กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ จังหวัดตราดเป็นพื้นที่เกษตรกรรมนะครับ มีการเพาะปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง เป็นจำนวนมากนะครับ มีพื้นที่รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า ๑๘๐,๐๐๐ กว่าไร่ มีผลผลิตรวมกัน ไม่น้อยกว่า ๒๐๐,๐๐๐ ตัน สร้างรายได้นับหมื่นล้านให้กับจังหวัดตราด เมื่อเกษตรกร ไม้ผลที่มีรายได้ดีมันก็จะเป็นแรงจูงใจให้กับพี่น้องเกษตรกรรายอื่น ๆ หันมาในการที่จะปลูก ผลไม้กันมากขึ้น ปัญหาใหญ่ที่ตามมาก็คือเรื่องของน้ำครับท่านประธาน เรื่องของแหล่งน้ำ ที่มีไม่เพียงพอ ดังนั้นผมจึงเรียนท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดูแลในเรื่องของ การบริหารจัดการน้ำเพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคเกษตรของจังหวัดตราด สร้างเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งให้กับพี่น้องเกษตรกรต่อไป กระผมจึงใคร่ขอให้หน่วยงาน โดยเฉพาะกรมชลประทาน ท่านประธานครับได้เร่งดำเนินการดังต่อไปนี้
๑. ก็คือโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสะตอ อันนี้ ๒๐ กว่าปีแล้วครับ ที่ยังไม่มี การดำเนินการก็ริเริ่มกันมานาน ทำ EIA ไปแล้ว ๒ ครั้งนะครับ ซึ่งตอนนี้ก็เข้าใจว่าจะได้ ดำเนินการต่อในปีหน้า ก็หวังว่าจะไม่มีการเลื่อนออกไปนะครับ
อันที่ ๒ ครับ โครงการอ่างเก็บน้ำวังตาสังข์ ที่อำเภอแหลมงอบ เรียนกับ ท่านประธานอย่างนี้ว่าที่อำเภอแหลมงอบนี้ยังไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนเลยนะครับ เพราะฉะนั้น การสร้างอ่างเก็บน้ำวังตาสังข์จะเป็นประโยชน์มหาศาลเลยต่อพี่น้องเกษตรกร ก็ขอให้ดำเนินการด้วยโดยไม่ชักช้าเลยนะครับ เพราะว่ามีการเพาะปลูกไม้ผลกันเพิ่มมากขึ้น ในเขตของอำเภอแหลมงอบ
๓. โครงการในการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำวังปลาหมอครับ ที่อำเภอเขาสมิง การบรรจุนะครับ ขนาดบรรจุ ๘ ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ผ่านมานี้มีเพียงพอสำหรับที่จะดำเนินการ ในหลายปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันนี้มันเพิ่มมากขึ้นสำหรับไม้ผลและในขณะเดียวกันสถานการณ์ ภัยแล้งซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่เราต้องวิตกกังวล ก็อยากที่จะให้มีการดำเนินการในการเพิ่มน้ำ ให้กับอ่างเก็บน้ำวังปลาหมอ ซึ่งทำได้ใน ๒ แนวทางด้วยกันท่านประธานครับ ๑. ก็คือนำน้ำ จากอ่างเก็บน้ำเขาระกำซึ่งอยู่ไม่ไกลเอาเข้ามาเติม แนวทางที่ ๒ ก็คือขุดลอกเพิ่มเติม ให้มีพื้นที่ของการบรรจุน้ำให้เพิ่มมากขึ้น
๔. โครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าวที่เกาะช้าง โครงการนี้ก็ทำ ๆ หยุด ๆ เดี๋ยวทำ เดี๋ยวหยุด ตอนนี้กำลังดำเนินการต่อก็หวังว่าจะไม่หยุด ก็จะได้ดำเนินการต่อ อย่างต่อเนื่องนะครับ เพราะว่าความสำคัญของอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว ที่เกาะช้างนี่ มันเอาไว้สำหรับในเรื่องของการประปา ทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โรงแรม Resort ต้องมีน้ำให้กับนักท่องเที่ยวนะครับ
และที่สำคัญครับท่านประธานเกาะช้างนี่นะครับ ก็คือทุเรียนชะนีเกาะช้างนี่ มีชื่อเสียงอร่อยติดอันดับโลกครับ ดังนั้นความจำเป็นของการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร อันนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งนะครับ
และสุดท้ายครับ ฝายคลองตะแบกท่านประธานครับ อยู่ที่ตำบลเทพนิมิต สร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี ปัจจุบันนี้ชำรุด แล้วก็ผุพังจำเป็นที่จะต้องมีการจัดสรร งบประมาณและสร้างขึ้นใหม่ เพื่อที่จะให้พี่น้องตำบลเทพนิมิตนั้นสามารถที่จะมีแหล่งน้ำใช้ เพื่อการเกษตรครับ สรุปได้ว่าน้ำสำคัญต่อชีวิตต่อชาวตราดจริง ๆ เป็นความหวัง เป็นลมหายใจครับท่านประธาน ขอขอบคุณมาก ๆ ครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมขอหารือ ท่านประธานใน ๓ เรื่องหลัก ๆ ดังนี้ครับ
เรื่องแรก ก็จะนำเสนอว่ามันมีความจำเป็น อย่างเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะตอ ที่ตำบลสะตอ อำเภอเขาสมิง เพราะว่าพื้นที่แห่งนี้ทั้งปีใน ๑ ปีจะมีทั้งน้ำท่วม มีทั้งน้ำแล้ง ปีนี้วันที่ ๒ ที่ผ่านมามีการขนคน ออกมาครับ ผู้หญิงในภาพนี้แม่ของผมเองครับ ก็เป็นผู้ประสบภัยคนหนึ่งจากเหตุการณ์ น้ำท่วมเมื่อวันที่ ๒ กันยายนนี้เอง อันนี้แม่ของผมเองเลยนะครับ เพราะฉะนั้นอ่างเก็บน้ำ ห้วยสะตอนี้มีการพูดถึงกันมาหลายครั้งหลายปีแล้ว มีการสำรวจ EIA ไปแล้วก็หลายรอบ แต่ว่าก็ยังไม่มีความคืบหน้าไปไหน ผมก็อยากที่จะฝากไว้ให้กับท่านรัฐมนตรีคนใหม่ ในการที่จะกำกับกำชับดูแลที่จะให้มีการเร่งในการที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะตอนี้ เพราะว่า มันจะช่วยป้องกันน้ำท่วมที่จะไปท่วมทั้งตำบลวังตะเคียน ที่ตำบลประณีตด้วยนะครับ อย่างภาพที่เห็นนี้ถือว่าได้รับความเสียหาย แต่พอถึงเวลาแล้งเราก็จะไม่มีน้ำที่จะใช้เลย อันนี้ก็เพิ่งสด ๆ ร้อน ๆ กันเลยนะครับ
เรื่องที่ ๒ ครับท่านประธาน ก็ขอให้หน่วยงานกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้เร่งจัดทำแผนงานโครงการจัดสรรงบประมาณในการที่จะต้องขุดลอกร่องน้ำ จังหวัดตราด เป็นเมืองติดทะเลก็จะมีคลอง มีร่องน้ำค่อนข้างเยอะ ปัจจุบันนี้ก็ตื้นเขินก็อยากให้ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อมาขุดลอก คราวที่แล้วในสภาชุดที่แล้วผมอภิปรายไปแล้ว หลายครั้งตรงร่องน้ำดังกล่าวที่ผมจะกล่าวถึงนี้นะครับ ซึ่งก็ได้รับการยืนยันเป็นหนังสือ กลับมาว่าอยู่ระหว่างการส่งเรื่องให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งก็ยังไม่ได้ ดำเนินการนะครับ จึงขอให้รัฐบาลชุดใหม่นี้ได้เข้าไปดำเนินการในร่องน้ำดังต่อไปนี้ครับ
๑. แม่น้ำตราด ตั้งแต่ตัวเมืองตราดไปจนถึงสุดทางที่แหลมศอก อำเภอเมือง
๒. คลองบ้านน้ำเชี่ยว ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ
๓. คลองสน สะพานหิน หมู่ที่ ๕ ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง
๔. คลองมะขาม ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่
๕. คลองทั้ง ๕ ร่องน้ำที่ตำบลเกาะช้างใต้ ที่อำเภอเกาะช้าง ร่องน้ำสลักเพชร ร่องน้ำเจ็กแบ๊ ร่องน้ำอุทยาน ร่องน้ำสลักคอก และร่องน้ำบางเบ้า อันนี้ก็นานแล้วนะครับ ที่ยังไม่ได้เข้าไปสู่การดำเนินการนะครับ อันนี้ก็อยากจะเร่งรัดทางส่วนของกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เข้าไปดำเนินการ
และเรื่องสุดท้ายครับ เป็นความเดือดร้อนของประชาชนที่เขาสร้างบ้าน อยู่ริมน้ำนะครับ มันก็มีการประกาศของกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้มีการจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมบ้านริมน้ำ ซึ่งหลายคนก็เดือดร้อนจากสถานการณ์เรื่องโควิดที่ผ่านมานะครับ จนถึงบัดนี้ก็ยังมีความยากลำบากกันอยู่ จึงอยากที่จะให้ทางกรมเจ้าท่าได้พิจารณาทบทวน ในการที่จะได้ลด หรืองดในการที่จะเก็บค่าธรรมเนียมของพี่น้องประชาชนเพื่อลด ความเดือดร้อนของพวกเขานะครับ ขอขอบคุณมากครับท่านประธาน
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมขอมีส่วนร่วม ในญัตตินี้นะครับ เพราะเนื่องจากว่าในพื้นที่จังหวัดตราดเองก็เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แล้วก็พี่น้องก็มีความเดือดร้อนได้รับผลกระทบกันมาค่อนข้างเยอะ ท่านประธานครับ ผมอยากพูดถึงสินค้าเกษตรพืชเศรษฐกิจตัวหลัก ๒ ชนิดด้วยกัน
เรื่องแรก ก็คือเรื่องของยางพารา บ้านผมนี่ยางพาราเยอะมากครับ และผม จำได้ตอนเป็นผู้แทนใหม่ ๆ ตอนอยู่ที่ TOT เรื่องนี้เป็นเรื่องแรก ๆ เลยที่มีการนำเสนอ เข้ามาพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เป็นญัตติแรก ๆ เลยนะครับ แล้วก็พูดกันนานมาก แล้วก็จำได้ว่ายางพาราเป็นเรื่องหนึ่งที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายในสภาเยอะ เสนอปัญหาต่อรัฐบาลให้ไปดูแลแก้ไข แต่ว่า ๔ ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำที่ได้พูดจนกระทั่งถึงวันนี้อีก ราคายางพาราก็ยังไปไม่ได้ไกลเลยนะครับ แถวบ้านผมนี่เขาทำเป็นขี้ยางก้อนถ้วยกัน ราคายางก้อนถ้วยจะอยู่ประมาณที่ ๑๘-๒๑ บาท ตลอด ๔-๕ ปีมานี้ก็แกว่งอยู่แค่นี้ ๑๘-๑๙ บาท ๒๐-๒๑ บาท ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องของการกรีดยางมันจะมีอย่างนี้ครับ เขาจะมีการกรีดแบ่งครึ่ง ถ้าวันไหนราคาเหลือแค่ ๑๘ บาทก็จะได้คนละ ๙ บาท ก็แทบจะไม่พอกินเลย แต่ลูกชาวสวนจะทำอย่างไรได้ หมูเห็ดเป็ดไก่ก็ขึ้นราคากันไปแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็น เรื่องที่อยากเห็นกระบวนการในการแก้ไขปัญหาจริง ๆ จัง ๆ เรื่องของยางพารา เพราะว่า จังหวัดตราดบ้านผมก็เริ่มมีการโค่นยางพาราเยอะขึ้นเพื่อที่จะไปปลูกทุเรียน มังคุด เงาะ อะไรต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมันก็จะเกิดปัญหาติดตามมาว่าผลผลิตที่มันล้นตลาดบ้าง เรื่องน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญก็จะต้องมาแย่งน้ำกันอีก เพียงถ้าหากวันนี้ถ้ารัฐบาลสามารถที่จะดูแล แก้ไขแล้วหาทางออกได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางเขาจะได้ไม่ต้องไปโค่นกัน เขาก็สามารถที่จะปลูกต่อไปได้ แต่ถ้าราคาขนาดนี้ผลผลิตน้ำยางมันก็ลดลงเรื่อย ๆ เพราะว่า อะไร เพราะว่าเมื่อมันขายได้น้อยเงินที่จะเอาไปซื้อในการลงทุนเรื่องปุ๋ยก็ไม่มีไม่รู้จะซื้อ อย่างไร และอาชีพนี้ค่อนข้างลำบาก ท่านประธานอาจจะไม่เคยกรีดยางเหมือนผม ผมเคยกรีดยางมาก่อน ก่อนที่จะมาเป็นผู้แทน กว่าจะลุกขึ้นไปกรีดยางต้องดึก ๆ ดื่น ๆ แต่ละต้นเดินกันไปสมัยพ่อผมต้องกินยาทัมใจ นึกออกไหมครับ มันจะช่วยแก้เมื่อปวดหลัง มันต้องก้ม ๆ เงย ๆ ต้นต่อต้น ลำบากมากชีวิตของคนที่เป็นพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องดูแลให้เขาคุ้มค่า เพราะฉะนั้นในเรื่องของการแปรรูปขั้นสูงก็ดี อุตสาหกรรมการแปรรูปจะต้องเข้ามาในการที่ต้องดูแลในการให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เรามีทางออกให้ได้ ไม่ใช่ราคาอยู่กันแบบนี้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องฝากไว้นะครับ
สำหรับอีกเรื่องหนึ่งนะครับ สำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนมังคุด เมื่อสักครู่ เรื่องยางไปแล้วที่จังหวัดตราดมีเรื่องนี้ที่ผมต้องพูดส่งเสียงแทนเขา ถึงแม้ว่าสภาผู้แทนราษฎร แห่งนี้จะพูดไปแล้วหลายท่านก็ตามที แต่ก็ต้องส่งเสียงแทนเขาว่าเขาเดือดร้อนอย่างไร
อีกอันหนึ่ง ก็คือเรื่องของมังคุดราคาตกต่ำ ผลผลิตมังคุด ท่านประธานครับ เราเห็นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชใช่ไหมที่มีการเอามาเทบนท้องถนน ตอนนี้ภาคตะวันออก มันเก็บเกี่ยวมังคุดหมดไปแล้ว มันจะเก็บเกี่ยวกันอีกครั้งหนึ่งก็คือประมาณเมษายน พฤษภาคมในครั้งหน้า แต่สถานการณ์แบบนี้ก็ทำให้มีการหวั่นใจไม่น้อยสำหรับสถานการณ์ ในวันหน้านี้จะถูกได้รับการแก้ไขหรือไม่ รัฐมนตรีลงไปดูหน้างานแล้วแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ หรือว่าจะต้องให้ทางภาคตะวันออกต้องเอามาทิ้งบนถนนอีกอย่างนี้ใช่ไหม มันก็ไม่ควร ที่จะต้องเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นปัญหานี้สร้างความหวั่นวิตกให้กับพี่น้องเกษตรกร ชาวสวนมังคุดที่จังหวัดตราดในภาคตะวันออก จันทบุรีและระยองพอสมควรเลยทีเดียว ทีนี้ปัญหาอย่างนี้ท่านประธานครับ ราคามังคุดตกต่ำมันมีปัญหามาอย่างนี้ว่าล้งที่รับซื้อ มีจำนวนน้อยแล้วเขารวมตัวกันได้ พอรวมตัวกันได้นี่มันฮั้วกันได้นะครับ และกลไก ในการเข้าจัดการของภาครัฐเรายังไม่เห็น เรายังไม่เคยเจอนะครับ
อันที่ ๒ ก็คือระบบตลาดที่มีการซื้อขายผ่านคนกลางหลายทอด พอผ่าน คนกลาง กลไกของการถูกกดเพื่อจะฟันกำไรมันก็หายไป มันมีหลายทอดแบบนี้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มันเป็นปัญหาว่าราคามังคุดตกต่ำ อีกประเด็นหนึ่ง คือผลผลิตของ มังคุดที่ด้อยคุณภาพและมีปริมาณมาก มันไปดึงเอามังคุดคุณภาพ ราคามันตกลงไปด้วย เพราะฉะนั้นเวลาเขาเอามังคุดไปขาย มันก็เลยถูกคัด Grade คัดอะไรยิบ ๆ ย่อย ๆ มากเลย เยอะแยะเลยครับ หลาย Grade แล้วก็หลายราคา ทีนี้ผมอยากจะเสนอทางออกภายใต้เวลา ที่พอมีเหลืออยู่ว่าทางออกหรือแนวทางแก้ไขมันควรจะเป็นอย่างไรไม่ให้เกิดการซ้ำรอย ในเรื่องปัญหาเดิม ๆ ที่ต้องกลับมาเกิดขึ้นอีก
เรื่องแรกเลย ก็คือเรื่องของการที่จะส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร รวมกลุ่มเพื่อยกระดับการพัฒนาเชิงคุณภาพ อันนี้ต้องเป็นเรื่องที่ผมเข้าใจว่ามีการทำอยู่แล้ว แต่มันไม่ได้เคยจริงจังว่าการรวมกลุ่มพัฒนาคุณภาพจริง ๆ แล้วมันควรจะต้องทำอย่างไร ถ้าเราไม่เอาจริงจังเรื่องคุณภาพ การแข่งขัน หรือการสู้กันในระดับนานาประเทศ เราก็ไม่สามารถที่จะไปได้ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องจริงจัง
เรื่องที่ต้องจริงจังในเรื่องที่ ๒ นั่นก็คือเรื่องของการผลักดันให้กลไกของระบบ สหกรณ์สามารถนำทำงานเพื่อสมาชิกเกษตรกรได้จริง ๆ สหกรณ์ที่ผ่านมาก็จะอยู่กับ เรื่องของการให้สินเชื่อเสียมากกว่า การมีองค์กรแบบนี้ไม่สามารถที่จะสร้างอำนาจ การต่อรองได้ ร่วมคิด ร่วมผลิต ร่วมขาย ยังไม่สามารถที่จะทำได้จริง
เรื่องที่ ๓ เราต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมการแปรรูป เพื่อที่จะดึงมังคุด ด้อยคุณภาพนี้ให้มันมีราคา มังคุดที่ด้อยคุณภาพก็ไปแปรรูปเป็นไวน์ เป็นสุรา หรือว่าจะเป็น น้ำมังคุดอะไรก็แล้วแต่
สุดท้ายนะครับ จริง ๆ ผมยังมีเรื่องของการที่จะต้องดำเนินการควบคุม ในเรื่องการติดป้ายราคามังคุดเหมือนกับทุเรียน ทีนี้ที่ตราดมันมีกลุ่มมังคุดเรียกว่ากลุ่มมังคุด วัดดงกลาง ผมอยากจะกล่าวถึงสักนิดหนึ่ง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เขารวมตัวกัน แล้วเขาใช้พื้นที่ ของวัดดงกลาง ในการที่จะให้พ่อค้ากับชาวสวนมาเจอกันเพื่อลดจำนวนคนกลาง กระบวนการของคนกลางออกไปนี้ แต่ปีที่ผ่านมาชาวสวนมังคุดวัดดงกลางเขาส่งออกไปเอง ได้ครับ เขาส่งออกไปเองแต่ว่ามันมีอุปสรรคเยอะ ราคาที่มันไม่ดีแต่ราคาปลายทางมันยังดีอยู่ พอส่งออกไปเองมันก็ยังมีอุปสรรคหลายอย่าง ผมอยากฝากรัฐบาลไว้ด้วยว่าสำหรับ กลุ่มมังคุดวัดดงกลางที่จังหวัดตราด เผื่อจะได้เป็นต้นแบบของกลุ่มเกษตรกรที่เขารวมตัวกัน แล้วเขาสามารถที่จะส่งออกได้ แล้วเขาได้ราคาที่ดี เพียงแต่ว่ากลไกของรัฐที่เรามีอยู่นี้จะช่วย สนับสนุนให้เขาสามารถที่จะส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ มีความเข้มข้น และได้ราคา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเจรจาปลายทางก็ดี เรื่องเอกสารก็ดี เรื่องการขนส่ง หรือแม้แต่เรื่องของเงินทุน ผมก็ถือโอกาสนี้ฝากกลุ่มมังคุดวัดดงกลางไว้ด้วยของจังหวัดตราด ซึ่งจะเป็นต้นแบบของการที่กลุ่มเกษตรกรสามารถที่จะส่งออกเองได้ ขอบคุณมากครับ ท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ขอเสนอรายชื่อ คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ จำนวน ๑๕ ท่าน ดังนี้ ในสัดส่วนของพรรคก้าวไกล ๕ ท่าน ๑. นายศักดินัย นุ่มหนู ๒. นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน ๓. นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย ๔. นายสรวีย์ ศุภปณิตา ๕. นายณรงเดช อุฬารกุล ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย จำนวน ๔ ท่าน ดังนี้ ๑. นางสาวสกุณา สาระนันท์ ๒. นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ ๓. นายสุรพจน์ เตาะเจริญสุข ๔. นางฐิติมา ฉายแสง ในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย จำนวน ๑ ท่าน คือนายสัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ สัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐ จำนวน ๑ ท่าน คือนายสุธรรม จริตงาม สัดส่วนของพรรครวมไทยสร้างชาติ จำนวน ๑ ท่าน คือนายธานินท์ นวลวัฒน์ สัดส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนา จำนวน ๑ ท่าน คือนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สัดส่วน ของพรรคไทยสร้างไทย จำนวน ๑ ท่าน คือนายชัชวาล แพทยาไทย และพรรคเพื่อไทยรวมพลัง จำนวน ๑ ท่าน คือนางพิมพกาญจน์ พลสมัคร ขอผู้รับรองด้วยครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ ๓๖๕ เห็นด้วยครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมขอสนับสนุน ญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและเสนอแนะ การแก้ไขกฎหมายประมงทั้งระบบและเป็นธรรมกับผู้ประกอบการประมงและกิจการ ต่อเนื่องและสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ต่อญัตตินี้เป็นความดีใจที่มีญัตตินี้ เข้ามาสู่สภา ท่านประธานครับเราทราบกันดีครับว่าจากสมัยที่แล้วเราพูดกันถึงเรื่องปัญหา ของพี่น้องชาวประมง พูดกันมาเยอะมาก แล้วก็ปัญหาของพี่น้องชาวประมงก็ยังดำรงอยู่ แม้จะมีการนำเสนอกฎหมายเข้าสู่การพิจารณา แล้วก็ได้ผ่านในวาระ ๑ แต่ว่าด้วยเงื่อนไข ของเวลาทำให้กฎหมายประมงนั้นไม่สามารถที่จะเข้ามาสู่การพิจารณาในสภาชุดนี้ได้ แต่สิ่งที่มันไม่ได้ตกไปด้วยนั่นก็คือเรื่องปัญหาของพี่น้องชาวประมงที่ยังคงยืนเด่น แล้วก็ยัง เป็นปัญหาที่ท้าทายรอการแก้ไขจากรัฐบาล เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นหน้าที่ อันสำคัญที่สภาแล้วก็ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะต้องได้พิจารณาแก้ไขกันต่อไป ผมสนับสนุน ญัตตินี้ ด้วยเหตุผล ๓ ประการด้วยกัน
ประการแรก อยากจะนำเสนอพูดถึงปัญหาซึ่งสภาพปัญหาของพี่น้อง ชาวประมงก็ไม่อยากที่จะต้องใช้เวลาในการพูดถึงเรื่องนี้เยอะ เพราะว่าก็เป็นที่รับรู้รับทราบ ไปแล้วว่าวันนี้ พี่น้องชาวประมงนั้นเผชิญกับภาวะวิกฤติล้มละลาย เป็นหนี้เป็นสิน บางราย ฆ่าตัวตายจากมาตรการต่าง ๆ จากกฎหมาย จากกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำให้เขาไม่สามารถที่จะ ดำรงในอาชีพนี้ต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องชาวประมงทั้งภาคตะวันออก ภาคใต้ ทุกคน ล้วนแล้วแต่เผชิญกับสถานการณ์ภาวะวิกฤติเป็นความหายนะในอาชีพของพี่น้องชาวประมง ตลอดจนกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมประมงทั้งระบบ เพราะฉะนั้นจึงมีความจำเป็น ที่เราจะต้องมาพูดแล้วก็ต้องหาทางแก้ไขปัญหานี้กัน ที่มาของปัญหานี้ก็อย่างที่เรา ทราบกันว่าหลังจากที่มีคณะ คสช. ที่เข้ามาบริหารประเทศ มีการออก พ.ร.ก. ๒๕๕๘ โดยเนื้อหาทั้งหมดที่ออกมานั้นเป็นมาตรการในการที่จะบังคับ ควบคุม มีบทลงโทษที่รุนแรง ก็บอกกันง่าย ๆ ว่าอาจจะต้องทำให้เป็นการเอาใจสหภาพยุโรป หรือ EU โดยมีมาตรการที่จะต้องทำให้แก้ไขปัญหานี้ให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน มาตรการต่าง ๆ จึงออกมาด้วยคำสั่ง คสช. ที่ ๑๐/๒๕๕๘ ที่มีการตั้งศูนย์ปราบปรามการทำประมง ที่ผิดกฎหมาย หรือที่เราเรียกกันว่า ศปมผ. ที่มี ผบ.ทร. เป็นผู้ควบคุมที่มีคำสั่งทางทหาร เป็น มาตรการทางทหารที่เข้ามาดำเนินการ เพราะฉะนั้นการดำเนินการต่าง ๆ ในยุคนั้น จนถึงบัดนี้ ๙ ปีมาแล้วจะ ๑๐ ปีแล้วด้วยซ้ำปัญหาของพี่น้องชาวประมงเจอกับภาวะวิกฤติ มาอย่างหนัก เพราะฉะนั้นถัดจากนี้ไปเราทราบแล้วว่าปัญหาที่มาจากนโยบาย หรือมาตรการที่มีบทลงโทษ และไม่มีมาตรการในการที่จะส่งเสริม เน้นในแง่ของการที่จะ ควบคุมเป็นหลักจนทำให้อุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศเราต้องถึงขั้นวิกฤติทีเดียว ทำให้ประเทศนี้สูญเสียรายได้ เพราะฉะนั้นอนาคตที่เราต้องการจะเห็น ผมถึงต้องเสนอ หลักปฏิบัติ ๖ ข้อด้วยกันที่จะเสนอต่อสภาแห่งนี้นะครับ
ข้อแรก ก็คือเรื่องของการคำนึงถึงความทันสมัยของกฎหมายที่เราพูดถึงกัน ตอนนี้ที่จะมีการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว การคำนึงถึงความทันสมัย ของข้อกฎหมายที่สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายประมง หรือว่า กฎหมายแรงงานประมงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะฉะนั้นไทยเองเรา ก็เป็นหนึ่งในประเทศเราก็ต้องคำนึงถึงความเป็นหลักการที่เป็นสากล เพราะฉะนั้นกฎหมาย ของเราเองก็ออกมาให้มีความสอดคล้องกับหลักการทางสากล
ข้อที่ ๒ เราต้องการเห็นการกระจายอำนาจ และสร้างการมีส่วนร่วมของ พี่น้องชาวประมงให้สามารถที่จะเข้ามากำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบ และวิธีการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการทำประมงมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จาก พ.ร.ก. ประมง ปี ๒๕๕๘ มีการปรับปรุง แก้ไขในปี ๒๕๖๐ ซึ่งก็ไม่ได้เพิ่มมาตรการในการส่งเสริมอะไร เพราะว่าที่มาของการกำหนด หลักเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะที่เป็น ชาวประมงเองที่มีส่วนได้เสียโดยตรงนะครับ เพราะฉะนั้นเราจึงอยากเห็นเรื่องของ การกำหนดหลักเกณฑ์ที่มีการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น ให้กับพี่น้องชาวประมงเข้ามา มีส่วนร่วม
ข้อที่ ๓ ก็คือการวิเคราะห์พฤติกรรมการทำประมง และการวางแบบแผน กฎหมายให้สอดคล้องกับการทำประมงโดยยึดหลักความยั่งยืนของทรัพยากร วิถีการทำ ประมงบางทีผู้ที่ออกกติกาต่าง ๆ เองก็ไม่ได้ทราบ ไม่ได้มีความชัดเจน อันนี้จะมีความ สอดคล้องกับข้อที่ ๒ ว่าการที่ให้มีผู้แทน หรือตัวแทนของพี่น้องชาวประมงนั้นสามารถเข้ามา มีส่วนร่วมก็จะทำให้การออกแบบกติกาต่าง ๆ นั้นเกิดความสอดคล้องครับ
ข้อที่ ๔ การดำเนินการเพื่อให้มีการบริหารจัดการที่มีการบันทึกรายงาน การติดตาม ตรวจสอบ มีการตรวจสอบย้อนกลับทั้งการทำการประมง การขนส่งสินค้า การควบคุม การมีคนประจำเรือ การนำเข้า ส่งออกสินค้าประมงให้เกิดความสะดวก มีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้ เราต้องการเห็นมาตรการเหล่านี้ เพื่อความโปร่งใส เพื่อความมั่นคงในการธุรกิจในการประกอบอาชีพไม่ให้มีการกระทำที่ผิดกฎหมายครับ
ข้อที่ ๕ ข้อนี้ก็สำคัญ การบริหารจัดการการแต่งตั้งและควบคุมการใช้อำนาจ ของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้ใช้อำนาจที่ถูกต้องแล้วก็เป็นธรรม และใช้มาตรการ ทางการปกครอง รวมถึงการกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสมสอดคล้องกับโทษที่ได้รับ ที่ผ่านมาโทษของพี่น้องชาวประมงที่ถูกตัดสินตัดสิทธิต่าง ๆ สูงมากอาจจะสูงที่สุดในโลกนี้ ก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นอำนาจของเจ้าหน้าที่เองนี้จะต้องมีการพิจารณาจัดการอย่างเหมาะสม ทั้งเรื่องของอำนาจของเจ้าหน้าที่ ทั้งตัวบทลงโทษที่ต้องสอดคล้องไม่ใช่เอาเข้าถึงตายนะครับ
ข้อสุดท้าย การให้มีกองทุน วันนี้พี่น้องชาวประมงล่มสลาย ล้มละลาย เพราะฉะนั้นการที่เขาจะกลับเข้าสู่อาชีพของการทำอาชีพประมงให้รุ่งเรืองเป็นอาชีพที่ส่งต่อ ให้กับลูกหลานเขาได้ การมีกองทุนเพื่อการที่จะกลับเข้ามาประกอบอาชีพนี้จึงมีความสำคัญ และมีความจำเป็นครับ จึงขอสนับสนุนญัตตินี้ครับ ขอขอบคุณครับท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมขอหารือปัญหา ของพี่น้องชาวตราด เป็นความเดือดร้อนและเป็นความต้องการของพี่น้องชาวตราด ใน ๓ เรื่องครับท่านประธาน
เรื่องแรก ขอให้มีการพัฒนายกระดับ ด่านการค้าชายแดน ๒ แห่ง อันนี้ก็เป็นด่านบ้านท่าเส้น ซึ่งเป็นภาพในอดีตที่เคยมีการค้าขาย กันมาก่อนนะครับ ภาพถัดไปนี่นะครับ ในอดีตที่มีการค้าขายเปิดให้คนทั้ง ๒ ประเทศนี้ ไปมาหาสู่กัน ค้าขายด้วยกันทางเป็นแบบนี้ครับ ซึ่งปัจจุบันนี้ทางได้รับการพัฒนาเป็นถนน ๔ เลน แต่ว่าไม่ได้เปิดด่านให้มีการค้าขายสำหรับด้านชายแดนบ้านท่าเส้น สภาพเป็นอย่างนี้ ท่านประธานครับ แล้วก็ด่านที่ ๒ ด่านบ้านมะม่วงที่อำเภอบ่อไร่ ทั้ง ๒ ด่านนี้ต้องการ ให้มีการยกระดับเพื่อการค้า การลงทุนของพี่น้องที่อยู่จังหวัดชายแดน แล้วก็ให้มีการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะไฟฟ้าที่เขามีความต้องการจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหน่วยที่อยู่ หน้าด่านนะครับ
เรื่องที่ ๒ ก็ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมเร่งก่อสร้างสะพาน ข้ามเกาะช้าง อันนี้เป็นภาพในช่วงเทศกาลหลาย ๆ ท่านที่ไปเที่ยวที่เกาะช้างก็จะทราบดีว่า รถติดที่จะต้องรอขึ้นเรือ จึงมีความจำเป็นทั้งในเรื่องของการสนับสนุนเรื่องการท่องเที่ยว ทั้งในเรื่องของการช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุ เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ครับ รถติดยาวมาก นี่ก็เป็นภาพที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลของแต่ละครั้ง อันนี้ก็ขอให้ทางกระทรวงคมนาคม ได้เร่งในการที่จะทำโครงการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะช้างครับ
เรื่องสุดท้าย ขอให้มีการเร่งรัดโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำที่ห้วยสะตอ ปีนี้พี่น้องชาวตำบลสะตอเจอกับภาวะน้ำท่วมมาแล้ว ๓ รอบ แล้วก็เป็นอย่างนี้มาตลอดทุกปี เพราะฉะนั้นการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะตอมีความสำคัญในเรื่องของการที่จะช่วยป้องกัน น้ำท่วมและป้องกันน้ำแล้งที่จะเอาไว้ใช้ในฤดูของการที่ต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตร ทั้ง ๓ เรื่องนี้ฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยครับ ขอขอบคุณมากครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ขอหารือปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องชาวจังหวัดตราดต่อสภา ๑ เรื่องครับท่านประธาน ก็เป็นความ เดือดร้อนของราษฎรที่อยู่ตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เป็นความเดือดร้อน ที่เกิดจากการที่ราษฎรจำนวนหนึ่งต้องสละสิทธิ์ที่ดินเพื่อที่จะให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำ เขาปีกกาที่ตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ ทีนี้ปรากฏว่าอ่างนี้ก็ได้มีการสร้างไปแล้ว ดำเนินการสร้างไปแล้วประมาณ ๕-๖ เดือนผ่านมาแล้วนะครับ แต่ว่าเงินค่าเวนคืนในการ สละสิทธิ์ที่ดินนั้นยังไม่ถึงมือชาวบ้านอย่างครบถ้วน ตรงนี้ก็ทำให้ชาวบ้านเองก็ได้มีการ สอบถาม เพราะยังไม่แน่ใจว่าจะได้มาเมื่อไร อย่างไร ทางเจ้าหน้าที่หน่วยงานของสำนัก ชลประทานเองที่อยู่ในพื้นที่ก็ลำบากใจ เพราะไม่มีอำนาจในการที่จะมาบอกว่าจะได้เมื่อไร เขาก็รับหน้าอยู่ตอนนี้ ทีนี้ความจำเป็นและความเดือดร้อนที่มันเกิดขึ้นกรณีที่มีการจ่าย ค่าเวนคืนที่ล่าช้าทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนมี ๒ ประเด็นใหญ่ ๆ ด้วยกันครับท่านประธาน
อย่างแรกก็คือว่าในพื้นที่ที่มีการสละสิทธิ์เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านเขาปลูกผลไม้ เอาไว้แล้วก็มีรายได้ดีที่ผ่านมา แล้วก็มีการเก็บเกี่ยวในฤดูกาลข้างหน้าทุกปี แล้วเขาก็จะมี การดูแลใส่น้ำ ใส่ปุ๋ย เพื่อที่จะมีการเก็บเกี่ยวได้ แต่ปรากฏว่าพอมีการประกาศให้สละสิทธิ์ ก็ต้องออกจากพื้นที่ แล้วตอนนี้ก็ยังไม่ได้เงินด้วยนะครับ เขาก็เลยยังไม่ได้เข้าไปทำในการ ที่จะดูแลรดน้ำ ใส่ปุ๋ยเพื่อจะรอการเก็บเกี่ยว อันนี้ทำให้ชาวบ้านเองเขาเสียโอกาสครับ
ประการที่ ๒ ที่สำคัญครับท่านประธาน ก็คือว่าชาวบ้านที่เขาต้องได้รับ ค่าเวนคืนเขาต้องออกจากพื้นที่แน่ ๆ เขาก็มีการไปซื้อที่แห่งใหม่ ไปวางมัดจำเอาไว้ แล้วพอ เงินมา พอเงินที่บอกว่าจะจ่ายวันนั้นวันนี้แล้วไม่มาตามเวลาที่กำหนดไว้ เขาถูกยึดมัดจำ ครับท่านประธาน นี่ก็เป็นความเดือดร้อน ผมจึงเรียนต่อท่านประธานไปยังกรมชลประทาน แล้วก็สำนักงบประมาณได้ช่วยเร่งรัดในการจ่ายค่าเวนคืนนี้ให้กับชาวบ้านโดยเร่งด่วน ด้วยครับ ขอขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ขอหารือท่านประธาน ในเรื่องสำคัญ ๒ เรื่องครับ
เรื่องแรก เป็นเรื่องของโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว ที่อำเภอเกาะช้าง ซึ่งเป็นโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อที่จะไว้ใช้เพื่อการประปา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แล้วก็เรื่องของการเกษตร ซึ่งมันมีความสำคัญมากสำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว ขอสไลด์ด้วยนะครับ
แต่ว่าโครงการนี้ท่านประธานครับ มันก็ มีการทำ ๆ แล้วก็หยุด ๆ ไป มีการทำที่ไม่ต่อเนื่อง มีปัญหาในเรื่องการก่อสร้าง ในปัจจุบันนี้ ก็คือว่าประเด็นในเรื่องของการส่งมอบที่ดิน การส่งมอบที่ดินก็ต้องให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทำการส่งมอบที่ดินให้กับผู้ที่เข้ารับจ้างนะครับ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็อยู่ใน ระหว่างของการดำเนินการ แต่ว่ามันมีการก่อสร้างไปแล้วครับ ครม. ก็มีมติเห็นชอบไปแล้ว ในหลักการว่าให้มีการเพิกถอน เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็กำลังมีการ ก่อสร้างอยู่ครับท่านประธาน ซึ่งเดินหน้าไปแล้ว แต่ว่าก็ยังมีการติดขัดกันในบางเรื่องแน่ ๆ ในเรื่องของระเบียบราชการ ผมก็อยากที่จะให้ทางคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบ แล้วก็ เร่งรัดในเรื่องของโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าวนี้โดยเร่งด่วน เพราะว่าถ้าล่าช้าออกไปจะ ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดหรือที่เกาะช้างนี้ได้ครับ
เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับใบรับรอง GMP ครับ ตอนนี้ก็ใกล้ที่จะเข้าสู่ ฤดูกาลเก็บเกี่ยวอีกไม่ช้าที่จะมีการส่งผลไม้ของภาคตะวันออกไปยังต่างประเทศ แล้วตลาดใหญ่ ของเราก็คือประเทศจีนครับ ทีนี้ประเทศจีนเขามีข้อกำหนดที่สำคัญไว้ว่าผลไม้ที่นำเข้า ประเทศจีนต้องมาจากแปลงปลูกที่มีการรับรองมาตรฐาน GMP แล้วก็มาจากโรงคัดบรรจุ ที่ได้รับรองมาตรฐาน GMP แล้วก็มีการรับรองการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตพืชหรือ DOA จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งทั้งหมดต้องมีการขึ้นทะเบียนจากทางการจีนด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ ปัญหาก็คือว่า GMP นั้นมีไว้ไม่เพียงพอ มีปัญหาเรื่องของการสวมสิทธิทั้ง GMP DOA นะครับ ก็อยากให้กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการในการที่ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในการที่จะ ให้มีการทำใบรับรอง GMP DOA ควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การส่งออกผลไม้ของ ภาคตะวันออกที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้านี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยครับ ขอขอบคุณครับ ท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมคิดว่าในส่วนของ รายงานผมไม่มีอะไรติดใจ แต่ว่าอยากที่จะฝากภารกิจสำคัญให้กับทางคณะกรรมการกองทุน สงเคราะห์เกษตรกรใน ๒ ประเด็นด้วยกันครับท่านประธาน
เรื่องแรก ผมก็คิดว่าไหน ๆ สมาชิกผู้ทรงเกียรติได้พูดถึงกันพอสมควร ประเด็นเรื่องของการที่จะเข้าถึงในเรื่องของกองทุนสงเคราะห์นี้ที่พี่น้องประชาชนและ พี่น้องชาวเกษตรกรจะเข้าถึงได้อย่างไร แล้วก็มีการให้ความรู้ความเข้าใจว่ากลไก หรือกระบวนการต่าง ๆ นี้ผมยังคิดว่าเรื่องนี้ยังมีการรับรู้ไม่มากนักในส่วนของพี่น้อง เกษตรกร ก็อยากที่จะให้ในส่วนของทางคณะกรรมการกองทุนนี้ได้สร้างการรับรู้ที่มี ประสิทธิภาพให้มากขึ้นว่าเขาจะเข้ามาใช้ในกรณี ในเหตุไหน อย่างไรได้บ้าง อันนี้ก็เป็น ประเด็นหนึ่งที่อยากจะได้ฝากไปทางคณะกรรมการ เพราะผมยังคิดว่าหลาย ๆ คนที่เรา มีโอกาสได้พบกับพี่น้องเกษตรกรเองก็ยังไม่ได้ทราบเรื่องนี้
เรื่องที่ ๒ ผมคิดว่าก็เป็นเรื่องสำคัญว่าที่อยากเห็นการพัฒนาบทบาทของ กองทุนสงเคราะห์ที่จะเข้าไปมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกร ผมยกตัวอย่างครับท่านประธาน อย่างกรณีที่ทางคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการลงพื้นที่ไปที่จังหวัดฉะเชิงเทราก็ดี จังหวัดสมุทรปราการก็ดี ไปพบกับพี่น้องที่มี การเพาะเลี้ยงปลากะพง แล้วก็ปลากะพงมีราคาตกต่ำ แล้วก็สร้างความเสียหาย สร้างภาระ การขาดทุนที่เป็นภาระให้กับพี่น้องเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ก็ยังคิดว่ากองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรนี้จะเข้าไปช่วยดูแลอย่างเร่งด่วนได้อย่างไรที่จะไม่ให้เกิดปัญหาเป็นวงกว้าง แล้วก็ สร้างผลกระทบต่อพี่น้องเกษตรกรจนหลายคนตอนนี้ติดหนี้เป็นร้อยล้านก็มีครับ ท่านประธาน แล้วก็อีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของการที่กองทุนจะได้เข้าไปสนับสนุนในเรื่องของ การลดต้นทุนปัจจัยการผลิตของพี่น้องเกษตรกร หลาย ๆ ปัญหาที่เรามีปัญหาลักลอบ การนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะส่วนหนึ่งก็คือว่า ต้นทุนอาหาร ต้นทุนปัจจัยการผลิตของเรามีราคาสูง ผมยกตัวอย่างเรื่องของหมูเถื่อนก็ดี อย่างน้อยก็เป็นที่มาที่ไปทำให้เห็นชัดว่าต้นทุนการผลิตของเรามีราคาสูงมาก เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะเข้าไปส่งเสริม เข้าไปช่วยเหลือตรงนี้ได้จะทำให้ต้นทุนการผลิตของ พี่น้องเกษตรกรลดลง แล้วก็สามารถที่จะเสริมสร้างศักยภาพของการแข่งขันได้
อีกส่วนหนึ่งครับท่านประธาน ก็คือเรื่องของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ กลุ่มสหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ เท่าที่ผมได้สัมผัสได้พูดคุย โดยเฉพาะเรื่องของสหกรณ์ เรื่องของการแปรรูปก็ดี สหกรณ์การเกษตรที่ต้องการที่จะนำสินค้าเกษตรในการที่จะ รวมกลุ่มและสร้างอำนาจของการต่อรอง บางทีก็ยังขาดแคลนในเรื่องของเงินทุน ตรงนี้ ถ้าหากว่าทางกองทุนนี้สามารถที่จะเข้าไปช่วยสนับสนุนเป็นการเสริมพลังให้กับสหกรณ์ ทางการเกษตร สหกรณ์การแปรรูปสินค้าเกษตรต่าง ๆ ก็จะเป็นการสร้างศักยภาพที่ทำให้ เขามีความมั่นคงเข้มแข็งมากขึ้น
อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นรูปธรรมชัดเจนอันหนึ่งที่ผมเจอมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่จังหวัด ตราด มีเรือประมงของพี่น้องชาวประมงที่เกาะช้าง เรือไปล่มที่ทะเลแล้วก็มีการสูญหายกัน ณ วันนี้ก็ยังไม่พบว่าเขาทั้งหมดนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ แต่ก็ผ่านมาหลายวันแล้ว ทีนี้ การช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่เป็นชาวประมงที่เขาประสบภัยก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าพี่น้อง ชาวประมงเองเขาจะได้รับสิทธิหรือเข้าถึงเงินช่วยเหลือจากกรณีเหตุเภทภัยอะไรต่าง ๆ เหล่านี้มันเป็นอย่างไรได้บ้าง อันนี้ผมก็ลองไปถามเขาดูแล้ว ทางสมาคมประมงก็ดี กลุ่มอาชีพประมง ทั้งประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน เวลาเขาเจอวิกฤติต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ไม่สามารถที่จะรับรู้ว่าสิทธิที่เขาพึงได้ในเรื่องของเงินกองทุนหรือเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ตรงนี้ เป็นอย่างไรบ้าง และอีกอันหนึ่งสถานการณ์ปัจจุบันนี้มีพี่น้องเกษตรกรอีกหลายส่วน โดยเฉพาะชาวประมงนี้อยากจะย้ำอีกนิดหนึ่งว่าในช่วงฤดูมรสุมก็ไม่สามารถที่จะทำมาหากิน ออกทะเลทำการประมงได้เลย พวกเขาเองก็ไม่แน่ใจว่าจะไปทำอาชีพอะไรเพราะว่าไม่ได้มี เรือกสวนไร่นา ก็ยังคิดว่าตรงนี้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจะเข้าไปช่วยส่งเสริมและ สนับสนุนให้พวกเขาสามารถที่จะมีเม็ดเงินในการที่จะไปประกอบอาชีพอื่น ๆ อะไรต่าง ๆ ได้บ้าง ผมก็เลยอยากที่จะย้ำตรงนี้ใน ๒ เรื่องด้วยกัน ก็คือ ๑. เรื่องของการที่จะให้พี่น้อง เกษตรกรนั้นสามารถที่จะเข้าถึงในส่วนตรงนี้ได้ เข้าถึงกองทุนได้อย่างไร อันที่ ๒ ก็คือ เรื่องของภารกิจที่กองทุนนี้อาจจะต้องมีความฉับไว มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อไม่ให้พี่น้อง เกษตรกรได้รับผลกระทบจากการทำมาหากินของเขา ก็ฝากไว้ ๒ ประเด็นนี้ ขอบคุณมากครับ ท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมมีเรื่องสำคัญที่จะ หารือท่านประธานผ่านไปยังรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการกำชับอย่างเข้มข้นในเรื่องของผลไม้เพื่อการส่งออกครับท่านประธาน โดยเฉพาะเรื่องของทุเรียน เงาะ มังคุด แล้วก็ลำไย อยากให้มีการเอาจริงเอาจังในเรื่องของ คุณภาพของการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุเรียนครับท่านประธาน ทุเรียนนี้สร้างรายได้ นับแสนล้านให้กับพี่น้องชาวภาคตะวันออก ดังนั้นเขาจะต้องควบคุมในเรื่องของคุณภาพ ที่จะต้องไม่ให้มีผลผลิตที่ด้อยคุณภาพไปยังตลาดปลายทางหรือตลาดในต่างประเทศ ผลผลิต ทุเรียนของภาคตะวันออกอีกประมาณสัก ๒ เดือนนี้ก็จะเข้าสู่ฤดูของการเก็บเกี่ยว ฉะนั้น จึงอยากให้รัฐบาลกำชับอย่างเข้มงวดที่จะไม่ให้มีการตัดทุเรียนอ่อน แล้วก็จะไม่ให้มี การสวมสิทธิ ในเรื่องของเอกสารสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นใบ GAP GMP หรือ DOA เพราะว่าหาก เราปล่อยให้มีการตัดทุเรียนอ่อนด้อยคุณภาพนั้นเราจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ เพราะว่าประเทศเพื่อนบ้านเขามีการพัฒนาคุณภาพตามหลังของเรามาติด ๆ
เรื่องที่ ๒ ครับท่านประธาน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความคาบเกี่ยวกัน นั่นก็คือเรื่องของแรงงาน เรามีปัญหาเรื่องของแรงงานอยู่ ๒ ประเด็นหลัก ๆ ด้วยกัน เรื่องแรก ก็คือมีการขาดแคลนแรงงาน ไม่เพียงพอต่อปริมาณผลผลิตที่จะมีการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดความเสียหาย เรื่องที่ ๒ ก็คือกฎหมายแรงงานที่มีความเข้มงวดมากเกินไป แล้วก็มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค่อนข้างสูง จะมีการผ่อนผันได้หรือไม่ครับท่านประธาน ที่จะให้แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรสามารถที่จะใช้บัตรผ่านแดน หรือบัตรอื่นใดที่ได้รับการอนุญาตให้ทำงานตามมาตรา ๖๔ สามารถที่จะมีการเคลื่อนย้าย แรงงานข้ามจังหวัดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานในพื้นที่ของทางภาคตะวันออก จึงอยากจะเรียนผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงการต่างประเทศได้มีการเจรจากับประเทศ เพื่อนบ้านเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องแรงงานนี้โดยเร่งด่วนครับ ขอบคุณมากครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมขอขอบคุณ ท่านประธานไปถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญที่มีดอกเตอร์ปลอดประสพ ที่เป็นประธาน คณะกรรมาธิการทำการศึกษารายงานฉบับนี้ออกมา ซึ่งผมได้ดูแล้วก็ได้เห็นการประชุม ในเนื้อหารายละเอียด และตลอดจนพี่น้องข้าราชการหลายภาคส่วนเลยทีเดียวที่ได้เข้ามา มีส่วนร่วมของการที่จะรับรู้ รับทราบ ออกแบบเพื่อจะแก้ไขปัญหา วางแนวทาง วางมาตรฐาน ในการที่จะยกระดับปัญหาให้กับพี่น้องชาวประมง ก็มีรายชื่อของพี่น้องทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายข้าราชการประจำ ผู้หลักผู้ใหญ่มากมาย ก็ต้องถือว่าทุกท่านได้เข้าใจและรับทราบ ถึงปัญหาของพี่น้องชาวประมงเป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นความหวังให้กับพี่น้องชาวประมง เพราะว่าตลอดระยะเวลาเกือบ ๑๐ ปีมาแล้ว ที่พี่น้องชาวประมงได้เผชิญปัญหาต่าง ๆ อย่างที่ท่านประธานคณะกรรมาธิการได้พูดถึงตั้งแต่ต้นว่า เราเผชิญกับปัญหามาเยอะมาก แล้วที่ท่านประธานสภาได้พูดเมื่อสักครู่นี้นะครับว่า เราได้สูญเสียอำนาจทางทะเลที่เราเคยมี ความยิ่งใหญ่ จริง ๆ แล้ววันนี้เราไม่ได้แค่สูญเสียความเป็นมหาอำนาจทางทะเลเท่านั้น แต่เราได้สูญเสียชีวิตของพี่น้องชาวประมง แล้วความหวังของคนรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่อาชีพประมง ไปอย่างน่าเสียดายครับท่านประธาน ซึ่งดังนั้นหลายท่านได้ทราบแล้วว่า ๙ ปีที่ผ่านมานั้น เกิดอะไร การบริหารจัดการเป็นอย่างไรจนนำมาสู่สภาพปัจจุบัน ซึ่งเราแทบจะไม่ต้องมา พูดถึงกันอีกแล้วนะครับว่า สถานการณ์หรือสภาพปัจจุบันนั้นเกิดอะไรขึ้นกับพี่น้องชาวประมง ของเราในวันนี้
แต่ปัญหาก็คือว่าเราจะทำอะไร อย่างไร เพื่อที่จะให้พี่น้องชาวประมงที่เป็น กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ได้กลับมาสร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างเศรษฐกิจให้กับครอบครัวและประเทศชาติ นำความยิ่งใหญ่ของเรากลับกันมาอีกครั้ง จากรายงานนี้ผมเข้าใจว่าทุกท่านเข้าใจจริง ๆ และเห็นเลยว่าปัญหาต่าง ๆ นั้นเป็นอย่างไร ท่านประธานก็ได้พูดถึงที่มาที่ไปในยุคของรัฐบาล ยุคในอดีตที่ผ่านมาทำอะไร อย่างไรบ้าง
ถัดจากนี้ผมยังคิดว่าเราจะดำเนินการอย่างไรต่อไปที่เป็นเรื่องสำคัญ ที่ผมอยากจะนำเสนอ
ประเด็นแรก ก็คือเรื่องของระยะเร่งด่วนจากนี้ จากระยะเร่งด่วนที่เราพูดถึง ว่าเราจะดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่พี่น้องชาวประมง ที่มีทั้งคดีอาญา คดีทางการปกครอง ฝ่ายทางการปกครองที่มีข้อบังคับทางกฎหมายที่มีความเข้มงวดและ มีบทลงโทษที่เกินกว่าฐานความผิดนั้น ที่เขากำลังโดนคดีอยู่ในขณะนี้จะต้องดำเนินการ อย่างไร ท่านประธานก็บอกแล้วนะครับว่าบางทีมีความผิดแค่เรือลำเดียว อีก ๑๐ กว่าลำ อะไรก็ต้องจอดกันไป แล้วโทษปรับที่สูงรุนแรงนั้น หลายคนที่กำลังเผชิญอยู่นี้จะต้อง ทำอย่างไรให้ตรงกับข้อเท็จจริงสอดคล้องกับวิถีชีวิตของพี่น้องชาวประมง นี่คือเรื่องเร่งด่วน จริง ๆ ครับ ที่จะเอาชีวิตพี่น้องชาวประมงเขาสามารถกลับคืนไปสู่ท้องทะเลได้
ประเด็นที่ ๒ ท่านประธานครับ ผมกำลังดูอยู่ว่าเมื่อเรารู้ปัญหาแบบนี้แล้ว สถานการณ์วิกฤติขนาดนี้แล้ว เราจะส่งเสริมอะไรให้กับพี่น้องชาวประมงบ้าง ส่งเสริมให้ พวกเขาสามารถที่จะกลับไปประกอบอาชีพนี้ได้ ทำไมต้องส่งเสริมครับ สถานการณ์ที่มัน ย่ำแย่ตอกย้ำให้เขาอ่อนแอ อ่อนล้า บางครอบครัวก็ถึงกับสูญเสียชีวิตน้ำตาตกกันไปเยอะแยะ ผมเชื่อว่าท่านประธานคณะกรรมาธิการทราบดี เราจะมีกองทุนช่วยเหลือพี่น้องชาวประมง ให้กลับมายืนอยู่ในอาชีพนี้จะมีหรือไม่
ประเด็นที่ ๓ หากว่ามี แล้วรัฐบาลสามารถที่จะช่วยทำให้พี่น้องชาวประมงนั้น กลับไปประกอบอาชีพได้ เรื่องแรงงานเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ในรายงานนี้ก็พูดถึงครับว่า มันมีอุปสรรค มีปัญหามากพอสมควรที่เป็นปัญหาในแรงงานของชาวประมงเอง ถูกจับด้วย ประเด็นเรื่องแรงงานนี้ก็มาก แล้วก็โดนกันหนักมาก บางทีเราก็ขาดแคลนแรงงานจะทำ อย่างไร ถ้าหากว่าเขาจะต้องกลับไปประกอบอาชีพ แรงงานต้องพร้อม ส่งเสริมให้มีแรงงาน ที่เข้าถึงแรงงานได้ง่ายขึ้นจะเป็นไปได้อย่างไรหรือไม่
ประเด็นที่ ๔ ก็คือเรื่องของการที่เรามองว่าถึงที่สุดแล้วก็ต้องมีการแก้กฎหมาย พิจารณาร่างกฎหมาย ยกร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ ทีนี้กฎหมายที่สำคัญที่ผ่านมาก็คือว่ากฎหมาย ที่มีลักษณะดำเนินการไปแล้วโดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม และสร้างความเสียหายในชีวิต ตลอดจนความสิ้นหวังของพี่น้องชาวประมง มันถึงเวลาแล้วหรือไม่ครับ ที่จะให้พวกเขา เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังมากขึ้น มีส่วนร่วมอย่างจริงจังนะครับ ไม่ใช่แค่เป็นตัวประกอบ คนที่ประกอบอาชีพประมงเข้าใจทะเล รู้จักวิถี รู้จักคลื่นลมมากกว่าพวกเราก็เป็นไปได้ครับ เพราะฉะนั้นเราจะเพิ่มพื้นที่ให้เขามามีส่วนกำหนดได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ ร่างกฎหมายก็ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดค่า MSY บางทีมันก็ไม่ได้สอดคล้อง หรือว่า จะเป็นเรื่องของวันทำการประมง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ผมคิดว่ามันถึงเวลาที่จะมีพื้นที่
เพราะฉะนั้นในทางรายงานผมคิดว่าท่านประธานอาจจะไม่ได้บอกว่าการเข้าถึง ของพี่น้องชาวประมงที่จะเข้ามามีพื้นที่ มีเวทีให้พวกเขา เรามีไว้มากน้อยแค่ไหน อย่างไร เมื่อวานนี้เราได้ข่าวที่พี่น้องชาวประมงเขาบอกว่าจะมีการรวมตัวกัน ที่จะมายื่นหนังสือ ต่อรัฐบาลนี้ที่จังหวัดสมุทรสงครามใช่ไหมครับ ที่พี่น้องชาวประมงก็ยังเผชิญกับในเรื่องของ ปลาเถื่อนที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ หลายอย่างยังเผชิญซ้ำเติมปัญหาของพวกเขาอยู่ ถึงเวลาแล้วครับ ผมคิดว่าวันนี้มันต้องจริงจังจริง ๆ กับปัญหาเหล่านี้ที่จะต้องเอาชีวิตของ พี่น้องชาวประมงนั้นกลับมา ผมหวังเป็นอย่างยิ่งนะครับว่ารายงานฉบับนี้ถ้าส่งถึงมือรัฐบาล จะได้เข้าใจปัญหา และสภาผู้แทนราษฎรของเราแห่งนี้ช่วยกันผลักดันสร้างกฎหมายที่เป็นธรรม ยึดประโยชน์ของพี่น้องประชาชนชาวประมงและเปิดพื้นที่เขาเข้ามามีส่วนร่วม ผมเชื่อว่าเรา ยังสามารถที่จะนำชีวิตความหวังและความฝันของพวกเขากลับมาได้ครับ ขอบคุณมากครับ ท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ขอหารือประเด็นเรื่องน้ำ ซึ่งสำคัญกับพี่น้องเกษตรกรชาวจังหวัดตราดใน ๓ พื้นที่ ก็ขอให้หน่วยงานของกรมชลประทาน ได้เข้าไปดำเนินการในพื้นที่ดังต่อไปนี้
พื้นที่แรก เป็นพื้นที่ของพี่น้องเกษตรกร ตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ ท่านประธานครับ ที่อำเภอแหลมงอบนี้ก็มีแผนงาน โครงการที่จะได้สร้างอ่างเก็บน้ำที่เราเรียกว่า อ่างเก็บน้ำวังตาสังข์ เพียงแต่ว่าวันนี้โครงการนี้ ยังไม่ได้มีการเริ่ม คาดว่าน่าจะปี ๒๕๖๙ หรือปี ๒๕๗๐ ถึงจะได้มีการก่อสร้าง ดังนั้นเพื่อให้ มีน้ำที่เพียงพอต่อพี่น้องเกษตรกรที่จะได้ใช้ที่ตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ ชาวบ้าน ก็อยากให้มีการสร้างฝายกั้นน้ำตามลำคลองที่มีความยาวเกือบ ๑๐ กิโลเมตร เป็นการสร้าง ฝายชะลอน้ำให้ชาวบ้านนั้นได้มีน้ำใช้ แล้วก็จากในภาพนี้ก็จะเป็นฝายกั้นน้ำ ๒ ห้องเขาตะพง ที่มีความทรุดโทรมอย่างมาก ก็อยากให้หน่วยงานได้เข้าไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขด้วยครับ
พื้นที่ที่ ๒ ก็เป็นพื้นที่ของฝายบ้านแตง ที่ตำบลชำราก อำเภอเมืองมีความ ชำรุดทรุดโทรม ภารกิจของฝายนี้ก็เพื่อที่จะได้กั้นน้ำเค็มแล้วก็เก็บน้ำจืด แต่ว่าปัจจุบันนี้ ทรุดโทรมมาก เพราะว่าสร้างมาแล้วก็จะเกือบ ๒๕ ปีแล้วครับ ปัจจุบันนี้ไม่สามารถที่จะ ป้องกันน้ำเค็มได้ ทำให้น้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทางการเกษตรของพี่น้องเกษตรกร ที่ตำบลชำราก ก็ขอให้หน่วยงานชลประทานได้เข้าไปปรับปรุงหรือว่าจะต้องมีการสร้าง ขึ้นใหม่ ก็ได้ เร่งรัดเข้าไปดูให้ด้วยครับ
สุดท้ายในพื้นที่ของตำบลอ่าวใหญ่แล้วก็ตำบลห้วงน้ำขาวในอำเภอเมือง คือ ๒ ตำบลนี้เป็นพื้นที่ที่มีการผลิตทุเรียนเป็นจำนวนมาก แล้วก็เป็นทุเรียนที่มีคุณภาพดี มีชื่อเสียงและส่งออกก่อนของประเทศไทย เพียงแต่ว่า ๒ พื้นที่นี้ยังขาดแหล่งน้ำหลัก ก็อยาก ที่จะให้ทางชลประทานได้เข้าไปวางระบบน้ำให้กับทั้ง ๒ ตำบลนี้ เพื่อที่จะได้มีรายได้แล้วก็ สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพให้กับประเทศนี้ต่อไปครับ ขอขอบคุณมากครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ก่อนอื่นผมต้อง ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านที่ได้ร่วมเสนอร่างแล้วก็ได้อภิปรายกัน อย่างกว้างขวาง ในเรื่องของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. .... ถือว่าเป็นเรื่องที่สภาแห่งนี้ให้ความใส่ใจ สภาแห่งนี้เห็นอกเห็นใจ ถึงเพื่อนพี่น้องร่วมชาติที่ต้องเผชิญกับสภาวะวิกฤติเป็นอย่างยิ่ง ที่ผ่านมาจากอดีต เราก็ต้องบอกว่าการประมงของไทยนั้นเราได้พัฒนาเติบโตมาอย่างช้า ๆ จากอดีตจนถึง ปัจจุบันนั้นจากประมงพื้นบ้านมาเป็นประมงพาณิชย์ขนาดเล็ก ประมงพาณิชย์ ประมง นอกน่านน้ำ พัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการประมงที่สร้างเศรษฐกิจและเติบโตให้กับประเทศนี้ อย่างมโหฬารอย่างมากมาย เป็นเพราะว่าเรามีพื้นที่ทะเลชายฝั่งไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ กิโลเมตร ทั้งในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นั่นคือพื้นที่ที่เราได้สร้างเศรษฐกิจแล้วเรามีภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศที่เหมาะสม ในแง่ของการที่จะทำการผลิต การขนส่ง การแปรรูป การเพิ่มมูลค่า ทำให้ประเทศไทยนั้นติดอันดับต้น ๆ ของโลกในอุตสาหกรรมการประมง เราสามารถ ที่จะทำการบริหารและพัฒนาอาชีพประมงสู่อุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ในการที่จะใช้ เป็นอาหารใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าในประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูป เป็นอาหารสัตว์ก็ดี การแปรรูปเป็นอาหารที่เพิ่มมูลค่าส่งขายออกไปในต่างประเทศ เราเจริญรุ่งเรืองมากในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยเราเป็นผู้นำด้านอาหารทะเล และเป็นผู้สร้างความมั่นคงให้กับอาหารของโลก โดยมีบริบทของกฎหมายแล้วก็ยึดถือ กระบวนการที่พี่น้องประชาชนนั้นหรือผู้ที่มีอาชีพโดยตรงนั้นเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของ พ.ร.บ. สิทธิการประมง พ.ร.บ. เรือไทย พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย กฎกระทรวงแรงงานประมง เป็นต้น ท่านประธานครับ สิ่งที่ผมได้กล่าวถึงนั้นเป็นเรื่องที่ เกิดขึ้นมาแล้วเป็นความรุ่งโรจน์ในอดีตก่อนที่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ตั้งแต่ทันทีที่เรา เข้าสู่ยุคของการบริหารภายใต้รัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหาร ก็ได้นำนโยบาย ที่รับเอามาจากชาติมหาอำนาจให้มาแก้ไขปัญหาการประมงของไทย ในประเด็นเรื่องของ IUU หรือที่เราเรียกว่าการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ขาดการควบคุม และการปรับระดับปัญหาการค้ามนุษย์จาก Tier 3 ก็ยกระดับในเรื่องของแรงงานภาคประมง มาเป็นประเด็น ซึ่งรัฐบาลก็ได้แก้ไขปัญหาโดยรัฐบาล คสช. ดำเนินการไปอย่างดุดัน การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นได้ใช้มาตรการทางกำปั้นเหล็กในการที่แก้ไขปัญหาให้กับ พี่น้องชาวประมง โดยไม่เข้าใจในบริบทของข้อเท็จจริงของการประมงที่เกิดขึ้นมาในอดีตเลย แม้แต่น้อย นำไปสู่การออกร่าง พ.ร.ก. ปี ๒๕๕๘ ฉบับนี้ขึ้นมา มีการแก้ไขเพิ่มเติม ในปี ๒๕๖๐ ผลลัพธ์จากการใช้ พ.ร.ก. ทั้ง ๒ ฉบับนั้นเกิดอะไรขึ้นครับท่านประธาน ได้สร้างความเสียหายอย่างไรบ้าง เราสูญเสียต่อเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวงมูลค่า ๘๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ตลอดระยะเวลา ๘ ปี ของการบริหารประเทศในรัฐบาลยุค คสช. ใน พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๖ ถ้าเราพูดถึงการสูญเสียทางสังคมเรื่องนี้ไม่มีตัวเลขในการที่จะ มาชี้วัดได้ ว่าเป็นมูลค่ามหาศาลเท่าไร ในทางสังคม ชีวิต ความรู้สึกของผู้คนที่เป็นพี่น้อง ชาวประมงนับแสนนับล้านคนบ้านแตกสาแหรกขาด มีหนี้สิน ล้มละลาย หลายครอบครัว ก็ต้องบอกเลยว่าไปต่อไม่ได้จริง ๆ มันอึดอัดตันใจนะครับ พ่อต้องติดคุกก็มี อันนี้ไปดูได้เลยครับท่านประธาน ผู้นำครอบครัวติดคุกจากการ ทำการประมงแล้วก็ถูกจับ ในช่วงของกระบวนการเปลี่ยนผ่านที่ไม่มีช่วงระยะเวลา ของการให้มีการปรับตัว แม่ต้องไปทำงานรับจ้าง สุดท้ายลูกชายในครอบครัวเองก็ต้อง มาค้ายาติดยาเสพติด สิ่งเหล่านี้สร้างผลกระทบอย่างมหาศาลให้กับสังคมของชุมชน พี่น้องชาวประมง และในอดีตชุมชนชาวประมงพื้นบ้านกับชาวประมงพาณิชย์ก็มีการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรทำมาหากินร่วมกัน แต่ปัจจุบันสถานการณ์ของกฎหมายที่มันเข้มงวด ก่อให้เกิดความหวาดระแวง ความไม่ไว้วางใจ และสุ่มเสี่ยงไปสู่ความแตกแยกกันในหมู่ของ ชุมชนพี่น้องชาวประมง ทั้งหมดที่เราสูญเสียก็เพื่อที่จะให้ชาติมหาอำนาจในยุโรป หรือในอเมริกาเองให้การยอมรับ และยอมปลดใบเหลืองที่เอามาใช้ข่มขู่ในเรื่องของ การส่งออก ในเรื่องของประมงสินค้าประมงของเรา ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็ยังมีบางประเทศ ที่มีการหยุดนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย แต่เราก็ได้ใช้วิธีการในการที่จะส่งหน่วยงาน เข้าไปเจรจาพูดคุย แล้วก็สามารถที่จะให้มีการนำเข้าสินค้าประมงจากประเทศไทยได้ ยกตัวอย่าง ในประเทศสวีเดนซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการประกาศห้ามนำเข้าปลาทูน่าทุกชนิด จากประเทศไทย แต่จากการเจรจาในปี ๒๕๕๖ ก็สามารถจะแก้ไขปัญหาโดยที่ไม่จำเป็น ต้องมีการจัดการแบบเฉียบพลันทั้งระบบแบบนี้ ชาวประมงก็ไปต่อได้ วันนี้พรรคก้าวไกล เราได้ทำงานใกล้ชิดกับพี่น้องชาวประมงทั้งประเทศ ทั้งประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ พูดคุยกันทั้งอุตสาหกรรมการประมง ทั้งประมงนอกน่านน้ำ ได้ทำการรวบรวมและศึกษา ข้อปัญหาทางกฎหมายหรือปัญหาต่าง ๆ เราจัดเวทีทั่วประเทศ ระยอง จันทบุรี ตราด พื้นที่ตัว ก ยันไปถึงภูเก็ต เป็นพื้นที่ที่เราพูดถึงพี่น้องชาวประมงให้เข้ามามีส่วนร่วมกันว่า โอกาสในการที่จะเป็นทางรอดของชีวิตนั้น จากการบริหารงานโดยที่ไม่มีการยึดโยง จากการที่ไม่ได้มีการเอาความคิดความเห็นของพี่น้องผู้ที่มีส่วนได้เสียในตรงนั้น เรามีการศึกษาและพูดคุยกัน เพื่อที่จะได้คืนความเป็นธรรมให้กับพี่น้องชาวประมง แต่ก็ทำได้นะครับเรามีการนำพี่น้องชาวประมงเข้ามาสู่สภาในเวทีสภานี้หลายครั้ง หลังจาก ที่ปลายปี ๒๕๖๒ ครับท่านประธาน พี่น้องชาวประมงมาชุมนุมกันที่หน้ากระทรวงเกษตร และสหกรณ์หลังจากนั้นการปรากฏตัวของพี่น้องชาวประมงผู้เดือดร้อน ผู้ที่รับผลกระทบ จากกฎหมายอันหนักหน่วงนั้นก็ได้แสดงตัวตนมาเรื่อย ๆ แล้วก็เข้ามาสู่สภาของเรานี้หลายครั้ง เพื่อหวังว่าสภาจะเป็นที่ในการที่จะแก้ไขปัญหาให้พวกเขา แต่การที่ยื่นหนังสือ แต่การที่ ได้ยื่นกฎหมายเข้าวาระ ๑ เท่านั้นเองในสมัยที่แล้ว แล้วก็ไม่สามารถที่จะยื่นมาเข้าต่อไปได้ เพราะว่าติดไปด้วยเงื่อนไขภายใน ๖๐ วัน วันนี้กฎหมายประมงกลับเข้ามาสู่สภาอีกครั้ง มันจึงเป็นกฎหมายแห่งความหวัง มันจึงเป็นกฎหมายของชีวิตของพี่น้องชาวประมง พี่น้องเพื่อนร่วมชาติของเราที่มีความบอบช้ำอย่างแสนสาหัส เขารอคอยวันนี้ครับ เขารอคอย ที่จะเห็นกฎหมายฉบับนี้ในการที่จะเข้าสู่สภา เพราะฉะนั้นสภาแห่งนี้จะไม่สามารถทำอื่นใด ได้เลย นอกจากที่จะผ่านกฎหมายฉบับนี้ เร่งกระบวนการให้กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว และผมว่านี่คือโอกาสสำคัญของพี่น้องเรา ของผู้แทนราษฎรที่จะมีโอกาสในการที่จะไถ่โทษ หรือไถ่บาปที่เรามีต่อพี่น้องชาวประมงไม่มากก็น้อย ในการที่จะได้ช่วยผ่านกฎหมายฉบับนี้ นำวิถีชีวิตของพี่น้องชาวประมงนับแสนนับล้านนี้กลับมา ผมจึงขอให้สภาแห่งนี้ให้การรับรอง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. .... ในการที่จะนำไปสู่การฟื้นฟูความหวังและความมั่นคงทางเศรษฐกิจทางสังคมของชุมชน ของพี่น้องชาวประมง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะนำความสุข ความมั่นคงของชีวิตของพี่น้องชาวประมง นำไปสู่เรื่องของการพัฒนาอุตสาหกรรม การประมง นำประเทศไทยกลับมายิ่งใหญ่กันอีกครั้ง และพัฒนาความยั่งยืนบนหลักการ ของทรัพยากรที่เราจะใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างมีความรู้รับผิดชอบของผู้ที่ใช้และร่วมจัดการ ทรัพยากร เพื่อให้อาชีพประมง เพื่อให้ลูกหลานของชาวประมงเรานั้นสามารถที่จะมีอาชีพ และทำกินต่อไป ขอขอบคุณมากครับท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล
วันนี้ผมนำประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของถนน หนทาง ซึ่งเป็นปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวจังหวัดตราดมานำเสนอต่อประธาน ๕ สายด้วยกันครับ
สายแรก เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔๗ ซึ่งผมได้รับการประสาน ร้องเรียนมาจากนายสิงหา สูงสกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประณีตบอกว่า ตั้งแต่บริเวณสามแยกนาวงศ์ไปจนถึงสามแยกบ้านนา-แกลง ระยะทางประมาณสัก ๒ กิโลเมตรครึ่ง ไหล่ทางชำรุดผิวจราจรก็เป็นหลุมแบบนี้ละครับ แล้วก็ค่อนข้างมีความเสี่ยง ก็อยากให้เข้าไปดำเนินการปรับปรุง
สายที่ ๒ เป็นถนนสาย ตร.๓๐๓๘ อันนี้ก็ชำรุดหนักมาก อยู่ตรงบริเวณ รอยต่อของพื้นที่หมู่ที่ ๓ บ้านเกษมสุข ตำบลเทพนิมิตติดต่อกับหมู่ที่ ๖ บ้านมุมสงบ ตำบล แสนตุ้ง ระยะทางจะเป็นหลุมเป็นบ่อประมาณสักกิโลเมตรครึ่ง
สายที่ ๓ ถนนหมายเลข ๓๑๕๗ ที่แสนตุ้ง-บ่อไร่ ก็เป็นช่วงบริเวณสามแยก ตาบัวจนไปถึงตำบลเทพนิมิตนี้เป็นช่วงที่ชาวบ้านอยากให้มีการพัฒนาปรับปรุงโดยเร่งด่วน เพราะว่าตรงนี้แคบแล้วก็ขลุกขลักมาก
สายที่ ๔ ถนนหมายเลข ๓๑๕๙ เขาสมิง-ทุ่งนนทรี ตอนนี้ก็มีการพัฒนา ปรับปรุงไปแล้วบางส่วน แต่ว่าช่วงกิโลเมตรที่ ๑๖ ไปจนถึงคลองโสนนี้ระยะทางอีก ๔ กิโลเมตรที่ยังมีความคับแคบ แล้วก็ต้องการที่จะให้มีการขยายพื้นผิวการจราจร
สายที่ ๕ ถนนหมายเลข ๓๒๗๑ โนนสูง-ด่านชุมพล ซึ่งได้มีการพัฒนา ปรับปรุงไปแล้วในบางส่วน แต่ว่าถนนเส้นนี้ค่อนข้างยาว ยังมีพื้นที่ที่ต้องการได้รับการพัฒนา เพราะว่าแคบจริง ๆ แล้วก็ตอนช่วงนี้จะเข้าสู่ช่วงของฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลไม้ก็จะมีรถวิ่งเข้า ออกเป็นจำนวนมาก ก็อยากให้มีการปรับปรุงถนนทั้ง ๕ สายตามที่ได้เรียนต่อท่านประธาน ขอขอบคุณมากครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมขอนำปัญหา ความเดือดร้อนของชาวบ้านจังหวัดตราดมาหารือกับท่านประธาน ๓ เรื่องด้วยกันครับ
เรื่องแรก ขอให้มีการขุดลอกคลอง ในหมู่ที่ ๕ บ้านคลองสน สะพานหิน ตำบลแหลมกลัด คือที่นี่พี่น้องชาวประมงมีปัญหามากเวลาที่ชาวบ้านเขาจะออกทะเล ลำคลองที่ใช้เวลาเข้าและออกตื้นเขินมาก
ก็อย่างภาพที่ท่านประธานได้เห็นอยู่นี้ ก็ถือว่ายังแห้งไม่หมดนะครับ ถ้าจริง ๆ ก็แห้งสนิทคลองเลยไม่สามารถที่จะเข้าออกไปได้ สะดวก แล้วผมก็ได้หารือต่อสภานี้มาหลายครั้งแล้ว ก็อยากให้หน่วยงานของทางกรมเจ้าท่า ไปดำเนินการขุดลอกคลองให้กับชาวบ้าน หมู่ที่ ๕ ตำบลแหลมกลัดนี้ให้ด้วยนะครับ
เรื่องที่ ๒ ผมได้รับการร้องเรียนมาจากนางสาวณพัชรา รัตนวาร ผู้ใหญ่บ้าน หนองรี ตำบลชำราก เขาบอกว่ามีความเดือดร้อนเกี่ยวกับเรื่องของน้ำ หมู่บ้านนี้ไม่ไกลจาก อ่างเก็บน้ำคลองสะพานหิน และที่สำคัญก็คือยังมีท่อน้ำดิบขนาดใหญ่ฝังผ่านหมู่บ้านนี้ไป แต่ว่าหมู่บ้านนี้ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากน้ำนี้เลยครับ ก็จึงอยากที่จะให้หน่วยงาน ของภาครัฐหรือชลประทานได้เปิดประตูน้ำเพื่อที่จะให้มีน้ำใช้เพื่อการเกษตร แล้วก็น้ำเอาไว้ ใช้สำหรับสำหรับการประปาของหมู่บ้านด้วยครับ
เรื่องสุดท้ายครับท่านประธาน เป็นเรื่องที่ผมรับฝากมาจากประธานชมรม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอเกาะช้าง ให้ติดตามในเรื่องของความคืบหน้ากรณีที่มีการประกาศ ที่ดินของรัฐทับที่ดินทำกินดั้งเดิมของชาวบ้าน แล้วก็มีการเรียกร้อง ร้องเรียนไปยังหน่วยงาน หลาย ๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นทั้งในพื้นที่ ทั้งในส่วนกลาง ทั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน ทั้งกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุดท้ายนี้ก็ไปที่สำนักงาน คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ หรือ สคทช. ที่ได้ไปสำรวจวัดกันมาแล้ว แต่ว่าเรื่องนี้ ก็เงียบหายไปแล้วก็ยังไม่คืบหน้า ก็อยากจะเรียนผ่านท่านประธานไปถึงท่านนายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องของที่ดินบนเกาะช้างที่เรื้อรังมานาน ขอฝากท่าน ประธานด้วยครับ ขอบคุณมากครับ