นายณัชปกร นามเมือง

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ วันนี้ก็เป็นวันที่ผมมีความยินดียิ่งที่ได้เห็นการอภิปรายเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกสภา ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็รู้สึกขอบคุณที่สภาแห่งนี้ได้พยายามอย่างดีที่สุดในการจะแก้ไข หนึ่งในวิกฤติของประเทศไทยนั่นก็คือวิกฤติรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าการอภิปรายในวันนี้ ก็เป็นหนึ่งในเป้าประสงค์ที่เราตั้งอนุกรรมาธิการชุดนี้ขึ้นมา นั่นคือการที่สภาแห่งนี้หรือ การให้ตัวแทนของพี่น้องประชาชนได้ลองจินตนาการว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่เพื่อให้ได้มาซึ่งกติกาสูงสุดที่เป็นฉันทามติร่วมของสังคมนั้นจะเป็นอย่างไร ผมชอบ การเปรียบเปรยของท่านพริษฐ์ ประธานกรรมาธิการ ขออภัยที่เอ่ยนามท่านนะครับ ที่กล่าวว่าคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้เปรียบเสมือนร้านอาหารที่พยายามจะนำเสนอ Menu หรือ Model สสร. ให้สภาและประชาชนได้ลองจินตนาการว่าเราอยากจะได้ สสร. แบบไหน ซึ่งคงไม่มี Menu ใด Menu หนึ่งที่ถูกต้องที่สุด แต่มันจะเป็นพื้นที่ให้คนในสังคมได้ทบทวนว่า Menu ไหนที่เราชื่นชอบมากที่สุด แล้วเราก็ลองมาออกแบบ Menu สสร. ของเราร่วมกัน โดยวันหนึ่งในอนาคตรัฐสภาแห่งนี้ก็คงจะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ดี ผมอยากจะขอเน้นย้ำว่าหากเราเปรียบข้อเสนอรายงานฉบับนี้เป็น Menu อาหาร ผมคิดว่า สิ่งที่เรานำเสนอในวันนี้นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการอยู่ ๔ อย่าง ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราได้พูดคุย หารือกันตั้งแต่การประชุมคณะอนุกรรมาธิการครั้งแรก ซึ่งมีงานศึกษาวิจัยที่ท่านอาจารย์ ปกป้อง จันวิทย์ หนึ่งในอนุกรรมาธิการเป็นคนศึกษาเรื่องนี้ไว้ก็เป็นรากฐาน คุณค่า ๔ ประการนี้จะเป็นคุณค่าพื้นฐานต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่มีความชอบธรรมทาง ประชาธิปไตย อันประกอบไปด้วย

    อ่านในการประชุม

  • คุณค่าข้อที่ ๑ คือเรื่องของคุณค่าความเป็นประชาธิปไตย เราเห็นว่าที่มา สสร. และกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญนั้นต้องคิดถึงเรื่องความเป็นประชาธิปไตยเป็นหัวใจสำคัญ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องมีที่มาจากประชาชน ยึดโยงกับประชาชนให้ได้มากที่สุด และเป็น การสร้างหลักประกันเรื่องความรับผิดรับชอบให้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องรับฟังเสียงของ ประชาชน

    อ่านในการประชุม

  • คุณค่าข้อที่ ๒ คือ เรื่องของความหลากหลาย ผมเห็นว่าที่มา สสร. ต้อง เปิดกว้างและโอบล้อมความหลากหลาย ทั้งทางความคิด ความเชื่อ อัตลักษณ์ วัย รวมถึง ประสบการณ์ภูมิหลังไม่ได้จำกัดอยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกันว่าในท้ายที่สุด กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดฉันทามติ และนำไปสู่สันติสุขของทุกคนในสังคม

    อ่านในการประชุม

  • คุณค่าข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นมูลค่าสำคัญอีกเช่นเดียวกันคือการมีส่วนร่วมของ ประชาชนตลอดกระบวนการ ในงานศึกษาเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่ดี เราพบว่า ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จต่อกระบวนการร่างนั่นคือระดับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะสังคมที่มีประสบการณ์ความขัดแย้ง และอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ดังนั้นผมเห็นว่าการร่างรัฐธรรมนูญ ในปัจจุบัน ในข้อเสนอรายงานชุดนี้จึงต้องเน้นหลักการเรื่องการมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ เพราะว่าการร่างรัฐธรรมนูญนั้นคงไม่ใช่เรื่องของนักกฎหมายหรือนักรัฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว ผมเห็นว่าที่มาและกระบวนการทำงานของ สสร. ต้องสะท้อนเสียงของทุกคนในสังคม ดังนั้น การออกแบบที่มา สสร. และกระบวนการทำงานของ สสร. ที่เอื้อให้ประชาชน

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนคุณค่าข้อสุดท้าย ผมคิดถึงเรื่องความมีประสิทธิภาพ ถ้าเรามีจุดยืนเรื่อง คุณค่าความเป็นประชาธิปไตยเราเน้นเรื่องการมีส่วนร่วม แต่สุดท้ายกระบวนการ ร่างรัฐธรรมนูญนั้นไม่สามารถมีประสิทธิภาพและบรรลุประสิทธิผล คือสามารถทำ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้จริง สิ่งนี้ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเรื่องนี้เราอาจจะต้องคิดกันต่อ ว่าเราจะมีจำนวน สสร. เท่าไร จะมีกระบวนการทำงานของ สสร. อย่างไร รวมถึงต้อง วางขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ สสร. และกรอบในการทำงานให้ชัดเจนเพื่อเป็นหลักประกันว่า จะมีการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้จริงและเป็นที่ยอมรับ

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายนี้ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าจากคุณค่าทั้ง ๔ ข้อนี้ที่เป็นคุณค่าหลักในการ ทำรายงานฉบับนี้ หากเรานำ ๔ คุณค่านี้ไปใช้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญในอนาคต เรานำไป ถกเถียงกันในตอนที่เราเสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญในสภานี้ มีการแก้ไขมาตรา ๒๕๖ และเรายัง ยึดกรอบ ๔ คุณค่าที่ผมได้พูดไปนี้ ผมเชื่อว่าจะทำให้กระบวนการร่างกฎหมายฉบับใหม่ มีความชอบธรรม แล้วก็เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้อย่างแท้จริง ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม