นายกัณวีร์ สืบแสง

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ ขออนุญาตหารือท่านประธานในเรื่องจำเป็นเร่งด่วน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ จำเป็นจริง ๆ เรื่องเกี่ยวกับอธิปไตยของอำนาจไทย บูรณภาพแห่งประเทศของเราถูกลิดรอน ต้นเดือนที่ผ่านมาเราได้ทราบข่าวกันมาว่ามีทหารที่มีอาวุธแล้วใส่ชุดเครื่องแบบของประเทศ เพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทย ในพื้นที่ของบ้านเลตองคุ บ้านมอตะหลั่ว อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ก็คือเข้ามาอยู่ตรงนั้นเป็นเวลา ๒ คืน พี่น้องประชาชนในพื้นที่ตรงนั้นได้มี ความหวาดกลัว แต่ว่าการดำเนินงานของประเทศไทยของหน่วยงานความมั่นคงไทยนั้น ใช้เวลาล่าช้าพอสมควร แล้วที่น่ากังวลจริง ๆ ก็คือวันที่ ๑๔ กันยายนที่ผ่านมา ท่านรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม ท่านได้มีการแถลงข่าวบอกว่าจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องธรรมดาใน บริเวณพื้นที่ชายแดน จริง ๆ เรื่องธรรมดาครับ แต่ว่าการไม่ธรรมดาก็คือเรามีระเบียบ ปฏิบัติประจำ ในการที่ถ้าหากมีทหารที่มาจากต่างชาติจำเป็นต้องมีการปลดอาวุธ แต่ว่า เรื่องนี้ไม่มีการดำเนินการใด ๆ ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นผมก็อยากจะเรียกร้องผ่านท่านประธาน ไปถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ช่วยกรุณาออกมาทำความเข้าใจให้กับประชาชน ให้มากขึ้น ณ ปัจจุบันนี้ก็อยากจะเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ท่านไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังอยู่ใน สมัชชาแห่งสหประชาชาติในการพูดคุยเรื่อง SDGs เกิดขึ้น เรื่องจำเป็นในการสร้างสันติภาพ ประเทศไทยเราถ้าสนับสนุนตรงนั้นในการให้กองกำลังทหารต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย ตอนนี้เราทราบดีครับ ในประเทศเมียนมามีการเข่นฆ่าพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่จะเอา อำนาจคืนกลับสู่ประชาชนของประเทศเมียนมา เราได้มีการสนับสนุนให้ทหารต่างชาติ ที่เข้ามาในประเทศไทยเข้าไปเข่นฆ่าพี่น้องประชาชนหรือไม่ อันนี้จำเป็นต้องมีการให้ ความเข้าใจแล้วก็ความถูกต้องให้ชัดเจน อย่างไรขอฝากเรียนท่านประธานผ่านไปยัง ท่านนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ก่อนอื่นต้องขออนุญาตแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ และรวมทั้ง ผู้ที่เสียชีวิตด้วยนะครับต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ วันนี้ผมจะขออภิปรายสั้น ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับ สาเหตุแห่งปัญหา และรวมทั้งสาเหตุนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับช่องโหว่ในการบังคับใช้กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บโกดัง พลุ ประทัด รวมทั้งดอกไม้เพลิง แล้วก็จะรวมทั้งนำเสนอ ข้อเสนอที่จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ออกมาว่าเราจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไรที่จะไม่ให้ โศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นอีกต่อไปนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • การอภิปรายอันที่ ๒ นี้ผมอยากจะเสนอต่อที่ประชุมนี้ ก็คือเรื่องเกี่ยวกับ กระบวนการเยียวยา กระบวนการฟื้นฟูตามหลักมนุษยธรรมหลักสากล รวมทั้งหลักสังคม สงเคราะห์จะเป็น ๒ เรื่องที่ขออภิปรายสั้น ๆ ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ในเรื่องแรก ตามที่ผู้อภิปรายในเบื้องต้นได้อภิปรายในหลาย ๆ เรื่องนะครับว่า จริง ๆ แล้วผมขอเรียนอย่างนี้ครับท่านประธาน จริง ๆ ต้องขออนุญาตตกใจด้วยความเคารพ ว่าเรามีกฎหมายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ. เกี่ยวกับวัตถุอันตราย พ.ร.บ. เกี่ยวกับ อาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อม ในการทำงาน เรามีต่าง ๆ มากมาย ข้อบังคับต่าง ๆ เราก็มี ไม่ว่าจะเป็นข้อบังคับ แนวทาง ปฏิบัติแบบบูรณาการของ ๕ กระทรวงที่เพื่อนผู้อภิปรายได้อภิปรายไปเรียบร้อยแล้ว แต่ทำไมกฎหมายต่าง ๆ ข้อบังคับต่าง ๆ ถึงยังไม่สามารถที่จะเอาไปบังคับใช้ได้ ปัญหาตรงนี้ ละครับมันคือปัญหาหลัก ๆ ของเราที่เรายังมีปัญหามามากกว่า ๑๐๐ ครั้ง จาก ๑๐ กว่าปี ที่ผ่านมา ดังนั้นเรื่องนี้จำเป็นที่เราจะต้องมาดูว่าต้นเหตุของปัญหามันอยู่ตรงไหน การบังคับ ใช้กฎหมาย สาเหตุต่าง ๆ ที่เพื่อนสมาชิกได้บอกว่าส่วยคือปัญหาหลัก ๆ การคอร์รัปชัน ต่าง ๆ คือปัญหาหลัก แต่จริง ๆ แล้วปัญหาหลัก ๆ คือว่า การไม่มีส่วนร่วมของ ภาคประชาชน การไม่มีส่วนร่วมของประชาชนเจ้าของพื้นที่ที่จะมาบอกว่าพื้นที่ตรงนี้เขาจะมี ความคิดอย่างไรในการจะจัดตั้งโกดัง สถานประกอบการต่าง ๆ ในพื้นที่ตรงนี้เกี่ยวกับในการ บรรจุพลุ ประทัดต่าง ๆ ในพื้นที่ของเขา ที่มูโนะเองที่เราเห็นว่าที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปราย ในเบื้องต้นว่าโกดังที่เก็บพลุก็อยู่ใกล้กับบ้านไม่เกิน ๒ เมตร อันนี้ละครับจริง ๆ แล้ว มีแผนแม่บทของเราอยู่ในการที่ว่าหากเกิดมีการกระทำใด ๆ ที่จะมีการกระทบต่อชุมชน ต่อพื้นที่จำเป็นต้องมีการจัดทำประชาพิจารณ์ให้เกิดขึ้น จำเป็นต้องมีการฟังเสียง พี่น้องประชาชนว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นจะสามารถมีการสร้างได้หรือไม่ อันนี้ละครับจะเป็น การแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน อันนี้ละครับจะทำให้เราสามารถเสริมอำนาจให้กับชุมชน เสริมอำนาจให้กับประชาชนในการ พิจารณาร่วมกัน สมการง่าย ๆ เลยครับว่าคนที่เซ็นใบอนุญาตบ้านช่องของเขาไม่ได้อยู่ติดกับ พื้นที่ที่มีโกดังเก็บพลุ เก็บระเบิด แต่คนที่อยู่ตรงนั้นไม่มีอำนาจในการจะเซ็นใบอนุญาต เพราะฉะนั้นคนที่เซ็นไม่ได้อยู่ คนที่อยู่ไม่ได้เซ็น เราจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุไม่ให้เกิด เหตุการณ์ครั้งนี้อีกในอนาคต เพราะฉะนั้นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาตรงนี้ก็คือ ให้มีการจัดทำประชาพิจารณ์หากจะมีโกดังเก็บพลุ เก็บประทัด เก็บดอกไม้เพลิง ใกล้ชุมชนไหน ก็จำเป็นจะต้องมีการพิจารณาจัดทำประชาพิจารณ์ จะต้องมีการคิดพิจารณาในเรื่องเกี่ยวกับ การจัดทำธรรมนูญชุมชนให้ได้ แล้วไปสอดคล้องกับตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น อันนี้เป็นข้อเสนอ คล้าย ๆ กับการจัดทำ SEA ไม่ว่าจะเป็น การประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำได้

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ ที่ผมขออนุญาตอภิปรายสั้น ๆ ณ ปัจจุบันนี้การฟื้นฟูและการเยียวยา สำหรับผู้มีผลกระทบ การฟื้นฟูและเยียวยาสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์มูโนะนี้ เราเห็นครับว่ามันเป็นแค่การกุศล คือการ Charity คือการให้ของไปโดยที่ไม่ได้ Plan เกี่ยวกับการวางแผนในการที่จะวางแผนการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เพราะฉะนั้นผลกระทบ ตรงนี้จำเป็นต้องใช้หลักการมนุษยธรรมตามหลักสากล เราเห็นครับ โศกนาฏกรรมครั้งนี้มีผู้ ได้รับผลกระทบมากกว่า ๔๐๐ ครัวเรือน ๑,๐๐๐ กว่าชีวิตที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้นต้องวางแผนตั้งแต่ต้นว่าตอนนี้ความต้องการสูงสุดของพวกเขาคืออะไร มีเพื่อน อภิปรายไปแล้วครับ สิ่งสำคัญหลัก ๆ ก็คือเรื่องเกี่ยวกับพื้นที่พักพิง พื้นที่พักพิงที่ผมได้ลงไป สังเกตการณ์ได้เห็นครับว่าคนที่ได้รับผลกระทบ ผู้ที่มีพื้นที่พักพิงที่ไม่สามารถอยู่ได้ในบ้าน ตัวเองกลับไปอยู่ในพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่พักพิงเป็นการชั่วคราว แต่ว่าถ้าเราดูจริง ๆ แล้ว ผลกระทบหลัก ๆ เรื่องเกี่ยวกับบ้านพักอาศัยจำเป็นต้องใช้ระยะเวลายาวนาน อาจจะใช้เวลา เป็นปี เพราะฉะนั้นในส่วนราชการ ในท้องถิ่น หรือรัฐบาลเรา เพราะว่าเป็นการทำผิด ของส่วนราชการ ในการออกใบอนุญาตนี้เราจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อผู้ได้รับผลกระทบ เราอาจจะคิด พิจารณาเกี่ยวกับ Model ที่เราเคยใช้ในช่วง COVID-19 ก็ได้ ในการจัดสรร พื้นที่ที่ให้คนที่ได้รับผลกระทบไปอยู่เป็นระยะเวลานาน เพราะว่าเราจะต้องมีการเยียวยา เกิดขึ้น ในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาครับ เด็กนักเรียน จำเป็นครับต้องได้รับการศึกษา จะทำ อย่างไรในการที่จะเอาเด็กนักเรียนนี้กลับเข้ากระบวนการการศึกษาให้ได้ ในเรื่องเกี่ยวกับ สาธารณสุข การแพทย์ จิตใจ จำเป็นมาก ๆ ครับ เพราะฉะนั้น ๓ เรื่องหลัก ๆ นี้จะเป็น ๓ เรื่องที่จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างเร่งด่วน สามารถที่จะจัดหาพื้นที่พักพิงให้เขาอยู่ได้ เป็นการกึ่งถาวร ๒. เอาเด็กนักเรียน นักศึกษาเข้ากระบวนการศึกษาให้ได้ ๓. เรื่องเกี่ยวกับ การสาธารณสุข ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผมนายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม จะขอ ปรึกษาหารือท่านประธานในเรื่องเกี่ยวกับการเรียกร้องของเครือข่ายภาคประชาสังคม ในเรื่องมาตรการการคุ้มครองประชาชนตามแนวชายแดนตะวันตกของเรา จากสถานการณ์ การสู้รบในประเทศเมียนมา ขอ Slide ถัดไปครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผมคงจะไม่เข้าไปถึงเรื่องเกี่ยวกับ สาเหตุเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา แต่จะแสดงสถิติให้ทราบว่า ณ ปัจจุบันนี้ ในประเทศเมียนมาตามองค์การสหประชาชาติมีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศมีจำนวนมากกว่า ๑ ล้านคน ท่านประธานครับมากกว่า ๑ ล้านคนนี้ ๓๐๐,๐๐๐ คนนี่ ได้อยู่ในติดกับประเทศไทย เรียบร้อยแล้วนะครับ ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก และจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดระนอง พร้อมที่จะลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย สรุปปัญหาที่ผมจะนำเสนอคือ ๒ ปัญหาหลัก ๆ ด้วยกัน Slide ถัดไปครับ

    อ่านในการประชุม

  • อันแรก ก็เป็นการบริการทางทหารของทหารเมียนมาที่มีการปฏิบัติการอย่าง ต่อเนื่องโดยไม่เลือกเป้าหมายนะครับ ซึ่งจริง ๆ แล้วจะมีการปฏิบัติการทั้งทางภาคพื้น ทั้งทางอากาศ ซึ่งมีปัญหามาก ๆ ที่มีผลกระทบต่อชุมชนของชาวไทยในฝั่งไทยนะครับ ใน ๒ ปีที่ผ่านมานี้ก็มีจำนวนประมาณ ๑๐๐ กว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อ ประชาชนชาวไทยนะครับ อันนี้เป็นปัญหาแรก

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ ๓๐๐,๐๐๐ คนที่กำลังจะลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยนี้ ตอนนี้ประเทศไทย เรายังไม่มีศักยภาพในการที่จะดูแลทั้งหมด ๓๐๐,๐๐๐ คนนี้ ก็จะเป็นปัญหาหลัก ๆ ว่าเราจะ มีการเตรียมความพร้อมอย่างไรครับ ที่ผมจะขอเสนอท่านประธานครับ ในเรื่องเกี่ยวกับ แนวทางการแก้ไขปัญหา อยากจะเรียนท่านประธานครับที่จะทำหนังสือไปถึง ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลที่จำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับปัญหา อันแรกคือการปฏิบัติการทางทหารของทหารเมียนมาในการใช้กรอบความร่วมมือทั้งทวิภาคี และพหุภาคี ทวิภาคีนี่ก็ต้องมีการพูดคุยกับทางทหารเมียนมาให้ได้เรื่องที่จะกำหนด Safety Zone หรือพื้นที่ปลอดภัยและรวมถึง Humanitarian Corridor คือระเบียงมนุษยธรรมให้เกิดขึ้น จากชายแดนไทย-เมียนมา ต้องเข้าไปในพื้นที่เมียนมา ๕ กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่นี้จะทำให้ ผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวไทยตามบริเวณชายแดนของเรานี่จะไม่ได้รับผลกระทบ มากนัก และรวมถึงผู้พลัดถิ่นภายในประเทศที่เข้ามาพื้นที่ ๕ กิโลเมตรนี้จะสามารถอยู่ได้ เพราะว่าจะไม่มีการปฏิบัติการทางทหาร ก็จะเป็นการวิน ๆ ทั้งชาวไทยไม่ได้รับผลกระทบ แล้วก็ทางผู้พลัดถิ่นภายในประเทศสามารถอยู่ได้ตรงนั้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ ผมทราบดีครับกรอบทวิภาคีคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงจำเป็นที่ ท่านนายกรัฐมนตรีต้องใช้กรอบพหุภาคี ณ ปัจจุบันนี้จะมีกรอบ ASEAN เรียบร้อยแล้วที่มี Five-Point Plan Consensus หรือว่าฉันทามติ ๕ ข้อที่ได้มีการกำหนดไว้ว่าจะมีการส่ง Special Envoy มาจากอินโดนีเซียไปพูดคุยกับทางทหารพม่านะครับ ก็จะต้องมีการพูดคุย ในเรื่อง Safety Zone ในเรื่องเกี่ยวกับ Humanitarian Corridor ตรงนี้ไว้นะครับ และรวมถึง ท่านนายกรัฐมนตรีที่เป็นประธาน สมช. ต้องจัดทำตัวนโยบายแนวทางปฏิบัติเป็นคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรีให้มันกำกับงานของความมั่นคงชายแดนอย่างเป็นแบบบูรณาการ อันนี้ เป็นเรื่องการปฏิบัติการทางทหารขอใช้เวลาสั้น ๆ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • อันสุดท้าย มาตรการรองรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมา การเตรียมความพร้อม ทางด้าน Humanitarian Corridor อยากจะเรียนท่านประธานช่วยประสานทางท่านรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้นำในการที่ว่า ณ ปัจจุบันนี้ Humanitarian Corridor ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นเรื่องเก่าครับ รัฐบาลปัจจุบัน รัฐบาลรักษาการ ก็ยังทำงานอยู่นะครับ แต่ว่าเราเจียดงบประมาณไปเป็นส่วนน้อยในการดูแลเรื่องมนุษยธรรม ตอนนี้เราใช้โอกาส ตรงนี้ให้เป็นจังหวะในการที่จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเราเชิญทาง องค์การระหว่างประเทศ เชิญทางสถานทูตต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เชิญภาคประชาสังคมทั้งภายใน และภายนอกประเทศนี้เข้ามาปรึกษาหารือว่าทรัพยากรท่านมีอย่างไร ศักยภาพท่านมี อย่างไร ท่านมีแผนอย่างไร และเราเป็นผู้นำในการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรื่อง เกี่ยวกับ Humanitarian Corridor ขอบคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ทราบครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ขออนุญาต หารือท่านประธานผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ที่มีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและรวมถึงท่านเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในการพิจารณาทบทวนการกำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสียใหม่นะครับ อันนี้ก็จะเป็น ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และรวมถึง ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลาที่ผมจะขออนุญาตเรียกว่าปาตานี ท่านประธานครับ ๑๙ ปีที่ผ่านมาเงินงบประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท จากเม็ดเงินภาษีของพี่น้องประชาชน ได้ลงไปในพื้นที่ปาตานีตรงนี้เพื่อจะหาสันติภาพแบบยั่งยืน แต่ ๑๙ ปีที่ผ่านมาเรายังไม่เห็น สันติภาพแบบยั่งยืนเกิดขึ้นในพื้นที่ เพราะมีการกำหนดเป้าหมายที่ไม่ถูกจุด การตั้งสมมติฐาน ที่อยากจะลดแค่จำนวนเหตุความรุนแรงเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วการแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องลด และขจัดเงื่อนไขของความรุนแรงจากทุกฝ่ายนะครับ ถ้าเราสามารถแก้ไขปัญหาจากต้นราก ของปัญหา เราจะสามารถส่งสัญญาณและสร้างบรรยากาศเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นทาง เศรษฐกิจและเปิดพื้นที่ทางการเมืองได้ ข้อเสนอของผมจากทางพรรคเป็นธรรมจะเป็น ข้อเสนอแบบเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาตรงนี้ ที่ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน สภาความมั่นคงแห่งชาติจำเป็นต้องพิจารณาการดำเนินการอย่างเร่งด่วน

    อ่านในการประชุม

  • อันแรก การปรับลดพื้นที่ การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในห้วงปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ซึ่งเป็นแผนอยู่แล้วนะครับ ในแผนการทบทวนการปฏิบัติการปรับลดพื้นที่ระหว่างสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔ ขอให้จัดให้เร็ว ขอให้ปรับให้เร็ว ทบทวนอันนี้ให้เร็วและให้เยอะ ให้มีการกำหนดลดพื้นที่ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตรงนี้ให้เร็วที่สุดเพื่อจะลดเงื่อนไขในเบื้องต้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ จำเป็นต้องมีการทดแทนกลไกการถ่วงดุลอำนาจกองทัพ การมีส่วนร่วม และเพิ่มการมีส่วนร่วมของส่วนราชการ ณ ปัจจุบัน การทดแทนกลไกรักษาความมั่นคง ในพื้นที่ปรับจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานการข่าว และเร่งสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และรวมถึงการจัดระเบียบด่านความมั่นคง และจุดตรวจ จุดสกัด ภายใต้กรอบกลไกใหม่ จากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มาเป็นกลไกกำกับของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของจังหวัด เพื่อสร้างกลไกพลเรือนเพื่อถ่วงดุลอำนาจของกองทัพ และเปิดต่อการมีส่วนร่วมที่มากขึ้น ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ตรงนี้ที่จะเป็นการลดเงื่อนไขในพื้นที่ให้มากขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๓ ท่านประธานครับ ที่จำเป็นต้องเร่งด่วนในการจัดทำ ก็คือเรามีกลุ่ม ของพี่น้องไทยพุทธซึ่งอยู่ในพื้นที่จำนวน ๘๑ ชุมชน เราจำเป็นต้องคำนึงถึงความรู้สึกของ พี่น้องไทยพุทธที่ต้องมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของพี่น้อง เรามองว่าเป็นกลุ่มเปราะบาง ในการเสี่ยงต่อการเป็นเป้าหมายการก่อเหตุรุนแรง และมีความกังวลต่อการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินตรงนี้ เพื่อจะนำข้อมูลมาพัฒนาแนวทาง มาตรการ และเครื่องมือการรักษา ความปลอดภัยทดแทน พ.ร.ก. ฉุกฉินตรงนี้ให้ในระดับที่ยอมรับได้และเพียงพอที่จะทำให้ พี่น้องไทยพุทธของเราสามารถเดินใช้ชีวิตวิถีของตนเองได้อย่างปลอดภัยและมีเกียรติ

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๔ เรื่องสุดท้าย ขอหารือผ่านท่านประธาน ผมทราบดีว่าตอนนี้ มีเพื่อนสมาชิกของ ๓ พรรค พรรคก้าวไกล พรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาชาติ ได้มี การเสนอญัตติในเรื่องดังกล่าวในการแก้ไขปัญหาในระยะกลาง ระยะยาว ก็จะขอให้ เสนอญัตติไปเรียบร้อย ใน ๓ พรรค ขอให้ท่านประธานช่วยเร่งรัดนำญัตติต่าง ๆ ขึ้นมา หารือตอนนี้โดยเร็วครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม วันนี้ผมขอหารือท่านประธานผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล รวมถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ที่ถูกตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ ขออนุญาตเรียกสั้น ๆ นะครับ พ.ร.บ. อุ้มหาย ปี ๒๕๖๕ ขออนุญาต Slide ขึ้นด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ที่มีสมาชิกของคณะกรรมการ เป็นข้าราชการระดับสูงอีกหลายท่านตามที่ Slide ได้โชว์ไว้นะครับ และหารือ ผ่านท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อเรื่องสำคัญ และจำเป็นเร่งด่วนในสถานการณ์เกี่ยวข้องกับเหยื่อของการอุ้มหาย ท่านประธานครับ ความเป็นจริงคือหลังจากการรัฐประหารโดย คสช. ได้ปรากฏว่ามีผู้สูญหายอย่างผิดปกติที่เป็น คนสัญชาติไทยที่อยู่ทั้งในและนอกประเทศอย่างน้อย ๑๑ คน และมีผู้ลี้ภัยชาวไทยอย่างน้อย ๔ คนที่เสียชีวิต และ ๒ คนมีการพบศพที่อยู่ในสภาพถูกทารุณกรรมอย่างโหดเหี้ยม ท่านประธานครับ ผมได้มีโอกาสพบกับสิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ขอเรียกว่าพี่เจนนะครับ พี่สาวของคุณวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ หรือน้องต้าร์ ที่แจ้งว่าน้องต้าร์ได้หายสาบสูญไปใน ขณะที่ลี้ภัยอยู่ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อปี ๒๕๖๓ และวันเดียวกันผมก็ได้พบกับ คุณต่อการ บุปผาวัลย์ น้องเต๋อ ลูกชายคุณชัชชาญ บุปผาวัลย์ หรือสหายภูชนะ ที่แจ้งว่า สหายภูชนะก่อนหน้านี้ได้ลี้ภัยไปยัง สปป. ลาว และเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ ร่างไร้วิญญาณของสหายภูชนะได้ถูกพบอยู่ในกระสอบ สภาพถูกมัดคอและมัดมือ แถมมีปูน บรรจุอยู่เต็มช่องท้องลอยอยู่ในลำน้ำโขง ท่านประธานครับ ทั้ง ๒ คนได้มีสถานการณ์ คล้ายคลึงกันคือถูกเรียกรายงานตัวจาก คสช. หากแต่ทั้งสองได้ตัดสินใจลี้ภัยไปยัง ต่างประเทศเพื่อหนีการประหัตประหารชีวิตของพวกเขาทั้ง ๒ คน ทุกวันนี้ทั้ง ๒ ครอบครัว รวมถึงครอบครัวเหยื่อคนอื่น ๆ ด้วยยังไม่ได้รับความยุติธรรมใด ๆ เลย หลายกรณีครับ ท่านประธาน มีการผลักภาระในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้กับญาติต้องไปดำเนินการเอาเอง ทั้ง ๆ ที่เรามี พ.ร.บ. อุ้มหายนี้แล้วที่ให้อำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการของ พ.ร.บ. ตัวนี้ ในการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอุ้มหาย ท่านประธานครับ ผมมีข้อเสนอ ๒ ข้อ

    อ่านในการประชุม

  • ข้อแรก ไปยังท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ช่วยเร่งบังคับใช้ พ.ร.บ. อุ้มหายนี้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วต้องมีความโปร่งใส ในการดำเนินการ ชี้แจงกับครอบครัวของเหยื่ออย่างต่อเนื่องและชัดเจน รวมถึงเร่งเยียวยาด้วย

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๒ ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่า ประเทศไทยปัจจุบันนี้ ต้องเร่งพิจารณาการให้ภาคยานุวัติหรือสัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสาบสูญ โดยการถูกบังคับหรือว่า CED ๒ อันนี้จะทำให้ การบังคับถูกอุ้มหายหายไป

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายนี้ครับท่านประธาน ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความไม่ยุติธรรม เราทุกคน คนไทยบนโลกใบนี้มีความสุ่มเสี่ยงที่ถูกกระทำไม่ต่างจาก ๒ ท่านนี้ ชีวิตของเรา ต้องปลอดภัยไม่ถูกอุ้มหายต่อไป แต่หากเกิดเหตุการณ์อุ้มหายเกิดขึ้น การดูแลและเยียวยา จากภาครัฐต้องโปร่งใสและรวดเร็วโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ขออนุญาตเรียนอย่างนี้ว่าขอความสันติจงประสบแด่ทุกท่าน ขอให้สันติภาพจนประสบ แด่ทุกคน ขอสันติภาพที่จะเกิดขึ้นนี้เป็นเส้นสันติภาพที่กินได้ และสันติภาพนี้จะเป็น สันติภาพที่ยั่งยืนให้กับพี่น้อง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ปาตานี ผมขออนุญาต อภิปรายสนับสนุนการเสนอญัตติด่วนเรื่องนี้จากเพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกลคุณรอมฎอน คุณกมลศักดิ์พรรคประชาชาติ คุณซาการียาพรรคภูมิใจไทย และคุณศรัณย์พรรคเพื่อไทย ในการที่จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้าง สันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ขออนุญาต Slide ขึ้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อันแรก ผมจะขอเสนอในเรื่อง เกี่ยวกับปัญหาและความสำคัญในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตัวนี้ ความสำคัญตรงนี้ ที่เราเห็นชัดเจนในอดีตที่ผ่านมา ตั้งแต่อดีตนะครับ ไม่ใช่แค่ ๑๙ ปีที่ผ่านมา อดีตจนถึง ปัจจุบันนี้การแก้ไขปัญหาไม่ได้แก้ไขปัญหาที่รากเหง้าแห่งปัญหา หลาย ๆ ครั้งมีคนถามว่า เราต่อสู้กับอะไรอยู่ เราต่อสู้กับกลุ่มใดอยู่ ผมขออนุญาตยืนยันอย่างนี้ว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับ กลุ่มที่มีการก่อความรุนแรงใด ๆ ทั้งนั้น เราต่อสู้กับการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ของพี่น้องประชาชน เราต่อสู้กับการปิดกั้นพื้นที่สาธารณะที่ทำให้พี่น้องประชาชนไม่สามารถ มีพื้นที่ที่จะแสดงออกได้ในพื้นที่ ทำให้การมีอัตลักษณ์ของคนพี่น้องในพื้นที่นั้นโดนกดทับ อย่างยาวนาน อันที่ ๒ การจัดตั้งสมมุติฐานและแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ที่ผ่านมาไม่ได้มองถึงรากเหง้าแห่งปัญหาตรงนี้ เลยมองเพียงแค่ว่าปัญหาตรงนี้เป็นแค่ปัญหา ในเชิงบริบทเชิงพื้นที่ ปัญหาเกี่ยวข้องกับความมั่นคง เพราะฉะนั้นเงินงบประมาณต่าง ๆ ที่ผ่านมา ๑๙ ปี เราเห็นแล้วว่าเงิน ๕๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาทได้ลงไปในการแก้ไขปัญหา ในเชิงความมั่นคง ความพยายามในการทำให้จำนวนความรุนแรงลดน้อยถอยลง อันนี้ เป็นการตั้งสมมติฐานและสมการในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือปาตานีตรงนี้ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง เพราะฉะนั้นเราจำเป็นที่จะต้องตั้งสมการใหม่ เราจำเป็นจะต้องตั้งสมมติฐานใหม่ เพราะฉะนั้นการศึกษาแนวทางวิธีการพิจารณาการแก้ไข ปัญหาการสร้างสันติภาพที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ปาตานีตรงนี้จำเป็นต้องมีการพิจารณา และทบทวนอย่างเร่งด่วน ต้องขอขอบคุณครับเพื่อนสมาชิกทั้ง ๔ พรรคการเมืองในการที่ เสนอการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรงนี้

    อ่านในการประชุม

  • ขอ Slide ถัดไป ทางตัวผมเอง พรรคเป็นธรรมเราได้มีข้อเสนอในการแก้ไข ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือการนำมาซึ่งสันติภาพแบบยั่งยืนที่เกิดขึ้น เราเสนอ ในเรื่อง ๓ ขา แต่ข้อเสนอตรงนี้จำเป็นต้องนำเข้าไปมีการวิเคราะห์พิจารณาในคณะกรรมาธิการ วิสามัญตรงนี้อย่างตรงไปตรงมา และรวมถึงการพิจารณาอย่างที่ทำให้ทุกท่านสามารถ ตกผลึกเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลต่อปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ได้ อันแรก เราทราบดี ทุกท่านทราบดีว่าปัญหาตรงนี้ ๑๙ ปีที่ผ่านมา สส. ในพื้นที่ อย่างเดียวคงไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ เนื่องจากว่าเงิน ๕๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ที่ลงไปแล้วเป็นเงินของพี่น้องประชาชน เป็นเม็ดเงินที่มาจากภาษีอากรพี่น้องประชาชน ทั้งประเทศ ๕๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาทที่ลงไปนี้ ทำไมเราถึงไม่ทราบ ทำไมสภานี้ถึงไม่มีการพูดคุยกันว่าคุณไปทำอะไร การพูดคุยสันติสุข ที่คุณได้พูดคุยกันมาคุณพูดคุยอะไรบ้าง คุณทำอะไรกันบ้าง คน Deal อะไรกันบ้างเราไม่ทราบ พี่น้องในประเทศไทยยังไม่ทราบว่าการแก้ไขปัญหาที่คุณจะสามารถนำมาเสนอมันคืออะไร เพราะฉะนั้นต้องยกระดับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือปาตานีให้เป็น วาระแห่งชาติให้ได้ สส. ทุกท่านในสภาจำเป็นต้องพูดถึง สส. ทุกท่านในที่นี้จำเป็นต้อง วิเคราะห์ถึงปัญหา และจำเป็นต้องวิเคราะห์ถึงแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมด้วยกัน เพราะฉะนั้น อันแรกต้องยกระดับอันนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติให้ได้ การสร้าง การบัญญัติกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ. หรือพระราชกำหนดเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพต้องมี การพูดคุย ต้องหารือในคณะกรรมาธิการวิสามัญตรงนี้ว่าเราจำเป็นไหม ที่จะต้องมี พระราชบัญญัติ ต้องมีกฎหมายรองรับ หรือจะเป็นพระราชกำหนดในการสร้างสันติภาพ ให้เกิดขึ้น การพูดคุยสันติสุขที่เกิดขึ้นมาเป็นสิบ ๆ ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ผมทำงานในเวทีระหว่าง ประเทศ ช่วยเหลือในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น ยังไม่เคยเห็นครับว่าจะมีทหารนั่งคุยกับ ทหารและจะสร้างสันติภาพได้ สันติภาพไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปลายกระบอกปืน สันติภาพจำเป็นต้องมีการพูดคุยโดยใช้ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ที่เกิดจากความรุนแรงต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้นำ แล้วให้รัฐบาลกับฝ่ายคู่เจรจามานั่งพูดคุยกันว่า การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นยกระดับให้ได้ ในการที่จะทำให้ เป็นวาระแห่งชาติ ปรับในการพูดคุยสันติสุขนี้ให้เป็นพูดคุยการเจรจาสันติภาพ และให้ภาคประชาสังคม ภาคประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วมในการพูดคุยตรงนี้

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องเกี่ยวกับการพูดคุยอีกอย่างหนึ่งในเวทีระหว่างประเทศผมก็ยังไม่เคยเห็น ว่ามีการพูดคุยกันในพื้นที่อื่น จำเป็นครับ ถ้าคุณมีปัญหาในพื้นที่ตรงนี้คุณต้องมาพูดคุยเจรจา สันติภาพในพื้นที่ตรงนี้ ให้พี่น้องประชาชนผู้ได้รับผลกระทบรับทราบว่าเกิดอะไรขึ้นเอามา คุยที่นี่ เพราะฉะนั้นฝ่ายคู่เจรจาจำเป็นต้องได้รับ Immunity หรือการคุ้มกัน หากจะมี การพูดคุยในพื้นที่ประเทศไทย ในพื้นที่ที่จะเกิดเหตุความมั่นคงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นต้องมา คุยที่นี่ คนฝ่ายเจรจาจำเป็นต้องได้รับความคุ้มครอง มีการพูดคุยกันเข้ามาในประเทศไทย อันนี้จะเป็นการยกระดับการแก้ไขปัญหาให้เป็นวาระแห่งชาติ

    อ่านในการประชุม

  • ขาที่ ๒ การแก้ไขปัญหาที่รากเหง้า ก็คือปัญหาที่รากเหง้าคือการปิดกดทับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการที่จะปิดปากพี่น้องประชาชน พื้นที่สาธารณะที่ผู้คนจะสามารถแสดงออกได้ จำเป็นต้องมีการพิจารณายกเลิกหรือแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายพิเศษต่าง ๆ กฎอัยการศึก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พ.ร.บ. ความมั่นคง จำเป็นต้องมีการพิจารณายกเลิกให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นมาตราต่าง ๆ ที่ทำให้พี่น้องประชาชน ไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๒๑๕ ต้องมีการพิจารณาว่าสามารถที่จะต้องมีการยกเลิกในการที่จะ ไม่ให้พี่น้องประชาชนถูกลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออกของพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นอันนี้จะเป็นขาที่ ๒

    อ่านในการประชุม

  • ขาที่ ๓ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบราชการ อันนี้ต้องมีการพูดคุยอย่างลึก ในคณะกรรมาธิการวิสามัญตรงนี้ เรามีทั้ง กอ.รมน. เรามีทั้ง ศอ.บต. เรามีทั้งการปกครอง ส่วนภูมิภาค เรามีทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรามีหลายอย่างทับซ้อนกันขึ้นไป เพราะฉะนั้นต้องมีการพูดคุยศึกษากันในคณะกรรมาธิการวิสามัญตรงนี้

    อ่านในการประชุม

  • อันนี้ก็จะเป็น ๓ ขาถ้าเราสามารถทำได้ ถ้าเราสามารถนำข้อเสนอตรงนี้ เข้าไปพูดคุยในคณะกรรมาธิการวิสามัญ ในการแก้ไขปัญหาและการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นได้ เราจะสามารถตกผลึกแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ปาตานีได้อย่างสัมฤทธิผล ขออนุญาต นำเรียนท่านประธานและฝากไปในการที่จะสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิกในการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญในการพิจารณาเกี่ยวกับการศึกษากระบวนการแก้ไขปัญหา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม วันนี้ผมขออนุญาตอภิปรายสนับสนุนญัตติการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา แนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีฐานทะเบียนราษฎร์หรือไม่มีสัญชาติไทย หรือ G-code จริง ๆ แล้วผมอยากจะพูดอภิปรายใช้เวลานาน เพียงแต่ว่าเพื่อนสมาชิก ได้พูดไปค่อนข้างจะครอบคลุม โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และทางด้าน งานมนุษยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็ก G-Code ตรงนี้ผมจะใช้เวลาอันน้อยนิดในการที่จะ อภิปรายสนับสนุนการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตัวนี้ เรามีความคิดเห็นในการที่จะให้ คณะกรรมาธิการสามัญในด้านการศึกษาพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับเด็ก G-Code จริง ๆ แล้ว เรื่องเด็ก G-Code การศึกษาของเด็กกลุ่มนี้ไม่ใช่เรื่องให้การศึกษาเท่านั้น ตามที่เพื่อนสมาชิก หลายท่านได้พูดไป จริง ๆ แล้วการพิจารณาในเรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับงานหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการต่าง ๆ ในชีวิตของเขา การสาธารณสุข ผมเคยทำงานอยู่ที่ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เราเคยพิจารณาในเรื่องกลุ่มคนว่าถ้ามีปัญหากลุ่มนี้ เรื่องผู้หนีภัยการสู้รบ เราก็แค่พิจารณาเรื่องผู้หนีภัยการสู้รบ เรามีมีปัญหาเรื่องแรงงาน ต่างด้าว เราพิจารณาแค่เรื่องแรงงานต่างด้าว แต่จริง ๆ แล้ว ๒ เรื่องนี้มันสอดคล้องกัน เพียงแต่ว่าเราพิจารณาแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถที่จะจับทุกคนมาอยู่ในกลุ่ม เดียวกันได้ เด็กที่มี G-Code เป็นเด็กที่ได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ที่ทำให้ในอนาคต ของพวกเขาไม่สามารถที่จะเดินต่อไปได้ ประเทศไทยเรามีนโยบายที่ดีไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การศึกษาถ้วนหน้า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การจดทะเบียนเกิดถ้วนหน้า สุดท้ายสิ่งที่ สำคัญที่สุดที่ประเทศไทยเรามีและดีที่สุดคือเป้าหมายในการกำจัดการไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ให้หมดจากประเทศไทย เป้าหมายเราดี นโยบายเราดี แต่การกระทำของพวกเรา ๆ จะทำ อย่างไร แบ่งแยกและพิจารณา เพราะฉะนั้นปัญหาเรายังเกิดขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • วันนี้ที่ผมอยากจะมาเรียนผ่านท่านประธานไปถึงเพื่อนสมาชิกทุกท่าน มีน้องคนหนึ่งชื่อมะเส่งพิว เป็นเด็กที่มี G-Code เป็นเด็กที่ประสบกับปัญหาต่าง ๆ เขาบอกผมว่าตอนเด็ก ๆ มีคนถามเขาว่าความฝันในอนาคตอยากเป็นอะไร เขาบอก เขาไม่อยากมีหรอก ความฝันในอนาคตว่าเขาอยากเป็นอะไร เขาอยากเป็นแค่อยากมีตัวตน ในประเทศไทย การมีตัวตน การมีรหัส G-Code กับการมีตัวตนมันแตกต่างกัน G-Code เป็นแค่รหัสบางอย่างที่ทำให้เขาได้รับการศึกษา เป็นสิ่งที่เขาสามารถจะได้รับ ๑๓ หลัก และเป็นสิ่งที่ทำให้เขาสามารถเดินต่อไปในสวัสดิการทางด้านสาธารณสุขได้ แต่ตัวตนเขา ยังไม่มี เพราะฉะนั้นสิ่งจำเป็นต่าง ๆ เหล่านี้มะเส่งพิวบอกผมว่าช่วยบอกเถอะ ในสภา อันทรงเกียรติแห่งนี้ช่วยพิจารณาให้กลุ่มคนพวกเขามีโอกาสได้รับการพิจารณาให้สามารถ ได้รับสิทธิต่าง ๆ รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ด้วย ถ้าเราเปรียบเทียบในเรื่องเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย มีครับ ชาวลาวม้งเราก็เห็นอยู่ที่ไปลี้ภัยในประเทศที่สาม โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เป็นถึงสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา เห็นความแตกต่างระหว่างมะเส่งพิวกับชาวลาวม้ง ที่ได้ไปลี้ภัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกา สิ่งนี้ละครับเป็นสิ่งที่อยากจะนำเรียนท่านประธาน เรียนเพื่อน ๆ ทุกท่านนะครับว่าเราจำเป็นต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตัวนี้

    อ่านในการประชุม

  • ขอสรุปอย่างนี้ครับ อยากจะให้อำนาจในมือของทุกท่านในที่นี้ อย่าทำให้ชีวิต ของเด็กเหล่านี้ตกอยู่ในชีวิตที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิและการแสวงประโยชน์ ให้เด็ก เขาเข้าถึง G-Code พัฒนาให้เด็กมี G-Code ในปัจจุบัน มีตัวตน มีสถานะตามกฎหมาย ทะเบียนราษฎร์ และกระทรวงศึกษาธิการควรต้องทำงานร่วมกับสำนักงานทะเบียน เพื่อจัดทำประวัติ ออกเอกสารประจำตัว รวมทั้งเลข ๑๓ หลัก หลังจากนั้นเขาจะสามารถ เดินหน้าต่อไปได้ อย่าให้เด็กกลุ่มเหล่านี้เป็นเพียงแค่รหัสครับ ปฏิบัติกับเขาเหมือนเด็ก คนหนึ่งที่มีสิทธิพึงจะได้รับในฐานะมนุษย์ไม่สนว่าเป็นลูกใคร ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ วันนี้ขออนุญาตหารือท่านประธานในเรื่องที่ไม่สู้ดีครับ เมื่อวานนี้ผมได้รับ รายงานประสานจากทางตัวแทนญาติและครอบครัวผู้เสียหายผ่านทีมประสานงานช่วยเหลือ เหยื่อค้ามนุษย์ภาคประชาชนนะครับว่ามีคนไทยจำนวนมากกว่า ๑๐๐ กว่าคน ถูกค้ามนุษย์ อยู่ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา บอกพิกัดเรียบร้อยแล้วนะครับ แต่ว่าวันนี้ผมจะยังไม่บอก ว่าพิกัดอยู่ที่ใด เพราะว่าผมมีหนังสืออันนี้ทีหลังจากการหารือจะเอาไปนำเรียนท่านประธาน ได้รับการประสานมาว่าจำนวน ๑๑๖ คน เป็นชาย ๖๕ คน เป็นหญิง ๔๖ คน ถูกหลอกลวง ไปค้ามนุษย์ผ่าน Social media เข้าข่ายการค้ามนุษย์ ทำงานก็ไม่ตรงต่อข้อตกลง มีการยึดโทรศัพท์ ทำร้ายร่างกาย บังคับบริการทางเพศ ถ่าย Video ลามก ต้มตุ๋น Online ทำร้ายร่างกาย เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ครับท่านประธาน แต่ว่าไม่สามารถที่จะยอมรับได้ อีกต่อไป จำเป็นต้องมีการทำงานของทางรัฐบาลไทยอย่างเร่งด่วนในเรื่องนี้ จริง ๆ แล้ว ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจของจีนเทานั่นเองที่เพื่อนสมาชิกเคยอภิปรายในครั้งก่อน แต่ครั้งนี้ เราไม่สามารถยอมรับได้ เรายอมเห็นครับ ถ้าเรามองนี่เรามองในภาพกว้างว่าตอนนี้ธุรกิจจีนเทา รอบประเทศเราตั้งแต่บริเวณภาคเหนือของเรา ตั้งแต่เชียงรายลงมาถึงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ของเรา มีธุรกิจจีนเทาอยู่รอบประเทศเรา แล้วทำให้มีการตกลงของบางอย่างเกิดขึ้น ทำให้คนไทย หลาย ๆ คน ไม่ใช่คนไทยอย่างเดียวคนหลายประเทศถูกค้ามนุษย์มาอยู่ในพื้นที่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นจำเป็นเร่งด่วนที่ทางการไทยต้องหาทางช่วยเหลือพี่น้องของคนไทยออกมาจาก การค้ามนุษย์ครั้งนี้ ก็อยากจะขอเรียนอย่างนี้ครับว่า ในอาทิตย์ที่ผ่านมา ในเดือนที่ผ่านมานี้ ทางท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ร่วมกับ ครม. ได้ไปเยือนจังหวัดเชียงราย แล้วก็ มีการพูดคุยว่าจะมีการทำสะพานข้ามแม่น้ำโขงไป ก็อยากให้พิจารณาให้ดีตรงนี้ว่าเราไม่ควร ที่จะยอมรับในการที่จะไปทำธุรกิจการฟอกเงินให้กับทางธุรกิจจีนเทาอันนี้ แต่อย่างไรก็ตาม อันนั้นเป็นภาพใหญ่ แต่ภาพเล็กก็ขอให้ทางรัฐบาลไทย ทางท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลด้านความมั่นคง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ช่วยพิจารณาเรื่องนี้เป็นการด่วนสำหรับ ๑๑๖ คน ขอบคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ขออนุญาต เริ่มต้นอย่างนี้ครับ ขอสันติสุขจงประสบแด่ทุกท่าน ขอสันติภาพจงบังเกิดแก่ทุกคน ขอสันติภาพที่จะเกิดขึ้นนี้จงเป็นสันติภาพที่กินได้ และสันติภาพที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นสันติภาพ ที่ยั่งยืนต่อไป ท่านประธานครับ ตอนแรกผมจะยืนขึ้นมาแล้วบอกว่าขอชื่นชม ผมยังเชื่อมั่น ฝีมือของพี่น้องสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. การเขียนนโยบาย การร่างนโยบาย การร่างแผนปฏิบัติการตัวนี้ อยากจะขอร่วมกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของผม คือคุณรอมฎอน ปันจอร์ ต้องขอประทานโทษที่ต้องเอ่ยนาม ขอชื่นชมจริง ๆ ตัวนโยบายตัวนี้ ตัวร่าง แผนปฏิบัติการตัวนี้ยอมรับได้ สละสลวย สามารถปฏิบัติงานได้หรือไม่นั่นอีกเรื่องหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ผมคงไม่สามารถที่ยืนขึ้นมาครั้งนี้และขอชื่นชมอย่างเดียว ต้องขออนุญาต จริง ๆ ว่าต้องเสียใจ เพราะเนื่องจากว่าในตัวแผนปฏิบัติการ รวมทั้งตัวร่างนโยบายตรงนี้ ผมยังไม่เห็นเลยว่าเป็นการพูดถึงรากเหง้าแห่งปัญหา เราเรียนรู้มา ๑๙ ปี เราตั้งสมมุติฐาน และสมการในการแก้ไขปัญหาตรงนี้มาอย่างยาวนาน แต่ปัญหาตรงนี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้ เรายังใช้สมมุติฐานตัวเดิม วันนี้คุณณัฏฐ์ชนน ขอประทานโทษที่เอ่ยนามเพื่อนจากพรรคภูมิใจไทย ได้บอกตัวชี้วัดมา ๓ ตัว การลดงบประมาณ การลดระดับปัญหา การเพิ่มเรื่องเกี่ยวกับ การท่องเที่ยวต่าง ๆ นานา ตัวชี้วัด ๓ ตัวนี้เห็นชัดเจนว่ามันไม่ใช่รากเหง้าแห่งปัญหา รากเหง้าแห่งปัญหา ณ ปัจจุบันนี้เราเห็นว่าอะไรคือรากเหง้าแห่งปัญหา ถ้าเราสามารถเห็นได้ เราจะสามารถตั้งสมมุติฐาน เราจะสามารถตั้งสมการได้อย่างถูกต้อง เราจะไม่เอาจำนวน ความรุนแรงขึ้นตั้งเป็นสมการ แล้วหาตัวเลขมาบวก ลบ คูณ หาร แล้วทำให้จำนวนความ รุนแรงมันลดน้อยถอยลง เราต้องมองให้ชัดครับ ๑๙ ปีที่ผ่านมา ๕๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ที่ลงไป อะไรคือรากเหง้าแห่งปัญหา รากเหง้าแห่งปัญหาชัดเจน บอกไปหลาย ๆ ครั้ง ผมพูดไปในหลายพื้นที่ ในหลายเวที รากเหง้าแห่งปัญหาตอนนี้เราไม่ได้ต่อสู้กับใคร เราไม่ได้ต่อสู้กับคนที่ถืออาวุธ เราไม่ได้ต่อสู้กับคู่เจรจาของเรา เราต่อสู้กับการปิดกั้น สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของพี่น้องประชาชน เราต่อสู้กับคนที่โดนกดทับด้านอัตลักษณ์ โดนคนที่ทำให้ถูกผลักเข้าไปอยู่ติดกับกำแพง คนที่ต้องการที่จะระเบิดมาพูดคุยกับเราบอกว่า พื้นที่ในการแสดงออกของพวกเขาอยู่ที่ใด อันนี้คือรากเหง้าแห่งปัญหา หากตัวร่างนโยบาย และร่างแผนปฏิบัติการตัวนี้สามารถบอกว่ารากเหง้าแห่งปัญหาที่แท้จริงในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้คืออะไร เราจะเห็นว่าตัวแผนปฏิบัติการและตัวโครงการต่าง ๆ ที่จะรองรับ มันจะสามารถทำให้สมการอันนี้ประสบผลสำเร็จได้ อันนี้อันแรกครับ กฎหมายต่าง ๆ อันนี้ คือสิ่งที่ทำให้รากเหง้าแห่งปัญหามันยิ่งบานปลาย ไม่ว่าจะเป็นมาตราต่าง ๆ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๒๑๕ ที่ปิดกั้นพี่น้องประชาชนในการแสดงออก กฎหมายพิเศษต่าง ๆ ที่เพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านได้พูดไป ไม่ว่าจะเป็นกฎอัยการศึก ไม่ว่าจะเป็นพระราชกำหนด ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติความมั่นคงที่พวกท่านทั้งหลายพยายามที่จะทำให้ กฎหมายพิเศษต่าง ๆ เหล่านี้หมดไป แต่มันยังไม่หมด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นตัวสร้างเงื่อนไข ให้รากเหง้าแห่งปัญหามันยิ่งบานปลาย เพราะฉะนั้นหากเป็นไปได้สามารถที่จะเอารากเหง้า แห่งปัญหาตรงนี้เข้าไปตั้งในสมการของตัวร่างนโยบายและร่างแผนปฏิบัติการตัวนี้ จะทำให้ สามารถตั้งประเด็นการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง

    อ่านในการประชุม

  • อีกเรื่องหนึ่ง ขออนุญาตเรียนผ่านท่านประธานไปยังท่านผู้มาชี้แจง ท่านรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวานนี้เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทางท่านรองเลขาธิการ ท่านผู้ชี้แจงได้บอกว่าหากเราสามารถยกระดับอันนี้ขึ้นมาได้ เราจะมีกฎหมายไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการสร้างสันติภาพ ตัวนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ หากวันนี้ ถึงแม้ว่าตัวร่างนโยบายที่ท่านได้ชี้แจงไม่มีคำนี้ ไม่มีการยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติ ไม่มีตัวพระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการสร้างสันติภาพอยู่ในตัวร่างนโยบาย แต่ถ้าท่านพูดวันนี้ก็จะทำให้พวกเรามั่นใจ เพราะกระบวนการสร้างสันติภาพโดยตามหลัก สากลนี้ ความมั่นใจ ความน่าเชื่อถือของพี่น้องประชาชนต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้น เราจะต้องยกระดับอันนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชน ไม่ใช่แค่คู่ฝ่ายเจรจาเท่านั้น อันนี้เป็นสิ่งที่ ๒ ที่เราจำเป็นต้องทำ

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาที่ ๓ คือเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบราชการการบริหารจัดการ ในพื้นที่ หลาย ๆ ท่านพูด ศอ.บต. หลาย ๆ ท่านพูดเรื่อง กอ.รมน. หลาย ๆ ท่านยังมี การปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองส่วนภูมิภาค เราเห็นตรงนี้ละครับที่คือปัญหา ที่มันทำให้ภารกิจต่าง ๆ ของพี่น้องประชาชนที่อยากจะเข้ามาหาส่วนราชการไม่สามารถ ได้รับการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวร่างนโยบายตรงนี้ผมอยากจะเสนอให้ทาง ผู้ชี้แจงได้นำกลับไปพิจารณาว่าหากสามารถปฏิรูประบบราชการในพื้นที่ โดยมองเห็น เรื่องการกระจายอำนาจด้วย ท่านสามารถเสนอได้ครับ ท่านเสนอขึ้นไปเรื่องเกี่ยวกับ การกระจายอำนาจจะทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ลดเงื่อนไขและรากเหง้าปัญหา ของมันเอง สุดท้ายกระบวนการพูดคุยสันติภาพ อันนี้เราพูดกันมาอย่างยาวนาน เมื่อวานนี้ ใช้เวลานานมากในคณะกรรมาธิการวิสามัญที่มีการพูดคุยกัน ตรงนี้จะต้องมีการมีส่วนร่วม ของพี่น้องประชาชน ผมเห็นว่าท่านได้ใส่ไว้ในตัวร่างนโยบาย การมีส่วนร่วมของพี่น้อง ประชาชนจำเป็นจะต้องอยู่ในกระบวนการพูดจาสันติภาพด้วย เพราะฉะนั้นถ้า ๔ ส่วนนี้ สามารถประกอบกันเข้าไปเป็นตัวร่างนโยบายและร่างแผนปฏิบัติการจะทำให้สันติภาพ ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือปาตานีของเราจะเป็นสันติภาพที่กินได้ และสันติภาพนั้นจะเป็นสันติภาพที่ยั่งยืน ขอบคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธาน ขอเริ่มต้นซาลาม ขอความสันติจงประสบแด่ทุกท่าน วันนี้ผมขออนุญาตหารือท่านประธาน ผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำฝ่ายบริหาร และรวมถึงผู้อำนวยการรักษา ความมั่นคงภายในแห่งราชอาณาจักร ในการที่มีการย้อนแย้งกันของความพยายามในการ สร้างสันติภาพแบบยั่งยืนให้เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรวมถึง ๔ อำเภอ ของจังหวัดสงขลา หรือที่เราเรียกว่า ปาตานี ความย้อนแย้งกันตรงนี้ก็คือว่าเราพยายามจะ สร้างสันติภาพที่ยั่งยืน แต่ว่าการบังคับใช้กฎหมาย การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำต่อบุคคล นักกิจกรรมต่าง ๆ ตอนนี้ยังเป็นข้อครหาอยู่ นักกิจกรรมทั้งหมด ๙ คน ได้มีหมายเรียกจาก ทางตำรวจในพื้นที่ที่เขามีการพยายามมีการจัดทำในเรื่องการแสดงอัตลักษณ์ ในการที่ ช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ในการที่แสดงออกในเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางด้าน การเมือง แต่โดนหมายจับ หมายเรียกครับ ขอประทานโทษครับ คนแรก ขออนุญาตเอ่ยนาม คุณมูฮัมหมัดอาลาดี เด็งนิ ตอนนี้เป็นนักกิจกรรมที่เป็นคนที่จัดงานในเรื่องฮารีรายอ ในการ ใส่ชุดมลายู ก็โดนเรียกเข้ามา มีการแจ้งข้อหาในการที่บอกว่าคุณใส่ชุดมลายูเข้ามาเพื่อเป็น การยุยง ปลุกปั่น อั้งยี่และซ่องโจร เอาคนเข้ามา แล้วก็มามีการปลุกปั่นกัน อันนี้เป็นสิ่งหนึ่ง ที่มีการพูดคุยกันเรียบร้อยแล้ว แต่ก็โดนนะครับ ตอนนี้เป็นกรณีในปี ๒๕๖๕ ซึ่งเราเห็นแล้ว ครับว่าจริง ๆ มันมีความพยายามในการที่จะปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของ พี่น้องประชาชน ตอนนี้อยู่ในเรื่องเกี่ยวกับความยุติธรรม คนที่ ๒ คุณซาฮารี เจ๊ะหลง เป็นคน นำในเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำ Page ขึ้นมา ซึ่ง Page หนึ่ง เรียกว่า พ่อบ้านใจกล้า พ่อบ้าน ใจกล้านี้เป็นการรวบรวมระดมทุนในการช่วยเหลือ ครอบครัวที่รับผลกระทบจาก การวิสามัญฆาตกรรม หัวหน้าครอบครัวถูกวิสามัญฆาตกรรม แต่ว่าไม่มีการเยียวยา เนื่องจากว่ากฎกติกาต่าง ๆ ของประเทศไทยเราไม่ยอมให้ เพราะฉะนั้นเขาก็เลยโดนข้อหา ในการที่เอาเงินเข้ามาและใช้เอง อันนี้เป็นสิ่งหนึ่ง อีกคนหนึ่งครับ คุณอาเต็ฟ โซ๊ะโก เป็นคนที่มี การจัดทำเรื่องเกี่ยวกับการทำสำรวจประชามติ การทำประชามติว่าควรจะทำประชามติ ในการพิจารณาตัวเองหรือไม่ ก็เลยโดนข้อหาเหมือนกัน และน้อง ๆ กลุ่มกิจกรรมทั้งหลาย ทั้ง ๓ กรณีนี้ ตอนนี้วันนี้นั่งอยู่ที่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ในการเรียกร้องถึงความไม่เป็นธรรมอันนี้ถ้าการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม มันเป็น ความอยุติธรรม เพราะฉะนั้นครับอยากจะเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรี ช่วยพิจารณาในการใช้กฎหมายตัวนี้ที่บังคับใช้อย่างไม่เป็นธรรมด้วยครับ ขอบคุณ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ วันนี้ผมมาเสนอญัตติเรื่องการขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและหาแนวทางการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหา ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา หรือ ผภสม. แต่จริง ๆ แล้วผมอยากจะเรียกว่าผู้ลี้ภัย ท่านประธานครับ ขออนุญาตที่จะอ่านตัวญัตติที่ผมเสนอเข้ามาให้ทางที่ประชุมสภาทราบ ผ่านทางท่านประธาน หลังรัฐบาลเมียนมา พ.ศ. ๒๕๖๔ หลังการรัฐประหารที่สำคัญ ในสถานการณ์การสู้รบภายในประเทศเมียนมาทวีความรุนแรงขึ้นจากการประเมินด้วยดัชนี สันติภาพโลก เมื่อปี ๒๕๖๖ ระดับสันติภาพของเมียนมาตกต่ำลง ๗ ลำดับ จากปีก่อนหน้า อยู่ในลำดับที่ ๑๔๕ จากทั้งหมด ๑๖๓ ส่งผลให้พลเรือนเมียนมาเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย ๖,๓๓๗ คน กลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศมากกว่า ๑.๓ ล้านคน และตกอยู่ในภาวะ ของความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมประมาณ ๑๗.๖ ล้านคน เท่าที่มีการเก็บข้อมูลได้ระหว่าง กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยสถาบันสันติภาพวิจัยออสโล และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยจะพบว่าเหตุการณ์ความรุนแรงเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๖ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๘๗ ปัญหาดังกล่าวไม่ได้มีเพียงมิติด้านความมั่นคง ชายแดนเท่านั้น หากแต่ยังเป็นผลมาจากการเมืองระหว่างประเทศที่ไทยจำเป็นต้องทบทวน แนวนโยบายและการดำเนินการในเชิงรุกมากยิ่งขึ้นในกรอบพหุภาคีทั้งในระดับภูมิภาคและ ระดับโลกเพื่อมิให้ประเทศโดยเฉพาะชุมชนชายแดนตกอยู่ในสภาพตั้งรับต่อปัญหาเพียง อย่างเดียว ทั้งในรูปแบบพื้นที่พักพิงชั่วคราวที่มีอยู่แล้ว ๙ แห่งที่รองรับผู้ลี้ภัยการสู้รบเดิม อยู่แล้ว ๗๗,๐๐๐ กว่าคน และในรูปแบบพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวในห้วงปีที่ผ่านมา จึงมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเร่งปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการทั้งการเตรียมพร้อม การป้องกัน และการจัดการระเบียบชายแดนอย่างสมดุลระหว่างมิติความมั่นคงกับ สิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม ตลอดจนการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาในเชิงรุกในเวที ระหว่างประเทศระดับพหุภาคีอย่างสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงขอเสนอญัตติด่วนเพื่อขอให้ที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและหาแนวทางการบริหารจัดการ และการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาหรือ ผภสม. ตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ และข้อ ๕๐ เพื่อดำเนินการศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยเร่งด่วน ให้ทันต่อสถานการณ์ของปัญหาที่มีพลวัตสูง ทั้งนี้เหตุผลและรายละเอียดผมจะขอ ชี้แจงอภิปรายตอนนี้ครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ตามที่เพื่อนสมาชิกคือท่านมานพ ได้ชี้แจงไปถึง สถานการณ์ต่าง ๆ เราเห็นว่าสถานการณ์ในประเทศเมียนมาหลังจากที่เกิดรัฐประหาร วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ สถานการณ์ได้เลวร้ายลง เริ่มต้นตั้งแต่การใช้ความรุนแรง และมี การลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ มีพี่น้องชาวเมียนมาออกมาต่อสู้โดยอหิงสา เรียกร้องให้อำนาจกลับคืนมาสู่พี่น้องประชาชนโดยเร็ว แต่กลับกันครับ รัฐบาลที่มาจาก ทหารยังใช้อำนาจ ใช้กำลังการเข้าห้ำหั่นทำให้การลิดรอนสิทธิมนุษยชนได้มีความรุนแรงมาก ยิ่งขึ้น ดังนั้น มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ ๑๐ กว่าล้านคนแล้ว ตอนนี้ครับท่านประธาน จากประสบการณ์การทำงานของผมในประเทศเมียนมาในตำแหน่งสุดท้ายก่อนจะมาเป็น นักการเมืองที่ทำงานกับ UNHCR ที่ดูบริเวณชายแดนตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเมียนมา ทั้งหมดที่ติดกับชายแดนไทย ทราบดีครับว่าตอนนี้มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศมากกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คนที่รอการลี้ภัยหนีการประหัตประหารเข้ามาประเทศไทยตอนใดก็ได้ เราเห็นว่า สถานการณ์เมียนมานี้มีการขึ้นลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๑๕ ตอนนั้นจริง ๆ แล้ว เราเห็นครับท่านประธานว่ามันมีแสงสว่างปลายอุโมงค์ที่เราเห็นว่ามีการเซ็นสัญญายุติ การหยุดยิง NCA (National Ceasefire Agreement) ระหว่างรัฐบาลเมียนมากับทางกลุ่ม ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตอนนั้นเราเห็นว่าการแก้ไขปัญหาเรื่องผู้หนีภัยการสู้รบหรือผู้ลี้ภัยที่เข้ามา อยู่ในประเทศไทยที่ท่านมานพได้พูดไปตั้งแต่ตอนแรกว่าตอนนี้อยู่ในประเทศไทย ๔๐ ปีแล้ว เรา สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยการส่งกลับผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นกำเนิด คือแนวทางการแก้ไข ปัญหาที่ดีที่สุดในเรื่องสถานการณ์ผู้ลี้ภัย คือ ๑. การเดินทางกลับประเทศมาตุภูมิโดยสมัครใจ หรือเรียกว่า Voluntary Repatriation ณ ตอนนั้นครับ ค.ศ. ๒๐๑๙ ทางรัฐบาลไทยกับ รัฐบาลเมียนมาได้ทำงานร่วมกันในการส่งกลับผู้ลี้ภัยที่อยู่บริเวณชายแดนในพื้นที่พักพิง ทั้งหมด ๙ แห่งได้เดินทางกลับไป ตั้งแต่ปี ๒๐๑๙-๒๐๒๐ เดินทางกลับไป ๑,๐๐๐ กว่าคน มีการเดินทางกลับ การส่งกลับระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเมียนมา ส่งกลับโดยมี ความช่วยเหลือสนับสนุนขององค์การระหว่างประเทศอย่าง UNHCR แล้วก็ IOM ได้เดินทาง กลับส่งกลับ และรวมทั้งภาคประชาสังคมกลุ่ม CBO ต่าง ๆ ด้วยมีการส่งกลับไป แต่หลังจาก ได้เกิดรัฐประหารขึ้น การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ๑ ใน ๓ ก็คือการเดินทางกลับประเทศมาตุภูมิ โดยสมัครใจนั้นก็ได้ยุติลง ที่ผมเรียนไปในตัวญัตติที่ผมเสนอไป ๗๑,๐๐๐ กว่าคนนั้น เป็นข้อมูลของทางราชการ แต่ถ้าเราไปดูข้อมูลของทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย แห่งสหประชาชาติเราจะเห็นว่าในจำนวนผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักพิงทั้ง ๙ แห่งบริเวณชายแดน ที่อยู่ในประเทศไทยมีจำนวน ๙๑,๐๐๐ กว่าคน ๙๑,๐๐๐ กว่าคนนี้ยังไม่สามารถที่จะ เดินทางกลับประเทศมาตุภูมิได้โดยสมัครใจ ไม่มีทางครับถ้าสถานการณ์ในเมียนมายังไม่ถูก แก้ไข เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรกับกลุ่ม ๙๑,๐๐๐ กว่าคนนี้ที่จะสามารถหาแนวทาง การแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนได้ ในทางเวทีโลก ในทางประชาคมโลกเราเห็นว่าจะมี แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องผู้ลี้ทั้งหมด ๓ อย่าง อันแรกที่เรียนไปคือ Voluntary Repatriation การเดินทางกลับประเทศมาตุภูมิโดยสมัครใจ อันที่ ๒ Resettlement การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม ในพื้นที่พักพิงทั้งหมด ๙ แห่ง ๙๑,๐๐๐ คนนี้ ตั้งแต่มีพื้นที่พักพิงเกิดขึ้นในประเทศไทย เราได้ส่งคนไปตั้งถิ่นฐานใหม่ประเทศที่สามแล้ว แสนกว่าคน แต่ยังคงเหลืออยู่ ๙๑,๐๐๐ กว่าคน และจริง ๆ แล้วถ้าเราจะสามารถพิจารณาได้ นะครับว่าในจำนวนการเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม ทั่วโลก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ที่มีจำนวนประชากรผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศรอบโลกมีทั้งหมด ๑๐๐ ล้านคน การไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในแต่ละปีโควตาจะมีแค่ ๑ เปอร์เซ็นต์ มองง่าย ๆ ก็คือแต่ละปีจะมีคน สามารถเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ประเทศที่สามได้แค่ ๑ ล้านคน ประเทศไทยคือ ๑ ในจำนวน ๑๐๐ กว่าประเทศที่มีผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ ประเทศไทยไม่ได้ถูกจัดลำดับ ความสำคัญเร่งด่วนในการที่จะเอาโควตาของผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ พักพิงชายแดนไปตั้งถิ่นฐานใหม่ เพราะฉะนั้น ๙๑,๐๐๐ กว่าคนตามที่คุณมานพได้อภิปราย ไปตอนแรกว่าจะมีการเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามอีกประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน โดยประเทศสหรัฐอเมริกาก็เป็นจำนวนน้อย ๗๐,๐๐๐ กว่าคนอย่างไรก็ยังคงอยู่ครับ ถ้าเรา ยังไม่มีการแก้ไขปัญหาในข้อที่ ๓ ในวงการสหประชาชาติก็คือ Local Integration การผสมผสาน กลมกลืนในประเทศที่ขอลี้ภัย Local Integration นี้จะทำอย่างไร หากประเทศไทยเรายังไม่มี นโยบาย หากประเทศไทยเรายังไม่มีกฎหมายที่รองรับว่าคน ๆ นี้มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ปัญหา เรื่องผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเรามองไม่เห็นหรอกครับ เราชอบซุกปัญหาไว้ใต้พรม เราไม่เคยมีว่ามี ผู้ลี้ภัยที่เป็นอย่างทางการ ที่ได้รับสถานะอย่างทางการในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีช่วงอินโดจีนเท่านั้นที่มีผู้ลี้ภัยเข้ามาประมาณเป็นล้านคน เดินทาง กลับประเทศมาตุภูมิได้ ๑ ล้านกว่าคน ๑ ล้านคนไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม หลังจากนั้น เราไม่มีผู้ลี้ภัยเลยในประเทศไทย ประเทศไทยปัจจุบันนี้ ๙๑,๐๐๐ คน เราเรียกว่าผู้หนีภัย จากการสู้รบ คนที่หนีเข้ามาใหม่หลังจากการรัฐประหารตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เราเรียกว่าผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมาเท่านั้น เราไม่มีผู้ลี้ภัย ตรงนี้มันเป็นปัญหา อย่างไรครับ ทำไมมันถึงมีความสำคัญที่ผมอยากจะมุ่งเน้นว่า คำว่า ผู้ลี้ภัย ยังไม่ได้ถูกยอมรับ ในประเทศไทย เนื่องจากว่าหากเราไม่ถูกยอมรับ คนที่ลี้ภัยเข้ามา คนที่หนีภัยการประหัต ประหาร หนีความตายมาจากประเทศอื่น ๆ ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพื่อรองรับ การช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมจะไม่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนทางมนุษยธรรมใด ๆ เลย จากเวทีโลกถ้าพวกเขายังไม่มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย เพราะฉะนั้นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนของประเทศไทย จำเป็นต้องมีการพิจารณาให้ดีว่าตอนนี้เราสามารถที่จะนำการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน หรือที่ เรียกว่า Durable Solutions ในเรื่องเกี่ยวกับวงการเวทีระหว่างประเทศมาปรับใช้ได้มาก น้อยขนาดไหน ประสบการณ์ของผม ผมเห็นครับ ในการที่ทำงานทั้งจากทางสำนักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติดูแลเรื่องนโยบายเกี่ยวกับผู้หนีภัยการสู้รบ การทำงานกับ UNHCR ในประเทศเมียนมา เป็นประเทศสุดท้ายที่ผมได้ทำงานกับ UNHCR ผมเห็นว่าการแก้ไข ปัญหาตรงนี้ไม่สามารถทำงานเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงเพียงอย่างเดียว การจะพิจารณา การแก้ไขปัญหา การจะศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหามันมากกว่าเรื่องความมั่นคง การพิจารณาการแก้ไขปัญหานี้มันมากกว่าเรื่องการต่างประเทศ การพิจารณาการแก้ไข ปัญหานี้มันมากกว่าเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย มันเป็นการร่วมมือกันกันทำงานกันหลาย ๆ กระทรวง เป็นการร่วมมือกันทำงานเกี่ยวกับหลาย ๆ คน หลาย ๆ องค์กรที่มีความเกี่ยวเนื่อง ตอนนี้เรามีกฎหมายหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นสถานะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ. ตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งเป็น พ.ร.บ. หลัก เป็นกฎหมายหลัก ๆ ในการดูแลเรื่อง ผู้ลี้ภัย แต่เราไม่สามารถใช้งานทางด้านความมั่นคงมาบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับเรื่อง ผู้หนีภัยได้อย่างแน่นอน วันนี้คุณมานพก็ได้พูดอีกเรื่องครับ ขอประทานโทษที่ต้องเอ่ยนาม ท่านหลายครั้ง เราจะได้พูดเรื่องอย่างเดียวกันคือระเบียงมนุษยธรรม Humanitarian Corridor ที่ท่านมานพท่านได้พูดไว้ ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียงมนุษยธรรมที่จำเป็นจะต้องมีการเตรียม ความพร้อม ตอนนี้ที่ผมเรียนไปว่าจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ กว่าคนผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ ที่อยู่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ที่อยู่ในฝั่งเมียนมาพร้อมที่จะเข้ามาเสมอในประเทศไทย เราเห็นว่าหลังจากที่เกิดสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมีคนลี้ภัยเข้ามาในไทย สิ่งที่ไทยทำ ได้ตามศักยภาพ ตามทรัพยากรที่เรามีคือให้เขาอยู่เป็นการชั่วคราวจริง ๆ เป็นเวลา เป็นวัน เป็นเดือน แล้วเราก็ส่งเขากลับไปประเทศต้นกำเนิดคือประเทศเมียนมา แล้วบอกว่า สถานการณ์ในเมียนมาดีแล้ว ดีขึ้น สามารถกลับไปได้ แต่จริง ๆ แล้วกลับได้ไหม ถ้าเป็นเรา เราหนีตายมาวัน ๒ วันแล้วเราจะเดินทางกลับไปนั้นผมคงไม่ไป แล้วผมก็เชื่อว่าเพื่อน ๆ สมาชิกก็คงจะไม่กลับเช่นกัน เราต้องคำนึงถึงบนหลักของมนุษยธรรม เราต้องคำนึงในหลัก สิทธิมนุษยชนว่าเราจะดูแลคนให้เหมือนคนได้อย่างไร เพราะฉะนั้น Humanitarian Corridor คือพื้นที่ที่จำเป็นจะต้องมีการระดมสรรพกำลัง มีการระดมทรัพยากรต่าง ๆ ในการ ให้การสนับสนุนทางด้านสิทธิมนุษยชนและงานมนุษยธรรม การทำงานมนุษยธรรมนี้ไม่ใช่ แค่เอาของไปให้ ไม่ใช่งานการกุศล งานมนุษยธรรม คือการทำงานให้คนที่ได้รับการช่วยเหลือ สามารถยืนด้วยขาตัวเอง สามารถพึ่งพิงตัวเอง ไม่ต้องพึ่งภาษีของพี่น้องประชาชนของคน ไทย ถ้าจะเอาผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่าเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเขาก็ต้องสามารถยืนด้วยขา ของตัวเองได้ ถ้าเขาไม่สามารถยืนด้วยขาของตัวเขาเองได้เขาจะเป็นภาระให้กับประเทศไทย มุมมองทางด้านเรื่องเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในประเทศไทย เราใช้เลนส์ในการมองเป็นแค่งาน ความมั่นคงเท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้ลี้ภัยที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คือ Threat คือภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นนโยบายต่าง ๆ ที่ตอบสนอง ในการให้ความช่วยเหลือกับผู้ลี้ภัยจึงเป็นนโยบายเพียงแค่การตั้งรับ ไม่ใช่เชิงรุก Humanitarian Corridor นี้จะเป็นการระดมสรรพกำลังของทั้งองค์การระหว่างประเทศ ของทั้งประเทศผู้ให้ความสนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้การสนับสนุนทาง ด้านมนุษยธรรมร่วมมือกัน มีกลุ่มภาคประชาสังคม มีกลุ่ม NGOs ทั้งต่างประเทศและ ภายในประเทศ มีกลุ่มภาคประชาสังคมที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ เขามีศักยภาพในการ ให้ความช่วยเหลือ เพียงแต่ว่ายังไม่มีความร่วมมือที่เรียก Coordinate เขาเรียกว่ากลุ่มคนที่ สามารถจะรวมตัวกันได้ และสามารถที่จะใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ตรงนั้นในการช่วยเหลือ มนุษยธรรมให้กับผู้ที่ต้องการได้อย่างแท้จริง Humanitarian Corridor นี้จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาว่าจะมีรูปแบบอย่างไร เราจำเป็น ต้องสร้างรูปแบบ Model ต่าง ๆ ให้ได้ในการดูแลผู้ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยตามที่ท่านมานพได้พูดไป มีหลายกลุ่ม ในประเทศไทยการที่เราจะดูแลแค่ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมานั้นมันจะ สร้างรูปแบบหรือสร้าง Model ในการดูแลกลุ่มผู้ลี้ภัยต่าง ๆ ที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ใช่แค่ ผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาที่เข้ามาในประเทศไทย ยังมีผู้ลี้ภัยที่เราเรียกว่าผู้ลี้ภัยในเมืองหรือว่า Urban Refugee ซึ่งมีอยู่ ๕,๐๐๐ กว่าคน และมาจากหลายประเทศ เรายังมีชาวอุยกูร์ที่ยัง อยู่ในห้องกักของ สตม. เรายังมีชาวโรฮิงญาที่ยังอยู่ล้นห้องกักและล้นห้องขังต่าง ๆ นานา ในประเทศไทย หากเราสามารถสร้าง Model ที่เกี่ยวข้อง หากสามารถสร้าง Model ที่ดูแล เรื่องผู้ลี้ภัยได้ในประเทศไทย เราจะสามารถดูแลบริหารจัดการผู้ลี้ภัยต่าง ๆ นานาได้ พอเรา ไปมองในเรื่องเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่อยู่ในบริเวณชายแดนทั้ง ๙ แห่ง เราเห็นครับว่าครั้งล่าสุดที่เรา พยายามจะสร้าง Model ก็คือเราเรียกว่า U-Turn Policy นโยบายในการ U-Turn คือให้คน ที่อยู่ในพื้นที่พักพิงทั้ง ๙ แห่งนี้เดินทางกลับประเทศต้นกำเนิดด้วยความสมัครใจ หลังจากนั้น ไปทำการพิสูจน์สัญชาติที่ประเทศต้นกำเนิด ได้รับบัตรอนุญาต ได้รับบัตรประชาชน ได้รับ Passport แล้วกลับมาทำงานในประเทศไทยได้ ผู้ลี้ภัยต่าง ๆ ที่อยู่ดังนี้แล้วมีความประสงค์ จะกลับมาเมืองไทยสามารถที่จะเข้ามาตาม U-Turn Policy เพียงแต่ว่าตอนนี้เขาไม่สามารถ เดินทางกลับประเทศเมียนมาได้ สถานการณ์ความไม่สงบรุนแรงเยอะ ถ้าเขากลับไปเขาก็โดน ประหัตประหาร ดังนั้นหากเราสามารถสร้าง Model ตรงนี้ได้คณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะ มาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนในเรื่องเกี่ยวกับผู้หนีภัยหรือผู้ลี้ภัยที่มาจาก เมียนมานี้จะสามารถสร้างรูปแบบในการดูแลกลุ่มคนพวกนี้ ยกตัวอย่างเช่นการสร้าง One Stop Service การสร้างจุด ๆ หนึ่งที่เขาไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นกำเนิด ก็เขามา จากประเทศเมียนมาอยู่แล้ว ทำไมต้องให้เขาเดินทางกลับไปประเทศต้นกำเนิดโดยที่ตอนนี้ เขายังไม่สามารถกลับได้ เราสามารถสร้างรูปแบบได้ เราสามารถสร้างความร่วมมือระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศเมียนมาในการพิสูจน์สัญชาติพวกเขาว่าเขาเป็นคนที่มาจากเมียนมา จริง ๆ ดังนั้นกรรมาธิการวิสามัญที่ผมได้เสนอญัตติตรงนี้ขึ้นไปจะทำการพิจารณารูปแบบ แนวทางการช่วยเหลือ การให้ความสนับสนุนทางด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน มันเป็น งานที่มากกว่างานทางด้านความมั่นคง มันเป็นงานที่มากกว่างานทางด้านการต่างประเทศ มันเป็นงานที่มากกว่างานทางด้านเกี่ยวกับแรงงาน เพราะว่าเรื่องแรงงานนี้สำคัญนะครับ ก็ท่านประธาน เรื่องแรงงาน ๙๑,๐๐๐ กว่าคนนี้ถ้าเราไม่สามารถให้เขากลับไปประเทศต้น กำเนิดได้โดยสมัครใจ เราไม่สามารถให้เขาไปตั้งถิ่นฐานใหม่ประเทศที่สามได้ เขาต้องอยู่ ในประเทศไทย และเขาจะทำอะไรล่ะ ที่เขาจะได้ไม่เป็นภาระให้กับประเทศไทยอีก เขาก็ต้อง กลับมาทำงาน เขาต้องออกจากค่ายพื้นที่พักพิงผู้หนีภัยการสู้รบบริเวณชั่วคราวบริเวณ ชายแดนของไทย ออกมาทำงานให้เป็นแรงงานข้ามชาติที่สามารถทำงานได้ เสียภาษีอากร ให้กับประเทศไทย ร่วมกันพัฒนาชาติไทยต่อไปโดยการเสียภาษีอากร อันนี้เป็นสิ่งที่จะต้องมี ความคิด การศึกษา วิธี ว่าจะมีกฎหมายรูปแบบอะไรบ้าง ตอนนี้เรามีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้ง พ.ร.บ. ตรวจคนเข้าเมือง กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน ถ้าสมมุติว่า พ.ร.บ. ตรวจคนเข้าเมือง บอกว่าให้เขาอยู่เป็นการชั่วคราวได้ในประเทศไทยจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แล้วเรา เปลี่ยนแปลงกฎกระทรวงของกระทรวงแรงงานให้เขาสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตาม กฎหมาย เราจะเพิ่มศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับคนที่ไม่สามารถยืนด้วยขาตัวเองได้ ตอนนี้ เรามองเขาเป็น Threat เรามองเขาเป็นภัยคุกคาม อย่าไปมองครับ เรามองว่าคนทุกคนมี ศักยภาพเท่าเทียมกัน คนทุกคนสามารถเข้าร่วมกับพวกเรา ช่วยพัฒนาประเทศไทยผ่านการ ทำงานของเขา แต่การจะศึกษาพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนนี้จำเป็น จะต้องทำงานข้ามกระทรวง จำเป็นต้องทำงานข้ามคณะกรรมาธิการสามัญต่าง ๆ ดังนั้นนี่จึง เป็นเหตุผลที่ผมได้เสนอญัตติในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาหาแนวทาง การบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา เพราะเนื่องจากว่า การบริหารจัดการงานทางด้านผู้ลี้ภัยมันมากกว่างานทางด้านความมั่นคง มันมากกว่า งานการต่างประเทศ มันมากกว่างานทางด้านสิทธิมนุษยชน มันเป็นส่วนรวม เพราะฉะนั้น นี่คือเหตุผลที่ผมขอเสนอครับท่านประธาน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านผู้มาชี้แจงนะครับ ทางอาจารย์ศักดิ์ดา คุณกิตติศักดิ์ อาจารย์สุนี คุณเกรียงไกร ที่วันนี้ชื่อของท่านทั้ง ๔ จะถูกจารึกไว้ในสภา อันทรงเกียรติแห่งนี้ ที่นำเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าหลักการทางด้านสิทธิมนุษยชนทำให้ มนุษย์เป็นมนุษย์เข้ามาให้พวกเราพิจารณาในร่างพระราชบัญญัติตัวนี้ วันนี้ครับท่านประธาน ผมขออนุญาตอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ด้วยตรรกะ ๒ เรื่องด้วยกัน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก เรื่องรัฐจำเป็นต้องให้ความคุ้มครองคนทุกคน มนุษย์ทุกตน ภายใต้ อธิปไตยของรัฐของตน อันนี้เป็นหลักการตรรกะแรกที่จำเป็นที่เราจะต้องสนับสนุน ร่างพระราชบัญญัติตัวนี้

    อ่านในการประชุม

  • ตรรกะข้อที่ ๒ คือเรื่องนี้ครับท่านประธาน เราควรจะต้องสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาในเรื่องสัญชาติและการเป็นพลเมืองของประเทศไทย ทั้ง ๒ ตรรกะนี้จะนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนในเรื่องบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และบุคคลซึ่งไม่มีสถานะทางบุคคล และรวมถึงไม่มีเอกสารระบุตัวตนด้วย ณ ปัจจุบันนี้ ท่านประธานครับ เราทราบดีว่า คนไทยผู้ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไร้เอกสารแสดงตัวนั้น จริง ๆ แล้วที่ในรายงานตัวนี้บอกว่า ๗๐๐,๐๐๐ กว่าคน ภาคประชาสังคมของพวกเราเห็นว่ามีทั้งหมด ๙๐๐,๐๐๐ กว่าคน ทำไมเราถึงมีคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ซึ่งยังไม่มีสถานะทางบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย รัฐของเรา จะให้ความคุ้มครองได้อย่างไร หากประชาชนคนที่เกิดในประเทศไทยและมีสิทธิทุกสิ่งทุกอย่าง จำเป็นจะต้องได้สถานะทางบุคคลในประเทศไทยไม่มีสถานะนั้น คือปัญหาหลัก ๆ ของเรา ในสมัยก่อนเราทราบดีครับ การจดทะเบียนเกิดการให้สถานะบุคคล ให้สัญชาติไทยนั้น ทางอำเภอ ทางกรมการปกครอง ทางกระทรวงมหาดไทย จำเป็นจะต้องให้บุคคลประชาชน ต้องมารายงานตน ต้องมาแสดงจดทะเบียน ลงทะเบียน คือเรานั่งอยู่ส่วนกลางเราเอารัฐ เป็นส่วนกลาง แต่ ณ ปัจจุบันนี้ได้มีการแก้ไขการดำเนินงานในการให้สถานะบุคคล โดยการ ทำ Out List ในการทำ อย่างเช่น อำเภอสัญจรเดินทางไปที่พื้นที่ต่าง ๆ ตามบริเวณชายขอบ ชายแดนต่าง ๆ ที่เป็นบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แต่หากเราดูจริง ๆ ๙๐๐,๐๐๐ กว่าคน หรือแค่ ๒๐๐,๐๐๐ คน ประสิทธิภาพต่าง ๆ ศักยภาพต่าง ๆ ของพวกเราจะมีเพียงพอหรือไม่ ที่จะให้สถานะ ที่จะให้สัญชาติกับคนที่ยังไม่มีสัญชาติ เราเห็นว่ามีชาวเผ่าพื้นเมือง ในประเทศไทยหลายชาวเผ่ามาก ๆ ที่มีเพื่อนสมาชิกได้เรียนไป ๖๗ เผ่า เรียบร้อยแล้ว ตรงนี้ ถ้าเรามองดี ๆ ทั่วประเทศไทยเราเริ่มต้นตั้งแต่ภาคเหนือ ชาวอาข่าที่อยู่ภาคเหนือ ชาวม้ง ภาคเหนือฝั่งตะวันตก ชาวมอแกนตะวันตกแล้วมาทางภาคใต้ ชาวอูรักลาโวยจภาคใต้ลงมา ชาวมานิตั้งแต่มลายูลงมาเรื่อย ๆ ชาวกูยตะวันออกเฉียงเหนือไปถึงตอนใต้ และรวมถึงทาง มละบริที่อยู่ทางไทยและลาว สุดท้ายก็เป็นกลุ่มกะเลิงที่ผมขอเรียกว่าบุคคลที่อยู่บริเวณฝั่งขวา แห่งลุ่มแม่น้ำโขงผมจะไม่ใช้คำว่า ภาคอีสาน สิ่งนี้จำเป็นจะต้องได้รับความเห็นชอบตรง ร่างพระราชบัญญัติตัวนี้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราจะเห็นว่าทำไมผมต้องพูดเรื่องเกี่ยวกับ สถานะบุคคลคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ เพราะเรื่องการพัฒนาประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้เราจำเป็น ต้องเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางจริง ๆ ในการพัฒนาประเทศชาติของเราไปร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตามหากเราไม่เอาประชาชน เราไม่เอาคนที่อยู่ในพื้นที่เข้ามาพัฒนาร่วมกับเรา เราจะสามารถทราบได้อย่างไรว่าปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างไรบ้าง เราจะสามารถทราบได้อย่างไรว่าทิศทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม วิถีการดำรงชีวิตต่าง ๆ ของประชาชนแต่ละพื้นที่จะเป็นอย่างไร และทิศทางการแก้ไข การพัฒนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ถ้าไม่มาจากพี่น้องประชาชน ในพื้นที่เราจะทราบได้อย่างไร ว่าอะไรที่จะเหมาะสมกับการพัฒนา ที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่จริง ๆ สิ่งนี้ครับท่านประธาน ผมเลยอยากจะฝากทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสภาอันทรงเกียรติ แห่งนี้ ช่วยพิจารณาสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ให้ผ่านเข้ามาในวาระแรกของเรา เพื่อเราจะนำศักยภาพของคนทุกคนมาร่วมพัฒนา ประเทศของเรา แต่ก่อนที่เขาทั้งหลายนี้จะเข้ามาร่วมพัฒนาประเทศไทยได้เขาต้องมีตัวตน สถานะทางบุคคลก่อนจะเข้ามาร่วมพัฒนาประเทศไทย ร่างพระราชบัญญัตินี้จะทำให้ คนที่ไม่มีตัวตนกลับมามีตัวตนอย่างพวกเราและพวกท่าน การมีตัวตนจะรวมนำทุกคน เข้ามาร่วมพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กัน ตามการดำรงชีวิต ตามวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรม วิถีทางด้านศาสนาของคนทุกคนอย่างหลากหลายและอย่างยั่งยืน ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ด้วยความ เคารพครับท่านประธานครับ วันนี้ผมมีข้อกังวลจริง ๆ เพราะเนื่องจากว่าการที่ท่าน นายกรัฐมนตรีท่านได้มอบหมายให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ท่านพิพัฒน์ รัชกิจประการ มาตอบคำถามในกระทู้นี้ ซึ่งกระทู้นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบการดูแล คนไทยที่อยู่ต่างแดนทั้งระบบ และรวมถึงคนที่ไปประกอบอาชีพ มันไม่ใช่แค่มิติทางด้าน แรงงานเพียงอย่างเดียว มันเป็นมิติทางด้านความมั่นคงกันระหว่างประเทศ เรื่องเกี่ยวกับ เศรษฐกิจ และเรื่องเกี่ยวกับพี่น้องที่ไปใช้ชีวิตอยู่ต่างแดน แต่อย่างไรก็ตามการมอบหมาย ครั้งนี้ของท่านนายกรัฐมนตรีมาถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคงได้มีแนวทาง ในการตอบ ในการดูแลพี่น้องไทยที่อยู่ในต่างได้แล้ว ท่านประธานครับ ในศตวรรษนี้ การเดินทางโยกย้ายถิ่นฐานแทบจะเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักของคนทั่วโลก ไม่ว่าจะ เดินทางไปเพื่อศึกษา ไปเพื่อประกอบอาชีพ ไปเพื่อเกี่ยวกับการย้ายครอบครัวแต่งงานกับ คนต่างชาติ มันเป็นการโยกย้ายถิ่นฐานแบบทั้งปกติ ก็คือการเดินทางถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าการจะมีหนังสือเดินทางหรือ Passport ไม่ว่าจะเป็นการตรวจลงตรา การขอ Visa การเดินทางผ่านการตรวจคนเข้าเมือง และรวมถึงการเดินทางโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ซึ่งก็เป็นการโยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่เป็นตามกฎหมาย คือไม่ได้มีหนังสือเดินทาง การเดินทางเข้า ไปไม่ได้ผ่านการข้ามแดนต่าง ๆ การตรวจคนเข้าเมืองต่าง ๆ อย่างคนไทยเองนะครับ ท่านประธาน ก็มีวัฒนธรรมการโยกย้ายถิ่นฐานกันมากมายทั้งแบบปกติแล้วไม่ปกติ เอาแค่เรื่องแรงงานอย่างเดียว วันนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานท่านกรุณามานะครับ ผมก็อยากจะเรียนถามท่านว่าจริง ๆ แล้วตอนนี้จากข้อมูลเชิงสถิติจากกองบริหารแรงงานไทย ไปต่างแดนของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานเองแจ้งว่าเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เมื่อเดือนที่แล้วมีแรงงานที่เข้าสู่ระบบที่เป็นอยู่ต่างแดนแล้วประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ คน ซึ่งก็มี แรงงานอีกหลายแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบที่ไปอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งท่านก็ได้ชี้แจงในกระทู้ ถามสดเมื่อเช้านี้ว่ามีอีกหลายท่าน มีอีกประมาณเป็นแสน ๆ คนไปอยู่ต่างแดน อันนี้ละครับ ท่านประธานครับ รัฐในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุดในฝ่ายบริหาร ซึ่งก็คือรัฐบาลเราเองมีหน้าที่ให้ ความคุ้มครองต่อประชากรของตนเอง ไม่ว่าจะอยู่บนดินแดนอธิปไตยของตนเองหรืออาศัย อยู่บนดินแดนอธิปไตยของชาติอื่น โดยรัฐจะไม่สามารถปฏิเสธหน้าที่อันสำคัญอันหนึ่งได้ คือรัฐทุกรัฐต้องให้ความคุ้มครองประชาชนตนเอง ไม่ว่าจะเดินทางออกนอกประเทศถูกต้อง ตามกฎหมาย หรือว่าผิดกฎหมายเองก็ตามครับ สาเหตุที่ผมยกหน้าที่ของรัฐในเรื่องการให้ ความคุ้มครองคนไทยที่อยู่ต่างแดนนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์ฉนวนกาซาไม่นานมานี้ เราพบว่ามีแรงงานคนไทยจำนวนมากที่อยู่ในอิสราเอล ผมติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ครับท่านประธาน พบว่ามีการขอความช่วยเหลือ ส่งข่าวตามช่องต่าง ๆ ให้กับคนไทย ซึ่งมีคนไทยที่ตกอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การสู้รบ และรวมถึงคนไทยที่ถูกจับเป็นตัวประกัน และอยู่ในฝั่งฉนวนกาซา ก่อนอื่นผมขอแสดงความยินดีต่อคนไทยญาติพร้อมครอบครัว ที่ได้รับการช่วยเหลือให้กลับมาสู่ดินแดนมาตุภูมิในประเทศไทย แต่ติดใจนิดเดียวท่านประธานครับ พี่น้องที่กลับมาใส่เสื้อยืดอะไร อันนี้ละครับ แต่ว่ามันจะเป็นนอกเหนือกับกระทู้นี้ แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทยกับประเทศในเวทีโลก

    อ่านในการประชุม

  • และอีกสถานการณ์คล้าย ๆ กัน เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งใกล้ ๆ กับประเทศไทย ของเราคือสถานการณ์ที่เล่าก์ก่าย รัฐฉานตอนเหนือของประเทศเมียนมา ซึ่งก็มีคนไทยหลาย คนตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ และที่หนักกว่านั้นครับ ตกอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การสู้รบ และมีข้อมูลทราบว่าถูกจับเป็นตัวประกันเช่นเดียวกัน ท่านประธานครับ ปรากฏการณ์ เหล่านี้สะท้อนถึงพลวัตรของแบบแผนการต่อสู้ของกลุ่มติดอาวุธและขบวนการค้ามนุษย์ รวมถึงกลุ่มธุรกิจจีนสีเทา Call Center ที่มีแนวโน้มจะใช้การจับตัวประกันชาวต่างชาติ มากขึ้น ซึ่งก็คือยุทธวิธีเพิ่มอำนาจต่อรองกับคู่ขัดแย้งและการดึงเอาประชาคมระหว่าง ประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรงมากยิ่งขึ้น จากสถานการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ผมตั้ง ข้อสังเกตว่าประเทศไทยมีแบบแผนในการดูแลคนไทยที่อยู่ต่างแดนเป็นระบบหรือไม่ และหากมี มันรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร มันต้องไม่ใช่แค่แผนเฉพาะหน้าที่มุ่งเน้นแต่ การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น ผมจึงขอตั้งกระทู้ถามถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แรงงาน ซึ่งเป็นตัวแทนของท่านนายกรัฐมนตรีมาตอบประเด็นนี้ในเรื่องเกี่ยวกับว่า รัฐบาลไทยเรามีแนวทางอย่างไรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในกรณีความเสี่ยงที่คนไทย จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในต่างแดน เช่น เรามีการประเมินไหมครับ จำแนกประเภทพื้นที่เสี่ยงในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก มีระบบเตือนภัยที่รวดเร็ว มีการประเมิน ฉากทัศน์ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ กระทั่งมีแผนการซักซ้อมการเตรียมความพร้อม แผนเผชิญในต่างแดนหรือไม่ อย่างไร เป็นคำถามในช่วงแรกครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานครับ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ขอบพระคุณครับ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานครับ ก็อยากจะขอเสนอในเรื่องเกี่ยวกับการดูแลคนไทย ทั้งระบบในต่างแดน เพราะว่าจริง ๆ แล้ว โดยมาตรการในมาตรฐานสากลที่เราใช้กันอยู่ ผมก็อยากจะขอเสนอให้กับทางรัฐบาลไทยนำไปพิจารณา เราจะมีด้วยกัน ๓ มาตรการ ในการที่ดูแลคนไทยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • มาตรการแรก Warning ก็คือการจัดทำเรื่องเกี่ยวกับการเตือนภัย ต่าง ๆ นานา เราต้องทราบว่าถ้าเกิดสถานการณ์อะไรขึ้นในประเทศต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยง เราจำเป็นครับ โดยที่ท่านรัฐมนตรีท่านได้ชี้แจง ก็คือกระทรวงการต่างประเทศโดย สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยเราที่อยู่ในประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องมี ระบบการ Warning ให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย ไม่ว่าจะไปด้วยถูกกฎหมายหรือ ผิดกฎหมายก็ตาม เพราะว่าตามที่ผมเรียนไปในเบื้องต้นคือเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดูแลให้ ความคุ้มครองประชาชน ประชากรคนไทยทั่วโลก ไม่ว่าเขาจะเป็นใครเดินทางผิดกฎหมาย หรือถูกกฎหมายก็ตามเราจะต้องทำการ Warning ให้ได้

    อ่านในการประชุม

  • มาตรการที่ ๒ Warden คือการจัดทำ Zoning ต่าง ๆ ต้องทราบครับว่า คนไทยที่ไปอยู่ในประเทศต่าง ๆ รอบโลกไปอยู่ที่ไหน ชื่ออะไร ทำอะไร จัดทำ Zoning ให้มีคนประสานงานแต่ละ Zoning อันนี้เป็นเรื่องที่ ๒ คือเรื่อง ๆ Warden เป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างยิ่ง

    อ่านในการประชุม

  • มาตรการที่ ๓ Contingency Planning เรื่องเกี่ยวกับแผนเผชิญเหตุ แผนนี้ จำเป็นจะต้องสร้างขึ้นมาและสามารถมีการฝึกซ้อมกันอย่างชัดเจน จะต้องมีการทำ ๓ อย่างนี้ ไปด้วยกัน ไปพร้อม ๆ กันไม่ว่าจะเป็น Warning Warden Contingency Planning เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นอย่างนี้กระทรวงการต่างประเทศต้องผ่านท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผ่านไปทาง ครม. ทางรัฐบาลช่วยพิจารณาแผนนี้เข้าไปช่วยเหลือคนไทย และแถมมีข้อเสนอว่า ถ้าคนผิดกฎหมาย อันนี้ละครับเป็นสิ่งสำคัญเมื่อคนผิดกฎหมายแล้วเขาจะเข้าสู่ระบบ ได้อย่างไร เราต้องทำงานเชิงรุกเช่นกัน ท่านครับ การทำงานเชิงรุกของเราต้องชี้แจงต้องโฆษณา ให้เห็นว่าของเรานี้ถ้าเกิดปัญหาขึ้นในประเทศต่าง ๆ เขาจะสามารถติดต่อเราได้อย่างไร Facebook อย่างเดียวคงไม่พอ QR Code ต่าง ๆ นานา ตอนนี้ศตวรรษที่ ๒๑ เราสามารถ พัฒนาแนวทางการติดต่อสื่อสารของรัฐบาลไทยให้กับคนไทยทั่วโลกทราบว่าถ้าเกิดปัญหาขึ้น กับชีวิตของเขา ทรัพย์สินของเขาในต่างแดน เขาสามารถติดต่อใครได้บ้าง เพราะฉะนั้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่จะเป็นความท้าทายของรัฐบาล ผมก็ขอเรียนเป็นกำลังใจให้ในการที่จะ สามารถสร้างสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนคนไทยสามารถที่จะพึ่งพิง กับรัฐบาลไทยได้ต่อไป ในเมื่อท่านรัฐมนตรีท่านได้กรุณาพูดถึงพี่น้องคนไทยที่เดินทาง ไปข้างนอกต่างประเทศจะไปแบบผิดกฎหมายนะครับ อันนี้ผมก็จะมีคำถามถึง ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานโดยตรง ผมอยากสอบถามแนวทางของการแก้ไขปัญหา คนนอกระบบแรงงานที่อาจจะไม่อยู่ในฐานข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ไม่อยู่ในของรัฐบาล ผมเชื่อว่ามีจำนวนไม่น้อยเป็นแสนคนหรืออาจจะเป็นล้านคนเราไม่แน่ใจ เพราะว่าเราไม่มี ข้อมูลชัดเจนว่าคนที่อยู่เป็นแรงงานนอกระบบอยู่ที่ต่างประเทศนี้ อยากสอบถามในฐานะ ของเราประเทศไทยที่เป็นรัฐต้นทาง ว่ารัฐบาลเรามีแนวทางอย่างไรในการแก้ไขและพัฒนา ระบบการส่งแรงงานไปทำงานที่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผ่านข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับ รัฐบาลของประเทศปลายทางที่จะเชิญชวนให้กับแรงงานไทยเข้ามาอยู่ในระบบให้มากขึ้น แน่นอนครับ ไม่สามารถเอาทุกคนเข้ามาสู่ในระบบได้ก็ต้องมีเล็ดลอดบ้าง แต่ถ้าเราสามารถ เชิญชวนให้เขาเข้ามามากที่สุดเท่าที่จะมากได้ตามกฎตามระเบียบต่าง ๆ นานาที่เราทำอยู่เรา ต้องไม่ใช่เป็นระบบที่ตายตัว เราจำเป็นต้องอ่อนตัวเพื่อให้พี่น้องคนไทยนี้ไม่เข้าไปสู่หลง ระบบที่มันผิดกฎหมายไม่ถูกเชิญชวนง่าย ๆ จาก Online จาก Call Center ต่าง ๆ นานา เข้าไปอย่างง่าย ๆ มันก็ผิดเราต้องเชิญชวนให้พวกเขาช่วยกลับมาพิจารณามองว่าระบบของ รัฐของเรานี้สามารถที่จะตอบรับ Absorb เขาเข้ามา ดูดซับเข้ามาอยู่ในระบบของไทยได้ อย่างไร ถ้าถามง่าย ๆ ครับท่านประธาน คือตอนนี้เรามีแรงงานไทยที่ลงทะเบียนแรงงานอยู่ แล้วที่ผมเรียนไปเบื้องต้น คือเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ คน เรารู้ดี ว่ามันมีอีกประมาณหลายแสนคนและเกือบล้านคนท่านรัฐมนตรีในฐานะเจ้ากระทรวง แรงงาน ท่านมีวิสัยทัศน์ กรอบทิศทางและแนวนโยบายอย่างไรที่จะทำให้แรงงานนอกระบบ เหล่านี้กลับเข้ามาสู่ระบบให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จะทำให้คนไทยก็จะไม่เป็นผีน้อยอีก ต่อไปที่เกาหลีใต้ คนไทยก็จะไม่ถูกนำพาและคนไทยจะไม่ถูกหลอกลวงโดยขบวนการ ค้ามนุษย์อย่างสถานการณ์เล่าก์ก่ายต่อไป ขอเรียนถามครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ วันนี้ผมขออนุญาตหารือท่านประธานเกี่ยวกับความเดือดร้อนของพี่น้อง ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ท่านประธานครับผมได้รับการประสานจาก พี่น้องหมู่ที่ ๑๐ บ้านห้วยทรายทอง ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ในเรื่อง เกี่ยวกับการต่อสู้ของพี่น้องประชาชนด้วยมือเปล่ากับการที่จะมีการทำขอประทานบัตร ทำเหมืองแร่หินชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ทุกท่านคงทราบดีว่าเรื่องเกี่ยวกับ การขอประทานบัตรเหมืองหินนี้มีการต่อสู้อย่างยาวนาน เพราะว่าฎหมายเรายังมีช่องว่าง กันอยู่ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าการต่อสู้ระหว่างของพี่น้องประชาชนกับอำนาจและ กฎหมายต่าง ๆ มันมีอยู่ ที่นี่ก็ที่หนึ่งครับ ที่ภูซำผักหนามหรือชาวบ้านเรียกว่า ภูโคก ห้วยน้ำสุ ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ผมขออนุญาตกล่าวสั้น ๆ เมื่อ ๘ ปี ที่ผ่านมา เมื่อปี ๒๕๕๙ ทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณา ขออนุญาตทำประโยชน์หรืออาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ บริษัท พารุ่งอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่เป็นคำสั่งโดยสำนักงานจังหวัดชัยภูมิ โดยให้ท่านปลัดจังหวัดชัยภูมิเป็นผู้พิจารณาศึกษา เป็นประธาน และนำมาซึ่งเกี่ยวกับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะว่าจะให้อนุมัติหรือไม่ สรุปว่า อนุมัติ แต่ปัญหาอยู่ตรงนี้ครับ ตัวที่อนุมัติตรงคณะกรรมการตรงนี้ที่มีปัญหา

    อ่านในการประชุม

  • อันแรก คือบอกว่าเรื่องแหล่งต้นน้ำ แหล่งต้นน้ำลำธารจริง ๆ แล้วถ้าเป็น แหล่งต้นน้ำลำธารไม่สามารถที่จะทำเรื่องเกี่ยวกับการทำเป็นเหมืองหินได้ แต่ในข้อเสนอ ของเขาบอกว่าต้องให้ผู้เชี่ยวชาญไปสังเกตพิจารณาก่อนว่าเป็นแหล่งต้นน้ำหรือไม่ อีกอันหนึ่งก็บอกว่าเป็นแหล่งต้นน้ำ 3A และ 2A มันก็ทำไม่ได้ครับ แต่ว่าจริง ๆ แล้ว ตามกฎหมาย ตามมติ ครม. ทำได้ เพราะฉะนั้นมันขัดกันในตัว หนังสือของราชการไม่ควรที่ จะขัดกันในตัวเอง ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิท่านต้องชี้แจง

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ เรื่องเกี่ยวกับเลียงผา เรามีสัตว์อนุรักษ์ของเรา เลียงผาเรียกว่าเป็น สัตว์อย่างหนึ่ง เรียกว่าพืชและสัตว์ถิ่นเดียว Endemic Species คือไม่พบที่อื่นใดในโลกนี้ เพราะฉะนั้นจะต้องเป็นสัตว์สงวนที่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๓ พื้นที่ตรงนี้ที่จะทำเหมืองหินนี้ใกล้กับบ้านพี่น้องประชาชนต่ำกว่า ๕๐๐ เมตร เพราะฉะนั้นท่านผู้ว่าราชการจังหวัดจำเป็นจะต้องมีหนังสือแจ้งมาว่า ๓ เรื่องนี้ เรื่องแรกเป็นแหล่งต้นน้ำหรือไม่ เรื่อง ๒ เรื่องเกี่ยวกับ พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เรื่องเกี่ยวกับเลียงผาว่าท่านจะยอมให้การทำเหมืองหินนี้ทำลายสัตว์ที่เรียกว่าสัตว์สงวน หรือไม่ อันที่ ๓ ที่ใกล้กับพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นต้องชี้แจงมาครับ ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ..... คน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ ยิ่งฟังยิ่งหดหู่ แต่ผมขอนำเอาความหดหู่นี้มาเป็นพลังให้กับพวกเราในฝ่าย นิติบัญญัติในการที่จะต้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะเฉพาะหน้า ระยะกลาง และ ระยะยาว ก่อนอื่นผมขอร่วมแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้สูญเสียจากสถานการณ์ ความรุนแรงที่เกิดขึ้น และขอยืนยันว่าผมเองไม่สนับสนุนและไม่เห็นถึงความชอบธรรมใด ๆ ที่เกิดขึ้นในการกระทำความรุนแรงในทุกรูปแบบ การที่มีเพื่อนสมาชิกได้เสนอญัตติด่วน ด้วยวาจาในเรื่องนี้ แน่นอนว่าจำเป็นเร่งด่วนจริง ๆ ที่เราต้องหารือกันในสภา อย่างไรก็ตาม เรื่องความรุนแรงของเด็กนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน รวมถึงเยาวชนกลุ่มอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใน สื่อหรือข่าวต่าง ๆ นั้นเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับปรากฏการณ์เท่านั้น ตามที่เพื่อนสมาชิก คุณร่มธรรมได้พูดไว้ว่าจริง ๆ แล้ว มันเป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งที่เราใช้แค่ระดับสายตาของเรา แค่มองเห็นเท่านั้น เพราะที่เราเห็นมันคือแค่ปลายเหตุ ดังนั้นเรื่องความรุนแรงในเด็กและ เยาวชน ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำนั้น จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและ เร่งด่วนในระดับฐานราก เราพูดและเราได้ยินกันบ่อย ๆ ครั้งว่าเด็กเป็นอนาคตของชาติ ครอบครัวเป็นสถาบันหลัก ถ้าครอบครัวเข้มแข็งสังคมก็จะเข้มแข็งไปด้วย แม้ว่าการดูแล จัดการศึกษา พัฒนาเด็ก รวมถึงครอบครัว จะถูกใส่ไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ นั้นการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องแผนการพัฒนาและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ ถูกลดทอนความสำคัญในการดูแลให้เด็กคนหนึ่งเติบโตขึ้นมา และช่วยสนับสนุนครอบครัว ให้สามารถเลี้ยงดูบุตรหลานของเขาได้เติบโตอย่างเคารพคุณค่าในตัวเองและของผู้อื่น ผมมองว่าพวกเราต้องยอมรับกันก่อนว่าเราต่างมีความรับผิดชอบในสังคมที่หล่อหลอมเป็น เด็กขึ้นมา หากเราไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กแล้ว โดยสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กในการ กำหนดอนาคตของตัวเองแล้ว ผมเองก็มองไม่ออกว่าเราจะสร้างสังคมแบบใดให้กับอนาคตของชาติของเรา แต่ในทาง กลับกันครับ พวกเราทุกคน โดยเฉพาะที่อยู่ในสภาทรงเกียรติแห่งนี้กำลังร่วมกันสร้าง ระเบิดเวลา ร่วมกันทำให้เด็กคนหนึ่งผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งวันหนึ่งเขาไม่เคารพ ในคุณค่าชีวิตของตัวเองและผู้อื่นอีกต่อไป ผมขอย้ำครับ คำพูดที่คุณศศินันท์ เพื่อนสมาชิก พรรคก้าวไกลได้อภิปรายในเบื้องต้นว่า It takes a village to raise a child, it also takes a village to abuse one ขอเป็นภาษาอังกฤษแปลว่า การจะเลี้ยงดูให้เด็กคนหนึ่งเติบโต ขึ้นมาต้องใช้คนทั้งชุมชนกันเลยทีเดียว และในขณะเดียวกันชุมชนก็เป็นคนทำร้ายเด็ก ได้เหมือนกันอย่าตอกย้ำครับ ทำร้ายเด็กกันต่อไป ท่านประธานครับ ชุมชนในที่นี้ที่ผม พูดถึงนี้เป็นชุมชนใหญ่ในฐานะรัฐ ที่เราต้องตั้งคำถามสำคัญว่าเราได้ใช้ทรัพยากรมากพอ หรือยังในการปกป้องเด็กคนหนึ่งจากการเป็นอาชญากรเด็ก หรือเด็ก ๆ ที่รอการเจริญเติบโต ไปด้วย จะเป็นอาชญากรในผู้ใหญ่ในอนาคต เราได้ระดมสรรพกำลังมากพอแล้วหรือยัง ที่จะยับยั้งความสูญเสียและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจริง เรามีพอหรือยัง การแก้ไขปัญหาด้วย การลงโทษ การเพิ่มโทษและการยกเลิกกฎหมายเยาวชนเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ที่เราอาจจะจัดการไปได้แค่ ๑ คนในแต่ละครั้ง แต่ในเมื่อสังคมเรายังไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายถึงส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้หล่อหลอมยังอยู่จุดเดิม เราแค่รอเวลาเกิดเหตุการณ์ที่ เหมือนหรือคล้ายกันให้เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และเราเพียงแค่รอวันพิพากษากันต่อไปเรื่อย ๆ ครับท่านประธาน ผมจึงขอเสนอข้อเสนอ ๓ ข้อที่เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะใกล้และ ระยะกลาง และข้อเสนอ ๑ ข้อซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวให้กับรัฐ ในฐานะผู้ปกครอง ดูแลประชาชนทุกคนที่ต้องทำหน้าที่คุ้มครอง พัฒนา และเยียวยาเด็กและเยาวชนของเรา อย่างจริงจัง ดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๑ เราต้องเอาจริงเอาจังกับทรัพยากรและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ อย่างนักสังคมสงเคราะห์ ให้เข้าถึงเด็ก ครอบครัว และชุมชนได้ง่าย เริ่มจากสถานศึกษาก็ได้ ให้สามารถเฝ้าระวังให้คำปรึกษาสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กในวันที่เขาไม่มีใคร ผมขอย้ำ นะครับ เราทุกคนเคยเป็นมาก่อน แล้วย่อมรู้ดีครับ มันเจ็บที่วันนี้เราไม่มีใคร ลองคิดดูครับ หากเป็นเด็กจะเจ็บมากกว่าเราแค่ไหน ผมขอเสนอให้ทางกระทรวงที่เกี่ยวข้องและโดยเฉพาะ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นนักสังคมสงเคราะห์ต้องมีวุฒิสังคม สงเคราะห์เท่านั้น เพราะเป็นวิชาชีพเฉพาะที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้วเท่านั้น

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๒ ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองเด็กในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และชุมชนที่สามารถเข้าถึงและคุ้มครองเด็กได้อย่างรวดเร็วและมีการประสานงาน จัดการ รายกรณีโดยยึดประโยชน์สูงสุดของเด็ก หรือที่เรียกภาษาอังกฤษว่า Child Base Interest

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๓ ที่เป็นระยะสั้นและระยะกลาง ต้องมองว่าการเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมในฐานะเด็กและเยาวชนที่ได้กระทำผิดไม่ใช่การสำเร็จโทษ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของ การบำบัดฟื้นฟูคืนเด็กดีกลับสู่สังคม ผมทราบว่าเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพในกรมพินิจและ คุ้มครองเด็กและเยาวชนก็ทำงานกันอย่างหนัก เพื่อให้โอกาสเด็กที่เคยก้าวพลาดได้กลับคืนสู่ สังคมและครอบครัว เราต้องเปลี่ยนมุมมองนี้ให้กับสาธารณะได้โดยเร็วที่สุด และภาครัฐต้อง เร่งสนับสนุนในด้านนี้ให้มากที่สุด การแก้ไขปัญหาในระยะยาวคือการนำเรื่องสิทธิเด็ก สุดท้าย ในระยะยาวคือเรื่องสิทธิเด็กและการให้ความคุ้มครองเด็กกลับไปอยู่ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดของประเทศไทย อันนี้จะเป็นการแก้ไขในระยะยาว ท่านประธานครับ เราคือคนรอบตัวของเด็ก และเราทุกคนมีหน้าที่เลี้ยงดูเด็กให้เติบโต และขอยกคำของคุณป้ามล คุณทิชา ณ นคร แห่งบ้านกาญจนาภิเษก มาให้เพื่อน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่นี้ได้ฟัง และรวมถึงประชาชนที่ชมการอภิปรายครั้งนี้ฟังว่า ถ้าดูแลคนในฐานะมนุษย์อย่างแท้จริง มนุษย์จะงอกงาม ขอบคุณครับท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ จริง ๆ แล้ววันนี้ผมก็จะเตรียมไว้ในการพูดอภิปรายค่อนข้างจะเยอะ แต่ว่าคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ คุณศศินันท์ เพื่อนสมาชิกจากก้าวไกลก็ได้พูดไว้ค่อนข้างจะ หมดแล้วนะครับ ผมก็ขอใช้เวลาช่วงนี้ในการที่จะขอเรียนว่าการเสนอญัตติในการจัดตั้ง กรรมาธิการวิสามัญในศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี และมาถูกทางแล้ว เพราะจริง ๆ แล้วต่อประเด็นนี้เรื่องการนิรโทษกรรมนั้นได้มีความคิดเห็น ที่แตกต่างหลากหลายจำนวนมาก ผมขอชื่นชมที่ทางรัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทยมีการตัดสินใจ ที่ดีและสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง ซึ่งจำเป็นต้องมีการสร้างกลไกที่เปิดพื้นที่ต่อการ มีส่วนร่วมของกลุ่มคนต่าง ๆ ในกรอบการจัดตั้งกรรมาธิการวิสามัญอันนี้ อย่างไรก็ตาม ผมขอตั้งข้อสังเกตเพื่อประกอบการทำงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ หากได้มีการถูก จัดตั้งขึ้นได้อย่างกระชับว่า โจทย์แรกที่สุดของภารกิจของกรรมาธิการนี้คือท่านจะต้องระบุ ให้ได้ถึงปลายทางที่เราปรารถนาของการนิรโทษกรรมว่ามันคืออะไร ท่านจะแค่ยกโทษแล้ว ทุกอย่างเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นมาก่อนเลยก็คงเป็นไปไม่ได้ และข้อ ๒ กลุ่มเป้าหมาย ของการได้รับนิรโทษกรรมนั้นคือใครบ้าง ผมกำลังพูดถึงเจตนารมณ์ รวมทั้งหลักการ และเหตุผลการร่างกฎหมายฉบับนี้ว่าจะต้องเกิดฉันทานุมัติเห็นพ้องกันอย่างชัดเจนต่อ ๒ ประเด็นนี้เสียก่อน ในทัศนะของผมการนิรโทษกรรมควรเป็นแค่ส่วนหนึ่งของกระบวนการ ที่ใหญ่กว่านั้น ขออนุญาตเรียกสั้น ๆ ว่า การเมืองแห่งการให้อภัยและกระบวนการยุติธรรม ในระยะที่เปลี่ยนผ่าน ทั้งนี้ความพยายามของเราทั้งหมดในวันนี้ก็เพื่อมุ่งหวังร่วมกันที่จะออก จากความขัดแย้งรุนแรงที่ยืดเยื้อที่มันฝังรากและทิ่มลึกลงไปในความสัมพันธ์ระหว่างคนไทย ด้วยกันเอง และมากกว่านั้นยังมีความขัดแย้งรุนแรงระหว่างคนจำนวนมากไม่น้อยกับรัฐ เมื่อเป็นเช่นนี้การผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมจึงจะคำนึงถึงเพียงการลบล้างความผิด เพียงแค่มุมเดียวคงเป็นไปไม่ได้ แต่การศึกษาแนวทางการตรากฎหมายฉบับนี้จะต้องสามารถ คลี่คลายภาพความขัดแย้งในการเมืองไทยตลอด ๒ ทศวรรษที่ผ่านมาได้พอสมควร ซึ่งการ ตรากฎหมายฉบับนี้ต้องอยู่ภายใต้กรอบกระบวนการ ๒ กรอบดังที่ผมเสนอไว้ข้างต้นนะครับ ซึ่งก็คือปลายทางที่ปรารถนาของการนิรโทษกรรมคืออะไร และกลุ่มเป้าหมายของการได้รับ นิรโทษกรรมคือใครบ้าง ท่านประธานครับ การนิรโทษกรรมจะไม่สามารถนำไปสู่การให้อภัย ซึ่งกันและกันระหว่างคู่ขัดแย้งและก้าวไปข้างหน้าร่วมไปได้เลย หากบางเรื่องที่ยังค้างคา ในใจของแต่ละฝ่ายนั้นยังไม่ได้คลี่คลายแน่ชัด เมื่อเป็นเช่นนี้การที่จะมีการจัดตั้ง คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงหรือการดึงเอารายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ เรื่องเหล่านี้ที่เคยจัดทำขึ้นแล้ว ก็จำเป็นต้องทำงานชิ้นนี้มาประกอบไว้ในการพิจารณายกร่าง กฎหมายด้วย อันนี้ผมขอเสนอให้กับคณะกรรมาธิการที่จะถูกจัดตั้งขึ้นนำไปพิจารณาด้วย เพราะการคืนความยุติธรรมขั้นพื้นฐานสุด ๆ ที่พอจะทำให้ฝ่ายต่าง ๆ ยอมรับการลบล้างโทษ ได้นั้นตามกฎหมายของกันและกันได้ก็คือการคืนความจริงเกี่ยวกับความผิดนั้น ๆ ให้กับ สาธารณะ และ Hold Accountability หรือสิ่งที่เราเรียกว่าความรับผิดชอบของรัฐที่ใช้ อำนาจในการก่อความเสียหายหรือความสูญเสียแก่พี่น้องประชาชน และถ้าเรามุ่งหมายจะให้ ร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้คนไทยหันหน้ามาให้อภัยซึ่งกันและกัน แล้วเดินหน้าร่วมกันใหม่ ได้จริง ๆ นั้นเราต้องสร้างความกระจ่างที่เห็นพ้องกันให้ได้เสียก่อนว่าคนแต่ละฝ่ายกำลัง จะต้องให้อภัยต่อเรื่องอะไร ครอบคลุมใครและกลุ่มใดบ้าง สังคมไทยจึงจะสามารถเดินหน้า ต่อไปได้ เมื่อเป็นเช่นนี้การนิรโทษกรรมก็จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับอีกหลาย ๆ ส่วน แยกมาทำเพียงเรื่องเดียวคงไม่ได้ อาทิเช่น การแสดงความรับผิดชอบต่อฝ่ายต่าง ๆ ในความ ขัดแย้ง คือคนที่ทำผิดก็ต้องออกมารับผิด มิใช่ใช้การนิรโทษกรรมเพื่อปิดช่องทางการขออภัย ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะเรื่องการใช้อำนาจ หน้าที่ กฎหมาย และกำลัง ที่เข้าห้ำหั่นพี่น้องประชาชน แล้วก็ถูกนิรโทษกรรมพ้นผิดอย่างลอยนวล เป็นไปไม่ได้ครับ ใครทำผิดคดีอาญาหรืออุ้มซ้อมทรมานก็ต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย เราก็ต้องไปดู รายละเอียดว่าใครทำผิดระดับไหนจะต้องรับผิดชอบใด ๆ บ้าง ท่านประธานครับกฎหมาย นิรโทษกรรมนี้ยังต้องครอบคลุมเรื่องการเยียวยาด้วยครับ การเยียวยาผมขอฝากไว้เรื่องการ เยียวยาทางจิตใจ ทั้งนี้ยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่จำเป็นต้องนำเข้ามาสู่การพิจารณาศึกษา เพื่อให้เห็นแนวทางที่เป็นไปได้และยอมรับร่วมกันได้ต่อการยกร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่จะ เกิดขึ้นด้วย ผมนำเสนอทัศนะมาเช่นนี้ไม่ใช่ผมอยากจะขัดขวางกระบวนการนะครับ ท่านประธาน แต่ตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยนั้นเรามีกฎหมายนิรโทษกรรมมาแล้ว ในเอกสาร ประกอบการพิจารณา ๒๒ ฉบับ แต่ทาง iLAW บอกว่ามีทั้งหมด ๒๓ ฉบับ และแน่นอนครับ ว่าการยกเว้นโทษให้กับคณะรัฐประหารส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้น แต่ก็มีอยู่ ๓ ฉบับครับ ที่บังคับใช้โดยเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองระดับชาติโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ปี ๒๕๑๖ ปี ๒๕๑๙ ปี ๒๕๓๕ ก็เห็นมีทั้งการยกโทษนิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุม การยกโทษ แบบเหมาเข่งที่เกิดขึ้น ในช่วงรอยต่อประวัติศาสตร์ครับท่านประธาน และผู้ทรงเกียรติ ในสภาแห่งนี้ก็เห็นว่าต้องฝากไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญหากจัดตั้งมา ท่านจะต้องชัดเจน ว่าผู้ได้รับการยกโทษคือใคร เป็นประชาชนผู้ชุมนุมหรือนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง คำตอบ ของท่านต่อเรื่องนี้ในสถานการณ์การเมืองในวันนี้สำคัญครับ ต่อการกำหนดว่าเราจะอยู่ ในความขัดแย้งต่อไป จะมีเงื่อนไขใหม่เพิ่มเติมหรือไม่ หรือเราจะสามารถแสวงหาทางออก จากความขัดแย้งระลอกนี้ได้อย่างยั่งยืนร่วมกัน ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรมครับ ผมขออนุญาตหารือท่านประธานเกี่ยวกับผลกระทบที่เลวร้ายต่อจุดยืนทางการทูต แล้วก็ จุดความสง่าผ่าเผยของประเทศไทยในเวทีประชาคมโลก เมื่อวานเราได้เห็นท่านประธานครับ ว่ามีการเยือนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาต่อประเทศไทย เราเห็นครับ มีกองเกียรติยศทางทหารมากมาย ต้อนรับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เราเห็นครับท่านนายกรัฐมนตรี กัมพูชาเดินทางมาถึงสภาของเรา แต่ท่านรู้ไหมครับเกิดอะไรขึ้นตั้งแต่วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ มีการจับกุมนักกิจกรรมที่ลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย จำนวน ๓ ราย แล้วมีทั้งหมด ๘ คน ในครอบครัวของเขา มีทั้งเด็กอายุ ๑ ขวบครึ่งถึง ๔ ขวบครึ่ง ๔ คน ท่านครับ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น นี่หรือครับการต้อนรับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา อย่างสง่าผ่าเผย ไม่สง่าครับ จริง ๆ แล้วในเวทีระหว่างประเทศเราเรียกว่า Transnational Repression การปราบปรามข้ามชาติ เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในการ ปราบปรามกดขี่ข่มเหงการประหัตประหารต่อคนที่ลี้ภัยเข้ามา แล้วคนเหล่านี้ได้รับการ คุ้มครองระหว่างประเทศจาก UNHCR เรียบร้อยแล้ว เขากำลังรอการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ๑ รายใน ๓ ราย กำลังจะไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่ ๓ ทำไมเราถึงไปจับเขาอีกต่อไป เกิดอะไรขึ้นเราสง่าผ่าเผยแค่ไหน อย่างไร ท่านประธานครับเรื่องนี้ยังมีอีก การจับเด็กเข้าไปมีทั้งผู้หญิงและเด็ก โดนเข้าไปอยู่ ศูนย์แม่และเด็ก ศูนย์แม่และเด็กนี้ในห้องกักอาจจะชื่อว่าเป็นศูนย์แม่และเด็ก แต่จริง ๆ แล้ว เป็นห้องกักของ ตม. เรามี MOU ของประเทศไทย ๗ หน่วยงานด้วยกัน การไม่กักเด็ก แต่นี่เราทำได้อย่างไรครับ ๑ ขวบครึ่งถึง ๔ ขวบครึ่ง ๔ คน ถ้าเป็นลูกพวกเรา เราจะคิดกัน อย่างไร ต่อไปในอนาคตที่ปีนี้ ปี ๒๕๖๗ เราจะเข้าไปเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติผมว่าไม่ได้หรอกครับ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เราจะ ทำอย่างไรบ้าง ผมขออนุญาตหารือท่านประธานผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ท่านต้องชี้แจงเรื่องนี้ ท่านต้องแสดงจุดยืนทางการทูตของไทย ท่านต้องแสดงจุดยืนว่า เราจะมีความสง่าผ่าเผยอย่างไรบ้างต่อประชาคมโลก ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตอภิปรายไม่ยอมรับรายงานผลการพิจารณาศึกษาของ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือโครงการที่เรียกว่า แลนด์บริดจ์ ท่านประธานครับ เหตุผลที่ผมไม่ยอมรับ ไม่ใช่ว่า ผมปฏิเสธการพัฒนา แต่ผมจะยอมรับการพัฒนาที่เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนเท่านั้น การที่มี ผลการศึกษาออกมาอย่างนี้เป็นการตอบโจทย์ที่ไม่ตรงจุด การตอบโจทย์ที่ไม่ตรงจุดนี้จะแบ่ง ด้วยกันเป็น ๒ เหตุ เหตุแรก โจทย์อันแรกที่ตอบมาก็คือโจทย์ที่มีการตอบโจทย์ของระหว่าง ประเทศ แง่มุมระหว่างประเทศครับท่านประธาน เราเห็นว่าผลการพิจารณาออกมาบอกว่า ในเวทีระหว่างประเทศมีประเทศหลาย ๆ ประเทศสนใจในการที่จะเข้ามาลงทุนในโครงการ แลนด์บริดจ์ในประเทศไทยระหว่างกัน มีท่าเรือที่ชุมพรและระนอง มีหลาย ๆ คนอยากจะ ลงทุนตรงนี้ แต่ท่านประธานครับ ในเวทีระหว่างประเทศ มีนักวิชาการระหว่างประเทศ ที่เป็นนักวิชาการประเทศอินเดีย ชื่อว่า เชลานี (Charany) ได้เคยพูดไว้ในเรื่องหนึ่ง เหตุผล ในการทำของประเทศจีนร่วมกับ BRI หรือว่า Belt Road Initiative โครงการจีนเชื่อมโลก เขาพูดชัดเจน Debt-Trap Diplomacy คือการทูตในการขุดหลุมพราง การติดหนี้ อันนี้ ชัดเจนเพราะว่ามันเป็นปัญหาของจุดยืนทางการทูตของประเทศไทยที่เราไม่เคยมี การเปลี่ยนแปลง เราไม่เคยมองเห็นว่าสิ่งจำเป็นต่าง ๆ เหล่านี้ของประเทศไทยเราคืออะไร ประเทศไทยเราอยู่จุดไหนในเวทีระหว่างประเทศ ประเทศไทยเราพร้อมหรือไม่ในการที่ได้รับ การพัฒนา Megaproject อันนี้ เข้ามาในประเทศไทย Debt-Trap Diplomacy คือสิ่งที่ เรียกว่าคนที่จะทำงานโครงการเชื่อมจีนเชื่อมโลกนี้ประเทศจีนยืนยันชัดเจนบอกว่าเขาไม่ได้ เกี่ยวข้องกับการให้กู้เงินให้กับบริษัทต่าง ๆ ที่จะมาลงทุนกับ BRI ผมว่า BRI นี้ เกี่ยวข้องกับ โครงการแลนด์บริดจ์ แต่ท่านคณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาหรือไม่ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับ BRI Public Private Partnership ที่จะเกิดขึ้น การลงทุนรัฐ เอกชน เป็นหุ้นส่วนกัน ท่านว่าเป็นสิ่งที่ประเทศไทย รัฐบาลไทยจะได้เงินเข้ามาให้กับพี่น้องประชาชนเท่าไร อันนี้ท่านต้องตอบนะครับ ผมยัง ไม่เห็นในรายงานของท่าน

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ ผลกระทบอีกอันหนึ่งภายในประเทศ แง่มุมภายในประเทศ การสร้างท่าเรือนี้ฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง ฝั่งแปซิฟิกอยู่ที่จังหวัดชุมพร รวมกันแล้ว แค่ท่าเรืออย่างเดียว ๑๒,๐๐๐ ไร่ กินพื้นที่ ๒๔ ชุมชน ๖ ตำบล ๔ อำเภอของ ๒ จังหวัด ท่านรู้หรือไม่เวลาการสร้างออกไปแล้วการเชื่อมโยงระหว่าง ๒ ท่าเรือนี้กินพื้นที่ที่มี สวนทุเรียนของพี่น้องตรงนั้นเท่าไร เม็ดเงินเท่าไรแต่ละปีที่พี่น้องอยู่ด้วยกันตรงนั้นมา ๔,๕๐๐ ล้านบาทที่เขาสามารถทำได้ ทำไมเราไม่มองว่าเรามีต้นทุนทรัพยากรอะไร ทำไม เราไม่เอาการลงทุนต่าง ๆ นานานั้นมาช่วยสนับสนุนทรัพยากรท้องถิ่นของเราให้มีการพัฒนา นี่ผมยังไม่ได้พูดถึงผลกระทบในเรื่องอุทยานแห่งชาติ พื้นที่คุ้มครองทางทะเลชายฝั่ง ป่าสงวน แห่งชาติพื้นที่ชีวิตคุณภาพลุ่มน้ำ พื้นที่ป่าชายเลนตามมติ ครม. แหล่งปะการังธรรมชาติและ แหล่งปะการังเทียม รวมทั้งแหล่งหญ้าทะเลและบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติหรือคนไทยพลัดถิ่น ที่ตอนนี้กำลังเรียกร้องสัญชาติตัวเขาอยู่ หากท่านไล่เขาออกไปจากพื้นที่แล้วคนที่ไม่มีตัวตน จะไม่สามารถมีตัวตนได้อีกต่อไป ท่านคิดว่าคนเพียงไม่กี่พันคนเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญหรือ พวกเรา ฝ่ายนิติบัญญัตินี้เราจะมองว่าคนหนึ่งคนมีชีวิตจิตใจเหมือนกันไม่มีค่า ไม่ใช่นะ ผมว่าไม่ได้ เราต้องพิจารณาให้ดีครับ ผลกระทบทางธรรมชาติยังไม่ได้พูดถึงในเรื่องเกี่ยวกับการที่สร้าง ท่าเรือตรงอุทยานแห่งชาติแหลมสน ปากอ่าวคลองระโนด ป่าชายเลนที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลก และกำลังจะเป็นมรดกโลก ท่านจะตอบโจทย์โลกอย่างไรหากเราไปทำลายทรัพยากรตรงนั้นเสีย แล้วเราจะรักษามรดกโลกนี้ไว้ให้กับลูกหลานเราต่อไปอย่างไร การทำประมงที่เป็นปากท้อง ของชาวจังหวัดระนอง เราจะตอบโจทย์อย่างไรครับท่านประธาน ประเทศไทยต้องดูนะครับ จุดยืนทางการทูตของเราว่าเราเป็นประเทศขนาดกลางเราจำเป็นต้องมีการพัฒนา ไม่ได้ตอบ ไม่ได้ปฏิเสธการพัฒนา แต่การพัฒนานั้นจำเป็นต้องตอบโจทย์ของประเทศเรา สิ่งต่าง ๆ ที่ผมได้พูดไปหลาย ๆ ครั้งว่าการพัฒนานี้ต้องไม่ใช่มองแค่โลกาภิวัตน์ เราต้องดูเรื่องเกี่ยวกับ Localization หรือที่เรียกว่าท้องถิ่นนิยม เราต้องพยายามพาประเทศไทยพาขึ้นไปให้ได้สู่ จุดสูงสุดของโลกาภิวัตน์ แต่ต้องไม่ลืมชุมชนท้องถิ่น ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตใช้เวลาสั้น ๆ ในการที่จะยืนขึ้นมาอภิปรายเห็นชอบในร่าง พระราชบัญญัติแห่งนี้ ในการจัดตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และรวมถึงสนับสนุน ให้พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยเรามีตัวตน ท่านประธานครับ ด้วยเหตุผล ๒ อย่าง หนึ่งตามหลักการและอีกหนึ่งตามเหตุผล หลักการนี้คือเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการแสดงการมีตัวตนของพี่น้องชาติพันธุ์และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทย ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์นี้ จริง ๆ แล้วเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายที่เรากำลังพิจารณาอยู่ ไม่ว่าจะเป็นร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่เสนอเข้ามาทั้งหมด ๔ ร่าง จริง ๆ แล้วกฎหมาย เทียบเท่าไม่ได้หรอกครับ กับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เริ่มต้น มาก่อนที่กฎหมายต่าง ๆ จะเกิดขึ้น เราในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ เราจะต้องเป็นคนสร้างกลไก ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นี้ ในอดีตสมัยก่อนประเทศไทยมีการสร้าง รัฐชาติ ความเป็นเอกภาพก็คือการเป็นหนึ่งเดียวที่สร้างเอกภาพ แต่จริง ๆ แล้วในเวที ระหว่างประเทศเราเห็นชัดว่า ความหลากหลายจะสร้างเอกภาพต่างหาก ศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์นี้ในเวทีระหว่างประเทศเรายอมรับครับ ในเรื่องเกี่ยวกับความคุ้มครองระหว่าง ประเทศหรือเรียกว่า International Protection การที่เราต่าง ๆ จะมีสถานะ มีสิทธิได้รับ การยอมรับให้มีตัวตนเป็นสิ่งสำคัญ มิฉะนั้นเราจะไม่สามารถเข้าไปสู่การเรียกว่า Mini Full Access หรือการเข้าสู่การบริการต่าง ๆ อย่างมีความหมาย การบริการต่าง ๆ อย่างมี ความหมาย รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ด้วย เพราะฉะนั้น ๒ สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ควบคู่กัน ไม่ว่าจะ เป็นความคุ้มครองระหว่างประเทศ ไม่ว่าการจะเป็นการเข้าถึงอย่างมีความหมาย อันนี้ จะเป็นสิ่งที่เราเรียกว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเพิ่มศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับพี่น้อง กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทย เหตุผลที่ผมยืนยันในการรับ ร่างพระราชบัญญัติตัวนี้ ก็เรื่องเกี่ยวกับการลดภาวะบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และไร้ตัวตน ในประเทศไทย เราเห็นครับว่ามีชนเผ่าทั้งหมด ๖๐ กว่าชนเผ่า ณ ปัจจุบัน ๑๐ ล้านกว่าคน ในประเทศไทย มีพี่น้องหลายท่านหลายคนยังไม่มีสิทธิ ยังไม่มีสถานะใด ๆ เลย ไม่ว่า ชนเผ่าต่าง ๆ ที่เราเห็นกันอยู่ ยังไม่สามารถที่จะมีสถานะ เป็นบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ เพราะฉะนั้นร่างพระราชบัญญัติตัวนี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราเห็นว่า ในฝ่ายนิติบัญญัติของ เราให้ความสำคัญต่อการมีตัวตนของพี่น้องชนเผ่าต่าง ๆ แต่ผมขอตั้งข้อสังเกตง่าย ๆ ครับ และสั้น ๆ คือในร่างทุกร่างก็จะเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติ ไม่ว่าจะเป็นคนที่จะเข้ามาอยู่ใน สภาชนเผ่าของเรา ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับคณะกรรมการ ไม่ว่าจะมาจากสมัชชาต่าง ๆ ที่ทาง ครม. ได้เสนอขึ้นมา ผมยังกังวลข้อหนึ่ง ก็จะฝากไปถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญ ถ้ามีการจัดตั้งขึ้นให้พิจารณาให้ดีครับ คุณสมบัติที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการ ไม่ว่าจะเป็นตัวสภาชนเผ่าเอง ไม่ว่าจะเป็นสมัชชาเองก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นชื่ออะไรเองก็ตาม จำเป็นครับ เราเห็นว่าตอนนี้เราพยายามจะผลักดันในการสร้างตัวตนให้กับพี่น้อง เราเห็นครับ หลาย ๆ คนยังไม่มีสัญชาติไทย เราเห็นครับว่า การที่บอกว่าถิ่นฐานถาวร ในประเทศไทยนั้นเป็นหนึ่งในคุณสมบัติในการที่จะเป็นคณะกรรมการ ในการที่จะเป็น สมาชิกของสภาต่าง ๆ แต่เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้เห็นว่า การอยู่พำนักถาวรใน ประเทศไทยคืออะไร เรามีเอกสารใด ๆ บ้างที่จำเป็นจะต้องให้มีการพิจารณาว่า เขามีสิทธิ ที่จะมาเป็นสมาชิกของคณะกรรมการและเกี่ยวกับทางด้านสภาต่าง ๆ ด้วย เพราะฉะนั้น ผมขอยืนขึ้นมาวันนี้ ก็ขอสนับสนุนท่านประธานครับ ในการที่จะเสนอให้ร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวกับสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยนั้นได้รับการยอมรับ วันนี้ก็ขอฝากให้กับพี่น้อง ทางเพื่อน ๆ สมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ในการที่รับร่างตรงนี้ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ วันนี้ผมขออนุญาตหารือท่านประธานเกี่ยวกับผลกระทบที่ประเทศไทยอาจจะถูก คำครหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการอาชญากรรมข้ามชาติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Call Center Scammer Casino Online จากเหตุการณ์ที่คนไทย ๑๔๘ คน ถูกจับกุมตัว ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ เราก็ยังไม่ทราบว่า ตอนนี้อยู่ที่ไหน โชคดีที่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ คือเมื่อวานนี้ ทางท่าน ผบ.ฉก. ทัพเจ้าตาก พันเอก ณฑี ทิมเสน ได้บอกว่าคนไทยอยู่ที่ไหนแล้ว คือจริง ๆ แล้วผมขออนุญาตออกตัวว่า ผมไม่เห็นด้วยนะครับ กับคนที่เดินทางไปทำงานนอกประเทศผิดกฎหมาย จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่รับไม่ได้จริง ๆ แต่ว่าถ้าประเทศไทยยังไม่มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือ กับเรื่องนี้ ประเทศไทยจะถูกครหาแน่นอนว่าอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการ อาชญากรรมข้ามชาติ เพราะฉะนั้นผมขออนุญาตหารือท่านประธานผ่านไปยัง ๓ ส่วน ที่เกี่ยวข้อง

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนแรก เราจำเป็นต้องมีการจัดตั้ง Task Force หรือหน่วยเฉพาะกิจ ที่เกี่ยวข้องในการ Monitor หรือติดตามประเมินสถานการณ์บริเวณประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งหลายนะครับ ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศเมียนมานี้เราเห็นครับ มีเชก๊กโก่ (Shwe Kokko) KK Park ในประเทศลาวเราเห็นว่าคิงส์โรมัน กัมพูชามีอีกหลายที่ เราสามารถจัดหน่วยเฉพาะกิจนี้ได้ ในการตรวจตราดูแลว่าฝั่งตรงข้ามเรามีอะไรบ้าง หน่วยงานในพื้นที่ หน่วยความมั่นคงในพื้นที่ ท่านทราบดีครับ แต่ว่าอย่างไรก็ตามต้องมี การบูรณาการการทำงานกันระหว่างหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ เพราะฉะนั้นขอหารือผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรีว่าให้จัดตั้ง หน่วย Task Force นี้

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนที่ ๒ คือกลไกในการติดตามคนไทยในต่างแดน มีหลายคนครับที่มีปัญหา อยู่ตอนนี้ แต่เราไม่มีกลไกในการติดตามคนที่ได้รับผลกระทบตรงนี้บริเวณต่างแดน เพราะฉะนั้นหารือท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงการต่างประเทศ ให้จัดตั้งกลไกนี้อย่างมี ประสิทธิภาพโดยเร็ว

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนที่ ๓ เป็นการปราบปรามธุรกิจจีนสีดำและสีเทาอย่างจริงจังในประเทศ ไทย เราทราบก็มีการฟอกเงิน ฟอกขาว เอาเงินจากต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย ฟอกขาว แล้วก็เอาไปใหม่ เพราะฉะนั้นทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติและ ปปง. จำเป็นต้องดูแล ในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นขออนุญาตฝากหารือท่านประธานผ่านไปยัง ๓ หน่วยงาน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ผม กัณวีร์ สืบแสง ขออนุญาตหารือครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานครับ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ผมขออนุญาต หารือท่านประธานเกี่ยวกับข้อกังวล ความกังวลของผมกับการที่ทางท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ ท่านปานปรีย์ แล้วที่ได้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการมาตอบ กระทู้สดวันนี้ ที่ไม่มา ข้อกังวลของผมก็คือตอนนี้จริง ๆ แล้ววันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่กระทรวง การต่างประเทศจะสามารถแสดงจุดยืนทางการทูตของไทยได้ต่อพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ และในประชาคมโลกว่าประเทศไทยจะมีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวข้องกับทางด้านสถานการณ์ ในประเทศเมียนมา แต่วันนี้ท่านไม่มา เมื่อวานนี้ผมได้รับทราบว่าท่านจะมาตอบ กระทู้ถามสด แต่วันนี้ท่านไม่มา พี่น้องที่รออยู่ในประเทศไทย พี่น้องคนไทยตั้งแต่จังหวัด เชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดระนอง ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา หากท่านรัฐมนตรีไม่มาตอบจุดยืนทางการทูตของไทยว่าเรา จะเอาอย่างไร เราจะดูแลพี่น้องประเทศไทยอย่างไร ผลกระทบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผลกระทบทางด้านเกี่ยวกับแรงงานที่ตอนนี้ฝั่งเมียนมา รัฐบาลเมียนมาทางทหารของเขาได้ ชะลอการส่งรายงาน MOU เข้ามาในประเทศไทย ท่านไม่สามารถตอบได้ มีผลกระทบต่อ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เราจำเป็นจะต้องได้รับทุก ๆ เดือน ๒๐,๐๐๐ คนต่อเดือน แต่ตอนนี้ชะลอการส่ง MOU แรงงานเข้ามา ท่านไม่สามารถมาตอบได้ มีคนผู้พลัดถิ่น ภายในประเทศที่กำลังรอลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนกว่าล้านคน ท่านไม่มา คนที่ ลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยแล้วตอนนี้อีกกี่แสนคนที่มาอยู่ในประเทศไทย ท่านไม่มาที่จะตอบ ว่าเราจะเอาอย่างไรกับพวกเขา เมื่อประมาณเดือนที่ผ่านมาท่านบอกว่าท่านจะเปิดพื้นที่ มนุษยธรรม ที่จะทำความสนับสนุนเรื่องมนุษยธรรมไปให้คนที่ได้รับผลกระทบในประเทศ เมียนมา แต่ความหมายคำนิยามของคำว่ามนุษยธรรมนี้ ท่านยังตอบไม่ได้ ผมในฐานะคนที่ ทำงานมนุษยธรรมใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สภาวะสงครามเป็นเวลา ๑๒ ปีกับเพื่อนพี่น้องของผมที่ ทำงานทางด้านมนุษยธรรมที่อยู่ในสภาวะสงครามอีกรอบโลกเป็นหมื่น ๆ คนมีข้อกังขากับ คำว่า พื้นที่มนุษยธรรม ที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้บอกไว้ว่า เราจะเปิด ท่านไม่สามารถที่จะมาตอบกระทู้ของผมได้ ท่านไม่สามารถที่จะรู้ด้วยว่าหลักการ มนุษยธรรม คืออะไร แล้วท่านจะพูดอย่างนี้ว่าท่านจะ Deal อย่างเดียว กับรัฐบาลต่อรัฐบาล G to G มันเป็นไปไม่ได้ครับ การทำงานมนุษยธรรมเราไม่สามารถปฏิบัติได้ นี่คือคำถามที่ผมจะถามท่าน และอีกคำถามหนึ่ง ในอนาคตยาว ๆ นี้จุดยืนทางการทูตของไทยจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ในประเทศเมียนมา เราจะนิ่งเฉยทำงานเชิงรับอย่างเดียว ไม่ทำงานเชิงรุก เป็นไปได้หรือ อยากรู้จุดยืนของประเทศไทยจริง ๆ ในอนาคตจะเป็นอย่างไร นี่ผมเสนอคำถามให้ก่อน เรียบร้อย ให้ท่านเตรียมความพร้อมให้ได้ว่าต่อไปผมก็จะตั้งกระทู้สดถามต่อไปนี่ละ ให้ท่านไป เตรียมความพร้อมไม่ได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีคำตอบให้กับพี่น้องประชาชนชาวไทยที่เป็น ล้านกว่าคนบริเวณชายแดน ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายที่ผมไล่มาจนถึงจังหวัดระนอง พี่น้องได้รับ ผลกระทบ มีลูกหลงเข้ามา บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ จุดยืนทางการทูตของไทย จุดยืนทางด้านความมั่นคง นโยบายของประเทศไทย รัฐบาลไทยอยู่ที่ไหน จะทำอย่างไร รู้สึก เสียใจ โอกาสของท่านมาแล้ววันนี้ ท่านไม่เคยพูดถึงโอกาสต่าง ๆ เหล่านี้ต่อมา อยากจะฝาก เรียนหารือท่านประธานต่อไป ที่ท่านบอกว่าท่านจะมาตอบกระทู้ต่าง ๆ เหล่านี้ ผมอยากให้ ท่านประธานช่วยเรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ท่านต้องตอบให้ได้ ท่านต้องมา ท่านต้องมีเวลามาตอบพี่น้องประชาชนชาวไทย ท่านต้องมีเวลามาตอบให้ทุกคน เห็นในประชาคมโลกเห็นว่าเราจะยืนอย่างสง่าผ่าเผย เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาในประเทศ เพื่อนบ้านของเรา เราหนีไปไหนไม่ได้ ท่านหนีพวกเราไป แต่ประเทศไทยหนีพม่าไม่ได้ ท่านต้องมาตอบ

    อ่านในการประชุม

  • ได้ครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม