นายทินพล ศรีธเรศ

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ ๕ ซึ่งมีอำเภอร่องคำ อำเภอกมลาไสย อำเภอดอนจาน อำเภอนามน และอำเภอห้วยผึ้ง ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณท่านคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานที่มา ชี้แจงรายงานในวันนี้ เห็นด้วยนะครับกับการที่จะต้องส่งเสริมให้มีการนำพลังงานทดแทนมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานใต้พิภพ พลังงานชีวมวล หรือพลังงาน ชีวภาพ หรือว่าพลังงานขยะนะครับ ในอดีตสิ่งแวดล้อมในบ้านเรายังมีสภาพที่ดีอยู่ โครงการพัฒนาต่าง ๆ จึงไม่จำเป็น ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากนัก แต่คำนึงถึงเฉพาะ ความต้องการทางสังคม ความเป็นไปได้ทางวิศวกรรม ความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ และอาจจะมุ่งเน้นกำไรสูงสุด ต้นทุนต่ำสุดจนอาจจะละเลยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่ประเทศที่พัฒนา แล้วนำมาใช้ การพัฒนาที่ฉลาดและรอบคอบจะต้องผนวกกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เข้าไปด้วยจึงจะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และด้วยเหตุนี้ประชาชนจึงเริ่มเรียนรู้ต่อผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มากระทบ กับตนเองแล้วก็ลูกหลานในอนาคต ในพื้นที่ของกระผมนะครับจังหวัดกาฬสินธุ์มีปัญหา เกี่ยวกับโครงการที่ส่งเสริมการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้เช่นเดียวกันครับ โดยมี อปท. ในพื้นที่แห่งหนึ่งนะครับ ขออนุญาตเอ่ยนามนะครับ เทศบาลตำบลกมลาไสยได้ดำเนินการ ทำโครงการและขออนุญาตสร้างโรงงานไฟฟ้าขยะ ตอนนี้ถึงขั้นที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยได้ลงนามเห็นชอบนะครับ ท่านประธานครับ เหรียญมี ๒ ด้าน แต่หากว่า ถ้าเรามองเหรียญทั้ง ๒ ด้าน เราก็จะเห็นอะไรที่มากขึ้น รอบคอบขึ้น นอกจากว่าเหรียญนั้น จะถูกกดไว้ เหยียบไว้ มีคนต้องการไม่ให้เห็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญนะครับ มีภาคประชาชน ที่เป็นคนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับการก่อตั้งโรงไฟฟ้าจากขยะแห่งนี้นะครับ จึงหาทางออก โดยการนำเรื่องมาปรึกษากับคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ให้พิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่นะครับ ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์บริเวณที่จะมีการก่อสร้างโครงการนี้ได้ออกมาคัดค้าน มี Clip Video ด้วยครับ ขอ Clip Video สักนิดหนึ่งครับ

    อ่านในการประชุม

  • OK ครับจะใช้เวลามากเกินไปสักนิดหนึ่ง ก็ต้องขอขอบพระคุณคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ที่ให้ความเห็นในเรื่องนี้ โดยผลการพิจารณาของกรรมาธิการ ก็คือพื้นที่ ที่ตั้งโครงการนี้เป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำ มีการทำเกษตรกรรม ปลูกทั้งข้าวนาปีนาปรังตลอดปี มีแหล่งน้ำที่ประชาชนในการดำรงชีวิต เป็นตำแหน่งที่ตั้งของโครงการที่ไม่ชัดเจนนะครับ กำหนดไว้กว้าง ๆ มีผลทำให้การกำหนดขอบเขต การศึกษาผลกระทบโครงการไม่ชัดเจน ตามไปด้วยนะครับ แล้วก็ด้านการจราจรขนส่งไม่เหมาะสมซึ่งคาดว่าจะมีรถขยะเข้าออก เป็นจำนวนมากและถนนก็คับแคบจะส่งผลต่อการจราจรของประชาชนอย่างแน่นอน

    อ่านในการประชุม

  • ผลกระทบข้อ ๔ ผลรายงานจากคณะกรรมาธิการทำให้เข้าใจว่าโครงการ มีการจัดการขยะที่ดีนะครับ เจ้าของโครงการให้ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ เกิดปัญหาขยะและน้ำเสียไหลมาตามถนน อันนี้คือเป็นข้อท้วงติงจากคณะกรรมาธิการ การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๕ การทำ MOU กับ อปท. ที่เกี่ยวข้องไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๖ รายงานการศึกษาวิเคราะห์ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ซึ่งรายงาน การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ฉบับสมบูรณ์เสร็จสิ้นหลังจากมีการจัดเวทีรับฟัง ความคิดเห็น ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื่องจากการศึกษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการนั้น รายงานการศึกษาฉบับนี้ต้องแล้วเสร็จสมบูรณ์ก่อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเสนอในเวทีรับฟัง ความคิดเห็น และใช้เป็นข้อมูลเสนอต่อ อปท. ที่เข้ามาร่วมทำ MOU ด้วยนะครับ จึงจะมีผล ให้เกิดความเข้าใจต่อโครงการที่คลาดเคลื่อนได้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๗ การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ไม่มีคุณภาพเพียงพอ ไม่เป็นไป ตามหลักสากลของการรับฟังความคิดเห็น มีเพียงการจัดเวทีระดับอำเภอที่หอประชุมอำเภอ มีภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในชุมชนใกล้เคียงเข้ามาร่วมรับฟัง แต่ไม่มี ประชาชนในหมู่บ้านรอบ ๆ ที่จะไปตั้งโครงการที่จะได้รับผลกระทบไม่ได้เข้าร่วมด้วย แต่อย่างใดนะครับ โครงการขาดการให้ข้อมูลผลกระทบทางเชิงลบ ของโครงการต่อผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ข้อมูลของสาร Dioxin ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่มีความร้อนไม่เพียงพอ ในการกำจัดนะครับ โดยสาร Dioxin มีอันตรายต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีผลกระทบ ต่อระบบประสาทและพัฒนาการของสมองของเด็ก มีอันตรายต่อระบบการสืบพันธุ์ของมนุษย์ แล้วก็เป็นสารก่อมะเร็งด้วยนะครับ แล้วทางคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ก็มีข้อเสนอให้ด้วย ให้กับส่วนราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

    อ่านในการประชุม

  • ข้อเสนอที่ ๑ ก็คือ ให้ทบทวนโครงการก่อสร้างของโครงการนี้นะครับ แล้วก็ เริ่มดำเนินการขออนุญาตใหม่ แล้วก็ให้ยกเลิกความเห็นโครงการนำเสนอไปสู่กระทรวง มหาดไทยว่าให้ยกเลิกความเห็นชอบโครงการนี้ แล้วก็ให้ทางตำบลกมลาไสยทำโครงการใหม่ ให้ถูกต้อง แล้วก็นำเสนอไปให้กับกระทรวงมหาดไทยใหม่ แล้วก็เริ่มกระบวนการที่จะ ขออนุญาตไม่กี่ครั้งหนึ่ง อันนี้ผมก็กลัวว่าจะมุ่งเน้นในการใช้พลังงานหมุนเวียนมากเกินไป จนเราต้องลืมความสำคัญของวิถีชีวิตของประชาชนไป ซึ่งแน่นอนครับพลังงานหมุนเวียน ก็ยังคงเป็นทางออกของพลังงานที่ยั่งยืนของไทยต่อไป ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย ผมเป็นห่วงครับ ท่านประธานครับ เป็นห่วงเรื่องสิทธิโต้แย้งของประชาชนหากมีการใช้ AI มาวิเคราะห์และตัดสินใจว่าบัญชีหรือธุรกรรมใดต้องสงสัย หรือเป็นบัญชีม้านะครับ เรื่องที่ใหญ่มากของกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลยุโรป คือการที่ภาครัฐและเอกชนนำ AI มาตัดสินแทนมนุษย์จะต้องให้สิทธิประชาชนคัดค้านการใช้ AI หรือให้มนุษย์แทรกเข้ามา ตัดสินใจด้วย รวมทั้งเปิดเผยความโปร่งใสของเกณฑ์หรือวิธีการที่ AI ใช้วิเคราะห์ ดังนั้น ถ้าผู้ประกอบการหรือสถาบันการเงินไม่ได้ใช้มนุษย์มาตัดสินว่าธุรกรรมใดต้องสงสัย แต่จะใช้ AI มาสรุปการตัดสินนั้นตามกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล ยุโรปหรือหลายประเทศ ก็ใช้สิทธิประชาชน ใช้สิทธิประชาชนเจ้าของข้อมูลคัดค้าน แต่ PDPA ของไทยไม่ได้นำหลักนี้ ของยุโรปมาแต่ต้นนะครับ ยิ่งไปกว่านั้นพระราชกำหนดนี้ก็เป็นข้อมูลยกเว้นของ PDPA เข้าไปอีกครั้งหนึ่ง ตามมาตรา ๑๒ ระบุไม่อยู่ภายใต้ PDPA เมื่อบวกเข้ากับหลักการ ของพระราชกำหนดนี้ ซึ่งไม่ได้ระบุเกณฑ์ว่าทำธุรกรรมแบบใดเข้าข่ายเหตุอันควรสงสัย รวมทั้งไม่ได้ระบุเจาะจงถึงเกณฑ์ตัดสินบัญชีม้าว่าการเปิดบัญชีแบบใดที่ไม่ใช่ใช้เพื่อตน และไม่ได้ระบุควบคุมการนำ AI มาตัดสิน ความต้องสงสัยโดยอัตโนมัติ ความเสี่ยงต่อสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นคือหาก AI มาวิเคราะห์ว่าธุรกรรมแบบนี้ต้องสงสัย โดยเกณฑ์ หรือ Algorithms ซึ่งพระราชกำหนดนี้ได้ระบุและให้เปิดเผยเกณฑ์ตัดสิน ต่อสาธารณะ ๆ อาจนำไปสู่การตัดสิน ซึ่งอาจเป็นการระงับบัญชีหรือธุรกรรมโดยอัตโนมัติ ที่ยุโรปเรียกว่า Automate Decision และหากธุรกรรมที่เข้าเกณฑ์ของ AI ไม่เกี่ยวกับ อาชญากรรม ความยุ่งยากในการเรียกร้องสิทธิโต้แย้งของประชาชนจะเป็นอย่างไร อีกทั้ง พ.ร.ก. นี้ก็ไม่ได้กำหนดกระบวนการเยียวยาโต้แย้งไว้ กล่าวคือหากสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานตามมาตรา ๔ ใช้ AI มาวิเคราะห์ว่ามีเหตุต้องสงสัยและเปิดเผยและเปลี่ยน ข้อมูลบัญชีหรือธุรกรรม มาตรา ๔ ไม่ได้เปิดโอกาสให้เจ้าของข้อมูลให้โต้แย้งก่อน หรือให้เวลาโต้แย้งภายในกำหนดใด ๆ หาก AI มาวิเคราะห์ว่าบัญชีนี้เข้าเกณฑ์บัญชีม้า เช่น วิเคราะห์ว่าการให้คนอื่นใช้บัญชีหรือเบอร์โทรศัพท์เป็นการกระทำเข้าข่ายมาตรา ๙ อาจนำไปสู่การตัดสิน ซึ่งถึงขั้นต้องข้อหาความผิดบัญชีม้าส่งผลให้เจ้าของบัญชีต้องตกเป็น ผู้ต้องหา และหากบัญชีนั้นไม่ได้เปิดเพื่อรับจ้างให้แก่กลุ่มอาชญากรรมหรือไม่มีเจตนา ผู้ไม่รู้ว่าจะมีการนำไปใช้กระทำผิดก็ต้องเป็นภาระของผู้ถูกตัดสินในการต่อสู้คดี และ พ.ร.ก. นี้ ก็จะไม่ได้กำหนดกระบวนการเยียวยาหรือโต้แย้งไว้ ความเสี่ยงข้างต้นเป็นผลข้างเคียง อันอาจเกิดจากพระราชกำหนดที่วางหลักตรวจสอบ สอดส่อง และไม่เห็นว่าพระราชกำหนดนี้ จะกำหนดบทบัญญัติหรือกลไกใด ๆ ในการป้องกันความเสี่ยงหรือผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ เหล่านี้ เช่น ไม่มีบทมาตราห้ามหรือควบคุมการนำ AI มาวิเคราะห์ตัดสิน ไม่กำหนด ให้หน่วยงานรัฐหรือสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องต้องเปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินว่าธุรกรรมใด ต้องสงสัย ไม่พบบทมาตราให้สิทธิประชาชนที่ถูกตัดสินว่าธุรกรรมต้องสงสัยหรือบัญชีม้า โดย AI โต้แย้งการตัดสินโดยอัตโนมัติและให้เปิดเผยสูตรหรือวิธีการคำนวณตัดสินของ AI นี่ผมเป็นห่วงนะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย กระผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ผมได้รับร้องเรียนจากท่านกำนัน และสารวัตรกำนันตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ถึงความเดือดร้อนของ พี่น้องบ้านบ่อ ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ว่าทุกครั้งที่ฝนตกหนัก ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมบ้านเรือนและโรงเรียน แล้วก็ไหลเข้าอาคารเรียน แล้วก็ไหลเข้าบ้านเรือนหลาย ๆ ครั้งได้ประกาศหยุดเรียน ได้รับความเดือดร้อนซ้ำแล้วซ้ำเล่า มาเป็นเวลา ๑๐ ปีแล้วครับสาเหตุเกิดจากถนนทางหลวงหมายเลข ๒๑๔ เส้นทาง กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด ตั้งแต่มีการก่อสร้างเสร็จ พบว่าถนนเส้นนี้ขวางทางระบายน้ำออกจาก หมู่บ้าน แล้วก็มีท่อระบายน้ำที่ยังมีขนาดเล็กแล้วก็ลอดใต้ถนนซึ่งมีระยะทางยาว ไม่สามารถ ที่จะระบายน้ำได้ทัน จึงเรียนท่านประธานฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขให้ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ถนนทางหลวงหมายเลข ๒๑๔ เส้นทางกาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด ช่วงกิโลเมตรที่ ๒๓-๒๗ ระหว่างบ้านหนองบัว-บ้านท่ากลาง ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ น้ำชีทะลักท่วม หยุดปิดการจราจรไป เมื่อน้ำลด ผิวจราจรก็เสียหาย แล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ซ่อมบำรุงไปแล้วโดยการใช้หินคลุกมา ซ่อมแซมชั่วคราว แล้วก็เกิดหลุมเป็นบ่ออีก เกิดอุบัติเหตุหลายครั้งครับ จึงฝากท่านประธาน เรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยซ่อมบำรุงให้ได้มีมาตรฐานด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ไม่มีไฟส่องสว่างเวลากลางคืนตรงทางแยกที่ออกจากถนน ๔ เลน สายกาฬสินธุ์-มุกดาหาร ถนนเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจ East West Economic Corridor เป็นทางแยกเชื่อมไปบ้านกุดคลอง ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ จุดนี้ เวลากลางคืนมืดมากครับ เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งชาวบ้านก็เลยร้องเรียนมา อยากได้ไฟส่องสว่าง ในเวลากลางคืน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ เรื่องทวงถามการขอใช้อาคารสถานที่ของเทศบาลตำบลหนองอีบุตร สืบเนื่องจากมีการประกาศยกเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือโรงเรียนนิคมกุฉินารายณ์ หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทางเทศบาลตำบลหนองอีบุตรเห็นว่าอาคาร สถานที่ยังใช้งานได้ จึงได้ทำเรื่องขอใช้อาคารสถานที่ดังกล่าว ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ ทั้งนี้การดำเนินการขอใช้พื้นที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจากทางกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงเรียนท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องช่วยพิจารณาอย่างเร่งด่วนด้วยครับ เพราะว่าถ้าปล่อยเวลาเนิ่นนานไปจะทำให้อาคาร สถานที่ทรุดโทรมและประชาชนจะไม่ได้ประโยชน์ และพื้นที่ของกระผมมีทั้งท่วมซ้ำซาก แล้งซ้ำซาก เอาไว้มีรัฐบาลใหม่จะนำเรื่องการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนมานำเรียนปรึกษากับ ท่านประธานในโอกาสต่อไป ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • -๑๖/๑

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพครับ สิ่งที่ผมอยากเห็นจากสภาองค์กรของผู้บริโภคคือการทำงานเชิงรุก ที่เข้มข้นขึ้น ท่านประธานครับ ถ้าพูดถึงผู้บริโภคแล้วคนไทยแทบจะทุกคนเป็นผู้บริโภค ซึ่งวัตถุประสงค์ขององค์กรของผู้บริโภคเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริโภคเลย แล้ววัตถุประสงค์ ที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสินค้าและบริการ แจ้งหรือโฆษณาข่าวสาร หรือเตือนภัยเกี่ยวกับ สินค้าและบริการที่อาจจะกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภค ตามที่ดูในรายงานประจำปี ของสภาองค์กรของผู้บริโภค ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่มาถึงสภาองค์กรของผู้บริโภคจะเป็น ปัญหาที่ปลายเหตุ ผลงานขององค์กรของผู้บริโภคที่ช่วยไกล่เกลี่ยและยุติเรื่องร้องเรียนได้ กว่าร้อยละ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ กว่าร้อยละ ๙๐ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี น่าชื่นชม แต่ท่านประธานครับ มีอีกหลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคที่ยังไม่มีเรื่องร้องเรียนมาถึงองค์กรผู้บริโภคก็ยังมีอีก เยอะแยะมากมายเลยครับ อย่างเช่น การซื้อขายของทาง Social Media หรือว่าซื้อขาย ทาง Online ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนไม่ได้ร้องเรียนเพราะคิดว่าเป็นความเสียหายเล็ก ๆ น้อย ๆ ซื้อของไม่กี่ร้อยบาท ไม่ได้ของหรือได้ของไม่ตรงปก หรือว่าได้ของที่ไม่มีคุณภาพ และการที่ จะไปร้องเรียนหรือเรียกร้องความเสียหายก็ไม่คุ้มกับการเสียเวลา หรือไม่ก็ไม่รู้ว่าจะไป ร้องเรียนกับใคร หรือหน่วยงานไหน ช่องทางใด เช่น โฆษณาโดยการนำสินค้าที่มีคุณภาพ มาโฆษณา แล้วเมื่อตกลงซื้อขายแล้วก็ส่งสินค้าที่ไม่มีคุณภาพไปให้ลูกค้า ประชาชน หลายท่านบอกผมว่าเมื่อได้รับสินค้าที่ไม่ตรงปกแบบนี้แล้วไม่รู้จะไปร้องเรียนกับใคร ซึ่งดูทาง Social Media แล้วเป็นการโฆษณาเกินจริง เมื่อได้รับของแล้วผมไม่รู้จะไปร้องเรียนกับใคร ไม่รู้จะไปร้องเรียนกับ สคบ. หรือว่าจะไปร้องเรียนกับคณะกรรมการปราบปรามการกระทำ ความผิดทางเทคโนโลยี หรือว่าร้องเรียนกับคณะสภาองค์กรของผู้บริโภคของท่าน ความเสียหายแบบนี้เกิดขึ้นมากมาย จึงอยากจะเห็นการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค ทำงานในเชิงรุกที่เข้มข้นขึ้น แทนที่จะรอรับเรื่องร้องเรียนเพียงอย่างเดียว การซื้อของ ท่านไปซื้อได้เลยตอนนี้ ในขณะที่เราประชุมอยู่ตอนนี้ ผู้กระทำความผิดก็ยังกระทำความผิดอยู่ ถ้าท่านไปสั่งซื้อของได้ แล้วท่านก็จะได้เลยว่าของไม่ตรงปก อยากให้ท่านทำงานในเชิงรุก ให้มากขึ้น อย่าให้คนที่ตั้งใจมาโกงพี่น้องประชาชนยืนอยู่ได้ครับ ต้องได้รับโทษเพื่อไม่ให้เป็น เยี่ยงอย่าง จึงอยากจะเห็นสภาองค์กรของผู้บริโภคทำงานอย่างบูรณาการกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น สคบ. กระทรวงพาณิชย์ หรือว่ากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น เพื่อที่ท่านจะได้ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม ทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย วันนี้ขออภิปรายเรื่องที่ดินทำกิน ปัญหาที่ดินของพี่น้องประชาชนร่วมกับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นห่วงเกี่ยวกับปัญหาที่ดินของพี่น้องประชาชน เพื่อนำเรียน ไปยังรัฐบาลแล้วก็หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะต้องมีหน้าที่แก้ไขปัญหาให้กับพี่น้อง ประชาชนต่อไป ท่านประธานที่เคารพครับ ผมว่าตั้งแต่ท่านประธานทำงานที่สภาแห่งนี้ ในฐานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แล้วก็ติดตามการทำงานของสภาผู้แทนราษฎร กี่ยุคกี่สมัยมาแล้วที่เราได้เห็นสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องที่ดินของพี่น้องประชาชนซึ่งมีมากมายเหลือเกิน แล้วสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ได้เคย ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาแล้วหลายรอบ แล้วก็ออกไปรับรู้รับทราบ ลงพื้นที่ เพื่อที่จะหาข้อมูลกับพี่น้องประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ มาแล้วในอดีตที่ผ่านมา การตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแก้ไขปัญหาที่ดินแล้วก็การออกเอกสารสิทธิในที่ดิน เพื่อที่จะรับรู้รับทราบข้อมูล ผมได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์ในขณะที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้ลงพื้นที่เมื่อสมัยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว เกิดปัญหามากเลยนะครับ คณะกรรมาธิการวิสามัญไปลงพื้นที่ที่ไหน จะเห็นว่าประชาชนมาร้องเรียนแล้วก็มาส่งข้อมูล ให้กับคณะกรรมาธิการเนืองแน่นไปหมด ล้นที่ประชุม ล้นห้องประชุมออกมาอย่างมากมาย นั่นแสดงว่าปัญหาที่ดินของพี่น้องประชาชนมีมากเป็นอย่างยิ่ง มีมากเหลือเกิน เพราะว่า ถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นมาแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ทุกข์ใจของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ บางคนอกว่าตายไปก็นอนตายตาไม่หลับ เพราะที่ดินเป็นที่ที่คนเราทำมาหากิน เลี้ยงครอบครัว ฝากชีวิตไว้กับที่ดินทำมาหากิน แล้วก็เป็นที่อยู่อาศัย ตายไปก็ส่งต่อให้กับ ลูกหลานเป็นมรดกตกทอดต่อไป และครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๖๔ ในสมัยที่สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ สภาแห่งนี้ก็ได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา ที่ดินและการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน ผมได้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ ก็ได้มีคำชมจากพี่น้อง ประชาชนมากมายถึงความตั้งใจของสภาผู้แทนราษฎรที่จะแก้ปัญหาเรื่องที่ดินให้กับพี่น้อง ประชาชน แต่ก็อีกนั่นละครับ ก็มีประชาชนมาพูดเข้าหูเหมือนกัน บอกว่าท่าน สส. ครับ วันนี้พวกกระผมนำข้อมูล นำปัญหามาให้ท่าน หวังว่าสิ่งที่เราทำมาให้ท่าน สส. คงไม่ไปอยู่ใน ลังกระดาษ กลับไปสภาแล้วคงไม่หายเงียบไป ท่านก็ดูเอาเองนะครับ จนถึงทุกวันนี้ปัญหา ที่ดินของพี่น้องประชาชนก็ยังอยู่เหมือนเดิม

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ในพื้นที่จังหวัด กาฬสินธุ์ที่เป็นความรับผิดชอบของกระผม เขตพื้นที่เขตที่ ๕ ได้แยกแยะปัญหาที่ดิน ออกเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มที่มีปัญหาเยอะที่สุดก็คือกลุ่มปัญหาที่ดินในพื้นที่เขตป่า เขตป่าชุมชน ถูกแนวเขตป่าไม้ตามกฎหมายประกาศทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน บางคนทำกินมามากกว่า ๑๐๐ ปี ส่งต่อกันมาปู่ย่าตายาย มีผลกระทบต่อชีวิตเป็นอย่างมาก มีความทุกข์เป็นอย่างมาก บางคนถูกจับเป็นคดีความก็มีให้เห็นมาแล้ว รวมทั้งผลกระทบที่สืบเนื่องจากนโยบายทวงคืน ผืนป่า ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของ คสช. รวมถึง การประกาศอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติม ซึ่งในพื้นที่ของกระผมมีประชาชนในเขตตำบล นิคมห้วยผึ้งที่จะทำมาหากินอยู่ในที่ดิน ส.ป.ก. แล้วก็เสียภาษีที่ดินทุกปีอย่างถูกต้อง ก็กลาย มาเป็นที่ทับซ้อนของเขตวนอุทยานภูแฝก และถูกห้ามไม่ให้เข้าไปใช้พื้นที่จนกว่าจะมีข้อสรุป อย่างหนึ่งอย่างใดจากภาครัฐ ซึ่งก็ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับหน่วยงาน ของภาครัฐที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้

    อ่านในการประชุม

  • กลุ่มที่ ๒ ก็คือกลุ่มปัญหาที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือว่า ส.ป.ก. ปัญหาก็คือการประกาศแนวเขตที่ไม่ชัดเจน แล้วก็ทับซ้อนกับที่ดินประเภทอื่น ๆ เช่น ป่าสงวน หรือว่าอุทยาน ซึ่งในกาฬสินธุ์เองทับซ้อนกันอยู่ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ไร่ นี่เขตวนอุทยานภูแฝกที่เดียว เขตอุทยานไปทับที่กับเขต ส.ป.ก. อยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่

    อ่านในการประชุม

  • กลุ่มที่เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือกลุ่มปัญหาที่ดินสาธารณประโยชน์ ในเขต ของกระผมก็มีที่ดินสาธารณะดงปากน้ำ ดงน้ำจั้น ดงเหล่าแขม และดงบ้านอ้น ในตำบล กมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วก็อยู่ที่บ้านค้อพัฒนา อำเภอร่องคำ แล้วก็อยู่ที่บ้านโนนสมควร อำเภอห้วยผึ้ง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าบ้านป่าสงวน ซึ่งตอนนี้ ไม่ใช่ดง ไม่ใช่ทุ่งเลี้ยงสัตว์แล้ว ไม่ใช่ป่าแล้ว มีแต่บ้านคน มีแต่ที่ไร่ที่นาทำมาหากิน แต่จนถึง ตอนนี้ยังไม่มีเอกสารสิทธิในการครอบครอง อย่างรูปที่ท่านประธานเห็น นั่นมีแต่บ้านคน แต่ว่า ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีเอกสารสิทธิ

    อ่านในการประชุม

  • กลุ่มปัญหาที่เกิดจากที่ราชพัสดุทับที่กินของราษฎรก็มีเช่นกัน กลุ่มปัญหา ที่ดินจากโครงการพัฒนาของภาครัฐบางพื้นที่ ตัวอย่าง เช่น นิคมอุตสาหกรรมไปทับที่ทำกิน ของพี่น้องประชาชนนี่ก็มีเหมือนกัน กระผมก็เห็นชอบด้วยที่จะมีการตั้งหน่วยงาน หรือว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาอีกที่จะมารับผิดชอบแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน ผมว่าหน่วยงานของภาครัฐต้องการที่จะแก้ปัญหาให้ประชาชนอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องการว่า คำสั่งจากรัฐบาลเท่านั้นเอง อาศัยความจริงใจจากรัฐบาล แล้วก็รัฐบาลของท่านเศรษฐา ทวีสิน ก็ถือว่าเป็นความหวังของพี่น้องประชาชน จึงเรียนผ่านไปยังท่านประธานถึงรัฐบาล แล้วก็ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้รีบเร่งแก้ไขเรื่องที่หมักหมมมานานของพี่น้องประชาชน ในครั้งนี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย วันนี้มีเรื่องปรึกษาหารือกับท่านประธานดังนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ สืบเนื่องจากมีหนังสือประกาศจากกระทรวงมหาดไทยกำหนด จังหวัดที่จะทำการสำรวจรังวัดแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินฉบับนี้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ออกเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๖ ลงนาม โดยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รายชื่อทั้งหมดในหนังสือนี้มี ๖๘ จังหวัด ไม่มีจังหวัดกาฬสินธุ์ของกระผมด้วย มีประชาชนหลายคนเป็นห่วงกลับพื้นที่ไป จึงเรียนฝาก ท่านประธานไปถึงกระทรวงมหาดไทยด้วย ช่วยเพิ่มจังหวัดกาฬสินธุ์เข้าไปในหนังสือ ฉบับนี้ด้วย เพราะว่าได้รับการยืนยันจากประชาชนและที่ดินจังหวัดว่ายังมีพื้นที่อีกหลาย พื้นที่ต้องการสำรวจ แล้วก็รังวัด

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ที่มีความจำเป็นที่จะต้องฟอกไต มีหลายอำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์ที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ ไม่มีขีดความสามารถในการที่จะฟอกไตได้ทำให้ประชาชนต้องเดินทางไกล เสียค่าใช้จ่าย แล้วก็ลำบากในการเดินทางมีหลายอำเภอ เช่น อำเภอร่องคำ อำเภอดอนจาน อำเภอนามน แล้วก็อำเภอห้วยผึ้งเป็นต้น ดังนั้นจึงเรียนฝากท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงสาธารณสุข ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับโรงพยาบาลประจำอำเภอในการที่จะมีความสามารถ ในการฟอกไตได้เพื่อบริการพี่น้องประชาชนด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนและองค์การบริหารส่วนตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่องพนังกั้นลำน้ำพะยังแบบคันดินได้รับความเสียหายจาก จากมวลน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาพนังกั้นลำน้ำ นอกจากกั้นลำน้ำ แล้วก็ยังเป็นเส้นทางสัญจรของพี่น้องประชาชนครับ เมื่อได้รับความเสียหายไร่นาท่วมแล้ว พี่น้องประชาชนยังสัญจรได้ลำบาก จึงเกินขีดความสามารถของ อบต. ที่จะมีงบประมาณ ไปซ่อมแซม จึงเรียนผ่านท่านประธานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลซ่อมแซม แก้ไขด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย วันนี้มีเรื่องปรึกษาหารือกับท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ก็คือได้รับร้องเรียนจากนายก องค์การบริหารส่วนตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ถึงความเสียหายของถนน บ้านเหมือดแอ่ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านเหมือดแอ่ถูกน้ำท่วม ทั้งหมู่บ้านเมื่อปี ๒๕๖๕ เนื่องจากพนังกั้นลำน้ำชีได้ขาดไหลทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านแล้วก็ ท่วมถนนในหมู่บ้านตั้งแต่ปี ๒๕๖๕ ถนนได้รับความเสียหายมาก จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ก็ยัง ไม่ได้รับการแก้ไข ทางนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเจ้าท่าก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ก็ทำหนังสือ ของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น แต่ถึงป่านนี้ก็ยังไม่ได้งบประมาณในการ ซ่อมแซมดูแล ก็เลยอยากฝากท่านประธานไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยอนุมัติงบประมาณ ในการซ่อมแซมถนนเส้นนี้ ซึ่งเป็นถนนกลางหมู่บ้านที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนมาก

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ก็คือเป็นเรื่องที่กระผมเคยปรึกษาหารือกับท่านประธานไป ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ สืบเนื่องประกาศจากกระทรวงมหาดไทยกำหนด จังหวัดที่จะทำการสำรวจรังวัดแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ซึ่งในหนังสือฉบับนี้ไม่มีจังหวัดกาฬสินธุ์ของกระผมอยู่ด้วย ในหนังสือฉบับนี้มีทั้งหมด ๖๘ จังหวัด มีจังหวัดไหนบ้างที่ยังไม่มีผมก็ไม่ทราบ แต่ว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่มีแน่ ๆ กลับบ้านไปก็ให้คำตอบกับชาวบ้านไม่ได้ เคยปรึกษาหารือกับท่านประธานไปแล้วรอบหนึ่ง จนป่านนี้ก็ยังไม่มีคำตอบนะครับ ชาวกาฬสินธุ์ก็เลยกลัวจะตกสำรวจ ก็เลยฝากมายัง ท่านประธานอีกรอบหนึ่งครับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพครับ มีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ผมได้รับหนังสือร้องเรียนจาก ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้าน บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ ๑๖ ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ว่าอยากจะขอไฟส่องสว่างบนถนนทางหลวงแผ่นดินเพิ่มเติม เนื่องจาก ไฟส่องสว่างที่ผ่านมาทางบ้านโนนสวรรค์ยังขาดช่วงอยู่ครับ ถนนผ่านบ้านโนนสวรรค์ เป็นถนน ๔ เลน ที่ออกจากตัวอำเภอห้วยผึ้งมุ่งหน้าไปยังอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ถนนช่วงนี้รถสัญจรไปมาค่อนข้างใช้ความเร็วสูง เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งในช่วงเวลากลางคืน เพื่อความปลอดภัยในการสัญจรของชาวบ้าน ชาวบ้านจึงได้ลงความเห็นกันว่าอยากจะขอให้ แขวงทางหลวงเพิ่มแสงสว่างบนถนนในช่วงที่ขาดอยู่ให้ด้วย เพื่อความปลอดภัยในการสัญจร ในเวลากลางคืนครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องขอไฟส่องสว่างบนถนนเพิ่มเติม เป็นถนนทางหลวงแผ่นดิน จากอำเภอห้วยผึ้งไปอำเภอกุฉินารายณ์เช่นเดียวกันครับ ได้รับร้องเรียนจากนายกองค์การ บริหารส่วนตำบลไค้นุ่นและชาวบ้านไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ว่ามีอยู่ ๒ จุด จุดที่ ๑ ก็คือช่วงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๓-๔ จุดที่ ๒ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๕-๖ เป็นจุดที่ เกิดอุบัติเหตุมีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตอยู่บ่อยครั้ง จากสถิติของหน่วยกู้ภัยทางการแพทย์ ฉุกเฉินหรือว่า EMS ของตำบลไค้นุ่น ว่าในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เกิดขึ้นทุกปี จึงอยากให้แขวงทางหลวงช่วยเพิ่มแสงสว่างในช่วงที่ขาดไปดังกล่าวด้วย จึงเรียนท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการ เพื่อความปลอดภัย ของพี่น้องประชาชนในการสัญจรไปมาด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย วันนี้ ณ เวลานี้ดีใจครับท่านประธาน ขอบคุณท่านที่เสนอญัตตินี้เข้ามา การสร้างคนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งกระผมคิดว่าเป็นญัตติอีกญัตติหนึ่งที่มีความสำคัญ ที่ถึงเวลาแล้วที่สภาของเราจะนำเรื่องนี้มาพูดกันในสภาแห่งนี้ครับ แนวคิดในการสร้าง ความเป็นพลเมืองให้เกิดกับประชาชนเป็นเรื่องที่ทุกประเทศในโลกต่างที่จะผลักดันให้เกิดขึ้น และให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะต่างตระหนักถึงความจำเป็นแล้วก็คุณค่าของการเป็น พลเมืองที่ดีที่จะเป็นเครื่องมือนำพาประเทศให้รอดพ้นวิกฤติต่าง ๆ แล้วก็เข้มแข็ง แข็งแรง อย่างยั่งยืนตลอดไป

    อ่านในการประชุม

  • การขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อสร้าง ความเป็นพลเมืองหรือว่า Citizenship Education โดยหลาย ๆ ประเทศจัดไว้แล้วก็ปลูกฝัง ไว้ในการศึกษาภาคบังคับหรือว่า Compulsory Education บุคคลที่จะปฏิบัติตนให้เป็น พลเมืองที่ดีจะต้องปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ครับ สำหรับประเทศไทยเราการสร้างความเป็น พลเมืองที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมนั้นอาจกล่าวได้ว่าประสบความล้มเหลว คำกล่าวของผม หลาย ๆ คนอาจจะพูดว่าผมกล่าวเกินจริงหรือเปล่า กล่าวเกินไปหรือเปล่า Bully ประเทศ ตัวเองหรือเปล่า จากภาพที่ผมนำมาเป็นตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นยกพวกไล่ตีกันโดยที่ไม่ชอบ ขี้หน้ากันแค่นี้ การไล่ตีกันกลางถนน แก๊งโจ๋ยกพวกตีกัน เด็กช่างกลตีกัน ลูกแก๊งตำรวจ มีการเลียนแบบลูกแก๊งตำรวจอีก แล้วก็ความขัดแย้ง ความเห็นต่างทางการเมือง สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นในเมืองไทยเรา ณ ขณะนี้ และมาถึงจุดที่ว่าการให้อภัยกันมันยากกว่าการแทงคอกัน เสียอีกครับท่านประธาน จากข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐบาลที่ดูแลเด็ก เยาวชน จะเห็นว่า อัตราคดีที่เพิ่มขึ้นของเด็กและเยาวชนในช่วงอายุแต่ละปีตั้งแต่ปี ๒๕๖๕ ปี ๒๕๖๖ มีอัตรา ที่เพิ่มขึ้นนะครับ แบบนี้จะไม่ให้ผมคิดว่ามันล้มเหลวได้อย่างไร ท่านประธานครับ ตั้งแต่ ประเทศไทยเราเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา มีรัฐธรรมนูญถึง ๒๐ ฉบับเข้าไปแล้ว แต่ก็ยังมีอุปสรรคมากมาย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในสังคมประชาธิปไตยประเทศอื่น ๆ โดยพิจารณาได้จากปัญหา หลาย ๆ ปัญหาที่ประเทศไทยประสบอยู่ตอนนี้ครับ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาสังคมที่ล้มเหลว ความเหลื่อมล้ำ และตอกย้ำด้วยปัญหายาเสพติดที่หนักหนาสาหัส การทุจริตคอร์รัปชัน อาชญากรรม ครอบครัวแตกแยก ความเบี่ยงเบนทางค่านิยมและ วัฒนธรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาอื่น ๆ อีกมากมายที่ประเทศไทยเราประสบอยู่ตอนนี้ แล้วก็ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่กำลังรุมเร้าแล้วก็เป็นปัญหาอย่างหนัก ก็คือความคิดเห็นทาง การเมืองที่แตกต่างกัน สำหรับหลักสูตรวิชาหน้าที่พลเมืองในปัจจุบันถึงเวลาแล้วที่จะต้อง สังคายนากันใหม่แล้วครับ วันนี้ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป สถานการณ์โลกเปลี่ยนไป แม้แต่ ประเทศไทยเองเยาวชนเกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำหน้า การเข้าถึงเนื้อหาความรู้ ที่ดีกว่า กว้างกว่า ทำให้ทัศนะในการมองสังคมเกิดการตั้งคำถามต่อหลักสูตรประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมืองว่า มีความถูกต้องแม่นยำ มีความเป็นกลางและความเป็นจริงมากน้อย แค่ไหน วิชาหน้าที่พลเมืองเป็นวิชาที่มีปัญหาค่อนข้างมากครับ เพราะเน้นการสอนให้เด็ก แบบจำกัด และไม่เปิดกว้าง ทำให้วิชาหน้าที่พลเมืองไม่ได้ทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น เป็นวิชาที่น่าเบื่อครับ ถามใครก็รู้ ถามเด็กคนไหนก็รู้ว่าวิชาหน้าที่พลเมืองเป็นวิชาที่น่าเบื่อ หรือไม่ เป็นวิชาที่ครูมายืนอยู่หน้าห้องและสอนให้เด็กท่องจำเพื่อที่จะนำไปสอบ มันไม่ได้อยู่ ในจิตใจ มันไม่ได้อยู่ในจิตใต้สำนึกของเยาวชน ทำให้เด็กไม่อยากเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง แล้วก็วิชาประวัติศาสตร์ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องปรับปรุงแล้วก็ประเมินผลด้วยในวิชา หน้าที่พลเมืองแล้วก็วิชาประวัติศาสตร์ ควรต้องนำมาเปิดเผยชำระแล้วก็พูดคุยกัน ถ้ามี เรื่องอะไรเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยน ให้ทันกับยุค ทันกับสมัย เพราะการศึกษาประวัติศาสตร์และหน้าที่ พลเมืองควบคู่กันไปในปัจจุบันนั้นไม่ทันกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตที่เรียกว่า มีความ ล้าสมัยไปแล้ว ตกยุคไปแล้ว และไม่ทันกับสิ่งที่เด็กเยาวชนต้องการ มีข้อเสนอแนะนิดหนึ่ง การปลูกฝังความเป็นพลเมืองที่ดี แน่นอนครับทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องปลูกฝังตั้งแต่ วัยเยาว์ ให้เขาฝึกวิเคราะห์ข้อมูลในแง่มุมต่าง ๆ อย่างมีเหตุมีผลและมีการแสดงความคิด อย่างเป็นอิสระและสร้างสรรค์ ในวัยเรียนก็เช่นกันก็ต้องมีการนำเสนอกิจกรรมในรูปแบบ ที่หลากหลายเพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง และให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วม นั่นจะทำให้เขายอมรับระเบียบ กฎเกณฑ์ ลดการต่อต้าน รู้สึกเป็นปฏิปักษ์ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมในการเรียนมีไปโดยราบรื่นครับ ไม่ได้เน้นให้เด็กท่องจำ แต่จะเน้นให้การปฏิบัติ โดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้เข้าใจในหลักประชาธิปไตย และต้องเคารพ สิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเองแล้วก็ผู้อื่น ปลูกฝังการยอมรับความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างบุคคลในเรื่องเชื้อชาติ ภาษา เพศสภาพ ความพิการ ความสามารถถิ่นกำเนิด ไม่ทำร้าย ไม่ล้อเลียนซึ่งกันและกัน แบ่งปันวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งในท้องถิ่น ร่วมกันแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งโดยสันติวิธี สิ่งเหล่านี้อยากจะให้ทุก ๆ คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ใช่แต่เด็กและ เยาวชนเท่านั้นที่จะต้องเรียนรู้เรื่องหน้าที่พลเมือง ทุกเพศ ทุกวัย ทุกคนในเชื้อชาติของเรา ที่รักชาติบ้านเมืองต้องตระหนักถึงหน้าที่พลเมืองที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญครับ ด้วยความเคารพ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม