ข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ 26
ปีที่ 1
สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง
ครั้งที่ 22 วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.26 - 20.35 นาฬิกา
เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
สวัสดี ทุกท่านครับ ก่อนเริ่มประชุมเราหารือกันเลยนะครับ ขอเชิญท่านแรกครับ ท่านศักดินัย นุ่มหนู ครับ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมขอนำปัญหา ความเดือดร้อนของชาวบ้านจังหวัดตราดมาหารือกับท่านประธาน ๓ เรื่องด้วยกันครับ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
เรื่องแรก ขอให้มีการขุดลอกคลอง ในหมู่ที่ ๕ บ้านคลองสน สะพานหิน ตำบลแหลมกลัด คือที่นี่พี่น้องชาวประมงมีปัญหามากเวลาที่ชาวบ้านเขาจะออกทะเล ลำคลองที่ใช้เวลาเข้าและออกตื้นเขินมาก
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
ก็อย่างภาพที่ท่านประธานได้เห็นอยู่นี้ ก็ถือว่ายังแห้งไม่หมดนะครับ ถ้าจริง ๆ ก็แห้งสนิทคลองเลยไม่สามารถที่จะเข้าออกไปได้ สะดวก แล้วผมก็ได้หารือต่อสภานี้มาหลายครั้งแล้ว ก็อยากให้หน่วยงานของทางกรมเจ้าท่า ไปดำเนินการขุดลอกคลองให้กับชาวบ้าน หมู่ที่ ๕ ตำบลแหลมกลัดนี้ให้ด้วยนะครับ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ผมได้รับการร้องเรียนมาจากนางสาวณพัชรา รัตนวาร ผู้ใหญ่บ้าน หนองรี ตำบลชำราก เขาบอกว่ามีความเดือดร้อนเกี่ยวกับเรื่องของน้ำ หมู่บ้านนี้ไม่ไกลจาก อ่างเก็บน้ำคลองสะพานหิน และที่สำคัญก็คือยังมีท่อน้ำดิบขนาดใหญ่ฝังผ่านหมู่บ้านนี้ไป แต่ว่าหมู่บ้านนี้ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากน้ำนี้เลยครับ ก็จึงอยากที่จะให้หน่วยงาน ของภาครัฐหรือชลประทานได้เปิดประตูน้ำเพื่อที่จะให้มีน้ำใช้เพื่อการเกษตร แล้วก็น้ำเอาไว้ ใช้สำหรับสำหรับการประปาของหมู่บ้านด้วยครับ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้ายครับท่านประธาน เป็นเรื่องที่ผมรับฝากมาจากประธานชมรม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอเกาะช้าง ให้ติดตามในเรื่องของความคืบหน้ากรณีที่มีการประกาศ ที่ดินของรัฐทับที่ดินทำกินดั้งเดิมของชาวบ้าน แล้วก็มีการเรียกร้อง ร้องเรียนไปยังหน่วยงาน หลาย ๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นทั้งในพื้นที่ ทั้งในส่วนกลาง ทั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน ทั้งกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุดท้ายนี้ก็ไปที่สำนักงาน คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ หรือ สคทช. ที่ได้ไปสำรวจวัดกันมาแล้ว แต่ว่าเรื่องนี้ ก็เงียบหายไปแล้วก็ยังไม่คืบหน้า ก็อยากจะเรียนผ่านท่านประธานไปถึงท่านนายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องของที่ดินบนเกาะช้างที่เรื้อรังมานาน ขอฝากท่าน ประธานด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านสุรทิน พิจารณ์ ครับ
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม สุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ แบบบัญชีรายชื่อ ท่านประธานครับ ๓ เรื่อง ที่กราบเรียนท่านประธานเป็นปัญหาทั้งนั้นครับ
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องแรก คือแปลงที่ดินไม่ตรงกับเลขที่ เรื่องนี้เกิดขึ้นที่หมู่บ้านพร้อมศรี สามัคคี หมู่ที่ ๑๘ ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ชาวบ้านได้ซื้อที่ดินแล้วก็ สร้างบ้านมา ๓๐ ปีท่านประธานครับ ทั้งหมุดเลขที่ไม่ตรงกัน เวลาจะไปทำนิติกรรม ทำไม่ได้เลย เป็นปัญหามากนะครับ ผู้ร้องก็คือนายสมบูรณ์ ศรีสอาด ประธานชุมชน ประธาน หมู่บ้านที่ร้องมา นายปฐม ญวนมี ผู้รับผิดชอบคือกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยครับ
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นปัญหากองทุนฟื้นฟูเกษตรกร เดี๋ยวนี้มีกรรมการเรียบร้อยแล้ว มีเงินที่จะมาซื้อหนี้เกษตรกร แต่ปรากฏว่ากองทุนยังเฉยอยู่ ทำให้เจ้าหนี้มาไล่เกษตรกร ท่านประธานที่เคารพครับ เดือดร้อนกันไปตาม ๆ กัน แทนที่กองทุนจะรีบซื้อหลังจาก มีกรรมการเรียบร้อยแล้ว แต่เฉยอยู่ ผู้ร้องก็คือนายประกาย อำนาจเจริญ ผู้รับผิดชอบก็คือ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สำนักนายกรัฐมนตรีครับ
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนเรื่องที่ ๓ ท่านประธานที่เคารพครับ ก็คือเรื่องยาเสพติด ยาเสพติด มีทุกหนทุกแห่ง ระบาดมาก โดยเฉพาะจังหวัดปริมณฑล เน้นไปที่จังหวัดปทุมธานี อำเภอ ลำลูกกา แถวเทศบาลเมืองคูคต แถวตำบลคูคต เป็นแหล่งพักยา เด็กเล็กเด็กน้อยติดกัน เป็นแถวนะครับ โดยเฉพาะนโยบายรัฐบาลที่ว่าพกยาได้ ๕ เม็ด ยิ่งระบาดหนัก ผู้ร้องคือ ร้อยโท เอมโอด บุญทน ผู้รับผิดชอบก็คือ ป.ป.ส. แล้วก็รัฐบาล ฝากไปที่รัฐบาลครับ นโยบาย ยาบ้าน่าจะเป็น ๐ ท่านประธานครับ อันนี้พกได้ ๕ เม็ด ติดกันงอมแงมไปหมดครับ ขอบคุณครับ
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนเรื่องที่ ๓ ท่านประธานที่เคารพครับ ก็คือเรื่องยาเสพติด ยาเสพติด มีทุกหนทุกแห่งระบาดมาก โดยเฉพาะจังหวัดปริมณฑล เน้นไปที่จังหวัดปทุมธานี อำเภอ ลำลูกกา แถวเทศบาลเมืองคูคต แถวตำบลคูคตเป็นแหล่งพักยา เด็กเล็กเด็กน้อยติดกัน เป็นแถวนะครับ โดยเฉพาะนโยบายรัฐบาลที่ว่าพกยาได้ ๕ เม็ด ยิ่งระบาดหนัก ผู้ร้องคือ ร้อยโท เอมโอด บุญทน ผู้รับผิดชอบก็คือ ป.ป.ส. แล้วก็รัฐบาล ฝากไปที่รัฐบาลครับ นโยบาย ยาบ้าน่าจะเป็น ๐ ท่านประธานครับ อันนี้พกได้ ๕ เม็ด ติดกันงอมแงมไปหมด ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ ครับ
นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ นครราชสีมา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาที่เคารพ ศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขตอำเภอ ปากช่อง พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ตามประเด็นปัญหาของวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ได้มีการปักหมุด ส.ป.ก.๔-๐๑ ทับที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และสวนป่าปางอโศกกลางดง คนปากช่องรู้สึกไม่สบายใจ และขอประณามผู้ที่เห็นแก่ตัวจะเอาที่ดินของหลวงมาเป็นของตน ผมขอเป็นตัวแทนพี่น้องประชาชนคนปากช่อง ขอกราบที่กลางใจท่านชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ทำความดีอยู่ในใจของพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ คอยปกป้องผืนป่าให้กับลูกหลาน สืบไป ท่านประธานครับ ผมฝากท่านประธานผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ตลอดทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้รีบ ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด
นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องต่อมาครับ ตามที่ผู้แทนราษฎรโคราชทุกเขตทุกคนดำริว่าต้องการ ให้มีการพัฒนาเมืองพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ มีนโยบายที่จะสร้าง กระเช้าลอยฟ้า จากสวนเมืองพรเชื่อมต่อมายังคลองขนานจิต มีแนวคิดที่จะทำ Sky Walk ที่เขาเขื่อนลั่น มีการก่อสร้างตั้งงบประมาณหอประชุมนานาชาติโคราช มีแผนทำสนามบิน พาณิชย์ที่กองบิน ๑ คนปากช่องเฝ้าคอยความเจริญที่จะถึงนี้ ท่านประธานครับ ผมขอฝาก ให้พัฒนาบ้านท่างอย ตำบลจันทึก ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ โดยให้มีการจัดงาน บอลลูนนานาชาติ และมีการจัดมหกรรมดนตรี แบบ Big Mountain เป็น Big ท่างอยครับ จัดมหกรรมสินค้าเพื่อให้คนปากช่องนำสินค้ามาขาย กระตุ้นเศรษฐกิจและเป็นแหล่ง พัฒนาท่องเที่ยวแหล่งใหม่ให้กับคนปากช่อง ฝากท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา ท่านรัฐมนตรีหน้าเด็ก แต่มีความสามารถ นั่นก็คือท่านสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล ให้จัดสรรงบประมาณมาพัฒนาปากช่องด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านภัสริน รามวงศ์ ครับ
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล เขตบางซื่อ ดุสิต แขวงถนน นครไชยศรีค่ะ วันนี้ดิฉันขอเอาเรื่องความเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวบางซื่อ ดุสิตค่ะ
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ วันนี้ขอเป็นปากเป็นเสียงให้กับพี่น้องดับเพลิงกู้ภัยค่ะ จากการที่ ดิฉันได้พบปะพี่น้อง ทราบมาว่าค่าเสี่ยงภัยจากเดิม ๕,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ที่บรรจุ เข้ามาค่ะ ผ่านมาแล้วไม่มีการปรับขึ้นเลย และยังมีเรื่องเวลาของการทำงานที่ทำงานหนัก กว่า ๑๒ ชั่วโมง ไม่มีระเบียบชั่วโมงการทำงานที่ชัดเจนค่ะ นอกจากนี้สถานที่ทำงานและ ที่พักอาศัยก็เป็นแบบชั่วคราว สภาพแวดล้อมแออัดไม่เอื้ออำนวยให้ร่างกายได้พักผ่อนค่ะ แล้วก็ปัจจุบันการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั้งจากภัยธรรมชาติแล้วก็เกิดจากมนุษย์ ค่าเสี่ยงภัยที่อาสาสมัครเหล่านี้ควรจะต้องได้รับปรับเพิ่มให้ทันกับเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพ สูงขึ้นค่ะ แล้วก็ขอให้เพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จับสัตว์ เมื่องู ตะขาบ สัตว์มีพิษ เข้าบ้าน เจ้าหน้าที่ขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องป้องกันสัตว์มีพิษ แล้วก็ขอฝากท่านประธานค่ะ เพิ่มสิทธิสวัสดิการแล้วก็อุปกรณ์ในการจับสัตว์มีพิษด้วยค่ะ
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ สายสื่อสารระโยงระยางพัวพันเกี่ยวพาดหัวประชาชน บริเวณ ประชาชื่น ๘ ประชาชื่น ๔๕ หน้าร้าน คลาวด์ คิวพลัส เส้นประชาราษฎร์สาย ๒ เขตบางซื่อ ซอยร่วมจิตต์ แล้วก็บริเวณสะพานลอยหน้าวัดจันทร์สโมสร ทั้ง ๒ ฝั่ง บริเวณหน้าห้างสุพรีม คอมเพล็กซ์ ตรงกลางสะพานลอยฝั่งสุพรีม คอมเพล็กซ์ สายสื่อสารห้อยระโยงระยางจนแทบ จะกระโดดยางได้เลยค่ะ จึงขอฝากท่านประธานไปถึง กสทช. ให้แสดงความกระตือรือร้น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพ่อแม่ พี่น้องประชาชนด้วยค่ะ ขอบพระคุณ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ครับ
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ พรรคภูมิใจไทยครับ ผมขออนุญาตหารือท่านประธานครับ เนื่องจากว่าผู้นำชุมชนในพื้นที่ได้เรียกร้องมาในเรื่อง ขอให้กระทรวงคมนาคมขยายถนนจากอำเภอคลองท่อมไปสู่อำเภอลำทับ ซึ่งเป็นรอย เชื่อมต่อไปจังหวัดนครศรีธรรมราช ในขณะนี้ยังมี ๒ เลนการจราจร แต่มีรถพ่วงมากมาย ทำให้ก่อเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง แล้วก็ต้องขอขอบคุณท่านศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสมัยรัฐมนตรี ครั้งที่แล้วที่ได้ไปทำโครงการถนน ๔ เลน เชื่อมต่อจากอำเภอเหนือคลองไปอำเภอเขาพนม ปีนี้เบ็ดเสร็จแล้วได้งบประมาณ ๙๐๐ ล้านบาท พี่น้องประชาชนขอฝากขอบคุณมาด้วยครับ
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
เรื่องต่อไปครับ ที่ดินเขตสัมปทานในจังหวัดกระบี่ ของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดินมีหลายหมื่นไร่ ในขณะนี้หมดสัญญาสัมปทานไปแล้ว ปรากฏว่าพี่น้องประชาชนไม่มีที่ดินทำกิน ก็เรียกร้องว่าเมื่อไรรัฐจะมีความชัดเจน ในเรื่องของนโยบายเพื่อที่จะไปจัดการกับที่ดินหมดสัมปทานไม่ให้นายทุนเข้าไปครอบครอง ปลูกปาล์มเพื่อที่จะมาทำประโยชน์ในภาพรวมแล้วก็พี่น้องประชาชน
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้ายท่านประธานครับ วันนี้ในจังหวัดกระบี่ เรื่องยาบ้า ยาเสพติด ลงพื้นที่โรงเรียนไปแล้วนะครับ ถ้าไม่มีการแก้ไขผมเชื่อว่าอนาคตในส่วนของครอบครัว แล้วก็เยาวชนจะมีปัญหา ไม่ใช่แต่เฉพาะจังหวัดกระบี่ ผมฟังมาทั่วประเทศ โดยเฉพาะ ในพื้นที่บ้านผมนั้นครูบาอาจารย์ ผู้ปกครองร้องเรียนมาว่ามีเกือบทุกอำเภอ เพราะฉะนั้น ก็ฝากในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในเรื่องของการระบาดของปัญหายาเสพติดลงสู่ ในส่วนของโรงเรียนและชุมชนด้วย กราบขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านธีรัจชัย พันธุมาศ ครับ
นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก เขตมีนบุรี และเขตลาดกระบัง พรรคก้าวไกลครับ ขออนุญาตหารือดังนี้ท่านประธานครับ ปัญหา ยาเสพติดได้รับร้องเรียนจากพี่น้องประชาชน สืบเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ออก กฎกระทรวงที่เปิดโอกาสให้ผู้ครอบครองยาบ้า ๕ เม็ด เป็นผู้เสพ แล้วก็จะต้องนำไปปฏิบัติ ถ้าสมัครใจ กรณีอย่างนี้ผู้ปกครองได้มาร้องเรียนกับกระผมมากมายนะครับ ว่ามีเยาวชน บุตรหลานติดยาเสพติดกันงอมแงมจำนวนมาก และเพื่อน ๆ สส. ในกรุงเทพมหานคร ก็มาบอกผมว่าก็ติด ๆ เช่นกัน นี่คือปัญหาการระบาดยาเสพติดยาบ้าเกิดจากนโยบาย ของรัฐบาลโดยแท้ และกรณีอย่างนี้ทำให้เจ้าหน้าที่นั้นทุจริต การที่ไม่จับ หรือเจ้าหน้าที่ จับแล้วก็ลดยาให้น้อยเอื้อต่อการค้ายาเสพติดให้กว้างขวางขึ้น ขอให้รัฐบาลนั้นได้โปรด ทบทวนนโยบายนี้ด้วยครับ นอกจากนั้นสืบเนื่องจากการติดยาเสพติดดังกล่าวนะครับ มีผู้ติดยาเสพติดบางครั้งในพื้นที่ของผม เขตหนองจอก เขตมีนบุรี และเขตลาดกระบังนั้น ก็มีบางคนคลุ้มคลั่ง อาสาสมัคร เช่น ครูต้อย นภาพร ในพื้นที่ผมก็มาแจ้งบอกว่าเขานำตัว ไปส่งที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา แต่เตียงไม่พอ บางครั้งก็จ่ายยาเข้ามาแล้วก็เอามา กักที่บ้าน เดี๋ยวคลุ้มคลั่งต้องนำไปส่งอีก ตำรวจก็พูดเช่นเดียวกัน กู้ภัยก็พูดเช่นเดียวกัน ในการไปส่ง บางครั้งในการตรวจก็จะต้องเสียค่าตรวจให้กับผู้ที่ไปตรวจด้วย เหล่านี้ เป็นระบบการบำบัดรักษายาเสพติดก็ยังมีปัญหา ขอให้กระทรวงสาธารณสุขได้โปรดแก้ไข ระบบแก้ไขการติดยาด้วย ทั้งที่ในส่วนของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับ เขตหนองจอก เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง และกรุงเทพฯ ตะวันออก ๙ เขต ก็สำหรับคนที่มี ฐานะดี แต่สำหรับคนที่มีฐานะที่ยากจนแล้วลำบากมากและเป็นภาระกับตำรวจ กู้ภัย และอาสาสมัครครับ ดังนั้นขอให้ทางรัฐบาลได้โปรดแก้ที่ต้นเหตุด้วยการป้องกันทบทวน นโยบายและแก้ไขระบบการบำบัดรักษาด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านฉลาด ขามช่วง ครับ
นายฉลาด ขามช่วง ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ฉลาด ขามช่วง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๒ พรรคเพื่อไทย วันนี้ขอนำเรื่อง ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาหารือท่านประธานเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไป แก้ไขต่อไปครับ
นายฉลาด ขามช่วง ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
เรื่องแรกครับ ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ อำเภอ โพนทอง อำเภอโพธิ์ชัย ซึ่งมีที่ดินส่วนหนึ่งอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. และพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ใน ที่สาธารณประโยชน์ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกเลิกพื้นที่ ส.ป.ก. ที่เป็นที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะ เช่น บ้านภูเขาทอง ตำบลคำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย ทั้งหมู่บ้านเป็นเขต ส.ป.ก. หมด ให้ยกเลิกเพิกถอนพื้นที่ ส.ป.ก. ที่ออกทับซ้อนให้ออกโฉนดที่ดินให้กับพี่น้องประชาชน เป็นที่อยู่อาศัยครับ
นายฉลาด ขามช่วง ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ คือพื้นที่ตำบลเชียงใหม่ ตำบลดอนโอง ตำบลบัวคำ เป็นพื้นที่ ที่อยู่อาศัย แต่ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้ เนื่องจากว่าเป็นสาธารณประโยชน์ ทำเล เลี้ยงสัตว์เช่นเดียวกัน แต่ขณะนี้พื้นที่เหล่านั้นพี่น้องประชาชนได้อยู่เต็มพื้นที่ มีทั้ง ที่ทำการ อบต. เทศบาล มีสถานีตำรวจ มีโรงเรียน มีโรงพยาบาล จึงขอให้กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ยกเลิก เพิกถอน เพื่อออกเอกสารสิทธิ ออกโฉนดให้กับพี่น้องประชาชน
นายฉลาด ขามช่วง ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ได้รับการร้องเรียนจาก นายสุพจน์ ศิริแว่น นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลผักแว่น ว่าพี่น้องเกษตรกรในตำบลผักแว่น ได้ยื่นคำร้องต่อการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคร้อยเอ็ด เพื่อขอให้ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร แจ้งไปแล้วนะครับ แต่บัดนี้ ไม่ได้รับคำตอบและไม่ได้แจ้งกับพี่น้องประชาชน จึงขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้แจ้ง ความคืบหน้าและจัดสรรงบประมาณให้ด้วยครับ
นายฉลาด ขามช่วง ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย เนื่องจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลคำนาดี ได้เปิดกิจกรรม มาและตอนนี้อยู่เฉย ๆ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียกค่าไฟฟ้ามา ๓๑,๐๐๐ บาท ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ ใช้ไฟฟ้า ขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอโพนทอง ช่วยดำเนินการด้วยครับ ขอบคุณครับ ท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านชลธิชา แจ้งเร็ว ครับ
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ดิฉัน นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันมีปัญหา ของพ่อแม่พี่น้องในเขตเทศบาลเมืองท่าโขลง และตำบลคลองสาม มาปรึกษาหารือผ่าน ท่านประธาน ๓ เรื่องด้วยกันค่ะ
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องแรกคือปัญหาอุบัติเหตุในเขต เทศบาลเมืองท่าโขลง เนื่องจากในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองท่าโขลงจะมีทางแยกย่อย อยู่หลายจุด แล้วก็หลายจุดเองก็ขาดสัญญาณไฟจราจร จนทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง ดิฉัน จึงขอฝากผ่านไปยังเทศบาลเมืองท่าโขลง ให้พิจารณาการติดตั้งสัญญาณจราจร ป้ายเตือน จราจรในทางแยกที่สำคัญ เช่น บริเวณซอยเทพกุญชร ๓๒ หรือบริเวณตลาดนัดมีโชคมีชัย บริเวณแยกซอยเทพกุญชร ๔๒ หรือว่าซอยแมนฮัตตัน และบริเวณด้านหน้าสำนักงาน กรมที่ดินคลองหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ราชการที่มีรถจอดอยู่บริเวณไหล่ทางจำนวนมาก แล้วก็ สุ่มเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้งค่ะ
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ คือปัญหาการเผาไหม้ขยะจะลุกลามไปเป็นเพลิงไหม้ในพื้นที่ ดิฉันและทีมงานได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนทั้งในเขตท่าโขลง และตำบลคลองสาม ถึงปัญหาการลักลอบเผาขยะในหลายจุด และกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ ปัจจุบันจังหวัดปทุมธานี มีปัญหาเรื่องของ PM2.5 อยู่แล้ว การลักลอบเผาขยะดังกล่าวก็จะเพิ่มมลพิษทางอากาศ ในพื้นที่ สร้างความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน แล้วยิ่งในช่วงอากาศร้อนอบอ้าว สุ่มเสี่ยงต่อการ คุมเพลิงไหม้ไม่ได้ ดิฉันจึงขอฝากผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานท้องถิ่น ทั้ง อบต. คลองสาม และรวมไปถึงเทศบาลเมืองท่าโขลงให้กำชับดูแลเรื่องดังกล่าวอย่างเคร่งครัดค่ะ
นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ คือปัญหาเรื่องของกลไกรับเรื่องร้องเรียนของเทศบาลเมืองท่าโขลง ซึ่งในปัจจุบันจะมี ๒ ช่องทาง ในการรับเรื่องร้องเรียนของเทศบาล ช่องทางแรก คือการ ร้องเรียนผ่านระบบ Online หรือ DGA บน Website ของทางเทศบาล ช่องทางที่ ๒ คือการ ร้องเรียนผ่านผู้นำชุมชนหรือว่า สท. ในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามดิฉันได้รับการร้องเรียน จากประชาชนในพื้นที่ว่าช่องทางการร้องเรียนปัญหาในพื้นที่ยังมีปัญหาอยู่หลายประการ เช่นการขาดระบบการติดตามเรื่องที่ร้องเรียนไปแล้ว หรือบางครั้งเรื่องที่ร้องเรียนผ่านไปยัง ผู้นำชุมชนก็ไปไม่ถึงทางเทศบาล ดิฉันจึงขอฝากทางท่านประธานไปยังเทศบาลเมืองท่าโขลง ให้ช่วยปรับปรุงระบบการรับเรื่องร้องเรียนที่มีคุณภาพมากขึ้น และให้ผู้ที่ร้องเรียนสามารถ ติดตามเรื่องร้องเรียนของตัวเองได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านจีรเดช ศรีวิราช ครับ
นายจีรเดช ศรีวิราช พะเยา ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพกระผม นายจีรเดช ศรีวิราช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขต ๓ พรรคพลังประชารัฐ วันนี้ได้แบกนำความหวังของผู้สูงอายุมาฝากท่านประธานผ่านไปยังรัฐบาลและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ท่านประธานครับ ประเทศเรานั้นมีประชากรประมาณ ๗๐ ล้านคน มีทั้งเด็ก และผู้ใหญ่รวมทั้งผู้อยู่ในวัยชราหรือที่เรียกว่าผู้สูงอายุ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนประมาณ ๑๓ ล้านคน ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลได้ให้การช่วยเหลือเป็นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตั้งแต่ ๖๐๐-๑,๐๐๐ บาท จ่ายเป็นขั้นบันได ก็พอบรรเทาความเดือดร้อนไปบ้าง แต่ทุกวันนี้นับวันเศรษฐกิจยิ่งถีบตัวสูงขึ้น เงินที่ได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้สูงอายุ จำนวนมากอยู่ในสภาพที่ยากลำบาก บางคนไม่มีลูกหลานดูแลก็อาศัยเงินส่วนนี้ประทังชีวิต ไปวัน ๆ ท่านประธานครับทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง บรรดาผู้สมัครต่างก็นำนโยบายของพรรค ไปขายความหวัง สร้างความฝันให้กับพี่น้องชาวบ้าน ไม่ว่าเวทีเล็กเวทีใหญ่ แผ่นป้าย แผ่นพับ บัตรแนะนำตัว รถแห่ประกาศไปทั่วทุกชุมชน ตำบล หมู่บ้าน เพื่อต้องการคะแนนเสียง เมื่อการเลือกตั้งผ่านไปก็รวบรวมเสียงที่ได้มาจัดตั้งรัฐบาลเข้าไปบริหารประเทศ วันนี้ผ่านไป กว่า ๖ เดือน นโยบายหลายเรื่องยังไม่มีใครพูดถึง ท่านทราบไหมครับว่าพวกเราที่นั่งอยู่ ตรงนี้ลงพื้นที่ครั้งใดก็ถูกพี่น้องชาวบ้านทวงถามมาโดยตลอด พวกเราเป็น สส. เป็นฝ่าย นิติบัญญัติ มีหน้าที่พิจารณากฎหมายและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลเท่านั้น ไม่มี อำนาจหน้าที่ ไม่มีงบประมาณที่จะเข้าไปดูแลแก้ปัญหา มีอย่างเดียวคือแหกปากทวงถาม คำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับพี่น้องประชาชน ขอฝากไปยังรัฐบาลเข้าไปนั่งบริหารประเทศได้โปรด ระลึกนึกถึงนโยบายบนป้ายประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมาว่าพรรคนั้นจะให้เท่านี้ ส่วนพรรคนี้จะให้ เท่านั้น อันนั้นดีอันนี้แจ่ม เกทับรับกันอุตลุด นโยบายของทุกพรรคล้วนแล้วแต่เป็นของดี มีประโยชน์ทั้งนั้น ขออย่างเดียวอย่าให้นโยบายกลายเป็นเพียงวาทกรรมที่นำมาหลอก ขอคะแนนเสียงจากพี่น้องชาวบ้าน สุดท้ายขอฝากความหวังไปยังรัฐบาลและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้โปรดพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กับผู้สูงอายุด้วยครับ แม้ไม่ได้ ตามที่วาดฝันไว้อย่างน้อยในปีแรกก็ขอได้สักครึ่งราคา ได้คนละ ๑,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท กันถ้วนหน้าก็ยังดี จะทำอะไรก็รีบทำ ชาวบ้านเขารออยู่ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านจิรัชยา สัพโส ครับ
นางสาวจิรัชยา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาวจิรัชยา สัพโส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย วันนี้ ดิฉันมีเรื่องหารือท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดังนี้ค่ะ
นางสาวจิรัชยา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องแรก จากการลงพื้นที่สำรวจปัญหาจากพี่น้องและผู้นำท้องถิ่นท้องที่ ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม ได้มีการฝากเรื่องไปยังกรมชลประทาน ให้จัดสรร งบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมสะพานข้ามคลองชลประทานที่ชำรุดคับแคบ
นางสาวจิรัชยา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
แล้วจากภาพจะเห็นว่าเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งค่ะ เนื่องจากตรงนี้เป็นสะพานคอนกรีตที่พี่น้องใช้สัญจร โดยเฉพาะ การขนส่งสินค้าทางการเกษตร ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด ๓ จุด จุดแรกอยู่ฝั่งหน้าบ้านโนนค้อ จุดที่ ๒ หลังบ้านโนนค้อ และจุดที่ ๓ ฝั่งสะพานหลังบ้านดอนขาวค่ะ
นางสาวจิรัชยา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ดิฉันขอฝากเรื่องไปยัง นพค.๒๖ และองค์การบริหารส่วนจังหวัด สกลนคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฝากพิจารณาการปรับปรุงถนนทางเชื่อมตำบลบริเวณ บ้านโนนสวรรค์ ตำบลนาฮี อำเภออากาศอำนวย ไปยังบ้านหนองนาหาร ตำบลนาซอ อำเภอ วานรนิวาส เพราะจากเดิมตรงนี้เป็นถนนลูกรัง ซึ่งเป็นถนนที่ต้องการที่จะเป็นถนนคอนกรีต เป็นถนนทางเชื่อมจากทางหลวงชนบทค่ะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้พี่น้องที่ใช้ตรงนี้สัญจรก็มี การพูดถึงเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ได้ถูกนำมาพิจารณางบประมาณเพื่อพัฒนา ถนนเส้นนี้ค่ะ
นางสาวจิรัชยา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ดิฉันขอฝากไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬาค่ะ เนื่องจากช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้เป็นช่วงของงานกีฬาที่จัดขึ้น ในโรงเรียนหรือในท้องถิ่น ทำให้น้อง ๆ นักเรียน และนักกีฬาหลาย ๆ ท่านต้องการสถานที่ ในการฝึกซ้อม แต่ปัจจุบันในพื้นที่เขต ๓ ยังไม่มีสนามกีฬาหลัก จึงขอฝากพิจารณาในการ ก่อสร้างสนามกีฬาหลักประจำอำเภอ ในพื้นที่เขต ๓ ไม่ว่าจะเป็นอำเภออากาศอำนวย ตำบล นาซอ อำเภอวานรนิวาส ว่าตำบลหนองลาด อำเภอเมือง และอำเภอพรรณานิคมด้วยค่ะ กราบขอบพระคุณท่านประธานค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านวีรภัทร คันธะ ครับ
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วีรภัทร คันธะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง ยกเว้นตำบลบางจาก พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ขอเรียนปรึกษาหารือท่านประธาน ดังนี้ครับ
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องแรกครับบริเวณคลองบน หมู่ที่ ๑๕ ตำบลบางหญ้าแพรกตื้นเขิน และมีต้นไม้รกอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามา ช่วยขุดลอกคู คลองนะครับ แล้วก็ตัดต้นไม้ที่รกด้วยนะครับ
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ อยากให้กรมเจ้าท่าเข้ามาสำรวจความเป็นไปได้ในการใช้พื้นที่ บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา หลังวัดครุนอก ในการทำเป็นลานกิจกรรมสำหรับชุมชน รวมถึง การสร้างเป็นทางเชื่อมต่อเพื่อเลี่ยงการจราจรที่ติดขัดบริเวณถนนสุขสวัสดิ์ ถ้าหาก สร้างได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนมาก ๆ ครับ
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ น่าแปลกใจมากครับ บนถนนปู่เจ้าสมิงพราย ไม่มีรถเมล์สาธารณะ แม้แต่สายเดียว ชาวบ้านร้องกันเข้ามาอยากให้มีรถเมล์วิ่งรับส่งคนข้ามสะพานภูมิพล ไปบริเวณถนนพระราม ๓ และถนนสุขสวัสดิ์ ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาหาแนวทาง อำนวยความสะดวกประชาชนตรงนี้ด้วยนะครับ
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ผมไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้ผมต้องพูดอีกกี่ครั้งนะครับ ท่านประธานครับ ปัญหารถบรรทุกขนาดใหญ่วิ่งในซอยแคบ ๆ ล่าสุดมีคนเสียชีวิตอีกแล้วนะครับ เป็นประธานชุมชนเลย ผมไม่ยอมแล้ว ทั้ง ๆ ที่ควรหาแนวทางในการป้องกันแก้ไข ปัญหานี้ พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก ผมพูดในทุก ๆ การปรึกษาหารือ เรื่องปัญหารถบรรทุกวิ่งในซอย ขนาดเล็ก ตอนนี้เกิดเหตุซ้ำแล้วซ้ำอีก ได้โปรดเถอะครับ ขอร้องเถอะครับ สงสารชาวบ้าน ได้ไหมครับ ลงมาดูพื้นที่จริงกับผมก็ได้ ทุกหน่วยงานมาช่วยกันหาทางออกครับ ขอให้ครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายครับ ขอบคุณมากครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ผู้แทนหน้ามนคนขอนแก่น เขต ๓ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ขออนุญาตนำเรียนปัญหาในพื้นที่ของพี่น้องประชาชนเขต ๓ ขอนแก่นครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรื่องแรก เป็นถนนท้องถิ่นจากบ้าน โนนเชือก ตำบลบ้านขาม ไปยังบ้านบึงเป่ง ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง ถนนมีสภาพ ชำรุดตั้งแต่ช่วงน้ำท่วมเมื่อ ๒ ปีก่อน พี่น้องประชาชนสัญจรไปมาด้วยความยากลำบากครับ ขออนุญาตนำเรียนฝากท่านประธานไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ให้ช่วย ดำเนินการแก้ไขด้วยครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ถนน ขก.๓๐๖๖ บ้านหนองโน ตำบลหนองโน อำเภอกระนวน ถนนชำรุด มีหลุมเล็กหลุมใหญ่เยอะแยะเต็มไปหมดครับ ถนนเส้นนี้ตัดผ่านชุมชน บ้านหนองโน เทศบาลตำบลหนองโน และอีกหลาย ๆ หมู่บ้าน รถเล็ก รถอ้อย สัญจรไปมา ด้วยความยากลำบาก ขออนุญาตนำเรียนฝากท่านประธานไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ขอนแก่นให้ช่วยดำเนินการแก้ไขด้วยครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ถนนท้องถิ่นเส้นบ้านห้วยเชือก-ห้วยแสง ไปยังบ้านศรีสถิต- ศรีสมบูรณ์ ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหน้าหอพัก ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช อำเภอกระนวน ถนนชำรุดเป็นหลุมเยอะแยะ มากมายครับ ขออนุญาตนำเรียนฝากท่านประธานไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก ให้ช่วยดำเนินการแก้ไขด้วยครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ บริเวณสี่แยกบ้านป่าหวายนั่ง ตำบลเขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง จุดตัดถนนทางหลวงชนบท ขก.๑๐๑๓ และ ขก.๔๐๐๓ จุดตัดนี้เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากบริเวณนี้เป็นทางลงเนินมาพอดี พี่น้องประชาชนอยากจะให้มีการติดตั้งสัญญาณ ไฟเตือน รวมทั้งการจัดทำ Rumble Strip หรือแม้แต่การติดตั้งเสาล้มลุก เพื่อเป็น การแบ่งแยกช่องจราจรให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการลดและเป็นการป้องกันอุบัติเหตุ ฝากนำเรียนท่านประธานไปยังทางหลวงชนบทให้ช่วยดำเนินการด้วยครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย มาจากพี่น้องชาวอำเภอซำสูง พี่น้องอยากจะให้มีการ ทำถนนลาดยางเส้นเลียบคลองชลประทานจากบ้านคูคำ ไปบ้านบ่อใหญ่ ตำบลคูคำ อำเภอ ซำสูง เนื่องจากช่วงหน้าฝนมีการสัญจรไปมาด้วยความยากลำบากครับ ที่สำคัญถนนเส้นนี้ เป็นเส้นทางลัดที่จะใช้เดินทางไปยังอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคามได้ด้วยนะครับ จึงขออนุญาตนำเรียนฝากท่านประธานไปยังกรมชลประทานช่วยพิจารณาดำเนินการให้กับ พี่น้องประชาชนด้วย ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านทรงยศ รามสูต ครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อน สมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขอหารือท่านประธานผ่านไปยังกรมชลประทานนะครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
เรื่องแรก โครงการฝายห้วยห้อมพร้อมระบบส่งน้ำ ซึ่งผมได้หารือไป คราวที่แล้ว ขอบคุณชลประทานที่ไปดูแลนะครับ สำรวจออกแบบแล้ว พี่น้องบ้านดอนน้ำครก กับพุฒิมาราม ก็จะได้รับประโยชน์ โครงการนี้ใช้ประมาณ ๒๓,๓๐๐,๐๐๐ บาท แต่ยังไม่มี สตางค์ ฝากรัฐบาลช่วยพิจารณาด้วย
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
โครงการที่ ๒ ในเขตเทศบาลตำบลกองควายเหมือนกัน โครงการสถานีสูบน้ำ ด้วยพลังไฟฟ้า ในโครงการจะทำแพขนานยนต์สูบน้ำจากน้ำน่านไปลงหนองแล้วก็กระจาย ไปทั่ว ซึ่งจะมีพื้นที่ได้ประโยชน์ ๑,๕๐๐ ไร่ ชลประทานไปสำรวจแล้วมันไม่มีพื้นที่ที่ทำเกษตร ใช้งบประมาณ ๓๗,๗๐๐,๐๐๐ บาท ก็ฝากชลประทานช่วยดูแลด้วย ขอบคุณท่านนายกและ ทีมงานที่พาผมไปดูนะครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
โครงการที่ ๓ ก็คือปรับปรุงสถานีสูบน้ำบ้านน้ำครกใหม่ ตำบลกองควาย หมู่ที่ ๔ เทศบาลตำบลกองควายเหมือนกัน เนื่องจากสถานีนี้ท่อแตกอยู่เรื่อย เทศบาลเอางบ ไปลง ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ บาท ก็ไม่พอ ก็ฝากชลประทานไปสำรวจนะครับ เทศบาลถ้าเขา สำรวจมันเกินศักยภาพก็ฝากชลประทานไปดูแลด้วย ไหน ๆ ไปสำรวจแล้วก็ฝากทำสถานี สูบน้ำด้วยนะครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
โครงการสุดท้าย ในเขตของอำเภอท่าวังผา บ้านนาเผือก ตำบลจอมพระ พื้นที่ชลประทาน ๕๐๐ ไร่ โครงการนี้ตั้งแต่สมัยประชุมที่แล้วภรรยาผมก็อภิปราย ผมมา ก็อภิปราย ก็เป็นที่น่ายินดีนะครับ ชลประทานไปสำรวจแล้วจะทำแทนฝายเดิมที่ขาด ใช้งบประมาณ ๒๑,๑๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งถ้าโครงการต่าง ๆ เหล่านี้สำเร็จ พี่น้องประชาชน ในจังหวัดน่านก็สามารถทำเกษตร ทำนาอะไรได้อย่างเต็มที่ ก็อยากจะฝากท่านประธานไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าชลประทาน เพราะว่าปัญหาเรื่องแหล่งน้ำเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนภาคเกษตรกร ก็ฝากรัฐบาลห่วงใยแล้วก็ดูแลปัญหาแหล่งน้ำ ขอขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านสุเทพ อู่อ้น ครับ
นายสุเทพ อู่อ้น แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสุเทพ อู่อ้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เครือข่าย แรงงาน มีเรื่องหารือท่านประธานไปยังนายกรัฐมนตรี ผู้นำรัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงาน ซึ่งเห็นได้ว่าพี่น้องแรงงานได้ฝากให้ผมมาติดตามความจริงใจในการบริหาร จัดการ โดยเฉพาะเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำที่ยังไม่มีความชัดเจนในการที่จะปรับในรอบที่ ๒ ก็ให้ช่วย พิจารณาด้วย และเรื่องที่สำคัญคือการทำงานในส่วนของการออกกฎหมายที่ก้าวหน้า ซึ่งขณะนี้ประชาชนรอความหวัง จะเห็นได้ว่าพรรคก้าวไกลที่ได้รับการเลือกตั้งมา ๑๔ ล้านคน พยายามที่จะผลักดันกฎหมายต่าง ๆ เข้าสู่สภา จะเห็นได้ว่ารัฐบาลพยายามใช้ ในการอุ้ม การใช้การปัดตก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อวานพี่น้องแรงงานได้มาเฝ้าติดตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่จะเข้าสู่สภาก็ถูกเลื่อนออกไป ด้วยเนื่องจากรัฐบาลขอให้ นายกรัฐมนตรีได้เซ็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับอื่น ๆ ของทางรัฐบาลซึ่งเข้าประกบ เรื่องนี้พี่น้องแรงงานฝากผมมาคุยไปยังท่านประธาน ถ้าใช้ยุทธศาสตร์นี้ในการที่จะอุ้ม กฎหมายของพี่น้องแรงงาน โดยเฉพาะกฎหมายที่มาจากแรงงาน ๑๔ ล้านคน ไม่อยากให้ สภาแห่งนี้ปัดตกและทำให้เกิดเงื่อนไขพี่น้องถูกกดทับ แรงงานจะไม่ทนต่อไป ดังนั้น เรื่องเหล่านี้ก็อยากฝากท่านประธานว่าเมื่อสภาเป็นระบบประชาธิปไตย อยากให้ทางสภา ได้พยายามให้รัฐบาลได้ทำหน้าที่ในการที่จะทำให้กฎหมายทอดออกไปใช้ในการที่จะดูแล ประชาชน โดยเฉพาะกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ยังไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนทั้งระบบ ทั้งโครงสร้างให้เกิดเป็นประโยชน์กับพี่น้องแรงงานทั่วไปครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านวรวงศ์ วรปัญญา ขออนุญาตข้ามนะครับ เชิญท่านชุติมา คชพันธ์ ครับ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ชุติมา คชพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จากภาคใต้ค่ะ ดิฉันได้รับเรื่องร้องเรียนจาก คุณธนดล อมรพล ตัวแทนจาก อบต. ท่าเรือ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่นตำบลท่าไร่ ตำบลท่าเรือ ถึงปัญหาในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ปัญหาก็คือมีประตูระบายน้ำรั่ว ในตำบลท่าไร่ ในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็คือมีช่องระหว่างบานประตู ลูกยางบานประตู ลูกยางรางประตูเกิดความชำรุดเสียหาย ทำให้เกิดช่องว่างน้ำเค็มไหลผ่าน จุดรั่วซึมปัญหานี้เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานนับสิบปีแล้วค่ะ จึงขอให้รีบดำเนินการแก้ไข โดยเร่งด่วน เนื่องจากพื้นที่ตรงนั้น ๒ ตำบลรวมกัน ทั้งท่าไร่และท่าเรือรวมกัน มีประชากร ประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน จะเป็นปัญหาต่อพื้นที่การเกษตร เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเค็มไหลผ่าน เข้าพื้นที่ทางการเกษตร จึงขอให้รีบดำเนินการซ่อมบำรุงโดยเร่งด่วนค่ะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ปัญหาต่อไปค่ะ ดิฉันได้รับเรื่องร้องเรียนจาก คุณประยุทธ วรรณพรหม ถึงปัญหา ๑๗ ตำบล ๑๑ อำเภอ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปัญหาของพื้นที่ สาธารณประโยชน์ที่ควรได้รับการจัดสรรที่ดินเรียบร้อยแล้ว พื้นที่ตรงนั้นไม่ใช่พื้นที่ป่า แต่เป็นพื้นที่ที่ควรจะได้รับการจัดสรรให้ประชาชนได้ทำกินค่ะ มีกฎหมายรองรับแล้ว คือมีการทำประชาคมแล้ว ผ่านมติ อบต. แล้ว คณะกรรมการอำเภอเห็นชอบแล้ว ส่งเอกสาร เรียบร้อยตามขั้นตอนแล้ว แค่รอคณะกรรมการจังหวัดพิจารณา รอสำนักงานที่ดินจังหวัด พิจารณาเพื่อส่งต่อ สปก. จังหวัด และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพิจารณา ต่อไป จึงขอให้มีการเร่งอนุมัติตามขั้นตอนโดยเร่งด่วน เนื่องจากปัญหาที่ค้างคามานานหลาย ปีอย่างที่เห็นในภาพเมื่อสักครู่นะคะ ว่ามีเอกสารประกอบการทำประชาคม และดิฉันอ่าน เอกสารทั้งหมดนี้แล้ว และเห็นว่าควรจะต้องมีการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้องต่อไป ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านรวี เล็กอุทัย ครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ กระผม นายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต ๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ผมขอปรึกษาหารือในประเด็นความเดือดร้อนเรื่องน้ำของพี่น้องประชาชน ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ๒ ประเด็นครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
เรื่องแรกครับท่านประธาน ผมได้รับแจ้งจากท่านผู้นำท้องที่และท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลด่านแม่คำมัน ตำบลทุ่งยั้ง ตำบลไผ่ล้อม ในอำเภอลับแล และตำบลข่อยสูง ของอำเภอตรอน ถึงความต้องการพัฒนาพื้นที่แก้มลิงบึงมาย ซึ่งปัจจุบันนี้มีพื้นที่ประมาณ ๔,๕๐๐ ไร่ ในการกักเก็บน้ำกว่า ๑๕.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่อย่างไรก็ตามครับ ที่อ่างเก็บน้ำบึงมายนั้นมีความจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำให้ได้มากยิ่งขึ้น ไม่น้อยกว่า ๒๐ ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำสำคัญในการดูแลพี่น้องเกษตรกร ทั้ง ๒ อำเภอ ๔ ตำบล โดยจำเป็นต้องทำการขุดลอก ยกระดับคันคลองด้านนอกของอ่างเก็บ น้ำบึงมาย ให้คันคลองด้านนอกของบึงมายให้คันคลองมาตรฐานเท่ากับระดับถนน พร้อมทั้ง มีประตูน้ำและช่องทางน้ำเข้าออกแปลงนาของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่โดยรอบ ผมจึงขอ เรียนผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ครับ โปรดช่วยสนับสนุน งบประมาณไปยังกรมชลประทานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเร่งให้เกิดการขุดลอก ในพื้นที่บึงมายให้มีศักยภาพในการกักเก็บน้ำได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงควรให้มีการก่อสร้างถนน รอบพื้นที่บึงมายประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ให้ได้มาตรฐาน เนื่องจากจะเป็นการช่วยพัฒนาให้ เกิดประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวต่อไปครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ต่อเนื่องจากที่ท่าน สส. นพพล เหลืองทองนารา คนพรหมพิราม ได้ปรึกษาหารือในที่ประชุมไปเมื่อวานนี้ ผมขออนุญาตปรึกษาหารือเพิ่มเติมในประเด็น เดียวกันครับ นั่นก็คือโครงการผันน้ำวัดเกาะวารี ที่ตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย เพื่อประโยชน์ในภาพรวมของพี่น้องทั้งจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย โดยจะขอมุ่งเน้นไปยังการแก้ไขข้อติดขัดในช่วงแนวก่อสร้างทางผันน้ำ ระยะที่ ๑ โครงการ YN 2/1 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการผันน้ำจากแม่น้ำน่านเชื่อมคลองปลามันบริเวณวัดเกาะวารี ไปยัง คลองน้ำไหล ซึ่งในการก่อสร้างนั้นยังติดขัดปัญหาในส่วนที่จะต้องมีการตัดผ่านถนนทาง หลวงหมายเลข ๑๑๗ ในพื้นที่อำเภอพิชัย ซึ่งหากดำเนินการแก้ไขได้แล้วเสร็จจะเป็น ประโยชน์อย่างมากต่อพี่น้องประชาชนและพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ ผมจึงขอเรียนผ่าน ท่านประธานไปยังกรมชลประทานและกรมทางหลวงโปรดร่วมกันแก้ไขปัญหาข้อติดขัดนี้ อย่างเร่งด่วน และโปรดช่วยจัดสรรงบประมาณเพื่อให้โครงการนี้ ซึ่งเป็นดั่งความหวังใน การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำอย่างยั่งยืนของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวทั้ง ๓ จังหวัด ให้สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ ครับ
นายพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม พงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล เขตบางพลัด บางกอกน้อย วันนี้มาพูดเรื่องหาบเร่แผงลอยนะครับ เมื่อประมาณอาทิตย์ ที่แล้วทางรัฐสภามีเจ้าหน้าที่โทรศัพท์มาหาผม บอกว่าให้ไปร่วมสังเกตการณ์ที่จะมาฟัง ความคิดเห็นตัวร่างของ กทม. เรื่องหาบเร่แผงลอย ซึ่งผมว่าเรื่องหาบเร่แผงลอยในพื้นที่ มีปัญหาอยู่แล้ว ส่วนมากแม่ค้าก็จะโดนไล่ แล้วก็พื้นที่ต่าง ๆ ก็โดนซื้อไปโดยตัวเอกชน รายใหญ่ ๆ ในร่างซึ่งมีหลายประเด็นเลย ถ้าตรวจดูก็คงจะค่อนข้างเก่า ถ้าผมยิงประเด็น ตรง ๆ เลยก็คือเรื่องผู้ค้า ตอนนี้ผู้ค้าเต็มหมดแล้ว แล้วก็มี Waiting List ค่อนข้างเยอะเลย ทีนี้ผู้ค้ารายใหม่ ๆ ซึ่งเป็นผู้ค้าซึ่งอยู่ในชุมชนเขาก็ไม่มีโอกาสที่จะเข้ามาตรงนี้ การสร้างเศรษฐกิจชุมชนอะไรก็จะไม่เกิดนะครับ ผมก็เลยอยากจะใช้เวทีนี้ฝากบอกไปยังทาง กทม. ผ่านท่านประธาน ว่าการคัดเลือกของผู้ค้าก็ควรจะมีแบ่งโควตากันนะครับ สมมุติว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ก็ควรจะมาจากผู้ค้าที่เป็นของชุมชน ซึ่งในบางพลัด บางกอกน้อย โดยเฉพาะ เขตบางกอกน้อย ของดีในชุมชนซึ่งเป็นของเก่ามีค่อนข้างเยอะมากเลย ซึ่งก็ขาด การสนับสนุน เวทีที่จะเกิดขึ้นเป็นเรื่องดีนะครับ แต่ว่าถ้าการใช้หลักเกณฑ์การคัดผู้ค้าโดย การเรียง Waiting List นะครับ โดยเอาผู้ค้ารายเก่ามาก่อน ผู้ค้ารายใหม่ก็จะไม่มีโอกาสได้ เกิดเลย แล้วก็ผู้ค้ารายเก่าส่วนมากก็จะเป็นคนที่เขามี Contact เดิม ๆ กันอยู่แล้ว ผมอยากจะฝากเอกสารให้ท่านประธาน แล้วก็รบกวนท่านประธานขอความอนุเคราะห์ ฝากไปที่ กทม. ด้วย เผื่อทางโน้นเขาจะฟังมากขึ้นในการเปลี่ยนระเบียบตรงนี้ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านเกรียงไกร กิตติธเนศวร ครับ
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก เขต ๒ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมขอปรึกษาหารือความเดือดร้อนของพี่น้องชาวเกษตรกร ในจังหวัดนครนายก ทั้งในตำบลบางสมบูรณ์ ตำบลบางลูกเสือ และตำบลศรีจุฬา เกี่ยวกับ ปัญหาน้ำกร่อยน้ำคลองชลประทานบางเม่าในขณะนี้
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ปัญหาน้ำกร่อยเกิดจากปริมาณ น้ำทะเลหนุนสูง ทำให้น้ำเค็มเข้ามาเจือปนกับน้ำในคลองชลประทาน มีระดับความเค็ม เกินมาตรฐานสร้างปัญหาหลัก ๆ ๒ ประเด็นด้วยกันนะครับ
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ สร้างปัญหาให้ชาวนาไม่สามารถเพาะปลูกข้าวได้ผลผลิตตามที่ ต้องการ เพราะน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มในปีนี้หนุนสูงเร็วกว่าปกติ ทำให้เมล็ดข้าวลีบ ไม่ได้ น้ำหนัก ผลผลิตน้อย พี่น้องเกษตรกรเดือดร้อนเป็นวงกว้าง สร้างความเสียหายให้พื้นที่ เพาะปลูกข้าว มากกว่า ๓,๕๐๐ ไร่ครับ
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ น้ำกร่อยสร้างปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน ๒ ฝั่งคลอง ไม่สามารถใช้น้ำมาอุปโภคบริโภคได้ เพราะปริมาณความเค็มเกินมาตรฐาน สร้างปัญหา ด้านสุขภาพ ให้กับประชาชน
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ผมจึงขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านท่านประธาน เร่งแก้ไขความเดือดร้อน ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนดังต่อไปนี้ครับ
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ข้อ ๑ ขอให้เพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำและเร่งรัดผลักดันน้ำเค็ม ซึ่งปัจจุบันนี้ ชลประทานนครนายกปล่อยน้ำให้เกษตรกรใช้ในคลองชลประทานบางเม่าเพียงสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง จำนวน ๑,๓๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งไม่เพียงพอ จึงขอให้เพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำ ในช่วงไม่เกิน ๑ เดือนนับจากนี้ เพราะข้าวกำลังตั้งท้อง ไม่เกินเดือนมีนาคมนี้จะเก็บเกี่ยว ข้าวได้หมด และยังช่วยแก้ปัญหาน้ำกินน้ำใช้อีกด้วยครับ
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ข้อ ๒ ขอให้เร่งรัดในการซ่อมแซมประตูระบายน้ำ ซึ่งปัจจุบันนี้เกิดความ ชำรุดเสียหาย ไม่สามารถปิดกั้นน้ำเค็มได้ ซึ่งมีรูรั่วที่ประตูเหล็กหลายจุด เพราะน้ำเค็ม กัดกร่อนจึงขอให้เร่งซ่อมแซมตัวนี้ หรือหาวัสดุอื่นมาทดแทนรูรั่วเป็นการชั่วคราว
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ ผมขอฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ไขปัญหา เรื่องน้ำเพื่อให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ภายในเดือนมีนาคม เพราะปัจจุบันนี้ ราคาข้าวในยุครัฐบาลนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ถือว่าราคาดีมาก ชาวนาขายข้าวได้ เกวียนละ ๑๐,๐๐๐ กว่าบาท จึงขอโอกาสนี้ให้พี่น้องชาวนาได้ปลดหนี้และมีรายได้เพิ่มขึ้น ในโอกาสนี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ครับ
นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต ๕ พรรคพลังประชารัฐ วันนี้มีเรื่องหารือท่าน ๒ เรื่องนะคะ
นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
เรื่องแรก ดิฉันได้รับแจ้งจากท่านณรงค์ ฉลองชัยตระศักดิกุล ท่านนายก องค์การบริหารส่วนตำบลยางสาว อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ แจ้งมาว่ามีสะพาน ที่เสียหาย ๒ ตัว ที่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๕ ของตำบลยางสาว เกิดจากน้ำท่วมอุทกภัยซ้ำ ๆ ซาก ๆ หลายปี เกิดจากการชำรุดเสียหายบริเวณที่คอสะพานทั้ง ๒ ฝั่ง ประกอบกับ ท้องคลองไม่เคยมีการขุดลอก ทำให้ทางเดินของน้ำไม่สะดวก เมื่อน้ำมาจะมีกิ่งไม้ไหลมา ตามกระแสน้ำ ติดขัดกับตัวสะพาน ทำให้พื้นสะพานเสียหายซ้ำซาก จนปัจจุบันนี้เป็นปัญหา เป็นอุปสรรคในทางเดินของน้ำ ใคร่ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากกรมชลประทานได้ออกไป สำรวจดูความเหมาะสมในการที่จะแก้ไขปัญหา ขอเป็นปัญหาระยะยาว ไม่ต้องมาดูแลกัน ทุกปี ๆ นะคะ
นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่ง ได้รับแจ้งจากท่านนายกตำบลวังท่าดี นางสายลม จันทร์แปลง เรื่อง ขอให้กรมชลประทานช่วยซ่อมแซมช่องทางสำหรับส่งน้ำที่ผ่านมาจากอ่างเก็บน้ำ บ้านลำกง ช่วงที่พาดผ่าน หมู่ที่ ๖ ตำบลวังท่าดี มันแตกรั่วขนาดใหญ่ เวลาปล่อยน้ำลงมา น้ำก็จะไหลลงใต้ดินหมด แล้วก็ท่วมขังบริเวณตรงนั้น ทำให้ทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน เสียหาย ก็ขอให้กรมชลประทานได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปสำรวจทั้ง ๒ เรื่อง ที่ดิฉันได้หารือในวันนี้เป็นการเร่งด่วน ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านชิษณุพงศ์ ตั้งเมธากุล ครับ
นายชิษณุพงศ์ ตั้งเมธากุล นครปฐม ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ชิษณุพงศ์ ตั้งเมธากุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต ๖ พรรค ก้าวไกล ขอปรึกษาหารือปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวสามพรานผ่าน ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
นายชิษณุพงศ์ ตั้งเมธากุล นครปฐม ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ในช่วงหน้าร้อนของทุกปีจะประสบปัญหาเมล็ดดอกต้นธูปฤาษี ปลิวฟุ้งกระจายติดเสื้อผ้า หน้าต่าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน ของพี่น้องประชาชน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณามาตรการป้องกันและแก้ไข ปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน
นายชิษณุพงศ์ ตั้งเมธากุล นครปฐม ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพิ่มรอบรถโดยสารสาธารณะ บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๑๔ หรือถนนพุทธมณฑล สาย ๕ และจัดรอบเดินรถ ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้บริการในแต่ละช่วงเวลา เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ในการเดินทางให้แก่พี่น้องประชาชน
นายชิษณุพงศ์ ตั้งเมธากุล นครปฐม ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ซอยวัดเทียนดัด เป็นซอยที่มีประชาชนใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นทางเข้าออกของโรงเรียน โรงงาน และตลาดนัด โดยสภาพทางเท้าในปัจจุบัน นั้นชำรุดหลายจุด ส่งผลให้พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะผู้พิการต้องเดินทางด้วยความ ยากลำบากเป็นอย่างมาก และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งพิจารณาจัดสรรงบประมาณ โครงการปรับปรุงทางเท้าภายในซอยวัดเทียนดัดด้วยครับ
นายชิษณุพงศ์ ตั้งเมธากุล นครปฐม ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่หลายจุด ถึงปัญหาการเผาขยะมูลฝอยในที่โล่ง ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และสร้างความเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อยู่อาศัยใกล้จุดเผาขยะเป็นอย่างมาก จึงขอให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว
นายชิษณุพงศ์ ตั้งเมธากุล นครปฐม ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการสร้าง ศูนย์พักพิงสุนัขและแมวจรจัด ในเขตพื้นที่อำเภอสามพราน เพื่อเป็นการลดจำนวนประชากร สัตว์ไร้บ้านและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สุนัขและแมวที่ถูกทอดทิ้ง ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านณพล เชยคำแหง ครับ
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม นายณพล เชยคำแหง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด หนองบัวลำภู นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้ว บัวบาน เขต ๓ พรรคเพื่อไทย วันนี้กระผมมีปัญหา ที่จะมาขอหารือท่านประธานผ่านไปยังผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องอยู่ ๓ เรื่องด้วยกัน
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ทราบจากประชาชนในพื้นที่แจ้งมาว่าลำห้วยตื้นเขินในยามภัยแล้ง ซึ่งแต่ละลำห้วยนั้นก็เป็นเส้นเลือดใหญ่ของชาวเกษตรกรว่าไม่มีน้ำสำหรับทำการเกษตร หรือแม้จะอุปโภคบริโภค พื้นที่ของกระผมมีลำห้วยที่ต้องขุดคลองขุดลอกคูคลองเพื่อจะได้ สำรองน้ำจากฤดูฝนไว้ใช้ในยามฤดูแล้งอยู่หลายลำห้วย คือ ๑. ที่อำเภอสุวรรณคูหา ลำห้วยปู่ ตำบลดงมะไฟ ลำห้วยน้ำโมง ห้วยบุญทัน ตำบลบุญทัน ทอดยาวไปอีกหลายตำบล ส่วนที่ อำเภอนากลาง ก็จะมีลำห้วยโค่โล่ ตำบลดงสวรรค์ ห้วยบนกลาง ตำบลกุดดินจี่ ห้วยอาบช้าง ห้วยหอย ห้วยหนองแต้ ซึ่งทอดยาวจากตำบลเก่ากลอย ไปจนถึงบ้านอาบช้าง แต่ละลำห้วย ที่กระผมกล่าวมานั้นทอดยาวไปไกลหลายตำบล เป็นห้วยที่รอรับการขุดลอกคูคลอง เพื่อที่จะรอรับน้ำในยามฤดูฝนไปใช้ในและในฤดูแล้ง ตอนนี้ลำห้วยตื้นเขินมาก ทำให้การกัก เก็บน้ำไม่ได้ แถมในฤดูฝนก็จะทำให้น้ำท่วมเนื่องจากระบายน้ำไม่ทัน
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เนื่องจากในพื้นที่ของจังหวัดหนองบัวลำภู เขต ๓ ในยามแล้งก็จะมี หลายพื้นที่ที่แหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลมีปัญหาการขาดแคลน และฤดูร้อนที่จะมาถึงนี้ คาดการณ์กันว่าปัญหาภัยแล้งที่จะมาเร็วและครอบคลุมเป็นวงกว้างนั้น เกรงว่าจะเกิดปัญหา ตามมา
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
จึงขอนำเรียนท่านประธานผ่านไป ยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทยในการขอแหล่งน้ำสำรอง เพื่อเป็น บรรจุภัณฑ์กักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามฤดูแล้งอย่างในสไลด์นะครับ ก็คือถังน้ำขนาด ๒,๐๐๐ ลิตรขึ้นไป ซึ่งพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต้องการมากในยามฤดูแล้ง เพราะจะเป็นถังน้ำ ที่สามารถหล่อเลี้ยงชีวิตของเขาได้
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เป็นเรื่องสุดท้าย ก็ขอร้องทุกข์ไปยังตำรวจ Cyber ครับ ท่านประธาน ปัญหาของแก๊ง Call Center ซึ่งเราทราบตามสื่อทั้งหมดว่ามีมากมายเหลือเกิน ทุกวันนี้ในพื้นที่ผมก็เช่นเดียวกันครับ เป็นปัญหาที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่ชาวบ้าน ถูกหลอกลวงเสียเงินเสียทองเป็นจำนวนมาก อันนี้ก็อยากให้เร่งรัดให้แก้ไขนะครับ เพราะว่า แก๊งพวกนี้เป็นอันตราย หลอกให้หลง หลอกให้รัก หลอกให้กลัว แล้วก็หลอกให้ลงทุนตามมา ด้วยการเสียหายทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก ก็มีเรื่องที่จะนำเรียนผ่านท่านประธาน เพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านยอดชาย พึ่งพร ครับ
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม นายยอดชาย พึ่งพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมืองพัทยา ผู้แทนเมืองท่องเที่ยว จังหวัดชลบุรี วันนี้ผมมี ๓ ประเด็น ที่จะหารือกับท่านประธาน
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ เด็กและผู้หญิงต่างด้าวอุ้มเด็กทารกเร่ขายสินค้าให้กับ นักท่องเที่ยวตามสถานบันเทิง ภายในพื้นที่เมืองพัทยา มีลักษณะตื๊อขายสินค้าจนเกิด การกระทบกระทั่ง สร้างความรำคาญใจให้กับนักท่องเที่ยว และอาจบานปลายถึงขั้นทำร้าย ร่างกายกันได้นะครับ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศ เข้าข่าย การค้ามนุษย์ และผิดกฎหมายแรงงาน อาชีพสงวนสำหรับคนไทย
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ความไม่ปลอดภัยและเสียงดังรบกวนจากตะแกรงเหล็ก ระบายน้ำ ชำรุด บริเวณปากซอยมาบยายเลีย ๔๓ ซอยเนินพลับหวาน ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ด้วยประชาชนในบริเวณดังกล่าวรู้สึกไม่ปลอดภัยในการ ใช้ทาง และยังรู้สึกเดือดร้อนรำคาญใจกับเสียงล้อกระแทกตะแกรงเหล็กระบายน้ำที่ชำรุด ความเสียหายนี้ทางเทศบาลเมืองหนองปรือพยายามแก้ไขหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังแก้ไขปัญหา ไม่ได้ แล้วก็ไม่นานก็กลับมาเป็นอีกนะครับ ดังนั้นพี่น้องประชาชนจึงอยากให้มีการแก้ไข แบบถาวรเพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ การจราจรติดขัดเป็นอย่างมากบริเวณท่าเรือแหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ด้วยมีพี่น้องประชาชนรวมไปถึงนักท่องเที่ยวเกิดความไม่สะดวก ในการสัญจรในบริเวณดังกล่าว อันเนื่องมาจากการจอดรถบัสจำนวนมาก ทั้งรับทั้งส่งและรอ นักท่องเที่ยว กีดขวางเส้นทางและช่องจราจร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานก็ไม่เพียงพอในการแก้ไข ปัญหา จึงอยากให้เพิ่มเจ้าหน้าที่และบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่กระทำผิดกฎ พ.ร.บ. จราจร ทางบก ทั้ง ๓ ประเด็นนี้ พี่น้องประชาชนชาวเมืองพัทยา ชาวหนองปรือ วิงวอนให้ ท่านประธานใช้กลไกสภาผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ๓ ประเด็นนี้ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านยศวัฒน์ มาไพศาลสิน ครับ
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๓ อำเภอท่ามะกา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ เรื่องแรกที่ผม จะหารือกับเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ก็คือทางหลวงชนบท สายเทศบาลตำบลลุกแก ถึงเทศบาลตำบลห้วยกระบอกเป็นรอยเชื่อมต่อ เส้นเชื่อมต่อของจังหวัดกาญจนบุรี แล้วก็ จังหวัดราชบุรี หมายเลข ๓๓๙๔ ตั้งแต่บริเวณสี่แยกเซเว่น-อีเลฟเว่น ดอนขมิ้น หมู่ที่ ๑ มีปัญหาน้ำท่วมขังมาตลอดเป็นระยะเวลาหลายปี ผมเองก็ได้มีโอกาสร้องเรียนมาหลายครั้ง แล้วก็ทราบว่าเมื่อสมัยที่ผ่านมามีบรรจุอยู่ในแผนแล้ว แต่ปีนี้ไม่มั่นใจว่าจะโดนตัดทิ้งไป หรือเปล่า ฝากท่านประธานติดตามเพื่อที่จะลดปัญหาที่สะสมมานานแล้ว แล้วก็ที่สำคัญครับ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในตำบลนี้ครับ
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ก็เป็นเรื่องที่ติดตามอีกเช่นเคยครับ เป็นเรื่องของถนนสาย ท่าเรือ-พระแท่น ๒ เทศบาลอยู่ที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีครับ ถนนมีการขยาย ถนนนั้นเป็น ๔ เลน ตั้งแต่เทศบาลตำบลท่าเรือ แต่พอเข้าสู่เทศบาลตำบลพระแท่นเป็นสาย ของถนนทางหลวงเป็นคอขวดครับ ลดลงเหลือแค่เพียง ๒ เลน จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และที่สำคัญครับ ตรงนี้บริเวณที่ติดปัญหาอยู่ในส่วนของอุทยาน ผมเคยมีโอกาสพูดคุยกับ ท่านอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ท่านบอกว่าท่านไม่ขัดข้องอะไร เพราะฉะนั้นปีนี้อยากจะฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานแล้วก็ทำให้มันจบสิ้น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ครับ เหลืออีกเพียงแค่ ๑ กิโลเมตรเท่านั้นเอง
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
สุดท้ายเป็นสี่แยกวัดวัดใจ อยู่บริเวณถนนเส้นสาย ๓๔๖ กม. ที่ ๑๐๒+๕๐๐ บริเวณนี้เป็นสี่แยกวัดใจครับ เกิดอุบัติเหตุทุกเดือน เดือนละหลาย ๆ ครั้ง เป็นถนน ที่เชื่อมต่อระหว่างสายกำแพงแสนถึงสายพนมทวน เป็นเส้นตรงตลอด บริเวณเส้นนี้ นอกเหนือจากต้องการไฟแดงแล้วยังต้องการไฟฟ้าส่องสว่างตลอดทั้งเส้นครับ ประตูสู่เมือง กาญจน์อีกเส้นหนึ่งครับ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู ครับ
นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล จังหวัดเชียงใหม่ จากประชาชน ชาวเชียงใหม่ เขต ๑ ค่ะ วันนี้ดิฉันมีเรื่องหารือท่านประธานสภาอยู่ ๒ เรื่องด้วยกันค่ะ
นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรื่องแรก เนื่องจากเชียงใหม่ และภาคเหนือกำลังเข้าสู่ฤดูฝุ่นควัน และทางรัฐบาลและคณะกรรมการการจัดการปัญหา มลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืนได้ออก ๑๑ มาตรการ ในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยจากที่ดิฉันติดตามมาโดยตลอด ก็มีมาตรการกว่า ๑๑ มาตรการนี้ มีหลาย ๆ มาตรการ ที่ยังไม่มีแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม มีเพียงแค่การประชุมปรึกษาหารือกับทาง หน่วยงานเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น มาตรการที่ ๕ การนำเศษวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร มาแปรรูปเพื่อสร้างรายได้ และมาตรการที่ ๑๑ การกำหนดหลักเกณฑ์การประกาศเขต ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ซึ่งดิฉันอยากจะฝากท่านประธานไปยัง หน่วยงานรัฐบาลและคณะกรรมการที่ดิฉันได้กล่าวถึงไปในการที่จะเร่งทำแผนปฏิบัติการ อย่างจริงจังและจริงใจ ตามที่ได้สัญญากับพี่น้องประชาชนค่ะ
นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่และอำเภอเมืองของดิฉันเอง รายได้ ส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว ซึ่งยังไม่มีระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นของพี่น้อง ชาวเชียงใหม่ ทั้งผู้มาเยือนและผู้ที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยปัจจุบันมีบริษัทเดียวที่ทำระบบ ขนส่งสาธารณะนี้ ก็คือบริษัทเอกชนโดยชื่อรถเมล์ว่า RTC หรือรถเมล์ขาว อย่างที่ประชาชน ชาวเชียงใหม่รู้จักกัน แต่ด้วยความแบกรับ เป็นการลงทุนของเอกชน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มีการแบกรับต้นทุนทางด้านค่าใช้จ่ายในการจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดทำระบบขนส่ง สาธารณะนี้ ทำให้ต้นทุนค่าโดยสารต่อรอบสูงถึง ๕๐ บาทต่อเที่ยว ดิฉันจึงอยากฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงคมนาคม หน่วยงานองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการประสานงานร่วมมือกัน เพราะจากที่ผ่านมาได้มีการพยายามที่จะทำให้ ระบบขนส่งสาธารณะของจังหวัดเชียงใหม่เป็นจริง แต่ว่าขาดการประสานงานร่วมมือตั้งแต่ ระดับนโยบายและระดับงบประมาณ จึงฝากท่านประธานสภาผ่านไปยังหน่วยงานที่ดิฉัน ได้กล่าวไปเพื่อที่จะทำให้ระบบขนส่งสาธารณะของจังหวัดเชียงใหม่เป็นจริงอย่างเป็น รูปธรรมค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ครับ
นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ เขต ๗ พรรคพลังประชารัฐ ท่านประธานครับ วันนี้จะขอหารือท่านประธานถึงแนวทางในการ กระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดชัยภูมิผ่านการจัดประเพณีอัตลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจที่ดีอย่างหนึ่ง และการสร้าง Soft Power ให้กับจังหวัดชัยภูมิ สืบเนื่องจาก ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าให้เร่ง Promote การท่องเที่ยวเมืองรองและได้มีมติ ครม. ให้วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๗ เป็นวันหยุดราชการ เพิ่มเติมอีก ๑ วัน ผมจึงอยากให้จังหวัดชัยภูมิได้รับประโยชน์จากเม็ดเงินที่จะมีการใช้จ่าย ในช่วงสงกรานต์ที่จะถึงนี้ ทราบว่าปีนี้จะมีการจัดประเพณีหาบน้ำเขื่อนฮดธาตุ ที่วัดพระธาตุ ชัยภูมิ ตำบลเก่าย่าดี อำเภอแก้งคร้อ ซึ่งจะเป็นการนำน้ำจากเขื่อนลำปะทาวขึ้นมาปลุกเสก และนำไปรดที่พระธาตุชัยภูมิ ซึ่งเป็นการรังสรรค์ประเพณีใหม่ขึ้นมา ผมมองว่าเป็นการสร้าง Soft Power รูปแบบใหม่ให้กับจังหวัดชัยภูมิ และในปีที่ผ่านมาได้รับผลตอบรับที่ดีมาก ผมจึงอยากให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงาน ททท. ช่วยสนับสนุน เร่งประชาสัมพันธ์งานดังกล่าวให้จังหวัดชัยภูมิด้วย เพราะที่ผ่านมาจังหวัดชัยภูมิถือเป็น จังหวัดที่มีเอกลักษณ์และมีประเพณีที่ดีงาม ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อัตลักษณ์ของเรายังไม่ได้รับการชูขึ้นมาให้โดดเด่นดังเช่นจังหวัดหนองคาย ที่มีประเพณีบั้งไฟ หรืออุบลราชธานีที่มีประเพณีแห่เทียนพรรษา ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยว เข้ามาร่วมประเพณีที่วัดพระธาตุชัยภูมิ ราววันละ ๖,๐๐๐ คน หากมีการใช้จ่ายหัวละ ๑,๐๐๐ บาท ก็จะมีเม็ดเงินเข้ามาหมุนเวียนในช่วงสงกรานต์ ๒๕๖๗ นี้เกือบ ๔๐ ล้านบาท ในจังหวัดชัยภูมิก็ว่าได้ อันนี้แค่ประเพณีเดียวนะครับ ผมจึงอยากฝากให้หน่วยงาน ททท. และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ช่วยสนับสนุนงานประเพณีดังกล่าวด้วย กราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านกัณวีร์ สืบแสง ครับ
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ วันนี้ผมขออนุญาตหารือท่านประธานเกี่ยวกับผลกระทบที่ประเทศไทยอาจจะถูก คำครหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการอาชญากรรมข้ามชาติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Call Center Scammer Casino Online จากเหตุการณ์ที่คนไทย ๑๔๘ คน ถูกจับกุมตัว ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ เราก็ยังไม่ทราบว่า ตอนนี้อยู่ที่ไหน โชคดีที่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ คือเมื่อวานนี้ ทางท่าน ผบ.ฉก. ทัพเจ้าตาก พันเอก ณฑี ทิมเสน ได้บอกว่าคนไทยอยู่ที่ไหนแล้ว คือจริง ๆ แล้วผมขออนุญาตออกตัวว่า ผมไม่เห็นด้วยนะครับ กับคนที่เดินทางไปทำงานนอกประเทศผิดกฎหมาย จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่รับไม่ได้จริง ๆ แต่ว่าถ้าประเทศไทยยังไม่มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือ กับเรื่องนี้ ประเทศไทยจะถูกครหาแน่นอนว่าอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการ อาชญากรรมข้ามชาติ เพราะฉะนั้นผมขออนุญาตหารือท่านประธานผ่านไปยัง ๓ ส่วน ที่เกี่ยวข้อง
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนแรก เราจำเป็นต้องมีการจัดตั้ง Task Force หรือหน่วยเฉพาะกิจ ที่เกี่ยวข้องในการ Monitor หรือติดตามประเมินสถานการณ์บริเวณประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งหลายนะครับ ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศเมียนมานี้เราเห็นครับ มีเชก๊กโก่ (Shwe Kokko) KK Park ในประเทศลาวเราเห็นว่าคิงส์โรมัน กัมพูชามีอีกหลายที่ เราสามารถจัดหน่วยเฉพาะกิจนี้ได้ ในการตรวจตราดูแลว่าฝั่งตรงข้ามเรามีอะไรบ้าง หน่วยงานในพื้นที่ หน่วยความมั่นคงในพื้นที่ ท่านทราบดีครับ แต่ว่าอย่างไรก็ตามต้องมี การบูรณาการการทำงานกันระหว่างหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ เพราะฉะนั้นขอหารือผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรีว่าให้จัดตั้ง หน่วย Task Force นี้
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๒ คือกลไกในการติดตามคนไทยในต่างแดน มีหลายคนครับที่มีปัญหา อยู่ตอนนี้ แต่เราไม่มีกลไกในการติดตามคนที่ได้รับผลกระทบตรงนี้บริเวณต่างแดน เพราะฉะนั้นหารือท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงการต่างประเทศ ให้จัดตั้งกลไกนี้อย่างมี ประสิทธิภาพโดยเร็ว
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๓ เป็นการปราบปรามธุรกิจจีนสีดำและสีเทาอย่างจริงจังในประเทศ ไทย เราทราบก็มีการฟอกเงิน ฟอกขาว เอาเงินจากต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย ฟอกขาว แล้วก็เอาไปใหม่ เพราะฉะนั้นทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติและ ปปง. จำเป็นต้องดูแล ในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นขออนุญาตฝากหารือท่านประธานผ่านไปยัง ๓ หน่วยงาน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านภราดร ปริศนานันทกุล ครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ภราดร ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง พรรคภูมิใจไทยครับ ผมมีเรื่อง หารือ ๒-๓ เรื่องครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เรื่องแรก หารือไปทางกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่องให้เร่งจัดสรร งบประมาณสำหรับโครงการพัฒนาเมือง ๒ แห่ง ในจังหวัดอ่างทอง ซึ่งทางกรมโยธาธิการ และผังเมือง ได้สำรวจเอาไว้เรียบร้อยแล้ว แห่งที่ ๑ นั่นคือที่บริเวณบึงสำเภาลอย ที่ตำบล โรงช้าง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง จุดที่ ๒ ที่ตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ทั้ง ๒ จุดนั้นทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ตั้งงบประมาณและได้สำรวจ ออกแบบเรียบร้อย แบบเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เพียงรองบประมาณในการที่จะจัดสรร เพื่อที่จะทำประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ให้เป็นสถานที่แห่งใหม่ ของตำบล ของอำเภอนั้น ๆ ครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ผมหารือไปถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง เช่นเดียวกัน เรื่องเขื่อน ป้องกันตลิ่งที่หมู่ที่ ๑ ตำบลตลาดกรวด ซึ่งได้รับร้องเรียนจากท่านนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลตลาดกรวด นายกสมบุญ ฤทธิ์เอนก และท่านกำนันสมภพ ฤทธิ์เอนก บริเวณ หมู่ที่ ๑ ตำบลตลาดกรวด มีบริเวณริมแม่น้ำได้รับความเสียหายจากแม่น้ำกัดเซาะ และทาง กรมโยธาธิการและผังเมืองได้สำรวจออกแบบเรียบร้อยแล้ว รอเพียงงบประมาณในการ จัดสรรไปแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนเช่นเดียวกัน ฝากกรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งเสนอโครงการไปสู่สำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรงบประมาณต่อไปครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ผมหารือไปทางกระทรวงสาธารณสุขและทางกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น เรื่องโครงการผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำหรับผู้ป่วยติดเตียง คนละ ๓ ชิ้น ต่อ ๑ วัน ขณะนี้โครงการได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในยุคสมัยที่แล้ว สมัยท่านรัฐมนตรีว่าการ อนุทิน ชาญวีรกูล ขณะนี้มีหลายคนหลายท่านที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงและยังไม่ได้รับการสำรวจ ในช่วงระหว่างปีจะมีคนที่ตกหล่นสำรวจเป็นจำนวนมาก จึงฝากให้ทาง รพ.สต. ช่วยเร่ง สำรวจและเร่งทำโครงการเสนอไปทาง อบต. ให้ร่วมโครงการกับทาง สปสช. เพื่อแก้ไข ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนต่อไปครับ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ขอเชิญ ท่านประมวล พงศ์ถาวราเดช ครับ
นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ กระผม นายประมวล พงศ์ถาวราเดช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เขต ๓ พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ขอหารือเพื่อแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชน ดังต่อไปนี้
นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ได้รับการร้องเรียนจาก นายนันทชัย สุขเกื้อ นายกสมาคม ชาวประมงบางสะพาน ขอให้กรมเจ้าท่าเข้าดำเนินการขุดลอกคลองแม่รำพึง หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๕ ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งกรมเจ้าท่าได้เข้าไป สำรวจเพื่อดำเนินการขุดลอกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีงบประมาณที่จะเข้าไป ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงอยากให้กรมเจ้าท่าจัดสรรงบประมาณเพื่อไปแก้ปัญหาให้ พี่น้องประมงพื้นบ้านได้นำเรือเข้าออกเพื่อประกอบอาชีพโดยเร่งด่วนด้วย
นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ได้รับการร้องเรียนจาก นายทนงศักดิ์ นทีวัฒนา นายกองค์การ บริหารส่วนตำบลทรายทอง เนื่องจากคลองฝั่งแดง หมู่ที่ ๔ บ้านฝั่งแดง ตำบลทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งคลื่นซัดทรายเข้าปิดปากคลองบ้านฝั่งแดง ทำให้พี่น้องชาวประมงไม่สามารถนำเรือเข้าออกได้ จึงอยากให้กรมเจ้าท่าเข้าไปสำรวจ ออกแบบก่อสร้างเขื่อนกันทราย เพื่อป้องกันทรายซัดเข้าปิดปากคลองฝั่งแดง เพื่อแก้ปัญหา ให้พี่น้องชาวประมงเป็นการถาวรต่อไป
นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องหมู่บ้านทุ่งประดู่ หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ตำบลทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอให้กรมเจ้าท่าเข้าไปแก้ไขปัญหา คลื่นกัดเซาะ ทำให้บ้านเรือนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวได้รับความเสียหาย ซึ่งกรมเจ้าท่าได้เข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาได้บางส่วนแล้ว จึงอยากให้กรมเจ้าท่าจัดสรร งบประมาณเข้าดำเนินการแก้ไขให้พี่น้องประชาชนดังกล่าวต่อไปด้วยครับ ขอบพระคุณ มากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านปรีดา บุญเพลิง ครับ
นายปรีดา บุญเพลิง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายปรีดา บุญเพลิง สส. บัญชีรายชื่อ พรรคครูไทย เพื่อประชาชน การศึกษานำการเมือง ครูพัฒนาคน ประชาชนพัฒนาชาติ รากฐานของตึก คืออิฐ รากฐานของชีวิตคือการศึกษา ขอหารือท่านประธานผ่านไปยังนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ครับ ผมได้รับเรื่องร้องเรียนและรายงานจากคณะครูผู้ปกครอง เนื่องจากโรงเรียนบ้านดอนหาร นาจาน ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา ขอนแก่น เขต ๓ ว่ามีคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์สิน อุปกรณ์การเรียนการสอน และตัดสายไฟฟ้า ภายในอาคารเรียน จากการตรวจสอบพบว่าคนร้ายได้งัดประตูเข้าไปทุกห้อง ขโมยสินทรัพย์ ภายในอาคารเรียนสูญหายเป็นจำนวนมาก ท่านประธานที่เคารพครับ จากเหตุการณ์ที่ครู สุภาพสตรีที่อยู่เวรโรงเรียน ถูกทำร้ายร่างกาย เป็นข่าวคราวที่สังคมจับตามองถึงการบริหาร ของกระทรวงศึกษาธิการว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร สุดท้ายก็นำไปสู่นโยบายการให้ยกเลิก การอยู่เวรของครู มีข่าวทีไรก็แก้ปัญหาไปทุกที เหมือนกับไฟไหม้ฟาง แต่เป็นนโยบาย ไฟไหม้ฟาง บัดนี้เหตุการณ์เกิดขึ้นอีกแล้วครับ เมื่อครูไม่อยู่เวร คนร้ายมองเห็นช่องทาง เพราะทรัพย์สินอยู่ที่โรงเรียนมากมาย สังคมวิปริต ขาดการเยียวยา ขาดคุณธรรมจริยธรรม ยาเสพติดระบาดทั่วทุกหัวระแหงในแผ่นดินไทย โรงเรียนเป็นสถานที่บ่มเพาะองค์ความรู้ ความดีงามให้กับลูกหลานคนไทยทุกหมู่เหล่าโดยไม่เลือกปฏิบัติ เรียนท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ท่านเลขาธิการ กพฐ. ผอ. เขตพื้นที่การศึกษา ทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดขึ้น อีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ขวัญกำลังใจของครูอยู่ที่ไหน โปรดหาทางแก้ไขโดยเร่งด่วนก่อนที่ทรัพย์สิน ของโรงเรียนจะสูญหายไปมากกว่านี้ เรื่องภารโรงที่ครูดีใจว่าจะได้บรรจุโดยเร็วและครบ ทุกโรงเรียน บัดนี้รอความคาดหวังว่ารัฐบาลนี้จะดำเนินการให้หรือไม่ จะเป็นฝันค้าง หรือเปล่า ก็ขอเรียนฝากรัฐบาลได้ช่วยดูแลแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยเร่งด่วน ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านสมศักดิ์ บุญประชม ครับ
นายสมศักดิ์ บุญประชม อุบลราชธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายสมศักดิ์ บุญประชม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต ๑๐ พรรคเพื่อไทยรวมพลัง มีเรื่องหารือกับท่านประธาน ๒ เรื่องครับ
นายสมศักดิ์ บุญประชม อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เรื่องน้ำประปา อำเภอน้ำขุ่น เรื่องนี้กระผมเคยหารือที่สภาแห่งนี้ มาแล้วครั้งหนึ่ง ของบ้านรุ่งตะวัน หมู่ที่ ๙ อำเภอน้ำขุ่น ช่วงนี้พี่น้องชาวอำเภอน้ำขุ่น ไม่มีน้ำใช้ น้ำแห้งครับ มีแต่รถเทศบาลวิ่งไปส่งน้ำทุกวัน ที่เป็นอำเภอมีพี่น้องประชาชน มากมาย อาทิเช่นว่า มีที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ สาธารณสุขอำเภอ แต่ไม่มีน้ำใช้ช่วงนี้ ลำบากครับ ผมจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประปาส่วนภูมิภาคลงพื้นที่ไปสำรวจ ออกแบบ มีห้วยโพธิ์ไม่ไกลครับ มีน้ำมากมายครับ พื้นที่ ๘๕ ไร่ แต่ไม่มีการสำรวจออกแบบ นำน้ำประปามาให้กับพี่น้องชาวอำเภอน้ำขุ่น ผมจึงอยากฝากท่านประธานไปถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องช่วยลงพื้นที่ไปดูครับ ช่วงนี้พี่น้องลำบาก ช่วงหน้าแล้งไม่มีน้ำใช้ ถ้าไม่มี รถเทศบาล ทุกวันนี้พี่น้องไม่มีน้ำใช้ ฝากท่านประธานไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดงบ ให้ด้วยครับ
นายสมศักดิ์ บุญประชม อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ครับท่านประธาน กระผมได้รับเรื่องจากท่านนายกถาวร บุญประชม นายก อบต. ค้อน้อย อำเภอสำโรงว่า พื้นที่อำเภอสำโรง ในลำห้วยแต่ละลำห้วย ไม่มีน้ำใช้ครับ พี่น้องชาวอำเภอสำโรงส่วนใหญ่ทำนา หลังจากทำนา ทำอะไรครับ ปลูกข้าวโพด เพื่อจะได้รายได้เพิ่มขึ้นจากเกษตรกร แต่ปัญหาเกิดขึ้นจากในลำห้วยไม่มีน้ำ ผมอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจออกแบบทำธนาคารน้ำใต้ดิน เก็บน้ำให้กับ พี่น้องชาวอำเภอสำโรงใช้ครับ ธนาคารน้ำจะมี ๒ แบบ แบบที่ ๑ ระบบเปิดเก็บน้ำ ขุดให้ได้ ความลึก เก็บน้ำให้ได้ปริมาณไว้ให้กับพี่น้องชาวอำเภอสำโรง แล้วก็แบบที่ ๒ ระบบปิด เก็บน้ำไว้ใต้ดิน ช่วงฤดูฝนจะได้เก็บน้ำไว้ หลังจากฤดูฝนเป็นฤดูแล้ง จะได้นำน้ำ ที่เก็บไว้ขึ้นมาทำการเกษตร เพื่อสร้างรายได้ให้กับพี่น้องชาวอีสานหรือพี่น้องเกษตรกร ชาวอุบลราชธานี ผมจึงอยากฝากท่านประธานไปถึงสำนักงบประมาณเพื่อจัดสรร งบประมาณ แล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดสรรงบประมาณให้กับพี่น้องชาวอำเภอสำโรง อำเภอทุ่งศรีอุดม และตำบลทุ่งเทิง จังหวัดอุบลราชธานีด้วย ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านยูนัยดี วาบา ครับ
นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ยูนัยดี วาบา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี เขตเลือกตั้งที่ ๔ พรรคประชาธิปัตย์ กระผมขอหารือปัญหาเรื่องร้องเรียน ๓ เรื่องด้วยกันนะครับ
นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ขอสนับสนุนสะพาน ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านกูบังปิงะ ผมได้นัดทางผู้ใหญ่บ้านมะซอรี นายก อบต. ไทรทอง บูคอรี โต๊ะอิหม่ามอิสมาแอ ลงพื้นที่ เพื่อไปรับฟังปัญหาของพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากประชาชนต้องการ สะพานเดินทางข้ามไปทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงวัว เลี้ยงแพะ เนื่องจากว่าสะพานที่ชาวบ้าน ช่วยกันสร้างหลังจากน้ำท่วม ได้พังเสียหายหมด ก็เลยขอฝากท่านประธานประสานไปยัง ทางโยธา เพื่อของบประมาณสร้างสะพานครับ
นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอสนับสนุนเขื่อนกันตลิ่ง ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน บ้านสำโรง ก็เลยได้นัดผู้ใหญ่บ้านสมเกียรติ โต๊ะอิหม่ามสุริยา นายก รองนายก อบต. ตะโละไกรทอง ลงเรือเพื่อไปตรวจดูความเสียหายของตลิ่ง แล้วก็บ้านเรือนของชาวบ้าน
นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ
เส้นสีแดงตามรูปเป็นระดับน้ำที่เกิดจาก น้ำท่วมปีที่แล้ว ระดับสูงมากนะครับ ทำให้ตลิ่งพัง ก็ขอให้ประธานประสานไปยังทาง โยธาธิการเพื่อของบประมาณสร้างตลิ่งนะครับ
นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย เรื่องที่ ๓ ปัญหาราคาปลากะพงตกต่ำ สาเหตุเนื่องมาจาก ปลากะพงของมาเลเซียเข้ามาทำให้ปลาของพี่น้องเกษตรกรในฝั่งของเราไม่สามารถขายได้ เพราะราคาแพงกว่าฝั่งมาเลเซีย ขอเวลาอีกสักนิดหนึ่งนะครับท่านประธาน ปลาของมาเลเซีย ราคาถูกกว่าเรา เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียได้สนับสนุนอาหารปลา ทำให้ขายถูกกว่าเรา นำเข้ามา จากการค้าเสรีฝั่งด่านตากใบ ด่านสุไหงโก-ลก ด่านสะเดา ส่งมาถึงมหาชัย ตอนนี้พี่น้องเรา ขายปลาไม่ได้นะครับ สุดท้าย ปลาตายทั้งหมดนะครับ ตรงนี้เนื่องจากว่าเวลาน้ำท่วม ปลาน็อคน้ำแล้วก็เกิดตาย ตายเยอะเลยนะครับ ตรงนี้ขอให้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรต่อไป ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านสยาม เพ็งทอง ครับ
นายสยาม เพ็งทอง บึงกาฬ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ ผม สยาม เพ็งทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบึงกาฬ เขต ๑ พรรคภูมิใจไทย ท่านประธานครับ เสื้อผ้าทอที่ผมใส่มาวันนี้เป็นผ้าลาย มัดหมี่ นาคะบูชาเจติยาคีรี ลายอัตลักษณ์ของพี่น้องอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ เพราะเรื่อง ที่จะขอหารือวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพี่น้องอำเภอศรีวิไลทั้งอำเภอ โดยผมได้รับแจ้งจากพี่น้อง ประชาชนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ของที่ว่าการอำเภอศรีวิไล ถึงสภาพปัญหาของที่ว่าการ อำเภอที่ชำรุดทรุดโทรมและมีสภาพที่คับแคบ
นายสยาม เพ็งทอง บึงกาฬ ต้นฉบับ
จากข้อมูลครับท่านประธาน ที่ว่าการอำเภอศรีวิไลได้ใช้งานมากว่า ๓๕ ปี แล้วครับ ตั้งแต่ตอนยังเป็นกิ่งอำเภอ และจากการลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยม พบว่ามีสภาพ ชำรุดทรุดโทรมมากจริง ๆ ครับ ทั้งหลังคารั่วและโครงสร้างอาคารเสียหายหลายจุด ทำให้ เกิดความไม่ปลอดภัยต่อประชาชนผู้มาใช้บริการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อีกทั้งปัญหาเรื่อง สถานที่ที่คับแคบ ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ส่วนราชการบางส่วนต้องย้ายไปตั้งอยู่ นอกที่ว่าการอำเภอ ส่งผลกระทบต่อการอำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชน เป็นอย่างมากครับ และเนื่องจากปัจจุบันบึงกาฬได้ยกฐานะเป็นจังหวัด เมื่อปี ๒๕๕๔ ทำให้ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รวมถึงจำนวนประชากรของอำเภอศรีวิไล ที่มีเพิ่มมากขึ้น ทำให้การบริการพี่น้องประชาชนภายใต้สถานที่ที่คับแคบและชำรุดทรุดโทรม ทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ท่านประธานครับ อย่างที่เราทุกคนทราบกันดีครับว่าที่ว่าการ อำเภอนั้นเป็นสถานที่ที่สำคัญเอาไว้เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้บริการพี่น้องประชาชนทุกคน ตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต ดังนั้นเรื่องความพร้อมของสถานที่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญครับ ท่านประธาน จึงอยากฝากท่านประธานไปยังกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กระทรวงมหาดไทย ในการสร้างที่ว่าการอำเภอศรีวิไลหลังใหม่เพื่อให้มีความพร้อมและความเหมาะสม ของสถานที่ ตลอดจนเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของผู้มารับบริการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อการให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้อง ประชาชนคนบึงกาฬด้วยครับ ด้วยความเคารพครับท่านประธาน ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต ๔ อำเภอบ้านโป่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ผมมี ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ๔ เรื่อง นำกราบเรียนท่านประธานเพื่อประสาน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการแก้ไขให้กับพี่น้องประชาชนด้วยครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
เรื่องแรก เรื่องที่พี่น้องประชาชนได้ร้องเรียนมาว่าคลองไส้ไก่ในเขตตำบล บ้านม่วง ตำบลลาดบัวขาว ตำบลเบิกไพรนั้นชำรุดเสียหาย ซึ่งกรมชลประทานได้เคยทำ โครงการดังกล่าวแล้วในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมา แต่ว่าตอนนี้โครงการดังกล่าวพี่น้องประชาชนนั้น เฝ้ารอให้ต่อเนื่อง จึงขอให้ทางกรมชลประทานได้เร่งดำเนินการด้วยครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ พี่น้องประชาชนร้องเรียนว่ามีสุนัขและแมวจรจัดในเขตอำเภอ บ้านโป่ง ในหลายตำบลนั้นเยอะมากนะครับ ก็ขอให้ทางกรมปศุสัตว์ได้ทำโครงการทำหมัน สุนัขและแมวจรจัดในเขตอำเภอบ้านโป่งด้วยครับ ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อเนื่องที่ทางปศุสัตว์ จังหวัดราชบุรีเคยดำเนินการแล้วครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ขอให้กรมทางหลวงได้พิจารณาทำอุโมงค์ลอดใต้ถนนสาย เบิกไพร-หนองปลาหมอ หรือสาย ๓๒๙๑ ที่จุดตัดจากถนน หมู่ที่ ๒ ตำบลเบิกไพร ไปที่ บ้านหุบกระทิงและตำบลลาดบัวขาว หรือที่จุดตัด ๔๑+๓๐๐ - ๔๑+๘๐๐ ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย เรื่องที่ ๔ ได้รับการร้องเรียนจากนายกเทศมนตรีเทศบาล ตำบลกระจับ คุณมนัส ใจเจน และคณะ ว่าพี่น้องประชาชนมีความเดือดร้อนบริเวณริมทาง สายสามแยกกระจับถึงหนองโพ จึงขอให้กรมทางหลวงได้พิจารณาทำท่อระบายน้ำ และ Footpath ในพื้นที่ดังกล่าว ในชุมชนบ้านสามแยกกระจับซึ่งมีหลายหมู่บ้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๔ หมู่ที่ ๑๓ ของตำบลหนองอ้อ แล้วก็หมู่ที่ ๔ แล้วก็หมู่ที่ ๕ ของตำบลดอนกระเบื้อง โดยผ่านจากสามแยกกระจับไปถึงบ้านหนองโพ อำเภอโพธาราม ขอให้กรมทางหลวงได้พิจารณาเร่งดำเนินการด้วยครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านษฐา ขาวขำ ครับ
นายษฐา ขาวขำ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผม นายษฐา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขตอำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอบางขัน และตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง ขอปรึกษาหารือท่านประธานเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน เพื่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการแก้ไข จำนวน ๑ เรื่อง คือขอให้ขยายช่องทางจราจร พร้อมติดตั้งไฟส่องสว่างทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๑๕๑ ช่วงที่ ๒ ในพื้นที่อำเภอบางขัน ท่านประธานที่เคารพ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๑๕๑ ช่วงบ่อล้อถึงลำทับเป็นเส้นทาง เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชถึงจังหวัดกระบี่ โดยผ่านตำบลบางขัน ตำบล บ้านลำนาว ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน เป็นระยะทาง ๑๘ กิโลเมตร เป็นเส้นทางหลัก ของอำเภอบางขันที่พี่น้องประชาชนใช้สัญจรไปมา แต่เนื่องจากถนนมีสภาพคับแคบ ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง สร้างความสูญเสียให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้อง ประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งกระผมเคยปรึกษาหารือท่านประธานเมื่อคราวประชุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๖ เพื่อที่จะให้มีการขยายช่องทาง จราจรพร้อมติดตั้งไฟแสงสว่าง จากบ้านปากแพรกถึงบ้านหนองแสง ตำบลบางขัน ซึ่งได้รับ การประสานจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางขันว่ากรมทางหลวงได้ส่งเจ้าหน้าที่ ได้ดำเนินการสำรวจออกแบบแล้ว ท่านประธานที่เคารพครับ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนได้ครอบคลุมทั้ง ๓ ตำบล ในเขตพื้นที่ของอำเภอบางขัน จึงขอให้มีการดำเนินการเพิ่มเติมอีก จำนวน ๒ จุดครับ จุดที่ ๑ จากบ่อน้ำร้อนถึงสี่แยก สวนป่า หมู่ที่ ๑๒ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลวังหิน ระยะทาง ๔ กิโลเมตร จุดที่ ๒ จากโรงพยาบาล บางขันผ่านศูนย์ราชการอำเภอบางขัน ถึงตลาดบ้านลำนาว หมู่ที่ ๑๔ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๑๕ ตำบลบ้านลำนาว ระยะทาง ๑ กิโลเมตร ขอบพระคุณมากครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านกิตติ์ธัญญา วาจาดี ครับ
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพค่ะ ดิฉัน กิตติ์ธัญญา วาจาดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ ๔ อำเภอวารินชำราบ อำเภอสำโรง พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธานคะ ดิฉันนำเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในเขตอำเภอวารินชำราบนำเรียนต่อ ท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้โดยเฉพาะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ขอฝากไปถึงสำนักทรัพยากรน้ำที่ ๑๑ จังหวัดอุบลราชธานี โปรดพิจารณา เพิ่มประสิทธิภาพระบบกักเก็บน้ำ การระบายน้ำและการขุดลอกลำน้ำในพื้นที่อำเภอ วารินชำราบดังนี้ค่ะ ๑. ห้วยผับ บ้านท่าหลวง ตำบลคูเมือง ๒. หนองแซง บ้านคูเมือง ตำบลคูเมือง ๓. หนองบุ่งพระเจ้า บ้านท่าหลวง ตำบลคูเมือง ๔. หนองกู่ บ้านคูเมือง ตำบล คูเมืองค่ะ
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอความเมตตานะคะ โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม ทางหลวง แขวงที่ ๑ จังหวัดอุบลราชธานี ขอระบบอาคารระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูฝน เพื่อเร่งผลักดันน้ำออกจากบริเวณหน้าแยกหนองตาโผ่น เชื่อมระหว่างตำบลวารินชำราบ แล้วก็ตำบลแสนสุข จะทำให้เวลามีน้ำฝนมารวมที่บริเวณนี้ จะทำให้การระบายน้ำรวดเร็ว ยิ่งขึ้น เพราะบริเวณแยกหนองตาโผ่นนี้ คือชุมชนที่สำคัญด้านเศรษฐกิจ เวลาน้ำท่วมทีหนึ่ง ใช้เวลาในการระบายประมาณ ๒ ชั่วโมง ทำให้ประชาชนเดือดร้อน รถติดขัดเป็นอย่างยิ่งค่ะ
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ
และเรื่องสุดท้ายค่ะ ดิฉันขอขอบคุณการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอวารินชำราบ ได้ลงมือลงไปแก้ไขปัญหา แล้วก็ช่วยเหลือ ประชาชนที่มีความต้องการไฟฟ้าใช้อย่างที่ดิฉันเคยได้ปรึกษาหารือในสภา แล้วท่านก็ได้ ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อยแล้วค่ะ กราบขอบพระคุณท่านประธานเป็นอย่างยิ่งค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านกุลวลี นพอมรบดี ครับ
นางสาวกุลวลี นพอมรบดี ราชบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน กุลวลี นพอมรบดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต ๑ พรรครวมไทย สร้างชาติค่ะ ดิฉันมีเรื่องขอหารือท่านประธานเพียงเรื่องเดียวค่ะ สืบเนื่องจากเหตุการณ์ อุบัติเหตุรถชนราวสะพานแล้วตกลงแม่น้ำแม่กลอง เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา บนสะพานธนะรัชต์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตามที่ปรากฏในสื่อหลาย ๆ สำนักนะคะ ก็ได้มีการตั้งคำถามจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ถึงความปลอดภัย ความแข็งแรง ของโครงสร้างสะพาน
นางสาวกุลวลี นพอมรบดี ราชบุรี ต้นฉบับ
โดยหลังจากที่เกิดเหตุ ดิฉันเองก็ได้ ลงพื้นที่ร่วมกับทางท่านหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดและท่านผู้นำในท้องที่ โดยเฉพาะ ต้องกราบขอบพระคุณทางแขวงทางหลวงราชบุรี ท่าน ผอ. ปิยวัฒน์ ไทรงาม ที่ได้ดำเนินการ อย่างเร่งด่วนในการติดตั้ง Barrier พร้อมทั้งนำแผ่น Guardrail หรือราวกันตก และนำ กรวยยางติดตั้งตั้งแต่หน้าอุโมงค์ศาลคุณตาหลักเมืองจนถึงบริเวณคอสะพาน เพื่อเป็น การบังคับทางเดินรถและในการลงพื้นที่ก็ได้ขอให้แขวงทางหลวงได้เพิ่มในเรื่องของงาน อำนวยความปลอดภัย งานปรับปรุงจุดเสี่ยง เช่น ตีเส้นแบ่งช่องทางเดินรถให้ชัดเจน ตีเส้นชะลอความเร็ว ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายสัญญาณสะท้อนแสง ไฟกระพริบ แต่สิ่งที่พี่น้อง ร้องถามกันมามากก็คือการแก้ไขปัญหาในอนาคตค่ะท่านประธาน โดยเมื่อปลายปี ๒๕๖๒ รัฐบาล ณ ขณะนั้นอยู่ภายใต้การนำของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้มีการประชุม ครม. สัญจร ครั้งที่ ๑ ที่จังหวัดกาญจนบุรี และได้มีการลงพื้นที่มาตรวจราชการที่จังหวัด ราชบุรี โดย ณ ขณะนั้นทางจังหวัดเองก็ได้มีการนำเสนอขอให้ทำการสำรวจ ออกแบบ และปรับปรุงสะพานธนะรัชต์ บนถนนทางหลวงหมายเลข ๓๓๐ ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำ แม่กลองสร้างสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีอายุเก่าแก่กว่า ๖๓ ปี ฉะนั้นจึงขอหารือ ท่านประธานผ่านไปยังกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ขอให้เร่งรัดการปรับปรุง การก่อสร้างเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของโครงสร้างสะพานเดิมที่ชำรุดเสียหาย ที่มีอายุ เกินกว่า ๖๓ ปีนี้ โดยเฉพาะการออกแบบ ขอให้เสริมความแข็งแรงของราวสะพาน และเสริม อุปกรณ์ความปลอดภัยอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยเฉพาะช่วงที่เบียดขึ้นสะพาน จะถูกบีบเลนจาก ๔ เลน เหลือแค่ ๒ เลน ซึ่งถือว่าอันตรายมาก โดย ณ ขณะนี้อยู่ในห้วงของการจัดทำ งบประมาณ ปี ๒๕๖๘ พี่น้องชาวราชบุรีก็มีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะถูกจัดอยู่ ในอันดับความสำคัญอันดับต้น ๆ ของกรมทางหลวง ในการทำงบประมาณในปีต่อไป ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านสุดท้ายนะครับ ท่านวรวงศ์ วรปัญญา ครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายวรวงศ์ วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต ๕ อำเภอ ท่าหลวง อำเภอลำสนธิ อำเภอชัยบาดาล วันนี้ขออนุญาตปรึกษาปัญหาของพี่น้องประชาชน
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ บ้านซับสมบูรณ์ ต.ศิลาทิพย์ ปัญหาถนนหนทาง ขอสไลด์นิดหนึ่ง จะได้เห็นความเดือดร้อนของพี่น้องในส่วนของถนนที่มีความเสียหายนะครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
เป็นในส่วนของหมู่ที่ ๕ ตำบลศิลาทิพย์ ท่านประธานครับ ก็มีความเสียหายต่อเนื่องกันมาครับ อยากจะขอในส่วนของงบอุดหนุน มาแก้ไขให้กับทาง อบต. ศิลาทิพย์ อำเภอชัยบาดาลด้วยครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ปัญหาไม้กั้น ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็คือไม้กั้นทำงาน ค่อนข้างไม่ปกติในหลายจุดในอำเภอชัยบาดาล ในภาพที่เห็นเป็นตำบลนาโสม แต่ในพื้นที่อื่น ๆ ก็มีปัญหาเช่นกัน ชาวบ้านก็เกิดความกังวลใจเวลาเห็นไม้กั้นลงมาก็ไม่แน่ใจว่าจะมีรถไฟมา หรือเปล่า ก็ทำให้เกิดความกังวลใจตอนใช้เส้นทางครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ในส่วนของทางหลวงชนบท ถนนทางหลวงชนบทหมายเลข ๔๐๒๘ ซึ่งเป็นตำบลหนองผักแว่น อำเภอท่าหลวง ในส่วนถนนยังอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีครับ แต่ว่า อยากได้ในส่วนของไฟฟ้าส่องสว่าง เนื่องจากกลางคืนก็มีปัญหาในส่วนของอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย เรื่องที่ ๔ ครับ ถนนสายทางหลวงชนบทสาย ๓๒๔๐ อันนี้เป็น ตำบลท่าดินดำ แล้วก็เชื่อมไปตำบลท่าหลวง เป็นทางเชื่อมระหว่าง ๒ อำเภอ ก็มีความชำรุด ทรุดโทรม ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจัดสรรงบประมาณแล้วก็นำมาแก้ไข เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้เดินทางโดยสะดวกด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ วาระหารือมีเพียงเท่านี้นะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๕๒ คน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ตอนนี้ มีสมาชิกมาลงชื่อประชุม ๒๗๘ ท่าน ครบองค์ประชุมครับ ผมขอเปิดการประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระครับ เชิญครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขออนุญาตตั้งกรรมาธิการ แทนสัดส่วนที่ว่างลงในคณะกรรมาธิการสามัญ ๒ คณะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
สักครู่ นะครับ เนื่องจากอาจต้องดำเนินการตามระเบียบวาระ มีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ ถ้าจะเลื่อนวาระนี้ขึ้นมาก่อน ไม่มีนะครับ เชิญท่านศรัณย์ดำเนินการครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ขอบพระคุณท่านประธานและสมาชิก ทุกท่านครับ ผมขอเสนอคณะกรรมาธิการสามัญแทนตำแหน่งที่ว่างลงในคณะกรรมาธิการ การกีฬา ผมขอเสนอ ท่านณณัฎฐ์ หงส์ชูเวช ครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้องนะครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
อีก ๑ คณะกรรมาธิการครับ ผมขอเสนอ คณะกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่างลงในคณะกรรมาธิการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน ๑ ตำแหน่ง ผมขอเสนอ ท่านจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้องนะครับ ดำเนินการตามที่ท่านศรัณย์แจ้งนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผมมีเรื่องแจ้งที่ไม่ปรากฏในระเบียบวาระ ๒ เรื่องด้วยกันครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เนื่องจากเมื่อวาน คุณหมอทศพร เสรีรักษ์ ได้ยกมือเพื่อจะ สนับสนุน โดยการนำบุคคลจากภายนอกมาช่วยสังเกตการณ์เรื่องระบบเสียงที่มีปัญหา ในห้องประชุม วันนี้ก็จะได้รับเชิญท่านมานะครับ คือท่านรุ่งกานต์ ตติยสุข ตำแหน่งอาจารย์ พิเศษของมหาวิทยาลัยมหิดล จะเข้ามาในช่วงบ่ายนะครับ ขอเจ้าหน้าที่ประสานกับคุณหมอ ทศพรด้วยนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
แล้วก็เรื่องแจ้งต่อมานะครับ ขอสไลด์ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ วันนี้จะเป็นวันที่เราเปิดระบบ Traffy Fondue ของรัฐสภานะครับ ตอนนี้เวลาที่ เราเจอว่ามีปัญหาด้านน้ำ ด้านไฟ สัญญาณอินเทอร์เน็ต ชักโครก ห้องน้ำ หรือจุดที่ไม่มี ความสะอาดหรือว่ามีน้ำรั่วแบบนี้เราไม่รู้จะแจ้งใครนะครับ ทาง NECTEC แล้วก็ทางสภาเรา จึงได้พัฒนาระบบ Traffy Fondue เฉพาะภายในสภาของเราโดยเฉพาะเป็นที่แรก ในประเทศนะครับ ทุกท่านก็จะเจอ QR Code แบบนี้ติดอยู่ตามห้องกรรมาธิการ ถ้าเจอว่า ห้องกรรมาธิการไหนไมค์ไม่ดัง Internet ไม่ดีก็ Scan QR Code ที่หน้าห้องประชุมเลยก็จะ เจาะจง ๑ QR Code ต่อ ๑ สถานที่เท่านั้น แล้วถ้าเป็นหน้าห้องน้ำก็จะเป็นหน้าผมนะครับ ถ้าเจอว่าห้องน้ำไหนใช้งานไม่ได้ อะไรอย่างไร ก็ Scan เข้าไปเลย ก็จะเป็นระบบแบบ เดียวกับที่เราใช้กับกรุงเทพมหานครลงหน่วยงานต่าง ๆ นะครับ อันนี้เราใช้ภายในอาคาร รัฐสภา เพื่อที่พื้นที่จำนวน ๑๒๓ ไร่นี้ เราจะได้ช่วยกันตรวจสอบดูแล แล้วก็จะมี Admin หลังบ้านคอยช่วยกันไปแก้ปัญหาให้พวกท่าน ไม่ต้องมาแจ้งผมแล้วนะครับ ถ้าน้ำ ไฟรั่ว หรือ ว่าไฟไม่ติดที่ไหน อย่างไร แต่ทีนี้ยังไม่ได้ติดตั้งครบทั้งตัวอาคารนะครับ ก็จะเป็นการทดลอง ใช้ในชั้นที่มีการใช้งานเยอะก่อน ก็คือชั้น ๔ ห้องกรรมาธิการ แล้วก็บริเวณห้องน้ำ อันนี้รูป อาจารย์วันนอร์
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ช่วง Summer ปิดเทอมของเด็ก ๆ ทางสภาก็มี Summer Camp ปิดเทอมใหญ่ หัวใจผาสุก ก็คือวันที่ ๑๑ มีนาคม ถึงวันที่ ๕ เมษายน ก็จะมีโครงการ เสริมความรู้ภาคฤดูร้อน ปิดเทอมใหญ่ หัวใจผาสุก สำหรับบุตรธิดาของข้าราชการ พนักงาน ราชการ ลูกจ้าง ที่ศึกษาอยู่ในชั้น ป.๑-ป.๖ นะครับ เพราะฉะนั้นถ้าสมาชิกจะมาทำงาน แล้วลูกปิดเทอมก็สามารถเอาลูกหลานของท่านมาที่โครงการนี้ได้ด้วย แต่ว่า Limit ไม่เกิน ป.๖ เพื่อจะจัดกิจกรรมได้เหมาะสมกับเด็ก ๆ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผมขอเข้าสู่ระเบียบวาระกระทู้ถามนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๑.๑ กระทู้ถามสดด้วยวาจา
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๑. นางสาวชนก จันทาทอง เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม (นางสาวชนก จันทาทอง เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตอนนี้รัฐมนตรีให้เกียรติเข้าประจำที่ แล้วนะครับ ขอเชิญท่านชนก จันทาทอง ใช้สิทธิถามครับ
นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาวชนก จันทาทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต ๒ พรรคเพื่อไทยค่ะ วันนี้ดิฉันต้องกราบขอบพระคุณ ท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การคลัง ที่ได้มาตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจาของดิฉัน ที่มีประเด็นเกี่ยวกับการนำที่ดินราช พัสดุของกรมธนารักษ์ ในความครอบครองของรัฐ นำมาให้ประชาชนนั้นได้เช่าเพื่อทำกินแล้ว ก็อยู่อาศัย ซึ่งตัวท่านเองมีหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลกรมธนารักษ์ ท่านประธานคะ ประเทศไทยของเรามีเนื้อที่ทั้งประเทศ ประมาณ ๓๒๑ ล้านไร่ แบ่งเป็นที่ดินของรัฐนั้น ประมาณ ๑๘๓ ล้านไร่ คิดเป็นตัวเลขกลม ๆ ก็ประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ และที่เหลือ ก็เป็นที่ดินของภาคเอกชน ประมาณ ๑๓๘ ล้านไร่ หรือคิดเป็นประมาณ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นที่ดินของรัฐจึงมีสัดส่วนมากกว่าที่ดินของเอกชนประมาณ ๖๐:๔๐ แล้วก็เป็น ที่ทราบกันดีว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยของเรานั้นประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งมี ความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรดินในการเป็นต้นทุนการผลิตเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง แต่จากตัวเลขที่ดิฉันพบมามีการลงทะเบียนคนจน ในปี ๒๕๔๗ พบว่าผู้ลงทะเบียนที่เป็น ผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินนั้นมีมากถึงประมาณ ๑,๐๐๓,๐๐๐ ราย ผ่านไป ๑๐ กว่าปีค่ะ ดิฉันก็ไปเห็นตัวเลขอีกตัวเลขหนึ่งของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. ประมาณปี ๒๕๖๑ มีผู้ขึ้นทะเบียนที่เป็นผู้ยากไร้ ไม่มีที่ดินทำกินมากถึง ๘๒๓,๐๐๐ ราย ผ่านไป ๑๐ กว่าปี รัฐบาลในช่วงนั้นไม่สามารถที่จะแก้ไขให้กับคนจนที่ไม่มีที่ดินทำกินได้ สามารถแก้ไขได้เพียงแค่ ๒๐๐,๐๐๐ รายเท่านั้นค่ะ ส่วนตัวดิฉันเองเป็นตัวแทนของพี่น้อง ประชาชนจังหวัดหนองคาย เขต ๒ จากพรรคเพื่อไทย ได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้อง ประชาชน ได้รับเรื่องร้องทุกข์อย่างสม่ำเสมอถึงปัญหาที่ดินทำกิน ไม่ว่าจะเป็นผู้ยากไร้ ไม่มีที่ดินทำกินบ้าง ครอบครองที่ดินที่เราทำกินอยู่ไม่มีเอกสิทธิ์บ้าง หรือครอบครองที่ดิน ทำกินแล้วยังเป็นของกรมธนารักษ์บ้าง แล้วก็สืบเนื่องจากรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้นมีนโยบายอย่างเร่งด่วนที่จะ บริหารจัดการที่ดินของราชพัสดุในครอบครองของรัฐ หน่วยงานรัฐที่มีที่ดินจำนวนมากและ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะนำที่ดินส่วนนี้กลับมาให้พี่น้องประชาชนนั้นได้เช่าเพื่อทำกินแล้วก็อยู่ อาศัย ซึ่งหากรัฐบาล นายกรัฐมนตรีเศรษฐา มีความตั้งใจจริง เอาจริงเอาจัง ดิฉันก็เห็นว่า มันเป็นความหวังของพี่น้องประชาชนผู้ยากจนที่จะสามารถมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรที่ดิน สามารถสร้างงานสร้างรายได้ เลี้ยงดูตนเองกับครอบครัวได้ ถึงที่สุดแล้วรัฐบาลนี้จะสามารถ แก้ไขปัญหาความยากจนของพี่น้องประชาชนได้ค่ะ รัฐบาลได้นำร่องด้วยโครงการ หนองวัวซอโมเดลค่ะ ซึ่งครอบครองที่ดินราชพัสดุโดยกระทรวงกลาโหมจำนวนเกือบ ในระยะแรกกระทรวงกลาโหมนั้นได้ส่งมอบที่ดินเกือบ ๑๐,๐๐๐ ไร่ ให้กับรัฐบาลค่ะ ดิฉันจึง มีคำถามผ่านท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังที่กำกับดูแลหน่วยงานกรมธนารักษ์ ผ่านท่านประธานสภา ทั้งหมด ๓ คำถามด้วยกันค่ะ
นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ
คำถามแรกค่ะ ดิฉันอยากจะถาม ก็คือกระทรวงกลาโหมโดยทหารนั้นให้ที่ดิน จริงหรือไม่ ส่งมอบถึงมือประชาชนอย่างไร คิดค่าเช่าเท่าไร และหากได้เช่าแล้วประชาชน จะใช้ประโยชน์อย่างไรจากที่ดินของกรมธนารักษ์บ้าง อันนี้เป็นคำถามแรกค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านรัฐมนตรีรอสักครู่นะครับ พอดีเวลาไม่ขึ้นบนหน้าจอ เดี๋ยวให้เจ้าหน้าที่ แก้ไขก่อนนะครับ เดี๋ยวเราควบคุมเวลาไม่ได้ เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง วันนี้ต้องกราบขอบพระคุณท่าน สส. ชนก จันทาทอง ที่ได้ให้ความสำคัญกับนโยบาย ของรัฐบาล ท่านได้สอบถามถึงกระบวนการทำงานของนโยบายหนองวัวซอโมเดล ซึ่งเป็น กลไกของรัฐในการมอบสิทธิในการเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินทำกินจากพื้นที่ของกรมธนารักษ์ ซึ่งได้รับการส่งมอบต่อมาจากกองทัพกลาโหม ผมต้องเรียนตอบคำถามสั้น ๆ ก่อนนะครับ คำถามที่ถามก็คือเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เกิดขึ้นแล้วนะครับ เป็นนิมิตหมายอันดี ที่ทางรัฐบาลสามารถประสบความสำเร็จในการเดินหน้าเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำ เรื่องของการมอบสิทธิให้กับพี่น้องประชาชนให้ได้มีพื้นที่ทำมาหากินและอยู่อาศัย อันนี้ เป็นไปตามนโยบายรัฐ ซึ่งเราได้แถลงต่อรัฐสภา เราอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้ร่วมกัน เราได้เป็น พยานกับสิ่งที่รัฐบาลได้ให้คำมั่นกับรัฐสภาแห่งนี้ และเราเดินหน้าในการดำเนินการเรียบร้อย ผมต้องเรียนเล่าเท้าความให้กับท่าน สส. ชนก ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ถ้าท่านย้อนภาพ กลับไปจะมีอยู่วันหนึ่งที่มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ว่าท่านนายกรัฐมนตรีได้นัดทานข้าว กับท่านผู้บัญชาการเหล่าทัพ ไม่ว่าจะเป็น ผบ. สูงสุด ท่านผู้บัญชาการทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ รวมถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ท่านสุทิน คลังแสง นะครับ วันนั้นหลังจากทานข้าวท่านนายกรัฐมนตรีกลับมาที่ทำเนียบรัฐบาล ผมเองได้มีโอกาสไปพบ ท่านเองก็ได้มอบหมายภารกิจ เพราะว่าเนื่องด้วยผมเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการคลังที่กำกับดูแลกรมธนารักษ์ ซึ่งดูแลที่ดินของรัฐ ที่ดินราชพัสดุทั้งหมด ท่านนายกรัฐมนตรีได้ส่งมอบข่าวดี นั่นก็คือท่านได้แจ้งว่าหลังจากที่ได้มีการทานข้าว ร่วมกันแล้ว เป็นนิมิตหมายอันดีที่ทางกองทัพตอบรับกับนโยบายของรัฐในเรื่องของการ เดินหน้าเรื่องการให้สิทธิที่ดินทำกินกับประชาชน นโยบายในส่วนของหนองวัวซอโมเดล เป็นเพียงแค่ปีกเล็ก ๆ ปีกหนึ่งนะครับ ต้องเรียนต่อท่านชนก จันทาทอง ว่าเป็นเพียงแค่ปีก เล็ก ๆ ปีกหนึ่งของนโยบายรัฐ เพราะเราเตรียมที่จะเดินหน้าในเรื่องของการมอบสิทธิที่ดิน ทำกินให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่ดินทำกินก็ตาม รวม ๑๐ ล้านไร่ ถ้าเรา ยังจำกันได้ตอนที่เรามีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา นั่นประกอบไปด้วยไม่ว่าจะเป็นที่ดิน ลักษณะของโฉนด ที่ดินการปรับเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นเอกสารสิทธิ ที่ดินในการที่จะใช้พื้นที่ ของรัฐที่ไม่ใช้ประโยชน์ คือกรมธนารักษ์เองตัดให้กับพี่น้องประชาชน รวมถึงที่ดิน ของหน่วยงานราชการอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว ตัดคืนมาให้กับกรมธนารักษ์เพื่อที่จะ ดำเนินการมอบให้กับประชาชน ทางกระทรวงกลาโหมได้ตอบรับนโยบายนี้และเป็นคน นำเสนอเองว่ากระทรวงกลาโหมมีพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้วบางส่วน พร้อมที่จะคืนให้กับ กรมธนารักษ์เพื่อดำเนินการ ในการนี้ไม่ได้คืนเปล่า ๆ ไม่ใช่เพียงแค่ตัดคืนพื้นที่เข้ามาเป็น พื้นที่ที่มีความขัดแย้งกับประชาชน เป็นพื้นที่ที่มีการบุกรุกอะไรใด ๆ แล้วก็คืนให้กับ กรมธนารักษ์เพื่อเอาไปมอบให้ประชาชน ไม่จบแค่นั้น ทางกระทรวงกลาโหมมีความพร้อม ผมต้องกราบขอบพระคุณทางกองทัพผ่านท่านประธานไปยังกองทัพด้วย เพราะว่า ทางกระทรวงกลาโหมได้เรียนต่อท่านนายกรัฐมนตรีว่าทางกองทัพมีความพร้อมทั้งเรื่องของ เครื่องจักร บุคลากร หนองวัวซอโมเดลจึงเป็น Model ที่น่าสนใจมาก หลังจากมีการคืน พื้นที่มาเกือบ ๑๐,๐๐๐ ไร่ ให้กับทางกรมธนารักษ์ ได้มีการเชิญพี่น้องประชาชนเข้ามา ลงทะเบียนมาพูดคุยในหลายประเด็น ๑. คือมีพื้นที่ที่มีการทับซ้อนแล้วก็มีประชาชน อยู่ในพื้นที่อาศัยที่ได้อาศัยทำมาหากินอยู่ในพื้นที่นั้นจำนวนหนึ่ง ปัญหาเหล่านี้ไม่เคยแก้ไข ปัญหาได้ในอดีตที่ผ่านมา เพราะถือว่าเป็นการบุกรุกโดยประชาชนกับพื้นที่ของรัฐ ไม่ว่าจะพยายามช่วยอย่างไร พวกเราที่เป็นนักการเมืองอยู่ในสภาแห่งนี้เราเคยเดินหน้าแก้ไข ปัญหาให้กับประชาชนในลักษณะที่มีการทับซ้อนกับพื้นที่รัฐ ไม่เคยชนะครับ ชนะไม่ได้ เพราะเป็นที่ดินหลวงนะครับ นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต แต่วันนี้เราหาทางอะลุ่มอล่วยแก้ไข ปัญหาโดยการเชิญพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม ทุกคน เข้ามาพูดคุยหาหนทางแก้ไขปัญหา ร่วมกันอย่างน้อยท่านได้สิทธิในการเข้าไปใช้ประโยชน์ หนองวัวซอโมเดลจึงเกิดขึ้น และสิทธินี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สิทธิการเข้าไปใช้ประโยชน์เท่านั้นนะครับ ในวันที่ได้เชิญพี่น้อง ประชาชนเข้ามารวมตัวกันในการเตรียมโครงการนั้น ผมเองก็ได้เดินทางไปที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อไปดูที่พื้นที่ มีการเชิญประชาชนเข้ามาแล้วก็มอบใบเล็ก ๆ ให้กับพี่น้องประชาชน คนละใบ ในใบจะมีเขียนว่า ความประสงค์ของท่านในการใช้พื้นที่คืออะไร ท่านจะใช้ เป็นที่อยู่อาศัย ท่านจะใช้เป็นพื้นที่ในการทำมาหากิน ทำการเกษตรประเภทใด หากทำ การเกษตรท่านต้องการอะไรเพิ่มเติมในพื้นที่ของท่าน เช่นถนนเข้าแปลง เช่นการขึ้นแปลงไว้ สำหรับเตรียมการปลูก เช่นเรื่องของการทำระบบน้ำบาดาล เช่นเรื่องของการขุดบ่อนะครับ กลไกเหล่านี้ทางกองทัพได้เตรียมความพร้อมและในขณะนี้ก็เริ่มดำเนินการ โดยหน่วยงาน ของกองทัพเอง ไม่ว่าจะเป็นทหารพัฒนาหรือจะเป็นทหารช่างก็ตาม ในการที่จะลงไปในพื้นที่ แล้วก็เตรียมพื้นที่ให้กับพี่น้องประชาชนตามที่เขาต้องการ หมายความว่านอกจากได้พื้นที่ ไปทำงานมาหากินแล้วยังได้ของแถมก็คือโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบ อาชีพของพี่น้องประชาชนนั้น ๆ นี้เองจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้หนองวัวซอโมเดล เป็นโครงการที่ ประสบความสำเร็จอย่างเร็ว มีพี่น้องประชาชนเข้าร่วมกับโครงการเกือบเต็มพื้นที่ นั่นก็คือ ๙๐๐ กว่าราย พื้นที่ ๑,๐๐๐ กว่าแปลง ผมไม่ลงรายละเอียดในเรื่องของตัวเลขให้ท่านนะครับ แต่ว่าต้องเรียนต่อท่านชนกว่าหลังจากลงทะเบียนแล้วปัญหาที่เกิดตามมาก็มีครับ เพราะอะไรครับ เพราะในข้อเท็จจริงนั้น ด้วยกฎหมายด้วยระเบียบของกรมธนารักษ์เองนั้น มีระเบียบในการที่จะต้องจัดเก็บในเรื่องค่าใช้จ่ายในบางประเภท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่พอตัวเลย ทีเดียว ต้องเรียนต่อท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติ เป็นต้นว่าค่าธรรมเนียม ในเรื่องของการแรกเข้าเพื่อเข้าทำสัญญา อัตราค่าเช่าที่ราชพัสดุเพื่ออยู่อาศัยแล้วก็ เพื่อการเกษตรต่าง ๆ หลักประกันสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุ เรื่องของค่าธรรมเนียมในการ รังวัดที่ดินราชพัสดุ เหล่านี้ผมต้องเรียนต่อท่านชนกว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับทางพี่น้อง ประชาชนในการที่จะเข้ามาทำสัญญากับกรมธนารักษ์ แต่สิ่งที่ผมเองได้สั่งการลงไป นั่นก็คือ การที่กรมธนารักษ์จะดำเนินการในครั้งนี้ วัตถุประสงค์ก็คือเพื่อให้ประชาชนในกลุ่มที่ยากไร้ ได้สามารถมีโอกาสเข้าถึงแหล่งที่มาทำมาหากินนะครับ สิ่งที่ได้มอบหมายลงไปกับ กรมธนารักษ์ ต้องกราบขอบคุณท่านอธิบดีกรมธนารักษ์ได้สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ อย่างเรียบร้อย นั่นก็คือเรางดเว้นค่าธรรมเนียมเกือบทุกประเภท วันนี้เหลือแต่เพียงหลัก ๆ ก็คืออย่างเช่นเรื่องของค่าเช่าเพื่ออยู่อาศัยเป็นต้นนะครับ ถ้าไม่เกิน ๑๐๐ ตารางวา อัตรา ค่าเช่าเพื่ออยู่อาศัย คิด ๒๕ สตางค์ต่อตารางวาต่อเดือน หากเช่าที่เกินกว่า ๑๐๐ ตารางวา สำหรับเป็นพื้นที่อยู่อาศัย เราคิดอัตราค่าเช่า ๕๐ สตางค์ต่อตารางวาต่อเดือน คือถูกมาก ถูกมากจนไม่รู้จะถูกอย่างไรแล้วนะครับ หากจำเป็นเพื่อการเกษตร คือประกอบอาชีพ หากเนื้อที่เช่าทั้งหมดไม่เกิน ๕๐ ไร่ คิดอัตราค่าเช่า ๒๐ บาทต่อไร่ต่อปี เนื้อที่เช่าทั้งหมด หากเกินกว่า ๕๐ ไร่ เราคิดอัตราค่าเช่า ๓๐ บาทต่อไร่ต่อปี ยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า ทั้งหมด ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการรังวัดทั้งหมด เรียกเก็บหลักประกันสัญญาเช่าเท่ากับ อัตราค่าเช่าเพียงแค่ ๑ ปีเท่านั้น ผมต้องเรียนต่อท่านสมาชิกว่านี่เป็นมิติใหม่ของ กรมธนารักษ์เช่นเดียวกันนะครับเป็นการปรับเกณฑ์โดยอำนาจของท่านอธิบดีที่จะลดภาระ กับพี่น้องประชาชนที่จะเข้าสู่โครงการเรื่องการรับมอบสิทธิที่ดินในการประกอบอาชีพ แล้วผมต้องเรียนว่าหลังจากปรับลดเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ พี่น้องประชาชนที่เข้าสู่กระบวนการ ในการที่จะเข้าสู่ที่ราชพัสดุในพื้นที่ของหนองวัวซอโมเดลนี้เพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัวนะครับ ขณะนี้ก็ยังเปิดรับอยู่นะครับ ในกรณีที่จะเข้ามาสู่กระบวนการเพิ่มเติมทางกรมธนารักษ์เรา เองก็เปิดรับพร้อมที่พี่น้องประชาชนจะเดินเข้ามาหาและดำเนินการในลักษณะเดียวกันให้ ครบถ้วน แล้วเราจะทำให้สำเร็จโดยเร็ว กระบวนการที่ทำมาทั้งหมดนี้สุดท้ายประโยชน์ ตกอยู่กับประชาชน แล้วเราจะเดินหน้าในเรื่องของการเพิ่มพื้นที่ที่จะส่งมอบให้กับ พี่น้องประชาชนในอำเภอ ในจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศต่อไป นี่เป็นการตอบคำถามแรก ของท่านชนก กราบขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ ขอเชิญท่านชนกใช้สิทธิในรอบที่ ๒ ครับ
นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ
ก็เรียนท่านประธานผ่านไปยัง ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนะคะ ดิฉันฟังไปตื่นเต้นแล้วก็ขนลุกไปค่ะ ดีใจแทนพี่น้องประชาชนนะคะ ผู้ที่มีที่ดินทำกินในวันนี้มีโอกาส มีความหวังแล้วค่ะ ที่จะเข้าถึงทรัพยากรที่ดิน ฟังแล้วตื่นเต้นค่ะ ก็คืออัตราค่าเช่าของกรมธนารักษ์ที่คิดต่อไร่ ต่อปีให้กับพี่น้องเกษตรกรรม เพียงแค่ ๒๐ บาทต่อไร่ต่อปี หากเช่าประมาณ ๕๐ ไร่ ก็เพียงไม่กี่พันบาทเท่านั้น ก็ต้องขอขอบพระคุณรัฐบาลนะคะ ซึ่งเป็นคำถามต่อเนื่องจาก คำถามแรกค่ะ
นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ
คำถามที่ ๒ ที่จะถามท่านรัฐมนตรีผ่านท่านประธานสภาไปก็คือว่าหาก หนองวัวซอโมเดลทำสำเร็จ รัฐบาลมีแผนดำเนินการในระยะที่ ๒ ที่ใดบ้างและคาดว่าจะมี เป้าหมายไหมว่าประมาณกี่ไร่ เพื่อที่พี่น้องประชาชนที่ฟังอยู่ตอนนี้อยู่ในจังหวัดนั้น ๆ จะได้ วิ่งหาโอกาสนี้กับกรมธนารักษ์ค่ะ ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผมจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต่อคำถาม ข้อที่ ๒ ท่านชนก จันทาทอง ผมต้องเรียนอย่างนี้ ว่าเรายังเดินหน้าครับ แล้วเรา ทำงานคู่ขนานมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ระหว่างที่เราจัดเตรียมเรื่องของหนองวัวซอโมเดล เมื่อสักครู่ผมได้เรียนท่านไป แล้วท่านก็ได้ทบทวนตัวเลข ถูกต้องครับ เป็นตัวเลขที่ฟังดูแล้ว ค่อนข้างพิเศษจริง ๆ เป็นราคาซึ่งถูกมากสำหรับพี่น้องประชาชน และเป็นโอกาสสำหรับเขา และผมยืนยันกับท่านชนกผ่านทางสภาแห่งนี้ว่าในโครงการที่จะเดินหน้าต่อไปทั้งหมดที่ท่าน ถามมานี้ เราจะใช้ Rate เรื่องของการจัดเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดกับพี่น้องประชาชน ในเกณฑ์เดียวกันทั่วประเทศให้ได้ เพื่อให้ทั่วประเทศได้รับสิทธิเดียวกัน ในส่วนของโครงการ ที่เราทำคู่ขนานในขณะนี้ผมต้องเรียนต่อท่านชนกว่าบ่ายนี้ผมก็จะไปร่วมกับ ท่านสุทิน คลังแสง ที่จังหวัดกาญจนบุรี ในการทำโครงการมอบโฉนดที่ดินทำกินจากกองทัพ ให้เช่นเดียวกัน ผมต้องเรียนต่อท่านชนกว่าในส่วนของหนองวัวซอโมเดลนี้เป็นพื้นที่ของ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ของกองทัพอากาศที่ได้มอบคืนให้กับกรมธนารักษ์และจะมอบ ให้กับประชาชน เฟสต่อไปเราจะไปกันที่จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่ของกองทัพเรือ ที่ได้มอบคืนมาให้เช่นเดียวกัน แล้วก็อาจจะไปที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ของกองทัพบก อีกครั้งหนึ่ง อันนี้เป็นพื้นที่ที่กองทัพได้เตรียมเอาไว้ จริง ๆ ผมวางเป้ากันว่าขอปีละ ราว ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ ตอนนี้เราเดินหน้า ถ้ารวมทั้งหมด ตั้งแต่หนองวัวซอโมเดลมาจนถึง ๔ จุด ที่ได้เรียนเมื่อสักครู่นี้ น่าจะราว ๓๐,๐๐๐ ไร่ ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่เราจะเดินหน้าในการส่งคืน พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของหน่วยงานรัฐเพื่อที่จะส่งมอบให้กับประชาชน แต่ในส่วนของ กรมธนารักษ์เองนั้นผมต้องเรียนต่อท่านชนกว่าพื้นที่ที่กรมธนารักษ์ ที่เรียกว่าพื้นที่ราชพัสดุ ที่กรมธนารักษ์ถือทั่วประเทศมีราว ๑๒.๕ ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดนี้ แน่นอนครับ ว่าบางส่วน ก็ใช้ประโยชน์ บางส่วนกันเป็นพื้นที่ป่า เป็นพื้นที่อุทยานต่าง ๆ ก็นับรวมนะครับ แต่อย่างไร ก็ตามมีพื้นที่ที่สามารถที่จะจัดแบ่งให้กับพี่น้องประชาชนในการใช้ประโยชน์ได้ ผมเรียนว่า มีทุกจังหวัดทั่วประเทศ แล้วเราจะพยายามเดินหน้าในการผลักดันโครงการที่จะส่งมอบพื้นที่ ให้กับประชาชนให้เกิดขึ้นทั่วประเทศต่อไป ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดใดก็ตาม ก็เป็นการยืนยัน ผ่านท่านประธานไปยังท่านสมาชิกครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านชนกใช้สิทธิถามต่อไหมครับ แล้วก็เวลาของท่านเหลือค่อนข้างมาก ให้ท่าน จุลพันธ์เพิ่มได้นะครับ
นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ
ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน คำถาม สุดท้ายเป็นคำถามที่ ๓ ค่ะ นโยบายนี้ดีมากนะคะ จาก ๒ คำตอบที่ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการคลังได้ตอบมานะคะ หากนโยบายนี้ดี รัฐบาลจะต่อยอดนโยบายการเอาที่ดิน ในความครอบครองของรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ที่มีจำนวนมาก จะไปต่อยอดกับหน่วยงานรัฐ ราชการไหนบ้าง และเอามาใช้ประโยชน์อย่างไร ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต่อคำถาม ข้อ ๓ ของท่านชนกนะครับ อย่างที่เรียนเมื่อสักครู่ โครงการนี้ถ้าวาดภาพใหญ่ กลไกในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของรัฐ ในรัฐบาลชุดปัจจุบันที่เราจะเดินหน้า ใน ๔ ปีข้างหน้านี้ อันนี้เป็นเพียงแค่ปีกเล็ก ๆ ปีหนึ่งที่เราทำกัน เราต้องวาดภาพให้เห็นว่า สิ่งที่เราจะเดินหน้าก็คือ ๑๐ ล้านไร่ ในการที่จะส่งมอบให้ถึงมือพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบของโฉนด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของ ส.ป.ก. ที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างมาเป็นสิทธิ ของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพื้นที่จากกรมธนารักษ์ที่ส่งมอบให้ แต่เป็นลักษณะ ของการเช่าใช้สิทธิของพื้นที่รัฐในราคาถูก ต่าง ๆ เหล่านี้จะสร้างโอกาสให้กับพี่น้อง ประชาชนในการอยู่อาศัย และที่สำคัญคือการทำมาหากิน เป็นการสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้กับ พี่น้องประชาชน ยุติข้อขัดแย้งที่เคยมีมา โดยเฉพาะพื้นที่ของรัฐที่ท่านชนกได้เรียนถาม ผมต้องเรียนว่าตลอดช่วงชีวิตของพวกเรามาเราก็ได้ยินข่าวในเรื่องของการบุกรุกพื้นที่รัฐ ในเรื่องของการที่พี่น้องประชาชนต้องมีข้อพิพาทฟ้องร้อง รัฐก็ฟ้องร้อง ประชาชนขับไล่ออก นอกพื้นที่ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้คาราคาซังกันมาเราสัมผัสมาโดยตลอด วันนี้สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำ คือการเข้าไปแก้ไขปัญหา โดยหากลไกที่เป็นไปตามกรอบของกฎหมายเพื่อที่จะเดินหน้าให้ พี่น้องประชาชนสามารถมีสิทธิในการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เขาถือครองอยู่ได้ เราเอง ในฐานะที่เป็นรัฐ สิ่งที่พยายามหลีกเลี่ยงมากที่สุดคือการพิพาทกับประชาชน เราพยายามลด ในเรื่องของข้อพิพาท สิ่งที่ขัดแย้ง สิ่งที่ปะทะกัน สิ่งที่ยังมีการทับซ้อนในเรื่องของพื้นที่ เราพยายามที่จะถอย ภาครัฐแน่นอนเราต้องถอย ๑ ก้าว เพื่อที่จะเปิดเวทีให้เกิดการเจรจา ให้เกิดการคุย และแน่นอนว่าด้วยกลไกของภาครัฐเอง เรามีกฎหมาย เรามีระเบียบ แต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็สามารถที่จะปรับแก้ สามารถที่จะปรับปรุงเพื่อให้มันมีความสอดคล้อง กับสถานการณ์จริงและประโยชน์สูงสุดของประชาชน นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่พวกเราทำให้กับ ทางพี่น้องประชาชน แน่นอนว่าอย่างที่ได้เรียนกับท่านชนกไปพื้นที่ธนารักษ์อีก ๑๒.๕ ล้านไร่ ผมไม่ได้หมายความว่าเราจะเปิดกล่องแจกหมดนะครับ เป็นไปไม่ได้เพราะว่าพื้นที่ของหลวง มันก็มีภารกิจที่จะต้องใช้ มีพื้นที่ที่จะต้องกันไว้สำหรับประโยชน์อื่นใดอีกมากมาย แต่แน่นอน ว่ามีพื้นที่จำนวนหนึ่งที่สามารถที่จะจัดสรรให้กับประชาชนในการใช้ประโยชน์เพื่อประกอบ อาชีพ โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีพี่น้องประชาชนได้รุกล้ำเข้าไปแล้ว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ วันนี้ กรมธนารักษ์มาในรูปแบบใหม่ เราพร้อมที่จะคุยกับประชาชนทุกคน เราพร้อมที่จะ เปิดโอกาสให้มีการมาตั้งโต๊ะเจรจามาพูดคุยและหารูปแบบที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยที่พี่น้องประชาชนสามารถเช่าใช้พื้นที่ของหลวงโดยที่เป็นไปตามกฎหมายทุกประการ แต่ในขณะเดียวกันกรมธนารักษ์เองก็จะสามารถพัฒนาพื้นที่รอบข้าง สามารถที่จะเดินหน้า ในเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ราชพัสดุให้เป็นไปตามกรอบวัตถุประสงค์ของหน่วยงานได้ เพราะฉะนั้นต้องเรียนต่อท่านชนกว่าพื้นที่ที่เราจะเดินหน้าต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ หน่วยงานใดก็ตาม หากไม่ได้ใช้ประโยชน์ วันนี้เราก็กำลังดำเนินการไป Screen พื้นที่ที่มีอยู่ ของหน่วยงานรัฐที่ไม่ได้ใช้ เพื่อที่จะสอบถามว่าหากคืนมาและส่งมอบให้กับประชาชน เป็นประโยชน์จะติดขัดหรือไม่ ทางกองทัพได้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหน่วยงานราชการอื่น ๆ แล้วนะครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
๒. คือพื้นที่ในส่วนของกรมธนารักษ์ที่ถือพื้นที่ราชพัสดุด้วยตนเอง เราก็กำลัง ดูในพื้นที่ ซึ่งเราจะสามารถกันออกเพื่อที่จะให้สิทธิในการเช่าใช้กับพี่น้องประชาชนได้อย่าง ถูกต้องต่อไป ก็ต้องขอกราบขอบพระคุณท่าน สส. ชนก จันทาทอง ที่ได้ห่วงใยในประเด็น ของการเข้าถึงที่อยู่อาศัย การเข้าถึงที่ดินทำกินของประชาชน กราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ มีเวลาเหลือเล็กน้อย ท่านชนกใช้สิทธิอะไรฝากท่านรัฐมนตรีไหมครับ
นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ
ก็กราบขอบพระคุณท่านประธานค่ะ ดิฉันขอใช้พื้นที่แล้วก็เวลาที่เหลือของดิฉันบอกกล่าว ผ่านท่านประธานสภาไปยัง พี่น้องประชาชนจังหวัดหนองคายที่ได้ฟังอยู่ขณะนี้ และพี่น้องประชาชนทั่วประเทศค่ะ พี่น้องประชาชนจังหวัดหนองคายนั้นมีความเดือดร้อน เพราะตอนนี้ส่วนใหญ่จะมีที่ดินที่เป็น ที่ดิน ส.ป.ก. บ้าง ครอบครองที่ดินที่ต้องเช่านิคมสร้างตนเองบ้าง ใช้พื้นที่จับจองบ้าง ไม่มี ที่ดินที่เป็นของตัวเอง อันนี้เป็นอีก ๑ นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่พี่น้องประชาชนนั้น สามารถที่จะเป็นตัวเลือกในการแก้ไขปัญหาที่จะเข้าถึงทรัพยากรที่ดินที่เป็นต้นทุนการผลิต อย่างยิ่งใหญ่ หากได้ที่ดินจำนวนเยอะก็สามารถผลิตได้เยอะ สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้ ก็ต้องส่งกำลังใจผ่านท่านประธานไปยังรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แล้วก็ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ขอให้นโยบาย หนองวัวซอโมเดลนั้นสำเร็จในเร็ววัน แล้วก็ขอให้ต่อยอดนโยบายนี้ให้สำเร็จเพื่อเป็น ความหวังให้กับพี่น้องประชาชน ขอบพระคุณมากค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เป็นอันสิ้นสุดสำหรับกระทู้ถามที่ ๑ ขอบคุณท่านรัฐมนตรีนะครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะนักเรียนครูโรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจนท์ พระราม ๙ เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ยินดีต้อนรับนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ตอนต้น ๆ ผมไม่ได้แจ้งไปเรื่องหนึ่งนะครับ ก็คือสำหรับการพิจารณา กระทู้ถามแยกเฉพาะ จะดำเนินการถามและตอบในห้องกระทู้ถามแยกเฉพาะ ชั้น ๑ ควบคู่ กันไปกับการพิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจา และกระทู้ถามทั่วไป ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๗๒
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒. นายกัณวีร์ สืบแสง เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม (นายกัณวีร์ สืบแสง เป็นผู้ตั้ง กระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศได้มีหนังสือแจ้งว่ากระทู้ถาม เรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ท่านปานปรีย์ ได้มอบหมายให้ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ ท่านจักรพงษ์ แสงมณี เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน แต่เนื่องจากในวันนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ ท่านจักรพงษ์ แสงมณี ติดภารกิจไม่สามารถมาตอบกระทู้ถามได้ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามออกไป ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๕๑ ถ้าท่านกัณวีร์ สืบแสง ยังคงประสงค์ที่จะตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจาอยู่ ให้เสนอใหม่เพื่อพิจารณาในคราวต่อไปตามข้อบังคับ ข้อ ๑๕๙ ครับ
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม กัณวีร์ สืบแสง ขออนุญาตหารือครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญท่านกัณวีร์ครับ
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ผมขออนุญาต หารือท่านประธานเกี่ยวกับข้อกังวล ความกังวลของผมกับการที่ทางท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ ท่านปานปรีย์ แล้วที่ได้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการมาตอบ กระทู้สดวันนี้ ที่ไม่มา ข้อกังวลของผมก็คือตอนนี้จริง ๆ แล้ววันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่กระทรวง การต่างประเทศจะสามารถแสดงจุดยืนทางการทูตของไทยได้ต่อพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ และในประชาคมโลกว่าประเทศไทยจะมีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวข้องกับทางด้านสถานการณ์ ในประเทศเมียนมา แต่วันนี้ท่านไม่มา เมื่อวานนี้ผมได้รับทราบว่าท่านจะมาตอบ กระทู้ถามสด แต่วันนี้ท่านไม่มา พี่น้องที่รออยู่ในประเทศไทย พี่น้องคนไทยตั้งแต่จังหวัด เชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดระนอง ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา หากท่านรัฐมนตรีไม่มาตอบจุดยืนทางการทูตของไทยว่าเรา จะเอาอย่างไร เราจะดูแลพี่น้องประเทศไทยอย่างไร ผลกระทบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผลกระทบทางด้านเกี่ยวกับแรงงานที่ตอนนี้ฝั่งเมียนมา รัฐบาลเมียนมาทางทหารของเขาได้ ชะลอการส่งรายงาน MOU เข้ามาในประเทศไทย ท่านไม่สามารถตอบได้ มีผลกระทบต่อ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เราจำเป็นจะต้องได้รับทุก ๆ เดือน ๒๐,๐๐๐ คนต่อเดือน แต่ตอนนี้ชะลอการส่ง MOU แรงงานเข้ามา ท่านไม่สามารถมาตอบได้ มีคนผู้พลัดถิ่น ภายในประเทศที่กำลังรอลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนกว่าล้านคน ท่านไม่มา คนที่ ลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยแล้วตอนนี้อีกกี่แสนคนที่มาอยู่ในประเทศไทย ท่านไม่มาที่จะตอบ ว่าเราจะเอาอย่างไรกับพวกเขา เมื่อประมาณเดือนที่ผ่านมาท่านบอกว่าท่านจะเปิดพื้นที่ มนุษยธรรม ที่จะทำความสนับสนุนเรื่องมนุษยธรรมไปให้คนที่ได้รับผลกระทบในประเทศ เมียนมา แต่ความหมายคำนิยามของคำว่ามนุษยธรรมนี้ ท่านยังตอบไม่ได้ ผมในฐานะคนที่ ทำงานมนุษยธรรมใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สภาวะสงครามเป็นเวลา ๑๒ ปีกับเพื่อนพี่น้องของผมที่ ทำงานทางด้านมนุษยธรรมที่อยู่ในสภาวะสงครามอีกรอบโลกเป็นหมื่น ๆ คนมีข้อกังขากับ คำว่า พื้นที่มนุษยธรรม ที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้บอกไว้ว่า เราจะเปิด ท่านไม่สามารถที่จะมาตอบกระทู้ของผมได้ ท่านไม่สามารถที่จะรู้ด้วยว่าหลักการ มนุษยธรรม คืออะไร แล้วท่านจะพูดอย่างนี้ว่าท่านจะ Deal อย่างเดียว กับรัฐบาลต่อรัฐบาล G to G มันเป็นไปไม่ได้ครับ การทำงานมนุษยธรรมเราไม่สามารถปฏิบัติได้ นี่คือคำถามที่ผมจะถามท่าน และอีกคำถามหนึ่ง ในอนาคตยาว ๆ นี้จุดยืนทางการทูตของไทยจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ในประเทศเมียนมา เราจะนิ่งเฉยทำงานเชิงรับอย่างเดียว ไม่ทำงานเชิงรุก เป็นไปได้หรือ อยากรู้จุดยืนของประเทศไทยจริง ๆ ในอนาคตจะเป็นอย่างไร นี่ผมเสนอคำถามให้ก่อน เรียบร้อย ให้ท่านเตรียมความพร้อมให้ได้ว่าต่อไปผมก็จะตั้งกระทู้สดถามต่อไปนี่ละ ให้ท่านไป เตรียมความพร้อมไม่ได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีคำตอบให้กับพี่น้องประชาชนชาวไทยที่เป็น ล้านกว่าคนบริเวณชายแดน ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายที่ผมไล่มาจนถึงจังหวัดระนอง พี่น้องได้รับ ผลกระทบ มีลูกหลงเข้ามา บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ จุดยืนทางการทูตของไทย จุดยืนทางด้านความมั่นคง นโยบายของประเทศไทย รัฐบาลไทยอยู่ที่ไหน จะทำอย่างไร รู้สึก เสียใจ โอกาสของท่านมาแล้ววันนี้ ท่านไม่เคยพูดถึงโอกาสต่าง ๆ เหล่านี้ต่อมา อยากจะฝาก เรียนหารือท่านประธานต่อไป ที่ท่านบอกว่าท่านจะมาตอบกระทู้ต่าง ๆ เหล่านี้ ผมอยากให้ ท่านประธานช่วยเรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ท่านต้องตอบให้ได้ ท่านต้องมา ท่านต้องมีเวลามาตอบพี่น้องประชาชนชาวไทย ท่านต้องมีเวลามาตอบให้ทุกคน เห็นในประชาคมโลกเห็นว่าเราจะยืนอย่างสง่าผ่าเผย เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาในประเทศ เพื่อนบ้านของเรา เราหนีไปไหนไม่ได้ ท่านหนีพวกเราไป แต่ประเทศไทยหนีพม่าไม่ได้ ท่านต้องมาตอบ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ท่านกัณวีร์ ผมคิดว่าพอสมควรนะครับ ก็รับทราบถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นนะครับ ท่านยืนยันจะใช้ สิทธิการถามในรอบหน้า แล้วก็ที่ท่านสื่อสารว่าคำถามทั้งหมดนี้อยากให้ท่านรัฐมนตรี เตรียมตัวมา เดี๋ยวฝ่ายเลขานุการช่วยเตรียมด้วยนะครับ
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ได้ครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๓. กระทู้ถามสดด้วยวาจา (นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมได้มีหนังสือแจ้งว่ารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม นายสุทิน คลังแสง ติดราชการที่จังหวัดกาญจนบุรี จึงขอเลื่อนการตอบ กระทู้ถามเรื่องนี้ออกไปก่อนตามข้อบังคับ ข้อ ๑๕๑ หากท่านจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ยังคง ประสงค์จะตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจาอยู่ ให้เสนอใหม่เพื่อพิจารณาในคราวต่อไป ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๕๙ ครับ เชิญท่านจิรัฏฐ์
นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกลครับ เมื่อสักครู่ แอบดีใจเหมือนกันที่เห็นท่านจุลพันธ์ ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังมาตอบ กระทู้ เพราะทราบว่าบ่ายท่านก็มีงานที่จะต้องไปมอบที่ดินร่วมกันที่จังหวัดกาญจนบุรี แล้วไม่ติดรถคันเดียวไปด้วยกันหรือครับ อย่างไรครับ ผมไม่เข้าใจ เมื่อวานนี้ตอนเย็น ๆ ยังคุยกันอยู่เลยว่าท่านจะมาตอบกระทู้ เพราะเป็นเรื่องกู้เรือหลวงสุโขทัย เป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจ และท่านสุทินท่านก็มาสภาทั้งวันเลย แล้ววันนี้ผมเพิ่งมาทราบ ตอนเช้าว่าท่านจะไม่มาแล้ว แต่ท่านจุลพันธ์มา ก็ขอบคุณท่านจุลพันธ์ครับ ท่านรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการคลัง แทนเพื่อน สส. ท่านชนกด้วย แล้วก็ประชาชนที่มีปัญหา เรื่องที่ดินด้วย ที่รัฐมนตรีที่รับผิดชอบมีความรับผิดชอบเพียงพอที่จะมาตอบกระทู้ในสภา แล้วก็เรื่องกู้เรือหลวงสุโขทัยก็เป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจครับ แล้วก็กำลังกู้อยู่ด้วย ที่เขาใช้ คำว่ากู้เรือแบบจำกัดนี่ ประชาชนเขาสงสัยว่าการกู้แบบจำกัดมันไม่ใช่การกู้เพื่อที่จะหา สาเหตุการล่ม มันเป็นการกู้ของอเมริกาเขาต้องมากู้ของเขาอยู่แล้วตามสัญญา แล้วกองทัพเรือก็เกาะ ๆ เขาไปถ่ายรูป นี่คือความชัดเจนที่ประชาชนต้องการ อยากได้ คำตอบครับ เพราะมันเป็นปริศนาที่ใครก็อยากรู้ว่า คนทั้งโลกก็อยากรู้ว่าเรือรบมันล่ม ได้อย่างไร แต่ท่านไม่มาตอบ ให้สัมภาษณ์กับสื่อท่านพูดเป็นต่อยหอยเลย ก็เสียดายครับ ที่ท่านได้มาวันนี้ แล้วก็ไม่รู้สัปดาห์หน้าผมจะมีโอกาสได้ถามหรือเปล่า แล้วการกู้เรือมันก็ ดำเนินการไปเรื่อย ๆ แล้วด้วย ผมคิดว่าอย่างนี้ครับท่านประธาน สุดท้ายแล้ว ภาพลักษณ์ ของกองทัพยิ่งดูแย่มาโดยตลอดครับ โดยเฉพาะสมัยที่แล้ว เพราะว่ารัฐมนตรีมีส่วนมากเลย จะทำให้ภาพลักษณ์ของกองทัพดูดีขึ้นหรือแย่ลง สมัยที่แล้วแย่ลงเห็น ๆ เลย รัฐมนตรี อย่างนั้น แต่ผมก็หวังครับว่าท่านสุทินจะไม่แย่ไปกว่าคนเก่า อย่างน้อยเอาให้ได้เท่ากับ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังก็ได้ครับ ความรับผิดชอบ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านประธานวิปครับ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณ ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สมาชิกผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้านครับ ในกรณีของกระทู้ถามสด ผมก็ต้องขอลุกขึ้นมาหารือท่านประธานก่อนที่จะเข้าสู่กระทู้ถามทั่วไปนะครับ เพราะว่า กระทู้ถามสดก็มีความพิเศษที่ไม่เหมือนกับกระทู้ถามทั่วไป กระทู้ทั่วไปบางครั้งท่านรัฐมนตรี ติดภารกิจก็อาจจะไม่มา แล้วก็ขอเลื่อนนะครับ ซึ่งมันไม่ได้เสียโควตานะครับ ต่างกัน ตรงกระทู้ถามสด เวลาท่านรัฐมนตรีเขียนในเอกสารว่าขอเลื่อน แต่จริง ๆ แล้วเลื่อนไป คือการกินโควตาของเพื่อน สส. ไม่ใช่การเลื่อนครับ มันคือการตัดโควตาของเพื่อน สส. ในสัปดาห์นี้ทิ้ง สัปดาห์หน้าถ้าท่านมาอยากจะใช้ใหม่ต้องใช้โควตาครับ ไม่ใช่เอาโควตาเดิม นี่คือการหนีกระทู้ครับ เลื่อนนี่ของกระทู้ถามทั่วไป เลื่อนบางทีติดภารกิจพอเข้าใจได้ เพราะสุดท้ายท่านก็ต้องมาตอบอยู่ดี แต่อันนี้คือการหนีกระทู้ครับ ถ้าฝ่ายค้านอยากจะถาม ก็ต้องกินโควตาของตัวเองไปเรื่อย ๆ ครั้งหน้าถ้าเลื่อนอีกก็ต้องกินโควตาของตัวเองเข้าไปอีก แล้วผมจะบอกว่ากระทู้ถามสดทุกวันนี้วิป ๒ ฝ่าย พยายามนะครับ พยายามทำให้ทุกอย่าง มันราบรื่น ผมจะถามวิปรัฐบาลไปตั้งแต่วันอังคารครับ ว่ารัฐมนตรีท่านนี้สะดวกมาตอบ กระทู้ถามสดไหม ถ้าไม่สะดวกผมหลีกให้ครับ รอสัปดาห์หน้าก็ได้ ลองหาประเด็นอื่นเพื่อให้ ท่านรัฐมนตรีมาตอบ แล้วสภาจะไม่เสียโอกาส นี่เมื่อวานบอกจะมา ตื่นเช้ามาบอกไม่มาแล้ว บางท่านตื่นเช้ามาเหมือนเพิ่งนึกได้ว่ามีบินครับ เมื่อวานบอกจะมาวันนี้บอก อ๋อ มีบิน เพิ่งซื้อ ตั๋วเมื่อสักครู่หรือครับ ตกลงเราจะทำงานกันอย่างไร ท่านรัฐมนตรีที่ขยันมาก็มาอยู่นั่นครับ คนที่ไม่มาอย่างไรก็ไม่มาครับ ผมก็สงสารท่านรัฐมนตรี ๔-๕ ท่าน ถามอย่างไรท่านก็มา ที่เหลือนั้นถามอย่างไรก็ไม่มา บางคนวันพุธกลางคืนบอกว่ามา วันพฤหัสบดีเช้าบอกไม่มา ตกลงอยากทำงานไหมครับ ลาออกไปไหมครับ ผมหารือวิปรัฐบาลตรงนี้เลยว่าจะเอาอย่างไร กับเรื่องนี้ดีครับ ผมเริ่มไม่ไหวแล้ว ผมให้ความร่วมมือมาตลอดเพื่อให้สภามันราบรื่น ขอบคุณ ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ขอเชิญท่านประธานวิปรัฐบาลครับ
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ในฐานะวิปรัฐบาล คือจริง ๆ แล้วเรื่องมาตอบกระทู้ถามนี้ ผมต้องตำหนิไปยังท่านรัฐมนตรีทั้งหลายนะครับ ได้มีข้อตกลงกันว่าเช้าวันวันพฤหัสบดี ท่านนายกรัฐมนตรีก็บอกว่าถ้าท่านนายกรัฐมนตรีอยู่ท่านจะมาสภา แต่วันนี้เป็นที่ทราบได้ว่า ท่านนายกรัฐมนตรีอยู่ต่างจังหวัด ไป ๒-๓ วัน ที่ภาคใต้ ก็ไปทำภารกิจ แต่รัฐมนตรีทั้งหลาย นี้ครับ ได้รับมอบ รัฐมนตรีว่าการมอบรัฐมนตรีช่วยว่าการก็ไม่มา เรื่องนี้มันไม่ได้นะครับ ท่านประธาน ผมต้องตำหนิท่านรัฐมนตรีทั้งหลาย เพราะเวลาวันพฤหัสบดีไหน ท่านนายกรัฐมนตรีมาท่านมากันหมด สภาแห่งนี้ จนพวกผมแทบไม่มีที่เดิน พอวันไหน นายกรัฐมนตรีไม่มาท่านก็ไม่มา ท่านเป็นรัฐมนตรีนะครับ ผมไม่ได้เข้าข้างรัฐมนตรีทั้งหลาย นะครับ ไม่ได้เข้าข้างรัฐบาลครับ ในฐานะเราเป็นฝ่ายนิติบัญญัติเหมือนกับฝ่ายค้าน ช่องทาง ที่เราจะนำเสนอปัญหาเร่งด่วน จะแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้ เราไม่สามารถ ไปแทรกแซงหน่วยราชการได้ทั้งหมด เพราะจะติด ข้อ ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญอีก กับช่องทาง สภานี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ท่านรัฐมนตรีทั้งหลาย เสนาบดีทั้งหลายจะต้องมาตอบ เราก็ขอแค่ เช้าวันพฤหัสบดี ๒-๓ ชั่วโมง ท่านให้โอกาสสภาบ้าง ท่านเป็นฝ่ายบริหาร พวกผม เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ถ้าท่านไม่ให้เกียรติพวกนิติบัญญัติของเราในสภาแห่งนี้ เวลาท่าน ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ อย่ามาขอมือพวกผมนะครับ แจ้งไปยังท่านนายกรัฐมนตรีได้กรุณา เตือนรัฐมนตรีด้วยครับ ส่วนรัฐมนตรีอื่น ๆ ที่ต้องมาตอบกระทู้ถามทั่วไป เขาก็ส่งเรื่องให้ ตั้ง ๒ อาทิตย์แล้ว ท่านก็ต้องเตรียมตัวมาตอบ อย่าเลยครับ วันพฤหัสบดีตอนเช้ากราบเรียน ท่านรัฐมนตรีทั้งหลาย ฟังทางนี้ด้วยนะครับ ท่านอย่าไปภารกิจอื่นเลย ท่านสามารถ สั่งได้ครับ ให้มันเลื่อนจากเช้าวันพฤหัสบดีได้ไหม แต่ถ้าท่านไม่ทำอย่างนี้ก็ถือว่ามันทำงาน ร่วมกันลำบากนะครับ เราเป็นวิป ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาลก็ปรารถนาดี อันไหนที่มี ข้อคับข้องใจ เรื่องไหนที่มันเป็นปัญหาของพี่น้องประชาชน ก็อยากให้ท่านรัฐมนตรีมาตอบ แล้วถ่ายทอดสดออกไปให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบปัญหาต่าง ๆ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็ถือ ว่าเป็นปัญหาในการทำงาน ก็เตือนไปยังรัฐมนตรีนะครับ ก็อีกไม่กี่เดือนท่านก็ต้องพิจารณา ตัวเองด้วยนะครับ ถ้าทำงานลำบาก ไม่มีเวลาพวกผมก็ไม่สบายใจในเรื่องนี้ครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ แล้วผมแจ้งล่วงหน้าเลยนะครับ ว่ากระทู้ถามทั่วไปเลื่อนทั้งหมด
นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เดี๋ยวทีละท่านนะครับ เนื่องจากอันนี้ให้สิทธิทางประธานวิปเขาหารือกันก่อน แล้วก็ดูว่า เป็นเอกภาพเป็นเอกฉันท์นะครับ อย่างไรทางฝ่ายเลขานุการได้ทำเรื่องถึงสำนัก นายกรัฐมนตรีด้วยว่านี่เป็นความเห็นของทั้ง ๒ วิป แล้วท่านวิสุทธิ์ก็ให้ตัวอย่างที่ดีมาก นะครับ โดยการบอกให้ สส. ไม่รับงานในวันพุธ วันพฤหัสบดี เพื่อที่องค์ประชุมจะครบ สมบูรณ์ ผมก็อยากให้ทางฝ่ายบริหารได้ทำตามสิ่งที่ทางวิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้าน ได้นำเสนอด้วย เดี๋ยวเชิญท่านประเสริฐพงษ์ แล้วก็ท่านนิพนธ์ ตามลำดับครับ
นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านประธานครับ ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ในฐานะผู้แทนราษฎร ก็ต้องขอขอบคุณท่านประธานวิปนะครับ ซึ่งผมเข้าใจว่าท่านเป็นประธานวิปฝ่ายรัฐบาลท่านใหม่ ก็จะทำให้การทำงานของสภาเรา ราบรื่นขึ้น แล้วก็คิดว่าการที่ท่านแสดงออกแบบนี้คงไม่ใช่เป็นการที่จะมาสร้างภาพหรือว่า มีละครฉากที่ ๒ นะครับ ผมเคยทำงานร่วมกับท่าน แล้วก็ขอบคุณท่านอีกครั้งครับ ที่ท่านมา ยืนยันเรื่องให้ช่วยประสานให้รัฐมนตรีมาตอบกระทู้ถามของพรรคฝ่ายค้านของเราโดยเฉพาะ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ จริง ๆ ใช้สิทธิพูดกันอย่างนี้กันไม่ได้นะครับ เพราะว่าไม่ได้เป็นการพาดพิง หรือว่าอย่างไร แต่ผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ก็เลยจะให้โอกาสได้มีการปรึกษาหารือกัน เชิญท่านวิสุทธิ์ครับ
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ความจริง ก็อยากประท้วง อยากให้ถอนคำพูดว่า สร้างภาพ ผมทำงานในสภาแห่งนี้ ข้าราชการ ไม่ได้ สร้างภาพอะไร ต้องกราบเรียนว่าผมพูดจริง แล้วเรื่องนี้ก็น่าจะสื่อไปทั่วประเทศ ถึงรัฐมนตรี ทุกคน เพราะฉะนั้นอาทิตย์หน้าถ้ารัฐมนตรีไหนไม่มาตอบกระทู้ ทั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา และกระทู้ถามทั่วไป ไม่มาตอบมันก็ต้องมีปัญหาในการทำงานต่อกัน เพราะฉะนั้น ต้องให้เกียรติกันนะครับ วันนี้ผมเตือนไปยังฝ่ายบริหาร ซึ่งเราเป็นฝ่ายนิติบัญญัติต้องการ ให้มาตอบ จริง ๆ ไม่มีสร้างภาพ ผมคำไหนคำนั้น เคยนั่งในตำแหน่งที่ท่านประธานนั่งครับ ผมได้รับตำแหน่งดาวสภาในขณะที่ทำหน้าที่ ผมตรงไปตรงมา ไม่มีเข้าข้างใครครับ ต้องกราบเรียนท่านได้เข้าใจตรงกันนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านนิพนธ์ครับ ขอเป็นท่านสุดท้ายแล้วนะครับ ในประเด็นเรื่องนี้ เชิญท่านนิพนธ์ครับ
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย จังหวัดบึงกาฬ เขต ๓ วันนี้ผมเห็นว่า บรรยากาศดีมากครับ ทั้งประธานวิปฝ่ายค้านและรัฐบาล ในฐานะที่เราเป็นผู้แทนของพี่น้อง ปวงชนชาวไทย ในฐานะที่เรารับปัญหาต่าง ๆ จากพี่น้อง เพื่อนสมาชิกทุกท่านก็คง จะเหมือนกัน ฉะนั้นบรรยากาศวันนี้ผมขอชื่นชมทั้ง ๒ ท่าน ทั้งประธานวิปฝ่ายรัฐบาล ประธานวิปฝ่ายค้าน ในอนาคตข้างหน้าผมเชื่อมั่นว่าปัญหาที่พี่น้องผู้แทนทุกท่านรับปัญหา มาจากพื้นที่เพื่อจะมาสะท้อนให้ท่านรัฐมนตรีด้วยการแก้ไข และวันนี้ขอชื่นชมทั้ง ๒ ท่าน จะเป็นโอกาสของสภาเราจะได้ทำงานเพื่อประชาชนจริง ๆ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๑.๒ กระทู้ถามทั่วไป
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผมแจ้งล่วงหน้าเลยครับ กระทู้ถามทั่วไปเลื่อนทั้งหมดนะครับ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าผู้เสนอกระทู้ก็คงอยากจะพูดอะไรบ้าง แต่ขอคนละสั้น ๆ นะครับ เพราะว่าอย่างไร กระทู้ของท่านก็ยังไม่ได้ตกนะครับ ก็ยังอยู่ในระเบียบวาระครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๑. เรื่อง ปัญหาช้างป่ากับประชาชน (นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม นายกรัฐมนตรี เลื่อนมาจากครั้งที่ ๑๑ นะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักเลขาธิการได้แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านพัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็นผู้ตอบ กระทู้ถามแทนแต่ท่านพัชรวาท ติดภารกิจเร่งด่วนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงขอเลื่อนการตอบ กระทู้ถามออกไป เป็นวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๗ เชิญท่านชุติพงศ์ครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับท่านประธาน เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สมาชิกผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จังหวัดระยอง ในฐานะผู้ตั้งกระทู้ถามท่านรัฐมนตรี วันที่ถูกเลื่อนผมก็อยู่กับ ท่านประธาน แล้วท่านประธานก็บอกว่าทางท่านรัฐมนตรีจะขอเลื่อนมาเป็นวันที่ ๒๙ ก็คือวันนี้ ซึ่งเป็นวันเดียวในรอบ ๔ ปี แล้วท่านก็ขอเลื่อนไว้ ท่านก็ควรจะลงปฏิทินไว้นะครับ ว่าท่านจะมาตอบ ท่านเลื่อนอีกแล้วหรือครับ อันนี้ผมไม่เข้าใจจริง ๆ ท่านรัฐมนตรีพัชรวาทเลื่อนผมมาแล้ว ๓ ครั้ง ครั้งนี้คือครั้งที่ ๔ นะครับ ตอนนี้ผมไม่เข้าใจแล้วครับว่าที่ไม่มาตอบ ตอบไม่ได้หรือทำไม่ได้ อย่างไรกันแน่ หรือท่านนายกรัฐมนตรีจะต้องมาตอบเองแล้วครับ เพราะว่าผมถามไปยังท่านนายกรัฐมนตรี แล้วครับ มอบหมายรัฐมนตรีให้มาในฐานะนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีก็ไม่มาครับ ไม่รู้เก็บไว้ ทำไมตอนนี้ ทีนี้มาดูความเสียหายนะครับ เผื่อจะกระตุ้นทางท่านรัฐมนตรีให้อยากมาทำงาน กันดูนะครับ ในความเสียหายเรื่องช้างป่าที่ผมถาม ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ถึงปี ๒๕๖๖ สิ้นปี มีคน ตายไปแล้ว ๒๐๗ คนทั่วประเทศ มีช้างตายไปแล้ว ๑๙๐ ตัว ปีนี้ ๒๕๖๗ เพิ่งผ่านมา ๒ เดือน ตายไปแล้ว ๑๓ คน ช้างตายไป ๑ ตัว ป่าตะวันออกตายไป ๗ ตัวครับ เกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ในเขตของผม ผมสงสัยจริง ๆ ครับ ความเสียหายขณะนี้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบทำไม่ได้ หรืออย่างไร ทำไมทางท่านนายกรัฐมนตรีไม่เลือกคนมาเป็นรัฐมนตรีตามความสามารถ ต้องให้มีคนตายกี่คนครับ เอาให้เลือดท่วมกระทรวงก่อนเลยไหมครับ และอย่างที่เห็น รัฐมนตรีไม่มาตอบหลายคนมาก อย่างไรผมขอบคุณไปยังท่านจุลพันธ์ที่มาตอบ แค่คนเดียว วันนี้ที่มา ถึงจะไม่ใช่กระทู้ของฝ่ายค้านก็ตาม แต่ก็ยังดีที่ให้เกียรติทางฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งที่จริง ๆ แล้ว เป็นโอกาสในการแถลงผลงานของรัฐบาลครับ เป็นโอกาสในการตอบคำถาม และรับปัญหาของพี่น้องประชาชนเข้าไปปรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ผมก็ฝากไว้เลยนะครับ List รายชื่อไว้เลย รัฐมนตรีเผื่อจะใช้ในการปรับ ครม. คงใกล้แล้วละครับ ไม่รู้ว่าจะเกรงใจ รัฐมนตรีพวกนี้ไปทำไมที่ไม่มาทำงาน เกรงใจประชาชนเถอะครับ ประชาชนเลือกพวกเรามา ผมไม่รู้แล้วต้องทำอย่างไรครับ หรือว่าผมต้องตั้งกระทู้ถามไปยังเพื่อนสมาชิกที่เป็นพี่ชายของ ท่านรัฐมนตรี ท่านพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไม่รู้ว่าท่านอยู่ห้องหลังบัลลังก์ที่ครอบครอง ปรปักษ์อยู่หรือเปล่าตอนนี้ แต่ผมเห็นไม่ได้เซ็นชื่อก็คงไม่ได้มา อย่างไรถ้าเกิดคิดว่า เป็นการพาดพิง ไม่เป็นอะไร ท่านก็มาชี้แจงในห้องได้ครับ คนเขาถามมาว่าพี่ชายเป็น ประธานมูลนิธิป่ารอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก น้องชายคุมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จนตอนนี้เขาสงสัยว่าใครเอาช้างมาปล่อยไว้หรือเปล่า ถ้าเกิดคิดว่าพาดพิง ก็มาเลยครับ ผมเสนอคราวที่แล้วไปแล้วว่าให้ทางท่านนายกรัฐมนตรีเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเถอะครับ หรือตั้งรัฐมนตรีช่วยขึ้นมาก็ได้ เพราะว่าทำงานกันอย่างนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรอบอำนาจหน้าที่ เยอะมาก แต่ไม่เคยมา โอเคเคยมาครั้งหนึ่งครับ ก็มาตอบกระทู้ถามแบบที่ทางผู้ถามถามไป ๑ คำถาม แต่ตอบถึงคำถามที่ ๒ ได้ ผมไม่รู้ว่าทำท่าไหน เห็นอนาคตหรืออย่างไร ผมไม่รู้ว่า ต้องทำอย่างไรครับ ไม่รู้ว่าต้องตั้งคำถามไปยังท่านประวิตรหรือว่าผมต้องตั้งคำถามไปยังบ้าน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผมว่าพอสมควรนะครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
โอเคครับ อย่างนั้นสุดท้ายครับ ท่านประธาน ผมขออนุญาตนะครับ ก็ฝากทางสื่อมวลชน ฝากพี่น้องประชาชน อย่างไร ผมฝากทางสื่อมวลชนทุกท่าน ฝากพี่น้องประชาชน ถ้ามีโอกาสพบเห็นบุคคลในภาพนี้ ท่านนี้ เป็นรัฐมนตรีว่าการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หายหน้าหายตาไปนานแล้วครับ อย่างไรก็รบกวนสื่อมวลชนช่วยกันติดตาม ฝากตามหาคนหาย รัฐมนตรีหายด้วยนะครับ อย่างไรขอบคุณทุกท่านมาก ๆ ครับ ที่ได้ช่วยสื่อสารต่อหลังจากนี้ ขอบคุณท่านประธาน ที่ให้โอกาสในการตามหาคนหายของผมด้วย ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒. เรื่อง ปัญหาการจัดการบริหารน้ำในคลองส่งน้ำสายใหญ่ C1 และคลอง ซอยสาขาในช่วง กม.๐-กม.๒๕ (ประตูน้ำบ้านจอมทอง) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา พลายชุมพล สำนักงานชลประทานที่ ๓ พิษณุโลก (นายนพพล เหลืองทองนารา เป็นผู้ตั้ง กระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีหนังสือแจ้งว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ติดภารกิจ ที่ได้รับมอบหมายไว้ล่วงหน้าแล้วครับ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามออกไปเป็น วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๗ ท่านนพพลมีอะไรจะแจ้งไหมครับ ไม่มี ก็ดำเนินการตามนี้นะครับ เป็นการ เลื่อนกระทู้ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๓. เรื่อง แนวทางการรับมือปัญหาไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือและการประกาศ เขตภัยพิบัติจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน (นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือแจ้งว่า กระทู้ถามเรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ได้มอบหมายให้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านเกรียง กัลป์ตินันท์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน แต่เนื่องจากวันนี้รัฐมนตรีช่วยติดภารกิจราชการสำคัญครับ จึงขอเลื่อนตอบกระทู้ถาม ออกไปเป็น วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๗ ครับ เชิญท่านภัทรพงษ์ครับ
นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคก้าวไกล อำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง ต้องขอเรียนท่านประธานอย่างนี้นะครับ ปัญหา PM2.5 หรือว่าไฟป่า ในพื้นที่ภาคเหนือในปัจจุบันกำลังเป็นปัญหาใหญ่มาก ๆ ผมดีใจมากครับ ที่เห็นการบรรจุ วาระนี้ในสัปดาห์ก่อน ดีใจมาก ๆ ที่ท่านเกรียง ท่านรัฐมนตรีช่วยที่รับผิดชอบกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจะมาตอบคำถามนี้โดยตรง แต่ว่าผมกลับได้รับโทรศัพท์ในวันอังคารบอกว่า ท่านจะเลื่อน ทีนี้ผมขออธิบายให้ประชาชนทุกท่านเข้าใจก่อนว่ากระทู้ถามสดกับกระทู้ถาม ทั่วไป ต่างกันอย่างไร กระทู้ถามสดรัฐมนตรีจะทราบล่วงหน้าเพียง ๑-๒ วันเท่านั้น และจะไม่ทราบคำถามก่อน แต่กระทู้ถามทั่วไป ตอนที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พวกเรายื่น กันเข้าไป เรายื่นพร้อมคำถามชัดเจนมาก ข้อ ๑ จะถามว่าอะไร ข้อ ๒ ข้อ ๓ จะถามว่าอะไร ชัดเจน ชัดเจนมาก ๆ เรายื่นกันตั้งแต่สิ้นเดือนตุลาคม ท่านมีเวลา ๔ เดือน ในการที่จะ เตรียมคำตอบมาตอบพวกเรา แต่วันนี้ท่านก็เลื่อน แล้วทีนี้มาดูว่าท่านเลื่อนไปวันที่เท่าไร ท่านเลื่อนไปวันที่ ๔ เมษายน ซึ่งนั่นคือวันสุดท้ายของการประชุมสภาในสมัยนี้ แล้วทีนี้ เรามาดูกระทู้อื่นกันครับ วันนี้ผลงานของรัฐมนตรีเป็นอย่างไรกันบ้าง กระทู้ถามสด มี ๓ กระทู้ มาตอบกระทู้เดียว กระทู้ถามทั่วไป ๔ กระทู้ เลื่อนหมด แล้วมาดูของแต่ละคน กันว่าเลื่อนอย่างไร ถ้าเป็น สส. ฝั่งรัฐบาล ขอเลื่อนแบบน่ารัก ๆ มีเหตุมีผล เลื่อนสัปดาห์เดียว วันที่ ๗ มีนาคม สัปดาห์หน้ามาตอบเลย แต่ถ้าเป็นของสมาชิกฝั่งพรรคฝ่ายค้าน เลื่อนแบบ Maximum เลย ของผมจัดเต็มเลยครับ วันที่ ๔ เมษายน เป็นวันสุดท้ายเลย ย้อนแย้งกับที่ ท่านรัฐมนตรีช่วย ท่านเกรียงเคยพูดกับสื่อไว้ด้วยนะครับว่า อย่างไรท่านก็จะไม่ลาออกจาก ตำแหน่ง สส. เพราะท่านให้ความสำคัญกับการทำงานในสภา แต่นี่คืออะไร เลื่อนไปจนแบบนี้ แสดงว่าวันพฤหัสบดีหน้า วันพฤหัสบดีถัดไป วันพฤหัสบดีสิ้นเดือนมีนาคม ท่านก็จะไม่มา ประชุมสภาถูกไหมครับ เพราะฉะนั้นถ้ามันเป็นแบบนี้นะครับ ผมขอเสนอให้ท่านพิจารณา ลาออกจาก สส. เถอะครับ แล้วให้บัญชีรายชื่อลำดับถัดไปจากพรรคเพื่อไทยเข้ามาทำหน้าที่ แทน ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๔. เรื่อง การแก้ไขหลักเกณฑ์การกำหนดให้ที่ดินบริเวณที่เขาหรือที่ภูเขา และปริมณฑลที่เขาหรือภูเขา (นายทรงยศ รามสูต เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือแจ้งว่ากระทู้ถาม เรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ได้มอบหมายให้รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านชาดา ไทยเศรษฐ์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทนครับ แต่เนื่องจากในวันนี้ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ติดภารกิจสำคัญ จึงขอเลื่อน การตอบกระทู้ถามออกไปเป็น วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๗ ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๕๑ ครับ ท่านทรงยศเชิญครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้ที่ยื่นกระทู้ นะครับ เมื่อวันก่อนทางรัฐสภาโทรศัพท์มาบอกว่าท่านรัฐมนตรีชาดา ที่ท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้มาตอบกระทู้ผม ติดภารกิจนะครับ ขอเลื่อนไปตอบ ในวันพฤหัสบดีหน้า ซึ่งผมก็เข้าใจนะครับ เพราะรัฐมนตรีติดภาระสำคัญ เพื่อชาติผมรอได้ แต่ผมอาจจะมีความเห็นต่างจากเพื่อนสมาชิก การเลื่อนไปตอบวันพฤหัสบดีหน้าผมยินดี นะครับ สาเหตุที่ผมยินดีเพราะผมอยู่คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผมเกรงว่าข้อมูลในส่วนของทางกรมที่ดิน เขามอบให้ท่านที่จะมาตอบผม อาจจะเป็นข้อมูลที่เคยตอบอยู่ในคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแล้ว ในเรื่องที่ผมจะขอให้พิจารณาแก้ไขกฎกระทรวง (ฉบับที่ ๔๓) ข้อ ๑๔ (๒) ในเรื่องของการออกเอกสารสิทธิในที่ที่ติดที่เขาหรือที่ภูเขา ซึ่งข้อมูลที่เขาแจ้งว่า มันออกมาตอนแรกมันไม่แน่นอนต้องออกมาไว้ก่อนในอดีต ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะ ไม่ถูกต้อง เวลาสัปดาห์หนึ่งผมว่าท่านน่าจะตั้งคณะทำงานมาพิจารณาเรื่องนี้ จะเป็นผลงาน ของท่านนะครับ เพราะปัจจุบันนี้เทคโนโลยีมันทันสมัย การกำหนดแนวทางที่ว่าการที่จะ ไม่ออกเอกสารสิทธิ ๔๐ เมตร ติดที่ตีนเขาในที่ที่ชาวบ้านเขาจะได้ออกโฉนดแล้ว คือเขามีสิทธิ ได้สิทธิครอบครองและทำประโยชน์และรัฐพร้อมที่จะออกโฉนดให้อยู่แล้ว แต่ข้อ ๑๔ (๒) เขาไม่ให้ออกโฉนดทับที่ที่มันติดที่เขาที่ภูเขา ถ้าเป็นที่แนวดิ่งนี่ผมเข้าใจครับ แต่ระเบียบเขาบอกเป็นแนวทางปฏิบัติ ติดออกไป ๔๐ เมตร เขาไม่ออกให้ ผมว่าตอนนี้แก้ ระเบียบ เป็นที่กฎกระทรวง ไม่ใช่กฎกระทรวงด้วย เป็นแนวทางปฏิบัติของกรมที่ดินนะครับ ผมว่าท่านรัฐมนตรีชาดา พื้นที่ของท่าน อุทัยธานีก็มีปัญหาเยอะ แล้วทั่วประเทศผมว่าท่าน น่าจะแก้ไขแล้วก็จะเป็นผลงานของท่านรัฐมนตรี ในช่วง ๗ วันนี้ ท่านลองตั้งคณะทำงานมา พิจารณาดู แล้วก็ยกเลิกมาแก้ไขแนวทางนี้ ก็ฝากไว้นะครับ วันพฤหัสบดีหน้าท่านจะได้ เตรียมข้อมูล เมื่อเช้าผมให้สัมภาษณ์ในวิทยุรัฐสภาก็ได้แนะแนวทางท่านไปนะครับ ผมมอง ว่าท่านจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ พี่น้องประชาชนทั่วประเทศจะได้ยินดีกับท่านที่แก้ไขปัญหา ที่ดินให้กับประเทศชาติครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ในระเบียบวาระกระทู้ถามทั่วไป ก็เป็นอันสิ้นสุดเท่านี้นะครับ แล้วก็ เรื่องที่เราถกเถียงกันเช้าวันนี้ก็เป็นเรื่องจำเป็นจริง ๆ นะครับ ถ้ามีการเลื่อนกระทู้หนักหนา ขนาดนี้ก็คิดว่าจะทำให้บทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติจะไม่สามารถทำหน้าที่ได้นะครับ อย่างไร เดี๋ยวฝากเรียนท่านประธานวิปทั้ง ๒ ฝ่าย ได้มีการประชุมกัน แล้วก็มีข้อเสนอในการแก้ไข ปัญหานี้ด้วยนะครับ เชิญท่านศรัณย์ครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทยครับ ผมขอแก้ไขรายชื่อของคณะกรรมการร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมวิถีกลุ่มชาติพันธุ์ ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทยครับ จากท่านภัทร ภมรมนตรี เป็น ท่านมุกดา พงษ์สมบัติ ครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้องนะครับ ดำเนินการตามนี้ครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ตั้งแต่หน้า ๗๓-๙๘
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑.๓ กระทู้ถามแยกเฉพาะ ก่อนดำเนินการกระทู้ถามแยกเฉพาะ ขอชี้แจง การถาม ถามได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ทั้งถามและตอบนะครับ ใช้เวลา ๒๐ นาที ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๗๒ และข้อ ๑๗๓ ประกอบข้อ ๑๖๗ กระทู้ถามแยกเฉพาะ เราได้อนุญาตให้ผู้เข้ารับฟัง บุคคลภายนอกเข้ารับฟังก็ให้อยู่ในระเบียบข้อบังคับการประชุม ข้อ ๔ และข้อ ๕ ผู้ที่ได้รับ อนุญาตต้องรักษามารยาท พฤติกรรม ประพฤติตนให้เหมาะสมอยู่ในความสงบ ห้ามแสดง กิริยาเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือกล่าววาจา ส่งเสียงใด ๆ แล้วก็ห้ามใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์การสื่อสารใด ๆ เพื่อบันทึกภาพบันทึกเสียง หรือกระทำการที่เป็นการถ่ายทอดสด สู่บุคคลภายนอก หากมีการฝ่าฝืนก็จะให้ท่านออกจากห้องประชุม ก็แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
สำหรับการพิจารณากระทู้ถามในวันนี้ เพื่อประโยชน์ในการถามและตอบ กระทู้ของท่านรัฐมนตรี ผมขอสลับลำดับการตอบและถามกระทู้ดังนี้นะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ลำดับที่ ๑ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๗๘ ของท่านฐิติมา ฉายแสง
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ลำดับที่ ๒ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๗๕ ของท่านศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ลำดับที่ ๓ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๗๗ ของท่านฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ลำดับที่ ๔ ลำดับที่ ๕ ลำดับที่ ๖ ขอเลื่อนนะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑. เรื่อง ความปลอดภัยบนท้องถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ และหมายเลข ๓๐๔ นางฐิติมา ฉายแสง เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งว่ารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นางมนพร เจริญศรี เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทนตามข้อบังคับ ข้อ ๑๕๑ ในการนี้เพื่อประโยชน์ในการตอบ กระทู้ถามแยกเฉพาะได้อนุญาตให้ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสนับสนุนข้อมูลใน การตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ คือ นายสมประสงค์ อรรถาชิต ผู้อำนวยการแขวงทางหลวง ฉะเชิงเทรา กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม และได้อนุญาตให้ประชาชนผู้มีส่วนร่วม เข้าร่วมรับฟังการตอบกระทู้ถาม ดังนี้ ๑. นางณิพัฒน์ชา พิศิษฐวานิช ๒. นางสาววรัญญา ศรีเหรัญ ๓. นางสาวสุนิสา เอี่ยมตระกูล ๔. นายอนันตศักดิ์ เกษแก้วเจริญ เชิญท่านฐิติมา ถามคำถามแรกครับ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านสภาที่เคารพ ดิฉัน ฐิติมา ฉายแสง สส. ฉะเชิงเทรา เขต ๑ พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นต้องขอบพระคุณทางสภา ผู้แทนราษฎรนะคะ ที่ได้จัดกระทู้ถามแยกเฉพาะให้ดิฉันได้มีโอกาสมาพูดคุย ท่านคะวันนี้ จะขอพูดถึงเรื่องของจุดอันตรายบนท้องถนน แล้วก็ความต้องการของพี่น้องประชาชน บนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ และหมายเลข ๓๐๔
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรื่องแรก เป็นเรื่องของจุดกลับรถที่อยู่บนถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๑๔ หรือเรียกว่าถนนบางปะกง-ฉะเชิงเทรา แล้วก็คนในฉะเชิงเทราเขาเรียก ถนนสิริโสธร ถนนเส้นนี้เป็นถนนอยู่ในเมือง อยู่ในเขตเทศบาลเมือง แล้วก็เป็นถนนหลวง ที่แขวงการทางดูแลอยู่ ปรากฏว่าจุดกลับรถเป็นจุดที่ประชาชนมักจะลักลอบขี่มอเตอร์ไซค์ ย้อนศรมากลับรถ ทำให้เกิดการชนกัน อันตราย มีผู้เสียชีวิต ๔ ศพ ในปีที่แล้วสถิติมีแบบนี้ ถามว่าทำไมเป็นแบบนั้น เนื่องจากว่ามีรถลงมาจากสะพานค่ะ มันจะมีความแรงของรถ มาแล้วก็มาลักลอบก็เลยชนกัน ทีนี้อันตรายตรงนี้ประชาชนยังคงลักลอบอยู่นั่น ดิฉันเองก็ได้ มีโอกาสลงไปยังพื้นที่ ไปฟังการประชุมไม่ว่าจะเป็นเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา แขวงการทาง แล้วก็ตำรวจจราจร เขาก็คุยกันทำให้เข้าใจว่าจุดกลับรถนี้ควรจะเปลี่ยน เปลี่ยนไปเป็นอะไร เปลี่ยนไปเป็นแยก แยกที่ดิฉันจะพูดถึงนี้นะคะ เป็นแยกประชาสรรค์ แล้วทำเป็นสัญญาณ ไฟจราจรชัดเจน แต่ทางแขวงการทางบอกว่าเดี๋ยวจะไม่มีงบประมาณ หรือถ้าจะกำหนด งบประมาณ ๔ ล้านบาท ต้องไปปี ๒๕๖๘ เพราะฉะนั้นอันตรายเกิดขึ้นจึงเรียนถามค่ะ ดิฉันถามกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมว่ากระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวง ซึ่งรับผิดชอบถนนเส้นนี้จะมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาและจัดสรรงบประมาณโดยเร่งด่วน ได้หรือไม่ และคาดว่าจะดำเนินการได้เมื่อใด อันนี้คำถามแรก ขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้มา ตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ท่านฐิติมา ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากจังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย เนื่องจากท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้มีคำถามนี้ในการ ปรึกษาหารือในการประชุมสภาที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ หลังจากที่เรา รับทราบข้อปรึกษาหารือของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติแล้วเราก็รีบดำเนินการต่อ ดิฉันขอตอบ คำถามของท่านสมาชิกดังนี้นะคะ ว่ากระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวง ว่าถนนสาย ๓๑๔ บางปะกง-ฉะเชิงเทรา หรือว่าสิริโสธร ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่ให้พี่น้องประชาชนสัญจรไปมา เดินทางจากอำเภอบางปะกง อำเภอเมือง เพื่อจะเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยใช้ เส้นทางของถนนสุวินทวงศ์ โดยมีจุดกลับรถดังกล่าว เดิมมีความเหมาะสมในการกลับรถ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ดังที่ดิฉัน ได้ขึ้นสไลด์นะคะ เดิมมีจุดกลับรถที่มีความเหมาะสมในการกลับรถ แต่เนื่องจากว่าปัจจุบัน ความเจริญแห่งนี้ได้กลายเป็นชุมชนเมือง มีการขยายตัวของพี่น้องประชาชนชุมชนเมืองมากขึ้น จึงส่งผลให้มีการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น โดยปริมาณของรถที่เฉลี่ยต่อวันตลอดทั้งปีเราได้เก็บ สถิติมา อยู่ที่ ๕๑,๒๔๓ คันต่อวัน ทำให้ไม่สามารถที่จะทำจุดกลับรถได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งได้มีการขับขี่ย้อนศรดังที่ท่านสมาชิกได้หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาหารือนะคะ ซึ่งถ้าเรายัง เปิดจุดกลับรถนี้ก็จะทำให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงก็ได้มีการแก้ แล้วก็เพิ่มความปลอดภัยให้พี่น้องประชาชนในการสัญจร ไปมา ตามที่ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้พูดถึงประเด็นสักครู่นะคะ เราจึงได้จัดทำแผน งบประมาณปรับปรุงความปลอดภัยบริเวณทางแยกอันตรายทางหลวงหมายเลข ๓๑๔ ตอนแสนภูดาษไปถึงฉะเชิงเทรา เพื่อขอรับงบประมาณในปี ๒๕๖๗ วงเงิน ๓,๙๗๒,๐๐๐ บาท ถ้างบประมาณได้ผ่านสภาในวาระที่ ๒ วาระที่ ๓ แล้ว กรมทางหลวงก็จะเร่งรีบในการที่จะ จัดหาผู้รับจ้างให้ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ นอกจากนั้นค่ะ การเปิดจุดกลับรถเดิม ที่โรงเบียร์ ให้มากลับรถที่ทางแยกใหม่ที่ซอยประชาสรรค์ ภาพเล็ก ๆ ที่ให้ท่านสมาชิกได้เห็น เราก็จะมีการติดตั้งไฟสัญญาณจราจร แล้วก็ปิดจุดกลับรถเดิม และเปิดทางแยกดังกล่าว ซึ่งการเปิดทางแยกดังกล่าวก็จะอำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนสัญจรไปมาได้ แล้วก็ ลดปัญหาการขับขี่ย้อนศร ถ้าเราลดปัญหาการขับขี่ย้อนศรนั้นก็จะช่วยให้ระยะเวลาของการ ขับรถไม่กระชั้นชิด รวมไปถึงต้องสื่อสารไปถึงพี่น้องประชาชน ฝากท่านสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรว่าก็ฝากไปถึงพี่น้องประชาชนในการคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แล้ว ก็ปฏิบัติตามกฎระเบียบของการใช้รถใช้ถนนเพื่อลดอุบัติเหตุต่อไป ดิฉันขออนุญาตตอบ คำถามแรก ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านผู้ถาม คำถามที่ ๒ นะครับ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ฐิติมา ฉายแสง สส. ฉะเชิงเทรา เขต ๑ พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธานคะ ดิฉันขออนุญาตพูดถึงคำถามนี้อีกหน่อย เพราะว่าเวลา ยังเหลืออยู่ ก็คือว่าถนนเส้นนี้อย่างที่เรียนให้ท่านรัฐมนตรีท่านทราบไปนะคะ ว่าเป็นถนน ที่มันอันตรายเหลือเกิน เป็นถนนที่เพิ่มเติมด้วยนะคะ ว่าเส้นแบ่งถนนไม่มีค่ะ ประชาชนร้อง มาด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเราจะพูดถึงจุดอันตรายต่าง ๆ ก็ขอให้ครอบคลุมทั้งหมดด้วย อันนี้คือ ถนนสาย ๓๑๔ ซึ่งเราหวังว่าสิ่งที่ดิฉันได้หารือไปก็ดี ณ วันนี้ก็ดีที่เป็นกระทู้แยกเฉพาะ ทำให้ พี่น้องประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทราก็ดี ผู้ที่ใช้สัญจรไปมาบนถนนนี้จะได้รับความปลอดภัย ก็ขอขอบพระคุณท่านรัฐมนตรีในประเด็นนี้อย่างมาก ๆ เลยนะคะ แล้วถือว่าการหารือ ในสภาผู้แทนราษฎรนี้มีประโยชน์มาก ๆ ค่ะ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องบนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ หรือเรียกว่า ถนนสุวินทวงศ์ค่ะท่านประธาน เป็นถนนสายหลักที่สำคัญเช่นเดียวกัน เพราะว่าถนน สุวินทวงศ์เป็นถนนที่พี่น้องประชาชนหลายอำเภอหลายจังหวัดก็ใช้ไป อีสานไปหมดนะคะ ไปภาคตะวันออกอะไรก็แล้วแต่ ปรากฏว่าชุมชนก็ต้องเกิดขึ้นมากมายมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วพอเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ก็มีอันตรายมากขึ้น อยากจะเชิญชวนดูภาพค่ะ มี ๒ จุด ที่ดิฉัน อยากจะพูดถึง ท่านจะสังเกตว่าในภาพ พี่น้องประชาชนข้ามถนนกัน ดูลักษณะของ พี่น้องประชาชนนะคะ วิ่งข้าม มาเป็นกลุ่ม พอเลิกงานคนก็จะใช้ ปรากฏว่าถนนมัน กว้างใหญ่ถูกไหมคะ พี่น้องประชาชนก็เลยร้องขอมาว่าอยากจะได้สะพานลอยข้ามถนน เพราะว่ามันจะได้ชัดเจนไปเลย เนื่องจากว่าเขาเสียวไส้กันค่ะ เสร็จจากการทำงานมาเป็นกลุ่ม เห็นชุดของพนักงานที่มา เป็นอย่างนี้ค่ะ เป็นประจำทุกวัน มีหมู่บ้านจัดสรรเยอะ มีวัด มีโรงเรียน มีผู้คนสัญจรไปมามากมาย นี่คือจุดแรกที่อยากจะพูดถึง คือจุดที่เห็นในภาพ นี่อีก ภาพหนึ่ง เป็นจุดที่พี่น้องประชาชนตรงหน้าตลาดสุวินทวงศ์ ซึ่งอยู่ถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๐๔ นี้ละค่ะ เขาอยากจะได้เขาก็ร้อง จริง ๆ มีเป็นวิดีโอด้วยนะคะ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เมื่อสักครู่เป็นกิโลเมตรที่ ๕๒+๐๐๐ นั่นคือภาพหนึ่งที่อยากจะได้สะพานลอยเพราะเป็นตลาด มีหมู่บ้านมีอะไรอย่างที่บอก เยอะแยะเลย มีโรงงานด้วย ต่อไปก็เป็นอีกจุดหนึ่งค่ะ เป็นจุดที่คนก็ต้องการสะพานลอย ซึ่งไม่ได้ห่างกันนะคะ แต่มันไกลกันเป็นกิโล คือเมื่อสักครู่กิโลเมตรที่ ๕๒+๐๐๐ อันนี้ กิโลเมตรที่ ๕๓+๑๐๐ อันนี้มีตลาดอีกตลาดหนึ่งเรียกว่า หน้าตลาดคลองเจ้า ตำบล ศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็น ๒ อำเภอ ๒ ตำบลนั้นนะคะ แต่อยู่ ไม่ไกลกัน แต่มีคนเยอะเหลือเกินค่ะท่านประธาน และมีประชาชนอยู่คนหนึ่ง วันนั้นดิฉัน ได้ลงพื้นที่ไปกับท่านแขวงการทางนี้ละค่ะ เราไปดูพื้นที่กัน ประชาชนคนนั้นก็เห็นเรายืนมุง คุยอะไรกันไม่รู้ เขาก็บอกว่ามาคุยอะไรกันนี่ เราก็บอกว่าเรามาคุยเรื่องนี้ พี่น้องประชาชน ร้อง สส. ก็เลยลงพื้นที่มาดู ดีมากเลยค่ะ ดิฉันอยากจะร้องเรียน เขาก็บอก ถามว่าร้องเรียน อะไร เขาก็บอกเขานี่บ้านอยู่แถวนี้ แต่เขาไปทำงานอยู่จังหวัดชลบุรี เขาอยากกลับบ้าน ทุกวันแต่กลับบ้านไม่ได้ เพราะถ้ากลับบ้านก็มีอัตราเสี่ยงในการข้ามถนนทุกวัน เขาจึงต้องไป เช่าบ้าน เช่าบ้านแล้วกลับบ้านทุกวันศุกร์ อัตราเสี่ยงจะได้เหลือวันเดียว นี่คือสิ่งที่ชีวิต พี่น้องประชาชนอยู่แบบนี้ และใช้มอเตอร์ไซค์ก็ดีอะไรก็ดีเยอะมาก ดังนั้นจึงต้องการ สะพานลอยอีกจุดหนึ่ง สรุปว่ามีสะพานลอย ๒ จุด จุดหนึ่งคือหน้าตลาดสุวินทวงศ์ กิโลเมตร ๕๓+๑๐๐ กับหน้าวัดคลองเจ้า กิโลเมตรที่ ๕๒+๐๐๐ ๒ จุดนะคะท่านประธาน ก็เลย อยากจะเรียนถามว่าทางกรมทางหลวงจะสามารถดำเนินการให้ได้ไหม และถ้าดำเนินการได้ จะเมื่อไรดี เพราะว่ามันเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินมาก ขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านรัฐมนตรี เส้นแบ่งด้วยนะ เส้นแบ่งสาย เชิญครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ในประเด็นคำถามของท่านสมาชิกในประเด็นแรก เรื่องของ เส้นแบ่งถนน เดี๋ยวจะมอบให้ทางกรมทางหลวงได้ไปดำเนินการ แล้วก็หาแนวทางว่า จะทำเส้นแบ่งถนนอย่างไรเพื่อให้พี่น้องประชาชนเห็นด้วยระดับสายตาให้เห็นชัดเจน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในอนาคต
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
สำหรับคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิกว่าในกรมทางหลวง โดยกระทรวง คมนาคม ว่าในบริเวณดังกล่าวถนนดังกล่าวตั้งอยู่ทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ เรียกว่า ตอนคลองหลวงแพ่ง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่บริเวณหน้าหมู่บ้านสานฝัน และหน้าหมู่บ้าน สุวินธารา ขอขึ้นภาพสไลด์เพื่อจะได้เห็นภาพว่าโดยพื้นที่ดังกล่าวก็เป็นเส้นทางที่มีพื้นที่ แล้วก็มีการจราจรหนาแน่น รถประมาณ ๕๑,๒๑๓ คัน ซึ่งแขวงทางหลวง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ปี ๒๕๖๗ เพื่อดำเนินการ จุดที่จะดำเนินการก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามที่เหมาะสมตามที่ท่านสมาชิกได้นำเรียนสักครู่ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรียกว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลคลองหลวงแพ่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาแดง ได้มีการประชุมกัน แล้วก็เมื่อมีการประชุมแล้ว ก็ไปขอความยินยอมจากเจ้าของตึกในบริเวณ ๒ ฟาก ท่านจะเห็นว่านี่คือภาพที่เราได้มี การขอรับความยินยอม ปรากฏว่าพี่น้องประชาชนหรือว่าตึกที่อยู่บริเวณทั้ง ๒ ฝั่ง ไม่ให้ความยินยอมค่ะ เมื่อไม่ให้ความยินยอมดังกล่าว การก่อสร้างสะพานลอยบริเวณ หน้าที่ดินของตัวเอง เคยมีกรณีของการพิพาททุกครั้งเวลากรมทางหลวงจะต้องสร้าง สะพานลอย พี่น้องทั้ง ๒ ฝั่ง ต้องได้รับความยินยอม แต่ถ้ามีคำถามเกิดขึ้นมาว่าในเมื่อ ที่ตรงนั้นเป็นที่สาธารณะทำไมกรมทางหลวงจะสร้างไม่ได้ เคยมีกรณีพิพาทที่ศาลทุก ๆ ครั้ง กรมทางหลวงจะแพ้คดีนี้ทุก ๆ ครั้ง เพราะตอนนี้กฎหมายเขาเน้นถึงสิทธิของการใช้พื้นที่ สาธารณะ ถ้าคุณมาสร้างสะพานลอยตรงบ้านเขาขณะที่เขาค้าขายเขาก็สูญเสียรายได้ ขาดลูกค้า นี่จึงเป็นคำพิพากษาของศาลและให้กรมทางหลวงยึดถือแนวทางนี้เป็นแนวทาง ปฏิบัติ จึงทำให้เราไม่สามารถที่จะสร้างสะพานลอยตรงนี้ได้ แต่เราก็มีการประชุมร่วมกันว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีมาตรการต่อไปอย่างไร หากดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวก็คือ ตอนนี้ต้องขอความร่วมมือทางท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นว่าลองกลับไปพูดว่าถ้าเรายังต้องมีมาตรการแบบนี้ ถ้าเรายินยอมให้สร้าง สะพานลอยตรงบริเวณนั้นมีเซเว่น-อีเลฟเว่นด้วย บางครั้งก็เป็นช่องทางหนึ่งให้ลูกค้ามา เพิ่มขึ้นก็ได้ ที่ลูกค้าสามารถข้ามสะพานลอยมาใช้บริการ หรือว่าเป็นร้านค้า นั่นก็เป็นเหตุผล หนึ่งในการจูงใจให้ทางเจ้าของยินยอม ก็ฝากท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปประสานต่อ แต่ถ้าตรงอาคารดังกล่าวให้ความยินยอมแล้วกรมทางหลวงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้มี การจัดสรรงบประมาณในการสร้างสะพานลอยในโอกาสต่อไป นี่ก็คือภาพของสะพานลอยทั้ง ๒ ฝั่ง แต่ว่าเบื้องต้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย เราก็อยู่ในระหว่าง รอการจัดสรรงบประมาณบริเวณวัดคลองเจ้า โดยผู้ใช้ทางสามารถใช้จุดกลับรถใต้ สะพานลอยคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตได้อีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งมุมภาพด้านขวา โดยมีระหว่าง ประมาณ ๑๐๐ เมตร ถ้าประชาชนไม่สามารถข้ามจุดตรงที่เป็นจุดสีแดงก็สามารถมาใช้ข้าม ตรงจุดสีฟ้าที่เห็น ก็ระยะห่างจากจุดเดิมเพียงแค่ ๑๐๐ เมตร โดยกรมทางหลวงจังหวัด ฉะเชิงเทราก็จะดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยเพิ่มขึ้น แล้วก็จะช่วยลด ความเร็วสำหรับรถในการขับขี่ ก็คือสัญญาณเตือนว่าให้ชะลอความเร็วในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งก็จะติดตั้งป้ายจราจร ไฟกระพริบให้มีการชะลอความเร็ว พร้อมทั้งประสานกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้สื่อสารกับพี่น้องประชาชนว่าถึงแม้ตรงนี้เราไม่สามารถสร้าง สะพานลอยได้นะ แต่เรามีอีกทางหนึ่งที่จะเปิดทางให้พี่น้องประชาชนข้ามถนนได้อย่าง ปลอดภัย ในส่วนของที่ท่านสมาชิกได้พูดว่าบริเวณดังกล่าวมีรถจำนวน ๕๐,๐๐๐ กว่าคัน เราก็ได้กำหนดจุดก่อสร้างให้เห็นอย่างที่นำเรียนว่าถึงอย่างไรก็ตาม การอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยทางกรมทางหลวงก็จะรอการจัดสรรงบประมาณ แล้วก็สามารถให้พี่น้อง ประชาชนใช้สัญจรไปมาได้ ในการออกแบบก็ขออนุญาตนำเรียนท่านประธานไปถึง ท่านสมาชิกว่าในการออกแบบ ๑๐ ช่องจราจรนี้ ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่เข้าสู่กรุงเทพมหานคร เราก็จะมีพื้นที่ทางหลักและพื้นที่ทางคู่ขนาน เราก็ต้องพิจารณาถึงการใช้ยานพาหนะในการ ออกแบบ ลักษณะการจราจร ความสัมพันธ์ของกระแสจราจร ก็คือว่าถนนดังกล่าวมีความ หนาแน่นของการใช้รถเพียงใด ขีดความสามารถของทาง ระดับการให้บริการผู้ขับขี่แล้วก็คน เดินถนน ซึ่งการจัดการอำนวยความสะดวกเหล่านี้รวมทั้งผู้ขับขี่รถจักรยาน หรือ รถจักรยานยนต์เป็นต้น ทุกมิติของการออกแบบกรมทางหลวงได้คำนึงถึงว่าหลังจาก ออกแบบแล้วมิติของความปลอดภัย มิติของความสะดวกสบาย ตลอดไปจนถึง การบำรุงรักษาในอนาคตเราจะช่วยกันให้พี่น้องประชาชนสัญจรไปมาได้อย่างปลอดภัย อย่างไร โดยทางหลักเส้นนี้เป็นทางถนน ๑๐ เลน แล้วก็เป็นรถที่ต้องใช้ความเร็วสูง และเป็น จุดเชื่อมต่อกับพื้นที่ที่เป็นทางเล็กหรือว่าทางระดับข้าง ๆ มีการควบคุมการเข้าออกอย่างเป็น ระบบ ก็ต้องระวังด้วยเช่นกัน เพราะว่าเป็นเส้นทางหลัก นอกจากนั้นในบริเวณดังกล่าว เราก็ทราบว่าถนนเป็นสายเมนหลัก แล้วก็รถต้องใช้ความเร็วสูง เพราะว่าเป็นรถที่ต้องใช้ เส้นทางที่เป็นระยะทางไกล พาหนะส่วนใหญ่ก็จะเป็นรถยนต์ และเส้นทางคู่ขนานที่เป็นทาง เชื่อมต่อกับพื้นที่และบริเวณริมทาง ปริมาณการจราจรน้อย เส้นหลักจะใช้รถความเร็วสูง เส้นรองจะใช้รถความเร็วต่ำ ก็ทำให้การเดินทางระยะใกล้และพาหนะส่วนใหญ่จึงเป็น จักรยานยนต์ ที่ดิฉันโชว์ภาพทั้งหมดทั้งมวลค่ะท่านประธานที่เคารพ กระทรวงคมนาคมเอง โดยกรมทางหลวงก็มุ่งมั่นพัฒนาแล้วก็พยายามที่จะจัดการบริหารโครงข่ายทางหลวงที่ สามารถเชื่อมโยงสะดวก ปลอดภัยตามมาตรฐานของทางหลวงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ให้พี่น้องประชาชนได้ใช้เงินภาษีอย่างคุ้มค่า แล้วก็เข้าถึงการบริการของคนทุกกลุ่ม ต้อง ขอบคุณท่านสมาชิกเป็นอย่างสูงที่ได้สะท้อนปัญหา ไม่ว่าเรื่องของการก่อสร้างสะพานลอย ไม่ว่าปัญหาเรื่องของจุดกลับรถ ทุกประเด็นของปัญหาจะได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วภายใต้ รัฐบาลของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ฝากอะไร เชิญครับ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ฐิติมา ฉายแสง จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต ๑ พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธานคะ จากทั้งการตอบท่านรัฐมนตรีก็ดี ภาพที่ท่าน นำเสนอก็ดี จะเห็นว่า ๑. ทำสะพานลอยไม่ได้ และให้ไปใช้ทางจุดกลับรถ ท่านประธานคะ พี่น้องประชาชนเขาอยู่ตรงนั้น มีหมู่บ้านจัดสรรเยอะมาก โรงงานเยอะเลย ถ้าใช้จุดกลับรถ ตรงนั้นได้เขาใช้ไปแล้วละ เพราะมันใช้ไม่ได้ มันไกล ลำบากอะไรก็แล้วแต่ จึงอยากได้ สะพานลอยกันคนเรา ทีนี้อาจจะพูดกันไม่รู้เรื่องตรงนี้ค่ะ เวลาที่ดิฉันลงพื้นที่แล้วไปคุยกับ ผู้ใหญ่บ้านก็ดี หรือสมาชิก อบต. อะไรก็แล้วแต่ เราคุยกันเขาจะบอกว่ามีที่ราชพัสดุนะพี่ พี่ไปดูก่อน ดิฉันจึงอยากจะฝากว่าสะพานลอยนี้อย่าเพิ่งสรุปว่ามันทำไม่ได้เสียทีเดียว ขอให้ ไป Work กันในพื้นที่ให้จริงจัง แต่ถ้าจะมาฝากให้ดิฉันไปคุยกับ อบต. เอง กลัวจะโดน ก้าวก่ายและแทรกแซง ก็ไม่อยากที่จะไปพูดกันขนาดนั้น ที่ดิฉันพูดว่าไปคุยกับผู้ใหญ่บ้าน คุยกับอะไร มันคือเจอกันในวงสนทนา วงงานบวชอะไรก็แล้วแต่ ก็เลยพูดคุยกันแบบนั้น แต่เขาอยากได้กันมาก ดังนั้นจึงต้องฝากทางท่านประธานบอกทางแขวงการทางนี่ละค่ะ ว่าท่านต้องลงไปดู ไปคุยกันให้ชัดเจนจริง ๆ เพราะจริง ๆ แล้วดิฉันลงพื้นที่กับท่านนานแล้ว หลายเดือนแล้ว ตั้งแต่ตอนเป็น สส. ใหม่ ๆ นี่เข้ามา ๘ เดือน ๙ เดือน มันยังไม่มี ความคืบหน้าอะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นต้องมีอะไรผิดปกติแน่นอน จะคุยกันไม่ถี่ถ้วนดีพอ ยังไม่ชัดเจน ทางนั้นพอถามตรงนั้น ตรงนั้นบอกยังไม่รู้เรื่องมันอะไรกันก็ไม่รู้ค่ะ เพราะฉะนั้น ทำงานให้เต็มที่อีกหน่อย ดังนั้นอย่างที่บอกฝากนะคะ แล้วก็เมื่อสักครู่ดูภาพของท่าน รัฐมนตรีนะคะ อยากดูภาพสุดท้ายของท่านรัฐมนตรีอีกนิดหนึ่งค่ะ ท่านดูนะคะ ภาพซ้ายล่าง ท่านดูไม่มีเส้นเลยกลับมาพูดถึงเส้นอีกแล้ว เส้นบนถนน ท่านประธานดูนะคะ เส้นบนถนน เขาไม่ค่อยจะมีกันหรอกค่ะ แล้วเวลาที่พี่น้องประชาชนใช้ถนน รถชนกัน พอชนกันใครผิดใครถูกใครอะไรก็แล้วแต่ ขนาดมีเส้นชัดเจนยังมีปัญหาได้เลย นี่มันไม่มีเส้น อีกแล้ว เพราะฉะนั้นจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่กำลังเจริญขึ้น มีผู้คนย้ายเข้ามาอยู่ ผู้คน ใช้รถใช้ถนน มอเตอร์ไซค์ รถยนต์เยอะแยะ อุบัติเหตุเยอะมาก ดังนั้นจึงต้องมองให้ครบถ้วน ครอบคลุม ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ก็ฝากทางแขวงนะ คือท่าน สส. ก็ต้องไปช่วยจุดสำคัญที่ท่านรัฐมนตรีบอกว่าจุดก่อสร้าง ไม่ยอมกันเวลาอยู่หน้าอาคารพาณิชย์ อยู่หน้าอาคารพาณิชย์แล้วท่าน สส. ต้องไปช่วยคุย เพราะว่าทางราชการไปคุยก็คงจะลำบาก ไปช่วยเคลียร์
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ฐิติมา ฉายแสง จริง ๆ เคยลงไปคุยแล้วนะคะ รอบหนึ่ง
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ได้ไหม
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
คือคุยไปแล้วรอบหนึ่ง ก็จะมีการ เถียงกันอย่างนี้ หน้าบ้านหมู่บ้านจัดสรรเขาก็จะไม่ยอมแน่นอน เพราะทำหน้าบ้านเขา ไม่สวย ส่วนหน้าเซเว่น-อีเลฟเว่น เขาก็ไม่ยอม แต่มีคนพูดว่ามันมีที่ราชพัสดุตรงนี้ค่ะ ที่ต้อง ให้ทางการไปติดต่อกันเอง สส. จะไปถามที่ราชพัสดุ อย่างที่บอกว่าเดี๋ยวก้าวก่ายแทรกแซง อะไรก็แล้วแต่ ต้องให้ทางแขวงนี้ละค่ะ ลงไปดูรายละเอียดเอง สส. ไม่น่าจะมีหน้าที่ตรงนั้น พยายามแล้ว หน้าที่ สส. คือรับเรื่องราวร้องทุกข์แล้วนำมาพูดในสภาผู้แทนราษฎร ขณะนี้ พูดหารือไปแล้วรอบหนึ่งแล้วมาพูดกระทู้ถามแยกเฉพาะอีกรอบหนึ่ง ถือว่าสู้เต็มที่แล้วนะคะ ท่าน ให้ลงไปดูอีกนี่ไม่น่าใช่หน้าที่แล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านรัฐมนตรี อันนี้นอกรอบนะ ทำอย่างไร หมดเวลาแล้วเดี๋ยวเราคุยนอกรอบกัน เดี๋ยวลอง ไปคุยกันกับท่านแขวง ท่านรัฐมนตรีเดี๋ยวลองคุยกันดูนะครับช่วงนี้ ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒. เรื่อง ติดตามความคืบหน้าการขายคืนให้ราษฎรของที่ดินราชพัสดุ แปลง ภก. ๒๖๓ บ้านบางเทา ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต (นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล) เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานรัฐมนตรี กระทวงการคลัง ได้มีหนังสือแจ้งว่ารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ในฐานะรักษาราชการแทนฯ ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการคลัง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๕๑
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ในการนี้เพื่อประโยชน์ในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ผมได้อนุญาตให้ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสนับสนุนข้อมูลในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ดังนี้ ท่านที่ ๑ นายธีรพงศ์ สุขช่วย ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ท่านที่ ๒ นางสาวอัจรีภรณ์ สุขทองสา เจ้าหน้าที่จัด ผลประโยชน์ชำนาญการพิเศษ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ท่านฐิติกันต์ พร้อมนะครับ เชิญครับ
นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง และตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกล ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การคลัง ท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ที่เสียสละเวลามาตอบกระทู้ในวันนี้ ท่านประธานครับ ที่ดินราชพัสดุแปลงภูเก็ต หรือ ภก. ๒๖๓ บ้านบางเทา ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันมีการแบ่งแยกโฉนดแล้วแต่ยังไม่ได้ขายคืนให้กับราษฎร ทั้งที่มีมติ ครม. อนุมัติแล้วในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๙ ซึ่งความล่าช้าดังกล่าวส่งผลกระทบ ต่อพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการแย่งการครอบครองสิทธิ ไม่สามารถขอทะเบียนบ้านได้ เมื่อไม่สามารถขอทะเบียนบ้านจึงไม่สามารถขอไฟฟ้าและน้ำประปาได้ ไม่สามารถขออนุญาต ก่อสร้างได้ แต่กลับต้องจ่ายภาษีให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเลอยู่ ล่าสุดมีหนังสือ จากอธิบดีกรมธนารักษ์ ฉบับที่ ภก. ๐๔๒๐/๒๐๐๘ ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๓ ว่ามีมติ ครม. ในวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓ เห็นชอบให้ขายที่ดินราชพัสดุแปลงดังกล่าวที่มีจำนวน กว่า ๗๐๐ ไร่ ให้กับราษฎรผู้ถือสิทธิเดิม โดยแบ่งกลุ่มผู้ถือครองที่ดินเป็น ๓ กลุ่ม ผมจึง มีข้อถามท่านรัฐมนตรีดังนี้ครับ
นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ
๑. ไม่ทราบว่ากระทรวงการคลังจะมีการขายคืนที่ดินราชพัสดุที่ได้มีการ แบ่งแยกโฉนดแล้วนั้น จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเมื่อใด และราคาที่ขายคืนจะใช้ราคาใด มีค่าธรรมเนียมใด ๆ อีกหรือไม่ ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะที่กำกับดูแลกรมธนารักษ์ ก็ได้รับมอบหมายให้มาตอบในกระทู้ถามแยกเฉพาะ ของท่านฐิติกันต์ ต้องกราบขอบพระคุณนะครับ ผมขอประทานอภัยด้วย เพราะว่าที่ลงมาช้า ติดกระทู้ถามสดด้วยวาจาอยู่ข้างบน และการตอบในวันนี้จะเป็น Script ธรรมดาท่านจะเห็น ผมพูดสด แต่อันนี้เนื่องด้วยมันเป็นรายละเอียดที่มันเป็นเรื่องข้อกฎหมายขั้นตอน จะขอ อนุญาตอ่านตรงนี้ แล้วตอนท้ายของแต่ละคำถามผมจะสรุปในส่วนของผมนะครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ในประเด็นแรก พื้นที่ตรงนี้มันเป็นเรื่องตั้งแต่เก่าก่อนตั้งปี ๒๔๖๓ เรียกว่า กระทรวงเกษตราธิการ พวกเราก็ไม่ทันกัน ซึ่งได้ดำเนินการบังคับซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว จากประชาชนของบ้านบางเทาจำนวน ๒๐๔ ราย พื้นที่ ๗๐๔ ไร่เศษ มาทำเหมืองแร่ ออกประทานบัตรให้กับบริษัท บริษัทหนึ่ง ซึ่งได้ดำเนินการมาหลายสิบปี จนกระทั่งยกเลิก ประทานบัตร สิ้นสุดอายุลงในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๐ ปี ๒๕๒๐ เป็นปีที่มีความสำคัญ เพราะว่ามันจะมาผูกพันกับเรื่องของการคิดคำนวณเรื่องของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในปี ๒๕๒๕ กรมธนารักษ์ก็ได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวขึ้นทะเบียนกับที่ดินราชพัสดุ เป็นแปลงทะเบียน ที่ ภก. ๒๖๓ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต สถานะของที่ดินแปลงดังกล่าว ถึงแม้ว่ากระทรวงเกษตราธิการจะไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการโดยตรง แต่การได้มาและขั้นตอน ในการที่ครอบครองเป็นไปตามระเบียบวิธีการที่กฎหมายกำหนด และเป็นการสงวนที่ดินไว้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และกฎหมายของ พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ ในระหว่างที่มีการทำเหมืองแร่ก็มี การบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินจำนวนมาก เมื่อราชการยกเลิกประทานบัตรเหมืองแร่ ราษฎรก็ได้ร้องขอกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งมีมติ ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๙ ให้ขายที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพคืนให้แก่ราษฎรผู้ถือสิทธิเดิมในราคาที่ ผู้ซื้อรับภาระได้ อันนี้เป็น Keyword นะครับ และให้เช่าสำหรับผู้บุกรุกภายหลัง ทั้งนี้ ก่อนดำเนินการขายและให้เช่าให้กระทรวงมหาดไทยกันที่ดินในส่วนที่ทางราชการจะต้องใช้ เพื่อสาธารณประโยชน์ไว้ด้วย อันนี้เป็นมติ ครม. ดั้งเดิมเลย ต่อมาเมื่อมีมติ ครม. เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓ อนุมัติให้ดำเนินการตามแนวทางถือครองที่ดินที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้แบ่งกลุ่มผู้ถือครองที่ดินเป็น ๓ กลุ่ม อย่างที่ท่านได้เรียน กลุ่มที่ ๑ คือขายให้กับ ราษฎรผู้ถือสิทธิเดิมหรือทายาท โดยกำหนดราคาขายจากราคาที่ดินตามที่ทางราชการบังคับ ซื้อจากราษฎร คิดดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ ซึ่งเป็นปีที่ทางราชการ เลิกใช้ที่ดินเพื่อกิจการเหมืองแร่ ก็ต้องไปคิดคำนวณเอาว่าพื้นที่นั้น ๆ ก่อนที่ทางรัฐบังคับซื้อ ตั้งแต่ปี ๒๔๖๐ กว่า จนกระทั่งมาถึงปี ๒๕๒๐ เอาราคาที่ซื้อเป็นตัวตั้งแล้วคิดคำนวณ บวกอัตราดอกเบี้ย ๗.๕ เปอร์เซ็นต์ต่อปีเรื่อยมา กลุ่มที่ ๒ เป็นการขายให้กับราษฎร ผู้ถือครองที่ดินมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี นั่นก็คือถือครองที่ดินมาก่อนปี ๒๔๙๑ ๓๐ ปี นับย้อนตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ ให้กับกลุ่มนี้หรือทายาท โดยกำหนดราคาขายจากราคาประเมิน ที่กรมที่ดินได้ประเมินไว้สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ในปี ๒๕๒๐ ต้องเอาตัวเลขเรื่องของการประเมินที่ดินในปี ๒๕๒๐ บวกอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี และกลุ่มที่ ๓ ราษฎรที่ดินครอบครองที่ดินไม่ถึง ๓๐ ปี ไม่ให้กรรมสิทธิ์ ที่ดิน แต่จะดำเนินการจัดการให้เช่าตามระเบียบของกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดหา ประโยชน์ในที่ราชพัสดุตามที่กระทรวงการคลังเสนอ นั่นก็คือเข้าสู่กระบวนการเจรจา กับกรมธนารักษ์เพื่อที่จะเช่าใช้สิทธิในพื้นที่ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ในอัตราที่เหมาะสม กระทรวงการคลังเองในขณะนี้ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุเป็นที่ สาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ในตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยการขายให้แก่ทายาทเจ้าของเดิม พ.ศ. .... อันนี้เป็นชื่อ กฎหมาย เพื่อนำเสนอต่อ ครม. อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งสำนักเลขาธิการ ครม. ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว โดยปกติสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาก็จะใช้ระยะเวลาประมาณ ๒ เดือน ในการพิจารณาร่างกฎหมาย โดยทั่ว ๆ ไป อันนี้เป็นกรอบระยะเวลาโดยคร่าว หากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังเสนอก็จะให้ตรวจพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติไปได้ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็จะมาพิจารณาเอกสารและ หลักฐานข้อเท็จจริงแล้ว โดยสรุปสาระสำคัญว่าหากกระทรวงการคลังได้ตรวจสอบถูกต้อง ก็ดำเนินการตราพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ต่อไป
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
สำหรับประเด็นการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ราชพัสดุให้แก่ผู้ครอบครองและทำ ประโยชน์ในพื้นที่ ก่อนปี ๒๔๙๑ ซึ่งมิใช่เจ้าของเดิมหรือทายาท เห็นว่าโดยที่คณะรัฐมนตรี ยังไม่ได้อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ. การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุโดยการขายดังกล่าว จึงเป็น กรณีที่สมควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทบทวนหลักการของร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้เกิดความ รอบคอบอีกครั้ง ทบทวนความเหมาะสมของราคาที่ดินในการกำหนดราคาขายที่ดินนั้นให้แก่ ราษฎรกลุ่มที่ ๒ ด้วย ประเด็นนี้ก็หมายความว่าหลังจากกฤษฎีกาตรวจทานแล้วก็จะนำเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อที่จะมาทบทวนในเรื่องของราคา เพื่อที่จะมาทบทวนในเรื่องของกลุ่มคน กลุ่มที่ ๓ ซึ่งไม่ได้รับสิทธิโดย พ.ร.บ. นี้ เราก็จะไปทบทวนเพื่อหาทางออกที่มีความเหมาะสม ต่อไปนะครับ ขณะนี้อยู่ระหว่างที่กรมธนารักษ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวม ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่และจำนวนราษฎรที่ถือครองให้เป็นปัจจุบันตามบัญชีรายชื่อราษฎร ทั้ง ๓ กลุ่ม พร้อมขอบเขตรูปแผนที่แสดงการครอบครองของราษฎร และพิจารณาทบทวน ความเหมาะสมของราคาขายที่ดิน เนื่องจากราคาขายที่ได้คำนวณตามมติ ครม. เมื่อปี ๒๕๔๓ มีราคาต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันในปัจจุบัน ตามข้อสังเกตของสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จเอกสารหลักฐานครบถ้วนแล้ว กระทรวงการคลังจะได้เสนอร่าง พ.ร.บ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินเพื่อขอความเห็นชอบ ครม. พิจารณาทบทวนหลักการกำหนดราคาขาย แก่ราษฎร และอนุมัติร่าง พ.ร.บ. นี้ เมื่อ ครม. ให้ความเห็นชอบแล้วก็จะสามารถกำหนด ราคาขายดำเนินการขายคืนที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวให้แก่ราษฎรตามขั้นตอนทางกฎหมาย ต่อไป ค่าธรรมเนียมอื่นใดที่จะเรียกเก็บกับราษฎรนั้นจะมีการจัดเก็บตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดตามประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป อันนี้เป็นที่ได้นำเสนอต่อท่านประธาน แต่อย่างไร ก็ตามผมต้องกราบขอบพระคุณท่าน สส. ฐิติกันต์ ที่ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้ เรียนด้วยความ เคารพผมเองก็เป็น สส. จากเชียงใหม่ ไม่เคยรู้เรื่องพื้นที่ตรงนี้เลย อันนี้ด้วยความเคารพ จนกระทั่งมาเป็นรัฐมนตรีเรื่องก็ไม่เคยมาถึงโต๊ะ เมื่อท่านมีกระทู้ถามมาเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่อย่างน้อยปัญหาของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ตในกลุ่มนี้ได้มาถึงฝ่ายบริหาร ผมเองมาเห็นปัญหาก็รับทราบแล้วว่าเป็นเรื่องที่มันคาราคาซังมาหลายสิบปี ผมเองรับภาระ ท่านว่าจะหาทางแก้ไขปัญหาให้ได้โดยเร็ว ในเรื่องของราคาที่ยังเป็นปัญหานั้น ปัญหาที่มัน มีค้างกันอยู่ก็คือ ด้วยกลไกการคำนวณคิดราคาตั้งแต่ปีที่ซื้อปีที่ซื้อคือปี ๒๔๐๐ กว่า เอามา ตั้งเป็นฐาน ปี ๒๕๒๐ แล้วคิดคำนวณ ๗.๕ เปอร์เซ็นต์ต่อปี ทำให้ราคามันต่ำกว่าราคาตลาด ไปมาก นี่เป็นข้อท้วงติงของทางกฤษฎีกา แต่เป็นประโยชน์กับประชาชน ตรงนี้ผมเอง ก็รับโจทย์ไว้ แล้วก็ขอทดไว้ในใจ แล้วก็จะดูว่าในคณะรัฐมนตรีเราจะพอหาทางอย่างไร แน่นอนต้องคืนสิทธินี้ สิทธิในพื้นที่นี้ให้กับประชาชน ๒. ก็คือในเรื่องราคาต้องเป็นราคา ที่เกิดประโยชน์กับประชาชนให้ได้มากที่สุด แล้วก็ไม่กระทบจนเกิดความเสียหายต่อรัฐ อันนี้ ก็เป็นสิ่งที่ต้องยืนยันผ่านท่านประธานไปยังท่านสมาชิก ส่วนค่าธรรมเนียมอื่นใดถึงเวลามันก็ จะมีค่าธรรมเนียมขึ้นมา แต่ผมเล่าให้ท่านฟังว่าสุดท้ายมันก็อยู่ในกรอบอำนาจของ ฝ่ายบริหารและในฝ่ายราชการ ท่านอธิบดีเองในการที่จะปรับลดหย่อนในบางกรณีเพื่อให้ การคืนสิทธิกับประชาชนสำเร็จได้ เรารับโจทย์มา และผมเองก็ขอเรียนกับท่านว่าถ้ามีโอกาส ก็จะขอลงไปพื้นที่ไปพบปะกับพี่น้องประชาชนในกลุ่มนี้ที่จังหวัดภูเก็ตเพื่อที่จะดูปัญหา ของเขาแล้วก็หาทางแก้ไขต่อไปครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ คำถามที่ ๒ เชิญครับ
นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขอบคุณ สำหรับท่านรัฐมนตรีที่ได้กรุณาตอบคำถามข้อแรก ประเด็นคือปัญหาหลักก็คือเรื่องราคา อย่างที่ท่านได้แจ้งไว้เบื้องต้นว่า ในปีพุทธศักราช ๒๔๐๐ กว่า ทางการได้ซื้อคืนจากราษฎร ในราคาที่ต่ำ ซึ่งตอนนั้นพื้นที่ไม่ได้มีการพัฒนาเหมือนอย่างเช่นปัจจุบัน ปัจจุบันราคาที่ดิน แถวตำบลเชิงทะเลถ้าท่านเคยไปเที่ยวก็คือราคาจะสูงมากครับ ตอนนี้ไร่หนึ่งก็ประมาณ ๕๐ กว่าล้านบาท แต่ประเด็นคือชาวบ้านที่ขายเพื่อให้ไปทำประโยชน์ทางด้านเหมืองแร่ อย่างที่ท่านทราบ แต่พอจะซื้อคืนถ้าหากทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าต้อง ขายในราคาปัจจุบันก็จะฝากท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีว่ามันก็จะทำให้กระทบต่อพี่น้อง ประชาชนที่ไม่ได้มีรายได้เยอะ เพราะทุกคนก็ยังค้าขายเป็นอาชีพปกติ ไม่ได้ทำเป็น Pool Villa หรืออะไรอย่างนี้ ดังนั้นการที่ถ้าจะตั้งราคาให้ราษฎรซื้อคืนในราคาปัจจุบันก็จะ ไม่มีใครสามารถซื้อคืนได้แน่นอนครับ เรื่องนี้ก็จะฝากท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีว่า ต้องช่วยเข้าใจหัวอกของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพราะมันมีความจำเป็นจริง ๆ อย่างบางแปลงไม่กี่ไร่ ถ้าสมมุติว่าไร่ละ ๕๐ ล้านบาท สมมุติงานหนึ่งก็หลายล้านแล้ว น่าจะมีหลายท่านที่ไม่สามารถซื้อคืนได้นะครับ
นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ
คำถามข้อที่ ๒ ในระหว่างที่รอการดำเนินการขายคืนจากทางร่าง พ.ร.บ. ที่จะแล้วเสร็จนี้ ปัจจุบันคือถ้าหากราษฎรจะขอต่อเติมสร้างบ้าน ปรับปรุงบ้าน หรือจะขอ ทะเบียนบ้านเพื่อไปขอไฟฟ้า น้ำประปาใช้ อย่างนี้ไม่ทราบว่าจะมีขั้นตอนในการดำเนินการ อย่างไรที่เบื้องต้นบรรเทาชะลอความเดือดร้อนในเบื้องต้นได้ก่อน แล้วก็ปัจจุบันยังต้องจ่าย ภาษีกับทาง อบต. อยู่ กรณีอย่างนี้พอจะช่วยบรรเทาหรือแก้ไขหาทางเยียวยาได้อย่างไรครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ประเด็นแรกเลยที่ผมนำเสนอในเบื้องต้นแล้วผมก็บอกว่า Keyword มันคืออะไร มติ ครม. ตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ บอกว่าการขายที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยแล้วประกอบอาชีพคืนให้กับราษฎร ในราคาที่ผู้ซื้อรับภาระได้ เพราะฉะนั้นโจทย์มันมีมติ ครม. เดิมที่ช่วยมาคุ้มครองอยู่ เราเองก็ จะยึดหลักการนี้ เขาเสียสละที่ดินให้กับรัฐ โดนบังคับขายในอดีต วันนี้เป็นสิทธิที่เขาจะต้อง ได้รับพื้นที่นี้คืนไป แล้วก็อย่างที่ได้เรียนคือรับเป็นโจทย์ ตั้งโจทย์อันนี้ไว้ว่าอย่างน้อยจะต้อง คืนให้เขาได้ในราคาที่เป็นธรรม อันนี้ขอยืนยันผ่านท่านประธานไปยังท่านสมาชิก
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
คำถามข้อที่ ๒ ของท่าน ผมต้องเรียนอย่างนี้ว่าในระหว่างที่รอดำเนินการ โอนกรรมสิทธิ์เพื่อขายคืนที่ดินดังกล่าว ในกลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๒ ราษฎรมีสถานะเพียง ผู้ครอบครองที่ดินราชพัสดุเพื่อรอให้ดำเนินการไปเป็นตามมติของ ครม. ยังไม่มีสิทธิในที่ดิน ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้เช่าที่ราชพัสดุ ดังนั้นการใช้ประโยชน์จึงกระทำได้เพียงแต่ ไม่ก่อให้เกิดภาระผูกพัน อันส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการที่ราชพัสดุในภายหน้า ประเด็นนี้ถ้าเขียนอย่างนี้คำตอบก็คือไม่ได้ ผมเองก็ต้องเรียนว่าอย่างไรก็ตามเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนของราษฎรที่อยู่อาศัยมันก็มีช่องทางที่เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งรัฐสามารถ ดำเนินการในกลุ่มที่มีการบันทึกสอบสวนสิทธิไว้แล้วให้ได้รับการรับรองสิทธิในการอยู่อาศัย และได้รับประโยชน์ของการขอสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตามความจำเป็นต่อ การดำรงชีวิต ซึ่งกรมธนารักษ์กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา หากเราดำเนินการในรูปแบบ ของการเช่า นั่นก็คือเรารู้ว่าเขากำลังจะเดินหน้าเพื่อที่จะซื้อคืนในพื้นที่นั้น ๆ แต่เราสามารถ ที่จะดำเนินการในรูปแบบของการเช่า ซึ่งเช่าผมเรียนว่าถูกมาก เมื่อสักครู่ผมตอบกระทู้ถาม สดข้างบนก็เป็นการพูดถึงเรื่องการเช่าที่ของราชพัสดุ ซึ่งเรากำหนด Rate ค่าเช่าหากเป็น ที่อยู่อาศัยไม่เกิน ๑๐๐ ตารางวา คิดตารางวาละ ๒๕ สตางค์ต่อตารางวาต่อปี ถูกมาก ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรไม่เกิน ๕๐ ไร่ เราคิด ๒๐ บาทต่อไร่ต่อปี คือถูกมาก มันเป็นกลไก ที่จะสามารถเข้ามาแทรกกลางระหว่างขั้นตอนได้ หากพี่น้องประชาชนมีความพร้อมและ ยินยอมเข้าสู่การเจรจากับทางกรมธนารักษ์ เข้าสู่กระบวนการเช่าที่ราชพัสดุในเบื้องต้นก่อน ก่อนที่กระบวนการในเรื่องของการขายที่มันจะเสร็จสิ้น เมื่อเข้าสู่การเช่าใช้พื้นที่ของ ราชพัสดุแล้ว สิทธิในการพัฒนาในการทำสาธารณูปโภคเหล่านี้ท่านจะได้ไปโดยทันที อันนี้เป็นทางออกทางหนึ่งที่ลองนำเสนอ เผื่อที่ท่านในฐานะที่เป็นตัวแทนของประชาชน จะไปพูดคุยกับพี่น้องประชาชนในกลุ่มนั้น ๆ ว่านี่คือทางออกทางหนึ่งในการที่จะรับสิทธิ ขั้นพื้นฐานในเรื่องของการเข้าถึงสาธารณูปโภคเหล่านั้น หากทางประชาชนมีความพร้อม และยินยอมทางธนารักษ์เรายินดีที่จะดำเนินการให้ครับ ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
หมดเวลาแล้วนะครับ
นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ
เดี๋ยวขอสั้นๆ ครับ พอดีเห็นท่านรัฐมนตรี จะรีบเดินทาง ก็จะขอขอบคุณ แล้วก็ได้ฟังท่านรัฐมนตรีตอบก็สบายใจว่าท่านก็มีความ เป็นห่วงเป็นใยประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต แล้วก็จะยินดีเป็นอย่างยิ่งถ้าท่านจะเสียสละ ลงพื้นที่ไปด้วย ได้ไปตรวจสอบพื้นที่จริง จะได้ไปฟังบางมุมของชาวบ้านจริง ๆ นะครับ วันนี้ขอบคุณท่านมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านฐิติกันต์ก็เช่าก่อน ที่ซื้อคืนได้มันซื้อได้อยู่แล้ว เช่าก็เช่าได้อยู่แล้วใช่ไหมครับ แต่ถ้าเป็น ที่หลวงก็เป็นที่หลวงอยู่แล้ว ไปจัดการเช่าก่อน น้ำ ไฟ จะเข้าไป ขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๓. เรื่อง การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการขยายทางพิเศษยกระดับ ถนนพระราม ๙ (นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม ได้แจ้งว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นางมนพร เจริญศรี เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๕๑
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ในการนี้เพื่อประโยชน์ในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ผมได้อนุญาต ให้ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสนับสนุนข้อมูลในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ดังนี้ ๑. ท่านพีรวัส ทองประไพ ผู้อำนวยการกองพัฒนาและรักษาเขตทาง ๑ ทำการแทน ผู้อำนวยการฝ่ายกรรมสิทธิ์ที่ดินการทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ๒. นายไพฑูรย์ คร่ำกระโทก หัวหน้าแผนกอุทธรณ์และร้องทุกข์ กองกรรมสิทธิ์ที่ดินการทาง พิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม และผมได้อนุญาตให้ประชาชนผู้มีส่วนร่วมเข้ารับ ฟังในการตอบกระทู้ถาม ดังนี้ ๑. นายอาทิตย์ ชูสกุลธนะชัย ๒. นายภมร พลจันทร์ (ไม่มา) ๓. นายไพศาล สุทธาวรางกูล ๔. นายนฤนัย กัลยา ณ สุนทร ๕. นางสาวพิมพ์ณดา ตรีวิศวเวทย์ ๖. นายสิริชัย นาถึง ๗. นายพงศธร เกื้อสกุล ๘. นายวชิรวิทย์ บุญมา เชิญท่านศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ถามคำถามแรกครับ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านประธานค่ะ ดิฉัน ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๑ พรรคก้าวไกล วันนี้มีคำถามมาถามท่านทางการพิเศษ ขออนุญาตเท้าความก่อนด้วยสไลด์นะคะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อันนี้จะเป็นปัญหา ที่เกิดมายาวนานเป็นสิบกว่าปีแล้ว ก็คือเมื่อประมาณปี ๒๕๕๑ ทางการทางพิเศษได้มีการ เวนคืนพื้นที่เพื่อทำทางพิเศษฉลองรัช บริเวณทางลงสุขาภิบาล ๕ ทำให้หมู่บ้านหมู่บ้านหนึ่ง ชื่อหมู่บ้านจิรทิพย์ หมู่บ้านนี้ปกติเป็นหมู่บ้านใหญ่ แล้วก็คนมาซื้อเพราะว่าทางเข้า-ออก สะดวกมาก เสร็จแล้วพอมีการเวนคืนทำให้มีการตัดแบ่งหมู่บ้านออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่ง ๑๕ หลัง ยังคงเข้าออกสะดวกเหมือนเดิม แต่ส่วนที่ ๒ ประมาณ ๒๐๐ กว่าหลังคาเรือน การทางได้มีการตัดทางเข้าออก ทำให้การเดินทางลำบากกว่าเดิม โดยการทางได้มีการทำ Service Road สำหรับเข้าออกให้ใต้ทางด่วนแต่ค่อนข้างจะไกลมาก ๆ ทำให้หมู่บ้านในส่วนนี้ ต้องเดินทางไกลขึ้น และในชั่วโมงเร่งด่วนการจราจรติดขัด บางทีใช้เวลานานมาก เกือบชั่วโมงในการเดินทางเพื่อจะอ้อมเข้ามาสู่ทางเข้า-ออกหมู่บ้าน รูปซ้ายมือจะเป็น ทางเข้าออกหมู่บ้าน จะเห็นเลยว่ายิ่งกลางคืนเป็นแดนสนธยา สาว ๆ ไม่กล้าเดินเข้า-ออก ตรงนี้ต้องมีรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ก็อันตราย มืดด้วย แล้วก็ต้นไม้ที่มันปกคลุม กลางค่ำ กลางคืนจะมีมั่วสุมตลอด หรือมีคนเอาขยะมาทิ้ง ทางชาวบ้านแจ้งว่าเคยพยายาม จะไปติดต่อทางเขตให้มาจัดการ เขตบอกว่าเป็นพื้นที่ของการทางก็เลยมาทำอะไรให้ไม่ได้ เลยกลายเป็นแดนสนธยาต้องเข้าออกลึกมาก ช่วงน้ำท่วมก็คือหมู่บ้านนี้ถูกตัดขาดจาก โลกภายนอกไปเลย ตอนปี ๒๕๕๔ ไม่มีใครรู้ด้วยซ้ำว่าในนี้มีหมู่บ้านอยู่ ก็ทำให้ไม่ได้รับ ความช่วยเหลือใด ๆ จากทางรัฐ เพราะมันเข้าลำบากมาก ๆ แล้วก็นอกจากนั้นเราได้มี การลงพื้นที่รับฟัง จริง ๆ หลังจากได้ตำแหน่งก็มีการประสานมาเลยได้ไปนั่งฟังแล้วก็เดินลง พื้นที่ด้วยกัน ทางชุมชนบอกว่าเคยพยายามแจ้งกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยแล้ว แล้วการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก็ไม่ได้นิ่งนอนใจค่ะ ทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ก็มีการลงพื้นที่ไปสำรวจแล้วเหมือนกัน แต่ทางชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าแล้วจะมี React หรือมี Feedback กลับมาอย่างไร ว่าถ้าจะทำทางลงจุดทางด่วนให้สะดวกขึ้นเพื่อร่นระยะทางจะมี ความคืบหน้าอย่างไรก็ไม่ได้ทราบ ประกอบกับช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ถนนใต้ทางด่วนอย่างที่ บอกว่ามีทรุดโทรมมาก ๆ มีความไม่ปลอดภัยในการสัญจรค่ะ ทำให้สมาชิกเดือดร้อนมาก ๆ ก็เลยมีคำถามแรกค่ะท่านประธาน คำถามแรก อยากถามว่าทางการทางการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มีมาตรการในการแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนให้กับหมู่บ้านจิรทิพย์กว่า ๒๐๐ หลังคาเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากการ เวนคืนที่ดินอย่างไรบ้าง มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำทางเข้าหมู่บ้านจากจุดลงทางด่วน เพื่อร่นระยะทางเพื่อบรรเทาการติดขัดจากการจราจรบนถนนสุขาภิบาล ๕ คำถามแรก ค่ะท่าน ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากท่านติดภารกิจเดินทางไปใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้พร้อมกับท่านนายกรัฐมนตรี ดิฉันก็ต้องขอขอบคุณท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรตินะคะ ท่านศศินันท์ ท่านเป็น สส. จาก พรรคก้าวไกล ซึ่งได้มีความขยันเป็นอย่างมากที่ได้นำปัญหาของพี่น้องประชาชน ทั้งการ ปรึกษาหารือ ทั้งการตั้งกระทู้ถาม ทั้งเป็นกรรมาธิการงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ด้วยนะคะ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ในคำถาม แรกของท่านสมาชิกค่ะ การดำเนินการโครงการการทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ของกระทรวงคมนาคมจากคำถามว่า หากปรากฏว่าที่ดินแปลงใดที่ได้รับผลกระทบจากการ เวนคืนเรื่องของทางเข้าออกที่ท่านสมาชิกได้ถามว่าเมื่อไม่มีทางเข้าออกแล้วสิทธิเดิม ที่กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการอย่างไร โดยเบื้องต้นการทางพิเศษก็จะมีส่วนของ การวิเคราะห์ผลกระทบการจราจรทางด้านโครงสร้างและการบำรุงรักษาการทางพิเศษ มาเป็นข้อมูลในการประกอบว่าเราจะพิจารณากำหนดตำแหน่งใด รูปแบบทางเข้าออก แบบไหนเพื่อเป็นการบรรเทาให้กับพี่น้องประชาชนในหมู่บ้านนั้น ๆ ที่สามารถใช้เป็น ทางเข้าออกได้ โดยผ่านเขตการทางพิเศษแล้วก็เข้าสู่ในรูปแบบของทางสาธารณะ ที่มีสิทธิอยู่เดิมนั้นก่อนนะคะ นอกจากนั้นทราบว่าหมู่บ้านนี้ได้สร้างขึ้นก่อนที่ทาง การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะไปสร้างหรือทางด่วนจะไปในภายหลัง ก็ปรากฏว่าหากมี พื้นที่ใดที่ว่างใต้ทางพิเศษหรือพื้นที่ว่างที่ใกล้กับชุมชนแล้วก็พื้นที่ดังกล่าวก็จะเป็นที่สุ่มเสี่ยง ต่อการบุกรุกของประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว เราก็มีมาตรการในการที่จะ ดูแลรักษาและป้องกันการบุกรุกในพื้นที่ ดังนั้นในพื้นที่ดังกล่าวนั้นโดยได้มีการกำหนด แผนงานดำเนินงานตามภารกิจในการจัดการพื้นที่ดังกล่าวในการบุกรุก ดิฉันขอโชว์ภาพเรื่อง ของการทำงานร่วมมือกับประสานงานในพื้นที่ของเขตนั้น ๆ เพื่อร่วมกันปรับปรุงสภาพ ใต้ทางด่วน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ของสาธารณะ เช่น การจัดทำลานกีฬา ที่ลานกีฬาแสงทิพย์ เขตทวีวัฒนา สวนสาธารณะวัชราภิรมย์ในเขตบางเขน แล้วก็สวนสาธารณะ ๕๐ สุข ในเขตคลองเตย คือมีมิติทั้งเรื่องของการจัดทำลานกีฬา สวนสาธารณะ แล้วก็เรื่องของการใช้ ลานกีฬาเหล่านั้นเป็นที่ออกกำลังกายของเยาวชน ลูกหลานในเขตนั้น ๆ เพื่อให้พี่น้อง ประชาชนหรือชุมชนที่อยู่ใกล้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเหล่านั้นได้มีโอกาสมาใช้ พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ นอกจากนั้นเมื่อเราได้สร้างสวนสาธารณะแล้ว สถานที่ออกกำลังกายแล้ว สิ่งที่ต้องขอความร่วมมือคือช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่นั้นให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะมีการเพิ่ม พื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพมหานครแล้วก็ใช้เป็นที่พักผ่อนให้กับพี่น้องประชาชนค่ะ ดิฉันขอ อนุญาตตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกก่อน ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญคำถามที่ ๒ ครับ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กำลังฟังเพลิน ๆ อันนี้ ตอบแล้วใช่ไหมคะ พอดีเพราะว่าเมื่อสักครู่เท่าที่ฟังท่านรัฐมนตรีตอบจะเป็นในเรื่องว่าในเขต อื่น ๆ มีการปรับปรุงภูมิทัศน์อย่างไรค่ะ แต่อย่างของเขตสายไหม ตรงที่เราโชว์ภาพ ของเรา ยังไม่ได้มีการปรับปรุงค่ะ แล้วก็จริง ๆ แล้วคำถามที่ถามก็คือว่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะทำ ทางเข้าหมู่บ้านที่จะเป็นทางจุด รูปนี้ค่ะ คือปกติชาวบ้านจะต้องใช้เวลาในการเดินทางอ้อม เห็นไหมคะ อ้อม Move On เป็นวงกลม อันนี้เมื่อก่อนเป็นสามเหลี่ยมนะคะ คือไปไกลมาก ๆ แต่ถ้ามีการทำทางตรงเส้นสีแดง คือมันจะลงแล้วก็สามารถเข้าถึงหมู่บ้านได้เลย ซึ่งอาจจะทำ ให้สะดวกกว่า อันนั้นคือคำถามแรกที่ถามไปนะคะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ส่วนคำถามที่ ๒ เมื่อสักครู่เหมือนที่ท่านตอบมาเป็นเรื่องของช่อง Service Road ใช่ไหมคะที่มันมีอยู่ ถ้าตอนนี้สถานที่จริงตอนนี้จะไม่ได้เป็นรูปเหมือนที่ท่านเอามาให้ดู ภาพจริงตอนนี้คือมันจะทรุดโทรมมาก ๆ แล้วก็อย่างที่บอกว่ามันมืด แล้วใต้ทางด่วนมีต้นไม้ เต็มไปหมด แล้วก็จะมีการมามั่วสุมของวัยรุ่นเยอะมาก แต่จริง ๆ ถ้ามีโอกาสในอนาคต เป็นคำถามที่ ๒ เพิ่มเติมก็แล้วกันค่ะ ว่าจะมีแนวทางในการปรับปรุงภูมิทัศน์ใต้ทางด่วนของ บริเวณทางลงสุขาภิบาล ๕ ตรงนี้หรือไม่ เพราะว่าต้องบอกว่าสายไหมเป็นเขตที่มีประชากร อันดับต้น ๆ ของกรุงเทพมหานคร จริง ๆ เราครองอันดับ ๑ มาหลายปี ซึ่งโดนแซงไป ประมาณ ๒๐๐ กว่าคนจากเขตคลองสามวา แต่จริง ๆ เราก็ยังคงมีความแออัดมาก ๆ อยู่ ถ้ามีสวนสาธารณะเพิ่มเติมได้ต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าสายไหมเราไม่มีสวนสาธารณะ ขนาดใหญ่ของตัวเองเลยนะคะ เราต้องไปใช้กับ ทอ. ซึ่งทางกองทัพอากาศก็มีการเปิดปิด เป็นเวลา ถ้าอนาคตสามารถมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ได้ก็จะเป็นประโยชน์ให้กับประชาชน ๒๐๐,๐๐๐ กว่าคนในเขตสายไหม แล้วก็จะให้หมู่บ้านมีทางเข้าออกสบายขึ้น อาจจะช่วยลด ความกังวลใจของประชาชนได้ แต่อย่างไรอยากได้คำตอบคำตอบแรกก่อนที่ว่ามีโอกาสไหม ที่จะเปิดทางให้สะดวกขึ้น และคำถามที่ ๒ คือว่าจะมีแนวทางในการปรับปรุงภูมิทัศน์ ใต้ทางด่วนบริเวณทางเข้าหมู่บ้านจิรทิพย์หรือไม่ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพคะ ในประเด็นคำถามที่ ๑ เนื่องจากดิฉันได้ฉายภาพโดยภาพรวม ของภารกิจของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย แล้วก็สิ่งที่ท่านสมาชิกได้มีความห่วงใย เนื่องจากดิฉันเห็นว่าคำถามที่ ๒ ก็จะเกี่ยวเนื่องกัน ดิฉันก็จะหยิบคำถามที่ ๒ ขึ้นมา ในประเด็นของคำตอบว่าในความเห็นที่ ๒ เรื่องของที่ท่านสมาชิกได้พูดถึงเรื่องของโครงการ หมู่บ้านจิรทิพย์นี้ค่ะ เป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรที่อยู่กันต่อเนื่อง อย่างที่กราบเรียนว่า สร้างก่อนที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะไปสร้างนะคะ จึงต้องมีการเวนคืนเพื่อการ ก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าว หรือว่าการก่อสร้างทางพิเศษฉลองรัช ตามที่ได้ขึ้นรูป เรียกว่า ถนนรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันรถยนต์ในโครงการหมู่บ้าน สามารถเข้าออกสู่ถนนสุขาภิบาล ๕ ได้ภายหลังการเวนคืน แนวทางพิเศษได้ตัดผ่านหมู่บ้าน จิรทิพย์ ออกเป็น ๒ ส่วน เห็นไหมคะว่า ส่วนแรกในฝั่งตะวันออกเป็นแนวเขตทางพิเศษ ยังคงเข้าออกถนนสุขาภิบาล ๕ ได้อยู่ แต่สำหรับหมู่บ้านจิรทิพย์ในส่วนที่ ๒ ฝั่งด้านตะวันตก อีกทางหนึ่งนะคะ จะเป็นแนวเขตทางพิเศษที่ไม่สามารถสัญจรเชื่อมต่อกันเพื่อเข้าออกสู่ถนน สุขาภิบาล ๕ ได้ เนื่องจากว่าถูกแนวเขตของการทางพิเศษขวางกั้นไว้ โดยการการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ได้แก้ไขปัญหาผลกระทบดังกล่าวเรื่องของทางเข้าออก ของพี่น้องประชาชนในหมู่บ้านจิรทิพย์ฝั่งตะวันตก โดยจัดทำถนน Service Road ดังที่ ท่านสมาชิกได้พูดถึงสักครู่ ใต้ทางพิเศษทดแทนให้สามารถสัญจรไปมาได้ แล้วก็นอกจากนั้น ถนนสุขาภิบาล ๕ นี้ มีระยะทางทั้งสิ้น ๗๘๐ เมตร เป็นถนนที่รถสวนทางเข้าออกกันเป็น จำนวนมาก ซึ่งความยาวของช่อง ช่องละ ๓.๕๐ เมตร แล้วก็มีไหล่ทางข้างละ ๑ เมตร รวมความกว้างของถนนดังกล่าวรวมปรับไหล่ทาง ๙ เมตร พร้อมทั้งติดตั้งไฟส่องสว่างตลอด แนวถนน แล้วอนุญาตให้จัดทำผิวถนนจราจร กว้าง ๓.๕๐ เมตร และใช้เป็นทางออก อีก ๑ ช่องทางต่อจากถนนลูกรังที่มีความกว้าง ๕ เมตร โดยเราได้จัดทำถนนทดแทน ท่านสมาชิกเห็นภาพไหมคะ เราได้มีการจัดทำถนนทดแทนให้แล้ว โดยลอดผ่านใต้โครงการ ก่อสร้างทางพิเศษฉลองรัช บริเวณกึ่งกลางระหว่างเสาตอหม้อของทางพิเศษให้เชื่อมกับ ทางลงทางพิเศษของรถที่มาจากถนนจตุโชติ เห็นไหมคะ ในเส้นทางสีฟ้า ที่ตำแหน่งห่างจาก ป้ายเตือนทางโค้งประมาณ ๔๐ เมตร เพื่อใช้เป็นทางออกของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ ในหมู่บ้านจิรทิพย์ฝั่งตะวันตก เพื่อออกสู่ถนนสุขาภิบาล ๕ เพิ่มเติมอีก ๑ เส้นทางค่ะ เคยมี กรณีเรื่องดังกล่าวว่าสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสายไหมนี้ค่ะ ได้แจ้งเรื่องของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ว่าได้รับเรื่องร้องเรียนจากลูกบ้าน หมู่บ้านจิรทิพย์นี้ละค่ะ เรื่องของความจำเป็นที่จะบรรเทาเรื่องของการจราจรให้ พี่น้องเวลาขับรถลงทางด่วนจะสามารถเลี้ยวซ้ายเข้าโครงการได้เลยในระยะทาง ๒๐๐ เมตร นั้น แล้วก็ตรวจสอบ พบว่าการก่อสร้างถนนระยะทาง ๒๐๐ เมตร ที่ไปเชื่อมกับถนน Service Road ซึ่งตรงข้ามตรงบริเวณหัวเกาะของถนนทางพิเศษของสายสุขาภิบาล ๕ ซึ่งไป บรรจบกับคู่ขนาน ดังภาพ ก็จะเป็นเส้นทางที่คู่ขนานกับค่าผ่านทางพิเศษสุขาภิบาล ๕ จากบริเวณที่จุดกลับรถใต้ทางพิเศษ ท่านสมาชิกก็จะเห็นว่าลักษณะกายภาพก่อนจะถึงทาง ราบเป็นลักษณะทางโค้ง และรถที่ลงมาจากทางด่วนพิเศษจะมาด้วยความเร็วมาก จึงเห็นว่า ถ้าเราจะทำถนนดังกล่าวจะเกิดผลกระทบต่อการจราจรและเกิดอุบัติเหตุในทางพิเศษอย่างมี นัยสำคัญ เนื่องจากตำแหน่งดังกล่าวตรงกับบริเวณหัวเกาะของทางลงพิเศษ ซึ่งไปบรรจบกับ ถนนคู่ขนานที่มาจากจุดกลับรถใต้ทางพิเศษ เพราะฉะนั้นรถที่ลงจากทางพิเศษจึงต้องการใช้ ช่องทางเข้า ทำให้ต้องมีการชะลอตัว แล้วก็จอดบริเวณหัวเกาะเพื่อรอรถที่หักหัวเลี้ยวเข้า ช่องทางดังกล่าว ทำให้รถที่ตามมาด้วยความเร็วจากทางด่วนพิเศษเบรกไม่ทัน เพราะอยู่ ในช่วงทางโค้งและลงจากทางพิเศษมาด้วยความเร็ว อาจทำให้เกิดการชนท้ายและยังมีการ ตัดหน้ารถที่วิ่งมาบนถนนคู่ขนานที่มาจากจุดกลับรถใต้ทางพิเศษอีกด้วย การทางพิเศษ แห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม จึงไม่อาจพิจารณาที่จะดำเนินการตามคำขอได้ นี่ดิฉัน ยกกรณีตัวอย่างที่ท่านสมาชิก หรือว่าท่าน สก. ของเขตสายไหมขึ้นมา แล้วก็เป็นแนวคำตอบ ที่ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ถามขึ้นมา แล้วก็มีหนังสือแจ้งให้ทราบไป เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม จากที่ท่านสมาชิกได้ขอใช้พื้นที่นะคะ ตอนนี้สำนักผังเมือง ใต้ทางด่วนพิเศษ ที่ท่านสมาชิกได้ถาม ตอนนี้สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ได้มีการสำรวจพื้นที่ที่จะทำเป็น สถานที่สวนสาธารณะและเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของพี่น้องประชาชนในชุมชนนั้นแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการนะคะ นี่คือเป็นคำตอบในคำถามที่ ๒ ค่ะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ขอบคุณค่ะ ก็เป็น คำตอบที่เดี๋ยวจะเอาไปตอบกับพี่น้องประชาชนต่อไป ขอบคุณท่านรัฐมนตรีด้วยนะคะ แต่ทีนี้ทางชาวบ้านก็ได้มีข้อเสนอเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าเป็นไปได้ในเรื่องของการทำทางเชื่อมต่อ อื่น ๆ ที่จะสามารถทำให้ร่นระยะเวลาในการเข้าสู่หมู่บ้านได้ อยากชวนทางท่านรัฐมนตรี หรือว่าทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทยลงไปสำรวจกันอีกรอบหนึ่ง อยากให้ลองไปสำรวจ เขาบอกว่าอาจจะมีวิธีในการที่อาจจะไม่ได้ลงเลย แต่อาจจะต้องลงแล้วไปวนอีกรอบหนึ่ง ได้ไหม เพราะคิดว่าจะช่วยลดความแออัดของเส้นนั้นไปได้มาก ถ้าท่านเคยไปตรงเส้นจตุโชติ บางวันติดมาก ลงด่วนมาแล้วก็ติดตรงนั้นเป็นชั่วโมงเลยก็มีเหมือนกัน ถ้ามันสามารถมีทาง ที่กระจายปริมาณรถออกไปด้วย นอกจากทางหมู่บ้าน ชุมชนอาจะได้ความสะดวกแล้ว ส่วนหนึ่ง แต่คนอื่น ๆ ที่เขาต้องผ่านทางเข้าสู่เส้นสุขาภิบาล ๕ อาจจะทำให้ลดปริมาณรถ ได้ด้วยเหมือนกัน ถ้ามีโอกาสอยากชวนท่านลงไปพื้นที่ด้วยกันเพื่อดูแนวทางการแก้ไขปัญหา อีกครั้งหนึ่งค่ะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ส่วนในเรื่องของการปรับปรุงภูมิทัศน์ ถ้าเป็นไปได้มีกรอบระยะเวลาให้ดิฉัน หน่อย จะได้ไปตอบได้เหมือนกันว่าอาจจะมีสวนสาธารณะมาทำประมาณภายในระยะเวลา เท่าไร เมื่อไร หรือประมาณภายในปีนี้ จะได้เป็นความสบายใจของพี่น้องประชาชนว่าเรา จะมีสวนสาธารณะเพิ่มขึ้นอีก ๑ แห่ง ถ้าเพิ่มเติมเป็นแบบเป็น Dog Park ให้กับสุนัขมาเดิน วิ่งเล่นได้ด้วยก็จะดีมาก ๆ อันนี้เป็นข้อเสนอแนะนะคะ อย่างไรก็อยากฝากด้วย ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เดี๋ยวไปฝากท่านรัฐมนตรีก็แล้วกัน ไปถามว่าเมื่อไรนะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ได้ค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
โอเคนะครับ เพราะว่าเลยเวลา
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
อีกนิดหนึ่ง เชิญรัฐมนตรีครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน ในประเด็นคำถามท่านสมาชิกนะคะ เรื่องของการพิจารณาการดำเนินงาน เนื่องจากเรื่องดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของผังเมือง กรุงเทพมหานครด้วย แล้วก็จะประสาน เรื่องของผังเมืองกรุงเทพมหานครค่ะ นอกจากนั้นก็อยากจะชี้แจงเรื่องของแนวทางปฏิบัติว่า พื้นที่ใต้ทางด่วนที่เป็นพื้นที่เสี่ยงอันตราย เราก็ได้กำหนดเจ้าหน้าที่ออกตรวจสัปดาห์ละ ๔ ครั้ง ถ้าพบเกิดเหตุการณ์อันตรายเราก็จะมีป้ายเตือน ไม่ว่าจะป้ายเตือนเรื่องทิ้งขยะ พื้นที่นี้ ห้ามบุกรุกว่าตรงไหนมีพื้นที่ใหญ่ปกคลุม การทางพิเศษแห่งประเทศไทยก็จะดำเนินการแก้ไข ในเบื้องต้น โดยภาพที่สมาชิกได้โชว์เราจะเร่งรัดแล้วก็เข้าไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เป็นสถานที่ ที่ไม่ได้เป็นแหล่งมั่วสุมของยาเสพติด ขณะเดียวกันเรื่องของป้ายเตือน เราก็ยังมีติดมี หมายเลขด่วนที่สามารถโทรศัพท์แจ้งได้ คือหมายเลขด่วน ๑๕๔๓ ของการทางพิเศษแห่ง ประเทศไทยที่จะแจ้งข้อมูลของประชาชนว่าถ้าเกิดเหตุการณ์อันตรายใด ๆ ในบริเวณ ของพื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ก็สามารถแจ้งได้ หมายเลข ๑๕๔๓ ทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก็จะเก็บบันทึกนี้นะคะ แล้วก็ทำเป็นข้อสังเกตว่าพื้นที่นี้ เป็นพื้นที่เสี่ยงแล้วก็พื้นที่อันตรายที่จะต้องเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ แล้วก็นอกจากนั้นค่ะ เส้นทางที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ดูแลขณะนี้มีระยะทางถึง ๒๐๐ กิโลเมตร เราก็ได้ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งเขตการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับฟัง ความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับของผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร สก. แล้วก็สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเอาความคิดเห็นเหล่านั้นมา บริหารจัดการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก้ไขปัญหาให้ตรงกับความต้องการ แล้วก็บริหารพื้นที่ใต้ทางด่วนด้วยความรอบคอบแล้วก็คุ้มค่ากับเม็ดเงินแล้วก็ภาษีของพี่น้อง ประชาชนต่อไป ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เดี๋ยวคุยกับทางด่วนดูว่าจะให้ได้เมื่อไร ขอบคุณนะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑.๓.๑ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๓๐ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการลดลงของ พื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่องในคุ้งบางกะเจ้า (นายวีรภัทร คันธะ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านติดภารกิจเร่งด่วน ก็ขอเลื่อนการตอบกระทู้ออกไป เป็นวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๗ ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๗๐
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑.๓.๒ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๓๙ เรื่อง การแก้ไขปัญหาขยะอาหาร (Food Surplus) (นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านไม่สามารถมาตอบได้นะครับ จึงขอเลื่อน ตอบกระทู้ถามไปวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๗ ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๗๐ นะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑.๓.๓ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๗๓ เรื่อง ความเดือดร้อนของราษฎร ไม่มี น้ำประปาที่มีคุณภาพ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา (นางฐิติมา ฉายแสง เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากท่านรัฐมนตรีได้มอบให้ท่านรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชาดา ไทยเศรษฐ์) ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง มหาดไทยติดภารกิจ ก็ขอเลื่อนตอบกระทู้ถามไป วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๗ ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๗๐ วรรคสอง
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
สำหรับวันนี้จบการพิจารณากระทู้ถามแยกเฉพาะ ขอปิดการประชุมครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอเข้าสู่ระเบียบวาระที่ ๒
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒.๑ รับทราบการพิจารณารายงานของวุฒิสภา จำนวน ๒ เรื่องครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องแรก การประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๗ วันจันทร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ได้รับทราบนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ครับ แล้วก็ ในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๘ วันอังคารที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ รับทราบรายงาน ผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๕ ครับ ขอแจ้ง ให้ที่ประชุมทราบครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะนักเรียนและครู โรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา วันนี้มากัน ๓๔๒ ท่านเลยนะครับ ยินดีต้อนรับนะครับ แล้วก็อีกกลุ่มหนึ่ง คณะอาจารย์และนักศึกษาคณะรัฐประศาสนศาสตร์ และคณะ วิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เขตบางกอกใหญ่ จำนวน ๒๕ ท่าน ยินดีต้อนรับครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องแจ้งต่อมานะครับ สำหรับการพิจารณารับทราบรายงานตามกฎหมาย ของหน่วยงานระเบียบวาระที่ ๒.๒ และระเบียบวาระที่ ๒.๓ หน่วยงานที่จะเข้าชี้แจง ต่อที่ประชุม ขออนุญาตเลื่อนการชี้แจงต่อรายงานดังกล่าวออกไปก่อนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญท่านปกรณ์วุฒิครับ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณ ท่านประธานครับ ผม ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน ก่อนที่จะเข้าระเบียบวาระถัดไป คือเรื่องที่ คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ผมก็ขอหารือในเวลาสั้น ๆ นะครับ จริง ๆ เรื่องนี้ ท่านประธานน่าจะรับทราบอยู่แล้ว เพราะว่าเราได้ไปพูดคุยร่วมกัน ก็คือเรื่อง ห้องประสานงานของวิปฝ่ายค้านหลังบัลลังก์นะครับ ซึ่งหลังจากครั้งนั้นที่ผมได้ไปหารือ กับท่านประธานหลังบัลลังก์ ผมได้ไปอีกรอบหนึ่งกับท่านรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ท่านพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ซึ่งครั้งนั้นผมก็ต้องเอ่ยชื่อตามตรงเลยว่า พรรคพลังประชารัฐที่กำลังยึดครองห้องหลังบัลลังก์โดยพลการอยู่ ณ ตอนนี้นั้น ได้ให้สัญญา ว่าจะย้ายออกภายใน ๑ สัปดาห์ นี่คือเมื่อ ๒ สัปดาห์ที่แล้ว ที่มีการพูดคุยกันพร้อมกับ ท่านพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน นะครับ จนถึงปัจจุบันพรรคพลังประชารัฐก็ยังคงยึดครอง ห้องหลังบัลลังก์และไม่ยอมย้ายออกอยู่ แล้ววันนั้นที่เราเข้าไปด้วยกันครับท่านประธาน ก็คงเห็นแล้วว่ามีการเอาชั้นหนังสือเหล็กมากั้น เพื่อให้ครึ่งหนึ่งของห้องน่าจะเป็นห้องส่วนตัว ของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ไม่เคยเข้ามานั่งในสภานี้เลยด้วยซ้ำ ผมก็ไม่แน่ใจว่า ห้องนั้นท่านพลเอก ประวิตร เคยได้เข้าไปนั่งจริง ๆ หรือเปล่า สิ่งที่แย่กว่านั้นครับ ท่านประธาน ท่านประธานก็เป็นพยานรู้เห็นในเหตุการณ์ การเข้าไปพูดคุยวันนั้นพรรค พลังประชารัฐโดย สส. ภาคภูมิ บูลย์ประมุข บอกว่าไม่มีระเบียบว่าห้องหลังบัลลังก์คือห้อง ประสานงานของวิปฝ่ายค้าน ซึ่งท่านประธานก็ได้บอกครับ ว่ามันก็ไม่มีระเบียบว่าห้องนั้น เป็นของพรรคพลังประชารัฐเช่นกัน สส. ภาคภูมิ บูลย์ประมุข บอกว่า แต่ผมขอยึด ผมก็ต้อง ขอถามไปถึงท่านประธานและท่านรองประธานอีกทั้ง ๒ ท่าน ว่าจะปล่อยให้มีพฤติกรรม แบบนี้ในสภาหรือไม่ และจะจัดการเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร ณ ขณะนี้มีพรรคการเมืองที่มี สส. ๓๖ คน ยึดห้องหลังบัลลังก์เป็นของพรรคตัวเองโดยพลการ ไม่มีระเบียบใด ๆ รองรับ และไม่ ยอมย้ายออก เพื่อที่จะทำห้องส่วนตัวให้กับหัวหน้าพรรคที่ไม่เคยเข้ามานั่งในสภานี้ด้วยซ้ำ ผมขอความเห็นท่านประธานครับ ว่าเราจะจัดการเรื่องนี้ต่อไปอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ หลังจากที่มีการหารือปัญหาเรื่องนี้ ผมก็ให้ทางฝ่ายเลขานุการได้ร่างระเบียบ การใช้ห้องหลังบัลลังก์ขึ้นมาแล้วนะครับ แล้วก็เป็นระเบียบที่ทางท่านประธานเองก็ได้ รับทราบแล้วนะครับ ก็คิดว่าถ้าเกิดมีการความชัดเจนจากทางท่านประธานในการบังคับใช้ ระเบียบนี้ เราก็จะมีมาตรการดำเนินงานอย่างตรงไปตรงมาแล้วก็เร็วที่สุดนะครับ แต่ก็ต้อง เรียนว่าเบื้องต้นก่อนที่จะบังคับใช้ระเบียบเราก็ใช้การเจรจาก่อน ซึ่งก็เป็นแนวทางที่พวกเรา ทั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วก็ท่านรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง พยายามช่วยกันนะครับ แต่ถ้าเกิดว่าระเบียบบังคับ ใช้แล้วก็คิดว่าต้องบังคับใช้ให้เสมอภาคเท่าเทียม อย่างไรฝากพรรคที่มีการพาดพิงด้วย ท่านจะใช้สิทธิพาดพิงก็ได้หรือว่าดำเนินการตามที่มีเพื่อนสมาชิกแนะนำก็ได้นะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๓ รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๔.๑ รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญ พื้นฐานประชาชน ซึ่งคณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคมพิจารณาเสร็จแล้ว
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอเชิญคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่ครับ ในการนี้ผมได้อนุญาตให้ บุคคลภายนอกเข้าร่วมชี้แจงต่อที่ประชุมตามข้อบังคับ ข้อ ๑๐๔ วรรคสองนะครับ ขอเชิญ ผู้มีรายชื่อดังต่อไปนี้เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุมครับ ๑. นายกองตรี สุธน จิตร์มั่น รองประธาน คณะอนุกรรมาธิการ คนที่สอง ๒. นายจาตุรนต์ ลิ้มมาลินันท์ อนุกรรมาธิการ ๓. นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ โฆษกคณะอนุกรรมาธิการ ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการ ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงมณี เลาวกุล อาจารย์ประจำคณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๖. นายชนิสร์ คล้ายสังข์ กรรมการร่างกฎหมาย ประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) ๗. นายวณัช บัณฑิตาโสภณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน การคลัง ตอนนี้คณะกรรมาธิการได้เข้าประจำที่แล้วนะครับ ขอเชิญประธานคณะกรรมาธิการ แถลงผลการดำเนินงานครับ
นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียนท่าน ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ ในวันนี้รายงาน ของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ถือว่าเป็นอีกวาระหนึ่ง ที่คณะกรรมาธิการได้พิจารณาแล้วเสร็จ ซึ่งเพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านอาจจะคุ้นชินว่า การรายงานของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม ในชุดที่แล้ว สภาชุดที่ ๒๕ ได้มีการ นำเสนอเรื่องของการปรับเกณฑ์บำนาญพื้นฐานประชาชน จาก ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท เป็น ๓,๐๐๐ บาท แบบถ้วนหน้าในสภาชุดที่ ๒๕ ไปแล้ว สภาผู้แทนราษฎรในชุดนั้นก็ได้มีมติผ่านในการส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีนะครับ แล้วก็ ในห้วงเวลาโค้งสุดท้ายก็ได้มีการยุบสภาแล้วก็เงียบหายไป สภาชุดที่ ๒๖ ครับ หลังจากได้ มีการเริ่มตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นมานะครับ คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม ของเราก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้และหยิบยกมาพูดคุยกันอีกครั้ง และต้องพูดอย่าง ตรงไปตรงมาครับ ว่าในวันนี้คณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่วมกันและหาแนวทางที่จะปรับ เพิ่มขึ้น แต่ไม่ระบุว่าจะต้องเป็น ๓,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท หรือเท่าไร แต่เป็นเกณฑ์ นำเสนอว่า ณ วันนี้ถ้าเราหารายได้เพิ่มเติมหรือจัดสรรรายได้จากในส่วนของภาษีแบบเดิม ที่มีอยู่จะสามารถปรับเกณฑ์ขึ้นมาได้เท่าไร เพื่อนสมาชิกในห้องนี้หลาย ๆ ท่าน ก็เคยได้ผ่าน เรื่องของการผ่านเกณฑ์พิจารณา เรื่องของเบี้ยบำนาญมาแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยรัฐบาล ท่านอานันท์ ปันยารชุน ไล่มาจนถึง ท่านชวน หลีกภัย ที่ให้บำนาญอยู่ที่ ๒๐๐ บาท แบบเลือกคัดสรรบุคคลผู้มีรายได้น้อยนะครับ หลังจากนั้นในรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการปรับเกณฑ์เป็นจ่าย ๕๐๐ บาท แบบถ้วนหน้า ต่อมาครับ ท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี ๒๕๕๔ ได้มีการปรับเกณฑ์เพิ่มขึ้นจาก ๕๐๐ บาท เป็น ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท แบบขั้นบันไดครั้งแรก ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ จนถึงวันนี้ ปี ๒๕๖๗ ไม่มีการพิจารณาเรื่องนี้เลย มีการสั่นคลอนเล็กน้อยในรัฐบาลชุดที่แล้ว สมัยท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องของการพิจารณาเกณฑ์ผู้มีรายได้ แต่หลังจากนั้น ก็มีการยุบสภาแล้วก็มาถึงปัจจุบันครับ ในรัฐบาลของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ยังไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องนี้อย่างชัดเจน แต่วันนี้คณะกรรมาธิการได้พิจารณารายงานฉบับนี้ ซึ่งถือว่าเป็นผลงานของคณะกรรมาธิการทุกท่านและเป็นผลงานของเพื่อนสมาชิก ในคณะกรรมาธิการจากทุกพรรคการเมืองครับ เพราะเราพยายามมีธงเดียวกันก็คือว่า ปรับเกณฑ์จากหลักร้อยให้เป็นหลักพันให้ได้ และถ้าปรับเกณฑ์จากหลักร้อยเป็นหลักพันแล้ว ต้องใช้เงินเท่าไร ผู้สูงอายุมีเท่าไร จะบริหารจัดการอย่างไร เราได้มอบหมายทาง คณะอนุกรรมาธิการ โดยท่าน สส. วรรณวิภา ไม้สน ได้ตั้งอนุกรรมาธิการขึ้นมา ๑ อนุกรรมาธิการ พิจารณากัน ๖๐ วัน ในการที่จะรวบรวมแหล่งที่มารายได้จากทุก กรม กอง รวบรวมมาเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ เป็นรายงานฉบับนี้ เราได้นักวิชาการจากภาค ส่วนต่าง ๆ มาช่วยกันคิดว่าถ้าเกิดจะปรับเกณฑ์เหล่านี้ขึ้นจะต้องกระทบในเรื่องของภาษี อย่างไร จะต้องกระทบหน่วยงานใดบ้าง เรามีตัวแทนจากเครือข่ายภาคประชาชนมาพูดคุย ว่าสถานการณ์วันนี้ พี่น้องประชาชนเส้นแบ่งความยากจนพุ่งทะยานสูงขึ้น อายุเกณฑ์ของ พี่น้องผู้สูงอายุพุ่งทะยานสูงขึ้น แต่สิ่งเดียวที่ไม่พุ่งทะยานสูงขึ้นเลยก็คือการช่วยเหลือจาก ทางภาครัฐยังคงแน่นิ่งตั้งแต่ ๑๐ ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นวันนี้นอกจากเป็นผลงานของเพื่อน สมาชิกในคณะกรรมาธิการจากทุกพรรคการเมืองแล้ว ผมขอวิงวอนเพื่อนสมาชิกใน สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ชุดนี้ เป็นผลงานของพวกเราร่วมกันที่จะปรับเกณฑ์จากหลัก ร้อยเป็นหลักพันให้ได้ วันนี้รายงานฉบับนี้คิดมาแล้วครับ ได้ ๑,๒๐๐ บาทถ้วนหน้า ถามว่า ท่านคณะกรรมาธิการจะพิจารณาหลักเกณฑ์อย่างไร เดี๋ยวฟังในส่วนของรายละเอียดเรื่อง ของการปรับเปลี่ยนฐานของภาษี ซึ่งไม่กระทบหน่วยงานได้เลย แล้วก็เกณฑ์การพิจารณาใน วันนี้อยากให้เพื่อนสมาชิกได้นำไปพูดคุย นำไปบอกต่อ ผมเชื่อครับ เพื่อนสมาชิกในห้องนี้ ทั้งจากระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อท่านใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชน และสิ่งเดียวที่ ท่านได้พูดคุยกับพี่น้องประชาชนเป็นเสียงเดียวกัน ไม่ว่าท่านจะอยู่พรรคไหน ไม่ว่าท่านจะ อยู่รัฐบาลหรือฝ่ายค้าน คือพี่น้องประชาชนส่งเสียงสะท้อนบอกท่านมาว่าวันนี้ลำบาก เหลือเกิน ความลำบากของพี่น้องประชาชนที่สะท้อนมายังผู้แทนราษฎรทุกท่าน จะได้ สะท้อนในที่ประชุมแห่งนี้ครั้งแรก และจะหาทางออกร่วมกันโดยการส่งร่างรายงานฉบับ สมบูรณ์ฉบับนี้ไปยังคณะรัฐมนตรีและท่านนายกรัฐมนตรีจะได้จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า ท่านนายกรัฐมนตรีนี่แหละที่จะเป็นคนปรับเกณฑ์รายได้ผู้สูงอายุจากหลักร้อยเป็นหลักพัน ในปี ๒๕๖๗ นี้ ผมอภิปรายในวันนี้ปลดปล่อยจากทุกอย่าง ไม่มีพรรคการเมือง ไม่มีนโยบาย ที่เป็นธงหลัก แต่เพื่อจะปรับเกณฑ์รายได้ให้พี่น้องประชาชน ยอมที่จะนำเสนอ ถ้าเกิดพี่น้อง ประชาชนติดตามการทำงานของผมจะเห็นการต่อสู้ร่วมกับภาคประชาชน เห็นการต่อสู้ใน สมัยที่แล้ว ปักธงบำนาญถ้วนหน้า ๓,๐๐๐ บาท แต่วันนี้มาเสนอร่างกรรมาธิการ ๑,๒๐๐บาท หลังจากร่างกรรมาธิการเสร็จทัวร์ลงแน่นอน แต่ต้องยอมครับ ยอมเพราะอะไร ยอมเพราะ บันไดก้าวแรกเล็ก ๆ ตรงนี้จะเป็นก้าวที่สำเร็จในอนาคต ยอมเพราะบันไดก้าวแรกก้าวนี้ จะเป็นรายได้ใหม่ให้กับพี่น้องประชาชนได้เร็วที่สุดที่จะเพิ่มจาก ๖๐๐ บาท เป็นหลักพัน ให้ได้ นี่คือเจตนารมณ์ของคณะกรรมาธิการที่เราทำร่วมกันมา และเป็นรายงานฉบับแรก ฉบับที่เริ่มต้นความก้าวหน้าของรายได้ผู้สูงอายุ ที่วันนี้ผู้สูงอายุแตะหลัก ๑๒ ล้านคนเข้าไป แล้วครับ ถือว่าเป็นเกณฑ์ผู้สูงอายุที่สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้นทุกปี เพราะฉะนั้นวันนี้เพื่อนสมาชิก ครับ ผมมีคณะกรรมาธิการที่จะอภิปรายในส่วนของรายละเอียดอีก ๔ ท่าน ก็อยากให้เพื่อน สมาชิกได้รับฟัง และหลังจากนั้นมีประเด็นที่จะสอบถาม ขอให้สอบถามให้ครบทุกมิติ แล้วร่วมกันกลับไปสู่บ้านท่าน กลับไปสู่เขตเลือกตั้งของท่าน กลับไปสู่พื้นที่ของท่าน แล้วพูดคุยเรื่องนี้ให้เป็นเสียงเดียวกัน ให้เป็นที่ตกผนึกในสังคมว่าถึงเวลาแล้วที่บำนาญ พื้นฐานประชาชนก้าวแรกจะเริ่มต้นที่รายได้ของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นครับท่านประธาน ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญคณะกรรมาธิการที่เตรียมการเสนอท่านต่อไป เชิญครับ
นางสาววรรณวิภา ไม้สน กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน วรรณวิภา ไม้สน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ หลังจากที่ได้ยิน ท่านประธานคณะกรรมาธิการได้พูดไปแล้วถึงเรื่องความจำเป็นในการเพิ่มบำนาญพื้นฐาน ไปให้กับประชาชน ดิฉันจะเข้าสู่เนื้อหาว่าทำไมเราถึงต้องเพิ่ม แล้วเราจะเพิ่มอย่างไรนะคะ ไปดูวิวัฒนาการของบำนาญเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย ถ้าเทียบกับเส้นห่าง ความยากจนที่เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น จนปีนี้เกือบจะแตะที่ ๓,๐๐๐ อยู่แล้ว หลังจากที่ท่านประธาน ไล่มาว่าเราได้เพิ่มขึ้นไปขนาดไหน
นางสาววรรณวิภา ไม้สน กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ว่าเราปรับอย่างไร หลังจากที่เรา มีบำนาญหลักร้อย ในปี ๒๕๓๕ ผ่านมา ๓๒ ปี ทุกวันนี้ก็ยังกินบำนาญที่หลักร้อยอยู่ ท่านประธาน ได้แตะไปแล้วว่าในแต่ละยุคแต่ละสมัยเราเพิ่มบำนาญเป็น Step เท่าไร เพิ่มจาก ๒๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ คน แล้วก็ปรับมาเป็น ๕๐๐ บาทถ้วนหน้า จนปัจจุบันอยู่ที่ ๖๐๐-๗๐๐ บาท จนถึง ๑,๐๐๐ บาท ตามอายุมาจนถึงปัจจุบัน และที่น่าเสียใจที่สุดก็คือ ในช่วงที่ พลเอก ประยุทธ์ รักษาการแทน ได้มีระเบียบออกมาว่าให้เฉพาะต้องเป็นผู้ที่ไม่มี รายได้และมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ โดยให้คณะกรรมการออกระเบียบ และจน ปัจจุบันนี้เราก็ยังไม่เห็นหน้าตาระเบียบว่าออกมาเป็นลักษณะไหน จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการ ของการจ่ายบำนาญของประเทศไทยนิ่งอยู่กับที่ ในขณะเส้นความเหลื่อมล้ำความยากจน พุ่งขึ้น พุ่งขึ้น ทีนี้เรามาดูงบประมาณในการจัดสรรของประเทศไทยกันว่าเรามีงบประมาณ กันอยู่ที่เท่าไรในการจัดสรรบำนาญทั้งหมดก้อนใหญ่ ๆ ในประเทศ บำนาญทั้งหมด ที่งบประมาณแผ่นดินจัดสรรอยู่ อยู่ที่ประมาณ ๔๑๐,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็นอย่างนี้ค่ะ ท่านประธาน แบ่งเป็นเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ อันนี้เป็นงบประมาณ จากปี ๒๕๖๖ นะคะ เพราะปี ๒๕๖๗ ยังไม่ผ่านการอนุมัติ ๘๗,๐๐๐ ล้านบาท กี่คนทราบไหมคะ ๑๑.๓ ล้านคน ที่ได้รับบำนาญ ในขณะเดียวกันก้อนที่ใหญ่ที่สุดที่เป็นบำนาญของข้าราชการ ก็คือ ๓๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ที่อยู่ในงบกลางนี้ละค่ะ บำนาญข้าราชการ ประมาณ ๘๗๐,๐๐๐ คน จะเห็นได้ว่าความต่างอยู่ที่เกือบ ๆ ๕๐ เท่าของภาคประชาชน และของ บำนาญ ที่พูดนี้ไม่ได้จะลดบำนาญของข้าราชการนะ เพียงแต่ชี้ให้เห็นว่ามันมีความเหลื่อมล้ำ กันเกือบ ๕๐ เท่าในการจัดสรรงบประมาณ ทีนี้ผลการพิจารณารายงานศึกษาว่า จะทำอย่างไร ก็คือเราก็เลยอยากปรับให้เป็นบำนาญพื้นฐานประชาชนแบบถ้วนหน้า แล้วก็ เพิ่มบำนาญผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันได้แล้ว อย่างที่ท่านประธาน คณะกรรมาธิการณัฐชาได้พูดไปว่าเราควรแตะหลักพันได้แล้วในยุคสมัยของพวกเรานะคะ แล้วทีนี้ถ้าจะปรับขึ้นเป็น ๑,๒๐๐ บาท เราต้องใช้งบประมาณเท่าไร มาดูกันในหน้าถัดไป งบประมาณของเดิมที่เรามีอยู่แล้ว ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ตั้งงบไว้ที่ ๙๓,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับผู้สูงอายุ ประมาณ ๑๑.๘ ล้านคน เพราะฉะนั้นถ้าอยากเพิ่มเป็น ๑,๒๐๐ บาท เราจะ หางบเพิ่มอีกประมาณ ๘๓,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งงบที่เพิ่มขึ้นนี้ถ้าจะเป็นระยะแรกเริ่ม แล้วรัฐบาลจะปรับอีก ๒,๐๐๐ บาท จนถึง ๓,๐๐๐ บาท โดยที่ไม่ให้ห่างจากเส้นห่าง ความยากจนก็สามารถทำได้ ทำได้โดยวิธีการแบบนี้ค่ะท่านประธาน ระยะเริ่มแรกนะคะ เท่าที่ดิฉันเรียกหน่วยงานต่าง ๆ แล้วมีอยู่ในรายงานฉบับนี้แล้วว่าสามารถที่จะทำได้โดยการ แก้ระเบียบงบกลางแล้วลดงบประมาณที่ซ้ำซ้อน ทุกวันนี้เราใช้งบกลางกันอย่างซ้ำซ้อน เพราะว่าเป็นงบที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง เป็นงบที่เกี่ยวกับงบรายกระทรวงที่มีอยู่แล้ว แล้วมา เบิกงบกลางใหม่ เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่หน่วยงานก็เลยแนะนำว่าถ้าเราปรับตรงนี้ได้นะคะ เราสามารถที่จะลดงบกลางได้ถึง ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท นี่ไม่รวมงบประมาณที่ซ้ำซ้อนนะคะ เห็นไหมคะ ว่าเราเริ่มเห็นแสงสว่างแล้วว่า ๑,๒๐๐ บาท เป็นไปได้ในขั้นแรกเริ่ม ระยะต่อมา เราสามารถที่จะปฏิรูปในภาษีที่มีอยู่ รวมถึงภาษีในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นภาษีที่เกี่ยวกับ ความมั่งคั่ง ภาษีกำไรจากหุ้น รวมถึงภาษีบำรุงอื่น ๆ แม้แต่ภาษีที่เกี่ยวกับ Entertainment Complex ที่สภาเราอาจจะผ่านก็ได้ ที่จะสามารถเป็นแหล่งเงินที่เราได้อีก เดี๋ยวจะมีเพื่อน อนุกรรมาธิการของดิฉันขึ้นมาพูดในเรื่องแหล่งเงินได้ต่าง ๆ โดยละเอียดกว่านี้นะคะ เพราะฉะนั้นข้อเสนอของกรรมาธิการก็คือนอกเหนือจากที่เราจะจัดหาเรื่องการจัดสรร งบประมาณแล้วยังขอแก้ พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ ด้วย ในมาตรา ๑๑ (๑๑) แก้นิดเดียว ท่านประธาน จากเดิมที่ว่าให้จ่ายเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เราแก้ ให้เป็นการจ่ายบำนาญพื้นฐานเพื่อเป็นหลักประกันรายได้แก่ผู้สูงอายุในอัตราที่ไม่ต่ำกว่า เส้นห่างความยากจนจากสภาพัฒน์นั่นเอง เพราะฉะนั้นอย่างไรในกรรมาธิการคณะนี้ได้แนบ ร่างแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้เข้าไปด้วย และเป็นร่างการเงิน ก็หวังว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาล จะเซ็นรับรองเพื่อให้สภาแห่งนี้ได้กลับมาถกเถียงกันว่าควรปรับขึ้นเป็นเท่าไร อะไรอย่างไร เพราะฉะนั้นหลังจากนี้เดี๋ยวจะให้เพื่อนอนุกรรมาธิการของดิฉันได้พูดคุยถึงตัวเลขแหล่งที่มา ของงบประมาณโดยละเอียดว่าเราจะทำอย่างไรต่อไป ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ผมเข้าใจว่าเตรียมมาจัดเต็มเลยนะครับ แต่ว่าลองกะเวลาให้ผมได้ไหมว่า จะชี้แจงอีกกี่ท่าน อีก ๓ ท่าน เดี๋ยวสมาชิกที่ลงชื่ออภิปรายจะได้เตรียมตัวนะครับ เชิญกรรมาธิการท่านต่อไปเลยครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย กรรมาธิการ ต้นฉบับ
สวัสดีครับ ผม ดอกเตอร์ทีปกร จีร์ฐิติกุลชัย มาในฐานะของเลขานุการคณะอนุกรรมาธิการ ก็จะมาขอชี้แจง เกี่ยวกับเรื่องว่าเราจะใช้เครื่องมืออะไร ขอสไลด์ด้วยครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ก่อนอื่นจะขอเล่า เริ่มต้นเกี่ยวกับเรื่องงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อเสนอเรื่องแหล่งรายได้ว่าเราจะมีเงินจากไหน ที่จะมาทำบำนาญให้กับพี่น้องประชาชนนะครับ เราต้องพูดถึงบริบททางเศรษฐศาสตร์ การเมืองของประเทศว่ามีความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ประเด็นคือประเทศเรา ไม่ได้จนนะครับ เรามีเงิน เพียงแต่ว่าเราจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ถ้าเรามองดูย้อนหลัง ไปประเทศของเราครัวเรือนระดับล่างได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของ GDP น้อยมากเป็น ส่วนใหญ่ แทบทั้งหมดไปกระจุกอยู่ข้างบนเกือบทั้งหมดจากข้อมูลย้อนหลังกว่า ๓ ทศวรรษ แรงงานไทยได้ค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม เพราะว่าค่าจ้างก็เติบโตไม่ทัน GDP แล้วถ้าเทียบกับผลิต ภาพของแรงงาน ค่าจ้างก็เติบโตไม่ทันนะครับ ยิ่งกว่านั้นยังเห็นชัดเจนว่า ๑๐ ปีที่ผ่านมา ๕๐ ตระกูลที่รวยที่สุด รวยขึ้นเฉลี่ย ปีละ ๒๐-๓๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้น ๑๐ ปีที่ผ่านมา คือรวยเพิ่มขึ้น ๖ เท่าถึง ๘ เท่า จากประมาณ ๑ ใน ๑๐ ของ GDP ก็กลายเป็น ๑ ใน ๓ ของ GDP มูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งเขาร่ำรวยมาจากการผูกขาดการได้สัมปทานต่าง ๆ ถ้าเรามอง ย้อนกลับมาเรื่องผู้สูงอายุ อนาคตไทยเรากำลังจะเผชิญกับความเสี่ยงในเรื่องความยากจน จากวิกฤติผู้สูงอายุ ปีแรกที่เกิดโควิดผู้สูงอายุยากจนเพิ่มขึ้นอย่างมาก แล้วก็กลุ่มที่ยากจน ที่สุดก็คือคนได้รับผลกระทบมากที่สุดนะครับ แล้วถ้าเราดูข้อมูลจะเห็นได้ว่าประชากรรุ่นที่ เรียกว่าเกิดปีละ ๑ ล้านคน หรือสึนามิประชากร กับผู้สูงอายุเขามีความเปราะบางต่อความ ยากจนสูง ส่วนมากไม่สามารถที่จะออมได้ แล้วเราก็เห็นกันว่าคนที่อยู่ในวัยแรงงานรายได้ เติบโตไม่ทันค่าครองชีพนะครับ ข้อเสนอก่อนหน้าที่ผ่านมาเรามีรายงานเรื่องแนวทาง การเสนอกฎหมายบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ซึ่งเคยอภิปรายในสภานี้แล้ว แล้วก็ผ่านความ เห็นชอบ แล้วก็เป็นฐานหลักสำหรับการพัฒนารายงานในฉบับปัจจุบัน โดยสรุปรายงาน ที่ผ่านมา เมื่อปี ๒๕๖๔ ก็ได้ระบุว่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่เพียงพอ แล้วเราควรจะต้องกำหนด เป้าหมายที่เส้นความยากจน แล้วกำหนดแหล่งรายได้มาเรียบร้อยแล้วว่าควรจะเอาเงินมา จากไหนสำหรับงบประมาณ แล้วก็สมทบเข้าเป็นกองทุนบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ แล้วก็มี ข้อเสนอแนวทางทางกฎหมายด้วยว่าจะให้ใช้กฎหมายที่มีอยู่ ซึ่งถ้าเรามองงบประมาณว่าจะ เป็นอย่างไร เราก็อาจจะเหมือนกับกังวลกันว่าถ้าเกิดเราให้ถ้วนหน้า ๓,๐๐๐ บาท งบประมาณมหาศาล แต่ถ้าเรามองความเป็นจริงแล้วเทียบกับบำนาญภาครัฐเส้นสีแดง ในปัจจุบันก็คือระยะยาวอย่างไรงบบำนาญข้าราชการก็จะเพิ่มขึ้นสูงกว่างบของประชาชนอยู่ แล้วถึงแม้เราจะให้ ๓,๐๐๐ บาท หรือถ้าเกิดเราจะกำหนดการออมขั้นต่ำอยู่ที่ ๒,๐๐๐ บาท เป็นระดับที่จะคุ้มครองความยากจนได้จริง ๆ ถ้าต่ำกว่า ๒,๐๐๐ บาท นั่นคือล้มเหลวทันทีไม่ สามารถคุ้มครองความยากจนได้ ถ้ากำหนดขั้นต่ำ ๒,๐๐๐ บาท แล้วให้ออมเพิ่มขึ้นไปได้ถึง ๖,๐๐๐ บาท คือมัธยฐานตรงกลางของสังคมไทยระยะยาวก็ยังใช้เงินน้อยกว่าของบำนาญ ข้าราชการนะครับ นี่คือสิ่งที่อยากชี้ให้เห็น เพราะฉะนั้นกลับมาถึงข้อเสนอแหล่งรายได้จะ เอาเงินมาจากไหน มีข้อเสนอมากมายเลย ๑. ก็คือต้องปฏิรูประบบภาษี ๒. คือปฏิรูประบบงบประมาณ แล้วก็ ๓. ก็คือพัฒนาระบบการออม ซึ่งมีข้อเสนอเยอะแยะอยู่เต็มไปหมด ก็อยากจะขอให้เกิดการพัฒนาเกิดขึ้นจริง ๆ ไม่ใช่เพียงแต่ศึกษาไปเรื่อย ๆ พูดคุยไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้เกิดความเป็นจริง ไม่ได้มีประโยชน์กับประชาชนจริง ๆ สักทีหนึ่ง ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญกรรมาธิการท่านต่อไปครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงมณี เลาวกุล กรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ดวงมณี เลาวกุล เป็นที่ปรึกษาของคณะอนุ กรรมาธิการค่ะ ต่อไปนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของแหล่งรายได้แล้วก็ที่มาว่าจะทำอย่างไร ให้เราสามารถเกิดระบบบำนาญพื้นฐานแห่งชาติได้นะคะ ก่อนอื่นก็จะกล่าวถึงตัวงานศึกษา ต่าง ๆ ที่เคยมีมาในอดีตว่าเขามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้กันไว้อย่างไร ในส่วนของ ธนาคารโลกก็ได้มีการเสนอว่าในการที่จะทำให้มีบำนาญพื้นฐานได้จะต้องมีการบูรณาการ โครงการต่าง ๆ ที่มีอยู่เข้าด้วยกัน โดยที่มุ่งเน้นไปที่การลดความยากจนในผู้สูงอายุ แล้วก็ มีการเสนอว่าจะต้องมีหน่วยงานกำกับดูแลนโยบายในภาพรวม แล้วก็ต้องมีการปฏิรูปภาษี ในแบบลักษณะของก้าวหน้า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยก็ได้มีการเสนอไว้ว่า จะต้องมีการปฏิรูปภาษีให้ใกล้เคียงกับศักยภาพในการเสียภาษีของคนในประเทศ เพื่อสร้าง ความเป็นธรรมแล้วก็ความเสมอภาคเกิดขึ้น แล้วก็เสนอให้มีการ Earmark ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นงบประมาณทางด้านสวัสดิการ ส่วนในแผนปฏิบัติการราชการผู้สูงอายุระยะที่ ๓ เอง ก็มีการพูดถึงว่าจะต้องมีการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีให้รัฐมีรายได้ที่พอเพียง เพื่อใช้ ในการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แล้วก็ทำ ให้ผู้ที่อยู่ในฐานภาษีไม่ได้รับผลกระทบจนเกินไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงมณี เลาวกุล กรรมาธิการ ต้นฉบับ
งานของท่านอาจารย์ ผาสุก พงษ์ไพจิตร ก็เสนอให้มีการปรับโครงสร้างงบประมาณมาเน้นสวัสดิการมากขึ้น งานของท่านอาจารย์นพนันท์ วรรณเทพสกุล และคณะ ก็มีการเสนอว่าการที่มีเงินโอน สวัสดิการผู้สูงอายุจะทำให้มีตัวคูณทางการคลังมากถึง ๑.๕ เท่า งานของอาจารย์ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย และคณะ ก็บอกว่ามีการเสนอว่ามีการปฏิรูปภาษีต่าง ๆ แล้วก็ยังชี้ให้เห็นว่า การมีบำนาญพื้นฐาน ในระดับ ๓,๐๐๐ บาท ก็ยังเป็นงบประมาณที่ค่อนข้างน้อยกว่าระบบ บำนาญของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีโอกาสสูงขึ้นในอนาคต ในรายงานของ คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคมชุดปัจจุบันนี้ ก็มีการทำการศึกษาแล้วก็ผลการศึกษา พบว่าถ้าไม่มีการทำอะไรเลยงบประมาณจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะว่าในส่วนนี้มีงบ บำนาญต่าง ๆ ที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้นในขณะที่เราพบว่ามันมีงบประมาณที่จะต้องเพิ่มสูงขึ้น มาก ๆ ตรงนี้ก็จะต้องหาทางว่าเราจะทำอย่างไรที่จะสามารถสร้างระบบสวัสดิการของ ประเทศให้เป็นระบบสวัสดิการที่มีคุณภาพแล้วก็ยั่งยืนได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงมณี เลาวกุล กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ในส่วนข้อเสนอของคณะกรรมาธิการชุดปัจจุบันว่ามีตัวรายได้ต่าง ๆ ว่าจะมี รายได้ในส่วนไหนที่จะเข้ามาได้บ้าง ก็มีงานศึกษาของทางสำนักงบประมาณของรัฐสภาที่มี การศึกษาและพบว่าจริง ๆ แล้วงบประมาณในส่วนของงบกลางมันมีรายการบางรายการ ที่ไม่ใช่รายการฉุกเฉินหรือว่าจำเป็น ซึ่งตรงนี้ไม่ควรที่จะมาใช้ในส่วนของงบกลาง ซึ่งแหล่ง งบประมาณตรงนี้มีอยู่ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ก็สมควรที่จะมีการปรับปรุง แก้ไข ซึ่งอาจจะมีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลางได้ ในส่วนของแหล่งงบประมาณที่มีอยู่เดิมในปัจจุบันนี้ก็สามารถที่จะนำมาเป็นแหล่ง งบประมาณของการทำระบบบำนาญพื้นฐานได้ อย่างแรกเลยก็คือตัวภาษีสรรพสามิต ที่เกี่ยวกับสุรา ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิงหรือยานพาหนะ ๒. ก็คือเงินนำส่งจากการออกสลาก รางวัลค้างจ่ายพร้อมดอกผล ๓. ก็จะเป็นส่วนแบ่งค่าสัมปทาน ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ในกิจการสื่อสารวิทยุโทรคมนาคมต่าง ๆ ๔. ก็จะเป็นเงินนำส่งคลังที่ได้รับมาตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียน ๕. ก็จะเป็นเงินบำรุงกองทุนที่ได้มาจากภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วก็อากรขาเข้า ในส่วนที่ไม่ได้รับการต่อสิทธิพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการลงทุน แล้วก็จะมีในส่วน ของภาษีมรดก ในส่วนของกฎหมายส่งเสริมการลงทุนเองตามจริงแล้วในส่วนนี้มีรายจ่าย ที่ประเทศสูญเสียไป ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ มีรายจ่ายที่สูญเสียไปในส่วนนี้มากถึง ๒.๘ แสนล้านบาท ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์จริง ๆ ที่เป็นคนไทยจะแค่ประมาณครึ่งหนึ่ง ของรายจ่ายตรงส่วนนี้เท่านั้นเองนะคะ ถัดไปถ้าเรามองว่ารายรับต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ มันอาจจะยังไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องมีการปฏิรูป มีการปรับปรุงในส่วนของ รายรับในอนาคต ซึ่งก็จะมีรายการต่าง ๆ ที่สามารถปรับปรุงได้ หรือว่ามีการเพิ่มเข้ามาได้ อย่างเช่นรายได้จากการจัดเก็บภาษีทางอ้อม การจัดสรรงบประมาณบางส่วนจากการจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิต พวกภาษีบาปต่าง ๆ อย่างเช่น เรื่องของธุรกิจกัญชาหรือว่ากระท่อม ๖. ก็จะเป็นส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยเฉพาะการกำหนด ให้มีการจำหน่ายสลากการกุศลเพื่อนำงบประมาณมาใช้ในเรื่องของบำนาญพื้นฐาน ประชาชน ในส่วนที่ ๗ ก็จะเป็นเงินบำรุงกองทุนที่ได้จากการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่ง ภาษี กำไรจากหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐที่เคยมีการนำเสนอเกี่ยวกับภาษีลาภลอย ถัดไปก็จะเป็นเงินบำรุงกองทุนจากการจัดเก็บภาษีในกลุ่มธุรกิจพลังงานแล้วก็ภาษี สิ่งแวดล้อม แล้วก็จะมีในส่วนของเงินบำรุงกองทุนที่ได้จากการเป็นเรื่องของส่วนแบ่งรายได้ จากค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตของสถานบันเทิงครบวงจร ถ้าเรามีในอนาคตนะคะ ถัดไปก็จะเป็นเรื่องของเงินบำรุงกองทุนที่ได้จากภาษีการท่องเที่ยว ค่าธรรมเนียม Visa ประเด็นที่ ๘ ก็จะเป็นเงินบำรุงกองทุนที่ได้จากส่วนแบ่งรายได้ที่ได้จากการยึดทรัพย์สิน ที่มาจากการกระทำที่มีความผิดในคดีอาญา โดยมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็น ของแผ่นดิน นอกจากนั้นเราก็ยังสามารถที่จะมีเงินบำรุงอื่น ๆ ที่กำหนดให้เป็นเงินบำรุง กองทุนตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ด้วย อันนี้ก็จะเป็นข้อเสนอสำหรับงานศึกษา ของทางกรรมาธิการ แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราย้อนกลับไปดูงานศึกษาของคณะกรรมาธิการ ในชุดก่อนก็จะมีข้อเสนอเกี่ยวเนื่องกับการปรับปรุงแหล่งที่มาต่าง ๆ แล้วก็ในงานศึกษา ก็พบว่าเงินสมทบกองทุนบำนาญพื้นฐานแห่งชาติจากการจัดสรรงบประมาณก็มี ความต้องการประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เงินสมทบที่มาจากรายได้จากการจัดเก็บภาษี จากการนำเข้าและส่งออก ซึ่งในปี ๒๕๖๒ รัฐจัดเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกได้ ๓.๗๑ แสนล้านบาท แล้วก็มีข้อเสนอในเรื่องของการลดหรือว่างดเว้นการให้สิทธิประโยชน์ ด้านการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งก็ตรงกับของกรรมาธิการชุดนี้ แล้วก็มีเงินสมทบจากรายได้ จากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลแล้วก็สลากการกุศลต่าง ๆ ซึ่งในปี ๒๕๖๒ มีรายได้ ในส่วนนี้อยู่ ๑.๗๕ แสนล้านบาท การจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม แล้วก็ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม นอกจากนั้นก็ยังมีข้อเสนอว่าควรที่จะหาแนวทางในการจัดสรร งบประมาณจากหลาย ๆ ด้านเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากภาษีทางอ้อม การจัดสรร งบประมาณบางส่วนจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต พวกภาษีบาปต่าง ๆ แล้วก็อีกส่วนหนึ่ง ก็อาจจะเป็นรายได้จากการบริจาคที่สามารถสมทบเข้ามาในกองทุนผู้สูงอายุได้ อันนี้ก็เป็นผล การศึกษาของคณะกรรมาธิการชุดนี้ที่มีข้อเสนอเกี่ยวกับแหล่งรายได้ว่าจะทำอย่างไรที่จะ สามารถพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานแห่งชาติได้ แต่อย่างไรก็ตามในการพัฒนาแหล่งรายได้ ต่าง ๆ เหล่านี้ก็อาจจะต้องมีบางกลุ่มที่มีความสามารถในการที่จะจ่ายมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ก็จะต้องมีการแบ่งปันเกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้สังคมของเราสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีกท่านหนึ่ง เชิญครับ
นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ผมได้รับมอบให้มากล่าวสรุปแล้วก็ผลลัพธ์จากการสร้างระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน ในการสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งจะขอนำเสนอ ๒ ส่วน ผมนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ โฆษกคณะอนุกรรมาธิการ แล้วก็เป็นสัดส่วนจากภาคประชาสังคมนะครับ
นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๑ บำนาญพื้นฐาน ประชาชนจะเพิ่มหลักประกันรายได้รายเดือนให้กับ ผู้สูงอายุ ประมาณการว่าในปี ๒๕๗๓ ผู้สูงอายุจะมี ๑๗,๖๐๐,๐๐๐ คน ผู้สูงอายุในส่วนนี้ จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจนทันที เมื่อระบบบำนาญพื้นฐานแห่งชาตินั้นสามารถ ที่จะดำเนินการได้ ข้อมูลที่เรามี ในปี ๒๕๖๕ ผู้สูงอายุที่มีความยากจนอยู่ในเส้นความยากจน ปัจจุบันคือ ๒,๙๙๗ บาทนั้น จะมีอยู่ประมาณ ๑,๓๐๐,๐๐๐ คน จากข้อมูลของสภาพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้สูงอายุจำนวนนี้ก็จะค่อย ๆ พ้นจากความยากจนทันที เหมือนกัน จากระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน
นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๒ บำนาญพื้นฐานประชาชนนั้น ในปีแรกเราจะเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แบบขั้นบันได นั่นหมายความว่าผู้สูงอายุปัจจุบันที่ได้รับเบี้ยยังชีพแล้ว ๑,๓๐๐,๐๐๐ คน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๖๗ ต่อเนื่องมา ก็จะได้รับเงินในส่วนนี้เป็นรายได้รายเดือน ซึ่งก็จะสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และไม่มีการปรับอัตราเบี้ยยังชีพมากว่า ๑๓ ปี นับตั้งแต่ สมัยรัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์
นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๓ บำนาญพื้นฐานประชาชนนั้น จะเพิ่มเวลาให้กับครอบครัวไทย ของเรา เนื่องจากว่าเมื่อผู้สูงอายุมีรายได้มากขึ้น ภาระการเลี้ยงดูผู้สูงอายุของประชากร วัยแรงงาน ๑๐๐ คน ก็จะมีภาวะภาระที่เลี้ยงดูลดลง และในขณะเดียวกันก็จะทำให้คุณภาพ ชีวิตสังคมดีขึ้น เพิ่มเวลาให้กับครอบครัวไทย วัยเด็ก วัยแรงงาน และผู้สูงอายุ ก็จะมีเวลา มากขึ้น วัยแรงงานกว่า ๔๐ ล้านคน ก็จะลดการทำงานหนักตรากตรำลง
นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๔ บำนาญพื้นฐานจะเพิ่มสัดส่วนงบประมาณสวัสดิการประชาชน และเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรสวัสดิการ ท่านประธานกรรมาธิการได้พูด ไปแล้วในเรื่องนี้ โดยภาพรวมก็คือว่าเมื่อมีการเพิ่มบำนาญพื้นฐานประชาชน งบประมาณ สวัสดิการในส่วนนี้ก็จะทำให้เกลี่ยลดความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรสวัสดิการมากขึ้น
นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนต่อมา บำนาญพื้นฐานประชาชนนั้น จะมีบทบาทอย่างสำคัญในการ ขับเคลื่อนสังคมไทย ๔ ประการด้วยกัน ทั้งในระดับมหภาค คือเศรษฐกิจโดยภาพรวม และระดับจุลภาคใน ๔ ด้าน ๔ ประการ
นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประการแรก บำนาญพื้นฐานประชาชนนั้น จะช่วยป้องกันวิกฤติสังคม ในความยากจนของผู้สูงอายุ บทเรียนของประเทศต่าง ๆ ประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งประเทศเรา ที่มีวิกฤติการณ์ของผู้สูงอายุนั้น เมื่อเรามีบำนาญพื้นฐานก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกหลาน ของเราทุกคนจะต้องเติบโตมาในสังคมที่มีวิกฤตการณ์ความยากจนของผู้สูงอายุ
นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ บำนาญพื้นฐานประชาชนจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริม ให้สังคมมีความปรองดอง เนื่องจากบำนาญพื้นฐานประชาชนจะเป็นการพัฒนาระบบ รัฐสวัสดิการสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย และเป็นเส้นทางแห่งการพัฒนา ที่ปรองดองและยั่งยืน ในทางกลับกันประเทศเราที่ติดอันดับประเทศความเหลื่อมล้ำมาก ๆ รวมทั้งประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำก็มีความขัดแย้ง มีความรุนแรงทางสังคมและเศรษฐกิจ
นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ บำนาญพื้นฐานประชาชนจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ผ่านเครื่องมือทางการคลัง อย่างที่ได้เรียนไปการปฏิรูประบบภาษีอัตราก้าวหน้า การปฏิรูป ระบบงบประมาณ ตามข้อเสนอต่าง ๆ นั้น จะช่วยให้งบประมาณภาครัฐ มีงบประมาณ ในการคุ้มครองทางสังคมมากขึ้น แล้วก็นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ได้ปรับเพิ่มขึ้น ก็จะสามารถทำให้เศรษฐกิจมีความเป็นธรรมมากขึ้น เพราะความเหลื่อมล้ำที่ลดลง
นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประการสุดท้าย บำนาญพื้นฐานประชาชนนั้น จะช่วยรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ ผลของตัวทวีคูณทางการคลังนั้นส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผมขอหยิบยกงานวิจัยของคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่แสดงให้เห็นว่า กองทุนบำนาญพื้นฐานของประชาชนที่จัดสรรให้อัตราเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท จะช่วยรักษา เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ช่วยทำให้ GDP นั้น สามารถเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๑.๕ นะครับ ที่ได้กล่าวมาก็คือผลการศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการ แล้วก็เราคิดว่าพวกเรามุ่งมั่นตั้งใจ ที่จะทำให้บำนาญพื้นฐานของประชาชนนั้นเป็นทั้งตาข่ายรองรับวิกฤตการณ์ทางสังคม และในขณะเดียวกันก็เป็นกันชนสำหรับวิกฤตการณ์ทางสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคมไทย ของเรา ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ขอบพระคุณสำหรับการทุ่มเททำรายงานด้วยนะครับ เป็นรายงาน ที่สมบูรณ์แล้วก็นำเสนอได้กระชับมาก ต่อไปจะเป็นการอภิปรายของทางสมาชิกนะครับ มีสมาชิกฝ่ายค้าน ลงชื่อ ๙ ท่าน ส่วนรัฐบาล อยู่ที่ ๘ ท่าน ก็จะเป็นการเรียกในอัตรา ๑ : ๑ ขอเชิญท่านแรก ท่านกัณตภณ ดวงอัมพร ครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตัวแทนของพี่น้อง ชาวพญาไท ดินแดง กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล ผมขออนุญาตท่านประธาน ร่วมอภิปรายผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน ก่อนอื่น เลยผมต้องขอขอบคุณท่านประธานคณะกรรมาธิการ ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ และเพื่อน ๆ ในคณะกรรมาธิการทุก ๆ ท่าน และผมขอชื่นชมการทำงานของอนุกรรมาธิการคณะนี้มาก ๆ ท่านประธานคณะอนุกรรมาธิการ ท่านวรรณวิภา ไม้สน ผมขอขอบคุณอาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิหลาย ๆ ท่านที่มาร่วมกันจัดทำรายงานฉบับนี้ ทั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทีปกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงมณี และท่านอื่น ๆ ที่มาร่วมกันแสวงหาคำตอบจากหลาย หน่วยงานนะครับ และพยายามที่จะทำให้รายงานฉบับนี้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาระบบ บำนาญแห่งชาติ โดยใช้กฎหมายอย่างเป็นระบบ รวมถึงการศึกษาแหล่งที่มาของงบประมาณ ที่จะนำมาใช้ได้ ท่านประธานครับ โครงสร้างอายุของประชากรในประเทศไทยได้เปลี่ยนไป อย่างมาก เนื่องจากการเกิดที่น้อยลง และอายุของคนไทยยืนยาวขึ้น ทำให้โครงสร้าง ประชากรเปลี่ยนจากประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัย จนกลายเป็นสังคมผู้สูงวัย อย่างสมบูรณ์แล้ว ในปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา และในอีก ๒๕ ปีครับท่านประธาน ประเทศไทย จะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยสุดยอด ซึ่งจะมีประชากรอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป มากถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งหมด ท่านประธานครับ เมื่อประเทศเราเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยสุดยอดแล้วนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา คือรัฐเองควรที่จะสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทุกคน ให้มีสวัสดิการที่ดีและเหมาะสม จากสถิติครับ ผู้สูงอายุที่กำลังมีมากขึ้น แต่กลับกันการดูแล ผู้สูงอายุหรือสวัสดิการผู้สูงอายุยังดีไม่มากพอ หากดูตัวเลขรายได้ของผู้สูงอายุ ๑ ใน ๓ ของ ผู้สูงอายุไทย เป็นผู้มีรายได้น้อยหรือเป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าความยากจนมากกว่า ร้อยละ ๔๐ ของผู้สูงอายุไทย มีเงินออมต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท ความมั่นคงในชีวิตอยู่ตรงไหน ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๕๐ มีแหล่งรายได้หลักจากลูกหลาน รองลงมาคือรายได้จากการ ทำงาน และมีผู้สูงอายุมากกว่าครึ่ง หรือร้อยละ ๕๑.๓๗ ยังมีรายได้ ต้องมีรายจ่ายเพื่อที่จะ ดูแลบุตรหลาน ขณะเดียวกันผู้สูงอายุมากกว่าครึ่ง ประมาณ ๕๒.๘๘ ยังคงมีภาระจ่ายคืน หนี้สิน ขณะที่ประชากรไทยเริ่มสูงวัยในอัตราที่รวดเร็ว การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเป็น สังคมผู้สูงวัยของไทยกลับเป็นไปอย่างเชื่องช้า ผู้สูงอายุกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาความ ยากลำบากมากมาย ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สุขภาพ รวมถึงเรื่องสังคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อสังคมในภาพรวมอย่างรุนแรง ผลการวิจัยของภาควิชาการธนาคาร และการเงินนะครับ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ผู้สูงอายุระหว่างอายุ ๕๕-๕๙ ปี ที่อยู่คนเดียว มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ๕,๖๗๙ บาท ไม่รวม ค่ารักษาพยาบาล ขณะที่กลุ่มผู้สูงวัยเต็มกลุ่ม อายุ ๖๐-๖๔ ปี มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ๔,๓๗๔ บาท ผู้สูงอายุยังมีความเปราะบาง มีความยากจนในมิติความเป็นอยู่ด้านอื่น ๆ มากกว่าประชากรวัยอื่น ๆ อย่างชัดเจนด้วยนะครับ ดังนั้นทุกฝ่ายต้องตระหนักและปรับตัว เพื่อรับมือกับการเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างเป็นระบบ ในต่างประเทศครับท่านประธาน มีการให้สวัสดิการแก่ผู้สูงวัย ทั้งผู้สูงวัยที่มีเชื้อชาติ สัญชาติ นั้น ๆ หรือเป็นผู้สูงวัยที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ ตามเงื่อนไขของประเทศนั้นที่กำหนด โดยประเทศเหล่านี้มีการหางบประมาณมาใช้จ่ายในวิธีการที่แตกต่างกัน เช่น การเก็บภาษี เพื่อนำมาจัดรัฐสวัสดิการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดเก็บ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนการจ่าย ประโยชน์บำนาญพื้นฐานประชาชน หรือเงินที่เกี่ยวข้องกับการพนัน ในประเทศมหาอำนาจ อย่างสหรัฐอเมริกา หรือการหารายได้จากค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการใช้น้ำ และกำจัดสิ่งปฏิกูลเพื่อนำเงินมาส่งเข้ากองทุนบำนาญของมลรัฐเพนซิลเวเนียครับ ย้อนกลับ มาประเทศไทยครับ ระบบบำนาญของประเทศไทยก็ได้จำแนกผลตามประโยชน์ทางการเงิน สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นระบบบำนาญหลายชั้น ซึ่งประเด็นนี้น่าเป็นห่วงว่าจะเพียงพอของเงิน บำนาญในทุกกลุ่มประชากร ถ้าเป็นข้าราชการก็จะได้บำนาญจากบำนาญกรมบัญชีกลาง เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และเงินจาก กบข. ครับ แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุในระบบแรงงาน ก็จะมีระบบประกันสังคม จะมีเงินบำนาญผู้ชรา กองทุนประกันสังคมที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับ เงินที่เขาส่งมาทั้งชีวิต ต่อไปครับ ถ้าเป็นแรงงานนอกระบบล่ะครับ คงจะมีเพียงเบี้ยผู้สูงอายุ ตาม พ.ร.บ. ผู้สูงอายุที่ประทังชีวิตเท่านั้น ท่านประธานครับ ผมนั่งเป็นที่ปรึกษา ของอนุกรรมาธิการเรื่องนี้และคณะอนุกรรมาธิการก็ได้พิจารณาหลักเกณฑ์ เงื่อนไขผู้ที่ได้รับ สิทธิบำนาญพื้นฐานควรจะเป็นประชากรกลุ่มใดที่จะได้รับสิทธิบำนาญพื้นฐาน โดยคำนึงถึง ประเด็นด้านความเสมอภาคและความเท่าเทียม เพื่อเป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำ โดยเห็นว่าสวัสดิการบำนาญเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคนที่ควรจะได้รับ เพื่อความมั่นคงด้านรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุครับ ในรายงานฉบับนี้ มีทั้งการวิเคราะห์ทั้งเรื่องแหล่งที่มาของเงินที่เราจะสามารถมาใช้ให้กับผู้สูงอายุได้ มีการจัดระบบบำนาญและบำนาญพื้นฐานในต่างประเทศ เงื่อนไขการรับเบี้ย รวมไปถึง แนวทางในการดำเนินนโยบายสวัสดิการด้านสังคม ด้านระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางดังกล่าวมีความ Realistic ครับ คือสามารถที่จะนำไปใช้ ได้จริง เช่น การปรับปรุงเงื่อนไขที่มาของงบประมาณที่จะสามารถนำมาใช้ได้จริงโดยไม่ผิด วินัยทางการเงินการคลัง หรือแม้แต่กระทั่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาระบบบำนาญประเทศ ไทยโดยใช้กฎหมายอย่างเป็นระบบ หากจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับบำนาญประชาชน แบบนี้เข้ารัฐสภาในอนาคต ผมคิดว่ารายงานฉบับนี้จากคณะกรรมาธิการรายงาน ผลพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน คงจะตอบโจทย์ต่อ การพิจารณากฎหมายในอนาคตอย่างแน่นอน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญ ท่านนิพนธ์ คนขยัน ครับ ขออนุญาตข้ามก่อนนะครับ แล้วก็หลังจากที่ เพื่อนสมาชิกอภิปรายไปอีก ๒ ท่าน ผมจะปิดการให้ลงชื่ออภิปรายเพื่อควบคุมเวลาในการ อภิปรายได้ แล้วก็กรรมาธิการมีโอกาสได้ตอบข้อซักถาม ผมขอเชิญ ท่านเทอดชาติ ชัยพงษ์
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เทอดชาติ ชัยพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๕ พรรคเพื่อไทยครับ ต่อกรณีของการรายงานผลการพิจารณาการศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐาน ประชาชน ของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งก็ทำให้เห็น ภาพรวมของการดำเนินการเกี่ยวกับระบบบำนาญของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานภาคประชาชนนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ เป็นวิวัฒนาการของสวัสดิการพื้นฐานทางสังคม เป็นการให้สิทธิขั้นพื้นฐานต่อประชาชน ชาวไทยอย่างถ้วนหน้า อย่างไรก็ตามประเทศไทยนั้นเราได้มีระบบบำนาญอยู่ในอันดับรั้งท้าย ของโลก จาก ๔๔ ประเทศ คะแนนรวม ๔๑.๗ ซึ่งประเทศที่มีระบบบำนาญที่ดีที่สุดก็คือไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ในอาเซียนเรา ก็มีสิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซียและญี่ปุ่น ตัวชี้วัดสำคัญเน้นหนักไป ๓ เรื่องครับ เรื่องที่ ๑ คือ ความเพียงพอ นั่นคือการมอบสวัสดิการให้กับกลุ่มคนจนและกลุ่มคนผู้มีรายได้ระดับต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ตัวชี้วัดที่ ๒ คือความยั่งยืนนี่พิจารณาจากอัตราการมีส่วนร่วมแรงงาน ของประชากรผู้สูงอายุ และระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะเห็นว่าเรื่องของ ความยั่งยืนนั้นมันผูกพันระหว่างจำนวนของประชากรที่มีส่วนร่วมเรื่องของทักษะ อาชีพ รายได้ และการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ จะมีความผูกกันเนื่องจากเป็นเรื่องของสวัสดิการ และต้องใช้งบประมาณ ดัชนีชี้วัดที่ ๓ ก็คือความครบถ้วน ๓ ด้าน ด้านแรก ก็คือกฎระเบียบ และธรรมาภิบาล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของระบบบำนาญแห่งประเทศไทย ด้านที่ ๒ คือความคุ้มครองและการสื่อสารสำหรับสมาชิก ด้านที่ ๓ คือค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ในประเทศไทยนั้นข้าราชการทุกคนหลังจากที่เกษียณอายุราชการ อายุ ๖๐ ปีแล้ว ก็สามารถ เลือกที่จะรับบำเหน็จหรือบำนาญได้ เพราะฉะนั้นตั้งแต่ วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ข้าราชการทุกคนเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ อันนี้คือเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับ สวัสดิการจากภาครัฐ หลังจากที่ได้ทำงานเพื่อประเทศชาติมานาน สร้างคุณประโยชน์ ให้ประเทศชาติมานาน ส่วนภาคประชาชนนั้นก็มีวิวัฒนาการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ สมัยรัฐบาลท่านอานันท์ ปันยารชุน สงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ปี ๒๕๓๖ ท่านนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย เป็นหมู่บ้านละ ๓-๕ คน คนละ ๒๐๐ บาท รวม ๒๐,๐๐๐ คน เป็นเวลา ๓ เดือน ปี ๒๕๕๑ ท่านนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุถ้วนหน้า ๕๐๐ บาทต่อคน เว้นผู้ที่ได้รับสวัสดิการอื่น ปี ๒๕๕๔ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ใหม่ ในสมัยนั้นรัฐบาลของท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แบบถ้วนหน้าเป็นแบบขั้นบันได ๖๐๐-๑,๐๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน และปี ๒๕๖๖ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ปรับเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รายใหม่ต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ นี่คือวิวัฒนาการของการให้ บำนาญภาคประชาชนมาอย่างยาวนาน ในสภาพปัจจุบันครับ เรามีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หลัก ๆ อยู่ประมาณ ๔ ฉบับ ๑. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ๒๕๓๙ ๒. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พุทธศักราช ๒๕๔๖ ๓. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ๔. พระราชบัญญัติประกันสังคม ๒๕๓๓ และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องของการออม กองทุนการออมแห่งชาติ ปี ๒๕๕๔ มี ๕ ฉบับ เพราะนั้นประชาชน ๖๐ ปีขึ้นไป ในปี ๒๕๖๓ เรามีสูงถึง ๑๙ เปอร์เซ็นต์ อัตราการเกิดน้อยลง แต่อัตราที่จะมีสังคมผู้สูงอายุและผู้สูงวัยนั้น เพิ่มขึ้น จากปี ๒๕๖๓-๒๕๘๓ เราจะมีประชากรสูงวัยตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป ถึง ๓๒ เปอร์เซ็นต์ ของประเทศ ซึ่งนับว่าไม่น้อย เพราะฉะนั้นระบบบำนาญของข้าราชการในประเทศไทย ขอกราบเรียนพี่น้องประชาชนผ่านไปยังท่านประธานครับ ว่าที่พูดวันนี้ไม่ได้พูดถึงเฉพาะ ข้าราชการ แต่เป็นระบบบำนาญประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการหรือแรงงาน ในระบบและแรงงานนอกระบบ รวมถึงผู้สูงวัย ๖๐ ปีขึ้นไป ที่สามารถที่ได้ระบบบำนาญ ของประเทศไทยได้ ปัจจุบันนั้นได้มีการจ่ายบำนาญในระบบราชการและแรงงานในระบบ และนอกระบบในกองทุนผู้สูงอายุ กองทุนประกันสังคม พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและพระราชบัญญัติ กองทุนการออมแห่งชาติ อันนี้เป็นเรื่องที่เราได้ดำเนินการมาในปัจจุบันแล้ว แต่ต่อไปนี้ ภาคประชาชนเองที่จะต้องดำเนินชีวิตในสังคม ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มสูงวัยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น มีความอ่อนไหวเปราะบาง และเป็นผู้ที่ต้องดูแลตัวเอง บางคนก็ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ไม่มีลูกไม่มีหลานดูแล ภาครัฐจึงจำเป็นจะต้องให้สวัสดิการสังคมที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยถ้วนหน้า ข้อเสนอแนะครับท่านประธาน ๑. ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบระบบบำนาญ แห่งชาติโดยตรง ให้บริหารจัดการเป็นหนึ่งเดียวเพื่อเป็นสวัสดิการแห่งรัฐและคุณภาพชีวิต ของคนไทยทั้งหมด ๒. แก้ไขกฎหมายระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นข้อจำกัด ถือว่านี่คือสิทธิ ขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรมีสิทธิได้รับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ๓. ต้องเพิ่มแหล่งรายได้ ของรัฐ เช่น การปฏิรูประบบภาษี เช่น การสร้างแหล่ง Entertainment Complex สถาน บันเทิงครบวงจรที่เป็นรายได้เข้าภาครัฐ และรายได้อื่น ๆ ที่ไม่กระทบต่อการดำรงชีพ ของประชาชน เพื่อที่จะมาจัดระบบสวัสดิการอย่างทั่วถึงแก่ภาครัฐ ไม่เพิ่มภาระใช้จ่ายให้แก่ ประชาชน เป็นการหารายได้เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้เกิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับบำนาญ อย่างถ้วนหน้า เป็นการจัดสรรปันส่วนงบประมาณที่เป็นธรรมและอย่างยั่งยืน เพราะฉะนั้น ท่านประธานครับ ขอกราบเรียนว่าการพัฒนาระบบบำนาญขั้นพื้นฐานของประชาชนนั้น เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนไทยควรจะได้รับ เป็นการบริหารจัดการที่เป็นธรรม เพื่อคุณภาพชีวิต ของประชาชนคนไทยทุกคน และเป็นความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศชาติร่วมกัน ขอบคุณท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะกลุ่มอาสาก้าวไกลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สภายินดีต้อนรับนะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปอีก ๓ ท่าน ท่านแรก ท่านรัชนก สุขประเสริฐ ท่านที่ ๒ ท่านนิพนธ์ คนขยัน ท่านที่ ๓ ท่านวีรนันท์ ฮวดศรี เตรียมตัวนะครับ เชิญท่านรัชนก สุขประเสริฐ ครับ
นางสาวรัชนก สุขประเสริฐ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภา ที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางสาวรัชนก สุขประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๒ จังหวัด สมุทรปราการ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันขออภิปรายสนับสนุนรายงานผลการพิจารณาศึกษา และพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน ของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร
นางสาวรัชนก สุขประเสริฐ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
จากภาพนะคะ เราจะเห็น ค่าเฉลี่ยการรับเบี้ยผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย คือ ๖๐ ปีขึ้นไป ๖๐๐ บาท ๗๐ ปีขึ้นไป ๗๐๐ บาท ๘๐ ปีขึ้นไป ๘๐๐ บาท และ ๙๐ ปีขึ้นไป ๑,๐๐๐ บาท เฉลี่ยแล้วต่ำสุดอยู่ที่ วันละ ๒๐ บาท สูงสุดอยู่วันละประมาณ ๓๓ บาท โดยค่าเฉลี่ยนะคะ ซึ่งมันสวนทางกับ ค่าครองชีพในปัจจุบันเป็นอย่างมากค่ะท่านประธาน ผู้สูงอายุบางท่านเขาไม่ได้มีลูกหลาน เลี้ยงดู ก็ต้องนับวันรอเบี้ยผู้สูงอายุที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย แล้วก็ต้องใช้อย่างตระหนี่ถี่เหนียว เพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีพในแต่ละเดือน การลงพื้นที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาของดิฉัน ก็พบว่ามีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากที่เขาอยู่ได้ด้วยเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนี้ค่ะท่านประธาน บางท่านสุขภาพไม่ดี ไม่เอื้ออำนวยให้ทำมาหากินแบบวัยคนหนุ่มสาวแล้ว แถมยังต้อง เข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำ ดิฉันขอให้เพื่อนสมาชิกทุกท่านได้ลองดูคลิปวิดีโอนี้ไป พร้อม ๆ กันนะคะ ขอขอบคุณคลิปวิดีโอจากเดอะไทยเกอร์นิวส์นะคะ นี่เป็นเพียงเคสตัวอย่างที่เป็นข่าว เมื่อปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ดิฉันเชื่อเหลือเกินว่ายังมีเคสแบบคุณยายท่านนี้ที่ยังไม่ได้รับ การช่วยเหลือ และยังไม่เป็นข่าวอีกเยอะแยะมากมายค่ะ มันน่าอเนจอนาถใจนะคะ ท่านประธาน ในขณะที่ค่าครองชีพของเราสูงขึ้นค่ะ แต่คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศนี้ ไม่ได้สูงตามไปด้วยเลยค่ะท่านประธาน จากตัวเลขจำนวนงบประมาณที่ทุกท่านได้เห็น ในรายงานเล่มนี้มันอาจจะดูสูงขึ้นจากเดิมเยอะ แต่ดิฉันเชื่อเหลือเกินว่าการปรับเบี้ยผู้สูงอายุ ในครั้งนี้มันไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเลิศเลอ หรือสูงไปมากกว่าเก่ามากมาย หรอกค่ะ มันอาจจะเป็นเพียงแค่เปลี่ยนจากไข่ต้ม ไข่ทอด ไข่เจียวเป็นผัดกระเพรา หรือน้ำพริกผักปลาดี ๆ สักมื้อหนึ่งในของแต่ละเดือนก็ยังดีค่ะ ความจนมันน่ากลัวค่ะ ถ้าเลือกได้ไม่มีใครอยากจน ดิฉันเข้าใจดีว่าบั้นปลายของชีวิตหลาย ๆ คน ยังคงต้องอยู่ แบบอดมื้อกินมื้อเพื่อให้อยู่รอดในแต่ละเดือน รัฐที่ดีควรดูแลมิใช่ช่วยเหลือค่ะ สวัสดิการที่ดี ควรทั่วถึงอย่างก้าวหน้า ก้าวไกลและเท่าเทียมค่ะท่านประธาน ดิฉันขอขอบคุณ คณะกรรมาธิการ ท่านประธานคณะกรรมาธิการ ท่านณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ และท่าน ประธานอนุกรรมาธิการ ท่านวรรณวิภา ไม้สน แล้วก็คณะกรรมาธิการทุกท่านที่ช่วยกัน ศึกษา และหาแนวทางการพัฒนาระบบพื้นฐานประชาชนเล่มนี้ขึ้นมา แล้วก็ขอความเห็นใจ ไปยังเพื่อน สส. ทุกท่านนะคะ ช่วยกันสนับสนุนรายงานเล่มนี้ แล้วก็ส่งเสียงดัง ๆ ไปยัง รัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ให้ช่วยเร่งรัด และดำเนินการจัดทำงบประมาณ เพื่อที่จะศึกษาให้กับผู้สูงอายุในประเทศไทย ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านนิพนธ์ คนขยัน เชิญครับ
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขตเลือกตั้งที่ ๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณท่านประธานคณะกรรมาธิการ ท่านประธานอนุกรรมาธิการ ท่านกรรมาธิการทุกท่านนะครับ ที่ได้ไปศึกษาและมารายงาน ผลการพิจารณาศึกษาการพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน ท่านประธานครับ วันนี้ ผมก็คงไม่ลงลึกรายละเอียด และโดยเฉพาะวันนี้พี่น้องผู้สูงอายุ คุณตาคุณยาย อายุ ๖๐ ปี ขึ้นไปแล้ว ซึ่งเป็นผู้บุกเบิก พัฒนาจนบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง แต่วันนี้สภาพชีวิต ผมยกเอา ชนบทครับ แต่บางท่านอาจจะมีครอบครัว ลูกหลานมีเงินมีทองดี ก็ดี แต่บางครอบครัว ซึ่งเงินผู้สูงอายุที่เราพูดว่า เบี้ยผู้สูงอายุและบำนาญ ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท อายุ ๙๐ ปีขึ้นไป ถามว่าดีไหม ดีครับ แต่ผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวที่ไม่มี รายได้ บางครอบครัวนั้นลูกหลานต้องไปรับจ้างต่างจังหวัด ในกรุงเทพฯ หรือต่างพื้นที่ ปล่อยให้คุณตาคุณยายอยู่บ้าน เงินเหล่านี้มันมีคุณค่าสำหรับผู้ยากไร้หรือว่าผู้ยากจน สำหรับ ผู้สูงอายุ ดังนั้นวันนี้ต้องขอบคุณคณะกรรมาธิการทุกท่านครับ ที่ได้สะท้อนหรือว่ารายงาน มาแล้ว รับทราบมาแล้ว ปัญหาต่าง ๆ มีประธานอนุกรรมาธิการได้กลั่นกรองจากคณะ ทั้งหมดนำสู่สภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ ผมเชื่อมั่นนะครับ ว่าเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกท่านคงเห็นด้วยกัน โดยเฉพาะครอบครัวที่ยากจน เงิน ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ๙๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท มันมีความหมายมากสำหรับคนจน แต่ถึงอย่างไรก็ดีวันนี้การพัฒนา หรือว่าเศรษฐกิจต่าง ๆ มันขยับตัวสูงขึ้น เราหรือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรด้วยกันคงเห็นไม่ต่างกันหรอกครับ ว่าเห็นใจบุคคลเหล่านี้ ซึ่งเป็นคุณตา คุณยาย เป็นผู้เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานจนบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาถึงขนาดนี้ ดังนั้นท่านประธานที่เคารพครับ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เพียงแต่วันนี้รัฐบาลก็ต้องไปหาเงิน มาเติม เติมได้เท่าไรให้เติม เอาล่ะวันนี้สูงสุด ๙๐ ปีขึ้นไป ๑,๐๐๐ บาท ขอโทษคุณตา คุณยายที่อยู่ที่บ้านนนะครับ ถ้าท่านอายุ ๑๒๐ ก็สาธุ แต่มัน ๙๐ ปีแล้วมันจะกินอะไร ไหวต่อไปไหม ให้มา ๒,๐๐๐ บาท ก็คงกินไม่ได้ ดังนั้นวันนี้คงให้กินแบบเอร็ดอร่อยตามที่ เพื่อนสมาชิกทุกท่านที่จะนำเสนอต่อรัฐบาล ว่าอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ต่อไปนี้รัฐบาลพอมีเงินไหม จะหามาอย่างไร ค้าขายอย่างไร อันนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล เราผู้แทนราษฎรมีหน้าที่ สะท้อนให้เห็นว่าน่าจะสมควรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป วันนี้อายุ ๖๐ ปีขึ้นไปได้ ๖๐๐ บาท ผมว่า มันต่ำครับ ขยับไปตามที่ท่านกรรมาธิการเสนอมาก็เห็นด้วย ๑,๒๐๐ บาท ๑,๕๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ผมอ่านดูในรายงานของท่านว่าถ้า ๓,๐๐๐ บาท ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท มากไหม มากครับ แต่ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับชีวิตผู้อาวุโสหรือว่าผู้สูงอายุ ซึ่งได้บุกป่าฝ่าฟันมา จนถึงวันนี้ ก็ถือว่าน่าเห็นใจนะครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เห็นใจรัฐบาลเหมือนกันนะครับ แต่ผม เชื่อมั่นว่ารัฐบาลก็ต้องหาเงินได้ในอนาคต เรามาร่วมด้วยช่วยกันเพื่อผู้สูงอายุเราให้มี ความสุข ลูกหลานที่มาทำงานต่างจังหวัด ทำงานต่างประเทศ เห็นไหมที่เอาชีวิตไปเสี่ยง ไม่อยากพูดว่าจ้างกันไปตายนะครับ เห็นไหม พอไปทำงานแล้วเขารบกัน เพิ่มเงินเดือนให้ อยากได้เงินกลับบ้าน เพื่ออะไร เพื่ออยากมาจุนเจือครอบครัว อยากมาดูแลพ่อแม่ที่แก่ชรา ฉะนั้นวันนี้ต้องชื่นชมและขอบคุณคณะกรรมาธิการ ทั้งประธาน ทั้งกรรมาธิการทุกท่าน ทั้งประธานอนุกรรมาธิการนะครับ ชื่นชมแล้วก็สนับสนุนเต็มที่ครับรายงานฉบับนี้ เพื่ออะไร เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการให้รางวัลผู้สูงอายุที่เลี้ยงดูพวกเรา ลูกหลานมาจนบ้านเมือง เจริญเติบโตนี้ก็เห็นด้วยอย่างยิ่งครับท่านประธาน ขอกราบขอบพระคุณ ส่วนข้าราชการ บำนาญ ท่านก็ทำงานมากว่าจะได้บำนาญ ค่อนคน ก็เห็นด้วย หลายท่านก็ว่า ท่าน สส. กำนัน อย่าให้แต่บำนาญชาวบ้าน ข้าราชการก็สู้ชีวิตมาตั้งนานจนกว่าจะเป็นราชการ จนเกษียณ อันนี้ก็ค่อยเป็นค่อยไปครับ วันนี้สงสารคุณตาคุณยาย ๖๐๐ ๗๐๐ ๘๐๐ ส่วนข้าราชการบำนาญก็ค่อยขยับไปอีกครั้งหนึ่งค่อยว่ากัน ขอบคุณครับท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านวีรนันท์ ฮวดศรี เชิญครับ
นายวีรนันท์ ฮวดศรี ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม วีรนันท์ ฮวดศรี ผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต ๑ พรรคก้าวไกล ตัวแทนพี่น้องตำบลเมืองเก่า ตำบลในเมือง ตำบลพระลับ วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายสนับสนุนรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม ดังนี้ครับ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณคณะกรรมาธิการที่ตั้งใจศึกษาและทำรายงานสรุปเป็นรูปเล่ม ให้พวกเราได้ศึกษาได้อ่าน เล่มนี้นะครับ
นายวีรนันท์ ฮวดศรี ขอนแก่น ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ประเทศไทยเราได้เริ่ม เข้าสู่สังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ และดำเนินมาเรื่อย ๆ ตามรายงานสถิติของทางทะเบียน แสดงให้เห็นว่า ในปี ๒๕๖๕ ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ และในปี ๒๕๗๓ อีก ๖ ปีข้างหน้า เราจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มขั้นหรือว่าสุดยอดนะครับ ระดับเดียวกันกับ ประเทศญี่ปุ่น จากข้อมูลของสไลด์ สำนักงานทะเบียน กรมการปกครอง จังหวัดขอนแก่น บ้านของผม ในปี ๒๕๕๖ ท่านลองดูตามสไลด์นะครับ จะเห็นว่าระดับตัวเลขของผู้สูงอายุนั้น เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอำเภอเมืองกว่า ๗๐,๐๐๐ คน และในเขต ๑ ทั้ง ๓ ตำบล พระลับ เมืองเก่าและในเมือง ๓๐,๐๐๐ กว่าคน ซึ่งถือว่าเป็นครึ่งหนึ่งของอำเภอเมืองแล้ว และก็มี แนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากปัญหาของอัตราเด็กเกิดใหม่ที่ต่ำสวนทางกับจำนวน ผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่ประเทศไทยเราได้เตรียมความพร้อมสำหรับโครงสร้างทางสังคมนี้ ช้ามากครับท่านประธาน ระบบสวัสดิการ เบี้ยผู้สูงอายุในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการจ่ายแบบ ขั้นบันได ๖๐๐-๑,๐๐๐ บาทนั้นน้อยมาก ไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพ อีกทั้งยังต่ำกว่า เส้นแบ่งความยากจนครับท่านประธาน อีกทั้งยังต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนครับท่านประธาน จากสไลด์ถัดไปเราจะเห็นว่า สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อปี ๒๕๖๕ จังหวัดขอนแก่นมีเส้นแบ่ง ความยากจนของรายได้ หรือว่าเงินขั้นตอนในการดำรงชีพอยู่ที่ ๒,๙๐๓ บาท พูดกลม ๆ ก็คืออยู่ที่ ๓,๐๐๐ บาท หากดูข้อมูลย้อนในปีก่อน ๆ เราจะเห็นตัวเลขที่มันเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ นั่นก็หมายความว่าเงินที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของพี่น้องประชาชนนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ท่านประธานครับ หากเรามองออกไปข้างนอกสภาผ่านไปยังชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ ชุมชน ชนบทตามหัวไร่ปลายนาที่ห่างไกล เราจะเห็นว่าผู้สูงอายุถูกสังคมบีบบังคับให้อยู่กับ ความยากจนและระบบสวัสดิการที่ไม่เพียงพอครับ ผมยกเหตุการณ์และยกตัวอย่างที่ผมไป ลงพื้นที่ ไม่ว่าจะไปพบผู้สูงอายุในชุมชนเมืองของเทศบาลนครขอนแก่น หรือตำบลเมืองเก่า ไม่ว่าจะเป็นบ้านดอนบม บ้านสะอาด บ้านกุดกว้าง หรือตำบลพระลับ และเมื่อวันศุกร์ ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปร่วมโครงการเปิดเทอมโรงเรียนผู้สูงอายุในตำบลพระลับ ที่บ้าน พระคือ เจอพ่อแก่แม่เฒ่ากว่า ๑๐๐ ชีวิต ผมได้มีโอกาสพูดคุย ได้รับฟังปัญหาที่พวกเขา ต้องพบเจอจากการที่เขาต้องพึ่งพิงรายได้แล้วจากคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานที่ไป ทำงานยังต่างจังหวัดหรือว่าในหัวเมืองใหญ่ ๆ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ฝากเบิ่งแน่เด้อ เงินผู้เฒ่าสิได้ย้ามใด๋ เป็นปากเป็นเสียงให้ยายแน่เด้อ พอได้เงินไปซื้อกะปิ น้ำปลา ซื้อแนว ใส่บาตรยามมื้อเซ้า นี่ละครับท่านประธาน จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมต้องมาพูดเพื่อสนับสนุน รายงานของคณะกรรมาธิการฉบับที่มานำเสนอต่อสภาในวันนี้ครับ เบี้ยผู้สูงอายุรายเดือน ๖๐๐ ๗๐๐ ๘๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ บาทนั้น ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอนครับ หมดเวลาแล้วที่เราต้องมาพิสูจน์ความจน การจัดให้รัฐมีสวัสดิการบำนาญเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ จึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างเร่งด่วนครับ เรื่องดังกล่าวค่อนข้าง น่าเป็นห่วงครับท่านประธาน จากรายงานฉบับนี้ของคณะอนุกรรมาธิการพบว่าอัตรา การเติบโตของกลุ่มประชากรผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างมีนัยสำคัญ เรามีความจำเป็น ที่จะต้องศึกษาแนวทางเพื่อจัดให้มีการศึกษาเรื่องสิทธิบำนาญถ้วนหน้า เพื่อประคับประคอง ผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากวิกฤติความยากจนและปัญหาความเหลื่อมล้ำที่จะตามมา เมื่อพวกเขาเหล่านั้นขาดรายได้หลังจากเกษียณอายุ โดยมุ่งหมายให้ประชาชนได้รับบำนาญ พื้นฐานที่มีลักษณะเป็นบำนาญที่ถ้วนหน้าเท่าเทียมและเป็นสวัสดิการ โดยรัฐเพื่อสร้าง ความมั่นคงทางรายได้ที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณนะครับ และอีกอย่างจะเป็น การช่วยลดภาระที่พึ่งพิงลูกหลานวัยทำงานครับ และยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ทางอ้อมผ่านการจับจ่ายใช้สอยในระบบชุมชน ในระบบหมู่บ้าน ในระบบร้านค้าโชห่วย ครับท่านประธาน หากรัฐบาลกังวลว่าจะหาเงินมาจากไหนมาเป็นบำนาญ ในรายงานฉบับนี้ ก็ได้ทำผลการศึกษานะครับ ก็เขียนบอกถึงแนวทางการจัดสรรงบประมาณ การจัดหารายได้ เพื่อให้ประเทศไทยมีงบประมาณเพียงพอต่อการจัดสรรบำนาญให้กับพี่น้องประชาชน ไม่ว่า จะเป็นระบบการปฏิรูปทางภาษี ส่วนแบ่งรายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล ส่วนแบ่งการค้า สัมปทาน ค่าใบอนุญาตในกิจการสื่อสาร วิทยุโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม เพราะฉะนั้นแล้ว วันนี้ผมจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับรายงานของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคมที่นำเสนอ การจ่ายบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าให้แก่ผู้สูงอายุในกรอบปีงบประมาณ ๒๕๖๘ อยู่ที่ ๑,๒๐๐ บาท ปีงบประมาณ ๒๕๖๙ เพิ่มขึ้นเป็น ๒,๐๐๐ บาท และในปี ๒๕๗๐ เพิ่มขึ้น เป็น ๓,๐๐๐ บาทครับท่านประธาน สังคมเราถึงแม้จะเริ่มต้นให้ความสำคัญกับระบบ สวัสดิการที่ช้ากว่าประเทศอื่น แต่เราก็ได้เริ่มต้นแล้วและแสดงให้เห็นว่าบ้านเรา ผู้แทน สภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ ไม่ได้นิ่งนอนใจกับสภาพสังคมของผู้สูงอายุ ขอบคุณครับ ท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านแรก ท่านศุภโชค ศรีสุขจร ท่านที่ ๒ ท่านสุเทพ อู่อ้น ท่านที่ ๓ ท่านเกียรติคุณ ต้นยาง เตรียมตัวครับ ท่านศุภโชค ศรีสุขจร เชิญครับ
นายศุภโชค ศรีสุขจร นครปฐม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายศุภโชค ศรีสุขจร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขตเลือกตั้งที่ ๑ พรรคชาติไทยพัฒนา ท่านประธานครับ ลำดับแรกผมต้องขอชื่นชมคณะทำงานทุกท่าน ที่ได้จัดทำรายงานฉบับนี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นประโยชน์ แล้วก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพี่น้อง ประชาชนทุกท่าน และยังสะท้อนถึงปัญหาที่สังคมไทยเรานั้นกำลังเผชิญ คือ เรื่องสังคม ผู้สูงอายุ สังคมผู้สูงอายุของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดนะครับ อย่างที่เพื่อน สมาชิกหลายท่านได้กล่าวไป ซึ่งรายงานฉบับนี้ก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเตรียม ความพร้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของพ่อแม่พี่น้องผู้สูงอายุทุกท่าน และยังเป็นประโยชน์ มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยต่าง ๆ ที่ได้ใส่เข้ามาในรายงานฉบับนี้นะครับ เป็นประโยชน์ต่อทั้งคณะรัฐบาลและสาธารณชนครับ ในปัจจุบันประเทศไทยของเรา มีจำนวนผู้สูงอายุอยู่ด้วยกัน ๑๒ ล้านคนครับ ซึ่งต้องใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุจำนวนมากครับ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในทุกปี เนื่องจากอัตราการเกิดของเด็ก เกิดใหม่นั้นน้อยลงทุกปี ทำให้อัตราส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศมีอัตราส่วน ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อัตราส่วนนี้เป็นตัวเร่งรัดทำให้สังคมไทยของเราเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุระดับสุดยอดดั่งที่ผมได้กล่าวไปในข้างต้นนะครับ นั่นคือประชากรผู้สูงอายุมีจำนวน มากกว่า ๒๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นแล้วการสร้างความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ สวัสดิการที่ดีของผู้สูงอายุ จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญในเป้าหมายหลัก ของรัฐบาลชุดนี้ จากสภาพความเป็นจริงในสังคมเรารายงานฉบับนี้สอดคล้องกับสังคมเรา ทุกประการนะครับ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องสวัสดิการด้านการเงินของภาครัฐ หรือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยังไม่เพียงพอในการใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน เนื่องจาก เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยังต่ำกว่าเส้นความยากจนเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันรัฐบาล ของประเทศไทยเรานั้นมีการจ่ายเบี้ยยังชีพที่ ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท และสูงสุด ที่ ๑,๐๐๐ บาทตามช่วงอายุ อย่างไรก็ตามครับ หากเราพิจารณาถึงความเหมาะสม รายจ่ายต่อเดือนในการดำรงชีวิตประจำวันหลังวัยเกษียณนั้นควรมีเงินไม่น้อยกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ในการดำรงชีวิตต่อเดือนนะครับ เปรียบเทียบง่าย ๆ หากคุณมีเงินเดือนอยู่ที่ ๔๐,๐๐๐ บาท คุณควรมีเงินในการใช้จ่ายต่อเดือนไม่น้อยกว่า ๒๐,๐๐๐ บาทนะครับ เพื่อรักษาคุณภาพชีวิตให้ได้ใกล้เคียงกับในช่วงที่คุณทำงาน หากเราอ้างอิงจากรายงานฉบับนี้ ค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานต่ำสุดควรอยู่ที่ประมาณ ๑,๕๐๐ บาทต่อเดือน โดยจะพบได้ว่าเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุที่ประเทศไทยเราจ่ายนั้น อยู่ที่ ๑,๐๐๐ บาทครับ ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความจำเป็น ในการดำรงชีวิตครับ โดยสรุปครับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่รัฐบาลเราจ่ายอยู่นั้นไม่เพียงที่จะ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นภาครัฐจึงควรมีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชากรสูงวัยทั้งในแง่เศรษฐกิจและสวัสดิการต่าง ๆ ให้มากกว่านี้ครับ ซึ่งหาก ประชากรที่เกษียณมีรายได้ที่มั่นคง มีเบี้ยยังชีพที่สูงก็จะลดการพึ่งพิงงบประมาณรายจ่าย ของภาครัฐและลดความยากจนที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น แล้วยังแก้ไขปัญหาความยากจนเรื้อรัง อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านการใช้จ่าย ของคนที่เกษียณอายุไปนะครับ นอกจากนี้แล้วได้มีรายงานการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่องความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พบว่าหากเรามีการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ ๓,๐๐๐ บาทต่อเดือน สิ่งนี้จะใช้งบประมาณ ประมาณ ๔.๕ แสนล้านบาทครับ และจะส่งผลกระทบเชิงบวกนะครับต่อเศรษฐกิจ ประเทศไทยเป็นระยะเวลานานกว่า ๕ ปี อีกทั้งยังทำให้ GDP ของเรามีโอกาสเติบโต ไม่น้อยกว่า ๑.๕ เปอร์เซ็นต์ครับ แต่สิ่งที่ผมอยากจะเสริมอยากให้รัฐบาลชุดนี้ควรส่งเสริม นั่นคือการส่งเสริมให้พี่น้องที่ยังทำงานอยู่รู้จักการออมสำหรับเตรียมความพร้อมในวัย เกษียณครับ ไม่ว่าจะเป็น Alternative Pension ต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งกองทุนบำนาญ พื้นฐานแห่งชาติ ดังที่ผมได้กล่าวไปในข้างต้น ให้มีลักษณะเช่นเดียวกับ กบข. หรือกองทุน บำนาญข้าราชการ ให้ประชาชนทุกท่านเข้าถึงและได้รับสวัสดิการที่ควรจะได้รับ ด้วยเหตุผลประการทั้งปวง ท่านประธานครับ ภาครัฐจึงควรพัฒนาระบบบำนาญ ของประเทศไทย โดยมุ่งหมายให้ประชาชนได้รับบำนาญพื้นฐาน สวัสดิการจากภาครัฐ ในลักษณะสวัสดิการขั้นพื้นฐานแบบถ้วนหน้าไม่ใช่ทั่วถึง ท่านประธานครับ ประเทศไทย ของเราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ประชาชนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ หากเปรียบรัฐบาลก็อาจจะเหมือนสมองที่คอยสั่งการบริหารงานต่าง ๆ ภายในประเทศแห่งนี้ แต่ประชาชนคือหัวใจที่หล่อเลี้ยงสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายครับ เพราะฉะนั้นแล้วการเพิ่ม อัตราเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว ๓,๐๐๐ บาท ไม่ได้ ไม่เป็นไรครับ ๑,๒๐๐ บาท ก็ยังดีครับ เพราะฉะนั้นแล้ววันนี้ผมเห็นควรที่จะส่งเสริม และสนับสนุนให้รัฐสภาแห่งนี้รับรายงานผลการพิจารณาศึกษา ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไป ท่านสุเทพ อู่อ้น เชิญครับ
นายสุเทพ อู่อ้น แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสุเทพ อู่อ้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เครือข่าย แรงงาน ขอมีโอกาสส่วนร่วมในการอภิปรายรายงานการพิจารณา เรื่อง การพัฒนาระบบ บำนาญพื้นฐานประชาชน ในฐานะที่เป็นคนใช้แรงงาน ทำงานมา ๓๐ กว่าปี ก็อยากจะ สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้น นั่นก็คือสิ่งที่ต้องการให้เกิดเรื่องของระบบรัฐสวัสดิการ
นายสุเทพ อู่อ้น แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
คนเราเริ่มต้นจากการเกิด จะเห็น ได้ว่าเมื่อเราเกิดมามันจะต้องได้รับการดูแล การดูแลที่ดีก็คือต้องมีเงินอุดหนุน ของขวัญ วันเกิด ๓,๐๐๐ บาท เงินเดือนเด็กเล็ก เดือนละ ๑,๒๐๐ บาท ที่จะช่วยในการดูแล สิทธิการ ลาคลอด ๑๘๐ วัน และเรื่องของศูนย์ใกล้บ้านในการเลี้ยงดูเด็กเล็ก และที่ทำงาน สำหรับ ช่วงต่อไปคือช่วงของการเจริญเติบโต ดังนั้นเห็นว่าการเรียนจะต้องมีการเรียนฟรี อาหารฟรี รวมทั้งมีรถรับส่งที่ดีและปลอดภัย มีคูปองเปิดโลกเพื่อพัฒนาเยาวชน รวมทั้งเรื่องของ ผ้าอนามัยต้องมีแจกฟรีในโรงเรียน ในช่วงต่อไปจากเรียนเสร็จ เติบโตเป็นเรื่องของ การทำงาน ตั้งแต่การทำงานเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ ต้องมีค่าจ้างที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ดังนั้น ค่าจ้างที่ทำการวิเคราะห์มาแล้ว ผมในฐานะอดีตเป็นประธานกรรมาธิการการแรงงาน ได้มีงานวิจัยมาเสนอสภาแล้ว ค่าจ้างที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายที่เกิดขึ้น บ้านเช่า ข้าวซื้อ รถผ่อน ลูกเรียน พ่อแม่ก็เลี้ยงดู ดังนั้นต้องมีค่าจ้างที่เพียงพอ เรื่องของสัญญาจ้างต้อง เป็นธรรม เรื่องของแรงงาน จะต้องมีการเปิดโอกาสให้มีการตั้งองค์กรสหภาพแรงงานให้ล้อ กับเรื่องของอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ มีระบบประกันสังคมที่ดีถ้วนหน้า วันนี้ระบบประกันสังคมยังแยกออกเป็น ๒ ส่วน แรงงานในระบบ มาตรา ๓๓ ดูแล ๗ กรณี แรงงานนอกระบบยังไม่มีมาตรฐานการดูแลขั้นพื้นฐานให้กับพี่น้องแรงงาน เรื่องของการเพิ่ม ทักษะให้กับแรงงาน เพื่อเพิ่มโอกาสเรื่องของการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีค่าจ้างเพิ่มขึ้น มาสู่เรื่องของหลังจากทำงานนะครับ วัยผู้สูงอายุที่คณะกรรมาธิการได้มีการศึกษาชัดเจน เรื่องบำนาญ จากตัวเลขที่ท่านประธานและคณะที่ศึกษา จะเห็นได้ว่าเส้นขีดค่าความยากจน อย่างน้อยต้องมี ๒,๗๐๐-๒,๘๐๐ บาท นั่นคือชีวิตที่คนจะต้องมีข้าวกิน ๓ มื้อ แต่เห็นได้ว่า ระบบการบริหารจัดการประเทศนี้กดทับมายาวนาน คน ๔๐ กว่าล้านคน คนที่ทำคุณงาม ความดีมา ๖๐ ปี ได้รับการดูแล ๖๐๐ บาท วันละ ๒๐ บาท ให้กินไข่ต้มวันละมื้อหรือครับ แต่เอาละครับ เมื่อกรรมาธิการเขาใช้ความพยายาม เพราะเข้าใจว่าถ้ามีการเสนอตัวเลขที่สูง จะไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาล จึงใช้ความพยายามที่จะใช้ตัวเลขที่ ๑,๒๐๐ บาท หวังว่า เป็นการปักธงให้กับผู้สูงอายุ เงินเหล่านั้นที่ได้ไป ในครอบครัวจะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับ ครอบครัว เพราะผู้สูงอายุก็ไม่อยากเป็นภาระให้กับคนในครอบครัว วันนี้สิ่งที่หลาย ๆ ท่านพูดสะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนว่าวันนี้ประเทศไทยเราวัยผู้สูงอายุ เต็มรูปแบบ ถ้าไม่คิดจะทำเรื่องพวกนี้ให้กับคนที่เป็นวัยผู้สูงอายุแล้ว ในอนาคตวัยทำงาน อย่างพวกผม ซึ่งเคยบอกแล้วทำงานมา ๓๐ กว่าปีนี้ ต้องแบกภาระ ต้องทำงานมากกว่า ๘ ชั่วโมง เพื่อจะให้มีรายได้ที่จะต้องมาเลี้ยงดูผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรกระทำอยู่แล้วในฐานะ ที่เป็นคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย รวมทั้งคุณพ่อคุณแม่ แต่สิ่งเหล่านั้นสังคมนี้ไม่ได้ Design เพื่อรองรับ เกิด วัยเจริญเติบโต วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ และมีอีกสิ่งสำคัญนั่นคือขั้นพื้นฐาน PowerPoint สุดท้ายนะครับ เรื่องของทุก ๆ วัย จะต้องมีที่อยู่อาศัย ดังนั้นในเรื่อง การจัดเตรียมที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนเป็นเรื่องที่จำเป็น สำคัญกว่านั้นต้นทุนของคน ที่เกิดขึ้นในวันนี้ ทุกท่านตื่นมาหรือตั้งแต่เกิดนะครับ น้ำต้องมีการดื่ม ต้องกินต้องใช้ เมื่ออดีตสมัยก่อนน้ำฝนยังสามารถมาดื่มกินได้ วันนี้น้ำไม่มีคำว่าฟรี ดังนั้นต้องมีนโยบาย เรื่องน้ำฟรีในพื้นที่ด้วย ต่อด้วยเรื่องของการเติมเงินให้ท้องถิ่น อันนี้จำเป็นอย่างยิ่งนะครับ ถ้าเราไม่พัฒนาท้องถิ่น ไม่มีเงินให้ท้องถิ่นในการที่จะทำให้ท้องถิ่นนั้นพัฒนาและส่งเสริม ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในท้องถิ่น และจะสามารถพัฒนาได้อย่างไรครับ สำคัญ ยิ่งกว่านั้นในเรื่องของการสื่อสาร เราต้องจัดระบบการสื่อสาร วันนี้โลก Online นะครับ เราต้องเติมให้ทุกคน ได้มีอินเทอร์เน็ตฟรีอย่างน้อย ๑ กิกะไบต์ เพื่อจะได้สื่อสารกับทาง ราชการและสื่อสารกับหน่วยราชการต่าง ๆ เพื่อรองรับระบบการดูแลให้ทั่วถึงและทั่วหน้า มีอีก ๑ ส่วนนะครับ นั่นก็คือคนที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง มีจำนวนมากครับขณะนี้ และที่สำคัญ เมื่อมีผู้ป่วยติดเตียง ต้องสูญเสียบุคลากรในครอบครัว ๑ คนเลยครับไปดูแล แล้วคนเหล่านั้น เคยมีรายได้ รายได้กลับมาเป็น ๐ และเป็นภาระของครอบครัวต่อไป ในอนาคตต้องฝาก คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม ช่วยศึกษาพัฒนาโครงสร้างระบบราชการได้ในหลาย เรื่องซึ่งแม้เรื่องนี้ก็ต้องขอขอบคุณด้วยความตั้งใจที่ท่านพยายามจะดูแลผู้สูงอายุก่อน แต่ผม ขอฝากในพื้นฐานของการใช้ชีวิตตั้งแต่เกิด เติบโต เรียน ทำงาน และวัยผู้สูงอายุ รวมทั้ง สวัสดิการถ้วนหน้าที่จะต้องจัดให้กับพี่น้องประชาชนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านเกียรติคุณ ต้นยาง เชิญครับ
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผม เกียรติคุณ ต้นยาง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๗ อำเภอบางบัวทอง อำเภอไทรน้อย พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขออนุญาตท่านประธานอภิปราย รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชนของ คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ทุกคนเกิดมาต้องทำงาน แต่ถ้าใครมี ความพร้อมนั่นหมายความว่าบั้นปลายชีวิตเขาก็จะมีความสุข แต่ว่าคนที่บั้นปลายชีวิตเขามี ปัญหาอุปสรรคใช่ว่าเป็นความผิดของเขา ความพร้อมในวัยทำงาน เขาเข้าถึงเรื่องสวัสดิการ หรือเปล่า วันนี้สิ่งที่ผมจะอภิปรายรายงานของคณะกรรมาธิการชุดนี้ ดีอยู่แล้วเพียงแต่ผมขอ อนุญาตอภิปรายเสริมเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลของท่านต่อไป ผมในฐานะที่เป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรระบบเขต เขตเลือกตั้ง โดยเฉพาะพี่น้องผมชาวอำเภอบางบัวทอง ชาวอำเภอไทรน้อย รวมถึงพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดนนทบุรีเป็นตัวอย่างของประเทศไทย ได้นะครับ
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
ท่านจะเห็นว่าองค์การสหประชาชาติ ได้แบ่งลำดับผู้สูงอายุไว้เป็น ๔ ขั้น ตามสไลด์นะครับ ขั้นแรก ที่เราผ่านพ้นมาแล้ว นั่นก็คือ ช่วงของผู้สูงอายุกำลังสู่สังคมผู้สูงอายุ มีช่วงวัยที่กำหนดอย่างชัดเจน ขั้นที่ ๒ คือสังคม ผู้สูงอายุ ตัวนี้เราก็เข้าสู่มาแล้วนะครับ อันดับที่ ๓ คือสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ และอันดับที่ ๔ ก็คือสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด สิ่งนี้ มันเป็นสิ่งที่ท้าทายของชีวิตเราทุกวันนี้ว่าสังคมของประเทศไทยเรานี้จะก้าวข้ามตรงนี้ไปได้ หรือเปล่า หรือว่าเราจะต้องติดกับดักกับการที่จะใช้เรื่องของบำนาญผู้สูงอายุ ใช้สวัสดิการ เพื่อผู้สูงอายุในวันข้างหน้า อีกไม่เกิน ๕ ปี อีกไม่เกิน ๑๐ ปี สไลด์อันนี้ก็จะเป็นความจริง เกิดขึ้น พวกเราในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมหรือยังครับ รัฐบาลชุดนี้ พร้อมหรือยังครับ ที่จะขับเคลื่อน ที่จะรองรับสังคมผู้สูงอายุที่จะเกิดขึ้น
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
สไลด์แผ่นที่ ๒ จะเห็นว่าระบบบำนาญในประเทศไทยชัดเจนสำหรับข้าราชการ ที่รับบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แรงงาน ภาคเอกชนที่เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่มีระบบ บำเหน็จบำนาญเฉพาะ ครูโรงเรียนเอกชน พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พวกนี้ถือว่าอนาคตบั้นปลายชีวิตมีความสุขแน่ สุขกายสุขใจ สุขทั้งสุขภาพร่างกายอนามัย เพราะเขามีเรื่องระบบสวัสดิการสูงวัยรองรับอยู่ ถ้านอกเหนือจากกลุ่มนี้สิครับ นั่นคือสิ่งที่เรา จะต้องขับเคลื่อนต่อไปใช่หรือไม่ครับ
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
สไลด์แผ่นที่ ๓ ผมขออนุญาตเปรียบเทียบนะครับ สิ่งที่ผมจะเปรียบเทียบนี้ พูดด้วยความจริงใจ ผมไม่ได้มีความหมายเรื่องของจะไปต่อว่าเรื่องสวัสดิการของข้าราชการ แต่อย่างใดนะครับ เพื่อจะมาเปรียบเทียบให้เห็นว่างบประมาณสวัสดิการข้าราชการทั้งหมด ๓๒๒,๗๙๐ ล้านบาท ใช้กับข้าราชการ จำนวน ๘๑๐,๐๐๐ คน ตกเฉลี่ยคนละ ๓๙๘,๕๐๖ บาทต่อคน แล้วมาดูเบี้ยผู้สูงอายุ มีทั้งหมด ๘๗,๕๘๐ ล้านบาท ให้กับผู้สูงอายุ จำนวน ๑๑,๓๐๐,๐๐๐ คน เฉลี่ยตกคนละ ๗,๗๕๐ บาท ข้อมูลนี้ทุกคนทราบดี ความห่างกันตั้ง ๕๐ เท่า ยินดีกับข้าราชการที่มีสวัสดิการ เพราะอะไร เพราะเขาทำงานมาตลอดทั้งชีวิต ครึ่งชีวิต บริการประชาชนมา สมควรแล้วครับที่ต้องได้รับสวัสดิการอย่างนั้น แต่พี่น้องประชาชน คนธรรมดาห่างไปตั้ง ๕๐ เท่า พวกเราจะทำอย่างไรที่จะให้เกิดความเสมอภาค ให้เกิดความ เท่าเทียม อันนี้เป็นสิ่งที่พวกเราต้องตระหนักและขับเคลื่อนให้ได้
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
สไลด์แผ่นถัดไป อันนี้คืออัตราเบี้ยยังชีพ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน เมื่อปี ๒๕๓๕ อยู่ที่อัตรา ๒๐๐ บาท ปี ๒๕๔๐ เพิ่มมาเป็น ๓๐๐ บาท ปี ๒๕๔๙ เพิ่มมาเป็น ๕๐๐ บาท ปี ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ ๖๐๐ บาท ถึง ๑,๐๐๐ บาท เป็นไปตามช่วงอายุวัย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มาถึงจุดจบแล้วหรือยังที่เราต้องอดทนกับผู้เฒ่าผู้แก่ คนที่เขาสร้างประเทศนี้ มาเพื่อเรา คนที่เขาอยู่มาก่อนเรา เขาสร้างประโยชน์มาก่อนเราใช่ไหม ถ้าใช่แล้วเราจะปล่อย ให้เขาอยู่แบบเดือนละ ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท หรือ ๑,๐๐๐ บาท กินไข่วันละ ๑ ฟอง อย่างนี้ต่อไปหรือครับ
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
สไลด์แผ่นสุดท้ายครับ เมื่อผมเป็น สส. เขต อดรนทนไม่ได้จะต้องพูดถึง ข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ข้อมูลของจังหวัดนนทบุรี ท่านจะเห็นว่ามีผู้สูงอายุที่ยัง ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวนผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี มีทั้งหมด ๒๘๓,๙๐๙ คน คิดเป็น ร้อยละ ๒๑.๗๐ ของจำนวนประชากรทั้งหมดของจังหวัดนนทบุรี มีผู้ได้รับเบี้ยยังชีพ จาก ๒๘๓,๙๐๙ คน มีผู้ได้รับเบี้ยยังชีพแค่ ๒๙๐,๓๑๕ คน คิดเป็น ๗๓.๗๒ เปอร์เซ็นต์ คนที่หายไปอีก ๗๑,๕๙๔ คน เขาหายไปไหนครับ ทำไมเขาไม่ได้ครับ นี่คือความเหลื่อมล้ำ หรือเปล่า ความเท่าเทียมมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าจังหวัดนนทบุรีเป็นอย่างนี้ผมเชื่อได้เลย ว่าอีก ๗๖-๗๗ จังหวัด ก็เป็นเหมือนกันไม่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นจังหวัดนนทบุรีของผม เป็นตัวชี้วัดได้ สิ่งที่ผมจะกราบเรียนท่านประธานว่าอย่าให้เกิดความเหลื่อมล้ำเลยครับ ปรับให้มันเท่ากัน เสมอภาคและเท่าเทียมเพื่อความเป็นธรรมของทุกชนชั้น ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ มีผู้จะอภิปรายทางฝ่ายค้าน ๑๗ ท่าน แล้วก็ฝ่ายรัฐบาล ๕ ท่าน ก็เรียกทีละ ๔ ท่าน ต่อ ๑ ท่านนะครับ ผมจะอ่านรายชื่อนะครับ จะได้เตรียมตัว ท่านพุธิตา ชัยอนันต์ ตามด้วยท่านการณิก จันทดา ท่านกาญจน์ ตั้งปอง แล้วก็มาที่ท่านนพพล เหลืองทองนารา เชิญท่านพุธิตา ชัยอนันต์ ครับ
นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานค่ะ ดิฉัน พุธิตา ชัยอนันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคก้าวไกล ท่านประธานคะ เพื่อนสมาชิกก็ได้พูดกันมาเยอะ ทุกคนพูดเหมือนกันหมดว่าสังคมไทยเราเข้าสู่สังคมสูงวัย อย่างเต็มรูปแบบแล้วนะคะ แล้วก็ในปี ๒๕๗๓ เราจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด และเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งของพรรคก้าวไกล เมื่อสักครู่ก็ได้มีการอภิปรายพร้อมกับเปิดคลิป วิดีโอประกอบการอภิปรายที่มียายคนหนึ่งตาบอด แล้วมีหลานอายุเพียง ๔ ขวบ ที่คอยดูแล เลี้ยงดูเขา ดิฉันเชื่อว่าในสังคมไทยเรายังมีเคสแบบนี้อยู่อีกเยอะ ปัญหาไม่ได้เกิดเพียงแค่ว่า เราจะเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้วเราจะขาดแคลนวัยแรงงานเท่านั้น แต่ปัญหาคือว่ากลุ่มผู้สูงอายุ เหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความยากจน จากรายงานกว่าครึ่งหนึ่งคือผู้สูงอายุ ที่ไม่มีความมั่นคงด้านการเงิน แล้วเรามาดูที่ผ่านมานี้เราต้องยอมรับกันได้แล้วว่าการดูแล จากภาครัฐ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่รัฐให้กับประชาชน พ่อแม่ ปู่ย่าตายายของพวกเราเพียงพอ แล้วหรือไม่ อายุ ๖๐ ปี ได้ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐ ปี ได้ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐ ปี ได้ ๘๐๐ บาท กว่าจะได้ ๑,๐๐๐ บาท เสียชีวิตกันก่อนแล้วค่ะ ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องตอบแทน ผู้หลักผู้ใหญ่ของพวกเรา ถึงเวลาแล้วนะคะ ถ้าเราไม่เริ่มตอนนี้แล้วจะเริ่มตอนไหน อย่าไปคิด ว่าการดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้จะเป็นภาระทางด้านการคลัง การเงินอย่างหนัก ใช่ แต่เราจำเป็น ที่จะต้องทำและรายงานของคณะกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการชุดนี้ก็ได้ทำออกมาอย่างดี มากเลยนะคะ ต้องขอขอบคุณทางคณะกรรมาธิการแล้วก็ทางอนุกรรมาธิการด้วย ในรายงานฉบับนี้บอกละเอียดหมดแล้วว่าเราจะดูแล เราจะหาเงินมา Support ดูแลผู้สูงอายุ ของพวกเราได้จากช่องทางไหนบ้าง จะจัดสรรงบประมาณของพวกเราอย่างไร และสิ่งเหล่านี้ ทำได้ทันที ไม่ต้องรอให้พรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องรีบแล้ว ปี ๒๕๗๓ สังคม สูงวัยระดับสุดยอด ถ้าไม่ทำตอนนี้แล้วจะทำตอนไหนคะ นี่ทำได้เลย ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้อง เปลี่ยนจากระบบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นบำนาญพื้นฐานประชาชน เพิ่มความมั่นคง ทางการเงินให้กับประชาชน ให้กับผู้สูงวัยของเรา ให้กับพ่อแม่พี่น้องของเรา เรามาสร้าง ความสุขในบั้นปลายชีวิตให้กับพวกท่านเหล่านี้กันค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปนะครับ ท่านการณิก จันทดา เชิญครับ
นางสาวการณิก จันทดา เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพนะคะ ดิฉัน การณิก จันทดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จากจังหวัดเชียงใหม่ ท่านประธานคะ จังหวัดเชียงใหม่ก็มีผู้สูงอายุที่ค่อนข้างเยอะนะคะ และดิฉันเชื่อว่าทุกจังหวัด ทุกตำบลก็มีผู้สูงอายุมากเพิ่มขึ้นในทุก ๆ วันเช่นเดียวกัน ท่านประธานคะ สิทธิและเสรีภาพ ไม่เคยได้มาด้วยการร้องขอ แต่ได้มาจากการต่อสู้ของประชาชน เช่นเดียวกันกับสิทธิ สวัสดิการผู้สูงอายุที่พวกเรา แล้วก็คณะกรรมาธิการทุก ๆ ท่านกำลังต่อสู้เพื่อให้ได้รายงาน ฉบับนี้ขึ้นมา สวัสดิการผู้สูงอายุเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทย มันไม่ใช่บุญคุณ ไม่ใช่ การสงเคราะห์ของนักการเมือง ดังนั้น Mindset ที่จะต้องปรับกันก็คือว่า ที่สำคัญไม่มี ประเทศไหนในโลกนี้ที่ล่มสลายเพียงเพราะว่าประเทศนั้นมีสวัสดิการเด็ก สวัสดิการผู้สูงอายุ สวัสดิการผู้พิการค่ะ ท่านประธานเชื่อไหมคะ ว่าถ้าเรานำเด็ก ๑๐๐ คน จากครอบครัวที่มี ฐานะปานกลาง ชนชั้นกลางถึงชนชั้นล่าง ถ้าเราสอบถามเขา ๑๐๐ คนนี้ เกิน ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เขาจะตอบว่าสิ่งที่เขาต้องการงาน เขาต้องการงานประเภทงานที่มีความมั่นคงที่จะสามารถ ดูแลพ่อแม่ของเขาได้ค่ะ นั่นหมายถึงว่าประเทศของเรากำลังบ่งบอกว่างานที่พวกเขา กำลังทำส่วนใหญ่เป็นงานที่ไม่มั่นคงเช่นนั้นหรือคะ ดังนั้นสวัสดิการของวัยทำงาน คนทำงาน ที่จะต้องได้รับสวัสดิการผู้สูงอายุมันอาจจะดูไม่เกี่ยวข้องกันใช่ไหมคะ แต่ในเมื่อเราเป็นวัย ทำงาน เราจะได้ไม่ต้องมีการพะวักพะวงกับการที่จะต้องส่งเสียเงินให้คุณพ่อคุณแม่ ให้คุณตา คุณยายที่บ้าน ดังนั้นการเพิ่มเงินสวัสดิการผู้สูงอายุขั้นต่ำที่เพียงพอกับฐานของความ เหลื่อมล้ำทางสังคม อย่างเช่น ๓,๐๐๐ บาท จริง ๆ แล้วถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำ ในเมื่อ ๓,๐๐๐ บาท จะช่วยทำให้วัยทำงานแล้วก็วัยเด็กสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ ดิฉันเชื่อว่าปัญหาอาชญากรรมร้ายแรง การมี Passion ของบุคคลที่เขาทำงาน ถ้าเกิดสมมุติ ว่ารัฐบาลมีสวัสดิการ ๓,๐๐๐ บาทดูแล คนทำงานเขาก็จะมี Passion เขาจะได้ไม่ต้องพะวง กับบุคคลทางบ้าน ปัญหาอาชญากรรมร้ายแรงก็จะลดลงเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเราไม่สามารถ บอกได้ว่าคนวัยทำงานที่เขาทำงานนอกระบบเขาไม่ได้ทำงานหนัก คนที่ทำงานนอกระบบ เขาทำงานหนักค่ะ และเขาเสียภาษีในเรื่องของค่าอุปโภคและค่าบริโภคเยอะกว่าคนที่มีฐานะ ดังนั้นดิฉันจึงอยากที่จะสนับสนุนรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบ บำนาญพื้นฐานของประชาชนฉบับนี้ให้ผ่านเข้ามา แล้วขอวิงวอนท่านผู้มีอำนาจทุกท่าน โดยเฉพาะฟังรัฐบาลลองพิจารณาดู และเราไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้แล้วว่า ๓,๐๐๐ บาท ไม่สามารถที่จะช่วยดูแลผู้สูงอายุได้ ในเมื่อรายงานฉบับนี้ยืนยันแล้วว่าขั้นต่ำ ๓,๐๐๐ บาท สามารถดูแลคุณภาพผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังดูแลคุณภาพวัยทำงาน คุณภาพชีวิตของเด็ก ที่สำคัญมันจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศนี้ในระดับชุมชน ในระดับท้องถิ่น ให้สามารถมีเศรษฐกิจที่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านกาญจน์ ตั้งปอง
นายกาญจน์ ตั้งปอง ตรัง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา กระผม นายกาญจน์ ตั้งปอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง เขต ๔ พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธานครับ ขออนุญาตอภิปรายสนับสนุนรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่องการพัฒนา ระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน ของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ก่อนอื่นเลยครับท่านประธาน ก่อนที่ผมจะอภิปรายสนับสนุนก็ต้องเท้าความก่อน อย่างที่ท่านประธานคณะกรรมาธิการและเพื่อนสมาชิกจากพรรคเพื่อไทยได้เท้าความ ไปแล้วว่าปี ๒๕๓๕ สมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งได้มีการอนุมัติโครงการกองทุน ส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุและครอบครัวในชุมชนสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ปี ๒๕๓๕ เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการเบี้ยผู้สูงอายุนี้ แต่ผมอยากจะย้ำให้เพื่อนสมาชิก รวมถึงท่าน ประธานและผู้ที่ฟังอยู่ ณ ทางบ้านได้ทราบจริง ๆ แล้วว่าการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุครั้งแรกเกิดขึ้น เมื่อปี ๒๕๓๖ในรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มจ่ายเงินคนละ ๒๐๐ บาท และเรื่อยมามี การปรับเพิ่มขึ้นจน ปี ๒๕๕๔ มีการปรับเป็นแบบขั้นบันได คือ ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท จนถึง ๑,๐๐๐ บาท ท่านประธานครับ โดยที่มีหลักเกณฑ์คือคนอายุตั้งแต่ ๖๐ ปี ๗๐ ปี ๘๐ ปี ๙๐ ปี ไปเรื่อย ๆ เขาเรียกว่าขั้นบันไดครับท่านประธานที่เคารพ จะเห็นได้ชัดเลยว่า จากที่รัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์จนถึงปัจจุบันที่มีการปรับแก้กับปรับเพิ่มขึ้นเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุจนมา ปี ๒๕๕๔ จากปี ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบันครับท่านประธาน เป็นเวลา ๑๓ ปีแล้ว ท่านประธานครับ จะเห็นได้ชัดว่า ๑๓ ปีนี้ เบี้ยผู้สูงอายุไม่เคยได้มีการปรับขึ้น กว่า ๑๓ ปี แล้วครับท่านประธาน ที่ไม่ได้รับการตอบสนอง ไม่ได้รับการเหลียวแลจากคณะรัฐมนตรี ชุดที่ผ่านมา ทั้งที่ทุกวันนี้ครับท่านประธาน ข้าวของเครื่องใช้ ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำมัน หรือเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา ๑๓ ปีแล้ว มันสวนทางกับเงินสวัสดิการที่ผู้สูงอายุได้รับ คือ ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ๙๐๐ บาท จนถึง ๑,๐๐๐ บาท มันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน แล้วหลังจากที่ผมได้ลงพื้นที่ เขต ๓ บ้านกระผมที่จังหวัดตรัง ไม่ว่าจะเป็นอำเภอกันตังก็ดี อำเภอสิเกาก็ดี อำเภอย่านตาขาวก็ดี พ่อแม่พี่น้อง ผู้สูงอายุต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า ถ้ารัฐบาลมีความจริงใจจริง ๆ ช่วยเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุให้กับเราหน่อย แล้วก็ช่วยปรับแก้อีก สักนิดหนึ่ง ไม่เอาแบบขั้นบันไดได้ไหม อยากจะให้ ๖๐ ปีเป็นต้นไป แล้วรับเท่าเทียมกัน ไปเลยแบบถ้วนหน้า จนเป็นที่มาที่ผมต้องมายืนอยู่ตรงนี้ เพราะผมรับสายคำมาจากพ่อแม่ พี่น้องประชาชนชาวเขต ๔ จังหวัดตรัง เพื่อมาเป็นตัวแทนสะท้อนในสภาแห่งนี้ เพื่อเป็น การสนับสนุนร่างรายงานฉบับนี้ที่เสนอให้ปรับขึ้นเบี้ยผู้สูงอายุ จาก ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ๙๐๐ บาทนี้ ร่างท่านกรรมาธิการ อนุกรรมาธิการ เสนอให้ปรับแก้เป็น ๑,๒๐๐ บาทถ้วนหน้า และ ๒,๐๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ในอนาคต ด้วยความเคารพครับ ท่านประธาน ๑,๒๐๐ บาท ให้ได้ก่อนเถอะครับ พ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวเขต ๔ บ้านผม รวมถึงพี่น้องประชาชนผู้สูงอายุ เขาจะได้ลืมตาอ้าปาก แล้วเขาจะได้มีความยินดีและดีใจ ท่านประธานที่เคารพครับ ถ้าทำได้จริงจะทำให้ผู้สูงอายุทั่วทั้งประเทศเกิดความสุข ภาคธุรกิจจะมีพลังในการขับเคลื่อนเพิ่มขึ้น รวมไปถึงมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ท่านประธานที่เคารพครับ ที่ผ่านมาประเทศมีงานวิจัยเริ่มศึกษาตั้งแต่ ๑๕ ปีก่อน แต่ยังขาด ความเป็นไปได้ หรือแม้แต่การเสนอร่างพระราชบัญญัติหลายฉบับ ณ สภาแห่งนี้ แต่ก็จบลง หรือไม่เกิดขึ้น เนื่องจากขาดงบประมาณและสถานะทางการคลังของประเทศไม่ดี แต่ไม่เป็นอะไรครับ พอมาในวันนี้หลังจากได้ศึกษารายงานฉบับนี้ ผมเกิดความหวังที่มันมี โอกาสความเป็นไปได้ในอนาคต เพราะรายงานฉบับนี้นอกจากจะศึกษาต่อรายงานในรูปแบบเดียวกัน หมายความว่ารายงาน ฉบับนี้ศึกษาต่อจากรายงานที่ผ่านมา เมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว เขายังเพิ่มในส่วนของแหล่งที่มา ของงบประมาณรายได้ในปัจจุบัน รวมถึงในอนาคตเข้าไปในรายงานฉบับนี้ด้วย เป็นแหล่ง ในการนำมาใช้ในกองทุนผู้สูงอายุครับท่านประธาน ขออนุญาตยกตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเงิน ที่ได้มาจากเงินรางวัลค้างจ่ายของสลากกินแบ่งรัฐบาล ภาษีมรดก ภาษีที่เกี่ยวกับสินค้าธุรกิจ ยาสูบ หรือแม้แต่กระทั่งเงินบำรุงที่ได้จากส่วนแบ่งรายได้จากค่าธรรมเนียมจากการ ออกใบอนุญาตของสถานบันเทิงหรือที่ทุกท่านเรียก Entertainment Complex แล้วผม อยากจะยกตัวอย่างอีก ๑ แหล่งที่มา ที่คณะกรรมการชุดนี้เสนอเข้ามาด้วยก็คือ เงินบำรุง กองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีในกลุ่มธุรกิจพลังงาน ภาษีคาร์บอนเครดิต ภาษีสิ่งแวดล้อม ซึ่งในอนาคตมันคือแหล่งรายได้ใหม่ของประเทศ ท่านประธานที่เคารพครับ สิ่งที่คณะผู้ชี้แจง ได้จัดทำรายงานฉบับนี้ ทำให้เกิดความมั่นใจว่าถ้าเกิดขึ้นจริงจะเป็นของขวัญให้เหล่าผู้สูงอายุ ทั้งประเทศได้มีกำลังใจในการใช้ชีวิต ทำให้พ่อแม่พี่น้องผู้สูงอายุที่พวกเขาเหล่านี้ มีคุณประโยชน์ที่ได้ร่วมสร้างชาติ พัฒนาเมือง ในช่วงวัยกลางคนของเขาให้รู้สึกว่าภาครัฐ ได้ทำการขอบคุณอย่างจริงใจ และเพื่อเป็นการตอบแทนสิ่งที่พวกเขาได้เคยเสียสละมาในวัย กลางคนจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นเหตุให้ผมขออนุญาตสนับสนุนผลรายงานพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานของประชาชนฉบับนี้ ขอบคุณมากครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านนพพล เหลืองทองนารา เชิญครับ
นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม นพพล เหลืองทองนารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิษณุโลก พรรคเพื่อไทย คนพรหมพิราม ท่านครับ ในสิ่งที่คณะอนุกรรมาธิการ ของด้านสวัสดิการสังคมได้ทำรายงานขึ้นมา โดยเฉพาะท่านประธานคณะอนุกรรมาธิการ ท่าน สส. วรรณวิภา ไม้สน ท่านมดแห่งอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งผมก็เคยทำงาน กับท่านมาในคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม มา ๔ ปี ผมยอมรับว่าท่านประธาน คณะอนุกรรมาธิการนี้เป็นคนที่เอาจริงเอาจังแล้ว แล้วพอรายงานฉบับนี้ออกมา ผมเชื่อมั่น ได้เลยว่าเป็นรายงานที่มีความน่าเชื่อถือสูงมากฉบับหนึ่งของสภาเรา ท่านครับ พูดถึงว่า ผู้สูงอายุ วันนี้อย่างที่เราทราบกันอยู่ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด นั่นก็คือมีผู้สูงอายุที่อายุเกิน ๖๐ ปีขึ้นไป ตามคำนิยามคือมีอยู่ ๑ ใน ๕ ของประชากร ทั้งหมด ซึ่งจริง ๆ แล้วตอนนี้ของเราประชากรของวัยผู้สูงอายุก็คือ ๑๓ ล้านคน นั่นเท่ากับ ๒๐.๑๗ เปอร์เซ็นต์ ตามเปอร์เซ็นต์ของทางด้านกรมการปกครองที่ได้บอกมา ท่านครับ แล้วเรามาดูในงบ ผมเองผมสงสารรัฐบาลมาก เพราะว่าหลายคนก็พูดจาเหมือนกับ ในลักษณะที่ว่ารัฐบาลไม่มีหัวจิตหัวใจ รัฐบาลนี้ไม่สงสารผู้สูงอายุ ผมเองเชื่อมั่นว่า ท่านนายกรัฐมนตรี แล้วก็คณะรัฐมนตรีทั้งหมด รวมทั้ง สส. ทุกคน ไม่ว่าฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาล เราเองก็มีหัวใจเหมือนกันละครับ แล้ววันหนึ่งทุกคนก็ย่อมรู้ดีอยู่ว่าเมื่อถึงวันหนึ่งเราก็ต้อง แก่เฒ่าเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล้วถามว่ารัฐบาลนี้อยากจะทำไหม ผมเดาใจดูนะครับ รัฐบาลอยากจะทำสวัสดิการที่มันมีความสมบูรณ์สุดยอด แต่ด้วยความที่งบประมาณมันมีอยู่ จำกัด แล้วก็ต้องมีการพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน ถามว่าวันนี้นายกรัฐมนตรีสบายใจไหมกับการ เห็นเบี้ยผู้สูงอายุ ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท แล้วก็ ๑,๐๐๐ บาท สำหรับอายุ ๙๐ ปี ขึ้นไป ท่านนายกรัฐมนตรีคงอยู่ไม่เป็นสุขหรอกครับ แล้วใจก็กระวนกระวาย สิ่งหนึ่งที่ท่านนายกรัฐมนตรีพยายาม นั่นก็คือการออกไป Roadshow ในประเทศต่าง ๆ เพื่อที่จะนำรายได้เพื่อที่จะนำรายได้ในการค้าการขายได้มาแบ่งปันในส่วนที่จะเป็นสวัสดิการ ขั้นพื้นฐาน ถามว่าผู้บริหารทุกยุคทุกสมัยก็อยากจะเห็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่มีความ สมบูรณ์เหมือน ๆ กัน ท่านครับ พูดถึงถ้าเราจะทำเรื่องของสวัสดิการของผู้สูงอายุให้มี ความสมบูรณ์ นั่นก็คือเรื่องของรายได้ ในความคิดเห็นของผมเรื่องของรายได้ แหล่งที่มา นอกจากเงินงบประมาณแล้วผมเห็นว่าในมาตรการทั้งหลายที่มีการเก็บภาษีที่เกี่ยวกับ มลภาวะซึ่งมีอันตรายต่อสุขภาพ นั่นละครับ สิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นค่าปรับ ค่าอะไร ก็แล้วแต่ หรือเป็นภาษี เช่นภาษีคาร์บอนเครดิต ก็ควรจะต้องมีสัดส่วนที่พอสมควรในการที่ จะมาอุดหนุนในส่วนของที่จะเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนในทุกช่วงวัย และโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผมเองอยากจะเสนออีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นบำนาญขั้นพื้นฐาน ถ้าไม่มี สิ่ง ๆ นี้ โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรถ้าเกิดว่าเสียชีวิตหรือว่าอะไรขึ้นมาลูกหลานก็คงจะ ลำบาก นั่นก็คือฌาปนกิจสงเคราะห์ ทุกวันนี้เรายอมรับกันไหมครับว่าฌาปนกิจสงเคราะห์ ในหลาย ๆ ที่ในประเทศไทยมีปัญหา ผมเองอยากจะให้ภาครัฐได้ก้าวเข้าไป ได้เอื้อมเข้าไป ดูแลอย่างจริงจัง ไม่ใช่ว่าจะให้แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะนายทะเบียน ได้เข้าไป ดูแลอย่างเดียว แล้วก็รับทราบแต่ในเรื่องของจำนวนของสมาชิก จำนวนเข้าจำนวนออก แต่ไม่ได้สนใจในเรื่องของรายละเอียดข้างในว่าได้มีการจ่ายเงินกันถูกต้องให้กับพี่น้องที่เป็น สมาชิกของฌาปนกิจหรือไม่ ผมเองก็อยากจะนำเสนอในแง่มุมนี้อีกแง่มุมหนึ่ง ท่านครับ ในเมื่อ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ทุกคนใฝ่ฝัน ทั้งผมแล้วก็ สส. ทุก ๆ คนเราก็ใฝ่ฝัน ที่อยากจะเห็น เพราะฉะนั้นแล้วมันไม่ช้าหรอกครับที่เราจะช่วยกัน ที่หลายคนบอกว่า ถ้าไม่ทำวันนี้แล้วจะทำวันไหน ถ้ามีสตางค์ใครเป็นรัฐบาลก็อยากทำครับ เพราะนอกจากว่า ได้ตอบสนอง ผู้สูงอายุหรือแม้แต่สวัสดิการของช่วงวัยต่าง ๆ แล้วยังได้รับความเชื่อถือ จากประชาชนและนั่นคือความมั่นคงทางด้านการเมืองด้วยซ้ำ ทำไมเราไม่อยากทำ เราอยาก ทำครับ แต่ว่าในเมื่อมันมีข้อจำกัดหลาย ๆ ด้าน ผมถึงบอกว่าผมก็สงสารรัฐบาลเหมือนกัน ผมรู้อยู่เต็มอกเหมือนอย่างที่พูดไปตอนแรก ผมต้องพยายามย้ำ เพราะว่าหลาย ๆ คนขึ้นมา นี่ก็ต่อว่าต่อขานรัฐบาล แล้วบีบบังคับรัฐบาลว่าต้องทำเลย ต้องทำเดี๋ยวนี้ ต้องทำเดี๋ยวนี้ ผมเองก็สงสารมาก ผมถึงเอาเวลาครึ่งหนึ่งในการที่พูดอภิปรายได้กล่าวถึงรัฐบาล ไม่ใช่ว่า รัฐบาลไม่อยากจะทำ อยากทำครับ แต่ขีดจำกัดในเรื่องงบประมาณก็มี ถ้าจะเอามาทำแต่ สวัสดิการอย่างเดียวแล้วไม่ทำถนนหนทาง เดี๋ยวพวกท่านก็ว่าอีกว่านี้เด็กจะเก่ง เด็กจะมีคุณธรรมได้อย่างไร ถนนยังเป็นฝุ่นอยู่เลย เพราะฉะนั้นแล้วมันก็ต้องทำควบคู่กัน หลายอย่าง ผมเองก็ขอแสดงความชื่นชมกับท่านอนุกรรมาธิการ โดยเฉพาะท่านประธาน ที่ได้ทำรายงานฉบับนี้ขึ้นมา ถือว่ามีประโยชน์มาก ผมเองก็ขอเพียงเท่านี้ครับท่านประธาน กราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไป ท่านกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี ครับ
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา กระผม กฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขตเลือกตั้ง ที่ ๑ คนปากน้ำโพ พรรคก้าวไกล กระผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายสนับสนุนแนวทาง การพิจารณาการพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานเพื่อประชาชน และขอชื่นชมคณะอนุ กรรมาธิการทุกท่านที่ได้เข้ามารายงานต่อสภา และขอสนับสนุนด้วยความตั้งใจอย่างยิ่ง เพื่อให้ทำโครงการนี้สำเร็จ ในประเทศไทยครับท่านประธาน เราได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยก่อนประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุของไทยกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ผู้สูงอายุของไทยจำนวนมาก ยังไม่มีความมั่นคง หรือที่เรียกว่าแก่ก่อนวัย แก่ก่อนรวย ที่ผ่านมาระบบการดูแลผู้สูงอายุ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน การจ่ายเบี้ยยังชีพยังเป็น ขั้นบันไดตามช่วงอายุ ก็คือ ๖๐๐-๑,๐๐๐ บาท โดยไม่มีการปรับเพิ่มมาตั้งแต่ ปี ๒๕๕๖ การดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยติดบ้านติดเตียง มีการจัดสรรทรัพยากรที่จำกัดและไม่เป็นไป ในลักษณะเป็นการสงเคราะห์มากกว่าเป็นสวัสดิการอย่างแท้จริง จากการลงพื้นที่ของผม พบพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะหลังการเลือกตั้งผมลงพื้นที่ทุกวันจันทร์ช่วงเย็น เพื่อพบปะ พ่อแม่พี่น้องประชาชนคนป่วย เยี่ยมคนป่วยที่ติดบ้านติดเตียงในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ผมอาจจะ มีของเยี่ยมไปเล็กน้อย นมไม่กี่กล่อง แต่ว่าความตั้งใจของผมก็คือเพื่อไปให้กำลังใจเขา เพื่อไปดูความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ ผมลงพื้นที่ทุกวันจันทร์เย็น ตอนนี้กว่า ๓๐ ชุมชน แล้วก็ตั้งใจจะไปให้ครบทุกพื้นที่ ในพื้นที่ของผมที่เป็นผู้แทนราษฎรอยู่ จากรายงานฉบับนี้ที่บอกธนาคารโลกเคยประเมินในปี ๒๕๖๑ ว่าคนไทย ๖.๗ ล้านคน หรือราว ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากร จะมีรายได้ต่ำกว่าเส้นยากจน ซึ่งตัวเลขนี้อยู่ที่ ๒,๗๖๓ บาทต่อคนต่อเดือน รายงานฉบับนี้ ในหน้าที่ ๙ พูดถึงตัวเลขที่น่าสนใจครับ เป็นเรื่องของจำนวนผู้สูงอายุ และร้อยละต่อจำนวนประชากร โดยผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ในปี ๒๕๖๓ มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๒.๖ ล้านคน หรือประมาณ ๑๙ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๑ ใน ๕ จากนั้นอีก ๑๐ ปี ปี ๒๕๗๓ เพิ่มเป็น ๑๗.๖ ล้านคน หรือประมาณ ๑ ใน ๔ ๒๗ เปอร์เซ็นต์ ๒๐ ปีถัดไป ปี ๒๕๘๓ ผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น ๒๐.๕ ล้านคน หรือกว่า ๓๒ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๑ ใน ๓ ของประชากร เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนคงตระหนักดี ทุกคนคงทราบดีนะครับ ผมมาดูข้อมูลของจังหวัดนครสวรรค์นะครับ จังหวัดนครสวรรค์ ปี ๒๕๖๖ มีผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป กว่า ๒๔๐,๐๐๗ คน หรือกว่า ๒๓ เปอร์เซ็นต์ ในนี้มีผู้สูงอายุที่เป็นผู้สูงอายุ อายุ ๑๐๐ ปีพอดี ชาย ๘๕ คน หญิง ๗๗ คนนะครับ แล้วก็ผู้สูงอายุที่เกิน ๑๐๐ ปี ของจังหวัดนครสวรรค์คนที่สูงอายุเยอะทีเดียวเพศชายและเพศหญิง ๓๓๗ คน แต่แน่นอน ผู้สูงอายุที่อายุมากขณะนี้ในการดูแลตนเองคงลำบาก หากเขาไม่มีเงินเก็บเพียงพอ แล้วต้อง อาศัยเบี้ยผู้สูงอายุที่ได้รับเพียง ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาทต่อเดือน น่าจะไม่เพียงพอ ต่อการดำรงชีวิตนะครับ จากข้อมูลของท่านอนุกรรมาธิการ เรื่องของการจัดสรรงบประมาณ ด้านสวัสดิการ งบประมาณท่านจัดสรรไว้ ๔๑๐,๓๗๐ ล้านบาท ที่เป็นตัวเลขที่นำเสนอ เป็นในส่วนของบำนาญข้าราชการกว่า ๓๒๒,๗๙๐ ล้านบาท เบี้ยยังชีพตอนนี้ที่เราได้รับก็คือ ๘๑,๕๘๐ ล้านบาทต่อประชากร ๑๑.๓ ล้านคน ซึ่งน้อยนิดนะครับ ผมขอสรุปข้อมูล ในรายงานเล่มนี้ อยากจะถามท่านอนุกรรมาธิการ ๓ ข้อนะครับ
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ข้อแรก จากรายงาน หน้า ๒๓ ว่าด้วยคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ที่ได้รับ บำนาญในต่างประเทศ อาทิ ประเทศแคนาดา ประเทศเดนมาร์ก ประเทศกรีซนะครับ ประเทศแคนาดา ผู้สูงอายุที่ได้รับบำนาญตามข้อกำหนด อายุ ๖๕ ปีขึ้นไป ประเทศเดนมาร์ก ๖๕ ปี ประเทศกรีซ ๖๗ ปี ประเทศไอร์แลนด์ ๖๗ ปี ประเทศอิสราเอล ๖๗ ปี ประเทศ เนเธอร์แลนด์ ๖๖ ปี ประเทศนิวซีแลนด์ ๖๕ ปี สิ่งที่จะถามท่านก็คือตัวเลขผู้สูงอายุที่ในแต่ ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เหตุใดที่เขาให้ผู้สูงอายุในช่วงอายุที่มากกว่าเรา ให้ตอนที่อายุ ๖๐ ปี อยากจะสอบถามท่านเรื่องนี้ เป็นเพราะว่าพวกเขาแข็งแรงกว่าผู้สูงอายุ คนไทยหรือไม่นะครับ
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ได้ยินว่ากันว่าการใช้นโยบายอยู่ UBI หรือรัฐสวัสดิการในลักษณะนี้ จะทำให้คนขี้เกียจหรือไม่ยอมทำงาน หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นอุปทานที่แรงงานหดตัวลง จริงหรือไม่อย่างไร อยากให้ท่านชี้แจงเรื่องนี้ เพราะผมยังไม่ได้รับข้อมูลในรายงานเรื่องนี้ครับ
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ก็คือเรื่องของด้านที่มาของรายได้ มีหลายเรื่องที่ท่านได้หยิบยก เรื่องที่น่าสนใจ พูดถึงข้อเสนอด้านรายได้ ไม่ว่าจะเป็นงบจากกระทรวงการคลังที่เก็บภาษี ความมั่งคั่ง ภาษีกำไรจากอสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่งของกระทรวงสาธารณสุขโดยการ เก็บภาษีธุรกิจ กระท่อม กัญชา ที่น่าสนใจคือภาษีในเรื่องของหวยนะครับ เรื่องนี้อยากให้ ท่านชี้แจงเพิ่มเติมเพื่อจะสื่อสารกับพี่น้องประชาชน แล้วก็ท้ายนี้ครับ ขอสนับสนุนรายงาน ของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญ พื้นฐานประชาชนครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๔ ท่านนะครับ ท่านแรก ท่านบุญเลิศ แสงพันธุ์ ท่านที่ ๒ ท่านรำพูล ตันติวณิชชานนท์ ท่านที่ ๓ ท่านนพดล ทิพยชล ท่านที่ ๔ ท่านครูมานิตย์ สังข์พุ่ม เชิญท่านบุญเลิศ แสงพันธุ์ ครับ
นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๗ จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระประแดง เฉพาะตำบลบางจาก พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอ มีส่วนร่วมเห็นด้วยกับรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐาน ประชาชน ของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ท่านประธานครับ ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม และคณะอนุกรรมาธิการ เป็นอย่างสูง ที่ศึกษาจนออกมาเป็นรายงานเล่มนี้ จากรายงานข้อมูลในเล่มนี้ ๙๑ หน้า ซึ่งมี ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการอ้างอิงต่าง ๆ ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มจ่ายเบี้ย เบี้ยบำนาญ ผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ แล้วก็มีครั้งแรกในการจ่ายก็คือ ๒๐๐ บาท ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๖ เพิ่มมาเป็น ๓๐๐ บาท แล้วก็เพิ่มมาเรื่อย ๆ มาเป็น ๕๐๐ บาท แล้วปี ๒๕๕๔ เพิ่มมาเป็น แบบขั้นบันได เริ่มที่ ๖๐๐ บาท ถึง ๑,๐๐๐ บาท จนปัจจุบันก็ยังไม่ได้ถูกเพิ่มเติมนะครับ จากรายงานฉบับนี้ผมเชื่อครับ มันเป็นข้อมูลการศึกษาที่แทบจะไม่ต้องศึกษาอะไรอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการแก้ปัญหา แนวทางการหางบประมาณ หรือแม้แต่การเพิ่ม เป็นขั้นบันไดนะครับ ผมเชื่อมันสามารถทำได้ทันที อันนี้ผมเชื่อครับ เพื่อน ๆ ที่ได้มีการร่วม อภิปราย หรือแม้แต่คณะกรรมาธิการที่ได้มีการศึกษามา ผมว่าการเหลื่อมล้ำของสังคมไทย มันเริ่มได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐาน หรือแม้แต่บำนาญ อันนี้คือสวัสดิการ ขั้นสุดท้ายแล้วก่อนที่จะชราภาพและเสียชีวิตลงไป คุณภาพของเขาจะอยู่ตรงไหน ถ้าเรา ไม่ช่วยกันตั้งแต่วันนี้ ผมขออนุญาตยกตัวอย่างบางเหตุการณ์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ ตั้งแต่เป็นผู้แทนราษฎร หรือแม้ก่อนเป็นด้วยซ้ำ เราก็ได้พบภาพต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นป่วยติดเตียง รับเงินสนับสนุนคนพิการ ๘๐๐ บาท แล้วก็คนที่ดูแลคือผู้สูงอายุครับ ได้รับเงิน ๗๐๐ บาท เพราะท่านมีอายุ ๗๑ ปี ต้องมาดูแลผู้ป่วยติดเตียงอีกต่างหาก ถามค่าใช้จ่ายในบ้านหรือค่ายังชีพพอไหม ตอบได้เลยครับ ไม่พอ หรือเคสถัดไปป่วยติดเตียงด้วย สูงอายุด้วยครับ ป่วย ๒ คน สูงอายุ ๓ คน ลูกดูแล ๑ คน ทำงานคนเดียวทั้งบ้านครับ ผมถามว่าสิ่งพวกนี้ใครจะดูแลเขา ท่านทนเห็นได้หรือครับ หรือแม้แต่เคสต่อไปผู้สูงอายุ ๒ คนตายาย ยายป่วยติดเตียงครับ ได้รับเหมือนอย่างที่ผมบอกเลย ได้อยู่ ๘๐๐ บาท คุณตา ทำอะไร อาชีพเก็บของขายครับ เก็บของขาย เก็บขวดต้องมาคุ้ยขยะ ท่านเห็นอะไรครับ สิ่งพวกนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น ไม่ใช่เพิ่งเกิดเมื่อวาน เกิดกี่สิบปีแล้วครับ เราก็เห็นสภาพนี้ แล้วผมเชื่อไม่ใช่แค่ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ไม่ใช่แค่ในจังหวัด สมุทรปราการ ทั้งประเทศไปแล้ว ไม่อย่างนั้นคุณจะมีข้อมูลพวกนี้หรือครับ ว่าศึกษามา คนจนมีเท่านี้ คนรวยมีเท่านี้ ในวันข้างหน้า ปี ๒๕๗๐ ปี ๒๕๗๓ คนแก่คนชราจะเพิ่มมากขึ้น หรือแม้แต่การเพิ่มบำนาญอย่างที่เพื่อน สส. ที่ได้มีการพูด เพิ่มเป็น ๑,๒๐๐ บาทไหม ๒,๐๐๐ บาท ไหม ๓,๐๐๐ บาทไหม สิ่งพวกนี้มันเป็นการเพิ่มตัวเลือกครับ เป็นการเพิ่ม ตัวเลือก ถ้าวันนี้มันได้ถ้วนหน้า สมมุติได้เป็น ๓,๐๐๐ บาท ตายายเขาอาจจะคุยกันก็ได้ครับ เพิ่มทำอย่างอื่นไหม ฉันก็แก่แล้ว เราก็แก่แล้ว อยู่กัน ๒ คนตายาย ไปซื้อประกันชีวิต เพิ่มรายได้ เพิ่มค่า GDP ไหม อย่างนี้ครับ หรือแม้เขาเสียชีวิต ผมถามว่าคุณยายเขาจะอยู่ อย่างไร ถ้าทุกวันนี้เขาดูแลกัน ๒ คนนะครับ อย่างน้อย ๆ ถ้าเขาเสียชีวิตขึ้นมา เขาอาจจะได้ มีเงินในส่วนนี้ ๔๐๐,๐๐๐ กว่าบาท มีคนที่ลูกหลานมาดูต่อ คุณจะทิ้งอะไรไว้ครับ ผมถาม ถ้าวันนี้ตาจะเสียชีวิตคุณจะทิ้งคุณยายให้ใครดูแล ผมว่าเรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่องคุณดูอาจจะ เป็นเรื่องเล็ก ๆ นะครับ แต่มันไม่เล็กเลย เพราะว่าปริมาณจำนวนมันครึ่งค่อนประเทศ แล้วถามว่าเราจะอยู่สังคมกันแบบนี้หรือครับ ก็อาจจะมองสลับมุมกันนะครับ ผมก็ไม่ทราบ ว่าที่เรามาคุยกันอยู่นี้ ผมเชื่อครับ คุยกันมานานแล้ว ศึกษากันมานานมาก หรือแม้แต่คนที่ รับเรื่องนี้ไปหรือว่าคณะบริหารในเมื่อวันนี้ท่านได้มีอำนาจ ขออนุญาตนะครับ หรือว่าคนที่ บ้านของท่าน หรือญาติของท่านไม่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ ท่านเลยไม่มีความที่จะเร่งรีบ หรือเดือดร้อนกับพ่อแม่พี่น้องประชาชน ทุกวันนี้เขาพูดแล้วครับ เขาไม่ไหวแล้ว แต่ในฐานะ ผู้แทนราษฎรที่มีสภาแห่งนี้และเป็นความหวังเดียวที่จะแก้ปัญหาพวกนี้ได้ ทำไมเราถึง ไม่ร่วมกันทำครับ สุดท้ายนี้ครับ สุดท้ายครับท่านประธาน แล้วเหตุใดเราไม่เริ่มสักพรุ่งนี้ กี่โมงกันดีล่ะครับ หรือจะรอนายกรัฐมนตรีคนต่อไปแล้วเรามาศึกษา แล้วเราก็มาพูดเรื่องนี้ หารือกันแบบนี้ ศึกษาแล้วศึกษาอีกอันนี้แบบเดิม ผมขอฝากไปถึงคณะบริหารทุกท่าน และท่านนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน โอกาสที่จะทำอยู่ในมือของท่านแล้ว แล้วโอกาสนั้นก็มี เวลาของมันเช่นเดียวกัน ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านรำพูล ตันติวณิชชานนท์ เชิญครับ
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต ๙ ซึ่งประกอบด้วยอำเภอนาจะหลวย อำเภอบุณฑริก อำเภอสิรินธร เฉพาะตำบล โนนก่อ พรรคไทยสร้างไทย ท่านประธานคะ ดิฉันขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายพิจารณา ศึกษาการพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน ของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ดิฉันขอชื่นชมประธานคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมาธิการ คณะอนุ กรรมาธิการทุกท่านที่ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานของประชาชน ได้เป็นอย่างดี ละเอียด ชัดเจน เสนอแนะแนวทางแก้ไขด้วยค่ะ ปัญหาระบบบำนาญแห่งชาติ ได้อย่างละเอียด ขอชื่นชมนะคะ แล้วก็รูปเล่มสีสวยมากค่ะ ผู้สูงอายุพอใจมาก มีความสุข ในสีชมพูนะคะ ก็ขอขอบคุณที่ให้สีหนังสือเล่มนี้นะคะ ท่านประธานคะ ปัญหาใหญ่ของโลก ของเราอีกปัญหาหนึ่งก็คือที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยของเรากำลังเผชิญ ก็คือ โครงสร้างประชากรกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงวัย ประชาชนที่มีอายุเกินกว่า ๖๐ ปี มีมาก เกิน ๑๒ ล้านคนแล้ว เรียกว่า ๑ ใน ๕ ของประชากรรวมทั้งประเทศ และมีแนวโน้มจะสูงขึ้น เรื่อย ๆ ในส่วนของปัญหาสังคมที่จะรุมเร้าตามมาก็คือประเทศต้องเป็นประเทศสังคม สงเคราะห์ และระบบสวัสดิการมากขึ้นกว่าเดิมนะคะ ซึ่งจะเป็นภาระให้แก่งบประมาณ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสังคมผู้สูงอายุต้องการการดูแล ต้องการการเลี้ยงชีพ ต้องการ การมีเพื่อน และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขค่ะ การพัฒนาระบบบำนาญของประเทศไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหลักประกันทางสังคม เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่มีต่อประชาชน รายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีพ เมื่อสู่วัยชรารายได้ ที่เพียงพอ เศรษฐกิจปัจจุบัน การดำรงชีพอย่างเพียงพอ ต้องเหนือกว่าเส้นความยากจนค่ะ อย่างน้อยเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท ก็จะลดภาระการพึ่งพิงลูกหลาน ลดการส่งต่อ ความยากจนจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป ช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนเรื้อรังมานาน เป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจทางอ้อม อย่างน้อยปีละ ๑๒ รอบค่ะท่านประธาน และขอสนับสนุนบำนาญ แบบถ้วนหน้าให้แก่ผู้สูงอายุที่มีสิทธิ และไม่ให้เลือกปฏิบัติด้วยนะคะ ไม่ให้ใช้ดุลยพินิจด้วย ในการเลือกว่าใครจะได้รับบำนาญ ๓,๐๐๐ บาท ท่านประธานคะ ท่านทราบไหมว่าดุลยพินิจ เป็นเรื่องอันตรายมาก ใช้เส้นใช้สายใช้พวก บางครั้งอาจจะเรียกว่าระบบอุปถัมภ์ ผู้สูงอายุ บางท่านอาจตกหล่นโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ซึ่งเป็นการซ้ำเติมระบบอุปถัมภ์ของไทย เป็นสิ่งเลวร้ายเรื้อรังมาตลอด มีการเลือกปฏิบัติ ผู้ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังก็จะตกหล่น ท้อแท้ ยิ่งเกิดปัญหาสังคมต่อไปค่ะ ท่านประธานที่เคารพคะ สังคมต่างจังหวัดของดิฉันเป็นสังคม ที่ครอบครัวมีฐานะยากจน ลูกหลานต้องไปทำงานต่างจังหวัดหาเลี้ยงพ่อแม่ ปล่อยให้พ่อแม่ อยู่ตามลำพัง ดิฉันออกพื้นที่บางทีผู้สูงอายุอยู่แค่คนเดียวอีกคนหนึ่งก็ไปแล้วค่ะ ขึ้นสวรรค์ ไปแล้วเหลือตัวคนเดียว บางคนก็ป่วยติดเตียง พิการ ไม่มีคนดูแล เพราะฉะนั้นน่าเห็นใจมาก เพราะว่าผู้สูงอายุเหล่านี้ท่านสร้างคน สร้างประเทศชาติมาหลายปี พออายุ ๖๐ ปี พวกเรา ก็ควรจะไปดูแลท่าน ลูก ๆ ไปทำงานหาเลี้ยงชีพ บางเดือนไม่มีเงินที่จะส่งให้พ่อแม่ พ่อแม่ก็หากินแบบอดมื้อกินมื้อ บางครั้งต้องไปวัดค่ะ ไปวัดไปหาอาหารที่วัดทาน เพราะว่า พี่น้องไปทำบุญก็จะเหลืออาหาร แล้วก็ห่ออาหารกลับบ้าน อันนี้คือสังคมชนบทที่ดิฉันได้เจอ รัฐจ่ายเงินผู้สูงอายุปัจจุบัน เดือนละ ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ไม่พอกินหรอกค่ะ ไม่พอกินแน่นอนค่ะ วันละ ๒๐ บาทซื้ออะไรได้คะ ส้มตำตามบ้านนอก ก็จานละ ๔๐ บาท ก๋วยเตี๋ยวชามหนึ่งก็ ๖๐ บาท ถ้า ๒๐ บาท ได้แค่ลูกชิ้นค่ะ แม่ค้าเขาบอก นะคะ ได้แค่ลูกชิ้น เพราะฉะนั้น ๒๐ บาท ซื้ออะไรไม่ได้ค่ะ ท่านประธานคะ ผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ฝากความหวังมากับ สส. ไปเจอ ซอยแนเด้อท่าน สส. ยายอยากได้ ๓,๐๐๐ บาท นี่ล่ะคะ ฝากทุกครัวเรือน อันนี้คือที่อุบลราชธานี ที่จังหวัดอื่นดิฉันก็คิดว่า คงเหมือนกันนะคะ ช่วยเหลือผู้สูงอายุอย่างน้อย ๖๐ ปีขึ้นไป น่าจะได้เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท อย่างถ้วนหน้า วันละ ๑๐๐ บาท พี่น้องพออยู่ได้ค่ะ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับผู้สูงวัย สร้างความมั่นใจให้กับลูกหลานที่ไปทำงาน เพื่อแบ่งเบาภาระลูกหลาน แล้วให้ลูกหลานที่ไป ทำงานได้สร้างฐานะครอบครัวของตัวเองให้มั่นคง ถ้าได้บำนาญ คนละ ๓,๐๐๐ บาทต่อเดือน ผู้สูงอายุทั้งประเทศไทยจะดีใจมาก และมีความสุขอย่างมากค่ะท่านประธาน ขอบคุณท่าน ประธานค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไป ท่านนพดล ทิพยชล เชิญครับ
นายนพดล ทิพยชล นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ อำเภอปากเกร็ด เฉพาะตำบล บางพูด บ้านใหม่ ตำบลคลองเกลือ และตำบลบางตลาด จากพรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมขอ ร่วมอภิปรายรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน ของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม ของสภาผู้แทนราษฎรครับ ท่านประธานครับ อย่างที่เพื่อนสมาชิกหลายท่านได้กล่าวกันมา ปัจจุบันประเทศไทยเรามีผู้สูงอายุ ๑๒ ล้านคน แล้วครับท่านประธาน เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแบบเต็มตัวแล้ว ดังนั้นความท้าทายที่สำคัญ ของประเทศเรามีทั้งความท้าทายด้านจำนวนแรงงานและความท้าทายด้านจำนวนแรงงาน และความท้าทายด้านเศรษฐกิจครับท่านประธาน จากตัวเลขสถิติปีที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษที่จำนวนผู้เสียชีวิตของ ประเทศไทยเราพุ่งสูงเกินกว่าจำนวนของเด็กที่เกิดใหม่ครับท่านประธาน ตอนนี้จำนวน ประชากรของไทยเราเหลือ ๖๖ ล้านคนแล้วครับ ไม่ใช่ ๗๐ ล้านคน ที่เราอาจจะคุ้นชิน กับตัวเลขนี้ ปัจจุบันเหลือแค่ ๖๖ ล้านคนแล้ว และถ้าสัดส่วนจำนวนประชากรของเรา ยังลดลงอย่างต่อเนื่องแบบนี้ ภายใน ๖๐ ปีครับท่านประธาน ผู้คนที่เราเดินสวนกันอยู่ ทุกวันนี้จะหายไปครึ่งหนึ่ง นั่นหมายความว่าภายใน ๖๐ ปีข้างหน้า ประชากรประเทศเรา จะเหลือแค่ ๓๐ ล้านคนครับท่านประธาน ตัวเลขนี้กำลังจะบ่งบอกอะไรถึงพวกเราทุกคน ตอนนี้กำลังบ่งชี้ว่าประเทศเรากำลังจะขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงในอนาคตอันใกล้นี้ครับ ถ้าหากเรายังไม่ตระหนักและหาแนวทางป้องกัน เราอาจจะได้เห็นแรงงานส่วนใหญ่ ของประเทศเราต้อง Import มาจากต่างชาติ เพราะการขาดแคลนคนวัยทำงานเหมือนอย่าง ประเทศอิตาลี หรือประเทศญี่ปุ่น ที่ประชากรส่วนใหญ่ของเขาเป็นผู้สูงอายุในอนาคต อันใกล้นี้ครับ ท่านประธานครับ ประเทศไทยเรามีประชากร ๖๖ ล้านคน ถ้าเราเอาจำนวน อายุของประชากรทั้งหมดหารด้วย ๖๖ ล้านคน อายุเฉลี่ยของประชากรของไทยเราอยู่ที่ ๔๐ ปี ส่วนประเทศอิตาลีกับประเทศญี่ปุ่นนี่อยู่ที่ประมาณ ๔๗ ปีนะครับ ถ้าเรามองไปที่ ประเทศเวียดนามอายุเฉลี่ยอยู่ที่ ๓๐ ปีเอง นั่นไม่แปลกใจว่าทำไมกองทุนต่างประเทศ หลาย ๆ บริษัทย้ายไปตั้งฐานผลิตที่ประเทศเวียดนามครับท่านประธาน และ ๑ ในสาเหตุ หลักที่ผู้คนในปัจจุบันไม่อยากมีบุตร นั่นก็คือภาระค่าใช้จ่ายครอบครัวที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ ท่านประธานครับ ผมลงพื้นที่รับฟังปัญหาพี่น้องประชาชนในจังหวัดนนทบุรี เสาหลักของ ครอบครัว ครอบครัวหนึ่งเขาทำงานอยู่ในห้างสรรพสินค้า มีลูกเล็กวัยเรียน ๒ คน และยังมี บิดามารดาผู้สูงอายุ ที่ต้องดูแลอีกด้วยครับ ดังนั้นหากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับผู้ที่เป็นเสาหลัก ของครอบครัวรายนี้ ถ้าวันใดวันหนึ่งเขาเกิดตกงานขึ้นมา ลูกทั้ง ๒ ของเขาอาจจะเสี่ยง ต่อการตกหล่นจากการศึกษา และบิดามารดา ผู้สูงอายุเขาจะอยู่อย่างไรครับท่านประธาน ดังนั้นความกดดันของครอบครัวนี้ก็ตกมาอยู่ที่ผู้ที่ทำงานที่เป็นเสาหลักของครอบครัว ถ้าให้เปรียบเทียบก็เหมือน Sandwich ครับท่านประธาน ด้านหนึ่งก็ถูกบีบอัดมาจากลูกเล็ก ๒ คน ที่อยู่ในวัยเรียน อีกด้านหนึ่งก็มาจากพ่อแม่เป็นผู้สูงอายุที่ต้องดูแล เชื่อไหมครับ ท่านประธานหลังจากที่ผมได้ร่วมพูดคุยกับครอบครัวนี้เขาบอกกับผมว่าถ้าให้ย้อนเวลา กลับไปได้เขาจะไม่ขอมีบุตรเป็นอันขาดนะครับ ผมได้ฟังแล้วก็ตกใจเช่นกันครับท่านประธาน ดังนั้นวันนี้ผมจึงลุกขึ้นมาอภิปรายขอสนับสนุนรายงานการพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐาน ของประชาชนฉบับนี้ ถึงเวลาที่ผู้สูงอายุจะมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นกว่าเดิม ลดภาระ การพึ่งพิงคนวัยทำงานเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของประเทศเราทางด้านประชากร แล้วก็ด้านเศรษฐกิจ สุดท้ายครับ ผมมี ๑ คำถาม อยากจะเรียนผ่านท่านประธานฝากไปถึง ผู้ชี้แจงครับ ผมอยากทราบว่ามีผลสรุปการศึกษาหรือไม่นะครับ ว่าตัวเลขที่แท้จริง เป็นจำนวนเท่าไรที่ผู้สูงอายุจะสามารถดำรงชีพอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ได้จริง ๆ แล้วก็ทำไมในรายงานฉบับนี้ถึงสรุปมาว่าเป็น ๓,๐๐๐ บาทต่อเดือน ที่ผู้สูงอายุสมควรได้รับ อันนี้คือเป็นคำถามที่ผมอยากฝากท่านประธานผ่านไปยังผู้ชี้แจงนะครับ คืออยากทราบ ตัวเลขจริง ๆ ว่าจริง ๆ มันอาจจะมากกว่า ๓,๐๐๐ บาทก็ได้ แต่ว่าดูจากสภาวะการเงิน การคลังของเรามันสุดแล้วที่ ๓,๐๐๐ บาทหรือเปล่าครับ ผมขอเรียนถามแล้วก็ขอขอบคุณ ท่านประธานนะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไป ท่านครูมานิตย์ สังข์พุ่ม เชิญครับ
นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สุรินทร์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ที่ต้องลุก ขึ้นมาอภิปรายสนับสนุนร่วมนี้ก็ชื่นชมในประธานคณะกรรมาธิการกิจการสวัสดิการสังคม ของสภาผู้แทนราษฎร คือคุณณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการทุกท่าน ที่ได้ตั้งใจหยิบยกเรื่องนี้เข้ามา เพราะปัญหาเรื่องนี้มันก็จะเป็นปัญหาหนักขึ้นไปเรื่อย ๆ ในวันข้างหน้าของประเทศนี้ ฉะนั้นวันนี้คณะกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการได้ออกมา ตอกย้ำ ผมอยากกราบเรียนต่อท่านประธานอย่างนี้นะครับ ว่าเรื่องนี้เราคิดกันมานานแล้ว ตั้งแต่ยุคของท่านอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผมขออนุญาตที่เอ่ยนาม ท่านขึ้นมา เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ท่านได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นต้น ๆ แล้วก็ มาปรับปรุงจากที่เงินผู้สูงอายุได้รับสวัสดิการ เดือนละ ๒๐๐ บาท ในอดีตมันค่อนข้าง จะน้อยนิดเดียวท่านประธานครับ ท่านเลยมาปรับเป็นขั้นบันได โดยให้เริ่มต้นจาก ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท แล้วก็ ๑,๐๐๐ บาท ตามลำดับดังที่หลายท่านได้กล่าว มาแล้ว แล้วก็อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ท่านประธานที่เคารพครับ ผมได้รับ มอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมด้วย คุณสุนัย จุลพงศธร ขออภัย ที่เอ่ยนามท่าน ท่านไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้วในวันนี้ ท่านบอกว่า ให้ช่วยทำพระราชบัญญัติเงินเดือนหรือเงินบำนาญประชาชนขึ้นมาหน่อยสักฉบับหนึ่ง เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับผู้สูงอายุที่จะมากขึ้น วันนั้นผมก็เขียนกันเรียบร้อยแล้วครับ ลงลายมือชื่อ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะมีชื่อท่านประธานพิเชษฐ์อยู่ด้วยท่านหนึ่งที่ช่วยเซ็นรับรอง พ.ร.บ. ฉบับนี้ บังเอิญพอยื่นเข้าสภาได้ไม่กี่วันครับ กระแสปัญหาภายในประเทศ นี่ไม่ใช่ว่า ไปรื้อขอนหาตะเข็บนะครับท่านประธาน ก็มีการปฏิวัติรัฐประหาร มีขบวนการเยอะแยะ มากมายจนเธอต้องอยู่ไม่ได้ เธอเป็นนายกรัฐมนตรีผู้หญิง เข้าใจปัญหาคนเป็นแม่ เข้าใจ ปัญหาผู้สูงอายุ หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็กระท่อนกระแท่นกับเรื่องเหล่านี้ แล้วก็มี พรรคการเมืองทุกพรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคก้าวไกล ของคุณณัฐชาที่เป็นประธานเองก็ได้ เสนอเรื่องนี้เป็นโปรแกรมในการหาเสียง พรรคไทยสร้างไทยก็นำไปหาเสียง พรรคเพื่อไทย ก็นำไปเสนอกับพี่น้องประชาชน ทุกคนเราเห็นด้วย แต่ท่านประธานที่เคารพครับ วันนี้ปัญหา ของบ้านนี้เมืองนี้รัฐบาลมันไม่ได้บริหารเศรษฐกิจ บริหารประเทศติดต่อกัน มันก็ทำให้ มีปัญหาเศรษฐกิจเพราะมันเป็นประเทศที่ปฏิวัติ เว้นปฏิวัติ เว้นรัฐประหาร หลายคน ยกตัวอย่างประเทศเยอรมัน ประเทศโน้นประเทศที่เจริญแล้ว ถามว่าทำไมเขาทำให้ได้ ถามว่าประเทศไทยเราทำไมถึงทำไม่ได้ ประเทศเขาทำได้ เพราะการเมืองเขาปะติดปะต่อ เขาสามารถเก็บเงินเก็บทอง มีรายได้ให้กับรัฐบาลเยอะแยะ ประเทศเกาหลีตั้งแต่ตีห้าพี่น้อง ประชาชนไปรอเสียภาษี เพราะการเมืองเขาไม่ขาดสะบั้น เมืองไทยนี้เราไม่มีรายได้ ผมเชื่อแน่ว่าทุกคน ทุกพรรคที่มานั่งอยู่ในห้องประชุมแห่งนี้อยากเห็นเรื่องนี้เกิดขึ้น โดยเฉพาะพวกเราเองวันนี้วัยขึ้นเลข ๖ ไปแล้ว แล้วเราก็สัมผัสกับผู้สูงอายุมาก วันนี้ น่าสงสารท่านประธานที่เคารพครับ ถ้าไม่พูดถึงผู้สูงอายุ ถ้าคนที่รับบำเหน็จรับบำนาญ บางคนรับบำเหน็จ เบื้องต้นได้เป็นก้อนโต ลูกหลานมาช่วยใช้กันจนหมดแล้วก็ทอดทิ้ง คนรับ บำนาญนี้ก็โชคดีไปเพราะอยู่จนตายลูกหลานยังได้มีบำนาญตกทอด แต่คนที่ไม่มีอะไรเลย ท่านประธานครับ น่าสงสารมาก ท่านประธานเชื่อไหมครับ เวลาผมไปปราศรัยหรือเยี่ยม ผู้สูงอายุทั้งติดเตียงและไม่ติดเตียงก็ดี ผมจะถามทรัพย์สินในบ้านก่อนว่ามีอะไรเหลืออยู่ เท่าไรบ้างไหม คนไม่มีอะไรเลย ทรัพย์สินผมก็พูดไม่ออก แต่ถ้าคนที่มีท่านประธาน ผมบอกว่าอย่าเพิ่งรีบโอนให้ลูกหลาน อย่าโอนเด็ดขาด เพราะอะไรท่านประธานครับ เพราะ โอนไปแล้วทรัพย์สินหมด พอทรัพย์สินหมดลูกหลานเดี๋ยวนี้เริ่มปล่อยพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ให้อยู่ตามลำพัง ครั้นที่จะไปอยู่บ้านเอื้ออาทร หรือบ้านพักคนชรา ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ปีหนึ่งถ้าจำไม่ผิดที่จังหวัดมหาสารคาม หรือจังหวัดอุดรธานี ก็มีการโกงกัน คอร์รัปชันกัน พวกนี้ก็ตกนรกไปแล้วนะครับ ไปคอร์รัปชันเงินให้กับผู้สูงอายุบ้านพักคนชรา แต่คนที่ไม่มี อะไรเลยวันนี้นอกจากไม่มีที่ทำกินแล้ว ไม่มีอาหารกินแล้ว ท่านประธาน โดนลูกหลานทิ้งอีก อย่างน้อยๆ มันเป็นเรื่อง Guarantee ของเงิน ๓,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเส้นแบ่งแดนที่ทำให้คน คนหนึ่งสามารถเลี้ยงชีพอยู่ได้ภายใน ๑ เดือน นี่เป็นการคิดที่สารตั้งต้นได้ดีมากทุกพรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคก้าวไกล พรรคไทยสร้างไทย พรรคเพื่อไทย เพียงแต่ว่าวันนี้เราจะมาทำกันอย่างไรให้เศรษฐกิจบ้านเมืองมันเป็นไปได้ ให้มี รายได้คงคลังมากขึ้น ให้มีหลาย ๆ ส่วนที่สามารถเอาให้กับคนเฒ่าคนแก่ได้ ผมนี้ยินดีมาก แล้วขอบคุณกรรมาธิการจริง ๆ ที่เอาเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นสารตั้งต้นอีกครั้งหนึ่ง อย่างน้อย ๆ ก็ได้เป็นเชื้อไว้ในวันข้างหน้า เพราะผู้สูงอายุเราเริ่มมาก ผมไม่อยากจะไปบอกตัวเลขครับ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือทำอย่างไรให้บ้านเมืองนี้เดินไปด้วยกระบวนการประชาธิปไตย ให้บ้านเมืองมันคงเส้นคงวา เศรษฐกิจมันดีขึ้น วันนั้นรัฐบาลยิ่งลักษณ์พร้อมครับ ผมก็ไม่ได้ มาชมเธออะไรมากมายหรอกครับ เพียงแต่มาเล่าให้ฟัง เพราะผมเป็นนักการเมืองในวันนั้น และเป็นคนทำ พ.ร.บ. เงินบำนาญประชาชนเข้าไป วันนั้นเงินคงคลังเยอะ พร้อมทุกอย่าง แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาในประเทศก็ดังที่เราทราบ ดังที่เรารู้ มันก็เป็นอย่างนี้ ผมเชื่อแน่ว่า ไม่นานเกินรอผู้สูงอายุหรือคนชราจะได้รับโอกาสจากพวกเรา เนื่องจากคนเหล่านี้เราอาจจะ มองว่าเขาไม่ได้เสียภาษีเป็นรายเดือน เพราะเขาไม่ได้รับราชการ แต่อย่าลืมว่าเขาเสียภาษี ทุกวันครับ ตั้งแต่เขาเกิด เขาเข้าเซเว่น-อีเลฟเว่นซื้อของเขาก็เสียภาษี VAT เขาไปซื้อของ เขาก็เสียภาษี นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่เขาสะสมภาษีไว้ แต่ไม่เห็นเป็นรูปธรรม ฉะนั้นเขาเป็น คนไทย เมื่อเขาไม่สามารถทำงานได้น่าจะมีสิ่งที่รัฐได้ดูแลเขา เพราะเขาเป็นคนเสียภาษี มาตลอดทั้งชีวิตเหมือนกัน แต่วันนี้หลายกลุ่มอาจจะมองไม่เห็นผมเชื่อว่าท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน และคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้มองเห็นเรื่องนี้ เพียงแต่ว่ารอโอกาส เพราะเราต้อง ยอมรับจริง ๆ ว่าวันนี้ประเทศเรานั้นรายได้ เงินคงคลังอาจจะมากแต่นำมาใช้ไม่ได้ รายได้ เศรษฐกิจมันเริ่มแย่ ถ้าเศรษฐกิจดี ส่งออกดี ท่องเที่ยวคนมา เก็บภาษีได้ดี ผมเชื่อแน่ว่าวันนี้ ที่ท่านประธานคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม คุณณัฐชา นำมาเสนอคงไม่ผิดหลัง ท้ายที่สุดต้องขอชมเชยอีกครั้งและให้กำลังใจนะครับ เห็นน้องเขาทำงานเกี่ยวกับเรื่อง สวัสดิการ เพราะว่าคุณณัฐชาก็มาจากรากหญ้า เรามาจากที่มาเหมือนกัน เราเข้าใจปัญหา ความยากจน เราเข้าใจปัญหาสภาพการเป็นอยู่ของชีวิตคนจน เพราะมาจากรากฐานของ คนจน เราแทบจะไม่รู้จักธนาคารเลยครับ ผมรู้จักธนาคารเมื่อตอนผมเป็นครูนี่เอง แล้วคนเฒ่าคนแก่ที่อยู่ที่บ้านเขาไม่รู้จักเลย วันนี้ท่านประธานรู้ไหมบางคนมี ๖๐๐ บาท ไปเบิกเองไม่ได้ฝากให้ลูกหลานไปเบิก ยังไม่ถึงบ้านเลยครับ ลูกหลานเอามาจาก อบต. มันใช้หมด จริง ๆ ผมอยากให้ประธานกรรมาธิการและคณะกรรมาธิการไปเขียนข้อสังเกต ไว้ด้วยว่าเงินสวัสดิการผู้สูงอายุควรจะให้ผู้สูงอายุมาเบิกเองที่หน่วยงานที่จ่าย หรือไม่ ให้เจ้าหน้าที่นำไปให้ถึงบ้าน ให้ถึงมือเขาก่อน ส่วนลูกหลานจะเอาไปใช้จ่ายแทนก็สุดแล้วแต่ เพราะคนเหล่านี้นั้นโอกาสอยู่บนโลกแห่งนี้ก็ไม่นานมากหรอกครับท่านประธาน ถ้าเป็น ภาษาบ้านผมเขาบอกว่า นุ่งผ้าถุงไม่กี่ผืนแล้วล่ะครับ ฉะนั้นผมกราบเรียนท่านประธาน ด้วยความเคารพว่าพวกผมและพรรคเพื่อไทยเห็นด้วย และผมเชื่อว่าผู้แทนในสภาแห่งนี้ เห็นด้วย เพียงแต่ว่าเรารอโอกาสให้บ้านนี้เมืองนี้เศรษฐกิจดี ผมยินดีที่จะนำความนี้ไปแจ้ง ให้กับท่านนายกรัฐมนตรี แจ้งให้กับคณะรัฐมนตรี แล้วผมเชื่อแน่ว่าท่านทราบเรื่องนี้ ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๔ ท่านนะครับ ท่านแรก ท่านณกร ชารีพันธ์ ท่านที่ ๒ ท่านปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ ท่านที่ ๓ ท่านเอกราช อุดมอำนวย ท่านที่ ๔ ท่านกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ เชิญท่านณกร ชารีพันธ์ครับ
นายณกร ชารีพันธ์ มุกดาหาร ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม ณกร ชารีพันธ์ ผู้แทนราษฎรของพี่น้องชาวมุกดาหาร เขต ๒ นิคมคำสร้อย หนองสูง คำชะอี ดงหลวง ครับท่านประธาน ก่อนอื่นผมขอชื่นชมคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎรทุกท่านที่มุ่งมั่นตั้งใจทำรายงานเรื่องการพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐาน ภาคประชาชน รัฐเรามีเงินมากพอที่จะทำ เป็นการตอกย้ำว่ารัฐเรามีเงินมากพอที่จะทำ สวัสดิการถ้วนหน้า ๑,๒๐๐ บาท ในปี ๒๕๖๘ ทั้งคิดว่าจะตัดงบประมาณไม่จำเป็นอย่างไร และคิดวิธีเพิ่มรายได้ที่มาของงบประมาณ ว่ารัฐเราสามารถทำบำนาญถ้วนหน้าได้ครับท่านประธาน ท่านประธานครับ บำนาญพื้นฐาน ภาคประชาชนเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่ารัฐให้ความสำคัญกับประชาชนมากน้อยแค่ไหน รัฐมีเงิน มากพอเสมอที่จะตัดถนนใหม่ในทุก ๆ ปี รัฐเรามีเงินมากพอเสมอที่จะซื้อรถประจำตำแหน่ง ให้กับนายพลและข้าราชการระดับสูง รัฐเรามีเงินมากพอเสมอที่จะซื้อเครื่องบิน รถถัง เรือดำน้ำให้กับกองทัพ รัฐเรามีเงินมากพอเสมอที่จัด Event ในทุกจังหวัดทุก ๆ ปี ที่วัดผล ความสำเร็จยากลำบากเหลือเกิน รัฐเรามีเงินมากพอเสมอครับ ที่สร้าง Mega Project ใหญ่ ๆ ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย รัฐเรามีเงินมากพอเสมอที่จะสร้างสำนักงานใหญ่โต ของหน่วยงานรัฐในทุกจังหวัด รัฐมีเงินมากพอเสมอที่จะสร้างทุกอย่างครับท่านประธาน ยกเว้นสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้องประชาชน ท่านประธานครับ ผมเป็นผู้แทนพี่น้อง ชาวจังหวัดมุกดาหาร ลูกหลานเราเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานคร ทำงานในจังหวัดชลบุรี ส่งเงินไปดูแลพี่น้องปู่ย่าตายายที่บ้าน วันนี้เรามีเงินบำนาญ วันนี้หากเราได้เงินบำนาญถ้วนหน้า ไม่ได้ช่วยแค่พ่อแม่พี่น้องที่อยู่บ้านเท่านั้น แต่ช่วยวัยหนุ่มสาวในเมืองหลวงที่ทำให้เขา เหล่านั้นตั้งตัวได้สักทีครับท่านประธาน รัฐบาลบอกให้เราวัยหนุ่มสาวมีลูกมากขึ้น แต่ท่านดูสวัสดิการของรัฐไทยสิครับท่านประธาน แค่ลำพังตัวเองก็ยังจะไม่รอดแล้ว ส่งเงินให้ พ่อแม่ที่อยู่บ้าน ต่อให้รัฐทุ่มเทงบประมาณรณรงค์ให้คนมีลูกมากขึ้น หลายร้อยล้านก็ไม่มี ทางที่วัยหนุ่มสาวอย่างเราอยากจะมีลูกมากขึ้นหรอกครับ เพราะว่าอะไรรู้ไหมครับ หากรัฐยังไร้สวัสดิการ ไร้ซึ่งความหวังในประเทศนี้เราไม่มีทางที่อยากจะมีลูกในประเทศ อย่างนี้หรอกครับ หากเราย้อนไปช่วงหาเสียงทุกพรรคเห็นตรงกันว่าบำนาญพื้นฐาน ประชาชน ๖๐๐ บาท หรือ ๒๐ บาทต่อวันนั้นไม่เพียงพอ ปู่ย่าตายายเราใช้ไม่พออยู่แล้วครับ ท่านประธาน ทุกพรรคหาเสียงกันมาว่าจะเพิ่มบำนาญให้ภาคประชาชน เริ่มต้นตั้งแต่ ๑,๐๐๐ บาท ถึง ๕,๐๐๐ บาท เพื่อนสมาชิกลืมคำพูดของตัวเองไปหมดแล้วหรือครับ ท่านประธาน คำที่เราหาเสียงไว้กับพี่น้องประชาชน เราลืมไปหมดแล้วหรือครับ ผมว่าถึง เวลาแล้วที่สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ของเราจะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้อง ประชาชน จะส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้องประชาชน จากรายงานฉบับนี้จะเห็นได้ว่า เรามีเงินมากพอที่จะสร้างสวัสดิการ ๑,๒๐๐ บาท ในปี ๒๕๖๘ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลจะมอบสิทธิขั้นพื้นฐานให้พี่น้องประชาชนสักทีครับ หากเรา นิยามตรงกันว่าชาติ คือประชาชน หากประชาชนอยู่ไม่ได้ชาติเราจะเหลืออะไรครับ ท่านประธาน ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ เชิญครับ
นางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๒ พรรคก้าวไกล ดิฉันขออภิปรายสนับสนุนรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนา ระบบบำนาญพื้นฐานประชาชนของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม ท่านประธานคะ ในฐานะที่ดิฉันเป็นผู้แทนราษฎรในพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ ตลาดขวัญ บางกร่าง บางศรีเมือง และบางรักน้อย ขอเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่สะท้อนปัญหาของผู้สูงอายุที่มี รายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ มิหนำซ้ำบางคนยังต้องเลี้ยงหลานที่ลูกเอามาฝาก ให้ดูแลด้วยค่ะ ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบันคนหนุ่มสาวที่เริ่มสร้างครอบครัวใหม่ มีภาระ ค่าใช้จ่ายมากอยู่แล้ว ไม่เพียงพอต่อการดูแลพ่อแม่ให้ดีเท่าที่ควร หรือครอบครัวที่หาเช้า กินค่ำ ลำพังที่จะดูแลครอบครัวก็มีค่าใช้จ่ายมากเพียงพออยู่แล้ว ต้องดูแลพ่อแม่ด้วย ทำให้ ไม่สามารถมีเงินเก็บไว้เพื่ออนาคตได้ค่ะ ทำให้ชีวิตขาดความมั่นคง ท่านประธานคะ ในรายงานฉบับนี้ของคณะกรรมาธิการได้อ้างถึงผลการศึกษาของ กระทรวงการคลังร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่พบว่าค่าใช้จ่ายจำเป็นขั้นต่ำของผู้สูงอายุ อยู่ที่เดือนละ ๑,๕๐๐ บาท แต่จำนวนที่รัฐจัดสรรให้ในปัจจุบันคืออายุ ๖๐-๖๙ ปี ได้เดือนละแค่ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปีได้เดือนละ ๗๐๐ บาท ถ้าโชคดีอายุยืนถึง ๙๐ ปี ถึงจะได้เดือนละ ๑,๐๐๐ บาท แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการยังชีพในปัจจุบันอยู่ดี ดิฉันเห็นว่า รัฐบาลควรจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานบำนาญประชาชนให้เป็นลักษณะถ้วนหน้า เพื่อเป็น หลักประกันรายได้ยามชราที่มั่นคง จะช่วยลดภาระการพึ่งพิง ลดการส่งต่อความยากจน จากรุ่นสู่รุ่น ช่วยแก้ปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรมค่ะ ดิฉันเห็นด้วยกับรายงานฉบับนี้ ว่าการพัฒนาระบบบำนาญขั้นพื้นฐานประชาชนจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจทางอ้อมผ่าน การลงทุนและการใช้จ่ายของกลุ่มประชากรเกษียณอายุ ซึ่งรัฐจะได้ผลตอบแทนมาในรูปแบบ ภาษีต่าง ๆ ในรายงานฉบับนี้คณะกรรมาธิการได้เสนอแนวทางไว้แล้วในเบื้องต้นจากการให้ หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาชี้ให้ข้อมูลชี้แจง ทั้งการหารายได้และรูปแบบของต่างประเทศที่ได้ ดำเนินการมาแล้วก็หวังว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้นำไปปรับใช้ให้ทัน ปีงบประมาณ ๒๕๖๘ หรือปีงบประมาณ ๒๕๖๙ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมค่ะ ดิฉัน หวังว่าเพื่อนสมาชิกทุกคนจะเห็นตรงกัน เพราะตอนที่ทุกท่านเดินหาเสียงก็อยากจะยกระดับ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น วันนี้ดิฉันจึงมาเชิญทุกท่านสนับสนุนเบี้ยบำนาญ พื้นฐานของประชาชนที่ ๓,๐๐๐ บาท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นค่ะ
นางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ นนทบุรี ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ดิฉันหวังว่ารายงานฉบับนี้ไม่ควรเป็นเพียงรายงานต่อที่ประชุม แห่งนี้เท่านั้น หวังว่ารัฐบาลและคณะรัฐมนตรีจะให้ความสำคัญนำไปพิจารณาและผลักดัน ให้เกิดประสิทธิภาพของระบบบำนาญของประเทศไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุให้ดีขึ้นกว่าเดิม ให้สมกับคำที่ว่ารัฐบาลนี้บอกว่า หาเงินได้ ใช้เงินเป็น ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านเอกราช อุดมอำนวย เชิญครับ
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมได้อ่านข้อเสนอของรายงานคณะกรรมาธิการชุดนี้ ท่านคณะอนุกรรมาธิการดูน่าดูตาแล้ว ผมมั่นใจมากว่าจะต้องมาศึกษาอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะตัวอย่างของบำนาญจากประเทศต่าง ๆ ผมอ่านแล้วทึ่งมากครับ ก็คือไม่ได้บอกแค่ ว่าต้องจ่ายเท่าไร จ่ายใคร แต่บอกละเอียดไปกว่านั้น แหล่งที่มาของเงินด้วย เอาตัวอย่างจาก ต่างประเทศให้ดูแล้วก็เรียกหน่วยงานในประเทศมาซักไซ้ไล่เลียงตั้งแต่กรมสรรพากร กรมศุลกากร ยันกองสลาก การสอบถามซักไซ้ไปซักไซ้มานี้รายงานเขาสรุปมา ๖ ข้อ แหล่งรายได้ที่ต้องเอาเงินมาสำหรับทำบำนาญ ไม่ว่าจะเป็นเงินนำส่งออกจากการออกสลาก รางวัลค้างจ่ายดอกผลสัมปทาน ค่าธรรมเนียมกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ภาษีมรดก แบบนี้ เป็นต้น และยังมีรายได้ในอนาคตอีก ๙ แหล่ง ขอพูดตรง ๆ แล้วตัดประเด็นที่ไม่อ้อมค้อม ในวันนี้นะครับ ก็คือว่ารายงานที่เราพิจารณาอยู่นี้เขาศึกษามาอย่างละเอียดแล้ว ผมยืนยันว่า รายงานชุดนี้เป็นมากกว่าแค่กระดาษ ไม่เปลืองคาร์บอน แต่มันจะเป็นประโยชน์อย่างไร ถ้ารัฐบาลไม่เอาไปทำ อยากจะให้รัฐบาลจริงใจกับพี่น้องประชาชน และรัฐบาลยิ่ง พรรคเพื่อไทยหาเสียงเอาไว้เกี่ยวกับบำนาญผู้สูงอายุ อยากจะดูหน่อยว่าท่านจะสนใจเรื่องนี้ มากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญรายงานชุดนี้เปิดเผย มีร่างแก้ไขข้อเสนอของพระราชบัญญัติ ซึ่งเก่าแก่มาก แก้ไขได้เลย ท่านนำจากเล่มนี้มายื่นต่อสภา ผมคิดว่าเพื่อนสมาชิกทุกคน ที่อภิปรายมา ผมฟังมา ๓๐ กว่าท่านเห็นด้วยไปในแนวทางเดียวกัน ก้มดูบริบทความจริง ของประเทศไทยในวันนี้ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยบอกคิดใหญ่ ทำเป็น หาเงินเก่ง ผมก็อยากดู ครับท่านประธาน เขาเขียนเสนอแนะมาในรายงานฉบับนี้ ๑๐ ปีที่ผ่านมามันไม่ได้ปรับ ปรับทีหนึ่งนี้คณะอนุ กรรมาธิการ ท่านวรรณวิภาเขียนมาเป็น ๓ ขั้นบันได ผมอ่านแล้วตกใจ ทำไมเป็นแบบนั้น ล่ะครับ ทำไมไม่ขึ้นไปเลย ๓,๐๐๐ บาท ไม่ใช่มารองบประมาณปี ๒๕๗๐ ผมไม่เห็นด้วย รัฐบาลพรรคเพื่อไทยบอกคิดใหญ่ ทำเป็น หาสตางค์ได้ ๓,๐๐๐ บาท ทำเลยงบประมาณ ปี ๒๕๖๘ เฉพาะงบกลางอย่างเดียวก็ ๔๐,๐๐๐ บาทแล้ว ไหนจะเรื่องแก้ระเบียบมันไม่เกิน ความสามารถนายกรัฐมนตรีหรอก แล้วก็รายงานเสนอแนะเขาบอกไปหมด ไม่ว่าจะเป็น การเรียกคืนที่ราชพัสดุก็หวังว่าตรงนี้กรมธนารักษ์ร้อยละ ๙๑ เพื่อนำมาเป็นรายได้ แหล่งที่มาไหนอีกล่ะ กองทุนที่จะเข้ากองทุนผู้สูงอายุมากขึ้น แหล่งงบประมาณเยอะแยะ ในนี้ ท่านนายกรัฐมนตรีเปิดดูนะครับ นอกจากนี้ผมหวังว่าการที่เราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พี่น้องเพื่อนสมาชิกในที่ประชุมแห่งนี้จะให้ความสำคัญในการเพิ่มเบี้ยบำนาญตรงนี้ ไม่ใช่เป็น ขั้นบันไดครับ แต่ปี ๒๕๖๘ ควรจะทำเลย และเราไม่ต้องรอครับ หวังว่ารัฐบาลที่กำลังหาเงิน อยู่ในขณะนี้ใส่ตรงนี้ก่อน ดูแลผู้สูงอายุก่อน อย่างน้อยเส้นแบ่งรายได้ความยากจน ๓,๐๐๐ บาท หายไปปริมาณหนึ่งเลย ช่องว่างลูกหลานที่ต้องมาดูแลผู้สูงอายุลดรายจ่ายลง ไปได้ นี่คือ Jigsaw ตัวสำคัญที่ผมหวังว่ารัฐบาลเศรษฐาจะไม่เพียงแค่อ่านผ่าน ๆ แต่ทำเลย เริ่มง่าย ๆ เลย ๑. ท่านดูร่างพระราชบัญญัติแก้ไขที่คณะอนุกรรมาธิการทำมาแล้ว รวบรวม เสนอมาได้เลยครับ สภาชุดนี้ยินดีพิจารณา แก้กฎหมายแล้วท่านเตรียมหาเงินเลยครับ ปี ๒๕๖๘ ผมคิดว่าถ้าท่านคิดใหญ่ทำเป็นจริงเราจะได้เห็นบำนาญ ๓,๐๐๐ บาท หวังว่าจะ เป็นเช่นนั้นนะครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ทางสภาผู้แทนราษฎรขอต้อนรับ ท่านดอกเตอร์ ฮุเซน นาศิร อัล-ชารีฟ (Dr. Hussein Nasser Al-Sharif รองประธานคณะกรรมาธิการมิตรภาพรัฐสภาซาอุดีอาระเบีย-ไทย และคณะ ซึ่งกำลังเข้ามาฟังการประชุมอยู่ชั้น ๓ ซึ่งท่านเดินทางมาร่วมประชุม คณะกรรมาธิการมิตรภาพรัฐสภาไทยกับซาอุดีอาระเบียตั้งแต่ตอนเช้า แล้วท่านก็มาดู การประชุมของพวกเราในช่วงบ่ายวันนี้ ต่อไปท่านก็จะได้ไปพบกับท่านประธานวุฒิสภาต่อไป ขอต้อนรับคณะกรรมการมิตรภาพรัฐสภาซาอุดีอาระเบีย-ไทย ขอขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณธนา กิจไพบูลย์ชัย ครับ
นายธนา กิจไพบูลย์ชัย ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ธนา กิจไพบูลย์ชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต ๓ พรรคภูมิใจไทย และในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม ขอร่วมอภิปรายสนับสนุน และเห็นด้วยกับรายงานฉบับนี้ครับ เรื่อง การศึกษาเพื่อการพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐาน ประชาชน ผมขอชื่นชมทางคณะอนุกรรมาธิการที่ได้ทำเอกสารเล่มนี้ด้วยความละเอียด รอบคอบ และรับฟังการท้วงติงจากทางคณะกรรมาธิการทุก ๆ ท่านว่าเราไม่ควรจะไปยุ่งกับ การเพิ่มพื้นฐานด้านภาษี ประเทศไทยของเรากำลังเข้าสู่ Super-Aged Society หรือสังคม ผู้สูงอายุขั้นสูงสุด จำนวนผู้สูงอายุมีค่อนข้างจะมาก คือเกือบ ๑๒ ล้านท่าน ถ้าเบี้ยผู้สูงอายุ เป็น ๑,๒๐๐ บาทและถ้วนหน้า จะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้มาก เพราะในสังคมปัจจุบันผู้สูงอายุมีหลายหน้าที่ ผู้สูงอายุ ในต่างจังหวัดเราต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นดูแลลูกหลาน ไม่ว่าจะเป็นทะนุบำรุงศาสนา ไม่ว่าจะ เป็นช่วยเหลือสังคม เงิน ๑,๒๐๐ บาทนี้น่าจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในอีกทางที่ดีมากครับ ในฐานะ สส. เขตเวลาผมลงพื้นที่คำถามที่ถูกถามบ่อยและมากที่สุดเวลาพบปะแม่ ๆ ป้า ๆ น้า ๆ ตามวัด ตามงานต่าง ๆ เขาจะถามคำถามหนึ่งครับท่านประธาน คือเมื่อไรเงินผู้สูงอายุ จะเพิ่มขึ้น ถ้าเขารู้ว่าสภาของเราแห่งนี้ในสมัยประชุมนี้หรือในสมัยที่พวกเราดำรงตำแหน่ง ครบ ๔ ปี หรือไม่ถึง หรืออาจจะมากกว่านั้น ถ้าเราช่วยกัน ช่วยกันอภิปรายและเพิ่มเป็น ๑,๒๐๐ บาท ผมว่าผู้สูงอายุจะมีความสุข และเรามาช่วยกันต้อนรับ Super-Aged Society ที่ทุก ๆ ท่านผู้สูงอายุจะต้องเผชิญด้วยความสุขและการใช้ชีวิตของเขาที่ง่ายขึ้น สุดท้ายนี้ กระผมขอสนับสนุนรายงานฉบับนี้ แต่ผมในฐานะนักการเมืองรุ่นใหม่ ผมฟังหลาย ๆ ท่านพูด สนับสนุนผมก็ดีใจ ผมอยากให้สภาแห่งนี้อย่าเอาแต่สร้างวาทกรรมทางการเมือง หยุดโจมตี ว่ายุคนั้นไม่ดี ยุคโน้นไม่ดี แต่ให้ช่วยกันอธิบายให้ชาวบ้านฟังว่าทำไมมันถึงขึ้นได้แค่นี้ การขึ้น เยอะเกินไปจะกระทบกับฐานเศรษฐกิจหรือการใช้ชีวิตของพ่อแม่พี่น้องอย่างไร การเพิ่ม บำนาญโดยไม่กระทบฐานภาษีจะดีต่อพี่น้องประชาชนอย่างไร และผมมั่นใจว่าถ้าสภาของ เราแห่งนี้ช่วยกันผลักดันเรื่อง Entertainment Complex ผ่านควบคู่กันไป เราจะสามารถ นำภาษีจากในส่วนนั้นมาช่วยพัฒนาประเทศได้อีกเยอะ กระผมจึงเห็นควรและสนับสนุนให้ รายงานฉบับนี้เรื่องการพัฒนาบำนาญพื้นฐานประชาชนให้ทุกท่านได้เห็นผ่านและเห็นชอบ ด้วยกันครับ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณเชตวัน เตือประโคน ครับ ข้ามไป ๑ ท่าน ขอเชิญคุณกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ ก่อนครับ
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง พรรคก้าวไกล วันนี้ขอร่วมอภิปรายเรื่องของระบบบำนาญขั้นพื้นฐาน คำว่า บำนาญ ภาษาอังกฤษเราจะเรียกว่า Pension P E N S I O N ๗ ตัวอักษรวันนี้ อ.เอท ขออนุญาต มาร่วมอภิปรายกับตัว ๗ อักษรนี้ ตัวที่ ๑ คือตัว P P ในที่นี้ อ.เอท ขอใช้คำว่า Property ซึ่งก็แปลว่า ความจน ท่านครับโลกใบนี้มีประชากรที่จนไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ ล้านคน ซึ่ง ๗๐๐ ล้านคนนี้เขามีรายได้ต่อวันไม่ถึง ๒ ดอลลาร์หรือประมาณ ๖๐ บาท นี่คือความจน ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แล้วเราล่ะครับอยู่ตรงไหน ประเทศไทยของเราก็จนเหมือนกันมีอยู่ ประมาณ ๔.๒ ล้านคนหรือประมาณ ๔ ล้านคนที่มีรายได้ต่ำกว่าประมาณ ๓,๐๐๐ บาท แล้วยังมีคนที่นับเป็น ๑๐๐,๐๐๐ คนเลยที่มีรายได้ไม่ถึงวันละ ๗๐ บาท นี่คือความชอกช้ำ ที่ประเทศไทยของเรายังคงต้องรับกรรมอยู่ ก็อยากที่จะให้ประเทศของเราก้าวข้ามความจน ไปได้สักที นี่คือประเด็นที่ ๑ ที่เราอยากจะนำเสนอ ซึ่งคนที่เป็นผู้สูงอายุที่อายุเกิน ๖๐ ปีนี้ มีความจนอยู่ค่อนข้างเป็น ๑๐๐,๐๐๐ คน เพราะฉะนั้นเราควรที่จะปรับตรงนี้ได้แล้ว ตัวที่ ๒ คือตัว E E ในที่นี้ อ.เอท ขอใช้คำว่า Economy ซึ่งแปลว่าเศรษฐกิจ ถ้าเราลงทุน ประมาณสัก ๔๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ในการทำระบบที่เป็นบำนาญอย่างแท้จริง เราจะมีคำว่า Fiscal Multiplier หรือตัวทวีคูณด้านการคลังประมาณ ๑.๕ เท่าหมายความว่าเราจะสร้าง GDP สร้างเม็ดเงินได้อีกประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่งที่มันจะเป็น ตัวเสริมเลย ถามว่ามันมาอย่างไร ๑. เลยครับ มาจากค่าใช้จ่ายที่เขาจ่ายรายวัน รายเดือน ๒. มาจากการลงทุนที่ผู้สูงอายุอาจจะนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนได้ หรืออาจจะเป็นการซื้อ ประกันแบบที่เพื่อน อ.เอท ได้พูดมา มันก็สร้างโอกาสด้านการเสริม GDP ได้ นี่คือผลดีใน ขยับเป็นขั้นบันไดการที่จะเสริมเงินเข้าไปในสิ่งที่ถูกที่ควร ต่อมาเป็นตัว N N ในที่นี้คือ New Life ขอใช้คำว่า New Life แปลว่าชีวิตที่ดี แน่นอนเรามาตรงนี้เราต้องการเห็นอะไรไหมครับ เราต้องการเห็นคำว่า กระจายอำนาจ ลดทุนผูกขาด สวัสดิการมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำให้ ทุกคนมีโอกาสถ้วนหน้า ชีวิตใหม่ ๆ เหล่านี้กับครอบครัวทุกครอบครัว ตั้งแต่ปู่ย่าตายาย หลานเขาจะมีความสุขมากขึ้น New Life ชีวิตที่ใหม่มาแน่นอนกับระบบที่เป็นบำนาญขั้น พื้นฐานที่เราจะใช้ในอนาคตเหลืออีกไม่กี่วันนี้ ต่อมาเป็นตัว S S อ.เอท ขอใช้คำว่า Step Rising คำว่า Step Rising แปลว่าขยับเป็นขั้นบันได เราคงจะอยู่ไม่ไหวกับ ๖๐ ปี ๖๐๐ บาท ๗๐ ปี ๗๐๐ บาท ๘๐ ปี ๘๐๐ บาท ๙๐ ปี ๑,๐๐๐ บาท เหตุการณ์แบบนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นใน ประเทศไทย เราควรจะเปลี่ยนเป็นปี ๒๕๖๘ รับ ๑,๒๐๐ บาท ปี ๒๕๖๙ รับ ๒,๐๐๐ บาท ปี ๒๕๖๙ รับ ๒,๐๐๐ บาท ปี ๒๕๗๐ รับ ๓,๐๐๐ บาท นี่คือ Step Rising ที่มันมีอภินิหาร มากกว่าเยอะ ดีกว่าจะรับ ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ๙๐๐ บาท หรือ ๑,๐๐๐ บาท นี่คือ Step Rising ที่ อ.เอท และทุกคนอยากเห็น เพราะในพื้นที่ อ.เอท เขาถามทุกวัน ต่อมา ตัว I I คือ Income แปลว่ารายได้ ถ้าคนสูงอายุมีการทำ Research มากมายจาก หลายมหาวิทยาลัย เขาบอกว่าถ้าเกิดท่านมีเงินเดือนก่อนเกษียณ เงินเดือนสุดท้ายสัก ๓๐,๐๐๐ บาท จะอยู่แบบชิล ๆ สบาย ๆ ควรจะมี ๑๕,๐๐๐ บาท เห็นไหมครับ คือครึ่งหนึ่ง ของรายได้เดือนสุดท้ายของท่าน จะอยู่แบบมีความสุข แต่ประเทศไทยเราไม่ต้องเอาเคสนี้มัน เกินไป เอาว่าอยู่แบบอด ๆ หน่อย อยู่แบบลำบากหน่อยก็ไม่ควรที่จะต่ำกว่า ๑,๕๐๐ บาท ต่อเดือน เขาศึกษามาอย่างจริงจัง แต่ของเราท่านครับ สวัสดิการตอนนี้ กับผู้สูงอายุยัง ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ยังงง ๆ อยู่เลย เราอยู่ไหนกันครับประเทศของเรา ฝากท่านด้วยว่าเราควรที่จะมาคิดใหม่ทำใหม่กันแบบจริงจังได้แล้วอันนี้คือตัว I และตัวก่อน สุดท้าย คือตัว O O คืออะไร O คือ Open Open คือการเปิดโอกาส เราจะมีการเปิดโอกาส ให้กับการเก็บภาษีใหม่ ๆ เช่น ภาษี VAT จาก ๗ อาจจะเป็น ๑๐ ไหม ภาษีจาก Entertainment Complex ภาษีจากเรื่องของสรรพสามิตไหม เรื่องของน้ำมันไหม เรื่องของ ยาสูบไหม มีอีกหลาย ๆ อย่างที่เราจะเก็บได้ เมื่อสักครู่เพื่อน ๆ อ.เอทพูดมาเยอะมาก ภาษี ที่เป็นเรื่องของการที่ท่านได้มาจากเรื่องของมรดกถูกไหมอันนี้ หรือภาษีการท่องเที่ยวที่เก็บ จาก Visa โอกาสอีกมากมายที่ประเทศไทยยังต้องได้ในอนาคตโอกาสมาแล้ว เราควรจะฉวย โอกาสนี้ไว้ เปิดเลยครับ เปิดโอกาสให้กับการเก็บภาษีใหม่ ๆ เพื่อเอามาให้ใครครับ ให้กับ พี่น้องประชาชนคนสูงอายุ และตัวสุดท้ายก็คือตัว N N ในที่นี้ อ.เอท ขอใช้คำว่า Nation แปลว่าประเทศไทย ทำไมครับ ท่านครับ เราไปดูการเก็บข้อมูลจาก MCGPI คำว่า GPI ในที่นี้ Global Pension Index เป็นการเก็บข้อมูลของการทำเขาเรียกว่าระบบบำนาญพื้นฐาน ทั่วโลก เขาเก็บ ๔๔ ประเทศ เก็บจากการได้ใช้ Index เขาดูแค่ ๓ Criteria หรือ ๓ เขา เรียกว่ารูปแบบเท่านั้นเอง ๑. คือความพอเพียงของบำนาญ ๒. คือความยั่งยืนของบำนาญ และ ๓. คือความน่าเชื่อถือของบำนาญ ทั้ง ๓ อย่างนี้ ประเทศของเราความพอเพียงได้ ๔๑ คะแนน จากเฉลี่ยเขาได้กัน ๖๓ คะแนน ความยั่งยืนเราได้ ๓๖ คะแนน เฉลี่ยเขาคือ ๕๓ คะแนน และความน่าเชื่อถือ เราได้ประมาณ ๕๐ คะแนน เฉลี่ยเขาคือ ๗๒ คะแนน ท่านครับ ทั้งหมดนี้จาก ๔๔ ประเทศ เราอยู่ลำดับที่ ๔๔ คือสุดท้าย ท่านครับ คะแนน PISA หรือการเก็บคะแนนจากการใช้การศึกษานี้เราก็เกือบสุดท้ายแล้ว ตอนนี้เรามาสุดท้ายด้านการให้ Pension หรือบำนาญพื้นฐานอีก คงอยู่แบบนี้ไม่ได้นะครับ เราต้องเปลี่ยนแปลงครับ เพราะฉะนั้นสวัสดิการไม่ใช่การสงเคราะห์ ไม่ใช่จนแล้วแจก สุดท้ายนี้ อ.เอท อยากที่จะเห็น Pension ที่ไม่ใช่ Pain Point ซึ่งสวัสดิการไม่ใช่ความ เจ็บปวดของประเทศไทยอีกต่อไป ขอบพระคุณท่านประธานครับ Respect
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ คุณเชตวัน เตือประโคน ครับ
นายเชตวัน เตือประโคน ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม เชตวัน เตือประโคน สส. พรรคก้าวไกล จังหวัดปทุมธานี พื้นที่เทศบาลเมือง คูคต เทศบาลเมืองลำสามแก้ว และเทศบาลเมืองลาดสวาย ท่านประธานครับ ผมขอร่วม อภิปรายนะครับ เป็นเรื่องที่ดีที่คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคมได้มีการศึกษา ได้มี การทำรายงานพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชนเล่มนี้ออกมา ผมลุกขึ้นเพื่ออภิปราย รายงานก็เพราะว่าเห็นด้วยอย่างเต็มที่ และสนับสนุนอย่างยิ่งให้มีการเสนอต่อรัฐบาลและ หวังว่าจะได้เห็นฝ่ายบริหารนำรายงานนี้ไปดำเนินการต่อไป ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา หลังจากการเลือกตั้งวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ปี ๒๕๖๗ หลังจากที่ผมได้เป็น สส. และมีโอกาส ได้เข้าไปในพื้นที่ก็พบปะเจอะเจอพี่น้องประชาชนเยอะแยะมากมาย เขาเข้ามาถามว่า เงินเดือนผู้สูงอายุ ๓,๐๐๐ บาทจะได้เมื่อไร ไม่ใช่คำถามที่มาจากผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็น คำถามที่มาจากคนทุกเพศ ทุกวัย เพราะอะไรครับ ก็เพราะว่าเงินเดือนผู้สูงอายุ ๓,๐๐๐ บาท เกิดประโยชน์กับทุกคน คนแก่คนเฒ่า ๖๐ ปีขึ้นไปทุกคนรับที่ ๓,๐๐๐ บาท มีรายได้พอยังชีพ วัยรุ่นคนหนุ่มสาวได้บรรเทาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลพ่อแม่ ดูแลญาติผู้ใหญ่เอาเงินพวกนี้ไป ลงทุนทำอย่างอื่น หรือเอาไปเที่ยว เอาไปเพิ่มเติมความรู้เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับ ประเทศรูปแบบอื่นได้อีก ท่านประธานครับ คนแก่คนเฒ่าเขาอาจจะถามว่าเงินเดือนผู้สูงอายุ ๓,๐๐๐ บาทได้ตอนไหน ขณะที่วัยรุ่นคนหนุ่มสาวเขาก็ถามเหมือนกัน เงินเดือนผู้สูงอายุ ๓,๐๐๐ บาทได้กี่โมงคำถามเหล่านี้หมายถึงอะไร มันหมายความว่า เบี้ยยังชีพที่เขาได้อยู่ ตอนนี้มันไม่เพียงพอ แน่นอนครับ ในฐานะ สส. คนหนึ่ง เป็น สส. ที่ไม่มีรายได้ ไม่ได้ร่ำรวย มาจากไหน มีพ่อแก่แม่เฒ่าที่ต้องดูแลเหมือนกัน เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ผมจึงร่วม ผลักดันนโยบายที่ชื่อสวัสดิการก้าวหน้าของพรรคก้าวไกลอย่างเต็มที่ เพราะรู้ว่าผมจะได้ แบ่งเบาภาระตรงนี้ จะได้ดูแลพ่อแม่ตรงนี้ได้ สวัสดิการก้าวหน้าของพรรคก้าวไกลเป็น แบบไหน เงินเดือนเด็ก ๐-๖ ปี ๑,๒๐๐ บาท วัยเรียน เรียนฟรีมีรถรับส่งฟรี วัยทำงานค่าแรง ขั้นต่ำ ๔๕๐ บาท ปรับทันที แล้วเพิ่มขึ้นทุกปีด้วยตามภาวะเศรษฐกิจ แล้วก็วัยผู้สูงอายุ บำนาญประชาชนที่คณะกรรมาธิการศึกษามานี้ล่ะครับ นี่คือเรื่องที่เราอยากเห็น นี่คือสิ่งที่ ผมพยายามผลักดันอย่างเต็มที่ แต่สุดท้ายก็ไม่เกิดขึ้น พรรคก้าวไกลเราไม่ได้ไปเป็น ฝ่ายรัฐบาลบริหารประเทศ อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องดี เป็นนิมิตหมายที่ดีที่คณะกรรมาธิการได้ มีการศึกษาเรื่องนี้ออกมา และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้โดยเฉพาะระบบบำนาญพื้นฐาน ประชาชน ขอบคุณครับ ขอบคุณที่ใช้คำว่า บำนาญพื้นฐานประชาชน เพราะหมายความว่า ท่านตระหนักดี ท่านตระหนักดีว่านี่เป็นเพียงแค่ขั้นต่ำเท่านั้น เป็นเพียงพื้นฐานเท่านั้น สามารถที่จะปรับเพิ่มได้อีก ขอบคุณครับ ที่ท่านใช้ คำว่า ระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน เงินเดือนประชาชน ขอบคุณที่ท่านไม่ใช้คำว่า เบี้ยยังชีพ แบบที่ผ่าน ๆ มา เพราะคำว่าเบี้ยยัง ชีพฟังแล้วน่าเจ็บใจ เป็นเหมือนเพียงเศษเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ให้เจียดให้กับคนแก่เหยียบย่ำ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นะครับ ๖๐ ปี ได้ ๖๐๐ บาท ๗๐ ปี ได้ ๗๐๐ บาท ๘๐ ปี ได้ ๘๐๐ บาท ผมเชื่อว่าไม่มีใครอยากอยู่อายุ ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปีเพื่อที่จะเอาเงิน ๑,๐๐๐ -บาทแน่ ๆ ถูกไหมครับ
นายเชตวัน เตือประโคน ปทุมธานี ต้นฉบับ
- - - ท่านประธานครับ แม้ในรายงานฉบับนี้ท่านอนุกรรมาธิการจะระบุว่าบำนาญผู้สูงอายุที่ศึกษา มาจะเริ่มต้นในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ที่ ๑,๒๐๐ บาท แบบถ้วนหน้าสำหรับผู้สูงอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไปทุกคน อาจจะยังไม่ถึง ๓,๐๐๐ บาทอย่างที่นโยบายพรรคก้าวไกลเรานำเสนอ เรื่องนี้ ผมไม่ได้ติดใจมากครับ ก็ถือว่าเป็นการค่อย ๆ ปรับ ค่อย ๆ ขยับกันไป หลังจากสิ่งที่เรียกว่า เบี้ยนั้นไม่เคยถูกปรับเลยมาหลายปี ขอบคุณคณะกรรมาธิการครับ ขอบคุณคณะอนุ กรรมาธิการทุก ๆ ท่านที่ช่วยกันดูแลผู้สูงอายุของเรา สุดท้าย ผมเห็นด้วยกับที่ท่านอนุ กรรมาธิการท่านหนึ่งพูดว่าประเทศไทยไม่ได้ยากจน เห็นด้วยครับ ประเทศไทยไม่ได้ยากจน ประเทศไทยเราไม่ได้ไม่มีเงิน เรามีเงินเพียงพอ แต่อยู่ที่เจตจำนงของผู้บริหารของรัฐบาลว่า เงินที่มาจากภาษีของประชาชนนั้นจะถูกใช้ไปกับอะไร การใช้ไปกับ Megaproject ที่เรียกว่า สวัสดิการประชาชน สำหรับผมแล้วเป็นสิ่งที่น่าลงทุนมากกว่า Megaproject ไหน ๆ ครับ สุดท้ายฝากกรรมาธิการช่วยไปศึกษาระบบสวัสดิการอีกเรื่องหนึ่งด้วย นั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่า อยู่ UBI หรือ Universal Basic Income เงินเดือนพื้นฐานของประชาชน ฝากกรรมาธิการ ทุก ๆ ท่านครับ และผมขอสนับสนุนรายงานชุดนี้ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณเจษฎา ดนตรีเสนาะ ครับ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เจษฎา ดนตรีเสนาะ สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต ๒ พรรคก้าวไกลคนปทุม ลุ่มน้ำเจ้าพระยาครับ ขออนุญาตขอสไลด์ด้วยครับ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
อันนี้ผมขออภิปรายสนับสนุน รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานของประชาชนครับ ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตขอบพระคุณท่านประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการ แล้วก็คณะอนุกรรมาธิการทุกท่าน รวมทั้งผู้มีส่วนร่วมในรายงานเล่มนี้ เป็นรายงานที่ดี ครบถ้วนแล้วก็กระชับสั้นในขนาด ๑๐๐ หน้าเศษ ๆ อ่านไม่นานก็จบได้ ที่ผมร่วมอภิปราย วันนี้เพราะว่าผมเห็นด้วยกับหลักการและแนวคิดของคณะอนุกรรมาธิการที่ได้ทำรายงาน เล่มนี้ขึ้นมา ผู้ชี้แจงหลายท่าน รวมทั้งเพื่อนสมาชิกหลายท่านอภิปรายสนับสนุนไปในทาง เดียวกัน ผมก็ได้ฟังแล้วผมก็สนับสนุนด้วยเช่นกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกคัดค้าน ก็คือเรื่องเงิน ๑,๒๐๐ บาท ผมอยากกราบเรียนอย่างนี้ว่าเราอยู่ในบำนาญ หรือว่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เมื่อปี ๒๕๓๕ ครั้งแรกด้วยเงิน ๒๐๐ บาท แล้วเราอยู่ในหลักร้อยมา ๓๒ ปีแล้ว มันนาน เกินไปครับ ปี ๒๕๓๕ ทองบาทละ ๔,๓๐๐ บาท ปัจจุบันทองบาทละ ๓๔,๖๐๐ บาท มันต่างกันมหาศาล แต่ทำไมบำนาญหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนมันช่างน้อยเหลือเกิน ผมจะไม่อภิปรายในรายละเอียดมาก เพราะว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านได้อภิปรายไปแล้ว อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไป ก็คือผมเห็นด้วยว่าประเทศไทยไม่ได้ยากจน แต่เราไม่ได้ จัดสรรงบประมาณหรือทรัพยากรที่เรามีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด การจัดสรร งบประมาณนั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อความเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อความเท่าเทียม ทั่วถึงและถ้วนหน้า ภาพสไลด์ที่ผมนำนี้ผมขับมอเตอร์ไซค์ดูเรื่องของการเผาซังข้าวในนาใน เขตจังหวัดปทุมธานี ผมก็เจอคุณป้าท่านนี้กำลังปั่นจักรยาน ในมือถือเบ็ด แล้วก็มีกระป๋องสี อยู่ด้านข้าง ผมก็เลยแวะพูดคุยกับคุณป้า คุณป้าบอกว่าอายุ ๗๐ ปี กำลังออกไปตกปลากับ เก็บผักเก็บหญ้าที่สามารถหากินได้ เพราะอะไรครับ เพราะเขาบอกว่าเบี้ยผู้สูงอายุ ๗๐๐ บาทมันไม่เพียงพอ วันนี้ข้าวเสาไห้อย่างมาตรฐานถังละ ๔๐๐-๔๕๐ บาท ขึ้นมาเกือบ ๑๐๐ บาทจากเมื่อไม่กี่เดือนที่แล้วครับท่านประธาน ถามว่าราคาข้าวขึ้นดีไหม ดีครับ ถ้าเกษตรกรเป็นคนได้รับผลของการขึ้นนั้น แต่เงินรายได้ อื่น ๆ มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ผมถามว่าแล้วข้าวอื่น ๆ ล่ะ ก็ได้ญาติพี่น้องคอยช่วยเหลือจุน เจือเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่คือตัวอย่างหนึ่ง แล้วผมคิดว่ายังมีอีกมากมายในประเทศไทยที่ต้อง ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับคุณป้า หรือต้องมีชีวิตเช่นเดียวกับคุณป้า ทั้ง ๆ ที่ท่านเหล่านี้ ประชาชนเหล่านี้ ได้ทำงานหนักมาตลอดชีวิตหลายสิบปี จ่ายภาษีให้ประเทศไทย แต่นี่คือ ผลลัพธ์ของการเกษียณอายุของประชาชนคนไทยหรือครับ ผมอ่านรายงานเล่มสีชมพูนี้ ผมก็เลยขออนุญาตสรุปมาเป็นกราฟสามเหลี่ยมแบบนี้ ผมขออนุญาตนำไปสิ่งที่ได้มากับสิ่งที่ ต้องทำก่อนครับ สิ่งที่ต้องทำอย่างแรก ก็คือการจัดสรรงบประมาณ การปฏิรูประบบภาษี การแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ เมื่อเราทำสิ่งเหล่านี้ได้แล้วก็จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน เรื้อรัง ลดภาวะพึ่งพิง เพิ่ม GDP ลดการส่งต่อความยากจนจากรุ่นสู่รุ่น กระตุ้นระบบ เศรษฐกิจ หากเราทำ ๒ อย่างนี้ได้แล้ว จะส่งผลถึงกราฟด้านบนครับท่านประธาน ก็คือสร้าง ความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ลดความยากจนที่จะเกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมือง สร้างสังคมที่เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข แต่สิ่งเหล่านี้กราฟทั้ง ๓ ชั้นด้านบนจะไม่เกิดขึ้นเลย หากไม่มี ด้านล่างสุด ด้านเล็ก ๆ แต่เป็นส่วนที่สำคัญมาก คือเจตจำนงเพื่อประชาชนเราต้องมีเจตจำนง ที่จะทำเพื่อประชาชน แล้วก็การตระหนักรู้ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุก ๆ ท่านนี้ล่ะครับ วันนี้เท่าที่ผมได้ฟังอภิปรายมา ผมเห็นว่าสภาแห่งนี้มีจุดร่วมเดียวกันในจำนวนมากแล้ว เพียงแต่ว่าเราจะช่วยกันผลักดันสวัสดิการถ้วนหน้าหรือสิทธิระบบบำนาญขั้นพื้นฐานของ ประชาชนได้อย่างไร สิทธิบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้านี้ต้องอยากชี้แจงกับประชาชนผู้ฟังอยู่ทาง บ้านอย่างนี้ว่ามันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุก ๆ ท่าน ทุก ๆ ท่านจะต้องช่วยกันเรียกร้องสิทธิ และรักษาสิทธินี้ไว้ มันไม่ใช่การสงเคราะห์ มันเป็นสิทธิที่ทุกคนควรจะได้รับหลังจากทำงาน หนักมาตลอดหลายสิบปี
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้มุมมองและทัศนคติของเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากเรา พิจารณาอยู่บนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย การตระหนักรู้ของผู้แทนราษฎรทุกท่าน จะนำไปสู่การสร้างระบบบำนาญขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนจำนวน ๑๒ ล้านคน และ ๑๒ ล้านคนนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามสังคมผู้สูงอายุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สุดท้ายนี้ ผมเห็นด้วยกับผลการศึกษา แล้วก็ขอให้คณะรัฐมนตรีนำไปพิจารณาปรับใช้เพื่อดำเนินการ โดยเร็วที่สุด เพื่อสร้างสังคมแห่งการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขกับประชาชนคนไทยทุกคน สุดท้ายนี้ การทำงานเพื่อทดแทนภาษีที่เราได้รับคือการทำงานเพื่อประชาชนครับ ขอบพระคุณครับ ท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณพิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ ครับ
นางสาวพิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ พิษณุโลก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางสาวพิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เขต ๔ พรรคเพื่อไทยค่ะ ดิฉันมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่องการพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชนของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคมดังนี้
นางสาวพิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ พิษณุโลก ต้นฉบับ
การสร้างระบบบำนาญให้ ประชาชน คือการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติค่ะ เราทุกคนควรมีสิทธิ กินอิ่ม นอนหลับ ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างผาสุกและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่เว้นแม้กระทั่งในวันที่แก่ตัวลง และในวัยชราเท่านั้น ก็ไม่ควรที่จะถูกคาดหวังให้ตรากตรำทำงานเพื่อยังชีพ หรือกลายเป็น ภาระเลี้ยงดูของลูกหลาน ฉะนั้นหลักประกันรายได้ยามเกษียณอย่างบำนาญ จึงถือได้ว่าเป็น สิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นสวัสดิการของประชาชนที่ควรจะมีสิทธิที่จะได้รับอย่างทั่วถึงเสมอภาค และเป็นธรรม เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอยู่ได้ไม่เป็นภาระของใคร ระบบบำนาญของไทย ทุกวันนี้กลับยังไม่สามารถที่จะเป็นหลักประกันที่มั่นคงและเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ของประเทศ กลไกบำนาญที่เป็นระบบพื้นฐานและเป็นระบบพึ่งพิงของผู้สูงอายุจำนวนมาก แต่เบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุยังถูกจ่ายในอัตราที่น้อยจนไม่สามารถที่จะเพียงพอกับเป็นหลักประกันคุณภาพชีวิต ขั้นต่ำได้ ไม่สามารถที่จะกระจายทรัพยากรไปยังผู้สูงอายุได้อย่างครอบคลุม อีกทั้ง ยังไม่มั่นคงในระยะยาวอีกด้วยค่ะ ขออนุญาตเปิดสไลด์นะคะ ท่ามกลางสถานการณ์ ของประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย จากการสำรวจข้อมูลโดยกระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ผู้สูงอายุปัจจุบัน ปี ๒๕๖๕ ๑๒,๙๖๘,๓๖๒ ราย และใน ปี ๒๕๖๖ มีถึง ๑๓,๐๖๔,๙๒๙ ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง ๓๖๖,๕๖๗ ราย ซึ่งตัวเลขผู้สูงอายุ ๑๓ ล้านท่านนี้คิดเป็นร้อยละ ๒๐ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ทำให้เบี้ยผู้สูงอายุกำลังเป็น ประเด็นนโยบายที่ทวีความสำคัญที่ต้องเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นในทันที ท่านประธานคะ ถ้าถามว่าเบี้ยผู้สูงอายุเพียง ๖๐๐ บาท ถึง ๑,๐๐๐ บาทต่อเดือน จะช่วยเหลือผู้สูงอายุ ให้มีชีวิตอยู่รอดได้ในแต่ละวันหรือแต่ละเดือนได้อย่างไร แค่การใช้ชีวิตในต่างจังหวัด บ้านดิฉัน เงินจำนวนนี้ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตค่ะ ๓ วันก็ยังไม่ได้ นับประสาอะไรกับ ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยถูกละเลย ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง เพราะว่าลูกหลานมีความจำเป็นที่จะต้องไปหารายได้ในเมืองใหญ่ ทำให้หลายคนต้องพึ่งพิง เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอยู่ทุกเดือน ประกอบกับในสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยปัจจุบันต้อง เผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่มาก ขึ้นในทุก ๆ วัน ซึ่งสวนทางกับรายได้ที่ค่อนข้างน้อยและต่ำลง ซ้ำยังต้องประสบกับอายุ ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน เรี่ยวแรงก็ถดถอย ปล่อยให้โรครุมเร้า เหตุนี้ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยต้องดิ้นรน ที่จะนำสังขารของท่านออกมาประกอบอาชีพเพื่อประทังชีวิตให้รอดพ้นในแต่ละวัน เราจะเห็น ปรากฏในข่าวว่าคุณยายสู้ชีวิตอายุ ๘๐ ปี ที่จังหวัดพิจิตรเข็นรถออกมาเพื่อขายของ มันเป็น ภาพที่สะเทือนใจยิ่ง เพื่อนำรายได้อันน้อยนิดสามารถดำรงชีวิตและมีลมหายใจต่อไปได้ใน ทุก ๆ วัน ดังนั้นดิฉันจึงขอชื่นชมและสนับสนุนต่อข้อเสนอแนะแนวทางของคณะกรรมาธิการ เพื่อการแก้ไข พัฒนาระบบบำนาญขั้นพื้นฐานของประชาชนในลักษณะการจ่ายแบบถ้วน หน้าให้แก่ผู้สูงอายุที่มีสิทธิเท่ากันทุกเดือน ไม่ต้องเป็นแบบขั้นบันได นับเป็นขวัญและกำลังใจ กับผู้สูงอายุ และลดความห่วงใยจากลูกหลานที่ผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลจากรัฐบาลอย่าง เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชนควบคู่ไปกับกองทุนการออม ให้ประชาชนในวัยทำงานเริ่มเก็บออมกันมากขึ้น เพื่อที่จะได้มีเงินเลี้ยงดูตัวเองในช่วง ชราภาพ นำไปพัฒนาระบบบำนาญอย่างมีคุณภาพ อย่างไรก็ตามควรจะได้รับการพิจารณา ศึกษาแหล่งที่มาของงบประมาณในอนาคตที่จะนำมาดูแลพี่น้องประชาชนให้เหมาะสมและมี ความยั่งยืนมากกว่านี้ รวมถึงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนวางรากฐานที่มั่นคงต่อ ระบบบำนาญของประเทศไทยต่อไป ท่านประธานคะ ดิฉันเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะหาช่องทาง รายได้เพื่อนำมาเติมเต็มให้ความคุ้มครองคุณภาพชีวิตของประชาชนยามเกษียณให้เหมาะสม มากยิ่งขึ้น สุดท้ายนี้ดิฉันต้องขอบคุณท่านผู้สูงอายุทุกท่านที่ท่านได้สร้างบ้านแปลงเมือง มาจนถึงปัจจุบัน พวกเราในฐานะรุ่นลูก รุ่นหลาน ดิฉันในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะใช้ความพยายามในทุก ๆ วิถีทางให้สวัสดิการของผู้สูงอายุมีความมั่นคงเพียงพอในการ ดำรงชีวิตอย่างมั่นคงต่อไป ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
สภาผู้แทนราษฎร ขอต้อนรับคณะสมาชิกมูลนิธิหอการค้าอเมริกัน ซึ่งประกอบด้วย นักธุรกิจจากประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และนักธุรกิจบริษัทระหว่างประเทศ จำนวน ๑๐๐ ท่าน ซึ่งกำลังฟัง การประชุมบนสภาชั้น ๓ ของเรานะครับ ต่อไปขอเชิญคุณเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร ธนบุรี คลองสาน บางปะกอก พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมขอเริ่มการอภิปรายเกี่ยวกับ บำนาญนี้ด้วยคำที่ ออสการ์ ฟิงกัลป์ โอฟลาเฮอร์ที วิลส์ ไวลด์ (Oscar Fingal O’Flahertie Wills Wilde) นักกวีชาวไอร์แลนด์ได้เคยกล่าวไว้นะว่า เมื่อตอนเด็กเขาคิดว่าเงินเป็นสิ่ง สำคัญที่สุด แต่เมื่อเขาโตแล้วเขาก็ได้ทราบว่า มันเป็นจริงเช่นนั้นจริง ๆ เงินมันเป็นสิ่งที่หลาย คนมีความหมายที่แตกต่างกันครับท่านประธาน จากประสบการณ์ที่ผมเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรมานี้ ผมได้เจอคนในสภานี้มากมายที่ร้อยพ่อพันแม่ เจอคนมาร้องเรียน ฐานะแตกต่างกัน มองเงินแตกต่างกัน บางคนมองว่าการสะสมเงินคือเป้าหมายของชีวิต ยิ่งมีมากก็ยิ่งประสบความสำเร็จมาก บางคนครับ อย่างผมเองสารภาพครับท่านประธาน เงินไม่ค่อยมีหรอกครับ เพราะว่าใช้หมด ไม่เห็นค่าของเงินมันเท่าไร ก็ใช้ไปคิดว่าชีวิตมันก็คง ไม่ได้เก็บหรือสำคัญอะไรกับผมมากมาย ไม่ได้คิดจะหาเพิ่มมาก เงินสำหรับบางคนมันเป็น เส้นที่เขาต้องการจริง ๆ ๑ บาทของเขา ๑๐ บาทเขากับ ๑๐ บาทของคนที่รวยมันไม่เท่ากัน เขาแค่ต้องการเงินมาใช้ในการซื้อปัจจัย ๔ ผมเป็นคนที่โชคดีมากที่คุณแม่ของผม ท่านเป็น พยาบาลทหาร สังกัดกองทัพบก ตอนนี้เกษียณอายุมีบำนาญ ทำให้ผมเองที่เป็นผู้ได้รับ ผลประโยชน์ทางอ้อมจากการที่ได้ทำตามความฝันของตัวเองในการผลิตเบียร์ หรือเป็น Guild จนมาถึงทำงานการเมืองเพื่อประชาชนทุกคน ก็ได้ประโยชน์เนื่องจากว่าผมไม่ได้ มีภาระเหมือนหลาย ๆ คนในประเทศไทยที่ส่วนใหญ่กำลังเผชิญอยู่ในรุ่นเดียวกับผม เพื่อนรุ่นเดียวกับผมหลายคนอายุ ๓๐ ปี อายุ ๓๕ ปียังตั้งตัวไม่ได้เลยครับ เพราะว่าเป็นคน เดียวที่ต้องหาเลี้ยงครอบครัวถึง ๒ ชั้นด้วยกัน คือทั้งชั้นบุพการีของตนเองและชั้นบุตรของ ตัวเอง ซึ่งทำงานตัวเป็นเกลียวอย่างไรก็ไม่ได้ ดังนั้นผมเลยคิดว่า การมีสวัสดิการต่าง ๆ ในประเทศไทยจะแก้ปัญหานี้ได้ และปลดล็อกศักยภาพคนในวัยแรงงานเช่นผมได้ มีวันหนึ่ง ครับท่านประธาน ผมลงพื้นที่ไปในเขตคลองสาน ซอยเชียงใหม่ ผมเจอคุณลุงคุณป้าคนหนึ่ง จะเรียกว่าลุงป้าก็ไม่เชิง เรียกว่าตายายแล้วกัน ๒ ท่านนี้อาศัยอยู่เพิงริมแม่น้ำเจ้าพระยาข้าง โรงแรมชื่อดังแห่งหนึ่ง ซึ่งคืนละ ๓๐,๐๐๐ กว่าบาท แต่เชื่อไหมว่า ๒ ท่านนี้น่าเวทนา อย่างยิ่ง ผมจะเรียกได้ว่าทั้ง ๒ ท่านเป็นผู้พิการ คุณตายังดีครับ มีบัตรผู้สูงอายุได้ ๖๐๐ บาท แล้วก็บัตรผู้พิการอีก คุณยายสภาพไม่ต่างกันเลย แต่เสียหายหนักกว่า คือเป็นคนไทยแท้ ๆ คนจังหวัดสุพรรณบุรีนี่ละครับ แต่ไม่มีบัตรประชาชน ผมก็ได้บอกทางเขต บอกทางกรมการปกครอง ไปหลายครั้งว่าคนนี้เขาควรจะได้บัตรประชาชน เพราะเขาเป็นคนไทยจริง ๆ เพื่อจะได้รับ สวัสดิการ แต่ถามว่าสวัสดิการนี้ถ้าได้รวมกันมา ๒ คน เดือนละ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ บาทมันจะ ไปพออะไรครับท่านประธาน ดังนั้นผมต้องฝากไปยังเพื่อนกรรมาธิการว่า จริง ๆ แล้วตัวเลข มันไม่ได้สำคัญเลยว่าจะ ๑,๒๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท หรือใครจะเกทับ ๓๐,๐๐๐ บาทอะไร ก็ว่ากันไป ผมว่าเอาตั้งสติกันครับว่า เราต้องดูเลขที่ให้เป็นบำนาญจากขั้นพื้นฐานของ ค่าครองชีพที่ควรจะอยู่ได้ ซื้ออาหารอยู่รอดได้ไหมตามที่ต่าง ๆ แล้วบำนาญที่ได้มากกว่านั้น ก็อาจจะเป็นบำนาญที่เป็นลักษณะ Top Up จากประกันสังคม หรืออะไรต่าง ๆ ก็ว่ากันไป แล้วแต่บุคคล แต่พื้นฐานต้องเลยเส้นเรื่องค่าครองชีพครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ที่ผมอยากพูดถึงครับ อาจจะดูล้ำไปบ้าง แต่อยากจะอภิปราย ให้ท่านประธานได้ฟังว่าการที่เราให้บำนาญหรืออะไรพวกนี้ ถามว่าบำนาญมันคืออะไรครับ บำนาญมันคือเงินที่ให้กับคนที่เขาไม่สามารถทำงานได้ใช่หรือไม่ เขาแก่เกินไปที่จะทำงาน เลี้ยงตัวเองได้ เราเลยให้บำนาญข้าราชการที่เกษียณเพราะอะไรครับ เขาไม่ได้ทำงานครับ บำนาญคือเงินที่ให้กับคนที่ไม่ได้ทำงานใช่ไหมครับ ผมจะเรียนอย่างนี้ครับท่านประธาน แนวคิดเรื่องบำนาญผู้สูงอายุอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไปในปัจจุบันแล้ว ถ้าเราดูจากการเข้า มาของเทคโนโลยี AI Automation ที่ผมได้ยื่นญัตติแล้วสภาแห่งนี้ได้กรุณาตั้งเป็น คณะกรรมาธิการและศึกษากันอยู่นี้จะพบได้เลยว่าอีกภายใน ๑๐ ปีเท่านั้น คนที่จะหลุดออก จากการทำงานมีจำนวน ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้ คนเหล่านี้ไปไหนครับ คนเหล่านี้ต้อง ได้บำนาญไหมครับ คนเหล่านี้จะเป็นคนที่ผมจะเรียกเสมอคือเป็นบุคคลเสมือนต้องได้รับ บำนาญ เพราะว่าเขาไม่สามารถประกอบอาชีพได้แล้ว อย่าโทษเขาว่าไม่ Reskill เพราะว่า Skill ต่าง ๆ อย่างไรไม่เพียงพอกับโลกอนาคต คนเราต้องตกงานโดยสภาพอยู่แล้ว แต่คำถาม สำคัญก็คือถ้ามี AI หุ่นยนต์ทำแล้ว ทำไมเราต้องทำงานครับท่านประธาน แนวคิดอย่าง UBI เงินเดือนถ้วนหน้าจึงสำคัญมาก ๆ โลกใบนี้จะไม่ศิวิไลซ์ได้เลยครับ โลกนี้สิ่งที่ไม่จำเป็นที่สุด คืออะไรครับ โลกนี้สิ่งที่ไม่จำเป็น ทำไมเราต้องสร้างมหาเศรษฐีหมื่นล้านแสนล้านให้เยอะ ๆ ครับ เราอยู่ในโลกปัจจุบันที่เศรษฐกิจ ผลิตผลของมนุษยชาติสูงสุดในประวัติศาสตร์ แต่กลับกัน เรากลับมีคนจนเยอะสุดในประวัติศาสตร์มันเป็นไปได้อย่างไร พวกเรานักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถ้าเรายังไม่เห็นถึงสิ่งนี้ กว่าเทคโนโลยีที่เราจะเห็นและส่ง ผลกระทบถึงเราจะมามันก็สายไปแล้ว ดังนั้นผมฝากเพื่อนสมาชิกและท่านประธานนะครับ เพื่อนของผมเองที่น่ารัก ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ เรื่อง AI จะมาแย่งอาชีพเรา เราควรคิด หาวิธีทางออกนี้ให้ได้ครับ อาจจะเก็บภาษีจากการใช้ AI ใช้หุ่นยนต์มาเป็นกองทุนรองรับ ตรงนี้ก็ได้ เพราะวันหนึ่งบำนาญจะไม่ใช่แค่บำนาญของผู้สูงอายุ แต่มันต้องเป็นบำนาญของ คนทุกคน ไม่หลีกเลี่ยงอายุ แต่เป็นสภาพการจ้างงานและทำงานครับ ท่านประธาน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญคุณปารมี ไวจงเจริญ ครับ
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน ปารมี ไวจงเจริญ สมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันขอลุกขึ้นอภิปรายสนับสนุนรายงานผลการพิจารณาศึกษาบำนาญ ของคณะอนุกรรมาธิการที่มีคุณวรรณวิภา ไม้สน เป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการ ซึ่งได้ ทำการศึกษาอย่างครบถ้วนและรอบด้าน ดิฉันขออภิปรายพูดสนับสนุนเรื่องนี้ เพราะว่าเป็น เรื่องใกล้ตัวดิฉัน เนื่องจากวัยของดิฉันอีกไม่กี่ปีก็จะได้รับบำนาญแล้ว ซึ่งถ้าระบบบำนาญ ประเทศไทยปัจจุบันยังเป็นแบบเดิมที่เริ่มต้นที่ ๖๐๐ บาท ดิฉันก็คิดว่าดิฉันคงใช้ไม่พอ ดิฉัน เป็นครูพิเศษ ไม่ได้อยู่ในระบบราชการ ไม่ได้มีสวัสดิการใด ๆ เพราะฉะนั้นดิฉันจึงเห็นด้วย เป็นอย่างยิ่งกับผลการศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการคณะนี้ที่เราจะต้องปรับระบบบำนาญ ปัจจุบันให้เป็นระบบสวัสดิการถ้วนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอเน้นย้ำขีดเส้นใต้คำว่า ถ้วนหน้า เพราะว่ามันคือพื้นฐานเดียวกับเรื่องความเสมอภาค และระบบสวัสดิการไม่ใช่สิ่งที่ ประชาชนได้รับการหยิบยื่นจากรัฐ แต่เป็นสิ่งที่รัฐต้องให้ประชาชน ไม่ใช่ระบบสงเคราะห์ แบบที่มีมาก่อน จากที่ดิฉันได้อ่านรายงานในเล่มนี้ของคณะอนุกรรมาธิการ ดิฉันเห็น ข้อสังเกตบางอย่างที่จะขอสรุป และนำมาอภิปรายในที่นี้สักเล็กน้อย ขอสไลด์ด้วยค่ะ
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตที่ ๑ จากเล่มรายงาน ปัจจุบันนี้ดิฉันเห็นว่ารัฐบาลของเรายังมีระบบการจัดการดูแลเงินผู้สูงวัยเป็นแบบเชิงรับ จากรายงานการพิจารณาของคณะอนุกรรมาธิการ เราควรปรับการใช้เงินดูแลผู้สูงวัย เป็นกระบวนการเชิงรุก เนื่องจากประเทศไทยเรากำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบ เราจะต้องปรับมาเป็นกระบวนการเชิงรุก ต้องให้ผู้สูงวัยมีบำนาญที่เอาไปใช้ชีวิตอย่าง เพียงพอ เพื่อเน้นความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ เพื่อผู้สูงวัยจะได้มีสุขภาวะที่ดีทั้งด้าน ร่างกายและจิตใจ
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตที่ ๒ ดิฉันเห็นว่ากระบวนการจ่ายเงินต้องเทียบเคียงกับอัตราเงินเฟ้อ แล้วก็ค่าเงินของประเทศ เพราะว่าอัตราเงินเฟ้อของเราเพิ่มขึ้นทุกปี ตามระบบแบบเดิมที่อายุ ๙๐ ปีขึ้นไปจะได้ ๑,๐๐๐ บาทนี้มันไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตที่ ๓ เบี้ยผู้สูงวัยปัจจุบันที่รัฐให้เดือนละ ๖๐๐ บาท พบว่าเฉลี่ยแล้ว จะมีเงินรับประทานอาหารวันละ ๒๐ บาท เอาไปเทียบกับกระทรวงศึกษาธิการที่ดิฉันทำงาน ในประเด็นด้านการศึกษา นักเรียนยังได้อาหารกลางวัน ๒๒-๒๖ บาท แต่เบี้ยผู้สูงวัย ตกวันละ ๒๐ บาท ซึ่งน้อยมาก ไม่มีทางเพียงพอ ฉะนั้นแสดงว่าผู้สูงวัยจะต้องมีอัตรา การรับประทานอาหารที่ลดลงเมื่อเทียบกับวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว แต่วัยของผู้สูงวัย ร่างกายจริง ๆ ก็จะต้องการอาหารที่มีคุณภาพและได้รับการใส่ใจมากขึ้น อันนี้มันเป็นไป ไม่ได้เลย
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตที่ ๔ การเพิ่มรายได้ให้ผู้สูงวัยแบบถ้วนหน้าตามข้อเสนอของ คณะอนุกรรมาธิการ จะทำให้ผู้สูงวัยที่อยู่ตามต่างจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดที่ห่างไกลได้รับ การดูแลจากรัฐ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการส่งเสริมให้ลูกหลานไม่ทิ้งถิ่นฐานไปทำงาน ในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ เพราะว่าจะทำให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ในทางอ้อม ต่อไปด้วย และยังสร้างรายได้ให้กับชุมชน เพราะว่าถ้าผู้สูงวัยในแต่ละชุมชนได้รับการดูแล ที่ดีขึ้น ได้รับสวัสดิการถ้วนหน้า รายได้ก็จะหมุนกระจายไปสู่ชุมชนด้วย การเพิ่มรายได้อันนี้ ก็จะหมุนเงินเข้าสู่ชุมชนเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตที่ ๕ ถ้าเราใช้ระบบบำนาญแบบถ้วนหน้าจะเป็นการลดภาระ การสร้างและรับย้ายของบ้านพักคนชรา ดิฉันขอเสนอตรงนี้เพิ่มเติมสักนิดหนึ่งในเรื่อง เกี่ยวกับการลดภาระการสร้างและรับย้ายของบ้านพักคนชรา โดยปัจจุบันบ้านพักคนชรา ของรัฐที่ให้ผู้สูงวัยได้อยู่ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย มีเพียง ๕ แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้สูงอายุที่ไร้ที่พึ่งพิง ไม่มีเงินดูแล เพราะฉะนั้นการปรับเงินบำนาญ ให้กับผู้สูงวัยจะช่วยทำให้รัฐลดภาระในการจัดหาสถานที่พักให้กับคนชราที่ช่วยเหลือตัวเอง ไม่ได้
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตที่ ๖ เรื่องการเพิ่มอัตราภาษี เรื่องนี้ดิฉันเชื่อว่าเราคุยกันได้ พอพูด เรื่องการเพิ่มภาษีดิฉันเชื่อว่านักลงทุนและประชาชนทั่วไปอาจจะเกรงกลัว ไม่ว่าจะเป็นเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีต่าง ๆ อันนี้เรามาออกแบบกันได้ว่าจะเพิ่มเป็นจำนวนเท่าไร การเพิ่มภาษีมันมีข้อดี เพราะว่าทำให้เรานำส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมาชดเชยและดูแลผู้สูงวัย อันนี้ เป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะอย่าลืมว่าผู้สูงวัยทุกคนก็เป็นพลเมืองของประเทศและจ่ายภาษีมา ตลอดชีวิต เขาเลี้ยงรัฐมาก่อนรัฐก็ควรเลี้ยงเขาตอบแทนนะคะ
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตที่ ๗ การแปลงทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของภาครัฐ เช่น ที่ดินรกร้างมาทำเป็นสินทรัพย์ อันนี้ดิฉันเห็นด้วย เพราะว่าการแปลงทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้นี้จะเป็นสินทรัพย์ที่เกิดรายได้เพิ่มขึ้น และนำรายได้นั้นมาเข้าสู่คนชราโดยตรง นี่เป็นข้อสังเกต ๗ ประการ ที่ดิฉันอ่านจากรายงานการศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการคณะนี้ และดิฉันเห็นด้วย และขอให้ทางภาครัฐนำผลรายงานการศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการ คณะนี้นำไปปฏิบัติ เพื่อสวัสดิการที่ดีถ้วนหน้า เพื่อความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ และคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัยต่อไป ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ คุณสิริลภัส กองตระการ ครับ
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพค่ะ ดิฉัน สิริลภัส กองตระการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากบางกะปิ วังทองหลาง กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกลค่ะ เนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศของเราก็ก้าว เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้วนะคะ ในประเทศไทยของเรามีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุในปัจจุบันนี้ก็ตามเท่าที่เราได้ทราบกันดีอยู่แล้ว ๖๐ ปี ๗๐ ปี ๘๐ ปี จ่าย ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๘๐๐ บาท แล้วถ้ามากกว่านั้นก็คือ ๑,๐๐๐ บาทต่อเดือน จากบทสรุปผู้บริหารในรายงานฉบับนี้ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่างานวิจัยที่ได้อธิบายถึง เรื่องค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของประชาชนอยู่ที่ ๑,๕๐๐ บาทต่อเดือน โดยจะเห็นได้ว่าการจ่าย เบี้ยผู้สูงอายุสูงสุดในปัจจุบันนี้ที่อยู่แค่ ๑,๐๐๐ บาท ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของ ประชาชน ดิฉันเคยได้อภิปรายเรื่องราวของคุณป้าคนหนึ่งในสมัยประชุมสภาครั้งที่แล้ว ไปแล้วว่าท่านต้องขึ้นไปกรีดยางประสบอุบัติเหตุ โดนช้างกระทืบได้รับบาดเจ็บ ในวันนี้ค่ะ ดิฉันอยากเล่าเรื่องราวของคุณลุงมะยมให้ได้ฟังกันค่ะ คุณลุงมะยมได้มาออกรายการ รายการหนึ่งที่ดิฉันได้ทำหน้าที่เป็นพิธีกร เมื่อปี ๒๕๖๓ คุณลุงมะยม ณ ขณะนั้นอายุ ๖๗ ปี แกมีมอเตอร์ไซค์คันเก่า ๆ คันหนึ่ง
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
แล้วก็ต้องลุยน้ำเข้าป่า ไปหาลูก จากนี่ดูสภาพนะคะ ทุกครั้งที่เข้าไปหาลูกจาก สิ่งเดียวที่จะสามารถเป็นเครื่อง ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของแกได้คือการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอเจ้าป่าเจ้าเขาให้ปกป้องภยันตราย งูเงี้ยวเขี้ยวขอ หรือว่าการเดินเข้าป่าในนั้น แกจะได้ไปหาลูกจากมาได้ แล้วก็กลับออกมาได้ อย่างปลอดภัย สิ่งเดียวที่แกเหลืออยู่ตรงนี้ก็คือมอเตอร์ไซค์คันเก่า ๆ คันหนึ่งที่เป็นเครื่องมือ ทำมาหากิน คุณลุงบอกว่าถ้าโดนยึดไป สุดท้ายก็คงจะต้องเดินไปขายของ ในช่วงเวลาที่ หลาย ๆ ท่านได้ใช้ชีวิตเกษียณ ได้พักผ่อนหลังจากที่ทำงานมาเหน็ดเหนื่อยมาค่อนชีวิตแล้ว ยังมีผู้สูงอายุอีกหลายคนยังคงต้องทำงานแบบคุณลุงมะยมนี้ เพราะว่าชีวิตเราต้องกินต้องใช้ ในเขตพื้นที่เขตบางกะปิ เขตวังทองหลางของดิฉันเองเมื่อได้ลงพื้นที่ไป ดิฉันก็เจอกับพ่อแก่ แม่เฒ่า คุณพ่อ คุณแม่ คุณป้า คุณลุง คุณตา คุณยาย ที่ลูกหลานออกไปทำงานข้างนอก กันหมด ดิฉันได้ไปพูดคุยเรื่องของนโยบายสวัสดิการถ้วนหน้าของผู้สูงอายุ ท่านประธานเชื่อ ไหมคะว่าประโยคที่ดิฉันได้ยินบ่อยมากที่สุดคือ ดีจังเลยลูก ป้าจะได้ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระของ ลูกหลานลุงจะได้ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระของลูกหลาน ในต่างจังหวัดพ่อแก่แม่เฒ่าหลายคนก็ต้อง อยู่เลี้ยงหลานอยู่ที่บ้าน เพราะว่าลูกก็ต้องออกไปทำงานในที่ไกลใช่ไหมคะ แล้วก็ต้องทิ้ง หลานมาให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง การจ่ายเงิน ๖๐๐-๘๐๐ บาท ที่เป็นเกณฑ์ในปัจจุบันนี้ นี่คือเงิน จำนวนที่เป็นความหวังของครอบครัวเขา เพราะว่ามันจะเป็นค่าข้าวสาร ค่าน้ำมัน ค่าไข่ที่จะ เอามาใช้เลี้ยงชีพในครอบครัวของเขาค่ะ แต่จากข้อมูลข้างต้นที่ดิฉันได้อภิปรายไปแล้วว่า ค่าใช้จ่ายนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นขั้นต่ำมันอยู่ที่หลักพันบาท แต่ทุกวันนี้เราจ่ายอยู่แค่ที่ หลักร้อยบาท ทำให้ผู้สูงอายุหลาย ๆ ท่านยังคงต้องทำงานไม่ได้พักผ่อน จากที่ตัวเองต้อง ทำงานกันมาตลอดชีวิต เพราะว่ายังมีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เงินในทุก ๆ วัน การจ่ายเงิน บำนาญพื้นฐานของประชาชนแบบถ้วนหน้าจะทำให้มีความเสมอภาค เท่าเทียม ไม่ต้องมี เงื่อนไขของอายุมาเป็นตัวกำหนด ผู้สูงอายุทุกท่านได้รับบำนาญก็จะได้นำเงินจำนวนนี้ไปใช้ จ่ายตามที่ท่านต้องการ เงินจำนวนนี้จะไปช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับคนวัยทำงานนะคะ เงินจำนวนนี้จะทำให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสใช้จ่ายในสิ่งที่เขาต้องการ ได้คืนความสบายใจให้กับ หลาย ๆ ท่าน ทำให้ตัวเองไม่ต้องรู้สึกว่าเป็นภาระของลูกหลานเงินจำนวนนี้จะเป็นค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปหาหมอ เป็นค่าขนมให้หลานไปโรงเรียน เป็นค่าข้าวสาร ค่าน้ำมัน เป็นค่ากับข้าวที่จะใช้กินในบ้าน จากข้อสรุปในรายงานดิฉันก็ขอให้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณา รายงานฉบับนี้และนำไปปรับใช้ เรื่องของการปรับฐานการจ่าย ปี ๒๕๖๘ ๑,๒๐๐ บาท เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ๒,๐๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท มีหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ชัดเจน เอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบอกแหล่งที่มาที่ไปของเงินหรือว่าการส่งเสริมการจ้างงานของ ผู้สูงอายุให้อย่างเป็นรูปธรรมค่ะ ในสังคมที่ผู้สูงวัยมีมากยิ่งขึ้น การมีระบบการจ่ายบำนาญ พื้นฐานที่ถ้วนหน้านี้เป็นสิ่งที่รัฐควรจะต้องจัดสรรให้กับประชาชน เพราะว่าภาษีที่พวกเขา เคยได้ทำงานจ่ายให้กับรัฐไปในวันที่พวกเขายังมีกำลังทำอยู่นั้น ควรจะต้องตอบแทนคืนมา ให้กับประชาชน ดิฉันต้องขอขอบคุณคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม แล้วก็คณะอนุ กรรมาธิการทุกท่านด้วยที่ทำรายงานฉบับนี้ออกมาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ ได้รวบรวม ข้อมูล ข้อเท็จจริง ระบุแหล่งที่มาของรายได้ทั้งปัจจุบันและอนาคตตามที่ท่านได้ใส่ไว้ใน ตารางนี้ ดิฉันต้องบอกเลยว่ารายงานนี้กึ่งสำเร็จรูปมาก ๆ เลย ถ้ารัฐบาลชุดนี้นำไปปรับใช้ และทำให้เกิดขึ้นได้จริง มันจะสะท้อนให้เห็นเลยว่าท่านใส่ใจในประชาชนวัยผู้สูงอายุจริง ๆ แหล่งที่มาที่ไปของเงินมีไว้หมดแล้วในนี้ การปฏิบัติการในนี้ก็รวมอยู่ไว้หมดแล้ว ดิฉันจึงคิดว่ารายงานฉบับนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อยากให้ทางคณะรัฐมนตรีนำไปพิจารณา แล้วปรับใช้ให้มันเกิดขึ้นได้จริง เพื่อสร้างสวัสดิการที่ดีให้กับผู้สูงอายุในประเทศของเราค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ท่านสุดท้าย ขอเชิญคุณอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่องการพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชนของ คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาต ขีด Highlight พาดหัวข่าวตัวโต ๆ ครับว่า อนุสรณ์เห็นด้วยกับการพัฒนาระบบบำนาญ พื้นฐานประชาชน ท่านประธานครับ คำว่า เงินเดือน พูดเบา ๆ ก็มีความหวัง คำว่าบำนาญ ได้ยินบ่อย ๆ ก็สามารถสร้างความสุขได้ เพราะบำนาญแปลว่า เงินตอบแทนความชอบ ที่ได้รับราชการหรือได้รับจากการทำงานมาเป็นเวลานาน ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนจนตลอดชีวิต เมื่อออกจากงาน โบร่ำโบราณใช้คำว่า เบี้ยบำนาญ ในเวลาต่อมาก็มีอีกหลายเบี้ยครับ เช่น เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพ เบี้ยคนชรา นโยบายเบี้ยผู้สูงอายุ ต้องกราบเรียนว่าพูดเมื่อไร ก็โดนครับ ในช่วงของการเลือกตั้งนำเสนอนโยบาย บางพรรคบอก ๖๐๐ บาท บางพรรค บอก ๑,๒๐๐ บาท ๑,๕๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท และเป็นที่คาดเดาได้ว่าอีก ๔ ปีข้างหน้า อาจจะได้เห็นตัวเลข ๕,๐๐๐ บาท หรือ ๑๐,๐๐๐ บาท ที่พูดอย่างนี้เพื่อจะสะท้อนว่า สังคมไทยและพรรคการเมืองที่นำมาทำนโยบายนั้นให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ จึงไม่มีใคร คัดค้านหรอกครับ จะ ๖๐๐ บาท จะ ๑,๒๐๐ บาท จะ ๑,๕๐๐ บาท จะ ๓,๐๐๐ บาท อะไรที่จะเป็นประโยชน์ อะไรที่พี่น้องประชาชนจะได้รับ ทุกพรรคการเมืองร่วมด้วยช่วยกัน เห็นชอบผลักดันสนับสนุนครับ แต่ปัญหาก็คือว่าเราจะจ่ายอย่างไร เราจะทำอย่างไรให้การ จ่ายสวัสดิการนั้นเพียงพอ ยั่งยืน และครบถ้วน แล้วเรื่องพวกนี้ไม่ใช่ว่าเราจะมโนหรือนึกเอง คิดเองได้นะครับ มีรายงานศึกษาซึ่งในรายงานนี้ก็พูดไปครบถ้วนหลายประการ แต่ถ้าเราไปดู ดัชนีบำนาญโลก หรือที่เรียกว่า Global Pension Index ประจำปี ๒๕๖๖ เราพบว่าประเทศ เนเธอร์แลนด์กลับมาครองตำแหน่งประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีระบบบำนาญดีที่สุดในโลก ก็ส่งผลให้ ประเทศไอร์แลนด์จากอันดับ ๑ ตกไปเป็นอันดับที่ ๒ แล้วก็ประเทศเดนมาร์กมาเป็นอันดับที่ ๓ ประเทศไทยอยู่ตรงไหนครับ ประเทศไทยอยู่รั้งท้าย แต่ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะสถิติ มีไว้ทำลาย เราอยู่สุดท้ายแล้วเราจะไม่แย่ไปกว่านี้แล้วครับ เราจะดีขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ผมเรียน ปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เราเชื่อเรื่องโครงข่ายทางสังคมที่เรียกว่า Social Safety Net ตกงานอย่าตกใจ สูงวัยไม่ต้องตื่นตระหนก เรามีโครงสร้างทางสังคมร่วมด้วย ช่วยกันในการดูแลประชาชนในสังคม แต่ว่าการที่เราจะจัดสวัสดิการให้เหมาะสมเราก็ต้องไป ดูเกณฑ์ของโลกว่าเขาจัดอย่างไร ทำไมเขาเป็นที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ เวลาไปดูงานพวกนี้จะเรียกว่า รัฐสวัสดิการ จะเรียกว่าโครงสร้างทางสังคมในการช่วยเหลือประชาชนผู้สูงวัยหรืออื่นใด ก็ตามแต่ เขาไปดูแถบ ๆ ประเทศสแกนดิเนเวียครับ ไปดูประเทศสวีเดน ประเทศนอร์เวย์ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศเนเธอร์แลนด์แถว ๆ นี้ เพราะประเทศเหล่านี้ถือว่าเป็นต้นแบบ ส่วนหนึ่งเขาจัดเก็บรายได้ได้สูง ภาษีสูง เวลาคนไปดูงาน ไปซื้อสินค้าที่เป็น Brand Name ระดับ High End Premium พอถอดภาษีปุ๊บถือว่าได้ราคาถูกเลย นั่นหมายความว่าเขาจัดเก็บรายได้ได้สูง จึงนำเงินที่มีมากนั้นมาจัดสวัสดิการอย่างเพียงพอ ทั่วถึง ยั่งยืน ครบถ้วนให้กับประชาชนของเขา เราไปดูว่าดัชนีชี้วัดบำนาญโลก MCGPI นั้น เขาเน้นไป ๓ เรื่อง ๓ หลักอะไรบ้าง
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เขาดูเรื่องความเพียงพอ ซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์ที่มอบให้กับคนจน และคนมีรายได้ระดับต่าง ๆ ตลอดจนการออกแบบต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ เกษียณแล้วจะบริหารจัดการรายได้เชิงระบบอย่างไรให้เหมาะสมและเพียงพอ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เขาไปดูเรื่องความยั่งยืน ไปพิจารณาจากตัวชี้วัดที่มีอิทธิพลต่อ ความยั่งยืนในระยะยาว ไม่ใช่ว่าจ่ายแบบวูบวาบ จาก ๖๐๐ กระโดดไปตัวเลขสูง ๆ แล้วก็ จ่ายได้ไม่นาน แล้วสุดท้ายก็ไม่ยั่งยืน
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ที่เขาไปดูครับ คือเรื่องความครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นระบบบำเหน็จ บำนาญที่มีกฎระเบียบ มีความโปร่งใส มีธรรมาภิบาลตรวจสอบได้ ถามว่าแล้วประเทศไทย จะทำ ทำอย่างไร ผมมีข้อเสนอนะครับ อันดับแรก เราต้องรีดไขมัน ต้องลดรายจ่าย ที่ไม่จำเป็นจากหลาย ๆ หน่วยงานในที่นี้จะไม่บอกว่าไปรีดตรงไหน แต่ลำพังการรีดไขมัน อย่างเดียวไม่พอ ต้องสร้างกล้ามเนื้อ คือสร้างรายได้ที่เป็นรายได้ที่แท้จริง พูดง่าย ๆ ก็คือการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ที่แท้จริงเข้ามา รายได้มาจากไหน เช่นนี่อย่างไรครับ Digital Wallet เพิ่มอำนาจซื้อให้กับประชาชน รายได้จากปัจจัยภายนอกครับ เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว ส่งเสริม Soft Power ส่งเสริมการส่งออก ไปหารายได้ใหม่ เช่น ทำ Entertainment Complex รายได้จากสินค้าหรือบริการที่บั่นทอนสุขภาพ เช่น ภาษีหวาน ภาษีเค็ม หรือไป เก็บธุรกิจกิจการประเภทที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 เก็บภาษีจากรถที่ใช้น้ำมันในอัตรา ที่สูงกว่า ภาษีรถที่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ดังนั้น ๓ หลักที่ต้องทำครับ เพียงพอ ยั่งยืน และครบถ้วน ท่านประธานครับ ไม่มีใครขัดขวาง แต่เราจะต้องดูว่าเราจะจ่ายอย่างเพียงพอนั้นต้องทำ อย่างไร ขอเป็นกำลังใจให้ผู้สูงอายุนะครับ เพราะการรอคอยที่ทรมานที่สุด คือการรอคอย เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และเราเชื่อว่าเมื่อโครงสร้างพื้นฐานของเราพร้อม เราจะพัฒนาเพื่อดูแล ประชาชนผู้สูงอายุและทุกวัยไปพร้อมกัน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ คณะกรรมาธิการมีอะไรจะชี้แจงเพิ่มเติม เชิญครับ
นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ผม ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล จากพี่น้องชาวบางบอน บางขุนเทียน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร หลังจากได้ฟังข้อซักถาม ข้อเสนอแนะของเพื่อนสมาชิกทั้ง ๒๙ ท่าน ฟังดูทุกท่านนะครับ ไม่ต้องแนะนำเรื่องของพรรคการเมือง ไม่ต้องแนะนำว่าท่านเป็น สส. จากเขตไหน ภาคใด จะฟังได้ว่าทุกท่านนั้นล้วนแล้วแต่สนับสนุนร่างรายงานฉบับนี้ นี่คือสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ อย่างยิ่งครับท่านประธาน และเรื่องราวเหล่านี้ผมเชื่อว่าเราในฐานะผู้แทนประชาชน เป็น ตัวแทนที่มาจากพี่น้องประชาชนทั้ง ๕๐๐ ท่าน ก็คงไม่ท้วงติงอะไรมาก จากประเด็นซักถาม ต่าง ๆ เพื่อให้รายงานฉบับนี้ครบถ้วนกระบวนความครับท่านประธาน ก็ขออนุญาตให้ทาง ท่านประธานคณะอนุกรรมาธิการในการตอบเพื่อนสมาชิกบางท่านที่เห็นแย้ง ๑,๒๐๐ บาท บอกว่าให้เพิ่มเป็น ๓,๐๐๐ บาทเลยในทันที ก็จะให้ทางท่าน สส. วรรณวิภา ไม้สน ซึ่งได้ เตรียมข้อมูลเรื่องนี้ เนื่องจากว่าเราก็มีการพิจารณาเรื่องนี้กันอยู่หลายสัปดาห์ว่าการเสนอ ร่างต่อสภาผู้แทนราษฎรจะมีข้อซักถามในประเด็นนี้หรือไม่
นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
และประเด็นสุดท้ายก็อยากให้ทางท่านทีปกร ท่านอาจารย์ที่ได้มาช่วยใน คณะกรรมาธิการได้ตอบในเรื่องประเด็นข้อซักถามเกี่ยวกับเรื่องของ UBI เรื่องเงินเดือน แล้วก็ในส่วนของภาษีที่เพื่อนสมาชิกท่านเท่าพิภพได้สอบถามว่าแล้วภาษีเกี่ยวกับเรื่องของ ระบบ AI หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มาแย่งแรงงานมนุษย์ในการทำจะมีการดำเนินการเรื่องนั้น หรือไม่ เพราะว่ารายงานฉบับนี้ได้มีการพูดคุยครบถ้วน
นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ในส่วนที่ท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาดได้พูด ก็คือรีดไขมัน เราก็นำเสนอ การรีดไขมันอยู่ในเล่มนี้ สร้างกล้ามเนื้อเราก็ได้นำเสนอในการสร้างกล้ามเนื้ออยู่ในเล่มนี้ แต่เมื่อสักครู่คืออาจจะขาดตกบกพร่องในเรื่องของภาษีเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ต่าง ๆ เดี๋ยวให้ทางท่านอาจารย์ทีปกรได้มาตอบข้อซักถามเพื่อให้ครบถ้วนกระบวนความ ว่าคณะกรรมาธิการเรานั้นได้พิจารณามาอย่างรอบด้าน และในส่วนที่ขาดไม่ได้เลย เพื่อนสมาชิกหลายท่านบอกว่าแน่นอนว่าวันนี้พร้อมแล้ว แต่ว่าเงินภาษี เงินงบประมาณ แผ่นดินจะนำมาจากไหน จะดำเนินการอย่างไร เรื่องนี้ก็เป็นข้อกังวลว่า ถ้าเกิดเรานำเสนอใน สภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว เป็นเรื่องรายงานที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ส่งไปปุ๊บ สิ่งต่อไปก็คือคณะรัฐมนตรีก็ต้องนำรายงานฉบับนี้ไปพิจารณา พอไปพิจารณาก็ต้องไปเปิด ประเด็นข้อซักถามว่าแนวโน้มความเป็นไปได้อย่างไร ผมพบสัญญาณที่ดีจากคณะรัฐมนตรี ต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสัญญาณจากกระทรวง พม. ก็เป็นสัญญาณ ที่พี่น้องประชาชนผู้สูงอายุนั้นอาจจะได้ดีอกดีใจกันแน่ ๆ เพราะเป็นแนวทางที่สอดคล้องกัน ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ถึงแม้ตัวเลขจะไม่ตรงกันบ้าง ถึงแม้ว่าตัวเลขจะ คลาดเคลื่อนกันบ้าง แต่ผมเชื่อว่าการที่ได้ขยับจาก ๖๐๐ บาท เป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้สังคม ได้รับรู้ รับทราบโดยทั่วกันว่าเบี้ยผู้สูงอายุที่แช่แข็งดองมากว่า ๑๐ ปี จะได้ขยับเขยื้อนในปีนี้ แน่ ๆ นี่คือสิ่งที่เราอยากจะนำเสนอ อยากจะขับเคลื่อน เพราะฉะนั้นร่างรายงานฉบับนี้ จึงไม่พูดถึงในเรื่องของตัวเลข
นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
และสุดท้ายครับท่านประธาน รายงานฉบับนี้ถ้าท่านดูในหน้าสุดท้ายเรามี การแนบร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ซึ่งเราแก้ไขแล้วก็แนบส่งรายงานฉบับนี้ด้วย เพื่อให้ คณะรัฐมนตรีได้เปิดพลิกไปดูร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุเราแก้ไขมาตราเดียวครับ คือมาตรา ๑๑ ที่พูดกัน คือถ้าเกิดท่านนำไปพิจารณาแล้วเห็นว่าเงินงบประมาณไม่มาก เพิ่มเติมได้เลย วิธีการทำอย่างไร ร่างพระราชบัญญัติแนบอยู่หน้าสุดท้าย แก้ไขมาตราเดียวให้ สามารถขยับได้ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ นี่คือเจตนารมณ์ของคณะกรรมาธิการ และขอ ยืนยันอีกครั้งครับ วันนี้เมื่อสักครู่เพื่อนสมาชิกจากพรรคไทยสร้างไทยชื่นชมว่าเล่มรายงาน คณะกรรมการสีชมพูหวานแหวว ผู้สูงอายุจะได้ดีอกดีใจ วันนี้สิ่งที่ต้องการนำเสนอเพราะ อยากให้เนื้อเรื่อง เนื้อหา ในรายงานฉบับนี้ไม่มีพรรคการเมืองใดเลยครับ เป็นผลงานของ พวกเราทุกคนสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ เป็นผลงานจากเพื่อนสมาชิกทุกพรรคการเมือง ที่อภิปรายกันในวันนี้และที่สนับสนุนกันในวันนี้ เพื่อเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะขยับยกระดับ เงินที่ภาครัฐจะสนับสนุนให้กับพี่น้องประชาชนเพียงเท่านั้นเอง ท่านประธานครับ เพื่อให้ ครบถ้วนขอเวลาอีกนิดเดียว อีก ๒ ท่านครับท่านประธาน เพื่อให้คณะกรรมาธิการได้ชี้แจง ในประเด็นข้อซักถาม แล้วก็จะจบรายงานฉบับนี้ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญประธาน คณะอนุกรรมาธิการครับ
นางสาววรรณวิภา ไม้สน กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ขอบคุณค่ะท่านประธาน วรรณวิภา ไม้สน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ ดิฉันขอตอบข้อซักถามของท่าน สมาชิกในทั้งหมดน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องทำไมไม่ปรับเป็น ๑,๒๐๐ บาท เป็น ๓,๐๐๐ บาทเลย โดยเฉพาะท่านเอกราช อุดมอำนวย แล้วก็ท่านเจษฎา ดนตรีเสนาะ จะเห็นได้ว่าในรายงาน ฉบับนี้โดยเฉพาะหน้า ๖๙ คณะกรรมาธิการได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าในแต่ละปีของเราต้องใช้ งบประมาณเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นปีแรกที่เป็นข้อเสนอที่เราตั้งเป็นตุ๊กตาขึ้นมาเราสามารถจะ อธิบายให้ท่านสมาชิกได้เข้าใจว่าเราสามารถที่จะทำบำนาญได้ทันทีในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ โดยจากที่หลายท่านนำเสนอมาว่าเริ่มจากการรีดไขมันก่อน นั่นก็คืออาจจะเป็นด้านงบกลาง หรืองบประมาณที่ซ้ำซ้อนที่เราเสนอไปในขั้นแรก และในเมื่อเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน มาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ โดยเฉพาะหน่วยงานสำนักงบประมาณของรัฐสภาบอกว่าถ้าเรา แก้ระเบียบตรงนี้แล้วจะสามารถลดงบประมาณ แล้วก็เพิ่มงบได้ประมาณ ๔๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐ ล้านบาทเลยทีเดียว เราก็เลยนำมาเสนอเลยว่าปีแรกเราควรปรับเป็นเท่านี้ก่อนไหม แล้วปี ต่อไปนี้ก็มีตารางอีกว่า ถ้าปรับเป็นอีก ๒,๐๐๐ บาท ในปี ๒๕๖๙ จนไปถึง ๓,๐๐๐ บาท ในปี ๒๕๗๐ นี้ก็สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นถ้าเห็นว่ามีงบประมาณมากพอ ๕๔๐,๐๐๐ ล้านบาท กับประชาชน ๑๒ ล้านคนในผู้สูงอายุสามารถทำได้ทันที ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ผู้สูงอายุของเรา ก็ไม่ได้คัดค้านอะไรถ้ารัฐบาลจะทำ
นางสาววรรณวิภา ไม้สน กรรมาธิการ ต้นฉบับ
อีกอย่างหนึ่งเราถึงได้แก้กฎหมายแล้วแนบท้ายไปด้วย อย่างที่ท่านประธาน ได้กล่าวไปเมื่อสักครู่นี้ในข้อสุดท้ายว่า จากการที่เราควรจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุให้อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม ก็คือเปลี่ยนให้เป็นจ่ายไม่ต่ำกว่าเส้นห่างความยากจนที่กำหนดโดยสำนักงาน สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปีก่อนจ่ายนะคะ เราได้ระบุในการแก้กฎหมายฉบับนี้ด้วย เพราะฉะนั้นการจะปรับเพิ่มบำนาญในแต่ละครั้ง รัฐบาลก็จะอิงตามระเบียบข้อบังคับนี้ ตามกฎหมายฉบับนี้ก็สามารถที่จะปรับตามเส้นห่าง ความยากจนได้ ซึ่งปีนี้อยู่ที่ ๒,๙๙๗ บาท อย่างไรก็ขอบคุณนะคะ ท้ายที่สุดนี้ต้องขอบคุณ เพื่อนสมาชิกทุกท่านที่อย่างน้อยเห็นกับความเหลื่อมล้ำ แล้วก็คิดว่าสังคมสูงวัยเราควรจะ นับ ๑ ในยุคสมัยของสภาชุดที่ ๒๖ ของเราให้ผ่านกฎหมาย แล้วก็สภาพความเป็นอยู่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอยู่ปัจจุบันนี้ให้มีอนาคตที่ดียิ่งขึ้น ท้ายที่สุดเดี๋ยวทางด้านภาษี AI แล้วก็ทางด้าน UBI จะให้อาจารย์เป็นผู้ตอบต่อไป ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ขออนุญาตนะครับ ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการ ประเด็นคำถามแรกที่ถามว่าเงินโอนอยู่ UBI ทำให้คนขี้เกียจ ก็ขออนุญาตสรุปจากงานวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล นะครับ คือสรุปจากงานวิจัยเรื่องเงินโอน เรื่องสวัสดิการทั่วโลกนี้ก็พบว่าไม่มีหลักฐานที่เป็น ระบบที่จะบอกได้ว่าเป็นเงินสวัสดิการของรัฐทำให้ลดแรงจูงใจของคนที่จะหางานทำ เพราะฉะนั้นเป็นมายาคติที่บอกว่าคนรับสวัสดิการจะขี้เกียจ แล้วยิ่งไปกว่านั้นเราก็ไม่มี หลักฐานด้วยว่าถ้าเราเพิ่มบำนาญพื้นฐานแล้วจะทำให้คนในวัยทำงานจะไม่ออมเงิน ขอเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อยแล้วกันในประเด็นที่เป็น Stereotype ว่าความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นกัน ก็คือที่บอกว่าเป็นภาระงบประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหน่วยงานราชการที่พยายามจะ ให้เหตุผลเพื่อจะไม่ให้มีบำนาญของประชาชนเพิ่มขึ้น ก็ควรจะพิจารณาในเรื่องของความมี ประสิทธิภาพตามหลักเศรษฐศาสตร์ว่ามันช่วยให้มี Multiplier Effect มันช่วยคุ้มครองความ ยากจนได้ แล้วก็ในประเด็นเรื่องการกระจายอย่างเป็นธรรมมันสามารถใช้เป็นเครื่องมือ แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเรื่องความเหลื่อมล้ำของประเทศได้นะครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย กรรมาธิการ ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง ก็คือที่เป็นความคิดความเชื่อผิด ๆ ก็คือคนไม่จ่ายภาษี ไม่สมควรจะได้รับ ก็ต้องพูดถึงหลักการพื้นฐานที่บอกว่าความเป็นธรรมตามแนวดิ่ง ก็คือคน ที่มีโอกาสได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกว่านี้ควรจะต้องจ่ายภาษีมากกว่าตามสัดส่วน เพื่อจะได้เอาเงินมาทำเป็นงบประมาณ แล้วก็ทำให้สังคมโดยรวมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทีนี้ถึง คนทำงานจำนวนมากไม่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่ทุกคนก็ร่วมจ่ายภาษีเงิน ออมมากมายกว่า ๑๐-๒๐ รายการอย่างน้อย แล้วก็คำถามพื้นฐาน คือคนที่เขาไม่มีโอกาส ตั้งแต่เกิดนี้เราจะไม่ให้เขามีโอกาสได้รับสวัสดิการหรือ เพราะฉะนั้นโดยสรุปก็คือที่เป็น Stereotype ความเข้าใจที่ผิดที่บอกว่าได้รับสวัสดิการแล้วคนจะขี้เกียจไม่หางานทำ อะไรต่าง ๆ นี้ จริง ๆ แล้วมันก็คือไม่จริงนะครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย กรรมาธิการ ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่งที่สอบถามมาก็คือ เรื่องของการเก็บภาษีของทางด้าน AI โดยสรุปก็คือ ผมเคยเขียนบทความหนึ่งลองค้นหาดูก็ได้นะครับ ชื่อปัญญาประดิษฐ์ แบบรู้สร้างแล้วก็ชื่อผมนะครับ มีรายละเอียดอยู่ แต่โดยสรุปอันนี้ก็คือมีข้อเสนอจาก นักเศรษฐศาสตร์ที่ MIT ที่เก่งมาก ๆ ระดับเป็น Meme ในวงการเศรษฐศาสตร์เขาก็ได้เสนอ เอาไว้ว่าเราควรจะต้องมีการเก็บภาษีให้เป็นธรรมระหว่างแรงงานและผู้ครอบครอง ปัญญาประดิษฐ์ ถ้าเรามาดูในบริบทความเป็นจริงของประเทศเราจะเห็นได้ว่าทุนใหญ่เขาใช้ เทคโนโลยีเข้ามา แล้วก็ใช้วิธีปลดคนออกนะครับ เราควรที่ว่าจะทำให้สังคมมันมีความ Fair มากขึ้น การแข่งขันระหว่างแรงงานแล้วก็ปัญญาประดิษฐ์ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ถือว่าจบ การอภิปรายแล้วนะครับ ขอบคุณทุกท่านนะครับ จากการที่ได้รับฟังการอภิปรายของ ท่านสมาชิก ซึ่งมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือเห็นด้วยกับรายงานและข้อสังเกตของ คณะกรรมาธิการ และไม่มีผู้ใดคัดค้าน ดังนั้นผมจึงขออาศัยอำนาจตามข้อบังคับ ข้อ ๘๘ เพื่อจะถามที่ประชุมว่า จะมีผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่นอีกหรือไม่ ถ้าหากไม่มีสมาชิกเห็นเป็น อย่างอื่น ก็ถือว่าที่ประชุมนี้เห็นชอบกับรายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๐๔ ข้อ ๑๐๕ ประกอบกับ ข้อ ๘๘ ก็จบการพิจารณารายงานนี้ ขอบคุณ คณะกรรมาธิการมากครับ รายงานนี้มีประโยชน์มากครับ ต่อไปก็จะเป็นการพิจารณาใน ระเบียบวาระที่ ๔.๒
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๔.๒ รายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาทาง กฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการป้องกันเรียกรับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งคณะกรรมาธิการการคมนาคมพิจารณาเสร็จแล้ว
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ผมขอเชิญคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่นะครับ และขออนุญาตผู้ที่มีรายชื่อ ต่อไปนี้เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุมด้วย ซึ่งผมอนุญาตให้เข้ามาได้เลยนะครับ ๑. นายชูชัย ต. ศิริวัฒนา รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ คนที่สาม ๒. นางสาววิลลี่ อมราภรณ์ อนุกรรมาธิการ ๓. นายพงศ์ธร จันทราธิบดี ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมาธิการ ๔. นายสราวุธ เทศศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ กรมทางหลวง ๕. นายธงไชย ชมถนอม ผู้อำนวยการสำนักบำรุงทาง กรมทางหลวงชนบท ขอเชิญ คณะกรรมาธิการและผู้เข้ามาร่วมชี้แจงครับ เชิญประธานคณะกรรมาธิการชี้แจงครับ
นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุก ๆ ท่าน กระผม นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม ของสภาผู้แทนราษฎร ขออนุญาตที่จะนำเรียนผลการศึกษาที่ได้รับมอบหมายจาก สภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ปี ที่ ๑ ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เมื่อวันพุธที่ ๑๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ ที่ประชุม ได้พิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทาง การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการ และประชาชน และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ ซึ่งนางสาวนิตยา มีศรี สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ และญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหากรณีทุจริตการตรวจสภาพรถนอกสถานที่และการเรียกรับ ผลประโยชน์การรับจดทะเบียนรถส่วนบุคคลของนายพิชัย แจ้งจรรยาวงศ์ พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ และที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ได้มีมติมอบให้คณะกรรมาธิการ การคมนาคมของสภาผู้แทนราษฎรได้ไปพิจารณา กระผมและคณะกรรมาธิการการคมนาคม ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก แล้วก็พวกเราในสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านก็ทราบข่าวมาอยู่ว่า เรื่องนี้เมื่อ ๔-๕ เดือนที่แล้วนี้เป็นเรื่องที่สร้างกระแสสังคม และเป็นเรื่องที่บุคคลทั่วประเทศ ให้ความสำคัญแล้วก็ติดตามเรื่องนี้อยู่ บัดนี้ คณะกรรมาธิการได้ศึกษาแล้วก็ได้ทำเป็นรูปเล่ม เพื่อส่งให้กับท่านที่เคารพทั้งหลายได้ศึกษาพิจารณา ก่อนอื่นท่านประธานที่เคารพครับ ผมต้องขอบพระคุณท่านคณะอนุกรรมาธิการของคณะกรรมาธิการการคมนาคมที่นำทีมโดย ท่านอนุรัตน์ ตันบรรจง ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ท่านพีระเดช ศิริวันสาณฑ์ รองประธาน คณะอนุกรรมาธิการ ท่านสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ ท่านชูชัย ต. ศิริวัฒนา รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ ท่านทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ เลขานุการ คณะอนุกรรมาธิการ ท่านพงศ์ธร จันทราธิบดี ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมาธิการ ท่านอนุชิต เพชรกำแพง อนุกรรมาธิการ ท่านนิธิ รุ่งเจิดฟ้า อนุกรรมาธิการ ท่านอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง อนุกรรมาธิการ นางสาววิลลี่ อมราภรณ์ อนุกรรมาธิการ นายพิชัย แจ้งจรรยาวงศ์ ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการ นางสาวนิตยา มีศรี ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการ บุคคลเหล่านี้ได้ตั้งใจ แล้วก็มีความมุ่งมั่นที่ทำงานเรื่องนี้ ได้เชิญหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วน เกี่ยวข้องมาชี้แจง แล้วก็ได้บันทึกลงในรายงานการประชุมที่อยู่ตามโต๊ะท่านแล้ว แน่นอน ในการทำการบันทึกหรือในการประชุมก็ดี อาจจะไม่สมบูรณ์แบบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าท่าน ได้ศึกษา แต่ผมเชื่อว่าคณะทำงานนั้นได้ทำกันอย่างตกผลึก แล้วก็ครบจบกระบวนความ ภายใน ๙๐ วัน โดยที่คณะอนุกรรมาธิการไม่ได้ขอต่อเวลา หลังจากนี้ไปในเรื่องรายละเอียดนั้น ผมก็จะได้ให้ท่านประธานคณะอนุกรรมาธิการ คือท่าน สส. อนุรัตน์ ตันบรรจง สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดพะเยา และเพื่อนร่วมคณะได้ชี้แจง ในเบื้องต้นก็อยากให้ ประธานคณะอนุกรรมาธิการได้ชี้แจงโครงสร้างที่กว้าง ๆ ในที่ประชุมแห่งนี้เป็นเบื้องต้น ขอขอบคุณท่านประธานครับ แล้วก็ขอเรียนเชิญท่านประธานคณะอนุกรรมาธิการครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านครับ ผม อนุรัตน์ ตันบรรจง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพะเยา เขต ๒ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งทางบกและป้องกัน การเรียกรับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเราเรียกว่า ส่วย ขออนุญาตนำเรียนถึง รายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการขนส่งทางบกและป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยคณะ อนุกรรมาธิการได้กำหนดกรอบการพิจารณา แบ่งเป็น ๕ ประเด็น ดังนี้
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ ศึกษาแนวทาง การบังคับใช้และปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ศึกษาสภาพปัญหาเรียกรับผลประโยชน์โดยมิชอบจาก เจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมทางหลวง และข้อสังเกตในการแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก และข้อสังเกตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน เกิดความเป็นธรรมสามารถป้องกันการทุจริตและบังคับใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ศึกษาข้อมูลและแนวทางการป้องกันการทุจริต การตรวจสภาพ รถนอกสถานที่ ตลอดจนศึกษาแนวทางป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์จากการรับ จดทะเบียนส่วนบุคคล
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
สำหรับประเด็นที่ ๔ และประเด็นที่ ๕ คณะกรรมาธิการเห็นว่าเรื่องเป็น ประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก จึงศึกษาเพิ่มเติมอีก ๒ ประเด็น ดังนี้
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๔ ศึกษาแนวทางการเปลี่ยนยานยนต์ เครื่องยนต์สันดาปให้เป็น ยานยนต์ไฟฟ้า หรือเรียกว่า EV Conversion Project
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๕ จัดทำข้อสังเกตอื่นที่เกี่ยวข้อง อันเป็นประโยชน์ต่อการขนส่ง ทางบก ในส่วนต่อจะนำเสนอผลการศึกษาที่ได้นำเรียนมานี้ ในประเด็นที่ ๑ ศึกษาแนวทาง การบังคับใช้และปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก ผลพิจารณา ในประเด็นที่ ๑ จากการศึกษาพบว่าหน่วยงานสำคัญที่บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การขนส่งทางบก ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กองบังคับการตำรวจทางหลวงมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย ควบคุมน้ำหนักบรรทุก คืออัตราโทษการบรรทุกน้ำหนักเกินกว่ากำหนด ตาม พ.ร.บ. กรมทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๗๕/๒ ซึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ได้บังคับใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ซึ่งนับเป็นเวลา ๑๘ ปีมาแล้วที่ไม่ได้มีการแก้ไขอัตราโทษให้ เหมาะสมกับเทคโนโลยีการบรรทุก รวมทั้งไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนไป กล่าวคือการกำหนดอัตราโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาทไม่สามารถป้องกัน การบรรทุกน้ำหนักเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบรรทุกน้ำหนักเกิน ๑๐๐ กิโลกรัม หรือการบรรทุกน้ำหนักเกิน ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม ย่อมถูกปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ตามระวางโทษดังกล่าว ส่งผลให้ผู้กระทำผิดไม่เกรงกลัว จึงมีการกระทำข้อผิดพลาดในการ บรรทุกน้ำหนักเกินจำนวนมาก และยอมจ่ายผลประโยชน์ที่ผิดกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ บางรายเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง โดยการบรรทุกน้ำหนักเกินที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ที่สำคัญในการควบคุมน้ำหนัก คือสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ กรมทางหลวง หรือเราเรียกว่า สคน. ยังมีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถ บังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ในส่วนต่อมาเป็นข้อสังเกตที่มีทั้งหมดจำนวน ๑๑ ข้อ ซึ่งอยู่ในรายงาน ที่ได้แจกไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วครับ ผมขอยกตัวอย่างดังนี้
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๑. เสนอให้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทแก้ไขเพิ่มเติมคำขอ ท้ายวันบันทึกการจับกุมแบบ สคน. ๑/๑ โดยระบุให้พนักงานสอบสวนตรวจสอบพฤติกรรม เพิ่มเติมของผู้ต้องหาในข้อเท็จจริงว่า ผู้ว่าจ้างขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๒. เสนอให้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคมแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบรรทุกน้ำหนักเกิน ที่กฎหมายกำหนด โดยกำหนดโทษในการเอาผิดผู้ว่าจ้างขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๓. เสนอให้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกระทรวงคมนาคมแก้ไข พระราชบัญญัติในมาตรา ๗๓/๒ โดยให้คงโทษจำคุกไว้ตามเดิม และกำหนดโทษปรับ เป็นอัตราปรับก้าวหน้า ซึ่งอัตราโทษเดิมนั้นมีการแจ้งไว้คือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๔. เสนอให้กรมทางหลวงเร่งดำเนินการสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมใน การจัดตั้งหน่วยงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะให้เป็นกองควบคุมน้ำหนักยานพาหนะตาม กฎกระทรวง
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๕. เสนอให้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม เสนอแก้ไข อัตราโทษความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานทางหลวงตามมาตรา ๗๐ ให้สูงขึ้น
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๖. เสนอให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมพิจารณาจัดหาหน่วยชั่งน้ำหนัก เคลื่อนที่ หรือเราเรียกว่า Spot Check ให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงและเจ้าหน้าที่ ตำรวจท้องที่ซึ่งปัจจุบันนี้กรมทางหลวงมีเครื่องชั่งน้ำหนัก Spot Check อยู่จำนวน ๑๐๕ ชุด กรมทางหลวงชนบท มี Spot Check ทั้งหมด ๑๑๔ ชุด กองบังคับการตำรวจทางหลวง เดิมที่มี Spot Check อยู่ ๑๒ ชุด แต่ปัจจุบันนี้สามารถใช้งานได้เพียงแค่ ๒ ชุด
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๗. เสนอให้กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติ ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือไม่อนุมัติให้ต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่ง กรณีผู้ประกอบการขนส่งกระทำความผิดซ้ำซ้อน ซ้ำซาก หรือฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บ่อยครั้ง เช่น การบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๘. เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก กองบังคับการตำรวจทางหลวงจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจจากส่วนกลาง และจัดตั้งหน่วยชั่งน้ำหนักเคลื่อนที่ หรือ Spot Check บนสายทางหลักและสายทางรอง สายทางที่มีความเสี่ยงในการบรรทุกน้ำหนักเกิน
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ศึกษาสภาพปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์โดยมิชอบจาก เจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับควบคุมทางหลวงและข้อสังเกตในการแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรมการขนส่งทางบก รวมถึงข้อสังเกตอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน เกิดความเป็นธรรม สามารถป้องกันการทุจริตและบังคับได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ต่อไปจะเป็นผลพิจารณา จากการศึกษาพบว่าสภาพการเรียกรับผลประโยชน์ โดยมิชอบจากเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับควบคุมทางหลวงเกิดการใช้ดุลยพินิจ ในการทุจริตในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บางราย นอกจากนี้ยังประสบปัญหาในการ สอบสวนขยายผลเพื่อดำเนินคดีได้ยาก เนื่องจากมีสาเหตุอันประกอบไปด้วย ดังนี้
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
สาเหตุที่ ๑ เกิดจากความสมัครใจของผู้ให้และผู้รับ โดยการให้ประโยชน์ จะเริ่มตั้งแต่การให้หรือการเรียกรับผลประโยชน์เพื่อแลกกับการอำนวยความสะดวกเท่านั้น ไปจนถึงการให้ผลประโยชน์เพื่อแลกกับการไม่ต้องถูกดำเนินคดีหากกระทำความผิด
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
สาเหตุที่ ๒ เป็นการกระทำความผิดร่วมกันทั้งผู้ให้สินบนและผู้รับสินบน โดยบุคคลทั้งสองฝ่ายต่างให้รับผลประโยชน์จากการกระทำ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
สาเหตุที่ ๓ ผู้กระทำความผิดเป็นผู้มีอิทธิพล จึงไม่มีใครกล้าแสดงตนในการ จับกุมและขยายผลในการดำเนินคดี
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
สาเหตุที่ ๔ คือสาเหตุสุดท้ายครับท่านประธาน ตรวจสอบเส้นทางการเงินนั้นยาก เนื่องจากส่วนใหญ่จะใช้เงินสดหรือใช้บัญชีม้าในการโอนรับผลประโยชน์
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ซึ่งในประเด็นนี้มีข้อสังเกตจำนวน ๕ ข้อที่จะเสนอต่อรัฐสภาแห่งนี้
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๑. เสนอให้คณะรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมจัดสรรงบประมาณให้แก่กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เพื่อจัดซื้อระบบอิเล็กทรอนิกส์ตรวจวัดน้ำหนักรถบรรทุกขณะรถวิ่ง เรียกว่า Weight In Motion หรือระบบ WIM สนับสนุนทุกรูปแบบ ปัจจุบันถนนในประเทศไทย มีระยะทางกว่า ๗๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร โดยกรมทางหลวงมีระบบ WIM จำนวนทั้งสิ้น ๑๘๒ แห่ง กรมทางหลวงชนบทมีระบบ WIM ทั้งสิ้น ๑๘ แห่ง หากต้องการติดตั้งระบบ WIM ทุกช่อง จราจรพร้อมอุปกรณ์ควบคุมทั้งประเทศ กรมทางหลวงจะต้องขอการจัดสรรงบประมาณอยู่ ๒๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๒. เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับควบคุมถนนทางหลวง ไม่ว่าจะเป็น ทางหลวงชนบท กรมทางหลวง กองบังคับการตำรวจทางหลวง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำบันทึกความเข้าใจ หรือเราเรียกว่า MOU เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการบังคับใช้ กฎหมายกรณีบรรทุกน้ำหนักเกินที่กฎหมายกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๓. เสนอให้กรมการขนส่งทางบก โดยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๒ (๖) แก้ไขโดย เพิ่มหลักเกณฑ์รายละเอียดในการแจ้งน้ำหนักบรรทุกเพิ่มเติม นอกจากใบกำกับการขนส่ง แล้วกำหนดให้มี ๑. ใบรับรองการชั่งน้ำหนักบรรทุกตั้งแต่ต้นทาง ๒. ขอความร่วมมือให้มี ป้ายระบุแจ้งน้ำหนักบรรทุกสุทธิขณะรถวิ่งบนทางหลวง โดยให้ติดในตำแหน่งข้างรถ ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้การชั่งและระบุน้ำหนักควรใช้เครื่องชั่งที่ได้รับมาตรฐาน การตรวจสอบจากสำนักงานชั่งตวงวัด กระทรวงพาณิชย์
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๔. เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแหล่งต้นทางสิ่งของบรรทุก เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม จัดหา เครื่องชั่งที่ได้มาตรฐานตรวจสอบจากสำนักงานกลางชั่งตวงวัด กรมการค้าภายใน
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๕. เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดตั้งคณะทำงาน เพื่ออบรมความรู้ ด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นถนนที่อยู่ในการดูแลของ อบจ. องค์การ บริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบล รวมไปถึงเทศบาลต่าง ๆ ขออนุญาต ท่านประธานครับ จากการศึกษาเรื่องน้ำหนักบรรทุก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเราน่าจะ ได้ยินจากสื่อนะครับ เป็นเวลามาทุกยุคทุกสมัยในเรื่องของน้ำหนักบรรทุกเกินตามที่กฎหมาย ได้กำหนด ผมขออธิบายหลังจากที่ได้แจ้งผลรายงานดังกล่าว ปัจจุบันถนนในประเทศไทยเรา มีพื้นที่กว่า ๗๐๐,๐๐๐ กว่ากิโลเมตร แต่อยู่ในการดูแลและคุ้มครองของกรมทางหลวงและ กรมทางหลวงชนบท ๒ หน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานหลักที่มีด่านตาชั่ง และมีตาชั่งที่เราเรียกว่า Spot Check รวมถึงมีระบบที่ทันสมัยที่สุด ณ เวลานี้ก็คือระบบ Weight In Motion ซึ่งระบบ Weight In Motion นี้จะเป็นตาชั่งที่ถูกฝังไว้ในผิวถนน เมื่อเวลารถวิ่งจะสามารถ ตรวจจับน้ำหนักได้ทันทีว่ารถบรรทุกที่วิ่งนั้นเกินหรือไม่ แต่วันนี้ครับท่านประธาน จุดอ่อน ของตาชั่งที่เราเรียกว่า Weight In Motion หรือเรียกว่า WIM นี้มันมีจุดอ่อน คือปัจจุบันนี้ มันไม่ได้ติดตั้งทุกช่องจราจรของถนนบนทางหลวง ซึ่งปัจจุบันนี้กรมทางหลวงและกรมทาง หลวงชนบทได้หารือกัน และเร่งขอจัดสรรงบประมาณเพื่อติดตั้งระบบ WIM ถ้าเราได้มี การติดตั้งระบบ WIM นั้นสำเร็จเราจะสามารถทำงานจับผู้บรรทุกน้ำหนักเกินได้อย่างมี ประสิทธิภาพ แต่ถ้ารัฐบาลส่งเสริมงบประมาณลงไปแล้ว ถามว่าปัญหามันจบไหมครับ คณะอนุกรรมาธิการเราก็ต้องเรียนว่า มันไม่จบครับ เนื่องจากถนนที่อยู่ในการดูแลส่วนใหญ่ เลยกว่า ๖๐๐,๐๐๐ กิโลเมตรนั้น เป็นถนนที่อยู่ในการดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล ซึ่งผมอยากจะฝากไปยังกระทรวงมหาดไทยให้ จัดสรรงบประมาณ แล้วให้คนจากกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้บูรณาการ ให้ความรู้แก่ อปท. ต่าง ๆ ที่มีถนนอยู่ในการดูแลของท่าน วันนี้เมื่อประมาณ ๔-๕ เดือนที่แล้ว เราได้ยินข่าวเรื่องของกำนันนกก็ดี ผมได้ดูข่าว ผมก็เข้าใจว่ากำนันนกตอนนี้เป็นผู้ที่ถูก ดำเนินคดีอยู่ เป็นคดีที่มีการยิงกันในบ้านของตัวเอง แล้วยิงใคร ยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจครับท่าน ประธาน ก็ได้สืบเสาะไปหากำนันนกว่า กำนันนกนั้นได้ทำอาชีพอะไร ปรากฏว่าเป็นอาชีพ รับเหมาก่อสร้าง ผู้สื่อข่าวรวมถึงสื่อทาง Social ก็ได้ไปถ่ายรูปในรถบรรทุกที่กำนักนกใช้ ในการประกอบกิจกรรม จึงเกิดคำว่า ส่วยสติกเกอร์ขึ้น ถ้าถามผมแล้วแน่นอนครับ ปัจจุบันนี้ รถบรรทุกน้ำหนักเกินได้วิ่งในสายทางรองนี้กว่า ๖๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร โดยปราศจากผู้จับกุม ถ้าวันนี้เราถามว่าใครคือผู้จับกุม ก็ต้องบอกกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านว่า ตำรวจมี หน้าที่ไปจับกุมครับท่านประธาน แต่ด้วยความที่ว่าตำรวจไม่มีอุปกรณ์ในการจับกุม ไม่ว่าจะ เป็นเครื่องชั่งแบบ Spot Check ไม่มีเลย แล้วตำรวจทางหลวงรับผิดชอบก็ไม่มี Spot Check เพียงพอ ปัจจุบันนี้ทั้งประเทศเหลือแค่ ๒ เครื่อง เท่ากับว่ามีหน่วยจับได้แค่ ๒ หน่วย ผมจึง ได้ศึกษาพร้อมกับคณะอนุกรรมาธิการเรา อยากจะบอกไปยังท่านประธานสภาว่า จริง ๆ แล้ว วันนี้ถ้าจะแก้ไขให้ได้จริงจังเราต้องทำการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น ต้องให้อำนาจ การจับกุมผู้กระทำความผิดอย่างเป็นรูปธรรมและให้เครื่องมือเขาในการจับกุม ซึ่งตรงจุดนี้ผมเชื่อว่าการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกินในครั้งนี้เรามีการเพิ่มโทษใน มาตรา ๗๓/๒ จากเดิมปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท จำคุกไม่เกิน ๖ เดือน เราได้มีการเพิ่มโทษ โดยจะเพิ่มโทษในพระราชบัญญัติของกรมทาง ขอสไลด์หน้าที่เป็นอัตราปรับแบบก้าวหน้า การเพิ่มโทษนั้นเพิ่มโทษเป็นการคงกฎหมาย โทษทางอาญายังคงไว้เหมือนเดิม ขอสไลด์ที่ เป็นตารางนะครับ ที่เป็นเบี้ยปรับ ก็คือเกิน ๑ กิโลกรัมก็ถือว่ากระทำความผิดครับ เราจะ เห็นได้ว่าการปรับนั้นตั้งแต่ ๑ กิโลกรัม จนถึง ๕๐๐ กิโลกรัม มีอัตราปรับอยู่ ๑,๐๐๐ บาท จนมีการปรับสูงสุดไปที่ ๕๐ ตัน ๕๐ ตันนั้นจะมีเบี้ยปรับอยู่ทั้งหมด ๕๖๐,๐๐๐ บาท และทุก ๆ ๑ ตันจะมีค่าปรับหลังจากนี้ตันละ ๑๒,๐๐๐ บาท ผมได้ถามหน่วยงาน โดยเฉพาะ หน่วยงาน สคน. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่จับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกินก็ได้รายงานมาว่าเคยจับน้ำหนัก สูงสุดที่บันทึกได้ ๖๐ ตัน ซึ่งหมายความว่าเกินจากตรงนี้ ๕๐ ตันแล้ว ก็ต้องปรับเป็นจำนวน เงิน ๕๖๐,๐๐๐ บาท ตันละ ๑๒,๐๐๐ บาท อีก ๑๐ ตัน ก็เป็นเงินอยู่ ๑๒๐,๐๐๐ บาท ก็จะมี เบี้ยปรับทั้งหมดอยู่ประมาณ ๖๘๐,๐๐๐ บาท เราได้เพิ่มโทษตรงจุดนี้ แต่ยังคงในกฎหมาย อาญาไว้อยู่ หมายความว่าผู้กระทำความผิดนั้นจะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ผมจึงอยากนำเสนอใน ประเด็นที่กล่าวมาเป็นการนำเสนอแค่เบื้องต้นนะครับ เดี๋ยวจะมีผู้นำเสนอถัดมาในเรื่องของ ประเด็นที่ ๓ เป็นของคณะอนุกรรมาธิการเรา ก็คือท่านอาจารย์พงศ์ธร ได้รายงานต่อรัฐสภา ต่อไป ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ก่อนที่คณะอนุ กรรมาธิการจะรายงาน ผมอยากจะเรียนว่าขณะนี้ได้มีคณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียน เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๒๐ คน มาฟังการประชุมอยู่ชั้นบน สภาผู้แทนราษฎร ขอต้อนรับทุก ๆ ท่านครับ สำหรับอนุกรรมาธิการชี้แจง ผมขอให้ชี้แจง สั้น ๆ นะครับ เพราะว่าท่านได้ใช้เวลา ๒๐ กว่านาทีแล้ว ก็ขอสั้น ๆ เชิญครับ
นายพงศ์ธร จันทราธิบดี กรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ และท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านครับ ผม นายพงศ์ธร จันทราธิบดี ในฐานะ อนุกรรมาธิการ ขอนำเสนอประเด็นที่ ๓ นะครับ
นายพงศ์ธร จันทราธิบดี กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลและ แนวทางการป้องกันการทุจริตการตรวจสภาพรถนอกสถานที่ ตลอดจนศึกษาแนวทาง ป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์จากการรับจดทะเบียนรถส่วนบุคคล แยกเป็น ๒ กรณี
นายพงศ์ธร จันทราธิบดี กรรมาธิการ ต้นฉบับ
กรณีที่ ๑ กรณีการทุจริตการตรวจสภาพรถนอกสถานที่ จากการศึกษาพบว่า เป็นกรณีที่เจ้าของรถบางรายไม่สะดวกที่จะนำรถมาตรวจสภาพที่สำนักงานขนส่ง จึงมีกลุ่ม บุคคลติดต่อประสานงานกับเจ้าของรถ แล้วก็นายช่างเพื่อให้มีการตรวจสภาพรถนอกสถานที่ หรือมีการจ่ายสินบนให้กับนายช่าง เพื่อให้เจ้าของรถไม่ต้องนำรถไปตรวจสภาพตามระเบียบ โดยจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าดำเนินการในอัตราที่สูง คณะอนุกรรมาธิการได้ พิจารณาแล้วมีข้อสังเกตในประเด็นนี้
นายพงศ์ธร จันทราธิบดี กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๑. เสนอให้กรมการขนส่งทางบกแก้ไขระเบียบและออกมาตรการ กฎเกณฑ์ ระเบียบแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพของ พนักงานตรวจสภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนโปร่งใส โดยสามารถตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้ เช่น นายตรวจสภาพรถจะต้องมีการตรวจสภาพนอกสถานที่ตามเวลาพร้อมหลักฐานการตรวจ สภาพรถ
นายพงศ์ธร จันทราธิบดี กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๒. เจ้าของรถหรือสถานประกอบการที่ได้รับมอบหมายจะต้องมีการบันทึก ผลการปฏิบัติงานของช่างตรวจสภาพรถ
นายพงศ์ธร จันทราธิบดี กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๓. นายช่างตรวจสภาพรถจะต้องจัดทำรายงานบันทึกการตรวจสภาพ
นายพงศ์ธร จันทราธิบดี กรรมาธิการ ต้นฉบับ
กรณีที่ ๒ กรณีที่มีการเรียกรับผลประโยชน์จากการรับจดทะเบียนรถส่วน บุคคล จากการศึกษาพบว่าเป็นการนำชิ้นส่วนรถยนต์ที่ได้มาโดยไม่ถูกต้องมาสวมทะเบียน เช่น รถที่เกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายสิ้นเชิง ซึ่งตามระเบียบไม่สามารถ จดทะเบียนได้ คณะอนุกรรมาธิการได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีข้อสังเกตว่ากรณีดังกล่าว เนื่องจากว่าเป็นเรื่องต้นทางจะแก้ปัญหาที่ต้นทาง ก็เสนอให้กรมมีหนังสือขอความร่วมมือ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ บริษัทประกันภัย กรณีหากปรากฏว่ามีการจำหน่ายซากรถที่เกิดจาก อุบัติเหตุได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิง จะต้องไม่มีการส่งมอบคู่มือการจดทะเบียนรถให้แก่ ผู้ซื้อ และระบุในเอกสารหลักฐานจำหน่ายให้ชัดเจนว่ารถดังกล่าวเป็นซากรถ ไม่สามารถ นำมาจดทะเบียนได้ตามระเบียบ พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลให้กรมการขนส่งทางบกเพิกถอน การจดทะเบียน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ คณะกรรมาธิการมากครับ ต่อไปจะให้ท่านสมาชิกได้อภิปรายนะครับ ขณะนี้มีสมาชิกมา ลงชื่อจำนวน ๙ ท่าน ฝ่ายรัฐบาล ๖ ท่าน จากฝ่ายค้าน ๓ ท่าน ผู้ที่อยากจะอภิปรายขอเชิญ มาลงชื่อเพิ่มเติมได้นะครับ ให้เวลาอีก ๑๐ นาทีข้างหน้านี้ หลังจากนั้นก็จะปิด เชิญครับ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ขออนุญาตท่านประธานครับ ยังไม่จบครับท่านประธาน ขออีกนิดเดียวครับ ในประเด็นที่ ๔ และประเด็นที่ ๕ ค้างอีก ๒ ประเด็นครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เอาสั้น ๆ ได้ไหม คนละ ๕ นาทีได้ไหมครับ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เอาคนละ ๕ นาที ต่อไปก็จะได้เชิญให้สมาชิกที่จะขออภิปรายอีก ๙ ท่าน ในตอนนี้จะได้อภิปรายเอาคนละ ๗ นาที ท่านคนละ ๕ นาที เชิญครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต. ศิริวัฒนา กรรมาธิการ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่าน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต. ศิริวัฒนา ในนาม คณะอนุกรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการการคมนาคมที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษา การปรับเปลี่ยนยานยนต์สันดาปภายในเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งได้ทำการศึกษาและสรุปเป็น ข้อสังเกต เป็นข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน ๖ ข้อ ดังนี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต. ศิริวัฒนา กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ข้อ ๑ เสนอให้ กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการ ประกาศยกเว้น หรือลดอัตราภาษีนำเข้าอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนยานยนต์สันดาป ให้เป็นยานยนต์ไฟฟ้า เช่นเดียวกับการสนับสนุนมาตรการในการลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ ๐ หรือการลดภาษีสรรพสามิตสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าตามโครงการ EV 3.0 และ EV 3.5 สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าใหม่ของรัฐบาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต. ศิริวัฒนา กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ข้อ ๒ เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับ แนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุน สนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมโครงการยกเลิกการใช้ยานยนต์ เครื่องยนต์มาปรับเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าในลักษณะที่จัดงบอุดหนุนให้กับผู้ที่เข้าร่วม โครงการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต. ศิริวัฒนา กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ข้อ ๓ เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาศึกษาแนวทางการสนับสนุนการจัดตั้ง อุตสาหกรรมการดัดแปลงยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจาก หากคณะรัฐมนตรีให้การสนับสนุนการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต. ศิริวัฒนา กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ข้อ ๔ เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาศึกษาแนวทางการเตรียมบุคลากร รองรับอุตสาหกรรมและงานบริการยานยนต์ไฟฟ้าทุกระดับ ทุกประเภท เพื่อให้สอดรับกับ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะได้รับการพัฒนาและมีปริมาณผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต. ศิริวัฒนา กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ข้อ ๕ เสนอให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณาศึกษาจัดทำระเบียบ ประกาศ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ข้อแนะนำในการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าให้ปฏิบัติได้ อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก เพื่อให้สามารถใช้งานได้โดยปลอดภัย รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยงานที่สามารถทดสอบยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต. ศิริวัฒนา กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ข้อ ๖ เสนอให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มจำนวนสถานี อัดประจุไฟฟ้าให้เพียงพอสำหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าต่อไป ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญอีก ๑ ท่านครับ
นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พรรคก้าวไกล จากชาวจังหวัด พระนครศรีอยุธยาและอำเภอบางบาล ในฐานะคณะอนุกรรมาธิการครับ ผมขอชี้แจง ในประเด็นที่ ๕ คือข้อสังเกตที่เกี่ยวข้องอันเป็นประโยชน์ต่อการขนส่งทางบก ก่อนอื่นต้อง ขอเกริ่นครับว่าทำไมคณะเราถึงตั้งใจกับเรื่องนี้มากครับ ท่านประธานครับ หากท่านได้ไป เยือนที่อำเภอบางบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบ้านผมสักครั้ง ท่านประธานจะเข้าใจว่า ทำไมรายงานนี้ถึงสำคัญ และขอให้ฝ่ายบริหารได้นำไปพิจารณาแก้ไขปัญหาโดยด่วน อำเภอ บางบาลและพื้นที่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบ้านผมต้องเจอกับปัญหามากมายจาก ผลกระทบของการบรรทุกดินและทรายที่ไม่คำนึงถึงผู้ร่วมทาง ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่ รถบรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักเกินไปมากทำให้ถนนผุพัง เป็นหลุมเป็นบ่ออย่างกับดาวเคราะห์ ที่ไร้การเหลียวแล และสิ้นเปลืองงบประมาณไปกับการซ่อมบำรุง ในรายงานฉบับนี้ก็แสดง ให้เห็นถึงผลการศึกษางบประมาณในการสร้างถนนที่เพิ่มขึ้นทุกปีของกรมทางหลวงและ กรมทางหลวงชนบท ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นดิน ฝุ่นทรายที่ตกบนท้องถนน เกิดเป็นฝุ่นทำลาย ทางเดินหายใจของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอำเภอบางบาล และต้องเสียเงินเสีย ทองรักษาเนื้อรักษาตัวด้วยตนเอง ผมเพิ่งลงพื้นที่ที่อำเภอบางบาล ที่ตำบลบางหลวงโดด พี่น้องถึงกับบอกว่าไม่ไหวแล้วครับ ขอยอมแล้ว แต่ต้องมาทำความสะอาดถนนให้หน่อย ได้ไหม เวลาขับขี่จักรยานก็เสี่ยงอันตรายครับ จะลื่นทรายและเกิดอุบัติเหตุจากการต้องหลบ รถบรรทุกก็บ่อยครั้ง และไม่ว่าจะเป็นควันสีดำที่เป็นมลพิษต่อผู้ร่วมทางก็ดี การขับขี่ ที่อันตราย รวมถึงการต่อเติมตัวรถจนกระทบต่อผู้ร่วมทาง เช่น การเสริมบังโคลนให้ ขนาดใหญ่ก็ดี นี่ยังไม่นับการวิ่งที่ไม่จำกัดเวลา กลางค่ำกลางคืนก็วิ่งกันเสียงดัง พี่น้องต่าง ร้องเรียนว่าไม่ได้หลับไม่ได้นอนครับ แค่เราฟังแบบนี้ผมคิดว่าเรายังรู้สึกถึงความลำบากใจแทน แต่ว่าความช้ำอกช้ำใจของผมทุกครั้งที่เดินทางไปอำเภอบางบาลมันช้ำใจทุกครั้งที่เราเห็น ปัญหาอยู่ข้างหน้า แต่เราไม่สามารถแก้ปัญหามันได้เลย แต่ท่านประธานครับ คนที่ทำช้ำอกช้ำใจมากที่สุดกับเรื่อง นี้แล้วต้องทุกข์ทนทรมานอยู่ทุกวี่ทุกวันคือพี่น้องชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอำเภอ บางบาล ข้อสังเกตในรายงานฉบับนี้ผมจึงขอวิงวอนร้องขอไปถึงรัฐบาลให้เร่งนำรายงานเข้าสู่ การพิจารณาและบังคับใช้ต่อไป โดยข้อสังเกตจากรายงานที่น่าสนใจ ผมขออนุญาตสรุปให้ เพื่อนสมาชิกได้ฟังและพิจารณาครับ
นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตจากรายงานที่น่าสนใจ อย่างแรกคือ เสนอให้กรมทางหลวงเร่งสร้างจุดพักรถเพื่อรองรับการใช้รถ ใช้ถนนใน ระยะทางยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรถบรรทุกครับ มากไปกว่านั้นหากเรามีการออกแบบ เส้นทางเฉพาะรถบรรทุกก็น่าจะเป็นแนวคิดที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ภาพถัดไปครับ
นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตที่ ๒ คือปัจจุบันพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พุทธศักราช ๒๕๖๕ ส่งผลให้ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการขนส่งทางบกที่สำคัญเข้าสู่กระบวนการปรับเป็นพินัยไม่เป็นโทษอาญา ซึ่งนั่นอาจจะ ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอาจเกิดความสับสนและทำงานคลาดเคลื่อนได้ จึงเสนอให้ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งรัดจัดอบรมทำความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติงานโดยด่วนครับ แต่ท่านประธานครับ ข้อสังเกต เหล่านี้อาจไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาให้พี่น้องชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอำเภอ บางบาลได้ครับ ไม่สามารถแก้ปัญหาในระดับโครงสร้างและต้นตอของการเกิดส่วยรถบรรทุก ผมมาพร้อมกับข้อเสนอในการแก้ปัญหาให้อยุธยาก้าวหน้า ก้าวไกลและประเทศไทยไม่มี วันเหมือนเดิมครับ ข้อเสนอของผมมีแนวทาง ๓ ประการดังนี้ครับ
นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นคือทางรอดเดียวครับ เพื่อการเสริม กำลังให้ท้องถิ่นสามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนได้ทันที ในประเทศที่มีการกระจาย อำนาจแบบเต็มรูปแบบ ตำรวจในแต่ละพื้นที่ขึ้นตรงต่อเทศบาลและ อบจ. หรือผู้ที่มาจาก การเลือกตั้งในท้องถิ่น นั่นทำให้ตอนนี้แม้ท้องถิ่นหลายแห่งจะอยากแก้ปัญหาท้องถิ่นใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะยากรีบเร่งแก้ปัญหาให้ประชาชน ก็ทำได้เพียงแต่บอกให้รถหยุด วิ่ง แต่ไม่มีอำนาจในการกวดขัน ตรวจสอบ หรือจับกุมใด ๆ ต้องรอให้หน่วยงานอย่างตำรวจทางหลวง และแขวงในพื้นที่มากวดขันแทน รวมไปถึงการกระจายงบประมาณให้ท้องถิ่นสามารถได้ จัดซื้อเทคโนโลยีในการตรวจน้ำหนักหรือด่านชั่งน้ำหนักที่เป็นของตัวเองได้แล้วยังสามารถ ออกแบบผังเมือง ออกแบบถนนของตนเอง เพื่อให้การขับขี่รถบรรทุกมีเส้นทางที่ชัดเจน ในการวิ่ง พร้อมจำกัดเวลาหรือพื้นที่ให้เหมาะสมกับชุมชน
นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ การทำงานของหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะรัฐจากส่วนกลาง ต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน หากยังทำงานโดยแบ่งแยกข้อมูลออกจากกันตำรวจ มีหน้าที่ด้านหนึ่ง กรมการขนส่งทางบกทำงานอีกด้านหนึ่ง ท้องถิ่นทำงานอย่างจำกัดจำเขี่ย อีกด้านหนึ่ง ไม่มีการเชื่อมต่อข้อมูลกันระหว่างหน่วยงานกว่าจะรู้ว่ามีการกระทำความผิด หรือเดือดร้อนถึงประชาชน กว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบจะเริ่มแก้ปัญหา ก็อาจจะทำได้เพียง จับกุมผู้ขับขี่ แต่ไม่สามารถสื่อไปถึงผู้ประกอบการหรือผู้ว่าจ้างที่ต้องรับผิดชอบด้วย การกระจายอำนาจจากประการที่ ๑ จะเป็นคำตอบ เพราะหน่วยงานส่วนกลางจะเป็น ผู้ตรวจตราตรวจสอบความโปร่งใส และเป็นองค์ความรู้เฉพาะทางให้กับท้องถิ่นที่มีตำรวจอยู่ ในมือของตนเอง แยกการปฏิบัติให้ชัดเจนให้ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น แก้ปัญหาเรื่องการหาเจ้าภาพ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเสียที
นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบอย่างเต็มระบบ
นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๓.๑ จากข้อเสนอที่บอกว่าการใช้หน่วยชั่งน้ำหนักเคลื่อนที่ หรือ Spot Check จำเป็นต้องมีอุปกรณ์นี้ให้กับท้องถิ่นครับ เป็นอุปกรณ์หลักในการกวดขันอย่างครอบคลุม ทุกพื้นที่ได้จริง
นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
๓.๒ การใช้เทคโนโลยีอย่างระบบตรวจวัดน้ำหนักรถบรรทุกขณะวิ่ง หรือ Weigh In Motion หรือเรียกย่อ ๆ ว่า WIM ขออนุญาตท่านประธานได้ใช้ภาษาอังกฤษ นำมาใช้งานอย่างเต็มระบบ กระจายออกทุกด่านตราชั่ง อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบการบรรทุกน้ำหนักย้อนหลังได้ว่า รถคันนี้ต้นทางบรรทุกเท่าไร วิ่งไปทางไหนบ้าง เพื่อตรวจสอบความโปร่งใสว่ามีความตั้งใจในการบรรทุกน้ำหนักเกิน จริงหรือไม่ แล้วก็วิ่งเข้าพื้นที่ชุมชน หรือวิ่งเกินเวลากำหนด หากเรานำมาใช้ร่วมกับระบบ GPS ดุลพินิจและความน่าสงสัยที่มีต่อเจ้าหน้าที่รัฐจะหายไป การตรวจสอบส่วยและ การทุจริตจะมีความยุติธรรมกลับมา ท่านประธานครับ ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะทั้งหมดนี้ ขอย้ำผ่านท่านประธานไปถึงรัฐบาล ผมขอกราบวิงวอนและร้องขอจากใจจริง ๆ ครับ ช่วยได้ เร่งแก้ปัญหานี้ ปัญหาที่อยู่ในใจพี่น้องชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอำเภอบางบาล ทุกคืนวัน ปัญหาที่พี่น้องชาวอยุธยาต้องสะดุ้งตื่นในยามค่ำคืน และต้องคอยระแวดระวัง ความปลอดภัยของลูกหลานในชุมชน ปัญหาที่พี่น้องชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาต้องโดน ทำร้ายทางเดินหายใจอยู่ทุกเสี้ยววินาที ผมขอกราบอ้อนวอนครับ ให้ท่านได้ช่วยรักษา ทางเดินหายใจของพี่น้องชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเสียที และขอให้เพื่อนสมาชิกได้ แนะนำทางออกและสนับสนุนรายงานฉบับนี้ด้วย ขอบคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปก็จะเชิญ ให้ท่านสมาชิกได้อภิปรายครับ ผมจะให้ฝ่ายรัฐบาล ๒ ท่าน ฝ่ายค้าน ๑ ท่าน เชิญท่านแรก คุณณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ คนละ ๗ นาทีครับ
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๗ อำเภอ นาทวี อำเภอสะบ้าย้อย ตำบลลำไพลของอำเภอเทพา พรรคภูมิใจไทย ท่านประธานครับ รายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง แนวทางแก้ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ การขนส่งทางบกและป้องกันการเรียกผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ วันนี้ได้ฟัง คณะอนุกรรมาธิการได้อภิปราย ๕ ประเด็นหลักครับ แต่ผมจะขอพูดแค่ ๒ ประเด็นครับ ท่านประธานด้วยเวลาอันจำกัด
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ ก็คือศึกษาแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย แสดงว่ากฎหมายที่ใช้ อยู่มันมีปัญหา
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ศึกษาแนวทางแก้ปัญหาการรับผลประโยชน์ แสดงว่า มันมีกระบวนการรับผลประโยชน์ในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นประเด็นที่บังคับใช้กฎหมาย หน่วยที่เกี่ยวข้องเหมือนที่คณะอนุกรรมาธิการได้ชี้แจงเมื่อสักครู่นี้ ๔-๕ หน่วยก็คือ กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กองบัญชาการตำรวจทางหลวง แต่ท่านประธานครับ มันยังมีหน่วยงานแฝงมากกว่า ๔ หน่วย ท่านพูดแค่ ๔ หน่วย มันมีหน่วยรับผลประโยชน์มากกว่านี้ เพราะฉะนั้นการควบคุมน้ำหนักเกินกำหนดตาม พ.ร.บ. ทางหลวง ปี ๒๕๓๕ มาตรา ๗๓/๒ มีโทษอะไรครับท่านประธาน เมื่อสักครู่นี้ คณะอนุกรรมาธิการบอกว่ามีโทษจำคุก ๖ เดือน ท่านเห็นด้วย แต่ผมไม่เห็นด้วย และมีโทษปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท ท่านบอกว่าท่านไม่เห็นด้วยกับกฎหมายเดิม แต่ให้มีการจัดเก็บระบบใหม่ ระบบก้าวหน้า อันนี้ผมเห็นด้วย ผมอยากให้การพิจารณายกเลิกกฎหมายจำคุกครับ ท่านประธาน ประเทศไทยเราใช้กฎหมายฉบับนี้มาปรากฏว่ามีคนไทยกี่คนที่ติดคุกกับ การขับรถ วันนี้ ปี ๒๕๖๗ เรายังมีกฎหมายให้คนขับรถติดคุก ๖ เดือน เขาฆ่ากันตาย ยังไม่ติดคุกครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นการแก้กฎหมายผมฝากคณะอนุกรรมาธิการไว้ ด้วยว่าคดีอาญาในเรื่องของการติดคุก ผมคิดว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ในการปรับ ค่าปรับต่าง ๆ ที่สูงขึ้น นี่คือสิ่งที่ท่านต้องไปดำเนินการ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เห็นด้วยกับคณะ อนุกรรมาธิการอีก ๑ ประเด็น ในส่วนของรถบรรทุกทำผิด พ.ร.บ. ทางหลวง ปี ๒๕๓๕ คืออะไรครับ คือให้ลงโทษผู้ขับขี่กระทำความผิด เห็นด้วยครับ คุณขับขี่รถกระทำความผิดลงโทษโดยการปรับ เห็นด้วยครับ แต่คณะอนุ กรรมาธิการบอกว่าให้ลงโทษผู้ว่าจ้าง หมายถึงใครครับ คนขับเราไปจ้างรถมาให้ลงโทษ ผู้ว่าจ้างด้วย ผมไปสั่งทรายมา ๑ รถสิบล้อ ถ้ากระทำความผิดแสดงว่าผู้ว่าจ้างคือใครครับ ท่านพูดให้ชัด และผู้ประกอบการขนส่งเจ้าของรถ นี่คือส่วนที่จะรับผิดชอบในการกระทำ ความผิด คณะอนุกรรมาธิการพูดให้ชัดว่ารับความผิดในขนาดไหน ในกรณีที่รู้เห็น ในการกระทำความผิดท่านเขียนไว้ชัดครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เห็นด้วย แต่ต้องระวังครับ ท่านประธาน เห็นด้วยไหมครับ เห็นด้วย แต่ต้องระวัง Nominee ครับ ในกระบวนการขนส่ง ทั้งหมดเราเป็นที่รู้กันว่าเจ้าของรถตัวจริงเขาไม่ไปจดทะเบียน และในกรณีนิติบุคคลที่เป็น บริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัด ท่านจะไปดำเนินคดีไล่เบี้ยอย่างไร เพราะฉะนั้นการผลักความผิด โดยเฉพาะไปซื้อรถ บริษัทเป็นร้อย ๆ คัน ถามว่าเจ้าของจะไปจดเองไหมครับ การจดทะเบียน การค้าบริษัทมันก็ใช้ Nominee นี่คือสิ่งที่เรากังวล เหมือนกับการกระทำความผิดในปัจจุบัน คืออะไรครับ มันมีบัญชีม้าครับท่านประธาน นี่คือสิ่งที่เรากังวล และประเด็นสุดท้ายที่คณะ อนุกรรมาธิการตั้งเป็นข้อสังเกต เรื่องให้กรมทางหลวงเร่งดำเนินการสรุปผลตั้งหน่วยงาน ควบคุมยานพาหนะให้เป็นกองควบคุมน้ำหนักตามกฎกระทรวง แสดงว่าวันนี้กรมทางหลวง ยังไม่ดำเนินการใช่ไหมครับ หรือกรมทางหลวงดำเนินการในเรื่องนี้ แต่ยังไม่เสร็จใช่ไหมครับ ท่านพูดให้ชัดว่ากรมทางหลวงดำเนินการถึงขั้นไหน นี่คือสิ่งที่เราขอท้วงติงคณะอนุ กรรมาธิการนะครับ เพราะฉะนั้นสรุปผมเห็นด้วยกับคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ ที่ตั้งข้อสังเกต ผมคิดว่ามันจะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะประเด็นการ กระทำความผิดแล้วก็ติดคุก นี่คือสิ่งที่ผมกังวล และผมไม่เห็นด้วยถ้ากฎหมายฉบับเดิม ท่านให้ยังคงอยู่เหมือนที่ผมบอกครับ วันนี้เรามาถึงจุดนี้โทษจำคุกพอสักทีนะครับ ขับรถผิด ติดคุก ๖ เดือน ท่านไปใช้กระบวนการในการเก็บค่าปรับให้มาก ๕๐ ตัน ๕๐๐,๐๐๐ บาท อันนี้เห็นด้วย ก็ขอให้คณะอนุกรรมาธิการบันทึกคำอภิปรายของผมไว้ในนี้ด้วย เพื่อเป็น ข้อสังเกต ท่านประธานครับ เหลือเวลาสั้น ๆ นิดเดียว บังเอิญวันนี้มันมีเรื่องร้องเรียนครับ ท่านประธาน เรื่องที่เกี่ยวเนื่อง ผมเลยอยากถามคณะอนุกรรมาธิการว่ามันเกี่ยวข้องไหม ปรากฏว่ามันมีกับดักทางการจราจรเรียกว่า แหล่งผลประโยชน์มืด ประชาชนมาร้องเรียนผม ครับท่านประธาน มีร้านอาหาร สถานความงามที่ถนนพหลโยธิน ขอสไลด์หน่อยครับ
นายณัฎฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ถนนพหลโยธิน ซอย ๕ ซอยราชครู ที่วงอยู่นั้นครับท่านประธาน ปรากฏว่าเป็นพื้นที่พิศวงครับ ท่านประธานเอารถไปจอดเวลา ห้าโมง โดนล็อกล้อเลยครับ ปรากฏว่าผมเองไม่เชื่อ ลองไปดูครับ เอารถไปจอดที่เลยวง ไปประมาณ ๓ คัน มาจริงครับ ใครมาล็อกล้อครับ มนุษย์ต่างดาวครับ มาล็อกล้อ โดยใช้สายพลาสติกมาล็อกล้อ ผมเลยโทรไปที่ สน. พญาไทบอกว่า มาเอาออกให้ด้วย ท่านประธานครับ ใครมาเอาออกให้ครับ มีวัยรุ่นคนหนึ่งใส่หมวกแก๊ปนุ่งกางเกงขาสั้น มาไขออก ก็เลยอยากให้ สน. พญาไทตรวจสอบถนนพหลโยธิน ซอย ๕ ซอยราชครูบริเวณ มุมนั้นว่ามนุษย์ต่างดาวคนไหนมาเรียกเก็บเงินพี่น้องประชาชนบริเวณนั้น ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณนิพนธ์ คนขยัน
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขตเลือกตั้งที่ ๓ พรรคเพื่อไทย ขออนุญาตร่วมอภิปราย ท่านประธานครับ ขออนุญาตร่วมอภิปรายที่คณะประธาน คณะอนุกรรมาธิการ ท่านคณะอนุกรรมาธิการรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการป้องกันการเรียก รับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ หรือว่าส่วยนะครับ ท่านประธานครับ ก็จะฝากข้อสังเกต เพราะเพื่อนสมาชิกหรือว่าหลาย ๆ ท่านอภิปราย แต่พี่น้องประชาชนพื้นที่ผมบอกว่าวันนี้ ต้องพูดเรื่องนี้ให้หน่อย
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
เรื่องแรก ที่ผมจะนำเรียนต่อท่านประธานผ่านไปยังคณะอนุกรรมาธิการ และเพื่อนสมาชิกทุกท่านได้รับทราบ วันนี้ส่วยตัวหนึ่งหรือว่าอันหนึ่ง ถนน ๔ เลน แต่วันนี้ รถที่วิ่ง ๓,๐๐๐ ซีซี ๑๒๐ แรงม้า แต่บอกว่าห้ามวิ่งเกิน ๑๐๐ บางที่ ห้ามวิ่งเกิน ๑๒๐ แต่มัน ถนน ๔ เลน ๖ เลน เขาบอกว่าถ้าให้วิ่งช้าล่ะ ซีซีรถต้องบังคับแล้ว อันนี้ชาวบ้านร้องมาครับ ท่านประธาน ๓,๐๐๐ ซีซี ให้วิ่งร้อยเดียว ถนนสัก ๔ เลน ๖ เลน ๑๒๐ สูงสุด อันนี้ก็ฝากทาง คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมาย ที่เกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ ฉบับนี้ นะครับว่าในอนาคตข้างหน้านี้ อย่างที่ผมกราบเรียนเพื่อนชาวบ้านร้องมาว่าถ้าถนนสะดวก ทางสบายเพิ่มความเร็วให้มากกว่านี้ได้ไหม ส่วนเรื่องอุบัติเหตุ ท่านอาจจะมองว่าอุบัติเหตุ ก็ไม่เถียงครับท่านประธาน วิ่งเร็วโอกาสประมาทหรือเกิดอุบัติเหตุได้ แต่การเกิดอุบัติเหตุ ส่วนมากมันจะมาลักษณะจากองค์ประกอบอื่น เช่น เมาสุรา เห็นไหมครับ ช่วงหน้านี่ใกล้แล้ว สงกรานต์ก็มีส่วนมาก วิ่งความเร็วถนนดีนะครับ แต่ถามว่ามีอุบัติเหตุไหม ก็มี แต่มันก็น้อย ครับท่านประธาน ฝากข้อสังเกตไว้
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ วันนี้ที่เพื่อนสมาชิกในคณะอนุกรรมาธิการบอกว่า วันนี้ต้อง ให้อำนาจท้องถิ่น เห็นด้วยครับ วันนี้ทุกสิ่งทุกอย่างท้องถิ่นถ้าจัดการได้ รวดเร็ว ทันใจ เพราะอะไรครับ ท้องถิ่นมีทั่วประเทศ อบต. เทศบาล อบจ. ให้อำนาจไปต้องให้เงินไปด้วย งบประมาณไปด้วย ถ้าให้แต่อำนาจไม่ให้เงินไม่ให้งบประมาณไปก็ทำไม่ได้ครับ เพราะฉะนั้น วันนี้เป็นไปได้เห็นด้วยอย่างยิ่งที่เพื่อนสมาชิก ที่คณะอนุกรรมาธิการบอกว่าต้องให้ท้องถิ่น จัดการตนเองเรื่องนี้หรือเรื่องอื่น ๆ เห็นด้วยครับ แต่งบประมาณก็ต้องมี อำนาจก็ต้องมี มีแต่ อำนาจไม่มีงบประมาณก็ทำไม่ได้หรอก สิ่งหนึ่งอยากฝากข้อสังเกตนะครับ ถึงพี่น้อง ประชาชนทั้งหลายว่านี้เข้าใจครับราชการก็มีขีดจำกัด แต่ถ้าทุกคนทำตามหน้าที่ หน้าที่ของพลเมืองดี หน้าที่ของประชาชน ช่วยเป็นหูเป็นตาตรวจสอบข้าราชการที่ต้องการ ส่วยทั้งหลาย เขาอาจจะเกรงกลัวบ้างวันนี้โทรศัพท์ถ่ายรูปได้ทันสมัยเหลือเกิน ก็ฝากพี่น้อง ประชาชนคนไทยในชาติทั้งประเทศว่าเราต้องร่วมด้วยช่วยกัน ไม่อย่างนั้นปล่อยให้แต่คนใด คนหนึ่งทำงานปราบปราม ประชาชนมีมากครับ ทุกพื้นที่ วันนี้โทรศัพท์ถ่ายได้เลย ส่วยทั้งหลายเห็นไหมครับที่เราเห็นตามข่าว มาออกสื่อต่าง ๆ เพราะฉะนั้นวันนี้ก็ฝากหน้าที่ พลเมืองดีของพี่น้องประชาชน วันนี้ต้องขอบคุณท่านประธานคณะอนุกรรมาธิการ ท่านคณะกรรมาธิการทุกท่านในการศึกษาการแก้ปัญหาในการป้องกันส่วยไม่ให้เกิดในเรื่อง ของขนส่งทางบก หรือทางน้ำอาจจะมีก็ไม่ทราบนะครับ แต่วันนี้เรื่องทางบก ก็กราบเรียน ท่านประธานว่าเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำเสนอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไปว่าเราจะทำ จะแก้ปัญหาเรื่องส่วยทางบกนี้อย่างไร ก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง ก็ขอเป็นกำลังใจกับทุกท่านที่จะ ร่วมด้วยช่วยกัน และสำคัญก็อย่างที่ผมกราบเรียนว่าท้องถิ่นสำคัญครับ ให้อำนาจท้องถิ่น ให้งบประมาณท้องถิ่นกระจายลงท้องถิ่นได้ร่วมด้วยช่วยกัน ทุกคนรักบ้านตัวเอง รักบ้านเกิด รักท้องถิ่นตัวเอง สุดท้ายก็รักประเทศไทย ท้ายที่สุดปัญหา ต่าง ๆ และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในหน้าที่พลเมืองดี ก็จะแก้ปัญหาส่วยตรงนี้ได้เป็น อย่างดีครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณกิตติภณ ปานพรหมมาศ ครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม กิตติภณ ปานพรหมมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต ๔ พรรคก้าวไกล ผู้แทนจากอำเภอบางเลน อำเภอดอนตูม อำเภอกำแพงแสน ในตำบล สระพัฒนาและตำบลห้วยม่วง จังหวัดนครปฐม ผมต้องร่วมในการศึกษาแล้วก็ตั้งข้อสังเกต ให้กับคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้เกี่ยวกับเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ ขนส่งทางบก และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ จังหวัดนครปฐมก็เป็น เมือง ๆ หนึ่งที่ขึ้นชื่อเลยนะครับ แล้วก็เป็นที่มาของญัตติในการตั้งคณะอนุกรรมาธิการครั้งนี้ อย่างที่ท่านประธานคณะกรรมาธิการได้เกริ่นออกมานะครับ ข้อหนึ่งเลยครับ ก็ต้องบอกว่า ผมชื่นชมว่าทางคณะอนุกรรมาธิการได้ศึกษาแล้วก็ได้เสนอข้อสังเกตหลาย ๆ ข้อ แล้วก็มี ความน่าสนใจที่จะช่วยแก้ปัญหา แต่ผมก็ยังพบว่ามีข้อเสนอแนะที่อยากจะเสนอทางคณะอนุ กรรมาธิการไปให้เพื่อทบทวนบางข้อ แล้วก็แก้ไขปรับปรุงหากทำได้นะครับ เพราะว่า หลังจากที่ได้ศึกษาแล้วมีสัก ๒ ประเด็นที่ผมจะกล่าวถึง ซึ่งจะเชื่อมโยงกับปัญหาต่าง ๆ เรื่องส่วย การเรียกรับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างที่บอกครับ ผมอยู่ในจังหวัด นครปฐม มีธุรกิจบ่อดิน รถบรรทุกวิ่งผ่านตั้งแต่บางเลนไปเขตเพื่อน สส. คุณเกียรติคุณ ต้นยาง ก็เหมือนกัน คุณนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ ก็มีรถบรรทุกบ่อดิน บรรทุกดินผ่านไปยัง จังหวัดนนทบุรีและเข้ากรุงเทพมหานคร
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ข้อ ๑ มีข้อสังเกต ก็คือการที่เสนอให้กระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง รวมถึงกรมทางหลวงชนบท แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบรรทุกน้ำหนักเกินกฎหมายกำหนด มีข้อกังวล แล้วก็มี ข้อเสนอแนะที่ผมเห็นว่าควรจะนำมาพูดถึงหลังจากที่ได้ศึกษาในเล่มนี้ ก็คือโทษของการเอา ผิดผู้ว่าจ้างขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถ ทั้งนี้ผมมองว่าการจัดการในการ กำหนดโทษในลักษณะเดียวกันในกลุ่ม ๓ กลุ่มนี้ค่อนข้างจะละเอียดอ่อนและอาจจะเกิด ความไม่เป็นธรรมได้ จริง ๆ แล้วผมจะพูดในส่วนของผู้ว่าจ้าง ในความจริงแล้วผู้ว่าจ้างไม่มี ทางรู้เลยว่าขนส่งจะแบกน้ำหนักมาแค่ไหนในความจริง ส่วนใหญ่ก็จะสนใจแค่ว่า Lot นี้มีค่า ขนส่งเท่าไร หรือกรณีที่ถมดินผู้ว่าจ้างก็จะสนใจเพียงว่าตกลงไว้ ๑ ไร่ราคาเท่าไร โดยไม่รู้ แล้วก็น่าจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่ารถบรรทุกเหล่านี้จะต้องวิ่งกี่เที่ยวและบรรทุกน้ำหนักเท่าไร ซึ่งในส่วนนี้ผมคิดว่ามันเป็นโทษที่อาจจะต้องแตกต่างกัน อาจจะเน้นไปตรงที่เจ้าของ รถบรรทุกหรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ก็เห็นว่ามีส่วนเพิ่มเติมก็คือกรณีการมีส่วนรู้ เห็นในการกระทำผิดดังกล่าวข้างต้น อันนี้ก็ชื่นชมว่าอย่างน้อยก็มีข้อเสนอที่รัดกุมจาก คณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ ต่อมาจริง ๆ หากเราจะแก้ปัญหาเรื่องโครงสร้างเราต้องแก้ให้ ถูกต้อง ไม่นับเรื่องของการบังคับใช้ พ.ร.บ. ขุดดินถมดินที่เป็นจุดกำเนิดของการแบกน้ำหนัก ของรถบรรทุกที่ยังมีช่องว่าง มีความล้าหลัง แล้วก็ยังมีปัญหาของการบังคับใช้ ทำให้เกิด ช่องว่างในการรับผลประโยชน์เช่นกัน
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ข้อต่อมาอีกข้อเสนอหนึ่งที่ผมมองว่ามีส่วนสำคัญ ก็คือการให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวง ทางหลวงชนบท กองบังคับการตำรวจทางหลวง จริง ๆ ถนนอาจจะไม่ได้มีแค่ของทางหลวงเท่านั้นนะครับ ขอชื่นชมท่านคณะอนุกรรมาธิการ ที่ให้เขาเสนอมาว่าจะมีการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้ที่รักษา ถนนเส้นอื่น ๆ เส้นรองนะครับ ก็ปัจจุบันเราจะเห็นในพื้นที่จังหวัดนครปฐมเลยนะครับ รถบรรทุกก็มักใช้เส้นทางเหล่านี้ในการขนส่งเช่นกันในพื้นที่ ผมมองว่าการกระจายอำนาจ ดีครับ เป็นเรื่องที่ดีเลยและมองว่าจริง ๆ แล้ว เราควรจะให้อำนาจแก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ให้สามารถแก้ไขจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไรดี ผมคิดว่าควรจะมีการให้อำนาจ ในการกวดขัน รวมถึงควบคุมน้ำหนักหรือด่านตาชั่งลอย และควรเพิ่มเจ้าหน้าที่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยเช่นกัน อีกทั้งสภาพจริง ๆ แล้วการที่มีหน่วยงานแค่กรมทางหลวง ตำรวจทางหลวง ทางหลวงชนบทแล้วอาจจะมีการตรวจจับที่ไม่เพียงพอครับ แล้วก็ได้ฟังจาก ทางประธานคณะอนุกรรมาธิการที่แจงว่าการแก้ไขเหล่านี้ก็จะมีอัตราการบรรจุพนักงาน ที่ไม่เพียงพอด้วยเช่นกัน ซึ่งหากมีการกระจายอำนาจผมคิดว่าน่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ที่สำคัญลองคิดดูว่ารถบรรทุก ๑ คัน เราได้ผ่าน อปท. อย่างน้อยในการขนส่งถึงปลายทาง ต้องผ่าน อปท. อย่างน้อย ๔-๕ อปท. ก็สามารถช่วยกันกวดขันได้มากขึ้น แบ่งเบาภาระใน อัตราเจ้าหน้าที่ที่ไม่เพียงพอด้วยเช่นกัน
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
สุดท้ายแล้วผมมองว่าผู้ประกอบการรถบรรทุกเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนวิธีปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น ที่สำคัญที่ผมอยากจะย้ำสุดท้ายเลย การกวดขันอย่าง เท่าเทียมในกฎหมายฉบับเดียวกัน กฎหมายตัวเดียวกัน หากเรากวดขันกับผู้ประกอบการ อย่างไม่เท่าเทียม ไปกวดขันเฉพาะผู้ประกอบการรถบรรทุกขนาดเล็กก็อาจจะเกิดผล อันตรายได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นปัญหามันเกิดทั้งเล็กและใหญ่ต้องแก้ไขด้วยกัน ร่วมกัน ผมขอเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนก็สนับสนุนให้มีการแก้ไขเรื่องนี้ แล้วก็ขอบคุณทาง คณะอนุกรรมาธิการที่ช่วยศึกษาและให้แนวทางส่วนหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียกรับ ประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเกี่ยวกับการขนส่งทางบก ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณอรรถกร ศิริลัทธยากร ครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.จังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ ขออนุญาตอภิปรายให้ความเห็นต่อรายงาน เรื่อง แนวทางการแก้ไข ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งทางบกและการป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ ท่านประธานที่เคารพครับ กระผมคิดว่ารายงานฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้น โดยความตั้งใจที่อยากจะแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับ ในเรื่องของทางหลวงหรือว่าถนนหนทาง ผมเรียนท่านประธานว่าประธานคณะกรรมาธิการ ชุดนี้ ก็คือท่าน สส. ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม จากจังหวัดสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ซึ่งต้องบอกว่ามัน ทำให้ผมสามารถตั้งความหวังไว้ว่ารายงานฉบับนี้จะถูกส่งไปยังกระทรวงคมนาคมและ สามารถแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้โดยเร็ว เพราะว่าท่าน สส.ครูมานิตย์ เป็น สส. จากพรรคเพื่อไทย และขณะนี้พรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือรัฐมนตรีช่วยก็มาจากพรรคเพื่อไทยทั้งนั้น ดังนั้นเองผมจึงตั้งความหวังกับรายงานฉบับนี้ ไว้เยอะนะครับ แล้วก็ต้องขอชื่นชมท่านประธานคณะอนุกรรมาธิการ ท่านอนุรัตน์ ตันบรรจง สส. จังหวัดพะเยา จากพรรคพลังประชารัฐ เพราะว่าเมื่อวานท่าน สส. อนุรัตน์ ท่านประธาน อนุรัตน์ มาบอกผมว่ารายงานฉบับนี้ตัวเขาแล้วก็คณะอนุกรรมาธิการทุก ๆ ท่านตั้งใจที่จะทำ ให้ผมร่วมอภิปรายให้ความเห็นด้วย วันนี้ผมก็ทำตามสัญญาครับ ท่านประธานที่เคารพครับ จริง ๆ แล้วในเรื่องปัญหาบนท้องถนนที่เกิดขึ้น ผมว่าทุกจังหวัด ๆ ของผมก็เกิดครับ จังหวัดของท่าน สส. ศุภโชค ศรีสุขจร จากจังหวัดนครปฐมก็บอกว่ามีปัญหาเกี่ยวกับผู้ใช้ รถบรรทุกเยอะ แล้วมันก็บรรทุกน้ำหนักเกินทำให้ถนนเสียหาย หรือแม้แต่กระทั่งเมื่อสักครู่นี้ผมได้คุยกับ สส. อัคร ทองใจสด จากจังหวัดเพชรบูรณ์ เราก็พบ ปัญหาคล้าย ๆ กัน ท่านประธานที่เคารพครับ ต้องบอกว่ารายงานฉบับนี้มีหลากหลาย ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฎหมาย มาตรการในการควบคุมน้ำหนัก อย่างที่ผมบอกไป แล้วว่าทุกวันนี้มันยังมีปัญหากับการบังคับใช้กฎหมายและการนำไปปฏิบัติอยู่ ซึ่งในรายงาน ฉบับนี้ก็ได้บอกถึงวิธี ข้อเสนอแนะในการแก้ไข ก็ต้องขอบคุณด้วยนะครับ ท่านประธาน ที่เคารพครับ ผมเรียนว่าเรื่องการบรรทุกน้ำหนักเกินนี้เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเสียหาย ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ผมยกตัวอย่างนิดเดียว เมื่อก่อนนี้ที่สี่แยกบางคล้าในจังหวัดฉะเชิงเทรา ถ้าท่านประธานได้ลองผ่านไปนี้ท่านประธานจะรู้ได้เลยว่าถนนมันเป็นลอน มันเป็นหลุม เพราะว่ามีรถบรรทุก บรรทุกน้ำหนักเกิน แต่ว่าขณะนี้ปัญหานั้นได้ถูกแก้ไขเบาบางลง เนื่องจากทางกรมทางหลวงได้สร้างสะพานข้ามแยกไป แต่ผมเรียนท่านประธานว่าถ้าเรายัง ไม่ดูแลหรือว่ากำกับการบรรทุกน้ำหนักเกินของรถบรรทุก ถึงแม้จะมีสะพาน สะพานก็คงจะ ชำรุดเสียหายอย่างรวดเร็วในอนาคตครับ นอกจากประเด็นในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย แล้วผมยังเรียนต่อท่านประธานว่า ทุกวันนี้เราต้องยอมรับตรง ๆ ว่า ทั้งในกรุงเทพมหานคร หรือว่าในต่างจังหวัดมีการฝ่าฝืนกฎหมายเยอะ โดยเฉพาะพี่น้องที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์หรือว่า ใช้รถจักรยาน ผมยกตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นอุโมงค์หรือว่าสะพาน เขามีป้ายว่าห้ามรถมอเตอร์ไซค์ขึ้นหรือห้ามรถมอเตอร์ไซค์ลอดใต้อุโมงค์ แต่ทุกวันนี้ ในกรุงเทพมหานครเราก็ยังเห็นอยู่พี่น้องที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์ยังใช้สะพานหรือใช้อุโมงค์อยู่ ซึ่งจริง ๆ แล้วผมก็ไม่ได้ติดใจอะไรนะครับ แต่ว่าบางครั้งการขับแล้วแซงไปแซงมามันทำให้ เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ด้วยความเป็นห่วงผมจึงอยากให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดูแล ในเรื่องนี้ด้วยว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ในส่วนของต่างจังหวัดก็มีการวิ่งย้อนเลนอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากที่กลับรถ ส่วนใหญ่ในต่างจังหวัดถนนมันไกลที่กลับรถ ดังนั้นเองเพื่อความปลอดภัยของพี่น้อง ประชาชนแล้วก็เพื่อประโยชน์ด้วย ถ้าที่จอดรถมันไกลจริง ๆ พอจะทำได้หรือเปล่า สะพาน ข้ามในเขตชุมชน เพื่อให้ไม่ว่าจะเป็นคนเดินถนน ไม่ว่าจะเป็นรถจักรยาน ไม่ว่าจะเป็น รถมอเตอร์ไซค์ไม่ต้องไปกลับรถไกล ก็สามารถขึ้นสะพานเล็ก ๆ ข้ามถนนไปได้เลย ถ้าทำ อย่างนั้นได้ผมเชื่อว่าไม่มีใครอยากจะไปขับรถไกล ๆ แล้วก็ถ้าสามารถทำตรงนี้ได้ก็จะ สามารถช่วยในการลดอุบัติเหตุ ลดความเสียหายได้ ถึงแม้ว่ามันก็คงจะต้องใช้งบประมาณ มากพอสมควรก็ตาม นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่มีผลกระทบต่อนักท่องเที่ยว ผมเรียนว่าขณะนี้ นโยบายของรัฐบาลเรากระตุ้นการท่องเที่ยว เราต้องการที่จะดึงนักท่องเที่ยวให้มาใช้ ให้มาจับจ่ายใช้สอยให้นำเงินเข้าประเทศไทยเยอะ ๆ ซึ่งขณะนี้ก่อนหน้านี้น่าจะปีสองปี ผมมีโอกาสได้คุยกับเขาเรียกว่า ผู้ประกอบการที่ขับรถส่วนตัวให้บริการผ่านช่องทาง Application ต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ว่าไม่ว่าจะเป็น Taxi Lineman ไม่ว่าจะเป็น Grab อะไร อย่างนี้นะครับ มีการถูกจับอยู่ที่สนามบินบ่อยครั้ง มีการถูกจับอยู่ที่สถานท่องเที่ยว อยู่บ่อยครั้ง แต่อย่างไรก็ตามการใช้บริการหรือว่าลูกค้านักท่องเที่ยวไม่ได้ลดจำนวนลง ในทุก ๆ วันกลับที่จะเรียกใช้บริการกลุ่มนี้เยอะขึ้น เยอะขึ้นด้วยซ้ำ ดังนั้นเองในเมื่อห้ามไม่ได้ แล้วเราไปจับเขา ผมเชื่อว่ามันเป็นการทำลายโอกาสในการทำมาค้าขาย ในการทำมาหากิน ของเขา ผมคิดว่าการที่เราจะปล่อยให้เขาได้ร่วมทำมาหากิน ยกตัวอย่างคนขับ Grab หรือว่า คนขับ Taxi Lineman อะไรก็ว่ากันไป ถ้าสามารถเข้าไปรับนักท่องเที่ยวได้ ไม่ว่าจะเป็น สนามบิน ไม่ว่าจะเป็นถนนข้าวสารหรือวัดต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ แต่อยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลของหน่วยงานรัฐบาลนี้ ผมเชื่อว่ามันจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับนักท่องเที่ยว สำหรับ พี่น้องประชาชนที่มีความต้องการในการใช้บริการกลุ่มเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ดีครับ ผมก็ยัง สนับสนุนในการใช้บริการขนส่งของรัฐบาล หรือแม้แต่กระทั่ง Taxi ที่ลงทะเบียนกับสนามบินไว้ ผมเข้าใจว่าทุกอย่างมันมีค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ดี ถ้าทุกฝ่ายมาเสนอตัวเพื่อรับการบริการให้ เขาไปแข่งในเรื่องของคุณภาพ ให้เขาไปแข่งในเรื่องของราคา ให้เขาไปแข่งในเรื่องของ ความปลอดภัย ส่วนการบริหารจัดการอย่างไรนี้ก็ให้ภาครัฐเข้าไปดูแลกำกับ ให้ทุกฝ่ายแข่งกัน อย่างเป็นธรรม ผมเชื่อว่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นักท่องเที่ยวนั้นสามารถเลือกได้ จะใช้รถไฟฟ้า จะใช้ Airport Link จะใช้ Taxi ของสนามบินหรือจะเรียก Grab ผ่าน Application ก็เป็นไปได้ เพื่อให้ทุก ๆ อย่างนี้มันสะดวกสบาย เพื่อให้เขามีความเต็มใจ ที่จะมาใช้เงินในประเทศของเรา ให้คนไทยสามารถมีเงินเพิ่มขึ้นในประเทศเยอะ ๆ ดังนั้น ผมมีเวลาไม่มาก แล้วก็เคารพที่ท่านประธานเป็นห่วง ก็ยังมีอีกหลายประเด็น แล้วก็ ขอบคุณท่านประธาน ขอบคุณท่านคุณครูมานิตย์ ขอบคุณท่าน สส.อนุรัตน์ ตันบรรจง ที่วันนี้ได้ตั้งใจทำรายงานฉบับนี้ เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาบนท้องถนนของประเทศไทย ด้วยความเคารพครับ ผมเห็นด้วยกับรายงานฉบับนี้ครับ กราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณธีระชัย แสนแก้ว ครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายธีระชัย แสนแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ต่อรายงาน ฉบับนี้ ท่านประธานที่เคารพครับ รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาสภาพปัญหาการบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องการขนส่งทางบก เป็นการศึกษาสภาพการเรียกรับผลประโยชน์ ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม สามารถปกป้องทุจริตและบังคับใช้กฎหมายได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความพยายามของคณะกรรมาธิการในช่วงระยะเวลา ๓ เดือน จากที่พวกเราได้ยื่นญัตติที่ปัญหามันเกิดขึ้นนั้นสามารถดำเนินการมาได้ถึงขนาดนี้ ผมต้องขอ ชื่นชมครับ ท่านประธานครับ ผมเห็นด้วยในหลายประการที่ท่านได้เสนอ ๒-๓ ท่าน ที่ได้กล่าวรายงานในที่ประชุมแห่งนี้ กระผมคิดว่าจะไม่พูดแล้ว เพราะว่าทุกอย่างผมเห็นด้วย เกือบทั้งหมด แต่ไม่ใช่ทั้งสิ้นครับท่านประธาน ท่านประธานที่เคารพครับ กรณีเกี่ยวกับเรื่อง การบังคับใช้กฎหมายนั้น ซึ่งเราจะแก้จากบทลงโทษนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะว่า จากบรรทุกน้ำหนักเกิน ๑๐๐ กิโลกรัม ถึง ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม ก็มีผลเท่ากัน ก็คือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท อันนี้เห็นด้วยในการที่พวกท่านได้แก้ จาก ๑๐,๐๐๐ บาทขึ้นไปถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยแก้พระราชบัญญัติ ปี ๒๕๓๕ ก็คือมาตรา ๗๓/๒ กำหนดโทษไว้ต่ำมาก เพราะฉะนั้น ก็ให้มีการแก้ไขในเรื่องนี้ ท่านประธานครับ นอกจากโทษอัตราต่ำแล้วการที่กฎหมายไม่มี บทลงโทษผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการคือเจ้าของรถ บาปกรรมเท่าที่มีประสบการณ์ ก็คือ คนที่ติดคุกก็คือคนขับรถ ส่วนใหญ่ไม่เกิน ๖ เดือน แต่ติดประมาณ ๑ เดือน ๒ เดือน แล้วแต่ จะส่งฟ้องกำหนดที่อัตราน้ำหนักเกินเท่าไรเป็นเท่าไร ตรงจุดนี้ผมก็เลยบอกว่าต้องเอา ตัวผู้ประกอบการด้วย เจ้าของกิจการด้วย อันนี้ผมเห็นด้วย เพราะว่าก่อนที่จะออกรถบรรทุก ไป เจ้าของกิจการบอก มึงบรรทุกเต็มที่เลยเดี๋ยวกูเคลียร์เอง อย่างนี้ลูกน้องก็ได้ใจจะขนอะไร ก็แล้วแต่ ที่เป็นสิ่งที่ขนประจำ ปกติประจำ อิฐ หิน ดินทรายอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งมันก็เป็น ปัญหาอย่างนี้มาโดยตลอด เพราะฉะนั้นเรื่องส่วยนี้ก็เป็นเรื่องของผู้สมัครใจให้ และผู้รับ ในเมื่อผู้รับและผู้ให้เงินสด มันก็ไม่รู้ว่าจะไปเอาความผิดอะไร อย่างไรกับใคร เพราะฉะนั้น ปัญหานี้ มันก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว ซึ่งเป็นปัญหาโลกแตก ท่านประธานครับ การกำหนดโทษเป็นขั้นบันได ผมก็เห็นด้วยเหมือนอัตราการเก็บภาษี หรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ก็เห็นด้วยในการที่จะต้องดำเนินการ และบทลงโทษ คือผู้จ้างวานก็ไม่ต้องก็ได้ คือผู้จ้างวาน ก็คือเป็นผู้ต้องไปบันทึกใหม่เสียเอาผู้ประกอบการเจ้าของรถ ขนาดเจ้าของรถแท้ ๆ เวลาติด คุกเขาก็จะไปปลอมแปลงเอกสาร ปลอมแปลงเอกสารว่าไม่ใช่รถของตัวเอง เช่าซื้อ อันนี้ ก็เป็นประเด็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรถยนต์ มันเป็นปัญหาโลกแตกเหมือนกัน ท่านก็ลอง ๆ ไปคิดดูว่าเรื่องนี้จะต้องทำอย่างไร จะต้องกำหนดระเบียบเกี่ยวข้องกับเบี้ยเลี้ยงในการออกตรวจตราสนับสนุนหน่วยชั่งน้ำหนัก เคลื่อนที่ และตำรวจทางหลวงให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นและยังเป็นการป้องกัน เรียกรับส่วยได้อีกทางหนึ่ง คงได้ไม่มาก คนที่มันโลภจะอัดจะให้เท่าไร จะเบี้ยเลี้ยงเท่าไร จะเอาเงินหลวงไปเท่าไรก็แล้วแต่ แต่อาจจะมีเจ้าหน้าที่บางคนที่มีอุดมการณ์ ที่มีความคิด มันก็มี มันไม่ได้ชั่วทั้งหมดหรอกนะครับ แต่อาจจะพอแก้ปัญหาได้บ้าง เท่าที่รู้นี้เพราะมันเคย ตัวแล้ว มันส่วยเต็มบ้านเต็มเมืองมันเคยตัวแล้ว เพราะอาจจะมีเจ้าหน้าที่บางคนเท่านั้น ที่อาจจะถูกนายสั่งว่าเดือนนี้คุณจะต้องหาเงินได้เท่านั้นเท่านี้ เพราะฉะนั้นตรงจุดนี้ก็ไปดู รายละเอียดก็แล้วกัน
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกรับผลประโยชน์ที่เป็นเจ้าหน้าที่นี้ มีอำนาจในการควบคุมทางหลวง ก็คือมีสภาพปัญหาที่เกิดจากการใช้ดุลยพินิจโดยทุจริต ในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่บางคน ปัญหานี้ก็แก้ไขได้ยาก ซึ่งกระผมได้กราบเรียนไปบ้างแล้ว และในการสอบสวนขยายผลในการดำเนินคดีนั้นมันมีสาเหตุเกิดจากความสมัครใจของผู้ให้ และผู้รับ อันนี้ก็เป็นประการที่สำคัญ และเห็นด้วยในการที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา เพื่อที่จะใช้อิเล็กทรอนิกส์ในการที่จะใช้น้ำหนักบรรทุกในขณะที่วิ่ง รวมทั้งการติดตั้งวงจรปิด อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อที่จะต้องใช้ปริมาณมาก แล้วก็อาจจะต้องให้มีชุมชนในการดูแลรักษา ไปด้วย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ นี้ก็ได้เกิดขึ้นอยู่ในชนบทอยู่แล้ว บางแห่ง บางที่ บางทางนี้เขาไม่ให้ รถบรรทุกผ่านเลย ไม่ให้บรรทุกผ่านเลย เขาจะเข้าไปเวรยามเลย และป้องกันเจ้าหน้าที่ บางรายที่อาจใช้อำนาจโดยมิชอบ โดยอาศัยความรู้เท่าไม่เข้าใจของพี่น้องประชาชน นี่ก็คือ ว่ากฎหมายของพี่น้องประชาชนเขา ๆ ไม่รู้ แล้วอาจจะเป็นช่องทางที่เราจะต้องไปจัดอบรม ที่เกี่ยวข้องเรื่องกฎหมายอย่างนี้ และผมใคร่ขอเสนอแนะอีกอย่างหนึ่งที่มันเกี่ยวข้องกับ พี่น้องเกษตรกรโดยตรง ซึ่งเป็นประเด็นสุดท้ายที่สำคัญต่อพี่น้องเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพาราอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะว่าเกษตรนี้เราสามารถนำรายได้ เข้าประเทศปีละหลายแสนล้านบาท นับล้านล้านบาท เพราะฉะนั้นในจุดนี้มันจะเป็นพืช ตามฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็นข้าวออกจากเก็บเกี่ยวเขาก็ต้องบรรทุก ทำให้ทันเวลากับช่วงเวลา อ้อยอย่างนี้ ข้าวอย่างนี้ เพราะฉะนั้นผมอยากจะขอกราบเรียนกับท่านทั้งหลายว่า ความหลุดพ้น จากความยากจนของพี่น้องเกษตรกรมีหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะว่าในไร่อ้อย ผมจะยกตัวอย่าง ในไร่อ้อยมันไม่มีตาชั่ง ในเมื่อมันไม่มีตาชั่ง เราก็กะน้ำหนักว่าจะน้ำหนักเท่าไร บางครั้ง ต้นทุนก็แพงถ้าบรรทุกน้อย มันก็ไม่สามารถที่จะเข้าทันเวลาได้ โดยใช้เวลาในการเก็บเกี่ยว แล้วจะต้องใช้เวลาในการส่งบรรทุกเข้าไปตั้งแต่ ๔๘ ชั่วโมงจนถึง ๗๒ ชั่วโมง ไม่อย่างนั้น คุณภาพความหวานก็ลดลง น้ำหนักก็ลดลง ทำให้รายได้ของเกษตรกรมีน้อยลง เรื่องอย่างนี้ ผมก็ต้องฝากไว้ด้วยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องบรรทุกของเกษตรกร เพราะว่าเขาใช้เวลาประมาณ ๓ เดือน ไม่เกิน ๔ เดือนเปิดหีบอ้อยเดือนธันวาคมก็จะปิดหีบอ้อยในช่วงเดือนมีนาคมเท่านั้น บางครั้งก็ใช้ประกาศ บางครั้งก็ใช้ MOU ในระดับจังหวัด บางครั้งก็ใช้มติ ครม. บางปีก็ใช้ ในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ แต่เอาตัวนี้เป็นข้อสังเกตด้วย เพื่อที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ซึ่งมีต้นทุนก็คือเป็นถึงขั้นว่าพ่อค้า คือกำไร เกษตรกร คือขาดทุน นี่คือคำจำกัดความ เพราะฉะนั้นต้นทุนของเขาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ผมขอสนับสนุนและเห็นด้วยกับรายงาน ฉบับนี้ของทุกท่าน แต่ขอตั้งข้อสังเกตเท่านี้ละครับ ให้ดูเรื่องเกษตรกรอย่าไปดูเฉพาะพวก รับเหมาขนอิฐ หิน ดิน ทรายเท่านั้น ให้ดูเกษตรกร ควรผ่อนผันหรืออะลุ่มอล่วยตามฤดูกาล หรือตามจังหวัดต่าง ๆ เหล่านั้น ที่มีพืชผลที่ผมได้กล่าวมาเบื้องต้น ผมขอขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณเอกราช อุดมอำนวย ครับ
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาผู้แทน ราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมืองพรรคก้าวไกล ผมต้องขอบพระคุณท่านประธานที่เปิดโอกาสให้ผมได้อภิปราย ซึ่งผมอ่านรายงานผล การพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งและ การป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐของคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร อ่านแล้วก็มีรายละเอียดที่ค่อนข้างครบทุกประเด็นครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นผมก็จะขอ อภิปรายสนับสนุนคร่าว ๆ ด้วยความเห็นที่ผมได้อ่านมาครับ ท่านประธานจากที่ผมได้ดูก็จะ มีข้อเสนอแนะต่อรายงานที่ท่านคณะอนุกรรมาธิการ ท่านประธานได้เขียนเอาไว้ ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องของการแก้ไขพระราชบัญญัติทางหลวง พุทธศักราช ๒๕๓๕ ที่เกี่ยวข้องกับ การบรรทุกน้ำหนักเกิน หรือการกำหนดโทษเอาผิดผู้ว่าจ้างการขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถ นี่ก็คือกรณีการขยายโทษผู้ที่เกี่ยวข้องออกไป หรือในกรณีที่เขารู้เห็นเป็นใจ ซึ่งอันนี้ก็ต้องไปถกเถียงกัน และมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นมาตรา ๗๐ ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มโทษ หรือว่ามาตรา ๗๓/๒ ที่เกี่ยวกับเรื่องของการคงโทษจำคุกเอาไว้ แล้วก็มีการกำหนดโทษปรับแบบอัตราก้าวหน้าตามน้ำหนักรถบรรทุก ซึ่งเขียนเป็นข้อ ๆ แบบนี้ แต่จริง ๆ ผมอยากเสนออีกนิดหนึ่งว่า ถ้าท่านทำเป็นร่างมาเลยพร้อมให้เพื่อนสมาชิก หยิบมาใช้ ที่ประชุมสภาแห่งนี้น่าจะเห็นด้วยที่จะนำร่างไปปรับปรุงหรือว่าร่วมกันเสนอ สภาชุดนี้ก็อยากจะแก้ไขกฎหมาย แต่ท่านประธานครับ มีเรื่องหนึ่งที่ผมอาจจะขออนุญาต พูดถึงเพิ่มเติม นั่นก็คือเรื่องของการที่มีโทษจำคุกอยู่ในกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งแบบนี้ บางครั้งผมก็ไม่แน่ใจว่าการกำหนดมาตรการที่เข้มมากจนเกินไป หรือว่าอ่อนมากจนเกินไป แบบไหน ตรงนี้ต้องมาถกเถียงกัน สิ่งหนึ่งที่เราขาดไปคือเราไม่เคยเอาผู้ที่ถูกพิพากษา หรือถูกยึดรถ หรือผู้ประกอบการมาให้ความเห็นว่าเขาคิดอย่างไร แล้วเขามีแนวทางที่จะ เสนอแนะแก้ไขอย่างไร เราก็น่าจะมีส่วนหนึ่งในการหาข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติม อันนี้คือ ข้อเสนอแนะ เพราะว่าบางครั้งในการออกกฎหมายอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เราลงนามไว้ หรือที่ทำไว้จะเห็นว่าการออกกฎหมายใหม่ ๆ ก็จะพยายามหลีกเลี่ยงโทษจำคุก ยกตัวอย่าง กฎหมายยาเสพติดถ้าหากว่าโทษจำคุกมีผลก็คงไม่มีผู้ค้ายาเสพติดในประเทศไทยแล้ว ดังนั้น ผมก็เลยมีข้อเสนอแนะต่อรายงานนี้เล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องการเสนอกฎหมายว่าอยากให้เป็น ร่างมาเลย และประเด็นที่ ๒ คือเรื่องของการเพิ่มโทษจำคุก แต่ในส่วนของโทษปรับที่เป็น พินัยก้าวหน้าทันสมัยมาก
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่งครับท่านประธาน ก็คือว่าเรื่องของแนวทางข้อสังเกต ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสภาพรถ ตรงนี้ผมก็ประสบด้วยตัวเอง ก็เห็นเหมือนกันกับที่ ท่านคณะอนุกรรมาธิการได้เสนอว่ากรมการขนส่งทางบกควรแก้ไขระเบียบหรือมาตรการ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับนายช่างในการตรวจรถ การถ่ายภาพอะไรต่าง ๆ ระเบียบพวกนี้เก่าหมดเลยครับ แล้วก็ไม่ทันสมัย แล้วก็ไม่เชื่อมโยงด้วย ควรทำทันที เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่งที่อยากจะให้รัฐบาลหรือกระทรวงคมนาคมรับข้อเสนอของ คณะกรรมาธิการชุดนี้ไปดำเนินการอย่างเร่งด่วน ในเรื่องของการที่ควรทำทันที Highlight สีแดงไว้เลย
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อีกอันหนึ่งที่ผมชื่นชมมาก ก็คือเรื่องของประเด็นข้อมูลเกี่ยวกับแนวทาง การเปลี่ยนยานยนต์เครื่องสันดาปให้เป็นยานยนต์ไฟฟ้า นี่คือ Trend ใหม่ที่ตอนนี้ ตลาดรถไฟฟ้าเข้ามาแล้ว ซึ่งการออกกฎหมายก็ต้องเท่าทันและทันสมัย นี่คือสิ่งที่เป็น ข้อเสนอที่ดีมาก โดยเฉพาะที่ท่านรายงานเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระทรวงการคลัง กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร หรือคณะรัฐมนตรีที่ควรจะดำเนินการแก้ไขทั้งแนวทางในการ ยกเว้นหรือการลดภาษี อัตราภาษีนำเข้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการสันดาปให้กับรถยนต์ไฟฟ้า หรือว่ามาตรการในการลดภาษีนำเข้า หรือเสนอแนะที่ ครม. จะต้องไปดูในเรื่องของการจัด งบอุดหนุนสำหรับผู้ที่เข้าร่วมโครงการในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า นี่คือสิ่งที่ทันสมัยมากและผม คิดว่าพี่น้องประชาชนตอบรับ ผมก็มีข้อเสนอที่เกี่ยวเนื่องกับรายงานนี้อยู่ในประเด็นที่ได้ กล่าวไป และอยากขอเสริมสักนิดหนึ่ง ถ้าหากว่าจริง ๆ แล้วรัฐบาลที่นำรายงานชุดนี้ไปให้ เกิดประโยชน์อย่างไรแล้วก็อยากจะให้กรรมาธิการคมนาคมเร่งติดตามตรวจสอบต่อไป เพราะว่าบางกรณี บางรายการพี่น้องประชาชนเดือดร้อนมากทีเดียว อย่างเช่น กรณีการยึด รถบรรทุกอะไรแบบนี้ หรือว่าแม้กระทั่งเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้านี้ประชาชนเฝ้ารอที่จะมี การปรับตัวของกฎหมายมากขึ้น แล้วหวังว่ารายงานนี้จะเป็นประโยชน์ ไม่เป็นคาร์บอนที่เสีย ไปเปล่า ๆ นะครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ นายวิรัช พิมพะนิตย์ ครับ
นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิก กระผม วิรัช พิมพะนิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพครับ วันนี้ผมขอสนับสนุนรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งทางบกและป้องกันการเรียก รับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ท่านประธานที่เคารพครับ ปัจจุบันการคมนาคมขนส่ง ของประเทศพัฒนาอย่างรวดเร็ว ครอบคลุมทั้งการขนส่งทางบก ทางอากาศ ระบบราง ระบบน้ำ สำหรับประเทศไทยการขนส่งโดยรถบรรทุกเป็นการขนส่งทางบกที่ได้รับความนิยม อย่างมาก เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด คุ้มค่า ผู้ประกอบการสามารถขนส่ง สินค้าให้ผู้รับสินค้าได้ถึงจุดมุ่งหมายปลายทาง คือ Door to Door Service ท่านประธาน ที่เคารพครับ วันนี้ผมจะพูดถึงเรื่องรถบรรทุกเป็นเรื่องแรก รถบรรทุกปัจจุบันสมรรถภาพ ของรถบรรทุกแรงม้าถึง ๔๐๐ แรงม้า ๕๐๐ แรงม้า แต่น้ำหนักบรรทุกยังอยู่น้อยนิด เหมือนที่ท่าน สส. ธีระชัยพูด วันนี้ขนอ้อยกรมการขนส่งทางบกอนุมัติเพิ่มขึ้นให้อีก ๓๐ เซนติเมตร ในการบรรทุกเพื่อได้รับน้ำหนักมากขึ้น ผมจึงบอกว่าวันนี้ถนนถ้าสร้างดี ไม่ทุจริตรับน้ำหนักได้ ก็ให้เขาได้มีโอกาสขนส่งได้คุ้มค่า แต่ถ้าเกินน้ำหนักจากที่ขยับ ขึ้นมาแล้วเอาให้หนัก ๆ ท่านประธานที่เคารพครับ วันนี้สังคมก็ยังเป็นสังคมที่ไม่ยุติธรรมอยู่ ดี คนที่บรรทุกน้ำหนักเกิน ๔๐ ตัน ๕๐ ตัน จากที่น้ำหนัก Limit ไว้เท่านี้ แต่บรรทุกเกินตั้ง ๓๐-๔๐ ตัน ถึงเวลาศาลตัดสินปรับไม่กลัวครับ ศาลตัดสินยึดรถกลัวครับ แต่เขาไม่กลัว เพราะว่าเขาทำสัญญาเช่าซื้อหลอก ๆ ไว้ ผมจึงบอกว่าอย่าทำอย่างนี้ ถ้าปรับยึดก็ยึดเลย ส่วนสัญญาให้เขาไปไล่กันเอง ถ้ายังคางวดอยู่ คาชำระเงินผ่อนอยู่ก็ให้บริษัทเช่าซื้อไปเก็บกับ คนที่ทำลายเศรษฐกิจบ้านเมืองครับ ส่วนชาวบ้านท่านประธานที่เคารพครับ ชาวบ้าน ๆ ผมเกิน ๕๐๐ กิโลกรัม เจ้าของเป็นคนขับ รถก็รถซื้อเงินสดมา น้ำหนักเกิน ๕๐๐ กิโลกรัม ปรากฏว่า ถูกยึดรถครับ สังคมเป็นอย่างนี้ตลอด ท่านคณะอนุกรรมาธิการครับ วันนี้ศึกษาแล้วก็ให้ ความยุติธรรมสำหรับชาวบ้านเขาด้วย ไม่ใช่ว่าวันนี้คิดแต่ว่าพวกนายทุน เพิ่มน้ำหนักให้เขา หน่อยครับ ถนนมันรับได้อยู่แล้วถ้าไม่ทุจริตนะครับ วันนี้ถนนเมืองไทยถ้าทำดี ๆ ป่านนี้ ปูหินอ่อนหมดทุกถนนเส้นทางแล้วครับ เดี๋ยวนี้ซ่อม ๆ อยู่อย่างเดียวครับ ท่านประธาน ที่เคารพเอาแค่นี้ เรื่องรถบรรทุกให้คณะกรรมาธิการคิด
นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่งคือที่ผมดูรายการข่าว ๓ มิติที่ออกตอน ๔ ทุ่ม ขออนุญาต ที่เอ่ยชื่อรายการ แต่ว่าเป็นผู้ที่สร้างสรรค์ ปัจจุบันรถรับจ้างเรา อย่างแท็กซี่นี้เหมาตลอดครับ แถวสยามพารากอน แถวศูนย์การค้าไม่มีไปครับ แต่ว่าจอดแช่อยู่นั่นล่ะครับ เพราะฉะนั้น วันนี้แก้ไขหน่อยครับ ถามว่าเขาคุ้มไหมที่กดมิเตอร์ บางทีท่านคณะกรรมาธิการก็ต้องศึกษา นะครับ ศึกษาหน่อยเพราะว่าตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ จนถึงปี ๒๕๖๕ เพิ่งขึ้นให้เขาครั้งเดียวครับ แท็กซี่มิเตอร์ ท่านขึ้นให้เขาแค่ ๗ เปอร์เซ็นต์ แต่ LPG ขึ้นมาเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ NGV ขึ้น ๑๐๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ คนจนอาชีพบางครั้ง วันนี้ผมถามว่าวิ่งได้เท่าไร เขาบอกได้พันหนึ่ง ได้เพิ่มมาอีก ๗๐ บาท ก็ ๑,๐๗๐ บาท ค่าเช่ารถ ๖๐๐ บาท ค่าเติมแก๊สอีก ๔๐๐ บาท เหลือ ๗๐ บาท ส่วนรถที่ หรู ๆ ท่านก็ไม่ได้กำหนด อย่างรถไฟฟ้า รถอะไรนั้นก็อ้างว่าหรู ไม่ต้องคิดเพิ่มให้เขามาก ๆ การท่องเที่ยวเราจะเสียหาย ท่านประธานสภาที่เคารพครับ มีรถหมวดหนึ่งของแท็กซี่ คือรถ นก นข ที่ไม่จำเป็นต้องติดมิเตอร์ครับ เพราะว่าเกิดก่อนปี ๒๕๓๕ ก่อนที่มิเตอร์จะเกิดขึ้นมา รถพวกนี้เยียวยาเขา ดูแลเขา แต่ว่าอย่าให้เขามาวิ่งรับนักท่องเที่ยวเลยครับ นักท่องเที่ยวขึ้น ไปอยากจะกดมิเตอร์ เขาบอกไม่ได้ เขาถูกต้องตามกฎหมาย กระทรวงคมนาคม ท่านประธานคณอนุกรรมาธิการหรือใครก็ได้แก้หน่อยครับ ไม่ใช่ว่าวันนี้ปล่อยไปเลยตามเลย รถตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ ก่อนปี ๒๕๓๕ ปีนี้ ๒๕๖๖ ปี ๒๕๖๗ แล้ว ๓๐ เกือบ ๔๐ ปี ปล่อยให้วิ่ง ทะเลง ๆ อยู่นั่นล่ะครับ วันนี้ผมบอกว่าทุกท่านเข้ามามีหน้าที่อันทรงเกียรติ ได้เป็น คณะกรรมาธิการ ได้มาเป็น สส. สส. ๕๐๐ คน ประชากร ๖๐ กว่าล้านคน เฉลี่ย ๑ ล้านกว่า ๆ ต่อ ๑ คน ทำหน้าที่ให้มันเต็มที่ครับ ผมกราบเรียนกับพี่น้องทุกคน แล้วอีกอย่างหนึ่ง ไหน ๆ ได้พูดแล้ว ตุ๊กตุ๊ก เดี๋ยวนี้ตุ๊กตุ๊ก แพงที่สุดในโลก คือเมืองไทย เมืองไทยส่งเสริม ตุ๊กตุ๊กครับ ผู้ใหญ่ไปเมืองนอก ทำเป็นหุ่นจำลองตุ๊กตุ๊ก ไปมอบ ท่านประธานที่เคารพครับ ท่านคณะกรรมาธิการรู้ไหมว่าตุ๊กตุ๊กจดทะเบียนสาธารณะไม่ได้ มีจำนวนเท่าที่มีอยู่ทุกวันนี้ เพิ่มไม่ได้ แต่เวลาไปเมืองนอกรูปตุ๊กตุ๊กตามสนามบินโชว์หรา แล้วเวลาเหมา ต่างชาติมา เหมาเสียจนเขาเบื่อเมืองไทย วันนี้เราต้องเยียวยาเขา เอาตุ๊กตุ๊กมาติดมิเตอร์เสีย เอามาทำให้ มันถูกต้อง เอามาทำให้บ้านเมืองเป็นสากล เขามาเมืองไทยเขาอยากขี่ตุ๊กตุ๊กเพราะเขาเห็นภาพ แต่ว่ารถตุ๊กตุ๊กบางคัน ๖๐ ปี เพราะว่าหมุนเวียน ๆ กันอยู่อย่างนี้ ผมบอกกับสังคมบอกว่า วันนี้กระทรวงคมนาคมเป็นกระทรวงที่รับผิดชอบ คนเดินออกมาปุ๊บ เหยียบพื้นปุ๊บ กระทรวงคมนาคมเลยครับ ถนนก็ของกระทรวงคมนาคม รถของกระทรวงคมนาคม อะไรก็ของกระทรวงคมนาคม ในเมื่อเรามีรัฐมนตรีดี เรามีท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เรามี รัฐมนตรีมนพร รัฐมนตรีเดือน ผมกราบเรียนว่าขอเถอะครับ ขอทำให้สังคมถูกต้อง ให้นักท่องเที่ยวใช้ได้ดี ให้คนในประเทศได้อยู่อย่างถูกต้อง แล้วสุดท้ายสำคัญท่านประธาน คือผมบอกว่าสิ่งหนึ่งที่คนจนต้องมาถูกยึดรถเพราะกระบวนการยุติธรรม กระบวนการ ยุติธรรมต้องชัดเจนกว่านี้ ถ้าไม่เสนอยึดรถเขาก็ไม่ยึด คนรวยไม่ค่อยเสนอยึดรถหรอกครับ แต่ถ้าคนจนยึดอย่างเดียว ขอบคุณท่านประธานที่เคารพครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ครับ
นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม เกชา ศักดิ์สมบูรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทย สร้างชาติ วันนี้ผมขออภิปรายรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง แนวทางการแก้ไข ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งทางบกและป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ผมได้อ่านรายงาน ของท่านแล้ว ผมเห็นด้วยกับท่านณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ และท่านวิรัช พิมพะนิตย์ ขออนุญาตที่เอ่ยนามท่านนะครับ ในประเด็นเรื่องของการลดโทษจำคุกออกไป เพราะว่า ทุกวันนี้ในเมื่อเรามีการแก้ไขให้ค่าปรับเป็นอัตราก้าวหน้าแล้ว ซึ่งเราจะเปลี่ยนเป็น ค่าธรรมเนียมหรือปรับทางพินัยอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งในเรื่องนี้ถ้าเราปรับกันขนาดนี้แล้ว โทษคงไม่ต้องมี เพราะเขาเป็นเพียงแค่ลูกจ้าง เขาอาจจะมีส่วนกระทำผิดเล็ก ๆ น้อยๆ เอง แต่ต้องไปจำคุกทำให้ครอบครัวเขาต้อง เดือดร้อน ในประเด็นของท่านวิรัชก็คือเกี่ยวกับเรื่องรถบรรทุกปัจจุบันนี้มีสมรรถภาพ ที่สูงมาก ไม่สอดคล้องกับน้ำหนักบรรทุกของรถบรรทุกในประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งเดิมนั้น รถบรรทุก ๒๔ ล้อ กรมทางหลวงเคยผ่อนผันให้ถึง ๕๘ ตัน อยู่ ๆ มาก็มาเลิกใช้ให้เหลือเพียง ๕๐.๕ ตัน เพราะฉะนั้นในประเด็นนี้ เรามาทำปัญหาให้เกิดเรื่องส่วย เพราะอะไร เราไปตัด ยอดกำไรเขา ใน ๑ เที่ยวนี้ ๗.๕ ตัน เขาเหลือกำไรเพียงเล็กน้อย เขาอาจจะอยู่ไม่ได้ เขาจึง ต้องไปจ่ายส่วยเพื่อบรรทุกให้มากขึ้น นี่คือต้นปัญหาส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมดนะครับ เราเคยใช้ มาแล้วหลายปี ส่วนทางกรมทางหลวงเองจะมาอ้างเรื่อง Span สะพานหรือคุณภาพถนน มีความแข็งแรงไม่พอนั้นไม่เป็นความจริงนะครับท่านคณะกรรมาธิการทุกท่าน ความมั่นคง แข็งแรงของสะพานกรมทางหลวงรับน้ำหนักได้เกิน ๑๐๐ ตัน ปัจจุบันนี้ถนนผสมซีเมนต์ด้วย ในชั้นหินคลุก คอนกรีตหนา ๒๘ เซนติเมตร เหล่านี้ถ้าอยู่ในเกณฑ์เดิมที่เคยผ่อนผัน ๕๘ ตัน อันนี้อยู่ได้แน่นอนครับ เกี่ยวกับเรื่องนี้เรื่องค่าปรับที่ท่านมีความประสงค์จะให้มีใบรับรอง การชั่งน้ำหนักรถบรรทุกจากแหล่งผลิตสินค้าหรือแหล่งต้นทาง ท่านประสานกระทรวง อุตสาหกรรมง่าย ๆ มากเลยครับ ให้ออกกฎกระทรวงออกมาว่า ให้ปล่อยสินค้าตามพิกัด รถบรรทุก แค่นี้ก็ได้แล้ว เพราะแหล่งที่ปล่อยสินค้านั้น เขามีเครื่องชั่งทุก ๆ ที่ ยกเว้นของชาวบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่มีเครื่องชั่ง อย่างไร่อ้อยที่เมื่อสักครู่นี้ที่ท่านว่า อันนั้นไม่มีเครื่องชั่ง ข้าวเปลือกไม่มี ท่านก็ไปปรับปรุงเรื่องนี้ ส่วนเรื่อง WIM นั้นผมเห็นด้วย ที่จะเพิ่มให้มากขึ้นเพื่อป้องกันการที่รถหลบหลีกเลี่ยงไป ท่านจะเห็นว่ารถบรรทุก ๒๒ ล้อ ที่เป็น Tailor ยาว ๆ บรรทุกเหล็กมาเพียง ๒ ก้อน ๒ ก้อนใช้พื้นที่ประมาณ ๕-๖ เมตรเอง แต่ขนาดกระบะบรรทุกเขายาว ๑๒ เมตรทำไมต้องยาวครับ เพราะกรมทางหลวงไปสร้าง เงื่อนไขเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่า ถ้า King Pin น้อยกว่า ๘ เมตร น้ำหนักคุณจะไม่ได้ ๕๐.๕ ตัน ทำให้รถบรรทุกขนาดนี้ต้องยาว ๆ มากขึ้น แต่บรรทุกเพียงตรงกลางหน่อยเดียว ปัญหา คืออะไร ปัญหาคือทางแยกเข้าซอยหรือออกจากซอยต้องใช้วงกว้างมาก กีดขวางทางจราจร เบียดบังสังคม เรื่องนี้ฝากท่านไปคุยกับกรมทางหลวงด้วยนะครับ ยังมีเกี่ยวกับเรื่องของ Spot Check ที่ท่านบอกว่ามีไม่เพียงพอ ผมว่า Spot Check มีเพียงพอแล้วนะครับ แต่เจ้าหน้าที่ของเราทำงานได้เต็มที่หรือยัง เรามีทั้งตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท แล้วมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอีก กรมการขนส่งทางบกอีก อย่างนี้ถ้าเรากำชับ ให้หน่วยงานนี้ ถ้าทำงานให้เต็มที่ก็จะเพียงพอต่อการควบคุมแล้วนะครับ ส่วนเรื่องของ พ.ร.บ. รถยนต์นั้น ที่ท่านส่งเสริมว่าให้มีที่จอดรถบรรทุกนั้น ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้ กรมทางหลวงทำที่ในเขตทางข้าง ๆ ถนนเดิม อาจจะกว้างสัก ๑๐ เมตร ๑๕ เมตรก็แล้วแต่ ซึ่งไม่เพียงพอ คุณจะใช้ที่กรณี ๑ จุดสัก ๑๐ ไร่ ๒๐ ไร่ ถ้าท่านดูปริมณฑลรอบ ๆ กรุงเทพมหานคร กลางคืนตีสอง ตีสาม เสียงรถบรรทุกหลังจากที่พ้นช่วงเวลาแล้ว เขาจะไป จอดพักกัน ก็กีดขวางทางจราจร อันนี้เห็นด้วยกับท่านด้วยเป็นอย่างยิ่ง
นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนเรื่องการตรวจรถนอกสถานที่ อันนี้มีความจำเป็น ผมเห็นด้วยกับ กรมการขนส่งทางบกที่ว่า ถ้าเราไม่ตรวจนอกสถานที่นี้ ผู้ประกอบการต้องนำรถไปในสถานที่ ขนส่งเอง เวลาวันสิ้นงวดประจำปี จะมีรถใช้ไปตรวจสภาพเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิด การจราจรติดขัด รถอยู่บนถนนเกะกะกีดขวางการจราจร ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และผู้ประกอบการ ก็ไม่สะดวก กรณีรายใหญ่ ๆ เขาก็ต้องบริการไปตรวจที่นอกสถานที่และเป็นเวลา นอกราชการนะครับ ฝากถึงเรื่องที่ท่านจะไปแก้ร่าง พ.ร.บ. ทางหลวงและขนส่ง อันนี้จำเป็น อย่างยิ่ง ขอให้ท่านได้รีบดำเนินการทำในเรื่องนี้อย่างจำเป็นและเร่งด่วน ฝากท่านไปถึง กรมการขนส่งทางบกด้วยว่า ปัจจุบันนี้มีรถผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก นำรถเก่าใช้แล้วจาก ต่างประเทศมาประกอบเป็นรถและจดทะเบียนก็มีนะครับ เวลาสลับเลขนะครับ เลขสวย เลขอะไรก็แล้วแต่ที่ท่านมีกันนี้ ใน ๑ ปีให้สลับได้เพียงครั้งเดียว แต่ถ้าเกิดท่านเสีย ๓๐,๐๐๐ บาท ท่านจะสลับสักปีละกี่ครั้งก็ได้ ท่านไปตรวจสอบดูนะครับ แล้วก็ยังมีประเด็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องพืชไร่ ที่ว่าเป็นช่วงฤดูกาลเท่านั้นเอง ชาวไร่อ้อย แล้วก็ พี่น้องชาวไร่ชาวนาก็ฝากมาว่าช่วงผลผลิตจะออกก็ช่วงสั้น ๆ แค่ ๒-๓ เดือน ขอให้ทาง หน่วยงานของรัฐได้ให้โอกาสเขาได้ทำผลผลิตไปส่งโรงงาน ไปส่งโรงสีที่เขาได้มีสัญญากันไว้ ด้วยความสะดวก เพื่อให้สินค้าเหล่านี้ไม่เสียหาย วันนี้ผมก็สนับสนุนร่างรายงานของท่าน ก็ส่วนมากนะครับ มีบางส่วนที่ขอให้ท่านไปพิจารณาปรับแก้ไขด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านบัญชา เดชเจริญศิริกุล ขอเวลาไว้ ๓ นาที เชิญครับ
นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎร ผม บัญชา เดชเจริญศิริกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคท้องที่ไทย ก่อนอื่นผมก็ขอสนับสนุนในเรื่องการพิจารณาญัตติ เรื่อง แนวทางการ แก้ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งทางบกและป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ ขอประเด็นสั้น ๆ อย่างนี้ครับ ผมขออนุญาตอธิบายนิดเดียว การบรรทุกจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดเชียงรายเลยนะครับ ๑ ตันนี้ผู้ประกอบการได้ค่าบรรทุก ๑ ตันไม่ถึง ๘๐๐ บาท ผมอยากจะให้แก้กฎหมายในเล่มนี้นิดเดียว สำหรับรถบรรทุก ๕๐.๕ ตัน ถ้าเขาเกินไป ๑ ตัน ปรับสัก ๓,๐๐๐ บาท เขาก็ไม่กล้าทำแล้วครับ ไม่กล้าเกิน แล้วครับ แต่ในทางกฎหมายที่มี ณ ปัจจุบันนี้ ที่ผู้ประกอบการรายเล็กที่โดนยึดรถกัน เยอะแยะมากมายก็คือว่าเกินแค่ ๕๐๐-๖๐๐ กิโลกรัมเท่านั้นเอง หรือ ๗๐๐-๘๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑ ตัน ถ้าไม่จ่ายค่าทำสำนวน ท่านรู้ไหมครับว่าการทำสำนวนเวลาถูกจับน้ำหนักครั้งหนึ่ง เท่าไร ๕๐,๐๐๐ บาท ถ้าเกินประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ กิโลกรัม ๕๐,๐๐๐ บาท ถ้าเกินสัก ๔-๕ ตัน ๗๐,๐๐๐-๘๐,๐๐๐ บาท ถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาทเลยครับ ถ้าไม่ทำก็จะถูกยึดรถทันที แล้วก็จะเป็นแบบนี้ทั่วประเทศ เป็นเรื่องที่ทุกคนรู้กันหมดเลยครับ เพราะจริง ๆ แล้วรถที่ Clear น้ำหนักที่วิ่งกันบนถนนปัจจุบันนี้บรรทุกกัน ๗๐-๘๐ ตัน แต่พวกนี้กลับไม่โดน ริบรถ เพราะอะไรครับ เพราะเจ้าหน้าที่เขาจะแนะนำให้ทำเช่าช่วง ๒ ช่วง ให้คนขับทำ เช่าช่วง ช่วงที่ ๑ และให้คนอื่นมาทำเช่าช่วง ช่วงที่ ๒ อีก ก็เลยไม่ถูกยึดรถ นี่คือความ แตกต่างระหว่างการใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ อันนี้เป็นเรื่องจริงที่ทุกคนประสบมาตลอด ผมเองผมก็เคยเจอเรื่องนี้เหมือนกัน บนมอเตอร์เวย์ บรรทุกเกิน ๖๐๐ กิโลกรัม เขาเรียกค่า ทำสำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท ถ้าไม่อย่างนั้นก็ถูกยึดรถ อันนี้เป็นช่องว่าง ผมอยากขอเน้นเลย ว่าเกิน ๑ ตันช่วยปรับสัก ๕,๐๐๐ บาทได้ไหม เพราะว่าค่าบรรทุกจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัด เชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย ตันหนึ่งไม่ถึง ๑,๐๐๐ บาท เพราะบางครั้งรถบรรทุกที่วิ่งบนถนน บางทีใส่ไปเกือบเกิน ๕๐.๕ ตัน บางทีไปจอดไว้ฝนตก น้ำขังในผ้าใบ เติมน้ำมันเต็มถัง พอเกิน Error ไปนิดหน่อย ๔๐๐-๕๐๐ กิโลกรัม เขาจะโดนจับทันทีเลยครับ Clear ก็ไม่ได้ นะครับ ถ้า Clear ก็เอาเยอะ ส่วนใหญ่เขาจะรีบส่งภูธรเลย เพราะว่ามันเป็นตัวเลขที่ขึ้น หน้าจออยู่แล้ว บอกส่งส่วนกลางไปแล้ว Clear ไม่ได้ ไป Clear กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเอา การ Clear ก็คือคดีละ ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ บาท เป็นอย่างนี้มาตลอด แล้วก็สงสาร ผู้ประกอบการรายเล็กด้วยที่เกินไม่กี่ร้อยกิโลกรัม แต่ยังถูกยึดรถ ณ ปัจจุบันนี้มีอยู่หลายคัน ปัจจุบันเป็นแบบนี้จริง ๆ ผมก็ขอประเด็นเดียว ๑ ตัน จะให้ช่วยปรับสัก ๕,๐๐๐ บาท หรือ ๓,๐๐๐ บาท เขาก็ไม่กล้าบรรทุกกันแล้วครับ เพราะว่าวิ่งเที่ยวหนึ่งยังไม่ได้ขนาดนั้นเลย ผมขอฝากท่านคณะกรรมาธิการเรื่องขนส่งไว้เท่านี้ครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปสมาชิกท่านสุดท้ายครับ เชิญท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ การขนส่งทางบกและป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ ของคณะกรรมาธิการ การคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ท่านประธานที่เคารพครับ ปัญหาเรื่องส่วยทางหลวงนั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาใหม่ครับ แต่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่และเป็นปัญหาที่เหมือนเราแพ้ทาง แก้แบบวัวพันหลัก แก้มาหลาย สิบปีก็แก้ไม่ได้ และที่สำคัญมูลค่าการทุจริตคอร์รัปชันของส่วยทางหลวงนั้นมีมูลค่าพุ่งสูงขึ้น ตลอดเวลาระดับหลายหมื่นล้านบาท ในรายงานที่ท่านศึกษามาถ้าจะ Comment แบบในฐานะ ที่เป็น Commentator ก็ต้องบอกว่าให้ท่านผ่านครับ แต่ถ้าในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกจากให้ผ่านแล้ว ก็ขออนุญาตเสนอแนะเพิ่มเติม โดยขออนุญาตเรียนว่าการแก้ปัญหานี้ เราควรมุ่งไปที่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของปัญหาส่วย ต้องมุ่งเน้นไปแก้ที่ต้นตอของ ปัญหา ซึ่งก็เห็นในความพยายามที่ท่านได้ศึกษาและอยู่ในรายงาน ความพยายามข้อที่ ๑ ของท่านก็คือการพยายามที่จะทบทวนแล้วก็แก้ไขกฎหมาย ซึ่งก็ต้องบอกว่าท่านมีอยู่แล้ว ข้อที่ ๒ ซึ่งในรายงานเหมือนเฉียดไปเฉียดมายังไม่ชัด ถ้าเราจะบังคับใช้กฎหมายและเอา กฎหมายเป็นเครื่องมือหลักในการบังคับใช้ มันแก้ไม่จบไม่สิ้นครับเราต้องแก้โดยการเร่งสร้าง วัฒนธรรมในการใช้รถใช้ถนนด้วยจิตสาธารณะ ข้อที่ ๓ ซึ่งในรายงานผมเห็นว่าก็เฉียดไป เฉียดมายังไม่ได้ลงลึกหรือไม่ได้มีเข็มมุ่งที่เห็นชัดเจน คือความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยี มาใช้ในการแก้ปัญหาส่วย กรณีข้อที่ ๓ นี้ผมมีตัวอย่างไม่ต้องไปไกลเอาประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศสิงคโปร์ครับ เขามีการจัดทำเครือข่ายที่เป็น Big Data รวบรวมประมวลผลเก็บ ข้อมูลการจราจร เวลาในการเดินทาง ความต้องการในการใช้รถใช้ถนนในแต่ละช่วงเวลา ผู้ใช้รถใช้ถนนจะรู้เลยว่าจะเดินทางจากจุด A ไปจุด B ในระยะเวลาที่จำกัดหรือว่าเร็วที่สุดนั้น Big Data จะประมวลผล แต่ของเราต้องเรียนว่าเราไม่ได้มีแผนแม่บทแบบประเทศสิงคโปร์ที่ เขามีแผนแม่บทแห่งชาติ ชื่อแผนคือ Smart Mobility Master Plan เขาใช้เทคโนโลยี อัจฉริยะมาเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายบนท้องถนนอย่างสูงสุด ซึ่งจะครอบคลุมทั้งการตรวจสอบ ควบคุมปริมาณจราจร การใช้รถใช้ถนนให้มีความปลอดภัย มากยิ่งขึ้น ท่านประธานที่เคารพ ท่านเคยสังเกตไหมว่าเวลาที่มีด่าน ทุกครั้งที่มีด่าน จะด่าน ถาวร จะด่านลอย ด่านหลบแบบสุมทุมพุ่มไม้มาแบบไม่ให้ซุ่มให้เสียง จะมีอุบัติเหตุ ไม่หน้าด่าน ก็หลังด่าน หรือไม่มีอุบัติเหตุปริมาณการจราจรก็จะคับคั่ง ทำให้รถติดเกิน ความจำเป็น มีคนไปถามว่าทำไมต้องใส่หมวกกันน็อกสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ เขาบอกว่าใส่ หมวกกันน็อกตำรวจจะได้ไม่จับซึ่งในความเป็นจริงไม่ใช่ครับ ประโยชน์ของหมวกกันน็อก ก็คือใส่แล้วจะได้ป้องกันหากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน วันนี้เหมือนกันครับ จะบรรทุกน้ำหนัก เกินจะขับเร็วถ้าไม่เจอจ่าก็ไม่โดนจับ ดังนั้นทุกครั้งของการกระทำผิดกฎหมายนั้นเขา ระมัดระวังจ่า บางคนติด Sticker หลังรถครับบอกว่าอย่าโบกเลยจ่า พกมาแค่ ๒๐๐ ครับ เพราะจ่าเรียก ๔๐๐ บาทไม่พอจ่ายครับ ข้อที่ ๒ สิ่งที่เราเห็นว่าวันนี้ในประเทศจีนในเมืองที่ เป็นที่ตั้งของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เขาแก้ปัญหารถติดได้ครับ เช่น คุณจะออกจาก บ้านเจ็ดโมงคุณจะไปถึงที่หมายแปดโมง ข้อมูล Big Data จะประมวลผลหมดเลยครับว่า จะหลีกเลี่ยงถนนเส้นใด แล้วจะไปให้ถึงที่หมายด้วยการใช้วิธีการเดินทางแบบใด มีตัวเลือก A B C ครับ ของเราต้องนำมาใช้ และผมขอเสนอกรอบแนวคิดที่จะเป็นเข็มมุ่งให้กับ ท่านกรรมาธิการและท่านคณะอนุกรรมาธิการที่ศึกษาเรื่องนี้
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ กฎหมายที่ท่านพยายามแก้ ผมเห็นชอบครับ แต่ท่านต้อง พยายามไปลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ครับ เพราะมีการบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกัน ตัวบทกฎหมายเหมือนกัน แต่บังคับใช้ต่างกันผลต่างกันครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ต้องใช้ศูนย์ประมวลผลแบบ Big Data หรือถ้าท่านดูฟุตบอล Thailand Premier League ก็จะเห็นเทคนิค VAR ครับ ผมเสนอให้ใช้เทคนิค VAR มาใช้ ประมวลผลในการปราบส่วยครับ VAR คือ Video Assistant Referee เพราะว่าวันนี้พอเกิด เหตุปั๊บ จ่าก็มีกล้องของจ่านะครับ Chauffeur คนขับรถบรรทุกก็มีกล้องของตัวเอง ในคดี เดียวกรณีเดียวนี้ต่างมุม ต่างข้อมูล การวินิจฉัยแตกต่างกัน ดังนั้นเราควรจะมีศูนย์ ประมวลผลที่เป็น Big Data ไม่ต้องไปตั้งด่านครับ รถบรรทุกวิ่งผ่านวันนี้เราสามารถรู้ว่า ความเร็วที่รถวิ่งกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง มันไม่น่าจะยากเกินไปนะครับ ถ้ารถวิ่งผ่านและเรา สามารถระบุน้ำหนักของรถบรรทุกได้
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ ท่านต้องเปลี่ยนอะไรที่เป็นสีเทาให้เป็นสีขาว เปลี่ยนจากส่วย เป็นการเก็บค่าใช้ถนน ผมว่าถ้าตรงไปตรงมาแม้จะแพงขึ้นก็แก้ปัญหา ต่อไปนี้จ่าไม่ต้องไป ล็อกล้อแล้วครับ ถ้าจอดรถในถนนในที่ห้ามจอด ก็เก็บสตางค์เลยครับ มีตู้แบบต่างประเทศ จะจอดผิดที่ยินดีจ่ายไม่เป็นปัญหาครับ แล้วก็เอาภาษีนั้นมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ผมขอให้กำลังใจทางคณะศึกษา ก็ขอเรียนว่าท่านเดินมาถูกทางแล้วครับ และเราน่าจะ ได้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แต่ผมหวังว่าแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์นั้นจะเป็นทางออก จะไม่ใช่แค่ไฟหน้ารถที่วิ่งสวนทางมา ขอให้กำลังใจครับ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ สมาชิกใช้สิทธิครบถ้วนแล้วนะครับ ทางคณะกรรมาธิการมีชี้แจง เพิ่มเติมไหมครับ เรียนเชิญครับ
นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ครับ ผม ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคมของสภา ผู้แทนราษฎรก่อนที่คณะอนุกรรมาธิการจะได้ชี้แจงในประเด็นที่เพื่อนสมาชิกในสภา ผู้แทนราษฎรเป็นห่วงแล้วก็เสนอแนะกันขึ้นมา ผมขออนุญาตที่จะใช้เวทีตรงนี้ขอบพระคุณ มาก ผมเข้าใจทุกท่านที่ได้อภิปราย แล้วก็อีกหลาย ๆ ท่านที่ไม่ได้ร่วมอภิปราย ทุกคนเป็น ห่วงพี่น้องประชาชน ทุกคนเป็นห่วงกับผู้ประกอบการ พวกผมเองและคณะอนุกรรมาธิการ ที่ไปทำหน้าที่ตรงนี้ที่เราได้รับมอบหมายก็ต้องขอบพระคุณ ท่าน สส. นิตยา มีศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล และท่าน สส. พิชัย แจ้งจรรยาวงศ์ อีกครั้งหนึ่ง ที่ทำให้เรื่องนี้อย่างน้อย ๆ ก็ได้จุดประกายในการทำงานของสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ หลังจากที่เกิดปัญหาที่จังหวัดนครปฐมจนเป็นที่กล่าวขานนะครับ รายงานฉบับนี้อาจจะไม่ สมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อย ๆ ก็ได้มีส่วนจากผู้เชี่ยวชาญก็ดี หรือจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ดี เราได้ร่วมบรรจงการนำเสนอ แล้ววันนี้ผมเชื่อแน่ว่าที่ท่าน สมาชิกได้อภิปรายเพิ่มเติมแตกประเด็นออกไปก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทางรัฐบาลพึงรับฟังอย่าง ยิ่งเพราะมันเป็นประโยชน์ทุกท่าน ทุกเนื้อหา ทุกสาระ ผมในนามของประธาน คณะกรรมาธิการการคมนาคมของสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องกราบขอบพระคุณท่านประธาน ขอบพระคุณเพื่อนสมาชิกที่ร่วมกันเสนอความคิดเห็น ร่วมกันเสนอแนะนะครับ แล้วก็จะ มอบไมโครโฟนให้ไปยังประธานคณะอนุกรรมาธิการ ท่าน สส. อนุรัตน์ ตันบรรจง แล้วก็ คณะเพื่อจะได้ชี้แจงบางประเด็นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอเชิญครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญท่านประธานคณะอนุกรรมาธิการครับ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อนุรัตน์ ตันบรรจง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขต ๒ สิ่งแรกก็ต้อง ขอขอบคุณท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านที่ได้ให้คำชี้แนะ รวมถึงข้อชี้แนะที่เป็นประโยชน์ ต่อคณะอนุกรรมาธิการศึกษาเรื่องส่วยนะครับ หรือเราเรียกว่า ส่วยรถบรรทุก ซึ่งประเด็น ที่ผมอยากจะตอบคำถามท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านนะครับ ก็จะเกี่ยวข้อง ของท่านณัฏฐ์ชนน ท่านสมาชิกจังหวัดสงขลานะครับได้ถามเรื่องกฎหมายในมาตรา ๗๓/๒ ซึ่งท่านผู้อภิปรายหลายคนก็มีข้อสงสัยในเรื่องของมาตรา ๗๓/๒ ซึ่งทางคณะอนุกรรมาธิการ เราก่อนที่จะทำการศึกษาแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ เราได้เชิญตัวแทน ไม่ว่าจะเป็นจากภาครัฐ ที่ใช้กฎหมาย ก็คือกรมทางหลวง รวมถึงภาคเอกชนก็คือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะสมาพันธ์รถบรรทุกแห่งประเทศไทย ที่มีการจดทะเบียนขึ้นกับกรมการขนส่งทางบกอยู่ประมาณกว่า ๑,๕๐๐,๐๐๐ คัน ซึ่งในหลาย ๆ ข้อคิดเห็นเราได้ศึกษาว่ากฎหมายนี้ จากเดิมได้มีบทลงโทษทางอาญา ก็คือจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน และปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ทางคณะอนุกรรมาธิการเราได้ ศึกษาและได้เห็นถึงความสำคัญว่ากฎหมายฉบับนี้ ถ้าได้นำโทษทางอาญาออกจากมาตรา ๗๓/๒ แล้ว มันจะทำให้กฎหมายนั้นไม่แข็งแรง มันจะอ่อนแรงลงทันที เพราะหมายความว่า ใครจะกระทำความผิด แค่จ่ายค่าปรับนั้นก็สามารถพ้นโทษ ดังนั้นทางคณะอนุกรรมาธิการ เราโดยได้รับเรื่องร้องเรียนจากสมาพันธ์รถบรรทุกก็บอกว่า เรายังคงเห็นความสำคัญ ของโทษอาญาในกฎหมายฉบับนี้อยู่ จึงไม่สามารถนำกฎหมายทางอาญาออกจากกฎหมาย ฉบับนี้ได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วผมอยากกราบเรียนท่านประธานและท่านสมาชิกทุกท่านว่า แท้ที่จริงแล้วเรามีการประชุมหารือกัน เบื้องต้นว่าเราจะเพิ่มน้ำหนักรถบรรทุกให้กับ ผู้ประกอบการซึ่งกระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงก็เห็นด้วย แต่เราได้ศึกษากับ ภาคเอกชนแล้วภาคเอกชนบอกว่าน้ำหนักรถบรรทุกมันไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะลดหรือ เพิ่มนะครับ แต่เราต้องทำตามกฎว่าให้น้ำหนักรถบรรทุกเท่าไร เราก็ควรจะบรรทุกไม่ให้เกิน พิกัด
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
อีกสิ่งหนึ่งครับ ปัญหาเรื่องรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ผมอยากฝากรัฐสภาหารือ ในรอบหน้าว่ากระบะใช้ในการบรรทุก ถ้าเราตัดกระบะให้สามารถบรรทุกได้เต็มพิกัด เต็มพิกัด หมายความว่า ลดขนาดกระบะบรรทุกลงให้สามารถบรรทุกได้ตามที่น้ำหนัก กำหนดนี้มันก็จะไม่เกิดปัญหาครับ แต่วันนี้กระบะของรถบรรทุกนั้นมันสามารถบรรทุก น้ำหนักได้เกิน ผมยกตัวอย่างรถบรรทุกที่เป็นรถพ่วง เป็นตัวแม่กับตัวลูกรวมกันในกฎหมายนี้ กำหนดไว้ให้น้ำหนักบรรทุกได้ ๕๐.๕ ตัน แต่ปัจจุบันนี้ สคน. เคยจับรถบรรทุกได้ประมาณ ๑๑๐ ตัน หมายถึงว่าเกินไป ๖๐ ตัน ครับท่านประธาน ซึ่งตรงจุดนี้แน่นอนว่าผู้ประกอบการนั้น ยิ่งบรรทุกน้อยก็ยิ่งเสียผลประโยชน์ เพราะว่าเสียค่าน้ำมันและค่าเดินทางเท่ากัน หรืออาจจะมากกว่านิดหน่อย ดังนั้นกฎหมายมาตรา ๗๓/๒ ทางคณะอนุกรรมาธิการเรา จึงเห็นความสำคัญว่าควรจะคงโทษอาญาไว้ไม่ให้กฎหมายนั้นอ่อนแอ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ถัดมาครับ ผมขอตอบคำถามท่านนิพนธ์ คนขยัน ซึ่งเห็นด้วยกับการให้ อำนาจกับท้องถิ่น ซึ่งทางคณะอนุกรรมาธิการเราได้นำเสนอไป เนื่องจากปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเรามีถนนอยู่ทั้งหมดประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ กว่ากิโลเมตร แต่หน่วยงานที่ดูแล จริงจังมีแค่กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมถึงตำรวจทางหลวง ซึ่ง ๓ หน่วยงาน นี้รับผิดชอบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร แต่ ๖๐๐,๐๐๐ กว่ากิโลเมตรไม่มีผู้รับผิดชอบ ครับท่านประธาน ดังนั้นทางคณะอนุกรรมาธิการเราจึงเห็นว่าควรจะสนับสนุนงบประมาณ ผ่านทางกระทรวงมหาดไทยไปยัง อปท. ต่าง ๆ วันนี้ท่านสมาชิกหลายท่านในที่นี้เป็น สส. เขต เวลาเราลงพื้นที่พบปะกับพ่อแม่พี่น้องประชาชน เราจะได้รับเรื่องร้องเรียนมาตลอด ว่าถนนนั้นเสีย ถนนนั้นไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซม หรือถนนบางเส้นตัดขาดจาก โลกภายนอกก็มีครับ สาเหตุนั้นเกิดจากต้นเหตุที่มีการบรรทุกน้ำหนักเกินทำให้ถนนนั้นเสียหายและชำรุด ถามหา งบประมาณในการซ่อมแซม ก็ต้องบอกว่าวันนี้ถนนส่วนใหญ่ในประเทศไทย พยายามนะครับ มีความพยายามที่อยากจะขอคืนเส้นทางไปให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท เนื่องจากไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซมและบำรุง ต้องผ่านคณะกรรมการการกระจาย อำนาจในกระทรวงมหาดไทย ไปผ่านที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด กว่าจะโอนถ่าย ๑ เส้นได้ ผมได้ดูผลการศึกษามาอย่างน้อยใช้เวลา ๒-๓ ปี ซึ่งวันนี้พ่อแม่พี่น้องบ้านเรา ทนไม่ได้กับถนนที่เสียหาย และอยากจะได้งบประมาณจากภาครัฐโดยเร็ว ดังนั้นผมจึงขอ เสนอให้กระทรวงมหาดไทยได้บูรณาการร่วมกับกระทรวงคมนาคมในการจับผู้กระทำ ความผิดในการบรรทุกน้ำหนักเกิน โดยการบูรณาการนั้นควรจะต้อง MOU ร่วมกันให้ความรู้ ไม่ว่าจะเป็น อบต. เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ดี รวมถึงตำรวจในพื้นที่ บูรณาการกันทั้งหมด ถามว่าวันนี้นอกจากกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทแล้วมี Spot Check นำจับ มีระบบ WIM นำจับก็ดี แต่ตำรวจทุกพื้นที่สามารถจับในกรณีที่ท่านเห็น ว่าเป็นรถบรรทุกต้องสงสัยได้ สามารถจับได้นะครับ แต่ปัจจุบันนี้ยังขาดความรู้ และที่สำคัญ ขาดเครื่องมือในกระบวนการที่จะจับกุม ดังนั้นผมจึงเอาเรื่องจริงมาพูดกันในรัฐสภาว่าวันนี้ มันไม่มีคนจับครับท่านประธาน มันต้องสร้างบรรทัดฐานใหม่
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนเรื่องที่ท่าน สส. บัญชา ได้พูดถึง ขออนุญาตเอ่ยนามท่านนะครับ ว่าการจับกุมนี้มันอยู่ในดุลยพินิจ หลาย ๆ ท่านได้แสดงข้อคิดเห็นว่ามันอยู่ในดุลยพินิจของ ผู้จับกุม แท้ที่จริงแล้วเมื่อเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ทำงานแล้วจับรถบรรทุกน้ำหนักเกินได้ เจ้าหน้าที่ จะนำตัว โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่นำตัวผู้กระทำความผิดส่งไปที่สถานีตำรวจ และทำการยึดรถ ชั่วคราว และจะต้องส่งฟ้องศาลภายใน ๔๘ ชั่วโมง และดุลยพินิจในการยึดรถอยู่ที่ศาลเป็น ผู้ตัดสินครับ จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ดังนั้นการยึดรถมันมีหลายเหตุผล เราบรรทุก อย่างที่ผมได้นำเรียนไป ถ้าเราบรรทุกจากต้นทางเราอาจจะชั่งได้น้ำหนักอยู่ ๕๐.๕ ตัน อย่างที่ผมนำเรียนไป เป็นน้ำหนักที่ยอมให้วิ่งบนถนนได้อย่างถูกกฎหมาย แต่เมื่อรถออกจาก ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือ โรงงานอุตสาหกรรม หรือขนพืชผลทางการเกษตรก็ดี ออกมาแล้วมี การเติมน้ำมันรถ น้ำหนักก็เพิ่มขึ้น หรือคนรถรับครอบครัวก็มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น พาลูกพาเมีย ขึ้นรถก็เป็นน้ำหนักแล้วครับท่านประธาน รวมถึงดินที่ติดล้อรถบรรทุกสิบล้อมาก็ถือว่าเป็น น้ำหนัก และที่ท่านผู้อภิปรายบางท่านได้พูดถึง ก็คือน้ำฝนที่ค้างบนผ้า Slant คลุมรถบรรทุก ก็มีน้ำหนักเช่นเดียวกัน ดังนั้นทางคณะอนุกรรมาธิการเราจึงเล็งเห็นว่าการคงโทษกฎหมาย อาญาและใช้การปรับแบบก้าวหน้านี้มันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้กระทำความผิด ไม่ให้ผู้กระทำ ความผิดนั้นกล้าที่จะทำประโยชน์ ส่วนคณะอนุกรรมาธิการเราได้ตั้งข้อสังเกตไว้ในรายงาน ว่าผู้กระทำความผิดนี้โทษจะตกลงอยู่ที่คนขับรถบรรทุก ดังนั้นถ้าเรามีการเสนอแก้กฎหมาย ขึ้นมาเราอยากจะให้ผู้ประกอบการนั้นมีส่วนรับผิดชอบ ไม่ใช่ว่าให้คนรถขับรถบรรทุก รับผิดชอบอย่างเดียวครับ ตรงจุดนี้ก็เป็นที่มาของรายงานฉบับนี้ และผมย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าทางคณะอนุกรรมาธิการเราได้ ทำงานอย่างสุดความสามารถ แต่วันนี้บอกกับท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับว่าวันนี้เรา จะขจัดแก้ไขปัญหาเรื่องรถบรรทุกน้ำหนักเกิน เรื่องส่วย ถามว่าเราทำได้ไหม ผมเชื่อว่า เราทำได้ครับ แต่เราต้องมีการวางแผนที่เป็นรูปธรรมนามชัด สามารถจับต้องได้นะครับ อย่างที่ ผมยกตัวอย่างไปเรื่องระบบ WIM Weight In Motion ถ้ารัฐบาลสนับสนุนงบประมาณมา ๒๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท ถามว่าครอบคลุมถนนสายใดบ้าง ก็ต้องบอกว่าถ้าได้เงินงบประมาณ มาก็จะครอบคลุมแค่ ๑๐๐,๐๐๐ กิโลเมตรแรกครับท่านประธาน แต่ยังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ถนนที่เป็นสายรองนั้นไม่ได้ ดังนั้นการศึกษารายงานเล่มฉบับนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การมีบทลงโทษ แต่ผู้กระทำความผิด รวมถึงได้นำเสนอสิ่งที่เราจะนำไปแก้ไขในอนาคตให้เป็นรูปธรรม นามชัดครับ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ขออีกเรื่องครับท่านประธาน เรื่องกรณียึดรถ ผมอยากจะบอกว่าการยึดรถ นั้นอยู่ในดุลพินิจของศาล ท่านจะดูจากสิ่งแวดล้อมหลาย ๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักที่ บรรทุกเกินก็ดี หรือความจงใจวิ่งมาในเขตห้ามวิ่งของรถบรรทุกหนัก รวมถึงการฝ่าฝืน ในเรื่องของเวลาที่ผู้กระทำความผิดนั้นได้ฝ่าฝืน ประเด็นทั้งหมดก็จะมีประมาณนี้ครับ ท่านประธาน ก็จะขอให้ทางท่านคณะอนุกรรมาธิการ ท่าน สส. ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ ได้ชี้แจง ในประเด็นที่ยังค้างอยู่ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญครับ แต่ขอรบกวนช่วยสรุป ๆ หน่อยนะครับ เราเหลืออีกรายงานหนึ่งที่ต้องเข้าสภาด้วย เชิญท่านคณะอนุกรรมาธิการครับ
นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ กรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พรรคก้าวไกล ในฐานะคณะอนุกรรมาธิการครับ ผมขออนุญาตให้ชี้แจงเรื่องของประเด็นการคงโทษจำคุกไว้ ตามมาตรา ๗๓/๒ เนื่องจากที่เราได้พิจารณาแล้วก็ประชุมกันในคณะอนุกรรมาธิการ เราได้ พิจารณาเหมือนกันถึงความเห็นจากทั้งผู้ประกอบการเอง แล้วก็สหพันธ์รถบรรทุกที่เข้ามา แสดงความคิดเห็นเรื่องของการไม่ให้มีโทษจำคุกอยู่ในการลงโทษผู้ที่บรรทุกน้ำหนักเกินแล้ว แต่สิ่งที่เราได้พิจารณากันครับ เราจึงเห็นว่าสมควรที่จะยังคงโทษจำคุกมาตรา ๗๓/๒ ไว้ เพื่อให้เกิดความเกรงกลัว รวมไปถึงที่สำคัญที่สุดยังพูดถึงเรื่องของการใช้งบประมาณ ไปอย่างสิ้นเปลือง หากเราต้องคอยซ่อมบำรุงถนนอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น กรมทางหลวง ในปีล่าสุดใช้งบประมาณน้อยกว่า ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท พอ ๆ กันกับกรมทางหลวงชนบทเลย ที่ใช้ถึง ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท สิ่งเหล่านี้เป็นงบประมาณที่เราจะต้องเสียไปในทุก ๆ ปี นั่นทำให้ เราคิดว่าการจะคงโทษให้เป็นการโทษปรับเพียงสถานเดียวนี้ อาจจะยังทำให้มีการกระทำ ความผิดหรือมีการละเมิดกฎหมายอยู่ตลอดเวลานะครับ เราเลยคิดว่าการคงโทษไว้ซึ่งโทษอาญาจำคุก ๖ เดือนนั้นน่าจะสามารถที่จะแก้ปัญหาและทำ ให้ผู้ที่ต้องการจะกระทำความผิดนั้นมีความรู้สึกเกรงกลัว และไม่กล้าที่จะเริ่มกระทำความผิด ทำให้ความผิดนั้น ๆ ยังไม่ส่งผลกระทบ และส่งผลความเดือดร้อนต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ มีคณะอนุกรรมาธิการท่านใดจะชี้แจงเพิ่มเติมไหมครับ มีท่านหนึ่งครับ เรียนเชิญครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต. ศิริวัฒนา กรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียนท่าน ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต. ศิริวัฒนา ในฐานะคณะอนุกรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ขอขอบคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านที่สนับสนุนการศึกษาของคณะอนุ กรรมาธิการ โดยเฉพาะในฐานะตัวแทนในการนำเสนอเรื่องการปรับเปลี่ยนยานยนต์สันดาป ภายในเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ต้องขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนทำให้การศึกษาในเรื่อง EV Conversion ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ โครงการ EV Conversion เป็นการเสนอขอให้รัฐบาลพิจารณาสนับสนุนผู้ใช้ยานยนต์เครื่องยนต์เดิม ซึ่งมีจำนวนรถจด ทะเบียนใช้งานอยู่จำนวน ๔๓.๓ ล้านคัน ให้มีโอกาสปรับเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้า อันจะทำ ให้นโยบายของรัฐบาลในการลดมลภาวะของอากาศที่เกิดจากยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ ประสบความสำเร็จช่วยให้พี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นชาวรากหญ้ามีโอกาส ที่ไม่มีความพร้อมใน การซื้อรถใหม่ แต่พร้อมที่จะนำรถที่ใช้เครื่องยนต์ปรับเป็นรถไฟฟ้าต่อไปได้ ถ้าได้รับ การสนับสนุนจากรัฐบาล เช่นเดียวกับที่สนับสนุนรถไฟฟ้าใหม่ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ที่ประชุมครับ จากการที่ได้ฟังการอภิปรายของสมาชิกเรามีทิศทาง ความเห็นไปในทางเดียวกัน คือเห็นด้วยกับรายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ นะครับ และไม่มีผู้คัดค้านเป็นอย่างไร ดังนั้นผมขออาศัยอำนาจตามข้อบังคับ ข้อ ๘๘ ถามที่ประชุมว่าจะมีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ครับ หากไม่มีสมาชิกท่านใดเห็นเป็น อย่างอื่นถือว่าที่ประชุมเห็นชอบรายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการตามข้อบังคับ ข้อ ๑๐๔ ข้อ ๑๐๕ ประกอบข้อ ๘๘ กราบขอบพระคุณครับ คณะกรรมาธิการทุกท่านและ คณะอนุกรรมาธิการทุกท่าน สำหรับรายงานที่ยอดเยี่ยมนะครับ ขอบคุณครับ เพื่อนสมาชิกครับเราเหลืออีก ๑ วาระ ขอเชิญทางวิปรัฐบาลครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทยครับ ขอเสนอรายชื่อ กรรมาธิการแทนสัดส่วนที่ว่างลงในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศครับ ขอเสนอชื่อ นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ช่วยกันรับรองหน่อยนะครับ เราเหงา ๆ นะครับ ขอบคุณครับ รับรองถูกต้องนะครับ ผมขอ เข้าสู่ระเบียบวาระที่ ๔.๓ เลยนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๔.๓ รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของ คณะกรรมาธิการรายไตรมาสที่ ๑ (ตุลาคม – ธันวาคม) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ซึ่งคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ พิจารณาเสร็จแล้ว
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
รอเจ้าหน้าที่จัดการสักครู่นะครับ ถ้าพร้อมแล้วขอเชิญคณะกรรมาธิการเข้า ประจำที่ครับ ถ้าทางคณะกรรมาธิการพร้อมแล้ว ขอเชิญประธานคณะกรรมาธิการแถลงผล การรายงานครับ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำ และติดตามการบริหารงบประมาณ ท่านประธานครับ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ผมอาจจะขออนุญาตท่านประธานอนุญาตให้ท่านไกลก้อง ไวทยการ และท่านอาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการชุดนี้เข้า ประชุมร่วมชี้แจงด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ฝ่ายโสตถ้าพร้อมแล้วสามารถนำสไลด์ขึ้นได้เลย นะครับ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
เพื่อนสมาชิกครับ เล่มรายงานฉบับนี้ของคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ เป็นเล่มรายงาน (ฉบับที่ ๒) ที่ได้เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ แต่ก็เป็นเล่มรายงานฉบับแรก ที่มีลักษณะเป็นเล่มรายงาน รายงานความคืบหน้าประจำไตรมาสที่พวกเราทุกคนที่อยู่ใน ชุดนี้มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่อยากจะให้คณะกรรมาธิการชุดนี้มีเล่มรายงาน รายงานต่อ สภาผู้แทนราษฎรเพื่อบอกเล่าว่าเรามีความคืบหน้าในการทำงานในประเด็นต่าง ๆ อย่างไร บ้างเป็นประจำ ซึ่งต่อไปอาจจะไม่ได้เป็นบ่อยหรือถี่ทุก ๆ ๓ เดือนก็ได้ครับ อาจจะเป็น ประจำทุก ๆ ๖ เดือนหรือทุก ๆ ปี เพื่อที่จะได้ไม่เป็นการรบกวนเวลาประชุมของสภา มากเกินไป ผมเองก็ต้องกราบขอบพระคุณคณะกรรมาธิการทุกท่านที่เป็นตัวแทนจากทุก พรรคที่เรามีหลักการตรงกันในการประชุมนัดแรก ๆ ออกมาเป็นมติในที่ประชุมว่า กรรมาธิการชุดนี้เรามีเป้าประสงค์ที่จะศึกษาการจัดทำไปพร้อม ๆ กับการปฏิรูประบบและ กระบวนการงบประมาณ โดยวางหลักเอาไว้ว่าพวกเราจะทำงานอย่างสร้างสรรค์ ยึดหลัก ชัดเจนและจริงจังเพื่อทำให้งบประมาณไทยไม่เหมือนเดิมครับ รูปแบบกระบวนการวิธีการ ทำงานเราเรียกกันว่า Platform กรรมาธิการ คำว่า Platform กรรมาธิการ หมายถึงว่า การประชุมคณะกรรมาธิการในห้องใหญ่และคณะอนุกรรมาธิการทั้ง ๒ ห้องเราจะใช้เป็นเวที ที่ใช้อำนาจคณะกรรมาธิการในการเรียกหรือส่งหนังสือเชิญประชุมจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ทีมงานที่ทำงานอยู่เบื้องหลังจริง ๆ ไม่ใช่พวกเราคณะกรรมาธิการครับ เป็นบรรดาที่ปรึกษาหัวหน้าคณะทำงานที่วันนี้บางท่านก็อยู่บนบัลลังก์แห่งนี้ ทั้งหมดทั้งสิ้น ๗ คณะทำงานที่ผมจะต้องกราบขอบพระคุณทุก ๆ ท่านที่เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน คณะกรรมาธิการชุดนี้ อาทิเช่น คณะทำงานงบประมาณปี ๒๕๖๗ ที่ทุกท่านได้เห็นเล่ม รายงานศึกษาการจัดทำงบประมาณปี ๒๕๖๗ ที่รายงานเข้าสู่สภาไปแล้วเมื่อเดือนที่แล้ว ก่อนที่เราจะพิจารณากันในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะทำงานงบประมาณปี ๒๕๖๘ ที่มีท่านรักชนก ศรีนอก เป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ และผมก็เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่ง ว่าในงบประมาณปี ๒๕๖๘ ที่อาจจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในช่วงเดือน พฤษภาคมที่จะถึงนี้เราจะมีผลการศึกษาจากคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตาม การบริหารงบประมาณเพื่อนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรไปพร้อม ๆ กันอย่างแน่นอน มีในเรื่องของคณะทำงานท้องถิ่นครับ ที่มีท่านไกลก้อง ไวทยการ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน เพื่อศึกษารูปแบบการจัดทำงบประมาณท้องถิ่นให้มีความมีอิสระทางการคลังมากขึ้น มีในเรื่องของคณะทำงาน Cloud First and Agile Procurement Policy เพื่อศึกษา การจัดทำงบประมาณให้ตอบโจทย์นโยบาย Cloud First ของรัฐบาล มีในเรื่องของ คณะทำงาน Budget Reform ที่ศึกษาในเรื่องของการปรับปรุง ปฏิรูประบบงบประมาณ ที่พึงปรารถนา ที่เรามุ่งมั่นตั้งใจว่าจะมีข้อสรุปว่าเราจะต้องปรับปรุงกฎ ระเบียบ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องภายใน ๒ ปีหรือ ๔ ปีต่อจากนี้อย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของ คณะทำงานจับตาที่ทำงานตรวจสอบการใช้งบประมาณโครงการต่าง ๆ ย้อนหลังใน ปีงบประมาณปัจจุบันและงบประมาณที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งถ้าเราแบ่งกลุ่มภารกิจทั้งหมดของ บรรดาทุกคณะทำงานเราสามารถจัดกลุ่มออกมาได้ ๓ กลุ่มภารกิจด้วยกัน ที่เราเรียกกันว่า กลุ่มภารกิจ จัดทำ จับตา และจัดระเบียบ คำว่า จับตา นั้นก็เหมือนสิ่งที่คณะกรรมาธิการ ชุดนี้เคยทำมาในอดีต คือตรวจสอบติดตามการใช้งบประมาณในโครงการต่าง ๆ ย้อนหลัง เป็นการทำงานย้อนหลังเท่านั้นครับ แต่การทำงานในคณะกรรมาธิการชุดนี้ผมต้อง กราบขอบพระคุณคณะกรรมาธิการ และที่ปรึกษาทุกท่านที่ช่วยวางหลักให้พวกเราทำงาน ไปข้างหน้าด้วย คำว่า ทำงานไปข้างหน้านั้น ก็คือการทำงานในเรื่องของกลุ่มการจัดทำ อย่างเช่น ในคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดทำงบประมาณปี ๒๕๖๗ และงบประมาณ ปี ๒๕๖๘ ที่กำลังดำเนินการอยู่ สุดท้ายคือในเรื่องของการจัดระเบียบครับ จัดระเบียบคือ การศึกษาการปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิรูปและปรับปรุงกระบวนการ งบประมาณเสียใหม่ เป็นงาน Long Term เป็นงานระยะยาว ภายใน ๒ ปี ๔ ปีที่เราควร จะต้องมีข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ในส่วนของผลผลิตแล้วก็ตัวชิ้นงานที่อยู่ในเล่มรายงานฉบับนี้ผมอาจจะไม่ได้ ใช้เวลาสภามากนักครับ อันนี้ยกมาเป็นตัวอย่างขออนุญาตเปลี่ยนสไลด์ไปเร็ว ๆ นะครับ ในส่วนของมาตรการเชิงนโยบายเป็นข้อสังเกตท้ายเล่ม ผมมีข้อสังเกตที่เป็นมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ที่น่าสนใจ ๒ ประการครับ ที่เหลืออาจจะให้ทุกท่านศึกษาเอง หรือว่าทุกท่านอาจจะ ลุกขึ้นอภิปรายสนับสนุนหรือว่าให้ข้อคิดเห็นได้นะครับ อย่างเช่นในเรื่องของมาตรการที่เราควรจะพัฒนา Application ทางรัฐให้เป็นทางลัดของ ประชาชนจริง ๆ ให้เป็น Application เดียว ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ Digital ภาครัฐจาก Application นี้ Application เดียวได้ ไม่ใช่มี ๓๐๐-๔๐๐ Application สร้างใหม่ไม่รู้จบ ซึ่งกรรมาธิการเราก็ได้มีข้อสังเกตส่งตรงไปยังคณะรัฐมนตรีและสำนัก งบประมาณ ที่บอกว่ารัฐบาลควรจะต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ต่อจากนี้สำนักงบประมาณจะ อนุมัติการจัดสรรงบประมาณที่พัฒนา Application ใหม่หรือตั้ง Application ใหม่ไม่ได้อีก แล้ว สิ่งที่จะอนุมัติได้ ก็คือการอนุมัติงบประมาณที่มีการเชื่อมระบบเข้า Application ทางรัฐเท่านั้น เพื่อไม่ให้มีการผลิต Application ซ้ำซ้อนอีกต่อไป
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
อีกหนึ่งมาตรการเชิงนโยบายที่น่าสนใจ อย่างเช่น การสนับสนุนรถ EV หรือ การรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นไปได้ไหมที่ในปีงบประมาณ ปี ๒๕๖๘ ปี ๒๕๖๙ หรือ ปีงบประมาณถัด ๆ ไป ที่รัฐบาลจะมีการวางมาตรการ ที่บอกว่าบรรดาค่าเช่ารถประจำ ตำแหน่งต่อจากนี้ไปเปลี่ยนจากรถสันดาป ให้เป็นรถ EV ผมคิดว่าเป็นมาตรการง่าย ๆ อาศัย กฎระเบียบมติ ครม. ไม่กี่ข้อ ไม่ต้องแก้กฎหมาย ไม่ต้องใช้งบประมาณก็สามารถสนับสนุน อุตสาหกรรม EV และสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมไปได้พร้อม ๆ กัน
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนเป้าหมายของคณะกรรมาธิการชุดนี้ในไตรมาสนี้ ซึ่งเราอาจจะเหลือเวลา อีก ๑-๒ เดือน ก็คือในเรื่องของงบประมาณ ปี ๒๕๖๘ ที่ผมได้นำเรียนไปแล้วว่าเรามีการตั้ง คณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดทำงบประมาณ ปี ๒๕๖๘ คู่ขนานอยู่ แล้วก็ในช่วง ๒-๓ สัปดาห์ต่อจากนี้จะเป็นช่วงที่คณะกรรมาธิการเราจะสรุปผลการศึกษาที่เราได้เรียก ข้อมูลคำของบประมาณ ปี ๒๕๖๘ จากทุกหน่วยรับงบประมาณมาศึกษาในคณะกรรมาธิการ ชุดนี้ เราคิดว่าคำของบประมาณต่าง ๆ เหล่านี้ มีส่วนใดที่สอดคล้องกับวิกฤติประเทศ มีส่วนใดที่ยังขาด ส่งตรงไปถึงสำนักงบประมาณ ถามว่า ทำไมเราถึงต้องทำภายใน ๒-๓ สัปดาห์นี้ เพราะว่าตามปฏิทินงบประมาณช่วงปลายเดือนมีนาคม จะเป็นช่วงที่ สำนักงบประมาณ สรุปคำของบประมาณ และจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่าย ปี ๒๕๖๘ เสนอคณะรัฐมนตรี เรามุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อสังเกต ข้อชี้แนะ ข้อคิดเห็น ในคณะกรรมาธิการชุดนี้ที่ศึกษาคำของบประมาณจะมีประโยชน์ต่อฝ่ายบริหาร และสำนักงบประมาณไม่มากก็น้อย แต่ผมอยากนำเรียนท่านประธานผ่านไปยังเพื่อนสมาชิก โดยเฉพาะหลาย ๆ ท่านที่อาจจะอยู่ในคณะรัฐมนตรี ต้องนำเรียนตามข้อเท็จจริงว่าปัจจุบัน ท่านนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือสั่งการชัดเจนแล้ว ให้สำนักงบประมาณจัดส่งข้อมูลคำขอ งบประมาณ ปี ๒๕๖๗ และปี ๒๕๖๘ แก่คณะกรรมาธิการ แต่สำนักงบประมาณยังมิได้นำส่ง ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้น ให้กับคณะกรรมาธิการอย่างครบถ้วน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ผมคิดว่า ค่อนข้างมีความชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่าสำนักงบประมาณกำลังจะเสี่ยงในเรื่องของการกระทำ ผิดระเบียบวินัยหรือไม่ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อสั่งการของท่านนายกรัฐมนตรี ก็อยากจะฝากเพื่อน สมาชิกที่อยู่ในคณะรัฐมนตรี ช่วยเร่งรัดติดตามต่อเพื่อให้คณะกรรมาธิการเราได้มีผล การศึกษา ซึ่งเป็นผลการศึกษาของสภาแห่งนี้ ให้เราสามารถวิเคราะห์งบประมาณ ปี ๒๕๖๘ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ในส่วนของเป้าหมายของคณะทำงานอื่น ๆ ผมขออนุญาตไม่ลงใน รายละเอียด เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา แต่ว่ามีสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะเชิญชวนเปิดเป็นวาระ เบื้องต้นไว้ก่อน ให้เพื่อนสมาชิกเห็นว่าเป้าหมายของพวกเราต่อจากนี้อีก ๒ ปี หรือ ๔ ปี จะเกิดอะไรขึ้นบ้างในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ ถ้าทุกท่านเห็นตรงกัน นั่นก็คือในส่วนของ การปฏิรูประบบและกระบวนการงบประมาณเสียใหม่ ก่อนที่จะไปพูดถึงระบบงบประมาณ ที่พึงปรารถนา ผมอยากจะชวนท่านคิดก่อนว่า แล้วระบบงบประมาณปัจจุบันคือภาพ สะท้อนของอะไร ผมคิดว่าระบบงบประมาณปัจจุบันนั้น คือภาพสะท้อนของเศรษฐกิจ การเมืองไทยและระบบรัฐราชการในปัจจุบัน ถามว่าระบบรัฐราชการในปัจจุบันที่สะท้อน ผ่านการจัดทำงบประมาณมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ผมคิดว่าคงหนีไม่พ้นสไลด์หน้าถัดไปครับ ภาพที่ทุกท่านเห็นในซ้ายมือของทุกท่านที่อยู่บนสไลด์ตรงนี้ สร้างขึ้นมาจาก Generative AI ที่ผมเข้าไป Prompt ให้มันฟังว่าวิธีและขั้นตอนในการจัดทำงบประมาณของไทยนั้น ทำอย่างไรบ้างจะแก้ปัญหาสัก ๑ อย่าง ในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องขนส่งสาธารณะนั้น เกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง มีผู้ตัดสินใจหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นท่านอธิบดีต่าง ๆ หรือว่า ผ่านแผนพัฒนาจังหวัดก็จะต้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด หรือแม้แต่งบจังหวัดกลุ่มจังหวัด ก็เป็นอีกท่องบประมาณหนึ่ง นี่คือภาพที่ Generative AI สามารถวาดออกมาได้ให้ทุกท่าน เห็นว่าถ้าข้างล่างคือพื้นที่ ๑ พื้นที่ หรือ ๑ จังหวัด จะแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ ให้กับพ่อแม่พี่น้อง ประชาชน ข้างบนคือท่องบประมาณใหญ่เงินภาษีของพี่น้องประชาชนครับ ทุกท่านจะเห็นความกระจัดกระจายแบบนี้ตามภาพที่แสดงอยู่ในนี้เลย ก็คือเป็นงบประมาณ ที่เป็นตัวแทนของรัฐราชการที่อำนาจการบริหารและอำนาจการกำหนดนโยบายอยู่ในมือ ข้าราชการประจำ มีลักษณะรวมศูนย์ ส่วนกลางผูกขาดอำนาจ บริหารแบบบนลงล่าง มีลักษณะกระจัดกระจายครับ กระทรวงทบวงกรมทำงานเป็นไซโล มีลักษณะที่ขาดพลัง ไร้ทิศทางที่ชัดเจน บูรณาการไม่ดีสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ มีลักษณะที่ไร้อำนาจขาด อำนาจ ประชาชนไม่เคยเป็นตัวเอกในสมการการตัดสินใจครับ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอีก หลายอย่าง อาทิเช่น ปัญหาการขาดพื้นที่ทางการคลัง ในปัจจุบัน ๓.๔๘ ล้านล้านบาทในงบ ปี ๒๕๖๗ นี้เป็นงบประมาณที่รัฐบาลสามารถบริหารจัดการได้เองจริง ๆ นี้ผมเชื่อว่าไม่เกิน ๑.๑ ล้านล้านบาท ตามผลการศึกษาของ 1O1PUB แต่ในทางความเป็นจริงสำนักงบประมาณ เคยออกมาชี้แจงแล้วว่าพื้นที่ทางการคลังที่สามารถจัดการได้เองนั้นอาจจะต่ำเพียงแค่ ๙๐๐,๐๐๐ ล้านบาทเท่านั้น หรือเพียงงบลงทุนอาจจะเหลือเพียงแค่ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เท่านั้น เพราะฉะนั้นทุกท่านจะเห็นได้ว่าระบบงบประมาณปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดนี้ หรือชุดหน้าตราบใดที่เรายังไม่มีการปฏิรูปกระบวนการงบประมาณเสียใหม่รัฐบาลในอนาคต อาจจะเสี่ยงภาวะการขาดพื้นที่ทางการคลังมากขึ้นได้เรื่อย ๆ ทำอย่างไรที่เราจะสามารถ เปลี่ยนงบประมาณฐานอดีตเป็นงบประมาณฐาน ๐ เพื่ออนาคตได้ ทำอย่างไรที่เราจะ สามารถเปลี่ยนงบประมาณราชการประจำ แล้วเป็นงบลงทุนตามนโยบายรัฐบาลมุ่งเน้นตาม ยุทธศาสตร์ได้
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
นอกจากนี้ในเรื่องของงบงานประจำที่เพิ่มพูนมากขึ้นทุกวัน ทำให้รัฐบาล เหลือพื้นที่น้อยลงทุกวันแล้ว ยังมีปัญหาในส่วนของการที่หนี้โตเร็วกว่ารายได้ด้วย จากตัวเลขนี้ เป็นตัวเลขตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่มีค่าใช้จ่าย ค่าชำระหนี้ และต้นดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น มากขึ้นทุกปีเฉลี่ยปีละ ๖ เปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะที่รายได้สุทธิของ รัฐบาลนั้นโตเพียงแค่ ๓ เปอร์เซ็นต์ต่อปี ทุกท่านจะเห็นว่าพื้นที่ระหว่าง ๒ เส้นกราฟนี้ หดแคบลงทุกปี ๆ ดังนั้นจากปัญหาทั้งหมดที่ทุกท่านได้เห็น ผมเชื่อว่าเพื่อนสมาชิก หลายท่านที่อยู่ในกระบวนการงบประมาณมีประสบการณ์ในฝ่ายบริหาร หรือว่าใน สภาผู้แทนราษฎรมาหลายปีเห็นปัญหาไม่ต่างกันครับ คำถามก็คือ งบประมาณที่เราพึง ปรารถนาเป็นงบประมาณแบบไหน ผมเชื่อว่าเป็นระบบและกระบวนการงบประมาณที่เป็น เครื่องมือในการเปลี่ยนประเทศ เราจะทำให้ระบบงบประมาณนั้นเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยน ประเทศได้อย่างไร ผมคิดว่ามี ๔ คุณสมบัติ ๔ ข้อนี้ที่สำคัญด้วยกัน ๑. ควรจะต้องเป็นระบบ และกระบวนการงบประมาณที่สามารถแสดงข้อมูลได้อย่างรอบด้าน เพื่อให้เห็นสุขภาพของ รัฐไทยแบบองค์รวม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจมหภาคได้อย่าง รอบด้านและชัดเจนครับ ถามว่างบประมาณต่อจากนี้ในวิสัยทัศน์ของพวกเราไม่ได้หมายถึง งบประมาณรายจ่ายอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึงงบประมาณรายได้และงบประมาณที่เรา ต้องตรวจสอบให้เห็นถึงปริมาณหนี้สาธารณะด้วย ไม่ใช่งบประมาณของส่วนราชการ อย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องเป็นงบประมาณที่เห็นทั้ง Public Sector อาทิเช่น งบประมาณ ของรัฐวิสาหกิจ งบกองทุน และงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ เราคิดว่าต้องเป็นระบบกระบวนการงบประมาณที่มีความยืดหยุ่น เท่าทันโลก พร้อมรับมือต่อสถานการณ์และความท้าทายใหม่ ๆ ในอนาคต ทำอย่างไรให้เรา สามารถปรับปรุงกระบวนการจัดทำงบประมาณที่พวกเรามีข้อเสนอเบื้องต้นแล้ว ออกจาก งบประมาณฐานอดีตเป็นงบประมาณฐาน ๐ แห่งอนาคตได้ แยกกระบวนการจัดทำ งบประมาณของงบราชการ งบงานประจำออกจากงบภารกิจและนโยบายรัฐบาลให้มีความ ชัดเจน เราจะปรับปรุงกระบวนการจัดทำงบประมาณอย่างไรให้มีความชัดเจนในส่วนนั้น
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ เรื่องของการสร้างระบบงบประมาณที่มีความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ประชาชนมีส่วนร่วม นั่นก็คือการเปิดเผยข้อมูลคำของบประมาณที่ผมได้นำ เรียนผ่านท่านประธานไปแล้วว่า ทุกวันนี้สำนักงบประมาณก็ยังไม่ได้ส่งข้อมูลคำขอ งบประมาณให้แก่คณะกรรมาธิการเรา เมื่อสำนักงบประมาณได้เปิดเผยข้อมูลคำขอตั้งแต่ต้น กระบวนการงบประมาณเกิดอะไรขึ้นครับ พ่อแม่พี่น้องประชาชนสามารถเข้าไปแสดง ความคิดความเห็น ว่าเขาเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับโครงการใดตั้งแต่ต้นกระบวนการจัดทำ งบประมาณ ไม่ใช่มีเวลาเปิดรับฟังความคิดเห็นเพียงแค่ ๒ สัปดาห์ตอนที่กลายมาเป็น ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหลังผ่าน ครม. แล้ว เพื่อทำเป็นพิธีตาม มาตรา ๗๗ แห่งรัฐธรรมนูญก่อนที่จะเสนอสภา แบบนั้นผมคิดว่าประชาชนไม่ได้ประโยชน์
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนสุดท้ายของการเพิ่มธรรมาภิบาล นั่นก็คือการยกระดับสำนักงบประมาณ ของรัฐสภา หรือ PBO ให้เป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางวิชาการสามารถวิเคราะห์ และถ่วงดุลตรวจสอบการจัดทำงบประมาณ และการใช้จ่ายงบประมาณของฝ่ายบริหารได้
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประการที่ ๔ ผมคิดว่าระบบกระบวนการงบประมาณที่พึงปรารถนานั้นควร จะต้องสร้างสมดุลวินัยการคลังและการพัฒนาที่ยั่งยืนควบคู่กันไป ผมคิดว่าพวกเราในฐานะ คณะกรรมาธิการเองไม่ได้เห็นด้วยว่าเราจะต้องรัดเข็มขัดอย่างเดียวเสมอไป ในขณะเดียวกัน พวกเราเชื่อว่าประเทศนี้จะพัฒนาไปข้างหน้าได้ต้องมีการลงทุนอย่างยุทธศาสตร์ ไม่ได้เป็น การลงทุนอย่างหละหลวมขาดวินัยจนเกินไปเช่นเดียวกัน กระบวนการและระบบงบประมาณแบบไหนที่จะสามารถสร้างสมดุลทั้ง ๒ ส่วนนี้ได้ อย่างที่ ผมได้นำเรียนครับ เราจะทำแบบนี้ได้ต้องเห็นข้อมูลอย่างรอบด้าน มองเห็นปริมาณหนี้ สาธารณะ เงินนอกงบประมาณ งบผูกพันก็ต้องก่อเท่าที่จำเป็น รายจ่ายภาษีทุกวันนี้ข้อมูลยัง ไม่ได้ออกมาสู่สาธารณชนอย่างรอบด้านนะครับ คำว่า รายจ่ายภาษี คืออะไร หมายถึงว่า บรรดาภาษีที่ควรจะจัดเก็บได้แต่รัฐไม่สามารถจัดเก็บได้เนื่องจากมาตรการยกเว้นภาษีต่าง ๆ หรือสิทธิพิเศษที่มอบให้กับนักลงทุน สุดท้ายเราก็ต้องพิจารณาในเรื่องของคุณภาพของ การลงทุนที่ทำอย่างไรให้มีความเติบโตอย่างยั่งยืน อย่างเช่นการลงทุนในธุรกิจที่อยู่ใน ภาคอุตสาหกรรมการเติบโตสีเขียวควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม ทุกท่านครับ ผมจะขอใช้ เวลาอภิปรายเนื้อหาในเล่มรายงานฉบับนี้เพียงแต่ประมาณเท่านี้ แต่จะขอสรุปตอนท้ายนิด หนึ่งก่อนที่จะฟังความคิดเห็นจากเพื่อนสมาชิกทุกท่านนะครับ ผมคิดว่าทุกท่านเชื่อตรงกัน กับพวกเราว่าระบบงบประมาณแบบที่เป็นอยู่นั้นไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศในปัจจุบันได้ เปลี่ยนประเทศให้รับมือกับความท้าทายในอนาคตก็ไม่ได้ เราทุกคนต้องการระบบ งบประมาณที่ดีกว่านี้ ประชาชนคนไทยคู่ควรกับระบบงบประมาณที่ดีกว่านี้ การปฏิรูประบบ งบประมาณมีความสำคัญไม่แพ้กับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ๒ เรื่องนี้คือหัวใจของ การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยไปข้างหน้าหลังจากที่เราถอยหลัง ก้าวเท้าถอยหลังมาแล้ว ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา โจทย์การสร้างระบบงบประมาณที่พึงปรารถนาควรจะต้องเป็นวาระ หลักในการทำงานของพวกเราทุกคน และเป็นวาระหลักของคณะกรรมาธิการชุดนี้ที่ผมเชื่อ ว่าไม่ว่าพรรคใดจะมาเป็นรัฐบาลในอนาคต พรรคเหล่านั้นจะมีจุดยืนทางอุดมการณ์หรือ ความเชื่อทางการเมืองเศรษฐกิจแบบใด ทุกพรรคต่างต้องการระบบงบประมาณที่ดี ทำไม พวกเขาหรือพวกเราต้องการระบบงบประมาณที่ดี เพื่อทำให้พรรคการเมืองที่ชนะ การเลือกตั้งเข้ามานั้นสามารถดำเนินตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนได้ เรื่องนี้ผมลงมือทำคนเดียวไม่พอ คณะกรรมาธิการชุดนี้ลงมือทำคณะกรรมาธิการชุดเดียว ไม่พอ พรรคก้าวไกลพรรคเดียวทำเองก็ไม่มีวันสำเร็จครับ พวกเราทุกคนในสภาแห่งนี้ ต้องเข้ามาช่วยกันคิดช่วยกันทำ ช่วยกันแชร์ประสบการณ์ มันไม่ใช่โจทย์ของคนใด คนหนึ่ง พรรคใดพรรคหนึ่ง แต่เป็นโจทย์ของพวกเราทุกคน พวกผมขออาสาเป็นเจ้าภาพ ในการรวบรวมความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภาทุกท่าน รวมถึงหน่วยราชการ นักวิชาการ ภาคประชาสังคมที่ผมต้องกราบขอบพระคุณครับ ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา พวกผมได้เดินสายไปหารือกับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตสมาชิกรัฐสภา อดีตคณะกรรมาธิการวิสามัญงบประมาณ และสมาชิกรัฐสภาในสภาชุดนี้ที่กำลังปฏิบัติ หน้าที่อยู่ด้วย และทุก ๆ ท่านก็ให้ข้อคิดเห็นและให้ความรู้ดี ๆ กับพวกเรามากมาย ดังนั้น จากวันนี้เป็นต้นไปผมอยากจะเชิญชวนทุกท่านผ่านท่านประธานไปว่ามาร่วมกันผลักดันให้ วาระนี้ในการปฏิรูประบบกระบวนการงบประมาณที่พึงปรารถนาเป็นวาระของพวกเรา ทุกคนที่ทุกพรรคเห็นตรงกันซึ่งผมเองก็ต้องขอความอนุเคราะห์และขอรับการสนับสนุนจาก ทุกท่านด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ มีคณะกรรมาธิการท่านใดชี้แจงเพิ่มเติมไหมครับ เสียดายนะครับวันนี้ Late ไปนิดหนึ่ง มีสมาชิกที่เข้าชื่ออภิปรายน้อยหน่อย แต่คาดว่าก็จะเป็นประโยชน์เช่นเดียวกัน ผมขอเชิญท่านแรก ท่านเอกราช อุดมอำนวย ครับ
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ต้องขอบคุณท่านประธานที่เปิดโอกาสให้รายงาน แล้วก็ขอบคุณ ท่านประธานคณะกรรมาธิการที่ได้จัดทำงบประมาณไทยไม่เหมือนเดิมเล่มนี้นะครับ สวยสะดุดตาอ่านง่ายมากเลยนะครับ แต่ว่าไม่ใช่อวยกันเองนะครับ ก็มีข้อเสนอแนะต่าง ๆ เดี๋ยวผมจะได้พูดเป็นลำดับถัด ๆ ไปนะครับ ท่านประธาน ผมเปิดดูลอง Scan QR Code ในหน้า ๒๐ วิสัยทัศน์และแผนการดำเนินงาน ซึ่งพอเข้าไปแล้วผมก็ Scan จริงนะครับ ก็เห็นรายละเอียดที่ท่านประธานได้ Link เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่องบประมาณไทย ที่ไม่เหมือนเดิมงบประมาณไทยที่มีการตรวจสอบ มีมาตรการต่าง ๆ รูปภาพ ตัวอย่าง แต่นิดหนึ่งครับท่านประธานมันเห็นแค่รูปภาพ บางครั้งผมคิดว่าพอมีรายละเอียด อย่างเช่น PBO น่าจะมี Link ที่สามารถเชื่อมต่อ Hyper Link ไปถึงหน้า Website ของ PBO หรือว่า แหล่งข้อมูลนั้นจริง ๆ ได้ เพราะว่าจริง ๆ ผมคิดว่าไม่เกินความสามารถท่านประธานอยู่แล้ว แต่เป็นข้อเสนอแนะเพื่อที่ว่าพอเวลาคนอ่านต่อแล้วก็จะได้เห็นว่าความเชื่อมโยงเป็นอย่างไร
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ครับท่านประธาน ในเล่มนี้ผมเข้าใจว่าก็มีการเผยแพร่อยู่แล้ว แต่ผม ก็มาคิดต่อว่าในหน้า Website ของรัฐสภานี้ ถ้าออกแบบได้ทันสมัยแบบนี้จะน่าอ่านมาก ดังนั้นเพื่อเชื่อมโยงระหว่างกระดาษแบบคาร์บอน กับ Website นี้เพื่อที่ให้เข้าถึงพี่น้อง ได้มากขึ้น ก็น่าจะเพิ่ม Link หรือว่ารายงานที่จะสามารถเห็นได้ หรือว่าปรับโฉมรูปแบบของ การรายงาน ในขณะเดียวกันในเล่มนี้ถ้าคนที่เห็นแล้วอยากจะอ่านเพิ่มเติม เช่น กรณีเรื่อง ของการที่ท่านไป การประชุมครั้งที่ ๔ ศูนย์ข้าวห้องสมุด ลดควบคุม การสั่งการนี้เป็นหัวข้อ ใช่ไหมครับ แล้วก็มีรายละเอียดว่าท่านไปเรียกผู้แทนหน่วยงานที่เป็นกรมการข้าวนี้มา ประชุมแล้วมีมติอย่างไรนี้ จริง ๆ ถ้าสมมุติว่ามี Scan ต่ออีกนิดหนึ่งเพื่อที่จะกระโดดไปเห็น หน้า Website ซึ่งในนั้นจะมีบันทึกการประชุมที่เป็นลักษณะแบบทางการ คือในนี้ก็เป็น ลักษณะของการย่อสั้นมา แล้วก็เป็นสรุปประเด็นเพื่อให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายใช่ไหมครับ แต่ว่า ในขณะเดียวกันก็อาจจะมีนักวิชาการหรือว่าผู้ที่จะทำ นักศึกษาที่อยากจะแสวงหาข้อมูลหรือ ว่าติดตามรายละเอียดมากขึ้น ถ้าจะได้ Scan กระโดดไปมาแบบนี้มันเป็นเรื่องที่ท้าทายและ สนุกมากในการหาข้อมูลนะครับ แล้วก็ชื่นชมว่ามีความตั้งใจ แต่ว่าอย่างไรก็ดีผมคิดว่า ในรายงานเล่มนี้ก็เป็นนวัตกรรมของสภาที่มีการรายงานการทำงานให้พี่น้องประชาชนเห็น ความคืบหน้านอกเหนือจากหน้า Website แล้วก็มาเป็นสรุปเป็นประเด็นให้เห็น ซึ่งผมคิดว่า นี่คือนวัตกรรมที่น่าที่จะดำเนินตาม ผมก็ต้องไปคิดไปทบทวนว่าเราก็จะต้องแข่งกันทำงาน เพื่อประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนนะครับ แล้วในส่วนของกิจกรรมที่ท่านประธาน คณะกรรมาธิการได้จัด ลองดูได้ในหน้าท้าย ๆ ของเล่มนี้ จริง ๆ แล้วน่าจะใส่รายละเอียด ของการไปจัดกิจกรรมสัมมนา เพื่อให้ถอดบทเรียนได้เห็นข้อมูลที่เยอะมากขึ้นกว่านี้ แต่ว่าผม เข้าใจว่าเป็นตรงนี้เพื่อประหยัดกระดาษนะครับ แต่ว่าในรายงานอนุที่มี Link เข้าไป ผมก็ ลองเข้าไปดูแล้วก็เยี่ยมยอดมาก แต่ว่าไหน ๆ ท่านสรุปมาได้หลายหน้า ผลการศึกษาก็น่าจะทำ อยากเห็นรูปเล่มที่สวยงาม ก็ฝากไว้เท่านี้ครับท่านประธาน ก็ชื่นชมนะครับ แล้วก็หวังว่าจะ เป็นมาตรฐานในการทำงานของเพื่อนสมาชิกต่อไปในอนาคต ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ครับ
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ กระผม นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จากจังหวัดศรีสะเกษ ท่านประธานครับ ผมได้มีโอกาสได้อ่านรายงาน งบประมาณไทยสร้างสรรค์ไม่เหมือนเดิม โดยคร่าว ๆ ประมาณทั้งหมด ๘๕ หน้า นะครับ
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นแรกที่จะขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ก็คือขออนุญาตแสดงความ ชื่นชมที่ทางท่านประธานคณะกรรมาธิการและคณะกรรมาธิการ ตลอดจนคณะอนุ กรรมาธิการและคณะทำงานที่มีความตั้งใจที่จะทำงานอย่างจริงจังนะครับ ใน ๓ เดือนแรก ที่มีการทำงานเราก็คงจะยังไม่สามารถบอกได้ว่าผลการทำงานจะดีหรือไม่ แต่เบื้องต้น เราก็เห็นว่าทางคณะกรรมาธิการซึ่งก็ประกอบด้วยหลาย ๆ พรรครวม ๆ กัน ก็ได้วาง แนวทางการทำงานที่มีลักษณะเฉพาะ แล้วก็เปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งก็เป็นวิธีการทำงาน แบบหนึ่ง เราก็จะติดตามรับว่าวิธีที่มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานนี้จะทำให้ผลงานการทำงาน ออกมาดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ อย่างไร ส่วนนี้ก็ยังไม่สามารถที่จะสรุปได้ว่าการเปลี่ยนรูปแบบ การทำงานนั้นจะได้ผลดีหรือไม่ เพียงไรครับ
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๒ ผมเข้าใจว่ามันก็จะเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยน คณะกรรมาธิการ ก็คงพยายามที่จะปรับเปลี่ยนวิธี หรือเสนอแนวทางให้กับรัฐบาลในการจัดทำงบประมาณ ซึ่งเท่าที่ผมฟังท่านประธานคณะกรรมาธิการพูดเมื่อสักครู่นี้ ท่านก็มีการขึ้นสไลด์ แล้วก็เสนอ ว่าประเทศของเราควรที่จะมีการทำงบประมาณโดยระบบ Set Zero Based Budgeting นะครับ หรืองบประมาณฐาน ๐ ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านก็คือเหมือนกับว่าแต่เดิมเราเคยมี วิธีการทำงานอย่างหนึ่ง มีองคาพยพในการทำงานอยู่ส่วนหนึ่ง มีโรงงานอยู่โรงงานหนึ่ง หลักการของงบประมาณฐาน ๐ นี้ก็คือเราก็รื้อทิ้งหมดเลย แล้วเราก็ทำใหม่นะครับ โดยวางแผนใหม่ให้เหมาะกับความต้องการในขณะนั้น ๆ วิธีการทำอย่างนี้แม้ว่าจะเป็น วิธีการที่ดีในอุดมคติ แต่ว่าเมื่อนำมาใช้กับประเทศก็จะพบอุปสรรคค่อนข้างมาก ระบบนี้ ถ้าเป็นเรื่ององค์กรเอกชนที่ขนาดเล็ก ๆ หรือขนาดกลางก็ไม่ยากครับ แต่ถ้าเป็นองค์กร เอกชนที่ใหญ่ ๆ อุปสรรคก็เริ่มมี ถ้าเป็นเรื่องของประเทศ อุปสรรคก็จะทวีความรุนแรง ขึ้นตามลำดับ ผมก็ได้มีโอกาสอ่านในรายงานของคณะกรรมาธิการ ท่านมีการสัมมนาใน ครั้งที่ ๑ ผมขออนุญาตอ่านก็แล้วกันนะครับ เพราะว่าเป็นข้อสรุปของคณะกรรมาธิการ ท่านดอกเตอร์สมชัย จิตสุชน ท่านก็ได้บอกว่า งบประมาณฐาน ๐ นี้เป็นแนวคิดที่ริเริ่มใน สหรัฐอเมริกาและยังไม่ได้ผลดีอย่างที่คาดเท่าไร มีข้อเสียทำยาก ทั้งเชิงเทคนิคและแรงจูงใจ ผู้ที่เกี่ยวข้องทำได้ยากในทางปฏิบัติ ซึ่งผมก็เห็นใจนะครับ เพราะว่าระบบราชการของเรา เป็นระบบค่อนข้างที่จะใหญ่แล้วก็มีข้าราชการจำนวนมาก ระเบียบวิธีการก็ซับซ้อน แล้วเรา ก็มีคณะกรรมการหลายชุดเยอะแยะเต็มไปหมด เพราะฉะนั้นด้วยระบบของเราอย่างนี้ การที่ จะปรับเปลี่ยนทำอะไรขึ้นมาใหม่ อุปสรรคในเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร อุปสรรคในเรื่องของ ข้อกฎหมาย ตลอดจนรูปแบบการทำงานจะทำให้ความพยายามที่จะทำ Zero Based Budgeting มีปัญหาค่อนข้างมาก ผมก็อยากจะยกตัวอย่างข้อมูลนะครับ ปกติงบประมาณ ถ้าตามตัวเลขนี้เราก็จะมีประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ที่เป็นงบลงทุน ส่วนที่ไม่ใช่งบลงทุนนี้ ผมก็คิดว่าก็คงจะมาใช้งบประมาณฐาน ๐ ไม่ได้ จะเป็นงบประมาณในเรื่องของบุคลากร ๔๐ เปอร์เซ็นต์ก็ดี ส่วนนี้ก็คงจะไปแตะต้องอะไรไม่ได้ ในส่วนงบประมาณที่เกี่ยวกับ การลงทุนประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าหากงบประมาณที่มีการผูกพันข้ามปี คิดไปคิดมา ก็อาจจะเหลือปีหนึ่งสัก ๔-๕ เปอร์เซ็นต์แค่นั้นเอง เพราะฉะนั้นในแง่ที่จะมีการทำ งบประมาณฐาน ๐ ทั้ง ๓.๔๘ ล้านล้านบาทนี้ ซึ่งเป็นงบประมาณทั้งก้อน ผมคิดว่าน่าจะ เป็นไปได้ยากในขณะนี้ แต่ในอนาคตถ้าหากว่าเรามีการปรับโครงสร้างระบบของราชการของ เรา มีการปรับเรื่องระบบกฎหมาย มีการปรับวัฒนธรรมการทำงาน ในอนาคตระดับกลางมี ความเป็นไปได้ แต่ในระยะสั้นน่าจะเป็นไปได้ยาก ถ้าจะทำจริง ๆ ก็คงจะทำแค่ในส่วน งบประมาณจำนวนหนึ่งสัก ๕ เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณ น่าจะมีความเป็นไปได้ แต่ก็อยากจะฝากไว้ว่าจริง ๆ แล้วมันมีวิธีการทำงานที่ง่ายกว่าด้วย ก่อนที่ท่านจะทำเรื่องของ งบประมาณฐาน ๐ ถ้าหากปรับระบบวิธีงบประมาณปัจจุบัน เลือกโครงการที่เหมาะสมกับ เศรษฐกิจประเทศไทย ทำอย่างไรที่จะให้งบประมาณที่เลือกแล้วนั้นดำเนินการไปแล้วมี ประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล มีความรั่วไหลน้อย ปราศจากการทุจริต หากทำได้แต่เพียงเท่านี้ ผมเชื่อว่างบประมาณของเราก็จะมีการจัดการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแล้วนะครับ ก็ไม่อยากจะให้ทางคณะกรรมาธิการ ซึ่งผมก็ชื่นชมว่ามีความตั้งใจดี ไม่อยากจะให้ Focus ไปแค่เรื่องของงบประมาณฐาน ๐ อยากฝากท่านว่ามันมีวิธีการทำที่ง่ายกว่าก็คือ การปรับปรุงโครงสร้างปัจจุบัน การทุบกำแพงบางส่วนออก การเจาะผนังบางส่วนออก การเปิดหน้าต่างบางส่วนแล้วทำให้โรงงานของท่านหรือว่าระบบงบประมาณของเราทำงาน ให้ดีขึ้น สามารถทำได้เร็วกว่า แล้วก็สามารถทำได้ทันที ไม่อยากจะให้ Focus หรือทุ่มเท ความพยายามทั้งหมดไปที่การทำงบประมาณฐาน ๐ อย่างเดียว ซึ่งท่านก็เห็นแล้วว่าใน ต่างประเทศนี้คนที่ใช้ระบบงบประมาณฐาน ๐ นั้น ผมยังไม่เห็นว่ามีประเทศใดที่ใช้ งบประมาณฐาน ๐ แล้วประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ยังไม่เห็นครับ ขอบคุณครับ ท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านทศพร เสรีรักษ์ ครับ
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ พรรคเพื่อไทย จริง ๆ แล้วผมไม่ได้มี ความตั้งใจจะอภิปรายในเรื่องนี้เลย แต่พอมาเจอรายงานเล่มที่สะดุดตา แล้วก็มาฟัง ท่านประธานคณะกรรมาธิการได้พูดถึงนี้เป็นอะไรที่ผมต้องนั่งฟังอย่างตั้งใจมากเลย ท่านประธานครับ ผมเคยเป็นคณะกรรมาธิการงบประมาณครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๔๐ มาจนถึง สมัยนี้ ผ่านมา ๒๖ ปี ๒๗ ปี เหมือนเดิมเลยครับ คือถึงเวลาเราก็จะได้รับเอกสารกล่องใหญ่ ๆ คนละ ๒ กล่อง แล้วก็แบกใส่รถอาจจะกลับบ้านหรือทิ้งที่ไว้ที่สภา แล้วก็พยายามอ่าน ๆ กัน พอเข้าวาระที่ ๑ ก็มาอภิปรายกันข้ามวันข้ามคืน แล้วก็ตั้งคณะกรรมาธิการไปนั่งประชุมกัน ๒-๓ เดือน ประชุมก็ตัดกันแล้วตัดกันอีก ตัดกันเรียกหน่วยราชการ หน่วยราชการเขาก็มา อธิบดี ปลัดกระทรวงทั้งหลายก็มานั่งฟัง มานั่งเหมือนกับให้ทาง สส. ได้ติตรงโน้น ตำหนิ ตรงโน้นว่าอย่างนั้นอย่างนี้ เขาก็ฟังเราไปแล้วก็ออกจากห้องประชุมไป ที่เราตัด ๆ กอง ๆ ไว้ พอถึงเวลาเขาก็แปรกลับเข้ามา ก็เป็นโครงการอะไรหรือเป็นงบประมาณอะไรที่ สส. เราอาจจะไม่เห็นด้วยเหมือนเดิม พอเอากลับเข้ามาวาระที่ ๒ วาระที่ ๓ เราก็อดนอนกันข้าม วันข้ามคืน แล้วก็อภิปรายกันอย่างนั้น แล้วผลที่สุดงบประมาณก็ออกมาคล้าย ๆ กับรูปเดิม ก็คือว่า ก็มาจากข้าราชการ เหมือนที่ท่านประธานคณะกรรมาธิการได้พูดไว้ ผมเฝ้ามอง วิธีการอย่างนี้มานาน จนเดี๋ยวนี้ ขอโทษครับ ให้ผมเป็นคณะกรรมาธิการงบประมาณผม ก็ไม่เอาครับ เพราะว่ามันไม่สามารถทำอะไรในสิ่งที่เราอยากเห็น อยากจะเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยได้เลย แต่ผมมาเห็นคณะกรรมาธิการชุดนี้แล้ว ผมเริ่มมองเห็นความหวังนะครับ มันไม่ใช่หน้าที่ของท่านประธานคณะกรรมาธิการหรือว่าคณะกรรมาธิการชุดนี้ชุดเดียว แต่คงต้องมาจากการร่วมมือร่วมใจของทุกพรรคการเมือง ของ สส. ทุกคน ที่จะทำให้ การบริหารประเทศด้วยงบประมาณเป็นไปในรูปแบบใหม่ที่เราจะสามารถแก้ไขปัญหาของ ประเทศได้แท้จริง ผมอยากเห็นงบประมาณที่มาจากประชาชนทุกคน มาจากท้องถิ่น ทุกท้องถิ่น มาจาก สส. มาจากพวกเราทุกคนและมาจากสภาผู้แทนราษฎรของพวกเรา อย่างแท้จริง ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านประธานคณะกรรมาธิการก็จะเร่งมือ เร่งดำเนินงาน โดยความร่วมมือของพวกเราทุกคนที่จะทำให้ความต้องการของพวกเราไปสู่จุดหมาย อย่างนั้น ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ มีสมาชิกท่านใดประสงค์จะอภิปรายเพิ่มเติมไหมครับ เป็นท่านสุดท้ายนะครับ ท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ นะครับ ขอปิดการลงชื่อนะครับ
นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่าน ประธานสภาที่เคารพ ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันพรรคก้าวไกล ขออนุญาตอภิปรายเกี่ยวกับรายงาน งบประมาณไทยของคณะกรรมาธิการที่วันนี้ได้เสนอต่อสภา ซึ่งผมคิดว่าเนื้อหารายละเอียด ที่ท่านทำมา แล้วก็ท่านประธานได้ชี้แจงนี้ทำให้ผมได้มีโอกาสที่จะลุกขึ้นมาต่อยอด เพราะว่า ผมเห็น ถึงความตั้งใจของท่าน และผมเห็นถึงช่องว่างที่ภาครัฐเองเคยทำเอาไว้ และผมเชื่อว่า พอผมพูดเสร็จท่านสามารถที่จะเอาไปใช้ประโยชน์ในไตรมาสต่อไปได้ เช่น เรื่องของ การบริหารงานพัสดุ ซึ่งจริง ๆ แล้ว การบริหารงานพัสดุทั้งของท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง กับ ภูมิภาคมันต่างกัน เพราะว่าใช้ระเบียบต่างกัน ของท้องถิ่นมันใช้ระเบียบอีกอันหนึ่ง แต่สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าต้องพูดถึง ก็คือเรื่อง พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ซึ่งราชการส่วนกลางตาม พ.ร.บ. มาตรา ๑๐๐ รัฐมนตรีต้องกำหนดองค์ประกอบ องค์ประชุม หน้าที่กรรมการตรวจรับพัสดุ ก็คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งในทางปฏิบัติเวลามีการจัดซื้อจัดจ้างในต่างจังหวัด ยกตัวอย่างกรมเจ้าท่าไปสร้างสะพาน ในพื้นที่ ปรากฏว่าเวลาตรวจการจ้างไม่มีภาคประชาชนอยู่ตรงนั้นเลย มีแต่ราชการ แล้วก็มี ช่างไปตรวจ ไปดูก็คือชงกันเอง ดูกันเอง ตรวจรับกันเอง ในขณะที่ภาคประชาชนอยากเข้าไป มีส่วนร่วมเพราะเห็นข้อบกพร่องของการตรวจรับ เช่น ไม่เป็นไปตามแบบ แล้วก็ไม่เป็นไป ตามสัญญา แต่ปรากฏว่ามีการตรวจรับกันเรียบร้อย เป็นต้น เพราะฉะนั้นเรื่องแบบนี้ผมต้อง ขออนุญาตอภิปรายในเชิงลึกเพื่อจะได้เห็นว่าในอนาคตการบริหารงานภาครัฐ การติดตาม งบประมาณ เป็นไปตามวัตถุประสงค์จริง ๆ แล้วก็ต้องฝากอีกประเด็นหนึ่งว่ากรณีการจ้าง ที่ปรึกษาเดิม ๆ โดยเฉพาะของกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งวางโครงการในการสร้างเขื่อน ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แล้วก็เป็นการทำลายชายหาดทั่วประเทศไทยมาแล้วนี้ ผมคิดว่า ข้อสังเกตก็คือว่าทำไมต้องจ้างที่ปรึกษาบริษัทเดิม ๆ ทุกครั้งเลย เรื่องนี้ผมอยากจะฝากเอาไว้ ว่าถ้าท่านคณะกรรมาธิการได้มีโอกาสศึกษารอบหน้าหรือว่าได้ติดตามก็จะเห็นข้อสังเกตของ ผมว่ามันมีข้ออะไรที่เรามีข้อสงสัยว่าทำไมเวลาจ้างที่ปรึกษากรมโยธาธิการและผังเมืองถึงได้ บริษัทเดิม ๆ ทุกครั้งเลย แล้วก็กลายเป็นว่างบประมาณตรงนี้ไม่น่าจะคุ้มค่าเสียด้วยซ้ำสำหรับ การใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐของเราครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ กราบเรียนท่านคณะกรรมาธิการนะครับ ผมฟังอยู่ ก็เอาด้วยแน่นอนนะครับ เรื่องของการยกสถานะ PBO เดี๋ยวเราจะ Kick Off ในการรับฟังความเห็นเรื่องการปรับปรุง โครงสร้างข้าราชการรัฐสภาในวันที่ ๑๕ ที่จะถึงนี้ แล้วก็ PBO กับสำนักนิติบัญญัติจะเป็น ๒ เรื่องใหญ่ที่เราจะปรับปรุงโครงสร้างด้วยกัน อย่างที่ ๒ ก็คือรถประจำตำแหน่งของผม หมดอายุปีหน้า แต่ขาดมติ ครม. ครับ สำนักงบประมาณก็ไม่ค่อยเอาด้วยในการจะเปลี่ยนเป็น EV ทั้งระบบ อย่างไรผมคิดว่าเดี๋ยวถ้าเราผลักดันร่วมกัน สภาผู้แทนราษฎรของเราก็จะเป็น ที่แรกที่รถของผู้บริหารทุกคนจะเป็นระบบ EV อย่างไรเราฝากกันไปที่กระทรวงด้วยนะครับ ขอเชิญคณะกรรมาธิการครับ ทางสมาชิกมีการอภิปรายครบถ้วนแล้วครับ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ขอกราบขอบพระคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่านครับ ผมในฐานะประธานคณะกรรมาธิการอาจจะใช้เวลาตอบชี้แจงไม่นาน อาจจะขออนุญาตเก็บ ท่านจิตติพจน์เป็นท่านสุดท้าย แต่ว่าท่านแรก Comment ข้อคิดเห็นจากท่านเอกราช ก็รับไปครับ ครั้งหน้าเราจะแนบเรื่องของแหล่งอ้างอิง หรือว่า QR Code ในเรื่องของรายงาน การประชุมฉบับเต็มไว้ทุก ๆ ส่วนในเล่มรายงาน ในส่วนของท่านคุณหมอทศพร ก็กราบ ขอบพระคุณที่ท่านเองได้พร้อมที่จะสนับสนุนการทำงานของพวกเรา เพราะผมก็เชื่อว่างาน ในลักษณะนี้เป็นงานลักษณะที่ทุกภาคส่วนจะต้องมาลงแรงลงใจทำถึงจะสำเร็จ ในส่วนของ ท่านประเสริฐพงษ์ ผมก็รับไว้นะครับ ในเรื่องของการปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างที่ เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น แล้วก็ที่ปรึกษาของกรมโยธาธิการและผังเมือง อันนี้รับไว้พิจารณาต่อไป ส่วนสุดท้ายของท่านจิตติพจน์ ก็น้อมรับครับ ผมคิดว่าผมก็เห็นตรงกับท่านในส่วนที่ว่าคำว่า งบประมาณฐาน ๐ นั้นไม่ได้เป็นงบที่รื้อใหม่ทั้งโรงงาน ไม่ได้รื้อบ้านใหม่ทั้งหลัง เพียงแต่ว่า เราต้องหาจุดตรงกลางที่ทำอย่างไรที่ตัวงบประมาณจะสามารถแบ่งแยกในส่วนของงบระบบ ราชการประจำและงบที่รัฐบาลเป็นคนจัดได้อย่างชัดเจน ส่วนนั้นคือเป็นส่วนที่ คณะกรรมาธิการเรากำลังจะลงไปศึกษา ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ สั้น ๆ ครับ ไม่ได้เสียเวลามาก ทุกวันนี้เวลาที่ทุกท่านเปิดเล่มงบประมาณจะเห็นแผนงานต่าง ๆ แผนงานพื้นฐาน แผนงาน ยุทธศาสตร์ แผนงานบูรณาการ ถ้าทุกท่านไปดูตามนิยาม แผนงานพื้นฐานคือบรรดา โครงการหรืองบประมาณที่ถ้าหน่วยรับงบประมาณไม่ได้รับการจัดสรรจะส่งผลกระทบต่อ การให้บริการสาธารณะของหน่วยงานนั้น ๆ ต่อพ่อแม่พี่น้องประชาชน แต่ทุกวันนี้เวลาที่ ท่านเข้าไปดู ท่านก็จะพบว่าไม่ใช่เฉพาะงานที่จำเป็นต้องทำจะอยู่ในแผนงานพื้นฐาน อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังไปอยู่ในแผนงานอื่น ๆ อย่างเช่น แผนงานยุทธศาสตร์ หรือแผนงาน บูรณาการด้วย ยกตัวอย่างง่ายที่สุด งบซ่อมถนน ทุกท่านคิดว่าการซ่อมบำรุงถนนที่ไม่ได้เป็น การเพิ่มฟังก์ชันใหม่ อย่างเช่น ไม่ได้เป็นการขยายถนน ไม่ได้เป็นการสร้างเกือกม้า กลับรถต่าง ๆ แต่มันเป็นการซ่อมผิวถนนปกติ เป็นค่า MA ใช่ไหมครับ ทุกวันนี้ค่าซ่อมถนน ไม่ได้อยู่ในแผนงานพื้นฐานของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท แต่กลับอยู่ใน แผนงานยุทธศาสตร์ด้วย อยู่ในแผนงานบูรณาการ Logistics ด้วย แล้วท่านคิดว่าการทำตัวเลขแบบนี้สภาเราจะสามารถเขียนได้อย่างไรว่าตกลงแล้วในแต่ละปี รัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาเองจะรู้ตัวเลขอย่างไรครับว่าแต่ละกรม แต่ละหน่วยรับ งบประมาณจะเหลือพื้นที่ทางงบประมาณที่ไม่ใช่งบงานประจำที่เราอยากจะเทกระเป๋า ออกมาจัดใหม่นี้เหลือเท่าไร ดูไม่ได้ครับ อันนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างที่เราอาจจะไม่ต้องแก้ในระดับ พระราชบัญญัติ แต่ไปแก้หลักเกณฑ์ในการจัดทำงบประมาณของสำนักงบประมาณ ซึ่งอาศัย เพียงแค่มติ ครม. หรือว่าข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีคุยกันในฝ่ายบริหาร ให้แบ่งหมวดหมู่ของ แผนงานต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น สุดท้ายครับท่านประธาน ไม่รบกวนเวลา สภามากครับ ตัวอย่างกระบวนการงบประมาณที่พึงปรารถนาที่พวกเราคิดอยู่ในหัวตอนนี้ นำไปรับฟังความคิดเห็นจากหลาย ๆ ภาคส่วน แล้วอนาคตจะออกมาเป็นข้อเสนอที่เป็น รูปธรรมว่าจะต้องมีการแก้พระราชบัญญัติหรือแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ และการใช้จ่ายงบประมาณอะไรบ้างครับ ผมคิดว่ากระบวนการจัดทำงบประมาณต่อไป ไม่ควรถูกรวมศูนย์อยู่ที่สำนักงบประมาณ ทุกวันนี้ทุกท่านจะเห็นปัญหาหลาย ๆ อย่าง กรณีงบบุคลากร งบสวัสดิการข้าราชการ ทำไมตั้งขาดทุกปี ทำไมต้องไปเบิกออกจาก งบกลางทุกปี ทั้ง ๆ ที่เรารู้อยู่แล้วว่าอัตรากำลังจำนวนหัวข้าราชการมีเท่าไร สุดท้ายถามไป ถามมาไปจบที่ใครครับ ไปจบที่สำนักงบประมาณเป็นคนจัดสรรทุกอย่าง เวลาเราถาม สำนักงบประมาณเคยได้คำตอบหรือไม่ครับ ไม่เคยนะครับ เท่าที่ผมรับฟังมาก็จะมีบางอย่าง ที่มีความคลุมเครือแล้วดูเป็นดินแดนสนธยาอยู่บ้าง ซึ่งก็เข้าใจว่าสำนักงบประมาณอาจจะ ไม่สามารถให้เหตุผลได้ทั้งหมด กระบวนการที่เราคิดว่าเป็นกระบวนการที่พึงปรารถนา ควรจะแบ่งแยกให้ชัดเจน อย่างเช่น ขั้นตอนแรกตัวเลขได้ที่เป็นงบผูกพันรายจ่ายหนี้เก่า ๆ อันนี้ต้องตั้งอยู่แล้วแน่นอน ตั้งมาเลยครับ กระบวนการที่ ๒ ก.พ. ดูแลกรอบอัตรากำลัง ตั้งงบประมาณบุคลากรมาเลย ส่วนที่ ๓ แผนงานพื้นฐานเอาให้ชัดเจนที่ผมได้นำเรียนครับ อะไรที่เป็นงานประจำของข้าราชการจริง ๆ ของระบบราชการจริง ๆ ตั้งมาเลย ซึ่ง ก.พ.ร. ควรจะต้องเป็นเจ้าภาพหลักในการรีดไขมันเพิ่มประสิทธิภาพของแผนงานพื้นฐานหรือ งบประจำ ทำอย่างไรให้ใส่เงินไปเท่านี้แล้วออก Output ได้มากขึ้น ทั้ง ๓ ก้อน ๑ ๒ ๓ ที่ผมบอกไปแบบเร็ว ๆ นี้คืองบงานประจำทั้งหมดที่อย่างไรก็ตามรัฐบาลไม่สามารถรื้อได้ ส่วนแผนงานบูรณาการและแผนงานยุทธศาสตร์ที่เราบอกว่าควรจะต้องทำเป็นงบประมาณ ฐาน ๐ ทำอย่างไรให้งบประมาณในปีต่อ ๆ ไปพวกเราสมาชิกรัฐสภาสามารถเห็นว่าจาก ตัวเลข ๓.๔๘ ล้านล้านบาทนั้น เป็นงบจากก้อน ๑ ๒ ๓ ที่มาจากระบบราชการและงาน ประจำเท่าไร เป็นก้อน ๔ และก้อน ๕ ที่มาจากการที่รัฐบาลจัดสรรตามนโยบายของรัฐบาล เท่าไร ถ้าเห็นแบบนี้ชัดเจนครับ ผมคิดว่าจะช่วย Save ประหยัดเวลาในการอภิปราย งบประมาณวาระที่ ๑ วารที่ะ ๒ วาระที่ ๓ ในสภาอย่างมากครับ เราไม่ต้องไปนั่งดูก้อนงบ ๑ ๒ ๓ หรอกครับ เราโฟกัสที่ก้อน ๔ กับ ๕ ก็คือส่วนที่รัฐบาลจัดมาเองตามนโยบายของ พวกเขา ในส่วนของก็ ๑ ๒ ๓ ที่เป็นงานประจำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาคืออะไรครับ ให้ข้อเสนอมาตรการเชิงนโยบายที่จะเป็นการรีด ไขมันเพิ่มประสิทธิภาพของงบงานประจำเหล่านั้น อย่างเช่น ในเรื่องที่ผมได้นำเสนอไป ในการเปลี่ยนค่าเช่ารถ เป็นค่าเช่ารถ EV แทนนะครับ อันนี้ก็เป็นภาพคร่าว ๆ ที่ผมเอง ก็กราบขออภัยเพื่อนสมาชิกที่รายละเอียดทั้งหมดอาจจะยังไม่ได้อยู่ในเล่มรายงานฉบับนี้ เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการศึกษาในเรื่องของการปรับปรุงกระบวนการงบประมาณต่าง ๆ แต่ผมคิดว่าไม่เกิน ๒ ปีต่อจากนี้แน่นอนครับ ที่เราจะมีข้อเสนอเป็นรูปธรรมกลับมานำเสนอ กับทุกท่านอีกครั้งว่าถ้าเราอยากจะได้ระบบงบประมาณพึงปรารถนาแบบนี้ ต้องมีการแก้ กฎหมาย กฎและระเบียบอะไรบ้าง วันนี้ก็อาจจะขอใช้เวลาในสภาแต่เพียงเท่านี้ แล้วก็ กราบขอบพระคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่าน แล้วก็ท่านประธานด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญคุณหมอทศพรครับ
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม นายทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ พรรคเพื่อไทย พอได้ยินว่าจะรีดไขมันกัน แล้วก็รถของ ท่านประธานกำลังจะหมดอายุไม่ต้องเปลี่ยนเป็นรถ EV หรอกครับ ผมอยากให้ท่านทำเป็น ตัวอย่างด้วยการไม่ใช้รถประจำตำแหน่ง รถประจำตำแหน่งของราชการในเมืองไทยนี้ ผมเชื่อว่าหลักน่าจะเป็นร้อย ๆ ล้านบาท ซึ่งตรงนี้ถ้าเรายกเลิกเสียได้แล้วก็สามารถเอางบ ไปทำประโยชน์อย่างอื่นแก่ประเทศชาติได้ ก็เรียกร้องเบา ๆ นะครับ ให้ท่านประธาน ได้กรุณาเสียสละ แล้วถ้าเริ่มต้นที่ท่านประธานได้นี้ผมเชื่อว่ามันก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่เรา จะประหยัดงบประมาณที่จะใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพได้ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อันนี้จะรับไปพิจารณาแล้วก็หารือกับทางท่านประธานนะครับ ขอบคุณ คณะกรรมาธิการนะครับ ไตรมาสต่อไปมาอีกนะครับ ท่านทำงานเร็วดีนะครับ มาทุกไตรมาส ก็ได้นะครับ ขอบคุณสำหรับงานที่ยอดเยี่ยม ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
จากการฟังการอภิปรายของท่านสมาชิกมีความเห็นไปในทางเดียวกันนะครับ คือเห็นด้วยกับรายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ และไม่มีผู้คัดค้านนะครับ เพราะฉะนั้นผมขออาศัยอำนาจตามข้อบังคับ ข้อ ๘๘ สมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ ถ้าไม่มีขอดำเนินการตามนี้ ขอบคุณคณะกรรมาธิการครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๕.๑ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาและจัดทำมาตรการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และเยียวยา กรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเล (นายกฤช ศิลปชัย เป็นผู้เสนอ)
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
แต่เนื่องจากมีญัตติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ คือญัตติ เรื่อง ขอให้ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาและจัดทำมาตรการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมระบบ นิเวศทางทะเล กรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเล เสนอโดย นายสุรเกียรติ เทียนทอง ตามระเบียบ วาระที่ ๕.๓๑ ครับ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องทำนองเดียวกันสามารถรวมระเบียบวาระในการ ประชุมเพื่อนำมาพิจารณาและแยกลงมติตามข้อบังคับครับ เป็นการทำตามข้อบังคับ ข้อ ๕๕ (๒) และ (๔) จะมีสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับถ้าไม่มี ถือว่า ที่ประชุมเห็นตามนี้นะครับ ขอเชิญผู้เสนอแถลงเหตุผลตามลำดับ เริ่มจากท่านกฤช ศิลปะชัย ตามด้วยท่านสุรเกียรติ เทียนทอง ครับ
นายกฤช ศิลปชัย ระยอง ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ กระผม กฤช ศิลปชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ วันนี้ผมขอเสนอญัตติเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาจัดทำ มาตรการป้องกันแก้ไขฟื้นฟูและเยียวยากรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเล ท่านประธานครับ น้ำมัน เชื้อเพลิงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการขนส่งน้ำมันทาง ทะเลได้มีบทบาทเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีต้นทุนในการขนส่งต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับการขนส่ง ประเภทอื่น ๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของน้ำมันในทะเลจากการขนส่ง ส่งผลกระทบต่อ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นอย่างมาก ท่านประธานครับ ผมอยากพามาดูภาพรวม สถานการณ์น้ำมันรั่วไหลลงทะเลในประเทศไทยครับ และนี่คือข้อมูลของ The Standard Online ที่ได้เก็บสถิติน้ำมันรั่วในประเทศไทยของเราตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ ถึงปี ๒๕๖๕ ได้เกิด น้ำมันรั่วมาแล้ว ๑๗๖ ครั้ง และข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ได้ติดตาม สถานการณ์น้ำมันรั่วไหลในฝั่งอ่าวไทยและอันดามันในช่วงปี ๒๕๕๙ ถึงปี ๒๕๖๕ ก็พบว่า ใน ๒๓ จังหวัดมีน้ำมันรั่วรวมกันถึง ๑๐๑ ครั้ง ซึ่งแบ่งเป็นเหตุการณ์รั่วไหล ๒๘ ครั้ง แล้วก็ การพบก้อนน้ำมันดินหรือที่เราเรียกว่า Tar Ball อีก ๗๓ ครั้ง ท่านประธานครับ ปี ๒๕๕๙ ๑๕ ครั้ง ปี ๒๕๖๐ ๑๐ ครั้ง แต่อยากให้โฟกัสที่ปี ๒๕๖๓ และปี ๒๕๖๔ ครับ ปี ๒๕๖๓ พบเหตุการณ์ทั้งหมด ๔๗ ครั้ง แล้วปี ๒๕๖๔ พบเหตุการณ์ ๔๔ ครั้ง นี่เพียง ๒ ปี พบเหตุการณ์น้ำมันรั่วแล้ว ๙๑ ครั้ง แล้วจากข้อมูลในปี ๒๕๖๕ พบการรั่วไหลในชายทะเล ฝั่งอ่าวไทย รวม ๑๓ ครั้ง โดยพบบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ณ จังหวัดระยอง ๖ ครั้ง จังหวัดจันทบุรี ๑ ครั้ง จังหวัดชลบุรี ๒ ครั้ง อ่าวไทยตอนบน ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ๑ ครั้ง อ่าวไทยตอนกลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๑ ครั้ง และจังหวัดชุมพร ๒ ครั้ง ส่วนสถานการณ์ในปี ๒๕๖๖ เมื่อปีที่แล้วประมาณเดือนกันยายน พบเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล ในจังหวัดชลบุรีจากกรณีท่อรับส่งน้ำมันดิบแตกรั่ว ทำให้น้ำมันดิบไหลลงสู่ทะเลอีก ๔๕,๐๐๐ ลิตร และพบก้อนน้ำมันดินอีก ๑๑ ครั้ง ทั้งนี้จากการติดตามตรวจสอบพบว่า จังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรีเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง และเกิดเหตุน้ำมันรั่วบ่อยครั้ง เนื่องจากมีกิจกรรมหลากหลายประเภท เช่น การเดินเรือเข้าออก เรือขนส่งสินค้า ตลอดจน บริเวณชายฝั่งของจังหวัดระยองเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งมีโรงกลั่นน้ำมัน ทำให้มีการเดินเรือขนส่งน้ำมันเข้าออกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังมีระบบท่อขนส่งน้ำมัน กลางทะเลและสำหรับอ่าวไทยตอนล่างครับท่านประธาน ในบริเวณชายฝั่งจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดสงขลาและจังหวัดนครศรีธรรมราช ก็พบว่าปี ๒๕๖๓ และปี ๒๕๖๔ ก็มีน้ำมันรั่วไหลบ่อยครั้งมากกว่าในอดีต โดยมีสาเหตุมาจากเรือท่องเที่ยว การแอบล้างถังบรรจุน้ำมัน การทิ้งน้ำมันปนเปื้อนลงทะเล การเดินเรือขนส่ง และรวมถึง แท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล ท่านประธานครับ ต่อมาผมอยากจะพาท่านประธานมาดูเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดระยองของ ผมว่าเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งใหญ่ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมามันเป็นอย่างไรบ้าง และผลกระทบ ที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่นั้นได้รับผลกระทบอย่างไร จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วครับ
นายกฤช ศิลปชัย ระยอง ต้นฉบับ
เมื่อปี ๒๕๕๖ มีเหตุน้ำมันรั่วไหลที่จังหวัด ระยอง จากการดำเนินการขนถ่ายน้ำมันของบริษัทอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ซึ่งจากรายงานของ บริษัทที่เกี่ยวข้องรายงานว่าปริมาณน้ำมันรั่วไหลลงทะเลครั้งนี้คือ ๕๐,๐๐๐ ลิตรครับ แต่สิ่งที่เป็นข้อสงสัยของพี่น้องประชาชนก็คือ การใช้สารเคมีกำจัดคราบน้ำมันที่เรียกว่า สาร Dispersant ใช้สารเคมีไปกว่า ๓๐,๐๐๐ ลิตร ซึ่งสารเคมีดังกล่าวมีการควบคุมให้ใช้ สารดังกล่าวที่ปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม คืออัตราส่วน ๑ : ๑๐ นั่นหมายความว่าถ้ามีน้ำมันรั่ว ๑๐ ส่วนนี้ใช้สารเคมี ๑ ส่วน ถ้าเราคำนวณตามหลักการตามคณิตศาสตร์พื้นฐานการใช้ สารเคมี ๓๐,๐๐๐ ลิตรนี้เท่ากับน้ำมันรั่วไหล ๓๐๐,๐๐๐ ลิตรลงทะเลใช่หรือไม่ ตัวเลข ที่ปรากฏจากทั้งผู้ก่อมลพิษและตัวเลขจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกลับมีรายงานปริมาณ การรั่วไหลเพียง ๕๐,๐๐๐ ลิตรเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสงสัยให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่เป็นอย่างมาก เอาล่ะครับ เมื่อไม่มีคำตอบที่ชัดเจนก็ไม่เป็นอะไร เรามาดูกันต่อว่า ความรุนแรงของน้ำมันรั่วครั้งนี้เป็นอย่างไรบ้าง นี่คือภาพที่เกิดขึ้นที่อ่าวพร้าว ที่เกาะเสม็ด จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่อยู่ห่างจากชายฝั่งไป ๒๐ กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ตำบลมาบตาพุดได้ พัดพาคราบน้ำมันเหล่านี้เข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ความเสียหายขณะนี้ขนาดว่าใช้สารเคมี กดน้ำมันให้จมลงไปสู่ใต้ท้องทะเลแล้วนะครับ ยังมีน้ำมันอีกปริมาณมหาศาลที่ไม่สามารถ ซ่อนได้หมด จนพัดเข้าสู่ชายหาดของเกาะเสม็ดได้ ต่อมาไม่นานในช่วงมรสุมก็มีก้อนน้ำมันดิน หรือที่เรียกว่า Tar Ball พัดขึ้นหาดเป็นจำนวนมากตลอดแนวชายหาดตั้งแต่หาดสวนสน หาดแม่รำพึง หาดปากน้ำ และหาดอื่น ๆ มีสัตว์น้ำลอยเกยตื้นตายเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน เหตุการณ์ครั้งนี้สร้างผลกระทบยาวนานกว่า ๘ ปี กว่าทะเลจะเริ่มฟื้น จากการสำรวจ ความเสียหายของหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะกรมประมง โดยประมงจังหวัดก็ได้รายงาน ต่อคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชุดที่ ๒๕ ว่าหลังจาก เหตุน้ำมันรั่วไหลลงทะเลปริมาณสัตว์น้ำก็ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ๘ ปี แล้วหลังจาก ๘ ปีนั้นก็เริ่มมีสัตว์น้ำที่หายไปกลับมาบ้างแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของพี่น้องประชาชน ที่บอกว่า สัตว์น้ำไม่มีเลยเป็นเวลากว่า ๗-๘ ปี เปรียบเทียบจากการมาของสัตว์น้ำตาม ฤดูกาลก็คือกุ้งเคยครับ ท่านประธานรู้จักไหมครับ กุ้งเคยที่ชาวจังหวัดระยองเอามาทำกะปิ จนมีชื่อเสียงว่ากะปิจังหวัดระยองนั้นอร่อยเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ กุ้งเคย คือกุ้งขนาดเล็ก ที่เป็นจุดเริ่มต้นของวงจรสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดระยอง ชาวประมงจังหวัดระยองมักพูดหยอก ล้อกับคนเล่นน้ำหรือนักท่องเที่ยวที่เล่นน้ำบริเวณชายหาดเสมอ ๆ ว่า เคยโดนตีนไหม เคยโดนตีนไหมนี้ไม่นี้ใช้คำหยาบนะครับ แต่คือกุ้งเคยมันโดนเท้าของนักท่องเที่ยวหรือพี่น้อง ที่อยู่บริเวณชายหาดหรือไม่นะครับ แต่พอหลังจากเหตุการณ์น้ำมันรั่ว กุ้งเคยที่เคยเข้าอ่าว ตั้งแต่ฝั่งอำเภอแกลง ที่เป็นฝั่งตะวันออกไล่เรื่อยมาจนถึงหาดสวนสน หาดแม่รำพึง หาดปากน้ำ ไปจนจบที่หาดพลา ที่อำเภอบ้านฉางซึ่งเป็นชายหาดฝั่งตะวันตกก็ได้หายไปและ ไม่มาตามฤดูกาลอีกเลย หรือว่ามาก็มาแค่ ๑-๒ วันแล้วก็หายไป ถ้าถามว่ากุ้งเคยสำคัญ อย่างไรก็ต้องบอกว่ากุ้งเคยคืออาหารของสัตว์น้ำนานาชนิด ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของ ระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเคยเข้า ปลาชนิดอื่นก็จะเข้าตามมาเพื่อกินเคย และปลาที่มีขนาด ใหญ่กว่าก็จะเข้ามากินปลาเล็กกว่า ตามสไลด์ที่ผมกำลังฉายอยู่ครับท่านประธาน ซึ่งวงจร ห่วงโซ่อาหารนี้จะเป็นแบบนี้ทุกปีตามฤดูกาล เมื่อช่วงเวลาผ่านไป ๘ ปี ทะเลก็กำลังจะ ฟื้นคืนสภาพ ชาวจังหวัดระยองยังต้องเจอกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่อีกครั้ง โดยเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕ เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลจากบริษัทโรงกลั่นน้ำมันที่มี Logo เป็นรูปดาว จากรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็รายงานว่าน้ำมันรั่วครั้งนี้ถึง ๔๐๐,๐๐๐ ลิตร และใช้ สารกำจัดคราบน้ำมันกว่า ๘๕,๐๐๐ ลิตร และขณะนั้นมีการแก้ไขปัญหาโดยบูรณาการหลาย หน่วยงาน กองทัพเรือ จังหวัด กรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า และหน่วยงานอื่น ๆ อีกมากมายครับ ๑๐ หมายความว่าสารกำจัดคราบน้ำมัน ๑ ส่วนต่อน้ำมัน ๑๐ ส่วน การใช้สาร ๘๕,๐๐๐ ลิตร หมายความว่าปริมาณน้ำมันรั่วจริง ๆ มันใช่ ๔๗,๐๐๐ ลิตร ตามที่ผู้ก่อมลพิษ แถลงจริงหรือไม่ หรือว่าจริง ๆ แล้วปริมาณน้ำมันรั่วไหลนั้นคือ ๘๕๐,๐๐๐ ลิตรกันแน่ครับ จากข้อมูลที่กล่าวมานั้นยังเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของพี่น้องประชาชน ภาคประชาสังคม รวมถึงนักวิชาการอีกจำนวนมากครับ ที่ตั้งข้อสังเกตว่าปริมาณน้ำมันรั่วที่รายงานโดยผู้ก่อ เหตุนั้นเป็นไปตามข้อเท็จจริงหรือไม่ ท่านประธานครับทีนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ก็แทบ ไม่ต่างกับปี ๒๕๕๖ หรือว่าอาจจะมีความรุนแรงมากกว่าด้วย เพราะว่าปี ๒๕๕๖ ใช้สารเคมี ไป ๓๐,๐๐๐ ลิตร แต่ว่าปี ๒๕๖๕ ใช้ไป ๘๕,๐๐๐ ลิตร สัตว์น้ำที่เคยจับได้ลดลง อย่างต่อเนื่องเหมือนเดิมเลยครับ โดยเฉพาะเขตในทะเลชายฝั่ง ปูม้าที่เคยจับกันได้เป็นหลัก ๑๐ กิโลกรัมต่อเรือพื้นบ้าน ๑ ลำ ทุกวันนี้ต้องนับเป็นตัวครับ กุ้งแชบ๊วยที่จะเข้าตามฤดู มรสุม จากที่เคยเข้าในช่วง ๒ เดือน ๓ เดือนก็ไม่เข้าอีกเลยครับ กุ้งแชบ๊วยนี้ชาวประมงถือ เป็นโบนัสประจำปีที่เขาจะจับมาแล้วก็ขายให้เขาได้มีผลกำไร และที่สำคัญผลกระทบจาก เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะแค่ชาวประมงนั่นยังรวมถึงพ่อค้าแม่ค้าอาหารทะเลสด ลูกเรือ ประมงที่มีอาชีพต่อเนื่องจากการประมง ร้านค้าอาหารชายหาด โรงแรม การท่องเที่ยวอื่น ๆ อีกมากมาย เมื่อมีข่าวแพร่สะพัดออกไปนักท่องเที่ยวที่ได้จองโรงแรมไว้ต่างพากันยกเลิก ทั้งหมด ไม่มีใครกล้ามาเที่ยวจังหวัดระยองไม่มีใครกล้ากินอาหารจังหวัดระยองในช่วงนั้น นานหลายเดือน แม้แต่ในปัจจุบันนักท่องเที่ยวก็ยังลดลงอย่างมากเนื่องจากขาดความเชื่อมั่น
นายกฤช ศิลปชัย ระยอง ต้นฉบับ
ต่อมาครับ มาดูเรื่องการเยียวยากันบ้าง ในปี ๒๕๕๖ การเยียวยาที่เกิดขึ้น จากการเรียกร้องของพี่น้องประชาชน ซึ่งบริษัทผู้ก่อเหตุก็เยียวยา ยกตัวอย่าง ประมง พื้นบ้านครับ คิดวันละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นเวลา ๑ เดือน ก็คือ ๓๐,๐๐๐ บาทต่อเรือ ๑ ลำ ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเหมาะสมความเสียหายจริงที่มีผลกระทบยาวนานกว่า ๘ ปี เป็นเหตุ ให้ผู้ได้รับผลกระทบต้องฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ได้มี คำพิพากษาให้ผู้ก่อมลพิษชดเชยเพิ่มเติมจาก ๑ เดือน ๓ เดือน และ ๕ เดือนตามลำดับ และจนบัดนี้เวลาผ่านไปกว่า ๑๐ ปีความก็ยังอยู่ในชั้นศาลฎีกา ยังไม่มีคำพิพากษาออกมา แล้วในปี ๒๕๖๕ ลักษณะการเยียวยาเป็นเช่นเดียวกัน เหมือนกันเป๊ะ โดยมีการเรียกร้อง จากการประชุมหลายครั้ง สุดท้ายยอมเพิ่มจากวันละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นวันละ ๑,๕๐๐ บาท ถามว่าทำไมถึงเยียวยาเหมือนกัน แบบเดียวกัน ก็บริษัทที่ทำน้ำมันรั่วปี ๒๕๖๕ ไปตั้ง ที่ปรึกษา ก็คือบริษัทน้ำมันรั่ว ปี ๒๕๕๖ มาเป็นที่ปรึกษาของบริษัทน้ำมันรั่ว ปี ๒๕๖๕ ครับ การแก้ไขปัญหาก็เหมือนกันเป๊ะ ปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไข เป็นเหตุให้พี่น้องประชาชนต้องยื่นฟ้อง ต่อศาลยุติธรรมกว่า ๒,๐๐๐ ราย และอยู่ระหว่างการดำเนินคดีกับผู้ก่อมลพิษ ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเดินทางไปศาลกับ พี่น้องประชาชนตั้งแต่ก่อนผมเป็นผู้แทน จนตอนนี้ผมเป็นผู้แทนแล้วผมก็ยังต้องไปศาลกับ พี่น้องประชาชน เพราะอะไรรู้ไหมครับ ก็เพราะรัฐไทยทอดทิ้งเขา ปล่อยให้คนตัวเล็กตัวน้อย ต้องสู้กับทุนใหญ่เพียงลำพัง พี่น้องเหล่านี้ไม่ได้เรียกร้องค่าเสียหายเพียงอย่างเดียวนะครับ การฟ้องร้องครั้งนี้คือการฟ้องเพื่อขอให้ศาลสั่งให้มีการฟื้นฟูทะเลที่เต็มไปด้วยคราบน้ำมัน พวกเขาไม่ได้ต้องการเงินเยียวยาหรอกครับ เขาต้องการทะเลที่อุดมสมบูรณ์กลับคืนมา ภายหลังจากน้ำมันรั่วการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนของหน่วยงานภาครัฐและบริษัทผู้ก่อมลพิษก็ยัง ไม่มีความชัดเจน ยังคงใช้วิธีการเดิม ๆ เช่น ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงสู่ทะเลซึ่งแทบจะไม่ได้ผล ก็เพราะว่าคราบน้ำมันที่มันถูกสารเคมีมันกำจัดคราบน้ำมันมันทำปฏิกิริยาแล้วกดจมลงไปสู่ ใต้ท้องทะเล น้ำมันไม่ได้หายไปไหน มันแค่ถูกซ่อนให้จมหายไปจากสายตาประชาชน และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้ทะเลไม่อุดมสมบูรณ์จากน้ำมันรั่ว ท่านประธานครับ จะจบแล้วครับ เหตุการณ์เหล่านี้อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวจังหวัดระยองมีตัวเลขผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มสูงขึ้น ก็เป็นได้ จากสารตกค้างในอาหารต่าง ๆ ซึ่งอาจไม่ได้ส่งผลทันที แต่ค่อย ๆ สะสมสู่ร่างกาย จากการบริโภคอาหารทะเลของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง การขจัดคราบน้ำมัน หรือการเผชิญเหตุน้ำมันรั่วของไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นเท่ากับว่าทำเพื่อปกปิดความผิด ให้หายไปจากหน้าสื่อและสังคม รัฐไทยกำลังผลักภาระให้คนตัวเล็กตัวน้อยไปสู้กับทุนใหญ่ โดยลำพัง วันนี้แม้คราบน้ำมันจะหายไปแล้ว แต่ความเดือดร้อนและคราบน้ำตาของพี่น้อง ประชาชนยังคงอยู่ พวกเขาต้องอยู่กับทะเล ต้องใช้ชีวิตกับทะเล ต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้องจาก ทะเล ผมทราบดีว่าเหตุการณ์เหล่านี้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกครับ ที่จะไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีโรงกลั่นน้ำมันและนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แบบนี้ และผมก็เชื่อว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ก็คงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายเหมือนกันที่จะเกิดเหตุน้ำมันรั่ว แล้วกระทบต่อพี่น้องประชาชน แต่พวกเราในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรควรเร่งศึกษา วางแผน และรับมือถึงอนาคตหากเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก จะต้องไม่มีใครได้รับ ความเดือดร้อน ได้รับความหายนะจากเหตุการณ์แบบนี้ รัฐไทยควรมีมาตรการที่ดีกว่าเดิม ในการรับมือ รวมถึงควรออกกฎหมายเกี่ยวกับน้ำมันเป็นการเฉพาะเสียทีให้ครอบคลุม ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน ทั้งเรื่องการป้องกัน การฟื้นฟู การชดเชย และการเยียวยา พอกันทีครับกับการต้องให้พี่น้องไปสู้กับทุนใหญ่โดยลำพังทั้งที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ใด ๆ กับความผิดพลาดครั้งนี้ ผมจึงขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อ ศึกษาและจัดทำมาตรการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และเยียวยา กรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเล เพื่อดูแลทุกข์สุขของพี่น้องประชาชนคนไทยครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เพื่อนสมาชิกครับผมปรึกษาเรื่องเวลานิดเดียว ก็คือตอนแรกผมคิดว่าเราจะ ปิดประชุมกัน ๑ ทุ่ม แต่คิดว่าวันนี้เราเอาให้จบเลยดีไหมญัตตินี้ แต่อย่างไรผมขอเบรก แป๊บหนึ่งได้ไหมครับ เพราะว่าผมไม่มีท่านประธานมาเปลี่ยนคิวผม เดี๋ยวหลังจากที่แถลง ญัตติอีกท่านหนึ่งแล้ว ผมขอพักการประชุม ๕ นาทีนะครับ ขอเชิญท่านสุรเกียรติ เทียนทอง ครับ ขออภัยที่ขัดจังหวะนะครับ เราจัดการเวลาก่อนครับ
นายสุรเกียรติ เทียนทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม สุรเกียรติ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ วันนี้ผมขอเสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาและ จัดทำมาตรการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู สิ่งแวดล้อมระบบนิเวศทางทะเลกรณีน้ำมันรั่วไหลทาง ทะเลครับ ปัญหาน้ำมันรั่วไหลทางทะเลนี้ถือเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติในทะเลเป็นอย่างมาก แล้วปัญหานี้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุของ การเกิดน้ำมันรั่วในทะเลและชายฝั่งเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะ การขนส่ง น้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำมันที่ปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว รวมทั้งอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุให้คราบน้ำมันหรือที่เราเรียกว่าก้อนน้ำมันดินที่อยู่ใน ทะเลจะพัดเขาสู่ชายฝั่งในที่สุด แล้วก็ทำให้เกิดการรั่วไหลในทะเล ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพ ทางเคมีและทางชีวภาพ โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่กับประเภทของน้ำมันครับ และสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในขณะการรั่วไหล กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีหลาย กระบวนการ มีทั้งการแผ่กระจายตัว การระเหย การเกิด Emulsion การเกิดปฏิกิริยา Photo-oxidation หรือการจมตัวหรือการตกตะกอนนั่นเองนะครับ นอกจากนี้ยังทำให้เกิด การปนเปื้อนของสารที่เราเรียกว่าปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนบางกลุ่มที่ตกค้างแล้วก็เป็นพิษ อย่างเฉียบพลัน เรื้อรังต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล สำหรับในประเทศไทยการรั่วไหล ของน้ำมันลงสู่ทะเลได้เกิดขึ้นในช่วง ๑-๒ ปีที่ผ่านมา ถือว่าส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ ธรรมชาติทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕ ที่มีน้ำมันดิบรั่ว ออกมาจากทุ่นขนถ่ายของบริษัทสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ทางใต้ของนิคม อุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยมีการรั่วถึง ๔๐๐,๐๐๐ ลิตร ซึ่งเหตุการณ์นี้บริษัท ได้ออกมาแสดงความเสียใจแล้วก็รับผิดชอบความเสียหาย รวมไปถึงฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมนะครับ หรือในเหตุการณ์เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖ ที่จังหวัดภูเก็ตบริเวณหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ทั้งหาดไม้ขาว หาดในทอน หาดในยาง พบว่ามีก้อนน้ำมันดิน ที่เราเรียกว่าน้ำมันดินพัดเข้ามา ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลหายาก อย่างเต่าตนุที่มีขนาดราว ๑๐ เซนติเมตร ซึ่งเต็มไปด้วย คราบน้ำมัน นอกจากนั้นคราบน้ำมันที่รั่วไหลยังลอยไปถึงเกาะราชาใหญ่ ที่เป็นสถานที่ ท่องเที่ยวสำคัญเลยของจังหวัดภูเก็ต ทำให้แนวปะการังในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงาได้รับ ผลกระทบเป็นหลายพันไร่ และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาก็เกิดเหตุ ท่อรับส่งน้ำมันของบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) แตกตรงบริเวณอำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี ทำให้น้ำมันดิบไหลลงสู่ทะเลมากถึง ๔๕,๐๐๐ ลิตร โดยคราบน้ำมันได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ ชายฝั่งบางพระ อ่าวอุดม กินพื้นที่ถึง ๔ กิโลเมตร เหตุการณ์น้ำมันรั่วแต่ละครั้งสร้างความ เสียหายไม่เพียงแต่เฉพาะระบบนิเวศทางทะเลที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ แต่ยังส่งผลกระทบ ต่อประชาชนในอีกหลาย ๆ ด้าน เช่น น้องประชาชนที่ทำอาชีพประมง ธุรกิจร้านอาหาร และร้านค้าเลียบชายฝั่ง และรวมถึงด้านสุขภาพของพี่น้องประชาชน ท่านประธานครับ มีสถิติน้ำมันรั่วในประเทศไทยที่รวบรวมโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง พบว่าปี ๒๕๕๙-๒๕๖๒ มีการพบน้ำมันรั่วในทะเลเฉลี่ยปีละ ๑๐-๑๕ ครั้ง แต่ใน ปี ๒๕๖๓ เป็นที่น่าสังเกตมีการพบน้ำมันรั่วลงไปสู่ในทะเลถึง ๔๗ ครั้ง โดยเป็นการเพิ่มขึ้น มากถึง ๓ เท่าในปีเดียว ยิ่งไปกว่านั้นในปี ๒๕๖๔ มีการพบการรั่วไหลของน้ำมันในทะเลสูง ถึง ๔๔ ครั้ง ซึ่งถ้ามองในภาพรวมก็จะเห็นว่าการรั่วไหลของน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นถ้าเราจะพูดถึงมาตรการป้องกันสำหรับเรื่องพวกนี้ เราควรจะต้องมาดูแนวทาง บทลงโทษของในประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยกันครับ ตัวอย่างที่ ๑ ในประเทศญี่ปุ่น เขามีกฎหมายควบคุมมลพิษทางน้ำ เรียกว่า Water Pollution Control Law นะครับ มาตรา ๑๔/๒ ได้บัญญัติถึงมาตรการที่จะต้องดำเนินการในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เป็นขั้นตอน ชัดเจนมีโทษหากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบนี้ไม่ปฏิบัติตาม และในมาตรา ๓๐ ของเขาระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑ ล้านเยน แต่ปัญหาก็คือว่าการฟ้องร้องของเขาในส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อ บุคคลแล้วก็ทรัพย์สินเท่านั้น ยังไม่มีการเกิดการฟ้องร้องค่าเสียหายอันเกิดจากผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมทางทะเลโดยตรงครับ อีกตัวอย่างที่ผมอยากนำเสนอและอาจจะเห็นได้ชัด ของประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายว่าด้วยมลพิษจากน้ำมัน Oil Pollution Act มีบทลงโทษ ทางแพ่ง โดยมีค่าปรับสูงถึง ๒๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน หรือ ๑,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐต่อ บาร์เรล ยิ่งไปกว่านั้นหากการรั่วไหลเกิดจากการประมาทเลินเล่อหรือมีเจตนา จะมีค่าปรับ สูงถึง ๓๒,๕๐๐ ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน หรือ ๔,๓๐๐ ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เหตุการณ์ ตัวอย่างในปี ๒๕๕๓ แท่นขุดเจาะน้ำมัน Deepwater Horizon ซึ่งปฏิบัติการอยู่ใน อ่าวเม็กซิโกเกิดการระเบิดแล้วจมลงสู่ทะเล ส่งผลให้การรั่วไหลของน้ำมันเกิดขึ้นครั้งใหญ่ ที่สุดในประวัติศาสตร์ ในปีเดียวกันหน่วยงานของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ยื่นฟ้องบริษัท ดังกล่าวต่อศาลแขวงของรัฐลุยเซียนา แล้วก็บริษัทเขามีโทษที่ต้องชดใช้ทั้งทางอาญา แล้วก็ ทางแพ่งสูงถึง ๒๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ นี่เป็นตัวอย่างของการมีบทลงโทษทางกฎหมาย ที่เข้มงวดและสามารถบังคับใช้ได้จริง พอเรามาดูกฎหมายในประเทศไทย ของเราไม่ได้มี การกำหนดบทลงโทษให้ชัดเจนมากนัก เช่น พ.ร.บ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๑๗ ได้วางหลักการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุน้ำมันรั่วลงทะเล และมีบทกำหนดโทษในมาตรา ๒๗ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกฎหมายควบคุมมลพิษทางน้ำ ของประเทศญี่ปุ่น และใน พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้บัญญัติความรับผิดชอบทางแพ่งไว้ในหมวด ๖ มาตรา ๙๖ วรรคสอง วางหลักไว้ว่าค่าสินไหมทดแทนหรือค่าใช้จ่าย ซึ่งเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิด มลพิษมีหน้าที่ต้องรับผิด ความหมายรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ราชการต้องรับภาระจ่ายจริง ในการขจัดมลพิษที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นในมาตรา ๙๗ ก็วางหลักการไว้ว่าผู้ใดกระทำหรือ ละเว้นการกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการทำลายทรัพยากร ซึ่งเป็นของรัฐมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่าทรัพยากรที่ถูกทำลายไป หรือเสียหาย ถึงแม้จะมีการกำหนดบทลงโทษทางแพ่งไว้แต่ก็ไม่ชัดเจน ต่างจากของประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้กำหนดค่าปรับเป็นจำนวนเงินที่สูงไว้อย่างชัดเจน ถึงเวลาแล้วหรือยัง ครับท่านประธานที่เราจะมานั่งพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของ ประเทศไทยกันให้มีบทลงโทษชัดเจนมากขึ้น เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมที่เป็นทรัพยากรของ ประเทศที่มีค่ามหาศาล ทะเลเมืองไทยเป็นทะเลที่สวยงามเป็น Dream Destination ของต่างชาติ คนต่างชาติบางคนเขาทำงานกันเกือบทั้งชีวิตเพื่อที่จะได้มาเที่ยวเมืองไทย และเป็นสิ่งที่สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมหาศาล ผมจึงเห็นว่าการแก้ไขปัญหาน้ำมัน รั่วไหลลงสู่ทะเลที่เกิดขึ้นควรมีการวางแนวทางแล้วก็จะมีมาตรการที่ชัดเจน มีการเตรียม ความพร้อมด้านบุคลากรและอุปกรณ์ในการกำจัดคราบน้ำมัน รวมทั้งการหามาตรการในการ บรรเทาปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศทางทะเล แล้วก็ประชาชน อย่างครอบคลุมและรอบด้าน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ที่เป็นตัวอย่างที่ผมได้เกริ่นขึ้นมาข้างต้นนี้ จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ดังนั้นท่านประธานครับ ผมจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวมาตามข้อบังคับการประชุมสภา ผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๕ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาดำเนินการศึกษาจัดทำ มาตรการป้องกันแก้ไขฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศทางทะเล กรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเล และส่งผลให้รัฐบาลดำเนินการต่อไป ท่านประธานขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ผู้เสนอญัตติก็ได้แถลงหลักการและเหตุผลแล้ว ต่อไปมีสมาชิกที่มาลงชื่อ ฝ่ายค้าน ๑๐ ท่าน ฝ่ายรัฐบาล ๑ ท่าน เพราะฉะนั้นจะเริ่มจากฝ่ายค้าน ๒ ท่านแรกก่อน ก่อนที่เราจะดำเนินการ ผมขอพักการประชุม ๑๐ นาทีครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
พักการประชุมเวลา ๑๙.๐๑ นาฬิกา
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เริ่มประชุมต่อเวลา ๑๙.๑๒ นาฬิกา
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ประชุมต่อนะครับ เชิญท่านสหัสวัต คุ้มคง ครับ
นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาครับ ผม สหัสวัต คุ้มคง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต ๗ พรรคก้าวไกล ขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายใน ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและจัดทำมาตรการ ป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และเยียวยากรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเล ผมขอเริ่มอย่างนี้ท่านประธานครับ เรื่องของน้ำมันรั่วไหลทางทะเลนั้นเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ต่อเนื่องไปถึงประเด็นเศรษฐกิจ น้ำมันรั่ว ๑ ครั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล มหาศาล ซึ่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจะส่งผลต่อมาถึงจำนวนสัตว์ทะเล สภาพปะการัง คราบน้ำมันบนชายหาด ซึ่งส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจในภาคประมง จับสัตว์ทะเลได้น้อยลง อาหารทะเลก็ขายยาก เพราะคนก็ไม่กล้ากิน กลัวเจอน้ำมัน ไหนจากการท่องเที่ยวที่ส่งผล กระทบครับ ใครจะอยากดูทะเลที่มีคราบน้ำมันครับ นี่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและต้องใช้ ระยะเวลาที่ฟื้นฟูนานมาก ๆ เป็นหลัก ๑๐ ปีกว่าจะกลับมาคืนสภาพเดิมได้ เพราะฉะนั้น นี่เป็นปัญหาที่มีผู้ได้รับผลกระทบเยอะมาก ๆ เป็นปัญหาที่ใหญ่มาก ๆ เอาแค่ไหน Zone บ้านผมที่ภาคตะวันออกเป็นแหล่งอุตสาหกรรม เป็น EEC แถมยังเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวด้วย แต่ก็มีเหตุการณ์น้ำมันรั่วแค่ใน ๑-๒ ปีนี้ก็เป็น ๑๐ ครั้งแล้ว เรื่องแบบนี้ส่งผลกระทบมาก เพราะนี่คือปัญหาของภาคอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ภาคประมง และ ภาคการเกษตร แล้วจนถึงตอนนี้ยังไม่มีใครรับผิดชอบต่อรายได้ของคนกลุ่มนี้ที่ขาดหายไป ในเชิงกระบวนการเพื่อรับมือปัญหาดังกล่าวเองก็มีปัญหาหลายอย่าง ซึ่งหลังจากนี้เพื่อน สมาชิกได้อภิปรายต่อไป แต่ผมจะขอพูดถึงส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ที่สำคัญไม่แพ้ส่วน อื่น ๆ เลย
นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ
เรื่องแรก คือเรื่องของการสืบสวนข้อเท็จจริง การสอบสวนข้อเท็จจริงนี้สำคัญ มากนะครับ เพราะเหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่กระทบชีวิตของคนจำนวนมาก แต่การ สืบสวนเรื่องนี้กับมีปัญหาที่ไม่น่าจะมีปัญหา ขอตัวอย่างจากคลิปวิดีโอครับ
นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ
คลิปวิดีโอนี้คือจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่ จังหวัดระยองในปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ในคลิปที่เห็นคือท่านอภิชาติ ศิริสุนทร ประธาน คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแถลงการดำเนินงานของ หน่วยงานรับผิดชอบจากกรณีหลังจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วในวันสองวันเองครับ ซึ่งก็มีการปล่อยเรือที่ควรจะยึดไว้ออกไปจากประเทศเรา ผมเป็นคนถ่ายวิดีโอนี้ด้วยตัวเอง นะครับ ตอนฟังคำตอบของผู้รับผิดชอบนั้นผมตกใจมากครับ ก็น่าจะได้ยินเสียงอ้าวในคลิป นะครับ จากคลิปท่านอภิชาติได้สอบถามว่าตอนนี้เรืออยู่ที่ไหน ได้ยึดไว้เพื่อทำการตรวจสอบ หรือไม่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือผู้รับผิดชอบได้ปล่อยให้เรือลอยลำออกจากน่านน้ำไปโดยไม่ยึดทำ การตรวจสอบก่อนครับ ทำไมต้องยึด ผมขออธิบายแบบนี้ครับ เหตุการณ์น้ำมันรั่ว ในปี ๒๕๕๕ นั้นเป็นการรั่วจากเรือขนถ่ายน้ำมันจากเรือที่ขนน้ำมันมาขึ้นไปสู่บนบก ทีนี้ พอรั่วแล้ว วิธีง่าย ๆ ที่จะรู้ว่ารั่วกี่ลิตร คือดูว่าเรือขนมาเท่าไร พอขนย้ายจนรั่วสุดท้ายบนบก เหลือเท่าไร บนเรือเหลือเท่าไร หายไปเท่าไร ที่หายไปก็คือที่รั่ว แต่พอเรือไปแล้วเราไม่ สามารถสืบสวนข้อเท็จจริงได้ว่าสุดท้ายจริง ๆ แล้วน้ำมันรั่วไปเท่าไรกันแน่ ได้แต่คาดคะเน รวมถึงกระบวนการสืบสวนว่ารั่วจากไหนกันแน่ รั่วที่เรือ รั่วที่สายส่ง หรือเป็นความผิดของ บนบกก็หายไป เพราะท่านปล่อยเรือออกนอกประเทศไปแล้ว นี่เราปล่อยผู้ต้องสงสัยก่อเหตุ ที่ส่งผลกระทบมหาศาลไปนอกประเทศแบบชัดเจนนะครับ คลิปนี้เป็นวิธีการสืบสวนแบบไหน เรื่องนี้สำคัญมาก แล้วกระบวนการสืบสวนสอบสวนที่ผ่านมาก็มีปัญหาอีกมากมาย เรื่องนี้อยากจะฝากคณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะศึกษาเรื่องนี้ศึกษาอย่างถี่ถ้วนนะครับ
นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่งคือกระบวนการฟ้องร้องที่ผ่านมา กระบวนการฟ้องร้องนั้น แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือการที่หน่วยงานรัฐฟ้อง ซึ่งก็เป็นการฟ้องตามหน้างาน ตามหน้าที่ ที่กระบวนการก็ไม่ค่อยคืบหน้า อีกส่วนหนึ่งคือการฟ้องร้องทางปกครองที่ทางชาวบ้านก็ต้อง รวมตัวกันฟ้องเอง และส่วนสุดท้ายที่ส่วนสำคัญคือกระบวนการฟ้องร้องทางแพ่ง ซึ่งก็ฟ้อง โดยชาวบ้านเช่นกันครับ ปัญหาสำคัญคือเรื่องที่กระทบคนมากมายขนาดนี้เราไม่มีการออก มาตรการเยียวยาหรือไม่มีกฎหมายมารองรับเลยว่าเวลาเกิดเหตุแบบนี้จะมีมาตรการเยียวยา อย่างไรบ้าง และการฟ้องร้องแต่ละครั้งชาวบ้านต้องเป็นคนออกทุนเองทั้งหมด แล้วกว่า กระบวนการจะยุติได้ก็นานมาก เวลาได้รับการเยียวยาก็เป็นแนวทางไกล่เกลี่ย บริษัทก็โยน งบมาก้อนหนึ่งให้ไปทำ CSR ทำมาตรการฟื้นฟูต่าง ๆ ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำบ้าง ชาวบ้านที่อยู่ ตรงนั้นผลกระทบที่เกิดไปแล้ว และไหนผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมชายหาดต่าง ๆ ที่กว่า จะได้รับการฟื้นฟูมันนานนะครับ เราจะมีมาตรการไหนที่จะช่วย ๒ เรื่องนี้ได้ เรื่องแรก คือการฟ้องร้อง แทนที่จะให้ชาวบ้านรวมตัวกันฟ้องร้องเอง รัฐจะมีมาตรการไหนที่จะอำนวย ความสะดวกเรื่องนี้ เช่น ค่าธรรมเนียมการฟ้อง ทนายต่าง ๆ เราจะช่วยได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งประเด็นการเยียวยาที่ต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำในการชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบ ผู้ประกอบการชาวบ้านบริเวณนั้นโดยตรง โดยไม่ต้องฟ้องร้องกันอย่างยาวนานครับ นอกจากนั้นกระบวนการรับผิดที่เราจะต้องมาออกแบบกันว่าจะทำอย่างไรให้บริษัทเหล่านี้ มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ต้องรับผิดชอบมากขึ้นครับ ไม่ใช่แค่พอเกิดเหตุก็มาทำ CSR ที แล้วสิ่งแวดล้อมที่พังไปแล้ว รายได้ที่สูญเสียไปแล้ว สัตว์ทะเลที่สูญเสียไป ปะการัง ที่สูญเสียไป เราทำอย่างไรครับ เป็นในต่างประเทศทำน้ำมันรั่วนี้โดนฟ้องมหาศาล และต้อง รับผิดชอบดูแลฟื้นฟูต่อไปเป็นสิบ ๆ ปี แล้วดูที่ประเทศไทยครับ ภาคตะวันออกของผม บ้านเราไม่ได้มีแค่โรงงานอุตสาหกรรม เรามีแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้จำนวนมาก ถ้าเหตุการณ์แบบน้ำมันรั่วนี้ยังเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ไม่มีใครอยากไปเที่ยวทะเลที่มีแต่คราบ น้ำมัน ก็ไม่มีใครอยากกินอาหารทะเลที่มีสิ่งปนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ อยากให้ศึกษาเรื่องนี้ดี ๆ และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านต่อไปนะครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตัวแทนของพี่น้อง ชาวพญาไท ดินแดง กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายในหัวข้อ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและจัดทำมาตรการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟูและเยียวยากรณีน้ำมันรั่วทางทะเล ท่านประธานครับ โลกที่ขับเคลื่อนด้วย อุตสาหกรรมต่าง ๆ มีการใช้น้ำมันดิบเป็นส่วนประกอบ และเราเองยังต้องมาคอยลุ้นอยู่ว่า น้ำมันดิบที่มีอยู่ในตามนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้น ในบริเวณรอบแนวชายทะเลนั้น จะรั่วออกมาอีกหรือไม่ ท่านประธานครับ ในรอบ ๒๘ ปีที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทย มีเหตุการณ์น้ำมันรั่วมากกว่า ๑๗๐ ครั้ง และยังไม่นับรวมที่รั่วแต่ไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลไว้ ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ทรัพยากรทางทะเลจนประเมินค่าความเสียหายไม่ได้ การที่เราจะ ออกมาควบคุมและสร้างมาตรฐานที่ดีควรทำอย่างไร ปัจจุบันกรมควบคุมมลพิษได้มีการแบ่ง เขตพื้นที่ความเสี่ยงที่จะมีน้ำมันรั่วไหลออกเป็น ๔ เขตตามแนวชายฝั่ง คือพื้นที่ที่มีความ เสี่ยงสูงมาก พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงปานกลางและมีความเสี่ยงต่ำโดยพื้นที่ ความเสี่ยงสูงมาก คือบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง เพราะเป็นที่ตั้งของนิคมนิคมอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมขนส่ง ถ่ายน้ำมันถังบริเวณท่าเทียบเรือและกลางทะเล กรมควบคุมมลพิษได้ทำ Scope พื้นที่ใน การเฝ้าระวัง แต่ยังไม่มีบทลงโทษและการป้องกันที่ดีมากพอ เพราะว่ายังมีเหตุการณ์น้ำมัน รั่วหรือรั่วแบบไม่เยอะ ไม่ออกข่าวอีกมากมายใช่หรือไม่ ไม่จนทำให้ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมใน ทะเลไทยคงสูญเสียไปมากแล้ว ล่าสุดในปี ๒๕๖๕ เหตุเกิดน้ำมันรั่วในพื้นที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ควบคุมความเสี่ยง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมากตามการจำแนกของกรมควบคุม มลพิษข้างต้น พบน้ำมันดิบรั่วไหล ซึ่งสายส่งน้ำมันก็เป็นแบบเก่าครับท่านประธาน ไม่มี Sensor บอกจุดน้ำมันที่รั่วไหล ไม่เหมือนสายส่งน้ำมัน ในปัจจุบันที่มี Sensor โดยในการประเมินน้ำมันรั่วไหลครั้งแรกผลประเมินออกมาว่าประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ลิตร แต่เอาไปเอามาเหลือแค่ไม่ถึง ๕๐,๐๐๐ ลิตร ซึ่งเป็นข้อมูลจากการวิเคราะห์จากเอกชน เท่านั้น แต่จากการคำนวณของทางภาครัฐยังไม่มีข้อมูลอันนี้ ก็ยังเป็นส่วนที่ทำให้เราต้องมอง ว่ารัฐควรเข้ามาตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ ท่านประธานครับ ในกระบวนการควบคุมน้ำมันรั่วทางทะเลแบบไม่มีทางเลือกในปัจจุบัน เขาใช้สารที่ชื่อว่า Dispersant หรือสารกระจายตัว สารตัวนี้มันจะเข้าไปทำให้แรงตึงผิวของน้ำมันที่เดิมน้ำมัน ลอยอยู่เหนือน้ำค่อย ๆ จมลงมาในทะเล ช่วยทำให้น้ำมันเกิดการกระจายตัวเป็นหยดน้ำมัน เล็ก ๆ ซึ่งเป็นการใช้เคมีบำบัด ส่งผลเสียต่อการถ่ายเทปริมาณออกซิเจนในสัตว์น้ำ ซึ่งผม เข้าใจเลยครับ เวลามีบางคนเข้าไปสื่อสารกับชาวบ้านเขาจะชอบพูดว่าเหมือนเอาสบู่ไปแก้ เรื่องน้ำมัน ซึ่งที่เขาพูดก็ถูก แต่มันเหมือนกันเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะกลไกมันคือ ลดแรงตึงผิวบนน้ำ ซึ่งมันคือรูปแบบเดียวกับสบู่ แต่สารเคมีที่ใช้ไม่เหมือนกัน อย่าไปสร้าง ความเข้าใจผิดแบบนี้เลยครับ เพราะสุดท้ายสารเคมีที่อยู่ในกระบวนการดังกล่าวก็จะตกค้าง อยู่ในธรรมชาติไปอีกอย่างน้อยประมาณ ๒ เดือนหรือมากกว่านั้นกว่าจะย่อยสลายจนหมด ซึ่งจริง ๆ แล้วเรามีกระบวนการในการแก้ไข โดยไม่ใช้สารเคมีได้ ซึ่งก็คือการใช้ Boom ล้อมน้ำมันแล้วก็ดูดคราบน้ำมันออกมา แต่ในบางกรณีอาจทำได้ ถ้าสถานการณ์ไม่ได้ลุกลาม มาตรฐานหรือกฎหมายที่คอยควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นควรจัดตั้งหรือไม่ เพราะทุกวันนี้มีปัญหา ๑ ครั้งก็เยียวยากันไป แต่ถึงเยียวยาก็เยียวยาได้ไม่ครบทุกคน มีเรื่องถึงขั้นที่ประชาชน ต้องไปฟ้องร้องต่อศาล แน่นอนครับ ถ้าเกิดเยียวยามากเท่าไรก็คงไม่เพียงพอ ถ้าทำให้อาชีพ ของพวกเขาที่ใช้เลี้ยงดูปากท้องของทุกคนในครอบครัวต้องหายไป ถ้าเราย้อนกลับมาในมุม ของผู้บริโภค เช่น พ่อค้าแม่ค้า ผู้ที่ต้องนำเข้าอาหารทะเลมาขายในตลาด แน่นอนครับ ถ้ามีข่าวเกี่ยวกับน้ำมันรั่วในทะเลพ่อค้าแม่ค้าหลายกลุ่มที่ขายอาหารทะเลจะได้รับผลกระทบ ทันที ไม่ว่าจะรับกุ้ง หอย ปู ปลามาจากที่ไหนก็ตาม ความเชื่อมั่นของลูกค้าที่จะซื้อสินค้าก็จะลดลงทันที เพราะทุกคนไม่อยากจะได้รับผลกระทบ ในส่วนนี้อย่างแน่นอนครับ การกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็จะ เหมาะสมเพื่อที่ป้องกันปัญหาที่จะเป็นห่วงโซ่ต่อ ๆ กันอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้เป็นไปตาม เป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ครับ
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ กระผม นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จากจังหวัดศรีสะเกษ ถึงแม้ว่าจังหวัดศรีสะเกษจะไม่มีทางติดทะเล แต่เรื่อง ของปัญหามลภาวะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อทะเลก็เป็นปัจจัยที่อยู่ในความสนใจของ ชาวจังหวัดศรีสะเกษเช่นเดียวกัน ปัญหาของน้ำมันรั่วในทะเลมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำที่อยู่ใน บริเวณนั้น มีผลต่อสภาวะสิ่งแวดล้อม มีผลต่อสุขภาพของประชาชนที่จะต้องรับประทาน สัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันที่รั่วนั้นมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เนื่องจากชาวประมง ก็น่าจะจับปลาได้น้อยลง รวมทั้งปัญหาที่นักท่องเที่ยวจะไม่มาเที่ยวประเทศไทยหรือมาเที่ยว น้อยลง เนื่องจากมีข่าวเรื่องของน้ำมันรั่วหรือสภาพของทะเลที่ไม่เหมาะกับการท่องเที่ยว อย่างเต็มที่ ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญตามที่เพื่อนสมาชิก ได้มีการอภิปรายไปแล้วหลายท่าน ผมก็จะขออนุญาตผ่านในส่วนนั้นไป ก็จะขออนุญาต ไปในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ โดยส่วนตัวผมเห็นอย่างนี้ว่า การแก้ไขปัญหา ในเรื่องนี้มีวิธีการทำได้ ๓ วิธี วิธีที่ ๑ ทำได้ทันที ก็คือการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และส่วนที่ ๒ ก็คือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ในส่วนที่ ๓ คือการ ใช้กระบวนการทางสังคมในการป้องกันและป้องปรามมิให้เกิดการกระทำให้มีน้ำมันรั่ว ในทะเล ก็มีอยู่ ๓ ส่วน ในส่วนของการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดนั้น ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีกฎหมายที่เป็นหลักในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในทะเล หลัก ๆ ก็จะมีอยู่ ๓ ฉบับครับท่านประธาน ฉบับที่ ๑ ก็คือพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ซึ่งดูแลโดยกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม มาตรา ๑๑๙ ทวิ มาตรา ๒๐๔ ก็มีการระบุเรื่อง การดูแลรักษาน่านน้ำทางทะเลไว้ พระราชบัญญัติ ฉบับที่ ๒ ก็คือพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งส่วนนี้ก็ดูแลโดยกรมทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่ง ก็มีหลายมาตรา เช่น มาตรา ๙ มาตรา ๗๘ มาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ พระราชบัญญัติตัวที่ ๓ คือพระราชกำหนดการประมง ๒๕๕๘ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการดูแล เวชวิทยาของสัตว์น้ำ การดูแลรักษาคุณภาพสัตว์น้ำก็จะอยู่ในมาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๙ โดยสรุปรวมแล้วทั้ง ๓ พระราชบัญญัตินี้ก็มีเจตนาที่จะให้ผู้ที่ทำน้ำมันรั่วในทะเลหรือ ผู้ครอบครองหรือเจ้าของส่วนที่ก่อให้เกิดมลพิษนั้นจะต้องดูแลรักษา ถ้าหากเกิดปัญหามี น้ำมันรั่วในทะเล เจ้าของผู้ครอบครองหรือผู้ทำให้เกิดความเสียหายนั้นมีหน้าที่ที่จะต้องขจัด คราบน้ำมันให้หมดสิ้น แล้วก็ฟื้นฟูระบบนิเวศของทะเลให้กลับสู่ปกติ ถ้าหากมีสัตว์น้ำได้รับ ผลกระทบก็ต้องปรับปรุงให้สัตว์น้ำสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้เป็นปกติสุขตามธรรมชาติด้วย เช่นเดียวกัน โดยถ้าหากว่าผู้กระทำความผิดไม่ได้ดูแลให้ถูกต้อง ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็จะมีโทษทางอาญา มีโทษจำคุก ก็จะมีตั้งแต่ ๑ ปี ๓ ปี หรือ ๕ ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ในโทษปรับนั้นก็จะอยู่ระหว่าง ๓๐,๐๐๐ บาทบ้าง ๖๐,๐๐๐ บาทบ้าง หรือ ๕๐๐,๐๐๐ บาทบ้าง แล้วแต่ว่ากระทำความผิดในมาตราใด แต่ประเด็นที่มีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย ผมก็จะขออนุญาตให้ข้อมูลครับ ก็คือข้อมูลที่เป็นความเสียหายของน้ำมันรั่วทางทะเล ถ้าหากไปดูข้อมูลที่เผยแพร่ของ ๓ หน่วยงานที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เราจะพบว่าข้อมูลของ ทางราชการที่มีการประกาศออกมา มีไม่ครบถ้วนครับท่านประธาน แล้วก็ถึงแค่ประมาณ ปี ๒๕๖๔ เท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันนี้เป็นปี ๒๕๖๗ แล้ว ความจริงแล้วเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น สมควรที่หน่วยงานของรัฐจะมีการเผยแพร่และบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นโดยทันที แล้วก็มีการชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงสาเหตุของการเกิดปัญหา รวมทั้งมาตรการแก้ไข เยียวยาก็ควรจะมีนะครับ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดาย ไม่ว่าจะเป็นกรมประมง กรมทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่ง หรือจะเป็นกรมเจ้าท่าก็ตาม มิได้มีการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ปัญหา ข้อมูลอย่างทันท่วงที รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าเราไปถามเอกชนที่อยู่ในพื้นที่เราก็จะพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมีมากกว่าตัวเลขที่หน่วยราชการมี แสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายนั้น เป็นเรื่องที่น่ากังวลครับว่า ไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หรืออย่างเต็มที่ แม้แต่ ยกตัวอย่างเคสนะครับ ที่เหตุการณ์เมื่อปี ๒๕๖๕ ที่มีเหตุการณ์น้ำมันรั่ว โดยบริษัทแห่งหนึ่ง แต่เดิมบอกว่ารั่ว ๒๐๐,๐๐๐ ลิตร ต่อมาบริษัทเดียวกัน ท่านก็บอกว่าน้อยกว่านั้น และในที่สุด จบที่ ๕๐,๐๐๐ ลิตร แต่หน่วยงานราชการของเราในที่สุดไปตรวจ แล้วก็บอกว่า ๒๐,๐๐๐ ลิตร ซึ่งก็ทำให้ความน่าเชื่อถือในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานรัฐของเราได้รับ ผลกระทบกระเทือนครับ ก็อยากจะฝากท่านประธานครับว่า อยากจะให้หน่วยงานของรัฐ มีเครื่องมือตามกฎหมายมากมายตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ถ้าทุกหน่วยงานได้ดำเนินการ อย่างเต็มที่ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วในทะเลได้ดีกว่าที่เป็นมาอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรา ๙ ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ อันนั้นเป็นอำนาจของท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะมอบหมายให้ทาง ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อำนาจแทนก็ได้ มีอำนาจในการสั่งการในเรื่องของการป้องกันและ ขจัดมลพิษเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ถ้าหากว่ามีผู้ใดขัดขืนคำสั่งนั้นมีโทษสูงสุด จำคุกถึง ๕ ปี และปรับ ถึง ๕๐๐,๐๐๐ บาท ผมแทบจะไม่เคยได้ยินนะครับว่า มีการใช้อำนาจตามมาตราดังกล่าว แต่อย่างใด และส่วนใหญ่ผมก็เชื่อว่าผู้กระทำความผิดก็จ่ายค่าปรับ จะเป็น ๖๐,๐๐๐ บาทก็ดี ๑๐๐,๐๐๐ บาทก็ดี หรือ ๕๐๐,๐๐๐ บาทก็ดี แล้วก็ไม่มีโทษจำคุก ก็เป็นที่น่าเสียดายครับ ท่านประธาน
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในส่วนที่ ๒ ที่เกี่ยวกับเรื่องของการปรับปรุงกฎหมายนะครับ ก็อย่างที่ท่าน สส. สุรเกียรติ เทียนทอง ท่านได้เป็นผู้เสนอญัตติ ท่านก็ได้ยกตัวอย่างของอัตราค่าปรับ ที่สูงกว่ามากในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศญี่ปุ่นหรือในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอัตราค่าปรับวันละเป็นล้านบาท เทียบกับของประเทศไทยซึ่งอัตราค่าปรับต่ำมาก เมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมประมง ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสุขภาพของประชาชน ก็เป็นที่น่าเสียดาย ครับว่า กฎหมายของเราบทลงโทษอาจจะเบาไปนิดหนึ่งนะครับ น่าที่จะได้มีการพิจารณา ในชั้นต่อไปนะครับว่า จะปรับปรุงกฎหมายในส่วนนี้ ในเรื่องของการเพิ่มโทษในทางกระทำ ความผิดหรือไม่
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในส่วนที่ ๓ เป็นเรื่องของการใช้กระบวนการทางสังคมครับ ถ้าหากว่า ตรงข้อมูลมีการเผยแพร่ว่าผู้ใดเป็นผู้ครอบครอง ผู้ใดเป็นผู้ก่อให้เกิดมลพิษ แล้วก่อให้เกิด มลพิษที่ไหน อย่างไร แล้วหน่วยงานของรัฐเข้าไปจัดการปัญหาอย่างไร ผมเชื่อว่าเมื่อ ประชาชนทราบเรื่องนี้ เจ้าของผู้ครอบครองหรือผู้ก่อให้เกิดปัญหานี้ก็จะมีความระมัดระวัง มากกว่านี้ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำมันรั่วในทะเล ที่ปัจจุบันมีมากกว่า ๔๐-๕๐ ครั้ง ๔๐-๕๐ รายต่อปี ซึ่งถือว่ามากมายมหาศาล สมควรที่จะได้มีการหาทางแก้ไขปัญหา เรื่องดังกล่าวโดยด่วนครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านเฉลิมพงศ์ แสงดี ตามด้วยท่านวรายุทธ ทองสุข ครับ
นายเฉลิมพงศ์ เเสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายเฉลิมพงศ์ แสงดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๒ พรรคก้าวไกล วันนี้ต้อง ขอขอบคุณท่านประธานครับที่กรุณาให้ผมได้ร่วมอภิปรายในญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและจัดทำมาตรการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และเยียวยา กรณีน้ำมันรั่วทางทะเลที่ท่านกฤช ศิลปชัย เป็นผู้เสนอ ท่านประธานครับ แม้ว่าญัตติ ในวันนี้ ตามที่ท่านผู้เสนอญัตติได้นำมาเสนอในที่ประชุมอาจจะเจาะจงเฉพาะถึงเหตุการณ์ น้ำมันรั่วที่จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี จังหวัดสมุทรปราการ ล้วนแล้วแต่เป็นจังหวัดชายฝั่ง ทะเลพื้นที่อ่าวไทย ขอสไลด์ด้วยครับ
นายเฉลิมพงศ์ เเสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ วันนี้ผมจะขอใช้พื้นที่ ในเวลานี้พูดถึงเหตุการณ์น้ำมันรั่วในพื้นที่ฝั่งอันดามันครับ พื้นที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัด พังงาซึ่งถือเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวระดับโลก เป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทย ท่านประธานครับ ทราบไหมครับว่าทางฝั่งทะเลอันดามันก็มีเหตุการณ์น้ำมันรั่วเหมือนกันครับ เหตุการณ์เมื่อ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ตามข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมพบว่ามีเรือลำ ๑ แล่นผ่าน บริเวณชายฝั่งทะเล ระนอง พังงา ภูเก็ต ปรากฏเส้นสีดำเป็นทางยาว ณ เวลานั้น ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจจะยังไม่ทราบว่าเส้นสีดำดังกล่าวคืออะไร แต่ต่อมาทาง Page ขยะมรสุมซึ่งเป็นองค์กรอาสาสมัครประชาชนในจังหวัดภูเก็ตได้ลงพื้นที่พบว่ามีก้อนสีดำ หรือคราบน้ำมันสีดำถูกคลื่นซัดและสัตว์ทะเลขึ้นมาบนชายฝั่งเป็นจำนวนมาก วัตถุดังกล่าว มีกลิ่นคล้ายน้ำมัน ต่อมาเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ลงพื้นที่บริเวณหาดในหาน ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ก็พบคราบสีดำ มีกลิ่นคล้ายกับ น้ำมันดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๖ ที่ตำบลกะรน จังหวัดภูเก็ต ก็พบเต่าซึ่งถือว่าเป็นภาพที่น่าสงสารครับท่านประธาน เพราะภายในปากของเต่าทะเลตัวนี้ เต็มไปด้วยคราบน้ำมัน เหตุการณ์เช่นนี้ยังพบอีกครั้งเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๖ ที่หาด กะตะ ตำบลกะรน จังหวัดภูเก็ต ขอสไลด์สุดท้ายครับ เหตุการณ์นี้ผมได้ลงพื้นที่ไปด้วยตนเอง ในพื้นที่หาดในยาง อุทยานแห่งชาติสิรินาถ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยท่าน สส. ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ที่นั่งอยู่ทางด้านข้างผม ก้อนน้ำมันสีดำนี้มีลักษณะคล้ายกับ ขนมกะละแม แต่ไม่น่ากินหรอกครับท่านประธาน เพราะดมกลิ่นแล้วคล้ายน้ำมันดีเซล B7 มากกว่าครับ
นายเฉลิมพงศ์ เเสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ เหตุการณ์นี้ผมได้เคยมาแถลงข่าวที่สภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ปรากฏว่าจนถึงวันนี้ยังไม่มีการสืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้เลย ยังไม่มีใครรู้ ว่าเรือลำดังกล่าวที่ปรากฏทางภาพถ่ายทางดาวเทียมเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เส้นสีดำเป็นทางยาวนั้นเกี่ยวกับคราบน้ำมันเหล่านี้หรือไม่ เราชอบบอกกันว่าภูเก็ตคือ ห้องรับแขกของประเทศไทย ถามว่าห้องรับแขก สกปรก ไม่สะอาด ไม่เรียบร้อย แขกที่ไหน เขาจะมาเที่ยว แขกที่ไหนจะพอใจหรือไม่ หรือไปกังวลว่าเรือลำดังกล่าว เป็นเรื่องของใคร ใครเป็นเจ้าของ จึงไม่กล้าที่จะมาตรวจสอบไม่กล้าที่จะค้นหาความจริง วันนี้ชาวภูเก็ตบอกว่ารัฐบาลต้องดูแลคนใน ใส่ใจคนนอก แต่มัวแต่กังวลเรื่องความรู้สึกของ คนนอก ความรู้สึกของนักท่องเที่ยว จนไม่มีใครดูแลคนในให้ดี บางทีประเด็นเหล่านี้อาจจะ เป็นประเด็นบานปลายไปทำลายภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวได้ท่านประธานครับ ในเมื่อ เรื่องนี้มีผลกระทบทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันถือเป็นเรื่องในวงกว้าง ผมจึงขอให้สภา ผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขฟื้นฟูและ เยียวยากรณีน้ำมันรั่วทางทะเล ตามที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านวรายุทธครับ
นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายวรายุทธ ทองสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี พรรคก้าวไกล วันนี้ผม ขอลุกขึ้นมาอภิปรายญัตติเรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา และจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขฟื้นฟูและเยียวยากรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเล ท่านประธานครับ เหตุการณ์น้ำมันรั่วในทะเลและชายฝั่งโดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณฝั่งอ่าวไทยตะวันออก ถ้าเราไม่คิดจะหาทางป้องกัน แก้ไข บังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชนอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่าเหตุการณ์เช่นนี้ก็จะเกิดขึ้นเหมือนเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วสุดท้ายเหตุการณ์น้ำมันรั่วมันจะกลายเป็นเหตุการณ์ทั่วไปที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ปี ดังจะเห็น จากข้อมูลที่ปรากฏใน ๒๐ ปีที่ผ่านมาครับท่านประธานว่ามีเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งใหญ่ ถึง ๑๗ ครั้ง หรือเฉลี่ยแล้วก็ปีละ ๑ ครั้งครับท่านประธาน ผมเชื่อว่าทุกคนตระหนักดี เรื่องน้ำมันรั่วว่าเป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติ เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อคนไทยทั้งประเทศ อย่างแน่นอน ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมครับ ผลกระทบทางตรงแน่นอนว่าพี่น้องประชาชนที่อยู่ ในพื้นที่จังหวัดที่เกิดน้ำมันรั่ว ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องชาวระยองหรือพี่น้องชาวจังหวัดชลบุรี ที่อยู่ในภาคของการท่องเที่ยวโรงแรม ร้านอาหาร พ่อค้าแม่ค้า ได้รับผลกระทบโดยตรง ถ้าหากไม่มีนักท่องเที่ยวครับ ภาคประมงโดยเฉพาะพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถ ประกอบอาชีพของตัวเองได้ ขาดรายได้ดูแลครอบครัว หรือบางคนอาจจะต้องเลิกอาชีพ ประมงไปเลยครับท่านประธาน พี่น้องประชาชนทั่วไปก็อาจจะได้รับมลพิษจากการสัมผัส น้ำทะเลหรือรับประทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อน ผลกระทบทางอ้อมแน่นอนว่าเรื่องนี้ ส่งผลต่อภาพใหญ่ของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยตะวันออก ถ้าเหตุ น้ำมันรั่วเกิดขึ้นที่จังหวัดระยอง อย่างไรเสียก็กระทบต่อจังหวัดจันทบุรีบ้านผมไม่มากก็น้อย เพราะทะเลของทั้ง ๒ จังหวัดคือทะเลเดียวกันครับท่านประธาน ผมขออนุญาตยกข้อมูล จากสำนักข่าวไทยพีบีเอส ซึ่งได้เก็บข้อมูลสถิติน้ำมันรั่วก็พบว่าในทะเลฝั่งอ่าวไทยตะวันออก มีจังหวัดที่เคยเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วมากที่สุดอยู่ที่จังหวัดระยอง สมุทรปราการ ชลบุรี และฉะเชิงเทรา แต่มีข้อมูลว่ามีการพบก็น้ำมันดินจำนวน ๔ ครั้งในทะเลจันทบุรี ซึ่งใน รายงานของสำนักข่าวไทยพีบีเอสก็บอกว่าทั้ง ๔ ครั้ง ไม่ทราบสาเหตุและที่มาที่ไปของ ก้อนน้ำมันดินนั้น ในเมื่อจังหวัดจันทบุรีไม่เคยมีเหตุการณ์น้ำมันรั่ว เราก็คงเดาไม่ยากครับว่า เหตุการณ์นี้เกิดจากจังหวัดใกล้เคียงที่มีเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ซึ่งนั่นคือผลกระทบข้ามพื้นที่ ข้ามจังหวัด ท่านประธานครับ เจ้าก้อนน้ำมันดินที่ผมกล่าวมานี้ลักษณะเป็นก้อนสีดำ ขนาดเล็กพบได้บริเวณชายหาด มีลักษณะเป็นก้อนเหนียว ๆ หนืด ๆ สีดำคล้ายยางมะตอย ซึ่งเท่ากับว่าถ้ามันอยู่ที่ชายหาดก็จะเป็นการทำลายทัศนียภาพการท่องเที่ยว หรือถ้า ก้อนน้ำมันดินจมลงทะเลก็อาจจะกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวปะการัง อันตรายอีกอย่างก็คือ ก้อนน้ำมันดิบนี้เต็มไปด้วยสารปรอทที่เป็นโลหะหนักเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต ถ้าสะสมหนักมาก ขึ้นมันจะจมลงทะเลไปคลุมหญ้าทะเล สัตว์ทะเล ถ้าจับสัตว์น้ำเอามากินก็อาจจะมีโลหะหนัก ปนเปื้อน และถ้าเราสัมผัสโดยตรงก็อาจจะเกิดการระคายเคืองผิวได้ครับ ซึ่งถ้าใครไม่รู้ไปจับเข้าก็อาจจะได้รับอันตรายเช่นกันครับท่านประธาน ขณะที่ภาคประมง ก็เสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรกัน ท่านประธานครับ ผมเคยมีโอกาส ได้คุยกับพี่น้องประมงพื้นบ้านในจังหวัดระยอง ลำพังแค่ไม่มีน้ำมันรั่วทรัพยากรทางทะเล ของจังหวัดระยองก็น้อยลงแล้วครับ แต่นี่พอเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วขึ้นซ้ำ ๆ ก็แน่นอนว่า เขาจำเป็นจะต้องออกเดินทางไปที่ไกลขึ้น เสี่ยงชีวิตมากขึ้น แน่นอนว่าต้นทุนในการเดิน ทางเข้าออกนอกพื้นที่ก็สูงขึ้นครับท่านประธาน และการไปหากินต่างถิ่นก็อาจจะไม่ง่ายนัก ถ้าต้องแข่งกับคนในพื้นที่ครับ ท่านประธานครับ ภาคตะวันออกของเราไม่ได้ขับเคลื่อน เศรษฐกิจด้วยภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่เรายังมีภาคของการท่องเที่ยว ภาคของการเกษตร ประมงที่เป็นหัวหอกในการขับเคลื่อนประเทศ เรื่องการท่องเที่ยวเมื่ออ่านข่าวก็จะเห็นได้ว่า รัฐบาลตั้งใจจะดึงเม็ดเงินจากต่างชาติเข้ามาในประเทศผ่านการท่องเที่ยวให้มากที่สุด ทั้ง ๒ เรื่อง พวกเราทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าสำคัญครับท่านประธาน แต่ทั้ง ๒ เรื่องจะยั่งยืน ไม่ได้เลยถ้าเราไม่จัดสมดุลของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างภาคอุตสาหกรรมให้อยู่ร่วมกันได้ กรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเลในพื้นที่จังหวัดอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ทำให้เกิดผลกระทบ ในวงกว้างและสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ความเสียหาย ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อยเลยในขณะที่ผู้ก่อ ความเสียหายและเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็ไม่ได้ต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างเพียงพอเหมาะสมครับ ท่านประธานครับ ผมขอเดาว่าวันใดวันหนึ่งของปีนี้ เราจะได้ เห็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วอีกครั้งครับ แล้วเราก็จะเห็นภาครัฐจัดงานกินปู กินกุ้ง สร้างความ เชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวอีกครั้งเช่นกัน แต่ผมขอให้การเดาครั้งนี้เป็นการเดาที่ผิดนะครับ ท่านประธาน สุดท้ายนี้ผมหวังว่าสภาของเราจำเป็นจะต้องมานั่งพูดคุยหาทางออกเรื่องนี้ กันอย่างจริงจังและเป็นระบบมากขึ้นเพื่อให้มาตรการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนและเป็นธรรม กับทุกภาคส่วน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจภาคตะวันออกเดินหน้าไปอย่างมีสมดุล ดังนั้นผมจึงขอสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและจัดทำมาตรการ ป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟูและเยียวยากรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเล ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านวรท ศิริรักษ์ ครับ ตามด้วยท่านพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ครับ
นายวรท ศิริรักษ์ ชลบุรี ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านประธานครับ เรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม วรท ศิริรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต ๑ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ วันนี้ผมขอมาอภิปรายสนับสนุนในหัวข้อขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขฟื้นฟูและเยียวยา กรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเลครับ ขอสไลด์ด้วยครับ
นายวรท ศิริรักษ์ ชลบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ วันนี้ผมขอมาพูดในฐานะ ผู้แทนของชาวบางแสนและหาดวอนนภาครับ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีน้ำมันรั่ว ครั้งล่าสุดเมื่อปีที่แล้วครับ ท่านประธานครับ อย่างที่ทุกท่านทราบบางแสนบ้านผมนี่ครับ เป็นพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจครับ และเป็นพื้นที่ที่มีการท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มี การทำประมงครับ แน่นอนครับว่าเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งล่าสุดไม่ได้เกิดในพื้นที่ของบางแสน หาดวอนนภา แต่ปฏิเสธไม่ได้ครับว่าในจุดที่มันเกิดขึ้นนะครับ อยู่ไม่ได้ห่างกันเลย และมันก็ เป็นเรื่องที่เราคาดการณ์ไว้ว่าชาวบางแสนกับหาดวอนนภาต้องได้รับผลกระทบอยู่แล้ว ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ครับ หลังจากที่มันมีผลกระทบจากน้ำมันรั่ว มันส่งผลต่อ เศรษฐกิจ ส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ที่มาเที่ยวในพื้นที่ของบางแสนนะครับ ก่อนที่จะ ยกตัวอย่างในพื้นที่บางแสนบ้านผมครับ วันนี้ผมอยากจะยกตัวอย่างของต่างประเทศมา พูดคุยกันก่อนครับ ซึ่งกรณีน้ำมันรั่วครั้งนี้ครับเกิดจากแท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิดที่ อ่าวเม็กซิโกครับ ซึ่งมันเป็นกรณีที่ดังมากครับ ถูกนำไปสร้างเป็นหนังถูกทำเป็น Case Study ต่าง ๆ ครับ โดยเราจะเห็นข้อมูลได้ในสไลด์ถัดไปครับ เหตุการณ์ Deepwater Horizon ส่งผลกระทบให้มีผู้เสียชีวิตกว่า ๑๑ ราย มีน้ำมันรั่วกว่า ถ้าตีเป็นลิตร ๗๘๐ ล้านลิตร มีสัตว์ทะเล นกทะเล เต่าทะเล วาฬ โลมา ตายอีกมายมายครับ และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างกว่า ๑๘๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร พูดถึง ๑๘๐,๐๐๐ ตาราง กิโลเมตร เราจะจินตนาการไม่ออกว่ามันกว้างขนาดไหน ผมเปรียบเทียบให้ครับ เท่ากับ ๔๒ จังหวัดชลบุรี และมากไปกว่านั้นคือส่งผลกระทบยาวนานต่อสิ่งแวดล้อมกว่า ๔๐ ปี ให้หลังตามมาครับ ทีนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์เรามาดูกันว่า Case Study เขาดูแล เขาเยียวยา เขาแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง ผมจะสรุปให้คร่าว ๆ แบ่งมาเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกคือการเยียวยา โดยตรง มีการตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ตัวเลขเป็นเงิน จำนวนมากอยู่แล้วครับ เราอาจจะไม่ได้ไปโฟกัสที่ตัวเลขของเงินครับ เราโฟกัสที่วิธีการใน การเยียวยาของเขา เขาฟื้นฟูธรรมชาติ สนับสนุนเงินฟื้นฟูธรรมชาติด้วยนอกจากเยียวยา ผู้คนก็ยังฟื้นฟูธรรมชาติ และสุดท้ายเขามีการสนับสนุนเงินเพื่อวิจัยและตรวจสอบ วิจัยว่า สภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อมกลับมาเป็นเหมือนเดิมหรือยังครับ ในสไลด์นี้จะบอกถึงภาพรวม โดยคร่าว ๆ ว่าเขาใช้เงินไปทำอะไรบ้าง อย่างที่เห็นครับมีฟื้นฟูธรรมชาติ ตั้งศูนย์วิจัยและ ฟื้นฟูเยียวยาภาพรวม แต่สิ่งที่ผมอยากให้เห็นชัดและโฟกัสคือ ฟื้นฟูเศรษฐกิจครับ เราอาจจะไม่ได้พูดถึงเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจเลย หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ทำลายสภาพ สิ่งแวดล้อมขนาดนั้น นอกเหนือไปกว่านั้นครับเขาก็ยังมีการตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีโดยใช้เงินส่วนตรงนี้เช่นกัน จากข้อมูลที่ผมพูดมาถึงเคส Deepwater Horizon สามารถไปดู Scan QR Code เมื่อสักครู่นี้ได้ว่าถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม
นายวรท ศิริรักษ์ ชลบุรี ต้นฉบับ
ถัดมาผมมาพูดถึงเรื่องของบางแสนบ้านผมและประเทศเราครับ ในสถิติ ๑๒ ปีที่ผ่านมาจากกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรามีน้ำมันรั่วไปกว่า ๑๘๑ ครั้ง ซึ่งเฉลี่ยปีละ ๑๕ ครั้ง นั่นหมายความว่าในทุก ๑ เดือนเราจะมีน้ำมันรั่ว ๑-๒ ครั้ง ผมคิดว่า มันเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา ไม่ปกติ แต่ทำไมเรายังทำตัวเหมือนว่ามันเป็นเรื่องปกติอย่าง ทุกวันนี้ได้ พอมีน้ำมันรั่วเราก็เห็นผลกระทบ ผลกระทบจากเคสล่าสุดของบางแสน บ้านผมครับ เราเจอสัตว์ทะเลตาย เจอก้อนน้ำมันดิน จากรูปซ้ายและรูปกลาง เราจะเห็น ก้อนน้ำมันลอยมา มีคราบน้ำมันลอยมา ซึ่งชาวประมงที่ลงไปจับปลา ลงไปจับหอย หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบจากตรงนี้ ในรูปขวาสุดเราจะเห็นว่าหอยเปลี่ยนสีเลย นะครับ หลังจากที่มีเหตุการณ์น้ำมันรั่วแล้วพัดลอยมาถึงบางแสน ผมคิดว่ามันก็เป็นเรื่อง ที่น่าเป็นห่วง ซึ่งตรงนี้นะครับผมคิดว่าส่วนหนึ่งแล้วมันอาจจะส่งผลกระทบต่อจำนวน ปริมาณของสัตว์ทะเลในบ้านเราด้วย ในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมาเรามีสัตว์น้ำลดลงกว่า ๒๙ เปอร์เซ็นต์ แน่ใจหรือครับว่ามันไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง ผมคิดว่ามันเป็นตัวเลขที่น่าเป็น ห่วงมากว่าอนาคตทะเลบ้านเราจะเป็นแบบไหน วันนี้อาจจะยังพออุดมสมบูรณ์อยู่บ้าง แต่ใน อนาคตผมคิดว่าถ้าตัวเลขเหล่านี้ไม่ลดลง หรือว่าตัวเลขไม่ได้ดีขึ้นเลย ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ น่าเป็นห่วงแน่นอนครับ พอพูดถึงเรื่องเคสน้ำมันรั่วผมก็อดไม่ได้ที่จะย้อนกลับไปน้ำมันรั่ว ครั้งใหญ่เมื่อปี ๒๕๕๖ ครับ ปี ๒๕๕๖ ถึงปี ๒๕๖๗ ผมว่าเป็นเวลา ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมาครับ Update เมื่อปี ๒๕๖๓ เราก็เพิ่งเห็นว่าคดีความมันยังไม่ได้ถูกสิ้นสุด การเยียวยายังไม่จบ Check อีกทีเมื่อสิงหาคมปี ๒๕๖๖ เราจะเห็นได้ว่าคดีคงค้างอีก ๒๗๑ คดี จากทั้งหมด ๔๒๙ คดี ในขณะที่ต่างประเทศเขาใช้เวลาเพื่อที่จะศึกษาว่าทำอย่างไรถึงจะเยียวยาสิ่งแวดล้อม ของเขาให้กลับมาได้ ทำอย่างไรผู้คนของเขาจะไม่ได้รับผลกระทบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ดู ว่าเรา ๑๐ กว่าปีคดียังไม่คืบหน้าเลยนะครับ พอพูดถึงคดีความแล้วก็ต้องย้อนกลับมาอีก Step หนึ่ง คือเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องครับ ทุกท่านอาจจะไม่ต้องอ่านรายละเอียดในสไลด์มาก แต่ว่าสิ่งที่น่ากังวลที่สุดเลยคือผมสามารถ รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาอยู่ได้ในสไลด์เดียวครับ มันเป็นเรื่องที่น่าใจหายมากเลยครับ อีกนิดเดียวครับท่านประธานจะจบแล้ว ๑๐ ปีที่ผ่านมา ในเคส Deepwater Horizon ครับ มันทำให้ชาวประมงสูญเสียอาชีพไปกว่า ๒๕,๐๐๐ คน คิดเป็นเงิน ๗๖,๐๐๐ ล้านบาท เยอะมากนะครับ แล้วบ้านเราล่ะครับ ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมาที่มันรั่วไหลไปกว่า ๑๐๐ กว่าครั้ง เราสูญเสียเงินไปเท่าไร เราเคยได้คำนวณเรื่องนี้จริง ๆ แล้วหรือเปล่าครับ จากข้อมูลทั้งหมด ที่ผมได้อภิปรายมาวันนี้ นำไปสู่ ๓ ข้อเสนอ ที่ผมอยากเสนอต่อสภานี้ครับ อันดับแรกคือ ตั้งกองทุนเยียวยาและชดเชยเหตุการณ์น้ำมันรั่ว เป็นกองทุนที่มันสามารถชดเชยได้อย่าง ทันท่วงที เมื่อเกิดเหตุสามารถเข้าไปชดเชยได้เลยช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกรณี น้ำมันรั่วได้เลย อันดับที่ ๒ ครับ กฎหมาย โทษ ต้องมีการบังคับใช้อย่างจริงจังและครอบคลุม อันดับสุดท้ายครับ ตั้งหน่วยงานวิจัยและฟื้นฟูในระยะยาวว่าสิ่งแวดล้อมของเรามันควร จะต้องกลับมาให้ได้ครับ ตั้งหน่วยงานอย่างจริงจังครับจาก ๓ กรณีทั้งหมด ผมคิดว่าทำ เพื่อให้รักษาผลประโยชน์ของคนในประเทศ รักษาผลประโยชน์ของคนในพื้นที่ และหวังว่า กฎหมายหรือว่าทางออกในการศึกษาของกรรมาธิการจะเป็นทางออกให้กับพี่น้องชาวประมง และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้จริง ๆ และหวังว่าให้มันจบในสภาชุดนี้ของเรา ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านพงศธรครับ
นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม พงศธร ศรเพชรนรินทร์ สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง อำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา จากพรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ เรื่องน้ำมันรั่วครั้งนี้ผมจะไม่พูดก็ไม่ได้ เพราะว่า ผมติดตามปัญหาของพี่น้องชาวประมงจังหวัดระยองมาอย่างต่อเนื่องครับ เรื่องนี้กระทบต่อ พี่น้องชาวประมงอำเภอแกลงของผม กระทบต่อพี่น้องชาวประมงทั้งระยอง รวมไปถึงธุรกิจ ประมงต่อเนื่องพ่อค้าแม่ขายชายหาด ผู้ที่ทำธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม Resort บริษัท Tour ต่าง ๆ เดือดร้อนกันมาหลายปี อย่างที่ทราบกันดีครับ ที่ระยองบ้านผมเจอกับ ปัญหาน้ำมันรั่วครั้งใหญ่ ปี ๒๕๕๖ ก็รอบหนึ่ง ปี ๒๕๖๕ ก็มาซ้ำอีก แล้วผมก็เคยพูดไปแล้ว ครับว่าความทุกข์ของชาวประมงจังหวัดระยอง นอกจากเรื่องน้ำมันรั่วแล้วก็มีเรื่องของการ ถูกแย่ง ยึดพื้นที่ทำมาหากินในบริเวณประมงชายฝั่งจากการพัฒนาอุตสาหกรรมถมทะเลไป แล้ว ๓ เฟส เจอปัญหากฎหมายประมงซ้อนทับเข้ามาอีก ซ้ำซ้อนมากครับ ยังดีที่เรื่อง กฎหมายประมงสภาของเราได้มีความเห็นร่วมกันทั้งสภาที่จะแก้ไขปัญหา โดยมีการตั้ง กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขกฎหมายประมงกันแล้ว ผมก็อยู่ในคณะกรรมาธิการ วิสามัญด้วย วันนี้ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรกก็น่าจะช่วยผ่อนคลายไป ๑ ปัญหา อีกเรื่องหนึ่งที่ สำคัญก็คือวันนี้ปัญหาน้ำมันรั่วที่จนถึงวันนี้ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม พ่อแม่พี่น้อง ชาวประมงยังคงต้องดิ้นรนต่อสู้ฟ้องร้องกันอยู่เลยครับ ทั้ง ๆ ที่ไม่ควรจะเป็นภาระของพ่อแม่ พี่น้อง รัฐบาลต้องมีหน้าที่ดูแลประชาชนให้ดีกว่านี้ครับ ผมจึงอยากมาเน้นย้ำสั้น ๆ ๔ เรื่อง จากหลาย ๆ ท่านได้อภิปรายไปแล้วครับ หลักสำคัญอยู่แค่ ๔ เรื่องนี้ละครับ เรื่องที่ ๑ ก็คือ เรื่องของการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มันจะต้องตรวจสอบย้อนกลับได้ ว่าน้ำมันตกลงมันรั่ว เท่าไรกันแน่เราจะปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เหมือนปี ๒๕๖๕ ที่บอกว่าตอนแรกก็รั่ว ๔๐๐,๐๐๐ ตอนที่สอง บอกเหลือ ๑๖๐,๐๐๐ ถัดมาบอกเหลือ ๕๐,๐๐๐ สุดท้ายเหลือ ๔๗,๐๐๐ หลักฐานคืออะไรครับ ไม่มีเลยครับ อย่างคลิปเมื่อสักครู่เห็นไหมครับ ท่านอภิชาตก็ถาม เรือ ที่มาถ่ายน้ำมันนั้นอยู่ไหน ตอบได้หน้าตาเฉย บอกเขากลับประเทศไปแล้ว เฮ้ย แบบนี้ก็ได้ หรือไม่ได้นะครับ นี่คือหลักฐานที่เราจะต้องพิสูจน์ให้ได้ ดังนั้นเราจะต้องมาช่วยกันแก้ไข กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อที่จะทำให้เมื่อเกิดเหตุขึ้นอีกจะต้องมีมาตรการ ที่จะต้องตรวจสอบย้อนกลับได้ มันไม่ได้ยากอะไรเลยครับ แค่ไปดูว่าน้ำมันบนเรือขามานั้น มาเท่าไร ตอนรั่วไปแล้วมันเหลืออยู่เท่าไร ค้างท่อเท่าไร บนคลังเท่าไร คณิตศาสตร์ง่าย ๆ บวก ลบ คูณ หาร มันเห็นชัด ๆ ว่ามันจะต้องรั่วเท่าไรกันแน่ ไม่ใช่แค่การคาดการณ์ แล้วไม่ใช่เชื่อฟัง แต่บริษัทเอกชนที่เขาบอกว่ารั่วเท่าไรก็เท่านั้น หน่วยงานรัฐไม่มีส่วนที่จะไปตรวจสอบเลยว่า แท้จริงมันรั่วเท่าไรแบบนี้ไม่ได้ครับ ดังนั้นเรื่องที่ ๑ ต้องมีมาตรการตรวจสอบย้อนกลับ ที่ชัดเจนให้ได้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาเถียงกันว่ารั่วเท่าไร เอาตัวเลขที่คำนวณได้บนหลักฐาน ที่ชัดเจนมายันกัน
นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ
ข้อที่ ๒ มาตรการกำจัดคราบน้ำมันที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมาถ้าใครติดตามข่าว จะเห็นว่าน้ำมันรั่วรีบเบิกสาร Dispersant มากำจัดน้ำมันเพื่อให้มันรีบหายไปจากผิวน้ำ กดจมลงสู่ท้องทะเลทุกครั้งเลยครับ แต่มาตรการอื่นที่มีการวางไว้แล้วไม่ใช้ โดยเฉพาะการที่ จะต้องเอาน้ำมันออกจากทะเลไปให้ได้มากที่สุด ก็คือล้อม Boom Skim ป้องกันไม่ให้น้ำมัน ฟุ้งกระจายไปไกล แล้วใช้ Skimer ไปดูดเอาน้ำมันออก นี่คือมาตรการที่ดีที่สุดอันหนึ่ง ที่จะช่วยลดปัญหามลภาวะทางทะเล เอาน้ำมันออกจากทะเลไปให้ได้มากที่สุดก่อน ล้อม Boom Skim ดูดออกไป ที่ผ่านมาแทบไม่เห็นเลยครับ เอะอะโปรยสาร มักง่าย จนเกินไป ฉะนั้นเรื่องนี้ต้องมีการออก Protocol ที่ชัดเจนในการกำจัดคราบน้ำมัน
นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ
ถัดมาเรื่องที่ ๓ เรื่องสำคัญเหมือนกันครับ ก็คือเรื่องที่รัฐควรจะเป็นตัวกลาง เป็นคนกลางในการออกมาดูแลประชาชน ไม่ใช่ปล่อยให้ชาวบ้านตาสียายสา ลุงมีป้ามา แกเอาไปฟ้องของแกเอง แบบนี้ลำบากครับ ลำบากพ่อแม่พี่น้องประชาชน รัฐต้องมีกฎหมาย ที่ชัดเจนเหมือนต่างประเทศ ที่ออกแบบค่าปรับมาอย่างชัดเจนว่าปรับเท่าไร แล้วเอาค่าปรับ นั้นไปชดเชยเยียวยาให้พี่น้องประชาชน อย่าปล่อยให้พี่น้องต้องมาฟ้องร้องกันเองครับ ออกแบบค่าปรับให้ชัดเจน เอาไปเยียวยา และมีค่าปรับหลงเหลือเพียงพอที่จะไปฟื้นฟู สิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ที่ผ่านมาอย่างปี ๒๕๖๕ จนถึงวันนี้ยังไม่เห็นใครฟื้นฟูที่ชัดเจนเลยว่าทำ อะไรกันไปแล้วบ้าง แบบนี้ไม่ได้ครับ ดังนั้นต้องมาออกแบบระบบกันให้ชัด ค่าปรับที่ชัดเจน ที่เอกชนจะต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองกระทำ เพื่อชดเชยให้พี่น้องประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน นี่คือสิ่งที่ควรจะต้องเกิดขึ้น ดังนั้นสภาแห่งนี้ จะต้องช่วยกันแก้ปัญหานี้เสียที ไม่ได้ปล่อยให้น้ำมันรั่วแล้ว รั่วอยู่ แล้วก็รั่วต่อไปแบบนี้ แล้วไม่เกิดการแก้ไขใด ๆ
นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ
สุดท้ายครับ ข้อที่ ๔ เรื่องที่สำคัญเหมือนกันก็คือมาตรฐาน มาตรการในการ ป้องกันขั้นต้นเลยก็คือการป้องกันไม่ให้น้ำมันรั่วไหลอีก ตกลงทุกวันนี้เรามีมาตรฐาน มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้วหรือยังในกระบวนการส่งน้ำมันจากเรือขึ้นท่อ ขึ้นมาสู่ฝั่ง ตรงนี้ ผมคิดว่าประเทศไทยควรจะทบทวนมาตรการ ทบทวนมาตรฐานที่จะต้องใช้เทคโนโลยี ที่ทันสมัยในการตรวจจับการรั่วไหลของน้ำมัน และป้องกันตั้งแต่ต้นทางเพื่อให้น้ำมันรั่วไหล มากมายมหาศาลเหมือนที่ผ่านมาครับ มันต้องมีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจจับการรั่วไหลของ น้ำมันออกจากท่อ ออกจากระบบการส่งน้ำมันได้ตั้งแต่ต้น เมื่อรั่วไหลออกมาแล้วเร่งยุติ เร่งหยุดยั้งปัญหาไม่ให้ลุกลามบานปลายโดยเร็วที่สุด นี่คือการออกแบบมาตรการที่ควร จะต้องเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้ปัญหาน้ำมันรั่วครั้งใหญ่เกิดขึ้นซ้ำอีก
นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ
ทั้งหมดนี้ ๔ ข้อผมคิดว่าเป็นเรื่องหลัก ๆ ที่สภาแห่งนี้น่าจะเป็นพื้นที่ที่เราจะ ได้หาทางออก คลายความทุกข์ให้พ่อแม่ พี่น้อง ประชาชน โดยเฉพาะชาวประมง อย่างที่ผม บอกไปครับ ทุกข์ซ้ำซ้อนหลายเรื่อง ถึงเวลาแล้วที่สภาแห่งนี้จะได้ร่วมมือกันในการ ตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อมาศึกษา ออกแบบมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหล ไม่ให้เกิดขึ้นอีก เกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีมาตรการชดเชย เยียวยา ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน และเป็นธรรม ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านชวาล พลเมืองดี ตามด้วยท่านยอดชาย พึ่งพร ครับ
นายชวาล พลเมืองดี ชลบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ชวาล พลเมืองดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต ๓ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อตอนที่ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรั่วไหลของน้ำมัน ในหลายต่อหลายครั้งในประเทศไทยของเรา ไม่มีความพยายามจากภาครัฐที่จะมาสร้าง มาตรการใด ๆ ในการแก้ไข ป้องกัน เยียวยา และฟื้นฟู หรือเอาผิดอย่างจริง ๆ จัง ๆ กับ ผู้ที่ก่อเกิดมลพิษหรือผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายได้เลยสักรายเดียวครับท่านประธาน ผมลองมาเทียบการรับผิดชอบและการชดเชยค่าเสียหายของบริษัทที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด การรั่วไหลของน้ำมันที่ต่างประเทศ อย่างที่สเปนเรือบรรทุกน้ำมัน Prestige อับปางทำให้ น้ำมันรั่วไหลลงทะเลกว่า ๗๗ ล้านลิตร บริษัทน้ำมัน Prestige ต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวน มากในการทำความสะอาดคราบน้ำมันออกจากทะเล ตั้งแต่ชายฝั่งตอนเหนือไปจนถึง ตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส หรือที่อเมริกาเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมัน Exxon Valdez มีน้ำมันดิบรั่วออกมาถึงขนาด ๔๑.๖ ล้านลิตร หลังจากเกิดเหตุบริษัท ExxonMobil ก็ได้จ่ายเงินเป็นจำนวนมูลค่า ๒๕ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ๘๐๐ ล้านบาทไทย และเหตุการณ์ ที่โด่งดังไปทั่วโลกครับท่านประธานอย่างแท่นขุดเจาะน้ำมัน Deepwater Horizon ระเบิด ทำให้มีน้ำมันดิบปริมาณ ๗๐๐ ล้านกว่าลิตรรั่วไหลลงสู่ทะเล ทางบริษัท BP ก็ต้องยอมจ่าย ค่าเสียหาย เป็นมูลค่ากว่า ๑.๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ๖.๓ แสนล้านบาทไทย ทำให้บริษัท พวกนี้ประสบปัญหาทางการเงินและเกือบถึงขั้นล้มละลายกันเลยครับท่านประธาน แต่ท่าน ประธานครับ ทีนี้ประเทศไทยเกิดเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากผู้ที่เป็นต้นเหตุหน้าเดิม ๆ แต่กลับมี กำไรรวยขึ้นเป็นกอบเป็นกำ อย่างเหตุการณ์ปี ๒๕๕๖ ที่จังหวัดระยอง บริษัท PTTGC ทำน้ำมันรั่วไหลกว่า ๕๐,๐๐๐ ลิตร ทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย เกาะเสม็ดเต็มไปด้วย คราบน้ำมัน ประชาชนและแหล่งท่องเที่ยวเสียหายเป็นล้านล้านบาท ผู้เสียหายต้องไปรวมตัว กันฟ้องร้องกันเอง และได้มาเพียงคนละ ๖๐,๐๐๐-๙๐,๐๐๐ บาทเท่านั้นเองครับ ท่านประธาน แต่ในขณะเดียวกัน บริษัท PTTEP ไปทำน้ำมันรั่วไหลที่ทะเลติมอร์ เจอรัฐบาล อินโดนีเซียฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายไปกว่า ๗๐,๐๐๐ ล้านบาท จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่แหล่ง มอนทารา อีกทั้งยังถูกคำสั่งยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการ และถูกยึดทรัพย์ นี่สะท้อนให้ เห็นถึงความขาดของรัฐไทย ที่ไม่กล้าเข้าไปแตะต้องกับกลุ่มนายทุนพลังงานยักษ์ใหญ่ของ ประเทศ แม้ในปี ๒๕๖๕ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้ออกระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการหนึ่ง คือ กจน. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการทำหน้าที่ในการจัดทำแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำ เนื่องจาก น้ำมันแห่งชาติขึ้น จนถึงทุกวันนี้ท่านประธานยังไม่มีแผนการป้องกันและขจัดคราบมลพิษ ทางน้ำ เนื่องจากน้ำมันแห่งชาติขึ้นเลยสักฉบับเดียว ไม่มีขั้นตอน ไม่มีลำดับในการปฏิบัติการ เมื่อเกิดเหตุก็มีหน่วยงานจากหลาย ๆ ภาคส่วนเข้ามาดำเนินการ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าเป็น การทำงานที่ซ้ำซ้อนกันหรือไม่ แล้วก็ไม่แน่ใจว่าเป็นการรับมือที่ถูกต้องตามหลักวิชาการหรือ ตามหลักมาตรฐานสากลหรือไม่ อย่างเหตุการณ์ล่าสุดที่จังหวัดชลบุรีก็แสดงให้เห็นถึง หน่วยงานที่เข้ามาแก้ไขปัญหายังขาดความรู้ ไร้มาตรการในการควบคุมแก้ไขสถานการณ์ โดยการเอาข้าราชการระดับสูง นายทหารเรือยศใหญ่ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญชำนาญเรื่องนี้เข้า มานั่งเป็นหัวเรือในการแก้ปัญหา ผลก็คือ ใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบผิด ๆ เช่นนำสารเคมีมากด คราบน้ำมันลงจมสู่ใต้ท้องทะเลในพื้นที่ใกล้ชายฝั่ง ซึ่งไม่สมควรอย่างยิ่งครับท่านประธาน รวมถึงการเอานักวิชาการที่เป็นกรรมการของบริษัทผู้ถือหุ้น ของบริษัทที่เป็นต้นเหตุมาออก ความคิดเห็นโน้มน้าวประชาชน โดยพยายามใส่ร้ายโทษไปที่ Plankton Bloom ว่าเป็น สาเหตุที่ทำให้ปลาตาย อีกทั้งหากมาดูตามแผนจัดการมลพิษทางน้ำ เนื่องจากน้ำมันและ เคมีภัณฑ์ที่กำหนดให้ศูนย์ประสานงานมีหน้าที่รวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ต่อผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษให้ชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการขจัดครบน้ำมัน ดูเหมือนว่าทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีหน่วยงานไหนจากภาครัฐดำเนินคดี ดำเนินการฟ้องร้องกับบริษัทที่เป็นต้นตอก่อให้เกิด ความเสียหายเลยสักรายเดียว โดยที่ผ่านมาเมื่อบริษัทที่เป็นตัวต้นเหตุก่อให้เกิดความเสียหาย ได้รับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เรื่องก็เงียบหายไม่มีการฟ้องร้องใด ๆ ตามมา ในภายหลัง รวมไปถึงความไม่ชัดเจนของข้อมูลในการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการจัดการ มลพิษทางน้ำ เนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ไม่ได้อำนวย ความสะดวกข้อเท็จจริงหรือข้อมูลทั้งหมดแก่สาธารณะ หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงประกอบการเรียกร้องค่าเสียหายเยียวยาหรือ หาแนวทางแก้ไขอย่างยั่งยืนเลยสักครั้งครับ ท่านประธานครับมันเป็นอย่างนี้เพราะอะไรครับ หรือว่าเพราะรัฐไทยไม่มีความพยายามที่จะออกตัวปกป้องผู้เสียหาย เรียกร้องความ รับผิดชอบหรือเอาผิดกับผู้ที่ก่อเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ หรือเรากลัวนายทุนพลังงานยักษ์ใหญ่จะเสียผลประโยชน์ หรือกลัวนักการเมืองในประเทศนี้ จะขาดอู่ข้าวอู่น้ำ นี่จึงเป็นเหตุผลที่พวกเราเสนอให้มีการตั้งกรรมาธิการศึกษาข้อเท็จจริงและ หามาตรการในการรองรับ เพราะผมไม่เชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นเหตุการณ์ครั้งสุดท้ายที่จะ เกิดขึ้นในประเทศนี้ แล้วผมไม่เชื่อว่าทุกท่านที่อยู่ในสภาแห่งนี้จะเพิกเฉยต่อชะตากรรมของ ผู้ที่ได้รับผลกระทบเหตุโศกนาฏกรรมทางธรรมชาติ เพราะฉะนั้นเรามาร่วมกันหาแนวทางหา มาตรการมาป้องกันดูแลแก้ไขฟื้นฟูเยียวยาและเอาผิดกับต้นเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย อย่างจริง ๆ จัง ๆ กันสักครั้งครับท่านประธาน ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านยอดชาย พึ่งพร ครับ
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม นายยอดชาย พึ่งพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ผู้แทนเมืองพัทยา ขอสไลด์ที่ ๑ ด้วยครับ
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
วันนี้ผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปราย สนับสนุน ญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและจัดทำ มาตรการป้องกันแก้ไขฟื้นฟูเยียวยากรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเลครับ ด้วยเมืองพัทยาเป็นเมือง ท่องเที่ยวระดับโลกที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว มีทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและ ชาวต่างชาติ ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวเมืองพัทยาปีละหลายสิบล้านคน สร้าง งาน สร้างเศรษฐกิจเพิ่มเม็ดเงินให้กับประเทศมากมาย เมืองพัทยามีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญคือ ทะเล มีชายหาดจอมเทียนที่ทอดยาวหลายกิโลเมตร มีชายหาดพัทยาที่เป็นแนวโค้ง วงพระจันทร์ มีเกาะล้านที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาพักผ่อนวันละเป็นหมื่น ๆ คน และนี่กำลัง Hit เลยนะครับ มีตลาดลานโพธิ์นาเกลือขายอาหารทะเลสด ๆ ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่สามารถซื้ออาหารเป็น ๆ เลยนะครับ ยังดิ้นกันอยู่เลย แล้วก็สามารถปรุงสุก แล้วก็สามารถซื้อน้ำจิ้มจากตรงนั้นแล้วกลับรับประทานที่โรงแรม ได้เลย ท่านประธานก็เคยจะไปนะครับ ทะเลจึงเป็นทรัพยากรหลักที่สำคัญที่สุดของ เมืองพัทยา หากทะเลมีปัญหาสัตว์น้ำในทะเลก็ไม่สามารถที่จะบริโภคได้ เมืองพัทยาที่เป็น เมืองท่องเที่ยวระดับโลกมีปัญหาแน่นอนครับ ทั้งนี้รวมไปถึงพี่น้องผู้ประกอบการโรงแรม สถานบันเทิง ร้านอาหาร รวมถึงชาวประมงพื้นบ้าน และห่วงโซ่ที่สำคัญที่สุดเลยก็คือพี่น้อง ผู้ใช้แรงงานภาคบริการ เมืองพัทยามีพื้นที่ติดทะเลติดกับเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอ ศรีราชาที่มีโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ถึง ๓ แห่งด้วยกัน จากกรณีที่มีเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ที่ผ่านมาเมืองพัทยาก็ได้รับผลกระทบในด้านความไม่มั่นใจที่จะมาเที่ยวทะเลและทานอาหาร ทะเล ทำให้ตัดสินใจไม่เดินทางมาท่องเที่ยวหรือชะลอการเดินทาง ทำให้ธุรกิจโรงแรม ตลาดอาหารทะเล ร้านอาหาร สถานบันเทิง ผู้ใช้บริการหายไปกว่าครึ่ง กว่าสถานการณ์ จะคลี่คลายต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกันยาวนาน แล้วก็ต้องใช้ทรัพยากรในเรื่องของ งบประมาณจำนวนมากเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ สุดท้ายในเรื่อง มาตรการเยียวยาที่ผู้เสียหายไม่เคยได้มีส่วนร่วมในการกำหนดและเข้าไปมีบทบาทในการ กำหนดมาตรการโดยบุคคลที่เป็นผู้ออกมาตรการเยียวยานั้นล้วนแต่เป็นบริษัทผู้ก่อเหตุ ถึงเวลาที่เราต้องถอดบทเรียนการจัดการ ควบคุม ป้องกัน แล้วบทลงโทษที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนการดำเนินการชดเชยฟื้นฟูและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างจริงจัง ซึ่งผลกระทบนั้น สูงจนไม่สามารถประเมินค่าได้ทั้งระบบนิเวศทางทะเล ตลอดจน ภาคการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้มหาศาลและเป็นรายได้ส่วนสำคัญที่สุดของประเทศนะครับ จะได้รับผลกระทบที่ยาวทั้งยังขาดความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่แย่ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาได้โดยง่าย ระบบ นิเวศทางทะเลก็เช่นกัน ดังนั้นผมในฐานะผู้แทนเมืองท่องเที่ยว ผู้แทนของคนพัทยา จึงขอ สนับสนุนญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพราะเรื่องนี้ เป็นเรื่องใหญ่ เพื่อศึกษาและจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขฟื้นฟูเยียวยากรณีน้ำมันรั่ว ทางทะเล ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านบุญเลิศ แสงพันธุ์ ครับ
นายบุญเลิศ แสงพันธ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ เขต ๗ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระประแดงเฉพาะตำบลบางจาก พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอมี ส่วนร่วมในการอภิปรายตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและจัดทำมาตรการการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และเยียวยากรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเล ท่านประธานครับ จากข้อมูลต่าง ๆ ของ เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่กล่าวมาหลายท่าน ๑๐ ท่าน ได้สะท้อนภาพโดยรอบด้าน ซึ่งมีเหตุผลที่สำคัญอย่างมาก ปัญหาน้ำมันรั่วไหลไม่ใช่เพิ่งเกิดเมื่อวาน แต่เกิดหลายครั้ง หลายหน ถ้าเราพิมพ์ถามพี่ Google ก็ขึ้นมาหลายเหตุการณ์ แต่ข่าวของการจัดการแก้ไข ฟื้นฟูเยียวยาเงียบมากครับท่านประธาน จากการเปิดสถิติน้ำมันรั่วไหลในประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ ถึงเดือนมกราคม ๒๕๖๕ ได้เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วมาแล้ว ๑๗๖ ครั้ง ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ติดตามเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล ในฝั่งอ่าวไทย และอันดามันในช่วงปี ๒๕๕๙-๒๕๖๕ พบว่าใน ๒๓ จังหวัด มีน้ำมันรั่วรวม ๑๐๑ ครั้ง ซึ่งแบ่งเป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล ๒๘ ครั้ง และพบก้อนดิน ก้อนน้ำมันดิน ๗๓ ครั้ง ปี ๒๕๕๙ พบเหตุการณ์ ๑๕ ครั้ง ปี ๒๕๖๐ พบเหตุการณ์ ๑๐ ครั้ง ปี ๒๕๖๑ พบเหตุการณ์ ๑๔ ครั้ง ปี ๒๕๖๒ พบเหตุการณ์ ๑๖ ครั้ง แล้วผมขอยกตัวอย่างครับ ขอภาพสไลด์ครับ เหตุการณ์เรือ เรือล่มปากอ่าวสมุทรปราการคราบน้ำมันไหลลงทะเลนะ ๑๔๐,๐๐๐ ลิตร เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๒ ค่าเสียหายกับสิ่งแวดล้อมใครดูแลครับ เพราะปริมาณที่รั่วไหล ไม่เท่ากับที่เราเก็บได้ เราก็ต้องรอ ปลา ปู ขึ้นมาเหนือน้ำแล้วบอกว่า ฉันลาก่อนชาวโลก หรือต้องไปรอตอนขึ้นฝั่งชายหาดต่าง ๆ รอไปติดโซนป่าชายเลน ซึ่งมีอนุบาลสัตว์น้ำมากมาย หรือครับท่านประธาน ปี ๒๕๖๓ ท่านสังเกตนะครับ เมื่อสักครู่ถึง ปี ๒๕๖๒ แต่ที่เป็นที่ น่าสังเกตในปี ๒๕๖๓ มีเหตุการณ์พบน้ำมันรั่วไหล เอาสไลด์ลงก่อนครับ รั่วไหลของ น้ำมันในทะเล ๔๗ ครั้ง ต่างกันไหมครับ เมื่อสักครู่แค่หลักสิบ อันนี้คือเป็นหลักสี่แล้วครับ เป็นน้ำมันรั่ว ๑๒ ครั้ง ตรวจสอบพบก้อนน้ำมันดิน ๓๕ ครั้ง ขณะที่ปี ๒๕๖๔ เพิ่มมากขึ้น เป็น ๔๔ ครั้ง เป็นเหตุน้ำมันรั่ว ๑๗ ครั้ง ก้อนน้ำมันดิน ๒๗ ครั้ง และเป็นที่น่าสนใจ มี ๑๗ ครั้ง ที่ไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่อยู่ในฝั่งอ่าวไทยมากที่สุด ที่ระยอง ๑๐ ครั้ง หรือใกล้ ฝั่งมากที่สุดก็คือ สมุทรปราการ ๔ ครั้ง มากที่สุดภูเก็ต ซึ่งสอดคล้องกับสถิติการพบก้อน น้ำมันดินฝั่งอ่าวไทย ๒๔ ครั้ง ทำไมเหตุน้ำมันรั่วถี่มากขึ้น สวนทางกับการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ที่ใช้เวลาตามกระบวนการยุติธรรม ทำให้บางคดีใช้เวลา ๓-๔ ปี กว่าจะฟ้องร้องจะจบลง และเข้าสู่การจ่ายชดเชยผลกระทบ ท่านประธานครับ ตามมาด้วยปี ๒๕๖๕ ๑๓ ครั้ง มาปี ๒๕๖๖ สถานการณ์ในปี ๒๕๖๖ พบเหตุน้ำมันรั่วไหลในจังหวัดชลบุรี จากกรณีท่อส่งน้ำมันดิบแตกรั่วทำให้น้ำมันดิบไหลลงสู่ ทะเลอีก ๔๕,๐๐๐ ลิตร และพบก้อนน้ำมันดิบอีก ๑๑ ครั้ง อันนี้ผมจะขอยกตัวอย่างขอ สไลด์ด้วยนะครับ
นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากเกษตรกรว่าพบคราบน้ำมันดิบ คราบน้ำมันจำนวนมาก ลอยเต็มคลองทับจีน ตำบลในคลองปลากรด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งไม่ไกลนะครับ ที่จะไหลลงสู่ปากอ่าวไทยได้ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง สัตว์น้ำเป็นอย่างมาก ถึงต้องเอาผ้ามาห่มเพื่อกันซับน้ำมันไว้หน้าประตูน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ น้ำมันจากคลองทับจีนที่มีคราบน้ำมันซึมเข้าบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของตนเอง และจากการลงพื้นที่ ตรวจพบว่าเป็นกรณีน้ำมันรั่วของบริษัทผู้ประกอบการรับซื้อน้ำมันเก่าแห่งหนึ่ง จากวันอาทิตย์หรือคืนวันเสาร์สู่เช้าวันจันทร์ บริษัทแจ้งว่าเกิดหัววาวน้ำมันเสียหลุดออกจาก แท็งก์น้ำมันทำให้น้ำมันรั่วไหลลงสู่สาธารณะกว่า ๕๐๐ ลิตร กว่าจะแก้ไขนะครับ ฉีดจุลินทรีย์คราบน้ำมันก็วันอังคารช่วงสายไปแล้ว น้ำมันก็ไหลลงสู่ทะเลแล้ว อันนี้ก็ต้อง ขอบคุณนะครับที่เยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งแวดล้อมระบบนิเวศ ตามธรรมชาติสุขภาพของประชาชนละครับ หรือแม้แต่สุขภาพที่อาจจะนำสัตว์น้ำในคลอง สาธารณะไปบริโภค ผู้ควบคุมใช้กฎหมายแค่ปรับ หรือดูคำว่าไม่เจตนาแล้วก็เงียบ ๆ ไป หรือครับ สิ่งเหล่านี้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง รวมถึงการประกอบอาชีพพ่อแม่พี่น้อง ประมงชายฝั่งและประมงพื้นบ้าน ท่านประธานครับ พื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัด สมุทรปราการ เราอยู่ติดทะเลเรามีปัญหาน้ำทะเลหนุนขึ้นลงตลอดเวลา ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่ไหลลงสู่ทะเล แม่น้ำ ไปได้รวดเร็ว คำว่าป้องกันต้องเป็นข้อบังคับ คำว่า แก้ไข ไม่ใช่ ปกปิด คำว่า ฟื้นฟู ต้องไม่ใช่คำว่า ตามธรรมชาติ หรือแม้แต่คำเยียวยา ต้องไม่ใช่คำว่า ไปฟ้องร้องเอา บุคคลยังมีปากนะครับ แต่สิ่งสิ่งแวดล้อมจะพูดอย่างไรครับท่านประธาน แล้ววันนี้ทำไมเรา ไม่ช่วยกันจัดทำมาตรการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยาอย่างจริงจัง ให้ก้าวหน้าก้าวไกล ไม่ยอมให้เสียหายไปมากกว่านี้ครับท่านประธาน ผมขอสรุปสนับสนุนการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและจัดทำมาตรการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และเยียวยา น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านสุดท้าย ท่านกมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล ครับ
นางสาวกมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล ระยอง ต้นฉบับ
เรียนประธานสภา ผู้แทนราษฎร ดิฉัน กมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันขอร่วมอภิปรายสนับสนุนให้สภาผู้แทนราษฎรตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและจัดทำมาตรการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และเยียวยากรณี น้ำมันรั่วไหลลงทะเล ท่านประธานคะ พื้นที่ทะเลในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณอ่าวระยองของเรานี้เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล เป็นแหล่งจับสัตว์น้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ มีการสร้างรายได้ให้กับพี่น้องอาชีพประมง และอาชีพต่อเนื่องอื่น ๆ มีธรรมชาติที่สวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนใน พื้นที่ได้อย่างมหาศาลเลยค่ะ จนกระทั่งปี ๒๕๕๖ เกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบกว่า ๕๐,๐๐๐ ลิตร รั่วจากท่อส่งกลางทะเลอ่าวไทย โดยบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวยังไม่ทันได้รับ การแก้ไขหรือฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ถูกวิธี ก็ดันมีเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งใหญ่ที่จังหวัดระยองซ้ำสอง ทำให้อ่าวระยองที่เสียหายอยู่แล้วยิ่งเสียหายหนักลงไปอีกค่ะ ทรัพยากรในท้องทะเล ถูกทำลายย่อยยับ กุ้งแชบ๊วย กุ้งเคย ปูม้า ปลาอินทรีและสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ชาวประมงก็ยังได้พบ ความผิดปกติของสัตว์ทะเล ในอ่าวหลายชนิดเลย รวมถึงการตายของเต่าทะเลและโลมาอย่างไม่ทราบสาเหตุด้วยค่ะ ท่านประธานคะ เอกสารในมือของดิฉันคือเอกสารที่ระบุข้อมูลตั้งแต่หลังเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ในช่วงปลายเดือนมกราคมจนถึงเดือนตุลาคม ปี ๒๕๖๕ ปรากฏว่ามีการตายของเต่าทะเล และปลาโลมาโดยไม่ทราบสาเหตุถึง ๓๔ ครั้ง ดังที่ปรากฏบนจอภาพนะคะ ก็จะเห็นการตาย ของทั้งเต่าทะเลแล้วก็ปลาโลมาอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นฤดูลมพัดเข้าฝั่งก็จะพบ สัตว์ทะเลตายเกยตื้นมากกว่าปกติอีกค่ะ ยังไม่หมดแค่นั้นนะคะท่านประธานยังมีการพบ ความผิดปกติของสัตว์ทะเลที่พี่น้องประมงเขาจับขึ้นมา มีการพบสิ่งแปลกปลอมเป็นก้อนเนื้อ ของปลาทะเล พบความผิดปกติของผิวหนังปลา สีตาปลา ลักษณะของเนื้อปลาที่ผิดปกติไป จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นก็ได้สะท้อนว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วมันไม่ได้จบเพียงแค่ การทำความสะอาดชายฝั่งหรือเอาสารเคมีโปรยลงไปแล้วกดน้ำมันให้จมอยู่ใต้ทะเลแล้วก็จบ กระบวนการเท่านั้น แต่เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ส่งผลต่อห่วงโซ่ อาหาร และมันขยายวงกว้างไปแล้วค่ะ เพราะฉะนั้นภารกิจสำคัญที่เราจะต้องทำกัน อย่างจริงจังนั่นก็คือการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลที่เสียหายอย่างหนักจากเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ทั้ง ๒ ครั้งที่ผ่านมา ดิฉันจะขอยกตัวอย่างเหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมัน Deepwater Horizon ระเบิดกลางอ่าวเม็กซิโกและปล่อยน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลใน ปี ๒๐๑๐ ซึ่งเป็นข่าว ดังไปทั่วโลก และอาจจะมีน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลมากกว่า ๔,๙๐๐,๐๐๐ บาร์เรล หรือราว ๆ ๗๘๔ ล้านลิตร ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงเป็นวงกว้างโดยเฉพาะสิ่งมีชีวิต สัตว์น้ำ เต่า วาฬ และโลมา หรือแม้กระทั่งนกหลายสายพันธุ์ที่อาศัยแหล่งอาหารจากทะเลและชายฝั่งใกล้ ทะเล ส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเล สัตว์น้ำมากมายถูกพรากชีวิตทันทีหลังจากเหตุการณ์นี้ ส่วนที่รอดชีวิตมา ก็ค่อย ๆ ล้มหายตายไปในเวลาถัดมา หรือแม้แต่สัตว์ที่รอดชีวิตมาได้ก็ต้อง อยู่กับอาการป่วยเรื้อรัง ไม่สามารถทำหน้าที่ธรรมชาติได้จัดสรรไว้ได้อย่างสมบูรณ์อีกต่อไป จริง ๆ ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วทั้ง ๒ เหตุการณ์นี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่อ่าวเม็กซิโกหรือ อ่าวระยองผลกระทบแทบจะไม่ต่างกันเลยค่ะ แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือการวาง แผนการกำหนดมาตรการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติค่ะ ในปีนั้นเองหลังจากเกิดเหตุการณ์ ระเบิดศาลสหรัฐก็ตัดสินให้ บริษัท BP ซึ่งเป็นเจ้าของแท่นขุดเจาะ ขออนุญาตเอ่ยนามนะคะ ไม่เสียหายอะไร เนื่องจากปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่าง ๆ อยู่แล้วให้มีความผิดถึง ๑๔ คดี แล้วสั่งปรับเงินทันที คิดเป็นเงินไทยก็ราว ๆ ๑๔๓,๐๐๐ ล้านบาท รวมถึงต้องชดเชย ค่าใช้จ่ายในการกำจัดคราบน้ำมันในทะเลด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ตกกับทางบริษัททั้งทางแพ่ง และทางอาญาตั้งแต่ช่วงปี ๒๐๑๐ จนถึงปี ๒๐๒๐ สะสมรวมกันไปแล้วกว่า ๒ ล้านล้านบาท ในส่วนของรัฐบาลเองก็ได้ตั้งกรรมาธิการวางแผนฟื้นฟูผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ และได้ จัดสรรเงินสำหรับการฟื้นฟูในช่วงแรกถึง ๑,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยราว ๆ ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งตัวเลขมันอาจจะดูเยอะนะคะ แต่จริง ๆ แล้วหากเทียบกับมูลค่าทรัพยากรที่เราต้องสูญเสียไป ทั้งทางตรงและทางอ้อม เทียบกันไม่ได้เลยนะคะ จากข้อมูลเป้าหมายของการฟื้นฟูสิ่งที่เขาเคยทำกัน นั่นก็จะ ประกอบไปด้วยมาตรการหลัก ๆ ก็คือการฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล การปรับ คุณภาพน้ำ การอนุรักษ์สัตว์ทะเลและสัตว์ที่อยู่แถบทะเล การฟื้นฟูกิจกรรมทางทะเล เช่น การประมง การท่องเที่ยว และมีการวางแผนในการฟื้นฟู มีการระบุ Timeline มีรายละเอียด และมีการประเมินผลการฟื้นฟูอย่างชัดเจน ซึ่งดำเนินการตามแผนการฟื้นฟูไปจนถึงปี ๒๐๓๐ ฟังไม่ผิดค่ะท่านประธานปี ๒๐๓๐ น้ำมันรั่วปี ๒๐๑๐ แต่เขาวางแผนฟื้นฟูกัน ยาวนานถึง ๒๐ ปี และไม่ได้หมายความว่าฟื้นฟูไป ๒๐ ปีแล้วทุกอย่างจะกลับมาเป็น เหมือนเดิมนะคะ ยังคงจะต้องมีการอนุรักษ์กันต่อไปอีก พอย้อนมองกลับมาที่บ้านเรา ที่ผ่านมาไม่ว่าจะมีน้ำมันรั่วเกิดขึ้นกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง รัฐไทยแทบไม่เคยมีมาตรการฟื้นฟูเลยค่ะ หรือหากมีก็เป็นเพียงมาตรการน้อยนิดและฉาบฉวย ทั้ง ๆ ที่เรามีหน่วยงานที่มีภารกิจ มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องดูแลอนุรักษ์และฟื้นฟูชายฝั่งทะเล เรามี พ.ร.บ. มีกฎหมายที่ให้ อำนาจในการจัดการการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลได้ แต่ก็นั่นล่ะค่ะน้ำมันรั่วครั้งแล้วครั้งเล่า เราไม่เคยเห็นมาตรการในการฟื้นฟูอะไรกับความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้เลย ทะเลระยองที่เคย อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งทำประมง แหล่งจับสัตว์น้ำ มีนักท่องเที่ยวมากมายทั้งในและ ต่างประเทศ ทุกวันนี้เมื่อเปรียบเทียบกับหลายสิบปีก่อนเปลี่ยนไปเยอะเลยค่ะท่านประธาน จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วในจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ปี ๒๕๖๕ มาถึงเหตุการณ์ น้ำมันรั่วครั้งล่าสุดที่อำเภอศรีราชา ปี ๒๕๖๖ หรือจะย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์น้ำมันรั่ว หลาย ๆ ครั้งก่อนหน้านั้น ทุก ๆ อย่างไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยค่ะ ทั้งการรับมือ การเยียวยา และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ถึงเวลาแล้วค่ะที่เราจะต้องตระหนักในการวางแผนการ ฟื้นฟูทรัพยากร รวมไปถึงการแก้ไขกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งนะคะที่สภาผู้แทนราษฎร จะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา และจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไข ฟื้นฟูและเยียวยา กรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเล เพื่อพลิกฟื้น ระบบนิเวศทางทะเลให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ผู้อภิปรายทั้งหมดก็อภิปรายเสร็จสิ้นแล้วนะครับ ต่อไปจะเป็นการสรุปญัตติ ของผู้เสนอญัตติครับ มีท่านใดจะใช้สิทธิไหมครับ เชิญท่านกฤชครับ
นายกฤช ศิลปชัย ระยอง ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ กฤช ศิลปชัย สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดระยอง พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ก็ต้องขอขอบคุณท่านประธาน ที่ได้อนุญาตให้ผมและเพื่อนสมาชิกได้เสนอญัตติและอภิปรายกันในวันนี้จนครบ ทุกคนนะครับ จากการที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายในญัตติดังกล่าว เราจะเห็นว่าน้ำมันที่รั่วนี้ มันรั่วซ้ำแล้วซ้ำเล่า จริง ๆ แล้วถ้านับปริมาณในอ่าวประเทศไทยของเรา ผมว่าน่าจะมีน้ำมัน หลายล้านลิตรแล้วที่ยังปนเปื้อนอยู่ใต้ท้องทะเลนะครับ รวมถึงว่าเราก็จะเห็นว่ากฎหมายไทย เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบริษัทเอกชนผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันก็ยังไม่เคยถอด บทเรียน ไม่เคยแก้ไขปัญหาทุกอย่าง อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ยิ่งถ้าเราเปรียบเทียบ มาตรการแก้ไขในต่างประเทศกับประเทศไทย ยิ่งเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนครับ วันนี้ยังมีผู้เดือดร้อนเป็นจำนวนมากนับพันนับหมื่นคนนะครับ ยังมีพี่น้องประชาชน ชาวประมงที่ยังต้องอดข้าว ลูก ๆ หลาน ๆ ของพี่น้องชาวประมงไม่มีเงินไปโรงเรียน สัตว์ทะเลลอยตายขึ้นหาดทุกวัน ปริมาณก็ลดลงเรื่อย ๆ ถึงเวลาที่สภาผู้แทนราษฎรจะต้อง ร่วมไม้ร่วมมือแก้ไขปัญหาดังกล่าวกันทันทีครับ รอไม่ได้อีกแล้วครับ ท่านประธานครับ สุดท้ายผมขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกคนนะครับที่ได้อภิปรายสนับสนุนญัตติในครั้งนี้ พวกเรามาร่วมกันแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน คืนความอุดมสมบูรณ์ให้ทรัพยากรทาง ทะเลของพวกเรากันครับขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เนื่องจากญัตตินี้ผู้เสนอได้เสนอมาเพื่อขอให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา นะครับ ส่วนท่านสุรเกียรติขอให้ส่งรัฐบาลพิจารณานะครับ แต่จากการฟังการอภิปรายและจากการประสานงานของวิปทั้ง ๒ ฝ่าย มีความเห็นว่า ประเด็นปัญหานี้สมควรส่งให้คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณา ผู้เสนอและสมาชิกจะขัดข้องประการใดหรือไม่ครับ ถ้าไม่มี ผมขออาศัยอำนาจตาม ข้อบังคับ ข้อ ๘๘ ขอบคุณนะครับ ขอเชิญกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของกรรมาธิการ ครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผมศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอระยะเวลาพิจารณา ๙๐ วัน ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้อง ขอบคุณครับ ดำเนินการตามนี้นะครับ เพื่อนสมาชิกครับ วาระการประชุม เพียงเท่านี้นะครับ ขอบคุณทุกคนที่อยู่ร่วมกันมาทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลเลยนะครับ ขอบคุณ เจ้าหน้าที่แล้วก็ล่ามภาษามือด้วยครับ ขอปิดการประชุมครับ