นางสาวภัสริน รามวงศ์

  • เรียนท่านประธานค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชาวบางซื่อ ชาวดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี วันนี้ ดิฉันมีเรื่องปรึกษาหารือกับท่านประธาน ดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ รับน้องโหด จนเสียชีวิต ๒ ราย จากกิจกรรมรับน้องของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ผู้เสียชีวิตนี้อาศัยอยู่ ในเขตดุสิต ฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบสวนเร่งหาข้อเท็จจริง ในอนาคต ต้องไม่มีใครมาสังเวยชีวิตกับกิจกรรมรับน้องอีกค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ คอนโดมิเนียมยักษ์ทหารแยกประชานุกูล เป็นที่พักอาศัยของ กองบัญชาการกองทัพไทย ติดกับโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ เคยถูกคัดค้านจากผู้อาศัย แต่กองทัพก็ยังดำเนินการสร้างต่อไป พื้นที่นี้ของพลเรือนและกองทัพไม่ควรอยู่ทับซ้อนกันค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนกลางเมือง ดิฉันขอฝากท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมด้วยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ สถานบันเทิง T.Bar บางซ่อน ตั้งอยู่ที่การรถไฟ ติดกับชุมชน ที่พักอาศัยของประชาชนโดยไม่มีใบอนุญาตในการเปิด ประชาชนใช้ชีวิตลำบากอย่างยิ่ง ผวาเสียงเพลงดังทะลุโสตประสาท ดิฉันขอปรึกษาหารือไปยังท่านประธานว่าปล่อย สถานบันเทิงนี้เปิดได้อย่างไรถึง ๖ ปี

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ ปัญหาอุโมงค์บางซื่อ เมื่อเกิดฝนตกก็เกิดน้ำท่วมนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๕ ปัญหาที่จอดรถรัฐสภา โดยจอดรถหน้าชุมชนและยังเข้าไปจอด ในศูนย์บริการสุขภาพและไม่ดับเครื่องยนต์เป็นเวลานาน สร้างมลพิษทางอากาศ และความเดือดร้อนค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๖ รถไฟฟ้าสายสีม่วงเกิดการติดขัดอย่างมากพร้อมทั้งฝุ่น และไม่มี ที่จอดรถ ชาวบ้านหากินอย่างยากลำบากค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๗ ถนนทางเข้าชุมชนโชติวัฒน์ เป็นถนนหลุมอุกกาบาต ไฟมืดมิด เป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตและทรัพย์สิน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๘ ไฟส่องสว่างบริเวณ MRT วงศ์สว่าง ไม่มีไฟส่องสว่างเพียงพอค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๙ ทิ้งขยะริมทางรถไฟบางซ่อน กลายเป็นที่ทิ้งขยะ เส้นทางนี้มืดมิด มากเช่นกันค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑๐ สายไฟสื่อสารระโยงระยางเป็นอันตราย ในพื้นที่ชุมชนหัวรถจักร ตึกแดงเขต ๓ และปากซอยประชาชื่น ๔๕ ค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑๑ ไฟส่องสว่างชุมชนสวัสดิ์วารีมืดมิดค่ะ ขอฝากท่านประธานไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยให้ไฟมืดมิดนี้ส่องสว่างเสียทีค่ะ ขอบคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉันภัสริน รามวงศ์ ค่ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวบางซื่อ ดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี พรรคก้าวไกล และวันนี้ดิฉันขอเป็นผู้แทน เป็นกระบอกเสียง เป็นปากเป็นเสียงให้กับผู้ที่ถูก กระทำความรุนแรง ผู้ซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมไทยนี้ และถอดใจเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมและผู้หญิงพิการค่ะ ก่อนอื่นดิฉันต้องขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งองค์กร มูลนิธิที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักทั้งชีวิตในการทุ่มเทกายใจให้กับผู้เปราะบาง ผู้ถูกกระทำ ในความรุนแรงที่จะมีพื้นที่ส่งเสียงบ้างค่ะ และการลงพื้นที่ของดิฉันในเขตบางซื่อ เขตดุสิต ก็มักจะพบกับความรุนแรงในครอบครัว ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ว่าจะเป็นภรรยาถูกบังคับทั้งกายใจจากสามี ลูกสาวผู้พิการ ทางสติปัญญาถูกพ่อแท้ ๆ ของตัวเองข่มขืน ผู้พิการทางการได้ยินถูกพี่ชายและเพื่อนของ พี่ชายข่มขืน แต่ในครอบครัวก็ไม่ไปแจ้งความ เพราะกลัวปัญหา กลัวเรื่องราวต่าง ๆ ครั้นจะ ขอความช่วยเหลือของรัฐแต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการไปถึงไหนเกิดความตะขิดตะขวงใจว่า จะไปดีหรือไม่นะคะ แล้วก็เมื่อดิฉันดูรายงาน ๒ ฉบับนี้ดิฉันเกิดคำถามเหมือนกันว่า ในรายงานนี้หลงลืมกลุ่มคนใครไปหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ผู้พิการทางซ้ำซ้อน แล้วก็ถ้าเมื่อวันหนึ่งเขาตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมสุดท้าย ก็ไม่สามารถเอาผิดต่อผู้กระทำได้ค่ะ เพราะต้องต่อสู้กับโครงสร้างและกระบวนการที่ ไม่เอื้อให้ผู้ถูกกระทำได้รับความยุติธรรมและยังมี Case อีกมากที่เรียกว่า Victim Blaming หรืออคติโทษผู้กระทำ นอกจากนี้การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมผู้ถูกกระทำจะต้องเจอ กับคำถามต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นขายบริการทางเพศมาหรือเปล่า ใจง่ายใช่ไหม แต่งตัว อย่างนี้ละสิ และการที่เด็กถูกข่มขืนกลับโทษเหยื่อว่าสมยอมเองจนผู้ถูกกระทำ ถอดใจจากกระบวนการยุติธรรมและมันก็ไม่เคยมาถึงค่ะ วันนี้เราต้องมาพูดถึงกระบวนการ ยุติธรรมที่มีปัญหาและผู้ถูกกระทำไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนี้หรือหลุดออกจากระบบ ของความยุติธรรม รายงาน ๒ เล่มนี้ ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ ขาดหายมิติถึงผู้พิการ เป็นกลุ่มที่ เปราะบางเสี่ยงต่อความรุนแรงจากมิติทางด้านเพศ อายุ อัตลักษณ์ทับซ้อนอื่น ๆ หรือที่เรียกว่า Intersection Neliarity หากความรุนแรงถูกละเลยไปความพิการลดทอน คุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หญิงผู้พิการและเด็กพิการก็ยังถูกทำให้ไร้อำนาจควบคุมชีวิต และร่างกายของตนเองค่ะ และยังถูกควบคุมตัดสินในเรื่องของวิถีชีวิตของตัวเองโดยพ่อแม่ และสมาชิกครอบครัวและสังคมที่เรียกว่าสังคมชายเป็นใหญ่ โครงสร้างทางวัฒนธรรมเช่นนี้เอง ทำให้กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งตกอยู่ในความรุนแรงในลักษณะที่มีการกดทับซ้อนหรือว่า Double of Pression หญิงพิการไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตกอยู่ในสภาวะพึ่งพิง ความพิการถูกใช้ ความรุนแรงจากผู้ใกล้ชิด ผู้ดูแล แล้วก็ต้องทนยอมค่ะ เพราะว่าผู้กระทำความรุนแรง หรือผู้ดูแลเป็นคนคนเดียวกัน การอคติต่อผู้พิการว่าผู้พิการไม่มีความสวยงาม ไม่น่าดึงดูดใจ ไม่เป็นที่ต้องการ ขาดความปรารถนา จึงถูกมองข้ามความตัวตนทางเพศกลายเป็นกลุ่มคน ที่ไร้เพศที่ไม่รู้สึกรู้สาต่อการกระทำทางเพศ หญิงพิการยังถูกละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ครอบครัวได้ข้อมูลแล้วก็ตัดสินใจว่าเขาจะต้องทำหมันป้องกันการตั้งครรภ์ให้แก่ผู้ที่มี ความพิการในครอบครัวเพื่อขจัดและหยุดยั้งประชากรที่อ่อนแอและเป็นภาระ หรือกรณีที่ เด็กหรือเยาวชนพิการจะไม่ได้เรียนเพศศึกษาและกีดกันออกจากการเรียนรู้เรื่องเพศทำให้ พวกเขาขาดข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตทางเพศของตัวเองไม่สามารถเข้าถึงสุขภาวะ ทางเพศอันเป็นสิทธิพื้นฐานในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง จากทัศนคติและการตีตรากลุ่มเปราะบาง ที่ถูกกระทำ การตีตราผู้มีความพิการว่าไม่สมบูรณ์ผิดปกติและเบียดขับกลุ่มคนเหล่านี้ ออกไปอยู่ในชายขอบสะท้อนออกมาในกฎ ระเบียบ และวิธีการ และรายงาน ๒ เล่มนี้ ที่ไม่เคยพูดถึงเลย กระบวนการยุติธรรมอันไม่ปกตินำมาเหยียบซ้ำเพิ่มความรุนแรงด้วย แล้วก็จากรายงานต่อสถานการณ์ความรุนแรงของเด็กแล้วก็ผู้หญิงพบว่า ๗๑ เปอร์เซ็นต์ ไม่เข้าแจ้งความ ๒๙ เปอร์เซ็นต์ตัดสินใจแจ้งความ แต่ก็ไม่แน่ใจว่า ๒๙ เปอร์เซ็นต์นี้ คดีจะสิ้นสุดเมื่อไร คดีมีความคืบหน้าหรือไม่ ตลอดจนได้รับการเยียวยาหรือเปล่า พบว่า เหยื่อความรุนแรงและการล่วงละเมิดมีความยากลำบากในการเข้าถึงด้วย พบว่า ๕๑ ราย สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเพียงแค่ ๒๙ เปอร์เซ็นต์ ๑๕ รายดำเนินคดีสำเร็จ เพียงแค่ ๔ รายเท่านั้น เหลืออีก ๑๑ รายไม่คืบหน้า และ ๕ รายจากกลุ่มดังกล่าว เป็นหญิงพิการค่ะ เป็นหญิงพิการที่มีการมองเห็นและการได้ยิน และการสื่อความหมาย ไม่สามารถอธิบาย รูปพรรณสัณฐานของผู้กระทำและสถานที่เกิดเหตุได้ กล่าวคือการให้ปากคำแล้วก็ยังมีการใช้ ล่ามภาษามือไม่เพียงพอต่อความต้องการ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ๓๖ รายไม่แจ้งความ ไม่เข้าสู่ กระบวนการยุติธรรม จำนวน ๒ ใน ๓ หรือ ๒๐ จาก ๓๖ รายเป็นเด็ก แล้วก็ผู้หญิงที่มี ความพิการทางการมองเห็น พิการทางการได้ยินด้วย รวมไปถึงการพิการทางการซ้ำซ้อนค่ะ จากรายงานสถิติที่รับสายด่วน ๑๓๐๐ ยังพบว่าเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวมีผู้พิการ มากถึง ๑๔๖ ราย และจากแนวโน้มนั้นตัวเลขอาจจะมากขึ้นกว่านั้นเพราะว่าไม่ไปแจ้งความ แล้วก็จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตัวเลขคิดเป็นร้อยละระบุถึงผู้หญิงพิการ พบความรุนแรง เมื่อรายงานปี ๒๕๖๔ รับบริการศูนย์ ๑๖,๖๗๒ ราย เฉลี่ย ๔๖ คนต่อวัน แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าในจำนวนนี้มีหญิงพิการไว้ด้วยหรือไม่ เมื่อเรามาดูยุทธศาสตร์ชาติใน ๒ เล่มนี้ ดิฉันขอเสนอว่านโยบายเหล่านี้ควรจะได้รับการทบทวนขนานใหญ่ค่ะ ยุทธศาสตร์แล้วก็ การพัฒนาสถาบันครอบครัว ปี ๒๕๖๐ ถึงปี ๒๕๖๔ ๕ ด้านนี้นะคะ ครอบครัว เศรษฐกิจ พอเพียง ความมั่นคงในครอบครัว การบริการจัดการเสริมความเข้มแข็งให้กับครอบครัว หรือการสร้างเครือข่ายให้กับครอบครัว และการพัฒนากลไกด้านกฎหมาย ปี ๒๕๖๔ ยุทธศาสตร์ทั้ง ๕ นี้มุ่งไปที่ครอบครัวแต่ไม่เน้นสร้างระบบ จริง ๆ แล้วความรุนแรงมันมาจาก ทั้งความยากจน ความพิการ และโครงข่ายที่ไร้ความมั่นคงทางสังคม และยุทธศาสตร์ ที่ส่งเสริมให้ครอบครัวปฏิบัติตามเศรษฐกิจอย่างพอเพียงจะไม่ช่วยลดความรุนแรง ในครอบครัวค่ะ ดิฉันและพรรคก้าวไกลมีจุดยืนอยากจะให้ความรุนแรงนี้หมดไปค่ะ ปัญหาการลดอาชญากรรมและความรุนแรงทางเพศกับกลุ่มผู้เปราะบาง ดิฉันขอเสนอ เรื่องตำรวจหญิงเข้ามาช่วยเป็นกระบวนการ เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความไว้วางใจ ให้กับประชาชนและรัฐในการที่จะทำให้ผู้ที่ถูกกระทำทางเพศสามารถเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น เราเห็นในประเทศอาร์เจนตินา เราเห็นในสาธารณรัฐ ลิทัวเนีย สหราชอาณาจักรมีการเพิ่มสัดส่วนของตำรวจหญิงอย่างชัดเจน นำไปสู่การเมือง แห่งคนเท่ากัน ดิฉันขอต่อเวลาด้วยนะคะ แล้วก็อยากจะพูดในสภานี้ว่าความรุนแรงนี้ เริ่มจากครอบครัวด้วย แล้วก็ไม่อยากให้มีใครมาพูดในประโยคที่ว่าหากเป็นลูกของตัวเอง ก็จะมีการตีให้ตาย ซึ่งกล่าวในสาธารณชนครั้งหนึ่งนะคะ ซึ่งดิฉันอยากจะมองว่าไม่อยากให้ ความรุนแรงเป็นเรื่องขบขัน ไม่จริงจัง เป็นทัศนคติที่เพิกเฉยต่อความรุนแรงไม่สมควรเป็น เรื่องที่ยอมรับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาอันทรงเกียรติที่หลาย ๆ ท่านกล่าวเอาไว้ แล้วก็กฎหมายนะคะ เดี๋ยวเพื่อนสมาชิกของดิฉันคงได้พูดนะคะ มาตรา ๑๕๖๗ วรรคสอง ที่ผู้ปกครองมีสิทธิที่จะทำโทษบุตรตามสมควร อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่พรรคก้าวไกล เราอยากผลักดันสร้างค่านิยมอันใหม่ ปรับทัศนคติอันใหม่ที่จะทำให้สังคมนี้เดินหน้าต่อไปได้ ดิฉันจึงขอฝากเรียนท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากที่ดิฉันได้อภิปรายมาค่ะ การสร้างความเข้าใจ การแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่มีความสลับซับซ้อนจะต้องเข้าถึงปัญหา ด้วยแนวคิดที่เข้าใจอัตลักษณ์ทับซ้อน ในกรณีนี้คือการพิทักษ์สิทธิให้ครอบคลุมถึงผู้มี ความพิการ และการแก้ไขกฎหมายครอบครัวที่ล้าหลัง รวมถึงค่านิยมต่าง ๆ เกี่ยวกับ ครอบครัวที่ต้องทบทวนตามยุคตามสมัย หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก็อาจจะต้องจำเป็น ที่จะศึกษาข้อมูลที่เป็นสากล ครอบคลุม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ ผู้แทนชาวบางซื่อ ชาวดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี ดิฉันอยากจะขอฝากท่านประธาน ไปยังผู้ชี้แจงด้วยค่ะ ในเรื่องของการล่วงละเมิดทางเพศต่าง ๆ จากการอภิปรายฟังเพื่อนสมาชิก ตั้งแต่เมื่อเช้านี้ที่ผ่านมาเราจะเห็นความรุนแรงที่อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำจากคุณพ่อคุณแม่ ญาติพี่น้อง หรือว่าเพื่อนร่วมงานคนใกล้ชิดเองก็ตาม สถิติที่เห็นเรายังอยู่ในลำดับที่ ๗ ของโลก ในเรื่องนี้จะมีการแก้ไขอย่างไรบ้าง แล้วก็ในทั่วโลก มีการเพิ่มพนักงานสอบสวนหญิง หรือตำรวจหญิง เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เลยไหม ไม่ว่ามีนัยสถิติ ที่สำคัญออกมา ไม่ว่าจะเป็นเมืองชัยปุระ ประเทศอินเดียเองก็ตามที่มีคดีล่วงละเมิดทางเพศ หรือความรุนแรงในครอบครัวเยอะมาก การเพิ่มตำรวจหญิงเอง หรือว่าการมีพนักงานสอบสวนหญิง พอเพิ่มแล้วมีจำนวนลดลง อย่างมีนัยสำคัญ ก็อยากฝากท่านประธานผ่านไปยัง พม. ด้วยว่าเรามีแนวทางช่องทางนี้ มาตรการนี้ไหม นอกจากรัฐที่จะต้องจัดการแล้วก็อยากจะฝากเรื่องการเพิ่มตำรวจหญิง ในการจัดการของการล่วงละเมิดทางเพศและความรุนแรงนี้ด้วย ขอฝากท่านประธาน ไปด้วยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชาวบางซื่อและชาวดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันขอร่วมอภิปรายเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ แล้วก็การบริหารงานราชการ แผ่นดินที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ เป็นที่ทราบกันดีค่ะว่ายุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีนั้น มีปัญหาเรื่องความซับซ้อน ซ้ำซ้อนของแผนระดับชาติที่นำไปสู่การตั้งคณะกรรมการ ที่ซ้ำซ้อน กระบวนการขับเคลื่อนของแต่ละแผนไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ได้เกิด การทำงานข้ามกระทรวงกันอย่างแท้จริง ซึ่งแสดงให้เห็นแล้วว่าการจัดแบ่งแผนให้มี ๓ ระดับ ตามกลไกรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นี้ไม่เกิดผลค่ะ อย่างที่ทราบกันค่ะว่าแผนการดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์ชาตินี่จัดทำโดยสภาพัฒน์ แต่ก็มีองค์กรย่อยที่ทำหน้าที่ดำเนินงาน สร้างความกังขาต่ออำนาจหน้าที่ของสภาพัฒน์ และความซ้ำซ้อนต่อการดำเนินโครงการ ต่าง ๆ นะคะ นี่เป็นที่มาของคำว่า Planning ที่ได้แต่ Plan ความคืบหน้าคือนิ่งตลอดค่ะ ปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนยังนำมาซึ่งการสูญเสีย ทั้งกำลังคน เวลา งบประมาณ หน่วยงาน ที่ควรจะพูดถึงวันนี้คงจะเป็นหน่วยงานสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองหรือ ป.ย.ป. ค่ะ น่าเสียดายค่ะที่ดิฉันน่าจะได้เห็นที่ บัลลังก์นี้มีสำนักงานหน่วยงานของ ป.ย.ป. มาร่วมชี้แจงด้วย สำนักงานนี้ก็ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ตรงนี้เองค่ะเขตดุสิตค่ะ ป.ย.ป. เป็นหน่วยงานที่แต่งตั้งโดยคณะ คสช. นำโดย ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อทำหน้าที่จัดลำดับความสำคัญของวาระกรอบการปฏิรูปประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แล้วก็จะทำให้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วง แม้ว่าการทำงานของ ป.ย.ป. เองนี่ แต่การดำเนินงานของ ป.ย.ป. ก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพ ดังที่อ้างเอาไว้นะคะ ดิฉันขอยกตัวอย่างค่ะว่าแผนปฏิรูปประเทศที่มีประเด็นเยอะ และซับซ้อนนะคะ เหมือนสายไฟฟ้าพัวพันกันอยู่หน้าบ้านท่านนะคะว่าเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อทำงานไม่ทันแทนที่จะแก้ปัญหา ก็ไปสร้างกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่ส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ ที่เรียกว่า Big Rock นะคะ นำมาทำประเด็น ที่คิดว่าเร่งด่วนแทน ซึ่งทำให้กระทรวงต่าง ๆ ต้องทำทั้งแผนปฏิรูปและกิจกรรม Big Rock คู่ขนานกันเป็นการเพิ่มงานโดยไม่จำเป็นค่ะ พูดถึงเรื่องนี้ดิฉันขอยกตัวอย่างกิจกรรม ภายใต้แผน Big Rock ที่ ป.ย.ป. กำหนดไว้เรียกว่า Social Credit นั่นก็คือการนำระบบ เครดิตสังคมมาใช้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบที่ประเมินคะแนนประชาชนในเรื่องที่รัฐ เห็นว่าสำคัญ และตั้งเกณฑ์คะแนนต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมาทำความดีค่ะ ผู้ใดที่ทำความดีสะสมเครดิตไว้เยอะก็จะได้ของรางวัลในรูปแบบของอภิสิทธิ์ในบางเรื่อง เช่น การได้รับส่วนลดบริการของรัฐ และถ้าหากทำไม่ดี หรือมีพฤติกรรมที่ทางรัฐ เห็นว่าเป็นทางลบก็จะมีการลงโทษผู้กระทำ เช่น การงด หรือละเว้นการให้สิทธิ์ใช้บริการ สาธารณะ หรือไม่ได้รับการพิจารณาการเลื่อนตำแหน่ง การให้เหตุผลของระบบนี้มีอยู่ว่า ต้องการเป็นแรงจูงใจให้คนหันมาทำความดีค่ะ ความซับซ้อนซ้ำซ้อนยังไม่หมดไป เพียงเท่านั้นค่ะ ยังมีการสร้างเครื่องมือการเก็บข้อมูล และการติดตามอย่างระบบ eMENSCR ประชาชนทั่วไปอย่างดิฉัน หรือใครหลาย ๆ คนที่อยากจะทราบยุทธศาสตร์ชาติ ก็เข้าไปใช้ได้ยากนะคะ เรียกว่าเป็นการเปิดเผยเพื่อให้ใครเป็นผู้ใช้งานและจะนำไป สู่ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลหรือไม่ ภาครัฐมีความตั้งใจ จริงใจ อยากให้ประชาชน เข้าถึงข้อมูลชุดนี้จริง ๆ หรือไม่ค่ะ ดิฉันจึงขอให้ท่านผู้เกี่ยวข้องนะคะ อยากจะชี้แจงประเด็น ต่าง ๆ นี้นะคะ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของ ป.ย.ป. ส่งเข้าไปในแต่ละกระทรวง ช่วยให้ การดำเนินงานมันเสร็จเร็วขึ้นจริงหรือ การเชื่อมข้ามองค์กรเพื่อความรวดเร็วจริงหรือไม่ และทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และมีตัวชี้วัดการประเมินที่สะท้อนความเป็นจริงของสังคมไทย ได้เพียงไรค่ะ ทำไม ป.ย.ป. ถึงให้ความสำคัญ และเลือกดำเนินการระบบสังคมแบบเครดิต แบบนี้ก่อนนะคะ ทั้งที่มีเรื่องอื่น ๆ ที่จะต้องแก้ไข ต้องมีการวางยุทธศาสตร์แบบสั้น กลาง ยาว แต่ทำไมเรื่องเครดิตสังคมถึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ ป.ย.ป. ต้องดำเนินการค่ะ โครงการ เครดิตสังคมในพื้นที่นำร่อง ขอให้ชี้แจงสถานการณ์ตอนนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนื่องจากพบ รายงานว่าได้มีการพูดคุยหารือแนวทางในระยะแรกร่วมกัน ๓ หน่วยงานนี้ค่ะ ๑. กยศ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีการให้คะแนนเครดิตกับนักเรียน นักศึกษาต่อโอกาส ในการได้รับการศึกษา ๒. สภากาชาดไทย ได้มีการเสนอการพัฒนา Moral เครดิตเกิดขึ้นค่ะ และ ๓. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ หรือ สสส. สำนักงาน ป.ย.ป. เข้าร่วมหารือกับ สสส. เกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างระบบเครดิตในประเทศไทย ซึ่ง สสส. นี้เป็นหน่วยงานที่มีกิจกรรมและการให้ทุนต่อชุมชน การมีสังคมเครดิตจะส่งผล ต่อการให้ทุน หรือการสนับสนุนต่อคนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานเหล่านี้อย่างไรนะคะ เพราะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนไทยจำนวนมาก ในแผนไม่มีการนำเสนอ การดำเนินงาน หรือข้อสรุปใด ๆ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตเมื่อใช้ระบบนี้กับสังคมไทย ดิฉันเปรียบเทียบนะคะ เหมือนครูค่ะ ชอบเด็กคนไหนก็จะให้คะแนนจิตพิสัยสูง ไม่สามารถวัดความเป็นคนดีได้จริง ๆ หรือ มาตรฐานนี้เป็นคนดี หรือถูกเขียนขึ้นจาก อาจารย์ฝ่ายปกครองค่ะ ดิฉันสงสัยเหลือเกินค่ะว่าทำไมโครงการที่เกี่ยวข้องกับประชาชนนี้ ถึงไม่มีการพูดถึงอย่างกว้างขวางนักมากเท่าที่ควร ท่านได้มีการสร้างการรับรู้เปิดให้มี การวิพากษ์วิจารณ์กับสังคมก่อนหรือไม่ ทั้งที่เป็นเรื่องกระทบต่อการดำเนินชีวิตในทุกด้านค่ะ เรียนท่านประธานด้วยค่ะท่านคิดว่าสังคมเครดิตนี้เป็นสังคมที่เหมาะแล้วจริงหรือ กับการปลูกฝังบรรทัดฐานให้สังคมไทยผ่านความดี มิหนำซ้ำยังต้องให้ผู้มีอำนาจให้รางวัลคนดี หรือลงโทษคนไม่ดี การกำหนดกรอบวิถีชีวิตของประชาชนเป็นในทางที่รัฐกำหนดไว้ เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และเป็นการก้าวล่วงเสรีภาพในการใช้ชีวิตของ คนไทยหรือไม่ค่ะ และแท้ที่จริงแล้วเครดิตทางสังคมกำลังนำมาสร้างรัฐตำรวจที่คอยสอดส่อง พฤติกรรมของประชาชน ควบคุมความคิดเห็น และพฤติกรรมของประชาชน เพื่อควบคุม และกำจัดคนเห็นต่างหรือไม่ ก็ขอให้ท่านตอบค่ะ และถ้าอะไรที่ไม่จำเป็นก็ควรที่จะยกเลิก หรือเพิกถอนเสียค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ภัสริน รามวงศ์ ค่ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๗ กทม. อยากจะถามไปยังท่านประธานแล้วก็ผู้ที่ชี้แจงด้วย เรื่องระบบ Social Credit หรือว่าเครดิตสังคมได้มีการนำร่องนำไปใช้แล้วที่ใดบ้าง แล้วก็ ในอนาคตนี้จะมีมาตรการใช้เป็นเกณฑ์การวัดใด ๆ ได้ไหม ขอให้ผู้ชี้แจงช่วยตอบด้วยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล เขตบางซื่อ เขตดุสิต ขอเป็นตัวแทน เป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่มผู้เปราะบางในสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ แล้วก็สร้างความเท่าเทียมให้กับกลุ่มเด็กรหัส G

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานคะ เด็กนักเรียนแล้วก็นักศึกษาจำนวนเป็นแสนคนไม่ได้รับรอง สถานภาพทางกฎหมาย ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ หรือตัวอย่างล่าสุด จาก Thai PBS ยังระบุว่ามีเณรไร้รัฐ ไร้สัญชาติกว่า ๑๐๐ คนในจังหวัดเชียงใหม่ไม่สามารถ เข้าเรียนในระดับประถมศึกษาได้ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนกว่า ๖๐๔,๕๕๔ คน ไม่สามารถเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ ผลจากการถูกผลัก ไปสู่ชายขอบส่งผลซ้ำเติมให้กับกลุ่มคนเปราะบางพิเศษอย่างเด็กผู้หญิงรหัส G เด็กผู้หญิง เหล่านี้เมื่อไม่ได้รับการศึกษาที่สมควรแก่วัย ไม่มีองค์ความรู้ในด้านสิทธิของตน เมื่อเข้าสู่ช่วง วัยรุ่นตอนต้น ครอบครัวผลักภาระให้ไปแต่งงาน ทั้งเพื่อลดภาระภายในครอบครัว หรือครอบครัวขายเด็กหญิงเหล่านั้นให้กลายเป็นเมียตั้งแต่เด็ก ด้วยความมุ่งหวังว่า การแต่งงานจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น แล้วก็รวมถึงการถูกเนื้อต้องตัวชาย เมื่อเด็กหญิงถูกบังคับให้แต่งงานอาจจะไม่ได้อยากแต่งงาน ทางเลือกที่พอจะทำได้ก็คือ ย้ายถิ่น ทำงานไร้ทักษะในเมืองหรือว่าในพื้นที่อื่น ๆ จากข้อมูลของ Plan International ได้ทำการวิจัยขึ้นในปี ๒๕๖๑ พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวนกว่า ๓๕๐ คนในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย มีเพียง ๒๒๓ คนเท่านั้นที่เข้ารับการศึกษา เด็กเหล่านี้ควรได้รับการศึกษา ทั้งหมด นอกจากนี้การศึกษาสูงสุดส่วนใหญ่จะหยุดอยู่ที่ประถมศึกษาตอนต้น สาเหตุที่ทำให้ เด็กเหล่านี้ต้องหยุดเรียน หลุดออกจากระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาส่วนบุคคล ปัญหาภายในครอบครัว แล้วก็อีกปัญหาสำคัญที่ดิฉันกล่าวขึ้นต้นก่อนหน้านี้ คือการแต่งงานก่อนวัยอันควร การท้องในวัยรุ่น ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญคิดรวมแล้วกว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ โดยเด็กหญิงที่อายุน้อยที่สุดในการแต่งงานนี้คือ ๑๑ ขวบเท่านั้นค่ะ ๙๑ เปอร์เซ็นต์ของการแต่งงานนั้นมีเหตุผลมาจากความเชื่อ จารีตประเพณีและวัฒนธรรม แต่ว่าก็มีเหตุผลนะคะ ต่อมาพบว่า ๘๓ เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างแต่งงานถูกบังคับ ให้เกิดการแต่งงานเกิดขึ้น สืบสาเหตุมาจากการไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา ไม่ได้มีความรู้ อย่างเพียงพอภายในเรื่องเพศและสุขภาวะอนามัยเจริญพันธุ์ ทำให้มีแนวโน้มในการถูก ล่วงละเมิดทางเพศอีกด้วยค่ะ การแต่งงานโดยไม่สมยอม เด็กสาวเหล่านี้ไม่มีสิทธิในการเลือก คู่ครอง และทำให้หลายคนตั้งท้องโดยไม่สมัครใจ ผลกระทบที่เกิดขึ้นเหล่านี้โยงใยไปถึง การขาดการศึกษา และยิ่งไปกว่านั้นเครื่องมือไม่กี่อย่างที่เด็กเหล่านี้จะสามารถผลักตัวเอง ออกจากวังวนได้ จากการถูกกดขี่ก็คือการศึกษาค่ะ แต่ระบบราชการก็ยังพรากอาวุธเดียวที่มีจากเด็กผู้หญิงเหล่านี้ไปอีกด้วย เรามาลองดูกันค่ะ ว่าผลกระทบจากการแต่งงานก่อนวัยอันควร อันดับแรกเลยก็คือเป็นปัญหาสังคมที่เรา พยายามรณรงค์กันมาตลอดก็คืออย่างคุณแม่วัยใส เมื่อเด็กผู้หญิงเหล่านี้ตั้งครรภ์ก่อนวัย อันควร ตามมาพร้อมฐานะแบกรับความเป็นแม่และความเป็นเมีย แล้วก็ถ้าหากเพื่อนสมาชิก ลองคิดย้อนดูนะคะว่าตอนที่เราอายุ ๑๑ ปี ๑๕ ปี เราทำอะไรกันอยู่ หลายคนคงอาจจะเริ่ม เรียนกวดวิชา หลายคนเล่นเกมกันอย่างสนุกสนาน แต่ว่าเด็กผู้หญิงเหล่านี้กลับต้องทำหน้าที่ เป็นแม่ดูแลบุตร แล้วก็ต้องทำหน้าที่เป็นภรรยาในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ภายในครอบครัว นอกจากนี้การตัดสินใจแต่งงานยังเกิดจากความต้องการจากบิดามารดา ไม่ใช่ความต้องการ ของตัวเด็กเอง รวมถึงระยะการศึกษาดูใจที่บางคนเจอกันไม่กี่ครั้งก็ถูกจับให้แต่งงาน ผนวกกับเป็นเรื่องที่เกิดความรุนแรงขึ้นภายในสังคม ซ้ำร้ายเหล่านี้เด็กไม่กล้าที่จะปกป้อง สิทธิภายในร่างกายของตนเองเพียงเพราะกลัวผู้เป็นสามีในฐานะหัวหน้าครอบครัว

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายค่ะ ปัญหาจากการแต่งงานก่อนวัยอันควร ตามมาด้วยการดูแล ช่วงระหว่างตั้งครรภ์ที่ไม่เหมาะสม การทำแท้งอย่างผิดกฎหมาย อาจจะซื้อยามากินเอง เด็กหลายคนเมื่อเลิกรากับสามีก็ต้องไปทำงานต่างบ้านต่างเมืองเพื่อหาเงินมาจุนเจือให้กับ ครอบครัว และการแต่งงานก่อนวัยอันควร เด็กเหล่านี้ขาดอิสระทางความคิดและโอกาส ในชีวิต อาทิ โอกาสทางการศึกษา โอกาสในการทำงานที่ตนเองต้องการ ถูกจำกัด การทำงานอยู่ภายในบ้าน คอยเลี้ยงดูให้กับครอบครัว และเมื่อหน้าที่สถานะทางสังคม เปลี่ยนไปกลับเข้าไปสู่โอกาสทางการศึกษา โอกาสอื่น ๆ ก็ลดน้อยลงตามไปด้วย ดิฉันอยากจะขอสอบถามถึงหน่วยงานด้วย แล้วก็ร่วมกับภาครัฐ กับเด็กไร้รัฐที่ทำงาน ที่ผ่านมา ทุกอย่างในความคิดของเด็กก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย เปลี่ยนแปลงไป ตามกาลเวลา พวกเธอไม่ได้อยากถูกจำกัดอยู่ในกรอบจารีตประเพณีอย่างที่เธอไม่ได้เลือกมา อีกต่อไป ไม่มีสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง พวกเธอมองเห็นความเท่าเทียม ทางเพศมากขึ้น แล้วก็ต้องการเข้าถึงสิทธิในการศึกษาและสวัสดิการต่าง ๆ ที่พึงมีเฉกเช่น พวกเราทุกคน ดิฉันในฐานะผู้แทนราษฎรจึงอยากขอให้การอภิปรายในการประชุมสภาครั้งนี้ เป็นพื้นที่ เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มโอกาสให้น้อง ๆ เด็ก ๆ รหัส G เหล่านี้ได้มีโอกาส ให้เท่าเทียมกับเด็กกลุ่มอื่น ๆ ไม่นำหมวกที่ขึ้นต้นด้วยรหัส G มาใช้เป็นอุปสรรค ในการขัดขวางสิทธิอันพึงมีของพวกเขา ทำให้เด็กเหล่านี้หลุดการศึกษาออกไป ให้เด็กเหล่านี้ มีสิทธิในการเข้าถึงร่ายกายของตนเองเป็นสิทธิอันพึงมี รวมไปถึงขยายโอกาสทางด้าน สาธารณสุข และเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่ควรจำกัดเพียงแค่สัญชาติ ไม่ใช่แค่เพียงปัจเจกบุคคล ครอบครัวหรือสังคม แต่จะต้องเป็นบทบาทของรัฐบาลและผู้แทนราษฎรของเราทุกคนด้วย ที่ต้องเป็นไม้ เป็นมือ เป็นหลักสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ สุดท้ายนี้ดิฉันอยากจะขอฝากไว้ว่า เด็กไม่ว่าจะเป็นรหัส G นำหน้าหรือไม่ สุดท้ายพวกเขาคือเด็กค่ะ เป็นผู้ที่มีสิทธิเฉกเช่น กับเราทุกคน ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคก้าวไกล เขตบางซื่อ เขตดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี วันนี้ดิฉันก็อยากจะมาตั้งกระทู้ถามเพื่อเป็นแนวทาง ดิฉันในฐานะ ที่เป็นผู้แทนราษฎร และเป็นผู้แทนของผู้ที่มีประจำเดือน หรือว่าผู้แทนคนมี Mens ด้วยนะคะ ขอ Slide ค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ผ้าอนามัยก็เป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำรงชีวิตของคนมีประจำเดือน หรือว่าคนมีมดลูกทุกคนต้องใช้ในช่วงที่มี Mens มา การเป็นประจำเดือนของมนุษย์เป็นเรื่องของเพศสรีระที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อถึง วัยเจริญพันธุ์ ผ้าอนามัยจึงเป็นสินค้าจำเป็นและมีความสำคัญสำหรับประชากรคนที่มีมดลูกค่ะ ประเทศไทยมีผู้หญิงจำนวนมากที่เผชิญกับภาวะการขาดแคลน หรือไม่สามารถเข้าถึง ผ้าอนามัยได้เนื่องจากมีราคาที่สูงเกินไป จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา ได้ระบุว่า ผู้มีประจำเดือน ๑ คนจะมีประจำเดือนร่วม ๔๐ ปี และแต่ละบุคคลมีจำนวนวัน ของประจำเดือนที่แตกต่างกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นมา ๓ วันบ้าง ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง หรือแม้แต่ ๑ ปีบางคนก็อาจจะมาแค่ ๒-๓ เดือนเท่านั้นขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของแต่ละบุคคล และโดยการเปลี่ยนผ้าอนามัยใน ๑ วันควรจะมีการเปลี่ยนอย่างน้อย ๔ แผ่น ซึ่งเมื่อ พิจารณาแล้วจะพบว่าผู้มีประจำเดือน ๑ คนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อผ้าอนามัย ต่อเดือนประมาณ ๑๕๐-๓๐๐ บาท หรือราว ๑,๕๐๐-๓,๕๐๐ บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับชนิดและ ความต้องการของบุคคลนั้น ๆ ด้วยค่ะ ผ้าอนามัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นแล้วก็เป็นภาระค่าใช้จ่าย ประจำเดือนที่เราต้องแบกรับ หลาย ๆ ท่านอาจจะคิดว่าเป็นจำนวนเงินเล็กน้อยเมื่อเทียบ กับการดำรงชีวิต แต่ว่าเมื่อพิจารณาพบแล้วว่าผู้มีประจำเดือน ๑ คนจะต้องมีค่าใช้จ่ายทั้ง ชีวิต ๖๗,๒๐๐-๑๓๔,๔๐๐ บาท ตลอดช่วงที่มีประจำเดือน หรือคิดเป็นประมาณ ๔๐ ปี ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะต้องมีการพิจารณาถึงการลด และการแก้ไขปัญหาหรือที่เรา เรียกว่าความจนประจำเดือน หรือคำว่า Period Poverty ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่เผชิญกับสิ่งเหล่านี้ค่ะ การยกเลิกภาษี ผ้าอนามัย แล้วก็การแจกผ้าอนามัยฟรีสำคัญอย่างไร การยกเลิกภาษีผ้าอนามัยแล้วก็การแจก ผ้าอนามัยฟรีนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการส่งเสริมสิทธิ ความเสมอภาค ความเท่าเทียม ทางเพศ รวมถึงการส่งเสริมสุขภาวะอนามัยเจริญพันธุ์ให้ดียิ่งขึ้นไปด้วย ปัจจุบันในหลายประเทศ ให้ผ้าอนามัยเป็นสินค้าจำเป็นที่ยกเว้นในการจัดเก็บภาษี แล้วก็ได้รับการผลักดันให้เป็น สิทธิความเท่าเทียมทางเพศให้ผู้หญิง หรือผู้ที่มีประจำเดือนไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย ในแต่ละเดือน ผู้หญิงกับเด็กเล็ก แล้วก็เด็กผู้หญิงเจ็บปวดไปกับภาระค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็น การปวดท้อง Mens หรือแม้กระทั่งการที่ต้องเจ็บป่วยด้วยเรื่องที่เขาไม่สามารถเข้าถึง ผ้าอนามัยที่เขาต้องการได้ค่ะ ดิฉันขอยกตัวอย่างในประเทศเคนยา ปัญหาความจนประจำเดือน เรื่องนี้เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพราะมีเด็กหญิงได้รับการ Bully ว่าเลือดเปื้อนกระโปรง เพื่อน ๆ ในโรงเรียนล้อจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย เรื่องนี้เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรโดยคุณโกเรีย เอลโบว่า แล้วก็เรื่องนี้นำไปสู่การยกเลิกภาษีผ้าอนามัยในประเทศเคนยา แล้วก็นักเรียน ยังไม่พอนะคะ การยกเลิกภาษีผ้าอนามัยในคุกของประเทศเคนยาด้วยค่ะ แต่ว่าทุกวันนี้ ประเทศเคนยาก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความจนประจำเดือนนี้ได้หมดไป เพราะยังมี ปัญหาอื่น ๆ ตามมาค่ะ เราก็ยังได้เห็นการพัฒนาแนวทางนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ แล้วก็การสร้างความเท่าเทียมค่ะ เราไปดูในประเทศอินเดียกันบ้างนะคะ ข้อมูลจาก UNICEF พบว่าแม้ชาวอินเดีย ๗๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • รับทราบค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ในประเทศอินเดียนะคะ หลาย ๆ ท่านมองว่าเรื่องของ Mens เป็นเรื่องที่สกปรก เลือดไม่ควรแปดเปื้อนกับสมาชิก ในครอบครัว ถ้าเด็กสาวหรือเด็กหญิงนั้น ๆ มี Mens ในช่วงเวลานั้น แม้ว่าอินเดีย จะมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่อินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนา นโยบายในการช่วยเหลือผู้มีประจำเดือน ในปี ๒๐๑๘ ด้วยการยกเลิกการจัดเก็บภาษี ผ้าอนามัย แล้วก็ยังไม่รวมไปถึงนะคะ นอกจากนี้ ๓๖ เปอร์เซ็นต์ของผู้มีประจำเดือน สามารถใช้ผ้าอนามัยได้โดย ๑ ใน ๑๐ ของผู้มีประจำเดือนมีอายุต่ำกว่า ๒๑ ปีไม่สามารถเข้าถึง ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ แล้วก็แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังมีปัญหา เรื่องความจนประจำเดือน แล้วก็การถกเถียงกันในเรื่องการจัดเก็บภาษีผ้าอนามัย แล้วก็ ๒๒ มลรัฐนะคะ แคลิฟอร์เนีย นิวยอร์ก เพนซิลเวเนีย ยกเลิกการจัดเก็บภาษีผ้าอนามัย เรียบร้อยแล้วนะคะ ขอ Slide ถัดไปที่เป็น Slide ของสหรัฐอเมริกาค่ะ หลาย ๆ มลรัฐ เริ่มแจกผ้าอนามัยฟรีในโรงเรียนและในเรือนจำ ไม่ว่าจะเป็นที่นิวยอร์ก โอเรกอน แล้วก็ที่อิลลินอยส์ ในประเทศไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผ้าอนามัยแบบสอด เป็นสินค้าเครื่องสำอางตามกฎกระทรวง ทำให้เกิดความกังวลว่าผ้าอนามัยจะเพิ่มขึ้น แม้ว่ากระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่าผ้าอนามัยเป็นรายการสินค้าควบคุมไม่มีการจัดเก็บภาษี ผ้าอนามัยในอัตราภาษีที่ฟุ่มเฟือย เป็นเพียงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗ เหมือนกับ สินค้าอื่น ๆ แต่หลายฝ่ายค่ะ ภาคประชาสังคม หรือแม้กระทั่งภาคการเมืองเองก็ออกมา รณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัยทุกรูปแบบ แล้วก็ผลักดันให้มีนโยบาย แจกผ้าอนามัยฟรีให้กับประชาชน ดิฉันในฐานะตัวแทนของผู้มีประจำเดือนก็อยากจะขอ เรียนถามไปยังรัฐมนตรีว่า ข้อที่ ๑ อยากทราบถึงอัตราภาษีนำเข้าสำหรับการนำเข้า ผ้าอนามัยทั้งแบบธรรมดาและแบบสอดจากต่างประเทศว่ามีอัตราการเสียภาษีร้อยละเท่าใด ดิฉันขอทราบรายละเอียดด้วยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบพระคุณสำหรับคำตอบ ด้วยนะคะ เรื่องเกี่ยวกับผ้าอนามัยหรือว่าผ้าอนามัยในลักษณะอื่น ๆ ที่มาจากต่างประเทศ มีข้อห่วงใยว่าถ้าจะมีแนวทางในการที่จะลดภาษีผ้าอนามัยต่อไป เพราะว่าก็ต้องเรียน ทางท่านประธานด้วยนะคะว่า จริง ๆ แล้วแต่ละเดือนไม่มีใครที่อยากจะเป็น Mens นะคะ จริง ๆ เรื่องนี้มันเป็นการห้ามกันไม่ได้ด้วย ถ้าในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกทั้งประเทศที่ พัฒนาแล้ว ทั้งประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่เล็งเห็นความสำคัญของการมีประจำเดือนก็นำไปสู่ ความเท่าเทียมทางเพศได้เช่นกัน แล้วก็อยากจะฝากด้วยนะคะ ในเรื่องของประเด็นคำถามที่ ๒ ก็อยากจะถามไปทางท่านรัฐมนตรีด้วยนะคะว่า รัฐบาลจะมีแนวทางในการยกเลิกการจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผ้าอนามัย หรือแนวทางอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนผ้าอนามัยฟรี ให้กับประชาชน หรือนักเรียน หรือว่าสถานศึกษา หรือแม้กระทั่งในคุกก็ตาม ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชาวบางซื่อ เขตดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันมีเรื่องปรึกษาหารือกับท่านประธานดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ไฟทางไม่ส่องสว่าง บริเวณสถานีกลางบางซื่อ ขอให้การไฟฟ้าเข้าไปติดไฟส่องสว่างให้กับบริเวณสถานีกลาง บางซื่อด้วยค่ะ ประชาชนสัญจรอย่างยากลำบากมาก

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ขอให้ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรแยกวัดสะพานสูง ประชาชนสัญจรไปมา ชาวบ้านต่างบอกว่าเป็นแยกวัดใจค่ะ ใครจะล้ม ใครจะรอดขึ้นอยู่กับดวง ดังนั้นจึงขอให้มี การติดตั้งสัญญาณไฟจราจรจะได้ปลอดภัยมากขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ขอให้มีอุปกรณ์ให้อาสาสมัครกู้ภัยชุมชน ในช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา ฝนตกแทบทุกวัน เขตบางซื่อ เขตดุสิตเป็นพื้นที่ที่มีตรอกและซอกซอยเยอะมาก งูเข้ามา กินแมวในบ้านเกิดความเสี่ยงต่อประชาชน เมื่อเจ้าหน้าที่กู้ภัยเข้าไปในบ้านก็ไม่มีอุปกรณ์ ใช้มือเปล่าในการจับงู ก็ขอฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยค่ะ เพื่อความปลอดภัย ของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ ฝุ่นจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ประชาชนที่อยู่ละแวก แถวบริเวณบางโพ เส้นทางสามเสน เกิดโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง เกิดผลเสียต่อระบบ ทางเดินหายใจ ยิ่งช่วงหน้าหนาวแล้วก็ฝุ่น PM2.5 ทำให้เกิดแพ้ฝุ่นเยอะขึ้นมาก ขอฝาก ท่านประธานไปด้วยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๕ ฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐที่ไม่ตรงกัน รัฐ Update ไม่ตรงกัน ประชาชนไม่สามารถประกอบธุรกิจได้ กรณีนี้เป็นเรื่องการขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ที่เขตบางซื่อ ประชาชื่น ร้านบอมเบย์บลัด จึงขอให้หน่วยงานราชการปรับฐานข้อมูล ให้ตรงกัน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๖ ขอให้มีสวัสดิการด้านความปลอดภัยในอาชีพและทรัพย์สิน ของอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอาสาสมัคร ในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เคยใช้สารเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน หลายครั้งที่เจ้าหน้าที่ ต้องกังวลถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน จึงอยากฝากท่านประธานถึงมาตรการ ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๗ ดิฉันขอฝากอีกครั้งในการปรึกษาหารือครั้งที่แล้วก็ยังไม่ได้รับ คำตอบเลยในเรื่องของสถานบันเทิงทีบาร์ที่ส่งเสียงไปละแวกโดยรอบของชุมชน ในเขตบางซื่อ โดยที่ร้านนี้ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการเปิดได้อย่างไรถึง ๖ ปี ประชาชน ใช้ชีวิตลำบากยากยิ่งผวาเสียงดังทะลุโสตประสาท ขอความคืบหน้าในข้อร้องเรียนนี้ด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางซื่อ เขตดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี พรรคก้าวไกล วันนี้ขอร่วมอภิปรายในญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษามาตรการการควบคุมฝูงชนและแสวงหาข้อเท็จจริงจากการสลายการชุมนุม ของเยาวชน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ ย้อนกลับไปปี ๒๕๖๓ มีเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เป็นเสมือนไอน้ำอันร้อนระอุที่กำลังรอการปะทุ นำไปสู่การเกิดการชุมนุมตลอดช่วงปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ จนถึงปี ๒๕๖๕ หลังจากที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่และดำเนินคดีอาญากับหัวหน้าพรรค และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคทั้ง ๑๖ คน เป็นเวลา ๑๐ ปี คนจำนวนมาก เห็นว่าคำวินิจฉัยนี้มีแรงจูงใจทางการเมือง ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวางต่อรัฐบาล ต่อมามีการชุมนุมเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินตั้งแต่ เดือนมีนาคม ปี ๒๕๖๓ ให้อำนาจล้นฟ้ากับหน่วยงานราชการในการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือในการระบาดของ COVID-19 ซึ่งพ่วงมากับมาตรการกำจัดสิทธิและเสรีภาพ ในการแสดงออก การใช้อำนาจ การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ ดำเนินคดีกับนักศึกษา นักกิจกรรม รวมทั้งแกนนำและผู้เข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบในเดือนตุลาคม รัฐให้ไฟเขียว กับตำรวจในการปราบปรามการชุมนุมโดยวิธีใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม ทั้งจากตำรวจ ควบคุมฝูงชน ทหาร และหน่วยสันติบาล จากหน่วยศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ มีการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓ จนถึง วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ มีประชาชนถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมและการแสดงความคิดเห็น ทางการเมืองไปแล้วอย่างน้อย ๑,๘๘๘ คน ในจำนวน ๑,๑๖๕ คดี ซึ่งในจำนวนนี้มีเยาวชน ที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปีเป็นถึง ๒๘๓ ราย และหากนับจำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในหลายคดีโดยไม่หักเลขออก จะพบว่ามีจำนวนผู้ชุมนุมถูกดำเนินคดีไปแล้วไม่น้อยกว่า ๓,๗๑๐ ครั้ง ในจำนวนนี้ เป็นความผิดในฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ไปกว่า ๒๓๖ คดี เป็นข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๖ อย่างน้อย ๑๒๗ คน เป็นข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กว่า ๑,๔๖๙ คน เป็นข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ กว่าอีก ๑๗๔ คดี ถือเป็นสถิติการดำเนินคดีทางการเมืองที่สูงที่สุด ในประวัติศาสตร์ประเทศไทย รัฐบาลถูกนานาประเทศแล้วก็องค์กรระหว่างประเทศ ประณามการใช้ความรุนแรงต่อประชาชน มองประชาชนเป็นภัยคุกคาม การกระทำผิด หลักสากล ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระสุนยาง การใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง จนส่งผลให้ประชาชน ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต จนมาถึงวินาทีนี้ที่ดิฉันกำลังอภิปรายอยู่ก็ยังไม่มีการให้ ความยุติธรรมกับประชาชนที่ถูกดำเนินคดี ดิฉันหวังว่าทุกท่านในสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ จะไม่ลืมว่ามีผู้ชุมนุมอย่างน้อย ๕๒๘ คนได้รับบาดเจ็บ หลายรายมีอาการบาดเจ็บสาหัสถึง ขั้นเสียชีวิตโดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตนั้นเป็นเยาวชนอายุเพียง ๑๕ ปี เป็นผลที่เกิดจากการสลาย การชุมนุมโดยใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งสิ้นค่ะ ยังไม่นับผลกระทบที่เกิดจากการใช้ แก๊สน้ำตา ถูกกระแทกด้วยของแข็ง ถูกยิงด้วยกระสุนไม่ทราบชนิด และยังทุพพลภาพอีก หลายคน ท่านประธานคะ ขอให้นึกถึงเสมอว่าตัวเลขนี้มีเลือดเนื้อเชื้อไขจริง ๆ เป็นชีวิต ของคนคนหนึ่ง และชีวิตเหล่านี้ยังไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐ ยังจะต้องมีภาระต่าง ๆ ที่พ่วงมาอีก ยิ่งไปกว่านั้นความรุนแรงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงกับร่างกายเท่านั้น ยังเกิดด้วยสภาพ จิตใจเด็ก เยาวชน ประชาชนที่ถูกดำเนินคดี เพราะเข้าร่วมการชุมนุมจะต้องพบกับ ความรุนแรงเหล่านี้ด้วย คดีทั้งหมดของเยาวชนที่ถูกกล่าวหาในการใช้สิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงออกการชุมนุมเพื่อต้องการเรียกร้องอนาคตที่ดีให้กับตัวเองและสังคมรอบข้าง ไม่ใช่อาชญากรรม แต่ระบบยุติธรรมกลับปฏิบัติกับคนเหล่านี้ราวกับอาชญากรคดีอุกฉกรรจ์ พวกเขาต้องรับมือกับกระบวนการต่าง ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย ที่สำคัญคือการสูญเสียโอกาสทางสังคมและโอกาสทางการศึกษา ต้องหลุดออกจากระบบ การศึกษาเพราะต้องรับมือกับกระบวนการยุติธรรมในลักษณะนี้ ส่วนหนึ่งต้องเผชิญกับ ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ต้องแยกออกจากครอบครัว เจอปัญหาด้านการเรียน ถูกกดดัน บางส่วนได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงจนเกิดอาการ PTSD หรือเกิดโรค ตื่นตระหนก Panic Disorder ตามมา ต้องใช้ชีวิตอยู่กับความหวาดระแวงเนื่องจาก เหตุการณ์การสลายการชุมนุม ถูกเจ้าหน้าที่รัฐติดตามตัว ไปเคาะประตูถึงบ้าน ถูกสอดแนม ผ่านโทรศัพท์ และดิฉันในฐานะผู้แทนราษฎรชาวดุสิต ชาวบางซื่อ ขอตั้งคำถามจากตัวอย่าง ที่ชัดเจนในพื้นที่ที่เกียกกาย ในวัด ในเขตบางซื่อ เขตดุสิต เป็นหน่วยที่พักของ คฝ. ซึ่งตั้งอยู่ ไม่ห่างจากเขตรัฐสภา สี่แยกเกียกกายนี่เองค่ะ ชาวบ้านต้องเผชิญกับความรู้สึกไม่ปลอดภัย จากการควบคุมของ คฝ. การตั้งลวดหนาม Container รถบรรจุน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สี แก๊สน้ำตา โฟม และการปิดถนนทั้งหลาย คนที่ตั้งเคยมาขออนุญาตล่วงหน้ากับชาวบ้าน ชาวดุสิต ชาวบางซื่อหรือไม่ หรือเคยแจ้งบอกกล่าวกับชาวบ้านผู้ที่ได้รับผลกระทบนี้หรือไม่ นี่คือความไม่ปกติของระบบการเมืองที่ใช้องคาพยพต่าง ๆ กระทำความรุนแรงต่อประชาชน ทั้งร่างกายและจิตใจ และเราไม่ควรปล่อยผ่านเสมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนท้องถนนในช่วงปี ที่ผ่านมา เราต้องไม่ทำเหมือนปลอกกระสุนยางกลาดเกลื่อนนั้นที่ไม่มีอยู่จริง ต้องไม่ปฏิเสธว่า เจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงกับประชาชน และต้องไม่ปล่อยให้ผู้กระทำสามารถลอยนวล พ้นผิดได้ ดิฉันเห็นชอบกับญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษามาตรการควบคุมฝูงชนและแสวงหาข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุมของเยาวชน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและคืน ความยุติธรรมให้กับประชาชน ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล เขตบางซื่อ ดุสิต แขวงถนน นครไชยศรีค่ะ วันนี้ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ดิฉันสนับสนุนความหลากหลายในวิถีชีวิตที่แตกต่าง แล้วก็ การสร้างความเท่าเทียมให้คนทุกคนมากขึ้น มีจารีต มีประเพณี มีวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมาย ที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง นี่เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญในการดำรงชีวิต เป็นอาชีพของชนเผ่าพื้นเมือง ยังคงต้องพึ่งพาอาศัยองค์ความรู้และวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ มาใช้ในการดำเนินชีวิต แต่จะเรียกได้ว่าหลาย ๆ ครั้งภูมิปัญญาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้กลับถูก ทำลายลงเพียงเพราะกรอบของกฎหมาย เช่น เรื่องป่าอนุรักษ์ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญมาก สำหรับพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองที่มีการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมธรรมชาติและป่ามาโดยตลอด

    อ่านในการประชุม

  • กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณป่าอนุรักษ์นั้นมาก่อน กลับได้รับ ผลกระทบจากนโยบายการอนุรักษ์ป่าที่เน้นการสงวน การรักษา การห้ามใช้ประโยชน์จนเกิด เป็นคดีความต่าง ๆ มากมาย แม้ภาคประชาชนในนามของสมัชชาป่าไม้พลเมืองเองก็ตาม ก็จะได้ดำเนินการขับเคลื่อน เพื่อผลักดันให้เกิดสิทธิชุมชนในการจัดการป่านั้นเป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานของชุมชนในทุกผืนป่า แล้วก็มุ่งเน้นการทำงานเชิงพื้นที่โดยครอบคลุมป่าไม้ ทุกประเภท หรือที่เรียกว่าภูมิทัศน์ป่าไม้ เพื่อทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนนั้นสามารถ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงได้อย่างครอบคลุม ตัวดิฉันเองก็เป็นนักเรียนมานุษยวิทยา แล้วก็เคยทำงานในสาขาของมานุษยวิทยาด้วย ได้มีโอกาสไปพื้นที่ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์พี่น้อง ชาวปกาเกอะญอที่จังหวัดลำปางนะคะ หรือแม้กระทั่งในจังหวัดภาคอีสานในกลุ่มชาติพันธุ์ ต่าง ๆ เองก็ตาม เห็นความใฝ่ฝันของพี่น้องต่าง ๆ วัฒนธรรมท้องถิ่น เรื่องเล่านิทาน ที่มีเอกลักษณ์เป็นความสวยงาม ที่เราไม่อาจเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมไหนดีกว่าวัฒนธรรมไหน ดิฉันอยู่ในพื้นที่ในการเป็นนักวิจัยก่อนมาเป็นนักการเมืองนี้นะคะ ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน เพื่อที่จะเข้าใจถึงวิถีชีวิตดั้งเดิม แล้วก็ได้รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะ เรื่องป่าไม้ที่คนอยู่กับป่ามาโดยตลอด แม้จะได้รับประโยชน์จากทำการเกษตรในพื้นที่ป่า แต่ชนเผ่าพื้นเมืองก็มีวิธีการในการอนุรักษ์ป่าไม้ที่น่าสนใจ ในการปลูก การรักษา แล้วก็ การใช้ประโยชน์ไปพร้อม ๆ กัน แต่ก็ดูเหมือนว่าสิ่งเหล่านี้กลับไม่สามารถทำได้ในปัจจุบัน เพราะกรอบของกฎหมายที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยไม่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในพื้นที่นี้มาก่อน

    อ่านในการประชุม

  • การนำแนวทางการจัดการของป่าชุมชนโดยการทำให้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ในการส่งเสริม แล้วก็การคุ้มครองของสิทธิชุมชนจะช่วยขยายผลการทำงานออกไป ในวงกว้าง และการสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจบนฐานความร่วมมือที่เท่าเทียมกัน ทำให้ป่าชุมชนเป็นแหล่งงานและรายได้ สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการจัดการป่า ให้เกิดขึ้นจริง มีประสิทธิภาพ แล้วก็บรรลุเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าที่กำหนดไว้ การตั้ง สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย จะช่วยสนับสนุนในการดำรงชีวิตแบบชนพื้นเมือง ภูมิปัญญาดั้งเดิม แล้วก็ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษา เรื่องเล่า เพลง นิทาน กลอนอันล้ำค่า และเป็นไปอย่างมีรูปธรรม และมีการจัดการที่เหมาะสม โดยมีตัวแทน ที่เข้าใจพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองอย่างแท้จริงในการดำเนินการ นอกจากนี้แล้วการตั้งสภาชนเผ่า พื้นเมืองยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการลดความเปราะบางในสังคม ช่วยรักษาสิทธิพลเมือง ที่พึงมี และเป็นกระบอกเสียงสำคัญที่จะใช้ในการสื่อสารกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อการสร้าง น้ำหนักให้สังคมได้ยินปัญหาและรับฟังสิ่งที่พี่น้องเราต้องการ โดยเฉพาะชุมชนที่พึ่งพาป่า ทำกิน การดำรงชีวิตทำให้ได้รับผลกระทบจากการอนุรักษ์ นโยบายจากการอนุรักษ์ป่า เน้นการสงวนรักษา แต่ว่าห้ามการใช้ประโยชน์ ปัจจุบันยังมีประชาชนถูกดำเนินคดี ทางกฎหมายเป็นจำนวนมาก กรณีการเสียชีวิตของคุณบิลลี่ พอละจี ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง และยังมีกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ที่ถูกกระทบ ถูกกีดกันให้เป็นคนชายขอบไปโดยปริยาย วาทกรรมจากการพัฒนาต่าง ๆ จากโครงการแห่งรัฐ การเอารัดเอาเปรียบทั้งค่าแรง พรากจิตวิญญาณของพี่น้องให้สลายหายไปตามกาลเวลาโดยรัฐเป็นผู้ขีดเขียน ดิฉัน ในฐานะผู้แทนราษฎรของชาวไทยทุกคน ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดการนำ พระราชบัญญัตินี้เข้าสู่รัฐสภาแห่งนี้ เพื่อเป็นแรงสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมในสิทธิ ขั้นพื้นฐานของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง รวมไปถึงการอนุรักษ์ไว้ซึ่งจารีตประเพณีที่สำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และขอให้เพื่อน ๆ สมาชิก ทุกคนให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ด้วย ขอบคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล เขตบางซื่อ เขตดุสิต เฉพาะแขวงถนนนครไชยศรี วันนี้ก็ขอเอาเรื่องความเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้อง ชาวเขตบางซื่อ เขตดุสิตให้ได้รับการแก้ไขดังนี้ค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ เนื่องด้วยเดือนธันวาคมนี้เป็นเดือนของคนพิการสากลและในเขต บางซื่อพื้นที่ของดิฉันค่ะ มีผู้พิการ คนพิการจำนวน ๒,๒๙๕ คน แล้วก็เขตดุสิตจำนวน ๑,๓๕๗ คน ทั้งนี้ยังมีความต้องการในการใช้ล่ามภาษามือเป็นจำนวนมาก ขอให้มีการฝึก อาชีพให้อย่างจริงจัง มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลขั้นพื้นฐานแล้วก็การศึกษาอย่างเท่าเทียม แล้วก็ขอให้รัฐมีแนวทางการเพิ่มล่ามภาษามืออย่างเป็นรูปธรรมค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ เป็นความเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้องชาวชุมชนบ้านพักริมทางรถไฟ ไม่สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้ ชาวบ้านกว่า ๓๐๐ หลังคาเรือนในเขตบางซื่อ ต้องจ่ายค่าไฟแพงกว่า Rate ปกติหลายเท่า จึงขอให้การไฟฟ้าอนุญาตติดตั้งไฟฟ้าของชุมชน เป็นการชั่วคราวเพื่อบรรเทาค่าน้ำค่าไฟแพงค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ผู้สูงอายุในเขตบางซื่อนี้ใช้สิทธิบัตรทองต้องไปใช้สิทธิใน โรงพยาบาลที่ค่อนข้างไกลมากนอกเขต ค่าใช้จ่ายครั้งหนึ่ง ๓๐๐-๔๐๐ บาท ผู้ไปรับ การรักษาก็ไม่สามารถเดินทางไปรถประจำทางสาธารณะได้ ฝากท่านประธานให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทำให้สามารถย้ายสิทธิกลับมาใช้สิทธิรักษาที่โรงพยาบาลในเขตบางซื่อได้ค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ ฝุ่นตรงการก่อสร้างหน้ารัฐสภาเรานี้เอง เป็นการก่อสร้างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงเป็นปัญหาอย่างมาก ชาวบ้านร้องเรียนเรื่องฝุ่น ฤดูหนาวนี้ฝุ่นพิษอย่าง PM2.5 นี้ทำร้ายสุขภาพเราอย่างมาก ขอให้ท่านประธานกำชับไปยังหน่วยงานการรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยว่าเพิ่มมาตรการในการลดฝุ่นจากการก่อสร้าง แล้วก็ให้ มาตรการนี้เป็นไปอย่างเข้มงวดค่ะ ไม่ให้ปัญหาฝุ่นสาหัสไปมากกว่านี้ ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล เขตบางซื่อ เขตดุสิต แขวงนครชัยศรีค่ะ วันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมอภิปรายแล้วก็สนับสนุนยืนยันการแก้ไข ร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วันนี้ดิฉันก็อยากจะขอ เสริมประเด็นเพิ่มเติมจากเพื่อน ๆ สมาชิกทุกท่าน โดยดิฉันจะพูดถึงการถูกบังคับ การแต่งงานหรือการสมรสก่อนวัยอันควรค่ะ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรที่ไม่สามารถมองข้ามได้ค่ะ ตามคำอธิบายของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ Child Early and Forced Marriage หรือว่า CEFM หรือการบังคับเด็ก แต่งงาน หรือจะเรียกว่าแต่งงานก่อนวัยเยาว์ ก่อนวัยอันควรถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่กระทบต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทั่วโลก ทำให้พวกเขาไม่ได้มีสิทธิอิสระเสรีภาพ ไม่ได้มี การขีดเขียนเส้นทางชีวิตของตนเอง ทำให้พวกเธอเปราะบางตัดขาดออกจากโลกภายนอก รวมถึงสุ่มเสี่ยงต่อการเลือกใช้ความรุนแรงโดยคู่ครองจนไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้

    อ่านในการประชุม

  • ปัจจุบัน ๑ ใน ๕ ของ เด็กผู้หญิงทั่วโลกหรืออย่างน้อยเด็กผู้หญิง ๑๔ ล้านคนที่อายุน้อยกว่า ๑๘ ปีถูกบังคับ แต่งงานในทุก ๆ ปี กล่าวคือว่าในทุก ๑ นาทีเราจะมีเด็กผู้หญิง ๒๘ คนที่ถูกบังคับให้แต่งงาน โดยตัวเลขนี้ทวีคูณในประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดมีเด็กผู้หญิงถึง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ที่แต่งงานก่อน อายุ ๑๘ ปีและ ๑๒ เปอร์เซ็นต์แต่งงานอายุก่อน ๑๕ ปี เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ มาดูสถิติใน ประเทศไทย จากสถิติจาก Plan International ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ระบุว่า ๑๑๖ หมู่บ้านจาก ๙ อำเภอ ในจำนวนเด็ก ๑๓,๐๐๐ คนมี ๖๕ เปอร์เซ็นต์ที่แต่งงานตอนอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี โดยที่สถิติการแต่งงานอายุน้อยที่สุด คือ ๑๑ ปี เด็กผู้หญิงไทยมีอัตราการแต่งงานก่อนอายุ ๑๘ ปีถึง ๒๒ เปอร์เซ็นต์ และก่อนอายุ ๑๕ ปี อยู่ที่ ๔ เปอร์เซ็นต์เราได้เห็นตัวเลขนี้น่าตกใจ และกฎหมายนี้เป็นช่องโหว่ที่ถูกใช้เป็นกลไกในการละเมิดสิทธิเด็ก ปัจจุบันกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์กำหนดให้ชายหรือหญิงมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ กรณีมีเหตุสมควรศาลอนุญาตให้ ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิงนี้มีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ได้ตามมาตรา ๑๔๔๘ เป็นช่องโหว่ ทำให้เยาวชนอาจตกเป็นเหยื่อในการถูกบังคับการแต่งงานก่อนวัยอันควร และนี่ก็เป็น เป้าหมาย เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่าง SDG ข้อ ๕ ว่าด้วยเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และข้อย่อย ๓ การขจัดแนวปฏิบัติที่เป็นภัยทุกรูปแบบ เช่น การแต่งงานเด็กก่อนวัยอันควร และการทำลายอวัยวะเพศหญิง ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์จะเป็นการพิจารณาปรับเปลี่ยนอายุที่สามารถสมรสได้ตามกฎหมายเป็น ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป SDG เป็นก้าวแรกในการนำสังคมออกจากวังวนในการละเมิดสิทธิเด็ก โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง ให้พวกเธอได้มีอำนาจในการกำหนดชีวิตของตนเอง นอกจากเป็นสิทธิ ความเท่าเทียมทางเพศต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศแล้ว ยังเป็นการยืนยันความเท่าเทียม ทางเพศต่อเด็กผู้หญิงและผู้หญิงด้วย วันนี้ถือเป็นโอกาสอันน่าชื่นชมแล้วก็เป็นนิมิตหมายอันดี ที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมได้นำเข้ามาสู่รัฐสภาไทย จากเสียงเรียกร้องของประชาชนตั้งแต่ รัฐบาลชุดที่แล้ว ร่วมกับการผลักดันสมาชิกผู้แทนราษฎรจากพรรคอนาคตใหม่จนมาถึง พรรคก้าวไกลที่ได้สร้างการสนทนาพูดคุยกลั่นกรองมาเป็นพระราชบัญญัตินี้ ดิฉันจะขอให้ ผู้ต่อสู้ทุกคนผลักดันความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นระดับเล็ก ๆ มิติในชีวิตประจำวัน ของเราเองหรือในระดับสังคมก็ตาม วันนี้ขอให้พวกเราเฉลิมฉลองความสำเร็จนี้และขอให้ ก้าวไปด้วยความมุ่งมั่น มีผู้คนมากมายในอดีตที่ถูกกดทับ ถูกทำร้ายจากอคติสังคม ถูกกดขี่ โดยวัฒนธรรม วันนี้ถึงเวลาเปลี่ยนแล้วค่ะ ดิฉันเชื่อว่ากฎหมายที่ก้าวหน้าจะพาเราก้าวไกล ไปกว่าเดิม ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ แล้วก็เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่าน ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ผู้แทนคนบางซื่อ ดุสิตค่ะ วันนี้ดิฉันก็จะขออภิปรายสนับสนุนต่อร่าง พระราชบัญญัติฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน โดยเฉพาะประเด็นที่กระทบต่อ แม่เด็กแล้วก็ผู้สูงอายุ ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา แล้วก็มีจำนวนผู้สูงอายุเยอะ แล้วก็อัตราการเกิดน้อย เราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวค่ะ แล้วก็เหตุช่วงหนึ่งที่ผ่านมา ในรัฐบาลชุดนี้ได้นำประเด็นของอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงเป็นนโยบายหลักที่จะต้องเพื่อ รับมือกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ดิฉันขออนุญาตเอ่ยนามนะคะ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาพูดถึงหลายครั้ง ถึงการมีบุตรโดยเฉพาะ การอ้างว่าผู้หญิงนี้เป็นฝ่ายที่จะไม่มีลูก แล้วก็กล่าวว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่กำลังบิดเบี้ยวในสังคมไทย เราก็จะเห็นได้ว่าจากที่ท่านพูดมาก็มีนัยที่เกี่ยวข้องกับสตรีอย่างต่อเนื่องราวกับว่าการมี บุตรนี้เป็นหน้าที่ของผู้หญิงเพียงเท่านั้น แต่ไม่ได้พูดถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการมี บุตรเลยค่ะ ทำไมประเด็นการตั้งครรภ์กับฝุ่นจิ๋วนี้ถึงสำคัญ ดิฉันเรียนดังนี้ค่ะ ฝุ่นละอองมี สารปนเปื้อน สารหนู ปรอท แคดเมียม รวมถึงโลหะต่าง ๆ สามารถเดินทางไปถุงลมปอด แล้วก็อวัยวะส่วนอื่นในร่างกายได้ ต่อให้เป็นคนที่ปกติก็ยังเกิดโรคได้ โดยเฉพาะผู้หญิง ที่ตั้งครรภ์แล้วก็ผู้สูงอายุ ในเขตบางซื่อ ในเขตดุสิตที่ตั้งของรัฐสภาตรงนี้เองดิฉันได้รับเรื่อง ร้องเรียนมาเยอะมาก แล้วก็กังวลใจมากว่าพ่อแม่พี่น้องชาวดุสิตนี้จะต้องเอาสุขภาพมาเสี่ยง กับอากาศเช่นนี้ค่ะ เราอยากเห็นการพัฒนาก็จริงนะคะ ประเทศมีการเข้าถึงคมนาคมที่เหมาะสม แต่การสร้าง รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่พาดผ่านในเขตบางซื่อ เขตดุสิตนี้ฝุ่นก่อสร้างพัดกระพือเข้าลมหายใจของ พ่อแก่แม่เฒ่าของเรา เอาสุขภาพของพวกท่านมาเป็นเดิมพันพร้อมกับการพัฒนาในประเทศ ไทยนี้ และภัยเงียบที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ก็คือโรคสมองเสื่อมขอสไลด์ด้วยนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • กรมสุขภาพจิตเผยว่าผู้สูงอายุ ผู้สูงวัยมีสมองเสื่อมกันมากถึง ๘๐๐,๐๐๐ คน เราจะพบว่าผู้สูงอายุ ๑๐๐ คนจะมี ๘ คน ที่เป็นโรคสมองเสื่อม วิจัยจากวารสารสุขภาพ The Lancet Healthy Longevity พบความ เชื่อมโยงระหว่างอัตราการเกิดโรคสมองเสื่อมในประชากรผู้สูงอายุกับปริมาณความหนาแน่น ของฝุ่น PM2.5 ตัวอย่างที่ประเทศจีน ประเทศจีนเริ่มมาตรการต่าง ๆ อย่างจริงจังเพื่อลด ปัญหาฝุ่นละออง แล้วก็มีความคืบหน้าในมาตรการนี้มาบ้างแล้ว นโยบายต่าง ๆ ส่งผลต่อ ด้านบวก แล้วก็ทำให้ลดอัตราโรคสมองเสื่อมในประชากรผู้สูงอายุได้ด้วย คราวนี้เมื่อเป็น หญิงมีครรภ์ทั้งตัวแม่และตัวเด็กรายงานทั่วโลกต่างพบว่าการสูดมลพิษทางอากาศเข้าไปมี ส่งผลต่อทารกโดยตรง ทารกมีน้ำหนักน้อย การคลอดก่อนกำหนด ทารกตายเฉียบพลัน อัตราทารกที่เป็นออทิสติกสูงขึ้น การเกิดอาการหอบหืดในแม่ของการตั้งครรภ์ แล้วก็ความ เสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษค่ะ จากวารสารวิชาการ Environmental Research ในประเทศ สหรัฐอเมริการะบุฝุ่นเหล่านี้สามารถซึมเข้าสู่รกได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาการ เติบโตของทารกในครรภ์ เมื่อตัวอ่อนพยายามชดเชยผลกระทบจากสภาวะที่ออกซิเจน ไม่เพียงพอ ต่อด้วยการขยายช่องทางเดินของออกซิเจน กลับกลายทำให้ตัวอ่อนหรือว่าทารก นี้ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการพัฒนาการและการเติบโตของทารกหลังคลอดอีกด้วย

    อ่านในการประชุม

  • อีกหนึ่งงานวิจัยจากวารสารวิทยาศาสตร์ Nature ได้ทำการศึกษาในประเทศ เปรู แล้วก็เรามีผลวิจัยที่คล้ายคลึงกันด้วยว่าฝุ่นพิษนี้กระทบต่อทารกในครรภ์อย่างมาก มีผลโดยตรงทำให้การพัฒนาของเด็กไม่เพียงพอ ขนาดและน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ เมื่อเทียบกับอายุครรภ์ ท่านประธานคะ สถานการณ์ฝุ่นในประเทศเปรูมีค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยอยู่ที่ ๕๔ สูงกว่าค่าที่คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ๒.๗ เท่า แล้วก็เมื่อนำมาเทียบ ในประเทศไทยที่มีค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยอยู่ที่ ๙๐ ซึ่งสูงกว่าที่คำแนะนำขององค์การอนามัย โลกกว่า ๖.๒ เท่า สถานการณ์เรายิ่งแย่กว่าประเทศเปรูอีกค่ะท่านประธาน แม่ลูกอ่อนไม่รู้ว่า อีกกี่แสนคนจะต้องสูดฝุ่นพิษนี้เข้าไปทุกวัน ทำลายสุขภาพแล้วก็พัฒนาการของลูกอ่อน โดยที่ตนแก้ไขด้วยการป้องกันตัวเองแล้ว ซื้อเครื่องฟอกอากาศเองก็แล้ว ก็หนีพ้นได้ยากค่ะ เพราะการจัดการต้องเกิดขึ้นทั้งระบบ ไม่ใช่ภาระต่อตัวคุณแม่โดยลำพัง ก็จึงไม่น่าแปลกใจ กันว่าทำไมคนมีลูกกันน้อยลง เพราะการจัดการปัญหาพื้นฐานที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไม่ได้ก้าวหน้าให้ทันต่อความต้องการของประชาชน อากาศสะอาดเป็น สิ่งที่ประชาชนไม่ควรต้องออกมาร้องขอ แต่ควรเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องควบคุมดูแล ทั้งมาตรการรับมือภายในประเทศและปัญหาฝุ่นข้ามแดน ถ้าประชาชนยังต้องรับมือปัญหา ด้วยตัวเองในทุกเรื่องดิฉันคิดว่าการมีลูกถือเป็นเรื่องยาก เพราะว่าการมีบุตรถือเป็นการสร้าง ต้นทุนที่สำคัญ ดังนั้นคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ย่อมต้องการการลงทุนให้ลูกของตนเกิดขึ้นมาด้วย ความพร้อมทุกด้าน ดังนั้นก่อนที่เราจะไปกระตุ้นให้คนเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์เราก็ควรวาง พื้นฐานที่ชัดเจน ปรับโครงสร้างทางสังคมที่เหมาะสมต่อการมีบุตร ก่อนที่จะโทษว่าผู้หญิง เลือกที่จะไม่มีลูกหรือบังคับให้ผู้ชายทำหมัน และนี่จึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายฝุ่นพิษ และการก่อมลพิษข้ามพรมแดน สิ่งนี้ควรเกิดขึ้นได้ตั้งนานแล้ว ขอให้ทุกท่านไม่ว่าจะเป็น พรรคใด ฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านก็ตามขอให้เราร่วมมือกันผลักดันกฎหมายนี้ให้ผ่านค่ะ เพื่อที่ประชาชนจะไม่ต้องมาทุกข์ทรมานกับฝุ่นพิษเหล่านี้อีกค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ ผู้แทนคนบางซื่อ คนดุสิตค่ะ วันนี้ดิฉันขอร่วมอภิปรายในญัตติ ร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความ หลากหลายทางเพศค่ะ มนุษย์ชอบแยกแยะค่ะท่านประธาน ใส่กล่องติดป้าย ทุกอย่างให้เป็น หมวดหมู่ แต่ทว่าโลกนี้ไม่ใช่แค่ผู้หญิงผู้ชายเท่านั้นค่ะ แล้วก็ไม่ใช่แค่คนข้ามเพศจากชาย ข้ามไปเป็นหญิง จากหญิงข้ามไปเป็นชาย เรายังมีมากกว่านั้นค่ะ ยังมีบุคคลที่ไม่ระบุว่าตัวเอง เป็นเพศหญิงหรือเพศชายด้วย นี่ไม่ใช่เรื่องของความสับสน แต่เป็นเรื่องของความกล้าหาญ ถ้าใครสักคนหนึ่งจะลุกขึ้นมาพูดว่าเราไม่ใช่ทั้งหญิง เราไม่ใช่ทั้งชาย สิ่งเหล่านี้ควรจะได้รับ การชื่นชมเสียมากกว่าค่ะ วันนี้ดิฉันขอพูดแทนเด็กเยาวชนที่มีอัตลักษณ์ที่ทับซ้อน มีความ แตกต่างที่หลากหลาย แต่เราไม่เคยพูดถึงเขาเลยค่ะ เราเคยตั้งคำถามหรือไม่ว่าพวกเขา เติบโตมาเป็นตัวเองไม่ใช่คนอื่น จะดีแค่ไหนถ้าในหนังสือเรียนสุขศึกษามีวิชารู้จักตัวตน มีการสอน คุณครู คณาจารย์มีองค์ความรู้เรื่องเพศที่มากกว่า ๑ เพศ แต่เรามีกิจกรรมที่ แบ่งเพศแค่ ๒ เพศเท่านั้น ในวิชาเรียนควรบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่จำกัดแค่เพศ ๒ เพศนี้เท่านั้น ด้วย การศึกษาที่คับแคบ การจำกัดให้มีแค่เพศตรงกำเนิดทำให้คนข้ามเพศต้องเอาสุขภาพ ทั้งกาย สุขภาพทั้งใจไปเสี่ยง จนเขาได้รับการแปะป้ายว่าเป็นเด็กหรือเป็นคนที่เบี่ยงเบน ท่านประธานคะ ยังมีเรื่องราวผู้คนที่ถูกติดป้ายว่ามีแค่ ๒ เพศ ๒ ขั้วเท่านั้น เรายังมีคนพิการ ที่เป็น LGBTQ เป็นบุคคลที่มีความสามารถแต่ถูกสังคมปฏิบัติซ้ำซ้อน เมื่อความแตกต่างทาง เพศวิถีผนวกกับความพิการย่อมผลักให้คนกลุ่มนี้กลายเป็นประชากรชายขอบ ความรุนแรง ต่อกลุ่มคนพิการที่เป็น LGBTQ ไม่ได้แสดงออกมาเฉพาะความรุนแรงทางตรงค่ะ แต่ถูกกด ทับด้วยโครงสร้างทางสังคมและโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่สั่งสอนมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะ เป็นนโยบายรัฐที่ไม่เอื้อต่อคนพิการ อคติจากคนในครอบครัวที่ไม่ยอมรับความหลากหลาย ทางเพศที่มีมากกว่า ๒ เพศ การเกลียดกลัวความแตกต่างทางอัตลักษณ์ที่ซับซ้อนด้วย แม้ว่า สังคมจะมีการเปิดรับความหลากหลายทางเพศจนเราสามารถผ่าน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ในช่วงที่ผ่านมาได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข ดังนั้นหมุดหมาย ที่เราต้องผลักดันไปต่อก็คือการยอมรับความแตกต่างทางเพศวิถี ผ่านการอนุญาตให้บุคคล สามารถเลือกใช้คำนำหน้านามได้ตามเพศวิถีของตน ซึ่งไม่เพียงเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคล สามารถเลือกเป็นในสิ่งที่เขาต้องการได้เท่านั้นค่ะ โดยไม่ถูกจำกัดภายใต้กรอบกฎหมาย แล้วก็ยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ สร้างการยอมรับ การเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการตามที่ มีเพศวิถีเพิ่มมากขึ้นค่ะ มีตัวอย่างจากกรณีจากต่างประเทศที่ทำสำเร็จในออสเตรเลียค่ะ กฎหมายรับรองเพศสภาพบังคับใช้ตั้งแต่ปี ๒๐๑๓ ระบุว่ารัฐบาลออสเตรเลียให้การรับรอง ว่าปัจเจกบุคคลนิยามตัวตนด้วยเพศสภาพอื่น ๆ นอกจากเพศกำเนิดได้ โดยไม่ใช่ทั้งหญิงหรือ ชายก็ได้ และมีบันทึกในเอกสารทางราชการของรัฐบาล นั่นคือคนจะสามารถระบุตัวตนเองว่า เป็นเพศสภาพอะไรก็ได้ในเอกสารราชการ เช่น บัตรประชาชน Passport เป็นต้น ในประเทศ แคนาดา ในทุกรัฐได้มีการแก้กฎหมาย อนุญาตให้ไม่ต้องมีเอกสารผ่าตัดแปลงเพศก็สามารถ เปลี่ยนเพศ และกฎหมายให้การรับรองสถานะได้ และสเปนมีกฎหมายอนุญาตให้เปลี่ยนเพศ ทางกฎหมายได้ค่ะ วันนี้ถ้าท่านเพื่อนสมาชิกในสภาหลายคนเชื่อถึงการมีสิทธิ เชื่อในเสรีภาพ ของมนุษย์ เชื่อในความเป็นคน ดิฉันขอให้ท่านเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำทาง เพศ และการขยายโอกาสให้กับผู้มีความหลากหลายทางอัตลักษณ์ได้เข้าถึงสิทธิอย่างพึงมี ได้อย่างเหมาะสมค่ะ เราควรสร้างระบบของสังคมคนรอบตัวเรา คนรอบตัวเด็ก จะทำให้ การกำหนดเพศไม่ใช่ความกล้าหาญอีกต่อไปค่ะ แต่เป็นความหวังค่ะ เราต้องการอยู่ในโลก ที่มีความเท่าเทียมทางเพศและให้ทุกความหลากหลายทางเพศได้มีสิทธิเท่าเทียมกัน ในสังคมไทยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล ผู้แทนคนบางซื่อ ดุสิตค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • วันนี้ดิฉันขอนำเรื่อง ความเดือดร้อนปัญหาที่อยู่อาศัยของกองทัพและพลเรือน โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ประชาชื่นค่ะ ดิฉัน ขอเรียกว่า คอนโดยักษ์ทหารแยกประชานุกูล ดิฉันเสนอเรื่องนี้ต่อประธานสภาหลายครั้ง รวมถึงชั้นกรรมาธิการด้วยแต่ก็ไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้น แล้วก็การดำเนินงานจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ดิฉันอยากจะเสนอเพราะว่าประชาชนเดือดร้อนในชีวิตประจำวันอย่างมาก ปัญหาการจราจรรถติด แยกประชานุกูลติดแสนสาหัสอยู่แล้ว หากอาคารที่พักนี้สร้างเสร็จ จะทำให้การเข้าออกที่บริเวณของโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ติดหนักยิ่งขึ้นค่ะ ปัญหาเสียงดัง รบกวนจากการก่อสร้าง ปัญหาการสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม ปัญหาฝุ่นละออง ที่คลุ้งทั่วบางซื่อ บ้านชาวบ้านแตกร้าว บ้านสั่นสะเทือน ปัญหาการระบายน้ำ ส่งผลถึง โรงพยาบาลและหมู่บ้านชวนชื่น ทิศทางลม ทิศทางแสงแดด ดิฉันเองเป็นคนซักผ้าเอง เกิดปัญหาผ้าเหม็นบูด ผ้าอับชื้น เป็นปัญหาทุกข์ใจต่อแม่บ้านอย่างยิ่ง โครงการของ กระทรวงกลาโหมนี้ชุมชนนี้ได้คัดค้านมาแล้ว ผู้อาศัยหลายภาคส่วน ผู้รับเหมาการประมูล ก็คือบริษัท เบ็ญจมาศ จำกัด แล้วก็บริษัท มิตรสิ่งแวดล้อมไทย จำกัด เป็นผู้จัดทำ การประเมิน EIA หรือว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อดิฉันลงพื้นที่พบว่าโครงการ ตามกฎหมายนี้ไม่สามารถสร้างอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษได้ ถนนในโครงการไม่มี ถนนหน้ากว้าง ๑๒ เมตร ถนนหน้าโครงการยังแคบ ไม่ถึง ๑๐ เมตร แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ยังปล่อยผ่านแล้วก็อนุมัติให้ก่อสร้าง ถึงแม้โครงการนี้ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้วแต่ดิฉันมีข้อเสนอ ให้เปลี่ยนการใช้สอยพื้นที่จากที่บริหารการจัดการของกระทรวงกลาโหมเพื่อที่พักทหาร ดิฉัน ขอทบทวนให้เป็นสมบัติสาธารณะค่ะ เปลี่ยนเป็นแฟลตตำรวจ เปลี่ยนเป็นแฟลตครู เปลี่ยนเป็นที่พักของข้าราชการ ขอให้หน่วยงานทบทวนผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และปรับเปลี่ยนในแนวทางการใช้สอยที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล ผู้แทนคนบางซื่อ ดุสิต วันนี้ดิฉันขออภิปรายญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาและจัดทำข้อเสนอในการเพิ่มการมีส่วนร่วมของเยาวชนในฐานะพลเมืองในระบอบ ประชาธิปไตย ท่านประธานคะ เราถูกพร่ำสอนว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องของเด็ก นักเรียน มีหน้าที่ต้องศึกษาเล่าเรียน ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เคารพและเชื่อฟังคำสั่งสอน ของครูบาอาจารย์

    อ่านในการประชุม

  • ดิฉันอยากให้ท่านประธานเห็น หนังสือแบบเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๑ ระบุลักษณะ อันพึงประสงค์ของผู้เรียนไว้ดังนี้ค่ะ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. รักความเป็นไทยและ ๘. มีจิตสาธารณะ หนังสือดี ๆ มีชัยไปกว่าครึ่งค่ะท่านประธาน หากโรงเรียนยังสอนหน้าที่พลเมืองที่มุ่งมั่นส่งเสริมวัฒนธรรมไทยในเชิงศีลธรรม การเชื่อฟัง เป็นหลัก ไม่มีช่องทางให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เรียนรู้ มีส่วนร่วมทางการเมือง นอกจากให้เขา นับวัยให้ถึง ๑๘ ปีจนถึงจะมีการเลือกตั้ง เราจะตามทันกระแสโลกเทคโนโลยีโลกนี้ไม่ทันค่ะ เยาวชนควรได้โอกาสในการซักถาม ในการแสดงความคิดเห็นได้เป็นปกติ การพัฒนาคน เป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยท่านยกข้อเรื่อง PISA มาว่าสะท้อนปัญหาคุณภาพ โดยเฉพาะระบบการศึกษา แต่ไม่ได้พูดถึงปัญหาเกี่ยวกับการสร้างประชาธิปไตยเลย แต่เป็น การเสนอแนวทางพัฒนาแบบจับแพะชนแกะ ยังแสดงถึงความไม่เข้าใจประชาธิปไตยและ การพัฒนาค่ะท่านประธาน ดิฉันอยากจะแสดงให้เห็นค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ประการแรก ประชาธิปไตยจากรากฐานวัฒนธรรมไทยดีกว่าประชาธิปไตย แบบตะวันตกจริงหรือ การมุ่งเน้นไปที่การสร้างพลเมืองดีมีศีลธรรมโดยไม่มีคำอธิบายใดเลย นอกเหนือไปจากคำว่า วัฒนธรรมตะวันตกมีลักษณะเป็นทุนนิยม มีลักษณะบริโภคนิยม ล่อแหลมกับค่านิยมประเพณีอันดีงามของไทย ดิฉันเรียนดังนี้ค่ะ วัฒนธรรมไทยเรามีชนชั้น มีเจ้าขุนมูลนาย มีอภิสิทธิสูงส่งกว่าคนอื่น เรามักถูกพร่ำสอนว่าให้รู้จักที่ต่ำที่สูง ในหนังสือเรียน ในแบบวรรณกรรม หรือแม้กระทั่งแต่ในละครไทยเองก็ตาม ทำให้เด็กเยาวชนหรือพลเมืองไทย ไม่กล้าตั้งคำถาม และบ่อยครั้งเราถูกอธิบายชีวิตของเรานี้ด้วยกฎแห่งกรรม เห็นได้ชัดจากครู นักเรียน เด็ก ผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งรัฐบาลกับประชาชน เรามีพี่น้องชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น มอญ กะเหรี่ยง มาเลย์ จีน แต่เราถูกอัดอัตลักษณ์อย่างความเป็นคนไทย ผลักไสให้เขาเป็น คนกลุ่มน้อยในประเทศนี้เป็นคนอื่นมาโดยตลอด การเอาอัตลักษณ์ความเป็นคนไทยไป ครอบอัตลักษณ์อื่น ๆ นั้นเป็นความรุนแรงเชิงระบบอย่างยิ่ง การรักษาบรรพบุรุษเป็นสิ่งดี แต่ต้องไม่ใช่ Toxic Nationalism หรือชาตินิยมล้าหลังค่ะ ท่านประธานคะ ข้อเสนอญัตติ ของเพื่อนสมาชิกที่กล่าวว่ายิ่งในสังคมยุคใหม่ คำว่า ประชาธิปไตย ส่วนใหญ่ยังถูกอิงตีความ ไปกับแนวคิดเชิงตะวันตก ดิฉันขอให้สิ่งนี้ควรเป็นเรื่องของการเข้าใจและปรับตัวเสียมากกว่า

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ประชาธิปไตยกับการพัฒนาคน สิ่งที่น่าสังเกต ท่านผู้เสนอ เชื่อมโยงกับคะแนน PISA และปัญหาอัตราการว่างงานของเด็กที่จบใหม่ไปเกี่ยวโยงกับ พัฒนาคนที่พึงประสงค์ในระบบประชาธิปไตย การพัฒนาประชาธิปไตยจากรากฐาน ความเป็นไทย ดิฉันเห็นว่าแนวทางปฏิบัติ ๒ สิ่งนี้ไม่เกี่ยวข้องกันค่ะ เพราะข้อสอบ PISA เป็น ข้อสอบสากล ไม่ได้วัดการมีทัศนคติและค่านิยมประชาธิปไตยบนบริบทของสังคมไทยค่ะ ดิฉันเห็นด้วยว่าเด็กไทยมีคะแนน PISA นี้ตกต่ำที่สุดในรอบ ๒๐ ปี เด็กใหม่ เด็กจบใหม่ ว่างงาน ไม่ใช่เพราะเด็กขาดการมีทัศนคติและค่านิยมประชาธิปไตยบนบริบทของสังคมไทย แต่เกิดจากการที่หลักสูตรล้าหลัง ปลูกฝังให้เด็กไม่มีการคิดเชิงวิพากษ์ ไม่มีเสรีภาพในการ แสดงออก โรงเรียนมีอำนาจ มีวัฒนธรรมอำนาจนิยมสูง ไม่อยู่บนฐานของการมีส่วนร่วม กับของผู้เรียน ในภาพนี้ดิฉันขอพูดแทนคนบางซื่อนะคะ เก็ท โสภณ คนบางซื่อ ที่ปัจจุบัน ยังคงอยู่ในเรือนจำ ทั้งที่เก็ทเป็นเยาวชนคนหนุ่มสาว อนาคตเป็นแพทย์รักษาคน เอาเก็ท เข้าไปติดคุก พรากอดีต เอาความฝัน เอาเวลาปัจจุบันของคนหนุ่มสาวนี้ออกไปให้ไกลจากเขา มากที่สุดค่ะ ข้อเสนอของดิฉันคือ เลิกกลัวและเปิดกว้าง ให้เยาวชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ให้เป็นประชาธิปไตยแบบมีนิติรัฐ นิติธรรม เคารพสิทธิมนุษยชน สากลโลกยอมรับ วัฒนธรรม อำนาจนิยม การใช้อำนาจเหนือจารีตประเพณี เปลี่ยนเป็นสอน เรื่องสิทธิเสรีภาพ การเคารพ การแสดงความคิดเห็นต่าง เป็นพลเมืองโลกค่ะ การท่องจำ บทบาทเยาวชน ปฏิบัติตามผู้มีอำนาจ สมควรเปลี่ยนเป็นการคิดเชิงวิพากษ์ มีส่วนร่วม ทางการเมืองและมีกระบวนการตัดสินใจที่พวกเขามีส่วนร่วมค่ะ การปิดปาก การ Sensor ตัวเองให้เปลี่ยนเป็นส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การปลูกฝังความรักชาติไทย ปรองดองเป็นหนึ่งเดียวกัน สมควรที่จะต้องยอมรับให้ความแตกต่างของคนในสังคมด้วยว่าเรามีกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ด้วย ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ยึดครอง ไม่กลืนอัตลักษณ์ซึ่งกันและกันค่ะ เยาวชนจะดีให้เขา ได้เบิกบานและสร้างสรรค์ แต่ถ้าการเมืองยังคงอุดมไปด้วยอำนาจนิยมในชุมชน ในโรงเรียน ในประเทศนี้กีดกัน ปิดปาก ไม่ให้เยาวชนมีส่วนร่วมทางการเมือง เรายังคงติดหล่มอุดมการณ์ การพัฒนาคนที่ล้าหลัง ถ่วงประเทศนี้ไม่ให้เจริญค่ะท่านประธาน ดังนั้นจากรายละเอียดของ ญัตติตามหลักการและเหตุผลที่ท่านผู้เสนอได้เสนอเข้ามานั้น ดิฉันมองว่ามีความย้อนแย้ง และขัดแย้งขัดกับผลประโยชน์ของชาติในปัจจุบันค่ะ ดิฉันจึงขอสนับสนุนญัตติตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและจัดทำข้อเสนอ ในการเพิ่มการมีส่วนร่วมเยาวชน ในฐานะพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของ พริษฐ์ วัชรสินธุ ค่ะ และความท้าทายในวันนี้ คือการช่วงชิงความหมาย เราจะเป็นพลเมืองที่ดีแบบไหนกันคะ เป็นความท้าทายของเรา ทุกคน ท่านต้องไม่มองว่าท่านคือเจ้าของชีวิตของใคร เด็กถูกเพ่งเล็ง เด็กถูกจัดระเบียบ เด็กถูกตรวจตรา ถูกเฆี่ยนตี ด้วยสถาบันศีลธรรมมากเกินไปแล้วค่ะ อย่าผลิตเด็กออกมาจาก โรงงานเดียวเลยค่ะ การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งเดียวที่คงที่และแน่นอนที่สุดในชีวิตเรา ไม่มีใคร เอาชนะกาลเวลาได้ โลกมีแต่วันพรุ่งนี้ไม่มีอดีตอีกแล้วค่ะท่านประธาน ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานคะ ๒๗๕ ภัสรินแสดงตนค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ ผู้แทนคนบางซื่อ คนดุสิต พรรคก้าวไกลค่ะ วันนี้ดิฉันก็ขอร่วม อภิปรายการรับทราบการรายงานของการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๕ วันนี้ดิฉันอยากจะบอกเล่าเรื่องราวในฐานะผู้แทนของคนบางซื่อ ดุสิต เคสที่ดิฉันอยากจะเล่าให้ฟังวันนี้ชื่อลุงประยงค์ ดิฉันขออนุญาตเอ่ยนามค่ะ มาเดินทาง เส้นทางของชีวิตของลุงประยงค์ไปพร้อม ๆ กันนะคะ ลุงประยงค์เป็นคนพิการสะโพกหัก อยู่ที่ชุมชนซอยสีน้ำเงินเขตบางซื่อ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าเหลือเกิน ในหลาย ๆ เงื่อนไข เรื่องนี้เรา สามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียได้ ถ้าหากเรามีระบบประกันสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับผู้ป่วย แล้วก็อำนวยความสะดวกให้ได้มากที่สุด โดยไม่ติดขัดข้องในระบบราชการค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เริ่มแรกลุงประยงค์ติดโควิด แล้วก็ยังประสบอุบัติเหตุล้มในห้องน้ำทำให้ สะโพกหัก ต้องได้รับการรักษาทันที ในส่วนลูกสาวของลุงประยงค์ได้ส่งประกันสังคม เพื่อประกันตนเองไว้ จึงได้รับสิทธิการรักษาแบบไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายมากนัก แต่โชคร้ายค่ะ เพียง ๑ ชั่วโมง ก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกเทียม ก็สังเกตเห็นว่าลุงประยงค์ มีอาการปากเบี้ยว ซึ่งก็คือสัญญาณของโรคเส้นเลือดในสมองโป่งพอง ในช่วงเดือนธันวาคม ปี ๒๕๖๕ แพทย์ประเมินว่าการรักษาเส้นเลือดสมองโป่งพองนี้ อาจได้ผลเพียงแค่ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกเทียมก็คงต้องเลื่อนออกไป ลุงประยงค์ ได้กลับมารักษาตัวที่บ้าน แต่ว่าก็ยังต้องเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาล เพราะว่าต้องเผชิญกับ ภาวะแทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็นแผลกดทับการติดเชื้อ ซึ่งแพทย์ก็ได้ลงความเห็นว่าลุงประยงค์ เป็นผู้พิการทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงในเดือนพฤษภาคม ปี ๒๕๖๖ ครอบครัวของลุงประยงค์ ช่วยกันตรวจสอบสิทธิประกันสังคม เพื่อให้ลุงประยงค์มีบัตรประจำตัวคนพิการ แล้วก็ รับสิทธิประกันสังคมตามปกติ จึงดำเนินการขอบัตรผู้พิการให้กับลุงประยงค์ ๑ เดือนต่อมา ลุงประยงค์ก็ได้บัตรผู้พิการ แต่ก็ยังต้องรอแพทย์จากทางประกันสังคมมาตรวจที่บ้าน เพื่อยืนยันรับรองว่าเป็นผู้ทุพพลภาพจริง และได้รับสิทธิเบี้ยคนพิการต่อไป รอไป ๑ เดือน ก็ยังไม่ได้รับเบี้ยคนพิการ เมื่อแพทย์มาตรวจที่บ้านก็รับรองว่าลุงประยงค์เป็นผู้พิการทุพพล ภาพจริงครบถ้วนทุกอย่าง ตามกระบวนการของประกันสังคม แต่ก็ยังรอการยืนยันกลับจาก ประกันสังคม ซึ่งมาหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตก็พบว่าต้องรออีก ๒-๓ เดือน ระหว่างนั้น เมื่อสอบถามความคืบหน้า แล้วก็กระบวนการนี้ว่าจะยาวนานเท่าไรก็ไม่ได้รับคำตอบ ที่ชัดเจน ในที่สุดลุงประยงค์ก็อาการแย่ลงทุกวัน ทางครอบครัวก็ได้สอบถามร้องเรียนมายัง ที่ดิฉัน เดือนกันยายน ปี ๒๕๖๖ ลุงประยงค์ก็กลับเข้าที่โรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจาก อาการแย่ลง ปอดอักเสบและยังคงต้องเจาะคออีกด้วย เมื่อครอบครัวติดตามกลับไปที่ ประกันสังคม ทุกอย่างก็ยังอยู่ในกระบวนการ ลุงประยงค์ก็ยังไม่ได้รับเบี้ยคนพิการ น่าเศร้าค่ะ ๑ เดือนหลังจากนั้นดิฉันไปร่วมงานศพด้วย ลุงประยงค์เสียชีวิตในเดือนตุลาคม ก็ยังไม่ได้รับ เบี้ยคนพิการ ความสูญเสียเหล่านี้หลีกเลี่ยงได้ หากกระบวนการยืนยันสิทธิไม่ต้องลากยาวนาน ถึง ๔-๕ เดือน เงินผู้พิการ ๘๐๐ บาท และเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ๒๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๑,๐๐๐ บาท อาจดูไม่มากนัก แต่ว่ามันสำคัญกับคนที่ไม่มีจริง ๆ ค่ะ แล้วคำว่า รอไม่ได้ มันก็รอไม่ได้จริง ๆ ค่ะ แล้วเมื่ออาการต่าง ๆ บ่งชี้ชัดแล้ว ทำไมเรายังถึงปล่อยให้ ระบบราชการเป็นสิ่งที่มาขัดขวาง การได้รับการรักษาเป็นสิทธิที่ประชาชนพึงได้รับ อยู่แล้วค่ะ ในระหว่างที่ครอบครัวรอความช่วยเหลือก็ไม่เพียงแต่ผู้ป่วยที่ทรุดหนัก ครอบครัว ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ทั้งสมาชิกในครอบครัวด้วย

    อ่านในการประชุม

  • ดิฉันก็ขอฝากท่านประธานสภาไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ถึงกรณีการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ แล้วก็ข้อเสนอที่ดิฉันเห็นว่าเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการและคำนึงสิทธิของประชาชน แล้วแม้รายงานของ สปสช. จะกล่าวถึงการขยายสิทธิให้เข้าถึงได้ง่าย แต่สำหรับคนพิการ พ.ร.บ. ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการ กำหนดให้การใช้สิทธิยังคงต้องจดทะเบียนคนพิการเสียก่อน จึงจะได้เข้ารับ สิทธิประโยชน์จากรัฐได้ ซึ่งกรณีที่ดิฉันยกไปนี้ ข้อขั้นต้นนำมาสู่ปัญหาความล่าช้าด้วยเหตุผล ๒ ประการ กรณีที่แพทย์ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการเฝ้าสังเกตอาการหรือหาก การรักษาอย่างไม่สิ้นสุดลง แล้วก็กรณีของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน แล้วถ่ายภาพผู้ป่วยกลับมาให้แพทย์วินิจฉัย จะเห็นได้ว่าทั้ง ๒ กรณีดังกล่าวกลายเป็นเงื่อนไข และข้อจำกัดให้คนพิการบางส่วน ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบการจดทะเบียนคนพิการได้ และรับสิทธิประโยชน์ได้อย่างทันท่วงที เลวร้ายที่สุดคือไม่สามารถรับสิทธิประโยชน์ได้เลยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • สำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับ UNICEF ประเทศไทยสำรวจคนพิการในปี ๒๕๖๕ ระบุว่าคนพิการมีอยู่ถึง ๔.๑๙ ล้านคน พบว่า ๕๗.๔ เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนรับสวัสดิการจากรัฐ แม้รายงานจากการสร้างระบบของ สปสช. จะกล่าวถึงจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนคนพิการได้สิทธิตามกฎหมาย แต่ระบบการขึ้นทะเบียนมีปัญหา มีความล่าช้าเกิดขึ้น อยู่ในภาวะตกสำรวจ ทำให้คนพิการกว่าครึ่งยังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง คำถามมีอยู่ว่าทำไมการรอตรวจเพื่อจดทะเบียนคนพิการ จึงใช้ระยะเวลายาวนานและมีความพยายามลดระยะเวลาตรงนี้หรือไม่ หรือปัญหานี้เกิดจากการที่เรายังติดหล่มอยู่กับความสมควร ที่จะได้รับในสิทธิหรือบริการสาธารณะใด ๆ ก็ตาม ทำให้โครงข่ายความมั่นคงทางสังคมนี้ ก้าวไปสู่ความถ้วนหน้าไม่เต็มก้าวสักที แล้วก็ยังรวมไปถึงปัญหาอื่น ๆ การขาดสวัสดิการ และระบบบริหารช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทั้งยังเป็นความเหลื่อมล้ำในสิทธิการเข้าถึงระหว่างคนพิการด้วยกันเองอีก แล้วความพิการ เชิงประจักษ์นี้เป็นความพิการที่เห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องรอตรวจพิสูจน์ความพิการจากแพทย์ เพื่อให้ออกเอกสารรับรอง ระบบคัดกรองสรรหาคนที่ได้รับสิทธิอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการ เลือกปฏิบัติอย่างหนึ่ง ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่มีบทบัญญัติห้ามไม่ให้ เลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยไม่เป็นธรรมแห่งความพิการด้วยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ขอฝากไปทาง สปสช. นะคะว่า จริง ๆ เราก็อยู่ในอันดับที่ ๒๔ ของโลก หรือว่าอันดับที่ ๒ ในอาเซียน มีคะแนนถึง ๘๒.๙๗ เปอร์เซ็นต์ ที่เป็นการครอบคลุม การเข้าถึงบริการสุขภาพ หรือว่า Universal Health Coverage ซึ่งเป็นผลงานที่น่าชื่นชม ดิฉันก็ขอฝากเรื่องนี้ เรื่องคนพิการไม่ให้ตกสำรวจอีกต่อไป เพื่อที่จะพัฒนาระบบสาธารณสุข ของประเทศเราให้ดีกว่าเดิม ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนเขตบางซื่อ คนเขตดุสิต พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันขอร่วมอภิปรายสนับสนุนให้เกิดการรับรองร่างพระราชพระราชบัญญัติคุ้มครอง และส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ค่ะ วันนี้ดิฉันอยากจะขอพูดถึงนักปกป้องสิทธิที่กล้าหาญ ผู้ที่กล้าเรียกร้องให้เกิดการคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ให้เกิดความยุติธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์ค่ะ ให้มีสิทธิที่จะดำรงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม วันนี้ดิฉันขอใช้โอกาสนี้เป็นการสรรเสริญนักต่อสู้ เพื่อสิทธิมนุษยชนชนเผ่า เวลาเราพูดถึงสิทธิสตรีชนเผ่าหลายท่านคงจะนึกถึงความล้าหลัง การขาดการศึกษา ความยากจน แต่ที่จริงแล้วสถานการณ์เชิงบวกของผู้หญิงชนเผ่า พวกเขา ได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี ความอบอุ่นในชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ดำรงชีวิตแบบชนพื้นเมือง ภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม และช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม ท้องถิ่นทั้งภาษา เรื่องเล่า เพลง นิทาน กลอน ภาพพื้นเมืองอันล้ำค่า ดิฉันขอยกกรณี ชุมชนบ้านแม่สามแลบ พื้นที่นี้ต้องเผชิญกับผลกระทบจากความขัดแย้งการใช้อาวุธสงคราม มายาวนาน มากกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ยังเป็นบุคคลไร้สัญชาติจึงถูกจำกัดสิทธิหลายอย่าง ถูกเลือกปฏิบัติไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐได้ ถูกละเมิดสิทธิทางด้านทรัพยากร ซึ่งหลังจากถูกกำหนดให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ชาวบ้านถูกผลักให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ที่ไม่ปลอดภัยหลายครั้ง มีน้ำที่ไม่สะอาด เจอกับ ดินถล่ม อุทกภัย ไฟไหม้ ต้องตั้งบ้านเรือนโดยที่รัฐก็ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือค่ะ นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาครัฐ เช่น เขื่อนแม่น้ำสาละวิน ๗ เขื่อน โดยที่ผู้นำ ในชุมชนไม่ได้รับทราบทำให้ชาวบ้านรู้สึกไม่ปลอดภัย ถ้ามีการสร้างเขื่อนชาวบ้านก็ต้อง ถูกขับออกจากพื้นที่ที่ดินทำกินและบ้านเกิดค่ะ ในขณะที่ไม่มีอาชีพมีความกังวลว่าลูกหลาน จะอยู่อย่างไร นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฝนแล้งต้องพึ่งพาป่าก็ถูกกีดกัน ไม่สามารถเข้าไปใช้ป่าได้ค่ะ ไม่มีน้ำสะอาดที่เพียงพอ ผู้หญิงยังเป็นคนที่ต้องหาบน้ำค่ะ และเมื่อเกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ก็ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันได้ค่ะ ไม่ได้รับการคุ้มครอง และผู้หญิงหรือคนที่มีความหลากหลายทางเพศก็เผชิญกับการใช้ความรุนแรงจากวัฒนธรรม ชายเป็นใหญ่ เช่น เมื่อผู้หญิงเข้าไปหาอาหารในป่าก็กลับถูกใช้ความรุนแรงทั้งต้องนำอาหาร นี้มาเลี้ยงครอบครัวค่ะ อีกทั้งเด็กผู้หญิงจำนวนมากก็ยังถูกบังคับให้แต่งงานก่อนวัย อันควร ผู้หญิงชนเผ่ามีบทบาทสำคัญในการทำงานร่วมกับเครือข่ายประชาสังคมต่าง ๆ เสมอมา ทั้งเครือข่ายเยาวชน สิทธิสตรีและการขับเคลื่อนสิทธิในที่ดินของชนเผ่า ในเมื่อ ทุกเรื่องมีผู้หญิงเกี่ยวข้องก็ควรมีตัวแทนผู้หญิงเข้ามาสะท้อนปัญหา ผู้หญิงมีบทบาท มีส่วนร่วมในทุกระดับการตัดสินใจ มองปัญหาได้อย่างรอบด้านสร้างกลไกที่เอื้อให้ชนเผ่า พื้นเมืองได้เป็นผู้กำหนดชีวิตของเขาเอง เรามีพี่น้องชาติพันธุ์หลากหลาย ทั้งกะเหรี่ยง มอญ จีน มาเลย์ ที่มีภาษาวัฒนธรรมเป็นของตนเอง แต่ที่ผ่านมาอัตลักษณ์เหล่านี้ถูกกลบโดยรัฐ ไทยมาโดยตลอด ครอบงำและผลักไสให้เขาเป็นคนอื่นมาโดยตลอดค่ะท่านประธาน ดังนั้น การมีกฎหมายสภาชนเผ่าพื้นเมืองจะสามารถ Guarantee การมีส่วนร่วมที่มีความหมายทั้ง ผู้หญิง เด็กเยาวชน ชนเผ่าพื้นเมือง รวมถึงผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศด้วยค่ะ ท่านประธาน ในการผลักดันเชิงกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและพัฒนาสิทธิ มนุษยชนในทุกระดับ โดยการให้ความสำคัญกับการมีตัวแทนการสนับสนุนและ การตอบสนองต่อเสียง ความต้องการ ตลอดจนข้อเสนอแนะเหล่านั้น ดิฉันจึงขอสนับสนุน และขอให้เพื่อน ๆ สมาชิกทุกท่านให้ความสำคัญในหลักการนี้ค่ะท่านประธาน ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล เขตบางซื่อ ดุสิต แขวงถนน นครไชยศรีค่ะ วันนี้ดิฉันขอเอาเรื่องความเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวบางซื่อ ดุสิตค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ วันนี้ขอเป็นปากเป็นเสียงให้กับพี่น้องดับเพลิงกู้ภัยค่ะ จากการที่ ดิฉันได้พบปะพี่น้อง ทราบมาว่าค่าเสี่ยงภัยจากเดิม ๕,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ที่บรรจุ เข้ามาค่ะ ผ่านมาแล้วไม่มีการปรับขึ้นเลย และยังมีเรื่องเวลาของการทำงานที่ทำงานหนัก กว่า ๑๒ ชั่วโมง ไม่มีระเบียบชั่วโมงการทำงานที่ชัดเจนค่ะ นอกจากนี้สถานที่ทำงานและ ที่พักอาศัยก็เป็นแบบชั่วคราว สภาพแวดล้อมแออัดไม่เอื้ออำนวยให้ร่างกายได้พักผ่อนค่ะ แล้วก็ปัจจุบันการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั้งจากภัยธรรมชาติแล้วก็เกิดจากมนุษย์ ค่าเสี่ยงภัยที่อาสาสมัครเหล่านี้ควรจะต้องได้รับปรับเพิ่มให้ทันกับเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพ สูงขึ้นค่ะ แล้วก็ขอให้เพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จับสัตว์ เมื่องู ตะขาบ สัตว์มีพิษ เข้าบ้าน เจ้าหน้าที่ขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องป้องกันสัตว์มีพิษ แล้วก็ขอฝากท่านประธานค่ะ เพิ่มสิทธิสวัสดิการแล้วก็อุปกรณ์ในการจับสัตว์มีพิษด้วยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ สายสื่อสารระโยงระยางพัวพันเกี่ยวพาดหัวประชาชน บริเวณ ประชาชื่น ๘ ประชาชื่น ๔๕ หน้าร้าน คลาวด์ คิวพลัส เส้นประชาราษฎร์สาย ๒ เขตบางซื่อ ซอยร่วมจิตต์ แล้วก็บริเวณสะพานลอยหน้าวัดจันทร์สโมสร ทั้ง ๒ ฝั่ง บริเวณหน้าห้างสุพรีม คอมเพล็กซ์ ตรงกลางสะพานลอยฝั่งสุพรีม คอมเพล็กซ์ สายสื่อสารห้อยระโยงระยางจนแทบ จะกระโดดยางได้เลยค่ะ จึงขอฝากท่านประธานไปถึง กสทช. ให้แสดงความกระตือรือร้น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพ่อแม่ พี่น้องประชาชนด้วยค่ะ ขอบพระคุณ

    อ่านในการประชุม