กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย วันนี้กระผมขอหารือต่อท่านประธานสภาเกี่ยวกับปัญหาเรื่องน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดระนอง ทั้งหมด จากพายุโซนร้อนตาลิมทำให้ฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา และตกจนถึงวันนี้ ทำให้จังหวัดระนองได้รับผลกระทบทั้งหมด ๕ อำเภอ เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ตลอดจนมีดิน Slide และลมกรรโชกแรง จนทำให้เกิด ความเสียหายต่อทรัพย์สินครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และบ้านเรือนพี่น้อง ประชาชน ทั้งพื้นที่การเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และสิ่งสาธารณประโยชน์ สาธารณูปโภคต่าง ๆ ยกตัวอย่างจังหวัดระนองในพื้นที่เมืองระนอง บ่อน้ำร้อนรักษะวารินซึ่งเป็น Landmark ของจังหวัดระนองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ในเบื้องต้นผมต้องขอกราบขอบคุณท่านผู้ว่า ราชการจังหวัดระนอง ท่านศักระ กปิลกาญจน์ ต้องขออนุญาตเอ่ยนามท่าน พร้อมด้วย ท่านนายกเหล่ากาชาด จังหวัดระนอง ได้ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพพระราชทานมูลนิธิ ราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้แก่ผู้ประสบภัยในเบื้องต้น และทั้งนี้ ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องประชาชน และยังมี กองพันทหารราบที่ ๒ กองพันทหารราบที่ ๒๕ หน่วยเฉพาะกิจ กองทหารราบที่ ๒๕ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตลอดจนท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ผู้นำจากผู้บริหารเทศบาลเมืองระนอง เทศบาลเมืองบางริ้น เทศบาลตำบลบางนอน องค์การบริหารส่วนตำบลหาดส้มแป้น เทศบาลตำบล จ.ป.ร. ตลอดจน อบต. ปากจั่น และตลอดจนท่านสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนองทุก ๆ เขต และ ศอ.บต. ทุก ๆ ท้องถิ่น และทีมงานผู้ช่วย ตลอดจนชาวบ้านได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือในเบื้องต้นก่อน แต่ถึงอย่างไรวันนี้น้ำก็ยังมีการท่วมขัง และตลอดจนน้ำจะลดแล้วก็ตาม แต่วันนี้ยังไม่ได้รับ ความช่วยเหลือในเรื่องเกี่ยวกับการเข้าไปสำรวจความเสียหาย และการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง จึงขอฝากท่านประธานสภาไปถึงท่านนายกรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งดำเนินการเข้าไปช่วยเหลือเยียวยา สมัยที่ผมผ่านมาที่แล้ว ผมเคยหารือต่อท่าน ประธานสภาเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมที่จังหวัดระนอง ในพื้นที่เทศบาลตำบลน้ำจืด ตำบล ลำเลียง และท่านนายกรัฐมนตรีท่านก็เคยลงพื้นที่ในวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา กระผมจึงขอฝากท่านประธานไปถึงท่านนายกรัฐมนตรีให้เร่งติดตามและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินการจัดสรรงบประมาณและโครงการต่าง ๆ ที่จะแก้ไขให้กับ พี่น้องประชาชน ในเรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมในระยะยาวให้กับพี่น้องประชาชนจังหวัดระนอง ต่อไป ขอกราบขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย ก่อนอื่นต้องขออนุญาตกราบขอบพระคุณทางสภาพัฒน์ หรือสำนักงานสภาพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วันนี้ทางท่านเลขานุการซึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ชุดนี้การปฏิรูปนะครับ ก็เป็นฉบับหนังสือที่ค่อนข้างมีความซับซ้อนอยู่หลาย ๆ ประการ
ผมขออนุญาตไปที่ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่มีการกำหนดให้มีการขจัดอุปสรรค และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างยั่งยืน ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ ๒ ได้รับ ความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดระนอง สิ่งที่สำคัญที่สุดสมัยที่ผมดำรงตำแหน่ง เป็นผู้บริหารท้องถิ่น มีคณะของ ครม. สัญจรชุมพรและระนอง ลงไปเมื่อวันที่ ๒๐-๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ ไปดูเกี่ยวกับท่าเทียบเรือของฝั่งจังหวัดระนองหรืออันดามัน ซึ่งเป็น ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ ท่านประธานครับ ท่าเทียบเรือนี้ได้ก่อสร้างมาอย่างยาวนาน แต่ก็ยังไม่มีการปฏิรูป ยังไม่มีการก่อสร้างให้มีผลประโยชน์กับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดระนอง อย่างมากก็ได้แค่เฉพาะการเข้ามาขนส่งสินค้าในระดับกลาง ท่านประธานที่เคารพครับ หลังจากนั้นได้มีรัฐบาลยุคของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยกระทรวงคมนาคม ท่านศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งท่านได้เล็งเห็นถึงความตั้งใจ ถึงแนวทางว่าวันนี้ในด้านเศรษฐกิจที่จะพัฒนาในเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีความเจริญและมีความทัดเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบ Logistics ก็มีโครงการ ที่เกิดขึ้นนั่นคือโครงการ Landbridge เป็นการก่อสร้างท่าเทียบเรือ ๒ ฝั่งอันดามัน และอ่าวไทย ซึ่งใช้ระยะการก่อสร้างทางประมาณ ๘๙.๓๕ กิโลเมตร ประกอบด้วยทางหลวง พิเศษระหว่างเมืองหรือ Motorway ทางรถไฟ ระบบการขนส่งทางท่อและถนนบริการ เป็นทางระดับพื้น ทางยกระดับ และอุโมงค์ในช่วงพื้นที่ของภูเขาครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ วันนี้คงต้องฝากไปถึงสภาพัฒน์ ผมทราบดีว่า ท่านทำเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจของ EEC อยู่ และวันนี้ในเรื่องเกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของทางภาคใต้นั่นคือ SEC กลุ่มจังหวัดของภาคใต้ทั้งหมด จะได้ประโยชน์จากด้านเศรษฐกิจด้านนี้ ท่านประธานที่เคารพครับ ในสิ่งหนึ่งนะครับ ที่ผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่าจะมีแนวทางของ Landbridge ที่การก่อสร้าง ทำออกมาแล้ว ผลประโยชน์ที่จะได้รับกลับมาประกอบด้วยการพัฒนาท่าเทียบเรือน้ำลึก ๒ แห่งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ๒. การเชื่อมต่อทางเรือทั้ง ๒ แห่ง โดย Motorway รถไฟและท่อส่งน้ำมันที่ผมนำเรียนเมื่อสักครู่นี้ ๓. การพัฒนาพื้นที่ ความได้เปรียบของ เชิงยุทธศาสตร์ในครั้งนี้นะครับ จากตำแหน่งภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ประเทศไทย เป็นจุดศูนย์กลางของ ASEAN เป็นประตูการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศ ในภูมิภาค ASEAN รวมถึงตอนใต้ และช่องทางในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างทวีปต่าง ๆ ของโลกด้วย ความได้เปรียบในเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ในส่วนนี้ได้เปรียบในเรื่องของตำแหน่ง ที่ตั้งของโครงการด้วย ช่วยลดระยะทางและลดเวลาการขนส่ง เดิมทำให้ประหยัดต้นทุน การขนส่ง ๓. ตรงนี้ก็มีการได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์การขนส่งสินค้าของน้ำมันและในภูมิภาค ต่าง ๆ ข้อมูลของการขนส่งสินค้าและน้ำมัน พบว่าปริมาณของเรือที่ขนส่งตู้สินค้า และเรือที่ขนส่งน้ำมันนี้ในปัจจุบันต้องผ่านช่องแคบมะละกา มีประมาณ ๘๕,๐๐๐ ลำต่อปี ในขณะที่ช่องแคบมะละกาสามารถรองรับได้ ๑๑๒,๐๐๐ ลำต่อปี โดยอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ปริมาณเรือทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น ๑๒๘,๐๐๐ ลำต่อปี ท่านประธานที่เคารพครับ ถ้าในส่วนนี้ มีการก่อสร้างและประสบความสำเร็จในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มี Landbridge เกิดขึ้นทั้ง ๒ ฝั่ง ฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ย่นระยะทางได้ถึง ๔ วันเต็ม ๆ ท่านรัฐมนตรี ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ท่านได้ตั้งงบประมาณในการศึกษา รับฟังความคิดเห็น วันนี้มี สนข. ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นพี่น้องประชาชนทั้งจังหวัดระนองและจังหวัดชุมพร วันที่ ๑๖ วันที่ ๑๗ วันที่ ๑๘ พรุ่งนี้วันที่ ๑๘ ที่จังหวัดชุมพร ท่านประธานที่เคารพครับ นี่คืออีกหนึ่ง ที่ทางท่านหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยของผม ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ท่านก็ได้ทำนโยบายนี้นั่นคือ นโยบายของ Landbridge ที่ท่านได้ลงไปหาเสียงในภาคใต้ไว้ว่าวันนี้เศรษฐกิจที่จะเติบโตได้ ระหว่างประเทศจะต้องให้มีการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ นั่นคือการก่อสร้าง Landbridge ให้เกิดขึ้นให้กับพี่น้องประชาชน เพื่อที่จะทำให้ ๒ ฝั่งอันดามันหรือฝั่งอ่าวไทยนี้สามารถ สร้างเศรษฐกิจให้กับพี่น้องประชาชนได้ ก็คงฝากท่านประธานไปถึงทางสภาพัฒน์นะครับ อยากให้นำเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานหรือระบบการขนส่งทั้ง ๒ ฝั่ง อันดามัน และฝั่งอ่าวไทยนี้ช่วยพิจารณาให้ต่อยอดเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศในด้านเศรษฐกิจต่อไป ขอกราบขอบคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย กระผมต้องขอกราบขอบพระคุณทางคณะกรรมการและผู้ชี้แจงจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล ทุก ๆ ท่าน ท่านประธานที่เคารพครับ น้ำบาดาลเป็นทรัพยากรที่มีความจำเป็นและเป็นแหล่งน้ำ ทางเลือกที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและการดำรงชีพของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องเกี่ยวกับเกษตรกรรม แล้วก็น้ำที่จะใช้ในชุมชนต่าง ๆ ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบ น้ำบาดาลมากว่า ๔๐ กว่าปีแล้ว อดีตที่ผ่านมาการใช้น้ำบาดาลนี้มีปริมาณมาก แล้วก็มีการใช้ ในเรื่องของเกษตรกรรมมีอย่างจำกัด และตอนนี้มีไม่เพียงพอกับเกษตรกรรมแล้วก็กับพี่น้อง ประชาชนทั้งประเทศ จนปี ๒๕๔๖ นี้ผมทราบมาว่ามีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นในกรมทรัพยากร น้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐ หรือโดยย่อว่า กพน. มีวัตถุประสงค์ ก็เพื่อเป็นทุนการใช้จ่ายในการศึกษาวิจัย พัฒนา และอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาลและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้พัฒนาในเรื่องเกี่ยวกับน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาลมีอำนาจหน้าที่ ในการบริหารกองทุนพัฒนาน้ำบาดาลต่าง ๆ ของกองทุน จากรายงานของผู้สอบบัญชี และรายงานกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ที่แสดง รายงานทางการเงินมีสาระสำคัญก็คือ งบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินงาน ทางการเงิน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิและส่วนทุน ท่านประธานที่เคารพครับ ผมมีข้อสังเกตฝากท่านประธานไปถึงทางคณะกรรมการผู้ชี้แจงในส่วนของกองทุนพัฒนา น้ำบาดาลในเรื่องเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุน ซึ่งระบุว่าค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่าย ที่รัฐจ่ายเป็นเงินอุดหนุน หรือเป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่องค์กรหรือบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับ ผลตอบแทนทางการเงิน หรือไม่ได้รับสินค้าและบริการใด ๆ เป็นการแลกเปลี่ยนโดยตรง ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนนี้จ่ายตามกฎหมาย ตามนโยบายของรัฐบาลหรือเพื่อวัตถุประสงค์ ในการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรและช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น กระผมต้องขออนุญาต เอ่ยนามท่าน สส. ธัญธารีย์ สันตพันธุ์ อันนี้ต้องขอกราบขอบคุณด้วยที่ท่านได้ตั้งข้อสังเกต ในเรื่องเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนและบริจาค ทั้งหมด ๙๗ โครงการ ในปี ๒๕๖๓ ซึ่งมีเงินทั้งสิ้น ๒๙๔ กว่าล้านบาท ในปี ๒๕๖๔ มีเงินอุดหนุนสูงถึง ๕๙๕ กว่าล้านบาท ซึ่งมีความแตกต่างกันมากทั้ง ๒ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนใหญ่เป็นการศึกษาโครงการสำรวจ พัฒนา และอบรมตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ภาคใต้มีอยู่ ๔ โครงการ ๒ ปี ยกตัวอย่าง โครงการที่ ๗ สำรวจเขตอุทยานอุทกธรณีวิทยาน้ำบาดาล ศึกษาแหล่งน้ำบาดาลที่จังหวัด สงขลาและน้ำพุร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โครงการที่ ๓๒ อบรมแนวทางบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำบาดาลของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพังงา โครงการที่ ๗๐ สำรวจปริมาณศักยภาพน้ำบาดาลที่จังหวัดภูเก็ต และอีกโครงการ โครงการที่ ๔ โครงการที่ ๘๖ ศึกษาสำรวจและประเมินศักยภาพน้ำบาดาล ที่อำเภอปากพะยูน ที่ตำบลเกาะนางคำ จังหวัดพัทลุง ๔ โครงการที่ภาคใต้ มีทั้งหมด ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ๒ ปี ในงบอุดหนุนและงบบริจาคมี ๔ โครงการ เลยตั้งข้อสังเกตว่า ท่านใช้แนวทางไหนในการที่พิจารณาหรือในการที่จะอุดหนุนให้กับแต่ละจังหวัดอย่างไร ก็ต้องขอขอบคุณทางท่าน สส. ที่ได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้แล้วนะครับ เป็นการตั้งข้อสังเกต ท่านประธานที่เคารพครับ ที่บ้านผมจังหวัดระนองน้ำแล้ง ไม่น่าเชื่อฝนแปดแดดสี่ ไม่มีน้ำเลย เมื่อน้ำแล้งต้องหาน้ำ บางครั้งวิ่งไปขอใช้น้ำจังหวัดชุมพร โดยเฉพาะยิ่งสวนทุเรียน สวนมังคุด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งที่ส่งออกทั่วโลก ที่บ้านในวง อำเภอละอุ่น และน้ำแล้ง ที่ตำบลบางแก้ว แล้วก็ที่ กม. ๓๐ ซึ่งอยู่ในส่วนของเกษตรและชุมชนทั้งสิ้นไม่มีน้ำใช้ จึงขอฝาก ท่านประธานไปถึงผู้ชี้แจง ตั้งข้อสังเกตตรงนี้ว่าท่านใช้หลักเกณฑ์อย่างไรในการที่จะอุดหนุน ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ดี หรือที่จังหวัดอื่น ๆ ก็ดี แต่มีส่วนหนึ่งผมโชคดีพอดี ผมให้ผู้ช่วยและทีมงานได้ไปขอข้อมูลจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทสจ. ของจังหวัด ท่านก็ได้ฝากไปที่สำนักงานเขตจังหวัดตรัง และผมก็ได้ข้อมูลมาว่าจังหวัดระนองโชคดียังมี สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต ๖ จังหวัดตรัง มีการดำเนินการในปี ๒๕๖๕ มีอยู่ ๕ แห่ง ก็มีเกษตรกร ๔ แห่ง ชุมชน ๑ แห่ง ปี ๒๕๖๖ ๓ แห่ง มีเกษตร ๒ แห่ง แล้วก็ชุมชนอีก ๑ แห่ง และสิ่งหนึ่งที่ผมฝากไปที่คณะกรรมการกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล โครงการที่ ๒๒ ที่มีการศึกษาสำรวจและประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ขนาดใหญ่ในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ท่านประธานที่เคารพครับ วันนี้ SEC เรามีการพูดถึงอยู่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ต้องขอฝาก ท่านประธานถึงกองทุนพัฒนาน้ำบาดาลด้วยช่วยพิจารณาที่จะต้องช่วยผลักดันในการศึกษา ลงมาที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดระนอง นั่นคือมีโครงการ Megaproject Landbridge ที่จะเกิดขึ้น วันนี้ระนองยังไม่มีน้ำใช้ ก็คงฝากท่านประธานไปถึงกองทุน พัฒนาน้ำบาดาลด้วยว่าอย่างไรก็ขอให้ความสำคัญกับพี่น้อง ๑๔ จังหวัดภาคใต้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดระนองครับ ขอกราบขอบคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตท่านประธานไปถึงท่านเลขาธิการ EEC ต้องขอชื่นชมท่าน กับการรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของท่านในเล่มนี้ ท่านประธานที่เคารพครับ EEC นี่ก็ถือว่า เป็นเศรษฐกิจพิเศษของภาคตะวันออกที่มันเข้มแข็ง แล้วก็เป็นรากฐานการพัฒนาของประเทศ และสามารถที่จะมีการเจริญเติบโตในด้านเศรษฐกิจได้ แล้วก็มีความเข้มแข็ง นับตั้งแต่การลงทุนในยุค Eastern Seaboard ที่เปลี่ยนโฉมจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็น ระบบอุตสาหกรรมและพัฒนามาสู่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ซึ่งเป็น โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลทางตะวันออก วันนี้แนวโน้มของอุตสาหกรรมในโลกก็มี การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี ประกอบกับว่าวันนี้ EEC ก็ถือว่าได้ทำโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม แต่ก็ยังไม่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ โครงการเขตพัฒนาพิเศษของ EEC นี้ เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ เป็นการยกระดับการพัฒนาประเทศซึ่งผมทราบมาก็มี ๓ จังหวัด มีจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง อีกทั้งยังกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในการส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคตามที่ท่านเลขาธิการ EEC ได้นำเรียนและชี้แจงเมื่อช่วงต้นที่ผ่านมา จุดประสงค์ที่ผมมีความชื่นชมในเรื่องเกี่ยวกับแผน จุดเริ่มต้นแผนพัฒนาของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งผม ทราบมาว่ามีการประชุมครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๖๐ ซึ่งวันนี้ปี ๒๕๖๕ ๕ ปีแล้ว แผนที่นำไปสู่ ความสมบูรณ์แบบและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนที่มีแบบแผนด้วย แผนที่ ๑ แผนปฏิบัติ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แผนที่ ๒ แผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย แผนที่ ๓ แผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยี แผนที่ ๔ พัฒนา การส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่ ๕ ปฏิบัติการเมืองใหม่และชุมชน แผนที่ ๖ พัฒนา ศูนย์การธุรกิจและศูนย์การเงิน แผนที่ ๗ เป็นการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม ในการดำเนินการของภาคประชาชน และแผนที่ ๘ แผนปฏิบัติการการเกษตร ชลประทาน และสิ่งแวดล้อม จากปี ๒๕๖๐ มา ๕ ปี ปี ๒๕๖๕ ในหน้า ๑๕ ย่อลงมาเป็นแผนภาพรวม เพื่อการพัฒนาของ EEC มีทั้งหมด ๖ ด้าน ซึ่งตรงนี้ถือว่าท่านก็ได้ดำเนินการมา ๕ ปี ว่าแผน ๕ ปีที่ผ่านมานี้ได้ทำอะไรมา แล้วก็มีความสอดคล้องกับปี ๒๕๖๐ เพียงใด ในส่วนที่ผมขอชื่นชมทาง EEC เช่นกันก็คือผมได้เห็นในเล่มนี้มีเกี่ยวกับ พ.ร.บ. EEC ที่สำคัญ เมื่อปี ๒๕๖๑ เกิดขึ้น ที่สำคัญเป็นการพัฒนาทักษะบุคลากรตามแนวทางของ EEC Model เป็นเป้าหมายของเยาวชนและประชาชนที่จะทำให้มีรายได้ มีหน้าที่การงาน มีการจ้างงาน และในส่วนของหน้า ๑๔๕ ก็จะเห็นภาพก้าวต่อไปของ EEC ที่จะเป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติต่อไป ผมต้องขอกราบขอบคุณท่าน สส. อนุชา บูรพชัยศรี แล้วก็ขอโทษ ที่ต้องเอ่ยนามท่าน เพราะท่านได้พูดถึง SEC ท่านประธานครับ ผมเป็นหนึ่งใน สส. ของพื้นที่ ภาคใต้ นั่นคือการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้หรือ SEC ซึ่งมีกลุ่มจังหวัดภาคใต้ นั่นคือ จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วก็ ยังมีจังหวัดใกล้เคียงของภาคใต้ทั้งหมด ๑๔ จังหวัด SEC จะต้องเชื่อมต่อกับ EEC เพื่ออะไร เพื่อประโยชน์กับพี่น้องประชาชนในด้านเศรษฐกิจ การขนส่ง ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ตะวันออกเชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เรื่องนี้แนวกรอบของการพัฒนา SEC ประกอบไปด้วย ๑. การพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก ๒. การพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยว อ่าวไทยและอันดามัน ๓. การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตร มูลค่าสูง ๔. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ท่านประธานที่เคารพครับ ท่านรัฐมนตรีศักดิ์สยาม ชิดชอบ รวมถึงท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ท่านรองนายกรัฐมนตรีของผมเพิ่งเดินทางเข้ามาในห้องประชุม ต้องขออนุญาตเอ่ยนามท่าน ท่านเป็นผู้ผลักดันให้มีโครงการ SEC เกิดขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับโครงการ Landbridge ที่เกิดขึ้น ซึ่งวันนี้ สนข. ได้จัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปเมื่อวันที่ ๑๖-๑๘ ที่จังหวัดระนองและจังหวัดชุมพร และอีกไม่นานช่วงกันยายนก็จะลงพื้นที่อีกเพื่อไปรับฟัง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบเส้นทางไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟหรือทางรถยนต์ นี่คือสิ่งหนึ่งที่จะตอบโจทย์ได้ว่าวันนี้ EEC จะต้องเดินคู่ขนานกับ SEC ต่อไป Landbridge จะประสบความสำเร็จขึ้นได้ เพราะว่าจะเป็น Hub ทางเศรษฐกิจและเป็นภูมิภาค ในการขนส่งที่สำคัญของ ASEAN ต่อไป ก็อยากจะฝากทางท่านเลขาธิการนำสิ่งดี ๆ ของท่านที่ได้ทำในเล่มนี้ต่อยอดให้กับพี่น้องประชาชนภาคใต้ของผม ๑๔ จังหวัดด้วย เพราะไม่ได้แค่เฉพาะภาคใต้ ผมมองว่าถึงระดับ ASEAN ด้วยนะครับ ในส่วนนี้ก็ขอฝาก ท่านประธานถึงทาง EEC ผมก็ขอชื่นชมท่าน ในส่วนนี้ก็ให้กำลังใจท่านต่อไปในการทำหน้าที่ เพื่อประเทศชาติ กราบขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย ต้องขอกราบขอบคุณท่านประธานสภามากที่วันนี้ให้พรรคภูมิใจไทยได้ถามกระทู้เป็นครั้งแรก แล้วก็ต้องขอกราบขอบคุณทางกระทรวงคมนาคมที่วันนี้ถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม ท่านสุริยะไม่ได้มา ท่านมนพร เจริญศรี ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้เกียรติมาตอบกระทู้ในครั้งนี้ ต้องขอกราบขอบคุณท่านมากครับ
เรื่องกระทู้ที่ผมอยากจะถามทาง ท่านรัฐมนตรีก่อนคือเป็นเรื่องเกี่ยวกับโครงการ Landbridge ซึ่งผมเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย วันนี้ก็จะขอทำหน้าที่ของพี่น้องชาวจังหวัด ระนองและชาวจังหวัดชุมพร รวมถึงพี่น้องทั้งหมดอีก ๑๒ จังหวัดภาคใต้ และพี่น้องประชาชน ทั้งประเทศ และในนามของ สส. พรรคภูมิใจไทยทั้งหมด ได้ยื่นกระทู้ถามโครงการดี ๆ ที่จะ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยนั่นคือโครงการ Landbridge ครับ โครงการนี้เป็นประตูการค้าฝั่งตะวันออกและตะวันตกเชื่อมฝั่งอันดามัน และฝั่งอ่าวไทย จากจังหวัดระนองไปยังจังหวัดชุมพร เป็นการก่อสร้างท่าเทียบเรือทั้ง ๒ ฝั่ง นั่นคือฝั่งจังหวัดระนองและฝั่งจังหวัดชุมพร ซึ่งมีการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง นั่นคือ Motorway รถไฟทางคู่ รวมถึงการขนส่งทางท่อ และเป็นการก่อสร้างคู่ขนานเดียวกัน ตามแผนบูรณาการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมต่อแนวทางรถไฟทางคู่หรือ MR-MAP ถ้าเกิดโครงการนี้สำเร็จมันจะเป็น Hub ของการขนส่งระหว่างประเทศ ไม่ใช่แค่ประหยัดเวลา เรื่องของการขนส่ง แต่ยังส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมและการผลิต และยังเป็นการเพิ่มโอกาส ของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปอุตสาหกรรมทางอาหาร การเกษตร การประมง อาหารทะเลแช่แข็ง ธุรกิจการขนส่งสินค้า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นอนาคต ของอุตสาหกรรมอัจฉริยะให้กับลูกหลานของเรา วันที่ ๑๑ กันยายน ผมได้มีโอกาส เป็นตัวแทนของพรรคภูมิใจไทยอภิปรายญัตติของคณะรัฐมนตรีที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา นำโดยท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งท่านก็จะพูดเกี่ยวกับทางด้านเศรษฐกิจ ผมได้มีโอกาสให้มีการผลักดันในเรื่องของเศรษฐกิจนั่นคือการผลักดันพัฒนาพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้หรือ SEC เพื่อเชื่อมโยงกับ EEC นั่นคือโครงการ Landbridge ซึ่งท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ขออนุญาตเอ่ยนามท่าน ซึ่งสมัยที่ท่านเป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี และกำกับกระทรวงคมนาคม ท่านก็เคยเสนอโครงการนี้ไว้ และวันที่ ๑๔ กันยายน ผมได้ไป ออก TV ของรัฐสภานั่นคือมองรัฐสภาร่วมกับท่านสมาชิกวุฒิสภา ท่านสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ขออนุญาตต้องเอ่ยนามท่านเหมือนกัน ท่านเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการคมนาคม ทางบกและทางรางของวุฒิสภา ในประเด็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ หลังจากนั้นวันที่ ๑๖ กันยายน ได้มีข่าวว่ากระทรวงคมนาคมจ่อ Break สร้าง Landbridge ไม่เอา Landbridge จนทำให้พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดระนองและจังหวัดชุมพรที่เห็นด้วย กับโครงการนี้ออกมาเคลื่อนไหวแล้วก็ขึ้นป้ายเพื่อสนับสนุนโครงการ Landbridge ต่อไป จึงทำให้พี่น้องประชาชนในจังหวัดระนองและจังหวัดชุมพรสับสนในเรื่องเกี่ยวกับโครงการนี้ หลังจากนั้นวันที่ ๒๐ กันยายน ท่าน สส. สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ท่านเป็นผู้แทนของ สส. พรรคภูมิใจไทย แล้วก็ภาคใต้ ได้ออกมาแถลงข่าวขอให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้พิจารณาทบทวนไตร่ตรองและสานต่อนโยบาย Landbridge ต่อไป หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้น ขออนุญาตเอ่ยนามท่านรัฐมนตรี ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ออกมาชี้แจงและยืนยันว่าไม่ยกเลิกโครงการ Landbridge ผมดีใจแล้วก็เห็นด้วยกับที่ท่านสุริยะได้ออกมาบอกไม่ยกเลิกโครงการ Landbridge และจะเดินหน้าผลักดันโครงการนี้ต่อไป แล้วก็ต้องขอกราบขอบคุณแทนพี่น้องประชาชน ชาวจังหวัดระนองและจังหวัดชุมพรด้วยเช่นกัน ตลอดจนพี่น้องประชาชนทั้งประเทศด้วย ที่เห็นโครงการดี ๆ แบบนี้ จริง ๆ แล้วผมอยากให้ท่านได้มองว่าการผลักดันโครงการนี้อย่าให้ มองว่าเป็นการทำเพื่อพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่ก็อยากให้ตัดเรื่องของอดีตของการเมืองเก่าออก และอยากให้มองถึงประเทศชาติเป็นหลักมากกว่า และอีกประการหนึ่งผมอยากให้มองถึง อนาคตของโครงการนี้เพื่อพัฒนาในด้านเศรษฐกิจต่อไปให้กับลูกหลานเรา และในส่วนนี้ พรรคภูมิใจไทยนำโดยท่านอนุทิน ชาญวีรกูล แล้วก็ สส. พรรคภูมิใจไทยเราได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้หรือ SEC เข้าสู่สภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็รอสภา เพื่อพิจารณาในคราวต่อไป
คำถามนะครับท่านประธาน วันนี้ สนข. ได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็น EHIA การก่อสร้างท่าเทียบเรือ หรือจะเป็น EIA การก่อสร้างทางรถไฟ ตลอดจนวันนี้ยังเหลือ อีกโครงการหนึ่งที่จะต้องเข้าไปสำรวจและรับฟังความคิดเห็นนั่นคือ Motorway ซึ่งถึง กรมทางหลวงจะเป็นผู้รับผิดชอบ ดังนั้นโครงการนี้ถ้าจะประสบความสำเร็จได้ ผมเลย ต้องขอกราบเรียนท่านประธานไปถึงท่านรัฐมนตรีว่าเมื่อยืนยันว่าผลักดันโครงการ Landbridge นี้แล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ เมื่อหน่วยงานดังกล่าวดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเสร็จแล้วท่านมีแผนปฏิบัติงาน หรือ Action Plan อย่างไรเพื่อให้โครงการนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ต้องขอกราบขอบคุณทางท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการ ท่านมนพร เจริญศรี ครับ คำถามที่ ๒ หลังจากที่ท่านได้ตอบคำถามที่ ๑ เลยอยากจะขอคำถามที่ ๒ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ในโครงการนี้ของรัฐบาลชุดนี้ที่นำโดยท่านนายกรัฐมนตรีท่านเศรษฐา ทวีสิน ว่าการสร้าง ความเชื่อมั่นหรือมีตัวเลขผลตอบแทนของการลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมมูลค่าเท่าไร เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ทั้ง ๑๔ จังหวัดภาคใต้ รวมถึงทั้งประเทศครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดีใจครับ คำถามที่ ๑ พร้อมถึงคำถามที่ ๒ อันนี้เป็นคำถามที่ ๓ ที่จะสร้างความเชื่อมั่น ในรัฐบาลชุดนี้จริง ๆ ซึ่งอดีตที่ผ่านมารัฐบาลที่แล้วที่นำโดยท่านศักดิ์สยาม ชิดชอบ ท่านเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งท่านก็ได้ผลักดันโครงการนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ให้ สนข. ได้จัดทำเรื่องโครงการ Landbridge เพื่อที่จะนำเข้าสู่ ครม. ให้ความเห็นชอบหลักการทุก ๆ อย่าง แต่แล้วมีการยุบสภาไปก่อนก็จึงไม่สามารถนำเข้าสู่ การพิจารณา ครม. ได้ทัน คำถามนี้จึงอยากจะถามทางประธานสภาไปถึงทางท่านรัฐมนตรีว่า ในการดำเนินการโครงการ Landbridge นี้ท่านจะใช้งบประมาณเท่าไร จากแหล่ง งบประมาณใด และด้วยวิธีการใด เพื่อที่จะเสนอเข้า ครม. ให้ความเห็นชอบในโครงการ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย รวมถึงโครงการนี้ผมนำเรียนว่าบางท่านเคยพูดว่า ไม่น่าจะแล้วเสร็จได้ทันในสมัยผม เรายินดีครับ ไม่เสร็จสมัยผม แต่ก็เพื่อลูกหลานคนระนอง ลูกหลานของจังหวัดชุมพรใกล้เคียง ตลอดจนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ รวมถึงจังหวัด นครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตลอดจนจังหวัดภาคใต้ และ ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ของผม ซึ่งมี สส. ของพรรคภูมิใจไทยอยากให้โครงการนี้ได้เดินต่อไป จึงอยากถาม ท่านรัฐมนตรีในคำถามที่ ๓ นี้ ขอกราบขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ก็ต้องฝากท่านประธานสภาถึงท่านนายกรัฐมนตรี ตลอดจนท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านมนพร เจริญศรี ต้องกราบขอบคุณมากที่ท่านได้มาตอบกระทู้โครงการดี ๆ ของประเทศชาติ แล้วก็เป็นคำตอบที่ฟังแล้วผมชื่นชมท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม ถึงท่านจะได้รับตำแหน่งผู้ช่วย แต่ท่านก็ได้มาทำหน้าที่เปรียบเสมือน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในเรื่องทั้ง ๓ คำถามที่ผมได้ถาม ก็ต้องขอกราบ ขอบคุณทางท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ตลอดจน ท่านมนพร เจริญศรี ที่ได้ให้เกียรติมาตอบกระทู้ในครั้งนี้ของพรรคภูมิใจไทยมากครับ ขอกราบขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย กระผมขอยื่นญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณา ศึกษาการติดตามผลปัญหาที่อยู่อาศัยและทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งรัฐได้ดำเนินการพิสูจน์สิทธิ การครอบครองแล้วในพื้นที่จังหวัดระนอง
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับเนื่องด้วยประชาชนในพื้นที่ จังหวัดระนองมีประชาชนที่อยู่อาศัยและทำประโยชน์ในที่ดินจำนวนมาก หลายรายได้ ใช้ประโยชน์ในที่ดินมากกว่า ๔๐ ปีแล้ว ปัญหาหลักคือในการครอบครองที่ดินส่วนใหญ่ ยังไม่มีเอกสารสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย ด้วยความไม่มั่นใจว่าในที่ดินที่ใช้ประโยชน์อยู่ ณ วันนี้ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานหรือการสืบทอด จากทายาทในการใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ อย่างไร ประเด็นการเข้าไปถึงแหล่งเงินกู้เพื่อขอ สินเชื่อนำมาใช้เป็นทุนประกอบอาชีพก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ตลอดจนประชาชนที่ได้รับ ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นมาเป็นเวลานาน จนมีสภาพเป็นชุมชนที่อยู่อาศัย อย่างถาวรแล้วเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามหน่วยงานของรัฐได้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงของที่ดินเพื่อพิสูจน์สิทธิครอบครองและบุคคลในที่ดินของรัฐเมื่อปี ๒๕๖๕ แต่ก็ยังไม่ได้แจ้งผลให้ประชาชนทราบ วันนี้กระผมจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวเพื่อให้ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาในหัวข้อดังกล่าว ที่ผมได้นำเรียนเมื่อสักครู่นี้
ท่านประธานที่เคารพครับ ในจังหวัดระนองมีพื้นที่รวมประมาณ ๒,๑๔๑,๒๕๐ ไร่ ทิศเหนือติดจังหวัดชุมพร ทิศตะวันออกก็ติดจังหวัดชุมพร ทิศตะวันตก ติดประเทศเมียนมา ติดทะเลอันดามัน ส่วนทิศใต้ติดจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจังหวัดระนองจะอยู่ในเขตป่าหรือเขตอุทยานแห่งชาติเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี หมู่เกาะพยาม อุทยานแห่งชาติแหลมสน อุทยานแห่งชาติ น้ำตกหงาว และยังมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จังหวัดระนองเป็นจังหวัดที่ได้ชื่อว่า เมืองฝนแปดแดดสี่ แต่ในพื้นที่ทำกินส่วนใหญ่ที่มีเอกสารสิทธิอยู่แล้วประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ นอกนั้น ๗๐ กว่าเปอร์เซ็นต์จะเป็นที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิหรือเป็นที่ดินที่เรียกว่าประชาชน ทำมาหากินอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ว่าได้ แต่ถึงอย่างไรแล้วนี่ก็เป็นที่ดินที่อยู่กันมา ตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า รุ่นตา รุ่นยาย จนมาถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน ในพื้นที่ของจังหวัดระนอง มีทั้งหมด ๕ อำเภอ ใน ๕ อำเภอนี้ มีอำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น อำเภอกะเปอร์ อำเภอสุขสำราญ อำเภอเมืองระนอง ที่ผมได้นำเรียนว่าติดเขตอุทยานแห่งชาติทั้งหมด เขตป่าสงวนทั้งหมด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วยเช่นกัน ตรงนี้มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นเขต ตำบล จ.ป.ร. ของอำเภอกระบุรี ตรงนี้ผมก็ได้รับผลกระทบ จากท่านกำนันหัสดี แคล่วคล่อง ขออนุญาตเอ่ยนามท่าน ซึ่งท่านก็อยู่ในพื้นที่นี้แล้วท่านก็พยายามดูแลปัญหาของพี่น้อง ประชาชนในพื้นที่นี้มาโดยตลอดกับผู้ใหญ่บ้านทั้งหมด ๑๑ หมู่บ้าน ซึ่งปัญหาในพื้นที่นี้ เป็นที่ถูกต้องที่ทางนิคมสร้างตนเองปากจั่นได้ออกเอกสารสิทธิเป็น น.ค. ๓ ให้ และเมื่อได้มี การผ่อนชำระหนี้สินจนแล้วเสร็จ และออกโฉนดที่ดินให้เฉพาะบางแปลง บางแปลงติดอยู่ใน เขตภูเขา แต่คำว่าเขตภูเขานั้นเป็นเขตภูเขาที่อยู่ตรงช่วงตีนเขา ซึ่งก็อยู่ในเขตที่ดินที่ออก เอกสารสิทธิได้และเป็นแปลงเดียวกันที่อยู่ในนิคมสร้างตนเองปากจั่น นี่คือเป็นกรณีหนึ่ง
อีกกรณีหนึ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ เป็นเขต ที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นเขตที่ปลูกต้นยางมาตั้งแต่ รุ่นปู่ รุ่นตา รุ่นยาย ๔๐ ปี ไม่สามารถเปลี่ยนพืชอาสินได้ ไม่สามารถโค่นต้นยางได้ นี่คือ ปัญหาของพี่น้องประชาชนในจังหวัดระนองปัญหาของที่ดินทำกินทั้งหมด ในส่วนของเขต อำเภอเมืองระนอง ท่านประธานที่เคารพ เขตอำเภอเมืองระนองเป็นเขตด้านเศรษฐกิจ เป็นเขตของประมง เป็นเขตของการท่องเที่ยว เป็นเขตชุมชนอาศัยทั้งหมดแล้ว โชคดีรัฐบาล สมัยที่ผ่านมาต้องขอชื่นชมท่าน ให้ คทช. คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้เข้ามา ช่วยดูแลที่ดินในเขตเมืองระนอง ยกตัวอย่างเขต Model ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ระนองที่เคยเช่ากับกรมป่าไม้ และวันนี้ให้ ทช. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ๕๐๐ ไร่ ได้เข้ามาเป็น Model ในการให้กรมธนารักษ์เป็นผู้ดูแลแล้ววันนี้ ผ่าน ครม. เรียบร้อย แต่ตอนนี้ติดเรื่องของกฤษฎีกาในการตรวจดูแลให้ความถูกต้องต่อไป เพื่อให้กรมธนารักษ์ เข้ามารับผิดชอบ ปัญหาสิ่งหนึ่งในเขตของป่าชายเลนนั่นคือไม่สามารถที่จะจัดสรร งบประมาณของท้องถิ่นลงไปพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถนน ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งน้ำ ประปา ไฟฟ้าก็ไม่สามารถดำเนินการได้ จนทำให้พื้นที่ ในเขตเมืองได้รับความเสื่อมโทรม ไม่ได้รับการดูแล เป็นสิ่งหนึ่งที่ผลประโยชน์ของพี่น้อง ประชาชนไปตกอยู่กับความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณ ของท้องถิ่นได้ นี่คือปัญหาหนึ่งของเขตที่อยู่ในเขตป่า แต่วันนี้ยังเหลืออีกประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าไร่ที่จะต้องเข้ามาดูแลแก้ไข และน่าจะใช้ Model ของ ๕๐๐ ไร่นี้เป็นแบบอย่าง ที่ดีต่อไป ส่วนหนึ่งออกเอกสารสิทธิที่ถูกต้องโดยกรมที่ดิน ๒๐๐ กว่าไร่ แต่ก็โดนเพิกถอนไป ก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนอีก แล้วก็เป็นช่องว่างให้กับหน่วยงานที่ผมได้นำเรียนเมื่อสักครู่นี้เข้ามาจับกุมประชาชน เข้ามาดูว่าประชาชนได้บุกรุกหรือไม่ ซึ่งจริง ๆ แล้วที่ดินเป็นที่ดินที่เป็นการสืบมาจาก ทางมรดกตกทอดกันมา แล้วก็เป็นที่เขาทราบอยู่แล้วว่าที่ดินแปลงนี้เป็นของบุคคลใด แต่ถึงอย่างไรแล้วก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมก็ต้องขอกราบขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยว่าก็เป็น แค่การป้องปรามที่ยังไม่ได้มีการจับกุมและขึ้นศาล แต่มีบางรายที่ไปบุกรุกโดยที่ถูกต้อง หรือไม่ถูกต้องนี้ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของการพิจารณาของศาลต่อไป ท่านประธาน ที่เคารพครับ สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่าวันนี้ปัญหาที่ดินทำกินไม่ใช่ว่า มีที่จังหวัดระนองอย่างเดียว ผมดูว่ามีปัญหาที่ดินตั้งแต่สมัยที่แล้วมีการตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาปัญหาที่ดินก็ยังไม่แล้วเสร็จ วันนี้จะให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาอีก ผมก็ยังไม่มั่นใจว่าจะได้ตั้งคณะกรรมาธิการหรือเปล่า แต่ถ้าเผื่อไม่ได้ตั้ง ก็ขอกราบนำเรียนท่านประธานสภาผ่านไปถึงผู้รับผิดชอบในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้ที่ดูแลเกี่ยวกับกรมธนารักษ์ หรือจากกรมต่าง ๆ ที่ดูแลในที่ดินต่าง ๆ ตรงนี้ให้เข้ามาดูแลแก้ไขให้กับพี่น้องประชาชน ที่ได้รับผลกระทบของปัญหาที่ดินทำกินต่อไป ปัญหาหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาที่ดิน ภ.บ.ท. ที่ออกมาแล้ว ๔๐ ปี ก็ไม่สามารถที่จะออกโฉนดได้ ก็อยู่ในเขตของอุทยานเช่นกัน หรือ น.ส. ๓ ก. ที่ออกมา ๒๐ ปี ไปออกโฉนดก็ไม่ได้ ติดปัญหาที่ดิน เพราะว่าติดอยู่ที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เช่นกัน มีแค่ถนนอย่างเดียวที่สามารถทำได้ และปัญหาต่าง ๆ ที่กราบเรียนเมื่อสักครู่นี้ก็ขอฝากท่านประธานด้วย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงได้รับการแก้ไขให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาที่ดินทำกินต่อไป ขอกราบขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย ผมต้องขอกราบขอบคุณทางผู้ที่ยื่นญัตติด้วยวาจาในเรื่อง ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ อย่างเร่งด่วนครับ ท่านประธานที่เคารพครับ จังหวัดระนองเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ บางท่านอาจจะเข้าใจว่า จังหวัดระนองมีภูเขา มีน้ำตก แต่ในสิ่งหนึ่งเมื่อมีฝนตกชุก ฝนแปดแดดสี่ จังหวัดระนอง ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
ยกตัวอย่างที่อำเภอกระบุรีก็คือเป็น น้ำท่วมซ้ำซากทุกปี ตกทุกปี ท่วมทุกปี จนได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นนายกท้องถิ่นอดีต หรือปัจจุบันก็ดีจะต้องลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเร่งด่วน คือไม่ต้องรอ จังหวัดประกาศให้เป็นภัยพิบัติ ในส่วนนี้ก็เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นจะต้องเข้าไปดูแล ยกตัวอย่างในพื้นที่อำเภอกระบุรีที่ผมก็ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือดูแลพี่น้องประชาชน ก็มีท่าน นายกนฤมล บุญช่วย ต้องขออนุญาตเอ่ยนามท่าน ท่านเป็นนายกองค์การส่วนตำบลปากจั่น พร้อมผู้บริหารและสมาชิก ท่านต้องลงพื้นที่เพื่อเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ให้ความเร่งด่วนทุกปี ตกทุกปี ให้ความช่วยเหลือทุกปี จนมีปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่นั่นคือ เป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากมีเกี่ยวกับประตูระบายน้ำในหมู่บ้าน นั่นคือการก่อสร้างที่ไม่มี ผู้ที่รับผิดชอบในโครงการนี้ ก็คือเป็นอาคารบังคับน้ำบ้านนาน้อย บ้านเกาะกลาง ซึ่งวันนี้ ก็ต้องขอกราบขอบคุณทางท่านนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท่านนายกองค์การตำบล ปากจั่น ที่ท่านได้นำปัญหานี้สะท้อนไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั่นคือกรมชลประทาน ได้เข้ามาสำรวจและออกแบบใหม่เพื่อให้ประตูระบายน้ำหรือประตูบังคับน้ำนี้ได้ใช้ประโยชน์ ให้ดีกว่านี้ แล้วก็สามารถที่จะทำให้พี่น้องประชาชนไม่ต้องเกิดภาวะของน้ำท่วม อีกพื้นที่หนึ่ง เป็นพื้นที่เทศบาลตำบลน้ำจืดของอำเภอกระบุรีเช่นกัน ผมก็ได้รับการประสานในเรื่อง เกี่ยวกับน้ำท่วมจากผู้ใหญ่หมู่ที่ ๙ ท่านอัมพร สมทบ ขออนุญาตต้องเอ่ยนามท่าน แล้วก็ หมู่ที่ ๑ ท่านผู้ใหญ่สมหวัง แสงสง่า ตลอดจนท่านสมาชิกสภาท้องถิ่น ท่าน สท. ณัฐพล สังข์กุล หรือท่าน สจ. อภิชาติ หลีกภัย ซึ่งก็ต้องลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ผ่านมา เช่นกัน ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่มีผลกระทบ นั่นคือเป็นปัญหาจากที่ฝายบ้านปลายคลองซึ่งอยู่ที่ หมู่ที่ ๙ ของผู้ใหญ่ที่ผมได้เอ่ยนามเมื่อสักครู่นี้ เป็นฝายของกรมชลประทานเก่าและเป็นฝาย เล็กนิดเดียว ถ้าเกิดฝายนี้ได้รับการแก้ไขให้เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะช่วยบรรเทา ในเรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมข้างล่างได้อย่างดี ซึ่งฝายนี้จริง ๆ แล้วเป็นฝายที่ได้รับการดูแลจาก กรมชลประทาน ฝายนี้ถ้าเกิดได้รับการแก้ไขและได้สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ผมว่า จะช่วยบรรเทาในเรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วม และยังกักเก็บน้ำให้กับพี่น้องประชาชนในอำเภอ กระบุรีได้หลายตำบลเช่นกัน กลับมาที่อำเภอเมืองระนอง ตรงอำเภอเมืองระนองก็มีปัญหา น้ำท่วมซ้ำซากเช่นกัน ผมได้ลงพื้นที่เองเป็นปัญหาเกี่ยวกับน้ำกัดเซาะตลิ่งจนทำให้พื้นที่ของ พี่น้องประชาชนเสียหายเข้าไปถึงพื้นที่เกษตรกร เข้าไปถึงพื้นที่บ้านเรือน ได้รับผลกระทบ บางท่านบางพื้นที่จะต้องใช้งบประมาณเอง ยกตัวอย่างที่ผมได้ลงพื้นที่นี้ได้ไปซื้ออุปกรณ์ กันน้ำกัดเซาะตลิ่งเอง จนวันนี้ที่ซื้อมาก็พังทลาย ก็ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือบรรเทาให้กับ พี่น้องประชาชนได้เช่นกัน สิ่งที่ตามมานั่นคือปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ค่าดูแลของท้องถิ่น ที่จะต้องเข้าไปดูแลและให้ความช่วยเหลือ มีพื้นที่หนึ่งที่เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมาอย่าง ยาวนานนั่นคือที่อำเภอสุขสำราญเป็นพื้นที่ที่มีผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ หรือเกิดจาก คลื่นสึนามิเมื่อปี ๒๕๔๗ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่รุนแรงมาก สมัยที่ผมเป็นอดีตนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดระนอง พื้นที่นี้จริง ๆ แล้วเป็นแหล่งท่องเที่ยวของพี่น้องประชาชน โดยเป็นพี่น้องมุสลิมโดยตรงที่จะมาท่องเที่ยวและหารายได้ในการเลี้ยงครอบครัว ให้นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยว แต่วันนี้พื้นที่นี้กลับโดนน้ำกัดเซาะตลิ่ง โดนน้ำกัดเซาะถนน จนได้รับความเสียหาย ถนนที่เห็นเมื่อสักครู่นี้เป็นถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยที่ ผมได้รับการช่วยเหลือหรือได้รับการดูแลก็ได้จากนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่นกัน ที่ได้ลงพื้นที่เองต้องขออนุญาตเอ่ยนามท่าน ท่านนายกอารีดีน อินตัน ท่านเป็น นายกเทศมนตรีกำพวน แล้วก็ผู้บริหารท้องถิ่นที่เข้าไปดูแล ตลอดจนมีท่านมนัส พึ่งแย้ม หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแหลมสน ก็มาให้ข้อมูลผมในเรื่องเกี่ยวกับน้ำกัดเซาะ ถนนเส้นนี้ วันนี้จะเห็นได้ว่ามีความลำบาก สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้จะไม่มีนักท่องเที่ยว อยู่เลยถ้าเกิดไม่ได้รับการแก้ไข น้ำที่กัดเซาะถนนไปได้รับความเสียหายกับพี่น้องประชาชน นั่นคือน้ำไหลไปท่วมบ้านเรือนแล้วก็ผลผลิตทางการประมงของพี่น้องประชาชน อย่างมากมายนะครับ จึงต้องขอฝากท่านประธานไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กรมชลประทานก็ดี กรมโยธาธิการและผังเมือง หรือแม้ตลอดจนผู้บริหารในส่วนของ ภาครัฐบาลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ได้ลงไปศึกษาและให้ความช่วยเหลือเยียวยากับพี่น้อง ประชาชนที่ผมได้รับการสะท้อนมาในวันนี้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในส่วนของการที่จะ ยื่นญัตตินี้ให้กับ ครม. ก็คงจะต้องเข้าสู่การพิจารณาอย่างเร่งด่วนต่อไป ขอกราบขอบคุณ ท่านประธานมากครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณท่านสมาชิกที่ได้ยื่นญัตติให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาและเสนอแนะการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกิจการประมงทั้งระบบ และการแก้ไขประมงอุตสาหกรรม และปัญหาของประมงทุก ๆ อย่างครับ เห็นด้วยกับการให้ มีการตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้ ซึ่งในสมัยที่ผ่านมาก็มีการยื่นญัตติเรื่องเกี่ยวกับ การแก้ไขประมง
ซึ่งมีการนำเข้าสู่สภาในการพิจารณา ประมาณปลายเดือนแล้วก็เดือนกุมภาพันธ์ผมก็เคยได้มีการอภิปรายในปัญหาของพี่น้อง ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาพี่น้องประชาชนในจังหวัดระนอง ซึ่งจังหวัดระนองก็เป็น จังหวัดหนึ่งฝั่งอันดามันซึ่งประกอบอาชีพหลักก็คืออาชีพประมงซึ่งเป็นอาชีพที่สามารถที่จะ ทำให้พี่น้องประชาชนของจังหวัดระนองนั้นมีรายได้มีเศรษฐกิจที่ดีและที่ผ่านมา แต่วันนี้ ปัญหาของประมงและปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่มีปัญหาทับซ้อนกันอยู่ หลาย ๆ หน่วยงาน หลาย ๆ กระทรวง นี่คือสิ่งที่สะสมมานาน ซึ่งก็เสียดายใน คณะกรรมาธิการวิสามัญที่ผ่านมาของ สส. สมัยชุดที่แล้วมีการตั้งคณะกรรมาธิการแก้ไข พ.ร.ก. ประมง แต่ก็แก้ไขแล้วเสร็จ แต่ก็ไม่สามารถที่จะนำเข้าสู่สภาได้ เพราะมีการยุบสภา ก่อน นี่คือสิ่งหนึ่งที่ต้องชื่นชมในคณะกรรมาธิการชุดนี้ หรือท่าน สส. ที่ได้ยื่นญัตติได้เร็ว และต้องขอกราบขอบคุณท่านประธานสภาที่ได้นำเรื่องญัตตินี้เข้าประชุมในวาระอย่าง เร่งด่วนในวันนี้ด้วยเช่นกันครับ สิ่งหนึ่งครับท่านประธานสภาที่เคารพครับ ปัญหาของพี่น้อง ประชาชนชาวจังหวัดระนอง ก็คือปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับซื้อเรือคืน ซึ่งก็มี ทางท่าน สส. ของพรรคก้าวไกลต้องขอกราบขอบคุณมากที่ท่านก็ได้พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับการ รับซื้อเรือคืน ซึ่งปัญหาของเรือวันนี้ก็ไม่ได้ใช้ในพี่น้องประมงอีกแล้ว วันนี้เรือพังทรุดโทรม ไปหมด สิ่งหนึ่งที่ตามมาก็คือในเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อกฎหมาย เกี่ยวกับมาตรา ๘๑ การติดตั้งระบบติดตามเรือประมงของ VMS จังหวัดระนองเป็น จังหวัดหนึ่งที่อยู่ฝั่งอันดามันติดกับประเทศเมียนมา น่านน้ำเป็นน่านน้ำสากลไม่สามารถที่จะ ประกอบอาชีพเหมือนกับฝั่งอ่าวไทยได้ เมื่อนำเรือออกไปก็ไปสู่น่านน้ำเมียนมาแล้ว สิ่งนี้ละครับที่ทำให้เรือประมงของจังหวัดระนองได้หายไปจากพี่น้องชาวประมงของระนองไป อย่างมีผลกระทบมากในส่วนนี้ นี่คือเรื่องหนึ่ง
อีกเรื่องหนึ่ง คือมาตรา ๔๘ การใช้เรือประมงทำการประมงในเขตทะเล นอกน่านน้ำไทยที่ผมได้นำเรียนเมื่อสักครู่นี้ และสิ่งหนึ่งที่ตามมานั่นคือมาตรา ๑๓๓ เป็นการปรับผู้ที่ทำผิดกฎหมาย เป็นการปรับตั้งแต่ ๒ ล้านบาท ถึง ๓๐ ล้านบาท และปรับไปที่เจ้าของเรือ ปรับไปที่คนเดินเรือ นี่คือสิ่งหนึ่งครับ แล้วก็ต้องขอขอบคุณ ท่าน สส. อรรถพล ไตรศรี สส. จากจังหวัดพังงา พรรคภูมิใจไทย ที่ได้พูดถึงเกี่ยวกับการปรับ เสียค่าปรับ หรือการที่เรือออกไปจับปลา ไม่ว่าจะเป็นป่าฉิ้งฉ้าง หรือปลากะตัก ซึ่งก็เป็น จังหวัดพังงาที่อยู่ติดต่อเขตเดียวกับจังหวัดระนองเช่นกัน นี่คือปัญหาหนึ่งของข้อกฎหมาย ที่ตามมา สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะนำเรียนเพิ่งเกิดมาไม่นานนี้เอง ผมก็ได้รับเรื่องร้องเรียน เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๖ นี้เอง ก็มีเจ้าหน้าที่ของเขตอุทยานไปร้องเรียนกับ ผู้กระทำความผิด มีการร้องทุกข์เกี่ยวกับการวิ่งเดินเรือไปเข้าอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งในส่วนนี้เป็นเขตทับซ้อนของประมงก็ไปแจ้งข้อหา ไม่ว่าจะเป็นร่วมกันเก็บหา หรือนำออกไปกระทำการโดยประการใดให้เป็นอันตราย ซึ่งนี่ก็เป็นมาตรา ๑๙ (๒) แห่ง พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ
ข้อ ๒ ร่วมกันล่อ หรือนำสัตว์ป่าออกไป
ข้อ ๓ ร่วมกันเข้าไปดำเนินการกิจการใด ๆ
ข้อ ๔ ร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์หรือจับสัตว์ หรืออาวุธใด ๆ เข้าไป อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ
สิ่งนี้ที่เป็นปัญหาของพี่น้องประชาชนของจังหวัดระนองซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นนี่เอง เป็นการจับกุมประมาณ ๑๒ ลำได้ เป็นการจับกุมในเขตทะเลอันดามันบริเวณเขต อุทยานแห่งชาติแหลมสน ซึ่งก็มีพระราชกฤษฎีกา ปี ๒๕๒๖ กำหนดให้แนวเขต อุทยานแห่งชาติทำการประมง แต่ว่าทางอุทยานแห่งชาติก็ไม่ได้นำประกาศนี้ไปประกาศ ไว้ในเขตอุทยานแห่งชาติแสดงให้กับกลุ่มประมงให้ทราบ และศูนย์ควบคุมของประมงทราบ ไม่มีการกำหนดตำแหน่งของ GPS หรือตำแหน่งที่ชัดเจนให้กับพี่น้องชาวประมงเลยในส่วนนี้ มีการไปจับกุม มีการไปแจ้งความตรงนี้เกิดขึ้น แล้วเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคมนี้ก็ไปแจ้งความใน การดำเนินคดี ๑๒ ลำ ที่ผมได้นำเรียนเมื่อสักครู่นี้ นี่คือสิ่งหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่นานนี้กับ พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องชาวประมง ๑๒ ลำ ที่วันนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข และการช่วยเหลือด้วย สิ่งนี้ละครับที่อยากจะฝากท่านประธานว่าข้อกฎหมายมันมี บางหน่วยงานที่มีการกำหนดกฎ หลักเกณฑ์ออกมา แล้วก็ซ้ำซ้อนกับกระทรวงต่าง ๆ ซึ่งก็อยากจะฝากคณะกรรมาธิการชุดที่จะแต่งตั้งขึ้นมานี้ให้ดำเนินการช่วยเหลือ พี่น้องประชาชน พี่น้องประมงของจังหวัดระนอง และพี่น้องชาวประมงอีก ๒๑ จังหวัด ในเขตที่ทำประมง ในส่วนนี้ก็เห็นด้วยกับการให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาเสนอแนะการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการประมงทั้งระบบ ในส่วนนี้ก็ขอฝาก ท่านประธานที่เคารพครับ กราบขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย ขออนุญาตครับ ต้องขอกราบขอบพระคุณท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทั้ง ๕ ท่าน ต้องขอ อนุญาตเอ่ยนามท่านแรก ท่าน สส. สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ท่าน สส. ศาสตรา ศรีปาน สส. สงขลาจากพรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ พรรคภูมิใจไทย สงขลา ท่าน สส. ร่มธรรม ขำนุรักษ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ท่านจุลพงศ์ อยู่เกษ จากพรรคก้าวไกล ทั้ง ๕ ท่าน เสนอญัตติให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการเชื่อมสะพาน เศรษฐกิจเพื่อเชื่อมภูมิภาคระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยครับ ท่านประธานครับ รู้สึก ดีใจผู้ที่ยื่นญัตติทั้ง ๕ ท่าน ให้การสนับสนุนโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นที่จังหวัดระนองและจังหวัดชุมพรแล้ว
ท่านประธานสิ่งหนึ่งครับ ที่ผมอยากจะกราบเรียนว่าโครงการ Landbridge ไม่ใช่เพิ่งจะมี ณ สมัยนี้ มีมาเมื่อสมัย ของรัฐบาลที่แล้วนำโดยท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขออนุญาตเอ่ยนามท่านด้วย และท่านรองนายกรัฐมนตรีอนุทิน ชาญวีรกูล ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม พร้อมกับ ท่านศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มี การขับเคลื่อนมาสมัยรัฐบาลที่ผ่านมามีการตั้งงบประมาณในการศึกษารับฟังความคิดเห็น และวันนี้ก็อยู่ในเรื่องเกี่ยวกับรับฟังความคิดเห็นอยู่แล้วด้วยเช่นกัน ผมได้มีโอกาสครับ ท่านประธานเป็นตัวแทนของพรรคภูมิใจไทย กับ สส. พรรคภูมิใจไทยทั้งหมดให้ผม ได้มีโอกาสได้ตั้งกระทู้ถาม ถามท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเกี่ยวกับโครงการ Landbridge ให้มีการสานต่อในเรื่องนี้ตั้งแต่เริ่มแรกเลย ซึ่งวันนั้นท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในวันที่ ๕ ตุลาคมที่ผมได้มีโอกาส และท่านสุริยะได้มอบหมายให้ท่านมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมมาเป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน ซึ่งผมดีใจครับ วันนั้นท่านมนพรต้องขออนุญาตเอ่ยนามท่านด้วยเช่นกัน วันนี้ท่านก็ยังอยู่ในที่ประชุม ที่แห่งนี้ด้วยท่านได้ทำหน้าที่ที่ดีที่สุด ได้ตอบกระทู้ถามผม แล้วก็ชัดเจนซึ่งท่านบอกว่า ท่านจะนำเรื่องโครงการ Landbridge เข้าสู่ ครม. ภายในเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ ท่านประธานครับ วันที่ ๑๖ ตุลาคม ครม. ได้รับทราบหลักการโครงการ Landbridge มูลค่า ๒.๒๘ แสนล้านบาท เรียบร้อยแล้ว ถือว่าไวมากในรัฐบาลชุดนี้ที่นำโดยท่านเศรษฐา ทวีสิน และพร้อมท่าน ครม. ชุดปัจจุบันได้เห็นชอบหลักการในส่วนนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจในรัฐบาลชุดนี้ที่ท่าน ไม่ได้แบ่งถึงพรรคการเมือง ท่านได้แบ่งถึงเกี่ยวกับว่าจะมี สส. จากพรรคไหน หรืออย่างไร ท่านมองเรื่องผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก และด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก วันนี้ที่ท่าน ออกมาว่าโครงการนี้ ทำอะไรบ้าง
๑. รับทราบหลักการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทย และอันดามัน หรือโครงการ Landbridge
๒. ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุน ต่างประเทศ หรือออก Roadshow ในการพัฒนาโครงการ Landbridge เพื่อนำมาประกอบ ในการจัดทำร่างเอกสารเชิญชวนลงทุนให้กับนักลงทุนต่อไป สิ่งที่สำคัญครับในแผน ดำเนินงานของโครงการมีทั้งหมด ๘ แผนดำเนินการ นั่นคือ
๑. ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุนช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง เดือนมกราคม ๒๕๖๗
๒. ดำเนินการจัดทำกฎหมายร่างพระราชบัญญัติระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคใต้
๓. จัดตั้งคณะกรรมการนโยบาย และสำนักนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคใต้
๔. คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
๕. ดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
๖. เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติลงนามในสัญญา
๗. ดำเนินการก่อสร้างโครงการ Landbridge
๘. เปิดให้บริการในเดือนตุลาคม ๒๕๗๓
ท่านประธานที่เคารพครับ ดีใจครับถ้าโครงการ Landbridge สำเร็จมัน จะเป็นการตอบโจทย์ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเศรษฐกิจเพื่อ เชื่อมโยง EEC เป็นจุดศูนย์กลางของ Logistics ในระดับโลกต่อไป และทำให้เกิดประโยชน์ ให้กับพี่น้องประชาชนตามที่ทุก ๆ ท่านได้บอกถึงประโยชน์แล้วทั้งหมดว่าทำอะไรบ้าง เมื่อโครงการ Landbridge สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดเบา ไม่ว่าจะเป็น การก่อสร้างสิ่งที่สำคัญนั่นคือเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินในเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ และสิ่งที่ผม มองดูเพื่ออนาคตของลูกหลาน นั่นคือการจ้างงานในพื้นที่ของจังหวัดระนองและจังหวัด ชุมพรครับ และสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะกล่าวกับท่านประธานว่าในสิ่งที่มันมีประโยชน์ก็จะมีสิ่ง ต่าง ๆ ที่ประชาชนมีความวิตกกังวล นั่นคือปัญหาของสิ่งแวดล้อม ปัญหาของที่ดินทำกิน หรือปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับทำประโยชน์ในที่ดินทำกิน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายาม ลงพื้นที่บอกถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าการลงทุน ให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ เข้าใจมากยิ่งขึ้น
สิ่งหนึ่งในเรื่องของการเวนคืนที่ดิน ท่านประธานที่เคารพครับ ประเด็น การเวนคืนที่ดินนี้ต้องขอฝากไว้ว่าควรจะต้องพิจารณาในการเวนคืนให้ความเป็นธรรม และเหมาะสมกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้าง นั่นคือ จังหวัดระนองและจังหวัดชุมพร ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่มีเอกสารสิทธิหรือไม่มีเอกสารสิทธิ หรือพื้นที่ดิน ส.ป.ก. หรือ คทช. ที่วันนี้ทำเพื่อการเกษตร ในอนาคตจะต้องเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ไปตามเจตนารมณ์ของอนาคตที่จะเกิดโครงการ Landbridge ให้ได้ด้วยเช่นกัน วันนี้จากโครงการ Landbridge ที่ผมได้นำเรียนว่าเกิดในสมัยของรัฐบาลที่ผ่านมา นำโดยท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ท่านไปพูดทุกเวที จะกล่าวถึงประโยชน์ของ Landbridge โดยตลอด ทุกเวทีท่านจะไม่ลืมโครงการ Landbridge โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้ตามที่ ท่าน สส. ได้กล่าวถึงเมื่อสักครู่นี้ทั้ง ๕ ญัตติว่าท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้ลงพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้ได้ไปเยือนที่ประเทศจีน และวันนี้ทราบมาว่าท่านเดินทางไปที่ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเห็นวิสัยทัศน์ของท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน แล้วนะครับ ในมุมมองของท่าน ความเป็นผู้นำของท่าน ในความเป็นมืออาชีพของท่าน ในการทำงาน ในการบริหารด้านเศรษฐกิจของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน เป็นอย่างดี ผมมองว่าวันนี้จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพรไม่ใช่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว วันนี้จะเกิด การเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยทั้งหมด ในมวลรวมของเศรษฐกิจทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคใต้ด้วยเช่นกัน ผมจึงเห็นด้วยให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา การเชื่อมสะพานเศรษฐกิจเพื่อเชื่อมภูมิภาคระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยหรือโครงการ Landbridge ตรงนี้ให้เกิดขึ้น ต้องขอกราบขอบคุณท่านประธานเป็นอย่างสูงครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย ผมต้องขอกราบขอบคุณผู้เสนอญัตติทั้ง ๕ ท่าน โดยเฉพาะวันนี้ผมขออนุญาตเป็นผู้สรุป ของผู้เสนอญัตติของท่าน สส. สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง เป็นผู้เสนอของพรรคภูมิใจไทย ท่าน สส. ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ของพรรคภูมิใจไทยเช่นกัน ๒ ท่าน ท่านประธานที่เคารพครับ จากที่ผมได้ฟังพี่ ๆ เพื่อน ๆ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ ที่แห่งนี้ ดีใจนะครับที่ทุกท่าน เห็นด้วยให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการในชุดนี้ขึ้นมา เพื่อรับฟังความคิดเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่จะ เกิดขึ้น ท่านประธานที่เคารพครับ ตามที่ผมได้นำเรียนว่าจริง ๆ แล้วโครงการ Landbridge ก็คือมีการรับหลักการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ซึ่งก็มีเรื่องเกี่ยวกับการให้ กระทรวงคมนาคมดำเนินรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุนต่างประเทศ หรือ Roadshow ในการพัฒนาโครงการ Landbridge สิ่งที่สำคัญครับท่านประธาน รัฐบาลชุดนี้นำโดย ท่านเศรษฐา ทวีสิน ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านได้มี Action Plan ออกมาแล้วว่าแผนดำเนิน โครงการทั้งหมดจะต้องทำอะไร ตั้งแต่ ๑-๘ ๑. รับหลักการไปแล้ว ๒. ที่จะเกิดขึ้นก็คือ จะต้องเกิดขึ้นในเรื่องของโครงการ Landbridge ในตุลาคม ๒๕๗๓ สิ่งหนึ่งครับ ผมต้องขอ กราบขอบคุณผู้ที่เห็นด้วยให้มีโครงการ Landbridge เกิดขึ้นที่จังหวัดระนองและจังหวัด ชุมพร และอีกสิ่งหนึ่งในความที่มีความข้อเป็นห่วงกังวลของเพื่อน ๆ สมาชิกในเรื่องเกี่ยวกับ ผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนในจังหวัดระนองและจังหวัดชุมพร ในสิ่งนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่คงต้องฝากในชั้นกรรมาธิการต่อไป หาทางออกที่ดีที่สุดและทำความเข้าใจ ให้กับพี่น้องประชาชนในจังหวัดระนองและจังหวัดชุมพรให้ทราบว่าในสิ่งนี้มันเป็นประโยชน์ ให้กับท่านมากน้อยเพียงใด สิ่งหนึ่งครับท่านประธาน โครงการนี้เราจะต้องศึกษาในเรื่อง เกี่ยวกับ Action Plan ของรัฐบาลที่วางกรอบไว้แล้ว อันนี้คงต้องฝากทางท่านประธานสภา ถึงในชุดกรรมาธิการที่จะจัดตั้งขึ้นในครั้งนี้ ใน Action Plan แต่ละปฏิทิน แต่ละเดือน ที่จะต้องดำเนินการต่อไป สิ่งหนึ่งครับที่วันนี้พรรคภูมิใจไทยเราก็ได้มีการเสนอร่างระเบียง เศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ โดยการนำของท่านอนุทิน ชาญวีรกูล วันนี้ก็ส่งไปถึง ท่านประธานสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ติดที่ว่าร่างนี้เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยกับ การเงิน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๓๔ ที่จะต้องมีคำรับรองจาก ท่านนายกรัฐมนตรีซึ่งสำนักงานเลขาธิการก็ทำถึงไปที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งร่างนี้ก็คงจะต้องฝากท่านประธานไปถึงท่านนายกรัฐมนตรีโดยเช่นกันว่า ถ้าเกิดร่างนี้ได้มีการผ่านรับรองมาได้ทันก็จะได้พิจารณาร่วมกับในเรื่องเกี่ยวกับร่างของ กระทรวงคมนาคมที่จะต้องมีการพิจารณาร่างนี้เกี่ยวกับแผนปฏิบัติงาน หรือ Action Plan ในส่วนนี้ที่ว่าไว้ว่าจะต้องมีการดำเนินการจัดทำกฎหมายพระราชบัญญัติระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคใต้ SEC ช่วงมกราคมถึงธันวาคม ๒๕๖๗ ในส่วนนี้ผมว่าถ้าเกิดร่างนี้ได้มีการพิจารณาแล้ว และสามารถที่จะผ่าน ให้คณะกรรมาธิการชุดนี้ ช่วยพิจารณาไปพร้อมกันด้วยก็จะเป็นสิ่งที่ดีให้กับพี่น้องประชาชน และทำให้โครงการนี้ ได้ขับเคลื่อนต่อไป ก็คงต้องฝากท่านประธานสภาไปถึงคณะกรรมาธิการที่จะตั้งในชุดนี้ว่า สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดโครงการนี้เป็นโครงการที่มีประโยชน์กับพี่น้องประชาชนทุก ๆ ท่าน ทุก ๆ จังหวัดอย่างแน่นอน และวันนี้ต้องขอกราบขอบคุณท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การคมนาคม ท่านมนพรท่านก็ยังอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้ด้วย และได้รับฟังความคิดเห็นทั้ง ๒ ฝ่าย วันนี้ไม่มีฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน แต่มีแค่ให้ตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้เพื่อหาแนวทาง ให้โครงการ Landbridge ได้ขับเคลื่อนต่อไปตามแผนดำเนินการของรัฐบาลนำโดย ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ขอกราบขอบคุณท่านประธานเป็นอย่างสูงครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทย วันนี้กระผมขอหารือต่อท่านประธานติดตามความคืบหน้า เรื่อง ปัญหาที่ดินที่ทำกิน ในจังหวัดระนอง เช่น ปัญหาที่ดินชุมชนเมืองระนองบริเวณเช่า อบจ. ระนอง เทศบาลเมือง ระนองทั้งหมด ๕๐๐ กว่าไร่ ซึ่ง คทช. คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ โดยมี ท่านนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธาน เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตป่าเลน ซึ่งจากการประชุม คทช. ครั้งล่าสุดที่ประชุมมีมติให้ธนารักษ์เข้าไปดูแล แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และยังได้รับความคืบหน้า และยังมีที่ดินอีกประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าไร่ที่รอการแก้ไขลักษณะ เดียวกัน ซึ่งได้แปรสภาพเป็นเมืองเล็ก ๆ เป็นเมืองเศรษฐกิจของจังหวัดระนองแล้วเช่นกัน ปัญหาที่ดินในเขตป่าต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ๔ อำเภอที่ยังรอรับการแก้ไขปัญหาครับ
ปัญหาต่อไปเรื่องน้ำ ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากที่บ้านสองแพรก ตำบลลำเลียง และเทศบาลตําบลน้ำจืด อําเภอกระบุรี น้ำกัดเซาะตลิ่งและพังทลาย และบริเวณริมคลอง บางนอน ตำบลบางนอน และปัญหาฝายคลองบางริ้นพังทลาย ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการใช้น้ำอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะปัญหาน้ำ กัดเซาะชายฝั่งที่บ้านทะเลนอก หาดประพาส อำเภอสุขสำราญ และนับวันยิ่งรุนแรงขึ้นและ ปัญหาถนนเพชรเกษมต่าง ๆ ถนนหมายเลข ๔ ที่รอการขยาย ๔ เลน ตั้งแต่เมืองระนองไป ถึงจังหวัดพังงาที่ยังไม่ได้รับการขยายเพื่อให้สอดรับกับโครงการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่ง ทะเลภาคใต้ หรือ Thailand Riviera เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว
อีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญก็คือปัญหาการประมงที่รอการแก้ไขเช่นกัน ปัญหา เหล่านี้เมื่อรอรับการแก้ไขแล้วก็จะนำความพร้อมไปถึงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ SEC ซึ่งเป็นโครงการแลนด์บริดจ์โดยส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้กระผม ขอฝากท่านประธานไปถึงท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาของ พี่น้องชาวจังหวัดระนอง และหาแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ในการประชุม ครม. สัญจรครั้งต่อไป ในวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๗ จัดขึ้นที่จังหวัดระนองนะครับ ถ้าปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขแล้ว ก็จะเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดระนอง และพี่น้องชาวจังหวัด ระนองดีใจ และพร้อมให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีด้วยความยินดี เป็นอย่างยิ่งครับ ขอกราบขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทยครับ
วันนี้ผมขอหารือต่อท่านประธาน เกี่ยวกับปัญหาในพื้นที่จังหวัดระนอง ซึ่งต้องขอกราบขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ที่ท่านได้ลงพื้นที่ประชุม ครม. สัญจร เมื่อวันที่ ๒๒-๒๓ มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ที่พี่น้องประชาชนยังมีความห่วงใย แล้วก็ฝากขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีด้วยครับ ที่ให้ความสำคัญกับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดระนองครับ
ปัญหาเรื่องแรก เป็นปัญหาที่ดินที่ชุมชนเมืองระนอง เนื้อที่กว่า ๕๐๐ ไร่ ตามมติ ครม. ให้กรมธนารักษ์เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบ จึงฝากไปถึงกระทรวงการคลัง ให้เร่งรัดติดตามเรื่องนี้โดยด่วน แล้วก็เรื่องที่ตามมาคือปัญหาที่ดินอีก ๒,๐๐๐ กว่าไร่ ซึ่งเป็น ปัญหาลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นพื้นที่เมืองระนองหมดแล้ว ซึ่งอยู่ในการดูแลของกรม ทช. หรือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาที่จะต้องเร่งแก้ไขด่วน เช่นกัน
เรื่องที่ ๒ เรื่องแหล่งน้ำในพื้นที่เมืองระนอง ฝายคลองบางริ้น ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำ ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดระนองแล้ว และมีการศึกษา ออกแบบแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งฝายนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการใช้น้ำ ในจังหวัดระนองและในตัวเมืองระนองครับ จึงขอฝากไปที่กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งดำเนินแก้ไขในการแก้ปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ
เรื่องที่ ๓ เป็นการขอขยายถนน ๔ เลน ถนนหมายเลข ๔ ตั้งแต่ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ไปถึงอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และถนนหมายเลข ๔๐๐๖ ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ไปถึงอำเภอพะโต๊ะ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ขอฝากไปถึงกระทรวงคมนาคมด้วยเช่นกัน ปัญหาทั้งหมดนี้เป็นปัญหาที่ อยากจะฝากถึงท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ครับ ถือว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่ต้อง เร่งแก้ไขโดยด่วนและเร่งรัดในการติดตามโครงการต่าง ๆ เพื่อที่จะเตรียมความพร้อมสอดรับ กับโครงการแลนด์บริดจ์ในอนาคตต่อไป เพื่อลูกหลานของพี่น้องชาวจังหวัดระนองและ พี่น้องภาคใต้ทั้งหมด ขอกราบขอบคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานสภา กระผม คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ในฐานะที่ปรึกษาและกรรมาธิการ ก่อนอื่นต้องขอ กราบขอบพระคุณท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ขอบคุณมากครับที่ท่านเป็นห่วงเป็นใยพี่น้อง ประชาชนชาวจังหวัดระนองเป็นอย่างดี อีกอย่างหนึ่งผมเข้าใจว่าท่านอยู่ท้องถิ่นกับผม มาก่อน สิ่งหนึ่งที่เมื่อสักครู่ท่านพาดพิงถึงจังหวัดระนองแล้วก็พาดพิงถึงท่านรอง นายกรัฐมนตรี ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ตลอดจนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ท่านบอกว่าการลงพื้นที่ของท่านไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดระนองเลย ผมขอกราบนำเรียนไปถึงท่านประธานสภาไปถึงผู้ที่ได้อภิปรายเมื่อสักครู่นี้ กราบนำเรียนว่า ท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ท่านไม่เคยทอดทิ้งพี่น้องประชาชน ทุก ๆ จังหวัด โดยเฉพาะยิ่งวันที่มีการประชุม ครม. สัญจร ท่านทราบถึงปัญหาเรื่องนี้ดี แล้วท่านก็ลงพื้นที่ติดตามเกี่ยวกับสะพานมอแกนที่ท่านได้พาดพิงเมื่อสักครู่นี้ และวันนี้ ต้องขอบคุณมากจริง ๆ ที่ท่านพูดก็พูดถูก อภิปรายถูก มีการระดมทุนจากพี่น้องประชาชน ภาคเอกชน แล้วก็พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลนิธิของฝรั่งที่ท่านบอกไว้จาก ชาวต่างชาติ อันนั้นถูกต้องครับ แต่ท่านทราบไหมครับว่าการเข้าไปช่วยเหลือถ้าเผื่อไม่ได้ ท่านรองนายกรัฐมนตรีไปสั่งการ ถามว่าสามารถสร้างสะพานนี้ได้ไหม ท่านครับ ขออนุญาตนะครับ เรื่องนี้มันเป็นการเข้าไปก่อสร้างในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มันติดเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ เขตป่าสงวนแห่งชาติเกาะพยามในเขตป่าชายเลน ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ เนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่กว่า เพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการสร้างสะพานตรงนี้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ก่อน คือต้องยกเว้น ขอมติ ครม. เรื่องนี้ทราบดีครับเป็นงบของจังหวัด ๒๐ ล้านบาท ทางจังหวัด ก็ทราบดี แต่ติดปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้พื้นที่ ซึ่งในสิ่งนี้ท่านรอง นายกรัฐมนตรีท่านลงพื้นที่ และท่านก็กำชับจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเองว่าวันนี้ต้องมีการ เร่งระดมในการก่อสร้างสะพานชั่วคราวให้กับชาวมอแกนก่อน และวันนี้เป็นการก่อสร้าง สะพานให้กับน้อง ๆ เรียบร้อยแล้ว เสร็จเรียบร้อย สิ่งที่สำคัญที่สุดวันนี้ท่านก็ไม่ได้นิ่งดูดาย วันนี้ท่านนำเรื่องนี้เข้าไปสู่ที่ประชุมมติ ครม. เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ตอนประชุม ครม. สัญจรที่จังหวัดระนอง และเรื่องนี้ท่านนายกรัฐมนตรีก็รับเรื่องนี้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็เห็นด้วยในการที่จะดำเนินการก่อสร้าง สะพานตรงนี้ให้เป็นสะพานถาวรอีก ขอนำเรียนถึงท่านประเสริฐพงษ์ว่าขอบพระคุณมาก ที่ท่านเป็นห่วงเป็นใยพี่น้องชาวจังหวัดระนอง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดท่านไม่ได้ทิ้ง และที่ท่าน บอกว่าเกี่ยวกับการสำรวจชาวมอแกนที่ยังไม่มีเอกสารหรือบัตรประชาชน ตอนนี้ท่านก็ตาม เรื่องนี้ด้วยเช่นกัน วันนี้จังหวัดระนองสำรวจพื้นที่จังหวัดของระนองว่ามีชาวมอแกน แล้วก็ พี่น้องประชาชนที่ยังไม่ได้สัญชาติกี่คน วันนี้ชาวระนองกำลังสำรวจและอำเภอก็ทำเรียบร้อย แล้วเรื่องนี้ ผมว่าวันนี้ที่ท่านเป็นห่วงเป็นใยพี่น้องประชาชน ขอกราบขอบคุณมาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดท่านพาดพิงถึงท่านรองนายกรัฐมนตรีของผมนี้ ท่านไม่สามารถที่จะมา ชี้แจงได้ วันนี้ต้องขออนุญาตขึ้นมาชี้แจงให้กับท่านรองนายกรัฐมนตรีหน่อย ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวท่านจะเสียหาย เพราะท่านได้ลงพื้นที่ และในส่วนทุก ๆ เรื่องท่านได้เอาข้อมูลประชุม ครม. สัญจรแล้วก็ได้รับการช่วยเหลือทั้งหมดแล้วครับ ก็ขอฝากท่านประธานด้วย กราบขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่ เคารพ ผม คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ในฐานะกรรมาธิการ ขออนุญาตเพิ่มเติมการชี้แจงเกี่ยวกับ ประเด็นที่ผู้อภิปรายได้อภิปรายเกี่ยวกับมรดกโลก ซึ่งขอพูดถึงการก่อสร้างท่าเทียบเรือที่ จังหวัดระนองซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันหรือเรียกว่ามรดกโลก ขออนุญาต ท่านประธานแล้วก็ผู้อภิปรายนะครับ พื้นที่นี้เป็นการขอขึ้นบัญชีเมื่อปี ๒๕๔๗ ตั้งแต่พื้นที่ ของจังหวัดระนองลงมาจังหวัดพังงาและมาจังหวัดภูเก็ต มาถึงตรงอุทยานแห่งชาติ สิรินาถบางส่วนของจังหวัดภูเก็ต ขอนำเรียนว่าในการก่อสร้างท่าเทียบเรือถ้าดูจากแผนที่ หรือการก่อสร้างจะมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือ ไม่ได้ติดในแนวการขอขึ้นพื้นที่มรดกโลก จะไปติดในส่วนของถนนแล้วก็สะพานเป็นบางส่วน แต่ถึงอย่างไรแล้วในส่วนนี้ ในการขอขึ้น พื้นที่มรดกโลกก็ยังอยู่ในขั้นตอนของ ทส. หรือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำลังรวบรวมเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ ประเด็นต่าง ๆ แล้วก็นำเสนอให้ สผ. สผ. ก็จะนำเสนออันนี้ผ่าน ทส. และ ทส. นำเสนอไปถึง ครม. เพื่อให้รัฐบาลพิจารณาในชั้นของ ครม. อีกครั้งหนึ่ง จะขอนำเรียนว่าประเด็นคือว่ารัฐบาลจะเลือกปฏิบัติอย่างไรให้โครงการ แลนด์บริดจ์เกิดขึ้นในด้านเศรษฐกิจ หรือจะเลือกในการขอใช้พื้นที่เป็นมรดกโลกเพื่อ การอนุรักษ์ สิ่งนี้ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ฉะนั้นกรรมาธิการชุดนี้อย่างที่นำเรียนว่าวันนี้ รัฐบาลชุดนี้จะนำข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่มีพื้นที่ทับซ้อนหรือข้อมูลที่มีปัญหากับ พี่น้องประชาชน สิ่งที่อยากจะกราบเรียนให้กับผู้อภิปรายได้ฟังว่าวันนี้พี่น้องประชาชน ชาวจังหวัดระนองได้เห็นด้วยในสิ่งที่อยากให้มีโครงการแลนด์บริดจ์เกิดขึ้น แล้วก็ยังเห็นด้วย ในความเป็นธรรมชาติ แต่ถึงอย่างไรแล้วถ้าเกิดตรงไหนที่เป็นประโยชน์และสามารถสร้าง รายได้ สร้างเศรษฐกิจให้กับพี่น้องชาวจังหวัดระนองก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะตอบโจทย์ให้รัฐบาล เลือกได้ว่าจะนำโครงการแลนด์บริดจ์ก่อนหรือจะเลือกมรดกโลกก่อน สิ่งนี้ก็ขอนำเรียน ผ่านท่านประธานสภาไปถึงผู้ชี้แจงทราบครับ กราบขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคภูมิใจไทยครับ ก่อนอื่นต้องกราบขอโทษท่านประธานด้วยนะครับ มีติดประชุมเมื่อสักครู่นี้ต้องกราบขอโทษ ด้วยครับ ท่านประธานที่เคารพครับ กระผมต้องกราบขอบคุณที่ทางคณะรัฐบาล โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ครม. ได้ยื่นญัตติในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... และรวมถึงทางของภาคประชาชนด้วย ทุกญัตติของร่างพระราชบัญญัติทุกฉบับ ท่านประธานที่เคารพพื้นที่จังหวัดระนองมีกลุ่มชาติพันธุ์ ๑ กลุ่ม
นั่นคือเขาเรียกว่ากลุ่มมอแกน เป็น ๑ ใน ๓ ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล นั่นหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่แถบชายฝั่งทะเลหรือตาม เกาะแก่งต่าง ๆ และมีวิถีชีวิตผูกพันกับทะเลเป็นอย่างยิ่ง คนส่วนใหญ่เริ่มรู้จักมอแกนหลัง เหตุการณ์สึนามิเกิดขึ้น หลังจากนั้นชนเผ่าพื้นเมืองก็ได้มีหลักแหล่ง มีที่ทำมาหากิน แล้วก็ประกอบอาชีพไปตามจุดต่าง ๆ ของจังหวัดระนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบทะเล ฝั่งอันดามัน ท่านประธานครับ ปัจจุบันชาวมอแกนที่อยู่รวมกันเป็นชุมชน ที่เรามีการสำรวจ ตามจังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดระนอง แถวแนวเขตพรมแดนประเทศ การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะต่าง ๆ จังหวัดระนองได้มีการสำรวจออกมา มีทั้งหมด ๓ ชุมชนวันนี้ นั่นคือชุมชนมอแกนเกาะเหลา มีจำนวนประชากรของพี่น้องมอแกน ๒๑๒ คน ชุมชนมอแกนเกาะช้าง จำนวน ๒๔๕ คน ชุมชนมอแกนเกาะพยาม ๑๗๓ คน รวมแล้วทั้งหมด ๖๓๐ คนได้ สิ่งนี้ที่ชาวมอแกนที่ผมอยากจะนำเรียนว่าวันนี้ทำไมถึงต้อง อภิปราย ชาวมอแกนที่ยังไม่ใช่คนไทย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ครับท่านประธาน เพราะกว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของชาวมอแกนยังไม่มีบัตรประชาชน เมื่อไม่มีบัตรประชาชนก็เท่ากับว่าเป็น บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งเป็นข้อห่วงใยสำหรับผมเอง ท่านประธานครับ ในส่วน ของร่างพระราชบัญญัติที่ผมขอหยิบยกขึ้นมา เป็นร่างพระราชบัญญัติ ของ ครม. โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในมาตรา ๕ และบางอนุมาตราแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า การคุ้มครองและส่งเสริมชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์ตามพระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองชาวไทย กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดำรงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจ อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน รวมถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและรับรองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ ท่านประธานครับ (๕) (๖) (๗) ที่อยู่ในมาตรา ๕ สิ่งนี้ที่ผมอยากจะหยิบยก ทำไมชาวมอแกน ยังมีปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องสัญชาติ เช่น การคลอดบุตรจะต้อง คลอดด้วยหมอตำแยในหมู่บ้าน ไม่มีการแจ้งเกิดที่อำเภอเลย แต่ต้องแจ้งที่ผู้ใหญ่บ้าน ปัญหา คือกลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติ หรือกรณีที่พ่อแม่ได้รับบัตรประชาชนแล้ว แต่เด็กก็ยังไม่ได้รับ จึงขาดสิทธิในการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐครับ ปัญหาที่ตามมาคือปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการ ของรัฐและการขาดสิทธิขั้นพื้นฐาน ชาวมอแกนส่วนน้อยครับท่านประธาน ถือบัตรประชาชน แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีบัตรเช่นกันบางส่วนถือปฏิบัติหมายเลข ๐ ครับท่านประธาน หรือบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ทำให้พี่น้องชาวมอแกนได้รับสิทธิขั้น พื้นฐานที่จำกัด เช่น เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เป็นต้น สิทธิบัตรทอง รักษาทุกโรค บัตรคนชรา หรือสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐที่รัฐจัดให้ แล้วก็เป็นการส่งเสริมให้กับพี่น้องชาวมอแกนตรงนี้ ชาวมอแกนเหล่านี้ไม่ได้รับ มีสัญชาติไทย แต่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการเหล่านี้ได้ ครับท่านประธาน ปัญหาที่ตามมาอีกปัญหาหนึ่ง ปัญหาความมั่นคงในที่อยู่อาศัย เมื่อไม่มีสถานะทางทะเบียนแล้วก็ไม่สามารถถือครอง เอกสารสิทธิที่ดินทำกินได้ และบางพื้นที่ยังเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของรัฐด้วยครับท่านประธาน จึง เป็นข้อจำกัดต่อการทำมาหากินของพี่น้องชาวมอแกนและเด็กรุ่นหลังด้วย ซึ่งปัญหาที่ผม กล่าวมาข้างต้นนี้ผมได้รับข้อมูลจากท่าน สจ. จำลอง พงษ์พิทักษ์ คุณแม่เนาวนิตย์ แจ่มพิศ และคุณนครินทร์ ดำรงภคสกุล ที่สะท้อนปัญหานี้ให้กับผม ต้องกราบขอบคุณมาก ในข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติม สิ่งหนึ่งที่ผมยังมีความห่วงใยมาก ปัญหาเรื่องของการมีส่วนร่วม การบริหารจัดการ อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ข้อนี้ยิ่งลำบากครับ พื้นที่ส่วนใหญ่ชาวมอแกนอาศัยอยู่ในพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ของภาครัฐ กรมป่าไม้ เป็นต้น ท่านประธานทราบไหมครับ ที่มีข่าว พูดถึงการก่อสร้างสะพานให้กับเด็กนักเรียนชาวมอแกน ตรงนี้เป็นจุดหนึ่งที่เป็นปัญหาของ พี่น้องประชาชน แต่โชคดีครับท่านประธาน ตอนประชุม ครม. สัญจรท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ท่านได้ลงพื้นที่ตรงนี้เร่งด่วนและไปรับฟังปัญหา และท่านก็ช่วยแก้ไข ปัญหาตรงนี้ให้กับพี่น้องประชาชนชาวมอแกนแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็ต้องขอบคุณภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ ที่ช่วยสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างสะพานให้กับพี่น้องชาวมอแกน และให้กับลูกหลานชาวมอแกนได้ใช้ในการสัญจรไปเรียนหนังสือได้สะดวกยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งครับ ท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่านก็มีความห่วงใยเรื่องเกี่ยวกับสิทธิหรือพี่น้องประชาชน ชาวมอแกนที่ยังไม่ได้รับสัญชาติ ท่านได้มีคำสั่งให้อธิบดีกรมการปกครองลงสำรวจเรื่องนี้ อย่างเร่งด่วน เราโชคดีครับ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ขออนุญาตเอ่ยนามท่านครับ ท่านบรรจบ จันทรัตน์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ท่านประกาศิต พรประสิทธิ์ ปลัดจังหวัด ระนอง และว่าที่ร้อยตรี สมบัติ สิงห์คาร ท่านนายอำเภอเมืองระนอง แล้วก็เจ้าหน้าที่ของรัฐ ฝ่ายปกครองได้ลงไปสำรวจและติดตามแก้ไขปัญหาได้สถานะบุคคลและสัญชาติกับพี่น้อง ชาวมอแกนที่ตำบลเกาะพยามเรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนท่านประธาน ปัญหาเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไข ผมจึงหยิบยกมาตรา ๕ แห่งร่างพระราชบัญญัติที่ ครม. เสนอขึ้นมานี้ แล้วก็ขอฝากกรรมาธิการชุดที่จะแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาข้อห่วงใย ข้อสังเกต ที่ผมได้ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของสวัสดิการของรัฐให้กับพี่น้องชาวมอแกน และลูกหลาน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต แล้วก็สิ่งดี ๆ ให้กับพี่น้องชาวมอแกน ต่อไปในอนาคต ขอกราบขอบคุณท่านประธานมากครับ