ข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ 26
ปีที่ 1
สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง
ครั้งที่ 20 วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม 2566 เวลา 10.44 - 19.33 นาฬิกา
เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านสมาชิกครับ ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมผมอนุญาตให้ท่านสมาชิก หารือตามข้อบังคับ ข้อ ๒๔ ได้หารือท่านละ ๒ นาที ท่านแรกท่านสุรทิน พิจารณ์ เชิญครับ
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม สุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ แบบบัญชีรายชื่อ ๓-๔ เรื่องที่จะกราบเรียน ท่านประธานเป็นปัญหาทั้งนั้น
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องแรก คือปัญหาน้ำท่วม จังหวัดที่กำลังเตรียมรับปัญหาน้ำท่วมก็คือ จังหวัดปทุมธานีที่ภาคกลางเต็ม ๆ เลย น้ำกำลังลงมาจากเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดต่อไป ส่วนมากจะเป็นภาคอีสาน เริ่มตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดร้อยเอ็ด อันนี้รับเต็ม ๆ ทุกปี ผู้รับผิดชอบคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย อยากจะให้ผู้มีอำนาจลงไปดูแลอย่างใกล้ชิด ๒-๓ วันก็เห็น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปที่อุบลราชธานี พี่น้องก็ขอกราบ ขอบพระคุณมานะครับ
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ทาง Walking Street หรือถนนคนเดินจากสถานีรถไฟฟ้าคูคต ไปที่วัดโพสพผลเจริญระยะทางประมาณ ๗๐๐ เมตร อยากจะให้สร้างตรงนี้เพราะว่า ตอนกลางคืนคนเดินมาขึ้นรถสถานีรถไฟฟ้าคูคตมันอันตรายไฟฟ้าไม่มี ก็ขอฝากไปด้วย ที่กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ การแยกอำเภอ คือแยกจากอำเภอคำเขื่อนแก้วแบ่งเป็นอีก อำเภอหนึ่ง อำเภอศาสนคุณมีอยู่ ๖ ตำบล คือ ตำบลทุ่งมน ตำบลย่อ ตำบลโพนทัน ตำบลดงเจริญ ตำบลสงเปือย และตำบลกุดกุง แล้วก็เพิ่มอีกตำบลหนึ่งคือตำบลหนองคู ของอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นทั้ง ๗ ตำบล อันนี้คือพี่น้องอยากจะสร้างความเจริญ ในจุดนี้
นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ อดีต สส. ปฏิวัติฝากมาก็คือเรื่องการรูดบัตรเครดิต นิดเดียว ท่านประธานครับ การรูดบัตรเครดิตบนทางด่วนพอวันใดเครื่องบนทางด่วนเสีย รถจะติดยาวเหยียดเลย ฝากไปที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ได้ดูแลด้วย เพราะว่าพี่น้องเขาเดือดร้อนเหมือนกัน ขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง เชิญครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรียนประธานที่เคารพ ผม ชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขออนุญาต นำเรียนปัญหาในพื้นที่ครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรื่องแรก ถนนทางหลวง ๒๐๓๙ อำเภอน้ำพองไปยังอำเภอกระนวน บริเวณจุดบึงถุงเทียวถนนขาด เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา มีฝนตกลงมาอย่างหนัก เบื้องต้นตอนนี้แขวงทางหลวงขอนแก่นที่ ๑ และศูนย์ซ่อมและบูรณะ สะพานที่ ๒ ได้นำสะพานเหล็ก Barely มาติดตั้งให้ใช้เป็นการชั่วคราว ขออนุญาตนำเรียน ฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางกระทรวงคมนาคมได้โปรด อนุมัติงบซ่อมแซมเป็นการเร่งด่วนครับ เพราะจุดจุดนี้เป็นจุดที่อยู่ใกล้กับโรงงานน้ำตาล ถ้าหากต้องรอช่วงเปิดหีบอ้อย เกรงว่าการจราจรจะเป็นการยากลำบาก และถ้าเกิด จะสามารถทำให้ดียิ่งยวด อยากจะให้พวกเราทำตามคำปรารภของท่านนายกรัฐมนตรี นั่นก็คืออยากจะให้การใช้งบประมาณไม่ซ้ำซ้อนครับ ถนนเส้นนี้มีโครงการจะขยายเป็น ๔ ช่องจราจร ถ้าจะให้ดีทั้งขยายและซ่อมไปพร้อม ๆ กันจะเป็นการดีมากครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ถนนจากบ้านห้วยเชือก บ้านห้วยแสง ผ่านบ้านบะแต้ บ้านหนองแค จนไปสิ้นสุดที่บ้านศรีสถิตย์ บ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน ถนนชำรุด เสียหายมานานแล้วตลอดระยะทาง ถนนเส้นนี้พี่น้องประชาชนต้องสัญจรเพื่อมารับบริการ ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จึงขออนุญาตนำเรียนฝากท่านประธาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั่นก็คือองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโกได้โปรดพิจารณา ซ่อมแซมเป็นการเร่งด่วนให้กับพี่น้องประชาชนครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ถนนจากตำบลห้วยโจด อำเภอกระนวน ผ่านมายังบ้านดงเย็น ตำบลบัวใหญ่ จนไปสิ้นสุดที่สามแยกบ้านคอกคี ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง ถนนชำรุด เป็นดาวอังคารแบบนี้มานานแล้วนะครับ ถนนเส้นนี้ไม่ควรจะมีพี่น้องประชาชนมาแต่งชุด มนุษย์อวกาศเพื่อที่จะมาเรียกร้องให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาซ่อมแซม จึงขออนุญาต นำเรียนฝากท่านประธานครับ ถนนเส้นนี้มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลาย ๆ ท่านต้องสัญจร เพื่อส่งพี่น้องประชาชนเข้ารับการรักษาในตัวเมือง ฝากไปยัง อบจ. ขอนแก่นได้โปรด ดำเนินการซ่อมแซมเป็นการเร่งด่วนครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้ายสั้น ๆ ครับ ถนนทางหลวง ๒๐๓๙ จากอำเภอกระนวนไปยัง ตำบลน้ำอ้อม และอีกเส้นหนึ่งคือถนนทางหลวง ๒๓๒๒ จากอำเภอกระนวนไปยังตำบล หนองกุงใหญ่ถนนไม่มีไหล่ทางเลยสัญจรไปมายากลำบาก จากรูปที่เห็นมีรถบรรทุก ขนาดใหญ่ จึงขออนุญาตนำเรียนฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการ แก้ไขให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านแรก ท่านภราดร ปริศนานันทกุล ท่านที่ ๒ ท่านสุรเกียรติ เทียนทอง ท่านที่ ๓ ท่านเทียบจุฑา ขาวขำ เชิญท่านภราดร ปริศนานันทกุล ครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ภราดร ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง พรรคภูมิใจไทย วันนี้ขออนุญาต หารือท่านประธานสัก ๒-๓ เรื่อง
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เรื่องแรก ผมได้รับการร้องเรียน จากพี่น้องประชาชน หมู่ที่ ๗ ตำบลโพสะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านนายกบุญเรือน ก้อนทองดี พร้อมทั้งท่านผู้ใหญ่วัชรพงศ์ ฉ่ำกระมล ได้ไปดูพื้นที่กับ สส. กรวีร์ก็ได้เห็นสภาพ เขื่อนป้องกันตลิ่งพังอย่างที่เห็นในรูปนะครับ อยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คือ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ไปเร่งสำรวจ และที่สำคัญขอให้เร่งดำเนินการจัดสรรงบประมาณ ให้ด้วย
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ บริเวณหมู่ที่ ๒ ตำบลป่าโมก อันนี้ได้รับร้องเรียนจากท่านสุรพร นายกเทศมนตรีตำบลป่าโมก แล้วก็ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงว่าต้องการเขื่อนป้องกันตลิ่ง เพราะว่าตลิ่งมีสภาพค่อนข้างที่จะชำรุดทรุดโทรมมาก อยากได้เขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อที่จะ แก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมแล้วก็เรื่องตลิ่งพังด้วย
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เรื่องสุดท้าย ภาพที่เห็นนี้เป็นภาพของโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลอ่างทอง อันนี้คือภาพเมื่อไม่กี่วันก่อน สภาพหลังจากที่ฝนตกไม่หนักมากก็ประสบ กับปัญหาน้ำท่วมอย่างที่เห็น ทางโรงพยาบาลได้ของบประมาณกับกระทรวงสาธารณสุขไป เพื่อที่จะขอสร้างอาคารผู้ป่วยนอกราคางบประมาณประมาณ ๒๐๐ กว่าล้านบาท ขณะนี้ เข้าใจว่าทางกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการทำเรื่องขึ้นไปที่สำนักงบประมาณแล้ว ก็ขอให้ทางสำนักงบประมาณช่วยพิจารณาเร่งด่วนใส่เข้าไปในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ เพื่อที่จะให้คนจังหวัดอ่างทองได้มีโรงพยาบาลที่มีขนาดกว้างใหญ่ขึ้น เพราะขณะนี้แออัดมาก ขอให้ท่านประธานส่งถึงสำนักงบประมาณและกระทรวงสาธารณสุข ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านสุรเกียรติ เทียนทอง เชิญครับ
นายสุรเกียรติ เทียนทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม สุรเกียรติ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย สืบเนื่องจากที่ผมได้รับการร้องเรียนจากกับทีมงานของอดีต สส. สุรชาติ เทียนทอง เขตหลักสี่ เขตจตุจักร ถึงประเด็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในเขตดังกล่าว จึงขอหารือท่านประธานใน ๒ ประเด็น
นายสุรเกียรติ เทียนทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ เรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่สัญจรไปมา ริมคลองลาดพร้าว บริเวณชุมชนพหลโยธิน ๓๒ กลุ่มแม่บ้านไทรทอง รัชดาภิเษก ๓๖ ร้องขอให้มีการทำรั้วเหล็กกั้นริมคลองลาดพร้าวบริเวณจุดเชื่อมต่อชุมชนหลังมหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษม ถึงกลุ่มแม่บ้านไทรทอง รัชดาภิเษก ๓๖ รวมระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร เนื่องจากบริเวณดังกล่าวไม่มี Footpath กั้น ไม่มีรั้วกั้นริมคันเขื่อน ทำให้ เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์และรถยนต์พลัดตกลงไปในคลองลาดพร้าวอยู่บ่อยครั้งครับ จึงขอให้สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ช่วยพิจารณาดำเนินการ สร้างรั้วเหล็กกั้นริมคลองลาดพร้าวในจุดบริเวณดังกล่าว และเพื่อเป็นการแก้ไข เป็นการเฉพาะหน้าไปก่อน ทางทีมงานได้พบว่ามีแท่ง Barrier คอนกรีตที่ไม่ได้ใช้งาน กองอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นทรัพย์สินของศูนย์การก่อสร้างและบูรณะถนน ๓ สำนัก การโยธา เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร จึงขอให้ทางกรุงเทพมหานครช่วยพิจารณานำมาใช้ เป็นแนวกั้นชั่วคราวไปก่อนครับท่านประธาน
นายสุรเกียรติ เทียนทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ เรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่พักอาศัยอยู่ใน โครงการบ้านมั่นคงหลายโครงการ บริเวณริมคลองเปรมประชากร ริมคลองบางบัว ริมคลอง ลาดพร้าว เกี่ยวกับระบบไฟส่องสว่างสาธารณะที่ไม่เพียงพอ บางชุมชนมีการติดตั้ง ไฟส่องสว่างด้านหน้าคันเขื่อนด้านหน้าโครงการ แต่บางชุมชนติดตั้งหลังโครงการ ซึ่งมีข้อแตกต่างกันอย่างไม่มีแบบแผน ทำให้เกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยในยามค่ำคืน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรุงเทพมหานคร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) การไฟฟ้านครหลวงช่วยพิจารณาดำเนินการแก้ไขให้ด้วย ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านเทียบจุฑา ขาวขำ เชิญครับ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางเทียบจุฑา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันขอนำความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาหารือกับท่านประธานเพื่อไปให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก้ปัญหาดังนี้นะคะ ดิฉันได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชน ในตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ และอำเภอนายูง ส่วนใหญ่พื้นที่อยู่อาศัย ไม่มีเอกสารสิทธิ เป็น ส.ป.ก. เป็น น.ส. ๒ น.ส. ๓ ไป ภ.บ.ท. ๕ ส่วนใหญ่หลายร้อย หลายพันหลังคาเรือน จึงขอฝากท่านประธานไปยังกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งการออกเอกสารสิทธิด้วย
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอให้กรมทางหลวงแผ่นดินได้แก้ปัญหาเรื่องถนน ๒๐๒๑ สามแยก บ้านดงไร่ ขณะนี้กลางคืนมืดมิด ไฟไม่สว่างเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อย ๆ ดิฉันเดินทางเป็นประจำ มีแต่กรวยสีส้มแล้วก็มีกระดาษสะท้อนแสงอยู่แค่ประมาณ ๑๐ อัน เพราะฉะนั้นขอให้เพิ่ม ไฟฟ้าแสงสว่างแล้วก็เพิ่ม Barrier ด้วยเพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ขอให้กรมทางหลวงได้ซ่อมแซมถนนที่ถูกกระทบจากน้ำท่วม ได้เข้ามาซ่อมแซมถนน แล้วก็ก่อสร้าง แล้วก็ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างถนนสาย ๒๓๔๘ ช่วงบ้านกลางใหญ่ขึ้นเขาไปลงเขาทางอำเภอหนองแวง อำเภอน้ำโสม ระยะทาง ๒-๓ กิโลเมตรเป็นทางคดเคี้ยวมาก ขอขยายถนน ไหล่ทาง แล้วก็ขอไฟฟ้าส่องสว่าง แล้วก็ ถนนสาย ๒๓๔๘ ช่วงอำเภอน้ำโสมไปบ้านปากมั่ง บ้านวังบง บ้านโนนศิลา บ้านวังแข้ และถนนสาย ๒๓๗๖ ช่วงบ้านน้ำซึมไปอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย บ้านนาเก็น ไปบ้านห้วยทราย บ้านนาต้อง บ้านนาสมนึก อำเภอนายูง และถนนหมายเลข ๒๓๔๙ ตอนนี้ชำรุดเสียหายมากทาง อบต. นาแค ขอความร่วมมือมา ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านธนเดช เพ็งสุข ท่านจิรัชยา สัพโส ท่านศุภโชค ศรีสุขจร เชิญท่านธนเดช เพ็งสุข ครับ
เรืออากาศโท ธนเดช เพ็งสุข กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ กระผม เรืออากาศโท ธนเดช เพ็งสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ
เรืออากาศโท ธนเดช เพ็งสุข กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องแรก หมู่บ้าน The Vision ซอยนวมินทร์ ๘๕ หมู่บ้านนี้กำลังจะเกิดปัญหาหลักก็คือการถูกเอกชนทิ้ง เป็นหมู่บ้านใหม่ซึ่งตอนนี้ไม่มีเอกชนที่เป็นเจ้าของหมู่บ้านเข้าดูแลเลย ตอนนี้ชาวบ้าน เดือดร้อนกันมาก อยากฝากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เร่งติดตามภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของ หมู่บ้านนี้ด้วยครับ
เรืออากาศโท ธนเดช เพ็งสุข กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ตลาดอินทรารักษ์ ซอยนวมินทร์ ๗๕ บริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ ที่อยู่ระหว่างรอการยกโอน อยากให้ทางท่านประธานประสานต่อไปยัง กทม. เร่งประสานงาน การดำเนินการเพื่อยกโอนที่ดินผืนนี้ให้กับสาธารณะจะได้พัฒนาร่วมกันต่อไปครับ
เรืออากาศโท ธนเดช เพ็งสุข กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ต่อไปครับ บริเวณตลาด ต. รวมโชค ทราบมาว่าขณะนี้ชาวโชคชัย ๔ เกิดเหตุกล้องวงจรปิดเสียเยอะมาก มีโจรลักขโมยค่อนข้างเยอะ อยากให้ กทม. เข้าตรวจสอบครับ
เรืออากาศโท ธนเดช เพ็งสุข กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ตู้โทรศัพท์บริเวณตลาด ต. รวมโชค โชคชัย ๔ เช่นกันจุดนี้เป็น ตู้โทรศัพท์ที่ไม่ได้ใช้นานแล้ว อยากให้ทางส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับเร่งย้ายออก เพราะว่า กีดขวางทางเดินของพี่น้องชาวลาดพร้าวเป็นอย่างมากครับ
เรืออากาศโท ธนเดช เพ็งสุข กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สุดท้ายครับ เรื่องในอดีตที่ได้ปรึกษาหารือครั้งที่แล้วยังไม่มีเรื่องใด ๆ ที่ดำเนินการเลยของทั้งตัวผมเองและเพื่อนใน กทม. ทุกเขต อยากให้เรื่องติดตามให้แก้ไข เพราะว่านี่เป็นการหารือครั้งที่ ๒ แล้วของพรรคก้าวไกลและของเพื่อน กทม. จากเท่าที่ สำรวจมาน้อยเรื่องมากที่ได้รับการแก้ไข อยากติดตามเรื่องในอดีตด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจิรัชยา สัพโส เชิญครับ
นางสาวจิรัชยา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน จิรัชยา สัพโส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉัน มีเรื่องหารือกับท่านประธานทั้งหมด ๓ เรื่องด้วยกัน
นางสาวจิรัชยา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องแรก ดิฉันขอฝากท่านประธาน ผ่านไปยังกรมทางหลวงชนบทให้จัดตั้งงบประมาณขยายถนนและติดตั้งไฟส่องสว่าง ทางหลวงชนบทสาย สน.๒๐๕๒ ช่วงบ้านผักคำภู ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม เนื่องจาก เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางเชื่อมหลายอำเภอ และเป็นเส้นทางหลักที่ผู้คนใช้สัญจร เป็นจำนวนมาก แต่บริเวณดังกล่าวเป็นทางโค้งรัศมีแคบและสภาพถนนมืดบดบังทัศนวิสัย ในการมองเห็นกลายเป็นจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุซ้ำ ๆ ค่ะ
นางสาวจิรัชยา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอฝากไปถึงกรมทรัพยากรน้ำในการปรับปรุงหนองดินดำ บ้านนาเมือง หมู่ที่ ๒ ตำบลอากาศ และหนองคางฮุง บ้านดงสาร หมู่ที่ ๕ ตำบลโพนงาม อำเภออากาศอำนวย ซึ่งเป็นหนองน้ำธรรมชาติที่ตื้นเขินจากตะกอนดินที่ทับถม ทำให้ ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เต็มประสิทธิภาพ ดิฉันจึงขอฝากท่านประธานผ่านไปยังท่านอธิบดี กรมทรัพยากรน้ำให้มีการขุดลอกหนองทั้ง ๒ แห่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องชาวเกษตรกร ในการเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง รวมทั้งป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เกษตรในช่วงฤดูฝน
นางสาวจิรัชยา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ฝากท่านประธานไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองให้แก้ปัญหา ระบบน้ำท่วมและบำบัดน้ำเสียโดยการปรับปรุงระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ซึ่งเกินความสามารถของท้องถิ่นที่จะรับผิดชอบ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชุมชนเทศบาล ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย เมื่อฝนตกหนักจะเกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำทำให้มีปัญหา ในการสัญจรของพี่น้องประชาชน รวมถึงในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณนานิคมที่มีลักษณะเช่นเดียวกันค่ะ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าปัญหาต่าง ๆ ที่ดิฉัน ได้กล่าวมาทั้ง ๓ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวงชนบท กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทรัพยากรน้ำ ท่านอธิบดีทั้ง ๓ หน่วยงานจะนำปัญหาเหล่านี้ไปดำเนินการในการแก้ปัญหา ความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชน ขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านศุภโชค ศรีสุขจร
นายศุภโชค ศรีสุขจร นครปฐม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายศุภโชค ศรีสุขจร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขตเลือกตั้งที่ ๑ พรรคชาติไทยพัฒนา ท่านประธานครับ วันนี้ผมอยากนำความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ชาวจังหวัดนครปฐมเข้ามาปรึกษาหารือกับท่านประธานครับ พี่น้องประชาชนชาวตำบล หนองดินแดง ตำบลสวนป่าน ตำบลวังเย็น ตำบลบางแขม ตำบลสระกะเทียม ตำบล โพรงมะเดื่อ และพี่น้องที่สัญจรไปมาบนถนนทางหลวงหมายเลขที่ ๔ เพชรเกษม กม. ๖๑-๖๓ กำลังได้รับความเดือดร้อนในการใช้ช่องทางกลับรถตั้งแต่บริเวณหน้าวัดหนองดินแดง ถึงซอยหน้าวัดโพรงมะเดื่อ โดยจุดกลับรถแรกคือจุดกลับรถบริเวณหน้าวัดหนองดินแดง ซึ่งเป็นจุดกลับรถใต้สะพาน เมื่อถึงฤดูฝนจะทำให้เกิดน้ำท่วมขังใต้สะพานทำให้พี่น้องที่สัญจร ไปมาโดยเฉพาะรถยนต์โดยสารขนาดเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ครับ ประกอบกับช่องทาง การจราจรมีขนาดเล็กเกินไปทำให้บ่อยครั้งเกิดอุบัติเหตุ หากเราจะเลยไปใช้จุดกลับรถที่ ๒ คือบริเวณหน้าซอยวัดโพรงมะเดื่อซึ่งเป็นเส้นทางหลักก็จริง แต่ว่าเป็นเส้นทางหลักที่ไม่มี สัญญาณไฟจราจรในการช่วยชะลอความเร็ว รถยนต์จากเส้นทางหลักทำให้ผู้ที่จะใช้เส้นทาง ในการกลับรถเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากครับ และบ่อยครั้งเกิดอุบัติเหตุและการสูญเสีย ชีวิตของพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่สัญจรไปมาครับ ทั้งนี้ทางผมเองได้เข้าไปหารือกับทาง กรมทางหลวง โดยกรมทางหลวงได้มีโครงการสำรวจและออกแบบ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณ ทางหลวงหมายเลขที่ ๔ อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติ EIA อยู่ ซึ่งกินระยะเวลามานานพอสมควรแล้วครับ ผมจึงอยากนำเรียนท่านประธานไปยัง กรมทางหลวงช่วยพิจารณาการออกแบบใหม่ที่ขออนุมัติ EIA แล้วผ่าน หากเป็นสะพานไม่ได้ ทางกรมทางหลวงควรพิจารณารูปแบบใหม่ อย่างเช่นอุโมงค์ทางลอดหรือรูปแบบ การก่อสร้างอื่น ๆ ที่ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ไม่กระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม ต่อโบราณสถาน ท้ายที่สุดนี้โครงการที่ผมได้กล่าวมามีความจำเป็นอย่างยิ่ง จริง ๆ ต่อชาวนครปฐมนะครับ เพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนถนน เพื่อลดการสูญเสียชีวิต ของพี่น้องประชาชนครับ ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านแรกท่านวรวงศ์ วรปัญญา ท่านที่ ๒ ท่านชริน วงศ์พันธ์เที่ยง ท่านที่ ๓ ท่านสุทธิชัย จรูญเนตร เชิญท่านวรวงศ์ วรปัญญา ครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม นายวรวงศ์ วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต ๕ อำเภอท่าหลวง อำเภอชัยบาดาล อำเภอลำสนธิ วันนี้ขออนุญาตหารือ ๓ เรื่องด้วยกันครับ ขออนุญาต ขอ Slide ด้วยครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เป็นถนนสุรนารายณ์บริเวณถนน หมายเลข ๒๐๕ บริเวณนี้ถนนยังอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ครับ เพียงแต่ว่าขาดในส่วนของ ไฟฟ้าแสงสว่างทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาเราได้เห็นข่าว บนหน้าสื่อมีข่าวในเรื่องของคดีกำนันนก แต่ว่าสำหรับพี่น้องประชาชนในเขตผมก็เกิด การผวาหวาดกลัวเช่นกันครับ เนื่องจากในบริเวณนี้ไม่มีแสงสว่างทำให้เกิดคดีฆาตกรรม อำพราง มีการเจตนาที่จะฆ่าแล้วก็เผาในส่วนของการอำพรางของศพ ในส่วนของคดีนี้ ผมขออนุญาตไม่ลงลึกเนื่องด้วยยังอยู่ในระหว่างดำเนินคดี ก็อยากจะของบประมาณ ในการนำแสงสว่างมาเพื่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนนะครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ในส่วนของถนนสาย ลบ.ถ.๑๒๔-๐๐๑ เป็นถนนในบริเวณ ตำบลหัวลำเชื่อมต่อกับตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง เป็นถนนขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดขาดการบำรุงรักษามานาน พี่น้องใช้ทางสัญจรได้ลำบาก รวมถึงพี่น้องเกษตรกร ที่ต้องขนสินค้าเกษตรครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เป็นในส่วนของคลองบ้านหนองจาน เป็นตำบลหัวลำเช่นกัน หมู่ที่ ๕ ซึ่งคลองนี้พี่น้องต้องการใช้น้ำในการทำเกษตร ในช่วงของหน้าแล้งก็ไม่สามารถ กักเก็บน้ำได้ ไม่สามารถลำเลียงน้ำได้ ส่วนในช่วงของหน้าฝนนี้ก็มีวัชพืชปกคลุมทำให้น้ำ เกิดการเอ่อล้นแล้วก็เข้าไปอยู่ในบริเวณทำการเกษตรของพี่น้องประชาชนทำให้เกิด การเน่าเสีย ๓ เรื่องเท่านี้ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านชริน วงศ์พันธ์เที่ยง เชิญครับ
นายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต ๒ นครหลวง ท่าเรือ บางปะหัน มหาราช บ้านแพรก วันนี้ผมมีปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน มาหารือกับท่านประธาน ๕ เรื่องด้วยกันครับ
นายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ
๑. ขอให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซ่อมแซมถนนเชื่อมต่อ ระหว่างสี่แยกเจ็กซัง อบต. สำพะเนียงถึง อบต. คลองน้อย อำเภอบ้านแพรก ซึ่งชำรุดได้รับ ความเสียหายเป็นเวลายาวนานก่อให้เกิดอันตรายต่อการสัญจรไปมา รวมถึงซ่อมแซม ไฟส่องทางให้ใช้งานได้ตามปกติ
นายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ
๒. ขอให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาจัดงบประมาณซ่อมแซมบ่อบำบัด น้ำเสียของโรงพยาบาลบ้านแพรก ซึ่งพื้นและขอบบ่อคอนกรีตแตกร้าวยุบตัวลงทำให้น้ำเสีย ของโรงพยาบาลรั่วซึมลงสู่พื้นดินอันส่งผลกระทบต่อการแพร่เชื้อโรคได้
นายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ
๓. ขอให้กรมเจ้าท่า กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กระทรวง คมนาคมดำเนินการแก้ไขตลิ่งทรุดริมแม่น้ำป่าสักบริเวณหมู่ที่ ๘ ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง เนื่องจากประชาชนหลายสิบครัวเรือนได้รับความเดือดร้อนบ้านเรือนใกล้จะลื่นไหลลงแม่น้ำ แล้วช่วงนี้เป็นช่วงที่มีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดปัญหาซ้ำเติมขึ้นมาได้นะครับ และขอให้ซ่อมแซมคันเขื่อนคอนกรีตป้องกันตลิ่งที่สุดที่วัดดงหวาย และพื้นที่หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง ที่พังถล่มเสียหายอย่างหนัก
นายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ
๔. ตามที่กรมเจ้าท่าพิจารณาอนุญาตให้ตั้งท่าเรือขนส่งถ่านหินและพืชผล ทางการเกษตรอื่น ๆ จำนวนมากกว่า ๒๐ ท่าในอำเภอนครหลวง ก่อให้เกิดฝุ่นละออง จากถ่านหินและแป้งฟุ้งกระจายไปทั่วส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นเวลา ยาวนานกว่า ๓๐ ปีโดยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ แก้ไขอย่างเร่งด่วน
นายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ
๕. สุดท้าย ขอให้กรมทางหลวงพิจารณาก่อสร้างสะพานข้ามสี่แยกทางหลวง หมายเลข ๓๓ กิโลเมตรที่ ๔๕ ตัดกับทางหลวงหมายเลข ๓๒ หรือถนนสายเอเชีย บริเวณอำเภอบางปะหัน ซึ่งจะทำให้รถที่มาจากสระบุรี พระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าไปยัง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เดินทางได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาการจราจร ติดขัดบนถนนสายเอเชีย ขอบพระคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านแรกท่านสุทธิชัย จรูญเนตร ท่านที่ ๒ ท่านพชร จันทรรวงทอง ท่านที่ ๓ ท่านรังสิมันต์ โรม เชิญท่านสุทธิชัย จรูญเนตร ครับ
นายสุทธิชัย จรูญเนตร อุบลราชธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายสุทธิชัย จรูญเนตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี พรรคภูมิใจไทย วันนี้ขออนุญาตท่านประธานที่จะได้หารือในความเดือดร้อน ของคณะผู้บริหารบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนพี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการโรงพยาบาล ตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีรายละเอียดดังนี้
นายสุทธิชัย จรูญเนตร อุบลราชธานี ต้นฉบับ
โรงพยาบาลตระการพืชผล เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด ๑๕๐ เตียง เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายที่ต้องรับผิดชอบ ๖ อำเภอ และมีประชากรอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบกว่า ๔๐๐,๐๐๐ กว่าคน ทำให้มีผู้มาใช้บริการ ในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติปีงบประมาณ ๒๕๖๕ พบว่ามีผู้ป่วยนอก จำนวน ๒๘๔,๐๐๐ กว่าคน และเป็นผู้ป่วยใน ๖๒,๐๐๐ กว่าคน ที่สำคัญอัตราครองเตียงอยู่ที่ ๑๐๑.๖๖ เปอร์เซ็นต์ ท่านประธานครับ ด้วยจำนวนที่มี ผู้มาใช้บริการมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ส่งผลกระทบต่อศักยภาพและประสิทธิภาพ การให้บริการของโรงพยาบาล ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่กล่าวข้างต้นทางผู้อำนวยการ โรงพยาบาลตระการพืชผลจึงได้ทำหนังสือมาถึงผมเพื่อผ่านท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างอาคารสนับสนุนบริการ ๕ ชั้น ขนาดพื้นที่ ๗,๔๘๗ ตารางเมตร ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณ ในปีงบประมาณที่จะถึงนี้เพื่อแก้ปัญหาให้ได้ทันท่วงทีกับปัญหาที่เผชิญอยู่ จึงขออนุญาตที่จะ ขอบคุณท่านรัฐมนตรีเป็นการล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านพชร จันทรรวงทอง เชิญครับ
นายพชร จันทรรวงทอง นครราชสีมา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายพชร จันทรรวงทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต ๑๓ ท่านประธานครับ วันนี้กระผมมีประเด็นหารือความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ทั้งหมด ๓ เรื่อง ดังนี้
นายพชร จันทรรวงทอง นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ของบประมาณ กรมทางหลวงชนบทซ่อมแซมถนนบ้านซับตะเคียน ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัด นครราชสีมา เนื่องจากมีความชำรุดเสียหายเป็นหลุมเป็นบ่ออย่างมากตั้งแต่ปากทางเข้า ที่เดียวจากติดถนนมิตรภาพยาวไปหลายกิโลเมตรทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะเวลาฝนตกทำให้ไม่เห็นถนนที่เป็นหลุมซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก
นายพชร จันทรรวงทอง นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ของบประมาณก่อสร้างสะพานกลับรถหรือสะพานข้ามแยก Overpass บนถนนมิตรภาพทางหลวงหมายเลข ๒ ช่วงตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว กิโลเมตรที่ ๘๘-๘๙ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นทางสี่แยกเข้าหมู่บ้านทำให้มีปริมาณ รถเข้าออกเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้พี่น้องประชาชนเกิดอุบัติเหตุจนต้องเสียชีวิต และทรัพย์สิน เหมือนข่าวที่เห็นบ่อยครั้ง บน Slide นะครับ
นายพชร จันทรรวงทอง นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ได้รับเรื่องร้องทุกข์จากท่าน สจ. เลิศชัย ธนประศาสน์ แล้วก็ท่านมลิวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว ว่าพี่น้องบ้านดอนวัว ตำบลลาดบัวขาว ได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบการสร้างรถไฟความเร็วสูง ถูกเวนคืน ที่ดิน แต่ชาวบ้านหลายคนไม่มีที่ดินหรือเอกสารสิทธิ การรถไฟแห่งประเทศไทยก็แจ้งว่า ไม่ได้ค่าเวนคืน แต่จะได้ค่าเวนคืนสิ่งก่อสร้างและค่ารื้อถอน แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใคร มาแจ้งให้กับพี่น้องประชาชนว่าจะได้ค่าเงินทดแทนเท่าไร แต่ปัจจุบันเครื่องจักรปั้นจั่น มาจ่อหน้าหมู่บ้านแล้วก็ยังไม่มีใครมาแจ้งว่าจะได้เงินเท่าไร ทำให้ชาวบ้านเครียดและร้อนใจ เป็นอย่างมาก กระผมจึงขอผ่านท่านประธานไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย กรมที่ดิน หรือบริษัทเร่งรัด แจ้งค่าเงินทดแทนที่ชาวบ้านควรได้รับว่าจะได้รับเท่าไร แล้วก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดสรรที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นที่ดินรถไฟ หรือ ส.ป.ก. ราชพัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้ชาวบ้าน ที่ได้รับผลกระทบไปเช่าแบบถูกต้องเพื่ออยู่อาศัย และหากขั้นตอนดังกล่าวใช้เวลานาน ก็ขอให้จัดสรรที่ดินชั่วคราวให้ชาวบ้านที่เดือดร้อนย้ายไปเพื่อรอทำเรื่องจนแล้วเสร็จด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านรังสิมันต์ โรม เชิญครับ
นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ผม รังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้มีเรื่องหารือท่านประธานดังนี้ครับ
นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๑. บริเวณทางกลับรถใต้สะพาน หน้าหมู่บ้านมอตโต้ กาญจนาภิเษก-พระราม ๒ มีขยะที่ถูกนำมากองทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก กลัวว่าจะก่อให้เกิดอัคคีภัยลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไป ตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขด้วยครับ
นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๒. บนถนนคู่ขนานเส้นกาญจนาภิเษก วงแหวนรอบนอก บริเวณตั้งแต่ จุดตัดกับเส้นเพชรเกษมไปจนถึงจุดตัดเส้นพระราม ๒ มีสภาพทรุดโทรม ถนนในบริเวณ คอสะพานข้ามคลองหลายจุดเกิดการทรุดตัวจนทำให้เกิดลาดชัน ทำให้การสัญจรยากลำบาก เป็นอันตรายต่อรถเล็ก รถมอเตอร์ไซค์ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปซ่อมแซมถนนด้วยครับ
นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๓. ผม สส. เฉลิมพงศ์ และ สส. ฐิติกันต์ลงพื้นที่ชุมชนโคกโตนด และชุมชน เฉลิมพระเกียรติ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประชาชนในพื้นที่ต้องต่อพ่วงไฟ กันเองแบกรับค่าไฟแสนแพง อยากขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลองพิจารณาข้อเสนอของ ชาวบ้านที่ให้ปักเสาไฟในพื้นที่ลำรางสาธารณะเพื่อให้ชาวบ้านสามารถใช้ไฟได้ นอกจากนี้ อยากขอให้รัฐบาลพิจารณานำปัญหาของพี่น้องเข้าสู่กระบวนการของรัฐบาลเพื่อให้พี่น้อง ประชาชนมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเองด้วยครับ
นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๔. เมื่อเดือนที่ผ่านมาผมได้ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชรับเรื่องร้องเรียน จากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและโคเนื้อตอนนี้กำลังประสบปัญหาราคาตกต่ำ พี่น้อง เกษตรกรได้ฝากมาทวงถามความคืบหน้าในการสร้างตลาดการค้าเนื้อตามชายแดนไทย มาเลเซีย จึงขอหารือไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ช่วยด้วยครับ
นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย เรื่องที่ ๕ ท่านประธานครับ พี่น้องชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ฝากมานำเรียนว่าช่วงนี้มีงานหรอย ๑๐๐ ปี สารทเดือนสิบที่เมืองคอน งานมีตั้งแต่ วันนี้ถึงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ปีนี้จัดกัน ๖ จุด ทั้งที่ทุ่งท่าลาด บวรนคร หรือบวรบาซาร์ สนามหน้าเมือง สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช ศาลากลางจังหวัด และที่วัดหน้า พระบรมธาตุ คนนครเขาฝากหารือไปถึงกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาช่วยเปลี่ยน เมืองคอนจากเมืองรองให้เป็นเมืองต้องลองให้งานสารทเดือนสิบเป็นหนึ่งใน Soft Power ของประเทศไทยในปีต่อไปด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านแรกท่านอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ท่านที่ ๒ ท่านวิริยะ ทองผา ท่านที่ ๓ ท่านมังกร ยนต์ตระกูล เชิญท่านอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ครับ
นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผม นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ เขต ๗ พรรคพลังประชารัฐ ขอ Slide ด้วยครับ
นายอัครแสนคีรี โล่หฺวีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ วันนี้ผมมีประเด็น หารือถึง ๔ ประเด็น
นายอัครแสนคีรี โล่หฺวีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ ขอให้กระทรวงพลังงานเร่งดำเนินการเสนอค่าเวนคืนที่ดิน จากการสร้างเขื่อนลำปะทาวต่อ ครม. เนื่องจากยังเหลือพี่น้องอีกราว ๑๓๗ รายยังไม่ได้รับ ค่าเวนคืน และที่ผ่านมาได้มีการจ่ายค่าเวนคืนแก่พี่น้องในบางส่วนแล้ว
นายอัครแสนคีรี โล่หฺวีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ขอให้ธนาคารกรุงไทยและธนาคาร ธ.ก.ส. ทบทวนการดำเนินการ รื้อถอนตู้ ATM ออกจากชุมชนเขาภูแลนคา สืบเนื่องจากพี่น้องชาวตำบลท่าหินโงม ตำบล ซับสีทอง ตำบลเก่าย่าดี ตำบลท่ามะไฟหวาน พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่อยู่บนเขา ดังนั้น พี่น้องมีความลำบากในการเดินทางหากมีการรื้อถอนตู้ ATM ออกไป
นายอัครแสนคีรี โล่หฺวีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ขอให้การประปาส่วนภูมิภาคพิจารณาขยายเขตบริการประปา สำหรับตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอแก้งคร้อ และตำบลบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์
นายอัครแสนคีรี โล่หฺวีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๔ เรื่องสุดท้าย ขอให้สำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติจัดสรร งบประมาณงบอุดหนุนเฉพาะกิจสำหรับถนนสายทาง อบจ. ดังนี้
นายอัครแสนคีรี โล่หฺวีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
๑. เส้นบ้านหนองมะเขือไปยังบ้านหนองช้างเอก ตำบลหนองขาม อำเภอ แก้งคร้อ
นายอัครแสนคีรี โล่หฺวีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
๒. บ้านโสกมูลนาคไปบ้านหนองหญ้าขาว ตำบลห้วยไร่ ตำบลช่องสามหมอ อำเภอคอนสวรรค์
นายอัครแสนคีรี โล่หฺวีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
๓. บ้านเก่าย่าดีไปบ้านโปร่งช้าง ตำบลท่าหินโงม ตำบลเก่ายาดี อำเภอ แก้งคร้อ
นายอัครแสนคีรี โล่หฺวีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
๔. เส้นทางซำมูลนากไปห้วยหว้านไพร ตำบลหนองไผ่ อำเภอแก้งคร้อ
นายอัครแสนคีรี โล่หฺวีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
๕. เส้นทางซำมูลนากไปบ้านโป่ง
นายอัครแสนคีรี โล่หฺวีระ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
๖. เส้นทางบ้านสระแต้-บ้านหนองผักหลอด อำเภอแก้งคร้อ ตำบลหนองไผ่ ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านวิริยะ ทองผา เชิญครับ
นายวิริยะ ทองผา มุกดาหาร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายวิริยะ ทองผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมุกดาหาร พรรคพลังประชารัฐ ท่านประธาน ที่เคารพ ผมมีเรื่องหารือท่านประธานอยู่ ๓ เรื่อง
นายวิริยะ ทองผา มุกดาหาร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ถนนหมายเลข ๒๐๓๔ เชื่อมระหว่างอำเภอเมืองมุกดาหาร และอำเภอดอนตาลระยะทางประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนหลักที่ชาวบ้าน ได้สัญจรไปมา ถนนดังกล่าวได้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งเพราะเป็นถนน ๔ ช่องจราจรบ้าง ๒ ช่องจราจรบ้าง สลับกันไปและไม่มีไฟส่องสว่าง จึงฝากท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่รับผิดชอบขอสนับสนุนงบประมาณทำถนนเป็น ๔ ช่องจราจรและติดตั้งไฟส่องสว่าง ตลอดแนว
นายวิริยะ ทองผา มุกดาหาร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ได้รับคำร้องเรียนจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล บางทรายน้อย อำเภอหว้านใหญ่ เรื่องขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค เนื่องจาก ในฤดูแล้งประปาได้เอาน้ำใต้ดินมาใช้ จึงไม่พอใช้ จึงฝากท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่รับผิดชอบช่วยสนับสนุนงบประมาณโดยทำประปาขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำจากผิวดิน เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนแบบยั่งยืน
นายวิริยะ ทองผา มุกดาหาร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ได้รับคำร้องเรียนจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล เรื่องการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค จึงฝาก ท่านประธานไปยังหน่วยงานขอสนับสนุนงบประมาณขุดเจาะน้ำบาดาลขนาดใหญ่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรต่อไปครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ก่อนนะครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จังหวัดระยอง อำเภอบ้านค่าย อำเภอปลวกแดง อำเภอวังจันทร์ วันนี้ขอปรึกษาหารือผ่านท่านประธาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๔ เรื่องแรกขอฝากถึงแขวงทางหลวงและทางหลวงชนบท ดังนี้ครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ไฟถนนที่คลองช้างตาย ไฟตรงแยกเสียมานานแล้วเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ล่าสุดเพิ่งตายไปอีกคนเมื่ออาทิตย์ก่อน รบกวนไปเพิ่มด้วยครับ จะเอาอีกกี่ศพ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ Barrier กลางถนนเส้น รย.๓๑๔๓ หน้านิคม WHA บ้านค่าย สูงจนเกินไปไม่มีการตีเส้นจุดกลับรถ จุดข้ามถนน อันตรายมาก รบกวนแก้ไขด้วย ยก Barrier ออกเลยก็ดีนะครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ โครงการก่อสร้างถนน ๓๕๗๔ หน้านิคมโรจนะ บ้านค่าย ป้ายบอก เขตก่อสร้างและแนวกรวยอยู่กระชั้นจุดก่อสร้างมากเกินไปทำให้เกิดอันตราย ฝากแก้ไขด้วย แถมไฟถนนมืดมาก ฝากเรื่องไฟส่องสว่างด้วยนะครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ โครงการถนน รย.๓๑๙๑ เส้นระหว่างแยกมาบเตยไปแม่น้ำคู้ ไม่แน่ใจว่ามาตรฐานความปลอดภัยเป็นแบบไหน หลุมลึกพังถนนถล่มหมดเลย ล่าสุด เกิดอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์หลบเศษวัสดุพุ่งไปอีก Lane รถบรรทุกหักหลบวิ่งเข้าชนร้านค้า จะให้เสี่ยงตายไปถึงไหน ฝากผู้รับจ้างช่วยดูแลด้วยครับ อย่างน้อยเก็บเศษวัสดุออกจาก ข้างถนนก็ยังดี
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
ต่อไปฝากถึงกระทรวงอุตสาหกรรม ๒ เรื่อง
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ โรงงานซินเคอหยวน นิคมอุตสาหกรรม RIL ปล่อยเขม่าควัน ออกมาเยอะแล้วบ่อยมาก ๆ รั่วออกทางหลังคา ไม่ใช่ทางปล่อง ไม่รู้ผ่านการบำบัดหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ ส่งกลิ่นเหม็นเป็นวงกว้าง บางครั้งมีเศษวัสดุลอยออกมาด้วย ชาวบ้านเดือดร้อนครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ หมู่บ้านเดอะเดคโค่ไม่ได้รับการเยียวยาจากการจัดตั้ง เขตนิคมอุตสาหกรรม ทั้ง ๆ ที่จุดก่อสร้างแทบจะติดกับประตูบ้านเขาอยู่แล้ว เป็นแบบนี้ เพราะหมู่บ้านนี้ตกสำรวจ ไม่รู้ว่าตกได้อย่างไรใกล้ขนาดนี้ ฝากสำรวจใหม่ด้วยนะครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
ต่อไปฝากถึงกรมชลประทาน ๒ เรื่อง
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ อ่างเก็บน้ำหนองคมบางเครื่องสูบน้ำมีเพียงตัวเดียวไม่เพียงพอ ต่อการแจกจ่ายให้ประชาชนโดยรอบ ๒ ตำบล ต้องการเครื่องสูบน้ำแบบบนแพเพื่อแจกจ่าย น้ำโดยรอบ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ซอยสุพรรณ อำเภอปลวกแดงอยู่ใกล้กับแหล่งรับน้ำจาก หลายเส้นทางน้ำรวมบรรจบกันทำให้น้ำท่วมได้ง่าย ฝากกรมชลประทานจัดทำแผนป้องกัน น้ำท่วมซ้ำซากบริเวณนี้ด้วยครับ ลอกคลองบ้างก็ดี
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ผนังดาดคอนกรีตเลียบแม่น้ำระยอง ทางหลวงหมายเลข ๓๕๗๕ พัง ๆ ซ่อม ๆ มาหลายครั้ง ล่าสุดซ่อมไปปี ๒๕๖๕ ตอนนี้พังอีกแล้ว เสาไฟฟ้าเริ่มเอียง อันตรายมากครับ ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบทุกหน่วยงานใส่ใจ ช่วยเหลือประชาชนให้คุ้มค่ากับภาษีประชาชนด้วย ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย เชิญครับ
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ที่ผมจะขอหารือ ถนนสายเนินศาลา-โกรกพระ ตั้งแต่โรงเรียนคลองม่วงถึงตัวอำเภอโกรกพระ หรือที่เรียกกัน ติดปากว่าถนนสายอำเภอโกรกพระ-อำเภอทับทัน เป็นถนนเส้นหลักพังเสียหายมาก เวลาสัญจรไปมาทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน เป็นอย่างมากครับ ขอให้ขยายเป็น ๔ ช่องทางจราจร เพราะปัจจุบันการสัญจรไปมาของ ผู้ใช้รถใช้ถนนมีจำนวนมากครับ
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ มีผู้ร้องเรียนขอให้เปิดช่องทางระบายน้ำบริเวณทางหลวง หมายเลข ๓๐๐๕ สายโกรกพระ-นครสวรรค์ ช่วงสะพานคลองบางปลาไหล เนื่องจาก มีน้ำท่วมขังจากการขยายผิวจราจรทำให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เวลาฝนตกจะมีน้ำท่วมขัง ไม่มีทางระบายน้ำ แขวงทางหลวงนครสวรรค์ที่ ๑ ได้ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงและได้ทำบันทึกร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ แต่จนถึงบัดนี้ ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาครับ
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๖ ผมได้ลงพื้นที่เยี่ยมพี่น้องประชาชน หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลโกรกพระ และได้รับหนังสือร้องเรียนไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้เป็นเวลานาน ๓๐ ปี และได้ยื่นหนังสือถึงหน่วยงานทางจังหวัดยังไม่ได้รับความช่วยเหลือแต่อย่างใด ทำให้ พี่น้องประชาชน หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลโกรกพระ ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ที่อยู่อาศัย รวมถึงการทำการเกษตรครับ
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ กำนันตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ แจ้งว่ามีบ้านเรือนเพิ่มขึ้น จำนวนมากทำให้ไฟฟ้าตกและดับบ่อย เครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความเสียหาย มีเสาไฟฟ้า มากองไว้ ๒ ปีแล้วแต่ยังไม่มีการดำเนินการขยายเขต ขอให้ไฟฟ้าเร่งดำเนินการแก้ไข เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนตำบลบางประมุงด้วยครับ
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ขอบพระคุณการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอพยุหะคีรี ที่ส่งเจ้าหน้าที่คุณต้อม ไปดูแลแก้ไขปัญหาให้พี่น้องตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๒ และหมู่ที่ ๑๓ เรียบร้อยแล้ว ขอบพระคุณแทนพี่น้องประชาชนครับ กราบขอบพระคุณ ท่านประธานสภามากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านกิตติภณ ปานพรหมมาศ ท่านที่ ๒ ท่านสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ท่านที่ ๓ ท่านจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ท่านกิตติภณยังไม่มา เชิญท่านสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ก่อนเลยนะครับ
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ ขอกราบเรียนท่านประธานหารือปัญหาในพื้นที่จังหวัดกระบี่ที่สำคัญ เนื่องจากว่าเป็นช่วงฤดู การท่องเที่ยวแล้ว จังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดที่ทำเงินรายได้ให้กับประเทศชาติติดอันดับต้น ๆ ในเรื่องของการท่องเที่ยว
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ในเรื่องของไฟฟ้าเกาะฮั่ง พี่น้องประชาชน ๑๖๕ ครัวเรือนอยู่มา ๑๐๐ กว่าปีแล้วไม่มีไฟฟ้าใช้ แล้วก็ใช้เงินกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไป ๙ ล้านบาทเศษ ได้ใช้ไฟฟ้าแผง Solar Cell แต่ประเด็น ปัญหาก็คือว่าวันที่ ครม. สัญจรที่จังหวัดกระบี่ มันติดขัดอยู่ที่วันนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตั้งงบประมาณเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะไปตั้งเครื่องปั่นไฟให้กับ พี่น้องประชาชนร่วม ๑,๐๐๐ คน เกาะฮั่งตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ อยากจะให้กระทรวงอุตสาหกรรมเข้าไปยกเว้นโดยใช้มติหรือว่าใช้อำนาจ ของกระทรวงในการยกเว้นที่จะตั้งเครื่องปั่นไฟ ซึ่งเขามีกำหนดในระเบียบปี ๒๕๖๒ ว่าเครื่องยนต์ที่มีกำลัง ๕๐ แรงม้าขึ้นไปถือว่าเป็นการจัดตั้งในเขตอุตสาหกรรม ซึ่งตรงนี้ จะต้องมีการยกเว้น ก็จะทำให้งบประมาณของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ซื้ออุปกรณ์ ตั้งไว้แล้วสามารถดำเนินเรื่องของไฟฟ้าใช้ได้
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ที่เกาะพีพีเป็นแหล่งหาเงินให้ประเทศ ท่าเรือวันนี้ กรมเจ้าท่า กรมธนารักษ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. อ่าวนาง ในการซ่อมสะพาน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ต้องฝากในเรื่องของงบประมาณซ่อม ๙๐ ล้านบาทของกรมเจ้าท่า มีความสำคัญยิ่ง ถ้าตกไปจะมีปัญหาท่าเรือที่จะให้นักท่องเที่ยวขึ้นฝั่งที่เกาะพีพีได้อย่าง แน่นอน
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เรื่องสุดท้ายก็คือเขื่อนที่จังหวัดกระบี่ ที่เกาะพีพี ทั้งหมดยาว ๔๕๐ เมตร อันนี้ก็จะต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. อ่าวนาง โอนเรื่องอันนี้ให้กับ กรมเจ้าท่า เพื่อที่จะให้กรมเจ้าท่าได้ศึกษาออกแบบแล้วก็ใช้งบประมาณปี ๒๕๖๘ อันนี้ ถือว่าเป็นการบูรณาการในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วก็ภาครัฐ แล้วก็ เพื่อประโยชน์ในเรื่องของการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง กราบขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ เชิญครับ
นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ขอบคุณครับท่านประธาน เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ผมมีเรื่องปรึกษาหารือ ๒ เรื่องไปยังกรมทางหลวง ให้พิจารณา
นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรื่องแรก เป็นเรื่องเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าของไฟส่องสว่างทางคู่ขนาน บางนา-ตราด ในพื้นที่ ๒ ฝั่ง ทางคู่ขนานบางนา-ตราด หม้อแปลงไฟฟ้าของไฟส่องสว่าง ถูกโจรกรรมไปแล้ว ๘ เครื่อง ทำให้เกิดปัญหาไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ แล้วก็เป็นเกิดอุบัติเหตุ บ่อยครั้งมากเลยครับ ทำให้ผมก็กังวลว่าถ้าไม่นำเรื่องนี้มาปรึกษาหารือทางกรมทางหลวง อาจจะไม่ทราบถึงความเดือดร้อนตรงนี้
นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอให้กรมทางหลวงพิจารณาปรับปรุงผิวถนนชำรุด เป็นผิวถนน บางนา-ตราด ตั้งแต่ กม. ๕๐ ถึง กม. ๓๙ ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนมาจาก พี่น้องประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน แล้วก็เป็นแบบนี้มานานแล้วครับ ระยะนี้ก็มีฝนตกอีกยิ่งทำให้ พี่น้องประชาชนลำบากในการเดินทาง แล้วก็เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ก็ฝากทั้ง ๒ เรื่องไปยัง กรมทางหลวงให้พิจารณาทั้งเรื่องหม้อแปลง แล้วก็เรื่องปรับปรุงผิวถนน ขอบคุณครับ ท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เชิญครับ
นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ สระบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระบุรี พรรคภูมิใจไทย เขตเลือกตั้งที่ ๓ ในวันนี้กระผมมีเรื่องที่จะหารือท่านประธาน ผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงเลยก็คือการประปาส่วนภูมิภาค ในวันนี้ผมได้รับ เรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวอำเภอหนองแคเป็นส่วนใหญ่แทบจะ หลายตำบลเลย จากปัญหาการหยุดจ่ายน้ำประปาบ่อยแล้วก็หยุดจ่ายมาเป็นระยะเวลา หลายเดือนแล้ว
นายวัชรพงษ์ คูวิจิตรสุวรรณ สระบุรี ต้นฉบับ
ใน Slide แรกท่านประธาน จะเห็น เป็นประกาศการหยุดจ่ายน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาหนองแค จากเมื่อก่อนนี้จะประกาศสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ตอนนี้ประกาศสัปดาห์หนึ่งประมาณวันเว้นวัน หลังสุดประกาศทุกวันเลยครับ ท่านประธานเห็นภาพสุดท้ายนี้ประกาศเป็นรายชั่วโมงเลย
นายวัชรพงษ์ คูวิจิตรสุวรรณ สระบุรี ต้นฉบับ
Slide ที่ ๒ ก็คือภาพที่พี่น้องประชาชนได้ระบายความทุกข์ผ่านทาง Page ส่วนตัวก็ดี Page ของอำเภอหนองแคก็ดี Page ของผมก็ดีครับ มีแต่เสียงระบายความทุกข์ มีแต่เสียงระบายความเดือดร้อน ถ้าท่านประธานได้อ่านบางท่านบอกว่าใช้สิทธิ ลาพักร้อนเพื่อจะมาซักผ้า น้ำกลับไม่ไหล การประปาบอกว่าน้ำจะไหลตอนบ่ายสองโมง พอบ่ายสองโมงก็ไม่ไหลอีกครับ
นายวัชรพงษ์ คูวิจิตรสุวรรณ สระบุรี ต้นฉบับ
Slide ที่ ๓ ก็เป็น Page ของการประปาส่วนภูมิภาคหนองแคที่บอกว่าขณะนี้ น้ำประปาได้จ่ายปกติแล้ว แต่น้ำที่จ่ายออกมานั้นเป็นน้ำที่มีกลิ่นแล้วก็มีโคลนปนออกมาครับ
นายวัชรพงษ์ คูวิจิตรสุวรรณ สระบุรี ต้นฉบับ
Slide ที่ ๔ นี้เป็น Slide ที่ผมลงไปตรวจสอบที่ทางการประปาส่วนภูมิภาค หนองแคได้บอกว่าเป็นปัญหา ก็คือปัญหาจากการทิ้งของโรงผลิตน้ำดิบน้ำประปาของสถานี โคกตูม งบประมาณ ๖๖๐ ล้านบาท ผู้รับเหมายกเลิกสัญญา อันนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทาง การประปาต้องไปแก้ แต่พี่น้องประชาชนชาวอำเภอหนองแคที่ได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถรอได้ ฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ก่อนถึงท่านรังสรรค์ มณีรัตน์ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะสภานักเรียนและครู ที่ปรึกษาโรงเรียนชลกันยานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับ คณะนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และคณะครูโรงเรียนนานาชาติแพน-เอเชีย เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ต่อไปท่านรังสรรค์ มณีรัตน์ เชิญครับ
นายรังสรรค์ มณีรัตน์ ลำพูน ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายรังสรรค์ มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน พรรคเพื่อไทย ผมได้รับ เรื่องร้องเรียนจากสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจภูธรลำพูนว่ามีการทุจริตปลอมแปลง สัญญาเงินกู้ ซึ่งเหตุการณ์นี้น่าจะเกิดมานานหลายปีแล้ว แต่เรื่องเพิ่งมาแดงเมื่อต้นปี ๒๕๖๖ จากการตรวจสอบเบื้องต้นมูลค่าความเสียหายประมาณ ๒๐๐ ล้านบาท และมีสมาชิก สหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบประมาณ ๒,๐๐๐ คน พฤติการณ์ของเขาก็คือทางผู้ก่อเหตุนี่ จะปลอมลายมือชื่อของผู้กู้ที่วงเงินกู้ไม่เต็ม เช่นได้รับวงเงินกู้จากสหกรณ์ ๑ ล้านบาท แต่เขากู้ไปเพียง ๒๐๐,๐๐๐ บาท ทำให้เหลือวงเงินอีก ๘๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ก่อเหตุ ก็ดำเนินการปลอมลายมือชื่อของเขาแล้วเติมเงินจำนวนอีก ๘๐๐,๐๐๐ บาทเข้าไป ทำให้ ผู้ที่เป็นสมาชิกได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง และข่าวที่สอบสวนมาเบื้องต้นก็จับผู้กระทำ ความผิดได้แค่ ๓ คน แต่สมาชิกสหกรณ์ไม่เชื่อว่าผู้ที่ดำเนินการทุจริตในครั้งนี้จะมีแค่ ๓ คน เขาเชื่อว่ามีนายตำรวจระดับสูงอยู่ในกระบวนการนี้ด้วย เบื้องต้นผลกำไรของปี ๒๕๖๖ เขาอยากให้นำมาแบ่งปันให้สมาชิกเสียก่อน เพราะว่าสมาชิกจะได้ไปใช้จ่าย จะได้เอาไป จ่ายค่าเทอมลูก ไม่ใช่ว่าจะเอาไปจ่ายเงินที่เกิดการทุจริตขึ้นมาทำให้สหกรณ์เป็นหนี้ และอีกประเด็นหนึ่งเขาไม่เชื่อมือว่าตำรวจที่ลำพูนจะเอาได้จริง เขาเลยฝากหนังสือ ผมมากราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีให้ทราบเรื่องนี้และช่วยคลี่คลายปัญหาให้เขาด้วย อีกฉบับเรียนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ส่งตำรวจมือดี ๆ ไปจัดการ และอีกประเด็นหนึ่ง ส่งให้ประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ได้ช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ ตำรวจจังหวัดลำพูนบ้านผมด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านแรกท่านพุธิตา ชัยอนันต์ ท่านที่ ๒ ท่านราชิต สุดพุ่ม ท่านที่ ๓ ท่านปรเมษฐ์ จินา เชิญท่านพุธิตา ชัยอนันต์ ครับ
นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาค่ะ ดิฉัน พุธิตา ชัยอนันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๔ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันมีเรื่อง อยากจะมาปรึกษาหารือท่านประธานทั้งหมด ๓ เรื่องดังนี้
นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรื่องแรก สะพานบริเวณสามแยกป่าตองบ้านป่าลาน หมู่ที่ ๒ ตำบล สันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโค้งหักศอก สะพานแคบเกิดอุบัติเหตุ บ่อยมาก
นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ขอกรมทางหลวงและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทำการขยายสะพานด้วยค่ะ
นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย ไฟฟ้าดับไฟตกบ่อยมาก ประชาชน เดือดร้อน ขอการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคช่วยแก้ไขด้วยค่ะ
นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ โรคไวรัส RSV ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในกลุ่มเด็กเล็กและทารก ขณะนี้มีความเสียหายเกิดขึ้นกับผู้ปกครองและเด็กเล็กเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โรคนี้ เป็นโรคร้ายแรงเป็นแล้วเชื้อลงปอดรุนแรง ค่ารักษาพยาบาลก็สูง อยากจะให้กระทรวง สาธารณสุขมีมาตรการเชิงรุกได้แล้วค่ะ ช่วยป้องกันและเยียวยาเด็ก ๆ และผู้ปกครองด้วย อย่าปล่อยให้เรื่องนี้เป็นเรื่องของลูกใครลูกมันเลย แล้วก็มาพูดร้องขอในที่ประชุมแห่งนี้ บอกว่าทำไมคนรุ่นใหม่ถึงไม่อยากมีลูกกัน ก็ขอให้ช่วยมีมาตรการเชิงรุก แล้วก็ดูแลเยียวยา ผู้ปกครองและเด็ก ๆ ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับผู้บริหารเทศบาลตำบลม่วงยาย ตำบลหล่ายงาว ตำบลท่าข้าม และองค์การบริหารส่วนตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ยินดีต้อนรับนะครับ ต่อไปท่านราชิต สุดพุ่ม ครับ
นายราชิต สุดพุ่ม นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายราชิต สุดพุ่ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กระผมได้รับการร้องเรียนจากนายชำนาญ ลักษณะชฎา นายก อบต. ท่าเรือ นายสุขสวัสดิ์ หยูศรี สมาชิก อบต. หมู่ที่ ๑๒ และพี่น้องประชาชนชาวตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการใช้ถนนสายบ้านจังหูน-บ้านหนองหนอน
นายราชิต สุดพุ่ม นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
ถนนดังกล่าวได้รับความเสียหาย จากการ Slide ดินของถนนลงสู่คลองจังหูนหลายจุด ทำให้พี่น้องประชาชน ๖ หมู่บ้าน ๕๐๐ ครัวเรือนสัญจรไปมาไม่สะดวก และเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตในการใช้เส้นทางดังกล่าว ถนนเส้นทางดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. ท่าเรือ ได้รับการถ่ายโอนจาก กรมทางหลวงชนบทระยะทางทั้งสิ้น ๖.๗ กิโลเมตร หากจะปรับปรุงถนนดังกล่าวให้มั่นคง แข็งแรงจะต้องใช้งบประมาณประมาณ ๖๐-๗๐ ล้านบาท ซึ่ง อบต. ท่าเรือไม่มีงบประมาณ เพียงพอที่จะดำเนินการ ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนให้กับพี่น้องประชาชน อบต. ท่าเรือจึงได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เพื่อทำการก่อสร้างพนังกำแพง ป้องกันดิน Slide บริเวณที่เสียหายพร้อมปรับปรุงผิวจราจรจำนวน ๖ จุด ระยะทาง ๓๓๓ เมตร งบประมาณ ๘,๑๐๐,๐๐๐ บาท จึงนำเรียนท่านประธานเพื่อแจ้งไปยัง กระทรวงมหาดไทยได้โปรดพิจารณาอนุมัติงบประมาณดังกล่าวให้กับองค์การบริหาร ส่วนตำบลท่าเรือเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนให้กับพี่น้องประชาชนชาวตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชด้วยครับ ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านปรเมษฐ์ จินา เชิญครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีข้อหารือที่นำเรียน ท่านประธานเพื่อผ่านไปหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้ ถ้าเป็นปัญหาในระดับประเทศ ก็จะมีอยู่ ๒-๓ เรื่อง
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องแรก ก็คงจะเป็นเรื่องของการให้กระทรวงสาธารณสุขแล้วก็กระทรวง มหาดไทยปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด เนื่องจากขณะนี้มีปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นคน เงิน ของ แล้วก็ระเบียบเงินบำรุง แล้วที่สำคัญก็คือในเรื่องของการจ่ายเงิน COVID-19 เพราะว่าที่ผ่านมาก็ดำเนินงานในภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุข แต่หลังจาก ถ่ายโอนแล้วเงินเพิ่งเกิดขึ้นเรียกว่า Postpaid เพิ่งจ่ายตามหลังกับผลงาน แต่ว่าไม่สามารถ ที่จะนำเงินตรงนี้มาจ่ายได้
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ก็เป็นเรื่องของ ส.ป.ก. ที่ท่าน สส. ธานินท์ นวลวัฒน์ ฝากมาว่า มีปัญหาในการปฏิบัติก็คือในส่วนของพ่อแม่ที่เป็นเกษตรกรท่านขยันแล้วก็ดิ้นรน จนสามารถที่จะส่งลูกให้เป็นข้าราชการได้ แต่มาวันหนึ่งท่านได้เสียชีวิตลงแล้วทรัพย์สมบัติ ก็สมควรที่จะเป็นของลูก แต่เนื่องจากว่าลูกเป็นข้าราชการแล้วก็ติดขัดในเรื่องการเป็น เกษตรกรของระเบียบ ส.ป.ก. อันนี้ก็คงจะต้องมีการทบทวนนะครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ก็เป็นเรื่องขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ฝากมา เรื่องให้ ส.ป.ก. ได้เร่งรัดในการอนุมัติในการขอเข้าไปใช้ที่ปรับปรุงด้านสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ประปา หรือว่าถนน เพราะว่าถ้าเอาเครื่องจักรลงไปทำแล้ว ส.ป.ก. ยังไม่อนุญาตก็จะเกิดปัญหาในเรื่องของการปฏิบัติ มีการยึดเครื่องจักรกล เครื่องมือหนัก ก็ทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติระหว่างข้าราชการด้วยกันนะครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องถัดไป ก็ขอให้กรมทางหลวงได้ขยายเส้นทางระหว่างจังหวัด ถนนสาย ๔๐๓๗ ช่วงอำเภอชัยบุรีถึงสามแยกควนสว่างวัฒนา แล้วก็ให้ขยายจากสามแยกเป็นสี่แยก ตัดทะลุถนนสาย ๔๔ ก็คือถนน Southern เพื่อร่นระยะทางในการสัญจรของพ่อแม่ พี่น้องประชาชน แล้วก็ถนนสายบ้านตาขุน-อุทยานแห่งชาติเขาสก ๔๐๑ ก็เป็นถนน สายท่องเที่ยว แล้วก็ในส่วนของการที่จะให้ทางกรมทางหลวงชนบทไปซ่อมแซมถนน แล้วก็ขยายสะพาน เนื่องจากว่าทั้ง อบจ. แล้วก็ อบต. เทศบาลเขาไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะว่ากรมทางหลวงชนบทเป็นเจ้าของ เขาก็เลยไม่สามารถจะใช้งบไปดำเนินการได้ ก็ฝากท่านประธานไปสู่กรมทางหลวงชนบทได้เข้าไปแก้ไขปรับปรุงตรงนี้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านแรกท่านสรรเพชญ บุญญามณี ท่านที่ ๒ ท่านสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ท่านที่ ๓ ท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ เชิญท่านสรรเพชญ บุญญามณี ครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสรรเพชญ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้กระผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังนี้
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
๑. กระผมได้รับข้อร้องเรียนจากนายบุญฤทธิ์ ทองสุวรรณ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ ตำบลพะวง เรื่องปัญหาน้ำท่วมและพื้นที่ซับซ้อนบริเวณโคกไร่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่องจากน้ำทะเลหนุน ทำให้มวลน้ำที่โคกไร่ ไม่สามารถระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ อีกทั้งยังมีเรื่องสิทธิการถือครองที่ดินและการทับซ้อน ของป่าชายเลนที่เกิดปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ถนนสาธารณะยังไม่ได้รับการพัฒนา และยังเป็นพื้นที่ดินลูกรังครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
๒. ขอให้กรมโยธาธิการและผังเมืองแก้ไขปัญหารถติดบริเวณสามแยกสำโรง โดยขอให้ศึกษาและสำรวจเส้นทางเลี่ยงเมืองถนนสายใหม่ ณ บริเวณเก้าเส้งไปยัง ตำบลเขารูปช้างเพื่อลดการจราจรแน่นหนา แล้วก็เพิ่มศักยภาพในการท่องเที่ยว ขอให้ศึกษา และสำรวจการก่อสร้างสะพานข้ามแยกสำโรงเพื่อแก้ไขปัญหารถติดให้กับพี่น้องประชาชน ในชั่วโมงเร่งด่วนครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
๓. กระผมได้รับการร้องเรียนจากนายเจือ กิ้มอั้น นายกเทศมนตรีตำบลพะวง และนายจิระศักดิ์ วรกิจ กำนันตำบลพะวง เรื่องน้ำประปาภูมิภาคยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ ในตำบลพะวง ทางหลวงชนบทสาย สข.๓๐๑๕ เนื่องจากน้องประชาชนในพื้นที่บ้านห้วยขัน บ้านบ่อระกำ บ้านนาป๋อง ตอนนี้ยังไม่สามารถที่จะเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนจึงขอให้ท่านประธานทำหนังสือไปถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขโดยด่วนครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
๔. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณตำบลเกาะยอ กระผมได้รับการร้องเรียนจากนายโกวิทย์ รัชนียะ นายก อบต. เกาะยอ ขอให้ท่านทำหนังสือ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยขยายทางระบายน้ำบนถนนบ้านสายตรี หมู่ที่ ๒ และช่วย ขยายทางระบายน้ำในหมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๖ เพื่อช่วยบรรเทาน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลเกาะยอ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
๕. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอให้สำรวจ และศึกษาจุดกลับรถและสัญญาณไฟจราจรบริเวณหน้าหมู่บ้านร่มฉัตร หน้าวัดเขาแก้ว หน้าโลตัส และหน้าทางเข้าสหกรณ์ มอ. เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
๖. กระผมได้รับข้อร้องเรียนจากนายนิคม อุไรรัตน์ นายก อบต. ทุ่งหวัง ขอให้ท่านประธานได้ทำหนังสือไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นขอสนับสนุน โครงการสร้างถนนผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก สายมิยาซาวา หมู่ที่ ๘ และโครงการ ก่อสร้างคูระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก หมู่ที่ ๖ บ้านไร่ ตำบลทุ่งหวังยาว ๓๐๐ เมตร
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
๗. ขอให้ท่านประธานมีหนังสือไปยังกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ช่วยสนับสนุนจัดงาน Music Festival ณ บริเวณหาดสมิหลา ขอให้จัดงบประมาณสนับสนุน ทุกปี เพราะว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว กราบขอบพระคุณ ท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ เชิญครับ
นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ปัตตานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ พรรคประชาชาติ อำเภอยะรัง อำเภอทุ่งยางแดง และอำเภอแม่ลาน ผมได้รับหนังสือจากนายกสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี ๓ ประเด็น
นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ปัตตานี ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ก็คือประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย ขอให้แก้ไขกฎกระทรวง กำหนดคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามผู้บริหารของโรงเรียนนอกระบบ พ.ศ. ๒๕๕๓ ก็คือ คุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีเพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน ๑๔๕ แห่งสามารถเปิดสอนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ปัตตานี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ก็คือให้รัฐบาลแก้ไขระเบียบให้เงินอุดหนุนสถาบันศึกษา ปอเนาะ ให้ควบคุมสถาบันศึกษาปอเนาะที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล
นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ปัตตานี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ให้รัฐบาลแก้ไขคุณสมบัติการเข้าศึกษาต่อด้านอิสลามศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับซานาวียะห์ จากสถาบันศึกษาปอเนาะ สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศได้ทั้งของรัฐและเอกชน ประเด็น การพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะ ให้รัฐบาลรื้อฟื้นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยด้านอิสลามศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะสามารถต่อยอดการศึกษาในระดับสูง เช่นมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดารุสซาลาม และประเด็นการให้อุดหนุนสถาบันการศึกษาปอเนาะ ค่าตอบแทนโต๊ะครูจากเดิมซึ่ง ๒,๐๐๐ บาทมานานแล้ว ก็ขอให้เพิ่มเป็น ๙,๐๐๐ บาท ค่าตอบแทนผู้ช่วยโต๊ะครูจากเดิม ๒,๐๐๐ บาท ก็ขอให้เพิ่มเป็น ๕,๐๐๐ บาท และค่าจัดการ จากเดิม ๑,๐๐๐ บาท ก็ขอให้เพิ่ม ๓,๐๐๐ บาท นั่นคือสิ่งที่เป็นความเดือดร้อน และความต้องการของสถาบันศึกษาปอเนาะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ซึ่งสถาบันศึกษา ปอเนาะแห่งนี้โต๊ะครูสอนตลอด ๒๔ ชั่วโมง แต่ว่าสิ่งที่ได้รับมันต่ำมากเหลือเกิน ขอฝาก ท่านประธาน ขอขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ เชิญครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต ๔ อำเภอบ้านโป่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ ผมมีปัญหาข้อร้องเรียน ของพี่น้องประชาชนมากราบเรียนท่านประธานเพื่อประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบ พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน ๓ เรื่อง
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
เรื่องแรก เนื่องจากคอสะพาน บ้านโป่งที่สี่แยกไฟแดงบ้านโป่ง หน้าสำนักงานเทศบาลเบิกไพร เดิมเป็นสะพาน ๒ ช่องจราจร เมื่อปี ๒๕๖๔ ผมได้ใช้กลไกรัฐสภาในการผลักดันให้กรมทางหลวง กระทรวง คมนาคมมาขยายสะพานแห่งนี้จาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจรเพื่อรองรับการจราจร แล้วก็รองรับถนน ๔ เลนที่ผมได้ผลักดันให้มีการขยายถนน ๔ เลน จากตำบล เบิกไพรไปที่ตำบลหนองปลาหมอ อำเภอบ้านโป่ง ปัจจุบันนี้สะพานกำลังก่อสร้างอยู่ ขยายจาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจร แต่ปัจจุบันนี้ระหว่างการก่อสร้าง คอสะพานทรุด ตามรูปที่ได้นำเรียนท่านประธานครับ จึงอยากให้ทางกรมทางหลวงเร่งดำเนินการ ซ่อมคอสะพานเพื่อจะได้ให้พี่น้องประชาชนได้ข้ามสะพานนี้ก่อนนะครับ ไม่อย่างนั้น การจราจรตอนนี้ก็จะติดขัดมาก
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอให้ท่านประธานได้ประสานให้กรมทางหลวงชนบทได้เร่ง ไปตรวจสอบความแข็งแรงของสะพานที่ค่ายหลวง เชื่อมต่อระหว่างตำบลเบิกไพร และเทศบาลเมืองบ้านโป่ง เพราะว่าเมื่อคอสะพานดังกล่าวทรุดทางกรมทางหลวงได้ปิด การใช้สะพานที่สี่แยกไฟแดงบ้านโป่ง ทำให้การจราจรต้องมาใช้เส้นสะพานค่ายหลวงแทน สะพานแห่งนี้มีการจราจรแออัดมากตามรูปที่ได้นำเรียนท่านประธานครับ จึงขอให้อธิบดี กรมทางหลวงชนบทซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบสะพานแห่งนี้ได้ลงไปตรวจสอบความแข็งแรง ของสะพาน ซึ่งเมื่อประมาณ ๒ วันที่แล้วทีมงานผมแล้วก็แขวงทางหลวงชนบทราชบุรี ได้ลงไปตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว แต่ก็อยากให้ทางกรมทางหลวงชนบทส่วนกลางส่งผู้เชี่ยวชาญ ลงไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งเพื่อความแน่นอน และที่สำคัญการจราจรก็มีความติดขัด ในช่วงเวลาเร่งด่วน จึงขอให้กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรีได้เสริมกำลังตำรวจจราจร ไปอำนวยความสะดวกในช่วงเวลาเร่งด่วนให้กับ สภ.อ.บ้านโป่ง ด้วยครับ ขอบคุณ ท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ เชิญครับ
นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม เชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว อำเภอบ้านแท่น พรรคภูมิใจไทย ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณสภาผู้แทนราษฎรที่ได้ส่งเรื่อง ที่ผมหารือในรอบที่แล้วไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว สำหรับวันนี้ผมขอนำปัญหา ความเดือดร้อนเพื่อให้สภาได้ส่งผ่านไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบดังนี้ครับ
นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
เรื่องแรก ผมได้รับการร้องเรียน จากคณะครูอาจารย์และน้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนภูเขียว อำเภอภูเขียว ขอให้กระทรวง ศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ทดแทนอาคารหลังเดิม ที่ชำรุดดังภาพที่ปรากฏใน Slide สำหรับโรงเรียนภูเขียวนั้นเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ และเป็นโรงเรียนประจำอำเภอที่มีจำนวนนักเรียนมากถึง ๒,๘๙๑ คน และมีการจัดห้องเรียน ถึง ๑๐๔ ห้องเรียน แต่มีอาคารอยู่หลังหนึ่งที่สภาพชำรุดทรุดโทรม เนื่องจากก่อสร้างและใช้ มาถึง ๕๐ ปีดังภาพที่เห็น จะมีกรรมการจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เข้าไปตรวจสอบอาคารหลังดังกล่าว จะพบว่ามีการชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโครงสร้างหลักตามที่เห็นในภาพ โครงสร้างหลักคอนกรีตรอบเสาบริเวณชั้น ๑ จะแตกร้าวหลายต้นแล้วก็มีเหล็กเสริมเสาเป็นสนิมและพบความเสียหายในวงกว้าง ทางคณะกรรมการที่เข้าไปตรวจสอบจึงมีความเห็นว่าควรที่จะรื้อถอน เพื่อขอจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารหลังใหม่ทดแทน และขณะนี้อาคารเดิมหลังนี้ ก็ยังใช้อยู่ แม้กระทั่งว่าปัจจุบันมีการอนุมัติให้มีการรื้อถอนแล้ว แต่ที่ยังต้องใช้อยู่ก็เพราะว่า ห้องเรียนมีไม่เพียงพอ เพราะถ้ารื้อถอนปุ๊บจะทำให้เด็ก ๆ ไม่มีห้องเรียน เพราะฉะนั้น ผมจึงเกรงว่าจะเกิดอันตรายขึ้นได้ทุกเวลา จึงอยากจะขอให้กระทรวงศึกษาธิการได้เร่งรัดจัดสรร งบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ทดแทนตามที่โรงเรียนได้เสนอของบประมาณ ไปแล้ว เพราะหากรื้อถอนเด็กก็จะขาดแคลนห้องเรียนนะครับ
นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ชัยภูมิ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ผมได้รับการร้องเรียนจากนายเชิดชัย ภิญโญทรัพย์ และนายเชาวฤทธิ์ ภิญโญทรัพย์ นายก อบต. และกำนันตำบลสามสวน ถึงปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้อง ชาวตำบลสามสวน ในเส้นทางหลวงท้องถิ่นรหัส ชย.ถ.๑๑๘-๐๑ สายบ้านหนองม่วง ถึงบ้านสามสวนซึ่งเป็นทางสายหลัก สายนี้ผ่านย่านชุมชนระหว่างอำเภอบ้านแท่นเชื่อมไปถึง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีสภาพการจราจรหนาแน่นมีรถบรรทุกขนถ่ายสินค้า ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้สายทางชำรุดเสียหายเป็นอย่างมาก จึงขอให้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ปี ๒๕๖๗ จำนวนเงิน ๓๖,๘๘๖,๐๐๐ บาท เพื่อก่อสร้างผิวการจราจรใหม่ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสามสวน ได้เสนอโครงการของบอุดหนุนเฉพาะกิจไปเรียบร้อยแล้วนะครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับท่านเชวงศักดิ์ ต่อไปท่านบุญยิ่ง นิติกาญจนา ท่านสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ ท่านฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล เชิญท่านบุญยิ่ง นิติกาญจนา ครับ
นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ราชบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต ๒ พรรคพลังประชารัฐ ดิฉันได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้นำชุมชนพร้อมทั้งพี่น้องประชาชนในเขตอำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เนื่องด้วยถนนหลายสายใน ๒ อำเภอนี้ปัจจุบันนี้เสียหายมาก ไม่ได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมจากงบประมาณส่วนกลางที่อนุมัติมาแล้วแต่ไม่สามารถ นำมาใช้ได้ ที่เป็นปัญหาคือเจ้าของพื้นที่ไม่เซ็นอนุญาตให้เข้าไปปรับปรุงซ่อมแซมถนน งบประมาณเหล่านี้ก็ตกไปแล้วทั้งสิ้นทุก ๆ สาย ขออนุญาตภาพ Slide ที่ ๑ นะคะ
นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ราชบุรี ต้นฉบับ
ที่อำเภอสวนผึ้ง ที่อำเภอบ้านคานี้ เป็นพื้นที่ชนบทแล้วก็ถนนหลายสายเสียหายเป็นจำนวนมาก ถนนเส้นทุ่งแฝก ฝายน้ำล้น หมู่ที่ ๒ บ้านทุ่งแฝก ตำบลสวนผึ้ง ระยะทาง ๑ กิโลเมตรเศษนี้งบประมาณ ๓,๔๒๓,๙๐๐ บาท ขณะนี้ถนนเส้นนี้งบประมาณตกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากเจ้าของพื้นที่ไม่เซ็นอนุญาต ให้ซ่อมแซมและปรับปรุงค่ะ
นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ราชบุรี ต้นฉบับ
Slide ที่ ๒ ถนนเส้นสายหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านถ้ำหิน อยู่หมู่ที่ ๕ บ้านถ้ำหิน ตำบลสวนผึ้ง ระยะทาง ๑ กิโลเมตรเศษ งบประมาณ ๕,๒๔๐,๑๐๐ บาท งบนี้ก็ตกไปแล้วเช่นกันนะคะ เพราะว่าเจ้าของพื้นที่ไม่เซ็นอนุญาตให้ปรับปรุงซ่อมแซมค่ะ
นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ราชบุรี ต้นฉบับ
Slide ที่ ๓ โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทางน้ำลำห้วยบ่อ ผ่านหมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลสวนผึ้ง ระยะทาง ๑๓ กิโลเมตรเศษนี้เป็นลำห้วยบ่อที่ประชาชนใช้อุปโภคบริโภค และการเกษตร ถ้าได้ขุดลอกจะเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้ทั้งปี และในขณะนี้ที่อำเภอสวนผึ้ง ฝนทิ้งช่วงไม่ได้ตกต้องตามฤดูกาล ดังในภาพที่เห็นจะแห้งแล้งมากเลย ก็ขอความกรุณา เจ้าของพื้นที่ช่วยเซ็นอนุญาตให้ประชาชนได้ใช้ลำห้วยที่มีน้ำ งบประมาณ ๑๔,๖๘๕,๕๐๐ บาท ก็ตกไปแล้วเช่นกันนะคะ
นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ราชบุรี ต้นฉบับ
Slide ที่ ๔ ถนนสายบ้านท่ากุลา หมู่ที่ ๒ ตำบลตะนาวศรี ระยะทาง ๑ กิโลเมตรเศษ งบประมาณ ๕,๒๓๗,๐๐๐ บาท ขณะนี้ก็ตกไปแล้วเช่นกัน นี่คือปัญหา ของพี่น้องอำเภอสวนผึ้งที่ได้งบประมาณส่วนกลางมาแล้วไม่สามารถซ่อมแซมและปรับปรุงถนน ดังในภาพ Slide ได้ ก็จะทำให้งบนี้ตกไปค่ะ
นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ราชบุรี ต้นฉบับ
Slide ที่ ๕ เป็นพื้นที่ในอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ถนนสายช่องลาภ หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองพันจันทร์ ระยะทาง ๑ กิโลเมตรเศษ งบประมาณ ๓,๗๐๑,๐๐ บาท เช่นกันที่อำเภอบ้านคานี้ก็ตกไปแล้ว ๒ อำเภอนี้คืออำเภอบ้านคาและอำเภอสวนผึ้งขณะนี้ ๓๒,๒๘๗,๕๐๐ บาทเศษคือตกไปเรียบร้อยหมดแล้วค่ะ
นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ราชบุรี ต้นฉบับ
ดิฉันขอฝากท่านประธานสภาผ่านไปยังผู้มีอำนาจช่วยเซ็นอนุมัติอนุญาต ให้ใช้พื้นที่ ให้ได้ปรับปรุงซ่อมแซมถนนทุกสายเหล่านี้ เพื่อให้ประชาชนของพวกเรา จังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะที่อำเภอสวนผึ้งและอำเภอบ้านคามีความปลอดภัยในการสัญจร ไปมา และขอบพระคุณมาก ถ้าท่านได้เซ็นอนุญาตอนุมัติให้เรา ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ กับพี่น้องประชาชนในชนบทมาก ๆ ค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ เชิญครับ
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพค่ะ ดิฉัน สุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดอุบลราชธานี เขต ๗ วันนี้มีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธาน ปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ของดิฉัน ๓ เรื่อง
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องแรก เป็นปัญหา ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนไทยทุกหย่อมหญ้า คือปัญหายาเสพติด ดิฉันอยากฝากวอนไปถึงรัฐบาลให้ยกปัญหายาเสพติดเป็นวาระเร่งด่วน ในการแก้ไขปัญหา เพราะปัจจุบันนี้ยาบ้าระบาดหนักมาก ยาเสพติดหากินง่ายเหลือเกิน ไม่ไหวแล้วนะคะ พี่น้องประชาชนที่ลูกหลานติดยาเสพติดถือว่าตกนรกทั้งเป็น ลูกฆ่าพ่อ ตีแม่ เผาบ้าน หัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่ทรมานที่สุดค่ะ
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นปัญหาของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร ได้รับผลกระทบจากการประกาศสร้างเขื่อนตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ โดยสำนักงาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ก่อนจะส่งมอบให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี ๒๕๑๕ มีผู้ได้รับผลกระทบหลายพันราย หลายพัน ครอบครัวได้รับความเดือดร้อนจากรุ่นสู่รุ่น และมีผู้ตกหล่นหลายรายที่ไร้ที่อยู่อาศัย หลายรายไม่มีที่ทำกิน ต้องหาเช้ากินค่ำบาง รายเสียชีวิตไปก่อนได้รับการช่วยเหลือ ดิฉันจึงขอฝากให้ภาครัฐช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบในเร็ววันค่ะ
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ อำเภอศรีเมืองใหม่ เป็นโรงพยาบาลขนาด F2 เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง ซึ่งมีผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่า จะมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะนี้มีเตียงผู้ป่วยเพียง ๖๐ เตียง ซึ่งไม่พอต่อการใช้บริการของพี่น้อง ประชาชน จากที่ทราบตึกผู้ป่วยในภาพมีอายุการใช้งานมาแล้ว ๓๐-๔๐ ปี ซึ่งปัจจุบันนี้ มีสภาพเสื่อมโทรม แม้จะบำรุงรักษาและซ่อมแซมบ่อยครั้งก็ยังมีเสี่ยงต่อการชำรุดทรุดตัวลงมา อาจจะเกิดอันตรายต่อพี่น้องประชาชนได้ตลอดเวลา
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
อีกประเด็นสำคัญค่ะ คือดิฉันได้พบเห็นระบบน้ำเสียของโรงพยาบาล ศรีเมืองใหม่เป็นแบบบ่อดิน บ่อซึม ซึ่งมีความเสี่ยงที่เชื้อโรคจากโรงพยาบาลจะซึมไปปะปน กับผิวดิน น้ำผิวดินที่พี่น้องประชาชนได้ใช้งานอยู่เกรงจะเป็นปัญหาในอนาคตค่ะ ดังนั้นดิฉัน จึงขอความเห็นใจฝากท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อให้โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ได้มีตึกผู้ป่วยใหม่เพื่อรองรับ พี่น้องของดิฉันค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล นะครับ
นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง อำเภอกะทู้ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานดังนี้ครับ
นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ถนนทางหลวงหมายเลข ๔๐๒ หรือถนนเทพกระษัตรีซึ่งเป็นถนน หลักของพี่น้องชาวภูเก็ต มีประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกใช้ทางสัญจร เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเส้นแบ่งทิศทางการจราจรซีดจางเวลาฝนตกหนักมองเห็นไม่ชัด และบางจุด Lane หายไปดื้อ ๆ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนบ่อยครั้ง ฝากกระทรวง คมนาคมทำเส้นแบ่งทิศทางการจราจรให้มีความชัดเจนและสะท้อนแสงให้ด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน
นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ บริเวณถนนทางไปท่าเทียบเรือบางโรง ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่สามารถใช้เดินทางท่องเที่ยวไปยังเกาะยาวใหญ่ เกาะยาวน้อย มีประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวใช้สัญจรจำนวนมาก กลับไม่มีไฟส่อง สว่างอาจก่อให้เกิดอาชญากรรมหรืออุบัติเหตุได้ ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตั้ง ไฟส่องสว่างให้ด้วยครับ
นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ บริเวณสามแยกโลตัสเชิงทะเล ถนนทางหลวง ๔๐๓๐ ตัดกับ ซอยบางเทา ๒ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีการตีเส้นแบ่งทิศทางการจราจร ไม่ชัดเจนจาก ๒ เลน เหลือ ๑ เลน ส่งผลให้รถต้องมาแย่งกันเข้าช่องทางการจราจร จึงทำให้ จราจรติดขัดและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ฝากกระทรวงคมนาคมตีเส้นแบ่งทิศทางการจราจร ให้ชัดเจน รวมถึงตีเส้นทแยงห้ามหยุดรถในบริเวณแยกดังกล่าวด้วยครับ
นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ บริเวณถนนบ้านบางทอง ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต มีหมู่บ้านจัดสรรและชุมชนหลายพันหลังคาเรือนร้องเรียนมาว่ากระแสไฟฟ้าไม่เสถียร ตกบ่อยจนเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายหลายรายการ ฝากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต เร่งแก้ไขให้ระบบการจ่ายไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านนิตยา มีศรี ท่านสิริน สงวนสิน ท่านศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ เชิญท่านนิตยา มีศรี ครับ
นางสาวนิตยา มีศรี สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นิตยา มีศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉัน ขอนำปัญหาของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่มาปรึกษาหารือแก่ท่านประธานดังนี้ค่ะ
นางสาวนิตยา มีศรี สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องแรก เป็นของพี่น้องชาวตำบล บางโฉลง ปัญหารถพ่วง รถบรรทุก ไฟส่องสว่างหรือแม้กระทั่งลานตู้ Container บนถนน วัดศรีวารีน้อย เลขที่ สป.๒๐๑๑ ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก อย่างเช่นการวิ่งนอกเวลาจนทำให้การจราจรติดขัด การจอดรถรอเวลากินช่องทางจราจร จนเกิดอุบัติเหตุนับครั้งไม่ถ้วน และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมีผู้เสียชีวิต ถึง ๒ รายเลย แม้กระทั่งลานตู้ Container เองที่ละเลยถึงความสะอาดของถนนเป็นเหตุทำ ให้ดินโคลนดินลูกรังติดล้อออกมาบนถนนจนทำให้พี่น้องประชาชนที่ใช้ท้องถนนได้รับ ความเดือดร้อน ฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสถานีตำรวจภูธรบางพลี แขวงทางหลวงชนบทสมุทรปราการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ หาแนวทางเข้าไปแก้ไข อย่างเร่งด่วนด้วยเถอะค่ะ อย่าให้พี่น้องประชาชนต้องเสียชีวิต บนถนนเส้นนี้อีกเลย
นางสาวนิตยา มีศรี สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้ายค่ะ ภาพที่ท่านประธานเห็นอยู่นี้ เป็นภาพที่ถูกแชร์และถูก วิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมากในโลก Social เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในภาพนี้มีเสาไฟกินรี จำนวน ๕๓ ต้น ระยะทางประมาณ ๖๐๐ เมตร พี่น้องประชาชนในพื้นที่บอกกับดิฉันว่า พวกเขาต้องการถนนที่ใช้งานอย่างสะดวก ไม่มีหลุม ไม่มีบ่อ มากกว่าเสาไฟที่สวยงาม ซึ่งคิดกันเร็ว ๆ นะคะท่านประธาน ค่าเสาไฟบวกค่าติดตั้งสามารถสร้างถนนคอนกรีต ในซอยนี้ได้เลย ไม่เพียงแต่ซอยในภาพนี้เท่านั้น ในตำบลราชาเทวะยังมีแบบนี้ อีกหลาย ๆ ซอยที่สภาพเป็นแบบนี้หรือแย่กว่านี้ค่ะ และก็ยังมีเสาไฟกินรีอีกจำนวนไม่น้อยเลย ที่รอการติดตั้งอยู่อีกหลายร้อยต้น ดิฉันขอฝากคำถามผ่านท่านประธานไปยัง ป.ป.ช. และ อบต. ราชาเทวะว่าเสาไฟสวย ๆ อยู่ผิดที่หรือเปล่าคะ หรือถ้าเป็นถนนจะดีกว่า หรือเปล่า หรือใครหวังดีแอบไปปักไว้หรือเปล่าคะ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านสิริน สงวนสิน ครับ
นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สวัสดีครับ เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพนะครับ ผม สิริน สงวนสิน สส. พรรคก้าวไกล เขตตลิ่งชันและเขตทวีวัฒนา วันนี้ ผมมีปัญหาปรึกษาหลายเรื่อง เลยขออนุญาตพูดเร็วหน่อยนะครับ
นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องแรก ปัญหาขนส่งทวีวัฒนา ปัญหานี้ปัญหาเรื้อรังมากว่า ๒๐ ปี ยังไม่ได้รับการแก้ไขเป็นรูปธรรม กทม. ได้เอาป้ายมาติด แต่บริษัทที่ดำเนินการอยู่ก็ยังดำเนินการต่อไป แถมยังมีบริษัทเข้ามาดำเนินการเพิ่มอีก จึงอยากจะฝากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยช่วยเข้ามาดูแลเรื่องนี้ด้วยนะครับ
นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ชาวบ้านในเขตตลิ่งชันอาศัยอยู่ริมคลองจำนวนมาก เช่น ริมคลองชักพระ คลองบางพรหม และคลองบางระมาด แต่แสงไฟส่องสว่างยังไม่พอ สร้างความไม่ปลอดภัยแล้วก็เป็นอันตรายกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงอยากจะฝาก ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสำรวจและติดตั้งไฟริมคลองด้วยครับ
นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ปัญหาผู้หลบหนีจากศาลตลิ่งชันระหว่างที่คุมตัวไปขึ้นศาล ครึ่งปี ที่ผ่านมาเกิดเหตุไป ๒ รอบ ผู้ต้องหาหนีมาบริเวณชุมชนสร้างความหวาดระแวงให้กับ ชาวบ้าน เข้ามางัดแงะบ้านชาวบ้านขโมยเสื้อผ้า ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งศาลและตำรวจ ช่วยเข้ามาดูแลให้ครอบคลุมกว่านี้นะครับ
นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ไฟส่องสว่างไม่ติดมานานแล้ว บริเวณถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน และบริเวณก่อนทางขึ้นด่านเก็บเงินค่าทางผ่านพิเศษตลิ่งชัน มีการร้องเรียนไปหลายรอบแล้ว แต่ไฟก็ยังไม่ติด เป็นอันตรายต่อรถที่ใช้ตอนกลางคืนมาก ฝากเรื่องนี้ด้วยนะครับ
นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ ปัญหากลิ่นสารเคมีที่โรงงานกระดาษบริเวณหมู่บ้านอักษรา ๒ ทางเข้าหมู่บ้านอยู่ฝั่งถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก เรื่องนี้ร้องเรียนไปหลายหน่วยงาน ลงไปตรวจสอบโรงงานก็ทำเป็นปิด แต่ก็ยังปล่อยกลิ่นออกมาเรื่อย ๆ สร้างความลำบาก ให้กับผู้อาศัยที่อยู่บริเวณรอบข้างมาก ๆ ครับ โรงงานนี้ไม่มีใบอนุญาต แล้วก็พื้นที่นี้เองก็เป็น พื้นที่สีเขียวไม่สามารถตั้งโรงงานได้ อยากจะฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยช่วยเข้ามาดูแลและตรวจสอบด้วยครับ
นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๖ รถเมล์สาย 4-54E หรือ ๑๕๗ ที่วิ่งผ่านเข้าเส้นพุทธมณฑลสาย ๑ เรื่องนี้ผมได้ไปตามให้รถเมล์กลับมาวิ่ง แต่ว่าก็ยังไม่มีป้ายรถเมล์เพียงพอ อยากจะฝาก กระทรวงคมนาคมเข้ามาสำรวจดูแลให้รถเมล์มันครอบคลุมด้วยครับ
นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๗ ขอฝากเรื่องสุดท้าย เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมในตลิ่งชัน ช่วงนี้ฝนตกหนัก พี่น้องที่ตลิ่งชันค่อนข้างลำบาก เพราะตลิ่งชันเป็นพื้นที่ราบลุ่ม แม้ทาง สำนักการโยธาจะทำงานอย่างหนักเอาเครื่องสูบน้ำไปติดหลายที่ แต่ว่าเครื่องสูบน้ำ ก็ไม่เพียงพอ ชาวบ้านบางที่ต้องรอน้ำท่วมข้ามคืนกว่าจะได้รับการช่วยเหลือ จึงอยากจะฝาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลและพิจารณาซื้อเครื่องสูบน้ำให้ครอบคลุมด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ เชิญครับ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานสภา ที่เคารพคะ ดิฉัน ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร คนสายไหม พรรคก้าวไกล วันนี้มีเรื่องหารือจำนวน ๕ เรื่องด้วยกัน
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ปัญหาแรก เรื่องถนนพัง ในซอยจีระมะกร ถนนเส้นนี้เป็นถนนที่พี่น้องประชาชนใช้เดินทางสัญจรเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นทางลัดจากถนนเส้นวัดเกาะไปยังถนนสายไหม มีชุมชนบ้านมั่นคงกว่า ๒๐๐ หลังคาเรือน ในช่วง ๓-๔ เดือนที่ผ่านมามีรถบรรทุกขนดินของเอกชนวิ่งผ่านเข้าออก ทำให้ถนนพังเสียหาย พังแล้ว พังอยู่ พังต่อ เจ้าของโครงการมีการทำบันทึกข้อตกลง เพื่อให้ซ่อมแซม แต่สุดท้ายแล้วก็เงียบหาย ฝ่ายโยธาได้นำหินคลุกมาลง ลงแล้วก็พัง ลงแล้ว ก็พังอีก อยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานเขตสายไหมตรวจสอบ แก้ไข ติดตาม ให้บริษัทเอกชนเข้ามาปรับปรุงถนนตามบันทึกข้อตกลงด้วยนะคะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ปัญหาเรื่องน้ำท่วมบริเวณซอยเพิ่มสิน ๒๕ เป็นหมู่บ้านจัดสรร มีบ้านพักอาศัยประมาณ ๓๐ หลังคาเรือน มีปัญหาน้ำท่วมทุกฤดูฝน มีการพยายามจัดตั้ง นิติบุคคลแล้วก็ทำการยื่นขอเป็นสาธารณประโยชน์แล้ว อยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างที่รอให้เอาเครื่องสูบน้ำมาวางไว้บริเวณปากซอยเพิ่มสิน ๒๕ เพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนด้วยนะคะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เรื่องการปรับปรุงป้ายรถเมล์บริเวณถนนจันทรุเบกษาหรือแยก คปอ. เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างสายไหมกับพหลโยธิน อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า คปอ. มีป้าย รถเมล์เล็กมาก ๆ ประชาชนเข้าไปนั่งได้แค่นิดเดียวเท่านั้น ไม่มีหลอดไฟ มืด อันตรายมาก ๆ อยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงติดตั้งหลอดไฟเพิ่มความสว่างให้ด้วยนะคะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ปัญหาเรื่องกลิ่นขยะ สายไหมมีโรงขยะเป็นศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย กลิ่นแรงมาก ๆ สาเหตุหลักมาจากปริมาณขยะที่มีจำนวนมาก ๓,๕๐๐ ตันต่อวัน จากเดิม ที่มีปริมาณแค่ ๒,๐๐๐ ตันเท่านั้น อยากฝากสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. ช่วยจัดการเพื่อให้ ศูนย์สายไหมไม่มีขยะตกค้างระหว่างวันมากเกินไป
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ ปัญหาเรื่องความยุ่งเหยิงของสายไฟและสายสื่อสาร เรื่องนี้ เป็นปัญหาที่มีในหลาย ๆ เขต ในสายไหมจุดสำคัญบริเวณหน้าซอยเพิ่มสิน ๑๕ บริเวณ ปากซอยทองงอกมีสายสื่อสารมาปิดทางเข้าออกของประชาชน
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๖ สุดท้าย ฝากนิดหนึ่งเรื่องการกำหนดข้อบังคับจราจรบนถนนเพิ่มสิน ทางสารวัตรจราจรสายไหมแจ้งว่าเพิ่มสินไม่มีการกำหนดข้อบังคับจราจร อยากให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดการกำหนดข้อบังคับจราจรให้ชัดเจนบนถนนเพิ่มสินด้วย ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ขอบคุณมากค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะนักศึกษา คณาจารย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ยินดีต้อนรับนะครับ เหลือ ๓ ท่านสุดท้าย ท่านแรกท่านสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล ท่านที่ ๒ ท่านมังกร ยนต์ตระกูล ท่านที่ ๓ ท่านกิตติภณ ปานพรหมมาศ เชิญท่านสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล ก่อนครับ
นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล นครราชสีมา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม สมเกียรติ ตันดิลกตระกูล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต ๕ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมขอหารือท่านประธานของงานในพื้นที่ ๒ เรื่อง
นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ผมได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านหมู่ที่ ๘ ของเทศบาลตำบล ด่านคล้า อำเภอโนนสูง กรณีขาดแคลนน้ำสะอาดและมีน้ำไม่เพียงพอต่อการบริโภค ในชีวิตประจำวันนะครับ เนื่องจากที่หมู่บ้านแห่งนี้ได้ใช้น้ำประปาจากปลายท่อของเทศบาล ตำบลด่านคล้า ซึ่งน้ำจะมีสีขุ่นและมีกลิ่น ในขณะที่กำนันวุฒิจักษ์ สำราญกลาง และคณะ ได้ทำประชามติและขอรับการสนับสนุนให้การประปาส่วนภูมิภาคขยายเขตน้ำประปามาให้ ที่หมู่บ้านนี้เป็นระยะเวลา ๒ ปีเศษแล้ว ซึ่งท่อน้ำของการประปาส่วนภูมิภาคห่างจาก หมู่บ้านนี้ไม่ถึง ๑ กิโลเมตร แต่ยังไม่ได้รับการดำเนินการใด ๆ กระผมจึงขอฝากเรียน ท่านประธานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้โปรดดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนด้วยครับ
นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอความอนุเคราะห์ในการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างและไฟสัญญาณ จราจรบนถนนทางหลวงหมายเลข ๒๐๖๗ ซึ่งเป็นถนนแยกออกจากถนนมิตรภาพ ทางหลวง หมายเลข ๒ เพื่อเข้าสู่อำเภอโนนสูง ถนนเส้นนี้มีความตรงและมีระยะทางที่ยาวมาก และผ่านชุมชนจำนวนหลาย ๆ ชุมชน ประมาณกิโลเมตรที่ ๗ ของถนนเส้นนี้เป็นบริเวณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอโนนสูง เป็นสี่แยกที่มีประชาชน ใช้สัญจรเป็นจำนวนมาก แล้วก็เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ขอให้แขวงทางหลวงจังหวัด นครราชสีมาได้แก้ไขขยายบริเวณจุดรอกลับรถให้มีความกว้างเพียงพอสำหรับที่รอกลับรถ ให้มีความปลอดภัยจากการถูกรถทางตรงที่วิ่งด้วยความเร็วมาชนได้ แล้วก็อีกจุดหนึ่งที่ถนน เส้นเดียวกันประมาณหลักกิโลเมตรที่ ๒๖ หน้าองค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่าก็เป็น ย่านชุมชนเช่นกัน ขอให้แขวงทางหลวงได้ขยายผิวการจราจรเป็น ๔ ช่องทาง และติดไฟฟ้า ส่องสว่างตลอดสายเพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน จึงขอกราบเรียนมายัง ท่านประธานได้โปรดประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านมังกร ยนต์ตระกูล
นายมังกร ยนต์ตระกูล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม มังกร ยนต์ตระกูล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย กระผม ขอหารือท่านประธานเรื่องแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับการบริหารจัดการถูกปล่อยทิ้งร้าง อ่างเก็บน้ำธวัชชัยที่จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นบึงขนาดใหญ่มีพื้นที่ ๖๐๐ ไร่เศษ เป็นแหล่งน้ำ ธรรมชาติที่งดงาม
นายมังกร ยนต์ตระกูล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อยู่ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ด ๑๒ กิโลเมตร อยู่ห่างจากสนามบินร้อยเอ็ด ๑๑ กิโลเมตร อ่างเก็บน้ำธวัชชัยมีทางวิ่ง ทางจักรยาน ทางรถยนต์รอบอ่างเก็บน้ำธวัชชัยยาว ๔ กิโลเมตรเศษ เหมาะแก่การออกกำลังกาย จัดการแข่งขันวิ่ง แข่งปั่นจักรยาน และยังมีเกาะกลางขนาดใหญ่ มีหอประชุมขนาดใหญ่ แล้วก็กำลังก่อสร้างพญานาคเพื่อให้นักท่องเที่ยวมาสักการะเหมือนหนองคาย เหมือนนครพนม ร้อยเอ็ดเรามีวัดบางแห่งที่มีชาวต่างชาติมาสักการบูชาวัตถุมงคลทุกวันเสาร์ วันอาทิตย์ ๓๐๐-๔๐๐ คน เป็น Soft Power ที่มีศักยภาพ แต่ในความเป็นจริงนั้นปัจจุบันอ่างเก็บน้ำ ธวัชชัยมีชาวร้อยเอ็ดมาใช้บริการ ๓๐-๔๐ คน ไม่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยว เนื่องจากไม่มี หน่วยงานที่มีศักยภาพมาบริหารจัดการ ไม่มีแผนงาน ไม่มีกิจกรรม วันนี้เครื่องยนต์เศรษฐกิจ หลายตัวของเรามีปัญหา การส่งออกที่ถดถอย การบริโภคภายในที่ไม่มีกำลังซื้อ เราหวัง พึ่งพิงรายได้จากการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งในหลายจังหวัดมีศักยภาพ แต่ขาดหน่วยงานบริหารจัดการ มีสภาพเหมือนอ่างเก็บน้ำธวัชชัย ทำให้เสียโอกาสหารายได้ เข้าประเทศ ฝากถึงรัฐบาล ปัจจุบันกำลังมีปัญหาเรื่องการท่องเที่ยว มีการยิงกันที่สยามพารากอน ยิงชาวต่างชาติ วันนี้แหล่งท่องเที่ยวถูกปล่อยทิ้งร้าง ให้รัฐบาลรีบสำรวจโดยด่วนเพื่อหาคน รับผิดชอบ หรือเปิดประมูลให้เอกชนมาบริหารจัดการเพื่อดึงดูดเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศ ฝากถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกันแก้ไขปรับปรุงให้อ่างเก็บน้ำธวัชชัยเป็นแหล่งดึงดูด นักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจร้อยเอ็ดต่อไป ขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านสุดท้ายท่านกิตติภณ ปานพรหมมาศ เชิญครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม กิตติภณ ปานพรหมมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต ๔ พรรคก้าวไกล วันนี้มีเรื่องจะปรึกษาหารือท่านประธานทั้งหมด ๔ เรื่อง เป็นความเดือดร้อนของพ่อแม่ พี่น้องชาวจังหวัดนครปฐมครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
เรื่องแรก เรื่องไฟถนนดับกระจายทั่วทุกพื้นที่ในอำเภอบางเลน อำเภอ ดอนตูม แล้วก็อำเภอกำแพงแสนในพื้นที่ตำบลสระพัฒนาและตำบลห้วยม่วง ก็เป็นของ ขึ้นชื่อที่ชาวบ้านไม่ต้องการ แต่หลาย ๆ คนที่ผ่านมาก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ถนนเส้น ๓๔๖ ตั้งแต่ตำบลไผ่หูช้างจรดตำบลบางภาษี แล้วก็เส้น ๓๗๕ ตั้งแต่โรงงานวราฟู้ด ถึงวัดเลาเต่า เส้น ๓๓๕๑ ตั้งแต่ถนนเทศบาลบางเลนมุ่งหน้าตำบลหินมูลก็ไม่มีไฟถนน รวมถึงถนนเส้น ๓๒๙๖ ที่ผมเคยพูดไปเป็นเส้นเกาะแรด แล้วก็เส้น ๓๒๙๗ ตั้งแต่สามง่าม ถึงลำเหยมีไฟติด ๆ ดับ ๆ เป็นระยะตลอดทาง แล้วก็อยากเรียนท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้รีบแก้ไขปัญหานี้โดยด่วนนะครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอให้มีการสร้างประตูน้ำที่ตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน เพราะว่ามีพี่น้องที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นพี่น้องหมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๙ ตำบลห้วยม่วง ช่วงหน้าแล้งก็ไม่มีน้ำใช้ ช่วงหน้าฝนน้ำก็ท่วม อยากให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องรีบดำเนินการเร่งสร้างประตูน้ำ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตพื้นฐานของบุคลากรทางด้าน การเกษตร เพราะว่าจากที่ผมได้ไปติดต่อสำนักงานเกษตรอำเภอดอนตูม หลังคารั่ว แล้วก็ มีงบประมาณในการดำเนินงาน แม้กระทั่งการลงพื้นที่มีค่าน้ำมันเพียง ๘๐๐ บาทต่อเดือน เท่านั้น ไม่สามารถดูแลเกษตรกรได้ จึงขอเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พัฒนา รวมถึง การปรับปรุงอาคารของสำนักงานเกษตรอำเภอดอนตูม
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ที่สำคัญสุดท้ายผมขอฝากครับ เป็นเรื่องสถานการณ์น้ำท่วมในแม่น้ำท่าจีน ที่อำเภอบางเลน ผมอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเร่งไปดำเนินการเยียวยาชดเชย ให้พ่อแม่พี่น้องผู้ที่อยู่ในบริเวณแม่น้ำท่าจีนให้ได้รับการเยียวยาโดยด่วนครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะบุคลากรประจำมัสยิดมัสยิดยามีอุลค็อย รียะห์ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับครับ ท่านสมาชิกครับ จะแจ้งให้ทราบ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้จัดกิจกรรมฝึกซ้อมหนีไฟ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยจำลองเสมือนจริง ขอชี้แจงนะครับ การฝึกซ้อมจะเริ่ม เวลา ๑๒.๓๐-๑๒.๔๕ นาฬิกา เริ่มการฝึกซ้อมจะมีเสียงสัญญาณเตือนอัคคีภัยดังขึ้น ให้สมาชิกทุกท่านจากห้องอาหารหรือห้องทำงานให้ไปรวมพลกันพื้นที่บริเวณโถงบันไดยักษ์ ด้านหน้า ชั้น ๑ จะมีผู้นำอพยพถือธงนำไป ออกจากห้องอาหารและห้องประชุมเวลา ๑๒.๓๐ นาฬิกา สำหรับท่านสมาชิกที่อยู่ตามห้องพักของท่านสมาชิกชั้น ๕-๘ ให้ท่านลง บันไดอพยพทางหนีไฟที่ใกล้ที่สุดลงไปที่ชั้น ๑ เท่านั้น เสร็จแล้วก็จะมีเจ้าหน้าที่นำทางไปที่ โถงบันไดยักษ์ชั้น ๑ ถ้าท่านสมาชิกไปถึงจุดรวมพลแล้วให้ตรวจสอบรายชื่อ ณ จุดรวมพล ก็ไปลงชื่อที่จุดรวมพล ๑๒.๓๐ นาฬิกา ก็แจ้งให้ท่านสมาชิกทุกท่านได้ทราบ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๗๙ คน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขณะนี้มีท่านสมาชิกมาประชุมลงชื่อ ๔๑๔ ท่าน ครบองค์ประชุมนะครับ เรียนท่านสมาชิกครับ ก่อนที่จะมีการถามกระทู้ตามระเบียบวาระกระทู้ถาม ผมขอเรียนที่ประชุมว่าสำหรับ การพิจารณากระทู้ถามแยกเฉพาะได้ดำเนินการถามตอบในห้องกระทู้ถามแยกเฉพาะควบคู่ ไปกับการพิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจาและกระทู้ถามทั่วไปตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑.๑ กระทู้ถามสดด้วยวาจา
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑. นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม
นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ระนอง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย ต้องขอกราบขอบคุณท่านประธานสภามากที่วันนี้ให้พรรคภูมิใจไทยได้ถามกระทู้เป็นครั้งแรก แล้วก็ต้องขอกราบขอบคุณทางกระทรวงคมนาคมที่วันนี้ถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม ท่านสุริยะไม่ได้มา ท่านมนพร เจริญศรี ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้เกียรติมาตอบกระทู้ในครั้งนี้ ต้องขอกราบขอบคุณท่านมากครับ
นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ระนอง ต้นฉบับ
เรื่องกระทู้ที่ผมอยากจะถามทาง ท่านรัฐมนตรีก่อนคือเป็นเรื่องเกี่ยวกับโครงการ Landbridge ซึ่งผมเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย วันนี้ก็จะขอทำหน้าที่ของพี่น้องชาวจังหวัด ระนองและชาวจังหวัดชุมพร รวมถึงพี่น้องทั้งหมดอีก ๑๒ จังหวัดภาคใต้ และพี่น้องประชาชน ทั้งประเทศ และในนามของ สส. พรรคภูมิใจไทยทั้งหมด ได้ยื่นกระทู้ถามโครงการดี ๆ ที่จะ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยนั่นคือโครงการ Landbridge ครับ โครงการนี้เป็นประตูการค้าฝั่งตะวันออกและตะวันตกเชื่อมฝั่งอันดามัน และฝั่งอ่าวไทย จากจังหวัดระนองไปยังจังหวัดชุมพร เป็นการก่อสร้างท่าเทียบเรือทั้ง ๒ ฝั่ง นั่นคือฝั่งจังหวัดระนองและฝั่งจังหวัดชุมพร ซึ่งมีการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง นั่นคือ Motorway รถไฟทางคู่ รวมถึงการขนส่งทางท่อ และเป็นการก่อสร้างคู่ขนานเดียวกัน ตามแผนบูรณาการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมต่อแนวทางรถไฟทางคู่หรือ MR-MAP ถ้าเกิดโครงการนี้สำเร็จมันจะเป็น Hub ของการขนส่งระหว่างประเทศ ไม่ใช่แค่ประหยัดเวลา เรื่องของการขนส่ง แต่ยังส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมและการผลิต และยังเป็นการเพิ่มโอกาส ของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปอุตสาหกรรมทางอาหาร การเกษตร การประมง อาหารทะเลแช่แข็ง ธุรกิจการขนส่งสินค้า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นอนาคต ของอุตสาหกรรมอัจฉริยะให้กับลูกหลานของเรา วันที่ ๑๑ กันยายน ผมได้มีโอกาส เป็นตัวแทนของพรรคภูมิใจไทยอภิปรายญัตติของคณะรัฐมนตรีที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา นำโดยท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งท่านก็จะพูดเกี่ยวกับทางด้านเศรษฐกิจ ผมได้มีโอกาสให้มีการผลักดันในเรื่องของเศรษฐกิจนั่นคือการผลักดันพัฒนาพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้หรือ SEC เพื่อเชื่อมโยงกับ EEC นั่นคือโครงการ Landbridge ซึ่งท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ขออนุญาตเอ่ยนามท่าน ซึ่งสมัยที่ท่านเป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี และกำกับกระทรวงคมนาคม ท่านก็เคยเสนอโครงการนี้ไว้ และวันที่ ๑๔ กันยายน ผมได้ไป ออก TV ของรัฐสภานั่นคือมองรัฐสภาร่วมกับท่านสมาชิกวุฒิสภา ท่านสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ขออนุญาตต้องเอ่ยนามท่านเหมือนกัน ท่านเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการคมนาคม ทางบกและทางรางของวุฒิสภา ในประเด็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ หลังจากนั้นวันที่ ๑๖ กันยายน ได้มีข่าวว่ากระทรวงคมนาคมจ่อ Break สร้าง Landbridge ไม่เอา Landbridge จนทำให้พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดระนองและจังหวัดชุมพรที่เห็นด้วย กับโครงการนี้ออกมาเคลื่อนไหวแล้วก็ขึ้นป้ายเพื่อสนับสนุนโครงการ Landbridge ต่อไป จึงทำให้พี่น้องประชาชนในจังหวัดระนองและจังหวัดชุมพรสับสนในเรื่องเกี่ยวกับโครงการนี้ หลังจากนั้นวันที่ ๒๐ กันยายน ท่าน สส. สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ท่านเป็นผู้แทนของ สส. พรรคภูมิใจไทย แล้วก็ภาคใต้ ได้ออกมาแถลงข่าวขอให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้พิจารณาทบทวนไตร่ตรองและสานต่อนโยบาย Landbridge ต่อไป หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้น ขออนุญาตเอ่ยนามท่านรัฐมนตรี ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ออกมาชี้แจงและยืนยันว่าไม่ยกเลิกโครงการ Landbridge ผมดีใจแล้วก็เห็นด้วยกับที่ท่านสุริยะได้ออกมาบอกไม่ยกเลิกโครงการ Landbridge และจะเดินหน้าผลักดันโครงการนี้ต่อไป แล้วก็ต้องขอกราบขอบคุณแทนพี่น้องประชาชน ชาวจังหวัดระนองและจังหวัดชุมพรด้วยเช่นกัน ตลอดจนพี่น้องประชาชนทั้งประเทศด้วย ที่เห็นโครงการดี ๆ แบบนี้ จริง ๆ แล้วผมอยากให้ท่านได้มองว่าการผลักดันโครงการนี้อย่าให้ มองว่าเป็นการทำเพื่อพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่ก็อยากให้ตัดเรื่องของอดีตของการเมืองเก่าออก และอยากให้มองถึงประเทศชาติเป็นหลักมากกว่า และอีกประการหนึ่งผมอยากให้มองถึง อนาคตของโครงการนี้เพื่อพัฒนาในด้านเศรษฐกิจต่อไปให้กับลูกหลานเรา และในส่วนนี้ พรรคภูมิใจไทยนำโดยท่านอนุทิน ชาญวีรกูล แล้วก็ สส. พรรคภูมิใจไทยเราได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้หรือ SEC เข้าสู่สภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็รอสภา เพื่อพิจารณาในคราวต่อไป
นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ระนอง ต้นฉบับ
คำถามนะครับท่านประธาน วันนี้ สนข. ได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็น EHIA การก่อสร้างท่าเทียบเรือ หรือจะเป็น EIA การก่อสร้างทางรถไฟ ตลอดจนวันนี้ยังเหลือ อีกโครงการหนึ่งที่จะต้องเข้าไปสำรวจและรับฟังความคิดเห็นนั่นคือ Motorway ซึ่งถึง กรมทางหลวงจะเป็นผู้รับผิดชอบ ดังนั้นโครงการนี้ถ้าจะประสบความสำเร็จได้ ผมเลย ต้องขอกราบเรียนท่านประธานไปถึงท่านรัฐมนตรีว่าเมื่อยืนยันว่าผลักดันโครงการ Landbridge นี้แล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ เมื่อหน่วยงานดังกล่าวดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเสร็จแล้วท่านมีแผนปฏิบัติงาน หรือ Action Plan อย่างไรเพื่อให้โครงการนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
กระทู้ถามสดมีเวลา ๓๐ นาที ผู้ถาม ๑๕ นาที แล้วก็ท่านรัฐมนตรีตอบ ๑๕ นาที ถามได้ ๓ ครั้ง เชิญท่านรัฐมนตรีคำถามแรกครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ให้มาตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ จากจังหวัดระนอง จากคำถามแรก ดิฉันขอขึ้น Slide ในภาพรวมของโครงการ Landbridge ก่อน
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide แรก ท่านประธานที่เคารพคะ จากมติของ ครม. เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ ได้เห็นชอบ กรอบแนวคิดของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช กระทรวงคมนาคมจึงได้มอบหมายให้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้ศึกษาความเหมาะสมแล้วก็ได้ออกแบบ เบื้องต้นไว้ และประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบ Model การลงทุนเรียกว่า Business Development Model ซึ่งโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนี้จะเป็นการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภูมิภาคภาคใต้ แล้วก็เชื่อมโยงกับการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามันหรือที่เรียกว่าโครงการ Landbridge
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide ที่ ๑ เราจะเห็นว่าความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่ ประเทศไทย เป็นประเทศด้ามขวาน ทางตะวันออกและทางใต้เรามีมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นศูนย์กลางที่ทำหน้าที่เป็นประตูเชื่อมการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้าทางภูมิภาคอาเซียน โดยโครงการนี้จะลดระยะเวลาการเดินทางการขนส่งจากเดิมที่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา ทำให้มีการประหยัดต้นทุนการขนส่งและหลีกเลี่ยงการติดขัดบริเวณช่องแคบมะละกา และมีแนวโน้มที่จะจูงใจให้ผู้ประกอบการขนส่งและนักลงทุนมาใช้เส้นทางนี้
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide ที่ ๒ เราจะเห็นว่าบทบาทของโครงการ Landbridge การศึกษา ที่กำหนดไว้ในบทบาทมีถึง ๓ แนวทาง ๓ บทบาท ในบทบาทแรก บทบาทของประตูการค้า หรือว่า Gateway เราจะเป็นการรองรับการนำเข้าสินค้าส่งออกของประเทศไทย รวมทั้ง ประเทศในกลุ่ม GMS และรวมทั้งทางจีนตอนใต้ด้วยค่ะ บทบาทที่ ๒ บทบาทของการลำเลียง สินค้าที่ขนไปมาระหว่างประเทศในมหาสมุทรอินเดีย และกลุ่มประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนบทบาทที่ ๓ บทบาทในการขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่า หมายถึงว่า Port Industry ในพื้นที่จังหวัดระนองและจังหวัดชุมพรซึ่งเป็นจังหวัดที่ท่านสมาชิกได้อยู่ที่จังหวัด ระนอง รวมทั้งจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้เช่นเดียวกันค่ะ นี่คือคำถามแรกที่ท่านสมาชิกได้ถาม ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญผู้ถามคำถามที่ ๒ ครับ
นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ระนอง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ต้องขอกราบขอบคุณทางท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการ ท่านมนพร เจริญศรี ครับ คำถามที่ ๒ หลังจากที่ท่านได้ตอบคำถามที่ ๑ เลยอยากจะขอคำถามที่ ๒ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ในโครงการนี้ของรัฐบาลชุดนี้ที่นำโดยท่านนายกรัฐมนตรีท่านเศรษฐา ทวีสิน ว่าการสร้าง ความเชื่อมั่นหรือมีตัวเลขผลตอบแทนของการลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมมูลค่าเท่าไร เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ทั้ง ๑๔ จังหวัดภาคใต้ รวมถึงทั้งประเทศครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ท่านประธาน ที่เคารพคะ ในประเด็นคำถามที่ ๒ ดิฉันขอขึ้น Slide เรื่องของการคาดการณ์ปริมาณสินค้า ที่จะผ่านเข้าออกของโครงการ Landbridge
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
เราคาดการณ์ไว้ ตลอดระยะเวลาของทั้งโครงการนะคะ ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นเราคาดการณ์ว่าปริมาณ ที่จะผ่านสินค้าของโครงการ Landbridge ตลอดระยะเวลาทั้งโครงการจะมีสินค้าที่มี แนวโน้มมีกลุ่มประเภทของสินค้าอยู่ ๓ กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่ ๑ ท่านจะเห็นว่า เป็นกลุ่มที่สินค้านำเข้าและส่งออกจากประเทศไทย คือกลุ่มที่ ๑ กลุ่มที่ ๒ เป็นกลุ่มสินค้า ไปมาระหว่างประเทศในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก คือกลุ่มที่ ๒ ส่วนกลุ่มที่ ๓ เป็นสินค้านำเข้าและส่งออกจากประเทศในกลุ่ม GMS รวมถึงจีนตอนใต้ โดยเราคาดการณ์ ว่าทั้งโครงการจะมีปริมาณตู้สินค้า Container ในฝั่งจังหวัดระนอง ๑๙.๔ ล้านตู้ และในฝั่ง จังหวัดชุมพรประมาณ ๑๓.๘ ล้านตู้ ตลอดระยะเวลาทั้งโครงการค่ะ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide แผ่นถัดไปค่ะ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่ใช้ระหว่าง การขนส่งสินค้าผ่านโครงการ Landbridge กับขนส่งสินค้าที่ผ่านช่องแคบมะละกา เราก็จะ พบว่าโครงการ Landbridge จะช่วยลดระยะเวลาการขนส่ง ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เฉลี่ยแล้วประมาณ ๔ วัน และสามารถลดค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็คือ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายถึงเป็นการลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทย กลายเป็นศูนย์กลางของการรวบรวมและกระจายสินค้าในภูมิภาค Asia และในภูมิภาค ASEAN ประเทศไทยจะเป็นเหมืองทองให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งค่ะ นี่คือคำตอบ ของคำถามที่ ๒ ค่ะ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
แล้วมาดู Slide สุดท้ายของคำตอบคำถามที่ ๒ จะเห็นว่าโครงการ Landbridge จะประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก ๒ ฝั่ง ฝั่งจังหวัดชุมพรแล้วก็ฝั่งจังหวัดระนอง เราก็จะมี การเชื่อมโยงเส้นทางที่ประกอบไปด้วยรถไฟทางคู่แล้วก็ Motorway ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลา ทางรถไฟแล้วก็ Motorway ประมาณ ๙๐ กิโลเมตร โดยจะมีการออกแบบเป็นอุโมงค์ ในช่วงที่ต้องผ่านภูเขาเพื่อย่นระยะเวลาการเดินทาง แล้วก็ให้เส้นทางขนส่งไม่ลาดชัน จนกระทั่งจะต้องมาตามแก้ไขปัญหาเรื่องของความลาดชันแล้วก็ป้องกันอุบัติเหตุในภายหลัง นี่คือสิ่งที่ทางกระทรวงคมนาคมได้ออกแบบในภาพรวมของโครงการ Landbridge นี่คือ คำตอบของคำถามที่ ๒ ค่ะท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการ มีคำถามสุดท้ายไหมครับ
นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ระนอง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดีใจครับ คำถามที่ ๑ พร้อมถึงคำถามที่ ๒ อันนี้เป็นคำถามที่ ๓ ที่จะสร้างความเชื่อมั่น ในรัฐบาลชุดนี้จริง ๆ ซึ่งอดีตที่ผ่านมารัฐบาลที่แล้วที่นำโดยท่านศักดิ์สยาม ชิดชอบ ท่านเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งท่านก็ได้ผลักดันโครงการนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ให้ สนข. ได้จัดทำเรื่องโครงการ Landbridge เพื่อที่จะนำเข้าสู่ ครม. ให้ความเห็นชอบหลักการทุก ๆ อย่าง แต่แล้วมีการยุบสภาไปก่อนก็จึงไม่สามารถนำเข้าสู่ การพิจารณา ครม. ได้ทัน คำถามนี้จึงอยากจะถามทางประธานสภาไปถึงทางท่านรัฐมนตรีว่า ในการดำเนินการโครงการ Landbridge นี้ท่านจะใช้งบประมาณเท่าไร จากแหล่ง งบประมาณใด และด้วยวิธีการใด เพื่อที่จะเสนอเข้า ครม. ให้ความเห็นชอบในโครงการ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย รวมถึงโครงการนี้ผมนำเรียนว่าบางท่านเคยพูดว่า ไม่น่าจะแล้วเสร็จได้ทันในสมัยผม เรายินดีครับ ไม่เสร็จสมัยผม แต่ก็เพื่อลูกหลานคนระนอง ลูกหลานของจังหวัดชุมพรใกล้เคียง ตลอดจนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ รวมถึงจังหวัด นครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตลอดจนจังหวัดภาคใต้ และ ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ของผม ซึ่งมี สส. ของพรรคภูมิใจไทยอยากให้โครงการนี้ได้เดินต่อไป จึงอยากถาม ท่านรัฐมนตรีในคำถามที่ ๓ นี้ ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ท่านประธาน ที่เคารพคะ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขอตอบคำถามที่ ๓ ของท่านสมาชิก ในเรื่องของมูลค่าการลงทุนและ Timeline ของการดำเนินงานโครงการ ดังกล่าวนะคะ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide แรก ท่านจะเห็นว่าทั้งในส่วนของงบประมาณการลงทุนโครงการ Landbridge เราได้มีการศึกษา และได้มีการแบ่งพัฒนาโครงการออกเป็น ๔ ระยะ ดูตามผลคาดการณ์ว่าปริมาณตู้สินค้า ที่ผ่านโครงการนี้จะมีมูลค่าของการลงทุนรวมทั้งโครงการนี้ประมาณ ๑ ล้านล้านบาท โดยจะมี การลงทุนในระยะแรกประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งรูปแบบของการลงทุนเบื้องต้น รัฐบาลจะทำหน้าที่เวนคืนที่ดินก่อนค่ะ แล้วหลังจากนั้นจะเชิญชวนให้ภาคเอกชนมาลงทุน ในโครงการอีก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนแผนพัฒนาโครงการดิฉันขึ้น Chart ให้ดูถึง Timeline เพื่อให้เกิดความชัดเจน รัฐบาลของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เราไม่ได้คิดเรื่องของการเมืองและไม่ได้คิดเรื่องของว่า นโยบายใดจะเป็นของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ทุกโครงการที่เป็นประโยชน์ ต่อพี่น้องประชาชนเราพร้อมที่จะสานต่อเช่นเดียวกับโครงการ Landbridge นี้ค่ะ สำหรับ Timeline ที่ดิฉันได้โชว์ให้ท่านสมาชิกได้เห็นก็จะเป็นความก้าวหน้าของโครงการในปัจจุบัน ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้ดำเนินการตามกรอบของแนวทาง การพัฒนาให้โครงการแล้วเสร็จ ปัจจุบันนี้กำลังดำเนินการออกแบบอยู่ค่ะ เบื้องต้นท่าเรือ ทั้งฝั่งระนองแล้วก็ชุมพรพร้อมทั้งกำลังดำเนินการศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะมี การจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนทุกมิติ ส่วนแนวทางการดำเนินงาน ของโครงการในขั้นตอนต่อไป กระทรวงคมนาคมก็จะดำเนินการขอมติ ครม. เพื่อเห็นชอบ ในหลักการเร็วที่สุดก็ภายในเดือนตุลาคมปีนี้ค่ะ เพื่อให้กระทรวงคมนาคมสามารถไปทำ Roadshow ในต่างประเทศ แล้วก็เชิญชวนนักลงทุนรวมทั้งรับฟังความคิดเห็นตามแผนการ ก็น่าจะเป็นประมาณเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖ พอในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ เราก็จะเอาความเห็นและข้อเสนอแนะเหล่านี้จากภาคเอกชนมาปรับปรุงรายละเอียด ของโครงการก่อนที่จะนำเสนอเข้า ครม. เพื่ออนุมัติโครงการอีกครั้งหนึ่งค่ะ โดยรายละเอียด ความชัดเจน และรูปแบบของการดำเนินงานโครงการสิทธิประโยชน์ ก่อนที่จะสู่ขั้นตอนของการคัดเลือก ผู้ลงทุนโครงการจะต้องเป็นไปตามแผนดำเนินการ ประกาศประกวดราคาไปในช่วงปี ๒๕๖๘ ก็คิดว่ายังคงทันรัฐบาลในสมัยนี้อยู่นะคะ และในระยะเวลาดังกล่าวก็จะใช้ระยะเวลาการก่อสร้างทั้งสิ้น ๕ ปี ท่านประธานที่เคารพคะ ทั้งหมดที่ดิฉันได้นำเรียนถึงความคืบหน้าของโครงการ Landbridge ตามที่สมาชิก ได้สอบถามมาดิฉันอยากจะนำเรียนว่าการทำงานภายใต้ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้ริเริ่มโครงการใหญ่ ๆ และท่านนายกรัฐมนตรีก็มุ่งมั่นที่จะให้ประเทศชาติมีรายได้ สร้างรายได้ใหม่ ๆ สร้างเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการสำคัญ ๆ เช่นโครงการ Landbridge เราจะสร้างนักลงทุนใหม่ สร้างรายได้ใหม่ให้กับคนไทยทั้งประเทศ ให้พี่น้องประชาชน มีความอยู่ดีกินดีและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติต่อไปค่ะ ขอบคุณท่านสมาชิก ที่มีความห่วงใยและติดตามความคืบหน้า ถ้ามีโอกาสอีกดิฉันจะรายงานความคืบหน้า โครงการ Landbridge ต่อสภาอีกครั้งหนึ่ง ขอบพระคุณท่านประธานค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านรัฐมนตรีนะครับ ยังมีอีกนิดหนึ่งหรือครับ เชิญครับ
นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ระนอง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ก็ต้องฝากท่านประธานสภาถึงท่านนายกรัฐมนตรี ตลอดจนท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านมนพร เจริญศรี ต้องกราบขอบคุณมากที่ท่านได้มาตอบกระทู้โครงการดี ๆ ของประเทศชาติ แล้วก็เป็นคำตอบที่ฟังแล้วผมชื่นชมท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม ถึงท่านจะได้รับตำแหน่งผู้ช่วย แต่ท่านก็ได้มาทำหน้าที่เปรียบเสมือน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในเรื่องทั้ง ๓ คำถามที่ผมได้ถาม ก็ต้องขอกราบ ขอบคุณทางท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ตลอดจน ท่านมนพร เจริญศรี ที่ได้ให้เกียรติมาตอบกระทู้ในครั้งนี้ของพรรคภูมิใจไทยมากครับ ขอกราบขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปกระทู้ถามที่ ๒ เชิญท่านพริษฐ์ครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒. นายพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม พริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมต้องขอเริ่มต้นด้วยการขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรีที่จัดสรรเวลา เพื่อมาตอบกระทู้สดในสภาเช้าวันนี้ ในฐานะที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนโยบายการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน ผมคิดว่าผลงานของท่านนั้น จะเป็นรูปธรรมที่ดีที่สุดครับ เพราะการแก้ไขปัญหาปากท้องและการแก้ไขปัญหา ทางการเมืองนั้นสามารถทำควบคู่กันได้ หากเราย้อนไปเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ที่พรรคเพื่อไทย มีการฉีก MOU และแยกทางจากพรรคก้าวไกลเพื่อไปจัดตั้งรัฐบาล ผมจำได้ดีว่า ท่านรองนายกรัฐมนตรีนั้นนั่งอยู่ข้าง ๆ ตอนที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ณ เวลานั้นได้แถลงข่าว อย่างชัดถ้อยชัดคำว่าในการประชุม ครม. นัดแรกรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยนั้นจะมีมติ ให้เดินหน้าจัดทำประชามติเพื่อนับหนึ่งไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประชาชน แต่ผ่านมาไม่ถึง ๔๒ วันถัดมา ในการประชุม ครม. นัดแรกเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน เรากลับ เห็นรัฐบาลกระทำการ U-turn ครับ U-turn จากการเดินหน้าจัดทำประชามติเพื่อย้อนศร กลับมาเป็นเพียงการตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติที่นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามแต่งตั้งเมื่อ ๒ วันที่แล้ว ผมไม่ติดใจหากรัฐบาลอยากจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ศึกษาในประเด็นต่าง ๆ เพื่อความรอบคอบ แต่สิ่งที่ถูกศึกษานั้นควรจะจำกัดเฉพาะสิ่งที่ ไม่เคยถูกศึกษามาก่อนหรือสิ่งที่อาจจะเคยถูกศึกษามาแล้ว แต่ผ่านกระบวนการที่ไม่ได้ มีส่วนร่วมของทุกฝ่าย พอนำเกณฑ์และหลักการนี้มาใช้ผมได้มีความกังวลว่าคณะกรรมการศึกษาที่ท่านตั้งขึ้นมานั้น จะกลายเป็นกระบวนการศึกษาที่อาจจะเสียเวลาและงบประมาณเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น หรือหากจะมองโลกในแง่ร้ายก็เสี่ยงจะถูกใช้ลบหลักการที่เคยเป็นข้อสรุปร่วมกันมาก่อนแล้ว ที่ผมพูดแบบนี้เพราะว่าแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ นั้นเป็นสิ่งที่ ถูกศึกษาพิจารณาถกเถียงกันมาโดยละเอียดผ่านกระบวนการที่ทุกฝ่ายนั้นมีส่วนร่วม อย่างต่อเนื่องตลอด ๔ ปีที่ผ่านมา จนนำไปสู่ข้อสรุปและ Roadmap ที่หลายฝ่ายนั้นเคยเห็น ตรงกันมาแล้ว ก่อนที่ผมจะถามคำถามแรกครับผมต้องขออนุญาตเท้าความและฉายภาพ ให้ท่านประธานและท่านรองนายกรัฐมนตรีเห็นอีกครั้งหนึ่งว่าสังคมเรานั้นเคยได้ข้อสรุปอะไร ร่วมกันมาแล้วบ้างผ่าน ๔ เหตุการณ์สำคัญ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุการณ์ที่ ๑ ย้อนไปในปี ๒๕๖๒ สภาผู้แทนราษฎรนั้นได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ที่มีตัวแทนจากทุกพรรคในสภา ณ เวลานั้น และมีคุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ณ ปัจจุบันนั่งเป็นประธาน ทางคณะกรรมาธิการก็ใช้เวลากว่า ๘ เดือนในการรับฟังความเห็น และศึกษาทุกมาตราของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ โดยละเอียด สรุปออกมาเป็นรายงานกว่า ๕๐๐ หน้า โดย ๑ ข้อสรุปสำคัญที่คณะกรรมาธิการส่วนใหญ่นั้นเห็นตรงกันในหน้า ๑๒๒ คือการสนับสนุนให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดย สสร. ที่มาจากประชาชน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุการณ์ที่ ๒ ขยับมาที่ปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ สมาชิกรัฐสภาบางกลุ่มก็ได้นำ ข้อสรุปจากรายงานคณะกรรมาธิการนั้นแปรออกมาเป็นการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่ การพิจารณาของรัฐสภา โดยมี ๒ ร่างหรือว่า ๒ ฉบับที่มีหลักการเดียวกันในการนำไปสู่การมี สสร. มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พอเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่หนึ่งสมาชิกรัฐสภาก็ได้ลงมติ รับหลักการทั้ง ๒ ร่างด้วยคะแนนสูงถึง ๘๘ เปอร์เซ็นต์ และ ๗๙ เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แล้วพอดำเนินการมาสู่การพิจารณาในวาระที่สองสมาชิกรัฐสภาเสียงส่วนใหญ่ก็ได้ลงมติ ยืนยันว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ สสร. นั้นต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด พอดำเนินการไปถึง วาระที่สามเหตุผลที่ทำให้ร่างดังกล่าวตกไปก็ไม่ใช่เพราะว่าสมาชิกรัฐสภานั้นไม่เห็นด้วย กับการจัดทำฉบับใหม่โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นเพราะว่าสมาชิกรัฐสภา บางกลุ่มนั้นไปอ้างว่าคำวินิจฉัยศาลธรรมนูญ ๔/๒๕๖๔ บอกว่าจะต้องจัดทำประชามติ เพื่อถามประชาชนก่อนที่จะมีการเสนอร่างใด ๆ เข้าสู่วาระที่หนึ่ง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
พอเป็นเช่นนั้นก็ขยับมาเหตุการณ์ที่ ๓ ในเมื่อร่างเกี่ยวกับ สสร. ถูกปัดตก ด้วยข้ออ้างว่าต้องทำประชามติก่อน พอเราขยับมาในปี ๒๕๖๕ ทั้งพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทยก็เลยร่วมกันยื่นเสนอญัตติเข้าสภาอาศัยกลไกของ พ.ร.บ. ประชามติ ปี ๒๕๖๔ เพื่อเสนอให้จัดทำประชามติดังกล่าว ด้วยคำถามที่ว่าท่านเห็นชอบหรือไม่ ว่าประเทศไทยควรจะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับแทนที่รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบันโดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และเมื่อ มีการพิจารณาและลงมติครับ ข้อเสนอเกี่ยวกับคำถามประชามตินี้ก็ได้รับความเห็นชอบ อย่างเป็นเอกฉันท์จากสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงจาก สส. ทุกพรรคที่เข้าประชุม ณ วันนั้น และร่วมรัฐบาลอยู่ ณ เวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทย แม้ญัตติดังกล่าวจะถูก สว. ปัดตกไปในปี ๒๕๖๖ แต่ก็ไม่มีใครหมดหวัง เพราะพวกเรารู้ดีว่า ตามกลไกของ พ.ร.บ. ประชามติ ปี ๒๕๖๔ นั้นแม้ สว. จะสามารถปัดตกข้อเสนอประชามติ ที่ถูกเสนอโดย สส. ได้ แต่ สว. ไม่มีอำนาจในการปัดตกข้อเสนอประชามติที่ถูกเสนอโดย ครม.
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
พอเป็นเช่นนั้นก็เลยเดินทางมาเหตุการณ์ที่ ๔ ก็คือในช่วงของการเลือกตั้ง ปี ๒๕๖๖ หลายพรรค รวมถึงพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยก็เลยประกาศด้วยความมั่นใจ ว่าหากได้รับเลือกเป็นรัฐบาลแล้วพรรคนั้นจะสามารถและพร้อมจะออกมติเดินหน้าจัดทำ ประชามติทันทีโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเสียงของ สว. มาถึงวันนี้ที่ท่านตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ ครม. ของท่านนั้นมีอำนาจในการออกมติให้จัดประชามติและนับหนึ่งไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ แต่ท่านเลือกที่จะตั้งคณะกรรมการศึกษาขึ้นมาก่อน ท่านประธานครับ ที่ผมจำเป็น ต้องย้อนรายละเอียดทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เราควรจะต้องมา ล้มกระดานศึกษากันใหม่ทั้งหมด เราแทบทุกฝ่ายเคยได้ข้อสรุปร่วมกันมาแล้วว่าต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เราแทบทุกฝ่าย เคยได้ข้อสรุปร่วมกันมาแล้วว่าต้องมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เราแทบทุกฝ่าย เคยได้ข้อสรุปร่วมกันมาแล้วว่าต้องเริ่มต้นจากการทำประชามติ และเราแทบทุกฝ่ายก็เคย ได้ข้อสรุปร่วมกันมาแล้วแม้กระทั่งตัวคำถามประชามติ ตอนนี้มันจึงไม่ช้าเวลาของการศึกษา แต่มันคือเวลาของการตัดสินใจว่าท่านจะเดินหน้าต่ออย่างไร ดังนั้นคำถามแรกที่ผมอยากจะ ถามท่านรองนายกรัฐมนตรี คือขอชัด ๆ ว่าท่านตั้งคณะกรรมการศึกษาขึ้นมาเพื่ออะไร อะไรคือสิ่งที่ท่านจะศึกษา และอะไรคือสิ่งที่ท่านจะยึดเป็นกรอบหรือหลักการของคณะกรรมการ ชุดนี้ที่ท่านจะไม่ย้อนกลับไปศึกษาหรือว่าทบทวนอีกรอบหนึ่ง ถ้าท่านยืนยันว่าท่านตั้งขึ้นมา เพื่อศึกษารายละเอียดปลีกย่อยที่อยู่ภายใต้กรอบของข้อสรุปที่เราเคยมีร่วมกันแล้ว อันนี้ พอจะเข้าใจได้ แต่ท่านช่วยยืนยันได้หรือไม่ว่าท่านไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพราะว่าท่านไม่กล้าตัดสินใจ เดินหน้าตามจุดยืนเดิม แต่ท่านต้องการยืมมือคนอื่นมาสร้างความชอบธรรมให้ท่านในการทำ การ U-turn อีกครั้งหนึ่งเพื่อย้อนหลักการเดิมบางส่วนที่ท่านเคยยืนยันและที่แทบทุกฝ่าย เคยได้ข้อสรุปร่วมกันไปแล้ว
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ต้องกราบ ขอบพระคุณนะครับ ผม ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี มาเพื่อจะตอบกระทู้ถาม และข้อสงสัยที่ท่านสมาชิกมีข้อสงสัยนะครับ ได้ฟังจากท่านสมาชิกแล้วผมคิดว่า ท่านได้ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนก็เป็นข้อเท็จจริงตามนั้น แต่ว่ารายละเอียด ต่าง ๆ อาจจะไม่ครบถ้วนหรือว่าอาจจะคลาดเคลื่อน ผมคิดว่าสิ่งที่เรากำลังทำวันนี้รัฐบาล ไม่ได้คิดว่าจะทำให้ปัญหาต่าง ๆ มันถูกดึงให้ล่าช้า ตรงกันข้ามสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำวันนี้ รัฐบาลอยากให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นประสบความสำเร็จ สิ่งที่เราได้ตัดสินใจแล้วก็ยื่น ขณะนี้ก็ต้องบอกว่า ตามที่ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้พูดถึงเรามีการดำเนินการมา ๔ ครั้ง หลายครั้งมันก็มีข้อสรุป แล้วก็ต่อ ๆ มาตั้งแต่ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ก็มีข้อสรุปที่เปลี่ยนแปลงไปเพิ่มเติมมากขึ้น สมบูรณ์มากขึ้น ก็ต้องกราบเรียนว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาอยู่มันสะท้อนความรู้สึกที่ยังไม่ตรงกันของคนในสังคมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัญหาสำคัญ ๆ หลายเรื่อง เพราะฉะนั้นการทำครั้งนี้เรามุ่งมั่น มุ่งมั่นอย่างที่ได้กราบเรียน ไปแล้วว่ารัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องนี้ แล้วก็เสนอเป็นนโยบายของรัฐต่อสภาผู้แทนราษฎร ต่อสมาชิกรัฐสภา ก็จะดำเนินการ เพราะฉะนั้นในการประชุมคณะรัฐมนตรีวาระแรกเราได้ นำเรื่องนี้เข้าหารือ แต่อย่างว่าในเมื่อสถานการณ์และความเป็นจริงมันชี้ให้เห็นว่าทั้ง ๔ ครั้ง ที่เราพยายามทำแม้จะเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็ดี แต่ว่าเรื่องรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับคนทุกส่วนในสังคม เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรากำลังพยายามทำครั้งนี้คือ พยายามหาข้อสรุปที่มันเป็นข้อสรุปที่สามารถที่จะผลักดันให้ประเทศไทยมีความเป็น ประชาธิปไตยมากขึ้น เราต้องยอมรับว่าวันนี้หลายเรื่องถ้าเราไม่สามารถกำหนดประเด็น ให้เหมาะสมชัดเจนมันจะกลายเป็นปัญหาที่ก่อความขัดแย้งใหม่ขึ้น เพราะฉะนั้น ในการดำเนินการครั้งนี้รัฐบาลได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ท่านนายกรัฐมนตรีหลังจาก บัญชาการให้มีการดำเนินการแล้วเราก็ได้มีการคิดรายละเอียดและทบทวน ผมอยาก กราบเรียนอย่างนี้ว่าคณะกรรมการที่จะติดตามการหาข้อสรุปในการทำประชามติว่า มีแนวทางอย่างไรแล้ว ก็เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้นก็พูดชัดว่าเราจะทำแนวทางการทำประชามติ แล้วก็ ทำร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขปัญหาความแตกต่างของประชาชนในสังคม ขณะนี้เราวางหลักการ ไว้ชัดเจนว่าอันที่ ๑ เราต้องการทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้เสร็จโดยเร็วที่สุด กรอบเวลา ที่เราวางก็เป็นกรอบเวลาตามที่ศาลรัฐธรรมนูญหนดส่วนหนึ่งว่าต้องมีการทำประชามติ อีกส่วนหนึ่งก็คือตามกรอบกฎหมายที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นถ้าคิดจาก Timeline แล้วเราคิดว่าภายใน ๔ ปีที่รัฐบาลดำเนินการอยู่ เราจะสามารถทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้เกิดความเห็นชอบของทุกฝ่าย ทุกกลุ่มในสังคม โดยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น ก็จะทำได้สำเร็จภายใน ๔ ปีที่รัฐบาลนี้ทำอยู่ ที่ผมกล่าวว่า ๔ ปีที่รัฐบาลนี้ทำอยู่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะยืดเวลาไปเรื่อย ๆ แต่เราคิด Timeline ที่ไกลที่สุดมันก็อยู่ที่ประมาณ ๓ ปีกว่า แต่ทั้งหมดในแต่ละช่วงเวลานี้สามารถ ย่นระยะเวลาได้ อันนี้คือสิ่งที่คณะกรรมการที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งนี้กำลังจะต้องไปหา แนวทางทำอย่างไรที่จะให้การทำประชามติตามกฎหมายที่ว่าไว้ แล้วก็ตามข้อบังคับต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้เหลือน้อยที่สุด เพราะการทำประชามติแต่ละครั้งมันต้องใช้เงินประมาณ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ ล้านบาท ถ้ายิ่งทำมากมันก็เหมือนกับการเลือกตั้งหลาย ๆ ครั้ง ผมคิดว่า ในเวลาอันใกล้ขนาดนี้ไม่ควรจะต้องเสียเงินไปจำนวนมากขนาดนั้น จึงพยายามหาลู่ทางว่า ถ้าเป็นไปได้เราอยากทำประชามติสัก ๒ ครั้ง แต่ถ้าดูตามกฎ ตามระเบียบ ตามที่พูด มันอาจจะต้องเป็น ๓ ครั้งหรือ ๔ ครั้งถ้าตีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นรัฐบาลมุ่งมั่น อยากจะให้เสียค่าใช้จ่ายน้อย ทำประชามติให้ตอบสนอง มีส่วนร่วมจากทุกคน แล้วก็แก้ไข ความแตกต่าง
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ที่รัฐบาลมุ่งมั่นก็คือว่าเราอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ทำได้สำเร็จ ไม่ใช่เสนอขึ้นมาแล้วก็มีการตกไปเหมือน ๔ ครั้งที่ผ่านมา เมื่อต้องการทำให้ สำเร็จจึงต้องพยายามจะหาจุดร่วมที่ดีที่สุดที่ทำให้เกิดประชาธิปไตยให้มากที่สุด อันนี้เป็น เป้าหมายและความต้องการของรัฐบาลที่พยายามจะดำเนินการเพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญที่มี ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และเพื่อให้เราสามารถที่จะใช้กฎกติกาใหม่ สามารถจะ ดำเนินการในครั้งต่อไปได้ เพราะฉะนั้นเราตั้งใจว่าภายใน ๔ ปีนี้จะสำเร็จพร้อมกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับ แล้วก็พร้อมจะมีการเลือกตั้งใหม่ ภายใน ๔ ปีนี้ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ จะใช้กฎหมายใหม่ แล้วก็ข้อบังคับใหม่ รัฐธรรมนูญใหม่ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งหมดเพื่อให้มันเดินหน้าต่อไปได้ อีกเรื่องหนึ่งที่คิดว่าเราได้มอง ได้คุย แล้วก็ได้หารือกัน คิดว่าเป็นประเด็นที่สำคัญก็คือเราเสนอให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยกเว้นหมวด ๑ หมวด ๒ ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ แล้วก็พระราชอำนาจที่เกี่ยวข้องอยู่ในมาตราต่าง ๆ เราคิดว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันในสังคมก็ไม่ควรจะต้องไปแตะต้อง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ แล้วก็ใช้เวลาที่เหลือไปพิจารณากฎ ข้อบังคับในรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งหมด ให้ได้ความเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้นที่สุดเท่าที่จะมากได้ ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องหารือกัน ทีนี้ทำไมถึงต้องใช้เวลาในการดำเนินการ จริง ๆ อยู่ในกระบวนการการเริ่มต้นทำประชามติใหม่ การทำประชามติใหม่ไม่ใช่รัฐบาลมีมติให้ทำประชามติแล้วก็ไปดำเนินการได้เลย มันมีขั้นตอน มีกระบวนการตามกฎหมาย แต่ว่าเพื่อความรอบคอบไม่ให้มีปัญหาอย่างที่ได้เรียนไปแล้ว เราจึงเสนอว่าให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนให้เต็มที่มากขึ้น ทำให้มากที่สุดเท่าที่ จะมากได้ เพราะฉะนั้นในการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาผมจึงได้พยายามรวบรวม พรรคการเมืองเกือบทุกพรรค ยกเว้นพรรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งถ้าเอามามันก็จะจำนวน มากเกินไป แล้วก็มติคณะกรรมการที่จะเกิดขึ้นมันก็จะมีจำนวนมากเกินไป เราก็คิดว่า คณะกรรมการชุดนี้จะต้องเชิญประชุมพรรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาความเห็นของทุกพรรค ไม่ว่าเป็นพรรครัฐบาลหรือพรรคฝ่ายค้าน ก็เสียดายที่พรรคก้าวไกลไม่ได้เข้าร่วม แต่ผม ก็เคารพในเหตุผลของพรรคก้าวไกล เพราะว่าได้กันที่นั่งไว้ ๑ ที่นั่ง แต่ว่า ถึงแม้จะยัง ไม่ได้เข้าร่วมในตรงนี้ ผมก็ได้เรียนกับสื่อมวลชนไปว่าก็ไม่เป็นอะไร ไม่ได้ทำให้การแก้ไข รัฐธรรมนูญนี้ดำเนินการแล้วจะเกิดความสะดุดหยุดลง แต่เราก็จะพยายามกำหนด ในแผนการว่าจะคุยกับท่านต่อไปในอนาคตนะครับ เพราะฉะนั้นโดย Timeline ผมเรียนว่า เรามีอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดก็คือเราไม่มีเรื่องนี้แล้ว เราก็จะพยายามทำทุกอย่าง ให้มันเสร็จโดยพยายามแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่าย อันนี้ก็เป็นจุดประสงค์และเป็น จุดสำคัญ ส่วนคำถามที่ว่าเราจะถามอะไรหรือคำถามนี้มีอะไรบ้าง ผมคิดว่าส่วนที่เกี่ยวข้อง ก็คือกระบวนการแก้ไขจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรเป็นอย่างไร อันนี้ก็คือมันยังมี ความเห็นต่างกันอยู่บ้าง แต่เราก็ยืนยันว่าในฐานะรัฐบาลเราก็เคยมีส่วนคิดว่ามันควรจะเป็น กระบวนการที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากที่สุดไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม เราก็ยังยอมรับว่าให้มีการพยายามทำ สสร. ตามที่มีความเห็นได้ศึกษาได้อะไรมา แล้วความเห็น ที่ศึกษามาแล้วก็ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่าง เราก็จะนำสิ่งเหล่านั้นมาเป็นข้อที่ช่วยในการที่จะ พิจารณาด้วยเหมือนกัน ไม่ได้ทอดทิ้ง
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ หากมีกระบวนการทำประชามติเพื่อทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในกรณีต่าง ๆ จะต้องมีการทำประชามติกี่ครั้ง อันนี้ก็เป็นโจทย์คำถามที่เราอยากทำให้มัน เกิดความชัดเจน ๒ ครั้งได้ดีที่สุด เพราะว่าเริ่มต้นลงประชามติว่าจะเปลี่ยนแปลงตามที่ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการวินิจฉัยไว้ และมีการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วก็จะทำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็ต้องไปผ่านพรรคฝ่ายค้าน ๒๐ เปอร์เซ็นต์ และผ่าน สว. อีก ๑ ใน ๓ ก็เป็นกระบวนการ เราอยากให้รัฐธรรมนูญสำเร็จครับ เพราะฉะนั้นจึงพยายามที่จะคุยกับฝ่ายค้านคุยกับ พรรครัฐบาล คุยกับ สว. เพื่อให้ทั้งหมดได้ประสบความสำเร็จได้ แม้ว่ากระบวนการ โดยตรงอาจจะไม่มี ก็ขอชี้แจงขั้นต้นแค่นี้ครับ กราบขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
กราบขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ ต่อไปคำถามที่ ๒ เชิญครับ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรี ที่ให้ความชัดเจนมากขึ้นสักเล็กน้อยเกี่ยวกับขอบเขตการทำงานของคณะกรรมการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายในการพยายามจะจัดทำรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน ๔ ปีเป็นอย่างช้า แล้วก็ข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องจำนวนประชามติที่จะต้องมีการจัดทำ แต่ผมขออนุญาต ใช้โควตาครั้งที่ ๒ ในการถามคำถามเกี่ยวกับประเด็นเพิ่มเติมที่ผมคิดว่ายังไม่ได้มีความชัดเจน แล้วก็อยากจะชี้แจง แล้วก็สื่อสารกับท่านรองนายกรัฐมนตรีโดยตรงด้วยถึงเหตุผลว่าทำไม พรรคก้าวไกลถึงมีมติออกมาว่ายังไม่ร่วมคณะกรรมการศึกษาในฐานะกรรมการ ณ เวลานี้ ท่านประธานครับ ผมต้องขออนุญาตย้ำกับท่านรองนายกรัฐมนตรีอีกรอบหนึ่งว่าพรรคก้าวไกล เรามีสองจุดยืนที่ชัดเจนมาโดยตลอด นั่นก็คือข้อ ๑ การสนับสนุนให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ข้อ ๒ การสนับสนุนให้เป็นการจัดทำโดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทางตรง ของประชาชนทั้งหมด จุดยืนดังกล่าวก็เป็นจุดยืนที่พรรคก้าวไกลเรามองว่าเป็นกรอบกว้าง ๆ แต่มีความสำคัญอย่างขาดหายไม่ได้ต่อการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่มีความชอบธรรม ทางประชาธิปไตยทั้งที่มา กระบวนการ และเนื้อหา ดังนั้นตราบใดที่รัฐบาลยังไม่ชัดเจน ว่าการทำงานของคณะกรรมการศึกษาของรัฐบาลนั้นจะเป็นการทำงานภายใต้กรอบของ สองจุดยืนนี้ หรือจะเป็นการทลายกรอบดังกล่าว ทางพรรคก้าวไกลขออนุญาตยังไม่เข้าไปร่วม ในฐานะกรรมการนะครับ และเสี่ยงไปเป็นตรายางให้กับสิ่งที่อาจจะขัดกับจุดยืนหลัก ของพรรคเรา แต่ทางเรายินดีมากที่จะให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ความเห็นและข้อเสนอ ของพรรคต่อคณะกรรมการ แม้ผมเข้าใจว่าการไม่เข้าร่วมของเรานั้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค ต่อการทำงานของรัฐบาล แต่เราเองก็เข้าใจถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน ท่านประธานครับ แต่ผมต้องเรียนด้วยความเคารพว่าหากเราติดกระดุมเม็ดแรกผิด แม้เราจะร่วมมือกันดีแค่ไหนในการติดกระดุมเม็ดถัด ๆ ไป แต่เสื้อผ้าตัวนั้นก็จะผิดเพี้ยนไป และใส่ไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหากรองนายกรัฐมนตรีสามารถให้ความชัดเจนได้ ในสภาแห่งนี้ใน ๒ ประเด็นหลักที่ยังค้างคาใจพวกเราอยู่ เราจะได้จับมือเดินหน้าร่วมกัน ในการผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในส่วนของจุดยืนที่ ๑ คือจุดยืนเกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในส่วนของหมวด ๑ และหมวด ๒ ของรัฐธรรมนูญ ผมเข้าใจว่าท่านเคยตอบแล้วท่านก็ยืนยัน อีกครั้งหนึ่งเมื่อสักครู่ว่าท่านจะล็อกไม่ให้มีการแก้ไขเนื้อหาใด ๆ ท่านบอกว่าทุกคนเห็นพ้อง ต้องกันว่าประชาชนนั้นไม่อยากให้มีการแก้ไข ผมคงไม่ตั้งคำถามว่าท่านพิสูจน์ได้อย่างไร แต่สิ่งที่ผมอยากจะถามท่านครับ ที่ท่านยังไม่เคยตอบก็คือว่าหากประชาชนหรือว่าบุคคล ที่อาจจะไม่ใช่ประชาชนทั่วไปประสงค์อยากจะเสนอแก้ไขข้อความบางส่วนในหมวด ๑ หมวด ๒ ที่ไม่ได้ไปกระทบอย่างแน่นอนต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขและไม่กระทบต่อรูปแบบของรัฐ ท่านจะอธิบายกับพวกเขาหรือว่าบุคคล ดังกล่าวอย่างไรครับ เพราะท่านไม่อนุญาตให้เขาแม้กระทั่งเสนอความเห็นของเขา หรือว่า เสนอตามแก้ไขบางข้อความ แต่ยิ่งไปกว่านั้นหากเราตัดเรื่องจุดยืนเกี่ยวกับหมวด ๑ หมวด ๒ ที่อาจจะต่างกันออกไปก่อน ผมขอคำยืนยันจากรัฐบาลอีกครั้งหนึ่งได้ไหมว่าตั้งแต่ หมวด ๓ เป็นต้นไปรัฐบาลนี้จะสนับสนุนให้มีการยกร่างใหม่ทั้งหมด ที่ไม่ใช่การลดมาเป็น เพียงการแก้ไขรายมาตรา ยืนยันได้ไหมว่าไม่มีการล็อกว่าประเทศนี้จะต้องใช้ระบบ รัฐสภาแบบสภาคู่หรือสภาเดี่ยว ยืนยันได้ไหมว่าจะไม่มีการล็อกว่าจะปฏิรูปศาลธรรมนูญ และองค์กรอิสระแบบไหนทำได้ แบบไหนทำไม่ได้ ผมเข้าใจว่าท่านให้สัมภาษณ์น่าจะเป็น ครั้งแรกเมื่อวานเพื่อยืนยันว่าท่านจะให้มีการจัดทำใหม่ทั้งฉบับตั้งแต่หมวด ๓ ขึ้นไป แต่ผมต้องขอคำยืนยันจากท่านว่าอันนี้เป็นจุดยืนส่วนตัว เป็นเป้าหมายที่ท่านจะพยายาม ให้เกิดขึ้น หรือเป็นจุดยืนร่วมของรัฐบาลที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปอีกในอนาคต
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ดังนั้นคำถามที่ ๒ ผมที่อยากจะถามท่านรองนายกรัฐมนตรีกล่าวโดยสรุป ก็คือว่าตกลงรัฐบาลนั้นจะสนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หรือหากจะ เจาะจงกว่านั้นครับ ตกลงคณะกรรมการศึกษาชุดนี้จะมีหน้าที่ในการหารือกันในรายละเอียด ภายใต้เป้าหมายของการเดินหน้าสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือตกลงคณะกรรมการ ศึกษานี้จะมีอำนาจในการพิจารณาปรับลดเป้าหมายให้เหลือเพียงแค่การแก้ไขรายมาตราครับ
นายพิเชษฐ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับท่านเดวิด เดลี เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำ ประเทศไทยและคณะ ขอแสดงความยินดีและต้อนรับสู่สภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย เชิญท่านรองนายกรัฐมนตรีครับ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผมได้รับฟังจาก ท่านผู้ทรงเกียรติในการตั้งคำถามครั้งที่ ๒ ผมอยากแสดงความคิดเห็นซึ่งอาจจะแตกต่างกัน บ้างนิดหน่อย การที่บอกว่าเรากำลังทำนี้เป็นการติดกระดุมเม็ดแรกที่ผิดแล้วจะทำให้ ทุกอย่างเสียหาย ผมกราบเรียนท่านว่าเราก็คิดเหมือนกัน แล้วเราก็ถือว่าสิ่งที่เรากำลังทำนี้ คือการติดกระดุมเม็ดแรกที่ถูก เพราะกระดุมเม็ดแรกนี้เป็นกระดุมที่พยายามดึงทุกส่วน มายืนยันอีกครั้งหนึ่ง ท่านก็ยังได้พูดถึงเมื่อสักครู่นี้ว่าครั้งที่ ๑ สรุปไปแล้ว เป็นมติแล้ว ครั้งที่ ๒ ก็มีการปรับแก้ไขอีก ครั้งที่ ๓ ก็ยังมีการปรับบางส่วน ครั้งที่ ๔ ก็ยังไม่ผ่าน เพราะฉะนั้น มันแสดงว่าเรายังไม่ได้หาจุดสรุปที่ชัดเจน การติดกระดุมเม็ดแรกของเราคือการที่ตั้ง คณะกรรมการมาพยายามที่จะรับฟังจากทุกส่วนอีกครั้งหนึ่งเพื่อจะสรุปซึ่งไม่ได้ใช้เวลามาก ผมวางไว้ว่าประมาณ ๓ เดือน ซึ่งจะหารือกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ที่ท่านพูดถึงว่าจะรับปากได้ไหมว่าคณะกรรมการชุดนี้ไม่ได้เป็น ตรายาง ผมรับรองด้วยเกียรติครับ แล้วผมคิดว่าท่านต้องให้เกียรติกับผู้ที่ได้เข้ามาอยู่ในนี้ซึ่งเป็น ตัวแทนจากหลายส่วน แล้วล้วนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นทั้งอดีต กกต. อดีตคณบดี อดีตนักวิชาการต่าง ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ แล้วก็ผู้แทนวิชาชีพต่าง ๆ ทุกคนเข้ามาเพื่อที่จะมา ดูว่าในการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นจะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแล้วก็รายละเอียดเกี่ยวกับ เขาอย่างไร ผมอยากให้ท่านมองภาพให้มันกว้างขึ้น ยอมรับในความเห็นที่แตกต่างกัน ผมคิดว่าการที่จะบอกว่าให้เรารับรองสิ่งที่ท่านคิดเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ ผมคิดว่า มันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น สิ่งที่ควรรับหลักการก็คือวันนี้เราจะทำรัฐธรรมนูญให้มี ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้ ๒ ข้อที่พรรคก้าวไกลเสนอ สิ่งที่ เรากำลังทำขณะนี้คือเราอยากได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เราอยู่ในสภามันต้องมีการตกลงทำความเข้าใจ เราต่างมาต่างทิศ ต่างมาต่างวิชาชีพ ต่างมาจากทุกส่วน การที่ทำให้ทุกส่วนมาคุยกันเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะทำการแก้ไขอุปสรรค ที่เป็นปัญหาของประเทศโดยไม่สร้างความขัดแย้งใหม่ ผมเสียใจนิดเดียวที่พรรคก้าวไกล เอาตัวออกไปจากคณะกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้น ผมว่าไม่ควรมองอะไรที่แง่ร้ายเกินไป สิ่งที่ เรากำลังจะทำนั้นเราคือกำลังจะเริ่มต้น ถ้าทำใจกว้างนิดหนึ่งแล้วเข้ามาผมว่าเราจะคุยกันได้ ในเวทีที่จะปรึกษาหารือกัน คณะกรรมการชุดนี้ที่ให้เข้ามาเพื่อที่จะได้ดูว่ามันโปร่งใส มันตัดสินใจเป็นอย่างที่ท่านต้องระมัดระวังหรือกังวลใจหรือเปล่า เพราะฉะนั้นการเข้ามา น่าจะดีกว่าข้างนอก แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ขัดข้องอะไรนะครับ เพราะฉะนั้นถึงแม้ท่าน ยังไม่เข้ามา ในคณะกรรมการชุดนี้เราได้ดำริขั้นต้น ได้ปรึกษาหารือกันแล้วว่าเราก็ยัง จะเชิญพรรคของท่านหรือพรรคเล็กและพรรคน้อยอีกหลาย ๆ พรรคเข้ามาดู มาหารือ แล้วการทำงานครั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะกรรมการที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เรายังจะเปิดเวทีให้สื่อมวลชน หรือองค์กรของรัฐทั้งหมดเปิดช่องทางให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นก่อน ช้าไปแค่ ๓ เดือน แต่ได้ความเห็นของคนที่กว้างขวางขึ้นน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่านะครับ ผมคิดว่าถ้าเรา สรุปจากของเราแล้วก็ยึดมั่น ถ้าพรรคก้าวไกลบอกว่าทำไมไม่ยืนตามพรรคก้าวไกลที่วาง แล้วก็พรรคอื่น ๆ เขาบอกว่าทำไมไม่ยืนตามพรรคเสนอ มันก็เป็นความขัดแย้งที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นการหาจุดร่วมกันที่ดีแล้วก็พยายามผลักดันให้มันเกิดขึ้นน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด นั่นคือกระดุมเม็ดแรกของเรา เราตัดสินใจแล้วว่าเราจะทำเพื่อให้ได้ผล แล้วก็ ๔ ปีนี้ต้องจบ แล้วการจบนั้นคือจบให้รัฐธรรมนูญมันผ่าน ไม่ใช่เพียงแค่เสนอให้พิจารณาแล้วก็ตกไป เหมือนอย่างอดีตที่ผ่าน ๆ มา ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรีครับ ท่านมีเวลาอีก ๓ นาที ท่านพริษฐ์เชิญครับ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ได้ครับ เรียนท่านประธานครับ ขออนุญาตชี้แจงเร็ว ๆ ๒ ประเด็น
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ ความกังวลของผมมันไม่ใช่เป็นเรื่องของกรอบเวลา ผมเห็น ท่านย้ำประเด็นนี้มาบ่อย ผมไม่ได้ถามเรื่องกรอบเวลาของคณะกรรมการศึกษานี้เท่าไร เพราะว่าท่านก็ตอบชัดไปแล้วว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปี ความกังวลของผมส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของหลักการพื้นฐานที่คณะกรรมการศึกษาชุดนี้จะยึดถือในการทำงาน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ที่อยากจะชี้แจงว่าผมให้เกียรติคณะกรรมการทุกท่านแล้วก็ ความเห็นของประชาชนทุกคนที่อาจจะเหมือนหรือว่าแตกต่างจากจุดยืนของผมแล้วก็ พรรคก้าวไกล แต่มันเป็นเรื่องปกติ เป็นกระบวนการปกติที่เราจะต้องสอบถาม ก่อนที่ จะตอบตกลงในการเข้าร่วมคณะกรรมการใด ว่าท้ายที่สุดแล้วกรอบการทำงานขั้นพื้นฐาน หรือว่าหลักการขั้นพื้นฐานที่คณะกรรมการชุดนั้นจะยึดถือนั้นเป็นอะไร ผมเลยถือว่า กระบวนการนี้เป็นกระบวนการสอบถามด้วยเหตุและผล ไม่ได้เป็นการไม่ให้เกียรติ คณะกรรมการแต่อย่างใดนะครับ เพื่อประกอบการตัดสินใจของพรรคก้าวไกล
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
มาสู่คำถามสุดท้ายครับ อยากจะพูดถึงจุดยืนที่ ๒ ที่พรรคก้าวไกลให้ความสำคัญ คือจุดยืนว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้นควรจะมาจากการเลือกตั้ง ถามว่าทำไมเราถึงมีจุดยืน เช่นนี้ครับท่านประธาน หากเรายึดหลักการประชาธิปไตยในขั้นพื้นฐาน ในเมื่อ สส. ที่มี อำนาจในการร่างกฎหมายทั่วไปมาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เราก็มองว่า สสร. ที่มีอำนาจในการร่างกฎหมายสูงสุดอย่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ควรจะมีความยึดโยงกับประชาชน น้อยไปกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยิ่งไปกว่านั้นหากเราไม่ต้องการให้ สสร. นั้นถูกผูกขาด โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นกระจกที่สะท้อนความหลากหลายในสังคม ผมคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดไม่ใช่ การมี สสร. แต่งตั้งที่อาจจะมีความสุ่มเสี่ยงจะถูกแทรกแซงโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ควรเป็น สสร. ที่ประกอบไปด้วยตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด เพราะจะเป็นตัวแทนของทุกชุดความคิดที่มีอยู่ในสังคมตามสัดส่วนที่มีอยู่ในสังคม แล้วสำหรับท่านใดที่อาจจะกังวลว่าการกำหนดให้ สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้น จะทำให้เราไม่มีพื้นที่สำหรับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายในการเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือเปล่า ผมก็ต้องขออนุญาตใช้พื้นที่สภาแห่งนี้ในการคลายข้อกังวล ดังกล่าวครับ ด้วยการอธิบายว่าแม้ สสร. จะมาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ สสร. ก็สามารถตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างขึ้นมาเพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายนั้น ที่อาจจะไม่ประสงค์ลงสมัครรับเลือกตั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำหรือว่ายกร่างได้ แต่การทำให้ สสร. มาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นี้เป็นเพียงการวางหลักประกันว่า เมื่อผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำหรือช่วยยกร่างขึ้นมาแล้ว ทุกการตัดสินใจจะต้องผ่าน ความเห็นชอบของตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเท่านั้น ดังนั้น ผมอยากจะถามคำถามสุดท้ายกับท่านรองนายกรัฐมนตรีว่าตกลงแล้ว สสร. ที่ท่านเคย ให้สัมภาษณ์ว่าจะต้องมีนั้น ณ เวลานี้ท่านยืนยันได้ไหมว่าจะเป็น สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ทางตรงทั้งหมด หรือหากให้ถามเจาะจงไปกว่านั้นอีกตกลงคณะกรรมการศึกษาชุดนี้ จะมีหน้าที่ในการหารือเกี่ยวกับรายละเอียดปลีกย่อยของ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นระบบเลือกตั้งที่ต้องใช้ หรือกรอบระยะเวลา ในการทำงาน หรือว่าตกลงคณะกรรมการศึกษาชุดนี้จะมีอำนาจในการพิจารณาลดทอน สสร. เลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ที่เสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภาเคยสนับสนุนมาก่อนหน้านี้ ให้กลายเป็น สสร. ที่มีส่วนผสมของการแต่งตั้งครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรองนายกรัฐมนตรีครับ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ต้องกราบขอบพระคุณ ในความห่วงใยซึ่งอยากจะเห็นรัฐธรรมนูญนี้มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด แล้วก็เพื่อจะ ตอบสนองผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและประเทศชาติมากที่สุด ต้องกราบเรียนอย่างนี้ว่า คณะรัฐมนตรีก็มีจุดมุ่งหมายพยายามจะให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ร่างโดยกระบวนการ ที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด แต่ผมคิดว่าเรายืนยันตรงนี้ได้เป็นความปรารถนาของรัฐบาล แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการนี้ผมว่ากระดุมเม็ดแรกที่เราติดนี่ก็คือการดึงความมีส่วนร่วม ของทุก ๆ ฝ่าย และผมคิดว่าทุกวิชาชีพที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเวทีที่เราจะเปิดกับเกษตรกร ทั้งหมด Deal ตัวแทนทุกกลุ่ม เวทีของสื่อมวลชนซึ่งเป็นทั้งสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชน เพื่อสังคมประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุ และโทรทัศน์ไทย และอีกหลาย ๆ ส่วน แล้วเราเปิดที่จะคุยกับทางกลุ่มวิชาการ กลุ่มเยาวชน ทั้งหมดนี้ ทั้งหมดนี้ถ้ายืนยันตรงนี้มันจะยิ่งหนักแน่นขึ้นว่าเราจะเดินหน้านี้ เราก็พร้อมจะ เดินหน้า เรียนยืนยันท่านว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เราตั้งใจและจะทำนี่เราจะทำให้ดีที่สุด เป็นประชาธิปไตยให้มากที่สุดให้ประชาชนมีส่วนร่วมที่สุด แล้วก็จะให้เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่าน การพิจารณาจากข้อบังคับตามกฎหมายทั้งหมด เพื่อให้มันสามารถเริ่มต้นการทำให้ประเทศ หลุดพ้นจากกรอบประชาธิปไตย กรอบของรัฐธรรมนูญฉบับเก่า ๆ ที่สร้างปัญหามา เพราะฉะนั้นอันนี้เรียนยืนยันท่านว่าเราจะทำ แล้วก็ฝากให้ท่านช่วยพิจารณา ถ้าท่านไม่ได้ เข้ามาก็ฝากท่านนำเสนอด้วย เพราะเราก็จะไปฟังจากทุกท่าน แล้วนี่คือการฟังจากทุกส่วน อย่างแท้จริง ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
หมดเวลาแล้วครับท่าน ฝากนิดเดียวนะครับ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สั้น ๆ ประโยคเดียวครับ ก็ต้องขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรีที่มาตอบคำถามในวันนี้ แล้วก็ยืนยันว่าถึงแม้เราอาจจะ ยังไม่พร้อมเข้าไปร่วมในฐานะคณะกรรมการ แต่เรายินดีมากที่จะให้ความคิดเห็นแล้วก็จัดทำ ข้อเสนอเพื่อยื่นให้คณะกรรมการนั้นประกอบการพิจารณาครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรีครับ กระทู้ถามต่อไป
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๓. นายรัชต์พงศ์ สร้อยสุวรรณ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีหนังสือแจ้งว่า ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท่านติดภารกิจสำคัญ จึงขอเลื่อน การตอบกระทู้ถามเรื่องนี้ออกไปก่อน หากท่านรัชต์พงศ์ สร้อยสุวรรณ ยังคงประสงค์ที่จะตั้ง กระทู้ถามด้วยวาจาก็ให้เสนอใหม่ในคราวถัดไป ท่านมีอะไรฝากไปไหมครับ
นายรัชต์พงศ์ สร้อยสุวรรณ ตาก ต้นฉบับ
ขอนิดหนึ่งครับ เรียนประธานที่เคารพ ผม รัชต์พงศ์ สร้อยสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก เขต ๒ พรรคก้าวไกล เขตพื้นที่อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผาง ผมทราบมาว่าทางท่านรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านไชยา พรหมา ติดภารกิจเดินทางไป ต่างประเทศจึงไม่สามารถมาตอบกระทู้ได้ วันนี้ไม่มาตอบไม่เป็นไรครับ ผมอยากจะขอฝาก หารือท่านประธานสักเล็กน้อยผ่านไปยังท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการในฐานะที่ท่านกำกับดูแล กรมปศุสัตว์ เรื่องของปัญหาโคนมและโคเนื้อ สำหรับโคเนื้อหลังจากได้มีประกาศให้ชะลอ การนำเข้าจากประเทศเมียนมานานกว่า ๗ เดือน ทำให้ผู้ประกอบการไม่มีโคมาหมุนเวียน ในคอก ขาดรายได้ครับ มีแต่รายจ่าย บางรายหนักเลยไปกู้หนี้ยืมสินมาปรับปรุงคอกให้ได้ ตามมาตรฐานที่กรมปศุสัตว์กำหนด รวมไปถึงผู้ขายพืชขายฟาง ผู้ขับรถรับจ้าง จนทำให้ หลายกิจการนั้นต้องปิดตัวลง เพราะรอต่อไปไม่ไหวจริง ๆ ปัจจุบันมีการลักลอบนำเข้าโคเนื้อ จากประเทศเพื่อนบ้าน มีการแอบอ้างเรื่องของการกักกันโรคเพื่อมากดราคากับพี่น้อง เกษตรกรผู้เลี้ยงโค ปัญหานี้สร้างความเดือดร้อนเป็นจำนวนมากกับผู้ประกอบการ แถมยังมองไม่เห็นเลยว่าราคาโคจะดีขึ้นอย่างไร ผู้เลี้ยงโคนมก็เดือดร้อนไม่แพ้กัน ทั้งที่ คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมก็มีมติให้ปรับขึ้นราคารับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร ไปแล้ว แต่เดิมผู้เลี้ยงโคนมคาดว่า ครม. จะมีมติให้ปรับขึ้นราคารับซื้อน้ำนมดิบในวันอังคาร ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าก็ไม่มีมติ ครม. ในเรื่องดังกล่าวครับ ราคาอาหารสัตว์ก็แพงขึ้นมาก เกษตรกรประสบกับภาวะขาดทุนและเลิกราเป็นจำนวนมาก
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านรัชต์พงศ์ครับ
นายรัชต์พงศ์ สร้อยสุวรรณ ตาก ต้นฉบับ
นิดเดียวครับ จะจบแล้วครับ จนทำให้ นมขาดตลาด อย่างไรก็ตามหวังว่าท่านรัฐมนตรีเสร็จภารกิจจากต่างประเทศแล้วท่าน จะกลับมาเร่งรีบแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและโคเนื้อครับครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
อาทิตย์หน้าก็ยื่นใหม่เพราะว่ายังเป็นที่สนใจของพี่น้องประชาชน ปัญหาเรื่องโค กระบือ ตอนนี้เป็นปัญหา อาทิตย์หน้าท่านลองยื่นใหม่นะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านสมาชิกครับ เนื่องจากว่าได้รับการประสานงานจากเจ้าหน้าที่แจ้งว่า รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายได้ให้ตอบกระทู้ถามในวันนี้ขอสลับลำดับการตอบกระทู้ดังนี้ เพื่อประโยชน์ในการตอบ ถามกระทู้ ผมขอปรึกษาที่ประชุมนะครับ ขอสลับลำดับกระทู้ เป็นดังนี้ ลำดับที่ ๑ กระทู้ถามตามระเบียบวาระที่ ๑.๒.๔ ของคุณปวิตรา จิตตกิจ ลำดับที่ ๒ กระทู้ถามที่ ๑.๒.๑ ของท่านชวาล พลเมืองดี กระทู้ถามที่ ๓ ระเบียบวาระที่ ๑.๒.๒ ของว่า ที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ลำดับที่ ๔ กระทู้ถามที่ ๑.๒.๓ ของท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ก็ขอเรียงลำดับตามนี้
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑.๒ กระทู้ถามทั่วไป
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑. เรื่อง แนวทางการจ่ายค่าสินไหมของกองทุนประกันวินาศภัยให้กับ เจ้าหนี้ของบริษัทประกันภัยที่ล้มละลายจากวิกฤติไวรัสโควิด ๑๙ นางสาวปวิตรา จิตตกิจ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถามท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านรัฐมนตรีพร้อมหรือยังครับ เชิญครับ ท่านรัฐมนตรีมอบหมาย ให้ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ตอบแทน เชิญท่านปวิตรา จิตตกิจ ครับ
นางสาวปวิตรา จิตตกิจ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ปวิตรา จิตตกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกใหญ่ เขตธนบุรี เขตภาษีเจริญ แขวงศิริราช และแขวงบางเชือกหนัง กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล วันนี้ ดิฉันขอขอบพระคุณท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังที่เข้ามาตอบกระทู้ แนวทางการจ่ายเงินชดเชยตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยให้กับเจ้าหนี้ กรณีบริษัท ประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตจากวิกฤติไวรัสโควิด ๑๙ จากวิกฤติไวรัสโควิด ๑๙ ระบาดที่ผ่านมาในช่วงปี ๒๕๖๓-๒๕๖๕ ในระลอกที่ ๑ และระลอกที่ ๒ การระบาด ยังไม่รุนแรงมากนัก ทำให้บริษัทประกันหลายบริษัทเสนอขายประกันโควิดแบบเจอจ่ายจบ ซึ่งก็มีประชาชนให้ความสนใจและทำการซื้อประกันประเภทนี้เป็นจำนวนมากค่ะ จนเมื่อถึง ระลอกที่ ๓ สายพันธุ์ Delta มีการระบาดขึ้นในปี ๒๕๖๔ ทำให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น อย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้ต้องการ Claim เงินประกันที่ตนเองซื้อไว้เป็นจำนวนมาก จนหลายบริษัทไม่มีเงินพอที่จะจ่ายสินไหมให้กับประชาชนที่ซื้อประกัน และอย่างไรคะ บริษัทเจอ บริษัทที่ขายประกันก็จบ ยังไม่ทันได้จ่ายเลยนะคะ ถูกกองทุนประกันวินาศภัย เพิกถอนใบอนุญาตในการประกอบกิจการไป ทำให้มูลหนี้ทั้งหมดโอนไปยังกองทุนประกัน วินาศภัยเป็นผู้รับชำระในการชำระหนี้ค่ะ ปัญหาก็คือจำนวนเจ้าหนี้ผู้ที่จะได้รับการพิจารณา ที่จะจ่ายเงินคืนในระยะเวลา ๑ เดือน เมื่อเทียบกับอัตราส่วนเจ้าหนี้ดูแล้วต้องใช้เวลาหลายปี เลยทีเดียวจึงจะสามารถจ่ายหนี้คืนได้ทั้งหมดนะคะ
นางสาวปวิตรา จิตตกิจ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ดิฉันขอนำข้อมูลที่ได้จากผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัยที่ให้ข้อมูลกับทาง สื่อต่าง ๆ มาอ้างอิงนะคะ เจ้าหนี้ที่ยื่นคำร้องเรื่องนี้มีประมาณ ๖๗๕,๐๐๐ ราย มูลค่าหนี้ ประมาณ ๖๕,๐๐๐ ล้านบาท และมีการเริ่มจ่ายเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม ปี ๒๕๖๕ Update จนถึงเดือนกันยายน ปี ๒๕๖๖ ปีนี้กองทุนประกันวินาศภัยได้จ่ายไปแล้วทั้งหมด ๗๙,๐๓๕ ราย เมื่อนำมาเทียบกับจำนวนเจ้าหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ ๖๗๕,๐๐๐ ราย กองทุนนั้น สามารถจ่ายได้แค่ ๑๑.๗๑ เปอร์เซ็นต์รายเท่านั้น ยังเหลือเจ้าหนี้อยู่อีกประมาณ ๘๘.๒๙ เปอร์เซ็นต์ราย ดังนั้นความสามารถในการจ่ายหนี้ประมาณ ๖,๐๐๐ รายต่อเดือน เท่านั้นเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วต่อเดือนอยู่ที่ ๐.๘๙ เปอร์เซ็นต์เอง ดังนั้นทั้งหมดทั้งมวล จะต้องใช้เวลาประมาณ ๘ ปีกว่าจึงจะสามารถชำระครบทั้งหมด
นางสาวปวิตรา จิตตกิจ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ดิฉันขอถามคำถามที่ ๑ กองทุนประกันวินาศภัยจะสามารถชำระหนี้ ได้ทั้งหมดภายในระยะเวลากี่ปี ได้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาไว้หรือไม่ และรวมถึง มีแนวทางอย่างไรเพื่อให้กองทุนประกันวินาศภัยสามารถจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ต่อเดือน ได้มากขึ้นและใช้เวลาไม่นานจนเกินไป เนื่องจากข้อเท็จจริงเมื่อปี ๒๕๖๖ มีการสนับสนุน งบประมาณเรื่องนี้เพียง ๕,๐๐๐ ล้านบาท ขอทราบรายละเอียดค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ตอบคำถามของเพื่อนสมาชิก ที่ได้สอบถามเรื่องของกลไกในการชำระคืนกองทุนประกันวินาศภัยสำหรับกรณีเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจากการที่มีการปล่อยในเรื่องของการประกัน COVID-19 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผมต้องเรียนในภาพรวมก่อนนะครับ จริง ๆ แล้วกองทุนประกันวินาศภัยตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันมีบริษัทที่เข้าข่ายที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และมีความจำเป็น จะต้องใช้เงินจากกองทุนไปชำระสินไหมทดแทนจำนวนทั้งสิ้น ๘ บริษัท มีเจ้าหนี้จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ กว่าคน มียอดวงเงินทั้งหมดราว ๕๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ในขณะนี้ถ้านับตั้งแต่ ปี ๒๕๖๔ มาถึงปัจจุบันเราพูดถึงกรณี ๔ บริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต มีคำขอทั้งสิ้น อย่างที่ท่านได้เรียนนี่ตัวเลขใกล้เคียง ๖๘๐,๐๐๐ กว่าราย ดำเนินการพิจารณาคำขอไปแล้ว เพียงแค่ราว ๆ ๘๐,๐๐๐ รายเท่านั้น ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำเกินไปนะครับ ในขณะที่ยังมีคงเหลือ ราว ๖๐๐,๐๐๐ คน เป็นมูลหนี้ที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาอีกเกือบ ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท อันนี้เป็นโครงในเบื้องต้นก่อนนะครับ ผมต้องเรียนอย่างนี้ครับ ที่ผ่านมาในอดีตแหล่งรายได้ของกองทุนวินาศภัยที่ใช้สำหรับ ในการมาชำระคืนในกรณีนี้ได้มาจากในส่วนของตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยในอัตรา จัดเก็บสมทบจากบริษัทประกันวินาศภัยเพียงแค่ร้อยละ ๐.๒๕ เท่านั้น ในช่วงที่ผ่านมาเมื่อมี เหตุการณ์ในช่วงโควิดมีการปรับตัวเลขนี้ขึ้นจาก ๐.๒๕ เป็น ๐.๕ นี่เป็นอัตราที่สูงสุดแล้ว ตามกฎหมายกำหนดที่เราจะสามารถกำหนดได้ผ่านกองทุน การนี้ทำให้มีรายรับผ่านเข้าสู่กองทุนนี้ ต่อเดือนในราว ๑,๒๐๐ ล้านบาท ๑,๒๐๐ ล้านบาทต่อเดือนนะครับ จะต้องมาชำระคืนยอดหนี้ ถ้าเกิดว่าผ่านการพิจารณาแล้วทั้งหมดราว ๕๐,๐๐๐ ราย ท่านลองคำนวณในใจคร่าว ๆ ก็ได้ว่า มันไม่ใช่ ๗ ปี มันยาวกว่านั้นอีก อันนี้เป็นประเด็นหลังจากที่เราได้รับตำแหน่งแล้วได้เข้าไปดู ในรายละเอียดแล้วเราก็เห็นถึงประเด็นปัญหาซึ่งมันควรจะต้องมีกลไกในการแก้ไข ขณะนี้ จากที่ได้รับทราบข้อมูลแล้วก็มีการพูดคุยกับทางกองทุนเอง มีกระบวนการในการพูดคุย เพิ่มเติมครับ เพราะเรารู้แล้วว่าด้วยกลไกของกฎหมายที่มันกำหนดเรื่องของเพดาน การจัดเก็บ แน่นอนว่าเพดานการจัดเก็บ ๕๐ สตางค์นี้ ถ้าเราจะขยายมีทางเดียวส่งเรื่อง เข้าสภาผู้แทนราษฎรแล้วพวกเราในฐานะสมาชิกก็มานั่งแก้ไขกันปรับจาก ๐.๕ เป็น ๑ ก็ได้ เป็น ๒ ก็ได้ แต่ถามว่ามันจะเกิดความยุติธรรมกับสังคมหรือไม่ อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องมา นั่งคิดและพิจารณา เพราะคนที่จะต้องมาจ่ายคือบริษัทประกันที่อยู่ในกรอบ ไม่ได้กระทำ ความผิดใด ๆ ยังสามารถบริหารจัดการอยู่ภายใต้กรอบสิ่งที่เขาได้ดำเนินการอยู่ได้โดยปกติ ภาระก็จะถูกผลักไปยังพี่น้องประชาชนผู้เป็นผู้ซื้อประกัน ซึ่งเขาก็ไม่ได้ทำอะไรผิดเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นกลไกในการปรับเพิ่มตัวเลขตรงนี้ยังเป็นปัญหา แต่อย่างไรก็ตามมีอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งทางกองทุนประกันวินาศภัยกำลังดำเนินการ นั่นก็คือขณะนี้เรากำลังหารือไปยังสำนัก งบประมาณเอง ทาง สบน. เองในการที่จะหากลไกตามช่องของกฎหมาย ซึ่งช่องของ กฎหมายนี่มันมีอยู่จุดหนึ่งคือมาตรา ๘๐ ของ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย เป็นเรื่องแหล่งที่มา รายได้ของกองทุน เราพูดถึงวรรคสิบเอ็ด ซึ่งวรรคสิบเอ็ดเป็นเรื่องของการที่จะได้รายรับ จากรัฐ เราก็มีการพูดคุยกันในส่วนนี้ว่าจะหากลไกอย่างไรเพื่อที่เป็นไปได้ไหมที่จะเอา งบประมาณของรัฐในการเป็นช่องทางหนึ่งในการที่จะเข้ามาแบ่งเบาภาระของกองทุน เพราะกองทุนมีภาระหน้าที่จะต้องจ่ายให้กับผู้เอาประกันตามกฎหมาย เพราะฉะนั้น นี่เป็นกลไกที่เรามองเอาไว้ และหวังว่าจะแก้ไขปัญหาที่ท่านได้มองว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ กลไกเหล่านี้มันกระชับขึ้นได้เร็วขึ้น
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ที่จะต้องนำเรียนต่อท่านประธานผ่านไปยังเพื่อนสมาชิก ท่านสมาชิกสอบถามว่าจะทำอย่างไรให้การชำระหนี้ของกองทุนให้มันได้เร็วขึ้น ต่อเดือน จะเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ ในประเด็นนี้อันแรกได้พูดไปแล้วก็คือเรื่องของการปรับเพิ่มตัวเลข ของการเก็บเข้ากองทุนนี้จาก ๒๕ สตางค์ เป็น ๕๐ สตางค์ ซึ่งมันเต็มเพดาน ประเด็นที่ ๒ ต้องเรียนอย่างนี้ครับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงของ COVID-19 ที่ผ่านมามันเกิดความสับสน ขึ้นมาในสังคมพอสมควร กลไกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นมีการเรื่องการออกประกันลักษณะของ COVID-19 ขึ้นมา เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องเข้ามาจำนวนมหาศาลหลายช่องทาง สิ่งที่จำเป็นจะต้อง ทำคือความถูกต้องแม่นยำ ทางกองทุนใช้ระยะเวลาค่อนข้างมากในการพิจารณา แล้วก็ ค้นพบว่ามันมีหลาย ๆ ประเด็นมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้คำว่าการฉ้อฉลก็ได้ ในเรื่องของสินไหมทดแทน ในเรื่องของใบรับรองแพทย์ปลอมก็ตาม ในเรื่องของการพิสูจน์ การเจ็บป่วยก็ตาม มันเป็นประเด็นปัญหาซึ่งเนื่องจากกลไกนี้อย่างไรก็ตามเป็นกลไก ของงบประมาณรัฐ เป็นเงินของหลวง มีความจำเป็นที่ทางกองทุนเองจะต้องมีความรอบคอบ รัดกุมในการเข้าไปดูในรายละเอียดนะครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหาในการที่เกิดความช้าในการที่จะดำเนินการ ให้พี่น้องประชาชน ที่ท่านบอกว่าเหลือ ๑๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ดำเนินการมาได้คือเรื่องของ บุคลากรเองครับ ต้องยอมรับว่าตัวกองทุนประกันวินาศภัยไม่เคยวางแผนจะต้องรับมือ กับเหตุการณ์ลักษณะขนาดนี้ ขนาดความใหญ่โตของมูลหนี้มันใหญ่ขนาดนี้ เพราะฉะนั้น บุคลากรต้องเรียนอย่างนี้ครับ ปี ๒๕๖๓ ทั้งหน่วยงานมีคน ๓๓ คน แต่ผมก็ได้รับทราบจากการรายงานของหน่วยงานว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วเขาก็รับทราบถึงคอขวดที่เกิดขึ้นของเรื่องบุคลากร สิ่งที่ได้ทำ ก็คือการเพิ่มบุคลากรตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๕ ปี ๒๕๖๖ เป็นต้นมา เพิ่มจาก ๓๓ คน เป็น ๑๓๔ คน เป็น ๒๐๐ กว่าคน สุดท้ายมาอยู่ที่ ๒๐๐ กว่าคน เป็นจำนวน ที่เริ่มจะเพียงพอกับการรองรับกับการที่จะต้องไปพิสูจน์เรื่องของรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อยืนยันว่าเป็นไปตามกลไกของกฎหมายทุกประการ นอกจากนั้นกองทุนประกันวินาศภัย ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานต่าง ๆ เช่นกระทรวงสาธารณสุข ในประเด็นของ RT-PCR กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เหล่านี้ทำให้ กองทุนประกันวินาศภัยสามารถตรวจสอบข้อมูลของผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้รวดเร็วขึ้น
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ในประเด็นสุดท้ายเราได้พยายามแล้วเราก็ได้ทำแล้ว ก็คือการปรับเพิ่ม เงินสมทบกองทุนที่ได้เรียนไปแล้วจาก ๒๕ สตางค์ เป็น ๕๐ สตางค์ ซึ่งขณะนี้ทำให้มีรายรับ ต่อเดือน ๑,๒๐๐ ล้านบาทอย่างที่ได้เรียนไปในเบื้องต้น ก็เป็นเรื่องซึ่งเราได้ดำเนินการมา และยังมีภาระหน้าที่ต้องดำเนินต่อไปนะครับ ก็ตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านผู้ถามถามได้อีก ๑ คำถาม เชิญครับ
นางสาวปวิตรา จิตตกิจ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ภาพโดยรวมการจ่ายหนี้ ของประกันโควิดถูกให้ความสำคัญน้อยกว่าที่ควรค่ะท่านประธาน เจ้าหนี้ของประกันภัย COVID-19 คงค้างอยู่เกือบประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์รายของหนี้ทั้งหมด ดิฉันอดสงสัยไม่ได้ ว่าเจ้าหนี้คือประชาชนผู้เสียหายควรจะได้รับความสำคัญในการรับชำระและเป็นนโยบาย ที่เร่งด่วนมากกว่านี้นะคะ เพราะแม้แต่ว่าค่าน้ำค่าไฟประชาชนคนธรรมดาถ้าไม่จ่ายน้ำไฟ ๒-๓ เดือนก็โดนตัดแล้ว เจ้าหนี้รอไม่ได้ แต่ตอนนี้เจ้าหนี้เป็นประชาชนกลับต้องรอค่ะ หลายคนรอมาแล้ว ๒ ปี แล้วยังต้องรอไปอีกอย่างไร้ความหวัง
นางสาวปวิตรา จิตตกิจ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
คำถามที่ ๒ เลยนะคะ สอบถามถึงความรับผิดชอบของ ๔ บริษัทที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตค่ะ จนถึงปัจจุบันนี้ผู้ถือหุ้นบริษัททั้ง ๔ บริษัทดังกล่าวมีการชดใช้และร่วมมือ กับกองทุนประกันวินาศภัยหรือไม่ อย่างไร และรวมถึงมีแนวทางระเบียบในการป้องกัน จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นซ้ำอีกหรือไม่ ขอทราบรายละเอียดค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต่อข้อซักถามข้อ ๒ ของเพื่อนสมาชิกถามถึงเรื่องของความรับผิดของบริษัทประกันวินาศภัย ทั้ง ๔ แห่งซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาต ผมต้องเรียนอย่างนี้ครับว่า
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ในกรณีของ ๔ บริษัททาง คปภ. ได้ส่งมอบหลักทรัพย์ประกัน แล้วก็เงินสำรองของบริษัทประกันภัยทั้ง ๔ บริษัทที่วางไว้กับสำนักงาน คปภ. ให้กับกองทุน ประกันวินาศภัยเป็นที่เรียบร้อย อันนี้เป็นสิ่งแรกที่เราได้ดำเนินการ ทรัพย์สินอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น สังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่นะครับ อยู่ระหว่างการรวบรวมทางกฎหมาย เพื่อชำระให้กับเจ้าหนี้ต่อไป Timeline ที่น่าจะต้องเกิดขึ้นตามขั้นตอนทางกฎหมายสำหรับ สินทรัพย์ส่วนที่เหลือนี้ไม่น่าจะเกินไปกว่า ๒ ปี อันนี้เป็นสิ่งซึ่งทางหน่วยงานได้ให้คำชี้แจงมา สำหรับกรณีการรับผิดทางกฎหมายของผู้ถือหุ้น กรรมการผู้บริหารของทั้ง ๔ บริษัท ผมต้องเรียนอย่างนี้ครับ ตามกฎหมายแรกก่อน คือกฎหมายบริษัทจำกัด (มหาชน) บริษัทประกันทั้ง ๔ บริษัทเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ตามข้อกฎหมายแล้วความรับผิด ของผู้ถือหุ้นไม่เกินกว่าจำนวนค่าหุ้นที่ต้องชำระ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ กรณีกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารบริษัทก็ตาม ไม่มีบทบัญญัติ ในพระราชบัญญัติเรื่องของประกันวินาศภัยให้มีส่วนร่วมในการรับผิดกับบริษัทที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาต มาตอบนี่ผมก็ตอบด้วยความช้ำนะครับ แต่มันเป็นกฎหมายที่กำหนดไว้เช่นนั้น จริง ๆ อันนี้เป็นกฎหมายที่มีมาก่อนพวกเราที่อยู่ในสภาแห่งนี้จะเข้ามา มันเป็นกฎหมายที่มี และดำเนินการอยู่ อย่างไรดีเราเห็นประเด็นปัญหาเหล่านี้นะครับ สิ่งที่เราได้ดำเนินการแน่นอนว่าเมื่อดู ข้อกฎหมายแล้วทางแพ่งไม่สามารถเดินหน้าได้ แต่ทางอาญาเองนะครับ ทางสำนักงาน คปภ. ได้แจ้งความด้านอาญากับผู้บริหารแล้วก็กรรมการทุกราย ทุกบริษัท เหล่านี้จะต้อง รอตามขั้นตอนตามกฎหมาย ซึ่งก็คงใช้เวลาพอสมควรเพื่อที่จะได้ความกระจ่างแจ้ง ในที่สุด และหากมีความผิดจริงก็จะได้นำผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับ ตัวกฎหมายเองนั้น หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วได้มีข้อเสนอจากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอง เพื่อให้มีการปรับปรุงข้อกฎหมายโดยมีรายละเอียด เช่น
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ประเด็นแรก การกำหนดให้กรรมการผู้มีอำนาจในการจัดการบริษัท ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ห้ามคนที่เคยบริหารจัดการในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นแล้วเคยไป บริหารจัดการในบริษัทซึ่งเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเข้ามาเป็นกรรมการบริหารอีก
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ผู้ที่เป็นกรรมการและเป็นผู้มีอำนาจในการบริหารต้องได้รับ ความเห็นชอบจากนายทะเบียน เพื่อที่จะยืนยันได้ว่าเราต้องตรวจสอบประวัติ ตรวจสอบ คุณสมบัติของบุคคลเหล่านั้นอย่างเข้มงวดก่อนที่จะเข้ามาเป็นกรรมการหรือผู้บริหารบริษัท ประกันในอนาคต มีการกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดของกรรมการ เช่นกำหนดการดำเนินการ ของกิจการของบริษัท กรรมการต้องทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวังผลประโยชน์ ของเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยหรือประชาชนก็ตาม
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ
ข้อสุดท้าย กำหนดให้บริษัทจัดตั้งกรรมการบริษัทชุดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการบริหารจัดการที่ดี Good Governance คือมีการกำหนดในข้อกฎหมายที่จะแก้ไข ให้มีการตั้งกรรมการในเรื่องของการบริหารจัดการที่ดีขึ้น ซึ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราเชื่อว่า เป็นกลไกหนึ่งที่จะสามารถป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเกิดซ้ำ ขึ้นอีก เป็นการป้องกันแล้วก็เขียนให้มีความรัดกุมขึ้น โดยเฉพาะการหากลไกที่จะไป ตามเอาตัวผู้กระทำผิดและก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศนะครับ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตอนนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว อยู่ระหว่างการเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อรอความเห็นชอบต่อไป หากผ่านคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบก็จะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ก็จะถึงมือของเพื่อนสมาชิกทุกท่านในการที่จะ พิจารณารายละเอียดเพื่อที่จะแก้ร่างกฎหมายฉบับนี้ให้เกิดความรอบคอบรัดกุม และเป็นประโยชน์ต่อไป ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒. เรื่อง ความเดือดร้อนเกี่ยวกับปัญหาการใช้น้ำประปาส่วนภูมิภาค นายชวาล พลเมืองดี เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือแจ้งว่ากระทู้ ถามเรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทย ท่านชาดา ไทยเศรษฐ์ เป็นผู้ตอบกระทู้แทน เชิญท่านผู้ถาม ท่านชวาล พลเมืองดี ครับ
นายชวาล พลเมืองดี ชลบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ชวาล พลเมืองดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต ๓ พรรคก้าวไกล ก่อนอื่นต้องขอ ขอบคุณรัฐมนตรีที่ได้ให้ความสำคัญเข้ามาตอบกระทู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่องการให้บริการ น้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค แม้ว่าในสายตาของคนทั่วไปที่ไม่ได้ประสบพบเจอ กับปัญหาเหล่านี้ด้วยตัวเอง หรือแม้กระทั่งผู้มีอำนาจอาจจะมองว่าเป็นปัญหาเพียงเล็กน้อย ท่านประธานครับ แต่พี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ที่มีผู้ใช้น้ำกว่า ๔๓,๗๑๗ ราย ต้องจมอยู่กับปัญหา ที่การประปาส่วนภูมิภาค สาขาบ้านบึง มีการประชาสัมพันธ์หยุดจ่ายน้ำไม่เว้นวัน ประชาชน ไม่มีน้ำใช้กันข้ามวันข้ามคืน โดยเดือนกันยายนที่ผ่านมามีการประชาสัมพันธ์หยุดจ่ายน้ำ ไปแล้วทั้งสิ้น ๑๒ ครั้ง แยกเป็นปัญหาเรื่องท่อชำรุดหรือท่อแตกไปแล้ว ๙ ครั้ง ระบบขัดข้อง ๒ ครั้ง ปรับปรุงระบบ ๑ ครั้ง และตลอดปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมามีการประชาสัมพันธ์หยุดจ่ายน้ำไปแล้วทั้งสิ้น ๖๗ ครั้ง เป็นปัญหาเรื่องท่อแตกไปแล้วกว่า ๔๐ ครั้ง ระบบขัดข้อง ๑๐ ครั้ง ปรับปรุงระบบ ๑๗ ครั้ง นี่เป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับประชาชนกว่า ๔๓,๗๑๗ รายที่รอคอยน้ำไปใช้ เพื่ออุปโภคบริโภค โดยพวกเขาต้องเผชิญปัญหาอยู่ซ้ำ ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เราได้มีการถาม ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบนั่นก็คือการประปาส่วนภูมิภาค สาขาบ้านบึง ก็ให้ข้อมูลมาว่า ปัญหาเรื่องท่อแตกเป็นเรื่องปกติ เป็นงานประจำไปแล้ว เพราะท่อน้ำมันเก่า มีอายุ การใช้งานมานาน มาตรการเดียวที่พวกเขาทำอยู่ก็คือการผลักภาระให้ประชาชน คอยสำรองน้ำไว้ใช้กันเอง สรุปง่าย ๆ ก็คือหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบมีหน้าที่เพียงตาม แก้ปัญหาจุดโน้นทีจุดนี้ทีไม่มีที่สิ้นสุด จนกลายเป็นงานประจำของการประปาและกลายเป็น ปัญหาซ้ำซากไปแล้วครับ ท่านประธานครับ การไม่มีน้ำใช้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก ลูกจะไปโรงเรียน พ่อแม่จะไปทำงาน จะอาบน้ำเอาน้ำที่ไหนใช้ ชักโครกจะเอาน้ำที่ไหนล้าง หรือจะต้องให้เขาหอบผ้าหอบผ่อนไปใช้ห้องน้ำที่โรงเรียน ไปใช้ห้องน้ำในที่ทำงาน เราจะอยู่กันแบบนี้จริง ๆ ใช่ไหมครับ นี่เรายังไม่รวมถึงสภาพของน้ำที่มีคุณภาพต่ำ มีสีขุ่น มีกลิ่นเหม็นด้วยนะครับ สรุปแล้วนี่เรากำลังย้อนกลับไปสู่ยุคกรุงศรีอยุธยาที่ต้องเอาน้ำ ในคลองมาใช้อุปโภคบริโภคกันแล้วหรือ เพราะน้ำที่มีคุณภาพก็ไม่มีโอกาสได้ใช้ หรือพอได้ใช้ ก็มีสีขุ่น มีกลิ่นเหม็น ไม่ต่างจากน้ำในคลองที่คนสมัยก่อนเขาใช้กัน และไม่ใช่เพียงแค่ พื้นที่บ้านบึงเพียงพื้นที่เดียว แต่ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด หรือทั่วทั้งประเทศ เป็นปัญหาเดียวกันหมด ระบบท่อเก่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานย่อมมีความเสื่อม เป็นเรื่องปกติ เป็นสิ่งที่คนทั่วไปย่อมรู้ แล้วผมเชื่อว่าท่านก็ย่อมรู้ ผู้บริหารการประปาก็ย่อมรู้ แต่ถ้ามัวรอให้เกิดปัญหาก่อนแล้วค่อยตามมาแก้ปัญหา ผมว่านี่ไม่ใช่แนวทางหรือวิธีการทำงาน ของผู้บริหารที่ดีเขาทำกันหรอก ท่านประธานครับ เมื่อเราไปดูที่ต่างประเทศ ทั้งสวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น หรือแม้เพื่อนบ้านเราใน ASEAN อย่างบรูไนเองก็ตาม ประชาชนเขา ไม่ต้องมานั่งกังวลกันวันต่อวันหรอกว่าวันนี้จะมีน้ำใช้หรือไม่ น้ำจะไหลออกมามีสีขุ่น มีกลิ่นเหม็นหรือเปล่า เพราะน้ำประปาเขากินได้กันหมดแล้ว แต่ประเทศไทยผมไม่ได้หวังว่า ท่านจะทำให้น้ำประปากินได้หรอกนะครับ แต่ขอให้มันไหลออกมาและมีคุณภาพมาตรฐาน ให้ประชาชนได้ใช้อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน โดยประชาชนไม่ต้องมานั่งกังวลปัญหาเหล่านี้ ในทุก ๆ วันที่เขาตื่นนอนมา เพราะฉะนั้นคำถามที่ ๑ ขอฝากท่านประธานถามไปยัง ท่านรัฐมนตรีว่าปัญหาซ้ำซากพวกนี้ที่ประชาชนกำลังเผชิญชะตากรรมอยู่และไม่รู้ว่าจะต้อง เผชิญชะตากรรมไปอีกนานแค่ไหน ท่านจะมีมาตรการอย่างไรในการแก้ปัญหาซ้ำซากเหล่านี้ โดยมุ่งเน้นไปที่ต้นตอของปัญหาเพื่อรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
นายชวาล พลเมืองดี ชลบุรี ต้นฉบับ
คำถามที่ ๒ ผมอยากจะถามถึงความเป็นธรรมในการจัดสรรน้ำว่าท่านได้จัด ลำดับความสำคัญในการจัดสรรน้ำอย่างไร ระหว่างจัดสรรน้ำเพื่อให้ประชาชนอุปโภคบริโภค กับจัดสรรน้ำเพื่อให้แก่นิคมอุตสาหกรรม เพราะทุก ๆ ครั้งที่มีการประชาสัมพันธ์หยุดจ่ายน้ำ คนที่ได้รับผลกระทบก็คือประชาชนชาวบ้านผู้ใช้น้ำอุปโภคบริโภค แต่ในขณะเดียวกันกลับไม่มี ข่าวปรากฏเกี่ยวข้องกับการขาดแคลนน้ำหรือคุณภาพน้ำของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม หรือโรงงานอุตสาหกรรมเลย ทั้ง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันแท้ ๆ ถ้าท่านจะบอกว่าท่อที่แตก เป็นคนละท่อที่โรงงานในนิคมเขาใช้กัน แล้วทำไมท่านไม่ทำท่อของชาวบ้านให้เป็นเหมือนกับ ท่อที่ใช้แล้วไม่มีปัญหาเหมือนกับในนิคมละครับ หรือแม้กระทั่งตอนที่การประปา ประชาสัมพันธ์ว่ามีเหตุขัดข้องที่ระบบจ่ายน้ำต้นทางทำให้ไม่สามารถผลิตและสูบจ่าย น้ำประปาได้ ซึ่งต้นทางนั้นก็คืออ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร ซึ่งเป็นต้นทางเดียวกันกับที่ จ่ายน้ำให้กับนิคมอุตสาหกรรม แต่ทำไมไม่เห็นมีปรากฏข่าวคราวเลยว่าขาดแคลนน้ำ หรือคุณภาพน้ำของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมหรือโรงงานอุตสาหกรรมเลย น้ำถือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยหลักแล้วการจัดสรรน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ต้องสำคัญเป็นอันดับแรกของการจัดสรร แต่ในความเป็นจริงจากข้อสังเกตกล่าวมาข้างต้น
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขออนุญาตนะครับ ท่านสมาชิกเข้าสู่คำถาม กระชับหน่อยนะครับ
นายชวาล พลเมืองดี ชลบุรี ต้นฉบับ
ใกล้จบแล้วครับ จากการจัดสรรน้ำ ที่กล่าวมาข้างต้น การจัดสรรน้ำเป็นเพื่อทำกำไรให้นายทุนหรือไม่ เพราะการประปา ส่วนภูมิภาค สาขาบ้านบึง ก็อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษเช่นเดียวกับโรงงานอุตสาหกรรม แต่ทำไมกลับไม่ได้เผชิญปัญหาเหมือนกัน ทำไมคนที่ได้รับผลกระทบกลับกลายเป็น ประชาชน ไม่ใช่นายทุน
นายชวาล พลเมืองดี ชลบุรี ต้นฉบับ
คำถามที่ ๓ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปตรวจสอบการบริหารจัดการน้ำ ได้อย่างไร ประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดสรรปันส่วนน้ำใน Keyman Water Volume หรือศูนย์ปฏิบัติการน้ำ หรือพื้นที่ประชุมใดที่ทางกรมชลประทานตั้งขึ้นมา เพื่อบริหารจัดการน้ำได้หรือไม่ ขอบคุณครับทั้ง ๓ คำถาม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีตอบครับ
นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านประธาน ผม ชาดา ไทยเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้องขอบคุณคุณชวาล พลเมืองดี แล้วก็ ต้องขอชื่นชมที่มีความเป็นห่วง แต่ท่านถาม ๓ คำถามหมดเลย ผมก็ขออนุญาตตอบรวมทั้ง ๓ คำถาม เรียนว่าการประปาส่วนภูมิภาค สาขาบ้านบึง ซึ่งท่านได้ให้ข้อมูลว่าแตกจำนวน เท่านั้น ๆ ถูกต้องครับ ท่านให้ข้อมูลมาถูกต้องตรงกัน แต่ท่านต้องเข้าใจอยู่อย่างหนึ่งว่า ระยะท่อประปาของทั้งหมด ๑,๙๗๒ กิโลเมตร ความยาวของท่อเฉพาะประปาบ้านบึงครับ เรียนว่าการแก้ปัญหาการหยุดจ่ายน้ำในบางส่วน ท่านไม่ต้องกลัวครับ เราไม่แบ่งแยก เราไม่บริการนายทุน แล้วก็ทิ้งพี่น้องประชาชนตาดำ ๆ ให้ลำบากแน่นอน เรียนด้วย ความเคารพว่าการแก้ปัญหาในเรื่องของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาบ้านบึง เราก็มีช่องทาง ในทาง Page Facebook ทาง LINE แล้วก็มีทั้งสายด่วนไว้แจ้งกับพี่น้องประชาชน ให้พี่น้องประชาชนได้แจ้งเข้ามาในกรณีที่ท่อประปาแตก ผมเรียนว่าการให้บริการก็มีทั้ง เรื่องรถบรรทุกน้ำแก้ความขัดข้องชั่วคราว แล้วที่สำคัญท่านสบายใจได้ครับ ในปี ๒๕๖๗ จะมีการดำเนินการในระยะต่อไปก็คือตำบลหนองซาก อำเภอบ้านบึง วงเงินงบประมาณ ๔๓ ล้านกว่าบาท แล้วก็ตำบลบ้านบึง ในอำเภอบ้านบึงก็อีก ๔๕ ล้านบาท ตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง วงเงินงบประมาณอีก ๑๐ ล้านบาท ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง วงเงิน งบประมาณอีก ๔๐ ล้านบาท ตำบลเขาสก อำเภอบ้านบึง วงเงินอีกงบประมาณ ๕๖ ล้านบาท ผมเรียนว่านี่คืองบประมาณที่จะลงไปในเฉพาะการประปาส่วนภูมิภาค สาขาบ้านบึง ซึ่งมีปัญหาอยู่ เราเข้าใจนะครับ แต่กรณีท่อเก่านี่ ท่านต้องรู้ว่าท่อเก่าอย่างไรก็ต้องแตก ก็ต้องแก้ไขนะครับ เรียนด้วยความเคารพ แต่งบประมาณพวกนี้ได้ร่วมมือกับองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชลบุรีแล้วก็การประปาส่วนภูมิภาคของอำเภอบ้านบึงที่จะเข้าไปแก้ไข วงเงิน งบประมาณรวมแล้วก็ ๒๐๐ กว่าล้านบาท ผมคิดว่าปัญหาก็น่าจะดีขึ้น
นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ
และในส่วนของเรื่องการจัดสรรน้ำ ท่านสบายใจได้เป็นธรรมครับ แล้วก็ พี่น้องประชาชนสามารถติดต่อสอบถาม เสนอแนะการดำเนินงานของ กปภ. ผ่าน PWA Contact Center ซึ่งช่องทางอื่น ๆ อีกประมาณ ๑๑ ช่องทาง รวมทั้ง Page Facebook ของการประปา และเราจ่ายน้ำ ๑.๐ บาร์ ก็คือ ๑๐ เมตรต่อน้ำอย่างต่อเนื่อง เรามีระบบ การจ่ายแรงดันเท่ากันทุกส่วนครับ ไม่ว่าของพี่น้องประชาชน ไม่ว่าของนิคมอุตสาหกรรม ผมไม่ยอมหรอกที่จะให้นิคมอุตสาหกรรมมาเอาเปรียบพี่น้องประชาชน เราต้องสร้าง ความเป็นธรรม ท่านสบายใจได้นะครับ ตรงนี้ขอให้ท่าน สส. ได้เข้าใจว่าผมไม่ยอมให้เกิดขึ้น แบบนั้นแน่นอน เราต้องดูแล แล้วผมก็เป็น สส. บ้านนอก ผมนี่ สส. บ้านนอกมาจากพี่น้อง ประชาชนบ้านนอกแท้ ๆ รู้และซึ้งถึงปัญหาของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งในนโยบายของเรา ครั้งนี้จะปรับปรุงการประปาทั่วประเทศ แล้วเราจะทำให้น้ำประปาเป็นน้ำดื่มได้ครับ ท่านสบายใจได้นะครับ กรณีน้ำทุกหยดที่ออกไป ผมให้สำรวจค่า pH 2.5 คือว่ามันมีคุณภาพที่จะให้พี่น้องประชาชนใช้ได้หรือไม่ อันนี้ เราตรวจสอบค่า pH ตลอดเวลาว่าค่า pH นั้นเป็นอย่างไร แล้วก็มีระบบวิทยาศาสตร์ ที่ตรวจสอบตลอดนะครับ แล้วการที่ท่านถามว่าจะไปได้ทั่วไหม การประปาส่วนภูมิภาคนั้น มีจำนวน ๑๐ เขต แล้วยังมีอีก ๒๓๔ สาขา ๓๕๕ หน่วยบริการ ครอบคลุมพื้นที่ ๗๔ จังหวัด ในส่วนของภูมิภาค อย่างจังหวัดอยู่ในปริมณฑลเขาก็จะมีการประปานครหลวงดูแล ถามว่า มันครอบคลุมไหม มันครอบคลุมครับ แต่พี่น้องประชาชนยังไม่ได้ทั่วถึง เนื่องจากงบประมาณ ซึ่งเราก็ได้ดำเนินการในงบประมาณปี ๒๕๖๗ และปี ๒๕๖๘ เรียนว่าผมเพิ่งมาอยู่เดือนเดียว แล้วผมมาจากนายกเทศมนตรีครับ ทำน้ำประปาที่จังหวัดอุทัยธานีมาตลอดระยะเวลา ๘ ปี แก้ปัญหาที่จังหวัดอุทัยธานีได้โดยที่ตั้งแต่ยังเป็นแค่นายกเทศมนตรี เรียนว่าตรงนี้ ท่านสบายใจได้เลยนะครับ ท่านชวาลสบายใจได้ว่าเราไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เราไม่ให้น้ำ ซึ่งเป็นน้ำของประชาชนโดยทั่วไปไปให้กับผู้ใดผู้หนึ่ง หรือให้องค์กรอุตสาหกรรมมาเอาเปรียบ พี่น้องประชาชน เราก็ต้องดูแลอุตสาหกรรมแล้วดูแลพี่น้องประชาชนได้ และปีนี้สำหรับ บ้านบึงในปี ๒๕๖๗ ปี ๒๕๖๘ เราก็นำงบประมาณลงไปอีก ๒๐๐ กว่าล้านบาท หวังว่า ท่านคงจะสบายใจได้ และเรียนด้วยความเคารพว่าถ้ามีปัญหาที่ไหนแจ้งกับผมได้ ท่านที่เป็น สส. ไม่ต้องแจ้งหรอกกับประปาเขต ประปาพื้นที่ ท่านเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแจ้งกับ นายชาดาได้เลยครับ ผมเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่รับผิดชอบการประปา ภูมิภาคโดยตรง ท่านแจ้งกับผมได้โดยตรงเลยว่าตรงไหนมันมีปัญหาอย่างไร และจะลงไป แก้ไขให้ ตอนนี้เพิ่งมา ๑ เดือนกำลังดูแผนผังอยู่ ใจเย็น ๆ ครับ ไม่ต้องห่วง ด้วยความเคารพครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
คำถามหมดหรือยังครับ
นายชวาล พลเมืองดี ชลบุรี ต้นฉบับ
คำถามหมดแล้วครับ แต่ว่าก็ขอขอบคุณ ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการชาดาที่ให้ความห่วงใยเรื่องน้ำประปาด้วย อย่างไรก็ฝากย้ำปัญหา เรื่องท่อประปาแตกที่ท่านชาดาได้แจ้งว่าท่อเก่าเป็นเรื่องปกติที่จะแตก แต่ขอบข่าย ของการประปาบ้านบึงที่ท่านชาดาได้ให้ข้อมูลว่ามีความกว้างถึง ๑,๙๗๒ กิโลเมตร ผมอยาก ตั้งคำถามว่าถ้ากว้างมากขนาดนี้การประปาในสัดส่วนของบ้านบึงดูแลได้ทั่วถึงหรือไม่ แล้วสามารถทำให้โครงข่ายเล็กลงกว่านี้ได้หรือไม่ เพื่อให้ดูแลพี่น้องประชาชนได้อย่างทั่วถึง ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านรัฐมนตรีจะตอบอีกนิดไหมครับ
นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ
ขอบคุณ ท่านประธานครับ ก็เรียนว่าท่อที่อยู่ในดินเราต้องยอมรับความจริงมันยาวมาก เราจะต้องใช้ เงินจำนวนมาก แต่ก็จะเป็นการปรับปรุงเข้าไป แล้วก็ในส่วนที่ผมบอกว่างบประมาณ ในปี ๒๕๖๗ ปี ๒๕๖๘ ที่ลงไปก็จะเข้าไปช่วยในเรื่องของปัญหาพวกนี้ออกไป ไม่ให้เกิด การแตกซ้ำซ้อนเราก็จะเปลี่ยนท่อบ้างบางส่วนแล้วก็ขยายเขต เรียนด้วยความเคารพครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ก็ถือว่าจบกระทู้ที่ ๑.๒.๑ ขอบคุณท่านรัฐมนตรีนะครับ ต่อไปกระทู้ถามที่ ๑.๒.๒
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๓. เรื่อง ปัญหาการดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดภูเก็ต ล่าช้า ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถาม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านมนพร เจริญศรี เป็นตอบกระทู้แทน ก่อนที่ท่าน ว่าที่ร้อยตรี สมชาติจะถาม ผมขอแจ้งนะครับ อีก ๑๐ นาทีจะมีการซ้อมหนีไฟ เสมือนจริง เมื่อมีเสียงสัญญาณอัคคีภัยขึ้นรอบห้องขอให้ท่านสมาชิกวิ่งลงไปที่ห้องโถง บันไดยักษ์ชั้น ๑ ทุกท่านที่อยู่ในห้อง อีก ๑๑ นาที เราซ้อมเพื่อความปลอดภัยของ สภาผู้แทนราษฎรเรา เชิญท่าน ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ได้ถามคำถามแรก ท่านถามได้ ๒ คำถาม ใจเย็นนะครับ ถามได้ ๒ ครั้ง เชิญครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมดังนี้ครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
ด้วยจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศ สร้างรายได้และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมาก แต่การดำเนินการ ด้านโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดภูเก็ตเผื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนและนักท่องเที่ยว ยังมีความล่าช้าและยังไม่มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับ ปัญหาดังกล่าวในหลายด้าน ขอ Slide แผ่นที่ ๑ ครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
๑. การเกิดอุบัติเหตุในบริเวณ ทางขึ้นเขาไปตำบลป่าตองในระหว่างปี ๒๕๕๖-๒๕๖๕ มีผู้เสียชีวิต ๒๕ ราย และมี ผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน ๒,๘๔๔ ราย เนื่องจากการจราจรบนเส้นทางคดเคี้ยวและสูงชัน มีการศึกษาเพื่อจัดสร้างโครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ และความคืบหน้า ล่าสุดการทางพิเศษแห่งประเทศไทยกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอเพื่อร่วมการคัดเลือก เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าไม่มีภาคเอกชน รายใดมายื่นซองเอกสารข้อเสนอครับ โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ ๑ ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตถึงห้าแยกฉลองและส่วนต่อขยายไปยัง ท่าฉัตรไชยปรากฏว่ามีความล่าช้า โครงการดังกล่าวเริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ แล้ว มีการเปลี่ยนรูปแบบโครงการในรูปแบบต่าง ๆ เช่นรถไฟรางเบาหรือรถ EBRT ซึ่งปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีความคืบหน้า กรมรถไฟสังกัดกระทรวงโยธาธิการซึ่งมีการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๔๓๓ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีเส้นทางรถไฟมายังจังหวัดภูเก็ตแม้แต่เส้นทางเดียว โดยโครงการทางรถไฟ สายสุราษฎร์ธานี-พังงา (ท่านุ่น) เริ่มมีการศึกษาโครงการมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ ที่จะเชื่อมกับ ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเข้าสู่จังหวัดภูเก็ต การรองรับผู้โดยสารทางเรือของหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งในแต่ละปีมีจำนวนเรือสำราญขนาดใหญ่เข้าจอดแวะที่หาดป่าตอง จังหวัด ภูเก็ตเป็นประจำ ซึ่งท่าเทียบเรือหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต เป็นท่าเรือขนาดเล็กรองรับ ผู้โดยสารได้ครั้งละไม่มากและไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีท่าเรือไว้รองรับเรือสำราญขนาดใหญ่โดยเฉพาะหรือที่เรียกว่า Cruise Terminal ซึ่งทางกรมเจ้าท่าได้มีการตั้งงบประมาณ ๗๐ ล้านบาทเพื่อศึกษาโครงการ ไปตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ โครงการทางพิเศษเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ โครงการนี้เริ่มมีการศึกษามา ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ ปัจจุบันก็ยังอยู่ในช่วงของการรับฟังความคิดเห็น โครงการนี้จะเป็นการแก้ไข ปัญหาจราจรบนถนนเทพกระษัตรีซึ่งเป็นถนนสายหลักเพียงสายเดียวของจังหวัดภูเก็ต ที่ในปัจจุบันนี้มีปัญหาการจราจรติดขัดมากโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน หากมีอุบัติเหตุ เกิดขึ้นบนเส้นทางนี้จะทำให้นักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงที่จะตกเครื่องบินสูง สนามบินภูเก็ต ได้ให้บริการรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวอย่างเต็มศักยภาพแล้ว เนื่องจากไม่มีพื้นที่ ว่างเพิ่มเติมให้กับทางวิ่งหรือ Runway ได้และมีระยะทางวิ่งค่อนข้างสั้นประมาณ ๓ กิโลเมตร เท่านั้น แต่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT ได้ชะลอโครงการสนามบิน ภูเก็ตแห่งที่ ๒ ตำบลโคกกลอยและตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จากสาเหตุ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับโอนสนามบินกระบี่เข้ามาดูแล จึงขอเรียนถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมว่า ๑. กระทรวงคมนาคมมีนโยบายเร่งรัด การจัดทำโครงการก่อสร้างเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับ การให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวหรือไม่ และสามารถจะดำเนินการแล้วเสร็จ เมื่อใด ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ คำถามที่ ๒ กระทรวงคมนาคมจะสามารถ ใช้งบประมาณของภาครัฐในการดำเนินการก่อสร้างโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ในจังหวัดภูเก็ตเผื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในกรณีที่ไม่มี ภาคเอกชนรายใดยื่นข้อเสนอดำเนินการก่อสร้างได้หรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียดด้วย ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการตอบคำถาม ครั้งที่ ๑ ครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ให้มาตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิก จากจังหวัดภูเก็ตท่านสมชาติค่ะ ต้องขอขอบคุณคำถามที่ท่านสมาชิกได้ให้ความสนใจ จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในกลุ่มทะเลอันดามันและเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ของประเทศที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศแล้วก็พี่น้องประชาชน
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
คำถามแรก ท่านได้ถามถึงว่ากระทรวงคมนาคมมีนโยบายเร่งรัดการจัดทำโครงการก่อสร้างเพื่อพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดภูเก็ตและนักท่องเที่ยวหรือไม่ และจะดำเนินการเสร็จเมื่อใด เนื่องจากท่านได้ถามคำถามหลาย ๆ โครงการในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม ดิฉันขอไล่เลียงกับภาพรวมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดภูเก็ตเป็นด้าน ๆ ดังนี้ค่ะ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide แรก ภาพรวมของโครงการของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้ ความสำคัญของจังหวัดภูเก็ตที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับ ประเทศไทย และได้ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตหลาย ๆ ครั้งเพื่อฟังความเห็น ความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชน และในส่วนของกระทรวงคมนาคมนั้นเรามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบ ขนส่งเพื่อรองรับการเดินทางท่องเที่ยวของพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวให้มี ประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการพัฒนาระบบ ขนส่งมวลชนในทุกด้านค่ะ กระทรวงคมนาคมมีโครงการสำคัญหลายโครงการในการเดินทาง ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ แล้วก็ทางอากาศ โดยได้เริ่มตั้งแต่ประตูสู่จังหวัดภูเก็ตในการพัฒนา การอากาศยานและการเดินทางจากการท่าอากาศยานเข้าสู่ตัวเมืองและแหล่งท่องเที่ยว ต่าง ๆ โดยมีแผนการพัฒนาโครงสร้างที่สำคัญดังนี้
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
โครงการที่ ๑ โครงการพัฒนาการท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ ๒
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
โครงการที่ ๒ โครงการการพัฒนาการท่าอากาศยานอันดามัน
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
โครงการที่ ๓ โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร คำถามที่ท่านได้ถามสักครู่ ทล.๔๐๒๗ ช่วงบ้านพารา-บ้านเมืองใหม่
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
โครงการที่ ๔ โครงการการสร้างทางแนวใหม่เชื่อม ทล.๔๐๒๗ ไปจนถึง สามแยกสนามบิน
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
โครงการที่ ๕ โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับจุดตัดที่ ทล.๔๐๒ และ ทล.๔๐๒๗ ตรงบริเวณแยกท่าเรือ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
โครงการที่ ๖ โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
โครงการที่ ๗ โครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
โครงการที่ ๘ เรื่องระบบขนส่งมวลชนของภูเก็ต
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide ที่ ๒ เพื่อจะเห็นภาพของการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ ๒ เราได้เพิ่มความสามารถในการที่จะรองรับผู้โดยสารจาก ๑๒.๕ ล้านคนต่อปี ให้เพิ่มขึ้นถึง ๑๘ ล้านคนต่อปี ซึ่งปัจจุบัน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) อยู่ในระหว่างการทำ รายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือว่า EIA จากงบประมาณในส่วนของการดำเนินการ ประมาณ ๖.๒๑ ล้านบาท แล้วเราก็ใช้เงินของ ทอท. คาดว่าเราจะเปิดบริการให้ได้ ในปี ๒๕๗๒
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide ที่ ๓ เราได้พูดถึงการพัฒนาท่าอากาศยานในฝั่งอันดามัน ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการรองรับการเดินทาง และนักท่องเที่ยวและประชาชนในฝั่งอันดามัน โดยสามารถรองรับผู้โดยสารตรงจุดนี้ ๒๒.๕ ล้านคนต่อปี แล้วประมาณการก่อสร้างอยู่ที่ ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ปัจจุบันก็อยู่ใน ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ คาดว่าโครงการนี้จะเสร็จในปี ๒๕๗๐
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide ที่ ๔ โครงการก่อสร้างขยายช่องจราจรทางหลวง ๔๐๒๗ ช่วงบ้านพารา-บ้านเมืองใหม่ ระยะทาง ๔.๕๕ กิโลเมตร เป็นช่วงสุดท้ายของ ทล.๔๐๒๗ จากระยะทางทั้งหมด
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เดี๋ยวนะครับ ท่านรัฐมนตรีครับ เชิญท่านสมาชิกลงไปที่ชั้น ๑ ห้ามใช้ลิฟต์ ไปที่โถงบันไดยักษ์ ชั้น ๑ ท่านสมาชิกไปรวมตัวที่ชั้น ๑ ท่านสมาชิกตามเจ้าหน้าที่ลงไปเลย มีเจ้าหน้าที่ถือธง ท่านตามธงไปเลยนะครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ขออนุญาต ได้ตอบคำถามของท่านสมาชิกต่อไปนะคะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ท่านประธานได้แจ้งให้ท่านผู้รับชมทางบ้านทราบด้วยว่าขณะนี้ทางสภาเราเกิดเหตุการณ์ อะไรขึ้นค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ซ้อมหนีไฟเสมือนจริงครับ เดี๋ยวท่านสมาชิกไปรวมกันที่ชั้น ๑ แล้วก็ไปที่โถงบันไดยักษ์ เป็นจุดสุดท้ายไป Check in ที่นั่นนะครับ เชิญท่านรัฐมนตรีต่อครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ดิฉันขอต่อนะคะ ว่างบประมาณที่ดิฉันได้นำเรียนต่อท่านประธานผ่านไปยังท่านสมาชิกสักครู่ ค่าก่อสร้าง ประมาณ ๖๐ ล้านบาทนี้เราจะใช้งบปราณจากภาครัฐ ส่วนการก่อสร้างช่วงบ้านเมืองใหม่ ไปจนถึงสามแยกสนามบินเชื่อมต่อกับ ทล.๔๐๒๗ เป็นทางแยกต่างระดับ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการเตรียมการขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ป่าชายเลน แล้วก็จะนำเสนอต่อในการขอ ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินก่อนเพื่อจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดิน คาดว่าจะเสนอขอรับ งบประมาณในการก่อสร้างประมาณปี ๒๕๖๘ และเปิดบริการให้ได้ในปี ๒๕๗๐ วงเงิน ก่อสร้างตรงจุดนี้ ๑,๒๐๐ ล้านบาท
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide ที่ ๕ การก่อสร้างทางแยกต่างระดับ จุด ทล.๔๐๒ กับ ทล.๔๐๒๗ ตรงแยกท่าเรือ หรือวงเวียนอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร บริเวณอนุสาวรีย์ตรงนี้ จะเป็นออกแบบทางลอดตามแนวทางของ ทล.๔๐๒ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด อย่างมากเลย และจะอำนวยความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการรับรายงานของ EIA และขอความเห็นจากคณะกรรมการ ผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน แล้วก็ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คาดว่าความเห็น เหล่านี้จะได้รับความเห็นชอบภายในเดือนธันวาคม ปี ๒๕๖๖ นี้ หลังจากนั้นกรมทางหลวง ก็จะดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะเปิดบริการให้ได้ในปีงบประมาณ ๒๕๗๐ ซึ่งเป็น งบประมาณทั้งสิ้น ๒,๓๘๐ ล้านบาท โดยใช้งบประมาณจากภาครัฐค่ะ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide ที่ ๖ โครงการพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง นี่ก็เป็นอีกหนึ่งเส้นทาง ที่จะเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างฝั่งตัวเมืองภูเก็ตกับหาดป่าตองซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว สำคัญของเกาะภูเก็ต เป็นเรื่องของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้จัดรับฟังความเห็น อยู่ในขณะนี้เป็นครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายนที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้อยู่ในระหว่าง การพิจารณาแนวทางการดำเนินการโครงการ โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในประมาณ เดือนธันวาคม ๒๕๗๑ มูลค่าการลงทุนเป็นค่าเวนคืนที่ดินประมาณ ๕.๗ ล้านบาท โดยใช้ งบประมาณแผ่นดินและค่าก่อสร้าง ๘,๘๗๘ ล้านบาท โดยใช้เงินการทางพิเศษแห่งประเทศไทย นี่คือโครงการพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide ที่ ๗ โครงการทางพิเศษของสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ เป็นการเชื่อมโยง การเดินทางจากท่าอากาศยานภูเก็ตสู่เมืองภูเก็ตและเชื่อมต่อการทางพิเศษ สายกะทู้-ป่าตอง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างสรุปผลศึกษาความเหมาะสมของโครงการ และเตรียมการเสนอรายงาน EIA ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา คาดว่าจะเปิดบริการ ให้ได้ประมาณเดือนเมษายน ปี ๒๕๗๒ วงเงินลงทุนประมาณ ๒๒ ล้านบาท จึงขอใช้ งบประมาณแผ่นดินและค่าก่อสร้างวงเงิน ๒๐,๒๘๐ ล้านบาท โดยใช้วิธีเอกชนร่วมลงทุนค่ะ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide ที่ ๘ เรื่องระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดภูเก็ต หรือที่เราเรียกว่า โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต จะประกอบไปด้วยระยะที่ ๑ ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ตไปจนถึง ห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ ๔๑.๗ กิโลเมตร จำนวน ๒๑ สถานี และระยะที่ ๒ ต่อขยาย จากสนามบินไปท่านุ่นระยะทางประมาณ ๑๖.๘ กิโลเมตร จำนวน ๓ สถานี ท่านประธาน ท่านสมาชิกคะ ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาเห็นถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า จังหวัดภูเก็ต และเส้นทางส่วนใหญ่ก็จะอยู่บนถนนหมายเลข ๔๐๒ ในขณะที่ประชาชน ในจังหวัดภูเก็ตไม่มีเส้นทางอื่นในการสัญจรไปมา และทำให้เกิดปัญหาการใช้เส้นทางจราจร ติดขัด ต้องบอกว่าวิกฤติของพี่น้องประชาชนจังหวัดภูเก็ตและนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ทางกระทรวงคมนาคมก็ไม่นิ่งนอนใจ จึงได้เร่งรัดให้มีการก่อสร้างสาย ทล.๔๐๒๗ ให้แล้วเสร็จ โดยเร็วค่ะ เพื่อใช้เป็นเส้นทางเลี่ยงในระหว่างการก่อสร้างที่ดำเนินการโครงการนี้สำหรับ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าของจังหวัดภูเก็ตต่อไป สถานะปัจจุบันของ รฟม. หรือการรถไฟฟ้า ยังอยู่ในระหว่างของการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม การปรับปรุงโครงสร้าง ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ระยะที่ ๑ ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ตไปจนถึงห้าแยกฉลองค่ะ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
Slide ที่ ๙ เรื่องของการพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่หรือว่า Cruise Terminal บริเวณฝั่งอันดามัน กรมเจ้าท่าได้ทำการศึกษาการพัฒนาท่าเรือสำราญ ขนาดใหญ่ในจังหวัดภูเก็ต ๑ แห่ง ตามที่ท่านสมาชิกได้อภิปรายไปเมื่อสักครู่ นั่นก็คือ การพัฒนาจุดทอดสมอและพักอ่าวป่าตองและท่าเทียบเรือขนส่งขนาดเล็กด้านหน้าอ่าวป่าตอง และการปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตที่ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันอยู่ใน ระหว่างการพิจารณารายงานศึกษาความเหมาะสมฉบับสมบูรณ์เพื่อเตรียมการที่จะ ดำเนินการก่อสร้างต่อไป
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ทั้งหมดที่เป็นคำถามแรกของท่านสมาชิก ท่านสมาชิกยังได้มีโอกาส ถามคำถามที่ ๒ รวมไปในคำถามแรกเป็นคำถามเรื่องของการใช้งบประมาณว่าโครงการ ต่าง ๆ โครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดภูเก็ตที่จะรองรับบริการพี่น้องประชาชนนั้นมีการที่จะใช้ เงินงบประมาณมาจากที่ไหนบ้าง ดิฉันขอตอบอีก ๑ คำถามที่ท่านสมาชิกได้ถามไป เมื่อสักครู่ว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมของจังหวัดภูเก็ตสามารถ แยกได้เป็น ๒ ประเภท ๒ รายการ ประเภทแรกเป็นโครงการโดยกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทเป็นงานก่อสร้างขยายถนนทางหลวง ซึ่งงบประมาณที่ใช้ ในการเวนคืนที่ดินและใช้ในการก่อสร้างเราจะใช้งบประมาณแผ่นดินซึ่งมาจากภาษีอากร ของพี่น้องประชาชนที่ขอรับการจัดสรรจากรัฐบาล ส่วนประเภทที่ ๒ จะเป็นโครงการ ที่ดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจ เช่น โครงการการพัฒนาการท่าอากาศยานภูเก็ตระยะที่ ๒ โดย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือโครงการก่อสร้างทางด่วนพิเศษ โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งเงินลงทุนทั้งหมดในส่วนของการเวนคืน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจจะขอเงินจากงบประมาณแผ่นดิน นั่นคือเงินที่จะต้องจ่ายค่าเวนคืน จะใช้งบประมาณจากงบประมาณแผ่นดิน แต่ถ้าเป็นเงินลงทุนในการก่อสร้างเราจะใช้เงิน ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินโครงการในการก่อสร้างนั้น ๆ ในส่วนของการดำเนินงาน ให้บริการและการซ่อมบำรุงก็จะเป็นเรื่องของภาระในรูปแบบของเอกชนร่วมทุน ซึ่งหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการ กระทรวงคมนาคมขอยืนยันว่าทุกโครงการที่ดิฉันได้ตอบคำถาม ของท่านสมาชิกไป ทางกระทรวงคมนาคมและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีความพร้อมในด้านเงินทุนสำหรับดำเนินการก่อสร้างเพื่อพัฒนาจังหวัดภูเก็ตทางด้าน โครงสร้างพื้นฐานค่ะท่านประธาน ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ มีคำถามอีกใช่ไหมครับ เชิญครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
มีคำถามเพิ่มเติมครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ พรรคก้าวไกล เขต ๑ ภูเก็ต ขออนุญาตสอบถาม เพิ่มเติมท่านรัฐมนตรีครับ ก่อนจะเข้าสู่คำถาม สั้น ๆ พอดีท่านรัฐมนตรีไม่ได้ตอบในเรื่องของ โครงการรถไฟรางเบาว่าท่านมี Timeline จะเริ่มโครงการเมื่อไร อย่างไร แต่ท่านไปตอบ เอาประเด็นเรื่องของทางลอดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทรซึ่งผมไม่ได้ถาม ทีนี้ผมขอให้ท่านรัฐมนตรีช่วยตอบหน่อยว่า Timeline ของรถไฟรางเบาเมื่อไรจะเริ่ม โครงการ แล้วยังมีอีก ๒ Timeline ที่ท่านรัฐมนตรีไม่ได้ตอบก็คือโครงการรถไฟ สายสุราษฎร์ธานี-พังงา (ท่านุ่น) ที่ท่านบอกว่าอยู่ระหว่างการศึกษา อันนี้ท่านก็ไม่ได้ตอบ Timeline ว่าจะเริ่มโครงการได้เมื่อไร และอีกประการหนึ่ง โครงการท่าเรือ Cruise Terminal หรือท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ท่านก็ไม่ได้ตอบ Timeline ฉะนั้นคำถามแรกขอให้ท่านรัฐมนตรี ช่วยตอบ Timeline ของแต่ละโครงการ ๓ โครงการดังกล่าวให้ชัดเจนด้วยครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
คำถามเพิ่มเติมคำถามที่ ๒ โครงการสำคัญจากทั้งหมด ๖ โครงการที่ผม นำเรียนท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้แก่
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
โครงการที่ ๑ ก็คือสายกะทู้-ป่าตอง มีคำถามผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าขอให้เริ่ม การก่อสร้างให้ทันปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ได้หรือไม่
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
ถัดมาคำถามเพิ่มเติมนะครับ โครงการรถไฟรางเบาอยู่ใน Slide แผ่นที่ ๒ และโครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ ใน Slide แผ่นที่ ๕ ที่ท่านรัฐมนตรีบอกว่าสายทางพิเศษนี้จะเริ่มปี ๒๕๗๒ ขออนุญาตกราบเรียนตรง ๆ ว่าคนภูเก็ตรอรถไฟรางเบามา ๓๐ ปีแล้ว ทุกวันนี้ยังไม่ได้ โครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้รอมา ๑๐ ปีแล้ว ก็ยังไม่ได้ ตอนนี้ภูเก็ตรถติดหนักมาก คนภูเก็ตรอไม่ไหวอีกต่อไปแล้วครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
คำถามสุดท้าย ขอให้เร่งรัดกระบวนการเพื่อให้เริ่มการก่อสร้างโครงการที่ ๑ โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง โครงการรถไฟรางเบา และโครงการพิเศษ สายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ ให้ทันปีงบประมาณ ๒๕๖๗ และปี ๒๕๖๘ ได้หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านรัฐมนตรีจะตอบไหม เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ๓ โครงการที่ท่านสมาชิกได้ถามถึงนะคะ เนื่องจาก ๓ โครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่าง การทำ EIA เพราะการทำ EIA จะมี Timeline ของการเริ่มต้นโครงการและการศึกษา การทำ EIA เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพราะเราต้องรับทราบปัญหาทุกมิติ การแสดง ความเห็นต่อพี่น้องประชาชนว่า EIA โครงการนั้น ๆ มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของพี่น้องประชาชนอย่างไร ใน ๓ โครงการดังกล่าวเมื่อทำ EIA เสร็จแล้วก็จะอยู่ในขั้นตอน ของการจัดสรรงบประมาณนะคะ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ส่วนอีกคำถามหนึ่งค่ะ สายกะทู้-ป่าตอง ที่ท่านสมาชิกฝากถึงว่าจะเร่งรัดให้มี การก่อสร้างภายในปี ๒๕๖๗ ซึ่งสายทางดังกล่าวที่ผ่านมาท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน และท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ลงไปที่จังหวัดภูเก็ตแล้วก็เดินทางไปดูเส้นทางดังกล่าว เพื่อจะเร่งรัดให้มีการก่อสร้างสายทางนี้ในปี ๒๕๖๗ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมการ ที่จะจัดสรรงบประมาณลงนะคะ ดิฉันจะเร่งรัดให้มีการจัดสรรงบประมาณในเส้นทาง สายกะทู้-ป่าตอง ในปี ๒๕๖๗ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการรวบรวม ต้องขอบคุณท่านสมาชิก ที่ได้ตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ดิฉันขอนำปัญหาของท่านสมาชิก จากจังหวัดภูเก็ตเพื่อจะนำคำถามของท่านไปบรรจุลงในแผนการก่อสร้างในงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ ต่อไป ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ ขอบคุณท่านผู้เสนอนะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔. เรื่อง ปัญหาการก่อสร้างรถไฟทางคู่โครงการสายกรุงเทพฯ-หัวหิน ช่วงจังหวัดราชบุรีล่าช้า ท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถาม ท่านนายกรัฐมนตรี
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เนื่องจากท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ตอบแทน ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม ท่านสุรพงษ์ ปิยะโชติ เป็นผู้ตอบกระทู้แทน แต่เนื่องจากท่านรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมติดภารกิจสำคัญไม่สามารถมาตอบกระทู้ได้ จึงขอเลื่อนกระทู้ถาม ออกไปวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ ก็ตามนี้นะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑.๓ กระทู้ถามแยกเฉพาะ ตอนนี้ได้ดำเนินการและถามตอบที่ห้องกระทู้ถาม แยกเฉพาะอยู่นะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ตั้งแต่หน้า ๑๐๑-๑๒๗
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผมขอดำเนินการในขั้นตอนของกระทู้ถามแยกเฉพาะนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๑.๓ กระทู้ถามแยกเฉพาะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ก่อนดำเนินการถามและตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะผมชี้แจงที่ประชุมทราบดังนี้ การถามและการตอบแต่ละกระทู้ให้ถามและตอบได้ไม่เกินเรื่องละ ๒ ครั้ง และต้องถาม และตอบให้เสร็จภายใน ๒๐ นาที จะแบ่งเป็นฝ่ายผู้ถาม ๑๐ นาที แล้วก็พูดตอบ ๑๐ นาที ถ้าผู้ถามใช้เวลาน้อยลงก็สามารถให้ผู้ตอบตอบมากขึ้นได้ แต่ทุกอย่างให้จบภายใน ๒๐ นาที แล้วก็กระทู้ถามแยกเฉพาะจะอนุญาตให้ประชาชนเข้าร่วมฟัง ขอความร่วมมือจากผู้ได้รับอนุญาต ปฏิบัติตามระเบียบสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยการอนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุม สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔ และข้อ ๕ กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตต้องรักษามารยาท ประพฤติตัวให้เหมาะสม อยู่ในความสงบแบบเดียวกับห้องประชุมใหญ่นะครับ จึงขอแจ้ง ที่ประชุมทราบครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เรื่องต่อมา สำหรับการพิจารณากระทู้ถามแยกเฉพาะในวันนี้ก็มีการประสานงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการถามและการตอบของทั้งผู้ตั้งกระทู้และของรัฐมนตรี ก็จะมี การสลับลำดับการถามและตอบดังนี้ครับ ลำดับที่ ๑ จะเป็นกระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๐๒๑ จากท่านสมชาติ เตชถาวรเจริญ ซึ่งปรากฏอยู่ในระเบียบวาระที่ ๑.๓.๒ ลำดับที่ ๒ จะเป็นกระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๐๒๒ ของท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ๑.๓.๓ ลำดับที่ ๓ จะเป็นกระทู้ถามแยกเฉพาะลำดับที่ ๐๒๓ ของท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ตามระเบียบวาระที่ ๑.๓.๔ ส่วนกระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๐๒๐ ของท่านสมชาติ รัฐมนตรี ขอถอนใช่ไหมครับ ถอนนะครับ ลำดับที่ ๕ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๐๒๔ ของท่านปวิตรา ผู้ตอบขอเลื่อน แล้วก็ลำดับที่ ๖ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๐๒๕ ของท่านปวิตราเช่นเดียวกัน ลำดับที่ ๑.๓.๖ ก็รัฐมนตรีขอเลื่อนเช่นกัน สำหรับลำดับตามนี้แล้วก็มีการประสานงานแล้ว ผู้ตั้งกระทู้ไม่ขัดข้อง ผมขอเข้าสู่กระทู้ถามแยกเฉพาะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๑. เรื่อง การแก้ไขปัญหามลพิษจากโรงงานไทยอุตสาหกรรมอาหารเส้น ในพื้นที่ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ในการนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ อนุญาตให้ผู้แทน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ท่านแรกคือท่านจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ท่านภัทรพล ลิ้มภักดี ผู้อำนวยการกองบริการงานอนุญาตโรงงาน ๒ กระทรวงอุตสาหกรรม วันนี้ได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ท่านพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ขอบคุณที่ให้เกียรติสภานะครับ ถ้าอย่างนั้นผมขอเชิญท่านสมชาติ เตชถาวรเจริญ ดำเนินการถามกระทู้ได้เลยครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมดังนี้ครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
ด้วยประชาชนที่อาศัย อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต กำลังได้รับความเดือดร้อน จากการปล่อยควันและน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานเส้นก๋วยเตี๋ยว มาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว ทำให้ประชาชนเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพทั้งทางด้าน ทางเดินหายใจและการใช้น้ำที่มีสารพิษปนเปื้อน ซึ่งทางเทศบาลตำบลรัษฎาและสำนักงาน อุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ตได้ร่วมกันเข้าตรวจสอบโดยเก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อบำบัดน้ำเสีย และตรวจสอบค่าการปล่อยควันพิษเพื่อดำเนินการตามกฎหมายแล้วแต่ขณะนี้ยังไม่มี ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงขอเรียนสอบถามว่า
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
๑. ภาครัฐมีมาตรการในการควบคุมการปล่อยควันพิษและการปล่อยน้ำเสีย อย่างไร เหตุใดจึงปล่อยให้เกิดปัญหาการปล่อยควันพิษและน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนมาเป็นระยะเวลายาวนาน ขอทราบรายละเอียดครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
๒. รัฐบาลสามารถเร่งรัดแก้ไขปัญหาการปล่อยควันพิษและน้ำเสียลงสู่ แหล่งน้ำสาธารณะของโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวให้แล้วเสร็จเมื่อใด ขอทราบรายละเอียดครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
๓. รัฐบาลจะสามารถมีคำสั่งให้โรงงานที่ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวพักใบอนุญาต การดำเนินกิจการจนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหาการปล่อยควันพิษและน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ สาธารณะได้หรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียดครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ท่านสมชาติครับ เพื่อความชัดเจนอันนี้จะถามรอบเดียวให้ตอบหมดทุกอย่างเลยไหมครับ หรือมีรอบ ๒ ด้วย
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
เดี๋ยวจะมีรอบ ๒ ด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ถ้าอย่างนั้นรอบแรกก็เป็นเรื่องของมาตรการภาพกว้าง แล้วก็ข้อ ๒ ข้อ ๓ จะเป็นเรื่องของ โรงงานใช่ไหมครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
ใช่ ลงรายละเอียดครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ก่อนอื่นต้องกราบเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่าน สส. ว่าที่ร้อยตรีสมชาติ เตชถาวรเจริญ ที่ได้คำนึงถึงปัญหาของพี่น้องประชาชนจังหวัดภูเก็ต และได้เป็นตัวแทนมาตั้งกระทู้เพื่อหาทางแก้ไขในวันนี้ ดิฉันในนามของกระทรวงอุตสาหกรรม ขออนุญาตนำเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่าน สส. ว่ามาตรการที่ทางกระทรวงเอง หรือทางรัฐบาลเองได้ออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ พ.ร.บ. ต่าง ๆ ใช้ในการควบคุมสามารถ แบ่งได้เป็น ๒ ประเภทด้วยกัน มี ๒ ระยะมาตรการควบคุมขออนุญาตดูตามแผ่น Slide
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต้นฉบับ
มาตรการควบคุมในระยะแรกเลยเริ่มต้นจากการขอใบอนุญาตในการประกอบกิจการ เริ่มต้นถ้ามีใครจะตั้งโรงงานเขาจะมีการเขียนใบ ร.ง. ๓ มายื่นความจำนงที่อุตสาหกรรม ทางกระทรวงเองเมื่อได้รับใบ ร.ง. ๓ เราจะมีเจ้าหน้าที่เข้าตรวจ เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณา ตรวจกระบวนการผลิต รวมถึงมลพิษที่จะเกิดขึ้นจากโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำ เรื่องอากาศ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแล้วก็ควบคุมการปล่อย ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ทางกลิ่น นี่คือมาตรการอย่างแรก อย่างที่ ๒ ก็คือ การมีการคำนวณจากแบบแปลน มีการขอ ร.ง. ๓ แล้วสอบถามเรื่องวิธีการแก้ไข วิธีการ บำบัด แล้วก็จะมีการตรวจแบบแปลน ทางผู้ขอจะต้องมีการส่งแบบแปลนให้ทางกระทรวง
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต้นฉบับ
ทีนี้มาระยะที่ ๒ นอกจากการขอใบอนุญาตแล้ว เรื่องที่ ๒ คือเรื่องของ การกำกับดูแล การกำกับดูแลเราก็แบ่งได้คือเรื่องของมลพิษทางอากาศแล้วก็มลพิษทางน้ำ เราอาศัยจากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องของการกำหนดค่าปริมาณสารเจือปน ในอากาศที่จะระบายออกจากโรงงาน เรามีประกาศหลายตัวด้วยกัน สีเหลืองคือประกาศ ของการควบคุมมลพิษทางอากาศ ส่วนสีฟ้าเป็นการออกประกาศควบคุมมลพิษทางน้ำ ถ้าท่านจะเห็นกากบาทสีแดงด้านหลังคือมาตรการที่ออกไป แต่โรงงานไทยอุตสาหกรรม อาหารเส้นไม่ได้อยู่ในประเภทที่จะครอบคลุมถึง ประเภททั้งหมดคือมาตรการโดยรวม แต่โรงงานไทยอุตสาหกรรมอาหารมีปริมาณน้ำเข้าและน้ำออกเพียง ๕๐ ลูกบาศก์เมตร แต่มาตรการของลำดับที่เป็นเครื่องหมายต้องใช้ ๕๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมลพิษทางน้ำ จริง ๆ แล้วก็มีเรื่องของค่า BOD COD ซึ่งทางกระทรวงอุตสาหกรรมเราได้ออกมาตรฐาน ต้องใช้เครื่อง Online อย่างนี้เราจะมีเครื่อง Online ติดตั้งน้ำทิ้งที่จะส่งตรงไปยัง กรมโรงงานอุตสาหกรรม แต่น้ำที่จะเข้าเครื่องเขาได้กำหนดไว้ว่าขั้นต่ำจะต้อง ๕๐๐ ลูกบาศก์เมตร แต่ว่าโรงงานมีแค่ ๕๐ ลูกบาศก์เมตร มันก็เลยกลายเป็นว่ามาตรการ ควบคุมมีแค่ตามนั้น ทีนี้ถามว่าควบคุมแล้วมีการบังคับใช้แล้วก็ไปดูได้อย่างไรบ้าง ต้องนำเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่าน สส. โรงงานดังกล่าวก็มีการร้องเรียนมาหลายครั้ง ทุกครั้งที่มีการร้องเรียนทางอุตสาหกรรมจังหวัดก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ให้ทางอุตสาหกรรมจังหวัด เข้าไปในพื้นที่แล้วก็ตรวจสอบ กรณีดังกล่าวมีการร้องเรียนเมื่อวันที่ ๑๖ และวันที่ ๒๐ มิถุนายน เรามีการลงพื้นที่ไปแล้วก็มีการติดต่อพร้อมส่งข้อมูลไปกลับกันมาทั้งหมด ๘ ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกก็คือเรื่องของวันที่ ๑๖ และวันที่ ๒๐ มิถุนายนมีการร้องเรียน พอวันที่ ๒๓ ทางอุตสาหกรรมจังหวัดก็ได้มีคำสั่งออกไปห้ามระบายน้ำออกนอกโรงงาน พอมาวันที่ ๓ แล้วก็วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๐ วันต่อมาทางอุตสาหกรรมจังหวัดได้รับหนังสือจากทาง โรงงานไทยอุตสาหกรรมอาหารเส้นเพื่อขอขยายระยะเวลาปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดอากาศ ไปจนถึงวันที่ ๑๕ กันยายน ถามว่าทำไมต้องขยาย เพราะว่าโรงงานดังกล่าวเมื่อไป ตรวจสอบแล้วมีปัญหาทั้ง ๒ อย่าง คือเรื่องน้ำและเรื่องอากาศ ระบบน้ำเมื่อร้องเรียนปุ๊บ ทางอุตสาหกรรมจังหวัดบอกว่าห้ามระบายน้ำออกเพราะว่ามีการตรวจสอบแล้วมันเกิน ค่ามาตรฐานทั้งน้ำและอากาศ อย่างแรกเลยคือห้ามระบายน้ำก่อนและให้ไปปรับปรุง ให้ถูกต้อง ปรากฏว่าการปรับปรุงต้องใช้ระยะเวลา เนื่องจากพอเข้าไปดูแล้วระบบค่อนข้าง จะไม่สมบูรณ์มันเลยทำให้น้ำทิ้งออกมาไม่ค่อยมีคุณภาพ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด ก็เลยต้องขอให้ขยายเวลาเพื่อให้ได้กระบวนการการบำบัดให้เป็นไปตามแบบของ กระทรวงอุตสาหกรรม ทีนี้มาวันที่ ๔ ทางอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ตได้รับหนังสือเสร็จ ก็ได้ขยายเวลาให้ แล้วก็พอมาวันที่ ๑๑ เราโชคดีท่าน สส. เองก็ได้ลงพื้นที่ไปดูด้วย ร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัด ได้ลงไปดูโรงงานก็ไปตรวจสอบว่าน้ำทิ้งได้คุณภาพหรือยัง อากาศได้คุณภาพหรือยัง ก็ปรากฏว่า ณ ตอนนั้นยังไม่ผ่าน พอมาวันที่ ๑๘ อุตสาหกรรม จังหวัดภูเก็ตก็ได้มีคำสั่ง มาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง คือเรื่องขอให้ปิดปรับปรุงใน Zone ที่มีปัญหา แล้วก็ได้เพิ่มจุดวัดคุณภาพน้ำเพิ่มอีก ๔ จุด พอมาครั้งที่ ๗ คือวันที่ ๒๒ โรงงานเริ่มมีการระบายน้ำ แล้วเราก็ได้ตรวจดูปรากฏว่าทางอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ก็ได้รับหนังสือขอขยายเวลาเพิ่มจากวันที่ ๑๕ กันยายน เป็นวันที่ ๑๖ ตุลาคม ถามว่า ทำไมต้องขยายเวลาเพิ่ม ตอนนี้มันจะมีปัญหาไปถึงเรื่องของอากาศ คือน้ำแก้ไขปัญหาได้แล้ว แต่อากาศยังมีปัญหาอยู่ ต้องนำเรียนท่านประธานอย่างนี้ โรงงานดังกล่าวใช้ฟืนในการจุด พอใช้ฟืนถ้าชื้นสักหน่อยควันที่ออกไปตอนแรกจุดเลยก็จะเป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ อาจก่อให้เกิดปัญหาและไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐาน เขาจำเป็นจะต้องปรับปรุงเรื่องของระบบ การเผาไหม้ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาแล้วก็ต้องเขียนแปลนซึ่งต้องใช้เวลา เราเลยจำเป็น จะต้องขยายเวลาให้เพิ่ม ถามว่าทำไมต้องขยายแล้วขยายอีก เพราะเราต้องการให้สิ่งที่ ปล่อยออกมา ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรืออากาศเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดไว้ ทีนี้พอมาวันที่ ๓ ตุลาคมท่านประธานทางผู้ประกอบการเองก็ได้แจ้งผล ของการวิเคราะห์น้ำและก็ปรากฏว่าตอนนี้ ๓ ตุลาคม เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดแล้ว เฉพาะน้ำ ยังไม่รวมอากาศ แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นทางอุตสาหกรรมจังหวัดและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องก็บอกแล้วว่าทั้งน้ำ ทั้งอากาศ ต้องปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๑๖
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต้นฉบับ
มาเรื่องสุดท้ายที่เมื่อสักครู่ท่าน สส. เองได้ถามเรื่องของการพักใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาต จริง ๆ เราทำตามขั้นตอนตลอดเริ่มต้นจากเจอว่ามีปัญหา เข้าไปตรวจแล้วให้แก้ไข ให้แก้ไขก็มีการขยายเวลา แต่โรงงานดังกล่าวยังอยู่ในระยะเวลา ที่ขยาย ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ดังนั้นเราทำได้แค่ให้ดำเนินการตามมาตรการ เรื่องของ การถอนใบอนุญาตจริง ๆ แล้วตอนนี้ยังไม่สามารถทำการถอนใบอนุญาตได้เพราะโรงงานเอง ยังอยู่ในกระบวนการ ก็เลยนำเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่าน สส. ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ ขอเชิญท่านผู้ถามใช้สิทธิในรอบที่ ๒ ครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ผม ว่าที่ร้อยตรีสมชาติ เตชถาวรเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๑ พรรคก้าวไกล ผมขอสอบถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ในส่วนของน้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงานแห่งนี้ที่ท่านได้ชี้แจงแล้วว่า ๓ ตุลาคม ผล OK แล้ว ใช่ไหมครับ ผมจะขอสอบถาม
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
ที่อยู่ตรงหน้าท่านรัฐมนตรี ก็คือผมและ สส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกลได้สอบถามกับทางเจ้าของโรงงานว่า น้ำนี้มาจากไหน ก็ได้รับคำตอบว่าน้ำนี้เป็นน้ำบ่อ ใช่ไหมครับ ก็คือขุดเอง ไม่ได้เป็นน้ำของ การประปาส่วนภูมิภาค พอถามถึงว่าแล้วปริมาณน้ำที่เข้ามีมิเตอร์ มีซับมิเตอร์หรือเราจะ ตรวจสอบได้อย่างไรว่าที่คุณบอกว่า ๕๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในเมื่อเรายังไม่รู้เลยว่า น้ำคุณเข้ามาเท่าไร แล้วผมถามกับทางโรงงาน โรงงานก็ตอบไม่ได้ว่าน้ำเข้าแต่ละวัน คือเขาไม่ตอบเลยว่าเข้ามาในแต่ละวันเป็นจำนวนกี่ลูกบาศก์เมตร ฉะนั้นแล้วตรงนี้ ก็อยากจะตั้งคำถามว่า แล้วที่เขาบอกว่า ๕๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน แล้วถ้าเกิดว่ามันเข้ามา ๑๐๐ ลูกบาศก์เมตรแต่บำบัดแค่ ๕๐ ลูกบาศก์เมตร แล้วอีก ๕๐ ลูกบาศก์เมตรมันไปไหน อันนี้คือคำถามที่สำคัญมากว่า แล้วเข้ากับออกเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเท่ากัน ปริมาณน้ำที่ เรารับเข้ามาแล้วผ่านกระบวนการต้มแล้วก็ออกไปจากโรงงานอย่างนี้มันมีจำนวนที่เท่ากัน อย่างไรตรงนี้ผมว่าผมต้องมีมาตรการตรวจสอบว่าน้ำเข้ามาอย่างไร วันนี้ที่บอกว่าน้ำ OK แล้วผมก็ยังไม่ปักใจเชื่อ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะว่ามันไม่ Make sense เลยว่าคุณไม่รู้ คุณไม่สามารถตอบคำถามประชาชนได้ว่าน้ำเข้ามาในแต่ละวันมีปริมาณเท่าไร ไม่มีตัวชี้วัด อะไรเลย อันนี้ในส่วนของน้ำนะครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
ในส่วนของควัน จากที่ผมลงพื้นที่ก็พบว่าทุกครั้งที่ลงไม่ว่าจะเป็นกลางวัน หรือกลางคืนจะพบว่าในแต่ละครั้งควันที่ออกจากปล่องทั้งสีขาวและทั้งสีดำ บางครั้งเป็นสีดำ ออกเหลือง ๆ ทราบจากอธิบดีกรมควบคุมมลพิษหลังจากที่ผมได้ลงไปพบท่าน เพื่อยื่นเรื่องร้องเรียนตรงนี้ ก็ได้รับทราบว่าทางท่านได้ส่งทางสิ่งแวดล้อมพื้นที่ที่ ๑๕ จังหวัดภูเก็ตลงไปตรวจสอบ ทีนี้พอลงไปตรวจสอบแล้วก็ได้รับแจ้งว่ากลุ่มควันสีขาวบางที มันเป็นแค่เขม่าอาจจะไม่ถึงขั้นเป็นควันพิษ แต่ทั้งนี้มันไม่ได้เป็นควันขาวอย่างเดียว ในรายงานที่ผมเห็นที่ทางท่านอธิบดีส่งให้ผม ทางอธิบดีกรมควบคุมมลพิษไม่ได้กล่าวถึง กลุ่มควันที่เป็นสีดำว่า แล้วกลุ่มควันสีดำตรงนั้นมันส่งผลกระทบอย่างไร อันนี้ในส่วนของ เรื่องควันนะครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
ในส่วนถัดมา โรงงานแห่งนี้ถ้าข้อมูลผมตามที่ได้รับมามันก่อตั้งมา ตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ ปีนี้ก็ปี ๒๕๖๖ แล้ว หากว่าเมื่อพบว่ามีการปล่อยควันแล้วก็น้ำเสียลงสู่ แหล่งน้ำสาธารณะ ผมอยากจะฝากท่านรัฐมนตรีให้ตรวจสอบลึกลงไปกว่านั้นว่ามันผ่านมา เป็นระยะเวลากี่สิบปีแล้วที่เขาปล่อยควัน ซึ่งจะเป็นควันพิษหรือไม่เดี๋ยวต้องไปพิสูจน์กัน อีกทีหนึ่งตามรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วถ้าเขาปล่อยน้ำ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ท่านสมชาติครับ ไม่ได้ผิดข้อบังคับนะครับ แต่ว่าต้องกรุณาพูดกับประธาน
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
ได้ครับท่านประธาน ขออภัยครับ นี่เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งก็คือว่ามันเป็นสีขาวออกมาก็คือเส้นก๋วยเตี๋ยว แล้วบางครั้งก็เป็นสีเหลือง พอดีไม่ได้เอา Slide มาด้วย มันทั้งขาวและทั้งเหลือง ตรงนี้ ก็ได้รับคำตอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าบริเวณรอบนอกมันก็จะมีร้านซักผ้าอะไรด้วย เขาก็สันนิษฐานว่าไม่ใช่มาจากโรงงานแห่งนี้เพียงแห่งเดียว แต่เมื่อได้ลงพื้นที่แล้วสอบถาม กับชาวบ้านก็พบว่ามันเป็นสีที่ชาวบ้านยืนยันว่าออกมาจากโรงงานแห่งนี้และเป็นโรงงาน ที่มีขนาดใหญ่ ผมได้รับแจ้งจากทางโรงงานว่าหลังจากที่ผมลงพื้นที่พร้อมกับ สส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล ได้รับแจ้งว่ามีการเพิ่มหม้อต้มแล้วมีการเปลี่ยนชนิด ของฟืน จากที่ก่อนหน้านี้ใช้ไม้ฟืนไม้ยางขนาดใหญ่ แล้วทางโรงงานก็ได้ตอบว่าที่เกิดควันเยอะ ก็เพราะว่าระบบการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์เนื่องจากในไม้ฟืนมันมีขนาดใหญ่และมีความชื้น หลังจากวันนั้นเราก็เลยสอบถามทางโรงงานว่าแล้วจะแก้ไขอย่างไร ก็ทราบว่าทางโรงงาน ได้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยใช้ไม้ฟืนที่มีขนาดเล็กลง แล้วก็เพิ่มหม้อต้ม แล้วก็เพิ่มการฉีดสเปรย์ ทั้งนี้ทั้งนั้นหลังจากที่ได้มีการปรับปรุงตามที่ท่านรัฐมนตรีชี้แจงแล้วที่ว่าตาม มาตรา ๓๗ ปรากฏว่าทุกวันนี้จนถึงวินาทีนี้ผมยังได้รับ Clip Video จากชาวบ้านแทบจะทุกวัน หรือวันเว้นวันเลยก็ได้ว่าท่าน สส. มันยังขาวอยู่เลย แล้วบางครั้งก็ยังเป็นควันสีดำอยู่เลย ไหนท่านบอกว่าทางหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้มีการตรวจสอบแล้ว ตรงนี้ผมก็อยากจะให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ทบทวนว่าที่ผ่านมา
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
๑. จะมีมาตรการเยียวยาให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทางเดินหายใจหรือไม่ ผมได้ไปพบกับชาวบ้านเขาต้องพกเครื่องพ่น เขามีถุงยาเป็นกล่องเลย ผมยืนยันว่าเป็นลังเลย ที่ต้องไปพบแพทย์จากปัญหาที่สูดควันพิษเข้าไป แล้วหลังจากที่ผมลงไปได้ไม่นานทางโรงงาน ได้ถือกระเช้าไปขอโทษคุณลุงประเสริฐและชาวบ้านใกล้เคียง แต่คุณลุงก็ได้ปฏิเสธไป ผมเห็นว่าตรงนี้ไม่ใช่ปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มันเกิดมา ๑๐ ปีแล้ว ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมที่ฟังแล้ว น่าหดหู่ใจ คุณลุงและชาวบ้านซอยพะเนียงตรงนี้เคยมีการยื่นเรื่องร้องเรียนโรงงานแห่งนี้ แทบจะทุกระดับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ปรากฏว่า สิ่งที่คุณลุงได้คำตอบก็คือรับเรื่องไว้แล้วเดี๋ยวจะดำเนินการให้ แต่สุดท้ายคุณลุงก็บอกว่า เรื่องก็เงียบ ยื่นไปทีไรเรื่องก็เงียบ วันนี้พอ สส. ลงไปพอเรามีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการที่เป็น สส. ของพรรคก้าวไกลลงไป ทุกคนดูเหมือนจะมี Action มีการตอบรับว่าจะมีการเริ่ม กระบวนการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ก็หวังว่าเรื่องคงจะไม่เงียบอีกต่อไป อย่างไร ผมขอฝากท่านรัฐมนตรีด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
สมาชิกครับ อันนี้ผมเห็นว่ายังมีเวลา แต่ว่าตะกี้มันเกือบจะเป็นการอภิปรายละอย่างไรต้อง เข้าสู่คำถามให้ชัดเจนกว่านี้เพื่อที่ทางผู้ตอบจะได้ตอบให้ชัดเจนได้ด้วย ผมขอทบทวนคำถาม อีก ๑ ครั้งครับ
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
คำถามแรก ถามรัฐมนตรีว่า ในส่วนของน้ำท่านจะมีมาตรการตรวจสอบปริมาณน้ำเข้าได้อย่างไร แล้วจะทราบ ผลการตรวจสอบได้เมื่อใด
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
๒. การขยายระยะเวลาให้ส่งผลเรื่องควันที่ปล่อยออกจากปล่องควันที่ท่าน บอกว่าอยู่ระหว่างขยาย แล้วจริง ๆ แล้วมันถึง ๑๕ กันยายน แล้วยังมีการขยายขอตั้งคำถาม ท่านรัฐมนตรีว่ามันขยายได้กี่ครั้ง แล้วมันจะถึงจุดสิ้นสุดเมื่อไร
ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ
คำถามสุดท้ายเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมาเป็นไม่น้อยกว่า ๑๐ ปีแล้ว หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจะมีมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากทั้งควันแล้วก็น้ำเสีย ที่ปล่อยออกจากโรงงานสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้อย่างไร แล้วจะมีมาตรการเยียวยาเมื่อไร ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉันขออนุญาตตอบประเด็นข้อซักถามเพิ่มเติม ของท่าน สส. ผ่านไปยังท่านประธานนะคะ จริง ๆ แล้วเรื่องของปริมาณน้ำเข้าน้ำออก ถึงแม้จะไม่มีมาตรวัดในการเข้า Process แต่มันสามารถคำนวณได้จากใบ ร.ง. ๓ ที่บอก เมื่อสักครู่คือจำนวนกำลังการผลิตของหม้อน้ำที่ใช้ เพราะฉะนั้นมันสามารถทราบคร่าว ๆ ว่าเราจะต้องใช้น้ำทั้งกระบวนการปริมาณเท่าไร เพราะฉะนั้นก็เลยนำเรียนท่านประธาน ผ่านไปยังท่าน สส. ว่าทางกระทรวงเองเรามีวิธีการคำนวณกลับจากกำลังการผลิตหม้อน้ำ ที่ใช้ค่ะ ประการที่ ๑ ที่ตอบคำถามท่านนะคะ
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เรื่องที่ท่านค่อนข้างห่วงใยเรื่องของควัน เรื่องของควันสีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ประเภทควันและสีควันก็อาจจะบ่งบอกได้ ควันสีดำมันอาจจะเป็นการเผาไหม้ ไม่สมบูรณ์จริง แล้วก็มักจะเกิดเริ่มต้นกระบวนการที่เริ่มจุดเตา พอเริ่มจุดเตาใส่ไม้ฟืน ถ้าฟืนตัวนั้นเหมือนที่ท่านบอกว่ามีขนาดใหญ่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์แรก ๆ ที่จุดจะเป็นควันดำ ออกมา แต่พอสักพักออกมาถ้าเป็นสีขาวส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของไอน้ำ แล้วก็ถ้าเป็น ควันสีเทาก็คือไอน้ำกับเขม่า ก็เลยจะนำเรียนท่านว่าประเภทสีควันมันบ่งบอกเรื่องของ การเผาไหม้ ส่วนเรื่องของน้ำที่ออกมาสีต่าง ๆ แน่นอนโรงงานนี้เป็นโรงงานผลิตอาหารเส้น สีที่ออกมาเป็นสีขาวแน่นอน แต่สีไม่ได้บอกว่าคุณภาพดี ไม่ดี การบอกคุณภาพคือเรื่องของ การที่จะต้องเอาน้ำไปตรวจแล้วถึงจะบอกได้ว่าคุณภาพดีหรือไม่ดีอย่างไร ทีนี้เหมือนมัน จะเป็นงูกินหาง ด้วยขนาดของโรงงานมันไม่สามารถที่จะติดตั้งเครื่อง Online ได้ เพราะ Size มันไม่ถึงกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด แต่เราสามารถไปตรวจได้เหมือนที่ท่าน บอกว่ามีเรื่องร้องเรียนมาอุตสาหกรรมจังหวัดก็จะเข้าไปแล้วก็ตรวจสอบ อันนี้ดิฉัน ต้องยอมรับกับท่านประธานโดยตรงว่ามันเป็นช่องว่างจริง ๆ ถามว่าเรามีนโยบายไหม เราอยากทำค่ะ แต่ว่าการติดเครื่อง Online ๑ เครื่อง เรียนท่านประธานผ่านไปยังท่าน สส. ต้องใช้เงินกว่า ๑ ล้านบาทในการติดตั้ง ทีนี้เราอาจจะปรับเหมือนกับการตรวจสอบคุณภาพ เราก็ใช้วิธีการว่าเราอาจจะกระตุ้นไปยังผู้ประกอบการว่าในเมื่อมีการร้องเรียนหลาย ๆ ครั้ง แล้วทางชุมชนที่อยู่แวดล้อมเองเขามีความสงสัย ผู้ประกอบการเองก็จำเป็นจะต้อง ไปให้ข้อมูลและพูดคุยกันให้มากยิ่งขึ้น ส่วนเรื่องของการเยียวยาดิฉันขอกลับไปสอบถาม ทางผู้ประกอบการนิดหนึ่งว่าอย่างไร เพราะวันนี้กระทรวงอุตสาหกรรมเราจำเป็นจะต้องใช้ กฎ ระเบียบ ข้อกฎหมาย ข้อบังคับ ประกาศที่มีอยู่ในกระทรวงทำตามให้เสร็จสิ้นก่อน และที่สำคัญที่สุดการขยายถามว่าขยายครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ มันเป็นการขยายแบบมีมูลเหตุ เนื่องจากเราอยากให้น้ำและควันพิษออกมาเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด เพราะฉะนั้น เราต้องให้ระยะเวลาผู้ประกอบการในการเปลี่ยนแปลงแล้วก็ปรับปรุงเรื่องน้ำทำเสร็จ ในตอนแรก เสร็จไปตั้งแต่วันที่ ๒๒ แต่เรื่องอากาศต้องใช้เวลา เพราะเขาต้องไปปรับปรุง ตัวเตาซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร เราเลยจำเป็นต้องขยายเป็นครั้งที่ ๒ แต่ถ้าไม่เสร็จวันที่ ๑๖ อาจจะต้องมีพักต้องดูด้วยว่ามันมีมูลเหตุหรือเปล่า แต่คำว่า พัก ไม่ได้หมายถึงว่าพักกิจการ ทั้งระบบ พักเฉพาะ Zone ที่มีปัญหา ต้องนำเรียนท่านประธานด้วยว่ากฎหมายมี แต่ต้อง บังคับใช้อย่างเป็นธรรม ดิฉันเองต้องนำเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่าน สส. ว่ากระทรวง อุตสาหกรรมเราไม่ได้เพิกเฉยเลย แต่ด้วยเรื่องทั้งหมดที่มาที่กระทรวงมีเรื่องร้องเรียนมาที่ กระทรวงแค่ ๒ ครั้งเท่านั้น ไม่แน่ใจว่าก่อนหน้านี้ผ่านช่องทางไหนไป แต่ทุกครั้งที่ร้องเรียน มาที่กระทรวง ไม่ว่าจะเป็นเมื่อปี ๒๕๖๔ หรือครั้งนี้ก็ตามแต่ เราได้รีบให้ข้าราชการ ที่อยู่ในพื้นที่ลงไปตรวจสอบพื้นที่อย่างเร่งด่วน ก็นำเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่าน สส. ค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านรัฐมนตรีนะครับ อันนี้ผมอนุญาตให้ใช้เวลาเกินได้เพราะว่าเรามีกระทู้เพียงแค่ ๓ กระทู้วันนี้ แต่คิดว่าก็ใช้สิทธิได้ครบถ้วนแล้ว คำตอบก็ค่อนข้างละเอียดแล้ว อย่างไรก็สอบถามกันหลังจากนี้ได้ต่อ ขอบคุณท่านสมชาติ ขอบคุณท่านรัฐมนตรีนะครับ ต่อไปเรื่องที่ ๒ ของท่านอัครเดชจะเป็นทั้ง ๒ กระทู้เลยนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๒. เรื่อง การแบ่งเขตในสารบบให้ชัดเจนระหว่างตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม กับตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ถาม นายกรัฐมนตรี
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งว่ากระทู้ถามเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีบัญชาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน แต่เนื่องจากท่านรัฐมนตรีติดภารกิจสำคัญ จึงมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นผู้ตอบ กระทู้ถามแทน ฉะนั้นเพื่อประโยชน์ในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะผมอนุญาตให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนข้อมูล ๑ ท่าน คือท่านสรรเสริญ คำทอง ผู้อำนวยการส่วนระบบการ ปกครองท้องที่ ขอบคุณครับ ขอบคุณท่านรัฐมนตรีที่ให้เกียรติสภานะครับ ขอเชิญท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ถามคำถามครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต ๔ พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ผมได้ทำกระทู้ถามแยกเฉพาะเรียนถาม ท่านนายกรัฐมนตรี เรื่องการแบ่งเขตในสารบบให้ชัดเจนระหว่างตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม และตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เนื่องด้วยปัจจุบัน มีองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง ๒ แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม และองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง มีชื่อเหมือนกัน คือองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง ในสารบบจะมีแค่ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอ โพธาราม แต่ไม่มีตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง ตัวอย่างเช่นการปักหมุดใน Google Maps พื้นที่ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง จะขึ้นเป็นตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอ โพธาราม ท่านประธานครับ ปัญหานี้ผมได้รับการร้องเรียนจากนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลดอนกระเบื้อง ท่านนายกธนาคม ทวีไกรกุล ว่าปัจจุบันนี้ในส่วนของตำบล ดอนกระเบื้องมีอยู่ ๒ อำเภอ ก็คืออำเภอโพธารามและอำเภอบ้านโป่ง
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
ตอนนี้ผมได้นำรูปมาให้ ท่านประธานได้ดูจะเป็นพื้นที่ที่เป็นแนวเขตของตำบลดอนกระเบื้องซึ่งมี ๙ หมู่บ้าน แต่ว่าปัจจุบันนี้อย่างที่ผมได้นำเรียนท่านประธานว่าตำบลดอนกระเบื้องขึ้นอยู่กับ ๒ อำเภอ เวลาขึ้นในสารบบสารสนเทศของกระทรวงมหาดไทย ทางนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดอนกระเบื้องบอกว่าตอนนี้ขึ้นแต่ดอนกระเบื้องโพธาราม เวลามีเอกสารทางราชการส่งมา พอบอกว่าเป็นตำบลดอนกระเบื้องปุ๊บก็จะส่งไปที่โพธารามหมด ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ที่เกี่ยวกับระบบราชการทั้งหมด เพราะว่าฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น ของสำนักนายกรัฐมนตรี ของกระทรวงมหาดไทยเองก็ดี แล้วของ DES ก็ดี พอเข้าไปดูใน ระบบตอนนี้มีแต่ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม เวลาเข้าไปค้นหรือเข้าไปหาก็จะทำให้ เอกสารตกหล่น พี่น้องประชาชนก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงการติดต่อกับองค์การบริหาร ส่วนตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่งได้ ผมได้รับการร้องเรียนมา จึงอยากจะถาม ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งตอนนี้ท่านติดภารกิจ ได้มอบหมายรัฐมนตรี ช่วยว่าการ ท่านทรงศักดิ์ ทองศรี มาตอบ ก็ต้องขอบคุณท่านรัฐมนตรีเลยที่ท่านได้สละเวลา มาตอบกระทู้ของ สส. ในสภานี้ ต้องขอบคุณท่านรัฐมนตรีทรงศักดิ์ ทองศรี มา ณ โอกาสนี้ด้วย จึงขอถามท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ว่าทางกระทรวงมหาดไทย มีแนวนโยบายในการแบ่งเขตให้ชัดเจนระหว่างตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม และตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ได้หรือไม่ อย่างไร ขอทราบ รายละเอียดครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านรัฐมนตรีใช้สิทธิในรอบแรกครับ
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ
ท่านประธาน ที่เคารพครับ กระผม นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้รับ มอบหมายจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มาตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ท่านเป็น ผู้แทนราษฎรของจังหวัดราชบุรี ในนามของพรรครวมไทยสร้างชาติ ต่อกรณีข้อห่วงใย เป็นคำถามแยกเฉพาะนะครับ
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ
ท่านได้กรุณา ถามเรื่องการแบ่งเขตในสารบบให้ชัดเจนระหว่างตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม กับตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เรื่องนี้ผมขออนุญาตกราบเรียน ท่านประธานอย่างนี้ว่าจากการตรวจสอบประวัติการจัดตั้งตำบลดอนกระเบื้อง พบว่า เดิมตำบลดอนกระเบื้องอยู่ในเขตปกครองของอำเภอโพธาราม ต่อมาในปี ๒๔๘๙ มีการแบ่งโอนพื้นที่บางส่วนเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ ๑ ถึงหมู่ที่ ๖ ของตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม มาขึ้นกับตำบลหนองอ้อในเขตปกครองของอำเภอบ้านโป่ง และต่อมา ในปี ๒๔๙๒ มีการแบ่งเขตพื้นที่ของตำบลหนองอ้อเพื่อจัดตั้งขึ้นเป็นตำบลใหม่ ในเขตปกครองของอำเภอบ้านโป่งโดยตั้งชื่อว่าตำบลดอนกระเบื้อง ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับ ตำบลดอนกระเบื้องในเขตปกครองของอำเภอโพธารามจนถึงปัจจุบัน เป็นผลให้พื้นที่ ทางทิศเหนือของตำบลดอนกระเบื้อง ของอำเภอโพธาราม กับพื้นที่ทางทิศใต้ของ ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง เป็นพื้นที่ที่มีแนวเขตติดต่อกันตามรูปที่เห็นนะครับ ต่อมาปี ๒๕๑๗ มีการจัดตั้งตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาล กระจับเป็นสภาตำบลดอนกระเบื้อง และยกฐานะจากสภาตำบลดอนกระเบื้องเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้องในปี ๒๕๓๘ จึงทำให้มีองค์การบริหารส่วนตำบล ดอนกระเบื้องทั้งในพื้นที่เขตปกครองของอำเภอบ้านโป่งและอำเภอโพธารามในขณะเดียวกัน ทำให้มันมีชื่อตรงกันในเรื่องของตำบลนะครับ สำหรับข้อเสนอแนะกรณีการกำหนดหรือพื้นที่ เขตการปกครองระหว่างตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง กับตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม ให้เกิดความชัดเจนนั้น ที่ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอแนะมา จากการตรวจสอบประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดเขตตำบลในท้องที่ อำเภอโพธารามของตำบลดอนกระเบื้อง และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนด เขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านโป่ง ของตำบลดอนกระเบื้อง พบว่ามีการบรรยายพิกัดกำหนด แนวเขตของตำบลดอนกระเบื้องคลาดเคลื่อนนะครับ โดยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ มีจำนวนตำบลทั้งสิ้น ๑๙ ตำบล ซึ่งกำหนดเขตตำบลดอนกระเบื้องมีจำนวน ๕ หมู่บ้าน โดยระบุอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับตำบลดอนกระเบื้องและตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งตามข้อเท็จจริงทิศเหนือของตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม มีอาณาเขตติดต่อเฉพาะตำบลดอนกระเบื้องของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีเท่านั้น เวลาบรรยายแนวเขตคลุมข้างบนไปด้วย ความจริงมันเป็นเขตติดต่อกันในแนวเขตของแต่ละ ตำบลนะครับ แล้วยังมีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดแนวเขตตำบลในท้องที่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ อันนี้อีกฉบับหนึ่ง มีจำนวนตำบล ทั้งสิ้น ๑๕ ตำบล ซึ่งกำหนดเขตตำบลดอนกระเบื้องมีจำนวน ๘ หมู่บ้าน ระบุอาณาเขต ทิศใต้ติดต่อกับตำบลบ้านเลือก ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม หมายความว่าทิศใต้ ของจังหวัดราชบุรี ซึ่งตามข้อเท็จจริงทิศใต้ของตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง ต้องมีอาณาเขตติดต่อเฉพาะ ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธารามเท่านั้น หมายถึง เส้นตรงกลางนะครับ ดอนกระเบื้องข้างบนก็ติดต่อดอนกระเบื้องข้างล่างเท่านั้น เวลาจะกำหนดเขียนบรรยายแนวเขตมันคลุมมาข้างล่างทำให้พื้นที่ทั้งหลายเหมือนว่า มันติดต่อกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการประกาศกระทรวงมหาดไทยทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าวระบุ อาณาเขตติดต่อของตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่งและอำเภอโพธารามคลาดเคลื่อน เชื่อว่าเกิดจากการคัดลอกจากแนวเขตเดิมของตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม ก่อนที่มี การแบ่งแยกพื้นที่ไปรวมกับตำบลหนองอ้อ และตั้งเป็นตำบลดอนกระเบื้องของอำเภอบ้านโป่ง ในปัจจุบันนะครับ ซึ่งคำบรรยายแนวเขตที่คลาดเคลื่อนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ดังกล่าวนี้เป็นผลให้พื้นที่ตำบลดอนกระเบื้องทั้ง ๒ แห่งทับซ้อนกัน และอาจเป็นเหตุ ให้การตรวจสอบในสารบบจะพบแต่คำว่าตำบลดอนกระเบื้อง ในเขตปกครองของ อำเภอโพธารามเท่านั้น ตามที่ท่านสมาชิกได้กล่าวถึงว่าเกิดปัญหาของการส่งเอกสาร การที่จะเดินทาง การติดต่อราชการเกิดความคลาดเคลื่อน แต่อย่างไรก็ดีจากการตรวจสอบ ในสาระบบกรณีการปักหมุด Google Maps ของตำบลดอนกระเบื้องหรือองค์การบริหาร ส่วนตำบลดอนกระเบื้อง เนื่องจากมีชื่อเดียวกันจึงต้องระบุรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธารามหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง ก็จะสามารถปักหมุดหรือสืบค้นข้อมูลตำบลดอนกระเบื้อง หรือองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้องทั้ง ๒ แห่งได้อย่างปกติ เพียงแต่ว่าเวลาคนที่กด Search ข้อมูลต้องระบุข้อมูลให้ครบว่าอยู่ในอำเภออะไร เป็นอำเภอบ้านโป่ง หรืออำเภอโพธารามนะครับ สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผมขออนุญาต ตอบรวมเลย ท่านประธานครับ สามารถดำเนินการได้ ๒ แนวทางด้วยกัน
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ
แนวทางที่ ๑ การแก้ไขแนวเขตการปกครอง เรื่องนี้โดยการแก้ไขประกาศ กระทรวงมหาดไทยในการกำหนดเขตตำบลดอนกระเบื้องในท้องที่อำเภอโพธาราม และในท้องที่อำเภอบ้านโป่ง กรณีเรื่องคำบรรยายแนวเขตไม่ชัดเจนหรือแนวเขตเหลื่อมล้ำ ทับซ้อนกับท้องที่ข้างเคียงแล้วแต่กรณี โดยการบรรยายแนวเขตติดต่อและพิกัดให้ถูกต้อง ชัดเจนและตรงกับความเป็นจริงในปัจจุบัน สำหรับขั้นตอนวิธีการแก้ไขต้องตั้งคณะทำงาน ระดับตำบลของอำเภอ และตรวจสอบแนวเขตระหว่างตำบล จัดการประชุมหารือระหว่าง ตำบลเพื่อแก้ไขแนวเขต แล้วรายงานให้คณะกรรมการพิจารณาหาข้อยุติแนวเขต การปกครองของจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งให้กระทรวงมหาดไทยในการแก้ไข ประกาศต่อไป อันนี้เป็นแนวทางในการแก้ไขแนวเขตนะครับ
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ
อีกแนวทางหนึ่งก็เป็นการขอเปลี่ยนชื่อ โดยอาศัยหลักเกณฑ์การขอเปลี่ยนชื่อ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน หรือสถานที่ราชการอื่นในกรณีที่มีการจัดตั้งหรือการแยก หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ แล้วปรากฏว่าชื่อนั้นไปเหมือนหรือพ้องกับชื่อที่มีอยู่เดิม หรือชื่อเดิม ไปตรงพ้องกับชื่อส่วนราชการอื่นที่อยู่ในเขตติดต่อเดียวกัน เหมือนในกรณีที่กำลังหารืออยู่นี้ เราก็สามารถขอเปลี่ยนแปลงชื่อได้ จะต้องดำเนินการการประชาคมราษฎรในหมู่บ้านก่อน ได้รับความเห็นชอบจากประชาคมราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากร ในหมู่บ้าน ตำบล รวมถึงต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้านเสียก่อนนะครับ แล้วก็สภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล สภาเทศบาล นายอำเภอ และผู้ว่าราชการ จังหวัด แล้วก็นำเรื่องเข้าสู่กระทรวงมหาดไทยในการพิจารณาขอเปลี่ยนชื่อต่อไปนะครับ เบื้องต้นขออนุญาตตอบเพียงเท่านี้ก่อนครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ ขอเชิญท่านอัครเดชใช้สิทธิในรอบที่ ๒ ครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต ๔ พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ก่อนอื่น ต้องขอบคุณท่านรัฐมนตรีที่ชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นนะครับ ตามที่ท่านรัฐมนตรีได้ชี้แจงมา เราก็พบว่าการผิดพลาดในการกำหนดแนวเขตการปกครองมันเกิดขึ้นจริงระหว่างตำบล ดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม กับตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง ทีนี้ตามที่ ท่านรัฐมนตรีได้ชี้แจงคือแนวเขตมันมีความผิดพลาด เพราะว่ามีการประกาศแนวเขต ปี ๒๕๔๑ กับประกาศแนวเขตปี ๒๕๔๒ ที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแนวเขต ผิดพลาดมีการทับซ้อนกันนะครับ ซึ่งทีนี้ถ้ามีการแก้ไขปัญหา ๒ อย่าง ๑. ก็คือการตั้ง คณะทำงานในระดับตำบลขึ้นมาแล้วก็เสนออำเภอเพื่อกำหนดแนวเขตใหม่โดยการเดินสำรวจ หรือสำรวจในพื้นที่จริง แล้วก็เสนอคณะกรรมการในระดับจังหวัดส่งให้กระทรวงมหาดไทย ประกาศใหม่ ๒. การตั้งชื่อของตำบลใหม่เลย เพื่อไม่ให้เกิดการทับซ้อน ทีนี้ผมเห็นด้วย กับทั้ง ๒ แนวทาง เมื่อช่วงเช้านี้ได้คุยกับทางท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดอนกระเบื้อง ว่าถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ท่านรัฐมนตรีในขั้นตอนแรก Step แรกคือตั้งคณะทำงาน ให้ท่านได้ตั้งคณะทำงานในระดับตำบลเพื่อที่จะได้แบ่งแนวเขตก่อน เพราะว่าตอนนี้ พอทับซ้อนกันมันมีปัญหาอย่างนี้ครับ เรื่องของการใช้งบประมาณด้วย ในการกำหนด การขอใช้งบประมาณ ซึ่งที่ผ่านมาพอแนวเขตมันผิดพลาด การตั้งงบประมาณ การขอ งบประมาณก็ลำบาก แต่ทางระดับตำบลนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเคยผลักดันมา หลายครั้งแล้ว แต่ว่าเรื่องมันมาไม่ถึงข้างบน มันก็ไปอยู่ในระดับจังหวัด ทีนี้ตอนมาถึง ท่านรัฐมนตรีแล้วผมก็คิดว่าการแก้ปัญหานี้ก็จะสามารถเกิดเป็นรูปธรรมได้ ก็ขอให้ ท่านรัฐมนตรีได้มีบัญชาสั่งการให้กระทรวงมหาดไทยในหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ตั้ง คณะทำงานลงไป ถ้ารอระดับล่างขึ้นมา ก็ไม่แล้วเสร็จ ก็ติดตามกันมาหลายปี จนผมเอง เป็นผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ก็คิดว่ามันเป็นเรื่องเล็ก ท่านนายกก็บอกผมมาหลายปีแล้ว ก็คิดว่าเดี๋ยวจะสำเร็จ แต่พอถึงเวลามามันก็ยืดเยื้อ ก็ไปอยู่ในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ก็ไม่เสร็จสิ้น จนตอนนี้ก็เลยต้องใช้กลไกสภาในห้องกระทู้นี่มารบกวนท่านประธาน รบกวนท่านรัฐมนตรีมาตอบปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ในระดับคณะทำงานนี่เสร็จแล้วก่อน เลยขออนุญาตท่านประธานกราบเรียนท่านรัฐมนตรีได้มีบัญชาตั้งคณะทำงาน ทีนี้เรื่องของ การตั้งชื่อใหม่ก็เป็นแนวทางที่ดีครับ เวลาชื่อมันซ้ำซ้อนกัน เวลานักท่องเที่ยวก็ดี ผู้ที่เดินทางมาก็ดี ผู้ที่จะไปทำการติดต่อราชการก็ดี ก็เกิดความสับสน ถ้าเป็นไปได้ผมคิดว่า ก็คงต้องทำประชาคมให้พี่น้องประชาชนในตำบลได้มีส่วนร่วมว่าอยากจะเปลี่ยนไหม ถ้าเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนเป็นชื่ออะไร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ก็คงต้องทำทั้ง ๒ ตำบล ของอำเภอโพธารามแล้วก็อำเภอบ้านโป่งด้วยที่มีทับซ้อนว่าใครจะใช้ชื่อดอนกระเบื้อง แล้วถ้าอีกฝ่ายหนึ่งใช้แล้วก็เปลี่ยนเป็นชื่ออะไร เพื่อได้แสดงอัตลักษณ์จุดเด่น ประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือความเป็นมารากเหง้าของในแต่ละตำบล เพื่อให้เกิดความภูมิใจ ในท้องถิ่น ก็ขอให้ท่านรัฐมนตรีได้สั่งการให้คณะทำงานตั้งขึ้นมา ถ้าพี่น้องประชาชน ไม่เห็นด้วยเราก็ใช้ชื่อเดิม เพียงแต่ว่าเรากำหนดแนวเขตใหม่เพื่อให้เกิดความชัดเจนเลย ขออนุญาตกราบเรียนท่านประธานไปยังคณะรัฐมนตรีครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อันนี้ก็คงไม่ใช่ลักษณะคำถาม รัฐมนตรีสามารถใช้สิทธิตอบได้ ชี้แจง เพิ่มเติมได้ครับ
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ก็จะรับข้อเสนอแนะไปในขั้นตอนการดำเนินการให้เกิดความชัดเจน มากยิ่งขึ้น ในเรื่องของ ๒ ตำบลซึ่งมีชื่อเหมือนกันอย่างนี้ก็เป็นประเด็น ผมเข้าใจว่า มันเป็นเรื่องของการเดินทาง เรื่องงบประมาณ เรื่องความเข้าใจของพื้นที่อาจจะมีปัญหา กันบ้าง แต่ผมเรียนอย่างนี้ว่าหลังจากการประชุมแล้วเดี๋ยวทางกรมการปกครองก็จะทำ หนังสือแจ้งไปทางจังหวัดเพื่อดำเนินการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดที่เป็นไปตามข้อเสนอ แนวทางในการแก้ปัญหาว่าด้วยเรื่องกำหนดแนวเขตให้เกิดความชัดเจน แล้วก็แนวทาง เรื่องของการเปลี่ยนแปลงชื่อตามที่ท่านสมาชิกได้ให้ความเห็นมา ผมจะเรียนท่านประธานว่า จะพยายามติดตามประเด็นนี้ให้เร็วที่สุดนะครับ เพราะเข้าใจว่ามันเป็นปัญหาจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้มีเฉพาะแต่ที่ราชบุรีอย่างเดียว ยังมีอีกหลายจังหวัดที่มีชื่อค่อนข้างจะพ้องกัน อย่างนี้ แล้วเป็นปัญหาเรื่องของการติดตามข้อมูลทั้งหลาย ยิ่งโลกปัจจุบันนี้ใช้สื่อทาง อิเล็กทรอนิกส์กันมาก คนจะเดินทางเวลากดไปแล้วมันไปอีกที่ ทำให้การเดินทาง อาจจะไม่สะดวก แล้วก็การดำเนินการทำงานของราชการเองมีข้อบกพร่อง ข้อผิดพลาด มาด้วย ก็จะรับไปดำเนินการต่อไปนะครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากนะครับ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๐๒๒ การแบ่งเขต ในสารบบให้ชัดเจน ระหว่างตำบลดอนกระเบื้อง ขอบคุณท่านรัฐมนตรีมากนะครับ ขอบคุณท่านสมาชิกที่ซักถามนะครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
๓. เรื่อง การก่อสร้างทางลอดใต้ถนนสายเบิกไพร-เตาปูน ทางหลวง หมายเลข ๓๒๙๑ ของท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมได้แจ้งว่ารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม ท่านมนพร เจริญศรี เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ในการนี้เพื่อเป็นประโยชน์การตอบกระทู้ถาม ผมได้อนุญาตผู้แทน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนข้อมูล คือท่านนัทพันธุ์ เกษมพันธุ์ วิศวกรโยธา ชำนาญการพิเศษ ศูนย์สร้างทางกาญจนบุรี กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ขอบคุณ ท่านรัฐมนตรีที่ให้เกียรติสภานะครับ ขอเชิญท่านอัครเดชได้ใช้สิทธิถามครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต ๔ อำเภอบ้านโป่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ผมได้ตั้งกระทู้ถาม ถามท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถึงการก่อสร้างทางลอดใต้ถนนเบิกไพร-เตาปูน ซึ่งวันนี้ได้รับเกียรติจากท่านมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมมาตอบแทนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ได้มอบหมายท่านมา ก่อนอื่นก็ต้องขอแสดงความยินดีกับท่านรัฐมนตรีที่ท่านได้รับ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ติดตามผลงานของท่าน มาตั้งแต่ท่านเป็น สส. สมัยที่แล้ว แล้วก็เราได้รัฐมนตรีที่มีความรู้ความสามารถมาทำงาน ด้านกระทรวงคมนาคม ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับพี่น้องประชาชนด้วยนะครับ ก็ขออนุญาตท่านประธานได้อ่านกระทู้ เพื่อที่จะได้บรรยายต่อไปว่ามีความจำเป็นอย่างไร ในการที่จะให้ทางกระทรวงคมนาคมได้มาก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้ถนนเส้น ๓๒๙๑ แห่งนี้ ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เรื่องการก่อสร้างทางลอดใต้ถนนเบิกไพร-เตาปูน ถนนหมายเลข ทล.๓๒๙๑ เนื่องด้วยปัจจุบันมีการขยายถนนเบิกไพร-เตาปูน จาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจร ช่วงอำเภอบ้านโป่ง ตั้งแต่ตำบลเบิกไพร ถึงตำบลหนองปลาหมอ ผ่านตำบลคุ้งพยอม โดยบริเวณหมู่ที่ ๓ ตำบลคุ้งพยอมมีถนน เลียบคลองชลประทานตัดกับถนนสาย ทล.๓๒๙๑ หน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลคุ้งพยอม ประชาชนต้องการทางลอดถนนสายดังกล่าว เนื่องจากในอนาคต มีการขยายถนนจาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจร ประชาชนเกรงว่าเมื่อมีการขยายถนนแล้ว การสร้างถนนดังกล่าวจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะเกษตรกรที่ใช้เครื่องจักรกล ทางการเกษตร ท่านประธานครับ ที่ผมได้นำเรียนท่านประธานมานี้คือความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนที่มาพร้อมกับความเจริญ ซึ่งเดิมทีถนนสายนี้เป็นถนน ๒ เลน จากตำบลเบิกไพรผ่านตำบลคุ้งพยอมไปตำบลหนองปลาหมอ ซึ่งถนน ๒ เลนปัจจุบันนี้ พี่น้องชาวอำเภอบ้านโป่ง ๖ ตำบลในทิศตะวันตกมีประชากรเพิ่มขึ้น แล้วก็มีการขยายตัว ทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมีบางส่วนที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม การจราจรเส้นนี้ หนาแน่นมาตลอดระยะเวลา ๒๐ ปี เมื่อปี ๒๕๖๒ ผมได้ตั้งกระทู้ถามโครงการของบประมาณ กับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในสมัยนั้นก็คือท่านศักดิ์สยาม ชิดชอบ ซึ่งท่าน ได้ตอบกระทู้ในห้องสภาใหญ่ แล้วท่านก็รับปากกับผมว่าปี ๒๕๖๔ ท่านจะจัดสรร งบประมาณมาทำถนนให้กับพี่น้องชาวอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ขยายจาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจร ซึ่งปัจจุบันนี้ท่านก็ทำตามที่ได้รับปากไว้ในสภา ท่านได้จัดสรรงบประมาณมาให้ ๓ ปีผูกพันงบประมาณงบประมาณ ๔๐๐ ล้านบาท โดยการขยายจาก ๒ เลนเป็น ๔ เลน นี่ภาษาชาวบ้าน ภาษาราชการเราก็ ๒ ช่องจราจร เป็น ๔ ช่องจราจร ก็ต้องขอบคุณท่านรัฐมนตรีศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมในสมัยนั้นด้วย ตอนนี้กำลังก่อสร้าง ปีงบประมาณที่แล้วก็ได้มา ๔ กิโลเมตร จากหนองปลาหมอมาที่ตำบลคุ้งพยอม แล้วก็ปีนี้ทาง ผอ. ศูนย์สร้างทาง แจ้งผมมาว่าก็จะทำ Phase ที่ ๒ แล้วจากคุ้งพยอมมาถึงที่ตำบลเบิกไพร การที่ขยายถนน ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจรก็เพื่อรองรับสะพานด้วย ตอนนี้ผมก็ได้ผลักดันโครงการ ทำสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง ท่านประธานครับ เกิดอุบัติเหตุบ่อย แล้วการจราจรก็ติดขัด เป็นสะพานหลักของอำเภอบ้านโป่งเลยก็คือสะพานที่สี่แยกไฟแดงของบ้านโป่ง ขยายจาก ๒ จราจรช่องเป็น ๔ ช่องจราจรที่หน้าสำนักงานเทศบาลเบิกไพร ก็เป็นอีกโครงการหนึ่ง ที่ผมตั้งใจผลักดันให้พี่น้องประชาชน ก็ได้ทำข้อหารือผลักดันโครงการนี้กับท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้น ตอนนี้สะพานก็กำลังก่อสร้างอยู่ เมื่อช่วงเช้านี้ก็เพิ่งหารือ กับท่านประธานสภาไปว่าตอนนี้คอสะพานทรุด ท่านรัฐมนตรีครับ ก็เลยขออนุญาตฝากท่าน อีกเรื่องหนึ่งคอสะพานทรุด แล้วก็ตอนนี้ต้องปิดสะพานแล้วนะครับ เดิมทีสะพานจะต้องทุบ แล้วก็ขยายจาก ๒ เลนเป็น ๔ เลน แต่ผมก็บอกว่าถ้าทุบเราไม่มีสะพานใช้ พี่น้องประชาชน ชาวบ้านเดือดร้อนมาก ก็เลยขอให้สร้างไปแล้วใช้ของเก่าไปด้วยโดยการสร้างปีก เมื่อปีกเสร็จ ก็มาทุบตรงกลางออก แต่ปัญหามันอย่างนี้ ท่านประธานครับ ตอนนี้พอสร้างไปแล้ว ใช้ไปด้วยการก่อสร้างก็มีปัญหาเพราะว่าพื้นที่จำกัด ก็ต้องไปตอกเข็ม พอตอกเข็มปุ๊บ คอสะพานซึ่งอยู่บนดินก็ใช้เหล็ก Sheet Pile ภาษาทางวิศวกรรมก่อสร้างระบบ Sheet Pile ไปตัดมันสูง ๖ เมตร ตอนนี้คอสะพานมันก็รับน้ำหนักไม่ไหว เพราะรถมันหนักแล้วก็ การจราจรเยอะ ตอนนี้คอสะพานทรุดก็ต้องปิดสะพาน ตอนนี้ทีมงานผมเองแล้วก็เจ้าหน้าที่ กรมทางหลวง นายอำเภอบ้านโป่งก็ดี แล้วตำรวจจราจรก็ต้องปิดสะพาน เพื่อความปลอดภัย ของพี่น้องประชาชนไปใช้สะพานข้างเคียง ทีนี้ปัญหามันอย่างนี้ครับ ก็เลยอยากให้ ท่านรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กรมทางหลวงได้เร่งซ่อมคอสะพานด่วนเลยนะครับ เพราะตอนนี้ การจราจรติดขัดมาก เพราะว่าต้องไปใช้สะพานข้างเคียง โดยเฉพาะสะพานที่ค่ายหลวงอยู่ ในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง ตอนนี้การจราจรติดขัดโดยเฉพาะเวลาเร่งด่วน ก็ฝาก ท่านรัฐมนตรีปัญหาเรื่องนี้ด้วยนะครับ ดีใจที่ได้เจอท่านรัฐมนตรีเพราะจะได้สั่งการให้พี่น้อง ชาวอำเภอบ้านโป่งอย่างรวดเร็ว กลับมาเรื่องถนน ท่านประธานครับ พอเราทำถนน ๔ เลนปุ๊บ ตรงจุดที่ขอท่านประธานไปเพื่อที่จะได้ให้ทาง ท่านรัฐมนตรีให้กรมทางหลวงมาทำอุโมงค์ให้ พอถนนขยายจาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจร จุดที่ผมโดยท่านนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลคุ้งพยอม ก็คือท่านนายก สุวัฒน์ อภิกันตสิริ นายก อบต. คุ้งพยอม แล้วก็ผู้นำขอมา เพราะว่าจุดที่ขอเป็นจุดใหญ่ของตำบล ตำบลนี้ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ฝั่ง ฝั่งทิศเหนือกับทิศใต้ ทีนี้จุดนี้เป็นจุดที่พี่น้องประชาชนข้ามไปมาเยอะ เพราะอยู่หน้าโรงพยาบาล รพ.สต. ด้วย แล้วตรงนั้นก็มีโรงงานอุตสาหกรรมด้วย แล้วก็เป็นเส้นเลียบคลองชลประทานด้วย ถ้าในอนาคต เราทำเป็นถนน ๔ เลน ท่านประธานนึกถึงพอทำ ๔ เลนปุ๊บก็จะมีเกาะกลาง พอมีเกาะกลางปุ๊บ พี่น้องประชาชนเวลาใช้รถอีแต๋น ใช้รถแทรกเตอร์ ท่านรัฐมนตรีก็เป็นผู้แทนอยู่ทางนครพนม พี่น้องชาวนครพนมเขาชื่นชมท่านมาก ถ้าลงพื้นที่ท่านก็เห็นภาพว่าต้องไป U-turn อยู่บนถนน แล้วรถก็มาเร็วนะครับ ทีนี้ตรงนี้การจราจรต้องข้ามไปอย่างเยอะ ก็ขอท่านว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่กรมทางหลวงจะจัดสรรงบประมาณมาทำอุโมงค์ลอดใต้จุดนี้ เพราะว่าจุดนี้ ๒ ฝั่งมันคนละ Step กันอยู่แล้ว มันสามารถที่จะเจาะอุโมงค์ได้โดยใช้งบประมาณไม่เยอะ ไม่ต้องไปนั่งขุดดิน ปรับสภาพภูมิศาสตร์ เพราะว่ามันเป็นทางลาดเอียงอยู่แล้วของเส้นคลองชลประทาน ก็เลย ขออนุญาตถามท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีว่า กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวง จะขอพิจารณาให้ท่านก่อสร้างทางลอดถนนสายดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร จึงขอท่านรัฐมนตรี ได้พิจารณา ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้มาตอบ กระทู้ถามของท่านสมาชิก ต้องขอขอบคุณท่านสมาชิกนะคะ ท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งในเวทีสภาผู้แทนราษฎรทุก ๆ ครั้งที่มีการประชุมสภา ท่านจะนำปัญหาของพี่น้องประชาชนมาเสนอต่อสภาทั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา กระทู้ถาม ทั่วไป แล้วก็กระทู้ถามแยกเฉพาะ ดิฉันขอชื่นชมของความใส่ใจต่อพี่น้องประชาชนนะคะ ในประเด็นคำถามของท่าน ถึงทางหลวงหมาย ๓๒๙๑ เบิกไพร-เตาปูน ซึ่งมีระยะทาง ๒๑.๙๗ กิโลเมตร ที่เริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ ๒๓-๖๒๘ แล้วก็กิโลเมตรที่ ๔๕-๖๐๕ ซึ่งปัจจุบัน ที่บอกว่ามีขนาด ๒ ช่องทาง ๒ ช่องทางที่ไม่มีเกาะกลางแล้วมีผิวจราจร มีผิวทางชนิด Asphaltic Concrete ซึ่งเราก็จะเห็นว่ากรมทางหลวงได้รับงบประมาณเมื่อปี ๒๕๖๖
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ท่านรัฐมนตรีครับ สักครู่นะครับ จะมีการเตรียม Slide ไหม จะได้ให้เวลาสักนิดหนึ่ง
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
จะได้ ให้ท่านสมาชิกได้เห็นภาพด้วยนะคะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ไม่เป็นไรครับ วันนี้เรามีแค่ ๓ กระทู้ เราใช้เวลาได้ เดี๋ยวรอให้มีการขึ้น Slide ประชาชน จะได้เห็นชัดเจนด้วย ในระหว่างรอท่านรัฐมนตรีจะชี้แจงต่อก็ได้ครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ในระหว่าง รอ Slide การก่อสร้างของเส้นทางจาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจร เท่าที่เราเห็นก็จะ ประสบปัญหาใกล้เคียงกัน ๑. เรื่องของปัญหาการเจาะเกาะจุดกลับรถ ในขณะที่ขณะนี้ภาวะ ของสถานการณ์หลายจังหวัดถูกน้ำท่วม ปัญหาในเรื่องของอุทกภัยเรื่องของน้ำท่วม แล้วก็ ทำให้บริเวณสะพานหรือว่าตอม่อขาดก็อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน โดยดิฉัน จะขออนุญาตเปิด Slide แล้วก็ตอบประเด็นคำถามของท่านสมาชิกเรื่องของการเจาะเกาะ ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชน ทางกรมทางหลวงก็ไม่ละเลย เพราะว่า ความต้องการความเจริญจะมาพร้อมกับสิ่งที่ประชาชนหมดไปจากความเคยชินที่เป็นอยู่ จากเคยข้ามถนนแล้วจู่ ๆ ก็มีถนน ๔ เลนมาจะต้องมีที่กลับรถไกลขึ้น ทางกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงก็คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ การก่อสร้างความเจริญเข้ามา ประการหนึ่ง ก็จะต้องไม่ให้พี่น้องประชาชนลำบากในการสัญจรไปมาเช่นเดียวกัน นี่คือเส้นทาง ที่ท่านสมาชิกได้เห็นในงบประมาณ ปี ๒๕๖๖ เราก็ได้รับงบประมาณที่ขยายจาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจร แล้วก็มีเกาะกลางชนิดเกาะยก แล้วก็มีผิวจราจร ชนิด Asphaltic Concrete ในกิโลเมตรที่ ๓๓ + ๕๗๐ แล้วก็กิโลเมตรที่ ๓๗ + ๒๕๐ ซึ่งระยะทางทั้งหมด ๓.๖๘ กิโลเมตร ได้เริ่มก่อสร้างในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ แล้วก็ไป สิ้นสุดสัญญาเอาเมื่อปี ๒๕๖๖ บริเวณจุดที่ท่านสมาชิกที่ขอให้กรมทางหลวงสร้างทางลอด ใต้ทางหลวงเห็นไหมคะ บริเวณดังกล่าวอยู่ที่กิโลเมตรที่ ๓๙ + ๕๐๐ บริเวณที่ตำบลคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จะอยู่ในช่วงที่ขอรับงบประมาณในปี ๒๕๖๗ ขณะนี้เตรียมขอรับงบประมาณ ในปี ๒๕๖๗ ท่านสมาชิกสามารถแจ้งประชาชนได้เลยว่าโครงการนี้จะได้รับการจัดสรร งบประมาณอย่างแน่นอน เราก็จะเร่งรัดให้มีระยะเวลาก่อสร้างให้เร็วที่สุดเพื่อพี่น้อง ประชาชนจะได้ใช้เส้นทางนี้ นี่คือสิ่งที่ผู้แทนราษฎรได้ตระหนัก เราเองก็ตระหนักเช่นเดียวกัน ในภารกิจของกรมทางหลวง จะเป็นการลดอุบัติเหตุให้กับผู้ใช้เส้นทางดังกล่าว ทั้งนี้ข้อเสนอ ของการก่อสร้างจุดกลับรถ เห็นไหมคะบริเวณทางลอด กรมทางหลวงได้ทำการดำเนินการ แล้วสำรวจ ทั้งลักษณะกายภาพของพื้นที่แล้วก็บริเวณดังกล่าวว่าจะสามารถก่อสร้าง ได้หรือไม่ หากมีความเหมาะสมกรมทางหลวงก็จะดำเนินการก่อสร้างตามสภาพ ความต้องการแล้วก็สภาพของพื้นที่ความพร้อม ซึ่งจริง ๆ แล้วกรมทางหลวงก็ตระหนักว่า ความสำคัญของการแก้ไขปัญหาของการจราจรจะต้องตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้รถใช้ถนน ตอบโจทย์ทั้งผู้อยู่อาศัยของพี่น้องประชาขนบริเวณใกล้เคียง นอกจากนั้นจุดที่ท่านสมาชิก ได้พูดเมื่อสักครู่เรื่องของความเดือดร้อนที่จะต้องทำสะพานเบี่ยงก็จะกำชับให้ทางหลวง จังหวัดได้ลงไปดูป้ายบอกสัญญาณว่าขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างสะพานทางเบี่ยง ในขณะที่พี่น้องสัญจรไปมาจะต้องมีป้ายบอกทางที่ชัดเจน มีไฟส่องสว่างที่เป็นสัญญาณเตือน เรื่องนี้ดิฉันขอรับปัญหาของท่านสมาชิก แล้วก็จะกำชับให้ทางกรมทางหลวงจัดการแก้ไข เบื้องต้นแล้วก็เร่งรัดให้มีการก่อสร้างสะพานในขณะที่ตอม่อมันขาดโดยเร็วที่สุด ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ ขอเชิญสมาชิกถามข้อ ๒ ครับ
นายอัครเดช วงศ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอัครเดช วงศ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต อำเภอบ้านโป่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ต้องขอบคุณ ท่านรัฐมนตรีมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นอย่างยิ่งที่ท่านได้ ตอบกระทู้ แล้วก็ได้เห็นความสำคัญถึงความต้องการของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการ ลดอุบัติเหตุให้กับพี่น้องประชาชน โดยสั่งการให้กรมทางหลวงมาศึกษาออกแบบ ผมขออนุญาตทางเจ้าหน้าที่ได้ขึ้น Slide ให้ท่านประธานและท่านรัฐมนตรีได้เห็นว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้เคยมาออกแบบครั้งหนึ่งแล้วกรณีจุดลอดใต้ทาง ซึ่งตรงนี้เป็นแบบที่ ทางเจ้าหน้าที่กรมทางหลวง ศูนย์สร้างทางเคยมาสำรวจแล้วรอบหนึ่ง ก็อยากให้ ทางท่านรัฐมนตรีได้สั่งการให้กรมทางหลวงลงไปศึกษาโดยประสานกับทางศูนย์สร้างทาง ที่กาญจนบุรี เพราะว่าตรงนี้ทางเจ้าหน้าที่ก็ให้ความเห็นเบื้องต้นมาว่าตรงนี้เจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งพยอม แล้วก็เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงได้มีความเห็น ร่วมกันในรูปแบบการก่อสร้างเพื่อลดอุบัติเหตุ แล้วก็เห็นในระดับตำบล ในระดับปฏิบัติการ เขามีความเห็นว่าควรที่จะก่อสร้างเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีความปลอดภัย เพราะว่าจุดนี้ คนสัญจรข้ามฝั่งในแต่ละวันเยอะมาก ถ้าพี่น้องประชาชนต้องขี่มอเตอร์ไซค์ข้าม แล้วถนน ๔ เลน อุบัติเหตุก็เยอะ วันนี้ผมดีใจมากที่กรมทางหลวงมีนโยบายในการทำอุโมงค์ ในถนนเส้นหลัก ถนนเพชรเกษมผมเห็นตอนนี้อุโมงค์เยอะมากเลย ผมคิดว่าทางอีสานก็คง น่าจะมีเพิ่มขึ้น เพราะตั้งแต่มีอุโมงค์ลดการสูญเสียชีวิตของพี่น้องประชาชนไปได้มาก ๆ เลย อย่างอุโมงค์ลอดใต้สะพานเบิกไพรที่แขวงทางหลวงราชบุรีมาทำให้กับพี่น้องชาวบ้านโป่ง ท่านประธานเชื่อไหมครับ ตรงนั้นทุกอาทิตย์ ๔-๕ ราย พอทำอุโมงค์ปุ๊บ ท่านประธานครับ ท่านรัฐมนตรีครับ หายไปเลยอุบัติเหตุ ไม่อย่างนั้นคนอยู่แถวนั้นหลอน วันหนึ่งเดี๋ยว เสียงรถหวอมา ตำรวจมา ตำรวจก็ลดการทำคดีด้วย พี่น้องประชาชนก็ลดการสูญเสีย ชีวิตและทรัพย์สินด้วย กู้ภัยงานลดหมดเลยพอเราทำอุโมงค์ ที่ตอนนี้กำลังขยายจากสะพาน จาก ๒ เลน เป็น ๔ เลนก็คือจุดนี้ที่สะพานทรุด เมื่อก่อนชนกันประจำตรงคอสะพาน เพราะว่ามันเป็นจุดตัดสี่แยก พอทำ U-turn เจาะใต้อุโมงค์มาปุ๊บอุบัติเหตุลด ตรงนี้ ก็เหมือนกันถ้าเราปล่อยให้พี่น้องประชาชนข้ามทางเสมอระดับอุบัติเหตุเยอะแน่นอน แต่ถ้าทำอุโมงค์เหมือนกับที่ราชบุรีตรงหน้าวัดจันทารามตรงนั้นที่ตำบลหนองอ้ออุบัติเหตุ ลดลงได้มาก ก็อยากให้ทางท่านรัฐมนตรีได้ช่วยผลักดันด้วยตรงจุดนี้ ซึ่งทางหน้างานได้มี การออกแบบการก่อสร้างและก็สำรวจ แล้วก็ทำประชาคมเรียบร้อยแล้ว
นายอัครเดช วงศ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
มีอีกเรื่องหนึ่งครับ ท่านประธานครับ ฝากไปทางท่านรัฐมนตรีว่าที่ท่านได้ ชี้แจงว่าตอนนี้ได้กำลังก่อสร้าง Phase แรกตอนนี้ได้ปูลาดยางแล้ว ผมได้รับการร้องเรียน จากพี่น้องประชาชนว่าลาดยางที่ลาดไปมันเป็นคลื่น ผมก็เลยประสานกับทาง ผอ. ศูนย์สร้าง ทางจังหวัดกาญจนบุรีซึ่งเป็นเจ้าของโครงการนี้ว่าการลาดยางพี่น้องประชาชนร้องเรียนมา ว่าไม่ได้มาตรฐาน ก็ขอให้ทางท่านรัฐมนตรีได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบการก่อสร้าง เพราะว่าการก่อสร้างพี่น้องประชาชนก็รอคอยมานาน ในเมื่อสร้างแล้วก็อยากจะได้ถนนที่ดี มีคุณภาพ แต่ตอนนี้ร้องเรียนกันมาว่าปูลาดยางเสร็จ ผมก็ไปลองวิ่งเองคุณภาพมันก็ ไม่ผ่านเกณฑ์จริง ๆ ก็เลยขออนุญาตท่านรัฐมนตรีได้กำชับหน่วยงานที่รับผิดชอบลงไป ตรวจสอบด้วยครับ ขอบคุณท่านประธาน ท่านรัฐมนตรีครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
ขอบคุณ ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จากคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิกเป็นเรื่องที่ฝาก โดยเฉพาะเรื่องของนำเรียนว่าโครงการอุโมงค์ กรมทางหลวงได้ทดสอบ ได้ทดลองมาหลายที่ ที่เราได้ดำเนินการก่อสร้างปรากฏว่าเราลด อุบัติเหตุได้เยอะมาก เพราะว่าเรามาทำสถิติว่าหลังจากอุโมงค์แต่ละจุด ๆ ๑. ลดอุบัติเหตุ ๒. พี่น้องประชาชนได้ทราบว่าตรงนี้มีอุโมงค์ผู้ขับขี่ไปมาก็ลดความเร็วลง ซึ่งสิ่งนี้จะเป็น สิ่งที่ทางกรมทางหลวงเน้นย้ำว่าจุดไหนเป็นจุดบริเวณสี่แยกที่ไม่มีปัญหา แทนที่จะเจาะเกาะ แล้วข้ามมาใช้การขุดอุโมงค์แทน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในโครงการที่กรมทางหลวงได้กระจายไปสู่ ทุกพื้นที่แล้วก็ได้ให้นโยบายเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เรื่องของลาดยางเป็นคลื่นไม่ได้มาตรฐาน นี่คือการที่เรามีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรคอยตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ สิ่งที่ผู้แทนราษฎรได้เห็นกับตา ได้ฟังกับหู เราก็เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาช่วยกันตรวจสอบการทำงานภาครัฐให้โปร่งใส และให้ผลงานที่ดีเป็นที่ประจักษ์ต่อพี่น้องประชาชน เพราะว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ ล้วนมาจากภาษีของพวกเราทุกคน ต้องขอบคุณท่านสมาชิกนะคะ ดิฉันจะนำปัญหาเหล่านี้ กำชับให้หน่วยงานของกรมทางหลวงได้ลงไปกำชับดูแลผู้รับเหมาให้ทำงานให้ได้มาตรฐาน แล้วก็ท่านมีอะไรท่านแจ้งมาเลยนะคะ นอกจากว่าท่านจะตั้งกระทู้ถามแล้ว ดิฉันมี เบอร์โทรศัพท์ติดต่อโดยตรงดิฉันจะได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานของกระทรวง คมนาคมให้สอดส่องดูแลให้การก่อสร้างให้ได้มาตรฐานแล้วก็เป็นประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้อง ประชาชน ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับท่านรัฐมนตรี ก็เป็นอันเสร็จสิ้นของกระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๐๒๓ ขอบคุณ ท่านผู้ถามแล้วก็รัฐมนตรีนะครับ ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๐๒๐ เรื่อง ปัญหาการผูกขาดการให้บริการแท็กซี่ ภายในสนามบินจังหวัดภูเก็ต ได้มีหนังสือแจ้งขอถอนกระทู้ถามแยกเฉพาะเรื่องนี้ออก
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๐๒๔ เรื่อง การจัดสรรงบประมาณเพื่อการจัด การศึกษาแก่โรงเรียนพระปริยัติธรรมและปัญหาความล่าช้าในการดำเนินงานของ งบประมาณงบกลาง เพื่อเป็นค่าตอบแทนรายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่การศึกษาพระปริยัติธรรม ของท่านปวิตรา จิตตกิจ ถาม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งว่ารัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี ท่านพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ติดภารกิจสำคัญไม่สามารถมาตอบ กระทู้ถามได้ในวันนี้ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามออกไปเป็นวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๐๒๕ เรื่อง แนวทางในการแก้ไขปัญหาสิทธิบัตรทอง จำนวนคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นในกรุงเทพมหานครและศูนย์ให้บริการ ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่เพียงพอต่อการใช้บริการของประชาชนอย่างครอบคลุม เป็นกระทู้ ของท่านปวิตรา จิตตกิจ ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือแจ้งว่า ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ติดภารกิจสำคัญไม่สามารถมาตอบกระทู้ถามได้ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามออกไป วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ สำหรับวาระเรื่องการถามกระทู้วันนี้มีเพียงเท่านี้ จบการพิจารณากระทู้ถามแยกเฉพาะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านสมาชิกครับ เนื่องจากในการประชุมเมื่อวานนี้ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนระเบียบวาระ การประชุม โดยนำร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามระเบียบวาระที่ ๖.๑ และ ๖.๒ ขึ้นมาพิจารณาภายหลังจบระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ดังนั้นผมขอดำเนินการ ตามที่ประชุมมีมติเมื่อวานนี้นะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องที่เสนอใหม่
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๖.๑ ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... (นายอรรถกร ศิริลัทธยากร เป็นผู้เสนอ)
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๘๖ วรรคหนึ่ง ซึ่งการพิจารณาข้อบังคับ ข้อ ๑๘๖ วรรคสอง กำหนดให้นำข้อบังคับว่าด้วยการเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ มาใช้บังคับโดยอนุโลม รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ได้วางไว้ให้ท่านสมาชิก ได้ตรวจสอบแล้วนะครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เนื่องจากมีร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรอีกฉบับหนึ่งคือ ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (นายพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นผู้เสนอ) ผมเห็นว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ข้อ ๙๐ ซึ่งเป็นเรื่องทำนองเดียวกัน สามารถรวมระเบียบวาระการประชุมเพื่อนำมาพิจารณาพร้อมกันได้ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๕ (๒) และลงมติทั้งหมดรวมกันตามข้อบังคับ ข้อ ๑๑๗ วรรคสาม จะมีสมาชิกท่านใด เห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มี ถือว่าที่ประชุมเห็นชอบ ผมขอดำเนินการตามนี้ เชิญผู้เสนอ แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ เชิญท่านอรรถกร ศิริลัทธยากร เป็นผู้เสนอท่านแรกครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.จากจังหวัดฉะเชิงเทรา เขตเลือกตั้งที่ ๒ พรรคพลังประชารัฐ วันนี้ขอบพระคุณท่านประธานและที่ประชุมเมื่อวานนี้ ได้กรุณาให้ผมมีโอกาสเปลี่ยนระเบียบวาระและเลื่อนการขอเสนอร่างข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎรแก้ไขฉบับนี้ต่อท่านประธานไปยังเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครับ ก่อนอื่นลำดับแรกผมขออนุญาตอ่านหลักการและเหตุผลที่ผมได้ยื่นเป็นเอกสาร ต่อสภาผู้แทนราษฎรไป โดยบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่..) พ.ศ. ..... โดยหลักการดังนี้
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
หลักการ แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ดังต่อไปนี้
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติเป็น คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม เป็นคณะกรรมาธิการการบริหารจัดการน้ำ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เหตุผล โดยที่คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติมีหน้าที่ และอำนาจที่เกี่ยวเนื่องกับคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ และคณะกรรมาธิการ แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม มีหน้าที่และอำนาจที่เกี่ยวเนื่องกับคณะกรรมาธิการ การเกษตรและสหกรณ์ ทั้งมีหน้าที่และอำนาจที่ซ้ำซ้อนกันในบางส่วน จึงเห็นควรเปลี่ยนชื่อ และหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติเป็นคณะกรรมาธิการ แก้ไขปัญหาหนี้สิน ความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมศึกษาหาแหล่งรายได้เพิ่มเติม ให้กับประเทศและประชาชน และเปลี่ยนชื่อและหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการ แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรมเป็นคณะกรรมาธิการการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไข ปัญหาและพัฒนาระบบน้ำ ตลอดจนการส่งเสริม ดูแล บำรุงรักษาและแก้ไขผลกระทบทางน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราข้อบังคับนี้
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เมื่อสักครู่นี้ผมได้นำเรียนหลักการและเหตุผลไปแล้ว ผมขออนุญาตอภิปราย เป็นข้อมูลเพิ่มเติมว่าเหตุใด ผมจึงขอเสนอแก้ไขข้อบังคับในคราวนี้
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ลำดับแรก ด้วยความเคารพจริง ๆ ครับ ผมต้องขอขอบพระคุณความใจกว้าง และความหวังดีของท่านประธานพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน จากพรรคเพื่อไทย ซึ่งถ้าเราจำกันได้ ในขณะนั้นมีการคณะแบ่งกรรมาธิการกันโดยท่านพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เป็นประธาน ในที่ประชุม ผมเป็น ๑ คนที่ได้เสนอต่อที่ประชุมว่าขณะนี้มีเสียงเพื่อนสมาชิกเขาได้พูดถึง เรื่องคณะกรรมาธิการที่เขาอยากจะเปลี่ยน และขณะนั้นในที่ประชุมตัวแทนของ พรรคการเมืองแต่ละพรรคเราก็เห็นตรงกันว่าของเดิมต้องเรียนว่า ๒ คณะเดิมที่ผมจะเปลี่ยน มีเจตนารมณ์ที่ดี มีความตั้งใจที่จะทำงานแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนอยู่แล้ว แต่ขณะนี้เวลาเปลี่ยนไปเราสามารถเสนอคณะกรรมาธิการที่สามารถทำงานได้กว้างขวาง กว่าเดิม เราสามารถเสนอคณะกรรมาธิการที่สามารถตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาให้กับ พี่น้องประชาชนได้มากกว่าเดิม ซึ่งก็เข้าใจว่าท่านประธานพิเชษฐ์ก็อยากจะแก้ไขปัญหา ให้กับพี่น้องประชาชน และอยากให้คณะกรรมาธิการทุกคณะทั้งหมด ๓๕ คณะที่เป็น คณะกรรมาธิการสามัญในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้เป็นคณะกรรมาธิการที่สามารถทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพและเท่าทันต่อสถานการณ์โลกในปัจจุบัน ขอบพระคุณท่านด้วย ความจริงใจครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ นอกจากนี้แล้วต้องเรียนว่าก่อนที่ผมจะมีโอกาส ได้เสนอแก้ไขร่างฉบับนี้ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนพรรคการเมืองซึ่งวันนี้เรียก ง่าย ๆ ว่าเป็น Whip ของแต่ละพรรค ไม่ว่าจะเป็น Whip ของพรรคร่วมรัฐบาลหรือว่า Whip ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน เราก็พูดคุยกันและเห็นค่อนข้างจะตรงกันว่าวันนี้มันถึงเวลาแล้วที่เรา ควรจะแก้ไขข้อบังคับในหมวดที่เกี่ยวกับกรรมาธิการ แต่การยกร่างทั้งฉบับอาจจะยังต้อง อาศัยเวลาและคงจะไปยกร่างแก้ไขต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ ท่านประธานที่เคารพครับ ผมขออนุญาตอภิปรายถึงหมวด ๕ หมวดคณะกรรมาธิการ ข้อ ๙๐ (๖) และ (๒๙) ซึ่งผมขออนุญาตในข้อบังคับที่ผมเสนอแก้ไขข้อบังคับ ข้อ ๙๐ (๖) จะขอเปลี่ยนให้ใช้ ข้อความดังต่อไปนี้ครับ คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ความยากจนและลด ความเหลื่อมล้ำ มีหน้าที่และอำนาจกระทำกิจการพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษา เรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ความยากจน โอกาส สิทธิของประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนศึกษาแหล่งรายได้เพิ่มเติมให้กับประเทศ และประชาชนเพื่อให้เข้าถึงแหล่งรายได้ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงพิจารณา ศึกษาติดตามข้อเสนอแนะแหล่งรายได้รูปแบบใหม่ ๆ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ของประเทศ ท่านประธานครับ จากของเดิมคณะกรรมาธิการชุดนี้เป็นคณะกรรมาธิการ ที่ใช้ชื่อว่าคณะกรรมาธิการการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ ถ้าเราดูกรอบแล้วสิ่งที่ผม เสนอใหม่ การแก้ไขหนี้สินแห่งชาติก็จะเป็นฟังก์ชันหนึ่งในคณะกรรมาธิการที่ผมเสนอใหม่นี้ แต่กรอบของคณะกรรมาธิการคณะนี้จะกว้างขึ้นอย่างมหาศาล กรรมาธิการทั้งหมด ๑๕ ท่าน ที่อยู่ในคณะนี้จะสามารถทำงานในมิติใหม่ ๆ ขึ้นได้ ไม่ต้องทำงานในเชิงรับอย่างเดียว เราสามารถทำงานทั้งเชิงรุกและเชิงรับได้ในเวลาเดียวกันนะครับ นั่นคือคณะกรรมาธิการ คณะที่ ๑ ข้อ ๙๐ (๖) ที่ผมนำเสนอต่อท่านประธานไปยังเพื่อนสมาชิกครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ส่วนประเด็นที่ ๒ ผมก็เสนอแก้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๙๐ (๒๙) จากเดิมเป็นเรื่องของคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม ผมขอเสนอแก้ไขเป็นคณะกรรมาธิการการบริหารจัดการน้ำ มีหน้าที่และอำนาจกระทำ กิจการพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและพัฒนา ระบบน้ำ ตลอดจนการส่งเสริม ดูแล บำรุงรักษา และการแก้ไขผลกระทบทางน้ำเพื่อการอุปโภค และบริโภค ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเรียนว่าขณะนี้กรรมาธิการสามัญสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง ๓๕ คณะ ไม่มีคณะไหนเลยที่ระบุไปอย่างชัดเจนว่าจะทำเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำของประเทศไทย แต่ประเทศไทยของเราพี่น้องประชาชนทั้งภาคอุตสาหกรรม ทั้งภาคเกษตรกรรม หรือแม้แต่ กระทั่งการเป็นอยู่เราจำเป็นต้องใช้น้ำ และขณะนี้ท่านประธานก็ทราบมีญัตติด่วนตั้งแต่ เริ่มเปิดสภาของเรามามีเรื่องน้ำแล้ง เมื่อวานเป็นเรื่องน้ำท่วม ดังนั้นสิ่งที่ผมเสนอแก้ คณะกรรมาธิการชุดนี้ผมคิดว่ามันจะตอบโจทย์ให้กับพี่น้องประชาชน ตอบโจทย์ให้กับ คนทำงานอย่างพวกเรา ๕๐๐ คนที่จะสามารถเสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหาน้ำ อย่างเป็นระบบได้ผ่านคณะกรรมาธิการ และนำเสนอให้ท่านประธาน และให้ที่ประชุม พิจารณาสืบไป ภารกิจที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ต่อพี่น้องเกษตรกร ต่าง ๆ อย่างที่ผมเรียนไปก่อนหน้านี้ไม่มี และผมทราบมาว่าบุคคลที่เข้าไปทำหน้าที่ ในคณะกรรมาธิการเขาก็รอครับ รอที่จะได้ทำงานนี้เพื่อที่จะให้เกิดมรรคผล ให้เป็น ผลประโยชน์กับพี่น้องประชาชนต่อไป ผมต้องขอบพระคุณท่านประธาน ทั้งท่านพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ด้วยความหวังดี ด้วยความกรุณา นอกจากนี้ต้องขอบคุณท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรท่านวันมูหะมัดนอร์ มะทา ซึ่งผมได้ปรึกษาท่านในเรื่องนี้ท่านก็สนับสนุน และขอบพระคุณเพื่อนสมาชิกทุก ๆ ท่านที่วันนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเราทุก ๆ คน จะรับหลักการร่างแก้ไขของผมและเพื่อนสมาชิกในการตั้งคณะกรรมาธิการต่อไปครับ กราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านพริษฐ์ วัชรสินธุ ครับ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม พริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตใช้เวลาไม่นานในการอภิปรายเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะขอเริ่มด้วยการชี้แจงก่อนว่าตัวกระผมเอง แล้วก็พรรคก้าวไกลนั้นเราได้ทำการยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมสภา ๒ ฉบับ ฉบับที่ ๑ เป็นฉบับที่ผมเรียกว่าเป็นการแก้ใหญ่ เป็นการแก้หลายข้อเพื่อทำให้การทำงาน ของสภาผู้แทนราษฎรนั้นมีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใสมากขึ้น ส่วนฉบับที่ ๒ เป็นร่างที่ผมขอเรียกว่าเป็นร่างแก้เล็ก คือแก้แค่ ๑ ข้อเกี่ยวกับชื่อแล้วก็อำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมาธิการสามัญ เพื่อเข้าใจตรงกันนะครับ ร่างที่ผมจะเสนอในวันนี้และถูก พิจารณาในระเบียบวาระวันนี้เป็นร่างแค่ฉบับเดียวคือฉบับที่ ๒ ฉบับแก้เล็ก ร่างดังกล่าว ที่เรากำลังอภิปรายกันอยู่ตอนนี้เป็นการแก้ไขแค่ ๑ ข้อ ของข้อบังคับการประชุมสภาที่เรา ใช้กันอยู่ก็คือข้อ ๙๐ (๒๘) โดยเป็นการปรับชื่อและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ให้ครอบคลุมถึงด้านอุดมศึกษาไปด้วย ดังนั้นหากจะสรุปโดยสังเขปในส่วนชื่อของคณะกรรมาธิการก็จะเปลี่ยนจากเดิมที่มีชื่อว่า คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม กลายเป็นคณะกรรมาธิการ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เช่นเดียวกันในส่วนของอำนาจ หน้าที่ก็จะปรับจากเดิมที่คณะกรรมาธิการชุดนี้จะมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาสอบหา ข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการวางแผน การส่งเสริม และการพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา สอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการวางแผน การส่งเสริม และการพัฒนา ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ท่านประธานครับ เหตุผล ในการแก้ไขดังกล่าวนั้นมีเพียงแค่ ๒ เหตุผลสั้น ๆ ครับ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุผลที่ ๑ การบูรณาการภารกิจด้านอุดมศึกษาเข้ากับภารกิจด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมน่าจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศนั้นมีเอกภาพมากขึ้น อีกมุมหนึ่งครับ ยิ่งสถาบันอุดมศึกษาและอาจารย์ในสถาบันแห่งนั้นมีการทำงานวิจัยที่ล้ำหน้าในสาขาต่าง ๆ ก็ย่อมจะทำให้สถาบันอุดมศึกษานั้นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพมากขึ้นสำหรับนักศึกษา และในอีกมุมหนึ่งครับ หากเราต้องการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เราก็ต้องมีสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพในการผลิตบุคลากรที่มีทักษะในการสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ ๆ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เหตุผลที่ ๒ การปรับชื่อและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการดังกล่าว ก็จะสอดคล้องกับการปรับชื่อและอำนาจหน้าที่ของกระทรวงที่มีความเชื่อมโยงกับ คณะกรรมาธิการดังกล่าว ในเมื่อกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเดิมนั้นได้ขยายภารกิจ มาเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เมื่อปี ๒๕๖๒ การปรับชื่อและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมนั้นให้ครอบคลุมถึงเรื่องอุดมศึกษาด้วยก็น่าจะเป็นแนวทางที่สอดรับกัน ตัวอย่างหนึ่งที่เราเห็นก่อนหน้านี้ก็คือตอนที่มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมขึ้นมาในปี ๒๕๕๙ ชื่อและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องนั้น ก็ถูกปรับครับ จากคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคมมาเป็นคณะกรรมาธิการ การสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในปี ๒๕๖๒ ดังนั้น ด้วย ๒ เหตุผลนี้ผมก็หวังว่าเพื่อน ๆ สมาชิกจะพร้อมสนับสนุนร่างแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ เพื่อให้สภาเรานั้นมีคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ มีผู้อภิปราย ๑ ท่าน ท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม เชิญครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านประธาน ที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทองครับ ผมขออนุญาตที่จะมีส่วนร่วมในการอภิปรายขั้นรับหลักการ ของร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ทั้งฉบับของคุณอรรถกร ศิริลัทธยากร แล้วก็คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ท่านประธานครับ ผมคิดว่าในการอภิปรายในขั้น รับหลักการนั้นจำเป็นที่จะต้องมีทั้งประเด็นที่เป็นข้อซักถามต่อสิ่งที่เสนอเป็นหลักการ ข้อสังเกต หรือข้อเสนอแนะ ตลอดจนความเข้าใจต่าง ๆ ว่าสิ่งที่ท่านกำลังจะแก้ไขนั้น ท่านสามารถตอบคำถามเหล่านี้ที่จะเป็นคำถามที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนสมาชิกและพี่น้อง ประชาชนได้หรือไม่ ฉะนั้นการรับหลักการก็คงจะไม่สมบูรณ์แต่ประการใดครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ ผมคิดว่าจำเป็นต้องอธิบายให้เพื่อนสมาชิกได้เห็นว่าในหลักการ ของการแก้ไขร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ๒ ฉบับนั้นมีหลักการที่ทั้งเหมือนกัน และมีข้อที่แตกต่างกันครับ ร่างของท่านอรรถกรนั้นเน้นประเด็นเรื่องการแก้ไขอยู่แต่เพียง ๒ เรื่อง เป็นการแก้ไขอย่างจำเพาะเจาะจง หลักการเขียนชัดเจนว่าเป็นการแก้ไขข้อบังคับ ในข้อ ๙๐ (๖) และข้อ ๙๐ (๒๙) แต่กรณีของคุณพริษฐ์นั้นเป็นการเปิดกว้างครับ บอกว่า เป็นการแก้ไขข้อบังคับซึ่งอาจจะมีข้อที่ตกหล่น บกพร่อง หรือจำเป็นต้องทำให้สมบูรณ์ขึ้น โดยไม่ได้ระบุแต่เพียงว่าจะเป็นการแก้ไขในข้อใดข้อหนึ่ง ถึงแม้ในเนื้อหานั้นจะเป็นการแก้ไข ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการเพียง ๑ คณะก็แล้วแต่ นั่นเป็น ประเด็นที่ ๑ ที่จำเป็นต้องชี้ให้เห็นครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ เป็นประเด็นที่ผมคิดว่าด้วยเหตุที่มีหลักการแตกต่างนั้นก็จำเป็น ต้องถามรายละเอียดว่าที่มาที่ไปของการเสนอแก้ไขนั้นเป็นอย่างไร กรณีร่างของท่านพริษฐ์ ผมคิดว่าชัดเจนตรงไปตรงมาว่าการแก้ไขครั้งนี้เป็นการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับ ราชการของกระทรวง ทบวง กรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งในขณะที่เรามีการพิจารณายกร่างข้อบังคับนั้น ชื่อของกระทรวงอาจจะไม่สอดคล้องกับคณะกรรมาธิการ ตลอดจนอำนาจหน้าที่ในปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นอันนี้ไม่มีปัญหาแต่ประการใด แต่สิ่งที่เป็นกรณีการแก้ไข ของท่านอรรถกร เช่น กรณีของคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ และกรณี ของคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำที่ท่านเสนอนั้น ผมก็ต้องถามว่า ประเด็นในเชิงการศึกษาวิจัย ประเด็นในเชิงหลักที่เรียกว่าพยานหลักฐานหรือ Evidence Based ที่จะนำมาสู่การแก้ไขนั้นท่านใช้เกณฑ์แบบใด อย่างไร เรามีคณะกรรมาธิการทั้งหมด ๓๕ คณะ แน่นอนมันต้องมีคำถามคำตอบในตัวว่าเพราะเหตุใดหรือทำไมเราถึงเลือกที่จะ แก้ไขแต่เพียง ๒ ฉบับนี้ ต้องมีคำถามในตัวว่าการแก้ไขปัญหาหนี้สินนั้น เพราะมันมี พยานหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าสิ่งที่เขียนอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหา ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ แต่ผมไม่ได้เห็นในการแถลงของท่านอรรถกร ก็มีคำตอบ ที่บอกว่าการเปลี่ยนชื่อคณะกรรมาธิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคณะที่ ๒๙ ซึ่งแต่เดิมพูดถึง ปัญหาราคาพืชผลเกษตรกรรมมาเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำนั้น Evidence Based มันคืออะไร มีหลักประกันใช่หรือไม่ว่าต่อไปนี้ประเด็นเรื่องของราคาพืชผลเกษตรกรรมนั้น จะอยู่ในคณะกรรมาธิการสามัญคณะใด และมีหลักประกันต่อพี่น้องเกษตรกรทั้งประเทศ ใช่ไหมว่าปัญหาราคาพืชผลเกษตรกรรมที่ตกต่ำลงนั้นพวกเขาจะไม่ถูกละเลยแบบอดีต ที่ผ่านมา นั่นเป็นประการที่ ๒ ที่ผมต้องถามในเชิงหลักการครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ ที่ท่านพยายามจะชี้ให้เห็นว่าการแก้ไขครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาหนี้สินแห่งชาตินั้น เพราะมีความทับซ้อนกับกรรมาธิการ สามัญที่มีอยู่ เช่นกรณีของคณะกรรมาธิการสามัญที่พูดถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งในสมัยที่แล้ว เพื่อนสมาชิกของผมก็เป็นประธานคณะกรรมาธิการคณะนั้น ฉะนั้นความทับซ้อนตรงนี้มันอยู่ ตรงไหนครับ และในเมื่อวันนี้บอกว่าทับซ้อน ชี้มาชัด ๆ ได้ไหมว่าสิ่งที่ถูกถอดออกจาก การแก้ไขปัญหาหนี้สินที่บอกว่าทับซ้อนนั้น กรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจท่านรับลูก แน่นอนจะเอาเรื่องนี้ไป เพราะตอนที่แก้ปัญหาหนี้สินระบุชัดเจนมีระดับครัวเรือน มีระดับ ชุมชน มีระดับพื้นที่ มีระดับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ และระดับระหว่างประเทศ วันนี้ คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจท่านรับเรื่องนี้ใช่ไหม เพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกล เป็นประธานคนใหม่ ท่านรับแน่ ๆ ใช่ไหม ปัญหาหนี้สินของพี่น้องครู ปัญหาหนี้สินของพี่น้อง เกษตรกร ปัญหาหนี้สินของข้าราชการต่าง ๆ หนี้สินของประชาชน ไม่ตกหล่นแล้ว อะไร คือความทับซ้อนที่ท่านพยายามจะชี้ให้เห็นแล้วไม่หลุดหายไปในการแก้ไขข้อบังคับครั้งนี้ นั่นเป็นประการที่ ๓ ครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๔ ในเชิงรายละเอียดของทั้ง ๒ ร่าง ร่างแก้ไขของท่านอรรถกร โดยเฉพาะกรณีของหนี้สินมันมีคำหลายคำที่ผมอ่านแล้วยังขาดความเข้าใจ เช่นเพื่อลด ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมันอยู่ตรงไหน ตกลง ความเหลื่อมล้ำในประเทศนี้เป็นเพราะถูกกำหนดโดยการจัดการของรัฐ ถูกกำหนดโดย เอกชน เป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมแล้วนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจ หรือเป็นความเหลื่อมล้ำ ทั้งหมดทั้งมวล เศรษฐกิจก็ต้องรวมอยู่ด้วยครับ ถ้าข้อความไม่ครบถ้วนผมจะมั่นใจ ได้อย่างไรว่าเมื่อมีการแก้ไขแล้วความเหลื่อมล้ำที่พูดถึงนั้นจะกินความไปถึงประเด็น ทางเศรษฐกิจด้วย ตอนท้ายยิ่งแล้วใหญ่เลยนะครับ ตอนท้ายในร่างการแก้ไขข้อบังคับ ในข้อ ๓ (๖) ท่านบอกว่าเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ผมไม่แน่ใจว่า ท่านหมายความว่าคำนี้ขยายคำไหน เป็นการขยายคำว่าแหล่งรายได้ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือการศึกษาติดตามต่าง ๆ ท่านอ่านดูในร่างนะครับ แต่ผมไม่เห็นเรื่องความเป็นธรรม ผมไม่เห็นเรื่องหลักประกันว่าพี่น้องประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของปัญหาที่แท้จริงในเรื่องหนี้สิน ความยากจน ความเหลื่อมล้ำจะอยู่ตรงไหนในสมการ ไม่ใช่แต่เพียงว่าความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของประเทศ วันนี้ยังไม่ต้องพูดก็ได้ครับ เอารับหลักการไปก่อนก็ได้ แต่ผมคิดว่า ถ้ารับหลักการไป มีการตั้งคณะกรรมาธิการ คำเหล่านี้ต้องถูกพิจารณาหรือต้องบันทึก เจตนารมณ์ไว้ว่าการแก้ไขครั้งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์และความเป็นธรรมต่อพี่น้องประชาชน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศตามมาครับ นั่นเป็นผลพลอยได้จากความมั่นคง ของมนุษย์ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่กว่า
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๕ ในขณะเดียวกัน (๒๙) ของข้อ ๙๐ ที่พูดถึงเรื่องการบริหาร จัดการน้ำ ผมก็พยายามอ่านว่าเราพูดถึงการแก้ไขผลกระทบทางน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ขอเวลาท่านประธานนิดหนึ่งอภิปรายท่านเดียวเอง เพื่อการอุปโภคบริโภคครับ แต่ประเด็น ที่เราพูดกันทั้งวันเมื่อวานเช่นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยอยู่ตรงไหนครับ ถ้าจะบอกว่า อยู่ในการแก้ไขในคณะกรรมาธิการสามัญที่เรียกว่า ปภ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ท่านก็อาจจะพูดได้ แต่ผมคิดว่าในเมื่อเราพูดถึงการบริหารจัดการน้ำท่านใช้คำเองว่า แบบทั้งระบบครบวงจร แต่ท่านเขียนตอนท้ายแต่เพียงการแก้ไขผลกระทบทางน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค แล้วน้ำเค็มเอาไหมครับ เดินเรือเอาไหมครับ พี่น้องชาวอ่างทอง ที่วันนี้น้ำท่วมอยู่ที่ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก ตำบลพระงาม อำเภอพรหมบุรี จังหวัด สิงห์บุรี ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล เอาไหมครับ ในร่างแก้ไขผมคิดว่าถ้าจำเป็นต้องบันทึกแล้วเขียนให้ถึง นั่นเป็นประการที่ ๕
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๖ สิ่งที่ควรจะทบทวนมากที่สุดไม่ใช่การทบทวนแต่เพียง คณะกรรมาธิการ ๓ คณะ ร่างของคุณพริษฐ์พูดถึงการทบทวนแก้ไขข้อบังคับทั้งหมด ผมคิดว่าหากมีการรับหลักการและคณะกรรมาธิการที่จะมีการตั้งจะกรุณา ท่านช่วย ตั้งข้อสังเกตหรือพิจารณาทบทวนเผื่อในอนาคตได้ไหมครับ ผมยกตัวอย่างแค่คณะเดียวก็คือ กรณีของคณะกรรมาธิการที่ว่าด้วยกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซ้อมท่องชื่อไว้ก่อนองค์ประกอบมันเยอะ พอดีไปนั่งอยู่ใน คณะนั้น ๗ องค์ประกอบด้วยกันครับ ผมไม่แยกหรอกความหลากหลายทางเพศ แต่ผม เคยศึกษาแล้วเสนองานวิจัยต่อสถาบันพระปกเกล้า แล้วผมก็บอกว่าในหลายประเทศนั้น เขาเน้นว่าประเด็นเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศหรือ Gender Equality เป็นเรื่องสำคัญ ระหว่างเพศไม่ได้แค่ชายและหญิง ระหว่างเพศไม่ใช่แค่คู่ใดคู่หนึ่ง ระหว่างเพศไม่ใช่แค่คน สองเพศเท่านั้น แต่กำลังจะพูดถึงทุกคน และมันมีตัวชี้วัดระหว่างประเทศเยอะแยะไปหมดเลยครับ ผมคิดว่าต้องถึงเวลาสักที ที่ประเทศไทยอาจจำเป็นต้องพูดถึงการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญที่ติดตามประเด็นเรื่องของ ความเสมอภาคระหว่างเพศ วันนี้อาจจะยังไม่สามารถที่พูดถึงได้ แต่ผมคิดว่าในการรับหลักการ และการเขียนรายงานท่านอาจสามารถตั้งข้อสังเกตได้ หรือมีการทบทวนกันในอนาคตว่า จะมีการแก้ไขอย่างไร ฉะนั้นในภาพรวมผมคิดว่าแน่นอนการแก้ครั้งนี้เป็นการแก้เล็กน้อย เพื่อตอบโจทย์ต่อการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ผมไม่ติดใจ เพียงแต่ตั้งคำถามบางประการ และตั้งข้อสังเกตบางประการ ซึ่งหากมีการตั้งคณะกรรมาธิการต่อก็อยากให้คณะกรรมาธิการ ได้รับประเด็นเหล่านี้ไปพิจารณาต่อครับ ผมรับหลักการการแก้ไขข้อบังคับทั้ง ๒ ฉบับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ตามข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ผู้เสนอมีสิทธิที่จะอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะลงมตินะครับ ท่านผู้เสนอจะสรุปไหม ไม่มีนะครับ ท่านผู้เสนอไม่สรุป ก่อนลงมติผมขอตรวจสอบ องค์ประชุมนะครับ เชิญท่านสมาชิกเข้าห้องประชุมครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานด้วยความเคารพครับ อันนี้แสดงตนได้เลยไหมครับ พอดีบัตรใหม่ไม่มั่นใจครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
แสดงตนเลยครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
OK ครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เดี๋ยวรอครับ
นางสาวรักชนก ศรีนอก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ดิฉัน รักชนก ศรีนอก ๒๙๘ แสดงตนค่ะ
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ๔๙๘ แสดงตนครับ
นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ปิยรัฐ จงเทพ ๒๒๘ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๒๘ แสดงตนครับ
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ดิฉัน กิตติ์ธัญญา วาจาดี ๐๒๒ รายงานตัวค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๐๒๒ แสดงตนครับ
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี นครราชสีมา ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ พลพีร์ สุวรรณฉวี ๒๔๓ รายงานตัวครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๔๓ รายงานตัวครับ
นายกาญจน์ ตั้งปอง ตรัง ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ กาญจน์ ตั้งปอง ๐๑๖ แสดงตนครับ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ฐิติมา ฉายแสง ๑๑๘ แสดงตนค่ะ
นายบุญแก้ว สมวงศ์ ยโสธร ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม บุญแก้ว สมวงศ์ ๑๙๕ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑๙๕ แสดงตน ท่านฐิติมา ฉายแสง ด้วยนะครับ
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ยอดชาย ๒๙๐ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๙๐ แสดงตนครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ธีระชัย แสนแก้ว ๑๗๒ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑๗๒ แสดงตนครับ
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ๒๑๕ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๑๕ แสดงตนครับ
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๐๙๐ ชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๐๙๐ แสดงตนครับ
นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ลพบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ๒๘๕ แสดงตนครับ
นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ บุญเลิศ แสงพันธุ์ ๑๙๘ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑๙๘ แสดงตนครับ
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๔๕๐ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๕๐ แสดงตนครับ
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ รำพูล ตันติวณิชชานนท์ ๓๐๗ แสดงตนค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๓๐๗ นะครับ
นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม สรวีย์ ศุภปณิตา ๔๐๒ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๐๒ แสดงตนครับ
นางสุภาพร สลับศรี ยโสธร ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ สุภาพร สลับศรี ๔๓๘ แสดงตนค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๓๘ แสดงตนครับ
นางอวยพรศรี เชาวลิต นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ๔๘๓ อวยพรศรี เชาวลิต แสดงตนค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๘๓ แสดงตนครับ
นายสุทธิชัย จรูญเนตร อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๔๒๙ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๒๙ แสดงตนครับ
นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๔๔๐ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๔๐ แสดงตนครับ
นายชูกัน กุลวงษา นครพนม ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๐๙๗ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๐๙๗ ครับ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ๑๗๑ ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ แสดงตนค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑๗๑ แสดงตนครับ
นายภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๒๗๓ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๗๓ แสดงตนครับ
นายประเสริฐ บุญเรือง กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม ประเสริฐ บุญเรือง ๒๑๗ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๑๗ แสดงตนครับ
นายอัคร ทองใจสด เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม อัคร ทองใจสด ๔๘๔ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๘๔ แสดงตนครับ
นางสาวประภา เฮงไพบูลย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ๒๐๘ แสดงตนค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๐๘ แสดงตนครับ
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๒๘๙ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ใจเย็นครับ ซ้อนกันอยู่ เอาทีละท่านครับ
นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๑๙๓ ครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑๙๓ แสดงตนครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ๔๗๑ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๗๑ แสดงตนครับ
นางสุพัชรี ธรรมเพชร พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ดิฉัน สุพัชรี ธรรมเพชร ๔๓๔ แสดงตนค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๓๔ แสดงตนครับ
นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ กาญจนบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม ศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ๓๔๖ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๓๔๖ แสดงตนครับ
นายสุรวาท ทองบุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม สุรวาท ๔๔๖ ครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๔๖ แสดงตนครับ
นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม ชาดา ไทยเศรษฐ์ ๐๙๑ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๐๙๑ แสดงตนครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๔๐๐ แสดงตน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๔๐๐ แสดงตนครับ
นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ๒๑๑ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๑๑ แสดงตนครับ
นายสมศักดิ์ บุญประชม อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๓๙๔ แสดงตน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๓๙๔ แสดงตนครับ
นายชลัฐ รัชกิจประการ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๑๔๔ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑๔๔ แสดงตนครับ
นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ๒๑๘ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒๑๘ แสดงตนครับ
นายถิรเดช ตั้งมั่นก่อกิจ กระบี่ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม ถิรเดช ตั้งมั่นก่อกิจ ๑๔๒ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑๔๒ แสดงตนครับ
รองศาสตราจารย์พิเศษดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๑๓๕ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑๓๕ แสดงตนครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
ท่านประธานครับท่าน ผม ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ในฐานะ Whip ฝ่ายค้าน รบกวนท่านประธานรอสักเล็กน้อยนะครับ เพราะว่า มีบางห้องเพื่อนสมาชิกกำลังอยู่ในกระบวนการโหวตประธานคณะกรรมาธิการ แล้วก็น่าจะ ใช้เวลาสักเล็กน้อยในการเดินทางลงมาที่นี่ มีการแจ้งกลับมาแล้ว น่าจะมีหลายห้องเหมือนกัน ถ้าอย่างไรขอเวลาท่านประธาน รบกวนรอสักเล็กน้อยนะครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
รอครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับท่านประธาน
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ณัฏฐ์ชนน ๑๒๓
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑๒๓ แสดงตนครับ
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ๓๙๐ แสดงตนครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๓๙๐ แสดงตนครับ ๒๕๑ แสดงตนด้วยนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ท่านสมาชิกครับ ขณะนี้มีผู้แสดงตนตามบัตรแล้ว ๓๕๓ ท่าน แล้วก็เพิ่มที่แจ้งแสดงตนเป็น อีก ๔๒ ท่าน รวมแล้วองค์ประชุมขณะนี้เป็น ๓๙๕ ท่าน ครบองค์ประชุมครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปก็จะเป็น การถามสมาชิกว่า ผู้ใดเห็นสมควรรับหลักการ กรุณากดปุ่มเห็นด้วย ถ้าผู้ใดเห็นว่า ไม่สมควร รับหลักการ กดปุ่มไม่เห็นด้วย ผู้ใดงดออกเสียง กรุณากดปุ่มงดออกเสียง ถ้าท่านสมาชิก พร้อมกรุณาลงมติได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องกดบัตรเดี๋ยวขานชื่อกันทีหลังครับ
นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ผม ประเสริฐพงษ์ ๒๑๘ เห็นชอบครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
มีผู้ใดที่ยัง ไม่ลงคะแนน
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ผม เอกราช อุดมอำนวย ๔๙๘ เห็นชอบครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ช่วยแจ้งเพิ่มเติม ยังมีท่านผู้ใดยังไม่ได้ลงคะแนนบ้างครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ๒๕๑ เห็นชอบครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เห็นด้วย อีก ๑ ท่าน ผมขอปิดการลงคะแนน ขณะนี้มีผู้มาลงคะแนนแล้วนะครับ จำนวน ผู้ลงคะแนน ๓๖๗ ท่าน เห็นด้วย ๓๖๖ ท่าน แล้วก็บวกอีก ๓ ท่าน เป็น ๓๖๙ ท่าน แล้วก็ ไม่เห็นด้วย ๑ ท่าน ถือว่าที่ประชุมนี้เห็นสมควรรับหลักการการแก้ไขข้อบังคับตามที่ เสนอแล้วนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปก็เป็น เรื่องของการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญครับ ขอเชิญเสนอจำนวนกรรมาธิการวิสามัญครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม อรรถกร ศิริลัทธยากร สส. จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตเลือกตั้งที่ ๒ พรรคพลังประชารัฐ ขออนุญาตเรียนเสนอกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวนทั้งหมด ๒๐ ท่าน ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้อง กรรมาธิการวิสามัญ ๒๐ ท่าน เชิญเสนอสัดส่วนครับ อันนี้เป็นสัดส่วนเฉพาะสภา ไม่มีของรัฐบาล สัดส่วนของพรรคการเมืองต่าง ๆ จำนวน ๒๐ ท่าน ตามที่พรรคการเมือง ได้ตกลงกันไว้ตามสัดส่วนจะเป็นดังนี้ พรรคก้าวไกล จำนวน ๖ ท่าน พรรคเพื่อไทย ๖ ท่าน พรรคภูมิใจไทย ๓ ท่าน พรรคพลังประชารัฐ ๒ ท่าน พรรครวมไทยสร้างชาติ ๒ ท่าน พรรคประชาธิปัตย์ ๑ ท่าน เชิญพรรคก้าวไกลครับ
นางสาวรักชนก ศรีนอก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ดิฉัน รักชนก ศรีนอก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากชาวบางบอน จอมทอง หนองแขม ขออนุญาตเสนอ รายชื่อกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ในสัดส่วนของพรรคก้าวไกล จำนวน ๖ ท่าน ๑. นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ๒. นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ๓. นายวาโย อัศวรุ่งเรือง ๔. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ๕. นายจุลพงศ์ อยู่เกษ ๖. นายวรวุฒิ บุตรมาตร ขอผู้รับรอง
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปขอเชิญพรรคเพื่อไทยครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย จำนวน ๖ ท่าน ดังนี้ ๑. นายโกศล ปัทมะ ๒. นายทรงยศ รามสูต ๓. นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ๔. นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ๕. นางสาวขัตติยา สวัสดิผล ๖. นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปขอเชิญพรรคภูมิไทยครับ
นายธนา กิจไพบูลย์ชัย ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพกระผม ธนา กิจไพบูลย์ชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต ๓ พรรคภูมิใจไทย ในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย ๓ ท่าน ได้แก่ ๑. สส. แนน บุณย์ธิดา สมชัย ๒. สส. อำนาจ วิลาวัลย์ ๓. สส. เชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญพรรคพลังประชารัฐครับ
นายอนุรัตน์ ตันบรรจง พะเยา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม อนุรัตน์ ตันบรรจง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขต ๒ พรรคพลังประชารัฐ ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการสัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐมี ๒ ท่าน ท่านแรกคือท่านอรรถกร ศิริลัทธยากร ท่านที่ ๒ คือท่านจักรัตน์ พั้วช่วย ขอผู้รับรองครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปเป็นพรรครวมไทยสร้างชาติ
นายถนอมพงศ์ หลีกภัย ตรัง ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ กระผมถนอมพงศ์ หลีกภัย สมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ ขอเสนอรายชื่อสัดส่วนสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ ๒ ท่าน ๑. ดอกเตอร์ปรเมษฐ์ จินา ๒. ท่านวินท์ สุธีรชัย ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปขอเชิญพรรคประชาธิปัตย์ครับ
นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายยูนัยดี วาบา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี เขต ๔ ขออนุญาตเสนอรายชื่อ กรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน ๑ ท่าน คือท่านสมบัติ ยะสินธุ์ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปขอเชิญท่านเลขาธิการกรุณาอ่านรายชื่อกรรมาธิการครับ
นายสาธิต ประเสริฐศักดิ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน ๒๐ คน ๑. นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ๒. นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ๓. นายวาโย อัศวรุ่งเรือง ๔. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ๕. นายจุลพงศ์ อยู่เกษ ๖. นายวรวุฒิ บุตรมาตร ๗. นายโกศล ปัทมะ ๘. นายทรงยศ รามสูต ๙. นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ๑๐. นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ๑๑. นางสาวขัตติยา สวัสดิผล ๑๒. นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ๑๓. นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย ๑๔. นายอำนาจ วิลาวัลย์ ๑๕. นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ๑๖. นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ๑๗. นายจักรัตน์ พั้วช่วย ๑๘. นายปรเมษฐ์ จินา ๑๙. นายวินท์ สุธีรชัย ๒๐. นายสมบัติ ยะสินธุ์
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
กรรมาธิการครบ เรียบร้อยแล้วนะครับ กำหนดแปรญัตติภายในกี่วันครับ เชิญครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ อรรถกร ศิริลัทธยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต ๒ พรรคพลังประชารัฐ ขออนุญาตเสนอระยะเวลาแปรญัตติ ๓ วัน ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้อง กำหนดแปรญัตติภายใน ๓ วัน ไม่มีผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่นนะครับ ก็ถือว่าแปรญัตติภายใน ๓ วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๖ แต่ว่าข้อกำหนดนี้เราได้กำหนดว่า ไม่เว้นวันหยุดราชการ เพราะฉะนั้นท่านที่ต้องการจะแปรญัตติก็กรุณาแปรญัตติได้ก่อน วันที่ ๘ นะครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ทราบมาว่าเดี๋ยวผมสามารถ เสนอระยะเวลาพิจารณาได้นะครับ ผมก็เลยขออนุญาตท่านประธานเสนอระยะเวลา พิจารณาร่างข้อบังคับนี้ครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ อรรถกร ศิริลัทธยากร สส. จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตเลือกตั้งที่ ๒ พรรคพลังประชารัฐ ขอเสนอระยะเวลาพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน ๗ วันครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้อง ไม่มีผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่นนะครับ ก็กำหนดเวลาพิจารณาภายใน ๗ วัน ต่อไปขอให้มี การเสนอว่าจะใช้ร่างใดเป็นหลักในการพิจารณาครับ มีอยู่ ๒ ร่าง เชิญครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ อรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ ขอเสนอให้ใช้ร่างของผม นายอรรถกร ศิริลัทธยากร เป็นร่างหลักครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้อง ขอใช้ร่างของคุณอรรถกรเป็นหลักในการพิจารณา ไม่มีผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่นนะครับ แล้วก็ คณะกรรมาธิการวิสามัญได้นัดประชุมครั้งแรก ท่านที่เป็นคณะกรรมาธิการครับ เนื่องจาก คณะกรรมาธิการขอนัดประชุมเป็นครั้งแรกในวันศุกร์ คือวันศุกร์พรุ่งนี้ สำหรับผู้แปรญัตติ ก็ยื่นแปรญัตติได้ในระหว่างที่คณะกรรมาธิการดำเนินการพิจารณาไปนะครับ แต่ว่าต้องก่อน วันที่ ๘ โดยนัดประชุมครั้งแรกวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม คณะกรรมาธิการ CA 411 ชั้น ๔ อาคารรัฐสภา ก็ถือว่าได้นัดหมายในห้องประชุมนี้แล้ว ก็สอบถามได้ กรรมาธิการอาจจะต้องโทรศัพท์ไปถึงท่านกรรมาธิการทั้ง ๒๐ ท่านนั้น ถือว่าจบการพิจารณาเรื่องนี้ไปแล้วนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๕.๑ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความใน พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) ในส่วนข้อห้าม การออกโฉนดที่ดินสำหรับที่เขาและที่ภูเขา (นายทรงยศ รามสูต เป็นผู้เสนอ)
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เนื่องจากว่ามีญัตติทำนองเดียวกันนี้อีก ๙ ฉบับ คือ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๑. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาปัญหาที่ดินทำกินของ ประชาชน (นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ เป็นผู้เสนอ) ในระเบียบวาระที่ ๕.๕
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๒. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความ ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) และ (๓) ในส่วน ข้อห้ามของประเภทที่ดินที่มิให้ออกโฉนดที่ดิน (นายพิพิธ รัตนรักษ์ เป็นผู้เสนอ) อยู่ใน ระเบียบวาระที่ ๕.๗
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๓. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาการแก้ไขปัญหาสิทธิและที่ดินทำกินของประชาชน (นายวิทยา แก้วภราดัย กับคณะ เป็นผู้เสนอ) ตามระเบียบวาระใน ๕.๑๘
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๔. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา และแก้ไขปัญหาการครอบครองและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส.ป.ก. และที่ดินเขตทับซ้อน กับที่ป่าสงวนแห่งชาติของประชาชน (นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เป็นผู้เสนอ) ตามระเบียบ วาระที่ ๕.๒๐
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๕. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษา และแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินทำกิน ทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิของประชาชน ในพื้นที่จังหวัดชุมพร (นายวิชัย สุดสวาสดิ์ และนายสันต์ แซ่ตั้ง เป็นผู้เสนอ) ตามระเบียบ วาระที่ปรากฏใน ๕.๔๗
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๖. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและนโยบายที่ห้ามหรือเป็นอุปสรรคต่อการออก เอกสารสิทธิในที่ดินที่อยู่บนพื้นที่สูง ภูเขาและเกาะ (นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล เป็นผู้เสนอ) อยู่ในวาระที่ ๖.๓
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๗. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาติดตามผลปัญหาที่อยู่อาศัยและการทำประโยชน์ที่ดินซึ่งรัฐได้ดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์ การครอบครองแล้วในพื้นที่จังหวัดระนอง (นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ เป็นผู้เสนอ) อยู่ใน ระเบียบวาระที่วางไว้บนโต๊ะ แต่ว่ายังไม่ได้บรรจุไว้อยู่ในระเบียบวาระข้อ ๕ แต่จะแจกให้ ท่านสมาชิกต่อไปนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๘. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาแก้ไขปัญหาการครอบครองและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส.ป.ก. และที่ดินเขตทับซ้อน ที่ป่าสงวนแห่งชาติของประชาชน (นางสาวชนก จันทาทอง และนายเชิงชาย ชาลีรินทร์ เป็นผู้เสนอ) ซึ่งยังไม่ได้บรรจุอยู่ในระเบียบวาระเช่นเดียวกัน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๙. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหา การไม่มีที่ดินทำกิน และลดความเหลื่อมล้ำในการถือสิทธิที่ดินอย่างยั่งยืน (นายธีระชัย แสนแก้ว และนางเทียบจุฑา ขาวขำ เป็นผู้เสนอ) ซึ่งยังไม่บรรจุอยู่ในระเบียบวาระ เช่นเดียวกัน ก็จะเสนอในวันนี้ เมื่อเป็นเรื่องทำนองเดียวกันเราสามารถจะพิจารณารวมกันได้ ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๕ (๒) มีท่านสมาชิกผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่นบ้างไหมครับ ถ้าไม่มีผู้ใด เห็นเป็นอย่างอื่น ก็ขอให้ดำเนินการไปตามนี้คือขอให้พิจารณารวมกันทั้ง ๙ ญัตติดังกล่าวนี้ ต่อไปเชิญผู้เสนอท่านแรกก่อนคือคุณทรงยศ รามสูต ครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ผมและสมาชิก สส. ของพรรคเพื่อไทย ขอเสนอญัตติเรื่องขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) ในส่วนข้อห้ามการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่เขา และที่ภูเขา ก่อนอื่นต้องขออนุญาตท่านประธานอ่านตัวญัตตินะครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
ด้วยปัจจุบันที่เขา ที่ภูเขา ปริมณฑลที่เขาหรือภูเขา ๔๐ เมตรเป็นที่ดิน ที่ต้องห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความ ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ ที่กำหนดว่าที่ดิน ที่จะออกโฉนดที่ดินต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว และเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎหมาย แต่ห้ามไม่ให้ออกโฉนดที่ดินสลับที่ดิน (๒) ที่เขา ที่ภูเขา และพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามตามมาตรา ๙ (๒) แห่งประมวล กฎหมายที่ดิน แต่ไม่รวมถึงที่ดินซึ่งผู้ครอบครองมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงทำให้ในปัจจุบันที่ดินที่เป็นที่เขา ที่ภูเขาระยะห่าง ๔๐ เมตร โดยรอบเขาหรือภูเขาไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้ แม้จะไม่ได้เป็นพื้นที่ป่าสงวนหวงห้าม ก็ตาม ซึ่งแต่เดิมไม่มีการหวงห้ามที่เขา ที่ภูเขา เนื่องจากไม่ถือว่าเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินโดยสภาพ ซึ่งอาจเป็นที่ดินสำหรับเพาะปลูกก็ได้ และเป็นพื้นที่ป่าไม้ก็มี จึงเป็นที่ดินที่ประชาชนสามารถเข้าไปจับจองและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน แต่ต่อมา หลังจากได้มีการกำหนดห้ามครั้งแรกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตาม พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๘ จนกระทั่งถึงกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) ทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถออกโฉนดที่ดินในที่เขาและที่ภูเขาได้ ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ทำกินในรอบ ๆ ที่เขาและภูเขาในภาคเหนือ และในหลาย ๆ พื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถออกโฉนดในที่ดินทำกิน อีกทั้ง ยังมีปัญหาในเรื่องของการตรวจสอบที่ดิน การพิสูจน์สิทธิ การรังวัดจัดทำแผน ซึ่งล้วน มีความยุ่งยากล่าช้าและมีความซับซ้อน ดังนั้นหากมีการศึกษาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) ในส่วนของข้อห้ามการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่เขา และที่ภูเขา เพื่อให้ประชาชนที่ถือครองที่ดินทำกินในที่เขา ที่ภูเขา ได้ทำประโยชน์ที่ดิน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อก่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และเป็นหลักประกันในการดำรงชีพของประชาชน
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
ดังนั้นผมจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวมาเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาในเรื่องแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) ในส่วนข้อห้ามการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่เขาและที่ภูเขา ตามข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๔๙ พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมีรายละเอียดเหตุผลดังต่อไปนี้
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
ขอกล่าวถึงที่มา วัตถุประสงค์ ปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิเป็นปัญหาใหญ่ ระดับชาติ ผมไม่ได้เข้ามาสู่สภา ๓๑ ปีแล้ว ปัญหาเรื่องนี้รัฐบาลก็พยายามแก้ไขหลายยุค หลายสมัยก็ยังทำไม่ได้นะครับ ซึ่งปัจจัยหลักมันก็เกิดมาจากว่าประชาชนครอบครองที่ดิน อยู่ทั่วประเทศ แต่ว่าประมวลกฎหมายที่ดินออกมาปี ๒๔๙๗ พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ ออกมาปี ๒๕๐๔ ดาวเทียมก็เพิ่งมาใช้เมื่อ ๓๐-๔๐ ปีนี้ พ.ร.บ. ป่าสงวนออกมาปี ๒๕๐๗ ก็เลยทำให้พี่น้องประชาชนที่ครอบครองอยู่ตามที่ต่าง ๆ จากที่เขาอยู่กันโดยชอบ เลยกลายเป็นไม่ถูกต้องขึ้นมา ก็เลยทำให้มีปัญหาคาราคาซังในหลายพื้นที่ รัฐบาลแต่ละยุค แต่ละสมัยก็พยายามที่จะแก้ไขปัญหา คงจะเห็นว่าหลายครั้งรัฐบาลแต่ละยุคก็พยายาม จะนำเสนอแก้ปัญหา แต่รัฐบาลก็ต้องระมัดระวังเพราะว่าเวลาออกเอกสารสิทธิบางทีมักอ้าง ชาวบ้าน แต่เวลาคนที่ได้มักจะเป็นนายทุน เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็เลยต้องรอบคอบนะครับ โดยเฉพาะรัฐบาลปัจจุบันผมก็ได้ข่าวว่าจะมีการออกเอกสารสิทธิเช่นกัน และเพื่อนสมาชิก ก็คงจะอภิปราย ก็ฝากไว้ในเรื่องประเด็นของที่ป่าสงวน ที่อุทยาน ฝากไว้ในส่วนของชุมชน ที่เป็นหมู่บ้านซึ่งเขาพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว อันนี้ต้องให้ความดูแลเขา ในส่วนของเขตพื้นที่ทำกิน ก็อาจจะต้องไปพิสูจน์สิทธิว่ากัน อันนี้กรรมาธิการคงจะไม่ว่านะครับ หรือเพื่อนสมาชิก คงจะได้อภิปรายซึ่งคงใช้ระยะเวลา ผมคงจะไม่ก้าวล่วงในตรงนี้
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ในเรื่องของ ส.ป.ก. อย่างที่ผมกล่าวไว้ตอนแรกว่าการออก เอกสารสิทธิรัฐบาลก็พยายามที่จะจำกัดไม่ให้นายทุนได้ ต่อมาก็ได้มีการออกเป็น ส.ป.ก. เพื่อกำหนดเฉพาะเกษตรกรโดยจำกัดพื้นที่ถือครอง แล้วก็ห้ามจำหน่ายจ่ายโอน ให้เฉพาะ ทายาท ซึ่งเรื่องนี้ก็โชคดีท่าน สส. เทอดชาติจากพรรคเพื่อไทย เชียงราย แล้วก็ สส. ชนก จากหนองคายก็เสนอเรื่องขึ้นมา เดี๋ยวคงจะได้มีการพิจารณา ซึ่งเรื่องนี้ก็คงใช้เวลา เช่นเดียวกับปัญหาในเรื่องของความลาดชัน ๓๕ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน การจะแก้ไขตรงนี้ก็ต้องอาศัยมติ ครม. ก็คงต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้นผมก็เลยเสนอญัตติ เรื่องที่น่าจะแก้ง่ายที่สุดก็คือการแก้ไขกฎกระทรวง เพราะว่าการแก้ไขกฎกระทรวง เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยกฎกระทรวงออกมาปี ๒๕๓๗ ออกตาม พ.ร.บ. กฎหมายที่ดิน ปี ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ เขาเขียนไว้ว่า ที่ดินที่จะออกโฉนดที่ดิน ต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว และเป็นที่ดินที่สามารถ ออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎหมาย องค์ประกอบของข้อ ๑๔ นี้ อันดับแรกภาคประชาชน เขาจะต้องเป็นคนที่ได้ครอบครองที่ดินแล้วก็ได้ทำประโยชน์เป็นเรื่องปกติ และส่วนที่ ๒ ก็คือ รัฐมีโครงการที่จะออกโฉนดให้ แสดงว่าที่ตรงนี้ไม่ใช่ที่หวงห้าม ไม่ใช่ที่ป่า ที่อุทยาน ซึ่งก็สอดรับกับโครงการที่ผ่านมาของรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่การที่จะออกโฉนด ให้พี่น้องประชาชน เขาจะมีแผนว่าปีนี้อำเภอนี้จะออกตำบลนี้ ๆ เจ้าหน้าที่ที่ดินมีไม่มากก็ทยอยทำตามแผน ซึ่งกฎหมายในตอนท้ายของ ข้อ ๑๔ ตอนท้ายเขียนไว้ว่า แต่ห้ามไม่ให้ออกโฉนดที่ดิน สำหรับที่ดินดังต่อไปนี้นะครับ ก็คือ (๒) ที่ผมเสนอขอให้ปรับปรุงแก้ไข เขาเขียนว่าที่เขา ที่ภูเขา และพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามตาม มาตรา ๙ (๒) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ไม่รวมถึง ที่ดินซึ่งครอบครองสิทธิ ครอบครองโดยชอบ โดยกฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าอ่าน โดยผิวเผินจากตรงนี้ เพื่อนสมาชิกและผมตอนแรกที่อ่านก็น่าจะเข้าใจตรงกันว่าถ้าเป็นที่เขา ที่ภูเขาน่าจะเข้าใจว่าเป็นแนวดิ่งไม่สามารถออกได้ แต่จริง ๆ ความนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ที่ที่เป็นแนวดิ่งมันไปใช้กฎหมายในเรื่องของ ๓๕ เปอร์เซ็นต์ แต่ (๒) ที่เขา ที่ภูเขา เป็นที่ ในแนวราบที่ติดกับตีนเขา ซึ่งออกมาเพื่อทำระเบียบทางปฏิบัติของกรมที่ดิน ๔๐ เมตร จนถึงตีนเขาไม่สามารถที่จะออกโฉนดได้ตามกฎกระทรวงข้อนี้ โดยคำว่า ที่เขา คือที่ที่มี ความสูงไม่เกิน ๖๐๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ถ้าเกิน ๖๐๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เขาเรียกว่าที่ภูเขา โดยแนวกำหนดตีนเขาให้ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล อบต. จะร่วมกับกรมที่ดิน แล้วก็ทางสํานักงานพัฒนาที่ดินพิจารณาโดยศึกษาจากประวัติศาสตร์ ว่าเขาลูกไหนอยู่ตรงไหน แล้วก็ศึกษาจากลักษณะภูมิศาสตร์ว่าเนินอยู่ตรงไหน เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาใหญ่ สาเหตุที่ผมทราบเรื่องที่ผมจำได้ ตอนนั้นก่อนเลือกตั้งผมไปงานศพ แถวตำบลตาลชุมชาวบ้านเข้ามาปรึกษาผมว่า เขามาออกโฉนดทำไมตำบลของเขา บ้านเขา คนนี้ได้ เขานี้ไม่ได้ ผมก็ถามว่ามันที่เขาหรือเปล่า เขตอุทยานหรือเปล่า ไม่ใช่ ผมบอกว่า ติดเขาขนาดไหน เขาบอกติดอยู่ราบ ๆ นี่เพื่อนได้หมด แต่เขาอยู่ติดกันไม่ได้ ผมก็บอก หลังเลือกตั้งจะไปพิจารณาให้ โชคดีหลังเลือกตั้งก่อน กกต. รับรอง มีงานศพบ้านน้ำเจิ่นกาว ผมจำได้ ท่านที่ดินจังหวัดไปเป็นประธาน ผมเลยไปนั่งก็สอบถามท่าน ท่านก็เลยอธิบายผม ว่าเรื่องนี้มันมีกฎหมาย กฎกระทรวงทำไว้ ผู้ปฏิบัติไม่สามารถที่จะทำได้ โดยเฉพาะเรื่องนี้ เมื่อปี ๒๕๖๕ มีคนร้องเรียนไปที่คณะกรรมาธิการการปกครองของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว ของตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย ซึ่งคณะกรรมาธิการก็ไปตรวจสอบดูแล้ว เวลาเขาไปสำรวจ แล้วบางช่วงเป็นพื้นที่ป่าอันนี้เข้าใจได้ บางส่วนเป็นพื้นที่ลาดชันเกิน ๓๕ เปอร์เซ็นต์ก็อธิบาย ยากหน่อย แต่ยากที่สุดคือพื้นที่ที่เป็นที่ราบที่ติด ๔๐ เมตร เพราะฉะนั้นก็เลยคิดว่าจะต้องแก้ ผมก็เลยพยายามไปศึกษา ถามผู้รู้ว่าทำไมมันต้อง ๔๐ เมตร ก็ไม่มีใครที่จะตอบได้ว่าทำไม ๔๐ เมตรแนวราบเขาถึงออกไม่ได้ ผมก็เลยคิดว่าอยากจะต้องตั้งเป็นกฎกระทรวงดีกว่า แล้วมาแก้ไขกฎกระทรวงดีกว่า ไปปรึกษาบางคนเขาบอกว่าให้ทำเป็นกระทู้หรือไม่ก็หารือ แต่ผมก็คิดว่าถ้าเป็นกระทู้ภาครัฐก็คงจะมาตอบว่าเดี๋ยวจะจัดการให้ จะดูแลให้ แต่คิดว่า การทำเป็นญัตติน่าจะดีกว่า เพราะถ้าการทำเป็นญัตติอย่างน้อยมาศึกษา เพื่อนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรที่มีปัญหาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นที่เขาหรือที่ภูเขา ตลอดภาคเหนือมีหลายพื้นที่ จังหวัดพะเยา ท่าน สส.วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ท่านบอกว่าของท่าน ก็มีปัญหาเยอะช่วยดูให้หน่อย ภาคอีสานก็มี ภาคใต้ก็มี ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก มีปัญหาเหมือนกันหมดเลยนะครับ ก็คิดว่าถ้าเราเสนอเข้ามาเป็นญัตติ เพื่อนที่มีปัญหา คล้าย ๆ กันก็จะมาอภิปรายสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนแรกผมคิดว่าจะเสนอ ให้ยกเลิกเลย แต่ผมไม่มั่นใจว่าทางกระทรวงมหาดไทยเขาอาจจะมีเหตุผลว่าทำไมถึงต้อง ๔๐ เมตร ที่ผมหาคำตอบไม่ได้ ผมก็เลยคิดว่าเพื่อความรอบคอบเสนอเป็นญัตติเพื่อตั้ง คณะกรรมาธิการมาศึกษา อย่างน้อยเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทยจะได้ มาชี้แจงว่าทำไมต้อง ๔๐ เมตร ถ้าหาเหตุผลไม่ได้ก็น่าจะยกเลิก หรือว่าปรับจาก ๔๐ เมตร เป็น ๑ เมตร หรือ ๒ เมตรได้หรือเปล่า ผมจึงนำเสนอเพื่อให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาปัญหาเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน หลังจากรับตำแหน่งท่านกล่าวไว้ว่าปัญหาของ พี่น้องประชาชน ถ้าตรงไหนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนติดขัดที่กฎระเบียบก็แก้ที่ กฎระเบียบ ติดขัดตรงไหนก็แก้ตรงนั้น อันนี้มาติดขัดที่กฎกระทรวง ผมคิดว่าถ้าเรา แก้กฎกระทรวงได้ก็จะดีอย่างยิ่ง แล้วก็จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะนโยบายการแจกเอกสารสิทธิ ๕๐ ล้านไร่ ผมเชื่อว่าถ้ายกเลิกกฎกระทรวงข้อนี้ หรือว่าปรับจาก ๔๐ เมตร เหลือสัก ๑-๒ เมตร จาก ๕๐ ล้านไร่ ผมว่าเหลือแค่ ๔๐ กว่าล้านไร่ เพราะฉะนั้นก็อยากจะฝากเพื่อนสมาชิกและรัฐบาลให้หาทางแก้ไข แล้วก็ตั้งคณะกรรมาธิการ เพื่อมาศึกษาเรื่องนี้นะครับ ขอขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปก็จะเป็น ระเบียบวาระที่ ๕.๕ ของคุณร่มธรรม ขำนุรักษ์ เป็นผู้เสนอ ไม่ทราบว่าได้มอบหมายให้ใคร ชี้แจงแทนหรือเปล่า ถ้าไม่มีผู้ใดรับมอบหมายก็ถือว่าญัตติอันนี้ตกไปนะครับ ต่อไปญัตติที่ ๒ ของคุณพิพิธ รัตนรักษ์ เป็นผู้เสนอ เชิญครับ
นายพิพิธ รัตนรักษ์ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพิพิธ รัตนรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๒ พรรครวมไทยสร้างชาติ กระผมขอเสนอท่านประธานเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรมีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาศึกษาการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) (๒) และ (๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พุทธศักราช ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๓) ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขมิให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับพื้นที่เกาะที่ไม่มีเอกสารการครอบครอง ส.ค. ๑ ใบจอง ใบเหยียบย่ำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ โฉนดตราจอง ได้ทำประโยชน์แล้วครับ ปัญหาที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่ กระผมรับผิดชอบจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๒ ประกอบด้วย อำเภอเกาะสมุย อำเภอเกาะพะงัน ตำบลเกาะเต่า และอำเภอกาญจนดิษฐ์ ตลอดจนอำเภอ ดอนสัก ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิในที่ดินทำกิน เป็นพื้นที่เกาะมีประมาณ ๒ อำเภอ คืออำเภอเกาะสมุย และอำเภอเกาะพะงัน และตำบลเกาะเต่า และเกาะในอำเภอ ดอนสัก และอำเภอกาญจนดิษฐ์ ที่พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนในเรื่องเอกสารสิทธิ ที่ดินทำกินเหมือนกัน ท่านประธานครับ การออกหนังสือสำคัญในการแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือที่เรียกว่าโฉนดที่ดินสามารถออกได้ ๒ วิธี
นายพิพิธ รัตนรักษ์ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
๑. การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินโดยรัฐเป็นผู้ดำเนินการในการออกโฉนด ที่ดินให้แก่ประชาชน ตามมาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๘ ทวิ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
นายพิพิธ รัตนรักษ์ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
๒. การออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายโดยเจ้าหน้าที่ที่ดินยื่นคำขอรังวัดออกโฉนด ที่ดินด้วยตนเองได้ ๒ กรณี กรณีที่มีหลักฐานสำหรับที่ดินตามมาตรา ๕๙ และกรณีไม่มี หลักฐานสำหรับที่ดินตามมาตรา ๕๙ ทวิ
นายพิพิธ รัตนรักษ์ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
จากข้อ ๒ จะเห็นได้ว่าการออกหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในโฉนดที่ดินกรณีที่ไม่มีหลักฐานสำหรับที่ดินตามประมวลกฎหมาย มาตรา ๕๙ ทวิ ตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้นคือผู้ที่ครอบครองที่ดินมาก่อนใช้บังคับประมวลกฎหมายที่ดิน โดยไม่มีเอกสารสิทธิสำหรับที่ดิน คือการไม่ได้แจ้งการครอบครอง ส.ค. ๑ ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ที่สำคัญกว่านั้นเมื่อมีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) มากำหนดหลักเกณฑ์ในการออกโฉนดที่ดินโดยข้อ ๑๔ (๒) และ (๓) ของกฎกระทรวงมิให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่เกาะซึ่งไม่มีหลักฐานการแจ้งครอบครองที่ดิน ตั้งแต่มีพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. ๑๑๒ เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันได้มี การประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อปี ๒๔๙๗ ได้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน มีหลายแบบด้วยกัน เช่น ใบจอง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ และโฉนดที่ดิน แต่อย่างไรก็ดี ส่วนหนึ่งมาจากรัฐเองไม่สามารถออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ทันต่อความต้องการ ของประชาชนได้ แต่ประชาชนมีปัญหาในการเดินทาง ไม่มีเครื่องมือในการสื่อสาร ไม่เข้าใจ ในการครอบครองที่ดินและการทำประโยชน์ในที่ดินของตนเอง หรือแม้กระทั่งการอ่านออก เขียนได้ ซึ่งทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ในที่เกาะนั้นไม่สามารถมีเอกสารสิทธิได้แต่เดิม ผนวกกับ การเดินทางในอดีตนั้นไม่สะดวกรวดเร็วเหมือนปัจจุบัน ชีวิตก็แตกต่างจากปัจจุบันด้วย ท่านประธานครับ หากย้อนหลังไปปี ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงเสด็จประพาสพื้นที่เกาะพะงันครั้งแรก และพระองค์ทรงเสด็จ ต่อเนื่องถึง ๑๔ ครั้ง รวมไปถึงพระราชทานนามน้ำตกไว้ ๓ แห่งด้วยกัน เช่น น้ำตกธารประพาส น้ำตกธารประเวศ และน้ำตกธารเสด็จ มีหลักฐานจารึกพระปรมาภิไธยทุกครั้ง สิ่งที่ได้กล่าวนั้นแสดงว่า พื้นที่เกาะมีประวัติศาสตร์และความเชื่อมโยงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของอาณาประชาราษฎร์ ชาวบ้านไม่ได้เข้ามาอยู่หลังปี ๒๔๙๗ แต่พื้นที่ดังกล่าวมีชุมชน มีหมู่บ้านตั้งรกราก ทำมาหากินมานาน เกาะสมุยก็เช่นกันเดิมก็เป็นแหล่งที่ทำมาหากินเป็นเมืองท่ามีวิถีชีวิต ของชุมชน มีการสัญจรไปมา รากฐานและเชื่อมสัมพันธ์ระหว่าง ๓ เกาะ ไม่ว่าจะเป็น เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติพี่น้องครอบครัว อย่างที่ กระผมได้กล่าวไปครับท่านประธาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าพื้นที่เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่านั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาเป็นร้อย ๆ ปี ตามที่ปรากฏหลักฐานหรืออาจ มากกว่านั้น กระผมเองเป็นคนในพื้นที่ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งทำงานรับใช้พี่น้องประชาชน ในเขตพื้นที่เริ่มตั้งแต่ท้องถิ่น จังหวัด จนกระทั่งได้เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนเข้ามา ทำงานในรัฐสภาแห่งนี้ การออกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) มากำหนดหลักเกณฑ์ ในการออกโฉนดที่ดินโดยข้อ ๑๔ (๓) ของกฎกระทรวง มิให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่เกาะ ซึ่งไม่มีหลักฐานการแจ้งครอบครองที่ดิน กระทบถึงปัญหาของพี่น้องประชาชนที่อาศัย อยู่บนเกาะในเรื่องของวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพ เช่นการใช้ที่ดินทำมาหากินอย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย การส่งต่อเป็นมรดกอย่างเป็นรูปธรรมให้กับทายาท การสร้างรายได้และธุรกิจ ในทางเศรษฐกิจเพื่อหล่อเลี้ยงครอบครัว เกิดการพิพาทระหว่างประชาชนในเรื่องพื้นที่ กับหน่วยงานของรัฐครับ ผลกระทบของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ยังเป็น กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารในการกำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และเอกสารสิทธิ โดยอาศัย อำนาจพระราชบทบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินเกือบ ๓๐ ปีเต็มแล้ว กฎหมายนั้น กำเนิดพร้อมควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ต้องการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมกฎหมาย ที่บังคับใช้ ซึ่งกฎหมายควรเปลี่ยนแปลงตามขนาดสังคมของประชากรที่คู่ขนานกับ สภาพความเป็นจริงของปัญหาที่สลับซับซ้อนมากขึ้น กฎกระทรวงฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) เป็นการกำหนดสิทธิในที่ดินของประชาชน และขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๕๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รัฐยังคงให้การรับรองสิทธิของผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนประมวล กฎหมายที่ดิน โดยไม่ได้แจ้งการครอบครอง ส.ค. ๑ ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติ กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ที่เปิดโอกาสให้ได้รับเอกสารสิทธิที่ดินภายใต้หลักเกณฑ์ ตามที่กฎหมายกำหนด แต่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ข้อ ๑๔ (๓) ซึ่งออก โดยอาศัยตามมาตรา ๖ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ไม่ได้รับรองสิทธิของประชาชน ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนประมวลกฎหมาย ที่ดินโดยมิได้แจ้งการครอบครองที่ดิน กระผมเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนในเขต ๒ จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เกาะตั้งแต่อำเภอเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ในการเสนอญัตติเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรมีมติแต่งตั้งคณะกรรมมาธิการ วิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๓) ให้เกิดประโยชน์แก่พี่น้องประชาชน การประกอบอาชีพ การลงทุน การสร้างรายได้ เพื่อเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวพี่น้องประชาชน ทั้งนี้เพื่อแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ข้อ ๑๔ (๓) ให้สอดคล้องกับมาตรา ๕๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และเจตนาของกฎหมายที่ดิน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้พิสูจน์สิทธิในกรรมสิทธิ์ของตน จากหลักฐาน การเข้าครอบครองและการทำมาหากิน เช่น ในพื้นที่เกาะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปลูก มะพร้าวในที่ดินทำกิน ประชาชนปลูกมาเกือบ ๑๐๐ ปีแล้วครับ ก่อนที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสหรือภาพถ่าย เพราะว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ข้อ ๑๔ (๓) ที่ดินที่จะออกโฉนด ลักษณะที่ดินที่ประชาชนครอบครอง และทำประโยชน์แล้ว และเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดได้ตามกฎหมาย แต่มิได้ออกเอกสารสิทธิ สำหรับที่ดินในพื้นที่เกาะที่ไม่มีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน ควรเพิ่มเติมข้อความ ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ข้อ ๑๔ (๓) ให้ยกเว้นที่มิได้แจ้งการครอบครอง แต่สามารถพิสูจน์สิทธิการครอบครองได้ครับ จากการที่ผม ได้เรียนท่านประธานให้ทราบถึงความทุกข์ร้อนของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ที่กระผม รับผิดชอบ และประชาชนในเขตพื้นที่เกาะทั่วประเทศ กระผมขอเสนอท่านประธานเพื่อให้ สภาผู้แทนราษฎรมีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาการปรับปรุงแก้ไข กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๓) ด้วยครับท่านประธาน
นายพิพิธ รัตนรักษ์ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้กระผมต้องขอ ขอบพระคุณท่านประธานผ่านไปยังเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านไปยังผู้ที่ได้ทำการวิจัยเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องและเล็งเห็นถึงประเด็นความสำคัญ ทุกข์ร้อนของพี่น้องประชาชนเรื่องกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ ของประชาชนด้วยครับ ขอบคุณ ท่านประธานมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณวิทยา แก้วภราดัยครับ
นายวิทยา แก้วภราดัย แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม วิทยา แก้วภราดัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครวมไทยสร้างชาติ กับเพื่อนสมาชิก ได้ร่วมกันเสนอญัตติ โดยมีสาระเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาสิทธิและที่ดินทำกินของประชาชน ท่านประธานที่เคารพครับ ปัญหาเรื่องที่ดินของประชาชนที่เกิดขึ้นในขอบข่ายทั่วประเทศ ผมคิดว่ามันมีช่วงระยะเวลา ที่เกิดเหตุการณ์ ซึ่งผู้อาวุโสหลายท่านที่อยู่ในสภาจะจำบรรยากาศแต่ละช่วงได้ดีครับ เราเริ่มมีประมวลกฎหมายที่ดินครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๙๗ ปล่อยให้ประชาชนทั้งประเทศครับ ใครที่ครอบครองที่ดินให้ไปแจ้งสิทธิในที่ดินของตัวเอง จะมี ๑๐ ไร่ ๑๐๐ ไร่ ๕ ไร่ ๑๐๐ ตารางวา ทุกคนมีสิทธิแจ้งได้หมด ทางราชการก็ลงบันทึก ขณะนั้นประชาชนทั้งประเทศมีแค่ ๑๘ ล้านคน ระบบราชการเราก็ไม่กว้างขวางใหญ่โต ระบบสื่อสารก็ไม่ได้รวดเร็วอย่างนี้ มีประชาชน จำนวนมากที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิไปแจ้งการครอบครองที่ดิน หลังจากระยะเวลาผ่านไปนาน ถึง ๒๐ ปี ปี ๒๕๑๘ ปัญหานี้ก็เริ่มปะทุขึ้นมา เมื่อเริ่มมีข้อร้องเรียนจากประชาชนเดินขบวนกัน เกือบทั่วประเทศต้องการที่ทำกิน คนยากคนจนไม่มีที่ดินทำกิน สุดท้ายในยุคนั้นก็มีความคิด ก้าวหน้าในการที่จะทำการปฏิรูปที่ดิน มีการออกพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดิน ปี ๒๕๑๘ ปฏิรูปที่ดินครั้งนั้นคิดถึงขั้นที่รัฐจะไปซื้อที่จากนายทุนมาแบ่งปันให้คนจน แล้วปรากฏว่า มันยากในการที่จะไปบังคับซื้อ เราก็ได้เห็นการนำร่องตัวอย่างที่เป็นนิมิตที่ไม่เคยเกิดขึ้นครับ ใครก็นึกไม่ถึง เราได้รับที่ดินพระราชทานในการที่เริ่มต้นทำการปฏิรูปที่ดิน นั่นเมื่อปี ๒๕๑๘ แต่หลังจากปี ๒๕๑๘ ผ่านไปอีกประมาณ ๒๐ ปี ในปี ๒๕๓๒-๒๕๓๓ ในสภาผู้แทนราษฎรเรา ทุกสัปดาห์จะมีเรื่องสอบถามประธานสภา มีเรื่องญัตติ มีเรื่องกระทู้ โดยเฉพาะเรื่องที่ดินดังกัน ทุกสัปดาห์ ทุกสมัยของการประชุม จนสุดท้ายเราก็มีการเดินหน้าทำกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง เรียกว่าการแก้ไขกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปที่ดินเที่ยวนี้เป็นการสำรวจที่ดินทั่วประเทศ ที่ดินที่มีปัญหากับประชาชนมีหลายประเภท ประชาชนส่วนหนึ่งทำกินมา ๔๐-๕๐ ปี ป่าสงวนครอบครองเป็นป่าสงวน ที่ดินส่วนหนึ่งประชาชนทำกิน ราชพัสดุประกาศเป็น เขตราชพัสดุ ที่ดินส่วนหนึ่งทำกินโดนขึ้นเป็นทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ โดนขึ้นทะเบียนเป็นที่หลวง ปรากฏว่าประชาชนทะเลาะกับหลวง ปี ๒๕๓๔ ที่เราออกกฎหมายปฏิรูปที่ดินแก้ไขครั้งนั้น มีประชาชนประมาณ ๒ ล้านคนเป็นคนผิดกฎหมายอยู่กินทำกินในที่ของหลวง เพราะทางออก ทางอื่นไม่ได้เราก็ทำกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ผมเข้าใจว่าท่านประธานก็น่าจะเป็นกรรมาธิการ อยู่ในยุคนั้นด้วย การปฏิรูปที่ดินเที่ยวนั้นเราทำอะไร เราประมวลที่ทั้งหมดที่มีปัญหา กับชาวบ้าน เพื่อให้รู้ว่าที่ป่าสงวนที่ไหนที่หมดสภาพป่าแล้ว ชาวบ้านเขาทำกินมาแล้ว แล้วก็เสื่อมโทรมความเป็นป่าหมดแล้ว โดนทำไม้ทำอะไรกันหมดเกลี้ยงแล้ว ตัดที่ดิน เหล่านั้นโอนมาให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินแปลงไหนที่เป็นราชพัสดุ ที่ไม่ได้คงความเป็นราชพัสดุแล้ว ใครก็ไม่ได้เช่าทำกินกันมา ๔๐-๕๐ ปี ตัดโอนมา เมื่อตัดโอนมาให้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมก็จะเป็นคนออกสำรวจครับ แล้วตกลงกันในสภาวันนั้นว่าแต่ละคน ต้องไม่เกิน ๕๐ ไร่ เราไม่อยากให้นายทุน ๒๐๐ ไร่ ๕๐๐ ไร่ ซึ่งครอบครองมีอยู่ครับ สมัยนั้น ๑,๐๐๐ ไร่ก็มี แต่โดนตัดสิทธิว่าคนมีสิทธิรับ ส.ป.ก. ได้คนละ ๕๐ ไร่ เมื่อได้ ๕๐ ไร่ก็ต้องเป็นเกษตรกร และที่กำกับไว้ด้วยกฎหมายฉบับนั้นก็เป็นเกษตรกรที่ยากไร้ครับ ถ้าเกิดจากเกษตรกรแปรเป็นข้าราชการ เป็นพ่อค้าโดนตัดสิทธิ แล้วได้คนละ ๕๐ ไร่ แล้วก็จำกัดสิทธิด้วยว่าจะห้ามซื้อขายเด็ดขาด เพราะสภาวันนั้นเรารู้ดีว่าถ้าปล่อยให้ ประชาชนที่ได้รับที่ดินปฏิรูปไปซื้อขาย หลังจากนั้นอีกสัก ๕-๑๐ ปี เราก็จะมาอีกรอบ ก็คือประชาชนที่ขายที่ดินก็จะไปบุกเบิกป่าแปลงใหม่ แล้วเราก็ต้องทำไปอีก แล้วก็จะ ไม่เหลือที่สำหรับการเป็นป่าไม้ของประเทศไทยอีกต่อไป สุดท้ายกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ก็ออกมาครับ เราก็เดินหน้าปฏิรูปที่ดิน มีที่ดินที่ออกโดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. ๔-๐๑ อยู่ทั่วประเทศหลายล้านไร่ เป็นการปลดปล่อยคนที่ ผิดกฎหมายหลายล้านคนหลุดออกมาจากกฎหมาย แต่เมื่อบ้านเมืองพัฒนาไปจากปี ๒๕๓๔ ถึงปีนี้ ๓๐ ปี แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างปี ๒๔๙๘ มาถึงปี ๒๕๓๔ ก็คือประชากรของประเทศไทย เริ่มนิ่งขึ้นในรอบ ๑๕ ปีนี้ เรานับประชากรประเทศ ๖๐ ล้านคนมาตั้งแต่ ๑๕ ปีที่แล้ว วันนี้ ประชากรไม่เพิ่มครับ เราก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ขณะเดียวกันประชาชนที่ได้ที่ ส.ป.ก. ไป ตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ ปี ๒๕๓๕ ปี ๒๕๓๖ ปี ๒๕๓๗ แล้วก็ได้มาเรื่อย ๆ จนวันนี้ รู้สึกว่าที่ดิน ที่เขามีอยู่กลายเป็นที่ที่เหมือนกับที่สาป คือจะไปใช้สิทธิในการกู้ยืมเงินธนาคารก็เป็น เรื่องยุ่งยาก แต่ถ้าพัฒนาไปได้ถึงขั้นพัฒนาจากที่ทำการเกษตร บางแห่งก็ต้องยอมรับ ความจริงว่าจากที่ ส.ป.ก. ที่นาที่ไร่ วันนี้ถนน ๔ เลนผ่านแล้ว เขาก็คิดถึงการทำตึกแถว ตึกพาณิชย์ เสียงเรียกร้องผมไปมาทั่วประเทศพี่น้องประชาชน นักการเมืองที่ไปทั่วประเทศ ก็ได้รับเสียงเรียกร้องอยากพัฒนา ส.ป.ก. เป็นโฉนด และประชาชนก็อยากจริง ๆ แต่ในฐานะ ที่เราเป็นคนดูแลปัญหาทั้งหมดเราจะปล่อยอย่างนั้นไหม ในขณะที่สัดส่วนประชากรเราไม่ได้ เพิ่มพุ่งพรวดเหมือนปี ๒๔๙๗ มาถึงปี ๒๕๓๔-๒๕๓๕ ประชากรประเทศนี้เริ่มนิ่งแล้วครับ เรามี ๖๕ ล้านคน ขยับขึ้นขยับลง ไม่ขยับไปไหนเลย เพราะฉะนั้นความจำเป็นของพื้นที่ดิน จริง ๆ ก็คือพื้นที่หลาย ๆ ส่วนมันพัฒนาไปมากกว่าทำการเกษตร เราก็ต้องยอมรับ แต่ในขณะเดียวกันต้องระมัดระวังเป็นเรื่องเร่งด่วนของประชาชน แต่ต้องเป็นเรื่องที่รอบคอบ ของรัฐบาล แล้วก็รอบคอบของนักการเมืองแบบพวกเรา ไม่ใช่ยุคเราออก ส.ป.ก. ทั้งหมด แบ่งเป็นโฉนดให้ชาวบ้านหมด อีกสัก ๑๕ ปีข้างหน้ารุ่นผม รุ่นประธานตายหมดแล้ว ก็มาอีก ชุดหนึ่งว่าขอออกโฉนดในที่ป่าที่เพิ่งเปิดใหม่ แล้วมันจะเป็นเรื่องนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จักจบสิ้น เพราะฉะนั้นผมคิดว่าแนวทางที่จะดีที่สุดก็คือต้องตั้งคณะกรรมาธิการโดยสมาชิกในสภา ของเรานี้ประมวลเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองทั้งหมดเพื่อแก้ไขปัญหา ๑. วันนี้ที่จริงแล้ว ทางรัฐบาลเมื่อ ๔-๕ปีที่แล้วก็ตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ให้ดำเนินการจัดทำนโยบายในการจำแนกที่ดินและแบ่งที่ดินให้กับประชาชน แต่เรา ตั้งงบประมาณไว้น้อยมาก ๑๕๑ ล้านบาท แล้วก็เริ่มดำเนินการไปเป็นระยะ ๆ แต่ถ้าเรา สามารถระดมความคิดจากนักการเมืองข้างล่างนี้ตั้งมาเป็นคณะกรรมาธิการ เขาจะได้ จับเรื่องนี้จริง ๆ จัง ๆ ว่าที่ดินประชาชนที่เดือดร้อนในประเภทนี้มีกี่ประเภท วันที่เรา ออกกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ปี ๒๕๓๔ กรมป่าไม้มีอยู่กรมเดียว วันนี้มาถึงปีนี้กรมป่าไม้ ผ่าออกมาเป็น ๔-๕ กรมแล้ว จนผมจำชื่อไม่ได้ ป่าอุทยานก็มี ป่าสงวนก็มี ป่าชายเลนก็มี มีเต็มไปหมดครับ งานถูกแยกแยะไปหมด มันถูกจำแนกรายละเอียดไปหมด ขณะเดียวกัน ที่ที่ประชาชนอยู่อาศัยมีหลายพื้นที่ที่จำเป็นต้องมาจัดแบ่งให้ประชาชนใหม่อีกรอบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นที่ราชพัสดุของท่าน สส. ที่อยู่ใกล้ผม ไม่ว่าที่ที่เป็นป่าสงวนที่หมดสภาพ ไม่ว่า จะเป็นที่ที่อยู่ในทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ แม้แต่ที่บางแปลงโต้แย้งกันระหว่างกรมธนารักษ์ กับประชาชน กรมธนารักษ์ยึดเกาะเต่าไว้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้วอ้างว่าเป็นที่ที่ขังนักโทษ สมัยโบราณ ซึ่งคุกขังนักโทษจริง ๆ เมื่อสมัยโบราณมีสัก ๑ ไร่ แต่มาวันนี้ประกาศเขตเกาะเต่า ทั้งเกาะเต่าเป็นที่ราชพัสดุไปหมดแล้ว ใครก็มีเอกสารไม่ได้ อย่างเก่งก็รอเช่า เพราะฉะนั้นถ้าเราเริ่มมาจำแนกกันจริง ๆ จะมอบให้รัฐบาลไปก็ได้ครับ ท่านดูครับ ตั้งคณะกรรมการในการทำนโยบายที่ดินแห่งชาติตั้งแต่ปี ๒๕๕๖-๒๕๕๗ ตั้งงบไว้ ๑๐๐ กว่าล้านบาทมันก็คืบหน้าแค่นี้ แต่ผมคิดว่าถ้าเราตั้ง สส. ในสภาเราเป็น กรรมาธิการช่วยศึกษาควบคู่กันไป และนำเสนอเป็นกฎหมายจริง ๆ เข้าสู่สภา เราก็จะ สามารถแก้กฎหมาย แล้วก็หลักประกันให้กับประชาชนได้ครับ ผมขอขอบพระคุณ ท่านประธานที่ให้โอกาสในการนำเสนอภาพรวมของปัญหาที่ดินทั้งหมดทั้งประเทศครับ ขอขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณเทอดชาติ ชัยพงษ์ ครับ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เทอดชาติ ชัยพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๕ พรรคเพื่อไทย ผมเสนอญัตติด่วนเรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและแก้ไข ปัญหาการครอบครองและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส.ป.ก. และที่ดินเขตทับซ้อนกับที่ป่าสงวน แห่งชาติของประชาชน พร้อมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย จากการลงพื้นที่ ตอนที่ได้ไปหาเสียงและจากการลงพื้นที่รับฟังปัญหาที่ได้พบกับพี่น้องประชาชน ก็จะได้รับฟังปัญหาและได้ยินเสียงร้องจากประชาชนเรื่องปัญหาของที่ดินที่อยู่อาศัย และที่ทำกินมากมาย ประเด็นสำคัญที่จับสาระได้ก็คือพื้นที่ที่ทำกินตรงนี้เป็นที่ ส.ป.ก. แต่ยังไม่สามารถที่จะมีกรรมสิทธิ์ได้ เนื่องจากว่า ส.ป.ก. ขอคืนที่ดินให้เป็น ส.ป.ก. อันนี้ ก็ยังสับสนกันอยู่ รวมกับพื้นที่ที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติในการขีดเส้นทับซ้อนของกรมป่าไม้ ทำให้ประชาชนบางส่วนนั้นไม่ได้รับสิทธิ ขณะที่พื้นที่ใกล้เคียงกันนั้นได้รับสิทธิ แต่อีกคนหนึ่ง ไม่ได้รับสิทธิ เนื่องจากว่าการขีดสีตีเส้นด้วยสี Magic ในรัฐบาลชุดก่อนนั้นทำให้ประชาชน เสียโอกาส ผมก็ทราบว่ามีคณะกรรมาธิการชุดก่อนได้ศึกษาเรื่องนี้ แล้วก็ทราบว่า มีความพยายามที่จะทำมาในทุกยุคทุกสมัยของรัฐบาลที่จะดูแลพี่น้องประชาชนในเรื่องของ เอกสารสิทธิ เรารู้ว่านี่คือต้นทุนของพี่น้องประชาชน เรารู้ว่านี่คือสิทธิพื้นฐานของประชาชน เพราะฉะนั้นสิ่งจำเป็นที่สุดนั้นเราต้องทำให้เกิดให้ได้ พรรคเพื่อไทยเรา รัฐบาลเรามีนโยบาย เรื่องของสิทธิทำกิน ๕๐ ล้านไร่ วันนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีผมได้ทำหนังสือเพื่อที่จะขอญัตติ เรื่องการครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน ส.ป.ก. หรือเอกสารการครอบครองที่ดิน ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมออกให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขต ปฏิรูปที่ดินนั้นได้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการ ทั้งในด้านวัตถุประสงค์การใช้ที่ดิน และข้อจำกัดสิทธิของผู้ครอบครอง อันนำมาซึ่งข้อพิพาททางกฎหมายกับรัฐหลายครั้ง เช่นเดียวกับปัญหาการครอบครองที่ดินในพื้นที่ทับซ้อนกับเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เกิด ข้อพิพาทระหว่างประชาชนที่ครอบครองที่ดินอยู่ก่อนการประกาศเป็นเขตป่ากับหน่วยงาน ของรัฐ เนื่องจากเขตป่าสงวนแห่งชาติหลายพื้นที่ไม่มีสภาพความเป็นเขตป่าแล้ว ไม่อาจ ฟื้นฟูสภาพป่าคืนสู่ธรรมชาติได้ เนื่องจากประชาชนเข้าครอบครองทำประโยชน์จนมีสภาพ เป็นชุมชนอยู่อาศัย จึงเกิดกรณีผลกระทบและข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ปัญหาดังกล่าวกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน และผลประโยชน์ของรัฐ อันเป็นประเด็นข้อกฎหมายที่ควรได้รับการพิจารณาเพื่อแก้ไข ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิการครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดินของประชาชนในที่ดินทั้ง ๒ ประเภทข้างต้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน ด้านหนึ่งเพื่อรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติของรัฐ อีกด้านหนึ่งเพื่อการคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้มีความมั่นคงแน่นอนในมิติฐานะของตน อันถือเป็นประโยชน์สาธารณะที่สำคัญยิ่งที่ควรจะได้มีการศึกษาและแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ก็ทราบว่าการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมานั้นมีข้อจำกัดแล้วก็มีระยะเวลา แล้วก็ ถือว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายอยู่แล้ว ถือเป็นเรื่องสำคัญและเป็นโอกาสอย่างดีที่พี่น้องประชาชน จะได้มีโอกาสในการที่ได้รับเอกสารสิทธิที่ทำกินในการถือครองสิทธิของตนเอง ขออนุญาตไปที่ Slide ครับ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
นี่คือ Slide ภาพตัวอย่างที่ผมลงพื้นที่ เราจะเห็นว่าพี่น้องประชาชนนั้นต้องการสิทธิทำกินและที่อยู่อาศัยของตนเอง ในพื้นที่ เชียงราย เขต ๕ จาก PowerPoint จะเห็นว่านี่คือตัวอย่างหนึ่งนะครับ อำเภอเทิงนั้น ๕๑๓,๑๒๕ ไร่นั้นเป็น ส.ป.ก. อยู่ ๒๕,๔๓๓ ไร่ อำเภอพญาเม็งราย ๓๘๗,๕๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ ส.ป.ก. อยู่ ๔๓,๔๑๑ ไร่ อำเภอขุนตาลกับตำบลบุญเรืองนั้นพื้นที่ ๒๐๗,๘๓๗ ไร่ เป็นพื้นที่ ส.ป.ก. อยู่ ๑,๒๑๓ ไร่ ที่ดินทั้งหมดนี้เราสามารถที่จะจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท ที่ดิน โดยทั่วไปนั้นเป็นที่ดิน ๒ ประเภทก็คือที่ดินของเอกชน เอกชนคือที่ดินที่ประชาชนถือครองอยู่ และที่ดินของรัฐนั้นก็จะเป็นที่ป่าไม้ที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือ ส.ป.ก. ที่นิคม สร้างตนเอง ที่ราชพัสดุ ที่ทางหลวง ที่แม่น้ำ ที่ดินสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับ ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของที่ดินใน ๒ รูปแบบ เพราะฉะนั้น พื้นที่ดินที่เป็นของภาคเอกชนถือครองอยู่แล้วก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ประชาชนที่อยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่มีสิทธิในที่ดินของตนเอง ยังเป็นของรัฐอยู่ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะต้องดูแล แล้วก็ ปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด สมัยโบราณประชาชนนั้นสามารถบุกรุกเบิกป่าเป็นนาได้ ใครบุกรุกป่าเบิกป่าเป็นนาได้นั้นเขาจะยกเว้นภาษีให้ ๓ ปี เพื่อที่จะให้ประชาชนนั้น ได้ทำมาหากินโดยทั่วไป ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๐ คณะกรรมการพิจารณาโครงการที่ดิน ของประเทศก็ได้ดำเนินการปรับโครงการที่ดินของประเทศ ปี ๒๔๘๑ นั้นก็มีระบบ ของเอกสารสิทธิขึ้นมาที่เรียกว่า ส.ค. ๑ แต่ต่อมาเมื่อปี ๒๕๕๘ ในรัฐบาล คสช. นั้นได้เปิด ยุทธการทวงคืนผืนป่า จึงมีการกระทบสิทธิของพี่น้องประชาชนในการถือครองที่ดิน เป็นอย่างมากในการใช้มาตราส่วน ๑:๔๐๐๐ ๑:๕๐๐๐ ที่กระทบกัน แล้วก็มีการตั้ง คณะกรรมการระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบลพิจารณาสิทธิที่ดิน แต่ปัญหา ทั้งหมดนั้นก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นปัญหามาอย่างยาวนาน ก็เป็นปัญหา ที่ทุกคน ทุกคณะ ทุกรัฐบาล ทุกสมัยของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของรัฐสภาทุกครั้งพยายาม ที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ แต่ไม่เคยทำได้ และทำไม่หมด แม้จะไม่หมดครับ อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นที่จะต้องมีหน้าที่ในการที่จะปกป้องสิทธิของประชาชนเหล่านั้นครับ ปัจจุบันนั้น ประเทศไทยมีหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินถึง ๑๙ กรม มีกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ๑๖ ฉบับ มีกฎหมายเยอะ มีผู้รับผิดชอบเยอะ แทนที่จะทำให้ประชาชน ได้รับสิทธิเร็วขึ้น มากขึ้น เพราะมีการคุ้มครองทางเชิงกฎหมาย มีการคุ้มครองทั้งเรื่องของ ผู้รับผิดชอบเยอะ แต่กลับเป็นว่าทั้งกฎหมายเองก็ดี ผู้รับผิดชอบเองก็ดี ไม่สามารถดูแล ประชาชนได้ เพราะว่าถ้าไปทำกับกรมนี้ ไปติดกับกรมโน้น กฎหมายฉบับนี้ไปติดกฎหมาย ฉบับนั้น นี่คือเป็นเรื่องของกฎหมาย กฎหมายที่คนสร้างขึ้นทั้งนั้น เพราะฉะนั้นทำอย่างไร ที่เราจะทำเรื่องเหล่านี้ให้เป็นเรื่องที่กินได้ ทำได้ เพื่อพี่น้องประชาชนให้เขาได้มีต้นทุน อย่างแท้จริง จึงเป็นเรื่องสำคัญครับ เพราะปัญหาที่ดินนั้นเกี่ยวข้องกับกฎหมาย เกี่ยวข้องกับคน เกี่ยวข้องกับชีวิต เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของประชาชนที่รับการเยียวยาแก้ไข เพราะฉะนั้น จึงขอเรียนท่านประธานและฝากไปยังรัฐบาลว่า ๑. จำเป็นอย่างยิ่งเราต้องพิสูจน์สิทธิ การถือครองการครอบครองที่ดินของประชาชนทั้งที่อยู่อาศัย ที่ทำกินใน ส.ป.ก. ที่ทับซ้อน ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ของกรมป่าไม้ หรือไม่มีพื้นที่ที่สภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว ไม่มีพื้นที่ที่เป็นป่าไม้แล้ว ที่ต้องครอบครองแล้ว เราจะทำอย่างไรที่จะพิสูจน์สิทธิเหล่านี้ เพื่อให้ประชาชนจริง ๆ ไม่ใช่นายทุนที่จะได้รับสิทธิในเอกสารเหล่านี้ ๒. ออกกฎหมาย ออกเอกสารสิทธิให้ประชาชนผู้ถือครองครอบครองอยู่ก่อนแล้ว ๓. แก้กฎหมายแนวทาง ปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนที่จะต้องได้รับสิทธิ และการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ด้วยครับ เพราะบางพื้นที่นั้นเขาก็ไม่กล้าที่จะทำเนื่องจากว่าสุ่มเสี่ยงที่จะปฏิบัติ หน้าที่ผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นทำอย่างไรที่เราจะทำกฎหมายให้ผู้ขอกับผู้ที่มีหน้าที่ ในการปฏิบัติที่จะให้สิทธิที่ดินของประชาชนนั้นอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุขและมีความสุขด้วยกัน และปลอดภัยทั้ง ๒ ฝ่าย นี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นเงื่อนไขสำคัญก็คือการพิจารณาเรื่องของที่ดินสิทธิทำกินนั้น เราต้องไม่ทำในภาพกว้างหรือภาพใหญ่ทั้งหมด เราเจาะลงพื้นที่พิสูจน์สิทธิดูว่าประชาชนนั้น ตรงไหนบ้างที่ควรจะมีสิทธิตรงนี้ ไม่ใช่ผืนป่าขนาดใหญ่เป็นของนายทุนแล้วเราให้ทั้งหมด เราต้องจำแนกพื้นที่ที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยของประชาชน หรือที่ถือครองมาก่อนนั้น สามารถ ที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้และมีต้นทุนทางสังคมได้ อันนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญของพวกเรานะครับ วันนี้รัฐบาลเองนั้นมีนโยบายที่จะจัดทำกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกต้องและเป็นธรรมให้แก่ประชาชน ๕๐ ล้านไร่ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้ทำเพื่อพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ให้ประชาชนได้มีต้นทุน สินทรัพย์ในการที่จะบริหารจัดการตนเอง ในการพัฒนาวิชาชีพของตนเองโดยไม่ต้องพึ่ง การบริจาคของรัฐ ให้เขายืนได้บนขาตนเอง ให้มีพื้นที่อยู่ ให้มีที่ทำกิน ให้มีสิทธิ ให้มีนิติสถานะ ของตนเอง เป็นการรักษาผืนป่า ป่าสงวน ป่าธรรมชาติที่คงอยู่ โดยให้ประชาชนในพื้นที่นั้น ได้รับผิดชอบและดูแลพื้นที่ของตนเอง วันนี้ผมไม่ได้พูดถึงข้อกฎหมายในแต่ละประเด็น ที่เกี่ยวข้อง แต่ผมกำลังพูดถึงพื้นฐานธรรมดาที่ประชาชนควรได้รับสิทธิและเป็นธรรมนะครับ ก็ฝากท่านประธานครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณวิชัย สุดสวาสดิ์ ครับ
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม วิชัย สุดสวาสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดชุมพร วันนี้ผมเองนั้นอยากจะ นำเรียนท่านประธานในเรื่องของการยื่นญัตติเรื่องขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินทำกินในทุ่งเลี้ยงสัตว์ และไม่มีเอกสารสิทธิของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชุมพร ท่านประธานครับ เนื่องด้วย ในพื้นที่จังหวัดชุมพรร้อยละ ๔๐ ไม่มีเอกสารสิทธิที่ดิน แล้วพี่น้องประชาชนครอบครอง เรื่องของที่ดินในทุ่งเลี้ยงสัตว์ ป่าชายเลน แล้วก็ที่ น.ส.ล. เพราะฉะนั้นแล้ววันนี้ผมเอง ในฐานะเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน ในฐานะเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ ผมได้ทราบข่าวจากเพื่อนสมาชิก โดยเฉพาะท่าน สส. พันธ์ศักดิ์ บุญแทน เขต ๔ สุราษฎร์ธานี ในเขตพื้นที่ของอำเภอพุนพิน ในเขตพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม มีตั้ง ๖,๐๐๐ กว่าไร่ แล้วก็ในเขต ของอำเภอพุนพินมี ๒,๒๐๐ ไร่
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ สิ่งที่พี่น้องประชาชน และรัฐบาลคอยเฝ้าหวังรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้หลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะ กี่รัฐบาลก็ประกาศในเรื่องของลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเฉพาะในเรื่องของ เอกสารสิทธิที่ดินทำกิน รัฐบาลยังจัดการให้ไม่ได้ แล้วพี่น้องประชาชนเราจะลืมตาอ้าปาก ได้อย่างไร นั่นคือที่ผมถามเป็นประเด็นให้ท่านประธานที่เคารพได้รับทราบ วันนี้ผมเองมายืน เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนในนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดชุมพร แต่ผมเองนั้น ต้องดูแลพี่น้องประชาชนทั่วทั้งประเทศในเรื่องของการเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเฉพาะ ในเรื่องเอกสารสิทธิที่ดิน คนที่ครอบครองในทุ่งเลี้ยงสัตว์อยู่กันมาหลายชั่วอายุคน ประกาศ ตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ ปี ๒๔๗๙ พี่น้องประชาชนถือครองกันเต็มทั้งพื้นที่ มีทั้งสัญลักษณ์ ทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธในเรื่องของวัดวาอารามยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่เลย ด้วยเหตุผลว่าวัดตั้งอยู่ในพื้นที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์ เพราะฉะนั้นแล้วเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะ พี่น้องชาวตำบลบางหมาก แล้วผมเองได้รับเรื่องร้องเรียนและเรื่องประสานมาจาก ท่านสุรพงศ์ ประสารวุฒิ ท่านนายกเทศมนตรีบางหมากให้ผมไปเป็นตัวแทนและไปพบปะ พี่น้องประชาชนร่วมกับท่าน สจ. นายอภิชัย อินทนาคม ผมไปแล้วใช้เวทีตรงนั้นพูดคุยกับ พี่น้องประชาชนเกือบ ๕๐๐ คน เป็นทุกข์เป็นร้อนกันในเรื่องของเอกสารสิทธิที่ดิน มีพี่น้อง ประชาชนอายุ ๖๐-๗๐ ปีมาร้องเรียนกับผม มาบอกผมว่าท่านดิ้นรนเรื่องที่ดินทำกินมานาน พอสมควร ดิ้นรนที่จะให้สำนักสงฆ์ได้ขึ้นมาเป็นวัดนานพอสมควร ด้วยเหตุผลอย่างนี้ผมบอกท่านประธาน ด้วยความเคารพว่ามันถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องดูแลพี่น้องประชาชนโดยเรื่องของปากท้อง เรื่องของความเหลื่อมล้ำทางสังคม ถ้ารัฐบาลยังไม่ได้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ผมเชื่อว่าพี่น้อง ชาวไทยยังต้องเป็นทุกข์เป็นร้อนกันอีกพอสมควร เอกสารสิทธิที่ดิน ผมขอเอ่ยนาม ท่านวิทยา แก้วภราดัย ได้พูดถึง ส.ป.ก. ท่านประธานครับ ในพื้นที่ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นพื้นที่ ที่ดินที่น่าสงสารอย่างที่สุดเหมือนกัน ออกเอกสารสิทธิให้พี่น้องประชาชนทำมาหากิน เพื่อการเกษตร พ่อแม่ส่งลูกไปร่ำเรียนได้รับราชการทั้ง ๒ คน พอถึงเวลาพ่อแม่ไม่มี ลมหายใจ โอนให้ลูกรับสิทธิไม่ได้เพราะถูกรับราชการทั้ง ๒ คน แล้วจะให้เขาโอนที่ดิน ส.ป.ก. ไปฝากบุคคลใดไว้ พอไปฝากบุคคลอื่นก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นแล้วก็ต้องตกกลับเป็น ที่หลวง เป็นที่ ส.ป.ก. เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นแล้วพี่น้องประชาชนเดือดร้อนเรื่องนี้ อย่างแสนสาหัส โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนที่ครอบครองอยู่ในสิทธิของทุ่งเลี้ยงสัตว์ ในเขตผมไม่น่าเชื่อเลยครับ จังหวัดชุมพร ๔๐-๔๕ เปอร์เซ็นต์ที่พี่น้องประชาชนได้ถือครอง ในทุ่งเลี้ยงสัตว์ มีพี่น้องชาวจังหวัดตรังเพื่อนผม ท่านถนอมพงศ์ หลีกภัย บอกผมว่าในพื้นที่ ของท่านในตำบลน้ำผุดมีอยู่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ผมเอง ตำบลครน ตำบลทุ่งระยะ แล้วก็ตำบลวิสัยใต้ ตำบลบางหมาก ตำบลนาทุ่ง ตำบลวังไผ่ ตำบลถ้ำสิงห์ ตำบลขุนกระทิง เกือบทุกพื้นที่ของจังหวัดชุมพรอยู่ในเทศบาลก็ติดปัญหาเรื่องนี้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นแล้วผมขอโทษท่านประธาน ขอเอ่ยนามท่านอดีต สส. สุวโรช พะลัง ท่านได้ เสียชีวิตไปแล้วครับ แต่ท่านเคยต่อสู้เรื่องนี้ให้กับพี่น้องประชาชนมาครั้งหนึ่ง ผมเชื่อว่า ท่านประธานคงจำได้ แต่ในชุดนี้ช่วงนี้ผมเองในฐานะตัวแทนของพี่น้องประชาชน ความคาดหวังของพี่น้องประชาชนในเรื่องการถือครองเอกสารสิทธิที่ดินเขามอบหมาย ให้กับผมซึ่งเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้ และเป็นผู้เชื่อมโยงกับภาครัฐในเรื่องนี้ ผมนำเรียน ท่านประธานด้วยความเคารพว่าถ้าเอกสารสิทธิที่ดินไม่เกิดกับพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะ ในทุ่งเลี้ยงสัตว์ ผมเชื่อว่าพี่น้องประชาชนยังลืมตาอ้าปากไม่ได้ ยังลดความเหลื่อมล้ำให้กับ พี่น้องประชาชนไม่ได้ รัฐบาลชุดนี้เราทำงานกันแบบล้มเหลวอีก เพราะฉะนั้นแล้วผมบอก ท่านประธานนะครับ ดีใจที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายในเรื่องของการแก้ไขปัญหา ออกเอกสารสิทธิ ๕๐ ล้านไร่ ผมเชื่อว่าพี่น้องชาวจังหวัดชุมพรและพี่น้องชาวใต้ที่มีปัญหา เรื่องเอกสารสิทธิได้ถือครองที่ดินตามนโยบายของท่านเศรษฐา ทวีสิน และผมเชื่อเหลือเกินว่า เพื่อน ๆ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อยู่ในห้องนี้ทั้งหมดก็คิดเหมือนกับผม ทำอย่างไรก็แล้วแต่ ให้ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำอย่างไรก็แล้วแต่ให้เรื่องนี้ได้มีการแก้ไขปัญหาให้กับ พี่น้องประชาชนโดยแท้จริง
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาหลักของคนถือครองที่ดิน มีมติ ครม. เมื่อปี ๒๕๕๓ ในเรื่องของที่ป่าชายเลน ขีดเส้นป่าชายเลนกันใหม่ไปคร่อมเอา ที่ น.ส. ๓ โฉนดของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องชาวตำบลบางหมาก พี่น้องชาวตำบล ปากแพรก หมู่ที่ ๑ ตำบลปากแพรก ๑ หมู่บ้านเลยครับ ถูกขีดเส้นคร่อมไปทั้ง ๆ ที่เขาถือ เอกสารสิทธิเป็น น.ส. ๓ เป็นโฉนด ณ ปัจจุบันนี้เขาเข้าไปแปลงสินทรัพย์เป็นทุนไม่ได้ เข้าไปในแบงก์เขาบอกว่าไม่รับเพราะที่อยู่ในเขตของป่าชายเลน นี่มันเป็นปัญหาหมักหมม มานานพอสมควร จริง ๆ แล้วเหมือนกับทุ่งเลี้ยงสัตว์ ประกาศตั้งแต่ผมยังไม่เกิด ผมยังไม่คลอด ตอนนี้ผมอายุ ๕๔ ปีแล้ว เพราะฉะนั้นแล้วผมเชื่อและศรัทธาในรัฐบาลชุดนี้ว่าจะต้องแก้ไข ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นแล้วผมขอนำเรียนท่านประธาน ด้วยความเคารพครับ เพื่อนสมาชิกหลายคนหลายท่านยื่นญัตติเรื่องนี้อภิปรายไปเพื่อแก้ไข ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนทั้งสิ้น พี่น้องที่บ้านผม พี่น้องที่เกาะเต่า เกาะพะงัน เมื่อสักครู่ เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปแล้วมีปัญหากันอย่างนี้ครับ แล้วเราจะพัฒนาในเรื่องของ การท่องเที่ยวได้อย่างไร เพราะฉะนั้นท่านประธานที่เคารพครับ ผมบอกท่านประธานว่าโดยเฉพาะกฎหมายที่ดินที่ทับซ้อนอยู่ ณ ปัจจุบัน ทำให้พี่น้อง เกษตรกรยุ่งยากลำบากในเรื่องการลงทุนทั้งสิ้น ในช่วงภัยแล้งเกิดขึ้นพี่น้องประชาชนบ้านผม จะไปเจาะบ่อบาดาล จะไปใช้รถแบคโฮขุดบ่อเพื่อรองรับน้ำ ไปขุดไม่ได้ครับ มีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ออกไปเรียกเก็บเรียกขอ ทำให้ค่าใช้จ่ายเขาเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นแล้วฝากความหวังไว้ ที่ท่านประธาน ฝากถึงท่านรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ฝากไปถึงท่านนายกรัฐมนตรีผู้บริหาร ประเทศช่วยมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนนะครับ เพื่อที่จะให้พี่น้อง ประชาชนคนไทยได้ลืมตาอ้าปากกัน แล้วได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในเรื่องของการแก้ไขปัญหา ครอบครัวของเขา การออกเอกสารสิทธิที่ดินเท่ากับเป็นหลักเป็นฐานในเรื่องการประกอบ อาชีพ ในเรื่องการเป็นหลักเป็นฐานให้กับครอบครัวเขา เพราะฉะนั้นแล้วผมนำเรียน ท่านประธานด้วยความเคารพครับ วันนี้ผมเองพูดถึงเรื่องที่ดิน ในหัวใจนี้เจ็บมาตลอดเวลา เพราะตัวเองก็เหมือนกัน บ้านเลขที่ที่อยู่ในทุ่งเลี้ยงสัตว์มันต้องเป็นบ้านเลขที่ชั่วคราว ค่าไฟ ก็ต้องค่าไฟชั่วคราว เป็นหม้อไฟแปลงชั่วคราว ขอน้ำการประปาส่วนภูมิภาคใช้ก็ชั่วคราวอีก สิ่งที่เป็นผลพวงกลับมาให้กับพี่น้องประชาชนคำว่า ชั่วคราว ไม่ต้องเสียค่าไฟชั่วคราวดีครับ แต่ตอนนี้ค่าไฟแพงกว่าคนอื่น ท่านประธานครับ ค่าน้ำประปาก็เหมือนกันชั่วคราว และแพงกว่าคนอื่น เพราะฉะนั้นแล้วผมนำเรียนท่านประธานครับ วันนี้เราต้องมาแก้ไข ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน แก้ไขปัญหาในเรื่องของที่ดินทำกิน ในเรื่องของเอกสารสิทธิ ให้กับพี่น้องชาวตำบลบางหมาก ให้กับพี่น้องชาวตำบลนาทุ่ง ตำบลวังไผ่ ตำบลขุนกระทิง ตำบลครน ตำบลวิสัยใต้ ตำบลนาโพธิ์ให้มันแล้วเสร็จ ให้เป็นสิทธิของเขาตามรัฐธรรมนูญด้วย ท่านประธานครับ ขอบคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ครับ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์ ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตเสนอ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและนโยบาย ที่ห้ามหรือเป็นอุปสรรคต่อการออกเอกสารสิทธิในที่ดินที่อยู่บนพื้นที่สูง ภูเขาและเกาะ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ปัจจุบันนี้มีประชาชนที่อยู่อาศัยและทำประโยชน์อยู่ในพื้นที่ที่เป็นป่าอย่างน้อยจำนวน ๑๖.๙ ล้านไร่ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติทั้งหมดประมาณ ๑๒.๗ ล้านไร่ ส่วนที่เหลือ อีกประมาณ ๔.๒ ล้านไร่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ หรือเขตอุทยานแห่งชาติ หรือเขตสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมายและนโยบายทำให้รัฐบาลไม่สามารถออก เอกสารรับรองสิทธิให้แก่พื้นที่ที่อยู่บนเกาะหรือบนภูเขา อุปสรรคและปัญหาที่สำคัญ อย่างน้อยมีอยู่ ๓ ประการ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ กฎกระทรวงฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ซึ่งออกตามความ ในประมวลกฎหมายที่ดิน ข้อ ๑๔ ซึ่งมีสาระสำคัญก็คือห้ามไม่ให้ออกเอกสารรับรองสิทธิ ในที่ดินที่เป็นภูเขา
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ มติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดห้ามไม่ให้มีการออกเอกสารรับรองสิทธิ ให้แก่บนพื้นที่สูง
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ มติคณะรัฐมนตรีที่ว่าด้วยการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่ห้าม ไม่ให้มีการกระทำการใด ๆ รวมถึงการออกเอกสารรับรองสิทธิในที่ดินให้แก่พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น ๑ และชั้น ๒
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กฎหมายและนโยบายเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่ทำให้ต่อให้รัฐบาลมีนโยบาย ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเราจะเห็นว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทุกรัฐบาลพยายามที่จะแก้ไข ปัญหาเรื่องนี้ แต่ถึงที่สุดแล้วนโยบายก็ไม่สามารถที่จะทำได้จริง เพราะกฎหมายได้กำหนด ห้ามเอาไว้นะครับ ดังนั้นหากมีการศึกษาแนวทางปรับปรุงกฎหมายและนโยบายที่เป็น อุปสรรคเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ก็จะนำไปสู่การออกเอกสารรับรองสิทธิ ลดความขัดแย้ง ระหว่างรัฐกับประชาชน กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมได้จริง และที่สำคัญ รัฐจะสามารถส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการใช้ที่ดินของประชาชนในด้านต่าง ๆ ได้ ผลประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยโดยรวมนะครับ ในขณะที่พวกเราอยู่ที่นี่กำลังพูดถึง แนวทางในการออกเอกสารรับรองสิทธิให้แก่พื้นที่สูง พื้นที่ภูเขา หรือเราเรียกรวม ๆ ว่า พื้นที่ป่า ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลขณะนี้มีพี่น้องประชาชนในนามกลุ่มขบวนการประชาชน เพื่อสังคมที่เป็นธรรมได้รวมกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ด้วยกัน สิ่งที่ พวกเขาปักหลักชุมนุมอยู่ที่นั่นเรียกร้องต่อรัฐบาลมันก็เหมือนกับสิ่งที่พวกเรากำลังพูดกันที่นี่ พวกเขาพูดกันข้างนอก เราพูดกันในสภาตรงนี้ สาระมันก็คือเรื่องเดียวกัน พวกเขาเหล่านั้น เป็นเกษตรกร เป็นคนยากจน เป็นตัวแทนของคนที่มาจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง กลุ่มคนพื้นราบ กลุ่มคนที่อยู่ตามเกาะ คนที่อยู่ตาม ป่าชายเลน แม้กระทั่งกลุ่มคนจนเมือง ทุกคนล้วนเจอปัญหาที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิด้วยกัน ทั้งนั้น พวกเขาอยู่ที่นั่นเพียงเพื่อต้องการที่จะให้รัฐบาลใหม่ของเราแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้แก่ พวกเขา พวกเขาอยู่เพื่อที่จะรอพบนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้รับ ข้อเสนอของเขาไปดำเนินการแก้ไขปัญหานะครับ อย่างไรก็แล้วแต่การปักหลักรอของเขา รวมทั้งความหวังของเขาก็ยังไม่ได้รับการตอบรับในทางที่ดีพอ เมื่อวานนี้ผมได้ลงพื้นที่ไป พูดคุยกับพวกเขา ทราบว่าพวกเขาเป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่เดือดร้อนจริง ๆ ผมพยายาม ฟังเขา สิ่งที่เขาเรียกร้องสะท้อนออกมาว่าผู้มีอำนาจในรัฐบาลยังไม่ได้ให้ความสนใจเขา อย่างจริงจัง ไม่แม้กระทั่งจะรับฟังเขาอย่างจริงใจ ผมจึงขอถือโอกาสที่นี่สื่อสารเสียง ของพวกเขาไปยังผู้ที่มีอำนาจผ่านสภาแห่งนี้นะครับ ผมย้ำว่าข้อเรียกร้องของเขาไม่ได้ ต่างจากสิ่งที่พวกเรากำลังพูดกันที่นี่
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ การที่เขาอยู่โดยไม่มีเอกสารสิทธิทำให้ถูกจับกุมดำเนินคดี ถูกแย่งยึดที่ดินตามนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเรื่องนี้เป็นนโยบายของรัฐ และถือว่าเป็นการแย่งยึดสิทธิที่ดินในยุคสมัยใหม่ คือใช้กลไกระหว่างประเทศ และความต้องการของคนในยุคสมัยใหม่ในการไปแย่งยึดสิทธิของคนที่เขาอยู่ในเขตป่า มาก่อน หลายคนอาจจะเห็นด้วยกับการที่ต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียว แต่ภายใต้แนวคิดเรื่องของ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว ความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ของคนกลุ่มหนึ่งกลายเป็นพื้นที่ ที่จะต้องนำไปปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ไม่ได้รับการพัฒนาสิ่งสาธารณูปโภค มีชุมชนหลายที่ เขาอยู่มาก่อนแต่ไม่สามารถที่จะต่อไฟฟ้า ต่อน้ำประปา หรือแม้กระทั่งเรียกร้องให้มี การจัดทำสิ่งสาธารณูปโภคเข้าไปในชุมชนได้ อันนี้คือปัญหาที่กระทบต่อคุณภาพชีวิต ประจำวันของคนจริง ๆ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ ถูกจำกัดสิทธิในการใช้ที่ดินที่ถูกจำกัดเหลือเพียงแค่การทำ การเกษตร ในขณะที่บางพื้นที่เขามีศักยภาพในการใช้ที่ดินทำอย่างอื่น แต่ในเมื่อกฎหมาย เพียงอะลุ้มอล่วยให้เขาทำการเกษตรได้ ต่อให้เขามีศักยภาพก็ทำอย่างอื่นไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยด้วย ถูกบังคับให้ต้องเข้าโครงการ คทช. ซึ่งเป็นนโยบายแย่งยึดที่ดินของรัฐ รัฐบาลอาจจะเจตนาดี แต่ผลถึงที่สุด คทช. คือการแย่งยึดสิทธิ ที่สำคัญก็คือว่าคนที่ถือครองที่ดินอยู่อาศัยและทำประโยชน์รู้สึกไม่มี ความมั่นคง ต้องหวาดระแวงเพราะการไม่มีสิทธิมีโอกาสถูกจับกุมดำเนินคดีได้ทุกเมื่อ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อเสนอของภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาที่ดิน
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ ก็คือว่าพวกเขาเพียงเรียกร้องให้มีการจัดทำแนวเขตระหว่าง ที่ดินของรัฐกับที่ดินของประชาชนให้มีความชัดเจน ซึ่งถ้าเรื่องนี้ชัดเจนจะนำไปสู่การลด ความขัดแย้งในแนวเขตได้
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ก็คือการออกเอกสารรับรองสิทธิให้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ยกตัวอย่างภาคประชาชนตอนนี้เขาเรียกร้อง โฉนดชุมชน ผมย้ำว่าบางกลุ่มเขาคิดว่าโฉนดชุมชนสามารถเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาได้ บางชุมชนเรียกร้องให้มีการออก พ.ร.บ. คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อนำไปสู่การประกาศ เขตพื้นที่คุ้มครองวัฒนธรรมทางชาติพันธุ์ ที่จะนำไปสู่การสร้างกติกาที่เป็นธรรมในการใช้ ที่ดินและทรัพยากร รวมทั้งการออกหนังสือรับรองสิทธิประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ คทช. คือเขา ต้องการสิทธิ ไม่ใช่ต้องการเช่านะครับ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ คือยกเลิกเงื่อนไขและข้อจำกัดที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะเรื่อง การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ การกำหนดห้ามไม่ให้ออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ที่มีความลาดชัน เกินกว่า ๓๕ เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญก็คือว่ายกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เรื่องการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน คือมติ ครม. ฉบับนี้มีการจำกัดสิทธิในการพิสูจน์สิทธิ แล้วก็พิสูจน์สิทธิให้เพียงบางกลุ่ม สิ่งที่ประชาชนต้องการก็คือการพิสูจน์สิทธิต้องดำเนินการ อย่างเท่าเทียม และที่สำคัญก็คือว่าถ้วนหน้าโดยไม่มีการแบ่งแยกนะครับ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการสุดท้าย ก็คือการยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) เรื่องการห้ามออกโฉนดที่ดินสำหรับพื้นสูง ภูเขา และเกาะ ถ้ารัฐบาลสามารถที่แก้ไข ปัญหาเหล่านี้ได้จะทำให้ประชาชนอย่างน้อย ๕ ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่กว่า ๑๖.๙ ล้านไร่ พื้นที่เหล่านี้จะมีคุณูปการต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากครับ ขอบคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ครับ
นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ระนอง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย กระผมขอยื่นญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณา ศึกษาการติดตามผลปัญหาที่อยู่อาศัยและทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งรัฐได้ดำเนินการพิสูจน์สิทธิ การครอบครองแล้วในพื้นที่จังหวัดระนอง
นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ระนอง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับเนื่องด้วยประชาชนในพื้นที่ จังหวัดระนองมีประชาชนที่อยู่อาศัยและทำประโยชน์ในที่ดินจำนวนมาก หลายรายได้ ใช้ประโยชน์ในที่ดินมากกว่า ๔๐ ปีแล้ว ปัญหาหลักคือในการครอบครองที่ดินส่วนใหญ่ ยังไม่มีเอกสารสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย ด้วยความไม่มั่นใจว่าในที่ดินที่ใช้ประโยชน์อยู่ ณ วันนี้ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานหรือการสืบทอด จากทายาทในการใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ อย่างไร ประเด็นการเข้าไปถึงแหล่งเงินกู้เพื่อขอ สินเชื่อนำมาใช้เป็นทุนประกอบอาชีพก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ตลอดจนประชาชนที่ได้รับ ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นมาเป็นเวลานาน จนมีสภาพเป็นชุมชนที่อยู่อาศัย อย่างถาวรแล้วเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามหน่วยงานของรัฐได้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงของที่ดินเพื่อพิสูจน์สิทธิครอบครองและบุคคลในที่ดินของรัฐเมื่อปี ๒๕๖๕ แต่ก็ยังไม่ได้แจ้งผลให้ประชาชนทราบ วันนี้กระผมจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวเพื่อให้ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาในหัวข้อดังกล่าว ที่ผมได้นำเรียนเมื่อสักครู่นี้
นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ระนอง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ในจังหวัดระนองมีพื้นที่รวมประมาณ ๒,๑๔๑,๒๕๐ ไร่ ทิศเหนือติดจังหวัดชุมพร ทิศตะวันออกก็ติดจังหวัดชุมพร ทิศตะวันตก ติดประเทศเมียนมา ติดทะเลอันดามัน ส่วนทิศใต้ติดจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจังหวัดระนองจะอยู่ในเขตป่าหรือเขตอุทยานแห่งชาติเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี หมู่เกาะพยาม อุทยานแห่งชาติแหลมสน อุทยานแห่งชาติ น้ำตกหงาว และยังมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จังหวัดระนองเป็นจังหวัดที่ได้ชื่อว่า เมืองฝนแปดแดดสี่ แต่ในพื้นที่ทำกินส่วนใหญ่ที่มีเอกสารสิทธิอยู่แล้วประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ นอกนั้น ๗๐ กว่าเปอร์เซ็นต์จะเป็นที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิหรือเป็นที่ดินที่เรียกว่าประชาชน ทำมาหากินอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ว่าได้ แต่ถึงอย่างไรแล้วนี่ก็เป็นที่ดินที่อยู่กันมา ตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า รุ่นตา รุ่นยาย จนมาถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน ในพื้นที่ของจังหวัดระนอง มีทั้งหมด ๕ อำเภอ ใน ๕ อำเภอนี้ มีอำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น อำเภอกะเปอร์ อำเภอสุขสำราญ อำเภอเมืองระนอง ที่ผมได้นำเรียนว่าติดเขตอุทยานแห่งชาติทั้งหมด เขตป่าสงวนทั้งหมด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วยเช่นกัน ตรงนี้มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นเขต ตำบล จ.ป.ร. ของอำเภอกระบุรี ตรงนี้ผมก็ได้รับผลกระทบ จากท่านกำนันหัสดี แคล่วคล่อง ขออนุญาตเอ่ยนามท่าน ซึ่งท่านก็อยู่ในพื้นที่นี้แล้วท่านก็พยายามดูแลปัญหาของพี่น้อง ประชาชนในพื้นที่นี้มาโดยตลอดกับผู้ใหญ่บ้านทั้งหมด ๑๑ หมู่บ้าน ซึ่งปัญหาในพื้นที่นี้ เป็นที่ถูกต้องที่ทางนิคมสร้างตนเองปากจั่นได้ออกเอกสารสิทธิเป็น น.ค. ๓ ให้ และเมื่อได้มี การผ่อนชำระหนี้สินจนแล้วเสร็จ และออกโฉนดที่ดินให้เฉพาะบางแปลง บางแปลงติดอยู่ใน เขตภูเขา แต่คำว่าเขตภูเขานั้นเป็นเขตภูเขาที่อยู่ตรงช่วงตีนเขา ซึ่งก็อยู่ในเขตที่ดินที่ออก เอกสารสิทธิได้และเป็นแปลงเดียวกันที่อยู่ในนิคมสร้างตนเองปากจั่น นี่คือเป็นกรณีหนึ่ง
นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ระนอง ต้นฉบับ
อีกกรณีหนึ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ เป็นเขต ที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นเขตที่ปลูกต้นยางมาตั้งแต่ รุ่นปู่ รุ่นตา รุ่นยาย ๔๐ ปี ไม่สามารถเปลี่ยนพืชอาสินได้ ไม่สามารถโค่นต้นยางได้ นี่คือ ปัญหาของพี่น้องประชาชนในจังหวัดระนองปัญหาของที่ดินทำกินทั้งหมด ในส่วนของเขต อำเภอเมืองระนอง ท่านประธานที่เคารพ เขตอำเภอเมืองระนองเป็นเขตด้านเศรษฐกิจ เป็นเขตของประมง เป็นเขตของการท่องเที่ยว เป็นเขตชุมชนอาศัยทั้งหมดแล้ว โชคดีรัฐบาล สมัยที่ผ่านมาต้องขอชื่นชมท่าน ให้ คทช. คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้เข้ามา ช่วยดูแลที่ดินในเขตเมืองระนอง ยกตัวอย่างเขต Model ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ระนองที่เคยเช่ากับกรมป่าไม้ และวันนี้ให้ ทช. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ๕๐๐ ไร่ ได้เข้ามาเป็น Model ในการให้กรมธนารักษ์เป็นผู้ดูแลแล้ววันนี้ ผ่าน ครม. เรียบร้อย แต่ตอนนี้ติดเรื่องของกฤษฎีกาในการตรวจดูแลให้ความถูกต้องต่อไป เพื่อให้กรมธนารักษ์ เข้ามารับผิดชอบ ปัญหาสิ่งหนึ่งในเขตของป่าชายเลนนั่นคือไม่สามารถที่จะจัดสรร งบประมาณของท้องถิ่นลงไปพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถนน ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งน้ำ ประปา ไฟฟ้าก็ไม่สามารถดำเนินการได้ จนทำให้พื้นที่ ในเขตเมืองได้รับความเสื่อมโทรม ไม่ได้รับการดูแล เป็นสิ่งหนึ่งที่ผลประโยชน์ของพี่น้อง ประชาชนไปตกอยู่กับความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณ ของท้องถิ่นได้ นี่คือปัญหาหนึ่งของเขตที่อยู่ในเขตป่า แต่วันนี้ยังเหลืออีกประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าไร่ที่จะต้องเข้ามาดูแลแก้ไข และน่าจะใช้ Model ของ ๕๐๐ ไร่นี้เป็นแบบอย่าง ที่ดีต่อไป ส่วนหนึ่งออกเอกสารสิทธิที่ถูกต้องโดยกรมที่ดิน ๒๐๐ กว่าไร่ แต่ก็โดนเพิกถอนไป ก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนอีก แล้วก็เป็นช่องว่างให้กับหน่วยงานที่ผมได้นำเรียนเมื่อสักครู่นี้เข้ามาจับกุมประชาชน เข้ามาดูว่าประชาชนได้บุกรุกหรือไม่ ซึ่งจริง ๆ แล้วที่ดินเป็นที่ดินที่เป็นการสืบมาจาก ทางมรดกตกทอดกันมา แล้วก็เป็นที่เขาทราบอยู่แล้วว่าที่ดินแปลงนี้เป็นของบุคคลใด แต่ถึงอย่างไรแล้วก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมก็ต้องขอกราบขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยว่าก็เป็น แค่การป้องปรามที่ยังไม่ได้มีการจับกุมและขึ้นศาล แต่มีบางรายที่ไปบุกรุกโดยที่ถูกต้อง หรือไม่ถูกต้องนี้ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของการพิจารณาของศาลต่อไป ท่านประธาน ที่เคารพครับ สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่าวันนี้ปัญหาที่ดินทำกินไม่ใช่ว่า มีที่จังหวัดระนองอย่างเดียว ผมดูว่ามีปัญหาที่ดินตั้งแต่สมัยที่แล้วมีการตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาปัญหาที่ดินก็ยังไม่แล้วเสร็จ วันนี้จะให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาอีก ผมก็ยังไม่มั่นใจว่าจะได้ตั้งคณะกรรมาธิการหรือเปล่า แต่ถ้าเผื่อไม่ได้ตั้ง ก็ขอกราบนำเรียนท่านประธานสภาผ่านไปถึงผู้รับผิดชอบในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้ที่ดูแลเกี่ยวกับกรมธนารักษ์ หรือจากกรมต่าง ๆ ที่ดูแลในที่ดินต่าง ๆ ตรงนี้ให้เข้ามาดูแลแก้ไขให้กับพี่น้องประชาชน ที่ได้รับผลกระทบของปัญหาที่ดินทำกินต่อไป ปัญหาหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาที่ดิน ภ.บ.ท. ที่ออกมาแล้ว ๔๐ ปี ก็ไม่สามารถที่จะออกโฉนดได้ ก็อยู่ในเขตของอุทยานเช่นกัน หรือ น.ส. ๓ ก. ที่ออกมา ๒๐ ปี ไปออกโฉนดก็ไม่ได้ ติดปัญหาที่ดิน เพราะว่าติดอยู่ที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เช่นกัน มีแค่ถนนอย่างเดียวที่สามารถทำได้ และปัญหาต่าง ๆ ที่กราบเรียนเมื่อสักครู่นี้ก็ขอฝากท่านประธานด้วย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงได้รับการแก้ไขให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาที่ดินทำกินต่อไป ขอกราบขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณชนก จันทาทอง ครับ
นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาวชนก จันทาทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต ๒ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันได้ร่วมยื่นญัตติด่วนเรื่องที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชน ซึ่งญัตติของดิฉันนั้นได้ร่วม เสนอกับท่าน สส. เชิงชาย ชาลีรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย ดิฉันขออ่านร่างญัตติด่วนพร้อมกับให้เหตุผลประกอบนะคะท่านประธาน ดิฉันขอเสนอ ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไข ปัญหาการครอบครองและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส.ป.ก. และที่ดินเขตทับซ้อนกับที่ป่าสงวน แห่งชาติของประชาชน
นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ
เนื่องด้วยการครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. หรือเอกสาร ที่แสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. ออกให้ ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นได้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการ ทั้งในด้านวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินและข้อจำกัดสิทธิของผู้ครอบครองอันนำมา ซึ่งข้อพิพาททางกฎหมายกับรัฐหลายครั้ง จากการรวบรวมประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พบว่ามีประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมบางประการ รวมทั้งมีข้อเสนอแนะในการใช้ที่ดิน ส.ป.ก. ที่น่าสนใจ เมื่อพิจารณาจากสภาพสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การกำหนดเงื่อนไขการสืบทอดมรดกที่ดิน ส.ป.ก. เรื่องการอนุญาต ให้นำที่ดิน ส.ป.ก. มาใช้ในเชิงพาณิชย์นอกจากการใช้ในการเกษตรกรรมเท่านั้น เรื่องการไม่ได้ รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. เกี่ยวกับการยึดคืนที่ดิน ส.ป.ก. และประเด็นเรื่องการอนุญาตให้หน่วยงานท้องถิ่นนำที่ดิน ส.ป.ก. มาใช้ในการสาธารณประโยชน์ เช่นการจัดทำที่ทิ้งขยะในชุมชน ในขณะเดียวกันก็มีปัญหาการครอบครองที่ดินในเขตพื้นที่ ทับซ้อนกับเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่เกิดข้อพิพาทระหว่างประชาชนที่ครอบครองที่ดินอยู่ก่อน การประกาศเป็นเขตป่ากับหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากเขตป่าสงวนแห่งชาติหลายพื้นที่ ไม่มีสภาพความเป็นเขตป่าแล้ว ไม่อาจฟื้นฟูสภาพป่าคืนสู่ธรรมชาติได้ เนื่องจากมีประชาชน เข้าครอบครองทำประโยชน์จนมีสภาพเป็นชุมชนอยู่อาศัย กรณีนี้จึงเกิดผลกระทบ และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ อันเป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่ควรได้รับ การพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิทธิการครอบครอง และการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ของประชาชนในที่ดินทั้ง ๒ ประเภทข้างต้นให้เกิดความชัดเจน ด้านหนึ่งเพื่อรักษาไว้ซึ่ง ทรัพยากรธรรมชาติของรัฐ อีกด้านหนึ่งเพื่อการคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้มีความมั่นคง แน่นอนในนิติฐานะของตน อันถือเป็นประโยชน์สาธารณะที่สำคัญยิ่ง ที่ควรจะได้มีการศึกษา และแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังและเร่งด่วน ดังนั้นจึงขอเสนอญัตติด่วนดังกล่าวมาเพื่อให้ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาในเรื่องขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการครอบครอง และถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส.ป.ก. และที่ดินเขตทับซ้อนกับที่ป่าสงวนแห่งชาติของประชาชน ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ และข้อ ๕๐ ส่วนเหตุผลและรายละเอียดจะได้ชี้แจงในที่ประชุมสภาต่อไป
นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ การเสนอร่างญัตติด่วนในครั้งนี้ดิฉันได้รับการร้องทุกข์ จากพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นจำนวนมากถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ พี่น้องประชาชน ชาวจังหวัดหนองคายของดิฉันประกอบอาชีพเกษตรกรมากกว่าร้อยละ ๖๕ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจังหวัดหนองคายของเรามีพื้นที่ทั้งหมด ๑,๘๙๐,๐๐๐ ล้านไร่ พื้นที่ที่ยังไม่ได้ออก เอกสารสิทธิที่ดินทำกินให้กับพี่น้องประชาชนนั้นมากถึง ๘๒๐,๐๐๐ ล้านไร่ ส่วนใหญ่ จะเป็นพื้นที่ที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่ง ส.ป.ก. ก็คือสำนักงานปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมนั้นได้ยึดการออกเอกสารสิทธิตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พุทธศักราช ๒๕๑๘ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เก่ามาก ดิฉันยังไม่เกิดเลยค่ะ และยึดหลัก ๙ อรหันต์ ซึ่งบริบทข้อเท็จจริงในวันนี้ บริบทของสังคมนั้นเปลี่ยนไป ชุมชนเกษตรกรรมนั้นไม่ได้ทำเฉพาะเกษตรกรรมอย่างเดียว แต่ได้ประกอบอาชีพอื่นด้วย และอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญที่พี่น้องประชาชนเข้ามาร้องทุกข์เป็นจำนวนมากถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับนั้น เนื่องจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ คนที่ได้รับ เอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจจึงจะต้องขายต่อ ผู้ที่ซื้อต่อนั้นก็ไม่ได้นำไป ทำอาชีพอื่น ก็ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ ซึ่งทั้ง ๒ เหตุผลนี้เป็นเหตุผลที่พี่น้อง ประชาชนเข้ามาร้องทุกข์ แล้วก็เป็นเรื่องที่ดิฉันต้องนำเสนอญัตติด่วนในวันนี้
นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ
และในวันนี้เองพี่น้องประชาชน ชาวจังหวัดหนองคายมีความหวังกับนโยบายที่ดินพรรคเพื่อไทย ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ได้ประกาศในระหว่างการหาเสียงเอาไว้ว่าจะเร่งรัดออกโฉนด แก้กฎหมาย พิสูจน์สิทธิ จัดหา ที่ดินทำกิน ๕๐ ล้านไร่ เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ ทั้งหมดแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรก ก็จะเป็นการออกโฉนดให้กับประเภทเอกสารสิทธิ ส.ค. ๑ ซึ่งจะมีประมาณ ๑ ล้านแปลง ทั่วประเทศ กลุ่มที่ ๒ ก็คือเป็นเอกสารสิทธิประเภท ส.ป.ก. ทั่วประเทศนั้นจะมีประมาณ ๓๓ ล้านไร่ เป็นโฉนดเพื่อวนเกษตรแล้วก็ป่าไม้ กลุ่มที่ ๓ จะเป็นกลุ่มป่า แยกเป็น ๓ กลุ่มย่อย ก็จะเป็นกลุ่มป่าสงวน ๗ ล้านไร่ ปลูกป่าเศรษฐกิจเพื่อโฉนด กลุ่มที่ ๒ ก็คือ คนพื้นที่สูงกว่า ๑๐ ล้านไร่ ปลูกได้ ขายได้ และกลุ่มสุดท้าย กลุ่มที่ ๓ ก็คือชุมชน ๒๐,๐๐๐ หมู่บ้านชาวเขา ชุมชนท้องถิ่น เปลี่ยนเป็นนิคมสหกรณ์ป่าชุมชน และดิฉันก็มีเรื่อง ให้ดีใจนะคะ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายนที่ผ่านมา เมื่อท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ท่านธรรมนัส พรหมเผ่า รับตำแหน่ง มีอำนาจสั่งการทันที ท่านก็ลงมือทำ นโยบายนี้ทันที และประกาศว่าจะออกโฉนด ๓๓ ล้านไร่ ที่เป็นโฉนดที่ดินของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในประเภท ส.ป.ก. ให้กับพี่น้องประชาชน ดิฉันจึงนำเรียน ผ่านท่านประธานสภาไปยังคณะรัฐมนตรีให้ช่วยเร่งรัดแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน และเร่งรัด นโยบายการออกที่ดินทำกิน ๕๐ ล้านไร่ให้กับพี่น้องประชาชนโดยด่วนด้วยค่ะ ขอบพระคุณ ค่ะท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณธีระชัย แสนแก้ว ครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายธีระชัย แสนแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพครับ ผมใคร่ขอเสนอญัตติกับท่านเทียบจุฑา ขาวขำ ซึ่งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีเช่นเดียวกัน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษา แนวทางแก้ไขปัญหาการไม่มีที่ดินทำกินและลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน อย่างยั่งยืน
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเป็นคนสุดท้ายในการที่จะอภิปรายในฐานะผู้ เสนอญัตติสักเล็กน้อยนะครับท่านประธาน ที่ดินเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง ที่เป็นพื้นฐาน ที่มีความดำรงชีวิตของพี่น้องประชาชนทุกคน ที่ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความสำคัญที่สุด ต่อพี่น้องประชาชนของประเทศไทยที่มีอาชีพเกษตรกร ซึ่งเขาควรที่จะได้รับสิทธิ ในการครอบครองเพื่อประกอบอาชีพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน สูญเสียสิทธิในที่ดิน ซึ่งไม่ควรที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยในคราวนี้เลย กระผมกล่าวมานั้น มันเป็นหลักการตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ มาตรา ๗๒ (๓) รัฐพึงดำเนินการดังนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากร น้ำ พลังงาน โดยการจัดให้มีมาตรการกระจายถือครองที่ดิน เพื่อให้ประชาชนสามารถได้ที่ทำกินอย่างทั่วถึงก็เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญนะครับ แต่เรื่องจริง ในประเทศไทยปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ถือครองที่ดินของประเทศเรามี ความเหลื่อมล้ำอย่างสุดขั้ว คนรวยก็รวยขึ้น รวยเอา ๆ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น มีที่ดินเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นเท่าไรก็ซื้อเพิ่มอีกเพราะมันรวย คนจนก็มากขึ้น มากขึ้นเช่นเดียวกันคนจน นี่คือ จำนวนมากขึ้นครับ ก็คือคนจนจำนวนมากขึ้น จาก ๑-๒ ล้านคน เมื่อปีที่แล้วล่าสุด มีการลงทะเบียนบัตรคนจน ๑๔-๑๕ ล้านคน จากข้อมูลที่ถือครองที่ดิน ณ วันนี้ ผมถึงได้มา พูดว่ามันเหลื่อมล้ำกันจริง ๆ ที่ดินในประเทศไทย ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ที่มีอยู่ในประเทศอยู่ภายใต้ การครอบครองของคนรวย มีเพียง ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เป็นของพี่น้องประชาชน ทั่ว ๆ ไป ใน ๑๐๐ คน จะมีเพียง ๑๐ คนเท่านั้นที่ครองที่ดินในประเทศนี้ คนไทย ๙๐ คน ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง แล้วยังพบข้อมูลปัญหาความเหลื่อมล้ำให้ถือครองที่ดินในประเทศนี้ หากพูดเฉพาะกลุ่มที่มีที่ดินพบความเหลื่อมล้ำโดยที่ดินที่มีโฉนดจำนวน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ในจำนวน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้เป็นของคนส่วนน้อย ๕ เปอร์เซ็นต์ ก็คือคนรวย ๕ เปอร์เซ็นต์ เจ้าของที่ดิน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ และขณะเดียวกัน ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ครอบครอง ที่ดินที่มีโฉนดคิดเป็นพื้นที่เพียง ๒๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เป็นของประชาชน ที่แย่ไปกว่านั้น คนไทย ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ไม่มีที่ดิน ไม่มีโฉนดสักตารางวา ๗๕ เปอร์เซ็นต์ มันมีเอกสารอยู่ แต่ไม่เป็นไรครับ ที่ผ่านมารัฐบาลหลายชุดมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ของพี่น้องประชาชน และมีความพยายามที่จะหามาตรฐานและลดความเหลื่อมล้ำ ในการถือครองที่ดิน หรือแม้กระทั่งรัฐบาลชุดนี้ก็เช่นเดียวกัน กระผมอยากจะพูดถึง ประวัติศาสตร์หลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี ๒๕๔๖ กลุ่มชาวนาชาวไร่ชุมนุมกัน หลายครั้ง พี่น้องประท้วงแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินที่มีการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุนขูดรีด ศักดินาทั้งหลาย ในช่วงนั้นถ้าท่านประธานย้อนหลังไปก็คงจะทราบ ปี ๒๕๑๖ นะครับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลูกหลานทั้งหลายก็อาจจะยังไม่เกิด ขนาดผมเป็นเด็กนะครับ รัฐบาลขณะนั้นได้เสนอร่างพระบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อ สนช. และประกาศใช้ พระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๑๗ มาตรา ๘๑ ให้รัฐ พึงส่งเสริมให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง โดยปฏิรูปที่ดิน และวิธีการอื่น ๆ ที่พูดนี้ทำมานานแล้วนะครับ ความพยายามในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ขณะนั้นก็คือจัดสรรที่ดินประเภทต่าง ๆ ให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้ยากไร้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดสรรที่ดินของรูปนิคมสหกรณ์ นิคมสร้างตนเองที่มันเกิดขึ้น รัฐบาลก็พยายามทำ ในขณะนั้น มีพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อครองชีพ เมื่อปี ๒๕๑๑ และจัดที่ดิน ตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปี ๒๕๑๘ และจัดที่ดินแบบสิทธิทำกิน ในป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อปี ๒๕๐๗ มีกฎหมายเยอะแยะครับ ที่ผมจะพูดต่อไปก็คือ เพราะกฎหมายนี้ ปัญหาไม่มีที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชนก็ไม่มีทีท่า คือความหวัง มันแทบจะหมดไป ปรากฏว่าเวลาทำไปแล้วก็มีนายทุน ศักดินา ขุนศึก นักธุรกิจ ผมพูด เรื่องเหลื่อมล้ำตามญัตติ นักการเมืองบางกลุ่มด้วย แต่ไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในสภานี้ ใช้กลไก ถือครองที่ดินในการจัดสรรนี้แย่งมาครอบครองที่ดินของพี่น้องประชาชน ที่ได้รับการจัดสรร ตามกฎหมายที่กระผมได้กล่าวมา พอได้รับจัดสรรตามกฎหมายมันก็อย่างว่านี่ละ เหมือนกับ ไม่มีวินัยเหมือนกัน มือใครยาวก็สาวได้สาวเอา นอกจากนี้การจัดสรรที่ดินทำกินเพื่อให้พี่น้อง เกษตรกรยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เราจึงเห็นว่าหลายครั้งทุกวันนี้พี่น้องประชาชน เกษตรกรก็นัดชุมนุมเรียกร้อง เมื่อ ๒ วันก่อนผมผ่านไปอยู่ที่ข้างทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันอังคารที่แล้วมาจากทางใต้ เท่าที่ดูเดินลงไปสอบถามเขาบอกว่ามาจากที่ดินทางโน้น เหตุเพราะกระบวนการพิสูจน์สิทธิในการแก้ข้อพิพาทล่าช้า ราชการแก้ปัญหาล่าช้า ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีที่รองรับให้พี่น้องประชาชน และชุมชนเคลื่อนออกจากเขตหวงห้าม รวมทั้งมีปัญหาขาดแคลนบุคลากร คือขาดแคลนบุคลากรของเจ้าหน้าที่รัฐในการที่จะไป ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะไปจัดรูปที่ดิน จะไปออกโฉนด ขาดงบประมาณด้วย ในเรื่องต่าง ๆ เยอะแยะไปหมด ณ วันนี้ผมอยากจะยกตัวอย่างเป็นบางช่วงบางตอนก็คือ เกิดขึ้นมาเกือบ ๑๐๐ ปีแล้วครับ ผมขออนุญาตสะท้อนปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนที่ได้รับรายงานมา เมื่อได้รับรายงานมาผมอยู่ในพื้นที่ในเขตอำเภอ วังสามหมอ อำเภอศรีธาตุ อำเภอกุมภวาปี อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภออื่น ๆ ในเขตพื้นที่ป่าสงวน และป่าสงวนนี้บางครั้งก็เอามาจัดรูปที่ดินในนามของ ส.ป.ก. บ้าง ก่อนที่จะมาเป็น ส.ป.ก. ก็จัดรูปที่ดินในเขต ภ.บ.ท. บ้าง อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ จนถึงทุกวันนี้ไม่สามารถที่จะแก้ไขหรือเยียวยาปัญหาเหล่านี้ให้บรรเทาได้เลย ผมอยากจะขอ กราบเรียนท่านทั้งหลายว่าที่ดินป่าสงวนอยู่ในตัวอำเภอครับ อำเภอวังสามหมอ อำเภอศรีธาตุ บางส่วน เพราะอะไร ป่าสงวนมีบ้านช่องห้องหอ มีถนนหนทาง มีสิ่งอุปโภคบริโภคหมด แต่ยังเป็นเขตป่าสงวนอยู่ครับ เป็นเอกสารสิทธิที่เขาเรียกว่าป่าสงวน แล้วก็มาใช้เป็นสระออ ทั้งหลาย ที่ผมอยากจะกราบเรียนไปว่าคือไม่เป็นสระโอ เขาต้องการสระโอคือโฉนด ณ วันนี้ ก็ไม่มี วันดีคืนดี สมัยก่อนตอนผู้ก่อการร้ายมีเยอะแยะก็มาสร้างที่ว่าการอำเภออยู่ในป่าสงวน เขาก็มาถามผมว่าจะทำอย่างไร เวลาพี่น้องประชาชนเข้าไปอยู่ในป่า เข้าไปอยู่อาจจะบุกรุก เขาไม่มีที่ก็ต้องไปสมัยเมื่อประมาณที่ยกตัวอย่างมาตั้งแต่โน่น ผมก็เลยบอกว่าไม่เป็นไร ถ้าหากพี่น้องประชาชนไปอยู่ในป่า ไปบุกรุก ไปเผาถ่าน ไปอะไร อย่างนี้ ก็จะมีป่าไม้หรือแม้กระทั่งตำรวจไปจับ ผมก็เลยบอกว่าถ้าเป็นอย่างนี้นายอำเภอ หรือแม้กระทั่งนายก อบต. ที่ไปตั้งสถานี อบต. หรือนายอำเภอต้องไปจับนายอำเภอ กับนายก อบต. ก่อน แล้วทำไมจะต้องไปจับประชาชน เพราะนี่คือปัญหาอีกเล็กน้อยว่า ตอนนี้มันมีที่ดินกรมชลประทาน ที่ดินกรมชลประทานเดี๋ยวนี้ก็เอามาอยู่ เขาเรียกว่า ที่ดินกรมธนารักษ์ ที่ดินกรมธนารักษ์ก็สร้างปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน คือกรมธนารักษ์ ใหญ่มาก ณ วันนี้ และเป็นเจ้าที่ดินมาก ก็ไม่เป็นไรครับ แต่ในขณะเดียวกันอยากจะให้ ออกระเบียบอะไรต่าง ๆ ที่ให้ความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน อย่างกรณีกรมธนารักษ์ เราเช่ามาเป็นร้อยปี แต่เป็นที่ดินที่นอกเหนือจากนั้นเป็นที่ดินที่มันมีปัญหาลักษณะอย่างนี้ ผมอยากจะขอกราบเรียนที่ตำบลนายูง อำเภอศรีธาตุ เสร็จเรียบร้อยมันก็จะมีไร่นาสาโท เขาอยู่ในเขตตรงจุดนั้น ก็ครอบครองเหมือน ส.ป.ก. แต่กรมชลประทานให้กรมธนารักษ์ดูแล กรมธนารักษ์ดูแลเขาก็เสียเงินค่าเช่าให้กับกรมธนารักษ์ แต่เวลาเราต้องการอยากจะไปทำ ร้านอาหาร หรือไปทำอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าไม่ได้แจ้งเขาก็จะปรับเป็น ๑๐ เปอร์เซ็นต์ และมิหนำซ้ำในกรณีเช่นนี้ทาง อบต. ก็ไปเก็บเงินกับพี่น้องประชาชนอีก มันมีปัญหาอย่างนี้ ผมถึงอยากได้ว่าจากสระออเป็นสระโอเสีย จัดการให้มันเรียบร้อย ควรเปลี่ยนจาก ส.ค. เปลี่ยนมาเป็น น.ส. ๓ จาก น.ส. ๓ มาเป็นโฉนด เดี๋ยวนี้ ส.ป.ก. เยอะที่สุดในประเทศไทย ภ.บ.ท. ส.ป.ก. คทช. สทก. และสระอออื่น ๆ อีกมากมาย พวกสระออทั้งหลายต้องเปลี่ยน ให้หมดในรัฐบาลชุดนี้ ใกล้จะจบแล้ว ท่านประธานครับ ผมเกรงใจเหลือเกินผมพูด เป็นคนสุดท้าย พบว่าการกระทบมากที่สุดก็คือพี่น้องประชาชนมีที่ดินเพียงน้อยนิด มีชาวไร่ชาวนาที่เสียภาษีอีกมากมาย พวกเศรษฐีไม่ทำอะไรเลย สุดท้ายผมก็ขอกราบเรียน กับท่านเพื่อที่จะให้ท่านได้นำเสนอไปยังรัฐบาล ซึ่งก็มีนโยบายรัฐบาลชัดเจนอยู่แล้ว รัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการที่ดินให้พี่น้องประชาชนเป็นนโยบายแรกเลย วันนั้น เมื่อวันที่ ๑๑ เพื่อให้พี่น้องประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดิน และเป็นการสร้าง โอกาสให้ผู้ประกอบอาชีพในที่ดินให้มีรายได้สูงขึ้น และสามารถใช้ที่ดินให้เกิดความมั่นคง ในชีวิต คือสามารถมีโฉนดเข้าธนาคารได้ ประกอบการได้จากเกษตรกร เป็นนักธุรกิจ เป็นอะไร ให้ร่ำรวยเหมือนเจ้าสัวทั้งหลาย ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ผู้เสนอญัตติได้เสนอญัตติหมดไปแล้วนะครับ ต่อไปก็จะเป็นการอภิปรายของท่านสมาชิก ขณะนี้มีท่านสมาชิกได้ลงชื่อเพื่อจะขออภิปราย จำนวน ๓๓ ท่าน อีกสักครู่ผมก็คิดว่าเราคง จะปิดการเสนอชื่อ ตอนนี้ท่านผู้ใดที่ประสงค์จะอภิปรายยังไม่ได้ลงชื่อก็ขอให้มาลงชื่อ แล้วเราจะให้อภิปรายคนละ ๗ นาที เพราะว่า ๓๓ ท่าน ถ้าอภิปรายคนละ ๗ นาที จะใช้ เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง เราคงจะเลิกใกล้ ๆ กับเมื่อคืนนี้คือประมาณ ๒ ทุ่ม ท่านสมาชิกครับ เรื่องปัญหาที่ดินเป็นเรื่องใหญ่ของพี่น้องประชาชนที่ต้องการแก้ไข ผมจึงให้กำลังใจ ท่านสมาชิก ขอให้เราทำเรื่องนี้ให้จบในสมัยนี้ เพื่อประชาชนจะได้หายเดือดร้อน แล้วก็พูด กันมามากพอสมควร แต่อยากจะให้กำลังใจและขอให้คณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นมาช่วยกันทำ ให้มันเรียบร้อยและสำเร็จในสมัยนี้ เนื่องจากว่าทางฝ่ายพรรคร่วมฝ่ายค้านตอนนี้ก็ ๘ ท่าน พรรคร่วมรัฐบาล ๒๕ ท่าน ผมจะขอสลับเป็นดังนี้ว่าฝ่ายค้าน ๑ ท่าน แล้วก็สลับมา ฝ่ายรัฐบาล ๒ ท่าน เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็ขอเชิญพรรคร่วมฝ่ายค้านก่อน คุณมานพ คีรีภูวดล เชิญครับ
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านประธานครับ กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วนชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมขอสนับสนุน ญัตติของเพื่อน สส. ของผม คุณเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แล้วก็เพื่อนสมาชิกอีกทุกญัตติ ที่เสนอมาวันนี้ เรื่องที่ดินเป็นปัญหาใหญ่มาก ถ้าเราแก้ปัญหาเรื่องที่ดินได้ ความเป็นธรรม ในสังคมนี้เกิดขึ้นได้แน่นอน มีความพยายามที่จะทำเรื่องนี้หลายรอบมาก เอกสาร ที่อยู่ในมือผมนี้ รายงานเรื่องของการศึกษาปัญหาที่ดินและการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ที่ผ่านมา แล้วก็เพื่อนสมาชิกที่อยู่ในสภานี้ ผมคิดว่าคนที่เป็น กรรมาธิการมีตั้งแต่รัฐมนตรี และวันนี้ก็ไปเป็นรัฐมนตรี มีอยู่เกือบทุกพรรค เพราะฉะนั้น สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือคณะกรรมาธิการที่จะเกิดขึ้นมาใหม่นี้ ผมคิดว่าข้อเสนอต่าง ๆ อยู่ในเอกสารตรงนี้ค่อนข้างที่จะครบ เพราะฉะนั้นก็คือว่าการใช้เวลาในการศึกษาอาจจะ ไม่ต้องใช้เวลามากเท่าไรนัก เพราะมีข้อเสนอตั้งแต่โครงสร้างนโยบาย และเป็นเรื่อง ของฝ่ายบริหารเช่น ครม. สามารถดำเนินการ แค่แก้กฎกระทรวงต่าง ๆ ประเด็นที่ผม อยากจะพูดนี้ เนื้อหาที่ผมจะพูดต่อไปมันอยู่ในรายงานของคณะกรรมาธิการการที่ดิน เรื่องการออกเอกสารสิทธิในชุดที่ ๒๕ ทั้งหมดแล้ว ผมคิดว่าสมาชิกที่จะอภิปรายเรื่องนี้ ที่สนใจเรื่องนี้ เข้าไปดูใน Website ของรัฐสภา ได้จัดรูปเล่มไว้เป็นเอกสาร Digital มีหมดเลย อยากให้สื่อได้ขึ้นแผ่นสองแผ่นเมื่อสักครู่นี้ ก็เข้าไปดูได้เลยครับ มันมีเนื้อหา มีข้อเสนอต่าง ๆ ท่านประธานครับ ผมอยากจะเริ่มอย่างนี้ว่ารากของปัญหาเรื่องที่ดินและป่าไม้มีที่มาที่ไป ประเทศไทยมีอยู่ ๓๒๐ ล้านไร่ ไม่เกินกว่านี้ครับ ๓๒๐ ล้านไร่ วันนี้ ๑๓๐ ล้านไร่ มีโฉนด หมดแล้ว อยู่ในการดูแลของกรมที่ดิน และที่เหลือก็เป็นที่ของรัฐทั้งหมด ไม่ว่าการดูแล ของกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ ส.ป.ก. หรืออื่น ๆ ที่มาเป็นที่ดินของรัฐอยู่ในนี้ทั้งหมด ซึ่งมันเป็นปัญหาที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปราย ญัตติต่าง ๆ ซึ่งก็อยู่ในนี้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นประเด็นที่ผมอยากจะบอกว่าการแก้ปัญหาวันนี้ การใช้เวลาโดยเอาเอกสารต้นทุนที่มีอยู่ในชุดที่ ๒๕ หรือชุดก่อน ๆ ที่มีอยู่สรุปรวบรวม แล้วก็นำเสนอให้กับฝ่ายบริหารดำเนินการเลย ซึ่งมีรูปแบบการแก้ปัญหาที่ผมจะอภิปราย ในข้อเสนอเขาแบ่งเป็นกลุ่มอย่างนี้ครับ ตอนนี้พี่น้องประชาชนที่ไร้ที่ดินทำกินประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของคน ๖๕ ล้านคน ๑. ก็คือไร้ที่ดิน ๒. ก็คืออยู่ในที่ดินของรัฐที่ยังผิดกฎหมาย คือที่ดินที่ยังไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านคน อันนี้คือปัญหาใหญ่มาก คนเหล่านี้ ไม่สามารถที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เพราะเขาไม่สามารถที่จะเข้าถึงงบประมาณ ของแผ่นดิน ๓.๓ ล้านล้านบาทได้ ส่วนราชการเข้าไปทำก็ผิดกฎหมาย สิ่งเหล่านี้ผมคิดว่า ในเอกสารเล่มนี้อยากจะฝากคณะกรรมาธิการชุดใหม่ที่จะตั้งขึ้นมา ใช้เอกสารตรงนี้ เป็นตัวนำทางแล้วก็รีบสรุป แล้วฝ่ายบริหารจะได้ดำเนินการครับ กลุ่มปัญหาที่เป็นประเด็น สำคัญที่ผมอยากจะนำเรียนท่านประธานฝากไปยังคณะกรรมาธิการชุดใหม่ที่จะเกิดขึ้น เราแบ่งกลุ่มปัญหาออกเป็นอย่างนี้ เช่น กลุ่มปัญหากรณีที่ที่ดินในเขตป่าทั้งหมดที่ดิน ในเขตป่า กลุ่มปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของที่ดิน ส.ป.ก. กลุ่มปัญหาที่เกี่ยวกับที่ดินที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องของกระทรวงมหาดไทยคือที่ดินสาธารณประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น น.ส.ล. ทุ่งเลี้ยงสัตว์ ที่ดินที่ราชพัสดุ ที่ดินจากโครงการพัฒนาของรัฐ เช่น EEC เช่น ๖๖/๒๕๒๓ ที่เอาพี่น้อง คอมมิวนิสต์ออกมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ซึ่งตกลงมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ แล้ว ที่ดินการรถไฟ แห่งประเทศไทย ที่ดินที่มีปัญหาเรื่องของการใช้ทรัพยากรการใช้พื้นที่ของรัฐ เช่นเหมืองแร่ต่าง ๆ เหล่านี้ และที่สำคัญคือเราเสนอว่ามันต้องมีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย ที่ทุกคน และทุกหน่วยงานเข้าถึงได้ หลายรัฐบาลหลายคนบอกว่าเรามี One Map แล้ว ผมถามว่า One Map วันนี้อยู่ที่ไหน กล้าประกาศใช้ไหม กล้าประกาศใช้หรือเปล่า มันอยู่ตรงไหน ที่จะทำให้ปัญหาที่ดินถูกแก้ปัญหาทั้งหมด ผมอยากจะบอกท่านประธานอย่างนี้ว่าเรื่องที่ดิน ผมคิดว่าทั้งหมดมีประเด็นที่จะต้องแก้ปัญหา ส่วนมากเลยจะอยู่ในเชิงโครงสร้างทั้งหมดเลย ผมยกตัวอย่าง เช่น พ.ร.บ. ป่าไม้ ปี ๒๔๘๔ ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาของที่ดินเกือบทั้งหมด ที่ดิน ๓๒๐ ล้านไร่ พ.ร.บ. ป่าไม้ถาวร ปี ๒๔๘๔ เขียนนิยามความหมายว่า ป่าคือที่ดิน ที่ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ เพราะฉะนั้นก็คือว่าที่ดินที่ไม่มีกรรมสิทธิ์เมื่อปี ๒๔๘๔ ทั้งหมดคือเป็นป่า พี่น้องประชาชน เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละเขตก็จะรู้ว่าหลังคาบ้านก็เป็นป่า หลังคาวัดก็เป็นป่า หลังคาโรงเรียนก็เป็นป่า ที่ อบต. ก็เป็นป่า ที่ทำการอำเภอ ส่วนราชการ ก็เป็นป่า เพราะฉะนั้นปรากฏการณ์ที่สำคัญก็คือว่าตกลงแล้วพี่น้องประชาชนบอกว่า กฎหมายบุกรุกคน หรือว่าคนบุกรุกป่า กระบวนการต้นทางที่ไม่มีความยุติธรรมตั้งแต่ต้น ผมคิดว่าคือรากเหง้าปัญหา ซึ่งหมายความว่าจะต้องยกเลิกหรือแก้ไขปัญหากรณีนิยาม ความหมายของปี ๒๔๘๔ ตามมาด้วย พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ร.บ. ป่าสงวน ที่ดิน ที่ราชพัสดุต่าง ๆ เยอะแยะมากมาย ท่านประธานครับ อันนี้ก็คือว่าจะต้องแก้ในเชิงกฎหมาย และโครงสร้างของนโยบายทั้งหมด
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารครับท่านประธาน เรื่องนี้ก็คือไม่ต้อง แก้กฎหมายเลย ใช้มติ ครม. ต่าง ๆ แก้ได้เลย ผมยกตัวอย่าง กรณีที่ดินสหกรณ์ ๑๓ ป่า ๑๔ การนิคม ท่านประธานครับ ไปดูกฎหมายแล้วไม่ต้องแก้ พ.ร.บ. อะไรเลยครับ เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ซึ่งกฎหมายก็บอกว่าถ้าหากพี่น้องที่อยู่ในการนิคมอยู่ครบ ๕ ปี ก็สามารถที่จะออกกรรมสิทธิ์ได้เลย แต่วันนี้ผ่านไปแล้วกี่ปี ออกตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ พี่น้อง ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ วันนี้มีนโยบายทวงว่ายกเลิกการนิคมแล้วจะให้มาเป็น ส.ป.ก. ผมถามว่า พี่น้องประชาชนได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ประเด็นที่ ๒ ที่จะเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ตั้งแต่ ครม. ไปถึงกระทรวง กรณี ๖๖/๒๕๒๓ ฝ่ายความมั่นคงเคยสัญญาว่าพี่น้องที่มี ความคิดต่างอยู่ในป่าสู้รบกันออกมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ไม่ว่าที่เพชรบูรณ์ เชียงราย หรือที่อื่น วันนี้พี่น้องทั้งหมดที่ถูกหลอกมาก็ได้ ใช้คำว่าถูกหลอกมาก็ได้ สิทธิต่าง ๆ ยังไม่เกิดขึ้น
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายผมคิดว่าอันนี้เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารเลยโดยไม่ต้องให้ คณะกรรมาธิการศึกษาก็ได้ วันนี้เราก็เสนอได้เลย ลดความขัดแย้ง บรรเทาความขัดแย้ง ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับพี่น้องประชาชน ผมยกกรณีตัวอย่าง ที่ดินพี่น้องชาวบางกลอย ที่แก่งกระจาน ท่านประธานครับ ในแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศระบุไว้ชัดเจนว่า บ้านใจแผ่นดินที่ปู่คออี้อยู่ อยู่ตั้งแต่ปี ๒๔๔๕ อุทยานแห่งชาติประกาศเมื่อปี ๒๕๓๒ และคนเหล่านี้ถูกโยกย้าย ผมถามว่าความยุติธรรมเหล่านี้อยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้นกรณีเร่งด่วน ต่าง ๆ เหล่านี้ใช้อำนาจของฝ่ายบริหารตั้งกลไกความร่วมมือแก้ไขปัญหา ทั้งหมดนี้ ท่านประธานครับ ผมอยากจะสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนด้วย และเฉพาะหน้าด้วย และที่สำคัญผมคิดว่าต้นทุนในการศึกษาของคณะกรรมาธิการว่าด้วยเรื่องที่ดินและการออก เอกสารสิทธิของรัฐสภา ชุดที่ ๒๕ มีความพร้อมและเพียงพอ เราใช้เวลาในการศึกษา เกือบ ๔ ปี กว่าจะได้ข้อสรุป เพราะฉะนั้นก็คือว่าเพื่อไม่ให้เสียเวลา ผมอยากจะให้ คณะกรรมาธิการชุดใหม่ได้เอาเล่มนี้ไปศึกษา ขอจากเจ้าหน้าที่รัฐสภาได้ครับ ขอบคุณมาก ท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไป ฝ่ายรัฐบาล ๒ ท่าน ท่านแรก คือคุณปทิดา ตันติรัตนานนท์ ท่านที่ ๒ คือท่านณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ เชิญคุณปทิดาครับ
นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ปทิดา ตันติรัตนานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ เขตเลือกตั้งที่ ๘ พรรคภูมิใจไทย ในวันนี้ดิฉันขออภิปรายกับสภาผู้แทนราษฎรในญัตติ เรื่องปัญหาที่ดินทำกินของประชาชน และขอสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิกทุกญัตติ เพราะดิฉันเชื่อว่าวันนี้เพื่อนสมาชิกแต่ละท่านรับทราบปัญหาและมองเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ ควรจะได้รับการแก้ไข ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราเชื่อว่าปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน มีสภามา หลายสมัยมากค่ะท่านประธาน แต่ปัญหาที่ได้รับการแก้ไขอาจจะอยู่ในวงแคบ ๆ ที่ยังไป ไม่ถึงทั่วประเทศไทยของเรา ดิฉันอยากจะให้มองว่าในรัฐบาลสมัยนี้ โดยเฉพาะ ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ท่านได้พูดถึงเรื่องปัญหา ถ้าปัญหาเกิดขึ้นตรงไหน เราก็แก้ไข แก้ไขในระเบียบถ้ามันไม่ได้ผิดระเบียบเกินไป หรือถ้าคนมีปัญหาก็ให้แก้ไขที่คน ดิฉันจึงมองว่าในรัฐบาลชุดนี้น่าจะมองเห็นแนวทาง และปัญหาเรื่องที่ดินทำกินก็คงจะมี โอกาสได้เกิดการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมได้มากขึ้นนะคะท่านประธาน
นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนที่ยืดเยื้อแล้วก็ เรื้อรังมาอย่างยาวนาน อาจจะเกิดจากความผิดพลาดและล่าช้าในการออกเอกสารสิทธิ ในพื้นที่ทับซ้อนกับเขตป่าสงวนแห่งชาติ ขอยกกรณี Case ของอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ในปี ๒๕๑๙ ทางชายแดนของเรามีภัยสงคราม ทหารก็มีการอพยพราษฎร ที่อยู่ตามชายแดนบริเวณบ้านตาเกาว์ หมู่ที่ ๓ บ้านพาชื่น หมู่ที่ ๑๐ บ้านตาเกาว์พัฒนา หมู่ที่ ๑๘ บ้านศรีพระจันทร์ หมู่ที่ ๑๑ บ้านใหม่พาชื่น หมู่ที่ ๒๐ พื้นที่ที่อพยพไปอยูในเขต ตำบลกาบเชิง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ราษฎรในพื้นที่ดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากที่ดินทำกินอยู่ในครอบครอง ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าทุ่งมน-บักได-ตาเบา แปลงที่ ๓ แต่ทางราชการในขณะนั้นได้จัดสรรที่ดินทำกินให้กับ ผู้อพยพภัยสงครามโดยไม่ได้มีการออกเอกสารสิทธิให้รวมทั้งหมด ๕ หมู่บ้าน เนื้อที่ทั้งหมด ๓,๕๐๐ ไร่ จนถึงปัจจุบันนี้สภาพป่าไม่มีหลงเหลืออยู่แล้วนะคะท่านประธาน การขาด เอกสารสิทธิที่แน่ชัดของราษฎรในพื้นที่ทับซ้อนกับเขตป่าสงวน นอกจากในพื้นที่ อำเภอกาบเชิงแล้ว ดิฉันเชื่อว่ายังเป็นปัญหาต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับราษฎรในอีกกว่า ๒๓ จังหวัด ทำให้ประชาชนขาดความมั่นคงในเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน จำเป็นต้องมี การแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยการลงตรวจสอบพื้นที่จริง ๆ และดำเนินงานในกรอบการรักษา พื้นที่ป่าจริง ๆ แยกให้ชัดเจนเลยว่าพื้นที่ไหนที่เป็นพื้นที่ป่าจริง ๆ ก็ให้ประกาศเลย เป็นพื้นที่ป่า ส่วนพื้นที่ไหนที่สภาพป่ามันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว ความเจริญมันไปถึงแล้ว ประชาชนอยู่กันมาอย่างยาวนานก็ควรจะให้มีการดำเนินการทางเอกสารให้ชัดเจนเกิดขึ้น โดยไม่ให้กระทบกระเทือนกับสภาพป่าจริง ๆ ค่ะท่านประธาน และการกำหนดพื้นที่ ป่าสงวนใหม่ในส่วนที่บ้านเรือนราษฎรอาศัยอยู่อย่างยาวนานก็จะเกิดความถูกต้องชัดเจน มากขึ้น ในกรณีนี้หลังจากการตรวจสอบร่วมกันของจังหวัดสุรินทร์ของเรา แล้วก็ ทางอำเภอกาบเชิง ได้แจ้งไปยังกรมป่าไม้เพื่อนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการยกเลิก พื้นที่ป่าสงวนและขอให้ส่งมอบพื้นที่ตรงนี้ ออกเอกสารสิทธิที่ดินทำกินให้กับราษฎร ตามหนังสือของจังหวัดสุรินทร์ที่ได้นำเสนอให้กับทางอธิบดีกรมป่าไม้ ด่วนที่สุด เลขที่ สร ๐๐๑๔.๓/๖๐๑๕ ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ในข้อเสนอของดิฉัน ดิฉันขอเรียน หารือผ่านท่านประธานไปยังอธิบดีกรมป่าไม้ โดยผู้อำนวยการศูนย์ป่าไม้สุรินทร์ให้เร่งส่งมอบ พื้นที่ให้กับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ ราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อจะให้ราษฎรมีความมั่นคงแล้วก็เกิดความมั่นใจในการที่จะมี ที่ดินทำกิน ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายการปรับปรุงพื้นที่ทับซ้อนแบบ One Map ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ท่านประธานคะ จริง ๆ แล้ว เขตพื้นที่บริเวณตำบลกาบเชิง ๕ หมู่บ้าน ที่ดิฉันได้นำเรียนท่านประธาน เป็นพื้นที่ที่อยู่ บริเวณที่ว่าการอำเภอ โรงพยาบาลกาบเชิง เป็นที่ดินทำมาหากินของพี่น้อง ไม่มีสภาพป่า หลงเหลืออยู่แล้ว และจริง ๆ ในเขตอำเภอกาบเชิง อำเภอบัวเชด ก็จะมีกรณีอย่างนี้เกิดขึ้นมากมาย ดิฉันจึงฝากถึงท่านประธานสภาไปถึงรัฐบาลว่าเอกสารสิทธิที่ออกให้เพื่อจะให้ประชาชน ได้เกิดความมั่นใจ แล้วก็จะได้ใช้สิทธิเต็มที่ในสิทธิประโยชน์ที่รัฐบาลให้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เกิดอุทกภัย การช่วยเหลือราคาพืชผลการเกษตร แต่ทุกวันนี้พี่น้องที่ทำการเกษตรที่ไม่มี เอกสารสิทธิจะไม่ได้รับประโยชน์ตรงจุดนี้ ถือว่าทำให้เกิดความไม่มั่นคงในเรื่องของ การทำมาหากินของเกษตรกร ดิฉันจึงกราบเรียนท่านประธานสภาผ่านไปถึงรัฐบาลว่าขอให้ ช่วยดำเนินการอย่างจริงจัง พวกเรารอความหวัง และดิฉันเชื่อว่าถ้าดำเนินการได้ในที่ใด ที่หนึ่งเกิดขึ้น จะเป็นตัวอย่าง เป็น Case ที่สามารถจะต่อเนื่องไปถึงทุก ๆ จังหวัด ทุก ๆ พื้นที่ที่มีปัญหาเช่นเดียวกันนะคะ กราบขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานนิดเดียวครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ก่อนที่สมาชิก ท่านอื่นพูด ผมขอใช้สิทธินิดเดียวได้ไหมครับ ผมมานพครับท่านประธาน เรียนท่านประธานครับ ผม มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วนชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ก่อนที่ผมจะอภิปรายเมื่อสักครู่ ผมพยายามทำสมาธิ มีเพื่อนสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายและใช้คำว่า ชาวเขา ซึ่งผมคิดว่าเป็นคำที่ ตกยุคไปแล้ว ในสังคมไทยเราจะใช้คำว่า ชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง แล้วก็ชาติพันธุ์คนไทย ไม่ว่า จะอยู่ทางภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ เราทุกคนล้วนเป็นคนชาติพันธุ์ แล้วก็โดยระดับสากล เขาใช้คำว่า ชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ได้รณรงค์ ในความเป็นพหุสังคมว่าเราควรจะใช้คำว่า ชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง คำที่ใช้ว่า ชาวเขา เป็นคำที่ตกยุค และมันมีนัยที่ไม่ค่อยดีเท่าไร ขอบคุณมากท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญคุณณัฏฐ์ชนนครับ
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๗ อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย ตำบลลำไพลของอำเภอเทพา ท่านประธานครับ ปัญหาที่ดิน มันเป็นปัญหาใหญ่คู่กับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ตั้งแต่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ชุดที่ ๑ ถึงชุดที่ ๒๖ ชุดปัจจุบัน มีการนำเสนอญัตติเกี่ยวกับเรื่องเอกสารสิทธิและที่ดิน ทำกินทุกครั้งครับท่านประธาน แต่ไม่เคยแก้ไขได้เพราะอะไร และเราคาดว่าไม่สามารถ จะแก้ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ นี้ ท่านประธานครับ เรามาดูภาพรวมว่าประเทศไทยมันมีพื้นที่ เท่าไร ที่เราถกเถียงกันนี้มันไม่มีเอกสารสิทธิ พื้นที่ทับซ้อน พื้นที่ป่าไม้ อุทยาน ตกลงว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมด ๓๒๐.๗๐ ล้านไร่ มี ๓๐๐ กว่าล้านไร่ครับท่านประธาน ดูแล โดยกรมที่ดินประมาณ ๑๓๐ ล้านไร่ ตีเป็น ๔๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ ส.ป.ก. ๓๔ ล้านไร่ คิดเป็น ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ป่าสงวนเป็นเขตป่า ๑๔๔ ล้านไร่ คิดเป็น ๔๕ เปอร์เซ็นต์ ท่านประธานรู้ไหมว่าพื้นที่กรมที่ดินดูแลประมาณ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ แต่พื้นที่ป่าสงวน ๔๕ เปอร์เซ็นต์ นี่เป็นนัยทางตัวเลข เป็นพื้นที่ราชพัสดุประมาณเกือบ ๑๐ ล้านไร่ สรุปแล้ว เป็นพื้นที่รัฐ ๑๕๔ ล้านไร่ ที่ประชาชนครอบครองจริง ๆ คือ ๑๖๕ ล้านไร่ เห็นไหมครับ แค่ตัวเลขแบบนี้ตีกันตายแล้วครับท่านประธาน เพราะเป็นพื้นที่รัฐครึ่งหนึ่ง พื้นที่ประชาชน ครอบครองครึ่งหนึ่ง วันนี้ประชาชนของคนไทยทั้งประเทศ ๖๔ ล้านคน หรือว่าเกือบ ๖๕ ล้านคน มีคนถือครองแค่ ๑๖ ล้านคน มีคนไทยอีก ๔๙ ล้านคนที่ยังไม่มีที่ดินครอบครอง สักตารางนิ้ว ปัญหาก็เลยเรื้อรัง นี่คือสถิติทางตัวเลขที่เราถกเถียงกัน เพราะฉะนั้นปัญหา ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเกิดจาก รัฐบาลไม่สามารถออกโฉนด น.ส. ๓ ให้ เพราะอะไรครับ ไม่มีงบประมาณ นี่คือข้ออ้างและเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่หน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะกรมที่ดิน สำรวจ เขาเรียกว่ารังวัดหลอก ไปรังวัดหลอกให้ความหวังไปกับชาวบ้านเกือบทุกพื้นที่ ในประเทศไทย อันที่น่ากลัวที่สุดก็คือการเก็บเงินค่าโฉนดล่วงหน้า เขาเรียกว่า เก็บค่าโฉนดทิพย์ ไปเก็บกับชาวบ้าน ๓,๐๐๐ บาท ๔,๐๐๐ บาท ๕,๐๐๐ บาท บางพื้นที่ ๑๐ ปีแล้วไปเก็บเขาล่วงหน้าไม่รู้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่หรือนายหน้า เพราะฉะนั้นสิ่งที่ประชาชน เบื่อที่สุดก็คือหน่วยงานราชการก็คือที่ดิน เพราะช้า นาน ไม่สามารถเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว เพราะฉะนั้นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือกระบวนการต้มตุ๋นประชาชนในเรื่องของโฉนดที่มีมา อย่างยาวนาน ท่านประธานรู้ไหมว่าแก๊ง Call Center มันเพิ่งมี แต่แก๊งออกโฉนดปลอม แก๊งโกงโฉนดมันมีมายาวนาน และปัจจุบันยังดำเนินการอยู่ เพราะฉะนั้นก็อยากจะฝากไปยัง รัฐบาล ผมขอยกตัวอย่างครับ วันนี้เรามีอยู่ ๑๐ ไร่ มูลค่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท ทำอย่างไร ให้มูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องทำธุรกิจ ไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องใช้นโยบายรัฐ ง่ายที่สุด ออกโฉนดพรุ่งนี้ ราคามูลค่าจาก ๑๐ ไร่ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นเป็น ๑ ล้านบาท ภายใน ๑ วันโดยไม่ต้องลงทุน เพราะฉะนั้นนี่ก็คือสิ่งที่รัฐบาลต้องรีบดำเนินการ ปัญหาที่ดินครับท่านประธาน มันมีที่ดิน สาธารณประโยชน์ ที่ดินอุทยาน ที่ดินป่าไม้ ที่ดินเขตห้ามล่า และที่ดินอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ เป็นอะไรครับ เขาเรียกหลุมพรางของคนจนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะฉะนั้นสิ่งที่ ผมพูดมาทั้งหมดว่าวันนี้มันมีประกาศ มันมีข้อห้าม ห้ามเปลี่ยนทิศทางน้ำ ห้ามปลูกต้นไม้ ห้ามโค่น ห้ามเข้าไปทำสิทธิต่าง ๆ ในพื้นที่สาธารณประโยชน์ ผมเคยอภิปรายแล้ว มันมีอยู่ ข้อเดียวที่ไม่ห้ามก็คือห้ามหายใจในพื้นที่ของรัฐ สรุปแล้ววันนี้ชาวบ้านที่บ้านแกแดะ ท่านประธานจำได้ไหมครับ ธารคีรี สะบ้าย้อยเป็นพื้นที่ติดกับจังหวัดยะลา ชาวบ้านอาศัยมา อยู่ก่อน ป่าไม้มาบอกว่าติดเขตป่า อุทยานบอกว่าติดเขตอุทยาน ท่านประธานครับ มันเป็น ข้อพิพาทระหว่าง ๓ ส่วน ประชาชน ป่าไม้ อุทยานในพื้นที่เดียวกัน นี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้น สรุปประชาชนมีโอกาสที่จะถูกดำเนินคดี เพราะฉะนั้นสิ่งที่ประชาชนเสียโอกาสจากที่ดิน ไม่มีเอกสารสิทธิ ยกตัวอย่างให้เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เห็น และพี่น้องประชาชน ได้ทราบว่าวันนี้การจัดทำงบประมาณของประเทศ หน่วยรับงบประมาณต้องทำอย่างไร ขออนุญาตใช้ที่ครับ ถ้าไม่ขออนุญาตใช้ที่ท่านไม่สามารถของบประมาณของประเทศนี้ได้ ตำบลคลองกวางของผม อำเภอนาทวี โชคดีติดอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ๓๐๐,๐๐๐ ไร่ แต่ที่เขาโชคร้ายไม่สามารถทำโครงการในพื้นที่ได้ เพราะ สตง. เพราะ ป.ป.ช. เพราะอุทยาน ไม่อนุญาต ผมจะถามท่านประธานครับ อีก ๑๐๐ ปีตำบลนี้จะมีโครงการไปลงไหม ไม่มีครับ เพราะไม่สามารถเอางบประมาณไปลงได้ เราจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไร นอกจากพื้นที่ ที่ผมยกตัวอย่างทั้งประเทศ พื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ เป็นพื้นที่ที่โดนทอดทิ้ง และคุณไม่มี โอกาสจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ผมเองก็เลยอยากจะฝากว่าสรุปปัญหาที่ดินทำกิน เรื่องเอกสารสิทธิเป็นเรื่องใหญ่สำหรับปากท้องของประชาชน เป็นเรื่องใหญ่สำหรับ การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นเรื่องใหญ่สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นเรื่องใหญ่ สำหรับความมั่นคงในชีวิต เป็นเรื่องใหญ่สำหรับการที่ได้รับความเป็นธรรมที่เขาเกิดมา เป็นคนไทยคนหนึ่ง จึงขอให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาที่ดินโดยด่วน ขอบคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง ครับ
ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน อรพรรณ จันตาเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๖ คนอำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ พรรคก้าวไกล วันนี้ ดิฉันจะขออนุญาตเป็นส่วนหนึ่งในการอภิปรายเรื่องปัญหาที่ดินทำกินของพี่น้องเกษตรกร ของเราด้วยนะคะ พื้นที่ของดิฉันเป็นพื้นที่ที่อยู่ชายแดน ประกอบไปด้วยอำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอพร้าว และอำเภอไชยปราการ
ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ โฉนดรวมกันทั้งหมดไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ท่านประธานสภาฟังไม่ผิดแน่นอน รวมกันทั้งหมด ไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นเอกสารของรัฐทั้งหมดเลย ซึ่งประกอบไปด้วยอุทยานแห่งชาติ ดอยผ้าห่มปก อุทยานแห่งชาติผาแดง อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง อุทยานแห่งชาติศรีลานนา และยังไม่พอ ยังมีเขตป่าสงวนอีก เขตป่าสงวนยังไม่พอ ยังมีเขตรักษาพันธุ์อีกในเขตของดิฉัน ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ก็คือความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับกฎหมายกับพี่น้อง ประชาชน พี่น้องประชาชนตกเป็นผู้กระทำความผิด เนื่องจากการเกิดในพื้นที่ป่า พื้นที่ป่า ที่พูดถึงก็คือพื้นที่ที่รัฐประกาศทับพื้นที่ที่ดินทำกินของพี่น้องเกษตรกรด้วย พี่น้องของเรา โดนขับไล่ โดนดำเนินคดี ด้วยนโยบายทวงคืนผืนป่าจากรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ ยังไม่พอค่ะ โดยกฎหมายที่ยังต้องต่อสู้กันต่อไปแบบนี้ โดยกฎหมายที่ชราภาพเหลือเกิน มันควรจะมี การเปลี่ยนแปลงได้หรือยังคะ
ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ยกตัวอย่างบ้านปาง นี่คือแผนที่ของบ้านปาง ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จุดกลาง ๆ เป็นพื้นที่ของหมู่บ้านปาง แต่ไม่สามารถออกโฉนดได้ จุด ๑๐๓๖๐๘ เลข ๘ อยู่นอกเขต แต่อยู่ในเขตป่า แต่สามารถออกโฉนดได้ค่ะท่านประธาน แบบนี้มันมีคำถาม จากดิฉันแล้วก็พี่น้องประชาชนที่ฝากมาถามท่านประธานว่าแบบนี้ก็ได้หรือคะท่านประธาน
ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง เชียงใหม่ ต้นฉบับ
Slide ต่อไป บ้านห้วยทราย ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ หมู่บ้านนี้ตั้งตั้งแต่ปี ๒๓๘๖ ภายหลัง ๑๔๖ ปีให้หลัง อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ออกประกาศพื้นที่ทับที่ดินทำกินของพี่น้องทั้งหมด พี่น้องของเราก็ไม่มีการย่อท้อ ใช้วิธีการ ขับเคลื่อนมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ ไม่เคยอยู่นิ่ง ขอเพิกถอนพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งหมด จนมาถึงทุกวันนี้ ๒๐ กว่าปีแล้วยังไม่มีการเพิกถอนใด ๆ เลย แล้วแบบนี้พี่น้องบ้านห้วยทราย จะอยู่แบบนี้ไปอีกกี่ปี
ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง เชียงใหม่ ต้นฉบับ
Slide ต่อไป เป็นเอกสารที่พี่น้องของเราได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ แล้ว นี่คือบ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หมู่บ้านนี้ตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ กองทัพบกได้ขอใช้พื้นที่กับป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อให้กับกลุ่มทหารจีนคณะชาติที่ร่วมสู้รบ ที่ดอยผาตั้ง เขาค้อ เมื่อ ๖๐ ปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันนี่คือสภาพของบ้านอรุโณทัย ไม่เหลือ สภาพของความเป็นป่า ตอนนี้มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๓,๐๐๐ กว่าครัวเรือน จำนวน ประชากรทั้งหมดประมาณ ๒๕,๐๐๐ กว่าคน แต่สภาพของความเป็นป่าไม่มี แต่ไม่สามารถ ดำเนินการในเรื่องของระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้เลย
ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง เชียงใหม่ ต้นฉบับ
Slide ต่อไป เป็นรูปการขนน้ำ นี่คือวิถีชีวิตคนที่อยู่ในเขตป่าที่ถูกทับที่อยู่ คือต้องขนน้ำ นี่คือน้ำใช้ ไม่ใช้น้ำกิน ไม่ต้องพูดถึงระบบสาธารณูปโภคอย่างอื่นเลย แค่สวัสดิการ แบบนี้ยังไม่สามารถเข้าถึงได้เลย ยังไม่พอ ปัญหาเรื่องน้ำ เรื่องไฟ เรื่องถนนหนทาง คนที่รู้ปัญหาที่ดีที่สุดคงจะเป็นใครไม่ได้นอกจากนายกท้องถิ่นที่รับปัญหา แบกรับภาระ แบกความหวังของพี่น้องมาโดยตลอดว่าเข้ามาเพื่อจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่ไม่สามารถ แก้ไขปัญหาได้ในเรื่องของอำนาจในการตัดสินใจ ทั้งหมดยังไม่พอ อำนาจในการตัดสินใจทั้งหมดอยู่ที่รัฐส่วนกลาง ยกตัวอย่าง เช่นการขออนุญาต ทำถนน ๑ เส้น ระยะเดินทางในการขออนุญาต ท่านนายกบางท่านตั้งงบประมาณไว้ตั้งแต่ รับตำแหน่งจนถึงหมดวาระตำแหน่งแล้วยังไม่สามารถขออนุญาตได้เลยค่ะ แบบนี้ไม่สามารถ เจริญต่อไปได้เลย มันจะดีกว่าไหมเมื่อถนนหนทางหรือระบบสาธารณูปโภคทั้งหมด ความเจริญ ความสะดวกสบายของพี่น้องของเราทั้งหมดมันควรจะโอนอำนาจไปให้กับ ท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นในการพิจารณาซ่อม สร้าง เพื่อให้เข้าถึงระบบความเจริญต่อไป ดิฉันว่าตอนนี้ถ้ารัฐจะออกโฉนดก็ออกโฉนดไปเลย จะออกใบรับรองสิทธิหรือว่าอะไร ก็ทำไปเลย แต่วันนี้เราทุกคนควรจะให้ที่ดินชอบด้วยกฎหมายได้แล้ว การจะแก้ไขญัตติ ทั้งหมดที่เราพูดมาดิฉันว่าควรจะแก้ไขให้เป็นอันเดียวกันทั้งหมดไปเลย ไม่ว่าจะเป็น เขตอุทยาน เขตป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดิฉันกลับมาอ่านเล่มนี้ทั้งหมดในชุดที่ ๒๕ ที่ผ่านมา มีแนวทางชัดเจนแน่นอนอยู่แล้วว่าเราจะต้องทำอะไรบ้าง เหลือเพียงอย่างเดียว เหลือแต่ความจริงใจ จริงจัง ที่เราจะแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน ถ้าหากวันนี้ยังไม่มี การแก้ไข พี่น้องประชาชนของดิฉันฝากมาเป็นภาษาเหนือบอกว่า ข้าเจ้าอยู่บ้าน ก๋านงาน ก่อบ่มี ฮับจ้างยิ้บสลี หัวมีก้างิ้ว ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ครับ
นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ กาญจนบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย วันนี้เรามาพูดเกี่ยวกับปัญหาที่ดินของประชาชน ก็คงจะเกี่ยวโยงกับที่ดินของรัฐ ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีที่ดินของรัฐประมาณ ๑๐ ประเภท ที่ประกาศครอบครองพื้นที่ ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์บ้าง เพื่อการใช้ประโยชน์แต่ละวัตถุประสงค์ ซึ่งการประกาศแต่ละห้วงเวลานั้นก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เราประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เราประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หรือประกาศพื้นที่ ส.ป.ก. ที่นิคม ที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือที่จัดสรรของการไฟฟ้า หรือที่ดินของ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งที่ราชพัสดุ แต่ละประเภทนั้นมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันมาก แต่ปัญหาที่เกิดวันนี้เกิดจากการบริหารจัดการทั้งสิ้น ผมเชื่อว่าการประกาศในแต่ละห้วงนั้น วัตถุประสงค์ การประกาศก็เพื่อที่จะรักษาพื้นที่ เพื่อที่จะรักษาแหล่งพันธุ์พืช พันธุ์ไม้ หรือแหล่งต้นน้ำลำธาร เอาไว้ให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์ หรือเพื่อคุ้มครองระบบนิเวศ หรือสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน แต่วันนี้ตามนโยบายของป่าไม้แห่งชาติ ไม่ว่าแต่ละยุค แต่ละสมัย เราต้องมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ป่าอนุรักษ์ก็คือพื้นที่อุทยานแห่งชาติ บวกกับพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ๓ พื้นที่นี้วันนี้เกือบใกล้ ๒๕ เปอร์เซ็นต์แล้ว หรือประมาณ ๘๐ ล้านไร่ แต่พื้นที่ ๓ ประเภทนี้ที่ประกาศ ก็ประกาศ ทับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคุ้มครอง ป่าคุ้มครอง เพื่อนสมาชิกหรือท่านประธานอาจจะ ไม่เข้าใจว่าก็คือมีพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนตั้งแต่ปี ๒๕๘๐ หรือปี ๒๕๘๑ โน่นละครับ ผมเชื่อว่าหลายท่านในห้องนี้ยังไม่ได้เกิด เราประกาศพื้นที่ป่าเพื่อที่จะรักษา พื้นที่แหล่งต้นน้ำลำธารเพื่อคุ้มครองพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และสัตว์ป่า แต่วันนี้สถานการณ์มันเปลี่ยนไปแล้วครับท่านประธาน เพราะว่าในอดีตประเทศไทย มีประชากรไม่ถึง ๑๐ ล้านคน วันนี้เกือบ ๗๐ ล้านคนแล้ว ป่าสงวนมาประกาศอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นต้นมา แต่ป่าสงวนเป็นต้นเหตุของการบุกรุก เป็นต้นเหตุของปัญหา ต่าง ๆ ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนที่ถือครองที่ดิน เพราะป่าสงวนนี่เปิดโอกาสให้มี การใช้ประโยชน์ แล้วป่าสงวนในประเทศไทยมีถึง ๑,๒๒๑ ป่า เพราะฉะนั้นปัญหาเลยมากมาย ส่วนหนึ่งเรามอบพื้นที่ป่าสงวน เมื่อมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๖ ให้กับ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อไปปฏิรูปที่ดินให้กับประชาชนหรือเกษตรกร ที่มีวัตถุประสงค์จะทำการเกษตร แต่วันนี้เมื่อส่งให้ ส.ป.ก. ก็ยังมีปัญหาอีกก็คือ เรื่องการบริหารจัดการในเขตปฏิรูปที่ดินของเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะว่าอะไรครับ ในเขต ส.ป.ก. นั้นไม่มีใครเลยนะครับ หรือมีแต่ก็น้อยมาก ที่จะเอาที่ดินของนายทุนที่บุกรุก ๕๐๐ ไร่ ๑,๐๐๐ ไร่ ในส่วนที่เหลือที่จะจัดให้กับนายทุนแค่ ๕๐ ไร่ ส่วนที่เกินจาก ๕๐ ไร่ แล้วนำมาจัดสรรให้กับประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกินถือครองได้เลยเพราะเกิดจาก การบริหารจัดการ เกิดจากความไม่กล้าของเจ้าหน้าที่รัฐในการจัดการกับนายทุน วันนี้ที่ดิน ส.ป.ก. เลยมีปัญหา เมื่อมีปัญหาประชาชนไม่ได้รับการจัดสรรที่ดินของรัฐเท่าที่ตามนโยบาย ของรัฐจะจัดให้ก็เลยไปบุกรุกป่าใหม่ วันนี้มีประชาชนที่ไปบุกรุกในพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยเฉพาะ ในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก ๔ ล้านไร่ หรือประมาณ ๕ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ ๘๐ ล้านไร่ วันนี้การบริหารจัดการที่ดินของรัฐมีปัญหาหมดนะครับ ผมขออนุญาต ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือที่ราชพัสดุ ในประเทศไทยมีที่ราชพัสดุ ๑๒ ล้านไร่เศษ ที่กรมธนารักษ์ดูแลอยู่ จังหวัดกาญจนบุรี ๒๐ เปอร์เซ็นต์เป็นที่ราชพัสดุ หรือประมาณ ๒ ล้านไร่เศษ ที่ชาวบ้านเรียกว่าที่ทหาร เดิมทีตั้งใจจะประกาศพื้นที่นี้ไว้เพื่อสงวนหวงห้ามไม้ไผ่ เอาไว้เป็นต้นทุนในการผลิตเยื่อกระดาษให้กับโรงงานผลิตกระดาษที่จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่สมัย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ แต่วันนี้โรงงานกระดาษ ได้เลิกกิจการไปแล้วไม่น้อยกว่า ๕๐ ปีท่านประธานครับ แต่ประกาศพระราชกฤษฎีกา พื้นที่สงวนหวงห้ามของที่ราชพัสดุก็ยังไม่ได้ยกเลิก แต่มีหน่วยงานทางราชการคือหน่วยทหาร ไปขอใช้ประโยชน์ ก็เลยมีความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่ถือครองที่ราชพัสดุกับหน่วยราชการ ที่ขอใช้ที่ราชพัสดุหรือที่ทหารมีความขัดแย้ง แม้กระทั่งศาลากลางจังหวัด อำเภอเมือง ก็อยู่ในเขตที่ราชพัสดุ เพราะฉะนั้นปัญหาที่ดินของรัฐแต่ละประเภทต่าง ๆ ประมาณ ๑๐ ประเภท มีปัญหาหมดครับ ผมอยากจะเสนอและเรียกร้องท่านประธานผ่านไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องครับ พื้นที่ใดที่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถที่จะใช้ประโยชน์ได้ หรือฟื้นฟูกลับมาให้เป็นสภาพดังที่ตั้งใจ หรือพ้นวัตถุประสงค์ไปแล้วเราเพิกถอนได้ไหม ประเด็นแรก ถ้าเพิกถอนไม่ได้ที่ประชาชนถือครองหรือครอบครองอยู่ให้ประชาชนเช่าได้ไหม เขาจะได้อยู่อย่างมั่นคง อยู่อย่างสบายใจ วันดีคืนดีเจ้าหน้าที่รัฐจะได้ไม่ไปคุกคาม หรือไปจับกุมเขา ถ้าเราทำได้ผมเชื่อว่าบ้านเมืองสงบ Mob จะไม่มีครับ เพราะว่า ถ้าประชาชนเขาได้ครอบครองอย่างถูกต้องตามกฎหมายผมเชื่อว่าทุกคนพร้อมที่จะเช่า การประกาศยกเลิกที่ดินของรัฐผมเข้าใจครับเป็นเรื่องที่ยาก แต่ทุกคนก็มีความใฝ่ฝัน แต่ผมอยากจะเสนอทางเลือก คือการให้ประชาชนที่ครอบครองมีสิทธิเช่าและใช้ประโยชน์ อย่างถูกต้องตามกฎหมายครับท่านประธาน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช ครับ
นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช เชียงราย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ในญัตติเรื่องปัญหาที่ดินทำกินของประชาชน รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ที่เกี่ยวข้องกับที่ดินของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน น.ส. ๓ ส.ป.ก. น.ส.ล. ที่ดินภูเขา และเกาะต่าง ๆ เป็นปัญหาที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน ซึ่งการแก้ไขปัญหาก็ทำได้ล่าช้า ไม่ทันใจ และทำให้ประชาชนเสียสิทธิกับเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต และมีความขัดแย้งในการใช้ ประโยชน์ที่ดินระหว่างรัฐและประชาชนคนไทย โดยเฉพาะความขัดแย้งในพื้นที่ป่าไม้ อีกทั้ง การจัดทำระบบในเรื่องของฐานข้อมูลการจำแนกพื้นที่ป่าและพื้นที่ทำกิน หรือการทำ Zoning ยังไม่มีประสิทธิภาพและไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงตัวบทกฎหมายบางตัวก็ยังล้าสมัยและไม่ชัดเจน ไม่ได้ปรับปรุงให้ทันกับยุคสมัย ปัจจุบัน ท่านประธานคะ ถ้าหากวันนี้ท่านถามพวกเราว่าคนไทยอยากได้พื้นที่ป่าให้ลูกหลาน เพิ่มขึ้นหรือไม่ ตอบได้คำเดียวว่าอยาก แต่มันก็ต้องมาพร้อมกับสัดส่วนที่จะต้องจัดสรร เป็นที่ดินทำกินให้กับประชาชนคนไทยอย่างมีความเท่าเทียมกันด้วย คนไทยทุกคนมีสิทธิ ในการมีที่ดินทำกินเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงปากท้องของครอบครัว ท่านประธานคะ อย่างในเรื่องปัญหาของพื้นที่ ส.ป.ก. ที่มีปัญหาเกือบทุกจังหวัดของประเทศไทย ส.ป.ก. บางที่ไม่เหลือเค้าสภาพความเป็นป่าแล้ว เพราะความเป็นเมือง ความเป็นชุมชน มันได้ขยาย และลามมาถึงพื้นที่ ส.ป.ก. ที่อยู่ใกล้กับเขตเมือง อย่างพื้นที่ของอำเภอเวียงชัย และอำเภอ เวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ที่มีพื้นที่ติดกับเขตเมือง ความเป็นชุมชนเมืองก็ได้ขยาย จนบริบทในพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้เกิดผลกระทบและข้อพิพาทระหว่างประชาชน กับรัฐ รวมถึงความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้มีการมองถึงบริบทในพื้นที่ที่เปลี่ยน จากความเป็นป่า กลายเป็นชุมชนเมืองที่ประชาชนได้เข้ามาอยู่อาศัย ดังนั้นหากบริบท รอบข้างมันได้เปลี่ยนแปลงไป ก็อยากให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบได้เข้ามา สำรวจพื้นที่และหาข้อสรุปร่วมกันกับประชาชนในพื้นที่ และในบางพื้นที่ชาวบ้านยังมี ความสับสนในการออกเอกสารสิทธิ หรือออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ ส.ป.ก. น.ส.ล. น.ส. ๓ ว่า ที่ดินนั้น ๆ สามารถออกโฉนดได้หรือไม่ เพราะอย่างบางพื้นที่ที่ดิน ส.ป.ก. น.ส.ล. ของนายทุนอยู่ตรงกลาง ขนาบด้วยที่ดิน ส.ป.ก. น.ส.ล. ของประชาชนทั่วไป แต่กลายเป็นว่า ที่ดินของคนรวยของนายทุนสามารถออกเป็นเอกสารสิทธิหรือโฉนดได้ แต่ในทางกลับกัน ที่ดิน ส.ป.ก. หรือ น.ส.ล. ของชาวบ้านในพื้นที่กลับขอเอกสารสิทธิ ขอโฉนดไม่ได้ ตัวอย่าง พื้นที่ หมู่ที่ ๕ บ้านแม่เฟือง หมู่ที่ ๗ บ้านป่าตึง หมู่ที่ ๑๑ บ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ที่ชาวบ้านตาดำ ๆ ในพื้นที่หลายร้อยหลังคาเรือนยังคงรอคอย การแปลงเป็นโฉนดมากว่าทั้งชีวิต แต่ที่ดินของนายทุนกลับออกเอกสาร ออกโฉนดได้ อย่างต่อเนื่อง เลยต้องถามดัง ๆ ในสภาและขอพูดแทนใจประชาชนคนไทยอีกหลายล้านคน อีกสักครั้งหนึ่งว่าคนจนมีสิทธิไหมคะ คนจนยังมีโอกาสขอสิทธิในที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ได้เท่าเทียมเหมือนกับคนรวยไหมคะท่านประธาน ท่านประธานคะ ปัญหาหลัก ๆ ที่ดิฉัน ได้ลงพื้นที่ เขต ๒ จังหวัดเชียงรายในเรื่องของปัญหาที่ดินส่วนใหญ่
นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช เชียงราย ต้นฉบับ
ข้อแรก คือการขาดความรู้ความเข้าใจของประชาชนในขั้นตอนการจัดเตรียม เอกสาร และหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิ ประชาชนคนไทยขาดเพียงแค่ข้อมูลจากหน่วยงาน ของภาครัฐที่เพียงพอในการจัดทำเอกสารและหาหลักฐาน หากประชาชนได้รับข้อมูล หรือขั้นตอนในการร้องขอเอกสารตามขั้นตอนของระบบราชการ งานของข้าราชการ ที่บอกว่าจำนวนของข้าราชการไม่เพียงพอมันก็จะน้อยลง คนไทยบางรายเฝ้าขอการมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกินของตัวเองมานานหลายปี บางคนรอมา ๑๐-๒๐ ปี บางรายรอมา ๓๐-๔๐ ปี บางรายรอมา ๕๐ ปี และบางรายรอเอกสารสิทธิ รอการครอบครองโฉนดมา ทั้งชีวิตค่ะท่านประธาน ประชาชนคนไทยก็ต้องการเพียงเท่านี้ ขอแค่ภาครัฐได้เอาใจใส่และแจ้งขั้นตอนตามกฎหมาย หรือขั้นตอนระเบียบปฏิบัติต่อประชาชนคนไทยอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ประชาชน คนไทยอย่างพวกเราทุกคนก็พร้อมที่จะทำตามขั้นตอนของทางราชการอย่างไม่มีข้อแม้ค่ะ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องของระเบียบขั้นตอนของทางราชการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับรู้ข้อมูลที่แท้จริงหรือความชัดเจนของหน่วยงานภาครัฐ ว่าขั้นตอน การขอเอกสารสิทธิมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ต้องมีการพิสูจน์สิทธิอะไร และต้องมีการเตรียม เอกสารอย่างไร รวมถึงระยะเวลาในการดำเนินการว่าแต่ละขั้นตอนต้องมีการใช้ระยะเวลา ยาวนานเพียงใด หากจะมีการปฏิเสธในการออกเอกสารสิทธิก็ต้องชี้แจงเหตุผลที่ชัดเจน และเจาะจงกับประชาชนว่าขาดเอกสารตรงไหน อย่างไร และมีวิธีการที่จะช่วยเหลือพ่อแม่ พี่น้องประชาชนได้อย่างไรบ้าง ก็ย้ำว่าประชาชนคนไทยต้องการเพียงแค่ข้อมูล และความชัดเจนจากทางภาครัฐ และดิฉันคิดว่าทางท่านรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็คงจะรับทราบปัญหานี้และคงจะเร่งมือหาวิธีการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน ของพ่อแม่พี่น้องประชาชน และดิฉันหวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้ทางหน่วยงานภาครัฐคงจะได้ พัฒนาโปรแกรม หรือ Application ที่สามารถตรวจดูได้ว่าเอกสารที่ร้องขอการขอเอกสารสิทธิ ของประชาชนได้อยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว เพื่อให้ประชาชนได้อุ่นใจว่ารัฐไม่ได้ทอดทิ้งประชาชน
นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช เชียงราย ต้นฉบับ
ในส่วนข้อที่ ๒ ของเราก็คือทางประเทศไทยเรายังไม่ได้มีแผนแม่บทที่เป็น ของส่วนกลางหรือที่ทุกหน่วยงานยอมรับ และต้องปฏิบัติภารกิจในเรื่องที่ดินร่วมกัน ต่างคน ต่างทำงาน ต่างคนต่างตัดสินใจ และในตัวบทกฎหมายก็ยังมีความล้าหลัง ไม่ได้ปรับปรุง ให้ทันบริบทที่เปลี่ยนไปของสังคม รวมถึงการขาดมาตรการในการจำกัดขนาดของ การถือครองที่ดินและควบคุมการใช้ประโยชน์ของที่ดินที่มีประสิทธิภาพ ทำให้มี ความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดิน อีกทั้งข้อมูลในเรื่องของที่ดิน ก็ยังกระจายอยู่ในแต่ละกรมและกระทรวง ไม่ได้มีการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง กระทรวงหรือกรมอย่างเพียงพอ ดิฉันก็หวังว่าจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งตัวบท กฎหมายที่ล้าหลัง ไม่ทันกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป รวมถึงในส่วนของข้อมูลที่ยังคงกระจาย ในแต่ละกระทรวงให้มีการรวบอยู่ที่ส่วนกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงาน ที่ต้องการดึงข้อมูล ท่านประธานคะ ในรายละเอียดดิฉันได้กล่าวไปเมื่อสักครู่ ดิฉันขออนุญาตนำเรียนเป็นข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานภาครัฐ หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของที่ดินทำกินของประชาชนคนไทยได้นำไปพิจารณานะคะท่านประธาน ในส่วนของ จังหวัดเชียงราย หากท่านจะอนุเคราะห์ส่งตัวแทนหน่วยงาน หรือถ้าเป็นไปได้ ถ้าท่านได้ส่ง ท่านอธิบดีของท่านลงมาแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินในจังหวัดเชียงรายเมื่อไร ดิฉันยินดี เป็นผู้ประสานงานในการหาทางออกร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน ชาวจังหวัด เชียงรายทุกท่าน ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านชิตวัน ชินอนุวัฒน์ ครับ
นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๑ อำเภอเมือง จากพรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอร่วมสนับสนุนญัตติการจัดสรรที่ดินทำกิน แนวทางการปรับปรุง แก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินในส่วนของข้อห้ามการออกโฉนดที่ดินสำหรับเขาและภูเขา ขอ Slide ด้วยครับ
นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
ปัญหาที่ดินของประชาชนยังเป็น ปัญหาที่ได้รับร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัญหาที่ครอบคลุมในภูมิภาคของประเทศไทย ทั้งที่ดินทำกินทางการเกษตร ที่อยู่อาศัย ทั้งที่อยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และยังไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในป่า กลายเป็นผู้บุกรุกป่า ซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย โดยสภาพความเป็นจริงประชาชนได้อาศัยอยู่ในป่ามาเป็นเวลา ยาวนานก่อนที่จะมีการออกกฎหมายให้สิทธิครอบครองและกรรมสิทธิ์ ต่อมาเมื่อมีการออก กฎหมายเพื่อหวงกันที่ให้เป็นของรัฐ และหวงกันพื้นที่ให้เป็นป่าอุทยานแห่งชาติในปี ๒๕๐๔ และป่าสงวนแห่งชาติในปี ๒๕๐๗ โดยออกประกาศควบคุมพื้นที่ทั้งหมดเป็นเขตอุทยาน และเขตป่าสงวนไปก่อน แล้วจึงทำการกันที่ดินบริเวณที่ประชาชนอาศัยอยู่ออกในภายหลัง แต่ในทางปฏิบัติก็มิได้มีการกันออก เพราะต้องสำรวจและทำเครื่องหมายเขตอุทยาน แห่งชาติและเขตป่าสงวนแห่งชาติ จึงต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เมื่อไม่มีการแสดงเขต ที่ชัดเจนตามกฎหมายจึงเกิดข้อพิพาทในการอ้างสิทธิเหนือที่ดินของรัฐ รัฐยอมรับเฉพาะสิทธิ ที่ได้รับรองตามกฎหมายที่มีเอกสารสิทธิที่ออกโดยหน่วยงานราชการ เป็นหลักฐาน ยืนยันเท่านั้น ซึ่งได้แก่ น.ส. ๓ น.ส. ๓ ก โฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิที่ดินตามโครงการ ที่รัฐจัดสรรที่ดินให้กับประชาชน ขอบคุณบทความวิชาการสิทธิในที่ดินชุมชน เกษตรกรรม ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพาณิชย์ ขออภัยที่เอ่ยนามท่านนะครับ ปัจจุบันเกษตรกร จำนวนมากขาดเอกสิทธิ์หรือโฉนดที่ดินที่ตนเองใช้ชีวิตและทำมาหากินมาหลายรุ่น โดยกว่า ๑ ล้านคน กำลังประสบปัญหาข้อพิพาทที่ดินกับรัฐ ซึ่งบางกรณียืดเยื้อมาหลายสิบปี และถูกซ้ำเติมโดยนโยบายของรัฐที่ผ่านมา ป่าอนุรักษ์ ๓๐๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ ราย ป่าสงวนแห่งชาติ ๔๐๐,๐๐๐-๕๐๐,๐๐๐ ราย ที่ราชพัสดุ ๑๐๐,๐๐๐-๒๐๐,๐๐๐ ราย ที่ดิน ส.ป.ก. ๒๐๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ ราย ด้วยข้อจำกัด ทางกฎหมาย ปัญหาการครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน ส.ป.ก. หรือเอกสาร แสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส.ป.ก. ออกให้ประชาชน เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้น ได้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการในด้าน วัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดิน ข้อจำกัดสิทธิของผู้ครอบครองอันนำมาซึ่งข้อพิพาท ทางกฎหมายกับรัฐหลายครั้ง อีกทั้งปัญหาการครอบครองที่ดินในเขตพื้นที่ทับซ้อนกับเขต ป่าสงวนที่เกิดข้อพิพาทระหว่างประชาชนที่ครอบครองที่ดินอยู่ก่อนการประกาศเป็น เขตป่ากับหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากเขตป่าสงวนหลายพื้นที่ไม่มีความเป็นเขตป่าแล้ว ไม่อาจฟื้นฟูสภาพคืนสู่ธรรมชาติได้อีกแล้ว จนมีสภาพเป็นชุมชนอยู่อาศัย จึงเกิดผลกระทบ และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ก็พบปัญหานี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็น เทือกเขาสูง มีที่ราบสูงเป็นหย่อม ๆ และยังมีพี่น้องประชาชนอาศัยอยู่ตามแนวภูเขา เป็นจำนวนมากในหลาย ๆ พื้นที่ หลาย ๆ อำเภอและตำบล อาทิ ตำบลดอยฮาง ตำบลห้วยชมภู ตำบลแม่ยาว ตำบลแม่กรณ์ ตำบลป่าอ้อดอนชัย ตำบลสันทราย และตำบลอื่น ๆ ในจังหวัดเชียงรายอีกมากมาย ปัญหาหลักในการอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงคือเอกสารสิทธิ การถือครองที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัย หรือแม้กระทั่งที่ดินทำกิน กรณีเกิดข้อพิพาท ระหว่างรัฐและประชาชนในหลาย ๆ ตำบล ประเด็นในพื้นที่ประชาชนได้อาศัยอยู่ในที่ดิน ทำกินตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ ซึ่งก่อนจะมีประกาศเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. อีกด้วย ส่งผลกระทบโดยตรง คือประชาชนในพื้นที่ไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ที่ออกโดยราชการ บางหมู่บ้าน ถูกล้อมด้วยพื้นที่ป่า กลับกลายเป็นผู้บุกรุกป่าอย่างผิดกฎหมาย
นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
การขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานราชการ เพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์ เช่นบ่อขยะตามปรากฏในรูปที่อยู่ห่าง จากพื้นที่ชุมชน หากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการพิจารณาผ่อนปรน การใช้พื้นที่การศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือเรียกว่า EIA พิจารณาผ่อนปรนการใช้ พื้นที่ ซึ่งการศึกษา EIA ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่ให้ระบุการใช้เป็น IEE เพื่อการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นแทน ในยุคนี้ก่อนที่เราจะสร้างเศรษฐกิจ ฐานรากให้มั่นคงได้นั้น การแก้ปัญหาปากท้องประชาชนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ผมจึงขอเสนอเร่งรัดการจัดสรรที่ดินทำกินเพื่อประโยชน์และโอกาสแก่ประชาชน โดยสภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาทบทวนเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข ครอบครอง ถือสิทธิที่ดินในที่ดิน ส.ป.ก. ที่ดินทับซ้อนกับเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
ผมมีข้อเสนอในการปรับปรุงประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการจัดเก็บ ภาษีที่ดินเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการครอบครองที่ดิน
นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
ข้อ ๑ พัฒนาระบบภาษีที่ดินแบบรวมแปลง รวมมูลค่าที่ดินทั้งหมดที่แต่ละ บุคคล หรือนิติบุคคลถืออยู่ แล้วจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า โดยคิดจากมูลค่าที่ดิน ที่เกิน ๓๐๐ ล้านบาท
นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
ข้อ ๒ การปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีที่ดินรายแปลงแบบที่ใช้ ในปัจจุบัน เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยง
นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
ข้อ ๓ ลดหย่อนหรือส่วนลดภาษีที่ดินสำหรับพื้นที่ที่ถูกใช้เป็น สาธารณประโยชน์ อาทิ พื้นที่สีเขียว พื้นที่อนุรักษ์ระบบนิเวศ พื้นที่สาธารณะ ตามระยะเวลา ที่ตกลงกัน ๓-๕ ปี
นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
ประการสำคัญที่สุดครับท่านประธาน เศรษฐกิจฐานรากจะเข้มแข็ง ต้องบำรุง รากแก้วให้มั่นคงแข็งแรงเสียก่อน การจัดสรรที่ดิน ที่ดินทำกินอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ ประชาชนได้รับผลประโยชน์ และโอกาสที่เท่าเทียมกันในทุกบริบทของสังคมไทย ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านพงษ์มนู ทองหนัก แล้วตามด้วยท่านประภาพร ทองปากน้ำ ครับ
นายพงษ์มนู ทองหนัก พิษณุโลก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม พงษ์มนู ทองหนัก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก อำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้ขอร่วมอภิปรายในญัตติ เรื่อง ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ดิน ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ของประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๙ และรวมทั้งญัตติเรื่องที่ดินของเพื่อนสมาชิก ทุก ๆ ฉบับด้วยที่จะเสนอตั้งเป็นคณะกรรมาธิการแก้ไข ก็เห็นด้วย เนื่องจากว่าที่ดิน ทรัพย์สินและที่อยู่อาศัยนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีวิตของพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะ อย่างยิ่งพี่น้องเกษตรกรจากจังหวัดพิษณุโลกบ้านผม ในจังหวัดพิษณุโลกนั้นเรามี ๙ อำเภอ เป็น Zone ที่ราบสูงประมาณ ๕ อำเภอ แล้วก็ที่ราบลุ่มอีก ๔ อำเภอ โดยเฉพาะเขตเลือกตั้ง ของผมนั้น ในอำเภอวังทองและอำเภอเนินมะปราง มีปัญหาค่อนข้างจะเยอะเกี่ยวกับ เรื่องที่ดินและเอกสารสิทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอวังทองมีที่ดินประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ ไร่ มีเอกสารสิทธิประมาณ ๕๐,๐๐๐ ไร่ ส่วนอำเภอเนินมะปรางมีที่ดินประมาณ ๖๒,๐๐๐ ไร่ มีเอกสารสิทธิประมาณ ๔,๐๐๐ กว่าไร่ ไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ครับ และเอกสารสิทธิที่มีนั้น ไม่ใช่เป็นโฉนด น.ส. ๓ อย่างเดียว มีทั้ง ส.ป.ก. มีทั้งอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นพื้นที่ในเขตเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นอำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง ค่อนข้างจะทำการพัฒนายาก ซึ่งระเบียบ กฎหมายของป่าไม้นั้นไม่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ นำงบประมาณต่าง ๆ ที่จะไป สร้างความเจริญให้กับพี่น้องที่อยู่ในเขตเลือกตั้งของกระผมได้เลย ดังนั้นจึงเห็นว่า เอกสารสิทธินี้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตของพี่น้องเกษตรกรชาววังทองและชาวเนินมะปราง เป็นอย่างสูง เอกสารสิทธิที่ได้รับมา โฉนด น.ส. ๓ ส.ป.ก. อันนั้นหน่วยงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปพัฒนาได้ แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นพื้นที่ป่าสงวน ป่าไม้ ป่าเสื่อมโทรมนั้น ไม่สามารถเข้าไปทำกิจกรรมใด ๆ ได้ แม้แต่พี่น้องในเขตเลือกตั้งของผม อาศัยอยู่มาตั้งแต่ รุ่นปู่ รุ่นย่า รุ่นตา รุ่นยาย นับเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว จะเจาะบ่อเวลาฤดูแล้งก็ไม่ได้ จะขุดสระ ทำอาชีพเลี้ยงปลาก็ไม่ได้ เป็นปัญหาอย่างยิ่ง ดังนั้นเองก็หวังว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นที่พึ่งสำหรับ พี่น้องเกษตรกรในอำเภอวังทองและอำเภอเนินมะปรางของผม ว่าเขาจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการที่เขาได้รับเอกสารสิทธิซึ่งเป็นโฉนด ถ้าเป็นเอกสารสิทธิอย่างอื่นซึ่งรัฐบาลหลายยุค หลายสมัยได้ทำมา แก้ไขมา ก็มีทั้งประสบความสำเร็จบ้าง ไม่ประสบความสำเร็จบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกสารสิทธิที่เป็น ส.ป.ก. ๔-๐๑ ในพื้นที่อำเภอวังทองและอำเภอ เนินมะปรางของกระผมนั้นก็มีเอกสารสิทธิเหล่านี้เหมือนกัน และตอนนี้เริ่มมีปัญหาแล้ว เพราะมีประชาชนราษฎรในเขตเลือกตั้งของผมอยู่พื้นที่นี้มาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ และมารุ่นเขา ประมาณ ๑๒๐ ปีแล้ว อยู่ที่นี่มา ๑๐๐ ปี วันนี้เขาไม่ได้มีอาชีพเกษตรกรเหมือนพ่อเหมือน แม่เขา วันหนึ่งพ่อแม่เขาอยากให้ลูกได้ดี ส่งลูกส่งหลานไปเรียน แต่ว่ามีข้อจำกัดทางด้าน กฎหมายประการหนึ่งว่าเอกสารสิทธิทางด้าน ส.ป.ก. นั้น จะจำหน่าย จ่าย โอน แจกจ่าย ไม่ได้ นอกจากมรดกตกทอดเท่านั้น แต่บังเอิญมีครอบครัวที่เขามีลูกน้อย มีลูก คนเดียว พ่อเขาตาย เขาไม่มีอาชีพเกษตรกร เพราะฉะนั้นบ้านที่เขาเคยอยู่มา ๕๐-๖๐ ปี กับพ่อกับปู่ของเขานั้น วันนี้เขาไม่สามารถรับมรดกได้ เพราะฉะนั้นที่ดินของเขาที่อยู่มาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า ๑๒๐ ปี จะต้องถูกจำหน่ายไปเป็นที่ดิน ของรัฐ อันนี้เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจอย่างยิ่งสำหรับพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่เลือกตั้งของผม ดังนั้นก็หวังว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลชุดนี้เคยดำเนินการไว้ และกล่าวไว้ว่าจะดำเนินการ ออกเอกสารสิทธิจำนวน ๕๐ ล้านไร่ให้กับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ก็หวังว่าประชาชน ในเขตเลือกตั้งผม อำเภอวังทองและอำเภอเนินมะปรางจะได้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ด้วย ไม่มากก็น้อย ดังนั้นวันนี้ก็จะนำมาเสนอกับท่านประธานไปยังรัฐบาลว่าช่วยดูแล เพราะว่า ที่ดิน ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตอยู่ของพี่น้องเกษตรกรบ้านผม วันนี้ต้องขอกราบเรียนท่านประธานสภาครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านประภาพร ทองปากน้ำ ครับ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย เขต ๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ที่ดินเป็นทรัพยากรที่สำคัญของคนทุกคน การออก เอกสารสิทธิที่ดินให้ส่วนที่ดินสาธารณะก็มีกฎหมายกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้หน่วยงานต่าง ๆ มีหน้าที่ดูแลรักษา และกฎหมายยังเปิดช่องทางให้ที่ดินสาธารณะ บางประเภทสามารถออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง หรือ น.ส.ล. ได้ การออกเอกสารสิทธิ ในที่ดินให้แก่เอกชน แม้จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ที่ดินที่สามารถออกเอกสารสิทธิได้ จะต้องไม่อยู่หรือทับซ้อนในที่ดินสาธารณประโยชน์ หรือที่ดินที่มีการสงวนหวงห้ามไว้ ตามกฎหมาย เช่น ที่ป่า ที่ภูเขา เกาะ เป็นต้น
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ วันนี้ดิฉันขอพูด ถึงความเดือดร้อนของประชาชนอำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอศรีสำโรงบางส่วน และอำเภอ สวรรคโลกบางส่วน ในเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ที่ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิในที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ เนื่องจากที่ดินดังกล่าวอยู่ในพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อใช้ สำหรับเลี้ยงสัตว์พาหนะ หรือเรียกกันว่าทุ่งเลี้ยงสัตว์ มีจำนวน ๓ แปลง ครอบคลุมพื้นที่กว่า ๕ ตำบล คือ ตำบลกลางดง ตำบลทุ่งเสลี่ยม ตำบลไทยชนะศึก ตำบลบ้านใหม่ไชยมงคล และตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเนื้อที่รวมกันกว่า ๖๖,๔๗๕ ไร่ พื้นที่ที่ดิฉันกล่าวถึง ถูกประกาศโดยนายอำเภอสวรรคโลก เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๗๑ และยังทับซ้อนกับ พื้นที่เขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการกรมป่าไม้ ตามพระราชกฤษฎีกา ปี ๒๔๘๖ มีพื้นที่ ประมาณ ๓๓๐,๐๐๐ กว่าไร่ ครอบคลุม ๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอทุ่งเสลี่ยม กว่า ๑๖๐,๐๐๐ ไร่ อำเภอศรีสำโรง กว่า ๑๕๐,๐๐๐ ไร่ อำเภอสวรรคโลกกว่า ๑๐,๐๐๐ ไร่ การออกเอกสารสิทธิ ในที่ดินจึงเป็นการรับรองสิทธิของประชาชนผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งแตกต่าง กันไปตามฐานะที่กฎหมายกำหนด เช่น โฉนดที่ดิน เป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน หนังสือ รับรองการทำประโยชน์ เป็นหนังสือแสดงสิทธิครอบครองที่ดิน การออกเอกสารสิทธิในที่ดิน ให้กับประชาชนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะนั่นเป็นการรับรอง สิทธิในทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนเพื่อความมั่นคงในการทำประโยชน์ในที่ดิน ส่งผลต่อ การเพิ่มผลพวงในด้านเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย ที่ประกอบธุรกิจการค้า และเป็นการกระจาย รายได้สู่ภาคประชาชน ซึ่งจะสามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน เพื่อเป็นทุน หมุนเวียนให้กับการประกอบอาชีพได้ และเป็นการป้องกันการบุกรุกที่ดินของรัฐ การเร่งรัด การออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้กับพี่น้องประชาชน จึงเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่รัฐ ต้องเร่งดำเนินการเพื่อรับรองสิทธิของประชาชน ทั้งยังเป็นการป้องกันปัญหาข้อพิพาท ระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเอกชนกับภาครัฐ ปัจจุบันพื้นที่ที่ดิฉันกล่าวถึงเป็นชุมชน สถานที่ราชการ ที่ทำกินของประชาชน ไม่มีสภาพป่า หรือไม่มีสภาพที่ดินสำหรับทุ่งเลี้ยงสัตว์ แล้วค่ะ ที่ดินที่ส่วนราชการครอบครองเป็น น.ส.ล. สำหรับที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน ที่ของราษฎร มีการออกเอกสาร น.ส. ๓ ก. บางส่วน ที่เหลือยังไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ปี ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา คุณสุวชิต วงศ์สะเดิด เป็นตัวแทนราษฎร ทำการยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน ขอให้ตรวจสอบแนวเขตที่ดินในเขตหวงห้ามดังกล่าว และขอดำเนินการแก้ไขที่ดินที่ทับซ้อนกัน ตามประกาศอำเภอสวรรคโลก ที่กำหนดพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ พาหนะ ปี ๒๔๗๑ และพระราชกฤษฎีกาเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการของกรมป่าไม้ ปี ๒๔๘๖ รวมถึงได้ยื่นเรื่องถึงศูนย์บริการร่วมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ท่านประธานคะ ปัญหาเรื่องคนรุกป่า ป่ารุกคน เหมือนไก่กับไข่ที่เรายังหาข้อสรุปไม่ได้ พื้นที่ทุ่งเสลี่ยม ศรีสำโรง และสวรรคโลกบางส่วน คือภาพสะท้อนของปัญหาเรื่องนี้ได้เป็น อย่างดี เพราะเป็นข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับรัฐ ล่วงเลยมายาวนานจนถึงปัจจุบัน พื้นที่ ตรงนี้ ๘๐ ปีแล้ว มีผู้คน ชุมชนอาศัยอยู่ แต่ตอนที่กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศ ท่านประธานต้องไม่ลืม ในอดีตการประกาศและนำเสนอข้อมูลข่าวสารของรัฐให้ประชาชน ทราบเป็นเรื่องที่ไม่ทั่วถึงและการเดินทางก็ไม่สะดวกเหมือนในยุค 5G แบบทุกวันนี้ ชาวบ้าน ไม่รู้ว่าที่ดินที่ตนอยู่อาศัยและทำมาหากินมาชั่วชีวิตถูกประกาศเป็นเขตทุ่งเลี้ยงสัตว์ และความเป็นจริงปัจจุบันที่ดินเหล่านี้ถูกพัฒนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของตัวอำเภอแล้ว เมื่อที่ดินไม่ได้รับการปรับฐานข้อมูลและออกเอกสารสิทธิให้ถูกต้องกับความเป็นจริง ของพื้นที่ จึงส่งผลกระทบถึงชาวบ้านในพื้นที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ถูกแจ้งว่า เป็นเขตทุ่งเลี้ยงสัตว์ ทั้งที่อาศัยมามากกว่า ๔ ช่วงอายุคน ชาวบ้านจึงไม่ได้รับเอกสารสิทธิ บางรายมีเอกสารแสดงการครอบครอง แต่ไม่สามารถนำที่ดินในส่วนตรงนี้ไปทำเรื่องกู้เงินที่ ธนาคาร เพราะธนาคารเขาไม่อนุมัติวงเงิน จึงทำให้ต่อยอดอาชีพไม่ได้ถ้าเราสามารถผลักดัน เอกสารสิทธิได้ จะทำให้ประชาชนที่มีที่ดินได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและจะส่งผลให้ที่ดินทั่ว ประเทศมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ดิฉันจึงเห็นควรให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาการออกโฉนดที่ดินเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน และสุดท้ายนี้ดิฉันมีข้อเสนอแนะ ๕ ประการ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
๑. พิจารณาศึกษาปัญหาการออกเอกสารสิทธิและปัญหาที่ดินทำกิน ของราษฎรเพื่อแก้ไขปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
๒. พิจารณาศึกษาเพื่อจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม ต้องยกระดับปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนและที่ดินป่าไม้ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
๓. พิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อเร่งดำเนินมาตรการที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
๔. พิจารณาศึกษาแนวทางบรรเทา ทุเลา เยียวยาปัญหาประชาชนที่ยากไร้ ที่ถูกดำเนินคดีในระยะสั้น
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
๕. พิจารณาศึกษาแนวทางการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการที่ดิน ของประเทศไทยในระยะยาว ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านกฤช ศิลปชัย ครับ
นายกฤช ศิลปชัย ระยอง ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม กฤช ศิลปชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายญัตติเกี่ยวกับปัญหาที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชน ที่ดินทำกิน ของประชาชนเป็นปัญหามาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนก็ทำไม่สำเร็จเสียทีหนึ่ง
นายกฤช ศิลปชัย ระยอง ต้นฉบับ
และนี่ก็คือปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของพี่น้อง ชาวระยอง จังหวัดที่มี GDP อันดับต้น ๆ ของประเทศ จังหวัดที่เป็นเมือง EEC จังหวัดที่ นักลงทุนหมายปอง แต่ราษฎรอีกนับหมื่นคนที่อยู่ในพื้นที่ยังไม่เคยได้รับสิทธิในที่ดินทำกิน ของตัวเอง ท่านประธานที่เคารพครับ ท่านรู้จักเกาะเสม็ดไหมครับ เกาะเสม็ดเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีชื่อเสียง จนนักท่องเที่ยวต่างตั้งฉายาให้ว่ามาเสม็ด เสร็จทุกราย แต่ที่เสม็ดพี่น้องประชาชนยังปวดอกปวดใจกับปัญหาที่ดินทำกินของผู้ที่อยู่อาศัย มาก่อนการประกาศเขตอุทยาน หากเราย้อนกลับไปปี ๒๕๒๒ ก่อนจะมีการประกาศ เขตอุทยาน เจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ได้เข้ามาทำการสำรวจพื้นที่เพื่อเตรียมที่จะประกาศ เขตอุทยานแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ก็ได้มีการแจ้งต่อชาวบ้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่เกาะเสม็ดว่า หากท่านได้อยู่ทำกินมาก่อนหรืออยู่มาแต่เดิมท่านยังสามารถทำกินต่อไปได้ และได้มี การสรุปไว้ในรายงานที่เสนอไปยังกรมป่าไม้ด้วยครับว่าบนเกาะเสม็ดนั้นมีชาวบ้านอยู่อาศัย ทั่วทั้งเกาะเสม็ด โดยในรายงานก็มีการอ้างอิงถึงผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น ความว่าเกาะเสม็ด เป็นชุมชนและเป็นหมู่บ้านมานานแล้ว ต่อมาในปี ๒๕๒๔ ก็ได้มีการประกาศเขตอุทยาน เกิดขึ้น แต่ไม่ได้มีหมายแนวเขตที่ชัดเจน ชาวบ้านก็ได้ทวงถามและได้รับการชี้แจงว่า ได้มีการกันพื้นที่ทางทิศเหนือของเกาะเสม็ดออกแล้วตามแผนที่แนบท้าย ๗๐๐ ไร่ แต่ชาวบ้านไม่ยินยอมครับ
นายกฤช ศิลปชัย ระยอง ต้นฉบับ
Slide นี้จะแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่ทางอุทยานบอกว่าได้กันเขตพื้นที่ ออกไปแล้ว ๗๐๐ ไร่ ก็คือบริเวณตรงสีเหลือง ๆ ตรงนั้นคือพื้นที่แนบท้ายประกาศที่อุทยาน บอกว่านี่คือ ๗๐๐ ไร่ที่กันออก แต่พอมีการสำรวจรังวัดจริง ๆ ตรวจสอบแล้วไม่ถึง ๗๐๐ ไร่ ก็คือประมาณสัก ๒๐๐ ไร่เท่านั้นเอง หากดูจากสีทุกสีรวมกัน ลองบวกด้วยตัวเลขดูครับ ถ้าเอาทั้งหมดรวมกันมันถึงจะเท่ากับ ๗๐๐ ไร่ ดังนั้นผมไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นในยุคสมัยก่อน ตอนทำแผนที่แนบท้าย เจ้าหน้าที่บอกว่ากันพื้นที่ออกไปแล้ว ๗๐๐ ไร่ แต่ประกาศแนบท้าย จริง ๆ วัดได้จริง ๆ แค่ประมาณ ๒๐๐ ไร่ครับ มันจึงเป็นปัญหาต่อมาว่าทำไมชาวบ้าน เขาถึงไม่ยินยอมกัน เพราะว่าเนื่องจากทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยังไม่ได้ถูกกันออก และในปี ๒๕๒๕ ก็มีการสำรวจใหม่ แต่ก็ไม่เป็นที่ยินยอมของชาวบ้านเพราะว่าการสำรวจ ไม่ถูกต้อง แต่ก็ยังเป็นข้อยืนยันได้ว่าตามหลักฐานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นี้ก็ปรากฏตามบัญชีรายชื่อผู้ครอบครองพื้นที่บนเกาะเสม็ด ซึ่งสำรวจเมื่อปี ๒๕๒๕ ถือว่า มีประชาชนอยู่อาศัยมาก่อนจริงเป็นหลักฐาน จากนั้นก็มีอีกหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เกาะเสม็ด มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่หลายครั้งหลายคราวเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ แต่ว่าก็ยังไม่จบเสียที สุดท้ายชาวบ้านเริ่มไม่ไหว ต่อสู้กันอย่างยาวนานเหลือเกิน จนสุดท้าย ก็ต้องตัดสินใจเช่าที่ของกรมธนารักษ์ตามมติ กบร. ที่ ๗/๒๕๔๓ แต่เช่าแล้วก็ยังไม่จบ เนื่องจาก กรมธนารักษ์และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชก็ใช้แผนที่กันคนละแผนที่อีก ทำให้มีผู้เช่าตามมติ กบร. หลายรายถูกฟ้องดำเนินคดีโดยอุทยาน จนมีการบังคับคดีให้ต้อง ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากนอกพื้นที่ที่เขาอยู่กินกันมารุ่นต่อรุ่น
นายกฤช ศิลปชัย ระยอง ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ปัญหาประกาศเขตที่ดินทับที่ชาวบ้านที่อยู่อาศัยมาก่อน ยังมีอีกหลายพื้นที่ อีกพื้นที่หนึ่งก็คือของพี่น้องตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง แล้วก็ ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ของคุณสว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์ และคุณกมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล ที่ทำกินของชาวบ้านห้วยโป่งและสำนักท้อน มีการอยู่อาศัยมาก่อน เพราะมีประวัติความเป็นมาชัดเจน มีการประกาศตั้งหมู่บ้าน ของกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ปี ๒๔๕๗ หรือว่าแม้แต่ประวัติการสร้างวัดชากหมาก ตั้งแต่ปี ๒๔๖๗ สร้างโรงเรียนวัดชากหมากในปี ๒๔๘๐ หรือแม้กระทั่งประวัติ ของหลวงพ่อหอมพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ก็มีประวัติว่าเกิดขึ้นที่หมู่บ้านสำนักท้อนตั้งแต่ ปี ๒๔๓๓ ซึ่งประวัติศาสตร์เหล่านี้เกิดขึ้นก่อนการประกาศกฤษฎีกาหวงห้ามของกรมป่าไม้ ที่มาประกาศเอาปี ๒๔๙๒ ทั้งสิ้น อีกทั้งคณะรัฐมนตรีเคยมีมติไปแล้วเมื่อปี ๒๕๑๔ ให้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิให้กับพี่น้องประชาชนให้แล้วเสร็จ แต่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไม่รู้ว่ากระทำการอย่างไร เวลาผ่านมา ๕๒ ปี จนบัดนี้ยังไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ เกิดขึ้น ยังไม่ได้ รับความเป็นธรรม พี่น้องยังไม่มีที่ดิน ที่อยู่อาศัย และในปี ๒๕๕๖ รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในสมัยนั้นที่เป็นผู้ที่จะดำเนินการออกเอกสารสิทธิให้กับพี่น้องประชาชน แต่ว่าเกิดเหตุการณ์รัฐประหารขึ้นในปี ๒๕๕๗ เสียก่อน ผมจึงขอฝากท่านประธานผ่านไปยัง รัฐบาล ได้โปรดเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับคนระยองและคนไทยทั่วประเทศอย่างเป็นธรรม ที่ดินทำกินคือความมั่นคงของประชาชน มันคือกระดุมเม็ดแรกที่จะเป็นหลักประกันในชีวิต ของประชาชน พวกเขาเหล่านี้มีสิทธิที่จะได้รับเอกสารสิทธิเพราะเขาอยู่มาก่อน บรรพบุรุษ ของเขาได้อยู่อาศัยทำกินกันมาหลายชั่วอายุคนแล้วครับ แล้วรัฐเพิ่งมาประกาศเขตพื้นที่ ทับที่ของชาวบ้าน ชาวบ้านเองได้แต่มองตากันปริบ ๆ ว่าเมื่อไรความเป็นธรรมจะเกิดขึ้น กับพวกเขาเสียที ผมขอฝากรัฐบาลแล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โปรดไปดำเนินการแก้ไข ปัญหาให้พี่น้องประชาชนให้จบ ทำได้ในสมัยนี้ยิ่งดี ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านสรวงศ์ เทียนทอง ครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ สรวงศ์ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว เขต ๓ พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นเลยต้องกราบ ขอบพระคุณทุก ๆ ญัตติ เพื่อนสมาชิกทุกท่านที่เสนอญัตติในเรื่องของปัญหาที่ดินทำกิน ของพี่น้องประชาชน ท่านประธานครับ ปัจจัยสี่ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ผมขอเติม ที่ดินทำกิน ให้กับพี่น้องประชาชนด้วยครับ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าที่ดินคือต้นทุน ในการใช้ชีวิต คือต้นทุนในการทำมาหากิน คือหลักทรัพย์ที่พี่น้องประชาชนสามารถเอาไป เพื่อเป็นเงินทุนในการทำมาหากินได้ แล้วก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาที่ดินเป็นปัญหาที่เขา เรียกว่ามหากาพย์ หลาย ๆ รัฐบาลต้องการที่จะแก้ปัญหาเรื่องที่ดินให้กับพี่น้องประชาชน เราจะสังเกตได้จากเพื่อนสมาชิกทุกเช้าที่มีการหารือความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ทุกครั้งจะต้องมีเรื่องของที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชนเข้ามาสู่สภาแห่งนี้ ท่านประธานครับ ที่ดินเป็นปัญหาที่พี่น้องประชาชนต้องต่อสู้ ต่อสู้กับหน่วยงานของรัฐ แล้วหลายครั้งหลายหน เหลือเกินที่พี่น้องประชาชนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ไม่ว่าจะเป็น ส.ป.ก. ภ.บ.ท. ที่ราชพัสดุ ทุ่งเลี้ยงสัตว์ ที่รถไฟ ที่ทหาร และอื่น ๆ อีกมากมาย ผมยกตัวอย่างจังหวัดสระแก้วให้ท่านประธาน และเพื่อนสมาชิกได้เห็น ขอ Slide ด้วยครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
จังหวัดสระแก้วครับท่านประธาน พื้นที่ ทั้งหมด ๔,๕๐๐,๐๐๐ ไร่ โดยประมาณ เป็นที่อุทยาน ๑๕.๕ เปอร์เซ็นต์ ป่าสงวนแห่งชาติ ๑๔.๗๗ เปอร์เซ็นต์ ป่าไม้ถาวร ๔.๒ เปอร์เซ็นต์ ส.ป.ก. ๔๑ เปอร์เซ็นต์ นิคมสหกรณ์ ๔.๖ เปอร์เซ็นต์ นิคมสร้างตนเอง ๒.๖ เปอร์เซ็นต์ ที่ราชพัสดุประมาณ ๑ เปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญที่สุด ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ ๑๖ เปอร์เซ็นต์ จาก ๔,๕๐๐,๐๐๐ ไร่ มีเพียง ประมาณ ๗๒๐,๐๐๐ ไร่เท่านั้นที่มีเอกสารสิทธิ แล้วเอกสารสิทธิในที่นี้อย่างที่เพื่อนสมาชิก ได้อภิปรายไป ไม่ใช่โฉนดนะครับ มีทั้ง ส.ค. ๑ มีทั้ง น.ส. ๓ น.ส. ๓ ก. นี่คือเอกสารสิทธิ ผมถึงบอกว่าปัญหานี้พี่น้องประชาชนต้องต่อสู้กันมาโดยตลอด ผมยกตัวอย่างอีกสัก ๓ เคส ครับท่านประธาน ผมเคยอภิปรายแล้วก็เคยหารือกับท่านประธาน จังหวัดสระแก้ว เป็นจังหวัดชายแดน และเป็นจังหวัดที่มีศึกสงครามมาก่อน เพราะฉะนั้นพื้นที่ของพี่น้องประชาชนที่มีเอกสารสิทธิอยู่แล้ว อย่างเช่น ส.ค. ๑ ซึ่งออก เมื่อปี ๒๔๙๘ พี่น้องถูกกองทัพขอใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก พื้นที่ที่ ๑ ที่ผมอภิปราย เคยหารือ กับท่านประธานไปแล้ว ที่ตำบลโนนหมากมุ่น อำเภอโคกสูง อันนี้มีพี่น้องประชาชน ๔๖ ราย ๘๗๒ ไร่ ที่กองทัพขอใช้พื้นที่ อีกทีหนึ่งก็คือที่อำเภออรัญประเทศ บางท่านไม่รู้จัก จังหวัดสระแก้ว แต่เคยไปอรัญประเทศ รู้จักตลาดโรงเกลือ ท่านประธานทราบไหมครับว่า พื้นที่ในอำเภออรัญประเทศเกือบทั้งอำเภอไม่มีเอกสารสิทธิ เป็นที่รถไฟ เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ และเป็นที่ที่ทหารขอใช้พื้นที่ แล้วไม่สามารถที่จะต่อสู้และเอาชนะได้ หลาย ๆ ครั้งเมื่อสมัยที่ ท่านรัฐมนตรีชัชชาติ ขออนุญาตเอ่ยนามท่าน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผมพา พี่น้องประชาชนเข้าไปจะให้ท่านแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่รถไฟ เจ้าหน้าที่เอาแผนที่มา ต้องใช้ ไม้ไผ่เปิดครับท่านประธาน ใช้มือเปิดไม่ได้ เพราะเป็นแผนที่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เขาเรียกว่าทางเกวียน ไม่ใช่ทางรถไฟสมัยก่อน แต่ถูกกันเขตไว้เป็นแนวทางรถไฟ นี่คือ แค่ตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พี่น้องประชาชนต้องเผชิญ อีกที่หนึ่งบ้านเกิดผมเลยวัฒนานคร บ้านผมอยู่ติดกับกองบิน ๓ แต่ก่อนเป็นฝูงบิน ๒๐๖ ทหารขอใช้พื้นที่ ๑๕,๐๐๐ ไร่ กินพื้นที่ ๔ ตำบล ตำบลโนนหมากเค็ง ตำบลหนองแวง ตำบลวัฒนานคร ตำบลห้วยโจด ตอนนี้ มีการพัฒนาจากสนามบิน กองบิน ตอนนี้มาเป็นกองบิน ๓ เป็นกองบินใช้ Drone แต่ตอนนี้ มีการกันพื้นที่ของพี่น้องประชาชนออกไปเยอะมาก อย่างที่ผมเรียนให้ทราบ ๑๕,๐๐๐ กว่าไร่ ผมก็ไม่แน่ใจว่าทุกวันนี้การทหารสำคัญขนาดไหน แต่ผมมั่นใจว่าการทูตสำคัญกว่า และสำคัญที่สุดก็คือพี่น้องประชาชนต้องมีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ผมกราบเรียนว่าปัญหา ส่วนหนึ่งของปัญหาที่ดินคือการใช้แผนที่คนละสัดส่วนกัน ทหารใช้สัดส่วนหนึ่ง ราชพัสดุ ใช้สัดส่วนหนึ่ง ป่าไม้ใช้สัดส่วนหนึ่ง บางทีที่ดินแปลงเดียวมีหลายเจ้าภาพหลายเจ้าของ เหลือเกิน ไม่รู้จะไปติดต่อหน่วยงานไหน เมื่อไรที่เราจะเห็น One Map ออกมาใช้สักที One Map ที่ทุก ๆ หน่วยงานใช้แผนที่เดียวกัน ตรงจุดจุดเดียวกัน พรรคเพื่อไทยได้มี นโยบายสำคัญ นโยบายที่จะออกเอกสารสิทธิ ๕๐ ล้านไร่ให้กับพี่น้องประชาชนได้มี ที่ทำกินกัน แบ่งเป็น ส.ค. ๑๗ ล้านไร่ ที่ป่า ๑๐ ล้านไร่ ส.ป.ก. ๓๓ ล้านไร่ ผมมั่นใจว่า รัฐบาลโดยการนำของท่านนายกเศรษฐา ทวีสิน จะนำพาประเทศนี้และแก้ปัญหาที่ดินให้กับ พี่น้องประชาชนได้ ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจ กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ขออนุญาตข้ามก่อนนะครับ ผมขอไป ท่านสาธิต ทวีผล เลย พร้อมไหมครับ เชิญท่านสาธิตครับ
นายสาธิต ทวีผล ลพบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม สาธิต ทวีผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต ๒ พรรคก้าวไกล ผู้แทนของพี่น้อง ห้วยโป่ง หลุมข้าว เขาพระงาม ท่าศาลา นิคมโคกตูม และอำเภอพัฒนานิคม ท่านประธานครับ ผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิกเรื่องที่ดินทำกินของพี่น้อง ประชาชน ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชนนี้ มีประโยชน์มากครับ เพราะเปิดโอกาสให้เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายนำปัญหาของพี่น้อง ประชาชนนั้นเข้ามาพูดในสภาแห่งนี้ และหาแนวทางช่วยกันแก้ไข
นายสาธิต ทวีผล ลพบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ในส่วนประเด็นการอภิปรายของผมนั้นจะขอพูดไปที่ จังหวัดลพบุรีนะครับ เป็นที่ทราบดีว่าจังหวัดลพบุรีนั้นเป็นเมืองทหาร ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า จะมีการกระทบกระทั่งกันระหว่างพี่น้องประชาชนกับกองทัพอยู่บ่อยครั้ง ผมได้มีโอกาส ลงพื้นที่ไปดูปัญหาข้อพิพาทนี้ที่บ้านหนองคู ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง แล้วก็ได้มี โอกาสเข้าไปไกล่เกลี่ยแทนชาวบ้าน เป็นที่น่าเห็นใจทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางชาวบ้านเอง แล้วก็ทางหน่วยงานราชการเอง ทางชาวบ้านเองนั้นก็อยู่มาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า แต่ด้วยกรอบ ของกฎหมายนั้นไม่สามารถที่จะสู้กับหน่วยงานราชการได้ เพราะว่าไม่มีพยานหลักฐาน ไม่มี พยานบุคคลที่จะมายืนยันได้ว่าตนนั้นได้ครอบครองที่ดินมาตั้งแต่สมัยก่อน เพราะว่ารุ่นปู่ รุ่นย่านั้นก็ได้เสียชีวิตกันไปหมดแล้ว เพราะหลักฐานนั้นต้องหาตั้งแต่ก่อนปี ๒๔๙๗ ซึ่งในทาง ปฏิบัติไม่สามารถจะทำได้ ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่สามารถที่จะต่อสู้ในทางกฎหมายกับทาง หน่วยงานราชการได้ สู้ไปอย่างไรก็แพ้
นายสาธิต ทวีผล ลพบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ เรามาดูในแง่มุมที่ควรเห็นอกเห็นใจทางหน่วยงานราชการ กันบ้างว่าพวกเขานั้นน่าเห็นอกเห็นใจอย่างไร เจ้าหน้าที่เองนั้นก็จำเป็นที่จะต้องปกปักรักษา ที่ดินที่หน่วยงานราชการของตนนั้นมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลไม่ให้ผู้ใดเข้ามาบุกรุก ถ้าหากว่า ปล่อยปละละเลย ไม่ควบคุมดูแลให้ชาวบ้านหรือผู้ใดเข้ามาบุกรุกในพื้นที่ ทางหน่วยงานทหาร หรือทางหน่วยงานราชการนั้นก็จะต้องมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ผมได้พูดคุยกับหน่วยงานอย่างเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ เอาจริง ๆ แล้วทางหน่วยงานทหารในระดับกองพันนั้น ก็ไม่ได้อยากที่จะเข้มงวดอะไรมากนัก แต่ด้วยกรอบของกฎหมายนั้นจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ แม้ว่าในส่วนของที่ดินที่กองทัพดูแลนั้นจะไม่ได้ใช้ทำภารกิจในการทหารแล้ว แต่ด้วยกฎหมาย ที่ล้าหลังแบบนี้ทำให้ทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน ถึงเวลาแล้วที่พวกเราควรปรับปรุง แก้ไขกฎ ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการมีที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะ พี่น้องเกษตรกร เมื่อวานนี้พวกเราได้ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญครบแล้วทั้ง ๓๕ คณะ แล้ววันนี้เรากำลังจะเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหา ที่ดินทำกินให้พี่น้องประชาชน ผมขอฝากปัญหานี้ผ่านท่านประธานไปยังคณะกรรมาธิการ ที่เกี่ยวข้องด้วยนะครับ
นายสาธิต ทวีผล ลพบุรี ต้นฉบับ
ปัญหาในลักษณะนี้ไม่ได้มีแค่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรงอย่างเดียว แต่ปัญหาลักษณะนี้มีอยู่หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ตำบลเขาพระงามของอำเภอเมืองลพบุรี ตำบลนิคมสร้างตนเองของอำเภอเมืองลพบุรี ตำบลดีลังของอำเภอพัฒนานิคม บ้านเขาขวาง ตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม ก็เป็นลักษณะคล้ายกันกับทางตำบลห้วยโป่งของอำเภอ โคกสำโรง บางตำบล บางพื้นที่นั้นหนักหนาเลยครับ แม้แต่บ้านตนเองซึ่งอยู่มาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า ก็ไม่สามารถที่จะต่อเติม ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของตนได้ ผมขอให้คณะกรรมาธิการ วิสามัญที่พวกเรากำลังจะตั้งขึ้นนี้ รวมถึงคณะกรรมาธิการสามัญหลักที่เพื่อนสมาชิกได้ไป ทำหน้าที่ที่มีอำนาจขอบข่ายเกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาของที่ดินนั้น ช่วยกันศึกษา หาแนวทางแก้ไขเรื่องที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชนเพื่อให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขปัญหาที่มี มาอย่างช้านานนี้ ผมขอให้สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ของเรานี้ที่พวกเรามีโอกาส มีอำนาจ ในการออกแบบแก้ไขกฎหมาย แก้ไขกฎระเบียบนี้ให้ช่วยกันหาทางออกด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ตามด้วยท่านศรีโสภา โกฏคำลือ ครับ
นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สุโขทัย ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย เขต ๔ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ การปฏิรูปที่ดินหรือการขอเอกสิทธิ์ที่ดินนั้นมันเรื่องใหญ่ ปัจจัยทั้งสาม ก็คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร และยา แต่วันนี้ที่อยู่อาศัยนั้นพี่น้องได้ใช้คำว่า คนละครึ่ง คือ ครึ่งแรกได้ที่อาศัย แต่เอกสิทธิ์ในที่ดินไม่มีเลย วันนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นที่สำคัญที่กระผม ลงพื้นที่พร้อมกับข้าราชการ แม้กระทั่งท่าน สว. ที่ลงไปพบปะเยี่ยมเยียนก็มีปัญหา แทบทุกที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะ อบต. เทศบาล หรือ อบจ. จะทำอะไรลงไปในพื้นที่นั้น ในที่ดินที่มีป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ แล้วก็ ที่ดินปฏิรูป ทำอะไรยากมากครับ จะปักไฟฟ้าสักหลุมสองหลุมก็ต้องไปขออนุญาตป่าไม้ ในขณะที่พื้นที่ตรงนั้นอยู่ไร่อยู่นาล้อมไปด้วยโฉนดที่ดิน น.ส. ๓ สิ่งเหล่านี้มันทำให้ องค์กรส่วนท้องถิ่นใช้คำว่ากระจายอำนาจไปนั้น ใช้สิทธิในการที่จะพัฒนาพื้นที่นั้นยากเย็นมาก ถ้าเราเอานายก อบต. ทั้งประเทศก็พูดได้เลยว่าทำอะไรต้องขออนุญาตป่าไม้ กฎหมายตัวนี้ ไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ในขณะที่เราคิดว่าออกกฎหมายตัวนี้แล้วจะปกป้องป่าได้ ในปัจจุบันนี้เราต้องทราบว่าเศรษฐกิจมันเดินหน้าด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวส่งเสริม เศรษฐกิจเพื่อรายได้ประชาชน แต่ขณะเดียวข้าราชการรัฐนั้นกลับตรงข้ามก็คือการ Break การต้องมีขั้นตอนหลายขั้นตอนที่จะต้องได้มาซึ่งโครงการจะลงไปได้ในพื้นที่ท้องถิ่น แม้กระทั่งการบริหารจัดการน้ำเมื่อวานนี้ที่เราพูดถึงภัยพิบัติ ยังต้องผ่านของเรื่องป่าไม้เลย เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในประเทศเรื่องน้ำนั้นต้องกักไว้ตามขุนเขาต่าง ๆ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็น ต้นแบบที่เราทราบกันอยู่แล้ว แต่เราต้องมาผ่านป่าไม้ซึ่งชะลอโครงการต่าง ๆ นั้น ทำให้ ท้องถิ่นนั้นแทนที่จะช่วยได้ในการสร้างฝายก็ดี สร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ในไร่นาหรือไร่สวนก็ดี กลับทำไม่ได้ นี่คือปัญหารัฐและหน่วยงานรัฐซึ่งกระทบต่อท้องถิ่นที่มีงบประมาณกระจาย อำนาจลงไป ท่านประธานครับ พื้นที่ซ้ำซ้อนหรือทับซ้อนที่เกิดขึ้นนั้น นั่นคือการขีดวงของ หน่วยงานราชการ ขีดกว้างเกินไปจนไปทับซ้อนกับที่ที่ประชาชนทำมาหากิน อย่างเช่น นิคมสหกรณ์ ในเขตนิคมสหกรณ์นั้น มันเป็นหนังสือสำคัญออกเป็นโฉนดหมดแล้ว แต่เวลา ประกอบการนั้นต้องอยู่ในขอบเขตคำว่า ทำการเกษตร ทุกครั้งที่เรามีการก่อสร้างโรงงาน ที่เกี่ยวกับการเกษตร ไซโลต่าง ๆ เพื่อให้พี่น้องได้ใช้ในการที่เป็นหลักประกันว่าโรงงานนี้ จะเก็บพืชผลที่เราทำอยู่นั้นในพื้นที่ โดยมีพาณิชย์ มีสหกรณ์ดูแล กลับทำไม่ได้ ต้องมา ขออนุญาตถึงกรม กอง รบกวนถึงท่านอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ท่านก็ให้ความเมตตา แต่สิ่งอย่างนี้มันเกิดขึ้นจนพื้นที่ทุกพื้นที่ต้องผ่านป่าไม้หมด ผมยกตัวอย่างกรมศิลปากร ที่เกิดขึ้น ขอภาพ Slide ด้วยครับ
นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สุโขทัย ต้นฉบับ
ท่านเห็นไหมครับ บ้านบนคือ บ้านสร้างใหม่ แต่บ้านล่างเป็นบ้านที่อาศัยมาตลอด ๖๐ ปี ได้แค่นี้ครับ ซื้อเสาทีละต้น ๆ มาทำห้อง กลับถูกร้องว่าก่อสร้างไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งคนแก่ในนั้นอยู่ ๒ คน คนแก่บ้านตรงข้าม กับบ้านหลังนี้ไม่ถูกร้อง ท่านประธานดูครับ มันเหลื่อมล้ำความแตกต่างขนาดไหน ท่าน สว. ตัวตึง ท่าน สว. กิตติศักดิ์ก็ลงไปดูด้วย นี่คือสิ่งที่รัฐปฏิบัติต่อพี่น้องที่อยู่ในเขตอุทยาน ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร อยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย ตำบลศรีสัชนาลัย อยู่ที่ตำบลท่าชัย ตำบลบ้านแก่ง ตำบลป่ากุมเกาะ อำเภอสวรรคโลก ซึ่งตรงนี้เป็นเขตของอุทยานประวัติศาสตร์ ประกาศไว้ก่อนคนเหล่านี้ คนเหล่านี้มาอยู่ก่อนเป็น ๒๐ ปี แต่กลับมาครอบครองจนเป็น ทุกวันนี้ ๙๐๐ กว่าคน อีก ๓๐๐ กว่าครอบครัวยังไม่มีเอกสารสิทธิ ลุงกับป้าถูกศาลตัดสิน ปรับไป ๑๐,๐๐๐ บาท แค่บอกว่าไม่ได้แจ้งอุทยาน อุทยานไม่เคยให้ความรู้ความเข้าใจ ต่อพี่น้องประชาชน ที่สำคัญคนเหล่านี้ไม่รู้กฎหมายเลย ไม่ได้รับทราบเลย ภาพล่างเห็นไหม ตากับยายทำห้องแค่ ๓ คูณ ๔.๕ มีห้องน้ำผู้พิการ ถูกรื้อ ถูกฟ้อง แต่เปรียบเทียบกันนั้นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยโดยกรมศิลปากรนั้นไม่ร้อง บอกว่า ก่อสร้างแค่นี้ไม่ได้บอกอุทยาน ถูกปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท ผมถึงบอกว่าวันนี้เราต้องแก้กฎหมาย ที่ซับซ้อนหรือที่เขาอยู่มาจนปู่ย่าตายาย ๔๐-๕๐ ปี โดยเฉพาะที่ตำบลศรีสัชนาลัยนั้น ๓๐๐ กว่าครอบครัว ท่าชัย ป่ากุมเกาะ หนองอ้อ แล้วก็บ้านแก่งบางส่วน ที่ศรีนคร ครอบคลุมไปด้วยป่าสงวน อยู่ตั้งแต่ปู่ย่าตายายยังเป็นป่าสงวน จนไม่มีต้นไม้สักต้นแล้ว มีแต่ไร่นา มีอ้อยหมด ก็ยังทับซ้อนอยู่ตรงนั้น ทำอะไรทั้งทีต้องไปขอป่าไม้ ผมถึงบอกว่า วันนี้กฎหมายของไทยนั้นมันเก่าโบราณเกินไปที่จะมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศเรา เมื่อวานนี้วิบัติน้ำแน่นอกแน่นใจ วันนี้มาเจอวิบัติที่ดินที่ว่าหน่วยงานรัฐทำไมไม่ฟ้อง บ้านหลังใหญ่โต จะฟ้องไปทำไมเขาอยู่มาตั้ง ๕๐-๖๐ ปีแล้ว ๙๐๐ กว่าชีวิต ๓๐๐ กว่าครอบครัว กรมศิลปากรหรืออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยต้องตระหนัก ไม่ใช่ว่าไปเอา ป.ป.ช. พรรคพวกกันมานั่งประชุมแล้วก็ร้องคนพิการ ๒ หลัง ถูกปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่ออุทยาน จะได้รอดพ้นคำว่าละเลยปฏิบัติ โยนให้ ป.ป.ช. ภาคประชาชนรับไป ซื้อเสาทีละ ๓๐๐ บาท กว่าจะได้ ถูกปรับ ๑๐,๐๐๐ บาทที่ศาล ผมไปเยี่ยมเขาก็บอกว่าดีใจที่ยังไม่ถูกรื้อ บางบ้าน มีบ้านแค่นี้ ไปรื้อของเขา บ้านที่มีรั้วสวยงามไม่ฟ้อง ไม่รื้อ ผมไม่ได้บอกให้มากระทบ กับบ้านหลังสวยงาม เปรียบเทียบว่านี่คือหัวอกหัวใจของคนพิการ ๒ คนที่อยู่ในเขตเดียวกัน หรือกรมศิลปากร หรืออุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยที่ทำเรื่องไปที่กระทรวงมหาดไทยแล้ว เรื่องคาอยู่ว่าจะให้เอกสารสิทธิ เหมือนเมืองเก่าสุโขทัย ในตลาดเมืองเก่าสุโขทัยสมัยผมเป็น รองนายก อบจ. นั้น เขามอบให้หมดแล้ว อันนี้เป็นป่า ยังเป็นป่า ยังเป็นชุมชนป่าอยู่ ซึ่งเจริญตอนนี้ ถนนสายดำ สายแดงหายจนหมดแล้ว เหลือแต่ถนนสายดำจะเป็น ๔ เลนแล้ว ก็ยังไม่มอบเอกสิทธิ์ให้กับพี่น้องชาวศรีสัชนาลัย ท่าชัย หรืออยู่ในเขตของอุทยานประวัติศาสตร์ หรือกรมศิลปากรนี้ ก็ฝากท่านประธานไปถึงหน่วยงานที่ผมเอ่ยคือกรมศิลปากรว่ามีคำร้อง ขอมาจากท่านกำนันสมนึก มีหนังสือไปแล้วว่าจะพิจารณาให้ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ วันนี้ปี ๒๕๖๖ แล้วท่านประธานครับ เลยฝากไปถึงกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ช่วยพิจารณาพี่น้อง ชาวศรีสัชนาลัยจะได้ลืมตาอ้าปากได้ และไม่ให้ถูกราชการรังแกในสิ่งที่เขาทำอย่างที่เห็น ในปัจจุบันตามรูปที่เปรียบเทียบครับ ขอขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านศรีโสภา โกฏคำลือ ครับ
นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๑๐ อำเภอฮอด อำเภอดอยเต่า อำเภออมก๋อย และอำเภอแม่แจ่ม พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันขออภิปรายญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาสิทธิ และที่ดินทำกินของประชาชน จากประเด็นที่ญัตตินี้ได้ระบุถึงรายงานของคณะกรรมการ นโยบายที่ดินแห่งชาติ ที่ได้จัดการที่ดินและทรัพยากรที่ดินของประเทศในช่วง ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๕ ตลอด ๗ ปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดคนเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินมาแล้ว กว่า ๗๐,๐๐๐ ราย ให้พื้นที่กว่า ๕๐๐,๐๐๐ ไร่ แต่แน่นอนว่ายังมีประชาชนรอรับการแก้ไข ปัญหาจากทางภาครัฐ ซึ่งเป็นภารกิจที่ทุกรัฐบาลจะต้องดำเนินงานต่อเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ แก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้กับประชาชน โดยการอภิปรายวันนี้ดิฉันขอหยิบยกตัวอย่าง ความเดือดร้อนในพื้นที่ของดิฉันเลย ที่ในอำเภอฮอด อำเภอดอยเต่า อำเภอแม่แจ่ม และอำเภออมก๋อย ซึ่งมีปัญหาใหญ่ที่สำคัญคือปัญหาสิทธิที่ดินทำกินของประชาชนที่มีที่ดิน อยู่ในเขตป่าเสื่อมโทรม เขตป่าสงวนแห่งชาติ รวมไปถึงเขตอุทยานแห่งชาติ ต้องขอเรียนกับท่านประธานก่อนเลยว่าพี่น้องในพื้นที่ของดิฉัน ได้ตั้งรกรากถิ่นฐานประกอบสัมมาอาชีพตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ สมัยยังไม่มีการประกาศ เขตป่าสงวนแห่งชาติ รวมไปถึงเขตอุทยานแห่งชาติอย่างชัดเจน จึงทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ ทำประโยชน์ในที่ดินของตนอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับพวกเขา เลยค่ะ เพราะต้องทนทุกข์ ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ปัจจัยสี่ หนึ่งในนั้นคือที่อยู่อาศัยค่ะ ท่านประธานคะ การสร้างบ้านในพื้นที่ของตนที่ได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษไม่สามารถ ทำได้ จนมาถึงทุกวันนี้โดนขับไล่ โดนจับ รวมไปถึงโดนดำเนินคดี หรือเอาผิดในคดีบุกรุกป่า เนื่องจากไม่มีเอกสารครอบครองที่ถูกต้องตามกฎหมาย จนไปถึงเรื่องคุณภาพของ การดำรงชีวิตในแง่ของสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ขอ Slide ด้วยนะคะ
นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เช่นระบบไฟฟ้า ปัจจุบันมีพื้นที่ จำนวนมากที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ได้แก่อำเภอฮอด ๓ หมู่บ้าน บ้านดอยคำ บ้านแม่หืด บ้านดอยแอก อำเภอดอยเต่ามี ๒ หมู่บ้าน หมู่บ้านดอยหลวง หมู่บ้านดอยแก้ว แม่แจ่มมี ๕ หมู่บ้าน ๕ หมู่บ้านนี้คือเป็นเขตที่ดิฉันรับผิดชอบ ๑. บ้านแม่ป๊อก ๒. บ้านสามสบ ๓. บ้านแม่หงานหลวง ๔. บ้านแม่แฮใน ๕. บ้านโมโลตู่ และสุดท้าย อำเภออมก๋อย มีมากถึง ๓๘ หมู่บ้านที่ไม่มี ไฟฟ้าใช้ กระจัดกระจายไปอยู่ทั้ง ๖ ตำบลในอำเภออมก๋อย ตำบลอมก๋อย ตำบลยางเปียง ตำบลม่อนจอง ตำบลแม่ตื่น ตำบลแม่หลอง และตำบลนาเคียน แม้แต่แหล่งน้ำที่เขาใช้ดื่ม ที่มีความสะอาดและมีจำนวนพอเพียง รวมไปถึงถนนหนทางที่สัญจรไปมาก็ยังมีความลำบาก อย่างที่ดิฉันเคยเสนอในการหารือปัญหาความเดือดร้อนไปแล้วในสภาแห่งนี้ จากปัญหา ที่ดิฉันเล่ามาทั้งหมดมันเป็นผลจากการที่เราไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาสิทธิที่ดินทำกินให้กับ ประชาชนอย่างทั่วถึงเท่าเทียม ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาอย่างยาวนาน ดังนั้นหากมีการแก้ไข ปัญหาเรื่องสิทธิที่ดินทำกินของประชาชน จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถทำให้ประชาชนพึ่งพาตัวเองได้ รวมไปถึงแหล่งเงินทุนเพื่อทำการเกษตร และประกอบอาชีพ ให้สิทธิที่ดินต่อลูกหลานต่อไปได้ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านชุติมา คชพันธ์ ครับ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ชุติมา คชพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จากภาคใต้ จังหวัดพัทลุง สำหรับปัญหาด้านที่ดินนั้น ในพื้นที่ภาคใต้ก็เช่นเดียวกันค่ะท่านประธาน มีปัญหาหลากหลายกรณีมากมาย ในการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรนั้น อันดับแรก เราจะต้องแก้ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินให้ได้ก่อน ถ้าเกษตรกรยังไม่สามารถที่จะมีที่ดิน ของตัวเองได้ ก็ไม่มีทางแก้ไขปัญหาในภาคการเกษตรได้ เปรียบเสมือนว่าหากรากเน่า แล้วลำต้น ดอก ผลจะสมบูรณ์ได้อย่างไร ทุกวันคืนที่ผ่านไปคนจำนวนหนึ่งอาจจะทำมาหากิน อยู่ในเมือง มีทางเลือกมากมาย แต่ในขณะเดียวกันยังมีพี่น้องร่วมชาติของเราอีกจำนวนมาก ที่อยู่ในแต่ละภูมิภาคของประเทศนี้ ยังต้องดิ้นรน ยังต้องทำมาหากิน หาทางทวงคืนที่ดิน ที่เคยเป็นของตนเอง ท่านประธานคะ พี่น้องจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้แจ้งดิฉันว่าประสบปัญหา ที่ดินทำกินทับซ้อนในอำเภอชัยบุรี แต่แทนที่รัฐจะอนุญาตให้ประชาชนได้ทำกินในที่ดินนั้น กลับกลายเป็นว่ารัฐปล่อยให้เอกชนเช่ายาวนานกว่า ๑๐ ปีแล้ว เหตุใดจึงทำแบบนั้น เหตุใด จึงปล่อยให้เอกชนเช่า แทนที่จะให้พี่น้องประชาชนของเราทำมาหากินได้ใช้ประโยชน์ จากพื้นที่ตรงนั้น ในขณะเดียวกันเรื่องแบบนี้ไม่ได้มีแค่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในจังหวัดกระบี่ ก็เช่นเดียวกันค่ะ ดิฉันทราบมาว่าในจังหวัดกระบี่ก็เกิดเรื่องราวลักษณะนี้เช่นเดียวกัน จึงอยากจะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการตรวจสอบถึงความไม่ชอบมาพากล ถึงความผิดปกติของกรณีดังกล่าว และเรื่องนี้พี่น้องประชาชนได้เดินทางมาถึง สภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนที่แล้ว และได้ยื่นหนังสือกับสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว ดิฉัน จึงอยากจะเรียกร้องขอให้ทางท่านประธานเร่งรัดและดำเนินการช่วยเหลือประชาชนตามที่ เขาได้ร้องเรียนมาตามขั้นตอนโดยเร่งด่วนด้วยค่ะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สำหรับพี่น้องประชาชน ในจังหวัดพัทลุงก็เช่นเดียวกัน ดิฉันได้รับเรื่องมาเช่นเดียวกัน ในพื้นที่ศรีนครินทร์ ศรีบรรพต ป่าพะยอม และพื้นที่รอบ ๆ เทือกเขาบรรทัดบริเวณรอยต่อ ทั้งพัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ข้อพิพาทที่ดินกับรัฐมายาวนาน หลังจากนั้นได้มีการประกาศเป็นเขตป่าสงวน แห่งชาติทับซ้อนกับที่ดินทำกินของประชาชน บางพื้นที่ก็มีการจับกุมประชาชนด้วย ประชาชนที่เข้าไปทำมาหากินโดยสุจริต เป็นที่ดินของตนเองแท้ ๆ แต่ว่าถูกคุกคาม ทำให้ ประชาชนไม่อยากมีปัญหากับรัฐจึงต้องเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น ในที่สุดก็ต้องไปทำงาน ต่างแดน เมื่อไปต่างแดนแล้ว แน่นอนค่ะ ภูมิภาคแต่ละจังหวัดก็จะขาดประชากรที่มี ศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ไป ยกตัวอย่างนะคะท่านประธาน ดิฉันอยากจะให้ดูตัวอย่าง กรณีนี้ นี่คือหนึ่งในตัวอย่างที่เจอ ท่านจะเห็นได้ว่านี่คือโฉนด ในอดีตเคยเป็นที่ดินที่มีเอกสาร สิทธิและประชาชนเป็นเจ้าของด้วย สามารถเอาไปจำนองได้ด้วย แต่วันดีคืนดีอยู่ ๆ ก็มี การประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวน ไม่สามารถที่จะทำอะไรต่อได้เลย ประชาชนต้องรีบไป ไถ่คืนมา จะไปจำนองซ้ำก็ไม่ได้ ประชาชนก็เลยทำหนังสือทวงถามไปว่าพื้นที่ตรงนี้เราเคยมี กรรมสิทธิ์ เหตุใดอยู่ ๆ เราถึงทำอะไรไม่ได้ ก็มีหนังสือตอบกลับมาด้วยว่าได้มีการตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นไปได้ นี่คือถูกต้องทุกอย่างเลย นี่คือกรณีหนึ่ง พื้นที่ตรงนั้นดิฉันทราบมาว่าป่าพะยอม ศรีบรรพตในจังหวัดพัทลุง ตำบลลานข่อย ทั้งตำบลเลยถ้าเป็นไปได้ อยากให้มีการตรวจสอบสิทธิกันใหม่อีกรอบหนึ่ง ช่วยกันดูหน่อยว่า เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะว่าประชาชนอยู่อาศัยที่นี่มา ๑๐๐ กว่าปีแล้ว แล้วในขณะที่เพิ่งมาประกาศเมื่อปี ๒๕๕๗ นี่เอง แล้วประชาชนเองก็ถูกคุกคามเชิงนโยบาย ตลอดเวลา ทำอะไรไปก็จะโดนจับ ไม่สามารถจะทำอะไรได้เลย
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ต่อไปในกรณีที่ประชาชนต้องการจะตัดต้นยาง หลาย ๆ คนพอจะทราบ มาบ้างใช่ไหมคะว่ายางพารามีอายุจำกัด เมื่อถึงวันหนึ่งเมื่อหมดสภาพไปแล้ว หมดอายุแล้ว เราก็ต้องตัดยางพาราเพื่อที่จะปลูกยางใหม่ขึ้นมา แต่ตอนนี้ทำอะไรไม่ได้เลย พื้นที่แถว ๆ นั้น รอบ ๆ เชิงเขาที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่อุทยานเขาไม่สามารถตัดได้เลย ไม้ก็จะคาอยู่แบบนี้ นี่คือปัญหาที่ดิฉันได้รับฟังมาเยอะมาก ๆ เลย เพราะฉะนั้นปัญหานี้ต้องรีบแก้โดยเร่งด่วน
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อีกประการหนึ่ง เรื่องนี้ดิฉันเคยนำเข้าสู่สภาไปแล้วครั้งหนึ่ง คือเมื่อก่อน เป็นพื้นที่ประชาชนอาศัยอยู่ แต่ต่อมาปรากฏว่าเป็นอ่างเก็บน้ำ มีการประกาศเป็นพื้นที่อุทยาน ประชาชนโดนตัดขาด ไม่สามารถสร้างสะพานได้ ในขณะที่หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น เขามีหนังสือ เขาเตรียมงบประมาณทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ขอแค่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชอนุญาตเท่านั้นเองก็ทำไม่ได้ เพราะยังไม่มีการอนุญาตอย่างถูกต้อง นี่คืออีกปัญหาหนึ่งที่ดิฉันอยากจะนำเสนอให้ฟัง
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อีกประการที่ดิฉันมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่าถ้าเราไม่รีบแก้ปัญหาเหล่านี้ จะมีผลกระทบต่อเรื่องของวัตถุดิบยางพาราที่จะส่งออกจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศ หลายท่านน่าจะเคยได้ยินเรื่องของ FSC แล้วก็มาตรฐานกฎหมายของ EUDR มาแล้ว คือต่อไปถ้าเราไม่มีมาตรฐานเหล่านี้ ประเทศไทยเราจะถูกกีดกันในเรื่องของวัตถุดิบ จากยางพารา ดิฉันเคยอภิปรายเรื่องนี้ไปแล้วในเรื่องของยางพาราเมื่อเดือนที่แล้ว เพราะฉะนั้นอยากจะให้ปลดล็อกเรื่องของที่ดินทำกินโดยเร่งด่วน เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้อง โดนข้ออ้างเหล่านี้จากต่างประเทศในการที่จะกีดกันทางการค้า
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายค่ะท่านประธาน ดิฉันอยากจะเรียกร้องสิ่งที่ดิฉันเล่าไปทั้งหมด ดิฉันอยากจะเรียกร้องขอให้มีการปลดล็อกที่ดินทำกินทันที ดิฉันขอทันทีเลยนะคะ แล้วก็ ทันใจ ให้ทันใจประชาชน แล้วก็ทันเวลา สิ่งเหล่านี้เราพูดกันมาในสภาแห่งนี้ เราพูดกันมา หลายครั้งมากแล้ว ประชาชนที่เขาต้องรอความหวังครั้งแล้วครั้งเล่า ทุกวันที่ผ่านไปที่เขาต้อง ทำมาหากินแต่เขาทำอะไรไม่ได้ มันช่างเป็นเวลาที่ทรมานเหลือเกิน เพราะฉะนั้น ดิฉันไม่อยากให้เราพูดแล้วก็จบไป ตอนนี้เราก็มีกรรมาธิการที่ดินแล้ว เราก็มีเรื่องราวต่าง ๆ ที่ประชาชนร้องเรียนมา เพราะฉะนั้นดิฉันอยากจะขอให้ทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ. ต่าง ๆ ที่เราเสนอแก้ หรือกรรมาธิการก็ตาม ขอให้ช่วยกันรีบปลดล็อกทันที ทันใจ ทันเวลา ประชาชนด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล ครับ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรด้วยความเคารพ ดิฉัน มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต ๘ พรรคภูมิใจไทย ด้วยเรื่องญัตติด่วน เรื่องขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและติดตามผลปัญหาที่อยู่อาศัย และทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ดิฉันขอสนับสนุนญัตตินี้ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชน ที่ครอบครองที่ดินที่ไม่มีสิทธิครอบครองอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งเป็นการขาดโอกาส ในการจัดการพัฒนาพื้นที่เรื่องสิทธิประโยชน์ในการขึ้นทะเบียนรับสิทธิประโยชน์ จากสวัสดิการของรัฐต่าง ๆ หลาย ๆ ด้าน แม้แต่การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในการลงทุน ทางด้านการเกษตรและการศึกษาของลูกหลานในครอบครัว และการใช้สำแดงสิทธิ เป็นหลักทรัพย์ในการประกันตน หรือผู้เกี่ยวข้องในเรื่องของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้วยพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นพื้นที่ที่มีพื้นที่ที่มีปัญหาอยู่มากมายในเรื่องของ สิทธิทำกินของราษฎรเหมือนทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะในเขตอำเภอช้างกลางและอำเภอฉวาง ในพื้นที่รับผิดชอบดูแลของเขต ๘ ที่ดิฉันทำหน้าที่อยู่ ในตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง และตำบลละอาย อำเภอฉวาง บ้านดิฉันได้รับความเดือดร้อนมายาวนาน เมื่อปี ๒๕๕๒ ดิฉันได้รับเรื่องร้องทุกข์จากพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่ดิฉันทำหน้าที่สมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจำนวน ๑๑๔,๐๐๐ ไร่ ได้ถูกประกาศ เป็นที่ราชพัสดุโดยกรมธนารักษ์มาเกือบ ๑๐๐ ปี ในขณะนั้นคือปี ๒๕๕๒ ดิฉันจึงได้ร่วมกัน กับคณะทำงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พร้อมท่านกำนันจรูญ พยาบาล ขออนุญาต เอ่ยนามนะคะท่านประธาน และท่านกำนันศรัณย์ พุ่มพวง ซึ่งเป็นกำนันตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง ร่วมกันกับคณะทำงานของทุกภาคส่วนของอำเภอช้างกลาง และภาคประชาชน โดยยุคท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านภาณุ อุทัยรัตน์ ได้สามารถ พิสูจน์สิทธิทางประวัติศาสตร์ได้ว่าในพื้นที่ดังกล่าวว่าใครครอบครองก่อน โดยทาง คณะทำงานภาคประชาชนได้พิสูจน์สิทธิทางประวัติศาสตร์ว่าพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกประกาศ เป็นที่ราชพัสดุเมื่อ พ.ศ. ที่พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ในตำบล สวนขัน ซึ่งพบว่าองค์เจ้าอาวาสพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๕ พิสูจน์ได้ว่า วัดเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น โดยชุมชนเข้ามาครอบครองที่ดินอยู่ก่อนจึงสร้างวัด มีเจ้าอาวาส องค์ที่ ๑ ถึงองค์ที่ ๔ ในขณะนั้นจึงชนะการต่อสู้จากทางประวัติศาสตร์ จาก กบร. จังหวัด เพื่อพิสูจน์สิทธิ ทางกรมธนารักษ์ก็ได้ถอดถอนจากการเป็นที่ราชพัสดุ โดย กบร. จังหวัด ขณะนั้นส่งเรื่องให้กรมธนารักษ์ตามระบบ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ จากปี ๒๕๕๔ เป็นต้นมา ทางชุมชนไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการ โดยภาครัฐในสถานะการครอบครองที่ดินของชุมชน ถึง พ.ศ. ๒๕๕๗ เกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร เรื่องนี้จึงเงียบไปจนถึงปัจจุบัน โดยสภาพพื้นที่ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่พัฒนา มีเทศบาลสวนขัน และองค์การบริหารส่วนตำบลละอาย ทั้ง ๒ ตำบลไม่มีสภาพความเป็น พื้นที่ป่าแต่อย่างใด หรือเป็นพื้นที่ที่ไม่ถูกพัฒนา หากแต่เป็นพื้นที่อยู่อาศัย มีถนนหนทาง มีไฟฟ้าสว่าง คล้าย ๆ กับชุมชนเมืองด้วยซ้ำไป ดิฉันจึงขอกราบเรียนท่านประธานสภา ผ่านไปยังรัฐบาลโดยท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ช่วยดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อคืนสิทธิและสร้างความสุขให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
อีกพื้นที่ที่ดิฉันได้ยกตัวอย่างในเรื่องของเอกสารสิทธิในวันนี้ที่ได้หารือ ในสภามาเมื่อเดือนที่แล้ว เป็น Case ตัวอย่างได้ว่าพื้นที่ในเทือกเขาหลวง ระหว่าง การเดินทางจากอำเภอพิปูนไปอำเภอนบพิตำนั้นก็คือ ๘ กิโลเมตร ระหว่างพื้นที่ ตำบลเขาพระ อำเภอพิปูน ไปถึงอำเภอนบพิตำ ได้เป็นพื้นที่ที่เกิดการตั้งใจที่จะซ่อมสร้าง ในรอยสร้างเดิมในการสร้างถนน เพื่อที่จะให้เกิดเป็นพื้นที่พัฒนาเกลอเขา เกลอเล ซึ่ง ณ วันนี้ยังเป็นอุปสรรคในการอนุญาตเข้าไปซ่อมสร้างในรอยสร้างเดิมของถนนที่จะสร้าง การพัฒนาให้เกิดการไปมาหาสู่ระหว่างเทือกเขาหลวงฝั่งอำเภอพิปูน อำเภอนบพิตำ อำเภอขนอม ขณะที่ต้องใช้เดินทางไปโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และได้ การเชื่อมต่อในการสร้างพื้นที่ในการไปมาหาสู่ของการท่องเที่ยวระหว่างอันดามันสู่อ่าวไทย ที่จะเกิดการสร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างเกาะสมุยกับอำเภอขนอมค่ะท่านประธาน ดิฉันจึงเห็นว่าพื้นที่ของรัฐที่ไม่สามารถเป็นผืนที่ป่าที่จะสร้างต้นไม้ใหญ่ที่จะเปิดพื้นที่ปกคลุม ป่าได้แล้ว เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม หรือเป็นพื้นที่ที่พัฒนามาเป็นหมู่บ้านแล้ว เห็นควรที่จะ อนุญาตให้มีเอกสารสิทธิประเภทใดประเภทหนึ่งในการใช้สิทธิครอบครองเพื่อดำเนินการ ใช้ชีวิตของพี่น้องประชาชนอย่างมีความสุขต่อไป ดิฉันจึงเห็นด้วยและสนับสนุนญัตติดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาสิทธิประโยชน์ในพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชนต่อไป ด้วยความเคารพอย่างสูง กราบขอบพระคุณท่านประธานสภาค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านนรเสฏฐ์ ศิริโรจนกุล ครับ
นายนรเสฏฐ์ ศิริโรจนกุล นครราชสีมา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายนรเสฏฐ์ ศิริโรจนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต ๑๒ อำเภอปักธงชัยและอำเภอวังน้ำเขียว ท่านประธานครับ ที่ดิน ส.ป.ก. กำเนิด เกิดขึ้นมาให้กับพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรของเราใช้ทำอยู่ทำกินมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ แต่ทำไม พี่น้องเกษตรกรถึงยังจน ยังเป็นหนี้นอกระบบกันมากมาย เขาฝากความหวังมากับผมครับ และเขาถามผมว่าที่ดินที่เขาถือครองกรรมสิทธิ์ในรูปแบบของ ส.ป.ก. นี้จะสามารถหรือมี โอกาสที่จะเป็นเอกสารสิทธิที่ทำให้เขาสามารถนำไปทำธุรกรรมกับธนาคาร หรือว่าพูดง่าย ๆ คือไปกู้ยืม หรือเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้หรือไม่ ซึ่งเขาจำเป็นจะต้องใช้หมุนเวียนในการซื้อปุ๋ย ซื้อยา แล้วก็มาทำการเกษตร เพราะว่าไม่อย่างนั้นในปัจจุบันเขาก็จะไม่สามารถเข้าถึง แหล่งเงินทุนได้ แล้วก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินนอกระบบ ซึ่งดอกเบี้ยปกติก็จะราคาสูง
นายนรเสฏฐ์ ศิริโรจนกุล นครราชสีมา ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง พื้นที่ใน ส.ป.ก. นะครับท่านประธาน ปัจจุบันนี้ ต้องบอกว่าส่วนมากที่ดิน ส.ป.ก. ตกไปอยู่ในมือของคนบางกลุ่ม ผมขออนุญาตยกตัวอย่าง เฉพาะในพื้นที่ของผมในอำเภอปักธงชัยและอำเภอวังน้ำเขียว นามสกุลเดียวกันครับ ถือครองที่ดินกรรมสิทธิ์ ส.ป.ก. หลายร้อยไร่ เป็นไปได้อย่างไรครับ ส่วนคนที่จนจริง ๆ กลับต้องไปเช่าที่ดิน ส.ป.ก. เหล่านั้นทำไร่ ทำสวน ปลูกอ้อย ปลูกมัน ผมขอ Slide ด้วยครับ
นายนรเสฏฐ์ ศิริโรจนกุล นครราชสีมา ต้นฉบับ
ประเด็นปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในพื้นที่เป็นปัญหาการทับซ้อนของแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ตามพระราชกฤษฎีกา พุทธศักราช ๒๕๒๔ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมากครับ กว่า ๘๒ หมู่บ้าน ในตำบลไทยสามัคคี ตำบลวังน้ำเขียว ในอำเภอวังน้ำเขียว รวมไปถึง อำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรีของจังหวัดนครราชสีมาเอง แล้วก็อำเภอนาดีของจังหวัด ปราจีนบุรีด้วย ด้วยเหตุนี้ทางกองทัพภาคที่ ๒ แล้วก็สำนักงาน กอ.รมน. ภาค ๒ ได้เสนอแนะให้กรมป่าไม้ในขณะนั้นแก้ไขแผนที่แนบท้ายแนวเขตของปี ๒๕๒๔ นี้ให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง เนื่องจากว่ามีการทับซ้อนของพื้นที่ความมั่นคง และโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในหลาย ๆ ตำบล จึงได้ทำให้มีการเข้าไปรังวัด ปักเสา สำรวจ แนวเขต ทำแผนที่ขึ้นมาใหม่ แล้วก็ทำแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๓ นี้ หรือเขาเรียกกันว่า เป็นแนวเขตของปี ๒๕๔๓ ผมขออนุญาตยกตัวอย่างในอำเภอวังน้ำเขียวอำเภอเดียว มีพื้นที่ ๒.๖ แสนไร่ที่ถูกปกคลุมด้วยป่าสงวนแห่งชาติ รวมถึงในตำบลไทยสามัคคี ที่ดิน ๒ ใน ๓ กลายเป็นป่าและอุทยานไปเรียบร้อยครับ ทั้งที่ตามจริงแล้วตำบลนี้ถูกก่อตั้งมา ตั้งแต่ปี ๒๔๕๗ สมัยก่อนเป็นบ้านคน เป็นวัด เป็นแม้กระทั่งหน่วยงานราชการ มีหลักฐานชัดเจนครับ เขาไปอยู่ในพื้นที่ก่อนที่กฎหมายจะประกาศใช้ในปี ๒๕๒๔ หลายสิบปี ทำให้ชาวบ้านเหล่านี้มีปัญหาในการดำรงชีวิตที่เอกสารสิทธิไม่สามารถขับเคลื่อน เปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นทุนได้ แล้วก็ยังต้องถูกดำเนินคดี ถูกขับไล่ที่อีก จริง ๆ เหลือขั้นตอน อีกไม่มาก เพราะว่าได้เริ่มจากคณะรัฐมนตรีชุดที่แล้วเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ ในปัจจุบันนี้เหลือแค่นำเข้าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพื่อจะพิจารณาต่อไป เพื่อจะ ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขแนวเขตเพื่อแนบท้ายจากพระราชกฤษฎีกาของปี ๒๕๒๔ ที่ประกาศไว้ เรียบร้อยแล้วข้างต้น เพราะว่าตอนนี้ชาวบ้านเดือดร้อนกับแผนที่ที่ขีดผิด ทำให้ เสียโอกาสในการอยู่อาศัย รวมถึงถูกรื้อถอนบ้านเรือน เสียเงินเสียทอง รวมถึงเสียค่าปรับเอง มีชาวบ้านถูกดำเนินคดีแล้วไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ครัวเรือน ดูจากใน Slide ก็จะเห็นว่าแผนที่ บางช่วงเป็นป่า แต่ว่าอุทยานก็ไม่ได้ขีดเส้นคลุมไปถึงป่า แต่บางช่วงเป็นบ้านคน แต่แนวเขต ก็ยังไปขีดทับในหลาย ๆ ตำบลในอำเภอวังน้ำเขียว ซึ่งพี่น้องเราตอนนี้ต้องอยู่ด้วย ความหวาดระแวง
นายนรเสฏฐ์ ศิริโรจนกุล นครราชสีมา ต้นฉบับ
ขออนุญาตอีก ๑ Slide ครับ Slide นี้จริง ๆ แล้วเป็นพื้นที่ของป่าไม้ ลองมองดูก็เป็นภูเขา แต่อาจจะดูไม่เหมือนภูเขาเสียทีเดียว สังเกตเห็นที่วงกลมข้างใน ก็จะเป็นวัด เป็นสถานปฏิบัติธรรม ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ครับ จริง ๆ แล้ววัดก็ได้ตั้งมา นานแล้วมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ในช่วงที่ผ่านมาถนนทางขึ้นวัดชำรุดเสียหาย ก็มีชาวบ้าน ผู้ใจบุญซึ่งถูกว่าจ้าง โดยแม่ชีไปจ้างชาวบ้านมาไถที่เพื่อปรับถนนให้ญาติโยมสามารถขึ้นไป สักการะที่วัดได้ แต่ก็ยังมีฝ่ายปกครองไปแจ้งจับดำเนินคดีกับคนที่เขามาปรับพื้นที่ถนนทาง ซึ่งถนนทางเหล่านี้มันอยู่มา ๓๐-๔๐ ปีแล้ว สุดท้ายท้ายสุดคนที่เขาไปปรับพื้นที่ให้เขาจำเป็น จะต้องขึ้นศาลถูกดำเนินคดีติดคุก ปัจจุบันนี้ก็คือรอลงอาญาอยู่ และที่สำคัญคือรถที่เป็น เหมือนเครื่องมือทำมาหากินก็ต้องถูกยึดไปด้วยเหมือนกับเป็นของกลาง ถามว่า ความยุติธรรมอยู่ตรงไหนครับ ทำไมตาสีตาสายังต้องเป็นผู้ที่รับผิดรับโทษ Case นี้ ผมมองแล้วไม่ได้ต่างอะไรกับยายที่เข้าไปเก็บเห็ดในป่าเลยครับ เจ้าหน้าที่ใช้บรรทัดฐานอะไร มาตัดสินว่าควรจะดำเนินคดีกับใคร โทษหนักหรือเบา กฎหมายที่ออกมาเอาไว้ใช้แค่กับ คนจนหรือเปล่าครับท่านประธาน ฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข ปัญหาที่ผมได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้ด้วย ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ครับ
นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรียนประธานที่เคารพ ผม ชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต ๓ พรรคก้าวไกล วันนี้ขออภิปราย สนับสนุนญัตติการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของพี่น้อง ประชาชน ผมเล็งเห็นว่าเรื่องที่ดินทำกินยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องเกษตรกร ท่านประธานครับ ประเทศไทยเรา แห่งนี้ไม่ใช่บ้านที่อบอุ่นสำหรับพวกเราทุกคน ทุกวันนี้ยังมีพี่น้องที่ประสบปัญหาเรื่องที่ดิน ทำกินกว่า ๑.๒ ล้านคน และที่ดินยังมีปัญหาในเรื่องของข้อกฎหมายอีกกว่า ๑๓ ล้านไร่ และที่สำคัญ ประเทศไทยยังมีปัญหาในเรื่องของการยึดครองที่ดินที่มีความเหลื่อมล้ำ เป็นลำดับต้น ๆ ของโลก หากพวกเราในที่นี้ยังจำได้ ครั้งหนึ่งคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ลุกขึ้นอภิปรายในสภาแห่งนี้เกี่ยวกับทฤษฎีกระดุม ๕ เม็ด ซึ่งกระดุมเม็ดแรกที่คุณพิธาได้พูดถึง นั่นก็คือปัญหาในเรื่องของที่ดินทำกิน ถ้าหากวันนี้ เราสามารถจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน เกาให้ถูกที่คัน เราเชื่อมั่นว่าปัญหาอื่น ๆ จะสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดาย ท่านประธานครับ ผมเป็น สส. จังหวัดขอนแก่นสมัยแรก ก่อนหน้านี้ผมไม่ทราบหรอกครับว่าพี่น้องในพื้นที่มีปัญหาอะไรบ้าง จนกระทั่งผมได้มีโอกาส ลงไปพูดคุย ไปรับฟังปัญหากับพวกเขา ผมถึงได้รับทราบว่าพี่น้องที่อยู่ในเขต ๓ ขอนแก่น มีปัญหาในเรื่องของที่ดินทำกิน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งพี่น้องในเขตอำเภอกระนวน เกือบครึ่งหนึ่งของอำเภอกระนวน พี่น้องไม่มีกรรมสิทธิ์ ในที่ดินทำกิน ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้ไม่ดิ้นรนนะครับ แต่พวกเขาต่อสู้มาตั้งแต่ สมัยบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น บางครอบครัวต่อสู้กันมา ๓๐-๔๐ ปี เริ่มเหนื่อย เริ่มท้อ ในหลาย ๆ ครอบครัวเริ่มมีการพูดคุยกันว่าตกลงชาตินี้จะได้เห็นกับคนอื่นหรือไม่ว่า กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นอย่างไร เกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ในอำเภอกระนวน อยู่ในนิคมสหกรณ์ นิคมสหกรณ์ที่ผมกำลังพูดถึงอยู่นั้นคือนิคมสหกรณ์ดงมูล ๑ และดงมูล ๒ ซึ่งจดทะเบียน จัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ ซึ่งผมก็ยังไม่เกิด กินพื้นที่รวมกว่า ๑๕๐,๐๐๐ ไร่ ท่านประธานเชื่อไหมครับว่ากฎหมายเรื่องที่ดินเหล่านี้ที่อยู่ในสหกรณ์นิคม อันแท้จริงแล้วน่าจะสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดาย แต่จนถึงทุกวันนี้ปัญหานี้ก็ยังไม่ได้รับ การแก้ไขเลย ผมเลยอยากจะชวนมองย้อนกลับไปว่าลำดับขั้นตอนของปัญหาของที่ดิน ที่อยู่ในนิคมสหกรณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร มองย้อนกลับไปตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ มีมติคณะรัฐมนตรี ให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ในการจัดตั้งนิคม จึงเป็นที่มาของการมีนิคมทั่วประเทศ อีกทั้งยังได้มอบหมายให้ทาง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ ยกกฎกระทรวงในการเพิกถอน ป่าสงวน ป่าสงวนที่เป็นป่าเสื่อมโทรมที่ไม่สามารถนำกลับมาเป็นป่าที่สมบูรณ์แบบได้ เอาที่ดินส่วนนี้ไปจัดสรรให้กับพี่น้องที่อยู่ในเขตนิคมสหกรณ์ ต่อมาในปี ๒๕๑๗ ก็มีมติ คณะรัฐมนตรีออกมาแบบเดียวกัน แต่ ณ ขณะนั้นไม่ว่าจะเป็นกรมส่งเสริมสหกรณ์ แล้วก็ ทางกรมป่าไม้ ไม่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เนื่องจากว่ามีผู้มีอำนาจที่อยู่ในทีม ผู้บริหารมีที่ดินอยู่ในนิคมสหกรณ์เป็นจำนวนมาก เกรงว่าตัวเองจะเสียผลประโยชน์ เพราะถ้าเกิดดำเนินการจัดตามมติ ครม. จะต้องทำตาม พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินทำกินปี ๒๕๑๑ ซึ่งจะสามารถถือครองได้ครอบครัวหนึ่งไม่เกิน ๕๐ ไร่เท่านั้น จนกระทั่งมาปี ๒๕๕๔ ก็มี มติ ครม. แบบเดียวกัน เหมือนกับปี ๒๕๑๓ และปี ๒๕๑๗ แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ เกิดขึ้น จนกระทั่งมาปี ๒๕๖๒ รัฐบาล คสช. ชื่อก็บอกแล้วว่าชอบมีเรื่อง Surprise ให้กับ พวกเรา รัฐบาล คสช. มีนโยบายในการจัดที่ดินในรูปแบบใหม่ โดยเอาที่ดินทั้งหมดที่อยู่ใน เขตนิคมสหกรณ์ทั่วประเทศที่มีกว่า ๑,๕๐๐,๐๐๐ ไร่ เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาจัดที่ดิน ให้กับชุมชนตามนโยบายรัฐบาล คสช. หรือที่พวกเราเรียกว่า โครงการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๒ ซึ่งในข้อกฎหมายก็ไม่ได้มีมาตราไหนเลยที่เอื้อประโยชน์หรือว่าเข้าข้าง ภาคประชาชน แต่กลับเป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด เช่น โครงการ คทช. ที่ให้เฉพาะสิทธิในการทำมาหากิน แต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ หรือไม่ให้สิทธิในการเรียกร้อง กรรมสิทธิ์ในที่ดินให้กับพี่น้องประชาชน มิหนำซ้ำที่ดินยังเป็นของรัฐเหมือนเดิม และยังต้อง ทำตามคำสั่งของอธิบดี ถือสิทธิในที่ดินทำกินได้เพียงแค่ครอบครัวละไม่เกิน ๒๐ ไร่ ท่านประธานครับ เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหากับพี่น้องชาวอำเภอกระนวน ถ้าหากดำเนินการ ตามเรื่องของ คทช. ทุกวันนี้หลาย ๆ ครอบครัวทำกินเกิน ๒๐ ไร่ ซึ่งก็ไม่เกิน ๕๐ ไร่ ตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินทำกิน ปี ๒๕๑๑ แน่นอน คำถามครับ ถ้าเกิดเป็นพวกเรา ทุกวันนี้ มองย้อนกลับไป บ้านที่เราอยู่ทุกวันนี้ ที่นา ที่ไร่ที่พวกเราไปทำมาหากินกันอยู่ทุกวัน มาวันพรุ่งนี้มันกลับเปลี่ยนมือไม่ใช่เป็นของพวกเรา พวกเราจะรู้สึกอย่างไร หรือเป็นอีก ตัวอย่างหนึ่งที่ชุมชนโนนหนองลาด ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ชุมชนแห่งนี้มีบ้านเรือนพี่น้องประชาชนประมาณ ๔๐ หลังคาเรือนเท่านั้น แต่ก็ไม่มีเอกสาร กรรมสิทธิ์ใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานส่วนท้องถิ่น อบต. อบจ. ก็ไม่มีหน่วยงานไหนที่กล้า เข้ามาดูแลในเรื่องของระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เนื่องจากติดในเรื่องของข้อกฎหมาย ถามจริง ๆ ว่าพวกเราจะปล่อยให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตแบบนี้ต่อไปจริง ๆ หรือครับ ท่านประธานครับ นี่ไม่ใช่ปัญหาเรื่องยุ่งยากอะไรเลยถ้าหากมองว่ามันคือการยกระดับ คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน รัฐบาลสามารถจัดการได้อย่างง่ายดาย และน่าจะเป็น การดำเนินการที่ผมคิดว่าง่ายที่สุดในการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินเสียด้วยซ้ำไป การประกาศ ยกเลิกกฎกระทรวงคืนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน สร้างโอกาสและให้อนาคตให้กับพี่น้องประชาชน อยู่ที่ว่าพวกเราจะกล้าทำกันหรือไม่ครับ ท่านประธานครับ ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น นั่นก็คือปัญหาในเรื่องของความเหลื่อมล้ำ ในการถือครองที่ดินที่ประเทศไทยถือว่าอยู่ในระดับต้น ๆ ของโลก ประชาชน กว่า ๗๕ เปอร์เซ็นต์ไม่มีที่ดินทำกิน และที่ดินกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ตกอยู่ในมือของคนรวย ซึ่งมีเพียงแค่ ๕ เปอร์เซ็นต์ในประเทศนี้ นี่คือกระดุมเม็ดแรก หากพวกเราติดผิดทุกอย่าง จะผิดไปกันหมด เรื่องพื้นฐานแค่นี้หากวันนี้พวกเราไม่กล้าทำ พวกเราจะคาดหวังให้ ประเทศไทยก้าวหน้าไปได้ไกลมากกว่านี้ได้อย่างไร ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปท่านทินพล ศรีธเรศ ครับ
นายทินพล ศรีธเรศ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม ทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย วันนี้ขออภิปรายเรื่องที่ดินทำกิน ปัญหาที่ดินของพี่น้องประชาชนร่วมกับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นห่วงเกี่ยวกับปัญหาที่ดินของพี่น้องประชาชน เพื่อนำเรียน ไปยังรัฐบาลแล้วก็หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะต้องมีหน้าที่แก้ไขปัญหาให้กับพี่น้อง ประชาชนต่อไป ท่านประธานที่เคารพครับ ผมว่าตั้งแต่ท่านประธานทำงานที่สภาแห่งนี้ ในฐานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แล้วก็ติดตามการทำงานของสภาผู้แทนราษฎร กี่ยุคกี่สมัยมาแล้วที่เราได้เห็นสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องที่ดินของพี่น้องประชาชนซึ่งมีมากมายเหลือเกิน แล้วสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ได้เคย ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาแล้วหลายรอบ แล้วก็ออกไปรับรู้รับทราบ ลงพื้นที่ เพื่อที่จะหาข้อมูลกับพี่น้องประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ มาแล้วในอดีตที่ผ่านมา การตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแก้ไขปัญหาที่ดินแล้วก็การออกเอกสารสิทธิในที่ดิน เพื่อที่จะรับรู้รับทราบข้อมูล ผมได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์ในขณะที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้ลงพื้นที่เมื่อสมัยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว เกิดปัญหามากเลยนะครับ คณะกรรมาธิการวิสามัญไปลงพื้นที่ที่ไหน จะเห็นว่าประชาชนมาร้องเรียนแล้วก็มาส่งข้อมูล ให้กับคณะกรรมาธิการเนืองแน่นไปหมด ล้นที่ประชุม ล้นห้องประชุมออกมาอย่างมากมาย นั่นแสดงว่าปัญหาที่ดินของพี่น้องประชาชนมีมากเป็นอย่างยิ่ง มีมากเหลือเกิน เพราะว่า ถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นมาแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ทุกข์ใจของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ บางคนอกว่าตายไปก็นอนตายตาไม่หลับ เพราะที่ดินเป็นที่ที่คนเราทำมาหากิน เลี้ยงครอบครัว ฝากชีวิตไว้กับที่ดินทำมาหากิน แล้วก็เป็นที่อยู่อาศัย ตายไปก็ส่งต่อให้กับ ลูกหลานเป็นมรดกตกทอดต่อไป และครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๖๔ ในสมัยที่สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ สภาแห่งนี้ก็ได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา ที่ดินและการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน ผมได้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ ก็ได้มีคำชมจากพี่น้อง ประชาชนมากมายถึงความตั้งใจของสภาผู้แทนราษฎรที่จะแก้ปัญหาเรื่องที่ดินให้กับพี่น้อง ประชาชน แต่ก็อีกนั่นละครับ ก็มีประชาชนมาพูดเข้าหูเหมือนกัน บอกว่าท่าน สส. ครับ วันนี้พวกกระผมนำข้อมูล นำปัญหามาให้ท่าน หวังว่าสิ่งที่เราทำมาให้ท่าน สส. คงไม่ไปอยู่ใน ลังกระดาษ กลับไปสภาแล้วคงไม่หายเงียบไป ท่านก็ดูเอาเองนะครับ จนถึงทุกวันนี้ปัญหา ที่ดินของพี่น้องประชาชนก็ยังอยู่เหมือนเดิม
นายทินพล ศรีธเรศ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ในพื้นที่จังหวัด กาฬสินธุ์ที่เป็นความรับผิดชอบของกระผม เขตพื้นที่เขตที่ ๕ ได้แยกแยะปัญหาที่ดิน ออกเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มที่มีปัญหาเยอะที่สุดก็คือกลุ่มปัญหาที่ดินในพื้นที่เขตป่า เขตป่าชุมชน ถูกแนวเขตป่าไม้ตามกฎหมายประกาศทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน บางคนทำกินมามากกว่า ๑๐๐ ปี ส่งต่อกันมาปู่ย่าตายาย มีผลกระทบต่อชีวิตเป็นอย่างมาก มีความทุกข์เป็นอย่างมาก บางคนถูกจับเป็นคดีความก็มีให้เห็นมาแล้ว รวมทั้งผลกระทบที่สืบเนื่องจากนโยบายทวงคืน ผืนป่า ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของ คสช. รวมถึง การประกาศอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติม ซึ่งในพื้นที่ของกระผมมีประชาชนในเขตตำบล นิคมห้วยผึ้งที่จะทำมาหากินอยู่ในที่ดิน ส.ป.ก. แล้วก็เสียภาษีที่ดินทุกปีอย่างถูกต้อง ก็กลาย มาเป็นที่ทับซ้อนของเขตวนอุทยานภูแฝก และถูกห้ามไม่ให้เข้าไปใช้พื้นที่จนกว่าจะมีข้อสรุป อย่างหนึ่งอย่างใดจากภาครัฐ ซึ่งก็ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับหน่วยงาน ของภาครัฐที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้
นายทินพล ศรีธเรศ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กลุ่มที่ ๒ ก็คือกลุ่มปัญหาที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือว่า ส.ป.ก. ปัญหาก็คือการประกาศแนวเขตที่ไม่ชัดเจน แล้วก็ทับซ้อนกับที่ดินประเภทอื่น ๆ เช่น ป่าสงวน หรือว่าอุทยาน ซึ่งในกาฬสินธุ์เองทับซ้อนกันอยู่ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ไร่ นี่เขตวนอุทยานภูแฝกที่เดียว เขตอุทยานไปทับที่กับเขต ส.ป.ก. อยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่
นายทินพล ศรีธเรศ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กลุ่มที่เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือกลุ่มปัญหาที่ดินสาธารณประโยชน์ ในเขต ของกระผมก็มีที่ดินสาธารณะดงปากน้ำ ดงน้ำจั้น ดงเหล่าแขม และดงบ้านอ้น ในตำบล กมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วก็อยู่ที่บ้านค้อพัฒนา อำเภอร่องคำ แล้วก็อยู่ที่บ้านโนนสมควร อำเภอห้วยผึ้ง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าบ้านป่าสงวน ซึ่งตอนนี้ ไม่ใช่ดง ไม่ใช่ทุ่งเลี้ยงสัตว์แล้ว ไม่ใช่ป่าแล้ว มีแต่บ้านคน มีแต่ที่ไร่ที่นาทำมาหากิน แต่จนถึง ตอนนี้ยังไม่มีเอกสารสิทธิในการครอบครอง อย่างรูปที่ท่านประธานเห็น นั่นมีแต่บ้านคน แต่ว่า ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีเอกสารสิทธิ
นายทินพล ศรีธเรศ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กลุ่มปัญหาที่เกิดจากที่ราชพัสดุทับที่กินของราษฎรก็มีเช่นกัน กลุ่มปัญหา ที่ดินจากโครงการพัฒนาของภาครัฐบางพื้นที่ ตัวอย่าง เช่น นิคมอุตสาหกรรมไปทับที่ทำกิน ของพี่น้องประชาชนนี่ก็มีเหมือนกัน กระผมก็เห็นชอบด้วยที่จะมีการตั้งหน่วยงาน หรือว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาอีกที่จะมารับผิดชอบแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน ผมว่าหน่วยงานของภาครัฐต้องการที่จะแก้ปัญหาให้ประชาชนอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องการว่า คำสั่งจากรัฐบาลเท่านั้นเอง อาศัยความจริงใจจากรัฐบาล แล้วก็รัฐบาลของท่านเศรษฐา ทวีสิน ก็ถือว่าเป็นความหวังของพี่น้องประชาชน จึงเรียนผ่านไปยังท่านประธานถึงรัฐบาล แล้วก็ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้รีบเร่งแก้ไขเรื่องที่หมักหมมมานานของพี่น้องประชาชน ในครั้งนี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านวิรัช พิมพะนิตย์ ครับ
นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิก กระผม วิรัช พิมพะนิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขต ๑ อำเภอเมือง ตำบลหนองแวงของอำเภอสมเด็จ ตำบลยอดแกงของอำเภอนามน ชีวิตของชาวบ้านสิ่งหนึ่ง ที่เขาอยากจะมี สิ่งหนึ่งที่เขาอยากจะได้ก็คือที่ทำกิน
นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ สมัยก่อน ประชากรคนไทยก็มีอยู่ประมาณ ๓๐ ล้านคน วันนี้ขึ้นเกือบ ๗๐ ล้านคน พ่อแม่มีที่อยู่ ๓๐ ไร่ ก็แบ่งให้ลูกได้คนละ ๔-๕ ไร่ ที่เหลือก็แบ่งขายบ้าง วันนี้จนปัจจุบันนี้ลูกหลาน เหลือที่กันคนละ ๑ ไร่ คนละ ๒ ไร่ สำหรับคนที่มีนะครับ เพราะฉะนั้นเวลาเพาะปลูก อะไรต่าง ๆ มันไม่คุ้มค่าแรง คุ้มค่าที่จะต้องไปทำเกษตร ทำนา ๒ ไร่ ไม่พอกินหรอกครับ เพราะฉะนั้นวันนี้ลูกหลานเราจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่ออยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม ท่านประธานลองคิดดูว่าวันนี้ที่ทำกินของหน่วยงานราชการล้มเหลว กรมที่ดินสังกัด กระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมธนารักษ์ สังกัดกระทรวงการคลัง ๓-๔ กระทรวง เวลาจะคุยกันไม่ได้คุยกันเรื่องว่าที่ดินจะทำอย่างไร สภาผู้แทนราษฎร ในชุดที่ ๒๕ ก่อนสมัยนี้ ๑ สมัย ได้ทำมาเล่มเบ้อเริ่ม ทำมาหมดทุกอย่าง ศึกษามาหมด ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญมาหมด แต่มาถึงปัจจุบันก็ไม่เห็นอะไรเกิดขึ้น ราษฎร ก็ยังไม่มีที่ทำกิน ถามว่าวันนี้ที่ดินที่ทำกินไปอยู่กับใคร อยู่กับเศรษฐี อยู่กับผู้ที่เก็งกำไร แล้วก็มีเงิน คนไทยทั้งประเทศ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ที่มีที่เกิน ๑ ไร่ คน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ มีที่ดินไม่ถึง ๑ ไร่ มันไม่ Balance กันเลย ต้องบอกกับท่านประธาน ที่เคารพ บอกกับเพื่อนสมาชิก ผมไปเปิดดู ขออนุญาตเข้าไปดูที่ ส.ป.ก. ปรากฏว่าเป็นเศรษฐี เสียครึ่งหนึ่ง นักการเมืองเยอะพอสมควร เดี๋ยวถ้ามาไล่ไปก็อาจจะยุบไปเยอะอยู่ ต้องบอก กับท่านประธานที่เคารพว่าวันนี้การแก้ปัญหาขาดแคลนที่ดินในภาคเกษตรเป็นตัวหลัก ของประเทศ วันนี้ปัญหาที่ชัดเจนคือผู้มีอำนาจและคนรวยครอบครองที่ดินมากเกินไป
นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
อันที่ ๒ ผู้มีอำนาจบุกรุกที่ป่าสงวน ข้าราชการมีเอี่ยว ปัญหานี้มีในสังคมไทย มานานมาก เพราะฉะนั้นวันนี้ผมกราบเรียนท่านประธานที่เคารพว่าเรามาแก้ปัญหาให้มัน ชัดเจนเถอะครับ แก้ปัญหาโดยการว่าวันนี้ทุกกระทรวงต่าง ๆ มารวมกันเถอะแล้วมา แก้ปัญหาที่ดินและที่ทำกินให้ราษฎร ไม่ต้องไปตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญหรอกครับ เล่มเบ้อเริ่มมีอยู่แล้ว หยิบขึ้นมาแล้วก็เอามาทำ ทำให้เกิดมรรคเกิดผล ผมบอกกับ ท่านประธานที่เคารพว่าวันนี้ราษฎรอยากได้ที่สุดคือที่ดินทำกิน ที่ดินตรงไหนที่มันมีอยู่แล้ว อย่างเช่น ราชพัสดุ ธนารักษ์ ทุกอย่าง ส.ป.ก. อะไรต่าง ๆ เรามารวบรวม แล้วเอาครอบครัว ยากจนมาหารแล้วมาแบ่งให้ราษฎร ผมจะกราบขอบพระคุณ ผมฝากท่านประธานถึง ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ฝากถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แล้วก็ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลองมาจัดราษฎรดูว่า มีกี่ครอบครัวที่ไม่มีที่ทำกิน ให้เขาได้มีความสุขในการได้มีที่ทำกินและที่เพาะปลูกทำการเกษตร ของเขาเพื่อชดเชย เพื่อทำงานให้ครอบครัวเขามีความสุข วันนี้เรายังมานั่งมองกันอยู่ว่าจะทำ อย่างไร ๆ จัดเถอะครับ ท่านผู้มีอำนาจ จัดที่ทำกินให้ราษฎรให้มีที่ทำกิน เขาจะได้อยู่ อย่างมีความสุข เงินของผู้สูงอายุเดือนหนึ่ง ๖๐๐-๗๐๐ บาทเขาอยู่ได้ แต่ถ้าไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีที่ซุกหัวนอน เขาอยู่ลำบาก ผมขอฝากอีกที่หนึ่งคือที่สวนป่า อำเภอสมเด็จ จังหวัด กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นสวนป่าที่ครอบคลุมไปถึง ๓ อำเภอ คืออำเภอสหัสขันธ์ แล้วก็ อำเภอสมเด็จ อำเภอนามน วันนี้มีคนไปออกโฉนดในที่สวนป่าแล้วเอาไปจำหน่าย จ่ายแจกกัน สามารถโอนกันได้ในที่ดินนะครับ แต่ไปหาที่ดินหาไม่เจอ ชี้ว่าอยู่ตรงนั้น ชี้ว่าอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นวันนี้เรื่องความทุจริตของข้าราชการบางคนต้องแก้ครับ สังเกตดูว่า วันนี้ใครทำงานที่เกี่ยวกับที่ดินรวยทุกคน แต่คนยากจนคือราษฎรไม่มีที่ทำกิน ผมฝาก ท่านประธานว่าวันนี้เอาความยุติธรรมให้กับราษฎร เขาซื้อที่แต่ไม่ได้ที่ ได้โฉนดใบเดียว ก็ฝากกับท่านประธาน อย่างไรก็ฝากท่านประธานถึงท่านผู้มีอำนาจ ท่านนายกรัฐมนตรี ช่วยราษฎรที่ตกทุกข์ได้ยากด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ เชิญท่านธิษะณา ชุณหะวัณ ครับ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาทร และเขตราชเทวี วันนี้ดิฉันมาอภิปรายในการที่จะสนับสนุนร่างญัตติของเพื่อนสมาชิก ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินและการพัฒนาสิทธิในที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินให้กับพี่น้อง ประชาชนคนไทย เพราะดิฉันเห็นว่าเป็นปัญหาหลักและเป็นกระดุมเม็ดแรกที่จะปลดล็อก ทางเศรษฐกิจ สร้างความมั่งคั่งและมั่นคงทางสถานะทางเศรษฐกิจให้กับพี่น้องคนไทยเรา ที่ดิฉันเห็นเป็นประเด็นปัญหามี ๓ ประการหลัก ๆ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๑. โครงการอำนาจ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง และการบริหารราชการแบบรวมศูนย์ หรือรัฐรวมศูนย์นั่นเอง
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๒. จังหวัดที่ยังไม่มีโครงการในการจัดรูปที่ดินหรือปฏิรูปที่ดิน เนื่องจากไม่มี ผังเมือง หรือผังเมืองรวมหมดอายุบังคับใช้
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๓. คือความขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน หรือเกษตรกร หรือคนจนเมือง
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
แนวทางแก้ไขปัญหา ดิฉันไล่เป็น ๓ ข้อหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๑. การปรับปรุงภาษีหรือการใช้กลไกภาษีให้เป็นประโยชน์ในการนำที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นของเอกชนที่ปล่อยรกร้าง หรือเป็นของภาครัฐมาใช้เป็นประโยชน์ให้แก่ ประชาชนสูงสุด
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๒. ธนาคารที่ดิน หรือที่เรียกว่า Land Bank
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๓. โฉนดชุมชน
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ โครงสร้างอำนาจของกรมโยธาธิการและผังเมือง มีผลงาน การดำเนินการที่ตั้งเป้าจากโครงสร้างอำนาจแบบบนลงล่างมากจนเกินไป คือกรมโยธาธิการ และผังเมืองมีนโยบายให้ทุกจังหวัดดำเนินโครงการจัดรูปที่ดิน พัฒนาพื้นที่เพียงจังหวัดละ ๑ แห่ง ซึ่งตัวกำหนดชี้วัดแบบนี้แสดงให้เห็นว่าไม่ได้กำหนดจากปัญหาในพื้นที่ของประชาชน จริง ๆ เพราะหากเป็นพื้นที่จริง ๆ จะต้องใช้หลากหลายจังหวัดเพื่อกำหนดพื้นที่ที่สมควร พัฒนาจริง ๆ การกำหนดเป็นรายจังหวัดอาจทำให้เกิดความไม่คุ้มค่า และเกิดเบี้ยหัวแตก และสิ้นเปลืองงบประมาณ ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิผลหรืออย่างไร
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ก็คือควรจะให้แต่ละจังหวัดร่วมกันหารือพื้นที่ที่มีศักยภาพ ในการจัดรูปที่ดินว่ามีประโยชน์ร่วมกันในแต่ละจังหวัดได้หรือไม่ และนอกจากนั้น ประเทศไทยมีผลปรากฏว่านายทุน นักธุรกิจ และนักการเมืองหลายคนเห็นช่องโหว่ในระบบ บริหารจัดการที่ดินของรัฐบาลในการครอบครองที่ดินของคนในชนบทที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน อย่างแท้จริง ความพยายามของรัฐบาลที่จะตอบแทนเจ้าของที่ดินโดยชอบธรรมไม่ประสบ ผลสำเร็จ และล้มเหลวในการเข้าถึงที่ดินอย่างเท่าเทียมมาจนถึงทุกวันนี้
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
จากข้อมูลของมูลนิธิสถาบันที่ดินแห่งประเทศไทยระบุว่าเอกสารที่ดิน กรมที่ดินออกไปทั้งหมด ๑๒๗ ล้านกว่าไร่ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ไปกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคน เพียง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ ๖ ล้านคน และที่น่าสนใจ กว่านั้น คือที่ดินตกไปอยู่ในกลุ่มคนนี้กว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ถูกปล่อยให้เป็นที่ดินรกร้าง ว่างเปล่า ไม่ได้มีประโยชน์ใด ๆ หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ ซื้อไว้ปลูกกล้วย ซื้อไว้เก็งกำไร ชี้ให้เห็นว่าการใช้ประโยชน์จากที่ดินของเมืองไทยไร้ประสิทธิภาพสิ้นดี ที่ดินส่วนใหญ่ เกือบ ๖๐ เปอร์เซ็นต์เป็นของรัฐ ความมั่งคั่งมาจากประชาชนที่เสียภาษีให้กับรัฐ ไม่ได้ มาจากภาครัฐ ถูกใช้ไว้เก็บไปเป็นประโยชน์ของทางราชการ และที่ดินส่วนที่เหลือ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นของภาคเอกชน แต่ที่ดินส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร และมีอีก กลุ่มใหญ่ คือประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้ที่พี่น้องสมาชิกได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้ ทั้งพี่น้องเกษตรกร ทั้งคนจนเมือง เป็น Landless Homeless ไม่มีที่อยู่อาศัย ไร้ที่ดินทำกิน ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไร้ประสิทธิภาพหลายประการในกระบวนการแก้ไขปัญหาของที่ดิน นอกจากไม่มีพื้นที่สาธารณะสำหรับชุมชนที่ถูกผลักออกจากผืนป่าแล้ว ยังถูกจัดระเบียบ และคืนทรัพย์สิน และถูกบังคับสูญหายไปด้วย หลายคนไม่เหลืออะไรเลย มีอุปสรรคมากมาย ขัดขวางไม่ให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถเรียกคืนที่ดินที่ถูกยึดไปหรือถูกเวนคืนได้ค่ะท่านประธาน ความขัดแย้งเรื่องที่ดิน
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นแรก คือความขัดแย้งเรื่องเขตแดนระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน ในพื้นที่อยู่อาศัยที่เกี่ยวข้อง ข้อพิพาทที่ดินมักเริ่มขึ้นเมื่อชนชั้นสูงหรือชนชั้นทุนนิยม ใช้อำนาจความสัมพันธ์ของตนกับเส้นสายกับเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อแก้ไขกฎหมาย และพวกเขา ออกเอกสารทางกฎหมายและมอบหมายให้ทนายความค้นหาช่องโหว่ทางกฎหมายที่หวังว่า พวกเขาจะสามารถสร้าง Resort สร้าง Farm ขนาดใหญ่ หรือพยายามเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ส่วนตนจากทรัพยากรอันมีค่าของพี่น้องประชาชนคนไทยในถิ่นกำเนิด ในที่ดินที่เป็น ข้อพิพาท จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พบว่าประชาชน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ทั่วประเทศเป็นเจ้าของที่ดินไม่ถึง ๑ ไร่ สถิติเดียวกันระบุว่ามีเพียง ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เป็นเจ้าของที่ดินมากกว่า ๑๐๐ เฮกตาร์ สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของที่ดิน ในประเทศไทยไม่ได้ใช้เลย ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าประเทศสูญเสียรายได้อย่างน้อย ๑๒๗,๓๘๔ ล้านบาทต่อปีจากที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ สูญสิ้นเปล่าไปเลยค่ะท่านประธาน เกษตรกรต้องละทิ้งอาชีพดั้งเดิมของตนและย้ายเข้าไปอยู่ในเมือง ส่งผลให้เกิดชุมชนแออัด ในตัวเมือง ท่านจะเห็นในภาพ Slide ประท้วงนะคะ เป็นชุมชนแออัดที่ถูกไล่รื้อถอน ในเขตของดิฉันเอง หรือเป็นคนที่ไม่มีทักษะในการทำงานมากยิ่งขึ้น ขาดมูลค่าพืชผล และหนี้ที่หมดสภาพ ทำให้เกษตรกรต้องขายที่ดินในราคาถูก ข้อมูลจากการเคหะแห่งชาติ ชุมชนสลัมมีมากกว่า ๒,๔๓๖ ครัวเรือนชุมชนในทุกภูมิภาค โดยมีจำนวนทั้งหมด ๕๘๓,๔๑๕ ครัวเรือน ในปี ๒๕๕๙ ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เมื่อเทียบกับ ๑,๙๖๘ ชุมชนสลัม ในปี ๒๕๔๔ ที่ดินจำนวนมากยังถูกใช้ในทางที่ผิด หรือถูกขโมย หรือเวนคืนไปจากพี่น้อง ประชาชน ยกตัวอย่างในชุมชนเขตราชเทวีที่ดิฉันเป็นผู้แทนราษฎรอยู่ ในขณะนี้มีพื้นที่เร่งด่วน ที่จะดำเนินการรื้อถอนอยู่ ๙๓๙ ครอบครัวในชุมชนรถไฟย่านราชเทวี กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน ขณะนี้อยู่ระหว่าง การพิจารณาพื้นที่ที่อยู่ที่เหมาะสมอยู่บริเวณริมบึงมักกะสัน แนวทางแก้ไขปัญหา แม้ว่า ปัญหานี้จะไม่ใช่เรื่องง่าย มันเป็นความท้าทายเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่ในกรอบของ รัฐธรรมนูญ เราต้องคำนึงถึงผลกระทบทางกฎหมายที่จะสร้างความเสียหายต่อประชากร กลุ่มเปราะบาง สิ่งแรกที่เราต้องเปลี่ยนแปลงคือหน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยเหลือชาวบ้าน ที่กำลังถูกฟ้องร้อง รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับศาล การประกันตัว ค่าทนายความ ค่าเดินทางไปศาล รวมถึงกองทุนยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ถูกตัดสินลงโทษในคดีพิพาทที่ดิน หรือถูกตัดสินว่าบุกรุก จัดการทรัพยากรข้อพิพาทในศาล ชาวชาติพันธุ์ควรได้รับสิทธิ ในการเป็นเจ้าของที่ดินในการชดเชยที่ยุติธรรมสำหรับการสูญเสียที่ดินตามปฏิญญา สหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง นอกจากนี้เราต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ให้ปกครองด้วยความเป็นธรรม และสร้างการเยียวยาทางนิเวศควบคู่กับความยุติธรรม เศรษฐกิจและสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานต้องอนุญาตให้กฎหมายใช้วิธีพิจารณาคดีให้มี การพิจารณาคดีที่เป็นมาตรฐาน กระบวนการยุติธรรมที่สามารถเข้าถึงงานได้โดยรวดเร็ว สะดวกสบาย และมีการพิจารณาคดีที่หลากหลาย การดำเนินการของธนาคารที่ดิน หรือการใช้ภาษีที่ดินเอกชนที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน โฉนดของชุมชน เมื่อสักครู่ดิฉันได้ยิน หลายท่านอภิปราย ก็จะไม่ลงรายละเอียด เป็นการให้ประชาชนมาร่วมกันแก้ไขปัญหา มีการตรวจสอบตนเองของชุมชน ระบบกรรมสิทธิ์ของชุมชนเข้ามาแทนที่ระบบกรรมสิทธิ์ ส่วนบุคคล ซึ่งป้องกันไม่ให้ที่ดินไปตกอยู่ในมือของนายทุนหรือภาครัฐ จัดการเป็นระบบโดยเจ้าของชุมชน เพื่อการใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคน ในชุมชนโดยตรง และสะท้อนถึงการแก้ไขปัญหาที่สำคัญและยั่งยืน การปรับปรุงระบบภาษี เช่น การร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมของ ภาษีบ้าน ภาษีบำรุงท้องถิ่น เพื่อรายได้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งยังต้องเก็บภาษี ที่ดินแบบก้าวหน้า รวมถึงภาษีกำไรจากการขายหุ้นเพื่อให้ใช้ที่ดินได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และอย่าปล่อยให้ที่ดินถูกทิ้งร้าง อีกทั้งยังเพิ่มต้นทุนให้กับนักลงทุนที่สะสมที่ดินเก็งกำไร ธนาคารที่ดินเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะปฏิรูปและกระจายที่ดินที่น่าสนใจที่สุดที่ใช้ในประเทศ สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ลัตเวีย เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวีเนีย สเปน และตุรกี และการใช้กลไกเก็บภาษีที่ดินที่น้อยลงสำหรับที่ดินส่วนบุคคล ที่ว่างเปล่าและไม่ได้ใช้ ซึ่งสามารถมาแปรรูปหรือเปลี่ยนแปลงเป็นสวนสาธารณะ สนามกีฬา ห้องสมุด เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ตอนนี้ดิฉันก็น่าจะต้องจบลงแล้วนะคะ เพราะว่า เลยเวลามา ๓ นาทีแล้ว ต้องกราบขออภัยทุกท่านนะคะ ในประเทศไทยมีคนรวยที่สุด ๕ เปอร์เซ็นต์ ถือครองที่ดินถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ยิ่งกว่านั้นคนไทยเพียงร้อยละ ๒๐ เป็นเจ้าของที่ดินร้อยละ ๒๐ ของร้อยละ ๗๕ ของประชาชนไม่มีโฉนดที่ดิน จากข้อมูล ของธนาคารโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสังคมที่มีความไม่เท่าเทียมกันมากที่สุดในโลก การดำเนินการของรัฐบาลจะพิสูจน์ค่ะ รัฐบาลนี้ถ้าท่านได้ปฏิรูปที่ดินอย่างสมบูรณ์แบบ จะเป็นการพิสูจน์ว่าประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน หรือนายทุนผูกขาดเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านรวี เล็กอุทัย ครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ กระผม นายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต ๓ พรรคเพื่อไทย สำหรับการอภิปรายในญัตตินี้ผมขออนุญาตแบ่งกรอบออกเป็น ๓ ประเด็นหลัก ๆ ขอ Slide ขึ้นด้วยครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก เป็นประเด็นเกี่ยวกับการบังคับ ใช้กฎหมายที่มีความขัดแย้งกับวิถีชีวิตของพี่น้องประชาชน
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ การออกโฉนดที่ดินในบริบทที่จะเป็นสินทรัพย์เพื่อให้พี่น้อง ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ การส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนสามารถเข้าถึงระบบโครงสร้าง และระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกและป้องกันภัยอันตราย บนภูเขา
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
โดยผมจะขออนุญาตยกตัวอย่างกรณีศึกษาของปัญหาในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นเขตของผมเอง เนื่องจากในพื้นที่ของอำเภอลับแลนั้น มีตำบลแม่พูล ตำบลนานกกก และตำบลฝายหลวง ที่มีพื้นที่ที่เป็นป่าและภูเขาอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ ป่าสงวนนานกกกนั้น จากการจัดทำข้อมูลขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่พูล ได้มีพี่น้อง ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์ในการอยู่อาศัยและทำสวนผลไม้กว่า ๑๐,๐๐๐ ไร่ ในขณะที่ พื้นที่ป่าตาม พ.ร.บ. ปี ๒๔๘๔ ตำบลแม่พูล ก็มีพี่น้องประชาชนเข้าไปปักหลักทำมาหากิน อยู่ถึงกว่า ๔๖๒ ไร่ นอกจากนั้นในส่วนของพื้นที่ป่าถาวรตำบลแม่พูล มีประชาชนเข้าไป อยู่อาศัยทำมาหากินคิดเป็นพื้นที่กว่า ๒๔,๐๐๐ ไร่ ท่านประธานครับ ตามข้อเท็จจริงนั้น ส่วนใหญ่แล้วพี่น้องในชุมชนเหล่านี้ได้เข้าไปทำมาหากินอยู่เป็นระยะเวลานานกว่า ๒๐๐ ปี แล้วครับ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามารถตรวจสอบได้อย่างหนึ่ง นั่นคืออายุของ ต้นทุเรียนที่มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี ของนายชาญชัย แก่นตนุ ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ ๑๑ ที่ได้รับ มรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่ท่านประธานครับ การประกาศของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑,๐๔๙ ปี ๒๕๒๗ ที่ประกาศให้ป่านานกกกเป็นเขต ป่าสงวนแห่งชาติและป่าไม้ถาวรนั้น ได้ทำให้พ่อแม่พี่น้องในเขตนั้นกลายเป็นผู้กระทำ ผิดกฎหมายและกลายเป็นผู้บุกรุกป่าไปโดยปริยาย และนั่นทำให้โอกาสในการขอเอกสารสิทธิ รับรองครอบครองพื้นที่ทำกินอย่างถูกกฎหมายได้จบสิ้นลงไปด้วย ท่านประธานครับ ผมมี คำถามอยู่ภายในใจว่าการประกาศเขตป่าในครั้งนั้นอาจจะกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ผิดทางระเบียบหรือไม่ เพราะก่อนจะประกาศเป็นเขตป่าได้นั้นควรจะต้องมีการกันพื้นที่ ของชุมชนออกไปก่อนใช่หรือไม่ และกฎหมายควรเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเหลือดูแลพี่น้อง ประชาชน ข้อเท็จจริงเราสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นอย่างไร แต่ผมไม่อยากให้วิถีปฏิบัติ และความเคยชินเป็นอุปสรรคในการทำพี่น้องประชาชนที่เขาอยู่อาศัยมาอย่างเปิดเผย ยาวนาน และควรได้สิทธิที่เขาพึงมีพึงได้ต้องสูญเสียโอกาสนานัปการจากการไม่สามารถ ถือครองสิทธิในที่ดินทำกินของตัวเอง หรือพื้นที่ที่เป็นบ้านที่พวกเขาเกิดและเติบโตมา
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ นั่นก็คือสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากประเด็นแรก หากพี่น้องประชาชน ได้โอกาสในการเข้าถึงสิทธิที่กฎหมายไม่ได้ลิดรอนไปจากเขา สิ่งที่เขาพึงได้คือกรรมสิทธิ์ ในที่ดินทำกินที่เขาประกอบอยู่ และการมีกรรมสิทธิ์ดังว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นอยู่ในรูปแบบใด ภายใต้กรอบของกฎหมาย ก็จะสามารถมีส่วนสำคัญในการเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันให้กับ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ในกรณีที่พี่น้องประชาชนต้องการ เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดในการประกอบอาชีพและสร้าง ความมั่นคงให้กับครอบครัว ซึ่งผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะมีส่วนช่วยให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่นี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
สุดท้ายครับ ในประเด็นการส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนสามารถเข้าถึงระบบ โครงสร้างและระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกและป้องกันภัย อันตรายบนพื้นที่ภูเขา ท่านประธานครับ ในพื้นที่แม่พูล นานกกก และฝายหลวง ตามที่ ผมได้เรียนมาตั้งแต่ต้นนั้น มีลักษณะเป็นพื้นที่เขา ซึ่งผมได้ทราบและได้รับการแจ้งว่ามีพี่น้อง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและต้องประสบกับอุบัติเหตุอยู่เป็นประจำ เนื่องจากการขาด การได้รับความดูแลอย่างทั่วถึงจากส่วนงานราชการ เพราะด้วยข้อจำกัดของกฎหมายในพื้นที่ ป่าเขา ทำให้การเข้าไปพัฒนาและช่วยเหลือของภาครัฐไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องของถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา อันเป็นสิ่งพื้นฐานที่จะช่วยให้พี่น้อง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดีได้ และเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับคนในพื้นที่ รวมไปถึงการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรมและการสร้างรายได้
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
โดยสรุป ผมต้องยอมรับว่าในพื้นที่บนเขานั้นอาจมีการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่ แต่ด้วยสาเหตุจากประเด็นต่าง ๆ ที่ผมได้อภิปรายไปแล้ว ผมจึง อยากเรียนท่านประธานว่าเราไม่ควรซุกปัญหาไว้ใต้พรมอีกต่อไป เพราะผมเชื่อว่าในอีก หลาย ๆ พื้นที่ของเพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านคงเกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้ ดังนั้นการมี ส่วนร่วมที่จะทำให้กฎหมายสามารถตอบสนองต่อประโยชน์สาธารณะอย่างสมเหตุสมผล และมีความยุติธรรม และการทำให้พี่น้องประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดิน ของพวกเขาเองโดยชอบด้วยกฎหมาย จะทำให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงไม่ต้อง กังวลว่าเมื่อไรจะถูกไล่ออกจากพื้นที่หรือบ้านของพวกเขาเอง และนั่นเองจะเป็นสิ่งที่ทำให้ พวกเขามีความหวังในการดำรงชีวิตอยู่ต่อไป ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านยศวัฒน์ มาไพศาลสิน ครับ
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี เขตอำเภอท่ามะกา อำเภอพนมทวน พรรคภูมิใจไทย ท่านประธานครับ ในเรื่องราว ของปัญหาที่ดินทำกินแล้วก็ที่อยู่อาศัย ตามที่เพื่อน ๆ สมาชิกทุกท่านได้อภิปรายมานั้น มันเป็นประเด็นที่เหมือนกันในทุก ๆ บริบท ทุก ๆ พื้นที่ของแต่ละแห่ง ซึ่งตัวผมเอง เช่นเดียวกันครับ ก็คงจะเหมือนกับท่านประธานแล้วก็เพื่อน ๆ สมาชิกในที่แห่งนี้ทุก ๆ คน โดยเฉพาะผมเองได้ติดตามมาตั้งแต่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ก็คือเมื่อสมัย ที่ ๒๕ จนกระทั่งวันนี้พี่น้องประชาชนรวมถึงพวกเราก็ยังคงเฝ้าติดตามการแก้ไขปัญหาที่ดิน ทำกินและที่อยู่อาศัย เพื่ออะไรครับ ๑. ตามที่พวกเราได้นำเสนอกันว่าประชาชนเขาทุกข์ แน่นอนครับ ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง ถามว่าทุกข์อย่างไรครับ นอกจาก คำว่าไม่มี ทุกข์เพราะว่าตัวของประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่นั้นได้ทำกินกันมาตั้งแต่สมัย บรรพบุรุษ อย่างที่เพื่อนสมาชิกพูดอีกละครับ บางที่ บางครอบครัวทำกินกันมา ๑๐๐ ปี ตั้งแต่บรรพบุรุษ จนกระทั่งมีสภา สส. มีการจัดตั้งสภามากี่ยุคกี่สมัยแล้ว ผมเองพูดและติดตามมาโดยตลอด เมื่อเดือนที่แล้วก็พูดกับท่านประธานวันมูหะมัดนอร์ เช่นเดียวกันว่าในสมัยของท่านประธานวันมูหะมัดนอร์ท่านก็มีดำริ คงมีความต้องการที่จะ แก้ไข วันนี้ผมก็คงไม่อารัมภบทเยอะ แล้วก็คงจะไม่พูดในรายละเอียดอย่างเป็นทางการ แต่ผมอยากที่จะมานำเสนอว่าเหตุไฉนเราจึงอยากที่จะร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นสมาชิก ฝ่ายรัฐบาลหรือสมาชิกฝ่ายค้านในสมัยที่แล้วจนถึงสมัยนี้ ทุกคนอยากให้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ให้จบจริงไหมครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นสมัยนี้ก็เช่นเดียวกัน เราถามกลับกันว่า แล้วทำไมในทุก ๆ สมัยเลยถึงแก้กันไม่จบสักที ทั้ง ๆ ที่มีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ ทำไมไม่จบ เพราะว่าวนอยู่เดิม ซ้ำอยู่เดิม ผมเคยนำเสนอ แล้วก็อยากจะนำเสนอตรงนี้อีกครั้งหนึ่งว่าวิธีที่เราจะแก้กันง่าย ๆ เราเอาในสิ่งที่เคยศึกษา มาแล้วเอาขึ้นมาเถอะครับ เอาขึ้นมาก่อนเลย ผมยกตัวอย่างในทุก ๆ จังหวัดจะมี กบร.กจ. เพราะฉะนั้นให้เอาส่วนที่ผ่านการพิสูจน์สิทธิขึ้นมาก่อน หยิบยกเลยครับ นอกเหนือจาก การผ่านพิสูจน์สิทธิแล้ว ก็ยังจะมีในอีกหลาย ๆ ส่วนที่ทับซ้อนกัน เพราะว่าที่ดินนั้นไม่ได้มีแค่ ที่ราชพัสดุ ไม่ใช่มีแค่ที่ของทหาร ไม่ใช่มีแค่ที่ของอุทยาน มันเป็นที่ทับซ้อนกันเยอะครับ หลังจากนั้นผมก็อยากจะนำเสนอว่าก็ให้เจ้ากระทรวงแต่ละกระทรวงนั้นมาคุยกัน ในส่วนที่ ประชาชนเขาเข้าไปทำกินอยู่อาศัยกันมานานแล้วเราจะทำอย่างไรกันดี ให้เขาไม่โดนข้อหา บุกรุก วันนี้มันเจ็บเหลือเกินกับที่ดิน ถ้าพูดเป็นภาษาบ้าน ๆ มรดกตกทอดจนมาถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน แต่เขาโดนคำว่า บุกรุก เพราะฉะนั้นผมอยากจะนำเสนอรัฐบาล ผมเองได้มี โอกาสพูดคุยกับท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนปัจจุบัน ท่านชาดา ไทยเศรษฐ์ ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดิน ท่านบอกว่าเราพร้อมจะทำ แล้วเราพร้อมทำกัน มานานแล้ว วันนี้ขออย่างเดียว ขอให้เป็นดำริของท่านนายกรัฐมนตรี ให้ฟังเสียงของพวกเรา แทนประชาชน หยิบขึ้นมา ลำดับเลยครับ นอกเหนือจากการพิสูจน์แล้ว ยังจะมีบอกดิน ๑ บอกดิน ๒ บอกดิน ๓ ที่รัฐบาลที่แล้วใช้เทคโนโลยีจับ GPS เข้ามาทำ มันก็มีอยู่ใน Record แล้วท่านประธานครับ
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
แล้วนอกเหนือจากนั้น ปัญหาและอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งก็คืองบประมาณ เมื่อปีที่แล้วงบประมาณของกรมที่ดินได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้น แต่ไม่เยอะครับ เพียงแค่ ๘๐ กว่าล้านบาท ตัวเลขกลม ๆ ๖,๐๐๐ กว่าล้านบาท ถ้าผมจำตัวเลขไม่ผิด แล้วถามว่า ๘๐ กว่าล้านบาท จะทำอะไรได้บ้าง วันนี้ปัญหาในฐานะที่ผมเคยนั่งเป็นกรรมาธิการวิสามัญ แก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย แล้วบวกกับการได้รับฟังปัญหาของข้าราชการในส่วนของ กรมที่ดิน ไม่มีบุคลากรที่เพียงพอ โดยเฉพาะชุดเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินชุดรังวัด ผมเคยพูด ในสภาแล้วก็ติดตามว่าในสมัยก่อนทั้งประเทศไทยมีชุดเดินสำรวจออกโฉนดเพียง ๑๓ ชุด ยังไม่พอต่อการทำงานเลย และวันนี้ชุดเดินสำรวจผมได้ยินว่าเหลือเพียง ๖ ชุด ผมก็จะ ไม่ก้าวย้อนกลับไปโทษรัฐบาลไหน ๆ ก็แล้วแต่ แต่ผมอยากจะฝากกับทางท่านประธาน โดยสรุปถึงรัฐบาลนี้ แล้วก็ถึงพวกเราทุกคนว่าเราต่างมีหัวใจอันเดียวกันที่จะต้องการให้ พี่น้องประชาชนมีที่อยู่อาศัยที่ดินทำกิน และผมขออีกนิดหนึ่งครับ ผมขอพูดอีกเรื่องหนึ่ง แล้วก็จะเสริมจากท่านศักดิ์ดา ซึ่งผมก็พูดในสมัยที่แล้วว่านอกเหนือ จากการที่ถ้าอันไหนเราไม่สามารถออกโฉนดได้ แต่เรายังมีเปิดโอกาสได้ คือให้ประชาชน ที่ทำกินตรงนั้นเช่า วันนี้ผมขอพูดเป็นครั้งที่ ๓ แต่เป็นครั้งแรกของสมัยที่ ๒๖ แห่งนี้ มีตัวอย่างให้เห็นแล้ว อยู่ที่จังหวัดราชบุรี อยู่ที่สวนผึ้ง เป็นที่ดินของทหารที่ทหารใช้ ในการทหารอยู่ แต่ว่าทหารไม่ได้ใช้อะไรครับ ทหารจึงตกลงในส่วนของพัสดุ กระทรวงการคลัง แล้วก็กระทรวงกลาโหม มาคุยกันกับกระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งให้ประชาชนที่ทำกินตรงนั้น ทำกินอย่างถูกต้องโดยการให้เช่า และนอกเหนือจากนั้นเขาไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของนายทุน ในสัญญาเช่า หรือว่านิติกรรมนั้นสามารถเอาไปทำธุรกรรมกับสถาบันทางการเงินได้ ผมหวังว่า ในประเด็นที่ผมพูดนี้จะได้ยินไปถึงคณะผู้บริหาร และพวกเราจะมาช่วยกันไม่ให้พี่น้อง ประชาชนโดนคำว่า บุกรุก อีกต่อไป ขอให้มันจบที่รุ่นเราชุดที่ ๒๖ จริง ๆ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี ครับ
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน กระผม กฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขตเลือกตั้งที่ ๑ คนปากน้ำโพ พรรคก้าวไกล ผมขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอภิปรายเพื่อสนับสนุนให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข กฎหมายและนโยบายที่ห้ามหรือเป็นอุปสรรคต่อการออกเอกสารสิทธิที่ดิน ที่อยู่อาศัย บนพื้นที่สูงและเกาะ และญัตติที่ดินของเพื่อนสมาชิกได้นำเสนอนะครับ
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ปัจจุบันความเหลื่อมล้ำ การครอบครองที่ดิน โดย ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของที่ดินทั้งหมดกระจุกตัวอยู่ที่คนรวยที่สุด ๕ เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ของคนไทยไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง ปัญหา การออกกรรมสิทธิ์ที่ดินในปัจจุบัน จากเอกสารประกอบการพิจารณานี้ในปี ๒๕๖๔ ประเทศไทยมีพื้นที่ถือครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๑๔๙ ล้านไร่ ประชาชนที่มีที่ดิน เป็นของตัวเองประมาณ ๔๘ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๗๒ ล้านไร่ และกว่า ๗๗ ล้านไร่เป็นที่ดิน ที่ต้องเช่าผู้อื่น ในส่วนปัญหาการไร้ที่ดินทำกิน มีผู้ไร้ที่ดินทำกินขึ้นทะเบียน ส.ป.ก. กว่า ๘๒๓,๐๐๐ ราย
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ผมขอสื่อสารปัญหานี้โดยยกตัวอย่างปัญหาในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นปัญหาเรื่องแรก เป็นกรณีพิพาท เป็นที่ดินจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ กว่า ๒๐๐,๐๐๐ ไร่ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๙ นั่นคือเป็นกฎหมายที่ประกาศยึดที่ดิน ของประชาชนก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ อีก กว่า ๘๗ ปีล่วงมาแล้ว และจากข้อมูล พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ก็มีอยู่ในหลายพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินโดยกองทัพ ยกตัวอย่าง อันนี้เป็น ประกาศพระราชกฤษฎีกา อันนี้เป็นแผนที่ที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ผมได้ซ้อนทับกับแผนที่ ของกรมที่ดินในปัจจุบัน สังเกตเส้นสีแดงเล็ก ๆ เป็นการออกเอกสารสิทธิได้ พื้นที่ตอนบนสุด ก็คือตั้งแต่สะพานเดชาติวงศ์ลงมาจนถึงด้านล่างสุด บริเวณอำเภอพยุหะคีรี อันนี้เป็น Timeline ของปัญหาที่เกิดขึ้นจากพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ยกตัวอย่าง ใน ๑๐ ปีมานี้มีกรณี ที่ทหารมีการซ้อมยิงปืนใหญ่ และกระสุนตกไปทับรถของประชาชนเสียหายในปี ๒๕๕๖ แต่เคราะห์ดีไม่มีใครได้รับอันตราย และอีกกรณีหนึ่งในปี ๒๕๖๔ มีการชุมนุมประท้วง ของประชาชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ที่ทหารเตรียมออกหนังสือ น.ส.ล. หรือหนังสือสำคัญที่หลวงกว่า ๓,๐๐๐ ไร่ นำไปใช้ เพื่อเป็นสนามซ้อมยิงปืนใหญ่ ซึ่งทับที่ดินทำกินของประชาชนจนต้องร้องเรียนไปเกือบ ทุกหน่วยงาน แล้วก็มาร้องเรียนกับคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในสมัยประชุมที่ผ่านมาของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว ปัจจุบันโครงการ ดังกล่าวเหมือนจะถูกชะลอไป แต่ประชาชนในพื้นที่ก็ยังไม่ไว้วางใจ อันนี้เป็นภาพกรณี เหตุการณ์ในปี ๒๕๕๖ ที่กระสุนตกบนรถของประชาชน กรณีถัดไป อันนี้เป็นภาพของแผนที่ หลังมหาวิทยาลัยมหิดลที่จะออกหนังสือเอกสารสิทธินี้
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ข้อ ๒ เป็นกรณีที่ดินเรือนจำกลางของจังหวัดนครสวรรค์กับประชาชนกลุ่ม นายแสวง แอบเพชร มีข้อพิพาทกว่า ๓๐ ปี แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะขาดการมีส่วนร่วมของ ประชาชนและความตั้งใจจริงในการแก้ปัญหา ทั้ง ๒ กรณีนี้ผมจึงขอเสนอแนวทางแก้ไข ปัญหา ขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ปี ๒๔๗๙ ที่ครองพื้นที่ กว่า ๒๐๐,๐๐๐ ไร่ ในจังหวัดนครสวรรค์ แม้ปัจจุบันการถือครองโดยกรมธนารักษ์ แต่กองทัพก็ยังอ้างสิทธิครอบครองที่ดินจากพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้อยู่ ซึ่งทำให้การพิสูจน์สิทธิ เป็นไปด้วยความล่าช้าและยากลำบาก และหากมีการพิสูจน์สิทธิแล้ว พื้นที่ของประชาชน อาจจะไม่มีหลักฐานเพียงพอในการออกเอกสารสิทธิ รัฐโดยกรมธนารักษ์ควรให้ผู้ที่มี ข้อพิพาทหรือพิสูจน์สิทธิที่ดินอยู่เดิมได้สิทธิในการเช่า ใช้พื้นที่ในราคาที่เป็นธรรม จะทำให้ ประชาชนมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง และมีการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ และการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญคือให้รัฐเพิ่มงบประมาณบุคลากร โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ สำรวจ ผมไปคุยกับกรมธนารักษ์ที่จังหวัดนครสวรรค์มา มีการฝากเรื่องนี้มา เพราะว่าคนที่ ทำหน้าที่ในการสำรวจออกเอกสารสิทธิมีน้อยเหลือเกิน เพื่อทำให้มีการพิสูจน์สิทธิที่ดิน ทำกินที่ค้างอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ข้อ ๓ ก็คือให้มีการเพิ่มการประชุมหน่วยงานอย่าง คพร. คพร. คือ คณะอนุกรรมการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐของจังหวัดนครสวรรค์ นั่งโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ของทุกจังหวัด ให้ถี่ขึ้นและมากขึ้นกว่าเดือนละครั้งอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งจะทำให้คิวในการออก เอกสารสิทธิที่ดินทำกินของประชาชนเพิ่มขึ้น
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ข้อเสนอสุดท้าย เป็นข้อเสนอที่จะแก้ปัญหาที่ดินทั้งระบบ ทั้ง ๓ ข้อ ๑. คือพัฒนาระบบภาษีที่ดินรวมแปลง คือรวมมูลค่าที่ดินทั้งหมดแต่ละบุคคล และนิติบุคคล ที่ถืออยู่แล้วจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า ๒. คือปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บ ภาษีที่ดินรายแปลงแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเพื่อป้องกันการหลบเลี่ยง ๓. คือลดหย่อน หรือส่วนลดภาษีที่ดิน หรือ Negative Land Tax สำหรับพื้นที่ที่ถูกใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่อนุรักษ์ระบบนิเวศ ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน อาจจะ ๓-๑๐ ปี
นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ท้ายนี้ผมขอสนับสนุนให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและนโยบายที่ห้าม หรือเป็นอุปสรรค ต่อการออกเอกสารสิทธิในที่ดินที่อยู่อาศัยบนพื้นที่สูงและเกาะ และญัตติของเพื่อนสมาชิก ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เพื่อนสมาชิกครับ ตอนนี้เราเหลือผู้ลงชื่ออภิปราย ถ้าเป็นฝ่ายค้านเหลือ ๓ ท่าน ฝ่ายรัฐบาล ๙ ท่าน ก็จะใช้เวลาราว ๆ ชั่วโมงครึ่ง ทางท่านประธานสภาก็บอกว่า วันนี้เราเอาให้จบในญัตตินี้เลย จะได้ไม่ต้องค้างคาไปในอาทิตย์หน้า ต่อไปเป็นท่านสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ครับ
นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมต้องขอขอบคุณท่านที่เสนอญัตติที่ดินทำกินให้กับพี่น้องประชาชน ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินนั้นคือหัวใจของพี่น้องประชาชน ถ้าไม่มีที่ทำกินก็ไม่มีที่จะไป แปลงสินทรัพย์ ท่านประธานที่เคารพครับ ประชาชนในเขตอำเภอกันทรารมย์และอำเภอ น้ำเกลี้ยงยังไม่มีเอกสารสิทธิเป็นจำนวนมาก ที่อำเภอกันทรารมย์นั้นมีพี่น้องได้ทำมาหากิน สร้างบ้านเรือนตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ทำไร่ทำนา ปลูกพริก ปลูกหอม ปลูกกระเทียม และปลูกยางพารา แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ โดยเฉพาะที่ตำบลละทายและตำบลเมืองน้อยเป็นที่ว่างเปล่า ไม่มีเอกสารสิทธิประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าไร่ พี่น้องประชาชนได้ทำเรื่องกับกรมที่ดิน และผมได้เคยหารือในสภาแห่งนี้ หลายครั้งก็ยังไม่ได้รับการออกโฉนด ที่ดินแห่งนี้มีพี่น้องได้สร้างบ้านมานานแล้ว พี่น้อง ต้องการให้รัฐออกโฉนดให้เพื่อจะได้แปลงสินทรัพย์เป็นทุนทำมาค้าขาย ท่านประธานครับ อีกอำเภอหนึ่งก็คืออำเภอน้ำเกลี้ยง เป็นอำเภอหนึ่งที่ราษฎรเดือดร้อนกับปัญหาที่ดินทำกิน อำเภอน้ำเกลี้ยงมีทั้งหมด ๖ ตำบล ประกอบด้วย ตำบลละเอาะ ตำบลน้ำเกลี้ยง ตำบลตองปิด ตำบลรุ่งระวี ตำบลคูบ และตำบลเขิน มี ๗๕ หมู่บ้าน พื้นที่อำเภอน้ำเกลี้ยงนั้นเป็นพื้นที่ ทับซ้อนเขตสวนป่าละเอาะ ท่านประธานครับ ผังเมืองจังหวัดศรีสะเกษประกาศว่าเป็น ที่อนุรักษ์ป่าไม้ ให้รัฐบาลยกเลิกประกาศกฎกระทรวงผังเมืองรวมอำเภอน้ำเกลี้ยง รัฐบาล ต้องรีบดำเนินการให้กับประชาชนได้มีสิทธิในพื้นที่ทำกินแห่งนี้ ท่านประธานครับ ปัญหา ที่ทำกินทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติสวนป่าละเอาะ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๑. กรมป่าไม้ ๒. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หรือ อ.อ.ป. ๓. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. ๔. กรมที่ดิน ราษฎรที่ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทำกินจำนวน ๒,๓๐๐ ครัวเรือน ทั้ง ๖ ตำบล ปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ สวนยางพารา สวนทุเรียน สวนเงาะ ทำไร่มันสำปะหลัง ข้าวโพด และทำนา แนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินทับซ้อนนั้น ผมก็อยากจะเสนอต่อไปยังรัฐบาล ๑. ปัจจุบันมีการลงสำรวจแปลงที่มีการครอบครอง ทำประโยชน์ทั้ง ๖ ตำบล ๒. เห็นควรให้สิทธิในที่ดินทำกินแก่ราษฎรที่ครอบครองทำกิน ณ ปัจจุบัน ๓. เห็นควรยกเลิกผังเมืองในเขตอำเภอน้ำเกลี้ยงจากเส้นสีเขียว ตัดยาวพื้นที่ อนุรักษ์ทรัพยากรคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นเขตพื้นที่เกษตรกรทั้งอำเภอ ๔. ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ๕. กำหนดแนวทาง การแก้ไขปัญหาที่ทำกินเป็นวาระอำเภออย่างเป็นรูปธรรม ๖. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนโดยด่วน ท่านประธานที่เคารพครับ พี่น้องประชาชน ได้โฉนดเป็นของตนเอง เขาก็จะได้แปลงสินทรัพย์เป็นทุน และพื้นที่ในเขตอำเภอน้ำเกลี้ยงนี้ เศรษฐกิจก็จะได้ดีขึ้น เพราะในพื้นที่อำเภอนี้เป็นของป่าสงวน ประชาชนรอรัฐบาลที่จะ ออกโฉนดที่ดินให้ประชาชน ๕๐ ล้านไร่ ซึ่งผมอยากจะเรียนว่าประชาชนไม่ว่าจะเป็นอำเภอ กันทรารมย์ อำเภอน้ำเกลี้ยง หรืออำเภอโนนคูณ รอความหวังจากรัฐบาลที่จะได้ออกโฉนด ให้เขา เพราะว่าแต่ละพื้นที่นั้นประชาชนเขาก็ต้องการเป็นที่ของตัวเอง และทุกวันนี้ไปติดต่อ ราชการก็ลำบาก เดี๋ยวนี้ทางสำนักงานที่ดินก็ไม่อยากจะทำให้ อย่างไรผมก็ต้องขอฝาก รัฐบาลซึ่งมาจากฝ่ายประชาธิปไตย ผมเชื่อมั่นว่าท่านเศรษฐา ทวีสิน คงจะออกโฉนดที่ดิน ตามนโยบาย ๕๐ ล้านไร่ ชาวอำเภอกันทรารมย์และอำเภอน้ำเกลี้ยงเขารอความหวัง จากรัฐบาลนี้ ขอขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย ครับ
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภา ที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย เรื่อง ขอยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอปากน้ำโพ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ ด้วยพระราชกฤษฎีกา เขตหวงห้ามที่ดินอำเภอปากน้ำโพ ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช ๒๔๗๙
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ
พระราชกฤษฎีกาได้ประกาศ ครอบคลุมพื้นที่กว่า ๑๐๐,๐๐๐ ไร่เศษ ใน ๙ ตำบล ประกอบด้วย ตำบลหนองปลิง ตำบลพระนอน ตำบลสระทะเล ตำบลเนินมะกอก ตำบลพยุหะ ตำบลย่านมัทรี ตำบลยางตาล ตำบลกลางแดด และตำบลนครสวรรค์ออก ของจังหวัดนครสวรรค์ ประกาศทับพื้นที่ อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ของประชาชนเป็นจำนวนมาก เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียน โรงพยาบาล วัด ปั๊มน้ำมัน ขนาดใหญ่ ร้านค้า การทำการเกษตร ทำไร่ทำนา และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น ปัจจุบัน ที่ดินบางแปลงในเขตประกาศมีเอกสารสิทธิหรือมีโฉนดที่ดิน แต่ที่ดินส่วนใหญ่ในเขต ประกาศไม่มีเอกสารสิทธิที่ดินคือไม่มีโฉนด ชาวบ้านส่วนใหญ่ถือครองใบไต่สวนปี ๒๕๔๙ ออกให้ใหม่สมัยท่านอดีตนายกรัฐมนตรี ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ตามนโยบายแปลงทรัพย์สินเป็นทุน เพื่อจะนำมาออกโฉนดไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถที่จะออกโฉนดที่ดินทำกินได้ เพราะที่ดินอยู่ในเขตประกาศ พระราชกฤษฎีกาหวงห้ามอำเภอปากน้ำโพ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ นครสวรรค์ ตามพุทธศักราช ๒๔๗๙ ทำให้เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตประกาศ พระราชกฤษฎีกา ไม่สามารถทำตามความประสงค์ของตนเองได้ เช่น การขุดสระ หรือการขุดเจาะบ่อบาดาล การปลูกบ้าน และอื่น ๆ หรือการกระทำใดเพื่อดำรงชีพ แม้กระทั่งวัดวาอารามที่สร้างโบสถ์แล้วที่ไม่มีเอกสารสิทธิก็ไม่สามารถประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาได้ เช่น บวชพระ ก็ถือว่าเป็นที่เดือดร้อนของวัดวาอารามต่าง ๆ ที่ได้สร้างโบสถ์ เสร็จแล้ว และที่สำคัญพื้นที่ที่ประชาชนครอบครองประกาศพระราชกฤษฎีกาไม่สามารถ ออกโฉนดได้ ทำให้เศรษฐกิจโดยภาพรวมของอำเภอต่าง ๆ ไม่เติบโตเพราะที่ดินไม่มี มูลค่าเพิ่มและไม่มีเอกสารสิทธิ ที่ผ่านมาชาวบ้านขอความช่วยเหลือจากท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านสุทิน คลังแสง เมื่อวานวันที่ ๔ ตุลาคม พี่น้อง ประชาชน ๓ อำเภอ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอเมืองบางส่วน เช่น ตำบลหนองปิง ตำบลเขาทอง ที่มายื่นหนังสือกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อขอให้ท่านแก้ไขปัญหาจัดการเรื่องพระราชกฤษฎีกาที่มีผลกระทบ กับความเป็นอยู่ ของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ถูกประกาศพระราชกฤษฎีกา เสนอตามขั้นตอนกฎหมาย เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนมีที่ดินทำกิน มีเอกสารสิทธิในที่ดิน หรือมี การออกโฉนดที่ดินมีความสอดคล้องกับความเป็นอยู่จริงของพื้นที่ ณ ปัจจุบัน มีความเป็นธรรม กับประชาชนทุกคน ส่วนทหารถ้ามีความจำเป็นที่จะใช้ที่ดิน ให้แยกเป็นสัดส่วนควบคุม ตามความเหมาะสมที่ส่วนราชการจะใช้พื้นที่นั้น และพื้นที่ส่วนที่เหลือรัฐบาลควรจัดสรร ให้พี่น้องประชาชนที่อยู่มาก่อนที่จะประกาศพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดิน ตามหลักฐาน รูปถ่ายป้ายหินปูนที่แสดงการสร้างถนนและตลาดเขาทอง แล้วก็ยังเป็นวัด ที่ผ่านมา ก็ฝากกราบเรียนท่านประธานสภา ขอให้จังหวัดนครสวรรค์ลองถือเป็น Case study หรือว่า กรณีศึกษาสักจังหวัดหนึ่งว่าปัญหาที่เกิดก็คือเกิดจากการออกพระราชกฤษฎีกา เราลองใช้ อำนาจของรัฐบาลยกเลิกคณะรัฐมนตรี ยกเลิกพระราชกฤษฎีกานี้เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป เพราะว่าถ้าเราไม่ลองศึกษาดูว่าเราใช้มติ ครม. ยกเลิกพระราชกฤษฎีกา พี่น้อง เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเราก็จะมาอภิปรายแล้วก็วนเรื่องเดิม ๆ เราก็ไม่สามารถที่จะ แก้ปัญหาได้ ก็ฝากขอบพระคุณท่านประธานสภาที่เคารพครับ ขอบพระคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เนื่องจากมีสมาชิกบางท่านถอนชื่อออก ตอนนี้สัดส่วนของฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล จะใกล้เคียงกัน ผมจะเรียกสลับเป็นสัดส่วน ๑ : ๑ นะครับ เริ่มที่ฝ่ายค้าน ท่านกฤดิทัช แล้วจะสลับไปที่ท่านธัญธารีย์ สันตพันธุ์ ผมขอเชิญท่านกฤดิทัช แสงธนโยธิน ครับ
นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม กฤดิทัช แสงธนโยธิน สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคใหม่ วันนี้เป็นนิมิตหมายที่ดี ที่สภาผู้แทนราษฎรเราได้มีการยื่นญัตติเรื่องเกี่ยวกับปัญหาที่ดินของพี่น้องประชาชนคนไทย ปัญหาที่ดินของบ้านเมืองเราเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ แล้วก็เป็นปัญหาที่หมักหมมมานาน ที่ดิน เป็นทรัพยากรที่มีค่า มีแต่ลดลง ไม่มีเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันที่ดินส่วนใหญ่กลับไปตกอยู่ใน มือของนายทุน คนไม่กี่คนในประเทศนี้ครอบครองที่ดินมหาศาล แต่เราก็ไม่มีปัญญาที่จะไป แก้ไขเรื่องปัญหาที่ดิน วันนี้พี่น้องประชาชนคนไทยไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ผมคิดว่าปัญหานี้ มันคือเป็นปัญหาระดับชาติที่สภาแห่งนี้ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะฉะนั้น วิธีการ วันนี้ทรัพยากรที่ดินเรามีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานที่ครอบครองดูแแก้ปัญหา กันเยอะแยะ แต่เราก็แก้ปัญหานี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำให้ได้ดีที่สุด วันนี้การรังวัดที่ดิน กรมที่ดินเราใช้อีกแบบหนึ่ง ทหารใช้อีกแบบหนึ่ง วันนี้เราใช้แผนที่ต่างคนต่างใช้ ปัญหา ทับซ้อนระหว่างหน่วยงานทหารกับของกรมที่ดินก็มีปัญหา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราจะต้อง บูรณาการอย่างยิ่งใหญ่ที่จะต้องทำให้ปัญหาเรื่องที่ดินสัมฤทธิผลให้ได้ วิธีการแก้ปัญหาเรื่องนี้ มันไม่ได้ยากเลยครับ วันนี้ผมยืนยันว่าถ้าสิ่งที่ทำได้คือเราต้องออกโฉนดที่ดินทั้งประเทศ เราให้หมด มันจะไม่มีการทับซ้อนระหว่างที่ดินเอกชน ที่ดินหน่วยงานรัฐ แล้วเราก็จะ สามารถแก้ปัญหาเรื่องการบุกรุกได้ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวพวกนายทุนร่วมมือกับข้าราชการก็เอา ไปออกโฉนดรุกล้ำที่ดินของรัฐอะไรต่าง ๆ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันเป็นปัญหามาชั่วนาตาปี แล้วก็ จะไม่มีทางแก้ไข แต่ถ้าเราออกโฉนดที่ดินทั้งประเทศ ภูเขาเราก็ออกได้ครับ แต่เราก็ออกไป เพื่อให้รู้ว่านี่คือโฉนดที่ดินสำหรับเป็นภูเขา เพราะฉะนั้นห้ามโอน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราทำได้ การบูรณาการสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราจะทำให้มันสัมฤทธิผลให้ได้ และที่สำคัญที่จะแก้ปัญหา เรื่องนี้ให้ชัดเจนที่สุดก็คือต้องจำกัดสิทธิการถือครองที่ดิน ไม่ใช่ปล่อยให้คนมีเงินครอบครอง ที่ดินได้อย่างไม่จำกัดจำนวน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันเป็นการเอาเปรียบพี่น้องประชาชนคนไทย เราจะต้องจำกัดสิทธิการถือครองที่ดิน เหตุผลเพราะอะไร ประมวลกฎหมายที่ดินที่เรา ประกาศใช้ตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ ในมาตราหนึ่งตอนที่ผมทำวิทยานิพนธ์ ผมไปเห็นเขาบอกว่า จำกัดสิทธิการถือครองที่ดินไม่ให้ถือเกิน แต่เรามาแก้ตอนมีประกาศคณะปฏิวัติให้ถือครอง ได้อย่างอิสระเสรี เพราะฉะนั้นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เรากลับไปใช้กฎหมายที่บรรพบุรุษเราได้มี การออกมาแล้วมันเป็นการป้องกันปัญหาการถือครองที่ดินเกินจำนวน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เราจะต้องทำอย่างจริงจังแล้วก็ต้องจริงใจ คนที่ถือครองที่ดินเยอะเกินจำนวนทำอย่างไรครับ เราก็ออกกฎหมายมาเพื่อเอาที่ดินเหล่านั้นมาคืนให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยที่เขาไม่มีที่ดิน ทำกิน เพราะฉะนั้นใครไม่มีเงินก็สามารถที่จะเช่าที่ดินทำกินก่อนได้ แล้วเราก็ให้เขาซื้อที่ดิน ในภายหลัง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราแก้ได้ครับ แต่วันนี้เราไม่แก้ แล้วเราก็มานั่งแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุ แล้วเราก็ปล่อยให้คนมีอำนาจทางการเงินซื้อที่ดินไปครอบครอง วันนี้คนไม่ถึง ๕ เปอร์เซ็นต์ที่ถือครองที่ดิน เราเกินจำนวน เกินความจำเป็น แต่เราไม่เคยคิดจะแก้ปัญหาว่า จะทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นลดการถือครองที่ดินลงมา ถ้าเราไม่ลดปัญหาเหล่านี้มันก็ แก้ไม่ได้ ต่อให้เราเอากฎหมายต่าง ๆ ออกมาแก้ผมก็เชื่อว่าเราก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุดเราจะต้องจำกัดสิทธิการถือครองที่ดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำครับ แล้วปัญหา ที่เจ็บปวดต่อมามากที่สุดก็คืออะไรรู้ไหมครับ ส.ป.ก. วันนี้คนที่มี ส.ป.ก. อยู่ในครอบครอง ปรากฏว่ามีนายทุน มีคนครอบครองแทนเยอะแยะ แต่เราก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ แล้วที่สำคัญที่เจ็บปวดมากยิ่งขึ้นก็คือคนที่เป็นลูกหลานพี่น้องเกษตรกร วันนี้เรามารับราชการ เขามาทำงานมีประกันสังคม บุคคลเหล่านี้กลับเสียสิทธิในการที่จะ ถือครองที่ดิน ส.ป.ก. ต่อจากบรรพบุรุษเขา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ออกกฎหมายมาอย่างนี้ มันเพื่ออะไรครับ แล้วมันแก้ปัญหาได้จริงไหม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันเป็นปัญหาที่เรามองข้าม เพราะฉะนั้นการจะแก้ปัญหาให้อย่างยั่งยืน ผมบอกเลยว่าวิธีการแก้ปัญหาคือเราต้อง ออกโฉนดทั้งหมด เพราะฉะนั้นถ้ามี ส.ป.ก. มี น.ส. ๓ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันแก้ไม่ได้หรอกครับ สุดท้ายคนที่ถือครองที่ดินเกินจำนวนเขาก็ยังจะจ้องเอารัดเอาเปรียบ เพราะฉะนั้นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าเราไม่แก้ปัญหาอย่างจริงจัง วิธีการของที่ดินเราก็ยังมีปัญหา วันนี้ต่างชาติเข้ามา ถือครอง มี Nominee เยอะแยะ มาเปิดบริษัท แล้วก็ถือครองซื้อที่ดินในนามนิติบุคคล สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เรารู้ วันนี้เราไม่ได้แก้ปัญหาอย่างจริงจัง และที่สำคัญการทำสิ่งเหล่านี้ได้ คนที่เป็นคนชี้ช่องให้คือใครครับ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ หรือบุคคลที่ต้องการ แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน แต่เรากำลังขายชาติ ขายแผ่นดินของเรา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เรามองข้าม เราละเลย ข้าราชการดี ๆ มีอีกเยอะ ข้าราชการเห็นแก่ตัวก็มี ที่จะอำนวย ความสะดวกในการไปบุกรุกที่ป่าสงวนหรือบุกรุกอะไรต่าง ๆ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เอกชน ทำไม่ได้ ถ้าข้าราชการที่คิดไม่ซื่อกับประเทศเหล่านี้หาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการไปออกโฉนด ที่ดินให้กับนายทุน ให้ผู้มีอิทธิพล ให้กับนักการเมืองที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราแก้ไม่ได้ถ้าเรายังปล่อยปละละเลยแล้วเรายังมีโฉนด มี น.ส. ๓ มี ส.ป.ก. มีอะไร เยอะแยะมากมาย ทุกวันนี้เรามีเอกสารสิทธิเยอะแยะมากมาย แต่ทำไมเราไม่ออกโฉนด อย่างเดียวเลยครับประเทศนี้ แผนที่ของทหาร แผนที่ของกรมที่ดินเราก็ใช้อันใดอันหนึ่ง ให้มันเป็นหลักการ หลักเกณฑ์เดียวกัน แล้วเราก็ออกโฉนดที่ดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ผมเชื่อว่า ทำได้และถ้าเกิดรัฐสภาเราไม่ออกกฎหมายมาในลักษณะเช่นนี้ผมเชื่อว่าชาตินี้หรือชาติหน้า เราก็แก้ปัญหาเรื่องที่ดินนี้ไม่ได้เลยครับ ขอบคุณมากครับ ท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านธัญธารีย์ สันตพันธุ์ ครับ
นางสาวธัญธารีย์ สันตพันธุ์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธัญธารีย์ สันตพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตพื้นที่อำเภอ เขมราฐ อำเภอนาตาล อำเภอโพธิ์ไทร พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ตามที่เพื่อนสมาชิก ได้เสนอญัตติ เรื่อง สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและแก้ไขปัญหา การครอบครองและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส.ป.ก. และที่ดินเขตทับซ้อนกับที่ป่าสงวนแห่งชาติ ของประชาชน และได้มีเพื่อนสมาชิกได้ร่วมอภิปรายเพื่อชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นและเร่งด่วน ของญัตติดังกล่าวนั้น ดิฉันเห็นด้วยและสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเสนอญัตตินี้ค่ะ เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและยังคงมีข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ กับประชาชนเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สามารถหาทางออกและแก้ไขปัญหาได้ และจากการที่ ดิฉันได้ลงพื้นที่อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อไปรับฟังปัญหาที่ประชาชนแจ้งมา ก็ยิ่งทำให้ได้รับทราบข้อเท็จจริงว่าข้อพิพาทเรื่องที่ดินดังกล่าวระหว่างหน่วยงานรัฐ กับประชาชนมีสาเหตุมาจากความไม่ชัดเจนของระเบียบข้อบังคับหลายเรื่อง จึงทำให้ หน่วยงานของรัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงส่งผลให้มีความจำเป็นที่จะต้องตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อมาศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยดิฉันจะขอยกตัวอย่างปัญหาจากพื้นที่เขต ๖ อุบลราชธานี เรื่องเขตทับซ้อนกับที่ อุทยานแห่งชาติ ในพื้นที่บ้านสะเอิงทอง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการครอบครองและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นปัญหาที่ประชาชนได้รับ ความเดือดร้อน และกำลังรอการช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม โดยขอยกตัวอย่าง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ดิฉันได้รับแจ้งจากประชาชน บ้านสะเอิงทอง ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ให้ไปรับฟังปัญหาเรื่องที่ดิน บริเวณเขตป่า โดยมีตัวแทนของประชาชนและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ลงพื้นที่ ร่วมกัน การไปรับฟังปัญหาและลงพื้นที่จริงในครั้งนี้ ได้รับแจ้งจากประชาชนในพื้นที่ว่า ขณะนี้มีปัญหาเรื่องแนวเขตป่าที่ภาครัฐกำหนด โดยประชาชนแจ้งว่าแต่เดิมได้มาอาศัยอยู่ บริเวณนี้เป็นเวลานานแล้ว มีการลงหลักปักฐานสร้างที่อยู่อาศัยจนกลายเป็นที่ชุมชน และมีการใช้พื้นที่ดังกล่าวในการเกษตร ซึ่งการอยู่อาศัยและการทำเกษตรบริเวณนี้ภาครัฐ ก็อนุญาตและให้ดำเนินการได้ไม่ติดขัดอะไร แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของระเบียบ ข้อบังคับ รวมทั้งนโยบายเกี่ยวกับที่ดิน ในเขตป่าหลายครั้ง และการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งก็สลับไปมาไม่มีความต่อเนื่อง ทำให้ ปัจจุบันมีการกำหนดแนวเขตป่าใหม่ ซึ่งเมื่อได้กำหนดเขตป่าใหม่พบว่าเขตที่อยู่อาศัย และบริเวณพื้นที่ทำเกษตรของประชาชนบางส่วนของบ้านสะเอิงทองกลายเป็นเขตป่า แต่บริเวณที่มีลานหินที่ยื่นออกมากลับเป็นพื้นที่ที่ภาครัฐกันแนวเขตให้ประชาชนใช้ ในการอยู่อาศัยและทำการเกษตรได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับความจริงที่เกิดขึ้น เนื่องจาก การลงพื้นที่ในครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติผาแต้มติดตามไปด้วย จึงได้มีการพูดคุย และสอบถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่ว่าปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุ มาจากการเปลี่ยนแปลงระเบียบ ข้อบังคับเรื่องเขตป่า โดยเจ้าหน้าที่ก็เข้าใจถึงปัญหา รวมทั้ง ประชาชนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ของรัฐเองก็ไม่ได้มีข้อพิพาทระหว่างกัน แต่ความที่ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จึงให้ดิฉันเข้าไปร่วมรับฟังปัญหา เพื่อที่จะนำไปแจ้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบต่อไป จากปัญหาเรื่องที่ดินเขตป่าที่กล่าวมา ดิฉันเชื่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเฉพาะที่บ้านสะเอิงทอง แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ และในแต่ละพื้นที่ก็มีรายละเอียดของปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ดิฉันจึงมีความเห็น และขอเสนอต่อสภาว่าขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติเพิกถอนแนวเขตป่าที่ไม่มีสภาพป่าไม้จริง คืนให้กับกรมที่ดินเพื่อลดขั้นตอนการตรวจสอบแนวเขตพิสูจน์สิทธิการครอบครอง เพื่อให้ กรมที่ดินสามารถออกเอกสารสิทธิให้กับประชาชนตามระเบียบของกรมที่ดินได้อย่างรวดเร็ว และขอสนับสนุนญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา และแก้ไขปัญหาการครอบครองและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส.ป.ก. และที่ดินเขตทับซ้อนกับ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติของประชาชนตามที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอมา เพื่อใช้กลไกทางรัฐสภา ในการหาทางออกและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่กำลังได้รับความเดือดร้อน ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านรำพูล ตันติวณิชชานนท์ ครับ
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต ๙ ซึ่งประกอบด้วยอำเภอนาจะหลวย อำเภอบุณฑริก อำเภอสิรินธรเฉพาะตำบลโนนก่อ พรรคไทยสร้างไทย ดิฉันขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายสนับสนุนทุกญัตติที่เพื่อนสมาชิก ได้เสนอเพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไข ปัญหาสิทธิที่ดินทำกินของประชาชน แก้ไขปัญหาการครอบครองและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส.ป.ก. และที่ดินทับซ้อนกับป่าสงวนแห่งชาติของประชาชน เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพที่ดีให้กับพี่น้องประชาชนของเราทั่วประเทศไทย จะเห็นได้ว่าปัญหา ที่ทำกินจะมีทุกพื้นที่ไม่เฉพาะจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ทั่วประเทศเลยเป็นปัญหาที่หมักหมม มานานทุกรัฐบาลเท่าที่ดิฉันจำได้นะคะ ทุกรัฐบาลจะพยายามแก้ไขแต่ก็ยังแก้ไขไม่สำเร็จ ดิฉันก็ขอฝากปัญหานี้ให้รัฐบาลชุดนี้และสภาแห่งนี้ช่วยแก้ไขเรื่องที่ทำกิน เรื่องที่ดิน ของประชาชน ของเราให้สำเร็จ จากที่ดิฉันได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาในจังหวัดอุบลราชธานี เขต ๙ ดิฉันได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องอำเภอนาจะหลวย อำเภอบุณฑริก และอำเภอสิรินธร ตำบลโนนก่อ ว่าที่ดินที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน ไม่ว่าจะเป็นที่ไร่นาหรือที่ทำสวนไม่มีเอกสารสิทธิ การออกเอกสารสิทธิก็ออกยาก ออกไม่ได้ เพราะว่าเป็นที่ดินทับซ้อนกับที่ป่าไม้ เป็นที่ ของป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอุทยานแห่งชาติ เพราะว่าพื้นที่ที่ดิฉันอยู่จะเป็นพื้นที่ป่าสงวน เป็นส่วนใหญ่ ติดกับชายแดน สปป. ลาว เพราะฉะนั้นดิฉันก็อยากให้รัฐบาลควรแบ่งเขต พื้นที่ให้ชัดเจนว่าเขตไหนเป็นเขตป่าสงวน เขตไหนเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อชาวบ้าน จะได้ทำกินไม่ถูกไล่จับ ทำไร่ทำนาก็โดนไล่จับ ติดคุกติดตะรางกันหลายราย ชาวบ้าน ยิ่งทุกข์อยู่แล้ว จนอยู่แล้ว ก็ยิ่งยากจนต่อไปอีกนะคะ โดยเฉพาะชาวบ้านในเขตชุมชนเขตที่ เจริญแล้วก็ควร จะออกเอกสารสิทธิ ก็คือปลดล็อกออกเอกสารสิทธิให้ทุกแปลง เพื่อเขาจะได้เอาไปแปลง สินทรัพย์เป็นทุน ดิฉันได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องในเขตตำบลนาจะหลวย อำเภอ นาจะหลวย ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลยังออกเอกสารสิทธิไม่ได้ประมาณ ๒,๗๙๖ รายในเขต ชุมชนเมืองก็ยังไม่มีเอกสารสิทธิ เพราะฉะนั้นก็ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศเลย พวกเราต้องช่วยกันแก้ปัญหา
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
อีกปัญหาหนึ่ง ปัจจุบันนี้ชาวบ้านได้ไปยื่นออกโฉนดที่ดินในที่ดินจังหวัด มี ส.ค. ๑ ออกโฉนดยากมาก ใช้เวลานาน ๗-๘ ปีเพราะว่าถ้ามี ส.ค. ๑ ที่ไปยื่นตั้งแต่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ต้องไปฟ้องที่ศาลตามมาตรา ๘ ประมวลกฎหมายที่ดิน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ชาวบ้านไปยื่น ส.ค. ๑ เพื่อออกโฉนดที่ดิน ใช้เวลา ๗-๘ ปีบางรายก็ได้โฉนดมาแล้ว บางราย เกือบ ๑๐ ปีก็ยังไม่ได้โฉนด ไม่ทราบเป็นเพราะอะไร เราก็อยากให้ทางรัฐบาลแก้ปัญหาตรงนี้ และยังมีอีกหลายรายบอกว่าช่วยลดขั้นตอนในการออกโฉนดที่ดินให้เร็วขึ้นกว่านี้ได้ไหม ถ้าได้พี่น้องจะมีความสุขมาก ๆ เลย เพราะว่า ส.ค. ๑ ยังมีอีกหลายรายที่ยังรอการออกโฉนด
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
โฉนดสำคัญอย่างไร ๑. สร้างหลักประกันความมั่นคงชีวิตและครอบครัว ให้กับพี่น้องประชาชน ๒. แปลงทรัพย์สินให้เป็นทุน เพราะฉะนั้นชาวนา ชาวบ้านจะลืมตา อ้าปากได้ถ้ามีที่ทำกิน มีเอกสารสิทธิอยู่ในมือ และจะดีใจที่สุดถ้ามีที่ทำกิน ให้ยกเลิก ส.ป.ก. ให้เป็นโฉนดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ดิฉันขอเสนอแนะให้รัฐบาลชุดนี้มีความจริงใจกับ การแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน ช่วยปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกเอกสาร ที่ดินให้กับพี่น้องเรา ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับที่ดินก็ขอให้จบที่รุ่นเรานะคะ ขอให้จบที่ สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ รัฐบาลชุดนี้จะทำให้ชาวบ้านสรรเสริญเยินยอ ดิฉันก็ขอให้ กำลังใจรัฐบาลทำงานชุดนี้ให้สำเร็จพี่น้องก็คงจะมีความสุขกันทั่วประเทศ ขอขอบพระคุณ ท่านประธานค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ เชิญท่านนพพล เหลืองทองนารา ครับ
นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นพพล เหลืองทองนารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก คนพรหมพิราม ผู้แทนที่ต้องเสริมศักยภาพตัวเองอีกหลาย ๆ ด้าน ในปัญหาที่มีเพื่อนสมาชิก ได้เสนอญัตติเกี่ยวกับเรื่องปัญหาที่ดิน จริง ๆ แล้วผมอยากจะขอเริ่มต้นตรงที่ว่าปัญหาที่ดิน สิ่งที่มีการทับซ้อนกัน เท่าที่มีข้อมูลมาอันดับแรกเลยก็คือเรื่องของการใช้มาตราส่วนในแผนที่ การใช้มาตราส่วนในแผนที่ถือว่ามีความสำคัญมากเลย เพราะว่าผมยกตัวอย่าง อย่าง พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ฉบับที่ ๙๙๑ ใช้มาตราส่วน ๑:๔๐๐,๐๐๐ แต่ พ.ร.บ. ป่าสงวนเหมือนกัน ฉบับที่ ๑,๑๕๐ ใช้มาตราส่วน ๑: ๑๐๐,๐๐๐ การใช้มาตราส่วนที่ต่างกัน ขนาดนี้ ขีดเส้นผิดกันไป ๒ มิลลิเมตร เนื้อที่มันผิดกันแล้วนับหมื่นไร่ เพราะฉะนั้น จึงไม่แปลกที่พอผลรวมนะครับ จริงอยู่ประเทศไทยมีพื้นที่ถ้านับเป็นไร่ ๓๒๐ ล้านไร่ แต่ท่านเชื่อไหมว่าพอเอาเนื้อที่ของแต่ละหน่วยงานครอบครองอยู่ทั้งมีเอกสารสิทธิ และไม่มีเอกสารสิทธิ ทั้งของรัฐด้วยอะไรด้วย รวมกันแล้วตกเข้าไป ๔๐๐ กว่าล้านไร่ ทั้ง ๆ ที่พื้นที่จริง ๆ จะขยายกันได้อย่างไร มีอยู่ ๓๒๐ กว่าล้านไร่เท่านั้นเอง นั่นเห็นกัน ได้ชัดเลยว่ามันจะไม่มีความซ้ำซ้อนของที่ดินเป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่างจังหวัดพิษณุโลก พูดถึงในจังหวัดพิษณุโลกมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๐,๕๘๙ ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับ ๖,๖๑๘,๐๐๐ กว่าไร่ แต่ว่าที่ดินที่อยู่ในการครอบครองของกรมที่ดินบ้างซึ่งเป็นใน ส่วนของ น.ส.ล. ในส่วนของกรมป่าไม้ ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอีกหลาย ๆ ส่วน รวมทั้งกรมพัฒนาที่ดิน รวมกันแล้วผลปรากฏว่าที่ถือครองกันไว้แต่ละหน่วยงานรวมแล้ว ๑๐,๒๒๐,๑๒๘ ไร่ แต่ด้วย เนื้อที่ ๑๐,๐๐๐ กว่าตารางกิโลเมตร เท่ากับ ๖,๖๐๐,๐๐๐ ไร่เท่านั้นเอง มีผลต่างกัน ประมาณ ๓,๕๐๐,๐๐๐ ไร่ คิดตัวเลขกลม ๆ เพราะฉะนั้นเวลารัฐจะออกเอกสารสิทธิ ต้องเปิดใจให้กว้าง ผมเห็นส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานของรัฐจะผลักภาระ ผลักความผิดว่า ราษฎรบุกรุก ถามว่าราษฎรที่ไหนมันจะมีปัญญาไปขีดแผนที่ได้ว่าวงตรงนี้เป็นของกรมป่าไม้ วงตรงนี้เป็นของกรมพัฒนาที่ดิน เพราะฉะนั้นแล้วรัฐจะต้องเปิดใจให้กว้างว่าต้องสำนึก ให้ดีว่าตัวเองเป็นคนที่ทำให้ราษฎรนั้นเดือดร้อน อย่างในเขตจังหวัดในเขตเลือกตั้งผม มีตรงบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าไร่ อยู่ทั้งในเขตของผมแล้วเขตท่านรองประธานปดิพัทธ์ พื้นที่ตรงนี้ปัจจุบันนี้ เอาละสภาพความเป็นจริงไม่ต้องพูดถึงเลย มันเป็นชุมชนเมืองไปหมดแล้ว แต่ผลปรากฏว่า เท่าที่ได้สอบถาม ในยุคในสมัยนั้นที่ผืนตรงนี้เอกสารสิทธิเคยมีถึงเป็น น.ส. ๓ แล้วบางราย เป็น ส.ค. ก็มี อะไรก็มี แต่ผลปรากฏว่าพอใช้กฎหมายที่ดิน ๑ ธันวาคม ๒๔๙๗ แล้ว เอาพื้นที่ตรงนั้นของราษฎรรวบไปเป็น ส.ป.ก. ทั้งหมดเลย ผมเองติดใจตรงที่ว่า ในเมื่อเขามีเอกสารสิทธิเป็น น.ส. ๓ แล้ว แล้วไปดึงกลับมาเป็น ส.ป.ก. อย่างนี้มันถูกต้อง หรือครับ ไม่ถูกต้องนะครับ แล้วก็ที่ทำกัน ทำกันเมื่อปี ๒๕๒๘-๒๕๒๙ นี้เอง แต่ไปยกเอา ประมวลกฎหมายที่ดิน ปี ๒๔๙๗ มาใช้บังคับเขา กรณีเช่นนี้มันมีสิ่งที่เห็นเป็นพยานหลักฐาน จะ ๆ รัฐควรจะต้องรีบดำเนินการ แล้วที่สำคัญผมขอย้ำเป็นครั้งที่ ๒ ว่าแล้วรัฐจะต้อง ใจกว้าง ไม่ใช่ว่าในความรู้สึกของรัฐประชาชนเป็นผู้ผิด ถ้าอย่างนั้นมันก็เดินกันยาก ที่อีกแปลงหนึ่งที่ผมอยากจะพูดให้ฟังก็คือในพื้นที่ผมก็คือที่ น.ส.ล. ของหมู่ที่ ๖ บ้านแหลมลาด ตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อยู่บริเวณเดียวกับ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค ๖ ท่านครับ ที่ดินแปลงนี้ เวลาผมนั่งรถเมล์มาเรียนในเมือง บ้านช่องห้องหอของราษฎรก็เป็นพื้นที่ที่เขาทำมาหากินแล้วก็มีบ้านช่องอยู่แล้ว แต่เหตุไฉนเลย ไปเอาที่ตรงนี้ของเขาเป็น น.ส.ล. แล้วที่สำคัญที่ น.ส.ล. แปลงนี้มีอยู่ ๓,๐๐๐ กว่าไร่ มีบางส่วนสามารถออกได้ เป็นกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่ราษฎรตาดำ ๆ ออกไม่ได้ แล้วที่สำคัญ อีกอย่างหนึ่ง ถ้าท่านยิ่งทำช้าไปเท่าไรในการออกเอกสารสิทธิให้พี่น้องตรงหมู่ที่ ๖ ตรงนี้ เขาเองก็ยิ่งลำบากมากเท่านั้น เพราะอย่าลืมว่าการออกเลขที่บ้าน ผมขอย้อนหน่อยตรงที่ว่า เมื่อก่อนเหมือนมีการทำความตกลงกันว่าในการไปขอเลขที่บ้านก็หลับตากันข้างหนึ่ง ก็ออกเลขที่บ้านเพื่อไปให้ราษฎรไปขอน้ำ ขอไฟ เดี๋ยวนี้ไม่รู้เป็นนโยบายของใคร การรอมชอมกันยุติลง เวลาขอเลขที่บ้านบางคนตอนนี้ขอมา ๒ ปี ๓ ปียังไม่ได้ พอยังไม่ได้เสร็จ เวลาการไปขอน้ำขอไฟก็ต้องใช้มิเตอร์ชั่วคราว มันแพงกว่าปกติอีก ๑ เท่าตัว เพราะฉะนั้นผมขอเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะคณะทำงานด้านที่ดิน ของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ซึ่งผมเองเชื่อมั่นว่าท่านนายกรัฐมนตรีเอาจริงเอาจัง ในปัญหานี้ พรรคเพื่อไทยเอาจริงเอาจังปัญหานี้ เพราะฉะนั้นผมเองอยากจะขอให้ เร่งรัดระยะเวลา ใครจะทำอะไรไว้อย่างไรก็สุดแล้วแต่เถอะ แต่เมื่อเป็นรัฐบาลของ ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา เป็นรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยแล้ว ท่านทำให้ไว ท่านทำให้ดี ท่านเองจะเป็นที่ประทับใจของพี่น้อง อย่าลืมว่าอย่างน้อย ๆ ถ้าบวกกันตามตัวเลข ที่ว่าพื้นที่ประเทศไทย ๕๐๐,๐๐๐ กว่าตารางกิโลเมตร เท่ากับ ๓๒๐ ล้านไร่เศษ แต่ว่ามีพื้นที่ที่บวกกันแล้วแต่ละหน่วยงานถือครอง ๔๘๐ กว่าล้านไร่ เอาตรงนี้ก่อนก็ได้ครับ ตรวจสอบให้มันถูกต้องว่าตกลงแล้วทำอย่างไร ให้มันบวกแล้วได้ตามจำนวนที่แท้จริงคือ ๓๒๐ ล้านไร่ ผมต้องกราบขอบพระคุณทุกท่านครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านเอกราช อุดมอำนวย เชิญครับ
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนราษฎรคนดอนเมือง พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมขออภิปราย สนับสนุนญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะเรื่องของสิทธิและที่ดินในการทำกินนะครับ ท่านประธานครับ โครงการก่อสร้าง บ้านมั่นคงแล้วก็การก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำแบบคอนกรีตในคลองลาดพร้าว คลองเปรม ประชากร เป็นโครงการที่รัฐบาลมีนโยบายเพื่อป้องกันการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมันเกิดมา จากน้ำท่วมใหญ่ในช่วงปี ๒๕๕๔ โดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหาส่วนหนึ่งก็คือจะต้องรื้อย้าย บ้านเรือนที่รุกล้ำคลองเพื่อก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำ ทีนี้ก็เลยเป็นที่มาที่กรุงเทพฯ เขาก็ จะต้องไปร่วมมือกับหน่วยงานรัฐหน่วยงานหนึ่งชื่อว่า พอช. ในการจัดทำแผนในการรองรับ ด้านที่อยู่อาศัยชาวริมคลอง ซึ่งจะมีทั้งคลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ เป็นต้นมามีข้อมูลสำหรับผู้ที่อาศัยรุกล้ำประมาณ ๔,๓๙๘ หลังคาเรือน แล้วก็คิดเป็น ครัวเรือนประมาณ ๕,๘๗๖ ครัวเรือน ผู้อาศัยเหล่านี้ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ผมอยากจะบอกท่านประธานแบบนี้ว่าในเรื่องของที่อยู่อาศัย พี่น้องที่อยู่ริมคลองเขาอยู่มา ยาวนานมาก แต่ถูกรัฐมองว่าเป็นปัญหาจึงจะต้องไล่รื้อเขา ผมไม่พูดถึงเรื่องของกรรมสิทธิ์ ไม่พูดถึงเรื่องของความชอบด้วยกฎหมาย เพราะรู้กันอยู่ว่าที่ตรงนั้นแน่นอนครับ เถียงกันอย่างไร ก็แพ้ด้วยกฎหมาย แต่เป็นที่ที่พี่น้องประชาชนเขาอยู่กันมาดั้งเดิม อยู่กันมาตกทอด หลายชั่วอายุคน พอรัฐจะไปทำโครงการขนาดใหญ่ก็ไปทำโครงการโครงการหนึ่งที่ชื่อว่า บ้านมั่นคงก็ไปเสนอให้เขาว่ารัฐจะพยายามจัดสรรโครงการให้ทุกท่านได้มีที่อยู่อาศัย แต่ไม่ได้เป็นการให้ที่ดิน ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว เป็นการแก้ปัญหาแบบปะผุ เพราะอะไรครับ ผู้ที่เป็นคนจนเมืองมีทั้งผู้ที่ไม่มีศักยภาพหรือว่าเป็นผู้ที่อาจจะรายได้น้อย ลำดับที่ ๒ คือเป็นผู้ที่ชราภาพอยู่ตัวคนเดียว และซ้ำไปกว่านั้นบางท่านชราภาพด้วย และป่วยติดเตียงด้วย คำถามคือจะเอาชีวิตของพี่น้องเหล่านี้ จะไล่เขาเหมือนหมูเหมือนหมาหรือ พี่น้องเหล่านี้อยู่กันมาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่าเขาก็ไม่มีที่ดินทำกิน แต่ว่าเขากลับถูกรัฐไล่ ให้ไปอยู่ที่อื่น และศักยภาพของตัวเขาอายุ ๕๐-๖๐ ปีแล้ว เงินเก็บก็ไม่มี จะให้เขาไปอยู่ในที่ ที่จะต้องไปเสียเงินผ่อนเดือนละ ๒,๐๐๐ กว่าบาท เขาก็ไม่มีศักยภาพ เงินคนแก่ได้แค่ ๖๐๐ บาทเองครับ จะเอาเงินอะไรกิน เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาของโครงการบ้านมั่นคง ริมคลองเปรมประชากรทั้งหมด ผมถึงอยากจะให้มีการศึกษาทบทวนว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่พี่น้องคนจนเมืองในกรุงเทพมหานครที่เขาอยู่มาดั้งเดิมแต่ก่อนควรจะมีสิทธิ ในการครอบครอง ผมจะยกตัวอย่างให้ท่านประธานได้เห็นภาพว่าที่ราชพัสดุของ ประเทศไทย กระทรวงกลาโหมคือหน่วยงานที่ถือครองที่ราชพัสดุมากที่สุด รวมกัน ๖.๒๕ ล้านไร่ หรือ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของที่ราชพัสดุทั่วประเทศ หรือประมาณ ๕ เท่า ของกรุงเทพมหานคร และในการถือตรงนั้นผมถามว่าในกรุงเทพมหานครมีที่กองทัพ มากมายเลย จะทำ MOU ได้ไหม หรือจะทำการประสานอย่างไรได้ไหมที่จะให้พี่น้อง ได้มีสิทธิในการครอบครองที่ดิน อย่าไปมองว่าพวกเขาเหล่านั้นคือคนที่บุกรุกผิดกฎหมาย อย่าไปมองว่าอันนี้คือสมบัติชาติเอามาใช้หาเสียง ไม่ใช่หรอกครับ นี่คือเรากำลังจะต้อนคน อีกกลุ่มหนึ่งที่เขาไม่มีกำลัง ไม่มีความสามารถ ซึ่งเขาเกิดบนผืนแผ่นดินนี้และควรจะมีสิทธิเหมือนกัน เพียงแค่เขายากจน เพราะฉะนั้น การที่เขาอยู่มาก่อน การที่เขาครอบครองมาก่อนแล้วกฎหมายของเราตามไม่ทันพี่น้อง ประชาชน เราควรจะทบทวน ผมจึงเสนอแบบนี้ว่าในการศึกษาในการทบทวนที่เพื่อนสมาชิก ได้พูดไปแล้ว การกระจายที่ดินให้พี่น้องที่มีสิทธิในการครอบครองเป็นเรื่องของ ความชอบธรรมที่ทำให้คนจนกระจายความมั่งคั่งให้เขาสามารถที่จะยืนได้ด้วยขาของเขา ไม่เพียงเฉพาะเรื่องของการช่วยเหลือเรื่องของเงินทองนะครับ การกระจายที่ดินนี่ละครับ ที่จะเป็นโครงการ เป็นสวัสดิการที่จะทำให้เขาได้มีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ผมไม่อยาก เห็นคนชราจำนวนมากที่จะต้องไปแออัดกันอยู่ริมถนน ผมไม่อยากเห็นคนยากจนไม่มีที่อยู่ อาศัยจะต้องรอนแรมไปเรื่อย ๆ แล้วสุดท้ายพวกเขาเหล่านี้ก็ถูกชี้ว่าเป็นตัวปัญหา เป็นคนก่อ เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่จริง ๆ จุดเริ่มต้นมันเริ่มมาจากอำนาจรัฐที่อยู่ในมือของพวกเรา นี่ละครับ วันนี้เพื่อนสมาชิกในที่แห่งนี้เท่าที่ผมฟังมาทุกคนก็เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะ กระจายทรัพยากรเหล่านี้ไปให้ถึงมือ แต่ผมขอที่จะชี้ให้เห็นความคิดที่แหลมคม มากขึ้นว่าอย่าลืมพี่น้องคนจนเมือง คนจนที่อยู่ต่างจังหวัดเขายังมีพืชไร่ ยังมีที่นาที่อาศัย ธรรมชาติในการเก็บกินได้ แต่คนจนเมืองเวลาจนไม่มีจริง ๆ ครับลำบากมาก โดยเฉพาะ พี่น้องในเขตดอนเมืองของผม วันนี้ผมก็ฝากท่านประธานนะครับ ฝากเพื่อนสมาชิก ผมจึงอภิปรายสนับสนุนญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้ตั้งขึ้น และหวังว่าข้อเสนอต่าง ๆ จะนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงในอนาคต ขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม เชิญครับ
นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม อุดรธานี ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต ๘ พรรคเพื่อไทย ผมต้องขอขอบคุณสมาชิกที่เสนอญัตติเรื่องที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผมขอเสนอปัญหาความเดือดร้อน ความต้องการ เรื่องเอกสารสิทธิในที่ดินทำกิน ซึ่งมีมากมายทุกเขตพื้นที่ ทุกจังหวัดของประเทศ ที่ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกท่าน ได้นำมาเสนอในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ ท่านประธานครับ ปัญหาที่ดินของประชาชน ในภาพรวมของทั้งประเทศ เราจะเห็นว่ามีกฎหมายที่ดินตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ แล้วก็มีการทำนิคม ทำปฏิรูปที่ดินให้พี่น้องประชาชนเมื่อปี ๒๕๑๗ ปี ๒๕๑๘ และเมื่อปี ๒๕๓๔ ที่ดิน ส.ป.ก. ที่ดินปฏิรูป ปัญหาที่ดินซึ่งมีอยู่ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ ทั้งประเทศ ยังรอการแก้ไขให้พี่น้องประชาชนโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาล เราจะเห็นว่า ส่วนของที่ดินต่าง ๆ นั้นจะมีทั้งที่ดินราชพัสดุ กรมธนารักษ์ ที่ดินในเขตทหาร ที่ดิน พื้นที่สูง ภูเขาและเกาะ ที่ ส.ค. ๑ ที่ ภ.บ.ท. ๕ แล้วก็ที่ป่าสงวน ป่าเสื่อมโทรม ป่าชายเลน เขตอุทยาน เขตทับซ้อนของประชาชนกับป่าสงวน ซึ่งเราได้ยินเสมอว่าพี่น้องประชาชน อยู่มาเป็น ๑๐๐ ปี แต่วันดีคืนดีก็ต้องอยู่ในเขตป่าสงวน ต้องอยู่ในเขตที่ดินราชพัสดุ ซึ่งพี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน มีผลกระทบทั้งจิตใจและสภาพการอยู่อาศัย เช่นที่ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เขาอยู่มาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ทั้งวัดวาอาราม ทั้งโรงเรียน ก็ต้องมาอยู่ในเขตราชพัสดุ เขตทหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาก นอกจากนั้นเขต น.ส.ล. เขตเลี้ยงสัตว์ ซึ่งพี่น้องประชาชนหลายอำเภอ ไม่ว่าในจังหวัดอุดรธานีหรือทั่วประเทศจะได้รับ ความเดือดร้อน เหตุที่มาของพื้นที่เลี้ยงสัตว์จากที่ผ่านมาว่าเราสืบทราบจากที่จะมี เขตเลี้ยงสัตว์ นายอำเภอจะเป็นคนไปชี้ว่าตรงนี้จะต้องมีทำเลเลี้ยงสัตว์ ซึ่งไม่ทราบว่าไปโดน ที่ของใคร แต่ขอให้ได้จำนวนตามที่ทางรัฐบาลต้องการ นี่ก็คือสิ่งที่มีผลกระทบกับ พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนสำหรับที่ทำเล นอกจากนั้นที่ปฏิรูป ซึ่งหลายอำเภอ หลายจังหวัดต้องอยู่ในเขตปฏิรูป เช่น ที่ตำบลน้ำพ่น ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ ปฏิรูปมาไม่รู้กี่ปี น.ค. ๑ หรือที่นิคมก็ยังไม่รู้ว่าจะได้รับเอกสารสิทธิเมื่อไร สร้างความเดือดร้อน และเกิดปัญหาให้พี่น้องประชาชนในการที่จะได้รับเอกสารสิทธิ เพื่อนำเอกสารสิทธิต่าง ๆ ไป แปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องและธุรกิจของตัวเอง แล้วนอกจากนั้นพื้นที่ ส.ป.ก. ซึ่งเราจะทราบดีว่า ส.ป.ก. เป็นสิ่งที่จะต้องสืบทอดกัน ทางสายเลือด ท่านสมาชิกหลายท่านให้ความเห็นว่าบางทีเขาส่งลูกหลานไปเรียน ไปทำงาน เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ครูบาอาจารย์ ก็ต้องหมดสิทธิในการที่จะรับที่ ส.ป.ก. เราจะเห็นว่าปัญหาต่าง ๆ นี้จะต้องได้รับการบูรณาการร่วมกัน ทั้งกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน สิ่งเหล่านี้จะต้องเอามา คุยกัน ไม่ใช่ว่าจะทำถนนเส้นหนึ่งต้องไปขอทั้งกรมป่าไม้ ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งกระทรวงมหาดไทย ทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วเมื่อไรเราจะ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนได้ ผมฝากทางรัฐบาลที่เข้ามาตรงนี้ ซึ่งมีนโยบายที่ประชาชนมีความหวังตั้งใจอยากได้ นั่นก็คือออกเอกสารสิทธิ ๕๐ ล้านไร่ นี่ก็เป็นหัวใจให้พี่น้องประชาชนเรามีความหวังว่าสักวันหนึ่งเราจะมีเอกสารสิทธิเป็นของ ตัวเองทั้ง ๆ ที่อยู่มาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ท่านจะต้องไปแก้ไขกฎกระทรวง ไปแก้ไขกฎหมาย ในฐานะที่จะเอาเข้า ครม. หรืออะไรก็ได้ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาส่วนนี้ ให้บูรณาการ เป็นเอกสารสิทธิให้พี่น้องประชาชนให้ได้ แต่ก็ต้องขอขอบคุณนโยบายดี ๆ ของรัฐบาลชุดนี้ หวังว่าท่านรัฐมนตรี ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน จะนำนโยบาย ๕๐ ล้านไร่ เอกสารสิทธิไปมอบให้พี่น้องประชาชน ถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากให้เอกสารสิทธินี้ เป็นของขวัญปีใหม่ให้พี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศทั่วทุกภูมิภาค ไม่ว่าจะเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ก็ได้สิทธิเท่าเทียมกัน ทั้งเขตป่าชายเลน ไม่ว่าจะเป็นเขตเกาะ เขาสูงอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งพี่น้องประชาชนคนไทยก็มีความหวังกับนโยบายใหม่ ๆ นโยบายดี ๆ ที่รัฐบาลนี้จะมอบให้ พี่น้องประชาชน ผมขอขอบคุณทางรัฐบาลนะครับ ๕๐ ล้านไร่ให้เป็นของขวัญปีใหม่ให้พี่น้อง ประชาชนให้ได้ กราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านสมาชิกผู้อภิปรายท่านสุดท้ายก่อนที่จะมีการสรุปญัตติ เชิญท่านอลงกต มณีกาศ ครับ
นายอลงกต มณีกาศ นครพนม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายแพทย์อลงกต มณีกาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต ๓ พรรคภูมิใจไทย ท่านประธานครับ ที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่มีการครอบครองโดยราษฎร เป็นที่อยู่อาศัย หรือว่าใช้ทำประโยชน์ในการทำมาหากิน ในจังหวัดนครพนมมีปัญหานี้ ทุกอำเภอ ไม่ว่าจะเป็นที่หัวไร่ปลายนา หรือไม่ว่าจะเป็นที่ดินที่ตกหล่นจากการสำรวจ หรือการรังวัดของทางกรมที่ดิน หรือว่าที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยที่ทับซ้อนกับพื้นที่ป่า ในเขต เลือกตั้งของผมเองก็มีปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของเขตทับซ้อนป่า ไม่ว่าจะเป็น ป่าดงหมู หรือว่าป่าดงคัดเค้า ซึ่งพื้นที่ที่มีปัญหาครอบคลุมอยู่ที่ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม ตำบลอุ่มเม่า อำเภอธาตุพนม แล้วก็ตำบลนาหนาด อำเภอธาตุพนม เพราะฉะนั้นวันนี้ได้รับเรื่องร้องทุกข์จากราษฎร ๓ ตำบลนี้เป็นอย่างมากในเรื่องของที่ดิน ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ เฉพาะตำบลนาหนาดตำบลเดียวมีที่ดินกว่า ๑๐๐ แปลง ที่ยังไม่มี เอกสารสิทธิ ตำบลอุ่มเม่ารวมกับตำบลน้ำก่ำ น่าจะไม่ต่ำกว่า ๕๐๐-๖๐๐ แปลง ที่ยังไม่มี เอกสารสิทธิ เพราะฉะนั้นวันนี้ผมจึงขออภิปรายสนับสนุนในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินที่ราษฎรอยู่อาศัยมานาน แล้วก็ทำกินอยู่ตลอดแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ ในส่วนของที่ดินว่างเปล่าที่รอการรังวัด รอการออกโฉนดจากกรมที่ดิน อันนี้ก็เป็นปัญหา ที่ได้รับการร้องทุกข์จากราษฎรเช่นกันว่ามันล่าช้า ไม่แน่ใจว่าล่าช้ามันเกิดจากเรื่องของ งบประมาณ หรือเกิดจากเรื่องของเจ้าหน้าที่หรือบุคลากร หรือว่าเรื่องของการรับรองสิทธิ จนทำให้ชาวบ้านเคลือบแคลงสงสัยว่ามีผลประโยชน์อะไรบางอย่างหรือเปล่าทำให้การออก โฉนดล่าช้า เมื่อสักครู่ฟังจากการอภิปรายหลาย ๆ ท่านที่ผ่านมาก็ทราบว่ารัฐบาลชุดนี้ จะมอบเอกสารสิทธิ ๕๐ ล้านไร่ใช่ไหมครับ ซึ่งถ้าเป็นไปได้อยากจะเป็นโฉนดทั้งหมด
นายอลงกต มณีกาศ นครพนม ต้นฉบับ
โครงการ ณ เวลานี้ที่เกิดขึ้นทั้งประเทศ เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ ก็คือโครงการ คทช. โครงการจัดที่ดินทำกินให้กับชุมชน ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดทั้งประเทศ ๓๙ ล้านไร่ ที่จังหวัดนครพนมเองมีพื้นที่ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ กว่าไร่ ครอบคลุม ๑๒ ป่าสงวนแห่งชาติ ๒ อุทยานแห่งชาติ ในพื้นที่ ๑๐ อำเภอ โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่มีการดำเนินงาน ทั่วทั้งประเทศ เป็นปัญหาที่ดินทำกินที่ทับซ้อนกับพื้นที่ป่า เป็นปัญหามาทุกยุคทุกสมัย โดยโครงการนี้ก็จะทำให้ประชาชนมีกรรมสิทธิ์ในการอยู่ ในการทำมาหากินได้อย่างมั่นคง เพียงแต่เงื่อนไขก็คือว่าไม่ให้ซื้อขายโดยการออกสมุดคู่มือในการรับรองว่าสามารถเข้าอยู่ เข้ากินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แล้วก็สามารถเป็นมรดกให้กับลูกหลานได้ ซึ่งถ้าไม่มี เอกสารสิทธิเหล่านี้ ความมั่นคงในชีวิตของพี่น้องประชาชนเหล่านี้ก็จะลดน้อยลงไป นอกจากนั้นแล้วชาวบ้านที่ไม่มีเอกสารสิทธิก็ยังขาดโอกาสหลาย ๆ อย่างในการเข้าถึง โครงการพัฒนาต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งโครงการ คทช. นี้จำเป็นต้องบูรณาการกัน หลายภาคส่วน นอกเหนือจากการออกเอกสารสิทธิแล้วยังต้องดูในเรื่องของที่อยู่อาศัย เรื่องของบ้าน อาจจะต้องคาบเกี่ยวกับ พอช. คาบเกี่ยวกับหลาย ๆ กรม คาบเกี่ยวกับ หลาย ๆ กระทรวง ขณะเดียวกันในเรื่องของที่ทำมาหากินก็ต้องดูแลพี่น้องประชาชนเหล่านี้ กลุ่มนี้ด้วย ในเรื่องของถนนหนทาง ในเรื่องของระบบน้ำประปา น้ำดื่ม น้ำบริโภค ตลอดจน น้ำที่ใช้ในการเกษตร ผมตั้งข้อสังเกตนะครับว่าโครงการ คทช. เป็นโครงการที่ดีโครงการหนึ่ง แต่ที่ดีกว่านั้นชาวบ้านเขาอยากจะได้เป็นโฉนดครับท่านประธาน
นายอลงกต มณีกาศ นครพนม ต้นฉบับ
ในส่วนของจังหวัดนครพนมเอง คทช. เริ่มระยะแรกผ่านไปเรียบร้อยด้วยดี ตอนนี้เข้าสู่ระยะที่ ๒ หรือ Phase 2 มีปัญหาอยู่บ้านหนึ่งชื่อว่า บ้านชาติพัฒนาชาติไทย หมู่ที่ ๗ ตำบลอุ่มเม่า อำเภอธาตุพนม บ้านนี้เจ้าหน้าที่ คทช. ไปเชิญไปชวนให้พี่น้อง ประชาชนในหมู่บ้านนั้นเข้าโครงการนี้ แต่ว่าพี่น้องทั้งหมู่บ้านปฏิเสธ โครงการ คทช. นี้ เหตุผลอย่างนี้ครับ หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านพิเศษ ชาวบ้านในตำบลอุมเม่า อำเภอธาตุพนม จะเรียกว่าบ้านชาติ บ้านชาติจะเป็นบ้านที่ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเข้ามาอยู่แบบมีเงื่อนไข นั่นก็คือว่าตามนโยบาย ๖๖/๒๓ ตอนนั้นมีมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ซึ่งจัดสรรให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเป็นที่ดินครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๑๕ ไร่ เอาไว้ เป็นที่ทำกิน อีก ๒ งาน เอาไว้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งในปี ๒๕๒๗ ตอนนั้นมาครั้งแรกสุด ๗๒ ครัวเรือน หนึ่งในนั้นก็มีสหายส้ม ซึ่งถ้าอยู่ในป่านั้นก็ถือว่าเทียบเท่ากับตำแหน่งของ ผู้ว่าราชการจังหวัด ก็กลับมาอยู่ที่บ้านชาตินี้ แล้วก็มีสหายภูสิทธิ์ ซึ่งตอนหลังก็ได้เป็นกำนัน ตำบลอุ่มเม่าตำบลนี้ กำนันจิระ โคตรแสง แล้วก็มีสหายไพรัช หรือคุณลุงเข็มพร เชื้อตาหมื่น ซึ่งก็ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในพื้นที่ปฏิบัติการตรงนั้น ทั้ง ๗๒ ครอบครัวได้รับคำมั่นสัญญาจากกองทัพภาคที่ ๒ และส่วนราชการในช่วงนั้นว่า จะออกโฉนดให้ แต่ตอนนี้ ๔๐ ปีแล้วกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเหล่านั้นยังทวงสัญญาคืนกับ รัฐบาลที่ผ่านมาอยู่ จึงฝากเรียนไปยังรัฐบาลชุดปัจจุบันว่าผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยกลุ่มนี้ ต้องการมากกว่าเอกสารสิทธิธรรมดา เนื่องจากว่าเป็นเงื่อนไขในการที่วางอาวุธเข้ามา ตามนโยบาย ๖๖/๒๓ ต้องกราบขอบพระคุณท่านประธานที่ให้โอกาสผมได้อภิปรายวันนี้ ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ก็ถือว่าผู้อภิปรายหมดแล้วนะครับ จากนี้ไปตามข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ผู้ที่เสนอญัตติมีสิทธิที่จะ สรุปได้อีก ๑ ครั้ง ก็มีท่านผู้เสนอญัตติขอสรุปมา ๔ ท่าน ท่านแรก ท่านทรงยศ รามสูต เชิญครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขอสรุปในส่วนของญัตติของผมในการขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามประมวล กฎหมายที่ดิน ปี ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๒) ซึ่งได้ทราบจากทาง Whip ว่าเรื่องนี้จะส่งให้รัฐบาล ไปดำเนินการแก้ไข เพราะฉะนั้นก็หวังว่าเมื่อรัฐบาลรับไปแล้วก็จะนำข้อที่เพื่อนสมาชิก ได้เสนอแนะนำไปพิจารณาแก้ไขเพื่อช่วยเหลือประชาชนต่อไป แต่ผมก็เข้าใจนะครับว่า หลายเรื่องอาจจะต้องใช้ระยะเวลาบ้าง แต่เรื่องของผมเป็นเรื่องของกฎกระทรวง กระทรวงเดียว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หวังว่าท่านจะพิจารณาแก้ไขกฎกระทรวงนี้ ถ้าท่านยกเลิกในเรื่องกฎกระทรวง ข้อ ๑๔ (๒) พี่น้องประชาชนที่เสียสิทธิจากการที่ภาครัฐ ไปออกโฉนดในตำบลที่ผ่านมาที่เขาไม่ได้จะได้มีโอกาส แล้วก็โครงการต่อไปที่รัฐจะไป ออกโฉนดเขาก็จะได้อานิสงส์ในตอนนี้ ก็หวังว่าท่านรัฐมนตรีจะเมตตาสงสารนะครับ แล้วก็ ขอฝากท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีด้วยว่าถ้าสัก ๖ เดือนผ่านไปท่านยังไม่ได้แก้ไขในส่วน ของกฎกระทรวงข้อ ๑๔ (๒) ขออนุญาตที่จะเรียนถามกระทู้ถามท่านว่าทำไมท่านถึงไม่ได้ แก้ไข แล้วก็ทำไมในที่ราบ ๔๐ เมตร ติดตีนเขา ที่เขา ที่ภูเขา ถึงไม่สามารถออกโฉนดได้ แต่ถ้าท่านยกเลิก หรือว่าปรับจาก ๔๐ เมตร ให้หลือ ๑-๒ เมตร ก็ถือว่าเป็นอานิสงส์ เป็นผลงานของท่านที่ว่าท่านรับฟังปัญหาของพี่น้องภาคประชาชนในสภา และแก้ไขในทันที ก็หวังว่าทางรัฐบาลผ่านท่านประธานสภาจะช่วยเหลือพ่อแม่พี่น้อง แล้วก็ขอขอบพระคุณ แทนพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศล่วงหน้าที่รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านเทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้เสนอญัตติ เชิญสรุปครับ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เทอดชาติ ชัยพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๕ พรรคเพื่อไทย ก่อนที่จะสรุปขออนุญาตเพิ่มเติมนิดหนึ่ง ที่เชียงราย เขต ๕ พื้นที่ภูชี้ฟ้า ตำบลตับเต่า อำเภอเทิงนั้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทุกคนต่างรู้จัก ที่นั่นเป็นที่อยู่ของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย มาอย่างยาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ ตอนนี้แหล่งท่องเที่ยวสำคัญตรงนี้จะกลายเป็น อุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า ซึ่งหากเป็นอย่างนี้ก็จะเกิดความทับซ้อนที่อยู่ของพี่น้องประชาชน ชาวตับเต่า จึงขอให้ทบทวนยกเลิกเพื่อให้ประชาชนได้มีเอกสารสิทธิที่ทำกินในพื้นที่ ของตนเอง แล้วจะได้ไม่เกิดปัญหาในอนาคตต่อไปครับ ต้องขอบคุณสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน และขอบคุณสภาแห่งนี้ที่เปิดโอกาสให้ได้นำเสนอ เรื่องของ ส.ป.ก. และเรื่องของปัญหาที่ดินทับซ้อนในป่าสงวนแห่งชาติ ทุกคนนั้นได้เสนอ ความเห็นอย่างหลากหลาย และที่สำคัญสร้างสรรค์ครับ ไม่กล่าวโทษ ไม่หาแพะ แต่กำลัง มุ่งไปข้างหน้าที่จะแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง ที่ดิน ส.ป.ก. ที่ทับซ้อน ในป่าสงวนแห่งชาตินั้น ไม่ใช่ทฤษฎีไก่เกิดก่อนไข่หรือไข่เกิดก่อนไก่ แต่เป็นเรื่องที่คนสร้างขึ้น กฎหมายสร้างขึ้น เป็นเรื่องที่คนต้องสามารถแก้ไขได้ ประชาชนต้องมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน และมีต้นทุนสินทรัพย์ในการทำมาหากินเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าเทียมเช่นเดียวกัน กฎหมายเป็นเรื่องที่คนสร้างขึ้น ฉะนั้นทุกคนก็สามารถที่จะแก้ไขได้ พวกเราต้องสามารถ ที่จะปรับแก้กฎหมายนี้ได้ เพื่อให้ผู้มีสิทธิในที่ดิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สุขร่วมกัน หวังว่าเรื่องราวเหล่านี้ที่ผ่านมาหลาย ๆ สมัย หลาย ๆ ยุค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติทุกท่านก็ได้อภิปรายไปแล้ว หวังว่าเรื่องทั้งหมดนั้น จะได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนจากรัฐบาลของประชาชน ขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านผู้เสนอญัตติ ท่านเทียบจุฑา ขาวขำ เชิญสรุปครับ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางเทียบจุฑา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ดิฉันต้องขอขอบคุณเพื่อน ๆ สมาชิกทุก ๆ ท่านที่ได้อภิปรายสนับสนุนญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาการไม่มีที่ดินทำกิน และลด ความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินอย่างยั่งยืน จากที่ท่านสมาชิกหลาย ๆ ท่านได้ร่วมกัน แสดงความคิดเห็น อภิปรายถึงปัญหาที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ถึงการจัดสรรทรัพยากรที่ดินของพี่น้องประชาชนมีมากมาย ดิฉันว่าทั่วทั้งประเทศก็ได้นะคะ เรื่องปัญหาของที่ดินที่ทำกินที่ไม่ได้รับเอกสารสิทธินั้น จะเห็นได้จากที่เพื่อนสมาชิก ได้อภิปรายให้ความเห็น ให้เหตุผล ชี้ให้เห็นว่าเรื่องปัญหาที่ดินเป็นปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ก็ว่าได้ ดิฉันคิดว่าอันนี้เป็นปัญหาใหญ่ ดิฉันขอยกตัวอย่างในพื้นที่ของดิฉันนะคะ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
เช่น อำเภอน้ำโสม และอำเภอนายูง พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. จะเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. เป็นพื้นที่ น.ส.ล. เป็นพื้นที่ป่าสงวน เสียส่วนใหญ่ เช่นบ้านคีรีวงกต ทั้งหมู่บ้านนั้นเลยเป็นพื้นที่ป่าสงวน ตอนนี้ก็เป็นสถานที่ แหล่งท่องเที่ยว คนส่วนใหญ่ก็จะไปเที่ยวบนภูเขาเพื่อเป็นแหล่งรรมชาติ มีต้นไม้เยอะ และยังมีอีก อำเภอบ้านผือ อย่างอำเภอบ้านผือก็มีพื้นที่ป่าสงวน ป่าสงวนของอำเภอบ้านผือ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เรียกว่าป่าสงวนเขือน้ำ กำหนดขึ้นจากกฎกระทรวง บังคับใช้ตั้งแต่ ปี ๒๕๑๘ ปัจจุบันนี้ก็ยังบังคับใช้อยู่ ดังนั้นพี่น้องในเขตอำเภอบ้านผือตอนนี้หนักใจค่ะ แล้วก็มาเจอดิฉันไปพบปะกับพี่น้องประชาชน เขาก็จะถามว่าเมื่อไรจะได้เอกสารสิทธิ ไม่ว่าจะเป็น บ้านติ้ว บ้านผือ บ้านจำปาโมง ท้องที่ ทั้งนั้นเลยอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. ในพื้นที่ป่าสงวน ดังนั้นดิฉันจึงขอนำเสนอท่านประธานผ่านไป ยังรัฐบาล
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ข้อ ๑ ก็ขอให้เร่งรัดการพิสูจน์สิทธิที่ดินเพื่อให้ได้มาซึ่งโฉนดที่ดินอย่างถูกต้อง และเป็นธรรม เช่น ที่ดิน ส.ป.ก. ที่ดินเขตป่าสงวน ที่ดิน น.ส. ๓ ขอให้สำรวจตรวจสอบ แนวเขตให้ชัดเจน แล้วก็ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตรงตาม สภาพความเป็นจริง
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ข้อ ๒ ขอให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินเพื่อให้พี่น้องประชาชนที่อยู่อาศัย ๕๐ ล้านไร่ อย่างเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาล
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ข้อ ๓ ที่ดินที่ได้รับการออกโฉนดนั้นจะต้องส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ยืนต้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นการสร้างอากาศสะอาด แล้วก็เป็นการสร้างรายได้ให้กับพี่น้อง ประชาชน
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ข้อ ๔ ขอให้หน่วยงานของรัฐยุติความขัดแย้ง ยุติการฟ้องดำเนินคดี กับพี่น้องประชาชนคนที่ยากจนโดยทันที
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ข้อ ๕ ขอให้รัฐพิจารณานำที่ดินของรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาจัดสรรให้กับ พี่น้องประชาชนเข้าทำประโยชน์โดยแก้ไขข้อกฎหมาย อันไหนที่เป็นปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินการก็ขอให้แก้ไข แล้วก็สนับสนุนงบประมาณในการรังวัดด้วย
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ข้อ ๖ ก็ขอเสนอให้แก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยข้อห้ามการออกโฉนดที่ดิน บนภูเขา เชิงเขา เพื่อให้ความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ข้อ ๗ ขอให้แก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗๔๕ ที่กำหนดเขตป่าสงวน คือป่าเขือน้ำ เพื่อให้พี่น้องประชาชนที่อาศัยมาก่อนมีสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ทำกิน ป่าเขือน้ำมีเนื้อที่ ๑๖๐,๐๐๐ ไร่ ก็ขอเสนอให้แก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗๔๕ ดิฉันหวังว่า ในการประชุมสภาครั้งนี้คงจะได้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนจะได้มีที่ดินที่ทำกิน และมีเอกสารสิทธิเป็นของตัวเองและยังสามารถเอาเอกสารสิทธินี้เข้าสู่แหล่งเงินทุนเพื่อเป็น การพัฒนาคุณภาพชีวิตกับพี่น้องประชาชนให้ดีขึ้นค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านผู้เสนอญัตติท่านสุดท้ายที่จะสรุปนะครับ ท่านเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล เชิญครับ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนเครือข่ายชาติพันธุ์ ท่านประธานครับ จากการอภิปรายตลอดระยะ เวลาร่วม ๔ ชั่วโมงที่ผ่านมา ทำให้เห็นได้ว่าปัญหาการไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินเป็นปัญหา สำคัญแล้วก็เป็นปัญหาที่ใหญ่ ผู้ได้รับผลกระทบกระจายไปทั่วสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง กลุ่มคนพื้นราบ คนในเมือง คนที่อยู่ตามเกาะ ตามชายทะเล ทุกคนเจอปัญหาร่วมกันในลักษณะเดียวกันหมด ท่านประธานครับ เหตุผลแรกเริ่ม ในการห้ามมิให้มีการออกเอกสารสิทธิให้แก่ที่ดินที่อยู่บนเขา เหตุผลจริง ๆ ตามหลักฐาน ที่ปรากฏก็คือเพื่อหวงกันพื้นที่ไว้สำหรับการสัมปทานป่า ในช่วงยุคสมัยก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ ในยุคสมัยนั้นอาจจะเป็นแบบนั้นจริง เพราะว่าเศรษฐกิจ สังคมมันไปแบบนั้น แต่ว่า ๕๖-๖๐ ปีผ่านไป เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว จากแนวคิด ที่ผู้นำรัฐบาลในสมัยนั้นพยายามที่จะหวงกันพื้นที่ป่าไว้สำหรับการสัมปทาน นำมาสู่ การพยายามทำให้สังคมเชื่อว่า การที่คนถือครองที่ดินโดยไม่มีเอกสารสิทธิในเวลาต่อมานั้นเป็นการบุกรุกป่า ซึ่งเป็น การเหมารวมที่ไม่ถูก แต่การเหมารวมแบบนี้มันไม่ใช่แค่การพูดเสร็จแล้วก็จบ มันสะท้อนไป ที่ตัวกฎหมายและนโยบายสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ด้วย คนในยุคสมัยนี้ก็เลยต้องรับเอา ผลกรรมจากการประกาศใช้กฎหมายและนโยบายในสมัยอดีต ท่านประธานครับ เราต้อง ยอมรับความจริงว่ายุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว กฎหมายและนโยบายมันจำเป็นต้องเปลี่ยน ไปด้วย การสัมปทานป่าในยุคสมัยนี้เป็นไปไม่ได้อีกแล้ว เศรษฐกิจที่เกิดจากป่าไม้เปลี่ยนไป จากการสัมปทานป่าเป็นการปลูกป่า การให้สัมปทานเหมืองแร่เป็นเศรษฐกิจหรือว่า เป็นการใช้ทรัพยากรที่ไม่เป็นที่นิยมในยุคสมัยใหม่แล้ว การไม่มีเอกสารสิทธิไม่ได้กระทบแค่ ตัวบุคคล แต่กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย เราต้องยอมรับความจริงว่า พืชเศรษฐกิจหลายอย่างปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ถ้าเราทำให้พื้นที่เหล่านั้น มีเอกสารสิทธิก็จะสามารถพัฒนาการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้อีกหลาย ๆ อย่าง การแก้ไขปัญหาเหล่านี้จะสามารถนำไปแก้ไขปัญหาให้แก่คนได้ไม่น้อยกว่า ๕ ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่ไม่ต่ำกว่า ๑๗ ล้านไร่ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก็จะสามารถพัฒนาได้ จากพื้นที่เหล่านี้ คนยุคใหม่ที่จะใช้ที่ดินในยุคสมัยใหม่อาจจะไม่ใช่ทำการเกษตรอย่างเดียว เหมือนอย่างที่ผ่านมา บางคนอาจจะไปทำ Resort ทำ Homestay ทำ Farm stay สร้างโรงงานขนาดเล็ก หรือว่าไปทำอะไรก็แล้วแต่ แต่คนรุ่นใหม่จะทำอะไรไม่ได้เลยถ้าหาก ที่ดินที่เขาอยู่ไม่มีเอกสารสิทธิ เพราะฉะนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ที่ดิน ของประชาชนมีเอกสารสิทธิกันอย่างถ้วนหน้า ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ทั้งผู้อภิปราย ทั้งสรุป เรียบร้อยหมดแล้วครับ เนื่องจากว่าญัตติตามระเบียบ วาระที่ ๕.๑ นี้ และญัตติทำนองเดียวกันทั้งหมด มีผู้เสนอได้เสนอมาเพื่อขอให้ตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา แล้วก็ขอให้ส่งเรื่องไปยังรัฐบาลเพื่อพิจารณา ดำเนินการ แต่จากการอภิปรายของท่านสมาชิกมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือให้ส่ง ญัตติเรื่องนี้ไปให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการ ดังนั้นผมขอถามผู้เสนอญัตติที่ขอให้ตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาว่าท่านจะคัดค้านหรือขัดข้องประการใดหรือไม่ที่จะส่งไป ให้ทางรัฐบาลพิจารณา ท่านผู้เสนอญัตติ ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านหรือขัดข้อง ผมก็จะขออาศัย อำนาจตามข้อบังคับ ข้อ ๘๘ ในการถามมติว่าจะให้ส่งญัตติตามระเบียบวาระที่ ๕.๑ และเสนอญัตติทำนองเดียวกันทั้งหมดไปให้รัฐบาลพิจารณาเพื่อดำเนินการ จะมีสมาชิก ท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มี ถือว่าที่ประชุมลงมติเห็นชอบให้ส่งญัตติเรื่องนี้ ไปให้รัฐบาลเพื่อพิจารณาดำเนินการ ท่านสมาชิกครับ เราประชุมกันมาพอสมควรแล้ว ขอปิดประชุมครับ