นายเกรียงไกร ชีช่วง

  • กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ ผม เกรียงไกร ชีช่วง ประธานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยครับ ขออนุญาตนำสรุป สาระสำคัญเกี่ยวกับคณะกรรมการกลไกที่เกี่ยวข้องในสภาชนเผ่า พ.ร.บ. ตัวนี้ ให้รับทราบ ตามนี้นะครับ สำหรับคณะกรรมการบริหารสภาชนเผ่าพื้นเมืองจะมีองค์ประกอบอยู่ที่ ๑๕ ท่าน ซึ่งแน่นอน ๑๕ ท่านนี้จะมีความครอบคลุมภูมิภาคและข่ายเผ่าอย่างชัดเจน เพื่อแสดงถึงการมีส่วนร่วม ความทั่วถึงและเป็นธรรมให้กับข่ายเผ่าทั่วประเทศที่ได้ เข้ามาอยู่ส่วนนี้ และยังมีส่วนสำคัญที่เรายังให้สัดส่วนของสตรีและเยาวชนเข้ามาเป็นตัวแทน ตรงนั้นด้วย

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนที่ ๒ เรามีกลไกคณะสภาผู้อาวุโสที่จะมาคอยช่วยให้คำปรึกษา ให้ความเห็น และข้อเสนอแนะ รวมทั้งมาในกรณีต้องมีเหตุไกล่เกลี่ยกรณีข้อพิพาทหรือความคิดเห็น ที่แตกต่าง แล้วก็กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการในแต่ละรอบของสภาชนเผ่าพื้นเมือง ในส่วนสำนักงานสภาชนเผ่าพื้นเมือง ก็จะเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมจัดทำแผนพัฒนา โครงการเพื่อที่ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนราชการแล้วก็ส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง อำนวยความสะดวกแก่สมาชิก จัดทำรายงานประจำปี ประสานความร่วมมือ ประชาสัมพันธ์ และจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนภาคราชการภาคส่วนของรัฐบาลของเรา ในการนำเสนอสู่นานาประเทศด้วยนะครับ ส่วนที่สำคัญก็คือเรื่องกองทุนที่เราพยายามจะเป็น ส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนร่วมที่สำคัญที่จะทำให้กลไกนี้สามารถขับเคลื่อนไปได้

    อ่านในการประชุม

  • สำหรับอื่น ๆ นอกจากนี้ที่เกี่ยวข้องก็พูดถึงหลักการในส่วนของบทเฉพาะกาล ก็จะมี ๒ เรื่อง ส่วนของการดำเนินการเลือกสมาชิกสภาจะดำเนินอยู่ภายใน ๙๐ วัน นับแต่การใช้พระราชบัญญัตินี้ ซึ่งกำหนดอยู่ที่มาตรา ๓๕ แล้วโครงสร้างและการบริหารกิจการสภาจะสามารถแก้ไขปรับปรุง แล้วก็ให้สอดคล้อง ตามข้อเท็จจริงของสมาชิกภูมิภาค โดยใช้การประชุมที่เรียกว่าสมัชชาหรือสภาชนเผ่า พื้นเมืองประจำปีได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่ผมอยากจะสรุปท้ายก็คือว่าการมีพระราชบัญญัติฉบับนี้ สภาชนเผ่าพื้นเมืองฉบับนี้ ท่านประธานครับ เราไม่ใช่เพื่อจะแช่แข็งความเป็นชนเผ่าล้าหลัง ล้าสมัยนะครับ ทุกอย่างเราจะอยู่ในการปรับตัวและเสริมศักยภาพ แต่เราอยากจะร่วม มาเป็นส่วนหนึ่งจริง ๆ ผมอยากให้ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านได้เห็นว่าเครือข่าย ของพวกเราอย่างน้อย ๔๖ ข่ายเผ่า ๔ สภาภูมิภาคนี้ ได้มีการเตรียมความพร้อมมาอย่าง ต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ และเราก็เสนอร่างนี้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ มายาวนานแล้ว เราอยากให้เห็นพื้นที่ ที่เราจะมีส่วนร่วมที่เราได้เป็นพลเมืองร่วมกับทุกท่าน ประชาชนทุกคน จริง ๆ นะครับ เราอยากให้ได้เห็นคุณค่าและโอกาสที่ยั่งยืนของสังคมไทยที่จะได้จากพลัง หรือว่าองค์ความรู้ภูมิปัญญาของเราและการมีส่วนร่วมของเรา ที่สำคัญสิ่งที่สะท้อนเรื่องพวกนี้ ได้ชัดเจนก็คือ จริง ๆ แล้วเรามีกลุ่มเครือข่ายที่สนใจสร้างพระราชบัญญัติที่ใกล้เคียงตรงนี้ อีกหลายฉบับเลยทีเดียว ก็อยากจะยืนยันนะครับ อยากให้ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติที่อยู่ในสภานี้ได้พิจารณาให้เรานะครับ จากการต่อสู้มายาวนานก็อยากให้ พิจารณาให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการโดยด่วน เพื่อจะให้สิ่งที่เป็นที่มุ่งมั่นของภาคประชาชน โดยเฉพาะเครือข่ายสภาชนเผ่าพื้นเมืองนี้ได้สำเร็จ แล้วก็ให้พวกเราได้สามารถเป็นส่วนหนึ่ง ในการช่วยแก้ปัญหา แล้วก็ผลักดันนโยบายที่ดีให้กับสังคมไทยร่วมด้วยตรงนั้นครับ ท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ แล้วก็พี่น้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันทรงเกียรติตรงนี้นะครับ ก็คงจะเติมเต็มนิดเดียวสั้น ๆ นะครับ แล้วก็พี่น้องที่ติดตามผ่านสื่อของรัฐสภาด้วย นะครับ มันเหมือนรู้สึกนิดหนึ่งว่าวาระการอภิปรายในครั้งนี้รู้สึกว่าเหมือนเราคุยกันเรื่องคน ได้ใกล้เคียงกับพี่น้องประชาชนมากยิ่งขึ้น อันนี้ก็คงจะไม่ขอบคุณทุกท่านไม่ได้นะครับ แล้วที่ สำคัญเราได้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นผู้แทน ฝ่ายบริหารก็คือพรรครัฐบาลหลายท่านก็ให้ข้อมูล ให้มุมมอง ให้ข้อเท็จจริงที่เรารู้สึกสัมผัสได้ว่า ท่านกับการยอมรับเข้าใจพี่น้องของเราได้ชัด แล้วก็รอบด้านมากขึ้น รวมทั้งในส่วนของผู้แทนที่เป็นพรรคฝ่ายค้านเองก็ให้ข้อมูลเติมเต็ม ของเราได้เป็นอย่างดี อันนี้เราก็คงจะต้องขอบคุณมากเป็นเบื้องต้น ในส่วนของสภาชนเผ่า พื้นเมือง ร่างพระราชบัญญัตินี้เราก็อยากจะยืนยันเพื่อให้ทุกท่านได้สบายใจกับสิ่งที่ท่าน ได้ร่วมอภิปรายก็คือว่าเราต้องการมี เพื่อเข้ามาทำงานคลี่คลายปัญหาแล้วก็ประสาน ความร่วมมือ พื้นที่ตรงนี้จะไม่ใช่เป็นพื้นที่ในมิติเชิงอำนาจให้กับกลุ่มก้อนกลุ่มใดนะครับ แต่เป็นเรื่องของ สัมพันธภาพของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทั่วประเทศที่เรามีอยู่ อาจจะตอบท่านผู้อภิปรายบางท่าน โดยเฉพาะในส่วนของพรรคเพื่อไทยที่บอกว่ายังมีอีกหลายกลุ่ม หลายข่ายเผ่าที่มีข้อมูลอยู่ อันนี้เราก็ยืนยันได้ว่าเรากำลังเข้าหา เรามีแกนข่ายเผ่านั้น แล้วกำลังเติมเต็มตรงนั้นนะครับ ที่สุดแล้วสุดท้ายก็คงจะขออนุญาตใช้คำเดียวที่จะบอกเพื่อยืนยันตรงนี้ก็คือว่า คำว่า สภาชนเผ่าแห่งประเทศไทยนี้ แห่งประเทศไทยนี้เพื่อจะบอกหมายถึงความเป็นไทยของเรา ของทุกคน ของพี่น้องข่ายเผ่าที่จะได้ประโยชน์นี้ เมื่อให้โอกาสเรา ให้โอกาสพี่น้องชาติพันธุ์ พี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง แล้วตรงนั้นจะเป็นโอกาสของสังคม จะเป็นโอกาสของประเทศไทย ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม