นายกิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านครับ ผมจะเริ่ม เสนอในเรื่องของตัวหลักการก่อนนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • สไลด์ถัดไปเลยครับ ผมอาจจะให้ข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับเรื่องของบริบททั่วไปของ ชนเผ่าพื้นเมืองในไทยก่อน ชนเผ่าพื้นเมืองในไทยนั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ ในประเทศไทย แล้วก็อุษาคเนย์มายาวนานนะครับ มีวิถีชีวิต อัตลักษณ์ที่มีลักษณะเฉพาะ มีองค์ความรู้ แล้วก็มุ่งมั่นที่จะรักษาและสืบทอดอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งมีอยู่ หลายกลุ่มอยู่กระจายทุกภาค ยกตัวอย่าง กลุ่มกะเลิง กะเหรี่ยง กูย ขมุ ชอง ญัฮกุร บรู มละบริ มานิ มอแกน มอแกลน อูรักลาโวยจ มอญ ม้ง เมี่ยน ลเวือะ ลาหู่ บีซู อาข่า เป็นต้น ทางศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรระบุว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยจำนวน ๖๐ กลุ่ม ชาติพันธุ์ ในส่วนของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ปัจจุบันนี้มีสมาชิกทั้งหมด ๔๖ กลุ่มชาติพันธุ์ โดยถ้าหากจำแนกตามลักษณะการตั้งถิ่นฐานแล้วก็การดำรงชีวิต ก็จะจำแนกออกเป็น ๔ กลุ่มด้วยกัน คือกลุ่มที่อาศัยอยู่ทางพื้นราบ ซึ่งก็จะเป็นกลุ่มใหญ่ มีอยู่ประมาณ ๓๐ กว่ากลุ่ม กลุ่มที่อาศัยอยู่ทางพื้นที่สูงมีประมาณ ๑๓ กลุ่ม กลุ่มที่อาศัยอยู่ ทางชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะก็มีอยู่ ๓ กลุ่ม และสุดท้ายคือกลุ่มที่ยังเก็บหาของป่า แล้วก็ล่าสัตว์ที่มีอยู่ ๒ กลุ่ม ก็จะกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย กลุ่มพี่น้องชนเผ่า พื้นเมืองเองก็มีวิถีชีวิตที่พึ่งพา แล้วก็อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เราจะเห็นในภาพ ก็จะมีวิถีการทำไร่หมุนเวียน อย่างพี่น้องมานิก็ยังมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมก็คือเก็บหาของป่า แล้วก็ล่าสัตว์ ส่วนพี่น้องที่อยู่ทางชายฝั่งและหมู่เกาะก็มีอาชีพประมงพื้นบ้าน แล้วทางเหนือ ก็จะมีอาชีพนอกจากทำไร่แล้ว ก็เก็บหาของป่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาปฏิบัติมายาวนาน

    อ่านในการประชุม

  • ในส่วนของสถานการณ์ภาพรวม พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองก็ยังด้อยโอกาส แล้วก็ ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเงื่อนไขทางนโยบายกฎหมาย แล้วก็ปัจจัยทางสังคมส่วนหนึ่งมาจาก ความไม่เข้าใจวิถีชีวิตของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง ยกตัวอย่างเช่น พี่น้องที่อาศัยอยู่ในเขตป่า หรือว่าชายทะเล ก็จะประสบกับปัญหาเรื่องของการถูกประกาศทับที่ ทำให้ไม่สามารถ ที่จะใช้สิทธิในแง่ของการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมได้ มีข้อจำกัดในเรื่องของการพัฒนา สาธารณูปโภคพื้นฐาน นอกจากนี้พี่น้องส่วนหนึ่งเองก็ยังไม่มีสถานะบุคคล ซึ่งทำให้ ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐได้ อีกอันหนึ่งกลุ่มพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองเองก็ยัง ได้รับผลกระทบจากสัมปทานเหมืองแร่ แล้วก็โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ซึ่งกำลังจะเข้ามา ดำเนินงานในพื้นที่ของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง แล้วก็รวมทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ สิ่งที่เราเห็นก็จะเห็นว่าอันนี้เป็นรูปเรื่องของพื้นที่ที่มีการขอสัมปทาน เหมืองแร่ ซึ่งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เราก็จะเห็นว่าสภาพพื้นที่ ที่ขอสัมปทานก็เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งแน่นอนถ้าสัมปทานผ่านมันก็จะมีปัญหาในพื้นที่ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตแล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แล้วก็อื่น ๆ ทางสังคมด้วย สำหรับชนเผ่าพื้นเมืองเองก็ต้องจำยอมอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถทำอะไรได้ ต้องละทิ้งวิถีวัฒนธรรมของตนเอง ส่วนหนึ่งมาจากข้อจำกัดในเรื่องของนโยบายและ กฎหมายที่ผมได้กล่าวมาแล้ว คนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งเขาต้องอพยพแล้วเข้าไปอยู่ในเมือง ซึ่งเขาก็ต้องเผชิญกับปัญหา อีกหลาย ๆ เรื่อง เพราะนอกจากเขาเองไม่มีความพร้อมที่จะลงไป ก็ทำให้วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ ของเขาเริ่มหายไป แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังมุ่งมั่นที่จะสืบทอดมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของตนเอง แล้วก็ต้องการที่จะดำรงชีพตามประเพณี สืบสานสถาบันทางสังคม ความเชื่อ กฎ จารีตประเพณี และภาษาแม่ให้กับลูกหลานของตนเองอยู่อย่างต่อเนื่อง ผมก็คงจะเสนอแค่นี้ เดี๋ยวจะขอเชิญอาจารย์สุนีมาเสนอต่อในเรื่องว่าทำไมต้องมีกฎหมาย ฉบับนี้ เชิญครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานและสมาชิกสภาผู้มีเกียรติทุกท่านนะครับ ก็อาจจะเป็นการเพิ่มเติม ประเด็นที่ทางคุณศักดิ์ดาได้ตอบไปแล้วนะครับ คือผมอยากจะเพิ่มว่ากฎหมายฉบับนี้ อย่างที่หลาย ๆ ท่านทราบว่าพวกเราไม่ได้ยกร่างโดยใช้นักกฎหมายมาช่วย มันเป็นกฎหมาย ที่พวกเราผ่านการระดมปัญหา แล้วก็ความต้องการมาจากทุกภาคส่วน ทุกกลุ่มที่เป็นสมาชิก แล้วก็เป็นเครือข่ายของพวกเรา ดังนั้นเนื้อหาข้างในมันจะเป็นเรื่องของความต้องการ แล้วก็ สิ่งที่เราอยากจะเห็น รวมทั้งกลไกที่ออกแบบมาก็เป็นกลไกที่เราเห็นว่ามันน่าจะเป็นกลไก ที่ทำให้พวกเรามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แล้วก็ทำให้พวกเราสามารถที่จะ มีแนวทางในการเสนอทางออกของปัญหาที่เป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนที่พวกเราสามารถ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง แล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือส่วนที่ถ้าพวกเราไม่สามารถที่จะแก้ปัญหานี้ได้ พวกเราก็จะมีช่องทางที่จะไปประสานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรับการสนับสนุน อันนี้ก็คงเป็นเจตนารมณ์ที่พวกเราออกแบบเอาไว้นะครับ ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้ถือว่า เป็นกฎหมายที่มาจากล่างสู่บนที่ทุกส่วนมีส่วนร่วม แล้วก็กลไกที่มีแน่นอนนะครับ เราก็ อยากจะเห็นว่าการแก้ไขปัญหานี้มันสามารถที่จะครอบคลุมแล้วก็มีส่วนร่วม และที่สำคัญ ก็คือว่าเราอยากจะให้กระบวนการมีส่วนร่วมนี้เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยทางตรง ที่ชุมชนสามารถเข้ามาใช้สิทธิของตนเองในแง่ของการที่จะพัฒนาตนเอง เพื่อที่ให้กลุ่มตนเอง มีความเจริญก้าวหน้า แล้วก็เพื่อให้ประเทศชาตินั้นสามารถที่จะพัฒนายั่งยืนต่อไป ผมคงจะ ตอบในประเด็นสั้น ๆ เป็นภาพรวม ๆ นะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม