นายซูการ์โน มะทา

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ ผมขอปรึกษาหารือ ผ่านท่านประธานถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีเรื่องร้องเรียนจากพี่น้อง ประชาชนอยู่ ๔ เรื่อง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ผมได้รับการร้องเรียน นายมูฮัมหมัด ปูตะ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ปัญหาความเดือดร้อนของน้ำริมแม่น้ำสายบุรี กัดเซาะตลิ่งพังเสียหาย พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน จึงขอสนับสนุนเขื่อนป้องกันตลิ่งที่บ้านพรุ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๗ ของชุมชนบ้านพรุและชุมชน บ้านเจาะกาแต มี ๒ ตอน ตอนที่ ๑ มีความยาว ๑,๒๐๐ เมตร ตอนที่ ๒ มีความยาว ๗๔๐ เมตร

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำบริโภค เนื่องจากองค์การ บริหารส่วนตำบลกาลูปัง องค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง องค์การบริหารส่วนตำบลละแอ จังหวัดยะลา ได้ร้องเรียนปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ของพี่น้องประชาชน จึงขอให้ ท่านประธานผ่านถึงการประปาส่วนภูมิภาค ขอให้การขยายการประปาเขตสาขารามัน ที่ตำบลกาลูปัง และขอให้ขยายเขตสาขาอำเภอยะหา ตำบลละแอ ตำบลเปาะเส้ง ให้พี่น้อง ประชาชนได้มีน้ำดื่มน้ำใช้ในยามหน้าแล้ง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ และเรื่องที่ ๔ ผมได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ตำบลกาบัง ที่บ้านสองแยก บ้านปาโต๊ะ เรื่องขอขยายเขตไฟฟ้าส่วนสู่ครัวเรือน ด้วยพี่น้อง ประชาชนอยู่อาศัยในพื้นที่บ้านสองแยก บ้านปาโต๊ะมาเกือบ ๔๐ ปี ไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้พี่น้องประชาชนมีความรู้สึกได้รับความเหลื่อมล้ำ มีความรู้สึกว่าไม่มีความเท่าทัน กับพี่น้องที่อื่น ก็อยากเรียนฝากท่านประธานไปถึงการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการกำกับดูแล ของกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าสู่ครัวเรือนในบ้านบ้านป่าโตะ แล้วก็ บ้านสองแยก หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลาด้วย ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ วันนี้ดีใจที่ได้มาพูดเรื่องของ นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นแผน ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ด้วยความบังเอิญสัปดาห์นี้ผมกับท่านรองเลขาธิการ สมช. ก็เจอกัน ๒-๓ ครั้ง ก็ขอบคุณที่ได้เขียนรูปเล่มที่ดีงามที่สวย และเพื่อนสมาชิกหลายท่าน ได้อภิปรายในเล่มนโยบายของท่านแล้ว แต่ผมอยากเรียนผ่านท่านประธาน ถึงท่านรองเลขาธิการ สมช. นิดหนึ่งครับว่า สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๓ ปี ๒๕๕๐ เป็นสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก ที่หยิบเรื่องของปัญหาความขัดแย้ง ความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาพิจารณาในนามของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา ซึ่งเราศึกษาได้ในหลาย ๆ มิติ ผมเป็นคนหนึ่งอยู่ในคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเรื่องของการแก้ปัญหาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เรื่องของเหตุการณ์ความไม่สงบ และในที่สุดพวกเราสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยุคนั้นเราเห็นว่าการยกเลิก ศอ.บต. เป็นการยกเลิกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพี่น้องประชาชน และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กับ ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลา ต้องขาดโอกาสในการพัฒนา ฉะนั้นในปี ๒๕๕๓ พวกเราจึงมีการตราพระราชบัญญัติ ศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมา เพื่อเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่ แทนรัฐบาลในการแก้ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กับ ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลา แต่แล้วขณะที่กำลังดำเนินการไปได้สวย สร้างความพึงพอใจให้กับพี่น้องประชาชน สร้างความพึงพอใจให้กับพวกเราที่เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ก็เกิดสึนามิขึ้นมา เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร มีการไปออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงอำนาจ หน้าที่ของ ศอ.บต. วันนี้ผมอ่านในรูปแผนงานนโยบายการบริหารราชการ การพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ผมไม่แน่ใจว่าท่านรองเลขาธิการ ในฐานะรักษาการ เลขาธิการ สมช. ท่านลืมหรือเปล่าครับว่า ศอ.บต. วันนี้อยู่ใต้การกำกับดูแลของ กอ.รมน. โดยคำสั่งของ คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ เดิมเรามีความตั้งใจว่า ศอ.บต. เป็นหน่วยงานของรัฐ ศอ.บต. จะต้องมีสภาที่ปรึกษาที่มาจากตัวแทนของพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วนในลักษณะ ของสังคมพหุวัฒนธรรม แต่คำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ไปยกเลิกสภาที่ปรึกษา แล้วไปตั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของตัวแทนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ วันนี้หลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ ปัญหาในการดำเนินงานของ ศอ.บต. ก็ไม่ตอบโจทย์กับเจตนารมณ์ ที่พวกเราร่างเป็นกฎหมายขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งพาของพี่น้องประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ท่านประธานครับ วันนี้ผมมาดูในเนื้อหาจำเป็นที่จะต้องเท้าความไปนิดหนึ่ง แต่มาดู ในเนื้อหาของรูปเล่มของนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๕ ในเรื่องของสภาวะแวดล้อมและแนวโน้มสถานการณ์ ดีใจครับที่ท่านเขียน เงื่อนไขสำคัญของปัญหามีอยู่ ๒-๓ เงื่อนไข ซึ่งแต่ละเงื่อนไขถ้ารู้อย่างนี้ ๑๙ ปีครับ ปัญหา ของภาคใต้ไม่ต้องใช้งบประมาณถึง ๔๐๐,๐๐๐-๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท

    อ่านในการประชุม

  • เงื่อนไขแรก เงื่อนไขระดับบุคคล ก็คือเรื่องของความแตกต่างของชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา ท่านจำได้ไหมครับ ในปีที่แล้วพวกเราพรรคประชาชาติ เราให้ความสำคัญ เรื่องการฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชาวมลายู ปัตตานี คือการแต่งกายชุดมลายู ในวันที่เป็นวันรายออีดิลอัฏฮา และมีเปอมูดอหรือเยาวชนไปรวมตัวกันเพื่อแสดงพลังให้เห็น ว่าการแต่งกายในชุดมลายูนั้นเป็นอัตลักษณ์ เป็นเอกลักษณ์ เป็นวัฒนธรรม แต่ท่านรู้ไหมครับ ฝ่ายความมั่นคงไปกล่าวหาพวกเขาเป็นพวกที่แปลกแยก ผมถามหน่อยว่าในวัฒนธรรม ของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเทศกาลตรุษจีน เทศกาลชักพระ เทศกาลต่าง ๆ งานบุญ งานประเพณีต่าง ๆ ของทุกศาสนามีเยาวชนไปทำกันมากมาย แต่ไม่เคยมีหน่วยงานความมั่นคง ไปตราหน้า ไปออกหมายค้น ออกหมายเรียกเพื่อมาดำเนินการตามคดีอาญา พวกผมที่เป็น สส. พรรคประชาชาติทุกคนจำเป็นจะต้องออกมาปกป้องบรรดาเยาวชนที่มาแสดงออกถึง ความเป็นอัตลักษณ์วัฒนธรรมของพื้นที่

    อ่านในการประชุม

  • สิ่งสำคัญที่สุดอันที่ ๒ ที่ท่านบอกว่าเงื่อนไขมาจากความขัดแย้งของเจ้าหน้าที่ บางส่วน วันนี้เจ้าหน้าที่บางส่วนที่มีความขัดแย้งกับคนในพื้นที่ยังใช้ความขัดแย้งตรงนี้ เป็นเงื่อนไขในการสร้างปัญหาให้พวกเราที่เป็นตัวแทนพี่น้องประชาชนต้องมาแก้ปัญหา ท่านกล้าพูดไหมครับว่าเจ้าหน้าที่คนใดที่มีเงื่อนไขของปัญหา ทำไมไม่เอาออกไปจากพื้นที่

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาที่ ๓ กลุ่มอิทธิพลผลประโยชน์เชื่อมโยงกับปัญหา นี่สำคัญเกี่ยวข้องกับ อำนาจ หน้าที่ของ สมช. โดยเฉพาะปัญหาความแทรกซ้อน ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ ที่กระทบกับพี่น้องประชาชน สำคัญมากกว่าปัญหาความมั่นคงเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ วันนี้ใบกระท่อมเราเอาออกจากกฎหมายยาเสพติด ท่านประธานครับ เนื่องจากมีเนื้อหา ผมขออนุญาตต่อนิดหนึ่งครับ ปัญหายาเสพติด ใบกระท่อม ผมไปดูงานที่กระทรวงยุติธรรม ถามว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เขาบอกใบกระท่อมไม่มีความผิด แต่เวลาสกัดเป็นความผิด ของกฎหมายอาหารและยา อันนี้คือปัญหาอันหนึ่ง และที่สำคัญที่สุดวันนี้การลักลอบ ทำผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ การค้าของเถื่อนชายแดนนี่คือสิ่งที่บั่นทอนความเดือดร้อน ท่านในฐานะที่เป็นรองเลขาธิการ สมช. ท่านต้องเข้าใจนะครับ ถ้าท่านปล่อยปละละเลย ให้มีธุรกิจสีเทาเกิดขึ้นในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เหตุการณ์ความรุนแรง เหตุการณ์ ความสงบไม่มีทางจะสงบสุขได้ วันนี้ผมอยากฝากท่านประธานไปถึงท่านเลขาธิการ สมช. ประเด็นสำคัญก็คือเรื่องของการศึกษา ท่านบอกว่าสถานะการศึกษา ผมนี่จบจากนิด้า พยายามทำศึกษาวิจัยของการศึกษาใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราด้อยกว่ามาตรฐาน วันนี้ผมถามครับ ท่านบอกว่าการศึกษาของคน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่ำกว่ามาตรฐาน อะไรคือปัญหาละครับ ปัญหาก็คือเราไม่มีงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ไปแก้ปัญหาให้โรงเรียนที่เป็นโรงเรียนของระดับอำเภอ ให้มันมีความเจริญเท่าเทียมกับ โรงเรียนของระดับจังหวัด ทำอย่างไรให้โรงเรียนระดับอำเภอมีครูและนักเรียนที่เขาสนใจ ไปเรียน วันนี้โรงเรียนยะหาศิรยานุกูลยังไม่เคยได้รับอาคารใหม่เลย โรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับอำเภอก็ไม่ได้มีงบประมาณที่ไปสร้างอาคารใหม่ อันนี้ผมอยากฝาก เป็นข้อสังเกตไปถึงท่านรองเลขาธิการว่าสิ่งเหล่านี้ถ้าเราจะแก้ปัญหาการศึกษาเราต้องทำให้ สถานที่โรงเรียนนั้นจูงใจให้ประชาชนส่งลูกหลานไปเรียนไปศึกษาตรงนั้นได้

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนสุดท้าย เรื่องของการศึกษาในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกอันหนึ่ง คือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม วันนี้หลายโรงเรียนได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบจากเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บโควิด หลายโรงเรียนต้องปิดกิจการไป หลายโรงเรียน ยังไม่สามารถที่จะทำให้เอาเงินสนับสนุนรายหัวเหมือนกับโรงเรียนรัฐได้ ก็อยากฝากเสนอ ผ่านท่านรองเลขาธิการว่า ทำอย่างไรให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีค่ารายหัว ต่อนักเรียนให้เท่ากับโรงเรียนสามัญของแต่ละจังหวัด อันนี้ผมอยากฝากท่านประธานผ่านถึง ท่านรองเลขาธิการ สมช. ว่าไปเขียนในแผน แผนนี้สวยครับ นโยบายตรงนี้สวย แต่ข้อเท็จจริง ในเชิงการปฏิบัติมันไม่ได้เป็นไปตามตัวหนังสือ ก็อยากฝากเป็นประเด็นข้อสังเกตผ่าน ท่านประธานถึงท่านรองเลขาธิการ สมช. ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ วันนี้ผมมีปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนขอหารืออยู่ ๓ เรื่องด้วยกัน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ผมได้รับการร้องเรียนจากนายอับดุลซูกูร ซายากะ เป็นนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

    อ่านในการประชุม

  • เนื่องจากเขื่อนกันตลิ่งที่เป็นแนวป้องกันตลิ่ง ที่บริเวณชุมชนบ้านละแอ บ้านบาลูกาปาลัส หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๗ ชำรุดเสียหาย ก็อยากประสาน ผ่านท่านประธานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ผมได้รับการร้องเรียนจากผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เรื่องขอให้รื้อถอนอาคารเรียนหลังเก่าซึ่งชำรุด เกรงว่าจะเกิดอันตราย กับลูกหลานของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในโรงเรียนที่มาศึกษาอยู่ เนื่องจากสภาพที่เห็น เสาค้ำยันของอาคารแตกเห็นเหล็กอยู่ ก็อยากฝากถึงกระทรวงศึกษาธิการให้จัดสรร งบประมาณในการรื้อถอน แล้วก็สร้างอาคารใหม่ทดแทนอาคารหลังเก่าให้กับโรงเรียน บ้านบุดี ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ผมได้รับการร้องเรียนจากผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ และสมาชิก สภาเทศบาลตำบลบุดี เรื่องปัญหาถนนเส้นทางสัญจรของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ตำบลบุดี ๔ สายหลัก ได้แก่ สายเบอเส้ง บ้านกำปงดาระ สายศูนย์เด็กเล็กถึงโรงเรียนบ้านบุดี และสายบ้านตืองอถึงกำปงดาระ เวลาเข้าหน้าฝนตอนนี้สภาพถนนพังเสียหายชำรุด ก็อยากร้องเรียนผ่านท่านประธานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ให้จัดสรรงบประมาณดำเนินการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชน ต้องขอฝากท่านประธานว่าหลาย ๆ เรื่องที่ผมได้หารือวันนี้ได้รับการตอบสนอง จากรัฐบาล แต่หลายเรื่องก็ยังไม่มีความคืบหน้า ก็อยากฝากท่านประธานได้กำชับ หลังจากนี้ ผมก็อยากฝากเอกสารถึงท่านด้วยเพื่อให้ประกอบรายละเอียดในการปรึกษาหารือครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ ในข้อความคิดเห็นของ ท่านครูมานิตย์ก็เป็นที่เข้าใจนะครับ แต่ว่าด้วยที่พวกผมพรรคประชาชาติซึ่งยังไม่มี ใครอภิปราย แล้วก็เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เราต้องทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศให้เข้าใจว่าในการตัดสินใจของพวกเราสมาชิกพรรคประชาชาติ เรามีเหตุและผลอะไรที่เราไม่สามารถที่จะรับหลักการและไม่เห็นด้วยกับพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับนี้ เพราะฉะนั้นผมขออนุญาตท่านประธานว่าในส่วนของพรรคประชาชาติ ผมต้องขอ เวลาพิเศษจากท่านนิดหนึ่ง เพราะว่าเพื่อนสมาชิกก่อนหน้านี้ก็อภิปรายกันไป ๑๕ นาทีบ้าง ๒๐ นาทีบ้าง ที่สนับสนุน แต่ในมุมมองที่ตรงข้ามกัน มีมองอีกมิติหนึ่งของพี่น้องประชาชน ที่นับถือศาสนาอิสลาม เราต้องอธิบายผมไม่ได้โกรธ ผมไม่ได้รังเกียจกลุ่ม LGBT แต่ผมต้อง แสดงมุมมองในหลักการของผมว่าอะไร จึงเป็นเหตุผลที่ผมพรรคประชาชาติไม่สามารถที่จะ รับหลักการ แล้วก็ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ. ทั้ง ๔ ฉบับในวันนี้ด้วยท่านประธานครับ ขออนุญาต ในส่วนของพรรคประชาชาติว่าเวลาที่เราขอไป ขอให้ยืนอยู่ตรงนี้ก่อนนะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • คือผมก็เป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาลนะครับ แต่เป็นมุมมองที่เราอาจจะให้สะท้อนอีกมิติหนึ่ง ให้พวกเราที่เป็นเพื่อนสมาชิกในสภา ได้เห็นว่าเรามีเหตุผลอะไรที่จะต้องอภิปรายอย่างนี้ ฉะนั้นในส่วนตัวผม ผมยื่นไป ๑๕ นาที ส่วนที่เหลือเพื่อนสมาชิกจากเดิมเราจะอภิปรายกัน ๕ คน เราลดเหลือแค่ ๓ คน ก็อีกคนละ ๗ นาที ก็อยากขอความอนุเคราะห์ท่านประธานว่า สิ่งเหล่านี้เราต้องใช้เวลาอธิบาย เพราะมันเป็นเรื่องความรู้สึก เรื่องความละเอียดอ่อนของทางสังคม ถ้าเรามองแต่มุม ที่เห็นด้วย แต่เราไม่ยอมรับคนส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็จะลำบากครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ แล้วก็เพื่อนสมาชิกจาก พรรคประชาชาติ ความจริงหลายท่านจะอภิปรายร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ทั้ง ๔ ฉบับ แต่ด้วยความเคารพในเรื่องของ เวลาเพื่อให้กฎหมายนี้ได้ผ่านพวกเราสมาชิกพรรคประชาชาติบางท่านก็ได้เสียสละเวลา เพื่อให้พวกเราเหลือแค่ ๔ ท่าน อยากเรียนท่านประธานทราบนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตท่านประธานและเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรที่เคารพทุกท่านว่า วันนี้ผมมาทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน คนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามและพี่น้องประชาชนชาวมลายูจากจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และ ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลา ที่ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้ให้ การสนับสนุนพรรคประชาชาติเป็นอย่างดีมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ เสียง และวันนี้ผมในฐานะ ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาชาติ เราอยากเรียนผ่านเพื่อนสมาชิก ผู้ทรงเกียรติและผ่านท่านประธานถึงสมาชิกผู้ทรงเกียรติว่าในช่วงของการรณรงค์หาเสียง เลือกตั้งที่ผ่านมานั้นเราค่อนข้างมีนโยบายชัดเจนว่าเราไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องการสมรสเท่าเทียม และเราไม่สามารถ รับหลักการเนื่องจากเรามีเหตุผลหลายประการที่จะอภิปรายต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ เรื่องของ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมหรือการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และผมเชื่อว่าวันนี้เรามี ประชากรอยู่ ๖๐ กว่าล้านคน พี่น้องประชาชนคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นเป็นพี่น้อง ประชาชนส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนน้อย แต่ก็เป็นคนที่ยังเป็นส่วนใหญ่ในประเทศไทยอยู่เช่นกัน ท่านประธานครับ วันนี้ถ้าเราจะมองผ่านไปเมื่อสัก ๒ ปีที่ผ่านมาพรรคประชาชาติ ซึ่งผมเอง ได้ลุกขึ้นมาเป็นผู้อภิปรายในเรื่อง ร่าง พ.ร.บ. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แก้ไขเพิ่มเติมนี้ ผมก็ได้อภิปรายเมื่อสัก ๒ ปีกว่าเราไม่เห็นด้วย แล้วก็สมาชิกพรรคประชาชาติตอนนั้น ทั้งหมดก็ลงมติไม่รับหลักการและไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ. นี้ ท่านประธานครับ สิ่งที่ผมอยากจะ บอกว่าทำไมเราถึงไม่เห็นด้วยกับหลักการและไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ ที่เสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรนั้น เบื้องต้นผมอยากเท้าความนิดหนึ่งว่าในประเทศไทย เรามีกฎหมายสูงสุด ก็คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่เป็น กฎหมายใหญ่ของประเทศ แล้วในความเชื่อการนับถือหลักศาสนาอิสลามนั้นเรามีฮูก่มหรือ หลักความศรัทธาอยู่ ๖ ประการ ใน ๖ ประการนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น เราต้องศรัทธาต่อพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน พระมหาคัมภีร์ซึ่งเป็นพระมหาคัมภีร์ของ พระองค์อัลเลาะห์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เทียบเท่าหรือเป็นธรรมนูญชีวิตของพี่น้องประชาชน คนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามหรือพี่น้องประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามทั่วโลก ฉะนั้น ผมก็อยากเรียนว่าในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวไว้ในซูเราะห์ที่ ๗ อายะห์ที่ ๘๐ และอายะห์ที่ ๘๑ ซึ่งมีความชัดเจนว่าพี่น้องที่นับถือ ที่เคร่งครัดต่อศาสนานั้นจะต้องยึดมั่น ในชีวิตคู่สมรส ถ้าจะเป็นคู่สมรสได้ก็จะต้องเป็นเพศหญิงกับเพศชายเท่านั้น เพื่อขยาย เผ่าพันธุ์ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ท่านประธานที่เคารพ สำหรับพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานนั้น ทำไมผมถึงบอกว่ามีความสำคัญต่อพี่น้องศาสนาอิสลามที่นับถือศาสนาอิสลาม เพราะว่ามัน เป็นวัจนะ เป็นพระราชดำรัสของพระองค์อัลเลาะห์ซุบฮานะฮูวะตะอาลาที่ส่งผ่านเทวาทูต มาถึงบรรดาท่านศาสดาเพื่อมาเผยแพร่ต่อพวกเราผู้ศรัทธาทั้งหลาย ฉะนั้นในคัมภีร์ อัลกุรอานเมื่อเขาห้าม ที่ห้ามเราต้องเชื่อว่าในหลักศรัทธาข้อสุดท้ายเราต้องเชื่อใน วันกัลปาวสาน หรือวันกาลอวสาน วันสิ้นโลกวันพิพากษาต้องมีอยู่ในตรงนั้น ฉะนั้นวันนี้ เหตุผลที่ผมไม่สามารถที่จะรับหลักการและเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น เพราะว่าผมก็มีเหตุผลความจำเป็น ที่จะต้องบอกผ่านท่านประธานว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ เรามีมาตรา ๕ ได้บอกว่า บทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ๆ หรือขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ถือว่าบทบัญญัตินั้นกระทำการเป็นอันบังคับ ใช้มิได้ นี่มาตรา ๕ นะครับ ส่วนมาตรา ๒๕ ของรัฐธรรมนูญหลายท่านก็ได้กล่าวไว้ เรื่องสิทธิ เสรีภาพของพี่น้องประชาชนชาวไทย ในการคุ้มครองเป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ยังมีการกระทำใดที่พูดถึงสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนอย่างเท่าเทียม อันนี้ก็มีพูดถึง ในรัฐธรรมนูญ แต่ยังมีมาตราหนึ่งที่หลายท่านคงจะไม่ได้กล่าวถึง นั่นคือมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ บอกว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ ในการนับถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนา ของตน แต่ต้องไม่เป็นปรปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย อันเป็นอันตรายต่อความปลอดภัย ของรัฐและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมของพี่น้องประชาชน ท่านประธานครับ สำหรับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้ง ๔ ฉบับ ผมขออนุญาตพูดถึงเฉพาะฉบับที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี เพราะ ๔ ปีที่ผ่านมา ผมเคยคุยกัน ในสภาแห่งนี้และเคยขอร้องท่านอาจารย์จากพรรคก้าวไกลว่า ทำไมรัฐธรรมนูญสามารถ เขียนบทเฉพาะกาลยกเว้นมาตรา ๒๗๙ สำหรับผู้ที่ทำการปฏิวัติรัฐประหารได้ ทำไมเรา ร่างกฎหมาย ซึ่งเป็นกฎหมายเล็กกว่ารัฐธรรมนูญเราไม่สามารถที่จะบอกว่ากฎหมายฉบับนี้ ไม่สามารถไปบังคับใช้กับพี่น้องคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม เพราะเหตุผลความจำเป็น ผมต้องบอกว่าต้องมีข้อพิเศษเฉพาะ บางคนก็บอกว่าการออกกฎหมายแล้วไม่บังคับใช้เฉพาะ บางคน ก็กฎหมายนั้นอาจจะใช้ไม่ได้ แต่ผมอยากบอกพี่น้องผ่านท่านประธานว่า ถ้าพี่น้อง ประชาชนคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเขาก็อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๐ ด้วย เขาไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นี้ เขาไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าเขาก็อยู่ในมาตรา ๕ มาตรา ๒๕ มาตรา ๓๑ สภาผู้แทนราษฎร เราออกกฎหมายแล้วไปลิดรอนสิทธิการนับถือศาสนาของเขาหรือไม่ อันนี้ผมก็อยากตั้งเป็น ข้อสังเกต แต่สำคัญที่สุดนะครับ อยากบอกฝากผ่านท่านประธานถึงบรรดากลุ่ม LGBT หรือ กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศว่า พวกผมพรรคประชาชาติไม่เคยมีความขัดแย้งใด ๆ กับกลุ่ม LGBT แล้วก็เมื่อสักครู่ผมก็ได้คุยกับตัวแทนของพรรคก้าวไกลแล้วว่า ผมมีมุมมอง จุดยืนที่ชัดเจนว่าผมยึดมั่นในหลักคำสอนของพระองค์อัลเลาะห์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ฉะนั้น การทำหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนนั้น ผมก็จะต้องทำหน้าที่ที่ต้องมีความ รับผิดชอบ ต้องมีมันมีอามานะฮุ มีคำมั่นสัญญาที่เราเคยให้คำมั่นสัญญากับพี่น้องประชาชน ที่อยู่เบื้องหลังของเรา ว่าเราจะต่อสู้เรื่องนี้ถึงที่สุด แม้ว่าในการลงมติในวันนี้เราจะพ่ายแพ้ ในการลงมติ แต่ผมเชื่อว่าในโลกอาคีเราะห์เราและผู้สนับสนุนพรรคประชาชาติเป็นผู้ชนะ ในวันนั้น

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผมก็ขอพูดเฉพาะของรัฐบาล มีอยู่ทั้งหมด ๖๘ มาตรา ซึ่งในรายละเอียดนั้น ท่านกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ และท่านดอกเตอร์วรวิทย์ บารู ท่านอับดุลอายี สาแม็ง ก็จะมาพูดเพิ่มเติมไปนะครับ ผมอยากบอกว่าสาระสำคัญที่ผมรู้สึกไม่สบายใจ ก็คือเราไม่แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยคู่ชีวิต ที่กำหนดว่าจะต้องเป็นเพศ ชายและเพศหญิงที่คนไทยส่วนใหญ่ทั้งประเทศยึดถือปฏิบัติมาเป็นร้อย ๆ ปี แล้วเราไปออก กฎหมายตรงนี้เราไปบังคับใช้ ผมถามว่ากระทบอะไรกับพวกผมที่นับถือศาสนาอิสลาม ผมอยากเรียนผ่านท่านประธานถึงเพื่อนสมาชิกที่เคารพทุกท่านครับ เราบอกว่ากฎหมายต้อง บังคับอย่างเท่าเทียม ผมถามว่าถ้ากลุ่ม LGBT ที่นับถือศาสนาอิสลามในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่ได้อยู่ในความ คุ้มครองของมาตรา ๖๖ แต่พี่น้องคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามที่อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไม่อยู่ในความคุ้มครองตามมาตรา ๖๖ ไปบอกว่าจะขอจดทะเบียนสมรส ระหว่างเพศชายกับเพศชาย แล้วพ่อแม่เขาไม่ให้ แล้วถามว่าเขาไปร้องต่อศาลว่าเราผู้ที่ จดทะเบียนนั้นละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตราก็จะกลายเป็นมาตรา ๑๕๗ และสิ่งสำคัญที่สุด พรรคประชาชาติเราตระหนักว่าเหตุผลสำคัญที่เราบอกว่า การดำเนินการของเรานั้นเรามี จุดยืนที่ชัดเจนว่าเราอยากจะบอกผ่านเพื่อนสมาชิกว่าที่เราไม่สามารถจะเห็นด้วยและรับ หลักการของกฎหมายฉบับนี้ เพราะว่าในพระวจนะของพระองค์อัลเลาะห์ซุบฮานะฮูวะตะอา ลาในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานนั้นได้ระบุชัดว่า คู่สมรสนั้นจะต้องเป็นเพศชายและเพศหญิง เท่านั้น เพราะหน้าที่ของคู่สมรสคือการขยายเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้น วันนี้เรามองเรื่อง ความเท่าเทียม เรามองเรื่องของสิทธิเสรีภาพ เรามองถึงเรื่องของโลกเสรี แต่เราลืมมองเรื่อง ของศีลธรรม ความรู้สึกสิ่งที่ยึดเหนี่ยวอยู่ในหัวใจของพี่น้องประชาชนผู้เคร่งต่อศาสนาที่พวก เขานับถือ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม หรือแม้แต่ผู้ที่นับถือ ศาสนาคริสต์ก็ตาม ผมเชื่อว่าทุกคนก็มีความยากลำบากที่จะมาลงมติในเรื่องดังกล่าวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักการของศาสนาอิสลามนั้น หากเราเห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ทั้ง ๔ ฉบับนั้น สุดท้ายพวกเราทุกคนที่นับถือศาสนาอิสลามต้องกลับไปสู่พระองค์อัลเลาะห์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เราจะถูกพิพากษา สิ่งที่หนักที่สุดก็คือพวกเราทุกคนตระหนักว่า เราต้องการสรวงสวรรค์เพื่อโลกหน้าในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานระบุชัดในซูเราะห์ที่ ๗ อายะห์ที่ ๘๐ อายะห์ที่ ๘๑ ว่าถ้าเราเห็นด้วยตรงนี้เราอาจจะไม่ได้กลิ่นสวรรค์ อันนี้ ผมเชื่อว่าพี่น้องประชาชนคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามก็มีความรู้สึกไม่สบายใจ แต่วันนี้ผม ก็ต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนมาอภิปรายตรงนี้

    อ่านในการประชุม

  • เหตุผลสำคัญอีกเหตุผลหนึ่งที่ผมอยากเรียนผ่านท่านประธานถึงเพื่อนสมาชิก ผู้ทรงเกียรติทุกท่านนะครับว่าสิ่งที่ผมอยากอธิบายให้เห็นชัดว่าสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย เพราะอะไร และสำคัญที่สุดทำไมผมถึงพูดแต่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี เพราะในคณะรัฐมนตรีนั้น มีมาตรา ๖๖ ที่มาใช้ในจำนวน ๖๘ มาตรา ซึ่งในมาตรา ๖๖ นั้นเป็นการต่อสู้ของตัวแทน ของ ครม. หนึ่งในนั้นก็คือ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง หัวหน้าพรรคประชาชาติ ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ต่อสู้ในคณะรัฐมนตรีเพื่อเพิ่มเติมว่า ในร่าง พ.ร.บ. นี้ ๖๘ มาตรานั้นได้เพิ่มไปอีก ๑ มาตราว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ไม่บังคับแก่กรณีที่มีกฎหมายกำหนดเรื่องของครอบครัวและมรดกไว้ เป็นการเฉพาะ อันนี้ถือเป็นวิวัฒนาการ พัฒนาขึ้นจาก ๔ ปีที่แล้ว เป็น ๔ ปีที่พวกเรา พรรคประชาชาติพยายามต่อสู้เพื่อให้เป็นทางออกให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยที่นับถือ ศาสนาอิสลาม แม้ว่าการต่อสู้ครั้งนี้จะเป็นการต่อสู้ที่ได้มาเพียงเฉพาะพี่น้องที่มีกฎหมาย มรดกและครอบครัวอยู่ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านประธานที่เคารพครับ เหตุผล สุดท้ายที่ผมอยากบอกว่า ในกรณีนี้ทำไมผมถึงบอกว่าเราไม่สามารถที่จะรับหลักการตรงนี้ได้ ก็อยากยกบทความของท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์อับดุลรอนิง สือแต ซึ่งได้กล่าวว่า ศีลธรรมที่มุสลิมมองแตกต่างกับชุดจริยธรรมโลกเสรีว่าศีลธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะผิดพลาดไปมากกว่านั้นก็คือการมองเห็นความชั่วร้ายที่อิสลามพูดถึง ก็คือการละเมิด ศีลธรรม อย่างที่คนพูด ๆ กัน การฆ่าคนหนึ่งคนเท่ากับการฆ่าคนทั้งโลก การกระทำผิดซินา หรือการผิดประเวณีมันไม่ใช่มุมมองแบบศีลธรรมทั่วไป มันคือความผิดทางเพศเท่านั้น แต่มัน หมายถึงการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นเพศหญิงที่ไม่ใช่การหลับนอนกับชายและหญิงเป็น การส่วนตัว ฉะนั้นในมุมมองของความเลวไม่ใช่ศีลธรรมที่ศาสนาที่เข้าใจ แต่มันคือ การผิดพลาดในอารยธรรมของมนุษย์ ต่อเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ท่านประธานครับ ต่อธรรมชาติ ของความดีงาม พระมหาอัลกรุอานมักเรียกว่า มะอรูฟ ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มนุษย์รู้จักและคุ้นเคย กันดี ตามร่างคำแล้วสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจยอมรับมันได้ตามธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ คือการปฏิเสธมัน และสุดท้ายวันนี้หลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ประเทศสิงคโปร์ หลายประเทศรณรงค์ให้ประชาชนของแต่ละประเทศเพิ่มจำนวนประชากร เพราะประชากร ลดลงนั้นในทางสังคม เหตุผลหนึ่งที่เราไม่เห็นด้วยกับร่างหลักการอันนี้ก็คือว่า มีคำพยากรณ์ ว่าอนาคตอีก ๓๐ ปีประเทศไทยจะมีประชากรเหลือเพียงแค่ ๓๓ ล้านคน และ ๓๓ ล้านคน นั้นเป็นประชากรผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ตัวที่จะขับเคลื่อนอนาคตของประเทศไทยต่อไป เพราะว่าโดยหลักธรรมชาติ ครอบครัวก็คือต้องเป็นเพศหญิงและเพศชาย ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ ก็ขออนุญาตท่านประธาน อภิปรายสนับสนุนการยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ ๑๔/๒๕๕๙ ท่านประธานที่เคารพครับ พรรคประชาชาติจริง ๆ แล้วเราศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มายาวนาน หลาย ๆ ท่านได้ให้ความเข้าใจว่าปัญหาภาคใต้มีความรุนแรงเมื่อปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา แต่ข้อเท็จจริงปัญหาของความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีมาก่อนปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา ด้วยเหตุผลที่พี่น้องประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในอดีตกาลนั้นไม่สามารถที่จะมีหน่วยงานใดที่จะเข้าไปร้องเรียน เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมได้ จึงมีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อตั้งเป็นศูนย์บริหารราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมา เพื่อให้เป็นที่พึ่งของพี่น้องประชาชน เพื่อให้เป็นที่พึ่งของ ข้าราชการในพื้นที่ เพื่อเป็นการองค์กรที่ขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาทั้งหมด ไม่ว่าปัญหา เรื่องของสังคม ปัญหาเรื่องของการศึกษา ปัญหาเรื่องของความมั่นคงก็ตาม แต่ว่าหลังจาก เกิดเหตุการณ์ ๒๕๔๗ เป็นต้นมาศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านอดีตนายก ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้มีการยุบศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้พร้อมกับ พตท. ๔๓ ซึ่งอยู่ในค่ายสิรินธร ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคง ก่อนหน้านั้นยังไม่มี พ.ร.บ. กอ.รมน. มาบังคับใช้ ผมเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๓ ที่เห็นความสำคัญ ได้รวบรวม สส. ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าถึงเวลาแล้วที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส จะต้องผลักดันให้มีกฎหมายตราเพื่อเป็นพระราชบัญญัติศูนย์บริหารราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ ขึ้นมา ในการต่อสู้ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในยุคนั้นหลังจากมีการตั้งกรรมาธิการแล้ว เรามี ความเห็นว่าปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น มันเกิดขึ้นเฉพาะยะลา ปัตตานี นราธิวาส แต่การ ยกตรากฎหมายโดยรัฐบาลยุคนั้นพยายามจะใช้ครอบคลุมถึง ๕ จังหวัด ซึ่งมติใน คณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยมีมติเห็นชอบให้เอาแค่ ๓ จังหวัด แต่สุดท้ายผู้ที่นำกฎหมายนี้ เข้ามาพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรก็นำกลับมาใช้เสียงข้างมากในสภา ทำให้สภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบให้พระราชบัญญัติศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ครอบคลุมถึงจังหวัด สงขลาและไปถึงสตูล อันนี้คือที่มาที่ไป แต่ว่าหลังจากมีการปฏิวัติรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ก็มีการออกคำสั่ง คสช. หลายฉบับ เพื่อมาปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่มาจากพี่น้อง ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคประชาชาติมองเห็นว่าการยกเลิกคำสั่ง คสช. นั้นถ้าจะให้ Perfect ที่สุด ให้มันสมบูรณ์แบบที่สุด มันต้องยกเลิกถึง ๓ ฉบับ ฉะนั้นพรรคประชาชาติ จึงยื่นร่างพระราชบัญญัติยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๙ และคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๗/๒๕๕๙ ทำไมพรรคประชาชาติถึงเล็งเห็นตรงนี้ เพราะการแก้ปัญหาทั้งหมดนี้เราจะต้องแก้ให้ครบ วงจร แต่ที่เราพยายามวันนี้ผมก็พยายามจะบอกว่าวันนี้พรรคประชาชาติแม้ว่าเราจะไม่สามารถ เอาร่างกฎหมายของเรามาพิจารณาในสภาได้ เพราะเรามีเกี่ยวข้องกับการเงิน แต่ที่เราทำมา เราคิดว่าเป็นจดหมายที่สมบูรณ์แบบที่สุดนะครับ ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตเวลา เพิ่มเติมนิดหน่อย เนื่องจากเนื้อหาสาระที่สำคัญก็คือในการยกเลิกประกาศคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๙ อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้กล่าวขึ้นว่าเป็นการยกเลิก สภาที่ปรึกษา ในการยกร่างพระราชบัญญัติศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เราให้อำนาจพี่น้องประชาชนสามารถคัดเลือกตัวแทน คัดสรร เลือกตั้ง ตัวแทนของพี่น้อง ประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในองค์กรทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทในการพิจารณา งบประมาณของศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พิจารณาเรื่องของการดำเนินการ ภายในกระบวนการของการพัฒนา ว่าเราจะพัฒนาทิศทางใดเพื่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้อง ประชาชน แต่คำสั่งนี้ก็ได้ยกเลิกแล้วก็ไปตั้งคณะทำงานอย่างที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไว้ ทั้งนี้ทั้งนั้นผมเชื่อว่าในรัฐบาลยุคที่ผ่านมา โดยเฉพาะคณะปฏิวัติรัฐประหารที่ใช้อำนาจ ยึดอำนาจจากรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยนั้นมีความหวาดระแวง และไม่มีความไว้วางใจ องค์กรที่มาจากการเลือกตั้งของพี่น้องประชาชน ผมถามกลับไปว่า ถ้ายังมีความหวาดระแวง มีข้อสงสัยในตัวแทนของพี่น้องประชาชนที่มาเป็นองค์กรพิจารณางบประมาณของ ศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว วันนี้ผ่านไป ๒๐ ปี รัฐบาลที่แล้วพยายาม ผลักดันงบโครงการลงไปเกือบ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ผมถามว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทในการ แก้ปัญหาเหตุการณ์ความสงบอะไรเพิ่มขึ้น เหตุการณ์ก็ไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม เศรษฐกิจก็ไม่ดีขึ้น กว่าเดิม แถมที่สุดวันนี้พี่น้องประชาชนกับถูกกระทำโดยการปิดปาก พี่น้องประชาชน แต่งชุดมาลายูก็ไม่มีใครกล้าออกมาพูด พี่น้องประชาชนแสดงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ที่เป็นคน พื้นเมือง ซึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๖๐ มาตรา ๗๐ ก็ไม่มีใครมาดูแล กลับไปลิดรอนสิทธิ กล่าวหาว่าพวกนี้เป็นอั้งยี่ ซ่องโจร อันนี้เพราะว่าอะไร เพราะในสภา ศอ.บต. นั้นไม่มีคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาที่มาจากการเลือกตั้งของ พี่น้องประชาชน ผมอยากฝากผ่านท่านประธานถึงคณะทำงานที่จะเข้าไปทำหน้าที่เป็น คณะกรรมาธิการได้พิจารณายกเลิกคำสั่งที่ ๑๔/๒๕๕๙ แล้วอยากให้มองภาพรวมว่าอะไร ที่จะเป็นองค์ประกอบที่เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อนศูนย์บริหารราชการจังหวัด ชายแดนภาคใต้ โดยให้ ศอ.บต. เป็นแม่งานนำการพัฒนา ไม่ใช่เอาทหารนำการพัฒนา ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ ขอมีส่วนร่วมในการ อภิปรายร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มี ความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... ท่านประธานครับ หลายท่านได้บอกว่ามีเพื่อนสมาชิก ให้ความเห็นชอบในร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เมื่อลงวาระที่ ๑ เมื่อการพิจารณาของสภา แห่งนี้ ผมก็ขออนุญาตยืนยันเป็นตัวแทนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ เพื่อบันทึกไว้ทั้งในโลกดุนยาและโลกอาคิเราะฮ์ ว่าพรรคประชาชาติและผู้สนับสนุน พรรคประชาชาติ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับร่างรับรองเพศ คำนำหน้านามเพศ และการคุ้มครองและผู้มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... แล้วก็ การรับรองสมรสเท่าเทียม เราก็ไม่เห็นด้วย อันนี้ขอยืนยันในจุดยืน และผมมีเหตุผลที่จะต้อง อภิปรายให้เพื่อนสมาชิกได้เข้าใจในจุดยืนการทำหน้าที่ของพวกเราในสภาผู้แทนราษฎร ท่านประธานที่เคารพครับ พรรคประชาชาติเป็นพรรคหนึ่งที่ก่อตั้งขึ้นในพื้นที่ ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาเราได้รับเสียงการสนับสนุนจากพี่น้องประชาชน ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ เสียง และในการรณรงค์หาเสียงตอนนั้น เราบอกแล้วเราไม่สนับสนุนและไม่เห็นด้วยกับร่างสมรสเท่าเทียม ซึ่งการลงมติในครั้งนั้น ก็เป็นที่ปรากฏชัดว่าเรายังยืนหยัดในจุดยืนของเราเหมือนเดิม ท่านประธานครับ ในเรื่องของ ความหลากหลายทางเพศ หรือกลุ่ม LGBT โดยส่วนตัวผมเองไม่มีอคติใด ๆ หรือมีความรู้สึก ใด ๆ กับกลุ่มเหล่านี้ แต่ด้วยความศรัทธาการยึดมั่นในหลักการของการนับถือศาสนานั้น ก็ไม่ได้ต่างจากท่านประธานว่าในหลักการของศาสนาอิสลามนั้น เรายึดมั่นในพระมหาคัมภีร์ อัลกุรอาน พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน คือวจนะของพระองค์อัลเลาะฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงแม้แต่อักขระเดียว ฉะนั้นในคำจำกัดความในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ได้กำหนดว่า เราจะเห็นด้วยกับความหลากหลายทางเพศไม่ได้ นั่นคือสิ่งที่เราต้องยึดและ ปฏิบัติ เฉกเช่นเดียวกับท่านประธาน สำหรับการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครอง ผู้มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... ฉบับนี้ มีเพื่อนสมาชิกที่อภิปรายเห็นด้วย มีเพื่อนสมาชิกอภิปรายไม่เห็นด้วย และผมคนหนึ่งที่ ขออภิปรายว่าเราไม่เห็นด้วยที่จะแก้การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคล ที่มีความหลากหลายทางเพศ ท่านประธานครับผมก็เกิดในประเทศไทย นับถือศาสนาอิสลาม ผมใช้ นายซูการ์โน มะทา ตอนนี้ก็ ๖๓ ปี แต่คำว่า นาย มันไม่ใช่มีแค่ ๖๓ ปี นาง หรือ นางสาว ก็ไม่ใช่มีแค่ ๖๓ ปี มันมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน วันนี้ผลพวงจากการรับหลักการใน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผมเข้าใจว่าท่าน มีความต้องการที่จะแก้ไขในร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่ในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ที่เขานับถือ ศาสนาอิสลาม ที่เขาเคร่งครัดกับหลักการความเชื่อเขาจะรู้สึกอย่างไร ในเมื่อตัวแทนที่เป็น ตัวแทนของพวกเขาต้องมาเห็นชอบกับสิ่งที่ขัดกับพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ท่านประธานครับ เรากำลังเดินทางที่ตรงข้ามกับหลักข้อเท็จจริงที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ วันนี้ ในหลักการของอิสลามแล้วเราเชื่อว่าสิ่งที่จะธำรงโลกนี้ได้ด้วยมนุษย์อยู่ ๒ เพศ คือเพศชาย กับเพศหญิง ฉะนั้นเมื่อสภาแห่งนี้พยายามที่จะมาแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว ผมเป็นห่วงว่า จะกระทบกับความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนของคนไทยอีกหลายสิบล้านคน วันนี้ผมไม่แน่ใจว่า เพื่อนสมาชิกจะเห็นด้วยมากน้อยแค่ไหน แต่พรรคประชาชาติก็ยืนหยัดว่าเราไม่เห็นด้วยกับ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ดังนั้นเพื่อเป็นการบันทึกและยืนยันในจุดยืนทางการเมืองของ พวกเราทุกคน ทั้ง ๙ คนในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ เราก็ไม่สามารถที่จะรับร่างพระราชบัญญัติ การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองผู้มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... ได้ ซึ่งผมเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกที่นำเสนอร่างฉบับนี้เข้าใจในความมีจุดยืนทางการเมืองของพวกผม ผมไม่ได้มีปัญหากับกลุ่มหลากหลายทางเพศ แต่ผมต้องยึดมั่นในหลักการของศาสนาอิสลาม ต้องยึดมั่นในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน เพราะวันหนึ่งเราต้องกลับไปคืนสู่พระองค์อัลเลาะฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ชีวิตเราเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ซึ่งเราก็จะถูกสอบสวนสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องสำคัญ ก็อยากเรียนผ่านท่านประธานถึงเพื่อนสมาชิกด้วยความเคารพว่า พรรคประชาชาติไม่สามารถที่จะรับร่างหรือเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ. .... ได้ ซึ่งมีเหตุผล อื่นประกอบอีกมากมาย เพื่อเป็นการยืนยันครับท่านประธาน ก็ขออนุญาตนำเสนอเพียงแค่นี้ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ วันนี้ผมได้รับมอบหมาย จากพรรคประชาชาติให้เป็นผู้อภิปรายสรุปร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. .... ของ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง และคณะ ท่านประธานครับ วันนี้เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติหลาย ๆ ท่านได้อภิปรายถึงข้อห่วงใยและข้อสังเกตเกี่ยวกับ การแก้ปัญหาการประมงของประเทศไทย ท่านประธานที่เคารพครับ ถ้าเรามองย้อนกลับไป อาชีพประมงเป็นอาชีพหนึ่งที่เป็นรายได้ของประเทศ แต่ภายหลังจากการปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อปี ๒๕๕๗ ก็มีการตราพระราชกำหนดเพื่อแก้ปัญหาของ IUU ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เกือบศตวรรษที่ผ่านมานั้นชาวประมงไทยจำนวนมากถึงขั้นต้องสิ้นเนื้อประดาตัว และสูญเสีย อาชีพของตนเองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส และเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่อาชีพการประมงกำลังจะหายไปจากประเทศไทย จนเกิดการรวมตัว ของชาวประมงเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลหาแนวทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน วันนี้ผม เปรียบเทียบให้เห็นว่าการประมงนั้นไม่ใช่เพิ่งมีมาเมื่อ ๑๐ กว่าปี แต่การประมงนั้น มีมาหลายศตวรรษมาแล้ว

    อ่านในการประชุม

  • แต่สิ่งสำคัญที่สุดหลังจากพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้มี การประกาศใช้ มันก็ส่งผลกระทบให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยที่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่ง ทั้งอันดามันทั้งฝั่งอ่าวไทยก็ได้รับความเดือดร้อน วันนี้เรือประมงหลายลำต้องจอดเทียบท่า ก็ไม่มีโอกาสที่ได้รับการเยียวยาจากรัฐบาล ฉะนั้นการรวมตัวของชาวประมงในครั้งนี้ พรรคประชาชาติได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องของการแก้ปัญหา พ.ร.บ. ประมง เราได้มีการ ส่งตัวแทนของพรรคประชาชาติลงไปในพื้นที่ เพื่อรับฟังความเห็น ปัญหาความเดือดร้อน และความต้องการของชาวประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประมงที่มีความสำคัญ ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและยังประสบปัญหาในการพัฒนาการประมง จะเห็นว่า ในอดีตนั้นเราติด ๑ ใน ๑๐ ของโลกที่มีผลผลิตทางการประมงสูง วันนี้ถ้าเราเดินไป ในตลาดสดที่ไหนก็ตาม ถ้าเราเห็นสินค้าการประมงนั้นค่อนข้างจะรู้สึกเสียใจ ในเมื่อสินค้า การประมงที่มาขายให้กับพวกเรานั้นเป็นผลผลิตการประมงที่ไม่ใช่ของประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นของประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นของสหภาพพม่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น ท่านประธานครับ หลายท่านก็ได้พูดถึงสาเหตุสำคัญที่เกิดปัญหาที่ทำให้ประเทศไทย ถูกสหภาพยุโรปหรือ EU แจ้งใบเตือนเป็นใบเหลือง หรือประเทศไทยอาจจะเป็นประเทศ ที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากการไม่วางระบบ กำกับ ควบคุม ป้องกัน การทำประมง โดยผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ขาดการควบคุมของ IUU ทำให้เอกสารสำคัญรับรอง การจับหรือรับรองว่าสัตว์น้ำมีการจับในการประมงของ IUU นั้น ขาดความน่าเชื่อถือ พระราชกำหนดทั้งหมดที่เกิดขึ้นมานั้น เป็นการออกกฎหมายพระราชกำหนดกฎหมายประมง ที่กระทบกับพี่น้องประชาชนซึ่งในอดีตถ้าเราดูกฎหมายประมงฉบับพระราชบัญญัติ การประมงปี ๒๔๙๐ นั้นล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศทางทะเล และพันธกิจและความแตกต่างที่ IUU กำหนดไว้

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ พรรคประชาชาติจึงได้มีการร่างพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. .... ขึ้นมา ซึ่งเชื่อว่าการที่ตลาดยุโรป เป็นตลาดที่มีความสำคัญทางการประมงแล้ว เราจึงมีการออกพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ในช่วงเวลาที่เร่งรัดไม่รอบคอบ ทำให้การประมงไม่สามารถที่จะปรับตัวและ ไม่ได้รับการช่วยเหลืออุดหนุนจากภาครัฐในการปรับตัวด้วย ท่านประธานครับ เพื่อนสมาชิก หลายท่านมีข้อห่วงใย

    อ่านในการประชุม

  • ผมเองพรรคประชาชาติก็มีความรู้สึกมีความ ห่วงใยในอาชีพของการประมงอาชีพ ประมงเรือ ๑ ลำ เวลามาเทียบท่าสะพานปลามีพี่น้อง ประชาชนอีกหลายอาชีพมีรายได้หารายได้เพื่อไปเลี้ยงครอบครัวแล้วมีอู่ต่อเรือ ซึ่งเป็นอาชีพ หนึ่งพี่น้องชาวมลายูปัตตานีมีความสามารถพิเศษ วันนี้เรือประมงไม่สามารถออกไปทำ การประมงก็ทำให้อาชีพเหล่านี้ได้สูญหายไปจากพื้นที่หลาย ๆ พื้นที่ที่เป็นชาวประมงชายฝั่ง แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการปลดจากสถานะใบเหลืองในการทำประมงของ IUU จาก สหภาพยุโรปแล้ว แต่จากการประกาศใช้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อย่างเร่งด่วนของรัฐบาลที่ผ่านมาเป็นการเพื่อแก้ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย IUU นั้น ทำให้เกิดการปรับตัวการแก้ไขและกำหนดการประมงขึ้นมาใหม่ และมีการบังคับใช้ อย่างเข้มงวด จนก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อชาวประมงอย่างรุนแรง เช่น

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๑ กฎหมายที่ตราขึ้นมาฉบับนี้มีหลายประเด็นที่กำหนดไว้มากกว่า ข้อกำหนดของสหภาพยุโรป ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงควรแก้ไขปัญหาการประมงนอกน่านน้ำไทย และการนำสัตว์น้ำจากต่างประเทศ แต่กฎหมายยังครอบคลุมการประมงพาณิชย์ การประมง พื้นบ้าน และหมายรวมถึงการประมงน้ำจืด ทำให้ไม่สอดคล้องกับวิถีการประมงของประเทศไทย

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๒ การกำหนดเอกสารจำนวนมากมายและขั้นตอนการทำธุรกรรม ในการควบคุมตรวจสอบมากเกินความจำเป็น ทั้งเรือประมง ท่าเทียบเรือประมง บทลงโทษ หนักถึงขั้นเอาความผิดที่เล็กน้อยที่สมควรแค่ตักเตือน แต่เป็นความผิดที่รุนแรงจนชาวประมง ไม่สามารถที่จะต่อสู้ออกมาได้

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๓ กำหนดเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันล่วงหน้ามากกว่าการที่จะส่งเสริม สนับสนุนให้ชาวประมงได้ทำการประมงที่ชอบด้วยกฎหมาย

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๔ บทลงโทษสูงเกินไปเกินความจำเป็นจนส่งผลให้พี่น้องชาวประมง ต้องสิ้นเนื้อประดาตัว ล้มละลาย บางรายไม่สามารถประกอบอาชีพ บางคนที่มีอาชีพ ชาวประมงต้องกลายเป็นผู้ป่วยที่ติดเตียง เหล่านี้เป็นต้น

    อ่านในการประชุม

  • ดังนั้นในนามของสมาชิกพรรคประชาชาติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติและคณะ จึงได้มีการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. .... โดยมีหลักการและเหตุผลที่กำหนดว่าการทำประมง พื้นบ้านที่ให้เฉพาะในเขตทางทะเลชายฝั่งนั้น จะมีการปรับให้มีความยืดหยุ่นตามสภาพของ พื้นที่และชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการประมง ตามมติของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด และความเห็นชอบของกรมประมง กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิในการออกใบอนุญาต องค์ประกอบของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดและฐานความผิดการทำประมง ที่กำหนดขึ้นที่ร้ายแรง บังคับใหม่ปรับใหม่ให้ชัดเจนและสอดคล้องกับหลักกฎหมาย ระหว่างประเทศ หลักการของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดของ พรรคประชาชาตินั้น ได้กล่าวถึงบทลงโทษเจ้าของเรือ ปรับให้ลงโทษเจ้าของเรือเฉพาะ เรือลำที่ใช้ทำการประมงที่ผิดกฎหมาย และมีการลงโทษทางปกครองก็ให้ลงโทษเจ้าของเรือเฉพาะเรือที่กระทำผิดเช่นกัน ให้อำนาจคณะกรรมการมาตรการทางปกครอง ในกรณีที่ผู้กระทำการประมงฝ่าฝืนกฎหมาย อย่างร้ายแรง เช่น การยึด การริบเรือประมงที่ใช้กระทำความผิด ทำให้ขัดต่อหลักกฎหมาย การลงโทษที่เหมาะสม เพื่อให้เจ้าของเรือกลับตัวเป็นชาวประมงที่ดี ให้ใช้วิธีพักการใช้เรือ หรือระงับการใช้ใบอนุญาตการประมงในระหว่างเวลาที่เหมาะสม การจัดการด้านการประมง และการควบคุมการเฝ้าระวังการทำประมง ตลอดจนมาตรการคุ้มครองแรงงานยังไม่สอดคล้อง กับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ จากสถานการณ์ความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมง ที่กำลังประสบอยู่ในขณะนี้ ตามที่เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันทรงเกียรติแห่งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมการประมงของไทยนั้น พรรคประชาชาติ เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สภาผู้แทนราษฎรควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ในการ ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาให้กับชาวประมง โดยการยึดหลักความเป็นธรรมให้เกิดกับพี่น้อง ชาวประมง และสอดคล้องกับวิถีชีวิตการทำประมงของพี่น้องชาวประมงด้วย ในขณะเดียวกัน การแก้ปัญหาต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนการกระทำการประมง ทั้งประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ ควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ดังนั้นผมจึงเห็นสมควรว่าให้สภาแห่งนี้พิจารณาเร่งรัดในการดำเนินการจัดการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘

    อ่านในการประชุม

  • แล้วในฐานะที่เป็นตัวแทนของพรรคประชาชาติ ต้องขอบคุณรัฐบาลภายใต้ การนำของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินอย่างน้อยที่สุดความเดือดร้อนของพี่น้อง ชาวประมงที่มีมายาวนาน ๑๐ กว่าปี วันนี้ภายใต้สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ก็มีการรับร่าง ทั้ง ๗ ร่าง ไปให้รัฐบาลพิจารณา แล้วก็ฝากท่านประธานผ่านถึงรัฐมนตรีที่มารับเรื่อง พระราชกำหนดทั้ง ๗ ฉบับวันนี้ ควรจะเร่งรัดให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณายกร่างของ รัฐบาลมาเป็นกฎหมายเพื่อได้ใช้เวลาที่สั้นที่สุด เพราะวันนี้พี่น้องชาวประมงมีความเดือดร้อนมาก ถ้ารัฐบาลใช้เวลาในการพิจารณาถึง ๒ เดือน ผมเกรงว่าความสูญเสียที่จะเกิดกับพี่น้อง ชาวประมง จะสูงกว่าความสูญเสียที่ท่านต้องเสียเวลาแค่ ๖๐ วัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาล คงใช้เวลาเพียง ๓๐ วัน ในการไปศึกษาพิจารณาร่างทั้ง ๗ ฉบับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๒ พรรคประชาชาติ ก่อนอื่นต้องขอบคุณ ท่านวรวงศ์ วรปัญญา นะครับ ที่สละเวลาสับเปลี่ยนคิวในการอภิปรายให้กับผม เนื่องจากว่า ช่วงเย็นวันนี้ผมมีภารกิจด่วนจะต้องไปต้อนรับคณะที่มาจากจังหวัดยะลา ที่มาเยี่ยมชม สภาผู้แทนราษฎรที่พระราม ๙ นะครับ ท่านประธานที่เคารพครับ ผมขอสนับสนุนญัตติ เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทาง บูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจังหวัดพื้นที่ ในเขตป่าสงวนเพื่อลดขั้นตอนการอนุมัติของอธิบดี ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ของท่านทรงยศ รามสูต แล้วก็มีเพื่อนสมาชิกหลายท่าน ที่ได้อภิปราย ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา ก็มีเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสักครู่นี้ มีเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดเชียงใหม่ บอกว่าพี่น้องประชาชนในพื้นที่ของเขา รอคอยไฟฟ้าแสงสว่างในครัวเรือนมาเป็นเวลา ๕-๖ ปีแล้วยังไม่ได้

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ พี่น้องบ้านสองแยก พี่น้องบ้านปาโล๊ะ ในหมู่ที่ ๖ ตำบลกาบัง หมู่ที่ ๕ ตำบลกาบัง ไม่มีไฟฟ้าใช้มา ๔๐ ปีแล้ว และทุกครั้งในพื้นที่ตรงนี้ ของอำเภอกาบัง มีจำนวน ๒ ตำบล ๑๙ หมู่บ้าน อยู่ในพื้นที่ป่ามีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๘๑,๐๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติ ๑๖๘,๗๕๐ ไร่ มีประชากรทั้งสิ้น ๒๕,๘๖๗ คน จำนวนครัวเรือน ๗,๒๙๖ ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ๔๘๒ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๐.๖ เปอร์เซ็นต์ ท่านประธานที่เคารพครับ พี่น้องประชาชนไม่ใช่ว่าอยู่เฉย ๆ ไม่เรียกร้อง ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่พี่น้องประชาชนก็เคยเรียกร้องการขอมีไฟฟ้าใช้จากหน่วยงาน ของรัฐ จากรัฐบาลกลางไปแล้ว ๔ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อปี ๒๕๕๙ ราษฎรบ้านคลองป่อง หมู่ที่ ๖ ตำบลบาละ ร้องเรียนไปยังศูนย์บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต. ว่าหมู่ที่ ๖ ไม่มีไฟฟ้าใช้ มีผู้ได้รับผลกระทบ ๘๖ หลังคาเรือน ต่อมาในปี ๒๕๖๑ นายอัสมิน อาแว ตัวแทนราษฎรร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติมกรณีราษฎรที่บ้านกาบัง หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๖ และตำบลบาละ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๑๐ เป็นครั้งที่ ๓ ในปี ๒๕๖๑ ที่ศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดยะลา

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ พี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าไม่ใช่ว่าเขาไม่ได้ ขออนุญาต เขาก็พยายามประสานงานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำกับดูแลก็คือ องค์การบริหารส่วนตำบลกาบัง และองค์การบริหารส่วนตำบลบาละ แต่ว่าเนื่องจากปัญหา เรื่องของขั้นตอนและระเบียบข้อกฎหมายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดูแลกฎหมายของป่าไม้ว่ามีผลกระทบต่อการพัฒนา การสร้างความเจริญให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่บ้านแอและ บ้านปาโล๊ะ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๕ ตำบลกาบังนั้น ผมเองได้ไปสัมผัสเจอพี่น้องประชาชนเขาบอกว่าเขารอคอย เวลาที่จะมีไฟฟ้าใช้เหมือนกับพี่น้องประชาชนคนอื่น ซึ่งพื้นที่ที่ตั้งที่บ้านสองแยกนี้ก็ตั้งอยู่ เชื่อมติดต่อกับอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา บนทางหลวงชนบทสายสามแยกไปถึง ถ้ำตลอด ท่านประธานครับ ช่วงต้นระยะทาง ถนนเขาบอกโอเคเป็นการอำนวยความสะดวก สำหรับพวกเขาในการขนพืชพันธุ์ทางเกษตรมาขายในพื้นที่ในเมือง แต่ไฟฟ้าแสงสว่างนี้ มันเหมือนกับการเพิ่มหยักในสมอง ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยครับว่าสภาผู้แทนราษฎรจะต้องตั้ง กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการอนุญาต ในเขตป่าไม้ในการพัฒนา ไม่ว่าจะการขยายเขตไฟฟ้าให้สู่พี่น้องประชาชน การสร้างถนน ไปในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ท่านประธานครับ สมัยที่ผมเป็นประธานกรรมาธิการ การกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นฯ ของสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ นั้น มีนายก องค์การบริหารส่วนตำบลและนายกเทศมนตรีตำบลในเขตจังหวัดลำปาง ได้มาร้องเรียน กับเราว่าดำเนินการตามข้อเรียกร้องของพี่น้องประชาชน เพื่อแก้ปัญหาตามภารกิจของ อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ที่สุดถูกทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้ดำเนินคดีจับกุม และต้องต่อสู้กันเป็นเวลายาวนาน

    อ่านในการประชุม

  • สำหรับในพื้นที่วันนี้ที่ผมอยากเรียนท่านประธานว่า ปัญหาอุปสรรคที่เราต้อง มาทำก็คือ หน่วยงานที่เข้าไปใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและป่าไม้ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่ยื่นคำขอตรวจสอบพื้นที่ป่าแล้ว ไม่สามารถดำเนินการมีทั้งหมด ๖ คำขอ ของอำเภอกาบัง ทางหลวงชนบท ๑ คำขอ องค์การบริหารส่วนตำบลบาละ จำนวน ๕ คำขอ มีหนังสือ ยล. ที่ ๐๐๑๘/๙๐๓๑ ลงวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ขอให้กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณายกเว้นการจัดทำการประเมินผลกระทบ EIA ท่านประธานครับ การประเมินผลกระทบ EIA ในจังหวัดยะลาวันนี้หลายโครงการติดอยู่ตรงนี้ ผมจึงว่าวันนี้ถ้าสภาของเราได้อนุมัติรับหลักการ และมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา พิจารณาในเรื่องของการบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมกับจังหวัดในพื้นที่ ก็จะช่วยเหลือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด จะเข้าไปดำเนินการ ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน

    อ่านในการประชุม

  • ๑๑๑/๑

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายนะครับท่านประธาน มันเป็นข้อคิดที่ชาวบ้านฝากผมมาว่า เวลาจะถึง เวลาเลือกแต่ละครั้งทุกคนก็ไปหาเขา และมาบอกว่าเดี๋ยวจะให้ไฟฟ้า เดี๋ยวจะเอาไฟฟ้ามาให้ วันนี้ชาวบ้านรอมา ๔๐ ปี ผมอยากให้กรณีของเขตบ้านสองแยก หมู่ที่ ๕ ของตำบลกาบัง และในพื้นที่ตำบลบาละอีกหลาย ๆ ที่ คงเป็นปัญหาที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในรัฐบาล ของท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของระบอบประชาธิปไตยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม