นายกัณตภณ ดวงอัมพร

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๖ กรุงเทพมหานคร ตัวแทนของพี่น้องชาวพญาไท ดินแดง ก่อนอื่นผมต้องขอกล่าวขอบคุณ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวก่อนนะครับ รวมถึงกระทรวง พม. ซึ่งตัวผมเองนั้น ได้เคยร่วมงานกับกระทรวง พม. มาในช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่ผ่านมา และได้รับการประสานงาน ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างดีมาโดยตลอด ขอ Slide ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าในทุกวันมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยความรุนแรงนั้นเกิดขึ้นจากคนที่ตกเป็นเหยื่อก็คือลูกหลาน เด็กเล็ก ผู้หญิง คนแก่ หรือแม้กระทั่งคนพิการ คนเหล่านี้คือผู้สูญเสีย คือเหยื่อ คือคนที่แทบจะไม่มีทางสู้ วันนี้ ผมจะมาอภิปรายถึงปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากยาเสพติด จาก Slide หน้า ๓ สรุปจาก ภาพรวมจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ถูกกระทำจะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง ๑๐ เท่าขึ้นไป จาก Slide นี้หน้าที่ ๖ ข้อที่ ๑-๙ คิดเป็นประมาณ ๔๘ เปอร์เซ็นต์ ผู้ที่กระทำต่อเหยื่อ คือคนในครอบครัว ขอหน้าถัดไปครับ จากตารางนี้ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นปัจจัยหลัก และปัจจัยรองลงมาก็คือสิ่งกระตุ้น และมีการใช้สารเสพติดถึง ๒,๑๕๙ เคส ปัญหายาเสพติด กับความรุนแรงในครอบครัว เราคงไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่ายาเสพติดนี้เป็นปัญหาระดับชาติ มันเป็นเหมือนระเบิดเวลา ยาเสพติดนี้เป็นเหมือนระเบิดเวลาที่สร้างความรุนแรงในครอบครัว ได้ทุกเมื่อ เมื่อบ้านนั้นมีผู้ใช้ยาเสพติดอยู่ในบ้าน ผมทราบดีครับว่า พม. นั้นเป็นหน่วยงาน ที่ต้องบูรณาการร่วมกับหลายฝ่ายในหลายกรณี หลายครั้งนะครับปัญหาในพื้นที่ที่ผมได้รับ เรื่องร้องเรียนมาจากพี่น้องประชาชนว่ามีเหตุความรุนแรงจากผู้ที่ใช้สารเสพติดที่อยู่ในบ้าน มีทั้งคุณพ่ออยากให้ตำรวจไปจับลูก เพราะลูกติดยาจนขโมยของไปขาย มีทั้งคุณแม่ที่ต้องแอบ ไปแจ้งความอยากให้ตำรวจไปจับลูกไปรักษา ที่ต้องแอบเพราะว่ากลัวลูกจะมาทำร้าย ทุก ๆ ครั้ง ทุก ๆ Case ประชาชนมีความหวัง และหวังว่าจะพึ่งเจ้าหน้าที่ได้ เพื่อจะคืน ความสุข คืนความปกติให้กับครอบครัวนั้น ๆ ครับ ผมมีข้อสังเกตนะครับ ในการส่งตัว ผู้เสพยาเข้ารับการบำบัด หากผู้เสพยาสมัครใจเข้ารับการบำบัดจะเข้าสู่กระบวนการ ขั้นตอนที่ ๑ แต่ในกรณีที่เกิดการปฏิบัติจริงตามหลักแล้วต้องเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย แต่ที่ได้รับข้อร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่มาโดยตลอด คือถ้าเกิดผู้เสพไม่สมัครใจ เข้ารับการบำบัด หลายครั้งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถบังคับและไม่นำตัวเข้าสู่ระบบกฎหมาย คนติดยาถือว่าเป็นผู้ป่วย เขาน่าจะได้รับโอกาสในการแก้ไขตัวเองคืนสู่สังคมได้โดยดี ผมขอถามผ่านท่านประธานไปยังผู้ชี้แจงว่าเหตุการณ์ในลักษณะนี้ที่กล่าวมาจะดำเนินการ ในการปฏิบัติจริงอย่างไรถึงจะปลดล็อกความทุกข์นี้จากคนที่มีผู้เสพยาในครอบครัวที่ไม่ยอม ไปรับการรักษา

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๒ ในการดำเนินการที่ผ่านมาในลักษณะ Case นี้ทางผู้ชี้แจงทาง พม. มีปัญหาติดขัดตรงไหนเราก็อยากจะทราบเหมือนกันว่าท่านติดขัดตรงไหน เผื่อพวกเราจะใช้ รัฐสภานี้ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับท่านได้ ผมมีข้อสังเกตอีก ๑ ข้อจากรายงานไม่ว่าความรุนแรง จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปี ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นนะครับ ก็ยังไม่อาจจะชี้วัดได้ว่าแนวการดำเนินการ ของ พม. ซึ่งเป็นหน่วยงานบูรณาการจะสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าได้ป้องกันความรุนแรง ในครอบครัวได้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ผมจึงอยากจะถามถึงตัวชี้วัดด้วยว่ามีการชี้วัด ในการดำเนินการอย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายนี้ ปัญหายาเสพติดทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นปัญหาระดับชาติ โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยได้ชูนโยบายปราบยาเสพติดอย่างจริงจัง แต่พอผมเห็นโผรัฐบาล ชุดนี้แล้วผมก็อดห่วงไม่ได้ ผมก็หวังว่าท่านจะจริงจังกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างที่ ท่านได้หาเสียงเอาไว้กับประชาชน ประชาชนรอพวกท่านอยู่ครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม กัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพฯ ตัวแทนของพี่น้อง ชาวพญาไท ดินแดง ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณทุกคะแนนเสียงที่มอบให้ผมมาทำหน้าที่ ตรงนี้ครับ ขอ Slide ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรก ปัญหาจากข้อร้องเรียน ของพี่น้องประชาชนที่อาศัยบริเวณแฟลตดินแดง เรื่องปัญหาไฟส่องสว่างครับ ทีมอาสาจึงได้ ร่วมลงสำรวจบริเวณแฟลตดินแดง รอบตลาดกลางดินแดง และบริเวณหลัง สน. ดินแดง พบไฟดับมากกว่า ๕๐ ดวงมาเป็นเวลานานนับปี การแก้ไขเป็นไปอย่างล่าช้า ประชาชน ต้องอยู่กับความมืดจนกลายเป็นความเคยชินครับ แต่ Case นี้ผมขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ประจำ สำนักงานเคหะดินแดง ๒ ที่พยายามแก้ไขปัญหา แม้ว่าจะขาดการสนับสนุนจากส่วนกลาง ที่เพียงพอ นอกจากเรื่องไฟแล้ว ปัญหาการจัดการขยะ ถนนทรุดโทรม น้ำประปาที่ไม่สะอาด การลอกท่อในพื้นที่ การพัฒนาลานกีฬาต่าง ๆ หลายเรื่องที่ประชาชนร้องไป คำตอบกลับมา Classic มากคือไม่มีงบประมาณ ทั้ง ๆ ที่มีผู้อาศัยอยู่บริเวณนี้หลายหมื่นคน เลยเป็นคำถามด้วย ว่าเคหะส่วนกลางควรดูแลประชาชน ใส่ใจประชาชนให้ดีกว่านี้ใช่หรือไม่ครับ ในฐานะตัวแทน ประชาชนผมขอส่งความเดือดร้อนนี้จากท่านประธานไปถึงการเคหะแห่งชาติภายใต้การดูแล ของกระทรวง พม. ให้พิจารณาข้อร้องเรียนต่าง ๆ ทั้งแฟลตดินแดงและแฟลตห้วยขวาง ให้พิจารณางบประมาณที่เพียงพอกับปัญหาครับ ประเด็นต่อมา เรียนท่านประธานไปถึงผู้ว่า กทม. เรื่องสภาพทรุดโทรมภายในสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง สถานที่นี้มีประชาชนมาใช้ บริการจำนวนมาก และจากข้อร้องเรียนพบว่ามีหลายจุดนะครับ ยกตัวอย่างจาก Slide เป็นภาพสนามเด็กเล่น อันนี้คือสนามบาสเกตบอลและสนามเทนนิสพื้นทรุดโทรมเหมือนอยู่ บนดาวอังคาร ก็ขอฝากความกังวลนี้ของผมว่าเป็นห่วงพี่น้องประชาชนถึงกรุงเทพมหานคร ให้มาทำการแก้ไขด้วยครับ ประเด็นสุดท้าย พื้นที่สี่เหลี่ยมตรงนี้เป็นข้อร้องเรียนจากพี่น้องชาวพญาไท เรื่องสนามฟุตบอล ณ บริเวณแฟลตตำรวจลือชา เรียนผ่านท่านประธานไปยังสำนักงบประมาณและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาเรื่องการใช้พื้นที่สนามฟุตบอลที่มีแนวโน้มตอนนี้จะถูกเปลี่ยนจาก พื้นที่สีเขียวตรงนี้ ขึ้นมาเป็นตึกและหอพักราชการแทน สนามกีฬาฟุตบอลแห่งนี้เป็น แห่งสุดท้ายในพญาไทที่เยาวชนและประชาชนทั่วไปจะได้มาใช้ประโยชน์ได้ฟรี รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนด้วย ลองนึกภาพตามถ้าพื้นที่ตรงนี้ถูกเปลี่ยนเป็นตึก ภูมิทัศน์ และผลกระทบต่อประชาชนทั้งผู้ใช้และผู้อาศัยจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ผมจึงขอนำเรียน ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างถี่ถ้วน และขอให้ท่านฟังเสียงประชาชนให้มาก และคำนึงถึงประโยชน์ในระยะยาวเป็นที่ตั้งครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม กัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพฯ เขต ๖ พญาไท ดินแดง ผมขอนำปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องในพื้นที่มาหารือกับท่านประธานเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไข ๓ เรื่องดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาที่ ๑ ปัญหาก่อสร้าง Footpath ถนนสุทธิสารวินิจฉัย โครงการนี้เป็น ของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ร่วมโครงการทั้งหมด ๓ หน่วยงาน คือ ๑. สำนักการโยธา ๒. การประปานครหลวง ๓. NT ปัจจุบันฝังเลขคี่เป็นฝั่งที่มีปัญหา เนื่องจากต้องมีการวางท่อและสายสื่อสาร จึงมีการขุดเจาะถนนทำให้เกิดทั้งเสียงและฝุ่น ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ กลบไม่เรียบ รวมทั้งการวางของสำหรับการก่อสร้างไว้ทำให้คนต้องไป เดินบนถนนมีเหตุให้ได้รับอุบัติเหตุหลายครั้ง พูดกันตามตรงคือมีปัญหามาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มการก่อสร้าง ตอนนี้สัญญาการก่อสร้างที่สิ้นสุดลงแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ยังไม่แล้วเสร็จ ฝากถึงผู้เกี่ยวข้องช่วยเร่งรัด และในอนาคตหากมีการก่อสร้างที่ต้องทำงาน ร่วมกันหลายหน่วยงานขอให้วางแผนงานบูรณาการให้พร้อมและคำนึงถึงความปลอดภัยของ ประชาชนก่อน

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาที่ ๒ ปัญหาน้ำท่วมดินแดง ฝากท่านประธานไปยังกรุงเทพมหานคร ๒ เรื่อง คือ ๑. จัดหาเครื่องสูบใหม่ให้เพียงพอ เนื่องจากปัจจุบันเครื่องสูบน้ำของเขตดินแดง หลายจุดเก่าและต้องไปยืมจากเขตพญาไท ๒. ขยายท่อระบายน้ำบริเวณซอยวิภาวดีรังสิต ๒ ถึงซอยประชาสงเคราะห์ ๒๗ เพื่อให้น้ำบริเวณดังกล่าวระบายได้เร็วขึ้น รวมถึงการขยายท่อ บริเวณซอยชานเมือง เพราะจุดชานเมืองเป็นจุดรับน้ำจากซอยเปรมสมบัติ นาทอง และผาสุก ในอนาคตควรเปลี่ยนเส้นทางระบายน้ำชานเมืองมาลงยังคลองยายสุ่น น้ำจะไหลไปยัง คลองแสนแสบได้เป็นระยะทางที่สั้นกว่าแทนการใช้คลองนาซองเดิม

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสุดท้าย โครงการฟื้นฟูเมืองระยะที่ ๑ อาคารแปลง G เป็นแฟลต ต้นแบบของดินแดง ฝากท่านประธานไปยังการเคหะแห่งชาติจากพื้นที่คาดหวังให้เป็น Smart Community ของผู้อยู่อาศัยให้มีความสุข ตอนนี้หลายครอบครัวประสบความทุกข์ อาคารสร้างมาไม่กี่ปีเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมภายในห้องมากกว่า ๘๐ ห้อง ทำให้ประชาชนได้รับ ความเดือดร้อนมาก จึงขอนำเรียนท่านประธานไปยังการเคหะแห่งชาติเร่งแก้ไขปัญหา ดังกล่าวและขอให้เป็นบทเรียนสำคัญในการสร้างอาคารต่อไป ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • สวัสดีครับ ขอ Slide ครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร แรมโบ้ก้าวไกล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต เขตพญาไท เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล ผมขอนำเสนอข้อมูล กราบเรียนท่านประธานเพื่อพิจารณาประกอบ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาการจ้างงานและเพิ่มทักษะแรงงานครับ จากข้อมูล ของกองวิจัยและพัฒนา สำนักงานประกันสังคม ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖ นั้น มีผู้ประกันตนอยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา ๓๓ อยู่ทั้งสิ้น ๑๑,๖๖๕,๑๖๒ คน นี่เป็นเพียง ตัวเลขที่ลูกจ้างอยู่ในระบบประกันสังคมที่จะใช้ตัวเลขนี้มาอ้างอิงได้ ยังไม่รวมกับกลุ่มลูกจ้าง ที่เป็นสัญญารายเดือนต่อเดือน ลูกจ้างเหมาบริการในหน่วยงานภาครัฐ ลูกจ้างรายวัน และลูกจ้างอื่น ๆ ที่นายจ้างจะสรรหาบุคคลเข้ามาทำงาน นั่นหมายความว่ายังมีลูกจ้าง อีกจำนวนมากที่พวกเรามองไม่เห็น การจ้างงานที่เกิดขึ้นผมขอนำเรียนในส่วนของลูกจ้าง ที่เจอปัญหาอยู่ในปัจจุบันนี้ แน่นอนว่าเป็นปัญหาที่ซุกอยู่ใต้พรมของแต่ละบริษัทที่กระทำ ต่อลูกจ้าง อาทิเช่น สัญญาที่เขียนไว้ถึงความผูกมัดยึดโยงไม่ให้ไปทำกับบริษัทคู่แข่งหากหมด สัญญาหรือลาออก การไม่จ่ายเงินค่าล่วงเวลาหรือ OT ในการทำงาน การทำงานเกินระยะเวลา ที่กำหนดโดยไม่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ สภาวะแวดล้อมการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน สัญญาการจ้าง ลักษณะงานที่ไม่ตรงปกกัน หรือแม้กระทั่งเนื้องานมีเป็นล้านจ้างงานเพียง ๑๕,๐๐๐ บาท นี่เป็นเหตุผลเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รวมยิบย่อยที่เกิดกับลูกจ้างจริง ๆ ผมขออนุญาตนำเสนอ Slide ข้อมูลภาคเอกชนที่ได้มีการทำข้อมูลเชิงสถิติของอัตราเงินเดือน แต่ละตำแหน่งจาก Manpower Group Thailand Salary Guide ตัวอย่าง CEO ในบริษัท มีเงินเดือนขั้นต่ำอยู่ ๒๙๐,๐๐๐ บาท จนไปถึง ๑ ล้านบาท มีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๖๔๕,๐๐๐ บาท ตัวเลขนี้ไม่ใช่น้อยเลยครับ คราวนี้เรามาดูที่ตัวเลขของพนักงานเริ่มต้นแบบเด็กจบใหม่เลยครับ ขออนุญาตนำเสนอในสายงานกลุ่มที่ต้องดูแลลูกค้าหรือที่เรียกกันว่า Customer Service เงินเดือนขั้นต่ำ ๑๕,๒๐๐ บาทไปถึง ๑๘,๔๐๐ บาท เฉลี่ยแล้วอยู่ประมาณ ๑๖,๘๐๐ บาท แต่ท่านรู้ไหมคนกลุ่มนี้ต้องเจอปัญหาอะไรบ้างในการทำงาน สัญญาจ้างที่เขาต้องเจอ พนักงาน จะต้องทำงาน ๖ วันต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ ๐๘.๓๐ นาฬิกา ถึง ๑๗.๓๐ นาฬิกา พัก ๑ ชั่วโมง เท่ากับว่าพวกเขาต้องทำงาน ๔๘ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ แต่ว่า เมื่อทำงานจริง ๆ พวกเขาต้องทำงานเกินเวลาทุกวัน เพราะความคาดหวังของนายจ้าง และ KPI ที่ค้ำคอพวกเขาอยู่ แถมพวกเขาเหล่านี้ไม่รับ OT เพราะนายจ้างให้เหตุผลว่า Clear งานไม่เสร็จก็ต้อง Clear ให้เสร็จก่อนที่จะกลับบ้าน การถูกบังคับให้ทำงานนอกเวลา แบบไม่เต็มใจมีอยู่หลายหลากที่หลาย ๆ บริษัทเผลอ ๆ จ้างงานเหมาราชการก็โดนแบบนี้ ด้วยแต่ลูกจ้างไม่กล้าที่จะออกมาพูดหรือร้องเรียนกับบริษัทต่าง ๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าหากเขา ร้องเรียนไปแล้วสถานะในการทำงานของพวกเขาจะเป็นอย่างไร สัญญาจะถูกฉีกไหม หลายคนเลยต้องจำใจที่จะทำงานนอกเวลา ท่านประธานครับ นี่คือลักษณะงานที่ผมจะ ยกตัวอย่างสำหรับอัตราเงินเดือน ๑๕,๐๐๐ บาท ผมจะอ่านคร่าว ๆ ให้ท่านประธานฟัง ๑. บริการลูกค้าในการปรับใช้นโยบายธุรกิจและกฎ ระเบียบขั้นตอนและโปรแกรม รวมถึง กระบวนการตรวจสอบคำสั่งซื้อ ซึ่งอาจควบคุมหลายแผนกหรือหลายธุรกิจ ๒. ติดต่อกับ ลูกค้า ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด เพื่อให้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมผลิตภัณฑ์ราคา การเรียก เก็บเงิน สถานะของบัญชี รวมไปถึงคุณภาพ หรือคำถามเกี่ยวกับการจัดส่ง ๓. รับสายโทรศัพท์ประมาณ ๒๐๐ สายต่อวัน จากฝ่ายขาย ฝ่ายบัญชี ฝ่ายภาคสนาม และลูกค้า ท่านครับนี่ไม่รวมกับคุณสมบัติของผู้สมัครที่ต้องทำงาน ผมคิดว่าเขากำลังมองหา พนักงานที่กำลังจะไปสู้รบกับลูกค้า คุ้มไหมครับกับอัตราเงินเดือนเท่านี้กับสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ลูกจ้างต้องพบเจอจากสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่เหมาะกับการทำงาน มีหลายท่านที่ต้องเข้ารับการรักษาสุขภาพจิต ทั้งโรคซึมเศร้า หรือไบโพลาร์ ซึ่งนายจ้าง ไม่ได้ Care ลูกจ้างในส่วนนี้เลย ท่านประธานครับ เคยได้ยินคำนี้ไหม หากเราตายไปบริษัท ก็หาคนอื่นมาแทนเราได้ เจ็บจี๊ดนะครับฟังคำนี้เหมือนลูกจ้างเป็นเครื่องจักรเพื่อปล้นเงิน ให้กับนายจ้างหรือเจ้าของบริษัท ไม่ได้ Care ความตายของลูกจ้างเลย และเป็นแบบนี้ ค่อนข้างเยอะครับ ด้วยเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดผมคงไม่สามารถที่จะยกเหตุผลอื่นอีกมากมาย ที่ลูกจ้างโดนกระทำมาพูดในสภาแห่งนี้ได้ ท่านครับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีมากมาย ทั้ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ แต่ท่านครับกฎหมายที่ผู้ถูกกระทำไม่กล้าที่จะพูด ที่จะร้องเรียน ไม่กล้าที่จะ ออกมาปกป้องสิทธิของตัวเองมันแย่มากนะครับ ความกลัวของลูกจ้าง เพราะนายจ้าง ไม่มีสามัญสำนึกในการปกครองลูกจ้างมองเขาเป็นเพียงเครื่องจักรผลิตเงินให้พวกเขา นี่ละครับเป็นปัญหาที่พวกเขาจะต้องเผชิญ ดังนั้นที่กล่าวมาทั้งหมดผมเห็นควรว่าการจัดตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาการจ้างงานและเพิ่มทักษะแรงงาน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งที่เห็นด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม กัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตพญาไท ดินแดง วันนี้ ผมขอร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการอากาศสะอาด ขอสไลด์ครับ

    อ่านในการประชุม

  • จากสไลด์ท่านประธาน จะเห็นได้ว่ากรุงเทพมหานครของเราส้มทั้งกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่ส้มของก้าวไกลนะครับ แต่เป็นส้มที่เกิดจากการวัดค่าฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานครเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จะเห็นได้ว่า ปริมาณฝุ่นอยู่ในขั้นที่ทำลายสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมากครับ หากเรามาดูค่าฝุ่น PM2.5 ย้อนหลัง ๓ ปี ในปี ๒๐๒๑-๒๐๒๓ ค่าฝุ่น PM2.5 นั้นในกรุงเทพมหานครมีค่าสูง อยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ทั้ง ๔ เดือนนี้ผมขอเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าปรากฏการณ์ ฤดูฝุ่นครับ พอผ่านพ้นเดือนมีนาคมไปแล้วกรุงเทพมหานครก็จะกลับเข้ามาสู่ฤดูกาลปกติ ผมขออนุญาตนำเรียนข้อมูลเปรียบเทียบและจัดเรียงลำดับของโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วครับ ท่านประธาน จะพบว่าประเทศไทยมีค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยเป็นอันดับที่ ๑๒ ของโลกนะครับ แพ้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียและลาวที่เขามีค่า PM2.5 ดีกว่าบ้านเรา คราวนี้ เราลองมาดูภาพกว้างกันบ้าง จะพบว่าจุดสีเขียวที่แสดงว่าอากาศดี ไม่มีมลพิษ ยังมีอยู่ ในหลายหลากประเทศทั่วโลก แม้แต่กระทั่งพื้นที่สีเขียวในดงสีแดงของสีส้มก็มีพอให้เห็นบ้าง ในประเทศจีนบางส่วนหรือประเทศสหรัฐอเมริกาบางส่วน แล้วในต่างประเทศเขามี การบริหารจัดการค่าฝุ่น PM2.5 อย่างไร วันนี้ผมขอยกตัวอย่าง ๒ ประเทศ ได้แก่ ๑. ประเทศอินเดีย อินเดียเป็นดินแดนแห่งศรัทธา เขามีการบริหารจัดการง่าย ๆ ๔ เรื่อง เรื่องที่ ๑ เขามีการแจกก๊าซ LPG แทนการใช้ถ่านหินเพื่อลดการสร้างมลพิษในครัวเรือน เรื่องที่ ๒ เอกชนรับซื้อซากการเกษตร เรื่องที่ ๓ มีการห้ามใช้เครื่องยนต์เก่าที่จะทำให้ เกิดเขม่า เรื่องที่ ๔ มีการจัดระเบียบรถที่จะเข้ามาเมืองในวันคู่ วันคี่ ในเมืองนิวเดลี รัฐเขา จัดการอย่างจริงจังในการแก้ปัญหา แล้วก็สามารถขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาได้อย่าง เป็นรูปธรรม เรื่องนี้สวดมนต์ฝุ่นไม่หายแน่นอนครับ ประเทศที่ ๒ ประเทศมหาอำนาจอย่างจีน ก่อนอื่นเราต้องยอมรับกันก่อนว่าประเทศจีนมีการพัฒนาการแข่งขันในการใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งจากรถยนต์ รถเมล์ รถส่วนบุคคล หรือแม้กระทั่ง Scooter ไฟฟ้า ทำให้รัฐบาลสนับสนุนของประเทศจีนบวกกับการใช้กฎหมายออกมาใช้บังคับทำให้ ฝุ่น PM2.5 ของจีนลดลงได้อย่างเป็นรูปธรรม มาดูกันแบบใกล้ตัวครับ กทม. ครับ สัดส่วน การทำให้เกิดฝุ่นในกรุงเทพมหานครมากถึง ๖๐ เปอร์เซ็นต์จากการจราจร ข้อมูลจาก Global Traffic Scorecard ปี ๒๐๑๗ ได้ระบุไว้ว่าไทยครอง Champ ครับ เป็นประเทศที่มี สภาพการจราจรติดขัดที่สุดในโลก ผมเชื่อว่าปัญหารถติด รถยนต์ กทม. เป็นส่วนหนึ่งในการ สร้างมลพิษ แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างรถเมล์ ขสมก. ในตำนานนะครับ ผมถือว่า เป็นตำนานที่ยังมีลมหายใจเพราะมีควันที่ดำมาก แล้วก็ไม่ยอมเปลี่ยนไปใช้รถเมล์ EV สักที ต้องรอให้เอกชนนำหน้ารัฐก่อนหรือครับ ทำไมรัฐไม่สนับสนุนหรือแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อย่างจริงจังครับ ผลกระทบเกิดขึ้นโดยตรงกับพี่น้องประชาชนแน่นอนครับ ยิ่งประชาชน ในเขตบ้านผม พญาไท ดินแดง เป็นพื้นที่ที่มีผู้อยู่อาศัยแออัดอยู่แล้ว เดี๋ยวการเคหะก็จะขึ้น ตึกใหม่มีห้องเพิ่มขึ้นอีกกว่า ๑๔,๐๐๐ ห้อง ประชาชนชาวดินแดงก็จะเพิ่มขึ้นมาอีก แล้วประชาชนอันเป็นที่รักของผมจะต้องมาเจอสภาพอากาศที่เลวร้ายในช่วงฤดูฝุ่นอย่างนี้ อีกหรือครับ ยิ่งในเขตผมนะครับ ผู้สูงอายุจำนวนมาก ฝุ่น PM2.5 ทำลายสุขภาพคนไปมาก พอสมควรเลย ผมลงพื้นที่พบประชาชนในเขตพื้นที่พญาไทชาวบ้านก็เดินมาจับมือผม ถามว่า ช่วยแก้ปัญหาฝุ่นหน่อยได้ไหม เขาแค่อยากเปิดบ้านรับอากาศ เขาแค่อยากมีอากาศถ่ายเทดี ในบ้านบ้าง อยากเปิดหน้าต่างคอนโดมิเนียม อยากออกไปใช้ชีวิตอย่างสบายใจในช่วง วันหยุดบ้าง สำหรับกลุ่มเปราะบางอย่างผู้สูงอายุการได้รับฝุ่นอย่างต่อเนื่องแค่เพียงไม่กี่วัน ระบบคุ้มกันในร่างกายก็ลดต่ำลงด้วยทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้พวกเขาต้องป่วย ต้องเข้าไปรับ การรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น ไม่ใช่เรื่องดีเลยนะครับ เพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ แน่นอนครับ หากปริมาณฝุ่นมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่ได้รับการแก้ไข ผู้ที่ได้รับ ผลกระทบคือประชาชนคนไทยทุกคน ท่านประธานครับ สำหรับร่างพระราชบัญญัติทั้งหมด ที่ส่งเข้ามาในสภามีการออกแบบโครงสร้างอย่างที่เห็นในสไลด์นะครับ แบ่งหน้าที่การจัดตั้ง คณะกรรมการ ๓ คณะ แบ่งหน้าที่ดูเหมือนจะชัดเจน แต่ก็คงต้องไปในชั้นกรรมาธิการต่อไป พิจารณาว่ามันมีหน้าที่ซ้ำซ้อนกันอยู่หรือไม่ และฝากท่านประธานนำร่างของพรรค ก้าวไกลไปร่วมพิจารณาด้วยนะครับ พอดีท่านนายกรัฐมนตรีเพิ่งเซ็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมก็ กลัวตกหล่น เรื่องการปรับเงินสำหรับผู้กระทำความผิดเข้าสู่กองทุน ที่มีผู้เสนอมานั้นมีทั้ง เป็นกองทุนใหม่เพิ่งจัดขึ้นมาเลยคือกองทุนอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพของ ครม. ที่ใช้ กองทุนเดิมอยู่คือกองทุนสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากเข้าสู่การพิจารณาก็อยากให้ดูถึงจุดที่ชัดเจนในกองทุนดังกล่าวว่ามีการซ้ำซ้อนกัน ระหว่างกองทุนหรือไม่ แล้วจะแก้ไขอย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายผมตั้งข้อสังเกตไว้อย่างนี้ครับ เรามีทั้งโทษปรับ โทษจำ มีลงโทษทาง อาญา แล้วถ้าหากภาคเอกชน ประชาชนทำดี ร่วมกันแก้ไขปัญหา PM2.5 ผมคิดว่าทำดี ควรมีรางวัลครับ พระราชบัญญัติดังกล่าวควรเน้นให้ความสำคัญในการตอบแทนพวกเขา หรือไม่อย่างไรเพื่อเป็นแรงจูงใจในการช่วยกันแก้ไขปัญหา PM2.5 นี้ จากการอภิปราย ข้างต้นของผมนะครับ ผมขอสนับสนุนร่างกฎหมายนี้ให้ผ่านและให้ประกาศใช้เพื่อแก้ปัญหา ที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนทุกคน และผมก็ขอวิงวอนเพื่อน ๆ ในห้องสุริยันแห่งนี้ให้ผ่าน กฎหมายร่างนี้ไปด้วยกัน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎร ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร แรมโบ้ก้าวไกล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร แบบแบ่งเขต ดินแดง พญาไท พรรคก้าวไกล

    อ่านในการประชุม

  • ผมขอนำเสนอข้อมูล เรียนท่านประธานเพื่อประกอบการพิจารณา ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็น ของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ท่านประธานครับ ความสำคัญในการใช้ กระบวนการออกเสียงลงประชามติคือการได้รับมติของประชาชนส่วนใหญ่ที่มาจาก การออกเสียง เป็นเรื่องที่เป็นผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมถึงผลกระทบ ต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติ การออกเสียงประชามตินั้น เป็นกลไกที่ตั้งอยู่บนหลักการ ประชาธิปไตยทางตรงแบบสมัยใหม่ โดยปกติแล้วแม้ประชาชนสามารถแสดงความเห็น หรืออยากให้การเมืองเป็นแบบใด แต่ในความเป็นจริงภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แบบตัวแทน ผู้มีอำนาจตัดสินใจสุดท้ายกลับเป็นนักการเมืองในฐานะผู้แทนราษฎรนั่นคือ พวกเราครับ ดังนั้นการออกเสียงประชามติจึงเสมือนเป็นการคืนอำนาจอธิปไตยชั่วคราว ให้แก่ประชาชนทุกคนที่มีโอกาสเลือกเส้นทางประเทศจากคำว่า เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เพราะเรื่องที่นำมาจัดทำประชามติเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ ของประชาชนในประเทศทั้งหมด ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีหลายหลากประเทศ ที่ใช้กลไกการลงประชามติเพื่อให้ประชาชนในประเทศนั้น ๆ ได้มีการแสดงความคิดเห็น นำไปสู่การแก้ไขปัญหาระดับประเทศ ทำให้เห็นผลเชิงประจักษ์แก่ประชาชนและคนทั่วโลก ผมขออนุญาตท่านประธานพูดถึง ๒ ประเทศ กับ ๒ ประเด็นหลัก การให้ประชาชนทำมติว่า จะอยู่ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU ต่อไปหรือไม่ โดยเสียงข้างมาก ๕๑.๐๙ เปอร์เซ็นต์ ที่เห็นว่าให้ถอนออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิมากถึง ๓๐ ล้านเสียง หรือคิดเป็น ๗๒ เปอร์เซ็นต์ นี่เป็นเรื่องใหญ่ในปี ๒๕๕๙ ที่เกิดขึ้น และเชื่อว่าหลาย ๆ ท่าน ก็ได้ติดตามเรื่องนี้ โดยคำถามในการทำประชามติถามเพียงแค่ว่าสหราชอาณาจักร ควรอยู่ต่อเป็นสมาชิกภาพในสหภาพยุโรปหรือควรออกจากสหภาพยุโรป ในปี ๒๕๕๘ ก่อนที่สหราชอาณาจักรจะมีการทำประชามติเรื่องสหภาพยุโรปนั้น ประเทศญี่ปุ่นเองก็มี การทำประชามติเกี่ยวกับการจัดตั้งมหานครโอซาก้า ซึ่งทำให้โอซาก้านั้นมีสถานะทัดเทียม กับโตเกียว ทำให้โอซาก้านั้นมีอำนาจในการบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ซึ่งผลจากการประชามติมีคนที่ไม่ต้องการให้มหานครโอซาก้า มากถึง ๕๐.๓๘ เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีการรณรงค์ ไม่ได้มีการจับกุมแต่อย่างใด จึงทำให้เรื่องนี้ต้องหยุดไป จากตัวอย่างที่ผม ได้ยกมาจะได้เห็นว่าเสียงของประชาชนคือเสียงที่เขาเองจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเกิดผล อย่างไรในระดับประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้นการที่จะหยิบยกประเด็นระดับประเทศ มาทำประชามติ เห็นจะไม่พ้นเรื่องการที่จะให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นรัฐธรรมนูญ ของประชาชนคนไทยได้เป็นผู้ตัดสินด้วยตัวเองว่าเห็นควรหรือไม่เห็นควรที่จะมาร่าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ไปด้วยกัน อย่างที่ทราบกันดีวิกฤติทางการเมืองที่ผ่านมาหลาย ๆ เรื่อง จุดเริ่มต้นมาจากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ซึ่งเขียนเอาไว้สืบทอดอำนาจที่เกิดจากการรัฐประหาร ปี ๒๕๕๗ โดยผู้กระทำการรัฐประหารก็มอบหมายให้ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้นำการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปัญหาที่ตามมาจนเกิดเป็นวิกฤติที่เราเห็นพ้องต้องกัน ก็คือเรื่องนายกรัฐมนตรีที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง สว. แต่งตั้งที่มาจาก คสช. ไหนจะแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ๒๐ ปี ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้วนั้น ๒๐ ปี โลกมันหมุนไว สิ่งที่ท่านเขียนออกมาอาจจะต้อง Renovate กันใหม่ด้วยซ้ำ ฉะนั้นแล้วการที่เราจะมา ร่างรัฐธรรมนูญกฎหมายสูงสุดของประเทศ คงไม่ใช่ว่าใครจะแต่งตั้งใครมาร่าง แต่ควรที่จะมี การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ จัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ สสร. ซึ่งประเทศเราเองนั้นไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นครั้งแรก เราเคยมีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่มาของ สสร. เองก็มีการเลือกจากรัฐสภา เป็นต้น โดยทั้ง ๔ ครั้งที่ผมกล่าวมาสภาร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มคนในประเทศไทย สุดท้ายให้ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินว่าเขาจะเห็นควรหรือไม่เห็นควรที่จะมี การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แทนรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน คือคืนอำนาจอธิปไตย ชั่วคราวให้กับประชาชนให้เขามีสิทธิตรงนี้ ฉะนั้นที่กล่าวมาทั้งหมดผมขอสนับสนุน และขอแรงสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดให้พิจารณาเห็นชอบในการแจ้งให้ คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชน ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกทุกท่านครับ สวัสดีปีใหม่ด้วยนะครับ ผม กัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตัวแทนของพี่น้องชาวพญาไทและดินแดงครับ วันนี้ผมมีเรื่องหารือ ท่านประธาน จำนวน ๒ เรื่องด้วยกัน ขอสไลด์ครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ทางม้าลายบริเวณ หน้าธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่และหน้าห้างบิ๊กซีสะพานควาย ตอนนี้เป็น Two In One แล้วครับ นอกจากจะเป็นทางม้าลายแล้ว ยังเป็นจุดกลับรถที่มอเตอร์ไซค์ชอบลักไก่นะครับ บริเวณนี้มีผู้ใช้จำนวนมาก แล้วก็เสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินและการทะเลาะวิวาทของพี่น้อง ประชาชนบ่อยครั้ง ตรงนี้เจ้าหน้าที่ตรง สน. บางซื่อก็ดำเนินการอย่างแข็งขันในการกวดขัน วินัยจราจร เพียงแต่ว่าเจ้าหน้าที่ไม่พอหรอกครับ ในการที่จะมากวดขันวินัยจราจร ตลอดเวลา เรื่องนี้ผมก็ขอฝากท่านประธานไปยังผู้ว่า กทม. ท่านผู้ว่าคงทราบดีครับ เพราะว่า เรื่องนี้มีการร้องผ่านไปทาง Traffy Fondue หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่มีการแก้ไขใด ๆ อย่างเป็น รูปธรรม ผมจึงเรียนผ่านสภาแห่งนี้ให้ท่านได้ดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน เพื่อประชาชนครับ แล้วผมเชื่อว่าผู้ว่า กทม. ก็คงเป็นห่วงประชาชนไม่ได้น้อยไปกว่าผมนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ปัญหาไฟไหม้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ช่วงเดือนธันวาคมไล่ลงไป มีปัญหาไฟไหม้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่ดินแดง สร้างความกังวลให้กับพี่น้องชาวดินแดงที่รัก ของผมเป็นอันมาก แล้วถ้าเกิดจะดูจากสถิติตลอด ๖ ปีที่ผ่านมา จำนวนไฟไหม้ อัตราการไฟไหม้ ไม่ได้ลดน้อยลงเลย ถ้าเกิดเห็นกราฟสุดท้ายที่มันดิ่งลงมา เพราะว่าข้อมูลของท่านมีแค่เพียง ช่วงปี ๒๕๖๖ เดือนมีนาคมเท่านั้น เรื่องนี้ผมก็ยังอยากจะฝากท่านประธานไปยังผู้ว่า กทม. เช่นกันว่ามีมาตรการในการป้องกันเชิงรุกอย่างไร ในการแก้ไขปัญหาไฟไหม้แบบป้องกัน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อย่างที่บอกครับ โจรปล้น ๑๐ ครั้งไม่เท่ากับไฟไหม้ครั้งเดียว อย่างไร ฝากด้วย ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน สภาที่เคารพครับ ผม กัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตพญาไท ดินแดง วันนี้ผมมาขอร่วมอภิปรายโดยญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงปีงบประมาณ ท่านประธานครับ อันนี้ เป็นเรื่องใหญ่นะครับ ผมถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่มากในการที่เราจะเปลี่ยนแปลงปีงบประมาณ คือผมไม่แน่ใจว่าทางผู้เสนอได้มีธงกับเรื่องนี้อย่างไร ผมไม่แน่ใจว่าพรรครัฐบาลที่ร่วมลงชื่อ ในญัตตินี้มีเป้าประสงค์ใด แต่จากข้อมูลที่ผมได้จากเอกสารที่ผมได้รับนั้น หลักการและเหตุผล บอกไว้ว่าปีงบประมาณปัจจุบันของเราที่เราใช้อยู่น่าจะนะครับ ใช้คำว่า น่าจะ น่าจะ ไม่สอดคล้องและเหมาะสมต่อฤดูกาลและเป็นอุปสรรคในการจัดสรรงบประมาณ เพื่อแก้ไข ปัญหาทางด้านสังคม การลงทุน พร้อมทั้งการขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจ แต่พอผมอ่าน ลึก ๆ แล้ว ก็พอเข้าใจได้ว่าทำไมผู้เสนอญัตติถึงมองประเด็นนี้ คือรัฐจะเริ่มจัดเก็บรายได้ ในช่วงมีนาคมถึงสิงหาคมของทุกปี และจะเริ่มจัดสรรงบประมาณไปลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ หรืออื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนซึ่งก็เป็นไตรมาสที่ ๔ ของปีงบประมาณ ซึ่งจริง ๆ แล้วเราจะต้องมาทบทวนถึงช่วงการเก็บรายได้ การลงทุน การใช้งบหรือไม่นะครับ เพื่อให้สอดคล้อง นอกจากการที่จะเปลี่ยนแปลงงบประมาณ ให้สอดคล้องกับทางฤดูกาลแล้ว นอกจากนี้ประเทศไทยใช้ระบบตัดปีงบประมาณในช่วง ตุลาคมถึงกันยายน ซึ่งมีหลายประเทศที่ตัดรอบปีต่างกัน ผมขอยกตัวอย่าง ๓ ประเทศ เพราะว่ามีผู้อภิปรายก่อนหน้านี้ก็อภิปรายไปแล้วนะครับ ก็มีประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ปีงบประมาณเหมือนเรา ๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ กันยายน ของทุกปี การใช้ตัดรอบแบบนี้ ทำให้งบประมาณของสหรัฐอเมริกาสามารถเปรียบเทียบได้ง่ายกว่าประเทศอื่น โดยเฉพาะ ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตัดปีงบประมาณในวันที่ ๑ กันยายน ถึง ๓๑ สิงหาคม ของทุกปี ส่วนอินเดียมีการตัดงบประมาณในรอบวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ มีนาคม ของทุกปีครับ ซึ่งก็มีเหตุผลในการทำปีงบประมาณแตกต่างกันไป หากเปลี่ยนแปลง ปีงบประมาณแล้วผมว่ามีมิติอื่น ๆ ที่จะเกิดผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นระบบภาษี การจัดเก็บ หนี้สาธารณะ และการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน หรือแม้กระทั่งการปรับตัวของ ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนจะเกิดขึ้น เราต้องเตรียมตัวอย่างไรครับ ฝากคำถามนี้ไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะเกิดขึ้น หรือ ครม. ก็ตามครับ มีงานวิจัย ในหลายประเทศที่ศึกษาเรื่องทำนองนี้ ผมอาจจะยกตัวอย่างสัก ๑ งานวิจัย เพื่อที่ท่าน อาจจะได้นำไว้ในการทำเป็น Guideline หรือเป็น Reference ในการศึกษา เช่น การสำรวจ เกี่ยวกับผลกระทบ การวางแผนภาษีของบริษัท หากมีการเปลี่ยนแปลงของปีงบประมาณ ซึ่งอาจจะมีผลต่อวิธีการวางแผนของบริษัท ในช่วงเวลารอบปีงบประมาณต่าง ๆ ของ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ได้วิจัย ซึ่งอาจจะทำให้เราได้มองมิติเรื่องนี้ มากยิ่งขึ้น อันนี้ก็เป็นเพียงการยกตัวอย่างหนึ่งตัวอย่างนะครับ สุดท้ายแล้วครับท่านประธาน หลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลงงบประมาณ แล้วก็มีหลายครั้งการเปลี่ยนแปลง ปีงบประมาณเป็นเรื่องที่ดี ถ้าศึกษาให้อย่างดีนะครับ เพราะว่าสุดท้ายแล้วผลประโยชน์ ก็จะตกอยู่กับประชาชน ผมเองมีความรู้สึกขอบคุณสำหรับผู้ที่เสนอญัตตินี้ครับว่า ท่านกำลังจะทำให้ระบบในการใช้เงิน ในการที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทำได้ดีขึ้น ทำได้รวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผมเห็นด้วยในการที่จะจัดตั้งกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ เพราะมิติเรื่องนี้คงมีอีกมาก ผมเชื่อว่าเรื่องนี้กระทบถึงปากท้อง ของพี่น้องประชาชนแน่นอนครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม กัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตัวแทนของพี่น้องชาว พญาไท ดินแดง กรุงเทพมหานคร วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายในญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขปัญหาเรื่องค่าไฟแพง พี่น้องชาวดินแดง พญาไท ที่เคารพครับ ผมเห็นใจและเข้าใจพี่น้องในเขตบ้านผมมาก ๆ ครับ ค่าแรงขั้นต่ำต่อวันของ กรุงเทพฯ อยู่ที่ ๓๖๓ บาท ในเขตดินแดง ในเขตพญาไทก็มีหลายส่วนที่มีทั้งค้าขายสินค้า ของใช้อุปโภคบริโภค อาหารต่าง ๆ มากมาย ยอดขายในแต่ละวันก็ไม่ได้มากเหมือนแต่ก่อน แล้วตอนนี้ยังต้องเจอค่าไฟที่แพงแสนแพง เหมือนพี่น้องประชาชนเคราะห์ซ้ำกรรมซ้อน ปัญหาค่าไฟที่สูงในประเทศไทยที่พิจารณากันอาจจะมีหลายปัจจัย เช่น โครงสร้างเกี่ยวกับ ราคาไฟฟ้า โครงสร้างที่ซับซ้อน อัตราการใช้ไฟฟ้า นโยบายพลังงาน การนำเข้าและต้นทุน ในการผลิต ขนาดของครัวเรือน ครัวเรือนที่ใหญ่มักจะมีค่าไฟฟ้าที่แพงมากขึ้น แต่มีมากครับ ที่รายได้ครัวเรือนไม่ได้เพิ่มตามขนาดของค่าไฟ ทำให้ครัวเรือนต้องรับภาระตรงนี้มากขึ้น แล้วก็มีรายได้ของประชาชน ประชาชนหลายส่วนที่มีรายได้น้อยต้องแบกรับค่าไฟที่แพง ทำให้เป็นระยะห่างที่สูงมาก เมื่อเทียบกับรายได้ของพวกเขา ผมขออนุญาตยกตัวอย่างนะครับ ร้านค้า ร้านขายอาหารราคาถูก ในบ้านผมร้านขายโจ๊ก ขายถุงละ ๒๕ บาท สมมุติเฉลี่ยได้ วันละ ๑๐๐ ถุง รายได้จะตกอยู่วันละ ๒,๕๐๐ บาท หักต้นทุน ๔๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว เหลือจริง ๑,๕๐๐ บาท หากวันหยุดขาย ๒๔ วัน เท่ากับเขาจะมีรายได้ ๓๖,๐๐๐ บาท ๓๖,๐๐๐ บาทนี้ ไหนจะมีค่ากิน ค่าใช้จ่าย ค่าเทอมลูก ไหนจะต้องมีค่าสาธารณูปโภคอย่างไฟแสนแพงอีก คนไทยแบบนี้ผมคิดว่า ไม่น่าจะมีกินมีใช้แล้วนะครับ ล่าสุดผมก็ได้ไปหาข้อมูลว่า ทางไฟฟ้า ใจดีครับว่า ถ้าเกิดจะอนุโลมให้ไม่ต้องชำระค่าไฟโดยไม่ต้องยกมิเตอร์ออก ๓ เดือน ผมก็ดีใจ ๓ เดือน แต่ไปดูข้อมูลครับ เว้นให้ ๓ เดือนเฉพาะบ้านที่ใช้ไฟไม่ถึง ๓๐๐ บาทครับ ท่านประธาน ผมขอยกตัวอย่าง พรรคก้าวไกลเรามีทางออกให้แน่นอนครับ ในเมื่อต้นทุน การผลิตมันสูงแล้ว เราก็ทำการลดต้นทุนการผลิตครับ เมื่อลดต้นทุนการผลิตได้แล้ว โครงสร้างไฟฟ้า ค่า FT ก็จะลดลงตามเป็นธรรมชาตินะครับ ไม่ต้องทำอะไรที่มันซับซ้อนครับ อย่างเช่นก๊าซธรรมชาติ ก็ใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนการใช้ ถ่านหิน หรือการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นต้นนะครับ พอผมพูดถึงเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ผมก็สงสัยว่าพลังงานที่ได้จากธรรมชาติแบบนี้ ท่านยังต้องทำให้มันยุ่งยากอีกหรือครับในการ ที่จะขอทางภาคประชาชน ท่านควรจะมีขั้นตอนที่มันง่าย ๆ ครับ และที่สำคัญควรจะมีการ สนับสนุน ทั้งแหล่งทุนที่ทำให้ประชาชนเข้าถึง และขอในการติดตั้งโซลาเซลล์เพื่อใช้หรือ เพื่อจำหน่ายคืนรัฐให้ง่ายกว่านี้ ผมว่ามันเป็นทางออกของประชาชนนะครับ อยากวิงวอน ให้เขาทำให้มันง่าย ๆ ล่าสุด กรรมาธิการที่ผมเองเป็นโฆษกกรรมาธิการคณะกรรมาธิการ การสวัสดิการสังคมได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนว่า เขาต้องการที่จะแก้ไขระเบียบ ของสหกรณ์ เพื่อให้ลูกบ้านในบ้านมั่นคง โครงการเอื้ออาทรสามารถติดตั้งโซลาเซลล์ และขายไฟได้ เพื่อนำเงินตรงนี้ไปหมุนเวียนใช้ในชุมชน ระเบียบครับ ผมนั่งดูขัดไปขัดมาครับ ประชาชนที่อยากลงทุนแผงโซลาเซลล์ก็ลำบากใจ ทำอะไรก็ยากไปหมด ระเบียบของ สหกรณ์ก็ติดขัด สุดท้ายเรื่องที่จะเกิดดี ๆ ก็ยังไม่เกิดง่าย ๆ กับประชาชน ค่าไฟแพงครับ ค่าครองชีพถูก มันจะเป็นไปได้ไหมครับว่า มีวันหนึ่งที่ประเทศไทยจะค่าไฟถูก แบบถูกจริง ๆ ไม่ใช่ถูกแบบที่เป็นการอุดหนุนเป็นครั้งเป็นคราว ถูกแบบถาวรเพื่อให้พี่น้องคนไทยทุกคนได้ ใช้ไฟ ได้เข้าถึงอย่างมีคุณภาพ ก็ขอฝากไว้เท่านี้ครับ และผมก็ขอสนับสนุนให้ตั้งกรรมาธิการ วิสามัญชุดนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • สวัสดีครับ กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตัวแทนของพี่น้องชาวพญาไท ดินแดง วันนี้มีเรื่องปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จำนวน ๗ เรื่องมาปรึกษาท่านประธานผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ซอยพหลโยธิน ๑ หรือซอยริมคลองสามเสนตลอดเส้นทาง ๑.๔ กิโลเมตรไม่มีทางข้ามสำหรับประชาชนเลย แม้แต่ตรงนี้ซึ่งเป็นสวนพญาไทภิรมย์มีคนออกกำลังกายจำนวนมากก็ไม่มีทางม้าลายเช่นกัน ก็ขอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาดำเนินการตีเส้นทางม้าลายตามภาพด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ใต้ทางด่วนเช่นกัน เวลาฝนตกท่อระบายน้ำจากการทางพิเศษ ปล่อยน้ำลงสู่ด้านล่าง ผมทราบดีว่าเป็นการปล่อยน้ำลงพื้นที่ตัวเอง แต่ว่ามีประชาชน อยู่ข้างล่างเดือดร้อนมาก ก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ โคมไฟ High Pressure Sodium ซึ่งเป็นสายสีส้มติดอยู่กับ ใต้ทางด่วนศรีรัชส่องลงมาตรงถนนพระราม ๖ ฝั่งขาเข้า ระหว่างสี่แยกปดิพัทธ์ถึงสี่แยก ตึกชัย โคมไฟนี้ดับตลอดแนว ตอนกลางคืนนี้ดับมาก เปลี่ยวและอันตราย เนื่องจากไม่มี แสงไฟจากจุดอื่นช่วย ดับมาเป็นหลายปี ก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ ซอยรัชดา ๓ มีการวางท่อประปาใหม่ ตรงนี้มีคนร้องเรียนมากมาย เลยครับ ทั้งเรื่องฝุ่น เรื่องเสียงจากการทำงาน ตามกำหนดจะเสร็จในวันที่ ๒๗ มีนาคม ก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเร่งรัดแล้วก็ขอให้เกิดผลกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด เมื่อวานแจ้งข่าวว่าจะปิดน้ำช่วง ๔ โมงเย็นถึง ๔ ทุ่มโดยประมาณ ช่วงประมาณ ๑๐ โมงเช้า ถึง ๖ โมงเย็น แต่ตอน ๕ ทุ่มยังมีประชาชนร้องเรียนอยู่เลยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๕ ชาวบ้านในซอยอินทามระ ๔๐ ต้องการคันชะลอ เนื่องจากตอนนี้ หลัง ม. หอการค้าได้เปิดทางทำให้รถวิ่งผ่านจำนวนมาก เกิดอุบัติเหตุบ่อยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๖ ไฟส่องสว่างหลายดวงบริเวณหมู่บ้านพิบูลวัฒนา เขตพญาไท คนร้องเรียนเยอะมาก ฝากให้ช่วยพิจารณาแก้ไขด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๗ ประชาชนในซอยอินทามระ ๒๒ ขอให้ช่วยเปิดทางลัดตรงช่อง ๑๑ ให้กลับมาใช้ได้ดังเดิม เนื่องจากปิดมาเป็นเวลานานกว่า ๔ ปีตอนช่วงโควิด ซึ่งตรงนี้ถ้าเกิด เปิดแล้วจะช่วยให้รถระบายจากถนนสุทธิสารได้มากขึ้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • และสุดท้ายจากคลิป หลังแฟลต พ.๑ พ.๒ ถนนมิตรไมตรี แต่ก่อนมีคันชะลอ แต่พอทำถนนใหม่คันชะลอหายไป ตรงจุดนี้กลายเป็นจุดมา Test รถของวัยรุ่นเลยนะครับ ก็สร้างความเดือดร้อนทางเสียง ประชาชนนอนแทบไม่ได้ ก็ขอให้กรุงเทพมหานคร ดำเนินการแก้ไขด่วนครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตัวแทนของพี่น้อง ชาวพญาไท ดินแดง กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศครับ ผมรู้ครับ ผมเองไม่ใช่คนไทยคนแรกที่มาพูดเรื่องนี้ แต่วันนี้ผมจะจับเรื่องนี้ครับ ให้ทุกคนเข้าใจเลยครับว่าคน ๆ หนึ่งที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับ คำนำหน้าเขามีความลำบากขนาดไหน ในสมัยก่อนอาจจะมองว่าการข้ามเพศหรือกลุ่มคนที่ อยู่ในเพศทางเลือกนั้นมีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตใจ โดยมีเอกสารราชการระบุ ว่ากระเทยเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตถาวรและเป็นโรคจิต วิกลจริต ซึ่งความคิดเหล่านี้ ล้วนถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมหรือบรรทัดฐานทางสังคมจนเกิดการเลือกปฏิบัติ ทำให้คน กลุ่มนี้ไม่ได้รับสิทธิเท่าที่เขาควรจะได้รับ ในปัจจุบันสังคมเริ่มมีการเอาอิทธิพลทางความคิด และบรรทัดฐานทางสังคมแบบสากลเข้ามา จึงทำให้เราพบเห็นกลุ่มคนเหล่านี้เป็นเพศ ทางเลือกได้ทั่วไป ในทางการแพทย์บุคคลเหล่านี้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ได้เป็นโรค หรือมีความผิดปกติทางจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นส่วนผสมทั้งภายในและภายนอก ที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น ฮอร์โมน สารเคมีในสมอง การเลี้ยงดู วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่ง พื้นฐานทางสังคมที่หล่อหลอมตัวบุคคล จึงไม่ใช่ความผิดปกติแต่อย่างใด ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา WHO หรือองค์กรอนามัยโลกเคยนิยามผู้ที่เป็นกระเทย เก้ง กวาง กุ้งนาง Gay ก้ามปู King Queen ไทเป นิ้งหน่อง Briony สลัวจิต สว่างจิต ทอมดี้ หรือคนที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับ เพศกำเนิดครับ ให้เขาพวกนั้นเป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตใจและพฤติกรรม ซึ่งดูแล้ว ไม่สอดคล้องกับความบกพร่องทางจิตใจและพฤติกรรมที่มี Scope ไว้อยู่ ๓ อย่าง ๑. ก็คือ บุคลิกภาพของผู้ป่วยจะเปลี่ยนไป ๒. ไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น มีอาการประสาท หลอน ได้ยินเสียงคนด่าตลอดเวลาทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครด่า ๓. ไม่รู้สภาวะตัวเองครับ ซึ่ง WHO ก็ได้ถอดถอนภาวะการข้ามเพศออกจากหมวดความบกพร่องทางจิตและพฤติกรรมแล้ว และได้บรรจุภาวะการข้ามเพศในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศหรือ Sexual Health ซึ่งบรรจุอยู่ในบทที่ ๑๗ ของบัญชีจำแนกโลกสากล ICD-11 ฉบับใหม่นี้ โดยมีการใช้ คำใหม่ในการจำแนก ภาวะข้ามเพศในกลุ่มประชากรมี ๒ กลุ่มนะครับ ๑. สภาพเพศไม่ตรงกับ เพศกำเนิดในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ๒. สภาพเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิดในวัยเด็ก องค์กร WHO ได้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการจัดกลุ่มแบ่งแยกโรคต่าง ๆ ซึ่งมีการประกาศในสภาวะความ ไม่สอดคล้องทางเพศให้ออกจากกลุ่มบัญชีโรคความผิดปกติทางจิต ทำให้บุคคลกลุ่มข้ามเพศ ไม่ถูกสังคมตราหน้าอีกต่อไปว่าพวกเขาป่วย มีปัญหาทางด้านจิตและความผิดปกติของสมอง ทุกคนครับ กระเทยไม่ใช่โรคครับ และไม่สามารถที่จะติดต่อได้ อีกอย่างหนึ่งท่านประธานครับ กระเทยกินยาพาราก็ไม่หาย ไม่ต้องไปพยายามเปลี่ยนแปลงเขา กระเทยหลายคนสร้างสรรค์ ความสวยงาม กระเทยหลายคนเป็นคนเก่ง เป็น สส. เป็นคนที่สังคมต้องการครับ แต่อีก หลาย ๆ ที่ยังตีตราหน้ากระเทย ทอม ให้เขามีความแปลกประหลาดจากคนอื่นเพียงเพราะว่า คำนำหน้าเป็นนาย แต่ร่างกายเขาเป็นหญิง งานวิจัยที่มีการร่วมทางเศรษฐกิจของ LGBTI ในประเทศไทย ๒๕๖๑ จากธนาคารโลกหรือ World Bank ซึ่งสำรวจกลุ่ม LGBTQ+ และคน ที่ไม่ใช่ LGBTQ+ จำนวน ๓,๕๐๒ คน พบว่าการเลือกปฏิบัติต่อ LGBTQ+ ร้ายแรงที่สุด เกิดขึ้นในตลาดแรงงานครับท่านประธาน ซึ่งลิดรอนโอกาสตั้งแต่เห็นใบสมัครแล้วครับ งานวิจัยโชว์ปัญหามากมายที่กลุ่ม LGBTQ+ ต้องเผชิญในที่ทำงาน เรื่องที่ว่าใครก็ไม่ชอบ แต่ทำไมถึงยังสาดสิ่งเหล่านี้ใส่ให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศอยู่ครับ ยกตัวอย่างนะครับ ถูกปัดไปสมัครงานทิ้งเพียงเพราะอัตลักษณ์ทางเพศ การถูกมองข้ามการเลื่อนตำแหน่ง ถูกห้าม ไม่ได้แสดงออก และบอกใคร ๆ ว่าฉันเป็นอะไร ทุกคนครับไม่ใช่ว่ากระเทยทุกคนจะต้องเป็นตัวตลก คนที่เต้นเก่ง คน Show Cabaret แต่เขาคือคน เขาคือบุคคลที่มีความสามารถไม่น้อยกว่าชายจริงหญิงแท้ วันนี้ครูธัญครับ ใครว่าท่านไม่เก่งไม่มีนะครับ ทุกคนมีความเก่ง ความถนัดที่แตกต่างกันไป เพียงแต่สังคม ไม่ยอมรับเพียงแค่คำนำหน้าชื่อไม่ตรงสภาพเพศที่พูดมาครับ ทุกท่านครับ หาข่าวอ่านได้ มีหลายสำนักลงไว้ชัดเจนว่าคนข้ามเพศบริษัทไม่รับเข้าทำงาน อันนี้คือโลกในปี ๒๐๒๔ แล้วนะครับก็ควรจะเปิดกว้างกันหน่อยครับ กระเทยเป็นเพศอ่อนแอ โปรดเลิกรังแกกระเทย ได้ไหม วิงวอนสังคมเห็นใจกระเทยไม่ใช่ใครก็ลูกหลานคนไทย คนไทยด้วยกัน ผมเข้าใจว่า ตอนนี้ทุกท่านที่นั่งฟังอยู่ในห้องนี้และประกาศเสียงอยู่รอบสภานี้คงลังเลใจ หรือคงประชุม กันมาแล้วมีธงในใจท่านแล้ว แต่ถามจริง ๆ ว่าธงในใจของท่านมันนั่งอยู่ในใจของคนไทย ด้วยกันหรือเปล่า ผมอยากวิงวอนให้ทุกท่านร่วมกันผ่านร่างพระราชบัญญัตินี้ไปด้วยกันครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ตัวแทน ของพี่น้องชาวพญาไท ดินแดง กรุงเทพมหานครครับ วันนี้ผมขออนุญาตท่านประธานในการ ร่วมอภิปรายสนับสนุนรายงานและข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้ง และแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ของคณะกรรมาธิการ การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร แห่งนี้ครับ ก่อนอื่นผมต้องขอชื่นชมคณะผู้จัดทำรายงานและข้อเสนอเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และแนวการทำงานของ สสร. ในการทำงานของคณะอนุกรรมาธิการภายในระยะเวลา ๒ เดือนนี้กับประเด็นนี้ถือว่าทำได้ดี ใช้เวลาคุ้มค่าอย่างยิ่งครับ ถ้าจะพูดถึงความชอบธรรม ในทางประชาธิปไตยที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรมีอาจจะมองไปถึงการมีส่วนร่วมของพี่น้อง ประชาชนในทุก ๆ กลุ่ม ท่านประธานครับ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สสร. ไม่เคยได้มาจาก การเลือกตั้งเลยแม้แต่ครั้งเดียว นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี ๒๔๗๕ ประเทศไทยมี สสร. มาแล้ว ๔ ชุดล้วนมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แล้วในแต่ละครั้ง ที่แต่งตั้ง สสร. มักเอามาจากกลุ่มคนเดิม ๆ ซ้ำ ๆ บางครั้งไม่ซ้ำชื่อก็ซ้ำที่นามสกุลเข้ามา หนังสือแบบเดิม หนังสือเล่มเดิม คนเขียนเดิม ๆ สุดท้ายก็จบแบบเดิมที่เราเห็นอยู่ครับ ท่านประธาน สำหรับรายงานฉบับนี้ผมเองไม่ติดใจครับ ตามที่ประธานกรรมาธิการกล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของรายงานฉบับนี้ไม่ได้เป็นการบอกว่า Model หรือระบบเลือกตั้ง สสร. แบบไหนดีที่สุด แต่เป็นการฉายภาพให้เห็นถึงทางเลือกที่มีความหลากหลาย มีความเป็นไปได้ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง สสร. จากที่ผมอ่านรายงานฉบับนี้มาการเลือกตั้ง สสร. ไม่ได้มี ความซ้ำซ้อนเลยครับ มีจุดที่น่าสนใจคือการใช้ระบบเลือกตั้งคล้ายคลึงกับการเลือกตั้ง สส. เพียงแค่มีการแยกประเภท สสร. ออกมาเป็นแบบพื้นที่ แบบผู้เชี่ยวชาญและความเชี่ยวชาญ และแบบกลุ่มความหลากหลาย รวมถึงรายงานฉบับนี้มีการกำหนดแนวการทำงานของ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้ สสร. มีอำนาจ มีอำนาจในการตั้งและออกแบบเอง รวมทั้ง กระบวนการในการยกร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการในการรับฟังความคิดเห็น รวมไปถึง การที่ไม่ต้องให้สภาเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญก่อนที่จะให้ประชาชนไปออกเสียง ลงประชามติครับ ทั้งนี้ ในข้อเสนอของผมครับท่านประธาน การกำหนดเงื่อนไขของ สสร. ก็มีส่วนสำคัญครับ ในตอนนี้ร่างฉบับนี้ผมเข้าใจว่าการศึกษาและข้อเสนอเกี่ยวกับระบบ การเลือกตั้ง สสร. และการทำงานของ สสร. ถ้าจะให้ครบในอนาคตควรมีการศึกษาเงื่อนไข ข้อกำหนดคุณลักษณะของ สสร. ทั้งก้อน ทั้งก่อนสมัครและหลังสมัครที่ได้รับการเลือกตั้ง แล้วควรจะเป็นอย่างไร เพราะว่าตอนนี้จากรายงานมีการพูดถึงการดำรงตำแหน่งทาง การเมืองของ สสร. หลังจากได้รับตำแหน่งเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ทั้งนี้ผมเอง ก็เลยอยากให้ข้อเสนอว่าสำหรับคนที่มาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สสร. จะมีคุณสมบัติ มีข้อห้ามหรือไม่ อย่างไร ก่อนที่จะนำเข้าสู่ระบบการเลือกตั้ง และอีกข้อเสนอหนึ่งครับ คือสัดส่วนของ สสร. หากท่านมีการแบ่งประเภทของ สสร. หรือ จัดพื้นที่การเลือกตั้งของ สสร. แล้ว เราจะมีจำนวน สสร. อยู่ที่เท่าไร และความเหมาะสม ของกลุ่ม สสร. มีความเชี่ยวชาญหรือความหลากหลายต้องกำหนดเงื่อนไขแบบใด ในสัดส่วน เท่าไร ผมคิดว่าตอนนี้ประชาชนเปลี่ยนไปแล้วครับท่านประธาน เมื่อก่อนในการล่ารายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมีน้อยครั้ง แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้วครับ ประชาชนตื่นตัว ตื่นรู้มาก ให้ความสนใจเรื่องการเมืองมากขึ้น อย่างกฎหมายสูงสุดของประเทศ หากประชาชนได้มี ส่วนร่วมอย่างแท้จริงแล้วก็อาจจะเปรียบเทียบได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชน สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองได้ดีมากขึ้น ผมเชื่อว่ามีหลายท่านกังวลกับการเลือกตั้ง สสร. แต่ถ้าได้อ่าน Model ทั้ง ๕ Model รวมไปถึงถ้าได้มีการกำหนดสัดส่วนและเงื่อนไข ของ สสร. แล้วเชื่อว่าข้อกังวลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง การไม่เข้าถึงนักวิชาการหรืออาจจะได้คนที่ ไม่ครบ ไม่หลากหลายก็จะหมดไป ผมหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้ ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตัวแทนของพี่น้อง ชาวพญาไท ดินแดน กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาเรื่องการสร้างคนให้เป็นพลเมือง ที่มีคุณภาพของประเทศ ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุขครับ ท่านประธานครับ ก่อนที่เราจะปลูกฝังรากลึกในการพัฒนาคนให้เป็น พลเมืองที่มีคุณภาพนั้น เราคาดหวังว่าพลเมืองในประเทศไทยจะต้องเป็นอย่างไรครับ ส่วนตัวผมมองเรื่องเล็ก ๆ แต่ที่ทำยาก ก็คือการทำให้พลเมืองเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ หรือเรียก กันว่า Active Citizen

    อ่านในการประชุม

  • การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และตื่นรู้หรือ Active Citizen เป็นเรื่องที่ถูกต้องเอ่ยขึ้นมาอย่างเป็นวงกว้าง ด้วยเชื่อว่า การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดกับสังคมได้ Active Citizen ที่นิยามคือ พลเมืองที่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาสังคม ทั้งในระดับประเทศ สังคมโลก เชื่อว่าทุกคนจะมีความรับผิดชอบต่อทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะมีตำแหน่งหรือไม่มีตำแหน่งในการปกครองก็ตาม จริง ๆ แล้วผมมองว่าการเป็น พลเมืองตื่นรู้อาจจะต้องกระตุ้นให้ทุกคนได้รับรู้และเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนนะครับ วันนี้ผม อยากจะขอนำเสนอ ไม่ต้องมาจากที่ไหนไกล สถาบันนิติบัญญัติของเราเอง เรื่องนี้ทำมา ยาวนานกว่า ๒๐ ปีแล้ว สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่สนับสนุนและพัฒนาคน ในช่วงหลายวัยให้เริ่มเข้าใจหลักการประชาธิปไตย ส่งเสริมให้ประชาชนภาคพลเมือง ตัวอย่างเช่นโครงการยุวชนประชาธิปไตยที่มีมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ ที่มีการนำตัวแทนเยาวชน จากทั่วประเทศ จังหวัดละ ๒ คนมาอบรมให้ความรู้ด้านประชาธิปไตยทำให้พวกเขาได้นำ ความรู้กลับไปขยายผลต่อในโรงเรียน ในชุมชน ในจังหวัดของเขา สร้างการพัฒนาด้าน ประชาธิปไตยผ่านกลไกของเยาวชน เพราะเด็ก ๆ จะเป็นกระบอกเสียงที่ดีในการสร้างสังคม ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น จากที่ผมเองได้เคยร่วมกิจกรรมกับน้อง ๆ ยุวชนประชาธิปไตย ในช่วงปีที่ผ่านมา ผมเห็นได้เลยว่าทางผู้จัดโครงการมีความเข้มแข็งในการพัฒนาหลักสูตร ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเยาวชนที่จบหลักสูตรนี้แล้วเขาจะมี องค์ความรู้ที่ได้เข้ามาทำกิจกรรม ไปจัดกิจกรรมในโรงเรียนของเขา ในชุมชนของเขา เพราะ สิ่งที่เขาทำมันเป็นความรู้ที่ประชาชนหลาย ๆ คนเข้าไม่ถึง อันนี้ผมขอเอ่ยชื่นชมทาง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างมาก

    อ่านในการประชุม

  • อีก ๑ ตัวอย่าง การเลือกตั้งสภาเด็กและเยาวชนในแต่ละปี สภาเด็กและ เยาวชนที่อยู่กับ อปท. และบ้านพักเด็กที่อยู่ภายใต้สังกัด พม. เป็นอีกหนึ่งกลไกที่น่าสนใจ แต่อาจมีความลักลั่นบางอย่าง แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างความเป็นพลเมืองใน เด็กและเยาวชน ความลักลั่นที่ผมเอ่ยถึงนี้คือ ในตำบลประธานสภาเด็กและเยาวชนเกิดจาก การเลือกตั้งของเด็กและเยาวชนทั้งตำบล แต่หลาย ๆ ที่มีการแต่งตั้งแทนการเลือกตั้ง ในขณะ ที่เด็กบางตำบลเขายังไม่รู้เลยว่าเขาเป็นหนึ่งในสมาชิกของสภาเด็กและเยาวชน เพราะตาม กฎหมายแล้วเด็กทุกคนในประเทศนี้ถือเป็นสมาชิกของสภาเด็กและเยาวชน ถ้าวันนี้เราสร้าง ความตื่นรู้ให้เกิดขึ้นได้มากกว่านี้ เด็กและเยาวชนที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตจะเป็นพลเมืองที่มี คุณภาพอย่างแน่นอน ทำไมวันนี้ผมต้องยกตัวอย่างเด็กและเยาวชน ท่านประธานครับ การพัฒนาคนเหมือนที่ใครเขาพูดกันว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก การที่เราจะลงทุนกับ เด็กและเยาวชนเป็นสิ่งที่ทำให้คนยุคหน้า หลังจากที่เราทุกคนเข้าสู่วัยชราแล้วล้มหาย ตายจากกันไป เขาเหล่านี้จะมาเป็นผู้นำที่มีความเข้าใจและความรู้ด้านประชาธิปไตย อย่างแท้จริง จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนาชาติต้องเตรียม ประชาชน จะพัฒนาคนต้องพัฒนาที่จิตใจ แต่จะพัฒนาใครต้องพัฒนาตัวเราเองเสียก่อน นอกจากการสร้างคนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพแล้วนั้น การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะ ที่เอื้อให้เกิดประชาธิปไตยด้วย เช่น การสร้างพื้นที่ทำให้เด็กและเยาวชนสามารถที่จะพูด พูดถึง เสนอความคิดเห็น ทวงถาม หรือติดตามการทำงานของรัฐบาลได้ หรือแม้แต่พื้นที่ ในโรงเรียนที่ทำให้เป็นพื้นที่ Comfort Zone ที่เขาสามารถที่จะพูด แสดงความคิดเห็นได้อย่าง เต็มที่ แต่ไม่ต้องไปละเมิดสิทธิของใคร รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิที่พวกเขาแสดงออกด้วย ในการจะพัฒนาคนด้านประชาธิปไตยจะส่งเสริมความเป็นพลเมือง ให้พลเมืองที่มีความตื่นรู้ เราควรจะเริ่มจากเด็กเยาวชน ไม่ใช่แค่การส่งเสริมในโรงเรียนที่กำลังทำอยู่ การศึกษาและ ส่งเสริมประชาธิปไตยตลอดชีวิตก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้มีความทัดเทียม สากล ผมขอขอบคุณจากใจจริง ๆ สำหรับหลาย ๆ องค์กร หลาย ๆ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และ NGO ที่กำลังร่วมพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ และหวังว่าสภาแห่งนี้จะร่วม สนับสนุนกิจกรรมดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตพญาไท ดินแดง วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายในญัตติขอให้คณะกรรมาธิการการสาธารณสุขพิจารณาศึกษา แยกกัญชงออกจากกฎหมายว่าด้วยกัญชาครับ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และ อุตสาหกรรม ท่านประธานครับ กัญชงกับกัญชามีความแตกต่างทางด้านกายภาพค่อนข้าง ชัดเจน

    อ่านในการประชุม

  • โดยเฉพาะลำต้นของกัญชง มีลักษณะสูงและหนากว่ากัญชาอย่างเห็นได้ชัดครับ จริง ๆ แล้วถ้าเรามองลึกลงไปถึงระดับ โมเลกุลแล้ว สารอินทรีย์ที่สกัดทั้งกัญชง และกัญชาที่ใช้เป็นหลัก มีสารชนิดเดียวกันคือ THC และ CBD เดี๋ยวผมจะเอาโครงสร้างทางเคมีให้ดูนะครับว่าถึงความแตกต่าง เกริ่นสักนิด นะครับ THC ช่วยลดปวด ลดอาการคลื่นไส้ แต่ถ้าเกิดใช้เยอะไปก็จะเกิดอาการมึนเมา เหมือนที่เขาพูดว่า เมาปลิ้นครับ แล้วพอ Over Dose ขึ้นมา หนักขึ้นมาจากการสูบ เพื่อการ สันทนาการ ไม่ใช่เพื่อทางการแพทย์นะครับ ก็ไปเป็นภาระให้กับหมอพยาบาลอีก ทุกวันนี้ มีผู้เสพกัญชาเพื่อการสันทนาการต้องเข้าห้องฉุกเฉิน มีเกือบแทบทุกวัน มันมีอาการใจสั่น หวิว ๆ ลอย ๆ มีการเห็นภาพหลอน อาการมันจะวิง ๆ เวียน ๆ งง ๆ เคลิ้ม ทำตัวเหมือน Slots ครับ ท่านประธานครับ ถ้าใช้อย่างต่อเนื่องก็กลายเป็นสารเสพติดครับ ผมเชื่อว่า ปัจจุบันที่สูบกันอยู่ ส่วนใหญ่ก็เพื่อสันทนาการ ยกตัวอย่างในพื้นที่บ้านผม กัญชาในเยาวชน ที่อายุน้อยเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากครับ ผมได้รับแจ้งเคสในหลายกรณีในพื้นที่นะครับว่า มีเด็กนักเรียนมามั่วสุมเสพกัญชาในแหล่งชุมชน ทำลายสมองของเยาวชนในช่วงวัย เจริญเติบโตมาก ๆ ครับ สำหรับ CBD สารตัวนี้มีการต้านอาการเคลิ้ม ควบคุมการชัก และ อาการปวด ใช้ต่อเนื่องมาก ๆ ไม่มีเกิดอาการเสพติด แต่อาจจะมีผลต่อตับ พืชชนิดนี้มีทั้งพิษ และประโยชน์ จะใช้ก็ควรควบคุมให้เหมาะสม ผมต้องขอเกริ่นแบบนี้ เพราะว่าในกัญชง มีปริมาณ CBD มากกว่า THC และมี CBD เยอะกว่าในกัญชาครับ คุ้มค่าที่จะสกัด CBD ออกมาทางการแพทย์ เหมือนที่พูดไปข้างต้นครับท่านประธาน CBD นั้น มีประโยชน์กว่า THC ถ้าเราควบคุมการปลูกและการใช้งานได้ดีจริง ๆ ประโยชน์ที่ใช้งานก็มีที่เป็นไปได้ ในเรื่องของการแพทย์ในการที่จะสกัดสารที่จะใช้ในการรักษาโรค จากข้อมูลการวิจัย ปริมาณ CBD สารที่ช่วยต้านเคลิ้ม ลดอาการชักในกัญชง มีปริมาณมากกว่าในกัญชามาก ๆ เมื่อเทียบ ด้วยน้ำหนักเท่ากันแล้ว เพราะฉะนั้นในกระบวนการสกัดแยกสารออกมานั้นจึงมีความคุ้มค่า มากกว่าใช้กัญชาที่มีปริมาณ CBD น้อยกว่า ต้นทุนในการสกัดสาร CBD ต้นทุนค่อนข้างสูง ด้วยกระบวนการการสกัดดังกล่าวทั้งแบบตัวทำละลาย เช่น การใช้ Ethanol เป็นต้น ในการที่จะดึงสารกลุ่ม CBD ออกมาจากต้นซึ่งก็มีต้นทุนสูงครับ หรือการสกัดโดยใช้ คาร์บอนไดออกไซด์ก็เช่นกันครับ อันนี้ไม่รวมถึงค่าอุปกรณ์การกลั่นหรือการแยกอีกนะครับ ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยของ CBD ราคาอยู่ประมาณกรัมละ ๑,๐๐๐ บาท หรืออย่างที่บอกกิโลกรัม เป็นล้านบาท ราคาค่อนข้างสูงเลยครับ

    อ่านในการประชุม

  • อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจท่านประธานครับ ใยผ้ากัญชง เนื่องจากกัญชงต้นมัน สูงมาก ต้นมันสูงกว่าคนอีกนะครับ คน ๒ คนยังสูงไม่เท่าต้นกัญชงเลย สูงประมาณ ๔ เมตร ด้วยเส้นใยเหนียวและเหมาะแก่การนำไปทอเป็นเสื้อผ้า เดิมทีครับ ชนเผ่าชาติพันธุ์ พี่น้อง ชาวม้งได้ปลูกกัญชงสำหรับทอเสื้อผ้า ด้วยคุณสมบัติที่เป็นเส้นใยที่เรียงตัวแนวตั้งอย่าง สม่ำเสมอ สวยงาม มีความเหนียวทนทาน สามารถดูดซับความชื้นได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะแก่ การนำมาทำเป็นเสื้อผ้า มี Brand ชั้นนำของโลกหลาย Brand นำผ้าจากในกัญชงมาผลิตเป็น เสื้อผ้าขายตัวละ ๑๐,๐๐๐ บาท ตัวละ ๑๐๐,๐๐๐ บาทก็มีนะครับ แบบนี้แล้วราคาต้นทุน จากการทำวัสดุจะเท่าไร เพราะฉะนั้นการปลูกกัญชงถ้าเกิดใช้ในอุตสาหกรรมจึงมี ความน่าสนใจอย่างยิ่งครับท่านประธาน ถ้าเรานำผ้าทอจากกัญชงนำสู่ตลาดโลก อาจจะเป็น Soft Power ใหม่ของประเทศไทย อย่างไรก็ฝากถึงคณะกรรมการ Soft Power ที่ตั้งขึ้นมา ใหม่ด้วยนะครับ ในด้านแฟชั่น ท่านประธานกรรมาธิการการสาธารณสุขครับ ถ้าเกิดจะหยิบ ยกไปศึกษาก็น่าสนใจครับ ผมคิดว่ามีทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสาธารณสุข ส่วนที่เราใช้ ในการแพทย์ และอีกส่วนหนึ่งคือใช้กัญชงเพื่ออุตสาหกรรมในการสิ่งทอและอื่น ๆ ผมก็อยาก ลองให้ศึกษาดูครับ ส่วนตัวผม ผมสนับสนุนให้แยกกัญชงออกจากกัญชา ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตัวแทนของพี่น้อง ชาวพญาไท ดินแดง กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล ผมขออนุญาตท่านประธาน ร่วมอภิปรายผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน ก่อนอื่น เลยผมต้องขอขอบคุณท่านประธานคณะกรรมาธิการ ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ และเพื่อน ๆ ในคณะกรรมาธิการทุก ๆ ท่าน และผมขอชื่นชมการทำงานของอนุกรรมาธิการคณะนี้มาก ๆ ท่านประธานคณะอนุกรรมาธิการ ท่านวรรณวิภา ไม้สน ผมขอขอบคุณอาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิหลาย ๆ ท่านที่มาร่วมกันจัดทำรายงานฉบับนี้ ทั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทีปกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงมณี และท่านอื่น ๆ ที่มาร่วมกันแสวงหาคำตอบจากหลาย หน่วยงานนะครับ และพยายามที่จะทำให้รายงานฉบับนี้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาระบบ บำนาญแห่งชาติ โดยใช้กฎหมายอย่างเป็นระบบ รวมถึงการศึกษาแหล่งที่มาของงบประมาณ ที่จะนำมาใช้ได้ ท่านประธานครับ โครงสร้างอายุของประชากรในประเทศไทยได้เปลี่ยนไป อย่างมาก เนื่องจากการเกิดที่น้อยลง และอายุของคนไทยยืนยาวขึ้น ทำให้โครงสร้าง ประชากรเปลี่ยนจากประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัย จนกลายเป็นสังคมผู้สูงวัย อย่างสมบูรณ์แล้ว ในปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา และในอีก ๒๕ ปีครับท่านประธาน ประเทศไทย จะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยสุดยอด ซึ่งจะมีประชากรอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป มากถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งหมด ท่านประธานครับ เมื่อประเทศเราเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยสุดยอดแล้วนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา คือรัฐเองควรที่จะสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทุกคน ให้มีสวัสดิการที่ดีและเหมาะสม จากสถิติครับ ผู้สูงอายุที่กำลังมีมากขึ้น แต่กลับกันการดูแล ผู้สูงอายุหรือสวัสดิการผู้สูงอายุยังดีไม่มากพอ หากดูตัวเลขรายได้ของผู้สูงอายุ ๑ ใน ๓ ของ ผู้สูงอายุไทย เป็นผู้มีรายได้น้อยหรือเป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าความยากจนมากกว่า ร้อยละ ๔๐ ของผู้สูงอายุไทย มีเงินออมต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท ความมั่นคงในชีวิตอยู่ตรงไหน ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๕๐ มีแหล่งรายได้หลักจากลูกหลาน รองลงมาคือรายได้จากการ ทำงาน และมีผู้สูงอายุมากกว่าครึ่ง หรือร้อยละ ๕๑.๓๗ ยังมีรายได้ ต้องมีรายจ่ายเพื่อที่จะ ดูแลบุตรหลาน ขณะเดียวกันผู้สูงอายุมากกว่าครึ่ง ประมาณ ๕๒.๘๘ ยังคงมีภาระจ่ายคืน หนี้สิน ขณะที่ประชากรไทยเริ่มสูงวัยในอัตราที่รวดเร็ว การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเป็น สังคมผู้สูงวัยของไทยกลับเป็นไปอย่างเชื่องช้า ผู้สูงอายุกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาความ ยากลำบากมากมาย ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สุขภาพ รวมถึงเรื่องสังคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อสังคมในภาพรวมอย่างรุนแรง ผลการวิจัยของภาควิชาการธนาคาร และการเงินนะครับ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ผู้สูงอายุระหว่างอายุ ๕๕-๕๙ ปี ที่อยู่คนเดียว มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ๕,๖๗๙ บาท ไม่รวม ค่ารักษาพยาบาล ขณะที่กลุ่มผู้สูงวัยเต็มกลุ่ม อายุ ๖๐-๖๔ ปี มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ๔,๓๗๔ บาท ผู้สูงอายุยังมีความเปราะบาง มีความยากจนในมิติความเป็นอยู่ด้านอื่น ๆ มากกว่าประชากรวัยอื่น ๆ อย่างชัดเจนด้วยนะครับ ดังนั้นทุกฝ่ายต้องตระหนักและปรับตัว เพื่อรับมือกับการเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างเป็นระบบ ในต่างประเทศครับท่านประธาน มีการให้สวัสดิการแก่ผู้สูงวัย ทั้งผู้สูงวัยที่มีเชื้อชาติ สัญชาติ นั้น ๆ หรือเป็นผู้สูงวัยที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ ตามเงื่อนไขของประเทศนั้นที่กำหนด โดยประเทศเหล่านี้มีการหางบประมาณมาใช้จ่ายในวิธีการที่แตกต่างกัน เช่น การเก็บภาษี เพื่อนำมาจัดรัฐสวัสดิการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดเก็บ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนการจ่าย ประโยชน์บำนาญพื้นฐานประชาชน หรือเงินที่เกี่ยวข้องกับการพนัน ในประเทศมหาอำนาจ อย่างสหรัฐอเมริกา หรือการหารายได้จากค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการใช้น้ำ และกำจัดสิ่งปฏิกูลเพื่อนำเงินมาส่งเข้ากองทุนบำนาญของมลรัฐเพนซิลเวเนียครับ ย้อนกลับ มาประเทศไทยครับ ระบบบำนาญของประเทศไทยก็ได้จำแนกผลตามประโยชน์ทางการเงิน สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นระบบบำนาญหลายชั้น ซึ่งประเด็นนี้น่าเป็นห่วงว่าจะเพียงพอของเงิน บำนาญในทุกกลุ่มประชากร ถ้าเป็นข้าราชการก็จะได้บำนาญจากบำนาญกรมบัญชีกลาง เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และเงินจาก กบข. ครับ แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุในระบบแรงงาน ก็จะมีระบบประกันสังคม จะมีเงินบำนาญผู้ชรา กองทุนประกันสังคมที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับ เงินที่เขาส่งมาทั้งชีวิต ต่อไปครับ ถ้าเป็นแรงงานนอกระบบล่ะครับ คงจะมีเพียงเบี้ยผู้สูงอายุ ตาม พ.ร.บ. ผู้สูงอายุที่ประทังชีวิตเท่านั้น ท่านประธานครับ ผมนั่งเป็นที่ปรึกษา ของอนุกรรมาธิการเรื่องนี้และคณะอนุกรรมาธิการก็ได้พิจารณาหลักเกณฑ์ เงื่อนไขผู้ที่ได้รับ สิทธิบำนาญพื้นฐานควรจะเป็นประชากรกลุ่มใดที่จะได้รับสิทธิบำนาญพื้นฐาน โดยคำนึงถึง ประเด็นด้านความเสมอภาคและความเท่าเทียม เพื่อเป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำ โดยเห็นว่าสวัสดิการบำนาญเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคนที่ควรจะได้รับ เพื่อความมั่นคงด้านรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุครับ ในรายงานฉบับนี้ มีทั้งการวิเคราะห์ทั้งเรื่องแหล่งที่มาของเงินที่เราจะสามารถมาใช้ให้กับผู้สูงอายุได้ มีการจัดระบบบำนาญและบำนาญพื้นฐานในต่างประเทศ เงื่อนไขการรับเบี้ย รวมไปถึง แนวทางในการดำเนินนโยบายสวัสดิการด้านสังคม ด้านระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางดังกล่าวมีความ Realistic ครับ คือสามารถที่จะนำไปใช้ ได้จริง เช่น การปรับปรุงเงื่อนไขที่มาของงบประมาณที่จะสามารถนำมาใช้ได้จริงโดยไม่ผิด วินัยทางการเงินการคลัง หรือแม้แต่กระทั่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาระบบบำนาญประเทศ ไทยโดยใช้กฎหมายอย่างเป็นระบบ หากจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับบำนาญประชาชน แบบนี้เข้ารัฐสภาในอนาคต ผมคิดว่ารายงานฉบับนี้จากคณะกรรมาธิการรายงาน ผลพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน คงจะตอบโจทย์ต่อ การพิจารณากฎหมายในอนาคตอย่างแน่นอน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตัวแทนของพี่น้อง ชาวพญาไท ดินแดง กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายในหัวข้อ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและจัดทำมาตรการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟูและเยียวยากรณีน้ำมันรั่วทางทะเล ท่านประธานครับ โลกที่ขับเคลื่อนด้วย อุตสาหกรรมต่าง ๆ มีการใช้น้ำมันดิบเป็นส่วนประกอบ และเราเองยังต้องมาคอยลุ้นอยู่ว่า น้ำมันดิบที่มีอยู่ในตามนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้น ในบริเวณรอบแนวชายทะเลนั้น จะรั่วออกมาอีกหรือไม่ ท่านประธานครับ ในรอบ ๒๘ ปีที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทย มีเหตุการณ์น้ำมันรั่วมากกว่า ๑๗๐ ครั้ง และยังไม่นับรวมที่รั่วแต่ไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลไว้ ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ทรัพยากรทางทะเลจนประเมินค่าความเสียหายไม่ได้ การที่เราจะ ออกมาควบคุมและสร้างมาตรฐานที่ดีควรทำอย่างไร ปัจจุบันกรมควบคุมมลพิษได้มีการแบ่ง เขตพื้นที่ความเสี่ยงที่จะมีน้ำมันรั่วไหลออกเป็น ๔ เขตตามแนวชายฝั่ง คือพื้นที่ที่มีความ เสี่ยงสูงมาก พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงปานกลางและมีความเสี่ยงต่ำโดยพื้นที่ ความเสี่ยงสูงมาก คือบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง เพราะเป็นที่ตั้งของนิคมนิคมอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมขนส่ง ถ่ายน้ำมันถังบริเวณท่าเทียบเรือและกลางทะเล กรมควบคุมมลพิษได้ทำ Scope พื้นที่ใน การเฝ้าระวัง แต่ยังไม่มีบทลงโทษและการป้องกันที่ดีมากพอ เพราะว่ายังมีเหตุการณ์น้ำมัน รั่วหรือรั่วแบบไม่เยอะ ไม่ออกข่าวอีกมากมายใช่หรือไม่ ไม่จนทำให้ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมใน ทะเลไทยคงสูญเสียไปมากแล้ว ล่าสุดในปี ๒๕๖๕ เหตุเกิดน้ำมันรั่วในพื้นที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ควบคุมความเสี่ยง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมากตามการจำแนกของกรมควบคุม มลพิษข้างต้น พบน้ำมันดิบรั่วไหล ซึ่งสายส่งน้ำมันก็เป็นแบบเก่าครับท่านประธาน ไม่มี Sensor บอกจุดน้ำมันที่รั่วไหล ไม่เหมือนสายส่งน้ำมัน ในปัจจุบันที่มี Sensor โดยในการประเมินน้ำมันรั่วไหลครั้งแรกผลประเมินออกมาว่าประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ลิตร แต่เอาไปเอามาเหลือแค่ไม่ถึง ๕๐,๐๐๐ ลิตร ซึ่งเป็นข้อมูลจากการวิเคราะห์จากเอกชน เท่านั้น แต่จากการคำนวณของทางภาครัฐยังไม่มีข้อมูลอันนี้ ก็ยังเป็นส่วนที่ทำให้เราต้องมอง ว่ารัฐควรเข้ามาตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ ท่านประธานครับ ในกระบวนการควบคุมน้ำมันรั่วทางทะเลแบบไม่มีทางเลือกในปัจจุบัน เขาใช้สารที่ชื่อว่า Dispersant หรือสารกระจายตัว สารตัวนี้มันจะเข้าไปทำให้แรงตึงผิวของน้ำมันที่เดิมน้ำมัน ลอยอยู่เหนือน้ำค่อย ๆ จมลงมาในทะเล ช่วยทำให้น้ำมันเกิดการกระจายตัวเป็นหยดน้ำมัน เล็ก ๆ ซึ่งเป็นการใช้เคมีบำบัด ส่งผลเสียต่อการถ่ายเทปริมาณออกซิเจนในสัตว์น้ำ ซึ่งผม เข้าใจเลยครับ เวลามีบางคนเข้าไปสื่อสารกับชาวบ้านเขาจะชอบพูดว่าเหมือนเอาสบู่ไปแก้ เรื่องน้ำมัน ซึ่งที่เขาพูดก็ถูก แต่มันเหมือนกันเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะกลไกมันคือ ลดแรงตึงผิวบนน้ำ ซึ่งมันคือรูปแบบเดียวกับสบู่ แต่สารเคมีที่ใช้ไม่เหมือนกัน อย่าไปสร้าง ความเข้าใจผิดแบบนี้เลยครับ เพราะสุดท้ายสารเคมีที่อยู่ในกระบวนการดังกล่าวก็จะตกค้าง อยู่ในธรรมชาติไปอีกอย่างน้อยประมาณ ๒ เดือนหรือมากกว่านั้นกว่าจะย่อยสลายจนหมด ซึ่งจริง ๆ แล้วเรามีกระบวนการในการแก้ไข โดยไม่ใช้สารเคมีได้ ซึ่งก็คือการใช้ Boom ล้อมน้ำมันแล้วก็ดูดคราบน้ำมันออกมา แต่ในบางกรณีอาจทำได้ ถ้าสถานการณ์ไม่ได้ลุกลาม มาตรฐานหรือกฎหมายที่คอยควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นควรจัดตั้งหรือไม่ เพราะทุกวันนี้มีปัญหา ๑ ครั้งก็เยียวยากันไป แต่ถึงเยียวยาก็เยียวยาได้ไม่ครบทุกคน มีเรื่องถึงขั้นที่ประชาชน ต้องไปฟ้องร้องต่อศาล แน่นอนครับ ถ้าเกิดเยียวยามากเท่าไรก็คงไม่เพียงพอ ถ้าทำให้อาชีพ ของพวกเขาที่ใช้เลี้ยงดูปากท้องของทุกคนในครอบครัวต้องหายไป ถ้าเราย้อนกลับมาในมุม ของผู้บริโภค เช่น พ่อค้าแม่ค้า ผู้ที่ต้องนำเข้าอาหารทะเลมาขายในตลาด แน่นอนครับ ถ้ามีข่าวเกี่ยวกับน้ำมันรั่วในทะเลพ่อค้าแม่ค้าหลายกลุ่มที่ขายอาหารทะเลจะได้รับผลกระทบ ทันที ไม่ว่าจะรับกุ้ง หอย ปู ปลามาจากที่ไหนก็ตาม ความเชื่อมั่นของลูกค้าที่จะซื้อสินค้าก็จะลดลงทันที เพราะทุกคนไม่อยากจะได้รับผลกระทบ ในส่วนนี้อย่างแน่นอนครับ การกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็จะ เหมาะสมเพื่อที่ป้องกันปัญหาที่จะเป็นห่วงโซ่ต่อ ๆ กันอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้เป็นไปตาม เป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม