ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ท่านชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง พรรคก้าวไกลที่ตั้ง กระทู้ถามถึงประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับพี่น้องชาวจังหวัดระยองในเรื่องของการบริหาร จัดการน้ำในระยะเร่งด่วนและระยะยาวของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงวันศุกร์ วันเสาร์ วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมก็มีโอกาสเดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด เสียงสะท้อนจากพี่น้องชาวจังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราดก็ไม่ต่างจากที่ท่านสมาชิกท่านสมาชิกท่านชุติพงศ์ได้ตั้งกระทู้ถาม เพราะว่า จากอิทธิพลปรากฏการณ์ El Nino สร้างผลกระทบ สร้างความกังวลให้กับพี่น้องประชาชน ทั่วทั้ง ๗๗ จังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องในภาคตะวันออก ตั้งแต่ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ซึ่งเรื่องนี้จากคำถามที่ท่านตั้งกระทู้ถามขออนุญาตตอบดังต่อไปนี้ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรามีมาตรการในการป้องกันภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จังหวัดระยองอย่างเร่งด่วนดังต่อไปนี้นะครับ อยากจะกราบเรียนท่านประธานว่า จังหวัดระยองเรามีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ ๒ แห่งซึ่งได้แก่อ่างเก็บน้ำประแสร์และอ่างเก็บ น้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ๓ แห่ง ซึ่งได้แก่อ่างเก็บน้ำคลองระโอก อ่างเก็บน้ำ คลองใหญ่และอ่างเก็บน้ำดอกกราย ซึ่งความจุน้ำโดยรวมแล้วอยู่ประมาณที่ ๕๙๐.๑๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุของน้ำใช้รวมแล้วประมาณ ๕๖๓.๖๖ ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณ น้ำใช้การในปัจจุบันนี้อยู่ที่ ๓๓๖ ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คือ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ความต้องการน้ำจากอ่างในฤดูฝนคือตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม จนถึง ๑ ตุลาคม มีความต้องการ ใช้น้ำรวมทั้งหมด ๓๓๖ ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ยังคงจะต้องจัดสรรน้ำ ให้เพียงพออีก ๖๙ ล้านลูกบาศก์เมตรนะครับ ดังนั้นปริมาณน้ำเมื่อหมดหน้าฝน คือวันที่ ๑ พฤศจิกายน ปี ๒๕๖๖ มีปริมาณรวมประมาณ ๔๐๑ ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คือ ๖๘ เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าความต้องการจากอ่างในฤดูแล้งของปี ๒๕๖๖ เชื่อมปี ๒๕๖๗ จะมีความต้องการปริมาณน้ำอยู่ที่ ๓๒๙.๔๒ ล้านลูกบาศก์เมตร การเริ่มฤดูแล้งคือตั้งแต่ วันที่ ๑ พ.ย. ปี ๒๕๖๖ นี้ โดยภาพรวมแล้ว ปริมาณน้ำยังเพียงพอต่อความต้องการ เจาะลึก ลงไปว่าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่คืออ่างเก็บน้ำประแสร์ ซึ่งมีความจุอยู่ที่ ๒๙๕ ล้านลูกบาศก์ เมตร มีความจุของน้ำใช้การอยู่ที่ ๒๗๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำในปัจจุบันนี้คิดเป็น เปอร์เซ็นต์แล้ว ๖๖ เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ ๑๘๒ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ว่าความต้องการน้ำจากอ่าง ประแสร์ในฤดูฝนของปี ๒๕๖๖ อยู่ที่ ๗๕.๑๖ ล้านลูกบาศก์เมตร ยังคงต้องการจัดสรรน้ำอยู่ ประมาณอีก ๒๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งรวมไปถึงการผันน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ เราคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำ ณ ถึงวันที่ ๑ พ.ย. ปี ๒๕๖๖ จะมีปริมาณน้ำอยู่ที่ ๑๙๘ ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์คือ ๗๒ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ไว้ ว่าร่องมรสุมจะทำให้ฝนตกอย่างต่อเนื่องในภาคตะวันออก โดยเฉพาะระยอง จันทบุรี และ ตราดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกวันนี้ปริมาณน้ำเพิ่มในอ่างประมาณ ๙ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งก็ เป็นเรื่องที่อาจจะเป็นความโชคดีของพี่น้องทางภาคตะวันออกนะครับ สรุปแล้วความ ต้องการน้ำจากอ่างประแสร์ในฤดูแล้ง คือปี ๒๕๖๖ ถึงปี ๒๕๖๗ ปีหน้า ต้องการปริมาณอยู่ ที่ ๑๐๕.๕๖ ล้านลูกบาศก์เมตรนะครับ ซึ่งรวมไปถึงการผันน้ำไปยังคลองใหญ่ สรุปแล้ว ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำประแสร์มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการของพี่น้องชาวจังหวัด ระยองนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนแนวทางที่เราจะเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเราก็มี ๒ แนวทาง ที่เราปฏิบัติอยู่ คือการสูบน้ำหรือผันน้ำจากคลองสะพานไปเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำประแสร์ แผนการผันน้ำ ซึ่งจะสามารถผันน้ำได้ประมาณ ๓๕ ล้านลูกบาศก์เมตร

    อ่านในการประชุม

  • ๒. คือสูบน้ำจากกลุ่มน้ำวังโตนดของจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเราสามารถเติมน้ำ ในอ่างเก็บน้ำประแสร์ได้ประมาณ ๒๖ ล้านลูกบาศก์เมตรนะครับ อีกอ่างหนึ่งคือกลุ่มอ่าง ลุ่มน้ำคลองใหญ่ซึ่งประกอบด้วยอ่างหนองปลาไหล อ่างคลองใหญ่ และอ่างดอกกราย ความจุน้ำ ทั้ง ๓ อ่าง อยู่ประมาณที่ ๓๑๗.๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุน้ำใช้อยู่ที่ ๒๖๙.๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำใช้การในปัจจุบันมีอยู่ที่ ๑๕๔ ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น เปอร์เซ็นต์คือ ๕๗ เปอร์เซ็นต์ แต่ความต้องการน้ำจากอ่างเก็บน้ำลุ่มคลองใหญ่ในฤดูฝนนี้ ต้องการอยู่ที่ ๒๔๖.๘๖ ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนั้นยังต้องจัดสรรน้ำอีก ๔๔ ล้านลูกบาศก์เมตร เราคาดการณ์ว่าเมื่อถึงหน้าแล้งเริ่มจากวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๖๖ จะมีปริมาณน้ำอยู่ที่ ๑๘๙.๔๑ ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ความต้องการน้ำ จากอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำคลองใหญ่ ฤดูแล้งต้องการอยู่ที่ปริมาณ ๒๒๓.๘๖ ล้านลูกบาศก์เมตร

    อ่านในการประชุม

  • ดังนั้นแนวทางในการที่จะเพิ่มปริมาณน้ำในอ่าง เรามีแนวทางที่จะปฏิบัติได้ ดังต่อไปนี้ คือ

    อ่านในการประชุม

  • ๑. เราต้องสูบน้ำหรือผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ไปยังอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ และผันน้ำต่อไปยังที่เก็บน้ำหนองปลาไหล เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล แผนสูบน้ำอยู่ที่ปริมาณ ๕๕.๖๔ ล้านลูกบาศก์เมตร

    อ่านในการประชุม

  • ๒. แผนการสูบหรือผันน้ำอ่างเก็บน้ำประแสร์ไปยังอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล เพื่อจ่ายน้ำเข้าพื้นที่ในจังหวัดระยอง

    อ่านในการประชุม

  • ๓. สูบน้ำกลับจากวัดละหารไร่เพื่อเติมน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ซึ่งทุกวันนี้ยังทำการสูบและเครื่องสูบน้ำบางตัวที่มีปัญหาก็เริ่มทำการซ่อมแซมและสามารถ สูบได้แล้วนะครับ ซึ่งผมแล้วก็เจ้าหน้าที่กรมชลประทานมีความมั่นใจว่าปริมาณน้ำในอ่าง ขนาดกลางทั้ง ๓ อ่าง สามารถเพียงพอต่อความต้องการของพี่น้องประชาชนในจังหวัด ระยอง นอกจากนี้ยังมีอ่างขนาดเล็กอีก ๑ อ่าง ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำคลองระโอก ซึ่งมีความจุน้ำ อยู่ที่ ๑๙.๖๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุน้ำใช้อยู่ที่ ๑๙.๑๖ ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำใช้ ปัจจุบันอยู่ที่ ๑๖.๙๔ ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์อยู่ที่ ๘๘ เปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าเป็น เปอร์เซ็นต์ที่สูง ความต้องการน้ำจากอ่างในฤดูฝนอยู่ที่ ๑๒.๕๔ ล้านลูกบาศก์เมตร ยังคงต้อง จัดสรรน้ำอีก ๐.๙๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่เราคาดการณ์ฤดูแล้งปี ๒๕๖๖ ถึงปี ๒๕๖๗ อยู่ที่ประมาณ ๑๑.๘๒ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปริมาณน้ำเพียงพอ ต่อความต้องการนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • สำหรับน้ำในอ่างเก็บน้ำคลองระโอก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นน้ำที่สำหรับ การประปาส่วนภูมิภาคนะครับ ซึ่งเป็นการประปาส่วนภูมิภาคสาขาปากน้ำประแสร์ ซึ่งเป็น น้ำใช้วันละประมาณ ๖,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร สรุปแล้วในฤดูฝนจะใช้อยู่ประมาณ ๒๐๔,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันเรามีปริมาณน้ำใช้อยู่ ๑๖.๙๔ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีปริมาณมาก เพียงพอต่อความต้องการนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • สำหรับมาตรการในการที่เราจะขอความร่วมมือจากทางจังหวัดแล้วก็แจ้งประชาสัมพันธ์ เรื่องให้พี่น้องเกษตรกร พี่น้องชาวจังหวัดระยองเก็บน้ำในพื้นที่ไว้ใช้สำหรับตัวเอง ประชาสัมพันธ์การปลูกพืชที่ใช้น้ำมาก นอกจากนั้นเรายังสนับสนุนเครื่องไม้เครื่องมือ ในการช่วยเหลือพี่น้องในการบรรเทาไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งหรือน้ำท่วม และกรมทรัพยากรน้ำ ก็ติดตามสถานการณ์การพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ส่วนคำถามที่ ๒ จะให้ผม ตอบเลยไหมครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ ขออนุญาตตอบท่านประธานไปยังท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรตินะครับ คือเรื่องการลงพื้นที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมลงไปที่สมาคม ชาวประมง จังหวัดระยอง ซึ่งถามว่าได้ลงในพื้นที่ของท่าน สส. ไหม ท่านสมาชิกไหมครับ ยังไม่ได้ลง แต่ว่าด้วยความเป็นห่วงเป็นใยในเรื่องนี้ทางกรมชลประทาน แล้วก็กระทรวง เกษตรและสหกรณ์เราจะทำเป็นการบ้าน กลับไปทำการบ้านแล้วก็อาจจะเชิญท่านสมาชิก ผู้ทรงเกียรติของจังหวัดระยองทั้ง ๓ เขต ๔ เขต หรือ ๓ เขต ผมไม่มั่นใจ ๕ เขตนะครับ เรามาร่วมหาแนวทางด้วยกันว่าเราจะบริหารจัดการน้ำที่จะสามารถกระจายน้ำไปยังแปลง พืชผลทางการเกษตรอย่างไรนะครับ ณ เวลานี้น้ำภาคอุตสาหกรรมถามว่ามีผลกระทบต่อ พี่น้องเกษตรกรไหม มีมากนะครับ ดังนั้นภายใต้ข้อเสนอแนะของท่านไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การนำเล่มเขียวของทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วก็แผนของบริหารการจัดการ ของน้ำกรมชลประทานเราจะกลับมาทำการบ้าน แล้วผมจะลงพื้นที่อีกครั้งหนึ่งก็จะ กราบเรียนเชิญท่านสมาชิกทั้ง ๕ เขต มาแสดงความคิดและเสนอแนะกัน เราจะได้ตอบ ปัญหาให้พี่น้องและแก้ปัญหาให้พี่น้องได้ตรงประเด็นครับ ท่านประธานครับ ขอบคุณ มากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ท่านเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ตั้งกระทู้ถามที่เคารพ ก่อนอื่น ผมจะขออนุญาตท่านประธานนำแผนที่ซึ่งเพิ่งมา และไม่ได้ขออนุญาตนำมาเสนอ เพื่อที่จะ ตอบคำถาม ประกอบให้มีความชัดเจนมากกว่านี้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ก่อนอื่นผมต้องกราบขอบคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ท่านประเสริฐพงษ์ที่ได้ตั้งกระทู้ ซึ่งเป็นสาระสำคัญนะครับ สิ่งที่ท่านตั้งกระทู้ เนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่ท่านได้พูดถึงเมื่อสักครู่ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องจริงนะครับ ซึ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังในอดีตเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำ พี่น้องชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังต่างก็มี ความเป็นอยู่ที่ดีนะครับ ระบบนิเวศพื้นที่หลาย ๆ อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ความสนใจจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่นี่กันเยอะครับ แต่พอความหนาแน่นของพลเมือง การย้ายถิ่นฐานมาอยู่ทำมาหากินในแถบลุ่มน้ำปากพนัง ทำให้แม่น้ำปากพนังซึ่งเป็นแม่น้ำ สายหลักที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบบนิเวศสมบูรณ์นะครับ ตามที่ท่านประเสริฐพงษ์ ได้นำเรียนเมื่อสักครู่กลับกลายเป็นถูกทำลาย แม่น้ำปากพนังจากอ่างเก็บห้วยน้ำใส จากจุดบริเวณจุดนี้จนถึงปากอ่าวระยะทั้งหมดนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • จากอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใสจนถึงปากอ่าวปากพนังระยะทางทั้งหมด ๑๕๐ กิโลเมตร ซึ่งแต่ก่อนลุ่มน้ำมีความอุดมสมบูรณ์นะครับ พี่น้องชาวนครศรีธรรมราชเขาทำมาหากินกัน อย่างมีความสุข ธรรมชาติที่นี่สวยงามนะครับ แต่พอคนมาอยู่เยอะ ๆ ระบบนิเวศมันเสีย พอมันเสียนะครับ ในช่วงปี ๒๕๓๐ ทางกรมชลประทานเริ่มรู้ปัญหาทั้งหน้าแล้งและ หน้าฝน หน้าแล้งน้ำเค็มจากปากพนังทะลักเข้ามาสู่บนพื้นที่แม่น้ำปากพนังจนถึง ระยะเกือบ ๕๐-๘๐ กิโลเมตร ทำให้แหล่งน้ำจืด ปริมาณน้ำจืดสำหรับอุปโภคบริโภค และภาคการเกษตรไม่เพียงพอ และสิ่งสำคัญที่สุดเวลาหน้าฝนน้ำจากป่าพรุ ซึ่งเป็น น้ำเปรี้ยว ลุ่มน้ำปากพนังเป็นพื้นที่ต่ำรับน้ำจะเกิดอุทกภัยขึ้นทุกปี และเวลาน้ำท่วมน้ำจะขัง อยู่ประมาณ ๓-๔ เดือน ทำให้พี่น้องประชาชนแถบลุ่มน้ำปากพนังมีความเดือดร้อน ดังนั้นทางกรมชลประทานก็ศึกษาว่าจะทำอย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาแรก หน้าแล้งเลยมีการศึกษาและสร้างประตูน้ำ ซึ่งเราเรียกว่าประตู ระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิบริเวณปลายเกือบถึงปากอ่าว เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำจืดและ เวลาหน้าฝนทางกรมชลประทานก็ทำคลองลัดตัดน้ำออกอ่าวไทยโดยตรงเลย ระบายน้ำออก อ่าวไทยไม่ให้น้ำขัง สิ่งเหล่านี้ที่ทางกรมชลประทานตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ ศึกษาจนปี ๒๕๔๒ สร้างประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิเสร็จคิดว่าปัญหาจะคลี่คลาย แต่กลับกลายเป็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นทำลายสมดุลระบบนิเวศ เวลาฤดูปิดประตูระบายน้ำนะครับ น้ำจากประตูระบายน้ำ จนถึงอ่างเก็บน้ำกลายเป็นน้ำนิ่ง ระบบนิเวศเสียเกิดตะกอนวัชพืช แทนที่เราจะมีน้ำจืด ที่บริสุทธิ์ที่สามารถอุปโภคบริโภคได้ เลยกลับกลายเป็นบางที่เป็นน้ำเน่า บางที่วัชพืชประเภท ผักตบชวา ผักกระฉูดขึ้นเต็มไปหมด ดังนั้นถามว่าตอบโจทย์เรื่องการแก้ปัญหาแหล่งน้ำจืดไหม กลับกลายตอบได้บางส่วน แต่ปัญหาที่มันหนักกว่านั้นคือการทำลายระบบนิเวศ อันนี้ เรื่องแรกนะครับ หน้าฝนน้ำที่เคยท่วมนะครับ ถามว่าแก้ได้ไหม แต่แก้ได้ แก้ได้บางส่วน สรุปแล้วคือการสร้างประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิที่ทางกรมชลประทานสร้างเสร็จ ปี ๒๕๔๒ มีประโยชน์ไหม มีประโยชน์ ขณะเดียวกันเกิดผลเสียต่อระบบนิเวศไหม มีผลเสีย เพราะฉะนั้นได้กับเสียเป็นสิ่งที่ทางกรมชลประทานต้องกลับมาคิดในการแก้ปัญหา ตอนผมเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผมลงในพื้นที่ เพราะมีพี่น้อง ประชาชนเขาร้องเรียนว่า ผักตบชวาเหนือประตูระบายน้ำทะลักขึ้นมาเป็นระยะทางเกือบ ๑๐๐ กิโลเมตร ขณะเดียวกันท้ายประตูระบายน้ำดินตะกอนเต็มไปหมดนะครับ ระบบนิเวศ การทำมาหากินพี่น้องประมงชายฝั่งเดือดร้อนกันหมด เวลาหน้าฝนเวลาเขาเปิดประตู แต่ช่วงนี้ช่วงเดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคม เดือนมกราคม เขาเปิดประตูนะครับ น้ำจืด ลงไปทะลักพี่น้องทำมาหากินกระชังเลี้ยงปลาเดือดร้อนกันหมด อันนั้นแสดงให้เห็นว่า เป็นการทำลายระบบนิเวศ ทำลายธรรมชาติ

    อ่านในการประชุม

  • สิ่งที่ทางกรมชลประทานจะต้องแก้ไขตามที่เพื่อนสมาชิกได้ตั้งกระทู้ถามว่า แผนเราจะแก้ปัญหาอย่างไร แน่นอนครับแผนระยะด่วนเราทำอย่างไรเร่งด่วน ผักตบชวา ทำอะไรไม่ได้ครับ นอกจากเก็บแล้วไปทำปุ๋ย ซึ่งมันเป็นการแก้ปัญหาแบบเร่งด่วน ไม่ยั่งยืน และแผนที่เร่งด่วนที่ทำกันมา ไม่ว่าจะเป็นการขุดลอกโดยใช้งบประมาณตั้งแต่ปี ๒๕๖๕ โดยกรมชลประทานขุดลอก ปี ๒๕๖๖ ทางกรมเจ้าท่าขุดลอกอีก และปี ๒๕๖๖ ที่กำลัง ขุดลอกโดยงบประมาณ ๑๔๓ ล้านบาท ระยะทางจากปากอ่าวขึ้นมาถึงแม่น้ำ ๓๕ กิโลเมตร จะแล้วเสร็จประมาณกลางปี ๒๕๖๗ ปี ๒๕๖๘ ทางกรมชลประทานตั้งงบในการขุดลอก อีก ๒ กิโลเมตร ตั้งแต่ประตูระบายน้ำ ผมถามว่าทำอย่างนี้มันแก้ปัญหาได้ไหม มันแก้ปัญหา ได้เพียงชั่วคราวครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นคำถามที่ท่านประเสริฐพงษ์ได้ถามผ่าน ท่านประธานเมื่อสักครู่ว่า ทางกรมชลประทานมีแผนที่จะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างยั่งยืนอย่างไร สิ่งแรกที่ทางกรมชลประทานจะต้องกลับมาคิดและทบทวนศึกษาใหม่ว่า หลังจากที่เกิด ประตูระบายน้ำการทำคลองลัดต่าง ๆ แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ จนถึง ปัจจุบันนี้มันคืออะไร ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการทำงานเชิงรุกของ หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผมไม่อยากให้วิพากษ์วิจารณ์การทำงาน ของรัฐบาลก่อน ๆ นะครับ มีแต่ตั้งและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนไม่มี เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ผมจะต้องทำ คือผมจะลงพื้นที่จริงในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังตั้งแต่อ่างเก็บน้ำ จนถึงปากอ่าว และสิ่งสำคัญที่สุดการทำงานภาครัฐมันต้องมีการมีส่วนร่วมของพี่น้อง ประชาชนในพื้นที่ หากรัฐคิดจะทำอะไรไม่ถามชาวบ้านเลย เหมือนที่กำลังจะทำโครงการ สำคัญ ๆ ใหญ่ ๆ ปัญหาก็หนีไม่พ้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อันนี้เฉพาะเป็นบางส่วนนะครับ มีแหล่งน้ำหลาย ๆ ส่วนที่สร้างแล้วแก้ปัญหาเก่า แต่ปัญหาใหม่เกิดขึ้น แล้วก็ไม่แก้กัน อย่างยั่งยืน ดังนั้นสิ่งแรกที่ผมอยากจะตอบท่านประธานผ่านไปถึงท่านประเสริฐพงษ์ว่า ผมจะลงพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง แล้วตั้งคณะกรรมการศึกษาการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนของ ลุ่มน้ำปากพนัง ไม่ว่าจะเรื่องของระบบนิเวศการขุดลอกการทำให้น้ำมีชีวิต คือไม่ใช่ให้น้ำ มันนิ่งจะทำอย่างไร ฉะนั้นทางกรมชลประทานต้องไปศึกษาตรงนี้แล้วทำแผนแก้อย่างยั่งยืน วันนี้ตอบไม่ได้ว่าจะทำแผนอย่างไร ต้องศึกษาและให้ประชาชนมีส่วนร่วมนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ บริเวณปากอ่าวที่เวลาหน้าแล้งตะกอนทับถมเต็ม เราจะมีคลอง เขาเรียกว่าคลองลัดระบายน้ำจากปากอ่าวไปถึงอ่าวไทย ประตูเล็ก คลองเล็กจะต้องทำ อย่างไร เป็นเรื่องที่ทางกรมชลประทานต้องศึกษา หลังจากที่ผมลงพื้นที่แล้วผมอาจจะ ขออนุญาตให้ท่านประเสริฐพงษ์ตั้งกระทู้ถามอีกรอบหนึ่งนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ เรื่องกรมชลประทานจ้างแรงงานผี อันนี้เป็นเรื่องที่ผมตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐบาลที่แล้ว เท็จจริงอย่างไรเดี๋ยวผม จะนำเรียนให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณมากครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับท่านประธาน ผมลงพื้นที่หลายพื้นที่นะครับ แล้วสิ่งสำคัญที่สุดผมได้รับ การต้อนรับจากพี่น้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรคนะครับ ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ผมยืนยันว่าการทำงานในรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในยุคใหม่ ต้องฟังเสียงพี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง การลงทุน การลงพื้นที่ ผมไม่ต้องการฟังระบบราชการ มารายงานผมนะครับ ดังนั้นทุกครั้งที่ผมลงพื้นที่ผมฝากถึงพี่น้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกพรรคนะครับ ไม่ว่าท่านจะอยู่พรรคใดเราร่วมกันแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชน อย่างผม ลงที่จังหวัดสมุทรสาครเรื่องประมง พี่น้องประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์นะครับ ผมต้อง ขอบคุณพี่น้องเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกลลงพื้นที่กับผม แล้วก็เป็นการ แก้ปัญหาให้ชาวบ้าน เช่นเดียวกันครับพื้นที่ของลุ่มน้ำปากพนังผมจะลงพื้นที่ และเดี๋ยวผม จะให้ทีมงานแจ้งท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ท่านประเสริฐพงษ์พร้อมทีมงานอยากจะให้ การทำงานรูปแบบประชาชนกับรัฐบาลต้องทำงานด้วยกันนะครับ ที่สำคัญที่สุดศูนย์อำนวยการ การพัฒนาการประสานงานพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นอย่างที่ท่านพูด คือไม่ค่อยรับฟัง ชาวบ้าน อันนี้ผมได้รับข้อร้องเรียนมาจากพี่น้องประชาชน จะนำไปแก้ไขโดยด่วน เรื่องแรงงานผีเป็นเรื่องสำคัญและเกิดขึ้นทั่วประเทศ ผมกำลังตั้งกรรมการสอบสวนเรื่องนี้อยู่ ก็ต้องขอบคุณท่านประธานครับ ขออนุญาตตอบเพียงแค่นี้ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพนะครับ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ ท่านประธานนะครับที่รอผมมาตอบกระทู้ เนื่องจากช่วงเช้าผมติดภารกิจในการประชุม การแก้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรประเภทประมงตกต่ำกับคณะอนุกรรมการนะครับ ประเด็นที่ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดเชียงรายได้ตั้งกระทู้ถาม ผมต้องขอชื่นชมว่าท่านตั้งกระทู้ถามสั้น ๆ และได้ใจความ และเกิดประโยชน์กับพี่น้อง ชาวอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ประเด็นการตั้งกระทู้ถามตรง ๆ ว่า โครงการก่อสร้าง อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก บ้านทุ่งโค้ง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย มีอยู่ในแผนการก่อสร้าง งบประมาณปี ๒๕๖๘ หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่หลังจากที่ ผมรับทราบว่าจะมีการตั้งกระทู้ถามในวันนี้ ผมได้สั่งการไปยังผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้าง ที่ ๒ จังหวัดลำปางซึ่งรับผิดชอบจังหวัดเชียงราย ก็ได้รายละเอียดว่า กรมชลประทานมีแผน โครงการก่อสร้างอ่างขนาดเล็ก บ้านทุ่งโค้ง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ภายใต้ชื่อว่า โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยลึกพร้อมระบบส่งน้ำ พื้นที่ชลประทาน ที่ได้รับประโยชน์ ๔๐๐ ไร่ โดยมีลักษณะโครงการ ดังต่อไปนี้ ๑. เป็นทำนบดินกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘๖ เมตร สูง ๑๔.๕ เมตร ความจุของปริมาณน้ำ ๒๙๕,๓๕๙ ลูกบาศก์เมตร ๒. ระบบส่งน้ำ คลองส่งน้ำความยาว ๑,๕๐๐ เมตร ความคืบหน้าหรือความก้าวหน้า กรมชลประทานได้ศึกษาแล้วเมื่อเดือนมีนาคมปี ๒๕๖๖ สำรวจภูมิประเทศและสำรวจธรณี ปี ๒๕๖๗ คือปีนี้นะครับ การออกแบบ ปี ๒๕๖๘ และการจัดหา และขอใช้พื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติ Zone C ระหว่าง ปี ๒๕๖๘-๒๕๖๙ และสามารถที่จะก่อสร้างภายในปี ๒๕๗๐ ตามที่ผมได้รับรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของชลประทาน จังหวัดเชียงราย และสำนักบริหารจัดการชลประทาน สำนัก ๒ ลำปาง ซึ่งก็จะใช้งบประมาณ อ่างเก็บน้ำใหม่ที่จะช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนได้ ตอนนี้ท่านวาง ลำดับความสำคัญหรือ Priority ในการที่ว่าจะเอาใช้งบเหลือจ่าย หรือใช้งบประมาณ ในปี ๒๕๖๘ ปี ๒๕๖๙ ปี ๒๕๗๐ ท่านมีแนวทางในการจัดการบริหารพวกนี้อย่างไรคะ ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับท่านประธาน ขออนุญาตตอบประเด็นแรกก่อนว่า ในเรื่องของการศึกษา ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยกรอบเวลาแล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. จะใช้ระยะเวลาศึกษาตามฤดูกาล สมมุติว่าฤดูกาลหน้าฝนกระทบอย่างไรต่อ สิ่งแวดล้อม และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง หน้าฝน หน้าแล้ง หน้าหนาว สรุปแล้วในกรอบ ระยะเวลา ๑๒ เดือนก็จะจบนะครับ ซึ่งเรื่องนี้เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่า Zone C ซึ่งถือว่า เป็นป่าที่ไม่ค่อยกระทบต่อธรรมชาติ น่าจะไม่มีปัญหาอะไร แต่เรื่องนี้ผมรับนะครับว่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำจนถึงปลายน้ำในการก่อสร้าง จะรับดำเนินการและติดตามให้นะครับ เรื่องแรก

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนเรื่องที่ ๒ ในเรื่องของการแก้ปัญหานะครับ ๒ อย่างคือ ส่วนเกินคือ น้ำที่เกิน คืออุทกภัย ส่วนขาดคือน้ำแล้งนะครับ เนื่องจากจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่จะต้องมีแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบด้วยกัน ต้นน้ำที่ไหลสู่ ลำน้ำอิงสู่ลำน้ำโขง ต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดพะเยา อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เราเรียกว่าหนองน้ำ ขนาดใหญ่ หรือว่าหนองเล็งทราย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา จากหนองเล็งทรายไหลสู่ ลำน้ำอิงตอนบนสู่กว๊านพะเยา จากกว๊านพะเยาก็จะไหลสู่ลำน้ำอิงตอนล่าง ผ่านอำเภอ ดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอภูซางแล้วเข้าอำเภอเทิงนะครับ จนไหลสู่แม่น้ำโขง ดังนั้นแผนที่กรมชลประทานและสำนักงานบริหารจัดการน้ำแห่งชาติ กำลังทำก็คือ เราต้องการให้ปริมาณน้ำเวลาหน้าน้ำเกินหรือน้ำหลาก ไม่ว่าน้ำจะมาจาก ต้นน้ำที่จังหวัดพะเยา หรือต้นน้ำจากลำน้ำกก น้ำอะไรก็ตามในพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย เราไม่ต้องการให้น้ำไหลสู่แม่น้ำโขง เราต้องการให้น้ำในจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย หมุนวนกัน นั่นหมายความว่าลำน้ำอิงก่อนจะไหลสู่ลงน้ำโขง ลำน้ำโขงไหลสู่ทะเล โดยไม่เกิด ประโยชน์ เราก็จะมีโครงการที่จัดสร้างจุดพักน้ำหรือเก็บน้ำ ตั้งแต่หนองหล่ม จากหนองหล่ม มาหนองหลวง มาหนองฮ่าง มาหนองเล็งทราย มากว๊านพะเยา ก็จะวนอยู่อย่างนี้ อันนี้ คือแผนที่เรากำลังศึกษาและทำกันอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ผมได้สั่งการให้กรมชลประทานไปศึกษา และรีบดำเนินการ หากรัฐบาลชุดที่แล้วทำไปถึงไหน อันไหนที่ดีให้สานต่อ อันไหนไม่ดี ให้ตัดทิ้ง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ผมได้สั่งให้กรมชลประทาน ทุกสำนักให้ทำผังน้ำหรือแผนที่น้ำ ทุกตำบล ทุกตำบลให้เสียบผังหรือแผนน้ำทุกอำเภอ จากอำเภอสู่จังหวัด จากกลุ่มจังหวัด ถึงกลุ่มจังหวัด และกลุ่มลุ่มน้ำทั้ง ๒๒ ลุ่มน้ำทั่วประเทศไทย อันนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด นะครับ ส่วนในเรื่องการจัดสรรงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นเงินเหลือจ่าย หรืองบกลาง ในการแก้ปัญหาแหล่งน้ำหลาย ๆ แหล่ง ไม่ว่าจะเป็นฝายที่มันชำรุด ต้นน้ำลำธาร ที่มันตื้นเขิน เนื่องจากเป็นโครงการเร่งด่วน และจะต้องทำให้เสร็จภายในแต่ละปี เรื่องนี้ จังหวัดเชียงราย ผมได้ทำแผนของบประมาณที่เรียกว่างบกลาง ซึ่งจะใช้ใน ปี ๒๕๖๗ ณ เวลานี้ผ่านการกลั่นกรองของสำนักงานบริหารจัดการน้ำแห่งชาติ ซึ่งจังหวัด เชียงรายก็ถือว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับจัดสรรงบประมาณในการแก้ปัญหาตรงนี้ ในการ แก้ปัญหาต้นน้ำ แหล่งตั้งแต่ต้นน้ำซึ่งจะเป็นอ่างขนาดเล็ก ขนาดกลางตามต้นน้ำแต่ละสาขา จนถึงลำน้ำสาขา ตลอดจนถึงอ่างเก็บน้ำ ก่อนที่จะไหลสู่ลำน้ำโขงในแต่ละจุด สั่งให้มีการสำรวจทั้งหมด และมีการใช้งบประมาณที่บรรจุในงบประมาณกลาง ปี ๒๕๖๗ เรียบร้อยแล้วนะครับ ดังนั้นสิ่งที่ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้ตั้งกระทู้ถามไปยังท่านประธาน แผนทุกอย่างผมได้สั่งการให้ดำเนินการแก้ปัญหาเร่งด่วน รองรับปัญหาภัยแล้งที่กำลัง จะมาถึง และขณะเดียวกันก็รองรับสิ่งที่เราไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่ามันจะเกิดเหตุการณ์แล้ง ซ้ำซาก หรือท่วมซ้ำซาก เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งกรมชลประทานถือว่าเป็นหน่วยงาน เป็นผู้ปฏิบัติ ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องนี้มาโดยตลอด กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ท่านนพพล เหลืองทองนารา สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดพิษณุโลก พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรนะครับ ที่ได้นำเสนอถึงปัญหาในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ดินแดน แห่งประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นดินแดนที่คนไทยผมเชื่อว่าร้อยละ ๘๐-๙๐ เปอร์เซ็นต์ จะรู้จัก อำเภอพรหมพิรามเป็นอย่างดี และที่สำคัญที่สุดในอำเภอพรหมพิรามจะมีตำบล ๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นตำบลประวัติศาสตร์ บริเวณพื้นที่สีม่วงเราเรียกว่าทุ่งสาน ผมคิดว่าคนวัยอย่าง ท่านประธานกับวัยผมคงจำได้ว่าเพลงทุ่งสานสะเทือน นี่คือดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ เรื่องประวัติศาสตร์คนพรหมพิราม คนทุ่งสานก็บอบช้ำมาพอสมควร และพื้นที่ ณ เวลานี้ ปัจจุบันนี้พื้นที่ที่ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวถึงการบำรุงรักษาน้ำบริเวณพื้นที่ ทั้งหมด ๙๐,๐๐๐ กว่าไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ๕๐,๐๐๐ กว่าไร่ บริเวณทุ่งสานได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรงทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรองรับน้ำจากจังหวัดอุตรดิตถ์กับจังหวัดพิษณุโลก ที่ผ่านอำเภอพรหมพิรามมา ทุกอย่างจะมากองที่ทุ่งสานหมด ดังนั้นที่ท่านสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรท่านนพพลได้ตั้งกระทู้ถาม คำถามเป็นคำถามที่ดีมากนะครับ เพราะว่า ตอนผมไปหาเสียงการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีพี่น้องชาวพิษณุโลกท่านก็สะท้อนถึงปัญหาทุ่งสาน ให้ผมฟัง

    อ่านในการประชุม

  • ดังนั้นคำถามที่ ๑ ที่ท่านสมาชิกถามผมมาว่า การแก้ปัญหาระยะยาวของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานเรศวรบริเวณ ๙๐,๐๐๐ กว่าไร่ โดยเฉพาะ ๕๐,๐๐๐ กว่าไร่นี้ กรมชลประทานมีมาตรการอย่างไร ซึ่งจริง ๆ ผมดูในแผนแล้ว เนื่องจากว่าการจะบริหารจัดการน้ำกรมชลประทานเป็นหน่วยปฏิบัติการ มันจะต้องเข้าแผนผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำ ผ่านคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำแห่งชาติ กนช. กรมชลประทานถึงสามารถที่จะดำเนินการขอจัดตั้ง ของบประมาณในการแก้ปัญหา ผมดูแผนแล้ว การแก้ปัญหาที่กรมชลประทานต้องการแก้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน แก้ปัญหา ของพี่น้องชาวทุ่งสานก็ดี หรือบริเวณพื้นที่ทั้งหมด ๙๐,๐๐๐ กว่าไร่ก็ดี มันต้องมีทั้งหมด ๕ แนวทางนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • แนวทางแรก จำเป็นจะต้องมีการสร้างประตูน้ำ ๑ แห่ง ซึ่งในแผนเป็นประตูน้ำ ขนาด ๖ คูณ ๖ เมตร จำนวน ๑ ช่อง พร้อมสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาด ๓ ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที ๒ เครื่อง ท่านประธานครับ ซึ่งบริเวณตรงนี้หากเราดูในแผนที่ประกอบก็คือบริเวณ จุดที่ ๑ ตรงนี้จำเป็นต้องสร้างประตูน้ำ เพื่อบังคับบริหารจัดการน้ำให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น ตรงนี้มันใช้งบประมาณ ในแผนใช้ประมาณ ๑๒๐ ล้านบาท ซึ่งแผนจะบรรจุในงบประมาณ ปี ๒๕๖๙ เมื่อสักครู่ก่อนเข้ามาในห้องประชุม ผมได้นำเรียนท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติและ ท่านประธานครับ ผมก็มีความคิดเช่นเดียวกันว่ามันช้าไป ดังนั้นแผนนี้ผมจะหาแนวทาง ในการแก้ปัญหาแทรกเนื้อใน ในการจัดของบประมาณปี ๒๕๖๘ ให้นะครับ อันนี้ประการแรก

    อ่านในการประชุม

  • แนวทางที่ ๒ จุดบริเวณที่ ๒ เป็นการปรับปรุงท่อลอดถนนขนาด ๑.๗๕ เมตร คูณ ๑.๗๕ เมตร จำนวน ๒ แถว เพื่อแก้ไขปัญหาในการระบายน้ำ ซึ่งท่อตรงนี้อยู่ในลำคลอง ส่งน้ำขนาดใหญ่ บริเวณตำบลทับยายเที่ยง จุดที่ ๒ บริเวณนี้ผมดูแผนแล้วได้จัดตั้ง คำของบประมาณปี ๒๕๖๙ เช่นเดียวกัน ซึ่งใช้เงินแค่ ๑๐ ล้านบาท กราบเรียนท่านสมาชิก ผ่านท่านประธานว่า ตรงนี้ผมจะใช้งบประมาณ หากเป็นไปได้ท่านรองอธิบดีอยู่ตรงนี้นะครับ ท่านประธาน งบประมาณเหลือจ่ายปี ๒๕๖๗ ถ้าเป็นไปได้ให้รีบทำนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • แนวทางที่ ๓ การก่อสร้างคลองระบายน้ำเลียบคลองส่งน้ำสายใหญ่ที่เรา เรียกว่า PL.0 ช่วงกิโลเมตรที่ ๑๑+๖๓๗ ถึงกิโลเมตรที่ ๒๘+๖๓๗ ความยาว ๑๕.๒ กิโลเมตร บริเวณตำบลดงประคำ จุดที่ ๓ ซึ่งบริเวณนี้หากทำแล้วมันก็จะเกิดประโยชน์ และดูแผน การดำเนินงานแล้วก็เหมือนกันครับ แผนอยู่ปี ๒๕๖๙ เช่นเดียวกัน ใช้งบประมาณเพียง ๑๒ ล้านบาท อันนี้แนวทางที่ ๒ กับแนวทางที่ ๓ ผมจะพยายามที่จะใช้เงินเหลือจ่าย ปี ๒๕๖๗ หากแผนพร้อมแล้ว งบเหลือจ่ายเราสามารถสร้างภายในปีนี้ได้เลย ดังนั้นแนวทาง การแก้ปัญหาที่ ๒ ปัญหาที่ ๓ ผมจะทำให้แล้วเสร็จ บรรจุเริ่มก่อสร้างภายในปี ๒๕๖๗ ให้นะครับ อันนี้ถือว่าเป็นแนวทาง ๓ แนวทางแล้ว

    อ่านในการประชุม

  • แนวทางที่ ๔ การก่อสร้างคันกั้นเลียบคลองระบายน้ำคลองโปร่งนกนะครับ คลองโปร่งนกคือคลองที่รับน้ำมาจากจังหวัดอุตรดิตถ์ผ่านเข้าบริเวณพื้นที่ที่มีปัญหาทุ่งสาน ดังนั้น เนื่องจากว่าคลองพนังที่เราใช้นี้เราเรียกว่าคันกั้นน้ำเลียบคลองมันต่ำ เรามีความจำเป็น ที่จะต้องก่อสร้างเพื่อไม่ให้น้ำทะลักเข้าพื้นที่ ซึ่งตรงนี้ต้องใช้งบประมาณ ๔๐ ล้านบาท ผมดูในแผนก็ปี ๒๕๗๐ ไม่รู้เราอยู่กันหรือเปล่า มีการเลือกตั้งใหม่แล้ว ตรงนี้ก็เช่นเดียวกัน ผมจะแทรกเข้าไปในงบประมาณปี ๒๕๖๘ เท่ากับปี ๒๕๖๘ วันที่ ๑ ตุลาคม เราใช้งบได้ในปีนี้ มันก็จะเริ่มก่อสร้างภายในวันที่ ๑ ตุลาคม เป็นต้นไปเลยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • แนวทางที่ ๕ เป็นการสร้างศักยภาพการกักเก็บน้ำและกระจายน้ำแก้มลิงบึงหล่ม ซึ่งอยู่ในตำบลดงประคำเช่นเดียวกัน โดยจะขุดลอกบึงพื้นที่ ๒,๓๐๐ ไร่ เพื่อกักเก็บน้ำ ได้ประมาณ ๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร บริเวณนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ใช้งบประมาณทั้งหมด ๓๘๐ ล้านบาท บริเวณจุดที่ ๕ ซึ่งจุดนี้เป็นจุดสำคัญ เราสามารถที่จะระบายน้ำไปเก็บบริเวณ ตรงนี้ได้ จุดที่ ๕ ใช้งบประมาณดูตามแผนแล้วก็เหมือนเช่นกันครับ ปี ๒๕๗๑-๒๕๗๒ ฉะนั้นตรงนี้เดี๋ยวผมจะมอบนโยบายให้ทางกรมชลประทานไปปรับแผนใหม่ เนื่องจากเป็น โครงการเร่งด่วนและความเดือดร้อนของพี่น้องชาวจังหวัดพิษณุโลกเราจะแทรกปี ๒๕๖๘ หรือปี ๒๕๖๙ ได้ไหม อันนี้ผมขออนุญาตท่านประธานกลับไปทำการบ้าน นั่นคือมาตรการ ที่เราจะดำเนินการ ๕ โครงการ เพื่อเป็นโครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำ ในพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ๕๒,๐๐๐ ไร่ โครงการสำคัญตรงนี้เกิดประโยชน์กับพี่น้อง อำเภอพรหมพิราม โดยเฉพาะทุ่งสานนะครับ นี่คือมาตรการเร่งด่วน กราบเรียน ท่านประธานด้วยความเคารพครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานขออนุญาตใช้เวลาที่เหลือตอบให้ท่าน สส. นพพล กลับไปตอบเพิ่มเติมชาวบ้านได้ คือเมื่อสักครู่เป็นมาตรการระยะยาว แต่มาตรการเร่งด่วนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เรา จะต้องมีการแก้ไขเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำจัดวัชพืชบริเวณคลองโปร่งนกก็ดี เพื่อสามารถให้ระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว การเตรียมความพร้อมในการเตรียมเครื่องจักรไว้ สำนักงานชลประทานที่ ๓ ซึ่งเราจะเตรียมไว้ทั้งหมด ๑๓๗ หน่วย เพื่อในการเตรียมพร้อมรับ สถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกล ยานพาหนะ จำนวน ๒๓ คัน หรือเครื่องสูบน้ำ เคลื่อนที่ จำนวน ๑๑๔ เครื่อง นอกจากนั้นมีการประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องรับรู้สถานการณ์น้ำ ตลอดเวลา เพื่อป้องกันปัญหาเหตุภัยพิบัติอย่างเร่งด่วน นอกจากนั้นปฏิทินการปลูกข้าวนาปี อาจจะต้องมีการปรับนะครับ จากปกติชาวบ้านเขาจะปลูกประมาณเดือนมิถุนายนและ เก็บเกี่ยวเดือนกันยายน เราอาจจะเลื่อนมาเป็นเดือนมีนาคมแล้วก็เก็บเกี่ยวเดือนกรกฎาคม เพื่อไม่ให้พืชไร่สวนต่าง ๆ ตลอดถึงนาข้าวของพี่น้องเกษตรกรได้รับความเสียหาย อันนี้เป็น มาตรการเร่งด่วน และสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อสักครู่ท่านนพพลได้พูดถึงประเด็นการบริหารจัดการน้ำ ภายในจังหวัดพิษณุโลก ผมทราบข่าวว่าก็ยังมีปัญหาเรื่องการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่ไม่สามารถ ที่จะบริการพี่น้องประชาชนได้ทันท่วงทีอาจจะมีปัญหาภายในพื้นที่ เรื่องนี้อยากจะ กราบเรียนท่านประธานว่า ผมจะนำปัญหาไปหารือในการบริหารจัดการน้ำกรมชลประทาน ซึ่งวันนี้รองอธิบดีก็นั่งอยู่ตรงนี้ ก็ฝากท่านรองอธิบดีไปแก้ไข ก็อยากจะกราบเรียนท่านนพพล ให้มีความสบายใจ ขอขอบคุณมากครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล ท่านศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ด้วยความเคารพ ตลอดจนผู้เข้าร่วมประชุมในห้องกระทู้ถาม แยกเฉพาะที่เคารพทุกท่านนะครับ จริง ๆ แล้วครอบครัวผมอยู่ที่เขตสายไหมเหมือนกัน แต่ว่าเรื่องของปัญหาพี่น้องชาวเขตสายไหมมีหลายเรื่องนะครับ แต่ว่าเรื่องสำคัญที่สุดตามที่ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้นำเสนอ เรื่องของสะพานสีส้มเป็นสะพานที่มีประวัติศาสตร์ ยาวนาน แต่ผมตรวจสอบแล้ว ไม่มีการขออนุญาตการสร้างของกรมชลประทาน ดังนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงไม่มีนะครับ เพราะฉะนั้นถามว่าการแก้ปัญหาในเรื่องของ การปรับปรุงหรือการจัดสร้างสะพานสีส้มใหม่ควรจะทำอย่างไร ขออนุญาตกราบเรียน ท่านประธานผ่านไปยังท่านสมาชิกด้วยความเคารพว่า จริง ๆ มันเป็นพื้นที่ความรับผิดชอบ ของกรมชลประทานนะครับ หากพื้นที่หมายถึงเขตสายไหมต้องการที่จะปรับปรุงหรือ สร้างใหม่ กรมชลประทานยินดีที่จะอนุญาตให้สร้าง หรือถ้าเขตสายไหมไม่มีงบประมาณ ร้องขอมายังกรมชลประทาน เดี๋ยวผมจะสั่งการไปยังกรมชลประทานว่าให้รีบแก้ไขปัญหา เนื่องจากพื้นที่สร้างเป็นพื้นที่ที่กรมชลประทานรับผิดชอบ ผมคิดว่าเรื่องนี้มันสามารถแก้ไข ให้พี่น้องชาวเขตสายไหมได้ คลองนี้ซึ่งเป็นคลองที่มีวัชพืชเยอะ แล้วก็มีการเก็บผักตบชวา ตลอดเวลา แต่ว่าปัญหาของการสัญจรอย่างที่ท่านสมาชิกได้นำเรียนเมื่อสักครู่นะครับ กว่าพี่น้องจะไปขึ้นรถไฟบริเวณอาคาร ต้องอ้อมบริเวณอาคารจอดแล้วจรของ รฟม. เป็น ปัญหาใหญ่ แล้วเวลาพี่น้องข้ามสะพานไปมันแคบมาก ผมเคยลงไปพื้นที่นะครับ ปัญหาที่ท่าน สะท้อนให้เห็นเป็นเรื่องจริง

    อ่านในการประชุม

  • ดังนั้นผมขออนุญาตตอบคำถามแรก คือหากพื้นที่เขตสายไหมต้องการขออนุญาต สร้างสะพานหรือปรับปรุงสะพานให้มีมาตรฐานกว่านี้ กรมชลประทานยินดีให้ความร่วมมือครับ หรือถ้าเขตสายไหมเห็นว่างบประมาณในการสร้างสะพานนี้มีไม่เพียงพอ หรือด้วยปัญหาใดก็ตาม ขอให้เขตสายไหมร้องขอมายังกรมชลประทาน กรมชลประทานพร้อมจะสนับสนุนทั้งเรื่อง งบประมาณการก่อสร้างให้มีมาตรฐานมากกว่านี้นะครับ คำถามแรก

    อ่านในการประชุม

  • คำถามที่ ๒ เกี่ยวกับการขอให้ รฟม. เปิดช่องทางได้ไหม ตามที่ท่าน สส. นำเสนอเมื่อสักครู่นั้น สะท้อนปัญหาของพี่น้องนะครับ คือทางก็แคบ โดยเฉพาะเวลาหน้าฝน ผมเห็นพี่น้องเดินกันลำบากมาก ตรงนี้ถึงแม้ว่าผมไม่ได้อยู่กระทรวงคมนาคม แต่กระทรวง คมนาคมได้รับการติดต่อมาว่ามันเป็นพื้นที่ที่รักษาความปลอดภัยของทรัพย์สิน ซึ่งผมคิดว่า หากมีการบริหารจัดการดี ตรงนี้มันสามารถทำได้ เพราะว่าเกิดประโยชน์กับพี่น้อง ซึ่งเป็น การตอบโจทย์ที่สุด ถ้าหากเจาะกำแพงและกันพื้นที่ให้พี่น้องสัญจรไปมาสะดวก ตรงนี้เดี๋ยวผม จะขอขันอาสาไปประสานท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านคุณหมอหนุ่ย ผมเชื่อว่าคุณหมอหนุ่ยซึ่งดูแลระบบทางรางอยู่ น่าจะเห็นใจพี่น้องชาวเขตสายไหม ดังนั้นท่านถามยาว ผมตอบสั้น ๆ ว่า

    อ่านในการประชุม

  • ๑. เรื่องสร้างสะพาน กรมชลประทานยินดีที่จะแก้ไขให้พวกท่าน ท่านสามารถ ไปบอกพี่น้องประชาชนได้ว่ากรมชลประทานพร้อม ถ้าเขตมีความพร้อมสร้าง ขออนุญาตได้เลย ถ้าไม่มีความพร้อม ขัดสนในเรื่องงบประมาณ ขอให้เขตร้องขอมายังกรมชลประทาน เดี๋ยวเราจัดการให้

    อ่านในการประชุม

  • ๒. การเจาะกำแพงเพื่อผ่าน โดยไม่ต้องให้ชาวบ้านไปผ่านทางแคบ ๆ ซึ่งเวลา หน้าฝนมันลำบากมาก เจาะทะลุนี้เดี๋ยวผมขอไปประสานเอง หากได้ผลประการใดเดี๋ยวผม จะนำเรียนผ่านไปยังท่านประธานแล้วแจ้งท่าน สส. ในพื้นที่ ตลอดจนพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ได้รับทราบอีกครั้งหนึ่ง ผมขอเวลา ๑ อาทิตย์ เดี๋ยวผมแจ้งกลับนะครับ ขอบคุณ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตท่านประธานอีกนิดหนึ่งครับ ไหน ๆ ท่านทนายอุตส่าห์มาตั้งกระทู้ถาม ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องเขตบ้านผม ขออนุญาตได้สั่งการครับท่านประธาน วันพรุ่งนี้ ให้รองอธิบดีเดชลงพื้นที่กับท่าน สส. ก็ได้ ให้ไปแก้ปัญหาให้ไว ขอบคุณท่านประธานมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพและท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมาย จากคณะรัฐมนตรีให้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. .... ของคณะรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยมีหลักการและเหตุผล ของร่างพระราชบัญญัติดังต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • เหตุผลและความจำเป็นในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ โดยที่ พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของพี่น้องชาวประมง ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการทำประมงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเพื่อประโยชน์ ในการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และสามารถ ทำการประมงได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และชาวประมงผู้ประกอบอาชีพประมงโดยสุจริตให้ได้รับความเป็นธรรม ตลอดจนถึง การส่งเสริมประกอบอาชีพประมงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ ดังนั้นพระราชบัญญัติฉบับนี้สาระสำคัญของพระราชบัญญัติได้แก้ไขทั้งหมด ๓๖ มาตรา และผมขออนุญาตนำเสนอต่อท่านประธานไปยังเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ในมาตราสำคัญ ๆ ที่พี่น้องชาวประมงได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขโดยเร่งด่วน ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ โดยกรมประมงได้แก้ไขกฎหมายรองในช่วงระยะเวลา ๔ เดือนที่ผ่านมา ทั้งหมด ๑๙ ฉบับ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของพี่น้องชาวประมงตามที่เพื่อนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งกระทู้ถามหลายครั้งในเรื่องนี้ แต่สำหรับประเด็นสำคัญที่ผม จะนำเสนอในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ พอสังเขป ดังต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • ๑. การแก้ไขเพิ่มเติมเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมุ่งหมายให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและการสนับสนุนกิจการการประมง การคุ้มครอง การประกอบอาชีพการประมง การมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน ตลอดจนถึงการเน้นย้ำ ความสำคัญของการบังคับใช้มาตรการในการบังคับกับพี่น้องประชาชนให้มีความเหมาะสม กับบริบทของประเทศไทย ซึ่งร่างมาตรา ๓ ได้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔

    อ่านในการประชุม

  • ๒. การแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ทะเลชายฝั่ง โดยเพิ่มเติมการกำหนด เขตทะเลชายฝั่งให้มีระยะน้อยกว่า ๑.๕ ไมล์ทะเล สำหรับกรณีที่มีข้อจำกัดตามลักษณะ ทางกายภาพ และแก้ไขเพิ่มเติมตามบทนิยามคำว่า การประมงพื้นบ้าน เพื่อลดข้อจำกัด ในด้านพื้นที่ของการทำประมงพื้นบ้าน ซึ่งเดิมจำกัดแต่การทำประมงในเขตทะเลชายฝั่งเท่านั้น ร่างมาตรา ๔ ยกเลิกนิยาม คำว่า ทะเลชายฝั่ง และร่างมาตรา ๕ ยกเลิกบทนิยาม คำว่า ประมงพื้นบ้าน

    อ่านในการประชุม

  • ๓. การแก้ไขบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ โดยเพิ่มเติมให้นายกรัฐมนตรีสามารถมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการได้ และเพิ่มเติม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และเลขาธิการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นกรรมการ โดยตำแหน่ง นอกจากนี้ในส่วนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้มีการเพิ่มเติมให้รัฐมนตรี มีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ ในการคัดเลือกผู้แทนสมาคมการประมงด้านต่าง ๆ โดยให้มีการคัดเลือกกันเองในกรณีที่มีผู้แทนสมาคมในแต่ละด้านมากกว่าหนึ่ง และกำหนด เพิ่มเติมอายุการเป็นกรรมการของผู้ทรงคุณวุฒิจากเดิม ๒ ปี เป็น ๓ ปี และแก้ไขบทบัญญัติ เกี่ยวกับคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด โดยเพิ่มเติม การเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด และผู้แทนของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเลเฉพาะจังหวัดแต่ละจังหวัดที่มีอาณาเขต ซึ่งเรื่องนี้จะมีการแก้ไขมาตรา ๙ เพื่อแก้ไข มาตรา ๑๓ ร่างมาตรา ๑๐ เพื่อแก้ไข มาตรา ๑๔ (๑) ร่างมาตรา ๑๒ เพื่อแก้ไข มาตรา ๒๖

    อ่านในการประชุม

  • ๔. เพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตการทำประมงพื้นบ้าน เพื่อกำหนดเฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้นที่สามารถมาขออนุญาตทำประมงพื้นบ้านได้ รวมถึง การตัดจำกัดจำนวนใบอนุญาตของแต่ละบุคคลออก เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชน ได้ทำการประมงพื้นบ้านของผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งมีการร่างมาตรา ๑๓ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๒

    อ่านในการประชุม

  • ๕. การแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาตใบอนุญาต ทำการประมง โดยให้จำกัดเหตุอันเป็นลักษณะต้องห้ามเฉพาะกับเรือที่เกี่ยวกับการกระทำ ความผิดเท่านั้น รวมถึงการลดระยะเวลาห้ามขอใบอนุญาตลงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ของพี่น้องชาวประมง และเจ้าของเรือประมงซึ่งมีเรือประมงในครอบครองหลายลำ ซึ่งมีการ ร่างมาตรา ๑๕ เพื่อแก้ไขมาตรา ๓๙

    อ่านในการประชุม

  • ๖. กำหนดให้ผู้ประกอบการประมงสามารถขออนุญาตทำการประมง ในทะเลหลวงในบริเวณที่ไม่มีองค์การระหว่างประเทศใดควบคุมดูแล หรือขอทำประมง ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำนอกเขตการบังคับใช้ของความตกลงระหว่างประเทศในบริเวณนั้นได้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการการประมงไทยให้มีศักยภาพสามารถขออนุญาต ไปทำการประมงในบริเวณดังกล่าวได้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และมาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกำหนด ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวจะสอดคล้องกับหลักการตามข้อบังคับ บทที่ ๑๑๙ แห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งบังคับใช้กับการอนุญาต ทำการประมงในเขตทะเลหลวง ได้ร่างมาตรา ๓๘ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔๘ วรรคสาม

    อ่านในการประชุม

  • ๗. การแก้ไขเพิ่มเติมให้สามารถใช้ระบบสังเกตการณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า e-observer ในเรือประมงนอกน่านน้ำไทย นอกน่านน้ำได้นอกจากการใช้คน เป็นผู้สังเกตการณ์เพื่อรองรับเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง จึงได้ร่างมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๕๐

    อ่านในการประชุม

  • ๘. การแก้ไขเพิ่มเติมให้สามารถใช้เครื่องมืออวนล้อมจับที่ช่องตาอวนเล็กกว่า ๒.๕ เซนติเมตร ทำการประมงในเวลากลางคืนได้นอกเขต ๑๒ ไมล์ทะเล นับจากแนวทะเล ชายฝั่ง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และพื้นที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดอันเป็นการ แก้ไขเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวประมง ซึ่งได้ร่างมาตรา ๒๓ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๙

    อ่านในการประชุม

  • ดังนั้นตามที่ผมได้รายงานต่อท่านประธานพอสังเขป ประโยชน์ที่ประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องชาวประมงจะได้รับ กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่พี่น้องประชาชนได้รับความ ทุกข์ระทมช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ตามที่มีเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้นำเสนอหลายครั้ง และผมได้มีโอกาสมานั่งรับฟังตามที่เพื่อนสมาชิก ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้นำเสนอ สะท้อนเห็นความยากลำบากของพี่น้องชาวประมง ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ดังนั้น กฎหมายนี้จะมีผลในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและพี่น้องชาวประมง ผู้ประกอบอาชีพการประมงโดยสุจริตให้ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะการปรับปรุง บทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับสภาพความรุนแรงของการกระทำความผิด ตลอดจนถึง การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศฟื้นตัว อย่างเหมาะสม นอกจากนั้นเป็นการสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศควบคู่ไปกับ การรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหารของมนุษยชาติและการใช้ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในการอนุรักษ์ บำรุง รักษา ฟื้นฟู การคุ้มครองสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่คู่กับสภาพที่เหมาะสม อย่างยั่งยืนต่อไป ผมจึงขออนุญาตท่านประธานผ่านไปยังเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. .... ต่อสภาแห่งนี้ด้วยความเคารพ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขต ๑ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผมนั่งฟังการบรรยายเพิ่มเติมของเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ๓ ท่าน ผมก็หลับตา แล้วก็นึกถึงภาพของพี่น้องชาวประมงทั้ง ๒๒ จังหวัด ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาเกือบ ๑๐ ปี ความทุกข์ระทมกับพี่น้องชาวประมงทั้ง ๒๒ จังหวัด เรานึกสภาพว่าสมัยก่อนนี้ ก่อนที่เราไม่มีกฎหมายที่มาบังคับพี่น้องชาวประมงที่เป็นอุปสรรคต่อการทำมาหากิน ภาคทางทะเล ประมงไทยเราถือว่าเป็นจ้าวสมุทร เราเป็นประเทศที่มีพี่น้องชาวประมง ทำมาหากินอยู่ ๒๒ จังหวัด สามารถทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล แต่ในช่วง ระยะเวลาที่ผ่านมาอุปสรรคกฎหมายมันมาบังคับให้พี่น้องชาวประมงไม่สามารถที่จะอยู่รอด มีแต่สภาพหนี้สิน มีคดีความติดตัวเยอะแยะ ผมเดินทางไปตรวจราชการหลายจังหวัด ผมต้องขอบคุณเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ท่านได้สะท้อน ให้เห็นถึงปัญหาของพี่น้องชาวประมง ผมเดินทางไปที่จังหวัดระยองผมได้รับเกียรติจาก เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง ผมจำชื่อเล่นว่าชื่อท่านกฤกษณ์ ท่านลงพื้นที่ กับผม แม้กระทั่งผมไปประชุมสัมมนากับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านที่จังหวัดระนอง ท่านก็ลง พื้นที่กับผม ท่านได้สะท้อนเห็นปัญหาถึงพี่น้องชาวประมงในทุกมิตินะครับ ในขณะเดียวกันพี่น้องพรรคฝ่ายรัฐบาลหลาย ๆ ท่าน อย่างล่าสุดผมเดินทางไปปฏิบัติการ ปิดอ่าวที่จังหวัดชุมพร เพื่อปล่อยโอกาสให้สัตว์น้ำได้ขยายพันธุ์ในช่วงฤดูกาลขยายพันธุ์ ก็มีพี่น้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรทั้ง ๓ เขต ต่างก็โทรมาหาผม ซึ่งวันนั้น เป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ต่างก็สะท้อนให้เห็นมิติต่าง ๆ ของความเดือดร้อน พี่น้องประชาชนชาวประมง เดินทางไปแปดริ้วครับ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติหลายท่านก็บอกว่า พี่น้องคนแปดริ้วอยู่ไม่ได้แล้ว ดังนั้นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาคดีต่าง ๆ ความทุกข์ระทม ต่าง ๆ ผมว่าวันนี้พี่น้องชาวประมงทั้งอ่าวไทยและอันดามันต่างก็เฝ้าติดตามดูการประชุม ของสภาผู้แทนราษฎรในวาระสำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพวกเขา ๒๒ จังหวัด นายกประมง ทั้ง ๒๒ จังหวัด ต่างก็เฝ้ารอคอยว่าวันนี้กฎหมายที่เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนำเสนอ โดยเฉพาะกฎหมายที่รัฐบาลนำมาเสนอวันนี้ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นการร่างขึ้นมา โดยผู้มีส่วนร่วมคือภาคพี่น้องชาวประมง เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านในสมัยที่แล้ว ดังนั้นวันนี้ผมในฐานะที่เป็นตัวแทนของคณะรัฐมนตรี เมื่อสักครู่ ท่านนายกรัฐมนตรีท่านเศรษฐา ทวีสิน ท่านก็มานั่งและให้กำลังใจว่าวันนี้อย่างไรเราต้อง สร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการประมงไทย ให้พี่น้องชาวประมงได้มีโอกาสลืมตาอ้าปาก ผมถือว่าวันนี้พวกเราในฐานะเป็นเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยกัน เรามาร่วมทำบุญกัน เราทำบุญให้กับพี่น้องคนไทย โดยเฉพาะครอบครัวประมงทั้ง ๒๒ จังหวัด ผมขอกราบ ขอบพระคุณท่านประธานผ่านไปยังเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยความเคารพ และในฐานะที่ผมได้คลุกคลีกับพี่น้องชาวประมง โดยเฉพาะนายกสมาคมประมงทั้ง ๒๒ จังหวัด ท่านนายกทั้งหลายฝากผมมาว่าขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลที่เห็นความสำคัญของวิถีชีวิตพี่น้องประชาชน ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. .... ในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี จำนวน ๙ ท่าน ดังต่อไปนี้ ๑. นายบัญชา สุขแก้ว ๒. พลเรือโทอุปถัมภ์ สมุทรานนท์ ๓. นางสาวกาญจนา พูลแก้ว ๔. นางสาลินี ผลประไพ ๕. นางสาววันดี สุชาติกุลวิทย์ ๖. นายปลอดประสพ สุรัสวดี ๗. นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ ๘. นายคอซีย์ มามุ และ ๙. นายมังกร ยนต์ตระกูล ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม