กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้ริเริ่มเสนอกฎหมาย ฉบับนี้ ก็คือร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ก่อนอื่นต้อง ขอขอบพระคุณสภาผู้แทนราษฎรที่ได้เปิดโอกาสให้คณะของพวกเราได้มาชี้แจงในหลักการ และสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ผมจะขออนุญาตเกริ่นนิดหนึ่งว่าการนำเสนอ ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นความพยายามที่พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองทั่วประเทศ รวมไปถึงพี่น้อง ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้พยายามที่จะมีส่วนร่วมในการเสนอกฎหมายให้เป็นกฎหมาย ที่เสนอโดยภาคประชาชน ซึ่งในการนำเสนอนี้ที่จริงเราได้มีความพยายามดำเนินการมา เป็นระยะเวลาเกือบ ๑๐ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ช่วงหนึ่งที่เรามีการนำเสนอ ในที่สุดในช่วงนั้น ก็เป็นช่วงที่มีกลไกของรัฐสภาเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็มีการนำเสนอ แต่ว่ายังไม่เกิด การพิจารณา จนหลังจากที่มีสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก หลังจากมีรัฐธรรมนูญเราก็มีการ นำเสนออีกครั้งเมื่อปี ๒๕๖๔ แต่แล้วในที่สุดก็ได้มีการยุบสภา จนถึงขณะนี้เราก็ได้ มีการยืนยันที่จะเสนอยื่นเรื่องให้กับทางท่านประธานสภาได้นำกลับมา เพื่อจะบรรจุ เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมอีกครั้ง จนในที่สุดถึงวันนี้ที่ท่านได้เปิดโอกาสให้พวกเรา ได้มีโอกาสมาชี้แจง ผมจะขออนุญาตเกริ่นนำเช่นนี้ว่าเดี๋ยวคงจะขอทางเจ้าหน้าที่ช่วยขึ้น สไลด์ประกอบ แล้วทางทีมของพวกเราก็จะขออนุญาต อาจจะร่วมกันที่จะนำเสนอ ในหลักการและสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็คงจะขออนุญาตเรียนเชิญ ท่านต่อไปได้มีโอกาสนำเสนอขอบคุณครับ
ผมอาจจะขออนุญาต ผมกับทางคุณเกรียงไกร ชีช่วง ซึ่งจะขออนุญาตเป็นคนที่ช่วยสรุปประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ของร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... จากที่ทางพวกเรา คณะผู้ชี้แจงได้เรียนแล้วว่าชนเผ่าพื้นเมืองนี้ก็เป็นคำนิยาม ในประเทศไทยนั้นถือว่า สำหรับพวกเรานี้ก็ได้ใช้กันมา ๑๐ กว่าปีแล้ว ก็เกือบ ๆ ๒๐ ปี ที่เป็นพื้นที่หน้าหมู่ของเรานี้ ในสาระสำคัญของกฎหมาย ก็กำหนดให้มีการนิยามชนเผ่าพื้นเมืองให้เกิดความเข้าใจ ที่ตรงกัน ที่ชัดเจน ก็ไปเป็นสาระสำคัญอันหนึ่ง ในนิยามชนเผ่าพื้นเมืองในร่างกฎหมาย ของเรานี้จะหมายถึงบุคคลหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกัน โดยมีวิถีปฏิบัติ ที่สืบทอดกันต่อเนื่องมาจากตั้งแต่บรรพชนของตัวเอง จะมีเรื่องภาษา แบบแผนทางวัฒนธรรม ของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อันนี้ถือว่าเป็นนิยามท่อนที่จะเห็นเป็นภาพรวม นอกจากนี้ก็จะมีเรื่องของความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์ มีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงพึ่งพากับ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่ตัวเองอาศัยอยู่นะครับ มิได้เป็นกลุ่มที่ครอบงำในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือการเมือง และมีการพิจารณาตนเองว่ามีความแตกต่างจากภาคส่วนอื่น ของสังคมใหญ่ อันนี้ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นอกจากนี้เป็นกลุ่มชน ที่มีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ รักษา พัฒนา สืบสาน สืบทอดภูมิปัญญาของตัวเองจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะรุ่นในอนาคตของเรานะครับ อีกประเด็นที่สำคัญก็คือเป็นกลุ่มที่รักษาสันติ วัฒนธรรม ซึ่งเป็นไปตามจารีตประเพณีที่มีการถือปฏิบัติการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ นอกจากมีองค์ประกอบเหล่านี้เข้ามาเป็นตัวช่วยอธิบายความเป็นตัวตนชนเผ่าพื้นเมืองแล้ว สิ่งที่เป็นสากลในการที่กำหนดว่าใครเป็นหรือไม่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองมีความสำคัญอยู่ที่ การระบุตนเองว่าเป็นชนเผ่าพื้นเมืองเองนะครับ ไม่ใช่เป็นผู้อื่นที่มากำหนดว่าเราเป็น หรือไม่เป็น และได้รับการยอมรับจากกลุ่มอื่น ๆ อันนี้ก็ถือว่าเป็นนิยามที่เราได้กำหนดไว้ ในร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ของเรานะครับ
ทีนี้ประเด็นถัดไป ถ้าจะฉายสไลด์ก็จะเห็นตัวโครงสร้างนะครับ ถัดไปเรื่อย ๆ อีก ๒-๓ สไลด์ ตรงนี้นะครับ ในสาระสำคัญของตัวร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... จะเห็นว่าทั้งหมดสาระหลักก็จะเป็นการกล่าวถึงกลไกที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมือง ก็มีตั้งแต่ ตัวภาพรวม กลไกหลักก็คือตัวสภาชนเผ่าพื้นเมืองมีกลไกของคณะกรรมการบริหารกิจการสภา ตัวสภาชนเผ่าพื้นเมืองจริง ๆ แล้วต้องพูดถึงองค์ประกอบสำคัญ ก็คือความเป็นสมาชิก สภาชนเผ่าพื้นเมือง ก็จะมีตัวแทนมาเป็นคณะกรรมการบริหารสภา อันนี้ก็เป็นองค์ประกอบ ถัดมาที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็จะมีผู้อาวุโสสภา แล้วก็จะมีส่วนสำนักงาน นอกนั้นก็จะมี กลไกองค์ประกอบย่อยจะเป็นคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน รวมไปถึงเรื่องกองทุนก็จะอยู่ ในสาระถัดไปนะครับ ขออนุญาตสไลด์ถัดไปเป็นตัวที่จะบ่งชี้เรื่องของหน้าที่และอำนาจของ ชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งที่จริงในเอกสารที่ท่านสามารถศึกษาในรายละเอียดได้ก็มีการกำหนดไว้ ใน ๑๔ ประการ เป็นหน้าที่อำนาจของสภานะครับ แต่ว่าโดยสรุปภาพรวมก็คือจะทำหน้าที่ ในการส่งเสริมสนับสนุนเรื่องภาษา วัฒนธรรม การศึกษา อาชีพ แม้กระทั่งเรื่องของ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่บริบทที่ตัวเองเกี่ยวข้องนะครับ ตัวสภาเองก็มีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิชนเผ่าพื้นเมือง อีกประการที่สำคัญคือตัวสภาก็จะมีหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพของคน ก็คือตัวตน ชนเผ่าพื้นเมืองทุก ๆ กลุ่มชาติพันธุ์ มีในเรื่องของการพัฒนาเรื่องระบบฐานข้อมูล รวมไปถึง เรื่องของการพัฒนากลุ่มองค์กรเครือข่าย ที่จะเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาที่ตัวเองประสบอยู่ รวมทั้งตัวสภาเองก็จะทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผลกระทบของนโยบาย และโครงการ พัฒนาต่าง ๆ ที่มีการดำเนินการแล้วมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเรา รวมไปถึงเรื่องของ บทบาทที่เป็นบทบาทของสภา ภาพรวมก็คือเรื่องของการประสานงาน เรื่องประชาสัมพันธ์ หรือว่าเผยแพร่ผลงาน อันนี้ก็จะเป็นหัวใจในเรื่องของการประสานความร่วมมือให้เกิด การแก้ปัญหาที่พวกเราประสบอยู่ รวมไปถึงเป็นกลไกสำคัญในการประสานความร่วมมือ ให้เกิดการหนุนเสริมการพัฒนาชนเผ่าพื้นเมืองของเราไปในทิศทางที่สอดคล้องวิถีชีวิต ของเรานะครับ
ทีนี้ถัดไปจะเป็นเรื่องของตัวสมาชิกสภาชนเผ่าพื้นเมือง หัวใจของตัวกลไกสภา ก็เป็นสมาชิกสภา อันนี้ก็จะเป็นผู้ที่ได้รับการคัดสรร สรรหามาจากชนเผ่าพื้นเมืองแต่ละ กลุ่มชาติพันธุ์ที่มาเป็นสมาชิกสภาที่มีการขึ้นทะเบียนกับสภาไว้ สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญ ในส่วนของการเป็นสมาชิกนั้น นอกจากได้รับการคัดเลือกแล้ว เรื่องของเกณฑ์เรายอมรับ ตั้งแต่เยาวชนผู้ที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ก็ถือว่าเป็นการเปิดพื้นที่ให้เกิดแกนนำรุ่นใหม่ที่เข้ามา สานต่อในเรื่องของการเคลื่อนงานของสภาของเรา อันนี้ก็จะเป็นสิ่งที่มีความแตกต่างทั่วไป อันนี้ส่วนหนึ่ง แล้วนอกจากนี้บทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาก็มีความสำคัญ ซึ่งสาระหลัก ในร่างที่กำหนดไว้มีหลายประการ แต่ว่าสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญก็จะเป็นเรื่องของ การประสานความร่วมมือระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ตัวเองกับกิจการของสภา รวมไปถึงเรื่องของ การทำหน้าที่ในการรวบรวมศึกษาและพัฒนาตัวข้อมูลสถานการณ์ต่าง ๆ ในพื้นที่หรือ ข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ตัวเอง ทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ที่เป็นภารกิจงานของเครือข่าย กลุ่มชาติพันธุ์ตัวเองไปจนถึงงานของสภาของเรา แล้วก็สนับสนุนกิจการของสภา อันนี้ ก็เป็นตัวชี้ให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ ก็มีความเชื่อมโยงกับตัวกลไกตัวหลักก็คือตัวสภานะครับ ก็คงจะเป็นภาพที่อยากจะเรียนให้ท่านได้เห็นในส่วนแรกนะครับ ส่วนถัดไปในสาระของ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะขอเรียนเชิญคุณเกรียงไกร ชีช่วง เป็นผู้ที่ได้ชี้แจงต่อครับ ขอบคุณครับ
ก่อนอื่นผมต้อง ขอขอบพระคุณท่านประธาน ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพทุกท่านที่ได้มีโอกาส อภิปรายสะท้อนถึงทางจิตวิญญาณ ที่ต้องการสนับสนุนให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาชนเผ่า พื้นเมืองในวันนี้ พูดถึงเรื่องของกฎหมายตัวนี้ที่จริงกฎหมายนี้ไม่ได้เสนอมาเพื่อต้องการ ที่เป็นทั้งทรัพยากรที่เป็นงบประมาณหรืออะไรตามที่ระบุไว้ เนื่องจากว่าเราเห็นความสำคัญ ของการที่ต้องมีกฎหมายที่รองรับหรือยอมรับการมีตัวตนของกลุ่มที่เสนอ อันนี้ก็คือ ชนเผ่าพื้นเมืองนะครับ เราก็หวังว่ากฎหมายนี้ถ้าได้เกิดขึ้น ตัวตนของชนเผ่าพื้นเมืองก็จะเกิด การยอมรับอย่างเป็นทางการ ความหมายการยอมรับหมายความว่าจะมีส่วนร่วมในการที่จะ พัฒนาหรือว่าแก้ไขปัญหาของตัวเอง รวมถึงจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติที่มีพลัง มากขึ้นนะครับ
ประเด็นที่ ๒ ถ้ามีกฎหมายตัวนี้ในระดับที่เราได้เสนอมานี้ ตัวตนของ ชนเผ่าพื้นเมืองที่ได้ระบุไว้จะเกิดขึ้นก่อนนี้ ตัวกลไกของสภาชนเผ่าพื้นเมืองก็จะเป็นกลไก สามารถที่จะทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับทั้งกลไกของรัฐ หน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงภาคี องค์กรสนับสนุนทั้งหลายได้อย่างมีพลังเช่นกัน อันนี้คือสิ่งที่มันจะทำให้ตัวสภาชนเผ่าพื้นเมือง ทำหน้าที่ในการพิทักษ์สิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือในการ ขับเคลื่อนงานที่จะแก้ปัญหาของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองอย่างมีพลัง อันนี้ก็จะเกิดขึ้น
ประเด็นสุดท้าย การมีตัวตน มีกลไก ก็จะเป็นการเข้าไปหนุนเสริมให้รัฐบาล ทำหน้าที่ในการเข้ามาส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิต หรือสิ่งที่ชนเผ่าพื้นเมืองที่อย่างมีรูปธรรม จะเกิดขึ้น รวมไปถึงเรื่องของการก่อเกิดเรื่องของการหนุนเสริม ทั้งในเรื่องของการที่จะให้ เขาได้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ก็จะมีพลัง มีความเป็นเอกภาพ รวมถึงการทำงาน ที่เชื่อมโยงกันก็จะเกิดขึ้นอย่างมีพลัง อันนี้ก็จะเป็นหลักการใหญ่ ๆ ของประโยชน์ที่จะ เกิดขึ้นจากการมีกฎหมายฉบับนี้ อันนี้เป็นเจตนารมณ์ของการเสนอกฎหมายเข้ามา
ทีนี้ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ในเมื่อเราพูดถึงการปกป้องคุ้มครอง วิถีชีวิต สิ่งที่มันเป็นตัวที่ทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านได้อภิปราย ก็เห็นชัดเจนว่า จะมีพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มที่มีความเปราะบางอีกหลายกลุ่ม ถ้าจะยกตัวอย่างเป็นจุดที่ ทำให้เรานึกถึงทันที ก็คือพี่น้องที่ยังมีวิถีชีวิตที่ไม่ได้ทำเรื่องการเกษตร วิถีชีวิตยังต้องพึ่งพิง พึ่งพาอยู่ในป่า หาเผือก หามัน ถ้ายกตัวอย่างเป็นชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ก็จะเป็นพี่น้องมานิกับ พี่น้องมละบริ ถึงแม้มละบริอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะ เพราะถูกกดจากภาพรวมของ สังคมที่อยู่แวดล้อมด้วย แล้วก็การเปลี่ยนแปลงของโลกเรานะครับ ทีนี้ใน ๒ ส่วนนี้เองก็จะมี ประเด็นเรื่องของการคุ้มครองวิถีชีวิตจะเกิดขึ้นภายใต้กฎหมายนี้นะครับ นั่นคือเราจะพูดถึง เรื่องของพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตก็จะตามมา พื้นที่ที่ว่านี้ไม่ใช่พื้นที่ที่อยู่อาศัยหรือเฉพาะพื้นที่ ทำมาหากิน รวมถึงพื้นที่ที่จะใช้ชีวิตอยู่ในผืนแผ่นดินที่เขาอยู่นะครับ ไม่ว่าจะเป็นป่า เป็นเกาะ เป็นทะเล ทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น เราเชื่อว่าการเกิดขึ้นตรงนั้น ก็หมายถึงว่าจะมีการจัดการพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตที่มีรูปธรรม แล้วก็จะเกิดความยั่งยืนในการ อยู่ร่วมกันในสังคม พหุวัฒนธรรมแบบประเทศไทยนะครับ อันนี้ผมคิดว่าเป็นหลักการใหญ่ ที่อยากจะสะท้อนว่ากฎหมายตัวนี้ หากท่านได้พิจารณาแล้วก็ส่งเสริมให้เกิดเป็นกฎหมาย แล้วจะมีประโยชน์ดังเช่นผมได้กล่าวมานะครับ ผมอาจจะขออนุญาตจะขอทางทีมคณะผู้ร่วม ชี้แจงได้มีการสรุปบางประเด็น รวมทั้งตอบคำถามที่ทางท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการตั้งคำถามตั้งประเด็นไว้เพิ่มเติมนะครับ ก็คงจะทยอย ท่านกิตติศักดิ์ใช่ไหมครับ เชิญครับ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ รายชื่อผู้แทนภาคประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ขอเสนอรายชื่อจำนวนทั้งหมด ๑๔ ท่านดังนี้นะครับ ๑. นายศักดิ์ดา แสนมี่ ๒. นายชูพินิจ เกษมณี ๓. นายกิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี ๔. นายเกรียงไกร ชีช่วง ๕. นายยงยุทธ สืบทายาท ๖. นางนิตยา เอียการนา ๗. นายสุพจน์ หลี่จา ๘. นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด ๙. นายวรวิทย์ นพแก้ว ๑๐. พชร คำชำชาญ ๑๑. นายวิทวัส เทพสง ๑๒. นางสาวอรวรรณ หาญทะเล ๑๓. นายสนิท แซ่ซั่ว ๑๔. นางสาววิมลรัตน์ ธัมมิสโร ขอบคุณครับ