เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ อำเภอปากเกร็ด พรรคก้าวไกล วันนี้ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนเพื่อมาหารือกับท่านประธานในวันนี้ มีอยู่จำนวนทั้งหมด ๖ เคส ครับท่านประธาน ขอ Slide ด้วยครับ
เรื่องแรก เป็นปัญหาผักตบชวาที่ไหลมา ตอนนี้แทบจะเต็มล้นคลองบางพังแล้วครับท่านประธาน คลองบางพังเป็นคลองที่อยู่ ในตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด คลองนี้ไหลผ่านถึง ๓ ชุมชน ไล่ตั้งแต่หมู่บ้านสหกรณ์ ๓ ผ่านเมืองทองธานี แล้วก็ผ่านสุขาประชาสรรค์ ๒ ก่อนจะไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา ผักตบชวา เป็นอุปสรรคทำให้น้ำไหลไม่สะดวก ตอนนี้เกิดปัญหาอยู่ ๒ ประเด็นครับ ๑. คือน้ำเน่าเสีย ส่งผลรุนแรงต่อพี่น้องประชาชนที่พักอาศัยอยู่ริมคลอง ๒. เมื่อเวลาฝนตก น้ำไม่สามารถ ระบายได้ เกิดน้ำท่วมกับชุมชนที่อยู่ริมคลอง ขอฝากท่านประธานส่งปัญหานี้ให้กับ ทางเทศบาลนครปากเกร็ดนำปัญหานี้แก้ไขให้กับประชาชนด้วยครับท่านประธาน ขอ Slide ถัดไปเลยครับ
เรื่องที่ ๒ เป็นปัญหาทางข้ามถนนที่บริเวณถนนแจ้งวัฒ นะตัดกับ คลองประปา อยู่ในส่วนของตำบลคลองเกลือ ปัญหานี้สังเกตว่าใน Clip Video ผมจัดทำมา มีทั้งฝั่งขาออก แล้วก็ฝั่งขาเข้านนทบุรี สังเกตว่าเนื่องจากตรงบริเวณนี้มีการสร้างถนน ถึง ๓ โครงการ ตั้งแต่รถไฟฟ้า Floodway แล้วก็นำสายไฟลงใต้ดิน ปัญหาคือว่าทางข้าม ทางม้าลายเดิม ผู้ใช้ทางข้ามถนนพอข้ามไปแล้วไม่สามารถเดินทะลุลอดใต้สะพาน ไปอีกฝั่งหนึ่งได้นะครับ พอข้ามทางม้าลายไปแล้วต้องเดินเลาะริมเกาะกลางของถนน ก่อนที่จะข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง พอข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งแล้วก็ยังไม่สามารถข้ามถนนได้ ต้องเดินย้อนเกาะกลางกลับมาที่ทางม้าลาย เพื่อข้ามมาอีกฝั่งหนึ่งนะครับ ฝั่งขาออกนนทบุรี ไม่เท่าไรครับท่านประธาน แต่ฝั่งขาเข้ามันจะอยู่ตรงโค้งพอดี สังเกตนะครับ รถโค้งมาปุ๊บ จะเจอทางข้ามเลย เกือบเกิดอุบัติเหตุหลายครั้งแล้วครับท่านประธาน ฝากไปยัง แขวงทางหลวงนนทบุรี สำนักงานทางหลวงที่ ๑๓ ช่วยมาดูแลปัญหานี้ให้กับพี่น้องประชาชน ด้วยครับ จะตั้งสัญญาณจราจรเพิ่ม หรือว่าสัญญาณแจ้งเตือน เพื่อให้รถชะลอก่อนที่จะมาถึง จุดนี้ให้กับพี่น้องประชาชนด้วยครับท่านประธาน ขอ Slide ถัดไปครับ
ปัญหาต่อมาเป็นปัญหาการจราจรที่ซอยสุขาประชารังสรรค์ ๓ ซอยวัดกู้ ปัญหานี้เป็นปัญหาเรื้อรังมาร่วมทศวรรษแล้วครับ เมื่อก่อน ขสทบ. ตั้งอยู่เกียกกายนี้ พอ ขสทบ. ย้ายไปอยู่ที่ซอยวัดกู้ทำให้ปิดช่องทางการจราจรของพี่น้องประชาชน จาก ๓ ทางเหลือแค่ ๒ ทางนะครับ ที่นั่นมีโรงเรียนถึง ๑๐ โรงเรียนนะครับท่านประธาน เวลาเร่งด่วนเกิดปัญหาจราจรอย่างมากมหาศาลนะครับ ท่านประธานครับ ฝากไปถึงทาง กรมการขนส่งทหารบก แล้วก็กระทรวงกลาโหม ช่วยเปิดทางให้พี่น้องประชาชนสัญจรผ่าน ช่วงเวลาเร่งด่วนจะเกิดคุณูปการให้กับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างสูงครับ ขอเวลาอีกนิดเดียว ครับท่านประธาน เหลืออีก ๒ เคสครับ ขอ Slide ถัดไปครับ
ประเด็นต่อมาเป็นประเด็นปัญหา ฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบจากโรงงานปูนที่ซอยสุขาประชารังสรรค์ ๓ เช่นกันครับอยู่ใน ซอยวัดกู้นะครับ ปัญหานี้เกิดจากว่ามีรถปูนวิ่งเข้าออกตลอดทั้งวัน ส่งผลกระทบให้ฝุ่นปูน พอลงไปสู่ท่อระบายน้ำเกิดปัญหาน้ำท่วม แล้วก็ถนนในซอยผุพัง ฝากไปถึงเทศบาลนคร ปากเกร็ดช่วยเร่งแก้ปัญหานี้ให้กับพี่น้องประชาชนด้วยครับ ขอ Slide ถัดไปครับ ปัญหานี้ เป็นปัญหาป้ายรถประจำทาง ที่นั่งชำรุดนะครับ ก็อยู่ที่หมู่บ้านกฤษดานคร ตำบลคลองเกลือ ฝากแขวงทางหลวงนนทบุรีเร่งดำเนินการแก้ไขให้กับพี่น้องประชาชนด้วยครับ ขอ Slide ถัดไปครับเป็นปัญหาสุดท้ายแล้วครับ
ปัญหาสุดท้ายแล้วครับท่านประธาน
ขอบคุณครับท่านประธาน ขออนุญาตส่ง เป็นหนังสือไปแทนนะครับท่านประธาน
ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ ผมมีเรื่องรบกวนสอบถาม ทางท่านผู้มาชี้แจง ท่านอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลผ่านท่านประธาน ผมรบกวนเวลา สักครู่ครับ ขอเวลาสัก ๕ นาที ผมมีประเด็น ผมขออ้างถึงโครงการของกรม
ขอสัก ๕ นาทีได้ไหมครับท่านประธาน เป็นประเด็นเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ครับ
ขอคำถามเลย OK ครับ ถ้าอย่างนั้น ผมขอสรุป เป็นคำถามเลยนะครับ มีประเด็นที่ทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลออกใบอนุญาต ขุดเจาะให้กับสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมที่ถนนศรีสมาน ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มี ๓ คำถาม ท่านอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลครับ
คำถามแรก โครงการนี้ทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลหลังจากออกใบอนุญาต ไปแล้ว ได้ดำเนินการลงไปตรวจสอบพื้นที่จริงบ้างหรือยังครับ
คำถามที่ ๒ ถ้าท่านได้ลงไปตรวจสอบพื้นที่ที่มีการขุดเจาะโครงการน้ำบาดาลนี้ จริงแล้ว ท่านทราบหรือไม่ว่าตอนนี้มีผลกระทบกับพี่น้องประชาชนที่อยู่บริเวณรอบ ๆ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
คำถามที่ ๓ คำถามสุดท้ายครับ ผมทราบดีว่าโครงการขนาดเล็กแบบนี้ น่าจะไม่มีการทำ EIA EIA คือการวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการที่จะสร้างนั้น ๆ ว่าจะมีผลกระทบอะไรต่อสิ่งแวดล้อมแล้วก็ชุมชนรอบด้านบ้าง ผมคิดว่าโครงการเล็ก ๆ แบบนี้คงไม่มี แต่ถึงไม่ได้ทำ EIA ก็จริง ทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลซึ่งเป็นผู้ออกใบอนุญาต ให้กับทางสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถ้าท่านได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบการดำเนิน โครงการแล้วพบว่ามีปัญหากระทบกับพี่น้องประชาชน ท่านก็สามารถที่จะระงับโครงการได้ อยู่ดีนะครับ
ผมขอฝาก ๓ คำถามนี้ให้กับทางท่านอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ผ่านท่านประธานครับ ขอบคุณครับ
ท่านประธานครับ ขออนุญาตใช้เวลา ไม่เกิน ๒ นาทีครับ
นิดเดียว ๒ นาทีครับ เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมมีข้อ Comment และข้อ Recommend ให้กับท่านผู้ชี้แจงนิดเดียว คือผมขอชื่นชมจริง ๆ ทาง Thai PBS ในรายงานฉบับนี้ทำมาได้ดีมาก ในช่วงอภิปรายที่ผ่าน มาผมถึงไม่มีประเด็นที่ต้องการอภิปรายเลย แต่ว่าผมขอแชร์ Recommend นิดหนึ่งครับ ส่วนตัวผมนี่ เชื่อไหมรายการของ Thai PBS รายการหนึ่งชื่อบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย รายการนี้ทำให้ลูกสาวผมเลิกดูการ์ตูนไปเลย กลับมาถึงบ้าน กลับจากโรงเรียน ป๊ะป๊าเปิดดู ขอดูรายการนักวิทยาศาสตร์น้อย นี่คือจุดเด่นของ Thai PBS มีกลุ่มตลาด กลุ่มผู้บริโภค ที่เขาติดตามอยู่แล้ว แต่ประเด็นคือว่าแต่ละ View แต่ละ Clip ที่ผมดูใน YouTube อันนี้ ผมดูผ่าน Platform YouTube ยอด View อยู่แค่ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ไม่เกินนี้ อันนี้คือปัญหา ก็อยากจะเสนอแนะฝากทางท่านผู้ชี้แจงว่าถ้าเราจะ Scope แล้วทำงาน On Ground เพิ่มเครือข่ายกับกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้มากกว่าเดิม อย่างเช่นมีการไปร่วมมือกับทางกลุ่ม โรงเรียนต่าง ๆ หรือทางกระทรวงศึกษาธิการให้นำทีมงานเข้าไป Workshop หรือว่า จัดรายการร่วมกับโรงเรียน ผมก็เชื่อว่าน่าจะขยายฐานกลุ่มผู้ชมรายการได้มากขึ้น ก็ขอเสนอแนะไว้เท่านี้ครับ ขอบคุณครับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ วันนี้ผมได้รับเรื่องร้องเรียน จากพี่น้องประชาชนเพื่อนำมาหารือกับท่านประธาน มีทั้งหมด ๔ เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ ๑ ตามที่ รฟม. ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ซึ่งได้สร้างเสร็จแล้วนั้น มีช่วงถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งแต่ห้าแยกปากเกร็ดถึงสะพานข้ามคลองประปา เชื่อมต่อไปยัง ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันมีการคืนพื้นผิวถนนให้แล้ว แต่ยังไม่เรียบร้อยดังสภาพเดิม ดูได้จากภาพ Slide จะเห็นความแตกต่างระหว่างก่อนก่อสร้างและหลังก่อสร้าง พื้นผิวถนน มีความขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้เกิดอันตรายและรถยนต์เสียหายต่อผู้ใช้ท้องถนน เป็นอย่างมากครับท่านประธาน ผมจึงขอเรียนผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงคมนาคม ให้ปรับปรุงสภาพถนนแจ้งวัฒนะให้กลับสู่สภาพดีเช่นเดิมโดยเร็วครับ
เรื่องที่ ๒ ยังอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะครับท่านประธาน ช่วงบริเวณ ห้าแยกปากเกร็ดถึงสะพานข้ามแยกคลองประปา ในขณะนี้ยังมีโครงการก่อสร้างบ่อพัก และท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวงที่ได้ดำเนินการอยู่นี้ ประชาชน ได้ร้องเรียนถึงความยากลำบากในการใช้ถนน สังเกตจากภาพ Slide และ Video จะเห็นได้ว่า ฝาท่อปิดไม่สนิท พื้นผิวถนนบริเวณฝาท่อขรุขระก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ใช้รถใช้ถนน เสี่ยงต่อการเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ผมขอฝากท่านประธานไปยังกระทรวงมหาดไทย และการไฟฟ้านครหลวง ให้ดำเนินการก่อสร้างอย่างระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของ ผู้ใช้รถใช้ถนนด้วยครับ
เรื่องที่ ๓ ปัญหาไฟส่องสว่างถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ซึ่งผมและคณะทำงาน ได้มีการลงพื้นที่ร่วมกับทางหลวงชนบทนนทบุรีด้วย จากภาพ Slide และ Video หลังจาก ที่ได้ลงพื้นที่ร่วมกันไฟส่องสว่างจะกลับมาใช้งานได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ผ่านไป ไม่กี่สัปดาห์ก็ดับอีกแล้วครับท่านประธาน ไฟส่องสว่างไม่ติดทั้งเส้นแบบนี้อาจก่อให้เกิด อุบัติเหตุแก่ผู้ใช้ถนนเป็นอย่างสูงครับ ผมขอฝากท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงคมนาคม ถึงกรมทางหลวงชนบทช่วยเร่งรัดในการซ่อมแซมแก้ไขเพื่อให้ประชาชนจะได้ปลอดภัย ในการสัญจรตอนกลางคืน และขอให้กระทรวงคมนาคมช่วยจัดสรรงบประมาณตามอำนาจ หน้าที่เพื่อให้กรมทางหลวงชนบทมีงบประมาณเพียงพอในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้อง ประชาชนครับ
เรื่องสุดท้ายครับท่านประธาน มีพี่น้องประชาชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม ต้องกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนทำธุรกิจหลังจากเกษียณอายุ ๕๕ ปี ผมขอฝากท่านประธานไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้พิจารณาแก้ไขระเบียบการจ่ายเงินเกษียณอายุเมื่อสมทบถึง ๑๘๐ เดือนและมีอายุครบ ๕๕ ปีให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมสามารถที่จะเลือก รับเงินเกษียณอายุได้ว่าจะรับเป็นแบบบำเหน็จหรือว่าบำนาญ ผมขอรบกวนเวลาสภา เพียงเท่านี้ ขอบพระคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ อำเภอปากเกร็ด พรรคก้าวไกล วันนี้ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนมาปรึกษาหารือกับท่านประธานอยู่ ๓ เรื่อง
เรื่องที่ ๑ ขณะนี้ทาง รฟท. สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรีได้เปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการเต็มรูปแบบแล้ว แต่ถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งแต่สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ดถึงสถานีศรีรัช มีการคืนพื้นผิวถนนให้แต่ว่ายังไม่เรียบร้อย ดังสภาพเดิม จากสไลด์ที่ปรากฏได้มีการซ่อมแซมพื้นผิวถนนด้วยวิธีการนำลาดยางมาปะ บนพื้นผิวถนนเพื่อปิดหลุมที่ขรุขระ แต่ว่ายังทำให้ถนนเป็นคลื่นไม่เรียบร้อยดังสภาพเดิม ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้รถและถนนเป็นอย่างมากนะครับ ผมจึงเรียนท่านประธานผ่านไป ยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงสภาพถนน แจ้งวัฒนะให้เรียบดังเดิมด้วยนะครับท่านประธาน
เรื่องที่ ๒ การเผาขยะ เศษใบไม้ พลาสติก ล้อรถยนต์ในยามวิกาล เรื่องนี้ เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน ยังไม่เคยได้รับการแก้ไข เหตุเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืนที่บริเวณ ซอยบ่อปลาแสงจันทร์หลังโรงเรียนพิชญศึกษา ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี จากภาพสไลด์และวิดีโอที่ปรากฏจะเห็นได้ว่ามีการเผาขยะเป็นประจำในช่วงเย็น และกลางคืนทำให้เกิดฝุ่นควันดำจำนวนมาก ส่งผลกระทบให้กับประชาชนที่พักอยู่อาศัยใน บริเวณใกล้เคียงได้รับกลิ่นเหม็นและแสบจมูก บางรายมีอาการแพ้ผื่นขึ้นตามตัวนะครับ ผู้สูงอายุและเด็กไม่สามารถทำกิจกรรมนอกที่พักอาศัยได้นะครับ ผมจึงขอฝากท่านประธาน ไปยังกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย และเทศบาลนครปากเกร็ด ให้เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการตักเตือน ห้ามมิให้กระทำการเผาขยะเพื่อป้องกันฝุ่นควันดำรบกวนประชาชนด้วยครับท่านประธาน
เรื่องที่ ๓ เรื่องสุดท้าย การติดตั้งไฟกระพริบสัญญาณเตือนบริเวณทาง กลับรถบนถนนติวานนท์ บริเวณแยกวัดโพธิ์ทองบน ซึ่งบริเวณนี้เป็นจุดที่มีทั้งชุมชน โรงพยาบาลและโรงเรียนหลายแห่ง จากภาพสไลด์และวิดีโอที่ปรากฏจะเห็นว่าแยกนี้ เป็นแยกวัดใจครับ บริเวณนั้นจะมีทั้งป้ายรถประจำทาง จุดกลับรถ รวมถึงทางแยกให้ รถเลี้ยวขวาวิ่งตามถนนติวานนท์เข้า-ออกมาจากซอยวัดโพธิ์ทองบนอีกด้วย ผมจึงฝาก ท่านประธานผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมถึงกรมทางหลวงนนทบุรีนะครับ แขวงทางหลวงนนทบุรีช่วยติดตั้งไฟกระพริบและป้ายสัญญาณเตือนให้ลดความเร็ว เพื่อให้ประชาชนได้ใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังมากขึ้นด้วยครับ ขอบพระคุณครับ ท่านประธาน
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ อำเภอปากเกร็ด พรรคก้าวไกล วันนี้ครับท่านประธาน ผมขอร่วมอภิปรายการศึกษาแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพง วันนี้ผมขอพูด ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพี่น้องประชาชนคนนนทบุรี ท่านประธานครับ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จังหวัดนนทบุรีตอนนี้มีค่าครองชีพสูงเป็นลำดับที่ ๓ ของประเทศไทยแล้วนะครับ และจากข้อมูลของ สนค. เช่นกัน ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน คนไทยต้องหมดไปกับค่าไฟฟ้าสูงเป็นลำดับที่ ๒ ท่านประธานครับ รัฐมีหน้าที่ที่ต้องจัดหา หรือดำเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพี่น้องประชาชน ซึ่งการใช้ไฟฟ้าของประชาชนก็ถือเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่นกันครับท่านประธาน ดังนั้นรัฐต้องจัดสรรให้ประชาชนมีไฟฟ้าไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างทั่วถึง และต้องราคาย่อมเยาด้วยเช่นกันครับ แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่าประชาชน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนของชีวิตรวมอยู่ในค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน เป็นจำนวนมาก ผมขอพูดถึงปัญหาความเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีของผมครับ มีชุมชนชื่อชุมชนอาคารชุดบ้านสวนติวานนท์ อยู่ที่ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่นี่มีประชาชนพักอาศัยอยู่ประมาณเกือบ ๕๐๐ คน ท่านประธานครับ เราทราบกันดีว่าค่าไฟ ปกติที่เราจ่ายตรงให้กับทางการไฟฟ้านั้นก็ไม่ถูกนะครับ ก็แพงอยู่แล้ว แต่ว่าที่นี่กว่า ๒๐ ปี แล้วครับ ที่ประชาชนหลายร้อยคนกลับต้องจ่ายค่าไฟที่สูงกว่าครอบครัวปกติทั่วไป เพราะที่นี่ไม่สามารถขอมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นของตนเองได้ เพียงเพราะเขายังติดผ่อนชำระค่า ห้องชุดกับทาง บสก. หรือบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ดังนั้น เขาก็ต้องดิ้นรนเพื่อให้ตัวเองได้มีไฟฟ้าใช้ จึงต้องใช้วิธีการต่อพ่วงไฟฟ้าจากอาคารชุดอื่น ทำให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าในอัตราที่สูงขึ้นต่อ ๑ มิเตอร์ คือต้องแชร์กัน ๑ มิเตอร์ หลายห้องชุด ทำให้ตัวเลขการใช้ไฟฟ้าต่อ ๑ มิเตอร์สูงขึ้นนะครับ แล้ววิธีคิดค่าไฟฟ้าของเรา ก็ไม่ได้เหมือนสินค้าประเภทอื่น ๆ ครับท่านประธาน ที่ซื้อเยอะแล้วราคาจะถูกกว่า ซื้อชิ้นเดียว แต่ค่าไฟฟ้าจะคิดราคาแบบอัตราก้าวหน้า คือยิ่งใช้ไฟเยอะเท่าไร ราคาค่าไฟ ก็จะยิ่งแพงขึ้นตามไปด้วย ยิ่งใช้ไฟมาก ยิ่งจ่ายแพง ซ้ำร้ายหากบางครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ ที่ป่วยติดเตียง แน่นอนครับ ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าตลอดทั้ง ๒๔ ชั่วโมง ทำให้ต้นทุนชีวิตจากค่าไฟเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเลย ท่านประธานครับ ผู้สูงอายุได้เบี้ยยังชีพ เดือนละ ๖๐๐ บาท เท่ากับ ๒๐ บาทต่อวัน กินข้าวได้ ๗ บาทต่อ ๑ มื้อ กินบะหมี่กึ่ง สำเร็จรูปได้ ๑ ซองต่อมื้อครับ ดังนั้นหากครอบครัวไหนมีผู้สูงอายุและเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะ ต้องพึ่งพิง แม้แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ๑ ซองก็ยังไม่สามารถหาทานได้ เพราะต้องนำเงิน ไปเตรียมจ่ายค่าไฟฟ้า ท่านประธานครับ ผมได้รับข้อมูลมาว่า ชุมชนที่นี่ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยห้องพักจะมีผู้อาศัยอยู่ประมาณ ๒-๓ คนต่อ ๑ ห้อง มีเครื่องใช้ไฟฟ้า แอร์ ๑ ตัว พัดลม ๑ ตัว ค่าไฟฟ้าต่อเดือนที่ต้องจ่ายไม่เคยต่ำกว่า ๒,๐๐๐ บาทเลยครับ ค่าไฟฟ้าแพงทำให้ประชาชนมีภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น นี่คือ ความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ผม จังหวัดนนทบุรีครับ รัฐมีภารกิจและหน้าที่ ในการจัดหาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้กับประชาชน แต่ประชาชน ที่ชุมชนบ้านสวนติวานนท์นี้ไร้การเหลียวแลจากภาครัฐมากว่า ๒๐ ปีแล้วครับ สุดท้าย ผมขอเรียกร้องให้ภาครัฐเปิดเสรีทางไฟฟ้า ยกเลิกการผูกขาด มีตัวเลือกให้ประชาชน ได้มีโอกาสเลือกใช้บริการได้มากกว่าการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่มีอยู่ แค่เท่านี้ในตอนนี้ รวมทั้งสนับสนุนให้กับพี่น้องประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าโซลาเซลล์ในราคาที่ย่อมเยา เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้กับ พี่น้องประชาชนผมจึงเห็นควรสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา เพื่อพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพงของเพื่อนสมาชิกพรรคก้าวไกล คุณธิษะณา ชุณหะวัณ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนต่อไป ขอบคุณครับ ท่านประธาน
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผมนพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดนนทบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๔ อำเภอ ปากเกร็ด พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายสนับสนุนญัตติ การบริหารจัดการขยะของชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพื้นที่เมืองท่องเที่ยว ของเพื่อนสมาชิก ท่านประธานครับ ผมเสียดายนิดเดียวเมื่อ ๒ ท่านที่แล้วเพื่อนสมาชิก สส. เกียรติคุณ จากจังหวัดนนทบุรีของผมก็ได้ลุกขึ้นอภิปรายถึงปัญหาการบริหารจัดการขยะของจังหวัด นนทบุรี ถ้าผมได้ลุกขึ้นอภิปรายต่อเนื่องกันนี้ Story มันก็จะเชื่อมต่อกัน ไม่เป็นอะไรครับ เสียดายนิดเดียวเท่านั้นเองครับ ท่านประธานครับ ปัจจุบันจังหวัดนนทบุรีมีผู้คนอยู่ประมาณ ๑,๒๕๐,๐๐๐ คน แล้วในแต่ละวันผู้คนจะได้ทิ้งขยะกันประมาณวันละ ๑,๖๐๐ ตัน เฉลี่ยแล้ว คนจังหวัดนนทบุรี ๑ คน จะทิ้งขยะประมาณ ๑.๓ กิโลกรัมต่อวัน แล้วขยะ ๑,๖๐๐ ตัน ต่อวัน ของจังหวัดนนทบุรีไปที่ไหนครับ ที่จังหวัดนนทบุรีเทศบาล และ อบต. ต่าง ๆ ในจังหวัดนนทบุรีจะทำหน้าที่รวบรวมขยะทั้งหมดนี้และจะถูกนำไปที่ศูนย์จัดการขยะของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัด นนทบุรี ผมขอแชร์ข้อมูลของศูนย์การบริหารจัดการขยะแห่งนี้ และข้อสังเกตของจังหวัด นนทบุรี ซึ่งผมได้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมการจัดการในศูนย์จัดการขยะแห่งนี้ ก็ต้องขอขอบคุณ ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ขออนุญาตเอ่ยชื่อว่าไม่ได้มีการเสียหาย ที่ให้โอกาสแล้วก็ให้เกียรติ สส. นนทบุรีพรรคก้าวไกลในการได้เข้าไปเยี่ยมศูนย์บริหารจัดการ ขยะของทาง อบจ. ในครั้งนี้ เมื่อขยะจากทุก อปท. ของจังหวัดนนทบุรีถูกลำเลียงมาที่ศูนย์ จัดการขยะของ อบจ. นนทบุรีแห่งนี้ ศูนย์จัดการขยะแห่งนี้จะทำหน้าที่กลบฝังขยะทั้ง ๑,๖๐๐ ตัน และคลุมด้วยผ้าใบเพื่อเก็บรวบรวมก๊าซมีเทนที่เกิดจากการหมักขยะอินทรีย์ แล้วก็ให้บริษัทเอกชนนำก๊าซนี้ไปขายคืนให้กับทางการไฟฟ้า ซึ่งการรวบรวมก๊าซและผลิต ไฟฟ้าจะมีภาคเอกชนมาดำเนินการแล้วก็แบ่งส่วนรายได้ให้กับทาง อบจ. ตามที่เขาได้ตกลง ทำ MOU กันไว้ แต่ว่ามีปัญหาใหญ่ครับท่านประธาน ในพื้นที่ศูนย์จัดการขยะแห่งนี้ยังมี กองขยะเก่าที่เกิดจากการฝังกลบมาแล้ว ๒๐ ปี จนเต็มพื้นที่บ่อเดิม ไม่สามารถนำขยะใหม่ ฝังกลบเพิ่มเติมได้ ทาง อบจ. ทำอย่างไรครับ ทาง อบจ. ได้จัดให้เอกชนมาลงทุนขุดขยะ ในพื้นที่ที่ไม่สามารถฝังกลบเพิ่มได้แล้ว ให้เอกชนมาลงทุนขุดคัดแยกขยะประมาณ ๓ ล้านตัน และเอามาทำเป็นเชื้อเพลิง RDF เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าและจำหน่ายกลับคืน ให้กับทางการไฟฟ้า แล้วสัญญาการซื้อขายไฟฟ้าเป็นแบบไหน หลาย ๆ ท่านที่เข้าไปเยี่ยมชม วันนั้นก็เกิดความกังวลใจว่าหากมีการหยุดเครื่องจักร ทางการไฟฟ้ายังต้องจ่ายเงินให้กับทาง บริษัทเอกชนแห่งนี้หรือไม่ ก็ไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะว่าประเด็นนี้ก็ได้สอบถามกับทาง บริษัทเอกชนแห่งนี้ สัญญาการซื้อขายไฟฟ้าที่นี่จะเป็นแบบ Non-Firm นั่นหมายความว่า ถ้าไม่มีการเดินเครื่องจักรการไฟฟ้าก็ไม่ต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทเอกชนนั่นเอง ในระยะเวลา สัญญา ๒๐ ปี ทาง อบจ. นนทบุรี คิดราคาเชื้อเพลิงขยะจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ประมาณ ๑๐.๕ ล้านบาทต่อปี และยังมีส่วนแบ่งจากการขายไฟฟ้าอีกส่วนหนึ่งด้วย โดยมีเป้าหมายปลายทาง คือการทำให้ขยะกองเดิมหายไป แต่แน่นอนครับ หลายคนก็ยังอาจกังวลใจกับกองขยะใหม่ ที่เพิ่มขึ้นอีกวันละ ๑,๖๐๐ ตัน ซึ่งทาง อบจ. ก็ได้วางแผนที่จะทำโรงไฟฟ้าเพิ่มอีก ๒ โรง ซึ่งโรงแรกกำลังจะเริ่มก่อสร้าง สามารถกำจัดขยะได้วันละ ๑,๐๐๐ ตัน แล้วก็โรงที่ ๒ ที่จะตามมาก็อีกประมาณ ๖๐๐ ตัน จนกว่ามีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ ๒ เสร็จ เพื่อที่จะทำให้ ขยะในจังหวัดนนทบุรีไม่ต้องนำไปฝังกลบอีกต่อไป
ดังนั้นเป้าหมายปลายทางของ อบจ. นนทบุรี ก็คือการจัดการกับบ่อฝังกลบ ทั้งบ่อเดิม แล้วก็บ่อที่ใช้ในปัจจุบันให้หมดไปในกรอบระยะเวลาไม่เกิน ๒๐ ปี เพื่อคืนพื้นที่ บ่อขยะเดิมให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนครับ และนอกจากนี้ในพื้นที่ศูนย์จัดการ ขยะแห่งนี้ยังมีเตาเผาขยะติดเชื้อ สำหรับโรงพยาบาล สถานพยาบาลในจังหวัดนนทบุรี และยังมีโรงกำจัดสิ่งปฏิกูลอีกด้วย ก็สามารถนำมาบริหารจัดการที่ศูนย์จัดการขยะแห่งนี้ เช่นกัน แต่ถึงแม้ทาง อปท. จะพยายามวางแผนอย่างไรก็ตาม และตั้งใจจัดการขยะทั้งหมด แต่ผลกระทบจากการจัดการขยะในปัจจุบันยังส่งผลกระทบถึงพี่น้องประชาชนในตำบล คลองขวางในบางช่วงเวลานะครับ อย่างเช่นในช่วงต้นฤดูหนาว แน่นอนก็จะมีกลิ่นเหม็นโชยมาหรือว่าบ่อรวบรวมน้ำชะขยะ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการล้นในช่วงฤดูฝน และปนเปื้อนออกมาในพื้นที่ข้างเคียงนั่นเอง เช่นเดียว กับโรงไฟฟ้าเช่นกันที่จำเป็นต้องมีการติดตามค่าการปล่อยมลพิษ ต้องติดตามแบบ Real Time ด้วย และต้องแสดงให้เห็นชัดเจนบนกระดาน Dashboard ซึ่งต้องติดตั้งให้เห็น เป็นจุดขนาดใหญ่ในชุมชนด้วยเช่นกัน เมื่อมีผลกระทบข้างเคียง ในเบื้องต้นทาง อบจ. ทำอย่างไร เบื้องต้นเขาได้ชดเชยให้กับพี่น้องประชาชนในตำบลคลองขวาง โดยขยะทุกตัน ที่เข้ามาในพื้นที่นี้จะต้องชดเชยให้กับทาง อบต. คลองขวาง คิดเป็นเงินประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของค่าจัดการขยะที่ อบจ. เรียกเก็บจากเทศบาลและ อบต. เพื่อใช้ในการ พัฒนาของ อบต. คลองขวาง รวมปีหนึ่งก็หลายล้านบาทเช่นกัน ก็หวังว่าข้อมูลที่ผมแชร์ มาให้ในการบริหารจังหวัดของ อบจ. นนทบุรี ก็จะเป็นข้อสังเกตแล้วก็ข้อเสนอแนะให้กับ ทางคณะกรรมาธิการที่จะศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้นำไปปรับใช้ได้ไม่มาก ก็น้อย แต่ถึงแม้ภาพรวมการจัดการขยะที่ อบจ. นนทบุรี ถือว่ามีแนวทางการจัดการ ที่ชัดเจน แต่ว่าก็ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังสามารถปรับปรุงแล้วก็เพิ่มเติมได้ครับ ท่านประธาน โดยเฉพาะการลดและการแยกขยะที่ต้นทางก่อนเลย ก็หมายถึงตั้งแต่ ที่บ้านบ้านเรือน ชุมชน หรือแม้กระทั่งตลาด และจัดการนำขยะไปใช้ประโยชน์จากกลางทาง อย่างเช่น เทศบาล อบต. คอนโดมิเนียม หรือว่าหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณขยะ ฝังกลบปลายทางไม่เพิ่มขึ้น เท่ากับว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มมูลค่าจากการจัดการ ขยะโดยรวมให้เพิ่มขึ้นได้ สุดท้ายครับท่านประธาน ถึงเวลาแล้วที่ภาคการเมืองทุกส่วน ทั้งการเมืองระดับชาติและการเมืองท้องถิ่นต้องมาเรียนรู้แลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขปัญหา ขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ดังนั้นผมขอร่วมสนับสนุนให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา เรื่อง การบริหารจัดการขยะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขอบพระคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ อำเภอปากเกร็ด พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินที่เสนอโดยเพื่อนสมาชิก พรรคก้าวไกล คุณณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และเพื่อนสมาชิกพรรคเพื่อไทย เพื่อสะท้อนถึง ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในจังหวัดนนทบุรี ในฐานะที่ผมเป็นตัวแทนของ พี่น้องประชาชนคนนนทบุรีครับ ท่านประธานครับผมและประชาชนในนนทบุรีเฝ้ารอ พ.ร.บ. แก้ไขการจัดสรรที่ดินฉบับนี้ว่าเมื่อไรจะได้นำเข้ามาพิจารณาเข้าสู่สภาสักที เพราะเป็นปัญหา เรื้อรังในหลายหมู่บ้านและหลายชุมชนครับ ซึ่งผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนมา ครั้งใด ผมก็ได้แต่เพียงตอบว่า ท้องถิ่นไม่สามารถแก้ไขให้ท่านได้แน่นอน เพราะว่ากฎหมาย ของประเทศเรายังเป็นแบบนี้อยู่ ซึ่งพรรคก้าวไกลเราทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชน และก็ได้ยื่น พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินเข้าสภาไปแล้วรอเข้าสู่วาระการพิจารณา วาระที่ ๑ ในสภาแห่งนี้ ท่านประธานครับ ปัญหาไม่ได้มีแค่เรื่องที่ดินที่อยู่ในพื้นที่จัดสรร เท่านั้นนะครับ ที่ดินนอกพื้นที่จัดสรรก็มีปัญหามากเช่นกัน ดังนั้นหากจะแก้ไขปัญหาให้ ครอบคลุมปัญหาของพี่น้องประชาชนในทุกมิติ นอกจาก พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินฉบับนี้ ผมยัง หวังว่ายังมี พ.ร.บ. ประมวลกฎหมายที่ดินอีกฉบับของพรรคก้าวไกล เพื่อเพิ่มอำนาจให้ ท้องถิ่นสามารถแก้ปัญหาที่ดินนอกพื้นที่จัดสรรให้ประชาชนได้ และหวังว่าจะได้รับการ พิจารณาควบคู่กับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ไปพร้อม ๆ กันด้วยครับ ท่านประธานครับ ผมเป็น ผู้แทนราษฎรของประชาชนอำเภอปากเกร็ด ตำบลบางพูด ตำบลบ้านใหม่ ตำบลคลองเกลือ และตำบลบางตลาด ซึ่งพื้นที่ทั้ง ๔ ตำบลนี้เป็นเมืองที่มีความแออัดของประชากรมากที่สุด ของจังหวัดนนทบุรีครับ แน่นอนครับสิ่งที่ตามมาคือปัญหาที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่จัดสรร และก็นอกพื้นที่จัดสรร พี่น้องประชาชนได้ร้องเรียนเข้ามาที่ผมเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่ง ครอบครัวผมเองครับก็หนีไม่พ้นเป็นผู้ประสบภัยเช่นเดียวกับพี่น้องประชาชน มารดาผม ซื้อบ้านอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ๑๐ ปีแล้ว ปัจจุบันยังไม่สามารถตั้งนิติบุคคลได้เลย ทั้งที่เจ้าของโครงการได้จำหน่ายบ้านหลังสุดท้าย หมดไปนานตั้งแต่ ๕-๖ ปีที่แล้ว เพียงเหตุผลเดียวครับ เพราะทางบริษัทผู้จัดสรรที่ดินยังไม่มี ความประสงค์จะให้ผู้ที่ซื้อบ้านทำการจัดตั้งนิติบุคคลครับ เหตุผลเดียวเท่านั้นเองที่ยัง ไม่สามารถจัดตั้งนิติบุคคลได้ ผลปรากฏว่าเป็นอย่างไรครับตอนนี้ระบบสาธารณูปโภค เละเทะหมดครับ ไม่มีการทำข้อตกลง ไม่มีการร่างกฎกติกา การอยู่ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน ใครอยากต่อเติมบ้านก็ทำตามใจตัวเองโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อเพื่อนบ้านข้างเคียง อยากนำขอมาวางไว้หน้าบ้าน อยากนำของมาวางไว้ข้างบ้านนอกพื้นที่ของตัวเองก็ทำกันตาม อำเภอใจ รถขยะก็ Indy มากครับ อยากมาเก็บวันไหนก็มา อาทิตย์ไหนไม่อยากมาเขาก็ ไม่มา ทำงานตามเสียงด่าของพี่น้องประชาชนในหมู่บ้าน ไฟถนน ท่อระบายน้ำก็รอกันอย่าง เลื่อนลอยว่าเมื่อไรทางเจ้าของโครงการจะมาแก้ปัญหาให้ กรณีต่อไปครับผมได้รับเรื่อง ร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนที่อยู่อาศัยในซอยต้นสน ๑๑ อยู่ที่ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด ถนนในซอยนี้ยังเป็นดินลูกรังอยู่เลย และที่สำคัญไม่มีท่อระบายน้ำด้วย คราวนี้พอฝนตก วิบากกรรมก็มาเยือนครับ นอกจากถนนจะเป็นหลุมเป็นบ่อแล้วน้ำก็ยังท่วมขัง เพราะว่าไม่มี ท่อที่จะระบายน้ำ ประชาชนต้องทนอยู่กันแบบนี้มากกว่า ๒๐ ปี ร้องเรียนไปที่เทศบาลตั้งแต่ ปี ๒๕๖๔ เทศบาลก็ไม่สามารถนำงบประมาณเข้ามาดำเนินการได้ เนื่องจากช่วงปากซอย มีพื้นที่แค่ประมาณ ๑๐ เมตรที่เป็นพื้นที่ของเอกชน แค่ ๑๐ เมตรนี้ทำให้ประชาชนเดือดร้อน กันไปทั้งซอยทั้งชุมชนครับ ไปต่อกันครับที่หมู่บ้านพบสุขที่ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด ทีนี่ประชาชน ๆ กว่า ๓๐๐ ครัวเรือนต้องจมอยู่กับปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมากว่า ๒๐ ปีครับ เนื่องจากแนวท่อน้ำทิ้งของชุมชนได้รอดผ่านถนนไปในที่ดินของเอกชนก่อนที่จะปล่อยออก สู่คลองบางตลาด อันนี้เป็นปัญหาที่ผู้จัดสรรที่ดินใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายหลีกเลี่ยงตั้งแต่ ในอดีตที่เขาทำจัดสรรที่ดินขาย คือไม่นำแนวท่อน้ำทิ้งของชุมชนนี้เข้าไปในโครงการจัดสรร หลังจากนั้นก็นำที่ดินแปลงนี้ออกไปขายในเวลาต่อมา ทำให้เทศบาลไม่สามารถนำ งบประมาณมาดำเนินการลอกท่อในพื้นที่ดินของเอกชนให้ได้ ท่านประธานครับความจริงยัง มีอีกหลายชุมชนที่ได้ร้องเรียนมาที่ผม แต่เนื่องจากเวลาวันนี้มีจำกัดเหลือเกินก็ขอสะท้อน ปัญหาและความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนของชาวปากเกร็ดเพียงเท่านี้นะครับ สรุปครับ พ.ร.บ. แก้ไขการจัดสรรที่ดินฉบับนี้จะช่วยแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้ใน ๓ ประเด็น หลัก ๆ ดังนี้
ประเด็นที่ ๑ ช่วยบังคับกรอบเวลา ให้โครงการหรือผู้จัดสรรที่ดินต้องเรียก จัดตั้งนิติบุคคลภายใน ๓ ปี โดยที่นับตั้งแต่ขายไปแล้ว ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของโครงการ
ประเด็นที่ ๒ กรณีที่โครงการยังไม่เรียกจัดตั้งนิติบุคคล ให้อำนาจลูกบ้าน เข้าชื่อกันเกินกึ่งหนึ่งขอตั้งนิติบุคคลได้เลย ซึ่งในปัจจุบันต้องรอทางโครงการแจ้งความ ประสงค์ให้ผู้ซื้อบ้านจัดตั้งนิติบุคคลเท่านั้น
ประเด็นที่ ๓ ในกรณีที่รัฐบาลไม่มีความประสงค์บำรุงรักษาพื้นที่จัดสรรเอง ภายหลังจัดตั้งนิติบุคคลแล้วก็สามารถโอนเป็นสาธารณะประโยชน์ได้เช่นกันครับ
ดังนั้นผมขอร่วมสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินฉบับนี้ที่เสนอโดย เพื่อนสมาชิกพรรคก้าวไกลและผู้ร่วมเสนอจากพรรคเพื่อไทย และยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสภา จะรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดินอีกฉบับที่เสนอโดย พรรคก้าวไกลเข้ามาพิจารณาร่วมกันไปด้วยในคราวเดียวกันนี้เช่นกันครับ ขอบคุณครับ ท่านประธาน
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ อำเภอปากเกร็ด พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชน เพื่อมาหารือกับท่านประธานอยู่ ๓ เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ ๑ ปัญหาสายไฟฟ้า สายสื่อสารครับ สายไฟฟ้า สายสื่อสารนี้อยู่บน ถนนแจ้งวัฒนะและถนนติวานนท์ ตอนนี้มีสภาพรกรุงรังพันกันมั่วไปหมดครับท่านประธาน มองดูไม่เป็นระเบียบ หย่อนคล้อยลงมาบนทางเดินทางเท้าบ้างนะครับ จากภาพสไลด์ ที่ปรากฏ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดระเบียบสายไฟ สายสื่อสารไปแล้วบ้างในบางจุด แต่ยังคงไม่นำสายเก่าที่ไม่ได้ใช้งานแล้วออก ทำให้สายไฟหรือสายสื่อสารยังคงรกรุงรัง อยู่เหมือนเดิม ก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนที่สัญจรไปมาและยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ ของเมืองอีกด้วย ผมจึงเรียนผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการ จัดระเบียบสายไฟ สายสื่อสารให้เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้นครับ
เรื่องที่ ๒ ก็ยังคงอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะนะครับ ที่ตอนนี้ชาวบ้านประชาชนแถวนั้น เขาบอกผมว่ากลายเป็นถนนแจ้งมรณะไปแล้วนะครับ ถนนใหญ่ใจกลางเมืองปากเกร็ดที่พื้นผิว ถนนเป็นคลื่น ทางเดินเท้าผุพัง ฝาท่อเห็นแล้วท้อเลยครับท่านประธาน จากภาพสไลด์ และวิดีโอที่ปรากฏ จะเห็นได้ว่าพื้นผิวถนนยังคงเป็นคลื่นอยู่ ทางเดินเท้าตั้งแต่แยกไฟแดง เมืองทองธานีจนถึงเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ทางเดินเท้าเป็นหลุมเป็นบ่อ แตกหัก ฝาท่อชำรุด เปิดโล่งก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนที่ใช้ทางเดินเท้าสัญจรทุกวันเป็นอย่างมาก ผมจึงเรียน ผ่านท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมถึงกรมทางหลวง ปรับปรุงสภาพถนน และทางเดินเท้าบนถนนแจ้งวัฒนะให้กลับมาสู่สภาพดีเช่นเดิมด้วยครับ
เรื่องที่ ๓ เรื่องสุดท้ายครับท่านประธาน การติดตั้งป้ายจราจรเตือนบริเวณ แยกไฟแดง หมู่บ้านสหกรณ์ ๓ ฝั่งถนนติวานนท์ ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่มีรถสัญจรผ่านไปมา ค่อนข้างหนาแน่น จากภาพสไลด์ที่ปรากฏจะเห็นว่าแยกไฟแดงนี้มีทั้งจุดกลับรถ ให้รถตรง เลี้ยวซ้ายขวา วิ่งตัดถนนติวานนท์เข้าออกเพื่อเป็นทางลัดมายังถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด จะมีทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถประจำทางสาธารณะสัญจรผ่านตลอดเวลา ซึ่งมีสัญญาณ ไฟจราจรตรงทางออกไปยังถนนติวานนท์ มีแต่ลูกศรตรงไปกับเลี้ยวขวา แล้วเป็นจุดกลับรถ อยู่ด้านขวา ผู้ขับขี่เกิดความสับสนมากครับ คิดว่าเลี้ยวซ้ายผ่านตลอดไม่ต้องรอสัญญาณไฟ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ผมจึงฝากท่านประธานผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคมถึงกรมทางหลวง ช่วยติดตั้งป้ายสัญญาณเตือนเลี้ยวซ้ายโปรดรอสัญญาณไฟ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ อำเภอปากเกร็ด เฉพาะตำบล บางพูด บ้านใหม่ ตำบลคลองเกลือ และตำบลบางตลาด จากพรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมขอ ร่วมอภิปรายรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน ของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม ของสภาผู้แทนราษฎรครับ ท่านประธานครับ อย่างที่เพื่อนสมาชิกหลายท่านได้กล่าวกันมา ปัจจุบันประเทศไทยเรามีผู้สูงอายุ ๑๒ ล้านคน แล้วครับท่านประธาน เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแบบเต็มตัวแล้ว ดังนั้นความท้าทายที่สำคัญ ของประเทศเรามีทั้งความท้าทายด้านจำนวนแรงงานและความท้าทายด้านจำนวนแรงงาน และความท้าทายด้านเศรษฐกิจครับท่านประธาน จากตัวเลขสถิติปีที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษที่จำนวนผู้เสียชีวิตของ ประเทศไทยเราพุ่งสูงเกินกว่าจำนวนของเด็กที่เกิดใหม่ครับท่านประธาน ตอนนี้จำนวน ประชากรของไทยเราเหลือ ๖๖ ล้านคนแล้วครับ ไม่ใช่ ๗๐ ล้านคน ที่เราอาจจะคุ้นชิน กับตัวเลขนี้ ปัจจุบันเหลือแค่ ๖๖ ล้านคนแล้ว และถ้าสัดส่วนจำนวนประชากรของเรา ยังลดลงอย่างต่อเนื่องแบบนี้ ภายใน ๖๐ ปีครับท่านประธาน ผู้คนที่เราเดินสวนกันอยู่ ทุกวันนี้จะหายไปครึ่งหนึ่ง นั่นหมายความว่าภายใน ๖๐ ปีข้างหน้า ประชากรประเทศเรา จะเหลือแค่ ๓๐ ล้านคนครับท่านประธาน ตัวเลขนี้กำลังจะบ่งบอกอะไรถึงพวกเราทุกคน ตอนนี้กำลังบ่งชี้ว่าประเทศเรากำลังจะขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงในอนาคตอันใกล้นี้ครับ ถ้าหากเรายังไม่ตระหนักและหาแนวทางป้องกัน เราอาจจะได้เห็นแรงงานส่วนใหญ่ ของประเทศเราต้อง Import มาจากต่างชาติ เพราะการขาดแคลนคนวัยทำงานเหมือนอย่าง ประเทศอิตาลี หรือประเทศญี่ปุ่น ที่ประชากรส่วนใหญ่ของเขาเป็นผู้สูงอายุในอนาคต อันใกล้นี้ครับ ท่านประธานครับ ประเทศไทยเรามีประชากร ๖๖ ล้านคน ถ้าเราเอาจำนวน อายุของประชากรทั้งหมดหารด้วย ๖๖ ล้านคน อายุเฉลี่ยของประชากรของไทยเราอยู่ที่ ๔๐ ปี ส่วนประเทศอิตาลีกับประเทศญี่ปุ่นนี่อยู่ที่ประมาณ ๔๗ ปีนะครับ ถ้าเรามองไปที่ ประเทศเวียดนามอายุเฉลี่ยอยู่ที่ ๓๐ ปีเอง นั่นไม่แปลกใจว่าทำไมกองทุนต่างประเทศ หลาย ๆ บริษัทย้ายไปตั้งฐานผลิตที่ประเทศเวียดนามครับท่านประธาน และ ๑ ในสาเหตุ หลักที่ผู้คนในปัจจุบันไม่อยากมีบุตร นั่นก็คือภาระค่าใช้จ่ายครอบครัวที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ ท่านประธานครับ ผมลงพื้นที่รับฟังปัญหาพี่น้องประชาชนในจังหวัดนนทบุรี เสาหลักของ ครอบครัว ครอบครัวหนึ่งเขาทำงานอยู่ในห้างสรรพสินค้า มีลูกเล็กวัยเรียน ๒ คน และยังมี บิดามารดาผู้สูงอายุ ที่ต้องดูแลอีกด้วยครับ ดังนั้นหากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับผู้ที่เป็นเสาหลัก ของครอบครัวรายนี้ ถ้าวันใดวันหนึ่งเขาเกิดตกงานขึ้นมา ลูกทั้ง ๒ ของเขาอาจจะเสี่ยง ต่อการตกหล่นจากการศึกษา และบิดามารดา ผู้สูงอายุเขาจะอยู่อย่างไรครับท่านประธาน ดังนั้นความกดดันของครอบครัวนี้ก็ตกมาอยู่ที่ผู้ที่ทำงานที่เป็นเสาหลักของครอบครัว ถ้าให้เปรียบเทียบก็เหมือน Sandwich ครับท่านประธาน ด้านหนึ่งก็ถูกบีบอัดมาจากลูกเล็ก ๒ คน ที่อยู่ในวัยเรียน อีกด้านหนึ่งก็มาจากพ่อแม่เป็นผู้สูงอายุที่ต้องดูแล เชื่อไหมครับ ท่านประธานหลังจากที่ผมได้ร่วมพูดคุยกับครอบครัวนี้เขาบอกกับผมว่าถ้าให้ย้อนเวลา กลับไปได้เขาจะไม่ขอมีบุตรเป็นอันขาดนะครับ ผมได้ฟังแล้วก็ตกใจเช่นกันครับท่านประธาน ดังนั้นวันนี้ผมจึงลุกขึ้นมาอภิปรายขอสนับสนุนรายงานการพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐาน ของประชาชนฉบับนี้ ถึงเวลาที่ผู้สูงอายุจะมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นกว่าเดิม ลดภาระ การพึ่งพิงคนวัยทำงานเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของประเทศเราทางด้านประชากร แล้วก็ด้านเศรษฐกิจ สุดท้ายครับ ผมมี ๑ คำถาม อยากจะเรียนผ่านท่านประธานฝากไปถึง ผู้ชี้แจงครับ ผมอยากทราบว่ามีผลสรุปการศึกษาหรือไม่นะครับ ว่าตัวเลขที่แท้จริง เป็นจำนวนเท่าไรที่ผู้สูงอายุจะสามารถดำรงชีพอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ได้จริง ๆ แล้วก็ทำไมในรายงานฉบับนี้ถึงสรุปมาว่าเป็น ๓,๐๐๐ บาทต่อเดือน ที่ผู้สูงอายุสมควรได้รับ อันนี้คือเป็นคำถามที่ผมอยากฝากท่านประธานผ่านไปยังผู้ชี้แจงนะครับ คืออยากทราบ ตัวเลขจริง ๆ ว่าจริง ๆ มันอาจจะมากกว่า ๓,๐๐๐ บาทก็ได้ แต่ว่าดูจากสภาวะการเงิน การคลังของเรามันสุดแล้วที่ ๓,๐๐๐ บาทหรือเปล่าครับ ผมขอเรียนถามแล้วก็ขอขอบคุณ ท่านประธานนะครับ