นายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ กระผม ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล อยุธยา เขต ๒ อำเภอนครหลวง อำเภอท่าเรือ อำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช และอำเภอบ้านแพรก วันนี้ผมมีปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่มาหารือกับท่านประธาน ๕ ประเด็นด้วยกันครับ จริง ๆ แล้วมีเป็นร้อยเป็นพันเรื่องเลย แต่เวลามีน้อยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๑ ขอให้กรมชลประทานเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำถาวรที่ประตูน้ำ คลองหนองสรวง และจุดเชื่อมต่อกับคลองระพีพัฒน์ บริเวณทางหลวงหมายเลข อย.๓๐๓๙ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ เพื่อใช้สูบน้ำเข้าออกในช่วงฤดูฝน ฤดูแล้ง และจะได้แก้ปัญหา น้ำท่วม และทำให้ไม่เกิดปัญหากับการเพาะปลูก

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ขอให้ซ่อมแซมถนนเลียบคลองหนองสรวงทั้ง ๒ ฝั่ง ในพื้นที่ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ เนื่องจากถนนมีสภาพเสื่อมโทรมทรุดตัวเป็นระยะทางยาว ทั้งฝั่งตำบลท่าหลวง และตำบลหนองขนาก ก่อให้เกิดความยากลำบากในการสัญจร และเป็น ปัญหาต่อการขนส่งพืชผลการเกษตรครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ ขอให้กรมเจ้าท่าดำเนินการซ่อมแซมถนนบนสันเขื่อนป้องกัน ตลิ่งทรุดริมแม่น้ำป่าสักบริเวณหมู่ที่ ๑ ตำบลท่าเจ้าสนุก อำเภอท่าเรือ เนื่องจากถนนได้รับ ความเสียหายจากน้ำกัดเซาะทรุดตัวต่ำลง ๒-๓ เมตร เป็นระยะทางยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร เริ่มจากสะพานมนตรี พงษ์พานิชย์ ไปจนถึงสะพานจักรี และยังส่งผลให้บ้านเรือน ๔๗ หลัง ได้รับความเสียหายเดือดร้อนอย่างหนักครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๔ ขอให้การประปาส่วนภูมิภาคขยายเขตส่งน้ำไปยังพื้นที่ตำบล บางเดื่อ อำเภอบางปะหัน เนื่องจากปัจจุบันประชาชนที่นี่ใช้น้ำบาดาลที่ส่งมาจาก อบต. บางเดื่อน้ำขุ่น มีกลิ่นเหม็น ใช้ประกอบอาหารไม่ได้ และยังทำให้สุขภัณฑ์ต่าง ๆ เสียหาย บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ประชาชนต้องแบกรับเอาไว้ ในบริเวณตำบลบางเดื่อแห่งนี้มีแนว ท่อส่งน้ำของการประปาส่วนภูมิภาคพาดผ่านไปยังนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ซึ่งตั้งอยู่ใน อำเภอนครหลวง จึงฝากท่านประธานช่วยประสานไปยังการประปาส่วนภูมิภาคให้ขยายเขต ส่งน้ำไปทดแทนระบบประปาที่พี่น้องประชาชนชาวบางเดื่อ อำเภอบางปะหันใช้อยู่ใน ปัจจุบันด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๕ ขอให้กรมทางหลวง สถานีตำรวจภูธรบางปะหันติดตั้งสัญญาณ ไฟแดงบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ช่วงหลักกิโลเมตรที่ ๔๖ บริเวณสี่แยกตานิม ตำบลตานิม อำเภอบางปะหัน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีชุมชนมีรถสัญจรเป็นจำนวนมาก เดิมมีสัญญาณไฟเหลืองเป็นไฟกระพริบ ซึ่งใช้ Solar Cell แต่ปัจจุบันใช้การไม่ได้มานานแล้ว จึงขอให้เปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟแดงจะเหมาะสมกว่า เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้สัญจร ไปมาบนถนนนี้ครับ ทั้งหมดนี้ผมจึงอยากฝากให้ท่านประธานได้ประสานไปยังหน่วยงาน ที่รับผิดชอบช่วยเร่งดำเนินการแก้ไขโดยด่วน ยังมีปัญหาในอำเภอนครหลวง อำเภอมหาราช อำเภอบ้านแพรกอีกมากมายจะได้นำมาหารือกับท่านในรอบถัดไป ถึงแม้ว่าพรรคก้าวไกล จะเป็นฝ่ายค้าน แต่พวกเราก็จะทำงานให้คุ้มค่ากับภาษีของประชาชน ที่จ่ายไปเป็นเงินเดือน ให้กับพวกเรา ขอบพระคุณมากครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต ๒ นครหลวง ท่าเรือ บางปะหัน มหาราช บ้านแพรก วันนี้ผมมีปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน มาหารือกับท่านประธาน ๕ เรื่องด้วยกันครับ

    อ่านในการประชุม

  • ๑. ขอให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซ่อมแซมถนนเชื่อมต่อ ระหว่างสี่แยกเจ็กซัง อบต. สำพะเนียงถึง อบต. คลองน้อย อำเภอบ้านแพรก ซึ่งชำรุดได้รับ ความเสียหายเป็นเวลายาวนานก่อให้เกิดอันตรายต่อการสัญจรไปมา รวมถึงซ่อมแซม ไฟส่องทางให้ใช้งานได้ตามปกติ

    อ่านในการประชุม

  • ๒. ขอให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาจัดงบประมาณซ่อมแซมบ่อบำบัด น้ำเสียของโรงพยาบาลบ้านแพรก ซึ่งพื้นและขอบบ่อคอนกรีตแตกร้าวยุบตัวลงทำให้น้ำเสีย ของโรงพยาบาลรั่วซึมลงสู่พื้นดินอันส่งผลกระทบต่อการแพร่เชื้อโรคได้

    อ่านในการประชุม

  • ๓. ขอให้กรมเจ้าท่า กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กระทรวง คมนาคมดำเนินการแก้ไขตลิ่งทรุดริมแม่น้ำป่าสักบริเวณหมู่ที่ ๘ ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง เนื่องจากประชาชนหลายสิบครัวเรือนได้รับความเดือดร้อนบ้านเรือนใกล้จะลื่นไหลลงแม่น้ำ แล้วช่วงนี้เป็นช่วงที่มีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดปัญหาซ้ำเติมขึ้นมาได้นะครับ และขอให้ซ่อมแซมคันเขื่อนคอนกรีตป้องกันตลิ่งที่สุดที่วัดดงหวาย และพื้นที่หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง ที่พังถล่มเสียหายอย่างหนัก

    อ่านในการประชุม

  • ๔. ตามที่กรมเจ้าท่าพิจารณาอนุญาตให้ตั้งท่าเรือขนส่งถ่านหินและพืชผล ทางการเกษตรอื่น ๆ จำนวนมากกว่า ๒๐ ท่าในอำเภอนครหลวง ก่อให้เกิดฝุ่นละออง จากถ่านหินและแป้งฟุ้งกระจายไปทั่วส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นเวลา ยาวนานกว่า ๓๐ ปีโดยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ แก้ไขอย่างเร่งด่วน

    อ่านในการประชุม

  • ๕. สุดท้าย ขอให้กรมทางหลวงพิจารณาก่อสร้างสะพานข้ามสี่แยกทางหลวง หมายเลข ๓๓ กิโลเมตรที่ ๔๕ ตัดกับทางหลวงหมายเลข ๓๒ หรือถนนสายเอเชีย บริเวณอำเภอบางปะหัน ซึ่งจะทำให้รถที่มาจากสระบุรี พระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าไปยัง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เดินทางได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาการจราจร ติดขัดบนถนนสายเอเชีย ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขตเลือกตั้งที่ ๒ อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช อำเภอบ้านแพรก และอำเภอท่าเรือ พรรคก้าวไกล ผมขออภิปรายสนับสนุนญัตติเรื่องน้ำประปาและน้ำบาดาล ของเพื่อน สส. ที่นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาในวันนี้ เพราะเป็นปัญหาจำเป็นที่ต้องเร่ง แก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อประชาชน ท่านประธานครับ ท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมทั้งที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาบ้านผมมีแม่น้ำผ่านหลายสาย เช่น แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อย ตลอดจนมีลำคลองมากมาย ทั้งคลองธรรมชาติ คลองชลประทาน เป็นใยแมงมุมทั่วทั้งจังหวัด น่าจะไม่มีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ ใช่ครับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้านผมไม่ขาดแคลนน้ำ มิหนำซ้ำยังท่วมทุกปี ท่วมมาก ท่วมน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ของแต่ละปี แต่ปีนี้โชคดี น้อยหน่อยครับ แต่น้ำที่มีอยู่นั้นไม่สามารถใช้ดื่มกิน อุปโภคบริโภค ได้เหมือนสมัยก่อน เพราะปนเปื้อนไปด้วยสารพิษ โลหะหนัก ยาปราบศัตรูพืช ไม่ได้ใสสะอาด เหมือนเก่า แม้กระทั่งน้ำฝนยังมีสารปนเปื้อน ใช้ดื่มกินไม่ได้ น้ำคือต้นทุนของทุกอย่าง น้ำที่ดี คุณภาพชีวิตก็จะดี น้ำคือชีวิต คนเราขาดน้ำไม่ได้ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ใช้ปรุงอาหาร ดื่มกิน ซักล้าง แม้กระทั่งชักโครกก็ต้องใช้น้ำ ผมคงไม่พูดเรื่องน้ำที่ใช้ เพื่อการเกษตรเหมือนจังหวัดอื่น ๆ แต่ผมขอพูดถึงน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค ดำรงชีวิต ของประชาชนเป็นหลัก พระนครศรีอยุธยามีการประปาส่วนภูมิภาคให้บริการ แต่ท่านประธานทราบไหมว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด การประปาส่วนภูมิภาคให้บริการ ไม่ทั่วถึง ในปี ๒๕๖๖ การประปาส่วนภูมิภาคให้บริการกับผู้ใช้น้ำเพียง ๘๑,๕๑๔ ราย ทั้ง ๆ ที่จำนวนที่อยู่อาศัยของประชาชนมีถึง ๓๕๔,๘๖๑ ครัวเรือน แล้วส่วนใหญ่ที่ใช้ น้ำประปาส่วนภูมิภาคก็คือโรงงานนิคมอุตสาหกรรม และสวนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จำนวน ๕ แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง สวนอุตสาหกรรมโรจนะ เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ รวมไปถึงเขตชุมชน ใหญ่ ๆ และบ้านจัดสรรที่การประปาส่วนภูมิภาคทำกำไรได้เท่านั้น ปล่อยให้ประชาชน ส่วนใหญ่ต้องใช้ประปาหมู่บ้านที่เทศบาลหรือ อบต. จัดทำขึ้นตามมีตามเกิด คุณภาพน้ำ ไม่ต้องพูดถึงครับ บางแห่งขุ่นข้น มีกลิ่น จะแปรงฟัน ซักผ้า ราดห้องน้ำก็ยังไม่ได้ นี่คือ ความทุกข์ของประชาชนชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาครับ ประปาหมู่บ้านหรือประปา ชุมชน ที่เทศบาลหรือ อบต. จัดทำและให้บริการกับประชาชนมี ๒ ลักษณะด้วยกัน คือ

    อ่านในการประชุม

  • ๑. ประปาที่ทำจากน้ำบนผิวดิน คือเอาน้ำดิบจากแม่น้ำลำคลองมาผ่าน กรรมวิธีละลายสารส้มให้ตกตะกอน ผึ่งแดด ผ่านการกรองด้วยหิน กรวด ทราย และบางที่ ดีหน่อยอาจจะมีคลอรีนฆ่าเชื้อโรคบ้าง แล้วส่งผ่านตามท่อไปยังชุมชน แต่อย่าลืมนะครับ ตอนนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาบ้านผมเป็นแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม อาจจะมีสารเคมีหรือสารอันตรายเจือปนอยู่ในน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแม่น้ำป่าสักซึ่งมี ท่าเรือขนถ่ายถ่านหิน ปุ๋ยเคมี ปูนซีเมนต์ แป้งมันสำปะหลัง ซึ่งปล่อยให้มีการใช้น้ำฉีดล้าง รั่วไหลลงสู่แม่น้ำตลอดทั้งวันตลอดทั้งคืน ไม่มีใครใช้ประกอบอาหารหรือดื่มกินได้ เพียงใช้ได้ ในการซักล้าง อาบ ชำระร่างกายเท่านั้น บางครั้งโชคร้ายระบบกรองน้ำมีปัญหาขาดสารส้ม ก็ปล่อยน้ำที่ไม่ผ่านกระบวนการส่งให้ประชาชนโดยตรง สกปรก ไม่สะอาดเหมือนน้ำประปา ในกรุงเทพมหานคร

    อ่านในการประชุม

  • ๒. เทศบาล และ อบต. ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้อยู่ใกล้แหล่งน้ำ จำเป็นต้องใช้ การขุดเจาะน้ำบาดาล ซึ่งเกือบทุกแห่งอายุของบ่อเกิน ๒๐-๓๐ ปีขึ้นไป สูบน้ำส่งขึ้นแท็งก์ แล้วปล่อยลงท่อส่งให้บ้านเรือนประชาชนใช้โดยตรง โดยไม่มีการตรวจคุณภาพน้ำหรือผ่าน การกรอง บางครั้งเปิดก๊อกน้ำออกมาน้ำดำเป็นโคลน ซึ่งพบเห็นอยู่บ่อยครั้ง

    อ่านในการประชุม

  • อีกประการหนึ่ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในเขตพื้นที่วิกฤติการณ์ น้ำบาดาล มีมาตรการเข้มงวดกับการใช้น้ำบาดาล นอกจากจะเสียค่าใช้น้ำแล้วยังต้องมี ค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลอีก ทำให้น้ำแพง และถ้าหากชำระเกินกำหนดก็ถูกปรับอีกมาก ถึง ๒ เท่า ทำให้ผู้ที่จะขุดเจาะน้ำบาดาลใช้เองไม่กล้าขุดเจาะ หันมาใช้น้ำประปาหมู่บ้านแทน ทำให้ยิ่งขาดแคลนน้ำ ทางเทศบาลหรือ อบต. ก็ไม่มีงบประมาณขยายหรือปรับปรุงคุณภาพน้ำ นับเป็นความทุกข์ทับทวีคูณ นี่คือความทุกข์ของประชาชนที่รอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จึงขอสนับสนุนญัตติเพื่อให้หน่วยงานบริหารทรัพยากรน้ำนำไปแก้ไข พิจารณาจัดสรร งบประมาณในการขุดเจาะน้ำบาดาลให้มีคุณภาพ ไม่ใช่ขุดตื้น ๆ ไม่ถึงชั้นน้ำบาดาลที่สะอาด เหมือนที่ผ่านมา แล้วช่วยพัฒนาและปรับปรุงผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน ทั้งที่ใช้น้ำผิวดิน หรือน้ำบาดาลให้มีคุณภาพดื่มได้ เหมือนที่เทศบาลตำบลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว หรือให้การประปาส่วนภูมิภาคขยายเขตบริการให้ทั่วถึง และครอบคลุมทั่วประเทศ เหมือนการประปานครหลวงที่ให้บริการในกรุงเทพมหานคร นี่ขนาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงเหมือนกันยังย่ำแย่ขนาดนี้ แล้วจังหวัดอื่น ๆ จะไม่เลวร้ายไปกว่านี้หรือครับท่านประธาน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต ๒ อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช อำเภอบ้านแพรก และอำเภอ ท่าเรือ วันนี้ผมมีปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาหารือกับท่านประธาน ๔ เรื่อง ด้วยกันครับ

    อ่านในการประชุม

  • ๑. ถนนคอนกรีตตั้งแต่ วัดป่าศรีถาวรอยุธยา-บ้านลาดทา เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตรถูกน้ำกัดเซาะชำรุดเสียหาย พื้นถนนทรุดตัวลงแตกร้าว บางช่วงมีโพรงขนาดใหญ่ใต้ถนน อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ที่ใช้ถนน ดังกล่าว จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขซ่อมแซมให้ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ๒. ทางหลวงชนบทหมายเลข ๓๔๘๓ ตั้งแต่ทางแยกบริเวณตำบลบ้านขวาง ผ่านทางแยกวัดโพธิ์ประสิทธิ์และวัดรุ้ง อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปจด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ หรือถนนสายเอเชีย จังหวัดอ่างทอง ซึ่งฝั่งขวาของถนน เป็นคลองชลประทานขนานไปกับตลอดเส้นทาง โดยระดับของถนนกับคลองชลประทาน มีความสูงต่างกันประมาณ ๒-๓ เมตร ไม่มีไหล่ทาง อาจเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่จะพลัดตก ลงไป จึงขอให้แขวงการทางชนบททำรั้วเหล็กกั้นปิดริมถนน แล้วติดสัญญาณสะท้อนแสง เพื่อเตือนผู้ขับขี่โดยเฉพาะในเวลากลางคืนด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ๓. ได้มีการก่อสร้างคลังกระจายสินค้าขนาดใหญ่ เนื้อที่ประมาณ ๒๕๐ ไร่ ริมทางหลวงหมายเลข ๓๐๘ ถนนอุดมสรยุทธ์ ตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นถนนขนาดใหญ่มีพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมและประชาชน สัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก ในการก่อสร้างดังกล่าวได้มีรถพ่วงขนาดใหญ่บรรทุกดินและ อุปกรณ์ในการก่อสร้างวิ่งผ่านไปมาตลอดเวลา ประชาชนได้ร้องเรียนปัญหาความเดือดร้อน ที่เกิดจากการร่วงหล่นของวัสดุดินโคลนและฝุ่นละออง และปัญหาพื้นผิวจราจรเสียหายจาก น้ำหนักรถบรรทุก ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมดูแลด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ๔. ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงระหว่างวัดเกตุถึงปากคลอง บ้านใหม่ไม่มีเขื่อนป้องกันตลิ่งทรุด ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก น้ำกัดเซาะแนวตลิ่งพัง บ้านเรือนที่ปลูกสร้างอยู่ริมแม่น้ำรอวันเลื่อนไถลลงแม่น้ำ ขอให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งทรุดตามที่เคยมาสำรวจไปแล้วโดยเร่งด่วนด้วยครับ ส่วนรายละเอียดกระผมจะส่งเป็นเอกสารให้ท่านประธานต่อไป ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง สมาชิกผู้แทนราษฎรพระนครศรีอยุธยา เขต ๒ อำเภอนครหลวง บางปะหัน มหาราษฎร์ บ้านแพรกและท่าเรือ พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผม มีปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่มาหารือกับท่าน ๓ เรื่องด้วยกันครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ กรณีที่ อบต. หนองปลิง อำเภอนครหลวง ได้ยินยอมให้บุคคล ถมลำรางสาธารณะยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำ จากฝั่งตะวันออกของทางหลวงชนบทหมายเลข อย.๓๐๐๕ มายังฝั่งตะวันตก ไหลลงสู่ คลองสาธารณะเลียบทางรถไฟสถานีรถไฟมาบพระจันทร์ ซึ่งใช้ร่วมกันมานานกว่า ๕๐ ปี เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมและใช้น้ำในการเกษตร เพราะถนนสายดังกล่าวปิดกั้นทางน้ำ โดยทาง อบต. หนองปลิง อ้างว่าในโฉนดของกรมที่ดินดั้งเดิมนั้น ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ระบุไว้ว่าเป็นทางกระบือ จึงสามารถถมเป็นทางสาธารณะได้ทันที ซึ่งการถมลำรางสาธารณะนี้ มิได้แจ้งหรือขอความเห็นจากชุมชนแต่อย่างใด เรื่องนี้ทางศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าที่ดินสาธารณะดังกล่าวได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นลำรางทางน้ำมากว่า ๕๐ ปี แล้วยัง ใช้ประโยชน์จากทางน้ำมาอย่างต่อเนื่อง จึงมีคำสั่งให้อำเภอนครหลวงแจ้งไปยัง อบต. หนองปลิง แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ดำเนินการถมดิน พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขให้กลับไปสู่สภาพเดิม โดยเร็ว แต่ทางผู้บริหาร อบต. หนองปลิง ไม่ยินยอมปฏิบัติตาม โดยอ้างว่าเป็นอำนาจหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบริหารจัดการที่ดินสาธารณะก่อให้เกิดความเดือดร้อน กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้เหมือนเดิม ทำให้การระบายน้ำ มีปัญหา อาจจะประสบปัญหาน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรหลายพันไร่ในหน้าน้ำหลากที่จะมาถึง จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและกระทรวงมหาดไทย พิจารณาดำเนินการ แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร่งด่วน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ปัญหาโรงงานคัดแยกขยะอุตสาหกรรม ในพื้นที่ อบต. อุทัย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้นำขยะที่มาจากครัวเรือนมากองเก็บไว้เป็นจำนวนมาก กลิ่นเหม็นรบกวนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นเวลาถึง ๔-๕ ปี เรื่องดังกล่าว อุตสาหกรรมจังหวัด กองควบคุมมลพิษ นายอำเภออุทัย และ อบต. อุทัย พร้อมทั้ง ประชาชนผู้เดือดร้อนและผู้ประกอบการ ได้ประชุมร่วมกันเห็นว่าการดำเนินการ ผิดวัตถุประสงค์ในใบอนุญาต จึงขอให้ผู้ประกอบการขนย้ายขยะดังกล่าวออกจากพื้นที่ ภายในเวลากำหนด แต่ต่อมาบริษัทได้ปิดกิจการลง และต่อมาได้เปิดบริษัทใหม่ในพื้นที่เดิม ยังมีการดำเนินการลักลอบขนย้ายขยะครัวเรือนเข้ามาโดยตลอด และมิได้ดำเนินการขนย้าย ขยะที่มีอยู่ออกไปแต่อย่างใด เมื่อมีการทวงถามก็อ้างผัดผ่อนมาโดยตลอดว่าไม่มีค่าใช้จ่าย ในการขนย้าย ซึ่งอันที่จริงแล้วผู้ประกอบการยังหวังใช้ประโยชน์ในขยะดังกล่าวต่อไป โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของพี่น้องชุมชน จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขตามข้อตกลงโดยด่วน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ขอให้กรมชลประทานพิจารณาจัดสรรสร้างสถานีสูบน้ำอำเภอ มหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒ แห่ง คือจุดที่ ๑ บริเวณศาลาคู่ หมู่ที่ ๒ ตำบลพิตเพียน โดยจะสามารถสูบน้ำจากแม่น้ำลพบุรีเข้าคลอง ๒ ซ้าย ๘ ซ้าย จุดที่ ๒ บริเวณประตูน้ำ วัดอุโลม ตำบลมหาราช โดยจะสูบน้ำจากแม่น้ำลพบุรีเข้าคลองหนองหม้อ เนื่องจาก อำเภอมหาราช

    อ่านในการประชุม