ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย

  • สวัสดีครับ ผม ดอกเตอร์ทีปกร จีร์ฐิติกุลชัย มาในฐานะของเลขานุการคณะอนุกรรมาธิการ ก็จะมาขอชี้แจง เกี่ยวกับเรื่องว่าเราจะใช้เครื่องมืออะไร ขอสไลด์ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ก่อนอื่นจะขอเล่า เริ่มต้นเกี่ยวกับเรื่องงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อเสนอเรื่องแหล่งรายได้ว่าเราจะมีเงินจากไหน ที่จะมาทำบำนาญให้กับพี่น้องประชาชนนะครับ เราต้องพูดถึงบริบททางเศรษฐศาสตร์ การเมืองของประเทศว่ามีความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ประเด็นคือประเทศเรา ไม่ได้จนนะครับ เรามีเงิน เพียงแต่ว่าเราจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ถ้าเรามองดูย้อนหลัง ไปประเทศของเราครัวเรือนระดับล่างได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของ GDP น้อยมากเป็น ส่วนใหญ่ แทบทั้งหมดไปกระจุกอยู่ข้างบนเกือบทั้งหมดจากข้อมูลย้อนหลังกว่า ๓ ทศวรรษ แรงงานไทยได้ค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม เพราะว่าค่าจ้างก็เติบโตไม่ทัน GDP แล้วถ้าเทียบกับผลิต ภาพของแรงงาน ค่าจ้างก็เติบโตไม่ทันนะครับ ยิ่งกว่านั้นยังเห็นชัดเจนว่า ๑๐ ปีที่ผ่านมา ๕๐ ตระกูลที่รวยที่สุด รวยขึ้นเฉลี่ย ปีละ ๒๐-๓๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้น ๑๐ ปีที่ผ่านมา คือรวยเพิ่มขึ้น ๖ เท่าถึง ๘ เท่า จากประมาณ ๑ ใน ๑๐ ของ GDP ก็กลายเป็น ๑ ใน ๓ ของ GDP มูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งเขาร่ำรวยมาจากการผูกขาดการได้สัมปทานต่าง ๆ ถ้าเรามอง ย้อนกลับมาเรื่องผู้สูงอายุ อนาคตไทยเรากำลังจะเผชิญกับความเสี่ยงในเรื่องความยากจน จากวิกฤติผู้สูงอายุ ปีแรกที่เกิดโควิดผู้สูงอายุยากจนเพิ่มขึ้นอย่างมาก แล้วก็กลุ่มที่ยากจน ที่สุดก็คือคนได้รับผลกระทบมากที่สุดนะครับ แล้วถ้าเราดูข้อมูลจะเห็นได้ว่าประชากรรุ่นที่ เรียกว่าเกิดปีละ ๑ ล้านคน หรือสึนามิประชากร กับผู้สูงอายุเขามีความเปราะบางต่อความ ยากจนสูง ส่วนมากไม่สามารถที่จะออมได้ แล้วเราก็เห็นกันว่าคนที่อยู่ในวัยแรงงานรายได้ เติบโตไม่ทันค่าครองชีพนะครับ ข้อเสนอก่อนหน้าที่ผ่านมาเรามีรายงานเรื่องแนวทาง การเสนอกฎหมายบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ซึ่งเคยอภิปรายในสภานี้แล้ว แล้วก็ผ่านความ เห็นชอบ แล้วก็เป็นฐานหลักสำหรับการพัฒนารายงานในฉบับปัจจุบัน โดยสรุปรายงาน ที่ผ่านมา เมื่อปี ๒๕๖๔ ก็ได้ระบุว่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่เพียงพอ แล้วเราควรจะต้องกำหนด เป้าหมายที่เส้นความยากจน แล้วกำหนดแหล่งรายได้มาเรียบร้อยแล้วว่าควรจะเอาเงินมา จากไหนสำหรับงบประมาณ แล้วก็สมทบเข้าเป็นกองทุนบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ แล้วก็มี ข้อเสนอแนวทางทางกฎหมายด้วยว่าจะให้ใช้กฎหมายที่มีอยู่ ซึ่งถ้าเรามองงบประมาณว่าจะ เป็นอย่างไร เราก็อาจจะเหมือนกับกังวลกันว่าถ้าเกิดเราให้ถ้วนหน้า ๓,๐๐๐ บาท งบประมาณมหาศาล แต่ถ้าเรามองความเป็นจริงแล้วเทียบกับบำนาญภาครัฐเส้นสีแดง ในปัจจุบันก็คือระยะยาวอย่างไรงบบำนาญข้าราชการก็จะเพิ่มขึ้นสูงกว่างบของประชาชนอยู่ แล้วถึงแม้เราจะให้ ๓,๐๐๐ บาท หรือถ้าเกิดเราจะกำหนดการออมขั้นต่ำอยู่ที่ ๒,๐๐๐ บาท เป็นระดับที่จะคุ้มครองความยากจนได้จริง ๆ ถ้าต่ำกว่า ๒,๐๐๐ บาท นั่นคือล้มเหลวทันทีไม่ สามารถคุ้มครองความยากจนได้ ถ้ากำหนดขั้นต่ำ ๒,๐๐๐ บาท แล้วให้ออมเพิ่มขึ้นไปได้ถึง ๖,๐๐๐ บาท คือมัธยฐานตรงกลางของสังคมไทยระยะยาวก็ยังใช้เงินน้อยกว่าของบำนาญ ข้าราชการนะครับ นี่คือสิ่งที่อยากชี้ให้เห็น เพราะฉะนั้นกลับมาถึงข้อเสนอแหล่งรายได้จะ เอาเงินมาจากไหน มีข้อเสนอมากมายเลย ๑. ก็คือต้องปฏิรูประบบภาษี ๒. คือปฏิรูประบบงบประมาณ แล้วก็ ๓. ก็คือพัฒนาระบบการออม ซึ่งมีข้อเสนอเยอะแยะอยู่เต็มไปหมด ก็อยากจะขอให้เกิดการพัฒนาเกิดขึ้นจริง ๆ ไม่ใช่เพียงแต่ศึกษาไปเรื่อย ๆ พูดคุยไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้เกิดความเป็นจริง ไม่ได้มีประโยชน์กับประชาชนจริง ๆ สักทีหนึ่ง ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตนะครับ ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการ ประเด็นคำถามแรกที่ถามว่าเงินโอนอยู่ UBI ทำให้คนขี้เกียจ ก็ขออนุญาตสรุปจากงานวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล นะครับ คือสรุปจากงานวิจัยเรื่องเงินโอน เรื่องสวัสดิการทั่วโลกนี้ก็พบว่าไม่มีหลักฐานที่เป็น ระบบที่จะบอกได้ว่าเป็นเงินสวัสดิการของรัฐทำให้ลดแรงจูงใจของคนที่จะหางานทำ เพราะฉะนั้นเป็นมายาคติที่บอกว่าคนรับสวัสดิการจะขี้เกียจ แล้วยิ่งไปกว่านั้นเราก็ไม่มี หลักฐานด้วยว่าถ้าเราเพิ่มบำนาญพื้นฐานแล้วจะทำให้คนในวัยทำงานจะไม่ออมเงิน ขอเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อยแล้วกันในประเด็นที่เป็น Stereotype ว่าความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นกัน ก็คือที่บอกว่าเป็นภาระงบประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหน่วยงานราชการที่พยายามจะ ให้เหตุผลเพื่อจะไม่ให้มีบำนาญของประชาชนเพิ่มขึ้น ก็ควรจะพิจารณาในเรื่องของความมี ประสิทธิภาพตามหลักเศรษฐศาสตร์ว่ามันช่วยให้มี Multiplier Effect มันช่วยคุ้มครองความ ยากจนได้ แล้วก็ในประเด็นเรื่องการกระจายอย่างเป็นธรรมมันสามารถใช้เป็นเครื่องมือ แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเรื่องความเหลื่อมล้ำของประเทศได้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อีกประเด็นหนึ่ง ก็คือที่เป็นความคิดความเชื่อผิด ๆ ก็คือคนไม่จ่ายภาษี ไม่สมควรจะได้รับ ก็ต้องพูดถึงหลักการพื้นฐานที่บอกว่าความเป็นธรรมตามแนวดิ่ง ก็คือคน ที่มีโอกาสได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกว่านี้ควรจะต้องจ่ายภาษีมากกว่าตามสัดส่วน เพื่อจะได้เอาเงินมาทำเป็นงบประมาณ แล้วก็ทำให้สังคมโดยรวมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทีนี้ถึง คนทำงานจำนวนมากไม่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่ทุกคนก็ร่วมจ่ายภาษีเงิน ออมมากมายกว่า ๑๐-๒๐ รายการอย่างน้อย แล้วก็คำถามพื้นฐาน คือคนที่เขาไม่มีโอกาส ตั้งแต่เกิดนี้เราจะไม่ให้เขามีโอกาสได้รับสวัสดิการหรือ เพราะฉะนั้นโดยสรุปก็คือที่เป็น Stereotype ความเข้าใจที่ผิดที่บอกว่าได้รับสวัสดิการแล้วคนจะขี้เกียจไม่หางานทำ อะไรต่าง ๆ นี้ จริง ๆ แล้วมันก็คือไม่จริงนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อีกประเด็นหนึ่งที่สอบถามมาก็คือ เรื่องของการเก็บภาษีของทางด้าน AI โดยสรุปก็คือ ผมเคยเขียนบทความหนึ่งลองค้นหาดูก็ได้นะครับ ชื่อปัญญาประดิษฐ์ แบบรู้สร้างแล้วก็ชื่อผมนะครับ มีรายละเอียดอยู่ แต่โดยสรุปอันนี้ก็คือมีข้อเสนอจาก นักเศรษฐศาสตร์ที่ MIT ที่เก่งมาก ๆ ระดับเป็น Meme ในวงการเศรษฐศาสตร์เขาก็ได้เสนอ เอาไว้ว่าเราควรจะต้องมีการเก็บภาษีให้เป็นธรรมระหว่างแรงงานและผู้ครอบครอง ปัญญาประดิษฐ์ ถ้าเรามาดูในบริบทความเป็นจริงของประเทศเราจะเห็นได้ว่าทุนใหญ่เขาใช้ เทคโนโลยีเข้ามา แล้วก็ใช้วิธีปลดคนออกนะครับ เราควรที่ว่าจะทำให้สังคมมันมีความ Fair มากขึ้น การแข่งขันระหว่างแรงงานแล้วก็ปัญญาประดิษฐ์ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม