ข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ 26
ปีที่ 1
สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง
ครั้งที่ 13 วันพุธที่ 31 มกราคม 2567 เวลา 10.34 - 19.02 นาฬิกา
เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เรียนท่านสมาชิก ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมขออนุญาตให้สมาชิกได้หารือตาม ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามข้อ ๒๔ จะให้ท่านปรึกษาหารือ ตามลำดับรายชื่อ ใช้เวลา ๒ นาทีนะครับ ท่านแรก ท่านปารมี ไวจงเจริญ เชิญครับ
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน ปารมี ไวจงเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จะขออนุญาตปรึกษาหารือท่านประธานกรณีอำนาจนิยมและความรุนแรง ที่เกิดขึ้นติด ๆ กันในช่วงหลายวันที่ผ่านมา อย่างวันก่อนก็กรณีนักเรียนถูกแทงเสียชีวิต ในโรงเรียนย่านถนนพัฒนาการ กรุงเทพมหานคร หรือเก่าไปกว่านั้นก็คือกรณีครูนำเข็ม ไปจิ้มปากนักเรียนถึง ๓๖ คนในจังหวัดสมุทรปราการ หรือในช่วงเวลาเดียวกันนั้นก็มี นักศึกษามหาวิทยาลัยบางแห่งย่านสยามสแควร์ถูกแทงเสียชีวิต เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนถึง ปัญหาอำนาจนิยมและความรุนแรงในสถานศึกษา ซึ่งดิฉันเห็นว่าทางรัฐบาลโดยเฉพาะ ท่านนายกรัฐมนตรีควรจะใช้โอกาสนี้ตั้งเป็นวาระแห่งชาติเพื่อแก้ปัญหาอำนาจนิยมและ ความรุนแรงในสถานศึกษาได้แล้ว ปัญหาอำนาจนิยมและความรุนแรงในสถานศึกษา หมักหมมและเรื้อรังมานาน เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ใช่สาเหตุใดเพียงสาเหตุหนึ่ง ดิฉัน ขอหารือท่านประธานว่าต้องมีการบูรณาการความร่วมมือกันหลายหน่วยงาน ทั้งกรุงเทพมหานคร ทั้งกระทรวงมหาดไทย ซึ่งดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกระทรวงศึกษาธิการที่ดูแล เรื่องการศึกษาของชาติโดยตรง หรือกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือกระทรวงสาธารณสุขต้องมาบูรณาการร่วมกัน เราต้องสร้างสถานศึกษาปลอดภัยทั้งกาย และใจ หรือโรงเรียนปลอดภัยทั้งกายและใจให้เป็นจริงได้แล้วค่ะ และต้องถอดบทเรียน และหากลไกป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นระบบรักษาความปลอดภัยภายในสถานศึกษา ระบบการสอดส่องดูแลพฤติกรรมนักเรียน ซึ่งครู นักเรียน และผู้ปกครองต้องสอดประสานกัน อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะครู ผู้ปกครอง และเพื่อนนักเรียนทุกคนต้องใส่ใจ และจับสัญญาณ เตือนให้ได้ว่าเพื่อนของเราหรือบุตรหลานของเรามีสัญญาณที่จะก่อเหตุความรุนแรงหรือไม่ รวมถึงปรับวิชาที่เรียนให้นักเรียนและครูต้องมีความรู้และมีทักษะในการบริหารจัดการ ตนเองและจัดการผู้อื่นในสถานการณ์ฉุกเฉิน ดิฉันขอวิงวอนท่านประธานไปถึงรัฐบาลด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านประเสริฐ บุญเรือง
นายประเสริฐ บุญเรือง กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายประเสริฐ บุญเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๖ พรรคเพื่อไทย กระผมขอปรึกษาหารือปัญหาเรื่องน้ำกัดเซาะตลิ่งพังในลำน้ำลำพะยังช่วงฤดูน้ำหลาก เพราะว่าได้รับการร้องเรียนจากท่านนายกพงษ์ศักดิ์ แสบงบาล เทศบาลตำบลเหล่าใหญ่ พื้นที่ของท่านอยู่ในฝั่งขวาของแม่น้ำในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ และท่านพนม ประชาชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไค้นุ่น ร้องผ่านท่านทินพล ศรีธเรศ เข้ามา ของท่านนายก พนม อยู่ในเขตฝั่งซ้ายของเขตอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์
นายประเสริฐ บุญเรือง กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ซึ่งในปี ๒๕๖๑ ได้รับงบประมาณ การก่อสร้างฝายกั้นลำน้ำลำพะยังช่วงบ้านจอมทอง เมื่อก่อสร้างเสร็จปัญหาก็ตามมา เพราะว่ากั้นแม่น้ำทั้งแม่น้ำทำให้น้ำมันหลากอยู่ในพื้นที่บริเวณช่วงที่กั้น ถ้าดูในภาพจะเห็น ตลิ่งที่ดินของพี่น้องประชาชนผุพังไปเรื่อย ๆ กัดเซาะเข้าไปทั้ง ๒ ฝั่ง ทั้ง ๒ พื้นที่เป็นพื้นที่ หลายสิบไร่ ๒-๓ ปีที่ผ่านมาทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้ประสานทั้งหน่วยงาน ไม่ว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง ไม่ว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกรมชลประทานซึ่งเป็น หน่วยดำเนินการก่อสร้างฝาย ทุกหน่วยงานก็เข้าไปดูในพื้นที่ว่าจะดำเนินการ ประสานว่า ใครเป็นคนที่รับผิดชอบในการป้องกันตลิ่งพัง ซึ่งถ้าอยู่ในแผนงานส่วนใหญ่เราก็จะเห็น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมืองจะเป็นผู้รับผิดชอบ ทางองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นก็พยายามประสานหน่วยงานต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าไปยื่นหนังสือ จน ณ ปัจจุบันนี้ ทั้งกรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมเจ้าท่า ซึ่งในวันที่ ๒ นี้จะยื่นหนังสือ ไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผ่านกรมเจ้าท่าให้ไปดูแลเพื่อให้ตอบรับการแก้ไข ปัญหาตลิ่งพังของพี่น้องในพื้นที่เลาะริมน้ำลำพะยังนี้ด้วย ช่วยประสานงานให้ด้วยครับ ท่านประธาน ผมจะฝากหนังสือถึงท่านประธานผ่านไปถึงหน่วยงานต่าง ๆ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ท่านสว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์ เชิญท่านเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร ธนบุรี คลองสาน บางปะกอก พรรคก้าวไกล ผมขอนำเรียนปัญหาและปรึกษาหารือ ๑ เรื่องด้วยกัน ขอสไลด์ครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
จริง ๆ แล้วเรื่องนี้เคยหารือ ในสภาหลายครั้งมากมาย เรื่องอุโมงค์ลอดแยกรัชดา-ท่าพระ บริเวณที่มาจากทางสาทร แล้วก็ตัดไปทางราชพฤกษ์ รวมถึงมันจะคาบเกี่ยวแถว ๆ เดอะมอลล์ ท่าพระ ซึ่งเรื่องนี้ตั้งแต่ การก่อสร้างที่ล่าช้า ช่วงโควิดผมจำได้ว่าผมปรึกษาหารือเกือบ ๑๐ ครั้งแล้วครับ ก็มีปัญหา ไม่เรียบร้อยเรื่อย ๆ ล่าสุดผมผ่านไปแล้วชาวบ้านร้องเรียนมาก็คือมีการสร้างถนนที่ไม่เท่ากัน ถ้าดูสไลด์ถัดไปจะเห็นภาพอย่างชัดเจน นี่คือความล้มเหลวของรัฐไทยที่ไม่มีการกระจาย อำนาจอย่างเต็มที่ ดูจากแยกนี้แยกเดียวได้เลยครับ เส้นแรกก็จะเป็นของ กทม. เป็นผู้รับผิดชอบ อีกเส้นหนึ่งเป็นของกรมทางหลวงชนบทรับผิดชอบ ซึ่งอุโมงค์ที่สร้างปัญหา มากมาย ผู้ว่าชัชชาติท่านก็ไปหลายครั้ง ก็สร้างเหมือนจะเสร็จ แต่บังเอิญไม่รู้เป็นอย่างไร Spec มันเป็นอย่างไร ถนนที่เป็นอุโมงค์ แล้วก็บริเวณเส้นที่ตัดผ่านตรงกลางนี้มันสูงกว่าของ กรมทางหลวงชนบทมาก ๆ ประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ถ้าท่านประธานไปยืนดูตรงแยกนี้จะเห็น รถมาเลยครับ ผมนึกว่าเล่น Mario Kart ตอนจะเลี้ยวมีกระดกนิดหนึ่งแล้วก็ไป เพราะว่ามัน ต้องลง วันดีคืนดีก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุหรือเปล่า ผมยืนอยู่ตำรวจแถวนั้นก็มาบอกว่าเป็น อย่างไรบ้าง ผมถามว่ามีคนตายหรือยัง โชคดีครับว่ายัง แต่ผมคิดว่าไม่มีใครจ่ายค่า Shock ให้ประชาชนที่สัญจรผ่านตรงนั้นแน่ ๆ อย่างไรฝากกรมทางหลวงในการที่จะไปปรับแต่ง แล้วก็เก็บงานให้เรียบร้อยด้วย หรือว่าทาง กทม. คุยกัน รัฐบาลอาจจะตั้งหน่วยงานเฉพาะ กิจเพื่อมาทำโครงการที่มันหลายหน่วยงานอย่างนี้ครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านเลิศศักดิ์ครับ
นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล เลย ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอหารือท่านประธาน ในปัญหาเรื่องของการพังทลายของตลิ่งแม่น้ำเลย ๒ เรื่องครับ
นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล เลย ต้นฉบับ
เรื่องแรกเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องชาวบ้านโป่ง หมู่ที่ ๕ ตำบลนาแขม อำเภอเมือง จังหวัดเลย สืบเนื่องจากท่านผู้ใหญ่รังสรรค์ซึ่งได้ให้ข้อมูลผมมา แล้วผมได้ไป ตรวจสอบดูแล้วพื้นที่ตรงนี้ได้เคยหารือต่อท่านประธานไปแล้ว ๒ ครั้งก็ยังไม่มีการดำเนินการ แก้ไขแต่อย่างไร เป็นพื้นที่ตลิ่งซึ่งพังทลายต่อจากตลิ่งเดิมที่กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการสร้าง ไว้แล้ว ระยะทางความเสียหายอยู่ประมาณสัก ๕๐๐ เมตร แล้วโดยเฉพาะจุดหนึ่งที่พังทลาย จนติดถนนภายในหมู่บ้านซึ่งกำลังจะเกิดความเสียหาย จึงต้องขอความกรุณาท่านประธาน ได้ประสานไปยังกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้กรุณาตั้งงบประมาณไว้ในงบประมาณ ปี ๒๕๖๘ เพื่อที่จะดำเนินการให้กรมเจ้าท่าได้ไปดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ด้วยครับ เรื่องที่ ๒ เป็นความเดือดร้อนของพี่น้องชาวบ้านท่าบุ่ง หมู่ที่ ๕ ตำบลศรีสองรัก อำเภอเมือง จังหวัดเลย แล้วก็ชาวบ้านบ้านก้างปลา ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ๒ เรื่องนี้ ผมได้หารือครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ ครับ ๓ ปีมาแล้วยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะ กรมโยธาธิการและผังเมืองทำอะไรอยู่ครับ ยังไม่มีการดำเนินการแก้ไขใด ๆ ทั้งสิ้น จึงขอ ความกรุณาท่านประธานได้ทำหนังสือถึงกรมโยธาธิการและผังเมืองอีกครั้งหนึ่งเพื่อได้ ดำเนินการในการตั้งงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาโดยการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แก้ไขปัญหา ตลิ่งพัง เพราะถ้าหากว่ายังไม่มีการตั้งงบประมาณในการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ตลิ่งตรงนี้ ซึ่งมันอยู่ใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชน บ้านเรือนของพี่น้องประชาชน แล้วก็ถนนภายในหมู่บ้าน ก็จะเกิดความเสียหายในอนาคตข้างหน้า ดังนั้นจึงขอความกรุณาท่านประธานด้วยครับ ทั้ง ๒ เรื่องเป็นความเดือดร้อนที่พี่น้องประชาชนตั้งความหวังไว้ แล้วก็ผมได้หารือมา หลายครั้งแล้วก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านสว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์
นางสว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์ ระยอง ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน สว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง เขต ๕ พรรคก้าวไกล ดิฉันขอหารือท่านประธานเรื่องติดตามการขออนุญาตใช้ที่ดินในพื้นที่นิคมสร้างตนเองเพื่อใช้ เป็นสวนสุขภาพให้กับชาวตำบลพนานิคม อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ย้อนไปเมื่อ วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๕ ได้มีบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมประชาสงเคราะห์กับองค์การบริหาร ส่วนตำบลพนานิคม อนุญาตให้ใช้พื้นที่ในบริเวณพื้นที่สงวนตลาดนัด ซอย ๑๓ เนื้อที่ ๕ ไร่ เพื่อก่อสร้างสวนสุขภาพเทิดพระเกียรติและศูนย์กีฬาประจำหมู่บ้าน แต่ด้วยในขณะนั้น อบต. พนานิคมยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณค่ะ เมื่อเวลาผ่านไป อบต. อำเภอพนานิคม ได้ทำหนังสือหารือไปยังผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองอีก ๒ ครั้ง ในปี ๒๕๖๓ และปี ๒๕๖๔ เพื่อสอบถามว่ายังมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์บนที่ดินนั้นอยู่หรือไม่ ซึ่งทางผู้ปกครองนิคม สร้างตนเองก็ได้ส่งเรื่องไปยังอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการให้ทราบแล้ว แต่ในปี ๒๕๖๕ สภา อบต. พนานิคมได้มีมติเห็นชอบแผนการพัฒนาท้องถิ่น อนุมัติงบ ๕๐.๕ ล้านบาท พร้อมสร้างศูนย์สุขภาพ จึงได้ทำหนังสือฉบับสุดท้าย ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๖ ไปยัง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเพื่อติดตามเรื่องนี้อีกครั้ง ทางผู้บริหาร อบต. แจ้งว่า ไม่เคยได้รับหนังสือตอบกลับจากกรมเลย ปัจจุบันก็ยังพบข้อเท็จจริงว่าที่ดินผืนดังกล่าว มีชาวบ้านทำกินอยู่ ดิฉันได้เคยทำบันทึกเรื่องร้องเรียนโดยตรงถึงท่านประธาน แล้วก็ท่านได้ กรุณาส่งเรื่องไปยังฝ่ายบริหารคือสำนักนายกรัฐมนตรี และดิฉันได้พยายามติดต่อสอบถาม ผ่านระบบ ๑๑๑๑ แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบ ท่านประธานคะ ในเมืองอุตสาหกรรมบริการ ของรัฐอย่างสวนสุขภาพ สนามกีฬาหรือสวนสาธารณะเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับ ประชาชน นอกจากจะใช้ในการต่อสู้กับปัญหาฝุ่นและมลพิษแล้วยังเป็นลานกิจกรรมเพื่อ ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมความสามัคคีของชุมชนอีกด้วย จึงเรียนหารือ มายังท่านประธานให้ช่วยติดตามสอบถามไปยังกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจัดหาที่ดิน เพื่อสนับสนุนโครงการนี้ให้ลุล่วงเป็นประโยชน์แก่ประชาชนต่อไป ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านอรรถกร ศิริลัทธยากร เชิญครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส. จังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ วันนี้ขออนุญาตหารือปัญหาของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒ เรื่องครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรื่องแรก ผมได้รับทราบถึงความกังวลของพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะพี่น้อง ที่เป็นเกษตรกรในอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ขณะนี้ได้ข่าวว่าจะมีการยุบธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. สาขาอำเภอคลองเขื่อน ผมต้องเรียน ท่านประธานว่าในปีที่แล้วผมก็ได้รับการประสาน ไม่ว่าจะเป็น สจ. ข้าวต้ม หรือ สจ. ศิษฏ์ตรกล เทวารุทธ กำนันทวีเดช จงคา กำนันตำบลคลองเขื่อน นายสำเริง เนตรสาคร นายก อบต. คลองเขื่อน แล้วก็ยังมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอีก ๔ ตำบลในอำเภอคลองเขื่อน เนื่องจากมีความพยายามที่จะยุบ ธ.ก.ส. สาขาอำเภอคลองเขื่อน ถ้ามีการยุบ ท่านประธาน ขณะนี้พี่น้องประชาชนชาวคลองเขื่อนเกือบ ๒๐,๐๐๐ คน ประกอบอาชีพเกษตรกรประมาณ ๘๐-๙๐ เปอร์เซ็นต์ มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปใช้ บริการของ ธ.ก.ส. ที่สาขาอำเภอบางคล้า ซึ่งมันจะเกิดความเดือดร้อน เสียเวลา บางคน บางท่านไม่ได้มีรถ ไม่ได้มีพาหนะในการเดินทาง ในปีที่แล้วได้ประสานกับท่านรัฐมนตรีสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในสมัยนั้นก็ได้แก้ไขปัญหาให้กับพี่น้อง เกษตรกรไปได้ แต่ในวันนี้จะมีการยุบอีกแล้ว ผมต้องกราบเรียนผ่านท่านประธานไปยัง กระทรวงการคลังว่าอะไรที่ทำความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านก็ขอความกรุณาว่าอย่าทำ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอรูปด้วยครับ คือผมได้รับการประสานงานจากคุณจำเริญ จันทร์เทศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว พร้อมด้วยผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหมอนทองว่า ขณะนี้ถนนชำรุดเสียหายเป็นบ่อลึก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่แยกคลอง ๑๙ แล้วก็บริเวณ หน้าซอยหมอนทอง ๕ ทำให้พี่น้องประชาชนที่สัญจรไปมาเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ก็ขอ นำเรียนผ่านท่านประธานไปยังกรมทางหลวงชนบทให้ช่วยตรวจสอบและเร่งแก้ไขด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ต่อไปท่านปทิดา ตันติรัตนานนท์ แล้วก็ตามด้วยท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ เชิญครับ
นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ปทิดา ตันติรัตนานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ เขต ๘ พรรคภูมิใจไทย วันนี้มี ๒ ประเด็นที่จะหารือในสภาค่ะท่านประธาน
นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ ก็คือไฟฟ้าส่องสว่าง
นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
๑. ขอไฟฟ้าส่องสว่างบนทางหลวงหมายเลข ๒๑๔ สุรินทร์-ช่องจอม กม. ที่ ๒๕๒ ถึง กม. ที่ ๒๖๐ ถนนนี้เป็นถนน ๔ เลน เป็นเส้นตรงตลอด ทำให้ความเร็วของรถ ใช้ได้อย่างเต็มที่ตลอดเส้นทาง ก่อให้เกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตอยู่หลายครั้ง
นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
๒. ได้รับการประสานจากนายกเทศมนตรีตำบลบัวเชด นายไตรภพ ดวงอินทร์ ขอไฟฟ้าส่องสว่าง ดังนี้ บนทางหลวงหมายเลข ๒๐๗๗ ช่วงแยกบ้านบัวขุนจงถึง หน้าโรงเรียนบัวขุนจง (กรป. กลางอุปถัมภ์) หมู่ที่ ๒ ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ระยะทาง ๕๐๐ เมตร ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒๔ ตอนควบคุม ๐๑๐๒ แยกเข้าบ้านบัวเชด หมู่ที่ ๑ ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด ระยะทาง ๑.๒๕ กิโลเมตร
นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
๓. ไฟฟ้าส่องสว่างบนทางหลวงชนบทสายทางที่ ๒๐๔๗ จากเทศบาลตำบล บัวเชดผ่านบ้านแกรงถึงบ้านสวาท ตำบลสำเภาลูน อำเภอบัวเชด เป็นเส้นทางคดโค้งทำให้ เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง จึงขอเรียนผ่านท่านประธานสภาไปยังกรมทางหลวง กรมทางหลวง ชนบท ให้ช่วยพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนต่อไป
นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ขอรับงบประมาณสนับสนุนการก่อสร้างสนามกีฬาระดับตำบล ในพื้นที่อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่ตามชายแดนประกอบไปด้วย ๔ ตำบล ประชาชนประมาณ ๓๐,๐๐๐ กว่าคน มีพื้นที่พร้อมในการก่อสร้างสนามเพื่อจะให้โอกาส เด็กและเยาวชน ประชาชน ได้มีสนามกีฬาที่มีมาตรฐานเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา และจะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติด ตลอดจนมีพื้นที่สร้างสรรค์เชิงบวกให้กับเด็กและเยาวชน ก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน จึงขอเรียนผ่านท่านประธานสภาไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ช่วยพิจารณาสนับสนุนจัดสรรงบประมาณ ในการก่อสร้างสนามกีฬาให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตามชายแดน การเปิดพื้นที่กีฬา ระดับมาตรฐานให้เยาวชนได้มีโอกาสฝึกฝนและแสดงทักษะ ไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลแค่ไหน ในประเทศก็เป็นการเปิดโอกาสในอนาคตให้กับคนรุ่นต่อไปว่าเราอาจจะพบช้างเผือก ผู้ที่มีอัจฉริยภาพ ความสามารถจากชายแดน พลิกชีวิตและสร้างความเป็นไปได้ไม่รู้จบให้แก่ เยาวชนของประเทศไทยค่ะ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ เชิญครับ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านประธานค่ะ ดิฉัน ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ นโยบายจากทางพรรคเพื่อไทยที่ได้นำเสนอในช่วงของการสมัครสมาชิก สภากรุงเทพมหานคร หรือที่เรียกว่า ส.ก. มีนโยบายตัวหนึ่งที่ชื่อว่า กองทุนพัฒนาชุมชนเมือง มูลค่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเมื่อได้ลงไปปรับใช้กับชุมชนแล้วเกิดประโยชน์อย่างมาก พี่น้องประชาชนตอบรับเป็นอย่างดี แต่เท่าที่ได้สอบถามมาแล้วก็ได้รับเรื่องร้องเรียนค่ะ ยังมีอุปสรรคในการที่จะใช้กองทุนตัวนี้อยู่ เนื่องจากว่าเป็นการ Fix ไปเลยว่าถ้าหากได้ ก็คือได้ ๒๐๐,๐๐๐ บาท แล้วก็การที่จะจัดซื้อจัดจ้างเป็นเพียงแค่การนำเสนอ ซึ่งต้องผ่าน สำนักงานเขต ขาดความคล่องตัว แล้วก็บางครั้งมีปัญหาในเรื่องของราคาที่ไม่เหมาะสมด้วย ดิฉันจึงขอนำเสนอในเรื่องของนโยบายที่เราเคยนำเสนอในช่วงของยุคท่านนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เราเรียกว่ากองทุน SML กองทุน SML นั้นดีมาก ก็คือพี่น้องประชาชน มีโอกาสที่จะถามความคิดเห็นของสมาชิกในหมู่บ้าน ในชุมชนว่าอยากได้อะไร แล้วก็ การจัดซื้อจัดจ้างก็เป็นไปอย่างโปร่งใส เพราะให้ทุกคนในสมาชิกนั้นมาร่วมกันตรวจสอบได้ ด้วยตนเอง แล้วก็มีความยืดหยุ่นสำหรับขนาดของชุมชนด้วย ถ้าชุมชนขนาดเล็กก็อาจจะ เป็น ๓๐๐,๐๐๐ บาท ชุมชนขนาดกลาง ๔๐๐,๐๐๐ บาท ชุมชนขนาดใหญ่ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ฉะนั้นจะสามารถสร้างความเหมาะสมให้กับความต้องการในชุมชนได้ จึงขอแนะนำผ่านไปถึง สภากรุงเทพมหานคร แล้วก็ทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ได้ปรับเงื่อนไขแล้วก็วิธีการใช้ วิธีการได้มาของกองทุนเหล่านั้นเพื่อที่จะนำไปสู่พี่น้องประชาชนได้อย่างแท้จริง
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่งค่ะท่านประธาน ก็คือการดูแลพี่น้องประชาชนที่เดินทาง โดยระบบขนส่งมวลชนที่ต้องใช้ระบบสองแถวอยู่ในพื้นที่เขตลาดกระบังให้เกิดการจัด ระเบียบที่ดีขึ้น ขอบคุณท่านประธานค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านแรก ท่านภัสริน รามวงศ์ ท่านที่ ๒ ท่านลัทธชัย โชคชัยวัฒนากร ท่านที่ ๓ ท่านเฉลิมพงศ์ แสงดี เชิญท่านภัสริน รามวงศ์ ครับ
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล ผู้แทนคนบางซื่อ ดุสิตค่ะ
นางสาวภัสริน รามวงศ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
วันนี้ดิฉันขอนำเรื่อง ความเดือดร้อนปัญหาที่อยู่อาศัยของกองทัพและพลเรือน โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ประชาชื่นค่ะ ดิฉัน ขอเรียกว่า คอนโดยักษ์ทหารแยกประชานุกูล ดิฉันเสนอเรื่องนี้ต่อประธานสภาหลายครั้ง รวมถึงชั้นกรรมาธิการด้วยแต่ก็ไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้น แล้วก็การดำเนินงานจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ดิฉันอยากจะเสนอเพราะว่าประชาชนเดือดร้อนในชีวิตประจำวันอย่างมาก ปัญหาการจราจรรถติด แยกประชานุกูลติดแสนสาหัสอยู่แล้ว หากอาคารที่พักนี้สร้างเสร็จ จะทำให้การเข้าออกที่บริเวณของโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ติดหนักยิ่งขึ้นค่ะ ปัญหาเสียงดัง รบกวนจากการก่อสร้าง ปัญหาการสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม ปัญหาฝุ่นละออง ที่คลุ้งทั่วบางซื่อ บ้านชาวบ้านแตกร้าว บ้านสั่นสะเทือน ปัญหาการระบายน้ำ ส่งผลถึง โรงพยาบาลและหมู่บ้านชวนชื่น ทิศทางลม ทิศทางแสงแดด ดิฉันเองเป็นคนซักผ้าเอง เกิดปัญหาผ้าเหม็นบูด ผ้าอับชื้น เป็นปัญหาทุกข์ใจต่อแม่บ้านอย่างยิ่ง โครงการของ กระทรวงกลาโหมนี้ชุมชนนี้ได้คัดค้านมาแล้ว ผู้อาศัยหลายภาคส่วน ผู้รับเหมาการประมูล ก็คือบริษัท เบ็ญจมาศ จำกัด แล้วก็บริษัท มิตรสิ่งแวดล้อมไทย จำกัด เป็นผู้จัดทำ การประเมิน EIA หรือว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อดิฉันลงพื้นที่พบว่าโครงการ ตามกฎหมายนี้ไม่สามารถสร้างอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษได้ ถนนในโครงการไม่มี ถนนหน้ากว้าง ๑๒ เมตร ถนนหน้าโครงการยังแคบ ไม่ถึง ๑๐ เมตร แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ยังปล่อยผ่านแล้วก็อนุมัติให้ก่อสร้าง ถึงแม้โครงการนี้ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้วแต่ดิฉันมีข้อเสนอ ให้เปลี่ยนการใช้สอยพื้นที่จากที่บริหารการจัดการของกระทรวงกลาโหมเพื่อที่พักทหาร ดิฉัน ขอทบทวนให้เป็นสมบัติสาธารณะค่ะ เปลี่ยนเป็นแฟลตตำรวจ เปลี่ยนเป็นแฟลตครู เปลี่ยนเป็นที่พักของข้าราชการ ขอให้หน่วยงานทบทวนผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และปรับเปลี่ยนในแนวทางการใช้สอยที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน ขอบคุณค่ะ ท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านลัทธชัย โชคชัยวัฒนากร เชิญครับ
นายลัทธชัย โชคชัยวัฒนากร มหาสารคาม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ลัทธชัย โชคชัยวัฒนากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด มหาสารคาม พรรคภูมิใจไทย วันนี้ผมมีความเดือดร้อนของพี่น้องในพื้นที่มานำเรียนต่อ ท่านประธานสภาผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ช่วยดำเนินการแก้ไขดังนี้ ผมได้ลง พื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช ซึ่งได้รับการบอกกล่าวถึงปัญหาน้ำประปาไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง ชุมชนยางสีสุราชเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีผู้อยู่อาศัยประมาณ ๘๐๐ ครัวเรือน อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล โรงเรียน ที่ว่าการอำเภอ ตลาดสด ร้านค้า ชุมชน แหล่งน้ำที่นำมาใช้เพื่อการผลิตประปาให้กับชุมชนยางสีสุราช ก็คือหนองดุมซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๑๒๗ ไร่ ซึ่งปัจจุบันมีความลึกเพียง ๑.๕ เมตร ผมอยาก กราบเรียนท่านประธานสภาผ่านไปยังกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมทรัพยากรน้ำ ของบประมาณเพื่อทำการขุดลอกหนองดุมเพื่อให้มีแหล่งน้ำสำหรับผลิตน้ำให้เพียงพอตลอด ทั้งปีด้วยครับ ท่านประธานครับ หนองดุมนอกจากจะเป็นแหล่งน้ำสำคัญในการผลิต น้ำประปาให้กับชุมชนยางสีสุราชแล้วนั้นยังเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ผมจึงอยากกราบเรียนท่านประธานสภาผ่านไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองของบประมาณ ในการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสถานที่พักผ่อน ออกกำลังกาย ให้กับ ชาวอำเภอยางสีสุราชด้วยครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านเฉลิมพงศ์ แสงดี เชิญครับ
นายเฉลิมพงศ์ เเสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายเฉลิมพงศ์ แสงดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๒ พรรคก้าวไกล ผมขอนำ เรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาหารือต่อที่สภา ดังนี้
นายเฉลิมพงศ์ เเสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรื่องแรก ปัจจุบัน Web UFA พนันออนไลน์ กำลังระบาดหนักในจังหวัดภูเก็ตจนกลายเป็นปัญหาของสังคม ส่งผลกระทบต่อเยาวชน มีคน ของ Web คุกคามสื่อท้องถิ่นไม่เกรงกลัว จึงขอให้เร่งรัดการแก้ไขปัญหา Web พนันออนไลน์ ฝากท่านประธานหารือไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติและตำรวจไซเบอร์ครับ
นายเฉลิมพงศ์ เเสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ช่วงนี้เป็นฤดูกาลท่องเที่ยว High Season ทำให้นักท่องเที่ยว จำนวนมากใช้บริการการท่องเที่ยวทางทะเล ณ ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง ซึ่งปัจจุบันเกิดปัญหา การแออัด มีโป๊ะท่าเทียบเรือแค่ฝั่งเดียว เนื่องจากโป๊ะท่าเทียบเรืออีกฝั่งถูกนำไปซ่อมแซม ยังไม่แล้วเสร็จ เรือที่จอดเทียบท่าและนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวกสบาย และเพื่อความปลอดภัยขอให้เร่งรัดแก้ไขโป๊ะ ฝากท่านประธานหารือไปยัง อบจ. จังหวัด ภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครับ
นายเฉลิมพงศ์ เเสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ชุมชนบ้านตีนเขา หมู่ที่ ๓ ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ไม่มีไฟฟ้าใช้มาอย่างยาวนาน ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างยากลำบาก ต้องพ่วง ไฟฟ้าใช้กันเอง จึงขอดำเนินการแก้ไขให้ติดตั้งมิเตอร์เพื่อการเกษตรให้ประชาชนในชุมชน ได้ใช้ไฟฟ้า ฝากท่านประธานหารือไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครับ
นายเฉลิมพงศ์ เเสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย จังหวัดภูเก็ตประสบปัญหาน้ำเสียไหลลงสู่ทะเลซ้ำแล้วซ้ำเล่า เนื่องจากปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการปล่อยน้ำเสียสู่ทะเลเพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ได้เคยหารือในสภามาแล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่ได้รับคำตอบหรือการดำเนินการแก้ไข แต่อย่างใด ฝากท่านประธานหารือไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ เชิญครับ
นายสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม สุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๒๒ กรุงเทพมหานคร ผู้แทนของชาวสวนหลวง ประเวศ หนองบอน พรรคก้าวไกลครับ ก่อนอื่นผมต้องขอแสดง ความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนในเขต สวนหลวงที่ผมเป็นผู้แทนอยู่ และผมขอส่งกำลังใจให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง คุณครู บุคลากรภายในโรงเรียนให้กลับมามีขวัญและกำลังใจโดยเร็วที่สุด สิ่งแรก ที่ผมขอท่านประธานเรียนปรึกษาเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กทม. กรมสุขภาพจิต ส่งนักจิตวิทยาเพื่อเข้าไปดูแลสภาพจิตใจของนักเรียนและบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งดูแล และเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสียเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจทุกคนให้กลับมามีขวัญและกำลังใจ ในส่วนของมาตรการและการป้องกันการแก้ไขปัญหารับมือสถานการณ์กับความรุนแรง ในโรงเรียน ในช่วงบ่ายวันนี้ผมจะนำเสนอญัตติด่วนด้วยวาจาต่อสภาแห่งนี้เพื่อให้สมาชิก ทุกท่านได้ให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมอย่าง รวดเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก กราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านอรรถพล ไตรศรี เชิญครับ
นายอรรถพล ไตรศรี พังงา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายอรรถพล ไตรศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพังงา เขต ๑ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ ผมขอหารือท่านประธาน ๒ เรื่อง
นายอรรถพล ไตรศรี พังงา ต้นฉบับ
เรื่องแรก ขอให้พิจารณาปรับปรุงถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ช่วงอำเภอเมืองถึงแยกนบปริง จุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๙๐ นบปริง-นิคม ถนนสายดังกล่าวตอนนี้เราได้งบประมาณในการทำสะพาน ๒ สะพานจากกรมทางหลวง แล้วก็มีถนน ๔ เลนเชื่อมสะพานดังที่เห็นในภาพ แต่ปรากฏว่าหลังจาก ๔ เลนแล้วก็เป็นถนน ผิวจราจร ๘ เมตร ทำให้การสัญจรไปมาตลอดสายของทางหลวงดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุ มีปัญหามากมาย ได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านอยากจะขยายถนนเป็น ๑๒ เมตร ผิวจราจร ๑๒ เมตร เชื่อมต่อกับถนน ๔ เลน ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ มีระยะทางประมาณ ๒๒ กิโลเมตร ตั้งแต่อำเภอเมืองถึงทุ่งคาโงก แล้วเส้นทางนี้มีผู้คนใช้สัญจรไปมามากมาย รถที่วิ่งอยู่ ประมาณ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ คัน ตั้งแต่อำเภอตะกั่วป่า อำเภอคุระบุรี อำเภอทับปุด เข้าสู่ อำเภอเมือง แล้วก็เข้าไปจังหวัดกระบี่ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมช่วยกันพิจารณาขยายไหล่ทางทั้ง ๒ ข้างด้วยครับ
นายอรรถพล ไตรศรี พังงา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เกี่ยวกับสะพานท่องเที่ยวของตําบลโคกกลอย อําเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงาเป็น Unseen แห่งใหม่ของตำบลโคกกลอย มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยว ไม่ว่า ชาวต่างประเทศหรือชาวไทย ณ วันนี้ไปชมพระอาทิตย์ตกน้ำที่หัวสะพาน แต่หลังจากที่ชม พระอาทิตย์ตกน้ำเรียบร้อยแสงสว่างของสะพานแห่งนี้ไม่มีเลย ห้องน้ำก็ไม่มี ผมได้รับ การร้องเรียนจากชาวบ้านบอกว่าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะท้องถิ่นหรือว่าผู้ดูแล เกี่ยวกับสะพานแสงสว่างทั้งหมดช่วยไปดำเนินการในการทำห้องน้ำและติดแสงสว่างให้กับ สะพานแห่งนี้ จึงนำเรียนกับท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ให้ช่วยนำเรียนหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปอีก ๓ ท่าน ท่านสรวีย์ ศุภปณิตา แล้วก็ท่านเกษม อุประ แล้วก็ท่านวัชระ ยาวอหะซัน เชิญท่านสรวีย์ ศุภปณิตา ครับ
นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม นายสรวีย์ ศุภปณิตา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดปทุมธานี พรรคก้าวไกล กระผมขอปรึกษาหารือท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร มีเรื่องร้องเรียนและ ความเดือดร้อนของประชาชนหลายเรื่อง ขอสไลด์ด้วยครับ
นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ
พี่น้องประชาชนซื้อบ้านพร้อมที่ดินมา ๒๐ กว่าปี จำนวน ๑๘๐ หลัง ตรวจพบภายหลังว่าโฉนดกับบ้านไม่ตรงกัน สลับแปลง เป็นเช่นนี้มานาน ๒๐ ปีแล้ว เดือดร้อนมาก พอติดต่อไปที่กรมที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ปทุมธานีจะดำเนินการให้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแปลงละ ๒๗,๐๐๐ บาท ซึ่งมันเป็นการ ผลักภาระให้แก่พี่น้องประชาชนเกินไป เพราะเป็นความผิดของทางหน่วยงานของรัฐ ไม่ใช่ ประชาชนทำความผิด อันนี้ต้องขอให้ผู้เกี่ยวข้องกรุณาให้พี่น้องประชาชนได้รับการช่วยเหลือ อย่างไม่ต้องเสียค่าตอบแทน
นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องต่อไป พี่น้องประชาชนหมู่บ้านฉัตรไพลินและหมู่บ้านใกล้เคียงที่ตำบล หน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว ต้องข้ามถนน ๓๔๖ ถนนที่การจราจรแออัด รถวิ่งจำนวนมาก ไม่มีทางม้าลาย ขอทางม้าลายและสัญญาณไฟกระพริบเพื่อความปลอดภัยของพี่น้อง ประชาชน และขอสร้างสะพานลอยอย่างถาวรต่อไปด้วยครับ
นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องต่อไป ถนน ๓๑๑๑ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี วิ่งจากบ้านแพน มาปทุมธานี ช่วงสี่แยกคลองควายมาสี่แยกสันติสุข รถ ๑๘ ล้อและรถสิบล้อบรรทุกดิน วิ่งตลอดทั้งวัน เช้าเย็นไม่มีเวลาว่างเลยครับ พี่น้องประชาชน เด็ก เยาวชน ต้องไปโรงเรียน เดือดร้อนมาก อันตรายมาก แล้ววิ่งเฉียดเบียดขวาไม่เคยชิดซ้ายเลย ทำให้พี่น้องประชาชน เดือดร้อนมาก ขอให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้ตรวจตราดูแลอย่างเข้มงวดด้วยครับ
นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ
ขอภาพสไลด์ที่ ๔ หน้าหมู่บ้านกฤษณา ๒ ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก รถวิ่งผ่านจำนวนมาก พี่น้องประชาชนต้องข้ามถนนด้วยความยากลำบาก จึงขอทางม้าลาย และสัญญาณไฟกระพริบด้วยครับ เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน เกิดอุบัติเหตุ บ่อยครับ
นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ สะพานต่างระดับที่ถนนสี่แยกนพวงศ์ ถนนกรุงเทพ-สุพรรณบุรี เกิดอันตรายบ่อย ๆ ต้องการถนนมีสะพานต่างระดับ ขอให้ท่านมาสร้างโดยด่วนครับ เพราะว่าเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ สี่แยกสะพานลอยนี้ครับ
นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ขอยกย่อง ขอกล่าวนามท่านเพราะเป็นทางที่ดี ท่านนายอำเภอหญิง ณัฐธยาน์ ทำงานอย่างเข้มแข็งมากครับ ไปทำบัตรประชาชนให้พี่น้องที่นอนติดเตียง ถึงบ้านอย่างรวดเร็วและให้ความพึงพอใจแก่พี่น้องประชาชนมาก แต่เสียดายท่านถูกย้าย ไปแล้วครับ ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านเกษม อุประ เชิญครับ
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม เกษม อุประ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ขอนำปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเพื่อหารือท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ผอ. สำนัก พระพุทธศาสนาแห่งชาติ เนื่องจากได้รับคำปรารภจากเจ้าคณะอำเภอ เจ้าอาวาส เจ้าอธิการ และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ในเรื่องการขอใบตราตั้งวัดซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะลำบาก เนื่องจากติดปัญหาหลาย ๆ อย่างทำให้เกิดความล่าช้า อย่างบางจุดก็ติดเรื่องของ ส.ป.ก. บ้าง ติดเรื่องของป่าสงวนบ้าง ติดเรื่อง น.ส.ล. บ้าง ซึ่งเป็นการบุกรุกพื้นที่ของประชาชน เพราะ พ.ร.บ. ป่าสงวนนี้ตั้งมาหลังที่เขาตั้งวัด ก็อยากจะฝากให้ปฏิรูป ให้แก้ไขกฎ ระเบียบ ต่าง ๆ เพื่อทำวัดให้ถูกต้องด้วย
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ที่ผมอยากจะขอกราบเรียนหารือกับท่านประธาน นั่นก็คือ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับการร้องทุกข์ในเรื่องของการขอใบประกอบ วิชาชีพครู ซึ่งคนเรียนครูมาจนจบ แต่ว่าเวลาไปเป็นครูต้องมาขอใบประกอบวิชาชีพ มันน่าจะมีการปรับปรุง เมื่อเรียนครูจบมาก็ควรที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพเลย
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ถึงนายกรัฐมนตรี นั่นก็คือเรื่องปัญหายาเสพติด ซึ่งถือว่าเป็นปัญหา หนักมาก บ้านเมืองจะล่มจมเพราะเหตุนี้ เพราะว่าเดี๋ยวนี้ผู้ปกครอง ปู่ย่าตายายอยู่บ้านไม่ได้ เพราะว่าลูกหลานอาละวาดติดยา มีคนเป็นบ้ามากมาย จึงอยากจะฝากท่านนายกรัฐมนตรี ดูปัญหาเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญ แก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนก่อนที่บ้านเมืองเราจะล่มจม หนักกว่าเรื่องของเศรษฐกิจ เพราะว่าเดี๋ยวนี้ได้รับความทุกข์ยากเป็นอย่างมาก กราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านวัชระ ยาวอหะซัน เชิญครับ
นายวัชระ ยาวอหะซัน นราธิวาส ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม วัชระ ยาวอหะซัน สมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ เขต ๑ อำเภอยี่งอและอำเภอเมืองครับ วันนี้ผมขอหารือเรื่องก่อสร้างสนามกีฬากลางจังหวัดนราธิวาส
นายวัชระ ยาวอหะซัน นราธิวาส ต้นฉบับ
เมื่อปี ๒๕๕๓ หรือ ๑๔ ปีที่แล้ว เยาวชนและชาวจังหวัดนราธิวาสมีความยินดีเป็นอย่างมากที่เราจะได้สนามกีฬาดี ๒๐,๐๐๐ ที่นั่ง แต่ปรากฏว่าผ่านไป ๑๔ ปีก็ยังไม่เสร็จครับท่านประธาน งบประมาณทั้งหมด ที่ได้รับมาก็คือจาก กกท. ๓๘๕ ล้านบาทเศษ เป็นหน่วยงานบัญชาการทหารรับผิดชอบไป ๒๐๔ ล้านบาทเศษ กรมทางหลวงรับผิดชอบไป ๑๘๑,๒๐๐,๐๐๐ บาทเศษ แล้วก็จะมีของ งบไทยเข้มแข็ง โดย ศอ.บต. มอบให้จังหวัดนราธิวาสอีก ๕๒,๙๐๐,๐๐๐ บาท แล้วก็ของ อบจ. นราธิวาสอีกประมาณ ๒๘,๙๐๐,๐๐๐ บาท ปรากฏว่าในการก่อสร้างทั้ง ๔ ส่วน ๓ ส่วนที่กล่าวมาก็คือของ อบจ. นราธิวาส ถมดินยกระดับ อย่างที่ทราบว่าส่วนกลางจะลงมา ยกระดับพื้นต้องเสร็จ อบจ. เจียดงบประมาณให้ ๒๘,๙๐๐,๐๐๐ บาท ปรากฏว่าสร้างเสร็จหมด แล้วก็มาของไทยเข้มแข็งทำอะไรบ้าง ลู่ยางสังเคราะห์อย่างที่เห็น เสียหมดแล้วครับ พร้อมคูระบายน้ำ สนามหญ้า สนามฟุตบอล รั้วเหล็กเป็นสนิมหมดแล้ว ในส่วนของ งบประมาณ กกท. ทำสัญญาแบบ MOU หลายพรรคการเมืองก่อนหน้านี้ก็ขยาดกับคำว่า MOU เบิกเงินเต็ม เสร็จเมื่อไรก็ไม่รู้ แล้ววันนี้เงินหายหมด สร้างก็ไม่เสร็จ ชาวบ้านก็เดือดร้อน เมื่อวานมี Darby Match วันอาทิตย์ท่านก็เห็น ปัตตานีกับนรา ยูไนเต็ด สนามนราธิวาส สนามแตก ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ คน แล้วเมื่อคืนอาเซียนคัพถึงแม้สนามไม่เสร็จ ๑๔ ปีที่แล้ว แล้วก็มีเยาวชนของ ๓ จังหวัดเป็นตัวหลักในสนามเมื่อคืน เอเลียส ดอเลาะ กองหลังร่างยักษ์ สูง ๑๙๕ เซนติเมตร กองหน้าศุภชัย ใจเด็ด ก็มาจากปัตตานี นี่คือ ๓ จังหวัดครับ ความสุขเดียว คือกีฬาฟุตบอล วันนี้ท่านก็สร้างไม่เสร็จ มีปัญหาเยอะแยะ ในสถานการณ์อีกหลายเรื่อง เอาให้เสร็จ ผมขอครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านวัชระหาโอกาสไปคุยกับผมบนห้องนะครับ
นายวัชระ ยาวอหะซัน นราธิวาส ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปอีก ๓ ท่าน ท่านโกศล ปัทมะ ท่านถนอมพงศ์ หลีกภัย ท่านฉัตร สุภัทรวณิชย์ เชิญ ท่านโกศล ปัทมะ เชิญครับ
นายโกศล ปัทมะ นครราชสีมา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายโกศล ปัทมะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ สืบเนื่องมาจากโรงพยาบาลบัวใหญ่ซึ่งได้รับการยกระดับปรับฐานะ จากโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย ระดับ M2 เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ระดับ M1 เพื่อรองรับ พี่น้องประชาชน ๖ อำเภอ โดยเฉพาะเขตเลือกตั้งของผม อำเภอบัวใหญ่ อำเภอสีดา อำเภอ บัวลาย อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอบ้านเหลื่อม แล้วก็อำเภอประทาย ซึ่งโรงพยาบาล บัวใหญ่เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายซึ่งรองรับโรงพยาบาลบ้านเหลื่อม โรงพยาบาลแก้งสนามนาง โรงพยาบาลประทาย โรงพยาบาลสีดา และโรงพยาบาลบัวลาย สิ่งที่โรงพยาบาลบัวใหญ่ ยังขาดคืออาคารพักอาศัยของแพทย์และพยาบาลร้อยกว่า Unit ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ แล้วก็บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลหลายอัตรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผมได้สอบถาม ผมได้ตั้ง กระทู้ถาม ผมได้ทวงถามจากกระทรวงสาธารณสุขผ่านไปยังสำนักงบประมาณให้จัดสรร งบประมาณไปดำเนินการเพื่อเพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาลในการดูแลรักษาพี่น้องประชาชน ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง สาเหตุที่ผมต้องขอเพราะอะไรครับ เพราะว่า โรงพยาบาลบัวใหญ่ห่างจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่คือโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ๑๐๐ กว่ากิโลเมตร ทำให้พี่น้องขาดโอกาสในการรักษา ทำให้พี่น้องสูญเสียชีวิตและ ทรัพย์สิน ดังนั้นผมจึงอยากจะฝากท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงสาธารณสุข สำนัก งบประมาณ ได้โปรดจัดสรรงบประมาณให้กับโรงพยาบาลบัวใหญ่เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ให้กับแพทย์ พยาบาล ในการดูแลพี่น้องประชาชนทั้ง ๖ อำเภอ หวังว่าวันนี้ผมจะพูดเป็น ครั้งสุดท้ายในการขอให้กระทรวงสาธารณสุขจัดสรรงบประมาณไปดำเนินการ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านถนอมพงศ์ หลีกภัย เชิญครับ
นายถนอมพงศ์ หลีกภัย ตรัง ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม ถนอมพงศ์ หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่ ๑ ผมมีเรื่องหารือกับท่านประธาน ก็เหมือนกับเพื่อนผมครับ ท่าน สส. วัชระ แต่ของผมเป็นตึกโรงพยาบาลประจำจังหวัด อาคารอำนวยการผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ ฉุกเฉินที่สร้างมาหลายปีแล้ว ตอนนี้เป็นสุสาน ได้ปรึกษาหารือกับท่านนายกเทศมนตรี นครตรัง คือท่านดอกเตอร์สัญญา ศรีวิเชียร ผมจะขอชี้แจงท่านประธานมีเรื่องดังต่อไปนี้
นายถนอมพงศ์ หลีกภัย ตรัง ต้นฉบับ
ทางจังหวัดตรังได้ทำสัญญาจ้างการสร้าง ตึกโรงพยาบาลกับบริษัท กิจการร่วมค้า เอสที-แมกซ์เอนส์-ทีดับบิว เพื่อทำการก่อสร้างตึก อำนวยการผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน เป็นอาคาร คสล. ๗ ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ ๒๓,๗๖๕ ตารางเมตรครับท่านประธาน พร้อมอุปกรณ์ประกอบอาคารโรงพยาบาลตรัง ในวงเงิน ๒๗๘,๖๕๓,๓๓๒ บาท ระยะเวลาก่อสร้าง ๗๓๐ วัน โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ กำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ก็ภายใน ๒ ปี ท่านประธานสภาที่เคารพ โดยแบ่งงวดงานเป็น ๑๗ งวด ใช้เงินงบประมาณรายจ่าย ปี ๒๕๕๔ เนื่องจากผู้รับจ้างไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนการทำงานตามที่เสนอไว้ เพิกเฉยต่อปัญหาความล่าช้าที่เกิดขึ้น มีการหยุดงานก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง จากพฤติการณ์ ดังกล่าวจังหวัดตรังพิจารณาแล้วเชื่อว่าผู้รับจ้างจะไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้จึงเกิด การละทิ้งงาน ผลเสียจึงตกอยู่ที่ทางโรงพยาบาล ผลเสียจึงตกอยู่ที่จังหวัดตรังบ้านของกระผม โครงการแต่ละโครงการกว่าเราจะวิ่งมาได้ กว่าเราจะหามาได้ เหนื่อยยากลำบากครับ ท่านประธาน แล้วมาทิ้งมาขว้างอย่างนี้ผลที่ตกคือพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดตรังที่ได้รับกัน ถ้วนหน้า จึงฝากท่านประธานไปถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านนายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว ขอกราบอภัยที่เอ่ยนามท่าน ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในการหารือนี้จะเป็น ประโยชน์ให้กับพี่น้องชาวจังหวัดตรังของผมเป็นอย่างมาก ขอบคุณท่านประธานมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านฉัตร สุภัทรวณิชย์ เชิญครับ
นายฉัตร สุภัทรวณิชย์ นครราชสีมา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม ฉัตร สุภัทรวณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนครราชสีมา เขต ๑ หน้าย่าโม พรรคก้าวไกลครับ ผมขอหารือปัญหาแรก ปีที่แล้วผมได้มีโอกาสถามกระทู้ทั่วไปไปยัง ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เรื่องการเปิดทางด่วน M6 บางปะอิน-นครราชสีมา แล้วก็ประสบผลที่ดี คือว่าปลายปีในวันที่ ๒๗ ธันวาคม เวลา ๒ ทุ่มก็ได้มีการเปิดให้ใช้ บางส่วน แล้วก็ยังเปิดมาให้ใช้จนบัดนี้ แต่ปัญหาที่อยากจะนำเรียนผ่านไปเพื่อได้รับการแก้ไข ก็คือปรากฏว่าชาวบ้าน ๒ ข้างทางอาจจะยังมีความคุ้นชินหรือไม่เข้าใจที่ถูกต้องนัก จึงมีการนำ รถมอเตอร์ไซค์ขึ้นมาใช้วิ่ง รวมไปถึงบางครั้งก็เอาขึ้นมาแข่งกัน ผมได้เห็นรถลาดตระเวน พยายามที่จะจัดการ อย่างไรก็ดีได้รับข้อมูลจากกู้ภัยเมตตา กู้ภัยฮุก ๓๑ ว่ามีอุบัติเหตุถึงขั้น เสียชีวิตหลายราย ขอให้เร่งช่วยกันแก้ไข แล้วก็ประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ โดยทั่วกัน แล้วก็เข้าใจ
นายฉัตร สุภัทรวณิชย์ นครราชสีมา ต้นฉบับ
ปัญหาที่ ๒ ปัญหาที่อยากจะหารือท่านประธาน คือในเขตเมืองนครราชสีมา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นน้ำกระท่อม กัญชา ไปยังกลุ่มนักเรียน นักศึกษา สร้างความห่วงใยให้กับผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ ชุมชนทุกคน พูดแล้วพูดอีก แสดงความห่วงใยอยากจะให้ในส่วนของเจ้าหน้าที่ปกครองได้ตรวจตรา เข้มงวด โดยเฉพาะปัญหาร้านน้ำกระท่อม อันนี้คือปัญหายาเสพติดที่แพร่กระจาย ไม่ใช่ เฉพาะตำบลในเมือง แต่เขตอำเภอเมือง โดยเฉพาะตำบลอื่น ๆ ชาวบ้านเขาพูดถึงกันมาก
นายฉัตร สุภัทรวณิชย์ นครราชสีมา ต้นฉบับ
ปัญหาที่ ๓ การก่อสร้างที่ลำตะคองข้างโรงเรียนอัสสัมชัญกับโรงเรียน เทศบาล ๔ (เพาะชำ) ผมเคยหารือในสภาไปแล้ว หลังจากนั้นก็ปรากฏว่าเป็นเสาตอม่อ คาไว้อย่างไรก็คาไว้อย่างนั้นเป็นพัน ๆ ต้น ไม่ได้ก่อสร้างอะไรเพิ่มเติมเลย จึงขอเรียน ท่านประธานสภาเพื่อให้ปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
อีก ๓ ท่าน ท่านแรก ท่านมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล ท่านที่ ๒ ท่านอนุสรณ์ แก้ววิเชียร ท่านที่ ๓ ท่านสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง เชิญท่านมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล ครับ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรด้วยความเคารพ ดิฉัน มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต ๘ พรรคภูมิใจไทย ขอนำเรียนหารือเรื่องความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชนผ่านท่านประธานสภาไปยังกรมที่ดินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
สืบเนื่องมาจากในพื้นที่ ตำบลสวนขัน อำเภอช้างกลาง และตำบลละอาย อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มี ประชากรอาศัยครอบครองที่ดินทำกินมาช้านานหลายช่วงอายุคนก่อนปี ๒๕๐๕ การประกาศให้ที่ดินนี้อยู่ในการดูแลของกรมธนารักษ์ ให้เป็นที่ราชพัสดุตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ เป็นต้นมา ทำให้ประชากรที่อาศัยอยู่นั้นกลายเป็นผู้บุกรุกที่ดินของรัฐ ทั้งที่ลักษณะที่ดินไม่ใช่ เป็นป่าไม้ และไม่ใช่เป็นอุทยานแต่อย่างใด หากแต่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าในอดีตนับเป็นร้อยปี ค่ะท่านประธาน ต่อมาเมื่อปี ๒๕๕๒ ได้มีการพิจารณาสิทธิที่ทำกิน โดยขณะนั้นผู้ว่าราชการ จังหวัดคือ ท่านภาณุ อุทัยรัตน์ ได้เป็นประธานกรรมการ กบร. จังหวัด ดิฉันได้ทำหน้าที่ ผลักดันในนามสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเขตอำเภอช้างกลาง ได้สืบค้นข้อมูล การอาศัยของชุมชนดังกล่าว โดยได้มีการประชุมพิจารณาในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒ คือ ขอให้คณะกรรมการพิจารณาคืนที่ดินให้แก่ราษฎรที่มี ส.ค. ๑ หรือ น.ส. ๓ จำนวน ๒๑ ราย ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๔ ในมติที่ประชุมครั้งนั้นคณะกรรมการมีมติดังนี้คือ ๑. ให้คืนที่ดินแก่ราษฎรที่มี ส.ค. ๑ หรือ น.ส. ๓ จำนวน ๒๑ ราย ตามหนังสือกระทรวงการคลัง รับลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๔ โดยให้สำนักงานธนารักษ์พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการให้ส่งคืนที่ดินให้ถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมายกำหนดไว้ ๒. หลังจากปี พ.ศ. ๒๕๑๔ มาแล้วปรากฏว่ามีการบุกรุกเข้าไปใช้ที่ดินราชพัสดุแปลงดังกล่าว โดยราษฎรในปี ๒๕๒๔ ได้เกิดความแตกแยกทางความคิดและการปกครอง ทำให้ทางราชการไม่สามารถที่จะเข้าไป ดูแลพื้นที่ดังกล่าวได้ ราษฎรได้ทำกินมีผลอาสินเต็มพื้นที่จำนวน ๘,๔๒๒ แปลง กบร. ส่วนจังหวัดมีมติเห็นควรคืนที่ดินให้แก่ราษฎร โดยให้สำนักงานธนารักษ์เสนอเรื่องราว ไปคราวเดียวกันกับการคืนที่ดินให้แก่ราษฎรทั้ง ๒๑ ราย ที่ดินส่วนที่เหลือนั้น กบร. จังหวัด มีมติให้ออกเอกสารสิทธิเพิ่มเติมและจัดให้เช่าตามระเบียบกระทรวงการคลัง ขออนุญาต นะคะท่านประธานที่เคารพ ดิฉันได้เคยนำเรียนเรื่องนี้ไปแล้วครั้งหนึ่งต่อสภาแห่งนี้ ครั้งนี้ ดิฉันจึงขอวิงวอนผ่านท่านประธานไปยังรัฐบาล โดยท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้โปรดกลับมาพิจารณาโดยด่วน เพราะมติที่ประชุมจาก กบร. จังหวัดออกมาตั้งแต่ ปี ๒๕๕๒ นับถึงวันนี้ ๑๐ กว่าปีไม่มีผลต่อเนื่องอีกเลย จึงขอนำเรียนให้ท่านประธานแจ้งข่าว ความก้าวหน้าและหวังไว้ว่าราษฎรตำบลสวนขันและตำบลละอาย จังหวัดนครศรีธรรมราช จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่อไป กราบขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านอนุสรณ์ แก้ววิเชียร เชิญครับ
นายอนุสรณ์ แก้ววิเชียร นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม อนุสรณ์ แก้ววิเชียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี อำเภอบางกรวย ตำบลบางไผ่ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ วันนี้ผมมีเรื่องปัญหายิ่งใหญ่ของคนตัวเล็ก ๆ ในอำเภอบางกรวยและตำบลบางไผ่มาหารือท่านประธานครับ วันนี้เป็นวันที่ ๓๑ มกราคม ภาษาชาวบ้านพวกเราเรียกกันว่าวันสิ้นเดือน สิ่งที่ประชาชนจะพบทุกวันสิ้นเดือนคือ ๒ สิ่งนี้ ขออนุญาตท่านประธาน คือบิลค่าน้ำและบิลค่าไฟที่ประชาชนจะต้องเจอทุกวันสิ้นเดือน ผมขออนุญาตลงรายละเอียดในเรื่องของบิลค่าน้ำและค่าไฟฟ้า ในส่วนของค่าไฟฟ้า ในบิล ของค่าไฟฟ้าจะระบุถึงราคาพลังงานไฟฟ้า ค่าบริการรายเดือน ค่า Ft และภาษีมูลค่าเพิ่ม ในส่วนของบิลค่าน้ำรายละเอียดจะมีค่าน้ำดิบ ค่าน้ำประปา ค่าบริการรายเดือนและ ภาษีมูลค่าเพิ่ม มี ๑ สิ่งที่ทั้ง ๒ บิลนี้กำหนดไว้ร่วมกันคือค่าบริการรายเดือน ผมขออนุญาต นำเรียนท่านประธานอย่างนี้ ในส่วนของค่าบริการรายเดือนของกระแสไฟฟ้า เมื่อปี ๒๕๖๔ ระบุไว้ในอัตรา ๓๘.๒๒ บาท ในปี ๒๕๖๖ จนถึงปัจจุบันปรับลดลงเหลือ ๒๔.๖๒ บาท ลดลง ไปเกือบ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของบิลค่าน้ำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทุกบิลจะมีการเรียกเก็บ ค่าบริการรายเดือน ๒๕ บาทตลอดที่ผ่านมา ตรงนี้เป็นปัญหาใหญ่ของคนตัวเล็ก ๆ ในอำเภอ บางกรวย ผมเรียนท่านประธานอย่างนี้ว่าในส่วนของน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค มีผู้ใช้น้ำ ๕.๓ ล้านราย การประปานครหลวง ๒.๕ ล้านราย รวมเป็น ๗.๘ ล้านราย คิดเป็น ค่าบริการรายเดือน ๑๙๕ ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็น ๒,๓๔๐ ล้านบาทต่อปี นี่คือสิ่งที่ ประชาชนแบกรับไว้ จึงขอเรียนหารือท่านประธานผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้กำกับดูแลการประปา หารือท่านประธานผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะที่กำกับดูแลการไฟฟ้าว่าท่านสามารถเปลี่ยนเป็น Smart Meter เป็นระบบ อิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่ เมื่อเปลี่ยนเป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้วการจดบันทึก การพิมพ์ใบเสร็จ และการจ่ายเงินจะไม่ต้องมีเสียค่าบริการรายเดือน ตรงนี้จะเป็นการลดภาระให้กับประชาชน ซึ่งในส่วนตรงนี้คณะก้าวหน้าได้ทำสำเร็จแล้วใน Smart Meter ที่อำเภออาจสามารถ จังหวัด ร้อยเอ็ด ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง เชิญครับ
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ ขอหารือในเรื่องของความเดือดร้อนของพี่น้องชาวจังหวัดกระบี่ต่อท่านประธานไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๙ มกราคม จะได้เห็นข่าวที่น่าสลดก็เนื่องจากว่าสะพานลอยข้ามบริเวณหน้าสนามบินนานาชาติจังหวัด กระบี่ คานตกแม่มาทับคนงานชื่อนายตุลา สุขสวัสดิรักษ์ เป็นชาวชัยภูมิ อายุ ๒๓ ปี เป็นเหตุ ให้ต้องตัดขาทั้งสองข้าง ซึ่งตรงนี้ขอกราบเรียนท่านประธานไปยังหน่วยงานในเรื่องของ การควบคุมกำกับดูแลในส่วนของกระทรวงคมนาคม ท่านอธิบดีกรมทางหลวง อย่าให้มันเกิด เหตุอย่างนี้เกิดขึ้นอีก เนื่องจากว่าจังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดท่องเที่ยว แล้วก็ต้องขอหน่วยงาน ที่รับผิดชอบในเรื่องของการดูแลสวัสดิการ ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นพิเศษแล้วก็ไปให้เช่าช่วง ให้ผู้รับเหมาช่วงเข้ามา Subcontract งานต่อ
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ สนามบินจังหวัดกระบี่ได้ถ่ายโอนมารอบหนึ่งแล้วในเรื่องของ ครม. เพื่อที่จะให้ AOT เข้ามารับผิดชอบ ในขณะนี้ยังไม่ขับเคลื่อนเดินต่อ ก็เนื่องจากว่าวันนี้ สนามบินจังหวัดกระบี่มีนักท่องเที่ยวใช้เป็นจำนวนมาก แล้วก็ในเรื่องของสนามบิน ๓ สนามบินที่ทำมา ไม่ว่าจังหวัดกระบี่ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดอุดรธานี ก็ขอกราบเรียน ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมช่วยดูแลด้วย
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ พี่น้องเกาะลันตามาร้องเรียนที่สภาแห่งนี้ในเรื่องของโครงการ งบประมาณสร้างสะพานข้ามเกาะลันตา ๑,๘๐๐ ล้านบาท คนเกาะลันตาอยากจะเห็น ความรวดเร็วเหมือนกับ ครม. สัญจรที่จังหวัดระนอง ที่ท่านหัวหน้าอนุทินลงไปดูที่สะพาน ข้ามเกาะพยาม ๕ วัน ๗ วัน วันนี้พี่น้องได้ใช้แล้ว แต่ในส่วนของสะพานเกาะลันตา ตอนนี้ World Bank ได้อนุมัติงบ ๑,๘๕๔ ล้านบาทแล้ว เพราะฉะนั้นขอฝากกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของปลาโลมา ๑๔ ตัวด้วย ในเรื่องของการที่จะไปดูแลในเรื่องของผลกระทบสิ่งแวดล้อม กราบขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปอีก ๓ ท่าน ท่านแรก ท่านณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล ท่านที่ ๒ ท่านองอาจ วงษ์ประยูร ท่านที่ ๓ ท่านฐากูร ยะแสง เชิญท่านณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชิญครับ
นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาครับ ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคก้าวไกล เขต ๓ สันกำแพง แม่ออน ดอยสะเก็ด วันนี้มีถนน ๔ เส้นจะหารือผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงคมนาคม
นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เส้นที่ ๑ ทางหลวงชนบท หมายเลข ๔๐๖๒ บริเวณตั้งแต่บ้านแม่ฮ่องไคร้ ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด มุ่งไปยังน้ำพุร้อนสันกำแพง เส้นนี้มืดครับ ไม่มีไฟส่องสว่าง ขอฝากผ่านท่านประธานไปยังกรมทางหลวงชนบทเข้าไปตรวจสอบแล้วพิจารณาติดตั้ง ไฟส่องสว่างครับ
นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เส้นที่ ๒ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๑๓๑๗ บริเวณโค้งดอยสามหงก ตำบล ห้วยแก้ว บริเวณจุดนั้นเป็นโค้งรูปตัว S แต่ไม่มีป้ายเตือนป้ายให้ลดความเร็วใด ๆ อันนี้ขอฝาก กรมทางหลวงเข้าไปติดตั้งป้าย
นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เส้นที่ ๓ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๐๓๑ ตั้งแต่บ้านออนกลาง หมู่ที่ ๙ ตำบลออนกลาง วิ่งขึ้นภูเขาไปยังตำบลทาเหนือ ไหล่ทางตอนนี้หญ้ารกมากบดบังวิสัยทัศน์ แล้วก็มีความเสี่ยงจะเกิดอันตรายได้ ก็ฝากเรื่องนี้ไปยังกรมทางหลวงเช่นกันให้เข้าปรับปรุง ไหล่ทาง
นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เส้นสุดท้ายทางหลวงหมายเลข ๑๒๑ วงแหวนรอบ ๓ ของจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณแยกต้นเปาจนถึงแยกหนองจ๊อม เรื่องนี้ผมพูดหลายครั้งในหลายช่องทางก็ยังไม่ได้รับ คำตอบเรื่องของไฟส่องสว่างบริเวณช่วงถนนนี้ ขอพูดเรื่องนี้อีกครั้งฝากไปยังกรมทางหลวง เผื่อที่จะได้มีการบรรจุโครงการนี้เข้างบประมาณในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ต่อไป ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านองอาจ วงษ์ประยูร ครับ
นายองอาจ วงษ์ประยูร สระบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายองอาจ วงษ์ประยูร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี พรรคพลังประชารัฐ ขอหารือท่านประธาน ๒ ปัญหาครับ
นายองอาจ วงษ์ประยูร สระบุรี ต้นฉบับ
ปัญหาแรก ช่วงหน้าแล้งฝนทิ้งช่วงของทุกปีชาวนาจังหวัดสระบุรีได้ใช้น้ำจาก คลองส่งน้ำคลอง ๑ คลอง ๒ เสาไห้ ในพื้นที่ชลประทานในหลายอำเภอ ได้แก่ อำเภอเสาไห้ ตำบลสวนดอกไม้ ตำบลเสาไห้ ตำบลเมืองเก่า ตำบลเริงราง และอำเภอหนองแซง อำเภอเมือง ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงครับ สาเหตุของปัญหาก็คือกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ต้องปรับปรุงสถานีสูบน้ำเสาไห้ที่เก่าแก่ใช้งานมากว่า ๕๐ ปีแล้ว โดยเครื่องสูบน้ำทั้ง ๘ เครื่อง ท่ออยู่สูงกว่าระดับน้ำในแม่น้ำป่าสัก ช่วงแล้งของทุกปีไม่สามารถสูบน้ำส่งน้ำไปยัง คลองส่งน้ำสายใหญ่ของเสาไห้ได้ ก็ขอให้กรมชลประทานหรือผู้เกี่ยวข้องช่วยเหลือพี่น้อง เกษตรกรสระบุรีโดยเร่งด่วน ชาวนาบริเวณนี้อยู่ติดแม่น้ำป่าสักอยู่ติดคลองส่งน้ำมองเห็นน้ำ แต่เอาน้ำมาทำนาไม่ได้ ฝากท่านประธานด้วยครับ เดือดร้อนจริง ๆ เรื่องแรกเป็นเรื่องของ ปัญหาน้ำ
นายองอาจ วงษ์ประยูร สระบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าเครื่องสูบน้ำของเกษตรกร ช่วงหน้าแล้ง ของทุกปีชาวนาสระบุรีทำนาปรังจะต้องใช้น้ำจากชลประทาน ต้องเสียค่าไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำเอง ค่าไฟแพงต้นทุนสูงเพิ่มขึ้นอย่างมาก เกษตรกรสระบุรีเป็นหนี้ค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำเป็นเงิน จำนวนมากครับ สูบน้ำแล้วในช่วงแล้งน้ำออกมาเป็นน้ำบ้างเป็นลมบ้าง แต่ก็ถูกคิดค่าไฟฟ้า เต็มอัตรา เกษตรกรเดือดร้อนอย่างหนัก ฝากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านรัฐมนตรีธรรมนัสขวัญใจพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ ณ ขณะนี้ ให้ช่วยดูแลแก้ไขปัญหา ค่าไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อเกษตรกร ช่วยลดค่าไฟฟ้า ดูแล Ft ช่วยปลดหนี้ค่าไฟฟ้าให้เกษตรกร พี่น้องชาวนาในจังหวัดสระบุรีของกระผมด้วยครับ กราบขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านฐากูร ยะแสง เชิญครับ
นายฐากูร ยะแสง เชียงราย ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพครับ ผม นายฐากูร ยะแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขตเลือกตั้งที่ ๓ ครับ แม่ลาว แม่สรวย เวียงป่าเป้า พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมขอปรึกษาหารือกับท่านประธาน ในประเด็นปัญหาในพื้นที่มี ๓ ประเด็นปัญหาครับ ขอสไลด์ครับ
นายฐากูร ยะแสง เชียงราย ต้นฉบับ
ปัญหาเรื่องแรกเป็นปัญหาน้ำเน่าเสียของ บ้านห้วยไคร้ ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายครับ ปัญหานี้ผมได้รับการร้องเรียน จากพี่น้องในพื้นที่ว่ามีกลุ่มผู้ประกอบการได้ปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำธารสาธารณะทำให้เกิด น้ำเน่าเสียมีกลิ่นเหม็นครับ รบกวนพี่น้องประชาชน และอีกทั้งยังทำลายระบบนิเวศทำให้ สัตว์น้ำไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฝากเข้ามาดูแลให้ชาวบ้านด้วยครับ
นายฐากูร ยะแสง เชียงราย ต้นฉบับ
ปัญหาเรื่องที่ ๒ เรื่องเส้นทางของการสัญจรของพี่น้องบ้านห้วยปู ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีปัญหาการสัญจรยากลำบากครับ ในช่วงหน้าฝนชาวบ้าน ไม่สามารถเดินทางออกมาข้างนอกได้ เพราะว่ามีกระแสน้ำไหลแรง ฝากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเร่งแก้ปัญหาในการช่วยประสานการสร้างสะพานให้กับพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ด้วยครับ
นายฐากูร ยะแสง เชียงราย ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ จุดเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุของถนนสาย ๑๑๘ ของอำเภอ เวียงป่าเป้าครับ ๑. สะพานบ้านป่าบง หมู่ที่ ๕ ถึงหน้าอำเภอเวียงป่าเป้า หมู่ที่ ๖ ต้องการ ไฟฟ้าส่องแสงสว่างเพิ่มครับ จุดที่ ๒ สี่แยกโรงเรียนป่างิ้ววิทยาต้องการไฟสัญญาณจราจร เพิ่มครับ จุดที่ ๓ แยกวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้าต้องการไฟสัญญาณเตือนลดความเร็ว ๔. สี่แยกแม่ปูนล่างหน้าตลาดหัวเวียง สี่แยกโรงเรียนเวียงป่าเป้า โค้งวัดศรีสุพรรรณ และ แยกโรงแรมชัยวาฤทธิ์ต้องการแถบลดความเร็วและไฟสัญญาณเตือน จุดที่ ๕ จุดบริการ ประชาชนบ้านโป่งเหนือ หมู่ที่ ๑ ถึงโรงเรียนบ้านเด่นศาลา หมู่ที่ ๓ ต้องการไฟฟ้าส่องสว่างเพิ่ม จุดที่ ๖ สี่แยกทางเข้าเทศบาลเวียงกาหลงถึงทางเข้าบ้านป่าจั่นต้องการไฟสัญญาณจราจร และแถบลดความเร็ว จุดที่ ๗ สี่แยกทางเข้าบ้านสันมะเค็ดต้องการไฟฟ้าส่องสว่างและ แถบลดความเร็ว ฝากท่านประธานด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
อีก ๓ ท่าน ท่านแรกท่านภาคภูมิ บูลย์ประมุข ท่านที่ ๒ ท่านสรวงศ์ เทียนทอง ท่านที่ ๓ ท่านพงษ์มนู ทองหนัก เชิญท่านภาคภูมิ บูลย์ประมุข เชิญครับ
นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข ตาก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข สส. ตาก เขต ๓ พรรคพลังประชารัฐครับ ผมมีเรื่องหารือ ท่านประธานผ่านไปยังกรมปศุสัตว์ ๑ เรื่อง เป็นเรื่องที่ผมหารือบ่อยครั้งพอสมควร เนื่องจากทางกรมปศุสัตว์ได้สั่งปิดชายแดนห้ามนำเข้าโคกระบือจากประเทศเพื่อนบ้าน เมียนมามาตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ อันนี้ก็จะครบ ๑ ปีแล้ว ต่อทีละ ๓ เดือน ฉบับที่ ๔ แล้ว โดยตอนที่ปิดก็อ้างเรื่องมีโรคระบาดไม่ให้โรคนำเข้า แต่ตอนนี้สถานการณ์ ของโรคระบาดในโคกระบือค่อนข้างจะดีขึ้นและน้อยมาก และตอนที่ท่านปิดราคาวัวสูงขึ้น กว่านี้มาก ตอนนี้ราคาถูกลง การที่จะว่าถ้าเรามีการนำเข้าวัวแบบถูกกฎหมายจะทำให้ราคาวัว ในประเทศถูกลงผมว่าทฤษฎีนี้ไม่น่าจะใช่ แล้วในช่วงที่ปิดชายแดนก็มีการลักลอบนำเข้ามาก พอมีการลักลอบนำเข้าเกิดขึ้นการคัดกรองโรคการควบคุมของกรมปศุสัตว์ก็ทำไม่ได้ เพราะมันลักลอบก็ทำให้โรคระบาดเข้ามา สิ่งเหล่านี้ถ้าเราทำให้ถูกกฎหมาย มีการคัดกรอง มีการนำเข้าแบบถูกต้องตามกฎหมายผมว่ามันน่าจะช่วยเรื่องนี้มาก ที่ผ่านมาวิถีชาวบ้านได้เปลี่ยนไปมาก การค้าชายแดนซบเซา ประชาชนขาดอาชีพตั้งแต่ คนผลิตอาหารสัตว์ คนขนส่ง คนเลี้ยงวัว วัวที่นำเข้า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ จากจังหวัดตาก หรือ จังหวัดกาญจนบุรี หรือจังหวัดแม่ฮ่องสอน เกือบ ๙๐ เปอร์เซ็นต์เราส่งออกไปที่จีน มาเลเซีย เวียดนาม ซึ่งประเทศเหล่านี้เขาต้องการวัวจากพม่ามาก วัวในประเทศไทยเขาไม่ค่อย ต้องการ เพราะมันอ้วนมันขุน แต่เมื่อถ้าเราเอามาผสมกันนำส่งออกมันก็ทำให้ราคาวัวบ้าน เรากระเตื้องขึ้น ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ก็ได้แจ้งว่าตอนนี้กำลังทำมาตรการในการเปิดอีกครั้ง แต่ใช้ระยะเวลามาพอสมควร แล้วก็เชื่อว่าตอนนี้ผมทราบว่าเขาทำเรียบร้อยแล้ว ก็อยากจะ ให้กรมปศุสัตว์พิจารณาเปิดภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ แล้วหวังว่าการประกาศห้ามนำเข้า คงจะไม่มีฉบับที่ ๕ นะครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านสรวงศ์ เทียนทอง เชิญครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ สรวงศ์ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว พรรคเพื่อไทย ขออนุญาตใช้เวลานี้ปรึกษาหารือ ท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัญหาเรื่องช้างป่าลงมาทำลายพืชผล ของพี่น้องประชาชนครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
ผมได้ติดตามความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชนผ่านเพจ Facebook สระแก้วบ้านเราครับ และได้ประสานไปยังท่านกำนัน สมบัติ เจิมขุนทด กำนันตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ที่ท่านประธาน และพี่น้องประชาชนเห็นในคลิปตอนนี้ ก็คือช้างป่าจำนวนกว่า ๓๐ เชือกที่ลงมาทำลาย พืชผลของพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นพืชสวน พืชไร่ สวนมะม่วง ไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก แล้วก็ขอบคุณคลิปภาพจากคุณชัยสิทธิ์ เกรียงศักดิ์ ด้วยครับ ท่านประธาน ข้อเสนอของท่านกำนัน สมบัติ เจิมขุนทด อยากให้ หน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เร่งหา แหล่งอาหารให้กับช้างป่าพวกนี้ครับ แล้วสำคัญที่สุดอยากจะให้จัดสรรงบประมาณลงไป ส่งเสริมการปลูกพืชที่เป็นอาหารให้กับสัตว์ป่าพวกนี้ทั้งช้างและกระทิงครับ ถ้าจำกันได้ ท่าน สส. สุรเกียรติ เทียนทอง ได้เคยอภิปรายแล้วก็หารือกับท่านประธานผ่านไปยัง หน่วยงานนี้แล้วในเรื่องของช้างป่าที่ลงมาทำลายพืชผลของชาวบ้านในเขตพื้นที่ตาพระยา วันนี้เป็นพื้นที่อำเภอวังน้ำเย็น ตำบลทุ่งมหาเจริญ อย่างไรฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วก็ฝากทีมสัตวแพทย์ช่วยกันจัดทำแผนในการที่จะทำหมันช้างป่าพวกนี้ให้อยู่ในจำนวนที่ พวกเราสามารถจะควบคุมได้ครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านพงษ์มนู ทองหนัก
นายพงษ์มนู ทองหนัก พิษณุโลก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ วังทอง เนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลกครับ วันนี้จะขอหารือกับท่านประธานเรื่องเดียวครับ เนื่องจากผมได้รับการร้องเรียนจาก ท่านลำพูล สีหะวงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ว่ามีปัญหาอยากจะทำถนน เข้าแหล่งท่องเที่ยว คือน้ำตกแก่งว่าวของหมู่ที่ ๑๓ บ้านซำทองพัฒนา ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้ชาวบ้านได้มีแหล่งท่องเที่ยวอันใหม่อันเกิดจาก ธรรมชาติที่สวยงาม แต่ปรากฏว่า ๒ ข้างทางจำนวนประมาณ ๓ กิโลเมตรนั้น ๒ ข้างทาง ก็จะเป็นที่ดินของ ส.ป.ก. บ้าง ป่าไม้บ้าง เพราะฉะนั้นไม่สามารถดำเนินการได้ และทาง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางได้ดำเนินการขออนุญาตจากกรมป่าไม้เป็นระยะ เวลานานแล้วว่าอยากจะทำถนนเข้าแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ แต่ว่ากรมป่าไม้ยังไม่ได้รับอนุญาต ให้จัดทำ จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้วคนต่างจังหวัดอย่างพวกผมฤดูร้อนก็นิยมไปที่น้ำตก ไปแช่น้ำ ไปกินข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง ส่วนใหญ่คนในเมืองฤดูร้อนก็จะไปเดินห้างเซ็นทรัล ห้างโรบินสัน แม็คโคร โลตัส ซึ่งจริง ๆ แล้วจังหวัดพิษณุโลกก็มีห้างเหล่านี้ แต่ว่าสถานที่ ดังกล่าวคนตำบลบ้านกลางผมอยู่ห่างจากในเมืองประมาณ ๘๐-๙๐ กิโลเมตร ก็ไม่สะดวก ในการเดินทางไปเที่ยวในตัวเมือง เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงนิยมที่จะไปลงเล่นน้ำส่วนใหญ่ในฤดูร้อน และสิ่งเหล่านี้ถ้ามีการทำ ถนนหนทางที่ดีขึ้นจะทำให้ชาวบ้านแถวนั้นได้มาทำการค้าขาย ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ข้าวเหนียว ไก่ย่าง ซึ่งคนบ้านนอกอย่างพวกผมนิยมรับประทานจะทำให้เศรษฐกิจชุมชน ได้มีความมั่งคั่งขึ้น ดังนั้นวันนี้ก็จะขอฝากท่านประธานได้ช่วยประสานไปยังกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า อบต. บ้านกลาง ได้ส่งเอกสารไปนานแล้ว แต่ยังไม่อนุญาต และอีกประการหนึ่งประการสุดท้าย คือว่าหมู่ที่ ๑๓ บ้านซำทองพัฒนา ของตำบลบ้านกลางของผมนี้อยู่ห่างไกลหมู่บ้านระยะทางยาวตามถนน การสื่อสารไม่ดี โทรศัพท์ใช้ไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่น้ำตกแก่งว่าวนี้เป็นจุดบอด อับสัญญาณ โทรศัพท์ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นฝากท่านประธานประสานไปยัง กสทช. ช่วยจัดสรร งบประมาณในการดำเนินการคลื่นความถี่ให้กับพี่น้องตำบลบ้านกลางของผมด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านละออง ติยะไพรัช เชิญครับ
นางสาวละออง ติยะไพรัช แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน ละออง ติยะไพรัช บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ดิฉันได้รับข้อร้องเรียนจาก พี่น้องในเขตเทศบาลอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย คือในเรื่องของการขยายประปา ในหมู่บ้าน คือหมู่ที่ ๕ ปงตอง หมู่ที่ ๓ ตลาดแม่จัน และหมู่ที่ ๔ บ้านเด่นป่าสัก ดิฉันอยากจะ บอกท่านประธานผ่านไปทางกระทรวงมหาดไทยว่าทั้งบ้านปงตองก็คือเป็นแหล่งที่ส่งน้ำ ให้กับประปาทั่วในอำเภอแม่จัน แต่ในเขตหมู่บ้านนี้ไม่สามารถที่จะใช้ประปาได้ เพราะว่า ในส่วนของประปาส่วนภูมิภาคไม่มีขยายเขตประปาให้ แล้วก็มีหลายพื้นที่ในอำเภอแม่จัน ที่ประปาไม่ได้ขยายเขตในการส่งท่อส่งน้ำให้
นางสาวละออง ติยะไพรัช แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อันที่ ๒ ในเรื่องของไฟแสงสว่างค่ะ ในเขตอำเภอแม่จันเองมีหลายจุด ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งในเรื่องของแสงสว่างไม่เพียงพอ ตอนนี้ถ้าทางกรมทางหลวง ไม่สามารถที่จะติดไฟส่องสว่างได้ทั้งสาย ดิฉันขอให้ท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงคมนาคม ก็คือขอให้ติดไฟแสงสว่างในจุดที่สำคัญคือ จุดที่ ๑ จุดที่แม่จัน แม่อาย คือถนนแม่จัน ถนนแม่อายนี้เป็นแหล่งที่คนจากจังหวัดเชียงใหม่ที่แม่อาย-ฝาง ใช้เส้นทางนี้ประจำ แล้วก็ จะเกิดอุบัติเหตุบ่อย จุดที่ ๒ ก็คือจุดที่สามแยกแม่จัน คือแม่จัน-เชียงแสน อันนี้ก็คือไม่มี แสงสว่างเพียงพอที่จะให้พี่น้องประชาชนที่สัญจร แต่ถ้านึกภาพไม่ออกว่าเราจะทำแสงสว่าง อย่างไร ดิฉันขอให้กรมทางหลวงดูตัวอย่างไฟแสงสว่างที่หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ก็คือเป็นแสงสว่างที่เพียงพอที่จะให้พี่น้องสัญจร แล้วก็เป็นแหล่งที่สามารถที่จะเข้าเมือง มีแสงสว่างทั่วทั้งเมืองได้ วันนี้ดิฉันก็ขอฝากท่านประธานไปทางกระทรวงคมนาคมด้วยค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านสุไลมาน บือแนปีแน เชิญครับ
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม สุไลมาน บือแนปีแน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดยะลา พรรคประชาชาติ อำเภอยะหา อำเภอเมือง จังหวัดยะลาครับ วันนี้ผมมีเรื่องจะหารือกับ ท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ ๒ เรื่องด้วยกัน ขอสไลด์ด้วยครับ
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
เรื่องแรก ก็คือในเรื่องของน้ำบาดาลที่อยู่ ในเขตพื้นที่ตำบลพร่อน ผมได้มีโอกาสได้ลงพื้นที่พบปะทั้งนายก อบต. ทั้งสมาชิก อบต. ทั้งผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ในพื้นที่หมู่ที่ ๑ ตำบลพร่อน เนื่องจากว่าในพื้นที่แห่งนี้น้ำดิบ ที่นำมาจากน้ำบาดาลมีคุณภาพน้ำที่ไม่ดี ฉะนั้นแล้วชาวบ้านก็เลยมาร้องเรียนเพื่อให้ ท่านประธานทำหนังสือไปยังกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเพื่อหาแหล่งน้ำบาดาลแห่งใหม่บริเวณ หมู่ที่ ๑ นี้เพื่อที่จะมารองรับในเรื่องของน้ำเพื่อการบริโภคและอุปโภคให้กับพี่น้องในเขต หมู่ที่ ๑ ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลาครับ
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนในเรื่องของถนน ซึ่งเป็น ถนนสายทาง ยล.๓๐๐๓ อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง ในเขตตำบลพร่อนรอยต่อกับตำบล ลำใหม่ ซึ่งปัจจุบันนี้ถนนบริเวณนี้เป็นถนนที่มีความกว้างประมาณสัก ๙ เมตร มีรถสัญจร ไปมามากมาย เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ฉะนั้นแล้วชาวบ้านในบริเวณดังกล่าวหรือผู้ที่สัญจรไปมาก็อยากที่จะให้ท่านประธาน ทำหนังสือไปยังกรมทางหลวงชนบทเพื่อให้ทำการขยายเส้นทางดังกล่าว อาจจะในช่วงแรก ช่วงที่มัสยิดท่าสาปไปจนถึงช่วงก่อนที่จะถึงมัสยิดหมู่ที่ ๔ ของท่าวัง ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านแรก ท่านเทอดชาติ ชัยพงษ์ ท่านที่ ๒ ท่านร่มธรรม ขำนุรักษ์ ท่านที่ ๓ ท่านปรีดา บุญเพลิง เชิญท่านเทอดชาติ ชัยพงษ์ ครับ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เทอดชาติ ชัยพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๕ พรรคเพื่อไทย อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล อำเภอเทิง และตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ ผมได้รับ เรื่องจากนางลาวรรณ ธนรุ่งเรืองเดช นายกเทศมนตรีตำบลยางฮอม เรื่องปัญหาการขอ เอกสารสิทธิที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยทางทิศตะวันออก ถนนสายเทิง-เชียงของ ซึ่งยาวตั้งแต่ ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของถึงอำเภอขุนตาล ตำบลยางฮอม ตำบลป่าตาล ตำบลต้า และอำเภอเทิง ตำบลเวียง ตำบลตับเต่า ตำบลศรีดอนชัย ตำบลหนองแรด และตำบล แม่ลอย พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ติดเชิงเขา ซึ่งประชาชนราษฎรได้อยู่กันมายาวนานหลายรุ่น หลายชั่วอายุคนแล้วครับ บางพื้นที่บางแห่งได้เอกสารสิทธิ แต่บางที่ที่ติดกันไม่ได้ เอกสารสิทธิ เนื่องจากทางกรมป่าไม้เองนั้นได้ขีดเส้น ทางที่หลุดเส้นมาก็ไม่สามารถที่จะมี เอกสารสิทธิได้ และอีกประการหนึ่ง พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเดิมของป่าห้วยป่าแดง ป่าห้วยป่าตาล และป่าห้วยไคร้ ซึ่งสามารถที่จะออกเอกสารสิทธิให้ประชาชนในพื้นที่ได้ จึงควรจำแนกและขอหารือท่านประธานให้สามารถออกเอกสารสิทธิให้กับประชาชนในพื้นที่ ตรงนี้ได้ครับ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ได้รับเรื่องจากนายกเทศมนตรีตำบลพญาเม็งราย ขอปรับปรุง ระบบคลองส่งน้ำสายหลัก อ่างห้วยแม่เลียบ จากสะพานท้ายหมู่บ้านสันสามัคคี ลำเหมืองกลาง ร่องสลีกสุดสาย เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม และมีน้ำทำการเกษตรกรรม และการอุปโภคบริโภคครับ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ รับเรื่องจากนายอรุณ ชินคำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ ตำบลสันทราย ขอซ่อมแซมฝายน้ำล้นแม่อิง หมู่ที่ ๕ ซึ่งมีฝายแล้วประมาณ ๓๐ กว่าล้านบาท แต่ว่ามี ร่องแตกซึ่งสามารถที่จะซ่อมแซมแล้วก็ใช้ประโยชน์ได้อีกยาวนานครับ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ รับเรื่องจากนายประสิทธิ์ พิลาวุฒิ นายกเทศมนตรีตำบลสันทรายงาม เรื่องสถานีสูบน้ำโซลาเซลล์ บ้านหนองสามัคคี หมู่ที่ ๔ ตำบลสันทรายงาม จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำให้กับราษฎรในการทำการเกษตรและอุปโภคบริโภค ขอบคุณ ท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอเชิญท่านร่มธรรม ขำนุรักษ์ ครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กระผม ขออนุญาตนำปัญหาและความต้องการของพี่น้องประชาชนมาหารือดังต่อไปนี้ครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๑. ขอให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บูรณาการการบริหารจัดการปัญหา น้ำท่วมในจังหวัดพัทลุงอย่างเป็นระบบ เนื่องจากปัจจุบันเกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลันบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนทั้งพื้นที่ริมภูเขาและริมอ่างเก็บน้ำที่ได้รับผลกระทบจาก น้ำป่าไหลหลากและน้ำจากอ่างเก็บน้ำ เช่น ในอำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน และอำเภอศรีนครินทร์ ด้านพื้นที่รองรับน้ำชายคลองและริมทะเลสาบได้รับผลกระทบจากน้ำ ท่วมขังและน้ำทะเลหนุน เช่น ในอำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว และอำเภอเขาชัยสน โดยควรมีระบบการแจ้งเตือนการป้องกันเหตุและป้องกันความเสียหาย ควรมีการระบายน้ำ ที่มีประสิทธิภาพ และควรมีการรับมือช่วยเหลือและเยียวยาพี่น้องประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบอย่างทั่วถึงและทันท่วงที ซึ่งต้องมีการจัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่นและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๒. ขอให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาสนับสนุนงบประมาณการทำ ระบบประปาจากภูเขาและอ่างเก็บน้ำให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพัทลุง ทั้งในอำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด และอำเภอป่าบอน โดยในพื้นที่ อบต. หนองธง อำเภอป่าบอนมีความต้องการทำโครงการวางท่อประปา PE ส่งน้ำดิบจากต้นน้ำตกโตนสะตอ ไปยังพื้นที่ของตำบลเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคให้พี่น้องประชาชน และ ในพื้นที่เทศบาลตำบลเขาหัวช้างและเทศบาลตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด ที่มีอ่างเก็บน้ำ คลองหัวช้างตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ แต่พี่น้องประชาชนในพื้นที่กลับไม่ได้ใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตรเท่าที่ควรครับ สาเหตุจากการเดินระบบท่อไม่ทั่วถึง ชำรุด ขาดการดูแล และซ่อมบำรุง ซึ่งหากได้รับการปรับปรุงแก้ไขในการวางระบบท่อประปาอย่างเร่งด่วน จะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนกว่า ๓,๐๐๐ ครัวเรือน และแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่จะถึงนี้ ได้ครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๓. ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากร น้ำบาดาล และสำนักงบประมาณ ได้สนับสนุนโครงการพัฒนาน้ำบาดาลของเทศบาลตำบล กงหรา อำเภอกงหรา เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคให้กับพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่จะถึงนี้ครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านปรีดา บุญเพลิง เชิญครับ
นายปรีดา บุญเพลิง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายปรีดา บุญเพลิง สส. แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรค ครูไทยเพื่อประชาชน การศึกษานำการเมือง ครูพัฒนาคน ประชาชนพัฒนาชาติ รากฐานของ ตึกคืออิฐ รากฐานของชีวิตคือการศึกษา ขอหารือท่านประธานผ่านไปยังนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเลิกการอยู่เวรยามรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ ต้องขอขอบคุณ ครม. ทั้งคณะที่มองเห็นปัญหานี้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครูต้องรับภาระ หน้าที่เวรยามรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ ครูต้องเสียสละเวลาแรงกายแรงใจ เสี่ยงทั้งชีวิตที่จะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ดังตัวอย่างที่เป็นข่าวมาโดยตลอด การยกเลิกมติ ครม. ในครั้งนี้ถือว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมกับการลดภาระครูและสร้าง ขวัญกำลังใจที่ดีในการทำงานของครู ท่านประธานที่เคารพครับ ผมอยากจะเสนอแนะ เพิ่มเติม กระทรวงศึกษาธิการควรมีมาตรการที่ชัดเจนให้ผู้บริหารโรงเรียนและครูปฏิบัติ หน้าที่ได้ถูกต้องเป็นแนวเดียวกัน มิใช่โยนภาระให้โรงเรียนดำเนินการแก้ไขตามลำพัง อย่าลืมว่าถ้าทรัพย์สินของทางราชการเกิดความเสียหาย ไม่ว่ากรณีใด ๆ ผู้บริหาร ครู ต้องรับผิดชอบอย่างแน่นอน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ถ้าจะอาศัยกล้องวงจรปิดผมก็ ไม่มั่นใจว่าความปลอดภัยมันจะเกิดขึ้น ถ้าจะอาศัยตำรวจหรือชุมชน อย่าลืมว่าทุกฝ่าย มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบมากมาย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์วัวหายล้อมคอก ผมขอ เสนอแนะ ครม. ได้โปรดจัดสรรอัตรากำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. และ นักการภารโรงให้ครบทุกโรงเรียนบรรจุแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รับสวัสดิการ เหมือนกับข้าราชการทุกประการ ถ้าทำได้อย่างที่ผมเสนอปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น อย่างแน่นอน ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เหลืออีก ๔ ท่านสุดท้าย ท่านแรก ท่านวีรภัทร คันธะ ท่านที่ ๒ ท่านสรรเพชญ บุญญามณี ท่านที่ ๓ ท่านกิตติ์ธัญญา วาจาดี ท่านที่ ๔ ท่านกัณวีร์ สืบแสง เชิญท่านวีรภัทร คันธะ เชิญครับ
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วีรภัทร คันธะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง พรรคก้าวไกล ขอปรึกษาหารือท่านประธานดังนี้ครับ
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องแรก ประตูน้ำบริเวณหลังวัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร มีปัญหา น้ำลอดผ่านใต้เขื่อนเข้ามา ก็ทราบว่ามีงบประมาณในการซ่อมแซมแล้ว แต่ชาวบ้าน อยากทราบว่าเริ่มเมื่อไร น้ำท่วมบ้านเรือนในชุมชนบ่อยครั้ง ตอนนี้ก็เดือดร้อนมาก
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องต่อมา สะพานทางเข้าชุมชนคลองเพลงมีสภาพชำรุดทรุดโทรม อยากให้ ดำเนินการปรับปรุง แต่เหมือนจะติดปัญหาที่กรมเจ้าท่า อย่างไรรบกวนฝากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลปัญหาด้วย
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องต่อมา ได้รับการร้องเรียนจาก กศน. ในอำเภอพระประแดงว่าไม่มี สถานที่ใช้เรียนที่เป็นหลักเป็นแหล่ง ปัจจุบันใช้พื้นที่วัดในการเรียนการสอน บางแห่งเรียนกัน บนศาลาทำศพกันเลย ก็อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยกันดูแลหาสถานที่ ที่เป็นหลักเป็นแหล่งให้ด้วย
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องต่อมา บริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย ใต้สะพานภูมิพลตรงบริเวณทางเลี้ยวขึ้น เวลาน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหนุนสูงจะมีน้ำท่วมตลอด เสียพื้นที่บนถนนไป ๑ เลน ตรงนี้เป็น ปัญหาเรื้อรังมานาน อย่างไรรบกวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขด้วย
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องต่อมา ชาวบ้านร้องกันเข้ามาว่ารถสองแถวและรถบริการสาธารณะ ในพื้นที่ปู่เจ้าสมิงพรายเกิดความขาดแคลน โดยเฉพาะเส้นทางการวิ่งบางฝ้าย-ท่าน้ำ พระประแดง ปัจจุบันไม่มีแล้ว อย่างไรรบกวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลแก้ไขปัญหา ตรงนี้ด้วย
นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย ชาวบ้านขอกันมาเลย ป้อมแผงไฟฟ้าและหลุมหลบภัย กลางอากาศที่พระประแดงถูกทิ้งชำรุดทรุดโทรม ท่านดูบนสไลด์จะเห็นว่ามีสภาพที่ดูไม่ออก ว่าเป็นโบราณสถานที่ทรงคุณค่าของชาวพระประแดง ทั้ง ๆ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ชุมชนและความภาคภูมิใจของชาวพระประแดง อย่างไรฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย หาแนวทางฟื้นฟูให้ทั้ง ๒ แห่งกลับมาเป็นโบราณสถานที่ทรงคุณค่าดังเดิม ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะอาจารย์ นิสิต บุคลากรหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับนะครับ ต่อไปท่านสรรเพชญ บุญญามณี เชิญครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายสรรเพชญ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้กระผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานทั้งหมด ๓ เรื่องด้วยกันครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ตามที่กระผมได้ปรึกษาหารือท่านประธานในสมัยประชุมที่ผ่านมา เพื่อขอความคืบหน้ากรณีเกี่ยวกับการก่อสร้างอะควาเรียมหอยสังข์ที่จังหวัดสงขลา ซึ่งขณะนี้อยู่ในชั้นพิจารณาของ ป.ป.ช. กระผมมั่นใจว่ากระผมได้กระทุ้งเรื่องนี้ไปหลายครั้ง ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถที่จะกระทำได้ ทั้งการ ปรึกษาหารือ การตั้งกระทู้ถามท่านประธาน การอภิปราย รวมถึงการเสนอเรื่องนี้ในที่ประชุม ของคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ แต่สิ่งที่กระผมได้ ทราบถึงความคืบหน้าของการก่อสร้างโครงการนี้คือเอกสารลับเพียงฉบับเดียวครับ แล้วแจ้ง ว่าเรื่องดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการสอบสวน ซึ่งกระผมอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ออกมาชี้แจงให้กับพี่น้องประชาชนได้ทราบถึงความคืบหน้าของโครงการ และที่สำคัญที่สุด คือโครงการอะควาเรียมหอยสังข์จะดำเนินการต่อไปหรือไม่ เพราะว่าเรื่องนี้อยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ จึงขอแนวทางในการดำเนินการแก้ไขด้วยครับ เพราะว่าเรื่องนี้พี่น้องประชาชนชาวสงขลารอมา ๑๕ ปีแล้ว ผมแอบได้ยินพี่น้องชาวสงขลา กระซิบกันว่าถ้าทำไม่ได้ก็ทุบทิ้งไปเลยดีกว่า อย่าปล่อยให้มันเป็นมรดกบาปไปถึงลูกหลาน ของเรา
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอหารือไปยังการรถไฟ กระทรวงมหาดไทย และสถาบันพัฒนา องค์กรชุมชนหรือ พอช. ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์เกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชนชาวสงขลา บริเวณ อำเภอเมืองสงขลาครับ เนื่องจากไม่สามารถขอมิเตอร์น้ำมิเตอร์ไฟฟ้าได้ เพราะไม่เข้าเงื่อนไข เรื่องของสัญญาเช่า ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่ในพื้นที่ในขณะนี้ จึงขอให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันหาทางออกร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการเช่าที่จากรถไฟเพื่อที่จะให้พี่น้อง ประชาชนสามารถที่จะอยู่อาศัย หรือทาง พอช. จะสามารถที่จะดำเนินการ ก็สุดแล้วแต่ท่าน จะเห็นสมควร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ขอให้ท่านประธานหารือไปยังกระทรวงมหาดไทยและกระทรวง สาธารณสุขเกี่ยวกับเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าที่กำลังระบาดในพื้นที่ เพราะว่าโรคนี้เป็นโรค จากสัตว์สู่สัตว์และสู่คนด้วย เนื่องจากจะแพร่ระบาดในช่วงหน้าร้อน จึงขอให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเตรียมตัวรับมือกับโรคที่กำลังระบาดนี้ รวมถึงการหาวัคซีนมาป้องกันลูกหลาน ของเรา เพราะว่าโรคนี้อัตราการเสียชีวิตเกือบจะ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไม่มียารักษา จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับไปพิจารณาดูแลเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของลูกหลานของเรา รวมถึงนักท่องเที่ยวด้วยครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านกิตติ์ธัญญา วาจาดี เชิญครับ
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ ๔ อำเภอวารินชำราบ อำเภอสำโรง พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ดิฉัน นำเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนนำปรึกษาหารือต่อท่านประธานทั้งหมด ๒ เรื่อง
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องแรก จากที่สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีทั้ง ๔ ท่านได้ลงพื้นที่แล้วมีเสียงสะท้อนความเดือดร้อน ของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ดิฉันขออนุญาตเอ่ยนามท่าน สส. นะคะ ท่านแรก ท่านวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ท่านสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ ท่านธัญธารีย์ สันตพันธุ์ และดิฉัน กิตติ์ธัญญา วาจาดี ทุกที่มีปัญหาสะท้อนจากพี่น้องประชาชนในเรื่องของยาเสพติดในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี โดยเฉพาะน้ำกระท่อม ดิฉันได้นำเรียนเรื่องนี้สะท้อนปัญหาจากที่ พี่น้องประชาชนได้ประสบปัญหา สะท้อนเรื่องนี้ไปยังท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน และ ท่านหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ท่านแพทองธาร ชินวัตร เพียงครู่เดียวท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้สั่งการให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย แล้วก็กระทรวง สาธารณสุข ลงพื้นที่ที่เกิดปัญหาและดำเนินการจับกุมอย่างเร่งรัด ทำให้ประชาชน และทำให้ เด็กนักเรียนนักศึกษาพึงพอใจเป็นอย่างมากค่ะ โดยเฉพาะการจำหน่ายใบกระท่อม น้ำต้ม ใบกระท่อมให้กับนักเรียน นักศึกษา ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะอำเภอวารินชำราบหวั่นใจ เป็นอย่างยิ่ง และดิฉันขอชื่นชมสถานีตำรวจภูธรอำเภอวารินชำราบที่ได้ขยายผล นอกจาก จับกุมเสร็จแล้วยังได้ดำเนินการลงพื้นที่ในสถานศึกษาเพื่ออธิบายโทษแล้วก็ความไม่ ปลอดภัยของน้ำกระท่อมให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง แล้วก็คุณครูได้รับทราบ ดิฉันขอขอบคุณ เป็นอย่างยิ่งที่ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ท่านได้เล็งเห็นแล้วก็รับฟังเสียงจากประชาชน เพื่อที่จะให้เด็ก ๆ ของเราห่างไกลจากยาเสพติด กราบขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านสุดท้าย ท่านกัณวีร์ สืบแสง เชิญครับ
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ วันนี้ผมขออนุญาตหารือท่านประธานเกี่ยวกับความเดือดร้อนของพี่น้อง ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ท่านประธานครับผมได้รับการประสานจาก พี่น้องหมู่ที่ ๑๐ บ้านห้วยทรายทอง ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ในเรื่อง เกี่ยวกับการต่อสู้ของพี่น้องประชาชนด้วยมือเปล่ากับการที่จะมีการทำขอประทานบัตร ทำเหมืองแร่หินชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ทุกท่านคงทราบดีว่าเรื่องเกี่ยวกับ การขอประทานบัตรเหมืองหินนี้มีการต่อสู้อย่างยาวนาน เพราะว่าฎหมายเรายังมีช่องว่าง กันอยู่ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าการต่อสู้ระหว่างของพี่น้องประชาชนกับอำนาจและ กฎหมายต่าง ๆ มันมีอยู่ ที่นี่ก็ที่หนึ่งครับ ที่ภูซำผักหนามหรือชาวบ้านเรียกว่า ภูโคก ห้วยน้ำสุ ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ผมขออนุญาตกล่าวสั้น ๆ เมื่อ ๘ ปี ที่ผ่านมา เมื่อปี ๒๕๕๙ ทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณา ขออนุญาตทำประโยชน์หรืออาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ บริษัท พารุ่งอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่เป็นคำสั่งโดยสำนักงานจังหวัดชัยภูมิ โดยให้ท่านปลัดจังหวัดชัยภูมิเป็นผู้พิจารณาศึกษา เป็นประธาน และนำมาซึ่งเกี่ยวกับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะว่าจะให้อนุมัติหรือไม่ สรุปว่า อนุมัติ แต่ปัญหาอยู่ตรงนี้ครับ ตัวที่อนุมัติตรงคณะกรรมการตรงนี้ที่มีปัญหา
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อันแรก คือบอกว่าเรื่องแหล่งต้นน้ำ แหล่งต้นน้ำลำธารจริง ๆ แล้วถ้าเป็น แหล่งต้นน้ำลำธารไม่สามารถที่จะทำเรื่องเกี่ยวกับการทำเป็นเหมืองหินได้ แต่ในข้อเสนอ ของเขาบอกว่าต้องให้ผู้เชี่ยวชาญไปสังเกตพิจารณาก่อนว่าเป็นแหล่งต้นน้ำหรือไม่ อีกอันหนึ่งก็บอกว่าเป็นแหล่งต้นน้ำ 3A และ 2A มันก็ทำไม่ได้ครับ แต่ว่าจริง ๆ แล้ว ตามกฎหมาย ตามมติ ครม. ทำได้ เพราะฉะนั้นมันขัดกันในตัว หนังสือของราชการไม่ควรที่ จะขัดกันในตัวเอง ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิท่านต้องชี้แจง
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อันที่ ๒ เรื่องเกี่ยวกับเลียงผา เรามีสัตว์อนุรักษ์ของเรา เลียงผาเรียกว่าเป็น สัตว์อย่างหนึ่ง เรียกว่าพืชและสัตว์ถิ่นเดียว Endemic Species คือไม่พบที่อื่นใดในโลกนี้ เพราะฉะนั้นจะต้องเป็นสัตว์สงวนที่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อันที่ ๓ พื้นที่ตรงนี้ที่จะทำเหมืองหินนี้ใกล้กับบ้านพี่น้องประชาชนต่ำกว่า ๕๐๐ เมตร เพราะฉะนั้นท่านผู้ว่าราชการจังหวัดจำเป็นจะต้องมีหนังสือแจ้งมาว่า ๓ เรื่องนี้ เรื่องแรกเป็นแหล่งต้นน้ำหรือไม่ เรื่อง ๒ เรื่องเกี่ยวกับ พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เรื่องเกี่ยวกับเลียงผาว่าท่านจะยอมให้การทำเหมืองหินนี้ทำลายสัตว์ที่เรียกว่าสัตว์สงวน หรือไม่ อันที่ ๓ ที่ใกล้กับพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นต้องชี้แจงมาครับ ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ..... คน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านสมาชิกครับ ขณะนี้มีสมาชิกมาเข้าชื่อประชุมจำนวน ๓๑๕ ท่าน ครบองค์ประชุมแล้วนะครับ ขอเปิดการประชุมและดำเนินการตามระเบียบวาระ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านจะหารือก่อนใช่ไหมครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านประธาน ที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทอง ท่านประธานครับ ก่อนอื่นต้องขอบพระคุณท่านประธานที่ได้กรุณาให้มี การนัดการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ แล้วท่านประธานพิเชษฐ์เองท่านนั่งเป็นประธานในที่ประชุม ผมอยากจะนำเรียน ซึ่งท่านประธาน คงทราบดี และเพื่อนสมาชิกบางท่านก็คงทราบแล้ว แต่อยากจะนำเรียนว่าในมติที่ประชุมนั้น มีเรื่องสำคัญประการใดบ้าง พี่น้องสื่อมวลชนหรือพี่น้องประชาชนทางบ้านก็จะได้เข้าใจว่า สภาเราจะเดินหน้าการประชุมอย่างไร มติที่ประชุมมีอยู่ ๔ เรื่องที่น่าสนใจครับท่านประธาน
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ สำหรับในวันพุธที่ ๓๑ มกราคมและวันพฤหัสบดีที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เราจะเดินวาระกันไปตามปกติ แต่แน่นอนครับว่าหากมีกรณีที่มีความจำเป็น มีเหตุ ประการสำคัญใด ๆ ที่คิดว่ายังจำเป็นต้องมีการเลื่อนวาระก็คงเป็นเรื่องที่พูดคุยกันภายใน การประสานงานของทั้ง ๒ ฝั่ง ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ดีครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ในวันนั้นเรามีมติว่าตั้งแต่วันพุธหน้าเป็นต้นไปเราก็จะมีการนัด ประชุมกฎหมาย แล้วก็ในวันพุธที่ ๗ กุมภาพันธ์นั้นจะเริ่มจากการประชุมร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง ซึ่งมีร่างของเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อยู่ทั้งหมด ๕ ร่างที่บรรจุวาระแล้ว แต่ว่ายังรออยู่ว่าจะได้รับการพิจารณาเมื่อไร บวกกับอีก ๑ ร่างของทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งท่านประธานได้กรุณาย้ำมากในวันนั้นว่าอยากให้รัฐมนตรี เร่งดำเนินการ ผมคิดว่าเดินไปก่อนแบบนั้นครับ แต่อย่างไรก็ตามก็รับทราบมาว่า ทางคณะรัฐมนตรีเองมีมติ ครม. เมื่อวานนี้ที่ขอเวลาอีกสัก ๑ เดือนที่จะส่งให้คณะกรรมการ กฤษฎีกาพิจารณาก่อนกลับมา แต่ผมคิดว่าประเด็นหลักอยู่ที่ว่าเราเห็นว่ามีร่างของ สส. ถึง ๕ ร่างที่รอการพิจารณา แล้วพี่น้องประชาชน พี่น้องชาวประมงคงรอไม่ได้ ทั้งประมง พาณิชย์แล้วก็ประมงพื้นบ้าน ผมอยากจะนำเรียนย้ำว่าอยากจะให้เดินไปก่อน แต่ว่าถ้ามีเหตุ จำเป็นอย่างไรจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวาระก็คงจะต้องมีการหารือกัน
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ หลังจากนี้เป็นต้นไปในวันพุธครับ พูดง่าย ๆ ก็คือตั้งแต่วันพุธที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ วัน Valentine วันพุธที่ ๒๑ วันพุธที่ ๒๘ ต่าง ๆ นี้เราก็จะปรับเปลี่ยน การกำหนดวาระว่ามาประชุมพิจารณากฎหมาย จะเป็นกฎหมายของ ครม. จะเป็นกฎหมาย ของเพื่อนสมาชิก สส. จะเป็นกฎหมายของภาคประชาชน แม้กระทั่งกฎหมายที่คณะรัฐมนตรี ขออนุมัติรับไปก่อนเพื่อพิจารณาก่อนรับหลักการ เช่น ร่างพระบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย อันนี้ก็ใกล้ครบกำหนด ๖๐ วันแล้ว ก็คาดว่าจะกลับมาให้พิจารณากัน ในทุกวันพุธ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๔ เป็นประการสุดท้ายว่าสำหรับในทุกวันพฤหัสบดีนั้นเราก็จะ พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของรายงานของคณะกรรมาธิการที่มี การพิจารณาเสร็จแล้ว รายงานของหน่วยงานต่าง ๆ แล้วก็รวมถึงญัตติต่าง ๆ ที่ยังมีเพิ่ม เข้ามาเรื่อย ๆ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
นั่นคือ ๔ ประการสำคัญที่ทางวิปทั้ง ๒ ฝ่ายที่มีท่านประธานกรุณานั่งเป็น ประธานได้พิจารณาหารือสรุปกัน แล้วก็ขออนุญาตแถมเพิ่มเติมอีกนิดเดียวครับว่า นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีประเด็นที่วางไว้ล่วงหน้าว่า คาดว่าจะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพิ่มในวันศุกร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ เพื่อนสมาชิกก็ได้มีการเตรียมตัวครับ ก็ขออนุญาตนำเรียน ในสิ่งที่ท่านประธานได้นำประชุมในวันนั้น แล้วก็เป็นประเด็นที่อยากให้พี่น้องสื่อมวลชน พี่น้องประชาชนได้รับทราบถึงการทำงานร่วมกันของสภาผู้แทนราษฎรของเรา ขอบคุณครับ ท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ก็ตามที่ท่านได้นำเสนอนะครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
ท่านประธาน ขออนุญาตนิดหนึ่งครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ทางท่านแล้วก็ทางฝั่งรัฐบาล เชิญครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ พรรคก้าวไกล จังหวัดระยอง ในฐานะวิปฝ่ายค้านครับ ขออนุญาตติดตามเรื่องที่ ทางท่าน สส. ณัฐชาได้ลุกขึ้นหารือไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กรณีเรื่องของห้องหลังบัลลังก์ที่ควร จะเป็นห้องของวิปฝ่ายค้าน ซึ่งตอนนี้ไม่แน่ใจว่าผ่านมา ๑ สัปดาห์ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างแล้ว เพราะว่าก็เหมือนจะยังเข้าไปใช้ไม่ได้ แล้วก็เป็นห้องที่มีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งทำการ ยึดครองอยู่ แล้วก็หลังจากการประชุมวิปที่ผ่านมานี้ก็มีคำตอบกลับมาว่ายังไม่สามารถใช้ได้ ซึ่งเรื่องนี้เท่าที่ทราบคือน่าจะเป็นทางท่านประธานที่เป็นผู้รับผิดชอบ ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ มีความคืบหน้าอย่างไรไหมกับการที่ห้องหลังบัลลังก์ถูกยึดและไม่สามารถใช้คำสั่งของ ท่านประธานทำให้กลับมาเป็นห้องของวิปฝ่ายค้านได้ จึงขออนุญาตติดตามเรื่องนี้กับ ทางท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เรื่องนี้ผมยังไม่ได้ทราบเลย เดี๋ยวจะไปดูให้ เดี๋ยวจะไปติดตามให้ เรื่องห้องนะครับ
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ระยอง ต้นฉบับ
ครับ เพราะว่าเคยหารือไป ๒ ครั้งแล้ว ผมเป็นคนแรกที่ได้หารือ ท่านที่ ๒ ก็คือท่านณัฐชา เหมือนจะมีคำสั่งไปแล้วตอนนี้ ต้องขอ อนุญาตติดตามจริง ๆ ครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ได้ครับ ขอบคุณครับ เชิญทางวิปรัฐบาล
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย คนละประเด็นกับ เพื่อนสมาชิกนะครับ ท่านประธาน ผมเสนอขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๔ (๒) ขอให้นำญัตติที่ ๕.๕๐ ไปพิจารณาต่อจากกระทู้ถามทั่วไป ในวันพรุ่งนี้ ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้อง ท่านสมาชิกครับ มีสมาชิกเสนอญัตติตามข้อบังคับ ข้อ ๕๔ (๒) ขอเปลี่ยน ญัตติที่ ๕.๕ ขึ้นมาพิจารณาต่อ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ท่านประธาน ญัตติที่ ๕.๕๐ ครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๕.๕๐ ขึ้นมาพิจารณาต่อจากระเบียบวาระกระทู้ถามในวันพรุ่งนี้ จะมีสมาชิก ท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมเข้าใจว่าเป็นการเปลี่ยนระเบียบวาระ ซึ่งทำได้ครับ เพียงแต่ว่าอยากจะฟังเหตุผลจาก ฝ่ายรัฐบาลนิดหนึ่งว่าระเบียบวาระที่ ๕.๕๐ นั้นเป็นเรื่องใด อย่างไร แล้วก็เหตุที่มี ความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระเบียบวาระมาพิจารณานั้นท่านมีเหตุผลแบบใด ประการใด เพื่อจะได้ประกอบการพิจารณาหรือการตัดสินใจครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ที่ผมเสนอก็คือขอให้เลื่อน ญัตติที่ ๕.๕๐ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา แนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เหตุผลและความจำเป็น เนื่องจากในขณะนี้ เรามีการพูดคุยเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นในสภาหรือนอกสภา ในภาคประชาชนเองก็ตามก็มีการพูดคุย เรื่องนี้และเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ แต่ในขณะเดียวกันครับท่านประธาน สิ่งที่ หลายฝ่ายกำลังคุยกันก็มีความเห็นที่แตกต่าง ทุกฝ่ายที่เห็นว่าควรจะมีกฎหมายนิรโทษกรรม ให้เกิดขึ้นนั้นมีความเห็นที่ยังแตกต่างกันในหลายประเด็น เพราะฉะนั้นทางรัฐบาล โดยเฉพาะผู้เสนอญัตติเองและฝ่ายเรานั้นจึงมองว่าการที่จะให้ใช้พื้นที่สภาเป็นพื้นที่กลาง ในการพูดคุยต่าง ๆ อย่างน้อย ๆ ให้ทุกคน ให้ทุกกลุ่มที่ต้องการที่จะเสนอกฎหมายนี้ได้มี พื้นที่มาคุยกันที่เป็นพื้นที่ตรงกลาง จะได้ทำให้เราสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้ ถ้าทุกฝ่าย สามารถหาจุดร่วมกันได้ และจุดไหนที่ยังมีความแตกต่างกันหรือเห็นไม่ตรงกันก็จะได้ สามารถพูดคุยกันได้ เพราะในขณะนี้ทุกฝ่ายที่ต้องการเสนอร่างกฎหมายนั้นก็จะเสนอ แนวคิดของตนเอง แต่อาจจะยังไม่ได้มีโอกาสหรือมีพื้นที่ในการที่จะนำร่างของตัวเอง มาประกอบมาเปรียบเทียบกับของภาคอื่น ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชนหรือของ พรรคการเมืองเองก็ตาม เพราะฉะนั้นผมจึงมองว่าการตั้งกรรมาธิการวิสามัญจะช่วยแก้ไข ปัญหาตรงนี้และเดินหน้าไปสู่สิ่งที่พวกเราทุกคนต้องการได้ครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านประธาน ที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทอง ต้องขอบพระคุณท่านประธานที่กรุณาให้ท่านผู้เสนอญัตติได้นำเสนอว่า ท่านอยากเสนอให้มีการเลื่อนระเบียบวาระเรื่องใด ด้วยเหตุผลแบบใด ประการใด ผมขออนุญาตนำเรียนแบบนี้ว่าสิ่งที่เมื่อสักครู่ท่านตัวแทนผู้นำเสนอนั้นได้พูดอย่างชัดเจน แล้วก็เป็นคำที่คิดว่าเป็นประโยชน์สำคัญที่จะนำไปสู่ว่าเห็นควรที่จะให้มีการเลื่อนหรือไม่ ก็คือฉันทามติหรือความคิดเห็นร่วมกันของสังคมว่าผู้เห็นต่างทางการเมือง ไม่ว่าจะมีความคิด เห็นที่เป็นแบบใด ประการใดนั้นได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีอยู่จริง และเป็นฉันทามติ ร่วมกันที่คิดว่าจำเป็น ถึงเวลาที่สังคมไทยต้องทบทวนการทำกฎหมายที่พูดถึงเรื่องของ การนิรโทษกรรม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อผมพิจารณาจากระเบียบวาระผมจะพบว่ามี ระเบียบวาระที่มีเรื่องในลักษณะอาจจะใกล้เคียงกัน ทั้งที่มีอยู่ในวาระและที่ทราบมาตามที่ เป็นข่าวที่ท่านประธานได้รับหนังสือ แล้วก็ที่ปรากฏในสื่อสารมวลชนสาธารณะอยู่ทั้งหมด ๓ เรื่องด้วยกัน ตามระเบียบวาระครับ คือระเบียบวาระที่ ๕.๔๖ ร่างพระราชบัญญัติ นิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้ง ทางการเมือง พ.ศ. .... (นายชัยธวัช ตุลาธน กับคณะ เป็นผู้เสนอ) ส่วนที่ ๒ ก็คือที่ ท่านประธานได้รับไว้แล้ว ก็คือร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวเนื่องกับการนิรโทษกรรมจากผู้แทน ของพรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งผมเข้าใจว่าท้ายที่สุดนั้นอาจจะมีหลักการที่มีนัยใกล้เคียงกัน และในเดือนกุมภาพันธ์ ทางภาคประชาชนโดยเฉพาะองค์กร iLaw และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ก็จะได้มีการพิจารณานำเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมภาคประชาชนเข้ามาด้วยเช่นเดียวกัน แน่นอนว่าในทางกฎหมายซึ่งเวทีสภานั้นน่าจะเป็นเวทีที่มาพูดคุยกัน ผมเชื่อมั่นว่าเรามี ความพร้อมที่จะมีการพูดคุย และเชื่อมั่นว่าในท้ายที่สุดจะนำไปสู่การออกกฎหมาย นิรโทษกรรมครับ ฉะนั้นเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น หากมีการเลื่อนญัตติผมก็เชื่อมั่นว่าเมื่อมี การพิจารณาสภาแห่งนี้ก็น่าจะมีการรับหลักการและนำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ แน่นอนครับ สำหรับคนที่ติดคุก คนที่อยู่ในเรือนจำ คนที่อยู่ในการถูกดำเนินคดี ครอบครัวเขา คนรอบตัวเขาล้วนมีผลกระทบอย่างยิ่งที่ไม่อาจรอได้ ฉะนั้นถ้าเราจะเร่งให้มีการดำเนินการ มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการพิจารณาญัตติ แล้วมี เป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะนำไปสู่สังคมที่กลับคืนสู่ระบบปกติ แบบนั้นพวกผมคิดว่าเห็นด้วย ที่จะให้มีการเลื่อนญัตติ แล้วก็เห็นตรงกันว่าหากมีการเลื่อนได้อย่างเร็วจะมีการพิจารณากัน อย่างรวดเร็วนำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการและขอให้เปิดพื้นที่ให้มีการมีส่วนร่วม ในทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีข่าวมาว่าการจัดสรรที่นั่งในคณะกรรมาธิการที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นไปตามสัดส่วนปกติที่ควรจะเป็น ผมอยากย้ำนะครับ ท่านประธานช่วยดูนิดหนึ่งว่า ถ้าสัดส่วนเป็นไปตามปกติที่ควรจะเป็นทุกพรรค ทุกฝ่ายได้สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในนัยใกล้เคียงกัน แบบนี้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ใช่แบบนั้นก็คงต้องมาทบทวนกันอีกครั้งว่าจะเอาอย่างไร แต่เบื้องต้นก็คิดว่าเห็นชอบ และคงไม่อาจรอได้ ไม่มีอะไรที่จะรอความทุกข์ยากของคน ที่ได้รับผลกระทบจากคดี พวกผมเองไม่ค้าน และเห็นด้วยกับการเลื่อนญัตติ ขอบคุณ ท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ไม่มีผู้ใดขัดข้องนะครับ เรื่องของสัดส่วนกรรมาธิการที่จะเกิดขึ้นถ้าอยากจะให้มี ผู้มีส่วนร่วมมากขึ้นวิปคุยกันนะครับ เพิ่มจำนวนได้ ก็ถือว่าไม่มีผู้ใดขัดข้อง
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒.๑ รับทราบการพิจารณารายงานของวุฒิสภา จำนวน ๒ เรื่อง
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้มีหนังสือแจ้งว่าที่ประชุมวุฒิได้พิจารณา รับทราบรายงาน ดังนี้
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันจันทร์ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๗ ที่ประชุมได้พิจารณารับทราบรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันอังคารที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๗ ที่ประชุมได้พิจารณาและรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๕ สถาบันพระปกเกล้า ตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. ๒๕๔๑ แล้ว
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
จึงขอแจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เรียนท่านสมาชิกครับ สำหรับการพิจารณารับทราบรายงานตามกฎหมายของหน่วยงาน ตามระเบียบวาระที่ ๒.๒ และระเบียบวาระที่ ๒.๓ หน่วยงานที่จะเข้าชี้แจงต่อที่ประชุม ขออนุญาตเลื่อนการชี้แจงรายงานดังกล่าวต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรออกไปก่อน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒.๔ รับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๗ รับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมเสนอ และให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทราบตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติ พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๓๔ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ได้วางไว้ ต่อท่านสมาชิกแล้ว
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านสมาชิกครับ มีผู้ที่จะอภิปรายจำนวน ๒ ท่าน ในการนี้ก็ได้อนุญาต ให้ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมตามข้อบังคับ ข้อ ๗๖ เชิญท่านผู้มีรายชื่อดังต่อไปนี้เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๑. ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒. นางจุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๓. นางอุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญผู้อำนวยการ สวทช. ได้ชี้แจงครับ
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรที่เคารพทุกท่าน กระผม ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอเรียนนำเสนอผลการดำเนินงานของ สวทช. ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๕ ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะขออนุญาตใช้สไลด์ประกอบการ นำเสนอครับ
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
สำหรับผลงานที่จะนำเสนอในครั้งนี้เป็นผลงาน ประจำปี ๒๕๖๕ ต้องเรียนท่านสมาชิกว่าผมมารับตำแหน่งอยู่คาบเกี่ยวระหว่าง ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๖ ดังนั้นจะขออนุญาตนำเสนอผลงานทั้งในส่วนของ สวทช. ที่ดำเนินการมาก่อนที่ผมจะเป็นผู้อำนวยการไล่จนกระทั่งถึงในช่วงที่เป็นผู้อำนวยการ โดยเป็นเนื้อเดียว สำหรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมหลัก สวทช. เป็นขุมพลังหลักของ ประเทศในการใช้ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือตัวย่อคือ วทน. ของภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศวิจัยและ นวัตกรรมให้ตอบโจทย์สำคัญนำสู่การพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด ดังนั้นในส่วนของการ ที่จะดำเนินการตรงนี้ให้สำเร็จจะมองความร่วมมือในภาคฝ่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐเอง ทั้งภาคอุตสาหกรรม ทั้งภาคชุมชน โดย สวทช. จะเป็น Key ของการเอาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปให้เกิดมรรคเกิดผลในทุกภาค ในภาพใหญ่ของ สวทช. มีบุคลากรอยู่ประมาณ ๓,๐๐๐ คน ในปี ๒๕๖๕ มีอยู่ ๓,๐๔๗ คน ปัจจุบันมีอยู่ ๒,๙๓๐ คน โดยที่ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรวิจัย หลาย ๆ คนเป็นนักวิจัยที่ลูกหลานคนไทยที่ส่งไป เรียนต่างประเทศด้วยทุนภาครัฐ หรือบางทีก็ไปเรียนด้วยทุนส่วนตัวแล้วกลับมาเป็นนักวิจัย ดังนั้นนักวิจัยที่จบจากมหาวิทยาลัยหลักของประเทศจะมีความเชื่อมโยง ไม่ว่าจะจาก MIT จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จากออกซฟอร์ด ถ้าท่าน Name มหาวิทยาลัยที่ท่านรู้จักในต่างประเทศที่อยู่ใน Ivy League จะอยู่ที่ สวทช. เกือบทั้งหมด ดังนั้นส่วนหนึ่งของนักวิจัยก็จะทำงานวิจัยเชิงลึกแล้วก็เชื่อมกับเครือข่ายต่างประเทศ เป็นข้อดีของประเทศนะครับ การที่จะมีนักวิจัยอย่างนี้จะทำให้เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยี AI เทคโนโลยี EV และเทคโนโลยีต่าง ๆ สวทช. จะเป็นด่านหน้าในการที่จะเชื่อม เอาความรู้เหล่านั้นเข้ามาสู่ประเทศ สำหรับโครงสร้างการบริหาร สวทช. จะตั้งศูนย์แห่งชาติ ตามเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ศูนย์แห่งชาตินั้นถนัด มีเรื่องของ Biotech ซึ่งดูแลเรื่อง Biotechnology เรื่องของ MTEC ซึ่งดูแลด้านวัสดุ เรื่องของ NECTEC คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันขยายไปจนถึง Big Data แล้วก็ AI NANOTEC ซึ่งดูแลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านขนาดเล็ก ๆ ของวัสดุขนาดเล็ก ๆ คือ Nano แล้วก็เห็น ENTECH คือดูแลเรื่องของพลังงานโดยเฉพาะ นอกจากนั้นการบริหารจัดการให้มีการทำงาน ร่วมกันก็จะแบ่งเครือข่ายออกเป็นการดูแลการวิจัย ดูแลเรื่องของการเชื่อมกับอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันมีโครงการใหญ่ของภาครัฐที่ สวทช. รับผิดชอบอยู่ ก็คือการเป็นหน่วยวิจัยให้กับ EEC คือโครงการ EECi ที่ตั้งอยู่ที่วังจันทร์วัลเลย์ที่จังหวัดระยอง
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
สรุปผลการดำเนินงานของ สวทช. ในปี ๒๕๕๕ เราจะชี้วัดความสำเร็จของ การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ผ่านผลกระทบที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ โดยที่ในปี ๒๕๖๕ ได้มี การประเมินแล้วก็คำนวณว่าแต่ละบาทของเงินลงทุนที่ภาครัฐลงให้ไปสร้างผลกระทบ ทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า ๑๐ เท่า ดังนั้นถ้าเป็นตัวเลขของผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ก็คือประมาณ ๓๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท นอกจากนั้นเงินลงทุนภาครัฐในด้านการวิจัยก็ไปดึงเอาเงินลงทุนเพิ่มเติมจากภาคเอกชน ให้ลงทุนในกิจกรรมเสริมที่ภาครัฐได้ลงทุนไปแล้ว โดยผลักดันให้เกิดการลงทุนเฉพาะ ปี ๒๕๖๕ อีก ๑๔,๒๐๐ กว่าล้านบาท สำหรับความ Excellence แล้วก็ Relevance ก็คือ งานวิจัยมีผลลัพธ์ที่อยู่ในแนวหน้าของโลกอย่างไรบ้าง บทความที่ สวทช. ตีพิมพ์ในปี ๒๕๖๕ อยู่ ๗๐๐ กว่าเรื่อง แล้วก็คำยื่นขอทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร อยู่ที่ ๓๙๕ คำขอ เยอะเป็นอันดับที่ ๑ ของประเทศ นอกจากนั้นก็เอาความรู้ไปถ่ายทอด ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งบริษัท แล้วก็ทางภาคชุมชนครับ
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
นอกจากนั้น สวทช. เองได้ขับเคลื่อน BCG ของประเทศ โดย สวทช. เป็น ฝ่ายเลขานุการของกรรมการ BCG ซึ่งหัวใจหลักของ BCG คือเรื่องของการสร้างความยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันนี้แปรรูปมาเป็น ESG แปรรูปมาเป็น SDGs ที่ประเทศเราก็เริ่มให้ความสำคัญมาก ขึ้นกับ SDGs Goal คือของสหประชาชาติ เรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากซึ่งทาง รัฐบาลทุกยุคให้ความสำคัญ ดังนั้นเรื่องของ BCG จะพยายามให้รากหญ้าได้มีโอกาส มีการ หารายได้ที่มากขึ้นบนฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีขึ้น เราจะสร้างความสามารถ ในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก อันนี้คือการพึ่งพาตัวเองได้ แล้วก็จะยกระดับ อุตสาหกรรมที่เป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมสีเขียว ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่ตอบสนองต่อด้านพลังงานสีเขียว หรืออุตสาหกรรมที่ลดการใช้วัสดุที่สิ้นเปลือง สวทช. เป็นหน่วยงานหลักที่ช่วยสนับสนุน ให้ข้อมูลในการที่ประเทศเราประกาศ Bangkok Goals ตามแนวคิด BCG ในที่ประชุม APEC 2022 อันนี้เป็นผลงานที่เกิดขึ้นในช่วงปีนั้นพอดี
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
นอกจากนั้นหลายท่านได้ยินเรื่อง AI มาเยอะ ในปี ๒๕๖๕ AI เริ่มเป็น Onset ของการขยายผลการใช้งาน สวทช. ได้นำเสนอในการที่จะตั้งแผนปฏิบัติการ ด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนปี ๒๕๖๕-๒๕๗๐ ปัจจุบัน AI แทรกเข้ามา เยอะมาก หลายท่านยังใช้ Chat GPT เริ่มใช้ AI ในการวาดรูปบนมือถือแล้ว แต่ว่า สวทช. ในปี ๒๕๖๕ ได้นำเสนอเรื่องนี้ ซึ่งมี ๕๙ ประเทศเท่านั้นในโลกที่มีแผน AI เป็นเรื่องเป็นราว และเราเป็นหนึ่งในนั้น ส่งผลก็คือทำให้ประเทศเราขยับอันดับดัชนีจากอันดับที่ ๕๙ เป็น อันดับที่ ๓๑ ทันทีที่ประเทศไทยเรามีแผน AI เป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเรามี แผน AI ต่อไปการพัฒนากำลังคน การสนับสนุนการใช้ AI ในภาคธุรกิจก็จะเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในเรื่องของ EECi ที่เกริ่นไปเมื่อสักครู่ สวทช. เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนหน่วยที่จะ เป็นรอยต่อระหว่างภาคการทดลองไปสู่ภาคอุตสาหกรรมได้มีการสร้างโรงงานต้นแบบต่าง ๆ ในภาพนี้ได้เป็นการเปิดในส่วนของศูนย์ BIOPOLIS ที่จังหวัดระยอง
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
ผลงานวิจัยในช่วงปี ๒๕๖๕ เราได้เน้นเรื่องของ BCG Quick Win จะมีทั้ง ด้านเกษตรและอาหาร ด้านสุขภาพและการแพทย์ ด้านพลังงานและวัสดุเคมีชีวภาพ ด้าน Digital และอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากเอกสารมีรายละเอียดเยอะ ผมขออนุญาตไม่ลง รายละเอียด แต่ว่าจะขอให้ท่านกรรมาธิการเห็นว่าในภาพรวมนี้เรามีครอบคลุมทุกด้านตาม ความเชี่ยวชาญของนักวิจัย สำหรับท่านที่สนใจในเรื่องเฉพาะนี้ขออนุญาตตอบเป็นคำถาม ภายหลัง นอกจากนั้นก็มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้อุตสาหกรรมและชุมชน โดยที่เรามองว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ คนไทยต้องได้ใช้ ชุมชนต้องได้ใช้ แล้วก็มีเทคโนโลยีหลายอย่างที่ไม่ใช่ เทคโนโลยีที่ซับซ้อน น่าที่จะสามารถถ่ายทอดให้กับชุมชนได้ใช้ได้ทันที ขณะเดียวกันก็จะเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตแล้วก็ลดค่าใช้จ่ายของชาวบ้าน เรามีการทำงานร่วมกับ ๔๔ จังหวัด ๓๗๗ ชุมชน แล้วก็บุคลากรในช่วงปี ๒๕๖๕ ได้เข้าถึง ชุมชน อบรมเกษตรกร อบรมผู้เกี่ยวข้องร่วมหมื่นคน นอกจากนั้น สวทช. ก็ได้สร้าง โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ก็คือเรามองว่า SMEs ต่าง ๆ ถ้ามีความเข้มแข็ง ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงได้มากขึ้น มีกำไร ที่มากขึ้น ขณะเดียวกันในเรื่องของความยั่งยืนซึ่งกำลังกระทบทุกภาคอุตสาหกรรม อยู่ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคาร์บอนเครดิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Circular Index ซึ่งประเทศมหาอำนาจก็จะตั้งเป็นกำแพงในการที่เราจะผลิตสินค้าแล้วส่งไปก็จะโดนค่าปรับ จะโดนค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น อันนี้จะต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการที่จะตรวจสอบ แล้วก็ Check ให้มั่นใจได้ว่าเราเองก็ Conform กับกฎกติกา แล้วก็ไม่ได้ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเขาก็จะกล่าวหาเราว่าเราทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ว่าเราจะต้องมีการเก็บข้อมูล ทำฐานข้อมูลที่ดี เราก็เป็นที่ปรึกษาให้กับอุตสาหกรรมในการทำข้อมูลเหล่านี้ให้ครบถ้วน สวทช. จะมี ศูนย์ TIIS ซึ่งดูแลด้านนี้อยู่ แล้วก็ทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของต่างประเทศในการ ตรวจวัดสิ่งเหล่านี้อยู่อย่างสม่ำเสมอ
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
สำหรับรายงานสถานะทางการเงินของ สวทช. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ สินทรัพย์รวมของ สวทช. มีอยู่ที่ ๑๐,๓๘๗ ล้านบาท หนี้สินรวม ๑,๔๓๔ ล้านบาท แล้วก็ทุน รวม ๘,๙๕๓ ล้านบาท สำหรับงบแสดงผลการดำเนินการทางการเงินซึ่งได้รับการรับรองจาก สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นที่เรียบร้อย รวมรายได้ในปี ๒๕๖๕ สวทช. มีอยู่ที่ ๖,๙๔๒ ล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายอยู่ที่ ๖,๖๘๖ ล้านบาท มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย ๒๕๕ ล้านบาท ในส่วนนี้มี Star ไว้นิดหนึ่งว่ายังมีภาระผูกพันโครงการวิจัยแล้วก็โครงการต่อเนื่องอยู่เกือบ ๆ หมื่นล้านบาท นำเสนอที่ประชุมเพื่อโปรดทราบ ขอบพระคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เบื้องต้นถ้ายังติดใจเดี๋ยวให้ท่านตอบนะครับ มีท่านสมาชิกขออภิปรายอยู่ ๓ ท่าน ท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ท่านสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล ท่านเอกราช อุดมอำนวย เชิญ ท่านประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ๕ นาทีครับ
นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สมาชิกผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ อดีตพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันพรรคก้าวไกล สัดส่วนภาคใต้ ภูมิลำเนาจังหวัดกระบี่ ขออภิปรายรายงานประจำปี ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี ๒๕๖๕ ซึ่งรูปเล่มและ รายละเอียดแทบจะหาที่ติไม่ได้เลย ต้องขอชื่นชมท่าน ผอ. และท่านผู้มาชี้แจง สำหรับข้อมูล ที่ผมอภิปรายนี้เป็นทั้งความคิดเห็น เป็นคำถาม และเป็นข้อเสนอแนะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ กับท่านมาก เพราะผมมีความเชื่อว่าประเทศไทยจะก้าวหน้าได้ต้องเอาวิทยาศาสตร์นำหน้า เพราะทุกวันนี้โลกเทคโนโลยีในต่างประเทศที่สามารถพัฒนาประเทศของเขาให้ก้าวล้ำ เป็นประเทศโลกที่ ๑ หรือสามารถเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาขายยังประเทศของเราเขาก็ใช้ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการพัฒนาที่ก้าวล้ำทั้งนั้น เพราะฉะนั้นผมคิดว่าถ้ารัฐบาล ให้ความสำคัญกับรายงานฉบับนี้ หรือแม้กระทั่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาของท่าน งบประมาณในปีต่อไปน่าจะเพิ่มมากขึ้น และผมมีความคาดหวังว่าจำนวนสถิติของนักวิจัย ที่หายไปที่ท่านรายงานหายไป รอบหน้าคงจะมีเพิ่มมากขึ้นด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ หาแรงจูงใจ หาวิธีการไม่ให้นักวิจัยไหลออกนอกประเทศครับ สำหรับรายงานของท่าน ง่าย ๆ ก็คือผมเห็นแล้วว่าท่านส่งมอบผลงานเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย ซึ่งท่านให้บริการ ทั้งภาครัฐ เอกชน โรงเรียนต่าง ๆ แล้วก็ชุมชน แต่ไม่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีครับ มีแต่ชุมชน ผมอ่านรายงานแทบทุกหน้าเลย ไม่มีคำว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เลย ท่านประธานทราบไหมครับว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด มี พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ (๙) เขียนไว้ ชัดว่า มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม แล้ววันนี้ผมเห็น ตัวรายงานของท่านในท้ายนะครับ ท่านบอกว่ามีคนตั้งคำถามให้ท่านประจำปี ๑๙๐ คำถาม น้อยมาก นั่นแปลว่าการสื่อสารของท่านไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคประชาชน น้อยมาก ๆ จนกระทั่งแทบจะมีคำถามขึ้นมาไม่ถึง ๒๐๐ คำถาม นี่คือตัวชี้วัดว่าท่านจะต้อง เข้าไปปรับปรุงตรงนี้ ผมอยากให้ท่านสื่อสารไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างน้อยก็คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีอำนาจหน้าที่ตรงนี้โดยตรง เขาจะได้เพิ่มพัฒนาบุคลากร ของเขา ปัจจุบันอาจจะมีหรือมีน้อยก็แล้วแต่ แต่ผมเชื่อว่าบุคลากรขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัด อย่างน้อย ๆ คนที่จบ ม. ๖ มา มัธยมศึกษาตอนปลายมา หลายคนจบ วิทยาศาสตร์มาแน่นอน อย่างน้อยเขาก็มีพื้นฐาน และผมเชื่อว่าถ้าท่านผลักดันตรงนี้ไปที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานเหล่านั้นก็จะเร่งพัฒนาองค์กรของเขา กำหนด บุคลากรของเขา กำหนดบทบาทหน้าที่ในแผนพัฒนาของเขาให้ชัดเจนเพื่อรองรับครับ ไม่อย่างนั้นท่านก็จะไปเน้นเอกชน ไปเน้นชุมชน ผมเห็นกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอะไรต่าง ๆ ผมชื่นชม นะครับ แต่ไม่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลย อันนี้ขอให้ท่านช่วยปรับปรุงนิดหนึ่งว่า กลุ่มเหล่านี้ท่านจะต้องเข้าไปสื่อสารด้วย ซึ่งอีกอันหนึ่งก็คือเรื่องของสื่อครับ สื่อ TikTok หรือสื่อ Social หลายอัน เวลาผมดูเทคโนโลยีของต่างชาติ เช่น ประเทศสิงคโปร์เขาเอา เทคโนโลยีของการตัดตอนยุง ยุงเป็นตัวแพร่เชื้อไข้เลือดออก ประเทศสิงคโปร์มีสื่อออกมา บอกว่าเขาสามารถที่จะไปตอนไม่ให้ยุงแพร่เชื้อได้ ก็ทำให้พวกผมสนใจขึ้นมาว่าประเทศไทย ทำได้หรือเปล่า เป็นไปได้ไหมครับเรื่องของการสื่อสารเชื่อมถึงกันระหว่างท่านกับหน่วยงาน ต่างประเทศ กับการสื่อสารของท่านผ่านสื่อ Social ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และ สามารถติดตามได้ ท่านประธานทราบไหมว่าปี ๒๕๖๖ มีคนไทยเป็นไข้เลือดออกตาย ๑๗๕ ราย จังหวัดกระบี่บ้านผมอยู่ในจำนวนสถิติที่ อสม. ออกมาบ่นทุกครั้งเลยครับว่า ตอนนี้มีคนเป็นไข้เลือดออกสูงที่สุดในภาคใต้ สูงที่สุดในประเทศไทยบ้างล่ะ อันนี้เป็นเรื่อง ที่น่าวิตกกังวล ของแบบนี้ครับเป็นสิ่งที่ผมอยากเสนอให้ท่านเน้นไปถึงองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เน้นไปให้ถึงพี่น้องประชาชนที่อยู่ในระดับรากหญ้าอย่างจริง ๆ ครับ ผมคิดว่า การบริการของท่านในภาพรวมของการรายงานในต่อ ๆ ไปคงจะเห็นข้อมูลเชิงปริมาณ ของท่านที่จะเขียนในตัวนี้มากขึ้นครับ ผมเชื่อว่ามากขึ้นแน่นอนถ้าท่านทำตามคำแนะนำ ที่ผมแนะนำว่าท่านจะเชื่อมไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะว่าตัวเลขที่ท่านบอกว่า ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ๓๗๗ ชุมชน ๔๔ จังหวัด ๙,๐๐๐ กว่าคน ตรงนี้ท่านจะต้องมี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ. ๗๖ จังหวัด แล้วก็มีประชากรที่สนใจเรื่องนี้เพิ่มขึ้นอีก แน่นอน ผมเชื่อว่าตัวเลขเหล่านี้จะเป็นตัวบ่งบอกรูปแบบการพัฒนาของสำนักงานการพัฒนา ของท่าน ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการเยาวชนหัวใจเดียวกัน รุ่นที่ ๘ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานศาลยุติธรรม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และสภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มพลังมวลชน ต่าง ๆ ในตำบลกายูคละ จากองค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ยินดีต้อนรับครับ ต่อไปเชิญ ท่านสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล ครับ
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายการดำเนินงานของ สวทช. ซึ่งถือเป็นหน่วยงานสำคัญ เป็นทั้งสมอง และหัวใจของการพัฒนาและขับเคลื่อนเทคโนโลยีของประเทศ เรียนท่านประธานครับ บอกตามตรงเห็นด้วยกับเพื่อนสมาชิกพรรคก้าวไกลเมื่อสักครู่นี้ที่อภิปราย ผมอ่านรายงาน ของ สวทช. แล้วผมมีความหวัง รู้สึกเห็นอนาคตประเทศ ผมชอบเป้าหมายที่ท่านตั้งไว้ ไม่ว่า จะเป็น ๑๐ เท่า หรือ ๒.๒ เท่า ท่านผูกโยงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ สวทช. ว่า ท่านจะเอาไปช่วยขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์กับประเทศได้ ๑๐ เท่าใช่ไหมครับ ผมคิดว่า นี่คือตัวอย่างของการตั้งเป้าที่ท้าทาย แล้วก็เป็นตัวอย่างของหน่วยงานอื่น ๆ ที่ควรเอาไป ปฏิบัติตาม ท่านประธานครับ ในโอกาสที่ สวทช. มารายงานต่อสภาแห่งนี้ผมอยากฝากข้อคิดเห็น ผ่านท่านประธานไปยัง สวทช. และผู้เกี่ยวข้องในประเด็นสำคัญคือเรื่องของ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ AI เป็นเรื่องสำคัญ ๒ สัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อนสมาชิกในสภาแห่งนี้พูดถึง AI ไปมาก วันนี้ผมขอพูดในส่วนของ สวทช. AI เป็นเรื่องสำคัญ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของ อุตสาหกรรมแล้วก็การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ประเทศเราห้ามตกรถขบวนนี้เด็ดขาด น่าดีใจที่รายงานฉบับนี้ระบุถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย อยู่ในส่วนที่ชื่อว่า การจัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศ แผนปัจจุบันกำหนดไว้ในระยะปี ๒๕๖๕-๒๕๗๐ โดย สวทช. เป็นทั้งคณะทำงานและเลขานุการ สาระสำคัญก็คือทำอย่างไรให้ประเทศเรา เกิดระบบนิเวศที่ครบถ้วน เชื่อมโยงบูรณาการ ส่งเสริม พัฒนา ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ประชาชน ผมว่าเป้าหมายท่อนหลังต้องย้ำไว้เลยนะครับ นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและ คุณภาพชีวิตประชาชน ในแง่การพัฒนาเศรษฐกิจ ทั่วโลกเขาประเมินว่า AI หรือ Generative AI จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล เขาประเมินกันว่าจะมากกว่า ๑๔๐ ล้านล้านบาทต่อปี นั่นหมายความว่าถ้าประเทศไทยตกรถขบวนนี้เราก็จะเสียโอกาส ในการพัฒนาเศรษฐกิจเช่นกัน จากแผนงานของ สวทช. ที่นำเสนอ ผมต้องขอฝากความเห็น ผ่านท่านประธานไปยัง สวทช. ๒ ประเด็น ดังนี้
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ ในส่วนของการระบุเทคโนโลยีกลุ่มเป้าหมาย ท่านประธานครับ ในรายงานเขียนว่าระหว่างปี ๒๕๖๕-๒๕๗๐ มุ่งเป้าถึง ๑๐ อุตสาหกรรม หรือ ๑๐ เทคโนโลยีเป้าหมาย โดยมี ๒ ระยะ ระยะแรก ๓ อุตสาหกรรม เกษตร อาหาร การแพทย์ และสุขภาวะ แล้วก็บริการภาครัฐ ซึ่งเน้นดำเนินการในช่วงแรกก็คือปี ๒๕๖๕-๒๕๖๖ แล้วก็จะขับเคลื่อนไปยังเทคโนโลยีเป้าหมายอื่น ๆ ในอีก ๗ เป้าหมาย ช่วงปี ๒๕๖๗-๒๕๗๐ คำถามสำคัญที่ผมอยากฝากทาง สวทช. ให้ช่วยขบคิดก็คือการมุ่งเทคโนโลยี AI ถึง ๑๐ กลุ่มเป้าหมายมากไปหรือไม่ ผมลองไปดูประเทศอื่น ๆ ครับ ซึ่ง OECD หรือองค์กร เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาได้รวบรวมมา พบว่าประเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ มุ่งเป้าน้อยกว่าเรา เช่น เกาหลีใต้มุ่งเป้าไปที่ ๓ กลุ่ม คือ เศรษฐกิจ ดิจิทัล นวัตกรรมและ สังคม หรือประเทศจีนซึ่งมีงบประมาณมากกว่าเราเยอะ มุ่งไปที่ ๙ กลุ่ม ญี่ปุ่นมุ่งไปที่ ๔ กลุ่ม อันนี้คือเปิดเผยอยู่ในรายงานของ OECD ก็เลยอยากฝากทาง สวทช. รวมถึงสะท้อน ไปยังรัฐบาลว่าการพัฒนาเศรษฐกิจก็ดี การมุ่งอุตสาหกรรมเป้าหมายก็ดี การพัฒนา เทคโนโลยีก็เช่นกันเราอาจจะจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัด นอกจากเพื่อความเป็นไปได้ ยังสอดคล้องกับทรัพยากร ทั้งคน งบประมาณ และความเชี่ยวชาญที่มีครับ ที่น่าสนใจก็คือ ผ่านมาในระยะแรกครบแล้วเรารู้สึกกันหรือยังว่า AI ใน ๓ เป้าหมายนั้นเราสำเร็จแล้ว นี่กำลังจะเข้าไปสู่ระยะที่ ๒ อีก ๗ เป้าหมาย ก็จึงอยากฝากทาง สวทช. ไว้ในประเด็นนี้
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ในประเด็นการกำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน และการวัดผล ผมประทับใจที่ท่านกำหนดผลกระทบของแผนงานไว้ว่าจะช่วยสร้างมูลค่าให้เกิด การจ้างงานแล้วก็อาชีพในประเทศ ช่วยเพิ่ม GDP ให้สูงขึ้น คำถามก็คืออยากจะฝากทาง สวทช. ไปดูยุทธศาสตร์และแผนงาน สิ่งที่ท่านระบุไว้ เช่น ทำให้ประชาชนมากกว่า ๖๐๐,๐๐๐ คนตระหนักเรื่อง AI สร้างบุคลากรด้าน AI ของประเทศไม่ต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ คน หรือการพัฒนาเทคโนโลยีผ่านการวิจัยต้นแบบไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ต้นแบบ คำถามคือท่านจะทำ อย่างไรให้แผนยุทธศาสตร์ของท่าน การอบรมเหล่านี้มันไปเชื่อมโยงสู่เป้าหมายที่ท่าน ตั้งไว้ จะดีกว่านี้มากถ้า สวทช. สามารถบอกได้ว่างบประมาณที่ท่านให้ไป ส่วนนี้เป็นส่วนที่ ไปต่อยอด ไม่ใช่ไปซ้ำซ้อนกับส่วนอื่น ๆ ที่เขาทำกัน อันนี้ก็จะเป็นสิ่งที่พวกเราในฐานะ จะได้รับฟังรายงานในปีหน้าอาจจะรอฟัง ดังนั้นในโอกาสนี้ผมขอฝากข้อเสนอไปยัง สวทช. ๒-๓ ประเด็นครับ
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ผมเรียนจริง ๆ ว่าฝากท่านทบทวน ท่านควรลำดับความสำคัญ เทคโนโลยีมุ่งเป้าว่าท่านควรจะพาประเทศ AI สำคัญในประเทศไทยในมิติไหน จะทำอย่างไร ให้ AI เรื่องนั้นส่งผลประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจได้จริง อาจจะเกิดประโยชน์ มากกว่า
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ สวทช. ควรออกกรอบนโยบายเพื่อมุ่งสร้างอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับ AI ที่ไทยสามารถประกาศได้จริง ๆ ว่าเป็นจุดเด่นของเรา ทำอย่างไรให้เกิด Linkage หรือความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมในประเทศได้มาก ๆ
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ผมคิดว่าส่วนสำคัญที่สุดของการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งก็ ตอบสนองกับสิ่งที่ท่านพูดไว้เมื่อตอนลุกขึ้นชี้แจงรายงาน ผมคิดว่าถ้าท่านจะพัฒนา เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ท่านต้องตอบคำถามเรื่องแก้ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ให้ได้ ทำอย่างไรให้การพัฒนา AI นี้ไม่เป็นเพียงโอกาสของคนที่เรียนสูง ของคนที่มีฐานะ หรือบริษัทใหญ่ ๆ เท่านั้น
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ผมขอฝากท่านประธานไว้ว่าเรื่อง AI ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป นี่คือ การแย่งชิงและแข่งขันของโลกในยุคสมัยใหม่ ประเทศไทยเราเคยเข้าแข่งขันหลายรอบ ช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาเราเข้าไปแข่งในเรื่อง Social Commerce Platform Startup คำถามคือ เราประสบความสำเร็จหรือเปล่า ที่ผ่านมาเราสร้าง Unicorn ได้น้อยกว่าที่เราหวังไหม ผมคิดว่านั่นคือบทเรียนสำคัญที่การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีหรือการพัฒนาเศรษฐกิจ จำเป็นต้องถอดบทเรียน ผมก็ได้แต่ฝากความหวังไว้กับท่าน สวทช. และผู้บริหารทุกท่าน ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ปิดรับการลงชื่อผู้จะอภิปรายแล้ว ต่อไปท่านเอกราช อุดมอำนวย เชิญครับ
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ก่อนอื่นต้องขอบคุณสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ที่ได้ให้เกียรติสภาแห่งนี้นำรายงานที่ท่านได้รวบรวมประจำปีมารายงานต่อ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งผมก็ได้ไปอ่านทั้งตัวเนื้อหาแล้วก็รูปเล่มก็เพลิดเพลินเจริญใจมากทีเดียว พอดูเรื่องของวิทยาศาสตร์ ขอสไลด์ขึ้นด้วยครับ
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ แน่นอนว่า เพื่อการตอบโจทย์ของความต้องการของประเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงานสะอาด คุณภาพการศึกษา และที่สำคัญที่สุดก็คือการลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ของประชาชน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าวิทยาศาสตร์มันเป็นกุญแจที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต ไม่ว่าจะเป็นภาคแรงงาน ภาคอุตสาหกรรมของเรา แล้วก็เศรษฐกิจมันก็เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว บริบทภายในประเทศไทยวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีปัจจุบันถ้าพิจารณา จากแผนที่เรียกว่า Thailand 4.0 เป้าหมายหลักของเราวางเอาไว้ว่าจะพัฒนาเทคโนโลยี มุ่งไปที่ ๑๐ อุตสาหกรรมหลัก หรือว่า S-Curve ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มหลักและกลุ่มที่มีโอกาส เติบโตสูง ดังนั้น สวทช. เรียกว่ามีบทบาท เป็นผู้ที่จะไปกำหนดในเรื่องของการวิจัยและ พัฒนา ซึ่ง สวทช. เขาก็อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวง อว. แล้วก็ดำเนินงานวิจัย ยุทธศาสตร์ ๒ เป้าหมายหลัก ๆ ก็คือ BCG หรือว่าเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว แล้วก็แผนปฏิบัติงานด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อพัฒนาประเทศไทย แต่ท่านประธานครับ สวทช. เขาก็ยังมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์วิจัยและพัฒนา เพื่อตอบโจทย์ทั้งด้านการเกษตรอุตสาหกรรม ๔ ตัวอย่างที่ผมเห็นก็คือ ด้านการเกษตร และอาหารก็มีการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช อันที่ ๒ ด้านสุขภาพ และการแพทย์ ก็คือเทคโนโลยีการประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด แล้วก็ Telehealth แล้วก็อันที่ ๓ ด้านพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ เช่น รถโดยสารไฟฟ้าจากองค์ความรู้ นักวิจัยไทยที่ร่วมพัฒนาโดยเอกชน แล้วก็ ๔ ด้าน Digital แล้วก็เทคโนโลยี Traffy Fondue ด้านพลังงานคือรถโดยสารไฟฟ้าที่ถูกค้นมานี้เขาก็เอามาแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับขนส่ง มวลชน เช่น การไม่ครอบคลุมต่างจังหวัด การที่ใช้รถเมล์ทดแทนเนื่องจากความต่อเนื่องของ สัมปทาน หรือแม้กระทั่ง Idea เรื่องรถไฟฟ้าเพื่อลดปัญหามลภาวะฝุ่นควัน PM2.5 สวทช. เขาก็มีการพัฒนารถไฟฟ้า ๔ คัน แล้วก็มีการดัดแปลงรถ ขสมก. ใช้แล้ว แล้วก็มีโครงการ นำร่องที่สามารถลดต้นทุนการนำเข้ารถใหม่กว่า ๓๐ เปอร์เซ็นต์ หรือว่าราวประมาณ ๗ ล้านบาทต่อคัน แล้วก็ไปพัฒนาร่วมกับเอกชน ผมพูดไปพูดมา ท่านประธาน ขออภัย เริ่มเหมือนโฆษก อว. โฆษก สวทช. แต่ไม่ใช่นะครับ คือผมพยายามชี้ให้เห็นความสำคัญของ วิทยาศาสตร์ Traffy Fondue ที่ประชาชนใช้แจ้ง อันนี้ก็เป็นการพัฒนาระบบที่เป็น Chatbot ก็ดี การตอบโต้ผู้แจ้งหรือการวิเคราะห์ส่งต่อปัญหาไปยังหน่วยงานที่ใช้ในการ แก้ปัญหา ไม่ใช่มีเฉพาะ กทม. เดี๋ยวนี้ท้องถิ่นก็เริ่มใช้แล้ว ระบบดี ๆ แบบนี้ สวทช. เขาก็ทำ อันนี้คือผมชี้ให้พี่น้องประชาชนเห็น บางคนอาจจะเดินไปถามแม่ค้าในตลาด พ่อค้าอะไร ก็อาจจะไม่รู้ สวทช. ทำอะไร นอกจากนี้ก็ยังดูแลเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณชั้นสูง แล้วก็ สวทช. เองเขาก็ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย Supercomputer เพราะว่าปัจจุบันนี้เราก็รู้ว่ามันต้องการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนมหาศาล แล้วก็พัฒนา ความรู้หลายอย่างจากข้อมูลจำนวนเยอะนี้ ท่านประธานครับ ผมชวนดูผลงานอีกอันหนึ่ง ก็คือศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเขาก็ออกแบบแล้วก็ผลิตเพื่อลดวงจร อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปบรรจุใช้ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา มือถืออะไรอย่างนี้ นี่ก็คือ บทบาทที่ผมฉายให้เห็น แต่ท่านประธานครับ การสนับสนุนของภาครัฐเราไม่เห็นในแง่มุมของ การที่จะให้ความสำคัญเลย งบประมาณด้านนี้กลับลดลง โดยที่ผมดูจากข้อสังเกตจาก งบการเงินนะครับ เปรียบเทียบปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๕ ก็จะพบว่า สวทช. มีรายได้รวมลดลง ๙๖๔ ล้านบาท และเมื่อพิจารณารายละเอียดก็จะเห็นว่ารายได้จากงบประมาณก็ลดลงด้วย ปี ๒๕๖๔ ๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท ปี ๒๕๖๕ ๔,๙๐๐ ล้านบาท ลดลงประมาณ ๒๓๐ ล้านบาท แล้วก็ทำให้ผมรู้สึกประหลาดใจว่าการที่ สวทช. ได้รับเงินอุดหนุนโครงการวิจัยลดลงจาก ปี ๒๕๔๔ ๑,๙๐๐ กว่าล้านบาท เหลือ ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาทนี้ หายไป ๙๐๐ ล้านบาท อยู่กันได้อย่างไรองค์กรนี้ เป็นไปได้อย่างไรครับท่านประธาน สวทช. เป็นหน่วยงานหลัก ในการวิจัยและพัฒนาของประเทศแต่กลับได้รับส่วนของวิจัยลดลง จะเห็นว่าสถานการณ์ ของงบประมาณในปี ๒๕๖๗ ที่มีสัดส่วนใกล้เคียงกับงบประมาณที่รายงานมาในฉบับที่กำลัง อภิปรายอยู่จะเห็นว่าก็มีการปรับลดในปี ๒๕๖๕ กลายเป็นฐานงบประมาณ ๓ ปี ก็คือ ปี ๒๕๖๕ ปี ๒๕๖๖ ปี ๒๕๖๗ จากการพิจารณาสัดส่วนของงบประมาณของ สวทช. นี้ ในปี ๒๕๖๗ ที่กำลังพิจารณาจัดสรรอยู่นี้ก็อยู่ในลำดับ ๙ ของหน่วยงานภายใต้ อว. ทั้งหมด จึงอยากตั้งข้อสังเกตว่าประเทศไทยเราให้ความสำคัญกับการวิจัยมากน้อยเพียงใด ซึ่งอันนี้ เป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากประเทศไทยเราต้องการความก้าวหน้าและการแข่งขัน ในเวทีโลก การลงทุนในการวิจัยและการพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน แล้วก็การลด งบประมาณแบบนี้มันจะส่งผลต่อการพัฒนาและการแข่งขันประเทศในระยะยาวไหม เดี๋ยวท่านผู้ชี้แจงช่วยบอกหน่อยว่าถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปท่านจะทำอย่างไร ท่านประธาน ผมอยากชวนดูในเรื่องของการสนับสนุนงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศนิดหนึ่ง ขอสัก ๒ นาทีไม่เกินครับท่านประธาน ประเทศที่มีการเติบโตในเศรษฐกิจระดับสูงนี้เขาจะมี กลุ่มองค์กรความร่วมมือและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ OECD เขาก็ให้ความสำคัญในการจัดสรร งบประมาณในการลงทุนเกี่ยวกับนโยบายด้านวิจัย หรือ R&D ในปี ๒๕๖๔ จะอยู่ที่ ๔.๗ เมื่อเทียบกับ GDP หรือว่าอย่างที่อิสราเอลเขาลงทุนด้านการวิจัย ๕.๖ เปอร์เซ็นต์ เกาหลีใต้ ๔.๙ เปอร์เซ็นต์ เป็น ๒ ประเทศที่ลงทุนกับ R&D มากที่สุดในโลก ในกลุ่ม OECD แต่ประเทศไทยผมไปคำนวณมาอยู่ที่ ๑.๓๓ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น สะท้อนว่าประเทศไทย ให้ความสำคัญกับงานวิจัยมากน้อยแค่ไหน มัวแต่ไปซื้ออาวุธให้กองทัพอยู่นั่น ท่านประธาน ผมอยากจะฝากข้อเสนอถึงกระทรวงและหน่วยงาน สวทช. ผมพยายามสื่อสารทั้งหมดนี้ เพราะอยากจะให้ประเทศไทยลงทุนกับวิทยาศาสตร์มากขึ้น แล้วก็รัฐบาล หน่วยงาน ก็ต้อง พยายามดูแลในเรื่องของการให้ความรู้กับประชาชน แล้วก็สร้างเจตจำนงร่วมกัน ให้ความสำคัญในการสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่จะไปซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อะไรทำได้ แต่ลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ไม่มี ดังนั้นผมดูตัวเลขของนักวิจัย ๑ ล้านคน ประเทศไทย มี ๒,๐๐๐ คนเท่านั้น ประเทศฟินแลนด์ ๗,๕๐๐ กว่าคน เดนมาร์ก ๗,๖๐๐ กว่าคน เกาหลีใต้ ๘,๐๐๐ กว่าคนต่อสัดส่วนประชากร ๑ ล้านคน น้อยไหมครับ เพราะฉะนั้นก็ฝาก ๓ ข้อเสนอ ๑. ก็คือเพิ่มและกำกับการบริหารจัดการในแง่งบประมาณและทิศทางนโยบายครับ ท่านผู้อำนวยการต้องไป Fight มากกว่านี้ ๒. ก็คือต้องกระตุ้นในการสร้างนวัตกรรมที่ ทะเยอทะยานมากขึ้นครับท่านประธาน และ ๓. ก็คือช่วยบูรณาการพัฒนาระบบการศึกษา ทั้งหมดนี้ก็ขอบพระคุณนะครับ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวหน้า แล้วก็แข่งขันได้อย่างมี ประสิทธิภาพในโลกยุคใหม่ ก็หวังว่าในรายงานปีถัดไปก็จะได้เห็นการพัฒนามากขึ้น ขอบพระคุณมากครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านฐากร ตัณฑสิทธิ์ เชิญครับ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม ฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย ก่อนอื่นผมขออนุญาต ชื่นชมรายงานประจำปีของ สวทช. ประจำปี ๒๕๖๕ แล้วก็ชื่นชมท่านผู้อำนวยการที่ท่าน ได้นำเสนอรายงานนี้สมบูรณ์เต็มที่มาก ผมอภิปรายครั้งนี้มีเพียงข้อเสนอแนะให้กับ สวทช. ๒-๓ ข้อครับ ข้อแรก เกี่ยวกับเรื่อง AI ข้อที่ ๒ เกี่ยวกับเรื่อง IOT แล้วก็เรื่อง Blockchain ซึ่งมันจะมีการเชื่อมโยงกันในการทำงานต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่อง AI อยากจะให้ทาง สวทช. ได้ทำความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชน ได้เข้าใจในประเด็นของเรื่อง AI ให้มากยิ่งขึ้น เพราะว่าประชาชนเข้าใจว่า AI คืออะไร สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเราเรียกกันว่าปัญญาประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมันจะส่งผลกระทบ กับประเทศหรือโลกในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างสูง สิ่งที่ส่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอยากจะ เรียนท่านประธานผ่านไปทาง สวทช. ในครั้งนี้ว่าหลายคนในธุรกิจต่าง ๆ ที่จะต้องมีการ ตกงานในอนาคตข้างหน้าถ้าเกิดว่า AI ได้เข้ามาครองพื้นที่ของโลกในโลกปัจจุบันนี้แล้ว ผมยกตัวอย่างว่าในขณะนี้รถยนต์ของเราที่เป็นรถแบบใช้น้ำมันหรือรถสันดาป ชิ้นส่วน ในการประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ผมเข้าใจว่ามีอยู่ประมาณสัก ๓๐,๐๐๐ กว่าชิ้น พอมาเป็น รถ EV มีอยู่ประมาณสัก ๑๕ เปอร์เซ็นต์ของ ๓๐,๐๐๐ กว่าชิ้น ก็คือประมาณสัก ๔,๕๐๐ กว่าชิ้น ท่านจะเห็นว่าส่วนประกอบของรถยนต์ที่เป็นรถน้ำมันกับรถที่เราเรียกกันว่า รถแบบ EV ชิ้นส่วนก็แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเมื่อเราใช้ระบบ AI เข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ธุรกิจ ที่เกี่ยวกับการประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ก็จะหายไปหลายธุรกิจ เพราะฉะนั้นทุนมนุษย์เป็น เรื่องที่มีความสำคัญครับท่านประธาน ทุนมนุษย์หมายความว่า AI จะเก่งขนาดไหนก็ต้อง อาศัยมนุษย์ในการที่จะใส่ข้อมูลหรือป้อนข้อมูลเข้าไป วันนี้อยากจะฝากเรียนว่าเรื่อง AI เป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของโลกและของประเทศไทยในครั้งยิ่งใหญ่ ในครั้งนี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่อง IOT ก็เช่นกันครับท่านประธาน Internet of Things รถไร้คนขับต่าง ๆ ที่จะต้องเกิดขึ้น Smart Meter ต่าง ๆ ที่จะต้องเกิดขึ้น จะต้องให้ทาง สวทช. สร้างความรับรู้ ตรงนี้ให้กับพี่น้องประชาชนได้เข้าใจว่าเรื่อง IOT ที่ต้องมีการเปลี่ยนผ่านในอนาคตข้างหน้า จะต้องส่งผลกระทบกับพี่น้องประชาชนอย่างไร เพราะฉะนั้นถ้าประชาชนได้มีการตั้งหลัก ในการรองรับ สร้างทุนมนุษย์ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นในการที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงของทคโนโลยี ที่จะต้องให้ประเทศไทยมีการรองรับในเรื่องนี้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จะทำให้ประชาชน ได้มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างทันท่วงที ผมเรียนท่านประธานครับ เมื่อมี การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของเราในครั้งแรก เราเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ 3G ที่เกิดขึ้น ทุกคนก็ตกใจในครั้งนั้น เพราะว่าประเทศไทยก่อนปี ๒๕๕๕ เป็นการใช้เทคโนโลยีแค่ 2G พอเรามีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีแบบ 3G ประชาชนคนไทยเองรองรับแทบไม่ทัน เพราะว่าในขณะนั้นประเทศลาวมีการใช้ 3G ก่อนประเทศไทยอีก แต่เมื่อมีการใช้ ในปี ๒๕๕๕ เกิดขึ้น เทคโนโลยีของเราได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประชาชนคนไทย ต้องยอมรับว่ามีความเฉลียวฉลาดเป็นอย่างยิ่ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปี ๒๕๕๘ เปลี่ยนแปลง 4G อีก เทคโนโลยีก็มีการเปลี่ยนผ่านไปอีก ปี ๒๕๖๓ เปลี่ยนแปลงมาเป็น 5G แล้ว ท่านประธานครับ ทุกอย่างของโลกเปลี่ยนแปลงไปด้วยความรวดเร็วเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น การสร้างความตระหนักรู้ การสร้างความรับรู้ให้กับพี่น้องประชาชนได้เตรียมรับในเรื่อง พวกนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้ายครับ ขอฝากท่านประธานไว้เป็นเรื่องสุดท้าย ประเทศไทยเรา ต้องเรียนว่าถ้าเรามีการหยุดนิ่งอยู่กับที่กับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เสมือนกับว่า เรากำลังถอยหลัง ถ้าเราเดินหน้าอย่างช้า ๆ เสมือนหนึ่งว่าเรากำลังหยุดอยู่กับที่ แต่ถ้าเรา จะเดินหน้าให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีหรือของโลก ประเทศไทยเราต้อง เดินหน้าอย่างรวดเร็วถึงจะขับเคลื่อนประเทศต่อไปได้ ขอบคุณท่านประธานเป็นอย่างยิ่งครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไปท่านจุลพงศ์ อยู่เกษ เชิญครับ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ผม จุลพงศ์ อยู่เกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ความจริง สวทช. มีส่วน สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ทุกวันนี้ประเทศไทยเราติดกับดักรายได้ปานกลาง เพราะว่าเรายังติดอยู่กับอุตสาหกรรมแบบเดิม ๆ แล้วผมก็แปลกใจมากเลยเรื่องงบประมาณ ของ สวทช. แต่ต้องเรียนท่านประธานและท่าน ผอ. นะครับ สส. อย่างผมมีได้แต่ลด ไปเพิ่ม งบประมาณให้ท่านไม่ได้ ไว้รอพรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาลก่อน เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ผมเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญาของสภาผู้แทนราษฎร ผมจึงมีคำถาม ๓ คำถามครับ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
คำถามแรก เรื่องการจดสิทธิบัตรพอจะรวบรวมไว้ไหม ไม่ว่าจะสิทธิบัตร หรือ ผมไม่รู้ว่าภาษาไทยใช้ว่าอะไร Reverse Engineering ได้มีการจดไว้บ้างหรือเปล่า เพราะว่า ตัวนี้เป็นตัวบ่งชี้ข้อหนึ่งของผลงานของ สวทช.
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
คำถามที่ ๒ คือการนำผลงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ผมไม่อยากใช้ภาษาอังกฤษ ท่านคงเข้าใจว่าผมหมายความว่าอย่างไร จริง ๆ มีตัวเลขไหมว่าสร้างรายได้ให้กับประเทศ สักเท่าไร มันจะเป็นเหตุผลนำไปสู่การเพิ่มงบประมาณ เห็นความสำคัญของ สวทช. ในอนาคตครับ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
คำถามที่ ๓ เรื่องปัญญาประดิษฐ์ ท่านบอกมีแผน ปี ๒๕๖๕-๒๕๗๐ นี้ มันนานไปไหมครับ ผมว่า AI นี่เผลอ ๆ ปลายปีนี้ก็ต้องเปลี่ยนอยู่แล้วครับ ผมหวังว่าท่านคง ทบทวนกันอยู่ในระยะ ๆ นะครับ คำถามเกี่ยวเนื่องกับ AI ในยุทธศาสตร์ที่ ๑ ท่านบอกว่า ท่านจะเตรียมเรื่องกฎหมาย AI ตอนนี้เรื่องยุโรปมีร่างกฎหมาย AI อเมริกามีร่างกฎหมาย AI ผมก็ขอชื่นชมถ้า สวทช. สามารถที่จะเสนอร่างกฎหมาย AI ด้วย เพราะว่าไม่ใช่เพียงแต่ ความรู้ทางด้านกฎหมายเท่านั้น แต่จำเป็นจะต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์อย่างมากครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านสุดท้าย ท่านชุติมา คชพันธ์ เชิญครับ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ชุติมา คชพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จากภาคใต้ จังหวัดพัทลุง สำหรับวันนี้ดิฉันต้องการที่จะให้ความเห็นสั้น ๆ กับทาง สวทช. ก่อนอื่น ต้องบอกว่าสำหรับ สวทช. การดำเนินงานที่ผ่านมาดิฉันมีความพึงพอใจมากแล้วก็ชื่นชม ท่านมาก ๆ ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ประโยชน์จากองค์กรของท่านมาก อันนี้ดิฉันทราบดี และดิฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีในวงการเทคโนโลยีมาประมาณเกือบ ๒๐ ปีแล้วค่ะ ดิฉัน ได้สัมผัสกับการทำงานของ สวทช. หลาย ๆ หน่วยงานในนี้ โดยเฉพาะขอฝากชื่นชมไปยัง Software Park ดีมาก ๆ เลย คือช่วยผู้ประกอบการด้านนี้ได้เยอะมาก อันนี้ดิฉันชื่นชม แต่ว่ายังมีบางองค์กรที่ดิฉันอยากจะฝากความคิดเห็น คือดิฉันขอบอกไว้ก่อนว่าครั้งนี้ไม่ใช่ การวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใด แต่ถ้าดิฉันไม่พูดดิฉันก็คงจะค้างคาใจอยู่แบบนี้ต่อไปก็เลย ขอพูดสั้น ๆ หน่วยงานแรกที่ดิฉันมีความคิดเห็นคือในเรื่องของ ITAP ITAP นี้ตั้งขึ้นมาเพื่อ ช่วยผู้ประกอบการใช่ไหมคะ แต่ว่าจากที่ดิฉันได้รับทราบมาจากผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่าน รวมถึงที่ได้เคยสัมผัสมาบ้างก็ทราบมาว่ากระบวนการในการที่ส่งข้อมูล ส่งเอกสาร รายละเอียดต่าง ๆ เข้าไป กระบวนการในการที่จะ Approve หรือไม่ ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ อย่างเช่นขั้นตอนในการสัมภาษณ์หรือในการพิจารณา ขั้นตอนต่าง ๆ มีความเชื่อถือได้ มากน้อยแค่ไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าไม่มีการใช้เส้นอะไรแบบนั้น อันนี้ดิฉันก็ฝากในเรื่องนี้ด้วย เพราะว่าบางครั้งบางโครงการที่เข้าไปผู้ประกอบการไปดูรายชื่อแล้วก็ยังมีข้อสงสัยว่า โครงการนั้นเข้าไปได้อย่างไร เราอยากจะให้ท่านคำนึงในแง่ของ Impact ที่มีต่อประเทศ อย่างเช่นบางโครงการอาจจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั้งประเทศเลยก็ได้แต่ว่าก็ไม่ผ่าน หรือว่าบางโครงการดูรายชื่อหรือดูข้อมูลแล้วไม่น่าจะผ่านได้แต่ผ่านไปได้อย่างไร เพราะฉะนั้นนอกเหนือไปจากตัวนวัตกรรมที่เขานำมาใช้แล้วก็อยากให้คำนึงถึง Impact ที่จะมีต่อประเทศให้มากกว่านี้อีกมุมหนึ่งนะคะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ต่อมาที่ดิฉันอยากจะฝากไปก็คือเรื่องของการขึ้นบัญชีนวัตกรรม โครงการ บัญชีวัตกรรมเป็นโครงการที่ดีมาก ๆ มีการช่วยผู้ประกอบการได้เยอะมาก ดิฉันเชื่อมั่น อย่างนั้น แต่ก็ยังเกิดคำถามว่าบัญชีนวัตกรรมทำไมขั้นตอนยุ่งยากเหลือเกิน แล้วก็ยาวนาน เหลือเกิน กว่าที่จะผ่าน กว่าที่จะรู้ผล คือรู้สึกว่าดึงเวลานานมาก ในโลกธุรกิจทุกท่านคงรู้ดีว่า เราต้องใช้เวลากันเร็ว ๆ รวดเร็ว ทำอะไรว่องไว แต่บางโครงการที่ผู้ประกอบการขึ้นบัญชี นวัตกรรมไปแล้วแต่เขาต้องรอนานมาก บางทีไม่ทันการณ์ ธุรกิจต้องมีการแข่งขัน แล้วก็ โดยเฉพาะบางโครงการที่มีประโยชน์ อย่างเช่นโครงการที่มีผลในด้านการแพทย์ โครงการ แบบนี้จะมีประโยชน์ เราไม่มีทางรู้เลยว่าโครงการนั้นแค่เราเสร็จเดือนเดียว หรือวันเดียวจะมี ประโยชน์ต่อผู้ป่วยมหาศาลขนาดไหน เพราะฉะนั้นอยากจะให้เร็วกว่านี้ แล้วก็เรื่องค่าใช้จ่าย ดิฉันทราบมาว่าขั้นตอนแต่ละขั้นตอน หรือว่าในแต่ละ Module ในแต่ละตัวชิ้นวัตกรรมจะมี รายละเอียดค่าบริการหยุมหยิมเยอะแยะไปหมดเลย อันนี้ก็อยากจะฝากด้วย เพราะว่าเราก็ พยายามส่งเสริมผู้ประกอบการไทยใช่ไหมคะ แต่ว่าเมื่อมีค่าใช้จ่ายมากเกินไปในทุก ๆ ขั้นตอนผู้ประกอบการเองก็คงไม่สามารถที่จะ Support ไม่สามารถที่จะมาแบกรับตรงนี้ได้
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
แล้วอีกข้อหนึ่งที่บอกว่าเนื้อหาของนวัตกรรมบางอย่างเป็นของต่างประเทศ ก็ได้ ดิฉันไม่แน่ใจว่าท่านกำหนดสัดส่วนไว้อย่างไร เพราะว่าจริง ๆ เราก็อยากจะส่งเสริม ผู้ประกอบการไทยในด้านเทคโนโลยีถูกไหมคะ แต่ถ้าเราไม่กำหนดสัดส่วน เราให้เป็น นวัตกรรมที่มาจากเมืองนอกมากเกินไป ผู้ประกอบการไทยก็ไม่ได้เติบโตขึ้น เรื่องนี้ก็อยากจะ ฝากไว้ด้วย
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ทีนี้อีกข้อหนึ่ง ดิฉันได้ทราบมาก่อนหน้านี้ น่าจะได้เห็นหน้าข่าวกันบ้างแล้ว ในเรื่องของความกังวลในแง่ของการทุจริตใช่ไหมคะ เพราะว่าบัญชีนวัตกรรมเป็นข้อดีก็จริง แต่ก็มีช่องโหว่เช่นกัน คือเราไม่รู้เลยว่าโครงการไหนจะมีช่องให้ทุจริตได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งตอนนี้เราก็ทราบกันบ้างว่ามีบางโครงการที่อยู่ใน ป.ป.ช. ใช่ไหมคะ ดิฉันก็อยากจะ ฝากให้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้รอบคอบมากขึ้นกว่านี้ด้วย ซึ่งโดยรวมแล้วดิฉันเห็นด้วย อยากจะฝากในบางประเด็นตามนี้ แล้วก็ขอเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ใน สวทช. ทุกท่าน ท่านมีประโยชน์ช่วยประเทศนี้ได้มากจริง ๆ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านผู้อำนวยการจะตอบสั้น ๆ ไหมครับ เชิญครับ
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เรียนท่านประธานและท่าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพทุกท่านครับ ผมขออนุญาตขอบคุณก่อนสำหรับ Constructive Comment ที่ทุกท่านมี แล้วก็จะขออนุญาตนำไปถ่ายทอดให้กับพนักงาน สวทช. ในการที่จะเป็นขวัญกำลังใจในการดำเนินการต่อไป
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
สำหรับท่านประเสริฐพงษ์ที่ได้กรุณาชี้แนะในการที่จะทำงานร่วมกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น อันนี้ตรงใจมาก ๆ เลยครับ ทันทีที่เข้ามารับตำแหน่งก็ได้ใจเดียวกัน ผมคนศรีสะเกษครับ ก็อยากที่จะให้การเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปถึงประชาชน จริง ๆ ซึ่งการจะไขก๊อกตรงนั้นต้องทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการที่จะรับ โจทย์จากเขา เพื่อที่จะทำงานร่วมกัน ดังนั้นจะขยับนิดหนึ่งว่าในส่วนของผลกระทบของ สวทช. ที่ท่านจะเห็นปีหน้าอาจจะไม่ทัน ปีถัดไปท่านจะเริ่มเห็นว่าเราจะวัดผลกระทบที่เกิด กับประชาชนไม่ใช่เพียงแค่ตัวเลขทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่จะเป็นประชาชนได้ประโยชน์ ในหลักล้านคนแต่ละโครงการที่เราเริ่มทำ ในส่วนของการสื่อสาร อันนี้เป็นอะไรที่น้อมรับว่า จะต้องไปทำ เรื่องของการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ ผ่าน TikTok ผ่าน Facebook ในรูปแบบที่ เข้าใจได้ง่าย ซึ่ง สวทช. เองก็จะมีหน่วยที่ทำสื่อ Media เหล่านี้อยู่
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
สำหรับท่านสิทธิพล เช่นเดียวกันครับ อันนี้เรารายงานสำหรับปี ๒๕๖๕ ซึ่ง AI ยังไม่ค่อยคืบคลานเข้ามาเท่าไรเลย แต่ผมถึงนำเรียนว่าจริง ๆ มันเป็น Onset แต่ว่า ณ วันนี้เข้ามาอยู่ในมือถือเรา เห็นรูปไม่รู้ว่าเป็นรูป AI หรือเปล่า คำตอบที่ตอบแล้วดีมาก ๆ นักเรียนใช้ AI ทำหรือเปล่า อาจารย์ใช้ AI ในการเตรียม PowerPoint ในการสอนหรือเปล่า รูปประกอบ PowerPoint Presentation ใช้ AI ทำได้หมด คุยกับเพื่อน ๆ ที่ทำใน Sector ต่าง ๆ แม้แต่เรื่องของการทำ Branding หรือว่าเรื่องของการสร้างกลยุทธ์องค์กร ท่านเชื่อ ไหมครับว่า AI ทำได้ครอบคลุมกว่าเรา แต่ต้องใช้มืออาชีพในการไปปรับแต่งสุดท้าย ดังนั้นเราจะต้องให้ความสำคัญกับ AI มาก ๆ เห็นด้วยกับท่านว่าตอนที่เราสร้าง แผนยุทธศาสตร์ทำไมถึงใส่ตั้งหลายกลุ่มเป้าหมาย เราไม่ได้ทำคนเดียวครับ ก็จะเป็น ธรรมชาติของการที่เวลาทำแผนยุทธศาสตร์ AI ทุกภาคฝ่ายก็จะบอกว่าเรื่องที่ตัวเองกำลัง เกี่ยวข้องอยู่เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นทำได้ดีที่สุดก็คือจัด Priority ของโครงการ ที่จะเกิดก่อน เรื่องของการแพทย์มาแน่ก็จะโฟกัสไว้ก่อน อันนี้จะตอบไปพร้อมกันเลย กับเรื่องของ Regulation หรือว่ากฎหมาย หลายท่านไปเข้าใจว่ากฎหมายจะยับยั้งการพัฒนา จริง ๆ มันกลับกันครับ หลายอย่างไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องมันพัฒนาไม่ได้ หลายอย่างไม่มี มาตรฐานที่เกี่ยวข้องมาควบคุมมันขายไม่ได้ เช่น เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น เราคงได้ตามข่าว กันว่า AI สามารถที่จะดูภาพเอ็กซเรย์ปอดแล้วบอกโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปอดได้แม่นยำ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ก่อนหมอที่เชี่ยวชาญ ๑ ปี ความหมายก็คือภาพเอ็กซเรย์ปอด AI บอกว่า น่าจะมีโอกาสเป็นมะเร็งถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ หมอผู้เชี่ยวชาญเห็นภาพเอ็กซเรย์ปอด ณ ขณะนั้นยังไม่รู้เลย ต้องรออีกปีหนึ่งถึงจะรู้ว่ามันลุกลามมาถึงขั้นที่หมอจะบอกได้ แต่ถ้า จะเอามาใช้จะต้องมีมาตรฐานการตรวจของ AI ก่อนถึงจะเอาไปใช้ในโรงพยาบาลถึงจะเริ่ม เก็บเงินคนไข้ได้อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการตั้งมาตรฐาน ตั้งกฎที่เกี่ยวข้อง น้อมรับครับว่า สวทช. จะไปทบทวนเทคโนโลยีกลุ่มเป้าหมายของ AI แล้วก็สอดรับอย่างเหมือนกับท่าน มานั่งอยู่ใน กวทช. ซึ่งดูแล สวทช. Comment หนึ่งก็คือ สวทช. จากกำลังคนที่เรามีอยู่ จากงบประมาณที่เรามีอยู่ เรา Spread to Thin ความหมายก็คือพยายามจะทำหลายเรื่อง เกินไป เราจะต้องลงโฟกัสในเรื่องที่เราทำได้และให้ความสำคัญเป็นเรื่องก่อน
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
สำหรับการลดความเหลื่อมล้ำเราก็พยายามมองหา เพราะว่าเป็นหนึ่งใน เป้าหมายหลักของเราว่าการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศจะไม่ใช่เพิ่มแต่ตัวเลข แต่จะลด ความเหลื่อมล้ำแล้วก็ไปเพิ่มในกลุ่มฐานก็คือกลุ่มรากหญ้าก่อน ดังนั้น AI จะต้องช่วยให้ตรงนี้ ทั้งในส่วนของการเป็นเครื่องมือให้กลุ่มรากหญ้าได้มีโอกาสหารายได้ที่ดีขึ้น ปรับปรุงกลไก Logistics ปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูล ปรับปรุงการใช้ประโยชน์ในเรื่องของการตลาดของ สินค้าผลิตภัณฑ์ที่เขามี Shortcut Chain เขาเข้าสู่ตลาดได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นเรื่องของ การให้ความรู้ก็จะทำขนานกันไปครับ
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
สำหรับท่านเอกราช ต้องขอบพระคุณมากที่ท่าน Recap แล้วก็จริง ๆ อยากที่จะได้ท่านไปช่วยชี้แจงก่อนตอนชี้แจงงบประมาณปีนี้ซึ่งกำลังจะถึงเวทีที่จะต้อง ชี้แจงกับอนุกรรมาธิการงบประมาณ ในส่วนที่ท่านนำเสนอดีกว่าที่ผมนำเสนอไปทั้งหมด ต้องขอบคุณที่ท่านช่วยขยายเวลาและลงลึกในแต่ละเรื่องที่กรุณาสรุปมาให้ เรื่องของ Pain Point ของการลดลงของงบประมาณเป็นเรื่องจริงครับ แต่ผมให้ความเป็นธรรมกับ ทั้งสภา ทั้งสำนักงบประมาณ แล้วก็ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องว่าผลงานของทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอาจจะทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจนเพียงพอว่าเป็นตัวที่สำคัญอย่างยิ่งในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นเราถึงอยากที่จะทำตรงนี้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น แล้วก็ อยากที่จะขยับ Trend Line ต้องขอการสนับสนุนจากท่านสมาชิกทุกท่านด้วยว่าถ้าเราให้ ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเราจะให้ความสำคัญกับ ๒ อย่างครับ อันที่ ๑ ก็คือตัวเนื้อของงบประมาณถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอให้ไว้ใจพวกผมในการที่จะทำตรงนี้ ให้เต็มที่ อันที่ ๒ ก็คือเรื่องของรายละเอียดของการใช้งบประมาณให้ไปสู่จุดที่เราต้องการ ซึ่งตรงนี้หลายท่านช่วยให้ข้อคิดเห็น ซึ่ง สวทช. จะน้อมนำไปปฏิบัติในการเข้าถึงรากหญ้า ในการเข้าถึงจุดที่ท่านให้ความสำคัญกับประเทศไทย ขณะเดียวกัน OECD การลงทุน R&D ที่ท่านกรุณาสรุปว่าของไทยอยู่ที่ ๑.๓๑ เปอร์เซ็นต์ของ GDP ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว จะอยู่ที่ประมาณ ๔-๕ เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นยังมีตัวที่ซ่อนอยู่ในนี้ แม้แต่ ๑.๓ เปอร์เซ็นต์ ของ GDP เป็นเอกชน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นของภาครัฐที่ลงไปเป็นตัวเงินน้อยกว่านั้นอีก ซึ่งไม่ได้บอกว่าถ้าวันนี้เราขยับขึ้นมาเป็น ๔ เปอร์เซ็นต์ได้แล้วประเทศจะพัฒนาทันที มันจะต้องค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป แล้วผมดีใจและขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ให้ การสนับสนุนวันนี้ จะใช้ตรงนี้ในการที่จะเป็นฐานแล้วก็ทำงานร่วมกันในการทำให้เห็นว่า ทุกบาทที่ขยับขึ้นเราจะทำให้มันดีขึ้นด้วยกันนะครับ
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
สำหรับท่านฐากรซึ่งท่านเสริมเรื่อง AI แล้วก็ EV กระทรวง อว. เป็นกระทรวง ที่สำคัญต่อการรับเทคโนโลยีด้าน EV แล้วก็มาแน่ครับ ดังนั้นประมาณครึ่งหนึ่งของรถภายใน อีก ๕-๖ ปีข้างหน้าจะถูกเปลี่ยนเป็น EV แล้วก็ภายใน ๑๐ ปีเราจะเห็นยานยนต์ไร้คนขับ ที่ขับไปขับมาอยู่ในท้องถนน ดังนั้นเราต้องมีการเตรียมความพร้อม ต้องมีการสร้าง อุตสาหกรรมด้านนี้ ไม่เช่นนั้นเรา Import อย่างเดียวเลยครับ ดังนั้นตอนนี้ สวทช. เองก็ ร่วมกับสมาคมเอาผู้ประกอบการ EV ในการที่จะเตรียมการเทคโนโลยีที่เรารับได้ ที่เราทำเองได้ แล้วก็ทำให้เกิดการใช้ชิ้นส่วนในประเทศให้เยอะที่สุด และผันอุตสาหกรรมที่กำลัง เกี่ยวข้อง กับสันดาปไปเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ผลิต EV ได้มากขึ้น
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
สำหรับท่านจุลพงศ์ ต้องขอเรียนว่าในส่วนของสิทธิบัตร สวทช. มีจำนวน สิทธิบัตรเยอะที่สุด แต่คำถามของท่านคงไม่ใช่แค่ว่าจำนวนสิทธิบัตรจดแล้วไปไหน จดแล้ว ไปเก็บไว้เฉย ๆ หรือไม่ การไปใช้ประโยชน์ เราคำนวณผลกระทบว่าเวลาไปใช้ประโยชน์ ก่อให้เกิดการใช้งานในอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดการจ้างงาน ก่อให้เกิดมูลค่าที่ Circulate อันนี้ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ผมนำเรียนว่า Project แล้วได้ประมาณ ๓๐,๐๐๐ กว่าล้านในช่วง ปีที่ผ่านมา โดยที่สิทธิบัตรต่าง ๆ ที่เราถูกนำไปใช้ ไม่ใช่ทั้งหมด เป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณ ตัวเลขนั้น อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเน้น ๒ ด้าน ๑. คือการทำวิจัยที่ตรงกับเรื่องที่จะถูกนำ สิทธิบัตรไปใช้ ไม่ใช่สิทธิบัตรอะไรก็ได้ ซึ่งอันนี้ผมให้ความสำคัญมากกับเรื่องนี้ แล้วก็ขยับ กลุ่มวิจัย การสนับสนุนงานวิจัยภายใน สวทช. ให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น อันที่ ๒ ตัวผลงานที่มีอยู่จะต้องหาผู้ประกอบการให้เจอในการที่จะเอาสิทธิบัตรที่เก็บไว้อยู่ ไปใช้ให้เร็วที่สุด เวลาก็เป็นทรัพยากรที่สำคัญ เพราะว่าทิ้งไว้อีกปี ๒ ปีก็จะไม่มีคนต้องการ สิทธิบัตรนั้นแล้วเช่นเดียวกัน สำหรับแผนปี ๒๕๖๕-๒๕๗๐ ท่านเข้าใจถูกต้องแล้วครับ ก็คือ อาจจะมีกรรมการ AI แห่งชาติในการทบทวนเป็นระยะ แต่เขียนแผนยาวเอาไว้เพื่อที่จะให้ เห็นภาพรวมของทั้งหมด
ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต้นฉบับ
ต้องขอบคุณท่านชุติมาสำหรับการชื่นชม Software Park ซึ่งมีมาตั้งแต่ ระยะแรกที่เรื่องของ Software เริ่มมี ตอนนี้ สวทช. จะต้องเริ่มขยับในเรื่องของ AI และ Big Data ให้เหมือนกับตอนที่ สวทช. เริ่มก่อตั้ง Software Park เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อน ดังนั้น ตรงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่เราจะต้องก้าวให้ทันเทคโนโลยี แล้วก็ตัว Software Park เอง ก็ต้อง Upgrade ตัวเองจากการที่เคยเป็นหน่วยพื้นที่สำหรับให้ผู้ประกอบการมาอยู่ แล้วก็ Develop Software ปัจจุบันเมื่อเคลื่อนเร็วมาอยู่บน Cloud เมื่อมีการอบรมบุคลากร ที่แทรก AI เข้าไป Software Park ก็จะเริ่มเดินขยับตาม สำหรับบัญชีนวัตกรรมกำลัง เปลี่ยนแปลงครับ จัดโครงสร้างใหม่ในองค์กรเพื่อที่จะให้ดูแลเรื่องบัญชีนวัตกรรมได้เป็น รูปธรรมมากขึ้น เหมาะกับการ Urgency ของแต่ละเรื่องมากขึ้น ที่ขนานกันไปคือค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันการ Over Flow ของรายการบัญชีนวัตกรรมที่ไม่จำเป็นที่เข้ามา ดังนั้น บัญชีนวัตกรรมส่วนใหญ่จะมีเป้าหมายชัดเจนอย่างที่ท่านชุติมาว่า จะมีบางบัญชีนวัตกรรม ที่ขอไว้ก่อน แต่ขอไว้ก่อนใช้พลังงานของเราเท่ากัน ดังนั้นการเริ่มมี Barrier เตี้ย ๆ ขึ้นมา ไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายแพงเพราะว่า สวทช. ไม่แสวงหาผลกำไรอยู่แล้ว ก็คือคิดค่าใช้จ่ายบางส่วน เพื่อที่จะเป็นกำแพงเตี้ย ๆ ให้คนที่จะต้องใช้จริง ๆ เท่านั้นที่เข้ามา แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องของทุจริตมีในทุกองค์กร หมายถึงเวลาที่จะเอาไปใช้ แต่ละองค์กร ที่เป็นภาครัฐอาจจะมีการทุจริตเกิดขึ้น แต่เราต้องแยกเรื่องของการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ออกจากคุณภาพของบัญชีนวัตกรรมไทย เราเองพยายามทำให้บัญชีนวัตกรรมไทยดีที่สุด มีคุณภาพดีที่สุดตามเป้าหมายของการใช้งาน แต่เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วทาง สวทช. ก็ไม่ได้ ทอดทิ้ง กำลังทำงานร่วมกับสำนักงบประมาณกรมบัญชีกลางในการดูว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้ มากขึ้นของการเป็นบัญชีนวัตกรรมไปเอื้อต่อการทุจริตที่ทำให้เกิดได้ง่ายขึ้นหรือไม่ แล้วจะป้องกันสิ่งเหล่านี้อย่างไร รวมทั้งบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรงก็คือเรื่องของราคา ที่ตอนเริ่มต้นบัญชีนวัตกรรมจะเปิดให้ราคาแข่งขันได้ ก็คือราคาค่อนข้างดีกับผู้ประกอบการ แต่เมื่อเวลาผ่านไปถ้าราคาน้ำมันลดลงตัวบัญชีนวัตกรรมก็ควรที่จะมีการปรับราคา ที่ประกาศตามระยะเวลา ก็น้อมรับข้อคิดความเห็นและขอบพระคุณท่านสมาชิกทุกท่าน อีกครั้งครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีท่านละอองจะฝากอะไรท่าน เชิญครับ
นางสาวละออง ติยะไพรัช เชียงราย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ดิฉัน ละออง ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย พอดี เมื่อสักครู่มาไม่ทัน แต่ดิฉันเชื่อว่าวิทยาศาสตร์จะแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศได้ โดยเฉพาะดิฉันเองเคยไปที่ สวทช. ได้เห็นโรงเรือนที่ปลูกผักที่ทดลองอยู่ เรามองเห็นว่า มันน่าจะสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้ เพราะจริง ๆ แล้วดิฉันอยู่เชียงราย อยู่จังหวัด เดียวกับท่านประธาน เราจะเห็นผักผลไม้มาจากประเทศจีนมาก วันนี้ถ้าเราไม่แก้ไขปัญหานี้ โดยการใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย แล้วก็ใช้งบประมาณของแผ่นดินในเรื่องของท้องถิ่น เมื่อสักครู่นี้มีสมาชิกได้พูดถึง มันเชื่อมโยงกันว่าเราจะใช้เม็ดเงินในงบประมาณนี้สามารถ สร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนโดยผ่านการวิจัยหรือการทำงานของ สวทช. อย่างเป็น ระบบได้ ดิฉันคิดว่าเราจะแก้ไขปัญหาความยากจนได้ ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ
นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผมขอ ๒ นาทีได้ไหมครับ ผม อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ฟังจากที่ท่านผู้ชี้แจงได้พูดแล้วผมก็ชื่นชม แต่ผมคิดว่าข้อหนึ่งที่ท่านพูดถึง เรื่องการอธิบายวิทยาศาสตร์กับสังคมผมว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เราอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ ทุก ๆ วันนี้เราก็จะเห็นปัญหาของสังคมที่มันไม่มีตรรกะทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นเยอะแยะ มากมาย เช่น วันหนึ่งเราก็มีคนที่ไปหมักน้ำแล้วก็มาหยอดตาได้ โดยที่กระบวนการอะไร ก็ไม่รู้ แต่คนเชื่อ แล้วก็ไปซื้อยาหยอดตาที่หมักกันเองในไหในอะไรอย่างนี้ แล้วมีปัญหา ในเรื่องทำนองนี้เยอะมากเลยในหน้าหนังสือพิมพ์ หรือแม้กระทั่งในสังคมของคนเชื่อในเรื่อง ของปลุกเสก ในเรื่องของทำเสน่ห์เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นผมหวังว่า สวทช. น่าจะพยายามที่จะ อธิบาย หลักของ สวทช. คือการใช้ตรรกะความรู้ทางวิทยาศาสตร์แล้วก็ไปแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นผมว่าถ้าเผื่อเราสามารถอธิบายให้สังคมมีตรรกะทางวิทยาศาสตร์ แล้วก็ไป แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของตัวเองก็ลดความงมงายให้มันง่ายให้มันชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราจะได้ลดข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่ใช้วิธีอะไรที่มันดูแปลก ๆ ผมเสนอว่า สวทช. ลองไปคุยกับ สำนักพระพุทธศาสนาว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะไปอธิบายความเชื่อกับสำนัก พระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อจะไปอธิบายกับพระที่นอกลู่นอกทาง ผมไม่รู้ว่ามันจริงหรือไม่ จริง ที่ทำเสน่ห์ ทำอิทธิฤทธิ์อะไรทั้งหลายไม่รู้จริงหรือเปล่า แต่ผมคิดว่าถ้าเผื่อเราสามารถ อธิบายตรรกะทางวิทยาศาสตร์ได้มันจะทำให้สังคมไทยก้าวหน้าบนพื้นฐานที่สำคัญ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ฝากท่านไปนะครับ ต้องขอบคุณท่านศาสตราจารย์ดอกเตอร์ชูกิจ ผู้แทนหน่วยงานที่ให้ข้อมูล ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๓ รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
- รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้ง และแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมาธิการ การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนได้พิจารณา เสร็จแล้ว
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอเชิญคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่ครับ เชิญท่านประธานกรรมาธิการ แถลง ๒๐ นาที เชิญครับ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภา ที่เคารพ กระผม พริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจากพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วม ของประชาชน ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตเป็นตัวแทนของคณะกรรมาธิการการพัฒนา การเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการมานำเสนอบทสรุป ของรายงานเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจาก การเลือกตั้งซึ่งจัดทำโดยคณะอนุกรรมาธิการ ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายวิชาการ แล้วก็ภาคประชาชน ตอนแรกผมไม่ได้ตั้งใจจะใช้เวลาในที่ประชุมแห่งนี้มากนัก แต่ด้วยความสำคัญของวาระการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ตอนนี้ดูเหมือนจะเป็นฉันทามติ ของพวกเราหลายฝ่ายร่วมกัน แล้วก็ด้วยจังหวะเวลาที่ปัจจุบันนั้นสังคมกำลังถกเถียงกัน เรื่องรูปแบบของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จะมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีหลายฝ่าย ผมเข้าใจว่ากำลังเตรียมร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบ สสร. ที่จะเสนอเข้าสู่ การพิจารณาของรัฐสภานั้น ผมเลยต้องขออนุญาตใช้เวลาสักเล็กน้อยครับ สักประมาณ ๒๐ นาทีเพื่ออธิบายสาระสำคัญของรายงานฉบับนี้เพื่อหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ สมาชิกทุกท่าน แล้วก็หลังจากนั้นจะเปิดรับฟังข้อเสนอแนะ คำอภิปรายของเพื่อน ๆ สมาชิก ก่อนที่จะมาตอบทุกข้อสงสัยหรือว่าทุกคำถามที่มีกันอีกครั้งหนึ่ง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ หากประเทศเราจะมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง การมี รัฐธรรมนูญหรือว่ากฎหมายสูงสุดของประเทศที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เป็นองค์ประกอบที่ขาดหายไม่ได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ถูกตั้งคำถามทั้งเรื่อง ของความชอบธรรมทางประชาธิปไตยด้านที่มา กระบวนการ เนื้อหา หลายฝ่ายก็เลยเห็น ตรงกันว่าจำเป็นต้องมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยทางคณะอนุกรรมาธิการมองว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นจะมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยมากที่สุด และเปิดกว้างมาก ที่สุดต่อความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย แล้วต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม หากถูกร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือว่า สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด จริงอยู่ครับ ท่านประธานว่าประเทศไทยนั้นก็ไม่เคยมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดมาก่อนในอดีต แต่ความจริงแล้วแนวคิดเรื่อง สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้นก็ไม่ได้เป็นแนวคิดที่ใหม่ หรือแปลกประหลาดแต่อย่างใด หากเราพูดเฉพาะในประเทศเราครับ แนวคิดเรื่อง สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้นก็เป็นแนวคิดที่ถูกเสนอโดยหลายฝ่ายทางการเมือง ตั้งแต่ ปี ๒๕๖๒ มาถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะผ่านการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่กระบวนการ พิจารณาของรัฐสภา หรือไม่ว่าจะผ่านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป หรือหากเรามองไปนอกประเทศเราก็จะเห็นว่าแนวคิดเรื่อง สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งหมดนั้นก็เป็นแนวคิดที่ถูกใช้ในหลายประเทศทั่วโลกที่เป็นประชาธิปไตยและมีการจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในช่วงเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นประเทศไอซ์แลนด์หรือว่า ประเทศชิลี เป็นต้น แต่ท่านประธานครับ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้นก็ไม่ได้มีแค่ รูปแบบเดียว วัตถุประสงค์ของคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้จึงเป็นการจัดทำข้อเสนอเพื่อจะเปิด จินตนาการให้พี่น้องประชาชนนั้นได้เห็นถึงทางเลือกที่แตกต่างหลากหลายในการออกแบบ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด สำหรับใครก็ตามที่เห็นด้วยอยู่แล้วว่า สสร. ควรจะมาจาก การเลือกตั้งทั้งหมด ผมก็หวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นเสมือนกับเครื่องมือให้ทุกฝ่ายนั้น ได้ถกเถียง แลกเปลี่ยนถึงข้อดี ข้อเสียของทางเลือกและตัวแปรต่าง ๆ ในการออกแบบ สสร. แต่สำหรับใครก็ตามที่ยังลังเลว่า สสร. ควรจะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่ ผมก็หวังว่า รายงานฉบับนี้จะช่วยคลี่คลายข้อกังวลของท่านได้ทั้งหมด และชี้ให้เห็นว่าทุกข้อกังวล ของท่านนั้นสามารถถูกแก้ไขได้ผ่านการออกแบบระบบเลือกตั้งให้ตอบโจทย์ที่ท่านต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องหันไปหารูปแบบของ สสร. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ท่านประธานครับ ทางคณะอนุกรรมาธิการของเราเสนอว่ากรอบคิดหลักในการออกแบบ Model สสร. นั้นควรจะเริ่มต้นด้วยการมองว่า สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นไม่จำเป็นต้องมี สสร. ประเภทเดียว แต่อาจประกอบไปด้วย สสร. ที่แบ่งออกเป็นหลายประเภทที่ล้วนมาจาก การเลือกตั้ง คล้าย ๆ กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือว่า สส. ที่ปัจจุบันก็มีการแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ก็คือแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อที่ล้วนมาจากการเลือกตั้งทั้งคู่ ท่านประธานครับ การแบ่ง สสร. เป็นหลายประเภทที่ล้วนมาจากการเลือกตั้งนั้นในมุมหนึ่ง ก็จะทำให้ สสร. ยังคงความชอบธรรมทางประชาธิปไตย แต่ในอีกมุมหนึ่งก็เป็นการทำให้ สสร. นั้นมีพื้นที่ให้กับหลากหลายกลุ่มที่อาจจะมีจุดเด่นหรือบทบาทที่แตกต่างกันออกไป แต่มาทำงานร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อให้ สสร. โดยรวมนั้นมีชุดบุคลากรที่ตอบทุกโจทย์ ที่ประชาชนคาดหวังและต้องการ คณะอนุกรรมาธิการของเรามองว่า สสร. ที่มาจาก การเลือกตั้งนั้นอาจจะแบ่งออกได้มากที่สุดเป็น ๓ ประเภทหลัก ผมขอเรียกว่าประเภท ก ข แล้วก็ ค มาเริ่มต้นประเภท ก ครับท่านประธาน นั่นก็คือ สสร. ประเภทตัวแทนพื้นที่ หรือตัวแทนทั่วไป ต้องยอมรับว่าเวลาเราพูดถึง สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งเรามักจะคุ้นเคย กับ สสร. ประเภทนี้เป็นหลัก สำหรับประเภท ก หรือประเภทตัวแทนพื้นที่ หรือตัวแทน ทั่วไปนั้นก็จะมี ๓ โจทย์หลักที่เราต้องมาพิจารณาในการออกแบบ โจทย์ข้อที่ ๑ ครับ ท่านประธาน คือคำถามที่ว่าเราจะกำหนดพื้นที่อะไรเป็นเขตเลือกตั้งระหว่างพื้นที่ที่เล็กกว่า จังหวัด กลุ่มจังหวัด หรือว่าทั้งประเทศ ฝ่ายที่สนับสนุนการใช้จังหวัดหรือพื้นที่ที่เล็กกว่า จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งก็มักจะมองไปถึงข้อดีของการที่ทำให้เรานั้นมี สสร. ที่มีตัวแทน ที่มีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ในทุกจังหวัด ซึ่งแน่นอนครับก็จะเป็นโครงสร้างที่สามารถรองรับ บทบาทในการรับฟังความคิดเห็นและการรณรงค์ในแต่ละจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุด แต่ในอีกมุมหนึ่งฝ่ายที่สนับสนุนการใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้งก็มักจะมองไปถึง ข้อดีของการทำให้ผู้สมัครที่ขับเคลื่อนเชิงประเด็น หรืออาจจะมีฐานผู้สนับสนุนที่กระจายไป หลายพื้นที่มากกว่ากระจุกอยู่แค่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งนั้นมีโอกาสได้รับการเลือกตั้งมากขึ้น แล้วก็ทำให้ สสร. โดยภาพรวมนั้นมีตัวแทนที่ครอบคลุมหลายประเด็นมากขึ้น หรือบางฝ่าย ที่เห็นข้อดีของทั้ง ๒ ด้านก็อาจจะสนับสนุนให้มี สสร. ตัวแทนพื้นที่หรือตัวแทนทั่วไปที่มี มากกว่า ๑ ประเภท เช่น ครึ่งหนึ่งอาจจะเป็น สสร. ที่ผ่านการเลือกตั้งในระดับจังหวัด อีกครึ่งหนึ่งก็อาจจะเป็น สสร. ที่ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง เป็นต้น
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนโจทย์ที่ ๒ ครับท่านประธาน ก็คือโจทย์ที่ว่าเราจะกำหนดจำนวน สสร. ต่อ ๑ เขตเลือกตั้งกัน สมมุติเราลองใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งครับท่านประธาน ฝ่ายที่ สนับสนุนให้ทุกจังหวัดมีจำนวน สสร. ต่อจังหวัดเท่ากันก็อาจจะมองถึงความเสมอภาคในมิติ ของการทำให้แต่ละจังหวัดนั้นมีจำนวนตัวแทนที่เท่ากัน แต่ฝ่ายที่สนับสนุนให้แต่ละจังหวัด มีจำนวน สสร. ต่อจังหวัดที่ต่างกันตามสัดส่วนประชากรก็อาจจะมองไปถึงความเสมอภาค ในอีกมิติหนึ่งครับ นั่นก็คือความเสมอภาคในมิติของการทำให้น้ำหนักหรือจำนวนประชากร ต่อ สสร. ๑ คนนั้นมีค่าเท่ากันในทุกพื้นที่ ส่วนโจทย์ที่ ๓ ก็คือโจทย์ที่ว่าเราจะใช้ระบบ เลือกตั้งหรือวิธีการใดในการเลือก สสร. ในแต่ละเขตเลือกตั้ง สำหรับโจทย์นี้หากเราใช้วิธี ในการให้ประชาชนเลือกผู้สมัครเป็นรายบุคคล ทางคณะอนุกรรมาธิการก็ได้มีการเสนอ ทั้งหมด ๕ ทางเลือก ทางเลือกที่ ๑ คือระบบ ที่มีชื่อว่า Single Non-Transferable Vote หรือ SNTV นั่นคือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนนั้นสามารถเลือกผู้สมัครได้เพียงแค่ ๑ คน ไม่ว่าเขตเลือกตั้งนั้นจะมีจำนวน สสร. ที่รับเลือกตั้งทั้งหมดกี่คนก็ตาม ทางเลือกที่ ๒ คือ ระบบที่มีชื่อว่า Multiple Non-Transferable Vote หรือ MNTV นั่นก็คือการที่ผู้มีสิทธิ เลือกตั้งแต่ละคนนั้นสามารถเลือกผู้สมัครได้มากเท่ากับจำนวน สสร. ที่จะได้รับการเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งนั้น ยกตัวอย่างครับท่านประธาน หากเขตเลือกตั้งมี สสร. จำนวน ๓ คน ประชาชนก็จะสามารถเลือกผู้สมัครได้มากที่สุด ๓ คน เป็นต้น ทางเลือกที่ ๓ คือระบบที่มีชื่อ ว่า Approval Vote นั่นก็คือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนนั้นสามารถเลือกผู้สมัครกี่คนก็ได้ ที่ตนพร้อมให้การอนุมัติ หรือพร้อมจะ Approve ยกตัวอย่างเช่น หากเขตเลือกตั้งหนึ่ง มี สสร. ๓ คน ประชาชนก็อาจจะเลือกอนุมัติ ๑ คน จะเลือกอนุมัติ ๓ คน หรือจะเรียก อนุมัติ ๑๐ คนก็ได้ ทางเลือกที่ ๔ คือระบบ Single Transferable Vote คือการที่ผู้มีสิทธิ เลือกตั้งแต่ละคนนั้นสามารถเรียงลำดับผู้สมัครตามความชอบ โดยหากผู้สมัครที่ตนเลือกเป็น อันดับ ๑ ได้รับคะแนนน้อยมาก แล้วยังไม่มีผู้สมัครได้ชนะขาด ระบบนี้ก็จะมีวิธีในการโอน คะแนนดังกล่าวไปให้กับผู้สมัครที่ตนเลือกเป็นอันดับ ๒ หรือในระดับถัดไปเพื่อไม่ให้คะแนน เสียงนั้นตกน้ำ ส่วนทางเลือกที่ ๕ คือระบบที่มีชื่อว่า Score Vote คือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้น สามารถให้คะแนนผู้สมัครตามลำดับความชอบ เช่น ให้ ๓ คะแนนกับผู้สมัครที่ตนชอบ เป็นอันดับที่ ๑ ให้ ๒ คะแนนกับผู้สมัครที่ตนชอบเป็นอันดับที่ ๒ และให้ ๑ คะแนน กับผู้สมัครที่ตนชอบเป็นอันดับที่ ๓ เป็นต้น หรือถ้าอีกมุมหนึ่งครับท่านประธาน หากเรา จะใช้วิธีในการให้ประชาชนเลือกผู้สมัครไม่ใช่เป็นรายบุคคล แต่เลือกผู้สมัครเป็นทีม หรือบัญชีรายชื่อ ทางคณะอนุกรรมาธิการก็ได้มีการเสนอ ๒ ทางเลือกด้วยกัน ทางเลือกที่ ๑ คือระบบบัญชีรายชื่อแบบปิดหรือว่า Close Party List นั่นก็คือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละ คนนั้นสามารถเลือกได้ ๑ ทีม โดยจำนวน สสร. ที่แต่ละทีมได้นั้นก็จะขึ้นอยู่กับสัดส่วน คะแนนที่ทีมนั้นได้ ส่วนผู้สมัครคนไหนในทีมนั้นจะได้รับเลือกตั้งก็ขึ้นอยู่กับลำดับบัญชี รายชื่อที่ทางทีมได้จัดสรรไว้ก่อนหน้านี้แล้ว หรือทางเลือกที่ ๒ คือการใช้ระบบบัญชีรายชื่อ แบบเปิด หรือว่า Open Party List นั่นก็คือการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนนั้นไม่เพียงแต่จะ เลือกได้แค่ ๑ ทีม แต่ยังสามารถเลือกเจาะจงไปได้อีกว่าอยากเลือกผู้สมัครคนไหนในทีมนั้น โดยจำนวน สสร. ที่แต่ละทีมได้ก็จะขึ้นอยู่กับสัดส่วนคะแนนที่ทีมนั้นได้ แต่ผู้สมัครคนไหน ในทีมนั้นจะได้รับเลือกตั้งก็จะขึ้นอยู่กับว่าคะแนนเสียงที่ผู้สมัครแต่ละคนในทีมนั้นได้รับ มากหรือน้อยอย่างไรเปรียบเทียบกับผู้สมัครคนอื่นในทีมเดียวกัน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ท่านประธาน ในเมื่อเรามีทางเลือกที่หลากหลายมากขนาดนี้ในการออกแบบ สสร. ประเภทตัวแทนพื้นที่หรือตัวแทนทั่วไป หลายฝ่ายเลยมองว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มา จากการเลือกตั้งนั้นจะมีแค่ สสร. ประเภทนี้ประเภทเดียวก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่ก็มีบางฝ่าย ที่มองว่าการมี สสร. ตัวแทนพื้นที่ประเภทเดียวนั้นอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ โดยพวกเขานั้น มักจะมี ๒ ข้อกังวลที่หยิบยกขึ้นมา ข้อกังวลที่ ๑ ครับท่านประธาน คือบางฝ่ายมักจะกังวล ว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีแค่ตัวแทนพื้นที่หรือตัวแทนทั่วไปนั้นอาจจะไม่สามารถรับประกัน ได้ว่าจะมีพื้นที่สำหรับผู้เชี่ยวชาญหรือว่าผู้มีประสบการณ์ให้เข้ามาอยู่ในกระบวนการตั้งโจทย์ หรือมีอำนาจตัดสินใจเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในฐานะ สสร. ที่มากกว่าเป็นเพียงแค่ในฐานะ กรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการยกร่าง ข้อกังวลที่ ๒ บางฝ่ายอาจจะมีความกังวลว่าสภาร่าง รัฐธรรมนูญที่มีแค่ตัวแทนพื้นที่หรือตัวแทนทั่วไปที่มาจากการเลือกตั้งนั้นก็อาจจะไม่สามารถ รับประกันได้ว่าจะมีตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ ที่มักไม่ถูกมองเห็น มักไม่ถูกได้ยิน แต่มี ความสำคัญต่อการทำให้ สสร. นั้นมีตัวแทนที่สะท้อนเสียงที่หลากหลายทางสังคม แม้ผม เข้าใจว่าเพื่อน ๆ สมาชิกและประชาชนแต่ละคนนั้นก็คงจะมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป ว่าข้อกังวลทั้ง ๒ ข้อนั้นเป็นข้อกังวลที่สมเหตุสมผลหรือไม่ แต่ทางคณะอนุกรรมาธิการเรา มองว่าแม้จะมีใครก็ตามที่มีข้อมูลดังกล่าวจริง แต่ข้อกังวลดังกล่าวนั้นไม่ควรเป็นเหตุผล ในการเสนอให้ สสร. บางส่วนไม่มาจากการเลือกตั้ง เพราะสิ่งที่เราทำได้เพื่อคลายข้อกังวล ดังกล่าวก็คือการเพิ่มประเภท สสร. ขึ้นมาอีก ๒ ประเภทที่เป็นตัวแทนของกลุ่มเฉพาะ แต่ยังคงมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด นั่นก็คือ สสร. ประเภท ข คือตัวแทน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วก็ สสร. ประเภท ค หรือว่าตัวแทนกลุ่ม ความหลากหลายที่มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ท่านประธาน หากใครตัดสินใจว่าจะต้องมี สสร. ประเภทเหล่านี้เพิ่มขึ้นมา จาก สสร. ประเภทตัวแทนพื้นที่หรือตัวแทนทั่วไปก็มี ๓ โจทย์หลักที่ต้องพิจารณาในการ ออกแบบ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
โจทย์ที่ ๑ คือเราจะกำหนดคุณสมบัติสำหรับผู้สมัคร สสร. ประเภท ข และ ประเภท ค ดังกล่าวอย่างไร ในส่วนของ สสร. ประเภท ข เราอาจจะกำหนดได้ว่าให้ผู้สมัคร รับเลือกตั้งนั้นต้องเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายก็ดี รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ การเมืองในระบบ หรือว่าการเมืองภาคประชาชน เช่นเดียวกันในส่วนของ สสร. ประเภท ค เราก็อาจจะกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น ต้องเป็นหนึ่งในกลุ่มความหลากหลายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเยาวชน กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนพิการ หรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น หรือถ้าหากเรามองว่า กลุ่มความหลากหลายนั้นมันสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่มมาก เราก็อาจจะใช้วิธีในการ เลือกไม่กำหนดหมวดหมู่หรือคุณสมบัติใดเป็นการเฉพาะ แต่เปิดครับ เปิดให้ผู้ที่สนใจสมัคร รับเลือกตั้งในประเภทนี้ต้องระบุเองในกระบวนการสมัครหรือกระบวนการรณรงค์หาเสียง ว่าตนนั้นเป็นตัวแทนของกลุ่มความหลากหลายในมิติใด
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
โจทย์ที่ ๒ ครับท่านประธาน ก็คือโจทย์ที่ว่าแล้วใครจะเป็นผู้เลือก สสร. ประเภทดังกล่าว แน่นอนครับว่าทางเลือกที่ตรงไปตรงมาที่สุดก็คือการรวบรวมรายชื่อ ผู้สมัครทุกคนที่ผ่านคุณสมบัติสำหรับ สสร. ประเภท ข และ ค เพื่อนำรายชื่อดังกล่าวนั้น มาให้ประชาชนเลือกโดยตรง ผ่านการเพิ่มบัตรเลือกตั้งขึ้นมาอีก ๑ ใบต่อ ๑ ประเภท แต่หากใครที่กังวลว่าการมีบัตรเลือกตั้งหลายใบมากจนเกินไปอาจจะเกิดความสับสน อีกทางเลือกหนึ่งที่ทางคณะอนุกรรมาธิการได้พิจารณาคือการให้ สสร. ประเภท ข และ ค นั้นถูกเลือกโดย สสร. ประเภท ก ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แน่นอนครับ แม้วิธีนี้อาจจะไม่ใช่การเลือกตั้งทางตรง แต่อย่างน้อยที่สุดทางเลือกนี้จะยังคงมีความชอบธรรม ทางประชาธิปไตยมากกว่าการปล่อยให้ สสร. ประเภท ข และ ค นั้นถูกเลือกโดย ครม. รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือว่าคณะกรรมการใด ๆ เพราะนอกจาก สสร. ประเภท ก ที่มาเลือก สสร. ประเภท ข และ ค นั้นจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมดแล้ว แต่อย่างน้อย ที่สุดประชาชนก็ยังได้รับรู้ในวันเลือกตั้ง สสร. ว่า สสร. ประเภท ก ที่เขาเลือกเข้าไปโดยตรงนั้น จะไม่เพียงแต่มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ยังมีอำนาจในการเลือก สสร. ประเภทอื่น ๆ เข้ามาทำงานเพิ่มเติมด้วย โดยหากจะเพิ่มความชัดเจนเราอาจจะมีการ กำหนดกติกาเพิ่มเติมได้เพื่อส่งเสริมให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สสร. ประเภท ก นั้นแจ้งกับ ประชาชนก่อนวันเลือกตั้งว่าหากเขาได้รับเลือกตั้งไปแล้วจะเสนอชื่อใครมาเป็น สสร. ประเภทอื่น ๆ ที่เข้ามาร่วมทำงาน อาจจะเป็นกลไกแบบบังคับเหมือนที่แต่ละพรรคการเมือง ที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. นั้นก็ต้องประกาศก่อนว่าชื่อ Candidate นายกรัฐมนตรีของ พรรคตนเองคือใคร หรืออาจจะเป็นกลไกแบบสมัครใจ เหมือนเวลาผู้สมัครผู้ว่า กทม. หรือว่านายก อบจ. นั้นอาจจะมีการรณรงค์หาเสียงไว้ว่าถ้าหากเลือกตนเองมาเป็นผู้ว่า กทม. หรือว่านายก อบจ. จะเลือกใครมาเป็นรองผู้ว่าหรือว่ารองนายก อบจ. เป็นต้น
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
โจทย์ที่ ๓ ก็คือโจทย์ที่ว่าแล้วเราจะใช้ระบบเลือกตั้งใดในการเลือก ซึ่งสำหรับโจทย์นี้ทางเลือกก็จะเหมือนกับทางเลือกที่ได้มีการนำเสนอไปแล้วสำหรับ สสร. ประเภท ก หรือว่าตัวแทนพื้นที่ หรือว่าตัวแทนทั่วไป จากนั้นครับท่านประธาน ภายใต้ ทางเลือกต่าง ๆ ที่รายงานนี้ได้พยายามนำเสนอ ท่านประธานก็จะเห็นว่าเราสามารถออกแบบ สสร. ได้หลาย Model มากเพื่อให้ตอบโจทย์สิ่งที่เราให้ความสำคัญ หากเรามองว่า สสร. ควรมีแค่ตัวแทนเชิงพื้นที่ในทุกจังหวัด เราก็อาจจะมีแค่ สสร. ประเภท ก ที่ใช้จังหวัดเป็น เขตเลือกตั้ง หรือหากเรามองว่าการร่างรัฐธรรมนูญนั้นไม่จำเป็นต้องมี สสร. ที่เป็นตัวแทน ในพื้นที่ต่าง ๆ เราก็อาจจะมีแค่ สสร. ประเภท ก ที่ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง หรือหากเรา มองว่า สสร. นั้นควรจะมีทั้งตัวแทนเชิงพื้นที่ในระดับจังหวัดและตัวแทนเชิงประเด็น ในระดับประเทศเราก็อาจจะแบ่ง สสร. ประเภท ก ออกมาเป็น ๒ ประเภทย่อย ประเภทย่อยที่ ๑ ก็คือ สสร. ประเภท ก ที่ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ประเภทย่อยที่ ๒ คือ สสร. ประเภท ก ที่ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง คล้าย ๆ กับ สส. ที่มีทั้งแบบแบ่งเขตและแบบ บัญชีรายชื่อ เป็นต้น หรือหากเราต้องการรับประกันพื้นที่กับผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มที่มีความ หลากหลายทางสังคม เราก็อาจจะเปลี่ยนเป็นการเพิ่ม สสร. ขึ้นมาอีก ๒ ประเภทเพื่อให้ ประชาชนนั้นเลือก สสร. ผ่านบัตรเลือกตั้ง ๓ ใบ ๑ ใบสำหรับ สสร. จังหวัด ๑ ใบสำหรับ สสร. ตัวแทนผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ แล้วก็อีก ๑ ใบสำหรับ สสร. ตัวแทนกลุ่ม ความหลากหลาย หรือหากเรากังวลจริง ๆ ว่าการมีบัตรเลือกตั้ง ๓ ใบนั้นจะสร้างความ สับสนยุ่งยาก เราก็อาจจะกำหนดให้ สสร. ประเภท ข และ ค นั้นถูกเลือกโดย สสร. ประเภท ก ที่ประชาชนเลือกเข้าไป
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ท้ายสุดนี้ผมอยากจะย้ำอีกรอบว่าในมุมหนึ่งเราต้องยืนยัน ว่า สสร. นั้นควรจะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่ในอีกมุมหนึ่งเราก็จะเห็นว่า สสร. ที่มาจาก การเลือกตั้งทั้งหมดนั้นก็มีได้หลาย Model และหลายรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรายงานนี้ จึงไม่ใช่การบอกว่าระบบเลือกตั้ง สสร. แบบไหนดีที่สุด แต่วัตถุประสงค์ของรายงานนี้ คือการฉายภาพให้ประชาชนและให้พวกเราได้เห็นถึงทางเลือกอันแตกต่างหลากหลาย ที่เป็นไปได้เกี่ยวกับ Model หรือว่าระบบเลือกตั้ง สสร. รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละ ทางเลือก หาก Model สสร. เป็นเสมือนจานอาหาร และหากคณะอนุกรรมาธิการนี้เป็น เสมือนกับร้านอาหารที่ขายเฉพาะอาหารที่ใช้สูตรว่า สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ผมก็หวังว่ารายงานฉบับนี้ก็จะเปรียบเสมือน Menu อาหารที่มีอาหารตามสั่งที่หลากหลาย เพียงพอให้ประชาชนนั้นได้เลือกและปรุงแต่งได้ตามรสชาติที่เขาต้องการโดยที่ไม่มีใครจำเป็น ที่จะต้องไปตอบสนองความต้องการของตนเองโดยการเดินไปหาร้านอาหารอีกร้านหนึ่ง ที่ขายอาหารบางจานที่หันเหออกจากหลักการว่า สสร. นั้นควรจะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ขอบคุณท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ ท่านประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วม ของประชาชน ในการชี้แจงครั้งนี้ทางคณะกรรมาธิการขอให้มีบุคคลข้างนอกเข้ามาร่วม ชี้แจงด้วย เมื่อสักครู่ประธานที่นั่งเป็นประธานไม่ได้แจ้ง ความจริงก็เข้ามานั่งแล้ว ผมก็ขอแจ้ง แล้วก็อนุญาตให้เข้ามาร่วมชี้แจงได้ครับ ๑. นายปกป้อง จันวิทย์ อนุกรรมาธิการ ๒. นายณัชปกร นามเมือง อนุกรรมาธิการ ๓. นายนันทวัฒน์ ศักดิ์สกุลคุณากร เลขานุการ คณะอนุกรรมาธิการ สามารถจะเข้ามานั่งแล้วก็ชี้แจงได้ สำหรับผู้ที่ขอร่วมอภิปรายตอนนี้ ยังไม่ปิดเสนอชื่อ มีผู้ยื่นมา ๙ ท่าน ผมจะเรียกตามลำดับสลับกันไประหว่างฝ่ายค้านและ ฝ่ายรัฐบาล เชิญท่านแรก คุณธีระชัย แสนแก้ว ผู้อภิปรายก็ให้ ๗ นาทีตามปกติ และ คนต่อไปเตรียมไว้ก็คือคุณประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ เชิญครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายธีระชัย แสนแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ท่านประธาน กระผมขออนุญาตในการที่จะร่วมอภิปรายในรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดทำ ข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการ เลือกตั้งของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง ดังนี้ ท่านประธานที่เคารพ รายงานฉบับนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้อกังวลเรื่องที่มาของ สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดว่าจะดีหรือไม่ เหมาะสมมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ อย่างไร ท่านประธานครับ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ถ้าเปรียบเทียบมันก็เหมือนหนังสามก๊กครับ ที่เรียกว่าเป็นค่ายกลแปดทวาร กุญแจทอง ที่ขงเบ้งใช้ทำศึกกับสุมาอี้ ถ้าเราดูหนังจีนอยู่ตามช่องทีวีก็คือมังกรหยกครับ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เปรียบเทียบก็ค่ายกล ๗ ดาวครับท่านประธาน รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ คณะผู้ร่างที่ถูกแต่งตั้งโดย คสช. ทำการยึดอำนาจและฉีกรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ทิ้ง แล้วก็ มายกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นกฎกติกาที่วางหมากเกมให้กับตัวเอง เปรียบเทียบทางการเมือง สืบทอดอำนาจ รักษาอำนาจของคนทำปฏิวัติครับ แล้วยังวางกลไกซับซ้อนซ่อนเงื่อนไม่ให้ ใครแก้ไขอะไรได้โดยง่ายด้วย แล้วตลอดระยะเวลาที่เราใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ๙ ปี ๑๐ ปี ก็พบว่าเกิดปัญหาการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก แล้วถ้าเรายอมปล่อยปละ ละเลยตามเลย รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ปัญหาก็จะงอกเงยขึ้นมาเรื่อย ๆ ไม่จบสิ้น ซึ่งทั้งเพื่อน สส. และพี่น้องประชาชนทุกคนต่างมีความต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กัน ทั้งนั้นครับ ทุกคนต่างมีความต้องการอยากจะสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อแก้ไข รัฐธรรมนูญที่เป็นเรื่องราวที่ผ่านมาให้ดีกว่าเดิม ทุกคนต้องการวางโครงสร้างทางการเมือง สถาบันการเมืองที่ตอบโจทย์ให้แก่พี่น้องประชาชนเป็นประชาธิปไตยได้มากยิ่งขึ้น ดูจากสภา ชุดที่แล้วครับท่านประธาน อยู่กันเกือบ ๔ ปีเต็ม เคยมีการเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ตั้ง ๒๕-๒๖ ฉบับ แต่ปรากฏว่าเพียงแค่ ๑ ร่างเท่านั้นเอง ก็แก้เพียง ๒ มาตราเท่านั้น คือแก้ไขระบบการเลือกตั้งจากบัตร ๑ ใบมาเป็นบัตร ๒ ใบเท่านั้นเอง ส่วนร่างที่เหลือ มีความพยายามจากเพื่อน สส. ชุดที่แล้ว และไม่ว่าจะเกิดความต้องการประชาธิปไตยให้แก่ พี่น้องประชาชนอย่างไรก็ตามแต่ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ นี่คือปัญหาของมันครับ ของรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากเผด็จการ ท่านประธานเห็นหรือไม่ ครับว่าคณะผู้ร่างเขาเขียนรัฐธรรมนูญฉบับนี้แทบจะแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ ไม่ได้เลย แล้วก็ไม่ใช่ เรื่องง่ายเลย ถึงขนาดที่ผู้มีส่วนร่วมในการยกร่างฉบับนี้บางคนเคยเปรย ๆ ว่าจะแก้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้สู้ให้ปฏิวัติแล้วมาเริ่มต้นแก้ใหม่ยังดีกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นี่คือ ปัญหาของมัน เพราะการที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๖๐ ที่พวกเราทุกคน ก็รู้อยู่แล้วว่ามีปัญหามากมายเหลือเกินรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๖๐ จะแก้ไม่ได้เลยถ้าหาก ไม่ได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา และทุก พรรคการเมือง องค์กรอิสระอีกเยอะแยะ และประเด็นที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมจะต้องได้รับความเห็นชอบเอกฉันท์จากทุกฝ่าย กระผมมองว่าเงื่อนไขที่จะนำไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะต้องประนีประนอมร่วมกัน จะเอา ทั้งหมดก็คงจะไม่ได้ จะหาวดาวให้ดาว จะหาวเดือนได้เดือนอย่างที่พวกเราตั้งใจมันคงยาก ที่พูดนี้ไม่ได้กลัวนะ กลัวมันทางตัน ทุกฝ่ายจะต้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่วมกันในการ ให้มันตกผลึกครับท่านประธาน อย่างรัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ พิจารณาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นแตกต่างของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจ ประเด็นใดพอที่จะพูดคุยกันได้ ก็พูดคุยกัน ประเด็นใดที่พอจะยอมถอยคนละก้าว ๒ ก้าวก็คุยกันเพื่อให้เดินหน้าต่อไปในทาง ที่ดี เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ต่างฝ่ายต่างก็ยอมถอยคนละก้าว ๒ ก้าว ทั้งหมดนี้คือ การแก้ค่ายกล ๗ ดาวของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทั้งในแง่เนื้อหาและวิธีการครับท่านประธาน ท่านประธานลองย้อนมองรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ สิครับ เราบอกว่าเป็นประชาธิปไตยที่สุด เราไม่ได้มีกระบวนการในการแก้ไขยากเท่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เลย ทั้งไม่มีการกำหนดให้มี การประชามติ แล้วอย่างตอนรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๓๔ ก็มีการแก้ไข ก็มาจากการยึดอำนาจ แล้วก็มาตั้งรัฐธรรมนูญนี้ แล้วก็แก้ไข ๖ ครั้ง ทำให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๔๐ ได้ไม่ยาก คือเขาแก้ได้ไม่ยาก และไม่ซับซ้อนเท่ากับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ท่านประธาน การที่ รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้ขึ้นมาเพื่อให้เกิดความละเอียดรอบคอบ ที่รัฐบาลเขาตั้ง เขามีมติตั้งแต่เข้าไปเป็นรัฐบาลแล้ว คณะเราก็โอเค ก็ว่ากันไปในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ก็มีบางคนก็ด้อยค่าว่าเป็นการถ่วงเวลาบ้าง กระผมอยากจะให้ลองนึกคิดดี ๆ ว่าผลพวง จากรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีพรรคไหนได้รับผลกระทบมากที่สุดครับ ก็คือพรรคเพื่อไทยของ กระผม แล้วพรรคใดได้ประโยชน์จากรายงานฉบับนี้ เมื่อปี ๒๕๖๒ เลือกตั้ง มันก็มี ทั้งส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนดีส่วนอะไร แต่มันมาจากกากเดนเผด็จการทั้งนั้นที่เราไม่ค่อยชอบ บางทีบางสิ่งบางอย่างก็ดี กระผมอยากจะให้ทุกคนลองมองย้อนดูการเลือกตั้ง สส. ปี ๒๕๖๒ สิครับว่าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งระบบเขตมากที่สุด ๑๓๖ เขตทั่วประเทศด้วยวิธีการ คำนวณ สส. พึงมีพึงได้ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นสูตรคำนวณที่แปลกประหลาด ใช้เพียง ประเทศเดียวในโลกครับท่านประธานที่เคารพ สร้างมาเพื่อสกัดทำลายพรรคเพื่อไทยโดย วิธีการคิดคำนวณเล่นแร่แปรธาตุชนิดที่ว่าผู้คิดคำนวณในครั้งนั้น บัตรเขย่งเป็นอย่างไรครับ ภาษาอีสานเขาบอกบัตรตู้ดรูดครับ แล้วแต่จะทำแล้วแต่จะคิดครับ พอมาถึงจุดนี้เราก็ต้อง ถามตัวเองว่าเราจะยอมแค่วิจารณ์อยู่เฉย ๆ หรือเราจะมาร่วมกันในกระบวนการแก้ไขให้มัน สำเร็จครับ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาให้มันดียิ่งขึ้น และอะไรดีกว่ากันครับ ท่านประธานที่เคารพ ผมเชื่อโดยสุจริตว่าพวกเรา สส. ทุกพรรคการเมือง พี่น้องประชาชน ทุกคน ภาคประชาชนต่างมีความต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เหมือนกันทุกคน เพียงแต่ วิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจมีความแตกต่างในรายละเอียดว่า สสร. จะมีกี่คน หรือวิธีการจะได้มาซึ่ง สสร. เป็นอย่างไร ตัวกระผมเป็นห่วงเรื่องนี้ครับท่านประธาน พวกเรา พูดคุยกัน ตกลงเจรจา ถอยกันคนละก้าวเพื่อให้เรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เถอะครับ ผมใจร้อนนะครับ เพราะกว่าจะไปประชาพิจารณ์ กว่าจะไปเลือกตั้ง สสร. มันกี่ปีแล้วครับ อนาคตค่อยว่ากัน การที่เราจะแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ขั้นตอนที่เราจะเจอ เงื่อนไขที่จะต้องมี คือทุกฝ่ายต้องเห็นชอบ สว. ๘๔ คน จะต้องได้รับเสียงฝ่ายค้านอีก ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าท่าน ใจร้อน เร่งรีบ ไม่รับฟังความเห็นของใคร ไม่ฟัง ผมคิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะพัง ตั้งแต่ตอนแรกครับท่านประธาน อาจจะถูกปิดตายและปิดประตูก็ได้ เพราะว่าคราวที่แล้ว ไม่ยกเว้น หรือเรื่องการให้แก้ไขทั้งฉบับโดยไม่ยกเว้นการแก้ไขหมวด ๑ และหมวด ๒ นี่ก็เป็น ประเด็นที่ละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนกว่าการเสนอกฎหมาย มาตรา ๑๑๒ เสียอีก ถ้าเรา ไม่พูดคุยเจรจากันดี ๆ ไม่รอบคอบก็อาจจะสร้างประเด็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ขึ้นมาในสังคม บ้านเราอีก ถ้าความขัดแย้งเกิดขึ้นพี่น้องประชาชน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขออภัย คุณธีระชัยครับ เพราะว่าเกินมา ๒ นาทีแล้ว สรุปได้เลยครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ที่ผมพูดเพราะว่า ผมเจอมาแล้ว ปี ๒๕๔๙ เจอ พอเจอแล้วก็ยุบพรรคครับ ยุบพรรคไทยรักไทย ยุบพรรคพลังประชาชน และยึดอำนาจปี ๒๕๕๗ อีก แล้วฉีกรัฐธรรมนูญฉบับนี้อีก เพราะฉะนั้นขอให้ผมได้พูดเถอะท่านประธาน นิดเดียวครับ แต่ผมกังวลอย่างมากคือ การยกร่างธรรมนูญเรียกว่า สถาปนารัฐธรรมนูญ จะต้องยกร่างด้วยความละเอียดรอบคอบ ด้วยความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้แตกฉาน ผมไม่อยากจะให้ทั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ สภาผัวเมีย ลูกน้อง สส. และลูกน้องนักการเมืองไปเป็น สสร. ก็จะเกิดปัญหาขึ้นอีก เหมือนเดิมครับท่านประธาน ขอขอบคุณครับท่านประธาน หมดเวลาแล้วครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ครับ
นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล จังหวัด ปทุมธานี เขต ๗ อำเภอลำลูกกา ธัญบุรี และอำเภอหนองเสือ ผมขอมีส่วนร่วมอภิปราย ญัตตินี้ สนับสนุนให้ สสร. มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ควร มาจากการแต่งตั้งแม้แต่คนเดียว ก่อนอื่นขอขอบคุณท่านคณะกรรมาธิการการพัฒนา การเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ทำรายงานฉบับนี้ละเอียด มาก ๆ ๑๐๒ หน้า มีการเลือกตั้ง แล้วก็มีการให้ทางเลือกด้วยว่าจะเลือกกลุ่มหลากหลาย มาได้อย่างไร ท่านประธานครับ ประเทศไทยของเรามีการร่างรัฐธรรมนูญบ่อยมาก ๆ ประเทศหนึ่งในโลกเลย จากประวัติศาสตร์การเมืองก็ชี้แล้วว่าผู้ที่เข้ามาร่างรัฐธรรมนูญมีผล อย่างยิ่งต่อทิศทางของรัฐธรรมนูญ และการกำหนดวิถีทางและแนวทางการเมืองของ สังคมไทย การออกแบบ สสร. จึงเป็นกระดุมเม็ดแรกในการแก้วิกฤติของเมืองไทยในปัจจุบัน ยิ่งโจทย์ของสังคมไทยมีการเปลี่ยนจากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นมรดกของรัฐประหารมาสู่ รัฐธรรมนูญของประชาชน เพราะฉะนั้นก้าวแรกของเราสำคัญมาก ๆ คำถามสำคัญที่สังคม ต้องคิดกันต่อก็คือว่า สสร. หรือผู้ร่างรัฐธรรมนูญควรมีที่มาอย่างไร ควรประกอบด้วย กลุ่มบุคคลที่หลากหลายเพียงใด และการออกแบบกระบวนการทำงานอย่างไรเพื่อให้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญที่มีประสิทธิภาพ แล้วก็มีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อนำพาสังคมไทยออกจาก วิกฤติการณ์ทางการเมืองในครั้งนี้ คำถามก็คือว่า สสร. ควรมีคุณสมบัติอย่างไร ผมก็ออกมา ได้ ๔ ข้อ ข้อ ๑ คือว่าต้องยึดโยงกับประชาชน ข้อ ๒ ต้องมีความหลากหลายมาจากหลาย กลุ่มวิชาชีพ แล้วก็หลายกลุ่มสถานภาพ ข้อ ๓ คือจะต้องเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็น หลากหลายจากทุกภาคส่วน ข้อ ๔ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ และที่สำคัญคือ สสร. ต้องมีความเป็นอิสระ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนะครับท่านประธาน สสร. ที่มาจากการแต่งตั้งปัญหาคืออาจจะถูกครอบงำจากคนที่แต่งตั้งได้ อาจต้องทำงาน ทดแทนบุญคุณผู้ที่แต่งตั้งมา อาจจะไม่มีความเป็นกลาง ไม่ยึดโยงกับประชาชน ไม่คำนึงถึง ประโยชน์ของประชาชน แล้วก็อาจจะโหวตตามใบสั่ง โหวตตาม Deal ลับ พูดจากลับกลอก แล้วแต่นายสั่ง นี่คือปัญหาของ สสร. ที่มาจากการแต่งตั้ง แต่ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์จะไม่มีนายคอยสั่ง จะมีความเป็นอิสระมากกว่ากันเยอะเลย ข้อเสียของ สสร. ที่มาจากการแต่งตั้ง เดี๋ยวผมจะอธิบายเป็นข้อ ๆ ให้ ข้อเสียของ สสร. ที่มาจาก การแต่งตั้งก็คือ ข้อ ๑ อาจจะขาดความชอบธรรม สสร. ที่มาจากการแต่งตั้งจะไม่ได้รับ การยอมรับจากประชาชน ข้อ ๒ คือขาดความหลากหลาย สสร.ที่มาจากการแต่งตั้งอาจจะ ไม่มีตัวแทนจากหลายกลุ่มของสังคม ข้อ ๓ คือขาดความโปร่งใส คือกระบวนการคัดสรร สสร. ก็อาจจะมีปัญหาอีก ไม่มีความโปร่งใส ข้อ ๔ คือไม่มีความเป็นกลาง อย่างที่ได้ กล่าวไปนะครับ จะต้องทำงานรับใช้คนที่แต่งตั้งมา ไม่ทำงานตามหน้าที่ ไม่มีประสิทธิภาพ คอยยกมือตามคำสั่งเท่านั้น ส่วน สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งก็ปฏิเสธไม่ได้ มีข้อเสียเช่นกัน อย่างเช่น การเปลืองทรัพยากรในการใช้กำลังคนในการเลือกตั้ง ใช้เวลานานที่จะเลือกตั้ง เข้ามา แล้วก็ข้อ ๒ คือมีการเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ข้อ ๓ ก็คืออาจจะถูกครอบงำ จากกลุ่มทุนได้ ซึ่งข้อนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหามาก เพราะว่ากลุ่มทุนอาจจะไม่ได้อยากจะลงทุน ในการที่จะตั้ง สสร. เพื่อมาร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญแค่นั้น คงไม่มีปัญหาเท่าไร แต่ข้อดีของ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งนะครับ มีความชอบธรรมมาก ๆ เลย เพราะว่าได้รับ การยอมรับจากประชาชนเพราะเป็นเสียงของประชาชนโดยตรง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ข้อ ๒ คือ มีความหลากหลาย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นตัวแทนของกลุ่มหลายกลุ่มในสังคม สะท้อนความต้องการของประชาชนที่หลากหลายอย่างแท้จริง มีความโปร่งใส กระบวนการ คัดเลือก สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งก็ตรวจสอบได้ เพราะว่าเป็นการเลือกตั้งเข้ามา ข้อ ๔ ที่สำคัญที่สุดก็คือการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐธรรมนูญที่มาจาก สสร. ที่มาจาก การเลือกตั้งของประชาชน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ประชาชนย่อมรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของ รัฐธรรมนูญที่แท้จริง เพราะเป็นคนเลือกสรร สสร. เข้ามาเอง จะติดตามการทำงานของ สสร. จะให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นของร่างรัฐธรรมนูญนั้น ๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสียแล้วผมก็คิดว่า สสร. ควรจะมาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าหากเรา ต้องการรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงก็ควรจะเริ่มจะก้าวแรกเลยเพื่อความ โปร่งใส ก็คือการเลือกตั้งเพื่อความสง่างาม ไร้ข้อตำหนิ ข้อกังขาของสังคม ท้ายที่สุดสภาของ เราเคยมีตัวอย่างคณะบุคคลคณะหนึ่งที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามา พอโหวตก็โหวตไปทาง เดียวกันทั้งคณะ แต่พอเจ้านายแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย คณะนี้ก็แตกเช่นกัน แบ่งโหวตเป็น ๒ ฝ่าย จนประชาชนก็รู้กันหมดว่าใครถูกแต่งตั้งมาจากใคร ระบบแบบนี้ควรจะสูญพันธุ์ ไปจากการเมืองไทยได้แล้ว ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณวิทยา แก้วภราดัย ครับ
นายวิทยา แก้วภราดัย แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม วิทยา แก้วภราดัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครวมไทยสร้างชาติ ผมนั่งฟัง รายงานของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วม ของประชาชน ซึ่งเรื่องที่ท่านนำเสนอก็คือ เรื่อง การจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้ง และแนวทางในการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ที่จริงผมก็ติดตาม เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญอยู่นานพอสมควร ฟังอย่างชาวบ้าน รับรู้ไปเรื่อย พัฒนาไปเรื่อย ก็เพิ่งได้ข้อเท็จจริงว่าที่เราจำเป็นจะต้องตั้ง สสร. ส่วนวิธีการจะตั้งอย่างไรค่อยว่ากัน ตั้ง สสร. มาเพื่อจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เพราะพวกเรารู้สึกว่ารัฐธรรมนูญฉบับเก่า ที่มาไม่ชอบ เผด็จการเป็นคนเขียนให้ ส่วนทิศทางว่าจะแก้ไปทางไหนดี ผมคิดว่าผมนั่งดูสภา ชุดที่แล้วมา ๔ ปีครับท่าน สภาคิดแก้รัฐธรรมนูญได้เรื่องเดียว เรื่องบัตรใบเดียวกับบัตร ๒ ใบ แล้วก็จบไป สภาชุดหนึ่ง วันนี้เรามาพูดเรื่องเดิมอีกว่าคิดจะตั้ง สสร. เพื่อมาแก้ รัฐธรรมนูญที่มีที่มาซึ่งเราไม่ชอบ อยากจะได้ที่ชอบ ๆ แต่โดยสภาพความเป็นจริงครับ ท่านประธาน ท่านกับผมอยู่ตรงนี้ เราเป็นผลผลิตจากเรื่องที่เราไม่ชอบทั้งนั้น แต่เรายังคิด ไม่ออกครับว่านอกจากไม่ชอบที่มา เกลียดตัวแล้วยังกินไข่หรือเปล่า หรือคิดออกหรือยังครับ ว่าในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่เราคิดจะเขียนใหม่ทั้งฉบับให้สวยหรู มีที่มาอย่างโน้นอย่างนี้ เป็นคณะกรรมการมายกร่าง คิดออกหรือยัง มันมีปัญหาอะไร กี่เรื่อง ผมเห็นนั่งถก ๆ กัน ก็ยังตอบคำถามผมไม่ได้เลยครับว่าจะแก้เรื่องอะไรบ้าง คือแก้ทั้งฉบับ แล้วผมว่าทั้งฉบับ ถ้าคุณเขียนทั้งฉบับได้ สสร. แล้วเขียนเหมือนฉบับนี้ทั้งฉบับ อะไรครับ คือความพอใจ แค่นั้นเอง เพราะฉะนั้นบอกให้ได้ว่าจะเอาให้คนนอกไปแก้ อยากแก้เรื่องอะไร ที่มันเป็น ปัญหาที่มันลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชน หัวใจหลักของรัฐธรรมนูญความเป็นประชาธิปไตย เรื่องเดียวครับ คือการค้ำประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในประเทศ ถ้าสิทธิเสรีภาพ ประชาชนละเมิดง่ายด้วยอำนาจ อันนั้นก็ไม่เป็นประชาธิปไตยครับ ส่วนกระบวนการที่ไปที่มา ของนักการเมืองแบบพวกเรามันมีเทคนิค จะเอาประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นหลักไม่ได้ครับ
นายวิทยา แก้วภราดัย แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อันที่ ๒ คุณบอกว่าจะเลือก สสร. ผมว่าในใจพรรคการเมืองในทุกพรรคในนี้ ก็นั่งคิดครับว่าผมมีพรรคการเมือง อยู่ในพรรคการเมือง ผมก็ต้องคิดว่าผมต้องหาคนของผม มาเป็น สสร. ให้ได้มากที่สุด ทุกพรรคเลยครับ เหตุผลเพื่อจะได้เอาตามใจที่ผมคิด ตามใจ ที่พรรคผมคิด ท่านประธานครับ กระบวนการในการสรรหา ถ้าผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ทั้งหมด ไม่มีใครเชี่ยวชาญเท่ากับ ๕๐๐ คน พวกนักการเมืองในนี้ครับ เก่งทั้งนั้นในเรื่อง การเลือกตั้ง นักวิชาการอย่าสะเออะขึ้นมา อย่าคิดว่าจะโผล่ขึ้นมาได้ กระบวนการกรอง เป็นอย่างไรก็ตาม กระบวนการถ้าผ่านการเลือกตั้งเมื่อไร ๕๐๐ คนนี้ ฝีมือที่สุดแล้วในแผ่นดิน กกต. ก็ไล่ไม่ทัน กกต. ไล่ทันไหมครับ จนป่านนี้ประกาศใบแดงไม่ได้สักใบ ไม่มีทางครับ กลายเป็นทุกคนในที่นี้กลายเป็นคนขาวสะอาดท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ว่าระบอบ ประชาธิปไตยเราก้าวไปสู่หายนะเมื่อประชาชนต้องการสตางค์แล้วก็ตัดสินใจง่าย เราเห็น การซื้อเสียงกลายเป็นเรื่องปกติ แล้วเรียกหาอะไรกันครับ คราวนี้มาเรียกหาในการแก้ รัฐธรรมนูญ ผมนั่งมานานแล้วครับ ถ้าบอกได้ว่าอยากแก้เรื่องไหนมาก ๆ ผมก็จะเริ่มเห็นด้วย แต่บอกว่าเปลี่ยนเสื้อตัวนี้ให้คนอื่นมาตัดให้ใหม่ ตัดมาแล้วก็เหมือนเดิมอีก แล้วผมจะต้อง ชวนประชาชนไปหมดเป็นหมื่น ๆ ล้านเพื่อได้เสื้อตัวใหม่ซึ่งเหมือนกับเสื้อตัวเดิม ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นไม่มีหลักประกันในการเดินไปข้างหน้า หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๔ หมวด ๕ กี่หมวดก็ตามครับ เขาเขียนไว้แล้วหมวดไหนกระทบไม่ได้ ถ้ากระทบ ก็เป็นปัญหา เพราะฉะนั้นตั้ง สสร. เพื่อเปิดด่านไปกระทบปัญหาในเรื่องที่ควรแก้ไม่ได้ ความมั่นคงของรัฐ เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ๒ เรื่องนี้ครับ ที่จะเปิดประตูไม่ได้ถ้าไม่ตั้ง สสร. ก็บอกกันตรง ๆ สิครับ อยากเอาเรื่องไหน แต่คิดมาวิธีการ ผมรับได้ครับ วิธีการจะหา สสร. แต่ผมว่าผมไม่ค่อยเชื่อว่าเราจะได้ สสร. มาอย่างบริสุทธิ์เที่ยงธรรม อย่างเพื่อนสมาชิก จากอุดรธานีที่อภิปรายเมื่อสักครู่ แน่นอนครับ ได้สภาอย่างที่เราเคยเจอ ๆ ท่านประธาน ก็เคยเจอ ๆ มา อย่าวาดหวังไว้มากครับว่าได้ สสร. วิเศษวิโส แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะ เลิศเลอดีที่สุด ไม่มีที่ไหนในโลกเทียบเท่า ฝันไปเถอะครับ แล้วก็คิดว่าวิธีการอย่างนี้บอกกัน ให้ประชาชนรู้ครับว่า ที่เขาอยากแก้รัฐธรรมนูญ ประชาชนอยากแก้เรื่องอะไร เริ่มถาม กันก่อนสิครับ ถ้าถามกันก่อนประชาชนอยากแก้เรื่องอะไร คณะคนที่จะไปยกร่างแก้ก็ได้รู้ ครับว่าประชาชนเขาเดือดร้อนเรื่องนี้ ประชาชนเขาไม่พอใจเรื่องนี้ อย่างน้อยมีธงไว้ให้คนที่ จะยกร่างรัฐธรรมนูญไว้ ที่ฉบับนี้มีปัญหาไม่ใช่เพราะคนร่างเดิม ไม่ใช่เพราะที่มา เพราะเนื้อหาสาระเราสนใจรูปแบบมากกว่าสาระแล้ววันนี้ แต่ถ้าเราบอกว่าสาระตรงนี้ จำเป็นต้องแก้ ฟังจากประชาชนเสียก่อนแล้วค่อยก้าวไปทีละก้าว นี่เราก้าวข้ามเลยครับ แทนที่จะฟังประชาชน วันนี้นักการเมืองยัดเยียด ต้องแก้รัฐธรรมนูญ แก้รัฐธรรมนูญ แก้ทั้ง ฉบับ ตั้ง สสร. ประชาชนทั้งประเทศผมว่าก็ยังสงสัยว่าคุณจะแก้ไขอย่างไร ใครจะเป็น สสร. เพราะฉะนั้นผมคิดว่าใช้เวลาตรองสักนิด ให้คำตอบกับประชาชนทั้งประเทศ เราเป็นตัวแทน ชาวบ้านมา ฟังคำตอบจากชาวบ้านว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เขารู้สึกว่าไม่ดีตรงไหน แล้วมาช่วย กรองกัน อย่างน้อยตั้งเป็นธงจากสภา มาตั้ง ๕๐๐ คน มาจากทั้งประเทศครับ คิดไม่ออกว่า อยากแก้ตรงไหน คิดอย่างเดียวครับ เปลี่ยนเสื้อตัวนี้เพราะเสื้อตัวนี้มาไม่สวย ตัดไม่ดี คนตัด ไม่ใช่ช่าง เพราะฉะนั้นอย่าพาประเทศไปอย่างนั้นครับ ช่วยกันหาความคิดและขายความคิด ที่มาจากประชาชน มาสู่พวกผู้แทนเรา มาอภิปรายกันในสภา แล้วก็คุมตรงนี้เพื่อจะเขียน อะไรก็ตามใส่มือคนที่เรามอบอำนาจให้ทั้งหมดครับ อย่าเขียนเช็คเปล่าให้เขาครับ ผมไม่ เซ็นเช็คเปล่าเด็ดขาดครับ ถ้าไม่รู้ว่าจะพาบ้านเมืองไปทางไหนครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณณัฐวุฒิ บัวประทุม ครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านประธาน ที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัด อ่างทอง ท่านประธานครับ ผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ภายในวงเล็บใหญ่ ๆ เลยนะครับ (ที่มาจากการเลือกตั้ง) ท่านประธานครับ พวกผมผ่าน ปี ๒๕๔๐ มา อาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ ก็อยู่กับพวกผมในปี ๒๕๔๐ ซึ่งเรามีความฝันและ ความคาดหวังร่วมกันว่าสังคมไทยมันจะก้าวหน้าไปจากรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดที่เรียกว่า Constitutionalism หรือรัฐธรรมนูญนิยม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานของ ท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ แล้วก็งานของคณะกรรมการพัฒนาการเมืองเป็นปึกใหญ่ ๆ ของนักวิชาการอีก ๒๐ กว่าคน แน่นอนครับ วันนั้นก็เป็นแบบวันนี้ เราเองอาจจะยังไม่ได้รู้ทั้งหมดว่าเสื้อที่เราจะออกแบบนั้น หน้าตาเป็นอย่างไร จะมีกระดุมกี่เม็ด จะมีรายละเอียด จะเย็บแบบไหน จะติดตราอย่างไร ใส่พอดีหรือไม่ บางครั้งอาจจะต้องลองใส่ดูก่อน ใส่ไม่พอดีก็อาจจะต้องมีการปรับแก้ แต่นั่นคือเป็นความฝันไม่ใช่หรือครับ เป็นสิ่งที่ดี ๆ ไม่ไช่หรือครับที่เราควรจะต้องมีส่วนร่วม ในการกำหนดมาใหม่ หรือการออกแบบรูปแบบใหม่บนพื้นฐานที่เปิดกว้างของการแสดง ความคิดเห็นอย่างแท้จริง มิได้มีคำถามนำหรือการชี้นำแบบใดแบบหนึ่ง หรือมือที่ไม่เท่ากัน ในการลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญหรือไม่ และแน่นอนเราจำเป็นต้องยอมรับ กันอย่างตรงไปตรงมาว่าการตัดเสื้อเมื่อปี ๒๕๖๐ นั้นมีปัญหา และถึงเวลาที่เราจำเป็นจะต้อง ตัดเสื้อตัวใหม่ อย่างไรก็ตามเวลาที่เราพูดถึงเรื่องของการแก้รัฐธรรมนูญนั้นหนีไม่พ้นว่าที่มา ของคนที่มาแก้นั้นต้องเป็นประเด็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง แน่นอนครับในรายงานของ คณะกรรมาธิการพูดถึงการมีส่วนร่วมของคนที่เรียกว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญ อยู่ ๓ ส่วน ด้วยกัน
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนแรก เรียกว่าเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกผม เป็น สส. มาจากต่างจังหวัด ผมเองก็อยากมีตัวแทนในพื้นที่ของผมที่เข้ามานั่ง ซึ่งยากที่สุด เมื่อเทียบกับกรณีอื่น ๆ แล้วก็กรณีแบบนี้ท่านต้องเคารพและไว้ใจว่าพี่น้องประชาชนวันนี้ มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในการจะตัดสินใจว่าเขาจะเลือกใครมาเป็นตัวแทนของพวกเขา ปี ๒๕๔๐ ผ่านมาแล้วครับ ปี ๒๕๕๐ ผมเป็นอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมี ส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผมทราบดีว่ามันมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่นเวลาที่เราจะไปรับฟังความคิดเห็นนั้นถูกล็อกด้วยคำถามแค่ไม่กี่ข้อที่เอาให้ไปถาม ประชาชนว่า เอาแบบนั้นแบบนี้หรือไม่ นั่นเป็นปัญหาในอดีต แต่วันนี้เราต้องแก้
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๒ ก็คือหนีไม่พ้น เอาเข้าจริง ๆ แล้วเราต้องยอมรับว่าความหลากหลาย ของผู้คนนั้นมันมากขึ้น แล้วผู้คนหลากหลายนั้นบางกลุ่มไม่มีส่วนกำหนดชะตาชีวิตของ ตนเอง วันนี้ถ้าท่านพูดถึงความหลากหลายก็มีคำถามเหมือนกันว่าสัดส่วนของคนที่มีความ หลากหลายทางเพศจะอยู่ตรงไหน สัดส่วนของพี่น้องประชาชน พี่น้องชาติพันธุ์จะอยู่ตรงใด สัดส่วนของกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ ซึ่งผมต้องยอมรับว่าในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ มีมาตราหนึ่ง ที่เรียกว่า มาตรา ๔๐ (๖) ระบุไว้เลยว่า ต่อไปในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็กและ เยาวชนจะต้องมีพนักงานสอบสวนหญิง อันนี้ไม่ได้พูด เขียนแบบตรงไปตรงมา แต่เป็นที่มาที่ไป ที่ทำให้มีพนักงานสอบสวนหญิง แต่ปี ๒๕๖๐ ไม่มีข้อความแบบนี้ และความรุนแรงในเด็ก เยาวชน สตรี ส่วนหนึ่งที่กระบวนการยุติธรรมเอื้อมไม่ถึง ก็มาจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ที่ไม่มีความละเอียดอ่อนอย่างเพียงพอต่อความหลากหลายที่ผมพูดนั่นละครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๓ จำเป็นต้องมีคนที่มาปรับแต่งหน้าตาของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ไม่เคยมีข้อใด ๆ ที่จำกัดว่าจะล็อกว่าหมวดใดหมวดหนึ่งนั้นแก้ไม่ได้ รัฐธรรมนูญไม่เคยมี ข้อจำกัดว่าแม้กระทั่งประเด็นถกเถียงกันว่าอำนาจอธิปไตยจะเป็นของ หรือมาจากประชาชน พี่น้องประชาชนหรือคนที่มีความเชี่ยวชาญก็มีส่วนถกเถียงกันได้ มาตรานี้อยู่ในหมวด ๑ แน่นอนครับ อำนาจอธิปไตยจะเป็นของหรือมาจากประชาชน วันนั้นก็ยังเถียงกันได้ แล้ววันนี้เพราะเหตุใดถึงไม่อาจหยิบยกเรื่องนี้มาเถียงกันได้ครับ ฉะนั้นที่มาที่ไปของ ๓ ส่วนนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของตัวแทนของพี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่ ตัวแทนของกลุ่ม ต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายและตัวแทนของคนที่มีความเข้าใจในเชิงเทคนิค ในเชิง รายละเอียด ในเชิงการเชี่ยวชาญที่จะระบุแค่คำว่า และ หรือ ต่อกัน บางครั้งกฎหมายก็เขียน ไม่เหมือนกัน เจตนารมณ์ต่างกันเลย ฉะนั้นจำเป็นต้องมี ๓ ส่วนนี้ ซึ่งเราเรียกว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะมาจากการเลือกโดยตรง จะมาจากการปรับแต่งใด ๆ ตาม Model ที่ท่านเสนอ ซึ่งผมต้องขอบพระคุณ แต่ว่า ความเข้าใจของการเลือกหรือที่มาที่ไปนั้นยากครับ ท่านเสนอ ๓ แบบ ๕ Model ต่าง ๆ ผมอยากฟังตอนท้าย ๆ อีกสักครั้งหนึ่งว่าท่านเสนอแล้วนี้ จะสรุปออกมาข่าวคร่าว ๆ ให้เรา ได้ยินได้ไหมว่าบางครั้งเป็นการเลือกโดยตรงทั้งหมดนะ บางครั้งเป็นการมาเลือกกันเอง บางครั้งเป็นการเลือกแบบเป็นพวง พูดง่าย ๆ ก็คือมีการระบุใด ๆ ต่าง ๆ แต่อย่าลืมว่าวันนี้ สัดส่วนของประชาชนคนไทยว่ากันโดยเพศสภาพ โดยกำเนิด เรามีผู้หญิงเกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากรในประเทศ แต่ท่านไม่ได้เขียนหรือไม่มีตรงใดเลยที่ระบุว่า ที่มาของ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอย่างน้อย หรืออาจจะถึงกึ่งหนึ่งต้องควรมีผู้หญิงอยู่ในสัดส่วน ปี ๒๕๖๐ มีผู้หญิงอยู่ ๓ คนนะครับ ยกร่างกันไปกันมา คุณทิชา ณ นคร ลาออก ๑ คน เหลือ ๒ คนเอง เห็นไหมว่าสัดส่วนของเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงกับผู้ชายก็ต้อง มีส่วนสำคัญในสภาร่างรัฐธรรมนูญ นั่นเป็นประเด็นที่ ๓ ซึ่งผมคิดว่าถ้าเป็นไปได้ทาง คณะกรรมาธิการช่วยตอบผมนิดหนึ่งครับว่าในการจัดทำรายงานนั้นท่านพูดถึงประเด็น เหล่านี้หรือไม่
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๔ ประเด็นสุดท้ายครับท่านประธาน รายงานฉบับนี้มีข้อสังเกต อยู่ ๒ ข้อ และเป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ ลงนามโดย คุณปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ เลขานุการคณะกรรมการ สส. นนทบุรี เพื่อนพรรคผม ท่านประธานครับ ข้อ ๑ คือการส่งให้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาศึกษา อันนี้ผมคิดว่าเข้าใจตรงกันครับ ไม่ยาก ถ้าเราเห็นชอบก็ส่ง แต่ข้อที่ ๒ บอกว่า ควรให้ สส. และสมาชิกวุฒิสภาพิจารณาข้อเสนอและทางเลือกทั้งหมด ผมก็ต้องเรียนถามท่านประธานว่าวันนี้เป็นไปได้หรือไม่ หากเรามีความเห็นแล้วว่ารายงาน ฉบับนี้มีสิ่งที่ดีสำคัญยิ่งที่ควรศึกษานั้น สภาผู้แทนราษฎรจะส่งให้ สว. ได้หรือไม่ ถ้าส่งให้ สว. ได้ประกอบกันผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ดีที่จะตอบโจทย์แล้วก็นำไปสู่การร่วมกัน ในการกำหนดรูปแบบที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และนำไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญ อย่าให้รอถึงปี ๒๕๗๐ ทุก ๆ ๑๐ ปีเลยครับ ก่อนปี ๒๕๗๐ ก็มีได้ แต่ขอให้เป็นรัฐธรรมนูญ ที่มาจากและพี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมในการจะกำหนดเจตจำนงของเขาอย่างแท้จริง ขอบคุณครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณทรงยศ รามสูต ครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขออภิปรายในส่วนรายงานของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในเรื่องของการจัดทำข้อเสนอระบบ การเลือกตั้งและแนวทางการทำสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ก็อย่างที่ เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายส่วนใหญ่ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันมีที่มาจากหลังการปฏิวัติ รัฐประหาร เพราะฉะนั้นผู้ร่างมันเป็นเรื่องปกติ ใครเป็นคนร่างเขาก็เขียนเพื่อคนกลุ่มนั้น ถ้าประชาชนร่างก็เขียนเพื่อประชาชน สภาร่างก็อาจจะพี่น้องประชาชนด้วย สภาด้วย รัฐธรรมนูญนี้เขียนขึ้นมาภายหลังการปฏิวัติรัฐประหารก็มีการรัด มัดหลาย ๆ ข้อเพื่อที่จะ รักษาฐานอำนาจ ดูได้จากตัวอย่างก็คือมาตรา ๒๕๖ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นประเด็น หลัก เป็นประเด็นหัวใจ โดยเฉพาะ (๑) กับ (๓) สาระสำคัญมากเลยว่าแม้เสียง ข้างมากจะให้ความเห็นชอบ แต่ว่าถ้า สว. ๑ ใน ๓ ไม่เห็นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ก็ตกไป ผมเป็นผู้แทนใหม่ ๆ เคยมีความคิดว่าจะขอแก้ (๑) กับ (๓) นี้ แต่ปรากฏว่ามันติดที่ (๘) เขาบอกว่า ต้องทำเป็นประชามติถึงจะแก้ได้ ซึ่งตอนประชุมพรรคของผม ผมก็เสนอว่าน่าจะ แก้ตรงนี้ แต่ทางพรรคเพื่อไทยแล้วก็เพื่อนสมาชิกส่วนใหญ่ทั้งในสภาและทั่วประเทศคิดว่า มันควรจะมี สสร. ผมก็ไม่ว่ากันที่เราจะต้องมี สสร. มาเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจากที่ ทางกรรมาธิการรายงานมา ก็มาจาก ๓ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนระดับจังหวัด ตัวแทน ผู้เชี่ยวชาญ หรือว่าตัวแทนของกลุ่มหลากหลายก็เป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ก็คือ ในส่วนของการยึดโยงกับภาคประชาชนและพรรคการเมือง ก็ยังไม่มีข้อยุติว่า สสร. จะสามารถสังกัดพรรคการเมืองได้หรือไม่ เพียงไร สาเหตุที่ผมต้องพูดถึงสังกัดพรรคการเมือง ได้แค่ไหน เพียงไร บางทีเราอาจจะบอกว่า สสร. มันควรจะปลอดจากการเมืองไม่ควรจะมี การเมืองเข้าไปยุ่ง แต่อย่าลืมนะครับ อย่างที่เพื่อนสมาชิกเมื่อสักครู่ท่านพูดว่า คนที่รู้ใจ วิถีชีวิตทางการเมือง ประชาธิปไตยดีที่สุด และระบบรัฐสภาที่ดี รัฐธรรมนูญดีที่สุดก็คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพี่น้องประชาชนเลือกเข้ามา เขาจะรู้จุดรู้ข้อบกพร่อง ตอนแรก ผมคิดว่าเสนอแก้ (๘) ไป ขอทำประชามติ แต่เมื่อจะทำ สสร. ผมคิดว่าทำอย่างไรจะให้เขา มีการยึดโยงกับประชาชนได้ สิ่งนี้เป็นสาระสำคัญ เพราะที่ผ่านมาผมเห็นเวลาเอา ร่างรัฐธรรมนูญไปก็ดี หรือ สสร. กี่ชุด ๆ ที่ไปทำรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน ที่ผ่านมามันเป็นเพียงแค่พิธีกรรม เอางบหลวงไป จะแก้อย่างนี้ ๆ ใครจะเสนออะไรบ้าง ชาวบ้านก็ยกมือ คนนี้ก็เสนอแนะตั้งกลุ่มย่อย สุดท้ายก็เอาเหมือนเดิมทุกครั้ง เพราะฉะนั้น ผมเชื่อว่าตัว สสร. ที่ร่างขึ้นมาก็ไม่ต่างจากเดิม กระบวนการรับฟังความคิดเห็นมันมีปัญหา เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรที่จะให้ สสร. เขายึดโยงกับสายการเมืองด้วย เพราะว่าเรารู้จุดอ่อน รู้จุดด้อย ผมก็เลยอยากจะเสนอว่า สสร. ถ้าสังกัดพรรคได้ก็จะดี หรือในช่วงที่ สสร. เขากำลังร่างรัฐธรรมนูญที่จะแก้ไขนี้ควรจะต้องมาฟังข้อเสนอแนะจากรัฐสภา ทั้ง สส. และ สว. เราก็ต้องยอมรับ สว. ตามรัฐธรรมนูญนี้เขาก็มีสิทธิมีเสียงก่อนประชามติ เขาบอกว่า เหมือนตีเช็คเปล่า จริง ๆ ผมก็เห็นด้วยบางส่วนว่าเรามอบให้ สสร. เขาไปร่างมันก็เหมือน ตีเช็คเปล่า มันมีหลายประเด็นที่เราอาจจะไม่เห็นด้วยหรือเราอยากแก้ไข แต่ถ้ากระบวน การรับฟังความคิดเห็นมันเหมือนที่ผ่านมาในอดีตเราทำอะไรไม่ได้เลย เพราะผมมีหลายเรื่อง ที่อยากจะแก้ อย่างเช่นที่มาของ สว. ผมก็อยากจะแก้ใหม่ ทั้งการเลือกตั้งทางตรง หรือเลือกตั้งในปัจจุบัน ก็ไม่รู้จะไปนำเสนอที่ไหน หรือในเรื่องขององค์กรอิสระ หลายหน่วยงานคนเข้าใจว่ามัน ๒ มาตรฐาน เป็นเครื่องไม้เครื่องมือของผู้มีอำนาจ ก็อยากแก้ ให้มันสามารถทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีหลายเรื่องที่อยากนำเสนอ เพราะฉะนั้นในส่วน ของ สสร. จะมีรูปแบบแค่ไหน เพียงไร อันนี้เป็นสาระสำคัญ ผมก็อยากจะฝากไว้ให้ กรรมาธิการไปพิจารณาด้วย เพราะไม่ใช่ว่าเราคิดว่าเราจะมี สสร. อย่างเดียว เราต้องคิดว่า เราจะต้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้นให้ได้รับการยอมรับจากพี่น้องประชาชน จาก สส. และทำ ได้จริง เพราะฉะนั้นผมก็จะฝากท่านประธานไปยังคณะกรรมาธิการที่จะพิจารณาเรื่องนี้ ในการ ที่จะเสนอแนะแก้ไขต่อไป ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ คุณจุลพงศ์ อยู่เกษ ครับ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านประธาน ผม จุลพงศ์ อยู่เกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ก่อนอื่นต้องขอ บ่นดัง ๆ กับท่านประธานหน่อยว่าเราอยู่ปี ๒๕๖๗ ครับ แต่ประเทศไทยเรายังวังวนอยู่กับ การคิดการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ ท่านประธานเห็นหน้าผมแล้วก็คงจะเข้าใจความรู้สึกว่า ประเทศไทยเรามันยังวังวนอยู่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตอนผมอยู่ปี ๑ ในวิชากฎหมาย รัฐธรรมนูญก็ไม่รู้จะเรียนรัฐธรรมนูญปีไหน ของฉบับไหน ตอนไปเรียนกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในต่างประเทศ เรียนกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับเดียวที่ร่างมาเป็น ๒๐๐ กว่าปีแล้ว ผมเอง คงไม่ลงรายละเอียดเรื่องเกี่ยวกับตัวรัฐธรรมนูญ แต่อยากจะพูดถึงรายงานโดยตรง โดยหลักการแล้วผมเห็นด้วยกับการมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ผมเห็นด้วยกับกระบวนการ ประโยชน์ในรายงานหน้า ๓ จำนวน ๔ ข้อ ข้อ ๑ มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย มากที่สุด ข้อ ๒ โอบรับทุกชุดความคิดที่แตกต่างหลากหลายที่มีอยู่ในสังคม ข้อ ๓ คือ เปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม ข้อ ๔ มีความเสี่ยงน้อยที่สุดต่อการถูก ผูกขาดอำนาจจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่รายงานนี้ผมมีความรู้สึกว่ามันมาหยุดตรงที่ได้ สสร. แล้ว ถ้าผมเข้าใจผิดก็ช่วยอภิปรายชี้แจงด้วย ผมดูแล้วเหมือนรายงานมาหยุดตรงที่ได้ สสร. แล้ว เมื่อ ๒ เดือนก่อนผมเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ เรื่องเกี่ยวกับ สสร. ในต่างประเทศ ปัญหาที่ผมพบมาก สสร. ต่างประเทศคือการร่างรัฐธรรมนูญโดย สสร. ในบางประเทศใช้ ๒ ปีก็ยังไม่เสร็จในการร่างรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นผมขอเสนอว่าน่าจะมี การรายงานที่ครบวงจรในเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญของ สสร. ด้วย เพราะรายงานนี้เป็นเรื่อง ในส่วนที่เกี่ยวกับการทำงานของ สสร. ถ้าผมเข้าใจผิดคณะกรรมาธิการกรุณาอธิบายด้วย
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ อย่างที่ผมเรียนท่านประธานแล้วว่าผมไม่ติดใจเรื่องการได้มา ซึ่ง สสร. แต่ติดใจในทางเลือกที่ให้ผู้เชี่ยวชาญมาสมัครเป็น สสร. ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย หรือรัฐศาสตร์ก็ตาม เพราะในบริบทของสังคมไทยแล้วผมคิดว่าเป็นไปได้ยากที่นักวิชาการจะ มาลงสมัครรับเลือกตั้ง เกรงว่าเราจะมีนักวิชาเกินเสียมากกว่า ทีนี้ในรายงานของท่าน หน้า ๑๑ ไม่ว่าจะของประเทศชิลีหรือไอซ์แลนด์ ทั้ง ๒ ประเทศ สสร. มาจากการเลือกตั้ง เขาใช้กลไกคณะกรรมการในการร่าง ไม่ใช่ตัว สสร. เป็นคนร่าง ข้อเสนอของผมถ้าจะมี การตั้งกรรมาธิการร่างก็น่าจะไปใส่ในข้อบังคับการประชุมของ สสร. อย่าไปใส่ในรัฐธรรมนูญ เพราะว่ามันจะทำให้ยุ่งยากมากขึ้น
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อันสุดท้าย ข้อสังเกตของผมขอลงไปในรายละเอียดนิดหนึ่ง คือการกาบัตร กรณีในหน้า ๑๙-๒๑ ในรายงานของท่าน กรณี ๑.๓ เลือกกี่คนก็ได้ หรือกรณี ๑.๔ ให้คะแนนที่ถ่ายโอนได้ ผมเรียนตรง ๆ ในต่างประเทศเองคนยังไม่เข้าใจเรื่องนี้เยอะเลย เพราะว่าวิธีการคิดคำนวณที่เข้าใจยาก ผมเห็นในรายงานที่ท่านตั้งข้อสังเกตไว้แล้วว่าเข้าใจ ยาก ผมขอลงรายละเอียดก็แล้วกันว่าลักษณะการคำนวณจะเป็นอย่างไร ถ้ามีเวลา ท่านอาจจะอภิปรายและอธิบาย ข้อเสนอผมคือ อย่าใช้เลยครับ ๑.๓ กับ ๑.๔ นี้ สำหรับ ประเทศไทยนะครับ ไม่ว่าจะคนลงคะแนนหรือการนับคะแนนทำความเข้าใจยาก แม้กระทั่ง ในประเทศที่พัฒนาอย่างที่ผมเรียนให้ทราบ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สรุป ผมสนับสนุน สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่อย่ารังเกียจ พรรคการเมืองครับ พรรคการเมืองนั้นเป็นสถาบันสำคัญในระบอบประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นอย่ารังเกียจหาก สสร. บางส่วนจะมาจากพรรคการเมือง ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ตอนนี้รายชื่อ ทางฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลหมดแล้ว ถ้าจะมีผู้อภิปรายก็มาลงชื่อได้ ผมคิดว่าอีกสัก ๑๐ นาที เราก็จะปิดการเสนอชื่อ ส่วนพรรคร่วมฝ่ายค้านก็เหลืออีก ๖ ท่าน ก็จะเรียกเรียงตามลำดับ ต่อไป คุณกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ ครับ
นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม อ.เอท กันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตมีนบุรี สะพานสูง วันนี้ ขอร่วมอภิปรายเรื่องที่มาของ สสร. แล้วก็อำนาจ คือสาเหตุว่าทำไมเราต้องคุยกัน หรือต้อง มีการตั้งคณะกรรมการ สสร. ชุดนี้ขึ้นมา เพราะว่าเราเองก็มีรัฐธรรมนูญ ๒๐ ฉบับแล้ว ถ้าเฉลี่ยต่อฉบับตั้งแต่เรามีเรื่องของประชาธิปไตยตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ ก็ประมาณ ๔-๖ ปี ต่อ ๑ ฉบับ นี่คือสาเหตุทำไมต้องมี และทำไมฉบับล่าสุด ปี ๒๕๖๐ ถึงยังต้องมีการเปลี่ยนกัน อีก ถ้าเกิดยกตัวอย่างง่าย ๆ เรื่องแรก ก็คือเรื่องของการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ยังคง เข้ายาก แล้วก็ยังมีความล่าช้า สาเหตุที่ ๒ ที่เราจำเป็นต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็คือเรื่อง ของการที่จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่มีปัญหาด้านกฎหมาย จะต้องเป็นผู้ที่ยากไร้ ผู้ที่เรียกว่า ยากจน ถึงจะได้รับสิทธิของการที่จะเข้าช่วยเหลือ ทำไมประชาชนทุกคนถึงไม่มีสิทธิ ที่จะได้รับสิทธิในการดูแลด้านกฎหมาย นี่คือ ๒ ประเด็น ง่าย ๆ และอีกประเด็นหนึ่ง สมมุติ ว่ามีการถูกกักขังที่ไม่ชอบธรรม สิทธิในการที่จะเรียกร้องสิทธิในการที่จะอุทธรณ์ต่าง ๆ นี้ ก็ยากจริง ๆ แล้วนี่คือสาเหตุแบบง่าย ๆ ที่สุดที่ อ.เอท ยกให้ ทีนี้ในการอภิปรายครั้งนี้ในการ ที่จะเป็นการตั้งคณะ สสร. ซึ่ง สสร. Model อ.เอท ก็มีครับ เราจะไม่ทิ้ง Model นะครับ สสร. ในที่นี้ Model คือ CDC CDC ย่อมาจากอะไร CDC ก็คือ Constitution Drafting Committee ก็คือเรื่องของการไปตั้งสภาที่จะมาตั้งคณะกรรมการที่จะออกแบบกฎหมาย รัฐธรรมนูญสูงสุดของเรา ย่อว่า CDC C ตัวแรก ขออนุญาตลงที่คำว่า Constitution เลย ก็คือ รัฐธรรมนูญ เมื่อสักครู่นี้ อ.เอท เพิ่งบอกไปใช่ไหมครับ มันก็มีความหลากหลาย มีการตั้งมา มีการเขียนมาหลายฉบับเหลือเกิน ทีนี้จะแก้ถูกไหมครับ เรามีการคุยกันเยอะว่า จะแก้ต้องมี ๑. เสนอโดยคณะรัฐมนตรี สส. ๑๐๐ คน สส. กับ สว. อีก ๑๕๐ คน หรือ ประชาชน ๕๐,๐๐๐ คน ต้องมีการเสนอ เสนอเสร็จต้องผ่านทีละวาระ วาระแรกก็ยกมือกัน ๓๗๖ คน โดยที่มี สว. ต้อง ๑ ใน ๓ ก็คือประมาณ ๘๖ คน วาระ ๒ แก้ไปทีละมาตรา ก็อีก ๓๗๖ คน วาระ ๓ ก็อีก ๓๗๖ คน ต้องมีฝ่ายค้าน ๒๐ คน ก็คือประมาณสัก ๔๐ คน ตอนนี้ เรามีอยู่สัดส่วนประมาณ ๒๐๐ คน และรวมไปถึงคนที่ต้องเป็น สว. ก็อีก ๘๖ คน การจะแก้นี่ยากจริง ๆ ไม่พอครับ ต้องมีการถาม Referendum ก็คือประชามติอีกไม่ต่ำกว่า ๒ ครั้ง ไม่ ๒ ก็ ๓ ตอนนี้เรากำลังวิเคราะห์กันอยู่ว่าจะทำ ๒ ครั้งดี หรือ ๓ ครั้งดี แต่ไม่ว่า จะเป็น ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้ง เราก็ถามแบบเดิม ๆ คือ ๑. ถามกับประชาชนว่าจะเอาใหม่ ทั้งฉบับไหม ๒. เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา ๒๕๖ ไหม แน่นอนถ้าเราอยาก ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องแก้ที่มาตรา ๒๕๖ และคำถามสุดท้าย เมื่อมีสภาร่างออกมาแล้ว เมื่อยกร่างแล้ว คำว่า ยกร่าง ก็คือเมื่อเขียนเสร็จแล้ว เมื่อทำเสร็จ ประชาชนจะยอมรับกับ ร่างนี้ไหม จะเป็นกฎหมายใหม่ไหม นี่คือการทำ Referendum หรือประชามติ ที่เราทำ ๓ ครั้งครับ งบประมาณอีกเป็นพันล้าน นี่คือสิ่งที่เราต้องเจอตลอดเวลากว่า ๒๐ ครั้ง ที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นก็เลยอยากที่จะบอกว่า C ตัวแรกนี้เราน่าจะมีปัญหากับตัวนี้จริง ๆ จริง ๆ หลาย ๆ ประเทศรัฐธรรมนูญเขาก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร มีไม่กี่แผ่น แต่ของเราทำไม ถึงเยอะ แล้วทำไมถึงมีปัญหา หลายท่านน่าจะทราบดี ต่อมาตัวที่ ๒ อยากที่จะสนับสนุนทาง คณะที่ทำร่างของ สสร. นี้ขึ้นมาก็คือตัว D D ในที่นี้คือคำว่า Drafting แปลว่า การที่จะเลือก คนหรือเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่แทนพวกเรา เมื่อสักครู่นี้ท่านจุลพงศ์ก็บอกแล้ว นักการเมืองไหม จริง ๆ แล้ว อ.เอท ก็เห็นว่าอย่างนี้ว่าควรจะมีทั้ง ๓ ภาคส่วน ตรงกับที่ท่านนำเสนอขึ้นมา ภาคส่วนแรกก็คือคนทั่ว ๆ ไปอย่างพวกเรานี่ละครับ ภาคส่วนที่ ๒ นักเชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจจะแบ่งเป็นมาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือจะเลือกแบบ Party List เอาทั้งประเทศเป็น ตัวแทน เป็นกลุ่ม Party List ก็ดี และกลุ่มที่ ๓ ชัดเจนมาก ก็คือความหลากหลาย ไม่ว่าจะ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอื่น ๆ ที่ต้องมีส่วนร่วมในการที่จะร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นของ ประชาชนอย่างแท้จริง นี่คือตัว D ที่ ๒ และ C สุดท้ายครับ Model อ.เอท วันนี้คือ C D C ตัว C สุดท้ายคือคำว่า Change ประเทศถึงเวลาแล้วที่มีการเปลี่ยนแปลง เราอยู่กับ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ซึ่งที่มาที่ไปทุกคนทราบดีว่ามาจากไหน เราถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนใหม่ ถามว่าการจะเปลี่ยนแปลงได้มันมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะเปลี่ยนได้ การที่เราจะเปลี่ยนได้ การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเอาชนะความต้านทาน ถามว่าตอนนี้เรามีอะไรที่ต้านอยู่ ตอบครับ สิ่งแรก อำนาจเดิม ๆ ที่ต้านความเปลี่ยนแปลงอยู่ ๒. เรื่องของการเสียผลประโยชน์ที่ ไม่อยากที่จะเปลี่ยนแปลง ๓. ท่านอาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญพอที่จะเจอกับการ เปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ๓ Factor นี้ หรือ ๓ ปัจจัยนี้คือปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ประเทศของเรา กฎหมายของเรายังไม่เข้มแข็งสักที ฉะนั้นวันนี้ อ.เอท อยากที่จะเห็นเหลือเกินว่าถ้าเรามี การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เริ่มที่กฎหมายสูงสุดของประเทศ มันจะดีแค่ไหนถ้าเราทำ เพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องทุกคนอย่างแท้จริง ทำเพื่ออำนาจที่สูงสุดที่เป็นของประชาชน อย่างแท้จริง สุดท้ายนี้สิ่งที่ อ.เอท อยากจะเห็น คืออยากจะเห็นการเมืองดี ปากท้องดี มีอนาคตครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ Respect
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญคุณมานพ คีรีภูวดล ครับ
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วน ชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ท่านประธานครับ ต่อกรณีที่กรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้เสนอรายงาน ต่อที่ประชุมสภา เรื่อง การจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของ สภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง หรือ สสร. เบื้องต้นผมอยากจะบอกท่านประธาน ว่าผมเห็นด้วยกับระบบเลือกตั้ง สสร. ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ท่านประธานครับ ผมยืนยัน แล้วผม ก็อยากจะอธิบายเหตุผลประกอบต่อไป ท่านประธาน ผมได้ใช้ชีวิตในช่วงที่มีการร่าง รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ผมก็มีส่วนร่วมเล็ก ๆ ในการที่จะสื่อสารให้กับพี่น้องประชาชน ท่านประธานจำได้ไหม ท่านอาจารย์อุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธาน ก่อนที่จะมาเป็นประธาน บรรยากาศการทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมครับท่านประธาน ส่วนหนึ่งก็จะมีธงสีเขียวจำได้ ไหมครับ อีกส่วนหนึ่งก็จะอยู่ที่สนามหลวงธงสีเหลืองใช่ไหมครับ บรรยากาศแบบนี้ผมคิดว่า นี่ล่ะคือบรรยากาศของการมีรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน เพราะฉะนั้นผมยืนยันว่าทำอย่างไรให้บรรยากาศการทำรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน มีวิธีเดียวครับท่านประธานก็คือการเลือกตั้งครับ ทำอย่างไรให้ระบบการร่างรัฐธรรมนูญ พี่น้องประชาชนจะได้รับรู้รับทราบและมีส่วนร่วมในระบบ ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ เรามี สสร. อยู่ ๙๙ คน ตัวแทนเขตหรือมาจากการเลือกตั้ง ๗๖ จังหวัด ณ เวลานั้น วันนี้เรามี ๗๗ จังหวัด แล้วก็มาจากสถาบันศึกษาเสนออีก ๒๓ แล้วก็มีกระบวนการ และวันนี้ผมก็ไม่ได้ บอกว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดในโลก แต่ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มี ข้อบกพร่องน้อยที่สุด แล้วผมรู้สึกว่าประชาชนได้ใช้สิทธิ ได้ใช้เสียงตามระบอบประชาธิปไตย ได้มากที่สุด การมีพื้นที่ประชาธิปไตยของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ผมเติบโต ในช่วงนั้นผมสัมผัสได้ แล้วผมได้ใช้มัน แล้วสุดท้ายก็ถูกทำลายโดยระบบรัฐประหาร เพราะฉะนั้นที่ผมพูดว่าผมเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญที่มาจาก สสร. จากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าผมได้ลิ้มลองบรรยากาศ รสชาติ ของประชาธิปไตยที่มาจาก ประชาชนในปี ๒๕๔๐ ครับท่านประธาน สิ่งที่ผมอยากจะนำเสนอท่านประธานต่อกรณี การศึกษาของคณะกรรมาธิการครับ คณะกรรมาธิการได้แบ่งเป็น ๓ ส่วน ผมคิดว่าก็โอเค ตัวแทนเขตหรือว่าตัวแทนจากพื้นที่ ตัวแทนจากการเลือกตั้งอะไรพวกนี้ ผมคิดว่าถ้าเอา หน่วยจังหวัดมาก็ได้ ซึ่งรายละเอียดค่อยว่ากัน จะคำนวณจำนวนประชากรด้วยหรือไม่ ตัวแทนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและตัวแทนกลุ่มความหลากหลาย เพราะฉะนั้นในสมอง ของผม ผมคิดอย่างนี้ทันทีเลยครับท่านประธาน แต่ละจังหวัดนี้ก็เป็นตัวแทนเขตไป ในส่วน ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแล้วก็กลุ่มความหลากหลาย ผมลองยกตัวอย่างกลุ่มพี่น้อง ชาติพันธุ์ของผม วันนี้นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรบอกว่าเรามีกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีความจำเป็นเฉพาะ หรือบางกลุ่มเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมมีอยู่ประมาณ ๖๐ กลุ่ม อยู่ในภาคใต้ อยู่ในภาคกลาง อยู่ในภาคเหนือ อยู่ในภาคอีสาน อยู่ในภาคตะวันออก มีหมดเลย เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะไปยืนอยู่ในพื้นที่ของตัวแทนเขต ตัวแทน พื้นที่ได้ครับท่านประธาน แต่เขาก็มีสิทธิที่จะเลือกพื้นที่ด้วย เพราะฉะนั้นในส่วนที่ผมได้ เสนอนี้มันก็ไม่ต่างจากที่ว่าเราเลือกตั้ง สส. เขต แล้วก็เลือกตั้ง สส. เขตประเทศ สสร. ที่มา จากตัวแทนผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความหลากหลายนี้ก็คือตัวแทนทั้งประเทศ ซึ่งหมายความว่า พี่น้องชาติพันธุ์ทั้งหมดมีประมาณ ๖ ล้านคน ๖๐ กว่าชาติพันธุ์กระจายอยู่ทั่วประเทศ เขาก็ มีสิทธิที่จะส่งตัวแทนเป็น สสร. ไหมในกระบวนการอย่างนี้ แต่ถ้าเอาเขตไปให้เขาแข่ง อย่างจังหวัดเชียงใหม่ผมมีอยู่ประมาณ ๑๖ กลุ่มชาติพันธุ์ และกระจายอยู่ทุกเขต ทุกอำเภอ เพราะฉะนั้นมันก็ลำบากอยู่ครับท่านประธาน ถ้าเราเปิดพื้นที่ ถ้าเรายึดในหลักการว่าตัวแทน สสร. ที่จะมาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งจะอยู่ในระบอบประชาธิปไตยนี้ต้องมาจัดระบบเลือกตั้ง ระบบเลือกตั้งแบบกลาง ๆ ตัวแทนทั้งประเทศอย่างนี้ผมคิดว่าเหมาะกับพี่น้องที่มีกลุ่ม ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตามข้อมูลทางวิชาการพี่น้องชาติพันธุ์ทั้งประเทศมีจำนวน คือ ๖ ล้านคน ๖๐ กว่าชาติพันธุ์นี้มีตัวแทนสัก ๖ คนไหม สัก ๕ คนไหม ก็ส่งรายชื่อมาเลย ครับท่านประธาน เขาจะลงกี่กลุ่ม กี่ทีมก็ส่งมา แล้วก็ให้ประชาชนได้เลือกตั้ง แล้วเขาจะได้ ถูกเลือกตั้งโดยตรง พอเลือกตั้งโดยตรงเขาจะทำหน้าที่ และเขาจะเชื่อมโยงกับประชาชน ผมคิดว่าระบบนี้มันไม่มีอะไรซับซ้อน ตรงไปตรงมา ส่วนตัวแทนของเขตก็ว่าไป ตัวแทนของ เครือข่ายแล้วก็กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งประเทศ ผมคิดว่าระบบอย่างนี้จะทำให้ประชาชนตื่นรู้และมี ส่วนร่วม มีอารมณ์ร่วมที่จะสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็นกติการ่วมกันทั้งประเทศครับท่านประธาน ในส่วนของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้ผมคิดว่ากระบวนการอย่างนี้ก็จำเป็น นักวิชาการ นักกฎหมายหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็ลงสมัครระดับประเทศอย่างนี้ก็ลงสมัครเลยครับ แต่ไม่เป็นอะไรครับ เราก็ยังเผื่อพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญที่อาจจะไม่ออกตัว ผมว่าอันนี้ ต้องไปคิด คือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้านกฎหมาย ด้านรัฐศาสตร์ ด้านประวัติศาสตร์ หรือด้านการต่างประเทศ หรือด้านอื่น ๆ ผมคิดว่าอันนี้ถ้าหากว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่จำนวน สสร. ที่จะเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนี้ ผมคิดว่า สสร. มีอำนาจและมีสิทธิที่จะตั้ง ที่ปรึกษา จะมีตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานเต็มไปหมดครับท่านประธาน
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายครับท่านประธาน ระบบรัฐสภาแห่งนี้ ระบบประชาธิปไตย อย่ากลัว เลยครับถ้าคุณเชื่อมั่น ถ้าคุณเคารพหลักการประชาธิปไตย เคารพพี่น้องประชาชน อย่ากลัว การเลือกตั้งครับท่านประธาน ขอบคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ตอนนี้ไม่มีผู้เสนอ ชื่อเพิ่ม ขอปิดการเสนอชื่อ เพราะเรามีอีกหลายญัตติที่ต้องพิจารณาต่อ แต่ว่ายังมีชื่อของ ฝ่ายค้านอีก ๗ ท่าน เชิญคุณภัณฑิล น่วมเจิม ครับ
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ผม ภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตคลองเตย-วัฒนา กรุงเทพมหานคร ขอร่วมอภิปรายรายงานผล การพิจารณาการศึกษา เรื่อง การจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงาน ของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ของคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ก็คง ๒-๓ ประเด็นสั้น ๆ คือ
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๑. ที่มา สสร. ต้องยึดโยงกับประชาชน คือยึดหลักของ Representation คือ ต้องสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน คือต้องอิงจากจำนวนประชากรแล้วต้องเสมอภาค เท่าเทียม ๑ สิทธิ ๑ เสียง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คำนึงถึงมิติความหลากหลายของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นักกฎหมายด้วยอีกกลุ่มหนึ่ง
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๒. วิธีการเลือกตั้งต้องง่ายต่อการเข้าใจ ไม่เป็นภาระต่อประชาชน ยกตัวอย่างกากบาทได้ ๑ คนต่อ ๑ ใบ ไม่ใช่มาลงได้ ๒ คน เลือกได้ ๓ คน หรือจะเป็น ระบบเรียง ผมเห็นว่าอาจจะซับซ้อนสำหรับประชาชน เลือกได้ ๑ คนต่อ ๑ เขตเลือกตั้ง แล้วก็สูงสุดไม่ควรมี ๒ บัตร ถ้าเผื่อมีเป็น ๓ บัตรขึ้นมาผมว่าเริ่มซับซ้อนแล้วสำหรับพี่น้อง ประชาชน แล้วก็สิ้นเปลืองงบประมาณในการพิมพ์บัตรด้วย ก็คือมี ๑. พื้นที่ ๒. ตัวแทนกลุ่ม ผมว่าก็น่าจะเพียงพอ จำนวนไม่ควรมากจนเกินไป เราก็เห็นในชั้นกรรมาธิการหลายคณะ เกิน ๕๐ คนเริ่มขาดการมีส่วนร่วมแล้ว เริ่มคุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว จำนวนมากเกินไปครับ ๕๐ คน ๑๐๐ คนก็พอ จะได้ไม่เป็นที่ครหาของพี่น้องประชาชนว่า ตั้งกันมาแล้วก็มากิน เบี้ยประชุม สิ้นเปลืองงบประมาณ เอาผลลัพธ์ดีกว่าครับ เขตเลือกตั้งไม่ควรเล็กกว่าจังหวัด เพราะเราไม่ใช่ระบบสหพันธรัฐว่า กทม. จะมี ๑ แล้วระนองต้องมี ๑ ผมเห็นว่าไม่เสมอภาค ไม่เท่าเทียม ไม่ถูกต้อง ควรจะต้องอิงจากจำนวนประชากรอย่างที่ผมพูดไปก่อนหน้านี้ การเลือกตั้ง สสร. ต้องรณรงค์ได้ ต้องชี้แจงให้เห็นถึงข้อดี ข้อเสียของแต่ละแบบกับ ประชาชนได้ สำคัญมาก ไม่ใช่เหมือน สว. ไม่มีการรณรงค์ เงียบกริบ ประชาชนไม่มีการรับรู้ เขาจะรู้ได้อย่างไรครับว่าเขาจะเลือกอะไร แบบไหน อย่างไร จะเลือกใคร เพราะอะไร ต้องมี การรณรงค์ได้
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สุดท้าย กรอบระยะเวลาควรจะสั้นที่สุด ประชาชนอยากได้รัฐธรรมนูญใหม่ เราต้องทำงานเพื่อบรรลุผลลัพธ์ คือได้รัฐธรรมนูญออกมาเร็วที่สุด ไม่เอานะครับ แบบ ๒ ปี ๓ ปี ๔ ปีไม่เห็น เอาให้สั้นที่สุดเลยครับ เหมือนเวลาเรากำหนดกรอบของการทำงานของ กรรมาธิการวิสามัญ ๖๐ วัน ๙๐ วัน ๖ เดือนเต็มที่ มันจะพิจารณาอะไรกัน เราก็มี เล่มรายงานตั้งเยอะแยะแล้ว อย่าเสียเวลาอีกเยอะเลยครับ พี่น้องประชาชนกำลังรอ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อยู่ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญ คุณไชยามพวาน
นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพ ผม ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตจอมทอง ยกเว้นแขวงบางขุนเทียน และเขตบางขุนเทียนเฉพาะแขวงท่าข้าม พรรคไทยก้าวหน้าครับ ท่านประธาน การแก้ไขรัฐธรรมนูญ สสร. นั้นผมต้องพูดจริง ๆ ครับ เพราะผมคือ ๑ คน ที่รณรงค์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตลอด ๒-๓ ปีที่ผ่านมา ที่มาครับท่านประธาน ผมขอ เน้นย้ำอีกครั้งว่า สสร. นั้นต้องมาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และเขาต้องรณรงค์ ได้ด้วยครับ การรณรงค์นี้เขากำลังพยายามผลักดันประเทศในฝันของเขาอย่างไรอยู่ เขาพยายามจะผลักรัฐธรรมนูญประเทศในฝันที่เขาจะสร้างในอนาคตอย่างไรอยู่ อันนี้เขา ก็ต้องทำได้ ท่านประธานครับ ที่ผ่านมาเราเห็นกันแล้วว่าเมื่อไรที่ สสร. มาจากการแต่งตั้ง เราเจอกับดักอะไรบ้าง ภาคประชาชนยื่นเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาครั้งที่ ๑ แก้ทั่วทุกหมวด ทุกมาตรา สุดท้ายก็เจอกับดัก ๑ ใน ๓ ใช่หรือไม่ใช่ ใช่ครับท่านประธาน อย่างที่ ๒ ในเมื่อ บอกว่าทุกหมวดทุกมาตราแก้ไขไม่ได้แล้ว มาเลย ๔ หมวดชัด ๆ เน้น ๆ เขาก็บอกว่า ๑ ใน ๓ ก็ให้ผ่านอีก ในเมื่อ ๔ หมวด ๔ มาตราไม่ให้ เราบอกว่าแก้ไขมาตราเดียวเอาไปเลย อย่างน้อยต้องผ่านแน่ ๆ เขาก็ไม่ให้ผ่านอีก เห็นไหมครับท่านประธาน ที่บอกว่า สสร. เมื่อไร ที่มาจากการแต่งตั้งนั้นกับดักของที่มาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระมันเกิดขึ้นทั้งนั้น และนี่คือกับดักของประเทศ ท่านประธานครับ ผมต้องพูดชี้แจงอีกครั้งว่า ที่มานี้ไม่ใช่แค่เรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังมียุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีอีก ถ้าแก้ไขไม่ได้และไม่ใช่ฝั่งเขามาบริหารประเทศ ถ้าเป็นฝั่งที่ ตรงกันข้าม ถ้าเกิดไม่ทำตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีก็จะเจอกับดักเช่นนี้ขึ้นมาอีก ไหนจะ เรื่องอีกอย่างคือเรื่องของแนวทางการทำงาน ผมคาดหวังจริง ๆ ใน ๑ คนที่พยายามแก้ไข รัฐธรรมนูญมาตลอด ผมหวังว่าแนวทางนี้จะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบ Lock Spec Lock Spec คืออะไรท่านประธาน ก็มาเลย เลือกตั้ง สสร. มาเลย แต่บอกว่าหมวดนั้น หมวดนี้ห้ามไปเขียนนะ ผมก็กลัวมันจะเป็นแบบนี้ ผมก็หวังว่าจริง ๆ ในแนวทาง ในการทำงานในชั้นกรรมาธิการจะผ่านตรงนี้ให้ได้ว่าแนวทางในการทำงานนี้การแก้ไข รัฐธรรมนูญนั้นจะต้องไม่มีการ Lock Spec เกิดขึ้น แล้วรัฐธรรมนูญที่มาจาก สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ผมคาดหวังตรงนี้ในอนาคต และจะเป็นอีก ๑ เสียง ครับท่านประธาน ขอผลักดันว่า สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และการ แก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทั้งฉบับ เพราะว่ามนุษย์เป็นคนเขียนกฎหมาย ขึ้นมา เพราะฉะนั้นมนุษย์ต้องแก้ไขกฎหมายได้ ขอบคุณท่านประธานมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ คุณกัณตภณ ดวงอัมพร ครับ
นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายกัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ตัวแทน ของพี่น้องชาวพญาไท ดินแดง กรุงเทพมหานครครับ วันนี้ผมขออนุญาตท่านประธานในการ ร่วมอภิปรายสนับสนุนรายงานและข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้ง และแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ของคณะกรรมาธิการ การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร แห่งนี้ครับ ก่อนอื่นผมต้องขอชื่นชมคณะผู้จัดทำรายงานและข้อเสนอเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และแนวการทำงานของ สสร. ในการทำงานของคณะอนุกรรมาธิการภายในระยะเวลา ๒ เดือนนี้กับประเด็นนี้ถือว่าทำได้ดี ใช้เวลาคุ้มค่าอย่างยิ่งครับ ถ้าจะพูดถึงความชอบธรรม ในทางประชาธิปไตยที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรมีอาจจะมองไปถึงการมีส่วนร่วมของพี่น้อง ประชาชนในทุก ๆ กลุ่ม ท่านประธานครับ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สสร. ไม่เคยได้มาจาก การเลือกตั้งเลยแม้แต่ครั้งเดียว นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี ๒๔๗๕ ประเทศไทยมี สสร. มาแล้ว ๔ ชุดล้วนมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แล้วในแต่ละครั้ง ที่แต่งตั้ง สสร. มักเอามาจากกลุ่มคนเดิม ๆ ซ้ำ ๆ บางครั้งไม่ซ้ำชื่อก็ซ้ำที่นามสกุลเข้ามา หนังสือแบบเดิม หนังสือเล่มเดิม คนเขียนเดิม ๆ สุดท้ายก็จบแบบเดิมที่เราเห็นอยู่ครับ ท่านประธาน สำหรับรายงานฉบับนี้ผมเองไม่ติดใจครับ ตามที่ประธานกรรมาธิการกล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของรายงานฉบับนี้ไม่ได้เป็นการบอกว่า Model หรือระบบเลือกตั้ง สสร. แบบไหนดีที่สุด แต่เป็นการฉายภาพให้เห็นถึงทางเลือกที่มีความหลากหลาย มีความเป็นไปได้ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง สสร. จากที่ผมอ่านรายงานฉบับนี้มาการเลือกตั้ง สสร. ไม่ได้มี ความซ้ำซ้อนเลยครับ มีจุดที่น่าสนใจคือการใช้ระบบเลือกตั้งคล้ายคลึงกับการเลือกตั้ง สส. เพียงแค่มีการแยกประเภท สสร. ออกมาเป็นแบบพื้นที่ แบบผู้เชี่ยวชาญและความเชี่ยวชาญ และแบบกลุ่มความหลากหลาย รวมถึงรายงานฉบับนี้มีการกำหนดแนวการทำงานของ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้ สสร. มีอำนาจ มีอำนาจในการตั้งและออกแบบเอง รวมทั้ง กระบวนการในการยกร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการในการรับฟังความคิดเห็น รวมไปถึง การที่ไม่ต้องให้สภาเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญก่อนที่จะให้ประชาชนไปออกเสียง ลงประชามติครับ ทั้งนี้ ในข้อเสนอของผมครับท่านประธาน การกำหนดเงื่อนไขของ สสร. ก็มีส่วนสำคัญครับ ในตอนนี้ร่างฉบับนี้ผมเข้าใจว่าการศึกษาและข้อเสนอเกี่ยวกับระบบ การเลือกตั้ง สสร. และการทำงานของ สสร. ถ้าจะให้ครบในอนาคตควรมีการศึกษาเงื่อนไข ข้อกำหนดคุณลักษณะของ สสร. ทั้งก้อน ทั้งก่อนสมัครและหลังสมัครที่ได้รับการเลือกตั้ง แล้วควรจะเป็นอย่างไร เพราะว่าตอนนี้จากรายงานมีการพูดถึงการดำรงตำแหน่งทาง การเมืองของ สสร. หลังจากได้รับตำแหน่งเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ทั้งนี้ผมเอง ก็เลยอยากให้ข้อเสนอว่าสำหรับคนที่มาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สสร. จะมีคุณสมบัติ มีข้อห้ามหรือไม่ อย่างไร ก่อนที่จะนำเข้าสู่ระบบการเลือกตั้ง และอีกข้อเสนอหนึ่งครับ คือสัดส่วนของ สสร. หากท่านมีการแบ่งประเภทของ สสร. หรือ จัดพื้นที่การเลือกตั้งของ สสร. แล้ว เราจะมีจำนวน สสร. อยู่ที่เท่าไร และความเหมาะสม ของกลุ่ม สสร. มีความเชี่ยวชาญหรือความหลากหลายต้องกำหนดเงื่อนไขแบบใด ในสัดส่วน เท่าไร ผมคิดว่าตอนนี้ประชาชนเปลี่ยนไปแล้วครับท่านประธาน เมื่อก่อนในการล่ารายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมีน้อยครั้ง แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้วครับ ประชาชนตื่นตัว ตื่นรู้มาก ให้ความสนใจเรื่องการเมืองมากขึ้น อย่างกฎหมายสูงสุดของประเทศ หากประชาชนได้มี ส่วนร่วมอย่างแท้จริงแล้วก็อาจจะเปรียบเทียบได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชน สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองได้ดีมากขึ้น ผมเชื่อว่ามีหลายท่านกังวลกับการเลือกตั้ง สสร. แต่ถ้าได้อ่าน Model ทั้ง ๕ Model รวมไปถึงถ้าได้มีการกำหนดสัดส่วนและเงื่อนไข ของ สสร. แล้วเชื่อว่าข้อกังวลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง การไม่เข้าถึงนักวิชาการหรืออาจจะได้คนที่ ไม่ครบ ไม่หลากหลายก็จะหมดไป ผมหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้ ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ คุณณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ครับ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ก่อนอื่นผมอาจจะต้องขออนุญาตทำ ความชัดเจนถึงเรื่องเจตนาที่ผมขออนุญาตอภิปรายในเล่มรายงานฉบับนี้ จริง ๆ ผมอยากจะ ขอใช้สิทธิตามข้อบังคับ ข้อ ๑๐๔ วรรคสอง ตามข้อบังคับได้บอกว่า คณะกรรมาธิการมีสิทธิ ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมในเล่มรายงานฉบับนี้ในที่ประชุมสภา ดังนั้นวันนี้ที่ผมจะลุกขึ้นอภิปราย ก็คือจะขอใช้สิทธิในการเพิ่มเติมข้อสังเกตเล็กน้อยประกอบรายงานฉบับนี้ เดี๋ยวเราจะต้องมี การลงมติกันว่าสภาผู้แทนราษฎรจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกตดังกล่าวทั้ง ๒ ข้อ ดังนั้นก็อาจจะต้องส่งผ่านท่านประธานไปยังท่านกรรมาธิการทุกท่านว่าข้อสังเกตที่ผม เพิ่มขึ้น ๒ ข้อต่อจากนี้ท่านจะเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เพราะว่าตามข้อบังคับได้ระบุไว้ ชัดเจนว่า สิทธิในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นของคณะกรรมาธิการในที่ประชุมสภา ผมอยาก จะขอเพิ่มเติมข้อสังเกตอีก ๒ ข้อที่ผมคิดว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพวกเราทุกคนดังต่อไปนี้ ครับท่านประธาน
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการแรก ผมคิดว่านอกจากที่กรรมาธิการได้ใส่ไว้ในเล่มรายงานว่า อยากจะให้ส่งเล่มรายงานฉบับนี้ไปยังคณะรัฐมนตรี แล้วก็สมาชิกรัฐสภาทุกท่านแล้ว ผมอยากจะให้มีการตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่าอยากจะให้ส่งข้อสังเกตนี้ไปยังกรรมาธิการวิสามัญ ที่จะพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดช่องให้มี สสร. ในอนาคต เช่น หากจะต้องมีการแก้ไข เรื่องของมาตรา ๒๖๕ หรือหมวด ๑๕/๑ เพิ่มเติมก็อยากจะให้กรรมาธิการวิสามัญ ในอนาคตชุดนี้ได้นำเล่มรายงานฉบับนี้ไปเป็นกรอบในการพิจารณายกร่างแก้ไขด้วย เพราะผมเชื่อว่าในเล่มรายงานฉบับนี้ค่อนข้างศึกษากรอบความคิดหรือว่า Framework ไว้ค่อนข้างรอบด้านแล้ว และผมคิดว่า Model ในการออกแบบกระบวนการเลือกตั้ง สสร. ไม่ว่าอย่างไรก็หนีไม่พ้น Framework ที่ทางกรรมาธิการได้คิดมา ซึ่งผมคิดว่าครอบคลุม รอบด้านแล้ว
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อสังเกตที่ ๒ ผมคิดว่านอกจากจะส่งเล่มรายงานฉบับนี้ไปให้กรรมาธิการ วิสามัญใช้เป็นกรอบ ซึ่งไม่ได้มีสภาพบังคับนะครับ อันนี้อยากเน้นย้ำว่าการส่งข้อสังเกต คือเราส่งไปให้กรรมาธิการวิสามัญไปใช้ในการปรับใช้ เราไม่ได้มีสภาพบังคับ ข้อสังเกต ข้อที่ ๒ ผมอยากจะขอเพิ่มว่า ในเล่มรายงานของกรรมาธิการวิสามัญเราลองจินตนาการ ถึงภาพถ้าจะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในเล่มรายงานของกรรมาธิการวิสามัญจะมี การรายงานออกมาว่ากรรมาธิการวิสามัญเสียงข้างมากเห็นว่าอย่างไร เสียงข้างน้อยสงวน ความเห็นว่าอย่างไร หรือว่ามีสมาชิกขอแปรญัตติไว้อย่างไร แล้วก็ที่ผ่านมาในการพิจารณา กฎหมายนี้เราก็จะเลือกโหวตตามกรรมาธิการเสียงข้างมากหรือว่าผู้สงวนความเห็นหรือว่า ผู้ขอแปรญัตติ โดยมีแค่บทบัญญัติประกอบไว้ว่าแต่ละท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ผมคิดว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ ก็คือถ้ากรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ที่จะยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ นอกจากบอกว่าบทบัญญัติในแต่ละตัวเลือกที่เราจะโหวตกันเป็นอย่างไรแล้ว ถ้าพอที่จะบอก ถึงผลกระทบที่อาจจะส่งถึงเก้าอี้ใน สสร. ได้จากการเลือกโหวตแต่ละ Model ก็คิดว่าจะเป็น ประโยชน์มาก ซึ่งเรื่องนี้ผมเข้าใจว่าอาจจะไม่สามารถทำได้ง่ายนัก แต่ก็คิดว่ายังสามารถอยู่ในกรอบวิสัยที่ทำได้ หากเรามี Framework ที่ชัดเจนตามเล่ม รายงานฉบับนี้ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาก่อนที่จะลงมติโหวตในอนาคตว่าจะยึดตามเสียงข้างมาก หรือเสียงข้างน้อย ก็จะได้เห็นว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยน Model ในการเลือกตั้ง สสร. นี้จะส่งผลกระทบถึงเก้าอี้ในการเลือกตั้งอย่างไรบ้าง ผมก็คิดว่าด้วยข้อสังเกตทั้ง ๒ ข้อนี้ จะทำให้การพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นกลางทางการเมืองมากขึ้น เพราะระบบที่ดีในการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ควรจะต้องเป็นกลางทางการเมือง ในการออกแบบกระบวนการเลือกตั้ง ไม่ควรที่จะออกแบบกระบวนการเลือกตั้งที่ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณธิษะณา ชุณหะวัณ ครับ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาทรและเขตราชเทวี พรรคก้าวไกลค่ะท่านประธาน วันนี้ดิฉันมาอภิปรายรายงานผล การพิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของ สภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน พิจารณาสำเร็จแล้วค่ะ ถ้าหลังคา ยังรั่วอยู่ ผู้อยู่จะสุขใจได้อย่างไร ท่านประธานคะ รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากคณะรัฐประหาร คสช. ที่เราทราบกันโดยดีว่ามีแกนนำปฏิวัติที่ตั้งตน เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ปฏิวัติเอง เป็นนายกรัฐมนตรีเอง คนแรกของประเทศไทย รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ เป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกตั้งคำถามถึงความชอบธรรมในเรื่องความเป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นที่มาของตัวธรรมนูญ หรือเนื้อหาภายในที่ยังถูกจัดว่าอยู่ใน Hybrid Constitution หรือรัฐธรรมนูญกึ่งผสม จาก Economic Intelligent ไม่ว่าจะเป็นตัวของ รัฐธรรมนูญ กระบวนการ หรือเนื้อหาเอง ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ถูกนำมาถกเถียงว่าจะมีการจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เรากำลังถกเถียงกันอยู่ขณะนี้ เพื่อให้เป็นการเปิดกว้างในการถกเถียง ในหลาย ๆ ความคิดเห็นของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็ตามเพื่อให้มีการมีส่วนร่วม ในการร่างธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ดิฉันหวังว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายที่เป็นรัฐธรรมนูญ ของประชาชนค่ะ เราผ่านการรัฐประหารมา ๑๓ ครั้ง ทุกครั้งมีการฉีกรัฐธรรมนูญทุกครั้ง นี่เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๒๐ กว่าแล้วนะคะท่านประธาน เพื่อระบอบประชาธิปไตย ที่อำนาจอธิปไตยสูงสุดอยู่ที่ประชาชนค่ะ การมีส่วนร่วมดังกล่าวหากนำมาสู่ เรื่องกระบวนการนั้น คือการร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือที่เราเรียกโดยย่อ ๆ ว่า สสร. ที่ควรจะเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน และดิฉันยังยืนยันในหลักการว่า สสร. ต้องมาจาก การเลือกตั้ง และต้องมีความยึดโยงกับประชาชนเท่านั้นค่ะ แม้บางฝ่ายอาจจะไม่เห็นด้วย ในประเด็นนี้ ด้วยข้อกังวลต่าง ๆ อาทิเช่น ความกังวลที่จะไม่มีพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามามี ส่วนร่วม หรือความกังวลที่ไม่อาจรับประกันได้ว่าจะมีตัวแทนที่มีความหลากหลายทางสังคม หรือข้อกังวลอื่น ๆ แต่ดิฉันคิดว่าภายใต้กระบวนการเลือกตั้งนั้นสามารถออกแบบระบบ เลือกตั้งที่เหมาะสมต่อความกังวลเหล่านี้ได้ค่ะ จึงควรมองไปที่หมุดหมายหลัก คือ สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งทางตรงโดยพี่น้องประชาชน หรือยึดโยงกับประชาชนทั้งหมด เสียก่อน เฉกเช่นเดียวกันกับที่อนุกรรมาธิการนี้อ้างอิงจากรายงานของคณะอนุกรรมาธิการ หน้า ๖ ย่อหน้าที่ ๖ ทางอนุกรรมาธิการมองว่ากรอบคิดหลักหรือ Framework ในการ ออกแบบ สสร. ควรเริ่มต้นด้วยการมองว่า สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นไม่จำเป็นต้องมี สสร. ประเภทเดียว แต่อาจประกอบด้วย สสร. ที่เป็นหลายประเภทที่ล้วนมาจาก การเลือกตั้ง คล้ายกับ สส. ปัจจุบันที่มีการแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท เช่น สส. บัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขต ซึ่งอาจจะต้องมีการแยกย่อของประเภท สสร. ในประเภทต่าง ๆ ตามความ เหมาะสม แต่ต้องอยู่ในกระบวนการที่มีความยึดโยงกับพี่น้องประชาชนเท่านั้น ไม่ควรมี องค์กรที่คัดสรรหรือเลือก สสร. แทนพี่น้องประชาชน หรือกระบวนการที่พิสดาร พิลึกพิลั่น อย่างที่ผ่านมาที่ตั้งกันเอง ตั้งพี่น้องกันเองมาเป็นผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญ และมาเป็นตัวแทน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หลังคามันรั่วมานานแล้วทำให้เจ้าของบ้านซึ่งก็คือพี่น้อง ประชาชนเป็นผู้เลือกเถอะค่ะ ท่าน ๆ ทั้งหลายทราบดีว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยคือต้องอำนาจสูงสุดอยู่ที่พี่น้อง ประชาชน เขาสามารถที่จะตัดสินใจได้ว่าต้องการให้ระบอบการปกครองของประเทศนี้ เป็นอย่างไรค่ะ ตัวอย่างของประเทศ สสร. ในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมาที่ใช้ระบบเลือกตั้ง โดยประชาชน ตัวอย่างแรกคือประเทศชิลีที่ได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นทั่วประเทศเมื่อวันที่ ๑๕-๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา โดย สสร. ทั้งหมดจะมี ๑๕๕ คน โดยประเทศชิลีจะแบ่ง สสร. เป็น ๒ ประเภท ประเภท ก คือเป็นตัวแทนในพื้นที่ จำนวน ๑๓๘ คน หรือคิดเป็น ๘๙ เปอร์เซ็นต์ และประเภท ค คือที่นั่งสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นไปตามบริบทความเหมาะสมของประเทศชิลีที่มี ๑๗ คน หรือ ๑๑ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็น ตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศเขา ซึ่งทั้งหมดใน ๑๗ คนนี้แต่ละคนจะถูก คัดเลือกจากกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเอง และในประเทศชิลียังให้สิทธิในการกำหนดสัดส่วน เพศชายหญิงที่เท่ากันในทุกเขตเลือกตั้ง หรืออย่างประเทศไอซ์แลนด์มีการเลือกตั้ง สสร. เมื่อปี ๒๕๕๓ ในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ซึ่งมี สสร. ทั้งหมด ๒๕ คน โดยประเภท ก หรือ ตัวแทนพื้นที่ทั้งหมดต้องมีสัดส่วนให้ สสร. มีผู้แทนที่เป็นผู้หญิง ๔๐ เปอร์เซ็นต์จากทั้งหมด อันนี้เป็นตัวอย่างในต่างประเทศที่มีการเลือกตั้ง สสร. ในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีการออกแบบให้เปิดพื้นที่ให้หลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการที่จะร่างรัฐธรรมนูญค่ะ แม้ว่าในประเทศไทยที่ผ่านมายังไม่มีกระบวนการ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ทั้งหมด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในโลกนี้นะคะ ซึ่งดิฉันสนับสนุนว่า กระบวนการออกแบบที่มาของ สสร. ต้องผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชนหรือมีการยึดโยงกับ ประชาชนทั้งหมด โดยจะแบ่งประเภท สสร. เป็นประเภทต่าง ๆ อาทิเช่น นักวิชาการหรือ กลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนพี่น้องชาติพันธุ์ ตัวแทนสาขาวิชาชีพอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้สามารถ ไปออกแบบได้ในระบบเลือกตั้งของ สสร.
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นต่อมาดิฉันเห็นว่ามีความสำคัญไม่แพ้กับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นที่ประชาชนควรมีส่วนร่วมอยู่ตลอดและเป็นการเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการฟังความคิดเห็นโดยทุกกลุ่ม ทุกความแตกต่างค่ะ เพราะนั่นคือ รัฐธรรมนูญของพวกเขาทุกคนที่ไม่ควรมีใครถูกปิดกั้นในการแสดงความคิดเห็น
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย ดิฉันสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สามารถแก้ไขได้ ทั้งฉบับ ทุกหมวด ทุกมาตรา ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องประชาชน ได้อย่างบริสุทธิ์ใจจริง ไม่มีการปิดกั้นบางหมวดหรือมาตราใด ๆ รวมถึงหมวด ๑ หมวด ๒ พวกเราเชื่อว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน ไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สรุป ประเด็นแรก ดิฉันสนับสนุนให้ที่มาของ สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยตรงผ่านประชาชนหรือมีการยึดโยงกับประชาชน ประเด็นที่ ๒ กระบวนการรัฐธรรมนูญ ของ สสร. ต้องมีความยึดโยงกับประชาชน ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกภาคส่วน และประเด็นสุดท้าย ร่างรัฐธรรมนูญนี้สามารถแก้ไขได้ทุกหมวด ทุกมาตรา เจ้าของบ้านต้องเป็นผู้ตัดสินใจเองค่ะในการซ่อมหลังคาบ้าน เขามีสิทธิที่จะซ่อม ในจุดไหนก็ได้ในบ้านของเขา ใครจะไปห้ามประชาชนมิได้ ขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ คุณสหัสวัต คุ้มคง ครับ
นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม สหัสวัต คุ้มคง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี พรรคก้าวไกลครับ ขอร่วมอภิปรายถึงรายงาน การพิจารณาศึกษาเรื่องการจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของ สภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการจัดทำ ข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจาก การเลือกตั้ง ผมขอเริ่มอย่างนี้ครับท่านประธาน เวลาเราพูดถึงรัฐธรรมนูญเรามักจะคุยกันว่า รัฐธรรมนูญนั้นต้องมาจากไหน มีที่มาที่ไปอย่างไร สสร. ต้องมาจากไหน ผมขออธิบายแบบนี้ ตั้งแต่ประชาธิปไตยเบ่งบานในช่วงศตวรรษที่ ๑๘ มีการถกเถียงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคมว่า จะออกกฎเกณฑ์แบบไหน ใครเป็นผู้ออก ลามไปถึงอำนาจในการออกกฎเหล่านี้มาจากใคร แล้วก็ได้มีการแบ่งอำนาจใน ๒ ลักษณะ ลักษณะแรก คืออำนาจที่ถูกสถาปนาและอำนาจ สถาปนา ซึ่ง ๒ คำนี้แตกต่างกัน อำนาจที่ถูกสถาปนา ง่าย ๆ ก็คืออำนาจที่คนในสังคมสมมุติ ร่วมกันว่าจะให้กลุ่มคนเหล่านี้ดำเนินการแบบนี้ อย่างเช่นพวกเราครับ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งอำนาจที่ถูกสถาปนานั้นมาจากอำนาจสถาปนาอีกที ซึ่งก็คืออำนาจของประชาชนครับ ทำไมอำนาจจึงเป็นของประชาชน ผมคงไม่ต้องอธิบายเรื่องนี้ยืดยาวครับ ทุกท่านก็น่า จะพอเข้าใจอยู่แล้วว่าประชาชนมีอำนาจจากไหนบ้าง จากการที่เป็นผู้เสียภาษีให้รัฐจาก การเป็นเจ้าของของประเทศ รวมไปถึงอำนาจที่จะต่อรอง รับรอง หรือต่อต้านผู้นำ ดังนั้นการออกแบบรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศก็ย่อมต้องมาจากอำนาจ สถาปนาซึ่งก็คือประชาชน ที่จะสถาปนามอบอำนาจที่มีมาแต่กำเนิดให้กับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ไปดำเนินการร่างกฎหมายที่สำคัญที่สุดของคนครับ ซึ่งก็คือ สสร. เพื่อกลับมานำเสนอ ให้ทุกคนเห็นชอบอีกครั้งก็ย่อมต้องมาจากประชาชนนั่นละครับ นี่คือเหตุผลว่าทำไม การจะสถาปนาองค์กร สสร. ขึ้นมาเพื่อร่างรัฐธรรมนูญต้องกลับไปถามประชาชนผู้ถืออำนาจ สถาปนาโดยผ่านการเลือกตั้ง ท่านประธานครับ วันนี้ผมแปลกใจแล้วเศร้าใจเป็นอย่างมาก จนถึงวันนี้แล้วเรายังต้องมาถกเถียงกันอยู่ว่า สสร. จะต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ จะต้อง มาจากการเลือกตั้งกี่เปอร์เซ็นต์ แต่งตั้งกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องมีโควตาผู้เชี่ยวชาญมาจาก การแต่งตั้งหรือไม่ เราไม่ต้องถามกันแล้วครับ เรากลับไปดูว่าอำนาจสถาปนาเป็นของใคร แล้วถ้าจะให้ใครมาร่างต้องถามใคร ข้อถกเถียงเหล่านี้ไม่ควรมีอยู่แล้วครับ เราต้องหยุดดูถูก ประชาชน โดยเฉพาะผู้แทนของประชาชนอย่างพวกเราครับ เราต้องหยุดดูถูกประชาชนว่า ไม่มีความรู้มากพอที่จะเลือกคนเป็น สสร. ได้แล้ว หลายคนชอบพูดว่าไม่อยากตีเช็คเปล่า แต่อย่าลืมว่าเจ้าของเช็คคือประชาชน เขาจะใส่อะไรลงไปบ้างก็เรื่องของเขาครับ เป็นเรื่องที่ เจ้าของเช็คเขาคิด ไม่ใช่เรื่องของพวกเราครับ คราวนี้มาต่อกันที่หลักการในการมี สสร. ว่า สสร. ควรจะเป็นอย่างไร มีหน้าตาอย่างไรบ้าง ผมเสนออย่างนี้ครับว่า สสร. ที่จะเกิดขึ้น ควรยึดถือหลัก ๔ ประการ
นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ
ข้อแรก สสร. ต้องยึดโยงกับประชาชน และวิธีที่จะยึดโยงกับประชาชน อย่างนั้นง่ายที่สุดคือต้องมาจากการเลือกตั้ง ง่าย ๆ แค่นั้นเลยครับ เหมือนที่ผมได้พูดมา
นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ
ข้อ ๒ ต้องมีความหลากหลาย หมายความว่าต้องเป็นตัวแทนของคน หลากหลายกลุ่ม ทั้งประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ประชาชนที่เป็นผู้มีความหลากหลาย กลุ่มเปราะบางไปจนถึงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผมย้ำว่าต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และหากจะถามว่าถ้าเลือกตั้งแล้วจะเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มได้จริง ๆ หรือ ผมก็อยากจะ แนะนำให้ลองอ่านรายงานของคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ว่ามีรูปแบบการเลือกตั้งมากมาย ที่นับเอาคนที่ไม่เคยถูกนับเข้ามาอยู่ในสมการการเลือกตั้ง มีรูปแบบให้เลือกเยอะเลยครับ ซึ่งผมขอไม่ลงรายละเอียด
นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ
ข้อ ๓ สสร. จะต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดการ ร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญครับ เพราะเวลาเราพูดถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน เรามักจะนึกถึงการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น แล้วนำเรื่องเข้ามาในรัฐสภาใช่ไหมครับ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นครับ โดยทั่วไปแล้วเวลาที่เรามี สสร. ในประเทศไทยเรามักจะเห็นภาพที่มี สสร. เยอะแยะเต็มไปหมด แต่สุดท้ายอาจมีเวทีรับฟังความคิดเห็นบ้างประปราย ให้ประชาชนได้มาเสนอเรื่องต่าง ๆ แต่สุดท้าย สสร. จะตั้งคณะกรรมการยกร่างขึ้นมา ๑ คณะ ซึ่งทำงานควบคู่ไปกับ สสร. ปกติ โดยให้คณะกรรมการเหล่านี้ไปยกร่างขึ้นมา ซึ่งเป็นตัวคณะกรรมการยกร่างหลาย ๆ ชุด ก็มักจะมีธงอยู่แล้วว่าจะเขียนขึ้นมาแบบไหน เขียนขึ้นมาอย่างไร ท้ายที่สุดการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่เกิดขึ้นอย่างเพียงพอ ข้อเสนอ ของผมคืออย่างนี้ครับท่านประธาน ผมเสนอว่าหากมีการตั้ง สสร. เสร็จสิ้น สสร. อาจจะตั้ง คณะกรรมการขึ้นมาอาจจะหลายคณะหน่อย แบ่งเป็นแต่ละหมวด ตามหมวดของ รัฐธรรมนูญไปเลยก็ได้ ให้คณะกรรมการเหล่านี้ไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ทั้งในพื้นที่ต่าง ๆ และเจาะไปตามหมวดต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนของคณะกรรมการยกร่างนั้น ก็จะต้องมาจากกรรมการเหล่านี้ แต่ละหมวด แต่ละพื้นที่ทุกคณะเพื่อให้ข้อเสนอของ แต่ละกลุ่มได้รับการสะท้อนอย่างแท้จริง และเป็นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมตลอด ระยะเวลาการร่างรัฐธรรมนูญ สุดท้ายครับ สสร. จะต้องมีประสิทธิภาพคือต้องปกป้องสิทธิ และเสรีภาพของเจ้าของอำนาจ สถาปนารัฐธรรมนูญซึ่งก็คือประชาชน ไม่ใช่ทำหน้าที่เป็น นายประชาชนหรือมาจำกัดสิทธิของประชาชนครับ ต้องสะท้อนเสียงความต้องการและ อุดมการณ์อันหลากหลายของคนในสังคมให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้ ไม่ปิดกั้นและตีกรอบ เสรีภาพของประชาชน และต้อง Guarantee สิทธิที่พึงมีพึงได้ของประชาชนในทุกด้าน ทั้งชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิในการแสดงออกในทุกด้าน สิทธิในการเข้าถึงการศึกษา การรักษาพยาบาล สิทธิในการทำมาหากิน และสิทธิได้รับสวัสดิการที่เหมาะสม ไม่ปิดกั้น จินตนาการของประชาชนด้วยการมีข้อห้ามที่ล้นเกิน ไม่มีการตั้งกรอบมาแต่แรกว่า ตรงไหนได้บ้าง แก้ไม่ได้บ้าง หรือมีองค์กรแปลก ๆ ที่ไม่ได้มีที่มาจากประชาชนมาชี้ว่า ใครจะมีสิทธิทำอะไรหรือไม่มีสิทธิทำอะไร สิทธิใด ๆ ของผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ต้องได้รับการ Guarantee ทั้งสิ้นครับ
นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ
ในส่วนสุดท้าย ท่านประธานครับ รายงานฉบับนี้เห็นตรงกันกับผมในแง่ที่ว่า สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้ง แล้วผมเห็นว่าไม่ควรจะมีคำถามอีกต่อไปแล้วว่าจะต้องมีการ เลือกตั้งหรือไม่ สิ่งที่รายงานฉบับนี้ให้กับเรา คือเราจะเลือกตั้งอย่างไร ท่านประธานครับ ประเทศไทยของเราไม่เคยมีการเลือกตั้ง สสร. ทางตรงมาก่อน นี่เป็นครั้งแรกที่เราอาจจะมี การเลือกตั้งทางตรงครับ รายงานฉบับนี้ก็เป็นรายงานที่เปิดโลก เปิดมิติจินตนาการให้เรา เห็นว่าเราสามารถจะมีการเลือกตั้งแบบไหนได้บ้าง และจะมีแนวทางอย่างไรบ้าง ผมอยาก จะขอขอบคุณคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ที่ทำรายงานฉบับนี้ออกมาให้เราได้หลุดจาก ข้อถกเถียงสักทีว่า ทำไมเราจะไม่สามารถมีการเลือกตั้ง สสร. ทั้งหมดได้ รายงานฉบับนี้สะท้อนว่าผู้เชี่ยวชาญหรือกลุ่มชายขอบใด ๆ ก็มีพื้นที่ผ่านการเลือกตั้งได้ โดยไม่ต้องใช้ระบบโควตา ระบบแต่งตั้งที่พอแต่งตั้งมาก็มุ่งแต่จะยกร่างแบบที่ตนตั้งธง มาจากบ้านแล้วครับ แล้วผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้เห็น สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง และผลการเลือกตั้งนั้นก็สะท้อนความต้องการของประชาชนทุกคน ไม่ถูกปิดกั้นจินตนาการ ใด ๆ เหมือนที่รายงานฉบับนี้ได้ให้กับเราไว้ครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอท่านสุดท้าย คุณสุเทพ อู่อ้น ครับ และเดี๋ยวกรรมาธิการจะได้ตอบข้อสงสัยทั้งหมด เชิญคุณสุเทพครับ
นายสุเทพ อู่อ้น แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสุเทพ อู่อ้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เครือข่าย แรงงาน ขออนุญาตท่านประธานมีส่วนร่วมกับรายงานพิจารณาศึกษาของการจัดทำข้อเสนอ ระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของ คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ท่านประธานครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่มาจากคนใช้แรงงาน คนใช้แรงงาน ได้ฝากผมมาตั้งแต่พรรคอนาคตใหม่มาสู่พรรคก้าวไกลในเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง นั่นก็คือเรื่องที่ อยากเห็นประชาธิปไตยเต็มใบ อยากเห็นรัฐธรรมนูญที่มาจากพี่น้องประชาชนที่มาจาก การเลือกตั้ง ในระบบของแรงงานจะเห็นได้ว่าประเทศไทยเราพยายามที่จะยกระดับเพื่อ ที่จะให้มีสิทธิการรวมตัวกัน มีการเข้าร่วมกับองค์กร ILO ว่าจะมีการรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยเรื่องสิทธิการรวมตัวการเจรจาต่อรอง แล้วอย่างไรครับ ท่านประธาน ถึงวันนี้ ๑๐๐ กว่าปีแล้วในเรื่องของการที่จะให้เกิดเรื่องของประชาธิปไตย โดยเฉพาะการรวมตัวกันตามรัฐธรรมนูญที่ได้บอกไว้ว่าประชาชนมีสิทธิการรวมตัวกันเป็น สหกรณ์ เป็นสหภาพแรงงาน เป็นสมาคม แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเลย ผมคุยเรื่องนี้ หมายความว่าอะไรครับท่านประธาน ถ้าเรามีรัฐธรรมนูญที่มาจากพี่น้องประชาชน และโดยเฉพาะงานศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่อง สสร. ควรที่จะเป็นบุคคลที่มาจากหลากหลาย มาจากการเลือกตั้ง หลายท่านพูดถึงแล้วนะครับ อย่าดูถูกประชาชน แม้นชนใช้แรงงาน อย่างพวกผม เราก็สู้ฝ่าฟันในการที่จะให้มีองค์กรสหภาพแรงงานที่แข็งแรง แต่จะเห็นได้ ชัดเจนว่ากระบวนการในระบบการต่าง ๆ ยังไม่ล้อกับรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ การรวมตัว มีเงื่อนไขต่าง ๆ ซึ่งไม่ต่างกันเลยครับ งานที่มีการวิเคราะห์ในเรื่องของ สสร. ที่ได้อ่าน ดังนั้น วันนี้สภาอันทรงเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านประธานได้มาเป็นประธาน เราอยากเห็น การเปลี่ยนแปลงในระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญที่จะทำให้ประชาธิปไตยเต็มใบเสียที ขอวิงวอนเถอะครับ ทุกท่านครับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะเป็นแบบบัญชีรายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น สส. เขต ทุกท่านทุกคนมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นเราต้องมาช่วยกันขับเคลื่อนให้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจาก สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ประเทศไทยเราจะได้เป็นประเทศ ที่พัฒนาสักที ประชาชนจะไม่ได้ถูกกดทับ กดให้จนแล้วแจก กดให้โง่และปกครอง รีดเงิน ภาษีมาแจกแล้วมีบุญคุณ สิ่งเหล่านี้พวกเราในฐานะผู้แทนราษฎรต้องมาร่วมกันในการที่จะ แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะงานวิจัยที่จะต้องมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง หวังว่า คณะกรรมาธิการได้ศึกษามาดีแล้วต้องขอชมเชย ท่านได้เสียสละเวลาเพื่อจะให้เกิด ประชาธิปไตยเต็มใบ ก็ขอฝากด้วยครับท่านประธาน ขอบคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ คณะกรรมาธิการได้ชี้แจงตอบครับ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภา ที่เคารพกระผม พริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วม ของประชาชน ท่านประธานครับ ผมต้องขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกจากทุกพรรคที่ได้อภิปราย แล้วก็แสดงความเห็น แล้วก็ยื่นขอเสนอแนะให้กับรายงานของคณะกรรมาธิการฉบับนี้ ผมขอ ใช้เวลาไม่มากในการตอบคำถามของเพื่อนสมาชิกที่ได้ตั้งคำถามมา อะไรที่เป็นคำถาม ที่ความจริงแล้วมีรายละเอียดอยู่ในตัวรายงานก็จะขออนุญาตไม่ตอบเพื่อประหยัดเวลา การประชุมแห่งนี้เพราะผมเข้าใจว่ามีอีกหลายญัตติที่จ่อคิวการพิจารณา โดยเฉพาะญัตติด่วน ด้วยวาจาเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรงในสถานศึกษาที่จะมีการเสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจากเขตสวนหลวง คุณศุภกร ซึ่งก็เป็นญัตติด่วนที่เข้าใจว่าควรจะต้องมีการอภิปราย กันในการประชุมสภาวันนี้ ผมขออนุญาตแบ่งคำถามที่ได้รับจากทางเพื่อนสมาชิกออกเป็น ๖ หัวข้อใหญ่ ๆ ด้วยกัน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
หัวข้อที่ ๑ เป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องแนวทางการทำงานของสภาร่าง รัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ผมต้องชี้แจงแบบนี้ว่าความจริงแล้วหัวข้อที่ทางคณะอนุ กรรมาธิการได้ศึกษานั้นแบ่งออกเป็น ๒ หัวข้อ หัวข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นหัวข้อใหญ่ ก็คือเรื่องของ Model แล้วก็ระบบเลือกตั้งของ สสร. ส่วนหัวข้อที่ ๒ เป็นหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องอำนาจหน้าที่ หรือว่าแนวทางการทำงานของ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อประหยัดเวลาในช่วงการเปิด ผมเลยได้ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการพูดถึงในหัวข้อที่ ๑ ก็เลยอาจจะตกหล่นในการอธิบาย เกี่ยวกับข้อเสนอของคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ เกี่ยวกับแนวทางการทำงานของ สสร. ที่เพื่อนสมาชิกหลายคนตั้งคำถามไว้ ดังนั้นถ้าเพื่อนสมาชิกอยากจะเข้าใจถึงบทสนทนา ข้อถกเถียง ทางเลือก หรือว่าแนวคิดของคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้เกี่ยวกับแนวทาง การทำงานในด้านต่าง ๆ สามารถเปิดดูได้ที่หน้า ๖๕-๖๖ ของรายงานคณะกรรมาธิการฉบับนี้ แต่ถ้าจะตอบ ๒ คำถามย่อยในประเด็นนี้ซึ่งถูกพูดถึง แล้วก็ถูกตั้งคำถามเยอะพอสมควร ก็ขออนุญาตใช้เวลาสั้น ๆ คำถามย่อยที่ ๑ เป็นการถามเกี่ยวกับกระบวนการทำงานว่าเมื่อมี การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว สสร. จะทำงานในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือว่าจะรับประกันได้อย่างไรว่า สสร. จะทำงานโดยมีการรับฟังความเห็นจากประชาชน ทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง ในส่วนนี้ทางคณะอนุกรรมาธิการก็มองว่าในเมื่อเรากำลังจะมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง หรือในเมื่อเราเสนอให้มี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน โดยตรง ก็คิดว่าควรจะเป็นดุลยพินิจแล้วก็อำนาจของ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งส่วนหนึ่ง ที่จะสามารถออกแบบกระบวนการในการยกร่างแล้วก็รับฟังความเห็นได้ แต่เราก็เข้าใจครับ ว่าหากเรามี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว แนวโน้มก็ค่อนข้างสูงที่ สสร. ที่มาจาก การเลือกตั้งนั้นคงคิดค้นวิธีการในการยกร่างที่อาจจะมีการตั้งกรรมาธิการยกร่างขึ้นมาที่ อาจจะประกอบไปด้วยทั้ง สสร. บางท่านที่ไปนั่งเป็นกรรมาธิการยกร่างเอง หรือว่ามี การแต่งตั้งคนส่วนอื่นที่มาช่วยเป็นที่ปรึกษาในการยกร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว รวมถึงทาง สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นผมเชื่อว่าในเมื่อมีความยึดโยงกับประชาชนตั้งแต่ที่มาก็คงจะ ออกแบบกระบวนการในการรับฟังความเห็นอย่างทั่วถึงโดยการนำเอาเทคโนโลยีนั้น มาประกอบการรับฟังความเห็น หรือแม้กระทั่งการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาชุดหนึ่ง ที่อยู่ภายใต้ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งที่ดำเนินการในการรับฟังความเห็นทั้งก่อน ระหว่าง หรือว่าหลังมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนคำถามย่อยข้อที่ ๒ คือบทบาทของพรรคการเมืองว่าพรรคการเมืองจะ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งได้อย่างไรมีเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งพูดไว้ว่า ไม่อยากให้เรารังเกียจนักการเมือง ก็ต้องยืนยันกับเพื่อนสมาชิกว่าคณะอนุกรรมาธิการนี้ ไม่ได้รังเกียจการเข้ามามีส่วนร่วมของพรรคการเมือง เพราะเราเข้าใจว่าพรรคการเมืองก็ล้วน เป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของชุดความคิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคม เราได้วางกฎเกณฑ์ไว้ หรือเป็นข้อเสนอแนะไว้ใน ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ เรามีการเขียนไว้ในหน้า ๖๕ ว่าเราเห็นควรให้ พรรคการเมืองนั้นสามารถประกาศสนับสนุนหรือว่า Endorse ผู้สมัคร สสร. ได้ เนื่องจาก คาดว่าจะช่วยสร้างบรรยากาศการรณรงค์และการแข่งขันที่คึกคัก แล้วก็สร้างการมีส่วนร่วม จากประชาชนและส่งผลในการเพิ่มอัตราผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง อันนี้คือข้อเสนอแนะที่ทาง คณะอนุกรรมาธิการเราได้วางไว้ แต่อีกทางหนึ่งเราก็อยากจะให้ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งนั้น หลุดพ้นออกจากข้อครหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ดังนั้นถึงแม้เราเสนอให้พรรคการเมือง สามารถมาประกาศสนับสนุนผู้สมัครได้ แต่เราก็เติมข้อเสนออีกข้อหนึ่งเข้าไปว่าใครก็ตาม ที่มาทำหน้าที่เป็น สสร. แล้ว เราเสนอในข้อที่ ๙ ในหน้า ๖๖ ว่าควรจะกำหนดให้ สสร. นั้น ห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ ในสถาบันทางการเมือง ภายใต้ธรรมนูญไม่ว่าจะเป็น สส. สว. รัฐมนตรี ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ หรือว่าผู้ดำรง ตำแหน่งในองค์กรอิสระเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น ๓-๕ ปี เป็นต้น เพื่อป้องกันผลประโยชน์ ทับซ้อน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
หัวข้อที่ ๒ ที่มีเพื่อนสมาชิกสอบถามขึ้นมา คือการตั้งข้อสังเกตว่า กระบวนการในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือแม้กระทั่งการออกแบบสภาร่าง รัฐธรรมนูญนั้นควรจะดำเนินการด้วยลักษณะที่เป็นการประนีประนอมหรือว่าการรับฟัง ความเห็นที่แตกต่าง ผมไม่แน่ใจว่านี่เป็นข้อสังเกตในภาพรวม หรือว่าเป็นคำถาม เฉพาะเจาะจงมาที่คณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ แต่ผมก็ต้องยืนยันว่าคณะอนุกรรมาธิการ ชุดนี้เราดำเนินการด้วยท่าทีอย่างประนีประนอมมาโดยตลอดใน ๒ มิติด้วยกัน มิติที่ ๑ ทางคณะอนุกรรมาธิการของเราก็พยายามเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายที่อาจจะมีความเห็นที่ แตกต่างนั้นสามารถเข้ามาร่วมได้ ในองค์ประกอบของคณะอนุกรรมาธิการเรามีทั้งหมด ๑๐ ท่าน ๔ ท่านก็เป็นฝ่ายการเมือง ๒ ท่านจากซีกรัฐบาล ๒ ท่านจากซีกฝ่ายค้าน มีอีก ๓ ท่านเป็นฝ่ายวิชาการ แล้วก็อีก ๓ ท่านเป็นตัวแทนจากภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนเรื่อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงกระบวนการในการรับฟังความเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ ต่อข้อเสนอหรือว่ารายงานของคณะอนุกรรมาธิการ เราก็มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคการเมืองทุกภาคส่วนเข้ามาให้ความเห็นต่อรายงานฉบับนี้ตลอดกระบวนการ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนมิติที่ ๒ ท่านน่าจะทราบว่าตัวผมเองในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ ก็อาจจะมีความเห็นว่า สสร. ควรจะมาจากการการเลือกตั้งทั้งหมด แต่เราก็พยายามรับฟัง อย่างใกล้ชิดว่าคนที่มีความกังวลใจเกี่ยวกับ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นเขามีข้อกังวล แบบไหน เช่น มีข้อกังวลเรื่องของการรับประกันพื้นที่ผู้เชี่ยวชาญก็ดี เช่น มีข้อกังวลเรื่อง การรับประกันพื้นที่ให้กับกลุ่มความหลากหลายก็ดี ผมก็ได้พยายามทำงานร่วมกับ คณะอนุกรรมาธิการเพื่อเอาข้อกังวลเหล่านั้นเป็นตัวตั้งแล้วก็มาออกแบบทางเลือกระบบ เลือกตั้งต่าง ๆ เพื่อชี้ให้ท่านเห็นว่าข้อกังวลที่ท่านกังวลนั้น ถึงแม้อาจจะมีคนที่ไม่ได้กังวล เหมือนท่าน แต่หากท่านกังวลดังกล่าวเราก็เคารพ แต่ว่าเราสามารถหาทางออกให้ท่าน ได้ผ่าน Model สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องไปหา Model ที่ไม่ได้มา จากการเลือกตั้งทั้งหมด ดังนั้นผมยืนยันว่าคณะอนุกรรมาธิการนี้เราดำเนินการด้วยความ ประนีประนอมและพยายามจะรับฟังความเห็นที่แตกต่างจากทุกกลุ่ม แต่ก็จะมีเรื่องเดียว ที่เราอาจจะประนีประนอมได้ นั่นคือการยืนยันหลักการพื้นฐานว่าถึงแม้เราจะเห็นต่างว่า ระบบเลือกตั้งแบบไหนเหมาะสมที่สุด แต่ สสร. นั้นต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ผมเข้าใจ ดีครับ บางท่านอาจจะบอกว่า สสร. ปี ๒๕๓๙ ที่มายกร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ นั้นไม่ได้มา จากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่ผมก็ต้องยืนยันไปว่าประเทศเรา โลกเรามาไกลกว่าปี ๒๕๔๐ แล้ว เพียงเพราะมันไม่เคยเกิดขึ้น ไม่ได้หมายความว่ามันจะเกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่า มันไม่ควรจะเกิดขึ้น ความจริงแล้วถ้าเราย้อนไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๕๖๔ ณ รัฐสภา แห่งนี้ในการลงมติในวาระที่ ๒ เกี่ยวกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม เกี่ยวกับ สสร. ส่วนใหญ่ของที่ประชุมร่วมของรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วย สส. และ สว. นั้นโหวตเห็นชอบกับ Model สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
หัวข้อที่ ๓ คือโจทย์ต่าง ๆ ที่เพื่อนสมาชิกได้ฝากไว้ ผมขออนุญาตยกเพียงแค่ ๑ ตัวอย่างจากเพื่อนสมาชิก ท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม ขออนุญาตที่เอ่ยนาม ท่านก็มีเป้าหมาย ที่อยากจะเห็น สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นมีสัดส่วนของแต่ละเพศที่มีความทัดเทียมกัน ผมคิดว่าความจริงแล้วทางคณะอนุกรรมาธิการนี้ก็ได้มีการพูดคุยกันในประเด็นนี้เหมือนกัน เราคงไม่ได้ตัดสินใจแบบเฉพาะเจาะจงว่า Model ไหนจะตอบโจทย์สิ่งที่ท่านต้องการได้ มากที่สุด แต่ผมก็ขออนุญาตยกบางตัวอย่างที่สามารถจะแก้ไขข้อกังวลของท่านได้ ตัวอย่างที่ ๑ คือหากเราเลือกใช้ Model สสร. ที่มี สสร. ประเภท ก หรือว่าตัวแทนทั่วไปที่ใช้ระบบ บัญชีรายชื่อ ความจริงแล้วในการใช้ระบบบัญชีรายชื่อก็คงเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ทีมใด ๆ ก็ตามที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกตั้งก็อาจจะคำนึงถึงเรื่องนี้อยู่แล้วในการจัดลำดับ บัญชีรายชื่อ เช่น อาจจะมีการสลับกันไปสลับกันมาระหว่างผู้สมัครแต่ละเพศ เป็นต้น หรือว่าทางเลือกที่ ๒ ครับ เพราะหากท่านเปิดรายงานแล้วก็ดูตัวอย่างของ สสร. จาก ต่างประเทศที่เราได้มีการยกขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นที่ไอซ์แลนด์หรือว่าชิลีก็อาจจะมีการกำหนด แบบตายตัวไปเลยว่าในการเลือกตั้ง สสร. ประเภทตัวแทนทั่วไปที่มีการใช้ระบบบัญชีรายชื่อ ก็ดีจะต้องมีการกำหนดสัดส่วนว่าจะต้องมีจากเพศใด หรือว่าจะต้องมีตัวแทนที่เป็นเพศใด กี่เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น หรือว่าหาก ๒ ทางเลือกนั้นยังไม่สามารถคลายข้อกังวลของท่านได้ อีกทางเลือกหนึ่งก็คือการเพิ่มประเภท ค ขึ้นมา ซึ่งอาจจะมีกลุ่มเฉพาะหรือว่าโควตาเฉพาะ ให้ตัวแทนจากกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศหรือว่ากลุ่มเพศต่าง ๆ ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยตรง ดังนั้นผมคิดว่าการยกตัวอย่างข้อกังวลของเพื่อนสมาชิกท่านณัฐวุฒิขึ้นมาแล้ว ฉายภาพให้เห็นแบบนี้ก็จะทำให้เพื่อน ๆ สมาชิกสบายใจได้ว่าทุกคำถาม ทุกเป้าหมาย ทุกข้อ กังวลที่ท่านมีมันสามารถหาทางออกได้หลายวิธีผ่านทางเลือกหรือว่า Menu ที่เราได้นำเสนอ ในรายงานฉบับนี้ ซึ่งแน่นอนข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกก็อาจจะแตกต่างกันออกไป
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
หัวข้อที่ ๔ จากเพื่อนสมาชิกคือท่านณัฐพงษที่มีการเสนอให้เพิ่มข้อสังเกต ขึ้นมา ความจริงมีแตกเป็น ๒ ข้อ แต่สรุปใจความสำคัญก็คือต้องการจะให้เราส่งรายงาน แล้วก็ผลการศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ไปสู่คณะกรรมาธิการวิสามัญที่อาจจะมี การตั้งขึ้นมาในอนาคตเพื่อพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง สสร. อันนี้ ในเชิงหลักการผมขอรับไว้ เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการจะส่งให้คณะกรรมการวิสามัญ ในอนาคตใช้เป็น Framework หรือเป็นกรอบคิดประกอบการพิจารณาได้ แต่เมื่อสักครู่ได้ Check กับทางฝ่ายเลขานุการแล้วก็ท่านประธานก็เข้าใจว่าเพื่อให้เป็นไป ตามข้อบังคับ วันนี้ผมอาจจะยังไม่สามารถยืนยันด้วยตัวเองได้ แต่ต้องเรียกประชุม คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน อีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันข้อสังเกตตรงนี้ หรือว่ายืนยันว่าจะส่งข้อสังเกตตรงนี้ไปสู่ คณะกรรมาธิการวิสามัญในอนาคต ดังนั้นหากท่านไม่ติดใจก็จะขออนุญาตนำเสนอรายงาน ที่เป็นอยู่ไปก่อน แล้วก็ในการประชุมคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งถัดไปซึ่งจะมีวันพรุ่งนี้ก็จะนำเรื่องนี้เข้า แล้วก็อาจจะ เป็นการส่งข้อสังเกตตามไปอีกทีหนึ่งให้กับคณะกรรมาธิการวิสามัญได้ใช้รายงานนี้เป็นกรอบ ในการพิจารณา
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
หัวข้อที่ ๕ ครับท่านประธาน มีเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่ง ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านวิทยา แก้วภราดัย ได้ตั้งคำถามว่าเปิดดูรายงานฉบับนี้แล้วเห็นพูดถึงแต่เรื่องของ กระบวนการในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือว่ารูปแบบของ สสร. แต่ไม่มีส่วนไหนเลย ที่ทำให้ท่านรับรู้ว่าเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ที่เรามองว่าเป็นปัญหา หรือว่าเนื้อหา ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เราอยากเห็นนั้นเป็นอย่างไร ก็ต้องชี้แจงเพื่อให้ท่านสบายใจ แบบนี้ ๒ ส่วนนะครับ ส่วนที่ ๑ ก็ต้องบอกว่าด้วยขอบเขตของคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ ที่ถูกตั้งขึ้นมา ขอบเขตคือการพิจารณาในเรื่องของกระบวนการเป็นหลัก เรื่องของรูปแบบ สสร. เป็นหลัก การที่เราพิจารณาเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่อง เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ เรารู้ว่าถ้ารัฐธรรมนูญจะมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยมันต้อง ควบคู่กัน ทั้งในส่วนของกระบวนการที่มาที่มีความชอบธรรม แล้วก็ในส่วนของเนื้อหาที่มี ความชอบธรรม ทางประชาธิปไตยที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพอย่างรัดกุมที่ออกแบบสถาบันทาง การเมืองต่าง ๆ ให้มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยด้วย เพียงแต่ว่าขอบเขตของรายงาน ฉบับนี้ก็อาจจะมุ่งเป้าไปที่การศึกษาในส่วนของกระบวนการเป็นหลัก แต่หากท่านอยากจะฟัง ว่าเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๖๐ ที่แต่ละฝ่ายมองว่าเป็นปัญหา หรือว่าเนื้อหา ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่แต่ละฝ่ายอยากจะเห็นนั้นเป็นเช่นไร ก็ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม แต่ว่าคงไม่ใช่ที่ประชุมสภาแห่งนี้ที่จะมาใช้เวลามากกว่านี้ในการมาพูดคุยเรื่องของเนื้อหา ถ้าท่านอยากรู้ว่าความเห็นของผมหรือว่าของพรรคก้าวไกล พรรคต้นสังกัดเป็นเช่นไร ท่านก็ สามารถดูในส่วนของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมที่พรรคก้าวไกลเคยยื่นเข้าไป หรือว่าที่เรา เคยแสดงความเห็นไว้ก็ได้ ถ้าท่านอยากรู้ว่าพรรคการเมืองอื่นคิดเห็นอย่างไรก็สามารถดูจาก ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมที่แต่ละพรรคยื่นเข้าไป หรือว่าสิ่งที่แต่ละพรรคเคยพูดในเวที รณรงค์หาเสียงได้ด้วยเช่นกัน แต่ถ้าท่านอยากได้ความเห็นที่มันครอบคลุมที่สุด ไม่ได้อิงกับ พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ผมเชิญชวนให้ท่านไปอ่านรายงานฉบับนี้ อาจจะขอ เจ้าหน้าที่ขึ้นสไลด์สักเล็กน้อย
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ความจริงแล้ว ปัญหา ของเนื้อหารัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ไม่ได้เป็นประเด็นใหม่ แต่ว่าในสภาชุดที่แล้วในช่วงเดือน ธันวาคมปี ๒๕๖๒ สภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ก็ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา ปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ จัดทำขึ้นตั้งแต่เดือน ธันวาคม ปี ๒๕๖๒ ไปจนถึงเดือนตุลาคม ปี ๒๕๖๓ ถ้าท่าน Scan QR Code ไปก็จะมี ทั้งหมด ๔๐๐ กว่าหน้า ซึ่งเป็นการไล่ทุกมาตราเลยครับท่านประธาน ตั้งแต่มาตรา ๑ ถึง มาตรา ๒๗๙ ว่าในแต่ละมาตรานั้นแต่ละฝ่ายทางการเมือง ซึ่งแน่นอนในคณะกรรมาธิการก็ จะมีทั้งตัวแทนจากทุกพรรคมาร่วมกันพิจารณา แต่ละฝ่ายทางการเมืองมองถึงมาตราแต่ละ มาตราว่ามีปัญหาหรือไม่มีปัญหาอย่างไร แล้วก็ความจริงแล้วถ้าเราไปดูรายชื่อของ คณะกรรมาธิการชุดนี้ คนที่ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการก็คือท่านพีระพันธุ์ ซึ่งก็ เข้าใจว่าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองเดียวกันกับท่านวิทยา
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการ ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย มีเพื่อนสมาชิกถามเข้ามาว่ากรรมาธิการชี้แจงหน่อย อนุกรรมาธิการชี้แจงหน่อยว่าสรุปแล้วเอา Model อะไร ก็ต้องยืนยันกลับไปว่าเจตนารมณ์ ของทางคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้เราไม่ต้องการฟันธงว่า Model หรือระบบเลือกตั้งแบบไหน ดีที่สุด เราเพียงแต่ยืนยันกรอบใหญ่ ๆ ว่า สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และทำให้ เห็นทางเลือกต่าง ๆ ว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร แต่เราไม่ได้ต้องการจะยืนยันด้วยตนเองว่า ทางเลือกระบบเลือกตั้งแบบนี้ดีที่สุดเท่านั้น ความจริงแล้วเรานำเสนอ Model สสร. ที่แบ่ง ออกเป็น ๓ ประเภทคือ ก ข ค แต่เราก็ไม่ได้บอกว่า สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งนั้น จะต้องมีทั้ง ก ข ค บางท่านอาจจะมองว่ามีแค่ ก ก็เพียงพอแล้ว บางท่านต้องการจะเพิ่ม ข ค ขึ้นมาก็สุดแล้วแต่ปัจจัยที่แต่ละคนนั้นจะพิจารณา ดังนั้นผมยืนยันว่าทางเราไม่ได้ ต้องการจะสรุปว่าคณะอนุกรรมาธิการมองว่า Model ไหนเป็น Model ที่ดีที่สุด แต่เรา ต้องการใช้รายงานฉบับนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นในการสร้างบทสนทนา ไม่ใช่แค่ในสภาแห่งนี้ ครับท่านประธาน แต่ว่ากับสังคมในวงกว้างเพื่อมาพูดคุยกันถึงทางเลือกที่เป็นไปได้ และเพื่อ ทำให้รายงานฉบับนี้เข้าถึงประชาชนอย่างแพร่หลายมากขึ้น ก็อยากจะแจ้งให้เพื่อน ๆ สมาชิกทราบว่าตอนนี้เราก็มีภาคประชาชน รวมไปถึงทาง WeVis ที่อาสาเข้ามาเพื่อมาช่วย แปลรายงานฉบับนี้ แล้วก็ทางเลือกต่าง ๆ ให้เป็นรูปแบบ Online ที่เข้าใจง่าย แล้วก็ ให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเห็น แล้วก็เข้าใจถึงข้อดี ข้อเสีย ของทางเลือก ต่าง ๆ เพื่อมาลองออกแบบ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งที่พวกเขาอยากจะเห็น แล้วก็ ขอทิ้งท้ายท่านประธานว่าในเมื่อคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้เป็นการทำงานร่วมกันของทั้ง ฝ่ายการเมือง ฝ่ายวิชาการ แล้วก็ฝ่ายของภาคประชาชน ผมขออนุญาตให้ทางตัวแทนจาก ภาคประชาชน คุณณัชปกร นามเมือง ได้สรุปสั้น ๆ ทิ้งท้ายเกี่ยวกับการทำงานของ คณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ แล้วก็รายงานฉบับนี้ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณประธาน คณะกรรมาธิการ แต่ก่อนที่อนุกรรมาธิการจะชี้แจง ผมขอกล่าวต้อนรับคณะครู บุคลากร และนักเรียนจาก ๒ คณะที่มานั่งฟังการประชุมของสภาอยู่ชั้นบนในเวลานี้ คณะแรก คือ คณะครูและบุคลากร นักเรียน โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา คณะที่ ๒ คือคณะครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านแลแวะ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ขอขอบคุณ ขอต้อนรับทุกท่าน เชิญอนุกรรมาธิการชี้แจงเพิ่มเติมครับ
นายณัชปกร นามเมือง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ วันนี้ก็เป็นวันที่ผมมีความยินดียิ่งที่ได้เห็นการอภิปรายเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกสภา ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็รู้สึกขอบคุณที่สภาแห่งนี้ได้พยายามอย่างดีที่สุดในการจะแก้ไข หนึ่งในวิกฤติของประเทศไทยนั่นก็คือวิกฤติรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าการอภิปรายในวันนี้ ก็เป็นหนึ่งในเป้าประสงค์ที่เราตั้งอนุกรรมาธิการชุดนี้ขึ้นมา นั่นคือการที่สภาแห่งนี้หรือ การให้ตัวแทนของพี่น้องประชาชนได้ลองจินตนาการว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่เพื่อให้ได้มาซึ่งกติกาสูงสุดที่เป็นฉันทามติร่วมของสังคมนั้นจะเป็นอย่างไร ผมชอบ การเปรียบเปรยของท่านพริษฐ์ ประธานกรรมาธิการ ขออภัยที่เอ่ยนามท่านนะครับ ที่กล่าวว่าคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้เปรียบเสมือนร้านอาหารที่พยายามจะนำเสนอ Menu หรือ Model สสร. ให้สภาและประชาชนได้ลองจินตนาการว่าเราอยากจะได้ สสร. แบบไหน ซึ่งคงไม่มี Menu ใด Menu หนึ่งที่ถูกต้องที่สุด แต่มันจะเป็นพื้นที่ให้คนในสังคมได้ทบทวนว่า Menu ไหนที่เราชื่นชอบมากที่สุด แล้วเราก็ลองมาออกแบบ Menu สสร. ของเราร่วมกัน โดยวันหนึ่งในอนาคตรัฐสภาแห่งนี้ก็คงจะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ดี ผมอยากจะขอเน้นย้ำว่าหากเราเปรียบข้อเสนอรายงานฉบับนี้เป็น Menu อาหาร ผมคิดว่า สิ่งที่เรานำเสนอในวันนี้นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการอยู่ ๔ อย่าง ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราได้พูดคุย หารือกันตั้งแต่การประชุมคณะอนุกรรมาธิการครั้งแรก ซึ่งมีงานศึกษาวิจัยที่ท่านอาจารย์ ปกป้อง จันวิทย์ หนึ่งในอนุกรรมาธิการเป็นคนศึกษาเรื่องนี้ไว้ก็เป็นรากฐาน คุณค่า ๔ ประการนี้จะเป็นคุณค่าพื้นฐานต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่มีความชอบธรรมทาง ประชาธิปไตย อันประกอบไปด้วย
นายณัชปกร นามเมือง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
คุณค่าข้อที่ ๑ คือเรื่องของคุณค่าความเป็นประชาธิปไตย เราเห็นว่าที่มา สสร. และกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญนั้นต้องคิดถึงเรื่องความเป็นประชาธิปไตยเป็นหัวใจสำคัญ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องมีที่มาจากประชาชน ยึดโยงกับประชาชนให้ได้มากที่สุด และเป็น การสร้างหลักประกันเรื่องความรับผิดรับชอบให้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องรับฟังเสียงของ ประชาชน
นายณัชปกร นามเมือง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
คุณค่าข้อที่ ๒ คือ เรื่องของความหลากหลาย ผมเห็นว่าที่มา สสร. ต้อง เปิดกว้างและโอบล้อมความหลากหลาย ทั้งทางความคิด ความเชื่อ อัตลักษณ์ วัย รวมถึง ประสบการณ์ภูมิหลังไม่ได้จำกัดอยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกันว่าในท้ายที่สุด กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดฉันทามติ และนำไปสู่สันติสุขของทุกคนในสังคม
นายณัชปกร นามเมือง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
คุณค่าข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นมูลค่าสำคัญอีกเช่นเดียวกันคือการมีส่วนร่วมของ ประชาชนตลอดกระบวนการ ในงานศึกษาเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่ดี เราพบว่า ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จต่อกระบวนการร่างนั่นคือระดับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะสังคมที่มีประสบการณ์ความขัดแย้ง และอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ดังนั้นผมเห็นว่าการร่างรัฐธรรมนูญ ในปัจจุบัน ในข้อเสนอรายงานชุดนี้จึงต้องเน้นหลักการเรื่องการมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ เพราะว่าการร่างรัฐธรรมนูญนั้นคงไม่ใช่เรื่องของนักกฎหมายหรือนักรัฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว ผมเห็นว่าที่มาและกระบวนการทำงานของ สสร. ต้องสะท้อนเสียงของทุกคนในสังคม ดังนั้น การออกแบบที่มา สสร. และกระบวนการทำงานของ สสร. ที่เอื้อให้ประชาชน
นายณัชปกร นามเมือง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
ส่วนคุณค่าข้อสุดท้าย ผมคิดถึงเรื่องความมีประสิทธิภาพ ถ้าเรามีจุดยืนเรื่อง คุณค่าความเป็นประชาธิปไตยเราเน้นเรื่องการมีส่วนร่วม แต่สุดท้ายกระบวนการ ร่างรัฐธรรมนูญนั้นไม่สามารถมีประสิทธิภาพและบรรลุประสิทธิผล คือสามารถทำ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้จริง สิ่งนี้ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเรื่องนี้เราอาจจะต้องคิดกันต่อ ว่าเราจะมีจำนวน สสร. เท่าไร จะมีกระบวนการทำงานของ สสร. อย่างไร รวมถึงต้อง วางขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ สสร. และกรอบในการทำงานให้ชัดเจนเพื่อเป็นหลักประกันว่า จะมีการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้จริงและเป็นที่ยอมรับ
นายณัชปกร นามเมือง กรรมาธิการ ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าจากคุณค่าทั้ง ๔ ข้อนี้ที่เป็นคุณค่าหลักในการ ทำรายงานฉบับนี้ หากเรานำ ๔ คุณค่านี้ไปใช้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญในอนาคต เรานำไป ถกเถียงกันในตอนที่เราเสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญในสภานี้ มีการแก้ไขมาตรา ๒๕๖ และเรายัง ยึดกรอบ ๔ คุณค่าที่ผมได้พูดไปนี้ ผมเชื่อว่าจะทำให้กระบวนการร่างกฎหมายฉบับใหม่ มีความชอบธรรม แล้วก็เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้อย่างแท้จริง ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ข้อสรุปและ ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการชุดนี้ ก็คือให้ส่งรายงานฉบับนี้ไปให้คณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและเป็นทางเลือก และให้ส่งไปให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก เพื่อพิจารณาและเป็นทางเลือก ข้อเสนอและข้อสังเกตก็เป็น ๒ ประการนี้ แล้วก็จากการอภิปราย มาทั้งหมด จากการชี้แจงก็ไม่มีสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นทั้งข้อเสนอและข้อสังเกตนี้ ถ้าไม่มีข้อเสนอเป็นอย่างอื่นผมก็อาศัยข้อบังคับ ข้อ ๘๘ ว่าจะมีสมาชิกเห็นเป็นอย่างอื่นไหม โดยสรุปไม่มีนะครับ ก็คือว่าท่านสมาชิกเห็นชอบให้ส่งข้อเสนอและข้อสังเกตไปตาม ๒ ข้อ ที่ผมกล่าวนี้ เป็นอันว่าจบการพิจารณาในวาระนี้ ขอขอบคุณท่านประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการ และอนุกรรมาธิการครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๕.๑ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาการตั้งกองทุนรักษาป่าต้นน้ำ (นายทรงยศ รามสูต เป็นผู้เสนอ)
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เนื่องจากมีญัตติทำนองเดียวกันนี้อีก ๑ ฉบับคือ ญัตติ เรื่อง ขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการส่งเสริมและ สนับสนุนการให้การบริการของระบบนิเวศในเขตป่าต้นน้ำ (นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล และคุณมานพ คีรีภูวดล เป็นผู้เสนอ) ซึ่งอยู่ในระเบียบวาระที่ ๖.๔ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องทำนอง เดียวกัน ก็จะขอให้พิจารณาไปพร้อมกับระเบียบวาระที่บรรจุไว้ใน ๕.๑ มีท่านสมาชิกท่านใด เห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ ถ้าไม่เห็นเป็นอย่างอื่นเราก็จะพิจารณาเรียงตามลำดับนี้นะครับ ขอเชิญ คุณทรงยศ รามสูต เป็นผู้เสนอก่อนครับ เชิญครับ
นายทรงยศ รามสูตร น่าน ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ขอเสนอญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาการตั้งกองทุนรักษาป่าต้นน้ำ กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ทรัพยากรป่าไม้นับว่าเป็นทรัพยากรหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากเป็นแหล่งธรรมชาติที่สร้างอากาศบริสุทธิ์ เป็นแหล่งอาหาร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ของสัตว์ป่า และเป็นแหล่งที่ทำให้ระบบนิเวศสมดุล แต่ตลอดระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมาจนถึง ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการลดลงของจำนวนป่าไม้อย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็น ได้จากเมื่อปี ๒๕๖๕ ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้เหลือเพียง ๓๑.๕๗ ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งลดลงจากปี ๒๕๖๔ ประมาณ ๐.๐๒ เปอร์เซ็นต์ สาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเกิดไฟป่าและการบุกรุกทำลายป่า เป็นต้น ซึ่งนับว่าปัญหาดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น หากได้รับการป้องกันและแก้ไข อย่างแท้จริง และแนวทางหนึ่งที่จะสามารถนำมาแก้ไขกับปัญหานี้ได้ ก็คือการจัดตั้งกองทุน รักษาป่าต้นน้ำ โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อทำหน้าที่ในการผลักดัน กระตุ้น สนับสนุน และร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงชุมชนท้องถิ่น ในการทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนต่าง ๆ เช่น การอนุรักษ์ ดูแล รักษา และการพัฒนาป่าไม้ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญของประเทศให้คงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งหากกองทุนดังกล่าวสามารถจัดตั้งและดำเนินการเป็นรูปธรรมขึ้นมา จะส่งผลให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งประเทศต่อไป ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการ จัดตั้งกองทุนรักษาป่าต้นน้ำเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และมีแนวทางในการดำเนินการต่าง ๆ ที่ชัดเจนเพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการรักษาทรัพยากรป่าไม้ในประเทศให้มีความอุดม สมบูรณ์และยั่งยืน ผมจึงขอเสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาการตั้งกองทุนรักษาป่าต้นน้ำตามข้อบังคับการประชุมสภา ผู้แทนราษฎร ปี ๒๕๖๒ ข้อ ๑๙ และข้อ ๕๐ มีรายละเอียดดังนี้
นายทรงยศ รามสูตร น่าน ต้นฉบับ
พวกเราคงต้องยอมรับว่าน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นน้ำ เพื่อการเกษตร น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม น้ำเพื่อเชิงพาณิชย์ หรือน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือน้ำเพื่อการอื่นใด แต่เราก็มาดูว่ากฎหมายที่เกี่ยวกับน้ำ เรามีกฎหมายที่เกี่ยวกับ คณะกรรมการกองทุนที่ดูแลลุ่มน้ำทั้ง ๒๒ ลุ่มน้ำ มีคณะกรรมการมาดูแล แต่ก็ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาในระยะหลังกองทุนนี้ก็เหมือนเสือกระดาษ เหมือนอย่างเมื่อ ๒-๓ อาทิตย์ก่อน ผมไปกับคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับเรื่องของสภา ไปดูเรื่องทะเลสาบสงขลา ซึ่งชาวบ้านเขาก็มาบอกว่าแต่ก่อนคณะกรรมการกองทุนนี้ ก็เข้มแข็ง สมัยท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ แต่ตอนหลังมาก็ไม่ค่อยมีบทบาทอะไร ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้เต็มที่ เพราะฉะนั้นก็เลยเห็นว่าส่วนใหญ่มันเป็นเสือกระดาษ เพราะฉะนั้นกฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้น่าจะได้มีการปรับปรุง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก ปรากฏการณ์สภาวะโลกร้อน El Nino ก็ทำให้สภาวะน้ำลด แล้วส่วนหนึ่งที่น้ำลดก็เกิดจาก ปริมาณป่าไม้ที่ถูกบุกรุก ถูกทำลาย พื้นที่ป่าสงวนลดลง ก็เลยทำให้แหล่งผลิตน้ำ แหล่งผลิตความชุ่มชื้นของป่าไม้ต่าง ๆ ลดลง สาเหตุหนึ่งก็คือปัญหาของคนที่เขาอยู่กับป่า เราก็ต้องยอมรับว่าชาวบ้านทั่วประเทศ ในหลายพื้นที่มีปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ เขาอยู่กับป่า มาตั้งแต่พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย บางคนอยู่มาเป็น ๑๐๐ ปี แต่ พ.ร.บ. ป่าสงวน เพิ่งออกมา เมื่อ ๖๐ กว่าปีนี้ พอออกมาปุ๊บ คนที่อยู่โดยชอบด้วยกฎหมายมันก็ไม่ชอบด้วยทันที ซึ่งเขาอยู่กันมา แล้วมันเกิดอะไรขึ้น พอเขาเกิดไม่ชอบขึ้นมา ด้วยกฎหมายเขาก็ต้องอยู่กับ ภาครัฐ แล้วรัฐเองก็ไม่สามารถที่จะดูแลความเสมอภาคของเขาได้ บางทีเขาเข้าไปเก็บ อาหารป่า เก็บเห็ด ผิด ถูกจับ ก็มีปัญหาเกิดขึ้นอย่างที่เราได้รับรู้รับทราบ เพราะฉะนั้นเราจะ ทำอย่างไรให้คนต้นน้ำให้เขาหวงแหนรักษาป่า เหมือนเราทำเขื่อนอย่างนี้ คนที่มีปัญหาไม่ได้ ประโยชน์คือบริเวณที่สร้างเขื่อนหรือบริเวณเหนือเขื่อน คนที่ได้ประโยชน์คือบริเวณ ปลายเขื่อน นี่ก็เช่นกัน คนที่หวงแหนหรือดูแลป่าก็คือคนต้นน้ำ แต่คนที่ได้ประโยชน์คือ ปลายน้ำ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเราควรจะแก้ไขตรงนี้อย่างไร เราก็ควรจะต้องมีการจัดตั้ง หาทางตั้งกองทุนมาดูแล เมื่อมีการรัฐประหารเมื่อปี ๒๕๕๗ อันนี้ส่งผลมากเลยต่อ พี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ปี ๒๕๕๗ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะรัฐประหาร เขามีโครงการทวงคืนผืนป่า ซึ่งที่ผ่านมานี้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในป่ายังได้รับการดูแลจาก ภาครัฐโดยเสมอภาค ถึงแม้กฎหมายจะห้ามแต่ก็พออนุโลม ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เป็นต้นมา หมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่อยู่ในเขตป่านี้เวลาจะทำโครงการ แม้แต่หน่วยงานของรัฐ มีงบประมาณมีอะไร ต้องมีเอกสารรับรองจากกรมป่าไม้มาถึงจะดำเนินการได้ มันก็เลยเกิด สภาวะ ๒ มาตรฐาน คนพื้นล่าง พื้นราบทำได้ แต่คนที่เขาอยู่ใกล้ ๆ ป่า อยู่กันมาเป็น ๑๐๐ ปี ทำไม่ได้ อย่างจังหวัดน่านบ้านผมมีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่พญาขุนฟองเมื่อ ๗๐๐ กว่าปี มีเจ้าผู้ปกครองนครประมาณ ๖๔ พระองค์ และพื้นที่ป่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์นี้ เพราะฉะนั้นก็จะ เห็นว่าคนเขากระจัดกระจายอยู่เต็มที่ แค่เฉพาะสงครามที่แย่งชิงเกลือ ๓๐๐-๔๐๐ ปีก่อน ที่บ่อเกลือก็แสดงให้เห็นว่าชุมชนนี้เขามีมาก่อน แต่เขาได้รับผลกระทบขึ้นมาจาก พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ เพราะฉะนั้นทำอย่างไรที่เราจะทำให้เขาผูกพันรักษาป่า ให้เขาดูแลป่า ให้เขามีความภาคภูมิใจ เพราะถ้าเราไม่แก้ไขปัญหานี้คนกลุ่มนี้ก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ ป่าก็จะ ถูกทำลาย เพราะฉะนั้นผมก็จึงคิดว่าควรจะต้องมีกองทุนสักกองทุนมาดูแล มารักษา ป่าต้นน้ำ จริงอยู่มีหน่วยงานต่าง ๆ หลายหน่วยงานมาดูแล เช่น การทำแนวกันไฟป่า ซึ่งผม เห็นบางปีก็มี บางปีก็ไม่มี มันไม่มีหน่วยงานหลักที่จะมาดูแล ผมก็เลยคิดว่ามันควรจะต้องมีกองทุนสักกองทุนที่จะมาดูแลพัฒนาป่าและมาอุดรอยรั่วของ ข้อกฎหมาย อย่างเช่นข้อกฎหมายที่ผมพูดเมื่อสักครู่นี้ ปี ๒๕๕๗ ว่าเวลาเราจะทำอะไร ในพื้นที่ป่ามารับรองถึงจะจัดซื้อจัดจ้างได้ ไม่อย่างนั้นทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถ ให้กองทุนรักษาป่าต้นน้ำเขาได้ดำเนินการหรือเขามีส่วน เพราะเขาต้องดูแลป่าอยู่แล้ว เอางบของรัฐเข้ามา เขาดูแลให้ ถ้าไม่มีการบุกรุก ไม่มีการทำลายป่าเพิ่มขึ้น เช่น ทำถนน ทับถนนเดิม หรือทำโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน อันนี้ก็จะทำให้เขารู้สึกภาคภูมิใจ ในการที่จะรักษาป่า ที่ผมเสนอการตั้งกองทุนป่านี้มันไม่ใช่แต่ดูแลป่าอย่างเดียว เราดูแลคน แล้วก็ดูแลชุมชน หมู่บ้านที่เขาอยู่รอบ ๆ ป่า รวมทั้งสัตว์ที่เขาอยู่ในป่า อย่างเช่นจังหวัด พะเยาก็มีนกยูงอยู่เยอะ หลายพื้นที่เราจะต้องอนุรักษ์ไว้ หรือเราสามารถจะไปทำระบบนิเวศ ทำฝายแกนดินซีเมนต์ก็สามารถสร้างความชุ่มชื้นในป่าได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้คือคณะกรรมการ กองทุนจะต้องได้มากำหนดการ มากำหนดว่านโยบายอยากจะทำอะไรที่เราจะดูแลป่า ทีนี้คนก็สงสัยว่ากองทุนต่าง ๆ นี้เราจะเอาเงินมาจากไหน ผมก็ไปศึกษาดูว่ากองทุน ในประเทศมีแหล่งรายได้มาจากไหนบ้าง มีประเภทใดบ้าง กองทุนแรกก็คือกองทุนที่ได้รับ งบประมาณจากรัฐโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น กองทุนสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นตาม พ.ร.บ. ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ปี ๒๕๓๕ ก็ดูเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสีย อันนี้ ได้งบประมาณจากรัฐโดยตรง กองทุนประเภทที่ ๒ คือกองทุนที่ได้รับเงินจากเครือข่าย ทวิภาคีและพหุภาคี องค์กรหลักซึ่งดำเนินการโดยรัฐ เช่น กองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ FCPF ก็จะดูแลในเรื่องของสภาวะก๊าซเรือนกระจก แล้วก็การทำลายป่า กองทุนที่ ๓ ก็คือ กองทุนที่รับเงินจากภาคเอกชน เช่น กองทุนฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าและอาหารยั่งยืนตาม ศาสตร์พระราชา ปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง แล้วก็กองทุนอีกอันหนึ่งที่ผม ยกตัวอย่างผมเห็นของภาคเอกชนที่เข้ามานี้ดีอยู่อย่างหนึ่ง ผมเห็น SCG เขาทำ แต่ไม่ได้ทำที่ จังหวัดน่าน ผมเห็นภาคเอกชนเข้าไป คือเวลารัฐเข้าไปปลูกป่า ผมอยู่จังหวัดน่าน เห็นหน่วยงานรัฐเข้าไปปลูกป่าปีนี้ปลูกดอยนั้น อีกปีปลูกดอยนี้ พอ ๓-๔ ปีก็กลับมาถ่ายรูป ปลูกอยู่ดอยเดิมนี่ละครับ งบดูแลป่าไม่มี มีแต่งบปลูกป่า เงินทองไม่รู้เท่าไร ปลูกวันนี้เสร็จ พอกลับไปไม่มีงบดูแลป่า ชาวบ้านก็ถอนปลูกข้าวโพด เพราะฉะนั้นผมถึงว่ามันต้องมีงบที่จะ รักษาดูแล ที่ผมยกตัวอย่าง SCG นี้ผมได้ข่าวว่าบางจังหวัดเขามีพื้นที่ไปให้หมู่บ้าน ชุมชน ที่เขารักษาป่า มีงบไปให้เขาดูแล ถ้าป่ายังคงอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ อันนี้จะทำให้เขาภาคภูมิใจ ในการที่จะดูแลป่าเพราะฉะนั้นภาคเอกชนเขาก็พร้อมที่จะดูแล อันที่ ๔ กองทุนประเภท ที่เราจะเอาเงินจากปลายเหตุมาดูแลต้นเหตุ ผมยกตัวอย่างเช่น กองทุน สสส. ส่งเสริม สุขภาพ เราเอาเงินภาษีบาปจากภาษีเหล้า ภาษีบุหรี่เอามาดูแลนะครับ ตั้งโครงการมี คณะกรรมการคือระดับจังหวัด ระดับประเทศ ทำโครงการที่จะพัฒนาสุขภาพชีวิตของคน หรือกองทุนผู้ประสบภัยจากรถที่เราประมูลป้ายทะเบียน ก็มาดูแลคนที่มีปัญหาจาก ผู้ประสบภัยจากรถ หรือประเภทที่ ๖ ก็คือกองทุนประเภทผสมผสานจากทุก ๆ ฝ่ายเข้า ด้วยกัน ซึ่งจริง ๆ ผมก็อยากใช้กองทุนที่ผมนำเสนออยู่คือต้องรักษาป่าต้นน้ำนี้มาจาก การผสมผสาน ผสมผสานจากไหนบ้าง จากภาครัฐ คือรัฐอาจจะให้เงินสนับสนุน ที่ผมบอกว่า กองทุนนี้อยากจะให้อุดช่องว่างของข้อกฎหมายที่รัฐไม่สามารถจะไปดูแลพี่น้องประชาชน ที่อยู่ในเขตป่าได้โดยเสมอภาคกัน ให้เขาสามารถไปดูแลทำงบประมาณที่ไม่ได้บุกรุกป่า เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นโครงการทำถนนลาดยางทับที่เดิม ทำโครงสร้างพื้นฐานในหมู่บ้านที่ ไม่ไปบุกรุกป่าเพิ่ม รวมทั้งทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรักษาป่าโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นแนวกันไฟ รักษาสภาพความชุ่มชื้นของน้ำ หรือรักษาสัตว์ เพราะฉะนั้นนี่คือในส่วนที่ว่าจากภาครัฐ โดยตรง อันที่ ๒ นอกจากของภาครัฐโดยตรงนี้ก็อาจจะมาจากภาคองค์กรรัฐวิสาหกิจ เพราะ รัฐวิสาหกิจหลายแห่งเขาก็มีนโยบายที่จะดูแลรักษาป่า ธรรมดาเขาก็ทำของเขาอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าจัดตั้งกองทุนนี้เขาก็สามารถบริจาคเข้ามาได้ และอันที่ ๓ ก็คือภาคเอกชน เพราะผมเชื่อว่าภาคเอกชนเขาพร้อมที่จะสนับสนุน เขาจะดูแล เพราะผมเชื่อว่าทั่วประเทศ ใครก็อยากรักษาป่า ถ้าเราดูโฆษณาทีวีจะมีโฆษณาเกี่ยวกับเรื่องป่า เรื่องการอนุรักษ์มากขึ้น จริง ๆ จังหวัดน่านของผมเองก็มีมูลนิธิรักษ์ป่าต้นน้ำ มีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธาน และมีคุณบัณฑูร ล่ำซำ และคณะกรรมการเขาดูแลป่า ดูแลทั้งป่า ดูแลทั้งคนที่อยู่กับป่า ดูแลทั้งหมู่บ้านที่อยู่กับป่า และไม่แค่นั้นยังดูแลจังหวัดน่านซึ่งมีเขตป่า แต่กองทุนมูลนิธินี้ดูแลแต่จังหวัดน่าน ผมอยาก ให้มีกองทุนลักษณะคล้ายอย่างนี้มาดูแลผืนป่าทั่วประเทศทั้ง ๒๒ ลุ่มน้ำ ประเทศเราจะได้ มีป่ามากมาย คราวนี้บางคนก็อาจจะสงสัยว่ามันจะไปซ้ำซ้อนกับกองทุนที่มีอยู่เดิมหรือเปล่า ผมก็ไปดูว่า กองทุนที่มันมีอยู่เดิมมันมีกองทุนอะไรบ้าง เช่น กองทุนคาร์บอนป่าไม้ กองทุนฟื้นฟูภูมิทัศน์ ป่าและอาหารยั่งยืน หรือกองทุนอื่น ๆ อันนี้ผมคงจะไม่ก้าวล่วง แต่กองทุนที่ผมอยากจะ ตั้งขึ้นมานี้เป็นกองทุนที่จะอุดรอยรั่วของข้อกฎหมายที่ทำให้คนที่เขาอยู่กับป่านี้เขามีปัญหา แล้วก็ดูแลชุมชนให้มีสภาพดีขึ้น เขาจะได้มีความหวงแหนป่า รักษาป่า แล้วก็ดูแลป่าได้อย่าง เต็มที่ คราวนี้คนก็ถามว่าเราจะเอาเงินจากตรงไหน นอกจากภาครัฐที่จะอุดหนุน ภาคเอกชน ที่อุดหนุนแล้ว ส่วนหนึ่งที่ผมอยากให้คนรักษาน้ำ คือเอาเงินจากปลายน้ำมาดูแลต้นน้ำ เงินจากปลายน้ำเอามาจากไหน คือเราคงไม่ไปกระทบจากเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ผู้อุปโภคบริโภค คงไม่ใช่ แต่ภาคอุตสาหกรรม ภาคพาณิชย์ที่ใช้น้ำในปริมาณมาก ๆ เราอาจจะมีการออก กฎหมายคำนวณ ไม่ต้องเยอะครับ เก็บเป็นรายสตางค์ต่อกี่หน่วยก็ว่ามา แล้วก็ส่งเข้ากองทุน เพื่ออะไร เพื่อให้น้ำที่เขาดูแลนี้เขาจะได้ใช้น้ำอย่างประหยัด ใช้น้ำอย่างระมัดระวังและ อย่างมีคุณค่า ไม่ใช่เอาเข้าไปแล้วก็ปล่อยน้ำเสียออกมาหรือใช้น้ำปริมาณมาก อย่างน้อย เราต้องให้คนที่ปลายทางที่เขาใช้น้ำมาดูแลต้นน้ำบ้าง มันจะได้สมบูรณ์ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ แต่ว่าไม่อยากจะให้ไปเอาพวกเกษตรกรที่มีรายได้น้อย อันนี้ก็คือแนวทางที่ผม จะนำเสนอในการตั้งกองทุนรักษาป่าต้นน้ำนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจจะมีวิถีทางอีกหลายอย่าง ที่เพื่อนสมาชิกอาจจะเห็น ผมคิดว่าถ้าเราตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา เราจะได้มาคิดดูว่า ถ้าเราจะมีกองทุนรักษาป่าต้นน้ำเราจะเอาเงินมาจากหน่วยไหนบ้าง แล้วก็จะให้ คณะกรรมการกองทุนรักษาป่าต้นน้ำเขาทำอะไรบ้าง ผมก็อยากจะล้อเหมือนกองทุน สสส. มีเป็นคณะกรรมการระดับประเทศ ระดับจังหวัด โครงการต่าง ๆ เข้าไปสู่จังหวัด แล้วก็มาสู่ ระดับประเทศ แล้วก็จัดงบไปดูแล เพราะฉะนั้นผมจึงขอเสนอกองทุนรักษาป่าต้นน้ำนี้เข้าสู่ สภาเพื่อให้ทางสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณากำหนดแนวทาง วัตถุประสงค์ นโยบายในการตั้ง ข้อกฎหมายต่าง ๆ ตามข้อบังคับการประชุมสภา ข้อ ๔๙ และข้อ ๕๐ ก็ฝากให้ที่ประชุมได้พิจารณา ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญญัตติที่ ๒ ครับ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล สัดส่วนเครือข่ายชาติพันธุ์ ผมขอเสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการของระบบนิเวศในเขต ป่าต้นน้ำ ด้วยพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลกนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ด้วย
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นมาพื้นที่ป่าของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ ๓๑ ของพื้นที่ป่า ซึ่งพื้นที่ป่าต้นน้ำก็ลดลงไปด้วย แม้รัฐบาลจะพยายามมีนโยบายเพิ่มพื้นที่ป่า ให้ได้ร้อยละ ๕๕ ของพื้นที่ประเทศ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่สามารถที่จะดำเนินการให้เพิ่มขึ้นได้ สืบเนื่องจากปัญหาการดำเนินนโยบายบริหารจัดการป่าที่รวมศูนย์อำนาจและเกิดการทุจริต คอร์รัปชันที่หยั่งรากลึกลงในทุกองคาพยพของสังคมไทย ปัจจุบันรัฐบาลไทยมีเจ้าหน้าที่ ด้านป่าไม้จำนวนน้อย ไม่เพียงพอ โดยมีเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมกันประมาณ ๒๙,๐๐๐ คน เฉลี่ยแล้วเท่ากับคนหนึ่งจะต้องรับผิดชอบ พื้นที่ป่า ๓,๕๐๐ ไร่ ซึ่งเกินกว่าศักยภาพที่จะดูแลรักษาป่าของประเทศไทยได้จริง จำเป็นต้อง พัฒนากลไกและแนวทางใหม่เพื่อนำมาเสริมระบบการบริหารจัดการป่าโดยกลไกที่มีอยู่แล้ว ก็คือชุมชนท้องถิ่นที่ได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญในการรักษาผืนป่า เช่น การจัดการป่าชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด ๑๑,๓๒๗ แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๖.๒ ล้านไร่ นอกจากนี้ชุมชนที่อยู่ในเขตป่าจำนวนมากก็มีการจัดการไฟป่า ทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ อย่างแข็งขัน หากแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเท่าที่ควร ทุกวันนี้พวกเขาทำงาน ในลักษณะที่เป็นจิตอาสา ไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ทำให้ชาวบ้านขาดแรงจูงใจ ในขณะที่ฝ่ายคนที่ได้รับผลประโยชน์จากการดูแลรักษาป่าต้นน้ำของชุมชนที่อยู่ในเขตป่า เช่น คนที่อยู่ท้ายน้ำ นักท่องเที่ยว ชนชั้นกลาง ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแล ระบบนิเวศ เนื่องจากรัฐไม่ได้มีกลไกที่มาเอื้ออำนวย แนวทางการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ ประการหนึ่งที่หลายประเทศทั่วโลกยอมรับและนำไปปรับใช้ ก็คือ การจ่ายค่าตอบแทน การให้บริการของระบบนิเวศ หรือ PES เป็นรูปแบบในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ หลักการผู้ที่ได้รับประโยชน์เป็นผู้จ่ายให้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาระบบนิเวศและ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือผู้ทำหน้าที่อนุรักษ์ ซึ่งรูปแบบการได้รับผลตอบแทนอาจเป็นเงิน การลดหย่อนภาษี สิทธิประโยชน์อย่างอื่นเพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนดูแลรักษาพื้นที่ป่า ซึ่งหาก สามารถนำแนวทางนี้มาพัฒนาให้เป็นนโยบาย และสร้างกลไกร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำของประเทศไทยได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวนี้ตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการของ ระบบนิเวศป่าต้นน้ำ และส่งผลการพิจารณาให้รัฐบาลรับไปดำเนินการ โดยมีเหตุผลและ สาระสำคัญดังต่อไปนี้ ขอสไลด์ด้วยนะครับ นี่คือสภาพของประเทศไทยที่ยังคงมีพื้นที่ป่าอยู่ ๓๑ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วยังกระจุกอยู่ที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก แล้วก็ภาคใต้ ส่วนหลายภูมิภาคพื้นที่ป่าก็หายไป หรือเหลือน้อยลงไปแล้ว นี่คือลักษณะทางกายภาพของ ประเทศไทย ซึ่งตัวเลขที่ผมอยากจะให้เห็นก็คือปริมาณฝนโดยเฉลี่ยในแต่ละปี จากภาพเดิม เมื่อสักครู่นี้ พื้นที่ป่าจะอยู่ทางเขตภูเขา ไม่ว่าจะเป็นทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก แต่ปริมาณ ฝนเฉลี่ย ในพื้นที่ป่า พื้นที่ที่อยู่บนภูเขามีปริมาณฝนโดยเฉลี่ยน้อยกว่าพื้นที่ราบ พื้นที่ที่อยู่ ติดทางทะเล อย่างเช่นพื้นที่ภาคเหนือมีพื้นที่ป่าเยอะที่สุด มีปริมาณฝนด้วยเฉลี่ย ๑,๒๓๐ มิลลิเมตรต่อปี ในขณะที่ภาคอีสานมีฝนโดยเฉลี่ย ๑,๔๐๔ มิลลิเมตรต่อปี โดยเฉพาะ พื้นที่ทางภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนโดยเฉลี่ยเยอะที่สุด นี่มันก็แสดงให้เห็นว่าการที่เราไป ดูแลพื้นที่ที่มีป่าหรือว่าพื้นที่ที่อยู่ในเขตต้นน้ำอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่วิธีการที่จะทำให้ประเทศ ไทยมีน้ำใช้โดยเฉลี่ยเพียงพอกับทุกพื้นที่ สิ่งที่ผมอยากจะให้ทำความเข้าใจไปด้วยกัน ก็คือว่า น้ำที่ผุดขึ้นมาจากตาน้ำจะมีมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับปริมาณฝนที่ตกลงมา แล้วก็ศักยภาพ ในการกักเก็บ อันต่อไปคือน้ำย่อมไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ น้ำจากฝนที่ตกในที่ราบไม่อาจขึ้นไป ผุดตรงตาน้ำที่อยู่บนภูเขาได้ เพราะฉะนั้นต่อให้ฝนที่ตกอยู่ในพื้นที่ราบมากเพียงใด ถ้าไม่มี การกักเก็บน้ำที่มาจากพื้นที่ต้นน้ำอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการต่อไปก็คือ พื้นที่ภูเขาที่มีป่ามากกว่าแต่ปริมาณฝนน้อยกว่าพื้นราบ อันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่เราต้องนำมาพิจารณา ส่วนใหญ่พื้นที่ในประเทศไทยไม่ได้มีแหล่ง กักเก็บน้ำที่เพียงพอ พื้นที่ที่มีการใช้น้ำจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ ไม่ได้มีแหล่งกักเก็บน้ำที่เพียงพอ น้ำจากป่าต้นน้ำอย่างเดียวจึงไม่ได้เพียงพอต่อการใช้จริง เพราะว่าปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ป่าต้นน้ำมันก็เป็นจำนวนที่น้อยอยู่ ไม่ได้เพียงพอต่อ ความต้องการ อย่างไรก็แล้วแต่ อย่างไรก็แล้วแต่ในเมื่อสังคมไทยเรายังไม่ได้มีระบบการกักเก็บน้ำที่เพียงพอ การดูแลรักษา พื้นที่ป่าต้นน้ำเพื่อให้มีน้ำในการหล่อเลี้ยงก่อน จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นแล้วก็มีความสำคัญ อย่างยิ่ง ทีนี้ในการดูแลรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำใครเป็นคนดูแล แล้วเราเอางบมาจากที่ไหน ในทางกฎหมาย แน่นอนครับ หน่วยงานรัฐเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการดูแลโดยกฎหมายอยู่แล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งที่เราพูดถึงค่อนข้างที่น้อยก็คือในทางปฏิบัติแล้วชาวบ้านมีบทบาทในการดูแล รักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำอย่างมาก โดยเฉพาะมีชุมชนที่อยู่ในเขตป่าจำนวนมากที่เป็นชุมชนที่อยู่ ใกล้ชิดป่าแล้วก็ทำหน้าที่ในการดูแลจัดการป่า ดูแลรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำให้แก่สังคมไทยอยู่ หมู่บ้านที่มีป่าชุมชน ซึ่งเป็นบทบาทของชุมชนที่มีความสำคัญอย่างมากในการดูแลพื้นที่ ป่าต้นน้ำ มีอยู่ทั้งหมด ๑๒,๐๐๐ ชุมชน ดูแลป่าของประเทศนี้อยู่ ๖.๒ ล้านไร่ด้วยกัน นอกจากนี้ก็ยังมีชุมชนที่อยู่ในเขตอุทยาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นป่าที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้น ๑ ชั้น ๒ มีประชาชน ๔,๐๐๐ กว่าหมู่บ้าน รวมพื้นที่กว่า ๔.๒ ล้านไร่ นี่เฉพาะที่ดินทำกินของชุมชน ที่อยู่ในเขตอุทยานด้วย ทีนี้มาดูอัตรากำลัง เปรียบเทียบให้เห็นนะครับ ถ้าเป็นพื้นที่ป่าที่ดูแล โดยหน่วยงานรัฐเฉลี่ยแล้วก็จะเท่ากับคนละ ๓,๕๐๐ ไร่ อันนี้คือเรานับทั้งหมด แต่ถ้านับ เฉพาะเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการจริง ๆ ก็อยู่ที่ประมาณ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ไร่ต่อคน ในขณะที่ ป่าชุมชน ชุมชนเป็นคนดูแล เฉลี่ยแล้วชุมชนหนึ่งก็เท่ากับ ๙๐๐ ไร่ ทีนี้ก็จะเห็นว่าชุมชน แม้จะดูแลป่าในขนาดที่เล็กกว่า แต่ก็เป็นป่าที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ที่ชุมชนเขาใช้ประโยชน์อยู่ การที่ชุมชนหนึ่ง ๆ ดูแลป่าในขนาดที่ไม่ได้ใหญ่มาก นี่จึงทำให้ ศักยภาพในการดูแลมีมากกว่า งบประมาณที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการป่า หน่วยงานรัฐ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในกรมป่าไม้หรือว่ากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็แล้วแต่ มีงบประมาณในการฟื้นฟูป่าเฉลี่ยปีละประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี อันนี้เรานับ เฉพาะในป่าชุมชนที่ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาลอยู่นะครับ งบประมาณในการ ส่งเสริมการดูแลป่าชุมชนอยู่ที่ประมาณ ๖๐ ล้านบาททั่วประเทศ เพราะฉะนั้นในกรณีทั่วไป การดูแลป่าของชุมชนจึงเป็นการดูแลแบบจิตอาสา อาสาตัวเองเข้าไปทำเอง ป่าต้นน้ำ มีความสำคัญอย่างแน่นอน แล้วเราจะทำอย่างไร มีปัญหาอยู่ ๒-๓ ประการ ทุกวันนี้ หน่วยงานรัฐมีงบประมาณ แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่สามารถดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วที่เป็นปัญหาซ้อนเข้ามาก็คือ เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน เมื่อ ๒ ปีที่แล้วที่เกิดข่าวดัง มีหน่วยงานหนึ่งที่เกิดการทุจริต ก็คือหน่วยงานด้านป่าต้นน้ำ ทุกวันนี้ชุมชนจำนวนมาก ดูแลป่าแต่ว่าไม่ได้รับสิ่งตอบแทน ไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอย่างเดียวก็เป็นปัญหาอยู่แล้ว แต่ที่ เป็นปัญหาหนักกว่านี้ก็คือยังต้องเผชิญกับผู้มีอิทธิพล คนที่จ้องจะมาตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ ที่ชุมชนดูแลอยู่
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการต่อไปก็คือ ถ้าหากชุมชนต้องลดพื้นที่ในการเพาะปลูกหรือว่า จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินเพื่อจะเพิ่มพื้นที่ในการดูดซับน้ำ พวกเขาจะได้รับอะไร ตอบแทน นี่ก็เป็นโจทย์สำคัญที่จะนำไปสู่การจัดตั้งกองทุนหรือว่ากลไกในการดูแลรักษาป่า แล้ว Trend ในสังคมโลกเขาไปถึงตรงไหนแล้ว อย่างไร ในสังคมโลกยอมรับแล้วก็ส่งเสริมให้ ชุมชนดูแลรักษาป่าในท้องถิ่นของตัวเอง ยกตัวอย่างให้เป็นรูปธรรม ปฏิญญาว่าด้วยการป่าไม้ และการใช้ที่ดินของผู้นำกลาสโกว์ (Glasgow) ในการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ ๒๖ หรือที่เราเรียกว่า COP26 ในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมระดับนานาชาติได้ให้การยอมรับอย่างเป็นทางการว่าชุมชน ท้องถิ่น โดยเฉพาะชนเผ่าพื้นเมืองมีบทบาทอย่างสำคัญในการดูแลรักษาป่าของโลก แล้วที่ สำคัญได้ร่วมกันที่จะจัดตั้งกองทุนที่สนับสนุนให้แก่ชุมชนท้องถิ่นในการดูแลรักษาป่าให้เกิด ความยั่งยืนด้วย นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในการสร้างกลไกที่เข้ามาช่วยเสริมรัฐ ในการดูแลรักษาป่าโดยเฉพาะป่าต้นน้ำอย่างมีส่วนร่วม ก็คือการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ ผู้ที่ดูแลรักษาป่า ก็คือการจ่ายค่าตอบแทนในการดูแล หรือที่เราเรียกว่าการจ่ายค่าตอบแทน ในการให้บริการของระบบนิเวศ ซึ่งก็เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการจัดสรร งบประมาณตอบแทนให้แก่ชุมชนที่ดูแลรักษาป่าอยู่ มีตัวอย่างจากต่างประเทศที่ได้ ดำเนินการแล้วอย่างเป็นรูปธรรม อย่างเช่นที่ประเทศคอสตาริกาก็ได้ทำกิจกรรมในการ ปลูกป่าทดแทน คือให้ชุมชนปลูกป่าทดแทนโดยที่ได้รับประโยชน์ เอกชนเจ้าของที่ดินที่อยู่ ต้นน้ำก็ได้รับประโยชน์จากการที่เอาที่ดินของตัวเองไปปลูกป่า หรือไปปลูกป่าในพื้นที่ที่เป็น ป่าแล้วก็ไปดูแล ที่ประเทศออสเตรเลียก็มีการปลูกป่าทดแทน โดยที่เขาได้รับประโยชน์จาก รัฐบาล แล้วก็จากคนที่ใช้น้ำด้วย ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีการอนุรักษ์ดิน ก็คือเป็นการใช้ ที่ดินที่สร้างพื้นที่สีเขียวด้วย ที่ดินก็ยังเป็นของเกษตรกร แต่มีการปลูกต้นไม้หรือมีการใช้ที่ดิน ที่ป้องกันการกัดเซาะพังทลายของหน้าดิน โดยสิ่งที่เขาได้รับก็คือรัฐบาลอุดหนุนงบประมาณ ลงมาเพื่อที่จะทำให้ชุมชน ให้ชาวบ้านสามารถที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการเพาะปลูกของ ตัวเองที่ไม่ทำลายระบบนิเวศ อย่างนี้เป็นต้น ที่ใกล้เคียงกับประเทศเรามากขึ้น ก็คือที่ ประเทศอินโดนีเซีย ก็ได้ทำการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ สิ่งที่ชาวบ้านได้รับก็คือเกษตรกรผู้ปลูกป่าเขา ก็จะได้รับลักษณะที่เป็นงบประมาณมาสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ชุมชน ให้ชาวบ้านที่เขา เอาที่ดินของตัวเองไปปลูกป่าหรือเขาไปฟื้นฟูป่า โดยรัฐบาลสนับสนุนเข้ามา แล้วเงินที่ได้มา อันนี้เป็นตัวอย่างที่สำคัญว่าคนที่จ่ายให้ก็คือบริษัทผลิตน้ำประปาในระดับท้องถิ่นเป็นคน จ่ายให้ อันนี้ก็จะทำให้เห็นได้ว่าเงินหรือกองทุนที่เอามาใช้สนับสนุน หรืออุดหนุนให้แก่ชุมชน ที่เขาพยายามที่จะรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำอยู่ ไม่ว่าจะมาจากรัฐหรือมาจากเอกชนผู้ใช้น้ำ หรือเราเรียกว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการดูแลรักษาป่า
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ทีนี้การฟื้นฟูป่าต้นน้ำจะทำได้อย่างไร ก็คงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนพอสมควร การยึดที่ดินของชาวบ้านมาปลูกป่า กับการปลูกป่าในพื้นที่ป่า ๒ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ควร เกิดขึ้นแล้ว ผมขอรวมถึงการปลูกป่าในพื้นที่ป่าด้วย ด้วยระบบนิเวศของประเทศไทย เราเป็นระบบนิเวศที่ป่าฟื้นเองได้ การเอางบประมาณไปปลูกป่าก็เท่ากับการเอาเงินไป ละลายกับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ทีนี้แนวทางที่พอจะเป็นไปได้ ที่เป็นรูปธรรมด้วยก็คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ที่ดิน จากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวอาจจะเปลี่ยนมาเป็น การท่องเที่ยว อันนี้คือตัวอย่าง การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเพาะปลูก อาจจะเปลี่ยนจากไร่ ข้าวโพดมาเป็นไร่กาแฟ การจัดการไฟป่า การจัดการป่า รวมทั้งการดูแล แล้วก็ป้องกัน การบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ รวมทั้งเรื่องของการทำสัญญาให้ชาวบ้านปลูกป่าในที่ดิน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการตอบแทน ซึ่งประการสุดท้ายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ แต่สิ่งที่มี ความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดจะทำให้คนยอมที่จะเอาที่ดินของตัวเองไปปลูกป่าได้ก็ต้อง มีหลักประกัน ไม่ว่าจะเป็นหลักประกันเรื่องรายได้กับหลักประกันเรื่องสิทธิในที่ดินที่ต้อง ไม่สูญเสียไปด้วย แล้วก็กลไกส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ ผมอาจจะไม่ใช้คำว่า กองทุน โดยตรงนะครับ แต่ผมจะเรียกว่าเป็นกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลจัดการ ป่าต้นน้ำในส่วนของหน่วยงานรัฐ ผมคิดว่ามีงบประมาณจากหน่วยงานรัฐที่เพียงพออยู่แล้ว อยู่ที่ว่าจะบริหารจัดการอย่างไร ผมอยากจะให้ความสำคัญกับกลไกนี้ในการสนับสนุนชุมชน แล้วก็องค์กรเอกชนที่พวกเขาทำงานแบบจิตอาสา ต้องหางบประมาณมาทำกันเอง รัฐควรมี กลไกทั้งกลไกเรื่องของการให้สิทธิหรือว่าให้อำนาจให้แก่ชุมชนหรือเอกชนที่เขาทำหน้าที่ ดูแลป่า เขามีสิทธิ มีอำนาจตามกฎหมาย และประการที่ ๒ ก็คือ กองทุนหรืองบประมาณ ที่จะเอาเข้ามาสนับสนุนให้ชุมชนในการดูแลรักษาป่าของเขา ทีนี้งบประมาณจะมาจาก ตรงไหน แน่นอนครับ การอุดหนุนจากหน่วยงานรัฐ นี่เป็นสิ่งที่สามารถทำได้อยู่แล้ว จากตัวอย่างที่ผมยกให้ฟังเมื่อสักครู่ว่า ระหว่างนี้กรมป่าไม้ได้ตั้งงบประมาณในการอุดหนุน ชุมชนที่ดูแลรักษาป่าชุมชนอยู่ที่ประมาณ ๖๐ ล้านบาทต่อปี ทีนี้มันก็ทำให้เห็นได้ว่า การจัดตั้งกองทุนหรือการอุดหนุนเงินจากรัฐเป็นสิ่งที่เป็นไปได้แล้วก็มีการทำไปแล้ว เพียงแต่ จะทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากไปกว่านี้ ประการที่ ๒ ก็คือการจ่ายจากผู้ที่ได้รับประโยชน์ จากการดูแลรักษาระบบนิเวศ อาจจะเป็นผู้ใช้น้ำ หรือโรงงาน หรือคนที่อยู่ท้ายน้ำ คนที่ ได้รับประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นทางใดก็แล้วแต่ จากการที่ชุมชนที่อยู่บนพื้นที่ต้นน้ำเขาใช้กำลัง ใช้ทรัพยากรของตัวเองในการดูแลรักษาป่าอยู่ ซึ่งเราเรียกว่าการจ่ายเป็นค่าบริการทางนิเวศ ของผู้ที่ได้รับประโยชน์ อันนี้ก็จะเป็นคำที่ใช้กัน เหล่านี้ก็เป็นเหตุผลที่ผมคิดว่ามันมี ความจำเป็นที่สังคมไทยเราจำเป็นจะต้องส่งเสริม สนับสนุนให้แก่ชุมชนที่เขาดูแลรักษาป่า อยู่แล้วให้เขาดูแลรักษาป่าของตัวเองต่อไป รวมทั้งเป็นการจูงใจให้แก่ชุมชนที่อยู่บนพื้นที่ป่า อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำที่เขาอยากจะจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำของตนเอง มีศักยภาพหรือมีงบประมาณ ในการมาสนับสนุนให้เขาสามารถทำกิจการได้จริง ไม่ใช่เพียงรอให้ชาวบ้านอาสาเข้ามาทำ อย่างเดียว การทำเพียงแบบจิตอาสาไม่ได้มีความยั่งยืน แล้วก็ไม่สามารถที่จะคาดหวังอะไร ได้ด้วย ขอบคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านมานพ คีรีภูวดล ครับ
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์และ ชนเผ่าพื้นเมือง ท่านประธานครับ ผมขอสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกล แล้วก็พรรคเพื่อไทยว่าด้วยเรื่องของการดูแลป่าต้นน้ำ ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นกองทุนก็ได้ จะเรียกว่าการสนับสนุนให้บริการระบบนิเวศป่าต้นน้ำก็แล้วแต่ แต่ทั้งหมดนี้มีเจตนาคือว่า ทำอย่างไรให้ต้นน้ำมีความสมบูรณ์ ต้นน้ำมีคนดูแล ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ นอกจากมีหน้าที่ ดูแลป่าแล้วเขายังมีทรัพยากรดูแล ผมคิดว่าโดยเจตนาโดยรวมประมาณนี้ ผมขอสนับสนุน ญัตติให้มีการตั้งกรรมาธิการในญัตตินี้เพื่อที่จะศึกษาในรายละเอียด ผมคิดว่าประเด็นสำคัญ มีอยู่หลายเรื่องครับท่านประธาน ไม่ว่าเรื่องความจำเป็นในพื้นที่ ๒. ก็คือคนที่เกี่ยวข้อง ๓. คือกองทุนและที่มาของกองทุน ผมพยายามจะลงรายละเอียดทีละประเด็นครับ ท่านประธาน ประเทศไทยมีอยู่ ๓๒๐ ล้านไร่ ข้อมูลที่ผมจะพูดต่อไปอาจจะซ้ำกับ ท่านสมาชิกทั้ง ๒ ท่าน แต่เนื่องจากว่าเป็นข้อมูลที่มีความจำเป็น บางประเด็น ข้อมูลบางตัว อาจจะต้องซ้ำครับท่านประธาน
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๓๒๐ ล้านไร่วันนี้เรามีป่าเหลืออยู่ ประมาณ ๓๑ เปอร์เซ็นต์ ท่านประธานครับ ๓๑ เปอร์เซ็นต์นี้เกิน ๘๐ เปอร์เซ็นต์เป็นป่า ต้นน้ำทั้งหมด ผมจะยกตัวอย่างอย่างนี้ครับท่านประธาน อันนี้แผนที่ของกรมป่าไม้ ในพื้นที่ จำนวนป่าชุมชน ป่าชุมชนที่ได้รับการอนุมัติแล้วตาม พ.ร.บ. ป่าชุมชนที่อยู่ตอนนี้ ๑,๒๐๐ กว่าหมู่บ้าน ซึ่งหมายความว่าชุมชนที่อยู่ในเขตป่าสงวนที่จัดตั้งป่าชุมชนแล้วคือ ๒๒,๐๐๐ กว่าหมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ หมายถึงเขตอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ ตามความหมายของกฎหมายอื่น ๆ มีไม่ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ ชุมชน เพราะฉะนั้นตัวเลขและ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่าการที่จะให้มีกองทุน หรือว่าการที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ ดูแลรักษาป่าตรงนี้ ชุมชนในประเทศไทยนี้อยู่มาก่อนที่กฎหมายประกาศจำนวนเยอะมาก มีอุทยานแห่งชาติแห่งเดียวคืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ไม่มีประชาชนอยู่ นอกนั้นอุทยาน ทั้งหมด เขตอนุรักษ์ทั้งหมด เขตป่าสงวนทั้งหมด ประชาชนอยู่มาก่อนแล้วทั้งนั้น ท่านประธานครับ สิ่งที่ผมอยากจะบอกกับท่านประธานอีกเรื่องหนึ่งก็คือว่า ในอำนาจหน้าที่ การดูแลรักษาป่านี้ครับท่านประธาน ใน พ.ร.บ. ด้านทรัพยากรป่าไม้ทั้งหมดเขาเขียนระบุว่า หน้าที่เป็นเจ้าพนักงาน เพราะฉะนั้นคือประชาชนที่ยังรักษาป่า ยังดูแลป่า ยังลุกขึ้นทำ แนวกันไฟ ทำฝาย เฝ้าระวังไม่ให้ใครบุกรุก มันคือหม้อข้าวหม้อแกงของเขาครับ ท่านประธาน มันคือชีวิตของเขา เพราะเขาอยู่ก่อนที่กฎหมายจะประกาศ เขาอยู่ก่อนที่ เจ้าพนักงานจะเข้ามาถึง ประชาชนเขามองว่าตรงนี้คือชีวิตและเป็น Supermarket เขาจึง รักษา แต่ว่าได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นระบบและทางการหรือไม่ ต้องตอบว่า ไม่ครับ ท่านประธาน อันนี้ข้อเท็จจริง สิ่งที่ผมอยากจะบอกกับท่านประธานอีกเรื่องหนึ่งว่าพื้นที่ป่า เท่าที่มีอยู่ตอนนี้ครับท่านประธาน ผมเชื่อมั่น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ วันนี้ประชาชนก็ไม่ใช่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นะครับ ไม่ใช่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ที่จะมีเจตนาหรือจะมีเป้าหมายที่จะดูแลป่า แต่ผมเชื่อว่าถ้าเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม เป็นชุมชนที่อยู่กับป่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เขาปกป้องป่าของเขา เขาปกป้องทรัพยากรของเขา เพราะมันเป็นชีวิตของเขา กฎหมาย จะสั่งให้ทำ ไม่ทำ เขาไม่รู้ แต่เขารู้เพียงว่าอันนี้คือป่าของเขา
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ผมอยากจะให้เห็นผู้คน และคนที่เกี่ยวข้องกับป่า ผมอยากให้สื่อ ออกรูปที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ดำเนินการ นี่คือสภาพของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่เป็นลูกจ้างระดับล่าง ที่สุดนะครับท่านประธาน บางคนก็ไม่ใช่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ เป็นลูกจ้างเหมา ตามโครงการ แต่คนเหล่านี้ที่ทำหน้าที่รักษาปกป้องป่าอยู่กับพี่น้องประชาชน ส่วนใหญ่ ซีสูง ๆ ไม่ได้ลงอย่างนี้ครับท่านประธาน ส่วนใหญ่จะไปเฝ้าสนามบินต้อนรับเจ้านายมา พาเจ้านายไปกินข้าว ก็จะเป็นลักษณะอย่างนี้ครับ แต่คนเหล่านี้จำนวนมากทำไมเราไม่เพิ่ม สวัสดิการให้เขา เงินกองทุนว่าด้วยกองทุนที่มันมีอยู่ เฉพาะกองทุนอุทยานปีหนึ่งประมาณ เกือบ ๓,๐๐๐ ล้านบาททำไมไม่ดูแลคนเหล่านี้ คนเหล่านี้ค่าเฉลี่ยนะครับ เมื่อสักครู่ เพื่อนสมาชิกอภิปรายไว้แล้ว คนเหล่านี้จำนวน ๑ คนต้องดูแลป่าประมาณ ๖,๐๐๐ ไร่ครับ ท่านประธาน ๑ คน ๖,๐๐๐ ไร่ และไม่ใช่ ๒๔ ชั่วโมงด้วย เพราะฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้น คือว่าอย่างไรก็ตามแต่เราต้องการให้ป่าต้นน้ำ ป่าทุกประเภทมีความสมบูรณ์ แต่ขณะเดียวกันเราไม่มีทางที่จะเพิ่มบุคลากรให้มันเยอะกว่านี้ เรามีข้อจำกัดเรื่อง งบประมาณ จึงมาเป็นเรื่องที่ ๒ ครับท่านประธาน เป็นเรื่องของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ เอาข้อกฎหมายที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ เอาข้อเท็จจริงที่เป็นประชาชนผสมกัน Integrate กัน ให้มันเป็นเรื่องเดียวกัน ผมอยากให้ดูคลิปที่ ๒ ผมไปทำทุกปีครับท่านประธาน ผมรู้กับ พี่น้องประชาชน เราจะเห็นว่ากระบวนการของประชาชนแสดงออกได้หลายรูปแบบครับ ท่านประธาน อย่างตัวอย่างนี้ผมไปร่วมทำแนวกันไฟ เราก็จะทำทุกปีครับ หลายคนถามว่า ทำแนวกันไฟป้องกันไฟได้หรือ ถ้าคนไปจุดไฟนอกแนวกันไฟหรือในแนวกันไฟมันป้องกัน ไม่ได้ครับท่านประธาน แต่แนวกันไฟตรงนี้มันหมายถึงประชาชนได้แสดงออกถึงสิทธิว่าอันนี้ คือเป็นป่าของข้าพเจ้า อันนี้คือเป็นมรดกของหมู่บ้าน ผู้ใดจะมาทำลาย ผู้ใดจะมาจุดไฟเผา ผู้ใดจะมาลักลอบตัดไม้เป็นไปไม่ได้ครับ ประชาชนจึงแสดงออกถึงการมีกระบวนการ วิธีการ ไม่ว่าจะบวชป่า ไม่ว่าจะทำแนวกันไฟ ไม่ว่าจะปลูกป่า ไม่ว่าจะไปดับไฟป่า หรืออื่นใด ก็ตามแต่ที่เป็นกิจกรรมที่สื่อถึงว่าป่านี้เป็นป่าของประชาชน ท่านประธานทราบไหมครับ เมื่อสักครู่ผมบอกว่าป่าอนุรักษ์มีไม่ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ หมู่บ้าน วันนี้ป่าชุมชนที่จัดตั้งแล้ว ไม่ต่ำกว่า ๑๒,๐๐๐ หมู่บ้าน ๒ เรื่องนี้ในส่วนของกลไกรัฐเขาจะมีงบอยู่ ในส่วนประชาชน ตามมีตามเกิดครับท่านประธาน บางที อบต. ก็ให้ บางทีประชาชนก็ไปขอที่อื่น เราจำเป็น จะต้องมีกองทุนก็ได้ หรือว่าทรัพยากรที่เราเรียกว่างบประมาณที่สนับสนุนก็ได้ มาสนับสนุน ตรงนี้ครับ แล้วมาจัดกลไกให้ทั้งภาครัฐแล้วก็ภาคประชาชน ที่เราเรียกว่าการจัดการแบบ มีส่วนร่วมไปอยู่ในเงื่อนไขตรงนี้ครับ
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ เราเห็นตัวละครแล้ว ๒ กลุ่ม คือ ๑. เจ้าหน้าที่รัฐตาม พ.ร.บ. ๒. คือประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ประเด็นที่ ๓ เป็นเรื่องของการได้มาว่าด้วยเรื่องของกองทุน ผมอยากจะบอกอย่างนี้ก่อน พรรคก้าวไกลตอนที่เราเสนอนโยบาย แล้วผมก็ได้หาเสียง ด้วยว่า กรณีไฟป่า หมอกควัน แล้วก็สิ่งแวดล้อม และการรักษาป่า ชุมชนไหน พื้นที่ไหน ที่มีป่า เราสนับสนุนเลยตำบลละ ๓ ล้านบาทเป็นเบื้องต้น แล้วก็ดูว่าป่าไหน พื้นที่ไหน ตำบลไหนที่ป่าเยอะอาจจะเพิ่ม ถามว่าเอางบประมาณตรงนี้มาอย่างไร เราควรจะมีกองทุน เราควรจะมีงบประมาณลงไปในพื้นที่เลย ไม่ต้องมาไว้ที่ส่วนกลาง คนส่วนกลางมันจะรู้เรื่อง เกี่ยวกับพื้นที่ได้อย่างไร แต่เรามีงบกลางให้กับระดับตำบล เขาจะไปรักษาป่า ทำแนวกันไฟ จะปลูกป่า ไปสร้างจิตสำนึก จะไปจัดการอะไรก็ได้ แต่ว่าโดยเป้าหมายผลผลิตสุดท้ายก็คือว่า ป่าสมบูรณ์ คนมีความเข้มแข็ง ป่าและคนอยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืน เราต้องการตรงนี้ครับ เพราะฉะนั้นคือหน่วยของกองทุน หรือหน่วยของการบริการป่าต้นน้ำ หรือการตอบแทน ตรงนี้ผมคิดว่าหน่วยเล็กที่สุดต้องอยู่ที่ตำบล เพราะฉะนั้นคือกรณีที่พรรคก้าวไกลเสนอ ตอนหาเสียงคือว่าเราอยากจะมีงบประมาณเรื่องนี้สนับสนุนไปพื้นที่ ตำบลละ ๓ ล้านบาท ผมคิดว่าอันนี้คือรูปธรรมที่เราเสนอ ทีนี้มาถึงประเด็นว่าแล้วจะเอาเงินที่ไหน ก็เงินที่ผมว่า เมื่อสักครู่นี้ก็คือ ๓ ล้านบาท แต่ว่าที่มาของเงินผมคิดว่าได้เยอะมาก กรณีเรื่อง PES ที่ ท่านสมาชิกได้อภิปรายไปแล้วว่าการตอบแทนคุณนิเวศ อันนี้ก็ต้องไปคิดมาครับ เงินตรงนี้ มันจะมาได้อย่างไร การตอบแทนคุณนิเวศมีหลากหลายรูปแบบมาก หรือแม้กระทั่งเรื่องของ บริษัทเอกชนที่ทำเกี่ยวกับกิจกรรมเรื่องการลดภาษี ผมจำชื่อไม่ได้ครับท่านประธาน อันนี้ ก็ทำได้ แต่ว่าต้องมาสู่กระบวนการกลาง แล้วก็นำไปสู่กระบวนการกระจายให้พื้นที่ได้รับ งบประมาณ หรือแม้กระทั่งกองทุนที่มันมีอยู่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกองทุนของกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กองทุนสิ่งแวดล้อมที่ท่านสมาชิกได้กล่าวมา หรือกองทุนอื่น ๆ ที่นำไปสู่การสามารถที่จะกองไว้ กองไว้แล้วก็ต้องกระจายลงพื้นที่ สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่จะ ทำให้การพัฒนาในพื้นที่มีความหมายและมีชีวิตกับพี่น้องประชาชน ที่มาของกองทุน อีกเรื่องหนึ่งโดยตรงกับพี่น้องประชาชนเลยครับ ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นตัวอย่าง แล้วผม เพิ่งกลับมาจากที่จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอม่อนแจ่ม เขามีกิจกรรมท่องเที่ยว วันนี้ป่าของ ม่อนแจ่ม พี่น้องม่อนแจ่มดูแลรักษาป่า พื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น เขามีรายได้ทุกส่วนจาก การท่องเที่ยวและเขาก็เก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ วันนี้ม่อนแจ่มมีกองทุนเกี่ยวกับเรื่องชุมชนและ รักษาป่า ๓ ล้านบาทครับ เพราะฉะนั้นที่มาของกองทุนก็มาจากตัวป่าของประชาชน เขาจะ จัดกิจกรรมการท่องเที่ยว เขาจะจัดศึกษาดูนก เขาจะทำเกี่ยวกับอะไรก็ตามแต่ เกี่ยวกับ เรื่องของการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เงินรายได้ที่มาจากประชาชน ประชาชนก็หักเปอร์เซ็นต์ และมาทำเป็นกองทุน อันนี้ก็เป็นที่มาครับ แต่วันนี้ปัญหาก็คือว่าการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน วันนี้ข้อกฎหมายใหญ่ ไม่ว่าแต่ละตัว พ.ร.บ. ที่มันมีอยู่ การเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชน ดำเนินการอย่างจริงจังและมีการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ อันนี้ยังไม่เกิด พื้นที่แต่ละพื้นที่ พยายามจะพัฒนาศักยภาพตัวเองเพื่อที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยทางอ้อม แต่ทำยากมาก มีการช่วงชิง พี่น้องที่อำเภอปายที่บ้านน้ำฮู พี่น้องชาวลีซูจะพัฒนาบ่อน้ำร้อนตัวเองก็ทำไม่ได้ กฎหมายบอกว่า ๑ ๒ ๓ ๔ แต่สุดท้ายวันนี้เจ้าหน้าที่รัฐให้กับเอกชนดำเนินการ ท่านประธาน เห็นไหมว่าตัวทรัพยากรที่อยู่ใกล้กับพี่น้องประชาชน วันนี้เป็นของพี่น้องประชาชนจริง หรือเปล่า หรือเป็นของคนอื่น หรือรักษาไว้ให้กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผมคิดว่าเรื่องนี้ถ้าเราจะ ระดมว่าที่มาของกองทุนหรืองบประมาณสนับสนุนต่าง ๆ มันได้ครับ ขอให้มันมีเครื่องมือ ขอให้มีอำนาจ และสุดท้ายขอให้มันอยู่ในพื้นที่ก็คือ อบต. หรือเทศบาล
นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย สิ่งที่ผมอยากจะนำเรียนท่านประธาน แล้วก็เพื่อนสมาชิก ในห้องประชุมนี้ว่าการที่จะให้ป่าและคนอยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืน ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่พิสูจน์ ได้แล้ว ท่านประธานมีเวลาว่างไปกับผมครับ ที่บ้านห้วยหินลาดใน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ชุมชนรักษาป่าและทำไร่หมุนเวียน เป็นหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลระดับโลกครับ ท่านประธานไปกับผมครับ ที่บ้านกลาง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นชุมชนกะเหรี่ยง ที่อยู่มานานมากแล้วครับ เขารักษาผืนป่าและมีกองทุนของตัวเอง ท่านประธานอยากจะไป ที่ไหน ที่ชุมชนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืนและบริหารจัดการได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ ท่านประธาน บอกผมครับ ผมจะพาไป สุดท้ายผมไม่ได้หมายความว่าชุมชนทุกชุมชนจะมีความเข้มแข็ง แต่ว่าการมีกองทุนและกระบวนการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการ ที่สำคัญและมีความหมายที่จะทำให้ทั้งคนและป่าอยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืน ขอบคุณครับ ท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปท่านศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ครับ
นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ กาญจนบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ ผม นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย ผมเห็นด้วยกับญัตติของเพื่อนสมาชิกของพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลที่ได้เสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการตั้งกองทุนรักษา ป่าต้นน้ำ หรือจะตั้งกองทุนใด ๆ อะไรก็ตาม แต่เป้าหมายก็คือการที่จะอนุรักษ์ไว้ซึ่งป่าต้นน้ำ ป่าต้นน้ำตามนิยามก็คือ ป่าที่อยู่บนพื้นที่สูงที่มีความต่างจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๗๐๐ เมตรขึ้นไป และเป็นพื้นที่ที่มี Slope หรือมีความลาดชัน ๓๕ เปอร์เซ็นต์
นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ กาญจนบุรี ต้นฉบับ
เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็น พื้นที่บนภูเขาสูง นอกจากนี้ตามมติคณะรัฐมนตรีของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดิมยังกำหนดว่าป่าต้นน้ำต้องอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้น ๑ และชั้น ๒ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันนี้ประเทศไทยมีป่าอยู่ประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศ แต่แยกเป็นป่าต้นน้ำ สักประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ เพราะฉะนั้นจะเห็นว่ามีป่าในพื้นที่ราบอยู่ประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ อีก ๒๐ เปอร์เซ็นต์เป็นป่าต้นน้ำ อย่างเช่น ป่าดิบเขาหรือป่าดิบชื้น ป่าต้นน้ำ มันทำหน้าที่อะไรครับ มันทำหน้าที่ช่วยให้ฝนตก ป่ามันมีความชุ่มชื้นมันทำให้ฝนตก เมื่อฝนตกลงมาแล้ว มันยังทำหน้าที่แบ่งน้ำออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ ที่เป็นน้ำท่า น้ำท่า หมายถึงว่าน้ำที่ไหลลงไปห้วย หนอง คลอง บึงเลย แต่มันจะไหลอย่างช้า ๆ เพราะมันมีต้นไม้ มีกิ่งไม้ มีรากไม้ที่ชะลอน้ำไม่ให้ไหลอย่างรวดเร็ว น้ำอีกส่วนหนึ่งก็จะถูกแบ่งลงไปสู่ ใต้ดิน หรือพวกเราเรียกว่าน้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดินลงไปตามรากโคนต้นไม้ นอกจากนี้ต้นไม้ยัง ทำหน้าที่ไม่ให้เม็ดฝนที่ตกลงมาอย่างแรงหรือเบาก็ตาม ไม่ไปทำลายเม็ดดินให้ไหลบ่าลงมา ในห้วย หนอง คลอง บึง เพราะฉะนั้นเม็ดดินมันจะถูกยึดไว้ด้วยรากไม้ เม็ดฝนที่ตกลงมา ถ้าไม่มีรากไม้ ไม่มีต้นไม้ จะทำให้ดินแน่น ดินก็จะไม่มีปุ๋ย ไม่มี Humus เพราะฉะนั้นต้นไม้ หรือป่าต้นน้ำมันมีมูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ในพื้นที่ ๑ ไร่ ป่าต้นน้ำสามารถที่จะเก็บน้ำได้ ๗๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อ ๑ ไร่ เพราะฉะนั้นป่าต้นน้ำจึงมีความสำคัญอย่างมหาศาล แต่วันนี้ ป่าต้นน้ำเราถูกบุกรุก ถูกทำลายไปเป็นจำนวนไม่น้อยเลย การที่ป่าต้นน้ำถูกทำลายไป สิ่งแรกที่ทำให้ระบบนิเวศของป่าต้นน้ำเสีย เมื่อระบบนิเวศเสีย ความสมดุลของธรรมชาติ มันก็จะไม่เกิด สิ่งแรกที่เรามักจะเห็นก็คือ การไหลบ่าของน้ำอย่างรวดเร็วที่ไม่มีต้นไม้หรือไม่มีป่าชะลอ การไหลของน้ำ การศึกษาของสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชว่า ถ้าไม่มีต้นไม้น้ำจะไหลเร็วกว่าปกติ ๔๒ เปอร์เซ็นต์ ถ้ามีแล้วยังสามารถที่จะ กักเก็บน้ำได้ เพราะฉะนั้นเมื่อน้ำไหลเร็วแล้วน้ำใต้ดินก็ไม่มี ปัญหาจะเกิดความแห้งแล้ง ความชุ่มชื้นไม่มี ความแห้งแล้งก็ตามมา ปัญหาก็คือ ไฟป่า หมอกควัน PM2.5 สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นให้รัฐบาลทุกรัฐบาลแก้ไขทุกปี วันนี้เราเสียเงินเกี่ยวกับเรื่องแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ให้กับพี่น้องประชาชน สาเหตุหลักใหญ่ก็คือการถูกทำลาย การที่ไม่มีป่าต้นน้ำ เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยกับญัตติของเพื่อนสมาชิกที่จะแก้ไขปัญหาป่าต้นน้ำให้ยั่งยืน แล้วก็ คงอยู่ไว้กับประเทศไทยชั่วกาลนาน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านศนิวาร บัวบาน ครับ
นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน ศนิวาร บัวบาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดตากค่ะ บ้านดิฉันอยู่จังหวัดตาก ซึ่งอยู่ภาคตะวันตกของประเทศ มีพื้นที่ป่ามากเป็นลำดับ ๒ รองจากภาคเหนือ ถ้าเทียบจากพื้นที่ป่าทั่วทั้งประเทศ แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ป่าทั่วประเทศไทยลดลง ลดลงมาในเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ด้วยความที่พื้นที่ป่าลดลง เราจำเป็นจะต้องมีกลไกในการตั้งกองทุนขึ้นมา ปัจจัยอีก ๑ ปัจจัยที่ทำให้เรามีความจำเป็น ในการตั้งกองทุน นอกจากเรื่องของพื้นที่ป่าก็จะเป็นในเรื่องของทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นในส่วนของทั้งทรัพยากรบุคคลแล้วก็งบประมาณ นอกจากนั้นแล้วยังมีกองทุน ที่มีอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามแต่ละกองทุนก็ยังมีข้อจำกัดของแต่ละกองทุนอยู่ แล้วดิฉันจะได้ อภิปรายในรายละเอียดในแต่ละปัจจัยในลำดับต่อไปนะคะ ปัจจัยแรกในเรื่องของพื้นที่ป่า จากกราฟที่ท่านเห็นด้านซ้ายมือ ๕ ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าทั่วทั้งประเทศลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ทั้งนั้นเกิดจากสาเหตุหลายสาเหตุด้วยกัน สาเหตุแรก จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ ประโยชน์ที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรม หรือว่าการเจริญ การขยายตัวของเมือง สาเหตุที่ ๒ จากโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของภาครัฐ สาเหตุที่ ๓ ก็คือ เกิดจากไฟป่า แล้วก็จากการลักลอบตัดไม้ ดิฉันเข้าใจดีว่าเราจำเป็นจะต้องมีกลไกทางการเงิน โดยการจัดตั้งกองทุนขึ้นมา แต่ดิฉันก็คิดว่าวัตถุประสงค์หนึ่งของกองทุนก็คือต้องการเพิ่ม พื้นที่ป่า ท่านอย่าลืมว่าที่ผ่านมาเรายังมีคดีคงค้างตั้งแต่รัฐบาลที่แล้วอยู่ว่ารัฐบาลต้องการ เพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่แล้ว ๓๐ เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่า จะต้องปลูกป่าเพิ่มขึ้นอีก ๓๐ ล้านไร่ตามแผนแม่บทป่าไม้ของคณะกรรมการนโยบายป่าไม้ แห่งชาติ ส่งผลให้เกิดการแย่งยึดที่ดินกับชุมชนที่อยู่เดิมอยู่แล้ว ไม่ได้มีการให้สิทธิกว่า ๓๐,๐๐๐ คดี จับกุมได้เพียงแค่ ๑๐,๐๐๐ คดี แล้วก็ยังมีคดีแห้งอีก ๒๐,๐๐๐ คดี ดิฉัน ก็เกรงว่าถ้าเกิดเราจัดตั้งกองทุนนี้แล้ว ก็ฝากทางคณะกรรมการกองทุนได้คำนึงถึงข้อนี้ด้วย ว่าการเพิ่มพื้นที่ป่าจะไม่ก่อให้เกิดข้อขัดแย้งกับชุมชนต่อไป นอกจากนั้นปัจจัยในเรื่องของ โครงการพัฒนาต่าง ๆ ทางภาครัฐมีโครงการผันน้ำยวมซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาอยู่ ซึ่งคาดว่า จะผันน้ำยวมจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนลงมาสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้ โครงการนี้ก็คิดว่าจะเป็นการลดพื้นที่ป่าต้นน้ำเหมือนกัน ไม่ต่างจากโครงการแลนด์บริดจ์ ที่รัฐบาลพยายามผลักดันอยู่ ณ ตอนนี้ ซึ่งก็จะเป็นการลดพื้นที่ป่าเช่นกัน อย่างไรดิฉันก็ขอ ฝากข้อห่วงกังวลตรงนี้ไปถึงรัฐบาลด้วยว่า ถ้าเกิดโครงการพัฒนาต่าง ๆ จะต้องทำให้พื้นที่ป่าลดลงมันจะย้อนแย้งกับวัตถุประสงค์ของ กองทุนรักษาป่าต้นน้ำนี้หรือไม่ อย่างไร ปัจจัยต่อไป การมีข้อจำกัดของบุคลากร อย่างเช่น ที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปแล้วในเบื้องต้น พื้นที่ป่าทั่วทั้งประเทศมีประมาณ ๑๐๐ ล้านไร่ แต่เจ้าหน้าที่ของภาครัฐของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีประมาณ ๖,๐๐๐ กว่าคน ถ้าเกิดคำนวณออกมาจะพบว่าเจ้าหน้าที่ ๑ คนดูแลพื้นที่ประมาณหมื่นกว่าไร่ แต่ถ้าเกิดเราตัดพื้นที่ป่าชุมชนออกไปซึ่งเป็นพื้นที่ประมาณ ๖ ล้านไร่ ก็จะพบว่าเจ้าหน้าที่ ๑ คนก็ยังจะต้องดูแลพื้นที่เกือบหมื่นไร่อยู่ดี ซึ่งดิฉันคิดว่ามันก็เกินกำลังมากกว่าเจ้าหน้าที่ ๑ คนจะดูแลได้ค่ะ
นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในเรื่องของข้อจำกัดของงบประมาณ กราฟด้านซ้ายที่ท่านเห็นคืองบประมาณ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี ๒๕๖๕ ท่านจะเห็นได้ว่างบประมาณ ส่วนใหญ่ถูกจัดสรรไปให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สูงถึง ๓๕ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นกรมที่ได้รับการจัดสรรสูงที่สุดในกระทรวง รองลงไปตามไปติด ๆ ก็คือกรมป่าไม้ ประมาณ ๑๗ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งงบประมาณที่จะจัดสรรไปนั้นมีมูลค่าไม่น้อยเลย แต่ถ้าเกิด เราเจาะดูในส่วนของงบจ้างเหมาบุคลากร เราจะพบว่างบจ้างเหมาบุคลากรของกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีงบสูงสุดมากถึงประมาณ ๘๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ของงบ ทั้งกระทรวง ทั้งนี้ทั้งนั้นการจ้างดังกล่าวเป็นเพียงค่าตอบแทนชั่วคราว ไม่ได้มีความมั่นคง แล้วก็ไม่ได้เกิดแรงจูงใจใด ๆ ดังนั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ควรพิจารณา โครงสร้างอัตรากำลังให้สอดคล้องแล้วก็เหมาะสมกับภารกิจงานต่อไปค่ะ
นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ปัจจัยที่ ๓ ในส่วนของข้อจำกัดของกองทุนที่มีในปัจจุบัน อย่างที่ดิฉันเรียน ในเบื้องต้น ณ ตอนนี้เรามีกลไกทางการเงินซึ่งเป็นกองทุนต่าง ๆ มีอยู่แล้ว แต่ด้วยความที่ แต่ละกองทุนก็จะมีขอบเขต กิจกรรมที่สามารถดำเนินการในกองทุนได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ กองทุนสิ่งแวดล้อมที่เน้นไปถึงป้องกันแล้วก็รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเราอาจจะมี กลไกทางการเงิน ก็คือตั้งกองทุนรักษาป่าต้นน้ำขึ้นมาเพิ่มเติมเพื่อที่จะอุดช่องว่างตรงนี้ ทั้งนี้ ทั้งนั้นดิฉันขออภิปรายสนับสนุนญัตติ สส. เลาฟั้งที่เสนอให้นำหลักการให้ผู้ที่ได้รับบริการ จากระบบนิเวศจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ทำหน้าที่อนุรักษ์โดยตรงมาใช้ ซึ่งหลักการนี้ จะเป็นการใช้มาตรการจูงใจแล้วก็กลไกการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมขึ้นระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน แล้วก็ชุมชนในท้องที่ หลักการนี้คือนำเรื่องของการจ่ายค่าตอบแทน การให้บริการของระบบนิเวศมาใช้ แล้วก็นอกจากนี้ยังสามารถนำกลไกในเรื่องของคาร์บอน เครดิตหรือว่า Biodiversity Credits เข้ามาร่วมใช้ได้เหมือนกัน ประเทศไทยยังไม่ได้มี การนำหลักการนี้มาใช้ แต่มีที่ประเทศเวียดนามเขาใช้หลักการนี้ในการเพิ่มพื้นที่ป่า โดยชาวบ้านจะได้รับเงินร้อยละ ๘๐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้รับร้อยละ ๒๐ ของ มูลค่าที่กำหนดไว้ในสัญญา นอกจากนั้นเราสามารถนำมาใช้เพื่อชดเชยให้กับกิจกรรมการ พัฒนาต่าง ๆ ได้ ในตัวอย่างเป็นกิจการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแล้วก็ธุรกิจท่องเที่ยว โดยรัฐบาล กลางแล้วก็องค์กรส่วนท้องถิ่นจะร่วมกันบริหารจัดการแล้วก็จัดสรรรายได้ให้กับชุมชน ในพื้นที่ที่เขาดูแลรักษาป่าต้นน้ำ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าทางสภาจะมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาการตั้งกองทุนรักษาป่าต้นน้ำหรือไม่ ดิฉันขอฝากข้อควรคำนึงถึงด้วยว่าหากเรามี กองทุนแล้วก็ควรคำนึงถึงเรื่องของการดำเนินการแล้วก็การจัดสรรเงินของกองทุนให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตรงกับวัตถุประสงค์กองทุนอย่างแท้จริง เพื่อสร้างให้เกิดธรรมาภิบาลของ กองทุนอย่างแท้จริง ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านวิทยา แก้วภราดัย ครับ
นายวิทยา แก้วภราดัย แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม วิทยา แก้วภราดัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครวมไทยสร้างชาติ ผมนั่งฟังเพื่อนสมาชิก อภิปรายกันเรื่องการตั้งกองทุนรักษาป่าต้นน้ำแล้ว ก็มีความคิดที่ค่อนข้างจะเห็นด้วยครับ โดยเฉพาะเพื่อนสมาชิกที่อภิปรายถึงเรื่องความเดือดร้อนของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ท่านประธานเชื่อไหมว่าอีกไม่นานเราจะขาดเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญเรื่องป่าไม้ปฏิบัติงานอยู่ ในป่าจริง ๆ ผมเคยไปจังหวัดแพร่ครับ แล้วเห็นโรงเรียนป่าไม้จังหวัดแพร่ ที่จริงโรงเรียน ป่าไม้จังหวัดแพร่ตั้งขึ้นครั้งแรกเป็นการตั้งขึ้นในพื้นที่ของบริษัทฝรั่งที่ได้รับสัมปทานไม้ ในจังหวัดแพร่ ฝรั่งถอนออกไปก็ยกอาคารบ้านเรือนให้เป็นโรงเรียนป่าไม้จังหวัดแพร่ ถ้าพูด วันนี้เรื่องป่าไม้ ณ วันนี้กับเมื่อ ๕๐-๖๐ ปีที่แล้วคนละบรรยากาศ ผมจำได้ผมเด็ก ๆ เคย เรียนหนังสือแล้วก็ยังท่องจำ สินค้าส่งออกของประเทศไทย ๓ เรื่องหลัก ๑. ข้าว ๒. ยางพารา ๓. ไม้สัก และ ๔. ดีบุก แค่นี้ที่เป็นสินค้าส่งออกของประเทศไทย เพราะฉะนั้น ไม้สัก ไม้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สมัยก่อนมีไว้เพื่อการให้สัมปทาน จังหวัดแพร่ก็ตั้งเป็น โรงเรียนป่าไม้แพร่ขึ้นเพื่อฝึกผู้ที่มีความชำนาญการในกรมป่าไม้เอาเข้าไปฝึกรุ่นแรก หลังจากนั้น ก็เริ่มรับเด็กที่จบมัธยมปลายเข้าไปเรียนต่อหลักสูตร ๒ ปี ใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียน ๑ ปี ใช้ชีวิต อยู่ที่ในป่า ๑ ปี เพื่อฝึกความพร้อมในการออกปฏิบัติหน้าที่ ป่าไม้รุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ปี ๒๔๙๙ ส่วนใหญ่ป่าไม้ออกไปสำรวจป่าเพื่ออนุญาตสัมปทานให้กับเอกชน เรามีการปิดป่าครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๓๑ กรณีเกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ที่ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วก็มีไม้ซุง ไหลลงมา ประชาชนล้มตายไปเกือบ ๓๐๐ คน บ้านเรือนทั้ง ๒ หมู่บ้านหายไปในพริบตา รัฐบาลยุคนั้นประกาศปิดป่า หยุดสัมปทานป่าไม้ทั้งหมด ตั้งแต่วันนั้นมาเราก็เริ่มคุยกัน เรื่องป่าไม้ในเรื่องการบำรุงรักษา เรื่องอนุรักษ์ป่าไม้ ในเรื่องการปลูกป่าเพิ่มขึ้นมา แต่ท่าน เชื่อไหมครับว่าวันนี้เราต้องการป้องกันป่าที่จะให้ไม่ถูกรุกรานจากกลุ่มทุนที่ยังจะแสวงหา ประโยชน์จากการโค่นไม้ทำลายป่าซึ่งมีอยู่ทุกวัน เราใช้กำลังเจ้าหน้าที่แบบที่เพื่อนสมาชิก บอกว่าเจ้าหน้าที่ ๑ คนในระดับปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างเหมา อัตรา เงินเดือนตกเดือนละ ๙,๐๐๐ บาท มีหน้าที่ในการสำรวจต่อคน รับผิดชอบพื้นที่คำนวณป่า ทั้งหมดของประเทศไทยแล้ว อย่างเพื่อนสมาชิกว่า ๕,๐๐๐ ไร่ ท่านทราบไหมว่าคนเหล่านี้ ไม่ได้ผ่านโรงเรียนป่าไม้เลย โรงเรียนป่าไม้เราปิดไปตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ เพราะฉะนั้นผมบอกว่า จะเกิดวิกฤติวันข้างหน้า เราไม่มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ระดับปฏิบัติการเหลือในประเทศนี้ครับ เราจะมีนักวิชาการที่จบวนศาสตร์ จบปริญญาตรี แล้วก็เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องป่าไม้ และเกินครึ่ง เป็นสุภาพสตรี อันนี้ผมไม่ได้ว่าสุภาพสตรีจะเก่งหรือไม่เก่งกว่า แต่เรียนท่านเก่งกว่าแน่ แต่ในการปฏิบัติการจริง ๆ โรงเรียนป่าไม้แพร่ที่ก่อตั้งมา ๖๐ กว่าปีที่แล้ว ที่ปิดไปเมื่อ ๓๐ ปี ที่แล้ว ใช้นักเรียนชายทั้งหมด และใช้ชีวิตฝึกอยู่ในป่าเพื่อเตรียมความพร้อม เหลือเวลาอีกสัก ๔-๕ ปี นักเรียนป่าไม้แพร่รุ่นสุดท้ายเกษียณหมด คราวนี้เราก็จะมีพวกลูกจ้างซึ่งจะได้รับ ค่าจ้างเดือนละ ๙,๐๐๐ บาท ท่านออกป่าปีละ ๑๕ วัน อยู่ในป่าใช้ชีวิต ๑๔-๑๕ วัน ก็จะได้ เงินช่วยเหลืออยู่ ๒,๐๐๐ บาท คนเหล่านี้จะทำหน้าที่ดูแลป่าทั้งหมด ส่วนนักวิชาการซึ่งจะ มีอยู่อุทยาน ๑ คน ๒ คน จบปริญญาตรีที่เป็นข้าราชการคน ๒ คน ก็เริ่มทยอยหมด ผู้เชี่ยวชาญป่าไม้อย่างนักเรียนป่าไม้แพร่จริง ๆ ผมต้องการพูดเรื่องนี้เพื่อผ่านไปยัง ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยกลับไปดูพื้นที่ หน่อยครับ เพื่อนสมาชิกเราจากจังหวัดแพร่เขาก็อยู่ตรงนี้ โรงเรียนป่าไม้แพร่ถูกทิ้งร้างมา ๓๐ ปี กลายเป็นพื้นที่ทำพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เรื่องโรงเรียนป่าไม้ไปแล้ว โรงเรียนป่าไม้แพร่ มีพื้นที่ตัวเองในส่วนภาคสนามที่ใช้ในการฝึกงาน เตรียมพร้อมอยู่หลายพันไร่ ผมเคยไปดูมาครับ ความจำเป็นจริง ๆ ผมคิดว่าวันนี้เราสร้างนักเรียนนายร้อยอย่างเดียว ไม่พอครับ โรงเรียนนายร้อยผลิตนักเรียนนายร้อยให้ตายก็ปราบอาชญากรรมไม่หมดถ้าไม่มี นักเรียนนายสิบ กำลังรบกำลังราบจริง ๆ คือนักเรียนระดับนายสิบที่ถือว่าเป็นกำลังหลัก ของตำรวจไทย ป่าไม้ก็เช่นเดียวกัน ถ้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านรัฐมนตรีไม่ปัดฝุ่น ท่านเตรียมตัวเลยว่าอีก ๕ ปีข้างหน้าจะไม่เหลือนักเรียนป่าไม้แพร่ อยู่ในกระทรวงนี้แม้แต่คนเดียว มันไม่ใช่เรื่องยาก เรายุบโรงเรียนป่าไม้แพร่วันนั้นไปเพราะ นโยบายคณะรัฐมนตรีบอกว่าทุกกรมที่มีหน่วยงานการผลิตการศึกษาเล่าเรียนที่อยู่ประจำกรม เพื่อบรรจุในกรมตัวเองให้ยุติทั้งหมด แต่ถามว่ายุติไปหมดไหมครับ ไม่มีครับ ยังไม่ได้ยุติหมด วิศวกรรมชลประทานยังเปิดอยู่ โรงเรียนไปรษณีย์ยังมีอยู่ แล้วทำไมป่าไม้แพร่ ซึ่งเพื่อน สมาชิกกำลังเรียกร้องการดูแลป่าอย่างครบถ้วน อย่างมีวิชาการและพิทักษ์รักษาป่า จริง ๆ กระทรวงถึงไม่คิด น่าจะถึงเวลาในการที่จะทบทวนดูว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมที่ดูแลกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะต้องไปปัดฝุ่น โรงเรียนป่าไม้ แล้วก็ยกโรงเรียนป่าไม้ขึ้นมาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับบุคลากรในระดับล่าง ที่จะลุยรักษาป่าอย่างผู้มีวิชาการจริง ๆ เราพูดกันเรื่องรักษาป่า แต่ถ้าเราไม่มีคนที่จะลงไป รักษาป่าจริง ๆ ก็ลำบาก เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และที่สำคัญถ้าใครจะ ศึกษาต่อ รัฐบาลจะรับไปก็ตาม ช่วยไปคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมด้วยว่าคืนโรงเรียนป่าไม้ให้กับป่าไม้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านกมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล ครับ
นางสาวกมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล ระยอง ต้นฉบับ
เรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน กมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัด ระยอง เขต ๑ พรรคก้าวไกล ดิฉันขอร่วมอภิปรายญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาการตั้งกองทุนรักษาป่าต้นน้ำ และญัตติ ขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการส่งเสริมและ สนับสนุนการให้บริการของระบบนิเวศในเขตป่าต้นน้ำ เพราะป่าไม้มีความสำคัญในการ รักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมดังคำที่เรามักจะได้ยินกันคุ้นหูว่า มีป่า มีน้ำ มีชีวิต จากข้อมูล ของสำนักจัดการที่ดิน รบกวนขอสไลด์ด้วยค่ะ
นางสาวกมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล ระยอง ต้นฉบับ
จากข้อมูลของสำนักจัดการ ที่ดินป่าไม้ แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ป่าของประเทศไทยตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ จนถึง ปี ๒๕๖๕ มีพื้นที่ป่าโดยรวมอยู่ที่ประมาณ ๓๑ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศไทย โดยภาคเหนือจะมี พื้นที่ป่าไม้มากที่สุด รองลงมาก็จะเป็นภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ป่า น้อยที่สุด และจากพื้นที่ป่า ๓๑.๕๗ เปอร์เซ็นต์นี้ก็จะมีพื้นที่ที่เราเรียกว่าป่าต้นน้ำอยู่ ประมาณ ๒๖ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศเช่นกัน ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสำรวจป่าต้นน้ำของ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพบว่าพื้นที่ที่มีป่าต้นน้ำมากที่สุด นั่นก็คือพื้นที่ภาคเหนือ รองลงมาคือภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ ทีนี้เรามาดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่ภาคเหนือ พื้นที่ที่มีป่าต้นน้ำเยอะที่สุดของ ประเทศ ท่านประธานจะเห็นว่าพื้นที่ป่าในภาคเหนือลดลงทุกปี จากพื้นที่ป่าประมาณ ๖๕.๓๑ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๕๖ เหลือ ๖๓.๕ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๖๕ และภาคอื่น ๆ ก็ลดลงด้วย มีเพียงพื้นที่ป่าของภาคตะวันตกที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อ ความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำที่จะช่วยควบคุมการดูดซับและกักเก็บน้ำฝนตามธรรมชาติ ช่วยลดแรงปะทะหน้าดิน ตลอดจนการควบคุมการพังทลายของหน้าดินด้วย เมื่อสุดสัปดาห์ ที่ผ่านมาดิฉันได้มีโอกาสร่วมลงพื้นที่ไปศึกษาดูงานกับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ El Nino ก็ได้เห็นผืนป่าที่เป็นป่าต้นน้ำในอำเภอแม่แตง จังหวัด เชียงใหม่ ซึ่งน่าจะกำลังประสบปัญหาพื้นที่ป่าเช่นเดียวกัน ช่วงที่คณะไปศึกษาดูงานก็จะเป็น ช่วงที่น้ำกำลังแล้งพอดี ส่งผลกระทบต่อพี่น้องที่อาศัยในแนวลุ่มน้ำ ทั้งปัญหาในเรื่องของ การขาดน้ำการเกษตร กระทบการท่องเที่ยวที่ปกติจะล่องแพกันได้ทั้งปี แต่พอน้ำลดลง ก็ส่งผลกระทบต่อรายได้ของคนในชุมชน พอป่าลดน้ำก็แล้ง รายได้ก็ไม่มี อย่างไรก็ตาม อย่างที่เราทราบกันดีว่าปัญหาด้านทรัพยากรป่าไม้ของเรามีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ไฟป่า การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุกพื้นที่ป่า ปัญหาการเอื้อประโยชน์ การใช้ ประโยชน์จากที่ดินของรัฐ ปัญหาบุคลากรที่ดูแลพื้นที่ป่าไม่เพียงพอ และปัญหาการบริหาร งบประมาณที่จะดูแลรักษาป่า ปัญหาเหล่านี้ทำให้พื้นที่ป่าของเราลดลงและไม่สามารถเพิ่ม พื้นที่ป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะปัญหาการบริหารงบประมาณที่จะทำให้เกิด การฟื้นฟูป่าอย่างต่อเนื่อง เพิ่มพื้นที่ป่าอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาอาจจะ ประสบกับความสำเร็จไม่ได้ตรงตามเป้าหมาย เพราะการจัดสรรงบประมาณกว่าครึ่ง เป็นรายจ่ายประจำ เป็นค่าจ้างเหมา ค่าจ้างเหมาบุคลากร หรือแม้แต่การใช้เงินจากกองทุน สิ่งแวดล้อมก็อาจจะไม่เพียงพอ หรือติดข้อจำกัดวัตถุประสงค์ของกองทุนได้ ดังนั้น อาจจำเป็นต้องใช้งบประมาณของกองทุนเพื่อรักษาและฟื้นฟูป่าต้นน้ำโดยเฉพาะ เพื่อเป็น เครื่องมือสนับสนุนด้านงบประมาณให้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้เห็นถึง ความสำคัญของการช่วยกันดูแลรักษาต้นไม้ ช่วยกันปลูกต้นไม้ และเป็นเครื่องมือที่ใช้ให้เกิด การมีส่วนร่วมกับชุมชน การมีส่วนร่วมของผู้ที่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าให้มีการฟื้นฟูสภาพป่า ที่เสื่อมโทรมให้กลับสภาพเป็นพื้นที่ดูดซับน้ำได้เหมือนเดิม รวมทั้งให้เป็นพื้นที่ป่าชุ่มชื้น เกิดการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่าร่วมกัน แต่การจัดตั้งกองทุนที่เสริมขึ้นมาจากงบประมาณ รายจ่ายประจำปี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดจากการใช้เงินกองทุนนี้ การดำเนินงานอย่างรัดกุม ไม่ให้การดำเนินงานของกองทุนซ้ำซ้อนกับภารกิจหน่วยงาน ราชการ เช่น ภารกิจปลูกป่า เพาะกล้าไม้ ที่หลาย ๆ หน่วยงานได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว เป็นต้น การดำเนินงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความชัดเจนที่มาของเงิน แหล่งที่มาของเงิน รวมถึงรายได้ของกองทุน และการมีส่วนร่วมของประชาชน การเพิ่มสัดส่วนภาคประชาชน ให้อยู่ในคณะกรรมการของกองทุนด้วย ที่สำคัญอย่างยิ่งข้อมูลดำเนินงานของกองทุนต้อง เปิดเผยต่อสาธารณะให้ชุมชนและประชาชนได้รับทราบและตรวจสอบร่วมกัน ดิฉันเห็นด้วย หากจะมีการศึกษาการตั้งกองทุนรักษาป่าต้นน้ำและสนับสนุนให้เกิดการบริการของระบบ นิเวศในเขตป่าต้นน้ำเพื่อให้มีการดูแลรักษาพื้นที่ป่า มีการฟื้นฟูป่าให้มีความสมบูรณ์ เพิ่มพื้นที่ป่าเพื่อให้เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่จะหล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตอย่างยั่งยืนต่อไป แต่อยาก ให้ทางคณะกรรมาธิการหรือทางคณะรัฐมนตรีที่จะรับเรื่องนี้ไปศึกษาได้ตระหนักถึงข้อกังวล และข้อเสนอแนะที่ดิฉันได้กราบเรียนไปแล้ว ดิฉันอยากให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญของ ป่าต้นน้ำ เห็นความสำคัญของการรักษาพื้นที่ป่า เพื่อคงความสมดุลของทุก ๆ ชีวิตไว้ และเกื้อหนุนซึ่งกันและกันต่อไป ดิฉันขอสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิกทั้ง ๒ ญัตตินี้ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชมและคณะผู้เข้าร่วมโครงการ รัฐสภาสัญจรเพื่อเด็กและเยาวชน จำนวน ๓๐๐ ท่าน ยินดีต้อนรับนะครับ ขอเชิญ ท่านเทียบจุฑา ขาวขำ นะครับ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางเทียบจุฑา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอร่วมอภิปรายสนับสนุนญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาการตั้งกองทุนรักษาป่าต้นน้ำ ที่เพื่อนสมาชิกเสนอคือ ท่านทรงยศ รามสูต เป็นผู้เสนอ ดิฉันขอสนับสนุนค่ะ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าทรัพยากรป่าไม้ซึ่งเป็น ทรัพยากรที่สำคัญในการดำรงชีวิตของเพื่อนมนุษย์ของมนุษย์เราแล้วก็สิ่งมีชีวิตทั้งนั้น ไม่ว่า จะเป็นแหล่งธรรมชาติ แหล่งอาหาร เป็นแหล่งที่สร้างอากาศบริสุทธิ์ เป็นแหล่งต้นน้ำ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นระบบนิเวศ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญของทรัพยากรป่าไม้ จากข้อมูลของ กรมป่าไม้ปรากฏว่าพื้นที่ในประเทศไทย จากรายงานในปี ๒๕๖๔ ประเทศไทยเรามีป่าไม้ ที่ยังคงสภาพดีอยู่นี้ ๑๐๒ ไร่ คิดเป็น ๓๑ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ซึ่งน้อยกว่านโยบายป่าไม้ แห่งชาติที่กำหนดเป้าหมายไว้ว่าประเทศไทยเราอาจจะต้องเป็นป่าไม้สีเขียว ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ ดิฉันมาจากจังหวัดอุดรธานีก็เลยอยากจะขอยกตัวอย่างพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัด อุดรธานี พื้นที่จังหวัดอุดรธานีมี ๒,๙๐๐,๐๐๐ ไร่ คิดเป็น ๓๙ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ในจังหวัด ส่วนพื้นที่ป่าไม้ที่มีความสมบูรณ์จำนวน ๘๐๐,๐๐๐ กว่าไร่ คิดเป็น ๑๑ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ จังหวัดเท่านั้น และขณะเดียวกันป่าไม้เทือกเขาภูพานซึ่งเป็นเทือกเขาที่ยาวหลายร้อย กิโลเมตร ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำ เป็นแหล่งน้ำ เป็นป่าต้นน้ำที่สำคัญ ๆ จากป่าภูพานนี้ หลายแห่ง
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ดิฉันจะขอยกตัวอย่างป่าต้นน้ำจาก เทือกเขาภูพานก็คือป่าต้นน้ำห้วยหลวง ป่าต้นน้ำห้วยหลวงเป็นป่าต้นน้ำที่สำคัญซึ่งจะอยู่ บนภูเขาภูพาน น้ำบนภูเขาภูพานไหลจากจังหวัดหนองบัวลำภูเข้ามาจังหวัดอุดรธานี เข้ามา อำเภอกุดจับ แล้วก็เข้าไปสู่อำเภอบ้านผือ เข้าไปอำเภอโพนพิสัยสู่แม่น้ำโขง อันนี้ต้นน้ำ ห้วยหลวง ท่านจะเห็นภาพว่าต้นน้ำห้วยหลวงนี้จะมีอาสาสมัครช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูรักษาป่า ซึ่งป่าแห่งนี้อยู่ตำบลกุดหมากไฟ อาสาสมัครจะช่วยกันรักษาผืนป่า ช่วยกันเป็นอาสาสมัคร นะคะ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
อันที่ ๒ แหล่งต้นน้ำที่ ๒ ก็คือต้นน้ำโสมที่เกิดมาจากเทือกเขาภูพาน เหมือนกัน ต้นน้ำโสมแหล่งน้ำนี้จะไหลจากอำเภอบ้านผือไปอำเภอน้ำโสม แล้วก็ออกไปสู่ แม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ก่อนจะไปสู่จังหวัดหนองคายจะผ่านห้วยราง นาแค ผ่านห้วย มะหาด วังแข้ แล้วก็ซำน้ำค่อ นี่เป็นต้นน้ำสำคัญ ๆ ของจังหวัดอุดรธานี แต่ปรากฏว่าสภาพ ป่าปัจจุบันเสื่อมโทรม ทำไมถึงเสื่อมโทรม เพราะว่าความเจริญของบ้านเมืองนี้อยู่ในเมือง ไม่ได้ออกไปอยู่ชนบท ออกไปอยู่นอกเมือง มีประชาชนหนาแน่น พอเกิดความหนาแน่น ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ จะเป็นดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำต่าง ๆ ก็จะมีคนใช้กันเยอะ ทรัพยากร เหล่านี้ก็จะลดลง ร่อยหรอลง เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ส่วนใหญ่พี่น้องภาคอีสานเขาจะอาศัย ธรรมชาติเป็นอาหาร ป่าไม้ธรรมชาติ เช่น หน่อไม้ ผักหวาน ไข่มดแดง ท่านประธานเคยทานไหมคะ ไข่มดแดงเขาบอกว่า เป็นอาหารของสูง กว่าจะหาทานได้จะต้องเป็นป่าที่สมบูรณ์ แต่ขณะนี้ป่าเสื่อมโทรมมาก ดังนั้นญัตติที่ท่านผู้ทรงเกียรติได้เสนอให้พิจารณาในวันนี้ ดิฉันเห็นด้วยแล้วก็ขอสนับสนุน ญัตติที่ท่านทรงยศได้นำเสนอให้พิจารณากองทุนรักษาป่าต้นน้ำ เนื่องจากปัจจุบัน การคุ้มครองดูแลรักษาป่าให้สมดุลในธรรมชาติเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีพของพี่น้อง ประชาชน ต้องการให้มีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน แต่ปัญหาสร้างความมีส่วนร่วมก็คือ เรื่องงบประมาณ เรื่องขาดทุนในการดูแล ไม่มีทุนทรัพย์ในการดูแล เพราะงบประมาณ ไม่เพียงพอ ไม่ทั่วถึงที่จะไปฟื้นฟูป่าสาธารณะ ป่าพื้นที่ต่าง ๆ อันที่ ๒ การจัดตั้งกองทุนนี้ จะได้ช่วยสนับสนุนให้ชาวบ้านที่เป็นอาสาสมัครในการดูแลฟื้นฟูป่าไม้ที่จะได้เป็นแรงจูงใจ เป็นสวัสดิการ เมื่ออาสาสมัครไปดูแลป่าไม้มักจะเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อย ๆ อันนี้อาจจะเป็น งบทุนส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาและคุ้มครองผู้ที่เข้าไปดูแลป่าในครั้งนี้ กองทุนนี้ดิฉัน ชอบมากเลย จะต้องช่วยกันปลูกป่าฟื้นฟูพื้นที่ให้เป็นสีเขียวอยู่มาก ๆ เป็นการลดภาระ โลกร้อน ช่วยให้โลกของเรามีอากาศดี ๆ ขึ้น ท่านประธาน ดิฉันอยากจะขอเสนอแนะให้ คณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางดังกล่าวควบคู่ไปกับการพิจารณาเพื่อตั้งกองทุน รักษาป่าต้นน้ำ ดังนี้
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
๑. การส่งเสริมให้มีสถาบันชุมชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารจัดการป่าชุมชน พัฒนาเครือข่ายป่าชุมชนให้มีการสนับสนุนข้อมูลวิทยาศาสตร์ ทางวิชาการด้านวรรณศาสตร์ ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
๒. ขอให้ดำเนินการตรวจสอบสภาพป่าและการใช้ที่ดินในพื้นที่ป่า Update ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลป่าที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมดอย่างถูกต้องในการฟื้นฟู
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
๓. ดำเนินการสำรวจพื้นที่ในการสร้างฝายขนาดเล็กทุกพื้นที่ในประเทศ และดำเนินการจัดทำงบประมาณสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า ให้กระจายกันทั่วถึงทั้งประเทศ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
สุดท้าย ดิฉันก็ขอฝากว่าการดูแลรักษาป่านั้นก็ถือเป็นหน้าที่ของคนเราทุกคน ที่จะต้องช่วยเหลือ อนุรักษ์ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากที่สุดเพื่อให้มีป่าไม้เป็นต้นกำเนิด ของน้ำ ของชีวิต คงความสมบูรณ์ เอื้อประโยชน์ให้กับส่วนรวม ให้คนรุ่นต่อรุ่นต่อไป ดิฉัน ก็หวังว่าญัตตินี้คงจะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง กราบขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ เชิญท่านเจษฎา ดนตรีเสนาะ ครับ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เจษฎา ดนตรีเสนาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวปทุมธานี เขต ๒ พรรคก้าวไกล คนปทุม ลุ่มน้ำเจ้าพระยาครับ ขอสไลด์ด้วยครับ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
วันนี้ผมขออนุญาตร่วมอภิปรายญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการส่งเสริม และสนับสนุนการให้บริการของระบบนิเวศในเขตป่าต้นน้ำครับ ประเทศไทยของเรามีพื้นที่ป่า ณ ปัจจุบันเหลือเพียง ๓๑.๕๗ เปอร์เซ็นต์ เริ่มเก็บสถิติ ปี ๒๕๑๖ ที่ ๔๓.๒๑ จากกราฟนี้ ท่านจะเห็นว่าเรามีเป้าหมายในการอนุรักษ์พื้นที่ป่า ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๑๒ ฉบับปัจจุบันอยู่ที่ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ แต่แผน ยุทธศาสตร์ชาติปรับขึ้นไปที่ ๕๕ เปอร์เซ็นต์ จากสไลด์นี้ท่านก็จะเห็นว่าเราไม่เคยกลับไป แตะเฉียด ๆ ๔๐ เปอร์เซ็นต์เลยตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ เป็นต้นมา ณ ปัจจุบันนี้ ก็ผ่านมาเกือบ ๔๐ กว่าปีแล้ว เราไม่เคยถึงเลย เพราะฉะนั้นในความเป็นจริงเป้าหมายของ การอนุรักษ์พื้นที่ป่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์นี้จึงเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
ปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าลดลงทั้งหมด ๑.๘ เปอร์เซ็นต์ โดยภาพทางซ้ายเป็น ปี ๒๕๕๑ เราเปรียบเทียบ ๒ ปีนี้เฉพาะที่มีสถิติในการเก็บ แล้วก็ปี ๒๕๖๕ จากปี ๒๕๕๑ ถึงปี ๒๕๖๕ พื้นที่ป่าลดลงใน ๑.๘๗ เปอร์เซ็นต์ เท่ากับพื้นที่ ๕.๑ ล้านไร่ ถามว่าพื้นที่ ๕.๑ ล้านไร่เท่ากับอะไรครับ เท่ากับจังหวัดกำแพงเพชรทั้งจังหวัด โดยจังหวัดกำแพงเพชร พื้นที่ ๕.๓ ล้านไร่โดยประมาณ ระยะเวลาแค่ไม่กี่ปี ๑๐ กว่าปีพื้นที่ป่าเราลดลงขนาดนี้ครับ เพราะฉะนั้นตั้งแต่ปี ๒๕๑๖ ถึงปี ๒๕๖๕ พื้นที่ป่าหายไปทั้งหมด ๓๖ ล้านไร่ ถามว่า ๓๖ ล้านไร่นี้ถ้าเราปลูกให้ได้ ๓๖ ล้านไร่กลับมา มันแค่กลับไปที่ ๔๓.๒๑ ยังไม่ถึง ๕๕ เปอร์เซ็นต์ ตามที่เป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติตั้งเลย ถ้าหากว่าจะกลับไปที่ ๕๕ เปอร์เซ็นต์ ต้องปลูกขนาดไหน ต้องปลูกขนาด ๗๐ กว่าล้านไร่ แล้ว ๗๐ กว่าล้านไร่ขนาดไหน ก็ ๑๔ เท่า ของจังหวัดกำแพงเพชร ผมว่าก็เกือบ ๆ ภาคกลางกับภาคเหนือรวมกันครับ
นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ ปทุมธานี ต้นฉบับ
เพราะฉะนั้นวันนี้ผมขออนุญาตเสนอแนวคิดเรื่องการอยู่ร่วมกันระหว่าง ป่า รัฐ และชุมชน ซึ่งแนวคิดนี้มันเป็นแนวคิดที่ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นแนวคิดที่ใช้ได้จริง เพราะว่าปัจจุบันนี้กฎหมายของเราห้ามชุมชนหรือว่าห้ามประชาชนใช้ประโยชน์จากป่า ค่อนข้างมาก ยกเว้นอาจจะมีกฎหมายเกี่ยวกับป่าชุมชนซึ่งก็ให้ใช้แค่เฉพาะโซนที่เป็น ป่าเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่รวมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ แต่ผมมองว่าพื้นที่ป่าทั้งหมดนี้ประชาชนควร จะต้องใช้ประโยชน์จากป่าได้ เพราะว่าในระบบนิเวศมันมีส่วนงอกเงยจากระบบนิเวศและ สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยให้ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้น อาทิเช่น หน่อไม้ ของป่าต่าง ๆ เห็ดป่าต่าง ๆ ที่มีรสชาติดี แล้วก็ราคาค่อนข้างแพง ไม่ว่าจะเป็นเห็ดโคน เห็ดระโงก เห็ดเผาะ เห็ดไค น้ำผึ้ง ครั่ง ผลไม้ป่าต่าง ๆ ยอดผักป่าต่าง ๆ อย่างที่เพื่อนสมาชิก ได้อภิปรายไป เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้มันเป็นวงรอบของวัฏจักรอยู่แล้วครับ ถ้าเราไม่เก็บมา ใช้ประโยชน์ระยะสุดท้ายมันก็จะสูญสลายไป แล้วเดี๋ยวปีหน้ามันก็เกิดขึ้นใหม่ เพราะฉะนั้น ผมจึงไม่เห็นประโยชน์ที่ว่าเราจะอนุรักษ์โดยห้ามประชาชนใช้ประโยชน์หรือว่าให้ประชาชน ได้ประโยชน์ผลงอกเงยจากระบบนิเวศที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นผมก็เลยคิดว่าการอนุรักษ์ป่า อย่างมีส่วนร่วมจากประชาชนน่าจะเป็นทางออกที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการลดลงของป่า อย่างต่อเนื่องได้ ตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาเราใช้กฎหมายในการห้ามประชาชนยุ่งกับป่า มาโดยตลอด กันประชาชนออกจากป่ามาโดยตลอด แต่ป่าไม่เคยเพิ่มขึ้น ทั้ง ๆ ที่เราปลูกป่ากัน ไม่รู้ปีละกี่ล้านไร่ ใช้งบประมาณเท่าไรป่าไม่เคยเพิ่มขึ้นเลยครับ เพราะฉะนั้นเราควรจะต้อง เปลี่ยนแนวคิดเรื่องการดูแลป่าเสียใหม่ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ แล้วก็อาศัยประชาชนในการเป็นหูเป็นตาให้กับรัฐ เพราะว่าอย่างที่เพื่อนสมาชิกบอกไปแล้วว่า เจ้าหน้าที่ ๑ คน ดูแลพื้นที่ป่า ๑๐,๐๐๐ กว่าไร่ ชุมชนหนึ่งดูแล ๙๐๐ กว่าไร่ ไม่มีทางเลยครับ ต้องอาศัยประชาชนเท่านั้นถึงจะทำให้ป่าดำรงอยู่ได้ เมื่อเราต้องการพื้นที่ป่า แต่อีกด้านหนึ่ง เราก็ต้องการการพัฒนา ในสไลด์นี้ผมขออนุญาตมุ่งไปที่แหล่งน้ำต้นทุน โดยเฉพาะพวกเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ถามว่าพวกแหล่งเก็บน้ำนี้ก็ย้อนแย้งกับการอนุรักษ์ป่าอีก เพราะว่า ยิ่งเรามีอ่างเก็บน้ำต้นทุนหรือมีแหล่งเก็บกักน้ำจำนวนมากเท่าไรพื้นที่ป่าก็ต้องหายไปจำนวน เท่านั้นครับ มันจึงเกิดเป็นคำถามว่าจริง ๆ แล้วเราควรจะต้องคิดได้หรือยังว่าเราจะรักษาป่าเป้าหมายที่ ๔๐ เปอร์เซ็นต์จริง ๆ ใช่ไหม หรือว่าที่ ๕๕ เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าทั้งเลข ๔๐ เปอร์เซ็นต์ และ ๕๕ เปอร์เซ็นต์ ไม่มีผลงานวิจัยรองรับว่าตัวเลขป่าที่ควรจะต้องมีมันเท่าไร ปัจจุบันก็ยังไม่มีว่าพื้นที่ป่ากับพื้นที่การพัฒนา โดยเฉพาะแหล่งน้ำต้นทุนหรือว่าแหล่งกักเก็บน้ำที่ส่วนใหญ่จะต้องอยู่ในพื้นที่ป่าหรือว่าต้องใช้พื้นที่ป่าในการทำจะต้องเป็นตัวเลขที่เท่าไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ดูว่าการดำเนินงานของเราในแง่ของการอนุรักษ์ป่าก็ดี ในแง่ของการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อประชาชนก็ดีจะไร้ทิศทางเพราะว่าไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนในการทำ เพราะฉะนั้นผมจึง เชิญชวนทุกท่านคิดว่าตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่สำคัญมาก หากเรามีตัวเลขในการที่เราจะอนุรักษ์ ป่ากันอย่างจริงจังแล้ว และมีสัดส่วนในการจะใช้พื้นที่ในการทำแหล่งน้ำต้นทุนเพื่ออุปโภค บริโภคให้แก่ประชาชนแล้วโดยมีตัวเลขที่ชัดเจนก็จะทำให้การอนุรักษ์ทั้งป่าและการพัฒนา แหล่งน้ำเพื่อประชาชนมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งใช้งบประมาณ อย่างคุ้มค่าแล้วก็เกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้นวันนี้ผมจึงขออนุญาตสนับสนุนญัตติ เรื่อง ขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาพิจารณาแนวทางการส่งเสริมและ สนับสนุนให้บริการของระบบนิเวศในเขตป่าต้นน้ำ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านองค์การ ชัยบุตร ครับ
นายองค์การ ชัยบุตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม องค์การ ชัยบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ต้องเรียน ท่านประธานว่าวันนี้หัวใจผมตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ ไม่ค่อยดี เพิ่งจะมาเป็นปกติ ๕ นาทีหลังนี้ ไม่รู้อนาคตจะเป็นอย่างไร ก่อนอื่นผมก็ต้องขอขอบพระคุณท่านที่เสนอญัตติ เรื่อง ขอให้ สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการ ให้บริการของระบบนิเวศในเขตป่าต้นน้ำ ผมเองบ้านอยู่อีสาน อยู่จังหวัดมุกดาหาร ก็เห็นป่า ตั้งแต่เล็ก ในอดีตผมก็เคยได้ยินโบร่ำโบราณพูดว่าน้ำดีเพราะมีป่า น้ำดีเพราะป่าปก หญ้ารก เพราะดินดี ทุกวันนี้ไม่มีน้ำก็ไม่มีป่า นี่คือเหตุการณ์ปัจจุบัน ผมเกิดมาผมกินน้ำบ่อในป่าบุ่ง ป่าทาม น้ำพวกนี้จะมีปลาเล็ก ๆ ลอยเวียนว่ายอยู่ในแอ่งน้ำที่ผมรับประทาน พูดได้ว่า ไปตรงไหน ซ้ายมือขุดลงไปในดิน ในบ่อ ในป่าทามสามารถกินน้ำได้เลย นั่นคือประเทศไทย ในอดีตที่ผมได้เห็นและได้สัมผัสมาช่วงระยะหนึ่ง ประเทศไทยคืออู่ข้าวอู่น้ำอู่ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ตั้งแต่เหนือจดใต้ ไปไหนเป็นทองเป็นอะไรหมด มาพักหลังนี้รัฐบาลได้มีนโยบาย เปิดป่า พูดง่าย ๆ เอานักลงทุนต่างชาติเข้ามาตัดไม้ทำลายป่า เข้าโรงเลื่อย มันเป็น อุตสาหกรรมสมัยใหม่ยุคเริ่มต้น ฝรั่งมังค่าก็ชอบ เห็นไม้ซุง ไม้ยางบ้านผมต้นใหญ่มากเลย ภาษาอีสานบอกว่า ๙ คนโอบยังไม่รอบเลย มันต้นใหญ่มากขนาดไหนท่านประธานคิดดู นั่นคือความอุดมสมบูรณ์ของดินในประเทศไทยและป่าในประเทศไทยก็เป็นแหล่งสรรพสิ่ง ต่าง ๆ เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทั้งหมดตั้งแต่ใต้ดินถึงยอดไม้เลย นี่คือประเทศไทย ที่ผ่านมา ณ วันนี้เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้เลยว่าประเทศไทยเคยอุดมสมบูรณ์เพราะเขาไม่เคยเห็น เห็นแต่อาจารย์สอนในโรงเรียน ไม่ได้สัมผัสข้อเท็จจริง ในขบวนการนี้กว่าจะรู้ว่าประเทศไทย โดนหลอก ไม่ว่าจะเป็นนำปุ๋ยเคมีเข้ามาทำลายหน้าดินในลุ่มน้ำเจ้าพระยา หรือในพื้นที่ ในภาคอีสานบ้านผมเป็นดินภูเขา เป็นเนิน เป็นป่าบุ่งป่าทามหมด หน้าแล้งอย่างนี้ชาวบ้านเขาไปหากิน กุ้งหอยปูปลาจะอยู่ใต้ดิน บ้านผมเขาเรียกมันเข้าไง เข้าไงคือภาษาอีสาน สัตว์น้ำจะอยู่ใต้ดิน เขาเรียกว่าเข้าพรรษา ทุกวันนี้ไม่มีไม่มีแม้แต่ ปลาไหล ปลาช่อน หรือปลาอะไรที่ดำรงชีพอยู่ใต้ดิน ประมาณ ๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือนนี้ไม่มีเลย ก็แสดงว่าเรามีปัญหาเรื่องระบบต้นน้ำ ผมก็ไม่โทษรัฐทั้งหมด เพราะว่า ๑. รัฐบาลตั้งแต่ ปี ๒๕๒๐ เป็นต้นมาเขาก็พยายามได้หาแนวทางแก้ไขและหามาตรการ หรือ ออก พ.ร.บ. ต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่อดีตมีหมู่บ้านป่าไม้ หมู่บ้านอะไรต่าง ๆ ที่เล่ามา ทั้งหมดจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่รู้จะพูดว่าป่าไม้อะไรแล้ว และส่วนหนึ่งรัฐบาลเองก็โทษชาวบ้าน โทษผู้อยู่อาศัยก่อนว่าเขาบุกรุก พวกนี้กฎหมายเกิดทีหลัง ชาวบ้านเขาอยู่ก่อน แล้วเอา กฎหมายมาใส่เขาว่าเขาบุกรุก ไล่เขาออกมาจากพื้นที่ที่เขาเคยอยู่ ถามว่าเขาอยู่แล้วต้นไม้ หายไปไหน ไม่ได้หายเพราะว่าเขารักษาระบบนิเวศ เขารู้ รัฐเองก็เอากฎหมายไปดูถูก ภูมิปัญญาของคนในท้องที่ คนชนเผ่าด้วยพูดง่าย ๆ หาว่าเขาตัดไม้ทำไร่เลื่อนลอย ทางภาคเหนือ นั่นคือภูมิปัญญาครับ ทำไปปี ๒ ปีแล้วก็ย้ายใหม่เพื่อให้ต้นไม้มันเกิดมา ให้มันรักษาหน้าดิน มีปุ๋ยมีอินทรียวัตถุอะไรต่าง ๆ ก็ตั้งว่าเขาทำไร่เลื่อนลอยไม่อยู่เป็นที่ เป็นทางว่าอย่างนี้ ผมเองก็ได้สัมผัสมาในส่วนของภาคอีสานเองก็มีการเรียกร้องว่าขอให้ รัฐบาลมีนโยบายแนวทางให้คนอยู่กับป่า ให้คนรักษาป่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ องค์เหนือหัว ร. ๙ ท่านได้พูดเรื่องน้ำ แต่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้พูดเรื่อง ป่า ผมเองก็จำได้ว่า ถ้าในหลวงจะรักษาน้ำ ข้าพเจ้าก็จะรักษาป่า ท่านตรัสอย่างนี้ ทุกวันนี้ คำ ๆ นี้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้พูด ยังขลังอยู่ไหม เพราะว่าเรามาสายเกินไปแล้ว แล้วพักหลังนี้ก็มีป่าชุมชน มันสายเกินไปแล้ว ท่านประธานเรื่องป่าชุมชน แล้วก็ไม่จีรังยั่งยืน สร้างขึ้นมาแล้วก็ไม่ได้มีงบประมาณอะไรลงไป ให้ช่วยขับเคลื่อนว่าแล้วคุณจะรักษาป่าในพื้นที่คุณอย่างไร ๑. มันขาดการมีส่วนร่วม ไปตบหัวแล้วลูบหลังใครจะช่วยคุณ ถ้าตราบใดที่ป่ายังมีการจับอยู่ ทุกวันนี้เขาไม่ช่วย คุณหรอก แล้วก็ให้โอกาสท้องถิ่นได้แสดงถึงศักยภาพด้วย มันถึงจะใช่ เพราะว่าที่ผ่านมา อำนาจรวมศูนย์ทั้งหมด ไม่เคยเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้แสดงวิสัยทัศน์ในการดูแลรักษาป่าเลย ท่านก็เอาแต่วิชาการ อยู่นั่น ไม่เอาภูมิปัญญามันไปไม่รอด เอาคนที่เรียนรู้เรื่องดินเรื่องป่า ในพื้นที่เขารู้ว่าต้นไม้อะไรปลูกแล้วไม่เกิน ๑๐ ปี แล้วเกิดเจริญรุ่งเรืองงอกงาม เขารู้ว่าต้นไม้ ชนิดนั้นเก็บน้ำได้เท่าไร อุ้มน้ำได้เท่าไรด้วย ทุกวันนี้ก็มีนโยบายส่งเสริมพลังงาน ป่าบ้านผม ป่าดงหมู แปลงที่ ๒ ที่ทะเลาะกันอยู่ เอากังหันลมไปใส่เป็นป่าต้นน้ำ ยังเป็นตาน้ำอยู่ทุกวันนี้ ยกตัวอย่างภูผาขาม ที่อำเภอหนองสูงยังเป็นตาน้ำอยู่ ยังมีตาน้ำออกจากธรรมชาติผุด ๆ ที่ชาวบ้านเขาได้ดื่มกินอยู่ ที่ตำบลดงมอน บ้านดงมอน น้ำผุดธรรมชาติชาวบ้านกินได้เลย ไม่ต้องมีกรอง นี่คือความอุดมสมบูรณ์ในอดีตที่ผ่านมา แล้วยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้ ทำให้คนรุ่นหลังได้เห็น ยกตัวอย่างใกล้ ๆ บ้านผมมีอยู่ ๒-๓ จุด ฉะนั้นแล้วฝากท่านที่จะ ศึกษาว่าส่งเสียงถึงรัฐบาลดีกว่า ถึงเวลาท่านจะเอาจริงหรือยัง ท่านต้องกระจายอำนาจไปให้ ท้องถิ่น ไปให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน ไปให้ผู้นำจิตวิญญาณเขาได้ขับเคลื่อนกระบวนการเรื่องนี้ ท่านอยู่ข้างหลัง ท่านเป็นผู้อำนวยการ อย่าไปสั่งเขา ให้เขาเอาภูมิปัญญากลับมา แล้วป่ามัน จะเกิด น้ำมันจะมี ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ สมาชิกได้อภิปรายครบถ้วนแล้ว ต่อไปเป็นการอภิปรายสรุปญัตติของ ผู้เสนอญัตติ ขอเริ่มที่ท่านทรงยศ รามสูต เรียนเชิญครับ
นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้เสนอญัตติ ซึ่งจากได้ฟังคำอภิปรายของเพื่อนสมาชิกทุกฝ่าย ที่ร่วมกันได้อภิปราย ทุกคนก็ได้ชี้จุดคล้ายคลึงกันว่าอยากจะรักษาป่าไว้ ป่าถูกทำลาย ไปเรื่อย อัตราป่าลดลงไปเรื่อย และที่ผ่านมางบประมาณของรัฐที่จะไปดูแลตรงนี้ ก็ไม่เพียงพอ แล้วก็ไม่พุ่งเป้าไปเฉพาะจุด อย่างเช่นงบดูแลป่า งบกันแนวไฟป่า หลายพื้นที่ เป็นจิตอาสา หรือได้งบมา ๒ วัน แต่ชาวบ้านทำงานกัน ๕ วัน บางครั้งก็ทำงานฟรี เป็นจิตอาสา ไม่ได้งบ ไม่ได้เงิน ค่าน้ำมันเองยังไม่ได้ แต่เขาก็ต้องออกเพื่ออะไร เพื่อที่จะ รักษาป่า เพราะป่าเป็นชีวิตจิตใจของเขา อยู่ใกล้หมู่บ้านของเขา ฉะนั้นการจัดตั้งกองทุน ขึ้นมาตรงนี้ก็วัตถุประสงค์อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วคือมีคณะกรรมการมาพิจารณาดูว่าเราจะ ดูแลรักษาป่าอย่างไรให้ป่าอยู่อย่างเต็มที่ ไม่เพียงแต่ดูแลป่า ดูแลสัตว์ที่อยู่ในป่า ดูแล ความชุ่มชื้นของป่า ดูแลน้ำที่อยู่กับป่า และดูแลคนที่เขาอยู่กับป่า รวมทั้งหมู่บ้านบริเวณ ชุมชนที่อยู่รอบ ๆ ป่าให้เขามีความเสถียรภาพ มีความเป็นอยู่ที่ดี มีความหวงแหนป่า แล้วก็ เสมอภาคในการที่รัฐจะเอางบไปดูแล แล้วก็ออกกฎหมายมาอุดรูช่องว่างช่องโหว่ที่เขาไม่ได้ รับความเป็นธรรมในหลาย ๆ เรื่อง นอกจากนี้ในแหล่งที่มาของกองทุนก็ยังได้กล่าวไว้เมื่อตอนที่ ผมนำเสนอแล้ว มาจากหลาย ๆ ฝ่าย เรื่องนี้ผมก็ไม่ติดใจว่าเราจะตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ก็จะดีก็จะรวดเร็วขึ้น ก็จะได้เชิญหลายฝ่าย หรือจะมอบไปให้กรรมาธิการสามัญก็ได้ กรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผมก็อยู่ตรงนั้น แต่ท่านประธาน ก็บ่นว่าหลายเรื่องส่งให้กรรมาธิการมาค่อนข้างจะเยอะ แต่งบประมาณไม่เพียงพอ อย่างไรก็ ถ้าส่งให้ชุดนี้ก็เกลี่ยงบมาให้ด้วย เจ้าหน้าที่ด้วย หรือว่าถ้าทางภาครัฐจะรับไปศึกษา ไปพิจารณา ก็ขอให้รับไปแล้วก็ตั้งคณะทำงานให้มันเป็นจริงเป็นจัง เพราะผมเห็นหลายครั้งรัฐบาลรับไป พิจารณา เรื่องของผมอาทิตย์ก่อนก็เรื่องให้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงปีงบประมาณ รัฐบาล ก็รับไปพิจารณา และหลายเรื่องที่เพื่อนสมาชิกเสนอที่รัฐบาลรับไปพิจารณา ผมว่าอาจจะมี เกณฑ์ว่า ๑๘๐ วันให้แจ้งให้เพื่อนสมาชิกที่เขาเสนอว่ารับไปพิจารณามันไปถึงไหน เพราะผมเห็นหลายครั้ง ไม่ใช่รัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลชุดก่อน ๆ มันอยู่ในลิ้นชัก รับไปพิจารณา แล้วก็ไม่เคยนำมาตอบ ดังนั้นก็อยากจะฝากว่าเป็นทางปฏิบัติว่าในอนาคตเป็นไปได้ไหม เรื่องที่รัฐบาลขอรับไปศึกษาไปพิจารณา อย่างน้อย ๑๘๐ วันส่งรายละเอียดว่าตอนนี้ฉันตั้ง คณะทำงานชุดนี้แล้ว ยังได้อุ่นใจว่ามันไม่ได้อยู่ในลิ้นชักแล้ว และไปถึงไหน แค่ไหน เพียงไร แต่อย่างไรก็อยู่กับเพื่อนสมาชิกจะพิจารณา ก็ฝากไว้ขอยื่นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ตามข้อบังคับการประชุม ข้อ ๔๙ ข้อ ๕๐ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านเลาฟั้งครับ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนเครือข่ายชาติพันธุ์ครับ ผมขอสไลด์เดิมด้วย แล้วก็ ไปที่สไลด์ที่ ๔
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ น้ำมี อยู่ทุกที่ โดยเฉพาะในระบบนิเวศของสังคมไทยเป็นระบบนิเวศป่าดิบชื้น ป่าร้อน แล้วก็เป็น เขตร้อนที่มีปริมาณฝนมากพอสมควร แล้วยิ่งโดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อนยิ่งมีฝนในปริมาณ ที่มาก เราก็จะเห็นว่าพื้นที่ภาคกลาง ภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นเขตร้อน ร้อนชื้น มีปริมาณ ฝนที่มากกว่าพื้นที่ภาคเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยป่า แล้วก็เป็นพื้นที่ป่าบนภูเขา ผมพูด อย่างนี้เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ที่มีการใช้น้ำโดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของคน แล้วก็พื้นที่ที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมใช้น้ำในปริมาณที่มาก ในขณะที่มีพื้นที่ในการจัดเก็บน้ำ ที่น้อย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จัดเก็บน้ำที่เราสร้างขึ้นมาหรือพื้นที่จัดเก็บน้ำที่เป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ป่า เมื่อเรามีพื้นที่ในการจัดเก็บน้ำที่น้อย ฝนที่ตกลงมาต่อให้มีปริมาณที่มาก ก็ไม่สามารถจัดเก็บไว้ให้ได้เพียงพอต่อความต้องการทั้งปี เราก็เลยจำเป็นที่จะต้องอาศัยน้ำ ที่มาจากต้นน้ำที่เป็นพื้นที่ป่า ซึ่งโดยปริมาณแล้วจะมีปริมาณน้ำที่น้อยกว่าพื้นที่ที่เราใช้ทำ ประโยชน์หรือว่าอยู่อาศัย เพราะฉะนั้นมันก็จึงมีความจำเป็นโดยปริยายที่เราจะต้องดูแล รักษา จัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำ ให้สามารถที่จะมีน้ำเพียงพอต่อความต้องการใช้ในระหว่างนี้ไป การที่จะทำให้น้ำเพียงพอ ต่อความต้องการใช้ นอกจากการดูแลพื้นที่ป่าต้นน้ำแล้ว พื้นที่ราบ พื้นที่เขตเมือง พื้นที่ ทำการเกษตรที่ไม่มีป่าแล้วก็ต้องมีวิธีการในการจัดเก็บน้ำด้วย การสร้างพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ ทำการเกษตรหรือว่าพื้นที่ทำประโยชน์อันนี้ก็เป็นวิธีการหนึ่ง ลำพังถ้าเราใช้พื้นที่ป่า อย่างเดียวมันไม่เพียงพอแน่ ๆ ผมขอไปที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ในมาตรา ๔๓ ซึ่งบัญญัติว่า บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่าง สมดุลและยั่งยืนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ มาตรานี้เป็นกฎหมาย แม่บทที่บัญญัติรับรองสิทธิของประชาชนในการเป็นเจ้าของ แล้วก็ร่วมในการบริหารจัดการ พื้นที่ป่า สิทธิของชุมชน ชุมชนจะทำหน้าที่ในการจัดการพื้นที่ป่า ดูแลรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำ ให้แก่ประเทศไทยได้จริง มันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องส่งเสริมแล้วก็สนับสนุนด้วย ๒ ประการที่ผมอยากจะย้ำก็คือ ประการแรก ให้มีสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมายหรือ เป็นนโยบายของรัฐบาลก็แล้วแต่ ประการที่ ๒ ก็คืองบประมาณไปสนับสนุนให้ชุมชน สามารถที่จะทำกิจกรรมหรือว่าดำเนินกิจการต่าง ๆ ในการดูแลแล้วก็บริหารจัดการพื้นที่ป่า ของชุมชนได้ ด้วย ๒ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะฉะนั้นในที่นี้สิ่งที่ผมอยากจะ เสนอแนะต่อทางรัฐบาลก็คือจำเป็นต้องพัฒนากลไกกฎหมาย หรือนโยบาย หรือกลไกที่จะ ทำให้ชุมชนมี ๒ ประการที่ผมพูดไปเมื่อสักครู่ ประการที่ ๑ ก็คือว่ามีสิทธิตามกฎหมาย ประการที่ ๒ ก็คือมีงบประมาณที่เพียงพอในการทำงาน ถ้ารัฐบาลสามารถที่จะดำเนินการ แบบนี้ได้ชุมชนก็จะมีแรงจูงใจในการที่จะดูแลรักษาพื้นที่ป่า รวมทั้งเอาพื้นที่ทำประโยชน์ ของตัวเองไปสร้างเป็นป่า โดยที่ตัวเจ้าของพื้นที่หรือชุมชนก็ยังเป็นเจ้าของที่ดิน แล้วก็ได้รับ ประโยชน์จากการที่เอาพื้นที่ของตัวเองไปสร้างเป็นป่าด้วย อันนี้ก็จะเป็นการสร้างแรงจูงใจ แล้วก็ทำให้พื้นที่ป่า พื้นที่ที่จะดูดซับน้ำเกิดขึ้นได้จริง เราคงไม่สามารถที่จะคาดหวังให้ ประชาชนเป็นอาสาสมัครทำงานด้วยจิตอาสา เอาชีวิต ทรัพย์สิน ของตัวเองไปเสี่ยงเพื่อที่จะ ทำให้รัฐมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นอย่างเดียว อย่างนี้มันคงเป็นเรื่องที่คาดหวังได้ยาก รัฐสามารถที่จะ ทำได้ แล้วสิ่งที่ผมพูดไปก็ไม่ได้เกินกว่ากำลัง ไม่ได้เกินไปกว่าอำนาจที่จะสามารถดำเนินการ อย่างน้อยที่สุดผมคิดว่ารัฐบาลควรมีนโยบายในการไปส่งเสริมและสนับสนุน แล้วก็ค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นกฎหมายที่เป็นทางการเพื่อที่จะรับรองให้ประชาชนที่อยากจะเข้ามามีส่วน ในการดูแลรักษา แล้วก็จัดการบริหารพื้นที่ป่าต้นน้ำได้มีโอกาสที่จะทำได้อย่างถูกต้องจริง ๆ ขอบคุณทุกท่านมากเลยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ในวาระที่ ๕.๑ ทั้งผู้เสนอญัตติทั้ง ๒ ญัตติก็ได้สรุปเรียบร้อยแล้ว ทีนี้ก็ยังฟัง ไม่ชัดเจนว่าจะส่งรัฐบาลหรือกรรมาธิการ แต่ว่าสิ่งที่ทางวิปสรุปมาว่าจะเป็นการส่งรัฐบาล ทางผู้เสนอญัตติทั้ง ๒ ท่านติดใจไหมครับถ้าเราทำตามมตินี้ ไม่ติดใจนะครับ ถ้าอย่างนั้น ผมขออาศัยอำนาจตามข้อบังคับ ข้อ ๘๘ ในการถามมติว่าที่ประชุมจะเห็นชอบหรือไม่ ให้เสนอทั้ง ๒ ญัตตินี้ส่งให้รัฐบาลพิจารณาครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ญัตติด่วนด้วยวาจา
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
- เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเพื่อกำหนด แนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญท่านสุภกรครับ
นายสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม สุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๒๒ ตัวแทน คนเขตสวนหลวงและเขตประเวศ พรรคก้าวไกลครับ ด้วยเหตุการณ์ความรุนแรงภายใน โรงเรียนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งแทบจะมีอยู่ทุกวัน ทำให้โรงเรียนซึ่งควรจะเป็นพื้นที่ปลอดภัย กลับกลายเป็นสถานที่ที่พ่อแม่หวาดกลัว เป็นห่วง เป็นกังวลไม่รู้ลูกหลานของตัวเอง จะปะเหมาะเคราะห์ร้ายวันไหน ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอเสนอญัตติด่วนด้วยวาจา ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๔ (๑) ให้สภาผู้แทนราษฎรได้ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเพื่อกำหนด แนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้อง มีสมาชิกท่านใดจะเสนอญัตติเพิ่มเติมไหมครับ เชิญท่านธีรรัตน์ครับ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านประธานค่ะ ดิฉัน ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธาน จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่สร้างความสะเทือนใจให้กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอยู่ในโรงเรียนขณะนี้ จากเหตุการณ์ที่มีนักเรียน ใช้อาวุธในการที่พกเข้ามาในโรงเรียนและทำร้ายเพื่อนจนถึงแก่ชีวิต สร้างความเศร้าใจให้กับ พวกเราเป็นอย่างมาก ดิฉันจึงเห็นว่าสภาของเราควรที่จะเป็นพื้นที่ที่จะหาทางออกให้กับ เรื่องนี้ ดิฉันจึงขออนุญาตท่านประธานและเพื่อนสมาชิกทุกท่านได้เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณากรณีเยาวชนก่อความรุนแรงและได้รับความรุนแรง ทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อหามาตรการในการป้องกันต่อไปค่ะ ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผู้รับรองญัตติถูกต้องครับ ขอเชิญท่านทศพร ครับ
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม นายทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ เราจะเห็นว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีการใช้ ความรุนแรงในเยาวชน ในนักเรียน ในนักศึกษามาตลอดเมื่อหลายเดือนก่อน ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ที่สยามพารากอน หรือว่าเมื่อ ๒ วันที่ผ่านมาก็มีการเสียชีวิตในโรงเรียน จึงมี ความจำเป็นที่จะต้องให้พวกเราสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ช่วยกันหาวิถีทางเพื่อจะวาง แนวทางในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ผมจึงขอเสนอญัตติให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันเสนอ แนวทางแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงในเยาวชน นักเรียน และนักศึกษา ขอผู้รับรองด้วยครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ผู้รับรองถูกต้องครับ มี ๓ ท่านที่เสนอญัตติด่วนวาจา ท่านสมาชิกครับ เนื่องจากข้อบังคับ ข้อ ๒๘ ได้กำหนดให้ที่ประชุมจะพิจารณาเฉพาะเรื่องที่อยู่ในระเบียบวาระ และต้อง ดำเนินการตามลำดับ เว้นแต่ที่ประชุมจะลงมติเป็นอย่างอื่น ดังนั้นผมต้องขอถามที่ประชุมว่า จะมีท่านใดคัดค้านการพิจารณาญัตติด่วนของท่านสมาชิกทั้ง ๓ ท่านหรือไม่ ถ้าไม่มีผมจะขอ อาศัยอำนาจตามข้อบังคับ ข้อ ๘๘ ถือว่าที่ประชุมลงมติเห็นชอบให้พิจารณาญัตติดังกล่าว เป็นเรื่องด่วน ขอเชิญผู้เสนอแถลงเหตุผลตามลำดับ เชิญท่านสุภกรครับ
นายสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม สุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๒๒ ตัวแทน คนเขตสวนหลวง เขตประเวศ พรรคก้าวไกลครับ ก่อนอื่นผมต้องขอแสดงความเสียใจ กับครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เพิ่งเกิดขึ้นในเขตสวนหลวง แล้วผม ขอส่งกำลังใจให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง คุณครู รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้กลับมามีขวัญกำลังใจโดยเร็ว ในฐานะของผู้แทนราษฎรเขตสวนหลวง ผมจะติดตาม เรื่องนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผู้สูญเสียได้รับความเป็นธรรม กระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจน กรุงเทพมหานครมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรม ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ความรุนแรงในโรงเรียนในปัจจุบันเป็นความรุนแรงที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะเป็นความรุนแรงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บฉกรรจ์ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต กรณีความรุนแรง ในโรงเรียนมัธยมย่านพัฒนาการ กรณีตะลุมบอนกลางโรงอาหารของเด็กนักเรียนที่จังหวัด ชลบุรี และกรณีครูลงโทษเด็กอย่างพิสดารที่จังหวัดสมุทรปราการ ทั้ง ๓ กรณีนี้ทำให้เรา เห็นได้ว่ามีความรุนแรงแฝงตัวอยู่ในโรงเรียน ซึ่งมาจากระบอบอำนาจนิยมที่กดทับเด็ก สะสม บีบคั้นเด็กอยู่ทุกวัน ตลอดจนถึง การ Bully กันในโรงเรียนจนสั่งสมเป็นความเครียดและนำมาสู่การระเบิดอารมณ์แก้แค้นกัน นั่นเป็นปัญหาใหญ่มากที่พวกเราควรจะหันมาใส่ใจกันมากขึ้นเพื่อหาทางออก และทำให้ โรงเรียนกลับมาเป็นพื้นที่ปลอดภัยของนักเรียน และเป็นสถานที่ที่พ่อแม่ไว้วางใจได้อีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นครับท่านประธาน ปัญหาการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะ ช่วงเวลาที่เกิดเหตุเท่านั้น แต่การศึกษาและวิจัยจำนวนมากพบว่าการใช้ความรุนแรง ในโรงเรียนจะสร้างบาดแผลในระยะยาวต่อทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ถูกกระทำ ซึ่งส่งผลต่อ การใช้ชีวิตของผู้ถูกกระทำในระยะยาว พูดง่าย ๆ เด็กที่มีภาพจำหรือฝังใจเหตุการณ์ ความรุนแรงไปแล้วการจะลบภาพจำเหล่านั้นทำได้ยากมาก ๆ ต้องใช้เวลานาน ใช้เวลา ในการฟื้นฟูเยียวยาเพื่อให้บาดแผลในใจคลี่คลาย ถือเป็นการสูญเสียศักยภาพของคน ๆ หนึ่ง ไปอย่างใหญ่หลวง ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ในโรงเรียนที่มีการทำร้ายกันในย่าน พัฒนาการซึ่งเป็นเขตที่ผมเป็นตัวแทนอยู่ ผมได้ลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ผมจะพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงประเด็นที่เปราะบางและอ่อนไหวเพื่อไม่ให้ผู้ที่กำลัง เสียขวัญได้รับผลกระทบเพิ่มเติม โดยผมจะพยายามพูดถึงเนื้อหาประเด็นที่เป็นประโยชน์ ในการปรับปรุงให้ดีขึ้นในอนาคตเท่านั้น เหตุการณ์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าสถานศึกษา ในปัจจุบันไม่มีมาตรการป้องกันความรุนแรงและการระงับเหตุอย่างทันท่วงที นอกจากนั้นยัง มีเรื่องที่สะเทือนขวัญไปกว่านั้น นั่นคือในเหตุการณ์นั้น ในวันที่เกิดเหตุนั้นมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ มาประชุมร่วมกับโรงเรียน มีป้อมยามที่อยู่ห่างจากเหตุการณ์ไม่กี่เมตรเท่านั้นเอง แต่พวกเขา เหล่านั้นไม่สามารถระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที นักเรียนตกอยู่ในภาวะชุลมุนไม่รู้ว่าตัวเอง ต้องทำอะไร ไม่มีกลไกในการกันตัวเด็กนักเรียนคนอื่น ๆ ให้ออกจากพื้นที่ กว่าผู้ที่ได้รับ บาดเจ็บจะได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกต้องตามหลักการปฐมพยาบาลก็ผ่านไปหลายนาที หากว่ามีการซักซ้อมบทบาทหน้าที่กันมาก่อนหน้านี้ วางบทบาทกันให้ชัดเจนของบุคลากร ภายในโรงเรียนผมเชื่อว่าจะสามารถระงับเหตุได้ดีกว่านี้ และสถานการณ์ที่เป็นก็อาจจะได้รับ การคลี่คลายดีกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ต้องเข้าใจด้วยนะครับ เรื่องนี้ผมไม่ได้โทษครู ผมไม่ได้โทษ โรงเรียน แต่เราต้องโทษไปที่ฝ่ายบริหารที่ไม่ให้ความสำคัญ ไม่ได้สนใจในเรื่องนี้เลย ไม่มี การอบรมซักซ้อมเพื่อรับมือเหตุการณ์ ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนที่มุ่งจะทำให้โรงเรียน ปลอดจากความรุนแรงและการ Bully แม้เหตุการณ์จะได้ผ่านไปแล้ว แต่สิ่งที่ต้องติดตาม อย่างใกล้ชิดก็คือการเยียวยาให้ผู้สูญเสียได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด แล้วต้องไม่ลืมที่จะ ฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งจำเป็นจะต้องประสานไปยังนักจิตวิทยาเพื่อให้คำแนะนำและดูแล สภาพจิตใจของนักเรียนภายในโรงเรียน รวมถึงผู้ปกครองและคุณครู ซึ่งผมจะติดตาม การเยียวยาและการฟื้นฟูสภาพจิตใจของบุคลากรในโรงเรียนนี้อย่างใกล้ชิด จนกว่าโรงเรียนนี้ จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ยิ่งไปกว่านั้นเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า กระทรวงศึกษาธิการและกรุงเทพมหานครใส่ใจกับปัญหาความรุนแรง อำนาจนิยมและ การ Bully ในโรงเรียนนี้น้อยเกินไป ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จึงเกิดวนเวียนซ้ำไปซ้ำมา ที่เราเห็น ที่ผ่านมาก็เฉพาะข่าวใหญ่ ๆ เท่านั้น นี่เรายังไม่พูดถึงกรณีเล็ก ๆ ที่ทำให้เด็กจำนวนมาก ไม่อยากไปโรงเรียน ซึ่งถือเป็นอีกปัญหาหนึ่งของระบบการศึกษาไทย เพื่อให้ทางโรงเรียน ต่าง ๆ มีมาตรการป้องกันไม่ให้เหตุความรุนแรงนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ผมขอเสนอให้มีการแก้ไข ปัญหาอย่างเป็นระบบ ดังนี้
นายสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๑. พัฒนาทักษะให้ครูสามารถสังเกตปัญหาสุขภาพจิตและปัญหา ด้านพฤติกรรมของนักเรียนได้ แม้ว่าในปัจจุบัน กทม. ได้เริ่มแล้ว เริ่มอบรมคัดกรองการดูแล เด็กพิเศษและฝึกครูเด็กพิเศษไปบ้างแล้ว แต่ผมอยากเห็นหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีโรงเรียน ในสังกัด ไม่ว่าจะเป็น สพฐ. อาชีวศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ดูแลทั้งเด็กปกติด้วย ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ การสังเกตอาการได้ต้องอาศัยการพูดคุย การใช้เวลาที่นักเรียน อยู่กับครูร่วมกันในคาบ Homeroom ผมย้ำนะครับ Homeroom นี้ต้องทำให้มีความหมาย และมีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนในการจัดการกับปัญหา Bully และความรุนแรงในโรงเรียนได้ อย่างจริงจังครับท่านประธาน
นายสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๒. การจัดการกรณีการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน โรงเรียนต้องมีแนวปฏิบัติ ในการจัดการกรณีการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนที่ชัดเจน มีมาตรการคัดกรองบุคคลภายนอก ที่จะเข้ามาภายในโรงเรียนหรือแอบเข้ามาภายในโรงเรียน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ต่อเหตุการณ์ของบุคลากรภายในโรงเรียนว่าใครทำหน้าที่อย่างไร และควรจะมีการซักซ้อม กันเป็นประจำทุกปีครับ เช่น การพานักเรียนเข้าไปหลบในพื้นที่ปลอดภัย การที่เจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัยเข้าไประงับเหตุเบื้องต้นได้ทันที และมีครูที่ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ และรถพยาบาลเพื่อเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที มีบุคลากรที่พร้อมจะปฐมพยาบาล เบื้องต้นได้เพื่อให้ปัญหาทุกอย่างได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที เวลาที่เสียไปกับสภาวะชุลมุน และอาการที่ตกอยู่ในภวังค์หลังการเกิดเหตุต้องมีให้น้อยที่สุด การจัดการกับกรณี การใช้ความรุนแรงที่ล่าช้าไม่จริงจัง เช่น การขาดการประสานงานกับผู้ปกครองของนักเรียน ที่มีพฤติกรรมที่ใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องและที่ไม่ต่อเนื่องจะส่งผลให้คนดังกล่าวใช้ ความรุนแรงกับเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ ต่อไป และจะส่งต่อนิสัยการใช้ความรุนแรงให้กับเพื่อน นักเรียนคนอื่น ๆ ด้วย
นายสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๓. การเยียวยาในการฟื้นฟูนักเรียนที่ถูก Bully อย่างต่อเนื่อง แม้ว่า ในขั้นตอนนี้จะไม่ใช่การป้องกันการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนก็ตาม แต่ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอน สำคัญในการยับยั้งผลกระทบทางลบจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนไม่ให้ลุกลามบานปลาย เช่น ปัญหานักเรียนที่ Bully มีภาวะซึมเศร้าจนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา โรงเรียน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญกับการเยียวยาและฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของ ผู้ถูกกระทำอย่างต่อเนื่อง เพราะบาดแผลที่เกิดขึ้นนี้โดยเฉพาะทางจิตใจอาจจะดำรงอยู่ เป็นเวลานาน และที่สำคัญที่สุดประโยคที่บอกกันว่า การ Bully คือเด็กมันเล่นกัน เราควร จะต้องยุติได้แล้วครับ ทั้งนี้ผมขอวิงวอนให้ผู้ที่มีคลิปบันทึกเหตุการณ์ความรุนแรงไม่ส่งต่อ หรือเผยแพร่คลิปดังกล่าว ทางที่ดีที่สุดผมวิงวอนให้ลบคลิปความรุนแรงนั้น เพื่อไม่ให้เด็ก ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในเหตุการณ์ต้องมาเห็นภาพความรุนแรงซ้ำแล้ว ซ้ำอีก เหมือนถูกกระทำ ทำร้ายซ้ำแล้วซ้ำต่อเนื่องไป ท่านประธานครับ ทั้งหมดนี้ที่ผม ได้นำเสนอไปเป็นแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้กับ นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากรทางการศึกษา และเป็นการสร้างมาตรฐาน ความปลอดภัยและความพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ความรุนแรงในสถานศึกษา และจะเป็น หลักประกันให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง สบายใจได้ว่าลูกหลานของเขาจะได้รับการเรียนรู้และเติบโต อย่างมีความสุขและมีความปลอดภัยภายในโรงเรียน ในฐานะพ่อคนหนึ่งของลูก ผมหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าทางออกที่ผมได้เสนอในวันนี้รัฐบาลจะนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้ ความรุนแรงในโรงเรียนทุกรูปแบบหมดไปจากสังคมไทยโดยเร็ว ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ลำดับต่อไปเชิญท่านธีรรัตน์ครับ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านประธาน ดิฉัน ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ดิฉันรวมทั้งเพื่อนสมาชิกทุกท่านก็ต้องขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์สูญเสียเด็กนักเรียน ที่เกิดขึ้นใน ๒-๓ วันที่ผ่านมานี้ แล้วก็ยังเป็นความสะเทือนใจของพวกเราทุกคน อย่างที่ดิฉันได้กล่าวไปแล้วว่าเราต้องมาร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันแล้วก็แก้ไขไม่ให้ เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่เรื่อย ๆ ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ พวกเราต้องมาช่วยกัน ไม่โยนหน้าที่นี้ให้เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เท่านั้น อย่างที่ดิฉันจะได้กล่าวต่อไปในเรื่อง ญัตติด่วนด้วยวาจา ขอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณากรณีเยาวชนก่อความรุนแรง และได้รับความรุนแรงทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อที่จะหามาตรการในการป้องกันต่อไป ท่านประธานคะ ความรุนแรงในโรงเรียนนั้น หมายถึงการกระทำใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อนักเรียนทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำภายในหรือภายนอกโรงเรียนก็ตาม รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น ต่อทรัพย์สินโดยการทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ กักขัง ลักพาตัว การใส่ร้ายป้ายสี การกรรโชกทรัพย์ การบังคับขู่เข็ญ การใช้ความรุนแรงทางเพศ การกลั่นแกล้งกัน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือ ทาง Social ต่าง ๆ การเผยแพร่ข้อมูลที่หยาบคายรุนแรงผ่านเครือข่ายข้อมูลและการสื่อสาร ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมาก ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเหมือนเป็นยาพิษที่เยาวชนของเรา กินอยู่ทุกวัน เสพอยู่ทุกวันจนทำให้เกิดการซึมซับในพฤติกรรมที่จะก่อปัญหาขึ้นในอนาคตได้ ความรุนแรงในโรงเรียนเป็นปัญหาที่เกิดบ่อย แล้วก็ดูว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เรามีรายงาน ผลการวิจัยของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัดที่ทำการสำรวจ เด็กและเยาวชนจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ รายทั่วประเทศ พบว่าเด็กนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ปวช. ปวส. ๑ ใน ๑๐ หรือประมาณ ๗๐,๐๐๐ คนตกอยู่ในวังวนของ การใช้ความรุนแรงและใช้กำลังกันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง แล้วก็ที่เราเรียกกันว่า Cyberbully ซึ่งหลายครั้งนำไปสู่การทำร้ายตัวเองบ่อยครั้งมาก จากเหตุการณ์ความรุนแรง ที่ดิฉันได้กล่าวไปในเบื้องต้นที่มีการใช้อาวุธทำร้ายกันจนถึงแก่ชีวิตที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา ในกรุงเทพมหานครนี้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเลย ถ้าเราจะย้อนกลับไป เมื่อปลายปีที่แล้วเมื่อเดือนตุลาคม เหตุการณ์นักเรียนใช้อาวุธปืนกราดยิงในห้างสรรพสินค้า นี่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่มีผู้เสียชีวิตแล้วก็ผู้บาดเจ็บหลายรายด้วยกัน มีชาวต่างชาติรวมอยู่ในนั้นด้วย ฉะนั้นแล้วมันไม่ได้เกิดแค่ในสถานศึกษาเท่านั้น ภายนอกสถานศึกษาเราก็ได้ยินข่าวนี้กัน บ่อยครั้งจนน่าตกใจ นอกจากเหตุการณ์ที่นักเรียนเป็นผู้กระทำแล้ว ๒ วันที่แล้วก็ยังมี เหตุการณ์ที่นักเรียนถูกกระทำค่ะ ที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ล่วงละเมิดทางเพศนักเรียนหญิง ขณะที่กำลังเดินทางไปโรงเรียน เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทยคะท่านประธาน ทำไมจึงมี เหตุการณ์ที่เราพยายามจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น แต่กลับเกิดถี่ขึ้นจนเรานั้นคิดว่าผู้ปกครอง เองนั้นจะสามารถดูแลลูกหลานของท่านได้อย่างที่ตั้งใจหรือไม่ เพราะว่าสิ่งที่ดิฉันกำลัง จะบอกไปค่ะ วันนี้นักเรียนที่ถูกทำร้ายแล้วก็ใช้ความรุนแรงแล้ว แม้แต่ครูเองก็ยังอยู่ ในสถานที่ที่ยังไม่สามารถป้องกันตนเองได้เช่นเดียวกัน ดิฉันขออนุญาตยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ครูเวรที่จังหวัดเชียงราย ที่ท่าน สส. วิสาระดีท่านได้เป็นห่วงแล้วก็มีความกังวล อย่างมากที่ครูสตรีท่านหนึ่งถูกทำร้ายภายในโรงเรียน แล้วก็ทางท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน เมื่อได้ทราบเรื่องท่านเองก็กังวลใจแล้วก็ได้มีการปรึกษาหารือกับทาง หน่วยงาน ทางรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จนนำมาซึ่งคำสั่งการในการยกเลิกครูเวรขึ้น ฉะนั้นก็ถือว่า เป็นสิ่งที่เมื่อรัฐบาลได้รับทราบแล้ว แล้วก็ดำเนินการหาทางแก้ไข แล้วก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เหตุการณ์ที่ร้ายแรงต่อคณะครู บุคลากรทางการศึกษานั้นจะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต อย่างที่ ดิฉันเป็นกังวลที่ได้กล่าวไปว่าเราพยายามป้องกันทุกวิถีทาง แต่ทำไมเรายังได้ยินข่าวเช่นนี้ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันสะท้อนถึงความผิดปกติของสังคมไทยค่ะ ดิฉันจะไม่ขอกล่าวย้ำ ในความสูญเสียที่เกิดขึ้น เพราะว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าจะเกิดจากการกดดันจาก สภาพแวดล้อม หรือว่าจากปัญหาสุขภาพจิตของผู้ก่อเหตุเองก็ตาม เพราะดิฉันคิดว่าสิ่งที่เราต้องระมัดระวัง มากในขณะนี้ก็คือ สภาพจิตใจของนักเรียนและเยาวชน รวมถึงสุขภาพจิตใจของผู้ปกครอง และบุตรหลานที่ก้าวเท้าออกจากบ้านเพื่อที่จะไปโรงเรียนว่าในวันหนึ่ง ๆ พวกเขาต้อง พบเจอกับอะไรบ้าง ฉะนั้นแล้วสิ่งที่ดิฉันอยากพูดถึงในวันนี้ก็คือพวกเราและรัฐบาล พวกเรา ต้องมาร่วมมือกันในการที่จะหาแนวทางในการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก อย่างที่ดิฉันเรียนไปค่ะ ทุกคนถือว่ามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บ้าน และสถานศึกษา ผู้ปกครอง พ่อแม่ ครอบครัว และครูมีส่วนสำคัญอย่างมากในการป้องกัน เหตุการณ์เหล่านี้ ผู้ปกครองเองก็อาจจะต้องคอยสังเกตบุตรหลานของท่านอยู่เสมอ ด้วยความใส่ใจ แม้ว่าในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำไปอย่างไรก็ตาม แต่เราต้องอย่าปล่อย ให้ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวนั้นต้องห่างกันไปด้วยค่ะ สื่อ Social มีอิทธิพล อย่างมากกับการใช้ชีวิตของเด็กและเยาวชน สื่อทุกรูปแบบในปัจจุบัน น้อง ๆ นักเรียน สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายและได้รับอิทธิพลจากสื่อเหล่านั้น นี่ก็คิดว่าเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ในการที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบขึ้นได้ ครูต้องดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด หากนักเรียน มีพฤติกรรมที่ผิดสังเกต ซึ่งอาจจะเป็นเหตุในการบอกว่ามีสัญญาณที่จะเกิดความรุนแรง ในโรงเรียนได้ อาการที่อาจจะเป็นสัญญาณผิดปกตินี้ เช่น ตัวน้อง ๆ นักเรียนเองมีท่าทีหวั่นไหว รู้สึกไม่สบายใจเมื่อคุณครูได้เข้าไปพูดคุยหรือสอบถามถึงปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตของเขา แล้วเขารู้สึกประหม่าหรือมีท่าทีที่ไม่มั่นใจ อันนั้นเราก็พอจะอนุมานได้ว่ามีสิ่งผิดปกติ ที่เกิดขึ้น อาการที่เกิดขึ้นอีกอย่างเช่นมีการพูดคุยว่าอยากจะย้ายโรงเรียน ไม่อยากอยู่ ที่นี่แล้ว หรือว่ามีอาการไม่อยากที่จะทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน นี่ก็อาจจะเป็น สัญญาณอย่างหนึ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าน้อง ๆ เกิดความไม่พอใจหรือความไม่สบายใจในการใช้ ชีวิตอยู่ในโรงเรียนแห่งนั้น หรือในกรณีที่บุตรหลานมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ชอบแกล้งเพื่อน แกล้งสัตว์ ใช้ความรุนแรง ใจร้อน ชอบพูดจาให้ร้ายในทำนองนินทาเพื่อน ๆ พฤติกรรม เหล่านี้ก็อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงในอนาคตได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อผู้ปกครองและครูพบเห็น บุตรหลานของท่านมีพฤติกรรมที่แปลกแยกไป เรื่องของการพูดคุย การให้ความใส่ใจ คือสิ่งสำคัญค่ะ ดิฉันยังถือว่าสถาบันครอบครัวคือสิ่งที่จะทำให้น้อง ๆ นั้นได้อยู่ในสภาพ สังคมได้อย่างดีที่สุด การดูแลจากคุณพ่อคุณแม่จะเป็นพื้นฐานของชีวิตอย่างดีในการที่เขา จะใช้ชีวิตได้อย่างมีสติในอนาคตด้วย ซึ่งจากการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้แนะนำ ถึงแนววิธีในการลดความรุนแรงในสถานศึกษาด้วยค่ะ เช่นในเรื่องของการส่งเสริมแล้วก็ เปลี่ยนแปลงค่านิยมวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง รวมถึงการที่จะปลูกฝัง การเคารพการมีศักดิ์ศรีของบุคคลอื่นที่จะไม่แบ่งแยกทั้งชายและหญิงด้วย ในเรื่องของ การเสริมสร้างความมั่นคงระหว่างเด็กและพ่อแม่ให้เข้มแข็ง และเริ่มด้วยการพัฒนาทักษะ การใช้ชีวิตของเด็กและเยาวชนเพื่อที่จะลดปัญหาความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว หรือต่อเด็กและสตรี ลดการใช้สุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่อาจจะเป็นสาเหตุ ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมได้ ร่วมกันเสริมสร้างลักษณะนิสัยให้เห็นถึงอันตรายจากการใช้ อาวุธมีด ปืน ยาพิษต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ถ้าหากว่าเขาได้รู้ถึงพิษภัยของมัน ถ้าหากใช้ไปในทางที่ ผิดแล้วก็จะลดปัญหาที่จะตามมาในอนาคต การควบคุมในการนำเสนอของสื่อที่อาจจะ ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน เรายังคงต้องช่วยกันจับตาดูต่อไป การที่ทางภาครัฐจัด โปรแกรมในเรื่องของการดูแลแล้วก็ช่วยเหลือต่อผู้ที่ได้รับความรุนแรงเหล่านี้ก็ยังถือว่า มีความสำคัญ เพราะว่าเมื่อเขาได้ประสบเหตุแล้วเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าไป เยียวยาแล้วก็ฟื้นฟูดูแลจิตใจของพวกเขาค่ะ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ส่วนสุดท้ายการนำหลักศาสนาเข้ามามีส่วนช่วยในการดำเนินชีวิต ได้มี การพูดถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งดิฉันคิดว่าถ้าหากว่า เยาวชนของเรามีพื้นฐานที่ดีตรงนี้ การที่จะไม่ใช้ความรุนแรงเข้ามาในการตัดสินปัญหานั้น น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะเราต้องให้เขามีความเข้าใจว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น ไม่สามารถเป็นทางออกของปัญหาใด ๆ ได้เลยค่ะ ต้องเรียนว่าทางพรรคเพื่อไทยเราได้ รับทราบปัญหานี้เป็นอย่างดี เพราะว่าการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา รวมถึงสิ่งที่ทางเพื่อน สมาชิกได้มาสะท้อน นั่นคือเราได้พบว่าในช่วงของสถานการณ์โควิด-๑๙ ที่ระบาด เด็กนักเรียนต้องอยู่กับบ้าน ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว เรียนหนังสือผ่านช่องทาง Online ไม่ได้ไป โรงเรียนกัน ฉะนั้นแล้วผู้ปกครองที่ไปทำงานในช่วงชีวิตนี้ของน้อง ๆ นักเรียนหายไปเลย ที่จะได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในการทำงานเป็นหมู่คณะ ในการทำงานเป็นกลุ่ม ทักษะในการ เข้าสังคมขาดหายไป ดิฉันคิดว่าตรงนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้เยาวชนนักเรียนของเรา ประสบปัญหาเรื่องของสุขภาพจิตมากขึ้น และหนึ่งในนโยบายจากทางพรรคเพื่อไทยที่ ภายหลังวิกฤติโควิดนั่นก็คือ เรามีเรื่องของ Mental Health นั่นก็คือสุขภาพจิตของคนไทย จะไม่ถูกละเลย มีการให้คำปรึกษาจากจิตแพทย์แล้วก็นักจิตวิทยา คลินิกต่าง ๆ แล้วก็ที่เรา เสริมเพิ่มเติมเข้ามาในขณะนี้ได้นำมาประยุกต์ใช้แล้วนั่นก็คือการโทรปรึกษาในเรื่องนี้ผ่าน ระบบ Telemedicine ซึ่งในปัจจุบันนี้แล้วก็ต่อไปเรากำลังที่จะเร่งพัฒนาแล้วก็เพิ่มจำนวน ของนักจิตแพทย์ให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับปัญหาที่เกิดขึ้น ในอนาคตค่ะ ดิฉันได้ทราบดีว่าทางกระทรวงศึกษาธิการมีสายด่วนในการให้คำปรึกษา คำแนะนำเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาได้ที่หมายเลข ๑๕๗๙ แต่ถ้าหากว่าเป็นเรื่องของ พฤติกรรมที่ก้าวร้าวของเด็กหรือว่าการที่ผู้ปกครองมีการใช้ความรุนแรงต่อนักเรียน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราสามารถโทรได้ที่สายด่วน ๑๓๐๐ ค่ะ ดิฉันคิดว่าถ้าหากว่าเราใช้เครื่องมือที่เรามีอยู่ ในปัจจุบันนี้ให้ได้เป็นประโยชน์ ก็เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนได้ทราบว่าเวลามีปัญหา แล้วจะต้องปรึกษาใครได้บ้าง ก่อนที่ความรุนแรงอย่างที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้น ดิฉันก็คิดว่า จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ใน Social มีการถกเถียงกันมากมายถึงการปรับอายุเยาวชน ที่ทำความผิดว่าควรจะลดลงจากปัจจุบันหรือไม่ และเป็นเท่าไรจึงจะเหมาะสม ดิฉันคิดว่า ในสิ่งนี้ยังต้องพูดคุยกันอีก รวมถึงเรื่องที่โรงเรียนมีการตรวจอาวุธนักเรียนหรือไม่ เพราะว่า มันเป็นเหรียญ ๒ ด้าน อีกมุมหนึ่งก็คือการลิดรอนสิทธิในเรื่องของการที่จะต้องไปตรวจค้น อาวุธของเด็กทุกวัน แต่อีกด้านหนึ่งก็คือเรื่องของความปลอดภัยของนักเรียนคนอื่น ๆ ที่จะต้องไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในนั้นทั้งวัน ฉะนั้นแล้วดิฉันคิดว่าสิ่งเหล่านี้เราควรที่จะต้อง นำมาพูดคุยกันเพื่อที่จะหาแนวทางในการป้องกันเหตุร้าย แล้วก็ให้สิ่งที่พี่น้องประชาชน รวมถึงเยาวชนนักเรียนของเรานั้นจะต้องดำเนินชีวิตอยู่ในโรงเรียนนั้นมีความปลอดภัย อย่างสูงสุด ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนจะต้องร่วมกันหยุดความรุนแรงในโรงเรียน ร่วมกัน สร้างพื้นที่ในโรงเรียนให้เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนจริง ๆ จึงเป็นที่มาของญัตติด่วน ด้วยวาจาในวันนี้ และดิฉันคิดว่าผลสรุปจากการประชุมในวันนี้จะนำมาซึ่งทางออกของ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ขอบคุณท่านประธานค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญผู้เสนอญัตติท่านสุดท้าย ท่านทศพร เสรีรักษ์
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจ กับครอบครัว ญาติพี่น้องของผู้ที่สูญเสีย ท่านประธานครับ การใช้ความรุนแรง ในเด็ก ในเยาวชน ในนักเรียนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมายาวนาน เราได้ยินกันเป็นเป็นประจำ ในสมัยก่อนที่นักเรียนตีกัน นักเรียนยกพวกเข้าไปตีกัน ทำร้ายกัน สมัยที่ท่านทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นผมเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรามีมา ตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว สายด่วน ๑๕๗๙ ที่ไปแก้ไขปัญหานักเรียนตีกันอยู่เป็นประจำ การใช้ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนมันไม่ได้จำกัดวงอยู่ในเด็กที่อายุมาก มันลงไปถึง เด็กเล็ก ๆ แล้ว ท่านประธานทราบไหมว่าเมื่อ ๓-๔ สัปดาห์ก่อน เด็กนักเรียนที่จังหวัดตรัง ไปฟ้องครูว่าเพื่อนเอาบุหรี่ไฟฟ้าไปสูบในโรงเรียน ปรากฏว่าเด็กนักเรียนที่ถูกฟ้องเอาดินสอ ไปแทงตาเพื่อนที่ไปฟ้องครู ตอนนี้ก็ยังต้องรักษาตัวอยู่ เมื่อหลายเดือนก่อนเหตุการณ์ที่ พารากอนก็สร้างความสะเทือนใจให้พวกเรา มีทั้งคนที่เจ็บ คนที่เสียชีวิต ซึ่งผมก็ได้ไปติดตาม ไปเยี่ยมเยียน ไปดูแลทั้งครอบครัวของผู้ที่บาดเจ็บที่โรงพยาบาล แล้วก็ผู้ที่เสียชีวิต ผมได้ไป เยี่ยมที่โรงเรียนของเด็กที่ก่อเหตุ ได้ไปพูดคุยกับโรงเรียน ได้พูดคุยกับกรมสุขภาพจิต ได้พูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่จะพยายามหาแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งก็พบว่าที่โรงเรียนแห่งนั้น มันมีข้อดีอยู่อย่างหนึ่งคือเขามีนักจิตวิทยา แล้วเขาเห็นสภาพเด็กที่ผิดปกติอยู่แล้ว แล้วเขา จับตาดูอย่างใกล้ชิดแล้ว แต่บังเอิญเหตุมันเกิดขึ้นตอนที่โรงเรียนปิดเทอม แล้วเด็กก็ไปก่อ เหตุการณ์ใช้ความรุนแรงที่พารากอน เมื่อ ๒ วันก่อนที่โรงเรียนแห่งหนึ่งที่เราทราบกันแล้วว่า มีการแทงกันเสียชีวิต ฟังแล้วตกใจ เมื่อวานผมก็ได้เข้าไปในโรงเรียนทันที โรงเรียนสั่งปิด ๓ วัน ผมก็ได้เข้าไปพูดคุยปรึกษาหารือกับท่านผู้อำนวยการโรงเรียน ไปพูดคุยกับครู ในโรงเรียน กับประธานชุมชน กับผู้ปกครองนักเรียน แล้วก็กับน้อง ๆ นักเรียน อันหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลก็คือเรื่องของสื่อ สื่อมีการตีพิมพ์ไปว่าน้องที่ถูกแทงเสียชีวิตไปรังแก เขาก่อน ไปรีดไถเงิน หรือไปทำอะไรก็ตามจนเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งพอไปสืบเสาะค้นปัญหาจริง ๆ แล้วปรากฏว่าลุงของน้องที่เสียชีวิตได้เล่าให้ฟังว่าเวลาน้องไปโรงเรียนคุณแม่ก็ให้สตางค์ ทุกวัน แล้วลุงเองที่ขับวินมอเตอร์ไซค์ก็แถมสตางค์ให้ไปอีก เพราะฉะนั้นน้องไม่เคยมีปัญหา เรื่องเงินเลย แล้วน้องเป็นเด็กดี จะทำความสะอาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า หุงข้าว คุณยายที่ป่วย ไม่สบายน้องก็จะคอยเช็ดอุจจาระ ปัสสาวะให้ตลอด แล้วน้องก็เป็นคนค่อนข้างอ่อนไหวหรือ เรียกง่าย ๆ ว่า ขอประทานโทษ อาจจะขี้แยนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่น้องจะไป รีดไถใคร ไปรังแกใครจนเกิดเรื่อง แต่ในทางกลับกันปรากฏว่าเพื่อน ๆ ก็เล่าให้ฟังว่าเด็กที่ก่อ ปัญหานี้เป็นเด็กที่ค่อนข้างมีปัญหา เป็นเด็กที่อยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข บางทีก็ชอบวิ่งไปรอบโรงเรียน บางทีก็นอนดิ้นอยู่กับพื้นแล้วก็คุยกับตัวเองคนเดียว เคยมีวันที่เด็กคนนั้นถือมีดไปเดินโชว์ ในโรงเรียนอะไรอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเราจะเห็นว่าทั้ง ๒ กรณี เด็กคนนี้จะเป็นเด็กที่อาจจะมี พฤติกรรมที่ผิดปกติ มีปัญหาทางจิตใจผิดปกติ ตรงนี้เป็นอะไรที่เราต้องใส่ใจ เราต้องสังเกต ให้มาก ๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นบทเรียนให้เราที่จะต้องหาแนวทาง หาวิถีทาง ผมจะยัง ไม่ลงไปในรายละเอียดในข้อเสนอของผมว่าจะทำอย่างไร แต่ผมอยากรับฟังข้อเสนอ แนวทาง ที่จะระดมความคิดจากเพื่อน สส. ทั้งสภาที่จะเอาไปประมวล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่าน สส. ที่เสนอญัตติท่านแรกของพรรคก้าวไกล และท่าน สส. ธีรรัตน์ ของพรรคเพื่อไทย ท่านก็ได้เสนอแนวทางที่ดีเป็นส่วนหนึ่งแล้ว ผมจะรอฟังการระดมความคิดเห็นจากเพื่อน ๆ เราทุกคน แล้วก็จะไปผลักดันเอาไปปฏิบัติให้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ในนักเรียน ในนักศึกษา และในเยาวชนต่อไป ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ผู้เสนอญัตติทั้ง ๓ ท่านเสนอเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเป็นการอภิปรายของสมาชิก ตอนนี้มีฝ่ายค้านลงชื่อ ๙ ท่าน ฝ่ายรัฐบาล ๑๐ ท่าน จะเป็นการเรียกสลับ ๑ ต่อ ๑ เชิญท่านแรกของฝ่ายค้าน ท่านวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ครับ
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล ถ้าท่านประธานติดตามผมก็จะทราบว่าในทุกเวทีนี้ผมย้ำอยู่เสมอว่าโรงเรียนต้องเป็นพื้นที่ ปลอดภัยทั้งกายและใจของทุก ๆ คนที่อยู่ในโรงเรียน ทั้งนักเรียน ครู ผู้ปกครอง บุคลากร ทางการศึกษาและรวมถึงผู้บริหารสถานศึกษาด้วย แต่อย่างไรก็ตามทุกวันนี้เราเกิดอะไร ในโรงเรียน ครูทำร้ายนักเรียน อย่างกรณีล่าสุดใช้เข็มมาเจาะปากนักเรียน ป. ๒ ยกห้อง อย่างนี้หรือเปล่าที่เขาเรียกว่าผีเจาะปาก ครูล่วงละเมิดทางเพศนักเรียนผู้อำนวยการ ล่วงละเมิดทางเพศครู นักเรียน Bully กัน กีดกันเพื่อน โดดเดี่ยวเพื่อน ล้อเลียน ด้อยค่าเพื่อน ความรุนแรงภายในโรงเรียนหลายกรณี ปัจจุบันถึงกับมีการใช้อาวุธเข้าประหัตประหารกัน จนถึงขั้นเสียชีวิต ล่าสุดที่หน้าวิทยาลัยอาชีวะแห่งหนึ่ง ๙ ต่อ ๑ รุมกันจนเสียชีวิต และล่าสุดเหตุเกิดขึ้นที่โรงเรียนในย่านพัฒนาการจนมีนักเรียนถูกเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ใช้อาวุธทำร้ายภายในโรงเรียนจนเสียชีวิตเหมือนกัน เมื่อมีความสูญเสียเกิดขึ้น ผมยืนยันว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการก่อนเป็นลำดับแรกก็คือการเยียวยาแล้วก็ดูแลสภาพจิตใจของผู้สูญเสีย และครอบครัวของผู้สูญเสียอย่างทันท่วงที และที่สำคัญที่สุดต้องเร่งสืบสวนหาข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงสำคัญมากครับ แต่ความเห็นภายใต้ความไม่จริง นี่ครับอันตราย ทุกท่านทราบดี อยู่แล้วว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนแล้วก็เปราะบางมาก ๆ การเผยแพร่ข่าวสารหรือให้ความเห็นในขณะที่ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏ ยังไม่รู้ว่าข้อเท็จจริง ส่วนไหนควรเปิดเผย ข้อเท็จจริงส่วนไหนต่อให้จริงก็ควรปิด การแสดงความคิดเห็นและ คาดการณ์ต่าง ๆ มีแต่จะสร้างผลกระทบในเชิงลบต่อสังคมในวงกว้าง ทำให้ผู้ที่ไม่มี ส่วนเกี่ยวข้องต้องพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย อย่างกรณีที่เกิดขึ้นที่ย่านพัฒนาการ ผมไม่สบายใจอย่างมากที่มีการกล่าวถึงเด็กพิเศษ ทั้ง ๆ ที่การสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่มีการสอบปากคำผู้ต้องหา ไม่มีพยานเลยแม้แต่ปากเดียวที่ถูกสอบ อย่างจริงจังตามกระบวนการ เกิดอะไรขึ้นครับ ทำให้เด็กพิเศษ ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครอง ของเด็กพิเศษที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงใด ๆ ถูกเหมารวม ถูกมองจากสังคม ในแง่ที่ไม่ดี ถูกเพื่อนนักเรียน เพื่อนผู้ปกครองตั้งแง่จนเกิดความโกลาหลในหมู่การศึกษา ไปหมด ผมเข้าใจดีจากกรณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ผมได้ยินเสียงกระแสสังคมมาเยอะกรณีที่ ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน กระแสสังคมเกิดอะไรขึ้นครับ กระแสสังคมส่วนหนึ่งเรียกร้องให้มี การปรับลดอายุเด็กและเยาวชนในการรับโทษทางอาญา บางคนบอกว่าให้ลงมาเหลือ ๑๒ ขวบบ้าง ต่ำกว่านั้นก็มี ในสภาวะที่อารมณ์ของสังคมเดือดดาล ผมเข้าใจว่าแนวคิด ในลักษณะนี้ย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ท่านประธานครับเรื่องนี้สำคัญมาก แต่ถ้าหากเราวางใจ เป็นกลางแล้วดึงสติทบทวนให้ดี แล้วถามตัวเองว่าการปรับลดอายุเด็กและเยาวชนในการ รับโทษจะแก้ไขปัญหานี้ได้จริง ๆ หรือ ในเมื่อผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยก็บอกอยู่เสมอไม่ใช่ หรือครับว่าเด็กที่กระทำผิดจำนวนไม่น้อยหรือส่วนใหญ่ทำโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง แล้วถ้า เชื่อว่าเด็กกระทำความผิดนี้เขาไม่คิดหน้าคิดหลัง ทำโดยไม่ไตร่ตรอง แล้วการปรับลดอายุ ในการรับโทษลงมามันจะแก้ปัญหาอะไรได้ครับท่านประธาน กระแสการปรับลดอายุในการ รับโทษของเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นเพราะอะไร ผมไม่โทษกระแสเหล่านี้ แต่ผมถาม ท่านประธานและอยากจะตอบให้ท่านประธานฟังว่ามันเกิดขึ้น เพราะว่ากระทรวงศึกษาธิการ ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการแก้ไขและป้องกันปัญหา โดยเฉพาะปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในโรงเรียน ผมเชื่อว่ามาตรการในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรมคือคำตอบที่สังคมต้องการมากกว่าการปรับลดอายุในการรับโทษทางอาญา ของเด็กและเยาวชนลงมา ถ้ามีมาตรการที่เป็นรูปธรรม เห็นผลชัดเจน ความรุนแรงลดลง การ Bully ถูกยกเป็นวาระ แห่งชาติ ไม่มีใครที่อยากจะเรียกร้องให้ปรับลดอายุลงมาหรอกครับ แล้วผมยืนยันว่าถ้ายังทำ อย่างนี้ ปรับลดอายุลงมาสุดท้ายเหลือ ๑ ขวบ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการในการทำให้โรงเรียน ปราศจากการ Bully หรือการกลั่นแกล้งรังแก การยกเลิกการใช้อำนาจนิยม อำนาจกดทับ ต่าง ๆ ในโรงเรียนอย่างจริงจัง มีประกาศสิครับ มีมาตรการสิครับ ในการทำงานร่วมกันกับ ผู้ปกครอง และมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องจริงจัง มีนักจิตวิทยา มีจิตแพทย์เข้ามามีส่วนร่วม ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้สิครับ เรายังป้องกันไม่ดีเลย เรายังแก้ไขไม่ดีเลย ประชาชนก็ไม่มี ทางเลือกครับ สุดท้ายผมเข้าใจกระแสว่าทำไมต้องเรียกร้องให้ปรับลดอายุ ก็เพราะรัฐบาล ไม่ทำอะไร ครูประจำชั้นและครูผู้สอนเขาควรได้รับการอบรมทักษะจิตวิทยาเด็กขั้นพื้นฐาน และได้รับการวางบทบาทที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาการ Bully ในโรงเรียน การ Bully ล้อเลียน ด้อยค่า ต้องไม่ใช่การล้อเล่น ไม่ใช่การที่เด็กเล่นกันอีกต่อไปตามที่ สส. สุภกรพูด มีการใช้เวลาในช่วง Homeroom ในการขับเคลื่อนนโยบายนี้ในทางปฏิบัติ มีการพูดคุยกับ นักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้มีส่วนร่วมในการขจัดการ Bully ให้หมดไปจากสังคมโรงเรียน ให้ได้ การ Bully ไม่ใช่เพียงนักเรียนกับนักเรียนเท่านั้นครับ ครูกับนักเรียนก็ด้วย ครูกับครู ก็ยิ่งตัวดีเลย ผู้บริหารสถานศึกษากับครูก็ต้องไม่มีด้วย โรงเรียนต้องปราศจากการกลั่นแกล้ง รังแกอย่างสมบูรณ์ ทุกคนในโรงเรียนต้องรู้สึกปลอดภัยโดยไม่มีข้อยกเว้น นักเรียนที่มี ข้อสังเกตว่ามีพฤติกรรมรุนแรงหรือมีปัญหาในด้านทักษะสังคม โรงเรียนต้องมีมาตรการ ในการดูแลและติดตามกรณีนี้เป็นการเฉพาะ มีการทำงานร่วมกันกับผู้ปกครอง อย่างจริงจัง มีกลไกในการส่งเคสต่อไปยังนักจิตวิทยาเด็กหรือจิตแพทย์เพื่อให้เด็กเหล่านี้ได้รับการดูแล ตามมาตรฐานทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะหายดี และในกรณีที่จำเป็นก็อาจจะ มีการให้นักเรียนที่ยังขาดความพร้อมพักการเรียนชั่วคราวเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแพทย์จะมีความเห็นให้กลับเข้าร่วมเรียนกับเพื่อนร่วมชั้นอย่างไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยสรุปครับท่านประธาน สิ่งที่เรายังขาดคือมาตรการในการแก้ไขและป้องกันปัญหา ความรุนแรงการ Bully และการใช้อำนาจนิยมภายในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมที่ประชาชน ไว้วางใจและเชื่อถือได้ว่าปัญหาเหล่านี้จะถูกคลี่คลายและลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีระเบียบ ปฏิบัติและขั้นตอนต่าง ๆ จนทำให้สังคมทั้งสังคมมีความมั่นใจ มากขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดที่รัฐบาลควรดำเนินการคือสิ่งเหล่านี้ แล้วกระแส การปรับลดอายุให้เด็กต้องมารับโทษก็จะคลายตัวลงถ้าเห็นความจริงจัง ความจริงใจ ของรัฐบาล ขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านกานสินี โอภาสรังสรรค์ ครับ
นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน กานสินี โอภาสรังสรรค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พรรครวมไทยสร้างชาติ ดิฉันมีเรื่องที่สะเทือนขวัญและเป็นที่สนใจของพี่น้องประชาชน เวลานี้ค่ะท่านประธาน จากเหตุการณ์ที่เด็กอายุ ๑๔ ปี เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ แทงลำคอ เพื่อนนักเรียนในโรงเรียนหลังเลิกแถวเคารพธงชาติ โดยนักเรียนที่ถูกแทงมีอาการสาหัส ก่อนเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ซึ่งก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์ที่เด็กกระทำความผิดกฎหมายโดยใช้ ความรุนแรงในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเหตุระทึกเมื่อปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาเคสเด็กอายุ ๑๔ ปี กราดยิงที่สยามพารากอน เป็นที่น่าตกใจว่าการกระทำความผิดมีอายุที่ต่ำลง ในขณะที่ ความรุนแรงนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ สถิติจากหลากหลายแหล่งข่าวแสดงให้เห็นว่าเยาวชน มีการกระทำความผิดเป็นอันดับ ๑ ของกลุ่มประชาคมอาเซียน กระทั่งปี ๒๕๖๑ มีตัวเลข การกลั่นแกล้ง ข่มขี่ ข่มเหง รังแกกันในโรงเรียนของนักเรียนเป็นอันดับ ๒ ของโลก หรือเด็ก ตกเป็นเหยื่อ ๖๐๐,๐๐๐ คนต่อปี รองจากประเทศญี่ปุ่น ดิฉันจึงอยากเสนอแนวทางการแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวค่ะท่านประธาน การป้องกันการเกิดเหตุในโรงเรียน นอกจากการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้สังคมหรือโรงเรียน มีความปลอดภัย เราต้องมานั่งหารือกันในแนวทางการแก้กฎหมายให้มีความเข้มงวดขึ้น และเท่าทันกับยุคสมัย หากจะต้องเท้าความถึงข้อกฎหมาย ศาลแพ่งและพาณิชย์ของไทย กำหนดว่าเยาวชนคือผู้ที่มีอายุ ๑๔ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๑๘ ปีบริบูรณ์ ตรงกับพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ เยาวชนนั้นถือว่าเป็นผู้อ่อน ผู้เยาว์ จึงเป็น ผู้ที่ควรได้รับการให้อภัย หากกระทำผิดก็ควรได้รับโทษตามควรแก่วัยและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การพิจารณาโทษจะแตกต่างจากผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ หมายความว่ากฎหมายนั้นมีความ เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย แต่เนื่องด้วยกฎหมายที่ใช้ต่อเยาวชนนั้นมีจุดประสงค์คือ ฟื้นฟูและ บำบัดเด็กที่กระทำผิดเพื่อให้โอกาสเด็กเหล่านั้นได้กลับมาดำรงชีวิตตามหลักจริยธรรม มิใช่ การตัดสินเพื่อกักขัง ดิฉันจึงอยากเสนอให้มีการพิจารณา ให้มีมาตรการพิเศษหรือบทบังคับ ให้ชัดเจนในบทลงโทษ ในขณะเดียวกันดิฉันขอเรียกร้องให้มีนโยบายในเรื่องของการดูแล ความปลอดภัย ในรั้วโรงเรียนหรือแม้กระทั่งสถานที่สาธารณะ โรงเรียนควรจะเป็น Safe Zone สำหรับนักเรียน ไม่ควรเป็นสถานที่ที่น่าหวาดระแวงหรือเป็นสถานที่เสี่ยงต่อ การโศกนาฏกรรม ในฐานะผู้แทนประชาชน เราควรกลับมานั่งตั้งคำถามและไตร่ตรอง ถึงหลาย ๆ ปัจจัยว่าจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความรุนแรง ช่องทางการได้มาสู่อาวุธต่าง ๆ ทั้งมีดและปืน ทุกวันนี้สามารถซื้ออาวุธได้ตาม Application ต่าง ๆ Online ต่าง ๆ ง่าย ๆ เหมือนกับการสั่งซื้อดินสอสีเลยค่ะท่านประธาน ทั้งหมดนี้ดิฉันขอเป็นอีก ๑ เสียงจาก ประชาชน ให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย นักเรียนต้องมีที่เรียนที่ปลอดภัย ผู้ปกครองที่ส่ง ลูกหลานมาต้องมั่นใจว่าโรงเรียนมีความปลอดภัย คุณครูและบุคลากรต้องมีที่ทำงาน ที่ปลอดภัย ท้ายที่สุดดิฉันขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเป็นกำลังใจกับ ครอบครัวผู้สูญเสียชีวิตค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ผมขอปิดการลงชื่ออภิปรายเพื่อเราจะมีอีก ๑ ญัตติในวันนี้ได้นะครับ ขอเชิญท่านต่อไปท่านสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล ครับ
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายเพื่อสนับสนุนญัตติด่วนด้วยวาจาให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกัน ให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเป็น รูปธรรม ท่านประธานครับ วันนี้ผมลุกขึ้นอภิปรายไม่ใช่แต่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แห่งนี้ แต่ยังอภิปรายในฐานะคุณพ่อของลูก ๒ คน คนโตอายุ ๑๐ ขวบ คนเล็กอายุ ๘ ขวบ ที่วันนี้ยังต้องไปโรงเรียนทุกวัน ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตครับ ไม่ควรมีนักเรียนคนไหนที่ต้องไปโรงเรียนแล้วเผชิญความรุนแรง ไม่ว่าต่อร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าระหว่างเด็กนักเรียนด้วยกัน หรือระหว่างเด็กกับคุณครู ในฐานะพ่อที่มีลูกเล็กฟังแล้ว ก็เห็นใจคนเป็นพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ของผู้ก่อเหตุหรือคุณพ่อคุณแม่ของ ผู้เสียชีวิต ความสูญเสียของนักเรียนจากความรุนแรงในโรงเรียนเช่นในกรณีนักเรียน ชั้น ม. ๒ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาไม่ใช่กรณีแรก และเอาจริงคือเกิดมาหลายครั้ง เราจะปล่อย ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีกกี่ครั้งครับ งานวิจัยของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชน หลายจังหวัด หรือ Child Watch ในปี ๒๕๖๕ ซึ่งสำรวจเด็กและเยาวชนมากถึง ๑๕๐,๐๐๐ คน ทั่วประเทศ พบว่าเด็กที่อยู่ในระดับมัธยม อาชีวะ ปวช. ปวส. มากถึง ๑ ใน ๑๐ หรือ ๗๐,๐๐๐ คน กำลังตกอยู่ในภาวการณ์ใช้ความรุนแรงครับ ถ้าเทียบกับทั่วโลกปัจจุบันไทย ถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ ๔ ของประเทศที่มีเด็กรังแกกันในโรงเรียนมากที่สุด ปัญหาการรังแกกัน ในโรงเรียนมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจาก Social Media จากอินเทอร์เน็ต เด็กที่ถูกรังแกหรือ ล้อเลียนประสบภาวะเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่อยากไปโรงเรียน ความรุนแรงเหล่านี้ ยังส่งผลต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิตและผลการศึกษา นักเรียนที่เป็นเหยื่อพบว่ามีผลการเรียน ตกต่ำ รู้สึกโดดเดี่ยว มีแนวโน้มเลิกเรียนเมื่อจบระดับชั้นมัธยมศึกษาสูงกว่าเพื่อน ๆ ทั่วไป งานวิจัยยังพบอีกว่า นักเรียนคนหนึ่งเป็นได้ทั้งเหยื่อและผู้ก่อความรุนแรงในตัวคนเดียวกัน ความรุนแรงไม่ได้ก่อ ผลกระทบเฉพาะปัจจุบันเท่านั้น ส่งผลต่อเนื่องยาวนาน บางคนส่งผลไปตลอดชีวิต เด็กที่ ได้รับความรุนแรงตั้งแต่อายุยังน้อยพบว่ามีผลต่อพัฒนาการทางสมอง นอนไม่หลับ พฤติกรรมก้าวร้าว ต่อต้านสังคม เสี่ยงใช้ยาเสพติด และก่ออาชญากรรมในอนาคต บางคน รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่าจนนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง สาเหตุที่ทำให้นักเรียนถูกรังแก ได้แก่ ความผิดปกติทางกาย ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศสภาพ ผมในฐานะ นักเศรษฐศาสตร์เราพบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีผลครับ งานวิจัยพบว่าความเหลื่อมล้ำ หรือการแตกต่างทางรายได้ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างฉับพลันมีผลทำให้ ความรุนแรงเพิ่มขึ้น ในแง่เศรษฐกิจความรุนแรง ผลกระทบต่อการพัฒนาคน ๑ คน นั่นคือ ทุนมนุษย์ของประเทศ ความรุนแรงต่อเด็กที่เกิดขึ้นทั่วโลกคิดเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ต่อปีสูงถึง ๘ เปอร์เซ็นต์ของ GDP นี่ยังไม่รวมต้นทุนในอนาคตที่พบว่านักเรียนเหล่านี้ เมื่อโตไปกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ชอบใช้ความรุนแรง ก้าวร้าว หรือเสี่ยงเป็นอาชญากร ท่านประธานครับ ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต หรือ Think Forward Center โดยผู้อำนวยการ อาจารย์เดชรัตน์ สุขกำเนิด ได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน รวบรวมประสบการณ์จากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ องค์การอนามัยโลก มีข้อน่าสนใจหลายประการ ผมขอเอามาฝาก ๓ ข้อ
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการแรก เราจำเป็นต้องขจัดอำนาจนิยมในโรงเรียน อำนาจนิยมคือ บ่อเกิดสำคัญของความรุนแรง โรงเรียนต้องลดการใช้วัฒนธรรมอำนาจนิยม ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการสื่อสาร การทำโทษ การให้รุ่นพี่สามารถสั่งรุ่นน้อง หรือกระทั่งการใช้อำนาจระหว่าง ผู้บริหารสถานศึกษากับคุณครู ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมการใช้ความรุนแรง ในโรงเรียน สิ่งที่โรงเรียนต้องพยายามทำคือส่งเสริมการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ขณะเดียวกันเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นการจัดการก็สำคัญครับ งานวิจัยพบว่าต้องทำ อย่างรวดเร็ว ไม่ล่าช้า ไม่เกรงใจว่าเป็นลูกของใครหรือใครเป็นคนทำ การจัดการที่รวดเร็ว ช่วยลดโอกาสเกิดความรุนแรงต่อไป การเยียวยาและฟื้นฟูก็สำคัญ ต้องทำอย่างจริงจังและ ต่อเนื่อง ฉะนั้นโรงเรียนและระบบการศึกษาต้องชัดเจนว่าจะมีแนวปฏิบัติอย่างไรในการ จัดการหากเกิดความรุนแรงขึ้นเพื่อระงับได้ทันท่วงที ในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ออกแนว ปฏิบัติชัดเจนเลยว่าหากเกิดกรณีความรุนแรงขึ้น คุณครู ผู้ปกครอง หรือโรงเรียนต้องมีหน้าที่ อย่างไรบ้าง
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ การศึกษาต้องเน้นทักษะทางสังคมและทางอารมณ์มากขึ้น การศึกษาที่เน้นเฉพาะการแข่งขันมีส่วนทำให้นักเรียนขาดการพัฒนาทักษะทางสังคม ทางอารมณ์ มีแนวโน้มทำให้เกิดพฤติกรรมแตกแยก เป็นจุดเริ่มต้นของการกลั่นแกล้งและใช้ ความรุนแรง ฉะนั้นระบบการศึกษาและโรงเรียนต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ทำอย่างไร ให้คุณครู ให้นักจิตวิทยาสามารถเพิ่มพัฒนาทักษะทางสังคมและอารมณ์ให้กับนักเรียนให้ได้
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการสุดท้าย การให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมช่วงปฐมวัย อย่างที่ เรียนท่านประธานไปครับ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างฉับพลัน ฐานะยากจนฉับพลัน เป็นปัจจัยเพิ่มความรุนแรง ดังนั้นอย่างที่พรรคก้าวไกลเสนอตลอดมา รัฐบาลควรสนับสนุน สวัสดิการช่วงปฐมวัยให้มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นเงินอุดหนุนเด็กเล็ก ๑,๒๐๐ บาทต่อเดือน การสร้างศูนย์ดูแลเด็กเล็กตั้งแต่ ๖ เดือนจนถึงช่วงอนุบาลหรือประถมศึกษา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีความสามารถในการรับมือความรุนแรงได้ดียิ่งขึ้น
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตฝากข้อสังเกตไว้สำหรับคุณครูหรือผู้ปกครอง เพื่อป้องกันปัญหา ข้อน่าสังเกตที่น่าสนใจ จากสถิติพบว่านักเรียนที่ถูกกลั่นแกล้งมักสันโดษ หรือแปลกแยกเวลาอยู่ที่โรงเรียนมากกว่านักเรียนปกติถึง ๓ เท่า และมีแนวโน้มขาดเรียน เป็นประจำสูงกว่าเด็กปกติ ๒ เท่า ดังนั้นคุณครูหรือผู้ปกครองจำเป็นต้องสังเกตเพื่อจะได้ ให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ทุกท่านครับ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ปราศจาก ความรุนแรงและทุกคนเข้าถึงได้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกสังคมต้องให้ความสำคัญ เด็กทุกคน ควรมีสิทธิไปโรงเรียนอย่างปลอดภัย ไม่มีเด็กคนไหนควรต้องกลัวการไปโรงเรียนหรือ ทุกข์ใจกับการไปโรงเรียน ท่านประธานครับ ดังนั้นผมขอสนับสนุนญัตติด่วนด้วยวาจา ให้สภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา ความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม กราบขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ ครับ
นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ นครพนม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนม เขต ๑ กระผมขออภิปรายญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกัน ให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นญัตติ ที่ดีมากที่รัฐบาลและทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือ และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานมาก แต่ก็เป็นข่าว ทุกวันถึงความรุนแรงของนักเรียนทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน และเราเป็นผู้ใหญ่ซึ่งต้องมี ความรับผิดชอบต่อเด็ก จะโยนความผิดให้แก่เด็กนักเรียนฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะต่อไปจะมี ความรุนแรงมากยิ่ง ๆ ขึ้นทั้งในโรงเรียนและสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ปรากฏเป็นข่าวทุกวันในทีวี และสื่อต่าง ๆ ปัจจุบันมีนักเรียนเยาวชนอายุ ๑๐ ปีขึ้นไป มั่วสุม ทำผิดกฎหมาย ไม่ไป โรงเรียน ไปเสพยาเสพติด ยาบ้า กัญชา น้ำกระท่อมผสมยาแก้ไอ ไปทำร้ายร่างกาย ข่มขืน ยกพวกไปฟัน ยิงกันตาย ชาวบ้านถูกลูกหลงบาดเจ็บสาหัส เสียชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เว้น แม้กระทั่งในงานประเพณีวัฒนธรรม หน้าเวทีการแสดงเด็ก ๑๔ ปี ใช้มีดไล่ฟันกันบาดเจ็บ สาหัส ประชาชนโดนลูกหลง เกิดขึ้นทุกวันทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว และสำคัญที่สุด ถูกผู้ใหญ่หรือผู้อำนวยการโรงเรียนสั่งให้ปิดข่าว ห้ามให้ข่าวแก่สื่อมวลชน ในความรับผิดชอบ ในเรื่องที่เกิดความรุนแรงในเด็กนักเรียนและเยาวชนซึ่งเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และทุกหน่วยงาน ตลอดจนพี่น้องประชาชนและผู้ปกครองจะละเลย ไม่ได้ ทุกคนต้องช่วยกันดูแลลูกหลานอย่างใกล้ชิด ต้องพัฒนาคนไปพร้อมกับการพัฒนา ด้านอื่น ๆ นอกจากนั้นตามที่เป็นข่าว จากที่นักเรียนแทงคอเพื่อนตาย คุณครูอาจารย์ได้ให้ สัมภาษณ์ออกทีวีโดยโยนความผิดให้นักเรียนฝ่ายเดียว คนเดียว ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง กล่าวให้ร้ายแก่นักเรียนที่แทงเพื่อนตายว่าเป็นเด็กพิเศษ ทางโรงเรียนได้สุ่มตรวจทุกวัน ไม่มี นักเรียนพกมีดมาโรงเรียน กระผมขอเสนอผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ได้ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาของนักเรียนทำร้ายร่างกายหรือแทงกันตาย ซึ่งมี ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีมานานหลายสิบปี ก็เป็นข่าวบ่อย ๆ ออกในทีวี ถ้าทาง กระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาลไม่เร่งปราบ ไม่แก้ไขก็จะเกิดความรุนแรงเช่นนี้เป็นประจำ อย่างเช่นบ่ายวันนี้มีข่าวที่แพร่ในสื่อมวลชน ในสื่อ Online เด็กนักเรียนประถมโรงเรียน แห่งหนึ่งเป็นเด็กนักเรียน ป. ๔ อายุ ๑๐ ปี กลุ่มหนึ่งทำลายข้าวของและเผาโรงเรียน ข้าวของ โรงเรียนเสียหายมาก คอมพิวเตอร์โดนตัดสาย เอาค้อนทุบจอคอมพิวเตอร์แตก เครื่องปริ้นเตอร์ ก็เอากาวเทใส่เสียหาย รวมทั้งโต๊ะครู สมุดหนังสือโดนเผา แต่ประเด็นคือผู้อำนวยการ โรงเรียนห้ามครูพูด ห้ามเผยแพร่รูปภาพ ห้ามให้ข่าว โดยบอกว่าเด็กแค่เล่นกันเป็นเรื่องปกติ ไม่มีการลงโทษเด็ก กลุ่มเด็กๆ ยิ่งได้ใจ ไปคุยโอ้อวด ไม่มีใครทำอะไรพวกเขาได้ นั่นคือสิ่งที่ เกิดขึ้นในปัจจุบันและเกิดขึ้นหลายครั้ง จึงฝากท่านประธานไปถึงรัฐบาล ต้องมีการพัฒนา ทุกด้านให้ทั่วถึงเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ เพราะปัจจุบันหลายครอบครัวมีปัญหา ทางเศรษฐกิจ มีหนี้สิน รายได้น้อย ว่างงาน ตกงานหาเช้ากินค่ำ รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย มีปัญหาขัดแย้งในครอบครัว คุณพ่อคุณแม่หย่าร้าง ฝากลูกหลานไว้กับปู่ย่าตายาย หรือ ทอดทิ้งให้คนอื่นเลี้ยงดูลูกหลานแทน ลูกหลานขาดความอบอุ่น มีปัญหาทั้งที่บ้าน ในโรงเรียนและในสังคม ไม่มีที่ปรึกษา ไม่มีผู้ดูแลอบรมอบรมชี้แนะแนวทางที่ดีให้เด็ก ถูกเพื่อน ๆ นักเรียนด้วยกันชักชวนไปมั่วสุม ทำผิดกฎหมาย เสพยาเสพติด ยาบ้า กัญชา น้ำกระท่อมผสมยาแก้ไอ ทำให้สมองเสื่อม เสียสติ ไม่ไปเรียนหนังสือ รัฐบาลและ ทุกหน่วยงาน โรงเรียน สถาบันการศึกษาต้องมีมาตรการการบริหารจัดการที่ต้องใส่ใจดูแล ลูกหลานในโรงเรียน ในหมู่บ้าน ในชุมชน คุณแม่ ผู้ปกครอง และพี่น้องประชาชนของเรา ก็ต้องช่วยกันดูแลเพราะอยู่อย่างใกล้ชิด เราจะไปโทษคุณครูอาจารย์หรือหน่วยงานราชการ เขาก็ไม่ได้ และโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ต้องถือเป็นหน้าที่สำคัญมากกว่าในการทำมาหากิน หารายได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากสำหรับพี่น้องแรงงานคนรายได้น้อยที่จะมีเวลาดูแล ลูกหลานที่จะต้องอบรมสั่งสอน โรงเรียนและในชุมชนต้องคัดเลือกนักเรียนเยาวชนที่มี จุดอ่อนแต่ละด้านให้มีการอบรม เช่น ในบางประเทศเขานำนักเรียนที่มีจุดอ่อน มีปัญหา ในแต่ละกลุ่มแต่ละด้านเข้ารับการอบรม ๗ วัน ๘ วัน มีอาจารย์ ผู้บริหาร ผู้นำแบบอย่างที่ดี ในแต่ละด้านมาบรรยายถึงประสบการณ์จริงที่ทำให้ประสบความสำเร็จจริงมาแล้ว นักเรียน ถึงจะเชื่อถือมีแรงบันดาลใจจะต่อสู้อดทนแบบมีความหวังเพราะมีตัวอย่างผู้นำที่ดี กราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ครับ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ขอบคุณ ท่านประธาน ทนายแจม ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๑ พรรคก้าวไกลค่ะ ก่อนอื่นดิฉันขอใช้พื้นที่ตรงนี้แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับทุก ๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลยนะคะ และทุกครั้งที่มีปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนเราก็มักจะหา คนผิดกันอยู่เสมอ พยายามจะโทษคนนั้นโทษคนนี้ โทษหน่วยงาน โทษทุกอย่าง หรือมักง่าย ที่สุดก็คือการโทษไปที่พ่อและแม่ของเด็กคนนั้น ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ ปัจจัยในการสร้างอาชญากรเด็ก มีมากกว่านั้นค่ะ เราหลงลืมกันไปแล้วว่า It Takes a Village to Raise a Child มันต้องใช้ สังคมในการที่เราจะสร้างคุณภาพของเด็กคนหนึ่งขึ้นมา และหากมีอาชญากรเด็กเกิดขึ้น ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน ยิ่งเฉพาะในห้องนี้เราต่างก็มีส่วนในการสร้างอาชญากรขึ้นมา ทั้งสิ้น สังคมไทยตอนนี้ค่ะท่านประธาน เรากำลังเซาะกร่อนบ่อนทำลายอนาคตของเด็กและ การเติบโตของเด็ก เราเซาะกร่อนบ่อนทำลายด้วยการสร้างกรอบศีลธรรมเรื่องการยุติ การตั้งครรภ์เมื่อท้องไม่พร้อม เรากำลังเซาะกร่อนบ่อนทำลายด้วยการไม่ให้ความสำคัญ กับเด็กที่เป็นอนาคตของประเทศด้วยการจัดสรรงบประมาณ การที่เราจัดสรรงบประมาณ ที่ไม่สอดคล้องต่อการพัฒนาชีวิต งบกระทรวง พม. ที่น้อยนิด งบกรมอนามัยที่นิดหน่อย ในขณะที่งบกลาโหมมหาศาล งบ กอ.รมน. บานตะไท เรากำลังเซาะกร่อนบ่อนทำลาย ด้วยการเฆี่ยนตีเด็ก ใช้ความรุนแรงในนามของความรักตั้งแต่ในบ้าน หรือการหยอกล้อจาก ญาติพี่น้องโดยใช้คำว่า เอ็นดู ก็เล่นเฉย ๆ นั่นคือพฤติกรรมที่เด็กจำมาตลอดตั้งแต่ในบ้าน ญาติพี่น้อง จนมาถึงในโรงเรียน การตีที่บอกว่าเป็นการตีเพราะความรัก เพราะความหวังดี เพราะอยากให้เป็นคนดี สิ่งเหล่านี้คือการบ่มเพาะความรุนแรงโดยที่เราไม่รู้ตัวทั้งสิ้น เรากำลังเซาะกร่อนบ่อนทำลายด้วยการศึกษาที่เร่งรัดให้เด็กแข่งขัน การสอบเข้า ป. ๑ แต่เรากลับเพิกเฉยกับการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนเสมอมา เรากำลังเซาะกร่อนบ่อนทำลาย ด้วยการกดเด็กให้จมเมื่อเขาทำผิด แทนที่เราจะยื่นมือเข้ามาช่วยและโอบกอดเขาด้วย ความเข้าใจ เรากำลังเซาะกร่อนบ่อนทำลายด้วยการเมืองที่ไร้ซึ่งความหวัง สิ่งเหล่านี้ต่างหาก ที่เรากำลังบ่มเพาะสังคมให้ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเด็กเลย ความอยุติธรรมซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าเรื่องนี้ต่างหากที่ทำให้คนยุคนี้สิ้นหวัง ท่านประธานคะ ในห้องกรรมาธิการเมื่อเช้าวันนี้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการที่เรากำลังพูดคุยกันเพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ความรุนแรง ในโรงเรียน การฆาตกรรม การอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับเด็ก สิ่งสำคัญเราต้องค้นหาความจริงว่า อะไรที่บ่มเพาะเด็กคนหนึ่งให้มาเป็นฆาตกรได้ กระทรวง พม. ได้มาเล่าให้ฟังในห้องกรรมาธิการ อยากให้ทุกท่านได้ฟังเหลือเกินค่ะ ดิฉัน ไม่ระบุว่าเป็นคดีไหนนะคะ หนึ่งในฆาตกรเด็กบอกว่าพ่อแม่หย่าร้างมาตั้งแต่เด็ก แล้วก็ส่งไปให้ ตากับยายเลี้ยง ด้วยความไม่เข้าใจ ด้วย Generation ที่มันต่างกัน ตากับยายก็เลี้ยง ด้วยการตี ดุด่าว่ากล่าว จนสุดท้ายเด็กก็หนีออกจากบ้านไปคบกับเพื่อน ไปอยู่กับแก๊งเพื่อน สิ่งหนึ่งที่เด็กได้ให้การกับนักจิตวิทยาแล้วก็กับกระทรวง คือบอกว่าเขาไม่เคยโดนพ่อกอดเลย แม้แต่ครั้งเดียว และในวันต่อ ๆ มาเขาให้พ่อมาหา พอพ่อกอดปุ๊บเด็กร้องไห้ทรุดลงกับพื้น นี่คือสิ่งที่เรากำลังไปผิดทางค่ะ เรากำลังจะแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มอายุ แก้ปัญหาด้วยการ โทษเด็ก โทษเยาวชน โทษว่ายุคนี้เด็กมันดื้อด้าน สอนยากสอนเย็น เด็กยุคนี้มัน Social ชี้นำ อะไรก็ตาม แต่เราลืมไปว่าสุดท้ายเราต้องแก้ปัญหา ขอสไลด์ขึ้นด้วยนะคะ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ดิฉันขออนุญาต เสนอการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีบันไดแบบ ๖ ขั้น ๑. เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไรให้เด็กเติบโตมา อย่างมีคุณภาพ เติบโต ๆ มาด้วยสมองที่พัฒนาอย่างเต็มที่ สำคัญอันดับแรก เรื่องยุติ การตั้งครรภ์ก่อน ถ้าไม่พร้อมต้องให้ยุติการตั้งครรภ์ได้ง่าย ๒. ถ้าเขาพร้อมจะมีลูกแล้ว ต้องให้มีการลาคลอด ๑๘๐ วัน พ่อแม่แบ่งกันได้ เพราะว่าสังคมครอบครัวสำคัญมาก ในบ้านสำคัญมาก การลาคลอด สิทธิลาคลอดจึงสำคัญเพื่อให้เขาได้บ่มเพาะลูกเขา ในช่วงเวลาที่ลูกต้องการพ่อกับแม่มากที่สุดค่ะ นอกจากนั้นเป็นเรื่องของศูนย์เด็กเล็กใกล้บ้าน เพื่ออะไรคะ จะได้ไม่ส่งไปต่างจังหวัดค่ะ เราให้ลาคลอดได้ ๓ เดือน แต่หลังจาก ๓ เดือน จนถึง ๓ ขวบก่อนเข้าโรงเรียนไม่มีพื้นที่ให้เด็กเลย นอกจากนั้นเป็นในเรื่องของเงินอุดหนุน เด็กแรกเกิด อย่างน้อย ๆ ถ้าเพิ่มจำนวนยาก ขอให้ถ้วนหน้าก่อนก็ได้ กระทรวง พม. พยายามแล้วก็เข้าใจแต่สุดท้ายก็โดนปัดตกโดยมติของ ครม. ต่อจากนั้นในเรื่องของโรงเรียน พ่อแม่ โภชนาการที่ดีเมื่อท้องแล้วต้องมีการให้ความรู้พ่อแม่เรื่องการเลี้ยงลูกอย่างไร โดยไม่ต้องตีลูก พูดจาอย่างไร หรือโภชนาการที่ดี เราต้องจัดสรรงบประมาณในเรื่องของ โภชนาการของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดาให้ได้ดีกว่านี้ มากกว่านี้ เรื่องการปฏิวัติ การศึกษา ทำโรงเรียนให้ปลอดภัย หลาย ๆ คนพูดถึงแล้ว การจัดการความรุนแรง ในโรงเรียนหรือการลดอำนาจนิยมในโรงเรียน และสุดท้ายคือเรื่องของการปรับหลักสูตร การศึกษา มีคนบอกว่าเด็กรุ่นนี้เรียนคุณธรรมน้อยไป ไปดูหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้เลยนะคะ เรียนตั้งแต่อนุบาลค่ะ คุณธรรม จริยธรรม แต่สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานไม่มี อันนี้สำคัญที่สุด ต้องมีการสอนเรื่อง Human Rights ในโรงเรียนตั้งแต่เด็กเล็กเลย อนุบาล ประถมต้น สอนเรื่องวินัยจราจร เรื่องการจัดการขยะ สิ่งเหล่านี้ต้องรวมกัน หลายกระทรวงร่วมกันค่ะ เราจะเห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนต้องเริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ๐-๖ ขวบ และ เกี่ยวเนื่องกันหลายกระทรวงมาก ๆ จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องแก้ไขแบบบูรณาการ เวลาเห็นอ่านงบประมาณในห้องงบประมาณ มีงบบูรณาการ บูรณาการ บูรณาการ อยากเห็น การบูรณาการเรื่องการแก้ไขปัญหาเด็กบ้างค่ะ แล้วก็อยากให้รัฐบาลลงไปนโยบาย ๑๔๐ นโยบาย เพิ่มไปเรื่องเด็กหน่อยก็ได้ค่ะ ของกระทรวง พม. กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง สาธารณสุข ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเด็กมากกว่านี้ ก็อยากฝากรัฐบาลค่ะ ถ้าอยากจะแก้ไขปัญหา เรื่องเด็กจริง ๆ กระซิบมาบอกกันได้ ยินดีที่จะพร้อมมีข้อเสนอให้กับท่านเสมอ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ได้รับการประสานว่าท่านเทอดชาติยังไม่พร้อม ท่านพลากร พิมพะนิตย์ พร้อมไหมครับ เชิญท่านพลากรครับ
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพลากร พิมพะนิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทยครับ วันนี้ตัวกระผมเองได้ร่วมลงชื่ออภิปรายในญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกัน ให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน อย่างเป็นรูปธรรม ท่านประธานครับ ก่อนอื่นผมต้องขอแสดงความเสียใจกับเด็กของ ครอบครัวผู้สูญเสียเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคมที่ผ่านมาครับ ตัวผมเองมีความตั้งใจที่จะขอร่วม ลงชื่ออภิปรายในวันนี้ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและในฐานะพ่อครับ ที่ผ่านมาตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบันเราเห็นได้เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงในสถานศึกษาแทบทุกอาทิตย์ ทั้งใน รูปแบบที่ครูกระทำต่อเด็กนักเรียน และเด็กกระทำต่อเด็กครับท่านประธาน ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาร้ายแรงที่แก้กันไม่จบสิ้นในสังคมไทย และเป็นปัญหาที่ต้องได้รับ การแก้ไขอย่างเร่งด่วนเนื่องจากส่งผลกระทบสภาพจิตใจและกายของเด็ก ท่านประธานครับ เพื่อการนี้ผมขอนำเสนอใน ๓ แนวทางในการแก้ไขปัญหาครับ
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ในส่วนแรกคือการป้องกัน สถานศึกษาทุกแห่งควรมีการตรวจสอบการพกพา อาวุธเข้าไปในสถานศึกษาอย่างเข้มงวดและรัดกุมมากกว่าเดิมยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนี้ สถานศึกษาทั่วประเทศจากสถิติข้อมูล รวมสถานศึกษาทั้งประเทศกว่า ๓๗,๐๐๐ แห่ง ตรงนี้ อาจมีความจำเป็นต้องมีตำรวจเข้าเวรประจำหรือเพิ่มความถี่ในการออกตรวจตราสถานศึกษา ยกตัวอย่างตำรวจที่ไปเฝ้าร้านทองครับ ร้านทองมีเจ้าของเพียงรายเดียวแต่มีตำรวจนั่งเฝ้า ทั้งวัน แต่เด็กนักเรียนทั่วประเทศรวมกันกว่า ๑๒ ล้านคน ผมเห็นควรว่าควรมีตำรวจเฝ้า ประจำโรงเรียนทุกแห่งครับ อีกทั้งยังควรมีการอบรมบุคลากรรักษาความปลอดภัยของโรงเรียน ที่เป็นมาตรฐานสากลให้ดียิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในเด็กภายในโรงเรียน
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๒ คือเหตุการณ์รับมือความรุนแรงประเภทต่าง ๆ แน่นอนครับ หากเราป้องกันแล้วยังเกิดเหตุซ้ำอีกก็ต้องมีการรับมือ รับมือแบบไหนครับ บุคลากรทาง การศึกษาทุกคนควรได้รับการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเป็นการปฐมพยาบาล กับเด็ก ให้เด็กมีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ในส่วนที่ ๓ ข้อเสนอสุดท้าย การเยียวยาหลังเกิดเหตุ ครอบครัวผู้เสียชีวิต ต้องได้รับการเยียวยาที่เหมาะสมและเป็นธรรม แต่นอกเหนือไปจากนั้นยังมีเรื่องของ การเยียวยาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในเหตุการณ์ จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคมที่ผ่านมา เหตุเกิดที่หน้าเสาธง เด็กนักเรียนเป็นผู้เห็นเหตุการณ์จำนวนมาก เราควรเร่งจัดจิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปเยียวยาเด็กและเยาวชนกลุ่มนั้นเพื่อไม่ให้เป็นแผลลึกฝังไปในจิตใจของเด็ก และเยาวชนกลุ่มนั้นไปตลอดชีวิต ท่านประธานครับ จากเหตุการณ์ดังกล่าวผมหวังว่าภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงจะถอดบทเรียนความสูญเสียในครั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การป้องกัน รับมือ และเยียวยาที่มีคุณภาพมากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเช่นนี้อีก
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
สุดท้ายครับท่านประธาน ผมเองจำเป็นต้องนำเสนอและยอมรับว่าตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันโรงเรียนเป็นสถานที่แห่งความสุขของใครหลาย ๆ คน และเป็นฝันร้ายของใคร อีกหลาย ๆ คนเช่นกัน การจะแก้ปัญหานี้ให้สำเร็จจำเป็นต้องมีการร่วมมือกันระหว่าง หน่วยงานทางการศึกษา ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ไปจนถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และทุกภาคส่วนของสังคมเพื่อจัดการกับปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนทุกรูปแบบเพื่อสร้าง สังคมให้ปลอดภัยและเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเด็กและเยาวชน และเพื่อให้โรงเรียนเป็น สถานที่แห่งความสุข และความทรงจำที่ดีของทุกคน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านร่มธรรม ขำนุรักษ์ ครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้กระผม ขออภิปรายในญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันให้ข้อเสนอแนะ แก่รัฐบาลเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ท่านประธานครับ ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยเป็นปัญหาใหญ่ที่มีให้เห็นอยู่ทุกวัน ทุกพื้นที่ตามที่ได้เห็นผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างน่าหดหู่ใจครับ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงทางเพศ และประเด็นของญัตติในวันนี้คือความรุนแรงในสถานศึกษา โดยสถานศึกษา โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ที่สำคัญในการพัฒนาเยาวชน พัฒนา ประชาชนคนไทยในหลากหลายด้าน ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เพราะฉะนั้นโรงเรียนจึงควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เพื่อเป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด แต่หลายท่านอาจเปรียบเทียบโรงเรียน เป็นบ้านหลังที่ ๒ แต่จากสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ทั้งต่อครูและนักเรียนที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง สะท้อนให้เห็นแล้วครับว่าปัจจุบันบ้านหลังที่ ๒ หลาย ๆ แห่งของใครหลาย ๆ คนไม่ได้เป็น พื้นที่ปลอดภัยต่อผู้ที่อยู่ในบ้านอย่างแท้จริง และมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงบ่อยครั้งขึ้น โดยในโรงเรียนมีการทำร้ายทั้งร่างกายและการทำร้ายจิตใจ มีการกลั่นแกล้งและความรุนแรง ทางเพศทั้งต่อผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญของระบบการศึกษาไทยที่ยังไม่ได้รับ การแก้ไข ซึ่งความรุนแรงเหล่านี้อาจสร้างบาดแผลร่างกายและปมในจิตใจในระยะยาว และอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเด็ก อาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่นต่อไป และส่งผลกระทบต่อสังคมต่อไปได้ มากกว่านั้นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา ยังสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นและสั่งสมในสังคมไทยอยู่ทุกวัน ซึ่งผมคิดว่าต้องมี มาตรการที่แก้ไขอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเป็นเพียง ยอดภูเขาน้ำแข็งที่เราเห็น แต่ใต้ปัญหาความรุนแรงเหล่านี้มีสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มากมาย เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติด ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และปัญหาครอบครัว ซึ่งควรแก้ไขไปพร้อม ๆ กัน จากปัญหาทั้งหมดที่ผมได้กล่าวไปนี้กระผมจึงมีข้อเสนอแนะให้ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๑. ขอให้ดำเนินการป้องกันเหตุความรุนแรงต้องเริ่มตั้งแต่ที่บ้าน โดยให้ ผู้ปกครองมีส่วนร่วม และในโรงเรียนให้คุณครูได้ตรวจค้น เฝ้าระวัง สังเกตอาการ พฤติกรรม และอารมณ์ และปกป้องคุ้มครองเด็ก โดยควรมีการตรวจสอบและคัดกรองสภาวะจิตใจของ นักเรียนในเบื้องต้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๒. ขอให้พิจารณาให้มีวิชาเรียนหรือการให้ความรู้ให้นักเรียนได้มีทักษะ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเอง ทักษะการไม่ตัดสินและการจัดการทางอารมณ์ ไปจนถึง การเคารพสิทธิ ความเข้าใจในความหลากหลายทั้งทางเพศ ศาสนา รูปร่าง ความคิด และ วัฒนธรรมที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะการรู้จักการเคารพและการให้เกียรติกัน เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงได้
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๓. ขอให้มีการปรับกฎระเบียบการลงโทษในโรงเรียนให้ปลอดจาก ความรุนแรงทางร่างกายและจิตใจทุกรูปแบบ และควรเปลี่ยนให้เป็นการใช้แรงเสริม การกระตุ้นพฤติกรรมเชิงบวกแทน เช่น การชื่นชม หรือการให้รางวัลในพฤติกรรมที่ดีของ ผู้เรียนเป็นหลัก
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๔. ขอให้มีกลไกการแนะแนว การให้คำปรึกษา และการตรวจสุขภาพจิต ทั้งสำหรับคุณครูและนักเรียนในสถานศึกษา โดยในโรงเรียนควรมีพื้นที่สำหรับนักเรียน ที่ต้องการคำปรึกษา ต้องการคนที่รับฟังให้เขาสามารถพูดระบายความรู้สึกได้ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน หรือปัญหาส่วนตัว ซึ่งกลไกเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญให้ นักเรียนได้รู้สึกสบายใจ รู้สึกปลอดภัยและช่วยเยียวยา ฟื้นฟู จากความรุนแรงได้
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๕. ขอให้พิจารณาแนวทางการลดภาระของนักเรียนและคุณครู ทั้งการปรับ หลักสูตร ลดเวลาเรียน และลดวิชาที่ไม่จำเป็น และเพิ่มวิชาหรือทักษะที่สำคัญต่อ การดำรงชีวิตและอนาคตครับ เช่น ด้านการเงิน การประกอบธุรกิจ การจัดการอารมณ์ การเอาตัวรอด ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีดิจิทัล และการป้องกันตัว เป็นต้น พร้อมกันนี้ เราควรจะปรับลดภาระและความรับผิดชอบของคุณครูที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน และการปรับโครงสร้างค่าตอบแทนและเพิ่มสวัสดิการให้เหมาะสม
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๖. ขอให้มีการพัฒนาคุณครูผู้สอน มีการปรับความเข้าใจและการปรับ แนวทางในการเรียนการสอนที่เคารพความหลากหลายของผู้เรียน และยกเลิกการใช้ ความรุนแรงทั้งการลงโทษทางร่างกาย คำพูด และจิตใจในสถานศึกษาทุกรูปแบบ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๗. ขอให้มีการสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งอาคารสถานที่ หรือแม้กระทั่งห้องน้ำ และควรมีพื้นที่สำหรับการทำ กิจกรรมผ่อนคลาย และการจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหรือดูแลเรื่องความปลอดภัยในโรงเรียน เป็นการเฉพาะ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๘. สำหรับปัจจัยการกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงอื่น ๆ ผมขอให้รัฐบาลและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหายาเสพติด ปัญหา เศรษฐกิจ และปัญหาความเหลื่อมล้ำเพื่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็น ส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคม และที่สำคัญมากครับ พื้นที่สื่อควรมี การควบคุมและกำชับการนำเสนอเนื้อหาที่มีความรุนแรงทุกรูปแบบ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผมในฐานะที่เคยเป็นทั้งนักเรียนและเป็นคุณครูในโรงเรียน เข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นกับทั้งผู้เรียนและผู้สอนในสถานศึกษาครับ ผมคิดว่าเราหลายคน ณ ที่นี้อาจเคยเป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรงและเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก ความรุนแรง แต่ผมคิดว่าวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมในขณะนี้เราคงเห็นพ้องต้องกันว่า เราไม่อยากให้มีความรุนแรงในสถานศึกษาอีกต่อไป และนอกจากความรุนแรง เราคง เห็นพ้องต้องกันว่าปัญหาระบบการศึกษามีอย่างมาก ฝังรากลึกและถูกละเลย จึงขอให้ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งแก้ไขปัญหา ลงทุนอย่างจริงจังกับระบบการศึกษา ทำให้โรงเรียนและสถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัย สุดท้ายครับ เราต้องทำให้โรงเรียนเป็น บ้านหลังที่ ๒ ที่ผู้เรียนและผู้สอนได้มีความสุข เป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา เยาวชนและผู้เรียนสู่อนาคตอย่างแท้จริงเสียที ขอบคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ ครับ
นางสาวศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาที่เคารพ ดิฉัน ทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เด็กวันนี้คืออนาคตของ ประเทศชาติ ปัญหาของเด็กและเยาวชนกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันถือว่า เป็นเรื่องของทุกคนในสังคมต้องรับผิดชอบร่วมกัน ถ้าเราแบ่งอายุในการรวบรวมปัญหา เด็กจะเป็นช่วงอายุ ๑๒-๑๕ ปี เยาวชนจะเป็นช่วงอายุ ๑๕-๑๘ ปี
นางสาวศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
จากสถิติปี ๒๕๖๕- ๒๕๖๖ คดีอาญาของเด็ก เยาวชน เฉลี่ยมากกว่า ๑๒,๐๐๐ รายต่อปี จากกราฟจะเห็นว่า กลุ่มฐานความผิดที่มาก ๓ อันดับแรก คือ ๑. เรื่องยาเสพติด ๒. การทำร้ายชีวิตและ ร่างกาย ๓. เรื่องของทรัพย์สิน และอีก ๓ อันดับ เกี่ยวกับอาวุธ วัตถุระเบิด เรื่องเพศและ เรื่องความสงบสุข เสรีภาพ และการปกครอง เป็นลำดับไล่ลงมา จากกราฟจะเห็นว่าอายุ ในช่วง ๑๕-๑๘ ปีจะเป็นช่วงอายุที่มีผู้กระทำความผิดมากที่สุด และเป็นเด็กเยาวชนชาย เกือบ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ มีข้อมูลจากกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนว่าปัญหาคดี ที่เกี่ยวกับชีวิตและร่างกายมีแนวโน้มสูงขึ้นและสอดคล้องกับคดีในฐานความผิดเกี่ยวกับอาวุธ และวัตถุระเบิด มีข้อบ่งชี้ว่าคดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้น ในสังคม ชุมชน และโรงเรียน คือการล้อเลียน ที่เราเรียกว่า Bully เป็นปรากฏการณ์ที่สูงขึ้น ส่วนหนึ่งจากการที่โลกเกิด COVID-19 Pandemic มาถึง Post Covid Pandemic สื่อ Social มีบทบาทกับชีวิตประจำวันของคนในโลกมากขึ้น มีการเปรียบเทียบ มีการเลียนแบบ ง่ายต่อ การเกิดขึ้นและส่งผลต่อพฤติกรรม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่มีภูมิคุ้มกันน้อย สอดคล้อง กับข้อมูลจาก Global Youth Justice สถิติของความผิดของเด็กทั้งโลก ความไม่เป็น ระเบียบ การต่อสู้ชกต่อย การพูดให้ร้ายกัน การข่มขู่ทำร้ายร่างกายจนถึงอาจจะถึงแก่ชีวิต เป็น Top 5 ของความผิดของเด็กทั่วโลก
นางสาวศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ดิฉันขอเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ที่มีหน้าที่คุ้มครองเด็กและเยาวชน จากกราฟเราจะเห็นว่าสีฟ้า คือเด็กและเยาวชนชาย สีชมพูคือเด็กและเยาวชนหญิง จะเห็นได้ว่าเด็กและเยาวชนชาย มีเคสมากกว่าเด็กผู้หญิง ปัญหาเกิดจาก ๑. ครอบครัวมีวิกฤติเศรษฐกิจ หรือเรียกว่า ความยากจน ได้รับผลกระทบจากโควิด-๑๙ มีความรุนแรงในครอบครัว จะเห็นว่าเรื่อง เศรษฐกิจครัวเรือนมาเป็นอันดับ ๑ ปัญหาที่พ่อแม่ต้องออกไปหารายได้ในสภาพ Post-Pandemic มีผลอย่างมากที่ส่งผลกับเด็กปัจจุบัน ในทางกลับกันถ้ารัฐบาลสามารถทำ ให้เศรษฐกิจดีขึ้น เศรษฐกิจในครัวเรือนดีขึ้น ปัญหาของเด็กเยาวชนก็ย่อมลดลง ดิฉันขอส่ง กำลังใจให้รัฐบาลนะคะ นโยบายต่าง ๆ ที่ท่านได้รับปากไว้กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะ เรื่องของการที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้น อยากให้ท่านทำให้เร็วค่ะ องค์กรของรัฐที่ดูแลเด็กปฐมวัยประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กทม. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวง อว. กระทรวงสาธารณสุข ถึงเวลาแล้วที่จะต้องดูแลเด็กและเยาวชนที่ผ่านชีวิต เติบโตมาเจอสภาวะโรคของโควิด-๑๙ และสภาพการดำรงอยู่ Post-Pandemic ซึ่งเป็นวาระ พิเศษจริง ๆ เพราะ COVID-19 Attack โลกใบนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทำให้ เครื่องบินหยุดบินได้ ทำให้การทำงาน Onsite หยุดงาน ทำให้พ่อแม่หลายครอบครัวตกงาน ย้ายถิ่น เด็ก ๆ ต้องอยู่บ้าน ไม่ได้ไปโรงเรียน ใช้ Social มากขึ้น ดังนั้นการดูแลเด็ก Post-Pandemic ย่อมต้องใช้วิธีการเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพื่อลดปัญหาให้เด็กพร้อมที่จะเติบโต ไปเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม
นางสาวศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ดิฉันฝากท่านประธานไปยังรัฐบาล กระทรวงที่เกี่ยวข้อง บูรณาการ ฟื้นฟูจิตใจ Empower ครอบครัวทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และปกป้องเด็ก เยาวชน ทั้ง ๕ ล้านคน จากการที่จะต้องตกไปกระทำความผิดซ้ำ ๆ การสูญเสียยิ่งใหญ่ของแต่ละ ครอบครัวเป็นสิ่งที่ไม่มีใครในสังคมอยากให้เกิดขึ้นเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญท่านสิริลภัส กองตระการ ครับ
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภา ดิฉัน สิริลภัส กองตระการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากบางกะปิ วังทองหลางกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี่ไม่ใช่เหตุการณ์แรก ที่สร้างความสูญเสียและส่งผลกระทบต่อสภาวะทางจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก นักเรียน ครู ที่อยู่ในเหตุการณ์ รวมไปถึงผู้ปกครองด้วยค่ะ เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว และซ้ำแล้วซ้ำเล่า ขอสไลด์แรกเลยนะคะ
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เคสแรก เด็กคนนี้ ถูกเพื่อนล้อเลียน ทำร้ายร่างกายจนมีความเก็บกดทนไม่ไหว ขโมยปืนพ่อเพื่อมาก่อเหตุ ล้างแค้น สไลด์ถัดไปเด็กนักเรียนชั้น ม. ๓ ถูกเพื่อนร่วมห้อง Bully เรื่องฐานะของครอบครัว ทนไม่ไหวใช้มีดถางหญ้ามาฟันเพื่อนบาดเจ็บ ๒ คน เรามาดูสถิติการก่ออาชญากรรมที่เกิดจาก เด็กและเยาวชนกันนะคะ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนรวบรวมรายงานสถิติคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ก็พบว่าช่วงวัยที่ก่อคดีมากที่สุดอยู่ที่มัธยมศึกษา คิดเป็น ๕๑.๒ เปอร์เซ็นต์ และรองลงมาคือประถมศึกษาคิดเป็น ๑๗.๕๗ เปอร์เซ็นต์ ดิฉันว่าประเด็น ที่เราควรจะมาพิจารณาทบทวน ๑ ประเด็นปัจจัยสำคัญเลยคือ เรื่องของความรุนแรง ในครอบครัว การที่เด็กเติบโตมาด้วยการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อทำร้ายแม่ หรือว่าแม่ทะเลาะกับพ่อทั้งร่างกายและจิตใจ จะส่งผลทำให้มีการส่งต่อพฤติกรรม ความรุนแรงนี้จากผู้ปกครองสู่ตัวเด็กค่ะ มีบทความและการศึกษาจากต่างประเทศ ดิฉัน อยากยกตัวอย่างให้ทุกท่านได้ดู อย่างเช่นบทความเรื่อง Family to Kill ที่มีการค้นคว้า จากภาควิชาสังคมวิทยาและอาชญากรรมของมหาวิทยาลัยประจำรัฐเคนต์ ก็ได้ให้ข้อมูลทาง สถิติไว้ว่าร้อยละ ๒๖ ของผู้ต้องขังที่มีการกระทำผิดในข้อหาฆาตกรรมเคยมีประสบการณ์ โดนทำร้ายร่างกายจากคนใกล้ชิดในครอบครัวมาก่อน หรือจากการศึกษาของมหาวิทยาลัย วิสคอนซินว่าช่วงวัย ๐-๑๑ ปี คือช่วงอายุที่หากเด็กโดนทำร้ายร่างกายและจิตใจจะส่งผล กระทบอย่างมากในเรื่องของความเสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมและความรุนแรงค่ะ และ บทความล่าสุดเลยจาก The Standard ที่มีการสัมภาษณ์ แพทย์หญิงวิมลรัตน์ วันเพ็ญ ว่าปัจจัย ๔ ส่วนในการก่อเหตุความรุนแรงของผู้เยาว์ คือ
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ปัจจัยตัวเด็ก เรื่องของการจัดการอารมณ์ การรับมือกับอารมณ์ ที่แตกต่างกันออกไป ปัจจัยเรื่องของการใช้ความรุนแรงในครอบครัว การใช้ความรุนแรง ทั้งร่างกายและจิตใจด้วยการส่งต่อผ่านคำพูดที่ด้อยค่าในตัวเด็ก การใช้ความรุนแรง ในโรงเรียน และชุมชน และสื่อที่เด็กสามารถเข้าถึงได้ในสังคม Online ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นดิฉันว่าในทุกมิตินี้เราต้องร่วมกันแก้ปัญหา อันดับแรกคือต้องส่งเสริมการเลี้ยงดู ลูกเชิงจิตวิทยา เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ใช้เหตุและผล ใช้หลักจิตวิทยาในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับลูก เสริมสร้างความฉลาดทางด้านอารมณ์ หรือว่าสอนลูกให้สามารถรู้ เท่าทันอารมณ์ แล้วก็สามารถรับมือกับอารมณ์ต่าง ๆ ของเขาได้ ในปัจจุบันนี้มี Page หรือว่า Influencer หลายท่านเลยที่ได้นำเสนอข้อมูลการเลี้ยงลูกเชิงจิตวิทยาดังที่สไลด์ดิฉันได้ขึ้น ให้ดูนะคะ
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ คือการช่วยกันสอดส่องดูแล อย่าเห็นว่านั่นเป็นเรื่องของ ภายนอกของเรา เป็นเรื่องของครอบครัวเขาเราไม่สนใจ เพื่อนบ้านและชุมชนจะต้องคอย สอดส่องดูแลและแจ้งเบาะแสให้กับตำรวจในกรณีที่เกิดการใช้ความรุนแรงในครอบครัว รวมไปถึงเราต้องรณรงค์ให้เด็กรู้เท่าทันสื่อใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ด้วยนะคะ รวมไปถึงตัว สื่อมวลชนเองก็ไม่ควรที่จะนำเสนอชื่อหรือวีรกรรมของผู้ก่อเหตุมากจนเกินไป เพราะนั่นจะ ทำให้เด็กรู้สึกว่า โอ้ นี่คือสิ่งที่เท่ห์จังเลย เราอยากจะมีตัวตน เราอยากจะทำแบบนี้บ้างส่งผล กระทบให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ข้อเสนอแนะในระยะสั้นที่ดิฉันอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปพิจารณาและ ดำเนินการต่อไปในระยะสั้น ยกตัวอย่างเหตุการณ์กราดยิงในอเมริกาก็มีแนวทางในการ ประเมินสภาพจิตใจเด็กอย่างทันท่วงที ทันทีเมื่อเกิดเหตุเลยโดยต้องประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ โดยละเอียดเพื่อระบุสาเหตุของ Coma ประเมินว่าเด็กมีภาวะ PTSD ไหม ภาวะเครียด ภาวะกดดัน ภาวะซึมเศร้า เพื่อที่จะบำบัดรักษาได้อย่างถูกต้องนะคะ รวมไปถึงการเฝ้าและ สังเกตพฤติกรรมและการสื่อสารอย่างระมัดระวัง ให้เด็กได้มีโอกาสได้เล่าบอกถึงความรู้สึก ที่เขามีอยู่ และการรณรงค์ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัดสภาพจิตใจของเด็กด้วยค่ะ และดิฉันขอเรียกร้องไปยังสื่อมวลชนทุกสำนักนะคะ อย่าเลยค่ะ อย่าไปสัมภาษณ์เด็กว่ารู้สึก อย่างไร ไหนเล่าเหตุการณ์ในวันนั้นให้ฟังหน่อยสิ เพราะนี่จะเป็นการสร้างบาดแผลทางจิตใจ ที่ซ้ำไปซ้ำมาให้กับเด็ก ทำให้เด็กต้องเอาตัวเองพาเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ เรามา ช่วยกันนำเสนอดีกว่าว่าภาครัฐเยียวยาอย่างไร หรือว่าติดตามการทำงานของภาครัฐดีกว่า ว่าเขาจะเยียวยาให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์นี้อย่างไร
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ในระยะกลางเราควรจะต้องประเมินสุขภาพจิตเด็กทั้งก่อนและหลังเปิดเทอม ทำเลยค่ะจริง ๆ ตอนนี้มี Application แล้วชื่อ Application Hero ที่กรมสุขภาพจิตทำงาน ร่วมกับ สพฐ. แต่ดิฉันอยากรณรงค์ให้มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การใช้มากขึ้น เราจะ ได้เห็นสัญญาณว่าเมื่อเด็กเปิดเทอมมาเขาเจออะไรมาบ้าง หรือปิดเทอมแล้วกลับไปอยู่ที่บ้าน เขาต้องเจออะไรมาบ้าง เมื่อเรามีข้อมูลแล้วเราก็จะสามารถประเมินได้ว่าสถานการณ์ ของเด็กในแต่ละคนนั้นเขาต้องเผชิญกับอะไร รวมไปถึงการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็ก ให้เขาได้มีโอกาสได้พูดคุยบอกเล่าความรู้สึกกับเขา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู หรือผู้ปกครอง
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ในระยะยาวควรมีการปรับหลักสูตรการศึกษา เช่น การช่วยชีวิตคนขั้นต้น การซ้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน หรือเพิ่มหลักสูตรสุขภาพจิตให้เด็กรู้เท่าทันอารมณ์ และสามารถรับมือกับปัญหานั้นได้ ถ้ากรณีนักจิตวิทยาไม่เพียงพอ ดิฉันก็เคยอภิปรายไปแล้วว่า นักจิตวิทยาของเด็กมีการกระจุกตัวและไม่เพียงพอ เราเพิ่มทักษะเรื่องจิตวิทยาให้กับ ครูแนะแนวได้ไหมคะ ให้ครูแนะแนวมีทักษะเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงเราควรจะต้อง ประเมินสภาพจิตใจของครูในทุก ๆ เทอมด้วย นอกจากนี้เราควรปลูกฝังให้เด็กทั้งผู้ใหญ่เลย สังเกต Red Flag หรือว่าสัญญาณอันตรายที่ผู้ก่อเหตุจะส่งมาให้กับพวกเราได้จับสัญญาณ ดิฉันอยากให้ทุกท่านได้ดูคลิปนี้ค่ะ ขออนุญาตเปิดคลิปค่ะ
นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ขออนุญาตนิดเดียว นะคะท่านประธานอีกประมาณ ๑ นาที เพื่อที่จะอภิปรายเพิ่มเติมให้เพื่อที่ผู้พิการทางสายตา ที่ได้ฟังการอภิปรายอยู่ได้เข้าใจเพิ่มมากขึ้น นั่นคือคลิปวิดีโอที่เด็กชาย ม. ปลายคนหนึ่ง ได้เขียนข้อความไว้บนโต๊ะแล้วก็มีคนมาโต้ตอบ มีการเขียนข้อความโต้ตอบกัน แต่ว่าทั้งคู่ยัง ไม่เคยเห็นตัวจริงซึ่งกันและกัน โดยฝ่ายชายเองก็พยายามมองหาเจ้าของลายมือนั้นมาตลอด จนวันหนึ่งก่อนที่จะมีการปิดเทอมมีการเขียนสมุดที่ระลึกกัน แล้วก็รูปแบบตัวอักษรนั้นก็ได้ ไปสะดุดตาของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของลายมือ แต่ว่าก่อนที่ทั้งคู่จะได้เริ่มต้นบท สนทนากันอย่างที่จะเห็นหน้า มีเด็กอีกคนหนึ่งเดินเข้ามาพร้อมปืนแล้วก็เสียงกรีดร้องของ นักเรียนเกิดขึ้น ในวิดีโอนี้ได้บอกว่า ในขณะที่คุณกำลังดูเด็กชายที่กำลังตามหาเจ้าของลายมือนั้นอยู่ ในขณะเดียวกันมีตัวละครอีกตัวละครหนึ่ง ซึ่งดิฉันคิดว่าท่านหลาย ๆ ท่านอาจจะมองข้ามไป คือเด็กที่ถือปืนเข้ามาก่อเหตุ เขาอยู่ในทุก ๆ เหตุการณ์ของเด็กผู้ชายที่เป็นตัวละครหลักเลย เขาอ่านหนังสือเรื่องปืน โดนกลั่นแกล้ง Post รูปตัวเองกับปืน ดูวิดีโอเรื่องการใช้ปืนตั้งแต่ต้น จนจบเรื่องราวเลยค่ะ แต่เราไปดูแค่เส้นทางการตามหาเจ้าของลายมือของเด็กผู้ชาย แต่เรา ไม่ได้สังเกตเด็กที่กำลังส่งสัญญาณอันตรายของความรุนแรงเลย นี่เป็นคลิปที่สอนเราได้มาก เลยว่าถ้าเราช่วยกันสอดส่องดูแลหรือจับสัญญาณอันตรายนี้ได้ เราจะมีเปอร์เซ็นต์ในการ ป้องกันเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งดิฉันไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านวิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ครับ
นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดเชียงราย พรรคเพื่อไทยค่ะ ก็ต้องบอกว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทุกคนให้ความสนใจมาก ๆ ในปัจจุบัน ตัวดิฉันเองก็เรียกว่าให้ความสนใจมากเลย มันไม่ใช่แค่ครั้งแรกด้วยค่ะท่านประธาน เพราะว่า เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมาดิฉันก็ติดตามข่าวสาร มันก็มีเรื่องเกี่ยวกับเรื่องครูเวร ซึ่งก็เกิดขึ้น ในเขตพื้นที่ของดิฉัน นั่นก็คือเขตตำบลดอยลาน จังหวัดเชียงรายค่ะ ซึ่งเราก็ได้ร้องเรียนไปยัง ทางกระทรวงศึกษาธิการให้เขาเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับบุคลากรและ นักเรียนในโรงเรียน ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน ที่ได้มี ข้อสั่งการออกมาให้ยกเลิกในที่ประชุม ครม. ทันที และมาในวันนี้อีกครั้งหนึ่งก็ต้องมาเจอ ข่าวที่เรียกว่าต้องสลดใจให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยไม่ว่าใครก็ตามที่ได้เห็น วันนี้เกิดเหตุ ความรุนแรงในโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดเหตุด้วยต้นเหตุอะไร ก็ตาม ความรุนแรงไม่สมควรที่จะต้องเกิดขึ้นอีกแล้วภายในโรงเรียน อะไรคือความรุนแรง ในโรงเรียนค่ะ ๑. คือความรุนแรงทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเตะ ต่อย หรือตบ ใช่ไหมคะ ๒. ความรุนแรงทางด้านจิต Psychological Violence การใช้คำพูด การทำให้คุณรู้สึก นักเรียนรู้สึกโดดเดี่ยว หรือว่าการถูกกีดกันออกจากสังคมหรือกลุ่มเพื่อน ๓. ความรุนแรง ทางเพศ หรือว่า Sexual Violence นั่นก็คือการทำร้ายหรือว่ารวมไปถึงการถูกล่วงละเมิด ทางเพศด้วย ๔. การใช้อาวุธ ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายหรือว่าเป็นการข่มขู่ก็ตาม ๕. ก็คือ การ Bully ไม่ว่าจะเป็นการ Bully ด้วยคำพูด และปัจจุบันนี้ก็จะเป็นมีรวมถึงเรื่อง Cyberbullying ด้วยค่ะ ดิฉันอยากจะขอพูดในสภาแห่งนี้อีกครั้งหนึ่งในการขอการเพิ่มแล้วก็ ยกระดับความปลอดภัยทั้งโรงเรียนในด้านบุคลากรและเทคโนโลยี ซึ่งจะสร้างให้โรงเรียนเรา เป็นพื้นที่ปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง เป็นพื้นที่ที่ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน บุคลากร หรือว่าคุณครูที่อยู่ ในโรงเรียนสามารถรู้สึกปลอดภัย ให้กลุ่มนักเรียนแล้วเด็ก ๆ เหล่านั้นสามารถรู้สึกว่าเขาได้ อย่างเต็มที่ในช่วงวัยของเขา เขาได้เล่นอย่างเต็มที่และปลอดภัยในกลุ่มของเขา วันนี้ ผู้ปกครองเองก็ควรจะได้รับความสบายใจในการส่งบุตรหลานให้เข้ารับการศึกษา การป้องกันแบบเทคโนโลยีเป็นอันหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันบุคลากรที่ต้องเผชิญกับ อันตรายต่าง ๆ อีกทั้งเป็นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบ ตรวจจับความเคลื่อนไหวในเวลากลางคืนหรือว่าการตรวจเช็กอาวุธต่าง ๆ ก่อนที่จะเข้า โรงเรียน หรือว่าจะเป็นการ Program จำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งตอนนี้ต้องบอกว่า ทางสหรัฐอเมริกาเองเขาก็ได้เริ่มมีการพัฒนาใช้ Program เหล่านี้แล้วเพื่อจำลองสถานการณ์ ในการที่จะพบปะกับสถานการณ์ต่าง ๆ ค่ะ ในด้านบุคลากรเองดิฉันไม่ได้พูดถึงว่าเราจะเพิ่ม บุคลากรที่ดูแลรักษาความปลอดภัยเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาบุคลากรให้พวกเขาเหล่านั้น มี Training Program ที่ดีขึ้น เพื่อที่จะให้เขารับมือกับสถานการณ์ รับมือเบื้องต้นกับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนที่พนักงานต่าง ๆ หรือว่าเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ จะมาถึง แต่การป้องกัน ด้วยการรักษาความปลอดภัยอย่างเดียวก็คงไม่เพียงพอค่ะท่านประธาน เพราะว่าพอเรามาดู ต้นตอของปัญหาเหล่านี้ ผู้ก่อเหตุก็คือเป็นนักเรียน แล้วสาเหตุมันอาจจะยังไม่ทราบ อย่างชัดเจน แต่เหตุผลหลัก ๆ ในหลายเหตุการณ์มันก็เกิดมาจากการถูก Bully ถูกกลั่นแกล้ง จนทนไม่ไหว จนทำให้ส่งผลไปถึงความรู้สึกทางจิตใจ และก็ส่งผลไปถึงความรุนแรงต่าง ๆ ที่จะออกก่อเกิด มาในทาง Physical หรือว่าทางร่างกาย ดิฉันคิดว่าเราควรจะมีวิธีการแก้ปัญหา Bully เหล่านั้นให้หมดไปจากโรงเรียน หากเราสามารถจัดการในระดับโรงเรียนได้แล้วนั้น ดิฉัน เชื่อว่าในระดับสังคมเราจะดีขึ้นอย่างแน่นอน ดิฉันขอแนะนำวิธีหนึ่งที่ได้รับการที่น่าสนใจ จากอาจารย์แห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นั่นก็คือการใช้ศิลปะมาบำบัด หรือที่เขา เรียกว่า Expressive Arts Therapy คือเด็กนี้ ถ้าสมมุติเขาได้ Express หรือว่าได้ออกมา วาดภาพอะไรต่าง ๆ ในหัวสมองเขาว่าเขาคิดอะไรอยู่ มันจะเป็นกระบวนการกระบวนหนึ่ง ที่จะช่วยคัดกรองได้ว่าเด็กคนนั้นเขามีความรู้สึกอย่างไร ภาพจะบ่งบอกและบอกได้ว่าเขาคนนี้ มีความคิดอย่างไร จัดอยู่ในกลุ่มผู้ถูกกระทำหรือจะอยู่ในกลุ่มผู้ที่จะสร้างความรุนแรง ในสังคม ศิลปะบำบัดจะช่วยในด้านจิตวิทยาตรงที่ว่าครูเองก็จะสามารถประเมินภาวะของ เด็กกลุ่มนั้นได้ด้วยก่อนที่จะให้คำแนะนำ สามารถทำประวัติกลุ่มเสี่ยงก่อนที่สถานการณ์ รุนแรงต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในโรงเรียนได้
นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
ดิฉันขออนุญาตพูดถึงสถิติจากกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สถิติ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ วัยที่เป็นช่วงที่ก่อคดีมากที่สุดคือวัยมัธยมศึกษา คิดแล้วเป็น ๖,๓๐๖ คดีด้วยกัน หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ ๕๑.๗๒ เปอร์เซ็นต์ ด้วยเด็กวัยนี้เขามีอารมณ์ที่คึก คะนองและเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ นอกจากการดูแลทางโรงเรียนแล้วดิฉันว่าสถาบันของ ครอบครัวก็เป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ ถ้าครอบครัวจะช่วยดูแลเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยให้กับ พวกเขา เป็นพื้นที่ที่เขาสามารถพูดคุยและปรึกษาไม่ให้พวกเขาได้รู้สึกถูกทอดทิ้ง ดิฉันเชื่อว่า ถ้าเราหันมาใส่ใจกับครอบครัวมากขึ้น เหตุการณ์ต่าง ๆ ก็จะต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน สุดท้ายนี้ ค่ะท่านประธาน แม้ในช่วงนี้ประเทศเราจะมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโรงเรียนและนักเรียน เกิดขึ้น แต่ก็ยังโชคดีขณะที่มันไม่ได้ยกระดับความรุนแรงไปเหมือนที่ต่างประเทศเกิดขึ้น ดิฉันก็ขอแค่ภาวนาว่าจากนี้ไปเราต้องมีวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้มีความรุนแรง ในโรงเรียนเกิดขึ้นอีกแล้ว และสุดท้ายนี้ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง แล้วก็ในฐานะคุณแม่ ของลูกสาว ดิฉันขอให้รัฐบาลนี้ทำให้โรงเรียนกลับมาเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยเพื่อลูกหลานแล้วก็ คนไทยอีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณค่ะท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญ คุณกัณวีร์ สืบแสง ครับ
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ ยิ่งฟังยิ่งหดหู่ แต่ผมขอนำเอาความหดหู่นี้มาเป็นพลังให้กับพวกเราในฝ่าย นิติบัญญัติในการที่จะต้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะเฉพาะหน้า ระยะกลาง และ ระยะยาว ก่อนอื่นผมขอร่วมแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้สูญเสียจากสถานการณ์ ความรุนแรงที่เกิดขึ้น และขอยืนยันว่าผมเองไม่สนับสนุนและไม่เห็นถึงความชอบธรรมใด ๆ ที่เกิดขึ้นในการกระทำความรุนแรงในทุกรูปแบบ การที่มีเพื่อนสมาชิกได้เสนอญัตติด่วน ด้วยวาจาในเรื่องนี้ แน่นอนว่าจำเป็นเร่งด่วนจริง ๆ ที่เราต้องหารือกันในสภา อย่างไรก็ตาม เรื่องความรุนแรงของเด็กนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน รวมถึงเยาวชนกลุ่มอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใน สื่อหรือข่าวต่าง ๆ นั้นเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับปรากฏการณ์เท่านั้น ตามที่เพื่อนสมาชิก คุณร่มธรรมได้พูดไว้ว่าจริง ๆ แล้ว มันเป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งที่เราใช้แค่ระดับสายตาของเรา แค่มองเห็นเท่านั้น เพราะที่เราเห็นมันคือแค่ปลายเหตุ ดังนั้นเรื่องความรุนแรงในเด็กและ เยาวชน ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำนั้น จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและ เร่งด่วนในระดับฐานราก เราพูดและเราได้ยินกันบ่อย ๆ ครั้งว่าเด็กเป็นอนาคตของชาติ ครอบครัวเป็นสถาบันหลัก ถ้าครอบครัวเข้มแข็งสังคมก็จะเข้มแข็งไปด้วย แม้ว่าการดูแล จัดการศึกษา พัฒนาเด็ก รวมถึงครอบครัว จะถูกใส่ไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ นั้นการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องแผนการพัฒนาและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ ถูกลดทอนความสำคัญในการดูแลให้เด็กคนหนึ่งเติบโตขึ้นมา และช่วยสนับสนุนครอบครัว ให้สามารถเลี้ยงดูบุตรหลานของเขาได้เติบโตอย่างเคารพคุณค่าในตัวเองและของผู้อื่น ผมมองว่าพวกเราต้องยอมรับกันก่อนว่าเราต่างมีความรับผิดชอบในสังคมที่หล่อหลอมเป็น เด็กขึ้นมา หากเราไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กแล้ว โดยสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กในการ กำหนดอนาคตของตัวเองแล้ว ผมเองก็มองไม่ออกว่าเราจะสร้างสังคมแบบใดให้กับอนาคตของชาติของเรา แต่ในทาง กลับกันครับ พวกเราทุกคน โดยเฉพาะที่อยู่ในสภาทรงเกียรติแห่งนี้กำลังร่วมกันสร้าง ระเบิดเวลา ร่วมกันทำให้เด็กคนหนึ่งผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งวันหนึ่งเขาไม่เคารพ ในคุณค่าชีวิตของตัวเองและผู้อื่นอีกต่อไป ผมขอย้ำครับ คำพูดที่คุณศศินันท์ เพื่อนสมาชิก พรรคก้าวไกลได้อภิปรายในเบื้องต้นว่า It takes a village to raise a child, it also takes a village to abuse one ขอเป็นภาษาอังกฤษแปลว่า การจะเลี้ยงดูให้เด็กคนหนึ่งเติบโต ขึ้นมาต้องใช้คนทั้งชุมชนกันเลยทีเดียว และในขณะเดียวกันชุมชนก็เป็นคนทำร้ายเด็ก ได้เหมือนกันอย่าตอกย้ำครับ ทำร้ายเด็กกันต่อไป ท่านประธานครับ ชุมชนในที่นี้ที่ผม พูดถึงนี้เป็นชุมชนใหญ่ในฐานะรัฐ ที่เราต้องตั้งคำถามสำคัญว่าเราได้ใช้ทรัพยากรมากพอ หรือยังในการปกป้องเด็กคนหนึ่งจากการเป็นอาชญากรเด็ก หรือเด็ก ๆ ที่รอการเจริญเติบโต ไปด้วย จะเป็นอาชญากรในผู้ใหญ่ในอนาคต เราได้ระดมสรรพกำลังมากพอแล้วหรือยัง ที่จะยับยั้งความสูญเสียและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจริง เรามีพอหรือยัง การแก้ไขปัญหาด้วย การลงโทษ การเพิ่มโทษและการยกเลิกกฎหมายเยาวชนเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ที่เราอาจจะจัดการไปได้แค่ ๑ คนในแต่ละครั้ง แต่ในเมื่อสังคมเรายังไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายถึงส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้หล่อหลอมยังอยู่จุดเดิม เราแค่รอเวลาเกิดเหตุการณ์ที่ เหมือนหรือคล้ายกันให้เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และเราเพียงแค่รอวันพิพากษากันต่อไปเรื่อย ๆ ครับท่านประธาน ผมจึงขอเสนอข้อเสนอ ๓ ข้อที่เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะใกล้และ ระยะกลาง และข้อเสนอ ๑ ข้อซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวให้กับรัฐ ในฐานะผู้ปกครอง ดูแลประชาชนทุกคนที่ต้องทำหน้าที่คุ้มครอง พัฒนา และเยียวยาเด็กและเยาวชนของเรา อย่างจริงจัง ดังนี้
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อ ๑ เราต้องเอาจริงเอาจังกับทรัพยากรและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ อย่างนักสังคมสงเคราะห์ ให้เข้าถึงเด็ก ครอบครัว และชุมชนได้ง่าย เริ่มจากสถานศึกษาก็ได้ ให้สามารถเฝ้าระวังให้คำปรึกษาสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กในวันที่เขาไม่มีใคร ผมขอย้ำ นะครับ เราทุกคนเคยเป็นมาก่อน แล้วย่อมรู้ดีครับ มันเจ็บที่วันนี้เราไม่มีใคร ลองคิดดูครับ หากเป็นเด็กจะเจ็บมากกว่าเราแค่ไหน ผมขอเสนอให้ทางกระทรวงที่เกี่ยวข้องและโดยเฉพาะ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นนักสังคมสงเคราะห์ต้องมีวุฒิสังคม สงเคราะห์เท่านั้น เพราะเป็นวิชาชีพเฉพาะที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้วเท่านั้น
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อ ๒ ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองเด็กในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และชุมชนที่สามารถเข้าถึงและคุ้มครองเด็กได้อย่างรวดเร็วและมีการประสานงาน จัดการ รายกรณีโดยยึดประโยชน์สูงสุดของเด็ก หรือที่เรียกภาษาอังกฤษว่า Child Base Interest
นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อ ๓ ที่เป็นระยะสั้นและระยะกลาง ต้องมองว่าการเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมในฐานะเด็กและเยาวชนที่ได้กระทำผิดไม่ใช่การสำเร็จโทษ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของ การบำบัดฟื้นฟูคืนเด็กดีกลับสู่สังคม ผมทราบว่าเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพในกรมพินิจและ คุ้มครองเด็กและเยาวชนก็ทำงานกันอย่างหนัก เพื่อให้โอกาสเด็กที่เคยก้าวพลาดได้กลับคืนสู่ สังคมและครอบครัว เราต้องเปลี่ยนมุมมองนี้ให้กับสาธารณะได้โดยเร็วที่สุด และภาครัฐต้อง เร่งสนับสนุนในด้านนี้ให้มากที่สุด การแก้ไขปัญหาในระยะยาวคือการนำเรื่องสิทธิเด็ก สุดท้าย ในระยะยาวคือเรื่องสิทธิเด็กและการให้ความคุ้มครองเด็กกลับไปอยู่ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดของประเทศไทย อันนี้จะเป็นการแก้ไขในระยะยาว ท่านประธานครับ เราคือคนรอบตัวของเด็ก และเราทุกคนมีหน้าที่เลี้ยงดูเด็กให้เติบโต และขอยกคำของคุณป้ามล คุณทิชา ณ นคร แห่งบ้านกาญจนาภิเษก มาให้เพื่อน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่นี้ได้ฟัง และรวมถึงประชาชนที่ชมการอภิปรายครั้งนี้ฟังว่า ถ้าดูแลคนในฐานะมนุษย์อย่างแท้จริง มนุษย์จะงอกงาม ขอบคุณครับท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณกรวีร์ ปริศนานันทกุล ครับ
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ กรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทย จากจังหวัดอ่างทอง ผมขออนุญาต ที่จะได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายต่อญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอต่อสภาเป็นญัตติด่วนในเรื่อง ของการแก้ไขปัญหาป้องกันความรุนแรงในโรงเรียน ต้องขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ได้เห็น ความสำคัญแล้วก็ได้เสนอญัตติดังกล่าว และต้องขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ได้เห็นความสำคัญ แล้วก็ได้เสนอญัตติด่วนดังกล่าว และต้องขอบคุณท่านประธานที่เปิดโอกาสให้เพื่อนสมาชิก ได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง ผมได้ฟังเพื่อนสมาชิกจากทั้งซีกของฝ่ายค้านแล้วก็ฝั่งของรัฐบาล ผมเชื่อว่าสภาแห่งนี้ เห็นตรงกันครับ พวกเราในฐานะที่เป็นผู้แทนของพี่น้องประชาชนเห็นตรงกันว่าโรงเรียนนั้น ควรที่จะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย โรงเรียนควรที่จะเป็นสถานที่ที่ลูกหลานของพวกเราไม่ว่า จะอยู่ที่แห่งหนตำบลใดในประเทศนี้ก็แล้วแต่เขาควรที่จะไปโรงเรียนด้วยความสุข ควรที่จะ ไปโรงเรียนโดยปราศจากความหวาดกลัวที่จะต้องไปเจอเหตุความรุนแรงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ภายในโรงเรียน แล้วผมเห็นด้วยกับข้อเสนอของเพื่อนสมาชิกหลายข้อที่ได้ร่วมกันแสดง ความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่จะผลักดันให้มีหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายปกครอง ไม่ว่าจะเป็นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นทางสาธารณสุข คุณหมอ ที่จะต้องเข้ามาช่วยกัน เพื่อที่จะมาช่วยกันในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้มันเป็นเรื่องเป็นราว และต้องขอบคุณที่ข้อเสนอต่าง ๆ ที่เราจะเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้นั้นจะนำเสนอ ต่อไปยังรัฐบาลเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต ผมอยากจะนำเสนอกับ ท่านประธานในระยะเวลาสั้น ๆ ตรงนี้ ผมเองเพิ่งจะได้รับคำร้องเรียนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นี้เอง เป็นโรงเรียนเล็ก ๆ ในต่างจังหวัดในเขตพื้นที่ที่จังหวัดอ่างทอง ก็มีเหตุการณ์ Bully กัน ในโรงเรียน และเด็กที่ก่อเหตุนั้นก็เป็นเด็กอายุเพียงแค่ ๗-๘ ขวบครับ อยู่แค่ ป. ๑ ที่ไป ก่อเหตุความรุนแรงภายในโรงเรียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนผู้ปกครองในโรงเรียนอดรนทนไม่ไหว มาหารือมาปรึกษากับผู้แทนราษฎรว่าจะช่วยกันในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ในโรงเรียน ได้อย่างไร ผมได้ประสานกับทางโรงเรียนครับ ได้ประสานกับทางสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาเพื่อที่จะได้เข้าไปรับฟังปัญหา แล้วก็จะหาแนวทางป้องกันปัญหาต่อไปในอนาคต ก็ทราบถึงข้อจำกัดครับ ก็ได้รับฟังปัญหาจากคุณครูมาว่ามีปัญหามีอุปสรรคอะไรบ้าง คุณครู ก็สะท้อนปัญหามาประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจครับ นั่นก็คือวันนี้เวลาที่คุณครูเองซึ่งถือว่าครู ประจำชั้นครูผู้สอนเป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด เขาจะรู้พฤติกรรมของเด็กว่าเด็กคนนี้ มีพฤติกรรมอย่างไร มีพฤติกรรมชอบแกล้งเพื่อน ชอบ Bully เพื่อนใช้ความรุนแรงต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้วหรือเปล่า ตอนนี้คุณครูถึงแม้ว่าอยากที่จะ ประเมินและอยากที่จะส่งตัวเด็กเหล่านี้ไปเข้าทำการรักษา เข้าไปหาจิตแพทย์ เข้าไป พบแพทย์ ทำไม่ได้ครับ ต้องให้ผู้ปกครองของเด็กให้ความยินยอมให้การอนุญาตเสียก่อน ซึ่งก็กลายเป็นปัญหา เอาล่ะ หลังจากที่คุยเสร็จสรรพเรียบร้อยแล้ว ผู้ปกครองอนุญาตส่งไปที่ โรงพยาบาลครับ ท่านประธานทราบไหมครับ โรงพยาบาลเล็ก ๆ ในต่างจังหวัดไม่มี แพทย์เฉพาะทาง ก็ต้องรอที่จะส่งตัวไปรักษาในโรงพยาบาลที่จังหวัดอีก ผมก็ถามแล้วคิว รอนานแค่ไหน ๓ เดือนกว่าที่จะได้คิวในการรับในการปรึกษาทางจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญการเฉพาะด้าน คำถามก็คือแล้วภายใน ๓ เดือนนั้นเราจะปล่อยให้เด็กคนนี้มี พฤติกรรมแบบนี้ เราจะปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดซ้ำขึ้นอีกอย่างนั้นหรือครับ นี่คือปัญหา ที่เกิดขึ้นและได้รับเป็นเสียงสะท้อนออกมาจากคุณครูที่อยู่ที่หน้างานที่โรงเรียน นอกจากนั้น เรื่องที่พวกเราในสภาแห่งนี้เสนอกัน เรื่องของการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทางอำเภอ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทางแพทย์ ทางสาธารณสุข ทางพัฒนาสังคมที่จะเข้าไปช่วยเหลือในการดูแล ก็ต้องยอมรับ หน้าที่หลัก ต่าง ๆ ของหน่วยงานต่าง ๆ เหล่านี้งานประจำเขาก็มีมากอยู่แล้ว ลำพังที่จะให้โรงเรียนให้ คุณครูไปประสานงาน การตอบรับในการทำงานร่วมกันตรงนี้ก็เกิดปัญหาในการปฏิบัติที่หน้า งานที่หน้าโรงเรียนจริง ๆ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้คือปัญหาที่เสียงของคุณครูที่ทาง กระทรวงศึกษาธิการควรที่จะต้องรับฟัง และไปหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เจตนา ของสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ที่เพื่อนสมาชิกได้นำเสนอกันมาตรงนี้ให้มันเกิดผลขึ้นจริงให้ได้
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ประการสุดท้าย นั่นก็คือหน้าที่ของคุณครูในวันนี้ที่โรงเรียน ผมอยากจะชวน ท่านประธานลองนึกภาพโรงเรียนต่างจังหวัด ผมเป็นผู้แทนบ้านนอกครับ มีโรงเรียนมากมาย ที่มีเด็กนักเรียนอยู่ที่ประมาณ ๒๐ กว่าคน ๓๐ คน ผมไปเยี่ยมที่โรงเรียนครับ มีคุณครูที่เป็น ข้าราชการคนเดียว ไม่มีผู้บริหารครับ มีครูอัตราที่เป็นครูผู้ช่วยสอนอีก ๑ คนและนักการภารโรง อีก ๑ คน ทั้งโรงเรียนมี ๓ คน และหน้าที่ลำพังเฉพาะที่สอนให้ตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นก็ทำ ด้วยความยากลำบากอยู่แล้ว และไหนที่จะเป็นภาระของคุณครูที่จะต้องเพิ่มมากขึ้นในการ ดูแลป้องกันเรื่องของความปลอดภัยที่จะเกิดขึ้นภายในโรงเรียนอีก เหล่านี้คือภาระ คือหน้าที่ ของคุณครูที่จะต้องไปเพิ่มให้เขาทั้งสิ้น ก็อยากจะให้ได้รับการสนับสนุนจากทางหน่วยงาน ของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องให้การสนับสนุนในการปฏิบัติ หน้าที่ เพื่อที่จะช่วยกันในการป้องกันปัญหาเหล่านี้ต่อไปในอนาคต
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
และท้ายที่สุด ผมเห็นด้วยกับเพื่อนสมาชิก และเป็นเรื่องจริงว่าการแก้ไข ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนนี้มันเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุครับ โรงเรียนเป็นเพียงแค่ สถานที่ที่เหตุมันเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ปัญหาความรุนแรงนอกเหนือจากที่โรงเรียนนี้มันเกิดเหตุ สั่งสมมาจากครอบครัว จากบ้าน จากชุมชน จากสังคมรอบ ๆ ตัวของเด็กทั้งนั้นดังนั้น อย่าปล่อยให้ภาระหน้าที่ตรงนี้เป็นเพียงหน้าที่ของโรงเรียน อย่าปล่อยให้เรื่องนี้อยู่บนบ่าของ คุณครูแต่เพียงลำพังครับ ทุกภาคส่วน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นที่ต้องมาช่วยเหลือ เพื่อที่จะสร้างอนาคต เพื่อที่จะดูแลลูกหลานของเราให้ดีมากขึ้นกว่านี้ ขอบคุณท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณธิษะณา ชุณหะวัณ ครับ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน สาทร และราชเทวี พรรคก้าวไกลค่ะ ในฐานะคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวนะคะ ดิฉันเห็นว่าไม่ควรลดอายุ หรือเพิ่มโทษเด็กและเยาวชนค่ะ หรือการยกเลิกกฎหมายเยาวชน เพราะในทางอาชญาวิทยา และหลักสากลทั่วโลกมองว่าเด็กและเยาวชนเป็นวัยที่ยังอ่อนต่อประสบการณ์และขาด ความคิดเห็นอย่างเป็นเหตุเป็นผลค่ะ ซึ่งแตกต่างจากผู้ใหญ่นะคะ ซึ่งอยู่ในวัยคึกคะนอง อยากรู้อยากลอง เขาอาจจะทำผิดพลาดไป ฉะนั้นการลงโทษเด็กและเยาวชนจึงควรเป็น การให้โอกาสแก้ไขฟื้นฟูนิสัยและพฤติกรรม ดิฉันเข้าใจดีว่าสังคมกำลังตั้งคำถามถึงกรณี เยาวชนที่ก่อเหตุโหดร้ายเกินความเป็นเด็กและเยาวชน เช่น เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน อันนี้เป็นเขตที่ดิฉันได้รับเลือกตั้งมาเองนะคะ ป้าบัวผัน และเหตุการณ์แทงเพื่อนนักเรียน มัธยมพฤติการณ์แห่งคดีเหล่านี้ถ้าจะต้องพิจารณาโทษแบบผู้ใหญ่หรือไม่ ดิฉันมองว่า ในส่วนนี้มีกฎหมายที่กำหนดขั้นตอนและมาตรการให้ผู้พิพากษาสามารถที่จะใช้ดุลพินิจ ในการพิจารณาคดีจากการกระทำและผลของการกระทำได้ โดยกฎหมายดังกล่าวจะเป็น บทบัญญัติ ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๙๗ วรรคสอง คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชน และครอบครัว ถ้าศาลเยาวชนและครอบครัวพิจารณาโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญาและนิสัยแล้ว เห็นว่าในขณะกระทำความผิดหรือในระหว่างการพิจารณาเด็ก หรือเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำความผิดมีสภาพเช่นเดียวกับบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป ให้มีอำนาจสั่งโอนคดีไปพิจารณาในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้อยู่แล้ว ดังนั้นแล้ว บทบัญญัติของกฎหมายที่มีแต่เดิมก็เพียงพอต่อการที่จะบังคับใช้กฎหมายให้มีความเท่าเทียม และเหมาะสมกับสภาพการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น อย่างกรณีข้างต้นศาลอาจใช้ดุลพินิจ พิจารณาว่ามีการเตรียมการวางแผนไว้หรือไม่ มีการตระเตรียมหรือไม่ พฤติกรรมที่ก่อเหตุ ทารุณ ทารุณกรรมโหดร้ายเกินกว่าที่เด็กและเยาวชนปกติจะกระทำหรือไม่ ด้วยสภาพจิต สติปัญญา นิสัย และร่างกาย สมควรจะดำเนินคดีโดยใช้มาตรการแบบเด็กหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ ต้องกล่าวว่าในศาลหากกฎหมายไม่ได้เปิดช่องเอาไว้แล้ว ดิฉันจึงขอยืนยันว่าไม่จำเป็น ที่จะต้องปรับอัตราโทษของเด็กและเยาวชนให้เพิ่มขึ้น ทั้งควรให้น้ำหนักและพิจารณาถึง สาเหตุและการกระทำความผิดของเด็กและสภาพแวดล้อมที่กล่อมเกลาตัวเด็กเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่อีก ๑๐ ล้านคนในประเทศนี้ค่ะ ถ้าหากอ้างอิงถึง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กหรือที่เรียกว่า Convention on the Rights of the Child (CRC) ที่เป็นสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับรองสัตยาบันในประเทศไทยแล้วในปี ๒๕๓๕ และได้มี การยอมรับถ้วนหน้าในระดับสากล โดยอนุสัญญาดังกล่าวได้ระบุรายละเอียดพื้นฐานต่าง ๆ ของทุกประเทศที่ต้องรับประกันให้เด็กและเยาวชนในประเทศของตน อาทิ เช่น สิทธิในการ มีชีวิตรอด สิทธิที่ได้รับการพัฒนา สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้มีส่วนร่วม ในการแสดงออกหรือในความคิดเห็น หรือในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อ สตรีทุกรูปแบบ หรือที่เรียกว่า The Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women หรือที่เรียกว่า CEDAW เพื่อขจัดการปฏิบัติต่อสตรี รวมถึงสตรีที่เป็นเด็กทั้งในเรื่องการการเมือง สังคม วัฒนธรรมและชีวิตครอบครัวด้วยค่ะ จึงเห็นได้ว่านานาประเทศมีแนวทางปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชน การไม่เลือกปฏิบัติต่อสตรี ไปในแนวทางเดียวกัน ปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่ไม่เหมาะสมจึงอาจจะเกิดจากปัจจัยอื่นที่ ไม่ใช่ด้านการเพิ่มโทษให้รุนแรงขึ้น ดิฉันขออนุญาตยกสถิติการกระทำความผิดเกี่ยวกับ เยาวชนที่ถูกจับกุมส่งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในปี ๒๕๖๕ จำแนกตาม ฐานความผิดให้เห็นดังนี้ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ๑,๘๒๘ คดี ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและ ร่างกาย ๑,๖๙๕ คดี ความผิดเกี่ยวกับเพศ ๖๑๒ คดี ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุข เสรีภาพ และชื่อเสียงการปกครอง ๔๐๗ คดี ความผิดอื่น ๆ เกี่ยวกับยาเสพติด ๔,๘๘๕ คดี และความผิดอื่น ๆ ๒,๗๖๕ คดี รวมทั้งหมดเป็น ๑๖,๑๙๒ คดี ในปี ๒๕๖๕ ซึ่งเรามี ประชากรที่เป็นเด็กและเยาวชนทั้งหมด ๑๐.๙ ล้านคน และผู้กระทำความผิดรวมทั้งหมด มีเพียง ๐.๑๒ เปอร์เซ็นต์ของประชากรเยาวชนทั้งประเทศ
นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ซึ่งดูจากสถิติแล้ว ตามภาพประกอบบนสไลด์จะเห็นว่าเยาวชนที่ก่อคดีตั้งแต่ปี ๒๕๕๓-๒๕๖๕ ในแต่ละปี มีจำนวนที่ลดลงเรื่อย ๆ ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นดิฉันมองเห็นว่ากฎหมายที่มีอยู่ปัจจุบันไม่ใช่ ปัจจัยหลักที่ทำให้เยาวชนก่อคดีอาชญากรรมมากขึ้น แต่เราอาจจะต้องไปดูการนำกฎหมาย ที่มีอยู่มาบังคับใช้อย่างจริงจังเป็นกรณีไปค่ะ เราไม่ควรนำกรณีเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นมาเป็น ข้ออ้างในการแก้กฎหมายเพื่อลงโทษเยาวชนไม่กี่คน และเยาวชนอีก ๑๐ ล้านคนก็ต้องรับ ผลกรรมนั้นไปด้วย สิ่งที่ดิฉันอยากให้มีการแก้ไขอย่างจริงจังมากกว่าการเพิ่มโทษในกรณีของ เยาวชนที่กระทำความผิดคือการมองลึกลงไปที่ปัญหาในระบบ ๑. ระบบการศึกษาที่ป้องกัน การกลั่นแกล้งในโรงเรียน เพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านก็ได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้แล้ว Anti-bullying หรือว่า Zero Tolerance to Bullying หรือระบบป้องกันการปลอดภัยในสถานศึกษา และ ๒. นักจิตเวชในโรงเรียนหรือสถานศึกษา และนักจิตเวชเฉพาะทางสำหรับเยาวชน ๓. การปฏิบัติตามหลักสากลตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่เราได้ลงสัตยาบันไว้แล้ว สิ่งที่ ดิฉันอยากให้มีการแก้ไข ทำไมพวกเขาเหล่านั้นถึงมีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบใช้ความรุนแรง ทำร้ายผู้อื่น พฤติกรรมเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไข พฤติกรรมเด็กก็จะเริ่มเบี่ยงเบนออกจาก สังคม หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะพาไปสู่การละเมิดกฎหมายในที่สุด และถ้าพฤติกรรม ที่ละเมิดกฎหมายยังไม่ถูกแก้ไขอีกก็จะเกิดความรุนแรงในการละเมิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็นคดีอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบันค่ะท่านประธาน สุดท้ายดิฉันอยากจะฝากให้กับ ทุกคนได้คิดว่าสิ่งสำคัญมากกว่าการแก้ไขกฎหมาย คือประเทศเราได้ดูแลคุณภาพชีวิตเด็ก และเยาวชนได้ดีมากน้อยเพียงใด ให้การศึกษาเพียงใดในการอบรมเลี้ยงดู มีคุณภาพเพียงพอ หรือไม่ ได้สร้างสวัสดิการต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับเยาวชนแล้วหรือยัง รวมไปถึง เยาวชนที่อยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้มีการฟื้นฟูเพื่อที่จะกลับมาสู่สังคม อีกครั้งแล้วหรือไม่ ขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ คุณขัตติยา สวัสดิผล ครับ
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวขัตติยา สวัสดิผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยค่ะ ดิฉัน ขอร่วมอภิปรายในญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรรวมกันให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ท่านประธานคะ ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาเราเห็นความรุนแรงในเด็กเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถาบันการศึกษา ทั้ง ๆ ที่โรงเรียนควรจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยเพื่อให้เด็กได้มีการศึกษา เรียนรู้และเพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการอย่างเหมาะสม ดังนั้นปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในโรงเรียนจึงถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก เพราะ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อเหยื่อความรุนแรงแล้ว ยังส่งผลต่อเด็กที่เป็นผู้ก่อเหตุด้วย อีกเช่นกัน รวมไปถึงผู้ที่เห็นเหตุการณ์ความรุนแรงด้วย ซึ่งเป็นการสร้างบาดแผลระยะยาว ทั้งต่อตัวเด็กแล้วก็สังคมไทย เมื่อเราพูดถึงการใช้ความรุนแรงเราอาจจะมองได้ ๓ มิติ ก็คือ ความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม จริงอยู่ค่ะ ที่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณีเป็นเรื่องน่าเศร้า การจัดการเป็นรายกรณีก็เป็นเรื่อง ที่สำคัญ แต่ในฐานะรัฐและหน่วยงานของรัฐต้องไม่จมไปกับแค่รายละเอียด Drama และ จบลงแค่กรณีนั้นเพียงกรณีเดียว แต่รัฐมีหน้าที่ในการมองภาพใหญ่ของปัญหาเพื่อที่จะหา เบื้องหลังในเชิงมหภาคให้ได้ หน้าที่ของรัฐจึงไม่ใช่แค่เอาตัวเลขสถิติมาวางเพียงอย่างเดียว แต่ว่าต้องหาคำตอบให้ได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่อยู่ข้างหลังของปัญหาเหล่านี้ เพื่อที่ว่าเราจะได้ หาแนวทางในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ อย่างไรก็ดี การเก็บและนำเสนอสถิติยังคงเป็นในรูปแบบของการเก็บข้อมูลเชิงตัวเลขอยู่ ดิฉันไม่แน่ใจว่ามีการนำข้อมูลชุดนี้มาศึกษาถึงเหตุผลในเบื้องหลังหรือไม่ เช่น ข้อมูลจาก กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พบว่าสถิติคดีอาญา ๕ อันดับที่พบมากที่สุด ในปี ๒๕๖๖ คือ ๑. เป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ๓,๑๑๐ คดี ๒. เป็นเกี่ยวกับชีวิต และร่างกาย ๒,๙๙๙ คดี ๓. เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ๒,๖๒๒ คดี ๔. เป็นความผิด เกี่ยวกับอาวุธและวัตถุระเบิด ๑,๕๓๐ คดี และเป็นความผิดอื่น ๆ ๑,๐๗๙ คดี ข้อมูลชุดนี้ มีความสำคัญก็จริง แต่เราควรจะต้องพูดถึงวิธีการนำข้อมูลชุดนี้ไปใช้เพื่อเป็นการป้องกันเหตุ ในอนาคตด้วย ท่านประธานคะ แน่นอนว่าแม้วิธีการศึกษารูปแบบเพื่อป้องกันจะเป็น แนวทางที่ยั่งยืน แต่ก็เป็นวิธีที่ใช้เวลาดำเนินการไม่น้อยในการเก็บข้อมูลและศึกษา ดังนั้น การหาแนวทางสำหรับระยะสั้นและระยะกลางเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าก็มี ความจำเป็นเช่นเดียวกัน ที่ผ่านมาดิฉันเห็นว่าแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกเสนอหรือพูดถึง บ่อย ๆ อาจจะยังไม่ได้ผลมากนัก เราจึงยังเห็นปัญหาเกิดขึ้น ซ้ำ ๆ ซ้ำ ๆ อยู่ เนื่องจาก แนวทางการแก้ปัญหาที่เคยนำเสนอมาโดยมากเป็นการมองปัญหาเด็กโดยใช้กรอบมุมมอง แบบผู้ใหญ่มองไปที่ปัญหา ซึ่งเมื่อเรามองจากมุมมองแบบนี้มันอาจทำให้เรามองความจริง ที่ผิดเพี้ยนไปบ้าง เช่น มีการพูดถึงความพยายามในการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายเยาวชน โดยมาจากฐานความคิดในการลงโทษเด็กเพื่อใช้ความกลัวครอบงำความคิดและพฤติกรรม ของเด็กไม่ให้กล้ากระทำความผิด หรือมีข้อเสนอในการลงโทษรูปแบบอื่น ๆ เช่น การพัก การเรียนหรือการให้ออกจากโรงเรียน เป็นต้น แต่เราต้องไม่ลืมว่าการเป็นเด็กที่ยังไม่ได้มี ประสบการณ์เท่าผู้ใหญ่ ยังไม่สามารถรับรู้แล้วก็เข้าใจปัญหาความรับผิดได้อย่างเต็มที่ อาจทำให้ คำว่า กลัวต่อบทลงโทษ ระหว่างผู้ใหญ่และเด็กนั้นมีไม่เท่ากัน ดังนั้นการใช้ ความกลัวต่อบทลงโทษมากำกับพฤติกรรมจึงอาจไม่ได้ผลลัพธ์มากที่เราคิด ในแง่นี้เราจึงควร ต้องทำความเข้าใจกับเด็กผ่านการมองในมุมมองแบบเดียวกับเขา เพื่อให้เราเข้าใจถึงปัญหา และความต้องการที่แท้จริง เช่น เด็กในวัยหนึ่งมีสิ่งที่ต้องการก็คือการได้รับความยอมรับ จากเพื่อน ซึ่งการยอมรับในแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่มีความใกล้เคียงกัน ก็คือความอ่อนประสบการณ์ ทำให้มีความคึกคะนอง การยอมรับของเด็กกลุ่มนี้ก็อาจมาจาก ความท้าทาย และนี่ก็เป็นหนึ่งที่เราจะต้องศึกษาแล้วก็สื่อสารถึงความท้าทายที่พอเหมาะ พอควรในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กโดยที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและ ผู้อื่น ต่างจากความท้าทายที่นำไปสู่ความรุนแรงในด้านต่าง ๆ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นเป็นต้น นอกจากนี้ความสำคัญอีกด้านหนึ่งของการป้องกันเหตุและความรุนแรงในอนาคตคือ เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้วในฐานะของผู้กระทำหรือผู้ก่อเหตุเราจำเป็นจะต้องลงโทษให้เพียงพอ ต่อสัดส่วนที่ก่อเหตุด้วย และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าสู่โปรแกรมฟื้นฟูพฤติกรรมเพื่อที่จะ ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ โดยการฟื้นฟูพฤติกรรมในเด็กนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการติดตาม และประเมินผลอย่างรัดกุมและระมัดระวัง ท่านประธานคะ ก่อนที่เราจะกล่าวโทษเด็ก ดิฉัน อยากจะเชิญชวนให้ทุกท่านถอยหลังหันกลับมามองต้นตอของปัญหา กลับมามองสังคม กลับมามองสภาพความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตที่มีส่วนอย่างยิ่งในการหล่อหลอม พฤติกรรมของเด็กขึ้นมา ๑ คน เราจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการที่ จะสร้างแล้วก็ดูแลสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก โดยถือว่าพัฒนาการที่ดีของเด็กคนหนึ่งจะสามารถย้อนกลับมาเป็นประโยชน์ต่อทั้งชุมชน และประเทศเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ หากความสำคัญของปัญหานี้คือการหาแนวทางยุติความรุนแรง ในโรงเรียน ดิฉันเชื่อว่าการใช้ความรุนแรงไม่อาจนำไปสู่การยุติความรุนแรงได้ แน่นอนว่า ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น การรับผิดและการเยียวยาย่อมเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ในฐานะ หน่วยงานของรัฐ หน้าที่ที่สำคัญกว่าคือการมองภาพรวมของปัญหาให้กว้างขึ้น พยายามมอง ปัญหาว่ารูปแบบปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ตัวเลขของการกระทำผิดเพิ่มขึ้นหรือลดลง และ แก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยไม่ต้องรอให้เกิดคดีดัง คดีสะเทือนขวัญ แล้วค่อยมาถอดบทเรียน ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำ ๆ ต่อไป ขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญคุณปารมี ไวจงเจริญ ครับ
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน ปารมี ไวจงเจริญ ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ดิฉันขอร่วมอภิปรายสนับสนุนญัตติด่วนด้วยวาจาของคุณสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๒๒ พรรคก้าวไกล จากกรณีนักเรียนถูกแทง เสียชีวิตในโรงเรียนย่านพัฒนาการ กรุงเทพมหานคร เหตุการณ์นี้สะเทือนใจทุกท่าน ในสังคมไทยเป็นอย่างมาก และสะท้อนถึงปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษา ซึ่งจริง ๆ แล้ว เหตุการณ์ความรุนแรงในสถานศึกษาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด หมักหมมและเรื้อรัง มาอย่างยาวนาน ท่านประธานคะ เหตุการณ์ความรุนแรงในสถานศึกษานั้นไม่ได้เกิดจาก สาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่เกิดจากสาเหตุหลายสาเหตุ การป้องกันและแก้ไขเราจะมาคิด แยกส่วนไม่ได้ค่ะท่านประธาน จำเป็นต้องคิดอย่างเป็นระบบ ต้องครอบคลุมทุกด้าน และถ้า จะพูดกันจริง ๆ แล้ว เราทุกคนล้วนเป็นหนึ่งในสาเหตุของความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยนี้ ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นตัวเราเอง รวมถึงครอบครัว ชุมชน และสังคมไทยทั้งหมดต้องตั้ง สติในเรื่องนี้ และร่วมพูดคุยกันด้วยเหตุผล ความรุนแรงในเด็กหรือการที่เด็กคนหนึ่ง จะกลายเป็นอาชญากร เขาเป็นเองไม่ได้ค่ะ แต่ทว่ามาจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่ฝังรากลึก ไม่เคยถูกแก้ไขอย่างแท้จริง มีแต่ถูกมองข้ามหรือซุกเอาไว้ใต้พรม ระบบนิเวศทางสังคมหรือ ทุกองค์ประกอบของสังคมเรานี้ที่มีส่วนสร้างความรุนแรงในเด็ก ทุก ๆ ความรุนแรง ทุก ๆ อาชญากรรมที่พาเด็กมาถึงจุดนี้มาจากระบบโครงสร้างที่บิดเบี้ยวที่มีต้นตอมาจากระบบ อำนาจนิยมที่ส่งต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน จนปลายทางนำไปสู่ความรุนแรงในสถานศึกษา อย่างที่เราเห็น ไม่ว่าจะเป็นการ Bully กลั่นแกล้ง ดูถูกเหยียดหยามกันที่เราเห็นในทุกวันนี้ การจะป้องกันและแก้ไขความรุนแรงในสถานศึกษาต้องใช้หลายกลไก แต่เท่าที่เวลามีจำกัด ดิฉันขอเสนอว่าเราต้องสร้างโรงเรียนปลอดภัยทั้งกายและใจให้กับนักเรียนให้ได้ ต้องเป็น โรงเรียนที่ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกอบอุ่นและความมั่นคงทางจิตใจให้ได้ โรงเรียนต้องเป็น พื้นที่แห่งความไว้วางใจของนักเรียนที่ทำให้ตัวนักเรียนเขาไว้ใจครู รวมถึงตัวนักเรียนไว้ใจ ในเพื่อนด้วยกันเอง ความไว้ใจนี่ล่ะที่ต้องสร้างให้ได้และจะช่วยแก้ปัญหาความรุนแรง ในสถานศึกษา และการจะไปถึงจุดที่ครูเป็นที่เชื่อใจ เป็นที่ไว้ใจให้กับนักเรียนทุกคนได้นั้น ก็จำเป็นมาก ๆ ที่เราต้องทำให้ครูได้มีเวลาอยู่กับนักเรียน ต้องคืนครูสู่นักเรียนค่ะ และนี่ นำไปสู่รูปธรรมที่ดิฉันจะขอนำเสนอสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ ไม่มีรูปธรรมที่จะแก้ปัญหา ความรุนแรงในสถานศึกษามากยิ่งไปกว่านี้แล้ว ดิฉันขอเสนอรูปธรรม ๕ อย่าง
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
รูปธรรมที่ ๑ ต้องคืนครูสู่นักเรียนให้ได้ เพื่อที่ครูจะได้สอดส่องพฤติกรรม ทุกอย่างของนักเรียน เมื่อมีสัญญาณแห่งความรุนแรงใด ๆ เกิดขึ้นมาครูจะได้จับสัญญาณนั้น และวางแนวทางป้องกันได้อย่างแม่นยำ
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
รูปธรรมที่ ๒ เราต้องสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูทุกคนในโรงเรียนต้องเป็นครูมืออาชีพ เราต้องสร้างโรงเรียน ให้เป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC ที่แท้จริงให้ได้ ต้องเป็น PLC จริง ๆ ด้วย ไม่ใช่ PLC ปลอม ๆ หลอก ๆ อย่างที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพียงแค่เอาครูไปอบรม เซ็นชื่อ ถ่ายรูป แค่นั้นไม่ได้ ต้องไป PLC จริง ๆ และ PLC นี่ล่ะที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยป้องกัน ความรุนแรงในสถานศึกษาได้ เราต้องช่วยกันสร้าง ช่วยกันรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ร่วมมือกัน ของครูผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนสร้าง PLC ให้เกิดขึ้นจริงให้ได้ แต่การจะสร้าง ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้หรือการสร้างชุมชนแห่งการรู้วิชาชีพ หรือ PLC ขึ้นมาให้ได้ จริง ๆ นั้นจำเป็นต้องคืนครูสู่นักเรียนให้ได้อย่างแท้จริง งานสอนนอกห้องเรียนต้องหมดไป ครูต้องเป็นครู ครูต้องสอน ครูต้องได้อยู่กับนักเรียน ไม่ใช่ให้ครูไปทำงานพัสดุ การเงิน ตรวจรับวัตถุดิบอาหาร นอกจากการคืนครูสู่ห้องเรียนจะทำให้เกิดความใกล้ชิดกัน พูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน แลกเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนระหว่างครูด้วยกันในโรงเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับบ้าน หรือโรงเรียนกับครอบครัวก็สำคัญมาก ครูและ ครอบครัวต้องพูดคุยกันอย่างใกล้ชิด ใส่ใจ และหมั่นจับสัญญาณเตือนถึงความรุนแรงของ นักเรียนและบุตรหลานของท่าน
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
รูปธรรมที่ ๓ ที่จะแก้ความรุนแรงในสถานศึกษาได้ โครงสร้างทางกายภาพ โรงเรียนต้องเอื้ออำนวยด้วยค่ะ โรงเรียนนั้นจำเป็นต้องมีโครงสร้างทางกายภาพที่ต้องมี รปภ. มืออาชีพที่มีทักษะในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นต้องติดกล้องวงจรปิด ซึ่งปัจจุบันนี้กล้องวงจรปิดก็ราคาถูกลงมากและมีประโยชน์หลายด้าน ต้องติดเสียเถอะค่ะ
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
รูปธรรมที่ ๔ กลับมาที่หลักสูตร ดิฉันพูดหลายครั้งแล้ว หลักสูตรปัจจุบัน ที่ใช้อยู่ไม่ทันยุคสมัย ความรู้และทักษะของนักเรียนและครูตามหลักสูตรปัจจุบันใช้ไม่ได้ ยิ่งเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินยิ่งใช้ไม่ได้ เราต้องมาสร้างทักษะ สร้างความรู้ ทั้งนักเรียนและครู ในการบริหารจัดการ ทั้งจัดการตัวเองและจัดการผู้อื่นในสถานการณ์ฉุกเฉิน อันนี้เป็น สิ่งสำคัญมาก เราต้องเร่งลงไปในหลักสูตรใหม่ และอบรมให้กับครูกับบุคลากรทางการศึกษา ทุกคน ซึ่งดิฉันพูดหลายครั้งแล้ว หลักสูตรแกนกลางปัจจุบันต้องเปลี่ยนเป็นหลักสูตร ฐานสมรรถนะได้แล้วเพื่อสร้างเด็กรุ่นใหม่ให้มีสมรรถนะและทักษะที่เหมาะกับโลกยุคใหม่ ดิฉันขอเรียนเชิญเพื่อนสมาชิกทุกท่านมาร่วมกับดิฉันในการสร้างหลักสูตรใหม่
นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
รูปธรรมที่ ๕ ต้องเพิ่มระบบจิตวิทยาบำบัดที่จะสังเกตนักเรียนที่จะมีปัญหา ความรุนแรง หรือปัญหาภาวะซึมเศร้า หรือปัญหาสุขภาวะทางจิตอื่น ๆ ระบบจิตวิทยาบำบัด หรือนักจิตวิทยา หรือครูแนะแนวในไทยปัจจุบันล้มเหลวสิ้นเชิง ต้องสร้างกันใหม่ อันนี้ ต้องทำอย่างจริงจัง ๕ อย่างนี้เป็นรูปธรรมที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมไปกว่าแล้ว และนอกจากนี้ถ้าการแก้ปัญหาระยะยาวเราจำเป็นต้องแก้โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ เหลื่อมล้ำต้องลดและกระจายอำนาจ ลดปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เหลื่อมล้ำ ลดความ ยากจน ต้องทำให้ได้ ร่วมไปกับสร้างหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริง การเคารพในสิทธิเด็ก รับฟังเด็ก ต้องสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงให้เกิดขึ้นในโรงเรียนจึงจะช่วยได้ เหล่านี้จึงเป็น ความเห็นที่ดิฉันว่าท่านนายกรัฐมนตรีควรจะประกาศเรื่องการแก้ปัญหาความรุนแรงให้เป็น วาระของชาติได้แล้ว ฝากนำเสนอท่านประธานไปสู่ท่านนายกรัฐมนตรีและทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญคุณสฤษดิ์ บุตรเนียร ครับ
นายสฤษดิ์ บุตรเนียร ปราจีนบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายสฤษดิ์ บุตรเนียร สส. นักพัฒนาแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชน อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี เขต ๓ พรรคภูมิใจไทยครับ วันนี้ผมมีโอกาสได้เสนอญัตติด่วน ร่วมกันกับผู้เสนอ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเพื่อกำหนด แนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ก่อนอื่นก็ต้องขอแสดง ความเสียใจกับนักเรียนที่ต้องเสียชีวิตจากการกระทำรุนแรง เด็กเพียงอายุ ๑๔ ปีควรจะเป็น กำลังของประเทศชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเสียชีวิต เป็น ๑ ใน ๖๖ ล้านคนที่ต้องเสียชีวิต ไปก่อนวัยอันควร ถือว่าเป็นความน่าเสียใจสำหรับคนที่เป็นคุณพ่อ คุณแม่ ครูบาอาจารย์ เนื่องจากใช้เพียงอารมณ์ชั่ววูบของการอาจจะกลั่นแกล้งหรือสาเหตุใด ๆ ก็ตาม แต่ปัญหามัน เกิดมาจากสังคมที่ผิดรูปแบบ แล้วมีประชากรที่โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป มีเด็กเกิด ลดน้อยลง มีผู้สูงวัยอายุมากขึ้น สวนทางกับความเจริญทางด้านวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ด้าน Digital จนน่ากลัวครับ บริบทของสังคมเน้นแต่ความเจริญของวัตถุ เน้นการแข่งขัน ระดับบุคคลก็มองแต่ความร่ำรวย คนมีขี่รถเบนซ์ก็ดูจะรวยแล้วเป็นคนดีมากกว่าคนขี่สามล้อ นี่คือความผิดพลาดในการวัด เปรียบเทียบ เรื่องของสังคมในวันนี้วัดกันที่มีรายได้ มีเงินเดือน ยศถาบรรดาศักดิ์ ในระดับประเทศชาติเราก็มาแข่งขันกันแต่ GDP รายได้ประเทศชาติ ใครส่งออกได้เยอะ ประเทศไหนมีรายได้เฉลี่ยประเทศชาติ เราวัดกันแต่วัตถุ ไม่เคยที่จะ มาวัดกันทางด้านสังคม คนที่มีคุณงามความดี เด็กก็เหมือนกัน บริบทโรงเรียน การศึกษาก็จะวัดแต่ว่าใครเก่ง ดี มีสุข เราเอาความเก่งมาเป็นตัวนำ ดังนั้น คนดีก็ต้องด้อยกว่าคนเก่ง ทั้งที่บริบทของสังคมแล้วเราต้องการคนดีที่จะนำพาประเทศชาติ สังคม ครอบครัว วัฒนธรรมไทยของเราประกอบด้วย สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ การศึกษา สังคมจะดีได้ทุกคนต้องได้รับการศึกษาครับ แล้วการศึกษาวันนี้เราก็ต้องเน้นว่า ใครเก่งเราวัดกันที่สอบ PISA V-NET O-NET อยู่อย่างนี้ ผมถึงบอกว่าผมอยู่กับการศึกษามา ๕๐ ปีจนตลอดชั่วชีวิตหนึ่ง ใช่ครับ คนเก่งก็ดี ถ้าเป็นคนดีด้วย แต่วันนี้เรามอง แล้วปัญหา ละครับ จะทำอย่างไรบ้าง ครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดสำหรับตัวเด็ก ๆ วันนี้ ก็เปลี่ยนแปลงไป คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ต้องเร่งการทำมาหากิน เพราะเมื่อก่อนนี้ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๒๐ บาท วันนี้ ๕๐ บาท ยังธรรมดา ๆ แล้วจะทำอย่างไร ค่าแรงก็อยู่ที่ ๓๑๐ บาท ๓๒๐ บาท ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ประกาศเงินเดือนให้ข้าราชการ ขึ้นทีหนึ่งสัก ๓,๐๐๐ บาท วันละ ๑๐๐ บาท แต่ขึ้นค่าแรงงานไป ๓ บาท เดือนหนึ่ง ๙๐ บาท กินก๋วยเตี๋ยวกับกาแฟได้ ๒ แก้ว อย่างนี้จะทำอย่างไรครับ แรงงาน การศึกษา ก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบไป แล้วใครจะไปเรียนอาชีวะ ใครจะไปเป็นทักษะแรงงานครับ ใคร ๆ ก็มุ่งหวังที่จะเป็นข้าราชการใหญ่โตกันหมด โรงเรียนซึ่งเป็นสถาบันที่ ๒ เป็นเหมือน คุณพ่อ คุณแม่คนที่ ๒ คุณครูต้องทำงานหนัก เหนื่อยยาก แล้วบางโรงเรียนมีครูอยู่ ยิ่งโรงเรียนขนาดเล็กอย่างที่ผู้อภิปรายบอกไปนะครับ มีครูอยู่คนเดียว สอนไป ป. ๑ ป. ๒ ป. ๓ ต้องทำงานเอกสาร ทำกับข้าวตอนกลางวันอีก นี่ละครับโรงเรียนซึ่งเป็นสถาบัน ที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับคุณครู คุณครูเป็นผู้กำชะตาชีวิตของประเทศชาติ กระทรวงศึกษาธิการจึงเป็นกระทรวงที่สำคัญในการที่จะสร้างคน แล้วคนก็จะไปสร้างชาติ เด็กจะออกมาอยู่ในสังคม แล้วถ้าสังคมวัดกันแต่คนเก่งล่ะครับ คนจะดีไปทำไม ดีแล้ว ได้อะไร ก็จะถามกันอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นรัฐบาลเอง กระทรวง ทบวง กรมต้องร่วมมือกัน จะไปปล่อยให้กระทรวงใดกระทรวงหนึ่งมาเป็นภาระที่จะดูแลเด็ก ไม่ใช่กระทรวงศึกษาธิการ ดูแลเด็ก มีอะไร ๆ ก็โทษกระทรวงศึกษาธิการ วันนี้เด็กไม่ใช่เหยื่อทางสังคมอย่างเดียวครับ หลายอย่างที่ประกอบกันอยู่ในโรงเรียนครับ ส่วนใหญ่จะมีคดีอย่างนี้บ้าง แต่ผมเชื่อเหลือเกิน ว่าเหตุการณ์อย่างนี้มันก็เดือดร้อนกันไปหมด สร้างความเสียใจให้กับคุณพ่อคุณแม่และสังคม ครูบาอาจารย์ แต่อย่างไรก็ตามกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงหลักในการที่จะดูแลเด็ก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดูแลในช่วงมหาวิทยาลัย มีองค์การบริหารท้องถิ่น ยิ่งองค์การท้องถิ่นดูแลเด็กเล็ก ซึ่งเป็นก้าวแรกที่จะผลิดอกออกผลมา ฉะนั้นวันนี้ผมในเวลาที่จำกัดก็อยากเสนอข้อเสนอแนะให้กับรัฐบาลในระดับครอบครัว ทำอย่างไรที่จะสอนให้เด็กลดการใช้โทรศัพท์ ให้เด็กทำกิจกรรม อย่าให้เด็กอยู่คนเดียว ในระดับโรงเรียนก็เช่นเดียวกัน คุณครูที่เป็นคนสำคัญที่สุดควรจะลดการแข่งขันด้านวิชาการ อย่าเอาแต่บ้าระห่ำ สอบ สอบ แล้วก็สอบ ใครได้ที่ ๑ ก็ให้รางวัลกันจนลืมคนที่เป็นคนดีไป ต้องอย่าเร่งนัก สำหรับผมแล้วเป็นครูมาทั้งชีวิต ผมอยากให้เด็กทำกิจกรรม วิชาศิลปะ ดนตรี กีฬา เป็นวิชาที่สร้างชาติ ให้เด็กมีสมาธิที่มั่นคง แต่ปัจจุบันนี้เราเน้นแต่วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาอังกฤษ ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนเก่ง เก่ง เก่ง อย่างเดียวครับ เราควรจะ จัดเด็กกลุ่มย่อยเพื่อจะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และสุดท้ายก็อยากจะให้ประเทศชาติ ให้ความสำคัญกับกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เราทำอย่างไรที่จะวางมาตรการป้องกันเยาวชนให้พ้นจาก Online เป็นวาระเร่งด่วนสำคัญที่สุดครับ กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาแล้ว แต่วันนี้กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมทั้งให้ความรู้ ความทันสมัย ให้โลก Online ให้เข้าถึงวิชาการต่าง ๆ แต่ขณะเดียวกันกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมก็ให้ยาพิษ ให้ระเบิดปรมาณู ไปพร้อมกับตรงนั้น เป็นการฆ่าเด็กไปในตัว ดังนั้นวันนี้หมดเวลาที่จะเถียงกันแล้ว ทุกกระทรวง ทบวง กรม ตั้งแต่ใหญ่ที่สุด ย่อยไปจนถึงครอบครัว เราหันหน้ามาเถอะครับ เพื่อเด็ก เยาวชน ซึ่งสำคัญที่สุดกับประเทศชาติ เยาวชนเป็นผู้ที่สร้างชาติและเป็นกำลัง สำคัญต่อไป ขอกราบขอบพระคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ คุณเอกราช อุดมอำนวย ถ้ายังไม่พร้อม ขอเชิญคุณเทอดชาติ ชัยพงษ์
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เทอดชาติ ชัยพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๕ พรรคเพื่อไทย ต่อกรณีญัตติที่เสนอเข้ามาตรงนี้เป็นปัญหาสำคัญต้องแก้ที่ต้นเหตุ เหตุคืออะไร เหตุคือ เด็กขาดภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่ส่งผลต่ออนาคตของเด็ก เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุด ต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้น ในครอบครัวต้องเป็นครอบครัวที่อบอุ่น เบื้องต้นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย คนรอบข้างต้องให้ความรักความอบอุ่นและดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นคนรอบข้างนั้นไม่ใช่เฉพาะเพียงแต่ในครอบครัวเท่านั้น ในชุมชน ในสังคม ก็สามารถที่จะดูแลช่วยเหลือประคับประคองกันไปได้ เยียวยาจิตใจ สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความรักให้เกิดขึ้นในจิตใจของเด็ก เพราะฉะนั้นจำเป็นหรือยังที่เราต้องมีหลักสูตร การอบรมพ่อแม่ผู้ปกครอง เราจะเห็นว่าพ่อแม่พันธุ์ใหม่ในขณะนี้เจริญพันธุ์ในวัยอันรวดเร็ว แล้วก็การดูแลบุตรนั้นก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จึงเกิดปัญหาสังคมขึ้นมาก ถ้าเรามี หลักสูตรที่จะเป็นกรอบในการที่ให้เขาได้ศึกษาเรียนรู้ว่าวิธีการดูแลลูกของตัวเองนั้น เป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นการดูแลลูกในครอบครัวนั้นให้เด็กได้อยู่กับพ่อแม่ ให้อยู่กับปู่ย่าตายาย ให้อยู่กับคนรอบข้างเขาก็จะเกิดความอบอุ่นขึ้นในตัวเอง ไม่อยู่กับตัวเองมากนัก ไม่อยู่กับ ความหลอนต่าง ๆ รวมถึงสถานที่ในสังคมทุกแห่ง ทั้งในสถานศึกษาหรือสังคมที่มียาบ้า เกลื่อนขณะนี้ก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นสถาบันที่ ๒ มีบุคคลซึ่งถือว่าเป็นพ่อแม่ คนที่ ๒ ของเด็กนั่นก็คือสถานศึกษา ฉะนั้นในสถานศึกษาความปลอดภัยต้องมาก่อนครับ ความปลอดภัยเป็นเรื่องแรกที่จะต้องดูแลนักเรียนทั้งร่างกายและจิตใจ ความปลอดภัย ของเด็กนั้นมีภัยอะไรบ้างที่อาจจะเกิดขึ้น ภัยแรกก็คือภัยจากความรุนแรงของมนุษย์ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภัยที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท การทุบตี การทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน และการละเมิดทางเพศ เหล่านี้คือภัยจากความรุนแรงของมนุษย์ทั้งสิ้น ภัยที่ ๒ อาจจะ เกิดขึ้นในสถานศึกษาก็คือภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ อุบัติเหตุทั้งเรื่องของอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งหมดนี้อาจจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยขึ้นกับเด็ก ภัยที่ ๓ ก็คือ การละเมิดสิทธิของเด็ก การที่ไม่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ในการมีปากเสียง ในครอบครัว ในสถานศึกษาเองก็ดีนั้น ให้เด็กได้พูด ได้ระบาย ได้แสดงออกก็ถือเป็นสิ่งที่ดี รวมถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคม โอกาสทางสังคมที่ไม่เท่ากัน นี่ก็เป็นภัยที่เกิดจากการละเมิด สิทธิของเด็กเช่นเดียวกัน ภัยที่ ๔ ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะ Unhealthiness ที่อาจจะเกิดจากเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมถึงสื่อที่เป็นพิษ สื่อที่เป็นภัยต่อเด็ก เกม ทำให้เด็กนั้นอยู่กับตัวเองมาก ทำให้เด็กนั้นไม่ได้ผ่อนคลาย เกิดความกดดัน เกิดความเครียด ปัญหาทั้งเด็กเล็ก เด็กโต เด็กใหญ่ เกิดขึ้นมากมาย เด็กเล็กก็แทงกัน ตีกัน เด็กโตก็มีอาวุธ ก็ไปยิงคนในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เหล่านี้คือปัญหาทั้งนั้น นี่คือปลายเหตุครับ เพราะฉะนั้น ต้นเหตุจึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนั้นทางสถานศึกษาเองนั้นเรื่องของความปลอดภัยของ นักเรียนต้องมาก่อน การให้นักเรียนได้มีกิจกรรม ทำกิจกรรมในโรงเรียน ให้นักเรียน ได้แสดงออกให้มาก มีกีฬา ดนตรี ศิลปะ สุนทรียภาพ สุนทรียศิลป์ต่าง ๆ ให้นักเรียนได้ ผ่อนคลาย ให้นักเรียนได้แสดงออกให้มากก็เป็นเรื่องที่ดี ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจึงเป็น เรื่องสำคัญในสถานศึกษา ต้องมีครูที่เอาใจใส่ดูแลเด็ก แต่ครูเดี๋ยวนี้ท่านก็พูดมาเหมือนกัน เด็กมีปัญหาพูดอะไรก็ไม่ค่อยได้ ด่าก็ไม่ได้ ตียิ่งแล้วใหญ่ มีผิดระเบียบ ผิดวินัยถูกลงโทษ ไม่เหมือนครูสมัยโบราณที่กำราบแล้วก็ให้เด็กได้เปลี่ยนนิสัย เปลี่ยนพฤติกรรมได้ดี แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้แล้วครับ โลกของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ต่าง ๆ ฉะนั้น อันนี้ก็ต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นในการดำเนินการในสถานศึกษาที่ไม่สำเร็จได้นั้น ไม่ใช่เพราะว่าไม่มีครู ไม่ใช่เพราะว่าครูทำไม่ได้ แต่เป็นเรื่องของนโยบายที่ไม่ต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการให้อำนาจหน้าที่ของครู ให้บทบาทของครูในการทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญ เราจะไม่เอาเด็กเป็นตัวประกัน เราจะไม่เอาครูเป็นตัวประกัน แต่เรากำลังหาวิธีทำอย่างไร ให้เกิดการแก้ไขที่ถูกทางในต้นเหตุจนไปสู่ปลายเหตุ และที่สำคัญที่สุด สังคมรอบด้านของ นักเรียนของพวกเราทุกคน ของเด็กทุกคน เด็กไทยทุกคน สื่อต่าง ๆ ที่เสนอความรุนแรง ความก้าวร้าวอย่างต่อเนื่อง ซ้ำ ๆ การพูดจาที่ไม่มีสัมมาคารวะอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ รวมถึง สื่อที่ไม่ดีที่นักเรียนสามารถดูได้จากเครื่องมือการเรียนรู้ใหม่ ๆ ต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่เรา จำเป็นต้องเสนอสื่อที่สร้างสรรค์ให้กับเด็ก แล้วสังคมนั้นต้องเป็นมิตรและเป็นสังคมที่ให้ โอกาส สร้างโอกาสที่เสมอภาคให้กับนักเรียน นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นในระบบ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันแรกของเด็ก เป็นสถาบันที่อบอุ่น สถานศึกษา ที่มีมาตรฐานในการที่จะทำให้เด็กเกิดความปลอดภัย มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและ สังคมที่เป็นสังคมเสนอแต่สิ่งที่ดีงามและเป็นประโยชน์ต่อมันสมองและการเรียนรู้ของเด็ก จึงเป็นเรื่องสำคัญทั้งหมด เพราะฉะนั้นสำคัญที่สุดคือเราต้องสร้างกลไกป้องกัน เรื่องแรก ที่สำคัญที่สุดคือ Love ครับ ความรัก ความรักนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม ความรักนั้นถ้าทุกคนมีให้กัน โลกนี้ก็จะสดใสและงดงาม ความรักเริ่มจากที่บ้าน ที่ครอบครัว ที่สถานศึกษา และสังคม ทุกคน และทุกคนมอบความรักซึ่งกันและกันก็จะทำให้เด็กเกิดความรักในตัวเอง เพราะ คนรักเด็ก เด็กรักคน เรื่องที่ ๒ คือ Save ความปลอดภัย ต้องเกิดขึ้นในสถานศึกษา และ เรื่องสุดท้าย เมื่อได้ Love Save แล้วเขาก็ Happiness มีความสุขที่จะอยู่ในสังคมได้ครับ เพราะฉะนั้นการเริ่มต้นนั้นเริ่มต้นที่บ้าน เบิกบานที่โรงเรียน สำราญสุขในสังคม ทุกคนต้องมี ส่วนร่วมรับผิดชอบและช่วยเหลือกัน ขอบคุณครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ คุณจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ครับ
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ กระผม นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยจากจังหวัดศรีสะเกษ ท่านประธานครับ ผมติดตามข่าวที่เกิดขึ้นที่พัฒนาการ ด้วยความกังวลครับ ที่กังวลก็เนื่องจากว่ามันเกิดขึ้นบ่อยครั้งเรื่อย ๆ บ่อยขึ้นในประเทศไทย หลังจากที่เรามีเคสที่พารากอนแล้วก็มีเคสที่พัฒนาการอีก แล้วก็เป็นความรุนแรงที่เกิดจาก เยาวชนซึ่งเป็นกรณีความรุนแรงที่มีลักษณะพิเศษ เพราะว่าตามประมวลกฎหมายอาญา ของเรานั้นได้มีการแบ่งว่าถ้าเด็กอายุต่ำกว่า ๑๐ ปีเป็นกรณีหนึ่ง เด็กอายุ ๑๐-๑๕ ปีเป็นอีก กรณีหนึ่ง ๑๕-๑๘ ปีเป็นอีกกรณีหนึ่ง ๑๘-๒๐ ปีก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง ถ้าต่ำกว่า ๑๐ ปี ไม่ว่า จะกระทำการใดที่กฎหมายถือว่าเป็นความผิดก็ไม่มีความผิด ต่ำกว่า ๑๕ ปีส่วนมากก็ไม่ต้อง รับผิดเช่นเดียวกัน หรือว่าถ้า ๑๕-๑๘ ปีก็อาจจะไม่ต้องรับผิดก็ได้ หรือถ้าหากว่าศาล เห็นสมควรลงโทษก็ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง ถ้า ๑๘-๒๐ ปีก็ลดโทษให้ ๑ ใน ๓ ซึ่งจะสังเกตเห็นว่า ความผิดของเยาวชนนั้นกฎหมายมีการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ ก็เนื่องจากเห็นว่าเยาวชนนั้น ยังมีประสบการณ์ ยังมีวุฒิภาวะที่ไม่เพียงพอ การกระทำใด ๆ ไปนั้นก็อาจจะไม่มีเจตนา หรือไม่รู้ว่าเป็นการกระทำผิด กฎหมายจึงมีการพิจารณาและดูแลเป็นพิเศษ แต่อย่างไรก็ดีการกระทำผิดของเยาวชนนั้นไม่เฉพาะในประเทศไทย ในต่างประเทศไม่ว่า ในสหรัฐอเมริกาก็ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ผมก็ขออนุญาตให้ข้อมูลกับท่านประธานว่า ในช่วงประมาณ ๕-๖ ปีที่ผ่านมา แต่เดิมการใช้อาวุธปืนยิงกันในโรงเรียนเคยมีปีหนึ่ง ประมาณ ๓๐๐ กว่าเคส พอถึงปี ๒๐๒๒ ก็กลายเป็น ๗๐๐ กว่าเคส ซึ่งมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ของประเทศไทยผมเชื่อว่าคงยังไม่เลวร้ายถึงขนาดนั้น แต่อย่างไรก็ดีโลกปัจจุบันเป็นโลก โลกาภิวัตน์ สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งที่ดี ๆ ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศก็สามารถนำมาใช้ในประเทศไทย ได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสมหรือพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมที่เคย เกิดขึ้นในต่างประเทศก็อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทยของเราได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นรัฐบาล จึงไม่ควรนิ่งนอนใจครับ สำหรับกรณีของเด็กนักเรียนที่พัฒนาการผมก็ขออนุญาตแสดง ความเสียใจกับผู้เสียชีวิตและญาติของผู้เสียชีวิต แล้วก็ขอให้ทางกระทรวงศึกษาธิการ กทม. กระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาเยียวยาผู้เสียหาย และได้สอบถาม สืบสวน สอบสวน ให้ทราบข้อเท็จจริงว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดการแทงกันตายที่พัฒนาการ เพราะการที่เรารู้ถึงสาเหตุของปัญหาจะทำให้เราสามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้ดียิ่งขึ้น ก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาดำเนินการเป็นการด่วน เพราะเราก็คง ไม่อยากเห็นประเทศของเรามีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอีก อยากให้เหตุการณ์ที่พัฒนาการ เป็นเหตุการณ์ครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในประเทศของเรา ในเบื้องต้นผมก็ขออนุญาตให้ ข้อคิดเห็นว่าในเรื่องของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียนของ เด็กนักเรียน ในเบื้องต้นเราอาจจะต้องพิจารณาถึงมาตรการในการตรวจสอบอาวุธที่จะ นำเข้าไปในโรงเรียน เหตุการณ์ที่พารากอนก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าแม้เราจะมีเครื่องตรวจจับ โลหะหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ก็ยังสามารถนำวัตถุที่นำไปทำอาวุธเข้าไปในห้างสรรพสินค้าได้ ในโรงเรียนก็อาจจะต้องเริ่มมีมาตรการป้องกันในส่วนนี้เช่นเดียวกัน เพราะการที่สามารถ ป้องกันไม่ให้อาวุธเข้าไปในโรงเรียนได้ก็จะลดความรุนแรงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ครับ
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนประเด็นที่ ๒ นอกจากเราจะต้องป้องกันไม่ให้มีการนำอาวุธเข้าไป ในโรงเรียนแล้ว อีกมาตรการหนึ่งที่ผมคิดว่าเราควรจะดำเนินการก็คือการฝึกอบรมให้ พนักงานรักษาความปลอดภัย ครูบาอาจารย์ก็ดี นักเรียนก็ดี ได้มีประสบการณ์หรือมีความรู้ ว่าถ้าหากเกิดเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันจะต้องดำเนินการอย่างไร ทาง รปภ. จะต้อง ทำอย่างไร ทางครูจะต้องทำอย่างไร หรือเพื่อนนักเรียนด้วยกันถ้าเห็นเหตุการณ์เกิดขึ้น อย่างเช่นเหตุการณ์ที่พัฒนาการเมื่อมีการแทงแล้ว ถ้าหากว่าเพื่อนนักเรียน ครู หรือ รปภ. ดำเนินการอย่างทันท่วงทีเราก็อาจจะสามารถป้องกันการสูญเสีย คืออาจจะบาดเจ็บ แต่อาจจะไม่สูญเสียรุนแรงก็อาจจะเป็นได้ ก็ถือว่าเป็นมาตรการที่ทางกระทรวงศึกษาธิการ น่าจะได้พิจารณาให้มีมาตรการป้องกันเหตุการณ์ทำนองนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีก ในทำนองเดียวกัน กับการป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่เราได้มีการฝึกซ้อมกันอยู่เป็นประจำ เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ ความรุนแรงในโรงเรียนก็สมควรที่ทางโรงเรียนจะได้มีการจัดโปรแกรมหรือมาตรการที่จะ ซักซ้อมให้เกิดความเข้าใจในการป้องกันปัญหานี้เช่นเดียวกันครับท่านประธาน อีกประเด็นปัญหาหนึ่งซึ่งผมคิดว่าเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความรุนแรงในทำนองนี้เกิดขึ้นก็คือ เรื่องของยาเสพติด ยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดอ่อน ๆ หรือรุนแรงก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสุรา กัญชา ใบกระท่อม หรือยาบ้า ยาม้า หรือวัสดุกล่อมประสาทใด ๆ ก็แล้วแต่ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นประการหนึ่งที่ทำให้เยาวชนของเราไม่สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ หรือไม่สามารถที่จะ ควบคุมพฤติการณ์ของตนเองได้ ถ้าหากได้มีการป้องกันในส่วนนี้อย่างจริงจังก็จะช่วย ลดปัญหาในเรื่องนี้ได้อย่างมีนัยสำคัญครับ
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง เป็นเรื่องของการฝึก EQ หรือฝึกในเรื่องของมาตรการ ทางอารมณ์ ทำอย่างไรจะทำให้เด็กนักเรียนของเรามีจิตสำนึกที่ไม่แก้ปัญหาด้วยความรุนแรง ทำอย่างไรให้เด็กนักเรียนของเราแม้ว่าจะมีการเสพสื่อ มีการเสพภาพยนตร์ หรือมีการ เล่นเกม เห็นความรุนแรงในเกมหรือในภาพยนตร์แล้วแต่ก็ยังสามารถที่จะตระหนักรู้ได้ว่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ใช่ความจริง เป็นสิ่งที่เสมือนจริง เอาไว้สำหรับเล่นสนุก ๆ เท่านั้น ในชีวิตความเป็นจริงสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นทำไม่ได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ถ้าหากได้มี การฝึกอบรมให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจ มีจิตสำนึกที่ดี มี EQ ที่ดี ผมเชื่อว่าจะช่วย ป้องกันปัญหาในเรื่องนี้ได้อีกทางหนึ่งครับ นอกจากนี้ครับท่านประธาน ประเด็นปัญหาหนึ่ง ซึ่งผมก็มีส่วนรับรู้ใกล้ชิดพอสมควรก็คือเรื่องของความรุนแรงที่เกิดขึ้นรอบ ๆ มหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งในกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ซึ่งก็จะมีเด็กนักเรียนจากหลายสถาบันต้องเดินมาขึ้น รถเมล์หรือรถไฟฟ้าตอนกลางคืน แต่ก็ปรากฏว่าถนนหนทางเหล่านั้นค่อนข้างมืด พอมันเกิด ความมืดบางครั้งก็จะทำให้มีมิจฉาชีพฉวยโอกาสเอามีดมาจี้เด็กนักเรียนหรือทำร้าย ซึ่งเป็นสิ่ง ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นครับ ถ้าหากว่ารอบ ๆ บริเวณสยามสแควร์หรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณต่าง ๆ ที่นักเรียนต้องเดินผ่านถ้าทาง กทม. จะได้มีการติดไฟให้เกิดความชัดเจน มีกล้องวงจรปิดที่เป็นของกล้องวงจรปิดที่ไม่ใช่ Dummy สามารถใช้การได้จริง ๆ ผมก็เชื่อว่า ก็คงจะช่วยลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นรอบ ๆ สถาบันการศึกษาได้อีกทางหนึ่ง ก็ขออนุญาตฝาก เป็นข้อคิดเห็นในเบื้องต้นก่อน ซึ่งผมคิดว่ารัฐบาลก็คงจะมีมาตรการแก้ไขในเรื่องนี้ในโอกาส ต่อไป ขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญ ท่านสุดท้าย คุณอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อความเห็นในญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรได้เสนอแนะแนวทางในการ แก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ผมขอ Highlight ขีดเส้นใต้และ กาดอกจันคำว่า อย่างเป็นรูปธรรม ท่านประธานที่เคารพครับ ก่อนอื่นผมต้องขอแสดง ความเสียใจกับผู้เสียชีวิต ครอบครัวผู้สูญเสีย ใจจริงผมอยากจะกล่าวคำว่า ขอให้เหตุการณ์ การใช้ความรุนแรงในโรงเรียนครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย แต่ก็ดูว่าคำขอนั้นอาจจะมากเกินไป ก็ขอในระดับแรกเบื้องต้น ขอให้หลังการอภิปรายของพวกเราในสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ จะเป็นหมุดหมายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การใช้ความรุนแรงในโรงเรียนนั้นลดน้อยลงอย่างมี นัยสำคัญ ท่านประธานครับ หัวอกของคนเป็นพ่อเป็นแม่ วันนี้เราไม่รู้เลยครับว่าหลังจากที่ เราส่งลูกไปโรงเรียน ส่งลูกขึ้นรถตู้ สาย ๆ บ่าย ๆ ทางโรงเรียนจะโทรมาบอกเมื่อไรว่าลืมเอาลูกลงจากรถตู้ ลูกไปเรียนพลศึกษาแต่งกายด้วยชุดเครื่องแบบพลศึกษา เราไม่รู้เลยว่าชั่วโมงเรียนพลศึกษานั้น เสา Goal จะล้มทับเด็กนักเรียนเมื่อไร เสาบาสเกตบอลจะล้มลงมาทับลูกเสียชีวิตเมื่อไร นี่คือปัญหาความปลอดภัยในโรงเรียน และการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนวันนี้มันไม่ใช่แค่ ปัญหาเด็กตีกัน เด็กตีกันมันฟังดูไม่รุนแรง แต่วันนี้ปัญหามันพัฒนารุนแรงจากเด็กตีกัน กลายไปเป็นเด็กฆ่ากันครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นถ้าเราบอกว่าแก้ปัญหาเด็กตีกันก็จะแก้ แบบหนึ่ง แต่ถ้าเราคิดว่าวันนี้ปัญหามันรุนแรง ยกระดับอย่างมีนัยสำคัญถึงขั้นกลายไปเป็น ปัญหาเด็กนักเรียนฆ่ากัน มันต้องแก้แบบยกให้เป็นวาระแห่งชาติ ท่านประธานครับ ผมจะ ไม่ฉายหนังเก่าเล่าเรื่องเดิม แต่ผมอยากจะเสนอแนะแนวทางและมาตรการในการแก้ไข ปัญหาและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอย่างเป็นรูปธรรม ๕ ประการด้วยกัน
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ ผมเรียกว่าการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ท่านสมาชิกหลายท่าน ไปดูงานการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุไฟไหม้ อาคารถล่ม โรงแรมทรุด แผ่นดินไหว มีแผนปฏิบัติการ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ อย่างไรบ้าง เราไปประเทศญี่ปุ่น เขามีแผนอพยพ แผนเผชิญเหตุ หากเกิด กรณีแผ่นดินไหวเขาจะเตรียมถุงยังชีพแขวนไว้ในจุดที่หยิบฉวยได้สะดวก และในถุงยังชีพนั้น ประกอบไปด้วยอาหารแห้ง สิ่งของดำรงชีพที่สามารถอยู่ได้อย่างน้อย ๒ สัปดาห์ หรือ ๑๔ วัน อย่างนั้นเขาซ้อมหนักกว่าเรา เพราะมีความเป็นความตาย ความอยู่รอดของชีวิต เป็นเดิมพัน หันกลับมาบ้านเรา ในโรงเรียนของเรา เราซ้อมอะไรบ้าง เราต้องซ้อมแผน เผชิญเหตุครับ ท่านประธานที่เคารพ เมื่อครั้งเหตุกราดยิงสยามพารากอน ผมเคยอภิปราย แผนเผชิญเหตุที่เรียกว่า แผนหนี-ซ่อน-สู้ แผนหนี-ซ่อน-สู้เป็นอย่างไร เมื่อเกิดเหตุต้องเอา ตัวเองหนีไปก่อน พอหนีเสร็จก็เอาตัวเองไปซ่อนไว้ในที่ปลอดภัย และ Step ที่ ๓ สู้ คือหา วิธีการจะสู้เอาตัวรอดและดูแลคนอื่นได้อย่างไร นั่นคือแผนหนี-ซ่อน-สู้ แต่การซักซ้อม เรื่องการใช้ความรุนแรงการก่อเหตุในโรงเรียน ผมอยากจะใช้อีก ๑ แผนครับ ไม่ใช้แผน หนี-ซ่อน-สู้ ผมใช้ช่วยกันแยก ช่วยกันแยกทำอย่างไร อย่างแรกต้องช่วยผู้ได้รับบาดเจ็บ ต้องช่วยผู้ถูกทำร้ายและต้องกันผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องออกนอกพื้นที่เกิดเหตุ ด้วยความเคารพ ท่านประธาน ผมไม่อยากจะฉายสถานการณ์อันเป็นการใช้ความรุนแรง แต่ยกตัวอย่างว่า มีรายงานข่าวว่าหลังเกิดเหตุที่พัฒนาการ มือมีดผู้ก่อเหตุยังตามไปดูความเป็นความตายของ เหยื่อมีด แล้วก็มองเพื่อนเสียชีวิตไปต่อหน้าต่อตา แล้วเด็กนักเรียนที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง จะด้วย ความหนีจากสถานที่เกิดเหตุการใช้ความรุนแรง จะด้วยภาวะไทยมุง เฮโลสาระพากรูกัน เข้าไป ไม่รู้ใครได้รับบาดเจ็บ ไม่รู้ใครคือผู้ก่อเหตุ ดังนั้นอันดับที่ ๑ ต้องช่วยผู้ได้รับบาดเจ็บ ๒. ต้องกันผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องออกจากพื้นที่เกิดเหตุ และ ๓. แยก แยกนี้สำคัญครับ แยกข้อมูลข่าวสาร และพอกันทีประเภทที่เรียกว่าพอเกิดเหตุปั๊บ ทางโรงเรียนจะปิดข่าว จะโทรไปบอกผู้ปกครองในลักษณะบอกให้น้อยที่สุด แล้วก็กำชับกำชากันว่าอย่าให้ข้อมูลนี้ หลุดรั่ว หลุดรอดออกไป เพราะจะนำมาซึ่งความเสียหายชื่อเสียงของโรงเรียน เราจะรู้ ตอนไหนครับ เราจะรู้ก็ต่อเมื่อมี LINE หลุดจากโรงเรียน มี LINE หลุดจากผู้ปกครอง ดังนั้นเราต้องแยกข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ ของผู้ก่อเหตุ ผู้ได้รับผลกระทบไปในคราวเดียวกัน ดังนั้นจากการกราดยิง หนี-ซ่อน-สู้ ผมเสนอ Model ช่วยกันแยกในเหตุการณ์ใช้ความรุนแรงในโรงเรียน
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ผมอยากจะเสนอเปลี่ยนครูแนะแนวเป็นครูแนะนำ เปลี่ยนครู แนะแนวเป็นครูแนะนำ แล้วก็เปลี่ยนครูประจำชั้นเป็นครูที่ดูแลนักเรียนดุจพ่อแม่ผู้ปกครอง ดุจญาติมิตร โดยการทำงานร่วมกับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มีรายงานข่าวว่า การก่อเหตุครั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าเป็นเด็กพิเศษหรือไม่ อย่างไร เราคงไม่ไปถึงตรงนั้นครับ ก็ต้องพิทักษ์สิทธิของเด็กผู้ได้รับผลกระทบ แต่ผมกราบเรียนว่านอกเหนือจากพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ดูแลลูก ๆ ที่บ้านแล้ว คุณครูประจำชั้น ครูที่ดูแลใกล้ชิดเด็กนั้นจะต้องเฝ้าระวัง และต้องเห็นสัญญาณการที่จะเกิดเหตุได้ในอนาคต
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ ผมขอเสนอให้มีการต่อต้านการ Bully ทุกรูปแบบ สมัยผม เป็นเด็กบางทีเราก็หาเหตุผลไม่ได้ว่าการไปล้อชื่อพ่อชื่อแม่กันมันเป็นความสนุกสนานตรงไหน หรือการไปล้อเพศสภาพ รูปร่าง ผิวพรรณ รูปพรรณสัณฐานของเพื่อน แบบนี้ต้องห้ามครับ เพราะว่าการ Bully ในโรงเรียนนั้นไม่ได้มีเฉพาะนักเรียน Bully นักเรียน มีนักเรียน Bully ครู ครู Bully นักเรียน ครู Bully ครู เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ต้องหมดไป และต้องไม่เกิดขึ้น ผมก็เป็นผู้หนึ่งที่เห็นว่าการมีอารมณ์ขันในการใช้ชีวิตนั้นทำให้ชีวิตของเราผ่อนคลายและ ยืนยาวได้ แต่วิธีการในการสร้างอารมณ์ขันมีมากมายล้านแปดวิธี ไม่จำเป็นต้องสร้างอารมณ์ขัน บนความเจ็บปวดความทุกข์ร้อนของผู้ถูกกระทำหรือถูก Bully
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๔ ผมอยากจะเสนอเป็น Motto ว่าถึงเวลาที่เราจะล้อมรักเป็นรั้ว ล้อมครอบครัวด้วยความรัก พ่อแม่ผู้ปกครองในอดีตครับ สมัยเรียนเคยมีหนังสือพ่อแม่รังแกฉัน วันนี้ผมเสนอ พอกันทีครับ เวลาเกิดเหตุแล้วบอกว่าเป็นเรื่องของเด็ก เด็กมันหยอกกัน เด็กมันเล่นกัน เพราะถ้าเรามีสมมุติฐานแบบนี้ มีทัศนคติแบบนี้ ก็เท่ากับว่าเรากำลังจะทำให้ ทุกคนนั้นยอมรับการใช้ความรุนแรงว่าเป็นส่วนหนึ่งของการหยอกล้อ การอำกันเล่น หรือการใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งที่ควรจะยอมรับได้ วันนี้ไม่ควรจะมีเด็กหยอกกัน พลั้งพลาด เสียชีวิต ต้องเลิกครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๕ มีการเสนอแนะและถกแถลงกันในหลายเวทีว่าถึงเวลาที่เรา จะลดอายุการดำเนินคดีของเด็กที่เป็นอาชญากรเด็กหรือผู้กระทำความผิดในวัยเยาว์ เพราะถ้าเราลด เราจะลดไปเรื่อย ที่สุดลดเหลือ ๑ ปี หรือ ๖ เดือนอายุผู้ก่อเหตุก็ไม่ช่วย แต่แนวทางในการลดอายุนั้นเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แนวทางที่เราจะแก้ปัญหา อย่างยั่งยืนเราต้องช่วยกันในการเร่งสร้างวัฒนธรรมของครอบครัว เร่งสร้างวัฒนธรรมของ ประเทศไทย และไม่ยอมรับการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ท่านประธานครับ เราเคยได้ยิน โครงการโรงเรียนสีขาว โรงเรียนสีขาวคือโรงเรียนที่ปลอดยาเสพติดทุกประเภท เราเคย ได้เห็นโรงเรียนสีเขียว คือโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ แต่เราไม่ค่อยได้ ยินหรือได้ยินน้อยมากกับโรงเรียนริบบิ้นสีขาว ริบบิ้นสีขาวคืออะไร ริบบิ้นสีขาวคือการยุติ การใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบในโรงเรียน และผมไม่ขอให้เราทำแค่การเปลี่ยนสีรั้วโรงเรียน ด้วยวิธีการทาสี เพราะทาสีแล้วจะเป็นสีขาว สีเขียว มันก็ลอกไป แต่เราควรจะติดริบบิ้น สีขาวในหัวใจคนไทยทุกคน และร่วมกันประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติที่จะปฏิเสธการใช้ ความรุนแรงทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และโรงเรียนต้องเป็น พื้นที่ปลอดภัย ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ก็เป็นอันว่า ยุติการอภิปรายตามข้อบังคับ ข้อ ๗๕ เมื่อได้อภิปรายจบไปแล้วผู้เสนอมีสิทธิที่จะอภิปราย สรุปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีทั้งหมด ๓ ท่าน ขอเชิญท่านแรก คุณสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ
นายสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม สุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๒๒ ตัวแทน ของคนสวนหลวงและคนประเวศ พรรคก้าวไกลครับ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านประธาน ที่เปิดโอกาสให้พวกเราและเพื่อนสมาชิกได้ร่วมกันอภิปรายถึงปัญหาความรุนแรงและอำนาจ นิยม รวมถึงการ Bully กันในโรงเรียนอย่างกว้างขวางและหลากหลายมิติ พวกเรา ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนเป็นปัญหาที่ใหญ่ และรัฐบาลควรจะมี มาตรการในการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเสียงของพวกเราในวันนี้ จะสะท้อนไปถึงรัฐบาลให้หันกลับมาใส่ใจปัญหานี้อย่างจริงจัง รวมทั้งออกมาตรการเพื่อ แก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม กราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญคุณธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ครับ
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉัน ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ จากการที่ได้ฟังเพื่อนสมาชิกทุก ๆ ท่านได้อภิปรายในญัตติที่เราถือเป็น ความสำคัญเร่งด่วนในเรื่องที่มีเหตุความรุนแรงในโรงเรียน เมื่อดิฉันได้ฟังครบทุก ๆ ท่าน เราจะเห็นว่าความรุนแรงมาในหลาย ๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อนด้วยกันเอง จากคุณครูถึงเด็กนักเรียน หรือบางครั้งก็จากนักเรียนส่งต่อไปถึงคุณครู และเหตุรุนแรงที่เกิด ภายนอกโรงเรียนที่นักเรียนโดนกระทำหรือนักเรียนกระทำกันเอง ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหา ในสังคมที่พวกเราต้องระดมสมองและต้องหาทางป้องกันและแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมค่ะ ดิฉันได้รับฟังคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จากหลาย ๆ ท่าน ไม่ว่าในเรื่องของหลักสูตร การศึกษาที่วันนี้กระทรวงศึกษาธิการที่เป็นกระทรวงที่มีความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้ เป็นอย่างมาก ท่านได้ดำเนินการตามที่ท่านได้ประกาศไว้ในเรื่องของการแก้ไขปัญหา ความรุนแรงได้อย่างครบถ้วนทุกมิติแล้วหรือยัง ในส่วนข้อเสนอแนะ ๘ ด้านที่ดิฉัน ได้นำเสนอไป ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการให้การอบรมบุคลากรทางการศึกษา การสร้าง ทัศนคติที่ดีกับพลเมืองของเราที่จะต้องเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ทั้งหมดแล้ว ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เราต้องร่วมกันปลูกฝังให้กับเยาวชนและนักเรียนของเราให้ได้เดินไป อย่างถูกทาง ดังนั้นสิ่งที่เป็นคำแนะนำจากเพื่อนสมาชิกที่ดีทั้งหมดแล้ว รัฐบาลต้องนำมา รวบรวมแล้วก็เดินหน้าแก้ไขให้สำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างเร็วที่สุด ดิฉันหวังว่าอย่างที่ทาง เพื่อนสมาชิกบอกไปว่าเหตุการณ์นี้จะต้องเบาและทุเลาลง ให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง ในโลกยุคสมัยใหม่ที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เราจะต้องใช้ความเจริญเหล่านี้ ให้เป็นประโยชน์และเป็นในทางที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีงามกับประเทศต่อไป ดิฉันต้อง ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ได้ร่วมกันอภิปรายในญัตตินี้ แล้วขอให้รัฐบาลได้ดำเนินการ ดูแลพี่น้องประชาชน เรื่อง ของการลดความรุนแรงในสถานศึกษาและสร้างพื้นที่ทุกพื้นที่ ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน ขอบคุณท่านประธานค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ท่านสุดท้าย จะขอสรุป คือคุณหมอทศพร เสรีรักษ์ ครับ
นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ พรรคเพื่อไทย ตลอดเวลาชั่วโมง ๒ ชั่วโมง เศษ ๆ นี้เป็นเวลาที่มีคุณค่ายิ่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากทุก ๆ พรรคก็ได้แสดง ความคิดเห็นที่มีคุณค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้เสนอญัตติจากพรรคก้าวไกลท่านก็มี แนวทางที่ชัดเจน คุณธีรรัตน์เองก็มีแนวทางที่ชัดเจน หรืออย่างอาจารย์เทอดชาติซึ่งก็มี วิญญาณของความเป็นครูอาจารย์ ท่านก็ได้เสนอแนวทางไว้อย่างดี ท่านทนายแจม ศศินันท์จากพรรคก้าวไกลซึ่งเป็นคุณแม่ที่มีลูกที่น่ารัก ท่านก็ใช้วิญญาณ ของความเป็นแม่ถ่ายทอดข้อแนะนำของท่านออกมา ซึ่งข้อแนะนำพวกนี้ผมเชื่อว่าเราจะส่ง ไปถึงรัฐบาล และนอกจากรัฐบาลแล้วผมเองในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขก็จะเอาแนวทางพวกนี้ออกไปปฏิบัติเพื่อ แก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชน ให้เยาวชน ให้นักเรียนนักศึกษา ให้ลูกหลานของพวกเรามีชีวิต ที่ปลอดภัย ให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย ขอขอบคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอขอบคุณ ทุกท่านครับ ญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันให้ข้อเสนอแนะกับ รัฐบาลเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้ อภิปรายและสรุปเสร็จสิ้นแล้ว ผมก็ฟังตลอดระยะเวลาที่ท่านสมาชิกได้เสนอญัตติและ อภิปรายก็ไม่มีผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่น เห็นตรงกันว่าควรจะนำเรื่องนี้ไปให้รัฐบาลเพื่อนำไป แก้ไขปัญหาความรุนแรงอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่นผมขอใช้ ข้อบังคับ ข้อ ๘๘ เพื่อดำเนินการตามข้อเสนอนี้ จะมีท่านสมาชิกไม่เห็นด้วยบ้างไหมครับ เมื่อเห็นตรงกันว่าควรจะส่งให้รัฐบาลเพื่อไปพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม ก็ถือว่าที่ประชุมเห็นชอบตามข้อบังคับ ข้อ ๑๐๔ ข้อ ๑๐๕ ประกอบข้อ ๘๘ แล้ว ขอขอบคุณ สมาชิกทุกท่าน วันนี้เราก็พิจารณาญัตติต่าง ๆ ได้มากแล้ว ผมขออนุญาตปิดการประชุม ขอบคุณมากครับ