นายพงษ์มนู ทองหนัก

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดพิษณุโลก ต้องขอบคุณท่านประธาน ที่ให้โอกาสนะครับ วันนี้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจะมารายงานผลดำเนินงานของ กสทช. ซึ่งล่าช้ามาเป็นเวลาหลายปี กสทช. เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีงบประมาณ มหาศาลจำนวนมาก ดังนั้นอยากจะขอถามเป็นข้อ ๆ สัก ๒-๓ ประเด็นให้ท่านได้ตอบใน ณ ที่นี้ด้วยนะครับว่า

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๑ งบประมาณของ กสทช. ที่มีจำนวนมากนั้นได้ลงไปถึงทุก ๆ พื้นที่ในประเทศไทย ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ทุกพื้นที่หรือไม่ อย่างไร ถ้ายังไม่ครอบคลุม ทุกพื้นที่อย่างไรแล้ว อยากจะถาม กสทช. ว่างบประมาณต่าง ๆ ที่ท่านลงไปนั้นจะครอบคลุม ทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้เมื่อใด อย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ อยากจะถามอีกว่าการแก้ไขปัญหาของ กสทช. ในเรื่องที่เกิดจาก การจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ที่ไม่มีคุณภาพนั้นท่านจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร และดำเนินการแก้ไข ไปในรูปแบบใด และแก้ไขไปได้มากน้อยเท่าใดแล้ว

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ ปัญหาการแก้ไขการทุจริตในโครงการของ กสทช. ที่มีมา อย่างต่อเนื่อง ไม่ทราบว่าทาง กสทช. นั้นได้แก้ไขไปกี่เรื่อง กี่อย่างแล้วในขณะนี้ และสามารถ ดำเนินการแก้ไขได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ และส่วนใหญ่แล้วในงบประมาณต่าง ๆ ที่ท่าน ได้ทำลงไปนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ของจังหวัดพิษณุโลกที่เป็นพื้นที่ห่างไกล อย่างเช่น ตำบลบ่อโพธิ์ ตำบลน้ำกุ่มของอำเภอนครไทย รวมทั้งตำบลบ้านกลางของอำเภอวังทองนั้น มีความยากลำบากในการใช้การสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง ไม่ทราบว่าทาง กสทช. ดำเนินการ ได้ครอบคลุมหรือไม่ ถ้าไม่อย่างไร ท่านจะสามารถดำเนินการให้ครอบคลุมพื้นที่เหล่านี้ได้ ในเมื่อใด หวังว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ผมได้สอบถามไปเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ท่านจะสามารถดำเนินการได้ ภายในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ นี้ด้วยนะครับ ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิก ผู้ทรงเกียรติ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ จากวังทอง เนินมะปราง วันนี้ จะขอหารือกับท่านประธานสัก ๒ ประการ ในเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องอำเภอวังทอง และพี่น้องอำเภอเนินมะปราง

    อ่านในการประชุม

  • ประการแรก เกี่ยวกับความปลอดภัยในเรื่องชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้อง ที่ใช้เส้นทางหลวง หมายเลข ๑๑ จากอำเภอวังทองไปอำเภอสากเหล็ก บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๐ บ้านกกไม้แดงแยกไปอำเภอเนินมะปราง ซึ่งเป็นสามแยกที่มีการจราจรค่อนข้างแออัด รวมทั้งวันพฤหัสบดีและวันเสาร์ในช่วงบ่าย ๆ ก็จะมีตลาดนัดของชาวบ้านมาทำการค้าขาย แต่ปรากฏว่าที่สามแยกนี้ไม่ค่อยมีสัญญาณไฟส่องสว่างที่ชัดเจน และไม่มีสัญญาณไฟฉุกเฉิน เพื่อป้องกันและเตือนภัยให้กับพี่น้องที่ใช้รถ ใช้ถนน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของตำบลดินทองได้สอบถามไปยังกรมทางหลวงแล้วว่าทำไมจุดนี้แสงสว่างจึงมีน้อย สัญญาณไฟกะพริบหรือไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนให้ชาวบ้านได้ใช้อย่างระมัดระวังทำไมไม่มี ทางกรมทางหลวงได้แจ้งตอบมาว่าไม่มีงบประมาณ แต่ช่วงอื่นมีงบประมาณทำมา แต่ช่วงที่สำคัญนี้ดันไม่มีงบประมาณครับ ท่านประธาน ดังนั้นจึงขอหารือกับท่านประธาน ช่วยประสานไปยังกรมทางหลวง หมายเลข ๑๑ ช่วงกิโลเมตรที่ ๑๐ ให้ไปติดสัญญาณ ไฟฉุกเฉินและสัญญาณไฟจราจรต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้อง ชาวอำเภอวังทองและชาวอำเภอเนินมะปราง

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ เป็นเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรในอำเภอ เนินมะปราง อำเภอวังทอง รวมถึงอำเภอบางกระทุ่ม ซึ่งฤดูนี้เป็นฤดูฝน พี่น้องส่วนใหญ่ ในเขตนั้นจะมีอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำข้าวโพด ปลูกพริก ปลูกฟักทอง แต่มาช่วงนี้ ปีนี้เกิดฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง ขณะนี้ราษฎรในเขตของอำเภอวังทอง ตำบลวังนกแอ่น บ้านกลาง ชัยนาม ดินทอง หนองพระ พันชาลี ท่าหมื่นราม และทั้งอำเภอเนินมะปราง ส่วนอำเภอ บางกระทุ่ม ตำบลเนินกุ่ม และตำบลวัดตายมได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ข้าวที่หว่านไว้ ขึ้นมายาวประมาณ ๑ คืบไม่มีน้ำ กำลังจะยืนต้นตาย พริก ฟักทองของพี่น้องก็กำลังจะตาย เช่นกัน ดังนั้นจึงขอหารือกับท่านประธานว่าช่วยประสานไปยังกรมฝนหลวงที่อยู่นครสวรรค์ ช่วยทำฝนเทียม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องราษฎรในเขตอำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง และบางกระทุ่มด้วย จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม พงษ์มนู ทองหนัก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก อำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้ขอร่วมอภิปรายในญัตติ เรื่อง ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ดิน ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ของประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๙ และรวมทั้งญัตติเรื่องที่ดินของเพื่อนสมาชิก ทุก ๆ ฉบับด้วยที่จะเสนอตั้งเป็นคณะกรรมาธิการแก้ไข ก็เห็นด้วย เนื่องจากว่าที่ดิน ทรัพย์สินและที่อยู่อาศัยนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีวิตของพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะ อย่างยิ่งพี่น้องเกษตรกรจากจังหวัดพิษณุโลกบ้านผม ในจังหวัดพิษณุโลกนั้นเรามี ๙ อำเภอ เป็น Zone ที่ราบสูงประมาณ ๕ อำเภอ แล้วก็ที่ราบลุ่มอีก ๔ อำเภอ โดยเฉพาะเขตเลือกตั้ง ของผมนั้น ในอำเภอวังทองและอำเภอเนินมะปราง มีปัญหาค่อนข้างจะเยอะเกี่ยวกับ เรื่องที่ดินและเอกสารสิทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอวังทองมีที่ดินประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ ไร่ มีเอกสารสิทธิประมาณ ๕๐,๐๐๐ ไร่ ส่วนอำเภอเนินมะปรางมีที่ดินประมาณ ๖๒,๐๐๐ ไร่ มีเอกสารสิทธิประมาณ ๔,๐๐๐ กว่าไร่ ไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ครับ และเอกสารสิทธิที่มีนั้น ไม่ใช่เป็นโฉนด น.ส. ๓ อย่างเดียว มีทั้ง ส.ป.ก. มีทั้งอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นพื้นที่ในเขตเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นอำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง ค่อนข้างจะทำการพัฒนายาก ซึ่งระเบียบ กฎหมายของป่าไม้นั้นไม่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ นำงบประมาณต่าง ๆ ที่จะไป สร้างความเจริญให้กับพี่น้องที่อยู่ในเขตเลือกตั้งของกระผมได้เลย ดังนั้นจึงเห็นว่า เอกสารสิทธินี้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตของพี่น้องเกษตรกรชาววังทองและชาวเนินมะปราง เป็นอย่างสูง เอกสารสิทธิที่ได้รับมา โฉนด น.ส. ๓ ส.ป.ก. อันนั้นหน่วยงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปพัฒนาได้ แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นพื้นที่ป่าสงวน ป่าไม้ ป่าเสื่อมโทรมนั้น ไม่สามารถเข้าไปทำกิจกรรมใด ๆ ได้ แม้แต่พี่น้องในเขตเลือกตั้งของผม อาศัยอยู่มาตั้งแต่ รุ่นปู่ รุ่นย่า รุ่นตา รุ่นยาย นับเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว จะเจาะบ่อเวลาฤดูแล้งก็ไม่ได้ จะขุดสระ ทำอาชีพเลี้ยงปลาก็ไม่ได้ เป็นปัญหาอย่างยิ่ง ดังนั้นเองก็หวังว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นที่พึ่งสำหรับ พี่น้องเกษตรกรในอำเภอวังทองและอำเภอเนินมะปรางของผม ว่าเขาจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการที่เขาได้รับเอกสารสิทธิซึ่งเป็นโฉนด ถ้าเป็นเอกสารสิทธิอย่างอื่นซึ่งรัฐบาลหลายยุค หลายสมัยได้ทำมา แก้ไขมา ก็มีทั้งประสบความสำเร็จบ้าง ไม่ประสบความสำเร็จบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกสารสิทธิที่เป็น ส.ป.ก. ๔-๐๑ ในพื้นที่อำเภอวังทองและอำเภอ เนินมะปรางของกระผมนั้นก็มีเอกสารสิทธิเหล่านี้เหมือนกัน และตอนนี้เริ่มมีปัญหาแล้ว เพราะมีประชาชนราษฎรในเขตเลือกตั้งของผมอยู่พื้นที่นี้มาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ และมารุ่นเขา ประมาณ ๑๒๐ ปีแล้ว อยู่ที่นี่มา ๑๐๐ ปี วันนี้เขาไม่ได้มีอาชีพเกษตรกรเหมือนพ่อเหมือน แม่เขา วันหนึ่งพ่อแม่เขาอยากให้ลูกได้ดี ส่งลูกส่งหลานไปเรียน แต่ว่ามีข้อจำกัดทางด้าน กฎหมายประการหนึ่งว่าเอกสารสิทธิทางด้าน ส.ป.ก. นั้น จะจำหน่าย จ่าย โอน แจกจ่าย ไม่ได้ นอกจากมรดกตกทอดเท่านั้น แต่บังเอิญมีครอบครัวที่เขามีลูกน้อย มีลูก คนเดียว พ่อเขาตาย เขาไม่มีอาชีพเกษตรกร เพราะฉะนั้นบ้านที่เขาเคยอยู่มา ๕๐-๖๐ ปี กับพ่อกับปู่ของเขานั้น วันนี้เขาไม่สามารถรับมรดกได้ เพราะฉะนั้นที่ดินของเขาที่อยู่มาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า ๑๒๐ ปี จะต้องถูกจำหน่ายไปเป็นที่ดิน ของรัฐ อันนี้เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจอย่างยิ่งสำหรับพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่เลือกตั้งของผม ดังนั้นก็หวังว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลชุดนี้เคยดำเนินการไว้ และกล่าวไว้ว่าจะดำเนินการ ออกเอกสารสิทธิจำนวน ๕๐ ล้านไร่ให้กับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ก็หวังว่าประชาชน ในเขตเลือกตั้งผม อำเภอวังทองและอำเภอเนินมะปรางจะได้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ด้วย ไม่มากก็น้อย ดังนั้นวันนี้ก็จะนำมาเสนอกับท่านประธานไปยังรัฐบาลว่าช่วยดูแล เพราะว่า ที่ดิน ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตอยู่ของพี่น้องเกษตรกรบ้านผม วันนี้ต้องขอกราบเรียนท่านประธานสภาครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ วังทอง เนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก วันนี้จะขอนำเรื่องทุกข์และความเดือดร้อนของพี่น้องชาววังทอง เนินมะปราง มาหารือกับท่านประธานเพียงเรื่องเดียว เพราะกลัวว่าหารือหลายเรื่องแล้ว จะไม่ได้รับการตอบรับครับท่านประธาน รวมถึงพี่น้องในเขตอำเภอบางกระทุ่มต่อจากอำเภอวังทองต่อไป ซึ่งความเสียหายในการนี้ นับเป็นหมื่น ๆ ไร่ ความเสียหายนับเป็นร้อย ๆ ล้านบาท ดังนั้นเองผมอยากกราบเรียน ท่านประธานว่าในอดีตปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ท่านจุติ ไกรฤกษ์ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงไอซีที ได้เสนอโครงการและของบประมาณจากรัฐบาล รัฐบาลยุคนั้นก็ให้งบประมาณไปดำเนินการ ประมาณ ๗๐ ล้านบาท แต่ว่ากรมชลประทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมชลประทาน จังหวัดพิษณุโลกได้ทำเรื่องและทำพนังกั้นน้ำในแคววังทองระยะทางประมาณฝั่งละ ๑๕ กิโลเมตร จากตำบลวังทองผ่านตำบลวังพิกุลไปตำบลแม่ระกาไปตำบลบึงพระ แต่ว่า บังเอิญท่านชลประทานจังหวัดพิษณุโลกแบ่งโครงการเป็น ๒ ตอน ตอน ๑ ทำเสร็จไปแล้ว ตอน ๒ ยังไม่ได้ทำ วันนั้น ปี ๒๕๕๓ ถึงวันนี้ ๒๕๖๖ เป็นระยะเวลา ๑๓ ปีแล้ว ตอนที่ ๒ ยังไม่ได้ทำ ดังนั้นจึงฝากเรื่องนี้ไปยังประธานสภาเพื่อส่งเรื่องไปยังกรมชลประทาน สำนักงานชลประทานจังหวัดพิษณุโลก กรมโยธาธิการและผังเมือง ท่านผู้ว่าราชการ จังหวัดพิษณุโลก ว่าช่วยของบประมาณมาทำพนังกั้นน้ำในเขตตำบลวังทอง ตำบลวังพิกุล ของเขตอำเภอวังทอง ให้พี่น้องประชาชนได้ลืมตาอ้าปากบ้าง เพราะงบประมาณลงทุนนี้ ประมาณ ๓๕ ล้านบาท แต่ว่าไร่นาของพี่น้องที่เสียหายนับหมื่นไร่ งบประมาณเป็น ๑๐๐ ล้านบาทที่เสียไป เชื่อว่าถ้ารัฐบาลทำพนังกั้นน้ำให้กับพี่น้องวังทอง วังพิกุลแล้ว เงินเป็นร้อย ๆ ล้านบาท ที่พี่น้องชาววังทอง วังพิกุลจะได้รับดีกว่าผลประโยชน์จากที่ได้รับ จากเงินดิจิทัลเป็นแน่แท้ ขอบคุณท่านประธานครับ สวัสดีครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ วังทอง เนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลกครับ วันนี้จะขอหารือกับท่านประธานเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ พี่น้องชาวเนินมะปราง และนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เดินทางมาเที่ยวบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

    อ่านในการประชุม

  • ผมได้รับการร้องเรียนจากท่านวชิระ พุ่มพฤกษ์ สจ. อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ท่านนายกสุวรรณ ชนะขันธ์ นายก อบต. เนินมะปราง ท่านจตุรพร ทรงพุฒิ ประธาน กต.ตร.สภ.เนินมะปราง และท่านนายกสุชาติ น้อยจันทร์ อดีตนายก อบต. บ้านมุง ว่าขณะนี้นักท่องเที่ยวทั่วโลกได้เดินทางมาเที่ยว ที่บ้านมุงของอำเภอเนินมะปรางเป็นจำนวนมาก มาดูความสวยงามของเขาหินปูนที่ มีความพิสดารอย่างยิ่ง มาดูค้างคาวในยามค่ำคืนที่บินออกจากถ้ำสวยงาม มาตั้ง Camp ปีนผา และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งนักท่องเที่ยวเหล่านี้เดินทางมาโดยรถยนต์ส่วนใหญ่ ผ่านถนนทางหลวงหมายเลข ๑๑ มา ๑๑๑๕ จากสากเหล็กมาเนินมะปรางมาบ้านมุง ซึ่งถนนเส้นนี้เป็นถนนเส้นเดียว มีรถวิ่งสวน ส่วนใหญ่แล้วพี่น้องได้รับอุบัติเหตุเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงตลาดอำเภอเนินมะปรางไปถึงบ้านมุงมีโค้งหลายโค้ง และบางโค้ง ไม่มีสัญญาณไฟ และไม่มีไฟรายทาง ทำให้พี่น้องเนินมะปรางของผมเกิดอุบัติเหตุ เสียชีวิต หลายราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านมุงเรียกว่าโค้งร้อยศพ ดังนั้นจึงฝากท่านประธานไปยัง กรมทางหลวงว่าแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทำรายได้ให้กับ พี่น้องเนินมะปราง พี่น้องบ้านมุงในอนาคตเป็นอย่างมาก และในอนาคตไม่กี่ปีทราบว่าน่าจะ มีความสวยงาม และมีนักท่องเที่ยวมากพอ ๆ กับเขาค้อ หรือที่อื่น ดังนั้นจึงฝากท่านประธาน ไปยังกรมทางหลวงว่าช่วยขยายถนนจาก ๔ แยกสากเหล็กไปถึงบ้านมุง จำนวน ๒๘ กิโลเมตร คงเป็นเงินไม่มาก แต่ว่าเราจะได้จากการลงทุนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปีที่แล้วมีบริษัทภาพยนตร์มาถ่ายภาพยนตร์และได้ฉายในประเทศไทยแล้ว เรื่องเดอะ ครีเอเตอร์ ขณะนี้ได้ฉายที่ประเทศไทยแล้ว ทำให้ทั่วโลกได้รู้จักประเทศไทย เป็นอย่างดี และเชื่อว่าในอนาคตนักท่องเที่ยวจะมาบ้านมุงเป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จึงฝากท่านประธานได้ช่วยประสานกับกรมทางหลวง เพื่อของบประมาณขยายถนน ๔ เลน จากสี่แยกสากเหล็กไปบ้านมุงจำนวน ๒๘ กิโลเมตร ด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ อำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก วันนี้จะขอถามกระทู้กับท่านนายกรัฐมนตรี พอดีท่าน คงติดภารกิจนะครับ ไม่สามารถมาตอบได้ ก็คงมอบให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ท่านก็คงติดอีก ก็คงเป็นท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการ อนุชา นาคาศัย คงมารับบท อีก เพราะเมื่อสักครู่ก็เจอกันที่ห้องกระทู้เล็กไป ๑ ครั้งแล้ว อย่างไรก็ดี ปัญหาของเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดพิษณุโลกของกระผมเป็นจังหวัดที่แปลก ปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด ที่ในประเทศไทยมี เพราะฉะนั้นวันนี้ที่จะถามท่านรัฐมนตรีอนุชา ก็จะแยกเป็น ๒ คำถาม เกี่ยวกับรายได้ เกษตรกร ข้อแรก ก็คือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ ข้อ ๒ ก็เป็นเรื่องของพืชสวนผลไม้ก็แล้วกันนะครับ โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่จังหวัดพิษณุโลกของผมนั้นก็จะมีข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ยางพาราก็มี รวมทั้งปาล์มน้ำมัน ยางพารานี้ปลูกเยอะในอำเภอวังทอง ราคาก็ค่อนข้าง จะตกต่ำ แต่พอดีเพื่อน ๆ ผมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีทั้ง ๒ ท่าน ๆ ดอกเตอร์ปรเมษฐ์ จินา ท่านธานินท์ นวลวัฒน์ ทั้ง ๒ ท่าน ๆ บอกว่าราคายางพาราไม่ใช่ตกต่ำแต่เฉพาะจังหวัด พิษณุโลกหรอกครับ ท่านบอกว่าที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีของท่านก็ตกต่ำเหมือนกัน นึกว่าตกต่ำแต่เฉพาะบ้านผมอย่างเดียว อย่างไรก็ดีปัญหาพี่น้องเกษตรกรเป็นปัญหาที่เรื้อรัง มานาน ก็ได้รับการแก้ไขสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมานี้เราก็จะเห็นได้ ว่าสินค้าทางเกษตรหลาย ๆ ตัวก็ประคองตัวอยู่ได้ในช่วงโควิด-๑๙ ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ราคาก็ยังพอทรงตัวอยู่ได้ ก็คงเนื่องจากว่ามันสำปะหลังนั้นหลายประเทศ คงซื้อเราไปเพื่อผลิตเป็นแอลกอฮอล์ ในช่วงโควิด-๑๙ ราคาตั้งแต่ผมเป็นเด็กมากิโลกรัมละ ๗๕ สตางค์ วันนี้มันสำปะหลังกิโลกรัมละ ๖-๗ บาท ก็ถือว่าขึ้นมาตลอด แต่ว่าราคาข้าวของ พี่น้องเกษตรกรบ้านผม ซึ่งเป็นเกษตรกรจำนวนมากราคาค่อนข้างจะตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งหลายทั้งปวงครับท่านประธาน ที่ผ่านมาทุกยุคทุกสมัยก็จะมีการช่วยเหลือเกษตรกรมาเสมอ หลาย ๆ รัฐบาลที่ผ่านมา สมัยก่อนโน้นก็ไม่นานนักก็มีโครงการจำนำ จำนอง มีประกันรายได้ เกษตรกร มาถึงรัฐบาลที่แล้วรัฐบาลลุงตู่ก็มีประกันรายได้ให้กับเกษตรกรในพืชเศรษฐกิจ ๕ ประเภท รวมทั้งมีการให้ค่าไถหว่าน รวมทั้งค่าเก็บเกี่ยว แต่พอมาถึงรัฐบาลสมัยนี้ยุคนี้ ยังไม่เห็นมีนโยบายเหล่านี้เกิดขึ้น วันนี้แถวบ้านผมเริ่มทำนาปรัง เริ่มปลูกมันสำปะหลัง เก็บมันสำปะหลังอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะเป็นฤดูกาลเพาะปลูก เกษตรกรบ้านผมก็อยากจะ ทราบครับท่านประธาน ว่าเขาจะเพาะปลูกข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือว่ายางพารา ที่ลงทุนและปาล์มน้ำมันอีก ๓-๔ เดือนข้างหน้านี้เขาก็คาดหวัง เขาอยากรู้เหมือนกันว่าเขา จะขายได้ราคาเท่าไร เพราะอดีตที่ผ่านมาเรามีประกันรายได้ เขาก็รู้แล้วว่าถ้าอันนั้นเขาก็ ต้องมีส่วนต่าง เขาจะมีค่าเก็บเกี่ยวอีกไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท เขาจะมีค่าไถกลบอีกไร่ ๑,๐๐๐ บาท เกษตรกรครอบครัวละ ๒๐ ไร่ เขาก็ประเมินต่ำ ๆ แล้วว่าเขาจะมีต้นทุนในการผลิตเท่าไร เขาจะมีส่วนต่างเท่าไร รวมทั้งเขาจะได้จากรัฐบาลช่วยเหลือประมาณอย่างน้อยก็ ๒๐,๐๐๐ บาทต่อครัวเรือนเขาประเมินได้ในความคิดของเขาแล้ว แต่ปีนี้รัฐบาลไม่ได้มี โครงการเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นก็อยากจะถามคณะรัฐบาล แต่ว่าท่านรัฐมนตรีอนุชา เป็นคนมาตอบ ก็อยากจะถามว่าเมื่อรัฐบาลไม่ได้มีนโยบายประกันรายได้ จำนำ จำนอง ค่าไถกลบ ค่าเก็บเกี่ยวให้เกษตรกรแล้วนี้วันข้างหน้าท่านจะมีนโยบายอะไรที่ช่วยเหลือให้ เกษตรกรทั้งประเทศไทย รวมทั้งเกษตรกรของพี่น้องผมอำเภอวังทองและอำเภอ เนินมะปรางได้มั่นใจว่าในเดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายนข้างหน้านี้ที่เขาจะปลูกข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลังนี้เขาทำแล้วเขาจะไม่ขาดทุนเหมือนปีที่ผ่าน ๆ มา เพราะฉะนั้น ขอถามเป็นคำถามแรกสำหรับท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีอนุชา ช่วยตอบคำถามที่ ๑ ครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ อำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ก็ต้องขอบคุณท่านรัฐมนตรีที่ให้ความกระจ่างนะครับ แต่ที่ท่านบอกว่ามี โฉนดไม้ยาง นี้ไม่ทราบว่าเพื่อนผมที่สุราษฎร์ธานีบอกยางนาหรือยางพาราครับ เดี๋ยวท่านค่อย ตอบนะครับว่ายางนาหรือยางพารา เพราะเพื่อนผมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านธานินท์ นวลวัฒน์ กับท่านปรเมษฐ์ จินา ท่านบอกยางนี้ยางอะไร

    อ่านในการประชุม

  • คำถามที่ ๒ รายได้เรื่องเกษตรกร อันแรกผมก็แบ่งไปแล้วเป็นพืชเศรษฐกิจ อันที่ ๒ ก็เป็นพืชสวน จังหวัดพิษณุโลกของผมก็แปลกอีก ผลไม้ใด ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลกผมก็ปลูกได้ทุกอย่างอีกเช่นกันครับ แถมรสชาติดีด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มังคุด วังทอง วังนกแอ่น บ้านผมปลูกมาแล้วหวานไม่ติดเปรี้ยวเลย แต่ว่าราคานี้เตี้ยต่ำติด ดินเหมือนกัน ท่านธานินท์กับท่านปรเมษฐ์บอกว่าที่บ้านเขาเอามาเทกลางถนนมันก็มีนะครับ อย่างไรก็ดีพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิดก็เป็นผลไม้ ที่บ้านผมจะมีผลไม้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มะม่วง มังคุด เงาะ ลองกอง ทุเรียน ก็ปลูกได้หมดเหมือนกัน แต่ว่าราคาสินค้าพวกนี้บางปี ก็พออยู่ได้ บางปีก็อยู่ไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะม่วงสมัยก่อนกิโลกรัมละ ๔๐ บาท ๓๐ บาทเกษตรกรก็อยู่ได้ ช่วงนี้เหลือกิโลกรัมละ ๑๐ กว่าบาท ค่าถุงที่ไปห่อมะม่วง น้ำดอกไม้จังหวัดพิษณุโลกบ้านผม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอเนินมะปรางได้ผลิตภัณฑ์ GI จากกระทรวงพาณิชย์ เป็นสินค้ามาตรฐาน GI สำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้บ้านผม แต่ว่า ราคากิโลกรัมหนึ่ง ๑๐ กว่าบาท ค่าถุงห่อสมมุติ ๓ ใบ ๑ กิโลกรัม ค่าถุง Carbon ใบละ ๑.๓๐ บาท ค่าคนห่ออีก ๓๐ สตางค์ ๓ ใบ ๑ กิโลกรัมต้นทุนค่าห่อไปก็ ๕ บาทกว่า ยังไม่นับค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าอย่างอื่นนะครับ เกษตรกรบอกว่าอยู่ไม่ได้ แล้วเพื่อนสมาชิกผมจาก จังหวัดสุราษฎร์ธานีก็บอกว่าบ้านเขามีทุเรียนเยอะ จังหวัดชุมพรมีทุเรียนเยอะ วันนี้ราคาพอ อยู่ได้ แต่วันข้างหน้าทุเรียนเวียดนามก็ดี ทุเรียนที่อื่นก็ดี เพื่อนสมาชิกผม โดยเฉพาะ ท่านธานินท์เป็นห่วงอย่างยิ่งว่าราคาข้างหน้าจะตกต่ำมาก เพราะฉะนั้นท่านจะมีวิธีอย่างไร เกี่ยวกับเรื่องทุเรียน ถ้าของประเทศเวียดนามเข้ามา ของที่อื่นเข้ามา อย่างไรก็ดี ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผลไม้มีอย่างเดียวที่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลเรื่อยมา พี่น้องเกษตรกรบ้านผม วังทอง เนินมะปราง ถามผมว่ามะม่วงของเขาบางทีกิโลกรัมละ ๒-๓ บาท ต้องเก็บขายด้วยความช้ำใจ ไม่เคยได้รับการเหลียวแลช่วยเหลือจากรัฐบาลเลย แต่มีลำไยผลผลิตปีหนึ่งก็ไม่ได้เยอะมากมาย แต่ว่าเมื่อลำไยราคาตกต่ำทีไรนี้รัฐบาลเข้าไปอุ้ม ไปชู ไปดูแลเสมอ พี่น้องเกษตรกรบ้านผมบอกว่าทำไมรัฐบาลดูแลแต่ราคาลำไย ซึ่งเป็นผลไม้ เหมือนกัน ทำไมมะม่วงของวังทอง เนินมะปรางของจังหวัดพิจิตรไม่ดูแลบ้าง ทำไมมังคุดของจังหวัดพัทลุง มังคุดวังนกแอ่นผมรัฐบาลไม่ดูแลบ้าง สิ่งเหล่านี้มันเป็นปัญหาที่เกษตรกรบ้านผมฝากถามมา บอกอยากให้ท่านนายกรัฐมนตรีมาตอบ แต่พอดีท่านนายกรัฐมนตรีก็มอบหมายจนมาถึง ท่านรัฐมนตรีอนุชา นะครับ อันนี้ก็เป็นคำถามที่ ๒ ที่ผมจะให้ท่านรัฐมนตรีได้ตอบว่า ทำไมเวลาลำไยราคาตกต่ำรัฐบาลถึงไปอุ้มชูไปดูแล เวลามะม่วงบ้านผมตกต่ำทำไมรัฐบาล ไม่ไปดูแลบ้างครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานสภาครับ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ ก็จะขอฝาก ไม่ได้ถาม ขอฝากท่านรัฐมนตรีนะครับ คือเห็นรัฐบาลชุดนี้จะมีนโยบายอีกประการหนึ่ง คือเรื่องโคล้านตัว เพราะฉะนั้นเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านผม ก็ฝากท่านรัฐมนตรีด้วยครับ เป็นฝากนะครับ ขณะนี้ในรอบหลายปี ที่ผ่านมาเนื้อโคกระบือราคาตกต่ำที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นถ้าท่านทำโค ล้านตัวออกมาอีก ปศุสัตว์บ้านผมเขาบอกว่ากลัวราคาโคมันจะถูกไปใหญ่ เพราะฉะนั้นฝาก ท่านรัฐมนตรีช่วยดูแลราคาโคกระบือด้วยครับ ขอบคุณท่านประธานครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ อำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ก่อนอื่นต้องขอบคุณท่านประธานและคณะรัฐมนตรีที่ให้โอกาสได้มาถาม ปัญหาของพี่น้องเกษตรกรในจังหวัดพิษณุโลก วันนี้ก็อยากจะถามท่านรัฐมนตรีซึ่งเป็น ตัวแทนของคณะรัฐบาลที่จะมาตอบคำถามในวันนี้ จังหวัดพิษณุโลกของผมนั้นเป็นจังหวัด ที่แปลกอย่างหนึ่งครับ มีพื้นที่ทำการเกษตรกว้าง มีทั้งที่ราบลุ่ม น้ำท่วม ที่ราบ ที่ราบเชิงเขา แล้วก็เป็นเนินเขา แล้วปัญหาต่าง ๆ ของหน่วยงานทางราชการที่ครอบครองพื้นที่ที่ดินก็มี หลายหน่วยงาน เป็น ๑ ใน ๑๓ จังหวัด มี ๑๔ ป่า ๑๓ จังหวัด ที่เป็นแบบนี้ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเลือกตั้งของกระผมในอำเภอวังทองกับอำเภอเนินมะปราง ก็จะมี พื้นที่เป็นอุทยาน เป็นป่าสงวน แล้วก็เป็นพื้นที่ที่ป่าไม้มอบให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ดูแลอีก ๑๙๐,๐๐๐ กว่าไร่ มีพี่น้องประชาชนอยู่ ๒๑,๐๐๐ กว่าครัวเรือน

    อ่านในการประชุม

  • คำถามแรก ผมอยากถามเรื่องเกี่ยวกับที่ดินเขตอุทยานแห่งชาติ ทุ่งแสลงหลวงของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีประชากรหลายพันครัวเรือนได้อาศัยอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มี พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ออกมาว่า ในเวลา ๒๔๐ วัน ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ไปสำรวจ พี่น้องประชาชนของจังหวัดพิษณุโลกที่ครอบครองที่ดินก่อน พ.ศ. ๒๕๔๑ แล้วให้วัด แบ่งแปลง เมื่อแบ่งแปลงเสร็จแล้วหลังจากนั้นก็ให้ ครม. ออกเป็น พ.ร.ก. ให้ประชาชนได้อยู่ ได้ทำกินในที่นั้นได้ แต่บัดนี้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๒ ถึงวันนี้ พ.ศ. ๒๕๖๗ คณะรัฐมนตรียังไม่ได้ ดำเนินการใด ๆ พี่น้องประชาชนในจังหวัดพิษณุโลกของผม โดยเฉพาะอำเภอวังทอง อำเภอ เนินมะปราง จะสร้างห้องน้ำเพิ่มเติมก็ทำไม่ได้ ผิดกฎหมาย ต้นไม้ล้มขวางทางจราจรก็ตัด ไม่ได้ ผิดกฎหมาย สิ่งเหล่านี้ละครับ ที่ผมอยากจะให้คณะรัฐมนตรีชุดนี้ ซึ่งมี พ.ร.บ. อุทยาน แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ดูแลอยู่ อยากจะให้ท่านรัฐมนตรีอนุชา นาคาศัย ซึ่งเป็นตัวแทน รัฐบาลได้ตอบคำถามที่ ๑ ว่าเมื่อใดคณะรัฐมนตรีจะมีพระราชกฤษฎีกาให้พี่น้องประชาชน ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติก่อน พ.ศ. ๒๕๔๑ อยู่อย่างมีความสุข อยู่แล้วไม่ต้องผิดกฎหมาย อยู่แล้วทำมาหากินได้สะดวก ปลอดภัย เป็นคำถามที่ ๑ ครับ

    อ่านในการประชุม

  • คำถามแรกก็ติดใจนิดหน่อย พื้นที่ที่ ราบสูง แต่ทางอำเภอวังทองผมไม่มีปัญหาเรื่องการทำไร่เลื่อนลอยอะไร เราจะแยกเป็น กฤษฎีกาของแต่ละพื้นที่ พอจะได้ไหมครับ ถ้าเป็นอย่างนี้ อันนี้ติดใจนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนคำถามที่ ๒ พื้นที่ที่เป็นป่าไม้ ทาง ส.ป.ก. ก็ไม่ห่วง เพราะมีนโยบาย ที่แน่ชัดและชัดเจนว่าอนาคตพื้นที่ที่เป็นป่าไม้ที่ ส.ป.ก. เข้าไปรับผิดชอบก็จะออกเป็น ส.ป.ก. เปลี่ยนจาก ส.ป.ก. เป็นโฉนด ส.ป.ก. อันนั้นหลายคนก็รับทราบแล้ว แต่มีพื้นที่ อีก ๑ พื้นที่ของอำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปรางของผม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมู่ที่ ๑๐ ตำบล ท่าหมื่นราม และตำบลพันชาลีทั้งตำบล รวมถึงอำเภอเนินมะปรางอีก ๗ ตำบล มีปัญหา คือว่าพื้นที่เหล่านี้อยู่ในพื้นที่ของป่าไม้ แต่ป่าไม้ได้มอบให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ดูแลมา ประมาณเกือบ ๕๐ ปีแล้ว นิคมสหกรณ์วังทองดูแลพื้นที่นี้มาอย่างดี มีถนน มีไฟฟ้าใช้มา ๔๐ ปีแล้ว มีน้ำประปา มีอะไรสะดวกสบาย พื้นที่ไม่ได้เป็นป่า ไม่ได้เป็นภูเขา เป็นที่ราบ ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี สงบสุข แต่ว่าพี่น้องประชาชนในเขตนี้ไม่รู้ว่าที่อื่น ขนาดเป็น เขตป่า เป็นเชิงเขา ที่ลาด ก็ยังมีเอกสารสิทธิ มี ส.ป.ก. มี คทช. มีอะไร แต่อันนี้เป็นที่ราบ แล้วก็มีความเจริญ มีไฟฟ้าใช้มาประมาณ ๔๐ ปีแล้ว มีประปา มีอะไรนี้ แต่เขาไม่มี เอกสารสิทธิอะไรเลย เขาอยู่กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ซึ่งดูแลแทนกรมป่าไม้มา ๔๐ ปีแล้ว แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาเหล่านั้น เวลาเขาจะได้ส่วนต่าง ชดเชยต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่รัฐบาล จะช่วยเหลือเขา เขาไม่สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ เนื่องจากเขาไม่มีเอกสารสิทธิ เพราะฉะนั้นกรมส่งเสริมสหกรณ์ก็จะให้นิคมสหกรณ์วังทองรับรองสิทธิไปพลางก่อน และเขา ก็จะได้ช้ากว่าคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือต่าง ๆ จากรัฐบาล อย่างช่วงนี้ที่รัฐบาลจะช่วย เรื่องค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท คนที่มีโฉนดเป็น น.ส. ๓ ได้ไปเรียบร้อยแล้ว แต่พี่น้อง ผมที่อยู่ตำบลพันชาลี ตำบลท่าหมื่นราม และอำเภอเนินมะปรางนี้อยู่ในเขตของนิคมสหกรณ์ วังทอง ซึ่งดูแลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังไม่ได้รับเงินค่าเก็บเกี่ยว ๑,๐๐๐ บาท เพราะว่าเขาเหล่านั้นไม่มีเอกสารสิทธิ สิ่งเหล่านี้ผมว่าพื้นที่เขาเจริญมากกว่าพื้นที่ที่เป็น ส.ป.ก. เจริญมากกว่าพื้นที่อื่นมากมาย ผมว่ากรมส่งเสริมสหกรณ์ในกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ น่าจะไปพิจารณาปรับรูปแบบเขา เขาสมควรที่น่าจะต้องมีเอกสารสิทธิได้แล้ว เขาร้องเรียนมานาน ต่อสู้มานาน ๓๐-๔๐ ปีแล้ว เขาต่อสู้มา สิ่งเหล่านี้ทั้งประเทศไทย มีอยู่ ๑๓ จังหวัด มีอยู่ ๑๔ ป่า ลุ่มวังทองฝั่งขวาของจังหวัดพิษณุโลกเป็นพื้นที่ที่อยู่ใน พื้นที่ของนิคมสหกรณ์วังทอง ดูแลโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งประชาชนก็เดือดร้อน จะขุดสระก็ไม่ได้ จะเจาะบ่อก็ไม่ได้ จะทำอะไรก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น การทำมาหากิน ความสะดวกในชีวิตของเขานี้เขาไม่ค่อยมีความสุขกับสิ่งเหล่านี้เลย ดังนั้น อยากจะให้รัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสุขกับพี่น้องในเขตเลือกตั้งของผม ๔๐ ปีแล้วที่เขาอยู่ และเขาได้รับการพัฒนาอย่างดีนะครับ ที่อยู่บนเขาไม่ได้พัฒนาเหมือนเขาเลย ของเขานี้ดี มากนิคมสหกรณ์วังทองภายใต้กรมส่งเสริมสหกรณ์ดูแลเป็นอย่างดี ภายหลังมี อบจ. ก็โอน เครื่องจักรเครื่องมือให้ อบจ. ไป มี อบต. มาดูแลแทน ฉะนั้นก็เลยอยากจะถามว่าสิ่งเหล่านี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์จะมีแนวทางใดทำเอกสารสิทธิให้กับเขาได้บ้าง แล้วก็อยากจะทราบว่า จะได้สักเมื่อใด เผื่อว่าคนที่อายุ ๗๐-๘๐ ปีเขาจะได้มีความหวัง อยู่มาเกือบ ๗๐-๘๐ ปีแล้ว แต่ละคนอยู่ที่นี่จนบางคนต่อสู้จนเสียชีวิตไปแล้วหลายชั่วอายุคนในสิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้น อยากจะให้ท่านรัฐมนตรี ซึ่งอันนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แน่ แต่เมื่อสักครู่อาจจะอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วก็จะมีชาวบ้านของอำเภอวังทองอะไรต่าง ๆ ได้ฝากเอกสารผมด้วย ผมก็จะฝากให้ ท่านประธานส่งต่อให้คณะรัฐมนตรี เพื่อไปพิจารณาในเรื่องเอกสารสิทธิของพี่น้องตำบล ท่าหมื่นราม ตำบลพันชาลี และอำเภอเนินมะปรางทั้ง ๗ ตำบลครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ อำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง จังหวัด พิษณุโลก ก็ต้องขอบพระคุณท่านประธานสภา ขอบคุณท่านรัฐมนตรีอนุชา นาคาศัย ที่มาให้ ความกระจ่างแจ้งกับผม แล้วก็จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปบอกกับพี่น้องราษฎรในจังหวัดพิษณุโลก แล้วมันก็ต้องเป็นอย่างที่ท่านรัฐมนตรีบอกว่าอำเภอวังทองและอำเภอเนินมะปรางที่อยู่ใน กรมส่งเสริมสหกรณ์มันต้องได้เอกสารสิทธิที่ดีกว่าคนอื่น เพราะถ้าท่านไปดูพื้นที่แล้ว พื้นที่ ต่าง ๆ มันดีกว่าที่ได้ ส.ป.ก. ไปแล้ว แล้วจะเปลี่ยนเป็นโฉนด ส.ป.ก. หลายสิบเท่า มีไฟฟ้าใช้ มาไม่ต่ำกว่า ๔๐ ปี คิดดูครับ มีถนนลาดยาง มีอะไรเจริญกว่าพื้นที่ที่ได้ ส.ป.ก. บางพื้นที่ ยังไม่มี เพราะฉะนั้นก็ต้องขอบคุณแทนพี่น้องประชาชนของชาวจังหวัดพิษณุโลก โดยเฉพาะ อำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปรางที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เล็งเห็นถึงความสำคัญจะ มอบเอกสารสิทธิที่ดีให้กว่าที่อื่น อันนี้ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • และมีอีกประการหนึ่งครับท่านรัฐมนตรี ก็อยากฝากท่านไปในประชุม ครม. ครับว่าขณะนี้พี่น้องประชาชนผมในเขตที่อยู่ในป่าจะทำถนนก็ไม่ได้ จะเจาะบ่อก็ไม่ได้ อบต. จะสร้างความเจริญทำอะไรไม่ได้ บาง อบต. ขออนุญาตไปยังกรมป่าไม้แล้ว ๓ ปี งบตกแล้ว ตกอีก จนเลิกกันแล้วก็ยังไม่ได้ทำ สิ่งเหล่านี้ท่านรัฐมนตรีก็ทราบดี แต่ว่าวันนี้ขอฝากท่านรัฐมนตรี ช่วยหน่อยครับ ไปบอกใน ครม. ครับว่าช่วยทำสิ่งเหล่านี้ ช่วยทำฝันให้ อปท. ได้ทำในสิ่งที่เขาอยากทำด้วยครับ ขอบคุณ ครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • กระผมจะขอยื่นเอกสาร

    อ่านในการประชุม

  • ได้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ วังทอง เนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลกครับ วันนี้จะขอหารือกับท่านประธานเรื่องเดียวครับ เนื่องจากผมได้รับการร้องเรียนจาก ท่านลำพูล สีหะวงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ว่ามีปัญหาอยากจะทำถนน เข้าแหล่งท่องเที่ยว คือน้ำตกแก่งว่าวของหมู่ที่ ๑๓ บ้านซำทองพัฒนา ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้ชาวบ้านได้มีแหล่งท่องเที่ยวอันใหม่อันเกิดจาก ธรรมชาติที่สวยงาม แต่ปรากฏว่า ๒ ข้างทางจำนวนประมาณ ๓ กิโลเมตรนั้น ๒ ข้างทาง ก็จะเป็นที่ดินของ ส.ป.ก. บ้าง ป่าไม้บ้าง เพราะฉะนั้นไม่สามารถดำเนินการได้ และทาง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางได้ดำเนินการขออนุญาตจากกรมป่าไม้เป็นระยะ เวลานานแล้วว่าอยากจะทำถนนเข้าแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ แต่ว่ากรมป่าไม้ยังไม่ได้รับอนุญาต ให้จัดทำ จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้วคนต่างจังหวัดอย่างพวกผมฤดูร้อนก็นิยมไปที่น้ำตก ไปแช่น้ำ ไปกินข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง ส่วนใหญ่คนในเมืองฤดูร้อนก็จะไปเดินห้างเซ็นทรัล ห้างโรบินสัน แม็คโคร โลตัส ซึ่งจริง ๆ แล้วจังหวัดพิษณุโลกก็มีห้างเหล่านี้ แต่ว่าสถานที่ ดังกล่าวคนตำบลบ้านกลางผมอยู่ห่างจากในเมืองประมาณ ๘๐-๙๐ กิโลเมตร ก็ไม่สะดวก ในการเดินทางไปเที่ยวในตัวเมือง เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงนิยมที่จะไปลงเล่นน้ำส่วนใหญ่ในฤดูร้อน และสิ่งเหล่านี้ถ้ามีการทำ ถนนหนทางที่ดีขึ้นจะทำให้ชาวบ้านแถวนั้นได้มาทำการค้าขาย ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ข้าวเหนียว ไก่ย่าง ซึ่งคนบ้านนอกอย่างพวกผมนิยมรับประทานจะทำให้เศรษฐกิจชุมชน ได้มีความมั่งคั่งขึ้น ดังนั้นวันนี้ก็จะขอฝากท่านประธานได้ช่วยประสานไปยังกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า อบต. บ้านกลาง ได้ส่งเอกสารไปนานแล้ว แต่ยังไม่อนุญาต และอีกประการหนึ่งประการสุดท้าย คือว่าหมู่ที่ ๑๓ บ้านซำทองพัฒนา ของตำบลบ้านกลางของผมนี้อยู่ห่างไกลหมู่บ้านระยะทางยาวตามถนน การสื่อสารไม่ดี โทรศัพท์ใช้ไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่น้ำตกแก่งว่าวนี้เป็นจุดบอด อับสัญญาณ โทรศัพท์ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นฝากท่านประธานประสานไปยัง กสทช. ช่วยจัดสรร งบประมาณในการดำเนินการคลื่นความถี่ให้กับพี่น้องตำบลบ้านกลางของผมด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ วังทอง เนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลกครับ จะขอเสนอญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคเหนือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบมาตรา ๒๗๕ บัญญัติให้รัฐพึงทำยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นที่ยอมรับ ต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลและสอดคล้องกับขั้นตอนดำเนินการ ปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ และบูรณาการเข้ากับแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบกับนายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายในการบริหาร ราชการแผ่นดินต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยกำหนดนโยบายเร่งด่วน ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของพี่น้องประชาชน ด้วยการส่งเสริมการลงทุนและ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก เพื่อดึงดูดการลงทุน ผลิตภัณฑ์สินค้าและการบริการรูปแบบใหม่ และการพัฒนาต่อยอดเศรษฐกิจพิเศษและ ระเบียงเศรษฐกิจ ครั้งที่ ๔ ทั้ง ๔ ภาค เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและความเป็นอยู่ ของพี่น้องประชาชนในเขตกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดตาก ซึ่งสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และหมุดหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน และมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เห็นชอบหลักการกำหนดพื้นที่ และแนวทางให้สิทธิ ประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ โดยเฉพาะกลุ่ม ภาคเหนือตอนล่าง ๑ ซึ่งลักษณะพิเศษสามารถเชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจเหนือ ใต้ ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ตะวันตก และระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC และสามารถเชื่อมโยง ให้ความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขง อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การลงทุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา แรงงาน ศูนย์ประชุม และการบริการ การท่องเที่ยว การเกษตรและศูนย์การแพทย์ ทั้งนี้รัฐต้องปรับปรุงกฎหมาย ประกาศและระเบียบที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับพลวัตร และการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ๑ ได้กระจายความ เจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมให้พี่น้องประชาชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ ที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นจึงขอเสนอ ญัตติดังกล่าวเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาด้วย การศึกษาพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ๑ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยจะเห็น ได้ว่าใน พ.ศ. ๒๕๕๖ นั้น คณะโลจิสติกส์ของมหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับงบประมาณในการวิจัย และในการดูแลเกี่ยวกับการทำโครงสร้างพื้นฐานของภาคเหนือตอนล่าง ๑ ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก แล้วก็จังหวัดตากนั้น ทางคณะมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยดอกเตอร์บุญทรัพย์ พาณิชยการ ได้ทำโครงการระเบียง เศรษฐกิจของภาคเหนือตอนล่าง โดยมีการประชุมของ ครม. สัญจร เมื่อปี ๒๕๖๑ ในขณะนั้น ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เชิญทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หอการค้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วก็ผู้บริหาร เอกชนต่าง ๆ มาพูดคุยที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และ ได้เสนอแนวทางระเบียงเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนล่าง โดยชื่อย่อที่เขาใช้กันว่า LIMEC หรือว่า Luangprabang Indochina Mawlamyine Economic Corridor ระเบียงเศรษฐกิจนี้จะเชื่อมภาคเหนือตอนล่างกับภูมิภาคของเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพม่า และประเทศลาว ถ้าวัดจากด่านแม่สอดมาถึงด่านภูดู่ ก็จะเป็นส่วนที่แคบที่สุด ของประเทศไทย ในส่วนที่เป็นดินแดนผืนดิน ฉะนั้นเองถ้าภาคใต้มีแลนด์บริดจ์ ก็จะเรียกว่า เป็นการเชื่อมทะเล ๒ ฝั่งระหว่างฝั่งอ่าวไทยกับอีกฝั่งหนึ่ง ก็เรียกว่าเป็นการเชื่อมทะเล ๒ ฝั่ง แต่ถ้าเป็นบนบก LIMEC นี้ ก็จะเรียกว่าแลนด์บริดจ์ได้เหมือนกัน เพราะว่าเป็นส่วนที่แคบ สามารถเชื่อมระหว่างลาวมาไทยไปพม่า ดังนั้นเองโครงการต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ทำการวิจัย และออกแบบสอบถามแล้วนั้น เป็นความต้องการของประชาชนในหลาย ๆ ด้าน ที่จะพึ่งพาทำให้เศรษฐกิจภาคเหนือตอนล่างเจริญเติบโตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งที่ ได้ทำวิจัยแล้วก็ทำแบบสอบถามมา โดยท่านอาจารย์บุญทรัพย์นั้น ประชาชนในพื้นที่ต้องการ คือ ๑. ด้านการเกษตร ๒. ด้านการค้า ๓. ด้านการท่องเที่ยว ๔. ด้านการบริการสุขภาพ ๕. ด้าน Logistics ๖. ด้านอุตสาหกรรม และก็ ๗. การค้าด้านชายแดน จะเห็นว่าในกลุ่ม ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือตอนล่างทั้ง ๕ จังหวัดนั้น เป็น ๕ จังหวัดที่มีศักยภาพต่าง ๆ ที่ค่อนข้างจะแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นบางจังหวัดก็จะนำยุทธศาสตร์ของตัวเองมาทำ เป็นรูปแบบ ๑ ๒ ๓ แล้วก็ ๔ แต่ว่ารูปแบบที่ประชาชนในพื้นที่ต้องการ และกลุ่มจังหวัด ต้องการนั้นก็คือว่า จังหวัดพิษณุโลกจะเป็นผู้นำด้านการค้า จังหวัดเพชรบูรณ์จะเป็นผู้นำ ด้านการเกษตร จังหวัดสุโขทัยจะเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยว จังหวัดตากจะเป็นผู้นำด้าน Logistics และจังหวัดอุตรดิตถ์จะเป็นผู้นำด้านการเกษตร เพราะฉะนั้นทั้ง ๕ จังหวัดนี้ก็ได้ ตกลงกันแต่ละยุทธศาสตร์ว่าตัวเองจะโดดเด่นด้านไหน ฉะนั้นเองจะให้พวกเราได้เห็น ความสำคัญว่า ๕ จังหวัดนี้รวมตัวกันสามารถที่จะสร้างเศรษฐกิจขึ้นมาเป็นเศรษฐกิจใหม่ และทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ทั้ง ๕ จังหวัดได้ลืมตาอ้าปาก ได้มีเศรษฐกิจที่ดี ดังนั้นวันนี้ อยากจะขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ๕๐๐ คน ได้ช่วยกันจัดตั้งกรรมาธิการเพื่อจะได้ ศึกษาแนวทางออกเป็นกฎหมายขึ้นมา ทำให้ระเบียงเศรษฐกิจนี้เป็นจริงได้สักทีนะครับ หลังจากที่มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยท่านอาจารย์บุญทรัพย์ได้ทำการวิจัยมาแล้วเป็นเวลา เป็นสิบ ๆ ปี ภาคเอกชนได้เดินหน้าไปเยอะแล้ว ดังนั้นเองเราอยากจะเห็นว่าพื้นที่ ทั้ง ๕ จังหวัดเป็นแลนด์บริดจ์บนดินของประเทศไทยเหมือนกัน เพราะขณะนี้ถ้านับทาง ไม่ว่าจะเป็นทางรถยนต์หรือทางรางก็ดี ทางรางนั้นเราได้ศึกษาแล้วว่า จากอำเภอแม่สอด มาจังหวัดตาก มาจังหวัดนครสวรรค์ เราทำการวิจัยแล้วสามารถเป็นไปได้ เรามีทางรถไฟ จากจังหวัดนครสวรรค์มาจังหวัดพิษณุโลก ไปชุมทางบ้านดารา จังหวัดสุโขทัยไปจังหวัด อุตรดิตถ์ ถ้าต่อไปด่านภูดู่เราก็จะเชื่อมโยงทางราง ตั้งแต่อำเภอแม่สอดไปจนถึงด่านภูดู่ ได้ทางราง ทางรถยนต์เราก็มีความพร้อม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน ขณะนี้เขากำลัง เสนอคุยกันแล้วว่า อยากจะทำการเดินทางด้านอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหลวงพระบาง มาจังหวัดพิษณุโลก ไปเมาะลำไย หรือที่เรียกว่าเส้นทาง LIMEC ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเชื่อมโยง การขนส่งภาคพื้นดินก็ดี ภาคทางอากาศก็ดี ภาคเอกชนเขาได้ดำเนินการ ไปเยอะแล้ว ฉะนั้นก็อยากจะให้ภาครัฐบาลได้สนับสนุนให้โครงการนี้ได้เป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราได้ศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ของภาคใต้ ใช้งบประมาณเป็นล้านล้านบาท แต่ถ้าเราทำ โครงการ LIMEC หลวงพระบางไปเมาะลำไย จะใช้เงินประมาณสัก ๑๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ถือว่าถูกกว่ากันเป็น ๑๐ เท่านั้น เพราะฉะนั้นการลงทุนในครั้งนี้จะทำให้เกิดผลประโยชน์ ทางด้านการขนส่ง และด้านการศึกษา วัฒนธรรม ทางด้านการเกษตร ด้านการอุตสาหกรรม ทุก ๆ ด้านจะทำให้ผลดีกับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มภาคเหนือ ตอนล่างทั้ง ๕ จังหวัดจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้ ดังนั้นวันนี้จึงขอให้ทางรัฐสภาแห่งนี้ ได้ตั้งกรรมาธิการเพื่อทำการศึกษา ออกเป็นกฎระเบียบเพื่อทำให้ระเบียงเศรษฐกิจ ของภาคเหนือตอนล่างได้เป็นจริงด้วยครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม