กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย
ขอหารือเรื่องแรกนะครับ เรื่องการขยายเขตการประปาส่วนภูมิภาค ขอ Slide ขึ้นเลยนะครับ จากจังหวัดน่าน ปี ๒๕๖๑ การประปาส่วนภูมิภาคได้ตั้งงบไว้ ๒๘๑ ล้านบาท ขยายจากอำเภอเมือง Slide ไม่มาไม่เป็นไรครับ มาสู่อำเภอภูเพียง เป็นพื้นที่ข้างอำเภอ ใช้พื้นที่ประมาณ ๑๕ ไร่ ตอนแรกมีปัญหาเรื่องเขตป่า ตอนนี้ปี ๒๕๖๓ กรมป่าไม้อนุมัติเรียบร้อยแล้วนะครับ ซึ่งโครงการนี้ถ้าสำเร็จปุ๊บ ๖ ตำบลของอำเภอภูเพียง อำเภอเมืองถึงศาลากลางหลังใหม่และมีการปรับท่อในส่วนของอำเภอเวียงสาและอำเภอนาน้อย ซึ่งโครงการนี้ Consult ได้ไปสำรวจออกแบบเรียบร้อยแล้วจนหมดสัญญาแล้ว ทางส่วนกลาง ว่าจะมาปรับปรุงรายละเอียดจนบัดนี้ก็ยังไม่มา ก็อยากจะให้เร่งรัดให้ส่วนกลางส่งเจ้าหน้าที่ ไปเก็บรายละเอียดปรับเพื่อผลักดันให้ได้งบประมาณ ถ้าปี ๒๕๖๗ ไม่ได้ก็งบผูกพันปี ๒๕๖๘ ก็ได้นะครับ ๓ ปี Slide ไม่มาไม่เป็นไรนะครับ
เรื่องที่ ๒ กระทรวงศึกษามีนโยบายที่จะไม่ให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา ด้วยการให้โรงเรียนมัธยมศึกษาสร้างเรือนพักนอนหรือหอพัก แล้วก็มีนิเทศงาน เอาเด็กจากบนดอยบนเขาหรือห่างไกลโรงเรียนมาเรียนในโรงเรียน ม.ต้น ม.ปลาย โดยทางรัฐอุดหนุนงบรายหัว ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่มีปัญหา จังหวัดน่านมี ๒๓ โรงที่ทำโครงการนี้ ปรากฏว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้หลังจากเปิดเทอมมาได้ ๓-๔ เดือน มีหนังสือจาก สพม. มาว่า โรงเรียนในพื้นราบ ๑๑ โรงจะไม่ได้รับงบนี้แล้ว ซึ่งก็ส่งผลกระทบมาก บางโรงเรียน อย่างน่านประชาอุทิศนี่นักเรียนเข้ามาอบรมติดได้เหรียญทอง เหรียญเงินซีเกมส์นะครับ ก็อยากจะฝากให้กระทรวงศึกษาธิการทบทวนตรงนี้ เพราะจริงอยู่แต่ละอำเภอมีโรงเรียนอยู่ แต่โรงเรียนในอำเภอมันห่างไกลจากบ้านของเด็ก เด็กก็อาจจะหลุดจากระบบการศึกษาไปได้ ก็ฝากให้ทบทวนนะครับ
เรื่องที่ ๓ เป็นเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำ ท่าน สส. สิรินทร ภรรยาผม เคยอภิปรายในสภาเมื่อปี ๒๕๖๒ ในการพัฒนาคลองส่งน้ำบ้านนาเผือก ซึ่งชลประทาน เข้าไปดูแลจนปัจจุบันนี้ทางชลประทานก็ตอบทางผู้ใหญ่สมเจตน์ที่ทำหนังสือไปว่า ปี ๒๕๖๗ จัดเข้าในแผนแล้ว ก็หวังว่าจะได้อยู่ในแผนและได้จริง ๆ ไม่เหมือนกับ อีกโครงการหนึ่งที่เขารับปากว่าจะได้ ๆ คือโครงการบ้านห้วยห้อมแล้วก็สถานีสูบน้ำ บ้านนาแห้ว ซึ่งจะได้ผลประโยชน์คือบ้านนาแห้ว บ้านพุฒิมาราม บ้านดอนเจริญ น้ำครกเก่า ดอนสวรรค์
นอกจากนี้มีอีกเรื่องหนึ่ง คุณหมอทศพร เสรีรักษ์ สส. แพร่ ท่านเป็นห่วงเป็นใยมาก ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมานั้นพยายามผลักดันอ่างเก็บน้ำแม่แคมจนปี ๒๕๖๒ ก็ได้รับงบประมาณมา แต่ปัจจุบันนี้มีการชะลอไม่ทราบว่าติดปัญหาอุปสรรคอะไร ซึ่งโครงการนี้ชาวบ้านดีใจมาก ตอนแรก ตอนนี้มีปัญหา ก็อยากให้ปัญหาที่เกิดขึ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบไปเร่งรัด ไปดูแลแก้ไข ก็ฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณานะครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขออภิปรายความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗๐ (เดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๕) ขออนุญาตท่านประธาน ฝากข้อสังเกตจากรายงาน ๓ เดือนนะครับ เพราะไหน ๆ ญัตติต่อไปก็เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่แล้ว เพื่อทางสภาพัฒน์มาแล้วจะได้ไปปฏิรูปประเทศใน ๑๓ ด้านตามมาตรา ๒๕๘ ตามรัฐธรรมนูญนะครับ
เรื่องแรกนะครับ ในเรื่องงานการเมือง จากที่รายงานบอกว่าได้มีการอบรม วิทยากรตัวคูณในการเผยแพร่ประชาธิปไตย ๕๖๒ คน ไม่ทราบว่าเรามีการสำรวจไหมว่า ตัว ๕๖๒ คนนี้ตัวคูณเขาคูณกันได้เท่าไร อยากสอบถามดูนะครับ
ข้อที่ ๒ ในส่วนของ Application ที่เราทำขึ้นมาหลายต่อหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นฉลาดเลือก Civic Education หรือว่าตาสับปะรดก็เช่นกัน เรามีการสำรวจไหม ว่ามีคนมาใช้บริการเยอะไหม หรืออย่างตาสับปะรดนี่พอเขาแจ้งมา เราแจ้งต่อไปกี่ราย และมีการติดตามประเมินผลไหมว่ามีคดีหรือว่าเขาดำเนินการแค่ไหน เพียงไร อันนี้ฝากไว้ ในส่วนของเรื่องงานการเมือง
ข้อที่ ๓ ในเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดินนะครับ ในข้อที่ ๑ ที่ทางนี้ บอกว่าจะนำเสนอเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ ปัจจุบันการนำเสนอเทคโนโลยี Application ใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่ดีนะครับ แต่ปัจจุบันหน่วยงานที่เผยแพร่ Application ดีที่สุดก็คือองค์กร มิจฉาชีพ เขาจะรู้เลขบัตรประชาชน รู้แม้กระทั่งทะเบียนบ้าน รู้เลขบัญชีธนาคาร ล่าสุด รู้เลขโฉนดอีกนะครับ กดปุ๊บเงินหายปั๊บ ก็อยากจะฝากหน่วยงานของรัฐในการจะเผยแพร่ Application ต่าง ๆ ให้รอบคอบ เป็นไปได้ไหมไปอบรมให้เขาไป Load Application ในหน่วยงานของรัฐใกล้บ้าน เช่น อบต. เราจัดงบอบรม แต่ไม่เห็นด้วยที่จะจัดหน่วยงานลง ไปประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ เดี๋ยวมิจฉาชีพอาจจะสวมรอยนะครับ
ข้อที่ ๔ คือการปรับปรุงการจัดซื้อจัดจ้างให้มันเปิดเผยตรวจสอบได้ แล้วก็ ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน อันนี้ผมจะฝากไว้นิดหนึ่งนะครับ คือปัจจุบันการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์อยากให้มีระเบียบที่มาป้องกันหรือป้องปราม วัสดุครุภัณฑ์ที่มันต้องใช้ IT หรือเทคโนโลยีเช่น Solar Cell หรือบางอย่างนี่มันทำให้ราคามี Spec เฉพาะผู้จ้างกับ ผู้รับจ้างที่รู้ล่วงหน้า เพราะฉะนั้นอยากจะมีกฎหมายมาแก้ไขปรับปรุงตรงนี้นะครับ
ข้อต่อไปนะครับ กลับมาข้อที่ ๒ ในเรื่องของการบูรณาการข้อมูลจาก หน่วยงานของรัฐเป็นสิ่งที่ดีนะครับ ซึ่งก็จะไปเชื่อมโยงกับเรื่องด้านกฎหมายที่ว่าจะเอา กฎหมายที่ใกล้เคียงกันเอามารวมไว้แล้วก็พิจารณาร่วมกัน ผมอยากจะฝากบางครั้งบางครา พูดง่ายนะครับ อย่างเรื่องบูรณาการในงานที่เกี่ยวกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สมมุตินะครับ สมัยก่อนเวลาหน่วยงานของรัฐจะทำงานในพื้นที่ป่า เขาบูรณาการกัน ถ้าไม่ได้ไปรุกป่าเพิ่มนะครับ แม้กฎหมาย พ.ร.บ. ป่าสงวน มาตรา ๑๔ จะห้ามไว้ แต่ถ้าทำในพื้นที่หมู่บ้านหรือพื้นที่ป่าพื้นที่เดิมนี่ส่วนใหญ่เขาจะทำได้ไม่มีปัญหา แต่ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เป็นต้นมามีระเบียบออกมาว่าต้องมีหนังสือจากกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาแนบท้าย เพราะฉะนั้นถ้าไปทำอะไรในเขตป่านี่ ถูกเรียกเงินคืน เป็นปัญหามากกับทั่วประเทศนะครับ อบต. จะจัดงบลงไปทำถนนหนทาง ในถนนเดิมนะครับ ต้องทำเรื่องมาขอกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ตอบช้ามากนะครับ กว่าจะตอบไปบางที งบตกไปแล้ว เป็นไปได้ไหมครับที่เราจะบูรณาการร่วมกัน มอบอำนาจไปให้พื้นที่ ตั้งคณะทำงาน หรือดำเนินการตาม พ.ร.บ. ป่าสงวน มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๙ ก็ได้ เป็นเส้นขีดไว้เลยว่าถนนเส้นนี้หรือว่าหมู่บ้าน Zone นี้ถ้างบจะไปลงก็จะได้สะดวกอันนี้ ฝากเอาไว้
ต่อไปนะครับ ในเรื่องของการปรับปรุงระบบกฎหมาย ซึ่งในเรื่องของงาน ด้านเศรษฐกิจเขาบอกว่ายุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ของชาติ ส่วนใหญ่ผมเห็นปลายปีงบประมาณจะมีจัดงบอบรมกันเยอะมาก เพราะว่าปลายปี งบประมาณกลัวเงินตกอันนี้ไม่มีปัญหานะครับเข้าใจ แต่บางครั้งบางครามันมีงบเวลาจัดกิจกรรมนี่ให้ชาวบ้านไปออกแสดงสินค้าเพื่อค้าขาย ซึ่งพองบมันมานี่มันเป็นช่วงหน้าฝนนะครับ คนซื้อคนขายก็มีแต่คนในพื้นที่ เป็นไปได้ไหม ที่จะออกกฎระเบียบให้จัดงบเหลื่อมปีไปจัดเดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคมมันจะได้ส่งผล ว่าคนขายก็ขายได้ นักท่องเที่ยวก็มาซื้อได้ก็จะได้ยกระดับงบประมาณก็จะได้คุ้มค่า หรือมีอีกเรื่องหนึ่งที่ผมอยากเสนอนะครับ ถ้าเป็นไปได้สภาพัฒน์มาแล้วนี่ เราน่าจะมี การปฏิรูปการจัดทำปีงบประมาณของประเทศใหม่นะครับ เพราะปัจจุบันนี่ปีงบประมาณ ของประเทศกว่าเงินจะเข้าก็ปลายไตรมาส ๒ คือเดือนมีนาคม กว่าจะจัดแล้วเสร็จ ก็ไตรมาส ๓ กว่าเงินจะส่งไปมันเข้าหน้าฝน เพราะฉะนั้นโครงการต่าง ๆ ที่มีน้ำเป็นอุปสรรค เช่น สะพาน น้ำ ถนน หรือหลายต่อหลายอย่างนี่ทำไม่ได้ ประสิทธิภาพของงบประมาณ มันลดลง ลองพิจารณาศึกษาดูว่าถ้าสมมุติเราเอาไตรมาส ๓ ขึ้นมาเป็นไตรมาส ๑ นะครับ กว่าเงินเข้า กว่าเงินจัดซื้อจัดจ้างจะลงไปสู่หน่วยงานของรัฐนี่เข้าหน้าหนาวก็ OK ประมูล จัดซื้อจัดจ้างได้งานก็มีประสิทธิภาพ ไม่เสร็จเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมก็ทำได้ กันเงินเหลื่อมปีไปเดือนเมษายนก็ไม่มีปัญหา ผมว่าลองศึกษาดูนะครับ อาจจะมีปัญหา ช่วงผ่องถ่าย ๒-๓ ปีแรก ถ้าศึกษานี่ผมว่าประสิทธิภาพในการจัดทำงบประมาณของประเทศ จะเป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างเต็มที่นะครับ
ในเรื่องต่อไปนะครับ งานด้านสาธารณสุขนะครับ งานด้านสาธารณสุข บอกว่ามีการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ด้านบริบาล รักษาพยาบาลชุมชน บางครั้งบางครา หน่วยงานของรัฐทำอย่างเดียวบางทีไม่พอนะครับ จริง ๆ มีเอกชน มีคนใจบุญสุนทาน ที่เขาอยากจะช่วยเหลือแต่เขาไม่รู้ไม่อยากจะเข้าถึงนะครับ ผมยกตัวอย่างเทศบาลเมืองน่าน ภายใต้การนำของท่านนายกสุรพล เธียรสูตร ท่านมีโครงการ Rider เพื่ออีป้ออีแม่นะครับ ท่านดำเนินการตามแผนขั้นตอน ตามกฎหมายกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น มาตรา ๑๖ ที่ให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดย (๑๐) บอกว่าสงเคราะห์ พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี และคนด้อยโอกาส โดยเฉพาะ (๑๖) บอกว่าส่งเสริมให้ราษฎรมีส่วนร่วม เวลามีงานศพ งานวัดงานวา คนก็บริจาคแล้วเขา ก็เอาเงินตรงนี้ให้กองสวัสดิการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมทำอาหารไปให้ผู้ด้อยโอกาส ในเขตเทศบาล หรือคนที่ไม่มีลูกหลาน ไม่มีญาติพี่น้องมาดูแลอันนี้ฝากไว้นะครับ โครงการ ดี ๆ ต้องช่วยกันส่งเสริม ใกล้ ๗ นาทีแล้วนะครับ ยังเหลืออีกหลายประเด็นเดี๋ยวไปอภิปราย ต่อในญัตติถัดไปนะครับ
แต่มาดูในส่วนที่ ๒ ที่ทางปฏิรูปแจ้งมาว่ามีกฎหมายอยู่ ๔๕ ฉบับ ๑๐ ฉบับ ผ่านการพิจารณาแล้ว ขาดอีก ๓๕ ฉบับ ไม่ทราบว่าไปถึงไหน เพียงใด แต่เข้าใจว่าน่าจะรอ ส่งรัฐมนตรีเพื่อส่งกลับเข้ามาสู่สภา อย่างไรถ้าอยากให้ไวส่งมาให้พรรคการเมืองเราช่วยกันดู อย่างไรมันก็ต้องกลับเข้ามาสภานะครับ เราจะช่วยกันดูเพื่อปฏิรูปประเทศ ถ้าเกรงว่า เป็นกฎหมายทางการเงินก็เชื่อว่าท่านคงจะประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว ฝากมาให้ผู้แทนเราจะได้ไวขึ้นในการพัฒนาประเทศครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรตินะครับ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณท่านประธานที่อนุญาตให้ผมนำผลิตภัณฑ์ชุมชน ของจังหวัดน่านมาแสดงประกอบการอภิปรายนะครับ ซึ่งการอภิปรายของวันนี้ในส่วนของ แผนปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาตินี่ขออธิบายควบกันไปเลยนะครับ เพราะเนื้อหา ใกล้เคียงกันต่อจากเมื่อเช้า ในด้านเศรษฐกิจคือการส่งเสริมธุรกิจ Online และ SMEs โดยเฉพาะ SMEs นี่เห็นด้วยนะครับที่มีโครงการที่จะกระตุ้น Startup แต่ว่าพวก SMEs เขาก็ฝากบอกมานิดหนึ่งนะครับ การที่รัฐช่วยนี่ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ใช้ บสย. ค้ำ ๓ ล้านบาท OK ถ้าเกิน ๓ ล้านบาทต้องมีหลักทรัพย์ แต่เขาบอกว่าโครงการที่ SMEs ให้นี่มักให้ไป สร้างใหม่ หรือไปซื้อวัสดุครุภัณฑ์ ส่วนใหญ่เขามักจะมีปัญหาในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ฉะนั้นถ้าให้เขาไปลงทุนเพิ่มนี่อาจจะเสี่ยงเพิ่มนะครับ ก็ฝากรัฐให้ช่วยปรับเงื่อนไข อาจจะ แบ่งสัดส่วนขึ้นมาก็ได้นะครับ และอีกอย่าง SMEs เขาก็ฝากประสานมาว่าบางที SMEs ที่เขาประสบความสำเร็จนี่เขาอยากกู้ต่อนะครับ ปรากฏรัฐบอกว่าให้คนอื่นบ้าง ถ้ายังส่งไม่หมดนี่ไม่ได้ ก็อาจจะฝากว่าถ้าเขาไปได้ดีนี่อย่างน้อยเขาผ่านมาสัก ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเขาอยากจะขยายกิจการนะครับ รัฐก็ควรจะไปช่วยดูแล อีกอย่างหนึ่งในเรื่อง ของ SMEs ถ้าเวลาพิจารณาในส่วนของภาครัฐ อุตสาหกรรมจังหวัดเป็นแม่งาน ก็ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ว่าเวลาเราส่งไปให้ธนาคารพาณิชย์เขาช่วยปล่อยสินเชื่อ บางครั้ง บางคราเขาไม่ทำตามวัตถุประสงค์ของรัฐ เขาก็จะเลือกลูกค้าชั้นดีป้องกันความเสี่ยงว่ามีโครงการอย่างนี้ดอกเบี้ยถูกเอาไหม เขาก็เอา เขาก็กินส่วนต่าง ก็จะไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ที่เราอยากจะช่วยเหลือ Startup อันนี้ก็ฝากไว้ เรื่องของ SMEs นะครับ
ต่อไปก็เรื่องของการสร้างการเกษตรมูลค่าเพิ่ม ตามหลักการเกษตรมันต้องมีตลาด ก่อนแล้วค่อยผลิต แต่บ้านเราผลิตแล้วค่อยหาตลาด เพราะฉะนั้นวิธีที่จะช่วยเหลือเกษตรกร ก็คือทำอย่างไรให้มีมูลค่าเพิ่ม ยกตัวอย่างนะครับ เราก็ต้องแปรรูป อย่างเช่นกาแฟ เราไปเก็บเป็นเมล็ด กิโลกรัมละ ๑๘ บาท แต่พอกะเทาะเมล็ด ล้างเมือก หมักยีสต์ กิโลกรัมละ ๒๐๐ บาท พอเอาไปคั่วตามสูตรต่าง ๆ กิโลกรัมละ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท แค่การแปรรูปนะครับ หรือยกตัวอย่าง เห็ดเผาะ มันจะเกิดช่วงฤดูหน้าเผาป่านะครับ เม็ดเล็กกิโลกรัมละ ๒๐๐ บาท เม็ดกลาง ๔๐๐ บาท เม็ดใหญ่ ๘๐๐-๑,๐๐๐ บาท แต่พอ ใช้นวัตกรรมเสริม ทุกทีต้องแช่ตู้เย็น ใส่น้ำเกลือ Seal อย่างดีนะครับ ๒ ขีด ๒๐๐ บาท ไม่ต้องใส่ตู้เย็นนะครับ อยู่ได้นาน แค่นวัตกรรม เสริมก็ช่วยได้ เพราะฉะนั้นมันก็จะไปสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ
ในส่วนของภารกิจที่ ๘ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก ซึ่งภาครัฐเองก็รู้อยู่แล้วว่าผู้ประกอบการมักจะขาดองค์ความรู้ ก็พยายามที่จะให้ความรู้ ซึ่งเป็น สิ่งที่ดีตามภารกิจที่ ๐๘๐๑๐๑ ๐๘๐๑๐๒ คือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่มาช่วยเหลือ อย่างเช่นจังหวัดน่าน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาทางอุตสาหกรรมจังหวัดน่านร่วมกับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มทร. น่าน คณะ Food Science ก็จัดกิจกรรมทดสอบตลาด พอดีผมเป็นเจ้าถนนคนเมือง เขาให้ลานหน้าห้างกับผม ซึ่งเป็นแหล่งขายของที่ระลึก ของพื้นเมือง ของจังหวัดน่าน จัดโครงการทดสอบสินค้าก็นำสินค้า ๑๐ ชนิดมาลองตลาด ซึ่งธรรมดาเขา ก็ทำอยู่แล้วนะครับ แต่ว่าเอามารวมกันคนละยี่ห้อทาง มทร. เขาก็มาดูแล อย่างเช่นคนละบริษัท ภายใต้ชื่อ Origi Nan ๑๐ เจ้า นี่คนละเจ้าเอามารวมกัน พอแกะปุ๊บก็เป็นอย่างนี้ได้ พวกธัญพืชเอย Sweet Corn เอย หรือบางครั้ง แล้วก็ปรับปรุง ของในพื้นที่ที่เป็นสมุนไพร สาหร่ายไก ข้าวตัง มันมีอยู่แล้ว เติมน้ำเงี้ยวไป เป็นข้าวตังน้ำเงี้ยว เอามะแขว่น ทำสูตรซอสต่าง ๆ ก็อยากจะฝาก แต่ผู้ประกอบการเขาบ่นว่าอยากให้รัฐจัด Road Show บ่อย ๆ ซึ่งบางครั้งบางคราว สินค้า ผลิตภัณฑ์ใหม่ ครั้งแรก ครั้งที่ ๒ อาจจะยอดไม่ดีเพราะเป็นของใหม่ อยากให้จัดบ่อย ๆ แต่ถ้าเขาสามารถขายดี พัฒนาจากเล็กไปกลาง ไปใหญ่ได้ เขาก็บ่นอีกว่าพอจะขึ้นห้างทีไร จะมีปัญหานิดหนึ่ง ถ้า GP ๓๐ เปอร์เซ็นต์ พอไหวเก็บเงินเครดิต ๖๐ วันก็พอไหว แต่บางครั้ง บางคราวมันมีค่า Promotion ส่งเสริมการขายทีละ ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ บาท อันนี้เขายืนระยะ ลำบากนะครับ เพราะไม่รู้ว่ารัฐจะช่วยอย่างไร ก็ฝากเอาไว้ด้วย เพราะว่าถ้าเราสามารถส่งเสริม ให้พวกวิสาหกิจต่าง ๆ เหล่านี้เขาประสบความสำเร็จมันก็จะมีงานอาชีพ อย่างเช่น ผมยกตัวอย่าง อันนี้คือจากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชีววิถีบ้านน้ำเกี๋ยน ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง ภายใต้ Brand ชีวา เขาทำสมุนไพรเอามาทำสบู่ เอามาทำ Lotion โรงแรมสีเขียวในพื้นที่ และหลาย ๆ จังหวัด นำไปใช้ คนมาดูงานเยอะ ล่าสุด เมื่อไม่กี่วันนี้เองเพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ SME Award เพราะฉะนั้นถ้าเราจัดโครงการอย่างนี้ให้เป็นครูต้นแบบให้คนไปดูงาน แล้วขยายไปยังพื้นที่ ต่าง ๆ ก็จะประสบความสำเร็จเหมือนต้นแบบต่าง ๆ ก็อยากจะฝากรัฐให้ช่วยดูแลนะครับ
ต่อไปในเรื่องของยุทธศาสตร์ในเรื่องของการท่องเที่ยว ผมดีใจในยุทธศาสตร์ที่ ๕ การท่องเที่ยวนี่ รัฐจะพัฒนาเมืองชุมชนที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เรามีเมืองท่องเที่ยวที่เป็น เมืองสร้างสรรค์ที่ UNESCO เขาให้การรับรองสิ้นสุดปี ๒๕๖๕ ภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพฯ สุโขทัย เพชรบุรี และเชียงราย แล้วก็ยังมีอีก ๕ เมือง ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน ๕ แห่ง ใน ๑๐๐ ของโลก มีเมืองเชียงคาน ของเลย เมืองน่านบ้านผม เมืองเก่าสุโขทัย เกาะหมาก จังหวัดตราด แล้วก็ห้วยปูแกง แม่ฮ่องสอน แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้มันมีองค์กรของโลกรับรอง เพราะฉะนั้นมีโอกาสที่จะพัฒนาให้เป็นเมืองรอง เป็นเมืองท่องเที่ยวได้ ซึ่งก็จะเข้ากับ ยุทธศาสตร์ที่ ๖ ในเรื่องของเมืองน่าอยู่ เมืองอัจฉริยะ ที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวในแต่ละมิติ ให้มีความอัจฉริยะทั้ง ๗ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม การเดินทาง การดำรงชีวิต พลเมือง พลังงาน เศรษฐกิจ และการบริหารงานของรัฐ ก็เป็นสิ่งที่ดีนะครับ ปี ๒๕๖๔ จัดไว้ ๑๕ เมือง ปี ๒๕๖๕ ๑๕ เมือง จังหวัดน่านก็โชคดีอีกครั้งครับ ปี ๒๕๖๕ ได้เข้าอยู่ใน ๑๕ เมือง แต่บางครั้งบางคราการจะพัฒนามิติให้เป็นการท่องเที่ยว ผมยกตัวอย่างอุปสรรคอันหนึ่งในเรื่องของการขนส่งให้เป็นอัจฉริยะนี่ ตอนที่เกิดปัญหา สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเมืองรองที่อยู่ไกล ๆ มีปัญหาเยอะเลย บางทีต้องเดินทางด้วยรถ แต่ก่อนหน้านี่เรามี Flight บินวันละ ๑๐ กว่า Flight ๑๒-๑๓ Flight แต่ตั้งแต่หลัง COVID-19 เหลือแค่วันละ ๒ Flight ปรากฏค่าตั๋วโดยสารจากวันธรรมดา ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ วันหยุดขึ้นไป ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ Long Weekend ขึ้นไป ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ ทำให้นักท่องเที่ยวนี่ที่มีกำลังซื้อนี่ มันต้องสูงจริง ๆ หดหายไปเยอะเขาไปเที่ยวต่างประเทศ นี่ขาเดียวยังขนาดนี้ ก็ฝากให้รัฐ จะช่วยดูแลอย่างไรที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้นะครับ เพราะฉะนั้นผมก็อยากจะฝาก ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อสังเกตนี้พยายามไปปรับปรุงนะครับ ขอขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขออภิปรายรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของศาลรัฐธรรมนูญ ก็คงจะขอฝาก ข้อสังเกต แล้วก็สะท้อนสิ่งที่ได้รับรู้รับฟังจากพี่น้องประชาชนไปยังท่านประธานผ่านไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือศาลรัฐธรรมนูญนะครับ ซึ่งบางครั้งอาจจะนอกเหนือจากรายงานนี้ ไปบ้าง แต่อย่างน้อยท่านเลขาธิการก็มาแล้วอันไหนดีก็นำไปประกอบนะครับ
ในส่วนที่ ๑ คือในเรื่องของแผนปฏิบัติงานราชการ ๕ ปี ที่รายงานมา เป็นระยะแรก ปี ๒๕๖๓-๒๕๖๕ ซึ่งก็มีงบคงค้างอีก ๕๑ กว่าล้านบาท น่าจะเป็น ระยะที่ ๒ ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๗ ซึ่งจะไปทำในการจัดฐานข้อมูลองค์ความรู้รัฐธรรมนูญ และกฎหมายมหาชนเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการพิจารณา
และอันที่ ๒ โครงการจัดทำบรรทัดฐานคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ๖ ล้านบาท อันนี้จริง ๆ น่าจะได้เยอะกว่านี้นะครับ ซึ่งเดี๋ยวผมจะอภิปรายว่าทำไมถึงต้อง ควรจะเยอะกว่านี้นะครับ ในส่วนของพันธกิจ ในส่วนที่ ๑ เขาบอกว่าจะคุ้มครองความเป็น กฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ โดยมีเป้าประสงค์ คือยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน การพิจารณาคดีสู่สากล อันนี้ผมเชื่อนะครับ เพราะว่าในส่วนที่ ๓ นี้เองก็มียุทธศาสตร์ถึง ๔ ส่วนที่จะยกระดับตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ในเรื่องของการยกระดับมาตรฐานคดี งานคดี การให้ทุนไปบูรณาการ การเสริมสร้างเทคโนโลยีเหมือนอย่างที่ท่านเลขาธิการ ได้อภิปรายหลายต่อหลายอย่างนะครับ มีการพัฒนาบุคลากร มีการพัฒนาเครือข่าย มีการให้ เสริมสร้างความรู้ และพัฒนายุวชนศาลรัฐธรรมนูญ ภายใต้กรอบของยุทธศาสตร์ ๕ ปี แล้วก็ แผนปฏิรูปรวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ มีบางเรื่องนะครับ อย่างเช่นเมื่อสักครู่มันอาจจะซ้ำประเด็นเพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปแล้วในเรื่องของงบอบรม คงจะไม่อภิปรายอีก แต่ก็ฝากไว้นิดหนึ่งว่าดัชนีความคุ้มค่าของการอบรมต่องบประมาณ ที่ลงไปได้มีการสืบหรือว่าพิจารณาแค่ไหน เพียงไรนะครับ อันนี้ก็ฝากไว้ แต่ส่วนที่ ผมอยากจะฝากข้อสังเกตก็คือ
ในส่วนของส่วนที่ ๑ ในเป้าประสงค์ที่ ๔ คือทำอย่างไรให้ประชาชน มีความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อศาลรัฐธรรมนูญ ต้องยอมรับในองค์กรนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ศรัทธาต่อนิติบัญญัติกับบริหารอาจจะขึ้น ๆ ลง ๆ ตามดัชนีประชาธิปไตยครึ่งใบ ค่อนใบ แต่ระดับของศาลต้องยอมรับว่าช่วงหลังดัชนีความศรัทธาเชื่อมั่นเริ่มลดลงเราก็ต้อง มาดูว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไรนะครับ เรามีองค์กรอิสระเกิดขึ้นมากมายเพื่อแบ่งเบาภาระ ของศาล แล้วก็ศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แต่ทำไมพี่น้องประชาชนถึงเกิด เสื่อมศรัทธาในระบบศาล ผมมาดูแล้วสาเหตุใหญ่ก็เกิดจากว่าในกระบวนการตัดสิน หลายต่อหลายครั้ง ผมเชื่อในการตัดสินใจของแต่ละท่าน ถูกต้อง แต่มันอาจจะไม่ถูกใจ พี่น้องประชาชน ปัญหาอยู่ตรงนี้ เวลาไม่ถูกใจต้องยอมรับว่าบางครั้งบางคราในศาล หรือในองค์คณะทั้ง ๙ ของท่าน หรือทุกที่ก็มีความเห็นแย้ง ความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติ แต่ทำอย่างไรที่ท่านทั้งหลายจะทำบรรทัดฐานลงไป ข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน ให้พี่น้องประชาชนได้ทราบ และบังเอิญที่ผ่าน ๆ มาในบรรดากระบวนการตัดสินทั้งหลาย รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญด้วย เวลาพิจารณามันมักจะเป็นคุณให้กับฝ่ายหนึ่ง และมักจะเป็น โทษให้อีกฝ่ายหนึ่ง มันถึงนำไปสู่คำว่าสองมาตรฐาน มันถึงทำให้บ้านเมืองมันมีปัญหานะครับ หลายเรื่องข้อเท็จจริงใกล้เคียงกัน แต่ผลการพิจารณาแตกต่างกัน แค่คนละช่วงเวลา เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมก็อยากจะฝากให้พิจารณา เมื่อสักครู่ท่านบอกว่าเรื่องคำวินิจฉัย แล้วก็ คำสั่งในเรื่องของบรรทัดฐาน คำวินิจฉัยและบรรทัดฐานของคำสั่ง ผมอยากจะให้เพิ่มนะครับ ตรงไหนที่เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ท่านบรรยาย หรืออธิบายให้คนได้เข้าใจได้มากขึ้นว่า เพราะเหตุอะไร ตรงนี้ ๆ มันถึงตัดสินที่แตกต่างกันนะครับ ผมไม่ก้าวล่วงถึงผลของ การวินิจฉัย แต่บรรทัดฐานที่จะอธิบายให้พี่น้องประชาชนได้ทราบ ขนาดคนเรียนกฎหมาย มายังสงสัยเลย และนับประสาอะไรกับพี่น้องประชาชนนะครับ ผมอยากจะฝากไว้ตรงนี้ ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ สมัยนั้น สมัยยุบพรรคไทยรักไทยตอนนั้นเรื่องยุบพรรคอยู่ที่ศาล พอเกิดปฏิวัติรัฐประหาร ธรรมนูญศาล กระบวนการรัฐธรรมนูญก็ตั้งขึ้นมาว่าถ้ายุบพรรค ให้ตัดสิทธิกรรมการบริหาร ทั้ง ๆ ที่โทษนี่เพิ่งมาเขียนเอาไว้ทีหลังนะครับ ซึ่งตามหลัก กฎหมายผมเรียนมากฎหมายก็ไม่มีผลย้อนหลังยกเว้นเป็นคุณ อันนี้โทษมาเขียนทีหลัง ก็ยังไปบังคับใช้คนก็เลยสับสน เพราะฉะนั้นไม่ใช่แต่ Case นี้ Case เดียว มีอีกหลายกรณี ที่พี่น้องประชาชนสงสัย เพราะฉะนั้นผมก็อยากจะฝากท่านทั้งหลายได้พิจารณาในการบรรยาย ในส่วนของบรรทัดฐานของคำวินิจฉัย หรือบรรทัดฐานของคำสั่งลงรายละเอียดนะครับ โดยเฉพาะตรงไหนนี่ท่านคงจะรู้อยู่แล้วว่าความรู้สึกของพี่น้องประชาชนเรื่องนี้ เขาติดตาม เรื่องนี้เขาสงสัย ท่านต้องอธิบายให้โดยละเอียด เสริมงบประมาณไปตรงนี้ ในการประชาสัมพันธ์เขาจะได้มั่นใจนะครับ ผมอยากให้ศรัทธาของระบบศาลกลับคืนมา เพราะไม่อย่างนั้นเราอุตส่าห์มีองค์กรอิสระ รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญมาแบ่งเบาภาระ ของศาลนะครับ แต่ปรากฏว่าจากคำตัดสินหลาย ๆ องค์กรที่ผ่านมามันย้อนแย้ง เหมือนอย่างที่เพื่อนสมาชิกหลายคนว่ามันเหมือนมีการเข้าไปแทรกแซง แต่ผมก็เชื่อว่า ไม่มีใครแทรกแซงท่านทั้งหลายเหล่านี้ได้ แต่ถ้าเกิดคำตัดสินมันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ มันถึงเวลาไหมครับ บางครั้งบางคราอาจจะต้องไปแก้ไขรัฐธรรมนูญนะครับ เขาบอกว่า ในการตัดสินขององค์กรอิสระทั้งหลาย ห้ามอุทธรณ์ ฎีกา ให้ยุติแค่นั้น ถ้าถึงเวลาจริง ๆ เพราะยังมีปัญหาอยู่นี่ผมว่าอาจจะต้องไปแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าให้เราสามารถฎีกา ให้ยุติในข้อกฎหมายที่องค์กรอิสระ แต่สามารถฎีกาให้ยุติในข้อเท็จจริงที่องค์กรอิสระ แต่สามารถฎีกาในข้อกฎหมายได้ เพราะผมเชื่อในคำพิพากษาของศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ ผมเรียนกฎหมายมานี่ เอามาใช้เป็นบรรทัดฐานใช้ได้อย่างเต็มที่นะครับ แต่ว่าในส่วน คำวินิจฉัยขององค์กรอิสระต่าง ๆ รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญ จับหลักไม่ถูกนะครับ สงสารเด็กที่ เรียนกฎหมาย สงสารคนทั่ว ๆ ไป เพราะฉะนั้นผมก็อยากจะฝากตรงนี้เพื่อสร้างเป็น บรรทัดฐานเพื่อที่ว่าศรัทธาของกระบวนการยุติธรรมจะได้กลับคืนมา นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ก็หวังว่าข้อเสนอของผมคงจะมีโอกาสที่นำให้ท่านไปพิจารณานะครับ ขอขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ผมและสมาชิก สส. ของพรรคเพื่อไทย ขอเสนอญัตติเรื่องขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) ในส่วนข้อห้ามการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่เขา และที่ภูเขา ก่อนอื่นต้องขออนุญาตท่านประธานอ่านตัวญัตตินะครับ
ด้วยปัจจุบันที่เขา ที่ภูเขา ปริมณฑลที่เขาหรือภูเขา ๔๐ เมตรเป็นที่ดิน ที่ต้องห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความ ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ ที่กำหนดว่าที่ดิน ที่จะออกโฉนดที่ดินต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว และเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎหมาย แต่ห้ามไม่ให้ออกโฉนดที่ดินสลับที่ดิน (๒) ที่เขา ที่ภูเขา และพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามตามมาตรา ๙ (๒) แห่งประมวล กฎหมายที่ดิน แต่ไม่รวมถึงที่ดินซึ่งผู้ครอบครองมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงทำให้ในปัจจุบันที่ดินที่เป็นที่เขา ที่ภูเขาระยะห่าง ๔๐ เมตร โดยรอบเขาหรือภูเขาไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้ แม้จะไม่ได้เป็นพื้นที่ป่าสงวนหวงห้าม ก็ตาม ซึ่งแต่เดิมไม่มีการหวงห้ามที่เขา ที่ภูเขา เนื่องจากไม่ถือว่าเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินโดยสภาพ ซึ่งอาจเป็นที่ดินสำหรับเพาะปลูกก็ได้ และเป็นพื้นที่ป่าไม้ก็มี จึงเป็นที่ดินที่ประชาชนสามารถเข้าไปจับจองและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน แต่ต่อมา หลังจากได้มีการกำหนดห้ามครั้งแรกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตาม พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๘ จนกระทั่งถึงกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) ทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถออกโฉนดที่ดินในที่เขาและที่ภูเขาได้ ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ทำกินในรอบ ๆ ที่เขาและภูเขาในภาคเหนือ และในหลาย ๆ พื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถออกโฉนดในที่ดินทำกิน อีกทั้ง ยังมีปัญหาในเรื่องของการตรวจสอบที่ดิน การพิสูจน์สิทธิ การรังวัดจัดทำแผน ซึ่งล้วน มีความยุ่งยากล่าช้าและมีความซับซ้อน ดังนั้นหากมีการศึกษาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) ในส่วนของข้อห้ามการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่เขา และที่ภูเขา เพื่อให้ประชาชนที่ถือครองที่ดินทำกินในที่เขา ที่ภูเขา ได้ทำประโยชน์ที่ดิน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อก่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และเป็นหลักประกันในการดำรงชีพของประชาชน
ดังนั้นผมจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวมาเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาในเรื่องแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) ในส่วนข้อห้ามการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่เขาและที่ภูเขา ตามข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๔๙ พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมีรายละเอียดเหตุผลดังต่อไปนี้
ขอกล่าวถึงที่มา วัตถุประสงค์ ปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิเป็นปัญหาใหญ่ ระดับชาติ ผมไม่ได้เข้ามาสู่สภา ๓๑ ปีแล้ว ปัญหาเรื่องนี้รัฐบาลก็พยายามแก้ไขหลายยุค หลายสมัยก็ยังทำไม่ได้นะครับ ซึ่งปัจจัยหลักมันก็เกิดมาจากว่าประชาชนครอบครองที่ดิน อยู่ทั่วประเทศ แต่ว่าประมวลกฎหมายที่ดินออกมาปี ๒๔๙๗ พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ ออกมาปี ๒๕๐๔ ดาวเทียมก็เพิ่งมาใช้เมื่อ ๓๐-๔๐ ปีนี้ พ.ร.บ. ป่าสงวนออกมาปี ๒๕๐๗ ก็เลยทำให้พี่น้องประชาชนที่ครอบครองอยู่ตามที่ต่าง ๆ จากที่เขาอยู่กันโดยชอบ เลยกลายเป็นไม่ถูกต้องขึ้นมา ก็เลยทำให้มีปัญหาคาราคาซังในหลายพื้นที่ รัฐบาลแต่ละยุค แต่ละสมัยก็พยายามที่จะแก้ไขปัญหา คงจะเห็นว่าหลายครั้งรัฐบาลแต่ละยุคก็พยายาม จะนำเสนอแก้ปัญหา แต่รัฐบาลก็ต้องระมัดระวังเพราะว่าเวลาออกเอกสารสิทธิบางทีมักอ้าง ชาวบ้าน แต่เวลาคนที่ได้มักจะเป็นนายทุน เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็เลยต้องรอบคอบนะครับ โดยเฉพาะรัฐบาลปัจจุบันผมก็ได้ข่าวว่าจะมีการออกเอกสารสิทธิเช่นกัน และเพื่อนสมาชิก ก็คงจะอภิปราย ก็ฝากไว้ในเรื่องประเด็นของที่ป่าสงวน ที่อุทยาน ฝากไว้ในส่วนของชุมชน ที่เป็นหมู่บ้านซึ่งเขาพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว อันนี้ต้องให้ความดูแลเขา ในส่วนของเขตพื้นที่ทำกิน ก็อาจจะต้องไปพิสูจน์สิทธิว่ากัน อันนี้กรรมาธิการคงจะไม่ว่านะครับ หรือเพื่อนสมาชิก คงจะได้อภิปรายซึ่งคงใช้ระยะเวลา ผมคงจะไม่ก้าวล่วงในตรงนี้
ประเด็นที่ ๒ ในเรื่องของ ส.ป.ก. อย่างที่ผมกล่าวไว้ตอนแรกว่าการออก เอกสารสิทธิรัฐบาลก็พยายามที่จะจำกัดไม่ให้นายทุนได้ ต่อมาก็ได้มีการออกเป็น ส.ป.ก. เพื่อกำหนดเฉพาะเกษตรกรโดยจำกัดพื้นที่ถือครอง แล้วก็ห้ามจำหน่ายจ่ายโอน ให้เฉพาะ ทายาท ซึ่งเรื่องนี้ก็โชคดีท่าน สส. เทอดชาติจากพรรคเพื่อไทย เชียงราย แล้วก็ สส. ชนก จากหนองคายก็เสนอเรื่องขึ้นมา เดี๋ยวคงจะได้มีการพิจารณา ซึ่งเรื่องนี้ก็คงใช้เวลา เช่นเดียวกับปัญหาในเรื่องของความลาดชัน ๓๕ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน การจะแก้ไขตรงนี้ก็ต้องอาศัยมติ ครม. ก็คงต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้นผมก็เลยเสนอญัตติ เรื่องที่น่าจะแก้ง่ายที่สุดก็คือการแก้ไขกฎกระทรวง เพราะว่าการแก้ไขกฎกระทรวง เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยกฎกระทรวงออกมาปี ๒๕๓๗ ออกตาม พ.ร.บ. กฎหมายที่ดิน ปี ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ เขาเขียนไว้ว่า ที่ดินที่จะออกโฉนดที่ดิน ต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว และเป็นที่ดินที่สามารถ ออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎหมาย องค์ประกอบของข้อ ๑๔ นี้ อันดับแรกภาคประชาชน เขาจะต้องเป็นคนที่ได้ครอบครองที่ดินแล้วก็ได้ทำประโยชน์เป็นเรื่องปกติ และส่วนที่ ๒ ก็คือ รัฐมีโครงการที่จะออกโฉนดให้ แสดงว่าที่ตรงนี้ไม่ใช่ที่หวงห้าม ไม่ใช่ที่ป่า ที่อุทยาน ซึ่งก็สอดรับกับโครงการที่ผ่านมาของรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่การที่จะออกโฉนด ให้พี่น้องประชาชน เขาจะมีแผนว่าปีนี้อำเภอนี้จะออกตำบลนี้ ๆ เจ้าหน้าที่ที่ดินมีไม่มากก็ทยอยทำตามแผน ซึ่งกฎหมายในตอนท้ายของ ข้อ ๑๔ ตอนท้ายเขียนไว้ว่า แต่ห้ามไม่ให้ออกโฉนดที่ดิน สำหรับที่ดินดังต่อไปนี้นะครับ ก็คือ (๒) ที่ผมเสนอขอให้ปรับปรุงแก้ไข เขาเขียนว่าที่เขา ที่ภูเขา และพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามตาม มาตรา ๙ (๒) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ไม่รวมถึง ที่ดินซึ่งครอบครองสิทธิ ครอบครองโดยชอบ โดยกฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าอ่าน โดยผิวเผินจากตรงนี้ เพื่อนสมาชิกและผมตอนแรกที่อ่านก็น่าจะเข้าใจตรงกันว่าถ้าเป็นที่เขา ที่ภูเขาน่าจะเข้าใจว่าเป็นแนวดิ่งไม่สามารถออกได้ แต่จริง ๆ ความนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ที่ที่เป็นแนวดิ่งมันไปใช้กฎหมายในเรื่องของ ๓๕ เปอร์เซ็นต์ แต่ (๒) ที่เขา ที่ภูเขา เป็นที่ ในแนวราบที่ติดกับตีนเขา ซึ่งออกมาเพื่อทำระเบียบทางปฏิบัติของกรมที่ดิน ๔๐ เมตร จนถึงตีนเขาไม่สามารถที่จะออกโฉนดได้ตามกฎกระทรวงข้อนี้ โดยคำว่า ที่เขา คือที่ที่มี ความสูงไม่เกิน ๖๐๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ถ้าเกิน ๖๐๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เขาเรียกว่าที่ภูเขา โดยแนวกำหนดตีนเขาให้ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล อบต. จะร่วมกับกรมที่ดิน แล้วก็ทางสํานักงานพัฒนาที่ดินพิจารณาโดยศึกษาจากประวัติศาสตร์ ว่าเขาลูกไหนอยู่ตรงไหน แล้วก็ศึกษาจากลักษณะภูมิศาสตร์ว่าเนินอยู่ตรงไหน เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาใหญ่ สาเหตุที่ผมทราบเรื่องที่ผมจำได้ ตอนนั้นก่อนเลือกตั้งผมไปงานศพ แถวตำบลตาลชุมชาวบ้านเข้ามาปรึกษาผมว่า เขามาออกโฉนดทำไมตำบลของเขา บ้านเขา คนนี้ได้ เขานี้ไม่ได้ ผมก็ถามว่ามันที่เขาหรือเปล่า เขตอุทยานหรือเปล่า ไม่ใช่ ผมบอกว่า ติดเขาขนาดไหน เขาบอกติดอยู่ราบ ๆ นี่เพื่อนได้หมด แต่เขาอยู่ติดกันไม่ได้ ผมก็บอก หลังเลือกตั้งจะไปพิจารณาให้ โชคดีหลังเลือกตั้งก่อน กกต. รับรอง มีงานศพบ้านน้ำเจิ่นกาว ผมจำได้ ท่านที่ดินจังหวัดไปเป็นประธาน ผมเลยไปนั่งก็สอบถามท่าน ท่านก็เลยอธิบายผม ว่าเรื่องนี้มันมีกฎหมาย กฎกระทรวงทำไว้ ผู้ปฏิบัติไม่สามารถที่จะทำได้ โดยเฉพาะเรื่องนี้ เมื่อปี ๒๕๖๕ มีคนร้องเรียนไปที่คณะกรรมาธิการการปกครองของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว ของตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย ซึ่งคณะกรรมาธิการก็ไปตรวจสอบดูแล้ว เวลาเขาไปสำรวจ แล้วบางช่วงเป็นพื้นที่ป่าอันนี้เข้าใจได้ บางส่วนเป็นพื้นที่ลาดชันเกิน ๓๕ เปอร์เซ็นต์ก็อธิบาย ยากหน่อย แต่ยากที่สุดคือพื้นที่ที่เป็นที่ราบที่ติด ๔๐ เมตร เพราะฉะนั้นก็เลยคิดว่าจะต้องแก้ ผมก็เลยพยายามไปศึกษา ถามผู้รู้ว่าทำไมมันต้อง ๔๐ เมตร ก็ไม่มีใครที่จะตอบได้ว่าทำไม ๔๐ เมตรแนวราบเขาถึงออกไม่ได้ ผมก็เลยคิดว่าอยากจะต้องตั้งเป็นกฎกระทรวงดีกว่า แล้วมาแก้ไขกฎกระทรวงดีกว่า ไปปรึกษาบางคนเขาบอกว่าให้ทำเป็นกระทู้หรือไม่ก็หารือ แต่ผมก็คิดว่าถ้าเป็นกระทู้ภาครัฐก็คงจะมาตอบว่าเดี๋ยวจะจัดการให้ จะดูแลให้ แต่คิดว่า การทำเป็นญัตติน่าจะดีกว่า เพราะถ้าการทำเป็นญัตติอย่างน้อยมาศึกษา เพื่อนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรที่มีปัญหาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นที่เขาหรือที่ภูเขา ตลอดภาคเหนือมีหลายพื้นที่ จังหวัดพะเยา ท่าน สส.วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ท่านบอกว่าของท่าน ก็มีปัญหาเยอะช่วยดูให้หน่อย ภาคอีสานก็มี ภาคใต้ก็มี ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก มีปัญหาเหมือนกันหมดเลยนะครับ ก็คิดว่าถ้าเราเสนอเข้ามาเป็นญัตติ เพื่อนที่มีปัญหา คล้าย ๆ กันก็จะมาอภิปรายสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนแรกผมคิดว่าจะเสนอ ให้ยกเลิกเลย แต่ผมไม่มั่นใจว่าทางกระทรวงมหาดไทยเขาอาจจะมีเหตุผลว่าทำไมถึงต้อง ๔๐ เมตร ที่ผมหาคำตอบไม่ได้ ผมก็เลยคิดว่าเพื่อความรอบคอบเสนอเป็นญัตติเพื่อตั้ง คณะกรรมาธิการมาศึกษา อย่างน้อยเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทยจะได้ มาชี้แจงว่าทำไมต้อง ๔๐ เมตร ถ้าหาเหตุผลไม่ได้ก็น่าจะยกเลิก หรือว่าปรับจาก ๔๐ เมตร เป็น ๑ เมตร หรือ ๒ เมตรได้หรือเปล่า ผมจึงนำเสนอเพื่อให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาปัญหาเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน หลังจากรับตำแหน่งท่านกล่าวไว้ว่าปัญหาของ พี่น้องประชาชน ถ้าตรงไหนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนติดขัดที่กฎระเบียบก็แก้ที่ กฎระเบียบ ติดขัดตรงไหนก็แก้ตรงนั้น อันนี้มาติดขัดที่กฎกระทรวง ผมคิดว่าถ้าเรา แก้กฎกระทรวงได้ก็จะดีอย่างยิ่ง แล้วก็จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะนโยบายการแจกเอกสารสิทธิ ๕๐ ล้านไร่ ผมเชื่อว่าถ้ายกเลิกกฎกระทรวงข้อนี้ หรือว่าปรับจาก ๔๐ เมตร เหลือสัก ๑-๒ เมตร จาก ๕๐ ล้านไร่ ผมว่าเหลือแค่ ๔๐ กว่าล้านไร่ เพราะฉะนั้นก็อยากจะฝากเพื่อนสมาชิกและรัฐบาลให้หาทางแก้ไข แล้วก็ตั้งคณะกรรมาธิการ เพื่อมาศึกษาเรื่องนี้นะครับ ขอขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขอสรุปในส่วนของญัตติของผมในการขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามประมวล กฎหมายที่ดิน ปี ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) ซึ่งได้ทราบจากทาง Whip ว่าเรื่องนี้จะส่งให้รัฐบาล ไปดำเนินการแก้ไข เพราะฉะนั้นก็หวังว่าเมื่อรัฐบาลรับไปแล้วก็จะนำข้อที่เพื่อนสมาชิก ได้เสนอแนะนำไปพิจารณาแก้ไขเพื่อช่วยเหลือประชาชนต่อไป แต่ผมก็เข้าใจนะครับว่า หลายเรื่องอาจจะต้องใช้ระยะเวลาบ้าง แต่เรื่องของผมเป็นเรื่องของกฎกระทรวง กระทรวงเดียว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หวังว่าท่านจะพิจารณาแก้ไขกฎกระทรวงนี้ ถ้าท่านยกเลิกในเรื่องกฎกระทรวง ข้อ ๑๔ (๒) พี่น้องประชาชนที่เสียสิทธิจากการที่ภาครัฐ ไปออกโฉนดในตำบลที่ผ่านมาที่เขาไม่ได้จะได้มีโอกาส แล้วก็โครงการต่อไปที่รัฐจะไป ออกโฉนดเขาก็จะได้อานิสงส์ในตอนนี้ ก็หวังว่าท่านรัฐมนตรีจะเมตตาสงสารนะครับ แล้วก็ ขอฝากท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีด้วยว่าถ้าสัก ๖ เดือนผ่านไปท่านยังไม่ได้แก้ไขในส่วน ของกฎกระทรวงข้อ ๑๔ (๒) ขออนุญาตที่จะเรียนถามกระทู้ถามท่านว่าทำไมท่านถึงไม่ได้ แก้ไข แล้วก็ทำไมในที่ราบ ๔๐ เมตร ติดตีนเขา ที่เขา ที่ภูเขา ถึงไม่สามารถออกโฉนดได้ แต่ถ้าท่านยกเลิก หรือว่าปรับจาก ๔๐ เมตร ให้หลือ ๑-๒ เมตร ก็ถือว่าเป็นอานิสงส์ เป็นผลงานของท่านที่ว่าท่านรับฟังปัญหาของพี่น้องภาคประชาชนในสภา และแก้ไขในทันที ก็หวังว่าทางรัฐบาลผ่านท่านประธานสภาจะช่วยเหลือพ่อแม่พี่น้อง แล้วก็ขอขอบพระคุณ แทนพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศล่วงหน้าที่รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ก็จะขออภิปรายในส่วนของการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งแต่เช้ามานี้ผมก็ฟัง เพื่อนสมาชิกให้ข้อมูลการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำไม่ว่าจะเป็นภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคอีสาน และภาคเหนือ ผมจะโฟกัสเฉพาะภาคอีสานนะครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะอภิปราย เป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในฐานะที่ผมเป็น สส. จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นต้นน้ำซึ่งแม่น้ำยม บางส่วนก็มาจากพะเยาและน่าน แล้วก็ลงสู่แพร่ สู่สุโขทัย แต่หลัก ๆ ของน้ำน่าน จะลงสู่ อุตรดิตถ์แล้วก็ลงสู่กรุงเทพมหานคร ถึงเจ้าพระยา ๔๐ กว่าเปอร์เซ็นต์มาจากแม่น้ำน่าน แต่ท่านประธานเชื่อไหมครับว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกสู่จังหวัดน่านเฉลี่ยปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า ๖,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่จังหวัดน่านสามารถเก็บกักน้ำได้เพียงไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ ประมาณ ๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร เพราะอะไรครับ เพราะจังหวัดน่านเป็นพื้นที่ป่า พื้นที่เขาเยอะ ทำยากนะครับ พื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดน่านนะครับ ๗,๕๘๑,๐๓๕ ไร่ เป็นพื้นที่ป่า ๔,๖๔๐,๗๔๗ ไร่ เรามีหมดนะครับ ทั้งอุทยาน ป่าสงวน ป่าต้นน้ำ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า มีลุ่มน้ำ A1 A2 A3 A4 A5 ครบนะครับ แถมเป็นเมืองประวัติศาสตร์อีก อยู่กันมากว่า ๖๐๐-๗๐๐ ปี พอ พ.ร.บ. ป่าสงวนประกาศปุ๊บชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ เพราะฉะนั้น เวลาจะลงมือทำอะไรต่าง ๆ ยากมากนะครับ การจะทำเขื่อนแต่ละเขื่อนถึงแม้เราจะมี เทือกเขาเยอะ เนื่องจากความลาดชันของภูเขาไม่ใช่ว่าจะทำได้ทุกจุด มันจะต้องดูจุดที่ทำเวิ้ง ที่จะสามารถรับน้ำได้เยอะ อย่างเช่นผมยกตัวอย่างอ่างน้ำกิ จุน้ำได้ ๕๓ ล้านลูกบาศก์เมตร ตอนนี้ทำ EIA เสร็จแล้ว ทางกรมชลประทานกำลังกันพื้นที่นะครับ ท่านก็หวังว่าทางรัฐบาล จะให้งบกันพื้นที่เยอะหน่อยนะครับ เพราะส่วนใหญ่งบกันพื้นที่จะกระจายกันไปทั่วประเทศ ถ้าทำช้าอาจจะล่าช้าออกไปก็ฝากไว้ ก็จะเป็นอ่างน้ำกองที่จะจุน้ำได้ ๗๓ ล้านลูกบาศก์เมตร แล้วก็อ่างน้ำยาวตอนเหนืออีก ๓๓ ล้านลูกบาศก์เมตร ปัญหาใหญ่ในการที่จะทำเขื่อน ส่วนใหญ่ก็คือในเรื่องของกระบวนการที่ล่าช้า ต้องทำ EIA ก่อน ๕๐๐ วันนะครับ ต้องดู ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของปีนี้กับปีที่แล้วมันต่างกันอย่างไร ทำเสร็จปุ๊บก็ต้องไปขอกันพื้นที่ ถ้ากันไม่เสร็จ เพราะต้องขออนุญาตกลับไปกลับมาเกิน ๕ ปี นับ ๑ ใหม่ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ กินเวลามาก แล้วพอตกลงกันได้เสร็จปัญหาใหญ่ที่สำคัญที่สุดไปเจรจากับผู้ได้รับผลกระทบ คือชาวบ้าน เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ รัฐก็ไม่สามารถที่จะจ่ายค่าชดเชย ค่าเยียวยาได้ จ่ายได้แต่ว่าค่าต้นไม้ที่เขาปลูก ปลูกมากี่ปี ชาวบ้านก็จะไม่ค่อยชอบนะครับ เพราะส่วนใหญ่ ที่เหนือน้ำที่ได้รับผลกระทบเขาไม่ค่อยได้ประโยชน์ เงินชดเชยก็ไม่ได้ คนได้รับประโยชน์อยู่ที่ ปลายน้ำ ตรงนี้มีปัญหาเยอะนะครับ ผมยกตัวอย่างเขื่อนน้ำยาวที่จังหวัดน่าน ท่าน สส. สิรินทร รามสูต ภรรยาผมสมัยเป็น สส. น่าน กว่าสิบปีกว่าจะผลักดันสำเร็จ เชื่อไหมครับกว่า จะสำเร็จพอชลประทานมีสตางค์ไปประชาคมชาวบ้าน จุดที่สูงที่สุดที่อยากจะทำ ชาวบ้าน บอกทำไม่ได้ เพราะกระทบน้ำท่วม รัฐไม่มีเงินมาเยียวยา จุดกลางก็ทำไม่ได้ สุดท้ายไปจุดที่ ต่ำที่สุด มันเป็นการเสียดายงบประมาณของประเทศเพราะความล่าช้า เพราะฉะนั้น เราจะแก้ไขอย่างไร โชคดีท่าน สส. วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ท่านบอกว่าที่พะเยาก็มีปัญหาเหมือนกัน ต้องแก้ไขด้วยกฎหมาย ต้องมีกฎหมายเฉพาะเหมือนอย่างที่ท่าน สส. วรวัจน์ ได้กล่าวไป เมื่อเช้า เมื่อคืนผมก็เลยไปยกร่างมาฉบับหนึ่งเผื่อทางรัฐบาลจะนำไปใช้ เป็นตุ๊กตานะครับ พ.ร.บ. บูรณาการพัฒนาพื้นที่ป่ากรณีพิเศษ ทำอย่างไรครับ ในหลักการก็คือว่าหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ อย่างเช่นกรมชลประทานตรงไหนจะทำกันพื้นที่ไว้ให้ขออนุมัติโดยมติ คณะรัฐมนตรี แล้วก็มีคณะกรรมการระดับชาติมาจากตัวแทนของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงการคลัง ระดับจังหวัดก็มีระดับผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ มีหน้าที่มาทำอะไร อันดับแรกมาบูรณาการในการประสานงานในพื้นที่ การจัดการพื้นที่ที่ใช้ ระยะเวลา ๓ ปี ๕ ปี ๗ ปี ให้มันเหลือสัก ๖ เดือน ปีหนึ่ง ปีครึ่งได้ไหมเป็นกรณีพิเศษ ในพื้นที่พิเศษ แล้วเวลาทำ EIA ๕๐๐ วัน ผ่านไปสัก ๑ ปี ถ้ามีแนวโน้มจะทำก็สามารถ เริ่มกันพื้นที่ได้ มันจะได้เจรจาได้อย่างเต็มที่
ประเด็นสำคัญที่สุดต้องเพิ่มนะครับ ที่สำคัญคือจะต้องกำหนดว่ารัฐสามารถ ที่จะจ่ายเงินค่าเงินชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐนี้ ที่เขาไม่มีเอกสารสิทธิ ที่อยู่ในพื้นที่ป่า โดยกระทรวงการคลังก็จะกำหนดหลักเกณฑ์ว่า ครอบครองไม่เกิน ๕ ปีได้ เท่าไร ๑๐ ปีได้เท่าไร ๑๕ ปีได้เท่าไร เพราะฉะนั้นถ้า พ.ร.บ. นี้ประกาศออกมาได้ฝากให้ รัฐบาลไปนำเสนอ ผมว่าทุกฝ่ายก็จะพอใจ รัฐก็จะทำป่าได้อย่างเต็มที่ชาวบ้านที่อยู่ต้นน้ำ ที่อยู่เหนือน้ำเขาก็จะได้ประโยชน์ ถ้ารัฐบาลไม่มีเวลาผมยกร่างมาให้ก็ได้จะเริ่มจากกฎหมายนี้ เป็น พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงิน ถ้าส่งไปที่กระทรวงการคลังฝากรีบส่งกลับมาให้ด้วยนะครับ และที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ผมจำได้ท่านเป็น นายกรัฐมนตรีใหม่ ๆ ท่านบอกว่าการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ถ้ามัน ติดขัดที่กฎระเบียบก็แก้ไขที่กฎระเบียบ ติดขัดที่กฎหมายก็แก้ที่กฎหมาย เรื่องนี้มันติดขัด ในเรื่องของกระบวนการในการประสานงานบูรณาการร่วมกันของฝ่ายรัฐ แล้วก็ปัญหา อีกอย่างก็คือมันไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะมาดูแลเยียวยาพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ของภาครัฐ ในเขตพื้นที่ป่าสงวนเพราะเขาไม่มีเอกสารสิทธิ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องแก้ กฎหมายออกมาเป็นกฎหมายพิเศษ ผมเชื่อว่าถ้าเรามีกฎหมายพิเศษต่าง ๆ เหล่านี้ออกมา ประเทศชาติก็จะได้มีโอกาสได้แก้ไขเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่นะครับ ก็หวังว่ารัฐบาลจะนำ เรื่องนี้ไปพิจารณาต่อไป ขอขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย มีเรื่องจะหารือผ่านท่าน ประธานไปยังกรมทางหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่นะครับ
เรื่องแรก ในส่วนของถนนเลี่ยงเมืองน่าน เมืองน่านเป็นเมืองรอง เมืองแห่งการท่องเที่ยวและเชื่อมกับ สปป. ลาว แต่ว่าถนนเข้าเมืองเป็นคอขวด ซึ่งกรมทางหลวง ก็มีโครงการที่จะทำถนนเลี่ยงเมืองผ่าน ๒ ตำบลในเขตอำเภอเวียงสา และ ๘ ตำบล ในเขตอำเภอเมือง ระยะทาง ๒๔.๘ กิโลเมตร ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินการสำรวจออกแบบ เรียบร้อยแล้วก็รับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนเรียบร้อย
ซึ่งตอนนี้ติดอยู่นิดเดียวรอให้ทางกรมทาง หลวงส่งรายละเอียดให้สำนักกรรมสิทธิ์จะได้ดำเนินการต่อ แล้วก็หวังว่าเมื่อสำนักกรรมสิทธิ์ ดำเนินการต่อแล้วก็จะได้ผลักดันให้กรมทางหลวงพิจารณางบประมาณในเรื่องของ ถนนเลี่ยงเมืองน่านนี้ต่อไป
เรื่องที่ ๒ เรื่องถนนหมายเลข ๑๐๙๑ เชื่อมระหว่างน่าน อำเภอบ้านหลวง แล้วก็เชียงม่วนของพะเยา แล้วทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๖ เชื่อมระหว่างอำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น อยากจะฝากให้กรมทางหลวงเร่งรัดงบ EIA เพราะว่าถ้าทำ EIA เสร็จได้ถึงจะของบมาปรับปรุงแล้วก็ขยายเส้นทางได้
เรื่องสุดท้าย ตามภาพ เรื่องสะพานปากนายมีการสำรวจออกแบบเอา เส้นตรงกลางเป็นแนวที่ ๒ เชื่อมระหว่างตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น แล้วก็ตำบลท่าแฝก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งโครงการนี้กำลังสำรวจออกแบบโดยลักษณะโครงการ จะเป็นสะพานยาว ๒๘๐ เมตร หลบชุมชนปากนายซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอนาหมื่น แล้วก็มีคันยาวอีก ๑๔๐ เมตร แล้วก็จะมีสะพานยาว ๑,๑๕๐ เมตร เชื่อมเขื่อนสิริกิติ์ ถ้าโครงการนี้สำเร็จ นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์แล้วจะมีความสะดวกสบาย เชื่อมระหว่างภาคเหนือตอนบนฝั่งตะวันออกมาภาคเหนือตอนกลาง ซึ่งโครงการนี้ดำเนินการ งบ EIA ปี ๒๕๖๖ และปี ๒๕๖๗ ๓๐ ล้านบาท ก็ฝากทางกรมทางหลวงได้เตรียม ความพร้อมเมื่องบนี้ผ่านแล้วก็จะได้ขออนุญาตทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทางกรมป่าไม้ แล้วก็ทางเขื่อนสิริกิติ์ให้เรียบร้อย แล้วก็ฝากกรมทางหลวงได้อนุมัติ งบประมาณถ้าไม่ทันปี ๒๕๖๘ ก็ปี ๒๕๖๙ งบผูกพันก็ยังดี ขอบคุณครับ
ท่านประธานครับ ทรงยศ รามสูต ๑๔๓ แสดงตนครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผมทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขออภิปรายในส่วนของญัตติที่ขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหายาสูบและยาเส้นราคาตกต่ำ จริง ๆ พื้นที่ยาสูบของ จังหวัดหนองคายมี สส. ของพรรคเพื่อไทย ๒ ท่านนะครับ ก็ตั้งแต่ท่าน สส.ชนก จันทาทอง ที่ดูแลตั้งแต่โพนแพง มาบ้านเวิน หนองกุ้ง ไปจนถึงวัดหลวง ปากสวย แต่พื้นที่ที่ปลูกเยอะที่สุด ก็คือจะเป็นตำบลชุมช้าง บ้านโพนบก มีโรงบ่มด้วย ส่วนอำเภอเมืองตั้งแต่บ้านเดื่อไปจนถึง เวียงคุกส่วนพื้นที่ที่ปลูกเยอะที่สุดจะเป็นของท่าน สส. เอกธนัช อินทร์รอด แถวอำเภอท่าบ่อ ตั้งแต่บ้านท่ามะเฟือง โพนสาไปจนถึงอำเภอศรีเชียงใหม่ จริง ๆ ๒ ท่านก็อยากจะอภิปราย แต่ว่าเพื่อประหยัดเวลา ๓ คน ๓ ๗ ๒๑ นาที ในฐานะที่ผมเคยเป็น สส.หนองคาย รับมาพูดคนเดียว ขอเวลา ๑๐.๓๐ นาที ผมเองเป็นคนที่ไม่สูบบุหรี่เป็นหนึ่งใน ๘๐ เปอร์เซ็นต์บวกลบของคนไทยที่ไม่สูบบุหรี่ บุหรี่ซึ่งทำมาจากยาสูบมันเป็นพืชที่หลายคน เขารังเกียจบางคนบอกว่าเป็นลูกเมียน้อย ผมว่าไม่ใช่ลูกเมียน้อยหรอก เป็นลูกที่พ่อแม่ ไม่ยอมรับ เวลาเกษตรกรที่ปลูกยาสูบมีปัญหามีภัยพิบัติ รัฐไม่เคยเหลียวแลดูแลเลย แต่ก็ต้องยอมรับกิจกรรมที่ไม่ดี แต่บางครั้งก็มีประโยชน์ต่อประเทศเราก็ต้องพยายามรณรงค์ ลอตเตอรี่ สลากกินแบ่งรู้ว่าไม่ดี พยายามเลิกแต่ก็มีรายได้เข้ารัฐ สุราก็เหมือนกัน เป็นอันตรายก็พยายามรณรงค์แต่ก็มีบางส่วนที่ยังดื่มอยู่แล้วก็สร้างรายได้เข้ารัฐ บุหรี่นี่ก็ เช่นกันก็รู้ว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่บางครั้งในอดีตเคยมีรายได้เข้ารัฐเยอะ โทษก็มีเยอะ ปีหนึ่งมีคนเสียชีวิตจากบุหรี่ประมาณเฉลี่ย ๕๐,๐๐๐ คน แล้วก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษาพยาบาลโรคเกี่ยวกับบุหรี่ปีหนึ่งประมาณ ๑๑,๔๗๓ ล้านบาท เขาสำรวจมา เราก็ต้องยอมรับซึ่งตรงนี้ได้สิ่งที่มีดี มีเสีย เราก็ต้องหาทางแก้ไข หาทางสมดุล ในส่วนที่มันเกิดขึ้นแล้วเราจะแก้ไขอย่างไรอย่างสลากกินแบ่งนี่มีรายได้เข้ารัฐ เราห้าม แต่ชาวบ้านก็ยังซื้อ ก็โชคดีไม่อยากขายเกินราคารัฐบาลก็ออกสลาก Online แต่ก็ต้อง ยอมรับมันยังมีสลากใต้ดินอยู่กับเจ้ามือ อันนี้ต้องหาทางแก้ไขนะครับ สมัยก่อนนายกทักษิณ เอาขึ้นมาบนดินเจ้ามือหายไปเยอะ สุราก็เช่นกันมันมีปัญหาเราก็พยายามรณรงค์ ว่าอย่าไปดื่มมันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โชคดีที่มีเพื่อนสมาชิกหลายท่านพยายามเสนอ กฎหมายสุราก้าวหน้า ซึ่งก็น่าจะสามารถไปส่วนแบ่งการตลาดไม่ผูกขาดกับเจ้าใหญ่ ๆ ไม่กี่เจ้า บุหรี่ก็เช่นกันผมว่ามันก็มีปัญหาเราต้องหาจุดสมดุลให้ได้ว่ามันอยู่ตรงไหน เพราะว่าในกิจกรรม ต่าง ๆ มันมีคนที่เข้ามาร่วมวงกันมาก อย่างบุหรี่ก็มีทั้งคนที่สูบ มีคนที่เกี่ยวข้อง เกษตรกรผู้ปลูก ยาสูบ ทั้งส่งโรงบ่ม ยาซอย ยาเส้นเองมีทั้งผู้บ่ม แล้วก็มีคนขายปุ๋ย มีทั้งภาครัฐ แล้วก็มีทั้ง ในส่วนของภาษี เราต้องหาจุดสมดุลให้เจอเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นของบ้านเรา ในส่วนของบุหรี่มันเริ่มมีปัญหาขึ้นมานะครับ ตั้งแต่เรามี พ.ร.บ. ควบคุมยาสูบปี ๒๕๓๕ ห้ามโฆษณา ห้ามส่งเสริมการขาย ก็บางทีบางครั้งบางคราวก็สงสารเขาเหมือนกันจะ CSR ก็ลำบากโฆษณาไม่ได้ไม่ว่า แต่เวลา CSR ทีไรจะไปช่วยเหลือนี่ ช่วยเหลือได้เฉพาะลูกไร่ ที่เขาปลูก จะทำบุญไปช่วยเหลือคนนอกกลุ่มก็ไม่ได้ อันนี้ก็ต้องคอยดูนะครับ พอปี ๒๕๔๔ มี กองทุนส่งเสริมสุขภาพหรือ สสส. ก็พยายามเอาภาษีส่วนหนึ่งจากภาษีบาป เอามาดูแลสุขภาพ ซึ่งก็ปรากฏว่าในช่วงแรกตั้งแต่ปี ๒๕๓๔-๒๕๔๗ ตั้งแต่โครงการต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นมานี่ดี สามารถลดอัตราการสูบบุหรี่จาก ๓๒ เปอร์เซ็นต์ในปี ๒๕๓๔ ลงมาเหลือ ๒๓ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๔๗ แต่ว่าปี ๒๕๔๗-๒๕๖๓ อัตราจะคงที่อยู่ ๒๓ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ จนถึงปัจจุบันก็จะเฉลี่ยเหลือคนสูบบุหรี่ประมาณสัก ๑๗.๙-๑๙ กว่า ไม่เกิน ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นความสมดุลมันเริ่มจะถึงจุดแล้ว แต่เราก็รณรงค์ต่อไปว่ามันไม่ดี และเขาเคยไป ทำการสำรวจว่าคนที่สูบบุหรี่ ๑๐๐ คนนี่ ๕๒ เปอร์เซ็นต์ เขาบอกว่ารู้ว่าไม่ดีแต่ก็ยัง สูบอยู่ เพราะฉะนั้นเราจะต้องหาทางดูแลแก้ไขอย่างไรนะครับ แล้วก็บางครั้งบางคราเวลา จุดสมดุลมันต้องเกิด คราวนี้เรื่องของยาซอยยาเส้นบุหรี่มันแบ่งเป็น ๒ ประเภทของยาสูบ ส่วนหนึ่งใน ๑๐ ล้านคน ๕.๖ ล้านคนนี่คือส่วนที่สูบบุหรี่ อีก ๔.๖ ล้านคนนี่คือในส่วนของ ยาซอยยาเส้นนะครับ ผมจะขอพูดปัญหาในส่วนของบุหรี่ก่อนนะครับ บุหรี่นี่ถ้าเทียบ เปอร์เซ็นต์แล้วมันมีปัญหารัฐพยายามออกกฎหมายมาแก้ไขหลายต่อหลายอย่างนะครับ อย่างที่เมื่อสักครู่เพื่อนสมาชิกผู้เสนอได้อภิปรายไปแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมานี่โรงงาน ยาสูบเคยได้กำไรประมาณปีละ ๘,๐๐๐ ล้านบาท ปัจจุบันเหลือไม่ถึง ๑,๐๐๐ ล้านบาท ไม่รู้ ว่าเป็นนโยบายที่มันผิดพลาดหรือว่าคนลดการสูบบุหรี่นะครับ แต่เขาก็ไปศึกษาดูเขามีการไป สุ่มเก็บตัวบุหรี่ตามถังขยะหรือที่ต่าง ๆ ๓๖ จังหวัด ก็พบว่าอย่างเมื่อสักครู่นี้ท่านอภิปรายคือ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ตอนนั้นมัน ๒.๙ เปอร์เซ็นต์ แต่ว่ามันเพิ่มมาถึงปี ๒๕๖๕ ๑๕.๕ เปอร์เซ็นต์ คราวนี้ปัญหาใหญ่ก็คือว่าอัตราที่มันเพิ่มขึ้นมานี่ไป Check ดูแล้วเงินภาษีที่เพิ่มจาก ยอดขายบุหรี่มันไม่มามันหายไปไหน แสดงว่ามันไปที่บุหรี่เถื่อนที่หนีเข้ามา ถ้าเฉลี่ยแล้ว ยอดเงินที่รัฐสูญเสียไปน่าจะประมาณ ๒๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท ฉะนั้นเรื่องนี้ก็มีปัญหาเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาของภาครัฐจริงอยู่เจตนาเราอยากจะลด การสูบบุหรี่มีพยายามปรับลง แต่บางครั้งเราก็ต้องดูจุดสมดุลด้วยว่ามันอยู่ขนาดไหน เพราะครั้งเราอยากจะปรับปุ๊บ แต่บางทีอย่างที่ผมบอกแล้วว่าคนบริโภคมันอยู่ในส่วนของ บุหรี่ประมาณ ๕.๖ ล้าน บางทีเราปรับปุ๊บนี่มันไม่ลงไปกว่านี้แทนที่มันจะลดลงไปของ บุหรี่ไทยมันหนีไปอยู่บุหรี่เถื่อน เพราะฉะนั้นต้องหาจุดสมดุลให้เจอ ยิ่งรัฐออกนโยบาย อย่างเมื่อสักครู่นี้ที่กล่าว ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๒ ลดปริมาณการซื้อเวอร์จิเนียลงไป ๔๗ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเหนือตอนบน น่าน เดี๋ยวแพร่ของคุณหมอนิยมนี่ก็เหมือนกันนะครับ เตอร์กิชลดไป ๖๐ เปอร์เซ็นต์ พอปี ๒๕๖๕ ปี ๒๕๖๖ ลดเวอร์จิเนียไปอีก ๒๕ เปอร์เซ็นต์ แต่โชคดีตอนนั้นเบอร์เลย์กับเตอร์กิซมันมีปัญหาในเรื่องสภาพภูมิอากาศก็เลยไม่ค่อยมี ปัญหานะครับ เพราะฉะนั้นมันก็เลยทำให้ราคายังโอเคอยู่ และยิ่งบุหรี่อย่างว่าเป็นภาษีบาป ภาษีสรรพสามิตกฎหมายออกมาหน่วยงานต่าง ๆ ก็มาขอส่วนแบ่งออกไป อย่างเมื่อสักครู่นี้ ที่เพื่อนสมาชิกที่เสนอปี ๒๕๖๐ กระทรวงมหาดไทยก็มาขอ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ จากกรมสรรพสามิต แล้วก็กองทุนผู้สูงอายุก็มาขอ ๒ เปอร์เซ็นต์เป็นรายได้ หลังจากมี การปรับหลายต่อหลายครั้งก็เลยส่งผลให้การแก้ไขต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ราคาบุหรี่ไทยขึ้นไป ใกล้เคียงกับบุหรี่หนีภาษี ซึ่งรัฐไม่ได้เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้รายได้จากภาษีที่หลั่งไหลเข้ามา เพราะฉะนั้นก็เลยอยากจะฝากว่าจะต้องดูแลตรงนี้ ดูแลตรงไหน ในเกษตรกรบุหรี่ไทยเขา อยากให้มันโตเพราะมันขายไม่ค่อยได้ ซึ่งส่งผลต่อบริษัทที่เขาจะไปซื้อ โรงงานยาสูบจะไปซื้อ จากลูกไร่ก็คนที่ปลูกยาสูบจะต้องเป็นคนพิถีพิถันจะต้องละเอียด แต่ปัญหาที่ผ่านมารัฐบาล ไม่เคยเหลียวแลเลยตลอด ๑๐ ปีมายาเวอร์จิเนียราคาเท่าเดิมมาตลอดแถมขอลดลงไปอีก ๔ บาท ในขณะที่ต้นทุนมันเพิ่มขึ้น ค่าปุ๋ยที่ราคาสูงขึ้น แต่ค่ายาเท่าเดิม เฉลี่ยต้นทุน จากค่าปุ๋ยที่สูงขึ้นเขาบอกเพิ่มประมาณ ๔.๕ บาทต่อกิโลกรัม ค่าไฟค่า Ft ที่เพิ่มขึ้นมันทำให้ ต้นทุนของเกษตรกรเพิ่มอีก ๒๓ เปอร์เซ็นต์ ค่าแรงจาก ๓๐๐ บาท เป็น ๓๔๐ บาท เพิ่มอีกประมาณ ๕.๙๐ บาทต่อกิโลกรัม ค่าฟืนจากกิโลกรัมละ ๑.๒๐ บาทขึ้นเป็น ๑.๔๐ บาท ต้นทุนก็เพิ่มไปอีก ๑.๔ บาทต่อกิโลกรัม แล้วก็น้ำมันดีเซลจาก ๒๖ บาท เป็น ๒๙ บาท สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการทำให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ยาสูบ มีปัญหาเยอะก็อยากจะฝากให้รัฐดูแลวิธีที่จะดูแลที่ดีที่สุด ก็คือต้องพยายามปราบบุหรี่เถื่อน ให้ได้ แล้วก็พยายามที่จะดูแลในส่วนของผู้ประกอบการโรงบ่มต่าง ๆ ในเรื่องโควตาต่าง ๆ ไม่ใช่มุ่งแต่ที่จะลดเขา ๆ แต่ทางมันไหลไปสู่บุหรี่เถื่อนนะครับ เพราะฉะนั้นเราต้องหาจุดสมดุลให้เจอ นอกจากนี้สิ่งที่เขากังวลกันมากในส่วนของ ข้อกฎหมายนะครับ ได้รับทราบว่าทางกระทรวงสาธารณสุขพยายามที่จะออกกฎกระทรวง ห้ามมิให้เติมส่วนประกอบและส่วนปรุงแต่งที่มีความจำเป็นในการผลิตบุหรี่ เช่น สารรักษา คุณภาพรวมถึง Mental และสารปรุงแต่งอื่น ๆ คือถ้ากฎกระทรวงนี้ออกมาถ้าเรา ไม่รอบคอบจริง ๆ บุหรี่ไทยอาจจะหายไปอีกกว่าครึ่ง แล้วพอหายคนที่เขาเสพอยู่แล้วเขาจะ ไปไหนเขาก็ไปซื้อบุหรี่ไปเสพสูบบุหรี่ที่หนีภาษี เพราะฉะนั้นก็อยากจะฝากให้รัฐรอบคอบ ในการออกกฎหมายออกกฎกระทรวง เพราะฉะนั้นจุดที่สำคัญที่สุดก็คือจะต้องดูแลตรงนี้ แล้วก็มีมาตรการปราบบุหรี่เถื่อนอย่างเต็มที่ อันนี้ในส่วนเรื่องของบุหรี่ ปัญหาของบุหรี่ ซึ่งส่งผลต่อเกษตรกรโดยตรงอันนี้ฝากให้รัฐแก้ไข
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มบุหรี่พื้นเมือง มีประมาณ ๔.๕ ล้านคน พวกยาซอยยาเส้น ก็ต้องขอบคุณ สส. ในรัฐบาลชุดที่แล้ว สส. เพื่อไทย หลายคนรวมทั้งภรรยาผม ท่าน สส. สิรินทร รามสูตร และ สส. อีกหลาย ๆ พรรคที่ช่วยกันผลักดันในเรื่องของ อากรแสตมป์ให้รัฐลดอากรแสตมป์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชาวไร่เกษตรกรที่ปลูกยาซอย ยาเส้น ซึ่งรัฐก็รับฟัง จนปัจจุบันนี้ชาวบ้านโอเคอยู่ได้ ปัจจุบันก็ตกประมาณกิโลละ ๑๓๐-๑๕๐ บาท เขาบอกพออยู่ได้ แต่ที่ชาวบ้านฝากมาคืออยากจะฝากให้ลดขั้นตอนลงมานิดหนึ่ง เขาบอกว่า เวลาผู้ซื้อซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทจะไปซื้อยาสูบมันยุ่งยาก ต้องไปขอใบตัวแทนจากบริษัท จากโกดัง ในใบนั้นต้องระบุด้วยว่าจะไปซื้อจากนาย ก นาย ข ที่ตั้งอยู่ตรงไหน บ้านเลขที่ เท่าไร กี่กรัม กี่ถุง พอได้มาตรงนี้เสร็จต้องวิ่งรอกไปขอที่สรรพสามิตในพื้นที่อีกว่าจะไปซื้อ จากใคร กี่ถุง กี่กรัม แล้วเขาก็จะได้ Sticker ไปแปะที่ยาสูบเพื่อที่จะขนย้ายเคลื่อนย้าย ถ้าไม่มีใบ Sticker ก็จะถูกจับ ก็อยากจะฝากว่าท่านลดขั้นตอนได้ไหม แค่มีใบแต่งตั้งตัวแทน มาก็พอนะครับ เพราะเวลาไปซื้อนี่มันต้องไปแจ้งสรรพสามิตในพื้นที่อยู่แล้วมันก็จะลด ขั้นตอนลงไป เพราะอะไรที่มันเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการ ให้ตัวแทนนี่เขาไม่รับไว้หรอก เขาก็ผลักภาระไปให้กับชาวบ้านให้เกษตรกร ฉะนั้นอะไรที่จะช่วยได้มันก็จะส่งผลถึง เกษตรกร ก็อยากจะเรียนฝากท่านประธานไปถึงภาครัฐบาลในการแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของบุหรี่ รวมทั้งเรื่องยาซอยยาเส้นขอขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย เมื่อ ๒ อาทิตย์ก่อนมีประธานกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรของอำเภอเมือง ในเขต ตำบลบ่อสวก ตำบลนาซาว และตำบลเรือง มาปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาเรื่องราคาสุกร หรือหมูราคาตกต่ำ เมื่อ ๒-๓ ปีก่อนราคาหมูดีมากภาคเอกชนเข้าไปส่งเสริม ปัจจุบัน ราคาหมูตกต่ำอย่างที่เคยเสนอเข้าสู่สภา เขาก็มาปรึกษาหารือโดยเฉพาะปัจจุบันมีหมูข้ามเขต จากต่างจังหวัดเข้ามามาส่งตามเขตต่าง ๆ เฉลี่ยเดือนละ ๒,๖๐๐ ตัว แถมให้เครดิตอีก เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการในพื้นที่ก็มีปัญหา แถมลูกหมูที่เคยขายได้ตัวละประมาณ ๑,๐๐๐-๑,๒๐๐ บาท ก็ถูกตัดราคาจากหมูข้ามเขตประมาณ ๘๐๐-๙๐๐ บาท ก็เลยมาหารือว่า จะเป็นไปได้ไหมเรามีอาสาปศุสัตว์ ซึ่งที่ผ่านมาปีหนึ่งเก็บข้อมูลทีหนึ่งทำอะไรไม่ได้ ให้เก็บข้อมูลสักเดือนละครั้งแล้วก็ส่งข้อมูลทาง LINE เพื่อจะให้ผู้เลี้ยงหมูเขาแจ้งว่าในรอบ ๔ เดือนที่หมูเขาจะออกมาเขาจะขึ้นเขียงเท่าไร แล้วก็จะขายลูกหมูเท่าไร เพื่อจะได้วางแผน ในการออกใบอนุญาต เพราะเวลาจะขออนุญาตหมูข้ามเขตต้องขอใบ ร. ๔ จากปศุสัตว์ จะได้ Control ได้ว่าควรจะเอาหมูนำเข้าเท่าไร ขนาดไหน เพียงไร ผมเข้าใจอยู่ว่า เป็นการค้าเสรี แต่อย่างน้อยถ้าสมมุติว่าเราชะลอบางเรื่องได้เพื่อบริหารจัดการ ผู้ประกอบการ ผู้เลี้ยงหมูจากที่เขาขาดทุนมากจากค่าอาหารที่แพงและราคาหมูตกต่ำ จากขาดทุนมาก ก็จะลดน้อยลง อย่างน้อยผ่านไปสัก ๒-๓ รอบอุปสงค์และอุปทานใกล้เคียงกัน ผมก็เรียน ฝากเรื่องนี้ไปยังท่านประธานผ่านไปทางปศุสัตว์ให้ดูแลผู้เลี้ยงหมูในเขตพื้นที่จังหวัดน่าน จะได้ดูแลต่อไป ก็ฝากขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย
ขอหารือท่านประธานผ่านไปยังกรมธนารักษ์ และท่านนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงการคลังนะครับ เพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์ในการ การเก็บค่าเช่าในกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้นะครับ คือเมื่อ ๒ วันก่อนชาวบ้านบ้านธงน้อย หมู่ที่ ๓ ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน นำโดยผู้ใหญ่กีรติและท่าน สท. สนั่นได้มาหารือปรึกษา ผมว่าทางกรมอนามัยอยากจะสร้างประปาก็ไปสร้างที่บ้านธงน้อย ที่โรงเรียนบ้านธงน้อย มีหนังสือคือทางโรงเรียนได้มอบที่ดิน ๑๖ ตารางวาให้ก่อสร้างอาคาร เป็นประปาผิวน้ำ ๑๖ ตารางวา ซึ่งที่ผ่านมาบริหารมา ๑๐ กว่าปีก็ไม่มีปัญหา ปรากฏว่าโรงเรียนสัก ๑๐ กว่าปี ก็ยุบไป ชาวบ้านก็บริหารมาก็ไม่มีปัญหา แต่พอโรงเรียนถูกยุบ ทางกรมธนารักษ์ก็เข้ามาดูแล ซึ่งโอนเสร็จเรียบร้อยในปี ๒๕๖๓ ปัญหาเกิดขึ้นในปี ๒๕๖๓ หลังจากทางกรมธนารักษ์ เข้ามาดูแล เริ่มเก็บค่าเช่าปีละ ๓๔,๒๐๐ บาท ซึ่งทางกรมธนารักษ์ก็ใจดีให้หน่วยงานราชการ เป็นคนเช่า เพราะว่าถ้าชาวบ้านเช่าจะแพง เทศบาลตำบลดู่ใต้ก็เลยเป็นคู่สัญญาเช่า แต่ภาระ ค่าเช่าเป็นของหมู่บ้าน และพื้นที่ก็ใจดีลดให้ แต่ค่าเช่าก็ยังแพงอยู่ ปัญหาก็คือชาวบ้านก็เลย ต้องผลักภาระในการเก็บค่ามิเตอร์หน่วยน้ำจาก ๘-๙ บาทเป็นหน่วยละ ๑๑ บาท ทำความ เดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน ก็เลยอยากจะฝากภาครัฐ โดยเฉพาะกรมธนารักษ์ให้ปรับ หลักเกณฑ์ตรงนี้ ก็เห็นใจกรมธนารักษ์นะครับ เพราะว่าถ้าไม่ทำก็ผิดมาตรา ๑๕๗ เพราะฉะนั้นจะเป็นไปได้ไหมครับกรณีนี้ผมว่าน่าจะเป็นกรณีตัวอย่างและจะเกิดขึ้น ทั่วประเทศ เพราะหน่วยงานของภาครัฐ โรงเรียนถูกยุบเพราะปริมาณนักเรียนลดลง เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่แก้ไข เราเข้าไปทำอะไรในโรงเรียน อีกหน่อยจะต้องเสียค่าเช่านะครับ ฉะนั้นก็อยากจะฝากให้ภาครัฐแก้ไขหลักเกณฑ์ในการเก็บค่าเช่านี้ โดยเฉพาะบ้านธงน้อย หมู่ที่ ๓ นี้เป็นที่ตั้งของพระตำหนักของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ เพราะฉะนั้นก็ฝากให้ดูแลด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย จากญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายเมื่อสักครู่ผมเชื่อว่าสมาชิกทุกคน ยอมรับว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมันไม่เป็นประชาธิปไตย มันสมควรจะต้องมีการแก้ไข แต่ว่าสิ่งที่ยังถกเถียงกันอยู่เราจะแก้หมวดไหนบ้าง ประเด็นใดบ้าง ตอนนี้ยังเถียงกันอยู่ โดยเฉพาะหมวด ๑ หมวด ๒ ความเห็นยังต่าง ซึ่งเป็นสาระสำคัญของญัตติที่เพื่อนสมาชิก เสนอว่าขอแก้ทั้งฉบับ
ประเด็นที่ ๒ คนที่จะมาแก้ สสร. เพื่อนสมาชิกนำเสนอว่าควรจะมาจาก การเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ก็เท่าที่ผมทราบก็ยังถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะมาจาก แหล่งใดบ้าง
ประเด็นที่ ๓ เนื่องจากจะต้องแก้รัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๕๖ (๘) เขาบอกว่าจะต้องทำประชามติ ทำประชามติแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ล้านบาท เพราะฉะนั้นเราต้องรอบคอบเงิน ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ล้านบาท เงินภาษีของประเทศ แล้วอย่างที่เพื่อนสมาชิกอภิปรายอย่างน้อยทำประชามติ ต้องไม่น้อยกว่า ๒ ครั้ง ครั้งแรกตอนจะแก้มาตรา ๒๕๖ (๘) ครั้งที่ ๒ รัฐธรรมนูญเสร็จ แล้วก็ไม่แน่ว่าจะมีครั้งที่ ๓ หรือเปล่าซึ่งได้ทราบว่าทางรัฐบาลก็ตั้งคณะทำงานมาพิจารณา เพื่อความรอบคอบ ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ประเทศไทยเรามีรัฐธรรมนูญค่อนข้างจะมาก เพราะฉะนั้นเราก็ทราบมีวงจรที่ไม่ปกตินะครับ มีปัจจัยอยู่ ๔ อย่างที่ทำให้รัฐธรรมนูญนี้ มีปัญหา อันดับแรก นักการเมืองคือพวกเรา อันดับที่ ๒ คนที่อยากมีอำนาจ แต่ไม่อยากลงมา เล่นการเมือง แต่ไม่อยากถูกตรวจสอบ อันดับที่ ๓ ประชาชนที่จะเลือกตัวแทนของเขา ผ่านชุดข้อมูลที่เขาได้รับ ณ ขณะนั้น อันดับที่ ๔ รัฐธรรมนูญซึ่งมันจะบังคับใช้ได้แต่เฉพาะ ในส่วนของนักการเมืองและประชาชน ส่วนฝ่ายที่ต้องการอำนาจเขาไม่พอใจก็ฉีกอยู่เรื่อย และในการฉีกรัฐธรรมนูญแต่ละครั้งข้ออ้างที่ใช้สม่ำเสมอคือเกิดความแตกแยก มีการทุจริต คอร์รัปชัน หลัง ๆ เพิ่มหมิ่นสถาบัน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาลึก ๆ ที่แท้จริงบางครั้งไม่แน่ใจว่า จะมีการเปลี่ยน ผบ.ทบ. หรือเปล่า เป็นการแย่งชิงอำนาจระหว่างหลายฝ่าย เพราะฉะนั้น ผมก็เลยนำเสนอว่าก่อนที่เราจะมาแก้รัฐธรรมนูญ เรามาดูวิวัฒนาการของ ๔ กลุ่มนี้ มันเกิดขึ้นตั้งแต่อดีตเป็นอย่างไรเพื่อมาแก้ไขในปัจจุบันไปสู่อนาคต ผมไม่ได้เข้าสู่สภานี้มา ๓๑ ปี แต่ผมก็ติดตามการเมืองมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยผมยังเด็กนะครับ ปี ๒๔๙๑ คุณตาผม เป็น สส. ของจังหวัดหนองคาย คุณตาเล่าว่านักการเมืองสมัยก่อนมีอยู่ ๒ ฝ่ายแค่นั้น ฝ่ายที่อยู่เคียงข้างประชาชนกับฝ่ายที่อยู่ฝั่งรัฐ สมัยปิดประชุมนักการเมืองนอนบ้านไม่ได้ เพื่อนคุณตาหลายคนเสียชีวิต เวลามีปัญหาช่วงปิดประชุมหนีไปหนองคาย ท่านส่งไปลาว กลับมาก็เรียบร้อย เพราะฉะนั้นคราวก่อนนักการเมืองในอดีตสามารถเลือกได้ ๒ ฝ่าย อยู่ฝั่งชาวบ้าน แต่ถ้ายอมอยู่ฝั่งรัฐก็อาจจะได้รับปูนบำเหน็จบางทีได้เป็นเสนาบดี นักการเมืองก็พัฒนาไปเรื่อย มีการปฏิวัติฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งคนที่ฉีกก็เป็นคนที่มีอำนาจทั้งคู่ ไม่ใช่ประชาชนนะครับ การเมืองพัฒนามาเรื่อย ผมจำได้ปี ๒๕๑๙ เป็นนักเรียนตามคุณตา ไปหาเสียงในเขตบึงกาฬ ดงสีชมพู วันนั้นจำได้พบเจอชาวบ้านจอดรถปุ๊บอาวุธพร้อมครบ หนุ่มสาวล้อมรถเต็มเลย หลังจากคุยกันทราบว่าเขาถูกรัฐบาลว่าเป็นความเห็นต่าง ผลักดันไปอยู่ในป่า เขาแสดงความจริงใจ พอเขารู้ว่าเป็นนักการเมืองเขาพอใจ นี่เป็นข้อมูล ที่รัฐให้ประชาชนนะครับ ก็กลับมา แต่โชคดีหลังจากนั้นทราบว่าถ้าวันนั้นขับรถผ่านสภา ชีวิตผมและครอบครัวคงไม่เหลือ เพราะว่าเราขับรถแลนด์สีเขียว ต่อมานี้ผมได้ศึกษา การพัฒนาการเมืองผ่านครอบครัวผมที่ลงสมัครเป็น สส. ไม่ว่าแม่ผม น้าผมที่จังหวัดหนองคาย พ่อผมที่จังหวัดเชียงใหม่ พ่อตาผมและพี่สาวภรรยาที่จังหวัดน่าน ผมเห็นการวิวัฒนาการ ทางการเมืองต่อมา ไม่ว่าสมัยก่อนนักการเมืองเริ่มต้นด้วยให้ส่วนรวม จากส่วนรวมมาสู่ ส่วนตัว จากส่วนตัวมีโรคร้อยเอ็ดระบาดสมัยอดีตการใช้เงินได้ผล ทำให้ระบาดกันไปหนักมาก ทำให้นักการเมืองเริ่มมีปัญหา แต่คนก็สงสัยว่าความดีมันเป็น อย่างไร ช่วยได้ไหม ผมก็ศึกษาจากคุณตาผมอีกคนที่เป็นน้องยาย จากเสรีไทยมาเป็น ท่านทูต แล้วเป็นปลัดกระทรวง เป็นรัฐมนตรี เป็น สส. ท่านดึงงบจากต่างประเทศมาทำ เขื่อนน้ำโมงที่บ่อ หนแรกชนะถล่มทลาย แต่พอหนที่สองพอการเงินแจกจ่ายกันเยอะ ผมเข้าใจสัจธรรมเลยว่าความดีมันมีอายุความนะครับ หลังจากนั้นเองผมก็ได้เข้าสู่แวดวง การเมืองในปี ๒๕๒๙ อายุ ๒๕ ปี ฟันน้ำนมทางการเมืองยังไม่เกิดเลย เพราะฉะนั้นผมก็ได้ เรียนรู้มันมีการใช้เงินใช้ทองกันเยอะ แล้วผมก็เลยเห็นสัจธรรมว่าความดีมันมีมูลค่าของมัน ถ้าเงินไม่มากเรายันอยู่ระดับกระเป๋าเจมส์บอนด์ แต่ถ้าเงินมาเยอะแบบกระเป๋าเสื้อผ้า เอาไม่ไหว ผมชื่นชมนักการเมืองจากหลายพรรค หลายภาค หลายจังหวัด ที่ยืนหยัดสู้กับ พวกที่ใช้เงินในการซื้อสิทธิขายเสียง ทำให้ภาพพจน์ของสภานี้มันไม่ดีนะครับ แต่ตอนหลัง ผมก็ทราบว่าหลายคนที่สู้ ก็เลยเห็นสัจธรรมอีกข้อหนึ่งว่าความดีไม่พอ ความดีต้องมีปลายนวม สู้กับพวกนี้ จนกระทั่งปี ๒๕๔๘ ผมเริ่มเห็นแสงสว่างในการพัฒนาประชาธิปไตยขึ้น พรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่ชนะการเลือกตั้งเมื่อปี ๒๕๔๔ นโยบายที่เขาชูเขาทำได้ เป็นนโยบายที่ชาวบ้านพอใจ เพราะฉะนั้นปี ๒๕๔๘ ถึงคนจะถือเงินมาขนาดไหนก็ไม่อาจจะ ซื้อเสียงชาวบ้านได้ แล้วพรรคนี้ก็ครองใจชาวบ้านมาโดยตลอด ผมจะไม่เอ่ยชื่อผู้นำพรรค เพราะว่าลายเซ็นท่านอยู่ที่ Necktie ผม ท่านทักษิณ ชินวัตร ผมใส่ตลอด นอกจากนั้น เมื่อพรรคนี้ครองใจมาก่อนก็ถูกต่อต้านจากภาครัฐมีวิบากกรรมโดนยุบพรรคโดนอะไรสารพัด แล้วผมเห็นการพัฒนาการเมืองชัดขึ้นในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม การเลือกตั้งที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่ากลุ่มการเมืองที่มีอำนาจรัฐที่มีเงินไม่สามารถซื้อเสียงคนไทยได้เกินครึ่ง ของประเทศ พรรคการเมืองหลายพรรคมีชุดความรู้ ให้ข้อมูลกับพี่น้องประชาชนว่า อยากเปลี่ยน อยากเปลี่ยน อยากเปลี่ยนโครงสร้าง ซึ่งผลก็ออกมาว่าอยากเปลี่ยนจริง ๆ แต่เนื่องจากกลไกของรัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่มีความมั่นใจ ในการตัดสินใจของประชาชน จะมีสภาพี่เลี้ยงมาควบคุมการตัดสินใจไม่ให้ไปในทิศทางใด ทิศทางหนึ่ง เพราะฉะนั้นโครงสร้างที่ประชาชนคาดหวังเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ยังดีเรายังปรับ โครงสร้างได้บางส่วนในรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันนี้ถ้าโทษนะครับ ผมก็อาจจะโทษว่าพรรคไทยรักไทยกับพรรคพลังประชาชน มีส่วน ทำไมผมถึงว่าอย่างนั้น เพราะปี ๒๕๔๙ เกิดรัฐประหารตอนนั้นเขาเขียนกฎหมาย ไว้เลยว่าให้มีผลย้อนหลังกำหนดโทษไปตัดสิทธินักการเมืองที่มีคดีรออยู่ ๕ ปี เมื่อสักครู่ คุยกับ Whip ว่าขอ ๑๐ นาที ไปตัดสิทธิ แล้วก็มั่นใจว่าคุยกับกลุ่มการเมืองไปได้ ซึ่งผล ปรากฏว่าผลการเลือกตั้งพรรคพลังประชาชนภายใต้ Gene ของพรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้ง หลายคนพูดว่าครั้งนั้นมันปฏิวัติเสียของ เพราะฉะนั้นพอปี ๒๕๕๗ มีการปฏิวัติมันก็เลยเป็นที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญที่เราพูดกันว่ารัฐธรรมนูญร่างมา เพื่อพวกเรา ก็เลยมัดไว้หลายอย่างนะครับ อย่างเช่นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ สว. ที่ตอนนั้นทำประชามติว่าจะบอกว่ามาจากสภาพี่เลี้ยงมาจากหลากหลายอาชีพ สุดท้าย ก็มาจากข้าราชการที่มีประสบการณ์ด้านความมั่นคงมากำหนดทิศทาง มัดแค่นั้นไม่พอ ยังกำหนดไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๕๖ (๓) กับ (๖) เสียง สส. ไม่พอ เสียงข้างมาก ต้องมีเสียง สว. ไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ผมจำได้สภาชุดที่แล้วช่วงที่กระแสแรง คนอยากแก้รัฐธรรมนูญช่วงแรกวาระ ๑ สว. สส. เห็นด้วยหมด พอเสียงของประชาชน เริ่มแผ่ววาระ ๓ ปรากฏว่าแม้ สส. จะเห็นด้วยเกือบ ๕๐๐ แต่ สว. เห็นด้วยไม่ถึง ๘๐ รัฐธรรมนูญนั้นก็ไม่ผ่าน แสดงให้เห็นว่า สว. จาก ๘๐ คนมีเสียงมากกว่า สส. ซึ่งมาจาก พี่น้องประชาชน ๕๐๐ คน เลือกตั้งมาใหม่ ๆ ผมอยากจะแก้จุดนี้ ปรากฏว่าติดที่ มาตรา ๒๕๖ (๘) บอกว่าถ้าจะแก้หมวด ๑๕ ต้องทำประชามติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ผมก็คิดว่าการจะทำประชามติเราต้องรอบคอบ เพราะว่ารัฐธรรมนูญเขาเขียนมัดไว้หลายปม เราจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เราต้องรอบคอบ ที่เพื่อนสมาชิกเสนอมาหลายอย่างดีนะครับ แต่เพื่อความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญประเด็นไหนที่เราควรจะแก้ ในส่วน ของ สสร. ผมฟัง สว. เขาอภิปรายว่าเขาไม่เห็นด้วยที่จะตั้ง สสร. ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เขาบอกว่ามันเหมือนตีเช็คเปล่า ในกระแสสังคมที่เลือกตั้งมาตอนนี้ไม่รู้จะไปทิศทางใด บางส่วนผมก็ต้องรับฟังความคิดเห็นก็เป็นจริงนะครับ ผมว่าถ้าตั้งมา ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นผมเองก็อาจจะนำเสนอซึ่งต่างจากเพื่อนสมาชิก ซึ่งได้ทราบข่าวว่ารัฐบาลเอง ก็มีนโยบายรับเป็นการศึกษาในเรื่องของประชามติ ในเรื่องของรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าตัวผู้ร่าง สสร. น่าจะมาจาก สส. เรา ๕๐๐ คน ตั้งตัวแทนเข้าไปเลย ๑๕๐ คน เพราะว่าถ้าเราตั้ง รัฐธรรมนูญโดยผ่าน สสร. นี่มันไม่ผ่านสภานะครับ ไปรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านที่ผ่านมามันเป็นแค่พิธีกรรม หลายครั้งเขามีธงอยู่แล้ว มีแต่ชาวบ้านมาระบาย สุดท้ายก็เอาตามเดิม เพราะฉะนั้นไม่เกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้น ผมจึงบอกว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญทุกที เราต้องเอามาจากทุกส่วน ไม่ว่าจะจาก สส. ทั้ง ๕๐๐ คน เราส่งตัวแทนเราไปเสนอความเห็น จาก สว. ให้เป็นพี่เลี้ยงเขาระแวงระวัง ก็ส่งตัวแทนไปสัก ๒๐ คน ๓๐ คน ๕๐ คน และจากการเลือกตั้งก็ตั้งมาเลย ๒๐๐-๓๐๐ คน เอา ๔๐๐-๕๐๐ คนมาพิจารณา ผมว่าถ้าอย่างนี้เราจะได้คนจากหลากหลาย เพราะฉะนั้น จากข้อมูลที่ผมนำเสนอ ณ วันนี้ก็ฝากให้เพื่อนสมาชิกได้พิจารณา ส่วนญัตติที่เพื่อนสมาชิก เสนอมา เห็นด้วยในหลักการ แต่ว่าไม่เห็นด้วยในรายละเอียดและวิธีการเพราะรัฐบาล ก็จะดำเนินการอยู่แล้ว และเพื่อความรอบคอบจึงเสนอข้อมูลมาประกอบวินิจฉัย ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบพระคุณเพื่อน ๆ ที่รวมญัตติในเรื่องของการแก้ไขระบบ ประปาทั้งระบบ เลยทำให้ผมมีโอกาสได้อภิปรายในเรื่องของการประปาส่วนภูมิภาคซึ่งเป็น ประปาผิวดิน ซึ่งถ้าทางรัฐไม่แก้ไขมันก็อาจจะไปเข้าญัตติว่าทำให้ประปาไหลเบา ที่ผ่านมา ผมก็อยากจะฝากเป็นข้อสังเกตว่าในช่วง ๗-๘ ปี ผมว่าปัญหาใหญ่คือการประสานงาน ระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค ทำไมผมถึงว่าเป็นอย่างนั้น ผมสังเกตการพัฒนาการประปา ผมยกตัวอย่างของจังหวัดน่านเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว ที่ผ่านมาเขาก็บริหารจัดการดี ซึ่งการประปาส่วนภูมิภาคของจังหวัดน่านดูแล ๓ หน่วยบริการ อันแรก บริการในเขต อำเภอเมืองและอำเภอภูเพียง ตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ เขาก็ไปลงมือแล้ว ๘๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ในการเพิ่มกำลังการผลิต ปี ๒๕๒๓ อีก ๒๐๐ ลูกบาศก์เมตร พอปี ๒๕๔๓ ปรับปรุงอีก ๔๐๐ ลูกบาศก์เมตร แต่ปัจจุบันนี้ ๒๐๐ กับ ๘๐ ใช้ไม่ได้ ก็เลยทำให้มีปัญหา โดยเขาเดินน้ำ จากเขตน้ำน่าน มีน้ำทั้งปี ๓ กิโลเมตรมาที่แถวราษฎร์อำนวย แล้วก็จ่ายน้ำไปในพื้นที่บริการ เทศบาลเมืองน่าน แล้วก็อำเภอเมืองน่าน มีตำบลดู่ใต้ ตำบลไชยสถาน และตำบลผาสิงห์ ส่วนอำเภอภูเพียงก็จะมีม่วงตี๊ดกับฝายแก้ว นอกจากนั้นก็จะมีหน่วยบริการของที่อำเภอเวียงสา แล้วก็อำเภอนาน้อย ซึ่งทางการประปาของน่านเขาก็วางแผนไว้ล่วงหน้า เพราะว่าไม่ใช่รอน้ำ ไม่มีแล้วค่อยวางแผน เขาวางแผนว่าตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ถึงปี ๒๕๗๑ เค้าจะขยาย เขาก็เลย ตั้งงบไว้ ๒๘๗,๘๑๕,๐๐๐ บาท คือโครงการนี้เราจะเดินท่อน้ำปรับปรุงระบบน้ำ เดินท่อ แล้วก็ปรับปรุงเครื่องสูบน้ำจากน้ำน่านมาที่หน่วยจ่ายน้ำราษฎร์อำนวย แล้วก็เดินท่อมาที่ อำเภอภูเพียง ระยะทาง ๘.๗๑ กิโลเมตร บริเวณข้างอำเภอ ๑๕ ไร่ ซึ่งจะมีตัวกรองน้ำ ตัวเก็บน้ำอีก ๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งโครงการนี้ถ้าสำเร็จก็จะขยายน้ำในพื้นที่เพิ่มเติม โดยตำบลท่าน้าว ตำบลน้ำแก่น ตำบลน้ำเกี๋ยน ส่วนพื้นที่บริการเดิมของไชยสถานก็ขยาย ไปถึง ม. พัน ๑๕ แล้วก็อีกหลาย ๆ พื้นที่ แต่ว่าปัญหามันเกิดขึ้น ส่วนอำเภอนาน้อยกับ อำเภอเวียงสาก็มีการปรับปรุงท่อ ทีนี้ปัญหามันเกิดขึ้นว่าตรงพื้นที่ที่จะใช้ที่ติดอำเภอ ๑๕ ไร่ บังเอิญมันเป็นพื้นที่ป่าก็ต้องไปเสียเวลาเดินเรื่อง ทำเรื่อง ซึ่งในที่สุดปี ๒๕๖๓ ทางสำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ก็อนุมัติเรียบร้อยให้ใช้พื้นที่ได้ ก็เลยมีปัญหา พอหลังจากทำถอนสภาพเสร็จตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ทางการประปาส่วนภูมิภาคสาขาน่านก็เลย เริ่มที่จะปรับตัวเลขใหม่ มีตรงไหนที่จะขยายบ้าง ซึ่งปรากฏว่าหน่วยงานก็ไปสำรวจตรวจสอบ ตั้งแต่นั้นจนวันนี้ตรวจสอบเสร็จก็ยังไม่สามารถรู้ว่าจะต้องใช้งบเท่าไร เมื่อสมัยรัฐบาลชุดที่ ๒๕ ภรรยาผม ท่าน สส. สิรินทรก็มีโอกาสอภิปรายเรื่องนี้ ๒๘๗ ล้านบาทน่าจะปรับเป็นเท่าไร จะได้ผลักดันต่อไป ก็ยังไม่ได้ดำเนินการ หลังจากเปิดสภามาใหม่ ๆ ผมก็มีโอกาสอภิปราย หารือว่าเมื่อไรจะส่งช่างไปสำรวจตรวจสอบแล้วก็ปรับตัวเลขว่ามันเท่าไร จะได้ของบ อย่างน้อยจะได้ทันงบปี ๒๕๖๘ ก็ยังดี ก็ยังไม่ไปนะครับ วันนี้ผมก็เลยมานำเสนอว่า มันขาดการล่าช้าเพราะอะไร อย่างน้อยเดิมกะว่าถ้ามันไม่ทันปี ๒๕๖๘ ปี ๒๕๖๗ ทันปี ๒๕๖๘ ก็ยังดี แต่ธันวาคม ต้องส่งงบปี ๒๕๖๘ แล้ว คาดว่าคงไม่น่าจะทัน ก็อยากจะฝากเร่งรัดให้กระทรวงมหาดไทย ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบแล้วก็ไปปรับตัวเลข อย่างน้อยปี ๒๕๖๙ จะได้ทัน จากแผนที่เขา กะว่าปี ๒๕๗๑ ก็ฝากไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันที่ ๙ กันยายน เดือนที่แล้ว โชคดีของ คนเมืองน่าน ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านอนุทินท่านขับเครื่องบินส่วนตัว ไปจังหวัดน่าน ไปไหว้พระที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ๖๐๐ กว่าปี และวัดภูมินทร์ อีก ๔๐๐ กว่าปี ชาวบ้านดีใจ ก็หวังว่าท่านจะเมตตาส่งช่างทีมงานไปให้คนจังหวัดน่านดูแล จะได้ดีใจ บุญใดไหนจะใหญ่เท่าบุญที่ท่านจะให้น้ำประปาแก่เมืองน่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต กว่า ๗๐๐ ปี ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพและ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นก็ต้องขอแสดงความขอบคุณที่พี่น้องภาคเอกชนที่เสนอ พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองเข้ามา เพราะว่าชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมาก แล้วจะได้มีการจัดเป็นระบบ ระเบียบ โดยเฉพาะจังหวัดน่านบ้านผมก็มีอยู่หลายชาติพันธุ์ครับ
ชาติพันธุ์แรกก็คือพี่น้องม้งนะครับ พี่น้องม้ง ก็จะมีเอกลักษณ์ของเขา แล้วก็จะมีตัวหนังสือเป็นภาษาอังกฤษ แต่ว่าพูดเป็นภาษาจีน ช่วงเทศกาลเขาก็จะจัดฉลองปีใหม่ม้งช่วงเดือนธันวาคม เดือนมกราคม ปีนี้เขาจะจัด วันที่ ๑๑ มกราคม พี่น้องภาคประชาชนที่สนใจไปเที่ยวได้ในจังหวัดภาคเหนือ จังหวัดน่าน ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มกราคม ซึ่งเขาจะมีประเพณีต่าง ๆ มีตระกูลแซ่เขาจะเคารพนะครับ แซ่ลี แซ่ว่าง แซ่เฮ่อ โดยเฉพาะที่ผมไปประชุมกับเขามีอย่างหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ก็คือบอกว่าคนแซ่ เดียวกัน ชาติพันธุ์เดียวกัน อาจจะแต่งงานกับชาติพันธุ์อื่นได้ แต่ถ้าชาติพันธุ์เดียวกัน พี่น้องม้งถ้าแซ่เดียวกันถึงจะอยู่อเมริกากับเมืองไทยก็ไม่สามารถแต่งงานกันได้ อันนี้ก็เป็น ที่แปลก ๆ นะครับ
ต่อไปชาติพันธุ์ที่ ๒ คือพี่น้องเมี่ยนนะครับ พี่น้องเมี่ยนที่น่าน พี่น้องม้ง ต้องขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีทักษิณด้วยนะครับ ท่านออกบัตรประชาชนให้ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๘ ต้องขอขอบคุณมาก ๆ พี่น้องเมี่ยนก็เป็นอีกชาติพันธุ์หนึ่งที่อยู่ที่จังหวัดน่านเยอะ ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นตัวหนังสือคล้ายตัวหนังสือจีน แล้วช่วงปีใหม่ก็จะฉลองพร้อมกับตรุษจีน ก็เชิญนักท่องเที่ยวไปเที่ยวได้ในจังหวัดน่าน แล้วจังหวัดภาคเหนือจะมีเทศกาลปีใหม่เมี่ยน อันนี้เป็นปีใหม่เมี่ยนนะครับ พี่น้องเมี่ยนส่วนใหญ่อาชีพเขาก็จะเป็นน้ำเต้าหู้กับเครื่องเงิน โดยเฉพาะเทศกาลตรุษจีนจะหาน้ำเต้าหู้กินยาก เพราะว่า ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ของคนขาย น้ำเต้าหู้ทั่วประเทศเป็นพี่น้องเมี่ยน แล้วกางเกงที่เขาใส่นี้กว่าจะปักได้ปีหนึ่งกว่าจะเสร็จ ตัวละเป็นแสน แล้วก็มีใส่เครื่องเงินนะครับ
ต่อไปพี่น้องชาติพันธุ์ที่ ๓ อพยพมาจากจีนเหมือนกัน แต่เป็นทางตอนใต้ ของยูนนาน ก็คือออกอพยพจากสิบสองปันนาคือพี่น้องไทลื้อ ก็อพยพมาอยู่แถวภาคอีสาน และภาคเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่จังหวัดน่านเขาก็จะมีการไหว้บรรพบุรุษเขาที่อพยพมา เจ้าหลวง ของเขาทุก ๆ ประมาณเดือนธันวาคม แล้วก็ทุก ๓ ปี ๔ รวงข้าว เขาก็จะจัดพิธีไหว้ใหญ่ ของเมืองน่านก็เพิ่งจัดไป เมื่อวันที่ ๙ วันที่ ๑๐ วันที่ ๑๑ ที่ผ่านมาเป็นของเจ้าหลวงเมืองล้า จริง ๆ มีหลายเจ้าหลวง หลายเมืองที่อพยพลงมา ซึ่งแต่ละเจ้าหลวงเขาก็จะไหว้แตกต่างกันไป แต่ละปีไปเที่ยวกันได้นะครับ
นอกจากไทลื้อ ชาติพันธุ์ถัดไปก็เป็นไทพวน คือไทพวนนี้ก็อพยพมาจากลาว ติดกับเมืองพวน ซึ่งอยู่ติดกับประเทศเวียดนาม ปัจจุบันเป็นแขวงเชียงขวาง เขาก็จะมี เอกลักษณ์ของเขา ซึ่งก็โชคดีจังหวัดน่านจะจัดงานไทพวนโลก วันที่ ๒๗ มกราคมนี้ ก็เชิญนักท่องเที่ยวไปเที่ยวกันได้นะครับ ซึ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่ผมพูดยกตัวอย่าง คือแต่ละ ชาติพันธุ์นี้เขาจะมีเอกลักษณ์ของเขา มีขนบธรรมเนียม ซึ่งก็โชคดีขอบคุณที่ทาง ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ของทางกลุ่มที่บอกว่ามี ๖๐ ชาติพันธุ์นี้ได้รวบรวมต่าง ๆ ไว้ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง ไทใหญ่ มอญต่าง ๆ แต่นอกจากนี้ก็อาจจะมีบางชาติพันธุ์ ซึ่งไม่ทราบว่าได้สำรวจหรือเปล่า อย่างจังหวัดน่านบ้านผมนี้เราก็มีเจ้าผู้ครองนคร หมายถึงว่าเป็นชาติพันธุ์หนึ่ง ตั้งแต่ พญาขุนฟอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๘๒๕ ประเทศเราเล็กอาจจะแพ้ ก็อาจจะขึ้นกับล้านนา ขึ้นกับ อังวะ แล้วจนมาขึ้นกับสยามประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๑ เรามีตัวหนังสือเมืองเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงอย่างของเชียงใหม่เองเขาก็เป็นอาณาจักร ๆ หนึ่ง เพราะฉะนั้นการที่เราจะรวบรวม ชาติพันธุ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ดีที่ผมเห็นด้วย เพียงแต่ว่าจากร่างที่ผมได้ศึกษาที่ทางท่าน ได้เสนอมา ผมมาดูแล้วมันอาจจะขาดความสมบูรณ์ในบางเรื่องครับ ต้องขอบคุณที่ท่านร่างมา ผมก็พยายามไปร่างของผมที่จะยกร่างออกมา จะได้เสนอเกี่ยวกับสภาชนเผ่าพื้นเมืองแล้ว เราน่าจะขยายความของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในจังหวัดน่านเข้าไปด้วย ผมกำลังกะว่า ถ้าสภารับหลักการผมก็จะไปแปรญัตติ แต่ถ้าขอรับไปพิจารณาเสร็จก็อาจจะเสนอ ร่างของผม คืออย่างน้อยเราน่าจะขยายความของคำว่า ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในร่างของผมที่ผม กำลังร่างก็คือจะให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เขาออกหลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ให้ชาติพันธุ์ต่าง ๆ รวบรวมกัน แล้วก็ไปแจ้งจดทะเบียนต่อกระทรวง แล้วจากนั้นเขาก็ตั้งคณะกรรมการมาออกระเบียบ กติกา เพราะว่าแต่ละชาติพันธุ์เขามี ระเบียบ มีกติกา มีฮีตฮอย มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แล้วพอหลังจากนั้นแต่ละชาติพันธุ์ ก็มีจำนวนปริมาณไม่เท่ากัน ก็จะเป็นสัดส่วนตามมาตรา ๖ ที่จะเข้าสู่สภานี้ว่าในสภาชนเผ่า ของท่านสัดส่วนของชาติพันธุ์เท่าไรที่จะเข้าไปสู่สภา เพราะฉะนั้นผมดูแล้วยังมีหลาย ๆ เรื่อง ที่อาจจะต้องมีการปรับปรุง แต่อย่างไรก็ตามผมก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีการนำเสนอ ในส่วนของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ แต่ก็จะฝากติงว่าจะต้องมีข้อแก้ไขอยู่หลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งก็ได้ รับทราบว่า ถ้าเผื่อรัฐบาลจะขอรับไปพิจารณาก่อนผมก็อาจจะร่างของผมมาผลักดันมา ประกบถ้ารัฐบาลส่งกลับมา แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่น่ายินดีที่อย่างน้อยภาคเอกชนได้เสนอมา ที่รวบรวมทั้ง ๖๐ ชาติพันธุ์ นำมาเสนอสู่สภาแห่งนี้ ก็หวังว่าเราได้เริ่มต้นแล้วก็หวังว่าอีกหน่อย เราจะมีกฎหมายที่จะมาดูแลชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มาอยู่ในประเทศไทย เพราะถ้าเราสามารถ รวบรวมได้ เวลาเขามาดำเนินการต่าง ๆ จัดงานระดับโลก ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อยู่ทั่วโลก บางครั้งผมเห็น ปีที่แล้วจังหวัดน่านจัดเมี่ยนโลกขนาดเป็นโควิดก็อาจจะมีบางส่วน ที่มาร่วมงาน เพราะฉะนั้นมันก็เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมเศรษฐกิจ แล้วก็เป็น Soft Power อย่างหนึ่ง เพราะว่าแต่ละชาติพันธุ์ก็มีเอกลักษณ์ มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เพราะถ้าเราสามารถเอามารวบรวมกันได้จดทะเบียน แล้วก็จะเอาข้อดีของเขามารวบรวมกันได้ ก็จะเป็นการ Promote ประเทศไทย ก็ขอขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขอเสนอ ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา ความเป็นไปได้ ในการเปลี่ยนปีงบประมาณให้เหมาะสมแก่ฤดูกาล เพื่อการแก้ไขปัญหา ทางสังคม การลงทุน และการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ขออนุญาต อ่านในตัวญัตตินะครับ จะได้สมบูรณ์ กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจาก กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ รายจ่าย การควบคุมงบประมาณ รวมถึงการประเมินและการรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ของประเทศ ที่มีลักษณะมุ่งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงบประมาณเป็นสำคัญ โดยใน มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ กำหนดไว้ว่าปีงบประมาณ หมายความว่าระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ของปีหนึ่ง ถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปเป็นชื่อสำหรับปีงบประมาณนั้น แต่ด้วยข้อกำหนดปีงบประมาณ ตามกฎหมายดังกล่าว น่าจะมีความไม่สอดคล้องอาจไม่เหมาะสมกับฤดูกาล และเป็น อุปสรรคต่อการจัดสรรงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม การลงทุน และการขับเคลื่อน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และกระบวนการจัดสรรงบประมาณของประเทศที่มีลักษณะ มุ่งเป้าหมายและผลลัพธ์ของบประมาณเป็นสำคัญ กล่าวคือด้วยระบบงบประมาณ ที่กำหนดให้ปีงบประมาณแบบเดิม รัฐบาลจะเริ่มจัดเก็บรายได้หรือมีรายได้ภาครัฐในช่วง เดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม และเริ่มจัดสรรงบประมาณรายจ่ายสำหรับการลงทุน การพัฒนาเศรษฐกิจ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนหรือช่วงไตรมาส ๔ ดังนั้น จึงควรที่จะกำหนดปีงบประมาณให้สอดคล้องกับผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล และการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลให้เหมาะสมแก่ฤดูกาล สอดคล้องกับใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหากับสังคม การลงทุน การขับเคลื่อน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และกระบวนการจัดสรรงบประมาณของประเทศที่มีลักษณะมุ่งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ ของงบประมาณเป็นสำคัญ เพื่อสนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาของประเทศและประชาชน รวมถึงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์ สำคัญของแผ่นดิน หรือมีความจำเป็นรีบด่วนในการที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ดังนั้นผมจึงขอเสนอญัตติด่วนดังกล่าว ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๕๐ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาดำเนินการตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญขึ้นมาศึกษาความเป็นไปได้ ในการเปลี่ยนปีงบประมาณให้เหมาะสมแก่ฤดูกาล เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสังคม การลงทุน และการขับเคลื่อนเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และส่งผลให้รัฐบาลรับไปพิจารณา ซึ่งรายละเอียดจะได้ขออภิปรายดังต่อไปนี้นะครับ คือเมื่อสมัยประชุมที่แล้วตอนวาระที่สภาพัฒน์ได้มารายงานในเรื่องของแผนปฏิรูปประเทศ และยุทธศาสตร์ของชาติ ผมได้เคยเสนอแนะทางสภาพัฒน์ว่างบประมาณของประเทศ ไม่แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ เพราะกว่าจะเริ่มได้บริหารใช้งบจริง ๆ มันเป็นหน้าฝน และประมาณปลายไตรมาส ๓ ต่อไตรมาส ๔ อยากให้สภาพัฒน์ไปศึกษา เพราะผมก็เชื่อว่า ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้สภาพัฒน์คงไม่ไปศึกษาหรอกนะครับ เพราะฉะนั้นมันเป็นงาน นโยบาย ผมก็เลยจึงนำเรื่องนี้เสนอเป็นญัตติสู่สภา เพื่ออย่างน้อยจะได้อธิบายรายละเอียด ให้เพื่อนสมาชิกได้เข้าใจ แล้วเพื่อนสมาชิกที่เห็นด้วยก็จะได้แสดงความคิดเห็นนะครับว่า ศักยภาพของปีงบประมาณในปัจจุบันนี้มันเหมาะสมหรือเปล่า มันดีที่สุดไหม ถ้าเรา เปลี่ยนแปลงปีงบประมาณ เราสามารถที่จะทำให้ศักยภาพในการบริหารประเทศมันดีขึ้น แค่ไหน เพียงไร ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงปีงบประมาณเราก็ต้องมีความเข้าใจของปีงบประมาณ ตั้งแต่ปี ๒๔๑๘ เรามีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในสมัยพระจุลจอมเกล้า จนมาปี ๒๔๕๖ ในสมัยพระมงกุฎเกล้าที่ให้กระทรวงรวบรวมรายจ่ายให้แล้วเสร็จคำร้องขอภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม และเพื่อทูลเกล้าถวายต่อพ่ออยู่หัว เพราะฉะนั้นพอปี ๒๔๗๕ พอเปลี่ยนแปลง การปกครอง ก็ตรา พ.ร.บ. งบประมาณครั้งแรกก็ล้อตามแบบเดิม คือเริ่มปีงบประมาณในวันที่ ๑ เมษายน สิ้นสุดวันที่ ๓๑ มีนาคม แต่พอปี ๒๔๘๑ สมัยท่านอาจารย์ปรีดี ท่านหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ท่านก็คิดว่าปีงบประมาณช่วง ๑ เมษายน ไม่เหมาะสมนะครับ โดยท่านให้เหตุผลไว้ว่าเดือนเมษายนวันหยุดเยอะ แล้วการบริหาร งบประมาณควรจะทำงานโยธาต้องทำในฤดูกาลที่เหมาะสม แล้วก็ให้เสร็จฤดูกาลเก็บเกี่ยวก่อน ก็เลยกำหนดปีงบประมาณใหม่มาเป็นวันที่ ๑ ตุลาคม ซึ่งผมก็เห็นด้วย ณ ตอนนั้น ซึ่งต่อมา ในปี ๒๔๘๓ ก็มีการเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งนะครับว่าควรจะเปลี่ยนเป็นสากลตามปีปฏิทิน ปีงบประมาณก็มาเริ่มต้นที่ ๑ มกราคม พอจนปี ๒๕๐๒ ก็ได้กลับมาใช้วันที่ ๑ ตุลาคม เหมือนเดิม โดยเหตุผลเหมือนอย่างที่ท่านอาจารย์ปรีดี ซึ่งการที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการ ตั้งไตรมาสแรกหรือวันแรกของปีนี้ เหตุผลของแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกันนะครับ อย่างของอังกฤษก็เริ่ม ๖ เมษายน อเมริกา ๑ ตุลาคม ออสเตรเลีย ๑ กรกฎาคม ญี่ปุ่น ฟินแลนด์ จีน ฝรั่งเศส เริ่ม ๑ มกราคม อินเดีย ฮ่องกง ๑ เมษายน สำหรับประเทศไทยเรา ในช่วงแรกนี้ผมก็เห็นด้วยนะครับ คือเวลาเราจะทำปีงบประมาณมันต้องสามารถบริหาร ประเทศได้ สามารถจัดซื้อจัดจ้างหน่วยงานของรัฐบริหารได้ แต่ในระยะหลังผมสังเกต หลังจากประเทศไทยเรามีรายจ่ายมากขึ้น ปีงบประมาณของประเทศสังเกตดูดี ๆ นะครับ ๗๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ เป็นรายจ่ายประจำ ซึ่งเป็นหมวดของเงินเดือน ค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมทั้งภาระดอกเบี้ยที่รัฐจะต้องพึงจ่าย รัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัยมีโอกาสบริหารประเทศ ในงบลงทุนเพียง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ บวกลบนะครับ เพราะฉะนั้นพอเริ่มไตรมาสแรกของแต่ละปี คือตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม ถ้าพวกเราสังเกตดี ๆ ส่วนใหญ่รัฐก็จะมุ่งแต่ค่าใช้จ่าย ที่เป็นรายจ่ายประจำ แต่อย่างในงบลงทุนจะต้องรอเก็บภาษีก่อน แล้วเราเก็บภาษีเดือนไหน ภาษีเราเริ่มเข้าเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นปลายไตรมาส ๒ กว่าเงินจะเข้าสู่สำนักงบ กว่าสำนักงบ กระทรวงการคลังจะกระจายไปสู่ กระทรวง ทบวง กรม เพื่อไปจัดซื้อจัดจ้างก็เป็นประมาณ ปลายไตรมาส ๓ ต่อไตรมาส ๔ ซึ่งก็ปรากฏว่าช่วงนั้นมันเป็นช่วงหน้าฝน ฝนเป็นอุปสรรค แล้วหน่วยงานของรัฐก็บริหารจัดการงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างหรือบริหารงบประมาณเพียง ประมาณไตรมาสเดียวหรือไตรมาสเศษ ๆ ซ้ำเป็นหน้าฝน อะไรเกิดขึ้นครับหลายโครงการ ของรัฐที่มีปัญหาที่ฝนเป็นอุปสรรคทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพ ถ้าเป็นงบผูกพัน ๒-๓ ปี อันนั้นไม่มีปัญหา หน่วยงานของรัฐบริหารได้ แต่งบที่เป็นภาระภายในปีเดียวมักจะเกิดปัญหา ผมยกตัวอย่างเช่น ถนนหนทาง เราไปทำหน้าฝน ปรากฏมีปัญหาทุกที่หลายที่ต้องกัน งบเหลื่อมปี บางที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงการ เพราะกลัวเงินตกและบางครั้งบางคราว บางพื้นที่ในหน้าฝนประสิทธิภาพงานก็ไม่ดี ก็ส่งผลให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในการตรวจรับงาน มันไม่เหมาะสมนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็คิดว่างบมันมาในหน้าฝน และหน่วยราชการ เขาก็ต้องรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณมันก็เลยเกิดปัญหา นอกจากนี้ ถ้าเราสังเกตดี ๆ ในช่วงปลายปีงบประมาณ หน่วยงานของรัฐก็จะต้องพยายามใช้ งบประมาณให้หมด ไม่อย่างนั้นจะไม่มีประสิทธิภาพ อย่างงบศึกษาดูงานงบจัดอบรม อันนี้ ไม่มีปัญหา เพราะว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเดือนไหนก็ได้ แต่บางครั้งบางคราวผมเห็น บางจังหวัดมันมีงบที่เอา ชาวบ้าน เอาสินค้า OTOP ไปขายด้วยนะครับ มี Event ขายของ ต่าง ๆ ปรากฏว่าแทนที่จะเลื่อนหรือทำเหลื่อมปี ขอไปจัดพฤศจิกายน ธันวาคม จะได้กระตุ้น ยอดขาย เพราะฉะนั้นหน่วยงานก็เริ่มจัดเพื่อให้เสร็จก่อนปีงบประมาณปรากฏว่าขายไม่ได้ เพราะมันหน้าฝน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันมีปัญหานะครับ ผมก็คิดว่ามันน่าจะต้องมีการแก้ไข เพราะการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพอย่างน้อยหน่วยงานของรัฐเขาควรจะมีโอกาส ได้บริหารงบประมาณของเขาไม่ต่ำกว่า ๒-๓ ไตรมาส เขาจะได้บริหารได้เต็มที่ และบริหาร ในเดือนที่มันสามารถดำเนินการได้ ในขณะที่บ้านเราตามสภาพความเป็นจริงกว่าหน่วยงาน ของรัฐจะได้บริหารก็เหลือประมาณไตรมาสเดียวหรือไตรมาสเศษ ฉะนั้นผมก็เลยเห็นว่าเรื่องนี้มันมีปัญหาแล้วน่าจะต้องมีการแก้ไข ซึ่งการแก้ไขมันมีอยู่ ๒ วิธี วิธีแรกคือเราจัดเดือนที่เก็บภาษีใหม่เลย อันนี้ยุ่งวุ่นวาย ผมไม่เห็นด้วย ประเทศยุ่งวุ่นวาย วิธีที่ ๒ คือวิธีที่ผมเสนอ ก็คือเราเปลี่ยนแปลงปีงบประมาณใหม่ เปลี่ยนไตรมาสใหม่ เราจะกำหนดว่าเดือนไหนที่เราจะมีศักยภาพที่สุด กำหนดให้เป็นต้นของปีงบประมาณ ซึ่งวิธีแก้วิธีนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ ๓ ปีเต็มที่ คือปีหนึ่งถ้าเราทำสำเร็จปุ๊บ ปีหนึ่งงบประมาณ มันอาจจะสั้นกว่าเดิมหรือยาวกว่าเดิม ถ้าปีแรกสั้น ปีที่ ๒ ก็ยาว ถ้าปีแรกยาว ปีที่ ๒ ก็สั้น ส่วนปีที่ ๓ งบประมาณก็จะปกติ ๑ ปี เราก็จะได้เดือนไตรมาสตามที่เราต้องการ แต่เพื่อนสมาชิกอาจจะสงสัยถ้าไตรมาสมันสั้นลง และปีนั้นมันสั้นลงจะเป็นไปได้ไหม เราจะบริหารประเทศอย่างไร อันนี้ก็เชื่อว่าเพื่อนสมาชิกคงจะเห็นว่าบางครั้งเรามีการเลือกตั้ง เวลาบริหารงบประมาณจัดสรรงบประมาณ มันก็ล่าช้าลงมา ดูอย่างงบปี ๒๕๖๗ นี้กว่าจะ เข้าสภามีการเลือกตั้ง Late มา เข้าวาระ ๑ เมื่อมกราคมกว่าจะผ่าน ๒ ๓ ว่าจะเริ่มประกาศ ออกมาใช้ก็พฤษภาคมมีเวลาบริหารแค่ ๕-๖ เดือน เพราะฉะนั้นผมว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะฉะนั้นผมก็เห็นว่าน่าจะได้มีการศึกษาเรื่องนี้ เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์กับประเทศชาติ เพราะผมเชื่อศักยภาพถ้าเรามีปีงบประมาณใหม่ที่ดีขึ้น ผมว่ามันจะส่งผลต่อนโยบายของรัฐ ก็จะทำได้อย่างเต็มที่ หน่วยงานของรัฐก็จะมีเวลาบริหารงบประมาณได้อย่างเต็มที่ คู่สัญญา ของรัฐก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อพี่น้องประชาชน เวลา ๓ ปี ต้องศึกษานะครับ ผมจึงเสนอเรื่องนี้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าเรื่องนี้ จะต้องทำสำเร็จในรัฐสภาชุดที่ ๒๖ นี้ เพราะต้องใช้ เพราะฉะนั้นอาจจะชุดไหนก็ได้ต้องใช้ เวลา ๓ ปี ต้องศึกษานะครับ เพราะฉะนั้นอาจจะชุดไหนก็ได้แต่ว่ามันจะเป็นประโยชน์แก่ ประเทศชาติ ผมหวังว่าจะได้มีการศึกษาว่าเดือนไหน มันน่าจะเหมาะสมที่สุดที่จะเป็น ไตรมาสแรก เอาจากสภาวะเป็นจริงตามงบที่เงินมันจะออก ไม่ใช่ตามที่เรากะว่าเดือนนี้ เหมาะสมที่จะลงทุน เพราะฉะนั้นผมจึงเสนอเรื่องนี้เข้าสู่สภาเพื่อมาพิจารณา หลายคน อาจจะพูดว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องใหม่ ไม่เคยทำ ทำกันมานานแล้ว เพราะครั้งที่แล้วปี ๒๕๐๒ หลายคนก็คิดว่ามันไม่น่าจะทำได้ มันเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับเรา สำหรับเรื่องใหม่นี้มันไม่ใช่ เรื่องยากที่เราจะทำ ถ้าเรามีความพยายาม ผมจำได้นะครับก่อนที่ผมจะมาเป็น สส. น่าน ในปัจจุบันนี้ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้วผมเป็น สส. หนองคาย ตอนนั้นตลิ่งโขงพังชาวบ้าน ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็เอาไม้ไผ่ไปปักชะลอน้ำ เอากระสอบทรายไปใส่ก็เอาไม่อยู่นะครับ ไม่มี หน่วยงานไหนมาทำ ผมเป็นคนแรกที่ยื่นญัตติขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับประเทศชาติ ที่เสียดินแดน เพราะแม่น้ำโขง หลายพรรคการเมืองก็ยื่นเข้ามาประกบ หลังจากนั้นก็ยื่นกระทู้ สอบถามรัฐบาล เสียงสะท้อนที่ตอบมาก็คือว่ามันเป็นเรื่องใหม่ ไม่เคยทำ แล้วก็ทำยาก เพราะจากตลิ่งโขงลงไปถึงน้ำโขงก็มีความสูง จากน้ำโขงลงไปสู่ช่วงใต้น้ำก็มีความสูง เพราะตอนนั้นจีนยังไม่ได้ทำเขื่อน และแถมแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำระดับประเทศอีก ทำยาก แต่รัฐบาลก็รับไปพิจารณา แต่หลังจากนั้น ๖-๗ ปี ผมก็เห็นกรมโยธาธิการเริ่มไปทำเขื่อน ป้องกันตลิ่ง มีการปรับแบบหลายครั้ง จนปัจจุบันผมเห็นมีการไปฝังเข็มอยู่เต็มลำน้ำโขง แล้วแถมมีถนนติดเขื่อนอีก เขื่อนที่เป็นแนวราบแนวเรียบก็ปรับเป็นขั้นบันไดให้ดูงาน ประเพณีแข่งเรือได้ แล้วก็ไม่แต่แม่น้ำโขงเท่านั้น ลำน้ำสาขาก็มีเขื่อน จุดนี้ที่ผมเอามา ชี้ให้เห็นก็คือว่าเรื่องที่เราไม่เคยทำเรื่องที่ยาก ถ้าเราได้มีการศึกษาผมว่าเราก็จะมีโอกาส สำเร็จ เหมือนอย่างที่ผมเสนอในเรื่องให้เราศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงปีงบประมาณ อย่างน้อยถ้าเราได้นับหนึ่งเพื่อเป็นการศึกษา มันก็จะมีการนับ ๒ เพื่อการพัฒนาและจะเห็น การพัฒนา เพราะฉะนั้นผมจึงขอเสนอเรื่องนี้ตามข้อบังคับการประชุมสภา ข้อ ๕๐ มาให้สภา ได้ช่วยกันใช้วิจารณญาณแสดงความคิดเห็นว่าศักยภาพของประเทศเราถ้าใช้งบประมาณตาม แบบเดิม มันเป็นแบบนี้ ถ้าเราเปลี่ยนปีงบประมาณใหม่ มันจะทำให้ศักยภาพในการบริหาร ประเทศดีขึ้นแค่ไหน เพียงไร หรือไม่ผมก็คาดหวังว่าสมาชิกจะให้ความร่วมมือพิจารณา แสดงความคิดเห็นนะครับ แล้วก็หวังว่าในชั่วชีวิตนี้ผมคงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง ปีงบประมาณของประเทศไทยไปในทิศทางที่ดีขึ้น เหมือนที่ผมได้มีโอกาสเห็นตลิ่งตลอด ลำน้ำโขง ขอบคุณครับ
สรุปนิดหน่อยครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้เสนอญัตติก็ขอสรุป คือจากที่ได้ฟังเพื่อนสมาชิกได้อภิปรายทุกคน ก็อภิปรายในทิศทางเดียวกันว่าปีงบประมาณของประเทศไทยของเรา มันไม่สามารถแสดง ศักยภาพได้แท้จริง มันมีปัญหาหลายจุดหลายส่วนอย่างที่เพื่อนสมาชิกหลายฝ่ายได้อภิปราย ก็เหมือนอย่างที่ผมได้อภิปรายไปว่าเดือนที่เหมาะสมที่จะทำตุลาคมก็ดี หรือจะเปลี่ยนเป็น มกราคม กุมภาพันธ์ ก็ดี ตามปีปฏิทิน ปัญหาใหญ่ของบ้านเราก็คือประเทศเราไม่เหมือน ต่างประเทศที่เขามีเงินเยอะ หรือเหมือนในอดีตที่เรามีเงินเพียงพอ ประเทศเรามันมี รายจ่ายเยอะกว่างบประมาณที่แท้จริง งบลงทุนจะออกมันต้องรอหลังจากเก็บภาษี ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝน ฉะนั้นผมก็ถึงชี้แนะว่าเราควรจะศึกษาทำอย่างไร ที่จะให้หน่วยงานของรัฐ เขามีเวลาในการที่จะบริหารงบประมาณที่เขาได้รับจากภาครัฐได้นานขึ้น ๒ หรือ ๓ ไตรมาส ส่วนจะเป็นเดือนไหน ผมไม่ได้ติดใจ ผมถึงอยากให้ตั้งกรรมาธิการขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้ว่า เดือนไหนเป็นเดือนที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้เกิดศักยภาพในการบริหารประเทศ มันแสดง ได้อย่างเต็มที่ ให้ตามความเป็นจริงที่เงินภาษีเราเข้า และที่สำคัญที่อยากให้ศึกษาก็คือว่า อย่างที่เพื่อนสมาชิกเป็นห่วง มันน่าจะมีผลกระทบจากหลาย ๆ เรื่อง เช่น ในเรื่องเกษียณ หรือเรื่องกฎหมายต่าง ๆ ฉะนั้นเราต้องศึกษาโดยรอบคอบหรือโดยละเอียด ผมถึงว่า ต้องตั้งกรรมาธิการขึ้นมาศึกษา ผมไม่ติดใจว่าจะตั้งกรรมาธิการวิสามัญหรือจะส่งไป กรรมาธิการสามัญ หรือถึงแม้จะส่งให้ภาครัฐบาลรับไปพิจารณา ผมก็ไม่ติดใจ แต่หวังว่า ถ้ารับไปแล้วคงจะมีหน่วยงานไหนมารับผิดชอบ มาพิจารณา ผมอยากเห็นการนับหนึ่ง ในการศึกษาเรื่องนี้ เพื่อจะเห็นการนับสองในการพัฒนา เพื่อหวังว่าจะเห็นการนับสาม ในการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นผมก็ฝากว่าให้รัฐไปพิจารณาดูว่าจะทำประการใด ผมขออย่างเดียว ขอให้ได้มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง อย่างน้อยเป็นการจุดประกายเริ่มต้น ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขอหารือท่านประธานผ่านไปยังกรมสรรพสามิตนะครับ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ผ่านมานี้ กลุ่มสุราพื้นบ้านขนาดเล็กได้มาปรึกษาหารือกับผมเกี่ยวกับระเบียบ ซึ่งปรากฏว่า ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๖ ที่รัฐสนับสนุนกลุ่มสุราพื้นบ้านของจังหวัดน่านมีประมาณร่วม ๕๐๐ กลุ่ม ซึ่งก็ต่อภาษีทุกปี เข้าตามหลักเกณฑ์ แม้ปี ๒๕๖๐ จะปรับจากต่อปีเป็น ๓ ปีที ก็ไม่มีปัญหา แต่พอกฎกระทรวงปี ๒๕๖๕ ข้อ ๑๗ ในเรื่องกฎกระทรวงผลิตสุรา (๑) เขากำหนดหลักเกณฑ์ ในข้อ จ ว่าโรงงานผลิตสุราจะต้องมีระยะห่างจากแหล่งน้ำสาธารณะไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ เมตร แล้วก็มีระบบบำบัดน้ำเสียตามกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีปัญหา เรื่องบำบัดน้ำเสีย แต่เรื่องใกล้จากแหล่งน้ำ บางครั้งบางคราวมันมีปัญหานะครับ คนที่มีศักยภาพก็สามารถย้ายได้ คนที่ไม่มีศักยภาพก็ไม่ได้รับการต่อใบอนุญาต ก็อยากจะฝากกรมสรรพสามิตให้กำหนด หลักเกณฑ์นะครับ ถ้าขนาดกลาง ขนาดใหญ่ อาจจะ ๑๐๐ เมตรไม่ว่า ขนาดเล็กนี้ขอเป็นสัก ๕๐ เมตรได้ไหมนะครับ เพราะว่าขนาดเล็กไม่เกิน ๕ แรงม้า ไม่เกิน ๗ แรงคน ถ้าขนาดกลาง ก็ตั้งแต่ ๗ แรงม้า ไม่เกิน ๕๐ คน แล้วก็ไม่เกิน ๕๐ แรงม้า อยากจะให้ปรับหลักเกณฑ์ตรงนี้ เพราะปัจจุบันเหลือแค่ ๑๐๐ กว่าโรงแค่นั้นเอง
อีกเรื่องหนึ่งนะครับ ที่กลุ่มสุราเขาฝากมาว่า ในเรื่องของแสตมป์ โดยเฉพาะ การผลิตสุราขาว ๓๕ ดีกรีเก็บค่าแสตมป์ ๓๗ บาท ๔๐ ดีกรีที่ขายดีเก็บ ๔๗ บาท แต่เขาเอา ไปขาย ๖๐ บาท แสตมป์ล่อไป ๔๗ บาท เหลือ ๑๓ บาท เป็นต้นทุน ค่าแป้ง ค่าน้ำ ค่าแรง ค่ายีสต์ ค่าขวดเหล้า แต่ก่อนนี้ยังไปเก็บขวดเหล้าเก่าเอามาขายได้ เดี๋ยวนี้ก็ติดลิขสิทธิ์นะครับ ต้องไปหามา ทำให้ Gap ตรงนี้มันเหลือนิดหนึ่ง ไม่มาก ก็อยากจะฝากพอจะลดหย่อน ในเรื่องของค่าแสตมป์ ซึ่งตรงนี้เป็นผู้ผลิตสุราขนาดเล็ก ก็ฝากให้ทางกรมสรรพสามิตให้ หาทางแก้ไข ซึ่งบางเรื่องบางราวก็อาจจะต้องรอกฎหมายนะครับ ผมเข้าใจ ผมจะพยายามไปร่างกฎหมาย เพื่อเอามานำเสนอต่อไป แต่ช่วงนี้อยากที่จะอนุโลมไปก่อนนะครับ ในเรื่องของระยะห่าง ในเรื่องของ ๑๐๐ เมตรก็ดี ๕๐ เมตรก็ดี รวมถึงแสตมป์ เพื่อพี่น้องประชาชนขนาดเล็กจะได้ ประสบความสำเร็จ แล้วก็มีกำลังใจในการทำงานต่อไปครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขออภิปรายในส่วนรายงานของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในเรื่องของการจัดทำข้อเสนอระบบ การเลือกตั้งและแนวทางการทำสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ก็อย่างที่ เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายส่วนใหญ่ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันมีที่มาจากหลังการปฏิวัติ รัฐประหาร เพราะฉะนั้นผู้ร่างมันเป็นเรื่องปกติ ใครเป็นคนร่างเขาก็เขียนเพื่อคนกลุ่มนั้น ถ้าประชาชนร่างก็เขียนเพื่อประชาชน สภาร่างก็อาจจะพี่น้องประชาชนด้วย สภาด้วย รัฐธรรมนูญนี้เขียนขึ้นมาภายหลังการปฏิวัติรัฐประหารก็มีการรัด มัดหลาย ๆ ข้อเพื่อที่จะ รักษาฐานอำนาจ ดูได้จากตัวอย่างก็คือมาตรา ๒๕๖ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นประเด็น หลัก เป็นประเด็นหัวใจ โดยเฉพาะ (๑) กับ (๓) สาระสำคัญมากเลยว่าแม้เสียง ข้างมากจะให้ความเห็นชอบ แต่ว่าถ้า สว. ๑ ใน ๓ ไม่เห็นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ก็ตกไป ผมเป็นผู้แทนใหม่ ๆ เคยมีความคิดว่าจะขอแก้ (๑) กับ (๓) นี้ แต่ปรากฏว่ามันติดที่ (๘) เขาบอกว่า ต้องทำเป็นประชามติถึงจะแก้ได้ ซึ่งตอนประชุมพรรคของผม ผมก็เสนอว่าน่าจะ แก้ตรงนี้ แต่ทางพรรคเพื่อไทยแล้วก็เพื่อนสมาชิกส่วนใหญ่ทั้งในสภาและทั่วประเทศคิดว่า มันควรจะมี สสร. ผมก็ไม่ว่ากันที่เราจะต้องมี สสร. มาเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจากที่ ทางกรรมาธิการรายงานมา ก็มาจาก ๓ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนระดับจังหวัด ตัวแทน ผู้เชี่ยวชาญ หรือว่าตัวแทนของกลุ่มหลากหลายก็เป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ก็คือ ในส่วนของการยึดโยงกับภาคประชาชนและพรรคการเมือง ก็ยังไม่มีข้อยุติว่า สสร. จะสามารถสังกัดพรรคการเมืองได้หรือไม่ เพียงไร สาเหตุที่ผมต้องพูดถึงสังกัดพรรคการเมือง ได้แค่ไหน เพียงไร บางทีเราอาจจะบอกว่า สสร. มันควรจะปลอดจากการเมืองไม่ควรจะมี การเมืองเข้าไปยุ่ง แต่อย่าลืมนะครับ อย่างที่เพื่อนสมาชิกเมื่อสักครู่ท่านพูดว่า คนที่รู้ใจ วิถีชีวิตทางการเมือง ประชาธิปไตยดีที่สุด และระบบรัฐสภาที่ดี รัฐธรรมนูญดีที่สุดก็คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพี่น้องประชาชนเลือกเข้ามา เขาจะรู้จุดรู้ข้อบกพร่อง ตอนแรก ผมคิดว่าเสนอแก้ (๘) ไป ขอทำประชามติ แต่เมื่อจะทำ สสร. ผมคิดว่าทำอย่างไรจะให้เขา มีการยึดโยงกับประชาชนได้ สิ่งนี้เป็นสาระสำคัญ เพราะที่ผ่านมาผมเห็นเวลาเอา ร่างรัฐธรรมนูญไปก็ดี หรือ สสร. กี่ชุด ๆ ที่ไปทำรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน ที่ผ่านมามันเป็นเพียงแค่พิธีกรรม เอางบหลวงไป จะแก้อย่างนี้ ๆ ใครจะเสนออะไรบ้าง ชาวบ้านก็ยกมือ คนนี้ก็เสนอแนะตั้งกลุ่มย่อย สุดท้ายก็เอาเหมือนเดิมทุกครั้ง เพราะฉะนั้น ผมเชื่อว่าตัว สสร. ที่ร่างขึ้นมาก็ไม่ต่างจากเดิม กระบวนการรับฟังความคิดเห็นมันมีปัญหา เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรที่จะให้ สสร. เขายึดโยงกับสายการเมืองด้วย เพราะว่าเรารู้จุดอ่อน รู้จุดด้อย ผมก็เลยอยากจะเสนอว่า สสร. ถ้าสังกัดพรรคได้ก็จะดี หรือในช่วงที่ สสร. เขากำลังร่างรัฐธรรมนูญที่จะแก้ไขนี้ควรจะต้องมาฟังข้อเสนอแนะจากรัฐสภา ทั้ง สส. และ สว. เราก็ต้องยอมรับ สว. ตามรัฐธรรมนูญนี้เขาก็มีสิทธิมีเสียงก่อนประชามติ เขาบอกว่า เหมือนตีเช็คเปล่า จริง ๆ ผมก็เห็นด้วยบางส่วนว่าเรามอบให้ สสร. เขาไปร่างมันก็เหมือน ตีเช็คเปล่า มันมีหลายประเด็นที่เราอาจจะไม่เห็นด้วยหรือเราอยากแก้ไข แต่ถ้ากระบวน การรับฟังความคิดเห็นมันเหมือนที่ผ่านมาในอดีตเราทำอะไรไม่ได้เลย เพราะผมมีหลายเรื่อง ที่อยากจะแก้ อย่างเช่นที่มาของ สว. ผมก็อยากจะแก้ใหม่ ทั้งการเลือกตั้งทางตรง หรือเลือกตั้งในปัจจุบัน ก็ไม่รู้จะไปนำเสนอที่ไหน หรือในเรื่องขององค์กรอิสระ หลายหน่วยงานคนเข้าใจว่ามัน ๒ มาตรฐาน เป็นเครื่องไม้เครื่องมือของผู้มีอำนาจ ก็อยากแก้ ให้มันสามารถทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีหลายเรื่องที่อยากนำเสนอ เพราะฉะนั้นในส่วน ของ สสร. จะมีรูปแบบแค่ไหน เพียงไร อันนี้เป็นสาระสำคัญ ผมก็อยากจะฝากไว้ให้ กรรมาธิการไปพิจารณาด้วย เพราะไม่ใช่ว่าเราคิดว่าเราจะมี สสร. อย่างเดียว เราต้องคิดว่า เราจะต้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้นให้ได้รับการยอมรับจากพี่น้องประชาชน จาก สส. และทำ ได้จริง เพราะฉะนั้นผมก็จะฝากท่านประธานไปยังคณะกรรมาธิการที่จะพิจารณาเรื่องนี้ ในการ ที่จะเสนอแนะแก้ไขต่อไป ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้เสนอญัตติ ซึ่งจากได้ฟังคำอภิปรายของเพื่อนสมาชิกทุกฝ่าย ที่ร่วมกันได้อภิปราย ทุกคนก็ได้ชี้จุดคล้ายคลึงกันว่าอยากจะรักษาป่าไว้ ป่าถูกทำลาย ไปเรื่อย อัตราป่าลดลงไปเรื่อย และที่ผ่านมางบประมาณของรัฐที่จะไปดูแลตรงนี้ ก็ไม่เพียงพอ แล้วก็ไม่พุ่งเป้าไปเฉพาะจุด อย่างเช่นงบดูแลป่า งบกันแนวไฟป่า หลายพื้นที่ เป็นจิตอาสา หรือได้งบมา ๒ วัน แต่ชาวบ้านทำงานกัน ๕ วัน บางครั้งก็ทำงานฟรี เป็นจิตอาสา ไม่ได้งบ ไม่ได้เงิน ค่าน้ำมันเองยังไม่ได้ แต่เขาก็ต้องออกเพื่ออะไร เพื่อที่จะ รักษาป่า เพราะป่าเป็นชีวิตจิตใจของเขา อยู่ใกล้หมู่บ้านของเขา ฉะนั้นการจัดตั้งกองทุน ขึ้นมาตรงนี้ก็วัตถุประสงค์อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วคือมีคณะกรรมการมาพิจารณาดูว่าเราจะ ดูแลรักษาป่าอย่างไรให้ป่าอยู่อย่างเต็มที่ ไม่เพียงแต่ดูแลป่า ดูแลสัตว์ที่อยู่ในป่า ดูแล ความชุ่มชื้นของป่า ดูแลน้ำที่อยู่กับป่า และดูแลคนที่เขาอยู่กับป่า รวมทั้งหมู่บ้านบริเวณ ชุมชนที่อยู่รอบ ๆ ป่าให้เขามีความเสถียรภาพ มีความเป็นอยู่ที่ดี มีความหวงแหนป่า แล้วก็ เสมอภาคในการที่รัฐจะเอางบไปดูแล แล้วก็ออกกฎหมายมาอุดรูช่องว่างช่องโหว่ที่เขาไม่ได้ รับความเป็นธรรมในหลาย ๆ เรื่อง นอกจากนี้ในแหล่งที่มาของกองทุนก็ยังได้กล่าวไว้เมื่อตอนที่ ผมนำเสนอแล้ว มาจากหลาย ๆ ฝ่าย เรื่องนี้ผมก็ไม่ติดใจว่าเราจะตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ก็จะดีก็จะรวดเร็วขึ้น ก็จะได้เชิญหลายฝ่าย หรือจะมอบไปให้กรรมาธิการสามัญก็ได้ กรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผมก็อยู่ตรงนั้น แต่ท่านประธาน ก็บ่นว่าหลายเรื่องส่งให้กรรมาธิการมาค่อนข้างจะเยอะ แต่งบประมาณไม่เพียงพอ อย่างไรก็ ถ้าส่งให้ชุดนี้ก็เกลี่ยงบมาให้ด้วย เจ้าหน้าที่ด้วย หรือว่าถ้าทางภาครัฐจะรับไปศึกษา ไปพิจารณา ก็ขอให้รับไปแล้วก็ตั้งคณะทำงานให้มันเป็นจริงเป็นจัง เพราะผมเห็นหลายครั้งรัฐบาลรับไป พิจารณา เรื่องของผมอาทิตย์ก่อนก็เรื่องให้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงปีงบประมาณ รัฐบาล ก็รับไปพิจารณา และหลายเรื่องที่เพื่อนสมาชิกเสนอที่รัฐบาลรับไปพิจารณา ผมว่าอาจจะมี เกณฑ์ว่า ๑๘๐ วันให้แจ้งให้เพื่อนสมาชิกที่เขาเสนอว่ารับไปพิจารณามันไปถึงไหน เพราะผมเห็นหลายครั้ง ไม่ใช่รัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลชุดก่อน ๆ มันอยู่ในลิ้นชัก รับไปพิจารณา แล้วก็ไม่เคยนำมาตอบ ดังนั้นก็อยากจะฝากว่าเป็นทางปฏิบัติว่าในอนาคตเป็นไปได้ไหม เรื่องที่รัฐบาลขอรับไปศึกษาไปพิจารณา อย่างน้อย ๑๘๐ วันส่งรายละเอียดว่าตอนนี้ฉันตั้ง คณะทำงานชุดนี้แล้ว ยังได้อุ่นใจว่ามันไม่ได้อยู่ในลิ้นชักแล้ว และไปถึงไหน แค่ไหน เพียงไร แต่อย่างไรก็อยู่กับเพื่อนสมาชิกจะพิจารณา ก็ฝากไว้ขอยื่นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ตามข้อบังคับการประชุม ข้อ ๔๙ ข้อ ๕๐ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะที่จังหวัดน่านอยู่ติดกับจังหวัดพะเยาของท่าน สส. วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ผู้เสนอญัตตินี้นะครับ ซึ่งท่าน สส. วิสุทธิ์ ก็จับเรื่องนี้มาตั้งแต่สมัยท่านทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ก็ดูแลเรื่องประมง ซึ่งจะเห็นว่าช่วงนั้น การประมงไทยเราระดับเบอร์ต้น ๆ ของโลก แล้วก็นำรายได้มาสู่ประเทศ แต่ก็ต้องยอมรับว่า พอเราอยู่ในระดับเบอร์ต้น ๆ มันก็จะเริ่มมีปัญหาขึ้นมา เพราะว่าแต่ละหน่วยงาน ก็จะพยายามอนุรักษ์สิ่งต่าง ๆ เราก็ต้องเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาเมื่อปี ๑๙๘๒ เราก็ต้อง ปฏิบัติตามกติกา เพราะเขาก็ต้องการระบบนิเวศที่จะรักษาสัตว์ รักษาต่าง ๆ แล้วก็มีระบบ Sanction ขึ้นมา เพื่อป้องกันรักษาทะเลแล้วก็การประมงอย่างที่ถูกกฎหมาย ซึ่งมันก็เลย ส่งผลขึ้นมากับประเทศไทย มีการกีดกันทางการค้า มีการให้ใบเหลือง ซึ่งช่วงนั้นพอดีมีการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง เราก็เลยโดนใบเหลืองไปช่วงนั้นพอดี ซึ่งก็ส่งผลกระทบมาก เสร็จแล้วรัฐบาลในยุคนั้นพอโดนใบเหลืองปุ๊บก็อยากที่จะปลดปล่อยไว ๆ อาจจะมีเจตนาดี ก็ออก พ.ร.ก. นี้ขึ้นมาปี ๒๕๕๘ แต่คราวนี้การที่ออก พ.ร.ก. ก็มุ่งแต่ที่ว่าจะเอาใจ EU IUU แต่ว่าไม่คำนึงถึงพี่น้องประมงของบ้านเรา เพราะฉะนั้นกฎหมายนี้ออกมา พ.ร.ก. นี้ออกมา ถึงจะมีการแก้ไขในปี ๒๕๖๐ พี่น้องประมงก็ยังได้รับผลกระทบอยู่ดี พรรคเพื่อไทยโดยการนำ ของท่าน สส. วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ที่รับผิดชอบเรื่องนี้มาโดยตลอด ได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้อง ชาวประมงจะแก้ไขอย่างดี เราก็คำนึงถึงว่าเราจะลดช่องว่างในส่วนของกฎหมายระดับของ EU หรือ IUU ที่เขาออกมาเราก็ดูแลอยู่ แต่ไม่ต้องไปหงอมาก แต่อะไรที่กระทบในส่วนของ ภาคพี่น้องประมงเราต้องเขยิบนะครับ ที่เรากดเขาเกินไป เพราะตอนนั้นเราพยายามจะเคร่ง ในกฎหมาย ก็ให้มันหย่อนยานขึ้น แล้วก็มาดูแลพี่น้องประมงมากขึ้น ผมก็จะขออภิปราย เป็นรายมาตราเท่าที่เวลามีเหลือนะครับ
สิ่งแรกที่ท่าน สส. วิสุทธิ์และพรรคเพื่อไทยนำเสนอ ก็คือมาตรา ๕ ในเรื่องของ คำจำกัดความ คำว่า ประมงพื้นบ้าน ซึ่งเรือประมงของเราส่วนใหญ่ก็คือเรือประมงพื้นบ้าน แล้วกำหนดไว้ว่าขนาดต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส ซึ่งเป็นเรือส่วนใหญ่จะได้แก้ไขปัญหาเวลา กำหนดมาตรฐานแยกประเภทกันได้ แต่ถ้าเป็นเรือประมงพาณิชย์ก็ ๑๐ ตันกรอสขึ้นไป
นอกจากนี้อีกมาตราหนึ่งที่มีการแก้ไขก็คือมาตรา ๑๓ ในมาตรา ๑๓ ก็ให้ท่านนายกรัฐมนตรีท่านเศรษฐาเป็นประธานโดยตำแหน่ง แต่ว่าคณะทำงานของเรา ท่านวิสุทธิ์ก็ว่าบางทีท่านนายกรัฐมนตรีอาจจะไม่ว่าง ก็เลยได้เพิ่มตรงนี้ขึ้นมา เราให้ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดูแลประมงโดยตรง คือท่านภูมิธรรมเข้ามาเป็นประธานดูแลเรื่องนี้ ถ้าได้รับมอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรี การทำงานก็จะได้คล่องขึ้น แล้วนอกจากนี้ก็มีการแก้ไข จากเดิมอธิบดีกรมการปกครอง เป็นคณะกรรมการ แล้วก็เพิ่มเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยแทน การทำงานก็จะได้คล่องขึ้น ตรงนั้นก็เป็นเรื่องสัดส่วนของคณะกรรมการต่าง ๆ
นอกจากนั้นมาตรา ๓๒ จะมีการแก้ไขก็คือ ผู้ใดจะทำการประมงพื้นบ้าน โดยใช้เรือประมง เราก็จะเน้นจะให้คนไทยก็เพิ่มขึ้นมาคือว่าผู้มีสัญชาติไทยและ บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น อันนี้คือจำกัดว่าเฉพาะคนไทยเท่านั้นที่จะมาทำประมงพื้นบ้าน คือต่ำกว่า ๑๐ ตันกรอส แล้วที่สำคัญในวรรคท้ายจะกำหนดเพิ่มขึ้นมา คือห้ามใช้คนต่างด้าว ทำงานบนเรือประมงพื้นบ้าน แต่ถ้าเป็นเรือประมงพาณิชย์เรือขนาดใหญ่ไม่ว่ากัน แต่ถ้าประมงพื้นบ้านนี้เราให้เฉพาะคนไทย
แล้วสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาอีกประการหนึ่งก็คือ ในเรื่องของการจัดทำรายงาน ตามมาตรา ๓๓ เราก็กำหนดว่าคนที่ทำเรือประมงก็จะต้องทำรายงานเดือนละครั้ง แล้วก็จะต้องส่งภายใน ๕ วัน ที่เพิ่มขึ้นมาของทุกสิ้นเดือน เพื่อจะได้เป็นมาตรฐาน จะได้สืบถามได้ว่าเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ก็จะพูดถึงในเรื่องของมาตรา ๓๔ ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาต ทำการประมงพื้นบ้านทำการประมงในเขตนอกชายฝั่ง เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด อันนี้ก็มีการแก้ไขปรับปรุง ซึ่งจะส่งผลต่อมาตรา ๓๙ คือ การออกใบอนุญาตที่จะให้ประมงพื้นบ้านตามมาตรา ๓๒ และประมงพาณิชย์ ตามมาตรา ๓๖ โดยมันจะส่งผลก็คือในมาตรา ๓๙ ที่มาแก้ไขของท่านวิสุทธิ์ที่เพิ่มขึ้นมา โดยเฉพาะ (๒) เขาบอกว่าในการเพิกถอนใบอนุญาตดำเนินการเพิกถอนนี้มันยาว ของเราไปเพิ่มกำหนดว่า ถ้าเขาพ้นมา ๒ ปีแล้ว ก็สามารถออกใบอนุญาตได้ เพราะบางครั้งบางคราความผิดตอนนี้ มันเป็นเรื่องใหม่ เราก็จะอนุโลมให้ประมงเรานี้ถ้าพ้น ๒ ปีมา ก็กลับมาขอใบอนุญาตใหม่ได้ แล้วก็มีการยกเลิก (๗) ลงไป (๗) เดิมเขาเขียนไว้ว่าถ้ามีการเพิกถอน ๒ ปี ๒ ครั้ง ภายใน ๕ ปี ก็จะหมดสิทธิ อันนี้เรายกเลิกไป เพราะฉะนั้นท่าน สส. วิสุทธิ์เป็นห่วงพี่น้องชาวประมง ก็อยากจะแก้ไขเรื่องนี้นะครับ
นอกจากนี้มาตรา ๔๖ ในเรื่องการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมาย ว่าด้วยเรือรับจดทะเบียนเรือออกใบอนุญาต ใน (๒) และ (๓) ก็จะให้ความสำคัญในเรื่องของ เรือที่ถูก Blacklist เราก็จะไม่ออกใบอนุญาตให้ทั้งเรือไทยและเรือต่างประเทศ เพื่อเคารพ ในกติกาของ IUU หรือ EU เพื่อจะได้รองรับว่าอันไหนที่มันไม่ถูกเราก็เชื่อคุณ แต่บางอย่าง ที่ช่วยคนไทยได้เราก็จะพยายามช่วยนะครับ
นอกจากนี้ที่เพิ่มมาอีกมาตราหนึ่งคือมาตรา ๕๐ ที่เพิ่มขึ้นมาก็คือในกรณี ที่เรือประมงต่างประเทศทำการในเขตไทย ก็ให้อธิบดีในเขตทะเลหลวงสามารถดำเนินการ ต่าง ๆ ได้ ออกระเบียบกฎเกณฑ์นะครับ
ส่วนมาตรา ๖๖ เพื่อนสมาชิกก็พูดไปแล้ว ในเรื่องของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งตอนนี้ก็มีการปรับ คือแต่ก่อนจับขึ้นมานี่ผิด แต่คราวนี้เขาก็บอกว่าถ้าเป็นการเพื่อมารักษา ไม่เป็นอะไร ถ้าจับแล้วต้องรีบปล่อยลงไป อันนี้ก็มีการเพิ่มขึ้นมา
นอกจากนี้ก็พูดถึงเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ ตามมาตรา ๖๗ ในเรื่องขนาด ของอวน ถึงแม้จะต้องต่ำกว่า ๒.๕ เซนติเมตร แต่ก็เพิ่มเข้าไปนิดหนึ่ง ต้องรับฟังความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้เสียจะต้องมีคนมาดูแล เพราะบางครั้งบางคราสัตว์แต่ละชนิดเราจะเอา กำหนดเกณฑ์ของถี่ตาอวนก็ไม่ได้ เราก็เพิ่มหย่อนยานให้บรรดาชาวประมงเราให้ผ่อนคลายขึ้น
นอกจากนี้ในมาตราที่แก้ไขก็เรื่องของคนประจำเรือนะครับ คนประจำเรือ ก็ตามมาตรา ๘๓/๑ อย่างน้อยเพื่อสุขภาพก็ไม่ให้คนประจำเรือทำงานเกิน ๓๐ วันขึ้นไป จะได้พักผ่อน แล้วก็ในเรื่องของการที่คนประจำเรือจะต้องเดินทาง เขาจะต้องแจ้งให้ชายฝั่งทราบ เราก็สามารถรับฝากคนประจำเรือไปส่งเรือประมงที่อยู่นอกทะเล สามารถทำได้นะครับ ตรงนี้เราก็เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่ออนุโลมนะครับ
นอกจากนี้ในมาตรา ๙๔ ก็เป็นเรื่องของเรือต่างประเทศเข้ามา แล้วก็รวมทั้ง ประเทศที่เขามีปัญหาต่าง ๆ ที่ขึ้นทะเบียน ขึ้น Blacklist หรือว่ามีปัญหาเรื่องการนำเข้าสัตว์ เราก็ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ โดยเฉพาะมาตรา ๙๕ เรือต่างประเทศจะต้องแจ้งภายใน ๔๘ ชั่วโมง จริง ๆ ก็มีอีกหลายเรื่อง แต่ไม่อยากจะรบกวนเวลาของเพื่อนสมาชิก เพราะยังมี เรื่องของบทกำหนดโทษตั้งแต่ ๑๒๑-๑๖๐ ซึ่งจะเป็นบทกำหนดโทษ ซึ่งก็มีการปรับปรุง แก้ไขที่ท่าน สส. วิสุทธิ์ ท่านเป็นห่วง ของพรรคเพื่อไทยก็คือเราพยายามที่จะกำหนดโทษ ให้มันรับกับสัดส่วนของการกระทำความผิดอย่างที่เพื่อนสมาชิกได้ว่า มีเรืออยู่ ๔ ลำ ผิดไป ๑ ลำ โดนทั้ง ๔ ลำ ไม่ใช่นะครับ แล้วก็ยังมีบทลงโทษอีกหลายต่อหลายอย่าง
นอกจากนี้เรื่องของระบบการขึ้นศาลก็เอามาขึ้นศาลไทย ถ้าเรือเข้ามาในไทย หรือเรือต่างชาติที่เข้ามาในไทย แล้วยังมีอีกหลายต่อหลายเรื่องนะครับ แต่ก็ได้รับทราบว่า เรื่องนี้ทางรัฐบาลเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ก็เสนอเรื่อง พ.ร.บ. ประมงเข้าสู่คณะรัฐมนตรีแล้ว ตอนแรกที่ช้าเข้าใจว่าเขารอว่า IUU จะมีการแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ก็เลยเข้าช้า ตอนนี้อยู่ที่ กฤษฎีกา ซึ่งเรื่องนี้ที่ท่าน สส. วิสุทธิ์และเพื่อนสมาชิกเสนอไปก็คิดว่าน่าจะได้มีการพิจารณา ซึ่งเรื่องนี้ถ้าเกิดรัฐบาลจะรับไปก่อนเพื่อรอดูว่า IUU จะแก้ไขเข้ามาหรือเปล่า จะได้ เอากลับมาเข้าสภาอีกครั้ง ส่วนมาตราที่เหลือก็จะได้มาอภิปรายอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้น ผมจึงขอสนับสนุน พ.ร.บ. แก้ไข พ.ร.ก. การประมงของท่าน สส. วิสุทธิ์ ไชยณรุณ พรรคเพื่อไทย ในการแก้ไขปัญหาพี่น้องชาวประมง ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขอเสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมและจังหวัดพื้นที่ในเขตป่าสงวนเพื่อลดขั้นตอนการอนุมัติของอธิบดีตาม มาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ เนื่องด้วยกรณีหน่วยงานรัฐจัดสรรงบประมาณโครงการพัฒนา บริการสาธารณะในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยขออนุมัติอธิบดีกรมป่าไม้ตามมาตรา ๑๖ แห่ง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวน แห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙ พบว่าโครงการพัฒนาบริการสาธารณะในเขตป่าสงวน แห่งชาติที่ผ่านมาเกิดปัญหาความล่าช้าในกระบวนการ ขั้นตอนการอนุมัติ โดยต้องใช้ ระยะเวลาในการดำเนินการขออนุมัติหลายเดือน ส่งผลกระทบต่อโครงการจัดสรร งบประมาณของหน่วยงานรัฐที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจาก ที่ผ่านมาหน่วยราชการรัฐสามารถสร้างถนนหลักเชื่อมหมู่บ้านในเขตป่าสงวนได้ แต่ปัจจุบัน การปรับปรุงซ่อมสร้างทับถนนเดิมของหมู่บ้านซึ่งมีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อ ชำรุดเสียหาย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลหรือหน่วยงานของรัฐอื่นใดมีโครงการปรับปรุงถนนเดิมอยู่ ในเขตป่าสงวนโดยจะซ่อมแซม ลาดยาง หรือเทคอนกรีตต้องขออนุญาตอธิบดีกรมป่าไม้ก่อน ดำเนินโครงการ และในกรณีหมู่บ้านมีโครงการของรัฐลงในพื้นที่หมู่บ้านที่อยู่ในเขตป่าสงวน ที่มีลักษณะสิ่งปลูกสร้างถาวรก็ต้องรอใบอนุญาตก่อนดำเนินโครงการ ซึ่งกว่าจะได้รับหนังสือ อนุญาต อนุมัติ และตอบกลับ งบประมาณที่ตั้งขอจัดสรรไว้ก็ตกไป จึงควรศึกษาแนวทาง ในการพัฒนาอย่างบูรณาการร่วมกันของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของคณะกรรมการ ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจังหวัดพื้นที่ในเขตป่าสงวนร่วมกัน พิจารณาหาแนวทางลดขั้นตอนความซับซ้อนและพัฒนาระบบการอนุญาตอนุมัติให้เป็นไป ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นผมจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจังหวัดพื้นที่ในเขตป่าสงวนเพื่อลดขั้นตอน การอนุมัติของอธิบดีตามมาตรา ๑๖ จริง ๆ เป็นมาตรา ๑๙ ด้วยนะครับ ซึ่งเป็นหัวใจหลัก ที่จะนำมาแก้ในครั้งนี้ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ผมจึงขออาศัย ข้อบังคับการประชุม พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ เสนอหลักการและเหตุผลดังนี้
ต้องยอมรับนะครับ ประเทศไทยนี้ปัญหาเอกสารสิทธิเป็นปัญหาใหญ่มาแต่ใน อดีต คืออย่างจังหวัดน่านบ้านผมเรามีมากว่า ๗๐๐ ปีแล้ว มีพร้อมกับจังหวัดสุโขทัย แล้วต่อมา หลักฐานทางประวัติศาสตร์เขาบอกว่าสมัยเมื่อ ๕๐๐ ปีก่อนพระยาติโลกราชจากจังหวัด เชียงใหม่ก็มาตีจังหวัดน่านที่บ่อเกลือเป็นสงครามเกลือ นั่นแสดงให้เห็นว่าพื้นที่จังหวัดน่าน มีคนอยู่อาศัยมาก่อนกว่า ๕๐๐ ปี แล้วโดยสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาก็เลยทำให้มีปัญหา ในเรื่องของการออกเอกสารสิทธิ ส่งผลให้ปัจจุบันนี้รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องของ เอกสารสิทธิมากกว่าสิทธิครอบครอง โดยดูจาก พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๔ (๑) เขาบอกว่า ป่า หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน นั่นก็แสดงว่า ถ้าเราไม่มีเอกสารสิทธิเขาคิดว่าเป็นป่าหมด ซึ่งพอมาตรา ๕๔ เขาก็เลยบอกว่า ห้ามมิให้ผู้ได้ ก่อสร้างแผ้วถางหรือกระทำการด้วยประการใด ๆ อันทำลายป่า แล้วต่อไปหน่วยงานของรัฐเอง ก็พยายามที่จะออกกฎหมายมา
อันนี้คือภาพแผนที่ของจังหวัดน่าน เรามีพร้อม จังหวัดสุโขทัย มีก่อนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนสยาม เอาภาพนี้ลงก่อนก็ได้ คราวนี้ ปัญหาที่ผ่านมารัฐบาลเองก็รู้ว่ากฎหมายเรื่อง พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติเพิ่งออกมาสัก ๖๐-๗๐ ปีนี้ แต่คนทั่วประเทศอยู่กันมากกว่าหลายร้อยปี ก็เลยมีปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ รัฐบาลแล้ว ๆ มาเขาทำอย่างไร เขาก็จะพยายามเยียวยา ตรงไหนเป็นชุมชนก็พยายามให้ หมู่บ้าน ให้ความเจริญไปสู่ ให้การศึกษา ตั้งโรงเรียน จนกระทั่งเมื่อสัก ๕๐ กว่าปีที่แล้ว ตอนเสียงปืนแตก พวกหนึ่งมีความเชื่อในเรื่องของคอมมิวนิสต์หรือผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ก็เลยมีปัญหา รัฐบาลก็ต้องทำสงครามแย่งชิงประชาชน ตรงไหนที่เป็นทางเกวียนเราก็ตัด ถนนลูกรังเข้าไปทับ ตรงไหนมีคนอยู่เยอะเราก็ไปตั้งโรงเรียนเพื่อที่จะให้ระบบการศึกษา ไปให้ความรู้กับประชาชน ตรงไหนมีคนเยอะเราก็ตั้งสุขศาลาและพัฒนาเป็นอนามัย เป็น รพ.สต. ต่อมาจนกระทั่งเหตุการณ์สงบในปี ๒๕๒๓ จริง ๆ กฎหมายตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ เขาเขียนไว้เลย มาตรา ๑๔ เขาบอก ในเขตป่าสงวนแห่งชาติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ หรือที่อยู่อาศัย มันก็จะสอดรับกับ พ.ร.บ. ป่าไม้ ก็เลยทำให้ กฎหมายฉบับนี้จริง ๆ รัฐไม่สามารถเข้าไปทำอะไรได้ แต่ที่ผ่านมาเขาใช้ระบบบูรณาการมา ตั้งแต่อดีต เขาทำอย่างไร ในอดีตตรงไหนเป็นพื้นที่ป่าเขาจะไปเจรจา สมมุติในอดีตโครงการ ของทางหลวงชนบทหรือของ อบต. จะไปทำในพื้นที่ป่า จะไปคุยกับป่าไม้ก่อนว่าผมจะ เทถนนทับตรงนี้นะ ไม่ได้บุกเบิกป่าเพิ่ม ป่าไม้จะดูไม่มีปัญหา เครื่องจักรเข้าวันไหน วันนั้น ผมไม่ไปตรวจหรือไปทางอื่น ถ้าเข้าไปก็เป็นความผิดซึ่งหน้าก็ต้องจับ เมื่อทำงานเสร็จ สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ หรือสมัยก่อน สมัยท่านนายกรัฐมนตรีทักษิณ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์มีของโครงการ SML ให้ชาวบ้านคิดว่าจะแก้ปัญหาอะไรในพื้นที่ ชาวบ้านอยากจะ ซ่อมแซมทำถนนในหมู่บ้านก็ทำได้ หรือจะสร้างโรงสี สร้างอะไรในหมู่บ้านก็ทำได้ แต่ปรากฏว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ มีการยึดอำนาจโดยพวกที่อยากได้อำนาจ เขาขึ้นมาปุ๊บเขาก็มาร่างกฎหมายใหม่ ร่างกติกาหลายต่อหลายเรื่องโดยเฉพาะโครงการทวงคืนผืนป่าซึ่งส่งผลกระทบมาก เพราะพวกที่เข้าไปร่างไปยึดนี้อาจจะไม่เห็นความสำคัญของรากหญ้า เหมือนอาทิตย์ที่แล้ว เรื่องกฎหมายประมงก็ไม่ให้ความสำคัญกับพี่น้องประมงรากหญ้า อันนี้ก็เช่นกันครับ ทวงคืน ผืนป่า เขาเข้าใจว่าป่ามันเป็นป่า หรือว่าเขาไม่รู้ว่าคำว่า ป่า หมายถึงคนที่เขาอยู่กับป่า แล้วก็ หมู่บ้านที่เขาอยู่รอบ ๆ ป่ามันเป็นความหมายของพื้นที่ป่านี้ด้วย เพราะตามโครงการ ทวงคืนผืนป่านี้ เขาบอกโครงการใดของรัฐที่ไปทำในพื้นที่ป่าจะต้องมีเอกสารจากกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเอามาวางประกบ ถ้าไม่มีโดนเรียกเงินคืน ที่จังหวัด ลำปางมีระดับผู้ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหลายต่อหลายคนโดนกันมาแล้ว ก็เลยเขียนเสือ ให้วัวกลัว หน่วยงานต่าง ๆ ก็ไม่สามารถที่จะกล้าทำ ก็ต้องทำหนังสือมาขอ ซึ่งก็ส่งผลมาก ผมยกตัวอย่างที่บ้านสันเจริญ อำเภอท่าวังผา นี่คือกลุ่มกาแฟสันเจริญซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชน สมัยภรรยาผมเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จังหวัดน่าน ท่าน สส. สิรินทร เราจัดงบไป ผลักดันทำโรงคั่วกาแฟ ทำได้ ทำลานตากได้ แต่ปัจจุบันนี้พอหลังจากปี ๒๕๕๗ ปรากฏว่า เขาอยู่ในเขตป่า เมื่อปีที่แล้วมีโครงการเกษตรแปลงใหญ่ เขาจะส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนนะครับ มีงบให้ ๓ ล้านบาท เข้าทุกหลักเกณฑ์ ปรากฏไม่ได้เพราะมีปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ แต่ก็ต้องขอบคุณนะครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้ มะรืนนี้ ท่านรองนายกรัฐมนตรีภูมิธรรมท่านจะไปที่จังหวัดน่าน แล้ววันเสาร์ จะขึ้นไปที่นี่ อาจจะแก้ปัญหาเรื่องของเอกสารสิทธิหรือ คทช. อันนี้คือปัญหาที่เกิดขึ้น ก็มาดูว่า จะทำอย่างไร ซึ่งปรากฏว่าหน่วยงานของรัฐเองเขาก็บอกว่าจริง ๆ มันก็มีแนวทางที่จะ ขออนุญาต เขาจะบอกว่าขั้นตอนในการขออนุญาตเข้าทำในเขตป่า คือผู้ขออนุญาตจะต้อง ส่งเอกสารไปที่ สจป. พื้นที่ ก็คือสำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ หลังจากนั้น สจป. ก็จะ ส่งไปที่กรมป่าไม้ กรมป่าไม้ก็ส่งกลับมาที่ สจป. พื้นที่ แล้วไปถึงผู้ขออนุญาตแล้วก็สำรวจ รูปนี้ก็เป็นรูปของกรณีที่เข้าทำประโยชน์ในเขตของมติคณะรัฐมนตรี ก็คล้าย ๆ กัน ขออนุญาตไปที่ สจป. ไปกรมป่าไม้ คณะกรรมการป่าไม้ ไปรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วก็มากรมป่าไม้ กลับมา สจป. เป็นผู้รับอนุญาต ขั้นตอนยุ่งยาก ภาพต่อไปเลยครับ อันนี้ยิ่งยุ่งยากไปใหญ่เลย ในเรื่องของป่าสงวนแห่งชาติ จะยื่นหลายที่ โดยเฉพาะขั้นต่อไปก็จะต้องมีการสำรวจเรื่อง EIA เรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่ที่มันเป็นพื้นที่เขื่อน ผลประโยชน์ถ้าเกิน ๕,๐๐๐ ไร่ ก็ต้องทำการวิจัย ๕๐๐ เมตร ถ้าเกิน ๑ กิโลเมตร ซึ่งเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำ EIA ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหามาก เพราะฉะนั้นโครงการต่าง ๆ ที่มันอยู่ในพื้นที่ป่า บางครั้งบางคราไม่สามารถ ดำเนินการได้เพราะว่าท้องถิ่นหรือ อบต. เขาไม่มีงบไปทำ EIA หรือ EHIA แล้วแต่สภาพ ปัญหา อย่างน้อย EIA เต็มที่ก็ ๕๐๐ วัน อบต. เขาอยู่ได้แค่ ๔ ปี แต่ถ้าหน่วยงานรัฐใหญ่ ๆ ก็น่าจะทำได้ ก็เลยมาคิดว่าจะทำอย่างไร ซึ่งผลที่ทราบก็คือว่าตั้งแต่โครงการนี้ออกมาตั้งแต่ ปี ๒๕๕๗ มีหน่วยงานของรัฐที่ขอเข้าไป โดยเฉพาะอบต. ซึ่งเขารับผิดชอบในพื้นที่เป็น จำนวนมาก สมัยรัฐบาลชุดที่แล้วผมเห็น สส. หารือในสภาเยอะ ภรรยาผมก็เคยหารือว่า รอหนังสือจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อบต. จะตั้งงบให้ จนเดี๋ยวนี้ ก็ยังไม่มา ล่าสุดเมื่อ ๒ วันผมดูข่าวว่าหน่วยงานท้องถิ่นไปติดตามนะครับ แล้วเมื่อไร จะอนุมัติ มีอยู่ ๖๐,๐๐๐ กว่าเรื่องที่รอการอนุมัติ วันนั้นผมเจอคนอยู่คนหนึ่งเขาบอกสงสัย คณะกรรมการนี้เขาไม่ค่อยเข้าประชุมเพราะรู้สึกองค์ประชุมไม่ครบอยู่เรื่อย แต่ผมก็ไม่เชื่อ มันอาจจะติดปัญหาโน้นปัญหานี้ คราวนี้ก็ปรากฏว่าที่จังหวัดน่านมีอยู่ ๒ ตำบล ตำบลสะเนียน แล้วก็ตำบลขุนน่าน นี่คือท่านนายกสว่าง เปรมประสิทธิ์ เป็นนายก อบต. สะเนียน แต่ก่อนเป็น ผู้ใหญ่บ้าน มาเป็นกำนัน และเป็นนายก ท่านสู้เรื่องป่ามาโดยตลอด อดีตท่านก็เป็นประธาน สาขาพรรคประชาธิปัตย์ แต่พอลงท้องที่ท่านก็ลาออก ถึงแม้เลือดท่านจะสีฟ้า ผมสีแดง แต่เพื่อประชาชนเราทำงานร่วมกันได้ ผมก็ไปขอความรู้แลกเปลี่ยนกันว่าท่านทำอย่างไรถึง ดำเนินการเรื่องนี้ได้ ท่านก็บอกว่าท่านดำเนินการตามมาตรา ๑๙ มาตรา ๑๙ ของ พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติเขาบอกว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษาหรือบำรุงป่าสงวน แห่งชาติ อธิบดีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในเขตป่าสงวนได้ ท่านก็ดูว่ามันมีข้อกฎหมายตรงนี้ก็พยายาม ที่จะสื่อสารไปถึงข้างบน ปรากฏว่าสื่อสารหลายทีก็ไปไม่ถึง โชคดีปลายปี ๒๕๖๔ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ท่านเสด็จไปทรงงานที่เมืองน่าน ซึ่งท่านไปทุกปี ไม่ว่าจะใกล้ไกลท่านไปดูแลจังหวัดน่านทุกปี ปีนั้นท่านไปที่ตำบลสะเนียน ต้องขอบคุณ ปีนั้นท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ขณะนั้นคือท่านรัฐมนตรีวราวุธ ศิลปอาชา ท่านไป ถวายงาน นายก อบต. ๒ คนนี้ก็ไปปรึกษารัฐมนตรีว่าที่ผ่านมานายกคนเก่าก็เสนอไปตาม มาตรา ๑๖ เสนอตามมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ ปรากฏว่ามันไม่ได้สักทีหลาย ๆ พื้นที่ แต่ว่า มาตรา ๑๙ น่าจะได้ ท่านรัฐมนตรีก็ใจดีเรียกท่านอธิบดีมาสอบถาม ก็ปรากฏว่าถ้าทำตาม มาตรา ๑๙ มันไม่ต้องทำ EIA เพราะกรณีทำทับที่เดิม ก็เป็นไปได้ หลังจากนั้นก็คือการนับ หนึ่งเริ่มต้น ใช้เวลา ๑๐ เดือนกว่าจะประสบความสำเร็จ ที่ยกตัวอย่างกรณีนี้ก็เพื่อให้เห็นว่า ในส่วนของข้าราชการประจำอะไรที่มันใหม่ อะไรที่มันเสี่ยงเขาไม่กล้าตัดสินใจ หรืออาจจะ งานเยอะก็ไม่ทราบ แต่ในส่วนของข้าราชการการเมืองอะไรเพื่อพี่น้องประชาชน ถ้ามัน เป็นไปตามตัวบทกฎหมายแก้ไขได้เขาพยายามจะแก้ไขนะครับ แต่ก็ต้องขอบคุณท่านอธิบดีหลังจากรัฐมนตรีไฟเขียวก็เริ่มดำเนินการนับหนึ่งในการที่จะ แก้ไขเรื่องนี้ ผมก็จะขอยกตัวกรณีตัวอย่างว่าเขาทำอย่างไรตามมาตรา ๑๙ เริ่มต้นก็คือ หน่วยงานของพื้นที่ ส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่ป่าที่สูงมันจะมีพี่เลี้ยง ซึ่ง อบต. สะเนียน ของตำบล สะเนียนเขามีคณะโครงการพัฒนาพื้นที่สูงภายใต้โครงการหลวงสะเนียนเป็นพี่เลี้ยง เพราะอย่างที่ผมบอก มาตรา ๑๙ เขาบอกว่าให้อธิบดีมอบหมายให้เจ้าพนักงาน เพราะฉะนั้น ในส่วนของ อบต. ที่ผ่านมาเขาจะยังไม่ค่อยเชื่อ แต่ถ้ามีหน่วยงานของรัฐที่เขาอยู่ข้างบนหรือ ดูแลจะเชื่อ ทาง อบต. ก็ทำหนังสือไปถึงโครงการหลวง โครงการหลวงก็สำรวจ หลังจากนั้น โครงการหลวงก็ทำหนังสือฉบับต่อไป ทำหนังสือไปถึงป่าไม้ของจังหวัดน่าน แล้วหลังนั้น ป่าไม้น่านก็ทำไปถึงป่าไม้แพร่ เพราะว่าป่าไม้น่านขึ้นกับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๓ ของแพร่ แพร่ก็ทำหนังสือไปถึงอธิบดี หลังจากอธิบดีตรวจดูแล้วไม่มีปัญหาก็จะอนุมัติ โดยโครงการที่ส่งไปมันจะต้องกำหนดรายละเอียดว่าจะทำอะไรบ้าง จุดเริ่มต้นละติจูด ที่เท่าไร ลองจิจูดที่เท่าไร ตามรายงานจะมีโครงการอะไรบ้าง จะสร้างประปาตรงไหน จะทำ ถนนตรงไหนต้องระบุให้เรียบร้อย แล้วก็จะต้องมีแผนที่แนบท้าย เพื่ออะไร พออธิบดี เขาจะอนุมัติหนังสือ เราต้องเขียน ๑ ๒ ๓ โครงการ ต้องมีรายละเอียด แล้วจากนั้นอธิบดี ก็จะมีหนังสือมาถึงโครงการหลวงว่ายินดีอนุมัติตามที่ท่านร้องขอ และหลังจากนั้นฉบับต่อไป อธิบดีก็จะตั้งตัวแทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเป็นผู้ดูแล ตามมาตรา ๑๙ นี้ว่าโครงการต่าง ๆ ที่มาลงนี้ได้มีการจัดซื้อจัดจ้างตามที่เสนอหรือเปล่า ตามละติจูด ลองจิจูดนี้หรือเปล่า แต่เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการใหม่ พอดีโครงการหลวง ข้าราชการเขากลัวเขาก็เลยทำหนังสือเชิญส่วนราชการไปทำ MOU ทางท่านผู้ว่าราชการ จังหวัดเองก็มา ทางโครงการหลวงก็มา ทาง อบต. ทางป่าไม้ ส่วนกลางมา แล้วหลังจากนั้น ก็เริ่มดำเนินการ ใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ ๑๐ เดือน ผมถามสาเหตุที่ ๑๐ เดือน ผมถามนะครับ เนื่องจากจังหวัดน่านเรามีสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ซึ่งดูแลพื้นที่สูงทั้งหมดประมาณ ๑๕ ตำบล ขอไป ๑๐ ปี เขาบอกถ้าเราไม่ทำขอไปเขาจะคิดว่า ขอไปปีเดียว งบประมาณมาก็ตก ฉะนั้นขอให้ ๑๐ ปี เพราะฉะนั้นโครงการต่าง ๆ ที่ขอไปนี้ จะไม่ระบุงบประมาณว่าใช้เท่าไรเพราะว่าไม่รู้จะได้ทำปีไหน แต่ว่าคุณต้องทำตามนี้ภายใน ๑๐ ปี ผมยกอย่างนะรับที่ผ่านมา นี่โครงการถนนไปบ้านห้วยเฮือ บ้านห้วยระพี สมัยก่อน สมัยภรรยาผมเป็น สส. เป็นเขตป่า ตอนนั้นเราก็ผลักดันงบประมาณไปทำถนนนิดหน่อยได้ อบต. ก็ทำถนนได้ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เป็นต้นมาทำอะไรไม่ได้เลย เพราะเป็นป่าลุ่มน้ำ A1 ขอก็ขอยากมาก ปรากฏว่าล่าสุดหลังจากได้อนุมัติตามมาตรา ๑๙ ถนนเส้นนี้เมื่อก่อนนี้มีคน เคยเสียชีวิต อุ้มท้องจะไปคลอดลูก เสียชีวิต หน้าฝนหมดสิทธิเลยต้องใส่โซ่ ก็โชคดีว่าได้ตาม มาตรา ๑๙ นี้ แต่เนื่องจากมาตรา ๑๙ มีระยะเวลา ๑๐ ปี ตอนนี้ผ่านมา ๓ ปีแล้ว ได้ข่าวว่า เดือนหน้าท่านนายกรัฐมนตรีจะไป ครม. สัญจรที่จังหวัดพะเยาก็ฝากด้วยนะครับ อันนี้ จำเป็นเร่งด่วน ๙ กิโลเมตร ๓๙ ล้านบาท นอกจากนี้ผมสอบถามทางโครงการที่ดูแลตรงนี้ ในส่วนของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เขาบอกเขาดูแลอยู่ ๑๕ ตำบล แต่ว่าในแต่ละตำบลก็อาจจะได้ไม่ครบทุกบ้าน ตอนนี้กำลังดำเนินการที่จะขอเฟส ๒ อยู่ คือเฟส ๑ อาจจะไม่ครบทุกบ้าน แล้วก็บางครั้งบางคราอาจจะไม่ครบทุกโครงการ ตอนนี้ กำลังทำเฟส ๒ อยู่ ผมก็ถามว่าโครงการนี้มันเกิดขึ้นมาจากไหน เขาบอกเริ่มต้น Model มาจากที่เชียงใหม่ ที่แม่แตง อันนั้นก็ทำทั้งอำเภอ แต่เนื่องจากว่ารายละเอียดมันไม่ชัด ก็ยัง ไม่ค่อยเรียบร้อยเพราะมันต้องขออนุมัติโครงการไปพร้อมกัน ส่วนที่จังหวัดเชียงรายที่ ดอยช้างกับที่ดอยวาวีก็ทำเรื่องขอไป แต่เขาบอกมันมีปัญหานิดหนึ่งตรงที่ว่าเอกสารสิทธิ ชื่อมันเป็นชื่อหนึ่ง แต่ว่าเอกสารที่ครอบครองจริง ๆ เป็นชื่อของคนจากที่อื่นก็เลยมีปัญหา แต่ปรากฏว่าหมู่บ้านนี้ประสบความสำเร็จเพราะว่ามีการทำรายละเอียดของขอบเขตที่ดิน รายแปลงละเอียดก็เลยทำให้การพิจารณาได้ไว หลังจากนั้นจาก ๒ ตำบลนี้ที่ผ่านก็เป็นกรณี ตัวอย่าง ตอนนี้ ๑๕ ตำบลแล้วในพื้นที่จังหวัดน่านที่ได้ดำเนินการตามมาตรา ๑๙ เพราะฉะนั้นผมก็เลยเสนอขึ้นมาว่าตรงนี้มันน่าจะเผยแพร่ให้คนรู้ เพราะตอนที่ผมมา ร่างกฎหมายนี้ มาร่างญัตตินี้ ตอนคุยกับนายกเขาบอกมาตรา ๑๙ มาถึงนี่เขาบอกมันต้อง มาตรา ๑๖ ถามพรรคพวกที่เป็นกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในอดีตเขาบอกมันก็ยื่นตามมาตรา ๑๖ แต่ปรากฏว่ามาตรา ๑๖ มีปัญหาอย่างที่กล่าวไว้แล้ว บางทีมันต้องทำ EIA มันมีปัญหา แต่กรณีนี้ตามมาตรา ๑๙ แต่ว่าเราต้องหาพี่เลี้ยง แต่ปัญหาใหญ่ก็คือว่าจังหวัดน่านมี ๙๐ กว่าตำบล เป็นพื้นที่ที่เป็นโครงการพื้นที่สูงประมาณ ๑๕ ตำบล ยังเหลืออีกประมาณ ๗๐ ตำบลที่อยู่ในเขตป่า เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะต้อง พิจารณาว่าจะทำอย่างไร เช่น จะให้จังหวัด ซึ่งเขาก็มีคณะกรรมการตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา ๑๐ เขามีคณะกรรมการควบคุมดูแลรักษาป่าสงวนประจำจังหวัด มีผู้ว่าราชการ จังหวัดเป็นประธานอยู่แล้ว ความจริงถ้าบูรณาการให้ตรงนี้เขามาดูแลในกรณีที่ทำในพื้นที่ป่า ที่ไม่ได้ไปกระทบเขตป่าสงวน ทำทับโครงการเดิมน่าจะมอบหมายให้ตรงนี้ ผมก็เลยเสนอเป็น โครงการให้ตั้งญัตติขึ้นมาเพื่อตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้ เพราะปัญหาเรื่องนี้ มันมีปัญหาเยอะมากว่าเราจะทำอย่างไร ให้ความรู้กับชาวบ้าน แต่อย่างน้อยผมว่าอันดับแรก เราต้องให้ความรู้กับชาวบ้าน อบต. ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่ทำเรื่องเสนอขอใช้โดยตรง อย่างน้อยเขายังไม่รู้เลยครับ ที่ผ่านมาเขาขอมาตามมาตรา ๑๖ ตามมาตรา ๓๑ โดยตลอด ทำไม่ได้เรื่องมันถึงค้าง ก็อยากจะให้ความรู้กับชาวบ้าน มีกรณีตัวอย่างไปสอนเขา ตรงไหน ถ้าเป็นเขตป่าขอตามนี้ แต่ถ้ากรณีเป็นอุทยานต้องขอตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา ๕๔ บางที มันมีปัญหาในเรื่องขั้นตอนต่าง ๆ ต้องให้ความรู้เขา อย่างน้อยผมว่าเราควรจะตั้งกรรมาธิการ วิสามัญขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้จะได้แก้ไขปัญหาเรื่องที่โครงการรัฐจะไปลงในพื้นที่ ซึ่งตาม รัฐธรรมนูญเราจะต้องให้เสรีภาพ คนที่อยู่ในประเทศไทยจะต้องได้รับการดูแลจากรัฐโดย เท่าเทียมกัน ฉะนั้นก็อยากจะฝากให้เพื่อนสมาชิกได้พิจารณาตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ตามข้อบังคับการประชุม ข้อ ๔๙ มาศึกษาเรื่องนี้และหาทางแก้ไข ขอขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทยในฐานะผู้เสนอญัตติ ขอสรุปญัตติของผมในเรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจังหวัดพื้นที่ในเขตป่าสงวน เพื่อลดขั้นตอนในการ อนุมัติของท่านอธิบดี
ซึ่งตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่แล้วจนถึงวันนี้มีเพื่อนสมาชิกทั้งที่เสนอญัตติ คล้ายคลึงกัน แล้วก็ที่มาอภิปรายก็พูดถึงปัญหา ก็คงจะทราบว่าตั้งแต่เราจะต้องเบิกงบประมาณ จะต้องเอาเอกสารของทางราชการมารองรับในเขตพื้นที่ป่า มีหลายพื้นที่ที่มีปัญหา ที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปราย ไม่ว่าจะเป็นป่าสงวน ไม่ว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็น เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า แล้วบางครั้งก็มีในส่วนของป่าชายเลนและนิคมสร้างตนเอง ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันนะครับ โชคดีจังหวัดน่านเมื่อวันศุกร์ วันเสาร์ ที่ผ่านมา พอดีท่านรองนายกรัฐมนตรีท่านภูมิธรรม ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน มอบหมายให้ดูแล คทช. ท่านพาเจ้าหน้าที่ สคทช. ไปดูแลแก้ปัญหาที่เมืองน่านพร้อมกับ ทางทีมงานพาณิชย์โดยท่านปลัดกระทรวงพาณิชย์ ก็ไปแก้ไขปัญหาเรื่องสินค้า GI ซึ่งเป็น สินค้าที่จะบ่งชี้ที่ทางภูมิศาสตร์นะครับว่ามันมีต้นกำเนิดสร้างจากที่ไหน มีวิสัยทัศน์ที่จะ รีบแก้ปัญหา โดยจะใช้ คทช. แก้ เพราะถ้าไม่รีบแก้ ปีหน้าสินค้าประเภทไม้ กาแฟ ยาง โกโก้ น้ำมันปาล์มและถั่วเหลืองอาจจะไม่สามารถส่งไปที่ EU ได้ ถ้าเราไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้
นอกจากนี้พอ สคทช. มาผมก็เลยถือโอกาสได้ขอความรู้จากเขาว่า ญัตติของผม เข้าสภามันมีปัญหาเยอะมันจะแก้ไขอย่างไร เพราะว่าพยายามไปสืบถาม ไปสอบถามข้อมูล หลายครั้งก็ยังได้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ก็ได้รับข้อมูลมาว่าในการที่จะขออนุญาตแต่ละที่ มีข้อมูล มีข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ในส่วนของเขตป่าสงวนที่เป็นพื้นที่ราบ หรือลุ่มน้ำระดับ ๓ ๔ ๕ เรื่องนี้ต้องขอตาม พ.ร.บ. ป่าสงวน มาตรา ๑๖ ซึ่งก็มีพื้นที่ทั้งหมด ที่ คทช. เขารับผิดชอบ ๑,๕๘๒ แปลงทั่วประเทศ ซึ่งตอนนี้ปัญหามันติดขัดอยู่ตรงในพื้นที่ ของที่ อบต. จะต้องสำรวจ ปัญหาใหญ่ก็คือในเรื่องของการทำขอบเขตที่ดินรายแปลง ซึ่งพอดีจังหวัดน่านเป็นจังหวัดต้นแบบ ก็เลยได้อนุมัติเยอะกว่าเพื่อน จะทำอย่างไรที่จะให้ จังหวัดอื่น ๆ ได้รับรู้ รับทราบข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะได้ไปแก้ไขปัญหา เพราะได้รับทราบว่า ในส่วนของ คทช. ถ้าหลังจากอนุมัติแล้ว สามารถไปดำเนินการซ่อมสร้างในพื้นที่ของ คทช. ได้เลย แล้วก็ได้ทราบว่าเขามอบหมายทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัด โดยทางท้องถิ่นเสนอไปขอ ผู้ว่าได้เลย แล้วในส่วนของพื้นที่ป่าสงวนถ้าได้รับการอนุมัติแล้วก็จะมีผล ๓๐ ปี แต่ถ้าอุทยาน ๒๐ ปี ส่วนในลุ่มน้ำชั้น ๑ ชั้น ๒ ก็มีการขอแตกต่างกันไป โดยลุ่มน้ำ ชั้น 1A ชั้น 1B และชั้น ๒ จะต้องขอตาม พ.ร.บ. ป่าสงวน มาตรา ๑๙ อีกมาตราหนึ่ง โดยให้ หน่วยงานของรัฐที่ดูแล อบต. ขึ้นไปอีกที เป็นเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ ซึ่งเวลาจะขอ ก็จะต้องระบุพิกัดว่าจะทำอะไร พิกัดไหน เท่าไร ซึ่งหลังจากอธิบดีอนุมัติมาก็จะส่งเจ้าหน้าที่ มาตรวจสอบ นี่ก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง
ส่วนอุทยานแห่งชาติ พอดีผมอยู่กรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งท่านประธานก็ตั้งคณะทำงานเรื่องนี้ขึ้นมาเมื่อเดือนที่แล้ว แต่พอดีเรื่องนี้ ผมยื่นไปตั้งแต่สมัยประชุมที่แล้ว เมื่อวานเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมา ทางอุทยานแห่งชาติ เขาบอกว่าเวลาจะขอเข้าไปทำโครงสร้างพื้นฐานในเขตพื้นที่ ถ้าเวลาไปซ่อมให้ขอตาม มาตรา ๒๒ พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ ถ้าสร้างให้ขอตามมาตรา ๒๓ จริง ๆ ทางอุทยาน เขาบอกใช้เวลาไม่นาน แต่ผมคุยกับเพื่อนสมาชิกหลายคนมันตรงกันข้าม หลายคนบอกว่า เป็นปีเลยยังไม่ได้ เราก็ต้องมาหาจุดว่าจะแก้ไขอย่างไร นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายเรื่อง
ฉะนั้นผมก็เลยคิดว่าเราควรจะต้องมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษา เรื่องนี้อย่างจริงจังที่จะแก้ไขปัญหา เพื่ออย่างน้อยไม่ว่าจะตั้งกรรมาธิการหรือจะมอบหมาย ให้กรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าไปพิจารณาก็ไม่มีปัญหา หรอกครับ อย่างน้อยเราจะได้วางแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้นทำอย่างไร เช่น ให้ความรู้กับ อบต. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เขาจะไปแก้ไขปัญหา เพราะหน่วยงานอื่นเขาขอโดยตรงจากภาครัฐตามมาตรา ๑๙ หรือตามข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องได้ อย่างน้อยเราต้องให้ความรู้ว่าเขตเขาอยู่ในพื้นที่ไหน เขตป่า เขตอุทยาน ป่าสงวน ลุ่มน้ำไหน ควรขอแบบไหน มีกรณีตัวอย่างให้เข้ามาศึกษาวางแผนระยะสั้น
ระยะกลางเราจะต้องทำการดูว่าที่ผ่านมานี้ ที่ยื่น ๆ ไปมันติดขัดตรงไหน อย่างที่ผมได้กล่าวไปเมื่อสักครู่ว่า ของจังหวัดน่านได้เปรียบคือเราทำขอบเขตที่ดิน ขอบเขต รายแปลงเยอะ แล้วก็สมบูรณ์ถึงได้เปรียบ แล้วก็มาดูว่า อบต. ไหนที่ยังไม่เข้าใจ หรือขั้นตอนไหน ที่ติดขัดจะได้ดำเนินการให้ถูกต้อง แล้วก็ได้ทราบข่าวว่าหน่วยงานของรัฐก็พยายาม มอบหมายผ่องถ่าย อย่างเช่น ทางท่านอธิบดีก็ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ สำนักงาน จัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่มีอำนาจในการอนุมัติได้ ก็ถือว่าลดขั้นตอน แล้วก็ได้รับทราบว่า คทช. ก็บอกว่า ถ้าเขาอนุมัติแล้วทำเรื่องไปที่ผู้ว่าได้เลย
นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายเรื่อง อย่างเช่น เรื่องของงบประมาณ เมื่อวานนี้ ทางกรมป่าไม้ได้มาชี้แจงที่กรรมาธิการ เขาบอกว่ามีเรื่องค้างอยู่เกือบทุกหมวด ขอไปทั้งหมด ๑๓๐,๐๐๐ เรื่อง เพิ่งพิจารณาได้ ๓,๐๐๐ เรื่อง อีกตั้ง ๑๐๐,๐๐๐ กว่าเรื่อง เขากำลังเสนอ ของบว่า ขอสัก ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ก็อาจจะได้อีกสัก ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ เรื่อง เพราะฉะนั้น ขั้นตอนนี้มันล่าช้าจะต้องแก้ไขอย่างไร วันที่ทาง สคทช. ไปที่จังหวัดน่าน ผมถามว่าน่าจะ บูรณาการกัน เขาบอกบูรณาการก็ต้องขอเป็นมติ ครม. แล้วต้องระบุในงบบูรณาการ ไม่อย่างนั้นแต่ละหน่วยงานก็ไม่สามารถจะของบประมาณพร้อม ๆ กันได้ นี่คือการติดขัด ที่ข้อกฎหมาย ข้อระเบียบ
นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาในระยะยาว ก็ควรจะต้องมีแก้ไขตัวบทกฎหมาย เพราะเรื่องเกี่ยวกับที่ดิน เรื่องเกี่ยวกับการป่าไม้ กฎหมายจริง ๆ เขาเขียนห้ามไว้นะครับ รัฐบาลเองก็พยายามหาช่องว่าจะแก้ไขได้อย่างไร เพราะฉะนั้นผมคิดว่าถ้าเรามีการตั้ง กรรมาธิการมาศึกษา เราจะรู้ว่าจะแก้ตรงไหน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ พ.ร.บ. ป่าสงวน พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ร.บ. อุทยาน แล้วก็ พ.ร.บ. ที่ดินอีก เพราะฉะนั้นถ้าเรามีกรรมาธิการขึ้นมา ศึกษา ก็จะพิจารณาแก้ไขเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่ แล้วก็ต้องฝากมอบให้กรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านประธานก็บ่นว่ารับมาหลายเรื่อง แล้วก็ช่วยโอน บุคลากรไปช่วยงาน แล้วก็โอนงบประมาณไปช่วยด้วย เพราะตอนนี้ของเรามีเกิน ๓ อนุแล้ว แต่ก็ยินดีทำงานนี้นะครับ เพื่อแก้ไขปัญหาก็ฝากเพื่อนสมาชิกได้พิจารณาตามข้อบังคับ การประชุมข้อที่ ๔๙ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขออภิปรายสนับสนุนพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งร่างของภาครัฐบาลเสนอ แล้วก็ร่างของพรรคเพื่อไทยที่นำเสนอ จากเมื่อ ครั้งที่แล้วที่ร่างฉบับภาคประชาชนได้นำเสนอ ผมได้มีโอกาสอภิปรายสนับสนุน ตอนนั้น ก็บอกแล้วว่า เห็นด้วยกับการที่เราจะมีกฎหมายมาดูแลพี่น้องชาติพันธุ์ แต่ว่าร่างอาจจะมี บางข้อที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งผมเองก็พยายามไปร่างข้อกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ. เสนอต่อพรรค แต่เนื่องจากเพื่อความรอบคอบ ร่างของพรรคที่สมบูรณ์ แล้วก็ร่างของรัฐบาลที่สมบูรณ์ก็ได้ นำสิ่งต่าง ๆ เอามาแก้ไข ก็ยินดีที่ส่วนของผมบางอย่างตรงกับรัฐบาล และบางเรื่องที่ผม ร่างไว้ก็อยู่ในร่างชุดนี้ ฉะนั้นผมคงต้องใช้เวลาอภิปรายเฉพาะในส่วนที่รัฐบาลเห็นด้วย แล้วก็อธิบายส่วนที่ผมนำเสนอนะครับ
ในข้อแรก ในเรื่องของกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์ตามมาตรา ๓ เขาหมายถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่เป็นกลุ่มเดียวกันหรือหลายกลุ่ม ซึ่งมีถิ่นฐานในประเทศไทย มีวิถีชีวิต มีวัฒนธรรมตามที่กฎหมายกำหนด เพราะว่าชาติพันธุ์อยู่ในประเทศไทยเรามาก ซึ่งเรามีทั้งที่ อพยพมา พี่น้องม้ง พี่น้องอิ้วเมี่ยน พี่น้องไทลื้อ พี่น้องอาข่า พี่น้องที่อพยพมาจากจีน จากสิบสองปันนา ไทลื้อ จากเชียงขวาง ไทพวน อพยพมาจากทางประเทศพม่า ไม่ว่าจะเป็น ไทใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นมอญ จากหลายต่อหลายที่ แต่ผมไม่อยากจะจำกัด อย่างที่บอกว่า ตอนนั้นบอกว่ามีอยู่ ๖๐ ชาติพันธุ์ แต่ว่าจริง ๆ มันอาจจะมีมากกว่านั้น เพราะในหลาย ๆ พื้นที่เขาก็มีวัฒนธรรม ประเพณี ผมขอยกตัวอย่างว่า จังหวัดน่านบ้านผมก็เคยเป็น อาณาจักร ๆ หนึ่งมาประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ ปีแล้วพร้อมกับสุโขทัย มีเจ้าผู้ครองนครน่านมา ๖๔ พระองค์ มีวัฒนธรรมประเพณี นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่เองก็ เป็นอาณาจักรสุโขทัย อยุธยา ผมว่าต่าง ๆ เหล่านี้เขาก็ถือว่าเป็นชาติพันธุ์ ถ้าเขารักษาเอาไว้ได้ นอกจากนี้เราจะต้องมองถึงในกลุ่มต่าง ๆ ชาติพันธุ์บางคนที่เขาอพยพหรือมาลงทุน บ้านเรา อย่างพี่น้องชาติพันธุ์เชื้อสายจีน ไม่ว่าจะเป็นไหหลำ แต้จิ๋ว เขาก็มาอยู่ในเมืองไทยมาก หลายตระกูลเขาก็รักษาวัฒนธรรมของเขาไว้ หรืออย่างในภาพยนตร์ออเจ้า พี่น้อง Portuguese ที่อยู่ในอยุธยา พี่น้องฝรั่งเศสที่อยู่ในจังหวัดลพบุรี ต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าเขามีชุมชน ที่เขารักษาวัฒนธรรมประเพณีเขาได้ ผมว่าถ้าเราเอามารวบรวมไว้ก็จะเป็นสิ่งที่ดี ถ้าสามารถ มาจดทะเบียนตามมาตรา ๓ ตามรายละเอียดที่คณะกรรมการกำหนด ตอนนั้นผมคิดว่าใน เรื่องของกฎหมายชาติพันธุ์นี้จะให้ใครดูแลดี ระหว่างกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ซึ่งดูแลกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่สูง หรือกระทรวงวัฒนธรรมซึ่งดูแลในพื้นที่ราบ ผมดีใจที่ร่างของรัฐบาลและร่างของพรรคเพื่อไทย ท่านนายกรัฐมนตรีลงมาเป็นประธานเอง แล้วก็มีรองประธานคือรัฐมนตรีทั้ง ๒ ท่าน แต่ที่อยากจะฝากไว้นิดหนึ่งนะครับ ถ้าได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเข้าไปอีกคนเป็นรองก็จะดีด้วย เพราะ อนาคตในเรื่องของชาติพันธุ์ นอกจากเราจะยกฐานะสิทธิเขาแล้ว ผมว่าจะสามารถยกระดับ ในเรื่องการท่องเที่ยวได้นะครับ นอกจากนี้ในส่วนหนึ่งที่ผมได้นำเสนอและรัฐบาลได้นำไปไว้ ก็คือคำว่า สมัชชานะครับ คำว่า สมัชชาชาติพันธุ์ ผมคิดว่าชาติพันธุ์เรามีหลากหลาย เพราะฉะนั้นแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ไปจดทะเบียน โดยมีหน่วยงานรัฐคอยดูแลกำหนด จารีตประเพณี แต่อย่างน้อยเขาจะต้องมีตัวแทนเข้ามาสู่สมัชชาเป็นชาติพันธุ์นะครับ ซึ่งในตัวบทกฎหมายนี้เขาก็บอกว่า มีไม่เกิน ๕ คน สาเหตุที่กำหนดไว้เช่นนี้ก็เพราะว่า บางชาติพันธุ์ก็อาจจะมีไม่มาก อย่างบ้านผมเผ่ามลาบรี หรือที่เราเรียกว่าผีตองเหลือง ก็มีไม่มาก หรือบางพื้นที่ไม่เยอะ อย่างนี้สัดส่วนอาจจะได้คนเดียว แต่บางชาติพันธุ์ที่เขามีกัน มาก ๆ อย่างพี่น้องม้งของผมมีมาก สัดส่วนก็อาจจะ ๓-๕ คน อันนี้ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ กระทรวงจะไปกำหนด เพื่อให้เขาเป็นสมัชชาและมาควบคุมกำกับดูแลในส่วนชาติพันธุ์ ของเขา ส่วนชาติพันธุ์ของเขาดูแลในส่วนของประกาศของกระทรวง ในส่วนของเขาระบบ ระเบียบ วัฒนธรรมกลางนี้ก็มีสมัชชามาดูแล อย่างนี้ถ้าเราเอามารวบรวมตั้งเป็นปฏิทินดูแล เพราะแต่ละชาติพันธุ์เขาก็มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกันนะครับ โดยเฉพาะวันชาติ ของเขา การนับถือปีใหม่ของเขาก็แตกต่างกัน ถ้าเราเอามาส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำมาเป็น ตารางการท่องเที่ยวของแต่ละชาติพันธุ์ วันชาติของเขา ให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกและ ของประเทศไทยได้ไปเยี่ยมไปเยียน ผมมีโอกาสไปของอาข่าที่จังหวัดเชียงราย คนเขา เยอะมากนะครับ แต่ว่าก็มีแต่คนภาคเหนือ ที่อื่นก็ยังไม่มีโอกาส หรือที่จังหวัดน่านก็จัด หลายครั้ง อย่างพี่น้องม้งเขาก็จะจัดช่วงเดือนธันวาคม เดือนมกราคม วันปีใหม่ พี่น้อง อิ้วเมี่ยน จะจัดช่วงวันตรุษจีน เดือนกุมภาพันธ์ แล้วพี่น้องไทลื้อก็ขึ้นอยู่กับว่ามาจาก เมืองไหน ถ้าเจ้าหลวงเมืองล้าจะจัดช่วงเดือนธันวาคม เดือนมกราคม ถ้าจากเมืองอื่น ก็อย่างของบ้านแฮะของผมก็ประมาณวันที่ ๘ ที่จะถึงนี้ นอกจากนี้พี่น้องไทพวนอีก ที่อพยพ มาจากเชียงขวาง ก็กระจัดกระจายกันอยู่ที่จังหวัดน่าน โชคดีบ้านฝายมูลจะจัดงานไทพวนโลก วันเสาร์นี้ ถ้าใครอยากไปเที่ยวก็เชิญชวนกันไปได้นะครับ
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายต่อหลายพื้นที่ ถ้าเรารวบรวมชาติพันธุ์ต่าง ๆ เข้ามา จัดไว้ เขามีตาราง บางครั้งบางคราวผมเห็นเขาเคยจัดอิ้วเมี่ยนโลก จัดตรงนั้นตรงนี้โลก มีชาติพันธุ์ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก เขาพร้อมที่จะให้การสนับสนุน เขาเดินทางมา เมืองไทย เพราะฉะนั้นผมว่าถ้าเราวางแผนดี ๆ มันจะส่งเสริมการท่องเที่ยว แล้วดึง Promote เม็ดเงินเข้าสู่ประเทศไทยได้ นำเป็นตารางการท่องเที่ยวนะครับ อีกอย่างในส่วนนี้ ถ้าเราสามารถจัดงานชาติพันธุ์โลกได้ มันอาจจะเป็น Soft Power อย่างหนึ่ง แล้วก็ดึง การท่องเที่ยวได้ เพราะแต่ละชาติพันธุ์เขาก็มีเอกลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายฉบับนี้ นอกจากจะให้กลุ่มชาติพันธุ์เขาจะรักษาฮีตฮอย รักษาวัฒนธรรมประเพณีแล้ว ในส่วนของ นิยามมาตรา ๓ เขาก็บอกไว้ว่า พื้นที่คุ้มครองวิถีกลุ่มชาติพันธุ์ คือพื้นที่ที่คุ้มครองให้กลุ่ม ชาติพันธุ์ดำรงชีวิตอยู่บนมาตรฐานของปัญญาและวัฒนธรรมการจัดการ คือมีการให้การ รองรับว่า พื้นที่ถิ่นกำเนิดที่เขาอยู่อาศัยนี้เขาอยู่กินกันมา เพราะฉะนั้นสิทธิต่าง ๆ ก็จะ เกิดขึ้นก็จะติดตามมา โดยเฉพาะอย่างพี่น้องม้งของบ้านผม เมื่อปี ๒๕๔๘ เขาขอบใจมาก สมัยท่านนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ท่านก็มอบบัตรประชาชนให้กับพี่น้องม้งนะครับ อันนี้ให้เห็นว่ารัฐบาลก็พยายามที่จะใส่ใจให้การดูแลพี่น้องชาติพันธุ์ต่าง ๆ เพราะฉะนั้นการที่ เสนอร่างพระราชบัญญัติชาติพันธุ์ฉบับนี้ ผมเห็นด้วย แล้วโดยเฉพาะสิทธิต่าง ๆ ก็อาจจะ ตามมา อย่างน้อยอันดับแรกให้เขามีความภูมิใจว่า อันดับแรกเขาเป็นคนไทยเหมือนกัน เมื่ออยู่ในประเทศไทย อันดับที่ ๒ ให้เขารำลึกถึง บรรพบุรุษของเขา ชาติพันธุ์ของเขา ได้ไปสืบสานว่ามีชาติพันธุ์มาอย่างไร เราจะได้ดึงรักษา วัฒนธรรมประเพณีของเด็ก ๆ ของชาติพันธุ์รุ่นใหญ่ ๆ ให้เด็ก ๆ เขาได้ซึมซับ ได้พูด ได้นำมาใช้ เพราะจะส่งเสริมให้เขาได้รักษาวัฒนธรรม แล้วก็จะส่งผลต่อการรักษา ขนบธรรมเนียม แล้วก็ดูแลประเทศต่อไป เพราะฉะนั้นผมจึงขอสนับสนุนในส่วนของ พ.ร.บ. ชาติพันธุ์ที่ทั้งรัฐบาลเสนอและพรรคเพื่อไทยเสนอ ขอขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อน สมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขอหารือท่านประธานผ่านไปยังกรมชลประทานนะครับ
เรื่องแรก โครงการฝายห้วยห้อมพร้อมระบบส่งน้ำ ซึ่งผมได้หารือไป คราวที่แล้ว ขอบคุณชลประทานที่ไปดูแลนะครับ สำรวจออกแบบแล้ว พี่น้องบ้านดอนน้ำครก กับพุฒิมาราม ก็จะได้รับประโยชน์ โครงการนี้ใช้ประมาณ ๒๓,๓๐๐,๐๐๐ บาท แต่ยังไม่มี สตางค์ ฝากรัฐบาลช่วยพิจารณาด้วย
โครงการที่ ๒ ในเขตเทศบาลตำบลกองควายเหมือนกัน โครงการสถานีสูบน้ำ ด้วยพลังไฟฟ้า ในโครงการจะทำแพขนานยนต์สูบน้ำจากน้ำน่านไปลงหนองแล้วก็กระจาย ไปทั่ว ซึ่งจะมีพื้นที่ได้ประโยชน์ ๑,๕๐๐ ไร่ ชลประทานไปสำรวจแล้วมันไม่มีพื้นที่ที่ทำเกษตร ใช้งบประมาณ ๓๗,๗๐๐,๐๐๐ บาท ก็ฝากชลประทานช่วยดูแลด้วย ขอบคุณท่านนายกและ ทีมงานที่พาผมไปดูนะครับ
โครงการที่ ๓ ก็คือปรับปรุงสถานีสูบน้ำบ้านน้ำครกใหม่ ตำบลกองควาย หมู่ที่ ๔ เทศบาลตำบลกองควายเหมือนกัน เนื่องจากสถานีนี้ท่อแตกอยู่เรื่อย เทศบาลเอางบ ไปลง ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ บาท ก็ไม่พอ ก็ฝากชลประทานไปสำรวจนะครับ เทศบาลถ้าเขา สำรวจมันเกินศักยภาพก็ฝากชลประทานไปดูแลด้วย ไหน ๆ ไปสำรวจแล้วก็ฝากทำสถานี สูบน้ำด้วยนะครับ
โครงการสุดท้าย ในเขตของอำเภอท่าวังผา บ้านนาเผือก ตำบลจอมพระ พื้นที่ชลประทาน ๕๐๐ ไร่ โครงการนี้ตั้งแต่สมัยประชุมที่แล้วภรรยาผมก็อภิปราย ผมมา ก็อภิปราย ก็เป็นที่น่ายินดีนะครับ ชลประทานไปสำรวจแล้วจะทำแทนฝายเดิมที่ขาด ใช้งบประมาณ ๒๑,๑๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งถ้าโครงการต่าง ๆ เหล่านี้สำเร็จ พี่น้องประชาชน ในจังหวัดน่านก็สามารถทำเกษตร ทำนาอะไรได้อย่างเต็มที่ ก็อยากจะฝากท่านประธานไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าชลประทาน เพราะว่าปัญหาเรื่องแหล่งน้ำเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนภาคเกษตรกร ก็ฝากรัฐบาลห่วงใยแล้วก็ดูแลปัญหาแหล่งน้ำ ขอขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้ที่ยื่นกระทู้ นะครับ เมื่อวันก่อนทางรัฐสภาโทรศัพท์มาบอกว่าท่านรัฐมนตรีชาดา ที่ท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้มาตอบกระทู้ผม ติดภารกิจนะครับ ขอเลื่อนไปตอบ ในวันพฤหัสบดีหน้า ซึ่งผมก็เข้าใจนะครับ เพราะรัฐมนตรีติดภาระสำคัญ เพื่อชาติผมรอได้ แต่ผมอาจจะมีความเห็นต่างจากเพื่อนสมาชิก การเลื่อนไปตอบวันพฤหัสบดีหน้าผมยินดี นะครับ สาเหตุที่ผมยินดีเพราะผมอยู่คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผมเกรงว่าข้อมูลในส่วนของทางกรมที่ดิน เขามอบให้ท่านที่จะมาตอบผม อาจจะเป็นข้อมูลที่เคยตอบอยู่ในคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแล้ว ในเรื่องที่ผมจะขอให้พิจารณาแก้ไขกฎกระทรวง (ฉบับที่ ๔๓) ข้อ ๑๔ (๒) ในเรื่องของการออกเอกสารสิทธิในที่ที่ติดที่เขาหรือที่ภูเขา ซึ่งข้อมูลที่เขาแจ้งว่า มันออกมาตอนแรกมันไม่แน่นอนต้องออกมาไว้ก่อนในอดีต ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะ ไม่ถูกต้อง เวลาสัปดาห์หนึ่งผมว่าท่านน่าจะตั้งคณะทำงานมาพิจารณาเรื่องนี้ จะเป็นผลงาน ของท่านนะครับ เพราะปัจจุบันนี้เทคโนโลยีมันทันสมัย การกำหนดแนวทางที่ว่าการที่จะ ไม่ออกเอกสารสิทธิ ๔๐ เมตร ติดที่ตีนเขาในที่ที่ชาวบ้านเขาจะได้ออกโฉนดแล้ว คือเขามีสิทธิ ได้สิทธิครอบครองและทำประโยชน์และรัฐพร้อมที่จะออกโฉนดให้อยู่แล้ว แต่ข้อ ๑๔ (๒) เขาไม่ให้ออกโฉนดทับที่ที่มันติดที่เขาที่ภูเขา ถ้าเป็นที่แนวดิ่งนี่ผมเข้าใจครับ แต่ระเบียบเขาบอกเป็นแนวทางปฏิบัติ ติดออกไป ๔๐ เมตร เขาไม่ออกให้ ผมว่าตอนนี้แก้ ระเบียบ เป็นที่กฎกระทรวง ไม่ใช่กฎกระทรวงด้วย เป็นแนวทางปฏิบัติของกรมที่ดินนะครับ ผมว่าท่านรัฐมนตรีชาดา พื้นที่ของท่าน อุทัยธานีก็มีปัญหาเยอะ แล้วทั่วประเทศผมว่าท่าน น่าจะแก้ไขแล้วก็จะเป็นผลงานของท่านรัฐมนตรี ในช่วง ๗ วันนี้ ท่านลองตั้งคณะทำงานมา พิจารณาดู แล้วก็ยกเลิกมาแก้ไขแนวทางนี้ ก็ฝากไว้นะครับ วันพฤหัสบดีหน้าท่านจะได้ เตรียมข้อมูล เมื่อเช้าผมให้สัมภาษณ์ในวิทยุรัฐสภาก็ได้แนะแนวทางท่านไปนะครับ ผมมอง ว่าท่านจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ พี่น้องประชาชนทั่วประเทศจะได้ยินดีกับท่านที่แก้ไขปัญหา ที่ดินให้กับประเทศชาติครับ ขอบคุณครับ