ข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ชุดที่ 26

ปีที่ 1

สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง

ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม 2566 เวลา 10.36 - 17.03 นาฬิกา

เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุม

นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน ปารมี ไวจงเจริญ สส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล วันนี้จะขอหารือท่านประธานไปถึงยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ๒ เรื่องค่ะ

นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องแรก คะแนน PISA ที่เพิ่งออกมาน้อยมาก ๆ น้อยเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยเรานี้ ปัจจุบันไม่ตอบโจทย์แล้วนะคะ ท่านรัฐมนตรีต้องรีบปรับปรุงทันทีมาเน้นการคิดวิเคราะห์นะคะ ดิฉันไม่อยากให้มีการโทษ การท่องจำ เพียงแต่ว่าท่องจำแล้วครูที่สอนจะต้องรู้จักต่อยอดไปสู่การคิดวิเคราะห์ ซึ่งหลักสูตรแกนกลางในปัจจุบันไม่ตอบโจทย์เรื่องนี้แล้วนะคะ ดิฉันขอเรียนนำเสนอ ฝากท่านประธานไปถึงรัฐมนตรีว่าควรปรับหลักสูตรครั้งใหญ่ มาเน้นใช้หลักสูตรที่นักวิชาการ พูดถึงมานานแล้ว คือหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ไปติดแหง็กอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการ อยากให้นำกลับมาใช้ควรใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ ๖ ด้าน คือ ๖ ด้านนี้มันเหมาะกับ การศึกษายุคใหม่หลายประเด็นเลย ดิฉันจะพูดยกตัวอย่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ๖ ด้าน อย่างเช่น สมรรถนะการจัดการตนเอง อันนี้เหมาะมากสำหรับนักเรียนไทยที่จะอยู่ แล้วก็ ปรับตัวให้ทันสมัยในโลกปัจจุบัน หรืออีกอย่างสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง อันนี้เป็นสมรรถนะที่สำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการควรจะเร่งปรับให้นักเรียนไทย ได้มีสมรรถนะด้านนี้ ดีกว่าที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการออกมาให้ปรับปรุงวิชาหน้าที่พลเมืองกับวิชาประวัติศาสตร์ไทย ไม่นานมานี้ มาใช้เป็นสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งดีกว่า หรืออย่างสมรรถนะ การคิดขั้นสูง อันนี้ตรงกับ PISA เลย อยากให้ท่านเตรียมปรับหลักสูตรครั้งใหญ่พร้อมกับ Reskill Upskill ครูไทยครั้งใหญ่ไปด้วย

นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ กรณีข่าวครูท่านหนึ่งในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีเรื่อง ทุจริตเกี่ยวกับอาหารกลางวัน ท่านต้องเร่งแก้เรื่องภาระครู ภาระงานครูที่หนักมาก ครูเขา จะตายกันทั่วประเทศแล้วค่ะ อยากให้ท่านแก้เรื่องปัญหาครูธุรการ เมื่อวานนี้ท่านไปประชุม ใช้วิธีบริหารทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งธุรการโรงเรียนร่วมกัน ๔ โรงเรียน เมื่อวานท่านไปนำร่องที่ลำปาง ดิฉันว่ามันยังแก้ไม่ตรงจุด เพราะว่าแบ่งธุรการ ๔ โรงเรียน ร่วมกัน แต่บางโรงเรียนที่ไกลจากเขตพื้นที่ก็ยังยุ่งยากเหมือนกันในการจัดซื้อครุภัณฑ์ ดิฉันว่ายังเป็นการแก้ไม่ตรงจุด มันจะเป็นการเพิ่มภาระให้ครู อยากให้ท่านเร่งแก้เรื่องภาระครู ที่หนักอึ้ง ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสุรทิน พิจารณ์ ครับ

นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม สุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ สส. แบบบัญชีรายชื่อ

นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องแรก คือเรื่องถนนคนเดินจากวัดโพสพผลเจริญไปที่สถานีรถไฟฟ้าคูคต อันนี้ได้หารือตั้งแต่สภาชุดที่แล้ว ฝากไปที่กรมทางหลวงของกระทรวงคมนาคมช่วยเร่งรัด ด้วยนะครับ

นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ คือเรื่องค่าตั๋วเครื่องบิน เครื่องบิน Low-Cost Airline ในประเทศไทย ทุกวันนี้แพงมากท่านประธานครับ ไม่ว่าจะเส้นทางไหนแพงทั้งนั้น ขนาดค่าเครื่องบิน จากบ้านเราไปประเทศเวียดนามยังถูกกว่าเลย ขอให้กระทรวงคมนาคมได้ดูแลเรื่องนี้ด้วย

นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ คือเรื่องเงินเยียวยาของเกษตรกรไร่ละ ๑,๐๐๐ บาทนะครับ ปรากฏว่าเมื่อเกษตรกรได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล ๑,๐๐๐ บาท ประมาณ ๑๒ ไร่ ก็คือ ๑๒,๐๐๐ บาท ทีนี้เวลาจะไปเบิกทางธนาคาร ธ.ก.ส. ได้หักเงินไว้หมด หักใช้หนี้หมด เกษตรกรก็ไม่ได้รับเงิน ท่านประธานครับ ไม่ได้รับเงินกลับมาบ้านมือเปล่า อันนี้ฝากไปที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพราะว่ามันกระทบถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ด้วยนะครับ

นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ เรื่องเงินเยียวยาผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยหรือ ผรท. ที่วางปืน แล้วก็ มาพัฒนาสร้างบ้านแปลงเมืองนะครับ รัฐบาลที่แล้วรัฐบาลของท่าน พลเอก ประยุทธ์ ก็ได้เยียวยาไปส่วนหนึ่งแล้ว พอมารัฐบาลของท่านเศรษฐา ทวีสิน พี่น้องได้เรียกร้อง ได้เรียกร้องเงินค่าเยียวยา อยากเร่งรัดให้รัฐบาลช่วยด้วย ผู้ที่ร้องมาก็คือนายสมาน ขันตี นายชาลี ละครจันทร์ นายสมนึก หนูแสง นายการุณ วิเศษรัตน์ นี่คือพี่น้องผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ขอบคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านเฉลิมชัย กุลาเลิศ ครับ

นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม เฉลิมชัย กุลาเลิศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลางครับ วันนี้มีเรื่องอยากจะหารือกับท่านประธานอยู่ประมาณถึง ๓-๔ เรื่องครับ

นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ในประเด็นแรก ผมอยากจะสอบถามไปถึงการไฟฟ้าสามเสนและ สำนักการโยธา ว่าท่านติดปัญหาในการดำเนินการอะไรหรือไม่ เพราะทางเราได้ส่งเรื่อง ไปหลายเดือนแล้ว ยังไม่ได้รับการตอบรับ โดยผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับ ปัญหาไฟฟ้าได้มีการทำหนังสือแจ้งเรื่องเป็นลายลักษณ์อักษร ไปยังสำนักงานเขตห้วยขวาง เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม และทางสำนักงานเขตได้ส่งต่อไปยังการไฟฟ้าเขตสามเสนและ สำนักการโยธาเพื่อให้ดำเนินการแก้ไข แต่ยังไม่แก้ไข โดยมี ๔ เรื่อง

นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ไฟดับบริเวณ ซอยประชาราษฎร์บำเพ็ญ ๖ ซอยสุนทรศิริ ไฟดับมาเป็นระยะเวลากว่า ๘ ปีแล้ว จุดนี้ มีทางเดินเท้าเชื่อมไปรถไฟฟ้าใต้ดินคนใช้ค่อนข้างมาก อาจจะก่อให้เกิดอันตรายอาชญากรรมได้

นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ไฟดับบริเวณทางเท้าถนนรัชดาภิเษก จุดนี้มีคนใช้งานเยอะ เนื่องจากเป็นถนนเส้นหลักและมีคอนโดพักอาศัยเยอะ ทุกวันนี้ต้องอาศัยไฟจากรถยนต์ ที่ผ่านไปผ่านมาและอาคารเอกชนริมถนนเพื่อให้ความสว่างนะครับ

นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

แล้วยังมีเรื่องอื่น ๆ เช่น นอกจากไฟฟ้าสาธารณะดับ ยังมีเรื่องของ เสาไฟฟ้าเอียง ซึ่งได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรในหนังสือเล่มเดียวกันไปแล้ว แต่ยังไม่มี การแก้ไขใด ๆ เดี๋ยวผมจะนำภาพสไลด์ขึ้นให้ดูนะครับ นี่คือภาพที่ทางผมได้ลงพื้นที่ ไปตรวจสอบความคืบหน้าเมื่อวานนี้ และมันยังเป็นเหมือนเดิม เหมือนเมื่อ ๕-๖ เดือนที่แล้ว อย่างไรขอเน้นย้ำให้กับการไฟฟ้าสามเสน แล้วก็ขอความกรุณาสำนักการโยธาด้วยนะครับ ให้มาช่วยดำเนินการแก้ไขโดยด่วน ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านยุทธการ รัตนมาศ ครับ

ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ ๔ อำเภอชะอวด อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ วันนี้ผมขอหารือท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ๑ เรื่อง ผมได้รับข้อร้องเรียนจาก นายโสพล สุขสวัสดิ์ นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลเคร็ง และ นายชินกฤต นาคสั้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสม็ด เนื่องจากถนนทางหลวงชนบท เลขที่ นส.ถ.๓๐๓๒ สายตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด ไปยังตำบลแหลม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จากช่วงสามแยกที่ทำการ กำนันบุญยอด ธานีรัตน์ กำนันตำบลท่าเสม็ดถึงบ้านควนป้อม ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๗,๕๐๐ เมตร พื้นผิวชำรุดทรุดโทรมอย่างมากครับท่านประธาน เหตุเกิดจากในช่วง ๒ สัปดาห์ที่ผ่านมา ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในเขตพื้นที่อำเภอชะอวด และอำเภอใกล้เคียงทำให้น้ำท่วมขังบนถนน ประกอบกับถนนสายนี้เสื่อมโทรมเป็นหลุม เป็นบ่ออยู่ก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อเจอสภาวะฝนตกหนักหลายวันติดต่อกันทำให้พื้นที่ เป็นหลุมเป็นบ่อตลอดเส้นทาง ๗,๕๐๐ เมตร ถนนเสื่อมโทรมหนักขึ้นไปอีกครับท่านประธาน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น พี่น้องประชาชน รวบรวมเงินส่วนตัวซื้อวัสดุซ่อมแซมเพื่อบรรเทาไปก่อน เนื่องจากถนนดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุ บ่อยครั้ง มีพี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ผมจึงเรียนท่านประธาน ทำหนังสือส่งไปยังสำนักงานทางหลวงชนบท จังหวัดนครศรีธรรมราช เร่งรัดซ่อมแซม ถนนลาดยางใหม่ตลอดทั้งสาย โดยมีระยะทางประมาณ ๗,๕๐๐ เมตร โดยด่วน ขอขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านอำนาจ วิลาวัลย์ ครับ

นายอำนาจ วิลาวัลย์ ปราจีนบุรี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อำนาจ วิลาวัลย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดปราจีนบุรี พรรคภูมิใจไทย

นายอำนาจ วิลาวัลย์ ปราจีนบุรี ต้นฉบับ

วันนี้ผมมาตามเรื่องของกรมศิลปากร ที่ผมปรึกษาหารือเมื่อสมัยที่แล้ว เกี่ยวกับโบสถ์เก่าของวัดแสงสว่างที่สร้างขึ้นสมัย ร. ๕ แล้วก็มีพระพุทธรูปที่ได้พระนามจากองค์สมเด็จพระสังฆราช แล้วอยากให้ทางกรมศิลปากร ได้เข้าไปปรับปรุงพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพราะนอกจากโบสถ์เก่าแห่งนี้แล้ว เรายังมีโบราณสถานอีกมากมาย มีทั้งบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีสระแก้ว สระขวัญ มีโบราณสถาน มีต้นศรีมหาโพธิ์อายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี ที่นำหน่อมาจากต้นศรีมหาโพธิ์องค์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วก็มีรอยพระพุทธบาทคู่ มีเมืองโบราณ เมืองทวารวดี ซึ่งเหล่านี้ถ้าเราไปพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ จะสร้างประโยชน์ให้กับพี่น้องในอำเภอศรีมโหสถ อย่างมากมาย ทั้งจะสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับพี่น้อง เพราะว่าถ้าเกิดเรามีแหล่งท่องเที่ยว ที่เป็น Unseen เราก็จะต่อยอดไปพัฒนาวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมในการจัดงาน บุญบั้งไฟของวัดต้นโพธิ์ งานมาฆปูรมีศรีปราจีนของวัดสระมรกต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะเชื่อมโยงกันหมด จึงฝากท่านประธานผ่านไปยังกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ช่วยเร่งรัดดำเนินการเข้าไปปรับปรุงซ่อมแซมโบสถ์หลังดังกล่าว เพื่อเป็นจุดสนใจ ให้พี่น้องประชาชนทั่วประเทศได้เข้าไปเยี่ยมชม แล้วก็จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้กับ พี่น้องชาวอำเภอศรีมโหสถต่อไป

นายอำนาจ วิลาวัลย์ ปราจีนบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ คือเรื่อง U-turn ถนนสาย ๓๑๙ ช่วงวัดคู้ลำพันถึงสี่แยกโคกปีบ มีระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการต้องไปกลับรถไกล พี่น้องที่ทำนา รถไถ รถที่เกี่ยวกับการเกษตรต้องไปกลับรถไกลถึง ๕ กิโลเมตร จึงอยากฝาก ท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงคมนาคม ช่วยเร่งรัดจัดจุดกลับรถให้กับพี่น้องประชาชนด้วย กราบขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ครับ

นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมต้องขอขอบคุณ ท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง คมนาคม ที่ท่านได้ออกตรวจราชการจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ ๓-๔ พฤศจิกายน

นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

และในโอกาสนี้ท่านสุริยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ออกตรวจถนนสาย ๒๔๑๒ ซึ่งถนนสายนี้ประชาชน ลำบากมาหลายปี ไม่มีใครที่จะช่วยเหลือประชาชนได้ ท่านได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างถนน ให้กับพี่น้องประชาชน ชาวบ้านหมัด บ้านเจี่ย ผมในนามตัวแทนพี่น้องประชาชน ต้องกราบขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูง

นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

ผมได้รับการร้องเรียนจากนายวิจิตร บัวจูม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล คำเนียม เรื่องก่อสร้างถนนลาดยางสายบ้านคำบอน ตำบลดูน ถึงบ้านหนองทามใหญ่ ตำบลคำเนียม อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เนื่องจากผิวจราจรถนนลาดยางเกิดการ ชำรุดเสียหายเป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้ประชาชนในพื้นที่สัญจรไปมาด้วยความยากลำบาก ผมจึงอยากฝากท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย ช่วยเร่งดำเนินการให้กับ พี่น้องประชาชนด้วยครับ ผมได้รับการร้องเรียนจาก นายตำรา เงาศรี ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทาม นายบุญชม เงาศรี ส.อบต. ตำบลทาม นายประยูร เชื้อทอง กำนันตำบลทามและชาวบ้าน หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๑๒ บ้านผึ้ง ตำบลทาม อำเภอกันทรารมย์ จังหวัด ศรีสะเกษ เนื่องจากชาวบ้านผึ้ง ตำบลทาม มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๘๐๐ กว่าครัวเรือน และมีประชาชนประมาณ ๕,๐๐๐ คน ทำให้การใช้น้ำประปาในปัจจุบันไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้น้ำของชาวบ้าน ชาวบ้านผึ้ง ตำบลทาม จึงมีความต้องการที่จะสร้าง ประปาขึ้นมา เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ประปาที่ชาวบ้านต้องการ คือบ่อบาดาลขนาดใหญ่ ฝากท่านประธานผ่านไปยังกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยเร่งดำเนินการให้กับพี่น้องประชาชนที่เขาได้รับ ความเดือดร้อน ขอขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านฐากร ตัณฑสิทธิ์ ครับ

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาที่เคารพครับ ผม ฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยสร้างไทย วันนี้ ขออนุญาตหารือท่านประธาน ๓ เรื่องครับ

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องแรก เป็นความเดือดร้อนของส่วนราชการ ก็คือการให้บริการอินเทอร์เน็ต ตามส่วนราชการต่าง ๆ อยากจะขอร้องให้ทางสำนักงบประมาณปรับเปลี่ยนหมวดรายจ่าย ของงบประมาณค่าอินเทอร์เน็ตให้เป็นค่าสาธารณูปโภค ให้ถือว่าค่าอินเทอร์เน็ต มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของส่วนราชการทุกส่วนราชการในขณะนี้ อยากจะให้ ปรับเปลี่ยนหมวดรายจ่ายของงบประมาณในส่วนนี้เป็นค่าสาธารณูปโภค

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องที่พี่น้องประชาชนที่ไปต่อใบอนุญาตใบขับขี่ในขณะนี้ ต้องมีการลงทะเบียนในการลงคิวต่าง ๆ ที่จะต่อใบอนุญาตขับขี่ มีปัญหาอุปสรรคมาก ในขณะนี้ เพราะว่าคิวในการต่อยาวมาก บางคนลงทะเบียนมาใบอนุญาตขับขี่ขาดมา เป็นปีแล้ว ไม่สามารถที่จะต่อใบอนุญาตขับขี่ได้ เพราะฉะนั้นอยากจะฝากถึงท่านอธิบดี กรมการขนส่งทางบกครับว่า กรมการขนส่งทางบกทำดีมาโดยตลอด ผมต้องเรียนว่าเป็นกรม ที่มีการใช้ระบบ IT ในการเข้ามาพัฒนาเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้งาน การต่อทะเบียน รถต่าง ๆ ถือว่ารวดเร็วมาก ในครั้งนี้ขออนุญาตว่าเกี่ยวกับเรื่องต่อใบอนุญาตใบขับขี่ ขอให้ท่านอธิบดีกรมการขนส่งทางบกลงมาดูแลเรื่องนี้ด้วยครับ

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ขออนุญาตขึ้นสไลด์ด้วยครับ

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เป็นเรื่องที่ทางวัดราษฎร์บูรณะ ฝากมาว่าขณะนี้คลองที่คั่นระหว่างสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะกับวัดราษฎร์บูรณะ ในขณะนี้ มีทั้งขยะมูลฝอยแล้วก็ผักตบชวาเต็มคลองไปหมด เมื่อไปร้องเรียนสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ก็บอกว่าอยู่ในความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่า ผมเรียนอย่างนี้นะครับว่าไปร้องเรียนก็บอกว่า อยู่ในความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่า แต่วันนี้ผมต้องถือว่าเมื่อไปร้องเรียนแล้ว ควรที่จะให้ สำนักงานเขต กทม. เอง ยื่นเรื่องไปที่กรมเจ้าท่า เพื่อที่จะให้มาดำเนินการเร่งในการกำจัด ผักตบชวาหรือขยะ เพื่อที่จะให้การคมนาคมขนส่งทางน้ำเดินต่อไปได้ครับ ฝากท่านอธิบดี กรมเจ้าท่าเดินหน้าเรื่องนี้ในการกำจัดขยะมูลฝอยและผักตบชวา เพื่อให้การคมนาคม ขนส่งทางน้ำเดินต่อไปได้ ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านฤกษ์ อยู่ดี ครับ

นายฤกษ์ อยู่ดี เพชรบุรี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายฤกษ์ อยู่ดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี เขต ๒ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ผม มีเรื่องจะมาหารือกับท่านประธาน ๒ เรื่องครับ

นายฤกษ์ อยู่ดี เพชรบุรี ต้นฉบับ

เรื่องแรกผมได้รับเรื่องขอความอนุเคราะห์ จากท่านผู้ใหญ่ สัญญา อินทร์พล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัด เพชรบุรี สืบเนื่องจากอ่างเก็บน้ำบ้านเขาลูกช้าง หมู่ที่ ๖ ตำบลท่าไม้รวก ได้มีสภาพตื้นเขิน และมีวัชพืชปกคลุมเป็นจำนวนมาก จึงทำให้พื้นที่กักเก็บน้ำมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ต่อความต้องการในการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร ทำให้มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ของพี่น้องประชาชน ผมจึงขออนุญาตผ่านท่านประธานฝากไปถึงหน่วยงานผู้เกี่ยวข้อง ช่วยอนุเคราะห์โครงการ ขุดลอกอ่างเก็บน้ำเขาลูกช้าง พร้อมจัดเก็บวัชพืชและขุดลอกคลองห้วยหนองโพ ระยะความยาวประมาณ ๑,๒๐๐ เมตร บริเวณอ่างเก็บน้ำดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จะเป็นพระคุณอย่างสูงยิ่งครับ

นายฤกษ์ อยู่ดี เพชรบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ผมได้รับเรื่องขอความอนุเคราะห์จากท่านพงศักดิ์ พรหมน้อย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๙ บ้านห้วยตะวาย ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากพื้นที่ห้วยบ้านตะวาย บริเวณริมอ่างเก็บน้ำเขาลูกช้าง มีพี่น้องประชาชน จำนวน ๑๙ ครัวเรือน และอาศัยอยู่ประมาณ ๓๐ ปี ไม่มีประปาใช้ครับ เนื่องจาก อยู่ในพื้นที่ของกรมป่าไม้ แต่ได้รับอนุญาตให้อยู่อย่างถูกต้อง ทำให้เกิดความยากลำบาก ต่อการดำรงชีวิตมาโดยตลอด ผมจึงขออนุญาตผ่านท่านประธานฝากไปถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ขอช่วยอนุเคราะห์ดำเนินการติดตั้งระบบน้ำประปา เพื่อใช้ในการอุปโภค และบริโภคให้กับพี่น้องประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงจะเป็นพระคุณอย่างสูงยิ่ง กราบขอบคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านวิลดา อินฉัตร ครับ

นางสาววิลดา อินฉัตร ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ดิฉัน นางสาววิลดา อินฉัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต ๗ พรรคเพื่อไทย วันนี้มีเรื่องที่จะหารือต่อสภา ๒ เรื่อง

นางสาววิลดา อินฉัตร ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ เป็นปัญหาเรื่องไฟฟ้า เพื่อการเกษตรของ ตำบลโนนปูน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ การเพาะปลูกนับว่า มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะหอมแดง ผลผลิต ก็จะออกมากในเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูแล้งเกษตรกรก็จะประสบปัญหา เรื่องน้ำในการเพาะปลูกเป็นอย่างมาก ปัจจุบันก็ใช้เครื่องสูบน้ำจากแหล่งผลิตน้ำผิวดิน น้ำบาดาล การสูบน้ำดังกล่าวต้องใช้ไฟฟ้า แต่พื้นที่เพาะปลูกไฟฟ้าเข้าไม่ถึง แล้วก็ใช้วิธี ต่อลากไฟไปจากหมู่บ้าน ซึ่งเป็นระยะทางไกลมากทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายและเกิดอันตรายในที่ ที่ไฟฟ้าพาดผ่าน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาแก่กลุ่มเกษตรกร ดิฉันจึงขอไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ดังนี้ ๑. บ้านหนองปิงปอง หมู่ที่ ๗ ถึงบ้านอะลาง เขตตำบลกฤษณา ๙๖๐ เมตร ๒. บ้านปิงปอง หมู่ที่ ๗ ถึงหนองแฮด ๙๐๐ เมตร ๓. บ้านโนนดู่ บ้านหนองปิงปอง หมู่ที่ ๗ ถึงบ้านสามแยกวัดพระธาตุจังเกา ๑,๔๐๐ เมตร ๔. บ้านตะเคียน หมู่ที่ ๖ ถึงบ้านหนองปิงปอง หมู่ที่ ๗ ๑,๑๐๐ เมตร ๕. บ้านตะเคียน หมู่ที่ ๖ ถึงบ้านห้วยป่าม่วง หมู่ที่ ๘ ๗๐๐ เมตร บ้านห้วยป่าม่วง หมู่ที่ ๘ ถึงบ้านตะเคียน หมู่ที่ ๖ ๗๕๐ เมตร จึงขอหารือผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงมหาดไทย ให้สนับสนุนงบประมาณเพื่อการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคดำเนินการต่อไป

นางสาววิลดา อินฉัตร ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เรื่องของบประมาณในการซ่อมแซมถนน เพื่อการท่องเที่ยว รอบบารายสระกู่ ดิฉันได้รับการประสานงานจาก นายพสิษฐ์ เจนพิทักษ์คุณ นายกองค์การ บริหารส่วนตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมกับ สภาวัฒนธรรมได้ขอใช้อาคารราชพัสดุหลังลำดับที่ สก. ๑๙๕๕ เพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ชาวกูย ซึ่งตั้งอยู่ในบารายชุมชนท่องเที่ยวคุณธรรมวัดบ้านกู่ ประชาชนได้รับประโยชน์จากพิพิธภัณฑ์นี้ ในการส่งเสริมการศึกษาการท่องเที่ยวโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ชาวกูย ได้นำเสนอให้เยาวชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งก่อสร้าง โดยใช้งบประมาณของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เกิดการกัดเซาะของน้ำ ทำให้ถนน รอบบารายเสียหายเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายต่อนักท่องเที่ยวและประชาชน ในพื้นที่จากการใช้ถนน จึงขอหารือผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ลงพื้นที่ตรวจสอบถนนรอบบาราย เพื่ออนุมัติงบประมาณในการซ่อมแซมโดยด่วนนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านภูริวรรธก์ ใจสำราญ ครับ

นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม ภูริวรรธก์ ใจสำราญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๒ บางเขน ท่าแร้ง สายไหม ออเงิน และลาดพร้าว จรเข้บัว พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ เขต ๑๒ ผมประกอบไปด้วย ๓ แขวง ๓ เขต กินพื้นที่ค่อนข้างที่จะเยอะ ขอสไลด์ด้วยครับ

นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

โดยที่ปัญหากระจายตัว อยู่รอบ ๆ ตามแผนภูมินี้ ปัญหาอย่างแรกคือปัญหาโรงขยะ เป็นโรงขยะแบบพักกองรวมกัน ในออเงิน อยู่ในกำกับของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งกลิ่นเหม็น ถนนลื่นจากน้ำขยะ การจัดการขยะ แล้วก็กิจการขยะโดยรอบ ๆ เป็นปัญหาของ ประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบมาเป็นระยะเวลา ๑๐ ปี

นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ปัญหาต่อมาเป็นปัญหา Plant ปูนครับ เอาจริง ๆ แล้วมันกระจายอยู่บริเวณ ตั้งแต่ห้าแยกวัชรพล บริเวณลาดปลาเค้าก็มี บริเวณสายไหมก็มี มีคนไม่สบายเป็นโรคผิวหนัง บางคนเป็นโรคปอดต้องย้ายบ้านหนี บางโรงงานใบอนุญาตก็หมดลง แต่ว่าก็ยังจะได้มีการ Renew ต่อเข้าไปอีก

นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ต่อไปเป็นปัญหารถบรรทุก ตั้งแต่การทำผิดกฎจราจรบรรทุกน้ำหนักมากเกินไป ทำหิน ทราย ฝุ่น ตกลงบนถนน ขับรถเร็ว ขับเกินเวลา พวกนี้เราพูดกันมาหลายที บางทีก็ดีแค่สัปดาห์ ๒ สัปดาห์ หายไปแล้วก็กลับมาเป็นอีกนะครับ

นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ต่อมาเป็นเรื่องของแสงสว่างบนถนนเทพารักษ์และถนนกาญจนาภิเษก มืด ๆ ดับ ๆ มาอย่างนี้ทุกวันเลย โยนกันไปโยนกันมาสำนักการโยธาบ้าง การทางพิเศษบ้าง ทำจดหมายร้องเรียนไปแล้ว ทุกวันนี้ก็มืดเหมือนเดิมตามภาพที่เห็นนะครับ

นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ต่อไปเป็นเรื่องของพื้นทรุดน้ำท่วมขังในบริเวณหมู่บ้านเสนานิคม ๑ แขวงจระเข้บัว เขตลาดพร้าว ทุกวันนี้โอนเป็นสาธารณะเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการปรับปรุง มีการบอกว่าเดี๋ยวงบก็มา แต่ว่าไม่มีการบรรเทาอะไรก่อนเลยครับ ท่านประธานครับ เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร ลองกลับไปดูรายงานที่ผมได้เคยทำมาตั้งแต่เรื่องของการปรึกษาหารือ ในสมัยที่แล้วก็ดี หรือการตั้งกระทู้ถามก็ดี ทุกวันนี้ก็ยังไม่เคยได้เรื่องในการ Feedback กลับมา เพราะฉะนั้นจะขอฝากท่านประธานครับ ประชาชนพึ่งเราใช้กลไกสภาในการแก้ไขปัญหา แล้วหลายเดือนที่ผ่านมาดูเหมือนว่าเราจะยังไม่มีการแก้ไขอะไรเลย ก็ฝากเรื่องนี้ให้มีการ แก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ผมเฝ้ารอการเข้ามาทำงานร่วมกัน ขอบคุณมากครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ ครับ

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพกระผม นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๙ จังหวัดเชียงใหม่ครับ วันนี้ผมใคร่มีเรื่องหารือกับท่านประธานอยู่ ๒ เรื่อง

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

กระผมได้รับการร้องเรียนจาก นางเกศรินทร์ ตุ่นแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน กับ นายยิ่ง ลีโภชนะชัย ผู้ใหญ่บ้านบ้านม่อนยะ ก็ใคร่ขอหารือท่านประธาน เนื่องจากถนนเส้นทางชนบทที่ ๔๐๕๓ เส้นทางระหว่างบ้านม่อนยะ ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง ไปถึงบ้านห้วยน้ำจาง หมู่ที่ ๖ ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง กม. ที่ ๙.๗ ซึ่งทาง อบต. ได้ทำหนังสือแจ้งว่าถนนได้มี ความเสียหายตามรูปภาพ แต่ทางหลวงชนบทบอกว่าได้ถ่ายโอนถนนไปแล้ว ท้องถิ่นก็ติดต่อ ไปทาง อบจ. อีก ก็ว่าไม่ได้อยู่ความรับผิดชอบของ อบจ. ฉะนั้นผมจึงใคร่ขอหารือ ท่านประธานผ่านไปทางจังหวัดเชียงใหม่ ว่าขอให้จังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นเจ้าภาพบูรณาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าหาข้อยุติหน่อยนะครับว่าทางเส้นนี้อยู่ในความรับผิดชอบของใคร เพื่อจะได้เข้าไปแก้ไขปัญหาให้แก่พี่น้องประชาชนต่อไป เนื่องจากเป็นอันตรายมากครับ

นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ใคร่ขอหารือท่านประธานผ่านไปยังกรมทางหลวง เนื่องจากผมได้รับ การร้องเรียนจาก นางประทุม ปิยะพันธ์โอภาส นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแม่วางและ นายอรุณ บุญเรือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด กรณีทางหลวงหมายเลข ๑๐๑๓ ช่วงบ้านกาดถึงแม่วิน กม. ที่ ๑-๘ ในช่วงหน้าฝนหรือฝนตกหนัก น้ำจะเจิ่งนองท่วม พื้นผิวถนนเป็นจำนวนมาก ทำให้พี่น้องซึ่งอยู่ ๒ ข้างทางถนนเส้นนี้ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากไม่มีทางระบายน้ำ ไม่มีช่องทางที่น้ำจะระบายออกได้ แล้วประกอบกับเป็นอันตราย ต่อพี่น้องประชาชนที่สัญจรไปมา จึงใคร่ขอฝากท่านประธานหารือไปยังกรมทางหลวง ให้ช่วยอนุเคราะห์เข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน เพื่อความปลอดภัยของ พี่น้องประชาชนด้วยครับ ขอกราบขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ ครับ

นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พรรคก้าวไกล จากชาวอยุธยาและบางบาลครับ ท่านประธานครับ เมื่อช่วงปิดสมัยประชุมไม่นานนี้เอง ผมมีโอกาสได้ร่วมงานไว้อาลัยแด่เด็กชายชาวอยุธยาคนหนึ่ง ซึ่งประสบอุบัติเหตุถูกรถชน ที่แยกวัดใจในวัยเพียง ๑๑ ขวบเท่านั้นครับ

นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

ผมเป็นผู้แทนที่อายุ ค่อนข้างน้อยและได้มีโอกาสทำตามความฝัน แต่เรื่องนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ หลายคน ที่ควรจะเป็นอนาคตของอยุธยา เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นที่ทางแยกของถนนที่ชาวอยุธยา เรียกมันว่าแยกวัดใจ เพราะอะไรรู้ไหมครับ ก็เพราะว่ามันคือทางแยกบนถนนที่ไม่มีสัญญาณ ไฟจราจร ไม่มีสัญญาณเตือน ต่างฝ่ายต่างต้องคอยกะและวัดใจเอาเอง ว่าหากออกตัวไปแล้ว จะมีรถสวนมาหรือมีรถมาชนเราหรือไม่ สัญญาณไฟข้ามถนนนี้ไม่ต้องพูดถึงครับ แยกวัดใจแบบนี้ครับท่านประธาน กระจายตัวอยู่ทั่วเกาะเมืองอยุธยาและโดยรอบครับ และนั่นเป็นเหตุให้เมื่อปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสต้องมาสังเวยชีวิตอย่างน่าอนาถใจ จากการชนอย่างรุนแรงโดยรถยนต์บนทางแยกที่มีทั้งทางม้าลายและสัญญาณไฟที่เปิด แต่เพียงไฟเขียวครับ ผมจึงอยากขอเสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังนี้

นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ควรพิจารณาให้มีการกำหนดเส้นทางเดินรถทางเดียวในชั่วโมง เร่งด่วนบนถนนคับแคบและพื้นที่การจราจรหนาแน่น ยกตัวอย่าง เช่น หน้าโรงเรียน โรงพยาบาล หรือจุดท่องเที่ยวสำคัญ

นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ แก้ปัญหาจุดเสี่ยง โดยเริ่มจากถนนสายหลักอย่างถนนปรีดีพนมยงค์ ให้มีสัญญาณไฟแบบกด โดยเฉพาะด้านหน้าที่ว่าการอำเภอพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมี นักท่องเที่ยวใช้จักรยานเป็นจำนวนมาก และเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสเสียชีวิต

นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ทางแยกขึ้นสะพานวัดกษัตราทั้งขาเข้าและขาออกเมืองเป็น แยกวัดใจที่อันตรายอย่างมาก เพราะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านไปผ่านมา แต่กลับมี รถบรรทุกวิ่งหนีด่านชั่งน้ำหนักมากลับรถที่แยกนี้ นั่นเพิ่มความอันตรายให้ทั้งผู้ใช้รถ และจักรยาน

นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

ผมจึงขอฝากเรื่องนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความจำเป็นและความตายของพี่น้อง ชาวอยุธยาผ่านไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และบูรณาการร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเร่งนำเอาความปลอดภัยของพวกเรา ชาวอยุธยากลับคืนมา ขอบคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านปทิดา ตันติรัตนานนท์

นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ปทิดา ตันติรัตนานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ เขตเลือกตั้งที่ ๘ พรรคภูมิใจไทย วันนี้มีอยู่ ๒ ประเด็น ที่จะหารือในสภา

นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ

ประเด็นแรกคือการขอใช้ที่ดิน ของราชการในเขตป่าไม้ เพื่อขออนุญาตจัดตั้งเป็นวัดที่ถูกต้อง ในจังหวัดสุรินทร์ของเรา มีที่พักสงฆ์ประมาณเกือบ ๑๐๐ แห่ง ที่ยังไม่สามารถขออนุญาตเป็นวัดที่ถูกต้องได้ ทั้งที่สำนักสงฆ์เหล่านี้เป็นวัดที่อยู่ในชุมชนมาอย่างยาวนาน ใช้ในกิจการทางสงฆ์มาตลอด แต่ที่พักสงฆ์เหล่านี้อยู่ในเขตป่าไม้ที่ไม่มีสภาพป่าหลงเหลืออยู่ค่ะท่านประธาน มีอยู่หลายที่ ที่อยากจะตัดหวายฝังลูกนิมิตก็ทำไม่ได้ เพราะยังเป็นแค่ที่พักสงฆ์ ดิฉันได้ติดตามไปยัง สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ ทางสำนักงานได้แจ้งว่าได้ส่งหนังสือไปถึง ศูนย์อำนวยการป่าไม้จังหวัดสุรินทร์หลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบกลับมา ว่าจะสามารถอนุญาตให้เป็นวัดที่ถูกต้องได้หรือไม่ ยกตัวอย่าง เช่น วัดสวายสวรรค์ทอง ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จะตัดหวายฝังลูกนิมิตก็ยังทำไม่ได้ วัดโจรกพัฒนาวาส ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน ดังนั้นดิฉันจึงขอหารือผ่าน ท่านประธานสภาไปยังอธิบดีกรมป่าไม้ ศูนย์อำนวยการป่าไม้จังหวัดสุรินทร์ ว่าเราจะสามารถ ทำเรื่องได้เหมือนเราไปขออนุญาตรังวัดออกโฉนดที่ดิน ว่าเราจะได้คิววันไหน เดือนไหน หรือปีไหน เพื่อชาวบ้านจะได้มีความรู้สึกสบายใจมากขึ้น แล้วจะเป็นการดูแลทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาของเรา

นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ขออนุญาตจัดตั้งขอใช้ที่ดินของนิคมสร้างตนเองปราสาท เพื่อก่อสร้างเป็นสำนักงานที่ดินจังหวัดสุรินทร์ สาขาปราสาท ปัจจุบันนี้สำนักงานที่ดิน สาขาปราสาทดูแลอยู่ ๓ อำเภอ คืออำเภอปราสาท ประชากร ๑๕๐,๐๐๐ กว่าคน อำเภอพนมดงรัก ประชากร ๓๗,๐๐๐ กว่าคน อำเภอกาบเชิง ประชากร ๖๐,๐๐๐ กว่าคน สำนักงานที่ดิน สาขาปราสาท ปัจจุบันอยู่ในที่ว่าการอำเภอปราสาทค่ะท่านประธาน เป็นสถานที่อาคารหลังเล็กที่จอดรถก็ไม่เพียงพอ ที่พักคอยของผู้มาติดต่อราชการ ก็ไม่เพียงพอ ถ้าเราสามารถใช้ที่ดินของนิคมสร้างตนเองปราสาทเป็นสำนักงานที่ดินหลังใหม่ ก็จะเป็นความสะดวกให้กับพี่น้องทั้ง ๓ อำเภอ เพราะอยู่จุดกึ่งกลางของทั้ง ๓ อำเภอ และดิฉันจึงขอหารือผ่านไปยังกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ถ้าท่านสามารถช่วย อำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชน ก่อสร้างอาคารสำนักงานที่ดินแห่งใหม่ ก็จะทำให้ ประชาชนที่มาติดต่อราชการมีรอยยิ้มให้กันมากขึ้น และข้าราชการก็จะทำงานด้วยความสุข กราบขอบคุณค่ะท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านวีรภัทร คันธะ ครับ

นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม วีรภัทร คันธะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำเภอพระประแดง ยกเว้นตำบลบางจาก จังหวัดสมุทรปราการ พรรคก้าวไกล ตัวแทนพี่น้องชาวพระประแดงครับ ขอเรียน ปรึกษาหารือท่านประธานดังนี้ครับ

นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องแรกครับผมได้รับข้อมูลจาก ชาวบ้านบอกว่าบริเวณสวนสุขภาพลัดโพธิ์ มีถนนที่รถจักรยานยนต์สามารถวิ่งลัดออกไป บริเวณวัดอาสาสงครามได้ แต่รถยนต์ไม่สามารถผ่านไปได้ จึงอยากเรียนถามความเป็นไปได้ ในการขยายถนนดังกล่าวให้รถยนต์สามารถวิ่งได้ ซึ่งอาจจะเปิดเป็นเฉพาะเวลาเร่งด่วน เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรบริเวณถนนเพชรหึงษ์ จึงอยากฝากไปยังกระทรวงคมนาคม เข้ามาศึกษาและตรวจสอบครับ

นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ปัจจุบันตัวเลขผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตอำเภอพระประแดงที่ถูกส่ง ต่อมาที่โรงพยาบาลบางจากมีมากถึง ๓,๐๐๐ คน ที่น่าแปลกใจคือโรงพยาบาลบางจาก ซึ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ในพื้นที่กลับไม่มีจิตแพทย์แม้แต่คนเดียว ต้องใช้วิธี ปรึกษาระยะไกลแทน จึงอยากฝากทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงมาตรวจสอบ และแก้ไขปัญหานี้ด้วยครับ

นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ อยากปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมครับว่าปัจจุบัน สะพานข้ามคลองลัดโพธิ์กลายเป็นทางเข้าออกทางเดียวของชาวบ้านในคุ้งบางกะเจ้า ๖ ตำบล อยากเสนอให้มีการศึกษาการทำสะพานเพิ่มขึ้น เพราะถ้าหากสะพานแห่งนี้ มีปัญหา การสัญจรเข้าออกคุ้งบางกะเจ้าจะเป็นอัมพาตแน่นอน รวมไปถึงความเป็นไปได้ ในการทำแพขนานยนต์ข้ามฟากระหว่างตัวเมืองกรุงเทพมหานครกับคุ้งบางกะเจ้า ซึ่งจะเป็น ประโยชน์อย่างมากเมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยหรือเกิดเหตุเร่งด่วน ทราบหรือไม่ว่าจากด้านใน คุ้งบางกะเจ้าวิ่งออกไปโรงพยาบาลดี ๆ ที่ใกล้ที่สุดนี้เกิน ๓๐ นาที ช่วงเวลาเร่งด่วนรถติด เผลอ ๆ มี ๑ ชั่วโมง อย่างไรฝากทางรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องช่วยพิจารณาด้วยครับ

นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้าย ชาวบ้านร้องเรียนผมมาเยอะ ว่าถนนบริเวณโค้งหน้าวัดโปรดเกษ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ซึ่งผมคิดว่าเร็ว ๆ นี้ก็คงมีแผนการ ซ่อมแซมแล้ว แต่อยากฝากให้คำนวณทางวิศวกรรมทางถนนที่ดี ๆ ครับ เพราะจุดดังกล่าว เป็นจุดที่รถจำนวนมาก โดยเฉพาะรถบรรทุกขนาดใหญ่ลงจากสะพานทำให้ถนนรับน้ำหนัก ไม่ได้ตามมาตรฐาน ดังนั้นเมื่อจะต้องซ่อมแล้วหาผู้เชี่ยวชาญมาเลย คำนวณมาเลยว่าปริมาณ รถเท่านี้ถนนต้องรับน้ำหนักได้เท่าไร จะต้องใช้วัสดุอะไร หรือทำถนนแบบไหนจะได้ไม่ต้อง มาซ่อมแซมบ่อย ๆ หรือต้องมารับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านบ่อย ๆ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ครับ

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อามินทร์ มะยูโซ๊ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๒ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอตากใบ พรรคพลังประชารัฐ วันนี้ผมมีเรื่องหารือท่านประธานด้วยกัน ๒ เรื่อง ขอภาพด้วยนะครับ

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรื่องแรก คือเรื่องศูนย์แสดงสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดนราธิวาส ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าด่านศุลกากรอำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่เป็นเขตดินแดนติดกับประเทศ มาเลเซียเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นนโยบายหลักสำคัญของรัฐบาลที่ผ่านมา ได้ดำเนินการขับเคลื่อนมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นตลอดระยะเวลา ๕-๘ ปีที่ผ่านมาจะมี โครงการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน แต่สิ่งที่พี่น้องประชาชนได้รับกับไม่ได้ก่อประโยชน์เลย แม้แต่น้อย อาคารที่ถูกสร้างแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์แต่ไม่มีการใช้งาน ปล่อยให้ทรุดโทรม ไปตามกาลเวลา ทั้ง ๆ ที่สร้างเสร็จมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๕ ปี ก็ยังไม่เห็นมีหน่วยงานใดรับผิดชอบ อาคารแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่นเทศบาลที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง หรือหน่วยงานใด ที่ได้เสนอโครงการก่อสร้างอาคารชุดนี้ ผมถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน อย่างที่สุด จึงขอเรียนผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ใช้อาคารแห่งนี้ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชนด้วยครับ

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารเรียน ๔ ชั้นของโรงเรียน บ้านโคกมือบา มิตรภาพที่ ๒๒๓ สืบเนื่องจากผมได้รับหนังสือร้องเรียนจากผู้อำนวยการ โรงเรียน เรื่องการสร้างอาคารที่มีความล่าช้าระยะเวลากว่า ๖ ปี ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย กับนักเรียน กับโรงเรียนเป็นอย่างมากที่ต้องสูญเสียโอกาสในการที่จะมีสถานศึกษาที่ดี แล้วก็เพียบพร้อมสมบูรณ์เฉกเช่นโรงเรียนอื่น ๆ จากการที่ผมสอบถามปัญหาเบื้องต้นทราบว่า สพฐ. ได้นำเรื่องส่งถึงสำนักงบประมาณเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ทั้งสิ้น ผมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ขอนำเรียนท่านประธานสภาผ่านไปยัง สำนักงาน สพฐ. หรือสำนักงบประมาณอนุมัติงบประมาณสำหรับการก่อสร้างอาคารเรียน ที่ยังค้างอยู่ให้แล้วเสร็จในลำดับต่อไป ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ครับ

นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ลพบุรี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต ๓ พรรคภูมิใจไทย เนื่องจากพี่น้องในเขต ๓ ได้แจ้งถึงความเดือดร้อนในหมู่บ้าน ฝากดิฉันมาหารือกับ ท่านประธาน ดังนี้

นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ลพบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ เป็นความเดือดร้อนเรื่องน้ำที่ต้องใช้ในการอุปโภคของพี่น้อง ในหมู่ที่ ๙ ตำบลโพตลาดแก้ว อำเภอท่าวุ้ง ปัจจุบันยังไม่มีน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค เข้าไป เพราะว่าบริเวณใกล้เคียงนี้ได้ใช้น้ำประปาส่วนภูมิภาคแล้ว วันนี้พี่น้องชาวหมู่ที่ ๙ ก็ฝากดิฉันมาให้หารือในสภา ฝากท่านประธานนำเรียนถึงการประปาส่วนภูมิภาค ช่วยขยายเขตเข้าไปที่หมู่บ้านดังกล่าวด้วย

นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ลพบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องความเดือดร้อนของการใช้ถนนในเส้นทางจากตำบลบางงา อำเภอท่าวุ้งไปถึงอำเภอบ้านหมี่ ถนนสาย ๓๐๒๘ คือเส้นนี้ปัจจุบันรถยนต์ส่วนตัว รถบรรทุกวิ่งกันเยอะมากแล้วก็ผ่านหลายตำบลด้วย ทั้งตำบลบ้านชี ตำบลสนามแจง ตำบลบางพึ่ง เข้าไปถึงเขตเทศบาลเมืองบ้านหมี่ หลายปีมาแล้วท่านประธานมีการขยาย ถนน ๔ เลน แต่ว่าขยายแค่บางช่วง ทีนี้พี่น้องประชาชนเขาก็ร้องขอมาว่าอยากจะให้ขยาย เป็น ๔ เลน ตลอดเส้นทางให้สมบูรณ์ เพราะว่าจะได้สร้างความเจริญลดอุบัติเหตุ เพราะฉะนั้นจึงนำเรียนท่านประธานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับพี่น้องด้วย

นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ลพบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ เป็นเรื่องจากพี่น้อง หมู่ที่ ๙ ตำบลบางลี่ และหมู่ที่ ๖ ตำบลบางงา อำเภอท่าวุ้ง เดือดร้อนเรื่องน้ำ หมู่บ้านนี้ไม่สามารถที่จะขยายเขตประปาภูมิภาคเข้าไปได้ เพราะว่าเป็นระยะทางที่ไกล เคยของบประมาณจากกรมน้ำบาดาลนะคะ ขอไปแล้วแต่ว่า ยังไม่ได้ วันนี้ฝากท่านประธานได้ทำเรื่องถึงกรมน้ำบาดาลให้ช่วยพิจารณางบประมาณ เพราะว่าชาวบ้านนั้นเดือดร้อนจริง ๆ ขอบคุณค่ะท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านแอนศิริ วลัยกนก ครับ

นางสาวแอนศิริ วลัยกนก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวแอนศิริ วลัยกนก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตทุ่งครุ เขตราษฎร์บูรณะ แขวงราษฎร์บูรณะ พรรคก้าวไกล ดิฉันมีเรื่องจะหารือทั้งหมด ๕ เรื่อง

นางสาวแอนศิริ วลัยกนก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ การขุดลอกคลอง หรือลำรางคลองเล็ก เนื่องจากพื้นที่ในความดูแลของดิฉันคือทุ่งครุมีคลองทั้งหมด ๔๙ เส้น เขตราษฎร์บูรณะ เฉพาะแขวงราษฎร์บูรณะมีคลองทั้งหมด ๑๑ เส้น มีลำราง ขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก มีเรือขุดขนาดใหญ่เข้าไม่ถึงทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม ดิฉันจึงอยาก เสนอให้มีเรือลอกขนาดเล็กประจำเขต เพื่อใช้ในการขุดลอกลำรางและคูคลองได้อย่าง มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมในพื้นที่

นางสาวแอนศิริ วลัยกนก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เรื่องประตูระบายน้ำที่ไม่สามารถใช้งานได้ บางจุดประตูระบายน้ำ หายไป เป็นภาพจากประตูระบายน้ำคลองรางตรงที่ชำรุดเป็นรูขนาดใหญ่ คนสามารถมุดได้ ทำให้เกิดปัญหาน้ำเค็มหนุนสูงส่งผลกระทบเกษตรกรในพื้นที่ และยังเกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหา การระบายน้ำอีกด้วยค่ะ จึงอยากฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการ แก้ไขด้วยนะคะ

นางสาวแอนศิริ วลัยกนก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ เรื่องเสาตอม่อบริเวณคลอง ไม่ว่าจะเป็นคลองรางจากคลองรางตัน คลองรางราชพฤกษ์และคลองรางปูน ถ้าตอนที่น้ำขึ้นจะมองไม่เห็นตอม่อ ทำให้เกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องที่ไม่ชำนาญทางและกลางคืนที่สัญจรไปมา จึงอยากรบกวน ท่านประธานเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยนำออกด้วยนะคะ

นางสาวแอนศิริ วลัยกนก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ เรื่องป้ายรถเมล์ใต้ทางด่วนสุขสวัสดิ์ กม.๙ การก่อสร้างโดยไม่มี การป้องกันความปลอดภัย ไม่มีจุดผู้พักอาศัยและไม่มีทางข้ามทางม้าลายระหว่างป้ายรถเมล์ โดยเฉพาะตรงช่วงทางเข้าถนนประชาอุทิศได้มีรถเลี้ยวเข้าตลอด ประชาชนต้องระวัง รถเลี้ยวเองโดยไม่มีเจ้าหน้าที่หรือสัญญาณเตือน จึงเร่งขอปรับปรุงวิสัยทัศน์ให้แก่ประชาชน ที่รอรถสาธารณะด้วยนะคะ

นางสาวแอนศิริ วลัยกนก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๕ การก่อสร้างในพื้นที่เขตทุ่งครุ เขตราษฎร์บูรณะ มีโครงการก่อสร้าง หลายโครงการ เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โครงการทางพิเศษพระราม ๓ และโครงการ วางท่อน้ำประปา การทำถนนต่าง ๆ ในพื้นที่เขตทำให้เกิดมลภาวะต่อพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฝุ่น เรื่องเสียง เรื่องการจราจรหรือเรื่องความปลอดภัย ดิฉันจึงอยากฝาก ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด กำชับกับทางผู้รับเหมาให้ปฏิบัติตาม ข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ ครับ

นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ หนองคาย ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม กระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ หนองคาย เขต ๑ อำเภอเมือง อำเภอสระใครครับ วันนี้ผมต้องขอขอบคุณทาง ครม. สัญจรไปที่จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเขตการเลือกตั้งของผมที่จังหวัดหนองคายได้มีพื้นที่ติดกับจังหวัดหนองบัวลำภู คณะรัฐมนตรีหลายท่านได้เดินทางเข้าสู่จังหวัดหนองคาย เพื่อไปกราบขอพรหลวงพ่อพระใส ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดหนองคายและพี่น้องจาก สปป. ลาว ก็ขอขอบคุณ คณะรัฐมนตรีหลายท่านนะครับที่เดินทางไปที่จังหวัดหนองคาย ในการประชุม ครม. ในวันที่ ๔ ธันวาคมที่ผ่านมา แต่เรื่องที่ผมจะหารือกับท่านประธานก็คือเกี่ยวกับเรื่อง ลำน้ำสวย ลำน้ำสวยเป็นเขตติดต่อระหว่างเขตของพี่น้องอำเภอเพ็ญ บ้านหัวสวย ตำบลนาพู่ ซึ่งทางท่านนายกอำนวยที่เป็นนายก อบต. นาพู่ ได้บอกกับผม สส. กระแสร์ครับ ในเขตที่ อำเภอสระใครกับอำเภอนาพู่เขตรอยต่อลำน้ำสวยนั้น เมื่อเวลาถึงช่วงนี้พี่น้องประชาชน เขาจะทำนาปรังกัน ทำให้น้ำขาดแคลนในลำน้ำสวย ซึ่งลำน้ำสวยนี้ไหลมาจากในเขตจังหวัด อุดรธานี มาเข้าที่อำเภอสระใคร ตำบลคอกช้าง แล้วมาที่ตำบลสระใคร ผ่านไปยังเขตอำเภอเมือง ไปยังตำบลโพนสว่าง ตำบลค่ายบกหวาน ตำบลวัดธาตุ เทศบาลวัดธาตุ ไหลไปเรื่อย ๆ ไปสิ้นสุดที่ตำบลบ้านเดื่อ แล้วไหลลงไปสู่ริมแม่น้ำโขง ลำน้ำโขง ซึ่งทำให้ช่วงนี้ที่พี่น้อง ทำนาปรังขาดแคลนน้ำ อย่างไรก็แล้วแต่โครงการของห้วยหลวง ซึ่งจะมีเป็นโครงการขนาดใหญ่ใช้พื้นที่เกษตรกร รองรับพื้นที่เกษตรกรประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ไร่ ซึ่งผมทราบข่าวจากชลประทานว่าปีหน้านี้ จะผันน้ำโขงขึ้นมาสู่ของลำห้วยหลวงแห่งนี้ ซึ่งมีพื้นที่ใกล้เคียงกับลำน้ำสวย ถ้าน้ำที่ผันขึ้นมา จากแม่น้ำโขง อีกส่วนหนึ่งแยกเข้ามาลงไปสู่ลำน้ำสวยนั้นจะทำให้พี่น้องประชาชนที่ผม ได้กล่าวขึ้นมาข้างต้นนี้คงจะมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ต้องขอขอบคุณท่านประธานผ่านไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านปรีติ เจริญศิลป์ ครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ ผม ปรีติ เจริญศิลป์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๕ ครับ วันนี้มีเรื่องมาหารือ ท่านประธาน ๖ เรื่องด้วยกันนะครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ปัญหาไฟส่องสว่างบริเวณ ซอยติวานนท์-ปากเกร็ด ๑๕ ตรงปากทางเข้าเคหะนนทบุรี ๑ มืดเป็นเวลามานานแล้ว อยากให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาแก้ไขด้วยครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ปัญหาต้นไม้ ต้นสนและต้นไม้ต่าง ๆ บริเวณทางเข้าเคหะนนทบุรี เช่นกัน ทางฝั่งซอยถนนวัดกู้สูงแล้วก็มีอายุเยอะ มีการหักลงมาโดนรถยนต์ของประชาชน หลายคันแล้ว อยากให้การเคหะแห่งชาติลงมาตัดแล้วก็ดูแลด้วยครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ เป็นเรื่องการจอดรถของ Site งานก่อสร้างของบริษัทก่อสร้าง ชื่อดังยักษ์ใหญ่ บริเวณซอยติวานนท์-ปากเกร็ด ๑๕ เช่นกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาบังคับใช้ กฎหมายไปแล้ว แต่หลังจากตำรวจกลับไปก็มาจอดอีกแล้วครับ อยากให้ตำรวจเข้มงวด กว่าเดิม ต้องมีการจับปรับมากขึ้นครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ ปัญหามลพิษจากการเผาไหม้ ไม่ว่าจะเป็นหญ้า พืช สายไฟ ใน ๓ อำเภอ ในพื้นที่ของผมมีอำเภอปากเกร็ด มีตำบลอ้อมเกร็ด หมู่ที่ ๔ ตำบลคลองข่อย หมู่ที่ ๓ อำเภอเมืองนนทบุรี ก็มีตำบลไทรม้า บริเวณหมู่บ้านเพอร์เฟค เพลส ๓ อำเภอบางบัวทอง บริเวณใกล้วัดลำโพ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาก อยากให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงมา แก้ไขปัญหาจริงจังครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๕ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ปัจจุบันได้ดำเนินการวิ่งเรียบร้อยแล้ว ข้างบนสวยหรู แต่ข้างล่างพื้นผิวถนนยังเป็นหลุมเป็นบ่อ มีเหล็กวางอยู่ การจราจรตรงเส้น แจ้งวัฒนะมีความยากลำบากมาก ตั้งแต่ลงถนนพระราม ๔ ลงมาเลย อยากให้ทาง รฟม. BTS รีบคืนพื้นผิวถนนให้กับประชาชนในพื้นที่โดยเร็วครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๖ ปัญหาไฟส่องสว่างบริเวณถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ดับเป็น ระยะเวลานานแล้ว ถนนนี้เป็นการเชื่อมระหว่างติวานนท์มาออกแจ้งวัฒนะ มืดมากครับ นึกว่าอยู่ต่างจังหวัด ขอให้กรมทางหลวงมาแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านซาการียา สะอิ ครับ

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายซาการียา สะอิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๔ นราธิวาส พรรคภูมิใจไทย ประกอบ ไปด้วยอำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ และอำเภอสุคิริน ท่านประธานสภาครับ ผมมีเรื่องหารือ ปัญหาในพื้นที่ ๔ เรื่องด้วยกัน

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรื่องแรก คือผมได้รับแจ้งจาก ท่านผู้ใหญ่บ้าน นายมะรอยาลี เจ๊ะอาบู ว่าในพื้นที่ฮูลู-กุนุง บ้านกาแย หมู่ที่ ๕ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ยังไม่มีระบบไฟฟ้าขั้นพื้นฐานใช้เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว และยังใช้เครื่องปั่นไฟเพื่อผลิตไฟฟ้าซึ่งพื้นที่อยู่ห่างออกจากตัวหมู่บ้านประมาณ ๓ กิโลเมตร มีประชากรประมาณ ๓๐ หลังคาเรือนหรือ ๙๐ คน อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคช่วยดูแลด้วยครับ เพราะชาวบ้านเคยส่งเอกสารเพื่อขยายเขตแจ้งไปยังการไฟฟ้า หลายครั้งแล้ว แต่ไม่ได้รับการดูแล

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ได้รับรายงานจาก นายมาหามะ มะวิง กำนันตำบลร่มไทร เรื่องระบบ ไฟฟ้าในพื้นที่บ้านลุโบ๊ะลาเซาะและบ้านบาลูกายาอิง เพราะไฟฟ้าแบบ Single Phase เกิดไฟดับบ่อยครั้งมาก แล้วก็เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคช่วยแก้ไขโดยเร็วครับ

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ คือจากข้อมูลที่ผ่านมา และข้อมูลจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เห็นว่าไฟฟ้าในพื้นที่อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ แล้วก็ อำเภอสุคิรินเป็นพื้นที่เขตผมนะครับ ทั้ง ๓ อำเภออยู่ห่างไกลไปจากสถานีจ่ายไฟมากเกินไป ระบบจำหน่ายมีระยะทางยาวมาก ทำให้เกิดไฟฟ้าดับบ่อยครั้งกินเป็นบริเวณกว้าง เห็นควร ตั้งสถานีจ่ายไฟชั่วคราวบริเวณสำนักงานการไฟฟ้าอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีพื้นที่ อยู่แล้วนะครับ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย ช่วยดูแลด้วยครับ

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

สุดท้ายได้รับรายงานจาก นางนีลา รอเหะ ผู้อำนวยการโรงเรียนนิคมพัฒนา ๖ ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นราธิวาส เขต ๒ มีอาคารเรียนหลังที่ ๑ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก แล้วก็ก่อสร้าง มาเป็นเวลา ๔๖ ปี ได้รับอนุญาตให้มีการรื้อถอนแล้ว แต่ยังขาดงบประมาณในการรื้อถอน และหากมีการรื้อถอนแล้วยังขาดห้องเรียนไปอีก ๔ ห้อง แล้วในพื้นที่เกิดน้ำท่วมทุกปี หากมีการอนุมัติอาคารเรียนควรจะเป็นอาคารที่มีพื้นโล่ง ยกพื้นเพื่อให้สูงกว่าระดับน้ำ สามารถทำกิจกรรมใต้อาคารเรียนได้ จึงขอความอนุเคราะห์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการช่วยดำเนินงานให้น้อง ๆ มีห้องเรียนโดยเร็วด้วยครับ ขอบคุณมากครับ ท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสหัสวัต คุ้มคง ครับ

นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม สหัสวัต คุ้มคง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต ๗ พรรคก้าวไกลครับ ผมขอปรึกษาหารือเรื่องที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีครับ ผมได้รับ การร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนในเขตอำเภอศรีราชามามากมาย เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจาก การขาดการจัดการลานตู้ในพื้นที่ ซึ่งเกิดปัญหาหลายประการครับ

นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ

ประการแรก จุดที่ตั้งของลานพักสินค้า ตั้งอยู่ในเขตชุมชนที่มีคนอาศัยอยู่จำนวนมาก อย่างต่ำ ๆ ก็มี ๑๐ กว่าจุด ท่านประธานครับ จากรูปที่ผมนำมานี้ชัดเจนครับ ลานตู้อยู่กลางชุมชน นี่เป็นเพียงพื้นที่ ๒ ตำบลเท่านั้น ก็มีลานพักสินค้าอยู่ในเขตชุมชนแล้ว ๖ ลาน เรื่องนี้ส่งผลกระทบอย่างไรบ้างครับ เรื่องแรกเลยก็คงหนีไม่พ้นเรื่องเสียง เรื่องที่ ๒ ก็กลิ่นครับ มีทั้งกลิ่นเหม็น กลิ่นน้ำมันต่าง ๆ รวมถึงเรื่องความร้อนที่เกิดจากตู้ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ส่งไอร้อนออกมายังบ้านชาวบ้าน

นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ

ประการต่อมาเวลาการเดินรถที่เดินรถกัน ๒๔ ชั่วโมง ทั้งกลางวัน กลางคืน ส่งเสียงดังรบกวนคนในชุมชนตลอดเวลา ไม่มีการกำหนดเวลาเข้าออก เวลาการห้าม เดินรถเลย ขนาดในชั่วโมงเร่งด่วนก็มีการเดินรถตลอดเวลา ทั้งที่ถนนในชุมชนก็แคบ บางจุด ก็เป็นถนน ๒ เลน ทำให้การจราจรติดขัด อีกประการคือเส้นทางการเดินรถที่มีการเดินรถ ผ่านถนนชุมชน ขอวิดีโอด้วยนะครับ

นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ

ที่ไม่ได้ออกแบบมาให้รถบรรทุกขนาดใหญ่วิ่ง ทำให้ถนนเกิดเป็นหลุมเป็นบ่อทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย นอกจากนี้ยังผ่านเขตชุมชน ผ่านโรงเรียน ผ่านศูนย์อนามัย ทั้ง ๆ ที่เป็นถนน ๒ เลน ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง รวมทั้ง ไม่มีการควบคุมความเร็วรถ รถบรรทุกบางคันวิ่งด้วยความเร็วสูงผ่านถนนในชุมชน ทำให้ ชาวบ้านลูกเล็กเด็กแดงได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมากนะครับ จากวิดีโอก็จะวิ่งผ่าน เขตโรงเรียนเลยนะครับ วิ่งผ่านชุมชน ซึ่งไม่มีการจัดการเวลา ไม่มีการกำหนดเส้นทาง การเดินรถ สไลด์สุดท้ายเลยครับ นี่คือตัวอย่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเฉพาะเขตอำเภอศรีราชา ที่เกิดขึ้น เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่ศรีราชา คนในครอบครัวของ ผู้ช่วยผมเอง ขับรถจักรยานยนต์อยู่กลางชุมชน แต่ก็ถูกรถ Trailer ชนนะครับ ทำให้ต้อง ผ่าตัดสมอง เป็นอัมพฤกษ์ไปหลายปี จนทุกวันนี้ก็ยังไม่หายดี นี่แค่เคสเดียวนะครับ แล้วมีอีกหลาย ๆ เคสที่เกิดขึ้นทุกวันในเขตอำเภอศรีราชาที่มีปัญหาจากการไม่มีการจัดการ การเดินรถขนาดใหญ่พวกนี้ ทำให้มีคนเสียชีวิต บาดเจ็บ พิการทุกวัน จึงอยากปรึกษาหารือ ท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน ให้เร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ครับ

นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ วันนี้ผมมี ประเด็นหารือ เพื่อขอให้ท่านประธานมีหนังสือถึงคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อแก้ไขปัญหาค่าตอบแทนของครูผู้สอนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำ มัสยิดหรือโรงเรียนตาดีกาที่ค้างชำระ ท่านประธานครับ ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากมีโรงเรียนสามัญ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแล้ว ยังมีศูนย์การศึกษาอิสลาม ประจำมัสยิด หรือที่รู้จักกันดีว่าโรงเรียนตาดีกา จะมีการสอนวันเสาร์ วันอาทิตย์ครับ ก็คือ ลูกหลานที่เรียนวันจันทร์ถึงวันศุกร์สามัญ ชั้นประถม วันเสาร์ วันอาทิตย์ก็จะมาเรียนอยู่ที่นี่ โดยคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนให้ค่าตอบแทนแก่ครูผู้สอนโดยคิดจำนวน อัตราเด็ก ถ้าไม่เกิน ๖๐ คน จ่ายค่าตอบแทนครูผู้สอน ๓,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๔ คน หมายความว่า ๑๒,๐๐๐ บาท ถ้าโรงเรียน ๖๐ คนขึ้นไป ก็จะได้ค่าตอบแทนครูผู้สอนคนละ ๓,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๖ คน ก็ประมาณ ๑๘,๐๐๐ บาท แต่บางโรงต้องอาศัยครูผู้สอน จำนวนมาก ครูผู้สอนก็มีการหารกันเพื่อเฉลี่ยค่าตอบแทน บางคนเดือนหนึ่งได้ประมาณ พันกว่าบาท แต่ปรากฏว่าตอนนี้นะครับท่านประธาน ในส่วนของครูผู้สอน ค่าตอบแทน ครูผู้สอนโรงเรียนตาดีกาในจังหวัดนราธิวาสค้างจ่ายตั้งแต่เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และจะเข้าเดือนที่ ๓ ก็คือเดือนธันวาคม เงินไม่มากหรอกครับ แต่ว่ามันมีค่ามากสำหรับ กำลังใจของครูผู้สอนที่เสียสละสอนกับลูกหลาน พี่น้องในพื้นที่บ้านผมกับโรงเรียนตาดีกา อยากให้ท่านประธานมีหนังสือถึงหน่วยงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ให้เร่งดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนที่ค้างชำระ อย่างไรก็แล้วแต่นะครับ ถึงเวลาแล้วอยากให้ คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาทบทวนค่าตอบแทน เหล่านี้ เพราะว่า ๑๐ ปีแล้วครับที่มีประกาศให้ค่าตอบแทนเพียงคนละ ๓,๐๐๐ บาท ที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขพิจารณาทบทวนเพิ่มค่าตอบแทน เพื่อเป็นกำลังใจให้กับครูผู้สอนด้วย ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านกฤช ศิลปชัย ครับ

นายกฤช ศิลปชัย ระยอง ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม กฤช ศิลปชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง พรรคก้าวไกลครับ ท่านประธานครับ วันนี้ผมมีเรื่องมาขอปรึกษาหารือกับท่านประธาน ท่านประธานครับ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ ที่ผมจะปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดระยองของผม เกี่ยวกับเรื่องของปัญหาการประกอบกิจการเผาอัดขึ้นรูปเศษไม้เป็นแท่งเชื้อเพลิง ขอสไลด์ ด้วยครับ

นายกฤช ศิลปชัย ระยอง ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ ปัญหานี้เป็นโรงงาน ที่ตั้งอยู่ในบริเวณชุมชน มีทั้งผู้ประกอบการ Resort มีทั้งบ้านเรือนประชาชน แล้วส่วนใหญ่ เป็นชุมชนทำเกษตรกรรมนะครับ ภาพนี้คือภาพที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจ ตั้งเครื่องตรวจว่ามีคุณภาพอากาศเป็นอย่างไร รวมถึงตรวจวัด PM10 ครับ สไลด์ต่อไป ภาพนี้ก็เป็นภาพในโรงงาน ถ้าเข้าไปในทุกคนต้องใส่ Mask เพราะว่าอยู่ไม่ได้ มีแต่ฝุ่น ทั้งนั้นเลย ทีนี้ปัญหามันอยู่ตรงนี้ อันนี้เป็นภาพตอนที่มีเครื่องตรวจวัดมาตั้ง ท่านประธาน จะสังเกตเห็นว่าแทบไม่มีการเดินเครื่องจักรอย่างเต็มที่ มีควันออกมาเพียงเล็กน้อย เท่านั้นเอง เวลามาตรวจจึงไม่เจออะไร ค่าไม่เคยเกินมาตรฐาน สไลด์ต่อไปครับ นี่คือภาพ ตอนไม่มีเครื่องตรวจ เต็มที่เลยครับ Run กันเต็มที่ทั้งวันทั้งคืน ประชาชนเดือดร้อน ลูกเด็กเล็กแดงเป็นผื่นขึ้นไปหมด ก็อยากจะถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าท่านจะทำอย่างไร กับเรื่องนี้ เวลาท่านมาตรวจเขาไม่เดินเครื่องจักรเต็มกำลังครับ แต่เวลาท่านเอาเครื่อง กลับไป เขาเปิดเต็มที่ แล้วอย่างนี้ประชาชนจะอยู่อย่างไร นี่คือผลกระทบครับ ดูเศษฝุ่น เศษไม้จากการเผาเต็มไปหมด เต็มบ้านเรือนประชาชนไปหมด นี่คือลูกหลานของเรา เป็นผดผื่นคันสีแดง ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการประกอบกิจการดังกล่าวนี้ จึงขอฝาก ท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานด้วย ให้เข้าไปตรวจสอบในโรงงานหน่อย ว่าการประกอบกิจการแบบนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ของแรงงานหรือไม่ รวมถึงฝากผู้ว่าราชการจังหวัดระยองเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้เสียทีครับ ๓ ครั้งแล้ว พี่น้องประชาชนทนไม่ไหวแล้ว ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านนิติศักดิ์ ธรรมเพชร ครับ

นายนิติศักดิ์ ธรรมเพชร พัทลุง ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม นิติศักดิ์ ธรรมเพชร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๒ จังหวัดพัทลุง พรรครวมไทยสร้างชาติ

นายนิติศักดิ์ ธรรมเพชร พัทลุง ต้นฉบับ

วันนี้กระผมจะมาหารือกรณีปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน นิสิต นักศึกษา ตลอดถึงผู้ใช้ถนนสาย ๔๐๑๘ ควนขนุน-ท่าประจะ ช่วงกิโลเมตรที่ ๒๘-๓๓ ระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ถึงตลาดเมืองใหม่ป่าพะยอม เนื่องจากถนนเส้นทางดังกล่าวมีนิสิต นักศึกษา พี่น้อง ประชาชนที่จะใช้สัญจรเป็นจำนวนมาก ถนนเส้นนี้ใช้ร่วมกันหลายหมู่บ้าน โดยเฉพาะนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มีจำนวนนิสิต นักศึกษาประมาณ ๓,๐๐๐ กว่าคนครับท่านประธาน และมีพี่น้องประชาชนตำบลชะมวง ตำบลเกาะเต่า ที่ใช้การสัญจรมาซื้อของอุปโภคบริโภคในตลาดเมืองใหม่ป่าพะยอม

นายนิติศักดิ์ ธรรมเพชร พัทลุง ต้นฉบับ

สำหรับตำบลบ้านพร้าว หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๘ และหมู่ที่ ๙ มีจำนวนประชากร ๘,๐๐๐ กว่าคน และตำบลใกล้เคียงที่ใช้การสัญจรถนนเส้นนี้ ถนนเส้นนี้ นะครับท่านประธาน ก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยปี ๒๕๓๙ เป็นถนนที่ก่อสร้างคู่มากับมหาวิทยาลัย ทักษิณของจังหวัดพัทลุง ปัจจุบันถนนเส้นนี้มีความกว้างแค่ ๖ เมตร เลยทำให้ประชาชนที่ใช้ ถนนเส้นนี้มีความลำบาก รถจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยและจะทำให้พ่อแม่พี่น้องและเด็ก นักศึกษา ที่เข้ามาเรียนในพื้นที่เกิดอุบัติเหตุ ผมว่าเราต้องมีความเป็นห่วงต่อประชาชน ต่อนักศึกษา ที่เข้ามาเรียนในพื้นที่นะครับ ผมอยากขอหารือท่านประธานไปยังกรมทางหลวงว่าจะขอ ขยายถนนเส้นนี้ให้มีความกว้าง ๑๒ เมตรพร้อมกับไฟฟ้า เพื่อเวลากลางคืนถนน ๒ ข้างทาง มันจะมืด เลยทำให้เป็นปัญหาอุปสรรคแก่นักศึกษา วันนี้ก็ขอเรียนท่านประธานนะครับ ขอให้ เร่งดำเนินการถนนเส้นนี้ เพื่อพี่น้องประชาชนชาวป่าพะยอมและในส่วนของมหาวิทยาลัย ทักษิณ จังหวัดพัทลุง ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี ครับ

นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา กระผม กฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขตเลือกตั้งที่ ๑ คนปากน้ำโพ พรรคก้าวไกล วันนี้ขอหารือท่านประธานสภาผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔ เรื่อง ดังนี้

นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ

เรื่องแรก เป็นกรณีมลพิษ ทางอากาศจากฟาร์มสุกรทั้ง ๒ แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ ก็คือตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ และตำบลบ้านไร่ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ กรณีฟาร์มสุกรแห่งนี้ ผมทราบข่าวจากสื่อ ในท้องถิ่น ทราบว่ามีการร้องเรียนผ่านทางหน่วยงานจังหวัดศูนย์ดำรงธรรม แต่หลายเดือนผ่าน ทำได้เพียงส่งหนังสือไปมาระหว่างหน่วยงาน หาได้ลงพื้นที่ทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับ ประชาชนครับ เรื่องนี้ผมเข้าใจถึงความยากลำบากของผู้ประกอบการ แต่ไม่ได้ทำให้ท่าน ปล่อยปละละเลยให้พี่น้องเพื่อนบ้านของท่านต้องระทมทุกข์อยู่กับกลิ่นเน่าเหม็นทุกเช้าค่ำ แบบนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งลงมือแก้ไขนะครับ

นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เป็นอุบัติเหตุรอยต่อจากสะพานเดชาติวงศ์ครับ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ที่ผ่านมามีผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์เสียชีวิต ๑ ราย ญาติขอให้รัฐเร่งตรวจสอบ ถึงอุบัติเหตุครั้งนี้ และขอให้ชดเชยครอบครัวผู้เสียชีวิตบนสะพานเดชาติวงศ์สังเกต จากภาพจะมีรอยต่อขนาดกว้างกว่า ๑๐ เซนติเมตร อันนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งก็ได้ครับ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ ผมขอฝากทางแขวงการทางลงพื้นที่ตรวจสอบและแก้ไขปัญหา ทางวิศวกรรม แล้วก็ดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิตให้ความเป็นธรรมกับเขาด้วยนะครับ กรณีสะพานเดชาติวงศ์เคยมีการคิดสั้นฆ่าตัวตาย ผมขอให้ทางจังหวัดนครสวรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือทางเทศบาลเร่งติดตั้งกล้องวงจรปิด อย่างน้อยอาจจะช่วยยับยั้ง การจบชีวิตจากการกระโดดน้ำ ซึ่งกู้ภัยอาจจะช่วยได้ทันนะครับ

นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ คือประตูระบายน้ำคลองบางกระแหที่ชำรุดพัง ตำบลเกรียงไกร ประตูระบายน้ำแห่งนี้ทดน้ำจากแม่น้ำน่านสู่บึงบอระเพ็ด อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งลงพื้นที่ตรวจสอบครับ

นายกฤษฐ์หิรัญ เลิศอุฤทธิ์ภักดี นครสวรรค์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ เป็นปัญหาห้าแยกป้อม ๑ แยกนี้เป็นแยกวุ่นวายในเทศบาล นครสวรรค์ ปัญหาการจราจรในเมืองของเราติดไม่แพ้พื้นที่ใดในเมืองไทย ปัญหาอาจจะไม่มี การขนส่งมวลชนสาธารณะที่ดี แต่ควรจะมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะเป็น การจัดระบบการจราจร หรือศึกษาการเวนคืนที่ดินทำวงเวียนเพื่อเพิ่มทางลอดใต้สะพาน แล้วก็ทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เรียนเชิญท่านรวี เล็กอุทัย ครับ

นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ กระผม นายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต ๓ พรรคเพื่อไทยครับ ในฐานะผู้แทนของจังหวัดอุตรดิตถ์

นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ

ผมขอหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา หนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ครับ และได้นำไปสู่การเปิดลงทะเบียน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับลูกหนี้มาตั้งแต่ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ และประกาศให้การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบนั้นเป็นวาระแห่งชาติ ในวันที่ ๑๒ ธันวาคมที่ผ่านมา สำหรับกรณีของจังหวัดอุตรดิตถ์นั้นได้เกิดเหตุการณ์ สะเทือนใจและเป็นข่าวใหญ่ที่ผ่านมา นั่นก็คือกรณีของคุณยายท่านหนึ่งที่ได้ออกมาร้องเรียน กับสื่อมวลชน จากการที่ผู้เป็นสามีนั้นเลือกจบชีวิตตัวเอง เพื่อคุณยายจะได้นำเงินฌาปนกิจ มาใช้หนี้เงินกู้นอกระบบ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะสามารถปิดหนี้ได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี ภายหลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเมื่อคุณยายได้มาแจ้งลงทะเบียนหนี้นอกระบบ ตามโครงการของรัฐบาลในวันที่ ๘ ธันวาคม ปัญหาต่าง ๆ ก็ได้รับการคลี่คลายอย่างรวดเร็ว จากการเข้ามาช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นท่านรองผู้ว่า ราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค ๖ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุตรดิตถ์ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ ทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดอุตรดิตถ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นายอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรวังกะพี้ รวมถึงเมื่อ วันที่ ๑๒ ธันวาคมที่ผ่านมา ได้มีการนำไปสู่การดำเนินคดีต่อเจ้าหนี้ ๒ ราย ในข้อหา ประกอบธุรกิจสินเชื่อโดยไม่ได้รับอนุญาต และเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ท่านประธานครับ นี่เป็นเพียงเหตุการณ์ ๆ หนึ่งที่เกิดจากปัญหาหนี้นอกระบบ และผมมั่นใจ ว่ายังมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอีกมากมายในประเทศของเรา เพราะแค่ยอดผู้ลงทะเบียน หนี้นอกระบบ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคมที่ผ่านมา จะพบว่าอุตรดิตถ์มียอดลูกหนี้ถึง ๕๑๙ ราย และมียอดหนี้รวมถึงกว่า ๒๐ ล้านบาท ในขณะที่วันที่ ๑๓ ธันวาคม ยอดผู้มาลงทะเบียน ทั้งประเทศอยู่ที่กว่า ๙๑,๘๒๙ ราย และมีมูลหนี้รวมทั้งหมดกว่า ๕,๓๐๐ ล้านบาท ท่านประธานครับ ผมขอเรียนว่าการแก้ไขปัญหาหนี้สินของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะ หนี้นอกระบบนั้นที่รัฐบาลกำลังผลักดันอยู่นี้ แม้จะดูเป็นสิ่งที่ยากและมีความสลับซับซ้อน แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นและสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างเห็นผล ผมจึงขอฝากข้อหารือนี้ ไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ทั้งการเจรจาไกล่เกลี่ย รวมถึงให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ให้เป็นไปตามกรอบของ กฎหมาย และผมขอเป็นกำลังใจให้ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการที่จะช่วยให้ประชาชน ที่เป็นหนี้นอกระบบ ซึ่งประกอบสัมมาอาชีพสามารถมีทางเดินต่อไปและมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นได้ ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านอิทธิพล ชลธราศิริ ครับ

นายอิทธิพล ชลธราศิริ ขอนแก่น ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม อิทธิพล ชลธราศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต ๒ พรรคก้าวไกลครับ

นายอิทธิพล ชลธราศิริ ขอนแก่น ต้นฉบับ

วันนี้ผมมีเรื่องหารือท่านประธาน ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อพี่น้องประชาชนครับ ก็คือปัญหารถบรรทุกดินวิ่งผ่านชุมชน ในเขตตำบลแดงใหญ่ ตำบลสาวะถี ตำบลบ้านค้อ ตำบลสำราญ ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ชาวบ้านร้องเรียนกับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน แต่ก็ได้รับการเพิกเฉย จนมีข้อสังเกตว่ามีผลประโยชน์อะไรบังตาหรือไม่ เสียงความอัดอั้นรำคาญใจจากปัญหา รถบรรทุกขนดินวิ่งผ่านหน้าบ้าน ผ่านชุมชนตลอดทั้งวัน ทั้งรถพ่วง รถบรรทุกสิบล้อ รถบรรทุกหกล้อ ที่ต่างทำการขนดินจากพื้นที่ผ่านเขตชุมชนและเส้นทางสาธารณะวันละ หลายร้อยเที่ยว จนทำให้พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก โดยที่ผ่านมา ได้มีการส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและชัดเจน จนต้องทนอยู่กับฝุ่นที่ตลบอบอวลจากรถบรรทุกที่วิ่งผ่านตลอดทั้งวัน เศษดินที่ตกลงสู่ ทางสาธารณะและบรรทุกเกินกระบะและไม่มีการคลุมผ้าใบ อีกทั้งยังทำให้ถนนพังเสียหาย เป็นหลุมเป็นบ่อสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนที่ใช้รถ ใช้ถนน รวมทั้ง ยังขับเร็วผ่านในเขตชุมชน เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อพี่น้องประชาชนอย่างมากครับ ซึ่งเรื่องนี้ทราบว่าแต่ละเทศบาล แต่ละตำบล ก็ติดป้ายประกาศป้องกันมาตรการต่าง ๆ ตามทางเข้าออกของหมู่บ้านในฐานะที่เป็นหน่วยงานออกใบอนุญาตขุดดิน แต่ปัญหา ก็ยังเกิดขึ้นซ้ำ ๆ แถมยังไม่ได้รับการแก้ไข ไม่มีการคลี่คลาย แม้ก่อนหน้านี้ทางจังหวัด ขอนแก่นเอง ก็รับทราบถึงปัญหาแล้วก็ข้อร้องเรียนพร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหา รถบรรทุกดินในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นแล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ชัดเจน จึงเรียน ผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานขนส่ง แขวงทางหลวง แขวงทางหลวงชนบท ตำรวจทางหลวง ตำรวจในพื้นที่ ศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดขอนแก่น เร่งดำเนินการตรวจสอบอย่างจริงจังและชัดเจน เพื่อให้ปัญหาของพี่น้องประชาชนได้รับ การแก้ไขอย่างเร่งด่วนด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านทินพล ศรีธเรศ ครับ

นายทินพล ศรีธเรศ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพครับ มีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธาน

นายทินพล ศรีธเรศ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ผมได้รับหนังสือร้องเรียนจาก ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้าน บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ ๑๖ ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ว่าอยากจะขอไฟส่องสว่างบนถนนทางหลวงแผ่นดินเพิ่มเติม เนื่องจาก ไฟส่องสว่างที่ผ่านมาทางบ้านโนนสวรรค์ยังขาดช่วงอยู่ครับ ถนนผ่านบ้านโนนสวรรค์ เป็นถนน ๔ เลน ที่ออกจากตัวอำเภอห้วยผึ้งมุ่งหน้าไปยังอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ถนนช่วงนี้รถสัญจรไปมาค่อนข้างใช้ความเร็วสูง เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งในช่วงเวลากลางคืน เพื่อความปลอดภัยในการสัญจรของชาวบ้าน ชาวบ้านจึงได้ลงความเห็นกันว่าอยากจะขอให้ แขวงทางหลวงเพิ่มแสงสว่างบนถนนในช่วงที่ขาดอยู่ให้ด้วย เพื่อความปลอดภัยในการสัญจร ในเวลากลางคืนครับ

นายทินพล ศรีธเรศ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องขอไฟส่องสว่างบนถนนเพิ่มเติม เป็นถนนทางหลวงแผ่นดิน จากอำเภอห้วยผึ้งไปอำเภอกุฉินารายณ์เช่นเดียวกันครับ ได้รับร้องเรียนจากนายกองค์การ บริหารส่วนตำบลไค้นุ่นและชาวบ้านไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ว่ามีอยู่ ๒ จุด จุดที่ ๑ ก็คือช่วงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๓-๔ จุดที่ ๒ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๕-๖ เป็นจุดที่ เกิดอุบัติเหตุมีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตอยู่บ่อยครั้ง จากสถิติของหน่วยกู้ภัยทางการแพทย์ ฉุกเฉินหรือว่า EMS ของตำบลไค้นุ่น ว่าในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เกิดขึ้นทุกปี จึงอยากให้แขวงทางหลวงช่วยเพิ่มแสงสว่างในช่วงที่ขาดไปดังกล่าวด้วย จึงเรียนท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการ เพื่อความปลอดภัย ของพี่น้องประชาชนในการสัญจรไปมาด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ ครับ

นางสาวศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอเสนอความเห็นเพื่อหารือฝากไปยัง คณะกรรมการค่าจ้างที่มีท่านปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ พิจารณาค่าแรงขั้นต่ำที่จะนำให้ ครม. ทราบในวาระต่อไป คณะกรรมการค่าจ้างเกิดขึ้น ครั้งแรกปี ๒๕๑๕ เป็นองค์กรไตรภาคีองค์กรแรกของไทยที่มีความเป็นสากล มีภารกิจสำคัญ ในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ โดยพิจารณาข้อมูลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ประกอบด้วยตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้าง ฝ่ายรัฐบาลแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการ ค่าจ้างอยู่ในวาระ ๒ ปี นั่นหมายความว่าวัตถุประสงค์เพื่อต้องการตัวแทนที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ มีความเข้าใจกิจการของผู้ประกอบการ มีความเข้าใจค่าครองชีพของลูกจ้าง ในเวลานั้น ๆ ดังนั้นการยึดโยงกับนโยบายของภาครัฐหรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือนำนโยบาย ของรัฐบาลไปร่วมพิจารณาในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้าเราย้อนไป ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณได้ใช้วิธีการปรับค่าแรงถึง ๗ ครั้ง ในวาระ ๔ ปี พร้อม ๆ กับการ Upskill มุ่งสู่แรงงานทักษะสูง สมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ มีการปรับฐานครั้งใหญ่ของแรงงานขั้นต่ำคือ ๓๐๐ บาทเท่ากันทุกจังหวัด หลักคิดก็คือ ลดความเหลื่อมล้ำของพี่น้องประชาชน ในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ มีการปรับค่าแรง ขั้นต่ำถึง ๕ ครั้งด้วยกัน แต่ตัวเลข ๓๐ บาท ถึง ๕๐ บาท ในระยะเวลา ๙ ปี ยังไม่เพียงพอกับค่าครองชีพในปัจจุบัน ถามว่าตัวเลขเท่าไรที่เหมาะสมกับประเทศ เราสามารถมองผ่านนโยบายของพรรคการเมือง ในการหาเสียงได้ สะท้อนความต้องการของพี่น้องประชาชน ดิฉันขอย้อนไปในปี ๒๕๖๒ ๔ ปีที่แล้ว พรรคการเมืองส่วนใหญ่เสนอตัวเลขค่าแรงขั้นต่ำที่ ๔๐๐ บาท รัฐบาล นายกรัฐมนตรีเศรษฐาลดรายจ่ายด้านพลังงาน เจรจาการค้าเสรี เพิ่มนักท่องเที่ยวจนน่าจะ ทะลุเป้าในปลายปีนี้ พัฒนาการค้าชายแดน Roadshow เพื่อนำเม็ดเงินลงทุนจาก ต่างประเทศติดปีกผู้ประกอบการ เตรียมนโยบาย Soft Power ดิฉันขอฝากท่านประธาน ผ่านไปยังคณะกรรมการในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาสให้กับภาคประชาชน เพื่อที่จะคำนึงถึงภาพรวมของนโยบายภาพใหญ่ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ นำกำไรไปพิจารณา ค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ด้วย ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ครับ

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ขอหารือท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับเรื่อง การก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ที่จังหวัดนนทบุรี ถนนราชพฤกษ์ ซึ่งปัจจุบันนี้ อยู่ระหว่างช่วงการก่อสร้างการจราจรติดขัดมาก เพราะว่าผู้รับจ้างนั้นได้ปิดช่องทางไปฝั่งละ ๑ ช่องทางจราจร โดยที่ไม่มีการจัดการจราจรที่ดี ไม่จัดทางเลี่ยงที่เอาไว้อำนวยความสะดวก ซึ่งปัญหานี้ได้รับความเดือดร้อน เพราะว่าถนนสายนี้เชื่อมต่อกับถนนสาทร แล้วก็จาก กรุงเทพมหานคร จากปิ่นเกล้าเข้าไป แล้วจากบรมราชชนนี ๓๓๘ ก็ไม่ต้องไปรวมที่เส้นทางนี้ ก็ขอฝากท่านประธานได้ให้หน่วยงาน แล้วก็การจัดการจราจรได้แก้ไขปรับปรุงให้มีการ จัดการที่ดีขึ้นด้วยครับ

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องต่อไปเป็นเรื่องของการที่ปัจจุบันนี้ เรามีการจดทะเบียนรถ EV เป็นจำนวนมาก ถึงปีนี้คาดว่าประมาณสัก ๘๐,๐๐๐ คัน ทั้งประเทศมียอดขายรถประมาณ ๙๐๐,๐๐๐ คัน ในปัจจุบันนี้ป้ายบอกว่าสัญลักษณ์ของรถ EV เรายังไม่ได้ลงไว้อย่างชัดเจนว่า ควรจะใช้สัญลักษณ์อะไร เพราะว่ารถ EV เป็นรถเฉพาะ เป็นรถที่มีโอกาสที่จะมีความเสี่ยง ด้วยประการหนึ่ง ก็ขอแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการด้วยนะครับ

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่งเรื่องโครงข่ายถนนเพื่อรองรับการที่มีรถจำนวนมากนั้นนะครับ ทางยกระดับบรมราชชนนีที่เคยจะสร้างถึงถนนเพชรเกษม ปัจจุบันนี้ก็ยังอยู่ที่เดิม พุทธมณฑล สาย ๓ ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ส่วนถนน Motorway นั้น พี่น้องที่มา จากภาคใต้นั้นไม่สามารถเชื่อมกับถนน Motorway บางใหญ่-กาญจนบุรี ได้ เพราะถ้าจะเข้า ต้องผ่านแยกมาลัยแมน ซึ่งการจราจรติดขัดหนาแน่น ควรจะเชื่อมตรงถนนเพชรเกษม ช่วงสระกระเทียม ประมาณ กม. ที่ ๗๐ เพื่อลัดเข้าไปที่ Motorway บางใหญ่-กาญจนบุรี ได้ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและเป็นวงแหวนอีกวงหนึ่งด้วยเช่นกัน ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านนพพล เหลืองทองนารา ครับ

นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นพพล เหลืองทองนารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรคเพื่อไทย คนพรหมพิรามครับ ท่านครับวันนี้ผมมีเรื่องที่จะมาหารือกับท่านประธาน อยู่ ๒-๓ ประการ

นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ

ประการแรก ผมเองต้องกราบขอบพระคุณท่านนายกรัฐมนตรี แล้วก็ต้อง ขอโทษท่านนายกรัฐมนตรีอย่างสูง ที่เข้าใจท่านผิดในเรื่องของการช่วยเหลือเกษตรกร เพราะว่าช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่มีการประชุม นบข. แล้วมันมีการเลื่อนในมาตรการที่จะ ช่วยเหลือชาวไร่ ชาวนา ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวออกไปในเรื่องของไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท แต่แล้วพอได้ฟังความคิดของท่านนายกรัฐมนตรีแล้ว ผมต้องกราบขอโทษท่าน แล้วผมเอง นำสิ่งที่เกษตรกรได้ฝากผมมาบอกท่านว่าขอบพระคุณท่านมากที่ท่านห่วงใย แล้วก็ต้องการ ที่จะช่วยเหลือเกษตรกรอย่างที่มีความมั่นคง แล้วก็เป็นการแก้ไขปัญหาโดยระยะยาว ท่านครับ แต่ว่ามีประการหนึ่งก็คือว่าในการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่ ชาวนา ไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท มันมีเกษตรกรที่ปลูกข้าวมากกว่า ๑ ชนิด ซึ่งตอนนี้เขายังไม่ได้รับเงินนะครับ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ผมเองก็ไม่ทราบว่าประสบการณ์ตรงนี้ ในการจ่ายเงินของทางส่วนราชการหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องก็มีประสบการณ์ตรงนี้มาหลายปีแล้วนะครับ อย่างน้อย ๆ ปีนี้ก็เข้าปีที่ ๕ แล้วในเรื่องของเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวมากกว่า ๑ ชนิด ควรจะจ่ายเงิน ระยะเวลาในการที่จะจ่ายเงินให้แก่เกษตรกร ควรจะร่นระยะเวลามาได้มาก กว่าเดิม ก็ขอเร่งรัดในการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวในการปลูกข้าวมากกว่า ๑ ชนิด

นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ในเรื่องของค่าชดเชยอ้อย ๑๒๐ บาทต่อตัน จริงอยู่ผมเอง ต้องขอบคุณทางท่านภูมิธรรม ทางท่านนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งนะครับ ที่ได้อนุมัติ ในหลักการที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยตันละ ๑๒๐ บาท ทีนี้ปัญหามันอยู่ที่ว่า ก็อยากจะขอให้ได้มีการเร่งรัดในการจ่าย แม้ว่าจะมีการอนุมัติผ่าน ครม. ตั้งแต่วันที่ ๔ ธันวาคมแล้วก็ตาม ก็ขอให้ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เร่งจ่ายเงิน ๑๒๐ บาทให้กับพ่อแม่ พี่น้องที่ปลูกอ้อยด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านวุฒิพงษ์ นามบุตร ครับ

นายวุฒิพงษ์ นามบุตร อุบลราชธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม วุฒิพงษ์ นามบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์

นายวุฒิพงษ์ นามบุตร อุบลราชธานี ต้นฉบับ

วันนี้ขอหารือปัญหาพี่น้อง ประชาชนเกี่ยวกับไฟส่องสว่าง ถนนแจ้งสนิทระหว่างอำเภอเมืองถึงอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม

นายวุฒิพงษ์ นามบุตร อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ คือผมได้รับการร้องเรียนจากคุณพี่แอ๊ด นักข่าวชุมชนตำบลหัวดอน ได้ร้องเรียนว่าบริเวณไฟกลับรถบ้านเสียมจนมาถึงศูนย์ศิลปาชีพ บ้านยางน้อย มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานีดับมาหลายเดือนแล้ว จึงจะให้กรมทางหลวงเร่งซ่อมแซมให้สว่าง เหมือนเดิมด้วย

นายวุฒิพงษ์ นามบุตร อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ มติที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการผู้บริหารท้องถิ่น อำเภอเขื่องใน ได้มีมติส่งเรื่องมาหาผม ให้ผมติดตามเรื่องเกี่ยวกับไฟส่องสว่างบริเวณชุมชนเทศบาล ตำบลเขื่องในที่เป็นไฟ ๒ ข้างทาง รวมทั้งไฟ High Mast ขนาดใหญ่ ๓๖๐ องศา ประมาณ ๑๐ กว่าต้น บริเวณตลาดเก่า ตลาดใหม่ โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร ว่าการอำเภอเขื่องใน ว่าได้ดับไปหลายเดือนแล้ว ให้ดำเนินการให้กรมทางหลวงซ่อมแซมให้ส่องสว่างเหมือนเดิม เพื่อความปลอดภัยให้กับพี่น้องพ่อค้าแม่ค้าที่มาจับจ่ายใช้สอยในบริเวณตลาดเทศบาล ตำบลเขื่องในด้วย

นายวุฒิพงษ์ นามบุตร อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ เรื่องสุดท้าย ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากท่านไพฑูรย์ จิตทวี นายกเทศมนตรีตำบลเขื่องใน ได้รับการร้องเรียนว่าไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณหน้าโรงพยาบาล อำเภอเขื่องในเชื่อมมาจนถึงบ้านโนนธาตุได้ดับไปหลายเดือน ผมได้ติดต่อไปยัง แขวงทางหลวงอุบลราชธานีที่ ๑ ทราบว่าหม้อแปลงไฟฟ้าชำรุดมายาวนาน แล้วก็ทำเรื่องมาที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเขื่องใน และขณะนี้ระหว่างกรมทางหลวงกับการไฟฟ้าก็ได้ ประเมินราคามาเรียบร้อยแล้ว หม้อแปลงตัวใหม่อยู่ที่ ๑๕๗,๐๐๐ บาท จึงอยากฝากให้ ทางกรมทางหลวงได้เร่งจัดงบประมาณมาสั่งจ่าย สั่งซื้อหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ขนาดใหม่ ตัวใหม่ เพื่อส่องสว่างให้กับโรงพยาบาลเขื่องในมาจนถึงชุมชนบ้านวังคำ-โนนธาตุ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับพี่น้องชาวอุบลราชธานี ชาวเขื่องใน ชาวชุมชนใกล้เคียงด้วย ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านเกษม อุประ ครับ

นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เกษม อุประ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ขอนำความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนหารือท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ถึงกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากว่าทางแยกจาก ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๐๙๑ แยกไปบ้านโพนสวาง ตำบลหนองแวงใต้ อำเภอ วานรนิวาส เป็นถนนลูกรังสร้างมา ๕๐ กว่าปีแล้ว มีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อไม่ได้รับการแก้ไข ฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขให้ด้วย

นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ถนนทางแยกจากบ้านหนองแวงไปบ้านดอนกอย ตำบลหนองแวงใต้ อำเภอวานรนิวาส มีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อชาวบ้านสัญจรมาประสบอุบัติเหตุบ่อย ๆ ฝากถึง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้หาทางแก้ไขให้ด้วย และถึงอธิบดีกรมทางหลวง ชนบท เนื่องจากว่าถนนสายบ้านสุขสำราญ อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ไปบ้านบางยาว อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ มีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ฝากรบกวน ได้แก้ไขปัญหานี้ให้ด้วย และอีกสายหนึ่งนั่นก็คือถนนทางหลวงชนบทสายบ้านดงหม้อทอง ตำบลดงหม้อทองใต้ ข้ามแม่น้ำสงครามไปบ้านคำนาดี อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็น ถนนลูกรัง ชาวบ้านที่ข้าม ๒ จังหวัด ได้รับความเดือดร้อนมาก ก็อยากจะฝากถึงอธิบดี กรมทางหลวงชนบทได้จัดสรรงบประมาณเพื่อหาทางแก้ไข เพื่อหาทางบรรเทาความเดือดร้อน ให้พี่น้องประชาชนในเรื่องนี้ด้วย แล้วผมฝากกราบเรียนท่านประธานได้ทำหนังสือถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วนด้วย กราบขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านประสาท ตันประเสริฐ ครับ

นายประสาท ตันประเสริฐ นครสวรรค์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม นายประสาท ตันประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ พรรคชาติพัฒนากล้า เขตเลือกตั้งที่ ๖ ท่านประธานครับ ความทุกข์ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นหน้าที่ของผู้แทนราษฎร ที่จะนำเสนอต่อผู้บริหาร ประเทศ ขออนุญาตหารือท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงมหาดไทย แต่ก่อนที่จะถึงท่าน ที่รับผิดชอบ ผมขออนุญาตเรียนท่านประธานว่าคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนคนไทย ในชนบทอาจจะเป็นประชาชนระดับ ๓ ถ้าในหัวเมืองก็เป็นระดับ ๒ กรุงเทพฯ ก็อาจจะเป็น พลเมืองชั้น ๑ ท่านประธานครับ คุณภาพชีวิตของเขาในเรื่องน้ำนี่แย่มาก ในทุกหมู่บ้าน มีน้ำใช้ แต่ใช้ได้บ้าง ใช้ไม่ได้บ้าง คุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน สนิมบ้าง หินปูนบ้าง เขาก็ใช้กันครับ ท่านประธาน ทั้งกิน ทั้งใช้กันอยู่อย่างนั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้พบได้เห็นก็นำเรียนสู่ผู้บริหาร ประเทศได้ทราบ กระทรวงมหาดไทยท่านที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจการประปาส่วนภูมิภาค ท่านประธานครับ ท่านชาดา ไทยเศรษฐ์ ผมฝากถึงท่านรัฐมนตรีจริง ๆ คุณภาพชีวิต ของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศในชนบทส่วนภูมิภาค น่าจะเป็นหน้าที่อีกส่วนหนึ่งของ การประปาส่วนภูมิภาค ท่านประธานครับ ๔๔ ปี การประปาส่วนภูมิภาคเกิดขึ้นมาถึงวันนี้ มี ๒๓๔ แห่ง ท่านประธานครับเอาแค่ครอบคลุม เขาบอกว่าครอบคลุม ๗๔ จังหวัด ๗๔ จังหวัดนี้มันมี ๘๗๘ อำเภอนะครับ หมู่บ้าน ๗๕,๐๒๒ หมู่บ้าน ปรากฏว่าครอบคลุม จังหวัดจริง แต่ไม่ได้ครอบคลุมทั้งจังหวัดนะครับ อย่างเช่นจังหวัดอุทัยธานีของท่านรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลมี ๘ อำเภอ แต่ไม่มีประปาส่วนภูมิภาคถึง ๕ อำเภอ ใน ๓ อำเภอ ที่มีประปา ส่วนภูมิภาคไม่ได้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ในพื้นที่ของผมก็เช่นเดียวกัน น่าจะได้ดำเนินการ เพื่อพี่น้องประชาชนในทุกอำเภอ และให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านให้มีน้ำประปาที่กินได้ ใช้ได้ และเพื่อคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ ครับ

นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ดิฉัน สุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี เขต ๗ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันมีเรื่องหารือในปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนในเขตอำเภอสิรินธร อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอ พิบูลมังสาหาร

นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ หารือ ท่านประธานในกรณีก่อสร้างสะพาน ในกรณีก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำ สายหลักของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนช่วง ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหารถึงตำบลคันไร่ อำเภอสิรินธร ซึ่งได้มีการออกแบบตั้งแต่ สมัยของท่าน สส. ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ เมื่อ ๑๐ ปีที่ผ่านมา วันนี้ดิฉันจึงมาขอเรียน ท่านประธานในความเดือดร้อน ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ของดิฉัน ในการร่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้มีการสัญจรได้สะดวกขึ้น และพี่น้องประชาชน ได้มีเวลาในการทำสิ่งอื่น ด้านจุดเริ่มต้นของโครงการเริ่มจาก หมู่ที่ ๑๑ บ้านคันไร่เหนือ ตำบลคันไร่ อำเภอสิรินธร ถึงจุดสิ้นสุดโครงการคือ หมู่ที่ ๒ บ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร

นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ถนน ๒๑๓๔ อำเภอตระการพืชผลถึงอำเภอศรีเมืองใหม่ เรื่องนี้ ดิฉันได้หารือท่านประธานสภาไปตั้งแต่สมัยประชุมครั้งที่ผ่านมา วันนี้มาแจ้งให้ทราบอีกครั้งว่า ถนนสายนี้มีประชากรสัญจรมากถึง ๑๐,๐๐๐ คันต่อวัน ซึ่งกรมทางหลวงและกระทรวงคมนาคม ได้ลงพื้นที่สำรวจแล้ว วันนี้ดิฉันยืนยันอีกครั้งว่าถนนเส้นทางนี้ต้องได้รับการปรับปรุง ต้องได้รับการแก้ไข พิจารณาขอขยายจาก ๒ ช่องจราจร เป็น ๔ ช่องจราจรค่ะ

นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ถนนสาย อบ.๔๐๓๒ แยก ทล.๒๑๑๒ ถึงบ้านดงแถบ อำเภอ โขงเจียม ถนนสายนี้เป็นถนนสายหลักของพี่น้องตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม ที่สัญจร ไปได้หลายหมู่บ้าน จากบ้านดงแถบ บ้านนาบัว บ้านห้วยยาง ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม และเป็นทางลัดเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๕ ไป ๒๑๑๒ และ ๒๑๓๔ ซึ่งไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขเป็นหลุมเป็นบ่ออย่างที่ทุกท่านได้เห็น วันนี้ดิฉันขอเรียนถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยปรับปรุงแก้ไข

นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้าย เรื่องการการพักหนี้ ธ.ก.ส. ดิฉันต้องขอขอบคุณทาง ธ.ก.ส. และรัฐบาลที่ได้พักหนี้ให้เกษตรกรที่เป็นหนี้ยอดต้นรวมไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท แต่ดิฉัน ขอให้พิจารณาเงื่อนไขสำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาทด้วย ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ และปัญหาหลักของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ขอบพระคุณมากค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านวิรัช พิมพะนิตย์ ครับ

นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิก กระผม วิรัช พิมพะนิตย์ สส. จากจังหวัดกาฬสินธุ์ เขต ๑ พรรคเพื่อไทย ท่านประธาน ที่เคารพครับ วันนี้จะมาขอหารือท่านประธานเรื่องการบริหารจัดการสนามบิน และพิธีการ ตรวจค้นของ AOT ของกระทรวงคมนาคม

นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ท่านประธาน เห็นไหมเวลาเราจะเดินไปสนามบิน ถ้าสนามบินดอนเมืองเราจะต้องตรวจบัตรประชาชน กับตรวจตั๋วเครื่องบิน เสร็จแล้วตู้ตัวนี้ที่ตั้งอยู่ที่หน้าจอนี้ ท่านประธานก็ต้องไปแตะที่ตู้ เพื่อให้มันเปิดประตู แต่ถ้าเป็นสนามบินสุวรรณภูมิท่านประธานจะต้องแตะก่อน แล้วก็ เข้าไปตรวจค้น ท่านประธานที่เคารพครับ ผมว่าพิธีการนี้ซิกไปซิกมามันไม่สะดวกอย่างยิ่ง ตู้ตัวนี้ AOT ลงทุนกับเอกชน ให้เอกชนมาลงทุนเงิน ๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท ใครเป็นคน จ่ายเงินรู้ไหม ประชาชนครับ เพราะเขาเก็บจากตั๋วเครื่องบินของประชาชนคนละ ๓๐ บาท บวกเข้าไป สายการบินมาร้องเรียนผม บอกว่ามันเอาเปรียบประชาชน เพราะว่า เขาต้องไปบวกค่าใช้จ่าย ๓๐ บาทกับประชาชน แล้วถ้าไม่ได้ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ของรายได้ บริษัทต้องเก็บเงินจาก AOT จากรัฐบาล แต่ถ้าเกิน ๑๑๐ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๑๐๐ กว่าล้านคน บริษัทไม่เก็บจาก AOT ผมว่ามันทั้งได้ ทั้งกิน ทั้งล่องหมดทุกอย่างเลยครับ วันนี้ท่านประธาน ทำให้บ้านเมืองมันถูกต้อง แค่ประเด็นนี้ประเด็นเดียวก่อน ผมจึงกราบเรียนท่านประธานว่า ทำทุกอย่างให้มันถูกต้องเสีย ถ้าตรวจค้นแบบว่าเข้าไปแตะบัตรประชาชนปุ๊บ สแกนใบหน้าปุ๊บ ผ่านตลอด ไม่เป็นอะไรครับ เสียเท่าไรก็พอเสีย มันจะได้ร่นเวลาของประชาชนลงมา แต่นี่เข้าไปตรวจบัตรอีกแล้ว แตะบัตร ตรวจบัตรกับเอกชนเสร็จ เขาจะขึ้นเครื่องก็ตรวจบัตร ตรวจตั๋วอีก แตะอีก มันเสียเวลาครับ ท่านประธานดูเมืองนอกไหม เห็นไหมครับ เข้าไป แตะบัตรสแกนหน้าปุ๊บพรวด เมืองไทยมันน่าจะดีกว่านี้ เพราะฉะนั้นกราบฝากท่านประธาน เรื่องนี้ผมจะยื่นกระทู้และยื่นญัตติอีก เดี๋ยวเรามาดูกันว่ามันจะเป็นอย่างไร ขอบพระคุณ ท่านประธานด้วยความเคารพครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เป็นสมาชิกท่านสุดท้าย ท่านพุธิตา ชัยอนันต์ ครับ

นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาค่ะ ดิฉัน พุธิตา ชัยอนันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๔ พรรคก้าวไกล ดิฉันมีเรื่อง จะปรึกษาหารือทั้งหมด ๒ เรื่อง

นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรื่องแรก เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมา ส่งผลเสียหายเป็นวงกว้างในจังหวัด เชียงใหม่ ทำให้อาคารเรียนของโรงเรียนบ้านป่าก้าง ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัด เชียงใหม่ ที่แต่เดิมก็ทรุดโทรมอยู่แล้วดังภาพ ทำให้ตอนนี้เสาของอาคารเรียนแตก ทำให้ นักเรียนต้องไปเรียนกันที่บริเวณด้านนอกลานจอดรถ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเร่ง เข้าไปแก้ไขช่วยเหลือเยียวยาเด็ก ๆ และโรงเรียนบ้านป่าก้างด้วยค่ะ

นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ จังหวัดเชียงใหม่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นพิษอย่างหนักมายาวนาน แล้วคนเชียงใหม่เองมีสถิติเป็นมะเร็งปอดมากที่สุดในประเทศไทย ก็ขอให้รัฐบาลได้มี มาตรการป้องกัน แล้วก็แก้ไขปัญหาเยียวยาเรื่องฝุ่นพิษข้ามพรมแดนในระยะสั้นอย่างเป็น รูปธรรม สำหรับ สส. จังหวัดเชียงใหม่และ สส. ภาคเหนือพรรคก้าวไกลเรา เมื่อวานนี้เราก็ได้ยื่น ร่าง พ.ร.บ. ฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดนให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ขอฝากผ่านท่านประธานมายังเพื่อนสมาชิกทุก ๆ ท่านช่วยพิจารณาเพื่อประโยชน์ของ พ่อแม่พี่น้องประชาชนด้วย แล้วก็ขอให้มีมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมได้เสียทีค่ะ เพราะว่า ปัญหาพวกนี้เป็นปัญหาที่เราจะรอช้าไม่ได้ ขอบคุณค่ะ

นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๖๘ คน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ตอนนี้สมาชิกได้หารือครบทุกท่านแล้วนะครับ ขอบคุณที่ช่วยกัน รักษาเวลาครับ ตอนนี้มีสมาชิกมาลงชื่อทั้งหมด ๓๐๕ ท่านแล้ว ครบองค์ประชุมครับ ผมขอเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถามนะครับ เนื่องจากเมื่อวานนี้ มีข้อที่จะต้องทำความเข้าใจกันในเรื่องขององค์ประชุมและเรื่องของการลงมติ ผมขอเรียน แนวทางดังนี้ครับ รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๒๐ วรรคหนึ่ง ได้กำหนดหลักการเบื้องต้นว่า การประชุมของสภาผู้แทนราษฎร จะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ในกรณีการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะกำหนดองค์ประชุมไว้ในข้อบังคับเป็นอย่างอื่นได้ ซึ่งในวาระของกระทู้เรากำหนดไว้ที่ ๑ ใน ๕ ครับ แล้วในข้อบังคับของเราในข้อ ๒๕ วรรคสอง ได้กำหนดว่าเมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาจึงจะเป็นองค์ประชุมครับ นอกจากนี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัย เกี่ยวกับองค์ประชุมและการลงมติในสมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สรุปได้ว่าองค์ประชุมมิได้ มีความหมายแต่เพียงว่าเมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมครบเปิดการประชุมแล้ว หลังจากนั้น สมาชิกจะอยู่ร่วมประชุมหรือไม่ก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนสมาชิกในที่ประชุมอีกต่อไป หากเป็นเช่นนั้นแล้ว ผลก็จะเป็นว่าหลังจากเปิดประชุมแม้จะมีสมาชิกอยู่ประชุมเพียงไม่กี่คน ก็อาจลงมติและมีเสียงข้างมากได้ ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นผมก็ขอสรุป เป็นแนวทางในการตรวจสอบองค์ประชุมเพื่อลงมตินะครับ ว่าในทุกกระบวนการทั้งการตรวจสอบ องค์ประชุมก่อนลงมติและขั้นตอนการลงมติ จะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงจะถือเป็นองค์ประชุม ที่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และแนวทางปฏิบัติในสมัยประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในชุดที่ ๒๕ ด้วยครับ อันนี้ก็จะนำเรียนไปที่ทางการประชุมร่วมของทางวิป ๒ ฝ่าย เพื่อที่เราจะมีความชัดเจน ในเรื่องขององค์ประชุมในตลอดสมัยประชุมนี้นะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ผมขอยกมาหารือก่อนนะครับ ก็จะเป็นการประชาสัมพันธ์ในเรื่องของ การประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ว่าทางสภาของเราโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ ก็จะมีการจัดให้ประชาชนเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ แล้วก็เป็นการเชิญร่วมสังเกตการณ์ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปกติจะมีการเข้ามาชมสภาแค่เพียง ๕-๑๐ นาที แต่อันนี้จะเข้ามา สังเกตการณ์ตลอดทั้งการประชุมในวันแรกนะครับ ช่วงเวลา ๙ โมงเช้า จนถึง ๔ โมงเย็น แล้วก็จะรับทั้งหมด ๑๕๐ ท่าน โดยจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมสภา จะมีห้องรับรองให้ แล้วก็เชิญชวนสมาชิกได้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ แล้วก็เชิญชวน พี่น้องประชาชนที่สนใจเข้ามาเป็นสักขีพยานในการประชุมวาระพิจารณางบประมาณด้วยครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เรียนท่านสมาชิกครับ ก่อนที่จะมีการถามตอบกระทู้ตามระเบียบวาระ กระทู้ถาม ผมขอเรียนให้ที่ประชุมทราบว่าสำหรับการพิจารณากระทู้ถามแยกเฉพาะ ให้ไปดำเนินการถามและตอบในห้องกระทู้ถามแยกเฉพาะที่ชั้น ๑ ควบคู่ไปกับการพิจารณา กระทู้ถามสดด้วยวาจาและกระทู้ถามสดทั่วไปตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๑.๑ กระทู้ถามสดด้วยวาจา

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๑.๑.๑. นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ตอนนี้ทางท่านผู้ถามและทางรัฐมนตรีเข้ามาพร้อมแล้วนะครับ ขอเชิญ ท่านลิณธิภรณ์ใช้สิทธิในการถามครับ

นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนประธานสภา ที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยค่ะ ก่อนจะเข้าสู่ประเด็นคำถามในการตั้งกระทู้สดในวันนี้ ดิฉันต้องขอชื่นชม รัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับปัญหาหนี้สินของพี่น้องประชาชน และได้ดำเนินการแก้ไข และประกาศจนเป็นวาระแห่งชาติในการแก้ไขหนี้นอกระบบ แต่การขับเคลื่อนปัญหาเรื่องนี้ อย่างจริงจัง ดิฉันอยากจะนำเรียนให้ท่านประธานทราบถึงข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้ ทราบที่มาที่ไปของปัญหาว่าทำไมดิฉันถึงตั้งกระทู้ถามสดในวันนี้ จริงอยู่ว่าปัญหาหนี้สินเป็น ปัญหาเรื้อรังที่มีมาอย่างยาวนานและเป็นเรื่องใหญ่ของคนไทยจำนวนมาก เคยได้ยินคำกล่าว ใช่ไหมคะ ถ้าเรามีหนี้ก็ไม่มีสิทธิที่จะฝัน ดังนั้นปัญหาหนี้สินจึงเป็นปัญหาที่เป็นจุดเริ่มต้น ของปัญหาอื่นที่ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้มีอิทธิพลในสังคมไทย หรือนำไปสู่ ปัญหาการก่ออาชญากรรม ในการติดตามทวงถามหนี้ที่เราปรากฏเห็นตามข่าวอยู่ทุกวัน รวมกระทั่งถึงปัญหายาเสพติด หลายคนค้าขายยาเพื่อมาจ่ายหนี้ และปัญหาที่ใหญ่ที่สุด ก็คือปัญหาด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข อย่างจริงจัง ท่านประธานคะ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายนที่ผ่านมา พวกเราทราบดีแล้วว่า รัฐบาลและนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้ว่ามันส่งผลกระทบต่อ พี่น้องประชาชนอย่างไร โดยเริ่มเปิดช่องทางให้ประชาชนที่ประสบปัญหาเข้ามาลงทะเบียน แจ้งหนี้ได้ ๕ ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการผ่าน Website ผ่านสายด่วนศูนย์ดำรงธรรม ๑๕๖๗ ที่ว่าการอำเภอ รวมถึงสำนักงานเขตในกรุงเทพมหานครทุกแห่ง

นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

จากสถิติจะเห็นได้ว่า หลังจากเปิดการลงทะเบียนมาตั้งแต่วันที่ ๑ จนถึงวันที่ ๑๒ ธันวาคม มีผู้มาลงทะเบียน สูงสุดถึง ๘๘,๙๕๔ ราย โดยเป็นการลงทะเบียนออนไลน์กว่า ๘๐,๐๐๐ คน และในจำนวนนี้ ลงทะเบียนที่ศูนย์ดำรงธรรม ๘,๕๐๐ คน มีเจ้าหนี้มาลงทะเบียนด้วยถึง ๘๕,๙๔๗ ราย รวมมูลค่าหนี้ ณ ปัจจุบันคือ ๔,๘๐๐ ล้านบาท แต่ที่น่าสนใจอยู่ตรงนี้ค่ะท่านประธาน รายละเอียดสัดส่วนของลูกหนี้ สถิติการลงทะเบียนของหนี้นอกระบบตั้งแต่วันที่ ๑-๑๒ ธันวาคม เราจะเห็นได้ว่า ๕ จังหวัดแรก ผู้มาลงทะเบียน ๕,๗๐๐ คน ในกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าหนี้อยู่ ๔,๕๐๐ คน จังหวัดนครราชสีมาเป็นผู้มาลงทะเบียน ๓,๗๐๐ คน เป็นเจ้าหนี้อยู่ ๒,๘๐๐ คน จังหวัดสงขลามาลงทะเบียน ๓,๕๐๐ คน เป็นเจ้าหนี้อยู่ ๒,๔๐๐ คน จังหวัดนครราชสีมา ๓,๕๐๐ คน เป็นเจ้าหนี้อยู่ ๒,๐๐๐ คน และจังหวัดขอนแก่น มาลงทะเบียน ๒,๒๐๐ คน เป็นเจ้าหนี้ ๑,๖๐๐ คน ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนอะไรคะ ท่านประธาน ดิฉันอยากจะขอตั้งคำถามแบบนี้ค่ะ ทำไมตัวเลขจึงเป็นเช่นนี้ ทำไมสัดส่วน ของผู้มาลงทะเบียนเจ้าหนี้กับลูกหนี้ถึงมีจำนวนเจ้าหนี้มากกว่าลูกหนี้ มันสะท้อนว่าอะไรคะ มันสะท้อนว่าลูกหนี้ ๑ คน มีเจ้าหนี้มากกว่า ๑ ราย ใช่หรือไม่ ดังนั้นสิ่งนี้คือคำถาม

นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อันที่ ๒ ทำไมตัวเลขของมูลค่าหนี้ ณ ปัจจุบันคือมีอยู่ประมาณ ๔,๙๐๐ ล้านบาท แต่รัฐบาลได้ประเมินว่าหนี้นอกระบบจะมีมูลค่ากว่า ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเท่ากับมูลค่า ของหนี้ ณ วันนี้ยังไม่สอดรับกับการประเมิน ทำให้ดิฉันตั้งข้อสังเกตและตั้งสมมุติฐาน หลายประการดังนี้ ๑. อย่างแรกเจ้าหนี้เป็นผู้มีอิทธิพลใช่หรือไม่ ๒. ผู้มีอิทธิพลเป็นเจ้าหนี้ เกี่ยวพันกับเจ้าหน้าที่รัฐด้วยใช่หรือไม่ และ ๓. เพราะเป็นแบบนี้ใช่หรือไม่ จึงทำให้ลูกหนี้ ไม่กล้าที่จะออกมาแสดงตน นี่คือข้อสมมุติฐานของดิฉัน จากการตั้งข้อสมมุติฐานเหล่านี้ เราปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าระบบหนี้นอกระบบเกี่ยวพันกับปัญหาของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ข้าราชการที่เข้าไปพัวพันกับผลประโยชน์จากปัญหานี้ สิ่งที่รัฐบาลควรจะต้องทำ คือการตรวจสอบติดตามเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ให้เข้าถึงประชาชนได้อย่างแท้จริง สิ่งนี้คือปัญหาใหญ่นะคะท่านประธาน ถ้าลูกหนี้ ๑ คน มีเจ้าหนี้มากกว่า ๑ ราย เจ้าหนี้ ๑ คน และสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่การกระทำโดยการกู้ยืม แบบธรรมดา แต่เป็นกระบวนการค่ะ ดิฉันจะขออธิบายให้ท่านประธานเห็นภาพสั้น ๆ อย่างนี้ค่ะ ว่ากระบวนการของการเกิดหนี้นอกระบบและทำให้เจ้าหนี้เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิต ของลูกหนี้ก็คือ เมื่อมีการกู้หนี้จากเจ้าหนี้ ๑ ราย ลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ก็จะเกิด เจ้าหนี้รายใหม่ที่มายื่นข้อเสนอให้มีการเข้าไปกู้หนี้ เพื่อนำเงินไปใช้ดอกเบี้ยกับเจ้าหนี้รายแรก กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นจากเจ้าหนี้รายใหญ่ ดังนั้นวัฏจักรเหล่านี้มันไม่ใช่ความโหดร้าย แค่อัตราดอกเบี้ย ไม่ใช่ความโหดร้ายแค่การติดตามทวงถามหนี้ แต่มันคือกระบวนการ จัดการให้เกิดการปล่อยกู้หนี้อย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งรัฐบาลต้องเข้าไปจัดการ

นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ ปัญหาหนี้นอกระบบแม้วันนี้รัฐบาลจะพยายามที่จะแก้ไข แต่มันจะถูกตัดวงจรไปไม่ได้เลย ถ้าหนี้ในระบบไม่ถูกแก้ไขไปด้วย หลายคนเลือกที่จะ กู้หนี้นอกระบบ เพราะหนี้ในระบบแก้ไขไม่ได้ ดังนั้นหนี้ในระบบตอนนี้รัฐบาลประเมิน ว่ามีสูงถึง ๑๖ ล้านล้านบาท หากตามดูตัวเลขการจัดกลุ่มลูกหนี้ที่รัฐบาลแบ่งมา ก็ถือว่า เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ค่ะ เพราะค่อนข้างที่จะมีความชัดเจนและดูควบคุมและช่วยเหลือ สภาวะหนี้ของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-๑๙ กลุ่มลูกหนี้ที่มีรายได้ประจำ มีภาระหนี้เกินศักยภาพ และกลุ่มลูกหนี้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน และกลุ่มลูกหนี้เสียที่คงค้างกับสถาบันการเงิน ซึ่งกระบวนการและวิธีการช่วยเหลือปัญหา หนี้ในระบบของรัฐบาลดูมีเป้าหมายที่ชัดเจนค่ะ ดิฉันหวังว่าเป้าหมายที่วางไว้จะเป็นไปตามที่ รัฐบาลคาดหวัง ทั้งนี้เพราะปัญหาเหล่านี้มันพัวพันกันไปหมดค่ะ ถ้าหนี้ในระบบกู้ไม่ได้ ก็นำไปสู่หนี้นอกระบบ ท่านประธานคะ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวเลขที่ดิฉันสะท้อนนำไปสู่ คำถามที่ดิฉันอยากจะถามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อจะตอบคำถาม ถึงความชัดเจนสำหรับพี่น้องประชาชน ดังนี้

นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

คำถามแรก ก็คือเราจะแก้ปัญหาลูกหนี้ที่ไม่กล้ามาลงทะเบียน เพราะกลัว อิทธิพลของเจ้าหนี้ได้อย่างไรคะ ปัจจุบันแม้จะเปิดรับลงทะเบียนที่อำเภอ แต่กระบวนการ ไม่ได้หยุดลงค่ะ เจ้าหนี้ยังคงส่งคนไปตามหนี้ ไปเก็บดอกเบี้ยกับประชาชน ดังที่เพื่อนสมาชิก ของดิฉันจากจังหวัดอุตรดิตถ์ได้นำเรียนในที่ประชุมสภาแห่งนี้ไปเมื่อตอนหารือในช่วงเช้าค่ะ ดังนั้นรัฐบาลจะมีหลักประกันอะไร ในความปลอดภัยให้กับประชาชนผู้เป็นผู้กู้หนี้นอกระบบ

นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

คำถามข้อ ๒ การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบต้องมีความพร้อมใจกันทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ดิฉันขอถามว่ารัฐบาลมีมาตรการและแรงจูงใจอย่างไร ให้เจ้าหนี้ และลูกหนี้ร่วมกันแก้ปัญหาหนี้ด้วยกัน

นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ปัญหาสุดท้าย ปัญหาไม่ว่าจะเป็นทั้งนอกและในระบบเริ่มต้นจากปัญหา เศรษฐกิจและปากท้อง ไม่มีใครอยากเป็นหนี้ถ้ามีกินค่ะ คำถามของดิฉันก็คือนอกจาก แนวทางแก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบแล้ว รัฐบาลมีมาตรการทางเศรษฐกิจอื่น ๆ อย่างไรบ้าง ที่จะช่วยตัดวงจรของการเป็นหนี้ให้กับประชาชน

นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท้ายที่สุดค่ะท่านประธาน วันนี้พ่อค้า แม่ค้าร้านตลาดฝากดิฉันมาเป็น กระบอกเสียงค่ะ ฝากขอบคุณรัฐบาลที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างจริงจัง แล้วหวังว่ารัฐบาลจะทำให้เศรษฐกิจปากท้องของพี่น้องประชาชนดีขึ้น เพื่อคืนเกียรติ คืนศักดิ์ศรี คืนความหวัง คืนความฝันให้ประชาชนคนไทยทุกคน ขอบคุณค่ะท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ สมาชิกจะใช้สิทธิครั้งเดียวเลยไหมครับในการถามทั้ง ๓ คำถาม หรือว่า จะมีการถามครั้งต่อไปด้วยไหมครับ

นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ใช่ค่ะท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ก็เป็น ใช้สิทธิรอบเดียวทั้ง ๓ คำถามเลยใช่ไหมครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านรัฐมนตรีจะได้บริหารเวลา ถ้าอย่างนั้นเชิญท่านรัฐมนตรีเลยครับ

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ขอบพระคุณท่านลิณธิภรณ์ที่ได้สอบถามในประเด็นที่มีความสำคัญ แล้วก็ปัจจุบันทันด่วน เพราะว่าท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน เอง ได้เพิ่งแถลงในเรื่องของการเดินหน้า การแก้ไขหนี้สินทั้งระบบไปเมื่อ ๒ วันที่แล้ว ซึ่งได้นำเสนอต่อสังคม ต่อพี่น้องประชาชน แล้วก็ทางสมาชิกทุกท่านด้วย ในการแถลงในเรื่องของการแก้ไขปัญหาหนี้ให้ครบวงจร เพราะว่าตั้งแต่วันแรกที่เราเดินเข้าสู่การเป็นรัฐบาล ปัญหาเรื่องของหนี้สินเป็นปัญหา ซึ่งคาราคาซัง แล้วก็กดทับกับพี่น้องประชาชนอย่างหนัก สถานการณ์ของประเทศไทย ในตอนนี้ ภาครัฐเองตัวเลขหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ แต่ในส่วนของหนี้ ภาคครัวเรือนมีตัวเลขที่ค่อนข้างสูงอยู่ที่ระดับ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ของ GDP โดยที่พี่น้อง ประชาชนไม่มีกลไกในการที่จะหารายได้ใหม่ ๆ ไม่มีกำลังเพียงพอที่จะหารายได้ เพื่อมา ชดเชยชดใช้กับภาระหนี้สินที่ปรากฏอยู่ ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ แน่นอนครับว่าของรัฐบาล ส่วนหนึ่งในการที่เราจะต้องเดินหน้าหากลไกที่จะรองรับในการที่จะปรับลดภาระหนี้สินส่วนนี้ และสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้กับพี่น้องประชาชน เพื่อที่จะนำไปลดภาระค่าครองชีพ ลดภาระ ในเรื่องของหนี้สินของตนเอง

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

ประเด็นแรกผมต้องเรียนต่อท่านผู้ถามดอกเตอร์หญิงนะครับ ต้องเรียน อย่างนี้ครับว่าสำหรับมุมมองของรัฐบาลการมีหนี้มันไม่ใช่ผิดบาปนะครับ อันนี้เป็นสิ่งซึ่งต้อง ยืนยันให้ตรงกันก่อน หากประเทศใดก็ตามไม่มีกลไกเครื่องมือในการก่อหนี้ ในการที่จะ นำหนี้มาประกอบอาชีพ นำหนี้มาสร้างรายได้ใหม่ ๆ ประเทศนั้นไม่มีโอกาสที่จะเจริญ รุดหน้า แล้วก็ไม่มีโอกาสที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตที่จะเพียงพอรองรับกับพี่น้องประชาชน ภายในประเทศ เพียงแต่ว่าหนี้ที่มีนั้นก็คือควรจะต้องอยู่ในระบบ อยู่ในกติกาที่เป็นธรรม และอยู่ในระดับที่พี่น้องประชาชนจะสามารถสร้างรายได้ เพื่อที่จะบริหารจัดการกับชีวิต ตัวเองได้ อันนี้เป็นสิ่งซึ่งทางรัฐบาลต้องเรียนแจ้งต่อท่านสมาชิก แล้วก็พี่น้องประชาชน ทุกคน คำถามของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผมเรียนอย่างนี้ครับว่าด้วยคำถามเองมีอยู่ ๓ คำถาม ๒ คำถามแรกค่อนข้างมีความเกี่ยวเนื่องกัน ในเรื่องของการที่ว่าเราจะทำอย่างไร เพื่อที่จะยืนยันว่าลูกหนี้กับเจ้าหนี้มาแจ้งกับทางอำเภอแล้ว จะสามารถเดินหน้าภารกิจ ในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบได้ คำถามที่ ๒ ก็คือจะจูงใจอย่างไรเพื่อให้เขาเข้ามา แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกัน ผมต้องเรียนอย่างนี้ครับ ในเบื้องต้นเลยช่องทางที่ ท่านสมาชิกได้เรียนต่อท่านประธาน อันนี้ถูกต้องแล้วครับ มีอยู่ราว ๕ ช่องทาง ช่องทางที่ ๑ ก็คือการไปแจ้งในเรื่องของหนี้นอกระบบ ผ่านทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์ป้องกัน ปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ หรือสายด่วน ๑๕๙๙ ช่องทางที่ ๒ คือผ่านศูนย์ดำรงธรรม สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ หรือการโทรสายด่วน ๑๕๖๗ อันนี้ฝากบอกพี่น้องประชาชนด้วยครับ ช่องทางที่ ๓ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรีหรือสายด่วน ๑๑๑๑ ช่องทางที่ ๔ ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งอยู่ในกำกับของกระทรวงการคลัง ด้วยเลขหมายสายด่วน ๑๓๕๙ และช่องทางสุดท้ายผ่านทาง Web Site www.debt.dopa.go.th ซึ่งเป็น Website ของกระทรวงมหาดไทย ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ กลไกนี้เราได้ สร้างระบบ เพื่อที่จะรองรับในเรื่องของการแจ้งหนี้นอกระบบเหล่านี้กับภาครัฐ โดยพี่น้อง ประชาชนทุกคนที่แจ้งท่านจะได้รับสิ่งที่เรียกว่า Tracking Number เป็นเลขหมายทะเบียน ติดตาม เพราะว่าเมื่อแจ้งมาแล้วเราจะต้องเอายอดการแจ้งทั้งหมดมากระทบยอด และไม่ให้ เกิดการทับซ้อน และที่สำคัญพี่น้องประชาชนผู้เดือดร้อนจากปัญหาหนี้นอกระบบจะสามารถ ติดตามในเรื่องปัญหาของท่านได้อย่างตลอดครบวงจร ตั้งแต่ต้นจนแก้ไขปัญหาเสร็จ เรียบร้อย กระบวนการที่เราทำในเบื้องต้นเลยอยู่ที่พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะผู้เป็นหนี้นอก ระบบที่จะต้องแจ้งเข้ามายังศูนย์แจ้งต่าง ๆ เมื่อแจ้งมาแล้วเป็นระบบ ในเบื้องต้นเขาเรียกว่า ระบบสมัครใจ หมายความว่า ๑. ผู้เป็นหนี้ ลูกหนี้ต้องมีความสมัครใจจะแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของตน ๒. เมื่อแจ้งมาแล้ว เราจะทำการติดต่อไปยังเจ้าหนี้นอกระบบต่าง ๆ เพื่อให้เข้ามาและ มาพูดคุยทำความเข้าใจ ปัญหาหนี้นอกระบบนั้นพวกเราที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเรารู้ ปัญหาดีครับว่า วันนี้หลาย ๆ คนโดนหนี้ในระดับที่ไม่สามารถที่จะหารายได้มาได้ทัน ดอกร้อยละ ๒๐ เราก็เคยได้ยิน ดอกเบี้ยแค่ ๒ เดือน สามารถมาทบต้นได้ เหตุการณ์เหล่านี้ ก็เกิดขึ้นมาเป็นประจำ มีการติดตามทวงหนี้ด้วยความรุนแรง มีการติดตามทวงหนี้โดยการ โทรหาบุคคลรอบตัว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันเกิดขึ้นจนกระทั่งเราอยู่กับมันจนเป็นความคุ้นชิน ซึ่งเป็นความคุ้นชินที่รัฐบาลรับไม่ได้ครับ วันนี้เราจะต้องมาแก้ไขปัญหานี้ให้มันเป็นรูปธรรม กลไกที่จะเกิดก็คือเมื่อโทรเข้ามาแล้วผู้ที่จะดำเนินการคือฝ่ายปกครอง นั่นก็คือทางอำเภอเอง หรือทางตำรวจจะต้องเป็นผู้ที่จะนัดหมายทั้ง ๒ ฝ่าย มาเจรจาไกล่เกลี่ย โดยใช้หลักการ ทางเศรษฐศาสตร์ หมายความว่าอะไร เราจะนำตัวเลขยอดหนี้ เราจะนำตัวเลขการชำระคืน ที่ผ่านมาทั้งหมด เราจะดูตัวเลขในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้มันอยู่ในกรอบของกฎหมาย ที่เป็นธรรม หากลูกหนี้เดินเข้ามาพร้อมเจ้าหนี้แล้ว เราตรวจสอบแล้วว่าสิ่งที่ท่านได้ชำระ ผ่านมา ในอดีตที่ผ่านมาทั้งหมดท่านอาจจะเป็นหนี้มา ๒ ปี ๓ ปี ที่ชำระผ่านมามีแต่ดอกเบี้ย แต่ยอดมันเกินกว่าเงินต้นแล้ว และชำระจนถึงจุดที่คุ้มค่ากับเงินต้นที่เจ้าหนี้นอกระบบ ได้ให้ยืมมาในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม เราก็จะมีการเจรจาพูดคุยเพื่อที่จะยุติปัญหา ยุติยอดหนี้นี้ทั้งหมด สิ่งซึ่งจะจูงใจพี่น้องประชาชนให้เข้ามาแจ้ง ในเบื้องต้นอย่างที่ ท่านสมาชิกได้เรียน อันนี้เป็นข้อเท็จจริงผมก็ยอมรับครับ ทางรัฐบาลเองก็รับทราบและเรา ก็คาดหมายอยู่แล้วว่าในช่วงต้นของการดำเนินการ ในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบนั้น เราจะต้องเจอปัญหา นั่นก็คือพี่น้องประชาชนจะลังเล จะไม่กล้า จะเป็นห่วงในเรื่องของ สวัสดิภาพของชีวิตความเป็นอยู่ก่อนที่จะเข้ามาแจ้งกับทางศูนย์ต่าง ๆ ที่เราได้กำหนดขึ้น ยอดตัวเลขที่เราเห็นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยอดหนี้ ซึ่งยังอยู่ในระดับพันล้าน หลายพันล้าน ไม่ว่าจะเป็นยอดของผู้แจ้งซึ่งอยู่ในระดับหลายหมื่นล้านก็ตาม เป็นตัวเลข ซึ่งต่ำกว่าที่เราคาดหมาย และต่ำกว่าตัวเลขจริงอยู่จำนวนมาก ในขณะนี้พี่น้องประชาชน กำลังเริ่มที่จะทยอยตัดสินใจว่าจะเข้ามาขอความช่วยเหลือจากศูนย์ต่าง ๆ ที่เราได้กำหนด ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบนี้หรือไม่อย่างไร ต้องยอมรับครับว่าเราเพิ่งเริ่มมา เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคมที่ผ่านมาเพียงแค่ ๑๐ กว่าวัน พี่น้องประชาชนก็ยังต้องการความชัดเจน จากรัฐบาล สิ่งที่เราจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป คือการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม การจริงจังและจริงใจในการเข้าไปแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้นอกระบบ ซึ่งกลไกที่ภาครัฐ โดยรัฐบาลจะดำเนินการในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบนั้น จะเป็นตัวยืนยันกับพี่น้อง ประชาชน ในอดีตที่ผ่านมาเราเคยแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้นอกระบบหลายครั้ง ครั้งหนึ่ง ได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงอยู่ในช่วงปี ๒๕๔๐ กว่า ในช่วงของรัฐบาลท่านทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้นเราได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบด้วยกลไกใกล้เคียงกันครับ วันนั้น ใช้ฝ่ายปกครองก็คืออำเภอ ใช้ตำรวจ แล้วก็เติมในส่วนของฝ่ายความมั่นคงคือกลุ่มทหารด้วย ทั้งหมดนี้เข้ามาร่วมกันในการเจรจากับเจ้าหนี้และลูกหนี้ ประสบความสำเร็จด้วยดี แต่ผม ก็จะเรียนแจ้งต่อท่านสมาชิกว่าในช่วงต้นนั้นเราก็ประสบปัญหาเดียวกัน นั่นก็คือพี่น้อง ประชาชนลังเลว่ารัฐบาลเอาจริงหรือไม่ ว่าฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจจะสามารถคุ้มครอง ความปลอดภัยให้เขาได้หรือไม่ แต่ด้วยสัญญาณที่ชัดเจนของรัฐบาล และด้วยความจริงใจ ที่เราจะเดินหน้า ผมเชื่อว่าปัญหานี้จะสามารถแก้ไขได้นะครับ เราก็เชื่อว่าในที่สุดพี่น้อง ประชาชนซึ่งเป็นหนี้นอกระบบจะไหลเข้ามาสู่ภาครัฐ เพื่อที่จะหาหนทางแก้ไข

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

ในส่วนของเจ้าหนี้เองผมต้องเรียนอย่างนี้ครับว่า สิ่งที่ท่านได้ดำเนินการ ในส่วนของเจ้าหนี้นอกระบบ โดยเฉพาะการเก็บอัตราดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นความผิดทางอาญานะครับ หมายความว่าสิ่งที่ได้ดำเนินการเมื่อเรา รู้ตัวแล้ว เรารู้จุดแล้ว เราต้องการแก้ไขปัญหาด้วยความละมุนละม่อม ก็คือเชิญมาพูดคุย เพื่อหาความตกลงร่วมกัน หากตัวเลขที่ลูกหนี้ของท่านได้ชำระคืนท่าน มันเป็นตัวเลข ที่เหมาะสมแล้ว เราก็ควรจะต้องยุติยกเลิกกันไป ในขณะเดียวกันถ้าตัวเลขที่ลูกหนี้ของท่านชำระคืนท่าน ยังไม่ถึงจุดที่จะเป็นตัวเลขที่มีความเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องของอัตราดอกเบี้ย เรื่องของ ผลตอบแทนต่าง ๆ เราก็ควรจะต้องมานั่งโต๊ะ แล้วก็มาเจรจาจัดสรรโครงสร้างเรื่องของการ ชำระเสียใหม่ เพื่อให้มันเป็นไปตามในกรอบของกฎหมายนะครับ อันนี้เป็นสิ่งซึ่งเราพยายาม ที่จะดำเนินการ แล้วเราเชื่อว่าด้วยกลไกของรัฐเราสามารถที่จะพูดคุยทำความเข้าใจ แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีการใช้คำว่า ลองของ ก็ได้นะครับ มีเจ้าหนี้บางรายไม่ยอมรับ ต่อกระบวนการเจรจา สุดท้ายสิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือกระบวนการที่ภาครัฐจะต้องดำเนินการ ตามกฎหมายเพื่อเอาผิดกับกระบวนการปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด การทวงถามที่ขัดต่อกฎ ต่อกฎหมาย ต่อระเบียบที่มีความเหมาะสม มีการลองของที่ว่า ก็คือมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนที่มีเจ้าหนี้ไปทวงถาม แล้วก็มีลูกหนี้ไปแจ้งต่อ ศูนย์ดำรงธรรม สุดท้ายมีการใช้กำลังเข้าไปข่มขู่คุกคาม วันนี้ถูกภาครัฐดำเนินการ ตามกฎหมายเรียบร้อย เพราะฉะนั้นวิธีการที่เราจะแก้ไขในเรื่องของหนี้นอกระบบนี้ ผมเชื่อว่าเป็นทิศทางที่มีความเหมาะสม และเราจะสามารถดึงเอาหนี้นอกระบบเหล่านี้ กลับเข้าสู่ระบบ เพื่อที่จะแก้ไขให้เป็นรูปธรรมต่อไปได้สำเร็จนะครับ

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

แน่นอนครับว่ากลไกการแก้ไข อย่างแรกก็คือการเจรจา อย่างที่ ๒ ภาครัฐเอง เรามีเครื่องมือกลไก โดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่าง เช่น ธนาคารออมสิน หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งมีความพร้อมในการที่จะเข้าไปรองรับ ในเรื่องของยอดหนี้ที่มีอยู่ หากเจรจากันแล้วลูกหนี้และเจ้าหนี้สามารถตกลงกันได้ โยกเอา ภาระหนี้สินเข้ามาสู่สถาบันการเงิน ซึ่งจะเป็นภาครัฐกำกับเอง หรือจะเป็นธนาคารพาณิชย์เอง ก็ตาม ก็สามารถทำได้ เพื่อที่จะปรับโครงสร้างให้เป็นลักษณะของหนี้ที่อยู่ภายใต้การกำกับ ของกฎหมาย อันนี้เป็นแนวทางที่จะต้องดำเนินการต่อไป และในส่วนของเจ้าหนี้เอง มีเพิ่มเติมนะครับ วันนี้มันมีทางเลือกในการที่จะแก้ไขปัญหาโครงสร้างของหนี้นอกระบบ เหล่านี้อีกวิธีการหนึ่ง นั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่า PICO Finance คือการเป็นสถาบันการให้กู้ ในระดับเล็ก ซึ่งกำกับโดยกระทรวงการคลังนะครับ การยื่นขอใบอนุญาตเรื่องของสินเชื่อ PICO Finance กับกระทรวงการคลัง เงื่อนไขเบื้องต้นก็คือต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างต่ำ ๕ ล้านบาท สามารถปล่อยสินเชื่อได้รายละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท เรียกเก็บดอกเบี้ยได้ ไม่เกินร้อยละ ๓๓ ต่อปี ในกรณีที่มีหลักประกัน ในกรณีที่ไม่มีหลักประกันสามารถเรียกเก็บ อัตราดอกเบี้ยได้ถึง ๓๖ เปอร์เซ็นต์ อันนี้เป็นแนวทางหนึ่งในการที่เราจะสร้างเครื่องมือกลไก การเงินในขนาดเล็ก เพื่อที่จะรองรับกับเรื่องของหนี้นอกระบบต่าง ๆ โดยเจ้าหนี้นอกระบบ เหล่านี้สามารถผันตัวเองโดยการขอใบอนุญาตกับทางกระทรวงการคลัง เพื่อที่จะสามารถ ปล่อยกู้ได้ตามกฎหมาย มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ มีอัตราดอกเบี้ยที่จะมี รายได้เพียงพอกับต้นเงินของท่าน แต่พี่น้องประชาชนจะไม่เดือดร้อน ลูกหนี้จะไม่เดือดร้อน เพราะอยู่ภายใต้การกำกับของส่วนงานของรัฐ นี่ก็เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา หนี้นอกระบบอย่างที่ได้เรียน

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

ประเด็นหนึ่งที่ท่านได้เรียนต่อที่ประชุม รวมถึงการหารือของเพื่อนสมาชิก จากจังหวัดอุตรดิตถ์ อันนี้เป็นประเด็นสำคัญ ภาครัฐเองต้องเรียนด้วยความเคารพนะครับ วันที่ท่านนายกรัฐมนตรีแถลง เราไม่ได้พูดคุยถึงประเด็นในเรื่องของการมาเจรจา ความกันแล้วระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบ เราจะดำเนินการในส่วนของอัตราดอกเบี้ย ณ ปัจจุบันทันด่วนนั้นอย่างไร ซึ่งตรงนี้ผมได้รับทราบประเด็นปัญหาจากท่านสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นท่านลิณธิภรณ์ จะเป็นทางสมาชิกจากอุตรดิตถ์เองก็ตาม ขอบพระคุณท่าน ที่สื่อสารมายังรัฐบาล ผมเองจะนำเรียนประเด็นปัญหานี้เพื่อที่จะนำเรียนต่อท่านนายกรัฐมนตรี และเร่งในเรื่องของการดำเนินการแก้ไขวิธีการ หมายความว่าอะไร สิ่งที่ผมจะนำเรียน ต่อท่านนายกรัฐมนตรี ก็คืออยากจะให้มีการปรับเปลี่ยน เมื่อมีคนมาแจ้งในเรื่องของ หนี้นอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นที่อำเภอ ไม่ว่าจะเป็นที่ศูนย์ดำรงธรรมหรือที่ใดก็ตาม

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

๒๖/๑ สิ่งที่เราจะต้องดำเนินการเป็นสิ่งแรกก็คือยุติในเรื่องของดอกเบี้ย ยุติในเรื่องของการให้ลูกหนี้ ต้องชำระทันที เพื่อที่การเจรจาจะได้สามารถเดินหน้าพูดคุยกันสำเร็จแล้ว ถ้าเลิกแล้วต่อกัน ถ้าแก้ไขปัญหาปรับโครงสร้างหนี้สินเหล่านั้นได้ก็เดินหน้านะครับ แต่สิ่งที่จำเป็นที่สุด คือการยุติการทวงถามที่ขัดต่อกฎหมาย ยุติการคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่ขัดต่อกฎหมาย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องหยุด ณ วันที่มีการแจ้งต่อภาครัฐทันทีนะครับ ขอเวลาอีกเล็กน้อย นะครับท่านประธาน

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

ประเด็นคำถามที่ ๓ มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบแล้ว มีมาตรการ ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ อย่างไรบ้าง ในการที่จะเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชน อันนี้น่าจะ ใช้เวลาพอสมควร เดี๋ยวผมจะรวบรัดนะครับ เรียนอย่างนี้ครับว่าในเรื่องของการแก้ไข ปัญหาหนี้ หนี้แน่นอนครับมันมี ๒ ปีก ๑. ก็คือหาเงินไปชำระ ๒. ก็คือการเติมเงินให้กับ พี่น้องประชาชนเพื่อที่จะสร้างศักยภาพ เติมอาชีพให้เขา เพราะฉะนั้นนโยบายกลไก ของภาครัฐที่เราได้เดินมาทั้งหมด สามารถตอบคำถามของท่านสมาชิกได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกลไกในเรื่องของการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ วันนี้มีบริษัทใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น AWS หรือ Amazon Web Service ไม่ว่าจะเป็นบริษัทอย่างเช่น Google บริษัทอย่างเช่น Tesla ที่กำลังหมายตาการลงทุนในประเทศไทย ต่อรายเป็นแสนล้าน เหล่านี้จะสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยในระยะยาว ในเรื่องของ การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว การปรับ Visa ฟรีให้กับหลายประเทศ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ดึงดูดเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อเป็นรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยเช่นเดียวกัน กลไกในเรื่องของการที่รัฐบาลจะเดินหน้านโยบายเติมเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ผ่าน Digital Wallet อันนี้ก็ตอบโจทย์เดียวกัน นั่นก็คือสร้างกำลังให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย สร้างเม็ดเงิน หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการหมุนเวียน ก็ตอบคำถามของ ท่านสมาชิกได้เช่นเดียวกัน กลไกทั้งหมดเมื่อประกอบรวมกันเข้าจะเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ ที่สำคัญของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในการที่จะผลักดันเศรษฐกิจ ในการที่จะสร้างให้เกิด การหมุนเวียนของเม็ดเงิน สร้างให้พี่น้องประชาชนมีรายได้ที่มากขึ้น การแก้ไขปัญหา หนี้สินด้วยรายได้เป็นฟังก์ชันและเป็นกลไกที่สำคัญในการที่รัฐบาลจะสามารถให้พี่น้อง ประชาชนประคับประคองสถานการณ์ภาระหนี้สินต่อไปได้ในอนาคตนะครับ

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

หนี้สินในส่วนอื่น ๆ ขออนุญาตได้เรียนต่อท่านสมาชิก เช่น ในเรื่องของ ภาคการเกษตรนั้นก็มีกลไกในการพักหนี้ เช่น ในเรื่องของ กยศ. เองก็เป็นไปตามกฎหมาย ที่ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้กรุณาผ่านความเห็นชอบในสมัยประชุมที่แล้ว ในสมาชิก ชุดก่อนหน้าได้มีการผ่านความเห็น โดยเฉพาะในเรื่องของการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของ กยศ. ที่ไม่เกิน ๕ เปอร์เซ็นต์ เมื่อรัฐบาลเข้ามาเราเห็นถึงปัญหาครับว่ายังไม่ได้มีการปฏิบัติ ตามกฎหมายที่ได้ผ่านจากสภาผู้แทนราษฎร และวันนี้เราได้แก้ไขเรียบร้อยแล้วนะครับ ก็จะสามารถปลดล็อกให้กับพี่น้องประชาชนจำนวนมาก

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

ในเรื่องของ SME การแก้ไขปัญหา SME มีราว ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ ราย ที่เกิดปัญหาในช่วงของโควิดถูกปรับเข้าไปอยู่ในสถานะของ NPL หรือหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ ในส่วนของ NPL เขาเรียกว่ารหัส ๒๑ นะครับ ซึ่งวันนี้รัฐบาลกำลังเดินหน้าและน่าจะ เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาของรหัส ๒๑ ของกลุ่ม SME นะครับ นอกจากนั้นในสัปดาห์หน้าเช่นเดียวกันก็จะมีการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ของประชาชนอีกราว ๑ ล้านกว่าราย เป็นประชาชนซึ่งเกิดสภาพ NPL จากในช่วงของ เหตุการณ์โควิดเช่นเดียวกันนะครับ โดนปรับเข้าไปอยู่ในรหัส ๒๑ อันนี้เป็นรายบุคคล อีกราว ๑ ล้านกว่าราย ซึ่งกลไกของภาครัฐเราก็จะดำเนินการแก้ไขผ่านทางมติ ครม. ในสัปดาห์หน้าเช่นเดียวกัน ก็ขอให้ท่านสมาชิกได้ติดตามการแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สิน ของรัฐบาลต่อไป ก็เป็นกลไกที่ขออนุญาตนำเรียนต่อท่านสมาชิกนะครับ ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ทั้งระบบ ท่านเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการติดตามการทำงานของภาครัฐ ในการนำแนวทาง การแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สินเหล่านี้จากภาครัฐไปสู่ประชาชน ขอให้เราได้ร่วมมือกัน ในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนให้ลุล่วงต่อไป ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณทางสมาชิกแล้วก็ทางรัฐมนตรีที่ตอบนะครับ แล้วก็บริหารเวลาและเนื้อหาได้อย่าง ยอดเยี่ยมนะครับ ขอบคุณรัฐมนตรีครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๑.๑.๒ นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถาม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ได้มีหนังสือแจ้งว่า กระทู้ถามเรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ คือ ท่านภูมิธรรม เวชยชัย ได้มอบหมายให้รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์คือ ท่านนภินทร ศรีสรรพางค์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน ตอนนี้ ท่านรัฐมนตรีก็ได้ประจำที่บัลลังก์แล้ว ขอเชิญท่านภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ใช้สิทธิในการถามครับ

นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคก้าวไกล เขตอำเภอหางดงและสันป่าตอง วันนี้ผมต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีที่ได้มาตอบกระทู้สด ในคำถามที่เกี่ยวข้องกับประเด็น PM2.5 ปัญหาฝุ่นพิษที่เราเจอกันในปัจจุบัน ในส่วนของ กระทรวงพาณิชย์ ในประเด็น PM2.5 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ผมเชื่อว่า หลาย ๆ ท่านทราบกันดีอยู่แล้ว วันหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่นพิษในปัจจุบันนี้มาจาก การเผาเศษวัสดุทางการเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน ทีนี้เดี๋ยวจะหาว่าผมพูดลอย ๆ มาดูข้อมูลสถิติกัน ในปี ๒๕๖๕ เรามีข้อมูลการนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์จากประเทศ เมียนมา ๑.๘ ล้านตัน ซึ่งถือเป็น ๙๗ เปอร์เซ็นต์ ของการนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์ทั้งหมด ของประเทศ แล้วถือเป็น ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณข้าวโพดอาหารสัตว์ทั้งหมดที่ปลูก ในประเทศเมียนมา แล้วกว่าครึ่งของพื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์นี้ก็ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ติดกับ ภาคเหนือของประเทศไทย นั่นก็คือพื้นที่รัฐฉาน ทีนี้หลาย ๆ ท่านก็ตั้งคำถามต่อแล้วรู้ได้อย่างไร ว่าข้าวโพดอาหารสัตว์นี้มันทำให้เกิดการเผาที่ก่อฝุ่นพิษมายังประเทศไทย มาดูหลักฐาน ค่าสถิติในด้าน Hotspot กัน ข้อมูลสะสม Hotspot ตลอดปี ๒๕๖๓ ในพื้นที่ปลูกข้าวโพด เชิงอุตสาหกรรม อันนี้คือเราวัดเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลย ตลอดปี ๒๕๖๓ มีจุด Hotspot สะสมกว่า ๖,๙๖๔ จุด ซึ่งแน่นอนนี่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าฝุ่นพิษในประเทศไทย ส่วนใหญ่มาจากการก่อมลพิษที่ต่างแดน ทีนี้เรามาดูค่า PM2.5 ในประเทศเราบ้าง ค่า PM2.5 ก็เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับค่า Hotspot แล้วก็ Burn Scar ในต่างประเทศ เรามา พูดถึงค่า Burn Scar กันก่อน ค่า Burn Scar ในรัฐฉาน ในเดือนธันวาคมมีจุด Burn Scar อยู่ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ จุด เดือนมกราคมเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ เดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นมา เรื่อย ๆ จนมาถึงเดือนมีนาคม Peak ที่สุด อยู่ที่ ๕ ล้านไร่ แล้วเริ่มลงมาที่ ๒.๔ ล้านไร่ ในเดือนเมษายน แล้วก็กลับมาที่ ๓๐๐,๐๐๐ ไร่ ในเดือนพฤษภาคมสอดคล้องกับ ค่า PM2.5 ทั้งหมดของประเทศไทย เดือนธันวาคมเราเจอกันที่เท่าไร ๑๕๐ AQI แล้วก็ เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ จนมา Peak สุดที่เดือนมีนาคมอีกเช่นกัน เดือนมีนาคม เดือนเมษายน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง พื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ทะลุ ๔๐๐ AQI กันเป็นว่าเล่น แล้วท่านประธานทราบไหมครับว่าค่ามาตรฐานเฉลี่ย ๒๔ ชั่วโมง ในประเด็น PM2.5 ของเรากำหนดไว้ที่เท่าไร ๑๐๖ AQI หรือว่า ๓๗.๕ ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตรเท่านั้นเอง ซึ่งมันชัดเจนเลยครับว่าตอนนี้ทุก ๆ ปีภาคเหนือของประเทศไทย ต้องเจอกับฤดูฝุ่นกว่า ๕ เดือนต่อปี นี่ไม่ใช่เรื่องที่เรายอมรับได้เลยนะครับ ผมเชื่อว่า ท่านรัฐมนตรีทราบว่าข้าวโพดอาหารสัตว์ที่ประเทศเพื่อนบ้านนำไปปลูก ใครเป็นผู้ขายให้เขา และผมเชื่อว่าท่านก็ทราบดีว่าใครเป็นคนนำเข้าหลักของข้าวโพดอาหารสัตว์ในประเทศไทย แล้วปัญหาฝุ่นพิษมันหนักขึ้นเรื่อย ๆ เราไม่ได้เพิ่งเจอมาปี ๒ ปี เราเจอมาเป็นกว่า ๑๐ ปีแล้ว ทีนี้เรามาถึงคำถามที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์โดยตรงนะครับ เราจะมีประกาศอยู่ ฉบับหนึ่งครับ เป็นประกาศการนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์ภายใต้การค้าเสรี ASEAN ซึ่งตรงนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการในไทยสามารถนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์แบบปลอดภาษีได้ ตั้งแต่ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ จนถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคมของแต่ละปี ซึ่งตรงนี้ผมเข้าใจดีถึงวัตถุประสงค์ ที่เราจะเอื้อให้กับผู้เลี้ยงสัตว์ มันเป็นผลดีกับผู้เลี้ยงสัตว์แน่นอน แต่เราจะรับมือกับผลกระทบ ในด้านสุขภาพของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร เรามาดูกันลึกไปอีก นิดหนึ่งในประกาศนี้ ข้อ ๓ (๒) เขียนไว้ชัดเจนครับว่า ผู้ที่จะนำเข้าได้ต้องมีหนังสือรับรอง ว่าสินค้าที่นำเข้ามาในไทยจะไม่มีผลกระทบต่อชีวิตหรือสุขภาพมนุษย์ สัตว์ หรือพืช ของประเทศไทย ซึ่งตรงนี้มันตรงตามข้อตกลงของ ASEAN ของข้อตกลง ATIGA นี้มันตรง ตามกันทุกอย่าง เพราะฉะนั้นผมขอถามรัฐมนตรีนะครับ ที่ผ่านมาเขาใช้หลักฐานอะไร มารับรองตรงนี้ ผมเข้าใจดีว่าวันนี้เป็นกระทู้สด ท่านอาจจะไม่ได้เตรียมหลักฐานตรงนี้ มาชี้แจงด้วย ตรงนี้ผมขอให้ท่านลองชี้แจงว่าที่ผ่านมาเขาเอาหลักฐานอะไรมาชี้แจงให้ท่าน ท่านถึงจะรับรองว่านี่มันไม่เป็นผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยเลย และแน่นอนผมจะ ขอสำเนาหนังสือรับรอง ว่าสินค้าที่เขานำเข้ามาไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ชาวไทยจากกระทรวงพาณิชย์ด้วย ถ้าเป็นไปได้ผมขอสำเนาทั้งหมด เพื่อที่จะได้ไปตรวจสอบ ในภาคประชาชน ให้ประชาชนได้เห็นว่าที่ผ่านมาทำไมการนำเข้าสินค้าที่สันนิษฐานได้ชัดเจน ว่ามีที่มาจากการเผาถึงทำได้โดยง่ายดายขนาดนี้ และกระทรวงพาณิชย์ได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง หลังจากวันแถลงนโยบายของรัฐบาลในวันที่ ๑๒ กันยายน ด้านมาตรการการจัดการ กับปัญหาฝุ่นพิษที่มันเรื้อรังมานานขนาดนี้ อย่างไรผมขอฝากท่านรัฐมนตรีได้ชี้แจง โดยรายละเอียด ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านรัฐมนตรีครับ

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ ผม นภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายจากท่านรอง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ท่านภูมิธรรม เวชยชัย ให้มาตอบ กระทู้ถามสดของท่านภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ซึ่งมีความห่วงใยในพี่น้องภาคเหนือ ซึ่งได้รับ ผลกระทบจาก PM2.5 เนื่องจากการเผาข้าวโพดของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะรัฐฉาน ผมเรียนอย่างนี้ครับว่าประเทศไทยนั้น ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีหนึ่งประมาณ ๘ ล้านตัน ประเทศไทยนั้นผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ปีหนึ่งประมาณ ๕ ล้านตัน ต้องนำเข้าจากประเทศ เพื่อนบ้าน ซึ่งฤดูกาลเก็บเกี่ยวของข้าวโพดนั้นก็ออกมาตรงกันอยู่ในช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนมกราคม ซึ่งข้าวโพดของประเทศเพื่อนบ้านนั้นก็จะมีราคาถูกกว่าประเทศไทย ประเทศไทยนั้นก็จึงมีมาตรการการนำเข้าข้าวโพด ในช่วงของเดือนกันยายนถึงเดือนมกราคม โดยให้บริษัทเดียวที่สามารถนำเข้าได้ก็คือองค์การคลังสินค้า ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้ การกำกับการดูแลของกระทรวงพาณิชย์เป็นหลัก ผมเรียนอย่างนี้ครับว่ามาตรการดังกล่าวนั้น เพื่อช่วยพยุงราคาข้าวโพดของประเทศไทยไม่ให้ตกต่ำนั้น เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ในปัญหาเรื่อง PM2.5 นั้น ผมเรียนอย่างนี้ครับว่ามาตรการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น AFTA หรือ WTO หรือ ATIGA ก็ดี สิ่งสำคัญก็คือการที่จะห้ามประเทศเพื่อนบ้านนั้นนำเข้าข้าวโพดเข้าสู่ ประเทศไทย เนื่องจากปัญหาสุขภาพนั้น ประเด็นแรกเราต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนครับว่า มาตรการในประเทศไทยนั้นเรามีมาตรการเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน การนำเข้า ข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้าน ก็คือถ้าเราจะห้ามข้าวโพดที่เกิดจากการเผาแล้วเกิด PM2.5 ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชนทางภาคเหนือนั้น ประเทศไทยจะต้องมีมาตรการ การห้ามเผาข้าวโพดเช่นเดียวกัน นี่คือปัญหาที่ ๑ นอกจากนี้ เราจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนทางวิทยาศาสตร์ว่าประชาชนนั้นมีสุขภาพ ที่ไม่ดีอันเกิดจาก PM2.5 ซึ่งเกิดจากการเผาป่าเพื่อทำไร่ข้าวโพดของในประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ต้องพิสูจน์ด้วยนะครับว่าก่อนนำเข้าข้าวโพด ข้าวโพดนั้นคือต้นเหตุของการเผาป่า ในประเทศเพื่อนบ้านนั้นจริง และสุดท้ายต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าปัญหาการเผาป่าเพื่อปลูก ข้าวโพดของประเทศเพื่อนบ้านนั้นก่อให้เกิด PM2.5 ในไทย อันส่งผลกระทบต่อสุขภาพของ พี่น้องประชาชนคือปัญหาเดียวเท่านั้น ไม่ใช่เกิดจากการเผาป่าในประเทศ รวมทั้งไม่ได้เกิด จากการอุบัติไฟป่า การเผาป่าโดยชาวบ้าน โรงงานอุตสาหกรรม และมลพิษของการคมนาคม การจะห้ามข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่ประเทศไทยนั้นต้องพิสูจน์ให้ได้

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต้นฉบับ

ประการแรก เราปฏิบัติกับประเทศอื่นเช่นเดียวกับที่เราปฏิบัติกับประเทศไทย นี่คือข้อสำคัญประการที่ ๑ ซึ่งข้อสำคัญประการที่ ๑ นั้น ทุกวันนี้สำหรับการปลูกข้าวโพด ในประเทศไทย เราก็ยังขอความร่วมมือให้ชาวไร่ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นไม่เผาข้าวโพด ไม่เผาซัง เอามาทำเป็นปุ๋ย เอาทำเป็นอาหารสัตว์ มาตรการในประเทศไทยเรายังไม่มี นอกจากนี้เราก็ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า PM2.5 ที่เกิดขึ้นมานั้นเกิดจากการนำเข้าข้าวโพดจาก ประเทศพม่าเพียงเหตุผลเดียว มันอาจจะเกิดจากการคมนาคม จากการเผาป่าในประเทศไทย หรือเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ในประเทศรวมอยู่ด้วย แต่ถึงอย่างไรกระทรวงพาณิชย์ก็ไม่ได้ นิ่งนอนใจ กระทรวงพาณิชย์ได้หามาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหา PM2.5 ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ กำกับดูแลและส่งเสริมการค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้สอดคล้องกับการค้าโลก โดยมีอธิบดี กรมวิชาการเกษตรและอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธานอนุกรรมการ โดยมีหน้าที่ศึกษา แนวทางการลดการปล่อยคาร์บอนในชั้นต้น ในขั้นตอนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และพืช อาหารสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวและมันสำปะหลัง นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน ในภาคการเกษตร เพื่อพิจารณาแนวทาง การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 และปัญหากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้ง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐาน GAP PM2.5 อยู่ นี่คือ ๒ คณะกรรมการที่ลงไปดูแลในเรื่องนี้ ซึ่งยอมรับว่าปัญหา PM2.5 นั้น เป็นปัญหาที่สำคัญ เป็นปัญหาที่ใหญ่และมีผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว สุขภาพของคน ภาคเหนือนะครับ ซึ่งรัฐบาลเองนั้นก็ให้ความห่วงใย แต่การทำงานต่าง ๆ เราต้องคำนึงถึง เงื่อนไขของ WTO เงื่อนไขของ AFTA เงื่อนไขของ ATIGA ซึ่งอยู่ใน AFTA ด้วย เพราะว่า การปฏิบัติต่อประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญเราต้องปฏิบัติกับประเทศเราเช่นเดียวกัน ต้องเป็น ประเทศที่เป็นกลางนะครับ

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต้นฉบับ

ส่วนที่ท่านขอเอกสารในการนำข้าวโพด ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหล่านั้น ไม่ได้ผ่านการเผาหรืออย่างไร ในวันนี้เป็นกระทู้ถามสด ผมขออนุญาตว่าผมจะหาข้อมูล แล้วนำส่งให้ท่านเป็นหนังสืออีกครั้งหนึ่งนะครับ ยืนยันครับว่ารัฐบาลเป็นห่วงและให้ ความสำคัญกับ PM2.5 ให้ความเป็นห่วงกับสุขภาพของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะ ภาคเหนือ แล้วก็เป็นห่วงในเรื่องของภาคเศรษฐกิจ ในเรื่องภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ ภาคเหนือ ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ขอเรียนชี้แจงในเบื้องต้นไว้ดังนี้ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านผู้ถามใช้สิทธิในครั้งที่ ๒ ครับ

นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พรรคก้าวไกลครับ ต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีสำหรับข้อชี้แจงในคำถามที่ ๑ แน่นอนครับ ในประเด็นที่ว่าเราปฏิบัติต่อต่างประเทศอย่างไร เราก็ต้องปฏิบัติในประเทศ อย่างนั้น ในประเด็นนี้ท่านรัฐมนตรีได้มีการตอบผมในวันที่แถลงนโยบายเมื่อเดือนกันยายน ไปแล้ว ถึงเรื่องว่าเราสามารถที่จะมีมาตรการในการห้ามนำเข้าสินค้าที่มาจากการเผา ได้หรือเปล่า ตรงนี้โอเคเราไม่มีกฎหมายในประเทศ ตรงนี้เรารอพระราชบัญญัติฝุ่นพิษ และการก่อมลพิษข้ามพรมแดนอีกทีหนึ่ง เราสามารถจะบังคับใช้ได้หลังจากนั้นที่เรา มีกฎหมายในประเทศนี้แล้ว แต่ระหว่างที่เรารอกฎหมายพูดถึงเรื่องความเสมอภาค ระหว่างประเทศไทยกับกรมการค้าต่างประเทศ ในประเทศเรานี้เรามีการจัดทำพิกัดพื้น ที่ทำเกษตรอยู่แล้ว หรือว่าสมุดเล่มสีเขียวของเกษตรกรนะครับ ตรงนั้นจะมีพิกัดชัดเจน ละติจูด ลองติจูดชัดเจนเลย ว่าการปลูกพืชแต่ละชนิดเขาทำที่ไหนและปลูกพืชอะไรบ้าง ตรงนี้เราปฏิบัติกับคนในประเทศเราแล้ว เป็นไปได้ไหมครับที่เราจะเอาตรงนี้ไป Apply กับ ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์ด้วย ผมว่าตรงนี้จะเป็นการทำ เพื่อความเสมอภาค ทั้งคนในประเทศแล้วก็ต่างประเทศด้วย เพราะปัจจุบันคนในประเทศ เสียเปรียบนะครับ เราชี้แจงเยอะมาก ๆ เราต้องมายิง GPS กันชัดเจน แต่ว่าคนที่ทำไร่ อยู่ต่างประเทศกับไม่ต้องทำตรงนี้เลย โอเคถ้าเกิดเราจะปฏิบัติต่อคนในประเทศให้เท่าเทียม กับต่างประเทศ ผมคิดว่าเราควรที่จะมีตรงนี้ในประกาศด้วย

นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

แล้วทีนี้คำถามต่อมาครับ เราจะพิสูจน์อย่างไรว่าสินค้าเหล่านั้นมันมีที่มา จากการเผา PM2.5 นี้มาจากการเผาข้าวโพดอาหารสัตว์ ตรงนี้ผมเชื่อว่าเราก็สามารถ Apply จากประกาศตรงนี้ได้ ในประกาศตรงนี้ในข้อ ๓ (๑) จะมีเรื่องของ Form D Form D นั่นก็คือเป็นหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ตรงนี้ครับใน Form D มันจะมีเรื่อง ของ Origin Declaration อยู่แต่ว่า Origin ตรงนี้พอเข้าไปดูลึก ๆ ในข้อกำหนดที่ 12B ในข้อกำหนดของ ATIGA ตรงนี้มันไม่ได้ระบุตำแหน่งอะไรเลย มันระบุแค่ว่าประเทศที่เป็น ถิ่นกำเนิดแค่นั้นเอง เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมเชื่อว่าถ้าเราสามารถ Apply เรื่องของการจัดทำ พิกัดพื้นที่ทำการเกษตร เหมือนที่เราทำสมุดเล่มเขียวกับประเทศไทยกับคนที่จะนำเข้า ข้าวโพดอาหารสัตว์เราสามารถพิสูจน์ได้ จากวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีต่าง ๆ เรื่องของ Burn Scar เรื่องของ Hotspot เราสามารถ Proof ได้ว่าถิ่นฐานตรงนี้ที่เขาทำข้าวโพด อาหารสัตว์นี้เผาหรือเปล่า แต่ปัจจุบันเรายังทำไม่ได้นะครับ เพราะฉะนั้นผมจึงกลับมา ที่ข้อกังขาเดิม นั่นก็คือว่าหนังสือรับรองที่เขาส่งมาพร้อมการนำเข้าเพื่อยืนยันว่า มันไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพเลย ต่อพืช สัตว์ แล้วก็มนุษย์ เขาส่งอะไรมา ในเมื่อเรา ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าพิกัดที่เขาทำพื้นที่ทางการเกษตรนั้นทำที่ไหน ทีนี้พูดกันถึงเรื่อง ประกาศต่อ ประกาศนี้มีอายุระหว่างปี ๒๕๖๓-๒๕๖๖ นั่นหมายความว่าอีกประมาณ ๒-๓ สัปดาห์ ประกาศฉบับนี้จะสิ้นสุดลงแล้ว ท่านรัฐมนตรีจะมีการต่ออายุประกาศนี้ไหม และจากคำแนะนำที่ผมได้กล่าวไปเบื้องต้นทั้งหมด ท่านมีนโยบายหรือมาตรการที่จะเพิ่ม ข้อบังคับในประกาศนี้หรือเปล่า เพราะผมเชื่อว่าการจัดทำประกาศเหล่านี้ข้อดีมันมี แต่เรา ต้องปิดช่องโหว่ให้หมด ถ้าเราสามารถจัดทำเรื่องของพิกัดให้ชัดเจนได้ มันจะสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน ที่พรรคก้าวไกลและคณะรัฐมนตรี ก็มีร่างนี้อยู่แล้ว ทุกอย่างมันจะสอดคล้องรับกันหมด แล้วเราจะแก้ไขปัญหาการนำเข้าสินค้า ทางการเกษตรที่มีที่มาจากการเผาในประเทศไทยได้ ขอท่านรัฐมนตรีชี้แจง ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านรัฐมนตรีครับ

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต้นฉบับ

เรียน ท่านประธานสภาและท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติครับ ท่านภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เรียนอย่างนี้ครับ ว่าข้อเสนอแนะของท่านนั้นก็คือสร้างความเสมอภาค คือปฏิบัติในประเทศไทยอย่างไร ก็ปฏิบัติในประเทศเพื่อนบ้านเช่นนั้น โดยเริ่มต้นจากการปฏิบัติในประเทศไทยก่อน ซึ่งกำหนดพื้นที่เป็น Zoning หรือพื้นที่ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกำหนดมาตรการ ในการห้ามเผา เพื่อนำไปใช้กับประเทศเพื่อนบ้าน อันนี้เป็นข้อเสนอแนะที่ดี แล้วผมจะรับไป นำเสนอต่อ โดยเฉพาะกรมการค้าต่างประเทศซึ่งมีหน้าที่ในส่วนตรงนี้ ในส่วนของข้อซักถามต่อมาท่านถามด้วยว่าประกาศฉบับนี้จะต่อหรือไม่ ซึ่งประกาศฉบับนี้ มีผลถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ปี ๒๕๖๗ ซึ่งเป็นประกาศของปี ๒๕๖๖ ซึ่งเราจะต่อหรือไม่ ก็คงจะดูเฉพาะในส่วนที่ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เก็บเกี่ยวในประเทศไทยนั้นหมดหรือยัง ถ้าหมด ในเดือนมกราคมก็คงไม่ต่อนะครับ ส่วนเอกสารในการนำเข้าเรื่องของ Form D ที่มา ของแหล่งผลิตนั้น ผมจะขอไปดูในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งว่าใน Form D นั้นระบุว่ามาจาก ประเทศเมียนมาสามารถกำหนดจุดพิกัดได้ไหม สิ่งหนึ่งผมเชื่อครับว่า PM2.5 ในภาคเหนือนั้น ปัญหาหลัก ปัญหาใหญ่ มาจากการเผาข้าวโพดในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเราจะพยายาม นำเสนอเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหา ผมเชื่อครับว่าการนำเข้าข้าวโพดนั้นก็แก้ปัญหาเรื่อง ราคาอาหารสัตว์ในประเทศ แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นก็คือปัญหาสุขภาพของพี่น้องประชาชน ภาคเหนือนั้นสำคัญกว่า และในขณะเดียวกันผมก็เชื่อครับว่าในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของ ภาคเหนือนั้นมีความสำคัญมากกว่าเรื่องของราคาข้าวโพด เราจะเอาประเด็นปัญหานี้ เป็นหลักในการพิจารณา ในการประกาศของกระทรวงพาณิชย์ และจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ การหารือของคณะกรรมการต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่งนะครับ

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต้นฉบับ

ส่วนหลักฐานเรื่องการนำเข้าข้าวโพด เดี๋ยวผมจะส่งเป็นเอกสารให้กับท่าน อีกครั้งหนึ่งครับ เนื่องจากว่าเป็นกระทู้ถามสด ซึ่งผมเองนั้นไม่ได้เตรียมข้อมูลในส่วนตรงนี้มา แล้วสำหรับเรื่องนี้มันเป็นเรื่องของกรมการค้าต่างประเทศโดยตรงกับกรมการค้าภายใน ที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยตรง ก็รับข้อเสนอทุกข้อของท่านไว้ แล้วก็จะนำข้อมูลที่ไม่สามารถชี้แจงได้ในขณะนี้ส่งให้ท่าน อีกครั้งหนึ่งนะครับ ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสมาชิกถามในรอบสุดท้ายครับ

นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จังหวัดเชียงใหม่ ถอนหายใจเลยครับ ท่านรัฐมนตรีครับ ปัญหานี้มันกระทบกับพ่อแม่พี่น้องประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือมานานกว่า ๑๐ ปี ท่านรัฐมนตรีก็พูดเองว่า PM2.5 ฝุ่นพิษตรงนี้ที่มา มันก็ชัดเจนอยู่แล้วว่ามาจากมลพิษข้ามพรมแดน ส่วนหลักเลยก็คือที่มาจากการเผาพื้นที่ ในการเกษตร แต่ว่าวันนี้ผมค่อนข้างที่จะผิดหวังกับคำตอบที่ท่านรัฐมนตรีได้ตอบในวันนี้ เพราะว่าผมยังไม่เห็นมาตรการใด ๆ ที่ขับเคลื่อนจากกระทรวงพาณิชย์เลย คำตอบของท่าน ในวันนี้ผมก็ต้องพูดตรง ๆ ว่าผมไม่สามารถนำคำตอบนี้ไปให้กับประชาชนชาวไทยได้ เพราะว่าก็ต้องเรียนตามตรงว่าทุกวันนี้ประชาชนสิ้นหวังกับการแก้ไขปัญหานี้ เพราะเขาเจอ มากว่า ๑๐ ปีแล้ว แล้วก็ไม่เคยแก้ไขได้เลย และรายละเอียดหลาย ๆ อย่างวันนี้ท่านรัฐมนตรี ก็ไม่สามารถที่จะชี้แจงได้ โดยเฉพาะในเรื่องของหนังสือรับรองหรือ Form D ที่รายละเอียด ระบุไว้ชัดเจน แต่ว่าท่านก็ไม่สามารถตอบได้ ไม่เป็นอะไร แต่วันนี้ผมขอถามท่านรัฐมนตรี อย่างนี้ครับ ท่านเห็นระเบียบ เห็นกฎเกณฑ์เหล่านี้มันสำคัญกว่าชีวิตประชาชนหรือครับ เราสูญเสียมาเยอะมากนะครับ ทั้งในด้านสุขภาพ ชีวิตคน แล้วก็เศรษฐกิจของประเทศ ทำไมเราถึงยังไม่มีมาตรการใด ๆ จากกระทรวงพาณิชย์ที่เป็นรูปธรรมเลยครับ ตั้งแต่วันนั้น ที่แถลงนโยบายจนถึงวันนี้ผ่านมาแล้ว ๓ เดือน ผมติดตามการประชุม ครม. บันทึกการประชุม ครม. ทุกครั้ง ผมก็ยังไม่เห็นการขับเคลื่อนใด ๆ จากกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องนี้เลย อะไรที่เราทำได้เลยในปีนี้บ้างครับ ในฐานะของผมวันนี้ผมเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผมเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ผมทำสิ่งที่ผมทำได้แทบจะทุกอย่างแล้ว ผมอภิปรายเสนอแนะ ผมยื่นกระทู้ ผมร่างพระราชบัญญัติและยื่นต่อสภาไปแล้ว แต่กลไกของสภามันใช้เวลา พระราชบัญญัติฉบับหนึ่งต้องรออย่างน้อย ๑ ปีอยู่แล้ว แต่ในฐานะฝ่ายบริหารท่านทำอะไร ได้บ้าง ในปีนี้ที่ไม่ต้องรอกฎหมายจากฝ่ายนิติบัญญัติอย่างพวกผม ผมขอให้ท่านตอบสุดท้าย ให้ประชาชนชาวไทยได้คลายกังวลในเรื่องของ PM2.5 จากกระทรวงพาณิชย์ด้วยครับ ขอบคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านรัฐมนตรีครับ

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติครับ ผมเรียนอย่างนี้ครับว่า เราไม่ได้นิ่งนอนใจนะครับ แต่การแก้ไขปัญหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีการเผาในประเทศ เพื่อนบ้านนั้น การดำเนินการจะต้องดำเนินการในประเทศก่อน ต้องดำเนินการในประเทศว่า ห้ามผู้ที่ปลูกข้าวโพดนั้นเผาข้าวโพด ถึงไปใช้มาตรการนี้กับประเทศเพื่อนบ้านได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันขึ้นอยู่กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีการพูดคุยกันอยู่ ไม่ใช่หน้าที่ โดยตรงของกระทรวงพาณิชย์ แต่เราก็ประสานงานมาโดยตลอด เพื่อให้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์นั้นมีมาตรการในการกำหนด Zoning กำหนดพื้นที่ พิกัดในการที่จะปลูก ข้าวโพด แล้วก็มีมาตรการรองรับอย่างไร ซึ่งกรมวิชาการเกษตรนั้นก็กำลังดำเนินการอยู่ว่า จะมีมาตรการอย่างไรที่การเก็บข้าวโพดโดยไม่ต้องเผา ซึ่งในส่วนตรงนี้มันเป็นเรื่องของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์กำลังประสานอยู่ แล้วผมจะติดตาม เรื่องนี้ให้อีกครั้งหนึ่ง แล้วก็แจ้งเป็นหนังสือให้กับท่านทราบ แต่ยืนยันว่ากระทรวงพาณิชย์ ก็ไม่นิ่งนอนใจ แต่การทำงานนั้นต้องประกอบไปด้วยหลายกระทรวงและมีคณะกรรมการ ในหลายคณะด้วยกัน ซึ่งก็มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแล้ว ๒ คณะด้วยกัน อยู่ระหว่าง การดำเนินการและกำลังดำเนินการศึกษาอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องของกรมค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศที่ทำงานร่วมกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งในส่วนตรงนี้ ผมเองไม่ได้กำกับดูแล ผมจะติดตามและตอบเป็นหนังสือให้ท่านทราบอีกครั้งหนึ่ง แต่ยืนยันครับว่ารัฐบาลให้ความเป็นห่วงในเรื่อง PM2.5 แล้วที่สำคัญก็คือ PM2.5 นั้นมันก็มี หลายสาเหตุด้วยกัน สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศ สาเหตุอื่น ๆ มันก็มีการเผาไหม้ในประเทศด้วยเช่นกัน ทั้งการคมนาคมและอะไรต่าง ๆ การจะนำเข้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศต้องพิสูจน์ให้ได้ครับว่า เป็นสาเหตุเดียวที่เกิด PM2.5 เพราะฉะนั้นในการพิสูจน์มันมีหลาย ๆ ข้อด้วยกัน แต่เราก็พยายามที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า การเผาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้านเป็นสาเหตุหลัก ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ตรงนี้ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ ส่วนเอกสารต่าง ๆ ผมจะส่งให้ท่านอีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ตอนนี้ใช้สิทธิครบ ๓ ครั้งแล้วนะครับ แต่ยังมีเวลาเหลือเล็กน้อย สมาชิกจะใช้สิทธิไหมครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

อันนี้จะไม่ได้เป็นคำถามนะครับ แต่จะเป็นสรุปหรือว่าเสนอแนะได้นะครับ

นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ได้ครับ จากคำถามของผมทั้งหมด ในวันนี้ ผมต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีที่มาตอบคำถาม แต่ว่าคำตอบก็ชัดเจนว่ามันไม่ได้ คลายกังวลของประชาชนชาวไทยเลย เพราะฉะนั้นคำถามหลักที่ผมถามในวันนี้ก็คือแน่นอน การแก้ปัญหานี้เราต้องรอการแก้กฎหมายซึ่งใช้เวลานาน แต่ว่าในฐานะท่านรัฐมนตรีที่เป็น ผู้นำกระทรวงพาณิชย์ท่านทำอะไรได้บ้างในระหว่างที่เรารอร่างกฎหมายใหม่ ตรงนี้ท่าน ยังไม่ได้มีคำตอบนะครับ ซึ่งก็ขอฝากท่านตอบมาเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ว่ากระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์นะครับ ผมเข้าใจในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง แต่ขอกรอบของกระทรวงพาณิชย์ว่าท่านจะมีมาตรการอย่างไรให้ชัดเจนกับในประเด็น เรื่อง PM2.5 แล้วผมจะทำคำตอบของท่านเป็นลายลักษณ์อักษรตรงนี้ไปเผยแพร่ให้กับ ประชาชนต่อไป ผมขอให้ท่านตั้งใจตอบตรงนี้ เพราะประชาชนจำนวนมากเลยที่เขาเฝ้ารอ คำตอบตรงนี้ แล้วเขาเฝ้าหวังว่าผู้นำของประเทศนี้จะสามารถแก้ไขปัญหา PM2.5 นี้ได้ ขอบคุณท่านครับ สวัสดีครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ทางท่านรัฐมนตรีใช้สิทธิอีกไหมครับ ถ้าไม่มีก็เป็นอันสิ้นสุดสำหรับ กระทู้ถามสดที่ ๑.๑.๒ ครับ ผมขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีที่ให้เกียรติมาตอบทางสภานะครับ ต่อไปจะเป็น

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๑.๑.๓ นายรังสิมันต์ โรม เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถาม นายกรัฐมนตรี

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ด้วยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งว่ากระทู้ถามเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีบัญชามอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี คือ ท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน ซึ่งท่านประจำอยู่ที่บัลลังก์แล้วครับ ขอเชิญท่านรังสิมันต์ โรม ใช้สิทธิในรอบที่ ๑ ครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ผม รังสิมันต์ โรม ก่อนที่จะจับเวลาอยากจะขออนุญาตหารือท่านประธานสั้น ๆ นิดเดียวก่อน ได้ไหมครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

คือผมถามท่านนายกรัฐมนตรี แล้วเราก็ถามท่านนายกรัฐมนตรีมาโดยตลอดครับท่านประธาน อันนี้ไม่ได้เข้ากระทู้สดนะครับ แต่ปัญหาก็คือว่าท่านนายกรัฐมนตรีไม่เคยว่างทุกวันพฤหัสบดีเลยครับ ผมก็เลยอยากให้ ท่านประธานลองหารือดูว่าเราจะขยับวันไหมครับ ในการตั้งกระทู้ซึ่งเป็นอำนาจของ ท่านประธานในการที่จะจัดระเบียบวาระอยู่แล้ว คือถ้าท่านนายกรัฐมนตรีจะไปต่างประเทศ ทุกวันพฤหัสบดี เราก็อาจจะไปตั้งกระทู้ทุกวันพุธแทน เพราะว่าไม่อย่างนั้นสภาแห่งนี้จะไม่มี โอกาสที่จะได้ตั้งกระทู้ถามต่อท่านนายกรัฐมนตรีเลย แล้วเรื่องที่ผมถามนี้เป็นเรื่องตำรวจ ไม่มีผู้รับผิดชอบคนอื่นครับ ท่านสมศักดิ์นี้ผมเชื่อว่าถ้าท่านเป็นตำแหน่งที่เป็นนายกรัฐมนตรี ผมก็เชื่อว่าท่านจะมา แต่พอเป็นท่านเศรษฐาท่านไม่กล้ามา ดังนั้นอยากให้ท่านประธาน พิจารณาว่าจะขยับวันอะไร ที่อาจจะทำให้ท่านนายกรัฐมนตรีมีความสะดวกที่จะมาตอบ กระทู้ โดยเฉพาะของจากฝั่งฝ่ายค้านหน่อย อันนี้ฝากท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครับ ก็ต้องเรียนอย่างนี้นะครับว่า ทางคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีสามารถใช้สิทธิ ตามรัฐธรรมนูญได้ ในการที่จะมอบหมายรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องนะครับ แต่ส่วนเรื่องของ การถามหรือตอบที่ไม่ตรง อันนี้เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของฝ่ายบริหารเอง ส่วนเรื่อง การจะเลื่อนวันเวลาในการถามกระทู้ อันนี้จะต้องเข้าไปหารือกัน นายกรัฐมนตรีเองก็ไม่ได้ ไม่เคยมานะครับ ก็เคยมาแล้ว ๑ ครั้ง วันนี้ต้องให้ความเป็นธรรมท่านด้วยนะครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ครับ ขอบคุณท่านประธานนะครับ ผมขอนิดเดียวนะครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมว่า เข้ากระทู้เลยดีกว่าครับท่านรังสิมันต์

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

นิดเดียวจริง ๆ ท่านประธานครับ ว่าอยากให้ท่านประธานไปพิจารณา คือก่อนหน้านี้สภาชุดที่แล้วเราก็เคยถามวันพุธ เพราะท่านนายกรัฐมนตรีไปทุกวันพฤหัสบดี แล้วกระทู้ของฝ่ายค้านมันไม่เคยถูกถาม ท่านนายกรัฐมนตรีเลย ก็ฝากเท่านี้นะครับ ส่วนจะมีข้อสรุปอย่างไรแล้วแต่ท่านประธาน นะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ก็ขออนุญาตเข้าสู่กระทู้นะครับ เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ก็ตั้งกระทู้สดต่อประเด็นในเรื่องของตั๋วตำรวจครับ ซึ่งมีความตั้งใจที่จะถาม ท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฏว่าท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้มอบหมายท่านรองนายกรัฐมนตรี สมศักดิ์ เทพสุทิน มาตอบ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ขออนุญาตฉายสไลด์เป็นคลิปวิดีโอครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

นี่คือคำพูดของท่านนายกรัฐมนตรี ที่อยู่ในช่วงของการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บังคับการลงมาถึงสารวัตรนะครับ ประจำปี ๒๕๖๖ ตามหนังสือที่ ๐๐๙.๒๓๑/๔๓๒๐ ออกโดย ผบ.ตร. ที่กำชับให้หน่วย ในสังกัด ตร. ดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น บัญชีการแต่งตั้ง ข้าราชการตำรวจให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ตามที่กำหนดไว้ ในข้อกำหนด ก.ตร. ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งการพูดดังกล่าว ในที่ประชุม สส. ของพรรคเพื่อไทย มี สส. ของพรรคเพื่อไทยจำนวนมากที่อยู่ในห้องประชุม ดังกล่าว ได้มาขอตำแหน่งผู้กำกับกับท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งทั้งหมดหากมีการให้ผลประโยชน์ เพื่อให้มีการแต่งตั้งหรือไม่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี ตามมาตรา ๘๗ วรรคท้าย พ.ร.บ. ตำรวจ ๒๕๖๕ และยังผิดมาตรา ๑๘๕ (๓) รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และหากเป็นกรณีของรัฐมนตรีก็จะผิด มาตรา ๑๘๖ ทั้งหมดนี้ หากผิดจริง ท่านนายกรัฐมนตรีจะไม่จัดการอะไรเลยหรือครับ ซึ่งหากท่านไม่จัดการอะไรเลย ก็จะผิดในมาตรา ๑๕๗ ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย ท่านประธานที่เคารพครับ ผมปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เป็นประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ เคยเชิญท่านนายกรัฐมนตรีมาที่กรรมาธิการของผม ซึ่งก็ปรากฏว่า ท่านรองนายกรัฐมนตรี สมศักดิ์ เทพสุทิน ก็มาชี้แจงแทนต่อกรรมาธิการ โดยที่ในวันนั้น ด้วยความเคารพนะครับ และเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ท่านรัฐมนตรีสมศักดิ์ก็ไม่สามารถ ตอบคำถามในหลาย ๆ ข้อต่อกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศได้เลย เพราะท่านสมศักดิ์ไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบ โดยตรงกับเรื่องตำรวจเลยแม้แต่น้อย มากไปกว่านั้นตัวผมเองก็ได้ถามในที่ประชุมวันนั้น ว่าท่านสมศักดิ์ที่ท่านนายกรัฐมนตรีส่งมานี้ ท่านนายกรัฐมนตรีได้ Brief ได้ให้ ข้อมูลต่อประเด็นดังกล่าวหรือไม่ สิ่งที่ผมได้รับคำตอบสามารถดูได้ในที่ประชุมครับ คือท่านนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ Brief ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรเลย วันนี้ผมจึงมาตั้งกระทู้สด เพื่อถามท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่ท่านนายกรัฐมนตรีก็ส่งท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน ต้องเรียนด้วยความเคารพนะครับ ท่านไม่ได้มีความผิดอะไรเลย ท่านแค่ปฏิบัติหน้าที่เฉย ๆ แต่ท่านนายกรัฐมนตรีเลือกที่จะส่งท่านมาตอบคำถามที่นี่ ซึ่งวันนี้ผมเองก็คาดหวังครับ คาดหวังว่าครั้งนี้ในการตอบคำถาม ท่านนายกรัฐมนตรีจะ Brief หรือให้ข้อมูลกับท่าน เพื่อมาตอบคำถามโดยตรง และจะไม่นำไปสู่ความพยายามในการหนีการตรวจสอบในเรื่อง ของตั๋วตำรวจ ซึ่งเป็นประเด็นที่ผิดกฎหมายทั้งรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ. ท่านประธานครับ ในการแต่งตั้งผู้กำกับเป็นอำนาจของผู้บัญชาการตามมาตรา ๖๖ พ.ร.บ. ตำรวจ ๒๕๖๕ ซึ่งตามหนังสือที่ท่าน ผบ.ตร. ได้ส่งไปยังผู้บัญชาการหน่วยงาน ผู้บังคับการในสังกัดสำนักงาน ผบ.ตร. ว่าให้มีการจัดส่งข้อมูลต่าง ๆ ตามลักษณะที่ ๒๙ ความลับระเบียบ ตร. ว่าด้วย ประมวลระเบียบการตำรวจที่ไม่เกี่ยวกับคดี และกำชับให้ผู้บัญชาการหน่วยต่าง ๆ ถือปฏิบัติ โดยเคร่งครัด การแต่งตั้งผู้กำกับที่ไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี จึงมีคำถามสำคัญคือ ในวันที่ท่านนายกรัฐมนตรีพูดในที่ประชุมตามคลิปวิดีโอที่ผมได้แสดงไปแล้ว คือวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เป็นเวลาก่อนที่คำสั่งแต่งตั้งจะออกมาอย่างเป็นทางการ ท่านนายกรัฐมนตรี รู้ได้อย่างไรครับว่าใครสมหวังและใครไม่สมหวัง มีผู้บัญชาการ ผู้บังคับการคนไหนเอาข้อมูล ดังกล่าวมาบอกท่านนายกรัฐมนตรี ถ้าท่านนายกรัฐมนตรีไม่รู้ด้วยตัวเองก็ต้องมีคนมาบอก ใช่ไหม ถ้าทำแบบนั้นก็จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ตร. นำข้อมูลแต่งตั้งผู้กำกับไปบอกนายกรัฐมนตรี ไปบอก สส. ของพรรคเพื่อไทย ท่านทำแบบนี้ได้อย่างไร ท่านทราบเรื่องนี้ไหมครับ การที่ ตั๋วผู้กำกับซึ่งมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายส่วน แต่เรื่องกลับเงียบไม่ได้รับการตอบรับใด ๆ ต่อจาก นายกรัฐมนตรี หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติเลย ผมขอถามท่านนายกรัฐมนตรีว่าสรุปแล้ว ท่านจะไม่จัดการอะไรกับเรื่องนี้เลยใช่ไหม ท่านจะไม่ทำอะไรเลยใช่ไหม เพื่อที่จะทำให้สังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมตำรวจและสังคมไทยได้เกิดความสบายใจ ว่าตั๋วตำรวจจะไม่มี การแต่งตั้ง โยกย้ายจะต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล เป็นไปตามการแข่งขันในเรื่องของความสามารถ ซึ่งเขียนเอาไว้ใน พ.ร.บ. ตำรวจ ท่านจะไม่ทำเรื่องเหล่านี้เลยใช่ไหม แล้วถามกันตรง ๆ ที่ท่านบอกว่าในห้องนี้มันคือใครครับ ใช่ สส. พรรคท่านหรือเปล่า ถ้าการกระทำเหล่านั้น เป็นการกระทำที่ทุจริต สส. พรรคท่านทุจริตด้วยหรือเปล่า แล้วนโยบายของท่านที่เคย หาเสียงเอาไว้ว่าจะจัดการกับการใช้เส้นสายระบบอุปถัมภ์ต่าง ๆ ตกลงท่านไม่ทำแล้ว หรือครับ ท่านจะปล่อยเกียร์ว่างแบบนี้ไปแล้วใช่ไหม ทั้งหมดนี้คือคำถามครั้ง ๑ ครับ ท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านรองนายกรัฐมนตรีตอบครับ

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ขออนุญาตกระผม ได้รับมอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรีให้มาตอบกระทู้ถามสดแทน ซึ่งการทำงานและ การดำเนินการในครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีถูกกล่าวหาว่าไม่ได้มาตอบกระทู้ถามแทน ซึ่งในครั้งนี้ ท่านนายกรัฐมนตรีต้องเดินทางไปประชุมต่างประเทศที่ประเทศญี่ปุ่น ASEM พิเศษ ในขณะที่เราตอบกระทู้ถามพูดคุยซักถามกันอยู่นี้ ท่านนายกรัฐมนตรีอยู่บนเครื่องบิน ซึ่งได้เตรียมการดำเนินการในเรื่องของ ASEM นี้ไว้ก่อนนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งเริ่มดำเนินการ เมื่อวานนี้หรือวันนี้อย่างไร แต่สำหรับกระทู้ถามของเราเป็นกระทู้ถามสด ซึ่งเป็นเวลากระชั้นชิด ท่านนายกรัฐมนตรีไม่สามารถจะมาตอบท่านได้จริง ๆ จากเหตุผลและหลักฐานที่ผมจะมอบ ให้ท่านประธาน ในตารางการเดินทาง ตารางการบินต่าง ๆ ผมจะมอบให้กับท่านประธาน ที่เคารพไว้เป็นหลักฐานต่อไป

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ต้นฉบับ

ท่านรังสิมันต์ โรม ได้เรียนกับที่ประชุมว่าผมได้มาตอบกระทู้ถาม ในคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูป ประเทศที่ท่านเป็นประธานอยู่ เป็นข้อเท็จจริงครับผมได้มาตอบกระทู้ถาม ผมได้พยายาม ตอบคำถามทั้งหมด แต่คำถามที่ท่านถามนั้นมันอาจจะลึกเกินไปสำหรับผู้บริหารที่จะไปล้วงลูก เพราะในกรณีเรื่องของการทำงาน การโยกย้าย แต่งตั้งเหล่านั้น ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถที่จะไป ล้วงลูกในการดำเนินการในการโยกย้าย แต่งตั้ง แม้แต่ท่านนายกรัฐมนตรีเอง ตาม พ.ร.บ. ใหม่ ของตำรวจ ก็มีสิทธิที่จะเสนอชื่อบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งได้เพียงบุคคลเดียวคือ ตำแหน่ง ผบ.ตร. เท่านั้น ในส่วนนายพลอื่น ๆ ผบ.ตร. เป็นผู้นำเสนอ ทั้ง ๆ ที่นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ก.ตร. แล้ววันนั้นผมก็ได้พยายามอธิบายความว่าพระราชบัญญัติตำรวจ แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ นี้ได้บัญญัติขึ้นใหม่ในสภาผู้แทนราษฎรของเรานี้ ในสมัยรัฐบาลที่แล้ว ก็ได้ดำเนินการ มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจที่เรียกว่า ก.ตร. และมีคณะกรรมการ พิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ ก.พ.ค.ตร. และคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ของตำรวจ ก.ร.ตร. ซึ่งกรรมการได้ถูกคัดสรร หรือสอบบางส่วนของคณะกรรมการแต่ละชุดนั้น ได้อธิบายความไว้อย่างชัดเจน และถ้าหากว่าใครถูกใจ ไม่ถูกใจ ก็สามารถที่จะไปร้องเรียน ในคณะกรรมการผู้ทรงวุฒิดังกล่าวได้ สืบเนื่องจากคำถามของท่านรังสิมันต์ โรม พูดถึง ในกรณีวันที่ ๒๑ พฤศจิกายนที่ผ่านมาที่เป็นคำพูดของท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งจริง ๆ แล้วถ้าเรา ไปสอบสวนทวนความดูเอกสารทั้งหมดในการประชุม ก.ตร. ครั้งแรกที่ท่านนายกรัฐมนตรี ได้ประชุมประธาน ก.ตร. แล้วท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้ตอบคำถามในส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่ทีนี้ การพูดคุยหรือการตอบคำถาม ผมก็บอกแล้วว่าผู้ฟังอาจจะฟังในมุมมองที่แตกต่างกัน จากคำถามและคำตอบ แต่ถ้าเราหาหลักฐานมาประกอบในการพูดคุยหรืออธิบายและ มีเวลามาก ๆ ผมก็จะพยายามพูดคุยอีกครั้งหนึ่งว่าเรื่องนี้ท่านนายกรัฐมนตรีพูดแบบกระชับ อาจจะทำให้สังคมเข้าใจไปอีกทิศทางหนึ่ง และมีการนำไปขยายผลในทางการเมืองที่เป็น เชิงลบ จากคำพูดของท่านนายกรัฐมนตรีได้อธิบายชัดเจนว่าไม่มีการให้ความช่วยเหลือใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะในประโยคแรกที่กล่าวว่ามั่นใจว่ามีผู้ผิดหวัง สะท้อนว่าไม่มีการช่วยเหลือ จึงมั่นใจว่ามีผู้ผิดหวังอย่างแน่นอน ส่วนคำพูดที่ว่าขอตำแหน่งเพราะมันเยอะเหลือเกินนั้น ข้อเท็จจริงเป็นการปรึกษาหารือของ สส. ในพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของประชาชน เพราะต้องการ คนที่เหมาะสมเข้ามาพัฒนาในพื้นที่ของตนเอง และแก้ปัญหาอาชญากรรมหรือ Mafia หนี้นอกระบบ รวมถึงการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้ยืนยัน หลังจากนั้นอีกวันหนึ่งคือวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เรื่องการแต่งตั้งตนเองไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ ๒๕๖๕ มาตรา ๕๖ (๑) ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งแต่งตั้ง แต่ว่ายศพลตำรวจตรีขึ้นไปเท่านั้น ต่ำกว่านั้นลงมา เป็นอำนาจของ ก.ตร. ซึ่งท่านไม่สามารถก้าวล่วงในส่วนนี้ได้ แล้วเรามาดูคำสัมภาษณ์ของ ท่าน ผบ.ตร. ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค ๕ เชียงใหม่ ว่าเรื่องนี้เป็นกระแสข่าวที่อยู่ในสังคมแต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ตนยืนอยู่ในตำแหน่งนี้ ยังไม่มีใครเอาตั๋วมาให้ ท่านนายกรัฐมนตรีก็ไม่เคยโทรมา และตนก็ยืนยันว่าไม่มี สส. คนไหน มาทั้งสิ้น ตนเดินสายการเมืองมาหรือเปล่า นี่เป็นคำพูดของท่าน ผบ.ตร. นะครับ เขาก็รู้ว่า ของตนไม่ได้มีแน่นอน แล้วให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ สิ่งนี้นะครับเป็นคำพูดที่ในเหตุการณ์ ในช่วงเวลานั้น เราย้อนหลังลงไปอีกเกือบ ๒ เดือน การประชุม ก.ตร. ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรี ประชุม ก.ตร. ครั้งที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๖ คำพูดของท่านนายกรัฐมนตรี ในตอนหนึ่งก็ได้เรียนว่า รัฐบาลจึงต้องฟังข้อมูลจากตัวแทนประชาชนทุกพื้นที่ และข้อมูล ปัญหามักจะมาพร้อมข้อเสนอของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายที่มีประสิทธิภาพ มีความซื่อสัตย์ สุจริตมาทำหน้าที่แก้ปัญหาในทุกพื้นที่ แต่เป็นการเสนอขอในลักษณะภาพรวมในการจัด บุคลากร เพื่อไปดำรงตำแหน่งให้มีความเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาในแต่ละสภาพพื้นที่ มิได้เป็นการขอบุคคลใด รายใดรายหนึ่งให้มาดำรงตำแหน่งแต่อย่างใด ซึ่งต้องยอมรับว่า การจัดสรรบุคลากรดังกล่าวมีข้อกำหนด มีข้อจำกัดในเรื่องของคุณภาพของบุคลากร ซึ่งอาจมีความแตกต่างในเรื่องศักยภาพการทำงาน การเข้าไปแก้ไขปัญหา บางคน มีศักยภาพสูงกว่าหรือต่ำกว่าที่คาดหวัง ซึ่งเมื่อได้พิจารณาจัดสรรบุคลากรให้ปฏิบัติหน้าที่ ในแต่ละส่วนราชการแตกต่างแล้ว อาจก่อให้เกิดความแตกต่าง บางพื้นที่อาจได้บุคลากร คุณภาพตามที่ผู้แทนคาดหวัง ความคาดหวังในขณะที่บางพื้นที่ยังต้องรอความหวังต่อไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ ให้รัฐได้ตอบสนองความต้องการ ของประชาชน และแก้ปัญหาของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ขอให้ ก.ตร. ได้ช่วย ทำหน้าที่ เพื่อให้ได้ข้าราชการตำรวจที่ดีเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตามที่ประชาชนต้องการ อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ต่อไปครับ ขอบคุณครับ นี่คือคำกล่าวการเปิดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ ๑๐ ที่นายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน ได้กล่าวในที่ประชุม ก.ตร. ก็เป็นความชัดเจน แล้วก็ สืบเนื่องมาจากคำพูดหรือการเปิดประชุม ก.ตร. ครั้งนั้น ก็ยังมีคำพูดที่พูดมาถึงที่ประชุมของ พรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ ๒๑ แล้วนำเอาไปตีความในทิศทางที่ไม่ได้เกิดประโยชน์กับพี่น้อง ประชาชนในส่วนร่วม ซึ่งตรงนี้ผมเห็นหลักการแนวทางและเอกสารที่เป็นเครื่องพิสูจน์ ความชัดเจนที่ท่านนายกรัฐมนตรีตั้งใจจะแก้ปัญหาบ้านเมือง แต่ว่าปัญหาประเด็นของคำพูด คำจาตรงนี้ ต้องเรียนว่ามันอาจจะมองไปในทิศทางแล้วแต่คนที่จะมองและตีความ แต่ผม มั่นใจและชัดเจนครับว่า ความตั้งใจของท่านนายกรัฐมนตรีและดูจากการประชุม ก.ตร. ครั้งที่ ๑๐ นี้เป็นเรื่องหลัก จึงขออนุญาตได้เรียนตอบคำถามคุณโรมเป็นวาระแรกเพียงเท่านี้ครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญสมาชิกใช้สิทธิในรอบที่ ๒ ครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ผม รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลครับ ก่อนที่จะไปสู่คำถามที่ ๒ เรื่องไปต่างประเทศของท่านนายกรัฐมนตรีผมไม่ได้ติดปัญหานะครับ ถ้าท่านนายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปต่างประเทศ แล้วก็พยายามที่จะสร้างการลงทุนต่าง ๆ อันนี้ผมเห็นดีด้วยครับ แต่ประเด็นปัญหาก็คือมันไม่ใช่แค่วันนี้ ที่ผ่านมาท่านนายกรัฐมนตรีก็ไม่ค่อยมาตอบกระทู้ ของฝ่ายค้านเลย ดังนั้นท่านจัดเวลามาเลยก็ได้ครับ นายกรัฐมนตรีจะมาเมื่อไร เดี๋ยวพวกเรา จัดเวลาให้ท่านได้ครับ เราอยู่ตรงนี้ล่ะครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ผมทราบดีว่ากฎหมายนี้เขียนเอาไว้อย่างไร ที่ท่านรัฐมนตรี อ่านให้พวกเราฟัง มันก็เป็นสิ่งเดียวกันกับที่ท่านได้ชี้แจงต่อกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศที่ผมทำหน้าที่เป็นประธาน ก็มีสาระคล้ายเดิมครับ ไม่ได้ต่างอะไรกันกับที่เคยชี้แจง ผมอยากจะเรียนอย่างนี้ครับ ท่านประธานไปถึงท่านรองนายกรัฐมนตรี คือจริง ๆ ผมเห็นใจท่านนะครับ ว่าท่านต้องมารับ เผือกร้อนมาตอบคำถามในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ก่อ ไม่ได้พูด แต่ประเด็นปัญหาก็คือว่า จริง ๆ ผม ไม่อยากให้ท่านเปลืองตัวนะครับ จริง ๆ เรื่องนี้นายกรัฐมนตรีควรจะมาตอบด้วยตัวเอง แต่ไม่เป็นอะไร ทีนี้มาในส่วนที่ท่านได้อธิบายเรื่องข้อกฎหมาย ผมทราบดีว่ากฎหมาย เขียนเอาไว้อย่างไร ประเทศนี้คงไม่มีใครติดคุกครับ ถ้าทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายกันทั้งหมด สิ่งที่ผมกำลังอภิปรายและตั้งคำถามเป็นกระทู้สด ก็เพื่อที่จะบอกว่าวันนี้ท่านนายกรัฐมนตรี กำลังละเมิดกฎหมายครับ ซึ่งต้องเรียนว่าถ้าเปิดคลิปวิดีโออีกรอบหนึ่ง เปิดหน่อยครับ ขอเสียงด้วยครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขออนุญาตนะครับ มีผู้ประท้วงนะครับ เดี๋ยวต้องขอให้ท่านรังสิมันต์ฉายให้จบก่อนนะครับ แล้วจะให้ประท้วงครับ

นายไชยวัฒนา ติณรัตน์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

ไม่ได้ครับ ผมยืนขึ้นยกมือ พ้นศีรษะ นี่คือการประท้วงตามข้อบังคับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ประท้วงประเด็นไหนครับ เรียนเชิญครับ

นายไชยวัฒนา ติณรัตน์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

ผมประท้วง ข้อ ๙ ครับท่านประธาน และผมก็ประท้วงข้อ ๖๙ ประกอบการประท้วงข้อ ๙ ให้ท่านเปิดดูข้อบังคับการประชุม ข้อ ๑๔๗ ครับ ข้อ ๑๔๗ ประกอบอีกข้อบังคับหนึ่งคือข้อ ๑๕๒ ผมว่าจะไม่ลุกขึ้นแล้ว ด้วยความเคารพกัน เกรงใจกัน แต่ท่านประธานปล่อยอย่างนี้ไม่ได้ ข้อ ๑๔๗ ผมไม่ต้องอ่าน ครับท่านประธาน ข้อบังคับอยู่ในมือท่าน ประกอบข้อ ๑๕๒ ผมนั่งฟังตั้งแต่ท่านมา ผมไม่เอ่ยชื่อหรอกครับ เดี๋ยวจะประท้วงกันอีก ท่านประธานที่เคารพ ซ้ำซากวกวนหรือเปล่า ใส่ร้ายเสียดสีหรือเปล่า ท่านรองนายกรัฐมนตรีได้รับสิทธิจากท่านนายกรัฐมนตรีมาตอบ มาชี้แจง นั่นคือข้อ ๑๕๑ ทั้ง ๓ วรรค ผู้ถามและผู้ตอบเขามีสิทธิทั้ง ๓ วรรค ด้วยความ เคารพท่านประธานครับ ถ้าจะซ้ำ ๆ แบบนี้ ท่านประธานก็รู้จักว่า ไชยวัฒนา ติณรัตน์ จังหวัดมหาสารคาม พรรคเพื่อไทยคนนี้ไม่ใช่คนเกเร แต่ถ้าทำอย่างนี้ผมต้องประท้วงครับ ท่านประธาน เปิดซ้ำ ๆ อีกได้อย่างไร ไม่ได้ขัดข้องเลยครับ แต่มันผิดข้อบังคับ ท่านประธานครับ ขอให้ท่านประธานวินิจฉัยตามข้อ ๗๑ ด้วยครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครับ ก็ในเรื่องของการตั้งกระทู้จะต้องไม่เป็นเรื่องที่วนเวียนซ้ำซาก หรือชัดเจนแล้วว่าไม่ตอบ แต่ว่าทางท่านรังสิมันต์ยังไม่ได้เข้าสู่คำถามที่ ๒ ก็เลยยังไม่ทราบว่าลักษณะคำถามนั้น เป็นคำถามที่ซ้ำหรือไม่อย่างไร แต่ว่ายังเป็นประเด็นของหัวข้อใหญ่ของการตั้งกระทู้อยู่ ผมขออนุญาตให้ทางท่านรังสิมันต์ได้ถามให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วผมจะวินิจฉัยได้นะครับ ว่าซ้ำซากหรือไม่นะครับ

นายไชยวัฒนา ติณรัตน์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ อีกครั้งหนึ่งครับ ผมประท้วงท่านประธานตามข้อ ๙ การเปิดเมื่อสักครู่นี้พวกผมไม่กลัวหรอกครับ ไม่ได้ขัดข้องเลย แต่ท่านมาเปิดซ้ำอีก ผมไม่เข้าใจว่าท่านประธานใช้การวินิจฉัยแบบไหน ตอบผมตรงนี้ก่อนครับ เพราะว่าเปิดเทปรอบ คำถามแรก

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมชี้แจงอย่างนี้ครับท่าน ด้วยความเคารพนะครับ ในประเด็นของการถามมันไม่ได้ขึ้นกับว่า แสดงหลักฐานกี่ครั้งนะครับ แต่ว่าประเด็นในการถามสามารถแตกต่างกันได้ครับ ผมขออนุญาตเชิญต่อเลยครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับท่านประธาน ขอคลิปวิดีโอด้วยครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ คือเรื่องนี้ ผมทราบว่าหลังจากที่ท่านนายกรัฐมนตรีมาพูดอีกครั้งหนึ่ง ตามที่ท่านรัฐมนตรีสมศักดิ์ ได้ชี้แจง ท่านนายกรัฐมนตรีพยายามที่จะอธิบายว่าการที่ตัวเองเป็นประธาน ก.ตร. นั้น จะไม่มีอำนาจในการไปแต่งตั้งผู้กำกับ แต่เมื่อเราพิจารณาจากวิดีโอเราจะพบว่า ท่านนายกรัฐมนตรีอาจจะมีข่ายในการแทรกแซง ผมอยากให้ท่านรัฐมนตรีสมศักดิ์ได้ชี้แจง ทีละประโยคเลยครับ เพื่อให้สังคมได้เข้าใจว่าประโยคที่ท่านนายกรัฐมนตรีพูดในแต่ละ ประโยคใช้เวลานิดเดียวครับ มันหมายความว่าอย่างไร นี่คือประเด็นที่ ๑

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ที่ผมจะขยับต่อไปในคำถามครั้งที่ ๒ นะครับ นอกจากเรื่องที่ผม ได้พูดไปแล้วที่เกี่ยวข้องกับประโยคของท่านนายกรัฐมนตรี เราก็จะพบว่าในการแต่งตั้งระดับ รองผู้บังคับการจนถึงสารวัตรที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ปรากฏว่ามีการลาออกของตำรวจหลายนาย เพราะไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายตามที่ปรากฏในข่าว คือ พันตำรวจเอก ธเนศ สุขชัย อดีตผู้กำกับ ตม. จังหวัดภูเก็ต บก.ตม. ๖ ที่ได้ตัดสินใจลาออกเพื่อดำรงระบบ คุณธรรมให้แก่องค์กร หวังว่าในยุคต่อ ๆ ไปคนที่ตั้งใจทำงานเสียสละมีผลงานจะได้รับการ พิจารณาอย่างเป็นธรรม และยังมีอีกรายครับ เป็นสารวัตร สน. หนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีผลงานในการร่วมปราบปรามทุนจีนสีเทา เป็นล่ามภาษาจีนให้แก่ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ใน ตร. แต่ในการแต่งตั้งโยกย้าย ที่เมื่อย้อนกลับไปถึง ๓ ครั้ง กลับไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ไป ทำหน้าที่ที่เหมาะสมกับความสามารถด้านภาษา นี่คืออยู่ในรายละเอียดหนังสือนะครับ ถูกส่งไปลงตำแหน่งที่ไม่ได้ใช้ความสามารถที่มีในการทำหน้าที่ จนนำมาสู่การตัดสินใจ ลาออกจากราชการในที่สุด ท่านประธานที่เคารพครับ ทั้งหมดที่ผมพูดมาอยู่ในหนังสือ การลาออกของตำรวจนายดังกล่าว ผมอยากให้การลาออกแบบนี้ที่เกิดจากความไม่เป็นธรรม จากการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายได้ไหม การที่จะเติบโตในตำแหน่งหน้าที่การงานได้ อย่างเช่น ในตำแหน่งผู้กำกับ ตม. จังหวัดภูเก็ต บก.ตม. ๖ ท่านกำหนดมาเลยได้หรือไม่ ว่าต้องมีคุณสมบัติอะไร ทำผลงานใด ๆ มาบ้าง แล้วตำรวจที่เขาอยากจะไปประจำตำแหน่ง ต่าง ๆ เวลาเขาได้ไปมันก็จะอธิบายได้ ถ้ามีคำถามใด ๆ ก็จะตอบได้ว่าเขามีความเหมาะสมกัน อย่างไร นี่คือสิ่งที่เราอยากได้ ท่านเองก็สามารถที่อธิบายกับสังคมได้ว่าการเลือกตำรวจ มานั่งในตำแหน่งต่าง ๆ มันมีคุณสมบัติรองรับ ไม่ได้เป็นเรื่องของตั๋ว ไม่ได้เป็นเรื่องของ เส้นสาย ไม่ได้เป็นเรื่องของระบบอุปถัมภ์เท่านั้น ท่านสามารถดำเนินการเหล่านี้ได้ไหม ประธาน ก.ตร. คือนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจ ท่านออกนโยบาย เหล่านี้ได้ไหม เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เรียนถามครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านรัฐมนตรีครับ

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ ผมขออนุญาตตอบคำถามเป็นรอบที่ ๒ ในเรื่องของการแต่งตั้ง คุณรังสิมันต์ โรม ได้คาดคั้น ให้ผมตอบทีละบรรทัดหรือทีละวรรค ที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้กรุณาพูดบันทึกเทปมา ผมต้องเรียนอย่างนี้นะครับว่าการตอบคำถามเป็นทีละบรรทัดหรือทีละประโยค อย่างที่ คุณรังสิมันต์ต้องการนั้น มันก็เป็นเรื่องที่ผมได้ชี้แจงไปครั้งหนึ่งแล้ว ว่ามันก็แล้วแต่ คนฟังจะคิดนะครับว่าเป็นอย่างไร แต่ในภาพรวมที่ผมได้พยายามนำเอาเอกสารคำพูดของ ท่านนายกรัฐมนตรีแต่ละเวทีเอามาประกอบการชี้แจง ตรงนี้ผมก็มั่นใจว่าท่านนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มีเจตนาอะไรทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับจะทำในเรื่องของการใช้ตั๋วหรืออะไรทั้งสิ้น ก็เป็นเรื่องที่ แล้วแต่ผู้ฟังและผู้ชมหรือพี่น้องประชาชนจะตัดสิน แต่ผมเรียนว่าการแต่งตั้งโยกย้าย ที่บอกว่าบางคนสมหวังบ้าง ไม่สมหวังบ้าง ก็มีหลายคนครับ อย่างนายตำรวจติดตามผม ก็ไม่ได้รับการพิจารณาแต่งตั้ง ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่งว่าไม่ใช่ว่าคนที่อยู่ใกล้ชิด หรือคนที่รู้จัก ท่านนายกรัฐมนตรีจะได้รับการ Promote ไปเสียหมด คนที่ผมคุ้นเคยอยู่ก็ถูกโยกย้าย ไปในสิ่งที่ตัวเขาไม่ต้องการ อันนี้มันเป็นเรื่องของความรู้ ความสามารถ ความเหมาะสม ไปตามแนวทางของกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนี้ แล้ววันนี้คำถามที่ท่านว่าเกี่ยวกับเรื่องของ พนักงานสอบสวนบ้าง ลาออกบ้าง อะไรต่าง ๆ ผมมาดูตัวเลขในจำนวนตำแหน่งที่จะต้อง รับการบรรจุแต่งตั้งของตำรวจ จำนวนเต็มทั้งหมดนี้มันก็ควรจะมีถึง ๓๐๘,๐๐๐ คนเศษ แล้วข้าราชการตำรวจก็ถูกบรรจุแต่งตั้งไม่เต็มจำนวน มีแค่ ๒๑๓,๐๐๐ คนเศษเท่านั้นเอง แล้วในส่วนของพนักงานสอบสวนในขณะนี้มีบรรจุในตำแหน่ง ๑๒,๐๑๐ คน ทั้ง ๆ ที่อัตรา มีถึง ๑๘,๕๙๐ คน ในส่วนนี้คำตอบ ก.ตร. ก็พยายามเกลี่ย พยายามดำเนินการให้เป็นไปตาม งานที่ยังคั่งค้างอยู่

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ต้นฉบับ

สำหรับการโยกย้ายในพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ตที่เป็นประเด็นคำถาม แล้วก็ มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน ผมเข้าใจว่าผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาโดยตลอดนั้นอาจจะยังมีข้อมูล ไม่ครบถ้วนนะครับ ในกฎเกณฑ์ของการโยกย้ายแต่งตั้งนั้นก็จะดูถึงความรู้ ความสามารถ ความเหมาะสม ในทิศทาง แนวทางและการครองตำแหน่ง บุคคลที่ถูกกล่าวอ้างนั้น ขออนุญาตเอ่ยนามนะครับ ก็ไม่ได้เสียหายอะไร เป็นข้อเท็จจริงที่ควรจะรู้กันโดยทั่วไป พันตำรวจเอก ธเนศ สุขชัย เป็นผู้กำกับ ตม. จังหวัดภูเก็ต ในคำสั่งได้ถูกแต่งตั้งสับเปลี่ยน หมุนเวียนไปเป็นผู้กำกับ ตม. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่ง พันตำรวจเอก ธเนศ สุขชัย ก็ได้ลาออก และคนที่ได้รับการสับเปลี่ยนโยกย้ายมาแทน พันตำรวจเอก เกรียงไกร อาริยะยิ่ง ผู้กำกับ ตม. จังหวัดนครพนม ถ้าเรามาดูอาวุโสกันแล้ว คุณธเนศมีอาวุโส ๖ ปี แต่คุณเกรียงไกร อาริยะยิ่ง มีอาวุโส ๑๕ ปี และอีกท่านหนึ่งที่อาจจะถูกกล่าวขานถึงว่ามีเส้นสาย หรือไม่อย่างไร ที่พูดกันในสื่อ พันตำรวจเอก พัดธงทิว ดามาพงศ์ ผู้กำกับฝ่ายอำนวยการ สำนักงาน ตม. ได้รับการแต่งตั้งสับเปลี่ยนโยกย้ายเป็นผู้กำกับ ตม. ท่าอากาศยานภูเก็ต ก็ไม่ใช่ ตม. ของจังหวัดภูเก็ต คนละตำแหน่งกันนะครับ ที่มีการพูดคุยกัน แต่ว่าที่ผมนำมากล่าวอ้าง อาวุโสของคุณพัดธงทิว ดามาพงศ์ ยังมากกว่าอาวุโสใน ตม. ของธเนศ สุขชัย อีกนะครับ ซึ่งการสับเปลี่ยนโยกย้ายตรงนี้ถ้าจะดูถึงความอาวุโสและ อายุราชการในส่วนต่าง ๆ ตรงนี้ของคุณเกรียงไกรที่ย้ายมาแทนผู้กำกับ ตม. จังหวัดภูเก็ต มีถึง ๑๕ ปี ไม่เป็นที่น่าสงสัยหรือเป็นสิ่งที่น่าผิดปกติอะไรเลยนะครับ ความรู้ความสามารถ ซึ่งตรงนี้มันปรากฏชัด ผมเลยขออนุญาตนำเอาข้อมูลนี้มาชี้แจงให้สภาได้รับทราบ เพื่อความแคลงใจต่าง ๆ เหล่านั้นจะได้หมดไปกับประเด็นปัญหานี้ แต่สำหรับคำพูดของ ท่านนายกรัฐมนตรีที่คุณรังสิมันต์ โรม ให้ผมพูดโดยละเอียดตรงนั้น ผมก็เรียนยืนยันแล้วว่า ผมจะพูดในภาพรวม ส่วนรายละเอียดพี่น้องประชาชนได้รับฟังและพิจารณาตัดสินใจเอง ว่าอะไรเป็นอะไร ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ในส่วนของผู้ตอบใช้เวลาเกินแล้ว ๒.๔๐ นาทีนะครับ ทางท่านรังสิมันต์ ยังมีสิทธิอีก ๑ ครั้ง แต่ก็ขึ้นกับทางท่านรัฐมนตรีว่าจะตอบหรือไม่อย่างไร ขอเชิญ ท่านรังสิมันต์ใช้สิทธิในรอบที่ ๓ ครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ผม รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกลครับ ขอสไลด์ขึ้นหน่อยครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ในเรื่องของตำรวจที่ต้อง เข้าโรงพยาบาลครับ ท่านประธานครับ ผมไม่อยากจะใช้เวลามากนะครับ ผมขออนุญาต อ่านสักครู่นะครับ กลับไปเมื่อสักครู่ครับ สวัสดีครับ Admin อยากเล่าปัญหาที่โรงพัก ให้ฟังครับ วันนี้พนักงานสอบสวนจบใหม่ประสบอุบัติเหตุและประจวบเหมาะกับคำสั่ง แต่งตั้งโยกย้ายเพิ่งออก ทำให้ระดับไม่มีกำลังพลในโรงพัก ๑. รองผู้กำกับสอบสวน ที่จะต้องมาดำรงตำแหน่งก็ไม่อยากมาอยู่ จะทำเรื่องลาออก ๒. สารวัตรสอบสวนทำเรื่อง สลับตัวเพื่อจะกลับบ้านเกิดก็ไม่ได้กลับ จึงตัดสินใจลาออก ๓. รองสารวัตรอีกคนก็ขึ้น สารวัตรที่โรงพักอื่น ทำให้ตอนนี้โรงพักเหลือร้อยเวรคนเดียว เข้าเวรติดต่อกันมาแล้วตั้งแต่ วันที่ ๓ ธันวาคม จนถึงวันนี้ประสบอุบัติเหตุเข้ารักษาโรงพยาบาล ทำให้ที่โรงพักตอนนี้ ไม่มีร้อยเวรเข้าเวรเลยครับ อยากให้ผู้บังคับบัญชาส่งคนมาช่วยเข้าเวรที่โรงพักด้วยครับ ท่าไม้รวก เพชรบุรีคนบ้านเดียวกัน ท่านประธานครับ นี่คือสภาพที่เกิดขึ้นครับ ท่านอาจจะพูด อย่างไร้หัวใจว่าทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย แต่ข้อเท็จจริงมันมีคนลาออกครับ มันมีคน ที่รู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม แล้วไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ที่นี่ครับ มันเกิดขึ้นอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะในตำแหน่งพนักงานสอบสวนครับ ประเด็นของการแต่งตั้งโยกย้ายมันอาจจะ ไม่ได้แย่ขนาดนี้ครับ ความเชื่อถือศรัทธาเรื่องการอุปถัมภ์และการใช้ตั๋วมันจะไม่ได้แย่ขนาดนี้ ถ้าท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งสังคมพึงเชื่อมั่นว่าคำพูดของท่านเป็นคำพูดที่น่าเชื่อถือ แล้วท่าน พูดได้อย่างชัดเจนว่ามันมีเรื่องตั๋ว มันมีการฝากกันนี้ วันนี้ความเชื่อมั่นเรื่องตำรวจมันไม่มีครับ ตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวนหลายคนเขาก็ไม่อยากมาครับ งานมันเยอะ งานมันหนัก แล้วท่านรัฐมนตรีรู้ไหมครับ วันนี้ถ้าเกิดท่านไปแจ้งความโรงพัก ถ้าท่านไม่ใช่รัฐมนตรี สมศักดิ์ เทพสุทิน แต่เป็นคนธรรมดาถ้าท่านไปแจ้งความหลายกรณีตำรวจไม่รับแจ้งความ เพราะกำลังไม่เพียงพอ เขาต้องทำสมุดรับบันทึกประจำวันอีกเล่มหนึ่งเป็นสมุดหลอก ๆ แล้วลงเอาไว้เพื่อให้ประชาชนไม่มีคำถาม แต่มันไม่มีการออกเลขคดี ท่านทราบไหม ว่าวันนี้ปัญหาของตำรวจมันพังไปหมดแล้วครับ ผมจึงอยากให้ท่านมารับฟัง จริง ๆ ต้องเป็น ท่านนายกรัฐมนตรี แล้วถามเลยท่านจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร แล้วอันที่ ๒ ขอถามย้ำ นิดเดียวกับท่านรัฐมนตรีสมศักดิ์ ตอบว่าใช่ ไม่ใช่ ก็ได้ครับ ท่านไม่ได้รับการ Brief ว่า ประโยคที่ท่านนายกรัฐมนตรีพูดแบบนั้นมีความหมายว่าอย่างไร ใช่หรือไม่ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านรัฐมนตรีใช้สิทธินะครับ แต่ขอสั้น ๆ นะครับ เวลาเกินแล้วครับ

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ต้นฉบับ

ขอบคุณครับท่านประธาน ท่านรังสิมันต์ โรม ก็คาดคั้นให้ผมตอบว่าไม่ได้รับการ Brief ใช่หรือไม่ ผมกราบเรียนว่า ท่านนายกรัฐมนตรีขึ้นเครื่องไปกะทันหันที่ผมได้รับมอบหมาย ซึ่งจริง ๆ วันนี้ผม ลาสภาผู้แทนราษฎรไม่ต้องมาประชุมด้วยนะครับ แต่ว่าเป็นเรื่องที่คุณรังสิมันต์ โรม เป็นคน ซักถามก็เป็นการให้เกียรติ ผมก็ลุกจากที่นอนแล้วก็มา เพราะไม่ค่อยสบายเท่าไร แต่ว่า เป็นเรื่องที่เป็นการให้เกียรติกัน และจริง ๆ แล้วท่านนายกรัฐมนตรีก็ตั้งใจในการทำงาน อย่างเต็มที่ แต่ในเรื่องเหล่านี้ก็คงคิดว่ามันสมควรกับคำถาม คำตอบ และเวลาทั้งหมดที่เรา ได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ ๒๑ เดือนที่แล้วนะครับ และพี่น้องประชาชนก็ลงความเห็นแล้ว แล้วในเรื่องขององค์กรตรวจสอบต่าง ๆ เขาก็ได้มีการร้องเรียนไปถึงขั้นตอนของ ป.ป.ช. หรืออะไรต่าง ๆ เหล่านั้น เรื่องทั้งหลายนี้มันจบไปที่ตรงนั้น ผลการพิจารณาจะออกมา เป็นอย่างไรมันก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง แต่เราก็คิดว่ามันสมควรแก่เหตุที่เราควรจะเพียงพอตรงนี้ ได้แล้ว ขอขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ก็เป็นอันสิ้นสุดกระทู้ถามสดที่ ๑.๑.๓ นะครับ ขอบคุณท่านรัฐมนตรีนะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปเป็น

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑.๒ กระทู้ถามทั่วไป

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑.๒.๑ กระทู้ถามที่ ๐๗๐ เรื่อง การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินของ กระทรวงมหาดไทยที่รัฐมนตรีประกาศล่าสุด (นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ เป็นผู้ตั้ง กระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือแจ้งมา กระทู้ถามเรื่องนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้ท่านรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านรัฐมนตรีชาดา ไทยเศรษฐ์ เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน นะครับ ขอเชิญ คุณประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ถามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันพรรคก้าวไกล สัดส่วนภาคใต้ภูมิลำเนาจังหวัดกระบี่ ขอถามกระทู้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ขอขอบคุณวันนี้ที่ท่านรัฐมนตรี ช่วยว่าการมาตอบแทน คือท่านชาดา ไทยเศรษฐ์ เรื่องของการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ของกระทรวงมหาดไทยที่ได้มีการประกาศออกมาล่าสุดนะครับ ซึ่งไม่ได้ครอบคลุม ทั้งประเทศไทย มียกเว้น ๙ จังหวัด ซึ่งการออกประกาศนี้ครอบคลุมถึงพื้นที่จังหวัดกระบี่ ภูมิลำเนาของผมอยู่ด้วย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาโครงการนี้เป็นช่องว่างให้เจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์อำนวยการเดินสำรวจออกแบบหรือสาขากรมที่ดินนะครับ ปรากฏว่า ช่องว่างนี้มีการเรียกรับผลประโยชน์จากภาคเอกชนที่มาวิ่งเต้นที่จะให้ออกโฉนดก่อน ประชาชนทั่วไป แล้วก็เกิดการออกโฉนดโดยมิชอบที่เกาะนุ้ยนอก อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ซึ่งผมเอามาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่แล้วมาแล้ว ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งปรากฏเป็นข่าวร้องเรียน อธิบดีก็มีการทบทวนให้เพิกถอนโฉนดที่ดินบนเกาะนุ้ยนอก ออกไปแล้ว ผมจึงขอถามท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนะครับว่า ข้อผิดพลาด จากการออกโฉนดที่ผ่านมา ท่านมีการออกนโยบายกำชับหน่วยปฏิบัติงาน เช่น กรมที่ดิน ในสังกัดของท่านและกรมการปกครอง ซึ่งการออกโฉนดโดยการเดินสำรวจจะต้องอาศัย ความร่วมมือของ ๒ หน่วยงานนี้แน่นอนครับ นายอำเภอต้องเซ็น ผู้ใหญ่บ้านต้องเซ็นด้วย แล้วที่ผ่านมาข้อมูลที่ผมเอามาอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐบาลชุดที่ผ่านมานี้ ชัดเจนว่าพื้นที่ สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นที่เกาะนุ้ยนอกที่ผมพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นที่ชายหาดที่จังหวัดพังงา ที่หาดท้ายเหมือง ก็มีกลุ่มนายทุนไปได้ประโยชน์จากที่ดินสาธารณะแท้ ๆ แต่เจ้าหน้าที่ ก็ไปออกโฉนดให้ ท่านจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง ท่านต้องบอกรายละเอียด ผมมานะครับ ซึ่งที่ดินที่ผมกล่าวถึงนี้เวลาท่านออกโครงการแบบนี้ แหล่งท่องเที่ยวจะเป็น จุดเป้าหมายของกลุ่มทุนเลยครับท่านประธาน แหล่งท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นเกาะพีพี มีความลาดชันเกิน ๓๕ เปอร์เซ็นต์ ที่เกาะลันตาน้อย เกาะลันตาใหญ่ แม้กระทั่ง ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี หรือแม้กระทั่งชายหาดคลองสน ใกล้อุทยานแห่งชาติ หาดคลองม่วง แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ครับ จะเป็นที่หมายตา หรือแม้กระทั่งที่น้ำพุร้อนเค็มที่อำเภอคลองท่อม ที่ป่าชายเลนยังมีการออกโฉนดโดยมิชอบ เลยครับ เป็นที่หมายตาของกลุ่มทุนและคนเห็นแก่ตัวร่วมมือกับข้าราชการที่ผมกล่าวถึง ทั้ง ๒ กรม แล้วผมก็ต้องถามท่านรัฐมนตรีว่าท่านจะมีรายละเอียดหรือไม่อย่างไรครับ ในคำถามครั้งที่ ๑ ซึ่งผมมีหลายคำถามนะครับ คำถามครั้งที่ ๑ นี้หมายรวมถึงว่าทำไมท่าน ถึงยกเว้นโครงการเดินสำรวจ ๙ จังหวัด ซึ่งมีหลายจังหวัดที่พี่น้องประชาชน สอบถามมา ไม่ว่าจะเป็นสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ภูเก็ต หนองบัวลำภู แม่ฮ่องสอน ซึ่งในประกาศกรมที่ดินไม่มีเหตุผลชัดเจนนะครับ ผมคิดว่าท่านรัฐมนตรีซึ่งมาเป็นรัฐมนตรี ที่ดูแลกรมที่ดิน ผมเข้าใจว่าท่านจะมีความรู้ความสามารถที่ดีกว่าอดีตรัฐมนตรีที่ผ่านมา แน่นอนนะครับ แล้วผมมีข้อสังเกตว่าประกาศที่ออกมา โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ปรากฏว่าสงขลานี้เน้นหลายอำเภอเลยครับ อำเภอจะนะอย่างนี้ อำเภอเทพาอย่างนี้ อำเภอนาทวีอย่างนี้ อำเภอสะบ้าย้อยอย่างนี้ มันคุ้น ๆ ครับท่านประธาน คุ้น ๆ กับข้อมูลที่ไปเอื้อประโยชน์กับกลุ่มทุน หรือกลุ่มนายหน้าบางคนหรือเปล่า เพราะฉะนั้น อยากถามท่านรัฐมนตรีในครั้งที่ ๑ หลาย ๆ คำถามนะครับ ถ้าท่านจดประเด็นทัน หรือว่า ทีมงานท่านจดประเด็นทัน ช่วยตอบให้ครบทุกประเด็นด้วยครับ เพราะว่าโครงการนี้ เคยสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติแน่นอนครับ เพราะว่าไปออกโฉนดในที่ดิน สาธารณะ คำถามครั้งที่ ๑ ครับท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ กระทู้ถามทั่วไปนี้ผู้ถามมีสิทธิถามได้ ๓ ครั้ง รวมเวลาไม่เกิน ๑๕ นาที และท่านรัฐมนตรี จะต้องตอบในเวลา ๑๕ นาที เช่นเดียวกันครับ ต่อไปขอเชิญท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทยตอบครับ

นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ

เรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม ชาดา ไทยเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี มาตอบกระทู้ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มาตอบกระทู้ในวันนี้ ของท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล แบบบัญชีรายชื่อ จากท่านถาม บอกให้ผมตอบละเอียดนะครับ ผมก็คงจะละเอียดได้ไม่มาก จากเวลา จากสิ่งที่ท่านถามเรื่องของข้อผิดพลาดในการออกโฉนด กรมที่ดินได้มีมาตรการป้องกัน การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีหนังสือกรมที่ดิน ด่วนที่สุด ที่ มท. แล้วก็ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม กำหนดนโยบายในการปฏิบัติงานตามโครงการเดินสำรวจ ออกโฉนดที่ดินสรุปดังนี้นะครับ

นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ

๑. ให้ทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน เฉพาะพื้นที่ที่มีการระวางแผนที่ ที่ใช้ในราชการแล้วเท่านั้น

นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ

๒. ห้ามมิให้เดินสำรวจในบริเวณพื้นที่เกาะ ที่ภูเขา ปริมณฑลรอบภูเขา หรือเขา ๔๐ เมตร พื้นที่ที่มีความลาดชันเกิน ๓๕ เปอร์เซ็นต์โดยเด็ดขาด คำขอ ส.ค. ๑ ที่ยื่นออกโฉนดที่ดินตามรายการ ตามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่ให้ไว้ภายใน วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ห้ามมิให้นำมาทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ตามมาตรา ๕๘ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แล้วข้อ ๔ ในการเดินสำรวจเมื่อได้ทำการรังวัดได้รูปแปลงที่ดินแล้ว ให้ศูนย์อำนวยการเดินสำรวจและจังหวัดที่ดำเนินการสำรวจส่งข้อมูลรูปแปลงที่ดิน เดินสำรวจพื้นที่ตามแผนงานในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ให้กรมที่ดินตรวจสอบด้วย นะครับ แล้วต่อมาก็ให้ดำเนินการที่ดินที่ดำเนินไปด้วยความรอบคอบและให้การปฏิบัติงาน เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยกรมที่ดินได้มีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ ๙ พฤษภาคม กำหนดมาตรการในการปฏิบัติ ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน กำชับให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ผมไม่ได้บอกเลขหนังสือ กลัวจะเสียเวลาท่านนะครับ นี่ก็คือสิ่งที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้ทำโดยกรมที่ดิน เรียนว่า ปัญหานี้ของเกาะนุ้ยนอกเป็นการกระทำที่เอา ส.ค. อีกที่หนึ่งมาออกอีกที่หนึ่ง ตามที่ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านประเสริฐพงษ์ได้พูดถึงนะครับ แล้วเราก็ได้มีการ ดำเนินการถอนโฉนดฉบับนั้นแล้ว ก็เรียนให้ท่านทราบครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอเชิญ คุณประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ถามครั้งที่ ๒ ครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สมาชิกผู้แทนราษฎร ขออนุญาตสอบถามครั้งที่ ๒ นะครับว่าสิ่งที่กรมที่ดินได้มีการยกเลิกโฉนดของเกาะนุ้ยนอกก็จริง แต่ว่ายังไม่เห็นข่าวคราว ของกระทรวงมหาดไทยในการดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงกับข้าราชการชั่ว ๆ ข้าราชการ เลว ๆ ในกรมที่ดินร่วมกับข้าราชการกรมการปกครอง ที่ร่วมไม้ร่วมมือในการเซ็นเอกสาร ซึ่งไม่เฉพาะที่ดินที่ผมพูดถึงพื้นที่เกาะเท่านั้นนะครับ ยังมีความล้มเหลวที่เกิดขึ้นที่ผมกล่าวถึง ก็คือที่ดินที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามชายหาด ซึ่งผมอยากให้ท่านรัฐมนตรีได้โปรดไปพื้นที่ ไปกำชับ แล้วก็ถ้าเป็นไปได้ท่านจะต้องเดินหน้าเรื่องแบบนี้ เพื่อสะสางปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งมันหมักหมมมานานครับท่านรัฐมนตรี ศูนย์เดินสำรวจ

นายสนอง เทพอักษรณรงค์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม สนอง เทพอักษรณรงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย ผมอยากให้ท่านประธานได้กำชับผู้ที่ตั้งกระทู้สอบถามในขณะนี้ ได้ใช้วาจาให้สุภาพ อย่างน้อยก็ให้เกียรติกับสถานที่ คำว่า ข้าราชการชั่ว ๆ อะไรต่อมิอะไร ผมว่าเป็นเรื่องที่ ไม่ควรจะเข้ามากล่าวในสภา เพราะข้าราชการเขาก็ไม่มีสิทธิมาตอบโต้อะไร ในสภาแห่งนี้ น่าจะใช้คำพูดที่เหมาะสมมากกว่านี้ ในฐานะที่เราเป็นตัวแทนของประชาชน ฝากท่านประธาน ได้ตักเตือนด้วยครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ก็ขอให้ระมัดระวังหน่อยนะครับ การใช้คำพูดครับคุณประเสริฐพงษ์ เชิญครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ เรื่องแบบนี้เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง แล้วผมก็ไม่ได้ระบุชื่อใครนะครับ ไม่ต้องร้อนตัวครับ ท่านประธานครับ ผมต้องการคำตอบว่าท่านรัฐมนตรีจะได้กำชับในครั้งที่ ๒ ในคำถาม ของผม ซึ่งมีหลายคำถามว่าท่านจะดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการที่เกิดขึ้นอย่างไร แล้วท่านจะมีนโยบายผ่านไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งประเทศที่มาจากการแต่งตั้งหรือไม่ ว่าทุกจังหวัดจะต้องชูนโยบาย ว่าการบุกรุกที่ดินสาธารณะของผู้กระทำผิดทางกฎหมายนี้ เป็นนโยบายสำคัญของแต่ละจังหวัด ท่านสามารถให้นโยบายกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจาก การแต่งตั้งได้หรือไม่ เพราะประเด็นที่เกิดขึ้นที่ผมประสบมาตลอดชีวิต กรมที่ดินมี ส.ค. ๑ บิน ไปที่เกาะปอดะ จังหวัดกระบี่ บ้านผมซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว กรมที่ดินออก ส.ค. ๑ บิน และท่านมาบอกตอบคำถามผมเมื่อสักครู่ ผมก็ดีใจครับท่านรัฐมนตรี ท่านประธานครับ ว่าท่านออกหนังสือ ว่าท่านห้ามเรื่อง ส.ค. ๑ บิน โน่นนี่นั่น แต่เหมือนกับว่าที่ผ่านมา เราละเลยตรงนี้ใช่หรือเปล่า วันนี้ผมดีใจครับที่ท่านรัฐมนตรีชาดามายืนยัน แล้วท่านจะลง ในรายละเอียด ลงลึกกำชับถึงข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่ผ่านมา ผมก็อยากให้ท่านช่วยตอบคำถาม ครั้งที่ ๒ ของผมด้วยนะครับ ว่าท่านจะดำเนินงานทางวินัยกับกลุ่มข้าราชการที่กระทำผิด อย่างไร จะให้ออกจากราชการ จะให้งดบำเหน็จ บำนาญไหม จะดำเนินคดีอาญาหรือไม่ แล้วนโยบายที่จะมอบให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดิน รวมทั้งคำถามช่วงแรกที่ท่านยังไม่ตอบเหตุผล ว่าทำไมโครงการเดินสำรวจใน ๙ จังหวัด ถึงมีข้อยกเว้นครับท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอเชิญ ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยครับ

นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ

ขอบคุณ ท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ นะครับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในกรณี ของความผิดพลาดจากการออกโฉนดที่ดิน ที่เกาะลันตาใหญ่ แล้วก็อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ บนเกาะนุ้ยนอกนะครับ ทางกรมที่ดินได้มีการดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินแล้ว และดำเนินการทางวินัยกับ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการออกโฉนดที่ดินบนเกาะนุ้ยนอกนี้ โดยกรมที่ดินได้มีคำสั่ง ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงโทษไล่ออกจากราชการ เจ้าหน้าที่จำนวนทั้งหมด ๔ ราย ได้ลงโทษไปแล้ว แล้วในกรณีเช่นนี้ผมเรียนท่านนะครับ แล้วก็ขอบคุณที่ให้ ความมั่นใจต่อตัวกระผม เรียนว่าผมเข้ามารับผิดชอบกรมที่ดินโดยตรง ท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยได้มอบงานให้ผมมาดูแลกรมที่ดิน ก็เรียนว่าปัญหาของกรมที่ดิน มีมากมาย มีเยอะจริง ๆ นะครับ ปัญหาที่ยังรังวัดไม่ได้ และเจ้าหน้าที่รังวัดไม่พอ และปัญหา เรื่องออกโฉนดซ้ำซ้อนเรียนว่าผมก็กำลังสะสางอยู่ และเรียนด้วยความเคารพว่าเรา ไม่เอาไว้แน่ข้าราชการที่ทำลักษณะนี้ กลั่นแกล้งชาวบ้านแล้วก็มีปัญหาเรื่องการออกโฉนด ที่ไม่ถูกต้อง เราดำเนินการอย่างเฉียบขาดแน่นอนครับท่าน ไม่ต้องห่วงครับ มาในยุคนี้ เราไม่ยอมปล่อยให้คนที่มีปัญหา แล้วก็ทำผิดกฎหมาย แล้วก็สร้างความเสียหายให้กับ ประเทศชาติแล้วนั่งสบายอยู่ เราคงไม่ยอมแน่นะครับ ในนามของท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยเอง ท่านก็กำชับมาชัดเจนว่าต้องมีคนที่รับผิดชอบ อันนี้เรียนด้วย ความเคารพและมั่นใจได้นะครับ แต่ในกรณีที่ท่านถามเมื่อสักครู่ว่ากรณียกเว้น ๙ จังหวัด มันก็เป็นปัญหาทางเทคนิคนะครับ เดี๋ยวจะไปตอบท่านส่วนตัวนะครับว่าจะต้องทำอย่างไร เหตุผลเพราะอะไร เรียนด้วยความเคารพจริง ๆ นะครับ แต่ก็ต้องขอบคุณที่ให้ความมั่นใจ ในการทำงานของผม กราบขอบพระคุณมากครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณประเสริฐพงษ์ ครั้งที่ ๓ นะครับ ท่านยังมีเวลาโดยประมาณอีก ๗.๔๕ นาที

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ของผมประหยัดเวลาครับ ท่านประธาน ประหยัดเวลาไปให้สภาเราครับ เรื่องการให้นโยบายผ่านไปยังผู้ว่าราชการ จังหวัดนะครับ ท่านช่วยตอบผมด้วยว่าชูเป็นนโยบายที่กระทรวงมหาดไทยมอบให้กับ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอได้ไหม ให้ดูแลพื้นที่สาธารณะของพี่น้องประชาชน แล้วก็ อีกคำถามหนึ่งเรื่องของการออกโฉนดในเขตพื้นที่คาบเกี่ยวให้กับนายทุน คือมันมีระบบ อุปถัมภ์ที่พื้นที่บางพื้นที่อยู่ในเขตป่าหรือว่าถูกกันออกแล้ว เช่น ที่จังหวัดกระบี่บ้านผมครับ พี่น้องตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่เขาก็ถามว่าทำไมที่ดินชาวบ้านไปขอออกโฉนดไม่ได้ แต่ที่ดินกลุ่มทุนไปออกโฉนดเป็นสนามกอล์ฟได้ เรื่องนี้ก็เป็นที่โด่งดังแล้วก็กล่าวขานกัน ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ก็ขออนุญาตสอบถามประเด็นเล็ก ๆ แล้วก็เรื่องนโยบายที่ท่าน พอจะตอบได้ แล้วผมก็ยังยืนยันว่าผมเชื่อมั่นในความกล้าหาญของรัฐมนตรีชาดา เพราะท่าน ก็มี Slogan ของท่าน ที่หลาย ๆ คนก็บอกว่าท่านมี Slogan ว่ามีอะไรบอกผม วันนี้ผม มาบอกท่าน แล้วก็ขอบคุณที่ท่านบอกว่าเดี๋ยวหลังไมค์หรือว่าหลังจากกระทู้ในระบบ แล้วก็ จะมีโอกาสได้พูดคุย ได้เจอท่านรัฐมนตรีเป็นการส่วนตัว เพื่อผมจะได้มอบข้อมูลเชิงลึกอะไร ให้ท่านอีกครั้งหนึ่ง ก็ต้องขอบพระคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอบคุณ คุณประเสริฐพงษ์ครับ เชิญท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการครับ

นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้นฉบับ

อันนี้ เป็นนโยบายซึ่งได้มอบไปแล้วนะครับ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้บอกไปแล้ว ว่าเรื่องที่สาธารณะทุกจังหวัดจะไม่มีการแบบว่าปล่อยวาง แล้วก็ให้มีการออกโฉนดทับซ้อน อันนี้เป็นเรื่องที่ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สั่งการกับผมโดยตรงเลยว่า ถ้าเจอ ตรงไหนต้องฟันเลย แล้วท่านได้สั่งการในการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดไปแล้วนะครับ ว่านโยบายเรื่องนี้ เรื่องที่สาธารณะนี้ใครที่จะมารุกพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ป่า ในยุคนี้ เราไม่ยอมแน่นอนนะครับ ส่วนเรื่องที่ออกโฉนดผมก็เพิ่งทราบ แล้วผมจะไปตรวจสอบดูว่า เหตุผลเป็นอย่างไร ขอเรียนว่าเดี๋ยวจะมาตอบท่านอีกทีนะครับ เรียนด้วยความเคารพครับ ผมมาทำงาน ๙๐ กว่าวัน คณะรัฐบาลชุดนี้เข้ามา ๙๐ กว่าวัน แล้วก็มารับผิดชอบเรื่องกรมที่ดิน ปัญหามันเยอะมากครับ เราต้องยอมรับความจริงปัญหามันเยอะมาก การไปถอดโฉนดเขา ออกเอกสารให้เขาแล้ว แล้วก็ไปถอนเอกสารเขาฟ้องรัฐอยู่ตอนนี้กรมที่ดินต้องจ่าย ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาทนะครับ แล้วยังไม่รวมสิ่งปลูกสร้างอีก ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ปัญหา มันหมักหมมมาพอสมควรนะครับ เราก็พยายามที่จะทำงาน ผมก็ไม่อยากเป็นพระเอกหรอกครับ แต่อยากเป็นบันไดขั้นที่ ๑ เรียกว่าให้คนหลังเข้ามาแล้วเดินต่อขั้นที่ ๒ ได้ แต่ไม่ใช่ปล่อยมาอย่างนี้ตลอดระยะเวลา ยาวนาน บางเรื่องนานหลายปีแล้ว ในยุคนี้เราก็จะทำให้ แก้ไขปัญหาทุกอย่างนี้ให้เสร็จสิ้น ให้ได้ด้วยเวลาที่มีอันจำกัดของสภา ของการเมือง ก็ขอบคุณมากนะครับ ขอบคุณ ท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ผมขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เป็นอันว่าจบ กระทู้ถามทั่วไปกระทู้แรกครับ ขอบคุณท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย คุณชาดา ไทยเศรษฐ์ แล้วก็คุณประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ นะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑.๒.๒ กระทู้ถามที่ ๐๗๒ เรื่อง การจัดการปัญหาเกิดขึ้นในวันสงกรานต์ พระประแดง (นายวีรภัทร คันธะ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม นายกรัฐมนตรี

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ด้วยสำนักนายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่ากระทู้ถามนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านอนุทินเป็นผู้ตอบคำถาม และท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย คุณทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นผู้ตอบกระทู้ถามครับ แต่เนื่องจากวันนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย คุณทรงศักดิ์ ทองศรี ติดภารกิจเป็นประธานในการลงนามบันทึกความตกลงร่วมมือโครงการ ศึกษาอบรม แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและนวัตกรรม ระหว่างการประปานครหลวงกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งได้นัดหมายล่วงหน้าไว้แล้ว จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้นี้ ออกไปเป็นวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๗ ตามข้อบังคับข้อ ๑๕๑ เรียนมาเพื่อทราบนะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑.๒.๓ กระทู้ถามที่ ๐๗๓ เรื่อง มาตรการช่วยเหลือทางเกษตรกร ในฤดูเก็บเกี่ยวปี ๒๕๖๖ (นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม นายกรัฐมนตรี

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

แต่ในเรื่องกระทู้ถามนี้ นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ ได้มีหนังสือขอแจ้ง ความประสงค์ว่าขอถอนกระทู้ถามออกจากระเบียบวาระตามข้อบังคับข้อ ๑๕๓ ซึ่งเป็นสิทธิ ของผู้ที่ตั้งกระทู้ถามว่าจะถอนกระทู้ถามของตัวเองเมื่อใดก็ได้ ก็เป็นอันว่ากระทู้ถามนี้ถือว่า ได้ถอนออกไปจากระเบียบวาระแล้วนะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ก่อนที่จะพิจารณาเรื่องระเบียบวาระที่ค้างการพิจารณาและระเบียบวาระ อื่น ๆ นั้น ผมจะขอหารือจากที่ประชุมว่า เนื่องจากมีระเบียบวาระเรื่องขอปรึกษาขออนุญาต ขยายเวลาของคณะกรรมาธิการ ซึ่งไม่ได้บรรจุอยู่ในระเบียบวาระ แต่นำขึ้นมาพิจารณาก่อน คิดว่าคงไม่ได้ใช้เวลาของท่านมากนัก ถ้าไม่มีผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่น ผมขอดำเนินการ เพื่อขยายเวลานี้ก่อน เดี๋ยวจะเกินเวลานะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เรื่องแรกที่ขยายเวลาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนิญโญ ขอขยายเวลาการพิจารณา เรื่องดังกล่าวต่อไปอีก ๑๒๐ วัน ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป โดยประธาน ได้แจ้งว่ามีประเด็นที่ต้องศึกษาที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกันหลายภาคส่วนพิจารณาไม่ทัน ตามกำหนดเวลาเดิม ขอขยายเวลาอีก ๑๒๐ วัน เพื่อประโยชน์ของการพิจารณา คณะกรรมาธิการจะเห็นเป็นอย่างไรครับ แต่ในส่วนของประธานเห็นว่าน่าจะขออนุญาต ไปได้นะครับ เพื่อการทำงานของคณะกรรมาธิการ มีสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ถ้าไม่เห็น เป็นอย่างอื่น ถือว่าที่ประชุมนี้อนุญาตให้ขยายเวลาของคณะกรรมาธิการการศึกษาเรื่องนี้ ออกไป ๑๒๐ วันนะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑.๓ กระทู้ถามแยกเฉพาะ ได้ดำเนินการถามและตอบที่ห้องกระทู้ถาม แยกเฉพาะที่ชั้น ๑ แล้ว

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ตั้งแต่หน้า ๙๗-๑๔๐

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอดำเนินการนะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓ กระทู้ถามแยกเฉพาะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เราทำไปพร้อม ๆ กับกระทู้ถามในห้องใหญ่นะครับ ก่อนดำเนินการ ถามและตอบ กระทู้ถามแยกเฉพาะ ผมขอชี้แจงในที่ประชุมให้ทราบนะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑. การถามตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะแต่ละกระทู้ ให้ถามและตอบได้ เรื่องละไม่เกิน ๒ ครั้ง และต้องถามและตอบให้แล้วเสร็จภายใน ๒๐ นาที ตามข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๑๗๒ และข้อ ๑๗๓ ประกอบข้อ ๑๖๗

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๒. กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ได้มีการอนุญาตให้ประชาชนได้เข้าร่วมรับฟัง ขอความร่วมมือจากผู้ที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามระเบียบที่ประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ว่าด้วยการอนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔ และข้อ ๕ กำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องรักษามารยาท พฤติกรรมให้เหมาะสม อยู่ในความสงบ ห้ามแสดงกิริยาเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือกล่าววาจาส่งเสียงใด ๆ หรือการกระทำใด ๆ อันเป็นการรบกวนขัดขวางการประชุม และห้ามใช้เครื่องมือ วัสดุ หรืออุปกรณ์สื่อสารใด ๆ เพื่อบันทึกภาพ บันทึกเสียง หรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการถ่ายทอดการประชุมสู่บุคคลภายนอก โดยหากมีการฝ่าฝืนจะให้ออกจากห้องประชุม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ชี้แจงให้ทราบนะครับ กระทู้ถามแยกเฉพาะวันนี้นะครับ เพื่อประโยชน์ในการ ถามตอบกระทู้ถามของผู้ตั้งกระทู้ถาม และขอท่านรัฐมนตรีขอสลับการถามดังนี้นะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๑ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๒๗ เรื่อง สร้างสะพานเชื่อมเกาะจาก ตำบลคลองประสงค์มายังเขตพื้นที่อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ (นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๒ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๒๘ เรื่อง ขอให้มีการแก้ไขระบบนิเวศ บริเวณแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช (นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๓ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๒๙ เรื่อง ความคืบหน้าการดำเนินการ ก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก–สระบุรี (นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๔ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๓๐ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการลดลง ของพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่องในคุ้งบางกะเจ้า (นายวีรภัทร คันธะ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๕ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๓๑ เรื่องความคืบหน้าของโครงการ การสร้างท่าอากาศยาน “สารสินธุ์” (นายพลากร พิมพะนิตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๖ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๓๒ เรื่อง ปัญหาที่ดินทำกินของประชาชน ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี (นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ก็เรียงลำดับตามนี้นะครับ ไม่มีท่านใดขัดข้องนะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๒ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๒๘ เรื่อง ขอให้มีการแก้ไข ระบบนิเวศบริเวณแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช (นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท่านได้ให้เกียรติมาตอบ คำถามด้วยตนเองนะครับ ทั้งนี้ผมขออนุญาตให้ประชาชนผู้มีส่วนร่วมเข้าร่วมรับฟัง การตอบกระทู้นะครับ ๑. นางสาวณจกร อินทพงศ์ มีไหมครับ ๒. นางสาวมณฑกานต์ ขำตรี เชิญท่านประเสริฐพงษ์ครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม สส. ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันพรรคก้าวไกล ภูมิลำเนาจังหวัดกระบี่ เป็น สส. บัญชีรายชื่อ สัดส่วนภาคใต้ วันนี้มาตั้งกระทู้ถาม ถาม ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านธรรมนัส ซึ่งดีใจมากครับที่ท่านให้เกียรติมาตอบกระทู้ของผมนะครับ ซึ่งเรื่องก็คือขอให้ ดำเนินการแก้ไขระบบนิเวศบริเวณแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการตั้งกระทู้ ของผมก็ต้องมีสาเหตุครับว่าข้อเท็จจริงของอ่าวปากพนัง นครศรีธรรมราชมีระบบนิเวศ ที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายหลังโครงการพัฒนาของรัฐ โดยเฉพาะเป็นโครงการเรียกว่า เป็นประตูระบายน้ำ ๓ แห่ง ๓ จุดนะครับ ทำให้ระบบนิเวศก็คือระบบน้ำทะเลกับน้ำจืด นิ่งแล้วก็ไม่มีการไหลเวียนไปตามกลไกตามธรรมชาติ ก็เกิดทำให้ความสมบูรณ์ของท้องทะเล และความอุดมสมบูรณ์ของน้ำกร่อย น้ำจืดกลายเป็นน้ำเสีย แล้วปากแม่น้ำก็มีเรือขนาดใหญ่ เดิมเข้าออกได้ก็เป็นความตื้นเขินที่เขาออกไม่ได้ แล้วก็ปัจจุบันก็มีพวกวัชพืช ไม่ว่าจะเป็น ผักตบชวา แล้วก็บริเวณพื้นที่ที่อยู่ที่มีเขื่อนกั้น หรือว่าที่บริเวณปากแม่น้ำ ประเด็นก็คือว่า ระบบนิเวศเคยอุดมสมบูรณ์ แล้วก็พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงภัยพิบัติด้วยนะครับ ท่านประธานครับ แล้วรัฐเองขาดการบริหารแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ความสำคัญ อยู่ตรงนี้ แล้วก็พื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ครอบคลุม ๗ ตำบล เลยมีประเพณี แข่งเรือ มีป่าชายเลนนะครับ แล้วน้ำเสียเมื่อสะสมกันมานานกว่า ๒๐ ปี ราชการเองเราก็ได้ แค่ติดตามคุณภาพน้ำ แล้วก็บอกว่าค่า BOD ต่ำ แล้วก็น้ำเสีย แต่ขาดกระบวนการที่จะ How to แก้ไขครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นการไหลเวียนของน้ำจืดและน้ำทะเลมันก็เกิดตะกอนดิน ทำให้น้ำนิ่ง ขาดสมดุลตามธรรมชาติ ขาดการระบายน้ำจืด น้ำทะเล แล้วก็ขยะมูลฝอย ที่ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง ทิ้งทะเล ก็ไร้มาตรการทางออกนะครับ พี่น้องประชาชนก็ร้องเรียน ผ่านผมมา ผ่านอดีตผู้แทน ท่าน สส. สมชาย ฝั่งชลจิตร มาว่าประชาชนก็อยากให้ดูตัวอย่าง ของต่างประเทศเป็นหลักครับ ว่าทั่วโลกเวลาสร้างเขื่อนหรือว่าสร้างประตูระบายน้ำ และมันเกิดปัญหาระบบนิเวศ เขาทุบทิ้งครับท่านประธานครับ ทุบประตูระบายน้ำทิ้ง ก็มีข้อเสนอว่าประตูระบายน้ำที่ปากพนัง ที่หัวไทร ที่ปากแตระ น่าจะได้มีการทบทวน และที่สำคัญนะครับ ที่พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นพื้นที่ที่รองรับน้ำเสียจากเขตเมือง นครศรีธรรมราช แล้วก็เป็นอู่ข้าวอู่น้ำจริง ๆ มีชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเกาะไชย บ้านท้องโกงกาง บ้านโก้งโค้ง แล้วก็เรื่องประตูระบายน้ำจึงเป็นเรื่องที่จะต้องมีการทบทวนแก้ไขนะครับ ก็อยากจะถามท่านรัฐมนตรี คือการถามผมถาม ๒ ครั้ง แต่ว่าครั้งหนึ่งมีหลายคำถาม ถามแต่ละครั้งผมมีหลายคำถาม ก็อยากให้ท่านรัฐมนตรีช่วยตอบคำถามด้วยว่า ท่านจะมีแผนแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในการจัดการระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็น จัดการเรื่องประตูระบายน้ำ การจัดการเรื่องผักตบชวา แล้วก็การไหลเวียนของน้ำในเบื้องต้น ได้อย่างไรนะครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ส่วนคำถามถัดมา ก็คือในอดีตปรากฏว่ากรมชลประทานที่อยู่ในความดูแล ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ถูกร้องเรียนว่ามีแรงงานผีนะครับ ซึ่งในปี ๒๕๖๑ ทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินก็เข้าไปตรวจ แล้วก็มีรายงานข่าวผ่านทางหน้าสื่อไทยพีบีเอส ด้วยนะครับ ขอภาพให้เห็นด้วยนะครับว่ามี ต้องขอขอบคุณสื่อ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เพราะฉะนั้นพื้นที่ตรงนั้น จึงเป็นพื้นที่วิกฤติครับ พื้นที่วิกฤติแบบนี้ล่ะครับก็ต้องขอให้รีบจัดการ Operator ประตู ระบายน้ำ แล้วก็ดูว่ามีงบประมาณที่จะไปจัดการตรงนั้น และแนวทางในการบริหารงานของ ท่านรัฐมนตรีธรรมนัส ซึ่งผมเชื่อว่าท่านรวดเร็วกับการแก้ไขปัญหา และก่อนหน้าเมื่อสักครู่ ท่านก็ได้มีการแลกเปลี่ยนกับผม ผมก็ทราบว่าข้อมูลเชิงลึกท่านก็มีอยู่ในแฟ้มของท่านแล้ว พอสมควร ก็อยากจะขอให้ท่านรัฐมนตรีช่วยบอกแนวทางการแก้ปัญหาในเบื้องต้น ว่าท่านจะมีวิธีการ แล้วก็เร่งรัดการจัดการแก้ไขปัญหาระบบนิเวศนี้อย่างไร นี่คือคำถาม ครั้งที่ ๑ ครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านรัฐมนตรีครับ

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ท่านเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ตั้งกระทู้ถามที่เคารพ ก่อนอื่น ผมจะขออนุญาตท่านประธานนำแผนที่ซึ่งเพิ่งมา และไม่ได้ขออนุญาตนำมาเสนอ เพื่อที่จะ ตอบคำถาม ประกอบให้มีความชัดเจนมากกว่านี้นะครับ

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

ก่อนอื่นผมต้องกราบขอบคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ท่านประเสริฐพงษ์ที่ได้ตั้งกระทู้ ซึ่งเป็นสาระสำคัญนะครับ สิ่งที่ท่านตั้งกระทู้ เนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่ท่านได้พูดถึงเมื่อสักครู่ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องจริงนะครับ ซึ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังในอดีตเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำ พี่น้องชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังต่างก็มี ความเป็นอยู่ที่ดีนะครับ ระบบนิเวศพื้นที่หลาย ๆ อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ความสนใจจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่นี่กันเยอะครับ แต่พอความหนาแน่นของพลเมือง การย้ายถิ่นฐานมาอยู่ทำมาหากินในแถบลุ่มน้ำปากพนัง ทำให้แม่น้ำปากพนังซึ่งเป็นแม่น้ำ สายหลักที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบบนิเวศสมบูรณ์นะครับ ตามที่ท่านประเสริฐพงษ์ ได้นำเรียนเมื่อสักครู่กลับกลายเป็นถูกทำลาย แม่น้ำปากพนังจากอ่างเก็บห้วยน้ำใส จากจุดบริเวณจุดนี้จนถึงปากอ่าวระยะทั้งหมดนะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

กล้อง Close up หน่อยก็ได้ อีกทีครับท่านรัฐมนตรี

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

จากอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใสจนถึงปากอ่าวปากพนังระยะทางทั้งหมด ๑๕๐ กิโลเมตร ซึ่งแต่ก่อนลุ่มน้ำมีความอุดมสมบูรณ์นะครับ พี่น้องชาวนครศรีธรรมราชเขาทำมาหากินกัน อย่างมีความสุข ธรรมชาติที่นี่สวยงามนะครับ แต่พอคนมาอยู่เยอะ ๆ ระบบนิเวศมันเสีย พอมันเสียนะครับ ในช่วงปี ๒๕๓๐ ทางกรมชลประทานเริ่มรู้ปัญหาทั้งหน้าแล้งและ หน้าฝน หน้าแล้งน้ำเค็มจากปากพนังทะลักเข้ามาสู่บนพื้นที่แม่น้ำปากพนังจนถึง ระยะเกือบ ๕๐-๘๐ กิโลเมตร ทำให้แหล่งน้ำจืด ปริมาณน้ำจืดสำหรับอุปโภคบริโภค และภาคการเกษตรไม่เพียงพอ และสิ่งสำคัญที่สุดเวลาหน้าฝนน้ำจากป่าพรุ ซึ่งเป็น น้ำเปรี้ยว ลุ่มน้ำปากพนังเป็นพื้นที่ต่ำรับน้ำจะเกิดอุทกภัยขึ้นทุกปี และเวลาน้ำท่วมน้ำจะขัง อยู่ประมาณ ๓-๔ เดือน ทำให้พี่น้องประชาชนแถบลุ่มน้ำปากพนังมีความเดือดร้อน ดังนั้นทางกรมชลประทานก็ศึกษาว่าจะทำอย่างไร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

ปัญหาแรก หน้าแล้งเลยมีการศึกษาและสร้างประตูน้ำ ซึ่งเราเรียกว่าประตู ระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิบริเวณปลายเกือบถึงปากอ่าว เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำจืดและ เวลาหน้าฝนทางกรมชลประทานก็ทำคลองลัดตัดน้ำออกอ่าวไทยโดยตรงเลย ระบายน้ำออก อ่าวไทยไม่ให้น้ำขัง สิ่งเหล่านี้ที่ทางกรมชลประทานตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ ศึกษาจนปี ๒๕๔๒ สร้างประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิเสร็จคิดว่าปัญหาจะคลี่คลาย แต่กลับกลายเป็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นทำลายสมดุลระบบนิเวศ เวลาฤดูปิดประตูระบายน้ำนะครับ น้ำจากประตูระบายน้ำ จนถึงอ่างเก็บน้ำกลายเป็นน้ำนิ่ง ระบบนิเวศเสียเกิดตะกอนวัชพืช แทนที่เราจะมีน้ำจืด ที่บริสุทธิ์ที่สามารถอุปโภคบริโภคได้ เลยกลับกลายเป็นบางที่เป็นน้ำเน่า บางที่วัชพืชประเภท ผักตบชวา ผักกระฉูดขึ้นเต็มไปหมด ดังนั้นถามว่าตอบโจทย์เรื่องการแก้ปัญหาแหล่งน้ำจืดไหม กลับกลายตอบได้บางส่วน แต่ปัญหาที่มันหนักกว่านั้นคือการทำลายระบบนิเวศ อันนี้ เรื่องแรกนะครับ หน้าฝนน้ำที่เคยท่วมนะครับ ถามว่าแก้ได้ไหม แต่แก้ได้ แก้ได้บางส่วน สรุปแล้วคือการสร้างประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิที่ทางกรมชลประทานสร้างเสร็จ ปี ๒๕๔๒ มีประโยชน์ไหม มีประโยชน์ ขณะเดียวกันเกิดผลเสียต่อระบบนิเวศไหม มีผลเสีย เพราะฉะนั้นได้กับเสียเป็นสิ่งที่ทางกรมชลประทานต้องกลับมาคิดในการแก้ปัญหา ตอนผมเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผมลงในพื้นที่ เพราะมีพี่น้อง ประชาชนเขาร้องเรียนว่า ผักตบชวาเหนือประตูระบายน้ำทะลักขึ้นมาเป็นระยะทางเกือบ ๑๐๐ กิโลเมตร ขณะเดียวกันท้ายประตูระบายน้ำดินตะกอนเต็มไปหมดนะครับ ระบบนิเวศ การทำมาหากินพี่น้องประมงชายฝั่งเดือดร้อนกันหมด เวลาหน้าฝนเวลาเขาเปิดประตู แต่ช่วงนี้ช่วงเดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคม เดือนมกราคม เขาเปิดประตูนะครับ น้ำจืด ลงไปทะลักพี่น้องทำมาหากินกระชังเลี้ยงปลาเดือดร้อนกันหมด อันนั้นแสดงให้เห็นว่า เป็นการทำลายระบบนิเวศ ทำลายธรรมชาติ

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

สิ่งที่ทางกรมชลประทานจะต้องแก้ไขตามที่เพื่อนสมาชิกได้ตั้งกระทู้ถามว่า แผนเราจะแก้ปัญหาอย่างไร แน่นอนครับแผนระยะด่วนเราทำอย่างไรเร่งด่วน ผักตบชวา ทำอะไรไม่ได้ครับ นอกจากเก็บแล้วไปทำปุ๋ย ซึ่งมันเป็นการแก้ปัญหาแบบเร่งด่วน ไม่ยั่งยืน และแผนที่เร่งด่วนที่ทำกันมา ไม่ว่าจะเป็นการขุดลอกโดยใช้งบประมาณตั้งแต่ปี ๒๕๖๕ โดยกรมชลประทานขุดลอก ปี ๒๕๖๖ ทางกรมเจ้าท่าขุดลอกอีก และปี ๒๕๖๖ ที่กำลัง ขุดลอกโดยงบประมาณ ๑๔๓ ล้านบาท ระยะทางจากปากอ่าวขึ้นมาถึงแม่น้ำ ๓๕ กิโลเมตร จะแล้วเสร็จประมาณกลางปี ๒๕๖๗ ปี ๒๕๖๘ ทางกรมชลประทานตั้งงบในการขุดลอก อีก ๒ กิโลเมตร ตั้งแต่ประตูระบายน้ำ ผมถามว่าทำอย่างนี้มันแก้ปัญหาได้ไหม มันแก้ปัญหา ได้เพียงชั่วคราวครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นคำถามที่ท่านประเสริฐพงษ์ได้ถามผ่าน ท่านประธานเมื่อสักครู่ว่า ทางกรมชลประทานมีแผนที่จะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างยั่งยืนอย่างไร สิ่งแรกที่ทางกรมชลประทานจะต้องกลับมาคิดและทบทวนศึกษาใหม่ว่า หลังจากที่เกิด ประตูระบายน้ำการทำคลองลัดต่าง ๆ แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ จนถึง ปัจจุบันนี้มันคืออะไร ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการทำงานเชิงรุกของ หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผมไม่อยากให้วิพากษ์วิจารณ์การทำงาน ของรัฐบาลก่อน ๆ นะครับ มีแต่ตั้งและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนไม่มี เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ผมจะต้องทำ คือผมจะลงพื้นที่จริงในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังตั้งแต่อ่างเก็บน้ำ จนถึงปากอ่าว และสิ่งสำคัญที่สุดการทำงานภาครัฐมันต้องมีการมีส่วนร่วมของพี่น้อง ประชาชนในพื้นที่ หากรัฐคิดจะทำอะไรไม่ถามชาวบ้านเลย เหมือนที่กำลังจะทำโครงการ สำคัญ ๆ ใหญ่ ๆ ปัญหาก็หนีไม่พ้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อันนี้เฉพาะเป็นบางส่วนนะครับ มีแหล่งน้ำหลาย ๆ ส่วนที่สร้างแล้วแก้ปัญหาเก่า แต่ปัญหาใหม่เกิดขึ้น แล้วก็ไม่แก้กัน อย่างยั่งยืน ดังนั้นสิ่งแรกที่ผมอยากจะตอบท่านประธานผ่านไปถึงท่านประเสริฐพงษ์ว่า ผมจะลงพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง แล้วตั้งคณะกรรมการศึกษาการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนของ ลุ่มน้ำปากพนัง ไม่ว่าจะเรื่องของระบบนิเวศการขุดลอกการทำให้น้ำมีชีวิต คือไม่ใช่ให้น้ำ มันนิ่งจะทำอย่างไร ฉะนั้นทางกรมชลประทานต้องไปศึกษาตรงนี้แล้วทำแผนแก้อย่างยั่งยืน วันนี้ตอบไม่ได้ว่าจะทำแผนอย่างไร ต้องศึกษาและให้ประชาชนมีส่วนร่วมนะครับ

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ บริเวณปากอ่าวที่เวลาหน้าแล้งตะกอนทับถมเต็ม เราจะมีคลอง เขาเรียกว่าคลองลัดระบายน้ำจากปากอ่าวไปถึงอ่าวไทย ประตูเล็ก คลองเล็กจะต้องทำ อย่างไร เป็นเรื่องที่ทางกรมชลประทานต้องศึกษา หลังจากที่ผมลงพื้นที่แล้วผมอาจจะ ขออนุญาตให้ท่านประเสริฐพงษ์ตั้งกระทู้ถามอีกรอบหนึ่งนะครับ

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ เรื่องกรมชลประทานจ้างแรงงานผี อันนี้เป็นเรื่องที่ผมตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐบาลที่แล้ว เท็จจริงอย่างไรเดี๋ยวผม จะนำเรียนให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณมากครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ ไม่ต้องถามแล้วไหม เพราะว่าท่านจะลงไปแล้ว หรือว่าถามสั้น ๆ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ ก็ยังมีเวลาอยู่ครับ ขออนุญาตใช้สิทธิครับท่านประธาน ว่าอย่างน้อยท่านรัฐมนตรีท่านก็ได้มา ให้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่ตรงไปตรงมาว่า มีการทำลายระบบนิเวศจริง มีการทำลายธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเกิดจากคนที่ไปอยู่อาศัยอยู่มาก รวมทั้งโครงการของรัฐที่ลงไปทำ แล้วก็ขาดการประเมินผลติดตาม ก็ต้องฝากท่านรัฐมนตรีว่าศูนย์อำนวยการและประสาน การพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก็จะเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ไม่ค่อย จะรับฟังคนอื่นมากมายนัก ขาดการมีส่วนร่วมจากพี่น้องประชาชน เมื่อสักครู่ท่านรัฐมนตรี ก็พูดถึงว่าให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมก็เป็นสิ่งที่ดีครับ ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมนำ ร่วมกำหนด ร่วมรับผิดชอบ ร่วมตรวจสอบ ร่วมประเมินผลครับ เรื่องนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ภาครัฐจะต้องคำนึงถึง และวันนี้ถ้าท่านรัฐมนตรีเข้าใจประเด็นตรงนี้ผมคิดว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปากพนังนครศรีธรรมราชจะได้รับการแก้ไข ก็คิดว่าถ้าท่านจะไป พื้นที่อย่างไร ผมคงมีโอกาสได้ร่วมคณะไปดูปัญหาแล้วก็ไปรับฟัง เพื่อให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่ได้รู้ว่ารัฐมนตรีกับภาครัฐไม่ได้นิ่งนอนใจ รวมทั้งผมซึ่งเป็น สส. บัญชีรายชื่อ สัดส่วนภาคใต้ที่ดูแลทางภาคใต้ แล้วก็ได้ประสานงานกับพี่น้องนครศรีธรรมราชเขาก็ได้รู้สึก ว่าปัญหาที่อยู่มาตั้ง ๒๐-๓๐ ปี มันควรได้รับการแก้ไขจริง ๆ ผมมีเวลาเหลือก็อยากให้ ท่านรัฐมนตรีได้คุยต่อนะครับ เพราะว่าผมเองก็ตั้งคำถามสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่ยากครับว่าวันนี้ เราได้รับคำยืนยันจากรัฐมนตรีว่าจะไม่นิ่งเฉย แล้วท่านก็จะฟังข้อมูลรอบด้านจาก ภาคประชาสังคม ภาคประชาชนมากขึ้น อันนี้คือสิ่งที่ผมคาดหวัง และวันนี้เราก็ได้รับคำตอบ จากท่านรัฐมนตรีครับ ก็ขอให้รัฐมนตรีตอบให้ชื่นใจอีกครั้งในเวลาที่ผมมี แล้วผมสละ ให้ท่านตอบครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านรัฐมนตรีครับ

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับท่านประธาน ผมลงพื้นที่หลายพื้นที่นะครับ แล้วสิ่งสำคัญที่สุดผมได้รับ การต้อนรับจากพี่น้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรคนะครับ ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ผมยืนยันว่าการทำงานในรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในยุคใหม่ ต้องฟังเสียงพี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง การลงทุน การลงพื้นที่ ผมไม่ต้องการฟังระบบราชการ มารายงานผมนะครับ ดังนั้นทุกครั้งที่ผมลงพื้นที่ผมฝากถึงพี่น้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกพรรคนะครับ ไม่ว่าท่านจะอยู่พรรคใดเราร่วมกันแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชน อย่างผม ลงที่จังหวัดสมุทรสาครเรื่องประมง พี่น้องประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์นะครับ ผมต้อง ขอบคุณพี่น้องเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกลลงพื้นที่กับผม แล้วก็เป็นการ แก้ปัญหาให้ชาวบ้าน เช่นเดียวกันครับพื้นที่ของลุ่มน้ำปากพนังผมจะลงพื้นที่ และเดี๋ยวผม จะให้ทีมงานแจ้งท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ท่านประเสริฐพงษ์พร้อมทีมงานอยากจะให้ การทำงานรูปแบบประชาชนกับรัฐบาลต้องทำงานด้วยกันนะครับ ที่สำคัญที่สุดศูนย์อำนวยการ การพัฒนาการประสานงานพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นอย่างที่ท่านพูด คือไม่ค่อยรับฟัง ชาวบ้าน อันนี้ผมได้รับข้อร้องเรียนมาจากพี่น้องประชาชน จะนำไปแก้ไขโดยด่วน เรื่องแรงงานผีเป็นเรื่องสำคัญและเกิดขึ้นทั่วประเทศ ผมกำลังตั้งกรรมการสอบสวนเรื่องนี้อยู่ ก็ต้องขอบคุณท่านประธานครับ ขออนุญาตตอบเพียงแค่นี้ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณท่านรัฐมนตรีครับ ท่านประเสริฐพงษ์วันนี้ได้งานเยอะเลยครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ ผม สส. ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ครับ ขอบคุณท่านรัฐมนตรีที่มาตอบ แล้วก็จะได้มีนัดหมายกัน ต่อไป ขอบคุณท่านประธานครับที่ได้มาเป็นประธานในห้องกระทู้ และเดี๋ยวกระทู้ที่ ๒ ผมก็จะได้ต่อเลยครับท่านประธาน ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณท่านรัฐมนตรีนะครับ วันนี้ท่านประเสริฐพงษ์ทำงานครับ ขอให้เป็น สส. ตลอดไป นะครับ ๑.๓.๒ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๒๘ เรื่อง ขอให้มีการแก้ไขระบบนิเวศบริเวณ แม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อันนี้เสร็จแล้วนะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๑ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๒๗ เรื่อง สร้างสะพานเชื่อมเกาะ จากตำบลคลองประสงค์มายังเขตพื้นที่อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ (นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านรัฐมนตรีครับ เรื่องสร้างสะพานเชื่อมเกาะจากตำบลคลองประสงค์มายัง เขตพื้นที่ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ถาม ท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือแจ้งว่า รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมได้ติดภารกิจสำคัญ มอบหมายให้ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง คมนาคม เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน เพื่อประโยชน์ในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ผมได้อนุญาตให้ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสนับสนุนข้อมูลในการตอบ กระทู้ถามแยกเฉพาะ ดังนี้ ท่านที่ ๑ ท่านสมชาย ลีลาประภากรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวง ชนบท กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ท่านที่ ๒ ท่านจิรานุวัฒน์ จันทร์จร วิศวกร โยธาเชี่ยวชาญ กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม เชิญท่านประเสริฐพงษ์ครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตพรรค อนาคตใหม่ ปัจจุบันพรรคก้าวไกล สส. แบบบัญชีรายชื่อ ที่ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดกระบี่ครับ ดูแลภาคใต้ วันนี้มาถามท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องขอบคุณที่ท่านรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านมนพรมาตอบคำถามเรื่องสะพานข้ามเกาะจาก ตำบลคลองประสงค์มายังพื้นที่เขตอำเภอเมืองกระบี่ ซึ่งพื้นที่ตำบลคลองประสงค์เป็นพื้นที่ ที่มีทั้งหมด ๔ หมู่บ้าน แต่ว่า ๓ หมู่บ้านเป็นพื้นที่เกาะล้วน ๆ ครับ ห่างจากจวนผู้ว่าราชการ จังหวัดกระบี่แค่ ๑ กิโลเมตร และเป็นพื้นที่ที่ถูกทอดทิ้ง โรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่ปิดไปแล้ว ปรากฏว่าพื้นที่ตำบลคลองประสงค์ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เลยท่าน จนกระทั่งเพิ่งมามีไฟฟ้าใช้ ปี ๒๕๔๒ ครับ โรงไฟฟ้าปิดไปแล้ว นี่คือพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ที่พี่น้องประชาชนต้องใช้ ความยากลำบากในการเดินทางสัญจรไปมาในการเข้าเมือง เพราะว่าต้องนั่งเรือข้ามเกาะมา มีภาระค่าใช้จ่าย ถ้าพี่น้องมีมอเตอร์ไซค์ก็เอามอเตอร์ไซด์ข้ามเรือ แล้วก็ค่าใช้จ่าย ถ้านับตลอด ๒๐-๓๐ ปีที่ผ่านมาหลายแสนบาท แล้วถ้ามีการก่อสร้างบ้านเรือนหรือว่า ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ก็ใช้งบประมาณสูง และที่สำคัญก็จะมีพี่น้องประชาชนที่เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย คนท้อง คนแก่ เวลาขึ้นมาท่านจะเห็นภาพนะครับ ดูพี่น้องเราสิครับ แบกใส่รถสามล้อ ผ่านถนนกว้างประมาณ ๓ เมตรครึ่ง แล้วก็เอาลงเรือหางยาวครับ เขาเรียกว่าหัวฉีก ซึ่งรถมอเตอร์ไซค์ลงไปได้ แล้วรถพยาบาลก็จะอยู่ฝั่งเมืองแล้วก็มารับไป ซึ่งเห็นแล้ว มันไม่น่าจะเกิดขึ้นในสังคมไทย ณ วันนี้ที่ผ่านมาพื้นที่ตรงนี้ท่านอดีตรองนายกรัฐมนตรี ท่านวิษณุ เครืองาม ก็เคยไปนะครับ รัฐมนตรีหลายท่านก็เคยไป นี่ท่านจะเห็นภาพชัด ถ้าญาติพี่น้องผมเป็นขนาดนี้ผมคงทนไม่ได้ แล้ววันนี้ผมได้ชวน สส. เขต ๑ ท่าน สส. จากพรรคภูมิใจไทยก็มาร่วมฟัง เพราะว่าท่านเห็นด้วยกับผมว่าจะต้องช่วยกันผลักดันสะพาน ซึ่งสิ่งที่พี่น้องตำบลคลองประสงค์เรียกร้องก็คือเป็นสะพาน ไม่ใช่สะพานรถยนต์ครับ ท่านประธานครับ เพราะว่าพื้นที่เกาะเป็นพื้นที่ถนนกว้างแค่ ๓.๕๐ เมตรเองครับ รถยนต์ วิ่งไม่ได้ครับ ปกติพี่น้องประชาชนใช้มอเตอร์ไซค์หรือรถสามล้อในการวิ่งสวนไปมาเท่านั้น เพราะฉะนั้นเวลาที่พี่น้องประชาชนเรียกร้องหรือผมไปสนับสนุน ผมก็มองพื้นที่แล้ว ว่าสามารถทำสะพาน ซึ่งระยะห่างที่ผมบอก ผมมีแผนที่มาโชว์ด้วยนะครับ ผมวัดแผนที่ให้ดู เสร็จเลย วัดระยะที่มองเห็นนะครับ ข้างล่างอีกภาพหนึ่งจะเห็นว่าแค่ ๕๐๐ เมตรครับท่าน นี่แผนที่บอกนะครับ และพี่น้องเวลานั่งเรือข้ามใกล้นิดเดียว แต่ว่าเรายังไม่สามารถที่จะ มีสะพานได้ เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายสูง แล้วพี่น้องทนอยู่มาเป็น ๑๐๐ ปีแล้วครับ ประชากร ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องมุสลิม ๙๕ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็จำนวนครัวเรือนถ้านับเป็นครัวเรือน ก็หลายพันครัวเรือนครับ เพราะฉะนั้นก็เลยอยากให้ท่านรัฐมนตรีได้รับเรื่อง ซึ่งองค์การ บริหารส่วนตำบลคลองประสงค์ได้ทำหนังสือผ่านตามกระบวนการทำประชาพิจารณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วยที่จะขอให้รัฐบาลสนับสนุนการสร้างสะพาน เพราะ อบต. ทำไม่ได้ เกินศักยภาพ และเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างเทศบาลเมืองกับองค์การบริหารส่วนตำบล แน่นอนครับ เป็นพื้นที่ Westland Projects ท่านอาจจะบอกว่าพื้นที่ Westland Projects ทำอะไรไม่ได้หรอก ผมคิดว่าต่อให้มีปัญหาอุปสรรคแบบไหน ผมเชื่อมั่นว่ากระทรวงคมนาคม ทำได้ และถ้าเป็นระเบียบอะไรก็แล้วแต่ ถ้ามันเกิดจากข้าราชการ เกิดจากมนุษย์เราเป็นคนสร้าง มันต้องยกเว้นได้ เพื่อสร้างให้คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เราดีขึ้น คนตำบล คลองประสงค์ทั้ง ๓ หมู่บ้าน คือบ้านเกาะกลางแล้วก็บ้านคลองประสงค์จะต้องไม่ถูกสตัฟฟ์ เอาไว้ครับท่านประธาน คนเมืองเขาจะมองว่าอยากให้พื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ที่มีนาข้าว มีกลุ่มเลี้ยงควาย มีกลุ่มผ้าบาติก อยากสตัฟฟ์เอาไว้ แต่ผมอยากให้มองว่าความเจริญแล้วก็ การที่อำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งเป็นสิ่งสำคัญก็อยากให้คิด ในมุมมองนี้ก็ต้องฝาก ท่านรัฐมนตรีนะครับ คำถามของผมครั้งที่ ๑ อาจจะมีหลายคำถามก็อยากให้ท่านดูว่า แผนงานที่ อบต. ส่งเรื่องมาแล้ว ตอนนี้ไปถึงมือของท่านรัฐมนตรีแล้วหรือยังนะครับ ขอทราบรายละเอียด ซึ่งถ้ายังไม่มีแผนศึกษาท่านจะดำเนินการอย่างไรหรือไม่ ในปีงบประมาณ รวมทั้งถ้ารอปี ๒๕๖๘ ไม่ไหว ผมคิดว่างบเหลือจ่ายกระทรวงสามารถที่จะ เจียดไปศึกษา ๕ ล้านบาท ๑๐ ล้านบาท ผมคิดว่าท่านทำได้ วิศวกรทำได้นะครับ เรื่องนี้ จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนช่วยแก้ปัญหา และที่สำคัญผมคิดว่าคนกระบี่จะภาคภูมิใจกับ สะพานที่ท่านรัฐมนตรีสั่งการไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกแบบให้สะพานสวย ๆ พี่น้อง ประชาชนใช้มอเตอร์ไซค์ข้าม จะเป็นเอกลักษณ์พิเศษเลยท่านประธานครับ ปั่นจักรยานได้ ขับมอเตอร์ไซค์เข้าไปได้ รถสามล้อวิ่งไปได้ ไม่ใช่รถยนต์ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องแบบนี้ ไม่เกินความสามารถของท่านรัฐมนตรีแน่นอน ก็อยากให้ท่านช่วยตอบให้เคลียร์ใจ แล้วก็อยากเชิญชวนรัฐมนตรีไปพื้นที่ด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านรัฐมนตรีครับ คำถามแรก

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจาก ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากวันนี้ท่านได้เดินทางไปร่วมประชุมที่ประเทศญี่ปุ่นร่วมกับท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน ก็ได้มอบหมายให้ดิฉันมาตอบกระทู้ของท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ท่านประธานที่เคารพคะ จากคำถามของท่านสมาชิกได้ถามคำถามแรกนะคะว่า ขณะนี้ ทางกระทรวงได้รับหนังสือเรื่องของที่ทาง อบต. ได้ส่งมาให้เรียบร้อยแล้วนะคะ ดิฉันจะได้ อธิบายความของขั้นตอนในโอกาสต่อไป ในขณะนี้ดิฉันขอกราบเรียนท่านประธานค่ะว่า กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบทได้สำรวจว่าบริเวณที่จะก่อสร้างสะพานดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ที่ท่านสมาชิกได้นำเรียนว่าใกล้ ๆ กับ จวนผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วก็มีพี่น้องประชาชนที่ใช้เส้นทางสัญจรไปมา ๓ หมู่บ้านมีจำนวน ประชากรทั้งสิ้น ๕,๗๓๒ คน ประกอบไปด้วยบ้านเกาะกลาง บ้านคลองประสงค์ แล้วก็ บ้านคลองกำ กรมทางหลวงชนบทได้สำรวจแล้ว พบว่าพี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน ตามที่ท่านสมาชิกได้ตั้งกระทู้สอบถามในวันนี้ แล้วดิฉันต้องถือโอกาสขอบพระคุณ เป็นอย่างสูงที่ท่านสมาชิกได้เข้าใจปัญหา แล้วก็นำปัญหาเหล่านี้มาตั้งเป็นกระทู้ถามถึง ภารกิจของกระทรวงคมนาคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้แน่นอนค่ะ เมื่อเราได้รับทราบปัญหาได้รับ หนังสือจากองค์การบริหารส่วนตำบลเราก็รีบบรรจุเรื่องราวดังกล่าว ดิฉันขออธิบายความต่อค่ะ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

รูปแรกก็คือ รูปที่เห็นคือปัจจุบันที่ขึ้นอยู่ในขณะนี้ พื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ประกอบไปด้วยพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราไปถึงที่หมู่เกาะพีพี ในพื้นที่ที่ ๒ พื้นที่ ดังกล่าวนี้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งมีความสำคัญระหว่างประเทศ เขาเรียกว่าปากแม่น้ำกระบี่ ที่ในภาพนะคะ และส่วนที่ ๓ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองกระบี่ใหญ่และป่าคลองเหนือ และพื้นที่ป่าชายเลนตามมติ ครม. เมื่อปี ๒๕๔๓ พบว่าการดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวจะต้อง ปฏิบัติตามระเบียบของกฎหมายและมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง โดยขั้นตอนแรกจะต้องทำ รายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามระเบียบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เรื่องของการกำหนดกิจการโครงการหรือการดำเนินงานในการที่จะมีเงื่อนไข ที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนังสือฉบับลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ปี ๒๕๖๑ อีกทั้ง คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ปี ๒๕๓๔ ได้มีการระงับใช้พื้นที่ป่าชายเลนแห่งนี้ โดยเด็ดขาด พร้อมทั้งระงับการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนของ ทางราชการ ในกรณีนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้พื้นที่ป่าชายเลนนี้ในการก่อสร้าง สะพานดังกล่าว และจะต้องใช้มติของ ครม. ผ่อนผันพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว แต่ในประเด็นนี้ ท่านสมาชิกไม่ต้องกังวลใจนะคะ ทางกระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดให้ใช้มติของ ครม. ผ่อนผัน การใช้พื้นที่ในการก่อสร้างสะพานดังกล่าวอย่างเร็วที่สุดค่ะ นอกจากนั้นกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นี่คือขั้นตอนก่อนที่จะ ดำเนินการ ส่วนรายละเอียดที่ท่านสมาชิกถามก็จะนำเรียนว่าเราได้จัดสรรงบประมาณ ซึ่งท่านสมาชิกได้ถามในคำถามที่ ๒ ดิฉันขอเปรียบเทียบว่าท่านสมาชิกบอกว่าค่าใช้จ่าย การก่อสร้างสะพานแห่งนี้อาจจะสูง แต่จากภาพที่เราเห็นจากสิ่งที่ท่านสมาชิกได้นำเรียนต่อ ท่านประธานดิฉันเชื่อมั่นว่าถึงค่าใช้จ่ายจะสูงเพียงใด แต่ปัญหาความยากลำบากของ พี่น้องประชาชนคงประเมินค่าไม่ได้ กระทรวงคมนาคมก็จะไม่ละเลยในการที่จะดำเนินการ ก่อสร้างสะพานแห่งนี้ ดิฉันขออนุญาตตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกก่อนค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ครับ ขอบคุณท่านรัฐมนตรีมนพรนะครับ ที่ลุกขึ้นมาตอบกระทู้ คำถามครั้งที่ ๑ ของผม ก็แสดงว่าเราเห็นตรงกันครับท่านประธานว่าปัญหาพี่น้องประชาชน ต้องได้รับการแก้ไข ประเด็นที่ผมจะต้องฝากท่านรัฐมนตรีก็คือวิธีคิดอุปสรรคของพวก กรมบัญชีกลาง พวกสภาพัฒน์อะไรพวกนี้ล่ะครับ ผมคิดว่ากระทรวงเองเห็นด้วยกับคนในพื้นที่ แต่ว่าเวลาจะผ่านขั้นตอนต่าง ๆ พวกนี้เขาอาจจะมีมุมมองอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นเราต้อง แชร์ให้เขารู้ว่าสะพานที่ต้องการคือสะพานรถมอเตอร์ไซค์ครับ ไม่ได้ยิ่งใหญ่ เอารถวิ่งสวนไปมา เพราะมันวิ่งบนเกาะไม่ได้นะครับ แล้วก็ปัญหาอุปสรรคที่ท่านบอกว่าจะต้องเอาเข้า ครม. เรื่องนี้ผมก็มั่นใจว่าท่านรัฐมนตรีสามารถทำได้ และเรื่องนี้ถ้ามันสำเร็จเมื่อไรผมคิดว่าจะเป็น ผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาลชุดนี้รวมทั้งท่าน สส. เขตในพื้นที่ที่ผมสนิทชิดเชื้อกันดี วันนี้ท่าน ก็มาฟังด้วย แล้วเราเห็นเป็นแนวทางเดียวกันครับท่านประธานว่าเรื่องนี้ต้องเร่งและได้รับ การแก้ไขให้พี่น้องประชาชน เพราะลำบากจริง ๆ ดังภาพที่ท่านเห็นนะครับ ผมก็มีภาพแผนที่ มาเหมือนกัน เมื่อสักครู่ท่านก็ได้เห็นไปแล้ว เพราะฉะนั้นก็ต้องฝากว่าเขตพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือ Westland ที่ผมเคยพูดไปแล้ว แม้จะเป็นอุปสรรคหรือเป็นมติ ครม. อะไรก็แล้วแต่ ก็คิดว่าจะได้รับการขจัดอันนี้ออกไปให้แก้ไขกันได้ แล้วก็ถ้าทางกระทรวงท่านรัฐมนตรี ได้มีโอกาสไปพื้นที่ผมก็ยินดีที่จะไปเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน แล้วเราจะได้รู้ว่า แผนงานตอนนี้ขั้นตอนไปถึงไหนแล้ว อะไร อย่างไร แล้วก็ขอบคุณที่ท่านรัฐมนตรีมาตอบ เคลียร์กับคำถามทั้งหมดครับท่านประธานจะได้ประหยัดเวลา และผมเชื่อว่าเรื่องนี้จะได้รับ การแก้ไข รัฐมนตรีมนพรก็จะขึ้นชื่อในจังหวัดกระบี่แน่นอนครับ ท่านจะได้ร่วมผลักดันกับ พวกผม Win Win ครับ แล้วก็ขอบคุณทางรองอธิบดีกรมทางหลวงด้วยนะครับ ทางพี่สมชาย แล้วก็ท่านวิศวกรจิรานุวัฒน์ที่มาครับท่านประธาน ก็หมดคำถามครับท่านประธาน ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านรัฐมนตรีครับ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ เนื่องจากคำถามของท่านสมาชิกดิฉันเข้าใจว่าจากกระดาษคำถามท่านสมาชิกมีคำถามที่ ๒ จริง ๆ ดิฉันควรจะตอบคำถามของท่าน แต่ว่าพอดิฉันเห็น Paper ที่คำถามปรากฏว่า ท่านมี ๒ คำถาม แต่ไม่เป็นอะไรนะคะ ดิฉันขออนุญาตทวนคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิก ท่านสมาชิกถามว่า หากในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ยังไม่สามารถ ดำเนินการได้ กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดให้มีการวางแผนและจัดเตรียมงบประมาณ เพื่อศึกษาการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะดังกล่าวในปีงบประมาณใด ขอทราบรายละเอียด จากที่ท่านสมาชิกได้นำเรียนต่อท่านประธานสักครู่นะคะ ดิฉันก็ขออนุญาตขอบพระคุณ ท่านสมาชิกอีกครั้งหนึ่งนะคะว่า จริง ๆ ภารกิจทุกภารกิจที่เป็นปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชน ทุกกระทรวงก็ได้ทุ่มเททำงาน การ Win Win นั่นก็คือ Win Win ที่ท่านสมาชิกได้หยิบคำถาม หยิบความห่วงใยของพี่น้องประชาชน หยิบความเดือดร้อน ขึ้นมาสู่การตั้งกระทู้ในวันนี้นะคะ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

ส่วนคำตอบข้อที่ ๒ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบต่อทรัพยากร ในพื้นที่ กรมทางหลวงชนบทจึงได้ทำเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๗ เพื่อดำเนินการจ้างที่ปรึกษาทำรายงานประเมินผลสิ่งแวดล้อมสะพานเชื่อมเกาะกลาง และถนนต่อเชื่อมอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๐ ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ ๒ ล้านบาท และงบผูกพันปี ๒๕๖๘ เป็นเงิน ๘ ล้านบาท ทำไมแบ่งงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ เพียงแค่ ๒ ล้านบาท ท่านประธานที่เคารพคะ เนื่องจากกรอบของการพิจารณา งบประมาณปี ๒๕๖๗ เรามีความล่าช้าไปประมาณ ๕-๖ เดือน ทำให้กรอบระยะเวลาของ การใช้เงินงบประมาณเพียงแค่ ๕ เดือน งบประมาณกว่าจะเข้าสู่สภาก็คือประมาณต้นปี กว่าจะพิจารณางบประมาณเสร็จวาระรับหลักการ วาระที่ ๒ แล้วก็วาระที่ ๓ ประกาศใช้ ก็ประมาณเดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคม เดือนกันยายน แล้วก็ไปกรอบงบประมาณใหม่ ท่านสมาชิกจะเห็น Timeline ที่เรา ได้ขึ้นภาพในจอนะคะว่า นี่คือแผนงานของการดำเนินงานเราจึงตั้งงบประมาณเพียงแค่ ๒ ล้านบาท แล้วไปทำงบผูกพันในปี ๒๕๖๘ ถึง ๘ ล้านบาทค่ะ ท่านประธานที่เคารพคะ การศึกษาการทำรายงานประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือ EIA จะต้องใช้ระยะเวลา ดำเนินงาน ๑๘ เดือน ซึ่งหากได้รับการจัดสรรตามที่เสนอกรมทางหลวงชนบทก็จะดำเนินการ จัดทำรายงาน EIA เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการจัดสรรตามที่เสนอ แล้วก็นำไปเสนอต่อ คณะกรรมการผู้ชำนาญการ พิจารณารายงานประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือว่า คชก. และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วก็ขอผ่อนผัน ยกเว้นมติ ครม. เพื่อขอใช้พื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว เมื่อมติ ครม. เห็นชอบ กรมทางหลวง ก็จะเสนอขอรับงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างสำรวจออกแบบ แล้วก็ขออนุญาต ใช้พื้นที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ท่านประธานที่เคารพคะ กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบทได้มีความห่วงใย และมีความต้องการที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของ คนไทยดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนที่ไหน จังหวัดใดที่เป็นคนไทย เราจึงมีการพัฒนาโครงข่ายของ ทางหลวงชนบทเข้าสู่พื้นที่ทั่ว ๆ ไปอย่างทั่วถึง ไม่เฉพาะพื้นที่ของพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่งหรือว่าภาคใดภาคหนึ่งนะคะ แต่การกระจายความเจริญเหล่านี้ ไปสู่พี่น้องชนบทและถนนดังกล่าวก็จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเราจะยกระดับ การเดินทางของพี่น้องประชาชนให้มีความรวดเร็ว สะดวกและปลอดภัย เพราะถนนดังกล่าว จะเชื่อมโยงทุกสายไปสู่ความเจริญ ถนนทุกสายไปสู่พี่น้องประชาชนทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล และเชื่อมั่นว่ากรมทางหลวงชนบทเชื่อมใจคนทั้งชาติ แล้วก็ยั่งยืนตลอดไปค่ะ ขอบพระคุณ ท่านประธาน ขอบพระคุณท่านสมาชิกนะคะ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

นิดเดียวครับท่านประธาน ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ครับ ผู้ตั้งกระทู้ถาม เพิ่งเจอรัฐมนตรีแทบจะเป็นท่านแรก ๆ เลย ที่บอกว่าพร้อมที่จะทลายอุปสรรค เพราะว่ารัฐบาลที่ผ่านมาครับท่านประธาน รัฐมนตรี มาตอบกระทู้ผมบอกแต่อุปสรรค บอกแต่กำแพงครับ ผมคิดว่าหลักคิดของผู้บริหารยุคนี้ ข้าราชการยุคนี้ต้องเลิกคิดแบบนี้ได้แล้วครับ อะไรที่เป็นอุปสรรค อะไรที่เป็นกำแพง อะไรที่ เป็นข้อจำกัด ในกระทรวงท่านคนน้อยไม่มีงบประมาณ เลิกพูดครับ ต้องเอาปัญหามาเป็น ตัวตั้งแล้วก็รีบแก้ วันนี้ท่านรัฐมนตรีมาแล้วก็มายืนยัน เทปนี้ก็จะเอาไปเปิดเผยแพร่ในจังหวัด กระบี่นะครับ หลังจากที่วันนี้ปิดประชุม ก็ขอบคุณท่านประธาน ขอบคุณท่านรัฐมนตรี วันนี้คิดว่าเราใช้เวลาอย่างคุ้มค่าครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เขาจะตั้งงบให้แล้วครับ ต้องขอบคุณท่านรัฐมนตรีนะครับ ขอบคุณครับท่านประเสริฐพงษ์ สวัสดีครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๓ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๒๙ เรื่อง ความคืบหน้าการดำเนินการ ก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก–สระบุรี (นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมมีหนังสือแจ้งว่า รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมติดภารกิจสำคัญ มอบหมายให้ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ในการนี้เพื่อประโยชน์ในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ผมได้อนุญาตให้ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสนับสนุนข้อมูล ในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะดังนี้ ๑. ท่านชาตรี ตันศิริ รองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างและบำรุงรักษาการทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ๒. ท่านอินทิรา รัตนปัญญากร ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้างทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม เชิญท่านประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ครับ ท่านรัฐมนตรี ๒ คำถามครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จังหวัด ปทุมธานี เขต ๗ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านมนพร เจริญศรี แล้วก็ผู้นำร่วมรับฟังคุณชาตรีและคุณอินทิราที่มาร่วมรับฟังแล้วก็ ตอบปัญหาของประชาชน ในเรื่องนี้ผมมีคำถามถึงกระทรวงคมนาคม ในเรื่องการก่อสร้าง โครงการพิเศษสายฉลองรัช–นครนายก-สระบุรี จริง ๆ แล้วคำถามนี้มีมาตั้งแต่ก่อนที่ผม จะเป็น สส. นะครับ เพราะว่าผมอยู่ในพื้นที่ลำลูกกาก็จะได้รับฟังข้อมูลว่าจะมีการสร้าง ทางด่วนเป็นเวลานานมาก ๆ แล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้น แล้วล่าสุดผมไปที่ จังหวัดนครนายกพื้นที่ติดต่อกัน พี่น้องจังหวัดนครนายกก็มีคำถามเช่นเดียวกันเลยนะครับ วันนี้ผมจึงมีคำถามมาถึงท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนะครับ ว่าการก่อสร้าง โครงการพิเศษสายฉลองรัช–นครนายก-สระบุรี ระยะทาง ๑๐๔.๗ กิโลเมตร ได้รับการอนุมัติ ให้เป็นหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ลักษณะโครงการก็จะเป็นทางยกระดับ ขนาด ๖ ช่องจราจร เริ่มเชื่อมตั้งแต่ทางพิเศษฉลองรัชหรือทางเลียบด่วนที่ด่านจตุโชติ เลียบด่วนรามอินทรา บริเวณถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออกหรือที่เรา เรียกว่าถนนกาญจนาภิเษกกันนะครับ ดำเนินการเพื่อรองรับการเดินทางการขนส่งสินค้า ระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อบรรเทารถติดบนถนนรังสิต-นครนายก แล้วก็ถนนลำลูกกาโครงข่ายถนนโดยรอบด้วยนะครับ ทั้งนี้โครงการนี้เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ปัจจุบันจะปี ๒๕๖๗ แล้ว ก็เกือบ ๑๐ ปีแล้ว แต่ยังไม่เห็นความคืบหน้าใด ๆ เลยนะครับ มีการศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีการเวนคืนที่ดินมานานแล้ว แต่การดำเนินการ ก็เป็นไปอย่างล่าช้า ล่าสุดก็ทราบมาว่ามีการปรับเปลี่ยนแนวใหม่เพื่อลดผลกระทบ การเวนคืนที่ดิน ทั้งนี้คำถามของประชาชนที่มาอยู่เนิ่นนานก็อยากทราบว่าปัญหานี้แต่ละช่วง จะดำเนินการอย่างไรต่อนะครับ อยากจะทราบแต่ละช่วงเวลาไหน ขอทราบรายละเอียด ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อไร และมีการแบ่งช่วงการสร้างเท่าไร อย่างไรก็ฝากคำถามถึงท่านรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นคำถามแรกครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านรัฐมนตรีครับ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากวันนี้ท่านติดภารกิจในการเดินทางไปประชุมที่ประเทศญี่ปุ่นร่วมกับท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จึงไม่ได้มาตอบกระทู้ในวันนี้ค่ะ ต้องถือโอกาสขอบพระคุณท่านสมาชิก ที่ได้ตั้งคำถามดังกล่าวขึ้นมา จากคำถามของท่านสมาชิกนะคะ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

คำถามแรก ท่านบอกว่าโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ปัจจุบันมีความคืบหน้าในการดำเนินการอยู่ในขั้นตอนใด และมีระยะเวลาดำเนินงาน แล้วเสร็จในแต่ละช่วงจนสิ้นสุดโครงการเมื่อใด ขอทราบรายละเอียดค่ะ ท่านประธาน ที่เคารพคะ ดิฉันมีคำอธิบายพร้อมทั้งสไลด์ประกอบค่ะ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

ขึ้นสไลด์ที่ ๓ นี่คือภาพของผังโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายฉลองรัช–นครนายก-สระบุรี เห็นท่านสมาชิก ได้นำเรียนต่อท่านประธานว่าท่านมีความสนใจเรื่องดังกล่าว ต้องขอบคุณแทนพี่น้องประชาชน ที่พี่น้องประชาชนได้ตัดสินใจเลือกท่านมาเป็นผู้แทน นั่นก็คือสิ่งหนึ่งที่ผู้แทนราษฎรนั้นสนใจ ความเป็นอยู่ความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชนค่ะ วันนี้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม ทางด้าน เศรษฐกิจ ทางด้านการเงิน แล้วก็ผลกระทบของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการออกแบบ รายละเอียดโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช–นครนายก-สระบุรี โดยมีระยะทางทั้งสิ้น ๑๐๓.๒๓ กิโลเมตร และแบ่งการทำงานออกเป็น ๔ ระยะ ดังนี้ ท่านจะเห็นว่าแต่ละสีก็คือ ระยะที่ ๑ จะเป็นช่วงของจตุโชติ-ถนนลำลูกกา เชื่อมต่อกับทางพิเศษฉลองรัชบริเวณทางลง จตุโชติยาวไปจนถึงทางทิศตะวันออกผ่านถนนหทัยราษฎร์ และถนนนิมิตใหม่เชื่อมต่อกับ ถนนลำลูกกา มาดูอีกสีหนึ่งระยะที่ ๒ ช่วงถนนลำลูกกาไปถึงองครักษ์โดยมีทางขึ้นลง เชื่อมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตองครักษ์ อีกหนึ่งสีที่เป็นท่อน ๆ ระยะที่ ๓ เป็นช่วงขององครักษ์ไปจนถึงถนนสุวรรณศร ผ่านสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ อำเภอบ้านนา โดยมีทางเชื่อมต่อถนนสุวรรณศรเพื่อเดินทางไปยังจังหวัดนครนายกและจังหวัดปราจีนบุรีค่ะ ช่วงสุดท้ายคือช่วงที่ ๔ จะเป็นช่วงถนนสุวรรณศรไปจนถึงถนนมิตรภาพ จังหวัดสระบุรี โดยมีทางเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข ๖ หรือ M6 บางปะอิน-โคราช ถนนทุกสายจะสามารถเชื่อมต่อกันทั้งระยะที่ ๑ ระยะที่ ๒ แล้วก็ระยะที่ ๓ จนกระทั่ง ระยะที่ ๔ ที่เชื่อมต่อกับ M6 นะคะ ขณะนี้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมได้มีมติเห็นชอบ รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๒ เมื่อปี ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม เมื่อปี ๒๕๖๔ ค่ะท่านประธาน ต่อมากระทรวงคมนาคมได้มอบหมายนโยบายดังกล่าวให้กรมทางหลวงและการทางพิเศษ แห่งประเทศไทยบูรณาการโครงการเหล่านี้ด้วยกัน โดยโครงการพิเศษสายดังกล่าวกับ โครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองก็คือ MR-MAP ประกอบกับปัจจุบัน การเดินทางขนส่งสินค้า ระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียงมีปริมาณ เพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก และทำให้การขยายตัวของพี่น้องประชาชนที่ขยายบ้านเรือน ออกไปเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองรองได้เติบโตขึ้นมา อย่างรวดเร็ว จึงก่อให้เกิดการขยายตัวทางพื้นที่อาศัยการคมนาคมขนส่งและพื้นที่ อุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดรอบนอกของกรุงเทพมหานคร การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจึงได้เสนอ ครม. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติดำเนินการ โครงการพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงที่ ๑ ระยะที่ ๑ ก็คือช่วงจตุโชติ-ลำลูกกา ต่อมาได้มีการปรับชื่อโครงการใหม่ เป็นชื่อโครงการพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยายช่วง จตุโชติ-ถนนลำลูกกา ตามความเห็นชอบของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติค่ะ ต่อมาสไลด์ที่ ๕ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีการประชุมปรึกษาหารือกัน เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ แล้ว จึงได้มีการลงมติอนุมัติให้ดำเนินการโครงการทางพิเศษฉลองรัช ส่วนต่อขยายช่วงจตุโชติไปถนนลำลูกกาตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ที่ดิฉันขึ้น Chart ให้เห็น เพราะท่านสมาชิกจะได้เข้าใจว่าขั้นตอนแต่ละช่วงแต่ละ Timeline นั้น กระทรวง คมนาคมได้ทำอะไรบ้าง รัฐบาลนี้ทำอะไรบ้าง ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อจากรัฐบาลที่แล้วจนกระทั่ง มาถึงรัฐบาลนี้ ทุกรัฐบาลก็มีความจริงใจที่จะพยายามเร่งรัดให้มีการก่อสร้างถนนสาย ดังกล่าว ปัจจุบันการทางพิเศษอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนด แนวทางเวนคืนที่ดินของโครงการดังกล่าว แล้วขณะนี้อยู่ในระหว่างของการจัดหาผู้รับจ้าง งานก่อสร้างควบคู่กันไปและผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้าง นี่คือประเด็นที่ท่านสมาชิก ได้ถามว่าจริง ๆ โครงการดังกล่าวจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ประมาณเดือนพฤศจิกายน ปี ๒๕๖๗ ก็คือประมาณปีหน้าถ้าเราเสร็จตามขั้นตอนดังกล่าวทั้งหมดค่ะ ดิฉันขออนุญาต ตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ก็ขอบคุณท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง คมนาคมที่ตอบคำถามเหล่านี้นะครับ แล้วข้อต่อไปก็คืออยากจะทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมโครงการถึงได้ล่าช้าตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ถึงเพิ่งเริ่ม เริ่มแผนกันจริง ๆ จัง ๆ ก็ประมาณ ปี ๒๕๖๖ อยากทราบเหตุผลของความล่าช้าด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

คำถามที่ ๒ ใช่ไหม เชิญท่านรัฐมนตรีครับ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ตอบคำถามที่ ๒ ของท่านสมาชิกนะคะ กราบเรียนอย่างนี้ค่ะ ท่านประธาน ทุกโครงการไม่ว่าจะเป็นโครงการขนาดใหญ่หรือโครงการขนาดเล็กมีข้อจำกัด ก็คือ ๑. สภาพความพร้อมของพื้นที่ ๒. สภาพของการเวนคืน ๓. เรื่องของงบประมาณ จริง ๆ โครงการขนาดนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่มาก แล้วการทำโครงข่ายของแต่ละรัฐบาล เราก็จะเห็นว่าข้อจำกัดเหล่านี้ทุก ๆ เงื่อนไขของการทำ EIA จะเป็นเงื่อนไขที่เราเองก็ตระหนัก ว่ามันทำให้เกิดความล่าช้า ขณะเดียวกันเราต้องยอมรับว่าการมีโครงการขนาดใหญ่ในจังหวัด ที่รอบกรุงเทพมหานคร ขณะนี้พี่น้องประชาชนมีความกังวลเรื่องของการเวนคืนที่ดิน เพราะบางครั้งราคาของการประมูล ราคาของการซื้อขายที่ดิน การเวนคืนราคาสภาพที่ดิน สูงมาก ทำให้รัฐบาลเองก็รับทราบปัญหาเหล่านี้ การเวนคืนที่ดินในจังหวัดที่รอบ ๆ กรุงเทพมหานครจึงเป็นปัญหาที่ทางรัฐบาลเอง ทางกระทรวงเอง ก็ไม่ได้ละเลยอย่างน้อย ความเป็นธรรมที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินค่าเวนคืนมีจำนวนมาก แต่ขณะที่การลงทุนมูลค่าที่ดิน เกิดมีราคาสูงขึ้นทุกวัน แต่กว่าเราจะลงทุนภายในกรอบระยะเวลา ๑๐ ปี อย่างที่ท่านสมาชิก บอกทำไมล่าช้าเกิดจาก ๑. ปัญหาที่นำเรียน ๒. ข้อจำกัดของงบประมาณในประเทศไทย เราเอง มีโครงการใหญ่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ใช่เพียงเฉพาะโครงการของ กระทรวงคมนาคม ในรอบของรัฐบาลที่ผ่านมามีปัญหาทั้งเกิดสถานการณ์โควิดมีปัญหา พี่น้องประชาชนอยู่อย่างลำบาก มีปัญหาทั้งเรื่องของสังคม ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ ในมิติของโครงสร้างพื้นฐานเราเองก็ไม่ละเลย เพราะฉะนั้นถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ แบบนี้ใจของท่านสมาชิกเองอาจจะบอกว่าทำไมสร้างยังไม่เสร็จนะคะ อยากจะ ให้สร้างเร็ว ๆ ซึ่งถ้าเรามามองขั้นตอน Timeline ที่ดิฉันโชว์ให้นี้ ดิฉันเชื่อว่าโครงการนี้ ไม่ช้าเลยเมื่อเทียบกับโครงการอื่น ๆ แต่ขณะนี้ก็มาจนถึงขั้นตอนที่เตรียมการศึกษา EIA แล้ว พิจารณาเรื่องของการเวนคืนที่ดินแล้ว เตรียมการที่จะก่อสร้างแล้ว ดิฉันเชื่อมั่นว่าถ้าลงมือ ดำเนินการก่อสร้างภายในปีหน้า ก็จะเป็นผลงานอีกผลงานหนึ่งที่ท่านสมาชิกได้นำเอาปัญหา ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวได้มาตั้งกระทู้ถามในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงท่านสมาชิก ได้สนใจความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนค่ะ ซึ่งปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ภายใต้สังกัดของกระทรวงคมนาคมก็ยังคงดำเนินงานในโครงการดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหา จราจร ขยายโครงข่ายทางพิเศษไปยังภูมิภาคอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง แล้วก็เชื่อมต่อการเดินทาง และการขนส่งแบบไร้รอยต่อ ไม่ว่าการขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ การขนส่งทั้งทางราง การขนส่งแบบไร้รอยต่อทุก ๆ มิติ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาแล้วก็เร่งรัดที่จะดำเนินงาน ให้เชื่อมต่ออย่างที่ท่านสมาชิกเห็น ไม่ว่าการไปเชื่อมต่อของทางรถไฟ ไม่ว่าการเชื่อมต่อของ M6 บางปะอิน-โคราชดังกล่าว นี่คือการเสริมสร้างศักยภาพแล้วก็ให้พี่น้องประชาชนสัญจรไปมา ด้วยความสะดวกและปลอดภัย ขอบคุณคำถามของท่านสมาชิกนะคะ ขอบคุณค่ะ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เดี๋ยวขอใช้เวลาอีกสักครู่นะครับ ก็ต้องขอขอบคุณท่านมนพรจริง ๆ นะครับ ส่วนตัวไม่ได้มีประเด็นอะไรนะครับ แต่ต้องการ คำตอบเพื่อไปตอบให้กับประชาชนได้รับทราบ จริง ๆ แล้วก็ชื่นชมท่านมนพรด้วยนะครับ เนื่องจาก สส. ในพรรคของผมเองก็ชื่นชมท่านให้ฟังอยู่ แล้วก็ได้เจอตัวจริงสวนกันที่ตรงลิฟต์ ท่านอาจจะจำผมไม่ได้ แต่ผมจำท่านได้ เพราะว่าท่านทักว่าวันนี้มีอะไรมาถามพี่ไหม ทั้ง ๆ ที่ผมยังไม่มีอะไรเลย ผมถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีในการทำงานแบบนี้ ผมก็ชื่นชมด้วย นะครับ ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

มีคำตอบ ครม. อนุมัติแล้วนะครับ แล้วปี ๒๕๖๗ ก็จะเริ่มแล้วนะครับ ก็ถือว่ารัฐบาลไม่ได้ นิ่งนอนใจ ขอบคุณท่านรัฐมนตรีนะครับ ขอบคุณครับ ขอบคุณท่านประสิทธิ์นะครับ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

ขอบคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๕ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๓๑ เรื่องความคืบหน้าของโครงการ การสร้างท่าอากาศยาน “สารสินธุ์” (นายพลากร พิมพะนิตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมมีหนังสือแจ้งว่า ท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมติดภารกิจสำคัญ มอบหมายท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ตอบคำถามแทนนะครับ ในการนี้เพื่อประโยชน์ในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ผมได้อนุญาตให้ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนข้อมูลในการตอบกระทู้ถาม แยกเฉพาะ ดังนี้ ท่านที่ ๑ ท่านเกียรติชัย ชัยเรืองยศ รองอธิบดีกรมท่าอากาศยาน กระทรวง คมนาคม ท่านที่ ๒ ท่านสุรพงษ์ เมี้ยนมิตร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน การขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม และได้อนุญาตให้ประชาชนผู้มีส่วนร่วมรับฟัง ในการตอบกระทู้ถาม ท่านแววปราชญ์ อุลิศ ท่านอนุรักษ์ สุภานนท์ ท่านนิตยา ตรีสิริ ครับ แล้วก็ยินดีต้อนรับท่าน สส. ที่มาร่วมรับฟัง เชิญท่านพลากร พิมพะนิตย์ ถามคำถามครับ

นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพลากร พิมพะนิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานก่อนอื่นต้องกราบขอบพระคุณท่านประธานที่ได้บรรจุกระทู้ถามแยกเฉพาะนี้ ในเรื่องของความคืบหน้าในการก่อสร้างท่าอากาศยานสารสินธุ์ ที่ตั้งในจังหวัดกาฬสินธุ์ และเป็นพื้นที่เชื่อมโยงกับจังหวัดมหาสารคาม และต้องกราบขอบพระคุณท่านรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มนพร เจริญศรี เป็นอย่างยิ่งที่ได้สละเวลามาตอบกระทู้เรื่องนี้ครับ

นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมอันล้ำค่า และมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวหลากหลาย ตั้งแต่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงาม เรามีเขื่อนลำปาว หาดดอกเกด น้ำตกผานางคอย ผาเสวย วนอุทยานภูแฝก และอื่น ๆ อีกมากมายไปจนถึงโบราณคดีสำคัญ เรามีพระธาตุยาคู วัดพุทธนิมิต (ภูค่าว) เรามีพิพิธภัณฑ์ ไดโนเสาร์สิรินธร ทั้งหมดนี้ทำให้กาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ซึ่งสถานที่เหล่านี้เป็นสถานที่ที่พร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ เรายังเป็นจังหวัดที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง เรามีผ้าไหมแพรวาที่พร้อม ส่งออก และเรายังเป็นศูนย์กลางทางการเกษตรและส่งพืชเศรษฐกิจหลายชนิด ตัวอย่างเช่น อ้อย ข้าว มันสำปะหลัง นอกเหนือจากนี้อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้นครับ เรามีพื้นที่ เชื่อมโยงกับจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งท่าน สส. กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ก็ได้มาฟังในวันนี้นะครับ หากนักท่องเที่ยวได้เข้ามาพื้นที่มหาสารคามเองก็มีแหล่งท่องเที่ยวหลายอย่าง เช่น วัดป่าวังน้ำเย็น พระธาตุนาดูน สะพานไม้แกดำ และอื่น ๆ อีกมากมาย จังหวัดกาฬสินธุ์และ จังหวัดมหาสารคามมีมหาวิทยาลัยไปจนถึงมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมนักศึกษาเกือบ ๒๐๐,๐๐๐ คนครับท่านประธาน แต่ว่าขาดการขนส่งทั้งทางรางและ ทางอากาศ เราต้องใช้รถ นักศึกษานั่งเครื่องบินมาลงที่ขอนแก่นต้องนั่งรถโดยสารมาที่ จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ครับ

นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

ข้อมูลทั้งหมดนี้ผมจึงอยากขอถามท่านรัฐมนตรีว่า ขณะนี้ความคืบหน้าของ โครงการอยู่ในขั้นตอนใดและได้กำหนดกรอบระยะเวลาของโครงการไว้หรือไม่ อย่างไรครับ ขอทราบรายละเอียดครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญรัฐมนตรีตอบคำถามที่ ๑ ครับ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายจากท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมค่ะ เนื่องจากวันนี้ท่านสุริยะติดประชุมนะคะ เดินทางไปกับท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ในการเดินทางไปร่วมประชุมที่ประเทศญี่ปุ่น จึงได้มอบหมายให้ดิฉันมาตอบกระทู้ของ ท่านสมาชิกในวันนี้ค่ะ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

ต้องขอขอบคุณท่านสมาชิกนะคะ จากกระทู้ถามเรื่องของการก่อสร้าง ท่าอากาศยานสารสินธุ์นะคะ เนื่องจากโครงการดังกล่าวได้ริเริ่ม ได้มีการคิดโครงการนี้ มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดิฉันขอยกตัวอย่างให้ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่ว่าจะเป็นท่านประเสริฐ บุญเรือง ท่านคุณป้ารื่น สมาชิกหลายท่าน ที่เป็นอดีต สส. ได้นำเรื่องโครงการดังกล่าวนี้นำเสนอต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในคราวนั้น แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด วันนี้ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติเพิ่งได้รับเลือกตั้งจาก พี่น้องประชาชนชาวกาฬสินธุ์ ดิฉันขอชื่นชมนะคะ ท่านได้หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาตั้งเป็นกระทู้ถาม แล้วท่านมีความใส่ใจต่อความเจริญของพื้นที่ แล้วดิฉันเชื่อมั่นว่าในสมัยของรัฐบาล ท่านเศรษฐา ทวีสิน เราจะมีการริเริ่มโครงการแล้วก็ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ดังกล่าวเอากลับขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นความหวังของคนจังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วก็ความหวัง ของพี่น้องชาวอีสานค่ะ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

คำถามนะคะ เนื่องจากกระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนงาน แล้วก็ทำการ ขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภาพรวมของประเทศมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ในรูปแบบของการขนส่งทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ แล้วก็ทางอากาศ ทั้งหน่วยงานที่เป็น ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดของกระทรวงคมนาคม จากคำถามของ ท่านสมาชิกเรื่องของความคืบหน้าของโครงการ การสร้างท่าอากาศยานสารสินธุ์ ใช้คำว่า สารสินธุ์ เพราะตอนนั้นได้มีการตั้งว่าถ้าจะมีโครงการการท่าอากาศยานขึ้นมาน่าจะมีชื่อ ที่ไม่ใช่ว่าสนามบินกาฬสินธุ์นะคะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านก็หยิบประเด็นนี้ หยิบชื่อนี้ขึ้นมา เป็นชื่อที่มีความงดงามแล้วก็มีความสำคัญ แล้วก็สื่อสารถึงคำว่า จังหวัด สารสินธุ์ นะคะ จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ แล้วก็มีศักยภาพในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานที่กระทรวงคมนาคมนะคะ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

นี่คือแผนที่ ของความจำเป็นพื้นฐานที่จะต้องมีสนามบินค่ะ ได้มีการศึกษาเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ของกาฬสินธุ์มาอย่างต่อเนื่องนะคะ จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้าง สนามบิน พบว่าตั้งอยู่บริเวณ ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งใช้พื้นที่ ๑,๖๐๕ ไร่ ห่างจากสนามบินจังหวัดขอนแก่น ๘๘ กิโลเมตร และห่างจากท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ๖๓ กิโลเมตร สไลด์ต่อไปค่ะ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

สำหรับความก้าวหน้าในการดำเนินการในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อกรมท่าอากาศยานดำเนินการตามความเห็น เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะนำเสนอกระทรวงเพื่อให้ความเห็นชอบและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติดำเนินการโครงการนี้ต่อไปนะคะ ซึ่งแต่ละช่วงเวลานี้ถ้ามีความคืบหน้าอย่างไร ดิฉันจะนำมาแจ้งให้กับท่านสมาชิกในโอกาสต่อไปค่ะ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

ขั้นตอนต่อไปเมื่อมติของคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว กระทรวง คมนาคมก็จะได้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการพัฒนา เช่น ระยะเวลาที่ ๑ จะอยู่ในช่วง ระยะเวลา ๑๐ ปี โดยมีวงเงินก่อสร้าง ๒,๓๔๖ ล้านบาท นี่คือคำถามแรกที่ท่านสมาชิก ได้ถามนะคะ ก็แสดงให้เห็นถึงว่าเราเองก็ไม่ละเลย ขณะนี้ได้มีแผนงานแล้วก็วงเงิน ที่จะเตรียมการก่อสร้างสนามบินดังกล่าวในวงเงิน ๒,๓๔๖ ล้านบาท ดิฉันขออนุญาต ตอบคำถามแรกของท่านสมาชิกค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ครับ จังหวัดกาฬสินธุ์กับจังหวัดมหาสารคามใช้ร่วมกันใช่ไหมครับ

นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

ใช่ครับท่านประธาน

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

จังหวัด มหาสารคามไม่มีสนามบินค่ะ

นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ท่านรัฐมนตรี ก็ดูเหมือนจะตอบคำถามผมไปทั้ง ๒ คำถามแล้วครับ เป็นที่ชัดเจนว่าตอนนี้ได้มีการศึกษา โครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านรัฐมนตรีได้ตอบชัดเจน เพื่อนสมาชิกก็ได้ยินว่าจะมี การก่อสร้างสนามบินสารสินธุ์ใช่ไหมครับท่านรัฐมนตรี ถ้าอย่างนั้นผมไม่ถามคำถามที่ ๒ และคำถามที่ ๓ แล้วเพราะว่าท่านรัฐมนตรีได้ตอบชัดเจน อันนี้ผมก็ดีใจแทนพี่น้องประชาชน ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง และขอกราบขอบพระคุณ ท่านรัฐมนตรีที่ตอบให้พี่น้องประชาชนได้มีความหวัง ท่านประธานครับ พอดีผมได้เอ่ยพาดพิง ท่านนายแพทย์กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ท่านจะขอใช้สิทธิพาดพิง

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เดี๋ยวให้ท่านรัฐมนตรีเพิ่มเติมนะครับ เอาให้ชัดว่าปี ๒๕๖๗ นี้ได้เลยใช่ไหม หรือว่าปี ๒๕๖๘ ที่จะเริ่มดำเนินการ เชิญท่านรัฐมนตรีครับ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขออนุญาตท่านประธานค่ะ เนื่องจากเวลาท่านสมาชิกต้องลุกขึ้นถามกระทู้ ท่านสมาชิก ต้องยึดถือกระทู้ที่ท่านเขียนลงไปในกระดาษและส่งให้ถึงท่านประธาน ถึงท่านจะมีคำถาม อย่างไร แต่ท่านต้องอ่านตามคำถามที่ท่านเขียนลงไปในกระดาษ เพื่อจะเป็นบรรทัดฐาน แนวทางของการปฏิบัติตัวในฐานะผู้ตั้งกระทู้ และจะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับสมาชิกท่านอื่น ๆ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

คำถามที่ ๒ ท่านสมาชิกได้ถามว่าจากการศึกษาผลกระทบ ถามคำถามที่ ๒ นะคะ เชิญค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ถามครับ

นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

กราบขอบพระคุณท่านรัฐมนตรีครับ สมาชิกใหม่ครับท่านรัฐมนตรี ท่านรัฐมนตรีก็มาเป็นรัฐมนตรีแล้วเลยไม่มีพี่เลี้ยงครับ ท่านรัฐมนตรีครับ อย่างนั้นผมขอถามต่อนะครับ ก็แน่นอนครับว่าโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่นนี้ เป็นโครงการที่มีประชาชนผู้อยู่อาศัยในละแวกใกล้เคียงได้รับผลกระทบจำนวนมาก ในการก่อสร้างอยู่แล้ว ในการศึกษาที่จำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบให้รอบคอบชัดเจนก่อน แต่ในสุดท้ายผมเองก็เป็นหนึ่งคน ที่มีความหวังที่จะได้เห็นโครงการนี้สำเร็จและเกิดขึ้นจริง เช่นเดียวกับพี่น้องประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อนสมาชิกที่อยู่จังหวัดใกล้เคียง และในจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วยกัน ผมจึงอยากขอถามรัฐมนตรีในข้อที่ ๒ ว่าจากการศึกษา ผลกระทบต่าง ๆ แนวโน้มความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าอากาศยานสารสินธุ์มีมากน้อย เพียงใด อย่างไร ขอทราบรายละเอียดหลังจากรับฟังความคิดเห็นและมีส่วนร่วมของ ประชาชนแล้ว กระทรวงคมนาคมมีข้อสรุปอย่างไร ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญรัฐมนตรีครับ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ในคำถามที่ ๒ ดิฉันขออนุญาตตอบคำถามที่ ๒ ของ ท่านสมาชิกนะคะว่าจากการศึกษาความเป็นไปได้ พบว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุนการก่อสร้าง ท่าอากาศยานสารสินธุ์ในทุกมิติ ทั้งมิติของทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทางด้านสังคมและ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ดิฉันขอขยายความแต่ละมิติดังนี้นะคะ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

มิติของทางด้านสังคม ก็ต้องบอกว่าเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงของ คนทุกกลุ่มในเรื่องของเส้นทางที่เดินทางอากาศ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

ส่วนทางด้านของมิติทางเศรษฐศาสตร์ จังหวัดกาฬสินธุ์มีความเหมาะสมและ มีความคุ้มค่าของการลงทุน และเป็นโครงการที่ได้มาตรฐานตามมาตรฐานของการท่าอากาศยาน กำหนดไว้นะคะ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

ส่วนมิติของทางสิ่งแวดล้อมนะคะ ต้องบอกว่าสามารถกำหนดมาตรการ การพัฒนาโครงการให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานของทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำนักนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สผ. กำหนดนะคะ นอกจากการลงทุนในความ คุ้มค่าของ ๓ มิติแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาโครงการดังกล่าวจะสอดคล้องกับนโยบาย ของรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ที่แถลงนโยบายนี้ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๖ โดยรัฐบาลเน้นย้ำว่าจะมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ของประเทศทั้งทางบก ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางและ การขนส่งของประชาชน อำนวยความสะดวกให้ประชาชน เปิดประตูการค้าขายและ เปิดโอกาสให้ประเทศไทยมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการผลักดันการสร้างรายได้จาก การท่องเที่ยว โดยจะมีการปรับปรุงสนามบินและจัดการเที่ยวบินของสนามบินทั่วประเทศ ให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มจำนวนเที่ยวบินให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสู่ประเทศไทยมากขึ้น ตลอดจนทำการพัฒนาพื้นที่ทั้งชั้นในและพื้นที่ชั้นนอก โดยเฉพาะจังหวัดรองให้สนองตอบ ความต้องการของพี่น้องประชาชน เป็นการกระจายความเจริญและกระจายกิจกรรม ทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคให้มากที่สุดค่ะ นี่คือคำตอบที่ ๒ ค่ะท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ก็ถือว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ๒ จังหวัด ก็ได้เป็นห่วงเป็นใยนะครับ การเดินทาง ไกลมาก ไปขึ้นเครื่องบินในจังหวัดอื่นนะครับ ท่านเลขาการพาดพิงนี่ได้ไหมในห้องนี้

ว่าที่เรือตรี ยุทธนา สำเภาเงิน ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ในฐานะโฆษกประจำ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ได้ครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ใช้สิทธิพาดพิงใช่ไหมครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

สั้น ๆ นะครับ เชิญครับ ท่านบอกชื่อ ตำแหน่ง

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายแพทย์กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด มหาสารคาม เขต ๑ พรรคเพื่อไทย เมื่อสักครู่ได้มีการพาดพิงจากท่านพลากร ท่าน สส. จังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่องของการจัดตั้งสนามบินสารสินธุ์นะครับ ซึ่งนำเรียนด้วยความเคารพ นะครับว่าพอดีในสมัยที่แล้วผมได้เป็นกรรมาธิการการคมนาคม แล้วก็ได้ผลักดันเรื่องนี้ ให้มีการศึกษาเรื่องนี้ จากที่ บริษัท ดีไว พลัส จำกัด ได้มีการศึกษาเบื้องต้น ซึ่งนำเรียนว่า เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการรวมตัวระหว่าง ๒ จังหวัด คือจังหวัดมหาสารคามและ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยผ่านทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งหอการค้า ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจะทำสนามบินร่วมกัน เนื่องจากจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความใกล้กับ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งมีสนามบินอยู่แล้ว ถ้าพูดตามนั้นแล้วมักเรียกว่า ในขอบเขตของการจัดตั้งสนามบิน คนอื่นอาจจะไม่เข้าใจครับ แต่พอดีจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ ตัวเมืองห่างกันแค่ ๔๐ กิโลเมตร และระหว่างทางนั้นมีมหาวิทยาลัย มหาสารคาม ซึ่งจังหวัดมหาสารคามมีนักศึกษาเยอะที่สุดในภาคอีสาน และมีคณาจารย์ มีผู้เกี่ยวข้อง มีปริมาณมากนะครับ และตอนนี้การทำการศึกษาได้ไปถึงการศึกษาในขั้นตอน หลายส่วนนะครับ ในขั้นตอนที่ ๓ แล้วกันนะครับ ที่ได้ออกมาทั้งหมดมี ๗ ขั้นตอน แล้วในส่วนนี้ผมเคยไปสัมมนาที่มหาสารคามเรื่องของการสร้างสนามบิน มีการเชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน สนข. สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย กรมการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้ไปประชุมที่มหาสารคาม แล้วก็ รวมตัวกัน แล้วก็คิดว่าเป็นความงดงามครั้งแรกนะครับว่าเป็นการจัดตั้งไม่ใช่จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหารก็ทำคนละจังหวัดอะไรอย่างนี้ แต่จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำร่วมกัน โดยจังหวัดมหาสารคามก็ยินดีว่าไปทางจังหวัดไหนก็ไม่เป็นอะไร ซึ่งอันนี้ในพื้นที่ ที่เหมาะสมอยู่ระหว่างจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมหาสารคามนะครับ แต่การใช้ชื่อทุกคน ก็รวมกันว่าน่าจะใช้เป็นของ ๒ จังหวัดร่วมกัน คือจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้มี Sense Of belonging หรือความเป็นเจ้าของ เพื่อให้คนมหาสารคามมาใช้ คนกาฬสินธุ์มาใช้ และมี Flight บินที่มีปริมาณมากที่คุ้มค่าในการทำเรื่องของการบินนะครับ ก็ต้องเรียนว่าใน Feasibility ที่ทำมานี้ผมยังรู้สึก Under อยู่นะครับ เพราะว่าประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ กว่าคนต่อปี ซึ่งของร้อยเอ็ดจังหวัดใกล้เคียงมี ๓๐๐,๐๐๐ กว่าคนต่อปี ซึ่งผมคิดว่า ถ้าจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์รวมกันในอีก ๗ ปีข้างหน้า ที่จะเกิดขึ้นน่าจะเกิน ๑๐๐,๐๐๐ คนแน่ ๆ ซึ่งคิดว่าความคุ้มค่าต่อการลงทุนเรื่องของการบินมีความคุ้มค่า

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

อันที่ ๒ คือเรื่องของการจัดตั้ง ในการจัดตั้งร่วมกันจะทำให้เกิดการสร้าง เศรษฐกิจขึ้นมา การท่องเที่ยวขึ้นมาให้กับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นจังหวัดรอง ก็เชื่อมั่นว่าจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ที่รวมกันเราเรียกว่า กลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ ก็จะรวมกันระหว่างจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ เลยเป็น ความงดงามครั้งแรกของ ๒ จังหวัดในการใช้ชื่อว่า สนามบินสารสินธุ์ เป็นสนามบินของคน ทั้งจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ตั้งอยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ต้องขอบคุณนะครับ ทางเจ้าหน้าที่ลองดูท่าน สส. จังหวัดไหนมาบ้างครับ เห็น สส. มาเยอะ ทีนี้มีคำถามเหลือไหมครับ เวลาเหลือ

นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

เห็นเจ้าหน้าที่บอกว่าผมถาม รวบไปแล้วครับท่านประธานในคำถามที่ ๒ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าถามได้ ๒ คำถามครับ ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานและท่านรัฐมนตรีมนพร เจริญศรี อีกรอบครับที่ได้ตอบ ท่านรัฐมนตรีได้ตอบกระทู้ให้เพื่อนสมาชิกที่อยู่จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมหาสารคาม และพี่น้องประชาชนได้อย่างชัดเจน ว่าจะมีการก่อสร้างสนามบินสารสินธุ์ขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เป็นการอนุมัติงบประมาณภายในเร็ว ๆ นี้ ก็ต้องขอขอบคุณแทนพี่น้องประชาชนชาวจังหวัด กาฬสินธุ์และจังหวัดมหาสารคามด้วยครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

กล้องลอง Close Up ท่าน สส. หน่อย เป็นสักขีพยาน ท่านไม่ได้พาดพิง ท่านมีอะไรไหมครับ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ เดี๋ยวดิฉันขออนุญาตตอบเพื่อให้ครบประเด็นที่ท่านสมาชิกถาม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านมีอะไรเพิ่มก่อนที่จะตอบไหมครับ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

เดี๋ยวสักครู่ ท่านสมาชิกที่ถูกพาดพิงนะคะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านรัฐมนตรีก่อนครับ

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ จากคำถามของท่านสมาชิกนะคะ ท่านมีคำถามเว้นไว้ช่วงสุดท้ายของคำถามที่ ๒ ซึ่งดิฉันเกรงว่าถ้าตอบรวบ เกรงว่าท่านจะไม่แยกประเด็น ดิฉันก็เลยเว้นไว้ว่าท่านมีคำถามที่ ๓ ในกระดาษคำถามนะคะ ท่านถามว่าหลังจากรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของ ประชาชนแล้ว กระทรวงคมนาคมมีข้อสรุปและรายละเอียดอย่างไร ดิฉันขอตอบว่าจาก ผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนในครั้งที่ ๒ เขาเรียกว่า ปัจฉิมนิเทศ ของโครงการ ณ บริเวณพื้นที่ ตำบลอุ่มเม่า ตำบลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ประชุม ในขณะนั้นมีความเห็นว่าเหมาะสมในการก่อสร้างท่าอากาศยานกาฬสินธุ์นะคะ โดยมีความเห็นร้อยละ ๘๒ ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยเพียงแค่ร้อยละ ๗ ประเด็นของการ ไม่เห็นด้วยเกิดจากประเด็นของการเวนคืนที่ดิน แล้วก็ไม่แน่ใจอีกร้อยละ ๑๑ จากผู้เข้าร่วม ประชุม แล้วก็ผู้มีส่วนได้เสียที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดค่ะ การพัฒนาการท่าอากาศยานสารสินธุ์ ดังที่ท่านสมาชิกได้เพิ่มเติมประเด็นที่บอกว่ากาฬสินธุ์ย่อมาจากส่วนหนึ่ง คือมหาสารคามกับ กาฬสินธุ์นะคะ ซึ่งเป็นความงดงามของชื่อแล้วก็การผนึกกำลังของการมีส่วนร่วมของพี่น้อง ประชาชนทั้ง ๒ จังหวัด จะเห็นว่าท่าอากาศยานสารสินธุ์ของภาครัฐของกระทรวงคมนาคม มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้เกิดการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางท่าอากาศยาน แล้วก็เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้การเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แหล่งโบราณคดี แหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน ตามคำขวัญของจังหวัด รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวยุคก่อนประวัติศาสตร์ แล้วเมืองกาฬสินธุ์เป็นเมืองงดงามของทั้งภูมิศาสตร์ และงดงามทั้งผู้คนที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิม แล้วก็เป็นวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนานของพี่น้องคนอีสานนะคะ กระทรวงคมนาคม ก็ได้พิจารณาความเห็น แล้วก็ได้เตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน แล้วก็โครงข่าย เพื่อรองรับการเดินทางเรียกว่า Supply ให้มีความพร้อม รวมกระทั่งสอดรับกับความต้องการ ในการเดินทาง หรือเราเรียกว่า Demand โดยบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ดังที่ท่านสมาชิกจากจังหวัดมหาสารคามได้พูดเมื่อสักครู่นี้นะคะ ไม่ว่าจะเป็นงานในสังกัดของกระทรวงคมนาคมนั้น คือเตรียมการในเรื่องของถนน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก วิทยุการบินแห่งประเทศไทย รวมทั้งการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมการท่องเที่ยว สมาคมธุรกิจการบิน และสมาคมโรงแรม นี่คือสิ่งที่ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับพี่น้อง ทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมหาสารคามค่ะ ท่านประธานที่เคารพคะ ดิฉันขอยืนยัน อีกครั้งหนึ่งต่อหน้าท่านสมาชิกนะคะว่า ทางกระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาระบบคมนาคม ในทุกจังหวัดของประเทศไทยให้กับพี่น้องประชาชนทุกจังหวัดค่ะ รวมทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์เอง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่นโยบายนี้ ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ที่ท่านต้องการให้มี การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย ทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นและจังหวัด ในภาคอีสานจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว และจังหวัดกาฬสินธุ์จะไม่ถูกเป็นเมืองรองอีกต่อไป ดิฉันถือโอกาสขอบคุณท่านสมาชิกนะคะ ทั้งท่านสมาชิกที่ยื่นกระทู้นี้ขึ้นมาถาม ทั้งท่านสมาชิก ที่เกี่ยวข้องนะคะ ขอบพระคุณท่านประธานค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เวลาท่านรัฐมนตรีหมดแล้ว ทีนี้ท่าน สส. กาฬสินธุ์ยังสงสัยอะไรไหม

นายประเสริฐ บุญเรือง กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม ประเสริฐ บุญเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๖ พรรคเพื่อไทย เมื่อสักครู่นี้ผมขอใช้สิทธิ ทางท่านผู้ตอบกระทู้พาดพิงผม เพราะว่าเอ่ยชื่อผมนะครับ เอ่ยชื่อผมในทางที่ดีครับ เพราะว่าพวกผมก็รอความหวังครับ รอความหวังในฐานะที่เป็น สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ได้เสนอแผนงานการก่อสร้างสนามบินของจังหวัด กาฬสินธุ์แห่งนี้ขึ้นในสมัยที่แล้ว ซึ่งปรากฏว่าวันนี้ก็ได้รับคำตอบที่ทางท่านรัฐมนตรี ทางนายกรัฐมนตรีท่านได้มองเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยว เมืองรองนะครับ ก็เป็นสิ่งที่ดีใจที่ท่านรัฐมนตรีก็ได้ยืนยันว่าการก่อสร้างสนามบินกาฬสินธุ์ ที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ก็จะสำเร็จลุล่วง เพราะว่าทางมิติที่ทางรัฐมนตรีและกระทรวงคมนาคม ได้มองเห็นภาพความสำคัญของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองนั้น เข้าสู่การส่งเสริม การท่องเที่ยวสู่ภาพที่เป็นมิติที่กว้างขึ้นในประเทศ แล้วการขนส่ง การจราจรอะไรต่าง ๆ ที่เป็นที่มุ่งหวังของพี่น้องประชาชน

นายประเสริฐ บุญเรือง กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

จังหวัดกาฬสินธุ์ก็ถือว่าเป็นจังหวัดที่อยู่ท้าย ๆ ในด้านการพัฒนา ศักยภาพ การส่งเสริม ซึ่งปรากฏว่าถ้ามีสนามบินเกิดขึ้นนะครับ พวกผมก็จะได้นำเรื่องในวันนี้ ไปแจ้งต่อพี่น้องชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ว่าทางกระทรวงคมนาคมและทางรัฐบาลได้มองเห็น ความสำคัญเรื่องการก่อสร้างสนามบินเพื่อให้พี่น้องสัญจรไปมาสะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น และสิ่งต่าง ๆ ที่ความคาดหวังในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองด้านวัฒนธรรมของ จังหวัดกาฬสินธุ์ก็จะประสบผลสำเร็จ ขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีแทนพี่น้องชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอกราบขอบคุณท่านประธานนะครับ

นายประเสริฐ บุญเรือง กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

และเรื่องต่อไป ผมยังไม่เคยเข้ามาห้องนี้ ผมในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ท่านประธานก็อยู่ ณ สถานที่ตรงนี้นะครับ ผมไปดูงานมาหลายพื้นที่ ดูแล้วรู้สึกว่า ห้องนี้ไม่เหมาะสมที่จะเป็นห้องประชุม โต๊ะก็รู้สึกว่า ๑,๕๐๐ บาท ผมขอฝากติงไว้นะครับ อันนี้ไม่ได้พาดพิง แต่ว่ามองดูในนามตัวแทนของพี่น้องประชาชน แล้วก็ในฐานะเป็นประธาน คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร ดูแล้วเหมือนเป็นโต๊ะอาหารนะครับ ไม่ใช่ ห้องประชุม ขอฝากท่านประธานไปดูแลเรื่องนี้ด้วยนะครับ กราบขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ครับ พอดีว่าเราได้ดำเนินการเริ่มก่อสร้างแล้วนะครับ ห้องกระทู้ถามแยกเฉพาะไว้ชั้น ๒ ใกล้ ๆ กับห้องประชุมของเราไปทำใหม่แล้วให้สมศักดิ์ศรี เมื่อสักครู่รัฐมนตรีมาก็มีกล่อง วางอยู่ข้างหน้า อันนี้ทางฝ่ายเลขานุการได้ตั้งงบประมาณทำที่ให้เหมาะสมแล้วนะครับ ท่านประธาน อย่างไรต้องรบกวนท่านประธานใหม่นะครับ ก็ขอบคุณท่านรัฐมนตรี แล้วก็ ท่านผู้ถามกระทู้นะครับ ท่านผู้ช่วย ผู้ชี้แจงทุกท่านครับ ท่าน สส. ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๖ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๓๒ เรื่อง ปัญหาที่ดินทำกินของ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี (นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ในการนี้เพื่อประโยชน์ในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ผมได้อนุญาต ให้ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสนับสนุนข้อมูลในการตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ดังนี้ ท่านที่ ๑ พลตรี วินชัย จันทมาศ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุน กรมส่งกำลังบำรุง ทหารบก กองทัพบก ท่านที่ ๒ พันเอก ปราสัย ภู่ตระกูล ผู้อำนวยการกองอสังหาริมทรัพย์ สำนักสนับสนุนกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก กองทัพบก ผมได้อนุญาตให้พี่น้องประชาชน ผู้มีส่วนร่วมเข้ารับฟังการตอบกระทู้ถามดังนี้ ท่านที่ ๑. คุณจำเนย รอดผา ไม่ได้มานะครับ ท่านที่ ๒ ท่านเกษม ดวงชัย ยกมือด้วยคนไหน ท่านเกษมมาไหม ท่านที่ ๓ ท่านจรรยา วงเที่ยง ท่านที่ ๔ ท่านสุพรรณี แก้วบัวดี ท่านที่ ๕ ร้อยตรี สำราญ วงษ์น้อย ท่านที่ ๖ ท่านวิโรจน์ อุ่มบัว ท่านที่ ๗ ท่านชุติมา ลิ้มวิไลกาญจน์ ท่านที่ ๘ ท่านวิโรจน์ เรือนงาม ท่านที่ ๙ ท่านสิณี เกตุศรี ท่านที่ ๑๐ ท่านสมคิด บุญมา ยินดีต้อนรับนะครับ ครั้งแรกใช่ไหมครับที่ได้มา ท่าน สส. ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาของจังหวัดกาญจนบุรี ต้องขอบคุณแทนพี่น้องประชาชน ที่ท่านได้ให้ความสำคัญกับปัญหานะครับ เชิญท่านอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ ถามคำถาม ถามได้ ๒ ครั้ง เชิญครับ

นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ กาญจนบุรี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี เขต ๑ พรรคเพื่อไทยครับ ก่อนอื่นต้องขอบคุณท่านประธานที่บรรจุกระทู้ถามแยก ฉบับที่ ๑๓๒ แล้วก็ต้องขอบพระคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่ท่านมาตอบด้วยตัวเองครับ ถึงปัญหาของพี่น้องประชาชนของคนเมืองกาญจนบุรีครับ กระผมเองต้องกราบถาม ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมดังต่อไปนี้ครับ กาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่เป็น อันดับ ๓ ของประเทศไทย แต่ด้วยสภาพประเทศของจังหวัดกาญจนบุรีทำให้สามารถ ใช้ประโยชน์ได้จริงเพียง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ครับท่าน โดยร้อยละ ๓๐ ก็เป็นพื้นที่ที่ถูกจำกัดด้วย ข้อกฎหมายหรือบางพื้นที่ก็เป็นเขตทับซ้อนที่ดินที่มีภาครัฐเป็นเจ้าของ โดยพื้นที่เหล่านี้ มีประชากรอาศัยอยู่เป็นระยะเวลานาน มีความเข้าใจว่าตัวเองเป็นผู้ครอบครองที่ดินเหล่านี้ รวมทั้งประชาชนบางส่วนยังได้ยื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่หรือเรียกว่า ภ.บ.ท. ๕ ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนเป็นแบบบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภ.ด.ส. ๕ โดยไม่มีหน่วยงานใด แจ้งประชาชนในพื้นที่ให้ทราบ และที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของรัฐ และมีข้อห้ามตามกฎหมาย ที่ไม่สามารถครอบครองหรือมีเอกสิทธิ์ได้ ต่อมาได้มีคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. มีหน้าที่กำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายเฉพาะหน้าและนโยบายระยะยาว เพื่อให้ส่วนงานระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ในระดับปฏิบัตินำไปดำเนินการให้เป็นไป ตามนโยบายที่กำหนดไว้ รวมทั้งได้มีการออกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งทำให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวได้รับผลกระทบ เรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต ทำให้ประชาชนในพื้นที่ของกระผมได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถขอไฟ ขอน้ำในพื้นที่ดังกล่าวได้ รวมทั้งประชาชนที่ไม่มีบ้านเลขที่และไม่สามารถขอน้ำ ขอไฟ ได้เช่นกัน ทำให้เกิดการต่อพ่วงไฟฟ้าจากบ้านหลังหนึ่งไปอีกหลังหนึ่ง ซึ่งบางครั้งทำให้ไฟฟ้า ต้องใช้ในหลายครัวเรือน ดังนั้นเรื่องนี้ควรจะเร่งดำเนินการให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชน สามารถขอน้ำขอไฟได้ โดยเฉพาะพื้นที่ทหารหรือผู้ถือครองสิทธิตาม ภ.บ.ท. ๕ ซึ่งที่ผ่านมา ผู้ถือครองสิทธิเหล่านั้นสามารถขอน้ำขอไฟได้ ผมจึงเรียนถามว่ากระทรวงกลาโหมมีนโยบาย นำเรื่องที่ดินของรัฐ โดยเฉพาะพื้นที่ทางทหารหรือผู้ครองสิทธิตาม ภ.บ.ท. ๕ ในพื้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี โดยหารือกับคณะรัฐมนตรีเพื่อขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการ บริหารราชการแผ่นดินตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด ในคำถามที่ ๑

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านรัฐมนตรียืนขึ้นครับ เชิญครับ

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานครับ ต้องกราบเรียนว่าตื่นเต้นกับสถานที่ใหม่ไม่คุ้นเคย เป็น สส. มานานไม่เคยมา ห้องนี้ เคยตอบแต่ห้องใหญ่ ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมท่าน สส. อัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ นะครับว่า ท่านได้สนใจปัญหาพี่น้องเป็นอย่างดี ก็ดีใจแทนพี่น้องชาวกาญจนบุรี แล้วก็ดูเหมือนว่าท่าน ได้สนใจปัญหานี้มานานด้วย แล้วก็เข้าใจถึงความเดือดร้อน เพราะฉะนั้นอันนี้ขอบคุณแทนพี่น้อง ชาวกาญจนบุรี ผมเองในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอตอบในข้อแรกก่อนนะครับว่า กระทรวงกลาโหมมีนโยบายที่จะนำที่ดินเหล่านี้ โดยเฉพาะในการครอบครองของทหาร ได้ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนไหม โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้บรรลุไปถึงขั้นที่พี่น้อง หายจากความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องสาธารณูปโภค เรื่องน้ำ เรื่องไฟด้วย ผมเรียนอย่างนี้ครับว่ากระทรวงกลาโหมโดยรัฐบาลมีนโยบายชัดเจน ว่าเราจะนำที่ดินในการ ครอบครองของทหารให้ออกมาใช้เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนมากที่สุด ให้มากที่สุด ทีนี้ก็ต้องทำความเข้าใจนิดหนึ่งว่านำเอาที่ดินอย่างไร ส่วนไหนมา แล้วจะใช้อย่างไรได้บ้าง อันนี้จะตอบกว้างนิดหนึ่ง ที่ดินที่ว่านั้นต้องเป็นที่ดินที่ทหารไม่มีความจำเป็นต้องใช้ หรือความจำเป็นที่ว่านั้นก็ให้ใช้เท่าที่จำเป็นที่สุด เหลือจากนั้นให้นำให้ประโยชน์ ให้กับ ประชาชนใช้ ทีนี้มันก็จะเกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันอยู่เยอะเลยว่าทหารมีที่ดินเยอะ ทหารครอบครองไว้เยอะ โดยเฉพาะกาญจนบุรีฟังแล้วตกใจเลย ผมมาเป็นรัฐมนตรีใหม่ ๆ ฟังแล้ว ตกใจเลย ที่ดินทหารที่มีไว้เกือบ ๕ ล้านกว่าไร่ แต่มาดูจริง ๆ แล้วปรากฏอันนั้นเป็นข้อมูลในอดีต ทีนี้คนก็ยังเข้าใจข้อมูลนี้อยู่ พอมาดูการจำแนกการจัดสรรให้หลายหน่วยงานที่นำไปใช้ เช่น เป็น ส.ป.ก. บ้าง ที่ดินบ้าง อะไรบ้าง หน่วยงานราชการขอไปใช้บ้าง จริง ๆ เหลือกับทหารไว้ ประมาณ ๑,๓๐๐,๐๐๐-๑,๕๐๐,๐๐๐ ไร่ แต่ก็ยังถือว่าเยอะอยู่ ถ้าพูดถึงในความรู้สึกของ ประชาชนถือว่าเยอะ ทหารเอาไปไว้อะไรขนาดนั้น ผมมาเป็นรัฐมนตรีผมก็ตั้งคำถามนี้ เหมือนกันว่าเราเอาไว้เยอะไปหรือเปล่า ก็ไปดูความจริงมีข้อจำเป็นเหมือน ๆ กันอยู่หลาย ๆ ค่าย ว่าลำพังที่ตั้งหน่วยมันใช้ไม่เยอะหรอก ตั้งค่าย ตั้งหน่วยงานใช้ ๔-๕ ไร่ ๑๐ ไร่ จบ แต่ว่า ที่มันใช้เยอะเป็นสนามฝึก ท่าน สส. ครับ เป็นส่วนที่ฝึก ซึ่งทหารก็เหมือนนักรบ เหมือนนักมวย ถ้าไม่ฝึกซ้อมจะไปชกจริงก็ชกไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องฝึกซ้อมเตรียมความพร้อม มีปืนแต่ว่า ถ้าไม่ซ้อมก็ยิงไม่แม่น ท่านประธานครับก็ต้องซ้อมให้แม่น โดยเฉพาะปืนที่เป็นปัญหาที่สุด คือปืนใหญ่ ปืนใหญ่มันใช้ยิงระยะไกล มันต้องซ้อมไกลแล้วซ้อมพื้นที่จริงด้วย แล้วที่เป็น ปัญหามากก็คือ ในอดีตปืนใหญ่มันยิงกันประมาณไม่เกิน ๑๐ กิโลเมตร เวลายิงมันได้แค่นั้น มันก็ลง ๑๐ กิโลเมตร เพราะฉะนั้นความจำเป็นที่ต้องซ้อมมันก็เอาแค่ ๑๐ กิโลเมตรก็พอ แต่วันนี้เทคโนโลยีทางยุทโธปกรณ์พัฒนากันมาก ไม่นานที่เรามีปัญหาความขัดแย้งกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ท่านประธานครับ พบว่าเพื่อนบ้านยิงได้ ๔๐ กิโลเมตร เราเลยมาปรับ วันนี้เราก็ต้องพัฒนาปืนใหญ่ของเราให้ยิงได้ไกลเหมือนเขา แล้วมีโอกาสจะยิงได้เป็น ๑๐๐ กิโลเมตรด้วยในอนาคต แต่วันนี้ ๔๐ กิโลเมตร เพราะฉะนั้นในแถวขอนแก่น แถวอีสานหลายที่มีปัญหาเรื่องนี้ ทหารก็ขอใช้สนามฝึกที่กว้างขึ้น ที่กว้างขึ้นมันพูดง่าย ๆ ว่า ถ้ายิงจริง ๔๐ กิโลเมตร มันก็ต้องใช้สนามซ้อม ๔๐ กิโลเมตร เพราะฉะนั้น ๔๐ กิโลเมตร ที่จะยิงไปตกพื้นที่ว่าง ๆ ตรงท้องโค้งมันเอาไว้เฉย ๆ ดูแล้วมันเสียดายมาก เสียดายมาก ควรให้ชาวบ้านใช้ ดูแล้วคุณใช้ที่ดินเปลืองอะไรอย่างนี้ แต่ไปดูจริง ๆ แล้วก็ให้ชาวบ้าน ไปใช้ก็เกิดความอันตราย แต่ว่าก็ได้ผ่อนคลายอยู่ในพื้นที่ให้ชาวบ้านเข้าใช้ในหลายพื้นที่ แต่ว่ามันต้องทำพร้อมกับเรื่องของความปลอดภัย หลายที่ท่านประธานครับชาวบ้านไปทำนา ไปทำไร่อยู่ตรงท้องโค้ง แต่เดี๋ยวนี้ก็ถูกท้วงติงจากมาตรฐานของโลกหลายที่ด้วยว่า เราให้ชาวบ้านเสี่ยงภัยมาก บางอย่างมันยิงระเบิด บางครั้งมันไม่ระเบิดหมด มันไม่แตก มันเป็นกระสุนด้าน พอชาวบ้านเข้าไปก็เสี่ยง เอาล่ะอันนี้คือความจำเป็นที่เอาไว้ใช้ เพราะฉะนั้นหลังจากที่ไม่ได้ใช้ทำอย่างไร ต่อไปนี้ขณะนี้พอผมเป็นรัฐมนตรีก็สำรวจก่อน สำรวจทั่วประเทศ จังหวัดกาญจนบุรีนี่คือที่แรกเลยผมเล็งไป ก็ถามกองทัพไทย กองทัพบก บอกว่าที่นี่เอาอย่างไรต่อ ผบ.ทบ. สูงสุดก็มารายงานผมว่าที่จังหวัดกาญจนบุรีนี่คงให้ ชาวบ้านได้เยอะอยู่พอสมควร แต่ขอเวลาในการไปจัดสรรหน่อย ไปดูหน่อย ทีนี้เอาเป็นว่า คราวก่อนที่หนองวัวซอได้ไปเกือบ ๑๐,๐๐๐ ไร่ แล้วก็ที่จังหวัดหนองบัวลำภูก็จะได้เพิ่มไป อีกเกือบ ๓,๐๐๐ ไร่ อันนี้ที่ให้ไปบ้างแล้ว ที่จังหวัดกาญจนบุรีตอนนี้เผอิญไม่ทราบว่า พิกัดไหน ถ้ารู้พิกัดแน่นอนผมให้ทางเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งรับผิดชอบเรื่องนี้ไปดูว่าที่ตรงนี้ คืนชาวบ้านได้ไหม พอดีท่านก็ไม่รู้พิกัด ถ้าท่านบอกพิกัดมาจะลงไปดูได้เลยว่าตรงนี้จำเป็น ไม่จำเป็น ถ้าไม่จำเป็นคืนให้เลย แต่ถ้าจำเป็นอาจจะต้องมาคุยกันนะครับ เพราะฉะนั้น เบื้องแรกก่อนว่าสักพักเจ้าหน้าที่ทหารจะลงไปดูพื้นที่กับท่าน สส. กับชาวบ้าน ให้ไปชี้ให้ดู ว่าพื้นที่ไหน พอผมรู้พื้นที่กระทรวงจะมาดูว่าถ้ามันไม่จำเป็น คืนให้ชาวบ้าน ถ้าจำเป็นก็คุยกับ ชาวบ้านให้เข้าใจ แล้วต้องหาที่ทดแทนให้ชาวบ้านไปอยู่ที่ทดแทน ถ้ามันจำเป็นให้อยู่ไม่ได้ล่ะ ทีนี้พอคืนไปก็จะมี Step อยู่ ท่านประธานครับ ที่ตรงนั้นมันเป็นที่ใคร ถ้าเป็นที่ของราชพัสดุ เราก็คืนให้กับราชพัสดุก่อน ทหารจะเอาไปคืนให้พี่น้องเลยไม่ได้ เพราะทหารขอใช้จากราชพัสดุมา เพราะฉะนั้นทหารจะต้องคืนให้ราชพัสดุ แล้วราชพัสดุก็จะต้องไปให้พวกเราต่อ บางที่มันเป็น ของกรมป่าไม้ก็คืนกรมป่าไม้ กรมป่าไม้จะไปจัดการให้เราต่อ บางที่เป็นของกรมที่ดิน บางที่ เป็นที่ของ ส.ป.ก. อยู่ เพราะฉะนั้นมันมีหลายเจ้าภาพ หลายเจ้าของ ทีนี้หลายเจ้าของ ผมก็จะบอกต่อไปอีกมันเป็นปัญหาเหมือนกัน ว่าวันนี้ที่กาญจนบุรีส่วนหนึ่งที่มันไม่ถึงชาวบ้าน หน่วยงานหลายหน่วยราชการยังไม่ชัดเจนว่าเป็นใคร บางที่กรมธนารักษ์บอกของเรา ราชพัสดุ กรมป่าไม้ก็มาบอกของกรมป่าไม้ บางครั้งกรมที่ดินก็บอกอันนี้เป็นที่สาธารณะ เลยเป็นพื้นที่ที่มีปัญหากันอยู่ เพราะฉะนั้นพอคืนแล้วจะไปดูว่าตรงที่ท่านบอกมันเป็นที่ ของใคร แต่ที่นั่นส่วนใหญ่เป็นราชพัสดุ เท่าที่ทราบจะเป็นที่ราชพัสดุ ทีนี้ถ้าราชพัสดุจะต้อง เข้าไปกระบวนการของกรมธนารักษ์ พูดง่าย ๆ ว่าถ้าจะไปใช้ที่กรมธนารักษ์ก็จะมาดู พิสูจน์สิทธิก่อน ต้องพิสูจน์สิทธิก่อนว่าชาวบ้านมาอยู่ก่อน ท่าน สส. ท่านประธานครับ ถ้าชาวบ้านมีเอกสารสิทธิที่มันถือว่าเป็นเอกสารที่เอามาดู น.ส. ๓ ส.ค. ๑ แต่เรียน จริง ๆ เลย ภ.ท.บ. ๕ เขาไม่ถือว่าเป็นเอกสารสิทธิ จะเอามาพิสูจน์สิทธิไม่ได้ อันนี้ไม่ใช่กติกา หรือไม่ใช่กฎของกระทรวงกลาโหม เป็นเรื่องของกรมที่ดิน แล้วเป็นเรื่องของคณะกรรมการ นโยบายที่ดินแห่งชาติด้วย เพราะฉะนั้นถ้าใครมีเอกสารสิทธิมาพิสูจน์สิทธิ พอพิสูจน์สิทธิว่า เป็นของชาวบ้าน ชาวบ้านอยู่มาก่อนก็ต้องให้ชาวบ้าน แต่ถ้าไม่ใช่ของชาวบ้านก็เป็นของ กรมธนารักษ์หรือกรมป่าไม้ พอไปถึงกรมธนารักษ์ กฎหมายกรมธนารักษ์เขาก็จะให้เช่า ทีนี้ท่าน ก็ต้องเช่ากับกรมธนารักษ์ เช่าอย่างไร ทีนี้ก็มีปัญหากันที่จังหวัดอุดรธานีไปเคลียร์กันอยู่ กำลังจะจบ ก็มีอัตราเช่า มีค่าธรรมเนียม มีค่ารังวัด ทางโน้นก็โวยว่าแพง ท่าน สส. ตอนนี้ กรมธนารักษ์ ท่านประธานครับ เรียนด้วยความน่าดีใจสำหรับพี่น้องอยู่นะครับว่าค่าเช่าเขาคิด ไร่ละ ๒๐๐ บาท ที่หนองวัวซอไร่ละ ๒๐๐ บาท ตอนนี้ลดลงเหลือ ๒๐ บาท แล้วที่จังหวัด กาญจนบุรีผมได้รับรายงานว่าแปลงหนึ่ง ซึ่งกำลังไปจัดการกันอยู่ที่กองทัพไทยไปจัดการ จบแล้ว จบแล้วก็คือจัดให้ชาวบ้านเช่าได้ไร่ละ ๒๐ บาท จังหวัดอุดรธานี ๒๐๐ บาท พอจังหวัดกาญจนบุรี ๒๐ บาท ท่านประธานครับ จังหวัดอุดรธานีก็เลยขอ ๒๐ บาทด้วย ก็เลยได้ให้จังหวัดอุดรธานี ๒๐ บาท อันนี้เล่าตัวอย่างให้ฟัง ทีนี้ถ้าเป็นของป่าไม้อาจจะ ไม่ได้เช่านะครับ เพราะฉะนั้นต้องไปดูนิดหนึ่งว่าที่นี่เป็นของใคร ถ้าของราชพัสดุแล้วทหาร ใช้จริงไหม ถ้าทหารไม่ได้ใช้ทหารคืนให้ครับ ผมรับประกันได้ว่าโดยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ถ้าเป็นพื้นที่ที่ทหารไม่จำเป็นต้องใช้ ผมจะลงไปดูด้วยก็คืนให้ คืนแล้วก็ไปเข้ากระบวนการนั่นล่ะ กรมธนารักษ์ให้เช่าอะไรก็ว่าไป ถ้ากรมป่าไม้ก็ไม่เช่า

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้นฉบับ

ข้อต่อมาที่ท่านพ่วงท้ายว่าชาวบ้านไม่มีสาธารณูปโภคใช่ไหมครับ ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ท่านประธานครับ ตรงนี้ต้องยอมรับว่าเราได้รับการขอความร่วมมือจากคณะกรรมการ แก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐ เขาก็มีมาตรการในการแก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐ ในขณะที่ ส่วนหนึ่งเราอยากให้รัฐบาลใช้ ส่วนหนึ่งเราก็ป้องกันการบุกรุกเพิ่มเติม ในมาตรการ การบุกรุกเพิ่มเติมเขาก็ป้องกันอยู่ส่วนหนึ่ง ถ้าพบว่าเป็นการบุกรุกจริง ๆ ถ้าชาวบ้านเรา ในกลุ่มที่เจตนาอย่างนั้นจริง ๆ โดยมีนายทุนหนุนหลังจริง ๆ เขาก็ขอความร่วมมือมาว่า หน่วยงานที่ครอบครองอยู่อย่าเพิ่งอนุญาตให้ใช้ไฟ ให้น้ำ ถ้าให้ก็เหมือนกับส่งเสริม ให้เกิดการบุกรุกไม่จบ อันนี้ต้องยอมรับว่าแม้เราไม่อยากทำก็ขมขื่น ก็เห็นชาวบ้านเดือดร้อน แต่ว่าชาวบ้านมาขอไฟขอให้ทหารยอมให้ ทหารก็ได้รับการขอร้องจากกรรมการ กระทรวงมหาดไทยด้วย กรมที่ดินด้วย อะไรก็ขออย่าให้ แต่เราก็มีทางออกอยู่ว่าถ้ามัน จำเป็นจริง ๆ โดยเฉพาะกระทรวงกลาโหมมีหน่วยงานกรมพลังงานทหารอยู่ มีเรื่อง Solar Cell มีเรื่องไฟส่วนอื่นที่ไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า เราก็คิดที่จะไปทดแทนให้ แต่ว่าทุกครั้ง ที่จะต้องไปทำอย่างนั้น เราก็จะต้องทำความเข้าใจกับคณะกรรมการแก้ไขการบุกรุกที่ดินของ ประเทศด้วย เหมือนกับว่าอีกพวกหนึ่งห้ามแล้ว กองทัพต้องไป อย่างนี้กองทัพทำอย่างไร เพราะฉะนั้นเบื้องต้นรับว่าเอาล่ะถ้ามันเป็นพื้นที่ไม่จำเป็นคืนให้ แล้วก็เรื่องใช้น้ำ ใช้ไฟ เรื่องสาธารณูปโภคไม่ใช่ปัญหาเลย ถ้าเป็นพื้นที่เราคืนให้แล้วไม่คัดค้าน แต่ถ้าเป็นพื้นที่จำเป็น จะมาคุยกันว่าจะหาพื้นที่ทดแทนให้นะครับ ถ้าเป็นทหารต้องฝึก ต้องอยู่ ต้องทดแทนให้ แล้วถ้าทดแทนให้ แล้วของกระทรวงกลาโหมไปทำสาธารณูปโภคพื้นฐานให้หมด อย่าว่าแต่ไฟเลย ที่ทำกิน ถนนหนทาง แหล่งน้ำไปทำให้ ที่จังหวัดอุดรธานีทำอย่างนี้หมด ท่านประธานครับ เบื้องต้นขอตอบเท่านี้ก่อน ถ้าไม่ชัดเจนท่าน สส. ถามเพิ่มเติมได้ เชิญครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านรัฐมนตรีใช้เวลาหมดไปเลย เพราะมันต้องอธิบายเยอะ เชิญคำถามที่ ๒ เชิญครับ

นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ ต้นฉบับ

ครั้งที่ ๒ ก็คือจริง ๆ ท่านรัฐมนตรี ตอบมาบ้างบางส่วนแล้วครับ แต่ผมอยากย้ำเรื่องปัญหาของชาวบ้านครับท่านรัฐมนตรี ว่าปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่าพื้นที่เมืองกาญจนบุรีนอกจากเป็นพื้นที่ทหารแล้ว ส่วนใหญ่ก็เป็น พื้นที่ที่ชาวบ้านทำมาหากินด้วยครับ แน่นอนครับ ตอนนี้สิ่งที่ชาวบ้านมาเรียกร้องผมในฐานะ สส. ของเขาก็คือการที่พวกเขาก็ถูกทิ้งในทุกยุค ทุกสมัย จนบางคนก็ต้องโยกย้ายถิ่นฐานครับ ซึ่งผมคิดว่ามันไม่ Fair สำหรับประชาชนที่เขาอยู่ทำมาหากินมาก่อน แล้วผมก็คิดว่า อันนี้มันเป็นสิทธิโดยพื้นฐานอันชอบธรรมของประชาชนที่ควรจะได้รับ เขาไม่ได้เรียกร้องไป มากกว่าการขอน้ำ ขอไฟ ฉะนั้นผมในฐานะ สส. ของกาญจนบุรี เขต ๑ ซึ่งเป็นพื้นที่ทหารด้วย ก็อยากวิงวอนผ่านไปยังท่านรัฐมนตรีครับ ให้เข้ามาจัดการดูแลแล้วก็แก้ไขปัญหานี้ เพราะผมเองเชื่อว่ารัฐบาลของท่านนายกรัฐมนตรีพยายามที่จะทำเรื่องนี้ให้กับประชาชน ดังนั้นคำถามที่ผมอยากจะถาม แล้วก็อยากตอกย้ำไปก็คือท่านจะสามารถอนุโลม หรือช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชน ในเรื่องขอน้ำ ขอไฟ ให้กับประชาชน คนเมืองกาญจน์ได้อย่างไรครับท่าน ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านรัฐมนตรีครับ

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้นฉบับ

ท่านประธาน ที่เคารพครับเข้าใจว่าใช้เวลาเกิน แต่ว่าถ้าเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนก็อาจจะต้อง ขอให้ท่านประธานขออนุเคราะห์เวลา ผมเรียนเพิ่มเติมนิดหนึ่งผมตอบไม่หมดว่าเป็นความ โชคดีของพี่น้องอยู่ว่าเรายังมีความหวังอยู่อย่างหนึ่ง ก็คือวันนี้การแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐ โดยเฉพาะกรณีที่รัฐกับราษฎรบุกกันอะไรกัน ไม่รู้ใครบุกใคร มันมีพื้นฐานของปัญหา อยู่อย่างหนึ่ง ท่านประธานครับ ประเทศเรามันถือแผนที่คนละใบ กรมที่ดินก็ถือแผนที่ ของกรมที่ดิน กรมธนารักษ์ก็ถือของกรมธนารักษ์ กรมป่าไม้ก็ถือของกรมป่าไม้ เขาถือที่ดิน คนละแผ่นมันทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนใหญ่มาก ไม่รู้ใครผิด ใครถูก โทษชาวบ้านก็ไม่ได้ วันนี้ที่ดินของประเทศไทย เรียนพี่น้องประชาชนให้ทราบประเทศไทยมีที่ดินทั้งหมด ๓๕๐ ล้านไร่ โดยประมาณ ๓๕๐ ล้านไร่ นี่ที่ตรวจโดยเทคโนโลยีแม่นยำแล้ว ๓๕๐ ล้านไร่ แต่ไปดูเอกสารสิทธิที่รัฐถืออยู่ ทุกกรมถืออยู่ บวกกับชาวบ้านถืออยู่ ท่านรู้ไหมว่าบวกแล้ว เป็นเท่าไร บวกแล้วท่านประธาน เป็น ๕ ล้านไร่ แสดงว่ามันผิดอยู่ตั้งเกือบครึ่งต่อครึ่ง ที่ผิดมาคือการออกทับซ้อนกัน รัฐต่อรัฐก็ทับกัน ๓ กรม ๔ กรม ทับกัน รัฐไปทับชาวบ้านก็มี แล้วไปออกชาวบ้านทับรัฐก็มี เพราะฉะนั้นปัญหานี้ก็ถูกแก้โดยวันนี้มีคณะกรรมการ นโยบายที่ดินแห่งชาติ สิ่งแรกเลยที่เขาทำคือวันนี้เป็นความหวังของพี่น้องนะครับว่า ทำ One Map ครับท่านประธาน One Map ก็คือต่อไปนี้ทำเลยให้มันมีใบแผ่นเดียว ทุกคน ยึดแผนที่แผ่นเดียวกัน เขาเรียกว่า One Map ถ้าแผ่นเดียวมันจะรู้ไหมว่ามันจะหายไปเยอะ ในที่สุด ๕ ล้านไร่ ที่มันเกินจะต้องเหลือตามความเป็นจริง ๓๕๐ ล้านไร่ เพราะฉะนั้นทีนี้ใคร จะต้องถูกยกเลิก วันนี้ของกรมธนารักษ์ถูกยกเลิกเยอะที่จังหวัดหนองบัวลำภู ท่าน สส. ครับ ท่านประธานครับ ถูกยกเลิกกลายเป็นของกรมป่าไม้อย่างเดียว แล้วถ้าฉบับนี้เสร็จ ถ้า One Map เสร็จ ดีไม่ดีพี่น้องได้ที่กลับคืนมาเยอะเลย ที่เถียงกันว่าชาวบ้านไปทับที่ หรือหลวงทับที่ราษฎร์ เอาเข้าจริงถ้า One Map ออกมามันอาจจะเป็นของเราทั้งหมดก็ได้ ของรัฐที่ครอบครองอยู่อาจจะยกเลิกเลย อันนี้กำลังทำอยู่ แล้วท่านรู้ไหมว่าใครทำ โชคดีนะ ท่านประธานครับ ประธานคณะกรรมการที่ทำเรื่อง One Map คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมเป็นประธาน ก็มีเจ้ากรมแผนที่ทหาร แล้วก็เชิญทุก ๆ กรมมานั่งด้วยกัน ผมก็ทำเสร็จไปแล้วหลายจังหวัด แต่เข้าใจว่าเหลือที่จังหวัดกาญจนบุรียังไม่เสร็จใช่ไหมครับ One Map ยังไม่จบ เพราะจังหวัดกาญจนบุรีทำยากมากกว่าทุกที่ จังหวัดอื่นจบ อย่างจังหวัดหนองบัวลำภูล่าสุดผมไป Clear ให้ สู้กันมา ขัดแย้งกันมา ตั้งแต่ยุค ผกค. ไม่รู้ กี่ช่วงอายุคน ๔ ช่วงอายุคนไม่จบ พอผมไป ผมไปเอา One Map มาเผอิญตรงนั้น One Map มันจบ พอเอา One Map มากาง ปรากฏว่ากรมธนารักษ์ถอยไปไม่ใช่ที่คุณ กรมที่ดินถอยไป เหลือเฉพาะกรมป่าไม้กับชาวบ้าน ชาวบ้านก็ได้ที่มาเยอะ เพราะฉะนั้นอันนี้คือกาญจนบุรี ท่านรอนิดหนึ่ง ถ้า One Map จบ ผมว่าไม่รู้ของใครเป็นของใคร พี่น้องที่เคยบอกว่าบุกรุก อาจจะเป็นของเราก็ได้ อาจจะเป็นของพี่น้องก็ได้ หรืออาจจะเป็นของกรมไหนก็ได้ แต่เมื่อ เป็นของกรมไหนก็ตาม ก็จะเข้าสู่กระบวนการแก้อีกแบบหนึ่ง คำถามที่ท่านถามผมยังตอบ ไม่ตรง จะให้ตรงเลยครับว่าเรื่องของการผ่อนปรนอนุโลม กองทัพมีคณะทำงานขึ้นมา ชุดหนึ่งอยู่ ว่าอย่างนี้ล่ะที่เหมือนพี่น้องเอาอย่างไร เราก็มีเครื่องไม้เครื่องมือที่จะไปช่วย พี่น้องได้เยอะล่ะ ก็รับปากว่าโดยนโยบายและทิศทางกระทรวงกลาโหมจะมีการผ่อนปรน ให้มากขึ้น แล้วไม่ผ่อนปรนอย่างเดียวเราก็จะเข้าไปช่วย เพราะฉะนั้นในรายละเอียดจริง ๆ พอเราไปดูที่แล้วคุยกัน เดี๋ยวผมอาจจะลงไปดูเองนะครับ ก็ชวนท่าน สส. ไปด้วยนะครับ ถ้าท่านประธานว่างก็จะชวนท่านประธานไปด้วยไปช่วยกันดู เพราะว่าปัญหาอย่างนี้มันจะ มาที่ท่านประธานอีกเยอะ ก็เลยตอบประมาณนี้ครับ ท่าน สส. ครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ก็จบคำถามนะครับ ก็อยากจะฝากท่านรัฐมนตรีว่าปัญหาเร่งด่วน ก็คือขอน้ำ ขอไฟ ขอชั่วคราว ได้ไหมนะครับ ท่านส่งใครไปดูว่าขอชั่วคราว ไฟก็ชั่วคราว น้ำก็ชั่วคราวใช่ไหมครับ อันนี้คงไม่มี ปัญหาอะไรใช่ไหม ท่านรัฐมนตรีครับ

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้นฉบับ

ผมถามพี่น้องนิดหนึ่ง ตอนนี้ที่ทะเบียนบ้านเราอยู่นี่ ออกทะเบียนบ้านชั่วคราวหรือทะเบียนบ้านถาวรครับ

ร้อยตรี สำราญ วงษ์น้อย ต้นฉบับ

ทะเบียนบ้านชั่วคราวครับ ถาวรก็มีครับ

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้นฉบับ

นี่ก็เป็นปัญหาอยู่ ท่านประธาน คือที่ไปที่มาของทะเบียนบ้านชั่วคราว ก็คือเขาไปพบว่าที่ตรงที่เราอยู่ถาวรก็มี ชั่วคราวก็มี ผมจะแยกแยะให้ดู เขาไปตรวจสอบโดยการพิสูจน์สิทธิมาชั้นหนึ่งแล้ว ถ้าพบว่า ใครไม่ได้อยู่ในเกณฑ์บุกรุกเขาก็จะออกถาวรให้ ถ้าในเกณฑ์ที่บุกรุกหรือยังไม่ชัดเจนจะเป็น ชั่วคราว แต่ชั่วคราวก็เป็นปัญหาเหมือนกัน ถ้าใบทะเบียนบ้านชั่วคราวเขาก็ไม่ให้ไปใช้สิทธิ ในการขอออก อันนี้คือกระทรวงมหาดไทยไม่ใช่กระทรวงกลาโหมนะครับ กระทรวงมหาดไทย ก็ไม่ให้ไปขอออกสาธารณูปโภค ไม่ให้ แต่เอาล่ะไม่เป็นอะไรครับ ทุกกระทรวงอยู่ภายใต้ นโยบายรัฐบาลนายกรัฐมนตรีคนเดียว ก็จะไปคุยกับกระทรวงมหาดไทย คุยกับทุกส่วนแก้ไขให้ ในอีกมิติหนึ่งให้ได้ ใช้น้ำ ใช้ไฟไปก่อนครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ก็ฝากรัฐมนตรีว่างก็ไปเยี่ยมท่าน สส. หน่อยนะครับ

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้นฉบับ

ครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

จังหวัดกาญจนบุรียินดีต้อนรับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ก็หมดคำถามนะครับ ต้องขอบคุณท่านรัฐมนตรีที่ได้อธิบายนะครับ เพราะว่าเรื่องนี้ต้อง อธิบายกันเยอะ เพื่อความเข้าใจนะครับ ไหน ๆ มาแล้วอยากจะแสดงความคิดเห็นใช่ไหมครับ เชิญ ให้โอกาส ท่านมาไกล

ร้อยตรี สำราญ วงษ์น้อย ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม ร้อยตรี สำราญ วงษ์น้อย ผมต่อสู้เรื่องนี้ คือผลักดันพยายามช่วยเหลือชาวเมืองกาญจน์มาโดยตลอด ที่ดินของทหาร ที่เขตจังหวัดกาญจนบุรีทั้งจังหวัดครับท่าน ที่ดินแปลงใดถ้าไม่ได้ขึ้นเอกสารสิทธิก็คือ ที่ดินเขตทหารครับท่าน แม้กระทั่งลูกปลูกบ้านแยกจากพ่อแม่มาอยู่ติดกัน อยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นชุมชนหนาแน่นแล้วไม่มีเอกสารสิทธิ ย่อมจะขอไฟฟ้าก็ไม่ได้ครับท่าน อยากจะให้ ท่านรัฐมนตรีท่านช่วยคือลักษณะผ่อนปรน ให้ท่านสั่งการที่มณฑลทหารบกที่ ๑๗ ให้อนุญาต ยินยอม คราวที่แล้วผมยื่นถวายฎีกาอยู่ครั้งหนึ่ง ได้รอบ ๆ ค่าย ๑,๐๐๐ กว่าครัวเรือน แล้วหลังจากเปลี่ยน ผบ.มทบ. ๑๗ คนใหม่ เมื่อปีที่แล้วมาไม่ได้เลยครับท่าน ยื่นเรื่อง ถวายฎีกา หรือยื่นเรื่องต่อส่วนราชการต่าง ๆ ก็ไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่หมู่บ้านนั้นมีวัด มีชุมชนอยู่ อยู่หนาแน่น ไม่มีเอกสารสิทธิทั้งหมู่บ้านครับท่าน ก็คือที่ดินเขตทหารนั่นล่ะครับ ก็ไม่มี ไฟฟ้าใช้ เฉพาะที่ อบต. แก่งเสี้ยน ที่ผมเอาเอกสารมานี้ ๒๑๘ คน ทั่วทั้งจังหวัดขอไฟฟ้า ไม่ได้เกือบ ๓๐,๐๐๐ คนครับท่าน ข้อมูลนี้มีที่จังหวัดกาญจนบุรีครับท่าน เราเคยยื่นเรื่อง ไม่ได้สักทีครับ อยากจะฝากท่านคือให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมช่วยกรุณา สั่งการท่านผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๗ เพราะท่านมีอำนาจในการอนุญาตให้ตามมติ คณะรัฐมนตรีครับท่าน อนุญาตให้ประชาชนที่เดือดร้อนขอไฟฟ้าได้เลย เหมือนที่ผ่านมา ๑,๐๐๐ กว่าครัวเรือนที่ผ่านมาครับท่าน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญรัฐมนตรีครับ

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ไหน ๆ ก็ให้โอกาสได้ชัดเจนกัน ผมจะไปดูอีกทีนะครับ แล้วก็จะไปดูอีกทีว่าถ้ามันอยู่ ในอำนาจของผมก็เรียนว่าจะทำให้ โดยคิดเรื่องมนุษยธรรมนะครับท่านประธาน แล้วก็ที่ทหารที่กันไว้บอกนิดหนึ่งนะครับ ผมก็ได้รับข้อมูลว่าพี่น้องจังหวัดกาญจนบุรีโชคไม่ดี นิดหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ที่ตรงนี้มันจะมีพื้นที่สงครามเป็นสมรภูมิมาตลอด กับญี่ปุ่นบ้าง กับพม่าบ้าง ชนช้างอะไรกันเยอะ เพราะฉะนั้นมันเลยเป็นสมรภูมิเดิม พอเป็นสมรภูมิเดิม พูดง่าย ๆ ก็เป็นที่ทหารนั่นล่ะ และวันนี้กาญจนบุรีก็ยังไม่พ้นหรอก มันยังมีเขตต่อแดนกับพม่า พอมันมีเขตต่อแดนกับพม่า เขาเรียกว่าพื้นที่เพื่อความมั่นคง คำว่า ความมั่นคง ก็เลยสงวนไว้ ท่าน สส. ครับ สงวนไว้ว่าหลายอย่าง ถ้าให้พี่น้องเข้าไปอยู่ในพื้นที่นั้นสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหา ชายแดนกัน จุดเล็กก็จะลามเป็นจุดใหญ่ นั่นเหตุผลหนึ่ง

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้นฉบับ

เหตุผลที่ ๒ พื้นที่ความมั่นคงตามแนวชายแดนมันเป็นพื้นที่ยุทธการ ในอนาคตอาจจะต้องมีการสู้รบกัน ทางทหารเขาก็มองการณ์ไกลเขาก็สงวนไว้ หรือเคลื่อนทัพ เคลื่อนย้ายอะไรบ้าง อาจจะเป็นปัญหากับพี่น้องก็เลยสงวนไว้ เพราะฉะนั้นหลายอย่าง ประกอบกัน จังหวัดกาญจนบุรีก็เลยเป็นพื้นที่ทหารเยอะ แต่ว่าในยุคต่อไปนี้ก็คงเริ่ม ผ่อนคลายแล้วล่ะครับ ถ้านโยบายรัฐบาลเป็นแบบนี้ก็คงจะเริ่มลดน้อยถอยลง อันไหน ที่จะเอาออกได้ แบ่งได้ ก็คงจะเริ่มทำกันต่อนะครับ

ร้อยตรี สำราญ วงษ์น้อย ต้นฉบับ

กราบขอบพระคุณท่านครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ก็ให้เวลาท่าน สส. ประสานงานกับทีมงานของท่านรัฐมนตรีก่อนนะครับ เพื่อความแม่นยำ ชัดเจน จะได้แก้ปัญหาได้ลุล่วง ก็รอนิดหนึ่งนะครับ เชิญท่าน สส. จะฝากอะไร

นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ กาญจนบุรี ต้นฉบับ

ท้ายนี้ผมต้องขอบคุณ ท่านรัฐมนตรีนะครับ พอดีได้ฟังท่านแล้วผมรู้สึกเป็นความหวังให้กับชาวเมืองกาญจน์ครับ เพราะว่าต้องบอกว่าวันนี้จังหวัดกาญจนบุรีประชาชนเองลำบาก แล้วก็อย่างที่ผมมาเป็น สส. สมัยแรกด้วย สิ่งแรกที่เขาขอไม่ได้ขออย่างอื่นเลยครับ ขอแค่น้ำกับไฟฟ้า ฉะนั้นวันนี้ ผมเองก็มาทำหน้าที่ สส. ให้กับพวกเขานะครับ ก็อยากเรียนเชิญท่านรัฐมนตรีครับ ผ่านไปยังท่านประธานว่าอยากจะให้เข้ามาแก้ไขในอำนาจที่ท่านมีครับ เพราะผมเชื่อว่า สิ่งที่เราทำวันนี้ เราเป็นนักการเมือง เราทำเพื่อประชาชน วันนี้ท่านเองก็มาจากภาคของ การเมืองด้วย ฉะนั้นผมเองเชื่อว่าท่านก็มีใจที่จะรักประชาชนเหมือนเช่นเดียวกับผม แล้วสิ่งที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้สั่งการครับ ผมก็ขอบพระคุณท่านรัฐมนตรีในที่นี้ แล้วก็ขอบคุณแทนพี่น้องชาวจังหวัดกาญจนบุรีที่จะมีไฟฟ้า มีน้ำประปาในอนาคตครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณท่านรัฐมนตรี ขอบคุณท่านผู้ชี้แจงครับ พี่น้องเดินทางโดยสวัสดิภาพนะครับ ก็มีความหวังแล้ว ให้รัฐมนตรีไปครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑.๓.๔ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ ๑๓๐ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการลดลง ของพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่องในคุ้งบางกะเจ้า (นายวีรภัทร คันธะ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม) ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ปอดกรุงเทพฯ นะครับ พร้อมหรือยังผู้ถามกับผู้ตอบ

นางจงเดือน สุทธิรัตน์ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ต้นฉบับ

เลื่อนค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เลื่อนนะครับ หมดแล้วนะครับ กระทู้ถามที่แก้ไขปัญหาการลดลงของพื้นที่สีเขียว อย่างต่อเนื่องในคุ้งบางกระเจ้า ของท่านวีรภัทร คันธะ ถามท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ด้วยสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มี หนังสือแจ้งว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมติดภารกิจสำคัญ ที่ได้มีการนัดหมายไว้ล่วงหน้าแล้ว ไม่สามารถตอบกระทู้ถามได้ จึงขอเลื่อนตอบกระทู้ถาม ออกไปเป็นวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๗ นะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

วันนี้ก็พิจารณากระทู้ถามแยกเฉพาะได้ครบถ้วนแล้วนะครับ ผมขอปิด การประชุมครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปเป็น การพิจารณา

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๒.๑๐ รับทราบรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ด้วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ รับทราบรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทราบ ตามมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ รายละเอียด ปรากฏตามเอกสารที่ได้แจ้งให้สมาชิกทราบไว้แล้วนะครับ มีสมาชิกท่านใดจะขอซักถาม ไหมครับ ถ้าสมาชิกจะขอซักถามผมจะได้เชิญผู้ชี้แจงมาชี้แจง มีสมาชิกจะซักถามนะครับ เพราะฉะนั้นผมจะอนุญาตให้ผู้ที่มีรายชื่อต่อไปนี้เข้ามาในห้องประชุมเพื่อชี้แจงนะครับ ๑. นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษา ด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ๒. นางสาวณฐากัญ กัจฉมาภรณ์ ผู้อำนวยการ กองบัญชีภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ๓. นางสาวรุ่งวิไล โคตรสาลี ผู้อำนวยการกลุ่มงาน ประมวลบัญชีแผ่นดิน ๔. นางรดา วุฒิวงศานนท์ นักบัญชีชำนาญการพิเศษ กรมบัญชีกลาง ๕. นางสาวยอดเยาวมาลย์ สุคนธพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ๖. นางสุเนตรา เล็กอุทัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบริหาร การชำระหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอเชิญครับ ในเบื้องต้นผู้มาชี้แจงมีประเด็นใดจะชี้แจงก่อนไหมครับ ก่อนที่ จะให้สมาชิกได้ซักถาม เชิญครับ

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ตำแหน่งผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ขอเสนอรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นไปตามในมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ ซึ่งมาตรา ๗๔ บัญญัติให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุด เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายใน ๔๕ วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณนั้น และภายใน ๖๐ วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอรายงานต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อรัฐสภา ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

๑. รายรับ รายรับของรัฐบาลแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ รายรับจากเงินรายได้ และรายรับจากเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยรัฐบาลได้ประมาณการ รายรับรวมทั้งสิ้นจำนวน ๓,๑๘๕,๐๐๐ ล้านบาท รายรับที่รัฐบาลได้รับรวมทั้งสิ้น ๓,๒๘๓,๔๐๘.๗๒ ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน ๙๘,๔๐๘.๗๒ ล้านบาท ประกอบด้วย รายรับประเภทรายได้แผ่นดิน มีการประมาณการรายได้จำนวน ๒,๔๙๐,๐๐๐ ล้านบาท และมีการรับรายได้แผ่นดินรวมทั้งสิ้น ๒,๖๕๐,๗๙๖.๓๓ ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน ๑๖๐,๗๙๖.๓๓ ล้านบาท ๒. รายรับประเภทเงินกู้เพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณ มีการประมาณการวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน ๖๙๕,๐๐๐ ล้านบาท และมีการรับเงินกู้รวมทั้งสิ้นจำนวน ๖๓๒,๖๑๒.๓๙ ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการจำนวน ๖๒,๓๘๗.๖๑ ล้านบาท

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

๒. รายจ่ายตามงบประมาณ รายจ่ายตามงบประมาณของรัฐบาล ประกอบด้วย รายจ่ายตามงบประมาณและรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ โดยรัฐบาลได้ประมาณการ รายจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๓,๑๘๕,๐๐๐ ล้านบาท รายจ่ายตามงบประมาณของรัฐบาลมีการใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นจำนวน ๓,๑๗๓,๖๔๐.๐๑ ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการจำนวน ๑๑,๓๕๙.๙๙ ล้านบาท ประกอบด้วย

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

๒.๑ รายจ่ายตามงบประมาณ มีการประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณ จำนวน ๓,๑๑๕,๓๖๙.๖๓ ล้านบาท และมีรายจ่ายจากเงินงบประมาณจำนวน ๒,๙๔๓,๘๗๘.๘๙ ล้านบาท และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีจำนวน ๑๖๐,๑๓๐.๗๕ ล้านบาท รวมรายจ่ายตามเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีทั้งสิ้นจำนวน ๓,๑๐๔,๐๐๙.๖๔ ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการจำนวน ๑๑,๓๕๙.๙๙ ล้านบาท

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

๒.๒ รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้มีการประมาณการจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน ๖๙,๖๓๐.๓๗ ล้านบาท มีรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เท่ากับประมาณการจำนวน ดังกล่าว

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

๓. รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีหรือเงินงบประมาณปีก่อน รัฐบาลมีเงิน กันไว้เบิกเหลื่อมปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๙๐,๔๕๓.๒๖ ล้านบาท มีรายจ่ายจากเงินกันไปเบิกเหลื่อมปีจำนวน ๑๗๓,๙๐๑.๓๓ ล้านบาท ต่ำกว่าเงินที่กันไว้ จำนวน ๑๖,๕๕๑.๙๓ ล้านบาท

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

๔. รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วย เงินคงคลังประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ จำนวน ๘๓,๘๑๔.๑๐ ล้านบาท เป็นรายจ่าย จากเงินคงคลังตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. ๒๔๙๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๗ (๑) คือรายจ่ายที่มีการอนุญาตให้จ่ายเงินได้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ แต่เงินที่ตั้งไว้มีจำนวนไม่เพียงพอและพฤติการณ์เกิดขึ้นให้มี ความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็ว

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

๕. ดุลของงบประมาณประจำปี เมื่อเปรียบเทียบผลรวมรายรับจำนวน ๓,๒๘๓,๔๐๘.๗๒ ล้านบาท กับรายจ่ายตามงบประมาณประจำปีจำนวน ๓,๐๑๓,๕๐๙.๒๖ ล้านบาท ทำให้มีรายรับสูงกว่ารายจ่ายตามงบประมาณประจำปี ๒๕๖๖ จำนวน ๒๖๙,๘๙๙.๔๖ ล้านบาท

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

๖. ดุลการรับจ่ายเงิน เมื่อเปรียบเทียบผลรวมรายรับจำนวน ๓,๒๘๓,๔๐๘.๗๒ ล้านบาท กับรายจ่ายที่รัฐบาลมีการเบิกจ่าย รวมทั้งสิ้นจำนวน ๓,๒๗๑,๒๒๔.๖๙ ล้านบาท ทำให้มี รายรับสูงกว่ารายจ่ายทั้งสิ้นจำนวน ๑๒,๑๘๔.๐๓ ล้านบาท จึงเรียนมา เพื่อโปรดทราบค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปก็จะขอเชิญ ให้สมาชิกได้อภิปราย ขณะนี้มีผู้ยื่นความจำนงจะขออภิปราย ๒ ท่าน ผมก็จะเรียกตามลำดับ ท่านแรก คุณฐิติมา ฉายแสง เชิญครับ ให้เวลาคนละ ๗ นาทีนะครับ

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ฐิติมา ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธานคะ ดิฉันได้อ่านรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณของกรมบัญชีกลางนี้นะคะ แล้วพบว่าประเด็นที่ดิฉันอยากจะพูดถึงก็คือว่าพบว่ามีเงิน เรียกว่ามีเงินเหลือหน่วยงาน ต่าง ๆ นี้นะคะ รายละเอียดรายจ่ายเงินงบประมาณประจำปี ๒๕๖๖ จะมีอยู่ช่องหนึ่ง จากเล่มนี้นะคะท่านประธาน จะมีอยู่ช่องหนึ่งจะพูดถึงเรื่องรายจ่ายจริงและเงินกันไว้ เบิกเหลื่อมปีที่ต่ำกว่างบประมาณรายจ่ายถึง ๑๑,๓๕๙ ล้านบาท ซึ่งถือว่ามันเยอะมากเลย ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นงบกลาง สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงนั้น กระทรวงนี้ ไปจนถึง เรื่องของจังหวัดต่าง ๆ อันนี้ดิฉันสนใจตรงนี้มาก ถามว่าทำไมสนใจ ท่านประธานที่เคารพคะ ดิฉันมีเรื่องที่อยากจะนำมาโยงเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็คือว่า ในพื้นที่ของดิฉันเองมีความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชน ซึ่งถ้าเงินเหลือแบบนี้ถามว่าทำไมหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช้เงินให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชน ขออนุญาตนำเสนอภาพแล้วก็ปรึกษาทาง กรมบัญชีกลางเลยนะคะว่า งานนี้มันจะไปเกี่ยวข้องกับหน่วยงานไหนกันแน่ เพราะมันซับซ้อน จนกระทั่งดิฉันเองก็ต้องมาถามในที่ประชุมสภาแห่งนี้ ขอภาพประกอบเลยค่ะ

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

ท่านคะ มันเป็นเรื่องของสะพาน ข้ามคลองหลวงแพ่งที่ใกล้ถล่มอันตราย ท่านรู้ไหมคะว่าสะพานแห่งนี้มันเป็นสะพาน ข้ามคลองหลวงแพ่ง ซึ่งเป็นเขตติดต่อกันระหว่างเขตลาดกระบังกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งคลองนี้เป็นคลองชลประทาน แล้วกรมชลประทานก็ได้ยกให้ กทม. ปรากฏว่าสะพานนี้ สร้างมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ โดยเอกชน แล้วเขาก็ยกให้เป็นสาธารณะแล้ว อย่างนั้น อย่างนี้ ประชาชนก็ใช้ข้ามผ่านไปมาตลอด ปรากฏว่าเมื่อปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ ดูสะพานสิคะ ดูภาพ ในสะพานมันแยกขนาดนี้แล้ว ดูภาพต่อไปเรื่อย ๆ นะคะ ประชาชนเขาก็ร้อง เพราะว่ามีคน ใช้ระหว่างกรุงเทพมหานครกับฉะเชิงเทราอยู่ตลอดเวลา ปรากฏว่า กทม. เขตลาดกระบัง ก็มาปิดประกาศไม่ให้ผ่านอีกต่อไปแล้ว เกิดความเดือดร้อนกันแล้ว ๑. ข้ามไม่ได้ ๒. คนที่เคย ข้ามได้ปรากฏว่าจำเป็นต้องไปขอข้ามผ่านทางอื่น ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผ่านทาง ปรากฏว่าการผ่านทางเขาต้องเสียค่าใช้จ่ายถึง ๓๕๐ บาทต่อรถยนต์ ๑ คันต่อเดือน จ่ายล่วงหน้า ๖ เดือน จ่ายไปแล้ว ๖ ครั้ง อย่างนั้น อย่างนี้ คนละ ๑๐,๐๐๐ กว่าบาทต่อเดือน เยอะไปหมดเลย ทีนี้ถามว่างานนี้เป็นงานใคร ทำไมถึงเกิดเรื่องแบบนี้ ทำไมต้องมาพูดในสภา แห่งนี้ ท่านประธาน ดิฉันอยากจะบ้าตายกับเรื่องพวกนี้ ดิฉันร้องเรียนไปทั่วเลย ภาพต่อไป ดิฉันไปยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการ กทม. ท่านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ขอให้ท่านรับผิดชอบว่าท่าน มีงบประมาณไหม มาสร้างสะพานอันนี้เถอะ ท่านปิดประกาศไม่ให้คนผ่านไปมา เขาก็เลย ต้องไปเสียเงิน แล้วเขาข้ามไม่ได้ เขาเดือดร้อนอย่างนั้น อย่างนี้ ภาพต่อไป EEC เขตพัฒนา พื้นที่พิเศษภาคตะวันออก ซึ่งจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นหนึ่งในนั้น ดิฉันก็เชิญไปดูอีกเหมือนกัน EEC ควรจะไปประสานงานกับ กทม. หรือจังหวัดฉะเชิงเทราให้มันเกิดเรื่องเกิดราว ให้มันเป็นงบประมาณขึ้นมาแก้ปัญหา ปรากฏไม่เลยค่ะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เพราะฉะนั้น หลายหน่วยงานที่ดิฉันพูดถึงนี้ อยากจะถามกรมบัญชีกลางว่าจริง ๆ แล้วเกี่ยงกันไป ก็เกี่ยงกันมา แล้วเงินนี้มันเหลือตั้ง ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท แล้วทราบไหมคะว่าเวลาดิฉันอ่าน ไปเรื่อย ๆ แล้วเจออะไร งบกลางก็เหลือ สามารถใช้ในแง่ฉุกเฉิน สามารถใช้ในแง่เดือดร้อน เร่งด่วนได้เลย และดูไปในแง่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งพูดอยู่เสมอว่าไม่ใช่หน้าที่ของเขา เพราะว่าเขาไม่มีงบประมาณ น่าจะเป็นของ กทม. เพราะว่าทางกรมชลประทานได้ยกให้ทาง กทม. ไปแล้ว กทม. ดูแล้วเหลือ ๐ บาท ปรากฏว่าไม่มีใครทำเลย ๓ ปี ๔ ปีผ่านไป พี่น้องประชาชนเดือดร้อนแล้วเดือดร้อนเล่า เสียเงินเสียทองไม่รู้เท่าไร ยังไม่มีใครรับผิดชอบ กรมบัญชีกลางคะ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเงินเหลือจ่ายที่อยู่ใน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาทนี้ เหลือ ๖๖ ล้านบาท มากที่สุดในประเทศไทย อะไรจะเกิดขึ้น สะพานนี้แค่ ๒๖ ล้านบาท ท่านประธานที่เคารพคะ เปรียบเสมือนท่านมีเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท อยู่ในมือ ดิฉันไปขอท่าน ๒๖ บาท มันจะเดือดร้อนอะไรนักหนา ทำไมราชการถึงไม่ดูแลพี่น้องประชาชน แล้วกรมบัญชีกลางตอบดิฉันหน่อยสิว่าเรื่องนี้ มันควรอยู่ในหน่วยงานไหน กรมชลประทานก็สร้างสะพานข้ามคลองหลวงแพ่ง หรือมันจะ กทม. ที่เป็นคนที่ต้องมาดูแลปิดประกาศเพราะเขายกให้แล้ว เงินก็หมดแล้ว ๐ บาท ฉะเชิงเทราเงินก็มีแต่ไม่ทำ ใครรับผิดชอบบ้าง อยากจะรู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อจะแก้ไขปัญหา ของพี่น้องประชาชนได้ ท่านประธานดิฉันหมดปัญญาจริง ๆ ดิฉันพูดหารือก็แล้ว EEC เข้ามา ดิฉันก็พูดเรื่องนี้แล้ว ครั้งนี้อีกเป็นครั้งที่ดิฉันเริ่มโมโหแล้ว ท่านประธานคะ เพราะฉะนั้นวันนี้ อยากจะถามกรมบัญชีกลางในฐานะที่ดูแลบัญชีว่ามันอยู่กับใครกันแน่ ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ดิฉันขอเรียนเสนอถึงท่านนายกรัฐมนตรี ผ่านท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรด้วยหนังสือ ฉบับนี้ ให้ท่านใช้งบกลางในกรณีเร่งด่วนและฉุกเฉินให้ได้ ๒๖ ล้านบาทเท่านั้น ต้องดูแล พี่น้องประชาชน ปล่อยแบบนี้อีกไม่ได้นะคะท่านประธาน ขอบพระคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตพรรค อนาคตใหม่ ปัจจุบันพรรคก้าวไกล ภูมิลำเนาจังหวัดกระบี่ครับ ขออภิปรายรายงาน การรับจ่ายประจำปีงบประมาณปี ๒๕๖๖ ของกระทรวงการคลัง ผมมี ๒-๓ ประเด็น เล็ก ๆ สั้น ๆ ไม่ได้ยาว ตัวเลขก็เยอะแยะในเอกสาร กรมบัญชีกลางวันนี้มาเองก็ต้องฝาก หลายเรื่องเลยครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องแรกที่น่าจะค้างคาใจตั้งแต่เป็น สส. สมัยที่แล้ว เนื่องจากว่าผมได้รับ ข้อร้องเรียนจากบรรดาผู้รับเหมาหรือบรรดาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าเวลาเปิดประมูลแล้ว ทำไมข้อมูลของผู้ยื่นซองมันรั่วจากกรมบัญชีกลางไปถึงหูผู้รับเหมารายอื่น ๆ แล้วมีการโทรศัพท์ ประสานงานครับท่านประธาน เพื่อจะให้มีการฮั้วประมูล ซึ่งข้อมูลนี้กรมบัญชีกลางดูแลอยู่ ส่วนเฉพาะล้วน ๆ เลยครับ แต่ปล่อยให้มีการรั่วไหลขึ้นมาแบบนี้ได้อย่างไร อันนี้ท่านต้อง ตอบนะครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อันถัดมาครับ ผมมีข้อสังเกตว่ารายได้ รายรับของหน่วยงานในสังกัดของ กระทรวงกลาโหม ไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ สนามกอล์ฟ หรืออีกหลายหน่วยงาน ปั๊มน้ำมันในกระทรวงกลาโหม ท่านได้เข้าไปดูบ้างหรือเปล่า มีการนำส่งกระทรวงการคลังไหม มีการศึกษาว่าทำไมเขาถึงไม่นำส่ง มันเกิดอะไรขึ้น เป็นข้อตกลงพิเศษอะไร อย่างไรหรือไม่ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการหรือเปล่า แล้วเสียงนินทาก็ยังมีมาต่อเนื่องนะครับว่า กรมบัญชีกลางเลือกปฏิบัติเฉพาะหน่วยงานบางหน่วยงานเท่านั้น

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ถัดมาสุดท้าย เป็นข้อกังวลที่ท่านบอกว่าจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ รายได้ โดยเฉพาะจากกรมสรรพสามิต ท่านประธานครับ พี่น้องประชาชนตอนนี้กำลังสนใจ เรื่องสุราก้าวหน้า เรื่องการทำเบียร์ คลาฟต์เบียร์ เรื่องการทำเหล้าดองต่าง ๆ จากผลิตผล ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นข้าว สับปะรด ไม่ว่าจะเป็นอ้อย ไม่ว่าจะเป็นพืชผล แต่ติดข้อจำกัด เรากำลังต่อสู้กันอยู่ในสภาแห่งนี้ รอบนี้ก็ยังสู้กันต่อ แต่สรรพสามิตในสังกัดกระทรวง การคลัง ผมเจอผู้ประกอบการมา บอกมาเลยว่าสรรพสามิตจังหวัดพยายามเหลือเกิน เขามีการผลิตตามกำลังการผลิตได้ ยกตัวอย่างว่าเดือนหนึ่งได้ ๒,๐๐๐ ขวด แต่ไป คะยั้นคะยอให้เขาซื้อแสตมป์มากมายเสียเหลือเกิน เกิดอะไรขึ้นครับ จะยกระดับการพัฒนา ประสิทธิภาพให้มีรายได้จากการขายอากรมากขึ้น แต่ว่าไปบีบผู้ประกอบการ แบบนี้ผมคิดว่า เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แล้วท่านก็บอกว่าอยู่ระหว่างการศึกษา เพื่อพิจารณากำหนดพิกัดภาษีอัตราใหม่ ๆ ด้วย โดยเฉพาะเครื่องดื่มสุรา แล้วก็เครื่องดื่มที่มีอัตลักษณ์ต่าง ๆ รูปแบบใหม่ ๆ ผมคิดว่า ภาครัฐเองจะต้องส่งเสริมสนับสนุนนะครับ เพราะว่าภูมิปัญญาของพี่น้องชาวไทยทั่วประเทศ ภาคใต้ก็มีเหล้า ภาคเหนือ ภาคอีสาน มีหมดครับ แม้กระทั่งผมอาจจะยกพระราชดำริของ ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ด้วยซ้ำ ว่าเรื่องโรงกลั่นสุราต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงมหาวิทยาลัยเกษตร ท่านก็เคยมีพระราชดำรัสทิ้งไว้นะครับว่าเรื่องแบบนี้ภาครัฐน่าจะสนับสนุน ก็อยากฝาก กระทรวงการคลังว่าการพัฒนายกระดับรายได้ของท่าน ถ้ามันไปกระทบผู้ประกอบการ รายใหม่หรือคนที่อยากจะลืมตาอ้าปาก ผมคิดว่าท่านคิดตรงกันกับผม ไม่อยากให้ประชาชน เขาจนเหมือนเดิมหรือว่ายากไร้เหมือนเดิมครับ ท่านอย่าวางยอดว่ารายรับจะต้องวาง เท่านั้นเท่านี้แล้วไปบีบข้าราชการ สุดท้ายข้าราชการก็ไปลงที่ภาคประชาชนครับ ฝากท่าน ๒-๓ ประเด็น ช่วยตอบคำถามผมด้วย ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

มีผู้ขออภิปราย เพิ่มเติมอีก ๑ ท่าน คุณณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ เชิญครับ

นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๗ อำเภอ นาทวี อำเภอสะบ้าย้อย ตำบลลำไพลของอำเภอเทพา พรรคภูมิใจไทย ท่านประธานครับ ผมโชคดีปีที่แล้วเป็นกรรมาธิการงบประมาณปี ๒๕๖๖ ค่อนข้างรู้ในรายละเอียดในการ พิจารณางบประมาณ เพราะฉะนั้นหลังจากเราใช้งบประมาณ ๑ ปีผ่านไป กรมบัญชีกลาง ท่านในฐานะผู้ตรวจบัญชีของประเทศ กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าท่านต้องชี้แจงต่อ คณะรัฐมนตรี ต้องชี้แจงต่อสภาแห่งนี้ก่อนที่เราจะมีงบประมาณปีใหม่ ท่านประธานครับ ขอเข้าเนื้อหาเลยว่า ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ รายรับที่ท่านได้ชี้แจง ๓,๒๘๓,๔๐๘ ล้านบาท รับจริง ๓,๒๗๑,๒๒๔ ล้านบาท เป็นตัวเลขที่ดูดีครับท่านประธาน หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤติเรื่องโควิด รายรับสูงกว่ารายจ่าย ๑๒,๑๘๔ ล้านบาท ผมเองก็เพิ่งเห็นตัวเลขวันนี้ครับ รู้สึกว่าดีใจแทนคนไทย ดีใจแทนประเทศ แต่สิ่งที่ผมอยากจะถามกรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เข้ามาชี้แจงวันนี้ว่าใน ๑๐๐ คะแนน งบประมาณปี ๒๕๖๖ ท่านให้ กี่คะแนน ๑๐๐ คะแนน และสิ่งที่ผมจะถามท่านในวันนี้ กรมบัญชีกลางไม่ว่าจะเป็น หน่วยรับงบประมาณ ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ อ้างบัญชีของท่านครับ ในเรื่องของการเบิกจ่าย ค่ารักษาพยาบาล ในเรื่องของการเดินทาง ในเรื่องของเบี้ยประชุม มีคนถามผมครับ ไปเดินทาง งบประมาณกรรมาธิการไปเดินทางปรากฏว่า ๔ บาท ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ผมเลยบอกว่าวันนี้กรมบัญชีกลางต้องไปทบทวนในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ และทบทวนในเรื่องของเบี้ยประชุมและค่าเดินทางของพี่น้องข้าราชการ โลกมันเปลี่ยนไป แล้วครับ ขอให้ยืนอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง เพราะฉะนั้นสิ่งที่กรมบัญชีกลางรู้หรือไม่รู้ ผมจะบอกครับว่า วันนี้หน่วยรับงบประมาณประสบปัญหาเรื่องของการอนุญาตใช้ที่ครับ ท่านรู้ไหมครับวันนี้ อบต. เทศบาล หรือท้องถิ่น ปรากฏว่าขออนุมัติงบประมาณจากประเทศ กว่าจะได้เลือดตาแทบกระเด็นครับ ได้รับงบประมาณแต่ไม่ได้รับการอนุญาตใช้ที่ครับ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ กรมป่าไม้ กรมอุทยาน ปรากฏว่างบประมาณของเขา ตกไปครับท่านประธาน เมื่องบประมาณของเขาตกไป สมมุติปี ๒๕๖๖ ตกครับท่านประธาน หน่วยงานเหล่านี้ หน่วยรับงบประมาณไม่สามารถดำเนินการได้ ปีหน้าจะเป็นตัวชี้วัดที่เขา ไม่อนุมัติงบครับ และในพื้นที่ประเทศไทยท่านประธานครับ เป็นพื้นที่ที่หน่วยรับงบประมาณ มีปัญหากับพื้นที่ใช้สอย เพราะฉะนั้นกรมบัญชีกลางจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ถ้าปัญหานี้ ไม่ได้แก้ ผมบอกได้เลยครับว่าหน่วยรับงบประมาณทุกหน่วยในประเทศไทยที่มีปัญหา กับที่ดิน ชาตินี้ท่านไม่ได้ใช้งบประมาณครับ เพราะมันไม่สามารถอนุมัติให้เขาได้ ถึงอนุมัติไป ไม่สามารถดำเนินการตามโครงการได้ ก็เลยอยากจะฝากกรมบัญชีกลาง ๒-๓ เรื่อง เพื่อไป พิจารณาในการดูแล ในการอนุมัติงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป นี่คือเรื่องที่พวกเราประสบ พวกเราเห็น และสิ่งที่พี่น้องประชาชนและคนรับงบประมาณสะท้อนไปยังสภาผู้แทนราษฎร ก็ฝากไปยังทั้ง ๒ หน่วยงานที่เข้ามาชี้แจง ขอบคุณมากครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอเชิญผู้มาชี้แจง ได้ตอบข้อซักถามของสมาชิกทั้ง ๓ ท่าน เชิญครับ

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ขออนุญาตนำเรียนสำหรับประเด็นซักถามของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้นะคะ กรณีแรกที่ท่านฐิติมา ฉายแสง ขออภัยที่เอ่ยชื่อท่านนะคะ ท่านได้นำเสนอ ในเรื่องของปัญหาที่เกี่ยวกับเงินงบประมาณที่ท่านมองว่าส่วนหนึ่งมีเงินงบประมาณพับไป ในขณะที่การใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อที่จะไปซ่อมแซมสะพานตามที่ท่านได้กรุณานำเรียนนี้ เท่าที่ฟังข้อมูลจากที่ท่านให้ข้อมูลมานี้ ทางกรมบัญชีกลางขอเรียนอย่างนี้ค่ะว่าในเรื่องของ ข้อมูลที่เห็นท่านบอกว่ามีการโอนให้กับทาง กทม. ไปดูแล เพราะฉะนั้นโดยหลักก็จะเป็น ทรัพย์สินของทาง กทม. ซึ่งทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐใดหน่วยงานของรัฐนั้นก็มีอำนาจ ที่จะพิจารณาดูแลในเรื่องของการซ่อมแซมได้ เพราะฉะนั้นในคำถามของท่านฐิติมา หน่วยที่จะต้องรับผิดชอบควรจะต้องเป็น กทม. ค่ะ จังหวัดก็ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ เพียงแต่ว่า กทม. ก็จะต้องมีการพิจารณาหาเงินมาซ่อมแซมในส่วนนี้ค่ะ อันนี้ในประเด็นแรก นะคะท่าน

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เชิญครับ

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

ฐิติมา ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย ขออนุญาตเรียนถามกรมบัญชีกลางว่าในกรณีที่งบกลาง เร่งด่วนหรือฉุกเฉิน อันนี้มันเป็นเรื่องของสะพานที่มันจะถล่ม แล้วถ้าเกิดคนที่ลักลอบใช้อยู่ ลักลอบใช้อยู่ทุกวันเลย มันเกิดอันตรายขึ้นค่ะ เกิดถล่มลงมา มันเสียชีวิต ทรัพย์สิน เสียชื่อเสียง เสียหมดเลย ใช้งบกลางได้ไหมคะ เพราะ กทม. งบเหลือมันก็เหลือ ๐ บาทอยู่ ฉะนั้นใช้งบกลางเป็นไปได้ไหมคะ ขอบคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เชิญครับ

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

เรียนท่านฐิติมานะคะ คือในเรื่องของการใช้จ่ายงบกลางก็เป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนนะคะ ถ้าเกิดว่ากรณี ที่ท่านนำเสนอเห็นว่ามันเป็นกรณีเร่งด่วน หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถที่จะดำเนินการ นำเสนอเรื่องนี้ต่อสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาได้ค่ะ ซึ่งการพิจารณาก็คงจะขึ้นอยู่กับ การพิจารณาของสำนักงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณด้วยค่ะ แต่ว่าก็สามารถเสนอ ข้อมูลเพื่อให้ทางสำนักงบประมาณพิจารณาได้ค่ะ

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

ขออนุญาตนำเรียนประเด็นของท่านประเสริฐพงษ์นะคะ ที่ท่านบอกว่า ทางกรมบัญชีกลางได้พูดถึงในเรื่องของการประมูล แล้วก็อาจจะมีข่าวในเรื่องของการรั่วไหล จากข้อมูลของกรมบัญชีกลางนี้นะคะ อันนี้ในภาพรวมอาจจะนำเรียนในรายละเอียดให้ท่าน ได้ไม่ทั้งหมด เพราะว่าอยู่ในความรับผิดชอบของอีกส่วนหนึ่ง แต่ว่าอย่างไรก็ตามในเรื่องของ ข้อมูลของกรมบัญชีกลาง เราได้เคยมีการดำเนินการในการที่จะสืบเสาะหาข้อเท็จจริง ในเรื่องนี้ เราไม่ปรากฏว่ามีบุคลากรท่านใดที่เข้าข่ายในการดำเนินการที่อาจจะทำให้ข้อมูล รั่วไหลในส่วนของกรมบัญชีกลางนะคะ อย่างไรก็ตามประเด็นเหล่านี้มันมีบุคคลที่เกี่ยวข้อง หลายส่วนนะคะ เพราะฉะนั้นในปัจจุบันนี้ทางกรมบัญชีกลางเองก็ให้ความสำคัญในเรื่องของ การที่จะพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้าง โดยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ซึ่งปัจจุบันนี้ เราได้มีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลราคาเกี่ยวกับ การจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ซึ่งระบบนี้จะเป็นระบบป้องกันที่คนนอกจะไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ อันนี้ในภาพของ กรมบัญชีกลางเอง ก็ขอนำเรียนว่าเราเองก็ได้พยายามที่จะดำเนินการ เพื่อให้เรื่องนี้มันเป็น ที่ชัดแจ้งแล้วก็ข้อมูลไม่รั่วไหล อย่างไรก็ตามอย่างที่นำเรียนท่านตอนแรกค่ะว่าอาจจะ มีส่วนที่เกี่ยวข้องหลายส่วน เพราะฉะนั้นในบทบาทของกรมบัญชีกลางเราได้พยายามทำ แล้วก็แก้ปัญหาเหล่านี้อยู่นะคะ

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

สำหรับประเด็นที่ท่านพูดถึงในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือว่าในเรื่อง ของการสนับสนุนเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนต่าง ๆ ในเรื่องของการดำเนินการเกี่ยวกับ สุราก้าวหน้าอะไรต่าง ๆ นี้ คือในเรื่องของมาตรการทางด้านภาษีเราก็คงมีมาตรการ ที่เกี่ยวข้องที่เราได้มีการพิจารณาดำเนินการในแต่ละปีกันอยู่นะคะ อย่างไรก็ตามในเรื่อง ที่ท่านฝากว่าควรจะมีการยกระดับรายได้ให้กับประชาชน หรือว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในส่วนนี้เอง กระทรวงการคลังเองก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาตลอดนะคะ แล้วในเรื่อง ของกระบวนการในการดำเนินการอาจจะต้องมีกระบวนการขั้นตอนในการดำเนินการที่ทาง กรมสรรพสามิตอาจจะต้องพิจารณาดำเนินการด้วยนะคะ ในส่วนนี้ทางกรมบัญชีกลางเอง ก็คงขออนุญาตนำเรียนท่านในส่วนที่อาจจะมีการดำเนินการต่อไป อันนี้คือประเด็นของ ท่านประเสริฐพงษ์นะคะ

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

ส่วนกรณีของท่านณัฏฐ์ชนนนะคะ ที่ท่านกรุณาเรียนถามเกี่ยวกับเรื่องของ การอ้างอิงฐานข้อมูลต่าง ๆ ของกรมบัญชีกลาง ทั้งในเรื่องที่เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าเบี้ยประชุม หรือว่าค่าใช้จ่ายเดินทางต่าง ๆ พวกนี้ อันนี้ก็คงต้องนำเรียนว่าทางกรมบัญชีกลางเอง เราก็เป็นหน่วยงานที่มีการกำกับดูแลในเรื่องของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ยังคงมี ความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ หรือว่าหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ที่ดำเนินการเกี่ยวข้อง กับเรื่องนี้ที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบที่ทางกรมบัญชีกลางกำหนด คงต้องดำเนินการตามนั้น อย่างไรก็ตามในเรื่องของการทบทวน ในเรื่องของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องที่ท่านกรุณาฝากไว้ ทางเราก็คงจะขออนุญาตรับไป เพื่อให้มีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง หรือสถานการณ์เป็นต้นนะคะ

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

ในเรื่องของการอนุญาตใช้พื้นที่ของ อปท. นี้ กรณีที่ไม่มีการใช้งบประมาณ และงบประมาณตกไป อันนี้คงต้องขอนำเรียนว่าในเรื่องของการที่จะขอตั้งงบประมาณ โดยหลักแล้วหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ รวมถึง อปท. เองจะต้องมีความพร้อมในเรื่องของพื้นที่ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมพื้นฐานที่ทางสำนักงบประมาณเองก็ดี หรือว่ากรมบัญชีกลาง เองก็ดี เราได้ซักซ้อมความเข้าใจในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องนะคะว่า การที่จะขอเงินไปดำเนิน โครงการสักโครงการหนึ่งขอให้ท่านเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะในเรื่องของพื้นที่ แต่ว่า กรณีที่ถ้าท่านเตรียมความพร้อมเรื่องพื้นที่แล้ว ท่านบอกว่ายังไม่ได้มีการจัดสรรงบประมาณ ให้ส่วนนี้ ก็คงจะต้องให้มีการนำเสนอให้ครบถ้วนนะคะ เพื่อไม่ให้เกิดประเด็นว่าเราได้รับ งบประมาณดำเนินโครงการ แต่ว่าไม่ได้รับงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นที่ เรื่องนี้คิดว่า หน่วยงานที่เป็นหน่วยงานต้นสังกัดที่จะขอใช้งบประมาณ สามารถพิจารณาดำเนินการ แล้วถ้าเกิดว่าดำเนินการถูกต้องเป็นไปตามที่กำหนด คิดว่างบประมาณก็ไม่น่าจะตกไป ซึ่งกรณีนี้ทางกรมบัญชีกลางในบทบาทของเราขอนำเรียนว่าเราได้มีการซักซ้อม แล้วก็ เน้นย้ำมาตลอด โดยเฉพาะคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายที่มีท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังเป็นประธานเราก็ประชุมกันอย่างต่อเนื่อง แล้วก็เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มันเกี่ยวข้องกับการดำเนินการ อย่างไรก็ตามกรณีที่ท่านยกประเด็นขึ้นมาอาจจะเป็น บางส่วนที่เกี่ยวกับ อปท. นะคะ อันนี้ก็ขออนุญาตว่าในส่วนของกรมบัญชีกลางเองเราก็จะ พยายามดูแลให้ทั่วถึง แล้วถ้ามีประเด็นปัญหาอะไรที่เกี่ยวข้องกรมบัญชีกลางเองในบทบาท ของเรา เรามีคณะทำงานของเราที่เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป เราจะแบ่งให้มีการกำกับดูแลหน่วยงานในส่วนกลาง ในขณะที่สำนักงานคลังจังหวัด ทั่วประเทศก็ดูแลพื้นที่ในภูมิภาคนะคะ เพราะฉะนั้นใน อปท. ต่าง ๆ เองกรณีที่มีประเด็น ปัญหาที่เกี่ยวข้องก็สามารถดำเนินการ แล้วก็แจ้งข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ผ่านทาง สำนักงานคลังจังหวัด กรมบัญชีกลางได้เช่นเดียวกันนะคะ เพราะฉะนั้นกรณีที่ท่านนำเสนอ ก็ขออนุญาตว่าอาจจะต้องเป็นราย อปท. ที่อาจจะต้องมาดูประเด็นปัญหากันอีกครั้งหนึ่งค่ะท่าน ขอบพระคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอเชิญ คุณประเสริฐพงษ์ครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ผมสั้น ๆ ครับ ท่านยังไม่ตอบคำถามผม กรณีที่ยังมีหน่วยงาน ของรัฐบางหน่วยงาน เช่น กระทรวงกลาโหมที่มีรายรับแล้วก็ไม่ส่งเข้ากระทรวงการคลัง อย่างที่สนามกอล์ฟ ยกตัวอย่างนะครับ หรือแม้กระทั่งหน่วยงานราชการอื่นท่านมีวิธีการ ที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหานี้อย่างไร เมื่อไรครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เชิญครับ

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพนะคะ กรณีในเรื่องของหน่วยงาน ต่าง ๆ ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐในการที่จะนำเงินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินอะไรต่าง ๆ โดยหลักถ้าไม่มีระเบียบหรือกฎหมายยกเว้นไว้ หรือว่าไม่ได้มีการขอตกลงกับกระทรวง การคลังไว้ก่อน ตามหลักจะไม่สามารถเก็บเงินไว้ใช้จ่ายได้ เพราะฉะนั้นกรณีถ้านำเรียน คงต้องไปดูรายละเอียดค่ะว่า ได้มีระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องนี้อนุญาตไว้หรือไม่ หรือว่า ได้มีการขอตกลงกับกระทรวงการคลังอย่างไร ซึ่งในการพิจารณาของกระทรวงการคลัง เราก็คงจะพยายามดูความจำเป็นให้ได้มากที่สุดนะคะ แต่ว่ากรณีที่ท่านนำเรียนคงต้องไปดู ในรายละเอียดอีกนิดหนึ่งค่ะท่าน ขอบพระคุณค่ะ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ประเด็นเดียวกันนะครับ เมื่อสักครู่ผมอยากจะบอกกรมบัญชีกลางนะครับว่าสิ่งที่ผมนำเรียน คำว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มันเป็นแค่ตัวอย่าง แต่หน่วยรับงบประมาณทุกหน่วยที่รับ งบประมาณของประเทศเขาจะมีปัญหาอุปสรรคในเรื่องนี้ และท่านอาจจะไม่ทราบครับว่า ในพื้นที่ ที่ สส. อยู่นี้บางพื้นที่เป็นพื้นที่ป่าอุทยานยกทั้งหมู่บ้าน ทั้งตำบลเลยครับ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราสะท้อนไปยังท่านกรมบัญชีกลางที่นั่งทำบัญชีอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ในการพิจารณางบ ในการดูแลงบประมาณของประเทศท่านอาจจะไม่รู้พื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ผมในอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อุทยาน ๖๐๐,๐๐๐ ไร่ครับ แล้วคลุมพื้นที่เกือบ ๓-๔ ตำบล เขาจะทำ อย่างไร สิ่งที่ผมนำเรียนทั้งหมดก็คือ อยากให้ท่านไปดูแลในเรื่องของระเบียบที่ไปบังคับ หน่วยรับงบประมาณสามารถแก้ไขอย่างไรได้บ้าง ขอบคุณครับ

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

กราบขอบพระคุณนะคะ ท่านณัฏฐ์ชนน ในประเด็นที่ท่านนำเรียนในส่วนนี้ทางกรมบัญชีกลางเองคงขออนุญาตรับไป พิจารณาดำเนินการต่อไป เพราะว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องกฎระเบียบ ขอบพระคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เชิญครับ

นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานค่ะ ศิริกัญญา ตันสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลค่ะ ขอสอบถาม ทางหน่วยงานผู้มาชี้แจงนะคะ เพราะว่าหลังจากที่ได้สังเกตตัวรายงานของรายรับแล้วก็ รายจ่าย พบข้อสังเกต ๑ เรื่อง เกี่ยวกับการชดใช้เงินคงคลังค่ะท่านประธาน ซึ่งปี ๒๕๖๖ มียอดสูงถึง ๘๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท ซึ่งถ้าเราไปดูตอนปี ๒๕๖๕ เอง ก็มียอดที่จะต้องชดใช้ เงินคงคลังมากถึง ๓๓,๐๐๐ กว่าล้านบาทเช่นเดียวกัน ซึ่งก็เป็นต่อเนื่องกันมาถึง ๒ ปีแล้ว แล้วก็จำเป็นทำให้ปี ๒๕๖๗ นี้เราต้องตั้งเงินเพื่อชดใช้เงินคงคลังสูงถึง ๑๑๘,๐๐๐ ล้านบาท ค่ะท่านประธาน ปัญหาก็คือว่ามันเกิดมาจากการที่เราตั้งงบไว้ไม่เพียงพอใช่ไหมคะ แล้วก็ ไม่สามารถที่จะถัวเฉลี่ยได้ในรายการนั้นอีกต่อไป อย่างเช่น ในส่วนของงบกลาง ในกรณีของ เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญข้าราชการ ซึ่งตั้งไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงนี้ต่ำมาก ก็คือขาดไป ประมาณเป็นหลักหมื่นล้านบาท รวมไปถึงงบบุคลากรก็ตั้งไว้ไม่เพียงพอเช่นเดียวกันค่ะ ท่านประธาน ทีนี้ก็เลยอยากสอบถาม ก็เข้าใจดีว่าตอนนี้มันมีกฎหมายที่บังคับอย่างชัดเจน ว่าจำเป็นที่จะต้องมีการชดใช้เงินคงคลังแล้ว อันนี้เราไม่เป็นห่วงในเรื่องของปริมาณ เงินคงคลังว่าน่าจะอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่ปัญหาของการตั้งงบประมาณไว้ไม่เพียงพอ แม้จะเป็นรายจ่ายที่เราน่าจะสามารถ คาดการณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นงบบุคลากรเราไม่ควรที่จะต้องมีการตั้งขาดใช่ไหมคะท่านประธาน เพราะเราก็ทราบดีว่าในแต่ละปีเรามีข้าราชการกี่คนถูกไหมคะ หรือแม้แต่เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญข้าราชการ ถึงแม้ว่าเราจะคาดการณ์ไม่ได้เต็มที่ว่าจะมีข้าราชการที่เสียชีวิตกี่ราย แต่ว่าเราก็น่าจะสามารถคาดการณ์ได้ว่าบำนาญทั้งหมดมันควรจะเป็นเท่าไร จึงขอฝากไปที่ ทางกรมบัญชีกลางค่ะท่านประธาน ว่าควรจะต้องมีการท้วงติงหรือว่าตักเตือนไปทางสำนัก งบประมาณด้วย ในการตั้งงบประมาณในแต่ละปีไม่ให้มีข้อผิดพลาด ซึ่งมันเป็นก้อนใหญ่ขึ้น เรื่อย ๆ ทุก ๆ ปีแบบนี้ โดยเฉพาะในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร ไม่อย่างนั้นแล้ว ในแต่ละปีงบประมาณที่เราจะใช้ได้จริง มันก็จะต้องกันส่วนหนึ่งเอาไว้เพื่อเป็นเงินชดใช้ เงินคงคลังแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ดิฉันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาก่อนหน้านี้สมัยที่แล้ว เงินชดใช้เงินคงคลังในแต่ละปีมีไม่เยอะมาก จะเป็นเรื่องของการแลกเหรียญกษาปณ์คืน หลักร้อยล้าน แต่ว่าพอหลัง ๆ ยิ่งในช่วงที่งบประมาณมีค่อนข้างจำกัด แล้วสำนักงบประมาณ ใช้วิธีการที่ตั้งงบไว้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่ามันไม่เพียงพอที่จะจ่ายแต่ก็ตั้งไว้แบบนี้ ก็อยากให้ ทางกรมบัญชีกลางเข้มงวดกับสำนักงบประมาณในเรื่องนี้ค่ะ เพราะว่าสิ่งที่เราจะเห็นต่อไป ก็คืองบประมาณของปี ๒๕๖๗ ดิฉันคิดว่ามีหลายรายการที่ทางสำนักงบประมาณก็ตั้งไว้ ดูท่าทางแล้วไม่น่าจะเพียงพอเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญข้าราชการ ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ งบบุคลากรดิฉันยังไม่มั่นใจนะคะ เดี๋ยวคงต้องได้ตรวจสอบ รายละเอียดเมื่องบปี ๒๕๖๗ เข้ามาแล้ว ก็ต้องฝากทางผู้ชี้แจงในส่วนนี้ด้วยค่ะ เพราะว่า มันเป็นขวัญและกำลังใจนะคะ ถ้าเกิดงบไม่เพียงพอข้าราชการบางส่วนอาจจะกังวลใจด้วยว่า ถ้าเกษียณไปแล้วจะมีเงินเพียงพอที่จะได้ใช้จ่ายหรือไม่ หรือว่าเงินเดือนจะต้องตกเบิกไปอีก กี่เดือนในอนาคตค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เชิญครับ

นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ

เรียนท่านศิริกัญญานะคะ กราบขอบพระคุณที่ท่านกรุณาเข้าใจในประเด็นอย่างถ่องแท้นะคะ คือในเรื่องนี้เอง ทางกรมบัญชีกลางนำเรียนท่านอีกครั้งหนึ่งนะคะว่า โดยหลักแล้วเราขอไปตามที่เรามี การคำนวณ เพียงแต่ว่าสำนักงบประมาณก็จะมีการตัดงบประมาณอย่างต่อเนื่อง ทั้ง ๆ ที่เรา ก็รู้ว่ามันไม่พอ แต่ว่าทางสำนักงบประมาณก็จะมีแนวคิดของทางสำนักงบประมาณอยู่ เช่นเดียวกันนะคะท่าน ว่ามันมีรายการกรณีฉุกเฉินจำเป็นอื่นที่อาจจะต้องกันเงินส่วนหนึ่งไว้ แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้ทางกรมบัญชีกลางเองเราก็ไม่ได้นิ่งเฉย เวลาที่มีกรณีที่จำเป็น จะต้องใช้ เราก็จะทำหนังสือไปที่สำนักงบประมาณขอใช้เงินงบประมาณก่อนค่ะท่าน ขอใช้เงินงบประมาณก่อน เพียงแต่ว่าสำนักงบประมาณในการพิจารณาแต่ละครั้งบางครั้ง เขาก็อาจจะพิจารณาในภาพรวม แล้วก็แจ้งมาว่าไม่สามารถที่จะเจียดเงินงบประมาณ มาให้เราได้ ทำให้เราจะต้องนำเสนอท่านรัฐมนตรีเพื่อขอใช้เงินคงคลัง อย่างไรก็ตามปัญหา ที่ท่านบอกว่าควรจะมีการท้วงติงสำนักงบประมาณอย่างเข้มงวด อันนี้เราก็คงต้องรับไป เช่นเดียวกันนะคะท่าน ขอบพระคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ เมื่อมีการซักถามและได้ตอบข้อซักถามไปทุกประเด็นแล้ว ไม่มีผู้ต้องการจะซักถามเพิ่มเติม ก็ถือว่าที่ประชุมนี้รับทราบการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ แล้ว ขอบคุณผู้มาชี้แจงทุกท่านครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๓ รับรองรายงานการประชุม ไม่มี

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ไม่มี

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๕.๒ ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (นายพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นผู้เสนอ)

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ด้วยเมื่อวานนี้ท่านรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ เป็นประธานที่ประชุมได้ขอปิดการประชุม เนื่องจากว่าการลงมติมีผู้มาลงมติไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ของจำนวน สส. เท่าที่มีอยู่ จึงถือว่าต้องมีการลงมติใหม่ในวันนี้ ซึ่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ได้ชี้แจงถึงเหตุผลที่ปิดและข้อบังคับแล้ว รวมทั้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ที่ประชุมทราบแล้วเมื่อเช้านี้ เราก็ขอปฏิบัติตามนี้ เพราะฉะนั้นวันนี้ก็จะมีการลงมติ เพื่อรับหลักการข้อบังคับสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่..) พ.ศ.... ที่คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นผู้เสนอหรือไม่ ก่อนที่จะมีการลงมติขอตรวจสอบองค์ประชุมครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอเชิญสมาชิก ที่อยู่ข้างนอกหรือที่ประชุมกรรมาธิการเข้ามาในห้องประชุมนี้ เพื่อแสดงตนและลงมติต่อไป ก็คงต้องรอสักครู่นะครับ เพราะว่า สส. หลายท่านก็อยู่ในห้องประชุมกรรมาธิการครับ ท่านสมาชิกที่อยู่ข้างนอกเชิญเข้ามาในห้องประชุมครับ สำหรับผู้ที่เข้าห้องประชุมแล้ว กรุณากดบัตรแสดงตนด้วยนะครับ เชิญครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ขออนุญาตครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ก็อยากจะแจ้งต่อ ท่านประธาน แล้วก็ให้บันทึกไว้ในที่ประชุมครับ เพราะว่าหลังจากเหตุการณ์เมื่อวาน ก็ได้มีการไป Check รายชื่อผู้ที่มาร่วมลงมติในครั้งสุดท้ายก่อนปิดประชุม มีปัญหาอย่างนี้ คือตัวผมเองผลที่ออกมาจากเครื่องนับคะแนนคือผมไม่มีชื่อว่าลงมติ แต่ผมเชื่อว่า ทั้งสภาเห็นว่าผมก็อยู่ในที่ประชุม แล้วก็ยืนยันว่าผมก็ได้ลงมติแล้ว ก็จึงแจ้งไว้ บันทึกไว้ครับ ท่านประธานว่าเราอาจจะต้องมีการ Check ระบบในการลงมติบ้างเป็นบางครั้ง เพื่อที่ว่า จะให้เกิดความชัดเจน เพราะว่าจากสภาครั้งที่ผ่านมาก็มีปัญหาเช่นนี้บ้าง ๓-๔ ครั้ง ที่เพื่อนสมาชิกยืนยันว่าลงมติ แล้วก็มีเพื่อนสมาชิกอยู่ยืนยันด้วย แต่ว่าในบันทึกของเครื่อง ออกมาว่าไม่มีการลงมติ ก็ฝากไว้ครับท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอให้สำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรช่วย Check เครื่องใหม่อีกครั้งหนึ่งครับ เพราะว่ามีประเด็น เชิญครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลครับ รบกวนท่านประธานนิดเดียวครับว่า เนื่องจากว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านวันนี้มีการประชุมคณะกรรมาธิการ อย่างที่ท่านประธาน ได้นำเรียนว่าจะรอ แต่ว่าอีกด้านหนึ่งเพื่อความสมบูรณ์อยากจะให้ท่านประธานได้ตรวจ Check ว่าระบบสัญญาณเตือนในห้องประชุมกรรมาธิการจะเป็นไฟกระพริบหรือจะเป็นเสียง ได้ยินกันครบถ้วนสมบูรณ์ทุกห้องหรือไม่ เพราะว่าเพื่อนเราอาจจะไม่ได้ยิน แล้วเดี๋ยวไม่ได้มา ก็อยากให้ครบถ้วนสมบูรณ์ครับท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ เดี๋ยวรอสักครู่ก็ได้ครับ กำลังทยอยมาหลายคน ขอเชิญสมาชิกที่อยู่ข้างนอกเข้ามา คนที่ เข้ามาแล้วก็แสดงตนด้วยครับว่าท่านอยู่ในห้องประชุมแล้ว กดบัตรแสดงตนได้เลยนะครับ

นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ ๒๒๙ ปิยะนุช ยินดีสุข รายงานตนค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เจ้าหน้าที่จดไว้ด้วยครับ

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ บุญชัย ๑๙๖ รายงานตัวครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑๙๖ แสดงตนครับ

นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ๑๘๙ แสดงตนครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑๘๙ เจ้าหน้าที่ จดไว้ด้วยนะครับ

นายพนม โพธิ์แก้ว กาญจนบุรี ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ พนม โพธิ์แก้ว ๒๓๖ แสดงตนครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๒๓๖ แสดงตนครับ

นายฤกษ์ อยู่ดี เพชรบุรี ต้นฉบับ

๓๑๐ แสดงตนครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ครับ เจ้าหน้าที่ ช่วยจดด้วยนะครับ

นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ

๑๕๐ แสดงตนครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑๕๐ แสดงตนครับ

นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ เทอดชาติ ชัยพงษ์ ๑๕๔ แสดงตนครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ครับ เข้ามาแล้ว ไม่มีบัตรก็ไปขอเจ้าหน้าที่เขาเตรียมพร้อม ที่จะแสดงบัตรเพื่อความชัดเจนครับ เชิญครับ

นางสาวจิราพร สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ จิราพร สินธุไพร ๐๕๕ แสดงตนค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ครับ

นายฤกษ์ อยู่ดี เพชรบุรี ต้นฉบับ

นายฤกษ์ อยู่ดี ๓๑๐ แสดงตนครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผมหารือ อีกรอบได้ไหมครับ ณัฐวุฒิครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เดี๋ยวสักครู่ครับ เอาเรื่องแสดงตนก่อน

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

พอดีเป็นเรื่องสำคัญครับท่าน ถ้าไม่หารือตอนนี้เดี๋ยวจะเกิดความผิดพลาดครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกลครับ ท่านประธานครับ เพื่อนสมาชิก หลายท่านได้แสดงตนโดยการขานด้วยวาจา ทีนี้เราเคยมีปัญหาครับว่าบางท่านตอนแรก มาขานด้วยวาจา แต่ปรากฏว่าหลังจากนั้นไปเอาบัตรมาเสียบแล้วกดอีกรอบหนึ่งกลายเป็นว่า เป็นองค์ประชุมที่ซ้ำซ้อน ซึ่งอาจจะหมิ่นเหม่ต่อการผิดทั้งข้อบังคับและรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นเรื่องนี้ท่านประธานต้องกรุณาเตือนเพื่อนสมาชิกอย่างชัดเจน ผิดได้นะครับ สำหรับท่านที่กดทั้ง ๒ อย่าง พูดง่าย ๆ ก็คือทั้งพูดแล้วก็กดบัตร อันนี้ต้องเตือนหน่อยครับ ท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ครับ

นางมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ลพบุรี ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ ดิฉัน มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ค่ะ ถ้าอย่างนั้นก็เสนอขอให้ล้างใหม่สิคะ ให้ล้างแล้วกดใหม่เลยค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

มีผู้เสนอว่าให้ล้าง สักครั้งหนึ่งแล้วก็กดบัตรใหม่ ไม่ทราบเดี๋ยวถามเจ้าหน้าที่จะมีปัญหาไหม เดี๋ยวขอถาม เจ้าหน้าที่หน่อย ไม่เป็นอะไรเราเอาให้ชัดเจน เชิญครับ

นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ

ท่านประธาน ผม ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ในฐานะวิปฝ่ายค้านนะครับ ก็เห็นด้วยครับ ตอนนี้เราสามารถล้างใหม่ได้ครับ จะได้ไม่เกิด ความซ้ำซ้อน ตอนนี้ก็สามารถล้างได้เลยครับ จะได้ดำเนินการต่อได้โดยไม่มีข้อพิพาท เห็นด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ถ้าอย่างนั้น ก็เอาเป็นตามข้อเสนอนะครับเพื่อความชัดเจน แล้วสมาชิกก็น่าจะเข้ามาหมดแล้วนะครับ ผมกดอีกครั้งหนึ่งครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ตอนนี้ขอให้ ท่านสมาชิกดึงบัตรแล้วก็กดใหม่นะครับ เราจะล้างบัญชีกดใหม่ สำหรับท่านสมาชิก ที่ลืมบัตรหรือไม่ได้เอามา ถ้าท่านต้องการบัตรของท่าน เจ้าหน้าที่เขาเตรียมพร้อมอยู่แล้ว นะครับ ทางด้านซ้ายมือของผมครับ มารับบัตรได้ถ้าเผื่อท่านลืม นอกจากท่านเสียบบัตร ที่เอามาแล้ว แล้วเครื่องเสียบบัตรมีปัญหา อันนั้นท่านก็เรียกเจ้าหน้าที่ไปดูได้ แล้วท่าน อาจจะแจ้งชื่อได้ในกรณีนั้น แต่กรณีที่ลืมบัตรมารับบัตรใหม่ได้ครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

สมาชิกที่เข้ามา ในห้องนี้ยังไม่ได้แสดงตนมีอีกไหมครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ ขออนุญาต สั้น ๆ นิดเดียวครับท่านประธาน ผม รังสิมันต์ โรม ครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายรังสิมันต์ โรม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ในฐานะวิปฝ่ายค้านครับ ขออนุญาตครับเมื่อสักครู่ ผม Check ในหน้าจอ เสียงมันอยู่ที่ประมาณ ๒๑๘ ตีว่า ๒๒๐ ครับ ตอนนี้มันไม่ครบองค์ แต่ว่าเพื่อให้สภาเดินหน้าต่อไปได้ครับ พวกผมพรรคก้าวไกลเราพร้อมที่จะกดบัตรแสดงตน แต่หวังว่าในอนาคตเพื่อน สส. จากซีกรัฐบาลจะตั้งใจมาในสภาแห่งนี้เพื่อทำหน้าที่ของตน ด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ มีท่านสมาชิกท่านใดต้องการแสดงตนบ้างครับ แต่ก็ต้องขอบคุณท่านรังสิมันต์ เพราะว่า อยู่ในห้องประชุม ถ้าท่านอยากจะทำให้องค์ประชุมนี้ครบ แล้วก็เดินหน้าต่อไปได้ เพราะว่า เรามีเรื่องที่จะพิจารณาเรื่องที่สำคัญอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะพระราชบัญญัติต่อไปซึ่งเป็น เรื่องของการพิจารณารับหลักการร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ผมก็อยากให้ ผ่านพระราชบัญญัตินี้ไปด้วยดีนะครับ

นายณกร ชารีพันธ์ มุกดาหาร ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ๑๑๙ แสดงตนครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑๑๙ แสดงตน นะครับ ก็ลองหารือดูครับ

นางสาวรักชนก ศรีนอก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ รักชนก ศรีนอก ๒๙๘ แสดงตนค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ อย่างที่ผมได้กล่าวครับ วาระต่อไปเป็นการเสนอกฎหมายของภาคประชาชน ถ้าเราพิจารณาได้ ในวันนี้เป็นการดี ขอให้เจ้าหน้าที่ได้กรุณาแสดงผลของผู้แสดงตน ตอนนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม แสดงตนแล้ว ๓๖๒ ยังไม่ปิดเชิญได้ครับ

นายพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ๒๓๓ แสดงตนครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

มีผู้แสดงตน ๓๖๒ เป็น ๓๖๓ เชิญครับ

นายอดิศักดิ์ แก้วมุงคุณทรัพย์ อุดรธานี ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม อดิศักดิ์ แก้วมุงคุณทรัพย์ ๔๖๒ แสดงตนครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

แสดงตนเพิ่มนะครับ

นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ๒๖๖ พูนศักดิ์ แสดงตนครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ไม่ซ้ำกับที่กดไปแล้ว นะครับ เดี๋ยวเจ้าหน้าที่เอาคนที่มาแสดงตนเพิ่มเติมด้วยวาจาจำนวนกี่ท่านครับ ขอให้เจ้าหน้าที่ มาแจ้งผู้แสดงตนเพิ่มนะครับ อันนี้ปิดการแสดงตน เจ้าหน้าที่เชิญครับ ตอนนี้มีผู้มาแสดงตน อยู่ในที่ประชุมแสดงตนแล้ว ๓๖๔ ท่าน ถือว่าที่ประชุมนี้ครบองค์ประชุมนะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปก็จะเป็น การลงมติตามญัตติที่เสนอไว้ ถ้าท่านผู้ใดเห็นว่าสมควรรับหลักการข้อบังคับที่จะคุณพริษฐ์ เสนอมานี้ก็ขอให้ กดปุ่ม เห็นด้วย ท่านผู้ใดเห็นว่าไม่สมควรรับหลักการข้อบังคับนี้กรุณา กดปุ่ม ไม่เห็นด้วย ท่านผู้ใดเห็นว่าควรงดออกเสียงกรุณา กดปุ่ม งดออกเสียง เชิญลงมติ ได้ครับ

นางสาวรักชนก ศรีนอก กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ รักชนก ศรีนอก ๒๙๘ เห็นด้วยค่ะ

นายณกร ชารีพันธ์ มุกดาหาร ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ณกร ชารีพันธ์ ๑๑๙ เห็นด้วยครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ถือว่าไม่มีผู้ใด ขอลงมติเพิ่มเติมนะครับ ที่เข้ามา ลงมติทุกท่านแล้วนะครับ ขอปิดการลงคะแนนครับ เจ้าหน้าที่แสดงผลด้วยครับ จำนวนผู้มาลงมติ ๓๙๓ ท่าน เห็นด้วย ๑๕๘ ท่าน ไม่เห็นด้วย ๒๓๓ ท่าน งดออกเสียง ๒ ท่าน เพราะฉะนั้นมติก็คือ ไม่รับหลักการแก้ไขข้อบังคับ ที่คุณพริษฐ์เสนอนะครับ ขอบคุณมากครับ จบระเบียบวาระนี้นะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปจะเป็นการ พิจารณาระเบียบวาระที่ ๕.๓

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๕.๓ ร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. ..... (นายศักดิ์ดา แสนมี่ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๑๒,๘๘๘ คน เป็นผู้เสนอ)

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ตามที่ คุณศักดิ์ดา แสนมี่ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... มายังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๓ (๓) และได้เคยบรรจุระเบียบวาระ การประชุมในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ แล้ว แต่สภายังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีที่จัดตั้งใหม่ไม่ได้มีการร้องขอให้มีการพิจารณาพระราชบัญญัติดังกล่าว ในสมัยประชุมนี้นะครับ ในสมัยการเลือกตั้งคราวนี้ แต่ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณา กำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๑๔๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้เสนอ จึงมีหนังสือขอยืนยัน เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการเสนอชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๖๔ ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและทำข้อสรุปรับฟัง รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๗ และข้อบังคับข้อ ๑๐๓ รายละเอียดปรากฏในเอกสารที่ได้แจกให้สมาชิกแล้ว และในการพิจารณาพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการพิจารณาในวาระที่ ๑ เพื่อให้สมาชิกลงมติ ว่าจะรับหลักการหรือไม่รับหลักการ โดยในการพิจารณานี้จะขอให้ผู้ที่มีสิทธิเสนอชื่อ กฎหมายฉบับนี้เข้ามาร่วมชี้แจงด้วย ตามข้อบังคับข้อ ๑๑๓ วรรคสอง ผมจึงขออนุญาตให้ ผู้ที่มีรายชื่อต่อไปนี้เข้ามาร่วมชี้แจง ๑. นายศักดิ์ดา แสนมี่ ๒. นายกิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนี ไชยรส ๔. นายเกรียงไกร ชีช่วง เข้ามาในห้องนี้เพื่อชี้แจงนะครับ ขอเชิญผู้แทนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ชี้แจงในวาระแรกก่อนครับ แล้วสมาชิกได้อภิปราย เชิญครับ

นายศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้ริเริ่มเสนอกฎหมาย ฉบับนี้ ก็คือร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ก่อนอื่นต้อง ขอขอบพระคุณสภาผู้แทนราษฎรที่ได้เปิดโอกาสให้คณะของพวกเราได้มาชี้แจงในหลักการ และสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ผมจะขออนุญาตเกริ่นนิดหนึ่งว่าการนำเสนอ ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นความพยายามที่พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองทั่วประเทศ รวมไปถึงพี่น้อง ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้พยายามที่จะมีส่วนร่วมในการเสนอกฎหมายให้เป็นกฎหมาย ที่เสนอโดยภาคประชาชน ซึ่งในการนำเสนอนี้ที่จริงเราได้มีความพยายามดำเนินการมา เป็นระยะเวลาเกือบ ๑๐ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ช่วงหนึ่งที่เรามีการนำเสนอ ในที่สุดในช่วงนั้น ก็เป็นช่วงที่มีกลไกของรัฐสภาเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็มีการนำเสนอ แต่ว่ายังไม่เกิด การพิจารณา จนหลังจากที่มีสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก หลังจากมีรัฐธรรมนูญเราก็มีการ นำเสนออีกครั้งเมื่อปี ๒๕๖๔ แต่แล้วในที่สุดก็ได้มีการยุบสภา จนถึงขณะนี้เราก็ได้ มีการยืนยันที่จะเสนอยื่นเรื่องให้กับทางท่านประธานสภาได้นำกลับมา เพื่อจะบรรจุ เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมอีกครั้ง จนในที่สุดถึงวันนี้ที่ท่านได้เปิดโอกาสให้พวกเรา ได้มีโอกาสมาชี้แจง ผมจะขออนุญาตเกริ่นนำเช่นนี้ว่าเดี๋ยวคงจะขอทางเจ้าหน้าที่ช่วยขึ้น สไลด์ประกอบ แล้วทางทีมของพวกเราก็จะขออนุญาต อาจจะร่วมกันที่จะนำเสนอ ในหลักการและสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็คงจะขออนุญาตเรียนเชิญ ท่านต่อไปได้มีโอกาสนำเสนอขอบคุณครับ

นายกิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านครับ ผมจะเริ่ม เสนอในเรื่องของตัวหลักการก่อนนะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เจ้าหน้าที่ช่วยดู สัญญาณด้วยนะครับ

นายกิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

สไลด์ถัดไปเลยครับ ผมอาจจะให้ข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับเรื่องของบริบททั่วไปของ ชนเผ่าพื้นเมืองในไทยก่อน ชนเผ่าพื้นเมืองในไทยนั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ ในประเทศไทย แล้วก็อุษาคเนย์มายาวนานนะครับ มีวิถีชีวิต อัตลักษณ์ที่มีลักษณะเฉพาะ มีองค์ความรู้ แล้วก็มุ่งมั่นที่จะรักษาและสืบทอดอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งมีอยู่ หลายกลุ่มอยู่กระจายทุกภาค ยกตัวอย่าง กลุ่มกะเลิง กะเหรี่ยง กูย ขมุ ชอง ญัฮกุร บรู มละบริ มานิ มอแกน มอแกลน อูรักลาโวยจ มอญ ม้ง เมี่ยน ลเวือะ ลาหู่ บีซู อาข่า เป็นต้น ทางศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรระบุว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยจำนวน ๖๐ กลุ่ม ชาติพันธุ์ ในส่วนของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ปัจจุบันนี้มีสมาชิกทั้งหมด ๔๖ กลุ่มชาติพันธุ์ โดยถ้าหากจำแนกตามลักษณะการตั้งถิ่นฐานแล้วก็การดำรงชีวิต ก็จะจำแนกออกเป็น ๔ กลุ่มด้วยกัน คือกลุ่มที่อาศัยอยู่ทางพื้นราบ ซึ่งก็จะเป็นกลุ่มใหญ่ มีอยู่ประมาณ ๓๐ กว่ากลุ่ม กลุ่มที่อาศัยอยู่ทางพื้นที่สูงมีประมาณ ๑๓ กลุ่ม กลุ่มที่อาศัยอยู่ ทางชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะก็มีอยู่ ๓ กลุ่ม และสุดท้ายคือกลุ่มที่ยังเก็บหาของป่า แล้วก็ล่าสัตว์ที่มีอยู่ ๒ กลุ่ม ก็จะกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย กลุ่มพี่น้องชนเผ่า พื้นเมืองเองก็มีวิถีชีวิตที่พึ่งพา แล้วก็อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เราจะเห็นในภาพ ก็จะมีวิถีการทำไร่หมุนเวียน อย่างพี่น้องมานิก็ยังมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมก็คือเก็บหาของป่า แล้วก็ล่าสัตว์ ส่วนพี่น้องที่อยู่ทางชายฝั่งและหมู่เกาะก็มีอาชีพประมงพื้นบ้าน แล้วทางเหนือ ก็จะมีอาชีพนอกจากทำไร่แล้ว ก็เก็บหาของป่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาปฏิบัติมายาวนาน

นายกิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ในส่วนของสถานการณ์ภาพรวม พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองก็ยังด้อยโอกาส แล้วก็ ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเงื่อนไขทางนโยบายกฎหมาย แล้วก็ปัจจัยทางสังคมส่วนหนึ่งมาจาก ความไม่เข้าใจวิถีชีวิตของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง ยกตัวอย่างเช่น พี่น้องที่อาศัยอยู่ในเขตป่า หรือว่าชายทะเล ก็จะประสบกับปัญหาเรื่องของการถูกประกาศทับที่ ทำให้ไม่สามารถ ที่จะใช้สิทธิในแง่ของการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมได้ มีข้อจำกัดในเรื่องของการพัฒนา สาธารณูปโภคพื้นฐาน นอกจากนี้พี่น้องส่วนหนึ่งเองก็ยังไม่มีสถานะบุคคล ซึ่งทำให้ ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐได้ อีกอันหนึ่งกลุ่มพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองเองก็ยัง ได้รับผลกระทบจากสัมปทานเหมืองแร่ แล้วก็โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ซึ่งกำลังจะเข้ามา ดำเนินงานในพื้นที่ของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง แล้วก็รวมทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ สิ่งที่เราเห็นก็จะเห็นว่าอันนี้เป็นรูปเรื่องของพื้นที่ที่มีการขอสัมปทาน เหมืองแร่ ซึ่งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เราก็จะเห็นว่าสภาพพื้นที่ ที่ขอสัมปทานก็เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งแน่นอนถ้าสัมปทานผ่านมันก็จะมีปัญหาในพื้นที่ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตแล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แล้วก็อื่น ๆ ทางสังคมด้วย สำหรับชนเผ่าพื้นเมืองเองก็ต้องจำยอมอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถทำอะไรได้ ต้องละทิ้งวิถีวัฒนธรรมของตนเอง ส่วนหนึ่งมาจากข้อจำกัดในเรื่องของนโยบายและ กฎหมายที่ผมได้กล่าวมาแล้ว คนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งเขาต้องอพยพแล้วเข้าไปอยู่ในเมือง ซึ่งเขาก็ต้องเผชิญกับปัญหา อีกหลาย ๆ เรื่อง เพราะนอกจากเขาเองไม่มีความพร้อมที่จะลงไป ก็ทำให้วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ ของเขาเริ่มหายไป แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังมุ่งมั่นที่จะสืบทอดมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของตนเอง แล้วก็ต้องการที่จะดำรงชีพตามประเพณี สืบสานสถาบันทางสังคม ความเชื่อ กฎ จารีตประเพณี และภาษาแม่ให้กับลูกหลานของตนเองอยู่อย่างต่อเนื่อง ผมก็คงจะเสนอแค่นี้ เดี๋ยวจะขอเชิญอาจารย์สุนีมาเสนอต่อในเรื่องว่าทำไมต้องมีกฎหมาย ฉบับนี้ เชิญครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนี ไชยรส ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ขอกราบเรียนประธานสภาที่เคารพค่ะ ดิฉัน สุนี ไชยรส จากบริบทสถานการณ์ต่าง ๆ ก็ขออนุญาตที่จะนำเสนอให้ชัดเจนว่า ทำไมจึงต้องเข้าชื่อกันเพื่อร่างกฎหมายเสนอในนาม ของภาคประชาชนให้มีกฎหมายฉบับนี้ จริง ๆ แล้วกฎหมายไม่ได้ต้องการลักษณะ เขาเรียกว่า ต้องการอภิสิทธิ์พิเศษใด ๆ ให้กับชนเผ่าพื้นเมือง แต่ว่าเนื่องจากมีลักษณะที่จำเพาะออกมา ว่ามีทั้งในเชิงบวกของการที่ได้มีวัฒนธรรม ประเพณี ที่จำเป็นต้องสืบสานอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะที่อาจจะถูกกลืนหรือกระทั่งถูกคุกคาม ถูกจำกัดสิทธิในการพัฒนาหลายอย่างที่สำคัญ ๑. คือว่าชนเผ่าพื้นเมืองก็เป็นพลเมือง ของประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในฐานะพลเมือง ๒. คือว่า วัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองเป็นวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย เป็นที่ยอมรับของ ประชาชนทั้งประเทศไทยและทั่วโลก เป็นแหล่งที่ผู้คนมาศึกษาเรียนรู้ เป็นองค์ความรู้ ภูมิปัญญาที่ควรจะได้รับการสืบทอดต่อเนื่องทั้งในเชิงภาษา ที่สำคัญมีศักยภาพ ที่จะสามารถดำรงความเป็นชนเผ่า สร้างอัตลักษณ์ของตัวเองในความหลากหลายนี้ได้ อย่างต่อเนื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเองก็มีมาตราที่ชัดเจนที่จะรับรอง ส่งเสริม คุ้มครอง ให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถที่จะดำเนินกิจกรรมของตัวเอง รักษาวิถีชีวิตของตัวเอง อัตลักษณ์ของตัวเอง รัฐธรรมนูญมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๐ จึงเป็นที่มาของการ ร่างกฎหมายฉบับนี้ ๓. คือว่าประเทศไทยเองอยู่ในมิติที่สหประชาชาติให้การรับรองปฏิญญา ของสิทธิปวงชนพื้นเมืองมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ แล้วก็มีกติการะหว่างประเทศอีกหลายฉบับ ที่เกี่ยวเนื่องกับการรับรองภาวะของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนี ไชยรส ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ขออนุญาตเสนออีกประเด็นหนึ่งก็คือว่าประเทศชาติของเรา ประเทศไทย และกลุ่มชนเผ่าจะได้รับประโยชน์อะไรจากกฎหมายฉบับนี้ ข้อแรกคือทำให้ชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งเป็นพลเมืองของประเทศนี้ได้รับการรับรองสิทธิและความเสมอภาค ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ มรดกวัฒนธรรมเองก็ได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองต่อเนื่อง มีความมั่นคงในวิถีชีวิตในพื้นที่ ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณ เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐได้อย่างเสมอภาค ที่สำคัญ จะเป็นกลไก การมีสภาชนเผ่าพื้นเมืองจะเป็นกลไกที่ประสานงานทั้งในส่วนของชนเผ่า ทั้งในส่วนภาคเอกชนและภาครัฐที่จะช่วยกันดำเนินงานให้ไปสู่การกำหนดการพัฒนา ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง รัฐบาลไทยเองก็จะถูกยอมรับจากอารยประเทศ จากสหประชาชาติว่าได้ให้การยอมรับที่จะส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตของชนเผ่าพื้นเมือง อย่างสง่างาม ขอให้นึกถึงภาพว่าการมีสภาชนเผ่าพื้นเมืองคือกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่การที่ ร่วมไม้ร่วมมือกัน ทั้งในส่วนของพี่น้องชนเผ่าแล้วก็ในส่วนของภาครัฐ โดยสรุปหลักการสำคัญของร่างกฎหมายสภาชนเผ่าพื้นเมืองฉบับเข้าชื่อนี้ สะท้อนให้เห็นชัด ว่าปัญหาของพี่น้องชนเผ่านั้นเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เชิงกฎหมาย และนโยบายที่จำเป็น จะต้องมีกฎหมายขึ้นมารับรองอย่างถูกต้อง มีมาตรการเฉพาะที่เหมาะสม ช่วยลดความ เหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางสังคม นี่เป็นที่มาของการที่จำเป็นต้องมีร่างกฎหมาย สภาชนเผ่าพื้นเมือง ขอบพระคุณค่ะ ขอเชิญคุณเกรียงไกร ชีช่วง นะคะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ผมอาจจะขออนุญาต ผมกับทางคุณเกรียงไกร ชีช่วง ซึ่งจะขออนุญาตเป็นคนที่ช่วยสรุปประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ของร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... จากที่ทางพวกเรา คณะผู้ชี้แจงได้เรียนแล้วว่าชนเผ่าพื้นเมืองนี้ก็เป็นคำนิยาม ในประเทศไทยนั้นถือว่า สำหรับพวกเรานี้ก็ได้ใช้กันมา ๑๐ กว่าปีแล้ว ก็เกือบ ๆ ๒๐ ปี ที่เป็นพื้นที่หน้าหมู่ของเรานี้ ในสาระสำคัญของกฎหมาย ก็กำหนดให้มีการนิยามชนเผ่าพื้นเมืองให้เกิดความเข้าใจ ที่ตรงกัน ที่ชัดเจน ก็ไปเป็นสาระสำคัญอันหนึ่ง ในนิยามชนเผ่าพื้นเมืองในร่างกฎหมาย ของเรานี้จะหมายถึงบุคคลหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกัน โดยมีวิถีปฏิบัติ ที่สืบทอดกันต่อเนื่องมาจากตั้งแต่บรรพชนของตัวเอง จะมีเรื่องภาษา แบบแผนทางวัฒนธรรม ของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อันนี้ถือว่าเป็นนิยามท่อนที่จะเห็นเป็นภาพรวม นอกจากนี้ก็จะมีเรื่องของความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์ มีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงพึ่งพากับ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่ตัวเองอาศัยอยู่นะครับ มิได้เป็นกลุ่มที่ครอบงำในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือการเมือง และมีการพิจารณาตนเองว่ามีความแตกต่างจากภาคส่วนอื่น ของสังคมใหญ่ อันนี้ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นอกจากนี้เป็นกลุ่มชน ที่มีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ รักษา พัฒนา สืบสาน สืบทอดภูมิปัญญาของตัวเองจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะรุ่นในอนาคตของเรานะครับ อีกประเด็นที่สำคัญก็คือเป็นกลุ่มที่รักษาสันติ วัฒนธรรม ซึ่งเป็นไปตามจารีตประเพณีที่มีการถือปฏิบัติการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ นอกจากมีองค์ประกอบเหล่านี้เข้ามาเป็นตัวช่วยอธิบายความเป็นตัวตนชนเผ่าพื้นเมืองแล้ว สิ่งที่เป็นสากลในการที่กำหนดว่าใครเป็นหรือไม่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองมีความสำคัญอยู่ที่ การระบุตนเองว่าเป็นชนเผ่าพื้นเมืองเองนะครับ ไม่ใช่เป็นผู้อื่นที่มากำหนดว่าเราเป็น หรือไม่เป็น และได้รับการยอมรับจากกลุ่มอื่น ๆ อันนี้ก็ถือว่าเป็นนิยามที่เราได้กำหนดไว้ ในร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ของเรานะครับ

นายศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ทีนี้ประเด็นถัดไป ถ้าจะฉายสไลด์ก็จะเห็นตัวโครงสร้างนะครับ ถัดไปเรื่อย ๆ อีก ๒-๓ สไลด์ ตรงนี้นะครับ ในสาระสำคัญของตัวร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... จะเห็นว่าทั้งหมดสาระหลักก็จะเป็นการกล่าวถึงกลไกที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมือง ก็มีตั้งแต่ ตัวภาพรวม กลไกหลักก็คือตัวสภาชนเผ่าพื้นเมืองมีกลไกของคณะกรรมการบริหารกิจการสภา ตัวสภาชนเผ่าพื้นเมืองจริง ๆ แล้วต้องพูดถึงองค์ประกอบสำคัญ ก็คือความเป็นสมาชิก สภาชนเผ่าพื้นเมือง ก็จะมีตัวแทนมาเป็นคณะกรรมการบริหารสภา อันนี้ก็เป็นองค์ประกอบ ถัดมาที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็จะมีผู้อาวุโสสภา แล้วก็จะมีส่วนสำนักงาน นอกนั้นก็จะมี กลไกองค์ประกอบย่อยจะเป็นคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน รวมไปถึงเรื่องกองทุนก็จะอยู่ ในสาระถัดไปนะครับ ขออนุญาตสไลด์ถัดไปเป็นตัวที่จะบ่งชี้เรื่องของหน้าที่และอำนาจของ ชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งที่จริงในเอกสารที่ท่านสามารถศึกษาในรายละเอียดได้ก็มีการกำหนดไว้ ใน ๑๔ ประการ เป็นหน้าที่อำนาจของสภานะครับ แต่ว่าโดยสรุปภาพรวมก็คือจะทำหน้าที่ ในการส่งเสริมสนับสนุนเรื่องภาษา วัฒนธรรม การศึกษา อาชีพ แม้กระทั่งเรื่องของ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่บริบทที่ตัวเองเกี่ยวข้องนะครับ ตัวสภาเองก็มีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิชนเผ่าพื้นเมือง อีกประการที่สำคัญคือตัวสภาก็จะมีหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพของคน ก็คือตัวตน ชนเผ่าพื้นเมืองทุก ๆ กลุ่มชาติพันธุ์ มีในเรื่องของการพัฒนาเรื่องระบบฐานข้อมูล รวมไปถึง เรื่องของการพัฒนากลุ่มองค์กรเครือข่าย ที่จะเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาที่ตัวเองประสบอยู่ รวมทั้งตัวสภาเองก็จะทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผลกระทบของนโยบาย และโครงการ พัฒนาต่าง ๆ ที่มีการดำเนินการแล้วมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเรา รวมไปถึงเรื่องของ บทบาทที่เป็นบทบาทของสภา ภาพรวมก็คือเรื่องของการประสานงาน เรื่องประชาสัมพันธ์ หรือว่าเผยแพร่ผลงาน อันนี้ก็จะเป็นหัวใจในเรื่องของการประสานความร่วมมือให้เกิด การแก้ปัญหาที่พวกเราประสบอยู่ รวมไปถึงเป็นกลไกสำคัญในการประสานความร่วมมือ ให้เกิดการหนุนเสริมการพัฒนาชนเผ่าพื้นเมืองของเราไปในทิศทางที่สอดคล้องวิถีชีวิต ของเรานะครับ

นายศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ทีนี้ถัดไปจะเป็นเรื่องของตัวสมาชิกสภาชนเผ่าพื้นเมือง หัวใจของตัวกลไกสภา ก็เป็นสมาชิกสภา อันนี้ก็จะเป็นผู้ที่ได้รับการคัดสรร สรรหามาจากชนเผ่าพื้นเมืองแต่ละ กลุ่มชาติพันธุ์ที่มาเป็นสมาชิกสภาที่มีการขึ้นทะเบียนกับสภาไว้ สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญ ในส่วนของการเป็นสมาชิกนั้น นอกจากได้รับการคัดเลือกแล้ว เรื่องของเกณฑ์เรายอมรับ ตั้งแต่เยาวชนผู้ที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ก็ถือว่าเป็นการเปิดพื้นที่ให้เกิดแกนนำรุ่นใหม่ที่เข้ามา สานต่อในเรื่องของการเคลื่อนงานของสภาของเรา อันนี้ก็จะเป็นสิ่งที่มีความแตกต่างทั่วไป อันนี้ส่วนหนึ่ง แล้วนอกจากนี้บทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาก็มีความสำคัญ ซึ่งสาระหลัก ในร่างที่กำหนดไว้มีหลายประการ แต่ว่าสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญก็จะเป็นเรื่องของ การประสานความร่วมมือระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ตัวเองกับกิจการของสภา รวมไปถึงเรื่องของ การทำหน้าที่ในการรวบรวมศึกษาและพัฒนาตัวข้อมูลสถานการณ์ต่าง ๆ ในพื้นที่หรือ ข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ตัวเอง ทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ที่เป็นภารกิจงานของเครือข่าย กลุ่มชาติพันธุ์ตัวเองไปจนถึงงานของสภาของเรา แล้วก็สนับสนุนกิจการของสภา อันนี้ ก็เป็นตัวชี้ให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ ก็มีความเชื่อมโยงกับตัวกลไกตัวหลักก็คือตัวสภานะครับ ก็คงจะเป็นภาพที่อยากจะเรียนให้ท่านได้เห็นในส่วนแรกนะครับ ส่วนถัดไปในสาระของ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะขอเรียนเชิญคุณเกรียงไกร ชีช่วง เป็นผู้ที่ได้ชี้แจงต่อครับ ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายเกรียงไกร ชีช่วง ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ ผม เกรียงไกร ชีช่วง ประธานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยครับ ขออนุญาตนำสรุป สาระสำคัญเกี่ยวกับคณะกรรมการกลไกที่เกี่ยวข้องในสภาชนเผ่า พ.ร.บ. ตัวนี้ ให้รับทราบ ตามนี้นะครับ สำหรับคณะกรรมการบริหารสภาชนเผ่าพื้นเมืองจะมีองค์ประกอบอยู่ที่ ๑๕ ท่าน ซึ่งแน่นอน ๑๕ ท่านนี้จะมีความครอบคลุมภูมิภาคและข่ายเผ่าอย่างชัดเจน เพื่อแสดงถึงการมีส่วนร่วม ความทั่วถึงและเป็นธรรมให้กับข่ายเผ่าทั่วประเทศที่ได้ เข้ามาอยู่ส่วนนี้ และยังมีส่วนสำคัญที่เรายังให้สัดส่วนของสตรีและเยาวชนเข้ามาเป็นตัวแทน ตรงนั้นด้วย

นายเกรียงไกร ชีช่วง ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๒ เรามีกลไกคณะสภาผู้อาวุโสที่จะมาคอยช่วยให้คำปรึกษา ให้ความเห็น และข้อเสนอแนะ รวมทั้งมาในกรณีต้องมีเหตุไกล่เกลี่ยกรณีข้อพิพาทหรือความคิดเห็น ที่แตกต่าง แล้วก็กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการในแต่ละรอบของสภาชนเผ่าพื้นเมือง ในส่วนสำนักงานสภาชนเผ่าพื้นเมือง ก็จะเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมจัดทำแผนพัฒนา โครงการเพื่อที่ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนราชการแล้วก็ส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง อำนวยความสะดวกแก่สมาชิก จัดทำรายงานประจำปี ประสานความร่วมมือ ประชาสัมพันธ์ และจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนภาคราชการภาคส่วนของรัฐบาลของเรา ในการนำเสนอสู่นานาประเทศด้วยนะครับ ส่วนที่สำคัญก็คือเรื่องกองทุนที่เราพยายามจะเป็น ส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนร่วมที่สำคัญที่จะทำให้กลไกนี้สามารถขับเคลื่อนไปได้

นายเกรียงไกร ชีช่วง ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

สำหรับอื่น ๆ นอกจากนี้ที่เกี่ยวข้องก็พูดถึงหลักการในส่วนของบทเฉพาะกาล ก็จะมี ๒ เรื่อง ส่วนของการดำเนินการเลือกสมาชิกสภาจะดำเนินอยู่ภายใน ๙๐ วัน นับแต่การใช้พระราชบัญญัตินี้ ซึ่งกำหนดอยู่ที่มาตรา ๓๕ แล้วโครงสร้างและการบริหารกิจการสภาจะสามารถแก้ไขปรับปรุง แล้วก็ให้สอดคล้อง ตามข้อเท็จจริงของสมาชิกภูมิภาค โดยใช้การประชุมที่เรียกว่าสมัชชาหรือสภาชนเผ่า พื้นเมืองประจำปีได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่ผมอยากจะสรุปท้ายก็คือว่าการมีพระราชบัญญัติฉบับนี้ สภาชนเผ่าพื้นเมืองฉบับนี้ ท่านประธานครับ เราไม่ใช่เพื่อจะแช่แข็งความเป็นชนเผ่าล้าหลัง ล้าสมัยนะครับ ทุกอย่างเราจะอยู่ในการปรับตัวและเสริมศักยภาพ แต่เราอยากจะร่วม มาเป็นส่วนหนึ่งจริง ๆ ผมอยากให้ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านได้เห็นว่าเครือข่าย ของพวกเราอย่างน้อย ๔๖ ข่ายเผ่า ๔ สภาภูมิภาคนี้ ได้มีการเตรียมความพร้อมมาอย่าง ต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ และเราก็เสนอร่างนี้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ มายาวนานแล้ว เราอยากให้เห็นพื้นที่ ที่เราจะมีส่วนร่วมที่เราได้เป็นพลเมืองร่วมกับทุกท่าน ประชาชนทุกคน จริง ๆ นะครับ เราอยากให้ได้เห็นคุณค่าและโอกาสที่ยั่งยืนของสังคมไทยที่จะได้จากพลัง หรือว่าองค์ความรู้ภูมิปัญญาของเราและการมีส่วนร่วมของเรา ที่สำคัญสิ่งที่สะท้อนเรื่องพวกนี้ ได้ชัดเจนก็คือ จริง ๆ แล้วเรามีกลุ่มเครือข่ายที่สนใจสร้างพระราชบัญญัติที่ใกล้เคียงตรงนี้ อีกหลายฉบับเลยทีเดียว ก็อยากจะยืนยันนะครับ อยากให้ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติที่อยู่ในสภานี้ได้พิจารณาให้เรานะครับ จากการต่อสู้มายาวนานก็อยากให้ พิจารณาให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการโดยด่วน เพื่อจะให้สิ่งที่เป็นที่มุ่งมั่นของภาคประชาชน โดยเฉพาะเครือข่ายสภาชนเผ่าพื้นเมืองนี้ได้สำเร็จ แล้วก็ให้พวกเราได้สามารถเป็นส่วนหนึ่ง ในการช่วยแก้ปัญหา แล้วก็ผลักดันนโยบายที่ดีให้กับสังคมไทยร่วมด้วยตรงนั้นครับ ท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปก็จะเป็น การอภิปรายของท่านสมาชิกนะครับ ขณะนี้มีสมาชิกยื่นความจำนงขอร่วมอภิปรายทั้งหมด ๑๓ ท่าน ผมก็จะเรียกสลับกันไประหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านนะครับ ให้เวลาคนละ ๗ นาที ตามข้อบังคับ แต่ว่าคุณมานพ คีรีภูวดล ขอเป็นการพิเศษเพิ่มอีก ๓ นาทีนะครับ เพราะว่ามีความใกล้ชิดกับชนเผ่า ก็อนุญาตเป็นพิเศษก็แล้วกัน แต่ว่าจะมีบางท่านขอลด ของตัวเอง เช่น คุณภัสรินขอเวลาแค่ ๕ นาที ก็ปรับไปให้คุณมานพก็แล้วกัน เชิญคุณมานพ เป็นท่านแรกเลยครับ คุณมานพ คีรีภูวดล พรรคก้าวไกล ๑๐ นาที เชิญครับ

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ต้องกราบขอบพระคุณ ท่านประธานครับที่กรุณาให้เวลาผมเพิ่มเติมนะครับ เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์และ ชนเผ่าพื้นเมือง เรียนผู้มาชี้แจงจากสภาชนเผ่าพื้นเมืองทุกท่านนะครับ ท่านประธานครับ ผมอยากจะบอกอย่างนี้ครับว่า ผมมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้อภิปรายร่างกฎหมายฉบับนี้ ในนามผู้แทนราษฎรที่เป็นชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ผมอยู่พรรคก้าวไกลครับ ท่านประธาน ในสมัยที่แล้วรัฐสภา ชุดที่ ๒๕ รายงานของคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ เข้ามา ในกรรมาธิการในที่ประชุมใหญ่แห่งนี้ เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกือบทุกพรรค ก็ลุกขึ้นมาอภิปรายให้ความสนใจ เพราะพี่น้องประชาชนในพื้นที่ของท่านและท่านเองก็เป็น พี่น้องชาติพันธุ์ด้วยนะครับ อันนี้คือประเด็นที่ผมอยากจะเกริ่นนำ ท่านประธานครับ ผมอยากจะบอกอย่างนี้ครับว่า กฎหมายฉบับนี้อย่างที่ผู้ชี้แจงได้นำเรียนได้มีการริเริ่มมานาน แต่กระบวนการเข้าสู่สภาตรงนี้ผมก็เป็น ๑ ใน ๒๐ คนที่ลงรายชื่อพร้อมกับสภาชนเผ่า พื้นเมือง และได้รับการรับรองเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔ ๑๒,๘๘๘ รายชื่อ แล้วจากนั้น เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบต่าง ๆ เป็นไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ท่านประธานครับ ผมมีเหตุผล อยู่หลายประการที่จำเป็นจะต้องมี พ.ร.บ. ฉบับนี้ ในการบังคับใช้ในประเทศไทยกับพี่น้อง ชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งหมดนี้ท่านประธานครับ ถ้าดูจากเจตนาของกฎหมายฉบับนี้ คือกลไกสำคัญที่เราเรียกว่า สภาชนเผ่าพื้นเมือง ผู้ชี้แจงก็ได้ชี้แจงแล้วครับ เพื่อให้สภาเป็นกลไกให้ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศนี้ได้มีองค์กรที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้มีการรับรองความเป็นตัวตน ความเป็น ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งผมจะลงรายละเอียดนะครับ เพราะฉะนั้นก็คือสภาชนเผ่าพื้นเมืองภายใต้ เนื้อหาของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เปรียบเสมือนเป็นโซ่ข้อกลางที่จะทำหน้าที่การทำงานระหว่าง พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองกับส่วนราชการทุกส่วนที่ถูกบังคับใช้ในการทำงานกับพี่น้องประชาชน ผมคิดว่าถ้าดูเนื้อหาก็จะเป็นเรื่องของกระบวนการทำแผน ทำความเข้าใจ ทำข้อมูล และสื่อสารกับส่วนราชการต่าง ๆ นะครับท่านประธาน เหตุผลที่ผมจะลงรายละเอียด มีอยู่ ๓-๔ ประการ

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการแรก ข้อเท็จจริงในสังคมไทยครับ สังคมไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม พหุสังคม ผมอยากให้ฝ่ายสื่อได้ขึ้นแผนที่ประเทศไทยครับ วันนี้ส่วนวิชาการโดยเฉพาะ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรได้มีการสำรวจ ชาติพันธุ์ทั้งหมดวันนี้มีไม่ต่ำกว่า ๖๐ ชาติพันธุ์ กระจายไปอยู่ทั่วประเทศครับท่านประธาน ซึ่งทางวิชาการได้แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม อย่างที่ ผู้ชี้แจงได้นำเรียนเมื่อสักครู่นี้นะครับว่ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง กลุ่มชาติพันธุ์ที่ราบ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่น้ำหรือทะเล และกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังอาศัยชีวิตอยู่ในป่า ซึ่งมีความเปราะบาง รวม ๆ แล้วล่าสุดเราได้ข้อมูลมา ๖๐ ชาติพันธุ์ มีประชากรอยู่ประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของคนทั้งประเทศ ก็คือ ๖ ล้านกว่าคน ไม่ใช่น้อย ๆ เลยนะครับ เพราะฉะนั้น ข้อเท็จจริงที่ผมไปล่าสุดก็คือที่จังหวัดสุรินทร์ พี่น้องชาวกูยซึ่งมีองค์ความรู้ด้านเกี่ยวกับช้าง มีคชศาสตร์การดูแลช้างมีประชากรไม่ต่ำกว่า ๓ ล้านคน กระจายอยู่ในภาคอีสาน หลาย ๆ จังหวัด อันนี้เหตุผลที่ ๑ ครับท่านประธาน ว่า ๖๐ ล้านคน เรามีพี่น้องชาติพันธุ์อยู่ ๖ ล้านคน ๖๐ กลุ่มชาติพันธุ์นะครับ

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ก็คือเรื่องของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผมดูในรายละเอียดแล้ว ในรัฐธรรมนูญมีอยู่ ๓ หมวด หมวด ๓ ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ในมาตรา ๔๓ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นมาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ และที่สำคัญคือแนวนโยบาย ของรัฐ คือหมวด ๖ มาตรา ๗๐ ได้เขียนไว้ชัดเจนนะครับว่าจะต้องส่งเสริมและให้การ คุ้มครองกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ และที่สำคัญคือว่าการคุ้มครอง และส่งเสริมดังกล่าวนั้น จะต้องไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงและเป็นอันตรายด้านสุขอนามัย อันนี้รัฐธรรมนูญมาตรา ๗๐ เขียนไว้อย่างชัดเจนครับท่านประธาน สิ่งที่ผมอยากจะบอก ต่อไปครับท่านประธาน นอกจากจะเป็นประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงในบริบทว่าเรามี กลุ่มชนชาติพันธุ์จริง ๆ ๖๐ ชาติพันธุ์ ๖ ล้านคน ข้อกฎหมาย ข้อรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง ข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่ง คือสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองที่เป็นมติของสหประชาชาติ ประเทศไทยได้ไปลงนามไว้เมื่อปี ๒๕๕๐ อันนี้เป็นข้อตกลงที่ประเทศไทยได้ไปลงนามไว้กับ นานาอารยประเทศในเวทีสากล เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เราจะปฏิเสธไม่ได้ครับว่าเราจะ ไม่มีกลไกหรือไม่มีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรที่จะคุ้มครองตามข้อตกลงที่เราไปลงนามในเวที สหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งผมก็ทราบว่ามีหลายประเทศ ได้มีการออกกฎหมาย ได้มีการสร้างมาตรการต่าง ๆ เพื่อที่จะรับรองสิ่งเหล่านี้ตามข้อตกลง ที่ได้ไปตกลงไว้ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นส่วนสำคัญที่ได้ลงนามไว้

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ อยากจะนำเรียนท่านประธานอย่างนี้ว่าสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง พี่น้องชาติพันธุ์ที่อยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศ ๖๐ ชาติพันธุ์ ผมว่ามันมีปัญหาอยู่ ๒ เรื่อง ใหญ่ ๆ นะครับ สิทธิความเป็นตัวตนความเป็นชาติพันธุ์ของพี่น้องชาติพันธุ์ได้รับผลกระทบ จากนโยบายและกระแสโลกาภิวัตน์ กระแสโลก พวกเขาไม่สามารถที่จะดำรงรักษาความเป็น ตัวตนที่จะดูแลตัวเองได้ เพราะมันมีอำนาจของรัฐไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิในที่ดิน สิทธิในการดำรงชีวิตภายใต้วัฒนธรรมและองค์ความรู้ของบรรพบุรุษ เนื่องจากว่ามีนโยบาย มีกฎหมายหลายฉบับ ผมยกตัวอย่าง เช่น กฎหมาย พ.ร.บ. อุทยาน พ.ร.บ. ป่าสงวน หรือแม้แต่ทางทะเล พี่น้องชาวเลที่เคยไปหาปลาตามฤดูกาลน้ำขึ้นน้ำลง วันนี้ถูกประกาศ เป็นเขตอุทยานทางทะเล ไม่สามารถจะใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ต้องปรับวิถีชีวิตอย่างอื่น สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ผลกระทบที่เขาจะดำรงวิถีชีวิตของตัวเองได้ยากลำบากนะครับ เช่นเดียวกับพี่น้องชาวกะเหรี่ยงหรือชาวลัวะด้วยนะครับ เขาดำรงวิถีชีวิตที่เราใช้ คำว่า ไร่หมุนเวียน ในอดีตราชการใช้คำว่า ไร่เลื่อนลอย ไร่หมุนเวียนนี้เป็นระบบการเกษตร บนพื้นที่สูงที่มันมีความชัน มี Slope เกิน ๓๐ เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก ในระบบทางวิชาการเขาก็ ยอมรับว่ามันเป็นระบบเกษตรเดียวที่จะอยู่กับบริบทสังคมและบริบทนิเวศได้ ไม่สามารถ ที่จะทำซ้ำได้ จะต้องหมุนเวียนพื้นที่ ถ้าไม่ทำแบบนี้ความยั่งยืนในการเพาะปลูกแล้วก็ อยู่อาศัยไม่ได้ สิ่งเหล่านี้พี่น้องไม่สามารถดำเนินการได้อยู่ต่อไป เพราะได้รับผลกระทบของ กฎหมายและนโยบาย เราก็จะเห็นหลายพื้นที่วันนี้กลายเป็นไร่ข้าวโพด ที่เป็นไร่ข้าวโพด เพราะว่าไม่สามารถทำไร่หมุนเวียนได้ ซึ่งรายละเอียดเดี๋ยวท่านประธานอยากจะทราบ ผมจะได้คุยต่อไปนะครับ

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ผมอยากจะบอกอีกกลุ่มหนึ่งนะครับ ผลกระทบพี่น้องในทางที่มีความสุ่มเสี่ยง ที่จะสูญเสียความเป็นอัตลักษณ์ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ราบค่อนข้าง ที่จะเยอะ พี่น้องชาติพันธุ์เหล่านี้บางคนบางหมู่บ้านไม่ได้พูดภาษาของตัวเองแล้ว พี่น้อง ชาติพันธุ์เหล่านี้บางคนบางท่านไม่ยอมใส่เสื้อผ้าของตัวเองแล้ว ทางภาคอีสานผมก็เจอ ทางภาคกลางผมก็เจอ สิ่งที่เขาไม่ดำรงรักษาความเป็นตัวตนนี้ก็คือว่าถูกสังคมกลุ่มใหญ่ สังคมกลุ่มใหญ่นะครับ ไม่เชิงรังแกครับท่านประธาน ก็คือว่าเป็นการด้อยค่าว่าคุณเป็น คนกลุ่มน้อย คุณเป็นคนกลุ่มที่ล้าหลัง พูดภาษาใหญ่ ๆ ไม่ได้ มีแต่ภาษาท้องถิ่น เด็กคน รุ่นใหม่ต่าง ๆ ไม่มีความภาคภูมิใจที่จะดำรงรักษาตัวเอง ล่าสุดข้อมูลที่เป็นทางวิชาการ นะครับท่านประธาน ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นรอยต่อทางเพชรบูรณ์และชัยภูมิเป็นชนเผ่าดั้งเดิม สมัยทวารวดีที่ยังคงดำรงรักษาวิถีชีวิตได้อยู่ ณ วันนี้ครับ แต่เหลือน้อยมากคือพี่น้อง ชาติพันธุ์ญัฮกรุ ภาษาแบบทวารวดีเลยนะครับท่านประธาน ซึ่งอยู่ในสังคมไทยนี้นะครับ เพราะฉะนั้นกลุ่มที่ ๒ ที่ผมพยายามที่จะสื่อสารกับท่านสมาชิกแล้วก็ท่านประธานก็คือว่า ความเปราะบางเหล่านี้ถ้าหากว่าเราไม่มีการคุ้มครอง ไม่มีกลไก ไม่มีการสนับสนุน ไม่มีพื้นที่ ให้เขา มีโอกาสที่จะสูญหายไปจากสังคมไทย

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผมขอสรุปแบบท้าย ๆ ขอเวลาท่านประธาน เพิ่มอีกสักเล็กน้อยนะครับ กลไกสภาชนเผ่าพื้นเมืองจะทำหน้าที่เป็นโซ่ข้อกลางที่จะรวบรวม ปัญหาของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ๖๐ ชาติพันธุ์ ก่อรูปมาเป็นคณะกรรมการ คณะทำงาน ซึ่งวันนี้ตัวสภาชนเผ่าที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับเขาก่อรูปและเขาก็ใช้คำว่า สส. เหมือนกันนะครับ สมาชิกสภาเหมือนกัน และมีกลไกตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคอีสาน เขาก็ทำงานเป็นก่อรูปขึ้นมาเพื่อที่จะล้อกับร่างตรงนี้ ทำงานล่วงหน้าไปแล้ว กลไกเหล่านี้จะทำหน้าที่หลายภารกิจ ภารกิจหนึ่งที่สำคัญที่สุดก็คือว่าจะต้องไปคุยกับ หน่วยงานภาครัฐราชการคือตั้งแต่รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าพี่น้องชาติพันธุ์ ในสังคมไทยที่ดำรงอยู่ตอนนี้ปัญหาคืออะไร ต้องการความช่วยเหลืออะไรต่าง ๆ อย่างไร

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

สุดท้ายครับท่านประธาน ผมอยากจะขอให้เพื่อน ๆ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกพรรคนะครับ อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้วครับว่าในสมัยรัฐสภาชุดที่แล้วท่านก็ได้อภิปราย สนับสนุนเกี่ยวกับร่างของกรรมาธิการด้านชาติพันธุ์มาโดยตลอด แล้วท่านก็ยืนยันว่า ท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของชาติพันธุ์ในสังคมส่วนใหญ่ ผมอยากจะให้ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกพรรคช่วยกันสนับสนุน ช่วยกันยกร่างกฎหมายฉบับนี้ในพื้นที่ของรัฐสภา ให้มีกรรมาธิการ ในการพิจารณา ในการออกกฎหมายร่วมกัน ขอบคุณมากครับท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช ครับ

นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช เชียงราย ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๒ อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง ๓ ตำบล พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ก่อนที่ดิฉันจะอภิปรายในเรื่องของ ร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ดิฉันอยากให้ทุกท่านได้เห็นเครื่องแต่งกายที่ดิฉันสวมใส่มาในวันนี้ค่ะ เป็นฝีมือของ พี่น้องชาติพันธุ์บ้านเวียงราชพลี ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เป็นการปักด้วยมือทั้งหมด สะท้อนถึงศิลปะรวมถึงวัฒนธรรมของพี่น้องชาติพันธุ์ ที่มีทั้งเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ และในส่วนของเรื่องร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... เป็นเรื่องที่ดิฉันให้ความสำคัญและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ชุมชนชาติพันธุ์ท้องถิ่นดั้งเดิมกระจายอยู่ในประเทศไทย ในแต่ละภูมิภาคมาอย่างยาวนาน มีวิถีการใช้ชีวิตและวัฒนธรรมที่หลากหลาย รวมถึงภูมิปัญญาและองค์ความรู้ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นปราชญ์ของพี่น้องชาติพันธุ์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีการใช้ชีวิต ยารักษา โรคพื้นบ้าน รวมถึงภาษาที่เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ตัวอย่างที่ดิฉันได้มีโอกาส ไปเยี่ยมเยียนพี่น้องชาติพันธุ์อาข่าเวลาไปประชุมหมู่บ้าน ดิฉันก็จะใช้คำพูดที่บอกว่า อู่ดู่ถ่องมะ แปลว่าสวัสดีค่ะ พอรับฟังปัญหาของพ่อแม่พี่น้องเสร็จ พอจะขอตัวกลับบ้าน ก็พูดคำว่า กื่อหล่องหื่อมะ แปลว่าขอบคุณค่ะ และนี่คือความสวยงามของภาษาชาติพันธุ์ ที่ดิฉันตั้งใจ แล้วก็อยากจะเรียนรู้กับพี่น้องชาติพันธุ์ต่อไปเรื่อย ๆ ค่ะ แต่ท่านประธานคะ สิ่งสำคัญที่ดิฉันมีความสะท้อนใจและเสียใจที่เหล่าพี่น้องชาติพันธุ์ของพวกเราต้องพบเจออยู่ เป็นประจำ นั่นก็คืออุปสรรคในการเข้าถึงความช่วยเหลือของทางภาครัฐที่พี่น้องของพวกเรา ควรจะได้รับ รวมถึงสวัสดิการด้านอื่น ๆ ที่ได้มาอย่างจำกัดจำเขี่ย อย่างในเรื่องของ การเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานของลูกหลานพี่น้องชาติพันธุ์ ที่ต้องบอกว่ามีการเข้าถึง อย่างจำกัดอย่างที่ดิฉันเคยได้อภิปรายไปในสภาครั้งที่แล้ว หรือแม้กระทั่งการขอสัญชาติ ที่ดิฉันเคยสะท้อนไปในสภานะคะว่า พี่น้องชาติพันธุ์ของดิฉันบางท่านรอการพิสูจน์สัญชาติ มาอย่างยาวนาน บางท่านรอมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๓๐ ปี แต่บางท่านรอมาทั้งชีวิตก็ยังไม่ได้มีคน จากทางภาครัฐมาพิสูจน์สัญชาติ รวมถึงเรื่องของที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยก็จะได้รับความสำคัญ รองลงมาจากคนทั่วไป และนี่เป็นแค่ปัญหาเบื้องต้นของความเหลื่อมล้ำเบื้องต้นบางปัญหา เท่านั้นที่เหล่าพ่อแม่พี่น้องชาติพันธุ์ของดิฉันได้พบเจอ ดังนั้นในเรื่องของร่างพระราชบัญญัติ สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ดิฉันมีเหตุผลที่นำมาสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ดังนี้

นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช เชียงราย ต้นฉบับ

๑. การจัดตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองจะทำให้เหล่าพี่น้องชาติพันธุ์มีพื้นที่ในการ สะท้อนถึงปัญหาและความต้องการของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์นำมาถกกัน เพื่อหาทางออก อย่างเป็นรูปธรรม และสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยแห่งนี้จะเป็นเวทีของเพื่อนมนุษย์ ด้วยกันที่จะมีความเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาค คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และ พัฒนาคุณภาพชีวิตไปด้วยกัน อีกทั้งการจัดตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองก็จะมีการใช้หลัก ในการคัดเลือกและดำรงตำแหน่งตามหลักสากลทั่ว ๆ ไป และตัวสภาชนเผ่าพื้นเมือง ก็จะเป็นแหล่งขับเคลื่อนกับการพัฒนาชนกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่ม รวมถึงการถกปัญหา ซึ่งกันและกันเพื่อพัฒนาชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน

นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช เชียงราย ต้นฉบับ

๒. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยจะเป็นช่องทางทำให้เกิด ความเชื่อมโยงและเชื่อมต่อของกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ในประเทศไทยกับหน่วยงานของ ทางภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตัวคณะทำงานของคณะรัฐบาลเอง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือรวมถึงนักกฎหมายและประชาชนทั่วไป สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยจะเป็น ศูนย์กลางความช่วยเหลือของทุกชาติพันธุ์รวมกัน แต่อย่างไรก็ตามดิฉันก็มีความคาดหวัง นะคะว่าถ้ามีการจัดตั้งสภาแห่งนี้แล้ว สภาของพวกท่านหรือสภาของพี่น้องชาติพันธุ์ จะต้องไม่ถูกครอบงำหรือถูกแทรกแซงจากทางภาครัฐ และสภาแห่งนี้จะต้องเป็นอิสระ อย่างแท้จริง นี่คือความคาดหวังของดิฉันค่ะ

นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช เชียงราย ต้นฉบับ

๓. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย จะเป็นสภาที่ให้พวกเราทุกคนได้เห็น ถึงความมีตัวตน ความคงอยู่ของพี่น้องชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพราะพวกเราทุกคน คือมนุษย์ด้วยกัน จากเหตุผลที่ดิฉันได้แสดงความคิดเห็นไปในเบื้องต้น ดิฉันจึงเห็นว่า ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะปฏิเสธการจัดตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และสภาชนเผ่า พื้นเมืองแห่งประเทศไทยแห่งนี้จะส่งเสริมให้พวกเราอยู่ด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ อย่างสงบสุข และอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความแตกต่างในด้านของภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ตามหลักสิทธิมนุษยชนที่พึงมี สุดท้ายนี้ดิฉันและพรรคเพื่อไทยเราขอยืนยันนะคะว่า เราจะทำงานเป็นผู้แทนราษฎรของพี่น้องชาติพันธุ์อย่างเต็มที่และอย่างสุดความสามารถ อย่างแน่นอน ขอบพระคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณร่มธรรม ขำนุรักษ์ ครับ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้กระผม ขออภิปรายให้ความเห็นในร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. ... โดย นายศักดิ์ดา แสนมี่ ร่วมกับกลุ่มตัวแทนชนเผ่าพื้นเมืองและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๑๒,๘๘๘ คน เป็นผู้เสนอ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ในประเทศไทยเรา มีชนเผ่าพื้นเมืองมากกว่า ๕๐ ชาติพันธุ์ มีจำนวนหลายล้านคน พวกเขามีอัตลักษณ์ มีภาษา มีวิถีชีวิต มีภูมิปัญญา มีองค์ความรู้ มีประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่ล้วนแล้วเป็น ส่วนหนึ่งของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน พี่น้องเหล่านี้อาศัยและกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งบนพื้นที่สูง ที่ราบ ในทะเลและในป่า โดยดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วยความพอดี แบบเกื้อกูล อย่างไรก็ตามท่านประธานครับ ปัจจุบันพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ก็ยังเผชิญปัญหา มากมายครับ ทั้งการขาดโอกาส ถูกเลือกปฏิบัติ การเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและบริการของรัฐ ถูกละเมิดสิทธิ ได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับวิถี ถูกจำกัดการเข้าถึง และได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติตามวิถี เกิดการเลือกปฏิบัติ ข่มขู่ จับกุม ก่อให้เกิด ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน นอกจากนี้ ชนเผ่าพื้นเมืองกำลังสูญเสียวัฒนธรรมอย่างรวดเร็วจากโลกและการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไป สูญเสียศักยภาพและการพึ่งพาตนเอง อัตลักษณ์และวัฒนธรรมต่าง ๆ กำลังถูกทำลาย และอาจเลือนหายไปตามกาลเวลา จากที่ผมได้ติดตามก็พบว่าที่ผ่านมาชนเผ่าพื้นเมือง หลายกลุ่มทั่วทุกภูมิภาค ก็ได้มีการรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิความเป็นธรรมและได้ผลักดัน ให้มีกฎหมายที่ส่งเสริมสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยมานานหลายสิบปีครับ ในนาม เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย โดยทั้งเครือข่ายก็ต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาและ การพัฒนาที่ชัดเจนอย่างมีส่วนร่วม จึงได้ริเริ่มกฎหมายฉบับนี้ โดยหวังว่าจะเป็นเครื่องมือ และกลไกสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมการจัดการตนเองของชนเผ่าพื้นเมือง หวังที่จะให้ มีการสร้างการยอมรับ รับรองสถานการณ์มีตัวตนของชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองให้ได้ มีศักดิ์ศรี มีสิทธิอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันและมีกระบวนการคุ้มครองวิถีชีวิต ทุกกลุ่มอย่างแท้จริง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน กฎหมายฉบับนี้ คาดหวังว่าจะทำให้เกิดการประสานงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมือง อนุรักษ์ ส่งเสริม คุ้มครองและฟื้นฟูวัฒนธรรมเกิดการแก้ไขปัญหาได้อย่างทั่วถึง และจะทำให้มีการ เสนอแนะประเด็นปัญหาความต้องการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการมีสภาชนเผ่าพื้นเมือง และการจัดตั้งกองทุนสภาชนเผ่าพื้นเมืองครับ ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญไทยในมาตรา ๗๐ ว่ารัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดำรงชีวิต ในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน ทั้งนี้เท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐหรือสุขภาพอนามัย กระผมจึงขอขอบคุณพี่น้อง ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ พี่น้องประชาชนที่ได้มีการส่งเสียงสะท้อนปัญหาและความต้องการ และผลักดันให้เกิดกฎหมายสภาชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งผมรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ในวันนี้ เพราะผมเห็นว่าเราควรสนับสนุนสิทธิที่เท่าเทียมกัน ให้กับพี่น้องคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่าง ทั้งด้านความคิด อายุ เพศ ศาสนา หรือวัฒนธรรม สำหรับในพื้นที่ภาคใต้เรามีพี่น้องชาวมอแกน ชาวเล อูรักลาโวยจ โอรังอัสรี และพี่น้องมานิ ซึ่งในจังหวัดพัทลุงมีพี่น้องมานิอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เทือกเขาบรรทัดของจังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล มาอย่างยาวนานครับ ซึ่งมานิ แปลว่า มนุษย์ หรือคนครับ หรือหลายท่านก็อาจจะรู้จักพวกเขาในนามว่าเงาะป่าซาไก ปัจจุบันมีพี่น้องมานิ อยู่ ๑๒ กลุ่ม ประชากรประมาณ ๓๐๐ กว่าคน หรือ ๔๐๐ คน พี่น้องมานิมีวิถีชีวิต แบบดั้งเดิมหาของป่าทั้งขุดมัน กินพืชและสัตว์ พวกเขาเคลื่อนย้ายไปตามแหล่งอาหารและ ตั้งถิ่นฐานแบบถาวรในบางกลุ่ม โดยที่การดำรงชีวิตของพวกเขาสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากรธรรมชาติ มีวิถีชีวิตที่เคารพธรรมชาติ มีภาษาและประเพณีที่เฉพาะ มีภูมิปัญญาอันน่าทึ่งเรื่องของสมุนไพรและยารักษาโรคตามธรรมชาติ มีการใช้ชีวิตอย่าง เรียบง่าย มีความเอื้ออาทร แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางอย่างมาก โดยพื้นที่ ที่พี่น้องมานิอาศัยเรียกว่าพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความ หลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ มีน้ำตกและแหล่งท่องเที่ยวที่มีความอุดมสมบูรณ์ สวยงาม เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ตั้งขึ้นในปี ๒๕๑๘ โดยการมีอยู่ของชาวมานิในพื้นที่มาก่อนแล้ว ปัจจุบันพี่น้องมานิมีบัตรประชาชนเป็นประชาชนคนไทย โดยได้มีหน่วยงานองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ช่วยดูแลนะครับ ยกตัวอย่าง ในพื้นที่อำเภอ ป่าบอนและอำเภอกงหรา ก็ได้รับการดูแลให้เข้าถึงระบบการศึกษา ระบบสาธารณสุข และยังดูแลในด้านอื่น ๆ ผมจึงต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

แต่สำหรับเรื่องที่ยังเป็นปัญหาอยู่ก็ยังมีครับ โดยพี่น้องมานิได้เรียกร้อง ในเรื่องสิทธิที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย ขอให้มีพื้นที่คุ้มครองให้สามารถดำรงชีวิตพึ่งพาตนเองได้ ไปจนถึงสิทธิในด้านการศึกษา อาชีพ ด้านความมั่นคงทางอาหาร และสวัสดิการอื่น ๆ ไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือว่าก็ไม่ได้มากมายกว่าคนอื่น แต่เท่าเทียมกับคนอื่น ๆ ในประเทศ ท่านประธานที่เคารพครับ ผมคิดว่าเราควรจะเข้าใจถึงการมีอยู่และวิถีชีวิต ของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง มีการยอมรับ มีการส่งเสริมสิทธิ โดยควรขออนุญาต ให้พี่น้องเหล่านี้ได้ทำมาหากินในป่าอนุรักษ์ได้ ควรมีพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ให้พวกเขาได้อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดี โดยจากที่ผมพูดมานี้จึงมีข้อสอบถามไปถึงทางคณะผู้จัดทำ ร่าง พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยเพียงคำถามเดียวครับว่ากลไกของ ร่าง พ.ร.บ. นี้จะช่วยแก้ไขปัญหาและผลักดันประเด็นต่าง ๆ ที่ผมพูดมาทั้งหมดนี้ได้หรือไม่ ท่านประธานที่เคารพครับ ผมคิดว่าวันนี้ ณ สภาแห่งนี้จะเป็นวันที่สำคัญที่เราจะเห็น ความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง สร้างความเสมอภาค จากภาครัฐ และสร้างความเข้าใจจากสังคมที่จะไม่มองว่าพวกเขาเป็นคนอื่น แต่เป็นมนุษย์ และเป็นประชาชนที่เท่าเทียมกัน สุดท้ายนี้กระผมขอถือโอกาสนี้เชิญชวนเพื่อนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรได้ร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๑ ของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพราะว่ามีความสำคัญและเป็นประโยชน์ตามที่ผมได้อภิปรายให้ผลมาแล้วตั้งแต่ต้นนะครับ และหากเพื่อนสมาชิกมีข้อกังวลในบางประเด็น บางประการเราก็จะสามารถร่วมกันแก้ไขได้ ในวาระที่ ๒ ต่อไป ขอบคุณครับท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณทรงยศ รามสูต

นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพและ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นก็ต้องขอแสดงความขอบคุณที่พี่น้องภาคเอกชนที่เสนอ พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองเข้ามา เพราะว่าชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมาก แล้วจะได้มีการจัดเป็นระบบ ระเบียบ โดยเฉพาะจังหวัดน่านบ้านผมก็มีอยู่หลายชาติพันธุ์ครับ

นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ

ชาติพันธุ์แรกก็คือพี่น้องม้งนะครับ พี่น้องม้ง ก็จะมีเอกลักษณ์ของเขา แล้วก็จะมีตัวหนังสือเป็นภาษาอังกฤษ แต่ว่าพูดเป็นภาษาจีน ช่วงเทศกาลเขาก็จะจัดฉลองปีใหม่ม้งช่วงเดือนธันวาคม เดือนมกราคม ปีนี้เขาจะจัด วันที่ ๑๑ มกราคม พี่น้องภาคประชาชนที่สนใจไปเที่ยวได้ในจังหวัดภาคเหนือ จังหวัดน่าน ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มกราคม ซึ่งเขาจะมีประเพณีต่าง ๆ มีตระกูลแซ่เขาจะเคารพนะครับ แซ่ลี แซ่ว่าง แซ่เฮ่อ โดยเฉพาะที่ผมไปประชุมกับเขามีอย่างหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ก็คือบอกว่าคนแซ่ เดียวกัน ชาติพันธุ์เดียวกัน อาจจะแต่งงานกับชาติพันธุ์อื่นได้ แต่ถ้าชาติพันธุ์เดียวกัน พี่น้องม้งถ้าแซ่เดียวกันถึงจะอยู่อเมริกากับเมืองไทยก็ไม่สามารถแต่งงานกันได้ อันนี้ก็เป็น ที่แปลก ๆ นะครับ

นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ

ต่อไปชาติพันธุ์ที่ ๒ คือพี่น้องเมี่ยนนะครับ พี่น้องเมี่ยนที่น่าน พี่น้องม้ง ต้องขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีทักษิณด้วยนะครับ ท่านออกบัตรประชาชนให้ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๘ ต้องขอขอบคุณมาก ๆ พี่น้องเมี่ยนก็เป็นอีกชาติพันธุ์หนึ่งที่อยู่ที่จังหวัดน่านเยอะ ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นตัวหนังสือคล้ายตัวหนังสือจีน แล้วช่วงปีใหม่ก็จะฉลองพร้อมกับตรุษจีน ก็เชิญนักท่องเที่ยวไปเที่ยวได้ในจังหวัดน่าน แล้วจังหวัดภาคเหนือจะมีเทศกาลปีใหม่เมี่ยน อันนี้เป็นปีใหม่เมี่ยนนะครับ พี่น้องเมี่ยนส่วนใหญ่อาชีพเขาก็จะเป็นน้ำเต้าหู้กับเครื่องเงิน โดยเฉพาะเทศกาลตรุษจีนจะหาน้ำเต้าหู้กินยาก เพราะว่า ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ของคนขาย น้ำเต้าหู้ทั่วประเทศเป็นพี่น้องเมี่ยน แล้วกางเกงที่เขาใส่นี้กว่าจะปักได้ปีหนึ่งกว่าจะเสร็จ ตัวละเป็นแสน แล้วก็มีใส่เครื่องเงินนะครับ

นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ

ต่อไปพี่น้องชาติพันธุ์ที่ ๓ อพยพมาจากจีนเหมือนกัน แต่เป็นทางตอนใต้ ของยูนนาน ก็คือออกอพยพจากสิบสองปันนาคือพี่น้องไทลื้อ ก็อพยพมาอยู่แถวภาคอีสาน และภาคเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่จังหวัดน่านเขาก็จะมีการไหว้บรรพบุรุษเขาที่อพยพมา เจ้าหลวง ของเขาทุก ๆ ประมาณเดือนธันวาคม แล้วก็ทุก ๓ ปี ๔ รวงข้าว เขาก็จะจัดพิธีไหว้ใหญ่ ของเมืองน่านก็เพิ่งจัดไป เมื่อวันที่ ๙ วันที่ ๑๐ วันที่ ๑๑ ที่ผ่านมาเป็นของเจ้าหลวงเมืองล้า จริง ๆ มีหลายเจ้าหลวง หลายเมืองที่อพยพลงมา ซึ่งแต่ละเจ้าหลวงเขาก็จะไหว้แตกต่างกันไป แต่ละปีไปเที่ยวกันได้นะครับ

นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ

นอกจากไทลื้อ ชาติพันธุ์ถัดไปก็เป็นไทพวน คือไทพวนนี้ก็อพยพมาจากลาว ติดกับเมืองพวน ซึ่งอยู่ติดกับประเทศเวียดนาม ปัจจุบันเป็นแขวงเชียงขวาง เขาก็จะมี เอกลักษณ์ของเขา ซึ่งก็โชคดีจังหวัดน่านจะจัดงานไทพวนโลก วันที่ ๒๗ มกราคมนี้ ก็เชิญนักท่องเที่ยวไปเที่ยวกันได้นะครับ ซึ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่ผมพูดยกตัวอย่าง คือแต่ละ ชาติพันธุ์นี้เขาจะมีเอกลักษณ์ของเขา มีขนบธรรมเนียม ซึ่งก็โชคดีขอบคุณที่ทาง ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ของทางกลุ่มที่บอกว่ามี ๖๐ ชาติพันธุ์นี้ได้รวบรวมต่าง ๆ ไว้ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง ไทใหญ่ มอญต่าง ๆ แต่นอกจากนี้ก็อาจจะมีบางชาติพันธุ์ ซึ่งไม่ทราบว่าได้สำรวจหรือเปล่า อย่างจังหวัดน่านบ้านผมนี้เราก็มีเจ้าผู้ครองนคร หมายถึงว่าเป็นชาติพันธุ์หนึ่ง ตั้งแต่ พญาขุนฟอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๘๒๕ ประเทศเราเล็กอาจจะแพ้ ก็อาจจะขึ้นกับล้านนา ขึ้นกับ อังวะ แล้วจนมาขึ้นกับสยามประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๑ เรามีตัวหนังสือเมืองเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงอย่างของเชียงใหม่เองเขาก็เป็นอาณาจักร ๆ หนึ่ง เพราะฉะนั้นการที่เราจะรวบรวม ชาติพันธุ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ดีที่ผมเห็นด้วย เพียงแต่ว่าจากร่างที่ผมได้ศึกษาที่ทางท่าน ได้เสนอมา ผมมาดูแล้วมันอาจจะขาดความสมบูรณ์ในบางเรื่องครับ ต้องขอบคุณที่ท่านร่างมา ผมก็พยายามไปร่างของผมที่จะยกร่างออกมา จะได้เสนอเกี่ยวกับสภาชนเผ่าพื้นเมืองแล้ว เราน่าจะขยายความของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในจังหวัดน่านเข้าไปด้วย ผมกำลังกะว่า ถ้าสภารับหลักการผมก็จะไปแปรญัตติ แต่ถ้าขอรับไปพิจารณาเสร็จก็อาจจะเสนอ ร่างของผม คืออย่างน้อยเราน่าจะขยายความของคำว่า ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในร่างของผมที่ผม กำลังร่างก็คือจะให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เขาออกหลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ให้ชาติพันธุ์ต่าง ๆ รวบรวมกัน แล้วก็ไปแจ้งจดทะเบียนต่อกระทรวง แล้วจากนั้นเขาก็ตั้งคณะกรรมการมาออกระเบียบ กติกา เพราะว่าแต่ละชาติพันธุ์เขามี ระเบียบ มีกติกา มีฮีตฮอย มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แล้วพอหลังจากนั้นแต่ละชาติพันธุ์ ก็มีจำนวนปริมาณไม่เท่ากัน ก็จะเป็นสัดส่วนตามมาตรา ๖ ที่จะเข้าสู่สภานี้ว่าในสภาชนเผ่า ของท่านสัดส่วนของชาติพันธุ์เท่าไรที่จะเข้าไปสู่สภา เพราะฉะนั้นผมดูแล้วยังมีหลาย ๆ เรื่อง ที่อาจจะต้องมีการปรับปรุง แต่อย่างไรก็ตามผมก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีการนำเสนอ ในส่วนของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ แต่ก็จะฝากติงว่าจะต้องมีข้อแก้ไขอยู่หลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งก็ได้ รับทราบว่า ถ้าเผื่อรัฐบาลจะขอรับไปพิจารณาก่อนผมก็อาจจะร่างของผมมาผลักดันมา ประกบถ้ารัฐบาลส่งกลับมา แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่น่ายินดีที่อย่างน้อยภาคเอกชนได้เสนอมา ที่รวบรวมทั้ง ๖๐ ชาติพันธุ์ นำมาเสนอสู่สภาแห่งนี้ ก็หวังว่าเราได้เริ่มต้นแล้วก็หวังว่าอีกหน่อย เราจะมีกฎหมายที่จะมาดูแลชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มาอยู่ในประเทศไทย เพราะถ้าเราสามารถ รวบรวมได้ เวลาเขามาดำเนินการต่าง ๆ จัดงานระดับโลก ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อยู่ทั่วโลก บางครั้งผมเห็น ปีที่แล้วจังหวัดน่านจัดเมี่ยนโลกขนาดเป็นโควิดก็อาจจะมีบางส่วน ที่มาร่วมงาน เพราะฉะนั้นมันก็เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมเศรษฐกิจ แล้วก็เป็น Soft Power อย่างหนึ่ง เพราะว่าแต่ละชาติพันธุ์ก็มีเอกลักษณ์ มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เพราะถ้าเราสามารถเอามารวบรวมกันได้จดทะเบียน แล้วก็จะเอาข้อดีของเขามารวบรวมกันได้ ก็จะเป็นการ Promote ประเทศไทย ก็ขอขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณธิษะณา ชุณหะวัณ ครับ

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน สาทร และราชเทวี พรรคก้าวไกลค่ะ ขอสไลด์ด้วยค่ะ

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

วันนี้ดิฉันมาอภิปราย สนับสนุนร่างกฎหมาย พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมือง พร้อมให้มีกลไกการช่วยสร้างคุ้มครอง สิทธิต่าง ๆ สำหรับชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศไทย เมื่อเราพูดถึงสิทธิ ที่คนส่วนใหญ่มี คำถามหนึ่งที่สำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือคนส่วนน้อยที่เข้าไม่ถึงสิทธิ และบริการสาธารณะต่าง ๆ เช่น กลุ่มคนชาติพันธุ์และเสรีภาพในวัฒนธรรม และในสังคม ที่เป็นพหุวัฒนธรรม อย่างเช่น ประเทศไทยสิทธิขั้นพื้นฐานควรจะมีเท่าเทียมกันมิใช่หรือคะ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการพัฒนาความรู้พื้นเมือง การเข้าถึงบริการสาธารณสุข สิทธิในดินแดนที่ดิน และทรัพยากรด้วยความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติค่ะท่านประธาน รวมไปถึงสิทธิทางพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ซึ่งสหประชาชาติเองได้กล่าวไว้ว่ามนุษย์ทุกคนล้วนที่จะได้รับการรับรอง สิทธิที่เท่าเทียมกัน ดิฉันเชื่อว่าประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามภายใต้ข้อตกลง ของสหประชาชาติเช่นเดียวกัน ท่านประธานคะ ความพยายามที่จะกำหนดหรือบังคับ ให้สังคมมีวัฒนธรรมอัตลักษณ์เดียวกัน ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายทางเชื้อชาติ หรือพหุวัฒนธรรม ไม่ควรต้องแลกมาด้วยสิทธิของคนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ไม่ว่าสิทธิเหล่านั้นจะเป็นรูปแบบการเมือง เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรมก็ตาม

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

สไลด์ที่ ๓ ประเทศไทยอย่างที่เพื่อนสมาชิกได้กล่าวไว้ คุณมานพ คีรีภูวดล ได้กล่าวไว้นะคะว่าเราได้ลงสัตยาบันไปแล้วกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ อย่างเช่น อนุสัญญา ระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๖ แล้วก็ ICCPR หรือกติกาว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เราลงสัตยาบันไป เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เราลงสัตยาบันไปเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ ซึ่งมีผลผูกพันกับรัฐของเรา ในการที่จะปฏิบัติตามโดยสุจริต หรือที่เรียกว่า Oblige in Good Faith ภาษาละตินคือ Pacta Sunt Servanda สิทธิเหล่านี้ครอบคลุมในกลไกข้อตกลงและคำประกาศของสหประชาชาติ ไม่ว่าจะเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ ศาสนา และภาษา ซึ่งรับรองโดยฉันทามติของสหประชาชาติในปี ๒๕๓๕ หรือปฏิญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองหรือที่เรียกว่า UNDRIP เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ ของบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนาและภาษา ทั้งยังคงสนับสนุน ความเสถียรภาพทางการเมือง สังคม และรัฐที่พวกเขาอยู่อาศัยด้วย หรือว่าตามกติกา ว่าด้วยสิทธิพลเมืองหรือ ICCPR ที่ดิฉันได้กล่าวไปขั้นต้นที่ประเทศไทยลงสัตยาบันไปแล้ว ในปี ๒๕๓๙ มาตรา ๒๗ เป็นเกี่ยวกับ Minority Rights หรือว่าชนกลุ่มน้อยโดยตรง ได้บัญญัติไว้ว่า ในรัฐทั้งหลายที่มีชนกลุ่มน้อยทางเผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษาอยู่ บุคคลผู้เป็น ชนกลุ่มน้อยดังกล่าวจะไม่ถูกปฏิเสธในสิทธิอันที่จะมีวัฒนธรรมของตนเอง หรือนับถือ และประกอบพิธีทางศาสนาของตนเอง ใช้ภาษาของตนเองภายในชุมชนร่วมกับสมาชิกอื่น ๆ ของชนกลุ่มน้อยด้วยกัน ซึ่งจากข้อมูลของ Website ด้านสิทธิมนุษยชนของกระทรวง การต่างประเทศ ประเทศไทยก็ได้เข้าเป็นภาคีแล้ว อย่างที่ดิฉันได้กล่าววันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ มีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป ต่อให้มีคำจำกัดความของชนกลุ่มน้อยก็ตาม แต่ก็มีการให้คำจำกัดความโดยพฤตินัยโดยการยอมรับอย่างกว้างขวาง และคำจำกัดความนั้น ก็เกี่ยวโยงกับ ๒ ปัจจัย ๑. คือรูปธรรม อาทิเช่น เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และภาษา ที่ใช้ร่วมกัน ๒. ก็คืออัตนัย อย่างเช่น การระบุตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มน้อย ควบคู่ไปกับการได้รับจากสังคมคนส่วนมาก ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางตัวอย่างของข้อตกลง ร่วมพันธสัญญานานาประเทศที่ควรนำไปปฏิบัติตามโดยสุจริต รวมถึงประเทศไทยด้วย เช่นกัน

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

สไลด์ที่ ๔ ข้อมูลจาก Minority Rights Group และ Amnesty มีกลุ่มชาติพันธุ์ ต่าง ๆ ในประเทศไทยที่ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เขาอยู่ด้วย ซึ่งแนวทางสำหรับประเทศไทยยังต้องคำนึงถึง

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

๑. สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน บุคคลควรได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และควรเชื่อว่าบุคคลในสังคมมีสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกัน

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

๒. สิทธิในสภาชนเผ่าพื้นเมือง การมีสิทธิของสมาชิกชนเผ่าพื้นเมืองแต่ละ บุคคล ควรมีสิทธิที่เท่าเทียมกับสมาชิกรัฐสภาแต่ละบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่เทียบเท่ากัน

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

๓. รัฐควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยการเคารพ ปกป้อง และเติมเต็ม พร้อมกับ สร้างกลไกคุ้มครองสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เพราะฉะนั้นแล้วการที่มีสิทธิของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง บ่อยครั้งมักจะมากับ การปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลนั้นที่มีต่อส่วนรวมด้วย ในทางกลับกันสังคมส่วนมากก็ต้อง ยอมรับพวกเขาด้วยเช่นกัน เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ควรได้รับการยอมรับที่เท่าเทียมเช่นเดียวกัน

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

สไลด์ที่ ๕ กลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อยในนานาประเทศ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติไหน ทุกคนล้วนมีสิทธิตั้งแต่เกิดด้วยกันทั้งนั้น เว้นแต่ ๑. รัฐไม่ได้รับการยอมรับสิทธิ ๒. หากรัฐได้กล่าวให้สัตยาบันสนธิสัญญา แต่ไม่ได้ดำเนินการอย่างชัดเจนตามสัตยาบัน ที่ให้ไว้กับสหประชาชาติหรือสัญญากับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการผลักดัน วิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในนานาประเทศ ขอยกตัวอย่าง เปรียบเทียบสิทธิการเคลื่อนไหวของชนพื้นเมืองดังกลุ่มต่อไปนี้เป็น ๓ กลุ่มด้วยกัน ๑. คือกลุ่มชาวพื้นเมืองในรัฐ Alaska ๒. คือกลุ่มชาว Berber ในโมรอคโคและแอลจีเรีย และ ๓. คือกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย สำหรับใน Alaska ตามตารางที่ดิฉันขึ้นอยู่นะคะ ก็จะเห็นว่า ชาวพื้นเมืองใน Alaska ได้รับการยอมรับอย่างมากจากสภา Congress ภายใต้พระราชบัญญัติ การระงับข้อเรียกร้องของชาวพื้นเมือง Alaska หรือ Alaska Native Claims Settlement Act ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๑ ในแอลจีเรีย กลุ่มที่ ๒ มีกระบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม Berber ที่ช่วยส่งเสริมพหุวัฒนธรรม ซึ่งเป็นอัตลักษณ์พื้นฐานของประเทศโมรอคโค และแอลจีเรีย และยังเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติด้วย ซึ่งชาว Berber ประสบความสำเร็จอย่างมาก ในการถูกยอมรับในสังคมส่วนมาก และกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย ใน พ.ศ. ๒๕๕๐ มีการ จัดตั้งเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย หรือที่เรียกว่า คชท. และได้เป็นส่วนหนึ่ง ในคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความ หลากหลายทางเพศ และยังคงผลักดันสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ท่านประธานคะ นานาประเทศส่วนใหญ่ล้วนมีประชาชนชนกลุ่มน้อยทั้งสิ้น ไม่ใช่แค่ประเทศไทยนะคะ และยังมีการบังคับใช้สิทธิหลายรูปแบบที่สอดคล้องกับข้อตกลงในสหประชาชาติ เพียงแต่ว่า จากกรณีตัวอย่างใน Alaska และชาว Berber ในแอฟริกาเหนือแสดงให้เห็นว่ารัฐ และแต่ละรัฐ ก็ได้มีการดำเนินการเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อตกลง เพื่อสร้างกลไกที่ทั้งคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศของเขาให้มีบทบาทมากขึ้นในสังคม เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะฉะนั้นการสร้างกลไกการคุ้มครองสิทธิ ของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยและผลักดันสภาชนเผ่าพื้นเมือง จึงเป็นสิ่งที่ควร ให้ความสำคัญและความชอบธรรม และนั่นคือสิ่งที่รัฐบาลควรคำนึงถึงบริบทของสังคม ในพหุวัฒนธรรม และรับทราบถึงสิทธิของกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ควรได้รับค่ะท่านประธาน ดิฉันใกล้จะจบแล้วค่ะ ดังนั้นดิฉันจึงอยากฝากให้ฝ่ายบริหารได้เข้าใจและคำนึงถึงประเด็นนี้ ดังที่ดิฉันได้กล่าวไป คือสร้างกลไกที่ยอมรับสิทธิมากกว่าสิทธิขั้นพื้นฐาน พร้อมกับคุ้มครอง ประชาชนเหล่านี้ค่ะท่านประธาน เพราะที่ผ่านมาดิฉันไม่เห็นความจริงจังในมาตรการ หรือกลไกความคุ้มครองที่มุ่งมั่นและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิของชนกลุ่มน้อยหรือ กลุ่มชาติพันธุ์เลยค่ะท่านประธาน ที่สอดคล้องกับข้อตกลงของนานาชาติที่เราได้ลงสัตยาบัน ไปแล้วหลายทศวรรษแล้วนะคะ และดิฉันคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ประชาชนเหล่านี้ควรได้รับ การยอมรับสิทธิที่พวกเขาควรจะได้ตั้งแต่เกิดค่ะท่านประธาน ดิฉันหวังว่าทุกท่านในสภาแห่งนี้ จะรับทราบสิทธิของคนเหล่านี้และมองเห็นคนเท่ากันค่ะท่านประธาน กราบขอบพระคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณศรีโสภา โกฏคำลือ ครับ

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๑๐ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันจะอภิปรายในหัวข้อเกี่ยวกับ ร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ พื้นที่ที่อยู่ ในความดูแลของดิฉัน ไม่ว่าจะเป็นอำเภอฮอด อำเภออมก๋อย อำเภอดอยเต่าและ อำเภอแม่แจ่ม ล้วนเต็มไปด้วยพี่น้องประชาชนที่เป็นชาติพันธุ์ ซึ่งดิฉันได้มีโอกาสใกล้ชิด คลุกคลี สัมผัสกับชีวิตพวกเขามาโดยตลอดตั้งแต่ยังไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง จนถึงวันนี้ ที่ดิฉันกลายมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนของพวกเขา ดังนั้นวันนี้ดิฉัน ขออภิปรายถึงประเด็นปัญหาของพี่น้องประชาชนกลุ่มนี้ โดยแบ่งออกเป็น ๔ ประเด็นค่ะ ท่านประธาน

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

๑. โครงสร้างพื้นฐาน ด้วยความที่พี่น้องชนชาติพันธุ์เกือบทั้งหมดอยู่อาศัย บนพื้นที่ห่างไกล พวกเขาจึงประสบปัญหาของการไปมาสัญจรการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงฤดูฝนที่มีภูมิภาคประเทศย่ำแย่ การขนส่งพืชผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลัก ที่พวกเขาต้องไปใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก บางครั้งพายุเข้าฝนตกหนัก เส้นทางถูกตัดขาด จราจรสัญจรไปมาลำบากแล้วก็ไปมาไม่ได้เลยค่ะ แม้แต่ครูดอยที่ขึ้นไป สอนหนังสือให้กับลูกหลานชาวชาติพันธุ์ โดยใช้มอเตอร์ไซค์คันเดียวของเขาบางครั้งเส้นทาง เป็นดินโคลน สะพานชำรุดเสียหาย กว่าจะลากเอามอเตอร์ไซค์คู่ใจไปถึงโรงเรียนบนดอยได้ ก็ปาไปครึ่งค่อนวันแล้ว ท่านประธานคะ ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข และพัฒนาให้ดีขึ้นในระยะยาว ซึ่งดิฉันในฐานะผู้แทนของพวกเขาก็จะขออนุญาตนำปัญหา ของพวกเขามาหารือในสภาแห่งนี้เป็นระยะ ๆ เพื่อให้พื้นที่ทุกอำเภอพัฒนาขึ้นโดยเร็วค่ะ

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ที่ดิฉันอยากพูดถึงคือเรื่องสิทธิค่ะท่านประธาน เรื่องสิทธิของ กลุ่มชาติพันธุ์เป็นประเด็นที่ได้รับความสำคัญและพูดถึงเป็นอย่างมากในระดับสากล ไม่ว่าจะ เป็นสิทธิทางด้านความเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ สิทธิในการกำหนดเจตนารมณ์ของตัวเอง สิทธิที่ดินของตัวเอง เขตแดนและทรัพยากร สิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิทางการเมืองและอื่น ๆ ในประเด็นนี้ดิฉันขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดลึกนะคะ เนื่องจากมันสามารถแตกย่อย ไปถึง ๑๐ ประเด็นเลย ดิฉันเพียงอยากจะชี้ถึงความสำคัญของเรื่องนี้ โดยให้รัฐไทย ต้องเคารพสิทธิและให้เกียรติ ให้โอกาสพวกเขาให้เทียบเท่ากับคนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ โดยใช้มาตรฐานเดียวกันกับนานาประเทศค่ะ

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ คือสาธารณสุข ท่านประธานค่ะ ในอดีตกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ ของดิฉันคลอดลูกโดยใช้การตัดสายสะดือโดยไม้ไผ่ ในยุคการแพทย์ที่ยังไม่เจริญก้าวหน้า อย่างปัจจุบันนี้ เชื่อไหมคะว่าทุกวันนี้ในพื้นที่ของดิฉันมีกลุ่มชาติพันธุ์บางคนบางส่วน ยังทำคลอดโดยใช้หมอตำแยตัดสายสะดือด้วยไม้ไผ่ที่เหมือนกับ ๑๐๐ ปี ยกตัวอย่างได้เลย คือน้องชินภาพ ภาพที่ทุกคนเห็นอยู่นะคะ น้องเพิ่งเกิดได้ ๒ เดือน เขาเป็นครอบครัว ชาวปกาเกอะญอที่อำเภออมก๋อย ซึ่งลืมตาดูโลกด้วยหมอตำแยค่ะ โดยทุกวันนี้น้องอายุแค่ ๗ เดือนเท่านั้นค่ะทุกคน ซึ่งเป็นเหตุนี้ก็เพราะอำเภออมก๋อยยังขาดบุคลากรทางการแพทย์ ไม่มีสถานีอนามัยที่มีความพร้อม และนี่คือปัญหาด้านสาธารณสุขที่ต้องแก้ไขและพัฒนา เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกับพวกเขา นับตั้งแต่วันแรกที่เขาลืมตาดูโลกค่ะ

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้าย คือเรื่องการเสริมทักษะฝึกอาชีพ ท่านประธานคะ ดิฉันเคย อภิปรายเรื่องของ Upskill Reskill หรือการเสริมทักษะเดิม เพิ่มทักษะใหม่ให้กับแรงงาน ทั่วประเทศมาแล้ว ดิฉันบอกไว้เลยว่ากลุ่มชาติพันธุ์คือกลุ่มเป้าหมายที่ดีมาก ๆ ที่เราควร จะเข้าไป Upskill Reskill ให้ เพราะจากการที่ใกล้ชิดกับพวกเขามาโดยตลอดดิฉันมั่นใจ ในศักยภาพและความสามารถของพี่ ๆ น้อง ๆ กลุ่มนี้มีสูงมาก ขาดแต่เพียงโอกาสการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความรู้ ความชำนาญ ซึ่งถ้าเราเข้าไปเติมเต็มตรงนี้นอกจากพวกเขาจะกลายเป็น แรงงานที่มีคุณภาพสูงแล้ว มีอาชีพใหม่ ๆ เสริมสร้างรายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้แล้ว ประเทศไทยของเรายังจะได้แรงงานชั้นดีเพิ่มขึ้นอีก เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้กลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ยังมีภูมิปัญญาที่ตกทอดจากบรรพบุรุษ เช่น งานศิลปหัตถกรรม งานฝีมือต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะที่ไม่เหมือนใครเลย ดิฉันได้เห็นฝีมือของ กลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ในพื้นที่ของดิฉันมาเป็นจำนวนมาก และอยากเห็นว่าควรนำมาต่อยอด เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ เช่น การเอาเสื้อผ้ามีลวดลายของชาวเขามาปรับเป็นรูปแบบ ให้ทันสมัยเป็นสากลยิ่งขึ้น ถ้าทำได้ก็จะสามารถเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มรายได้พัฒนา คุณภาพชีวิตของพวกเขาไปพร้อม ๆ กันค่ะ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ดิฉันอยากฝากไว้เป็นแนวคิด เพื่อประกอบพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ขอบคุณค่ะท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ต่อไปเชิญท่านกัณวีร์ สืบแสง ครับ

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านผู้มาชี้แจงนะครับ ทางอาจารย์ศักดิ์ดา คุณกิตติศักดิ์ อาจารย์สุนี คุณเกรียงไกร ที่วันนี้ชื่อของท่านทั้ง ๔ จะถูกจารึกไว้ในสภา อันทรงเกียรติแห่งนี้ ที่นำเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าหลักการทางด้านสิทธิมนุษยชนทำให้ มนุษย์เป็นมนุษย์เข้ามาให้พวกเราพิจารณาในร่างพระราชบัญญัติตัวนี้ วันนี้ครับท่านประธาน ผมขออนุญาตอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ด้วยตรรกะ ๒ เรื่องด้วยกัน

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องแรก เรื่องรัฐจำเป็นต้องให้ความคุ้มครองคนทุกคน มนุษย์ทุกตน ภายใต้ อธิปไตยของรัฐของตน อันนี้เป็นหลักการตรรกะแรกที่จำเป็นที่เราจะต้องสนับสนุน ร่างพระราชบัญญัติตัวนี้

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ตรรกะข้อที่ ๒ คือเรื่องนี้ครับท่านประธาน เราควรจะต้องสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาในเรื่องสัญชาติและการเป็นพลเมืองของประเทศไทย ทั้ง ๒ ตรรกะนี้จะนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนในเรื่องบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และบุคคลซึ่งไม่มีสถานะทางบุคคล และรวมถึงไม่มีเอกสารระบุตัวตนด้วย ณ ปัจจุบันนี้ ท่านประธานครับ เราทราบดีว่า คนไทยผู้ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไร้เอกสารแสดงตัวนั้น จริง ๆ แล้วที่ในรายงานตัวนี้บอกว่า ๗๐๐,๐๐๐ กว่าคน ภาคประชาสังคมของพวกเราเห็นว่ามีทั้งหมด ๙๐๐,๐๐๐ กว่าคน ทำไมเราถึงมีคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ซึ่งยังไม่มีสถานะทางบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย รัฐของเรา จะให้ความคุ้มครองได้อย่างไร หากประชาชนคนที่เกิดในประเทศไทยและมีสิทธิทุกสิ่งทุกอย่าง จำเป็นจะต้องได้สถานะทางบุคคลในประเทศไทยไม่มีสถานะนั้น คือปัญหาหลัก ๆ ของเรา ในสมัยก่อนเราทราบดีครับ การจดทะเบียนเกิดการให้สถานะบุคคล ให้สัญชาติไทยนั้น ทางอำเภอ ทางกรมการปกครอง ทางกระทรวงมหาดไทย จำเป็นจะต้องให้บุคคลประชาชน ต้องมารายงานตน ต้องมาแสดงจดทะเบียน ลงทะเบียน คือเรานั่งอยู่ส่วนกลางเราเอารัฐ เป็นส่วนกลาง แต่ ณ ปัจจุบันนี้ได้มีการแก้ไขการดำเนินงานในการให้สถานะบุคคล โดยการ ทำ Out List ในการทำ อย่างเช่น อำเภอสัญจรเดินทางไปที่พื้นที่ต่าง ๆ ตามบริเวณชายขอบ ชายแดนต่าง ๆ ที่เป็นบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แต่หากเราดูจริง ๆ ๙๐๐,๐๐๐ กว่าคน หรือแค่ ๒๐๐,๐๐๐ คน ประสิทธิภาพต่าง ๆ ศักยภาพต่าง ๆ ของพวกเราจะมีเพียงพอหรือไม่ ที่จะให้สถานะ ที่จะให้สัญชาติกับคนที่ยังไม่มีสัญชาติ เราเห็นว่ามีชาวเผ่าพื้นเมือง ในประเทศไทยหลายชาวเผ่ามาก ๆ ที่มีเพื่อนสมาชิกได้เรียนไป ๖๗ เผ่า เรียบร้อยแล้ว ตรงนี้ ถ้าเรามองดี ๆ ทั่วประเทศไทยเราเริ่มต้นตั้งแต่ภาคเหนือ ชาวอาข่าที่อยู่ภาคเหนือ ชาวม้ง ภาคเหนือฝั่งตะวันตก ชาวมอแกนตะวันตกแล้วมาทางภาคใต้ ชาวอูรักลาโวยจภาคใต้ลงมา ชาวมานิตั้งแต่มลายูลงมาเรื่อย ๆ ชาวกูยตะวันออกเฉียงเหนือไปถึงตอนใต้ และรวมถึงทาง มละบริที่อยู่ทางไทยและลาว สุดท้ายก็เป็นกลุ่มกะเลิงที่ผมขอเรียกว่าบุคคลที่อยู่บริเวณฝั่งขวา แห่งลุ่มแม่น้ำโขงผมจะไม่ใช้คำว่า ภาคอีสาน สิ่งนี้จำเป็นจะต้องได้รับความเห็นชอบตรง ร่างพระราชบัญญัติตัวนี้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราจะเห็นว่าทำไมผมต้องพูดเรื่องเกี่ยวกับ สถานะบุคคลคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ เพราะเรื่องการพัฒนาประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้เราจำเป็น ต้องเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางจริง ๆ ในการพัฒนาประเทศชาติของเราไปร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตามหากเราไม่เอาประชาชน เราไม่เอาคนที่อยู่ในพื้นที่เข้ามาพัฒนาร่วมกับเรา เราจะสามารถทราบได้อย่างไรว่าปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างไรบ้าง เราจะสามารถทราบได้อย่างไรว่าทิศทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม วิถีการดำรงชีวิตต่าง ๆ ของประชาชนแต่ละพื้นที่จะเป็นอย่างไร และทิศทางการแก้ไข การพัฒนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ถ้าไม่มาจากพี่น้องประชาชน ในพื้นที่เราจะทราบได้อย่างไร ว่าอะไรที่จะเหมาะสมกับการพัฒนา ที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่จริง ๆ สิ่งนี้ครับท่านประธาน ผมเลยอยากจะฝากทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสภาอันทรงเกียรติ แห่งนี้ ช่วยพิจารณาสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ให้ผ่านเข้ามาในวาระแรกของเรา เพื่อเราจะนำศักยภาพของคนทุกคนมาร่วมพัฒนา ประเทศของเรา แต่ก่อนที่เขาทั้งหลายนี้จะเข้ามาร่วมพัฒนาประเทศไทยได้เขาต้องมีตัวตน สถานะทางบุคคลก่อนจะเข้ามาร่วมพัฒนาประเทศไทย ร่างพระราชบัญญัตินี้จะทำให้ คนที่ไม่มีตัวตนกลับมามีตัวตนอย่างพวกเราและพวกท่าน การมีตัวตนจะรวมนำทุกคน เข้ามาร่วมพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กัน ตามการดำรงชีวิต ตามวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรม วิถีทางด้านศาสนาของคนทุกคนอย่างหลากหลายและอย่างยั่งยืน ขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ที่ประชุมครับตอนนี้เรามีคณะผู้บริหารของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) มาเยี่ยมพวกเรา ๑๐ ท่าน ยินดีต้อนรับนะครับ ขอเชิญสมาชิกท่านต่อไป ท่านนิพนธ์ คนขยัน แล้วก็หลังจากนี้จะเป็นการเรียกฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลในอัตรา ๒ ต่อ ๑ นะครับ ก็จะเริ่มตั้งแต่ท่านธีรัจชัย พันธุมาศ ต่อด้วยท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ในลำดับต่อไปนะครับ เรียนเชิญท่านนิพนธ์ คนขยัน ครับ

นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขตเลือกตั้งที่ ๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ วันนี้ก็ขออนุญาตอภิปรายร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ซึ่งหลาย ๆ ท่านเพื่อนสมาชิกก็ได้อภิปรายแล้ว ผมก็ขออนุญาต ร่วมอภิปราย ท่านประธานครับ ขออนุญาตพูดเรื่อง (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๒ หน้าที่และอำนาจของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ผมอ่านดูแล้วก็ชื่นใจ ครับท่านประธาน ฝากไปยังผู้มาชี้แจงทุกท่านว่า วันนี้ (๓) หมวด ๒ อำนาจหน้าที่สภาชนเผ่า พื้นเมืองแห่งประเทศไทยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อนุรักษ์ ส่งเสริม ฟื้นฟูอัตลักษณ์ ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ตามจารีตประเพณีของแต่ละเผ่าพันธุ์พื้นเมือง ท่านประธานครับ จังหวัดบึงกาฬบ้านผมก็มีหลายชาติพันธุ์ชนเผ่าพันธุ์พื้นเมืองนะครับ ก็ขอยกตัวอย่าง สัก ๓-๔ ชาติพันธุ์ครับ ชาติพันธุ์ไทพวน ชาติพันธุ์ลาวเวียง ชาติพันธุ์ผู้ไท ชาติพันธุ์ไทโส้ ชาติพันธุ์ไทยอง และอีกหลาย ๆ ชนเผ่า มาตรา ๖ ให้มีสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย สมาชิกสภามาจากชนเผ่าพื้นเมือง มีสัดส่วนชาย หญิง และตัวแทนเยาวชนที่เป็นธรรม อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน ท่านประธานครับ หากร่างพระราชบัญญัติวันนี้เพื่อนสมาชิก ในสภาแห่งนี้เห็นชอบที่จะส่งไปยังคณะกรรมาธิการหรือจะส่งไปยังท่านผู้เกี่ยวข้อง รัฐบาลก็ดี ครม. ก็ดี ผมเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศมากมาย และโดยเฉพาะอย่างที่ผมได้กราบเรียนเมื่อสักครู่นี้ว่าอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ท้ายที่สุดแต่ละกลุ่ม ก็จะได้การประสานงานกันมีสิทธิตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ หากจบเป็น พ.ร.บ. ออกมาใช้ก็จะได้ ประสานงานกัน ได้ปรึกษาหารือกัน ได้พัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ตนเอง โดยคณะกรรมการ ที่มีสัดส่วนดังที่ผมกราบเรียนแล้ว ดังนั้นสำหรับผมเห็นด้วยที่จะให้มีการได้เสนอร่าง พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยฉบับนี้ ส่วนจะตั้งกรรมาธิการวิสามัญหรือจะให้ คณะรัฐมนตรีหรือจะให้รัฐบาล อย่างไรผมเห็นด้วยทุกเรื่องกับเพื่อนสมาชิก หากเพื่อน สมาชิกว่าเอาอย่างไรผมก็เอากันครับ เพียงแต่วันนี้ฝากว่าผู้ที่จะรับไปพิจารณาในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็สุดแท้แล้วแต่จะเอาอย่างไร แต่เห็นด้วยครับ เพราะกลุ่มชาติพันธุ์นั้น มีมากมายในประเทศไทยดังที่ผู้มาชี้แจงได้นำเรียน ดังนั้นวันนี้ ผม นิพนธ์ คนขยัน ก็กราบเรียนว่าขอสนับสนุนครับ สุดแท้แล้วแต่เพื่อนจะเอาอย่างไร เพื่อนสมาชิกสภานะครับ ท่านประธานครับ หรือจะให้ ครม. หรืออย่างไร ก็แล้วแต่มติสมาชิกสภาแห่งนี้ ขอบพระคุณครับ ท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ ต่อไปเชิญท่านธีรัจชัย พันธุมาศ ต่อด้วยท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ครับ

นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม ธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง ท่านประธานครับ ชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศไทยนั้นมีหลายที่นะครับ ไม่ว่าอยู่ในป่า ที่ราบสูง พื้นที่ราบและเกาะแก่งชายฝั่ง ตัวผมเองเมื่อสมัยที่แล้วที่ผมเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ มีโอกาสได้ไปในพื้นที่ราบสูงและในป่าอยู่หลายแห่ง นับ ๑๐ แห่ง โดยท่าน สส. มานพ คีรีภูวดล นี่ล่ะครับ มีโอกาสได้พบกับพี่น้องหลายชนเผ่า พื้นเมือง สิ่งที่ผมได้พบก็คือว่าพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองที่ผมได้ไปพบก็คือ สิ่งที่ ๑ สิทธิที่จะ เป็นพลเมืองบางครั้งก็ยากนะครับ เพราะว่าการพิสูจน์ตัวตนต่าง ๆ มันยากในการประกาศ ในการติดต่อสื่อสาร ในการเกิด การอะไรที่จะเป็นพลเมืองที่ได้รับสิทธิของรัฐนั้นยากมาก สิ่งที่ ๒ คือในเรื่องของที่ทำกินและที่อยู่อาศัย บางครั้งเขาอยู่มาประมาณ ๑๐๐ ปี ๑๒๐ ปี แต่รัฐเพิ่งประกาศกฎหมายขึ้นมาทับที่เขา แล้วนโยบายของรัฐมุมมองนั้นไม่เหมือนกับ พี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง นั่นคือรัฐต้องการรักษาอนุรักษ์ป่าด้วยการที่เอาคนออกจากป่า แต่ต่างจากคนเผ่าพื้นเมือง ยกตัวอย่าง พี่น้องปกาเกอะญอที่ได้อยู่ในพื้นที่เป็น ๑๒๐ ปี ดูอย่างง่าย ๆ ลงมาพี่น้องที่บางกลอยที่ได้อยู่มาเป็น ๑๐๐ กว่าปี แต่เมื่อมีการประกาศ เขตป่าอนุรักษ์ป่าสงวนขึ้นมาก็พยายามที่จะผลักดันเขาออกมา แต่วิถีชีวิตของชาว ปกาเกอะญอนั้นมันไม่ใช่วิถีชีวิตที่แยกจากป่า บางทีก็นำจากที่หนึ่งมาอีกที่หนึ่งรู้สึกว่าจะเป็น ในใจแผ่นดินมาลงอยู่บางกลอยล่างซึ่งห่างกัน พื้นที่เดิมปกาเกอะญอเข้าอยู่ด้วยการทำเป็น ไร่หมุนเวียน คือไร่หมุนเวียนบางครั้งใครบางคนอาจจะคิดว่าเป็นไร่เลื่อนลอยที่เราเรียน ในตอนประถม ก็คือทำไร่ไปแล้วเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ทำลายป่าเรื่อย ๆ แต่ไร่หมุนเวียนคือการ ทำไร่เสร็จแล้วย้ายไปอีกทีหนึ่ง อีก ๕ ปี กลับมาทำที่เดิม นั่นคือเป็นการอนุรักษ์ป่า แบบวิถีธรรมชาติ เมื่อรัฐเข้ามาประกาศป่าสงวนประกาศกฎหมายเข้ามาโดยไม่เข้าใจวิถีชีวิต เข้าใจว่าเขาเป็นคนที่ทำลายป่า แล้วบางทีก็บอกว่าในส่วนของการที่อยู่ในป่านั้นมันเป็นการที่ รุกล้ำบุกรุกทั้งที่อยู่มาก่อน นี่คือปัญหาของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองที่ถูกกระทำและถูกดำเนินคดี ฐานเป็นผู้บุกรุกทั้ง ๆ ที่อยู่ก่อน ความจริงรัฐไปบุกรุกเขา ในส่วนตรงนี้สถานะแบบนี้ทั้งสถานะ บุคคล ที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และสร้างความเดือดร้อนเหล่านี้ พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ ไม่สามารถต่อสู้ได้ถ้าแยกกันอยู่ครับ ถ้าแยกกันทำ แยกกันอยู่ ไม่มีการรวมตัว ผมขอบคุณ พี่น้องประชาชน ท่านนักวิชาการต่าง ๆ ที่กรุณานำกฎหมายสภาชนเผ่าพื้นเมืองนี้เข้าสภา เพื่อรับรองสิทธิของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งหมดซึ่งเข้าใจว่ามีประมาณ ถ้าเป็นชาติพันธุ์ ประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ก็คือ ๖ ล้านคน ถ้าเป็นชนเผ่าพื้นเมืองอื่น ๆ ประมาณ ๙๐๐,๐๐๐ คน และมีการรับรองเป็นพลเมืองไทยเพียงแค่ ๒๐๐,๐๐๐ คน ถ้าเกิดกฎหมายฉบับนี้ได้มีโอกาส เป็นกฎหมายที่ผ่านสภาแห่งนี้ขึ้นไป กฎหมายแห่งนี้ก็จะทำให้พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองนั้น มีสถานะ มีตัวตนของการรวมกลุ่มขึ้นมา ตัวตนเหล่านี้ทำให้เขาสามารถที่จะโต้แย้งสิทธิ ที่สามารถทำให้เขานั้นได้รับสิทธิ เช่น สิทธิในการเป็นพลเมือง การมาต่อสู้คนเดียว การทำ คนเดียวนั้นยากมาก สิ่งเหล่านี้ทำให้เขาอยู่ สิทธิที่ทำกิน สิทธิที่อยู่อาศัย ได้มีการทำความ ตกลงกรอบความคิดของรัฐปัจจุบันมันไม่เหมือนกับกรอบความคิดที่เขาอยู่ ผมเพิ่มอีก อย่างหนึ่งก็คือว่าพี่น้องปกาเกอะญอนั้นเขามีความคิดที่จะรักษาป่าอย่างไร ยกตัวอย่าง เช่น เดปอทู เดปอทูก็คือต้นสะดือ ต้นสะดือคือเด็กที่เกิดใหม่นั้นเขาจะทำพิธีที่ต้นไม้ที่ต้นใหญ่ ไม้ยืนต้น พอทำต้นไม้ต้นนั้นที่มีการทำเดปอทูเสร็จแล้วเขาจะไม่มีการโค่นต้นไม้ หรือทำลายต้นไม้ตรงนั้น ผมคิดดูเปรียบเทียบดูถ้าเกิดคนไทยทั้งหมด ๖๕ ล้านคน ทำเดปอทู ทุกคน ต้นไม้ของไทยจะไม่ถูกทำลายอีก ๖๕ ล้านต้น ป่าจะไม่ถูกทำลาย

นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

-๗๘/๑ นี่คือรากเหง้าของวัฒนธรรม ประเพณี การรักษาสิ่งแวดล้อมของพี่น้องชาวปกาเกอะญอ ที่ไม่มีใครรู้ครับ ตรงนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องดู วิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอที่เขาทำอีกอย่างหนึ่ง ก็คือการผลิตแบบอิงธรรมชาติอย่างที่บอกไร่หมุนเวียน แต่ของเราทางภาครัฐพยายาม ยัดเยียดการผลิตแบบใหม่ให้สารเคมีไป ให้ปุ๋ยเคมีไป ผลิตพืชเชิงเดี่ยว แล้วก็ให้เอาไปขาย มันผิดกับวิถีชีวิตที่รักษาป่า รักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นคนกับป่าสามารถอยู่กันได้ ก่อนประกาศป่า นั่นคือมีพื้นที่อยู่ เขาอยู่ ๑๑๐ ปี แต่ประกาศ ทำไมมีป่าละครับ แล้วประกาศได้ละครับ นี่คือสิ่งที่พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองจะต้องรวมตัวกัน และสื่อสารไปยังภาครัฐให้มองตรงกัน กรอบความคิดจะได้เหมือนกัน ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะรับรองสิทธิ นั่นรวมถึงในพี่น้องที่อยู่ทางเกาะแก่งชายทะเลที่ถูกน้ำหนีบ ที่มีข่าวออกมาถูกน้ำหนีบ แล้วก็ มาพักผ่อน แล้วก็ถูกจับในส่วนตรงนี้ มันไม่เป็นธรรมกับพี่น้องเหล่านี้เขาอยู่ทางชายทะเล มานานแสนนานแล้วก็โดนอีก ผมคิดว่าสภาแห่งนี้และประเทศเรารัฐไทยเราควรที่จะเข้าใจ วิถีชีวิตที่แตกต่าง เข้าใจพี่น้องชาวชนเผ่าพื้นเมืองประมาณ ๙๐๐,๐๐๐ คนตรงนี้ ควรจะ ให้สิทธิเขาในการตั้ง และผมคิดว่าเอาจริง ๆ พี่น้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านไม่ควร จะให้รัฐบาลไปศึกษาอีก ๖๐ วัน น่าจะผ่านการรับหลักการวันนี้ไปเลย เพื่อจะเข้าไปสู่วาระ ๒ จะแก้อะไรก็แก้ เพราะไม่ได้มีอำนาจที่ไปแทรกแซงอะไรเลย แต่รวมสิทธิเพื่อประสานงาน รวมสิทธิเพื่อแจ้งสิทธิกับผู้อื่น รวมสิทธิเพื่อศึกษาวัฒนธรรมประเพณี เพื่อให้คนทั้งโลกได้รู้ เพื่อให้อำนาจรัฐของไทยได้รับรู้และพยายามปรับจูนให้เข้ากัน ให้ทุกฝ่ายคนที่ไม่เหมือนกัน แต่เท่ากัน ได้เท่ากันจริง ๆ ผมฝากท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรช่วยกันผ่าน ผมฝากรัฐบาล ถ้าเกิดว่าท่านจะตัดสินใจที่จะให้ส่งไป ๖๐ วัน ก็ควรจะให้ผ่านร่างรับหลักการ แล้วไปคุย ในชั้นกรรมาธิการ แล้วจะแก้อย่างไรก็ว่ากันไป แต่การรับรองสิทธิตรงนี้มันเกิดขึ้นแล้ว ในสภาแห่งนี้ ซึ่งเขาต่อสู้มาหลายสิบปีนะครับ ตอนนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะช่วยยกระดับ ความเท่าเทียมของคนขึ้นมาให้เกิด ณ ประเทศนี้ ผมขอให้ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกท่านได้โปรดให้การผ่านร่างรับหลักการฉบับนี้ด้วยครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อดีตพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันพรรคก้าวไกล ขออภิปรายสนับสนุน ร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ที่เสนอโดยคุณศักดิ์ดา แสนมี่ เข้ามาที่สภาแห่งนี้ แล้วก็คงไม่เห็นด้วยถ้าหากสภาแห่งนี้ โดยเฉพาะฝั่งรัฐบาลจะมีมติ ส่งให้ไปศึกษาอีก ๖๐ วัน ดูเหมือนจะเป็นช่องทางที่ทำให้พี่น้องประชาชนเราได้รับประโยชน์ ล่าช้าออกไปมากเสียกว่านะครับ ผมใช้เวลาไม่มากครับท่านประธาน เพราะว่าในประเด็น ทางภาคใต้ของผมเพื่อน ๆ หลายคนก็อภิปรายไปบ้างแล้ว ผมอยากหยิบยกประเด็นที่เป็น ปัญหาเอามาสะท้อนให้ในสภาแห่งนี้ได้รับทราบเหมือนกัน ก็คือเรื่องของพี่น้องชาวเลไม่ว่าจะ เป็นที่กระบี่บ้านผม ชาวเลกระบี่บ้านผมกลุ่มอูรักลาโวยจครับ แล้วก็ยังมีมอแกน มอแกลนที่พังงา ที่ระนอง ที่ภูเก็ต ซึ่งในพื้นที่ที่ผมเดินทางเข้าไปในพื้นที่ร่วมกับท่าน สส. มานพ คีรีภูวดล ชาวเล ที่บ้านเกาะเหลา ตำบลปากน้ำ จังหวัดระนอง ถูกนายทุนบุกรุกกลั่นแกล้งร่วมกับข้าราชการ ออกโฉนดบนเกาะ แล้วก็เอาหิน เอาดินไปถมลงในบ่อน้ำที่ใช้ดื่มกินของชาวเลคนมอแกน ผมเห็นแล้วผมสลดใจมากครับว่าทำไมข้าราชการในพื้นที่ ทำไมนักการเมืองในพื้นที่หรือคนที่ มีหน้าที่จะช่วยกันดูแลพี่น้องชาวเลในพื้นที่ ถึงได้ปล่อยให้เกิดกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้น ในพื้นที่ แล้วก็ยังมีประเด็นของคนไทยพลัดถิ่น ซึ่งประเด็นปัญหาของการนำเสนอร่างข้อนี้ เหตุผลอันหนึ่งก็ช่วยกันดูแลเรื่องของสิทธิของคนที่จะได้มีสัญชาติไทย ซึ่งหลายคน หลายพื้นที่เขาก็ไม่มีปากมีเสียงครับ ที่ระนอง เกาะพยาม อำเภอเมือง ปรากฏว่า หมู่บ้านมอแกน ปรากฏว่ารัฐบาลตั้งงบประมาณไปสร้างสะพานแต่สร้างไม่เสร็จ เพราะว่า ติดปัญหาเรื่องที่ดิน เขตป่าบ้างล่ะ สร้างไม่ได้ติดโน่นติดนี่สารพัดเรื่อง แล้วค้างเอาไว้ เป็น ๑๐ ปีครับ สุดท้ายชาวบ้านต้องลงขันกันนะครับ คุณสายัณห์ซึ่งเป็นตัวแทนผู้สมัครของพรรคก้าวไกล ท่านหนึ่งก็ระดมทุนครับ จากพี่น้องประชาชนคนที่เห็นอกเห็นใจต่อสะพานไม้ไผ่ให้นักเรียน ได้ข้ามฝั่งมา แล้วก็ไม่ต้องว่ายน้ำกลับบ้าน ท่านคิดดูว่าสภาพของพี่น้องชาวเล ชาวมอแกน เป็นอย่างไร และที่สำคัญมีพี่น้องชาวต่างชาติยอมมากินมาอยู่กับพี่น้องชาวเลกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อมาช่วยเหลือเขาในหลักหลายเดือน เป็นปีครับ แล้วก็ระดมทุนมาช่วยกัน ในขณะที่ ข้าราชการไทยในพื้นที่มองไม่เห็นปัญหาแบบนี้ วันนี้ถ้าสภาแห่งนี้รับหลักการเราจะได้ ถกเถียงกันในประเด็นในชั้นกรรมาธิการ ว่าควรจะต่อเติมเพิ่มเติมอะไร ข้อไหนในชั้น กรรมาธิการ ผมจึงอยากให้ร่างพระราชบัญญัติเหล่านี้ได้เข้าสภา เพราะว่าชนเผ่าพื้นเมือง ต้องมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้นครับ เรื่องนี้ผมเข้าใจว่าท่านประธานก็คงจะเห็นด้วยในหลักการ เพราะวันนี้ท่านประธานแต่งชุดหล่อมากเลยครับ ใส่ชุดอาข่ามา ก็ขอให้สภาแห่งนี้ช่วยกัน รับหลักการร่างพระราชบัญญัตินี้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

อันนี้ ชี้แจงก่อนนะครับ ผมยังเป็นกลางอยู่นะครับ เพียงแต่ว่าวันนี้ผมเองก็อยากให้เกียรติ ประชาชนที่เข้ามาเสนอกฎหมาย ก็เลยถือโอกาสได้ใส่ชุดประจำเผ่าอาข่านะครับ เพื่อจะได้ ยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าในพื้นที่ของผมเอง หรือว่าภาคเหนือเองก็มีพี่น้องชาวอาข่า แล้วก็ ชาวม้งอยู่จำนวนมาก แต่ไม่เกี่ยวกับเรื่องความเห็นทางกฎหมายนะครับ ขอบคุณครับ ต่อไปเรียนเชิญท่านประเสริฐ บุญเรือง ครับ

นายประเสริฐ บุญเรือง กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม ประเสริฐ บุญเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๖ พรรคเพื่อไทย ผมขออภิปรายร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ฉบับนี้ เพราะว่าผมก็เป็นหนึ่งในกลุ่ม ๖๐ ชาติพันธุ์ ที่มีถิ่นฐานที่อยู่ในประเทศไทยของเราคนหนึ่ง ซึ่งมีภูมิปัญญา อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ประเพณี และวัฒนธรรมที่สวยงามเป็นของตนเอง โดยกลุ่มชาติพันธุ์ของกระผมที่อยู่แถบภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ เช่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีประชากรอยู่ทั้งหมด ๑,๘๐๐,๐๐๐ คนเศษ ๆ ที่มีชื่อเรียกกันว่า ผู้ไท ท่านประธานที่เคารพครับ หลายท่าน ถ้าคำว่า ผู้ไท ผ่านหูท่าน ท่านก็ต้องนึกถึงเพลง หนาวลมที่เรณู สาวผู้ไทสกลนคร ถ้าหลายท่านอยากได้ผ้าไหมสักชิ้นหนึ่งท่านก็ต้องนึกถึง ผ้าไหมแพรวา บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นฝีมือและอัตลักษณ์ของ คนผู้ไท ถ้าท่านนึกถึงประเพณีบุญบั้งไฟตะไล ก็ต้องนึกถึงบุญบั้งไฟตะไลล้าน เป็น Festival ที่ระดับโลก คือบุญบั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ถ้าท่านนึกถึงเสียงปี่ที่เป็นอัตลักษณ์ทางดนตรี ก็ต้องนึกถึงปี่ผู้ไทเขาวง ท่านประธานที่เคารพ นี่คือส่วนหนึ่งจนจังหวัดกาฬสินธุ์ยกเป็นส่วนหนึ่งในคำขวัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ว่า หลวงพ่อองค์ดำลือเลื่อง เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไท ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี นี่คือสิ่งที่ยืนยันชัดเจนว่าอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ความเป็นคนผู้ไทนั้น ซึ่งมีอยู่ ๑,๘๐๐,๐๐๐ คนนั้น มีอัตลักษณ์ที่สวยงาม สื่อไปถึงคนทั่วโลกได้มาท่องเที่ยวทัศนศึกษา ศึกษาวิธีการอยู่การกิน การเรียนรู้ เรื่องฮีตคอง และวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่อยู่ในลุ่มแถบแม่น้ำโขง ทุก ๆ ปีชนเผ่าผู้ไทเขาจะมารวมตัวกัน ซึ่งปีนี้ ในปี ๒๕๖๗ ก็จะมีการรวมตัวกันอยู่ที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร นั่นคือส่วนหนึ่ง ที่เขามารวมตัวเพื่อแสดงออกถึงวัฒนธรรมอันสวยงาม และเดือนกันยายนในวันที่ ๑๔-๒๑ กันยายน ปี ๒๕๖๗ เขาจะไปแสดงเอกลักษณ์ที่เรียกกันว่า โฮมรากเหง้าเผ่าผู้ไท ชัดเจน เชิญพี่น้องประชาชนไปกิ๋นเข่าฮ่วมพา กิ๋นปาฮ่วมท่วย กิ๋นโก้ยฮ่วมหวี่ กิ๋นสาลีฮ่วมกาบ นี่คือสิ่งที่พวกเราได้แสดงออก อำเภอเขาวงเป็นอำเภอหนึ่งที่มีชนชาวผู้ไทอยู่เกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ทุกท่านไปร่วมงานท่านจะได้ยลสาวผู้ไทสวยมากนะครับ วันนี้ถือเป็นมิติที่ดี ๆ ที่ทางสภาชนเผ่าพื้นเมืองได้เสนอร่างพระราชบัญญัตินี้เข้าสู่สภา ผมเชื่อว่าหลายท่านที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้มองเห็นความสำคัญเรื่อง พระราชบัญญัตินี้ ซึ่งจะมีสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยในหมวด ๕ ที่เกิดขึ้น และในหมวด ๖ ผมเชื่อว่าความชัดเจนเรื่องของกองทุนสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ๑. ทั้งคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุน ฟื้นฟู อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ทางภาษาและมรดกทางภูมิปัญญา ๒. สนับสนุน ศึกษา วิจัยศักยภาพของชุมชนอย่างชัดเจน ๓. สนับสนุนเรื่องอาชีพการจัดทรัพยากรที่เหมาะสมและมีคุณค่า ๔. เรื่องสนับสนุน ดำเนินงานกิจกรรมของชนเผ่า

นายประเสริฐ บุญเรือง กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

เรื่องการจัดตั้งกองทุนนี้เป็นสิ่งที่ ถ้าเรารวมตัวได้ประสบผลสำเร็จนั่นคือ การแสดงออกว่าชนเผ่าที่อยู่ในประเทศไทยทั้ง ๖๐ ชนเผ่า จะได้รับการดูแลจากรัฐบาล อย่างเหมาะสมและสมควร ความสุขหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นความขัดแย้งก็จะลดลงระหว่าง ชนเผ่าต่อชนเผ่าที่อยู่ในสังคมของประเทศไทย ท่านประธานที่เคารพครับ ผมมีความเชื่อว่า ทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อยู่ในสภาแห่งนี้ หลายท่านพูดขึ้นมาอภิปรายในพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ ผมเชื่อว่ามีความสอดคล้องกันหลายเรื่อง มีความเห็นด้วยหลายท่าน แล้วก็เป็น มิติที่ดี ๆ ผมเชื่อว่าทุกท่านที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหนึ่งในนั้นที่นั่งอยู่ตรงนี้อาจจะ เป็นชาติพันธุ์ของท่านในส่วนหนึ่ง เหมือนกันกับผมที่เป็นอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ความเป็น ชนเผ่าพื้นเมืองคือคนผู้ไทนั่นล่ะครับ ผมขอแรงสนับสนุนพระราชบัญญัตินี้ แล้วเข้าไป พิจารณาในขั้นที่ ๒ วันนี้ขอให้พวกท่านเห็นชอบในการรับหลักการนะครับ ด้วยความเคารพ กราบขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านภัสริน รามวงศ์ ครับ

นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล เขตบางซื่อ ดุสิต แขวงถนน นครไชยศรีค่ะ วันนี้ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ดิฉันสนับสนุนความหลากหลายในวิถีชีวิตที่แตกต่าง แล้วก็ การสร้างความเท่าเทียมให้คนทุกคนมากขึ้น มีจารีต มีประเพณี มีวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมาย ที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง นี่เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญในการดำรงชีวิต เป็นอาชีพของชนเผ่าพื้นเมือง ยังคงต้องพึ่งพาอาศัยองค์ความรู้และวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ มาใช้ในการดำเนินชีวิต แต่จะเรียกได้ว่าหลาย ๆ ครั้งภูมิปัญญาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้กลับถูก ทำลายลงเพียงเพราะกรอบของกฎหมาย เช่น เรื่องป่าอนุรักษ์ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญมาก สำหรับพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองที่มีการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมธรรมชาติและป่ามาโดยตลอด

นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณป่าอนุรักษ์นั้นมาก่อน กลับได้รับ ผลกระทบจากนโยบายการอนุรักษ์ป่าที่เน้นการสงวน การรักษา การห้ามใช้ประโยชน์จนเกิด เป็นคดีความต่าง ๆ มากมาย แม้ภาคประชาชนในนามของสมัชชาป่าไม้พลเมืองเองก็ตาม ก็จะได้ดำเนินการขับเคลื่อน เพื่อผลักดันให้เกิดสิทธิชุมชนในการจัดการป่านั้นเป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานของชุมชนในทุกผืนป่า แล้วก็มุ่งเน้นการทำงานเชิงพื้นที่โดยครอบคลุมป่าไม้ ทุกประเภท หรือที่เรียกว่าภูมิทัศน์ป่าไม้ เพื่อทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนนั้นสามารถ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงได้อย่างครอบคลุม ตัวดิฉันเองก็เป็นนักเรียนมานุษยวิทยา แล้วก็เคยทำงานในสาขาของมานุษยวิทยาด้วย ได้มีโอกาสไปพื้นที่ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์พี่น้อง ชาวปกาเกอะญอที่จังหวัดลำปางนะคะ หรือแม้กระทั่งในจังหวัดภาคอีสานในกลุ่มชาติพันธุ์ ต่าง ๆ เองก็ตาม เห็นความใฝ่ฝันของพี่น้องต่าง ๆ วัฒนธรรมท้องถิ่น เรื่องเล่านิทาน ที่มีเอกลักษณ์เป็นความสวยงาม ที่เราไม่อาจเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมไหนดีกว่าวัฒนธรรมไหน ดิฉันอยู่ในพื้นที่ในการเป็นนักวิจัยก่อนมาเป็นนักการเมืองนี้นะคะ ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน เพื่อที่จะเข้าใจถึงวิถีชีวิตดั้งเดิม แล้วก็ได้รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะ เรื่องป่าไม้ที่คนอยู่กับป่ามาโดยตลอด แม้จะได้รับประโยชน์จากทำการเกษตรในพื้นที่ป่า แต่ชนเผ่าพื้นเมืองก็มีวิธีการในการอนุรักษ์ป่าไม้ที่น่าสนใจ ในการปลูก การรักษา แล้วก็ การใช้ประโยชน์ไปพร้อม ๆ กัน แต่ก็ดูเหมือนว่าสิ่งเหล่านี้กลับไม่สามารถทำได้ในปัจจุบัน เพราะกรอบของกฎหมายที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยไม่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในพื้นที่นี้มาก่อน

นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

การนำแนวทางการจัดการของป่าชุมชนโดยการทำให้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ในการส่งเสริม แล้วก็การคุ้มครองของสิทธิชุมชนจะช่วยขยายผลการทำงานออกไป ในวงกว้าง และการสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจบนฐานความร่วมมือที่เท่าเทียมกัน ทำให้ป่าชุมชนเป็นแหล่งงานและรายได้ สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการจัดการป่า ให้เกิดขึ้นจริง มีประสิทธิภาพ แล้วก็บรรลุเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าที่กำหนดไว้ การตั้ง สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย จะช่วยสนับสนุนในการดำรงชีวิตแบบชนพื้นเมือง ภูมิปัญญาดั้งเดิม แล้วก็ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษา เรื่องเล่า เพลง นิทาน กลอนอันล้ำค่า และเป็นไปอย่างมีรูปธรรม และมีการจัดการที่เหมาะสม โดยมีตัวแทน ที่เข้าใจพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองอย่างแท้จริงในการดำเนินการ นอกจากนี้แล้วการตั้งสภาชนเผ่า พื้นเมืองยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการลดความเปราะบางในสังคม ช่วยรักษาสิทธิพลเมือง ที่พึงมี และเป็นกระบอกเสียงสำคัญที่จะใช้ในการสื่อสารกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อการสร้าง น้ำหนักให้สังคมได้ยินปัญหาและรับฟังสิ่งที่พี่น้องเราต้องการ โดยเฉพาะชุมชนที่พึ่งพาป่า ทำกิน การดำรงชีวิตทำให้ได้รับผลกระทบจากการอนุรักษ์ นโยบายจากการอนุรักษ์ป่า เน้นการสงวนรักษา แต่ว่าห้ามการใช้ประโยชน์ ปัจจุบันยังมีประชาชนถูกดำเนินคดี ทางกฎหมายเป็นจำนวนมาก กรณีการเสียชีวิตของคุณบิลลี่ พอละจี ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง และยังมีกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ที่ถูกกระทบ ถูกกีดกันให้เป็นคนชายขอบไปโดยปริยาย วาทกรรมจากการพัฒนาต่าง ๆ จากโครงการแห่งรัฐ การเอารัดเอาเปรียบทั้งค่าแรง พรากจิตวิญญาณของพี่น้องให้สลายหายไปตามกาลเวลาโดยรัฐเป็นผู้ขีดเขียน ดิฉัน ในฐานะผู้แทนราษฎรของชาวไทยทุกคน ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดการนำ พระราชบัญญัตินี้เข้าสู่รัฐสภาแห่งนี้ เพื่อเป็นแรงสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมในสิทธิ ขั้นพื้นฐานของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง รวมไปถึงการอนุรักษ์ไว้ซึ่งจารีตประเพณีที่สำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และขอให้เพื่อน ๆ สมาชิก ทุกคนให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ด้วย ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านคุณากร มั่นนทีรัย ครับ

นายคุณากร มั่นนทีรัย นนทบุรี ต้นฉบับ

เรียนประธานที่เคารพ ผม คุณากร มั่นนทีรัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล คนบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี วันนี้ ผมได้อ่านเอกสารประกอบญัตติ ร่าง พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมือง ผมขอสนับสนุนร่างดังกล่าว โดยผมขอให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ อยากให้ทุกคนลองจินตนาการไปพร้อมกันนะครับ หากท่านจะกรอกแบบฟอร์ม คำร้อง คำขออะไรต่าง ๆ ตามหน่วยงานของรัฐ เช่น ใบแต่ง ทนายความ ใบสมัครขอใบอนุญาตการขับขี่ สิ่งที่เป็น Fight บังคับที่ท่านต้องกรอกแน่ ๆ เลย ก็คือช่องเชื้อชาติและสัญชาติ และเป็นที่แน่นอนสำหรับผู้ถือบัตรประชาชนไทยก็จะ กรอกว่าเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ถูกต้องไหมครับ วันนี้ผมขอเปิดฟ้าส่องโลกทุกท่าน สักนิดหนึ่งนะครับ ทุกท่านเคยคิดหรือไม่ครับว่าแท้จริงแล้วทุกคนมีเชื้ออะไรมา ผมขอเรียนว่า ประเทศไทยมีชาติพันธุ์ที่หลากหลายนะครับ ยกตัวอย่างของประเทศไทยที่มีผู้อภิปราย ไปแล้วนะครับ ก็จะมีมานิ มละบริ ม้ง กะเลิง กะเหรี่ยง กูย มอแกน หรือแม้กระทั่งจะมอง เป็นภาพใหญ่ขึ้นมาก็อาจจะเป็นชาวมอญ ชาวไทใหญ่ หรือชาวมลายู การกรอกแบบฟอร์มคำร้อง คำขอของรัฐต้องกรอก คือไม่ว่าคุณจะเป็นชนเผ่าอะไรก็แล้วแต่ คุณยังต้องกรอกเชื้อชาติไทย สัญชาติไทยแน่นอนถูกต้องไหมครับ หรือไม่ก็ไม่มี บัตรประชาชนไปเลย ก็เลยจะกรอกไม่ได้ นอกจากนี้อยากให้ทุกคนลองนึกย้อนกลับไปครับ ผมอาจจะไม่ทันได้ใช้ธนบัตรใบเก่า ๆ ธนบัตรใบเก่า ๆ ของไทยสมัยก่อนทุกท่านสามารถ เอามาดูได้เลย ที่บ้านใครมีนะครับ มีทั้งภาษามลายู ภาษาจีน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ น่าสนใจไหมครับ ใครที่ไม่เคยเห็นลอง Search อินเทอร์เน็ตดูนะครับ ธนบัตรของไทยที่ใช้ ซื้อสินค้ามีหลายภาษามากลองศึกษากันดู ทีนี้หากพวกเราลองขยิบตาไปดูประเทศใกล้ ๆ บ้านเราหน่อย จงกั๋วเหริน ประเทศจีน Mainland China ประเทศจีนมีการระบุชัดในอัตลักษณ์ ของกลุ่มชนอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่เหมือนของไทยที่ทุกคนจะเขียนว่าเชื้อชาติจีน สัญชาติจีน แต่จะยกตัวอย่าง เช่น เชื้อชาติฮั่น สัญชาติจีน เชื้อชาติมองโกเลีย สัญชาติจีน เชื้อชาติซ้ง สัญชาติจีน เชื้อชาติหุย สัญชาติจีน เชื้อชาติแมนจู สัญชาติจีน เชื้อชาติอุยกูร์ สัญชาติจีน เพื่อเป็นการบ่งบอกอัตลักษณ์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประเทศเขาเองนะครับว่าประกอบ ไปด้วยชนชาติ เชื้อชาติที่มาจากหลากหลาย ทั้งนี้ประชาชนยังมีความภาคภูมิใจด้วยนะครับ ว่าเชื้อชาติของตัวเองมีที่มาที่ไปอย่างไร จริง ๆ แล้วแต่ก่อนนี้สยามก็มีความหลากหลาย ทางเชื้อชาติเหมือนกัน ตั้งแต่สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เกิดค่านิยมที่จะทำให้คน ในประเทศไทยเป็นปึกแผ่น ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ทีนี้จึงจัดสัญชาติไทย เชื้อชาติไทย จัด Package รวมมาให้เลยนะครับ ทำให้ประชาชนค่อย ๆ เลือนหายเรื่องราว ในประวัติศาสตร์ เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติเชื้อสายของตนเอง ทีนี้ทำไมเราอยาก Declare เชื้อชาติของเราเองนะครับ เราอยาก Declare ว่าเราเป็นชนเผ่ามานิ เราเป็นชนเผ่ามละบริ ชนเผ่ากะเลิง กะเหรี่ยง แม้กระทั่งอาจจะไม่เรียกว่าชนเผ่า อาจจะเป็นคนล้านนา ล้านช้าง หรือมีเชื้อสายจีน เชื้อสายลาว แต่สัญชาติไทย เพื่อบ่งบอกอัตลักษณ์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม การระบุเชื้อชาติของตนเอง ยังเสริมสร้างให้มีความภาคภูมิใจและรู้ที่มาที่ไปเทือกเถาเหล่ากอ ของตัวเองบ้าง บางคนก็อยากจะระบุของตนเองว่ามาจากที่ใด ทำไมเราจะทำไม่ได้ครับ วันนี้ไม่ต้องรีรออะไรแล้วครับ ผมสนับสนุนให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ผ่านเพื่อคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ และวัฒนธรรม สุดท้ายนี้ผมฝากคำถามเอาไว้นะครับ ฝากถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประชาชนทางบ้านเป็นข้อคิดว่า วันนี้คุณรู้หรือยังว่าคุณมีเชื้อสายมาจากที่ใด ผม คุณากร มั่นนทีรัย คนบางใหญ่ พรรคก้าวไกล ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ครับ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ความจริงผมก็ควรจะ มีเสื้อเหมือนท่านประธานนะครับ แต่ว่าเตรียมไม่ทัน แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือจะต้องขอแสดง ข้อคิดความเห็น ตั้งเป็นประเด็นข้อสังเกตไว้เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ครับ ท่านประธานครับ ทั่วโลกมีชนเผ่าพื้นเมืองมากกว่า ๓๗๐ ล้านคน และคน ๓๗๐ ล้านคนนี้ ก็ไปกระจายอยู่มากกว่า ๙๐ ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีมากกว่า ๕,๐๐๐ ชนเผ่า และมีภาษา พื้นเมืองประจำชนเผ่ามากกว่า ๔,๐๐๐ ภาษา อนุมานว่า ๑ ภาษาต่อ ๑ ชนเผ่าหรือ ๑ ชนเผ่าต่อ ๑ ภาษา และมีคำกล่าวว่า เมืองใดไม่มีกวีแก้ว เมืองนั้นไม่แคล้วคนหยามหมิ่น กวีหรือภาษานั้นก็เป็นสิ่งยืนยันในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่า ประชาชนทั่วโลก ถ้าคิดเป็นชนเผ่าจะมีสัดส่วนประมาณ ๕ เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก และเป็นที่น่าสังเกตนะครับว่าชนเผ่าพื้นเมืองมากกว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์นั้น อาศัยอยู่ในแถบ ทวีปเอเชีย ซึ่งก็คือแถบบ้านเรานี่ครับ ปัจจุบันในประเทศไทยมีประชาชนที่เป็นชนเผ่า พื้นเมืองรวมกันมากกว่า ๖๐ กลุ่มชาติพันธุ์ และจำนวนประชากรที่อยู่นี้ก็กระจายไปแทบจะ ทุกจังหวัด ท่าน สส. ประเสริฐ บุญเรือง ว่าด้วยเรื่องของหนาวลมที่เรณูไปแล้ว ผมก็มีงาน รวมเผ่าไทยมุกดาหาร มะขามหวานชายโขงเช่นกันครับ รวมเผ่าไทยมุกดาหารมีเผ่าอะไรบ้าง มีผู้ไท โซ่ ย้อ ข่า กะเลิง และมีกุลา ผมประทับใจคำกล่าวของเพื่อนสมาชิกที่บอกว่า แท้จริงแล้ว เราทุกคนก็อาจจะล้วนมีที่มาจากชนเผ่าเช่นกัน ทีนี้เราไปดูความสำคัญของ ปัญหาครับว่าเรื่องชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยนั้น มันมีความสำคัญของปัญหาสัก ๕ ประการ เรื่องอะไรบ้าง

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๑ ปัญหาเรื่องสัญชาติและสถานะบุคคล นี่เป็นเรื่องใหญ่นะครับ อยู่ในประเทศไทยตั้งนานแต่ว่าไม่ได้รับสัญชาติ เข้าไม่ถึงครับ และเรื่องใหญ่อีก ๑ เรื่อง ก็คือการอยู่ยังไม่มีสถานะ ผมไปอ่านคำคมก็เจอนะครับ เขาบอกว่าบางครั้งเจ็บกว่า การไม่มีใคร คือการอยู่ไปแบบไม่มีสถานะ ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ลำพังสภาแห่งนี้ อาจจะไม่สามารถดำเนินการให้ลุล่วงได้ หากรัฐบาลไม่เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันในการ ดำเนินการ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการแห่งรัฐ สิทธิขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง สิทธิขั้นพื้นฐานด้านบริการสาธารณสุข ในยุค ๓๐ บาท รักษาทุกโรค คนที่เข้าถึงสิทธินี้ตั้งท้องแล้วคลอด คลอดแล้วตั้งท้อง ต่อลูก ๑ คน ๓๐ บาท ๓ คน ๙๐ บาท ยังไม่ถึง ๑๐๐ บาทเลยครับ แต่ว่าการเข้าถึงสิทธินั้นก็มีข้อจำกัด ดังนั้น เราต้องไปศึกษาว่าจะทำอย่างไรให้พี่น้องกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง กลุ่มชาติพันธุ์นั้นสามารถเข้าถึง สิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการแห่งรัฐนั้นได้

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ ปัญหาและผลกระทบจากนโยบาย และกฎหมายด้านความ มั่นคงแห่งชาติ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องบูรณาการและมองปัญหาแบบครบถ้วน รอบด้าน ไม่แก้ปัญหาแบบลูบหน้าปะจมูกหรือปะผุไป

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๔ ปัญหาและผลกระทบจากนโยบายการปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเรื่องนี้บางครั้งหยิกเล็บก็เจ็บเนื้อครับ เพราะในพื้นที่ชายขอบในหลายพื้นที่นั้นมีความ เปราะบางที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการในการปราบปรามยาเสพติด

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการต่อไป เป็นปัญหาและผลกระทบจากนโยบายด้านป่าไม้และที่ดิน ทำกิน มีหลายท่านตั้งคำถามปุจฉา วิสัชนา ว่าระหว่างคนกับป่านี้ ถ้าคนอยู่ก่อนป่า แล้วมาประกาศพื้นที่ป่าในภายหลัง คนต้องออกหรือป่าต้องออก นี่ก็เป็นเรื่องใหญ่ แล้วก็เป็นประเด็นละเอียดอ่อน

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

๔-๕ ประการ ที่ผมไล่เลียงมานั้น ผมก็พยายามไปอ่านในเนื้อหาที่มี การนำเสนอในเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ผมก็เห็นว่าในหลายเรื่อง หลายมิติก็เขียนมาได้ครบถ้วนรัดกุม แต่ว่าก็ยังมีในหลายประเด็นที่เป็นปัจจัยเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ซึ่งเราต้องใช้เวลา และต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ไม่เฉพาะสภาแห่งนี้ ไม่เฉพาะพี่น้องประชาชน ชนเผ่า หรือกลุ่มชาติพันธุ์ จะต้องมีรัฐบาลเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันในการขับเคลื่อนและผลักดันเรื่องนี้ ท่านประธานครับ ผมยังมั่นใจและยังยืนยันนะครับว่าผมอยากจะเห็นพี่น้องประชาชน ทุกหมู่เหล่า พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการแห่งรัฐ ทุกคนต้องเข้าถึง และผมมั่นใจผมเชื่อมั่นว่ารัฐบาลเขาก็ได้เตรียมการในการดำเนินการเรื่องนี้ ไว้แล้ว ดังนั้นผมจะให้ความเห็นในตอนท้ายครับว่าควรที่จะได้ส่งเรื่องนี้ไปให้กับทางรัฐบาล ได้ดำเนินการทั้งในมิติของกระบวนการการมีส่วนร่วม ทั้งในมิติของการแก้ไขปัญหา แบบบูรณาการจากทุกภาคส่วน และเราไม่ต้องย้อนวนกลับมาอภิปรายเรื่องนี้กันอีก ไม่ต้องมาพูดถึงความสำคัญของปัญหา และเชื่อว่าจะสำเร็จเสร็จสิ้นได้ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อย่างแน่นอนครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ท่านสมาชิกครับ สภาผู้แทนราษฎรของเรายินดีต้อนรับคณะกรรมการ และสมาชิกสภาเด็กและเยาวชน ผู้บริหารสมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จากเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยินดีต้อนรับนะครับ ต่อไปเป็นท่านรัชต์พงศ์ สร้อยสุวรรณ ครับ

นายรัชต์พงศ์ สร้อยสุวรรณ ตาก ต้นฉบับ

เรียนประธานที่เคารพ ผม รัชต์พงศ์ สร้อยสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก เขต ๒ พรรคก้าวไกล พื้นที่อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระและอำเภออุ้มผาง พื้นที่ของผมเป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรมมีความหลากหลาย ทางเชื้อชาติ ศาสนา และที่สำคัญคือกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ในจังหวัดตาก พี่น้องม้ง ปกาเกอะญอ ลีซู ลหุ และพี่น้องชาติพันธุ์อื่น ๆ เหนือสิ่งอื่นใดคือราษฎรกลุ่มนี้อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร เป็นชนเผ่าที่อยู่ในพื้นที่มาอย่างยาวนาน พวกเขาคือเจ้าของพื้นที่ตัวจริงที่ตั้งรกรากอยู่ร่วม กับป่ามาก่อนกฎหมายป่าไม้จะบังคับใช้ ความทุรกันดารที่ไม่มีน้ำประปาใช้ ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีถนนที่ดี ฤดูฝนถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ เป็นโคลน หลายชีวิตต้องเกิดระหว่างทางและ หลายชีวิตต้องตายระหว่างทางเช่นเดียวกันครับ วันนี้ผมดีใจและยินดีอย่างยิ่งที่มีผู้เสนอ ร่าง พ.ร.บ. ชนเผ่าพื้นเมืองเข้ามาสู่สภา แต่ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องยกสถานะ จากความเป็นพลเมืองชั้น ๒ ของประเทศ ให้เข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน มีน้ำประปา ภูเขาที่ดื่มได้ มีถนนที่พอจะสัญจรไปมา ไม่เจ็บป่วยตายระหว่างทาง ให้เขาอยู่ร่วมกับป่า และพิทักษ์รักษาป่าเฉกเช่นบรรพบุรุษของพวกเขาทำมาโดยตลอด ประเทศไทยจึงเหลือป่า ปริมาณมากที่สุดในพื้นที่ที่พวกเขาอยู่อาศัย วันนี้ผมเห็นด้วยกับความจำเป็นที่จะต้องมี ร่าง พ.ร.บ. ชนเผ่าพื้นเมืองเข้าสู่สภา และผมเชื่อว่าถ้ามี พ.ร.บ. ชนเผ่าพื้นเมืองที่สมบูรณ์นั้น จะทำให้เสียงของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทุกคนทั่วประเทศ มีเสียงมากพอในศักดิ์ศรีของ ความเป็นพลเมืองประเทศไทย ที่มีความเท่าเทียมกับทุก ๆ คนในประเทศนี้ สุดท้ายนี้ ผมขออนุญาตขอบคุณเป็นภาษาพี่น้องปกาเกอะญอ ตา บลือ พาโด้ ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ เชิญท่านศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ ครับ

นายศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ พิษณุโลก ต้นฉบับ

ย้อยง อู๋ลุ่มเบ ฮูอัว ไก่ ศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ กู๋เย่า นครไทย กู๋เก สส. พิษณุโลก พรรคก้าวไกล ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เขต ๕ อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ อำเภอวัดโบสถ์ พรรคก้าวไกล เมื่อสักครู่คือคำแนะนำตัวของพี่น้องม้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในพี่น้องชาติพันธุ์หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ ในประเทศไทยครับ ท่านประธานครับ ปัจจุบันประเทศไทยมีกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์มากกว่า ๖๐ กลุ่มชาติพันธุ์ แล้วในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ก็มีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน มีวัฒนธรรม ที่หลากหลาย มีอัตลักษณ์และมีภูมิปัญญาเป็นของตนเอง และแต่ละกลุ่ม แต่ละชาติพันธุ์ ก็พยายามที่จะดำรงชีวิตและจะสืบสานวิถีชีวิตตามแบบดั้งเดิม ตามแบบวัฒนธรรม ของตนเอง แต่ว่าพี่น้องชาติพันธุ์เหล่านี้ประสบปัญหาในการดำรงชีวิตหลายด้าน ปัญหาที่ ๑ ก็คือปัญหาสัญชาติและการเป็นพลเมืองไทย ปัญหาที่ ๒ ก็คือปัญหาที่ดินทำกินและปัญหา ที่อยู่อาศัย ปัญหาที่ ๓ คือปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาที่ ๔ คือปัญหาของ การขาดการส่งเสริมและคุ้มครองวัฒนธรรม วิถีชีวิตและภาษาชนเผ่าพื้นเมือง

นายศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ พิษณุโลก ต้นฉบับ

วันนี้ผมลุกขึ้นมาอภิปรายเพื่อสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... อยากให้เพื่อนสมาชิกทุกท่านสนับสนุนและรับหลักการ ในร่าง พ.ร.บ. นี้ เพราะว่าพี่น้องชาติพันธุ์ทุก ๆ ชนเผ่า ทุก ๆ กลุ่ม ก็ล้วนแต่เป็นคนไทยด้วยกัน แต่วิธีการปฏิบัติของรัฐถูกปฏิบัติจากรัฐแตกต่างกัน รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๐ ได้บัญญัติรับรองให้รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครอง ชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิในการดำรงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ตามรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ให้รัฐ พึงส่งเสริมและสนับสนุนและให้ความคุ้มครอง แต่สิ่งที่รัฐปฏิบัติกับพี่น้องชาติพันธุ์มันทำให้ พี่น้องชาติพันธุ์อย่างที่ท่านเพื่อน สส. ขึ้นมาพูดเมื่อสักครู่แม้กระทั่งการกรอกเอกสารของรัฐ การกรอกสัญชาติ เชื้อชาติ แน่นอนครับ ไม่มีใครอยากกรอกว่าเป็นเชื้อชาติม้ง เชื้อชาติมลายู เชื้อชาติมอญ เพราะอะไรครับ ไม่ใช่ว่าเขาไม่ภาคภูมิใจในเชื้อชาติหรือในชนเผ่าของเขา แต่การถูกเลือกปฏิบัติจากรัฐไทยต่างหากที่ทำให้พี่น้องเหล่านี้ขาดโอกาส ยกตัวอย่าง ในจังหวัดพิษณุโลกมีพี่น้องม้งอยู่ที่ตำบลห้วยเฮี้ย ที่บ้านห้วยทรายเหนือ มีพี่น้องม้งอยู่ที่ บ้านภูขัด บ้านน้ำแจ้งพัฒนา ที่ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย มีพี่น้องม้งอยู่ที่บ้านน้ำไซ ที่ตำบล เนินเพิ่ม อำเภอนครไทย มีพี่น้องม้งอยู่บ้านร่มเกล้า บ้านสงบสุข บ้านน้ำคับ บ้านน้ำจวง อำเภอ ชาติตระการ นี่คือกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก แต่พี่น้องเหล่านี้ถูกปฏิบัติ จากรัฐเสมือนว่าเป็นชนชั้นสองเพราะอะไรครับ แม้กระทั่งถนนจะเข้าหมู่บ้านพี่น้องม้งในพื้นที่ ผมต่อสู้มามากกว่า ๒๕ ปี ก็ยังไม่ได้แม้แต่ถนนจะเข้าหมู่บ้าน เมื่อไม่มีถนนแน่นอนครับ ไฟฟ้าก็ไม่มี เมื่อไม่มีไฟฟ้าสัญญาณโทรศัพท์การติดต่อ เพราะฉะนั้นการพัฒนาไม่ใช่แค่พัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนามนุษย์ การพัฒนาคนในพื้นที่ยังทำได้ยากเลยครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นการมีสภาชนเผ่าพื้นเมืองจะทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยมีตัวตน อย่างน้อย ๆ สภานี้จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กับหน่วยงานรัฐ ให้มีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกัน อย่างเช่น ที่อำเภอนครไทยมีหลายพื้นที่ที่เป็นหมู่บ้าน ของพี่น้องม้งที่น่าจะทำการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และหน่วยงานรัฐ ก็ทำท่าทีว่าจะสนับสนุนการท่องเที่ยวกันเป็นล่ำเป็นสัน แม้แต่ถนนยังไม่ให้เขาเลยครับ เพราะฉะนั้นการเรียกร้อง แบบให้ชาวบ้านเรียกร้องกันเองกับหน่วยงานรัฐเป็นไปได้ยากมาก ยากมาก ๆ เพราะฉะนั้นการเกิดขึ้นของสภาชนเผ่าพื้นเมือง แน่นอนครับมีประโยชน์กับพ่อแม่ พี่น้องชนเผ่าชาติพันธุ์ในประเทศไทยอย่างแน่นอน และสุดท้ายนี้อยากให้เพื่อนสมาชิกทุกท่านเล็งเห็นความสำคัญของการให้สิทธิในการเป็น มนุษย์ที่เท่าเทียมกันของพี่น้องชาติพันธุ์ในทุก ๆ กลุ่ม แล้วก็เชิญชวนให้ทุกท่านรับหลักการ ในวาระที่ ๑ นะครับ เพื่อยืนยันการมีอยู่ของพี่น้องชาติพันธุ์และสนับสนุนให้พี่น้องชาติพันธุ์ ในประเทศไทยมีสิทธิและมีเสรีภาพเท่าเทียมกับคนไทยทุกคน ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสุเทพ อู่อ้น ครับ

นายสุเทพ อู่อ้น แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสุเทพ อู่อ้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วน เครือข่ายแรงงาน เป็นลูกมอญ ชาววัดราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี วันนี้ขอมี โอกาสในการร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ที่นำเสนอโดย ศักดิ์ดา แสนมี่ และคณะ รวมทั้งพี่น้องประชาชน จะเห็นได้ว่าหลายท่านพูดถึง เรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี ผมขออนุญาตเรื่องวัฒนธรรม ประเพณีชาวมอญหรือไทยรามัญ ซึ่งผมเกิดขึ้นที่บ้านเลขที่ ๕๗ หมู่ที่ ๓ ตำบลราษฎร์นิยม ซึ่งก็เป็นสายมอญ มีวัฒนธรรมดี ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร กาละแมที่อร่อย มีเรื่องข้าวแช่ที่เลิศรส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหมี่กรอบ และโดยเฉพาะแกงกระเจี๊ยบและลูกมะตาด นี่คือสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมที่จะเลือนรางหายไป ถ้าเราไม่มีการผลักดันเรื่องเหล่านี้ ผมได้มีโอกาสในการเรียนและพัฒนาตนเองมาทำงาน ซึ่งก็ต้องย้ายจากท้องถิ่นจากจังหวัดนนทบุรีไปจังหวัดสมุทรปราการ ก็เห็นได้ชัดเจนว่าปัญหา เรื่องของเชื้อชาติเผ่าพันธุ์นั้นมีการถูกกีดกันในการจ้างงานอย่างมากมาย กฎหมายที่ใช้ คุ้มครองแรงงานก็เข้าไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลาทำงาน การจ่ายค่าจ้าง ค่าตอบแทน เรื่องความปลอดภัย และเรื่องสำคัญเรื่องสิทธิด้านประกันสังคมที่เอากฎหมายเรื่องของ ทะเบียนราษฎร์ต่าง ๆ มาในการควบคุมการเข้าถึงสิทธิของคนใช้แรงงาน และคนใช้แรงงาน ที่มาจากชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งเป็นจำนวนมากเป็นพื้นฐานเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ ดังนั้นวันนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่มีคณะได้นำเสนอพระราชบัญญัติเกี่ยวกับสภา เกี่ยวกับ พื้นเมืองเกิดขึ้น ผมคนหนึ่งที่บอกมาแล้วว่าเป็นเชื้อชาติลูกของคนมอญจากราษฎร์นิยม ต้องส่งเสริมแน่นอนครับ และอยากเชิญชวนพี่น้องและผู้มีเกียรติ ท่านสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรทุกท่าน แต่ฟังดูแล้วไม่มีท่านใดที่จะเห็นเป็นอย่างอื่น ก็ไปทิศทางเดียวกันก็ถือว่า เป็นเรื่องที่ดี ดังนั้นเรื่องเหล่านี้เป็นสิทธิประโยชน์ที่ควรจะเกิดและเสมอภาคเท่าเทียมกัน ในด้านของกฎหมาย พอด้านกฎหมายมีความเท่าเทียมจะส่งผลไปหลาย ๆ เรื่อง หลายท่าน พูดถึงเรื่องของการเข้าถึงสาธารณสุข นี่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่จะต้องมีการยกระดับ โดยเฉพาะที่ผม กำลังจะพูดก็คือเรื่องของการจ้างงานที่จะต้องมีความเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องของ นำเรื่องเชื้อชาติเผ่าพันธุ์พื้นเมืองต่าง ๆ มากดขี่ สิ่งที่อยากจะฝากต่อไปก็คือเมื่อมันมี กฎหมายหรือพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นแล้ว อยากให้รัฐบาลจริงจังในการส่งเสริมการฟื้นฟู วัฒนธรรมในเชื้อชาติต่าง ๆ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่สวยงาม หลายท่านที่อยู่ทางภาคอีสาน ก็พูดถึงเมื่อสักครู่ หลายท่านอยู่ภาคเหนือก็พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ภาคใต้ต่าง ๆ ผมอยู่ภาคกลาง ยังบอกให้เห็นว่ามีความชัดเจน มีความสวยงามของวัฒนธรรมที่สืบทอดกันโดยตลอด แต่สิ่งสำคัญคือขาดการทะนุบำรุงและการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ ที่ต้องการให้ประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันนี้เรื่องการท่องเที่ยวนั้นก็ Drop ลง ดังนั้นถือว่าเป็น โอกาสที่ดี ที่เราจะมายกระดับเรื่องของการให้มีกฎหมายพระราชบัญญัติสภาเผ่าพื้นเมือง และส่งเสริมเรื่องของวัฒนธรรมเพื่อสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว เรื่องนี้เป็นสิ่งที่จะสร้าง มูลค่าเพิ่มให้ท้องถิ่นที่อยู่แต่ละแห่งที่มีชนพื้นเมืองต่าง ๆ สวยงามครับ เรื่องเหล่านี้ถ้าเราหรือรัฐบาลเห็นถึงคุณค่าสิ่งเหล่านี้ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อที่จะรองรับ นักท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่จะเข้ามาสู่ในประเทศไทย หรือแม้คนไทยด้วยกันจะได้เข้าไปศึกษา วัฒนธรรมต่าง ๆ ของแต่ละชนเผ่าที่มีความหลากหลาย นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นมีความก้าวหน้า จากสภาผู้แทนราษฎร ที่เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการบริหารจัดการ ซึ่งท่านรองประธานทำหน้าที่ประธานในวันนี้ ท่านก็พยายามผลักดันเรื่องสภาก้าวหน้าอยู่ หวังว่าวันนี้มิติใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับสภาผู้แทนราษฎรส่งผลไปถึง พี่น้องประชาชนที่จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สู่ยอดด้วยเรื่องระบบรัฐสวัสดิการที่เท่าเทียม เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ แล้วก็ขอให้ทุกท่านช่วยกันสนับสนุนอย่างจริงจังด้วย ขอบคุณครับ ท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านนิติพล ผิวเหมาะ ครับ

นายนิติพล ผิวเหมาะ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอบคุณท่านประธานที่เคารพครับ ผม นิติพล ผิวเหมาะ แบบบัญชีรายชื่อ เครือข่ายภาคเหนือจากพรรคก้าวไกลครับ ก็ต้อง ขอบพระคุณนะครับที่วันนี้มีโอกาสได้เห็นตัวร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... นะครับ แล้วเราก็คุ้นหน้าคุณตากันดีกับทางท่านทีมผู้เสนอ แต่ว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นในการทำหน้าที่ในวันนี้ ก็ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนะครับ ย้อนกลับไปเมื่อตอนปี ๒๕๖๒ เป็นครั้งแรกที่ผมได้เป็น สส. ในสมัยนั้น บรรยากาศผมจำได้ ไม่ลืมครับ มองไปที่ครอบครัวทุกคนยิ้มแย้ม ร้องไห้ออกมาด้วยความดีใจเรียกว่าเป็นการ หลั่งน้ำตาที่เปี่ยมไปด้วยความเปี่ยมล้น ปลื้มปิติจริง ๆ แต่ต้องบอกว่าน้ำตาเหล่านั้น มันไม่ได้หมายความว่ามันคือน้ำตาของความดีใจที่ทำให้คน ๆ หนึ่ง ชาติพันธุ์คนหนึ่งได้เป็น สส. ที่เขาได้เรียกกัน ท่าน สส. อย่างนั้น ท่าน สส. อย่างนี้ เนื้อหามันไม่ใช่แบบนั้นเลยครับ ท่านประธาน มองย้อนกลับไปครับ ก่อนที่เขาจะมีคราบน้ำตาแห่งความดีใจในวันนั้น ที่เขาสามารถส่งลูกหลานของเขา ชาติพันธุ์เมี่ยนคนหนึ่งที่เข้ามาเป็น สส. ในสภาวันนี้ได้ ในอดีตปัญหาที่เพื่อนสมาชิกหลายท่านพูดมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน การศึกษา น้ำสะอาดก็ตามทีที่ทาง สส. จากทางอำเภอแม่สอดเราพูดไปเมื่อสักครู่นี้ มันสรุปได้คำเดียวเลยครับ นั่นคือคำว่า โอกาส คนชาติพันธุ์เราไม่มีโอกาส และโอกาสที่เรามี มันน้อยมาก ๆ แล้วโอกาสที่เราได้มาที่น้อยนั้นมันต้องแลกอะไรไปอีกหลายอย่างมาก ๆ ผมอธิบายความได้แบบนี้นะครับ เอาตัวอย่างที่ว่าเอาใกล้ที่สุดก็แล้วกัน เอาครอบครัวผมเอง ก็แล้วกัน ผมเกิดที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นชาติพันธุ์เมี่ยน โอกาสที่ผมเสียไป อย่างแรกเลยคือผมไม่ได้เติบโตซึมซับในความเป็นชนเผ่าชาติพันธุ์เมี่ยนของผมเลย เหตุผลเพราะว่าอะไรครับ เหตุผลเพราะว่าถ้าอยู่ในพื้นที่ตรงนั้นเราก็ได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น คุณแม่ผมเช่นกันครับ คุณแม่ผมเรียกว่าเกิดบนดอย โตบนดอย ใช้ใช้ชีวิตวัยเด็กในบนดอย แต่ว่ามีโอกาสได้เข้ามาเรียนหนังสือที่กรุงเทพมหานคร ในวันนั้นอากู๋ อากง คือคุณตา คุณยาย ยังไม่รู้เลยว่ากรุงเทพมหานครหน้าตาเป็นอย่างไร แต่เขาคิดอย่างเดียวว่าถ้าเขา ส่งลูกเขาไปเรียนในกรุงเทพมหานครที่เขาว่าเป็นเมืองหลวงมันจะมีโอกาส คือมันจะมีโอกาส ให้คนชาติพันธุ์คนหนึ่งได้เปลี่ยนชีวิต ได้พลิกชีวิตขึ้นมา นั่นคือคำว่า โอกาส เพราะฉะนั้น โอกาสตรงนี้สำคัญมาก ๆ ในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ผมก็เปิดดูอ่านอย่างรายละเอียด คืออ่านกันจนพรุนไปหมดแล้ว มีคำถามที่อยากจะถามด้วยเช่นกัน แล้วในขณะเดียวกัน ตัวคำถามของผมนี้ คืออยากจะให้มันตอบภาพที่ผมเห็นด้วยหลาย ๆ พื้นที่ มันไม่ใช่เฉพาะ แค่ที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายบ้านผม หรือว่าในพื้นที่อื่น ๆ ในวันนี้เพื่อนสมาชิก หลายท่านก็พูดไปถึงภาคใต้ ภาคอะไรต่าง ๆ เรามีชนชาติพันธุ์เยอะแยะมากมายเต็มไปหมด สิ่งที่เราเห็นเรียกว่าคนในเมืองหลวง เห็นอย่างคุ้นหน้าคุ้นตาเวลาเขาไปเที่ยวต่างจังหวัด เขาไปเที่ยวชาติพันธุ์ เขาอยากไปดูว่าคนชาติพันธุ์เขาแต่งตัวอย่างนั้น แต่งตัวอย่างนี้ เรียกว่ายังต้องนอนกลางดิน กินกลางทรายกันอยู่อย่างนั้น คือความรู้สึกของผมนี้มันรู้สึกก็คือว่าเราคนชาติพันธุ์นั้น มันคือคนเหมือนกันนะครับ คุณมาเที่ยว คุณมาดูเรา มาดูบ้านเรา อารมณ์เหมือนเราเป็น สวนสัตว์ใช่ไหม ทำไมคุณจะต้องกดคนชาติพันธุ์ให้มันอยู่ในจุดที่ต้องลำบากอยู่อย่างนั้น ตลอดไป ไม่ให้โอกาสกับคนชาติพันธุ์ได้เจริญเติบโต ได้เข้าสู่เรียกว่าสิ่งแวดล้อมที่ดี สิ่งแวดล้อมในที่นี้ผมพูดถึงสิ่งแวดล้อมเรื่องการศึกษา สิ่งแวดล้อมในการพัฒนาตัวเองไปด้วย เพราะฉะนั้นพอมาดูในตัวร่าง พ.ร.บ. คือตัวร่าง พ.ร.บ. นี้ผมมีข้ออยากจะสอบถามในส่วน ของมาตรา ๑๑ (๑๓) เพราะแน่นอนว่าการออกกฎหมายนี้มันต้องมีสภาพบังคับของ ตัวกฎหมายฉบับนั้น ๆ ในการกำหนดเรื่องหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการให้คุณ ให้โทษ ให้อะไร ต่าง ๆ นานาเหล่านั้น ผมก็เลยมีคำถามในส่วนที่ถามไปในส่วนของมาตรา ๑๑ (๑๓) ว่า ในตัวร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีอำนาจในการออกกฎหมายหรือเปล่า แน่นอนว่าผมอ่านแล้ว มันมีส่วนตรงมาตรา ๑๑ (๑๓) ช่วงท้ายนี้เขียนว่ามีสิทธิในการออกข้อบังคับ ตามพระราชบัญญัติ ผมก็ไม่แน่ใจว่าข้อบังคับตรงนี้มันเป็นลำดับชั้นไหนตามกฎหมาย มันเหมือนเป็นกฎกระทรวง มันเป็นอะไรหรือเปล่า อันนี้คือผมก็ถามจริง ๆ เพื่ออยากจะให้ ทางท่านผู้เสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ชี้แจงแล้วก็ได้ไขข้อข้องใจ เพราะว่าเป็นคำถามที่เวลาผม พยายามจะสื่อสารกับพี่น้องประชาชนข้างนอก เพื่อที่พูดถึงว่ามันจะมีร่าง พ.ร.บ. เกี่ยวกับ ชาติพันธุ์สภาชนเผ่าเข้ามาสู่สภานี้เนื้อหาเป็นอะไร อย่างไร แต่อันนี้ก็เป็นคำถามที่ผมได้รับ ในทุกครั้งที่เวลาไปพูดคุยกับพี่น้องประชาชน ก็อยากจะให้ทางผู้ชี้แจงช่วยกรุณาตอบ ในประเด็นนี้ด้วย แต่แน่นอนว่าโดยในส่วนตัวของผมแล้ว ผมมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่ง แล้วก็ อยากจะเห็นตัวร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่านสภาในวาระที่ ๑ แล้วเราก็ไปลงลึกกันในรายละเอียด ในการพิจารณาวิสามัญในวาระที่ ๒ ของการพิจารณาในกรรมาธิการ ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปจะเป็นสมาชิก ๓ ท่านสุดท้าย ผมปิดการลงชื่อแล้วนะครับ จะเป็น ท่านเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ตามโดยท่านอาจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล เชิญท่านเลาฟั้งครับ

นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์นะครับ ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณ สส. ทุกท่านในที่นี้นะครับ ในฐานะที่ผมเป็น สส. ที่ประกาศตนตั้งแต่แรกเข้ามาสู่สภาแห่งนี้ว่าผมเป็นตัวแทนของ กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อมาทำหน้าที่ในสภานิติบัญญัติแทนกลุ่มชาติพันธุ์ วันนี้ดีใจและเป็นที่น่ายินดี ที่ผมได้มีโอกาสเห็น สส. จากทุกพรรคได้สนับสนุนให้มีกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา ทุกท่านครับ ที่ผมยังใช้ชื่อ ๆ ของผมเป็นชื่อเลาฟั้งนี้ยังเป็นชื่อเดิมที่ไม่ได้ถูกเปลี่ยนเอามาเป็นชื่อไทย แบบมาตรฐาน การที่ผมยังใช้ชื่อเดิมอยู่ผมต้องยืนหยัดอะไรบางอย่างเหมือนกัน เพราะการที่ ผมแสดงอัตลักษณ์โดยการใช้ชื่อผมซึ่งเป็นชื่อที่เป็นชนเผ่าอยู่นี้ ผมมักอาจจะเจอกับ การเลือกปฏิบัติก็อาจจะพูดได้ไม่ชัดเสียเลยทีเดียว แต่ผมจะถูกมองด้วยสายตาที่แตกต่าง ออกไป บางครั้งคนที่ใช้ชื่อแปลก ๆ จะถูกตรวจฉี่บ้าง อาจจะถูกค้นอย่างแปลก ๆ ออกไปบ้าง หรืออาจจะถูกเลือกปฏิบัติอะไรบางอย่างบ้าง อันนี้ก็เป็นเรื่องปกติ ทำให้คนที่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมากที่หันมาใช้ชื่อแบบมาตรฐานเป็นภาษาไทยหมด เพราะว่า การที่แสดงอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในบางโอกาสก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ในบางโอกาส ก็อาจจะสร้างความไม่สะดวกเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้แก่คนเหล่านั้นด้วย ท่านประธานครับ ในจังหวะที่รัฐบาลกำลังรณรงค์ คำว่า Soft Power ขอสไลด์ขึ้นด้วยครับ

นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ผมคิดว่านี่เป็นโอกาส ที่ดีที่สุดที่รัฐบาลแห่งนี้จะผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ให้สำเร็จลุล่วง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในการสร้าง Soft Power อย่างแท้จริง เพื่อโชว์ให้สังคมโลกได้เห็น จูงใจให้พวกเขา เข้ามาในประเทศไทย หรือแม้กระทั่งเอาประเทศไทยเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสนับสนุน ให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้มีสิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไปนะครับ หลายท่านได้พูดถึง จำนวนประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ไปแล้ว ผมจะไม่ลงรายละเอียด แต่ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า กลุ่มชาติพันธุ์อาจจะจำแนกได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ ก็คือ กลุ่มที่ยกสถานะเป็นชนชั้นกลางแล้ว อาจจะไม่ได้ประสบปัญหากับอัตลักษณ์ของตนเองแล้ว กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังได้รับผลกระทบ จากกฎหมายและนโยบายของรัฐ อันเนื่องมาจากอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น ๆ อยู่ ทั้ง ๒ กลุ่มนี้ต่างมีปัญหาที่หนักเบาแตกต่างกันนะครับ ในที่นี้ผมอยากจะให้น้ำหนักไปที่ กลุ่มที่ยังได้รับผลกระทบจากกฎหมายและนโยบายที่ยังไม่เป็นธรรม แม้ประเทศไทย จะมีกฎหมายที่ก้าวหน้าพอสมควร แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเป็นคนชายขอบ ของชายขอบในสังคมนี้ ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ ในกรณี ที่เป็นบุคคลทั่วไปอาจจะไม่ได้ประสบกับความยากลำบากในการเข้าถึงสิทธิและเสรีภาพ แต่สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์แล้ว อัตลักษณ์ของเขาอาจจะเป็นอุปสรรคในการทำให้เขาเข้าถึง สิทธิและเสรีภาพได้ ปัญหาหนัก ๆ ที่เผชิญมีอะไรบ้าง มันมีหลากหลายเยอะแยะมากมาย แต่สิ่งที่ทุกคนเผชิญลักษณะร่วมกันก็คือเรื่องวัฒนธรรมที่สูญหายไปแล้วบ้าง ทำให้ คนในชาติพันธุ์เหล่านั้นก็ใจหายนะครับ พื้นที่ด้อยการพัฒนา คุณภาพการศึกษาต่ำ สถานะ ทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีนะครับ ที่สำคัญก็คือเรื่องสิทธิในที่ดินและทรัพยากร แม้กระทั่ง คทช. ซึ่งเป็นนโยบายในการรับรองสิทธิในที่ดินของรัฐบาลชุดนี้ เข้าถึงพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ น้อยมากนะครับ ผมใช้เลยว่าน้อยมาก ผมยังไม่เคยได้ยินว่ามีหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ไหนที่ได้รับ คทช. ไปแล้วนะครับ ทำไมต้องมีกฎหมายฉบับนี้ อันที่ ๑ ก็คือเรื่องของ การอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ดีงามจำเป็นต้องมีการอนุรักษ์เอาไว้ มันเป็นคุณค่า ทางจิตใจของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น ๆ อันที่ ๒ คือเรื่องของการคุ้มครอง ในกรณีที่อัตลักษณ์ บางอย่างอาจจะไม่ได้สอดคล้องกับกฎหมายและนโยบาย สิ่งเหล่านี้อาจจะจำเป็นต้องมีกลไก ขึ้นมาทำหน้าที่ในการคุ้มครอง โดยเฉพาะเรื่องสิทธิในที่ดินและทรัพยากรนะครับ อันต่อไป ก็คือส่งเสริม ก็คือต้องทำให้มีความโดดเด่นทำให้สังคมสนใจ ที่สำคัญก็คือว่ายอมรับนะครับ ต่อไปก็คือเรื่องของการถ่ายทอด ต้องสร้างโอกาสให้คนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มีโอกาสที่จะ สืบสานแล้วก็ถ่ายทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตัวเองจากรุ่นสู่รุ่น เรื่องนี้พูดไปมันก็ เหมือนกับว่าจะไม่จริง แต่ในทางปฏิบัติแล้วในพื้นที่ในชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมาก ที่การถ่ายทอดวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์นี้มันก็ลดหายลงไป แล้วก็เรื่องของการพัฒนา การพัฒนาหมายความรวมถึงการพัฒนาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่นำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ ที่ทำให้คนที่มีอัตลักษณ์วัฒนธรรมที่แตกต่างออกไปได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บนพื้นฐานที่ใช้วัฒนธรรมเป็นทุน แล้วสภาชนเผ่าพื้นเมืองจะมีหน้าที่ที่สำคัญอย่างไร มีหลายกรณีนะครับ แต่ผมขอยกตัวอย่าง เช่น กรณีที่ดิน เรื่องที่ดินเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด ของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ณ ขณะนี้ไม่มีสิทธิในที่ดิน การไม่มีสิทธิในที่ดินนำไปสู่ อุปสรรคปัญหามากมาย แม้กระทั่งการถูกจับกุมดำเนินคดีและติดคุก ถ้ามีสภาชนเผ่า พื้นเมืองแห่งประเทศไทยขึ้นมาเป็นตัวแทน อันดับแรกที่สามารถทำได้ก็คือการผลักดัน กฎหมายนโยบายหรือแม้กระทั่งการเจรจากับรัฐบาล เพื่อที่นำไปสู่การคลี่คลายปัญหา ให้มีสิทธิในที่ดินบางอย่าง เรื่องของการเจรจาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเกิดขึ้นเป็นรายวัน อย่างนี้เป็นต้น รวมทั้งเรื่องสิทธิในการใช้ทรัพยากร พื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นพื้นที่ ที่มีทรัพยากรเยอะที่สุด แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป เพราะการมีทรัพยากรที่ดี มีทรัพยากร ที่สมบูรณ์ มีทรัพยากรที่มากกว่าเพื่อน นั่นล่ะครับเป็นเป้าหมายที่รัฐจะประกาศเอาเป็น พื้นที่อนุรักษ์ ป่าอนุรักษ์ หรือแม้กระทั่งพื้นที่สำหรับการอนุรักษ์สัตว์ป่า แต่ไม่อนุรักษ์คน อันนี้ก็เป็นปัญหา สภาชนเผ่าจะมีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐ กับชาวบ้าน ในการเจรจาต่อรองเพื่อที่จะทำให้กลุ่มชาติพันธุ์มีโอกาส มีสิทธิ ในการใช้ และเป็นเจ้าของทรัพยากรที่ตัวเองดูแลรักษา รวมทั้งเรื่องของการละเมิดสิทธิที่จะเกิดขึ้น กลุ่มชาติพันธุ์แม้จะมีสิทธิตามกฎหมายแม่บท แต่นั่นคือสิทธิที่เขียนไว้ในกฎหมาย ในทาง ปฏิบัติแล้วกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกละเมิดสิทธิ หรือต้องการที่จะใช้สิทธิ ก็ยังประสบกับความ ยากลำบากในการเข้าถึงสิทธิเหล่านั้น ยกตัวอย่าง เช่น เวลาถูกจับกุมดำเนินคดี มีโอกาสน้อย ที่กลุ่มชาติพันธุ์จะได้รับการประกันตัว เพราะที่ดินของเขาไม่มีเอกสารสิทธิ เพราะไม่มีเงิน มากพอ ไม่มีญาติที่เป็นข้าราชการไปประกันตัวมาให้ สิ่งเหล่านี้ทำให้โอกาสในการได้รับการ ประกันตัว เพื่อที่จะเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมก็ลดน้อยถอยลงไป นี่เป็นแค่กรณี ตัวอย่าง หลาย ๆ กรณีพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ถูกสัมปทานหรือว่าถูกอนุญาตให้บริษัทเอกชน ใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองหรือว่าอะไรก็แล้วแต่ การดำเนินการเหล่านี้มันเป็น การกระทบต่อสิทธิในการใช้ที่ดินและทรัพยากรของกลุ่มชาติพันธุ์ เวลากลุ่มชาติพันธุ์ต่อสู้ ก็ต้องไปต่อสู้กับนายทุน โดยที่รัฐก็เป็นเครื่องมือให้ด้วย ถ้ากรณีอย่างนี้ก็เป็นเรื่องยากครับ ที่กลุ่มชาติพันธุ์จะได้รับการคุ้มครองสิทธิจริง เพราะฉะนั้นการมีสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทยขึ้นมาก็จะเป็นองค์กรที่จะสามารถเข้ามาอำนวยการหรือช่วยเหลือให้กลุ่ม ชาติพันธุ์สามารถที่จะต่อสู้เรียกร้องให้เข้าถึงสิทธิ ที่สำคัญที่สุดที่ผมอยากจะพูดในที่นี้ด้วย ก็คือเรื่องของข้อมูล สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์แล้วเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในสังคมที่ไม่เขียนนะครับ เป็นสังคมที่อยู่กับการบอกเล่า การเล่าเรื่อง หรือที่เราเรียกว่า Unwritten Society เรื่องราว ประวัติศาสตร์การต่อสู้หรือการถูกละเมิดสิทธิไม่ได้ถูกบันทึกเอาไว้ หลักฐานเอกสารที่มีอยู่ เป็นเรื่องที่คนอื่นมาจัดทำให้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะเอกสารทางประวัติศาสตร์ สิ่งเหล่านี้เพียงการ เขียนเป็นเอกสารอาจจะไม่มีปัญหาเท่าไร แต่สิ่งที่สำคัญก็คือเรื่องของการนำเอกสารเหล่านั้น ไปตีความหรือนำสิ่งที่เห็นไปตีความ ผมยกตัวอย่าง เช่น การทำการเกษตรแบบกลุ่มชาติพันธุ์ บนพื้นที่สูงที่ไม่ได้ทำกินอย่างถาวร แต่มีการเปลี่ยนจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งวนไป การทำ การเกษตรแบบนี้ถูกคนที่เขียนเอาไว้ตีความว่าเป็นไร่เลื่อนลอย ซึ่งภายหลังต่อมาก็ถูก ตีความใหม่ว่าเป็นเรื่องไร่หมุนเวียน แม้ถ้อยคำตอนนี้เราจะพูดคำว่า ไร่หมุนเวียน แต่เมื่อใดก็ตาม ที่พูดถึงการทำการเกษตรแบบกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง คำว่า ไร่เลื่อนลอย ก็จะเข้ามาอยู่ ในหัวแทน แล้วเมื่อคนเข้าใจว่าการทำการเกษตรแบบบนพื้นที่สูงเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะถ้าเป็นความเข้าใจของผู้มีอำนาจด้วย อย่างนี้ก็จะกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของ กลุ่มชาติพันธุ์โดยตรง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สภาชนเผ่าพื้นเมืองจะเข้าไปมีบทบาท อย่างมีนัยสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มชาติพันธุ์นะครับ โอกาสนี้ ก็ขอขอบคุณทุกท่านมากเลยนะครับ ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ผมมีการเรียกลำดับผิดพลาดเล็กน้อยนะครับ จะขอท่านรอมฎอนก่อน แล้วก็ไปที่ท่านอาจารย์ชูศักดิ์นะครับ เชิญท่านรอมฎอน ปันจอร์ ครับ

นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ เรียนท่านผู้เสนอและเพื่อน ๆ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้นะครับ ผม รอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล แบบบัญชีรายชื่อนะครับ ผมขออนุญาต มีส่วนร่วมในโมเมนต์ หรือว่าในห้วงขณะทางประวัติศาสตร์ของสภาแห่งนี้ ในการที่ สภาของเราแห่งนี้ได้มีโอกาส ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... วันนี้ผมมีโอกาสได้ฟังเพื่อนสมาชิกหลายท่าน ได้เห็นกับตาว่า เพื่อนสมาชิกหลายท่านนอกจากเนื้อหาสาระที่ได้พูดสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้แล้ว ภาพลักษณ์ก็ไม่ต่างกัน มีความแตกต่างกันในแง่ของการแสดงตัวตนที่หลากหลายผ่านเสื้อผ้า ผ่านหมวก เหมือนคล้าย ๆ ของผมนะครับ แม้กระทั่งท่านประธานเอง ดูเหมือนว่าเรากำลัง ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติบางอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป คือการ ยอมรับความหลากหลาย การเคารพ ยอมรับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผู้คนในประเทศนี้ ท่านประธานครับ นี่คือโมเมนต์ในทางประวัติศาสตร์ที่ผมอยากจะถือโอกาสนี้มีส่วนร่วมด้วย ผมใส่หมวกซอเกาะห์ นี่เขาเรียกว่า หมวกซอเกาะห์ ครับท่านประธาน หลายคนก็สงสัยว่า มันคืออะไร ผมก็ไม่เคยมีโอกาสได้อธิบายนะครับ หมวกซอเกาะห์นี้ก็เป็นหมวกที่ใส่ในชุด ที่เป็นทางการของคนมลายู แม้ว่าผมเองจะพูดภาษามลายูไม่ค่อยได้ แต่ผมรู้สึกว่าการที่ สภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ ที่ประชุมที่รวบรวมผู้แทนของปวงชนชาวไทยอยู่ในที่เดียวกันแห่งนี้ วิธีการที่เราจะเคารพความแตกต่างหลากหลายได้คือการแสดงตัวตนของตนเอง แล้วผมว่า นี่น่าจะเป็นหลักคิดเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือการยอมรับว่าประเทศนี้มีคน หลายแบบ การยอมรับว่าพวกเราอยู่ด้วยกันโดยที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แล้วผมขอใช้สิทธิ ในที่นี้แสดงตนเองในฐานะที่เป็นคนมลายู เพราะว่าผมก็เห็นด้วยกับเพื่อนสมาชิกบางท่าน นี่คือเรื่องที่คาใจ อึดอัดใจผู้คนจำนวนหลายล้านคนมาในประวัติศาสตร์ของเรานะครับ การที่เรามีช่องให้กรอกว่าเชื้อชาติอะไร สัญชาติอะไร การเลือกที่จะตอบว่าเชื้อชาติไทย เป็นทางเลือกอันจำกัดมาก เพราะพวกเขาเหล่านั้นหรือแม้กระทั่งรวมทั้งผมเองด้วยกังวลว่า เราจะถูกเลือกปฏิบัติ การมีสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการเป็นการ เปลี่ยนโฉมหน้าของสังคมไทยในแง่ที่เป็นไปในทิศทางบวกนะครับ เพื่อนสมาชิกหลายท่าน อภิปรายแล้ว หลายคนพูดถึง Soft Power พูดถึงอำนาจละมุนในการที่จะทำให้ประเทศไทย ได้รับการยอมรับ มีตำแหน่งแห่งที่ในสังคมโลก มีที่มีทางให้กับคนที่ไร้เสียง ในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ในพื้นที่ที่ผมจากมานี้ เราเองก็มีชนชาติพันธุ์หลายชาติพันธุ์ แน่นอน คนส่วนใหญ่ในพื้นที่นั้นคือคนมลายู แต่ก็มีคนมานิที่เป็นคนพื้นเมืองการยอมรับตัวตน ที่หลากหลายเหล่านี้ คือก้าวที่สำคัญที่เราจะเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน ในสังคมไทย ความคิดเกี่ยวกับความมั่นคง จากเดิมความมั่นคงเท่ากับความเหมือนกัน เรากำลังเคลื่อนย้ายไปสู่ความคิดที่ว่า ความมั่นคงคือความเบ่งบานหลากหลายของผู้คนครับ และผมคิดว่า นี่คือหลักคิดที่ผมพร้อมที่จะสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... เพื่อให้สภาแห่งนี้ได้มีการพิจารณาต่อไป แล้วก็เชื่อว่าเพื่อน ๆ สมาชิก แล้วก็ผู้ที่นำเสนอจะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนโฉมหน้าของประเทศนี้ให้เราสามารถ อยู่ร่วมกัน มีความหมายของความมั่นคงในแบบใหม่ มีพื้นที่ให้กับคนที่เคยถูกกดทับ ไร้เสียง ให้มีที่ยืนนะครับ แล้วสำหรับผมถ้าประเทศไทยเปลี่ยน โอกาสที่เราจะสร้างสันติภาพ โอกาส ที่เราจะแสวงหาข้อตกลงฉันทามติที่จะอยู่ร่วมกัน ในพื้นที่ความขัดแย้งอย่างจังหวัดชายแดน ภาคใต้ก็มากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นจึงขอสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ครับท่านประธาน ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านชูศักดิ์ ศิรินิล ครับ

รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม ชูศักดิ์ ศิรินิล แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ขออนุญาตที่จะกราบเรียน อภิปรายร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ซึ่งท่านศักดิ์ดา แสนมี่ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๑๒,๘๘๘ คน เป็นผู้เสนอ ท่านประธานครับ แน่นอนที่สุด โดยส่วนตัวกระผมนี้ ผมคิดว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดขึ้น เหตุผลสำคัญเพื่อนสมาชิกหลายท่านได้อภิปรายไปแล้วว่าเป็นไปตามมาตรา ๗๐ ของ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่บัญญัติให้รับรอง ให้รัฐพึงส่งเสริมให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดำรงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตดั้งเดิม ตามความสมัครใจ อย่างสงบสุข หรือกรณีที่มาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าบุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี จารีตประเพณี อันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ นอกจากนั้นก็คิดว่าเป็นไปตามข้อ ๒๗ ของกติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่รัฐต้องมีหลักประกันที่จะมี วัฒนธรรมความเชื่อและภาษาของตนเอง เพราะฉะนั้นด้วยเหตุนี้ผมคิดว่าร่างพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ความเป็นจริงแล้วก็ต่อสู้ผลักดันกันมายาวนาน ผมเองก็คิดว่าเป็นร่างพระบัญญัติ ที่น่าจะต้องส่งเสริมสนับสนุนเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระหว่างประเทศที่กราบเรียน ไปแล้ว อย่างไรก็ตามท่านประธานที่เคารพครับ ผมก็ขออนุญาตที่จะตั้งข้อสังเกตว่ากฎหมาย ฉบับนี้ดูไปแล้วก็ยังมีความ ประทานโทษนะครับต้องใช้คำว่า ยังมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์ อยู่มากมายหลายประเด็น ที่น่าจะต้องมาหยิบยกพิจารณากันอย่างถ่องแท้

รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๑ ท่านประธานครับ ท่านผู้ร่างครับ ท่านประชาชน ท่านศักดิ์ดาครับ ท่านบอกว่าให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามกฎหมายฉบับนี้เป็นมาตราแรก ๆ เลยครับ ก็หมายความว่ากฎหมายฉบับนี้ให้นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายบริหารของประเทศ มารักษาการ แล้วก็บอกว่าให้มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ กติกาทั้งหลาย กฎ ระเบียบทั้งหลาย ถ้าประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ถือว่าใช้บังคับได้ แต่ทีนี้ผมดูองค์กรบริหารที่ท่าน จัดตั้งขึ้น เช่น บอกว่าให้มีสภาชนเผ่าพื้นเมืองเลือกมาจากสมาชิกแต่ละกลุ่มไม่เกิน ๕ ท่าน ให้มีกรรมการบริหารสภา ๑๕ คน ให้มีคณะผู้อาวุโส ให้มีสำนักงานสภา องค์กรบริหาร ตามกฎหมายฉบับนี้ของท่านไม่มีตัวแทนรัฐบาล ไม่มีองค์กรใด ๆ หรือองคาพยพใด ๆ ที่จะ เข้าไปเป็นองค์ประกอบ เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับทั้งหลาย ผมใช้คำว่า ความเกาะเกี่ยวระหว่างสภาชุมชนกับรัฐบาล ไม่มี แต่ว่าท่านให้นายกรัฐมนตรี มารักษาการ สมมุติว่าท่านจะออกกฎระเบียบทั้งหลายทั้งปวง แล้วก็เอากฎระเบียบไปที่ทำเนียบ นายกรัฐมนตรีท่านช่วยกรุณาลงนามหน่อย ถามว่าท่านจะมีพื้นฐานอะไรที่จะเกาะเกี่ยว ในแง่ของการบริหารงานประเภทนี้ ผมคิดว่าอันนี้เป็นข้อบกพร่องอย่างร้ายแรง และท้ายที่สุด มันจะทำให้สภาของท่านมีกฎหมายรองรับยึดโยงกับฝ่ายบริหาร แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง ท่านกับฝ่ายบริหารไม่มีเลย นี่คือเรื่องที่ผมอยากกราบเรียน ไม่มีกลไกที่จะเชื่อมโยงกับ ฝ่ายบริหารเลย ที่น่าจะแปลกใจอย่างมากก็คือว่าท่านร่างว่าท่านจะบริหารโดยกองทุน แล้วท่านก็บอกว่ากองทุนของท่านมาจากไหน ๑. มาจากการบริจาค ๒. มาจากดอกผลที่ได้จาก การบริจาค ๓. มาจากเงินอื่นที่ตกเป็นของกองทุน แปลว่าอะไรครับ ท่านจะบริหารสภาของท่าน บริหารชนเผ่าพื้นเมืองของท่าน ถ้าผมอ่านนี้ก็คือท่านไม่ต้องการใช้เงินงบประมาณแผ่นดินเลย เพราะว่าถ้าท่านไม่เขียนเลยว่าเงินอุดหนุนจากรัฐ ท่านก็ไม่มี ก็แปลว่าในท้ายที่สุดนี้ถ้ารัฐบาล จะให้เงินอุดหนุนท่าน นายกรัฐมนตรีเกิดว่าอยากสนับสนุนชนเผ่าพื้นเมืองของท่านจะให้บอก ขอเงินงบประมาณมาอุดหนุนท่านหน่อย ท่านก็ไม่ได้เขียนรองรับไว้เลย แต่ที่สำคัญครับ ท่านประธานที่เคารพ ผมอ่านดูละเอียดแล้วกองทุนประกอบด้วยอะไรครับ กองทุน ประกอบด้วยตัวแทนของท่าน แต่ว่าท่านดันไปเอาตัวแทนสำนักนายกรัฐมนตรี ไปเอาตัวแทน สำนักงบประมาณเข้าไปเป็นกรรมการกองทุน ถ้าเงินไม่มาจากรัฐบาลเลยท่านเอาไปทำไม แล้วเขาจะไปรู้เรื่องรู้ราวอะไรว่าท่านไปเอาเงินบริจาคมาจากไหน เหล่านี้เป็นต้น ผมว่าปัญหา ของกฎหมายฉบับนี้อยู่ที่ความเกาะเกี่ยวตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่ และจะทำให้ท้ายที่สุด ถ้ากฎหมายนี้ผ่านไปมันก็จะเป็นสภามาลอย ๆ แต่ว่าความเกาะเกี่ยว เกี่ยวโยงกับรัฐบาล โดยเฉพาะท่านไปให้นายกรัฐมนตรีรักษาการ โดยที่ไม่ได้มีความเกาะเกี่ยวกันเลยในแง่ของ การบริหารองค์กรที่จัดตั้งขึ้น ก็ไม่มีตัวแทนนายกรัฐมนตรี ไม่มีตัวแทนรัฐบาลเข้าไปเป็น กรรมการอะไรร่วมด้วยเลย แล้วท่านก็บอกว่าให้นายกรัฐมนตรีออกกฎระเบียบ ผมว่าเป็น ปัญหาที่น่าจะต้องไปคิดนะครับ เรื่องนี้ผมคิดว่าท้ายที่สุดมันก็จะไปบริหารลอย ๆ ไม่รู้จะ บริหารไปที่ไหน ผมได้ค้นดูแล้วผมคิดว่ามันมีร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันที่เคย นำเสนออยู่หลายร่าง เช่น ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นฉบับของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรเป็นผู้คิดขึ้นแล้วก็นำเสนอ ร่างกฎหมาย ฉบับของคณะอนุกรรมการกลุ่มชาติพันธุ์ เสนอโดยคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ร่างกฎหมายของ กลุ่มกระบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมเหล่านี้ มันน่าจะเอากฎหมายเหล่านี้ มาผนวกรวมกัน แล้วท้ายที่สุดลองบูรณาการให้เห็นว่ามันควรจะปรับตรงนั้น แก้ตรงนั้น อะไรต่าง ๆ แต่ผมสนับสนุนว่ามันต้องมีกฎหมายนี้ แต่ของท่านมีข้อบกพร่องเยอะครับ ก็กราบเรียนด้วยความเคารพครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปเป็นการอภิปรายท่านสุดท้ายของฝ่ายค้าน เชิญท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม ครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม อ่างทอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านประธานที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัด อ่างทอง ท่านประธานครับ พอเอ่ยคำว่า คนจังหวัดอ่างทอง ท่านก็คงถามว่าแล้วที่ จังหวัดอ่างทองมีพี่น้องชาติพันธุ์ใด ๆ อยู่หรือไม่ ผมเองก็เรียนครับว่าตกลงคำถามนั้น ต้องย้อนกลับกันมากกว่าครับว่า ในประเทศแห่งนี้มีคนไทยที่อ้างว่าเป็นคนไทยโดยแท้จริง โดยบรรพบุรุษ โดยไม่มีส่วนผสมของชาติพันธุ์ใด ๆ อยู่หรือไม่มากกว่า แต่กระนั้นก็ตาม งานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลเคยพูดอย่างชัดเจนว่า อย่างน้อยที่สุดน่าจะมีอยู่ประมาณ ๖-๙ ล้านคน ที่เป็นพี่น้องชาติพันธุ์ที่อาจจะเรียกว่าไทยหรือคนพื้นถิ่นดั้งเดิมที่ไม่ได้มี ส่วนผสมใด ๆ แต่อีก ๕๐ กว่าล้านคน หรือ ๖๐ ล้านคนโดยประมาณ ที่อยู่ในผืนแผ่นดิน แห่งนี้ ล้วนมีส่วนผสมจากชาติพันธุ์อื่น ๆ ทั้งสิ้นครับ ซ้ายมือของผมพี่น้องชาติพันธุ์มลายู สส. รอมฎอน ปันจอร์ ถัดไปครับ ของ สส. ไก่ ศุภปกรณ์ ก็มีพี่น้องชาติพันธุ์ม้ง ข้างหน้าผม สส. เชียงใหม่ อำเภอเชียงดาว มีพี่น้องหลากหลายพี่น้องลีซูใด ๆ ต่าง ๆ ข้างหลังผม สส. ฐิติกันต์ จากภูเก็ตพี่น้องมอแกน มอแกลน อูรักลาโวยจ สส. เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู จากเชียงใหม่ สส. วีรนันท์ ฮวดศรี จากขอนแก่น เลยไปถึงกรณีของพี่ผู้ไทที่กาฬสินธุ์ต่าง ๆ ฉะนั้นเราอยู่บนผืนแผ่นดินแห่งนี้ด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และพหุวัฒนธรรม ที่มิอาจเปลี่ยนแปลงได้ แล้วนั่นคือความเป็นจริงที่เราต้องยอมรับกันครับ ความเป็นจริง ดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่สวยงาม เป็น Moment ทางประวัติศาสตร์ตามที่คุณรอมฎอนพูดถึง สืบเนื่องกันมาตั้งแต่สภาชุดที่ ๒๕ มาถึงสภาชุดที่ ๒๖ สภาชุดที่ ๒๕ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ การเมืองไทยที่มีคณะกรรมาธิการสามัญคณะหนึ่งขึ้นมา แล้วมี ๒ กลุ่มเป้าหมายที่ถูกเพิ่มเข้ามา ในประวัติศาสตร์ครั้งแรกนี้ ที่เรียกว่า คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเพิ่มเติมมาด้วย คำว่า กลุ่มชาติพันธุ์และผู้มีความหลากหลายทางเพศ นั่นคือ สิ่งที่สวยงามที่สุดครับ และผมโชคดีที่มีโอกาสได้นั่งเป็นรองประธานคณะนั้น และผม ยินดีเลยครับ ถ้าท่านประธานจะขยายเวลาให้ผมที่จะตอบทุกคำถามที่เพื่อนสมาชิก ยังคลางแคลงใจถึงวัตถุประสงค์ของการมีพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการส่งเสริม หรือการพูดถึง สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เพราะทุกคำถามเหล่านั้นมีงานศึกษาวิจัยอยู่ในรายงาน คณะกรรมาธิการของเราในชุดที่ ๒๕ ทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าท่านอยากจะฟังคำตอบนี้อย่างจริงใจ หรือไม่ หรือมองว่าเป็นกฎหมายของประชาชน ดูถูกดูแคลนประชาชนว่าเขียนกฎหมาย ไม่เหมือนกับ Lawmaker หรือนักนิติบัญญัติที่นั่งอยู่ในสภาแห่งนี้ นั่นเป็นประการที่ ๑ ครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม อ่างทอง ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ท่านประธานครับ ที่ผมอยากจะนำเรียนและผมเชื่อมั่นว่า เพื่อนสมาชิกของเราอ่านกฎหมายรู้ ดูกฎหมายเป็น ก็คือว่าเรากำลังพิจารณาในชั้นที่เรียกว่า ขั้นรับหลักการ ฉะนั้นท่านดูแต่เพียงขั้นรับหลักการครับ หลักการเขียนว่าอย่างไรและดู เหตุและผลที่มาที่ไป รายละเอียดนั้นเป็นเรื่องที่จะนำไปสู่การพูดคุย การแก้ไขปรับปรุงกัน ในชั้นกรรมาธิการได้ แต่มิใช่การดึงเวลาที่โยกโย้โดยไม่มีหลักประกันว่ากฎหมายของพี่น้อง ประชาชนจะกลับเข้ามาในสภาแห่งนี้อีกจริงหรือไม่ กฎหมายฉบับนี้มีหลักการว่าอย่างไรครับ หลักการก็คือให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ท่านตอบใจตัวเอง ง่าย ๆ สั้น ๆ ชัด ๆ ว่าอยากให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยหรือไม่ เหตุและผลมีอะไรเยอะแยะไปหมดครับ ถ้าจะติดก็ติดอยู่คำเดียวคำที่ท่านใช้คำว่า อุษาคเนย์ เพราะคำนี้ถ้าผมจำไม่ผิดเป็นศัพท์ที่โดนบัญญัติขึ้นมาโดยคุณไมเคิล ไรท์ (Michael Wright) อดีตนักวิชาการด้านไทยคดีศึกษาที่เสียชีวิตไปแล้วนะครับ และเป็นคนนำคำว่า อุษาคเนย์ มาใช้ แทนพี่น้องที่อยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พวกเรากำลังอยู่นี้ และมันไม่มีเส้นพรมแดน ที่จะมา ขีดกั้น กั้นกลาง ฉะนั้นในเมื่อหลักการบอกว่าให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย ผมก็ไม่เห็นว่าจะมีเหตุและผลใด ๆ ที่จะปฏิเสธการมีกฎหมายฉบับนี้ สภาแห่งนี้รับหลักการกฎหมายมาไม่รู้กี่ร้อยฉบับ ย้อนกันไปดูเถอะครับ ๖๐,๐๐๐ ฉบับ ที่ท่านรับหลักการมาตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ ท่านรับที่หลักการหรือไม่รับด้วยหลักการ ท่านรับ ที่เนื้อหา หรือเนื้อหาเป็นสิ่งที่มาแก้ไขได้ ผมอยากยืนยันว่านี่คือการรับหลักการ เป็นประเด็นที่ ๒ ครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม อ่างทอง ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ ท่านประธานครับ ประการที่ ๓ ที่อยากจะย้ำให้เห็นก็คือว่า พวกเราอาจจะรอได้ครับ อาจจะบอกว่า ๖๐ วันเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เดี๋ยวก็กลับมาแล้ว แต่สำหรับปัญหาที่พี่น้องชาติพันธุ์เจออยู่ทุกวันเขารอไม่ได้ครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม อ่างทอง ต้นฉบับ

ปัญหาประการที่ ๑ ไม่ว่าจะเป็นปัญหากรณีของสัญชาติและความเป็นพลเมือง วันเดียวที่เขาอาจไม่มีเลข ๑๓ หลัก แล้วก็ถูกจับพรุ่งนี้ วันเดียวที่เขาไม่สามารถเดินทาง มารักษาตาที่กำลังจะบอดจากอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีของพี่น้องมอญ แล้วทำให้ เขาตาบอดตลอดชีวิต มันรอวันเดียวได้หรือครับ หรือวันเดียวก็รอไม่ได้ สภาแห่งนี้ เคยแก้ปัญหานะครับ ผมอภิปรายเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๒ นำไปสู่การที่ให้สัญชาติ เด็กมอญรายหนึ่ง และทำให้เขาได้มารักษาตาในกรุงเทพมหานคร ฉะนั้นหลักการที่เราพูดถึง ปัญหาว่าสัญชาติและความเป็นพลเมืองของพี่น้องชาติพันธุ์ เราไม่สามารถอ้างเหตุและผล ในการรอได้

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม อ่างทอง ต้นฉบับ

ปัญหาประการที่ ๒ คือปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ซึ่งคุณเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ได้พูดชัด ท่านไม่ทราบหรอกครับว่าเขากำลังเดินอยู่บนที่ดินทำกิน แล้วถูกจับ ผมมีประสบการณ์ที่เลวร้ายในชีวิตนะครับ ตอนที่ลงพื้นที่ที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ผมเจอพ่อมูเซาะ เสนาะพงษ์ไพร ปรัชญาปราชญ์ชาวกะเหรี่ยง ผมถามพ่อ ว่าพ่อครับ ที่ดินตรงนี้มีเอกสารสิทธิประเภทใด ผมมาด้วยการเรียนกฎหมายที่ดินเข้าใจว่า มี ส.ค. น.ส. ๓ ส.ป.ก. โฉนดแบบนั้น แบบนี้ พ่อมูเซาะ เสนาะพงษ์ไพร บอกผมว่าเขา ไม่รู้หรอกว่าตรงนี้เรียกว่าอะไร แต่นี่คือผืนแผ่นดินทำกินของเขา แล้ววันดีคืนดีก็มีคนมา จับเขาบนผืนแผ่นดินที่เขาทำกินอยู่ แบบนี้รอได้หรือครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม อ่างทอง ต้นฉบับ

ปัญหาประการที่ ๓ คือการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เลิกกันทีครับ ชาวเขา เป็นคนทำไร่หมุนเวียน ชาวเขาทำให้เกิด PM2.5 ชาวเขาเป็นคนเผาป่า ผมขอให้เลิกกันที ตั้งแต่คำเรียกว่า ชาวเขา เหตุและผลที่บอกว่าเขาเป็นคนกระทำสิ่งต่าง ๆ ปัญหาการส่งเสริม วัฒนธรรมวิถีชีวิต ผมไม่ลงรายละเอียดครับ เพราะมันมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ต้องเอามา ประกอบกัน และปัญหาที่คุณนิติพล ผิวเหมาะ พูดไว้ผมคิดว่าชัดเจนที่สุด เป็นตัวแทนของ พี่น้องชาติพันธุ์เมี่ยน ก็คือว่าโอกาสและความเหลื่อมล้ำนั้นเป็นเพราะรัฐหรือเป็นเพราะ กรรมเวรในอดีต ในอนาคตซึ่งไม่ใช่กรรมเวร แต่เป็นปัญหามาจากรัฐครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม อ่างทอง ต้นฉบับ

สิ่งที่ผมอยากจะนำเสนอท่านประธานเป็นประการที่ ๔ และเป็นประการ สุดท้ายครับ ผมเสียดายที่ไม่มีโอกาสลงรายละเอียดครับ แต่ผมคิดว่าสิ่งที่เราต้องตั้งคำถาม ในการรับหลักการกฎหมาย ผมอยากเชิญชวนเพื่อนสมาชิกได้ดูข้อบังคับสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๔๑๗ และข้อ ๔๑๘ เรามีการพิจารณากฎหมายแบ่งออกเป็นเรื่องที่เราจะลงมติ ๔ แบบ ด้วยกัน แบบที่ ๑ คือถ้าเราเห็นด้วยกับการรับหลักการเราก็อ้างอิงโดยอาศัย ข้อ ๑๑๗ วรรคหนึ่ง แบบที่ ๒ ถ้าเราไม่เห็นด้วยกฎหมายฉบับนั้นแย่มาก ไม่ควรรับหลักการ เราก็ ใช้ความในข้อ ๑๑๗ วรรคหนึ่ง ตอนท้ายที่บอกรับหรือไม่รับหลักการ แบบที่ ๓ เป็นกรณีที่ เราเห็นว่าในเมื่อสภาแห่งนี้ประกอบไปด้วยผู้มีความหลากหลายเยอะแยะไปหมด แค่ชาติพันธุ์ ก็มีไม่รู้กี่สิบชาติพันธุ์เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนหลายสิบล้านคนในประเทศ เราก็อาศัย ข้อความในประเด็นที่เรียกว่า ข้อ ๑๑๗ วรรคสอง ก็ได้ครับ วรรคสองคืออะไรครับ วรรคสอง คือการบอกว่าให้ส่งให้คณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญที่อาจจะแต่งตั้งขึ้น เป็นผู้พิจารณาก่อนรับหลักการก็ได้ เราอย่าดูแคลนความรู้ความสามารถตัวเองครับ แล้วเรา มีประสบการณ์มากมายในกรณีกฎหมายที่สภาที่รัฐบาลอุ้มไป ท่านทราบไหมครับ พ.ร.บ. ภาษี สรรพสามิต เรียกเพื่อนสมาชิกไปถามนัดเดียว แต่อ้างว่าใช้เวลา ๖๐ วัน ท่านทราบไหมครับ การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สมรสเท่าเทียมของคุณธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ อ้างว่าอุ้มไป ๖๐ วัน แต่เรียกคุณธัญวัจน์ไปถามแค่ครึ่งชั่วโมงแล้วก็จบ แล้วก็ส่งรายงานมา มันใช้เวลาขนาดนั้นหรือครับ ใช้สภาของเราในการส่งให้กรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีตัวแทนของ ทุกพรรคการเมืองพิจารณาก็ได้ ผมก็พร้อมจะเดินหน้าพิจารณา เว้นแต่ว่าท่านเห็นว่าผม ไร้ความสามารถที่จะพิจารณา การรับหลักการหรือการลงมติประการที่ ๔ ก็คือข้ออ้างที่ท่าน มักใช้ กรณีข้อ ๑๑๘ คือการบอกว่าการพิจารณากรณีของกฎหมาย ถ้าคณะรัฐมนตรี ขอรับไปพิจารณาก็ให้รอพิจารณาไว้ก่อน แล้วรอ ๖๐ วัน ผมถามท่านประธานแบบนี้ครับ ผมไม่ถามเพื่อนสมาชิกครับ ถามท่านผู้ชี้แจงครับท่านก็คงตอบไม่ได้ ในนี้ใช้คำว่า ถ้าคณะรัฐมนตรีจะขอรับร่างพระราชบัญญัตินั้นไปพิจารณาก่อน ผมถามว่าวันนี้ที่มีเพื่อน สมาชิกบางท่านจากจังหวัดที่มีพี่น้องชาติพันธุ์ในภาคเหนือด้วยนะครับ เสียดายท่านอ้างว่า ครม. อุ้มแน่ ๆ ท่านรู้ได้อย่างไร ผมอ่านมติคณะรัฐมนตรีทุกสัปดาห์เลยนะครับ ๓-๔ เดือนนี้ ท่านไม่เคยศึกษากฎหมายฉบับนี้เลยหรือครับ แล้ว ๓-๔ เดือนที่ผ่านมาท่านมีมติคณะรัฐมนตรี วันไหนที่บอกว่าจะอุ้มกฎหมายฉบับนี้ไป ท่านรู้ได้อย่างไร ฉะนั้นท่านประธานต้องตอบครับ ถ้ามีตัวแทนของคณะรัฐมนตรีมาเสนอ ว่าจะขอรับกฎหมายฉบับนี้อุ้มไปพิจารณาก่อน ขอด้วยครับ หนังสือเลขที่เท่าไร ลงวันที่เท่าไร ส่งมาเมื่อไร แบบใด ประการใด ขอเลยครับ ว่าเป็นมติในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันไหน เวลาใด อยู่ในวาระที่เท่าไร พวกเรารอได้ แต่พี่น้องชาติพันธุ์รอไม่ได้ พี่น้องชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหรือปกาเกอะญอ ถึงใช้คำแทนคำที่เรียกตนเองว่า ปกาเกอะญอ เพราะเป็นการยืนยันหลักการที่เรียกว่า ข้าคือคน และถ้าเรามั่นใจว่าคนเท่ากันจริง ๆ พรรคก้าวไกลยืนยัน วันนี้อย่างไรเดินหน้าลงมติรับหลักการร่างพระบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... เป็นกำลังใจให้กับพี่น้องและเป็นการขอโทษ ขออภัย คืนสิทธิที่เขา ควรได้รับที่อยู่ในดินแดนแห่งนี้มาตลอดชีวิตของพวกเขา ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ตอนนี้ท่านสมาชิกที่เข้าชื่ออภิปรายได้เสร็จสิ้นการอภิปรายแล้วนะครับ ต่อไป จะเป็นการอภิปรายสรุปนะครับ แล้วก็ตอบข้อซักถามของที่ประชุม โดยผู้เสนอกฎหมายครับ ก็จะมีทั้งหมด ๔ ท่านด้วยกัน ขอเชิญท่านแรก ท่านศักดิ์ดา แสนมี่ ครับ

นายศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ก่อนอื่นผมต้อง ขอขอบพระคุณท่านประธาน ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพทุกท่านที่ได้มีโอกาส อภิปรายสะท้อนถึงทางจิตวิญญาณ ที่ต้องการสนับสนุนให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาชนเผ่า พื้นเมืองในวันนี้ พูดถึงเรื่องของกฎหมายตัวนี้ที่จริงกฎหมายนี้ไม่ได้เสนอมาเพื่อต้องการ ที่เป็นทั้งทรัพยากรที่เป็นงบประมาณหรืออะไรตามที่ระบุไว้ เนื่องจากว่าเราเห็นความสำคัญ ของการที่ต้องมีกฎหมายที่รองรับหรือยอมรับการมีตัวตนของกลุ่มที่เสนอ อันนี้ก็คือ ชนเผ่าพื้นเมืองนะครับ เราก็หวังว่ากฎหมายนี้ถ้าได้เกิดขึ้น ตัวตนของชนเผ่าพื้นเมืองก็จะเกิด การยอมรับอย่างเป็นทางการ ความหมายการยอมรับหมายความว่าจะมีส่วนร่วมในการที่จะ พัฒนาหรือว่าแก้ไขปัญหาของตัวเอง รวมถึงจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติที่มีพลัง มากขึ้นนะครับ

นายศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ถ้ามีกฎหมายตัวนี้ในระดับที่เราได้เสนอมานี้ ตัวตนของ ชนเผ่าพื้นเมืองที่ได้ระบุไว้จะเกิดขึ้นก่อนนี้ ตัวกลไกของสภาชนเผ่าพื้นเมืองก็จะเป็นกลไก สามารถที่จะทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับทั้งกลไกของรัฐ หน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงภาคี องค์กรสนับสนุนทั้งหลายได้อย่างมีพลังเช่นกัน อันนี้คือสิ่งที่มันจะทำให้ตัวสภาชนเผ่าพื้นเมือง ทำหน้าที่ในการพิทักษ์สิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือในการ ขับเคลื่อนงานที่จะแก้ปัญหาของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองอย่างมีพลัง อันนี้ก็จะเกิดขึ้น

นายศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ประเด็นสุดท้าย การมีตัวตน มีกลไก ก็จะเป็นการเข้าไปหนุนเสริมให้รัฐบาล ทำหน้าที่ในการเข้ามาส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิต หรือสิ่งที่ชนเผ่าพื้นเมืองที่อย่างมีรูปธรรม จะเกิดขึ้น รวมไปถึงเรื่องของการก่อเกิดเรื่องของการหนุนเสริม ทั้งในเรื่องของการที่จะให้ เขาได้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ก็จะมีพลัง มีความเป็นเอกภาพ รวมถึงการทำงาน ที่เชื่อมโยงกันก็จะเกิดขึ้นอย่างมีพลัง อันนี้ก็จะเป็นหลักการใหญ่ ๆ ของประโยชน์ที่จะ เกิดขึ้นจากการมีกฎหมายฉบับนี้ อันนี้เป็นเจตนารมณ์ของการเสนอกฎหมายเข้ามา

นายศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ทีนี้ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ในเมื่อเราพูดถึงการปกป้องคุ้มครอง วิถีชีวิต สิ่งที่มันเป็นตัวที่ทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านได้อภิปราย ก็เห็นชัดเจนว่า จะมีพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มที่มีความเปราะบางอีกหลายกลุ่ม ถ้าจะยกตัวอย่างเป็นจุดที่ ทำให้เรานึกถึงทันที ก็คือพี่น้องที่ยังมีวิถีชีวิตที่ไม่ได้ทำเรื่องการเกษตร วิถีชีวิตยังต้องพึ่งพิง พึ่งพาอยู่ในป่า หาเผือก หามัน ถ้ายกตัวอย่างเป็นชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ก็จะเป็นพี่น้องมานิกับ พี่น้องมละบริ ถึงแม้มละบริอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะ เพราะถูกกดจากภาพรวมของ สังคมที่อยู่แวดล้อมด้วย แล้วก็การเปลี่ยนแปลงของโลกเรานะครับ ทีนี้ใน ๒ ส่วนนี้เองก็จะมี ประเด็นเรื่องของการคุ้มครองวิถีชีวิตจะเกิดขึ้นภายใต้กฎหมายนี้นะครับ นั่นคือเราจะพูดถึง เรื่องของพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตก็จะตามมา พื้นที่ที่ว่านี้ไม่ใช่พื้นที่ที่อยู่อาศัยหรือเฉพาะพื้นที่ ทำมาหากิน รวมถึงพื้นที่ที่จะใช้ชีวิตอยู่ในผืนแผ่นดินที่เขาอยู่นะครับ ไม่ว่าจะเป็นป่า เป็นเกาะ เป็นทะเล ทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น เราเชื่อว่าการเกิดขึ้นตรงนั้น ก็หมายถึงว่าจะมีการจัดการพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตที่มีรูปธรรม แล้วก็จะเกิดความยั่งยืนในการ อยู่ร่วมกันในสังคม พหุวัฒนธรรมแบบประเทศไทยนะครับ อันนี้ผมคิดว่าเป็นหลักการใหญ่ ที่อยากจะสะท้อนว่ากฎหมายตัวนี้ หากท่านได้พิจารณาแล้วก็ส่งเสริมให้เกิดเป็นกฎหมาย แล้วจะมีประโยชน์ดังเช่นผมได้กล่าวมานะครับ ผมอาจจะขออนุญาตจะขอทางทีมคณะผู้ร่วม ชี้แจงได้มีการสรุปบางประเด็น รวมทั้งตอบคำถามที่ทางท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการตั้งคำถามตั้งประเด็นไว้เพิ่มเติมนะครับ ก็คงจะทยอย ท่านกิตติศักดิ์ใช่ไหมครับ เชิญครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เดี๋ยวสักครู่นะครับ ก็ตามที่ท่านณัฐวุฒิได้อภิปรายสักครู่นี้มีประเด็นนะครับ ก็คือเราจำเป็น ที่จะต้องได้รับข้อมูลที่ชัดเจนว่าทางคณะรัฐมนตรีมีมติ ในการขอรับร่างกฎหมายนี้ ไปพิจารณา และระหว่างนี้อยู่ในช่วงของการประสาน เดี๋ยวถ้าประสานได้เรียบร้อยจะมาแจ้ง ทางสภาครับ ขอเชิญผู้ชี้แจงต่อเลยครับ

นายกิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานและสมาชิกสภาผู้มีเกียรติทุกท่านนะครับ ก็อาจจะเป็นการเพิ่มเติม ประเด็นที่ทางคุณศักดิ์ดาได้ตอบไปแล้วนะครับ คือผมอยากจะเพิ่มว่ากฎหมายฉบับนี้ อย่างที่หลาย ๆ ท่านทราบว่าพวกเราไม่ได้ยกร่างโดยใช้นักกฎหมายมาช่วย มันเป็นกฎหมาย ที่พวกเราผ่านการระดมปัญหา แล้วก็ความต้องการมาจากทุกภาคส่วน ทุกกลุ่มที่เป็นสมาชิก แล้วก็เป็นเครือข่ายของพวกเรา ดังนั้นเนื้อหาข้างในมันจะเป็นเรื่องของความต้องการ แล้วก็ สิ่งที่เราอยากจะเห็น รวมทั้งกลไกที่ออกแบบมาก็เป็นกลไกที่เราเห็นว่ามันน่าจะเป็นกลไก ที่ทำให้พวกเรามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แล้วก็ทำให้พวกเราสามารถที่จะ มีแนวทางในการเสนอทางออกของปัญหาที่เป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนที่พวกเราสามารถ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง แล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือส่วนที่ถ้าพวกเราไม่สามารถที่จะแก้ปัญหานี้ได้ พวกเราก็จะมีช่องทางที่จะไปประสานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรับการสนับสนุน อันนี้ก็คงเป็นเจตนารมณ์ที่พวกเราออกแบบเอาไว้นะครับ ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้ถือว่า เป็นกฎหมายที่มาจากล่างสู่บนที่ทุกส่วนมีส่วนร่วม แล้วก็กลไกที่มีแน่นอนนะครับ เราก็ อยากจะเห็นว่าการแก้ไขปัญหานี้มันสามารถที่จะครอบคลุมแล้วก็มีส่วนร่วม และที่สำคัญ ก็คือว่าเราอยากจะให้กระบวนการมีส่วนร่วมนี้เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยทางตรง ที่ชุมชนสามารถเข้ามาใช้สิทธิของตนเองในแง่ของการที่จะพัฒนาตนเอง เพื่อที่ให้กลุ่มตนเอง มีความเจริญก้าวหน้า แล้วก็เพื่อให้ประเทศชาตินั้นสามารถที่จะพัฒนายั่งยืนต่อไป ผมคงจะ ตอบในประเด็นสั้น ๆ เป็นภาพรวม ๆ นะครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายเกรียงไกร ชีช่วง ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

เรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ แล้วก็พี่น้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันทรงเกียรติตรงนี้นะครับ ก็คงจะเติมเต็มนิดเดียวสั้น ๆ นะครับ แล้วก็พี่น้องที่ติดตามผ่านสื่อของรัฐสภาด้วย นะครับ มันเหมือนรู้สึกนิดหนึ่งว่าวาระการอภิปรายในครั้งนี้รู้สึกว่าเหมือนเราคุยกันเรื่องคน ได้ใกล้เคียงกับพี่น้องประชาชนมากยิ่งขึ้น อันนี้ก็คงจะไม่ขอบคุณทุกท่านไม่ได้นะครับ แล้วที่ สำคัญเราได้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นผู้แทน ฝ่ายบริหารก็คือพรรครัฐบาลหลายท่านก็ให้ข้อมูล ให้มุมมอง ให้ข้อเท็จจริงที่เรารู้สึกสัมผัสได้ว่า ท่านกับการยอมรับเข้าใจพี่น้องของเราได้ชัด แล้วก็รอบด้านมากขึ้น รวมทั้งในส่วนของผู้แทนที่เป็นพรรคฝ่ายค้านเองก็ให้ข้อมูลเติมเต็ม ของเราได้เป็นอย่างดี อันนี้เราก็คงจะต้องขอบคุณมากเป็นเบื้องต้น ในส่วนของสภาชนเผ่า พื้นเมือง ร่างพระราชบัญญัตินี้เราก็อยากจะยืนยันเพื่อให้ทุกท่านได้สบายใจกับสิ่งที่ท่าน ได้ร่วมอภิปรายก็คือว่าเราต้องการมี เพื่อเข้ามาทำงานคลี่คลายปัญหาแล้วก็ประสาน ความร่วมมือ พื้นที่ตรงนี้จะไม่ใช่เป็นพื้นที่ในมิติเชิงอำนาจให้กับกลุ่มก้อนกลุ่มใดนะครับ แต่เป็นเรื่องของ สัมพันธภาพของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทั่วประเทศที่เรามีอยู่ อาจจะตอบท่านผู้อภิปรายบางท่าน โดยเฉพาะในส่วนของพรรคเพื่อไทยที่บอกว่ายังมีอีกหลายกลุ่ม หลายข่ายเผ่าที่มีข้อมูลอยู่ อันนี้เราก็ยืนยันได้ว่าเรากำลังเข้าหา เรามีแกนข่ายเผ่านั้น แล้วกำลังเติมเต็มตรงนั้นนะครับ ที่สุดแล้วสุดท้ายก็คงจะขออนุญาตใช้คำเดียวที่จะบอกเพื่อยืนยันตรงนี้ก็คือว่า คำว่า สภาชนเผ่าแห่งประเทศไทยนี้ แห่งประเทศไทยนี้เพื่อจะบอกหมายถึงความเป็นไทยของเรา ของทุกคน ของพี่น้องข่ายเผ่าที่จะได้ประโยชน์นี้ เมื่อให้โอกาสเรา ให้โอกาสพี่น้องชาติพันธุ์ พี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง แล้วตรงนั้นจะเป็นโอกาสของสังคม จะเป็นโอกาสของประเทศไทย ขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญผู้ชี้แจงครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนี ไชยรส ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

สุนี ไชยรส ค่ะ มีความรู้สึกว่าพี่น้องชนเผ่าที่กำลังฟังอยู่ทั่วประเทศน่าจะภาคภูมิใจอย่างสูง เพราะว่าท่านสมาชิกผู้มีเกียรติได้แสดงตัวตน ได้แสดงอัตลักษณ์ ของความเป็นชนเผ่า หรือเชื้อชาติของท่านออกมา นั่นคือความภาคภูมิใจที่มีนัยสำคัญอย่างสูง เพราะว่าจะทำให้ สิ่งที่สภาชนเผ่าพื้นเมืองร่างกฎหมายฉบับนี้ ต้องการก็คือการยืนยันตัวตน ความภาคภูมิใจ ในตัวตน แล้วก็หวังว่าประสบการณ์ที่ท่านมีหลากหลายทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชิงบวก คือการส่งเสริมและการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพหลาย ๆ เรื่องจะช่วยมาเติมเต็มร่างกฎหมาย ฉบับนี้ ขออนุญาตนะคะ ขอพาดพิงไปถึงท่านชูศักดิ์ ศิรินิล หวังว่าท่านจะยังอยู่ที่นี่ พาดพิง ในทางดีค่ะ ดิฉันคิดว่าสิ่งที่ท่านตั้งประเด็นข้อสังเกตในฐานะนักกฎหมาย เป็นเรื่องที่ ขอแลกเปลี่ยนอย่างชัดเจนนะคะ ทำไมจึงไม่มีจุดเกาะเกี่ยว แท้ที่จริงมีจุดเกาะเกี่ยวอย่างมาก เนื่องจากว่ากฎหมายสภาชนเผ่าของนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ สำนักนายกรัฐมนตรีก็จะเป็นผู้ประสานงานที่จะคอยจัดการเรื่องต่าง ๆ ขณะเดียวกัน สิ่งที่คุณศักดิ์ดาได้พยายามชี้แจงก็คือว่า ทำไมจึงไม่ใช้งบประมาณของรัฐ อยากใช้มากเลยค่ะ เพียงแต่ว่าพยายามหาเอง ด้วยการพยายามระดมทุนจากการบริจาคหรือการหาเองของ สภาชนเผ่าพื้นเมือง และหวังว่าเมื่อมันมีตัวตนขึ้นมา หน่วยงานรัฐซึ่งมีท่านนายกรัฐมนตรี ร่วมอยู่ด้วย จะช่วยกรุณาสนับสนุนกิจกรรม โครงการ นโยบายต่าง ๆ ซึ่งนั่นจะเป็นเรื่องของ งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งสภาชนเผ่าไม่อาจไปก้าวล่วงได้ เป็นเรื่องการตัดสินใจของรัฐ แต่ว่าทางสภาชนเผ่าร่างกฎหมายด้วยความหวังว่า เราจะพยายามหาเงินทุนมาสนับสนุน ลดงบประมาณของรัฐ อีกจุดหนึ่งที่อยากจะเรียนท่านก็คือว่ามีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ทำไมจึงมีสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ อยู่ในกองทุนที่แม้จะไม่ใช่เงินของรัฐโดยตรง แต่ว่าก็อยากต้องการพิสูจน์ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่สภาชนเผ่าหรือกรรมการบริหาร ดำเนินงานมานั้นมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น ไม่แพ้เงินของราชการ ก็จะทำให้สามารถ ที่จะมีการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน แล้วก็มีสำนักงบประมาณ มีสำนัก นายกรัฐมนตรี ร่วมอยู่ด้วย ขณะที่ท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธานแน่นอนว่าเป็นผู้รักษาการ แต่ท่านนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ต้องมาทำตามคำสั่งของสภานะคะ ดิฉันคิดว่าจุดเกาะเกี่ยวเหล่านี้ มีอยู่ และหวังว่าประสบการณ์ของท่านสมาชิกทุกท่านจะช่วยนำพาให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ นำไปสู่สิ่งที่มันยังบกพร่อง ยังมีจุดอ่อน แล้วก็นำไปสู่การแก้ไขที่สมบูรณ์ ขอความกรุณาว่า ขอโอกาสให้กฎหมายเข้าชื่อของประชาชนฉบับนี้ เป็นฉบับแรกของสภาผู้แทนราษฎรตอนนี้ แล้วก็นำไปสู่การรับหลักการที่มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องนี้ การเข้าชื่อของ ภาคประชาชน ก็ด้วยความหวังว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมอภิปราย ร่วมแลกเปลี่ยน ร่วมหารือ ในการเป็นกรรมาธิการวิสามัญของการพิจารณาร่างกฎหมายด้วย ขอบคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

มีท่านใดจะซักถามอีกไหมครับ เรื่องนี้ตกลงทางวิปว่าอย่างไรครับ

นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สุรินทร์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จากจังหวัดสุรินทร์ ก็ฟังดูแล้ว เป็นเรื่องที่สวยงาม แล้วก็ในฝ่ายซีกรัฐบาลก็อยากเห็นกฎหมายภาคประชาชนฉบับนี้ที่เข้ามา พวกผมเห็นด้วยกับทางฝ่ายภาคประชาชนและพี่น้องจากฝ่ายค้าน เราจะรับหลักการ แต่ด้วยความบังเอิญอย่างนี้ครับท่านประธานที่เคารพ ขอตั้งกรรมาธิการในอาทิตย์ต่อไป เนื่องจากว่าอาทิตย์นี้มีผู้สมัครเข้ามาเยอะครับ เป็นตัวแทนจากชนเผ่า แล้วอีกหลายท่าน อยากเป็น แล้วผมเข้าใจว่าตัวแทนภาคประชาชนก็ไม่ทราบว่าพร้อมหรือยังที่จะตั้ง ในเบื้องต้น เราขอรับไว้ก่อน แล้วอาทิตย์หน้าจะเสนอชื่อกรรมาธิการ จะได้สอบถามในพรรคร่วมด้วย ว่าพรรคอื่นใครจะมาเป็นกรรมาธิการด้วย ขอบพระคุณมากครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านอรรถกรครับ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม อรรถกร ศิริลัทธยากร สส. จังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ วันนี้สภาเราได้รับฟังเสียงสะท้อนจากภาคประชาชนผ่านการเสนอร่างกฎหมายจาก ภาคประชาชน และเราก็ยังได้รับฟังความเห็นจากเพื่อนสมาชิกทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล เมื่อสักครู่นี้ สส. ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ก็พูดชัดเจน ผมย้ำอีกครั้งหนึ่งครับท่านประธาน ผมเชื่อว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ พรรคพลังประชารัฐก็เหมือนกันครับ เราก็อยากจะหา บุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นกรรมาธิการในคณะนี้ เพื่อที่จะพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ให้ดีที่สุดสำหรับพี่น้องประชาชน ดังนั้นจึงเป็นการดีครับ ถ้าเราจะเดินหน้าต่อในวันนี้ ถ้าตั้งกรรมาธิการเราก็สามารถตั้งในอาทิตย์หน้า ในวันพุธหน้าก็ไม่ได้เสียเวลา ดังนั้น จึงเห็นด้วยกับท่านครูมานิตย์ครับ ขอบพระคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ทางฝ่ายรัฐบาลก็เตรียมกรรมาธิการยังไม่พร้อม ผมคิดว่าเดี๋ยวอาทิตย์หน้าเรามาตั้ง กรรมาธิการกันนะครับ เรื่องชาติพันธุ์ก็เห็นว่ามีความสำคัญ ดังนั้นอาทิตย์หน้าเรามา ว่ากันต่อครับ วันนี้ขอปิดประชุมครับ