ภาคเหนือ จำนวนประชาชนที่มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ยิ่งเวลาปีใหม่ สงกรานต์ ตรุษจีนหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จำนวนรถที่สัญจรไปมามีจำนวนมากและเกิดอุบัติเหตุ บ่อยครั้ง การให้บริการสถานที่ห้องพยาบาล เครื่องมือทางการแพทย์ที่ให้บริการช่วยเหลือ ประชาชนผู้ประสบภัยไม่เพียงพอ ทำให้โรงพยาบาลได้รับข้อร้องเรียนจากประชาชน ที่เข้ามารับบริการบ่อยครั้ง ทำให้เสียชื่อกระทรวงสาธารณสุข ผมจึงเห็นว่ากระทรวง สาธารณสุขควรจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยและเครื่องมือทางการแพทย์ที่พร้อม ให้บริการพี่น้องประชาชนทั้งที่อยู่ในพื้นที่และพี่น้องประชาชนที่สัญจรไปมาบนท้องถนน กราบขอบพระคุณท่านประธานสภาที่เคารพครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมขอหารือ ๓ เรื่องครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ผมได้ลงพื้นที่เยี่ยม พี่น้องประชาชนตำบลหาดสูง อำเภอโกรกพระ ได้รับการร้องเรียนถึงปัญหากระแสไฟฟ้า ที่ตกมาเป็นเวลานาน ผมได้ประสานงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขานครสวรรค์ ได้รับการ ตอบรับและลงไปสำรวจเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนตำบลหาดสูงแล้วนั้น ผมขอขอบคุณแทนพี่น้องประชาชนตำบลหาดสูง อำเภอโกรกพระด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ผมได้ลงพื้นที่เยี่ยมพี่น้องประชาชนตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ พี่น้องประชาชนได้พาไปดูถนนสายหลักชื่อ ถนนอ้ายตูบ-ยางตาล ซึ่งถนนเส้นนี้เป็นถนน สายหลักของตำบลยางตาลไปถึงหมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ และถึงอำเภอ โกรกพระ ได้รับความเสียหายทรุดโทรมมาเป็นเวลานาน ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุน งบประมาณก่อสร้างให้องค์การบริหารส่วนตำบลยางตาลด้วยครับ เพื่อแก้ปัญหาบรรเทา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนตำบลยางตาลที่ใช้ถนนเส้นทางนี้เป็นจำนวนมาก ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ผมได้ลงพื้นที่เยี่ยมพี่น้องประชาชน หมู่ที่ ๗ ตำบลยางตาล อำเภอ โกรกพระ พบปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน เรื่องน้ำประปาไม่มีใช้ทั้งอุปโภค บริโภคมาเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี ทุกวันนี้ต้องซื้อน้ำจากรถดับเพลิงเที่ยวละ ๒๐ บาทต่อ ๑ ครัวเรือน ผมได้ประสานงาน นายนรินทร์ จันทรังษี ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาค สาขาอำเภอพยุหะคีรี ท่านได้ลงไปดูพื้นที่และรับปากที่จะดำเนินการแก้ปัญหาให้พี่น้อง หมู่ที่ ๗ ตำบลยางตาล เพื่อที่จะได้มีน้ำประปาใช้ อุปโภคบริโภค พี่น้องหมู่ที่ ๗ ตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ ฝากกราบขอบพระคุณท่านผู้จัดการนรินทร์ จันทรังษี การประปาส่วนภูมิภาค สาขาพยุหะคีรีด้วยครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานสภาที่เคารพครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ผมได้รับหนังสือจากกำนันบรรชา ชื่นชาติ ตำบลหนองกรด พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร เนื่องจากแก้มลิงบ้านศรีอุทุมพรที่มีสภาพตื้นเขิน ขาดการพัฒนามาเป็นเวลานาน องค์การ บริหารส่วนตำบลหนองกรดได้รับทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน มานานแล้ว แต่เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรดมีงบประมาณไม่เพียงพอ ต่อการดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน จึงขอความอนุเคราะห์ชลประทานนครสวรรค์ ดำเนินการขุดลอกแก้มลิงบ้านศรีอุทุมพร ตำบลหนองกรด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ กักเก็บน้ำ ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรดยินดีมอบพื้นที่ให้เมื่อเริ่มดำเนินการ โครงการดังกล่าว

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขต ๓๕ ได้รับหนังสือจากองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำทรง ขอความคืบหน้าการจัดระเบียบสายสื่อสาร ตามคำร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ ตำบลน้ำทรง สำนักงาน กสทช. เขต ๓๕ ลงพื้นที่ตรวจสอบเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ พบว่าสายสื่อสารบริเวณจุดร้องเรียนได้รับการแก้ไขแล้วบางส่วน แต่ยังพบสายสื่อสาร ของหลายหน่วยงานอีกเป็นจำนวนมาก อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นระเบียบและอาจส่งผลกระทบ ต่อชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนได้ ขอให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่เป็นเจ้าของ สายสื่อสารดังกล่าวแก้ไขปัญหาช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนตำบลน้ำทรง ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูบึงน้ำทรงพร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี ปัจจุบันเกษตรกร ในตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีความจำเป็นต้องใช้น้ำ บึงน้ำทรง ซึ่งมีสภาพตื้นเขินไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เต็มศักยภาพ ก่อให้เกิดการขาดแคลนน้ำ อุปโภค และไม่สามารถทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งได้ พี่น้องประชาชนตำบลน้ำทรง จึงขอสนับสนุนงบประมาณโครงการฟื้นฟูหนองน้ำทรง กราบขอบพระคุณท่านประธานสภา ที่เคารพครับ

    อ่านในการประชุม