นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง ตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานดังนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ การก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองจากบ้านบางปัน ตำบลกะทู้ ออกทางหลวงชนบทหมายเลข ๓๐๑๓ ที่เหลืออีกประมาณ ๘๐๐ เมตร ก็จะสามารถ เชื่อมต่อถึงบริเวณตำบลศรีสุนทรได้เพื่อลดการจราจรที่คับคั่งบริเวณถนนเทพกระษัตรี แยกเกาะแก้ว อย่างไรฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยไว ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ การก่อสร้างด่านตรวจท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว ที่แล้วเสร็จตั้งแต่ ปี ๒๕๖๑ ด้วยงบประมาณ ๑๓๑ ล้านบาท แต่ยังไม่ได้เปิดใช้งานจนเริ่มมีสภาพทรุดโทรม ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้าง ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ พื้นที่ป่าต้นน้ำสวนป่าบางขนุน อำเภอถลาง ที่ทหารเรือภาคที่ ๓ ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่กว่า ๓,๗๐๐ ไร่ นำไปก่อสร้างกองพันต่อสู้อากาศยาน ฝากให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทบทวนยกเลิกประกาศกรมป่าไม้ ฉบับที่ ๓๙/๒๕๖๖ และหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวน แห่งชาติ ฉบับที่ ๑ เล่มที่ ๑๕๕ ทั้งนี้ควรทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากชุมชน ในพื้นที่เสียก่อนเพื่อรักษาสภาพป่าต้นน้ำด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ ภูเก็ตเป็นเมืองที่หน้าฝนยาวนาน ในช่วงเปิดเทอมของน้อง ๆ หลาย ๆ โรงเรียนทำให้การเดินเรียนระหว่างอาคารค่อนข้างลำบากและป่วยบ่อย โดยเฉพาะ โรงเรียนเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต หากมีหลังคาทางเชื่อมระหว่างตึกก็จะช่วยน้อง ๆ เรื่องสุขภาพได้ ลดการขาดเรียน อย่างไรฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตั้งหลังคาให้อนาคต ของชาติด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๕ บริเวณบ้านป่าครองชีพ หมู่ที่ ๙ ตำบลเทพกระษัตรี กระแสไฟฟ้า ไม่เสถียร ไฟตกบ่อยครั้งจนทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายหลายครัวเรือน ฝากการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคตรวจสอบให้กระแสไฟเป็นปกติด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๖ บริเวณทางหลวง ๔๐๒๗ ท่าพร้าว-บ้านพารา เป็นเส้นทาง เลี่ยงรถติดที่ปัจจุบันไม่มีไฟส่องสว่างมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตั้งให้โดยด่วนเพื่อความปลอดภัยของผู้อาศัยบริเวณนั้นและผู้ใช้ท้องถนนด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๗ สะพานท่าเทียบเรือบ้านท่าสัก ตำบลป่าคลอก ที่ชำรุดทรุดโทรม ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบซ่อมแซมหรือหากเป็นไปได้สร้างใหม่เพื่อความแข็งแรง และปลอดภัยสำหรับพี่น้องประชาชนผู้ใช้ท่าเรือด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๘ ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อมูลเรื่องปะการังในพื้นที่ บ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ ๙ ตำบลป่าคลอก ที่มีสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เพื่อประโยชน์ ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และปลูกฝังความสำคัญ ของทรัพยากรท้องถิ่น

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๙ ฝากให้จังหวัดภูเก็ตทบทวนคำสั่งที่ ๑/๒๕๕๗ ๑/๒๕๕๘ และ ๒/๒๕๕๙ ที่ประกาศให้หาดสุรินทร์ ตำบลเชิงทะเลเป็นหาดเทิดพระเกียรติ แต่ส่งผลกระทบ ต่อการทำมาหากินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ มันจะดีกว่าไหมหากเปลี่ยนการผลักไล่ ให้กลายเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวภายใต้ระบบที่เป็นระเบียบ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสุดท้ายในวันที่ ๒๗-๒๙ พฤศจิกายนนี้ จะมีการประชุมสหภาพ คนตาบอดโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกขึ้นในจังหวัดภูเก็ตหวังว่างานนี้จะได้รับการประชาสัมพันธ์ และสนับสนุนที่ดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตเขต ๓ อำเภอถลาง และตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ แผนปฏิรูปประเทศด้านการบริหาร ราชการแผ่นดิน หน้า ๓๔ ข้อที่ ๑ ที่ให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุคใช้ ในการบริหารราชการแผ่นดิน และการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการบริหาร ราชการแผ่นดิน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนนั้น เล่มนี้นะครับ ยังพบว่าในส่วนของ การนำเทคโนโลยีในการจัดการแจ้งเตือนและการจัดการกับภัยพิบัติต่าง ๆ ยังไม่มี การดำเนินการใด ๆ ทั้ง ๆ ที่มีการนำเสนอจากเพื่อนสมาชิกจากพรรคอนาคตใหม่ และพรรคก้าวไกลในสมัยประชุมที่ ๒๕ ผมจึงขอเสนอให้จัดทำระบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติ ฉุกเฉินสำหรับประชาชนทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเตือนสภาพอากาศ ที่เสี่ยงจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน เช่น พายุ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก สึนามิ สารเคมีรั่ว และเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ และคำสั่งอพยพ ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือในรูปแบบของเสียง และข้อความที่ปรากฏบนหน้าจอโทรศัพท์ โดยข้อความแจ้งเตือนมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และสามารถแจ้งเตือนได้ แม้โทรศัพท์จะปิดอยู่ก็ตาม เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีระบบ Wires Emergency Alert ที่จะแจ้งเตือนเวลามีพายุเฮอริเคน หรือพายุทอร์นาโดต่าง ๆ โทรศัพท์จะเสียงดังมาก ๆ แม้ว่าจะปิดเครื่องหรือตั้งสั่นไว้ เช่น ๖ โมงเย็นวันนี้จะมีทอร์นาโดเข้าในพื้นที่ รถไฟทุกสาย จะหยุดวิ่ง ขอให้ทุกคนรีบกลับบ้านหรืออยู่ในสถานที่มิดชิดเป็นต้น ถ้าประเทศเรามีระบบ การแจ้งเตือนนี้ ประชาชนจะได้ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น มีใครได้รับผลกระทบบ้าง และจะต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อป้องกันตัวเองและทรัพย์สิน เพื่อลดการสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนครับ อย่างเช่นในอาทิตย์ที่ผ่านมาก็มีเหตุการณ์แผ่นดินไหว เกิดขึ้นใกล้ ๆ กับเกาะภูเก็ตแต่ไม่มีการแจ้งเตือนใด ๆ เลย และระบบการแจ้งเตือนนี้ อาจจะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นระบบการจัดการ เพื่อเยียวยาผู้เสียหายจากเหตุการณ์ ภัยพิบัติได้ เพราะเมื่อเกิดเหตุแล้วเราอาจจะใช้ระบุตำแหน่ง ที่อยู่ขณะรับข้อความ ในการแจ้งเตือนเป็นการยืนยันที่อยู่ว่าเป็นผู้ประสบภัยจริง โดยไม่ต้องยื่นเอกสาร และลดขั้นตอนการตรวจสอบต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว มากยิ่งขึ้น เช่นในปัจจุบันเวลาเกิดเหตุน้ำท่วมหรืออุบัติเหตุทางทะเล เช่นเรือนักท่องเที่ยวล่ม การจัดการภายในให้เครื่องจักรและบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกเผชิญเหตุ ยังล่าช้า ส่งผลกระทบมีความเสียหายบานปลาย โดยเฉพาะเรื่องระบบความปลอดภัย ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตที่ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งความปลอดภัยทางด้านทะเล การรับมือกับเหตุการณ์เรือล่ม นักท่องเที่ยวเล่นน้ำ ริมชายหาดแล้วจมหาย ไปจนถึงการลักเล็กขโมยน้อย หรือการทำร้ายร่างกายบนชายหาด หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ และยุทธศาสตร์ที่จะให้ภูเก็ตเป็นเมือง Smart City ที่ถูกพูด ในหลาย ๆ เวที แต่ไม่พบว่ามีรูปธรรมในการดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อให้เป็นเมือง Smart City ขนาดศูนย์ข้อมูลขาดใหญ่ หรือ Big Data ที่ทาง DOPA ภูเก็ตพยายามผลักดันก็เงียบไป ทั้ง ๆ ที่ภูเก็ตมีพื้นที่ขนาดเล็ก สามารถนำร่อง สามารถทำให้เป็นเมืองต้นแบบได้ง่ายด้วยซ้ำ ผมจึงขอเสนอให้มีระบบความช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่นปุ่มฉุกเฉินที่ติดตั้งบริเวณชายหาดต่าง ๆ ในน้ำตก สวนสาธารณะ หรือจุดอับสายตาเพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน เพื่อขอความช่วยเหลือ นักท่องเที่ยวที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่เกิดเหตุได้ เพราะด้วยความตกใจและไม่รู้ว่าตอนนี้ อยู่ตรงไหน การแจ้งเตือนด้วยระบบดังกล่าวจะทำให้รู้จุดที่เกิดเหตุ ระบบ Super App ที่เป็นเหมือน One Stop Service หรือเป็น Application กลางที่รวมรับการแจ้งเหตุ และขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่นแจ้งประสบอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย บุคคลและทรัพย์สินสูญหาย ไฟไหม้ งูเข้าบ้าน เป็นต้น หรือเหตุด่วนเหตุร้ายต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสนว่า ต้องขอความช่วยเหลือจากใคร หรือหน่วยงานไหน โทรศัพท์เบอร์อะไร

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ยังไม่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพนะครับ เช่นการคัดกรองอาชญากรข้ามชาติออกจากนักท่องเที่ยวที่ปลอมตัวเข้ามาในเมืองท่องเที่ยว ต่าง ๆ เช่นจังหวัดภูเก็ตที่ปล่อยให้มีมือปืนรับจ้าง เจ้าพ่อค้ายาแฝงตัวเข้ามาในนามนักธุรกิจ นักท่องเที่ยวมากมาย ทั้ง ๆ ที่บางคนก็มีหมายจับแล้วด้วยซ้ำ จนภูเก็ตเกือบจะเป็นเกาะ ที่เหล่า Mafia ข้ามชาติอาศัยอยู่ สภาพปัจจุบันยังไม่สามารถสกัดกั้นอาชญากรเหล่านี้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ไหนจะยาเสพติดที่เข้ามาในจังหวัด ทั้ง ๆ ที่จังหวัดภูเก็ต เป็นเกาะเล็ก ๆ มีช่องทางการเข้าเกาะเพียง ๓ ทางเท่านั้น ก็ยังไม่สามารถป้องกันได้ ปัญหาคือเมื่อรัฐบาลปล่อยให้มีอาชญากรข้ามชาติเข้ามา แสดงว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ ไม่เพียงพอและยังล้าหลัง เราจะมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนได้อย่างไร ถ้าคุณยังปล่อยให้สภาพเป็น แบบนี้ อย่างที่กล่าวมาทั้งหมดจะแสดงให้เห็นได้ว่าปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน หรือจัดทำการบริการสาธารณะ ได้จริง ส่งผลให้ยังเกิดปัญหาขึ้นในจังหวัดภูเก็ต ทั้ง ๆ ที่ภูเก็ตมีแค่ ๓ อำเภอ มีพื้นที่เพียง ๕๗๐ ตารางกิโลเมตร ยังไม่สามารถจัดการปฏิรูปให้มีประสิทธิภาพอย่างมีประสิทธิผลได้ แล้วเราจะหวังอะไรจากการปฏิรูปประเทศอย่างยั่งยืน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง ตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกลครับ ท่านประธานครับ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ปกป้อง เงินแผ่นดินได้ถึง ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท แต่ผมมีข้อสงสัยนิดหนึ่งว่าเงินจำนวนนี้เป็นจำนวนเงินที่ทุจริตจริงหรือเป็นเพียง ความผิดพลาดทางบัญชี และทาง สตง. เองได้มีการคำนวณมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก ที่โครงการไม่สามารถดำเนินงานได้เพียงเพราะว่าไม่คุ้มค่าหรือเปล่าครับ ยกตัวอย่างเช่น การวางท่อประปาเข้าชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดภูเก็ตเองการประปาส่วนภูมิภาคจะเดิน ท่อประปาหลักในสายถนนหลัก เช่นถนนเทพกระษัตรีเป็นต้น แต่ในชุมชนต่าง ๆ ที่ต้องใช้ งบประมาณของ อบต. ในการต่อท่อประปาเข้าพื้นที่ บางครั้งบางคราวทาง สตง. ก็ติงว่าเป็น การใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่าเพียงเพราะที่ดินเหล่านั้นเป็นสวนยาง เป็นการเกษตรที่ไม่มีบ้าน ประชาชนอาศัยอยู่ สิ่งเหล่านี้ไม่ทราบว่าทาง สตง. เองได้เคยคิดคำนวณมูลค่าความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่มีโครงการดังกล่าวหรือเปล่า

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นต่อมา เรื่องการจัดเก็บรายได้ของบางหน่วยงาน เช่นกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ยังจัดเก็บเป็นเงินสดอยู่ ท่านมีแนวทางการตรวจสอบ อย่างไรบ้าง เพราะรายได้ที่จัดเก็บกับจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นบางครั้ง ไม่สอดคล้องกัน บางครั้งที่ผมได้ยินมามีการเหมาจ่ายในอุทยานแห่งชาติบางแห่ง เหตุการณ์ เหล่านี้ท่านมีการดำเนินงานอย่างไรบ้าง

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นต่อมา ผลสัมฤทธิ์ต่าง ๆ ในการก่อสร้าง บางโครงการทิ้งร้าง บางโครงการล่าช้าจนส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ เช่นการก่อสร้างการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค สาขาภูเก็ต ที่ล่าช้ามาเป็นปีแล้วครับ เสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงานและประชาชน โครงการเหล่านี้ไม่ทราบว่ามีความคืบหน้าในการตรวจสอบอย่างไรบ้าง และที่สำคัญที่สุด การตรวจสอบต่าง ๆ อยากให้ทาง สตง. มีการเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจนมากกว่านี้ว่า ได้ตรวจสอบหน่วยงานไหนบ้าง ดำเนินการไปถึงไหนบ้าง ผิดพลาดประการใดบ้าง ทั้งนี้ เพื่อความโปร่งใสในการตรวจสอบ และที่สำคัญบางโครงการไม่ได้ดำเนินไปตามวิสัยทัศน์ ที่ได้ของบประมาณไว้ เช่นงบประมาณในกลุ่มจังหวัดอันดามันของจังหวัดภูเก็ต ที่มีวิสัยทัศน์ ว่าเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว การศึกษา นวัตกรรมการบริการในระดับมาตรฐานนานาชาติ และการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่มีข้อสังเกตว่าด้วยงบประมาณ ๑๔๐ ล้านบาทที่เป็นงบจังหวัดนั้น กลับนำไปสร้างเขื่อนนะครับ ไปรื้อถอนเขื่อนเดิมเพื่อก่อสร้างเขื่อนใหม่ เพื่อเสริม คอนกรีตใหม่ เป็นต้น ซึ่งโครงการที่ดำเนินการกับงบที่การของบประมาณแผ่นดินนั้น ไม่สอดคล้องถูกต้องตรงกัน

    อ่านในการประชุม

  • ข้อสังเกตอีกเรื่องหนึ่ง การอบรมสัมมนาต่าง ๆ การเดินทางไปดูงาน ในต่างประเทศมีผลสัมฤทธิ์เชิงรูปธรรมบ้างหรือไม่ อยากให้ทาง สตง. มีความเข้มข้น ในการตรวจสอบมากกว่านี้ แล้วก็มีการตรวจสอบเป็นทุก ๆ ปีว่าบางโครงการที่ได้ขอ งบประมาณก่อสร้างไป ดำเนินการไปได้มีผลสัมฤทธิ์มากขนาดไหน ถนนบางเส้น ในจังหวัดภูเก็ตไม่เสีย ไม่ชำรุด ลาดยางแล้วลาดยางอีกนะครับ แต่บางเส้นที่ชำรุดทรุดโทรม ทั้งประชาชนร้องเรียน ทั้งฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายครั้งหลายครา แต่ก็ กลับยังไม่มีการดำเนินการ เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ทราบว่าทาง สตง. มีแนวทาง ในการดำเนินงานอย่างไรบ้าง ก็ฝาก สตง. ตอบคำถามด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล จังหวัดภูเก็ต เขต ๓ จะขอสอบถาม สตง. แล้วก็ตั้งข้อสังเกตนิดหนึ่งนะครับว่า การที่บุคลากรหน่วยงานของท่านมีประมาณ ๓,๐๐๐ กว่าคน จะดีกว่าไหมครับที่เอาเวลานั้น ไปตรวจสอบกระทรวง ทบวง กรมใหญ่ ๆ แล้วก็ลดการตรวจสอบในเรื่องของหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ เพราะว่ามูลค่างานที่ท่านตรวจสอบได้นี่มันไม่คุ้มค่า กับความเสียเวลาที่จะไม่ได้มีเวลาไปตรวจสอบกระทรวงใหญ่ ๆ อย่างเช่น กระทรวงกลาโหม เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้มันเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ถนนที่ท่านตรวจสอบบางครั้งได้งบประมาณ กลับคืนมา ๙๐๐,๐๐๐ กว่าบาท ๑ ล้านกว่าบาท แต่ประชาชนไม่ได้มีถนนใช้ มันกระทบผล ต่อภาพรวมมากกว่า อยากจะรบกวนทาง สตง. ด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง อำเภอกะทู้ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานดังนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ถนนทางหลวงหมายเลข ๔๐๒ หรือถนนเทพกระษัตรีซึ่งเป็นถนน หลักของพี่น้องชาวภูเก็ต มีประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกใช้ทางสัญจร เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเส้นแบ่งทิศทางการจราจรซีดจางเวลาฝนตกหนักมองเห็นไม่ชัด และบางจุด Lane หายไปดื้อ ๆ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนบ่อยครั้ง ฝากกระทรวง คมนาคมทำเส้นแบ่งทิศทางการจราจรให้มีความชัดเจนและสะท้อนแสงให้ด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ บริเวณถนนทางไปท่าเทียบเรือบางโรง ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่สามารถใช้เดินทางท่องเที่ยวไปยังเกาะยาวใหญ่ เกาะยาวน้อย มีประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวใช้สัญจรจำนวนมาก กลับไม่มีไฟส่อง สว่างอาจก่อให้เกิดอาชญากรรมหรืออุบัติเหตุได้ ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตั้ง ไฟส่องสว่างให้ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ บริเวณสามแยกโลตัสเชิงทะเล ถนนทางหลวง ๔๐๓๐ ตัดกับ ซอยบางเทา ๒ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีการตีเส้นแบ่งทิศทางการจราจร ไม่ชัดเจนจาก ๒ เลน เหลือ ๑ เลน ส่งผลให้รถต้องมาแย่งกันเข้าช่องทางการจราจร จึงทำให้ จราจรติดขัดและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ฝากกระทรวงคมนาคมตีเส้นแบ่งทิศทางการจราจร ให้ชัดเจน รวมถึงตีเส้นทแยงห้ามหยุดรถในบริเวณแยกดังกล่าวด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ บริเวณถนนบ้านบางทอง ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต มีหมู่บ้านจัดสรรและชุมชนหลายพันหลังคาเรือนร้องเรียนมาว่ากระแสไฟฟ้าไม่เสถียร ตกบ่อยจนเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายหลายรายการ ฝากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต เร่งแก้ไขให้ระบบการจ่ายไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๓ จังหวัดภูเก็ต พรรคก้าวไกล ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน ๑๕ ท่าน ดังนี้ ในสัดส่วนพรรคก้าวไกล จำนวน ๕ ท่าน ๑. นายอภิชาติ ศิริสุนทร ๒. นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ๓. นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ๔. นายกฤช ศิลปชัย ๕. นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ในสัดส่วนพรรคเพื่อไทย จำนวน ๔ ท่าน ๑. นายสิงหภณ ดีนาง ๒. นายทรงยศ รามสูต ๓. นายนิคม บุญวิเศษ ๔. นายศักดิ์ชาย ตันเจริญ ในสัดส่วนพรรคภูมิใจไทย จำนวน ๑ ท่าน คือนายรุ่งโรจน์ ทองศรี ในสัดส่วน พรรคพลังประชารัฐ จำนวน ๒ ท่าน ๑. นายชัยมงคล ไชยรบ ๒. นายปกรณ์ จีนาคำ ในสัดส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ จำนวน ๑ ท่าน คือนายสันต์ แซ่ตั้ง ในสัดส่วน พรรคชาติไทยพัฒนา จำนวน ๑ ท่าน คือนายสรชัด สุจิตต์ ในสัดส่วนพรรคประชาชาติ จำนวน ๑ ท่าน คือนายอับดุลอายี สาแม็ง ขอผู้รับรองด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง ตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องมาปรึกษาหารือท่านประธาน ดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ สนามฟุตบอลของโรงเรียน บ้านคอเอน หมู่ที่ ๒ ตำบลไม้ขาวมีฝุ่นมากกว่าหญ้า ทุกครั้งที่มีการแข่งขันฟุตบอล ฝุ่นฟุ้งกระจาย ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของนักเรียน ฝากไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ขอสนามหญ้าที่ได้มาตรฐานให้น้อง ๆ ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ โรงพยาบาลถลางที่มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น แต่จำนวนคุณหมอ และบุคลากรทางการแพทย์ยังเท่าเดิมทำให้ต้องทำงานกันอย่างหนัก ฝากกระทรวงสาธารณสุข เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงปรับปรุงระบบเสียงตามสาย ในโรงพยาบาลด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ การก่อสร้างงานฟื้นฟูทางหลวง หมายเลข ๔๐๒ ระหว่าง กม. ๓๔+๖๘๖ ถึง กม. ๓๕+๔๑๓ ระยะทาง ๗๒๗ เมตร เลยระยะเวลากำหนดแล้วเสร็จ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ยังมีอุบัติเหตุบ่อยครั้งและส่งผลให้การจราจรติดขัดมาก ฝากไปยัง กระทรวงคมนาคมเร่งให้แล้วเสร็จและเยียวยาความเสียหายให้ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ ประชาชนที่ใช้บริการ รพ.สต. บ้านพารา ตำบลป่าคลอก ต้องกลับรถไกลมาก ฝากไปยังกระทรวงคมนาคมเพิ่มทางกลับรถบริเวณ รพ.สต. บ้านพาราด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๕ ในแบบโครงการก่อสร้างหาดสุรินทร์ราชภักดิ์ไม่มีร้านค้าสำหรับ พี่น้องประชาชนในพื้นที่ไว้ทำมาหากิน ฝากไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองปรับปรุงแบบ ให้มีร้านค้าสำหรับประชาชนในพื้นที่ได้ทำมาหากินด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๖ ชุมชนบ้านนาเหนือ ตำบลป่าคลอกยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ฝากไปยัง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าให้ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๗ ขอให้ติดตั้งเครื่อง AED และไฟส่องสว่างรอบ ๆ บริเวณเขื่อนบางวาด ตำบลกะทู้ เนื่องจากมีประชาชนวิ่งออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก ฝากไปยังกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๘ หน้าโรงเรียนไทยรัฐวิทยามีรถสัญจรเป็นจำนวนมากทำให้ถนน มีสภาพชำรุดเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ฝากไปยังเทศบาลเมืองกะทู้ซ่อมแซมให้ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๙ ฝากประชาสัมพันธ์งานประเพณีถือศีลกินผักที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๑๕-๒๓ ตุลาคมนี้ โดยจะมีพิธีแห่พระอิ้วเก้ง พิธีสะเดาะเคราะห์โก้ยห่าน และพิธีลุยไฟ โก้ยโห้ยของแต่ละร้านในจังหวัดภูเก็ต เชิญชวนทุกท่านไปเที่ยวภูเก็ตได้นะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตสั้น ๆ ครับท่านประธาน ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ จะฝากประธานตำหนิ ไปยังทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วยนะครับว่าเรื่องดังกล่าวเป็นความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนในจังหวัดภูเก็ตมานาน วันนี้อยากให้ท่านเสียสละเวลามาตอบกระทู้ถาม บ้างนะครับ ให้ท่านมีความชัดเจนในการทำงานเหมือนที่เคยเป็นอดีตประธาน Whip มาก่อน ตอนที่เป็นฝ่ายค้าน รัฐมนตรีไม่มาตอบท่านก็ตำหนิ ฝากท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรี ด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง ตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกล ก่อนอื่นขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้เสียสละมาตอบกระทู้ในวันนี้ ท่านประธานครับ สวนป่าบางขนุนตั้งอยู่บนอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ ห่างจากสนามบินนานาชาติเพียง ๓ กิโลเมตร มีลักษณะเป็นภูเขา ได้มีชาวบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินในพื้นที่มาอย่างยาวนานนับเป็นร้อยปี มีจำนวนไม่ต่ำกว่า ๒๕๐ ครัวเรือน ต่อมาในวันที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ อธิบดีกรมป่าไม้ ได้เซ็นประกาศกรมป่าไม้ ฉบับที่ ๓๙/๒๕๖๖ อนุญาตให้กองทัพเรือเข้าใช้ประโยชน์ภายใน เขตป่าสงวนแห่งชาติสวนป่าบางขนุน จังหวัดภูเก็ต ซึ่งอยู่ในท้องที่ตำบลเทพกระษัตรี และตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งของผมเพื่อก่อตั้งเป็นศูนย์ต่อสู้ อากาศยานและรักษาชายฝั่งประจำพื้นที่ ๒ และกองพันสารวัตรทหารเรือที่ ๔ เนื้อที่ จำนวน ๓,๗๖๓ ไร่ ๑ งาน ๒ ตารางวา หรือขนาดเท่ากับสนามบินภูเก็ต ๓ สนามบิน จะเอาไปทำอะไรครับ ทั้ง ๆ ที่ในมติที่ประชุมสภา อบต. ทางทหารเรือขอไปแค่ ๕๐๐ กว่าไร่ แต่อธิบดีกรมที่ดินให้ไป ๓,๐๐๐ กว่าไร่นะครับ ด้วยจำนวนเนื้อที่มากขนาดนี้คงมองออก ไม่ยากว่าในอนาคตจะมีค่ายทหารเกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต แล้วภาพลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต ที่จะเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก นายกรัฐมนตรีไปมาแล้ว ๒ หนติด ๆ กัน จะไปทำการท่องเที่ยว ระดับโลกจะเสียหายไหมครับ แค่มีข่าวออกไปก็ทำให้เกิดความไม่สบายใจในหมู่พี่น้องประชาชนที่ประกอบอาชีพท่องเที่ยวแล้ว ความจำเป็นในการสร้างศูนย์ต่อสู้อากาศยานแห่งนี้ ทั้ง ๆ ที่ห่างออกไปเพียง ๗๐ กิโลเมตร ก็มีฐานทัพเรือภาคที่ ๓ หรือทับละมุอยู่แล้ว ในทับละมุมีสนามกอล์ฟด้วยนะครับท่าน นโยบายเหล่านี้สอดคล้องกับนโยบายพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ที่ว่าจะลดงบประมาณกองทัพลง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ หรือที่ว่าจะเปลี่ยนค่ายทหารเป็นวิทยาลัย ผมจึงมีข้อถามท่านรัฐมนตรี ดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • ๑. เหตุผลที่ต้องใช้พื้นที่กว่า ๓,๐๐๐ กว่าไร่คืออะไร หรือจะสร้างเป็น ค่ายทหารในอนาคต แล้วที่อ้างว่าทางทหารจะมาช่วยดูแลป่าไม้ ไม่ทราบว่าเป็นภารกิจของ ทหารเรือหรือไม่ เพราะเรามีกรมป่าไม้ดูแลอยู่แล้ว ถ้าดูแลไม่ทั่วถึงก็ควรไปเพิ่มทรัพยากร ให้กับกรมป่าไม้ แล้วภัยความมั่นคงใหม่มีไหม คืออะไร มาจากที่ไหน ท่านรัฐมนตรี ช่วยชี้แจงหน่อยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณท่านรัฐมนตรีนะครับ ประเด็นนี้เอง ขอบคุณที่ท่านรัฐมนตรีว่าการได้ชี้แจงว่าต้องปกป้องสนามบินภูเก็ต แต่สนามบินภูเก็ต เปิดใช้มานานแล้วนะครับ มีความจำเป็นไหมที่จะต้องมาสร้างในตอนนี้ และที่สำคัญที่สุด ท่านเองก็รู้ดีว่านโยบายของรัฐบาลชุดนี้กำลังจะสร้างสนามบินแห่งใหม่ที่จังหวัดพังงา ซึ่งมีฐานทัพเรือทับละมุอยู่แล้ว ท่านจะสูญเสียงบประมาณมาทำที่ภูเก็ตอีกทำไมครับ และสถานที่ฝึกที่ทับละมุก็เหมาะสมกว่า เพราะพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแห่งนี้มีสภาพเป็น ป่าต้นน้ำ มันไม่เหมาะกับการสร้างอาคารใด ๆ อยู่แล้ว มันไม่มีความจำเป็นใด ๆ เลยครับ

    อ่านในการประชุม

  • คำถามข้อที่ ๒ ต่อไป อยากถามว่าทางกระทรวงกลาโหมจะต้องใช้งบประมาณ ในการดำเนินการก่อสร้างศูนย์ต่อสู้อากาศยานแห่งนี้เป็นจำนวนเงินเท่าไร และรูปร่างหน้าตา จะออกมาเป็นแบบใด ทางท่านได้มีการศึกษาหรือมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่จะส่งผลกระทบ ต่อประชาชนแล้วหรือยัง ได้มีการพิจารณาพื้นที่อื่นเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น กับพี่น้องชาวภูเก็ตแล้วหรือยัง หน่วยงานไหนจะเป็นเจ้าภาพในการเยียวยาความเสียหาย ในการให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ในเมื่อไม่มีที่ทำกิน และรวมถึงความเสียหายต่อเนื่องต่อผู้ที่ ไม่ได้อยู่อาศัยในพื้นที่สวนป่า แต่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายที่การมาตั้งกองพันดังกล่าว ต้องใช้งบประมาณเท่าไรในความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และที่สำคัญที่สุดศูนย์ต่อสู้ อากาศยานแห่งนี้มันจะมีหน้าตาแบบไหนผมไม่เคยเห็นเลย มีการทำประชาพิจารณ์ไหม ก็ไม่เคย พื้นที่ ๓,๐๐๐ กว่าไร่มันจำเป็นมากกว่าสำหรับพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในการพัฒนา ศักยภาพให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจในจังหวัด อย่าบอกว่าจะเอาพื้นที่ดังกล่าวนี้ไปทำ Carbon Credit ด้วย ผมขอคำตอบที่ชัดเจนนะครับท่าน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ได้ครับ ขอบคุณครับ ที่อนุญาตให้ถาม อีกรอบ มติ ครม. ที่ผ่านมานี่ครับ มติ ครม. ก็ได้อนุญาตให้นำพื้นที่ทหารกลับมาให้ประชาชน ใช้แล้ว ก็ไม่ทราบว่าท่านจะนำมติ ครม. ดังกล่าวนี้ไปทบทวนพิจารณาที่ดินแปลงนี้หรือไม่

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ เป็นการดีที่สุดครับ ทำวงประชาพิจารณ์ใหม่นำมาให้ทุกคนได้มี ส่วนร่วมในความคิดเห็นในที่ดินแปลงนี้ เพราะมันกระทบต่อพี่น้องประชาชนในจังหวัดภูเก็ต เยอะมาก และประเด็นที่สำคัญงบประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาทที่ท่านจะเอามาสร้างใหม่ ตรงนี้นำไปพัฒนาที่พังงาที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิมไม่ดีกว่าหรือ มันมีอยู่แล้ว ไปสร้างเพิ่มใช้เวลาก็น้อยกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่าด้วยซ้ำ

    อ่านในการประชุม

  • คำถามที่ ๓ ขอถามว่าจะนำกระบวนการทั้งหมดใหม่ทางกระทรวงกลาโหมเอง ทางกองทัพเรือเองจะถอนการเข้าใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นไปได้หรือไม่ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอฝากสั้น ๆ ครับท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ไม่ได้ถามแล้วครับ ขอสั้น ๆ ว่าขอบคุณ ท่านรัฐมนตรีมากที่จะนำเรื่องนี้ไปทบทวนนะครับ ก็ขอฝากสั้น ๆ ว่าอย่าให้ทหารเรือขึ้นไปอยู่ บนเขาเลยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง ตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมขอมีส่วนร่วมกับการอภิปรายสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจรหรือ Entertainment Complex เพื่อแก้ปัญหาบ่อนพนันผิดกฎหมาย และเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ Entertainment Complex หรือสถานบันเทิงแบบครบวงจรนั้นไม่เท่ากับกาสิโนนะครับ สถานบันเทิงแบบครบวงจรในรูปแบบในหลาย ๆ ประเทศนั้น เราจะเห็นได้ว่าจะมีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึกเป็นทั้ง Brand name และร้านค้าจากท้องถิ่นต่าง ๆ ที่จะมายกระดับให้ประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ ได้มีโอกาสในการมาเปิดร้านเพื่อเพิ่มยอดขาย ยกระดับร้านให้มีชื่อเสียง และนั่นยังไม่รวมถึงการใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ในพื้นที่ที่จะมีการบริโภค อย่างมหาศาล และรวมถึงสวนสนุกต่าง ๆ ที่จะสามารถมาเปิดในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เพื่อรองรับลูกค้าที่จะมาใช้บริการได้ตลอดทั้งปี และที่สำคัญกว่านั้นยังจะมีการเดินทาง ท่องเที่ยวภายในพื้นที่ ภายในแหล่งสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในจังหวัดภูเก็ต หรือในประเทศไทย สถานบันเทิงแบบครบวงจรเหล่านั้นตั้งอยู่การจับจ่ายใช้สอยบริเวณที่จะเป็นไปอย่างคึกคัก ในต่างประเทศนั้นในท้องถิ่นต่าง ๆ จะให้กิจการต่าง ๆ ที่จะมาลงทุนในระบบสาธารณูปโภคด้วย เช่น ถนน น้ำประปา หรือไฟฟ้า ในบางเมืองที่มีการคิดภาษีแบบแยกส่วนนะครับ สถานประกอบการยังรับผิดชอบภาษีให้เมืองกับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย เช่น รัฐเนวาดา สถานที่ที่จะตั้งสถานประกอบการเหล่านี้นั้นต้องใช้พื้นที่จำนวนมากหากนำไปสร้างใน บางเมืองก็เสียก็สามารถสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ขึ้นได้ในพื้นที่ ก็จะมีการจ้างงานที่ไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ตำแหน่งต่อสถานประกอบการ และหากมีพื้นที่ในสถานที่ท่องเที่ยวอยู่แล้ว ก็จะทำให้ไม่มีหน้า Low หน้า Hi เพราะจะมีนักลงทุนจากทั่วโลกมาใช้บริการตลอดทั้งปี และในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้นนั้น ก็ยังสามารถจะได้เงินที่ได้มาจากภาษีอย่างถูกต้อง เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ ทั้งนี้การเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจรนี้ เป้าหมายหลักต้องดึงดูดนักพนันจาก ทั่วโลกให้ขนเงินมาจับจ่ายใช้สอยในประเทศไทย การพนันในประเทศไทยก็เหมือนผีครับ รู้ว่ามีแต่เราไม่เคยเห็น และที่จะขาดไม่ได้นะครับ คณะกรรมการที่จะมาควบคุมการพนัน อย่างมีความรับผิดชอบ และที่สำคัญที่สุดถ้าเราจะตั้งกาสิโนแล้ว ถ้าเราจะตั้ง Entertainment Complex แล้วต้องไม่ปล่อยให้ กาสิโนเป็นที่ฟอกเงินของธุรกิจผิดกฎหมาย ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง ตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องมาปรึกษาหารือท่านประธานดังนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ถนนทางหลวงหมายเลข ๔๐๒๖ หรือถนนสนามบินภูเก็ต-เมืองใหม่ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีน้ำไหลออกมาจากเกาะกลางถนนมีกลิ่นเน่าเหม็นและน้ำท่วม ขังถนน ทำให้ถนนลื่นเพราะมีน้ำไหลออกมาตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ฝากไปยังแขวงทางหลวงภูเก็ตเร่งซ่อมแซมให้ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ถนนทางหลวงหมายเลข ๔๐๓๐ หรือถนนบ้านดอนจอมเฒ่า-เชิงทะเล หน้าปากซอยป่าสัก ๑๓ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ไฟฟ้าส่องสว่างดับมาเป็นเวลานานแล้ว ฝากแขวงทางหลวงภูเก็ตเร่งซ่อมแซมเพื่อคืนแสงสว่างให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ระบบประปาชนบท หมู่ ๕ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ที่ตั้งอยู่ภายในวัดศรีสุนทรก่อสร้างโดยกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม สร้างมา ตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ ปัจจุบันมีสภาพชำรุดทรุดโทรมไม่สามารถเก็บน้ำได้และมีสนิม เกรงจะเป็น อันตรายทางด้านสุขภาพและความปลอดภัย เนื่องจากตั้งอยู่ในที่ชุมชนมีเด็ก ๆ วิ่งเล่น ใกล้ถังเก็บน้ำ ฝากไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมซ่อมแซมให้ใช้งานได้ ให้มีความปลอดภัย ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ น้ำตกกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ แห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต มีนักท่องเที่ยวต่างชาติแวะเวียนมาเที่ยวทุกวัน ในปัจจุบันห้องน้ำ สาธารณะมีสภาพชำรุดทรุดโทรมไม่สามารถใช้งานได้ ฝากไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมปรับปรุงซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๕ สภาพพื้นผิวถนนหมายเลข ๔๐๒๙ กะทู้-ป่าตอง ปัจจุบันเวลาฝนตก ถนนลื่นมาก เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ฝากไปยังเทศบาลเมืองกะทู้เร่งดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงพื้นผิวจราจรให้มีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง ตำบลกระทู้ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานดังนี้ ขอสไลด์ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต อำเภอถลาง ตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายสนับสนุนให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการถ่ายโอนธุรกิจต่าง ๆ ของกองทัพ ให้ไปอยู่ในความดูแลของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท่านประธานครับ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕๒ กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้องพิทักษ์ รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิ และผลประโยชน์ของชาติความมั่นคงของรัฐและ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพื่อประโยชน์แห่งการนี้ รัฐต้องจัดให้การทหารที่มี ประสิทธิภาพ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๕๑ มาตรา ๒๐ กำหนดให้กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพเรือ การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังของกองทัพเรือตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวง กลาโหม ข้อมูลจาก Website กองทัพเรือสรุปภารกิจของกองทัพไว้ ดังนี้ ๑. เตรียมกำลัง กองทัพเรือและป้องกันราชอาณาจักร ๒. รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ๓. พิทักษ์ รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๔. สนับสนุนการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ภายในประเทศ ๕. สนับสนุนการพัฒนาประเทศและการช่วยเหลือประชาชน จากที่กล่าวไป แล้วข้างต้น ไม่ว่าในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๕๑ หรือแม้แต่ข้อมูลของกองทัพเรือเอง ที่ได้ระบุชัดเจนว่ากองทัพเรือมีหน้าที่หลักในการป้องกันประเทศ เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจ ด้านความมั่นคงเป็นสำคัญ มิใช่เป็นองค์กรธุรกิจที่ประกอบธุรกิจในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด ท่านประธานครับ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่ากองทัพไม่ได้เพียงแต่ทำภารกิจในการปกป้อง ต่างประเทศ ปกป้องประเทศตามที่ระบุไว้ในกฎหมายเท่านั้น แต่ยังประกอบธุรกิจต่าง ๆ อีกมากมายทั้งธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน สนามกอล์ฟ สถานีวิทยุโทรทัศน์ สถานที่พักตาก อากาศ โครงการจัดการที่ดินต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนแต่ไม่ใช่ภารกิจหน้าที่หลักของ กองทัพทั้งสิ้น จึงเห็นควรที่จะต้องมีการพิจารณาศึกษาแนวทางในการถ่ายโอนธุรกิจต่าง ๆ ของกองทัพให้ไปอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยอื่นที่เกี่ยวข้องโดยตรง จึงจะถูกต้อง และเหมาะสมมากกว่า ธุรกิจต่าง ๆ ของกองทัพมีมากมายหลายประเภท ตามที่เพื่อนสมาชิก ของผมได้อภิปรายไปแล้ว การให้หน่วยงานของกองทัพประกอบธุรกิจเช่นนี้ได้ เป็นการเปิด โอกาสให้การนำทรัพยากรของรัฐ เช่น ที่ดินราชพัสดุของกองทัพ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาจัดสรร ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการอันเป็นภารกิจหลักของกองทัพในการป้องกันประเทศ แต่กลับ ถูกนำมาใช้เพื่อทำธุรกิจหารายได้เข้ากองทัพเอง อีกทั้งการที่กองทัพมีทรัพยากรของรัฐ อยู่ในมือ เป็นต้นทุนอย่างที่ดินราชพัสดุนี้ ย่อมทำให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขันทั้งราคา และทำเลที่ตั้ง ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเอกชนที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มประเภทเดียวกัน การที่ หน่วยงานของรัฐนำทรัพยากรของรัฐ ทั้งเงิน ที่ดิน บุคลากรมาใช้ทำธุรกิจเพื่อหารายได้เข้า หน่วยงานของตนเอง อีกทั้งยังทำให้มีการตรวจสอบได้ยาก ขาดความโปร่งใส ภาคใต้เอง ก็ไม่น้อยหน้าเพื่อน ๆ สมาชิกทั้งในกรุงเทพมหานครและภาคอีสานต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • ผมจะมาพูดถึงกรณีสนามกอล์ฟราชนาวีทับละมุ จังหวัดพังงา สนามกอล์ฟ ราชนาวีทับละมุ ตั้งอยู่ที่หมู่ ๕ ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นสนาม กอล์ฟของกองทัพเรือที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของกองทัพเรือ บริหารงานโดยกองทัพเรือรายได้ จากธุรกิจจัดเก็บเข้ากองทัพเรือ เมื่อเปรียบเทียบราคาสนามกอล์ฟอื่นของเอกชนในจังหวัด พังงา ปรากฏว่าราคาในการเข้าใช้สนามกอล์ฟแตกต่างกันอย่างมาก โดยค่าบริการสนาม กอล์ฟของทับละมุราคาต่ำกว่าสนามอื่นของเอกชนกว่า ๕ เท่า มีค่าปิดสนามทั้งวันเพียง ๔๐,๐๐๐ บาท ราคามันถูกไปไหม ค่ากินฟรี สนามกอล์ฟของทหารเรือบุคคลทั่วไปในวันหยุด ราคา ๖๐๐ บาท ค่า Caddy ๒๗๐ บาท ค่ารถกอล์ฟ ๖๐๐ บาท รวมกันประมาณ ๑,๔๗๐ บาท แต่ในส่วนของสนามกอล์ฟเอกชนอยู่ที่ ๓,๘๐๐ บาท รวมค่าแคตดี้และรถกอล์ฟ จะเห็นได้ว่าราคาต่างกันเท่านี้ ศักยภาพในการทำธุรกิจของกองทัพก็ไม่ได้ดีเด่นไปกว่าเอกชน แต่อย่างใด ในส่วนของอัตราค่าสมาชิกสนามกอล์ฟครับท่านประธาน ในส่วนของข้าราชการ ทหารเรือทายสิครับว่าเรียกเก็บกันกี่บาท ๑๐๐ บาท ใช่ครับ เก็บเพียง ๑๐๐ บาทเป็นค่าแรก เข้าเท่านั้น ไม่ต้องจ่ายรายปีในขณะที่บุคคลทั่วไปค่าแรกเข้า ๑,๐๐๐ บาท รายปี ๆ ละ ๑๕,๐๐๐ บาท สำหรับคนไทยและคนต่างชาติค่าแรกเข้า ๑,๐๐๐ บาท รายปี ๒๐,๐๐๐ บาท ฟังไม่ผิดครับ เพราะว่ามีให้ต่างชาติเข้ามาใช้สนามกอล์ฟในพื้นที่ของทหารได้ด้วย นี่หรือครับ ความมั่นคงของประเทศที่มีนักกอล์ฟจากนานาชาติมาออกรอบในเขตพื้นที่ทหารที่สมควรจะ เป็นพื้นที่เขตปลอดภัย ที่ปกติแล้วประชาชนคนไทยแม้จะเข้าไปใช้อย่างยากเย็นแสนเข็ญ แต่วันนี้เราก็กลับเปิดอ้าซ่าให้ชาวต่างชาติเข้ามาถ่ายรูป Selfie กับ Caddy สวย ๆ ในสนาม กอล์ฟราชนาวีทับละมุ หากกองทัพอยากทำธุรกิจหารายได้ ผมแนะนำให้ไปทำในสิ่งที่ควรทำ เช่น ต่อเรือรบ ผลิตอาวุธ ขายให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลยครับ การที่กองทัพใช้ที่ดินและ งบประมาณของกองทัพมาสร้างสนามกอล์ฟเพื่อทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชนเช่นนี้ ย่อมไม่ เป็นธรรม เพราะเป็นการใช้ทรัพยากรของรัฐมาประกอบธุรกิจแข่งขันกับเอกชนที่ต้นทุน ต่ำกว่า ตั้งราคาได้ต่ำกว่าทำให้สามารถแข่งขันกับเอกชนในพื้นที่ที่ทำธุรกิจแบบเดียวกัน หากมีการถ่ายโอนภารกิจต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ในมือของกองทัพให้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ การแก้ไขปัญหา ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและจัดเก็บรายได้เพื่อมาพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการถ่ายโอนภารกิจต่าง ๆ ของกองทัพให้ไปอยู่ในความดูแลของ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต อำเภอถลางและตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องชาวภูเก็ตมาปรึกษาหารือ ท่านประธานดังนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ตั้งแต่รัฐบาลใช้นโยบาย Free Visa ส่งผลให้ปัจจุบันเริ่มมี ชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมหยาบคายเดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตมากขึ้น มีการก่อความ เดือดร้อนรำคาญ เช่น ก่อกวนผู้ประกอบการต่าง ๆ โดยเปิดประตูเข้าไปในร้านแล้วก็ตะโกน ในร้านค้า ขับขี่รถในลักษณะก่อความรำคาญ เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ชนแล้วหนีก็มี ไปจนถึง การก่ออาชญากรรมตั้งแต่รับประทานอาหารแล้วไม่จ่าย ไปจนถึงการกระทำแบบอุกอาจ ถึงขั้นทุบกระจกห้องทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตที่ศาลากลาง การทำร้ายร่างกาย ไปจนถึงการปล้นทรัพย์ รวมถึงการแย่งอาชีพคนไทยด้วยกัน ที่มีการติดป้ายโฆษณาต่าง ๆ ตามเสาไฟฟ้า ในสื่อ Online ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่างเสริมสวย ขับรถแท็กซี่ เป็น Guide นำเที่ยว จำหน่ายสินค้าผิดกฎหมาย ล่าสุดเปิดบ่อนการพนันกลางเมืองภูเก็ตครับ มีบริการ รถรับส่งพร้อม ที่โฆษณามี ๓ แห่ง จับไปได้แล้ว ๑ แห่ง ฝากให้รัฐบาลกำชับให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องมีมาตรการเด็ดขาดในการดำเนินการทางกฎหมายอย่างจริงจัง เข้มงวดและ ทบทวนมาตรการ Free Visa เนื่องจากมีแต่คนต่างชาติไร้คุณภาพแฝงเข้ามาในนาม นักท่องเที่ยวมาก่อความเดือดร้อนวุ่นวายในจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้เพราะพี่น้องชาวภูเก็ตต้องการ นักท่องเที่ยวคุณภาพครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ปัจจุบันมีประชาชนมาใช้บริการ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตเพิ่มมากขึ้น จนอาคารเดิมเริ่มมีสภาพคับแคบรองรับไม่เพียงพอ ไม่มีที่จอดรถ ไม่มีที่นั่ง ฝากให้ทางกรมที่ดินพิจารณาขยายหรือย้ายไปยังที่ที่มีความกว้างขวางมากขึ้น เพื่อให้สะดวกต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่และประชาชนผู้มาใช้บริการด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต อำเภอถลางและอำเภอกะทู้ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายขอสนับสนุนการตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา เรื่อง การบริหารจัดการขยะขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นครับ อย่างที่ทุก ๆ ท่านทราบดีว่าจังหวัดภูเก็ตมีชายทะเล ขยะในจังหวัด ภูเก็ตมันไม่มีเฉพาะแต่ในชุมชนเท่านั้น แต่รวมถึงขยะชายฝั่งและขยะในทะเลที่หลาย ๆ ครั้ง จะมีเศษขยะล่องลอยอยู่ในทะเล ใต้ทะเลก็มีนะครับ แต่การจัดการปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับ การเก็บขยะที่ดี ที่มีคุณภาพ ในหน้ามรสุมมันจะมีขยะที่มาจากต่างประเทศ ทุก ๆ ครั้ง ในหลาย ๆ ปี จนมีชาวบ้านมีกลุ่ม NGO กลุ่มหนึ่งชื่อ เพจขยะมรสุม ได้มาช่วยการจัดการ เก็บขยะจนสร้างจิตสำนึกให้กับคนจังหวัดภูเก็ตโดยทั่วไป เรื่องเหล่านี้เราต้องช่วยกันสร้าง จิตสำนึกในการทิ้งขยะลงสู่ทะเลด้วยนะครับ และที่สำคัญในพื้นที่ทับซ้อนต่าง ๆ อุทยาน แห่งชาติเป็นคนเก็บค่าเข้าชมสถานที่ในอุทยาน แต่ อบต. มีหน้าที่ไปเก็บขยะ สิ่งเหล่านี้ น่าจะต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มี ส่วนร่วมในการจัดเก็บรายได้ให้มากขึ้น มีงบประมาณต่าง ๆ ในการดูแลพื้นที่ในการจัดเก็บ ขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และขณะเดียวกันร้านค้าต่าง ๆ ควรมีการเก็บภาษี การเก็บภาษี ที่สำคัญ ปัญหาที่สำคัญคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่กล้าจะขึ้นค่าเก็บขยะ เนื่องจากกลัว จะกระทบฐานเสียงบ้าง กลัวจะกระทบปัญหาต่าง ๆ บ้าง ผมจึงมีข้อเสนอดังนี้ครับ การเก็บ ภาษี VAT ต่าง ๆ จากร้านค้าในพื้นที่ที่ส่วนมากมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร แบ่ง VAT เหล่านั้นให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มาจัดเก็บขยะโดยการคิดค่าบริการ รายหัวตามสิทธิประกันสังคม หรือสิทธิ ๓๐ บาทในแต่ละพื้นที่ เพื่อดูจำนวนประชากร ที่แท้จริงในพื้นที่ต่าง ๆ เพราะจังหวัดภูเก็ตอย่างที่ทุกท่านทราบดีว่ามีจำนวนประชากรใน ทะเบียนบ้านจำนวน ๔๐๐,๐๐๐ กว่าราย แต่ประชากรที่อยู่อาศัยจริงเป็นหลักล้าน ดังนั้น ข้อเสนอของผมที่ฝากไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหา เรื่อง การจัดการบริหารขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรจะไปทบทวนข้อกฎหมาย ต่าง ๆ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีแนวทางในการจัดเก็บขยะที่มีประสิทธิภาพ ลดข้อกฎหมายระหว่างหน่วยงานรัฐที่เกิดการกระทบกระทั่งกันบ้าง และที่สำคัญช่วยรณรงค์ ให้ทุกคนใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต พรรคก้าวไกล ผมขอมีส่วนร่วม ในการอภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ทั้ง ๔ ฉบับนี้ ท่านประธานครับ สืบเนื่องจากคำสั่งของ หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ คสช. ที่ ๘/๒๕๖๐ นั้น เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเป็นอุปสรรคในการ บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นและขัดกับหลักการกระจายอำนาจขององค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นอย่างมาก ประกอบกับการที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้อาศัยอำนาจตามคำสั่งนี้ในการจัดสอบแข่งขันบุคคลภายนอกเข้ารับ ราชการและสอบคัดเลือกข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นสายงานบริหารเพื่อบรรจุ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ เป็นต้นมา รวม ๓ ครั้ง ได้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายในทางปฏิบัติ จนนำไปสู่การฟ้องศาลปกครองในปัจจุบัน กว่า ๕๐๐ คดี ท่านประธานครับ การจัดสอบ ๒ ปีต่อครั้งนั้น ทำให้ไม่ทันต่อสถานการณ์ของตำแหน่ง ที่ว่างลงในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ อบต. มีจำนวน ๕,๓๐๓ แห่ง เทศบาลตำบล มีจำนวน ๒,๒๔๗ แห่ง เทศบาลเมือง ๑๙๔ แห่ง เทศบาลนคร ๓๐ แห่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด อีก ๗๖ แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานครหรือพัทยา อีก ๒ แห่ง ด้วยจำนวนที่มากขนาดนี้และบริบทที่ต่างกัน ดังนั้น การจัดสอบที่ส่วนกลางจะเป็นอุปสรรคต่อการบริหาร การบริการประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา คนน้อยกว่างาน บางคนตำแหน่งจริงเป็นรองปลัด อบต. แต่ต้องควบตำแหน่งรักษาการปลัด อบต. ที่ต้องควบอีกตำแหน่งหนึ่ง คือรักษาการนายก อบต. จะเห็นได้ว่าในพื้นที่นั้น ๆ การบริการประชาชนจะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าเป็นหัวหน้า คสช. นี้รวยเละแล้วนะครับ รับเงินเดือนหลายทาง แต่นี่ได้แค่เดือนปกติด้วยภาระงาน และความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนก็ต้องบริหารจัดการงานกันต่อไป ท่านประธานครับ หากท่านประธานต้องบริหารองค์กร ท่านประธานก็ต้องจัดการจัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง กล่าวคือกระทรวงมหาดไทยไม่ได้เป็นผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่าง ๆ นะครับ แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ มีผู้บริหารสูงสุดคือนายกที่มาจากการ เลือกตั้งในแต่ละตำบลในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ กระทรวงมหาดไทยทำได้ เพียงแค่กำกับดูแล ไม่ได้มีอำนาจบริหารนะครับ ถ้าจะพูดให้เห็นภาพคือคนละนิติบุคคลกัน ดังนั้นหลักการคือแต่ละนิติบุคคลต้องอิสระ สามารถบริหารจัดการองค์กรได้เอง และที่สำคัญ ต้องตรวจสอบได้ ด้วย คำสั่ง คสช. ที่ ๘/๒๕๖๐ นั้น ความวรรคแรกกล่าวว่า โดยที่ในปัจจุบัน ปัญหาการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้ระบบอุปถัมภ์ในการสอบแข่งขัน การเลื่อนตำแหน่ง การโอน และการย้าย รวมถึงมีการเรียกรับผลประโยชน์ ท่านประธานครับ แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าหลังจากที่ คำสั่ง คสช. ที่ ๘/๒๕๖๐ นั้น จะไม่มีการเรียกรับผลประโยชน์ ๕๐๐ กว่าคดี คือเครื่องพิสูจน์ครับ ใช่ครับ ข้อหาประเภทนี้จะเกิดขึ้นทันทีหากไม่มีความโปร่งใสในการ จัดการแข่งขันใด ๆ การสอบใด ๆ ดังนั้นหลักการที่ดีที่สุดคือต้องให้กระบวนการโปร่งใส และใกล้ชิด ต้องมีคณะกรรมการที่มาจากสัดส่วนต่าง ๆ ต้องให้สถาบันการศึกษาเป็นคน ดำเนินการสอบแข่งขันด้วยข้อสอบที่เป็นมาตรฐานทั้งประเทศ ออกโดยคณาจารย์ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องสามารถตรวจสอบคะแนนได้ว่าคนที่ได้ที่ ๑ มีการตอบคำถาม อย่างไร เพื่อความโปร่งใสเป็นแนวทางให้กับผู้ที่ทำงานได้ไม่ดี เพื่อปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ในการสอบใหม่ในอนาคต หรือมีการรับสมัครแบบ Online เป็นต้น การจัดสอบในจังหวัด ทำให้มีความคล่องตัวในการจัดสอบ เมื่อตำแหน่งว่างลงและหากจังหวัดใด ๆ ที่มีตำแหน่ง ว่างแต่ไม่มากพอที่จะมีการจัดสอบ ก็ให้สามารถขอใช้บัญชีผู้สอบได้จาก อบจ. จังหวัดอื่น ๆ ก็ทำมาบรรจุเป็นข้าราชการของท้องถิ่นนั้น ๆ ได้ โดยถามความสมัครใจว่าต้องการจะได้ ตำแหน่งที่สมัครสอบแต่อยู่คนละจังหวัดหรือไม่ นอกจากนี้ที่กล่าวมาข้างต้นก็ยังส่งผลให้เกิด ความขัดแย้ง จากการที่สอบส่วนกลางก็ส่งผลในหลาย ๆ พื้นที่เช่นกันครับ ไม่ว่าจะเป็นการ กลั่นแกล้งกัน การไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน หรือถึงขนาดใช้ความรุนแรงตามที่เป็นข่าว อย่างต่อเนื่องและยังไม่มีทางออก นอกจากเรื่องการบริหารงานส่วนบุคคลของท้องถิ่นแล้ว ขอเพิ่มเติมสั้น ๆ ครับ ว่าอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนและส่วนท้องถิ่นยังไม่ได้ปรับ อัตราเงินเดือนมาเกือบ ๑๐ กว่าปีแล้วครับ สรุปง่าย ๆ ครับว่าคำสั่ง คสช. ที่ ๘/๒๕๖๐ นั้น ทำให้การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ราบรื่น จึงสมควรที่จะคืน อำนาจการบริหารงานบุคคลกลับไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามหลักการ ปกครองท้องถิ่นเช่นเดิม จากเหตุผลที่กล่าวมา ผมขอสนับสนุนการตั้งคณะกรรมาธิการ ดังกล่าว ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต อำเภอถลาง และตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมมีเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องชาวภูเก็ตมาปรึกษาหารือ ท่านประธาน ดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ คนบ้านเคียนร้องเรียนมาว่าปัจจุบันโรงพยาบาลถลางต้องรองรับ ผู้ป่วยในเขตอำเภอถลางจำนวนมาก รวมถึงผู้ต้องขังในเรือนจำและนักท่องเที่ยวในกรณีที่ เจ็บป่วยบนเครื่องบิน ไม่สอดคล้องกับจำนวนหมอและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีไม่เพียงพอ เหมาะสมต่อภาพลักษณ์เมืองท่องเที่ยวระดับโลกของจังหวัดภูเก็ต จนชาวบ้านขนานนามว่า เป็นโรงฆ่าสัตว์ ต้องการการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน ฝากกระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการ ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ เกาะงำที่สวยงามตั้งอยู่อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต อยู่ไม่ห่างจาก ฝั่งตะวันออกของเกาะภูเก็ต ปัจจุบันมีผู้บุกรุกล้อมคอกเลี้ยงแพะ พยายามจับจองพื้นที่ ฝากไปทางกรมป่าไม้ดำเนินการตามกฎหมายไม่ให้มีการจับจองพื้นที่ดังกล่าวด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ไม่ห่างจากเกาะงำ บริเวณอ่าวปอ อ่าวกุ้ง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ Jet Ski เพิ่มมากขึ้น นักท่องเที่ยวขับขี่ในลักษณะหวาดเสียว คลื่นจากความเร็วของ Jet Ski ไปทำลายระบบนิเวศ และรบกวนวิถีชีวิตพี่น้องชาวประมง ฝากไปยังกรมเจ้าท่ากวดขันและควบคุมไม่ให้มีปริมาณเยอะ ให้มีการใช้งาน Jet Ski ที่ไม่มี ลักษณะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ คนบ้านดอนฝากถามถึงความคืบหน้าของโครงการขยายผิวจราจร บริเวณถนนทางหลวงหมายเลข ๔๐๓๐ หรือถนนบ้านดอน-เชิงทะเล ที่เวนคืนไปแล้วแต่ยัง ไม่ดำเนินการก่อสร้างเพื่อลดการจราจรติดขัด ฝากไปยังกระทรวงคมนาคมดำเนินการด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๕ พี่น้องคนในทู ตำบลกะทู้ บริเวณวัดกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ได้รับความเดือดร้อนจากรถขนดินที่ไม่มีผ้าใบคลุม ขับขี่ด้วยความคึกคะนอง ก่อความ เดือดร้อนรำคาญกับร้านค้าและประชาชนผู้สัญจรไปมา ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ตามกฎหมายด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๖ คนในทูร้องเรียนมาว่าถนนวิชิตสงครามตั้งแต่บริเวณหน้าสนามกอล์ฟ ถึงวัดกะทู้ชำรุดเสียหายเป็นหลุมเป็นบ่อ เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่ง ปรับปรุงซ่อมแซมให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอมี ส่วนร่วมในการอภิปรายรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาโครงการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) ฉบับนี้ครับ ท่านประธานครับ ด้วยงบประมาณกว่า ๑ ล้านล้านบาทในการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์นั้นจะคุ้มค่า การลงทุน และที่สำคัญพี่น้องประชาชนชาวใต้จะได้อะไรจากโครงการนี้บ้าง ท่านประธานครับ เริ่มต้นที่การจัดเวทีรับฟังที่ไม่ทั่วถึงทั้งภูมิภาค อย่างในจังหวัดภูเก็ตเอง ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาทต่อปีก็ไม่ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน โดยเฉพาะผลกระทบที่รวมไปถึงแนวทางการชดเชยการเยียวยาต่อวิถีชีวิตการประกอบอาชีพ ปกติของประชาชนในพื้นที่จังหวัดระนองและจังหวัดชุมพร ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ชาวประมง การท่องเที่ยว เป็นต้น ในรายงานฉบับนี้ผมไม่เห็นตัวเลขผู้ที่ได้รับผลกระทบ และแนวทาง การเยียวยาแก้ไขใด ๆ เลย สินค้าหลักของประเทศไทยที่จะใช้บริการแลนด์บริดจ์นี้คืออะไร หรือเป็นแค่ทางผ่านของสินค้า แล้วทิ้งปัญหาและผลกระทบให้กับพี่น้องชาวใต้ ในรายงาน ก็ไม่มีว่าจะมีตำแหน่งงานเท่าไร มีอาชีพเพิ่มขึ้นอะไรบ้าง หากอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ Logistics เรามั่นใจไหมว่าพี่น้องในจังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง หรือจังหวัดอื่น ๆ จะเพียงพอ กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องแล้วหรือยัง แล้วพี่น้องที่ทำการเกษตร ทำประมง ธุรกิจรายย่อยจะมี โอกาสนั้นกับเขาบ้างไหม ผมไม่พบรายละเอียดใด ๆ ในรายงานเล่มนี้เลย ปัญหาข้อกังขา ข้อสงสัยหลาย ๆ ประเด็นก็ไม่มีคำตอบ ไม่มีคำชี้แจงหรือข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ใด ๆ ทั้งนี้การทุ่มงบประมาณกว่า ๑ ล้านล้านบาททั้งที่ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานยัง รองรับได้ไม่เพียงพอ ปัจจุบันพี่น้องชาวระนองยังต้องเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ตอยู่เลย หรือจะเรื่องโครงข่ายการขนส่งระหว่างจังหวัด ภายในจังหวัดที่ปัจจุบันก็ยังไม่มี ความพร้อมหรือรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในจังหวัดภาคใต้ได้ ไหนจะผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมที่ประเมินค่ามิได้ที่จะกระทบต่อการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม มีบางส่วน กระทบมาถึงอุทยานแห่งชาติสิรินาถในจังหวัดภูเก็ต แต่พี่น้องชาวภูเก็ตก็ไม่ได้มีข้อมูลใด ๆ ไม่ได้มีส่วนร่วมใด ๆ ไม่ได้เข้าร่วม ไม่มีเวทีรับฟังความคิดเห็นในจังหวัดภูเก็ตเลย ทั้ง ๆ ที่ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับการท่องเที่ยวมากมายมหาศาล จนไม่อาจจะฟื้นฟูได้อีก เอาง่าย ๆ ครับท่านประธาน แค่ปัญหาเรื่องตั๋วเครื่องบินแพงในวันนี้ รัฐบาลยังไม่สามารถ แก้ไขปัญหาใด ๆ ได้เลยครับ ยังไม่รวมถึงการแก้ปัญหาจราจรติดขัด สาธารณูปโภคขั้น พื้นฐานที่จะมารองรับการพัฒนาพื้นที่ ถนนจากแลนด์บริดจ์มาภาคใต้ตอนล่างมีหรือยัง ท่านประธานครับ สั้น ๆ ง่าย ๆ จากเหตุผลที่กล่าวมาผมไม่อาจสนับสนุนรายงานฉบับนี้ ได้ครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดภูเก็ต เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายทั่วไป เพื่อเสนอข้อเสนอลดขั้นตอนการพิจารณาการอนุญาต ใช้พื้นที่ป่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนับตั้งแต่ฉบับพุทธศักราช ๒๕๔๐ จนถึง ฉบับพุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยกำหนดหลักประกันไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับว่ารัฐมีหน้าที่ ต้องจัดหรือดำเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน อย่างทั่วถึง ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาตรา ๕๖ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ นั่นก็เพราะสาธารณูปโภคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐพึงจัดให้มี เพื่อประชาชน เรื่องที่จะอภิปรายต่อไปนี้เป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ซับซ้อนครับท่านประธาน ฟังดูขัดกัน ที่บอกว่าเป็นเรื่องพื้นฐานนั่นก็เพราะเป็นเรื่องของการซ่อมถนน น้ำอุปโภค บริโภค ไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน แต่ที่บอกว่าซับซ้อนนั้นก็เพราะว่ากฎหมายกำหนด ขั้นตอนวิธีการไว้เกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา สาธารณูปโภค ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ที่พึงได้รับบริการจากรัฐ

    อ่านในการประชุม

  • ตัวอย่างที่จะพูดต่อไปนี้ เป็นเพียงหนึ่งในหลายปัญหาที่พี่น้องประชาชน ที่มีที่อยู่อาศัยใกล้พื้นที่ป่าต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ได้ปัญหาเฉพาะถนนหรือไฟฟ้า และน้ำประปานะครับ เรื่องที่จะพูดต่อไปนี้เกิดที่จังหวัดน่าน ประชาชนในตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีความจำเป็นต้องใช้ถนนในการสัญจร แต่วันดีคืนดีถนนชำรุดขึ้นมา หน่วยงานที่เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนนั่นก็คือองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ประสาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี แต่ติดปัญหาที่ถนนสายดังกล่าว อยู่ในพื้นที่ป่าดอยภูคาและป่าผาแดง การเข้าไปซ่อมแซมต้องได้รับการอนุญาตจากกรมป่าไม้ ก็ต้องว่ากันด้วยเรื่องการขอใช้พื้นที่ป่าของส่วนราชการหรือองค์การของรัฐ ในเขตป่าสงวน แห่งชาติ ตามมาตรา ๑๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งการอนุญาต ให้ใช้พื้นที่ป่าก็เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เบ็ดเสร็จเคสนี้ใช้เวลาพิจารณากันหลายปีเลยครับ งบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับการอนุมัติก็ไม่ได้ใช้ในปีงบประมาณนั้น ก็ต้องของบคืนกันไป ไปพิจารณากัน ในปีงบประมาณอื่นอีก การสัญจรเป็นไปอย่างยากลำบาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ในชุมชน แน่นอนนอกจากนี้ความเสี่ยงภัยของประชาชนที่ใช้สัญจรในทางที่ชำรุดก็เป็นเรื่องที่ มีต้นทุนที่ต้องจ่ายในทุก ๆ วันที่มีการพิจารณาอนุมัติยืดยาวออกไป

    อ่านในการประชุม

  • กลับมาที่ภูเก็ตครับ ที่บ้านบางปัน ตำบลกระทู้ ก็ไม่ต่างกัน เมื่อกรมทางหลวง จะขอใช้พื้นที่ในการตัดถนนผ่านพื้นที่ป่า เพื่อลดการจราจรที่ติดขัดจากป่าตองไปสู่สนามบิน ภูเก็ต ก็ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่า ทั้ง ๆ ที่เดิมมีทางหลวงชนบทได้ทำถนน ไปบางส่วนแล้ว แต่ยังขาดทางเชื่อมตรงกลาง ชาวบ้านเองขอไฟฟ้าใช้ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากติดพื้นที่ป่า หรือตำบลปากครอกที่หาดท่าหราที่มีบ้านพักคนชราและศูนย์การศึกษา พิเศษอยู่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ แต่ทางองค์การบริหารส่วนตำบล ทางเทศบาล ตำบลป่าคลอกไม่สามารถเข้าไปใช้พื้นที่ในการพัฒนา หรือสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้เลย ทำให้ถนนชำรุดทรุดโทรมไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา ไม่มีห้องน้ำสาธารณะ

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้มาดูกันนะครับว่าการอนุญาตต้องทำอย่างไรบ้าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากหน่วยงานที่ขอ อาจจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือทางหลวงชนบท เสนอเรื่องผ่าน ทสจ. ให้ผู้ว่าพิจารณาคำขอ อันดับแรกใช้เวลา ๕ วัน จากนั้นเป็นกระบวนการ ตรวจสอบและรายงานผลใช้เวลาอีก ๔๐ วัน จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจะมีความเห็น เสนอไปยังสำนักทรัพยากรในพื้นที่ใช้เวลาอีก ๑๕ วัน ในขั้นแรกใช้เวลาไปแล้ว ๖๐ วัน หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการของกรมป่าไม้ ที่จะต้องพิจารณาผ่านคณะกรรมการ พิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวน หลังจากนั้นเสนอไปยังอธิบดีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่กำหนดกรอบระยะเวลาเอาไว้ แต่ระยะ ระหว่างทางอาจมีกระบวนการทบทวนรายการอีก ทำให้ไม่สามารถกำหนดกรอบระยะเวลา ที่แน่นอนได้ กว่าจะมีการออกประกาศ ป.ส. ๑๙-๑ ก็อาจจะต้องใช้เวลากันเป็นปี ท่านพอจะ มองเห็นปัญหาในเรื่องนี้หรือยังครับ นี่ขนาดหน่วยงานราชการที่เป็นผู้ยื่นคำขอนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรก คือมันไม่ทันในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ความเดือดร้อนเรื่อง สาธารณูปโภคให้กับพี่น้องประชาชน

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นต่อมา เท่าที่ผมนับดูแล้ว ในกระบวนการอนุญาตต้องมีผู้พิจารณาถึง ๕ คน กับคณะบุคคลอีก ๒ คณะ ในรูปแบบคณะกรรมการและคณะตรวจสอบนับเป็น หน่วยงานก็ ๕ หน่วยงาน ซึ่งซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายความเห็นประกอบการพิจารณาหลัก ๆ ก็หนีไม่พ้นเรื่องเหตุผลและ ความจำเป็นของการเข้าใช้พื้นที่และรายงานสิ่งแวดล้อม ถามว่า ๒ ประเด็นนี้จะมีใครรู้ดี ไปกว่าหน่วยงานราชการในพื้นที่ครับ แล้วทำไมต้องให้ราชการส่วนกลางเป็นผู้อนุมัติละครับ ระหว่างรัฐมนตรีกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใครจะเป็นผู้ตอบได้ว่ามีความจำเป็น ต้องขอใช้พื้นที่ป่าในการให้บริการสาธารณะแก่พี่น้องประชาชนได้ดีกว่ากัน

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนรายงานเรื่องสิ่งแวดล้อม สุดท้ายท่านอธิบดีและท่านรัฐมนตรีก็ต้องฟัง รายงานจากหน่วยงานในพื้นที่ของกรมป่าไม้ไม่ใช่เลยหรือครับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ก็ได้บัญญัติเรื่องบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้แล้ว ตามมาตรา ๒๕๐ ว่าให้มีอำนาจหน้าที่ดูแลจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของ ประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน กระบวนการขออนุญาตขอใช้พื้นที่ป่า ท่านมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวอยู่แล้ว ปล่อยให้ราชการส่วนภูมิภาคและราชการ ส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าใจปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้เป็น ผู้พิจารณาเถอะครับ อาจจะจัดตั้งในรูปแบบของคณะกรรมการระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานก็ได้ หรือจะมีองค์ประกอบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการ ในพื้นที่ที่สังกัดกรมป่าไม้ เขาก็เป็น Regulator คอยดูให้ท่านได้อยู่แล้ว ว่าการพิจารณา อนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงเขียนไว้หรือไม่ มันจะได้เกิดความรวดเร็วทันต่อการ แก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน ปัญหาในพื้นที่ให้พื้นที่เขาบริหารจัดการดีกว่าครับ แค่อนุมัติซ่อมถนนในหมู่บ้านถึงกับต้องรอเจ้ากระทรวงสั่งการ มอบอำนาจให้คนในพื้นที่ เขาจัดการกันไป ส่วนท่านก็มีอำนาจในการทบทวนหรือเพิกถอนใบอนุญาต เป็น Case By Case ไป แบบนี้จะทันต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่มากกว่า การพิจารณาเป็นไปด้วย ความรวดเร็ว เป็นไปตามหลักการกระจายอำนาจ และได้สัดส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของพี่น้องประชาชน และการรักษาพื้นที่ป่าให้เป็นไปตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้

    อ่านในการประชุม

  • ปัจจุบันทางกรมป่าไม้ได้มีคำขอที่ค้างอยู่ในระบบถึง ๑๓๐,๐๐๐ คำขอ อีกกี่ปีจะอนุมัติหมดก็ไม่ทราบ ข้อเสนอในส่วนนี้คณะกรรมาธิการการที่ดินและทรัพยากร ธรรมชาติได้เคยเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีแล้ว ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ จนถึงปัจจุบันตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้า ไม่มีท่าทีว่าจะหยิบยกข้อเสนอขอคณะกรรมาธิการ ขึ้นพิจารณาหรือหารือแต่อย่างใด หากต้องการรายละเอียดสามารถติดต่อเพิ่มเติมมายัง คณะกรรมาธิการการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาตินะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง และตำบลกะทู้ พรรคก้าวไกล ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การคลัง ท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ที่เสียสละเวลามาตอบกระทู้ในวันนี้ ท่านประธานครับ ที่ดินราชพัสดุแปลงภูเก็ต หรือ ภก. ๒๖๓ บ้านบางเทา ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันมีการแบ่งแยกโฉนดแล้วแต่ยังไม่ได้ขายคืนให้กับราษฎร ทั้งที่มีมติ ครม. อนุมัติแล้วในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๙ ซึ่งความล่าช้าดังกล่าวส่งผลกระทบ ต่อพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการแย่งการครอบครองสิทธิ ไม่สามารถขอทะเบียนบ้านได้ เมื่อไม่สามารถขอทะเบียนบ้านจึงไม่สามารถขอไฟฟ้าและน้ำประปาได้ ไม่สามารถขออนุญาต ก่อสร้างได้ แต่กลับต้องจ่ายภาษีให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเลอยู่ ล่าสุดมีหนังสือ จากอธิบดีกรมธนารักษ์ ฉบับที่ ภก. ๐๔๒๐/๒๐๐๘ ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๓ ว่ามีมติ ครม. ในวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓ เห็นชอบให้ขายที่ดินราชพัสดุแปลงดังกล่าวที่มีจำนวน กว่า ๗๐๐ ไร่ ให้กับราษฎรผู้ถือสิทธิเดิม โดยแบ่งกลุ่มผู้ถือครองที่ดินเป็น ๓ กลุ่ม ผมจึง มีข้อถามท่านรัฐมนตรีดังนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ๑. ไม่ทราบว่ากระทรวงการคลังจะมีการขายคืนที่ดินราชพัสดุที่ได้มีการ แบ่งแยกโฉนดแล้วนั้น จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเมื่อใด และราคาที่ขายคืนจะใช้ราคาใด มีค่าธรรมเนียมใด ๆ อีกหรือไม่ ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขอบคุณ สำหรับท่านรัฐมนตรีที่ได้กรุณาตอบคำถามข้อแรก ประเด็นคือปัญหาหลักก็คือเรื่องราคา อย่างที่ท่านได้แจ้งไว้เบื้องต้นว่า ในปีพุทธศักราช ๒๔๐๐ กว่า ทางการได้ซื้อคืนจากราษฎร ในราคาที่ต่ำ ซึ่งตอนนั้นพื้นที่ไม่ได้มีการพัฒนาเหมือนอย่างเช่นปัจจุบัน ปัจจุบันราคาที่ดิน แถวตำบลเชิงทะเลถ้าท่านเคยไปเที่ยวก็คือราคาจะสูงมากครับ ตอนนี้ไร่หนึ่งก็ประมาณ ๕๐ กว่าล้านบาท แต่ประเด็นคือชาวบ้านที่ขายเพื่อให้ไปทำประโยชน์ทางด้านเหมืองแร่ อย่างที่ท่านทราบ แต่พอจะซื้อคืนถ้าหากทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าต้อง ขายในราคาปัจจุบันก็จะฝากท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีว่ามันก็จะทำให้กระทบต่อพี่น้อง ประชาชนที่ไม่ได้มีรายได้เยอะ เพราะทุกคนก็ยังค้าขายเป็นอาชีพปกติ ไม่ได้ทำเป็น Pool Villa หรืออะไรอย่างนี้ ดังนั้นการที่ถ้าจะตั้งราคาให้ราษฎรซื้อคืนในราคาปัจจุบันก็จะ ไม่มีใครสามารถซื้อคืนได้แน่นอนครับ เรื่องนี้ก็จะฝากท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีว่า ต้องช่วยเข้าใจหัวอกของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพราะมันมีความจำเป็นจริง ๆ อย่างบางแปลงไม่กี่ไร่ ถ้าสมมุติว่าไร่ละ ๕๐ ล้านบาท สมมุติงานหนึ่งก็หลายล้านแล้ว น่าจะมีหลายท่านที่ไม่สามารถซื้อคืนได้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • คำถามข้อที่ ๒ ในระหว่างที่รอการดำเนินการขายคืนจากทางร่าง พ.ร.บ. ที่จะแล้วเสร็จนี้ ปัจจุบันคือถ้าหากราษฎรจะขอต่อเติมสร้างบ้าน ปรับปรุงบ้าน หรือจะขอ ทะเบียนบ้านเพื่อไปขอไฟฟ้า น้ำประปาใช้ อย่างนี้ไม่ทราบว่าจะมีขั้นตอนในการดำเนินการ อย่างไรที่เบื้องต้นบรรเทาชะลอความเดือดร้อนในเบื้องต้นได้ก่อน แล้วก็ปัจจุบันยังต้องจ่าย ภาษีกับทาง อบต. อยู่ กรณีอย่างนี้พอจะช่วยบรรเทาหรือแก้ไขหาทางเยียวยาได้อย่างไรครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เดี๋ยวขอสั้นๆ ครับ พอดีเห็นท่านรัฐมนตรี จะรีบเดินทาง ก็จะขอขอบคุณ แล้วก็ได้ฟังท่านรัฐมนตรีตอบก็สบายใจว่าท่านก็มีความ เป็นห่วงเป็นใยประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต แล้วก็จะยินดีเป็นอย่างยิ่งถ้าท่านจะเสียสละ ลงพื้นที่ไปด้วย ได้ไปตรวจสอบพื้นที่จริง จะได้ไปฟังบางมุมของชาวบ้านจริง ๆ นะครับ วันนี้ขอบคุณท่านมากครับ

    อ่านในการประชุม