เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เรียนหารือท่านประธานนะคะ เรื่องของความห่วงใยของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนต่อสถานการณ์การเร่งอพยพคนไทย จากสถานการณ์ในประเทศอิสราเอล ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณผ่านท่านประธานไปยัง ท่านนายกรัฐมนตรี เมื่อคืนเวลาประมาณ ๓ ทุ่ม ท่านนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงถึงความคืบหน้า ในการอพยพคนไทย แผนในการอพยพคนไทยจากกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล โดยทางอากาศ และเร่งอพยพคนไทยอย่างปลอดภัยที่สุด
การอพยพทางอากาศ ยังคงเป็นเส้นทางหลักในการอพยพคนไทยในสถานการณ์เช่นนี้ และทราบว่ากองทัพไทย ได้ประสานกับกองทัพอิสราเอลในการรวบรวมคนไทยที่กระจัดกระจายตาม Shelter ต่าง ๆ มายังกรุงเทลอาวีฟอย่างเร็วที่สุด ทั้งที่เราทราบดีว่าเส้นทางคมนาคมทางภาคพื้นดินขัดข้อง แล้วก็ถูกผลกระทบจากการโจมตีเป็นจำนวนมาก ภาพแรก เราจะเห็นได้ว่าเส้นทางคมนาคม ทางบกที่สามารถติดต่อได้กับอิสราเอลก็คือประเทศอียิปต์และจอร์แดน ซึ่งปัจจุบันเท่าที่ ทราบว่าในพื้นที่ที่ใกล้ที่สุดที่จะเอาคนไทยที่อพยพออกมาจากทางกาซา ก็คือออกมาทาง ประเทศอียิปต์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นไปแทบไม่ได้แล้วก็เป็นไปได้ยากลำบาก เนื่องจากว่า สภาพพื้นที่มีการต่อสู้กัน มีการสู้รบกัน ขออนุญาตภาพที่ ๒ จะเห็นได้ว่าเป็นไปได้ยาก แล้วก็ ภาพที่ ๓ จะเป็นเรื่องของแผนคมนาคมที่จะรับคนไทยกลับประเทศไทยในวันนี้ ก็ขอฝาก ติดตาม กราบเรียนท่านประธานฝากกำลังใจไปยังรัฐบาลในการเจรจาให้ประสบความสำเร็จ ในการปล่อยตัวประกัน เจรจากับพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นประเทศอียิปต์กับประเทศจอร์แดน ในการที่จะเป็นพื้นที่ให้คนไทยได้พักก่อนที่จะอพยพกลับประเทศไทย แล้วก็ขอส่งกำลังใจ ให้คนไทยในอิสราเอลได้กลับประเทศไทยอย่างปลอดภัย ขอบคุณค่ะ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ท่านสมาชิก ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย หนี้สินเป็นปัญหาใหญ่ของครอบครัวคนไทย เป็นอุปสรรค สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทุกรัฐบาลในอดีตพยายามอย่างที่สุดเพื่อแก้ปัญหานี้ ภาระหนี้สินตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงครัวเรือน ถ้าไม่นับช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 วิกฤติทางการเงินในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่เรียกว่า วิกฤติต้มยำกุ้งส่งผลกระทบกับ หลายประเทศใน Asia ประเทศไทยแทบล้มละลายจาก Finance มีหนี้เสียจนต้องปิดตัวลง ค่าเงินบาทตกต่ำ ธุรกิจกู้เงินต่างประเทศต้องเลิกกิจการ มีการตกงานของลูกจ้างจำนวนมาก รัฐบาลในช่วงเวลานั้นภายใต้การนำของท่านนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร พรรคไทยรักไทย ได้มีการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประเทศและของครัวเรือนครั้งสำคัญ ได้ทำประกาศสงคราม กับความยากจน มุ่งลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส เร่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ในระดับประเทศไปพร้อม ๆ กัน ที่สำคัญที่สุดคือนโยบาย Dual Track Policy มาใช้ ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจครัวเรือนและฟื้นฟูประเทศ สร้างความเติบโตระยะยาว ประชาชน หลุดพ้นจากหนี้สินความยากจน ท่านประธานคะ ที่ดิฉันต้องกล่าวถึง Dual Track Policy ใน Version ปี ๒๕๔๔ เพราะรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้นำ Dual Track Policy มาใช้แก้ปัญหาประเทศหลังจากวิกฤติ COVID-19 และผลกระทบจาก สงครามยูเครนที่ผ่านมา และปัจจุบันสถานการณ์ในตะวันออกก็ไม่สู้ดีนักเช่นกันค่ะ หัวใจของ Dual Track Policy คือการกระจายเม็ดเงินลงสู่ภาคประชาชนเพื่อให้เกิด การใช้จ่ายแบบ Multiply Effect สร้างงาน สร้างรายได้ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการค้า การท่องเที่ยว การลงทุน Megaproject ไปพร้อม ๆ กัน ผลจากการใช้นโยบายนี้ในช่วง ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๕ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยขึ้นมาเป็น ๕ เปอร์เซ็นต์ จากที่ นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้เพียง ๑.๕ เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าประมาณการถึง ๓ เท่า เพียง ๒ ปี รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ธนาคารแห่งประเทศไทยบอกว่า เป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ราคายางพารา สินค้าเกษตรราคาสูง แม้ว่าในช่วงนั้นประเทศไทยเจอกับไข้หวัดนกและสึนามิเศรษฐกิจไทยยังโตต่อเนื่อง ได้เฉลี่ย ๕ เปอร์เซ็นต์ พลิกจากการเป็นหนี้เป็นสิน Dual Track Policy ใน Version ปี ๒๕๔๔ ได้นำเม็ดเงินลงสู่พี่น้องประชาชนผ่านโครงการต่าง ๆ ขอยกตัวอย่างเพื่อให้ เข้าใจได้ง่าย มี Micro Finance ธนาคารประชาชน ๒๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐ บาทไปยังมือของ ประชาชน ในระดับหมู่บ้านมีกองทุนหมู่บ้าน ๑ ล้านบาท โครงการ SML ในระดับตำบล สร้าง Brand OTOP จากเงินระดับพันล้าน ปัจจุบันตั้งแต่ปี ๒๕๔๕-๒๕๖๐ ยอดขายได้ถึง ๑.๕๓ ล้านล้านบาท ระดับอำเภอใช้เงิน ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ผ่านโครงการ ๑ ทุน ๑ อำเภอ โรงเรียนในฝัน คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ในระดับจังหวัดผู้ว่า CEO ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ดิฉันมีความเชื่อมั่นอย่างมากว่า Dual Track Policy ใน Version ปี ๒๕๖๖ ที่จะมี Megaproject จากการ Roadshow ของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน และการกระจาย เงินสู่มือประชาชนด้วย Digital Wallet ๑๐,๐๐๐ บาท จะช่วยให้ประเทศไทยได้พลิกฟื้น เศรษฐกิจอีกครั้ง
สุดท้ายนี้ ดิฉันสนับสนุนให้มีการได้พูดคุยศึกษากันในระดับคณะกรรมาธิการ ในเรื่องปัญหาหนี้สิน และจะปิดท้ายในช่วงที่พวกเรารอโครงการนโยบาย Digital Wallet ๑๐,๐๐๐ บาท ด้วย MV เพลงนี้ค่ะ ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน ขอ MV ด้วยนะคะ
กราบขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกสภา ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรตินะคะ เพราะว่าท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการมนพร เจริญศรี ได้มานั่งฟังในการอภิปรายในครั้งนี้ด้วยค่ะ การเชื่อมโยง ๒ ฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามันในมหาสมุทรอินเดีย มีแนวคิดตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชนะคะ โดยขุดพื้นดินที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู ซึ่งปัจจุบัน ก็คือบริเวณคอคอดกระในพื้นที่จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงมี ดำริถึงแนวทาง แนวคิดในการผ่านย่นระยะเวลาในการเดินทางโดยเรือจากฝั่งทะเลอันดามัน ไปทางอ่าวไทย เป็นโครงการที่เป็นแนวคิดมาตั้งแต่สมัยโบราณนะคะ นั่นแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ ที่เชื่อมระหว่างอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามันนี่เป็นแนวคิดของคนเดินทางโดยทางเรือตั้งแต่ ในอดีตกาล ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่เมืองดูไบสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์เริ่มเดินหน้าโครงการปาล์มจูไมราห์ ซึ่งถือว่าเป็นมหา Megaproject ระดับต้น ๆ ของโลก รัฐบาลขณะนั้นท่านนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้ปัดฝุ่นโครงการ Landbridge ขึ้นมา ทำการศึกษาใหม่และเตรียมการดำเนินโครงการ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่โครงการได้หยุดไป ระยะหนึ่ง ในสมัยพรรคเพื่อไทยโดยท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้นำโครงการ Landbridge ขึ้นมาเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย เพื่อเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนา ภาคใต้ โครงการ Landbridge เป็น Megaproject ๑ ล้านล้านบาท พลิกโฉมเส้นทางขนส่ง ของโลก เป็น New Trade Lane ประตูการค้าใหม่ของโลก ขอ Slide เลยค่ะ
Landbridge จะลด ระยะเวลาเรือขนส่งสินค้าได้ ๒-๓ วัน เปรียบเทียบกับการที่เรือต้องอ้อมไปผ่านช่องแคบ มะละกา ๑๖ เปอร์เซ็นต์ของการขนส่งทางน้ำ ๑๕-๑๘ เปอร์เซ็นต์ของการขนส่งน้ำมัน ทั่วโลกทั้งโลกปัจจุบันผ่านช่องแคบมะละกา การที่ลดระยะเวลาเดินทางทำให้โครงการ Landbridge เป็นโครงการที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างสูงให้กับประเทศไทย ดิฉันมีความยินดีกับพี่น้องประชาชนในจังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง รวมถึงภาคใต้ทุกจังหวัด ที่จะได้รับประโยชน์มหาศาลจากโครงการนี้ โครงการ Landbridge เป็น One Port Two Sides จากท่าเรือน้ำลึก ตำบลราชกรูด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ถึงท่าเรือน้ำลึกอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จะมีการเชื่อมต่อด้วยถนน ราง และท่อ ถนนเป็น Motorway ๖ เลน รางสำหรับรถไฟที่จะขนส่งสินค้า และท่อที่จะขนส่งก๊าซและน้ำมัน การดำเนินการของ โครงการจะเป็นแบบ PPP คือ Public Private Partnership ดังที่เราเห็นได้ว่าขณะนี้ ทราบว่าท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐาและท่านรัฐมนตรีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ท่านรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคมนาคม และ ครม. ได้ไป Roadshow โครงการนี้ในต่างประเทศ ดิฉัน ก็คิดว่ารอท่านนายกรัฐมนตรีกลับมาประเทศไทย ก็คงจะได้ฟังข่าวดีของโครงการ Landbridge ในครั้งนี้ ดิฉันเองก็ต้องขอสนับสนุนโครงการ Landbridge เป็นโครงการ ที่คนภาคใต้รอมาเป็นชั่วชีวิต เป็นโครงการที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจของภาคใต้ ไม่ใช่แค่เฉพาะ ภาคใต้ เป็นโครงการที่จะสามารถเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกกับระเบียง เศรษฐกิจภาคใต้ รวมถึงในการที่เชื่อมโยงการเดินทางของเรือที่จะขนส่งสินค้าจาก ในส่วนทางทวีปยุโรปไปจนถึงในส่วนของทวีปอเมริกาได้ ตามรูปในเส้นทางที่จะเกิดขึ้นใหม่ สุดท้ายนี้ ดิฉันสนับสนุนในการตั้งคณะกรรมาธิการที่จะศึกษาโครงการตามญัตติที่ท่าน สมาชิกได้เสนอไว้นะคะ ขอบคุณค่ะ
ท่านประธานสภา ที่เคารพ ท่านสมาชิกทุกท่าน ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ขอเสนอผ่านท่านประธานไปยังรัฐบาลเรื่องการใช้ งบประมาณชายแดนใต้ให้มุ่งเน้นการใช้งบประมาณในการพัฒนาคุณภาพชีวิตมากกว่า งบประมาณด้านความมั่นคง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้นะคะ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการมีส่วนร่วมและพัฒนาชายแดนใต้ ปีพุทธศักราช ๒๕๖๖-๒๕๗๐ เล่มนี้นะคะ โดยมีสาระสำคัญที่สุดคือการตั้งเป้าหมายให้ พ.ศ. ๒๕๗๐ จะยุติความรุนแรงและไม่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายถึงรัฐบาลท่านนายกเศรษฐา ทวีสิน จังหวัดชายแดนใต้จะมี ความปลอดภัยและสันติสุขอย่างแท้จริง จากภาพกราฟแสดงเหตุการณ์ความขัดแย้ง ในชายแดนใต้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๖๔ เห็นได้ว่าสถานการณ์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นระบบตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๖ นั่นคือสมัยนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะมีนโยบาย นอกจากการพูดคุยสันติภาพแล้ว ที่สำคัญมีการเยียวยาบุคคล ครอบครัว ผู้ที่ได้รับผลกระทบ อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ใช้งบประมาณเบื้องต้น ๒,๐๐๐ ล้านบาท และยังมีนโยบายกองทุน พัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท ที่มุ่งเน้นครอบครัวสตรีที่ต้องกลายมาเป็น เสาหลักของครอบครัว แสดงให้เห็นว่าความจริงใจของรัฐบาลเป็นสิ่งสำคัญ การพัฒนา คุณภาพชีวิต ชดเชย คืนความเป็นธรรมจะทำให้การพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้ ประสบความสำเร็จ กลับมาดูสถานการณ์ปัจจุบันเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ดัชนีความเชื่อมั่น ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้พุ่งสูงสุด ไตรมาสที่ ๒ มีลดลงเล็กน้อย เลขาธิการ ศอ.บต. ให้ส่วนราชการต้องเร่งแก้ปัญหาสร้างรายได้ครัวเรือน และคาดการณ์ว่าไตรมาสที่ ๓ จะสูงขึ้น เราจึงหวังได้ว่าโอกาสที่ปี ๒๕๗๐ ภายใต้รัฐบาลนายกเศรษฐาสันติสุข และความกินดีอยู่ดีจะเกิดได้จริง ขอฝากท่านประธานไปยังรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง มุ่งเน้น การใช้งบประมาณในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาของเยาวชนมากกว่างบ ด้านความมั่นคง ขอบคุณค่ะ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อ พรรคเพื่อไทย นับจากวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ รัฐบาลท่านนายกเศรษฐา คณะรัฐมนตรี ได้รับหลักการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ที่เราเรียกว่าโครงการแลนด์บริดจ์ โดยกำหนดบทบาทของโครงการให้เป็นการเชื่อมประเทศไทย เข้าสู่เส้นทางการเดินเรือของโลก ในระดับ Global เป็นประตูการค้า Gateway ศูนย์กลาง การถ่ายลำ Transshipment รวมทั้งการตั้งเขตพื้นที่เศรษฐกิจเสรี พัฒนาอุตสาหกรรมหลัง ท่าภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ Southern Economic Corridor SEC ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ซึ่งจะมีการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก ๒ ฝั่งทะเล ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทยในจังหวัดชุมพร และฝั่งอันดามันในจังหวัดระนอง โดยมี เส้นทางเชื่อมโยงระยะทางประมาณ ๙๐ กิโลเมตร และทางรถไฟจำนวน ๔ ทาง Metre Gauge ๒ ทาง Standard Gauge ๒ ทาง และมีการเตรียมพื้นที่การทำระบบขนส่งทางท่อ ไว้สำหรับผู้ลงทุนในอนาคต มีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ พื้นที่พัฒนานิคมอุตสาหกรรม และกำหนดสิทธิประโยชน์ให้กับผู้สนใจลงทุนใน SEC ด้วย เพื่อเป็นการพัฒนาเป็นศูนย์กลาง ของภาคใต้ เชื่อมโยงการค้าและ Logistics ทั้ง EEC และประเทศภูมิภาคฝั่งอันดามันที่เรา เรียกว่า BIMSTEC มีดังเช่นบังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย เนปาล ภูฐาน เมียนมา เป็นฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง ยกระดับมาตรฐาน การท่องเที่ยวสู่นานาชาติ ต่อยอดประโยชน์ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางของคาบสมุทร อินโดจีน ทำให้โครงการแลนด์บริดจ์เป็นที่สนใจและติดตามจากพี่น้องประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นคำถามแรกของดิฉันในวันนี้ การที่ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคมได้เดินทางไป Roadshow โครงการแลนด์บริดจ์มีผลตอบรับเป็นอย่างไร และประเทศต่าง ๆ มีความสนใจมากน้อยเพียงใด ขอบคุณค่ะ
คำถามต่อไปค่ะ กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ พรรค เพื่อไทย ประเด็นที่ทางสภาผู้แทนราษฎรได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อทำการศึกษา โครงการแลนด์บริดจ์ และมีประชาชนบางส่วนที่คัดค้าน ทางรัฐบาล กระทรวงคมนาคม มีแนวทางต่อประชาชนเหล่านั้นอย่างไรคะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธาน ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรี ท่านมนพรเป็นอย่างสูงนะคะ ตอนที่ไปภาคใต้ก็ได้มีโอกาสลงไปพร้อมกับท่านรัฐมนตรี แล้วก็สิ่งที่ได้ลงพื้นที่กันก็เป็น อย่างที่ท่านรัฐมนตรีได้ชี้แจงในสภานะคะ ทีนี้ในส่วนของความเป็นห่วงพี่น้องประชาชน เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ เป็นโครงการที่จะต้องมีการขับเคลื่อนทั้งฝั่ง รัฐบาลแล้วก็ทั้งฝั่งของสภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ พ.ร.บ. SEC ซึ่งในอนาคต จะต้องมีการจัดแจงให้เกิดขึ้นหลังจาก Roadshow ไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน SEC หรือ Proposal สำหรับในกรณีที่จะมีการลงทุนของนักลงทุนในอนาคต การประกวดราคา การเวนคืน การก่อสร้าง แล้วก็เปิดบริการ ซึ่งตาม Plan ถ้าฟังดูจาก Plan จากที่ สนข. เราก็ ให้กำลังใจท่านนายกค่ะว่าถ้าเราได้นักลงทุนเร็วเราก็คงจะได้มีโอกาสได้ใช้ท่าเทียบเรือ พี่น้องประชาชนคนไทยก็ได้ไปชมท่าเรือแล้วก็แลนด์บริดจ์ในระยะเวลาอันสั้น ในแผนก็จะ อยู่ที่ประมาณปี ๒๕๗๓ ดังนั้นดิฉันจึงขออนุญาตถามคำถามสุดท้ายว่า ความก้าวหน้าของ โครงการแลนด์บริดจ์ในการศึกษานี้ไปถึงไหนแล้ว เพราะว่าในสื่อต่าง ๆ ก็จะมีพูดถึง เรื่องการศึกษาของโครงการนี้อยู่ค่อนข้างมากนะคะ แล้วก็มีบางส่วนก็ยังบอกว่าไม่ครบถ้วน กราบเรียนถามท่านรัฐมนตรี ขอบคุณค่ะ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอเสนอความเห็นเพื่อหารือฝากไปยัง คณะกรรมการค่าจ้างที่มีท่านปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ พิจารณาค่าแรงขั้นต่ำที่จะนำให้ ครม. ทราบในวาระต่อไป คณะกรรมการค่าจ้างเกิดขึ้น ครั้งแรกปี ๒๕๑๕ เป็นองค์กรไตรภาคีองค์กรแรกของไทยที่มีความเป็นสากล มีภารกิจสำคัญ ในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ โดยพิจารณาข้อมูลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ประกอบด้วยตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้าง ฝ่ายรัฐบาลแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการ ค่าจ้างอยู่ในวาระ ๒ ปี นั่นหมายความว่าวัตถุประสงค์เพื่อต้องการตัวแทนที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ มีความเข้าใจกิจการของผู้ประกอบการ มีความเข้าใจค่าครองชีพของลูกจ้าง ในเวลานั้น ๆ ดังนั้นการยึดโยงกับนโยบายของภาครัฐหรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือนำนโยบาย ของรัฐบาลไปร่วมพิจารณาในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้าเราย้อนไป ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณได้ใช้วิธีการปรับค่าแรงถึง ๗ ครั้ง ในวาระ ๔ ปี พร้อม ๆ กับการ Upskill มุ่งสู่แรงงานทักษะสูง สมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ มีการปรับฐานครั้งใหญ่ของแรงงานขั้นต่ำคือ ๓๐๐ บาทเท่ากันทุกจังหวัด หลักคิดก็คือ ลดความเหลื่อมล้ำของพี่น้องประชาชน ในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ มีการปรับค่าแรง ขั้นต่ำถึง ๕ ครั้งด้วยกัน แต่ตัวเลข ๓๐ บาท ถึง ๕๐ บาท ในระยะเวลา ๙ ปี ยังไม่เพียงพอกับค่าครองชีพในปัจจุบัน ถามว่าตัวเลขเท่าไรที่เหมาะสมกับประเทศ เราสามารถมองผ่านนโยบายของพรรคการเมือง ในการหาเสียงได้ สะท้อนความต้องการของพี่น้องประชาชน ดิฉันขอย้อนไปในปี ๒๕๖๒ ๔ ปีที่แล้ว พรรคการเมืองส่วนใหญ่เสนอตัวเลขค่าแรงขั้นต่ำที่ ๔๐๐ บาท รัฐบาล นายกรัฐมนตรีเศรษฐาลดรายจ่ายด้านพลังงาน เจรจาการค้าเสรี เพิ่มนักท่องเที่ยวจนน่าจะ ทะลุเป้าในปลายปีนี้ พัฒนาการค้าชายแดน Roadshow เพื่อนำเม็ดเงินลงทุนจาก ต่างประเทศติดปีกผู้ประกอบการ เตรียมนโยบาย Soft Power ดิฉันขอฝากท่านประธาน ผ่านไปยังคณะกรรมการในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาสให้กับภาคประชาชน เพื่อที่จะคำนึงถึงภาพรวมของนโยบายภาพใหญ่ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ นำกำไรไปพิจารณา ค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ด้วย ขอบคุณค่ะ
เรียนท่านประธานสภา ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยได้ยอมรับความเสมอภาคกับ ทุกคนและเคารพในสิทธิเสรีภาพซึ่งกันและกัน สามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ปราศจาก การเลือกปฏิบัติ สามารถเข้าถึงวิถีชีวิตที่ยั่งยืนทั้งทรัพย์สินทางเศรษฐกิจและทรัพยากร อย่างเท่าเทียมกัน เราเคยพูดถึงการใช้ชีวิตคู่ของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศว่าเมื่อไร ท่านจะได้ก้าวสู่ชีวิตสมรสที่สมบูรณ์ ได้อาศัยสถาบันครอบครัวจากการแต่งงานเป็นเครื่องช่วย นำทางชีวิต สามารถให้คำสัตย์ปฏิญาณที่จะผูกมัดความรักไว้ด้วยกัน สามารถดำรงตน เป็นแบบอย่าง สามารถมีบุตรที่จะช่วยให้ผูกพันกันเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มหลากหลายทางเพศ ต้องพึ่งพาตนเองในการรักษาความสัมพันธ์ของคู่รัก แต่บัดนี้สภาแห่งนี้ รัฐบาลนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการโอบอุ้มช่วยประคับประคองให้ความรัก ของทุกคนไม่ว่าจะเพศใด ๆ ดำเนินเคียงคู่กันอย่างมีความสุข จากนี้ไปเราจะได้ยินคำว่า Gender มากขึ้น มากกว่าคำว่า เพศ ที่แบ่งแค่ชายหญิง เพราะ Gender มีความหมาย ครอบคลุมทั้งหมด ท่านประธานคะ เพื่อส่งต่อสังคมไทยที่มีทัศนคติ รวมถึงวิถีปฏิบัติในสังคม ต่าง ๆ ที่จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของสังคมไทยที่เราเรียกว่า New Social Norm บทบาทจากสังคมที่เรียกว่า Gender Role จะมีการพูดถึงมากขึ้น ซึ่งแต่ละประเทศ แต่ละ สังคมอาจแตกต่างกัน การดำเนินชีวิตคู่ ครอบครัวที่สมบูรณ์จะต้องมีเรื่องบุตรเข้ามา เกี่ยวข้องเราจะต้องพูดกันต่อไปเรื่องบุตร ที่มาของบุตร การรับอุปการะบุตร เงินช่วยเหลือ จากรัฐ การศึกษา การบริการสาธารณสุข มาตรการทางด้านภาษี เป็นต้น ที่พูดมาทั้งหมดจะ เห็นได้ว่ารัฐยังคงต้องมี Infrastructure มารองรับกฎหมายสมรสเท่าเทียมอีกมาก ต้องแก้ กฎหมายอีกหลายฉบับ รวมถึงต้องรับทราบและทำความเข้าใจกับกฎหมายหลายฉบับที่มีอยู่ แล้ว เช่น พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่จะช่วยประคับประคองในกรณีที่ ยังถูกเลือกปฏิบัติอยู่ และมีศาลปกครองเป็นหลักในการดำรงความยุติธรรม มีกองทุนคอย ช่วยเหลือเยียวยา แต่ที่สำคัญที่สุดคือ พ.ร.บ. งบประมาณแผ่นดินที่ต้องจัดสรรโดยให้ คำนึงถึงเพศสภาพและงบประมาณที่จะต้องรองรับหลังจาก พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมผ่านสภา Budget Impact Assessment Gender Budgeting คือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึง เพศสภาพ เป็นกระบวนการที่แสดงสัดส่วนงบประมาณที่เป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่ว่าจะ เพศสภาพใด ๆ ที่จะถูกจัดสรรอย่างเท่าเทียม ปัจจุบันมากกว่า ๔๐ ประเทศใช้ GRB คือ Gender Responsive Budgeting ซึ่งงบประมาณเหล่านี้จะเป็นงบประมาณที่ตอบสนองต่อ เพศสภาพ มอบโอกาสและรับประกันการกระจายทรัพยากร แสดงถึงความยุติธรรมต่อ เอกลักษณ์และความหลากหลาย ขอยกตัวอย่างที่ชัดเจนจากการใช้งบประมาณโดยคำนึงถึง เพศสภาพ เช่น การศึกษา All-Gender Restroom เป็นต้น ถามว่าทำไมต้องพูดถึงเรื่องนี้ เพราะเมื่อท่านมีลูก ปัจจุบันในห้องน้ำชายไม่มี Baby Station สำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อม ดังนั้น ขณะนี้ทราบว่ากรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวของกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ก็มีการศึกษาเรื่องของออก All-Gender Restroom นะคะ ยกตัวอย่างต่อไปก็คือ อย่างเช่นการสัมภาษณ์ของจากเลขาธิการ สปสช. ท่านได้ให้สัมภาษณ์ ไว้ว่าการผ่าตัดแปลงเพศเป็นสิทธิประโยชน์หนึ่งของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อันนี้ก็จะ เป็นเรื่องของการใช้ Gender Budgeting ท้ายนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ภายใต้สภาแห่งนี้จะทำให้คนไทยที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการยอมรับกับครอบครัว ได้แสดงออกถึงความรัก ความกตัญญู ทำหน้าที่สอดคล้องกับบทบาทในครอบครัว ไม่ถูกกีดกัน ทั้งการศึกษาจากสื่อหรือจากกฎหมาย และการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมเช่นเดียวกับ คู่ที่แต่งงานกับเพศต่างเพศที่ได้รับ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธาน สภาที่เคารพ ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เด็กวันนี้คืออนาคตของ ประเทศชาติ ปัญหาของเด็กและเยาวชนกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันถือว่า เป็นเรื่องของทุกคนในสังคมต้องรับผิดชอบร่วมกัน ถ้าเราแบ่งอายุในการรวบรวมปัญหา เด็กจะเป็นช่วงอายุ ๑๒-๑๕ ปี เยาวชนจะเป็นช่วงอายุ ๑๕-๑๘ ปี
จากสถิติปี ๒๕๖๕- ๒๕๖๖ คดีอาญาของเด็ก เยาวชน เฉลี่ยมากกว่า ๑๒,๐๐๐ รายต่อปี จากกราฟจะเห็นว่า กลุ่มฐานความผิดที่มาก ๓ อันดับแรก คือ ๑. เรื่องยาเสพติด ๒. การทำร้ายชีวิตและ ร่างกาย ๓. เรื่องของทรัพย์สิน และอีก ๓ อันดับ เกี่ยวกับอาวุธ วัตถุระเบิด เรื่องเพศและ เรื่องความสงบสุข เสรีภาพ และการปกครอง เป็นลำดับไล่ลงมา จากกราฟจะเห็นว่าอายุ ในช่วง ๑๕-๑๘ ปีจะเป็นช่วงอายุที่มีผู้กระทำความผิดมากที่สุด และเป็นเด็กเยาวชนชาย เกือบ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ มีข้อมูลจากกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนว่าปัญหาคดี ที่เกี่ยวกับชีวิตและร่างกายมีแนวโน้มสูงขึ้นและสอดคล้องกับคดีในฐานความผิดเกี่ยวกับอาวุธ และวัตถุระเบิด มีข้อบ่งชี้ว่าคดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้น ในสังคม ชุมชน และโรงเรียน คือการล้อเลียน ที่เราเรียกว่า Bully เป็นปรากฏการณ์ที่สูงขึ้น ส่วนหนึ่งจากการที่โลกเกิด COVID-19 Pandemic มาถึง Post Covid Pandemic สื่อ Social มีบทบาทกับชีวิตประจำวันของคนในโลกมากขึ้น มีการเปรียบเทียบ มีการเลียนแบบ ง่ายต่อ การเกิดขึ้นและส่งผลต่อพฤติกรรม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่มีภูมิคุ้มกันน้อย สอดคล้อง กับข้อมูลจาก Global Youth Justice สถิติของความผิดของเด็กทั้งโลก ความไม่เป็น ระเบียบ การต่อสู้ชกต่อย การพูดให้ร้ายกัน การข่มขู่ทำร้ายร่างกายจนถึงอาจจะถึงแก่ชีวิต เป็น Top 5 ของความผิดของเด็กทั่วโลก
ดิฉันขอเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ที่มีหน้าที่คุ้มครองเด็กและเยาวชน จากกราฟเราจะเห็นว่าสีฟ้า คือเด็กและเยาวชนชาย สีชมพูคือเด็กและเยาวชนหญิง จะเห็นได้ว่าเด็กและเยาวชนชาย มีเคสมากกว่าเด็กผู้หญิง ปัญหาเกิดจาก ๑. ครอบครัวมีวิกฤติเศรษฐกิจ หรือเรียกว่า ความยากจน ได้รับผลกระทบจากโควิด-๑๙ มีความรุนแรงในครอบครัว จะเห็นว่าเรื่อง เศรษฐกิจครัวเรือนมาเป็นอันดับ ๑ ปัญหาที่พ่อแม่ต้องออกไปหารายได้ในสภาพ Post-Pandemic มีผลอย่างมากที่ส่งผลกับเด็กปัจจุบัน ในทางกลับกันถ้ารัฐบาลสามารถทำ ให้เศรษฐกิจดีขึ้น เศรษฐกิจในครัวเรือนดีขึ้น ปัญหาของเด็กเยาวชนก็ย่อมลดลง ดิฉันขอส่ง กำลังใจให้รัฐบาลนะคะ นโยบายต่าง ๆ ที่ท่านได้รับปากไว้กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะ เรื่องของการที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้น อยากให้ท่านทำให้เร็วค่ะ องค์กรของรัฐที่ดูแลเด็กปฐมวัยประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กทม. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวง อว. กระทรวงสาธารณสุข ถึงเวลาแล้วที่จะต้องดูแลเด็กและเยาวชนที่ผ่านชีวิต เติบโตมาเจอสภาวะโรคของโควิด-๑๙ และสภาพการดำรงอยู่ Post-Pandemic ซึ่งเป็นวาระ พิเศษจริง ๆ เพราะ COVID-19 Attack โลกใบนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทำให้ เครื่องบินหยุดบินได้ ทำให้การทำงาน Onsite หยุดงาน ทำให้พ่อแม่หลายครอบครัวตกงาน ย้ายถิ่น เด็ก ๆ ต้องอยู่บ้าน ไม่ได้ไปโรงเรียน ใช้ Social มากขึ้น ดังนั้นการดูแลเด็ก Post-Pandemic ย่อมต้องใช้วิธีการเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพื่อลดปัญหาให้เด็กพร้อมที่จะเติบโต ไปเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม
สุดท้ายนี้ดิฉันฝากท่านประธานไปยังรัฐบาล กระทรวงที่เกี่ยวข้อง บูรณาการ ฟื้นฟูจิตใจ Empower ครอบครัวทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และปกป้องเด็ก เยาวชน ทั้ง ๕ ล้านคน จากการที่จะต้องตกไปกระทำความผิดซ้ำ ๆ การสูญเสียยิ่งใหญ่ของแต่ละ ครอบครัวเป็นสิ่งที่ไม่มีใครในสังคมอยากให้เกิดขึ้นเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อ พรรคเพื่อไทย ขอหารือประเด็นวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนฝากข้อมูล ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการค่าจ้าง ขอภาพที่ ๑ นะคะ
จากข่าวดังต่อไปนี้ ว่าคณะกรรมการค่าจ้างจะมีการเตรียมการประชุมเพื่อพิจารณาการกำหนดตัวเลขค่าแรง รอบ ๒ ของปีนี้ แบงก์ชาติจะมีการปรับ GDP ใหม่ การที่เราพูดถึงตัวเลขเศรษฐกิจ โดยไม่คำนึงถึงตัวเลขทางด้านสังคมจะทำให้การบริหารประเทศเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้ ประชาชนมีความสุข รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องทำให้การพัฒนาประเทศทั้งเศรษฐกิจและสังคม ไปพร้อม ๆ กันทั้ง ๒ ด้านตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จากภาพต่อไป ข้อมูลดังต่อไปนี้ที่จะฝากไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการค่าจ้าง อัตราการ ฆ่าตัวตายสำเร็จของประชากรไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๖๔ จะเห็นได้ว่ามีความสูงขึ้น ในปีต้มยำกุ้งแล้วก็ขึ้นมาที่ปี ๒๕๔๔ และเริ่มลดลงเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นจนถึงปี ๒๕๕๐ แล้วก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ แล้วก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทาง สสส. ได้ให้สวนดุสิตสำรวจสิ่งที่ประชากรไทยพบว่าปัญหาปากท้องหรือค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งที่ ประชาชนกังวลมากที่สุดถึงร้อยละ ๕๒.๑ ปัญหาปากท้องความเครียดที่ระเบิดออกมา จะผ่านการฆ่าตัวตายค่ะ
ความสุขของประชาชน สหประชาชาติได้รายงานอันดับความสุขของโลก ๑๔๐ ประเทศ ปี ๒๕๔๗ ตัวเลขเราอยู่ที่ ๓๔ แล้วก็ลดลงมาเรื่อย ๆ จนถึง ๖๑ อันนี้แสดง ให้เห็นว่าสภาพปัญหาเศรษฐกิจโควิดซ้ำเติม ทำให้เรายังไม่ได้เป็นประเทศที่มีความสุขเพิ่มขึ้น ประชากรคนไทยซึมเศร้าตัวเลขตอนนี้อยู่ที่ ๑.๕ ล้านคน เกือบจะประมาณ ๒ เปอร์เซ็นต์ เกือบจะ ๓ เปอร์เซ็นต์แล้วนะคะ ในอนาคตอาจจะไปเรื่อย ๆ ถ้าเศรษฐกิจเรายังเป็นแบบนี้ จากข้อมูลนี้ประชาชนฝากผ่านดิฉันไปอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการค่าจ้าง ให้นำไปพิจารณา และฝากกำลังใจให้รัฐบาลขอให้ทำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่า Digital Wallet หรือ Megaproject Landbridge ให้สำเร็จโดยเร็ว ให้ประเทศชาติได้พัฒนา ประชาชนพ้นความยากจน มีความสุขทัดเทียมอารยประเทศค่ะ ขอบคุณค่ะ
เรียนท่านประธาน สภาที่เคารพ ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย วันนี้จะขออภิปรายในฐานะคนเกิดบนเกาะลูกทะเล จังหวัดภูเก็ตค่ะ บนเกาะภูเก็ตมีการทำประมงทุกรูปแบบ ทั้งการประมงพื้นบ้าน การประมง พาณิชย์ และยังมีการตกปลาเพื่อกีฬาที่เป็นที่สนใจจากนานาชาติ ก่อนที่ไข่มุกแห่งอันดามัน แห่งนี้จะเป็นเมืองสวรรค์ของนักท่องเที่ยว การบริโภคอาหารทะเลของคนภูเก็ตและคนไทย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตมักจะไปที่ริมทะเลหาดราไวย์เพื่อบริโภคอาหารทะเล ขอภาพที่ ๑
ซึ่งโต๊ะอาหาร ในช่วงเวลานั้นจะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลา ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ตามที่ชาวประมงชายฝั่ง และเรือพาณิชย์ขนาดเล็กจะออกไปหาปลามาได้จากเครื่องมือเท่าที่เขามี อาหารทะเล มีความสดมากแทบไม่ต้องอาศัยการถนอมอาหารใด ๆ หลังจากที่การท่องเที่ยวเติบโต แล้วเริ่มเป็นอุตสาหกรรม การประมงเชิงพาณิชย์ก็เติบโตตาม มีการสร้างท่าเทียบเรือประมง พาณิชย์ขนาดใหญ่ขึ้น สร้างเรือให้ใหญ่ขึ้น ในช่วงนั้นดิฉันเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด ได้มีการผลักดันร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต สร้างท่าเทียบเรือ เพื่อรองรับการประมงพาณิชย์ เรียกว่า สะพานปลา มีองค์การสะพานปลาที่อยู่ในกระทรวง เกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ดูแล ภาพที่เราเห็นการบริโภคอาหารทะเลเปลี่ยนไป เรือประมง สามารถออกไปได้ไกลขึ้น มีการ Preserve โดยใช้น้ำแข็งดองในน้ำเค็มในน้ำทะเล เราได้เห็น นักท่องเที่ยว Enjoy กับอาหาร Seafood ไม่ว่า Lobster กุ้งก้ามกรามตัวใหญ่ ปลาเก๋าน้ำลึก ปลากะพงตัวใหญ่ ปลาทูน่าสดจากฝั่งอันดามัน ปูม้าสด ๆ จากทะเล จากนั้นอุตสาหกรรมประมงเริ่มเติบโต ดิฉันได้มีโอกาสกลับไปที่ท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลา ที่ภูเก็ตอีกครั้งในฐานะตัวแทนพรรคไทยรักไทย จังหวัดภูเก็ต เดินตามนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรีที่ลงพื้นที่เพื่อดูเรื่องนโยบายการประมงไทย รัฐบาลไทยรักไทย ในสมัยนั้นได้ส่งเสริมประมงชายฝั่งให้ออกไปนอกน่านน้ำได้มากขึ้น โดยรัฐบาลเจรจา สร้างความร่วมมือทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งเสริมอุตสาหกรรมห้องเย็น ทั้งบนเรือและท่าเรือเพื่อออกไปหาปลาได้ไกลขึ้น อาหารสดมากขึ้น เป็นจุดก้าวกระโดด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของชาวประมงไทย ยกตัวอย่าง ในครั้งนั้นได้มีนโยบาย ให้เพิ่มศักยภาพในการจับปลาทูน่าน้ำลึก ทำให้ภูเก็ตมีการจับปลาทูน่าในน่านน้ำไทย และนอกน่านน้ำมากขึ้น เป็นที่มาของปัจจุบันเราเป็นรองแค่ประเทศจีน ปลาทูน่าของไทย ขึ้นแท่นส่งปลา ประเทศไทยส่งปลาทูน่าออกปลากระป๋องเป็นเบอร์ ๒ ของโลก ในกลุ่ม อุตสาหกรรมประมงภูเก็ตขอให้รัฐบาลให้ภูเก็ตเป็น Hub ของปลาทูน่า ไทยส่งออกปลาทูน่า กระป๋องปี ๒๕๖๖ ๑๗๒,๐๐๐ ตัน มูลค่า ๒๖,๗๐๐ ล้านบาท ซึ่งอยู่ในสัดส่วน ๓๒ เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าการส่งออกของประมงทั้งหมด ภูเก็ตผลักดัน Tuna Hub ก็ฝากประธานไปยัง รัฐบาลได้ผลักดันนโยบายนี้ให้ต่อเนื่อง มีการพัฒนากองเรือประมง การแปรรูปสินค้า การประมงผ่านโครงการ OTOP และธุรกิจ SMEs ที่สำคัญในสมัยนั้นมีการอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรและระบบนิเวศทางธรรมชาติด้วย
ดิฉันมีภาพองค์การสะพานปลาภูเก็ตมาฝาก ซึ่งในขณะนั้นรัฐบาล พรรคไทยรักไทยอยากจะให้เป็น Fishery Complex ให้มีตลาดซื้อปลาเพื่อรองรับ นักท่องเที่ยวคล้าย ๆ กับที่ประเทศญี่ปุ่น นี่เป็นที่ญี่ปุ่น อันนี้ที่ภูเก็ต ณ วันนี้ แล้วก็ที่ประเทศ ญี่ปุ่น ภาพต่อไปในปี ๒๕๔๔-๒๕๕๖ นโยบายที่พร้อมอุตสาหกรรมรองรับการส่งออกประมง ของไทยก็ขึ้นต้นอันดับต้น ๆของภูมิภาคได้ เป็นยุคที่มีการใส่ใจการประมงอย่างรับผิดชอบ มาถึงยุคปัจจุบันวิกฤติประมงไทยจากพระราชกำหนดการประมง ๒๕๕๘ และแก้ไข เพิ่มเติม ๒๕๖๐ ที่ต้องมาเกี่ยวกับ EU เพราะว่ากลุ่ม EU ประเทศทางยุโรปได้มีการ Import ผลิตภัณฑ์ประมงอุตสาหกรรมประมงอยู่ที่ 56.5 Billion US Dollar ซึ่งเทียบกับสหรัฐมีอยู่แค่ 22.4 Billion US Dollar ดังนั้นเขาก็จะมีอิทธิพลกับการที่ในกรณีที่เราจะส่งผลิตภัณฑ์ปลา หรือว่าผลิตภัณฑ์การประมงออกไปสู่ตลาดโลก ส่งผลให้การประมงไทยมีวิกฤติประมง นอกน่านน้ำเหลือ ๐ ประมงในน่านน้ำหายไป ๓๐-๔๐ เปอร์เซ็นต์ คนงานประมงตกงาน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ การส่งออกจาก ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ต้องนำเข้า ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ราคาปลาตกต่ำ เพราะปลาจากเพื่อนบ้านเข้ามาตีตลาด คนประกอบอาชีพประมงติดคุก เป็นหนี้ เป็นคดีทั้งแพ่ง อาญา ทั้งปกครอง มีบางส่วนฆ่าตัวตายค่ะ พ.ร.บ. ประมงของพรรคเพื่อไทย จะคืนอาชีพประมงพื้นบ้านให้เป็นอาชีพของคนไทยเท่านั้น แก้ไขกฎหมายกำหนดค่า ให้เหมาะสม ไม่ขัดกับ IUU Fishing ลดเงื่อนไขการเดินเรือ เพิ่มพื้นที่การจับสัตว์น้ำเพิ่มเวลา ทำการประมง ปกป้องสัตว์น้ำขนาดเล็กให้ได้ดีกว่าเดิม สามารถทำงานประมงในเวลา กลางคืนได้ เพิ่มความสะดวกให้เป็น One Stop Service ส่งเสริมการประมงการอนุรักษ์ การพัฒนาที่ยั่งยืนพรรคเพื่อไทยมีความตั้งใจและมุ่งมั่น สานต่อผลงานในยุคที่ประมงรุ่งเรือง คือปี ๒๕๔๕-๒๕๕๖ พรรคเพื่อไทยตระหนักว่าประมงไทยมีศักยภาพ มีผลต่อภาพรวม ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ถ้าเรามีกฎหมายที่เป็นธรรมและอำนวยความสะดวก ในการประกอบอาชีพให้พี่น้องชาวประมงให้แข็งแกร่ง เพื่อให้ประมงไทยกลับมาเป็น เจ้าสมุทรอีกครั้ง ดิฉันขอสนับสนุนในการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. .... ที่เสนอโดยท่านวิสุทธิ์ ไชยณรุณ พรรคเพื่อไทย ขอบคุณค่ะ
เรียนท่านประธาน สภาที่เคารพ ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ขอปรึกษาหารือส่งข้อมูลการแก้ไขปัญหาการเพิ่ม แหล่งน้ำกินน้ำใช้ในจังหวัดภูเก็ตให้ทันกับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และ การขยายตัวของประชากรในจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะรองรับนโยบาย Free Visa ของรัฐบาล ถ้าย้อนกลับไปก่อนจะเป็นยุคการท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ตมีการขุดแร่ดีบุก ทำเหมืองแร่ ทั้งพื้นที่เอกชนและสัมปทานบนพื้นที่รัฐ ตามภาพนะคะ ขอภาพที่ ๑ ค่ะ
ทำให้เกาะภูเก็ต มีขุมเหมืองทั้งรัฐและเอกชน เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง มากกว่า ๑๐๐ แห่ง และภูเก็ตเองยังมีพื้นที่ ที่เป็นเนินเขาและแอ่งเขาที่สามารถทำเป็นอ่างน้ำรองรับน้ำฝนได้ดี ในช่วงที่เริ่มมีการ ท่องเที่ยวมาแทนทำเหมืองแร่ แหล่งน้ำใหญ่แห่งแรกของจังหวัดภูเก็ตเขื่อนบางวาด ตั้งอยู่ใจกลางเกาะภูเก็ตเพื่อกระจายน้ำไปทางเหนือเกาะและพื้นที่ใต้เกาะ เมื่ออุตสาหกรรม การท่องเที่ยวเติบโต การใช้น้ำจากบางวาดซื้อน้ำจากขุมเหมืองที่กระจายกันอยู่ทั่วเกาะ ไม่เพียงพอ เกิดปัญหาขาดแคลนอย่างหนัก ปี ๒๕๔๖ ได้มีทัวร์นกขมิ้นของท่านนายกรัฐมนตรี ทักษิณชินวัตร รัฐบาลไทยรักไทยได้ลงพื้นที่แก้ปัญหาโดยอนุมัติการสร้างอ่างเก็บน้ำ บางเหนียวดำและบริเวณเหนือเกาะและอ่างเก็บน้ำคลองกะทะบริเวณทางใต้ของเกาะภูเก็ต ทันที มีภาพมาฝากค่ะ ทราบว่าปัจจุบันมีการเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวบรรยากาศดีมาก เชิญชวนไปภูเก็ต แวะไปถ่ายรูปกัน ในช่วง ๑๐ ปีผ่านมาเริ่มมีปัญหาการขาดแคลนน้ำ ในหน้าแล้ง ทางกรมชลประทานใช้การสูบน้ำกลับเพื่อเติมน้ำในเขื่อนบางวาดเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งถ้าฝนตกลงมาพอก็จะแก้ปัญหาได้ดี ดังนั้นในระยะสั้นนี้ฝากท่านประธานไปยัง กรมชลประทานเร่งรัดโครงการตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อดึงน้ำกลับในเขื่อนบางเหนียวดำ และ วางแผนประเมินการใช้น้ำจากศักยภาพขุมเหมืองทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อนำสู่การจัด ความสำคัญในการของบประมาณ และทราบว่าที่จังหวัดพังงามีโครงการสนามบินอันดามัน ซึ่งจะมีการเตรียมแหล่งน้ำมาก จังหวัดภูเก็ตก็จะได้เชื่อมต่อกันต่อไปค่ะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ ในฐานะกรรมาธิการ ก่อนอื่นดิฉัน จะขอชี้แจงเพิ่มเติมในส่วนของมุมมองที่จะเพิ่มเติมให้ทางท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ทั้งสภาผู้แทนราษฎรได้มีความเข้าใจกับโครงการนี้เพิ่มเติม ปัจจุบันในโลกเรานี้เราพูดกันถึง Sea Power คืออำนาจทางทะเล หนึ่งในข้อที่บ่งชี้การมีอำนาจทางทะเลก็คือท่าเรือ การที่ โครงการแลนด์บริดจ์เป็น Megaproject ที่มีต่างชาติเอาเม็ดเงิน ๑.๑ ล้านล้านบาท มาลงทุน สร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกอย่างดี มีมาตรฐาน พร้อมกับ Know-how ต่าง ๆ ให้กับเรา อันนี้ อาจจะทำให้พวกเราสามารถที่จะมีท่าเทียบเรือที่จะเชื่อมต่อไปอีกหลาย ๆ ที่ ทีนี้ก่อนที่จะไป ถึงความเชื่อมโยงดิฉันขอกลับมาตรงเรื่องท่าเทียบเรือ ดิฉันคิดว่าสมาชิกหลายท่าน มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับท่าเทียบเรือที่จะเกิดขึ้น ท่าเทียบเรือที่จะเกิดขึ้นหัวท่าไม่ได้มีการไป ทับที่ดินในกรณีที่มีสวนทุเรียน ท่าเทียบเรือนี้ออกห่างตรงในส่วนหัวท่านี้ ห่างจากฝั่ง ๔-๕ กิโลเมตรทั้ง ๒ ด้าน ใช้ Reclaimed Land ในส่วนของน้ำลึก เราออกไปกลางทะเลค่ะ แล้วเราไปอยู่ในจุดที่ลึกของร่องน้ำลึก แล้วก็ Reclaimed Land แล้วก็ทำพื้นที่ทะเลขึ้นมา ที่มันเป็นพื้นดินขึ้นมากลางทะเล แล้วใช้เชื่อมก็คือใช้สะพานจากหัวท่าที่มีอยู่เชื่อมออกไป ดังนั้นในเรื่องของสวนทุเรียนที่จะไปทับไม่มี ท่านกรุณาชี้แจงให้กับพี่น้องประชาชนทางบ้าน ได้เข้าใจในเรื่องนี้ด้วยค่ะ ทีนี้เวลาที่ท่านพูดถึงท่าเทียบเรือท่านจะนึกถึงเรือ ท่านนึกถึง สิ่งของ นึกถึงความเชื่อมโยง ดิฉันจะบอกให้นะคะ โครงการนี้ จริง ๆ Megaproject อันนี้ Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle อันนี้จะเป็น Initiate โดยมาเลเซีย เขาต้องการที่จะมีความร่วมมือเชื่อมโยงกลุ่มภูมิภาคมุสลิมเพื่อจะทำให้เกิด Global Islamic Economic ซึ่งมันเป็น New Trend ของโลกมุสลิม อันนี้จะทำให้พี่น้อง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดสงขลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัด ปัตตานี จังหวัดยะลา จะได้รวมกันกับกลุ่มที่เป็นพื้นที่ของมาเลเซียในส่วน Bordering ทำให้ พี่น้อง ๒ ประเทศมีความเชื่อมโยงกัน สามารถแลกเปลี่ยนสินค้ากัน แล้วก็ทำธุรกิจด้วยกัน เพราะว่าตรงส่วนนั้นเขาก็จะสร้างท่าเทียบเรือเหมือนกัน แล้วไม่ได้เป็นคู่แข่งกัน ถ้ามองให้ดี นี่คือการเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดเซาท์อีสต์เอเชียให้มีกำลัง ที่เขาเรียกว่า Sea Power วันนี้ Sea Power ไม่ได้เป็นแค่ของประเทศไทย ถ้าเรามีท่าเทียบเรือ ๒ แห่งมันจะเป็น Sea Power ของอาเซียน เวียดนามทางใต้ก็กำลังที่จะสร้างท่าเทียบเรือ ท่านประธานคะ ดิฉันฝากไปยัง พี่น้องประชาชนว่าไม่ต้องกังวลค่ะ โครงการนี้อย่างไรรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐาก็จะ ผลักดัน ท่านเองท่านก็ไปหลาย ๆ ประเทศเพื่อต้องการให้นักลงทุนมาลงทุนในประเทศไทย เพราะวันนี้เราต้องมองโลกให้กว้างขึ้น มอง Geopolitics มอง Sea Power มองสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้แค่ Land แต่เราต้องดูใน Sea ด้วย ขอบคุณค่ะ
ท่านประธาน ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ ในฐานะกรรมาธิการ เมื่อสักครู่ท่านอาจจะไม่ได้ฟัง ทางสมาชิกพรรคก้าวไกลได้พูดถึงเรื่องท่าเรือว่าไปกระทบกับสวนทุเรียน ดิฉันพูดถึงเรื่อง ท่าเรือค่ะ แล้วก็ชี้แจงให้ว่าในส่วนของท่าเรือหัวท่าไม่ได้มีส่วนที่เป็นสวนทุเรียน แน่นอน ในส่วนที่เป็นแลนด์บริดจ์เรื่องของถนนมอเตอร์เวย์มันไปกระทบอยู่แล้ว ซึ่งมันก็เป็นประมาณ สัก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะ ๗๐ เปอร์เซ็นต์จะเป็นที่ดินของภาครัฐ ก็ขอทำความเข้าใจนะคะ เพราะดิฉันไม่ได้เข้าใจผิด แล้วก็ชี้แจงให้ถูกต้องค่ะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธาน สภาที่เคารพ ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอประท้วงสมาชิกที่กำลังอภิปรายนะคะ ในหน้า ๕๒ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ในข้อ ๑๔๗ กระทู้ถามแต่ละกระทู้นั้นจะต้องไม่มีลักษณะที่เป็น การออกความเห็น เป็นเรื่องที่มีประเด็นคำถามซ้ำกับกระทู้ที่เคยมีคนถามในสภาแห่งนี้ แล้วก็เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ก็คือว่าในส่วนของสมาชิกได้แสดงความเห็นกับกฎหมาย ที่ทางท่านรัฐมนตรีได้ชี้แจงแล้ว เพื่อให้เกิดความเวียนวน แล้วการอ่านข้อกฎหมายจะต้อง อ่านข้อกฎหมายเพื่อให้ปฏิบัติได้ ท่านพยายามจะชี้ชวนแล้วก็ออกความเห็น เพื่อชี้นำให้เกิด ความเข้าใจผิดและเสียหายกับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในสภาแห่งนี้ค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
๓๕/๑
ท่านประธานคะ ขอประท้วงท่านประธานค่ะ
ขอให้ท่านประธาน ในข้อ ๙ ในความเป็นกลางค่ะท่าน ท่านต้องเข้าใจว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นที่สนใจ มีคนที่ตั้งคำถามและมีคนไม่สงสัยที่จะถามนะคะ ดังนั้นประเด็นเหล่านี้ถ้าการออกความเห็น ทางด้านกฎหมาย แล้วพยายามใช้วาทกรรมในการบิดเบือนให้คนเข้าใจผิด ขอความกรุณา ท่านประธานให้ผู้ตั้งกระทู้ถามอยู่ในคำถามค่ะ ขอบคุณค่ะ
ก็ประท้วงท่านผู้อภิปราย ในเรื่องเดิมค่ะ ข้อ ๔๗ นะคะ ท่านออกความเห็นบ่อยมากค่ะ รวมทั้งตัวดิฉัน แต่ดิฉัน ไม่ติดใจนะคะ พร้อมที่จะให้อภัยค่ะ ขอบคุณค่ะ