กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ในเรื่องของการรับทราบรายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัวตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พุทธศักราช ๒๕๕๐ ประจำปี ๒๕๖๓ และปี ๒๕๖๔ ของทางกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันนี้ดิฉันไม่ได้มาอภิปรายเพื่อมาโจมตี หรือว่าติติงในเนื้อหาหรือการบริหารงบประมาณและวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ที่เข้ามาชี้แจง แต่ดิฉันขออนุญาตเข้ามาทำงานร่วมกับท่านและขอเป็นส่วนหนึ่ง หรือแม้กระทั่งเป็นมือเป็นไม้ เพื่อให้หน่วยงานของท่านได้รับมือกับสถานการณ์ความรุนแรง ในครอบครัวที่ตัวเลขมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นในทุกปี รวมทั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในแต่ละกรณีก็มีความสลับซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลที่ทางกรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัวได้ยื่นข้อมูลตัวเลขและเอกสารต่อสภา ตามบทสรุปของทางผู้บริหาร ในปี ๒๕๖๓
ท่านประธานคะ ข้อมูลจากศูนย์พึ่งได้ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวทั้งหมด ๑๑,๖๗๐ รายต่อปี โดยมีตัวเลข เฉลี่ยตกอยู่ที่ ๔๖ รายต่อวัน แบ่งเป็นเพศหญิง ๑๕,๐๙๐ ราย เพศชาย ๑,๕๗๕ ราย และเพศอื่น ๆ ๑๑ ราย ซึ่งเหยื่อของความรุนแรงส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ ๑๐-๒๐ ปี จำนวนถึง ๕,๖๑๙ ราย และในส่วนของปี ๒๕๖๔ ข้อมูลจากศูนย์พึ่งได้เช่นเดียวกัน มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดในครอบครัวทั้งหมด ๑๖,๖๗๒ รายต่อปี โดยมีตัวเลขเฉลี่ย ตกอยู่ที่ ๔๖ รายต่อวัน แบ่งเป็นเพศหญิง ๑๕,๐๕๖ ราย เพศชาย ๑,๖๐๕ ราย และเพศอื่น ๆ ๑๑ ราย ซึ่งเหยื่อความรุนแรงส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในช่วงอายุ ๑๐-๒๐ ปี จำนวนถึง ๕,๓๗๗ ราย สาเหตุหลัก ๆ ที่เกิดจากความรุนแรงในครอบครัวของปี ๒๕๖๓ สาเหตุเกิดจากการนอกใจ หึงหวง เกิดจากสื่อลามกและเมาสุรา ยาเสพติด ตามลำดับ ส่วนในปี ๒๕๖๔ สาเหตุหลัก ในการเกิดความรุนแรงในครอบครัวเปลี่ยน เปลี่ยนจากการหึงหวง นอกใจ มาเป็นเมาสุรา ยาเสพติดเป็นอันดับแรก การเปลี่ยนแปลงสาเหตุของการเกิดความรุนแรงในครอบครัว จากลำดับแรกในปี ๒๕๖๓ คือการหึงหวง นอกใจ มาเป็นเมาสุรา ยาเสพติด ในปี ๒๕๖๔ เป็นการเปลี่ยนแปลงแต่มีนัยค่ะท่านประธาน ไม่ว่าจะเกิดกับจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ หรือผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด แต่ดิฉันไม่เห็นวิธีการรับมือ ที่ถูกจุดของหน่วยงานของท่านในรายงานเลยว่าท่านจะมีการรับมือการเปลี่ยนแปลง จากสาเหตุนี้อย่างไรในปี ๒๕๖๕ ท่านไม่ได้วางแผนการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อเกิดการบูรณาการร่วมกันในการทำงานเพื่อป้องกันและแก้ไขความรุนแรงไม่ว่าจะเป็น ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นกับเด็ก เยาวชน ประชาชนคนไทย เพศหญิง เพศชาย หรือเพศทางเลือกอื่น ๆ โดยดิฉันขออนุญาตอ้างอิงจากงานวิจัยและการศึกษาของสถาบัน เพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ที่ดิฉันได้อ่านเพิ่มเติมมาค่ะท่านประธาน ท่านประธานคะ การศึกษาและวิจัยของสถาบันเพื่อการยุติธรรมนี้เขาได้ศึกษาประเด็น เรื่องความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน โดยสังคมไทยและหน่วยงานหลายหน่วยงานได้ให้ ความสนใจและหาแนวทางแก้ไข แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขให้เป็นรูปธรรม เพราะความรุนแรงส่วนใหญ่เกิดจากสังคมรอบตัว เด็กหรือเยาวชนไม่อาจรับรู้ได้ว่าเหตุการณ์ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ปกติหรือไม่ปกติในสังคม เพราะบริบทของที่อยู่อาศัย ความเชื่อ วัฒนธรรม รวมถึงการอยู่ในสังคมยุคปัจจุบันมันมีความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยีในการสื่อสารในการเชื่อมต่ออย่างไร้ขอบเขต ทำให้การปกป้อง ป้องกัน ลดความเสี่ยงของเด็กและเยาวชนที่ถูกละเมิด หรือทำร้ายร่างกายทำได้ยากยิ่งขึ้น เราคง ต้องเปลี่ยนมุมมองจากการแก้ไขเชิงรับมาเป็นเชิงรุก โดยเอาหน่วยงานของท่านที่เป็น ผู้บริหารนโยบายและการได้รับงบประมาณค่ะ มามองในมุมมองของผู้ถูกกระทำหรือเหยื่อ ว่าต้องการได้รับการปกป้อง ดูแล แก้ไข ป้องกัน ติดตามอย่างไร รวมถึงแผนงานที่จะทำงาน ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการพัฒนาด้านสังคม อารมณ์ของเหยื่อ หรือผู้เสียหายที่ต้องการได้รับการเยียวยาหรือฟื้นฟู โดยเฉพาะตัวเลขของเหยื่อ หรือผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวที่เป็นเด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ในปี ๒๕๖๓ มีจำนวนถึง ๗,๐๙๘ ราย และในปี ๒๕๖๔ มีจำนวนถึง ๖,๗๓๙ ราย ซึ่งดิฉันเชื่อว่าในสังคม ของเรายังมีเหยื่อหรือผู้ถูกกระทำอีกจำนวนมากที่ยังไม่กล้าออกมาจากฝันอะไรที่เกิดขึ้น วันนี้ดิฉันเองและพรรคเพื่อไทย รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนในทุกจังหวัด ของประเทศไทย ขอเป็นกำลังใจให้เหยื่อหรือผู้ถูกกระทำทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศไหน อายุเท่าไร เพราะคนไทยทุกคนล้วนจะมีสิทธิเสรีภาพ ไม่สมควรที่จะถูกกระทำความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ ท่านประธานคะ ส่วนใหญ่ข้อมูลตัวเลขและรายละเอียด ข้างต้นที่ดิฉันได้เอ่ยไป ที่ทางหน่วยงานได้มอบให้กับทางสภาล้วนแต่เป็นข้อมูลที่น่าสนใจ และน่านำไปวิเคราะห์ต่อ แต่อย่างไรก็ตามตามตัวเลขข้างต้นดิฉันมองไม่เห็นตัวเลขที่ชี้วัด ความสำเร็จในเรื่องนี้ของหน่วยงานท่านเลย เพราะมันไม่ได้ลดจำนวนลงอย่างมีนัย หรือมีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการทำงานเชิงรุกของหน่วยงานท่านค่ะ ณ ตอนนี้ ดิฉันเลยมีข้อสงสัยฝากท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ตัวชี้วัดและเป้าหมาย ของท่านในระยะเวลาต่อไปจากนี้ ๓-๕ ปี เป้าหมายตัวเลขของท่านจะเป็นตัวเลขที่เท่าใด เพราะจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวจากระบบฐานข้อมูลที่ทางกรมได้มอบให้ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ จนถึงปี ๒๕๖๔ มีตัวเลขที่ค่อย ๆ ขยับตัวขึ้นในทุกปี นอกจากนี้ดิฉันมี ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะผ่านท่านประธานไปยังกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว รวมถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งหมด ๓ ข้อ
ข้อแรก www.violence.in.th ที่ท่านได้มอบไว้เป็นข้อมูลในเอกสาร ที่เป็นระบบฐานข้อมูลตัวเลขต่าง ๆ ของท่านดิฉันอยากจะเรียนแจ้งให้ทราบว่าดิฉัน ไม่สามารถเข้าถึงได้ ไม่แน่ใจว่า Website ตัวนี้ปรับปรุงหรือว่าปิด Website ไปแล้วอย่างไร ขอรบกวนให้ท่านได้ช่วยแก้ไขในเรื่องนี้ด้วย เพราะดิฉันเชื่อว่าข้อมูลตัวเลขและรายละเอียด ในระบบฐานข้อมูล Website ของท่านน่าจะเป็นแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยมให้กับนักวิจัยด้านสังคม ทั่วประเทศ
ข้อที่ ๒ สื่อ Online รวมถึง Application นี้ท่านได้ทำไว้ที่ชื่อว่าอะไร @linefamily อันนี้ดีมาก ดิฉันชื่นชมค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อหรือว่าการช่วยเหลือ ของหน่วยงานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Teen Club ที่ให้วัยรุ่นได้พักใจหรือปรึกษาปัญหาส่วนตัว เชื่อมได้ง่าย ปรึกษาได้ง่าย แต่ดิฉันคิดว่าเพื่อนใน LINE ของท่านจำนวน ๑๓,๒๕๒ คน เป็นตัวเลขที่ยังน้อยมาก ๆ กว่าที่ดิฉันคาดหวังไว้นะคะ เราอาจจะลดงบประมาณของสื่อ Offline มาเพิ่มการ Promote ช่องทาง Online ก็น่าจะดีกว่า เพราะตอนนี้ส่วนใหญ่ ก็จะมี Smart Phone อยู่ในมือแล้วเชื่อมแล้วก็ติดต่อกันได้ง่ายกว่า ดิฉันเชื่อว่าถ้ามี การประชาสัมพันธ์ได้ถูกจุด ถูกกลุ่มเป้าหมาย จะมีคนมาใช้ Application ของท่าน ได้มากกว่านี้ค่ะ
ข้อที่ ๓ กลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนหรือ ศพค. ที่ท่านได้มีการอบรม ทั้ง Online Offline ในแต่ละรุ่น ในแต่ละจังหวัด เพื่อได้ทำหน้าที่ประจำหน่วย ดิฉันอยากให้ มีการพัฒนาพื้นฐานด้านจิตวิทยาด้วย เพราะบุคคลเหล่านี้ทำหน้าที่ลงพื้นที่จริงถึงหน้าบ้าน แต่ถ้าสมมุติว่าเราไม่สามารถออกใบอนุญาตด้านจิตวิทยาได้ ดิฉันอยากขอความร่วมมือ จากหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาเติมเต็มตรงนี้ได้หรือไม่คะ เพราะสังคมตอนนี้เราละเลยจาก การเยียวยาความรู้สึกของเหยื่อค่ะ ไม่ว่าจะเป็นร่างกายหรือจิตใจ หลายท่านมีอาการของ Post-Traumatic Stress Disorder หรือ PTSD คือโรคเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรง ที่กระทบกระเทือนด้านจิตใจ แม้ว่ากระบวนการยุติธรรมจะจบลงไปแล้ว แต่บาดแผลของ ผู้ถูกกระทำมันยังคงอยู่ ดิฉันหวังว่าข้อเสนอที่ดิฉันได้กล่าวไปอาจจะได้รับเกียรติให้ไปอยู่ใน แผนงานของปี ๒๕๖๗ ที่กำลังจะถึงนี้ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ในเรื่องของ ความรุนแรงไม่มากก็น้อยค่ะ
และสุดท้ายนี้ค่ะท่านประธาน ดิฉันและพรรคเพื่อไทยขอเป็นหน่วยสนับสนุน หลักในสังคมให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงทุกท่านได้กล้าค่ะ กล้าที่จะก้าวผ่านความกลัว กล้าที่จะพูด กล้าที่จะได้ส่งเสียง พวกเราทุกคน ณ สภาแห่งนี้พร้อมที่จะสนับสนุน และจับมือทุกท่านก้าวผ่านความโหดร้ายที่เกิดขึ้น ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมืองเชียงราย ๓ ตำบลค่ะ ท่านประธานคะดิฉันมีเรื่องปรึกษาหารือผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ๒ เรื่อง
ในเรื่องแรกค่ะการพัฒนาพื้นที่หนองหลวง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ของจังหวัดเชียงราย ในเรื่องนี้ดิฉันเคยได้ปรึกษาหารือผ่านสภาแห่งนี้ไปเมื่อสมัยที่แล้ว แต่ดูเหมือนว่าทางผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเช่นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬายังมิได้ดำเนินงาน ในการบูรณาการร่วมกับท้องถิ่นและภาคประชาชนในพื้นที่หนองหลวง อำเภอเวียงชัย และอำเภอเมืองเชียงรายได้อย่างรวดเร็วเพราะหรือพยายามดำเนินการอย่างเท่าที่ควรค่ะ พื้นที่หนองหลวงกินพื้นที่อยู่ ๓ ตำบล อยู่ในเขตทั้งอำเภอเวียงชัยและอำเภอเมืองเชียงราย ซึ่งความต้องการของประชาชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่แห่งนี้ต่างต้องการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านของตำบลห้วยสัก หมู่ที่ ๒๐ ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ น.ส.ล. เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรื่องควายไทย หรือจะเป็นด้านของอำเภอเวียงชัยที่มีพระใหญ่ หนองหลวง เดี๋ยวขออนุญาตเปิด Video นะคะ ในตอนนี้พระใหญ่หนองหลวงตั้งเด่นเป็นสง่า รอให้ประชาชนได้เข้ามาท่องเที่ยวและกราบสักการะบูชา รวมถึงพื้นรอบข้างที่สามารถเปิด เป็นตลาดน้ำขนาดย่อมนะคะเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่ง Sky Walk ค่ะก็มี แนวโน้มที่จะทำได้ ถ้าฝ่ายโสตพร้อมไหมต้องเปิดก็ได้นะคะ ท้องถิ่นและภาคประชาชนเขา พร้อมที่จะจับมือหน่วยงานภาครัฐเพื่อเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกันค่ะ ในส่วนของตัวดิฉันเองก็ มองว่าไม่ใช่แค่หน่วยงานภาครัฐที่จะได้ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียวทางเราหรือทางรัฐเองก็ควร ต้องดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อขยายช่องทางการขายสินค้าและบริการของ ประชาชนเพื่อให้คนของเราลืมตาอ้าปากได้ ศักยภาพของประชาชนคนไทยเรามีนะคะ เหลือเพียงแต่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐอย่างเพียงพอ
ในเรื่องที่ ๒ ค่ะดิฉันอยากจะขอท่านประธานฝากไปยังกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงค่ะ เรื่องปัญหาไฟฟ้าส่องสว่างไม่เพียงพอ ในพื้นที่ทางหลวงหมายเลข ๑ ระหว่างบ้านบ่อทอง หมู่ที่ ๕ ไปจนถึงบ้านห้วยเคียน หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าสุด อำเภอเมือง เชียงราย จังหวัดเชียงราย ประชาชนสัญจรในทัศนวิสัยที่มืดมิดเป็นระยะทางกว่า ๑ กิโลเมตร ซึ่งล่าสุดก็ได้มีประชาชนในพื้นที่ได้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตที่จุดนี้มาอย่าง ต่อเนื่องแต่ปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขค่ะ ดิฉันก็ขอวิงวอนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ช่วยเร่งติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อทำให้ทัศนวิสัยของผู้ขับขี่ ได้มองเห็นได้ชัดขึ้นและเกิด ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่รวมถึงผู้ใช้รถใช้ถนนทุกท่าน ชีวิตของประชาชนคนไทยทุกคนล้วนมีค่าค่ะ ดิฉันจึงอยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งลง พื้นที่เส้นนี้ด้วย ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ดิฉันจะขออนุญาตมาอภิปรายสนับสนุนญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาผลประโยชน์ของการมีกฎหมายควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทความเป็นจริงในประเทศ โดยดิฉันจะขออนุญาตพูดถึง ๓ ประเด็นหลัก ที่สำคัญในการสนับสนุนญัตติในครั้งนี้ คือประเด็นด้านสุขภาพ ประเด็นเรื่องภาษี และประเด็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย ในส่วนของประเด็นอื่น ๆ ดิฉันเชื่อว่าผู้อภิปราย ท่านถัดไปจะมีการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญชุดนี้ขึ้นมาในอีกหลากหลายด้านและหลากหลายประเด็น ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ จะเป็นประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนคนไทยทุก ๆ ท่าน
ในด้านสุขภาพค่ะท่านประธาน ยังมีข้อมูลที่ขัดแย้งในหลากหลายงานวิจัย ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้าหากเปรียบเทียบกับบุหรี่ปกติทั่วไป ในบางงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ก่อให้เกิดควันจากกระบวนการเผาไหม้ของ บุหรี่และใบยาสูบ รวมถึงสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างน้ำมันดินหรือ Tar สารพิษในบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับต่ำกว่าบุหรี่ปกติ เพราะบุหรี่ไฟฟ้าไม่มี ส่วนประกอบของไปยาสูบ แต่มีเพียงนิโคตินที่เป็นสารในบุหรี่ไฟฟ้าเท่านั้น และงานวิจัย บางงานวิจัยยังมีความเชื่ออีกว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะสามารถช่วยเลิกหรือลดการสูบบุหรี่ปกติได้จริง แต่ในทางกลับกันค่ะท่านประธาน ยังมีงานวิจัยอีกหลากหลายงานวิจัยที่ออกมาโต้แย้งว่า ถึงแม้บุหรี่ไฟฟ้าจะไม่มีใบยาสูบ แต่สารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสารเคมีที่เป็นอันตราย ต่อร่างกายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าจะมีอนุภาคที่เล็กกว่า บุหรี่ธรรมดาหลายเท่า ทำให้ผู้สูบสูบเข้าไปในปอดส่วนที่ลึกได้มากกว่า และอนุภาคที่เล็กนี้ มีโอกาสเกาะกับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และร่างกายของเรา ไม่สามารถหรือสามารถขับออกมาได้น้อยมาก โดยที่สารนิโคตินที่ว่านี้จะเป็นสารที่ทำให้ เซลล์มะเร็งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น รวมถึงงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins พบว่าน้ำยา E-liquid ที่ใช้ในบุหรี่ไฟฟ้าประกอบไปด้วยสารพิษที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง ในระดับที่สูงมาก อีกทั้งนักวิชาการอีกหลายท่านได้สรุปไว้ว่ายังไม่มีหลักฐานทางการวิจัย ที่สรุปอย่างชัดเจนว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะสามารถช่วยเลิกบุหรี่ปกติได้จริง และการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้ช่วยลดการสูบบุหรี่ธรรมดาได้ลดลงเลย แต่ทำให้อัตราการสูบบุหรี่ทั้งบุหรี่ปกติ และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทยอีกด้วย และหากอ้างอิงถึงงานวิจัยในเรื่องของสัดส่วน เยาวชนที่ไม่เคยสูบบุหรี่ต่อแนวโน้มมาเป็นกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ของซาเมียร์ โซนจิ มหาวิทยาลัย Dartmouth สรุปได้ว่าเยาวชนที่เริ่มต้นจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะกลายเป็นผู้เริ่ม สูบบุหรี่มากกว่ากลุ่มที่ไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า แล้วกลายเป็นผู้สูบบุหรี่ถึง ๔ เท่าตัว โดยสาเหตุ หลัก ๆ ก็คือการติดนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเกิดได้ง่ายขึ้นในเยาวชน เพราะนิโคตินถูกดูดซึม ผ่านปอดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ท่านประธานคะ ความขัดแย้งของ งานวิจัยหรือความคิดเห็นขัดแย้งกันของนักวิชาการที่ดิฉันได้เอ่ยมาข้างต้น เป็นความขัดแย้ง ที่มีเหตุผลที่ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ขึ้นมา เพื่อศึกษาถึงผลกระทบในด้านสุขภาพของประชาชน คนไทยกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้าให้ละเอียดเพิ่มมากขึ้น และจะได้เป็นหนึ่งในเหตุผลของ การตัดสินใจของประชาชนคนไทยที่จะเลือกสูบหรือไม่สูบทั้งบุหรี่ Cigarette หรือทั้ง บุหรี่ไฟฟ้าค่ะ
ประเด็นที่ ๒ ด้านผลประโยชน์การจัดเก็บภาษีของประเทศชาติ จากบทความของคุณจัสมิน รี้กก์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเรื่องของ การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากบุหรี่ไฟฟ้า ได้ชี้ให้เห็นว่ารายได้จากตลาดบุหรี่ไฟฟ้าทั่วโลก มีมูลค่าสูงถึง ๖๘๓,๑๙๙ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๔ และอาจจะเติบโตได้ถึงร้อยละ ๑๗ ต่อปี ซึ่งจะเป็นตัวเลขถึง ๑,๔๒๘,๗๗๒ ล้านบาท ภายในปี ๒๕๖๙ สำหรับตลาดบุหรี่ไฟฟ้า ในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง ๖,๔๘๐ ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตแบบเท่าตัว คือร้อยละ ๑๐๐ ต่อปี หากประเทศไทยของเรามีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากบุหรี่ไฟฟ้า เราก็จะจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้สูงขึ้นกว่าปกติประมาณ ๒,๗๖๒ ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็น ตัวเลขที่สามารถนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยได้อีกมาก
ประเด็นที่ ๓ ในเรื่องของตัวบทกฎหมายและการบังคับใช้อย่างเคร่งครัด ประเทศไทยของเรายังไม่ได้มีกฎหมายสำหรับเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้าอย่างชัดเจน ณ ตอนนี้ ยังนำเอา พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งยังมีความสลับซับซ้อน ในการบังคับใช้ และถึงแม้ว่าเราจะมีประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ในเรื่องของกำหนดให้ บารากุ และบารากุไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๕๗ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ขยายของบุหรี่ไฟฟ้าได้ ถ้าหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย ห้ามมิให้มีการซื้อขายภายในประเทศไทย ก็ต้องมี การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับ บุหรี่ไฟฟ้ายังมีความสับสนต่อทั้งผู้บังคับใช้เองและต่อกับประชาชนทั่วไป เพราะ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พุทธศักราช ๒๕๖๐ ยังไม่ได้มีความสอดคล้องหรือชัดเจนต่อบริบท สังคมไทยในยุคปัจจุบัน สิทธิและเสรีภาพของการสูบบุหรี่ของประชาชนคนไทยทุกคน สามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมาย ข้อบังคับหรือการเคร่งครัดในการใช้กฎหมาย การควบคุม การจับ การปรับ ต้องมีความ ชัดเจน ไม่ใช่จะเอื้อความร่ำรวยให้บุคคลใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จากข้อมูลและข้อคิดเห็น จาก ๓ ประเด็นข้างต้นที่ดิฉันได้อภิปรายมาล้วนแต่เป็นเหตุผลที่ดิฉันพยายามจะชี้ให้เห็น ถึงความสำคัญรายละเอียด เพื่อให้พ่อแม่พี่น้องประชาชน รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกท่านได้ทราบถึงความย้อนแย้งและขัดแย้งในงานวิจัย และบทความหลายบทความ ที่เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ต้องมีการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมอย่างถ่องแท้และครบถ้วน ในทุก ๆ ประเด็น ดังนั้นดิฉันจึงขออนุญาตสนับสนุนญัตติการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาผลประโยชน์ของการมีกฎหมายควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการศึกษา อย่างครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพของประชาชนคนไทย หรือจะเป็น เรื่องผลประโยชน์ของแผ่นดิน และในเรื่องของข้อกฎหมายและการบังคับใช้ที่ยังไม่มี ความเด็ดขาด ชัดเจน และยังไม่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบัน ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ในญัตติเรื่องปัญหาที่ดินทำกินของประชาชน รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ที่เกี่ยวข้องกับที่ดินของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน น.ส. ๓ ส.ป.ก. น.ส.ล. ที่ดินภูเขา และเกาะต่าง ๆ เป็นปัญหาที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน ซึ่งการแก้ไขปัญหาก็ทำได้ล่าช้า ไม่ทันใจ และทำให้ประชาชนเสียสิทธิกับเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต และมีความขัดแย้งในการใช้ ประโยชน์ที่ดินระหว่างรัฐและประชาชนคนไทย โดยเฉพาะความขัดแย้งในพื้นที่ป่าไม้ อีกทั้ง การจัดทำระบบในเรื่องของฐานข้อมูลการจำแนกพื้นที่ป่าและพื้นที่ทำกิน หรือการทำ Zoning ยังไม่มีประสิทธิภาพและไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงตัวบทกฎหมายบางตัวก็ยังล้าสมัยและไม่ชัดเจน ไม่ได้ปรับปรุงให้ทันกับยุคสมัย ปัจจุบัน ท่านประธานคะ ถ้าหากวันนี้ท่านถามพวกเราว่าคนไทยอยากได้พื้นที่ป่าให้ลูกหลาน เพิ่มขึ้นหรือไม่ ตอบได้คำเดียวว่าอยาก แต่มันก็ต้องมาพร้อมกับสัดส่วนที่จะต้องจัดสรร เป็นที่ดินทำกินให้กับประชาชนคนไทยอย่างมีความเท่าเทียมกันด้วย คนไทยทุกคนมีสิทธิ ในการมีที่ดินทำกินเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงปากท้องของครอบครัว ท่านประธานคะ อย่างในเรื่องปัญหาของพื้นที่ ส.ป.ก. ที่มีปัญหาเกือบทุกจังหวัดของประเทศไทย ส.ป.ก. บางที่ไม่เหลือเค้าสภาพความเป็นป่าแล้ว เพราะความเป็นเมือง ความเป็นชุมชน มันได้ขยาย และลามมาถึงพื้นที่ ส.ป.ก. ที่อยู่ใกล้กับเขตเมือง อย่างพื้นที่ของอำเภอเวียงชัย และอำเภอ เวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ที่มีพื้นที่ติดกับเขตเมือง ความเป็นชุมชนเมืองก็ได้ขยาย จนบริบทในพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้เกิดผลกระทบและข้อพิพาทระหว่างประชาชน กับรัฐ รวมถึงความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้มีการมองถึงบริบทในพื้นที่ที่เปลี่ยน จากความเป็นป่า กลายเป็นชุมชนเมืองที่ประชาชนได้เข้ามาอยู่อาศัย ดังนั้นหากบริบท รอบข้างมันได้เปลี่ยนแปลงไป ก็อยากให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบได้เข้ามา สำรวจพื้นที่และหาข้อสรุปร่วมกันกับประชาชนในพื้นที่ และในบางพื้นที่ชาวบ้านยังมี ความสับสนในการออกเอกสารสิทธิ หรือออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ ส.ป.ก. น.ส.ล. น.ส. ๓ ว่า ที่ดินนั้น ๆ สามารถออกโฉนดได้หรือไม่ เพราะอย่างบางพื้นที่ที่ดิน ส.ป.ก. น.ส.ล. ของนายทุนอยู่ตรงกลาง ขนาบด้วยที่ดิน ส.ป.ก. น.ส.ล. ของประชาชนทั่วไป แต่กลายเป็นว่า ที่ดินของคนรวยของนายทุนสามารถออกเป็นเอกสารสิทธิหรือโฉนดได้ แต่ในทางกลับกัน ที่ดิน ส.ป.ก. หรือ น.ส.ล. ของชาวบ้านในพื้นที่กลับขอเอกสารสิทธิ ขอโฉนดไม่ได้ ตัวอย่าง พื้นที่ หมู่ที่ ๕ บ้านแม่เฟือง หมู่ที่ ๗ บ้านป่าตึง หมู่ที่ ๑๑ บ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ที่ชาวบ้านตาดำ ๆ ในพื้นที่หลายร้อยหลังคาเรือนยังคงรอคอย การแปลงเป็นโฉนดมากว่าทั้งชีวิต แต่ที่ดินของนายทุนกลับออกเอกสาร ออกโฉนดได้ อย่างต่อเนื่อง เลยต้องถามดัง ๆ ในสภาและขอพูดแทนใจประชาชนคนไทยอีกหลายล้านคน อีกสักครั้งหนึ่งว่าคนจนมีสิทธิไหมคะ คนจนยังมีโอกาสขอสิทธิในที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ได้เท่าเทียมเหมือนกับคนรวยไหมคะท่านประธาน ท่านประธานคะ ปัญหาหลัก ๆ ที่ดิฉัน ได้ลงพื้นที่ เขต ๒ จังหวัดเชียงรายในเรื่องของปัญหาที่ดินส่วนใหญ่
ข้อแรก คือการขาดความรู้ความเข้าใจของประชาชนในขั้นตอนการจัดเตรียม เอกสาร และหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิ ประชาชนคนไทยขาดเพียงแค่ข้อมูลจากหน่วยงาน ของภาครัฐที่เพียงพอในการจัดทำเอกสารและหาหลักฐาน หากประชาชนได้รับข้อมูล หรือขั้นตอนในการร้องขอเอกสารตามขั้นตอนของระบบราชการ งานของข้าราชการ ที่บอกว่าจำนวนของข้าราชการไม่เพียงพอมันก็จะน้อยลง คนไทยบางรายเฝ้าขอการมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกินของตัวเองมานานหลายปี บางคนรอมา ๑๐-๒๐ ปี บางรายรอมา ๓๐-๔๐ ปี บางรายรอมา ๕๐ ปี และบางรายรอเอกสารสิทธิ รอการครอบครองโฉนดมา ทั้งชีวิตค่ะท่านประธาน ประชาชนคนไทยก็ต้องการเพียงเท่านี้ ขอแค่ภาครัฐได้เอาใจใส่และแจ้งขั้นตอนตามกฎหมาย หรือขั้นตอนระเบียบปฏิบัติต่อประชาชนคนไทยอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ประชาชน คนไทยอย่างพวกเราทุกคนก็พร้อมที่จะทำตามขั้นตอนของทางราชการอย่างไม่มีข้อแม้ค่ะ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องของระเบียบขั้นตอนของทางราชการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับรู้ข้อมูลที่แท้จริงหรือความชัดเจนของหน่วยงานภาครัฐ ว่าขั้นตอน การขอเอกสารสิทธิมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ต้องมีการพิสูจน์สิทธิอะไร และต้องมีการเตรียม เอกสารอย่างไร รวมถึงระยะเวลาในการดำเนินการว่าแต่ละขั้นตอนต้องมีการใช้ระยะเวลา ยาวนานเพียงใด หากจะมีการปฏิเสธในการออกเอกสารสิทธิก็ต้องชี้แจงเหตุผลที่ชัดเจน และเจาะจงกับประชาชนว่าขาดเอกสารตรงไหน อย่างไร และมีวิธีการที่จะช่วยเหลือพ่อแม่ พี่น้องประชาชนได้อย่างไรบ้าง ก็ย้ำว่าประชาชนคนไทยต้องการเพียงแค่ข้อมูล และความชัดเจนจากทางภาครัฐ และดิฉันคิดว่าทางท่านรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็คงจะรับทราบปัญหานี้และคงจะเร่งมือหาวิธีการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน ของพ่อแม่พี่น้องประชาชน และดิฉันหวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้ทางหน่วยงานภาครัฐคงจะได้ พัฒนาโปรแกรม หรือ Application ที่สามารถตรวจดูได้ว่าเอกสารที่ร้องขอการขอเอกสารสิทธิ ของประชาชนได้อยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว เพื่อให้ประชาชนได้อุ่นใจว่ารัฐไม่ได้ทอดทิ้งประชาชน
ในส่วนข้อที่ ๒ ของเราก็คือทางประเทศไทยเรายังไม่ได้มีแผนแม่บทที่เป็น ของส่วนกลางหรือที่ทุกหน่วยงานยอมรับ และต้องปฏิบัติภารกิจในเรื่องที่ดินร่วมกัน ต่างคน ต่างทำงาน ต่างคนต่างตัดสินใจ และในตัวบทกฎหมายก็ยังมีความล้าหลัง ไม่ได้ปรับปรุง ให้ทันบริบทที่เปลี่ยนไปของสังคม รวมถึงการขาดมาตรการในการจำกัดขนาดของ การถือครองที่ดินและควบคุมการใช้ประโยชน์ของที่ดินที่มีประสิทธิภาพ ทำให้มี ความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดิน อีกทั้งข้อมูลในเรื่องของที่ดิน ก็ยังกระจายอยู่ในแต่ละกรมและกระทรวง ไม่ได้มีการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง กระทรวงหรือกรมอย่างเพียงพอ ดิฉันก็หวังว่าจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งตัวบท กฎหมายที่ล้าหลัง ไม่ทันกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป รวมถึงในส่วนของข้อมูลที่ยังคงกระจาย ในแต่ละกระทรวงให้มีการรวบอยู่ที่ส่วนกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงาน ที่ต้องการดึงข้อมูล ท่านประธานคะ ในรายละเอียดดิฉันได้กล่าวไปเมื่อสักครู่ ดิฉันขออนุญาตนำเรียนเป็นข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานภาครัฐ หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของที่ดินทำกินของประชาชนคนไทยได้นำไปพิจารณานะคะท่านประธาน ในส่วนของ จังหวัดเชียงราย หากท่านจะอนุเคราะห์ส่งตัวแทนหน่วยงาน หรือถ้าเป็นไปได้ ถ้าท่านได้ส่ง ท่านอธิบดีของท่านลงมาแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินในจังหวัดเชียงรายเมื่อไร ดิฉันยินดี เป็นผู้ประสานงานในการหาทางออกร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน ชาวจังหวัด เชียงรายทุกท่าน ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันอยากจะขอปรึกษาหารือทั้งหมด ๒ เรื่องด้วยกัน
เรื่องแรก เรื่องของราคาข้าว ราคาข้าวตอนนี้ถือว่ามีราคาที่สูงขึ้นกว่า สมัยที่แล้วหรือช่วงที่ผ่านมา แต่มันมีปัญหาตรงที่ว่าพอราคาข้าวสูงขึ้นประชาชนก็ดีใจ แต่ก็มี เกษตรกรบางรายด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่เกี่ยวเอาข้าวเขียวมาผสมกับข้าวเหลือง พอเกิดปัญหานี้ขึ้นทางสหกรณ์และทางโรงสีเอกชนก็ทำการลดราคาข้าวลงมา โดยไม่ได้ สนใจว่าจะเป็นข้าวเขียวหรือข้าวเหลือง ทำให้เกษตรกรไม่ว่าจะเป็นอำเภอเวียงชัย อำเภอ เวียงเชียงรุ้ง หรืออำเภอแม่จัน ประสบปัญหาเดือดร้อนจากเหตุการณ์นี้ วันนี้ดิฉันจึงอยาก จะมาสอบถามถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานที่ควบคุมกำกับดูแลว่าเป็นไปได้ หรือไม่ว่าทางสหกรณ์หรือผู้กำหนดราคารับซื้อข้าวจะตั้งราคาข้าวไว้ ๒ ราคา คือราคา ข้าวเขียวและราคาข้าวเหลือง เพื่อไม่เป็นการซ้ำเติมเกษตรกรที่กำลังจะลืมตาอ้าปากได้จาก การทำงานเชิงรุกของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ใครนำข้าวเหลืองมาควรจะได้ราคาข้าวในราคา ๑๒-๑๓ บาท หรือสูงกว่านั้นตามราคาหรือกลไกตลาด ส่วนเกษตรกรท่านได้นำข้าวเขียว มาขายหรือผสมกับข้าวเหลือง ก็ควรจะได้อีกราคาหนึ่งที่ทางสหกรณ์ตั้งไว้ เพื่อความยุติธรรม กับเกษตรกรไทยค่ะ ขอฝากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยตรวจสอบและพิจารณาในเรื่อง ปัญหาราคาข้าวหน้าโรงสีด้วยนะคะ
เรื่องที่ ๒ คือเรื่องการขาดแคลนน้ำอย่างหนักในพื้นที่บ้านทุ่งยั้ง และอีก หลายหมู่บ้านของตำบลผางาม อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ตอนนี้การขาดแคลนน้ำ ค่อนข้างรุนแรงมากค่ะท่านประธาน ถึงแม้จะมีการเจาะน้ำบาดาลแล้วแต่มันก็ไม่เพียงพอ เนื่องจากพอสูบน้ำขึ้นมาในระยะหนึ่งน้ำข้างใต้ก็ไม่เหลือ ต้องมีการขนส่งน้ำจากพื้นที่อื่น มาช่วยบรรเทา จะมีการส่งน้ำวันเว้นวัน หรือบางทีเป็นอาทิตย์ละครั้ง และล่าสุดประชาชน ในพื้นที่เดือดร้อนจนต้องมีการหยิบยืมเงินวัดมาเจาะน้ำบาดาลเพิ่มอีกบ่อหนึ่ง ท่านประธานคะ ประชาชนคนไทยต้องสิ้นไร้หนทางถึงขนาดนี้เลยหรือคะ ดิฉันจึงอยากขอฝากปัญหาเรื่องน้ำ ในพื้นที่ตำบลผางาม อำเภอเวียงชัย ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าหากหน่วยงานอยากลง พื้นที่ดิฉันยินดีพาท่านไปพบเจอพ่อแม่พี่น้องประชาชน ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทย ในญัตติเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทาง การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร หรือไม่มีสัญชาติไทย ดิฉัน ขออนุญาตอภิปรายสนับสนุนในประเด็นที่เกี่ยวข้องและสำคัญ รวมถึงข้อเสนอแนะในญัตตินี้ ทั้งหมดในภาพรวมนะคะ จากข้อมูลบทความและงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นของคุณนิติพล คงสมบูรณ์ ในเรื่องปัญหาในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติในประเทศไทย หรือเรื่องของการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการจัดการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติ ในประเทศไทย ของคุณสุภาภรณ์ ชาวสวน และคุณไพฑูรย์ โพธิสว่าง มีการศึกษาเรื่องที่ น่าสนใจหลายประเด็น อย่างในพื้นที่ภาคเหนือและพื้นที่ชายแดนที่ติดต่อกับประเทศ เพื่อนบ้าน ยังมีกลุ่มคนไร้สัญชาติอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการอพยพเข้ามาในประเทศไทยเพื่อหนี สงครามในพื้นที่ หรือจะเป็นการอพยพเพื่อเข้ามาหาพื้นที่ทางทำกินเข้ามาหาอนาคต ในประเทศไทย โดยจำนวนของบุคคลที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ๓ ลำดับแรก อาศัยอยู่ใน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก และจังหวัดเชียงราย ซึ่งในจังหวัดเชียงรายจังหวัดบ้านเกิด ของดิฉันเองค่ะท่านประธาน มีจำนวนสูงถึง ๑๓๐,๐๐๐ กว่าคนในปี ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากและสูงขึ้นในทุก ๆ ปี ท่านประธานคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญมาก นั่นก็คือเด็กที่คลอดออกมา บนขอบเขตดินแดนประเทศไทย กลุ่มเด็กที่เกิดขึ้นบนดินแดนของประเทศไทยเหล่านี้ค่ะ ท่านประธาน ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในประเทศไทยได้ ทำให้ชีวิต ของเด็ก ๆ เหล่านี้ไม่มีความมั่นคงในชีวิตตามหลักมนุษยชน ในส่วนของหน่วยงาน ภาครัฐที่เกี่ยวข้องดูแลในเรื่องของบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ก็คือ ๑. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่มีหน้าที่ในการดูแลเรื่องสัญชาติและทะเบียนราษฎร ๒. หน่วยงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติ จะดูแลเรื่องความมั่นคง ๓. กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ดูแลเรื่องชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มคนไร้สัญชาติ
โดยปัญหาหลัก ๆ ที่พบเจอในขั้นตอนของการขอสัญชาติ คือระยะเวลา ในการดำเนินงานที่ยาวนานมาก รัฐเองไม่ได้ทำงานในเชิงรุกและไม่ได้กระตือรือร้นที่จะ พิสูจน์สิทธิหรือพิสูจน์สัญชาติของกลุ่มบุคคลชายขอบไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และทางภาครัฐก็ไม่ได้ มีเป้าหมายตัวเลขที่ชัดเจนว่าจะมีการพิสูจน์สัญชาติให้เสร็จสิ้นเป็นจำนวนตัวเลขเท่าใด ในแต่ละปี ทำให้มีเหล่าพี่น้องชาติพันธุ์และบุคคลไร้สัญชาติบนผืนแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะเป็น รุ่นที่ ๒ รุ่นที่ ๓ หรือรุ่นที่ ๔ มีจำนวนตัวเลขตกค้างเป็นจำนวนมาก และตัวเลขจำนวนนี้เอง ทำให้เกิดการจำกัดการเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาที่เด็ก ๆ ชาติพันธุ์ หรือเด็ก ไร้รัฐ ไร้สัญชาติเหล่านี้ควรที่จะได้รับก็ถูกตัดโอกาสค่ะท่านประธาน ซึ่งในท้ายที่สุดเด็ก ๆ ที่ไร้รัฐ ไร้สัญชาติเหล่านี้ก็อาจจะมีโอกาสที่ถูกชักจูงหรือล่อลวงเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ ข้ามชาติก็เป็นไปได้
ในส่วนของตัวเลขของเด็กนักเรียนที่ไม่มีเลขบัตรประชาชน ตามข้อมูล ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปี ๒๕๖๖ นั้น มีจำนวนถึง ๘๑,๘๖๖ คน โดยดิฉันเชื่อว่ายังมีจำนวนเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติอีกจำนวนมากที่ยังตกหล่น ตกสำรวจ ทำให้ ไม่มีโอกาสในการเข้าสู่สวัสดิการด้านการศึกษาตามหลักมนุษยชน ดิฉันจึงอยากจะฝากถาม ท่านประธานไปยังหน่วยงานของภาครัฐ นั่นก็คือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ซึ่งทางหน่วยงานอาจจะมีงานหนักสักเล็กน้อยนะคะท่านประธาน เพราะดิฉัน จะขออนุญาตเสนอแนะว่าหน่วยงานของท่านอาจจะต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคและไม่สอดคล้องกับปัญหาของเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติในยุคปัจจุบัน รวมถึง การบริหารงานที่อิงจากคำสั่งศูนย์กลางที่นั่งอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม ห้อง Air-condition ของทาง กระทรวงหรือกรมที่เกี่ยวข้อง อาจจะไม่ได้รับข้อมูล หรือการจัดทำนโยบาย การกำหนด ทิศทาง หรือการจัดการโครงสร้างด้านการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทยที่ถูกต้อง และยังคงมีความซับซ้อน ซ้ำซ้อน และล่าช้า ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงการบริหารงาน ภายในกระทรวงหรือกรมให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นและชัดเจน รวมถึงอ้างอิงจากปัญหา และความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งทัศนคติของทางผู้บริหาร บุคลากรทางด้าน การศึกษาต่อมุมมองในเรื่องของเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ต้องไม่ใช่การมองว่าพวกเขาคือภาระ หรืออุปสรรคในการบริหารงาน หรือจะมากลัวว่าเด็ก ๆ เหล่านี้จะมาใช้ทรัพยากร ของประเทศไทย แต่พวกท่านต้องมองว่าเด็ก ๆ เหล่านี้คือทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตที่เรา จะต้องช่วยกันให้ความรู้และปลูกฝังด้านการศึกษาให้เขากลับเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศไทย ได้ในอนาคตค่ะ
ท้ายที่สุดนี้นะคะท่านประธาน พี่น้องชาติพันธุ์ของเรา เด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทยของพวกเราต้องเสียน้ำตาอีกกี่หยด ต้องผิดหวังในชีวิตอีกกี่ครั้ง และต้องเสียระยะเวลาในการรอคอยภาครัฐมาพิสูจน์สิทธิหรือสัญชาติอีกกี่สิบปี หรือพี่น้อง พวกเรากลุ่มนี้ต้องรอคอยภาครัฐเข้ามาเหลียวแลทั้งชีวิต ยิ่งยืดระยะเวลาการทำงานที่ล่าช้า ของภาครัฐ ก็จะเท่ากับการตัดโอกาสในการมีชีวิต และการมีโอกาสที่จะมีอนาคตที่สดใส ของเหล่าพี่น้องชาติพันธุ์และบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติบนผืนแผ่นดินไทย ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอ แม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธานคะ วันนี้ดิฉันมีเรื่องปรึกษาหารือของพ่อแม่พี่น้องเขต ๒ จังหวัดเชียงราย ทั้งหมด ๒ เรื่อง
ในเรื่องแรกเป็นเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ปัญหานี้เกิดจากการผลิตน้ำประปาของ สาขาเชียงรายไม่เพียงพอ แรงดันน้ำก็ไม่เพียงพอ มาไม่ถึงตำบลนางแล อาจจะเกิดจากการ ขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรร โดยหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในฝั่งทิศตะวันออก มี ๓ หมู่บ้าน บ้านป่าห้า หมู่ที่ ๑ บ้านสันต้นขาม หมู่ที่ ๑๖ และบ้านดาวดึงส์ หมู่ที่ ๑๑ โดยหมู่ที่ ๑๑ นี้ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา ซึ่งการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงรายแจ้งว่าไม่มีงบประมาณเพียงพอในการขยายเขต การให้บริการได้อย่างเต็มที่ ดิฉันจึงอยากฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานการประปา ส่วนภูมิภาคให้เร่งสำรวจความต้องการของประชาชน และเร่งทำโครงการเพื่อนำเสนอทำการ อนุมัติอย่างเร่งด่วนค่ะ
ส่วนความเดือดร้อนของประชาชนในเขต ๒ จังหวัดเชียงราย เรื่องที่ ๒ ก็คือ พวกเราชาวตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จะขอความกรุณากระทรวงคมนาคม ช่วยปรับปรุงและขยายผิวจราจรในพื้นที่ของตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัด เชียงราย เนื่องจากปัจจุบันมีสภาพชำรุดเป็นหลุมเป็นบ่อ และบางช่วงแคบทำให้เกิดอุบัติเหตุ ต่อชีวิตประชาชนและทรัพย์สินของประชาชนหลายต่อหลายครั้ง โดยพื้นที่ที่จำเป็นที่ต้อง มีการขยายผิวจราจรและปรับปรุงถนนคือถนนทางหลวงชนบทสาย ชร.ถ ๖๖-๐๑๘ บ้านป่าเลา- บ้านสันทรายงาม เส้นที่ ๒ คือทางหลวงชนบทสาย ชร.ถ ๖๖-๐๑๖ บ้านสันทรายงาม- บ้านป่าสักงาม เส้นที่ ๓ คือทางหลวงชนบท ชร.ถ ๖๖-๐๐๑ บ้านป่าสักงาม-แยกดอยหลวง นอกจากจะป้องกันอุบัติเหตุทางด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวตำบลดงมหาวันแล้ว ยังสามารถเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่อพัฒนาด้านการค้า การท่องเที่ยว และการ บริการของอำเภอเวียงเชียงรุ้งและจังหวัดเชียงรายอีกด้วยค่ะ ทั้ง ๒ เรื่องขอฝากท่านประธาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วนที่สุด ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาหาแนวทาง การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งน้ำบาดาล น้ำบาดาลคุณภาพต่ำ และการบริหารจัดการ น้ำประปาทั้งระบบ ถือเป็นญัตติที่สำคัญและเป็นปัญหาภาพใหญ่ของประเทศที่มีปัญหา มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เพราะน้ำคือชีวิต เพราะน้ำคือทรัพยากรที่มีค่าอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบัน แต่การบริหารจัดการน้ำให้ประเทศไทยก็ยังดูจะไปคนละทิศคนละทาง ไม่ได้มี การประสานงานหรือร่วมมือกันอย่างเพียงพอที่จะทำให้มีการบูรณาการอย่างเป็นระบบ และยั่งยืน อีกทั้งในยุคปัจจุบันก็ล้วนแต่ใช้น้ำกันอย่างฟุ่มเฟือย มากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตร หรือการอุปโภคบริโภค วันนี้เราต้องยอมรับกันแล้วว่าบ้านเรา กำลังเข้าสู่ภาวะ El Nino ที่ต้องมีการเฝ้าระวังในเรื่องของภาวะแล้ง น้ำกิน น้ำใช้ หรือแม้กระทั่งน้ำที่จะทำการเกษตรอาจจะมีภาวะขาดแคลนอย่างรุนแรง ถึงแม่บ้านเราจะมี ความมุ่งมั่นในการทำแผนบริหารจัดการน้ำอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ จนถึงปี ๒๕๘๐ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการน้ำแห่งชาติหรือ กนช. รวมถึงได้จัดตั้งสำนักงาน ทรัพยากรน้ำแห่งชาติหรือ สทนช. ให้เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารงานในภาพรวม รวมถึงดึงความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐทั้ง ๓๘ หน่วยงาน โดยเน้นให้มีการบริหาร ทั้งในเรื่องน้ำกิน น้ำใช้ และมีเป้าหมายในการดูแล พัฒนา และปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน ทั้งหมดจำนวน ๑๐,๐๐๐ กว่าแห่ง และเพิ่มระบบประปาชุมชนเมือง รวมถึงขยายประปา อีกจำนวน ๑,๐๐๐ กว่าแห่ง แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินงานที่ผ่านมาของสำนักงานต่าง ๆ ที่เอ่ยมาข้างต้นก็ยังไม่ได้ตอบโจทย์ความขาดแคลนเรื่องน้ำที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ของประชาชนคนไทยในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทั้งในเรื่องน้ำประปา น้ำประปา หมู่บ้าน หรือแม้แต่กระทั่งเรื่องปัญหาของน้ำบาดาล อย่างในจังหวัดเชียงรายบ้านเกิด ของดิฉันค่ะ ทั้งอำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ต่างก็มีปัญหาในเรื่องของน้ำเช่นเดียวกัน อย่างในอำเภอเวียงชัย บางพื้นที่ได้ใช้น้ำประปา ส่วนในบางพื้นที่ยังคงใช้น้ำบาดาลเป็นหลัก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือในพื้นที่ของตำบลเวียงชัย และตำบลสิริเวียงชัยซึ่งอยู่ใกล้กับเขตเมืองมากเลย เกิดปัญหาน้ำประปาไหลเบาเหมือนแทบ จะขาดใจ ดิฉันและทีมงานเลยเข้าไปประสานติดต่อกับทางการประปาส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงราย ทางหน่วยงานแจ้งว่าการผลิตน้ำประปาของสาขาเชียงรายให้บริการในพื้นที่ ทั้งอำเภอเมืองและอำเภอเวียงชัย ๔๐,๐๐๐ กว่าหลังคาเรือน รวมเป็น ๑๐๐,๐๐๐ กว่าคน ซึ่งเต็มกำลังการผลิตของทางประปาเชียงรายแล้ว อีกทั้งท่อส่งน้ำยังเป็นแบบเก่า ๓๐-๔๐ ปี ระบบการควบคุมการจ่ายน้ำยังเป็นแบบ Manual ทำให้การผลิตน้ำไม่เพียงพอที่จะกระจาย ไปยังผู้ใช้ทุกครัวเรือนได้ จำเป็นต้องหางบประมาณกว่า ๗๐๐ ล้านบาท มาปรับปรุง และบำรุงการขนส่ง ตอนนี้ทางประปาจังหวัดเชียงรายได้ส่งหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และได้มีการส่งต่อไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำเข้า Board ผู้บริหารของประปา เป็นผู้พิจารณา แต่ก็อาจจะใช้ระยะเวลายื่นของบประมาณที่นานมาก และที่ดิฉันกล่าวมา ข้างต้นคือตัวอย่างเพียงบางส่วนของข้อจำกัดในการบริหารงานในเรื่องของน้ำของทาง ภาครัฐ และในพื้นที่ของตำบลผางาม อำเภอเวียงชัย แม้กระทั่งน้ำบาดาลยังไม่เพียงพอ จะเจาะตื้นน้ำก็ไม่มี จะเจาะลึกกว่าเดิมก็ไม่มีงบประมาณ ต้องขอรถขนน้ำจากหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งนำน้ำมาส่ง อย่างดีก็วันเว้นวัน หรือบางทีก็อาทิตย์ละครั้ง ประชาชน อย่างพวกเราจะอยู่กันได้อย่างไร ท่านประธานคะแล้วก็ในพื้นที่ของตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย น้ำประปาไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน การประปาส่วนภูมิภาคมีการแจ้งว่าถ้าจะขอขยายท่อประปา จะตกอยู่ที่กิโลเมตรละ ๑ ล้านบาท ๑ ล้านบาทนะคะท่านประธาน แล้วต้องให้ท้องถิ่นเป็นคนชำระ แค่นี้งบประมาณ ของท้องถิ่นก็ไม่เพียงพอในการบริหารแล้วค่ะ ข้อติดขัดเหล่านี้เราจะสามารถช่วยเหลือ ประชาชนคนไทยของเราได้อย่างไร แล้วถ้าหากเราวกกลับมาดูเรื่องของน้ำประปาหมู่บ้าน ซึ่งเป็นระบบที่สร้างขึ้นมาทดแทนระบบน้ำประปาโดยตรง ซึ่งควรที่จะมีความสะอาด หรือคุณภาพตามมาตรฐานสากลตามที่หน่วยงานได้วางระหว่างวัตถุประสงค์ไว้ แต่ท่านประธานคะ ดิฉันไปแต่ละพื้นที่ในเขตของดิฉันแล้วมันสะท้อนใจค่ะ น้ำประปา หมู่บ้านบางที่มีกลิ่น มีสีชาไทย สีโกโก้ สีโอวัลติน บางที่ท่อแตก ท่อเล็ก ท่อตัน Submerged ตัวเล็กดูดน้ำไม่ขึ้น ไม่เพียงพอ ค่าไฟอลังการเพราะ Submerged ต้องทำงานตลอด ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้นวันนี้เราต้องหันกลับมาทำเรื่องของประปาหมู่บ้านให้มีความแข็งแรง เพื่อให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในแต่ละพื้นที่ได้เบาบางลง ท่านประธานคะ เราต้องจัดทำงบประมาณที่จะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำของพ่อแม่พี่น้องประชาชน อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรงบ ขุดเจาะน้ำบาดาล อ่างเก็บน้ำ ฝาย การปรับปรุง ระบบน้ำประปาส่วนภูมิภาคให้มีความทันสมัย สรรหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ การใช้น้ำของประชาชน รวมถึงจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบประปาหมู่บ้านให้มี ท่อส่งน้ำที่ใหญ่มากขึ้น แข็งแรงมากขึ้น รวมถึง Submerged ที่ควรผสมผสานให้มีการใช้ Solar Cell เพื่อลดค่าไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน และนี่คือข้อคิดเห็นของดิฉันเบื้องต้น ที่จะตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในเรื่องน้ำอย่างแท้จริง ท่านประธานคะ หากในวันนี้จะส่งญัตติที่ดิฉันได้อภิปรายเข้าคณะกรรมาธิการสามัญที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะตั้ง อนุกรรมาธิการมาศึกษาเรื่องน้ำประปา น้ำบาดาลอย่างจริงจัง ดิฉันก็ยินดีที่สภาชุดนี้ จะเล็งเห็นถึงปัญหาที่อาจจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ ของคนในเมือง แต่สำหรับคนต่างจังหวัด อย่างดิฉัน เรื่องน้ำคือเรื่องใหญ่ เพราะว่าน้ำคือชีวิต
สุดท้ายนี้ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลโดยท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุกท่านที่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ดิฉันมีความเชื่อและมีความหวังว่าการแก้ไข ปัญหาในเรื่องน้ำบาดาล น้ำประปา หรือเรื่องน้ำในการอุปโภคบริโภค ภายใต้รัฐบาล ชุดปัจจุบัน จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่ ไม่ช้าก็เร็ว อีกทั้งดิฉันจะขอฝากผ่านท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่กำกับดูแลการประปาส่วนภูมิภาคว่าดิฉัน เชื่อมือท่านและวิสัยทัศน์ของท่านในเรื่องของการบริหารเรื่องน้ำประปาส่วนภูมิภาคที่มี ปัญหาในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณมาอย่างช้านาน ท่านเป็นคนคิดเร็ว ทำเร็ว และเด็ดขาด ดิฉันอยากจะขอฝากปัญหาเรื่องน้ำประปาของประชาชนชาวจังหวัดเชียงราย ไว้ในมือของท่านด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ก่อนที่ดิฉันจะอภิปรายในเรื่องของ ร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ดิฉันอยากให้ทุกท่านได้เห็นเครื่องแต่งกายที่ดิฉันสวมใส่มาในวันนี้ค่ะ เป็นฝีมือของ พี่น้องชาติพันธุ์บ้านเวียงราชพลี ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เป็นการปักด้วยมือทั้งหมด สะท้อนถึงศิลปะรวมถึงวัฒนธรรมของพี่น้องชาติพันธุ์ ที่มีทั้งเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ และในส่วนของเรื่องร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... เป็นเรื่องที่ดิฉันให้ความสำคัญและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ชุมชนชาติพันธุ์ท้องถิ่นดั้งเดิมกระจายอยู่ในประเทศไทย ในแต่ละภูมิภาคมาอย่างยาวนาน มีวิถีการใช้ชีวิตและวัฒนธรรมที่หลากหลาย รวมถึงภูมิปัญญาและองค์ความรู้ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นปราชญ์ของพี่น้องชาติพันธุ์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีการใช้ชีวิต ยารักษา โรคพื้นบ้าน รวมถึงภาษาที่เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ตัวอย่างที่ดิฉันได้มีโอกาส ไปเยี่ยมเยียนพี่น้องชาติพันธุ์อาข่าเวลาไปประชุมหมู่บ้าน ดิฉันก็จะใช้คำพูดที่บอกว่า อู่ดู่ถ่องมะ แปลว่าสวัสดีค่ะ พอรับฟังปัญหาของพ่อแม่พี่น้องเสร็จ พอจะขอตัวกลับบ้าน ก็พูดคำว่า กื่อหล่องหื่อมะ แปลว่าขอบคุณค่ะ และนี่คือความสวยงามของภาษาชาติพันธุ์ ที่ดิฉันตั้งใจ แล้วก็อยากจะเรียนรู้กับพี่น้องชาติพันธุ์ต่อไปเรื่อย ๆ ค่ะ แต่ท่านประธานคะ สิ่งสำคัญที่ดิฉันมีความสะท้อนใจและเสียใจที่เหล่าพี่น้องชาติพันธุ์ของพวกเราต้องพบเจออยู่ เป็นประจำ นั่นก็คืออุปสรรคในการเข้าถึงความช่วยเหลือของทางภาครัฐที่พี่น้องของพวกเรา ควรจะได้รับ รวมถึงสวัสดิการด้านอื่น ๆ ที่ได้มาอย่างจำกัดจำเขี่ย อย่างในเรื่องของ การเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานของลูกหลานพี่น้องชาติพันธุ์ ที่ต้องบอกว่ามีการเข้าถึง อย่างจำกัดอย่างที่ดิฉันเคยได้อภิปรายไปในสภาครั้งที่แล้ว หรือแม้กระทั่งการขอสัญชาติ ที่ดิฉันเคยสะท้อนไปในสภานะคะว่า พี่น้องชาติพันธุ์ของดิฉันบางท่านรอการพิสูจน์สัญชาติ มาอย่างยาวนาน บางท่านรอมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๓๐ ปี แต่บางท่านรอมาทั้งชีวิตก็ยังไม่ได้มีคน จากทางภาครัฐมาพิสูจน์สัญชาติ รวมถึงเรื่องของที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยก็จะได้รับความสำคัญ รองลงมาจากคนทั่วไป และนี่เป็นแค่ปัญหาเบื้องต้นของความเหลื่อมล้ำเบื้องต้นบางปัญหา เท่านั้นที่เหล่าพ่อแม่พี่น้องชาติพันธุ์ของดิฉันได้พบเจอ ดังนั้นในเรื่องของร่างพระราชบัญญัติ สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ดิฉันมีเหตุผลที่นำมาสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ดังนี้
๑. การจัดตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองจะทำให้เหล่าพี่น้องชาติพันธุ์มีพื้นที่ในการ สะท้อนถึงปัญหาและความต้องการของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์นำมาถกกัน เพื่อหาทางออก อย่างเป็นรูปธรรม และสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยแห่งนี้จะเป็นเวทีของเพื่อนมนุษย์ ด้วยกันที่จะมีความเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาค คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และ พัฒนาคุณภาพชีวิตไปด้วยกัน อีกทั้งการจัดตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองก็จะมีการใช้หลัก ในการคัดเลือกและดำรงตำแหน่งตามหลักสากลทั่ว ๆ ไป และตัวสภาชนเผ่าพื้นเมือง ก็จะเป็นแหล่งขับเคลื่อนกับการพัฒนาชนกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่ม รวมถึงการถกปัญหา ซึ่งกันและกันเพื่อพัฒนาชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน
๒. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยจะเป็นช่องทางทำให้เกิด ความเชื่อมโยงและเชื่อมต่อของกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ในประเทศไทยกับหน่วยงานของ ทางภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตัวคณะทำงานของคณะรัฐบาลเอง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือรวมถึงนักกฎหมายและประชาชนทั่วไป สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยจะเป็น ศูนย์กลางความช่วยเหลือของทุกชาติพันธุ์รวมกัน แต่อย่างไรก็ตามดิฉันก็มีความคาดหวัง นะคะว่าถ้ามีการจัดตั้งสภาแห่งนี้แล้ว สภาของพวกท่านหรือสภาของพี่น้องชาติพันธุ์ จะต้องไม่ถูกครอบงำหรือถูกแทรกแซงจากทางภาครัฐ และสภาแห่งนี้จะต้องเป็นอิสระ อย่างแท้จริง นี่คือความคาดหวังของดิฉันค่ะ
๓. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย จะเป็นสภาที่ให้พวกเราทุกคนได้เห็น ถึงความมีตัวตน ความคงอยู่ของพี่น้องชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพราะพวกเราทุกคน คือมนุษย์ด้วยกัน จากเหตุผลที่ดิฉันได้แสดงความคิดเห็นไปในเบื้องต้น ดิฉันจึงเห็นว่า ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะปฏิเสธการจัดตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และสภาชนเผ่า พื้นเมืองแห่งประเทศไทยแห่งนี้จะส่งเสริมให้พวกเราอยู่ด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ อย่างสงบสุข และอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความแตกต่างในด้านของภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ตามหลักสิทธิมนุษยชนที่พึงมี สุดท้ายนี้ดิฉันและพรรคเพื่อไทยเราขอยืนยันนะคะว่า เราจะทำงานเป็นผู้แทนราษฎรของพี่น้องชาติพันธุ์อย่างเต็มที่และอย่างสุดความสามารถ อย่างแน่นอน ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอ แม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธานคะ การที่มนุษย์อยู่ในโลกในสังคมสิทธิขั้นพื้นฐานตั้งแต่แรกเกิด คือการได้ สูดอากาศก่อนที่จะได้ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารด้วยซ้ำไปนะคะ อากาศถือว่าเป็นสิทธิขั้น พื้นฐานที่แท้จริงของความเป็นมนุษย์ แต่เมื่อมนุษย์ได้อยู่กับอากาศจนเคยชินก็เลย ไม่ได้ให้ความสำคัญ โดยเห็นความสำคัญของอากาศที่เราสูดหายใจกันอยู่ในทุก ๆ วันค่ะ อากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงไป อากาศไม่สะอาด ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลยค่ะ ท่านประธาน หากแต่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเกิดจากการเดินทาง การใช้ยานพาหนะ การเข้าห้องน้ำถ่ายของเสียหรือกิจกรรมอื่น ๆ กิจกรรมเกือบร้อยละ ๙๙ ทำให้เกิดปัญหา ในเรื่องของมลภาวะ โดยเฉพาะมลภาวะทางอากาศ เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน หรือที่เราเรียกกันว่า PM2.5 อนุภาคขนาดเล็กของ PM2.5 นี้สามารถแทรกซึม เข้าไปในปอด เป็นสาเหตุหรือจุดกำเนิดทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขในปี ๒๕๖๓ มีผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทาง อากาศเกือบ ๗ ล้านคน ส่วนในปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาเพิ่มสูงเกินกว่าสิบล้านคน และมีแนวโน้ม ที่สูงขึ้นในทุก ๆ ปี โดยเฉพาะในฤดูร้อน หรือฤดูแล้งของประเทศไทย มักจะเกิดปัญหานี้ อยู่ตลอดเวลาจนทำให้ประเทศไทยเราในทุกวันนี้ ช่วงไหนที่มีอากาศแห้งแล้งก็จะเกิดปัญหา กังวลใจกันในเรื่องของฝุ่น PM2.5 แล้วก็จะตื่นตระหนกกันครั้งหนึ่ง
สำหรับสิ่งที่เกิดมลภาวะทางอากาศในประเทศไทยที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ภาคของการเกษตร พวกเรายังมีการเผาไร่อ้อยเพื่อเก็บเกี่ยว เผาไร่นาเพื่อลดต้นทุน ตัดป่า เผาป่าเพื่อปลูกพืชไร่ หรือแม้กระทั่งการเดินป่าหาอาหารในป่าค่ะท่านประธาน ไม้ขีดก้าน เดียว ก้นบุหรี่เพียงก้นเดียวก็สามารถทำให้เกิดไฟป่าได้ เพราะฉะนั้นเมื่อไฟป่าเกิดขึ้น คนก็บอกว่าเกิดจากชุมชนบ้าง เกิดจากประชาชนทำให้เกิดไฟป่า แล้วเราค่อยตรวจสอบ โดยการใช้ Hotspot ในการตรวจสอบค่ะ แต่เมื่อมาเปิดดูจุดความร้อนต่าง ๆ แท้ที่จริงแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการบริหารจัดการเรื่องป่าไม้ค่ะ เรื่องการเผาในพื้นที่โล่ง ในเรื่องของป่าไม้ เรื่องนี้ดิฉันขอยกตัวอย่างนะคะ ต้นไม้พอมีการเจริญเติบโตกิ่งก้านใบ ใบก้านกิ่ง มีการหลุด ร่วงทับถมกลายเป็น Thickness ของป่า เมื่อเข้าถึงฤดูแล้งสิ่งเหล่านี้ก็คือเชื้อเพลิงชั้นดีทำให้ เกิดไฟป่าขึ้น เพราะฉะนั้นถ้ารัฐบริหารจัดการให้ดีในสิ่งเหล่านี้ เอาเชื้อเพลิงชั้นดีเหล่านี้นำมา เผาในระบบปิด แล้วทำให้เกิดความร้อนเราสามารถทำกระแสไฟฟ้าจากสิ่งเหล่านี้ก็ยังได้เลย นะคะท่านประธาน วันนี้เราจะมาโทษประชาชน โทษชาวบ้านอย่างเดียวไม่ได้แล้วค่ะ เราต้องย้อนกลับมาดูว่าการบริหารจัดการของทางภาครัฐเองด้วย
ในส่วนของปัญหาผลกระทบระหว่างประเทศ ดิฉันมีตัวอย่างที่ทางประเทศ อินโดนีเซีย เหตุการณ์หมอกควันพิษ เมื่อใช้ดาวเทียมตรวจสอบแล้วปรากฏว่ากลุ่มควัน เหล่านี้สามารถเคลื่อนย้ายจากประเทศอินโดนีเซียไปยังประเทศเกาหลีใต้ได้ เพราะฉะนั้น ปัญหาหมอกควันนี้มันไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นว่าทำรั้วกั้นเขตแดนแล้วควันจะไม่เคลื่อนย้าย ปัญหาเรื่อง PM2.5 ตอนนี้มันเป็นเรื่องของการไร้พรมแดน Transboundary ดังนั้น การแก้ไขปัญหาถึงต้องมีการร่วมมือร่วมใจกันระหว่างประเทศ แต่มันก็จะมีปัญหาบางอย่าง รอบ ๆ ประเทศเราที่อาจจะต้องใช้ความสัมพันธ์ที่มันพิเศษขึ้น อย่างประเทศเพื่อนบ้านของ เรามีชนกลุ่มน้อยเยอะมาก มีการแบ่งการบริหารพื้นที่ในการจัดการดูแลตัวเอง ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะใช้กระทรวงการต่างประเทศในการเจรจา ในการคุยกันก็ยังไม่จบค่ะ เพราะชน กลุ่มน้อยเหล่านี้เขาไม่ฟังเสียงรัฐบาลของเขา ปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้จึงต้องใช้ทั้งวิธีทาง กฎหมายระหว่างประเทศและความสัมพันธ์กับชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ รวมถึงการร่วมมือร่วมไม้ จากบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ที่การลงทุนของพวกท่านต้องคิดถึงผู้บริโภคในทุก ๆ ด้าน ไม่ใช่มองแต่ความร่ำรวยของตัวเองจนลืมนึกถึงความเป็นมนุษย์และผลกระทบต่อพี่น้อง ประชาชนทั้งประเทศค่ะ ท่านประธานคะ สิ่งที่ดิฉันได้กล่าวมาข้างต้นปัญหามันไม่ได้เกิดจาก การเผาไหม้ในภาคของการเกษตรที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ CO2 หรือเกิดจาก การเผาไหม้ของยานพาหนะ หรือเกิดควันจากโรงงานอุตสาหกรรมเพียงเท่านั้นค่ะ แต่หากจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพภูมิอากาศด้วย และถ้าหากสภาแห่งนี้เห็น ด้วยกับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการอากาศ สะอาด ดิฉันอยากจะขอฝากทางกรรมาธิการค่ะว่า นี่เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาหรือรับปัญหา ไปเพียงเบื้องต้นเท่านั้น เพราะปัญหาที่แท้จริงแล้วพวกเราจะต้องร่วมมือร่วมใจกัน มิใช่เพียงแต่ในประเทศเท่านั้น แต่จะต้องร่วมมือกันในทุก ๆ ประเทศ เพราะสาเหตุที่ปัญหา นี้เกิดขึ้นมันหมุนเวียนไปตามสภาพอากาศทั่วโลก ฝนตกที่บ้านน้อง ฟ้าร้องถึงบ้านพี่ ดังนั้น ดิฉันจึงขอเสนอให้คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการอากาศ สะอาดชุดนี้ให้เสนอเป็นนโยบายของรัฐบาลด้วยว่า
ประเด็นแรก การออกกฎหมายควรจะต้องมีการบังคับใช้ได้จริง ต้องมี การบังคับใช้อย่างเข้มงวดจริง ๆ และถ้าจะให้ดิฉันเข้าไปนำเสนอในประเด็นนี้ต่อคณะกรรมาธิการ ดิฉันก็ยินดีให้ความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการทุก ๆ ท่านค่ะ
ประเด็นที่ ๒ เราต้องเร่งสร้างเครือข่ายกับเครื่องมือกับนานาประเทศค่ะ ดิฉัน จะขอยกตัวอย่างเรื่องตลกที่เกิดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย มีการเผาป่า มีการร้องเรียน ประเทศใน ASEAN ก็มีการส่งคณะทำงานเข้าไปตรวจสอบ แต่ทางประเทศต้นทางไม่เข้า เพราะเขาถือว่านี่คืออำนาจอธิปไตยของเขา ไม่สามารถเข้าได้ แต่จริง ๆ สาเหตุเบื้องลึกก็คือ การเผาป่าเพื่อปลูกปาล์มค่ะ ซึ่งกลายเป็นหัวคะแนนรายใหญ่ของประเทศเขา ซึ่งประเด็นนี้ ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางการเมืองเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการสร้างเครือข่าย ในนานาประเทศเนื่องจากแต่ละประเทศมีระดับเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน มันจึงมีความจำเป็น ที่ต้องร่วมมือกัน ประเทศไหนที่มีความรู้ ประเทศไหนที่มีทุน ประเทศไหนที่มีเครือข่าย ต้องช่วยกัน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็ต้องเป็นนโยบายที่รัฐต้องเร่งทำด้วย และร่างพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ก็ต้องมีการบังคับใช้ให้เห็นได้ชัดเจน เข้มงวด และต้องได้ผลด้วยค่ะ
ประเด็นที่ ๓ ประเทศไทยต้องยกระดับตัวเองในองค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะใน UN หรือองค์การสหประชาชาติ เพราะถึงแม้ว่าเราจะมีสภาความมั่นคงในด้าน การรบ การป้องกันสงคราม การป้องกันไม่ให้เกิดภัยพิบัติทางนิวเคลียร์ แต่อันที่จริงแล้ว สิ่งสำคัญที่จะทำให้มนุษยชาติสูญพันธุ์ สายพันธุ์บางสายพันธุ์ได้สูญหายไปหรือที่เรียกว่า Species Endangered คือการสูญพันธุ์ของสัตว์บางชนิดหรือทำให้โลกได้เปลี่ยนแปลงไป มันหนักยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูอีกนะคะท่านประธาน เพราะฉะนั้นประเทศไทยภายใต้ การบริหารงานของท่านนายกรัฐมนตรีค่ะ ในเรื่องนี้ดิฉันขอเสนอแนะด้วยความรู้อันน้อยนิด ของดิฉันว่า ดิฉันอยากให้ท่านนายกรัฐมนตรีกรุณาไปเป็นผู้ริเริ่มในการที่จะตั้งองค์กร ความมั่นคงในด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในองค์การสหประชาชาติ เมื่อไรที่ไทยได้เป็นสมาชิก ถาวรแล้ว การจะใช้งบประมาณหรือขอความร่วมมือระหว่างประเทศเราจะได้ประโยชน์มาก ที่สุด เพราะเราเป็นผู้คิดค้นริเริ่มในเรื่องนี้ และสิ่งนี้จะเป็นผลงานที่ดีของทางประเทศไทยที่ดี ที่สุดด้วยค่ะ แต่ถ้าหากทางรัฐบาลหรือว่าทางคณะกรรมาธิการจะใช้ให้ดิฉันไปช่วยงานไปทำ อะไร ดิฉันก็ยินดี เพื่อที่จะทำให้งานนี้เดินหน้าต่อไปได้ เนื่องจากเวลาที่ดิฉันได้รับมามีจำกัด ดิฉันก็จะขอใช้เวลาเพียงเท่านี้ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอ แม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธานคะ เรื่องขยะเราก็พูดกันมาไม่ต่ำกว่า ๓๐ ปีแล้ว ตั้งแต่ที่ดิฉันจำความได้ ดิฉันได้ฟังการอภิปรายจากการพูด จากการศึกษางานวิจัย จากบทความอย่างหลากหลายค่ะ แต่สภาพปัญหาวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม และประเทศไทยมีขยะเกิดขึ้น ๒๕.๗ ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็นกว่า ๗๐,๐๐๐ ตันต่อวัน โดยดิฉันมองว่าการบริหารจัดการในเรื่องปัญหาขยะ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจจะมีการบริหารจัดการที่ไม่ได้ดีเพียงพอ และถ้าเราเปรียบเทียบ พื้นที่ที่มีการจัดการขยะอย่างเยี่ยมยอดอย่างต่างประเทศแล้วก็จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการ ขยะจะเริ่มต้นตั้งแต่ครัวเรือนและชุมชน รวมถึงวิธีการลงโทษของผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม กฎระเบียบของชุมชน นั่นก็คือการปฏิเสธไม่รับขยะจากชุมชนหรือครัวเรือน และครัวเรือน จะต้องมีการแยกขยะ ไม่ว่าจะเป็นขยะเปียก ขยะแห้ง เศษไขมันหรือขยะอันตราย และการ จัดการเรื่องของขยะวันนี้เราต้องมีการแบ่งแยก Zone แล้วว่า Zone ไหนที่เป็นพื้นที่ เกษตรกรรม Zone ไหนที่เป็นพื้นที่เมือง Zone ไหนที่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม จะต้องมี การจัดการขยะที่แตกต่างกันไป การแก้ไขปัญหาในเรื่องของขยะ หากใช้การแก้ไขปัญหา อย่างในยุคปัจจุบันเพียงด้านเดียวก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องของขยะได้อย่างยั่งยืน ดิฉันขอยกตัวอย่างการบริหารจัดการขยะ อย่างจังหวัดเชียงรายบ้านเกิดของดิฉันเอง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นขยะจากเกษตรกรรมหรือครัวเรือน จะไม่ค่อยเห็นขยะจากอุตสาหกรรมหนัก แต่ในทางกลับกันใน Zone ของทางจังหวัดอื่น ๆ ที่มีทั้งอุตสาหกรรมหนัก รวมถึงขยะจาก ครัวเรือน อาจจะต้องมีการบริหารจัดการขยะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีความแตกต่างกัน ไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ และอย่างในเขตบริเวณของกรุงเทพมหานคร ก็มีนักลงทุนที่เขา เข้ามาทำ Waste to Energy คือการเอาขยะไปเผาไหม้เพื่อให้เกิดพลังงาน ซึ่งปัจจุบันนี้ โรงงานขยะที่ทำกัน ที่หนองแขมหรืออ่อนนุชก็สามารถแก้ไขปัญหาได้บางส่วน แต่เนื่องจากว่า ขยะที่นำไปเผาไหม้ก็จะมีบางส่วนที่เป็นขยะเปียก ซึ่งจะต้องมีการจัดการกำจัดน้ำ และน้ำเสีย เหล่านั้นก็จะกลายเป็นปัญหา หากเรากำจัดขยะไม่ดีก็จะเกิดการเน่าเหม็นเกิดขึ้นได้ ดังนั้น เทคโนโลยีสมัยใหม่ของการบริหารจัดการเรื่องของขยะก็อาจจะมีต้นทุนที่สูงเพิ่มมากขึ้น ไปด้วย ท่านประธานคะ การลดขยะของครัวเรือนตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางนั้นก็เป็น เรื่องที่จำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นการศึกษาเรื่องของการบริหารจัดการขยะ ไม่ว่าจะ เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือในส่วนของท้องถิ่นเอง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้ง การศึกษาหรือการป้องกันการ Prevention ตั้งแต่ครัวเรือนก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ประชาชนในครัวเรือนจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องให้ความร่วมมือเพื่อ Reduce หรือว่าลดปัญหานี้ให้น้อยลง ท่านประธานคะ พวกเรายังจำเรื่องของ 3R ได้ไหมคะ Reduce Reuse Recycle และ 3R นี้ จะเป็นสิ่งสำคัญในการเป็นแกนที่จะนำมาแก้ไขปัญหาเรื่องของ ขยะในภาพรวม แต่ถ้าหากว่า 3R ที่กล่าวมาข้างต้นยังไม่เพียงพอ เราก็ต้องคิดนำเอาขยะไป ทำเป็นพลังงานเพิ่มเติมขึ้นมา หรือที่เรียกว่า Waste to Energy อย่างที่ดิฉันได้กล่าวมา เบื้องต้น แต่ทุกอย่างมันก็อาจจะติดตรงที่ว่าท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่น อปท. แต่ละที่มีรายได้ ที่ไม่เท่าเทียมกันค่ะ พื้นที่ไหนจัดเก็บรายได้ดีก็จะมีการกำจัดขยะได้ดีไปด้วย แต่ส่วนพื้นที่ไหน ท้องถิ่นยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือมีงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ไม่ได้รับการจัดสรร งบประมาณจากส่วนกลางเข้ามา ก็อาจจะไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่าง สมบูรณ์แบบ ซึ่งอาจจะต้องมีการร่วมมือกันระหว่างท้องถิ่นกับท้องถิ่น ต้องมีการทำ MOU ร่วม และท้องถิ่นต้องจับมือกันให้แข็งแรง เพื่อที่จะช่วยเหลือกันแล้วก็ผลักดันให้การแก้ไขปัญหานี้ เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ที่ดิฉันได้ยินปัญหามาอย่างช้านาน ปัญหา อีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่าขยะค่ะ ขยะเป็นสิ่งที่ประชาชนไม่ต้องการ ดังนั้นเราก็ต้องหารือกัน อปท. ไหนที่มีพื้นที่หรือมีบริเวณที่ไว้รองรับขยะก็จะมีปัญหากับชุมชนเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ หรือแม้กระทั่งเศษขยะที่ตกหล่นระหว่างการขนส่ง ซึ่งมันรบกวนจิตใจและสุขภาพจิตของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งอาจจะมีการประท้วงกันเกิดขึ้น และหน้าที่สำคัญของทางภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือจะต้องมีการวางระบบ การจัดทำ Zoning ให้อย่างชัดเจน เพื่อประกาศให้รู้ว่าเขตนี้เป็นเขตทิ้งขยะ ซึ่งหากไม่จัด Zoning ไม่มีความชัดเจน หรือมีการจัด Zoning ที่ใกล้กับครัวเรือน บ้านเรือนของประชาชน มากเกินไป ปัญหาก็ยังจะไม่จบค่ะท่านประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะต้องวางแผนใน ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อความเป็นอยู่ของประชาชนและการท่องเที่ยวในพื้นที่ อีกทั้งเราอย่าลืมในเรื่องของ 3P Polluter Pays Principle เราต้องกลับมาดูกันแล้วว่า คนที่ก่อให้เกิดขยะหรือมลพิษส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับผิดชอบ โดยเฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่ที่อาจจะ ปล่อยสารเคมีหรือว่าของเน่าเสียปนเปื้อนลงไปในแม่น้ำ ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ที่มากับขยะ พอปลาได้กินเข้าไป มนุษย์จับปลากินต่อ ก็อาจจะส่งผลให้กระทบต่อด้าน สุขภาพของประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่โดยรอบ การที่ผู้ผลิตไม่ค่อยรับผิดชอบเพราะ เนื่องจากต้องการลดภาระของตัวเอง ดังนั้นจึงอาจจะต้องมีกระบวนการ หรือกฎหมาย หรือนโยบายที่ออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้ปล่อยของเสียเหล่านี้ออกมาสู่ชุมชนหรือสังคม อาจจะต้องมีการติดตั้งระบบคัดกรองตั้งแต่อยู่ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเลยด้วยซ้ำ ไป รวมถึงต้องคิดค่าปรับหากมีการรั่วไหลหรือซึมเปื้อนจากผู้ผลิตหรือโรงงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะ เป็นการปรับเงินหรือการ Ban สินค้าที่เกิดจากผู้ผลิตนั้น ๆ เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ผลิต รายใหญ่รายอื่น ๆ
สุดท้ายนี้ดิฉันก็อยากจะขอฝากกรรมาธิการทุกท่าน รวมถึงกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาศึกษาญัตติในเรื่องของขยะนี้ ได้นำเอามุมมองหรือ ข้อคิดเห็นที่ดิฉันได้กล่าวมาเบื้องต้นนำไปเป็นหนึ่งในการดำเนินการพิจารณาและศึกษา ในเรื่องของการบริหารจัดการขยะชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพื้นที่เมือง ท่องเที่ยวด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธานคะ วันนี้ดิฉันมีเรื่องที่จะนำมาปรึกษาหารือกับสภาแห่งนี้ทั้งหมด ๒ เรื่อง
เรื่องแรก เนื่องจากในวันทหารผ่านศึกที่ผ่านมา ดิฉันได้ลงพื้นที่พบปะพี่น้อง ทหารผ่านศึกในพื้นที่ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และได้นั่งคุย กับท่าน สิบเอก สมชาติ คำดี ขออภัยที่เอ่ยนามนะคะ ดิฉันได้รับการอนุญาตให้เอ่ยถึง แล้วก็ขออนุญาตเรียนท่านประธานนะคะ พี่น้องทหารผ่านศึกจะขอให้กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยผลักดัน พ.ร.บ. เงินผดุงเกียรติ ๓,๐๐๐ บาทต่อเดือน ให้แก่ทหารผ่านศึก ชั้น ๒ ชั้น ๓ ชั้น ๔ รวมถึงทหารกองหนุนบางรายที่ไม่ได้บัตรผ่านศึก ทหารผ่านศึกทุกท่านต้องการสวัสดิการที่จับต้องได้ เพื่อทำให้ชีวิตทหารผ่านศึก ครอบครัว ทหารผ่านศึกได้มีชีวิตที่ดีขึ้นจากการเสียสละชีวิต เลือดเนื้อ เวลา และบาดแผลสำหรับผู้ที่ อุทิศตนเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยในวันนี้ประเทศไทยผ่านศึกสงคราม เงินผดุงเกียรติจะเป็น เงินที่ช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าครองชีพ เช่น ค่าใช้จ่ายในครอบครัว เป็นเงินช่วยเหลือเกี่ยวกับ ที่อยู่อาศัยและเป็นค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่เบิกไม่ได้ ดิฉันไม่อยากให้วันทหารผ่านศึก แค่เป็นวันที่มาเรี่ยไรให้พวกเราได้ซื้อดอกป๊อปปี้ค่ะ แต่อยากให้ทุกคนได้มองเห็นถึง ความเสียสละของทหารผ่านศึกทุกรายในประเทศไทย และดิฉันก็ขอใช้พื้นที่นี้สดุดีพี่น้อง ทหารผ่านศึกในประเทศไทยทุก ๆ ท่านนะคะ
เรื่องที่ ๒ ชาวบ้านหลายหมู่บ้านในตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัด เชียงราย มีความเดือดร้อนและร้อนใจเกี่ยวกับลำน้ำแม่งามของตำบลแม่ข้าวต้ม เนื่องจาก ตำบลแม่ข้าวต้มช่วงฝนตกหนักปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝน ทำให้น้ำล้นมาตามลำน้ำแม่งาม ไหลลงแม่น้ำกก อีกทั้งมีการพังทลายของคันลำน้ำแม่งามทำให้ลำน้ำตื้นเขิน จึงขอความกรุณา กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเครื่องมืออุปกรณ์มาขุดลอกลำน้ำแม่งาม เพื่อให้น้ำไหลสะดวกขึ้นและจะสามารถระบายน้ำในช่วงน้ำหลากได้ดี และทางพื้นที่จะ ขอความอนุเคราะห์ในการอนุมัติก่อสร้างประตูระบายน้ำ เพื่อที่จะใช้สำหรับเก็บกักน้ำ ความเร็วของน้ำ แล้วก็เอาไว้ใช้ในฤดูแล้ง ให้เกษตรกรในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์อย่างสูงที่สุด หากทางกรมชลประทานใจดีอนุมัติให้มีการก่อสร้างและขุดลอกลำน้ำแม่งามแห่งนี้แล้ว พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ก็จะรวมถึงบ้านสันต้นแฟน หมู่ที่ ๔ บ้านหนองบัวแดง หมู่ที่ ๕ บ้านปางลาว หมู่ที่ ๑๐ และบ้านใหม่บัวแดง หมู่ที่ ๑๕ และบ้านประชาร่วมมิตร หมู่ที่ ๑๐ ดิฉันก็ขอฝากความเดือดร้อนของพี่น้องตำบลแม่ข้าวต้มไว้ในอ้อมอกอ้อมใจของท่านรัฐมนตรี ธรรมนัส พรหมเผ่า และกรมชลประทานไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธาน สภาที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธานคะ เรื่องของการทำประมงของประเทศไทย เรื่องที่หนักหนาสาหัสเป็นปัญหา มากที่สุดเกิดอยู่ในช่วงของยุค คสช. เพราะในยุคนั้นต่างประเทศที่คำนึงถึงคุณค่าของ ประชาธิปไตยจะหาเงื่อนไขเรื่องของสิทธิมนุษยชน เรื่องเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เรื่องเกี่ยวกับ การทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศมากดดันประเทศไทย หลังจากที่ได้มีการทำรัฐประหาร เกิดขึ้น และเพื่อไม่ให้เกิดการกดดันไปมากกว่านี้ พอนานาประเทศกระทุ้งอะไรมาสักเล็กน้อย ที่จะเอาไว้ใช้เพื่อต่อรอง ประเทศไทยก็ใช้ Over Law Enforcement คือการใช้กฎหมาย ที่เกินความจำเป็น อย่างกรณีของการทำประมงค่ะ ประมงที่อยู่ภายในประเทศไม่ว่าจะเป็น ประมงน้ำจืดหรือการทำประมงน้ำเค็ม สิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำก็คือการสร้างแหล่งอาหาร ธรรมชาติตามห้วย หนอง คลอง บึง ต่าง ๆ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำทั้งหลายค่ะ แต่วันนี้ แต่ละองค์กรที่เป็นเจ้าของสถานที่และผู้ควบคุมกฎหมาย ต่างฝ่ายต่างใช้กฎหมายของใครของมัน จนทำให้ประชาชนเกิดความสับสน และไม่สามารถใช้ประโยชน์และเข้าถึงทรัพยากรได้ โดยเฉพาะปลาในน้ำจืดค่ะ และในส่วนของประมงน้ำเค็มหลังจากที่ IUU หรือที่เรียกว่า Illegal Unreported And Unregulated Fishing ได้มีการทักท้วงเรื่องของการใช้อวนรุน ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นประมงชายฝั่ง ส่วนอวนลากที่เขาจับตากันคือการกังวลว่าจะใช้ อวนที่มีตาข่ายที่ถี่จนเกินไป กลัวว่าจะมีการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ของปลา ซึ่งองค์กร ระหว่างประเทศก็มีข้อตกลงกัน อีกทั้งยังมีข้อจำกัดเรื่องของขนาดเรือ เรื่องพื้นที่จำเพาะ ทางทะเล ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จึงกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น และสิ่งที่ประเทศไทยทำ อย่างมากที่สุดก็คือการไปปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีในเรื่องของ Human Trafficking แต่เรื่องที่ตามมานั่นก็คือการปรับ การลงโทษ ที่หนักจนถึงการยึดเรือ ถึงขนาดจำกัดเรื่องการทำลายเรือที่ไม่มีใบอนุญาต ตลอดจนการลง Logbook เพื่อทำรายชื่อ ของคนทำประมง ซึ่งเป็นการทำร้ายและทำลายอนาคตและความรู้สึกของพี่น้องชาวประมง ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ท่านประธานคะ กฎหมายเดิมมีการปรับโทษที่แรงมาก มีการปรับโทษแรงตามอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งดิฉันก็ไม่สามารถทราบได้เลยว่าการตั้งค่าปรับนี้ ผู้คิดได้เสียสติหรือสิ้นสติไปหรืออย่างไรคะ เพราะผลกระทบส่วนใหญ่ก็ไม่เกิดกับพ่อแม่ พี่น้องประชาชนชาวประมงของประเทศไทย พี่น้องชาวประมงของเราโดนทอดทิ้งมาอย่างเนิ่นนาน อาทิ การจับปลาในช่วงปี ๒๕๖๑ นั้น การจับปลาในน่านน้ำสากลจะต้องมีการตรวจที่มาของปลา อายุของปลาที่จับได้เป็นอย่างไร มีการตรวจกันอย่างเข้มงวด ดังนั้นผู้บริโภค ผู้ประกอบการ จึงนิยมเอาปลาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นของอินโดนีเซีย อินเดีย เยเมน หรือพม่าค่ะ และนำปลาเหล่านี้มาขายแข่งกับพี่น้องชาวประมงในประเทศไทย เพราะฉะนั้นโรงงาน ปลาต่าง ๆ ก็มีปัญหาอีกค่ะ เพราะต้องมาคิดถึงเรื่องภาษีนำเข้าปลา ซึ่งจะมีต้นทุนที่สูงขึ้น ต่อมาประเทศไทยได้มีการเจรจากับ IUU ซึ่งทางหน่วยงานก็แจ้งว่าให้ทำเรื่องนี้ให้เสร็จ ภายใน ๑ ปี ซึ่งประเทศไทยก็รับปากว่าจะเร่งดำเนินการ เพื่อทำตามกฎระเบียบของ IUU แต่ในทางกลับกันค่ะ ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงของเรา อาทิเช่น ประเทศเวียดนาม เขาขอผ่อนผันกันก็ทำได้ค่ะ แต่ประเทศเราก็ไปเอาใจเขากลัวว่าเขาจะไม่รัก เวียดนาม ขอผ่อนผันไป ๑๐ ปี บอกว่ากฎระเบียบเขาไม่สามารถทำได้ทันที IUU จึงผ่อนผันให้กับ เวียดนาม แต่ประเทศไทยในขณะนั้นกลับเอาเชือกไปรัดมือตัวเอง
ดังนั้นต่อมาปลาทั้งหลายที่เราหาได้เราจะนำไปขายที่จีน จะเอาไปขายที่ญี่ปุ่น ก็ต้องไปแสตมป์ที่เวียดนาม ทำให้เขาได้ค่าหัวคิวจากเราค่ะ และสิ่งนี้คือความเจ็บปวดรวดร้าว ของพี่น้องชาวประมงไทยเป็นอย่างมาก วันนี้ประมงน้ำจืด ประมงน้ำเค็ม การส่งเสริม การสนับสนุนการใช้กฎระเบียบต่าง ๆ จะต้องไม่เหมือนกัน ส่วนของการทำการประมง ที่เกี่ยวข้องกับ IUU ซึ่งการใช้น่านน้ำสากลหรือน่านน้ำในประเทศไทย ประเทศต่าง ๆ เขาได้ขอผ่อนผันไปกับ IUU ไม่ว่าจะเป็นเวียดนามอย่างที่ดิฉันได้กล่าวไปเบื้องต้นว่า ขอผ่อนผันเป็น ๑๐ ปี แต่ประเทศไทยกลับตรงกันข้ามก็คือเอาเชือกมารัดมือตัวเอง และมันคือตราบาปของประเทศเรา เราไปรับปากกับหน่วยงานทั้งหลายว่าอาจจะทำลายเรือ ทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีเรือมากจนเกินเหตุทำให้เกิดปัญหา และผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ประชาชนชาวประมงบ้านเราจะได้อะไรเพื่อชดเชยสิ่งนี้คะ เขาเฝ้ารอเรื่องของการชดเชย การช่วยเหลือจากการทำลายเรือจากทางภาครัฐ และนี่คือบทเรียนอย่างหนึ่งของการทำงาน ของประเทศไทยที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกความเจ็บปวดของพี่น้องประชาชนคนไทย ที่ทำอาชีพประมงค่ะ ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาบทลงโทษต่าง ๆ นั้นก็ควรจะเป็นบทลงโทษ ที่ไม่หนักไปจนล้มหายตายจาก และบทลงโทษใหม่ก็ไม่ควรเป็นโทษ ที่เบาจนเกินไปจนคน ไม่เกรงกลัวกฎหมายของประเทศ
ดังนั้นการดำเนินการดังกล่าวก็จะเป็นการทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ อย่างสูงที่สุด โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนที่เป็นชาวประมงที่เป็นกำลังการผลิตของประเทศเรา รัฐควรที่จะต้องเป็น Facilitator คือต้องอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ดูแลสิทธิ สวัสดิการของประชาชน การเข้าถึงต่าง ๆ ของประชาชน ไม่ใช่ว่ารัฐจะทำตัวเป็น Regulator ที่กำกับและลงโทษประชาชนอย่างเดียว รัฐต้องอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยเฉพาะการประมงน้ำจืด ก็ควรต้องให้ความรู้วิชาการ เครื่องไม้เครื่องมือ ให้ทุนและให้ แหล่งน้ำทั้งหลาย เราต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดค่ะ ไม่ใช่ว่าหน่วยงานไหน รับผิดชอบก็ให้หน่วยงานนั้นทำไป ไม่สนใจในการประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ทำให้ ประชาชนเสียผลประโยชน์ในเรื่องของกำลังการผลิต และในส่วนของเรื่องประมงทางทะเล การไปเจรจากับ IUU เพื่อให้ผ่อนผันกับไทยในช่วงแรก ๆ ในช่วงการปรับตัว บทลงโทษ ก็ไม่ควรจะเอาถึงขั้นมองคนทำมาหากินโดยสุจริตกลายเป็นผู้ร้ายยิ่งกว่าคดีฆ่าคนตาย ในส่วนของการทำลายเรือก็ควรให้มีสัดส่วนที่พอเหมาะพอควร และรัฐจะต้องหาอาชีพอื่น ทดแทนให้พี่น้องประชาชนชาวประมง โดยเรือที่ถูกทำลายทางรัฐจะจัดซื้อจะจัดหา จะนำเอาไปทำปะการังอะไรก็ตามแต่ทางรัฐจะตัดสินใจ แต่ว่ารัฐก็ไม่ได้มีมาตรการอะไร มาดูแลชดเชยให้กับพี่น้องประชาชนและนี่คือบทเรียนที่แสนสาหัส ซึ่งกฎหมายที่ผ่านมา จะมีไว้เพื่อบังคับประชาชน แต่ไม่ได้ใช้บังคับผู้บริหารประเทศที่ไม่ได้คำนึงถึงความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชน ดังนั้นประชาชนอย่างพวกเราก็ยังเป็นเหยื่ออยู่วันยังค่ำ การพยายาม แก้ไขกฎหมายนับตั้งแต่วันที่รัฐบาลชุดก่อน ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นปีช่วง ๒๕๖๓ จนถึงวันนี้ ซึ่งอันที่จริงแล้วควรจะเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี ๒๕๖๕ แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการ จนกระทั่งมาถึง รัฐบาลยุคปัจจุบัน จึงได้เข้ามาดำเนินการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้เพื่อบรรเทาความทุกข์ความยาก ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวประมง นั่นคือการแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้ค่ะ และดิฉันคิดว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมงฉบับนี้จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ชาวประมงของประเทศไทยทุกคนไม่มากก็น้อย ขอบคุณค่ะท่านประธาน
ขอบคุณท่านประธานสภาค่ะ ก็อุ่นใจค่ะ ที่ท่านรัฐมนตรีได้ตอบคำถามอย่างชัดเจนนะคะ แต่มีคำถามเพิ่มเติมอีกประมาณ ๒ คำถาม ก็คือว่า ๑. ในเรื่องของงบประมาณเหลือจ่ายนี้ ดิฉันเองยินดีมากค่ะ ที่ท่านเร่งรัด จัดการให้ เลยอยากทราบว่า ตอนนี้ถ้าสมมุติว่าเรื่องของ EIA ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ กี่ปีคะ อันนี้คำถามนะคะ แล้วก็อีกคำถามหนึ่งที่อาจจะเป็นภาพรวมไปเลยว่า อยากทราบ แนวทางบริหารหรือว่าจัดการว่า พวกอ่างเก็บน้ำที่เสียหายหรือชำรุดทรุดโทรม หรือ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพค่ะ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทยค่ะ ในวันนี้ต้องขอกราบขอบพระคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านธรรมนัส พรหมเผ่า ที่ให้เกียรติแล้วก็เสียสละเวลามา ณ วันนี้ด้วยค่ะ ทราบว่าท่านน่าจะ เหนื่อยมากเลยนะคะที่เดินทางมา รถติดไหมคะ ก่อนอื่นขออนุญาตเกริ่นนำก่อนแล้วกันค่ะ อันนี้คือความเดือดร้อนของพี่น้องชาวบ้าน ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ซึ่งตอนนี้ต้องบอกสถานการณ์น้ำในจังหวัดเชียงรายทั้งหมดก่อนนะคะว่า ตอนนี้เรื่องของน้ำ เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก ๆ ค่ะ เนื่องจากว่าน้ำมีปริมาณที่ไม่เพียงพอ แล้วก็มีความตื่นตระหนก ในเรื่องของภาวะ EL Nino ที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วย ในอำเภอเวียงชัยเอง ก็มีความขาดแคลน ถึงขนาดที่ว่าบางทีเจาะน้ำบาดาลลงไปยังไม่เจอน้ำเลย บางพื้นที่นะคะ อันนี้คือสิ่งที่ชาวบ้าน สะท้อนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมา เขาบอกว่า ไม่มีไฟเขาอยู่ได้ แต่ถ้าไม่มีน้ำเขาอยู่ไม่ได้ จริง ๆ ค่ะ เนื่องจากว่าเราก็เป็นพื้นที่เกษตรกรรมด้วย ก็เลยอยากจะใช้เวลาสักเล็กน้อย ถามคำถามที่ท่านน่าจะอธิบายกับทางตัวดิฉันเองได้ กับทางชาวบ้านได้นะคะว่า ในเรื่องของ อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก บ้านทุ่งโค้ง หมู่ที่ ๑๐ ไม่ทราบว่ามีแผนที่จะก่อสร้าง หรือว่ามีแผนที่จะ บรรเทาความเดือดร้อนกับพี่น้องประชาชนของทางตำบลดอนศิลา พอจะมีแผนงานด้านนี้ บ้างไหมคะ เป็นคำถามแรก ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ วันนี้ดิฉันจะขออนุญาตเป็นตัวแทนของพรรคเพื่อไทยมานำเสนอญัตติร่างพระราชบัญญัติ คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยและตัวดิฉันเอง ได้ลงพื้นที่ และได้รับทราบถึงปัญหาของพ่อแม่พี่น้องชาติพันธุ์ในหลากหลายประเด็น และทางพวกเราเองก็มีความเป็นห่วงพี่น้องชาติพันธุ์ทุก ๆ ท่านที่ต้องต่อสู้กับปัญหา ไม่ว่า จะเป็นการต่อสู้เพื่อเข้าถึงสิทธิด้านต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่เป็น อุปสรรค ที่ไม่ได้พัฒนาหรือปรับปรุงไปตามบริบทของสังคมที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ปัญหา ต่าง ๆ ที่พ่อแม่พี่น้องชาติพันธุ์ได้พบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจึงเป็นหลัก จึงเป็นเหตุ จึงเป็นที่มา ของการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ของ พรรคเพื่อไทยฉบับนี้ค่ะ และดิฉันจะขออนุญาตทางสภาใช้เวลาไม่กี่นาทีในการอธิบายถึง หลักการและเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้พ่อแม่พี่น้องประชาชนคนไทย ได้รับทราบถึงหัวใจสำคัญ ดังต่อไปนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๐ ได้บัญญัติให้รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มี สิทธิดำรงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตดั้งเดิม ตามความสมัครใจได้อย่าง สงบสุข ไม่ถูกรบกวนเท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ หรือสุขภาพอนามัย โดยที่กลุ่มชาติพันธุ์ มีความหลากหลายของด้านอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภาษา วิถีชีวิต ภูมิปัญญาและความเชื่อ ตามจารีตประเพณีของตัวเอง มีการตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งมีวิถีชีวิต กลมกลืนรวมอยู่ในราชอาณาจักรไทย แม้ที่ผ่านมาจะมีนโยบายและมาตรการในการคุ้มครอง กลุ่มชาติพันธุ์ แต่ยังขาดตัวบทกฎหมายเฉพาะที่กำหนดมาตรการอันเหมาะสม ในการปฏิบัติ ต่อคนเหล่านี้ในพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย หลากหลายกลุ่มไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิบางประการเท่าที่ควร เช่น ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การมีสิทธิอาศัยและใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งมีการทับซ้อนกับพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่ ที่อยู่ในการดูแลของทางราชการ ที่ไม่สามารถอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ตาม กฎหมายค่ะ อีกทั้งขาดการเข้าถึงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน ตลอดจนขาดการมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจในกิจกรรม หรือกิจการของรัฐหรือเอกชนที่อาจกระทบต่อวิถีชีวิตหรือชุมชน ของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อประโยชน์แห่งการดึงศักยภาพชุมชน ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและ การท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุมชน ประกอบกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๗ บัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมเสมอกัน ในกฎหมาย มีสิทธิเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน และห้ามมิให้ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าความแตกต่างในเรื่องของถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา ดังนั้นสมควรให้มีกฎหมาย เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ขึ้นค่ะ จากหลักการและเหตุผลข้างต้นนะคะ ดิฉันและพรรคเพื่อไทยจึงได้นำเสนอ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญ โดยสรุปทั้งหมด ๘ ข้อ ดังต่อไปนี้ค่ะ
ข้อแรก คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยห้ามมิให้มีการ เลือกปฏิบัติ เหยียดหยาม สร้างความเกลียดชัง รวมถึงส่งเสริมภูมิปัญญา ส่งเสริมภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ และส่งเสริมให้มีการบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของ พี่น้องชาติพันธุ์ รวมถึงให้พี่น้องชาติพันธุ์ของดิฉันมีส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคมและ การเมืองในทุก ๆ ระดับ
ข้อที่ ๒ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของภาครัฐร่วมมือกันในการคุ้มครอง และส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ให้ลดการโยนภาระ โยนงานให้กับพี่น้องประชาชน พี่น้อง ชาติพันธุ์ของดิฉันในการติดต่อประสานงานและการแก้ไขปัญหา มาโยนภาระให้กับพี่น้อง ชาติพันธุ์ของดิฉันในการหาวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยตัวของเขาเองค่ะ
ข้อที่ ๓ จัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นรองประธาน และนี่คือสิ่งที่พวกเรา พี่น้องชาติพันธุ์ต้องการที่สุด คือการได้มีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการ รับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องชาติพันธุ์ของดิฉันค่ะ
ข้อที่ ๔ จัดตั้งสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์เพื่อประสานงานแลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับชาติพันธุ์
ข้อที่ ๕ จัดทำฐานข้อมูลวิถีชีวิตประวัติศาสตร์ของกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์เพื่อใช้ ประโยชน์ในการส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ค่ะ
ข้อที่ ๖ กำหนดพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีสิทธิ ใช้ประโยชน์จาก ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติตามธรรมนูญของพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งหมายความว่า หากพิสูจน์ทราบได้ว่าพี่น้องชาติพันธุ์นี้มีการอยู่กินในพื้นที่ดินทำกิน มาก่อนที่กฎหมายจะออกมาบังคับใช้ ให้ถือว่าบริเวณนั้นเป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่ม ชาติพันธุ์ ให้มีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยที่จะต้องอยู่บนพื้นฐานที่จะไม่ทำลาย ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมค่ะ
ข้อที่ ๗ กำหนดฐานความผิดด้านอาญา ว่าด้วยการกระทำเหยียดหยาม สร้าง ความเกลียดชังแก่กลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
และข้อสุดท้าย เป็นกำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อให้กำหนดกระบวนการ เปลี่ยนผ่านสู่การมีพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ ให้มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของกลุ่มชาติพันธุ์มากที่สุดค่ะ
ท่านประธานคะ ทางรัฐบาลไทยภายใต้การนำของท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ก็มีความเป็นห่วงเป็นใยในการใช้ชีวิต ในการเข้าถึงสิทธิของพี่น้องชาติพันธุ์ ในทุก ๆ พื้นที่ของประเทศ และเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้ไปร่วมงานปีใหม่ของชาวล่าหู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ค่ะ โดยที่ท่านได้ย้ำถึง ความสำคัญในเรื่องของการให้สัญชาติ การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สาธารณสุข และสิทธิด้านต่าง ๆ ให้มีความเท่าเทียมกัน ดังนั้นวันนี้ดิฉันอยากจะขอความร่วมมือ จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านได้มาร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมา อย่างยาวนาน ให้มีทางออกร่วมกัน โดยที่อยู่ภายใต้ข้อตกลง ข้อกฎหมายที่บังคับใช้ทุกคน อย่างเท่าเทียมกัน ดิฉันหวังว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญที่กำลังจะเกิดขึ้นจะเป็นหนทาง ในการแก้ไขปัญหา เป็นตัวกลางในการพูดคุยในทุก ๆ ประเด็นของพี่น้องชาติพันธุ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายจากเจ้าหน้าที่รัฐ หรือตัวบทกฎหมายที่ไม่ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมหรือพื้นที่ที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ท่านประธานคะ คณะกรรมาธิการชุดนี้อาจจะมีระยะเวลาพิจารณาไม่ได้นานมาก พี่น้องชาติพันธุ์ของดิฉัน รอได้ค่ะ หากปัญหาของเขาได้รับการพูดคุย มีเวทีกลางที่จะได้นำเสนอปัญหา เพราะปัญหา ของพี่น้องชาติพันธุ์ของดิฉันบางท่านรอมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๓๐ ปี ๔๐ ปี หรือบางท่านเขารอ มาทั้งชีวิต ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นกรรมาธิการชุดนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพูดคุยกัน อย่างตรงไปตรงมา และหาหนทางในการแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้านในทุก ๆ ประเด็นให้กับ พี่น้องชาติพันธุ์ของดิฉัน และพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ฉบับของพรรคเพื่อไทยนี้ จะทำให้พี่น้องชาติพันธุ์ได้มีสิทธิ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และยังได้ ส่งเสริมวิถีชีวิตที่ตัวเองได้ภาคภูมิใจภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทยค่ะ ในฐานะที่ เป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ฉบับของพรรค เพื่อไทย ก็จะขออนุญาตกราบขอบพระคุณในทุก ๆ คำชี้แนะ คำแนะนำและความห่วงใยของ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุก ๆ ท่าน ดิฉันมีความเชื่อมั่นว่ากรรมาธิการวิสามัญที่กำลัง จะเกิดขึ้นนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เป็นตัวกลางในการพูดคุยถกเถียง แล้วก็นำข้อมูลเข้ามา พูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ และจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พี่น้องชาติพันธุ์ของดิฉันไม่ต้องรอ การแก้ไขปัญหา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๓๐ ปี หรือรอการแก้ไขปัญหาทั้งชีวิต เหมือนที่ผ่าน ๆ มา และวันนี้ดิฉันพรรคเพื่อไทย รวมถึงท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน เราก็ขอย้ำและยืนยันว่าร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ฉบับของพรรคเพื่อไทยหรือฉบับอื่น ๆ ที่เข้ามาร่วมกันจะทำให้พี่น้องชาติพันธุ์ได้มีสิทธิ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และส่งเสริมวิถีชีวิตที่พี่น้องชาติพันธุ์ของดิฉัน ประชาชนคนไทยภูมิใจ ภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมคะท่านประธาน ขอบคุณค่ะ