ข้อมูลการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ

ปี 2557

ครั้งที่ 5/2557 วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09.36 - 23.01 น.

เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุม

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านสมาชิก ที่เคารพ บัดนี้มีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ขณะนี้จำนวน ๑๘๑ ท่าน ครบองค์ประชุมแล้ว ผมขอดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

รับทราบพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานและ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ด้วยได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้งประธานและ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ จึงขอเชิญท่านสมาชิกโปรดยืนขึ้นรับฟังพระบรมราชโองการ ขอเชิญเลขาธิการครับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“พระบรมราชโองการ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ประกาศ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

________________

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่สภาปฏิรูปแห่งชาติได้ลงมติเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้เป็นประธานและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คือ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๑. นายเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๒. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๓. นางสาวทัศนา บุญทอง เป็นรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงแต่งตั้งให้ผู้มีนามดังกล่าวเป็นประธาน และรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาล ปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ”

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญนั่งครับ ผมอยากจะขออนุญาตท่านสมาชิกที่เคารพ ได้กราบเรียนให้ท่านสมาชิกที่เคารพทุกท่านได้ทราบว่าตามที่เราได้เร่งเตรียมการกันมาเพราะวันเวลาลดลงไปทุกวันตามเป้าหมายหรือกรอบเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะในเรื่องของการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วก็การเตรียมการปฏิรูป เพราะฉะนั้นต่อจากนี้เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ประธานและรองประธานแล้วก็ต้องถือได้ว่าการทำงานของเราจากนี้คงเดินหน้าเต็มสูบเต็มที่ ในทุกเรื่องนะครับ ฉะนั้นด้วยเหตุดังนี้เราคงจะใช้เวลาที่เรามีอยู่ข้างหน้าให้เกิดผลมากที่สุด ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อให้การทำงานนั้นถึงเป้าหมายเร็วและดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ เพราะฉะนั้นก็ขออนุญาตเรียนว่าหลายเรื่องที่เราจะต้องประชุมปรึกษาหารือกันนั้น เราอาจจะต้องปรับท่าทีและวิธีการที่เราอาจจะไม่ทำทำนองเดียวกับสภาผู้ออกกฎหมาย เพราะเราไม่มีหน้าที่ในการออกกฎหมาย เราคงต้องวิ่งไปหาสิ่งที่เป็นหลักการและคำตอบ สุดท้ายให้เร็วที่สุด ก็ขออนุญาตที่อยากจะเรียนท่านสมาชิกว่าสิ่งที่เราจะทำงานด้วยกัน ข้างหน้านั้นเป็นประเด็นสำคัญมากในเรื่องของประสิทธิภาพ เรื่องของการใช้เวลา แล้วก็เรื่องของการร่วมมือสมัครสมานสามัคคี การปรองดองในส่วนของสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติจะเป็นต้นแบบสำหรับการปรองดองของผู้คนในชาติด้วย ขออนุญาตเรียน ในเบื้องต้นเป็นหลักการนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

อีกส่วนหนึ่งก่อนจะดำเนินการตามระเบียบวาระนั้นผมมีเรื่องที่อยากจะแจ้ง ให้ที่ประชุมรับทราบ ซึ่งไม่ปรากฏในระเบียบวาระโดยตรง คือการกำหนดวันประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งแม้เราจะรับทราบแล้วไม่เป็นทางการ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ด้วยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้มีหนังสือแจ้งว่าในคราวประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๗ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่ประชุม ได้มีมติกำหนดวันประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยให้มีการประชุมสัปดาห์ละ ๒ วัน คือทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ จึงขอแจ้งที่ประชุมทราบ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ซึ่งอันนี้ก็จะ สอดคล้องกับที่เรากำหนดวันประชุมของเราไว้เป็นวันจันทร์และวันอังคารก่อนหน้านี้นะครับ มีเรื่องที่ขออนุญาตแจ้งที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อทราบอีก ๓ เรื่อง

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ เป็นเรื่องเอกสารที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติได้นำมาเสนอให้ผม พิจารณา และผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นข้อเขียนเรื่อง “สภาปฏิรูปต้องไม่ติดกับดักการเมือง” ของดอกเตอร์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผมขออนุญาตแจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบด้วยนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ ยกมือหรือเปล่าครับ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ท่านประธานครับ วันนี้เป็นวันที่เราประชุมโดยมีพระบรมราชโองการเรียบร้อย เรามีประธานจริง ๆ ที่ทำหน้าที่ ถ้าสังเกตดูในช่วงการประชุม ๔ ครั้งที่ผ่านมาเราก็มีปัญหา เรื่องของการจัดบุคคลลงในตำแหน่งต่าง ๆ จัดการกับข้อบังคับการประชุม จัดการกับ กรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นยกร่างรัฐธรรมนูญหรือว่าจะเป็นกรรมาธิการอื่น ๆ ซึ่งอาจจะได้รับ การวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่มีเนื้อหนังของการปฏิรูป เป็นแต่เพียงกระบวนการขั้นตอน แต่พอวันนี้เราได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท่านประธานกับรองประธานแล้ว ผมก็เชื่ออย่างท่านประธานว่าเราจะเดินหน้าได้อย่างรวดเร็วแล้วก็เดินหน้าอย่างเต็มที่ อยากจะกราบเรียนท่านประธานว่าผมมองว่าสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นเป็นสภาทางวิชาการ เพราะเหตุว่าหน้าที่ของเรามีหน้าที่ในการเสนอแนะให้คำปรึกษากับองค์กรสำคัญ ๔ องค์กร ก็คือคณะรัฐมนตรี สนช. กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ คสช. แต่บังเอิญหรือว่าจะเป็น ความผิดพลาดผมไม่ทราบ เรามาเรียกว่าเป็นสภา แล้วก็มาใช้ห้องประชุมสภา ที่เราเคยเห็น คนที่อยู่ในสภาแห่งนี้เขาทำงานกันอย่างไรก็เลยเป็นวัฒนธรรมองค์กรหรือเป็นวัฒนธรรม ที่เราเห็นเป็นแบบอย่าง ยิ่งมาเจอสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็น ผู้อำนวยการประชุม ทุกคนก็เลยมองว่ามันเป็นการประชุมคล้าย ๆ กับสภาผู้แทนราษฎร แต่จริง ๆ แล้วนั่นนะครับ แล้วถ้าหากว่าถ้าท่านดูเรามีทีวี วิทยุถ่ายทอดด้วย วิญญาณทางการเมืองมันก็เข้า ผมก็คิดว่ามันก็จะมีปัญหาถ้าหากว่าเราจะเดินกันอย่างนี้ต่อไป เรื่อย ๆ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผมคิดว่าถ้าเรามาดูว่าสภาการเมืองทำไมเขาต้องทำกัน แบบนั้น ท่านจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา เขามีหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเขาต้องควบคุมรัฐบาลและในสภานี้มันแบ่งแยกชัดเจนว่า มันเป็นพวกรัฐบาลกับพวกฝ่ายค้านรัฐบาล และตัวประธานเองนี่ก็อยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเขาจำเป็นที่จะต้องมีข้อบังคับให้ชัดเจนว่าประธานทำอะไรได้ ประธาน ทำอะไรไม่ได้ ใครทำอะไรได้ ใครทำอะไรไม่ได้ แต่ว่าเราเป็นสภาวิชาการเราจะไปเอา ข้อบังคับประเภทเข้มงวดอย่างนั้นมันจำเป็นหรือเปล่า หรือเราจะต้องเปิดกว้าง ให้ท่านประธานนี่ได้ใช้ดุลยพินิจที่จะนำพาการประชุมไปสู่เนื้อหนังของการปฏิรูป เพราะฉะนั้นท่านประธานครับ ถ้าเราดูสภาผู้แทนราษฎรเขาจะต้องแบ่งสัดส่วนเพราะเขามี พรรคการเมือง มีฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน เขาจะต้องแบ่งสัดส่วนในกรรมาธิการว่าจะต้องมาจาก พรรคไหนสัดส่วนอย่างไร มาจากภาคไหนสัดส่วนอย่างไร แต่ถามคำถามก็คือว่าเรามี ความจำเป็นต้องทำอย่างนั้นหรือเปล่า อันนี้ก็เป็นคำถามที่ผมตั้งคำถามนะครับ เพราะฉะนั้น ท่านประธานครับ ในสภาวิชาการหรือที่ประชุมทางวิชาการ เราก็คุ้นต่อการที่เราจะเอา ข้อมูล ข้อเท็จจริง ประสบการณ์ความรู้ของสมาชิกทั้งหลายมาร้อยเรียง มาสังเคราะห์ มาตกตะกอนความคิดแล้วก็หาฉันทามติซึ่งกันและกัน เราคงไม่ต้องโหวตอย่างเคร่งครัดว่า จะต้องโหวตแบบไหน จะกดบัตร จะกดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือจะยกมือ จะนับกันอย่างไร ขานชื่อเป็นรายบุคคลหรือไม่ ผมว่าอันนั้นในสมัยผมเป็น ส.ว. ก็ต้องทำกันอย่างนั้นครับ เพราะว่ามันมีฝักมีฝ่าย แต่ของเราอาจจะไม่จำเป็นต้องทำถึงขนาดนั้น พอเห็นส่วนใหญ่ จะเป็นอย่างไรมันก็เดินกันต่อไปได้ เพราะฉะนั้นการแสดงความเห็นก็จะต้องแนะนำตัว แต่การแนะนำตัวอาจจะไม่จำเป็นต้องยืดยาวเหมือนท่าน ส.ส. และ ส.ว. เพราะท่านกำลังจะ บอกประชาชนว่าท่านมาจากที่ไหน มาจากพรรคไหน กำลังจะทำอะไรก็เพื่อที่จะบอก ประชาชน

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ การประชุมของ ส.ส. และ ส.ว. เขารู้อยู่แล้วว่าที่ประชุม จะเอาอย่างไร ฝ่ายค้านก็มีวิป (Whip) ไว้ลงแส้ ฝ่ายรัฐบาลก็มีวิปไว้ลงแส้ว่าจะให้มีมติ อย่างนั้นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นสมาชิกที่นั่งอยู่ในนี้เขาพูดกับประชาชนข้างนอก เขาแสดง เพื่อที่จะตรวจสอบ แต่เราไม่มีความจำเป็นอะไรอย่างนั้นเลย เพราะฉะนั้นการแนะนำตัว ก็อาจจะแนะนำกันสั้น ๆ เพื่อให้ประหยัดเวลา ท่านประธานครับ การประชุมทางวิชาการ จะเน้นเอกสาร เน้นดูว่ามีใครเขาทำอะไรไว้ก่อนหน้านั้น และถ้าเป็นไปได้เราไม่ต้องมา รังเกียจเดียดฉันท์เราเชิญผู้รู้ที่เขาได้ทำงานเหมือนกับเรามาก่อน อย่างเช่น คณะของอาจารย์ประเวศ วะสี คณะของท่านอานันท์ ปันยารชุน คณะของ พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร คณะของท่านอาจารย์คณิต ณ นคร คณะของท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ และคณะของอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช ที่เขาได้ศึกษาวิเคราะห์ เรื่องต่าง ๆ ของการปฏิรูปไว้ หลังจากที่พวกเราได้ฟังจะทำให้เราเกิดความคิดที่กว้างไกลขึ้น เปิดโลกทัศน์ แล้วจะแบ่งกลุ่มกันไปจะเรียกว่ากรรมาธิการหรือจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ เราก็ไปทำงาน เพราะฉะนั้นเราจะไม่ต้องแย่งชิงกันว่าใครจะเป็นประธานกรรมาธิการ ใครจะเป็นรองประธาน ใครจะเป็นโฆษก ใครจะเป็นเลขานุการ ใครจะเป็นผู้ช่วยเลขานุการ แต่เราดูว่าประธานคือคนที่จับประเด็นได้ ประธานคือคนที่สรุปได้ นำพาการบริหาร กรรมาธิการหรือกลุ่มย่อยนั้นทำงานได้ ผมว่าตรงนั้นน่าจะเป็นหัวใจ เพราะฉะนั้น ท่านประธานครับ ถ้าเราเริ่มต้นกันเสียตั้งแต่วันนี้ที่มีพระบรมราชโองการและเป็นการประชุม ที่เป็นทางการอย่างแท้จริงในวันนี้ ผมคิดว่าท่านประธานจะสามารถนำพาพวกเราไปได้ เพราะฉะนั้นข้อบังคับการประชุมที่วันนี้เราจะพิจารณากันอาจจะไม่จำเป็นต้องไปเยิ่นเย้อ อะไรมากมาย อะไรหลาย ๆ อย่างที่เราไปเลียนแบบข้อบังคับการประชุมของ ส.ส. ส.ว. ผมว่าเราตัดทิ้งได้ก็ตัด ให้ท่านประธานทั้งสามได้ใช้ดุลยพินิจในการนำพา ไม่ต้องมานั่งดูว่า ข้อบังคับกำหนดอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะว่าเราไม่สามารถจะบริหารบุคคลหรือบริหารเงิน เราไม่มีอำนาจ เราเพียงแค่บริหารความคิดแล้วก็เสนอไปยัง ๔ องค์กรและองค์กรอื่น ๆ อย่างที่ผมกราบเรียนไปแล้ว เพราะฉะนั้นท่านประธานครับ ผมอยากจะกราบเรียนว่า เรามีเวลาเพียงแค่ปีถึง ๒ ปี เราไม่ได้มีเวลา ๔ ปีเหมือนกับบรรดา ส.ส. และ ส.ว. ที่จะต้อง มาเอาจริงเอาจังกับกฎ ข้อบังคับ วันก่อนผมไปประชุมที่อื่น เขาแกล้งถามผมว่า สปช. เขาทำงานกันกี่ปี ผมบอกว่าปีหนึ่งหรือปีเศษคงไม่เกิน ๒ ปี เขาก็บอกนึกว่า ๔ ปี เพราะเห็นว่า เรามานั่งถกเถียงกันเรื่องกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ อะไรต่อมิอะไรเอาจริงเอาจังเหมือน สภาผู้แทนราษฎร เพราะฉะนั้นผมก็กราบเรียนว่าในตอนท้ายที่ผมเขียนก็พูดถึงว่าถ้าอย่างนั้น เราควรจะเดินหน้าอย่างไรจะไม่เสียเวลาที่จะกราบเรียนในที่นี้ ก็หวังว่าสมาชิกจะได้กรุณา พิจารณาในเอกสารนะครับ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อาจารย์เจิมศักดิ์ จริง ๆ แล้ววันนี้เราอาจจะเริ่มเต็มตัวไม่ได้ เพราะการประชุมวันนี้ยังต้องอิง ข้อบังคับการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ แต่ว่าเดี๋ยวเข้าวาระการประชุมที่จะ พิจารณาเรื่องร่างข้อบังคับการประชุมของสภาปฏิรูปแห่งชาติของเราเองแล้ว เดี๋ยวสมาชิก ช่วยกันทำหน้าที่เพื่อเราจะได้ดำเนินการ ขออนุญาตผมแจ้งเพื่อทราบต่อไปก่อน อย่าเพิ่ง อภิปรายตอนนี้เลยนะครับ ขอประทานโทษ มีเอกสารอีกชิ้นหนึ่ง ดอกเตอร์พิสิฐ ลี้อาธรรม สมาชิกสภาปฏิรูปขอให้แจก เป็นเรื่องข้อเสนอแยกกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ออกเป็น ๒ คณะ ผมจะยังไม่ขอเอารายละเอียดเข้ามานะครับ จะขออนุญาตแจกให้สมาชิกได้รับทราบ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม ยังไม่มีนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องที่กรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือเรื่อง ร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับ การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... พิจารณาเสร็จแล้ว ในการพิจารณาร่างข้อบังคับ การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งจะดำเนินการเช่นเดียวกับการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติโดยดำเนินการดังนี้ การพิจารณาจะเป็น ๓ วาระ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

วาระที่หนึ่ง ให้สภาพิจารณาและลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

วาระที่สอง ให้สภาพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือกรรมาธิการ เต็มสภา และให้สภาพิจารณาเรียงตามลำดับข้อ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

วาระที่สาม ในการพิจารณานั้นให้สภาลงมติว่าจะเห็นชอบประกาศใช้ ร่างข้อบังคับหรือไม่

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เพราะฉะนั้นในชั้นนี้ขอดำเนินการไปตามอย่างนี้นะครับ คือเป็นระเบียบวาระ ๓ วาระ มีท่านสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ถ้าไม่มี ผมขอดำเนินการตามที่ขอปรึกษาเลยนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอเชิญคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่ครับ คณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับ การประชุม

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

แล้วก็ขออนุญาต เพื่อให้การดำเนินการกระชับขึ้น เจ้าหน้าที่ได้แจกเอกสารที่คณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับ ได้สรุปกำหนดเวลาหรือเงื่อนเวลาทั้งหมดเป็นเอกสารชื่อว่า เปรียบเทียบห้วงเวลาใช้ในการ จัดตั้งกรรมาธิการ ให้กับสมาชิกสภาปฏิรูปด้วยเลยนะครับ นอกจากนั้นการอภิปราย และดำเนินการพิจารณายกร่างข้อบังคับการประชุมของสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... นั้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นกติกาภายในของสภาปฏิรูปแห่งชาติ และเพื่อให้สมาชิกได้ดำเนินการ ได้เต็มที่นั้น ผมขออนุญาตที่จะใช้ข้อ ๒๑๑ ของข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คืองดใช้ข้อบังคับ แล้วขอหารือที่ประชุมว่าเราจะของดใช้ข้อบังคับ ข้อ ๑๓ วรรคสอง งดการถ่ายทอดสดครับ มีท่านสมาชิกเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

กรณีนี้ถ้าไม่มี มีผู้รับรองญัตตินี้ไหมครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ต้องขออนุญาต เป็นมติที่ประชุม ท่านเลขาธิการต้องขอมติด้วยใช่ไหมครับ มีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ถ้าไม่มี ถือเป็น มติที่ประชุมได้นะครับ เพราะต้องใช้มติเกินครึ่งหนึ่ง งดการถ่ายทอดสดตลอดวาระ การประชุมวันนี้ครับ ขออนุญาตเรียนเชิญท่านประธานกรรมาธิการแถลงผลการพิจารณาครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมาธิการพิจารณายกร่างข้อบังคับการประชุม สภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... ขอกราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติดังนี้

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ตามที่ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ วันอังคารที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่ประชุมได้มีมติตั้งกรรมาธิการ จำนวน ๑๙ คน เพื่อพิจารณายกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... โดยกำหนดเวลาการพิจารณายกร่างให้แล้วเสร็จใน ๑๕ วันนั้น ในการพิจารณายกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... คณะกรรมาธิการได้มีการประชุมพิจารณาทั้งหมด ๔ ครั้ง ซึ่งคณะกรรมาธิการได้กำหนดกรอบแนวทางในการพิจารณายกร่างข้อบังคับตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ และองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มีการปฏิรูปในด้านการเมืองและด้านอื่น ๆ และให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่วางกติกาทางการเมืองให้รัดกุม เหมาะสม ป้องกันและปราบปรามการทุจริตสามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เป็นธรรม คณะกรรมาธิการจึงได้ยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนด้วย

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

บัดนี้คณะกรรมาธิการได้พิจารณายกร่างข้อบังคับดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้เสนอให้คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ซึ่งมีท่านประธาน เป็นประธานร่วมพิจารณาด้วยแล้ว จึงกราบเรียนมาเพื่อได้โปรดนำเสนอที่ประชุม สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณารับหลักการต่อไป ดังปรากฏรายละเอียดตามรายงาน ของคณะกรรมาธิการที่ได้แจกให้ท่านสมาชิกทุกท่านแล้ว ขอกราบขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านสมาชิก เรื่องข้อบังคับนั้นจะเป็นหลักการและเป็นกรอบสำคัญสำหรับการทำงานของเรา มีท่านสมาชิกท่านใดจะอภิปรายหรือให้ความเห็นไหมครับ ผมอยากเรียนในเบื้องต้น อย่างนี้ก่อน ขอประทานโทษ กรอบเรื่องข้อบังคับนี้เป็นกรอบในการทำงานซึ่งเราต้องมี ดังนั้น ถ้าจะมีการอภิปรายในวาระแรกนี้ว่าจะรับหลักการหรือไม่ ผมอยากเรียนขอความกรุณาให้ กระชับ แล้วก็ขอเรียนเป็นกติกาสักนิดหนึ่งในเชิงหารือที่ประชุมว่าเนื่องจากผู้ที่ทำหน้าที่ ประธานจะดูลำบากมากเลยว่าท่านใดยกมือก่อนหลัง เพราะฉะนั้นขอให้เป็นหลักการว่า ทางท่านเลขาธิการได้ขอให้เจ้าหน้าที่บันทึกแล้วจัดลำดับก่อนหลังของท่านสมาชิกที่ยกมือ รายชื่อจะปรากฏบนจอที่นี่ แล้วผมจะได้เรียนเชิญท่านได้ให้ความเห็นหรืออภิปราย เป็นลำดับโดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะมีท่านใดขาดตกบกพร่องอีก เอาหลักการนี้ดีไหมครับ ขอหารือครับ รายชื่อขึ้นมาแล้วสำหรับท่านแรกท่านไพบูลย์ นิติตะวัน เชิญครับ

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ ผม นายไพบูลย์ นิติตะวัน ในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการเมือง ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตกราบเรียนผ่านไปยังท่านเพื่อนสมาชิกว่า ข้อบังคับ การประชุมนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำหน้าที่ของสภาแห่งนี้ แต่เพื่อนสมาชิกทุกท่านนั้น ก็ล้วนแล้วแต่อยากจะให้ข้อบังคับนี้นำมาบังคับใช้โดยเร็ว เพื่อที่จะมีการจัดตั้งกรรมาธิการ ด้านต่าง ๆ ได้ แต่ประเด็นการพิจารณานั้นเนื่องจากเราใช้ข้อบังคับของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาเป็น ๓ วาระ ซึ่งในขณะนี้เราอยู่ในการ พิจารณาในวาระที่หนึ่งคือในชั้นของการรับหลักการ ผมขออนุญาตรบกวนเวลาเพียงนิดเดียวว่า ถ้าในชั้นรับหลักการนั้น ถ้าเราพิจารณาอภิปรายกันในการรับหลักการก็แน่นอนเราก็คงต้อง รับหลักการ ถ้าเราใช้เวลาในวาระที่หนึ่งเพียงไม่มาก ประเด็นต่าง ๆ ในรายละเอียดนั้น เราก็ไปอภิปรายกันในวาระที่สอง ซึ่งจะพิจารณากันเป็นทีละรายมาตรา ซึ่งบางมาตรานั้น ผมคิดว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านก็คงไม่ติดใจที่จะอภิปรายก็จะทำให้เราไปได้เร็ว แต่ในส่วน มาตราที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกรรมาธิการนั้น ผมเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกจะต้องการใช้เวลา ในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในส่วนนั้นมาก ผมก็ขอท่านประธานเปิดในส่วนนั้น ให้อย่างเต็มที่ แต่ว่าสำหรับส่วนผมนั้นในการพิจารณาในรับเรื่องวาระที่หนึ่ง หลักการของ ข้อบังคับแห่งนี้ ซึ่งมีการยกร่างโดยอิงข้อบังคับของ สนช. แล้วมาปรับโดยกรรมาธิการ ยกร่างข้อบังคับ ที่ขออนุญาตมีท่าน พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช เป็นประธาน กรรมาธิการยกร่างนั้น ผมเห็นว่าครอบคลุมแล้วสอดคล้องกับภารกิจของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมจึงเห็นว่าควรรับหลักการไว้พิจารณาครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ครับ

นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในวาระแรกนี้ผมขอตั้งข้อสังเกตเท่านั้นละครับ ยังไม่ก้าวล่วงไปถึงการแก้ไข โดยเฉพาะ ข้อ ๘๐ (๑๕) ที่ว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญ ปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนานั้น ผมตั้งข้อสังเกตว่าคำว่า ปฏิรูปค่านิยมนี้มันฟังดูทะแม่ง ๆ นิด ๆ นะครับ อย่างไรก็ฝากเป็นข้อสังเกตไว้ครับ เพื่อการแก้ไขหรือจะถกอภิปรายกันในวาระต่อไปครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คุณสยุมพร ลิ่มไทย ครับ

นายสยุมพร ลิ่มไทย ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพครับ คือผมอยากจะเรียนว่า พวกเราก็เพิ่งได้เอกสารนี่นะครับ ร่างข้อบังคับซึ่งเป็นผลจากคณะกรรมาธิการได้ ยกร่างมานะครับ ทีนี้ผมคิดว่าถ้าเป็นไปได้นะครับ ไม่ทราบว่าจะอยู่ในขั้นตอนไหน อยากจะให้คณะกรรมาธิการได้ช่วยสรุปให้เราเห็นภาพกว้าง ๆ ทั้งหมดก่อนได้ไหมครับว่า ทั้งหมด ๑๔๓ ข้อ ซึ่งแบ่งเป็น ๖ หมวดนี่นะครับมันมีสาระสำคัญอะไรบ้าง เพราะผมคิดว่า จะช่วยให้พวกเราสามารถมองไปที่ประเด็นที่พวกเราสนใจได้นะครับว่า หมวดไหน ข้อไหน ที่แต่ละท่านอยากแสดงความคิดเห็นหรืออยากจะท้วงติงนะครับ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วตอนนี้ เหมือนกับว่าทุกคนก็อาจจะมองไปที่เฉพาะบางข้อบางหมวดบางประเด็นซึ่งอยู่ในความสนใจ เท่านั้น ก็อยากจะเรียนนะครับว่าถ้าทำได้อย่างนี้ก็คงจะทำให้การพิจารณาในวาระที่หนึ่ง นี่นะครับเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมไปถึงก็จะนำไปสู่วาระที่สอง ซึ่งแต่ละท่าน เมื่อได้รับฟังแล้วก็อาจจะคิดถึงประเด็นที่จะอภิปรายในวาระที่สองต่อไปครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขณะนี้ ไม่มีสมาชิกแสดงความจำนงอภิปรายต่อ คุณหาญณรงค์ครับ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเข้าใจว่าในวาระที่หนึ่งนี้ หลักการที่ต้องการให้ที่ประชุมนี้รับรองก็คือเพื่อให้ที่ประชุม สปช. เป็นไปโดย ความเรียบร้อยและเต็มไปด้วยประสิทธิภาพจึงควรมีข้อบังคับว่าด้วยการประชุม สปช. ความมันแค่นี้ละครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็นความแค่นี้เราเห็นด้วยก็น่าจะผ่านวาระที่หนึ่ง ไปได้ครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คุณอุดม ทุมโฆสิต ครับ

นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ต้นฉบับ

ผม หาญณรงค์ เยาวเลิศ สมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติครับ คือวาระแรกเป็นเรื่องที่อยากมีความเห็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของข้อบังคับที่ทาง คณะกรรมาธิการยกร่างได้ทำมา อยากขอท้วงติงในประเด็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องหมวดครับ คือผมเข้าใจที่อาจารย์เจิมศักดิ์ได้กล่าวไปสักครู่นี้ สภาปฏิรูปอาจจะต่างกว่า สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา ฉะนั้นเวลายกร่างหมวดนี่ครับ เช่น การเสนอญัตติ ผมเข้าใจว่าคณะกรรมาธิการทุกอันที่ไปทำที่จะแบ่งเป็นกรรมาธิการ เวลาไปสรุปเรื่องมา ผมไม่แน่ใจว่าเราจะถูกเรียกว่าเป็นญัตติหรือเปล่า มันคือเอาข้อสรุปจากกรรมาธิการไปทำมา แล้วก็มาเข้าที่ประชุมใหญ่เพื่อส่งไปยัง ครม. หรือส่งไปยัง สนช. ฉะนั้นเขาจะเรียกญัตติ หรือเปล่า อันนี้ผมคิดว่าลองกลับไปดูในการแปรญัตติในวาระที่สองนะครับ

นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ต้นฉบับ

อันที่ ๒ ก็คือการลงมติ ผมคิดว่าบางเรื่องเป็นเรื่องมติ ครม. ที่อาจจะต้องมี การปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ไปสู่การบริหารราชการที่มันอาจจะดีขึ้นกว่าเดิม แล้วมติ ครม. ที่ออกมีปัญหาก็ส่งไป ครม. แต่คำว่า ญัตติ ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องของการเสนอความเห็น ขึ้นมาแต่ละครั้งจะต้องลงมติทุกครั้งแทนที่จะปรึกษาหารือกันแบบที่ชาวบ้านเขาฟังแล้ว มันเข้าใจง่าย ๆ นะครับ ฉะนั้นผมก็ขอท้วงติงในประเด็นเรื่องหมวด ส่วนเรื่องหลักการทั่วไป เห็นด้วยว่าสมควรรับหลักการเพื่อที่จะได้ดำเนินการอย่างทันท่วงทีเพื่อที่จะได้มีการทำงาน ในกรรมาธิการต่อไป ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คุณอุดม ทุมโฆสิต ที่เมื่อกี้ยังไม่ได้อภิปรายใช่ไหมครับ

นายอุดม ทุมโฆสิต ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม อุดม ทุมโฆสิต สมาชิก สปช. หมายเลข ๒๔๕ ผมไม่ได้ยกมือครับ เมื่อกี้ไม่ได้ยกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

โอเค (OK) ขอประทานโทษ คุณณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ครับ มีไหมครับ คุณทิวาครับ ขออนุญาต ท่านสมาชิกนิดหนึ่งเมื่อกี้เราตกลงกติกา ผมจะอ่านกติกาชื่อที่ปรากฏบนหน้าจอนี้เท่านั้น เพราะเจ้าหน้าที่จะบันทึกตามมือที่ท่านยกนะครับ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพนะครับ คณะกรรมาธิการที่ยกร่างข้อบังคับนะครับ ผม ทิวา การกระสัง จากบุรีรัมย์นะครับ ถึงแม้ว่า สภาปฏิรูปมีสมาชิกบางท่านเห็นว่าเป็นสภาทางวิชาการ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการ ออกฎหมายก็ตาม ขอความกรุณาท่านไปดูในรัฐธรรมนูญชั่วคราวนะครับ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ นะครับ ซึ่งทั้ง ๓ มาตรานี้นะครับ ท่านไปดู มาตรา ๓๙ ผมจะไม่อ่านนะครับ ให้ท่านไปดูเองว่าลักษณะนะครับ ผมสรุปว่าเมื่อสภาปฏิรูป เสนอแนะแก่คณะกรรมาธิการยกร่างแล้ว คณะกรรมาธิการยกร่างจะต้องร่างให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๑๐ วันนี่ครับ พอเสร็จแล้วต้องยื่นไป สนช. สนช. ส่งกลับมา สภาปฏิรูปมีอำนาจ ในการแก้ไขแล้วก็ส่งกลับไปใหม่ ถ้าหากไม่เห็นชอบสภาปฏิรูปก็เป็นอันหมดวาระ จะต้องตั้งใหม่นะครับ ท่านไปดูมาตรา ๓๙ ถ้าหากเห็นชอบนะครับ มาตรา ๓๙ นี่เป็นหลักสำคัญเลยนะครับ เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อประโยชน์ในการจัดให้มี ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จำเป็น ในการนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ อาจแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่จำเป็นก็ได้ เมื่อมีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญใหม่แล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่าง ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้นั้น ท่านดูมาตรา ๓๙ นะครับ มาตรา ๓๙ เป็นการบัญญัติให้สภาปฏิรูปมีอำนาจลักษณะของการออกกฎหมายเลยนะครับ เพราะฉะนั้น ข้อบังคับผมได้อ่านหมดแล้ว ของท่านคณะกรรมาธิการ โดยท่าน พลเอก เลิศรัตน์ เป็นประธานนี่นะครับ ผมถือว่าร่างนี้ครอบคลุมและสมบูรณ์ที่สุด ถึงแม้เป็นสภาทางวิชาการ แต่มีลักษณะของการเสนอกฎหมาย แนะนำกฎหมายนะครับ และมาตรา ๓๙ นี่ถือว่าเป็น การออกกฎหมายที่จำเป็น เมื่อมีรัฐธรรมนูญแล้วต้องมีกฎหมายลูก ซึ่งตรงนี้เป็นหลักสำคัญ ถ้าเราไม่มีข้อบังคับการประชุมหรือไม่กำหนดในเรื่องเกี่ยวกับข้อบังคับ เราก็จะทำ ไม่ได้เลยนะครับ เพราะว่าข้อบังคับนี้ต้องออกโดยรัฐธรรมนูญ ผมมีความเห็นแค่นี้ เพราะฉะนั้นข้อบังคับนี้ขอเพื่อนท่านสมาชิกทั้งหลายควรจะเห็นชอบนะครับ ขอขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ คุณอุดม เฟื่องฟุ้ง ครับ

นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานและสมาชิกที่เคารพทุกท่าน ผม นายอุดม เฟื่องฟุ้ง สมาชิกหมายเลข ๒๔๔ ผมขอเสนอญัตติปิดอภิปรายในวาระแรกครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คงต้องเอาเป็น มตินะครับว่าเราจะปิดอภิปราย ทีนี้จะขอให้ลงมติว่าจะรับหลักการแห่งร่างข้อบังคับฉบับนี้ หรือไม่ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ก่อนที่จะลงมติ ขอให้สมาชิกได้ใช้สิทธิแสดงตน กรุณาเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตนด้วยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีท่านใดยังไม่ได้ แสดงตนบ้างไหมครับ ขณะนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม ๑๙๙ ท่านด้วยกัน เป็นอันว่าครบองค์ประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุม

พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ต้นฉบับ

ขออนุญาตท่านประธาน พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ขออนุญาตแสดงตนครับ ทางซ้ายนี้ครับท่านครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ครับ ขอโทษที

พลตำรวจตรี ขจร สัยวัตร์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ผม พลตำรวจตรี ขจร ขอแสดงตนครับ หมายเลข ๒๓

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ครับ เป็น ๒๐๑ มีอีกไหมครับ ได้นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เพราะฉะนั้นผมขอมติจากที่ประชุมว่าจะรับหลักการแห่งร่างข้อบังคับ ฉบับนี้หรือไม่ ถ้าท่านสมาชิกใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนนะครับ ผู้ใดเห็นควรรับหลักการ โปรดกดปุ่ม เห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่าไม่ควรรับหลักการ โปรดกดปุ่ม ไม่เห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่า ควรงดออกเสียง โปรดกดปุ่ม งดออกเสียง เชิญครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีสมาชิกท่านใด ยังไม่ได้ใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนบ้างไหมครับ ถ้ามีขอเชิญออกเสียงลงคะแนนนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

พลเอก เลิศรัตน์ครับ ขอเพิ่มครับ เมื่อสักครู่มัวแต่ชี้แจงเลยไม่ได้กดครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญเลยครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

เห็นด้วยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ถ้าไม่มี ผมขอปิด การลงคะแนนนะครับ ขอผลลงคะแนนด้วยนะครับ เพราะฉะนั้นจากผู้เข้าประชุมทั้งหมด ๒๐๖ ท่าน เห็นด้วย ๒๐๔ ท่าน ไม่เห็นด้วย ๑ ท่าน งดออกเสียง ๑ ท่าน ไม่ลงคะแนน ๐ เป็นอันว่าที่ประชุมมีมติรับหลักการในวาระที่หนึ่งของร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูป แห่งชาติ พ.ศ. .... นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เพราะฉะนั้นขอเชิญท่านสมาชิกเสนอคณะกรรมาธิการครับ จะตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญหรือจะพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา เชิญท่านอุดม เฟื่องฟุ้ง ครับ

นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ต้นฉบับ

ขอกราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิกที่เคารพครับ ผม นายอุดม เฟื่องฟุ้ง สมาชิกเลขที่ ๒๔๔ ขอเสนอกรรมาธิการเต็มสภาครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีท่านใด มีความเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไม่มีนะครับ ถ้าอย่างนั้นจะเป็นการพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภานะครับ เพราะว่าโดยข้อบังคับ ข้อ ๑๑๙ นั้น กรรมาธิการเต็มสภาจะกระทำเมื่อสมาชิกเสนอญัตติมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า สิบคน และที่ประชุมอนุมัติ เพราะฉะนั้นก่อนจะขอท่านเลขาธิการได้นำเสนอเป็นรายข้อ แล้วกรรมาธิการยกร่างได้ให้ข้อมูลเป็นรายข้อและมีการอภิปรายนั้น ผมอยากหารือท่านสมาชิกว่าเข้าวาระที่สองแล้วโดยกรรมาธิการเต็มสภาแล้ว อยากจะ ขอความกรุณาแปรญัตติและอภิปรายเฉพาะส่วนที่เป็นหลักการนะครับ ส่วนที่เป็นเรื่อง ถ้อยคำ ถ้าเห็นควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขท่านสมาชิกจะกรุณาทำเป็นโน้ต (Note) หรือบันทึกเสนอท่านประธานกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับคือท่าน พลเอก เลิศรัตน์ได้ จะช่วย ประหยัดเวลาของสภาของเรานี้ได้มาก เพราะฉะนั้นขอความกรุณาอภิปรายเข้าประเด็น ในเรื่องหลักการนะครับ แล้วก็จะขออนุญาตว่าถ้าพยายามให้อยู่ในกรอบสักท่านละ ๕ นาที บวกลบก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นก็ขอดำเนินการ ท่านอลงกรณ์ยกมือหรือครับ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิก สปช. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สปช. ใคร่ขอกราบเรียนท่านประธานเพื่อเป็นแนวปฏิบัติต่อไปนะครับ ก็คือ เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับได้ปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้นก็สมควรได้รับ การขอบคุณจากสมาชิกของเรา บัดนี้ภารกิจของท่านเสร็จสิ้นลงแล้วก็ต้องเชิญลงจากบัลลังก์ ที่นั่งครับกลับมาเป็นสมาชิก เพราะตอนนี้กรรมาธิการชุดใหม่ก็คือกรรมาธิการทั้งสภาครับ ก็ขอสมาชิกได้แสดงความขอบคุณร่วมกันนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ผมอยากจะขอ อนุโลมกับสมาชิกสภาว่าเราอาจจะต้องขอท่านกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับได้อธิบาย ได้ชี้แจงให้ข้อมูลด้วย ดังนั้นขอให้ท่านรับภาระอยู่บนนี้เป็นเพื่อนเราก่อนได้ไหมครับ เพราะว่าการพิจารณาจะได้ให้ทั้งหลักการเหตุผลแล้วเราก็อภิปรายไปได้ ขออนุโลมนะครับ เมื่อสักครู่มีท่านใดยกมือ เชิญครับ

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาและเพื่อนสมาชิกครับ มีท่านเพื่อนสมาชิกบางท่านได้ขอให้ทางกรรมาธิการช่วยกรุณาสรุปสาระสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าน่าจะทำให้การพิจารณาในวาระที่สองเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็วนะครับ คือสาระสำคัญของร่างระเบียบข้อบังคับนี้มีอะไรบ้างเราจะได้ไปเน้นในจุดที่ควรจะเน้น แล้วก็จะได้พิจารณาในจุดที่ควรจะข้ามไปโดยเร็วครับ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการประชุม ผมคิดว่าอาจจะไม่ได้มีข้อถกเถียงอะไรมาก นอกจากประเด็นเกี่ยวกับเรื่องกรรมาธิการครับ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ผมคิดว่าเมื่อเรา จะต้องพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา เราจะพิจารณาร่างข้อบังคับเป็นรายข้อไปแล้ว เพราะฉะนั้นตัวหลักการและสาระสำคัญทั้งหลายก็จะอยู่ในขั้นที่เราจะพิจารณาร่วมกัน โดยท่านกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับจะได้ชี้แจงเป็นลำดับของข้อ ด้วยกระบวนการพิจารณานั้น ก็ขออนุญาตเชิญท่านเลขาธิการนำเสนอเป็นรายข้อนะครับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“ร่าง

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

พ.ศ. ....

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

____________

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ วรรคสอง และมาตรา ๓๑ วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ สภาปฏิรูป แห่งชาติจึงตราข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติพ.ศ. ....”

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีมติให้ ประกาศใช้เป็นต้นไป

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ คำว่า

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ....

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“ประธานสภา” หมายความว่า ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“รองประธานสภา” หมายความว่า รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“สภา” หมายความว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“ประธาน” หมายความว่า ประธานของที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“กรรมาธิการ” หมายความว่า กรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านไพโรจน์ พรหมสาส์น ครับ

นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาและท่านสมาชิกที่เคารพรัก กระผม นายไพโรจน์ พรหมสาส์น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อถึงบทนิยามว่าด้วย กรรมาธิการ กระผมก็อยากจะกราบเรียนว่าในเมื่อดูข้อบังคับโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้วจะเห็นว่า คำว่า กรรมาธิการ ไปบัญญัติเอาไว้ โดยเฉพาะในข้อ ๗๙ ข้อ ๘๐ ข้อ ๘๑ ข้อ ๘๓ ข้อ ๘๔ และข้อ ๙๐ ที่กระผมยกตรงนี้ขึ้นมาก็เพราะว่าเมื่อดูข้อ ๗๙ แล้วจะกำหนดไว้ว่า ประเภท ของกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือกรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญ แต่พอไปดูใน ข้อ ๘๐ ซึ่งเรามีวัตถุประสงค์ที่จะตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นกรรมาธิการ โดยหลักทั่วไป ของร่างข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาก็จะเป็นกรรมาธิการสามัญ แต่เราใช้คำว่า กรรมาธิการวิสามัญ ก็ไม่เป็นไรนะครับ แต่พอข้อ ๘๑ พูดถึงการที่เราจะสมัครเข้าเป็น กรรมาธิการชุดต่าง ๆ ให้มีกรรมาธิการสามัญขึ้นมาเพื่อที่จะทำหน้าที่ในการที่จะรับพิจารณาว่า ใครควรจะไปอยู่กรรมาธิการชุดใด ซึ่งความจริงอันนี้ก็ทำหน้าที่เพียงชั่วคราวตรงนั้นก็น่าจะ เสร็จไปแล้ว ความจริงน่าจะเป็นกรรมาธิการวิสามัญมากกว่านะครับ ข้อ ๘๓ ไปพูดถึง กรรมาธิการวิสามัญต่าง ๆ ซึ่งมี ๑๗ คณะ เรามี ๑๑ ด้าน แล้วก็เพิ่มเข้ามาเป็น ๑๗ คณะ ซึ่งอันนี้ก็โอเคครับเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อที่จะให้บุคคลภายนอกเข้ามาได้ ข้อ ๘๔ ไปพูดถึงกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภา ซึ่งอันนี้ตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญ เดี๋ยวถึงตอนนั้น ผมจะอภิปรายอีกครั้งหนึ่ง แต่โดยหลักแล้วมันน่าจะเป็นกรรมาธิการสามัญ เพราะว่า ต้องทำหน้าที่ตลอดไประหว่างที่เราประชุมสภาอยู่ ข้อ ๙๐ ก็พูดถึงกรรมาธิการวิสามัญอีก ๕ คณะ เพราะฉะนั้นเมื่อดูข้อ ๘๐ กับข้อ ๙๐ แล้วก็จะแยกไม่ออกว่ากรรมาธิการวิสามัญ ๑๗ คณะ หรือว่ากรรมาธิการวิสามัญ ๕ คณะ เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมอยากจะแขวนไว้นิดหนึ่ง เผื่อว่าเราอาจจะให้นิยามคำว่า กรรมาธิการ เป็นกรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งจะแยกออกเป็นกรรมาธิการวิสามัญเฉย ๆ กรรมาธิการวิสามัญเฉพาะกิจ กิจการสภา แล้วก็กรรมาธิการวิสามัญเฉพาะกิจนะครับก็สุดแล้วแต่ ซึ่งมันจะทำให้เกิดข้อแตกต่างกัน ระหว่างกรรมาธิการวิสามัญ กรรมาธิการวิสามัญเฉพาะกิจ โดยเฉพาะตามข้อ ๘๔ นั้น เป็นกรรมาธิการวิสามัญซึ่งคิดว่าจะขึ้นมาทำหน้าที่ชั่วคราว ก็ขออนุญาตกราบเรียนต่อที่ประชุม เพื่อโปรดพิจารณาครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เราจะอธิบายกัน ตรงนี้หรือว่าเอาจบข้อก่อน ตั้งข้อสังเกต เชิญคุณเสรีครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ ต้องกราบเรียนท่านสมาชิกในหัวข้อคำนิยามของกรรมาธิการ อยู่ในข้อ ๓ ที่หมายความว่า กรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญนั้นจริง ๆ แล้ว เป็นคำย่อ ส่วนรายละเอียดนั้นจะอยู่ในข้อ ๗๙ วรรคสอง ซึ่งจะอธิบายไว้ชัดเจนว่า กรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งสภาตั้งจากสมาชิกของสภานั้น ส่วนกรรมาธิการ วิสามัญมี ๒ ประเภท ก็มีกรรมาธิการวิสามัญประจำสภากับกรรมาธิการวิสามัญทั่วไป อันนี้ในคำนิยามนั้นก็มีความชัดเจนครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

น่าจะไปได้นะครับ ต่อครับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“ร่างพระราชบัญญัติ” หมายความรวมถึง ร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญด้วย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“บริเวณสภา” หมายความว่า อาณาบริเวณอันเป็นขอบเขตของสภาปฏิรูป แห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงอาคารที่ทำการต่าง ๆ และอาคารที่ทำการสภาปฏิรูป แห่งชาติด้วย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“การประชุม” หมายความว่า การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

“รัฐธรรมนูญ” หมายความว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔ ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติรักษาการตามข้อบังคับนี้ และมีอำนาจ ออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีผู้ยกมือ เชิญคุณอุดมครับ

นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานและท่านสมาชิกที่เคารพ ทุกท่านครับ เพื่อความรวดเร็ว ผมขอเสนอญัตติให้พิจารณาเป็นรายหมวดครับ ถ้าหากว่า ท่านสมาชิกเห็นด้วย โปรดยกมือรับรองด้วยครับ เพื่อจะได้ประหยัดเวลาครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คุณอุดมเสนอให้ พิจารณาเป็นรายหมวด มีผู้สนับสนุนไหมครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ผมยังคิดว่า บังเอิญข้อบังคับสภานิติบัญญัติแห่งชาติระบุว่าวาระสอง ต้องพิจารณาเป็นรายข้อครับ เชิญท่านประธานกรรมาธิการยกร่าง

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ เท่าที่ฟังท่านสมาชิก ก็คงจะมีคู่มืออยู่ในมือแล้ว พอท่านเลขาธิการอ่านก็เลยยิ่งในช่วงแรก ๆ จะไม่ค่อยมีอะไรแก้ไข ทีนี้ผมขอเสนอเป็น ทางออกว่าให้ท่านเลขาธิการอ่านเฉพาะชื่อข้อได้ไหมครับ ข้อ ๕ แล้วถ้ามีใครจะแก้ไขอะไร ก็ให้ยกมือ ข้อ ๖ ไปอย่างนี้ครับ ก็จะเป็นการดำเนินการตามข้อบังคับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ทีนี้ก็จะ ประหยัดเวลาอ่าน เชิญท่านเลขาธิการต่อเลยครับ หมวด ๑

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หมวด ๑ การเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ ท่านประสิทธิ์

นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ กระผมต้องขออนุญาตเรียนที่ประชุมอย่างนี้นะครับว่า เนื่องจากว่า เอกสารข้อบังคับตัวร่างนี้ ทุกท่านส่วนใหญ่เพิ่งจะได้รับ ดังนั้นการที่อ่านเฉพาะข้อแล้วก็ ผ่านไปเลย ถ้าเว้นช่วงสักระยะได้ไหม คิดว่าให้เวลาในการที่จะอ่าน ผมฟังดูสมาชิก หลายท่านยังไม่ทราบแล้วก็ไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นถ้าอ่านไปถ้าเกิดมีอะไรผิดพลาดแล้ว ตรงนั้นเราจะมาแก้ไขตอนนั้นจะลำบาก และเวลาของเราก็ยังพอมีเหลืออยู่นะครับ ผมยังเห็นว่าใช้วิธีการอย่างเดิมอ่านเป็นรายข้อไปนะครับ แล้วทุกท่านก็ได้ดูด้วยพร้อม ๆ กัน แล้วข้อไหนสั้น ๆ ผมว่าตรงนั้นคงจะอ่านได้รวดเร็วแล้วก็ไม่มีปัญหา กระผมก็ขอเสนอว่า กลับไปอย่างเดิมได้ไหมครับ ขอบคุณครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ ผมปรึกษาท่านประธาน ท่าน พลเอก เลิศรัตน์แล้วนะครับ ท่านก็อยากให้ตามใจสมาชิกนะครับ แต่มาคิดอีกทีหนึ่งถ้าสมาชิกได้อ่านไปด้วย อย่างน้อย ก็จะได้ทราบข้อบังคับอีกสักรอบหนึ่งนะครับ เวลาไปทำงานจะได้สะดวก ถ้าไปรายข้อ บางท่านไม่ได้อ่านเดี๋ยวก็เลยไม่เข้าใจข้อบังคับอีก คือบางทีเราเร่งรัดเป็นสิ่งที่ดี แต่พอเร่งรัด มาก ๆ นี่นะครับ เดี๋ยวไป ๆ มา ๆ สมาชิกก็อาจจะไม่เข้าใจเลยว่าข้อบังคับมีอะไรบ้าง ผมขออนุญาตประนีประนอมอย่างนี้ได้ไหมครับ ท่านประธานครับ ข้อหารือของท่านสมาชิก อย่างมันมีบางหมวดนี่นะครับ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องมาดูรายละเอียดทั้งหมด อย่างเช่น หมวด ๒ ที่เราพิจารณานี่นะครับ เราได้เลือกประธานกับรองประธานไปแล้ว ถ้าหากเรามาไล่ข้อ มันจะเสียเวลานะครับ ก็ขออนุญาตหารือท่านประธานว่าในหมวด ๑ เรื่องการเลือกนี่ ถึงแม้ว่าจะอ่านหรือแปลอย่างไรมันก็ผ่านไปหมดแล้วนะครับ แต่ถ้าหากสมาชิกยังติดใจข้อความไหนไม่สมควรก็ไปขอแก้ไขในวาระที่สามเรื่องถ้อยคำ เอาอีกทีหนึ่งนะครับ แล้วก็ขอหารือท่านประธาน ถ้าท่านสมาชิกเห็นด้วยก็ผ่านหมวด ๑ ไป แล้วก็ไปเข้าหมวด ๒ หมวด ๒ ก็มีความจำเป็นที่ต้องพูดรายข้อเหมือนกัน ถ้าไม่พูด รายละเอียดสมาชิกก็จะอย่างเมื่อกี้ครับจะงง ๆ ว่าข้อนี้ผ่านไป ข้อนี้ผ่านไป ซึ่งก็จะไม่ได้สาระ เลยนะครับ แล้วเราค่อย ๆ ไป เมื่อกี้ท่านประธานเลิศรัตน์ก็เห็นด้วยแล้วนะครับ กราบขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เอาอย่างที่ คุณเสรีเสนอนะครับ บังเอิญหมวด ๑ นี้เป็นความที่บังคับไว้ และเราดำเนินการไปแล้ว เสร็จหมดแล้ว เชิญครับ

นายเชื้อ ฮั่นจินดา ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม เชื้อ ฮั่นจินดา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กระผมอยากนำเรียนปรึกษาท่านประธานอย่างนี้ครับว่าตามที่ สมาชิกของเราได้นำเสนอไปเมื่อสักครู่ อยากให้ท่านประธานลองหารืออย่างนี้ครับว่าไปทีละข้อ แต่ให้ท่านเลขาธิการสภาได้อ่านไปทีละหมวด อย่างเช่น หมวดที่ ๑ ก็อ่านให้จบไปทีละข้อ เมื่อจบหมวดนั้นแล้วปั๊บก็ให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็น ส่วนในหมวดใดที่มีส่วนแยกออกไป ส่วนที่ ๑ ส่วนที่ ๒ ก็ให้อ่านเฉพาะส่วน ส่วนที่ ๑ จบก็ให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็นได้ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ผมคิดว่า ประเด็นต่อจากนี้ไปมันจะเริ่มซับซ้อนขึ้น เพราะฉะนั้นเอาแบบที่มันเป็นอยู่เดิม ท่านเลขาธิการอ่านทีละข้อนี่ละนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เพราะฉะนั้น ท่านที่ยังไม่ได้อ่านจะได้ดูตามแล้วก็จะได้พิจารณาทัน บังเอิญหมวด ๑ ที่ว่าขอให้ผ่าน เพราะเราดำเนินการไปเสร็จแล้ว การเลือกประธาน รองประธาน มันเป็นการรองรับ เท่านั้นเองนะครับ ไปหมวด ๒ เลยนะครับ เชิญท่านเลขาธิการ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หมวด ๒

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

อำนาจและหน้าที่ของประธานสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

รองประธานสภา และเลขาธิการ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

__________

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐ ประธานสภามีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) เป็นประธานของที่ประชุมสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) ควบคุมและดำเนินกิจการของสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมสภาตลอดถึง บริเวณสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๔) เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๕) แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการ ของสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๖) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับนี้

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ ท่านวิบูลย์ใช่ไหมครับ

นายวิบูลย์ คูหิรัญ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายวิบูลย์ คูหิรัญ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พอดีผมอยากหารือใน (๕) นี่นะครับ อันนี้เราเขียน แต่เพียงว่า อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา มันน่าจะครอบคลุมถึงของประเทศของชาติ ด้วยหรือเปล่า คือบางเรื่องในการแต่งตั้งมันอาจจะมีไปครอบคลุมผลประโยชน์ซึ่งไม่ใช่เฉพาะ ของสภา มันอาจจะมีบางเรื่องนะครับ คือที่ผ่านมาผมเคยมีเรื่องที่แต่งตั้งแล้วก็อาจจะ นอกเหนือจากของสภาโดยตรง คือมันเป็นประโยชน์ของชาติครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านกรรมาธิการ จะมีความเห็นไหมครับ เชิญ พลเอก เลิศรัตน์

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ กรรมาธิการครับ ที่ท่านสมาชิกให้ข้อคิดเห็นนั้นมันก็มีตัวอย่าง อย่างเช่น ไปตั้งกรรมการ ไปจัดงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติ แต่ไปทำกับภาคประชาชน หรือไปทำในเรื่องของการบูรณะ การส่งเสริมอะไรก็แล้วแต่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งหมดนั้นก็เป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา เพราะฉะนั้นใน (๕) นี้ผมคิดว่าถ้าเขียนไว้แค่นี้ก็จะครอบคลุม แล้วก็เป็นอำนาจที่แท้จริงของ ท่านประธานในการแต่งตั้งกรรมการ ส่วน (๔) ก็สามารถเป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอกได้ อยู่แล้ว เช่น ไปเป็นกรรมการในคณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติอะไรต่าง ๆ ก็คิดว่า เท่าที่มีอยู่นี้น่าจะครอบคลุมแล้วครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญอาจารย์ณรงค์ครับ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ณรงค์ พุทธิชีวิน สปช. ครับ ท่านประธานครับ ในข้อ ๕ ผมเข้าใจว่าถ้าปล่อยเป็นแบบนี้จะเป็นปัญหา เพราะบอกว่า แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการสภา คำถามก็คือถ้าไม่ใช่เป็นอำนาจหน้าที่ แต่ประธานเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็เป็นปัญหาแน่ ๆ เลย เพราะฉะนั้นข้อเสนอของผมให้เปลี่ยนอย่างนี้ได้ไหมครับ ท่านประธานครับ แต่งตั้งกรรมการ เพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของสภา ก็น่าจะสมบูรณ์ ด้วยความเคารพครับ ท่านประธานครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เดี๋ยวทาง กรรมาธิการยกร่างรอนิดหนึ่งครับ ท่านวิบูลย์เมื่อสักครู่ยกมือต่อ เชิญครับ

นายวิบูลย์ คูหิรัญ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผมคิดว่า คือถ้าจะให้ตามข้อ ๕ นี่นะครับ แต่ตามที่ท่าน พลเอก เลิศรัตน์ได้เรียน ผมเกรงว่าพอเวลา มีการแต่งตั้งแล้วเดี๋ยวจะต้องมาตีความกันอีกจะเป็นปัญหาตอนหลังหรือเปล่า คือถ้าเผื่อ เขียนไว้ให้ชัดเลยว่าเพื่อประโยชน์ของชาติด้วยอะไรนี่ มันจะได้คลุมได้เลยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญกรรมาธิการครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการนะครับ คือต้องเรียนอย่างนี้ครับว่าในส่วนอำนาจหน้าที่ของ ประธานสภานั้น ท่านต้องดูตั้งแต่ข้อ ๑ ข้อ ๒ ไปด้วยนะครับ กิจการของสภานั้น มันมีหลายเรื่อง มีการบริหารสภาด้วย มันไม่ใช่เฉพาะอำนาจหน้าที่ ถ้าอำนาจหน้าที่นั้น ก็อยู่ในรัฐธรรมนูญว่าสภาปฏิรูปแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๓๑ นะครับ อันนี้ก็คืองานหลัก ส่วนกิจการสภานี่นะครับ มันมีมากกว่าอำนาจหน้าที่แล้วก็มีรายละเอียด ในข้อ ๕ นี้นะครับ ท่านประธานอาจจะไม่ต้องทำเอง ก็อาจตั้งกรรมการหรือคนขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการใดอันเป็นประโยชน์ เพื่อประโยชน์ต่อกิจการของสภา ก็คือการบริหารสภา คงไม่ใช่อำนาจหน้าที่ในการที่เราเข้ามาทำงานอย่างเดียว มันน่าจะกว้างกว่าครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ผ่านได้นะครับ เชิญครับ

นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม ประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ กระผมเห็นว่าใน (๕) ของตัวร่างของข้อ ๑๐ นี้ก็เป็นการเปิดกว้างให้ ท่านประธานใช้ดุลยพินิจในการที่จะดูว่าบางเรื่องอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นกิจการของสภา แต่จะเกิดหรือว่าจะยังประโยชน์ต่อสภาในอนาคตได้ ฉะนั้นผมเชื่อว่าโดยวุฒิภาวะ โดยดุลยพินิจของท่านประธานคงจะต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าจะดำเนินการแต่งตั้งท่านใด ผมเห็นว่าเป็นการเปิดกว้างไว้ แต่คงไม่ได้ใช้พร่ำเพรื่อเท่านั้นครับ ผมคิดว่าเหมาะสมแล้วครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คุณคำนูณครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน คำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะกรรมาธิการ ท่านประธานครับ คือถ้าคงไว้ตาม กรรมาธิการกระผมก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะว่าการแต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภานั้น ท่านประธานก็ย่อมต้องแต่งตั้งตามอำนาจหน้าที่ ที่มีอยู่ของสภาอยู่แล้ว แต่ที่มีสมาชิกกริ่งเกรงว่าถ้าเขียนเปิดกว้างไว้จะเป็นการแต่งตั้ง นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ผมก็ขออนุญาตว่าเราลองเปรียบเทียบกับข้อบังคับของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติฉบับล่าสุด เขาก็จะมีอีกแนวหนึ่งคือ ประธานสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ถึง (๖) นี่เหมือนกันหมด มีเพียง (๕) ที่เขาเขียนกำกับไว้อย่างนี้ครับว่า แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ ตาม (๖) ก็คือหมายความว่าจะแต่งตั้ง เพื่อดำเนินกิจการใด ๆ ก็ตามแต่ มันต้องอยู่ภายใต้กรอบอำนาจและหน้าที่อื่นตาม ที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้เท่านั้น อันนี้ก็เป็นการที่ ถ้าท่านสมาชิกกริ่งเกรงว่า ถ้าเขียนเปิดกว้างว่าเดี๋ยวจะตีความว่าประโยชน์ต่อกิจการของ สภาแล้วมันนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่นี่นะครับ ผมก็ลองเปรียบเทียบให้ดูว่ามันจะมี ข้อบังคับสภานิติบัญญัติแห่งชาตินี่นะครับ เขากำกับไว้ว่า ให้อยู่ภายใต้กรอบ (๖) ก็สุดแท้แต่ ท่านกรรมาธิการทุกท่านจะพิจารณา แต่ผมเองเชื่อว่าถึงว่าจะเขียนไว้ตามเดิมก็ไม่น่า จะมีปัญหาแต่ประการใด ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ พอไปได้กระมังนะครับ เชิญครับ

นายพรายพล คุ้มทรัพย์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ผม พรายพล คุ้มทรัพย์ ในอำนาจหน้าที่ของประธานสภาซึ่งมีทั้ง ๖ อัน อันหนึ่งซึ่งผมคิดว่า มันน่าจะระบุไว้ก็คืออำนาจในการเรียกประชุมสภา เรายังจำกันได้วันแรกที่มีการอภิปราย เรื่องเรียกกับนัดนี่นะครับ แต่การนัดประชุมเป็นอำนาจของเลขาธิการซึ่งอยู่ในข้อ ๑๒ ข้อ ๑๐ ผมก็เลยคิดว่าน่าจะมีอำนาจที่ระบุบอกว่า ในการเรียกประชุมสภานี่น่าจะเป็น อำนาจของประธานสภา แล้วก็เป็นประธานในที่ประชุมด้วย อันนี้ไม่แน่ใจว่ามันครอบคลุม อยู่ในที่ไหนหรือเปล่า ผมคิดว่าอันนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าจะระบุไว้ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญกรรมาธิการ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการนะครับ สิ่งที่ท่านสมาชิกได้เสนอให้ประธานเรียกประชุมนี่นะครับ ที่จริงก็บัญญัติอยู่ในข้อ ๑๔ นะครับ ถ้าประธานเรียกประชุมเป็นพิเศษก็ให้เรียกประชุมได้ ส่วนกระบวนการการเรียกประชุมก็อยู่ในหมวดเรื่องการประชุมครับ มันก็มีบัญญัติไว้แล้วนะครับ เลยไม่ได้มาใส่ไว้ในนี้ ส่วนในข้อ ๑๐ นี่นะครับ ที่พูดถึงว่า (๑) ถึง (๖) นี่นะครับ (๑) ถึง (๕) นี่นะครับเป็นอำนาจหน้าที่ของท่านประธาน ส่วน (๖) นั้นเป็นอำนาจหน้าที่อื่น นอกจาก (๑) ถึง (๕) นี่นะครับ มันอาจจะมีอีกที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหรือข้อกำหนดไว้ใน ข้อบังคับข้ออื่น ก็เลยแยกออกมาเป็น (๖) ต่างหาก อันนี้เพื่อความชัดเจนและให้ ครอบคลุมครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เอานะครับ พอไปได้แล้วนะครับ ไปข้อ ๑๑ ครับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑ รองประธานสภามีอำนาจและหน้าที่ช่วยประธานสภาในกิจการ อันเป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานสภา หรือปฏิบัติการตามที่ประธานสภามอบหมาย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภา หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ในกรณีที่มีรองประธานสองคน ให้รองประธานคนที่หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ประธานสภา ถ้ารองประธานสภาคนที่หนึ่งไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาคนที่สองเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๒ เลขาธิการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) นัดประชุมสภา และนัดประชุมคณะกรรมาธิการครั้งแรก

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) เชิญผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมสภาและที่ประชุม คณะกรรมาธิการเข้าปฏิบัติหน้าที่

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) ช่วยประธานในการควบคุมการนับคะแนนเสียง

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๔) จัดทำรายงานการประชุมและบันทึกการออกเสียงลงคะแนน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๕) ยืนยันมติของสภาไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๖) รักษาสรรพเอกสารและข้อมูลของสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๗) ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานสภากำหนดไว้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๘) กำกับดูแลการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตาม กฎหมายและข้อบังคับอย่างมีประสิทธิภาพ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๙) หน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามที่ประธานสภามอบหมาย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หมวด ๓

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การประชุม

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

__________

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๑

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

วิธีการประชุม

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

__________

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๓ การประชุมย่อมเป็นการเปิดเผย เว้นแต่ประธานสภา คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา ร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การประชุมเปิดเผย ให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุมได้ตามระเบียบ ที่ประธานสภากำหนด และประธานสภาต้องจัดให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมทาง เครื่องขยายเสียงและวิทยุโทรทัศน์วงจรปิดภายในบริเวณสภา โดยจัดให้มีล่ามภาษามือด้วย ส่วนการถ่ายทอดสดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอื่น ที่ประชาชนทั่วไปสามารถรับได้อย่างทั่วถึง ให้เป็นไปตามที่ประธานสภากำหนด เว้นแต่ เมื่อมีการพิจารณาการปฏิรูปด้านต่าง ๆ หรือการเสนอแนะ พิจารณาและให้ความเห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญให้มีการถ่ายทอดสด

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การประชุมลับ ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุม เว้นแต่ผู้ที่ได้รับ อนุญาตจากประธาน และห้ามใช้เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพ หรือเครื่องมือสื่อสาร ใด ๆ ยกเว้นการบันทึกของสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๔ การประชุมให้เป็นไปตามกำหนดที่สภามีมติไว้ แต่ประธานสภา จะสั่งงดการประชุมครั้งใดก็ได้เมื่อเห็นว่าไม่มีเรื่องที่สมควรจะบรรจุเข้าระเบียบวาระ การประชุม

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่ประธานสภาเห็นสมควร หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาให้เรียกประชุม เป็นพิเศษ ก็ให้เรียกประชุมได้

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญ อาจารย์เจิมศักดิ์ครับ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม เจิมศักดิ์ครับ ขอย้อนไป ข้อ ๑๓ สักนิดเดียว เพราะว่าเมื่อกี้ยกมือไม่ทัน คือประเด็นเรื่องคณะรัฐมนตรี ผมเองไม่ค่อย มั่นใจ ใส่ไว้ไม่มีอะไรเสียหาย แต่ว่าดูแล้วมันแปลก ๆ การประชุมย่อมเป็นการเปิดเผย เว้นแต่ประธานสภา คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ ผมคิดว่าที่ประชุม ของเราไม่ค่อยมีเลยครับ คณะรัฐมนตรีนั้นสมัยผมเป็น ส.ว. หรือ ส.ส. นั้นมี เพราะเขา ต้องมาชี้แจง ผมตั้งกระทู้ถามหรืออะไรก็แล้วแต่ จะใส่ไว้ก็อาจจะได้ แต่ผมดูแล้วมันแปลก ๆ ฝากพิจารณาครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ขอบคุณท่านสมาชิกที่ให้ข้อสังเกตอันนี้ อันนี้มีข้อสังเกตจาก หลาย ๆ ท่านเลย เราจะมีอยู่ ๒-๓ แห่งนอกเหนือจากตรงนี้อีก ก็ได้พิจารณากันหลายครั้งว่า ถ้าใส่ไว้แล้วมันจะถูกนำไปใช้หรือไม่ ก็เลยนึกถึงว่าเราจะมีการปฏิสัมพันธ์กับคณะรัฐมนตรี ในเรื่องไหนบ้าง ที่สำคัญคือข้อเสนอแนะที่ส่งไปที่คณะรัฐมนตรีจะมีทั้งตัวพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติที่เป็นพระราชบัญญัติการเงิน ถ้าเราจะส่ง พ.ร.บ. การเงินที่กรรมาธิการคณะต่าง ๆ คิดขึ้นและเป็น พ.ร.บ. การเงิน ก็ต้องส่งไปให้ ครม. เป็นผู้พิจารณาก่อนจะส่งไปที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพราะฉะนั้นเมื่อเราส่ง พ.ร.บ. ไปให้เขา ก็อาจจะมีกรณีที่ทาง ครม. อาจจะมีมติว่า ให้คณะรัฐมนตรีหรือให้รัฐมนตรีท่านใด ท่านหนึ่งมาประชุมเพื่อหาข้อคิดเห็น หาข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนที่จะให้ความเห็นชอบ พ.ร.บ. ฉบับนั้น เพราะฉะนั้นโอกาสที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีจะมาประชุมกับเรานั้น มีค่อนข้างน้อย แต่ก็ยังมีอยู่บ้างนะครับ ก็จึงเขียนไว้ ก็อย่างที่ท่านผู้อภิปรายได้ชี้แจงนะครับ ทิ้งไว้ก็คงไม่เสียหายอะไร เราดูแล้วมันก็มีโอกาสเหมือนกัน ก็เลยขออนุญาตที่จะใส่ไว้นะครับ ขอบคุณครับ รู้สึกท่านจะพยักหน้าเห็นชอบแล้วด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไปได้นะครับ ต่อเลยครับท่านเลขาธิการ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๕ การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือ เว้นแต่เมื่อได้บอกนัดในที่ประชุมแล้ว ต้องแจ้งให้สมาชิกที่ไม่ได้มาประชุมทราบ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การนัดประชุมให้นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน แต่ถ้าประธานสภา เห็นสมควรจะนัดเร็วกว่านั้นก็ได้หรือนัดประชุมโดยวิธีอื่นใดก็ได้เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องด่วน

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๖ ให้ส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับ หนังสือนัดประชุม แต่ประธานสภาจะให้ส่งเพิ่มเติมอีกในเวลาใดก็ได้ ตามที่เห็นว่าจำเป็น หรือสมควร

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๗ การนัดประชุมหรือการส่งเอกสารตามข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖ เมื่อประธานสภาเห็นสมควรอาจดำเนินการทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศประเภทอื่นเพิ่มเติมด้วยก็ได้ เว้นแต่การจัดส่งเอกสารลับให้เป็นไปตามที่ ประธานสภากำหนด

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๘ การจัดระเบียบวาระการประชุมให้จัดลำดับ ดังต่อไปนี้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) รับรองรายงานการประชุม

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๔) เรื่องที่ค้างพิจารณา

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๕) เรื่องที่เสนอใหม่

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๖) เรื่องอื่น ๆ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่ประธานสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วน จะจัดไว้ในลำดับใด ของระเบียบวาระการประชุมก็ได้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๙ ให้สมาชิกผู้มาประชุมลงชื่อในสมุดที่จัดไว้ก่อนเข้าประชุมทุกคราว และเมื่อมีสัญญาณให้เข้าประชุม ให้สมาชิกเข้านั่งในที่ที่จัดไว้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เมื่อมีสมาชิกมาลงชื่อครบองค์ประชุมและมีสัญญาณให้เข้าประชุมแล้ว ให้ประธานดำเนินการประชุมได้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เมื่อประธานขึ้นบัลลังก์ ให้ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมยืนขึ้นจนกว่าประธานได้นั่งลง

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๒๐ เมื่อพ้นกำหนดเวลาประชุมไปสามสิบนาทีแล้ว จำนวนสมาชิก ยังไม่ครบองค์ประชุม ประธานจะสั่งให้เลื่อนการประชุมไปก็ได้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๒๑ เมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมหรือพ้นกำหนดเวลาประชุมไป สามสิบนาทีแล้ว ประธานสภาและรองประธานสภาไม่อาจมาประชุมได้ ให้เลขาธิการแจ้งให้ ที่ประชุมสภาทราบ ในกรณีเช่นนี้ให้เลขาธิการขออนุมัติที่ประชุมสภา เพื่อเชิญสมาชิก ผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมสภาเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมสภา เพื่อดำเนินการ เลือกประธานเฉพาะคราวสำหรับการประชุมครั้งนั้น โดยให้นำความในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า วรรคหก วรรคเจ็ด และวรรคแปด มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนการลงคะแนนเลือกประธานเฉพาะคราว ให้กระทำเป็นการเปิดเผยตามข้อ ๖๘

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๒๒ ในการประชุมสภา ให้ที่ประชุมพิจารณาเฉพาะเรื่องที่มีอยู่ในระเบียบ วาระการประชุม และต้องดำเนินการพิจารณาตามลำดับระเบียบวาระการประชุมที่จัดไว้ เว้นแต่ที่ประชุมสภาจะลงมติเป็นอย่างอื่น

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๒๓ ผู้ใดประสงค์จะกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุมสภา ให้ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ และให้เจ้าหน้าที่บันทึกไว้ตามลำดับ เมื่อประธานอนุญาตแล้วจึงยืนขึ้นกล่าวได้ และต้องเป็น คำกล่าวกับประธานเท่านั้น

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๒๔ ถ้ารัฐมนตรีขอแถลงหรือชี้แจงเรื่องใดต่อที่ประชุมสภา ให้ประธาน พิจารณาอนุญาต

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

สมาชิกอาจซักถามเพื่อความกระจ่างแจ้งในเรื่องที่แถลงหรือชี้แจงนั้นก็ได้

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม ทิวา การกระสัง นะครับ คืออย่างนี้นะครับ ผมขอทบทวนในข้อ ๑๘ นะครับ ในข้อ ๑๘ เมื่อเทียบกับร่างข้อบังคับ การประชุม สนช. และจะมีข้อ ๓ ใช้คำว่า กระทู้ถาม ผมเข้าใจอยู่ว่าสภาเรานี้อาจจะ ไม่มีการกระทู้ถามในสภานะครับ ผมกลัวว่าจะมีปัญหาในช่วงที่กรรมาธิการยกร่าง ซึ่งจะต้องมาชี้แจงในแต่ละข้อนะครับ ในแต่ละข้อนี่ทางสมาชิกเราสามารถที่จะตั้งกระทู้ถาม ตรงนั้นได้หรือเปล่าครับ อันนี้ขอเหตุผลในข้อ ๑๘ ขอย้อนทบทวนนิดหนึ่งนะครับ ขอกราบขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญกรรมาธิการ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวนิช ต้นฉบับ

พลเอก เลิศรัตน์ครับ กราบเรียนท่านประธานครับ ในส่วนของกระทู้ถามเราไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการประชุม เพราะว่าก็คง ไม่มีการตั้งกระทู้ถามในสภาแห่งนี้นะครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไปได้นะครับ เชิญต่อครับ เชิญอาจารย์เจิมศักดิ์ครับ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม เจิมศักดิ์ครับ ผมยังไม่เข้าใจว่า เราจะใส่คำว่า กระทู้ถาม ไว้อยู่ในสภาแห่งนี้หรือเปล่า เพราะว่ากระทู้ถามมันเป็นการควบคุม การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นเควสชัน ไทม์ (Question time) ขออนุญาตใช้ภาษาอังกฤษ นิดหนึ่ง คือมันเป็นเรื่องที่ผู้แทนราษฎรเขาไล่ถามว่าทำไมถึงไปทำอย่างนั้น ทำไมถึงไปออก ข้อบังคับอย่างนี้ ทำไมฝ่ายรัฐบาลไปออกนโยบายอย่างนั้น แต่ว่าของเรามันใช่หรือเปล่า คือถ้าใส่เข้าไปเดี๋ยวก็จะมีสมาชิกขอกระทู้ถามอย่างที่ท่านเคยเห็นแล้ว ตอนแรกผมก็รู้สึก กระอักกระอ่วนที่บอกว่ากระทู้ถามไม่มี มันก็เหมือนกับกระตุ้นให้ผมพยายามจะคิด กระทู้ถามเหมือนกัน และมันไม่ใช่หน้าที่ของเราหรือเปล่า ฝากพิจารณานิดเถอะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เข้าใจว่า ทางกรรมาธิการตอบแล้วว่าไม่มีกระทู้ถามครับ เชิญครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนสั้น ๆ ท่านประธานครับ ผม เสรี กรรมาธิการ ก็คือเรียนอย่างนี้ว่าหน้าที่ของเรา จริง ๆ รัฐธรรมนูญก็เขียนให้คลุมหมดให้เอาของ สนช. มาใช้ แต่หน้าที่ของ สนช. เขามีหน้าที่ซักถามผู้บริหารประเทศอย่างที่ท่านสมาชิก ท่านได้พูดถึงนะครับ เพียงแต่ว่าเมื่อสักครู่ท่ำนสมาชิกได้ถามว่าถ้าเกิด กรรมาธิการยกร่างเขาเอาเรื่องเข้ามาแล้วสมาชิกจะตั้งกระทู้ถามกรรมาธิการยกร่าง ได้ไหมนะครับ จริง ๆ แล้วกระทู้ถามก็คือการถาม แล้วกรรมาธิการยกร่างเข้ามานี่นะครับ นำมาเสนอเรื่องสมาชิกก็มีหน้าที่พิจารณา เพราะเมื่อสมาชิกมีหน้าที่พิจารณา สมาชิกก็มีสิทธิจะซักถามได้นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไปได้นะครับ ยังมีสมาชิกยกมืออยู่ เชิญครับ

นายสยุมพร ลิ่มไทย ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ กระผม สยุมพร ลิ่มไทย ครับ คือผมว่าเรื่องนี้น่าจะมีคำตอบให้เป็นที่ชัดเจนไปเลย ผมได้ศึกษาดูรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยสรุปแล้วผมคิดว่าสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะให้สมาชิกตั้งกระทู้ถาม หรือยื่นกระทู้ถามครับ เพราะว่าการที่จะกำหนดไว้ในข้อบังคับว่าให้มีกระทู้ถามได้หรือไม่นั้น ก็คงจะต้องไปดูหมวดที่ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งผมก็ดูแล้วไม่มีข้อไหน ที่กำหนดให้สามารถตั้งกระทู้ถามได้นะครับ แต่ว่าไปกำหนดไว้ชัดเจนว่าให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติครับ ซึ่งทำหน้าที่ทั้งสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็วุฒิสภาในการที่จะ สามารถตั้งกระทู้ถามได้นะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องนี้น่าจะให้ชัดเจน คือที่ท่านกรรมาธิการบอกว่าไม่มีกระทู้ถามนั้น ผมอยากจะให้ตอบให้ชัดเลยว่าเราไม่สามารถ ที่จะตั้งกระทู้ถามได้ ปัญหานี้ก็จะจบไปนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณ คุณสยุมพร เป็นอันชัดเจนนะครับ จะข้ามประเด็นนี้ไป ต่อไปครับ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๒๕ ประธานมีอำนาจปรึกษาหารือที่ประชุมในปัญหาใด ๆ กำหนดวิธีการ ตรวจสอบองค์ประชุม สั่งพักการประชุม เลื่อนการประชุม หรือเลิกการประชุมได้ตามที่ เห็นสมควร

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ถ้าประธานสภาลงจากบัลลังก์โดยไม่ได้สั่งอย่างใด และไม่มีรองประธาน ปฏิบัติหน้าที่แทนให้เลิกการประชุม

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๒๖ รายงานการประชุม เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติตรวจแล้ว ก่อนที่จะเสนอให้สภารับรอง ให้ทำสำเนาวางไว้สามฉบับ รวมถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ณ ที่ซึ่งสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎรได้ประกาศกำหนดไว้ ไม่น้อยกว่าสามวัน เพื่อให้สมาชิกตรวจดูได้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

รายงานการประชุมทุกครั้งจะต้องมีรายชื่อสมาชิกที่มาประชุม ที่ลาการประชุม ที่ขาดการประชุม บันทึกผลการแสดงตน และบันทึกการออกเสียง ลงคะแนนโดยเปิดเผยซึ่งปรากฏรายชื่อสมาชิก

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

สมาชิกมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมรายงานการประชุมดังกล่าวให้ตรงตามที่ เป็นจริงโดยยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ถ้าคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ยอมแก้ไข เพิ่มเติมให้ตามที่ขอ สมาชิกผู้นั้นมีสิทธิที่จะยืนยันคำขอแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อขอให้สภาวินิจฉัย

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๒๗ ในการตรวจรายงานการประชุมครั้งใด ถ้ามีผู้ใดกล่าวถ้อยคำ หรือข้อความใด ๆ และได้มีการถอนหรือถูกสั่งให้ถอนถ้อยคำหรือข้อความนั้นแล้ว ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาว่าสมควรจะตัดถ้อยคำ หรือข้อความดังกล่าวออกหรือไม่ ถ้าเห็นสมควรให้ตัดออก ให้บันทึกว่า “มีการถอนคำพูด” หรือ “ถูกสั่งให้ถอนคำพูด” แล้วแต่กรณี ไว้ในรายงานการประชุมสภาครั้งนั้น ส่วนถ้อยคำ หรือข้อความที่ตัดออก ให้บันทึกไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วย

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ กรรมาธิการครับ มีนิดเดียวครับ ในบรรทัดที่ ๔ หรือ “ถูกสั่งให้ถอนคำพูด” แล้วแต่กรณี ไว้ในรายงานการประชุมสภา ขออนุญาตตัดคำว่า สภา ออก การประชุมครั้งนั้น เพราะว่ารายงานการประชุมที่ใช้มาในข้อ ๒๖ ไม่ได้ต่อท้ายด้วยคำว่า สภา คือเป็นที่เข้าใจกัน อยู่แล้ว ก็ขอขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ไปต่อได้ครับ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๒๘ รายงานการประชุมครั้งใด เมื่อได้วางสำเนาไว้เพื่อให้สมาชิก ตรวจดูแล้ว ถ้ามีการแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลังโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติแก้ไขเพิ่มเติมเองหรือโดยสมาชิกขอแก้ไขเพิ่มเติมก็ตาม ในคราวที่สภาพิจารณา รับรองรายงานการประชุมนั้น คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติจะต้อง แถลงต่อที่ประชุมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๒๙ เมื่อสภาได้รับรองรายงานการประชุมครั้งใดแล้ว ให้ประธานสภา ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

รายงานการประชุมที่ได้รับรองแล้ว แต่ประธานสภายังไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ เป็นหลักฐาน หรือรายงานการประชุมที่ยังมิได้มีการรับรองเพราะเหตุที่สภาสิ้นสุดลง หรือเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ ให้เลขาธิการบันทึกเหตุนั้นไว้ และเป็นผู้รับรอง ความถูกต้องของรายงานการประชุมนั้น

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๓๐ สภาอาจมีมติไม่ให้จดรายงานการประชุมลับครั้งใดทั้งหมด หรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้ แต่ให้มีบันทึกเหตุการณ์ไว้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๓๑ การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาและเสนอความเห็นเพื่อให้สภามีมติว่าจะเปิดเผยหรือไม่

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๓๒ สภาอาจมีมติห้ามโฆษณาข้อความอันเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดินที่ได้กล่าวหรือปรากฏในการประชุมก็ได้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๓๓ ในกรณีที่สมาชิกกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมที่มีการถ่ายทอด ทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ อันอาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรี หรือสมาชิกได้รับความเสียหาย บุคคลนั้นมีสิทธิร้องขอต่อประธานสภาภายในกำหนดเวลา สามเดือนนับแต่วันที่มีการประชุมครั้งนั้น เพื่อให้มีการโฆษณาคำชี้แจง

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การยื่นคำร้องต้องทำเป็นหนังสือพร้อมคำชี้แจงประกอบข้อเท็จจริง อย่างชัดเจนและอยู่ในประเด็นที่ผู้ร้องอ้างว่าก่อให้เกิดความเสียหายเท่านั้น

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๓๔ ให้เป็นอำนาจของประธานสภาที่จะวินิจฉัยว่าคำร้องและคำชี้แจง ที่ผู้ร้องกล่าวอ้างมานั้นเป็นไปตามข้อ ๓๓ หรือไม่

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้ประธานสภาวินิจฉัยคำร้องและคำชี้แจงให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่ประธานสภาวินิจฉัยว่าคำร้องและคำชี้แจงไม่เป็นไปตามข้อ ๓๓ ให้ยกคำร้องเสียและแจ้งให้ผู้ร้องทราบ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คำวินิจฉัยของประธานสภาให้ถือเป็นเด็ดขาด

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ประธานสภาได้วินิจฉัยว่าคำร้องและคำชี้แจงเป็นไปตาม ข้อ ๓๓ ให้ประธานสภาจัดให้มีการโฆษณาโดยวิธีปิดประกาศคำชี้แจงไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ไว้ ณ บริเวณสภาที่ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ และโฆษณาโดยวิธีการอื่นตามที่ ประธานสภาเห็นสมควร

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๓๖ เมื่อประธานสภาดำเนินการตามข้อ ๓๕ แล้วให้แจ้งผู้ร้อง ผู้กล่าวถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และที่ประชุมสภารับทราบในโอกาสแรก ที่มีการประชุม

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๓๗ ให้เลขาธิการเป็นผู้พิมพ์และโฆษณารายงานการประชุม ทั้งนี้ นอกจากรายงานการประชุมลับที่สภามีมติไม่ให้เปิดเผย

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญต่อ ส่วนที่ ๒ ครับ เชิญครับ

นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ขออนุญาตยกเป็นประเด็นขึ้นมาสอบถามนะครับว่า ผู้ร่างได้คำนึงถึง เรื่องของการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต (Internet) บ้างไหมครับ เช่น โพสต์ (Post) เข้าไปใน เว็บไซต์ (Web site) แล้วก็อาจจะมีการเผยแพร่ลักษณะนั้น เพราะฉะนั้นประเด็นต่าง ๆ ที่ร่างมานี้เข้าใจว่าครอบคลุมเฉพาะเรื่องของวิทยุกระจายเสียงกับโทรทัศน์เท่านั้น

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญกรรมาธิการ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ กรรมาธิการครับ ต้องขออภัยท่านสมาชิกครับ พยายามฟังแล้วแต่ฟังท่านไม่รู้เรื่องเลย ท่านพูดใหม่ได้ไหมครับ อาจจะพูดใกล้ไมโครโฟน (Microphone) แล้วก็พูดช้านิดหนึ่งครับ

นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ต้องขออภัยครับที่อาจจะพูดเร็วไป คือในหมวดนี้ท่านพูดถึงเรื่องของ การเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ แต่ปัจจุบันนี้เราก็ทราบดีครับว่า การเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต โดยโพสต์เข้าไปในเว็บไซต์ก็จะเกิดขึ้นได้อย่างดาษดื่น เพราะฉะนั้นสิ่งที่ท่านเขียนมาทั้งหมดนี้ อยากจะขอความชัดเจนครับว่า ท่านได้คำนึงแล้วก็ ครอบคลุมถึงเรื่องของการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตด้วยหรือเปล่าครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ขอบพระคุณท่านประธานครับ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ในข้อที่ท่านสมาชิกได้กรุณากล่าวถึงนี้ ถ้าเราดู ในข้อ ๓๓ ในกรณีที่สมาชิกกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ อันอาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่น เพราะฉะนั้นประเด็นจึงอยู่ที่ว่าเป็นการกล่าว ในที่ประชุม แล้วก็ถ่ายทอดออกไปทางวิทยุและโทรทัศน์ ก็มิได้รวมถึงถ้าจะมีคนเอาไปเขียน นี่นะครับ ไปโพสต์ลงในออนไลน์ (Online) หรือในสื่อใดก็แล้วแต่ อันนั้นก็ต้องไปว่าถึง ผู้ที่นำไปโพสต์ลงต่อไปนะครับ ที่เรารับผิดชอบหรือเป็นเรื่องที่เขียนอยู่ในส่วนนี้ของหมวด ก็จะเกี่ยวข้องเฉพาะที่มีการถ่ายทอดออกไปทางวิทยุและทางโทรทัศน์เท่านั้นครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ชัดเจนนะครับ เชิญครับ

นายนิพนธ์ นาคสมภพ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม นิพนธ์ นาคสมภพ ผมคิดว่าการแพร่กระจายออกไปไม่ใช่เฉพาะทางวิทยุหรือโทรทัศน์ ขณะที่เราพูดนี้อาจจะ มีการแพร่ไปทางอื่นได้ด้วย เพราะฉะนั้นขอให้เปลี่ยนวิทยุโทรทัศน์เป็นถ่ายทอดทางภาพ และเสียงครับ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญคุณเสรีครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการนะครับ ที่ท่านพูดถึงสื่ออื่น ๆ นี่นะครับ ถ้าดูข้อ ๒๖ ระบุเรื่อง รายงานการประชุม เมื่อกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติตรวจสอบแล้ว ก่อนที่จะเสนอสภารับรองให้ทำสำเนาไว้สามฉบับ และในข้อบังคับนี้ก็รวมถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นนะครับ อันนี้ก็พยายามไม่ให้ มันกว้างขวางอีกทางหนึ่งด้วยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ยังติดใจ อยู่ไหมครับ เชิญครับ

นางสุกัญญา สุดบรรทัด ต้นฉบับ

สุกัญญา สุดบรรทัด ค่ะ สมาชิกสภาปฏิรูป กราบเรียนท่านประธาน ในข้อ ๓๓ นี้ดิฉันเห็นด้วยกับคุณนิพนธ์นะคะว่าในขณะที่ที่ประชุม มีการถ่ายทอดสดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ในขณะเดียวกันมันก็เกาะไปตาม ช่องทางสื่อสารอื่นด้วย โดยที่มีการเกาะไปตามเคเบิ้ลทีวี (Cable TV) หรือวิทยุโทรทัศน์ ออนไลน์ซึ่งมีอยู่มากมายในขณะนี้ เพราะฉะนั้นถ้าระบุไว้แค่ว่า มีการถ่ายทอด ทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมดก็ได้ ก็เลยอยากจะเสนอ ตรงนี้ ขอถามความเห็นของคณะกรรมาธิการว่าถ้าเราเติมอย่างนี้นะคะ ที่มีการถ่ายทอด ทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ หรือช่องทางสื่อสารอื่น จะได้หรือไม่คะ จะครอบคลุมทั้งหมดค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญกรรมาธิการครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ที่ท่านสมาชิกเสนอก็คิดว่ารับได้ครับ เพิ่มคำว่า หรือช่องทางสื่อสารอื่น ต่อจากคำว่า วิทยุโทรทัศน์ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญอาจารย์ดุสิตครับ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

กระผม ดุสิต เครืองาม ครับ ผมขออนุญาตเรียนถาม ในหัวข้อ ๓๓ และข้อ ๓๕ ครับท่านประธานครับ ในข้อ ๓๓ เขียนไว้บอกว่า ในกรณีที่สมาชิก กล่าวถ้อยคำ จุด จุด จุด เป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกได้รับความเสียหาย แล้วก็บอกว่า บุคคลนั้นมีสิทธิที่จะร้องขอต่อประธานสภาเพื่อให้มีการโฆษณาคำชี้แจง แล้วก็ต่อไปที่ข้อ ๓๕ บอกว่า เมื่อท่านประธานวินิจฉัยแล้วให้ประธานสภาจัดให้มีการโฆษณา และโฆษณาด้วยวิธีการอื่นตามที่ประธานสภาเห็นสมควร ผมขอกราบเรียนถามว่า เมื่อท่านประธานสภาวินิจฉัยแล้วว่าจะต้องมีการชี้แจง ทั้ง ๆ ที่สมาชิกบางท่านเป็นผู้กล่าว ข้อความอันทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย แต่ว่าเมื่อมาอ่านในหัวข้อที่ ๓๓ และ ๓๕ กลายเป็นบอกว่าให้ประธานจัดให้มีการโฆษณา และบอกว่าให้ประธานพิจารณาการโฆษณา ด้วยวิธีการอื่น ตกลงว่าความรับผิดชอบอยู่ที่ท่านประธานสภาหรือว่าอยู่ที่สมาชิกที่กล่าว ข้อความทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายครับ ผมคิดว่าข้อความในข้อ ๓๓ กับข้อ ๓๕ ยังไม่ชัดเจนพอครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญกรรมาธิการ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ คือจริง ๆ ในเรื่องของความรับผิดชอบนี่นะครับต้องกราบเรียนว่า ถ้าหากว่าเป็นรัฐมนตรีมาประชุมด้วย หรือสมาชิกพูดกันในห้องประชุมกันเอง ในรัฐธรรมนูญ ก็ให้เป็นเอกสิทธิ์ในการที่ท่านจะไปฟ้องร้องกันไม่ได้ ทีนี้ถ้าเกิดว่าท่านพูดไปแล้ว มีการถ่ายทอดไปข้างนอกแล้วเกิดบุคคลอื่นเขาเสียหายนี่นะครับ มันก็จะมีความรับผิดชอบ ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งก็คือสภาต้องรับผิดชอบ ถ้าสภารับผิดชอบ เขาร้องขอที่ท่านประธาน ท่านประธานก็คือต้องมาแก้ไขปัญหาให้ก็คืออาจจะประกาศขอโทษ ประกาศอะไรเพื่อแสดง ความเป็นจริง อันนี้คือความรับผิดชอบส่วนของสภา แต่ส่วนอีกส่วนหนึ่งที่ท่านต้อง รับผิดชอบส่วนตัว เขาอาจจะไปฟ้องดำเนินคดีข้อหาท่านหมิ่นประมาท ถ้าผ่านอินเทอร์เน็ต ก็อาจจะไปเรื่องของพระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเรื่องเขาเสียหาย เขาเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง อันนี้คือค่าเสียหายที่ไปกระทบให้คนอื่นข้างนอกเขาเสียหาย ก็แบ่งเป็น ๒ ส่วน ของสภาที่ต้องแก้ไขปัญหากับที่เขาไปฟ้องคดีต่อศาลเองครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

อาจารย์ พยักหน้าใช้ได้แล้ว โอเคต่อเลยครับ ส่วนที่ ๒

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๒

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การเสนอญัตติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

__________

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๓๘ ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานสภา และต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๓๙ ญัตติที่เสนอต่อสภาเพื่อพิจารณา ต้องเป็นญัตติที่เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของสภาเท่านั้น

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔๐ ให้เป็นอำนาจของประธานสภาที่จะวินิจฉัยว่าญัตติใดเป็นญัตติที่ เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสภาหรือไม่ และเมื่อวินิจฉัยแล้วหากเป็นญัตติที่ไม่เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของสภา ให้แจ้งผู้เสนอญัตติทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานสภาวินิจฉัย

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานีครับ ต้องขออนุญาตสักนิดหนึ่ง เนื่องจากว่าที่มา ในการทำหน้าที่ของผมนั้นคือการรับฟังเสียงประชาชนที่จะเข้าสู่รัฐธรรมนูญนะครับ จึงต้องกราบเรียนที่มา มิใช่ว่าเป็นนักการเมืองหรืออะไร ข้อ ๔๐ นะครับ เป็นกรณีที่ดูเสมือนว่า จะให้อำนาจท่านประธานเป็นการเด็ดขาด ซึ่งตรงนี้ด้วยความเคารพจริง ๆ ผมก็เชื่อมั่นในตัว ท่านประธาน ท่านรองประธานที่จะวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องอยู่แล้ว แต่ในขณะเดียวกันครับ มันเคยมีในอดีตที่ผ่านมาไม่นานมานี้นะครับ ซึ่งเกิดข้อโต้เถียงเกี่ยวกับเรื่องข้ออำนาจ หรือการวินิจฉัยของท่านประธานสภา เป็นประธานสภาอื่น ไม่ใช่ประธานสภานี้ ว่าจะทำให้เกิดกรณีที่จะใช้คำว่า ตัดตอน หรือว่าจะใช้คำว่า กีดกัน ถ้าหากว่าเกิดกรณีนั้น แต่ว่าผมเชื่อว่าท่านประธานไม่เป็นแน่ แต่อย่างไรก็ตามครับ เมื่อข้อบังคับอยากจะให้ สมบูรณ์ ใคร่จะขอว่าถ้าหากว่าสมาชิกผู้นั้นนี่นะครับ ถ้าไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยนะครับ หรือท่านประธาน ๑. ก็คือว่าถ้าหากท่านประธานไม่ยอมวินิจฉัยนะครับ ก็ไม่ทราบว่าเมื่อไร จะได้คำตอบ นี่ประการที่ ๑ ประเด็นแรกก็คืออยากให้มีกำหนดเวลา เมื่อท่านประธาน วินิจฉัยแล้วเห็นว่าก็ไม่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ อยากจะให้สมาชิกผู้นั้นนี่นะครับ ส่งไปที่ คณะกรรมการประสานงานประจำสภาวินิจฉัยอีกสักครั้งนะครับ แล้วคำวินิจฉัยนี้เป็นอันที่ สิ้นสุดนะครับ ก็จะได้หายคาใจกัน ผมขอกราบเสนอข้อคิดเห็นไว้แค่นี้ครับ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ กรรมาธิการจะมีความเห็นไหมครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ที่เสนอให้ส่งกลับไปกรรมาธิการกิจการสภาหรืออย่างไรครับ หรือตั้งกรรมาธิการขึ้นมาใหม่ครับเรียนถามผู้อภิปรายนิดหนึ่ง จะให้ตั้งกรรมาธิการ ขึ้นมาใหม่พิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะหรือให้ส่งกลับไปที่คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภา ปฏิรูปแห่งชาติ

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ท่านประธาน กรรมาธิการครับ คือผมคิดว่าของเรามีคณะกรรมาธิการประสานงานอยู่แล้ว ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒินะครับ เมื่อท่านประธานถึงแม้จะเป็นประธานในกรรมาธิการชุดนั้นก็จริง แต่ว่าอำนาจตรงนี้เป็นอำนาจของท่านประธานแต่ผู้เดียว แต่ถ้าหากว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยจะขอ ยืนยันว่าขอให้หลาย ๆ คนช่วยพิจารณาอีกสักครั้งนะครับ จะได้มีความสมบูรณ์ขึ้นนะครับ นิดเดียวครับ เพราะว่าจะได้มีทางออก แต่ถ้าหากว่าคณะกรรมาธิการประสานงานตรงนี้ มีคำวินิจฉัยอย่างไรแล้ว ผมว่าสมาชิกที่ยื่นญัตติก็น่าจะยุติได้นะครับ ไม่คาใจกันอีก ขอขอบพระคุณครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการนะครับ กราบเรียนท่านประธานคือในข้อ ๓๙ และข้อ ๔๐ โยงกันอยู่นี่ แล้วผมก็ เชื่อว่าท่านประธานก็คงจะสามารถวินิจฉัยได้ว่าญัตติที่สมาชิกเสนอ และท่านประธานเอง ก็มีคณะทำงาน มีที่ปรึกษาอยู่ทั้งที่แต่งตั้งตามระเบียบของสภาอยู่แล้ว ผมคิดว่า น่าจะสามารถวินิจฉัยได้ ก็คงจะขอยืนยันตามข้อ ๓๙ และข้อ ๔๐ นี้ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ได้นะ ท่านโกวิท เชิญครับ

นางเตือนใจ สินธุวณิก ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานค่ะ ดิฉัน เตือนใจ สินธุวณิก ขออนุญาตกราบเรียนว่าดิฉันเห็นด้วยกับท่านประธานกรรมาธิการนะคะ เนื่องจากว่า ท่านประธานสภาเองนั้นเป็นผู้ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมาทำหน้าที่นี้ อันทรงเกียรติค่ะ ดิฉันเชื่อมั่นว่าสมาชิกทุกท่านเชื่อมั่นในตัวท่านประธานว่าท่านมีวินิจฉัย ที่ถูกต้อง ดังนั้นสิ่งใดที่เป็นอำนาจหน้าที่ของท่านที่ท่านวินิจฉัยในญัตติต่าง ๆ นั้น ดิฉันเห็นว่าเป็นการสมควรแล้วที่จะยุติ ณ การวินิจฉัยของท่านประธานโดยที่ไม่ต้องลงไปที่ คณะกรรมการย่อยอีก เพราะมิฉะนั้นคณะกรรมการย่อยนั้นก็จะเป็นคณะกรรมการที่เหมือน มีอำนาจหน้าที่มากกว่าการวินิจฉัยของท่านประธาน ซึ่งอันนี้ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรค่ะ ขออนุญาตกราบเรียนด้วยความเคารพค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

น่าจะไปได้นะครับ ต่อเลยครับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔๐ วรรคสอง

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้ประธานสภาบรรจุญัตติที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสภาตามวรรคหนึ่ง เข้าระเบียบวาระการประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานสภาวินิจฉัย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔๑ ญัตติขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาคณะใดคณะหนึ่ง หรือญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา ถ้าสมาชิก เป็นผู้เสนอต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ญัตติตามวรรคหนึ่ง กรณีขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญแล้วแต่กรณีนั้น จะต้องระบุกิจการหรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำ หรือซ้อนกัน และจะต้องไม่ซ้ำหรือซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาคณะต่าง ๆ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้เป็นอำนาจของประธานสภาที่จะวินิจฉัยว่าญัตติใดเป็นญัตติตามวรรคสอง หรือไม่ และเมื่อวินิจฉัยแล้วให้แจ้งผู้เสนอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานสภาวินิจฉัย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔๒ ญัตติต่อไปนี้ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) ขอให้ปรึกษาเป็นเรื่องด่วน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) ขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) ขอให้ลงมติตามข้อ ๓๐ หรือข้อ ๓๒

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๔) ญัตติในข้อ ๔๓ ข้อ ๖๗ ข้อ ๖๘ ข้อ ๖๙ ข้อ ๑๒๖ หรือข้อ ๑๓๑ วรรคสอง

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๕) ญัตติที่ประธานอนุญาตตามที่เห็นสมควร

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔๓ เมื่อที่ประชุมกำลังพิจารณาญัตติใดอยู่ ห้ามเสนอญัตติอื่นขึ้นมา พิจารณา เว้นแต่ญัตติ ดังต่อไปนี้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) ขอให้รวมระเบียบวาระการประชุมที่เป็นเรื่องเดียวกัน ทำนองเดียวกัน หรือเกี่ยวเนื่องกันเพื่อพิจารณาพร้อมกัน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) ขอให้ส่งปัญหาไปยังคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณา หรือขอให้บุคคลใด ส่งเอกสารหรือมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) ขอให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณาหรือลงมติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๔) ขอให้เลื่อนการปรึกษาหรือพิจารณา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๕) ขอให้ปิดอภิปราย ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงผู้ยังไม่ได้อภิปรายด้วย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๖) ขอให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ญัตติตาม (๒) (๔) (๕) หรือ (๖) เมื่อที่ประชุมลงมติเห็นชอบตามที่เสนอแล้ว ห้ามไม่ให้เสนอญัตติอื่นในข้อนี้อีก

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔๔ ญัตติตามข้อ ๔๓ (๕) และ (๖) ห้ามเสนอในคราวเดียวกับ การอภิปรายของตน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔๕ ในกรณีที่ที่ประชุมลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณา ให้ญัตติเดิมเป็นอันตกไป

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔๖ ญัตติที่เสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ผู้เสนอและผู้รับรองต้องลงลายมือชื่อ ในญัตตินั้น

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔๗ ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ให้ผู้รับรองแสดงการรับรอง โดยวิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔๘ การแก้ไขเพิ่มเติมญัตติหรือการถอนญัตติที่ประธานสภาสั่งบรรจุ ระเบียบวาระการประชุมและได้ส่งให้สมาชิกแล้ว จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอม ของที่ประชุมสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๔๙ การถอนคำแปรญัตติจะกระทำเมื่อใดก็ได้ แต่การขอแก้ไขเพิ่มเติม คำแปรญัตติจะกระทำได้เฉพาะภายในกำหนดเวลาแปรญัตติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๕๐ การถอนชื่อจากการเป็นผู้ร่วมกันเสนอญัตติใด หรือจากการเป็น ผู้รับรอง จะกระทำได้เฉพาะก่อนที่ประธานสภาสั่งบรรจุญัตตินั้นเข้าระเบียบวาระ การประชุม ในกรณีที่ประธานสภาสั่งบรรจุญัตตินั้นเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว จะถอนชื่อได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของที่ประชุมสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๕๑ ญัตติใดถึงวาระพิจารณาในที่ประชุมแล้ว การเสนอญัตติซึ่งมีลักษณะ ทำนองเดียวกันจะกระทำมิได้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ญัตติหรือคำแปรญัตติใดถึงวาระพิจารณาในที่ประชุมแล้ว ถ้าผู้เสนอญัตติ หรือผู้แปรญัตติไม่ชี้แจงในที่ประชุม หรือผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติไม่อยู่ในที่ประชุม โดยไม่มีผู้ชี้แจงแทนในฐานะผู้รับมอบหมาย ญัตติหรือคำแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไป เว้นแต่ ที่ประชุมสภาจะพิจารณาเห็นเป็นอย่างอื่น

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การมอบหมายให้ชี้แจงแทนต้องมอบแก่สมาชิกและทำเป็นหนังสือยื่นต่อ ประธานสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๕๒ ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามมิให้นำญัตติซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน ขึ้นเสนออีก เว้นแต่ประธานสภาจะอนุญาตในเมื่อพิจารณาเห็นว่าพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายพงศ์โพยม วาศภูติ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพงศ์โพยม วาศภูติ สมาชิก สปช. ขณะนี้เรากำลังจะเข้าสู่ส่วนที่ ๓ เรื่องของการอภิปราย ซึ่งกระผมก็มีความวิตก เนื่องจากได้เคยเห็นภาพของสภาฝ่ายการเมืองที่ใช้ญัตติและ การอภิปรายเป็นเครื่องมือ แทนที่จะเป็นเครื่องมือที่นำประโยชน์สู่กิจการสภาอันเป็น ประโยชน์ต่อบ้านเมือง กลับใช้เครื่องมือของการอภิปรายนี้ในการกีดกัน ในการปิดปาก ในการถ่วงเวลา ในการสร้างความวุ่นวาย ซึ่งพวกเราก็ได้เห็นภาพนี้ไปเมื่อไม่นานมานี้ ฉะนั้น กระผมก็อยากจะขอวิงวอนเพื่อนสมาชิก สปช. ว่าในส่วนของการอภิปรายนี้ที่ทาง ท่านเลขาธิการจะได้อ่านต่อไปนี้ อยากให้พวกเราได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษครับ เพื่อจะช่วยกันสร้างบรรยากาศของสภานี้ไม่ให้เป็นสภาของความวุ่นวายเหมือนกับ ฝ่ายการเมืองที่เขาได้ทำให้เราดู หลายท่านอาจจะบอกว่าเราเป็นสภาด้านความคิด เป็นสภาเสนอแนะ มันคงไม่วุ่นวายอย่างนั้น ผมไม่แน่ใจครับท่านประธาน เพราะว่าอย่าลืมว่า เมื่อพูดถึงการปฏิรูป การปฏิรูปคือการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงขนานใหญ่นะครับ ซึ่งรองจาก การปฏิวัติเท่านั้นเอง ดังนั้นผมเชื่อแน่ว่าเมื่อเข้าสู่ข้อบังคับนี้ผ่านไปแล้วมีการตั้งกรรมาธิการ จะสามัญหรือวิสามัญอะไรก็ตามเพื่อจะนำเสนอข้อคิดเห็นในกลุ่ม แล้วก็มาเสนอสภานี้ เพื่อจะเสนอต่อไปยัง สนช. คณะรัฐมนตรี หรือ คสช. ก็ดีนั้น คงจะต้องมี หลายกรรมาธิการหรือหลายข้อเสนอ ผมเชื่อว่าจะมีการเสนอที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ขนานใหญ่ครับท่าน คงไม่ใช่การปะผุซ่อมแซมเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนั้นเมื่อมีการเสนอข้อเสนอ ที่เปลี่ยนแปลงขนานใหญ่นี้ ผมก็เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่ออำนาจหน้าที่ โครงสร้างขององค์กร ภาครัฐ หรือระบบของเศรษฐกิจ การเมือง สังคมอะไรที่เราหวังว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลง ในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้คงจะมีทั้งที่เป็นบวกและเป็นลบกับองค์กรข้างนอก พวกเราที่อยู่ใน สภานี้อาจจะมีคนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แต่แน่นอนข้างนอกครับ จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีผลกระทบในเชิงที่อาจจะเป็นลบกับเขา ดังนั้นการเอาชนะคะคานกันด้วยการอภิปรายก็ดี การเสนอญัตติก็ดี ท่านประธานสภาจะได้เห็นแน่นอนครับหลังจากนี้นะครับ แต่ผมก็หวังว่า บรรยากาศของการประชุมของพวกเราจะเป็นไปแบบกัลยาณมิตรนะครับ เอาชนะกัน ด้วยเหตุด้วยผล เอาชนะกันด้วยใจ ด้วยตรรกะที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ดังนั้นท่านประธานสภาครับ ผมกราบเรียนพวกเราว่าอยากให้ความสำคัญหน่อยในส่วนนี้ รวมทั้งเรื่องของญัตติที่ผ่านไปแล้วด้วยว่ามันจะเป็นอย่างไร เพราะว่าก็ไม่อยากเห็น ความวุ่นวายเกิดขึ้นครับ ผมอาจจะวิตกไปเกินกว่าที่ควรหรือเปล่า ก็ต้องขออภัยด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับผม

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญครับ

นายชาลี เจริญสุข ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ชาลี เจริญสุข สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๕๙ นะครับ ที่ต้องบอกหมายเลข ๕๙ เพราะว่า บางท่านขึ้นพูดถ้าไม่บอกหมายเลขเราจะไม่รู้ตำแหน่งนะครับ อันนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งอยากจะ เหมือนกับถ่ายทอดความรู้สึกให้กับท่านประธานและท่านมวลสมาชิกว่าหมายเลข ก็มีความสำคัญ เราจะได้รู้ตำแหน่งของท่าน อยู่หน้า กลาง หลัง ผม ชาลี เจริญสุข สปช. ก่อนที่จะไปหมวดอื่นผมในฐานะของสมาชิกใหม่เลย ผมดูทุกหมวดแล้วอยากเรียนถาม กรรมาธิการนะครับว่า อย่างกรณีหลายเรื่องที่ไม่ได้เขียนไว้ในข้อบังคับในกรรมาธิการนี้ อย่างเช่น เรื่องของการลาของสมาชิก หรือว่าการหยุดนี่จะหยุดได้ประมาณไหน ซึ่งก็เป็น เรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นเรื่องที่เราต้องมาปฏิรูปกัน ก็คือเรื่องของความโปร่งใสในการทำงาน ว่าได้รับเกียรติมากินเงินภาษีของประชาชนแล้วทำงานกันเต็มที่หรือเปล่า มีโอกาสที่จะได้ ลาหยุดได้แค่ไหน อันนี้ก็จะต้องไปใช้ข้อบังคับหมวดไหน หรือว่าใช้หมวดเกี่ยวกับข้อบังคับ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือเปล่า เพราะมีอีกหลายหมวดซึ่งสมาชิกใหม่หลายท่านก็ยัง ไม่ค่อยทราบ อย่างเช่น การแต่งกายก็เช่นกันนะครับ ที่จะใช้การแต่งกายเครื่องแบบปกติขาว อย่างนี้เป็นต้นนะครับ อันนี้ก็เรียนถามให้กรรมาธิการตอบ หรือผู้รู้ตอบให้สมาชิกใหม่ ได้ทราบครับ ขอบพระคุณครับ

นายชาลี เจริญสุข ต้นฉบับ

ขออีกเรื่องหนึ่งนะครับ สุดท้ายก็ขอขอบคุณท่านประธานสภาปฏิรูปที่ได้เป็น เจ้าภาพสวดอภิธรรมศพคุณแม่ผมเมื่อคืนที่ผ่านมา พร้อมทั้งรองประธานสภาปฏิรูป และท่านสมาชิก พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ จริง ๆ ส่วนที่ ๓ เรื่องอภิปรายนี้ที่คุณพงศ์โพยมได้ยกก็เพื่อเตือนว่าช่วยกันดูนะ เพราะฉะนั้น สมาชิกช่วยกันดูหน่อยนะครับหมวดนี้ เชิญท่านเลขาธิการอ่านได้ครับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๓

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การอภิปราย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

_________

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๕๓ ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อนคือผู้เสนอญัตติ แต่ถ้าผู้เสนอญัตติมีหลายคน ให้ประธานอนุญาตให้ใช้สิทธิอภิปรายก่อนได้เพียงคนเดียว

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

กรรมาธิการซึ่งได้สงวนความเห็น กรรมาธิการผู้รับมอบหมายจากกรรมาธิการ ซึ่งได้สงวนความเห็น ผู้แปรญัตติซึ่งได้สงวนคำแปรญัตติ หรือสมาชิกผู้รับมอบหมายจาก ผู้แปรญัตติซึ่งได้สงวนคำแปรญัตติไว้ในขั้นคณะกรรมาธิการให้มีฐานะเสมือนเป็นผู้แปรญัตติด้วย

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ขออนุญาตปรับนิดหนึ่ง พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ในวรรคสองของข้อ ๕๓ ในประโยคสุดท้ายเลย คณะกรรมาธิการให้มีฐานะเสมือนเป็นผู้เสนอญัตติด้วย พิมพ์ผิดนะครับ จาก แปร เปลี่ยนเป็น ผู้เสนอญัตติด้วย ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เพราะฉะนั้น ในบรรทัดสุดท้ายที่เขียนว่า คณะกรรมาธิการให้มีฐานะเสมือนเป็นผู้แปรญัตติด้วย ให้เปลี่ยนเป็น คณะกรรมาธิการให้มีฐานะเสมือนเป็นผู้เสนอญัตติด้วย ถูกไหมครับ เชิญต่อเลยครับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๕๔ เมื่อผู้อภิปรายก่อนตามข้อ ๕๓ ได้อภิปรายแล้ว การอภิปราย ในลำดับต่อไปจะต้องเป็นการอภิปรายสลับกันระหว่างฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุน เว้นแต่ในวาระของฝ่ายใดไม่มีผู้อภิปราย อีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การอภิปรายไม่สนับสนุนและไม่คัดค้านย่อมกระทำได้โดยไม่ต้องสลับ และมิให้นับเป็นวาระอภิปรายของฝ่ายใด

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

อาจารย์เจิมศักดิ์ครับ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ท่านประธานครับ ผมเข้าใจดีว่าการที่ให้อภิปรายสลับกันจะได้ไม่ได้ข้อมูลด้านเดียว เป็นระยะเวลานาน ก็ควรจะต้องสลับ แต่มันมีปัญหาว่าเราไม่มีฝ่ายที่ชัดเจน ไม่มีฝ่ายสนับสนุน ไม่มีฝ่ายค้าน และในสภาเดิมเขาจะนั่งแยกกัน ฝ่ายสนับสนุนนั่งปีกหนึ่ง ฝ่ายค้านนั่งอีกปีกหนึ่ง ท่านประธานก็ง่ายในการที่จะชี้ ตกลงเวลาปฏิบัติมันจะทำอย่างไร ท่านประธานก็ต้องเดาว่าใครเห็นด้วย ใครไม่เห็นด้วย หรือไม่เช่นนั้นท่านประธานก็ต้อง เสียเวลา ผมเคยดำเนินการในลักษณะนี้ ต้องถามก่อนว่าในเรื่องนี้สมาชิกใครค้านบ้าง สมาชิกใครเห็นชอบเบื้องต้นบ้าง แล้วก็กลายเป็นว่าต้องมานั่งจำที่จะต้องชี้ไปชี้มา ไม่อย่างนั้นก็อาจจะผิดข้อบังคับ ผมก็คิดว่าอันนี้จะทำอย่างไรในทางปฏิบัติ และบอกว่า คนที่อภิปรายไม่สนับสนุนและไม่คัดค้านย่อมกระทำได้โดยไม่ต้องสลับ ทุกคนก็จะพูด ๒ ด้าน แล้วก็บอกว่าผมเองก็ไม่รู้ว่าสนับสนุนหรือคัดค้าน ตกลงก็อยู่ตรงไหนก็ได้ ตรงนี้จำเป็นไหมครับ ถามท่านกรรมาธิการด้วยครับ เราไม่ได้เอาแพ้เอาชนะกัน ถามว่า มันจำเป็นไหมที่สำหรับสภาทางวิชาการ มันจำเป็นที่จะต้องรู้ก่อนไหมว่าใครเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบแล้วก็สลับกัน

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ ท่านเสรี

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ ในเรื่องการอภิปรายจริง ๆ แล้วก็คงต้องฟังทั้ง ๒ ด้าน ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรนั้น ในทางปฏิบัติท่านประธานถ้าเห็นมีสมาชิกยกมือจำนวนมาก ท่านประธานก็สามารถจะถามก่อนได้ว่าใครเห็นด้วยก็ให้ยกมือให้ปรากฏ ใครไม่เห็นด้วย ก็ยกมือให้ปรากฏ ถ้าหากว่ามีด้านเดียวฝ่ายเดียวก็ไม่ต้องสลับนะครับ มันก็จะเป็น ความเป็นธรรม และมันก็จะทำให้สมาชิกฟังได้ทั้ง ๒ ด้านไปในคราวเดียวกัน แต่ถ้าไม่กำหนด ไว้เลย นี่ละครับจะปัญหาแล้ว ประธานจะไม่สามารถทราบได้ก่อนเลย และไม่สามารถ ลำดับอะไรได้ก่อนด้วยซ้ำ และใครจะยกมือก่อนหลังก็จะเป็นปัญหา ข้อนี้เขียนไว้นะครับ จริงอยู่อาจจะไม่ได้ต้องบอกว่าให้ประธานถามก่อน แต่ก็เป็นอำนาจของท่านประธานที่จะหา ข้อมูลเพื่อจะกำหนดตัวบุคคลอภิปรายได้ก่อน ก็จะสะดวกแก่การทำงาน และมีความชัดเจน สิ่งสำคัญก็คือจะได้ฟัง ๒ ด้าน แล้วก็เป็นธรรมทั้ง ๒ ฝ่าย ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญอาจารย์ ธวัชชัยครับ เดี๋ยวเมื่อสักครู่ใครยกก่อนนะครับ อาจารย์ธีรยุทธ์ครับ

นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม ธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กระผมขออนุญาตสนับสนุนท่านสมาชิก อาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ว่าในการอภิปรายนั้นไม่ควรจะให้มีการแบ่งเป็นฝ่ายค้าน หรือว่าฝ่ายสนับสนุน คือความจริงชัดเจนว่าสภานี้เป็นสภาวิชาการ เป็นสภาที่มาเพื่อที่จะสร้างสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองในเรื่องของการบริหาร ในเรื่องของการจัดการต่อไป เพราะฉะนั้นในการอภิปรายนั้น ความจริงผมเห็นว่าข้อนี้อาจจะ ไม่จำเป็นต้องมีด้วยซ้ำไป อาจจะตัดไปได้เลย คือถ้ามีผู้ขออภิปรายหลายคน ท่านประธาน อาจจะให้อภิปรายตามลำดับ หรือว่าจะพิจารณาอย่างไรก็น่าจะมีแนวทางที่ดีกว่าที่จะบอกว่า ฝ่ายค้านและฝ่ายสนับสนุน เพราะว่ามันจะเกิดปัญหาในเรื่องของการที่จะต้องแยกฝ่ายกัน ตั้งแต่ต้น และพอแยกฝ่ายกันแล้วนี่แต่ละฝ่ายก็จะต้องยืนความเห็นของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่บางครั้ง ความเห็นมันเพียงแต่ไม่ถึงขนาดค้านกันโดยตรง และมันก็อาจจะทำให้ผิดข้อบังคับ อย่างที่ว่านี่ครับ เพราะฉะนั้นกระผมเห็นว่าข้อนี้อาจจะให้ตัดไปได้เลยครับ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญท่านนี้ก่อน แล้วข้างหลัง เดี๋ยวนะครับ ผมเข้าใจอาจารย์จุมพลยกไว้ใช่ไหมครับ เชิญครับ

นายจุมพล รอดคำดี ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม จุมพล รอดคำดี อยากจะแสดงความเห็นอย่างนี้ครับว่า ในส่วนของการคัดค้านหรือไม่คัดค้าน ผมคิดว่า ในที่ประชุมแห่งนี้คงมีสิทธิในการที่จะเสนอความเห็นที่หลากหลาย แล้วก็การเสนอว่าจะค้าน หรือไม่ค้านมันอาจจะเป็นไปได้ทั้ง ๒ ประเด็น คือในบางครั้งเราอาจจะเห็นด้วยในบางส่วน บางส่วนอาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้ เพราะฉะนั้นน่าจะเปิดโอกาสให้สามารถเสนอความเห็นได้ ในที่ประชุมแห่งนี้ที่จะทำให้เกิดประโยชน์ในเรื่องของการนำไปใช้ในการเป็นข้อคิดในการ ที่จะปฏิรูปต่อไป ผมเห็นว่าอย่าไปแยกฝ่ายเลยครับ ขอให้เป็นในเรื่องของการเสนอความเห็น เป็นไปตามหลักเหตุและผล แล้วก็หลักวิชาการมากกว่า ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านสุดท้าย ข้างหลังเลย ประทานโทษ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม ทิวา การกระสัง จากบุรีรัมย์นะครับ ท่านกรรมาธิการยกร่างแล้วก็ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทุกท่านนะครับ การลงมติโดยเสียงส่วนใหญ่นี้นะครับ ถ้าเป็นเรื่องปกติธรรมดานี่นะครับ อาจจะไม่ต้อง จำเป็น แต่ถ้าท่านไปดูในมาตรา ๒๗ มาตรา ๓๑ (๒) มาตรา ๓๙ ท่านดูดี ๆ นะครับ มาตรา ๓๑ ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ในหน้าที่ ๑๑ บอกว่า ในการดำเนินการตาม (๑) หากว่ากรณีใดจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ขึ้นใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภานิติบัญญัติ แห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

ในกรณีเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญให้จัดทำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

รัฐธรรมนูญชั่วคราวให้สภานี้ร่างกฎหมายนะครับ กฎหมายใช้บังคับกับคน ทั้งประเทศ เป็นกฎหมายที่จำเป็นนะครับ ก็คือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน การอภิปรายใด ๆ ต้องมีคนเห็นและสนับสนุนนะครับ ถ้าหากไม่มี สภานี้ไม่ใช้เสียงส่วนใหญ่ อภิปรายไปจะใช้บังคับได้อย่างไร ท่านไปดูมาตรา ๓๙ ด้วยนะครับ มาตรา ๓๙ เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อประโยชน์ในการ จัดให้มีร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จำเป็น เมื่อมีกฎหมายนี้นะครับ การอภิปราย การลงมติก็ต้องจำเป็นเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการที่ คณะกรรมาธิการยกร่างให้มีการอภิปรายและลงมติ ผมว่าชอบแล้วนะครับ ขอขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญท่านเสรีครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี กรรมาธิการ ผมขออนุญาตให้ข้อมูลแล้วกันนะครับว่าทำไมกรรมาธิการยกร่างจึงต้องใส่ ข้อความตรงนี้ไว้นะครับ เนื่องจากว่าในการทำงานหรือในการอภิปราย ท่านอย่ามองคำว่า อภิปราย อย่างเดียว อภิปรายคือการพูด แต่การอภิปรายนั้นนำไปสู่การตัดสินใจ การตัดสินใจซึ่งท่านจะต้องไปลงคะแนนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เพราะฉะนั้นถ้าตัดตรงนี้ออกไปนี่นะครับ ความคิดเห็นกับการที่ท่านต้องไปตัดสินใจ ลงคะแนนมันก็จะเป็นปัญหา ผมก็หารือท่านประธานนี่นะครับ เมื่อกี้ปรึกษาท่านประธาน กรรมาธิการ ท่าน พลเอก เลิศรัตน์แล้วนี่นะครับ ก็คือถ้าหากว่าใช้ถ้อยคำฝ่ายค้าน ฝ่ายสนับสนุน ท่านอาจจะเกิดความรู้สึกไม่ดี กลายเป็น แบ่งฝ่ายแบ่งด้าน แต่ตรงนี้มันจะนำไปสู่การลงมติ ก็ขออนุญาตหารือท่านประธาน ขอแก้ถ้อยคำนิดเดียวว่า สลับกันระหว่างฝ่ายเห็นด้วยและฝ่ายไม่เห็นด้วย มันก็จะได้ สอดคล้อง เอาฝ่ายไม่เห็นด้วยก่อน สลับกันระหว่างฝ่ายไม่เห็นด้วยและฝ่ายเห็นด้วยนะครับ ก็จะได้สอดคล้องกับสิ่งที่ท่านต้องไปตัดสินใจในการลงมติด้วย ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไปได้ไหมครับ เชิญครับ

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ผม บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมาธิการ ผมมีความห่วงใยในประเด็นเดียวกับที่ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ ยกขึ้นมานะครับ คือไม่อยากให้บรรยากาศของการอภิปรายในสภาเป็นการเอาชนะ มีฝ่ายค้าน ฝ่ายสนับสนุน ขออนุญาตเรียนเสนอคล้าย ๆ กับที่ท่านกรรมาธิการพยายามที่จะ ปรับเปลี่ยน แต่ว่ามีถ้อยคำที่ต่างไปแบบนี้ครับ เมื่อผู้อภิปรายก่อนตามข้อ ๕๓ ได้อภิปรายแล้ว การอภิปรายในลำดับต่อไปเป็นการอภิปรายของสมาชิกเพื่อการให้ข้อมูล ข้อวิเคราะห์ อย่างรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การลงมติที่เป็นประโยชน์โดยส่วนรวมต่อไป ก็เป็นการโยงไปถึง ภารกิจที่จะต้องลงมติตามข้อบังคับ ข้อ ๖๐ หรือในส่วนที่ ๔ ต่อไป แต่เพื่อหลบเลี่ยงปัญหา จากข้อเป็นห่วงที่ได้มีการกล่าวถึงโดยสมาชิกหลายท่านครับ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญ อาจารย์เจิมศักดิ์ครับ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ผม เจิมศักดิ์ครับ ท่านประธานครับ ผมคิดว่าถ้าเราปล่อยให้อยู่ในดุลยพินิจของท่านประธานในการพิจารณา ไม่จำเป็นต้องมีข้อบังคับที่แข็งขืนว่าประธานต้องทีละฝ่ายอย่างไร ผมว่าถ้าอย่างนั้น น่าจะดีกว่า ผมคิดว่าจริง ๆ แล้วแต่ละเรื่องมันก็มีเหตุมีผลต่างกัน คราวนี้ประเด็นที่มี ผู้อภิปราย ๒ ครั้งว่า มาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญ เดี๋ยวผมเกรงว่าสมาชิกอาจจะเข้าใจผิด มาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญบอกว่า เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูป แห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อประโยชน์ ในการจัดให้มีร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่จำเป็น ท่านประธานครับ ข้อความนี้เหมือนกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ที่ผมเองก็เป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ คนที่ไปร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็คือกรรมาธิการยกร่างไม่ใช่สภาแห่งนี้ และเราไม่มีอำนาจในการไปอนุมัติกฎหมายนั้นด้วย คนยกร่างก็เพียงแค่ยกร่างแล้วก็ส่งให้ สนช. เขา สนช. เขาจึงไปมีกระบวนการอย่างที่เราพูดกัน ก็คือมีวาระที่หนึ่ง วาระที่สอง มีการแปรญัตติ ในที่สุดก็อยู่ที่ สนช. ทั้งหมด เพราะ สนช. เขาทำหน้าที่ทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ผู้ร่างจริง ๆ ก็คือกรรมาธิการยกร่าง แต่สภาปฏิรูปอาจจะมีกฎหมายอื่น ที่กรรมาธิการยกร่าง มันไม่เกี่ยวกับกฎหมายโดยตรง ก็ไปตั้งกรรมาธิการขึ้นเพื่อไปยกร่าง เราไม่ได้อนุมัติเหมือนสมัยที่ผมเป็น ส.ว. หรือ ส.ส. จึงจะมาอนุมัติกฎหมาย มันเป็นเพียงแค่ ยกร่างเท่านั้นท่านประธาน เพราะฉะนั้นอย่าไปคิดมากว่าเราจะต้องมีกระบวนการเหมือนกับ การอนุมัติกฎหมายหรือผ่านสภาแล้วหรือยัง จะผ่านจะต้องมีกระบวนการ อย่างนั้นเขามี เหตุผลนะครับ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายประชา เตรัตน์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายประชา เตรัตน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จังหวัดชลบุรี ผมคิดว่าที่กรรมาธิการได้เสนอยกร่าง ข้อ ๕๔ มานั้น การเสนอญัตติใด ๆ ก็ตามจำเป็นต้องมีผู้คิดเห็นทั้งเห็นด้วยแล้วก็ไม่เห็นด้วย ก็เพื่อที่จะให้การอภิปรายทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย สลับกันนี่ก็อย่าไปติดใจคำว่า สลับระหว่าง ฝ่ายค้านหรือฝ่ายสนับสนุนเลยครับ ผมคิดว่ามันจำเป็นที่จะให้ท่านประธานได้ให้ทั้ง ๒ ฝ่าย ที่ได้นำเสนอนี่สลับคละเคล้ากันไป อาจจะใช้คำพูดอย่างที่ท่านอาจารย์เสรีได้พูดถึงว่าสลับกันระหว่างฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย แล้วก็ฝ่ายที่สนับสนุน อันนี้ก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์ เพราะว่าการจะลงมติทั้งญัตติใด ๆ ถ้าจำเป็นต้องมีการลงมติเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย มันจำเป็นต้องให้อภิปรายสลับกันพอสมควร ส่วนจะใช้เครื่องมืออย่างไรก็แล้วแต่ ผมคิดว่าน่าจะผ่านไปได้นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

อาจารย์วิริยะ ในฐานะกรรมาธิการก่อนนะครับ เดี๋ยวท่านค่อยอภิปรายเพิ่มเติมครับ

นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ กรรมาธิการ ท่านประธานครับ บางเรื่องผมยกตัวอย่าง เป็นรูปธรรมเลย เดี๋ยวผมเสนอปฏิรูป พ.ร.บ. สลากกินแบ่งรัฐบาลเข้ามานะครับ ก็อาจจะมี ฝ่ายที่เห็นด้วยกับผมและไม่เห็นด้วย แต่เวลาชูมือมันชูเยอะมากครับท่านประธาน ก็ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย สลับกัน แล้วท่านประธานฟังไปสักระยะหนึ่ง มันชักซ้ำซากแล้วท่านประธานก็อาจจะบอกว่าให้ลงมติได้ แต่ถ้าไม่ให้สลับกันท่านประธาน บางทีเรียงกันตามลำดับยกมือ มีแต่ที่ฝ่ายเห็นด้วยยกเป็นแถวเลย ฟังแล้วมันก็ซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ ส่วนฝ่ายไม่เห็นด้วยมันก็ยกเหมือนกันครับ แต่บังเอิญไปอยู่ท้าย ๆ มันก็เลยจะกลายเป็นว่า เราต้องฟังแต่เห็นด้วยไปเรื่อย แล้วก็ไม่เห็นด้วยอาจจะไม่มีโอกาสเลย เพราะฉะนั้นผมว่า ให้โอกาสทั้ง ๒ ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยสลับกัน แล้วท่านประธานฟังเขาสักระยะหนึ่ง เห็นว่าพอสมควรแล้วก็ให้ยุติการอภิปรายได้แล้วก็ลงมตินะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าตรงนี้ น่าจะควรยังมีอยู่นะครับ เพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยได้มีโอกาส แสดงความคิดเห็นให้ในที่ประชุมได้ฟังกันอย่างทั่วถึง แล้วเมื่อท่านประธานเห็นว่าอภิปราย พอสมควรไม่จำเป็นต้องให้อภิปรายหมดทุกคนนะครับก็ให้หยุดแล้วก็ลงมติได้ ผมว่าจะเป็น ประโยชน์ มิฉะนั้นอาจจะต้องให้อภิปรายเกือบทุกคน แล้วมันอาจจะทำให้คนอื่นฟังแล้ว เอ๊ะ มันก็ซ้ำซากอยู่นั่นละ ฝ่ายไม่เห็นด้วยก็อยากพูดแต่ไม่มีโอกาสสักทีเพราะไปอยู่ข้างหลัง หรือยกมือทีหลัง ผมคิดว่ากติกาแบบนี้น่าจะเป็นประโยชน์ แล้วผมก็คิดว่าที่ประชุมก็อาจจะ คงไม่เข้มงวด ถ้าท่านประธานจะชี้ผิดพลาดไปบ้าง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย สลับกัน อาจจะ เผลอเข้าใจสลับก็คงไม่มีใครถึงกับลุกขึ้นมาว่าผิดข้อบังคับนะครับ ผมก็คิดว่ามันก็เป็นกติกา ที่จะให้เกิดความรู้สึกว่าทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรมในการแสดงความคิดเห็นระหว่างฝ่ายที่ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ผมอยากขอยืนยันให้มีอยู่เหมือนเดิมครับ ขอบคุณมากครับ ท่านประธานครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ในลำดับนี้เชิญคุณณรงค์ พุทธิชีวิน คุณจิตร์ ศิรธรานนท์ แล้วคุณเกริกไกร จีระแพทย์

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ณรงค์ พุทธิชีวิน สมาชิก สปช. ครับ ถ้าเราปฏิบัติตามที่กรรมาธิการว่าจะต้องมีปรากฏการณ์ ๓ เรื่องครับ ท่านประธานครับ เรื่องแรก ก็คือต้องมีฝ่ายที่ชัดเจน เรื่องที่ ๒ ประธานต้องทราบก่อน เพื่อที่จะสู่เรื่องที่ ๓ ก็คือต้องสลับกันไปสลับกันมา ซึ่งผมว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เป็น ปรากฏการณ์ทางการเมืองแน่นอน ไม่ควรจะเป็นปรากฏการณ์ของสภาแห่งนี้ ผมมีข้อเสนอ อย่างนี้ครับว่าอยากจะผ่านไปยังท่านกรรมาธิการว่า ถ้าจะแก้แบบนี้จะสมประโยชน์ทุกฝ่าย ได้ไหมครับ ข้อ ๕๔ เมื่อผู้อภิปรายก่อนตามข้อ ๕๓ ได้อภิปรายแล้ว การอภิปรายในลำดับ ต่อ ๆ ไป ให้ประธานใช้ดุลยพินิจโดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความเห็นที่คัดค้าน และความเห็นที่สนับสนุนญัตตินั้น ครบถ้วนกระบวนความครับ โดยที่ไม่ได้ปฏิเสธ ทุกเรื่องเลย แต่ให้ประธานใช้ดุลยพินิจให้เกิดความสมดุลของทุกฝ่าย ด้วยความเคารพครับ ท่านประธานครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ก่อนคุณจิตร์ ขอประธานกรรมาธิการยกร่างนิดหนึ่งครับ เดี๋ยวก่อนคุณจิตร์นะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ผมคิดว่าข้อเสนอของท่านผู้อภิปรายท่านสุดท้ายน่าจะเป็นคำตอบ ที่กลาง ๆ นะครับ แล้วก็ยังคงให้มีการอภิปรายของทั้ง ๒ ฝ่าย แต่ไม่ต้องถึงกับว่าจะต้องมา จัดลำดับใครก่อนใครหลังอย่างนั้น ก็ขออนุญาตรับข้อคิดเห็นของท่านผู้เสนอในอันหลังสุด เป็นมติของที่ประชุม ถ้าเผื่อไม่มีใครคัดค้าน ก็จะจบอยู่ที่ตรงนั้นเลยในข้อ ๕๔ แล้วไม่ต้อง มีข้อความในวรรคสอง

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คุณจิตร์ยังติดใจ ไหมครับ

ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับทางกรรมาธิการนะครับ โดยเฉพาะทางท่านอาจารย์เสรี ขออภัยที่เอ่ยนามนะครับ เพราะว่าเปลี่ยนจากคัดค้าน เป็นไม่เห็นด้วย ผมกราบเรียนอย่างนี้ครับว่าสภาปฏิรูปแห่งชาติซึ่งมีบางท่านอาจจะให้ ความเห็นว่าเป็นสภาวิชาการ อันนี้ผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไรว่าที่ผ่านมานั้น วิชาการอย่าลืมนะครับรัฐธรรมนูญ ๑๘ ฉบับแล้ว มีอีก ๑ ฉบับที่เราใช้อยู่ กำลังจะมี ฉบับที่ ๒๐ ผมอยากเห็นรัฐธรรมนูญที่เขียนง่าย ๆ เพราะฉะนั้นสภาปฏิรูป อย่างไรก็ตาม ไม่พ้นคำว่า สภาการเมือง ไปได้ แต่ลีลาในการปฏิบัติของเรานั้นไม่ควรไปใช้ลีลาของ ความเป็นการเมือง ควรจะเปิดบรรยากาศแบบสบาย ๆ อย่าลืมนะครับโลกใบนี้ ในทางวิชาการเองเขาก็บอกไว้ว่ามันมี ๒ ด้าน ด้านหนึ่งคือทาซิท (Tacit) ด้านหนึ่งคือ เอ็กซ์พลีซิท (Explicit) เรื่องของความรู้กับเรื่องประสบการณ์ ผมไม่ใช่นักวิชาการครับ ผมมาจากบ้านนอก เพราะฉะนั้นผมมีประสบการณ์ สิ่งที่บางครั้งวิชาการไปไม่ถึง วิชาการออกแบบไว้อีกอย่างหนึ่ง แต่ทางปฏิบัติมีอีกแบบหนึ่ง บริบทของวิชาการส่วนใหญ่ เรารับจากตะวันตก แต่ของเราเป็นตะวันออก มันมีสิ่งที่ไม่รู้อีกเยอะครับ เพราะฉะนั้น สภา ๒ สภานี้ต้องเชื่อมกัน เพราะฉะนั้นมันจะมีทั้งเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย ความเห็นด้วย ก็ว่ากันไป ความไม่เห็นด้วยก็ว่ากันไป อันนี้จริง ๆ แล้วเป็นสิ่งที่ดีสำหรับข้อนี้ด้วยซ้ำไปว่า เปิดช่องให้ท่านประธานของผมทำงานง่ายขึ้น เพราะว่าท่านจะชี้ให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยขึ้นมาพูด มันมีข้อบังคับรองรับ แต่ถ้ามันไม่มีข้อบังคับรองรับการชี้ไปนั้นอาจจะถูกตีความไปว่า เล่นพวกหรือเปล่า ไปเข้าข้างตรงนั้นตรงนี้หรือเปล่า เพราะฉะนั้นตรงนี้วิธีการต่าง ๆ ในการที่จะหาว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ผมเชื่อมั่นในความสามารถของท่านประธานที่จะหา ตรงนี้ออกมาได้ เพราะฉะนั้นเพื่อจะเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ให้เข้าด้วยกัน ๒ สภานี้เชื่อมกัน มันจำเป็นต้องมีข้อนี้ครับ ถึงแม้ว่าเราจะบัญญัติไว้เราต้องการความเรียบร้อยในสภาก็ตาม ผมคิดว่าไม่ถึงกับหักหาญกันเหมือนกับในภาพที่เราเคยเห็นของการประชุม ส.ส. หรือ ส.ว. เพราะฉะนั้นการประชุมสภาปฏิรูปเป็นเรื่องที่ต้องมีความเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอยู่แน่นอน แต่ทำอย่างไรจึงจะเป็นการบริหารจัดการ จริง ๆ แล้วในทางธุรกิจผม ผมไม่ต้องการเห็น ข้อบังคับต่าง ๆ ต้องการให้เป็นไปตามธรรมชาติดีที่สุด แต่มันเป็นไปไม่ได้ครับ เพราะมนุษย์ มันมีกิเลสมีอะไรอยู่ในตัวของมันเอง เพราะฉะนั้นการมีข้อบังคับเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การกำหนดข้อบังคับตรงนี้ไว้ผมคิดว่าช่วยท่านประธานของผมได้มากที่สุด เพราะฉะนั้น ผมยังคิดว่าคงต้องดำรงไว้ในข้อ ๕๔ นี้นะครับ แต่แก้ไขอย่างที่อาจารย์เสรีได้กรุณาแก้ไขว่า เปลี่ยนจาก คัดค้าน เพราะมันแข็งเกิน เป็น ไม่เห็นด้วย และฝ่ายสนับสนุนครับ เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งพวกเราเองโดยเฉพาะในต่างจังหวัดผมไม่อยากใช้คำว่า ต่างจังหวัด มากนัก เพราะมีความรู้สึกกับพวกเราหลายท่านที่มองไปไม่ดีว่ามันจะเป็นการจังหวัดลิซึ่ม หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่จริง ๆ เรามีความจริงใจในตรงนี้ว่าเราจะนำความรู้ ตาสีตาสาบ้านนอก มาคุยกันในสภาว่ามันมีองค์ความรู้จากประสบการณ์ ซึ่งทางวิชาการอาจจะไปไม่ถึง เอามาพูดกันแล้วเกลี่ยกันตรงนี้ให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุดกับประเทศนี้ เพราะฉะนั้นผมยืนยัน สนับสนุนในข้อ ๕๔ โดยแก้เป็น ไม่เห็นด้วย ตรงนี้ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านเกริกไกรครับ เดี๋ยวอาจารย์เจิมศักดิ์

นายเกริกไกร จีระแพทย์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ กระผม เกริกไกร จีระแพทย์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลขที่ ๑๔ กระผมกำลังจะเสนอให้มีทาง สายกลาง ๆ ที่จะรับข้อนี้ได้นะครับ ผมคิดว่าเจตนารมณ์ของผู้ร่างนั้นคงต้องการให้มีการสลับ การเสนอความคิดเห็นที่แตกต่าง มิใช่เป็นการตั้งใจจะให้เป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน แต่ถ้าหากว่าเราคิดว่าเรารังเกียจคำว่า ค้านหรือสนับสนุน แล้วละก็ ผมคิดว่าควรจะให้ ท่านประธานได้ใช้ดุลยพินิจให้มีการสลับระหว่างผู้ที่มีความเห็นหลากหลายและแตกต่าง แทนคำว่า ค้านและสนับสนุน กระผมคิดว่าน่าจะสามารถทำให้เรารับข้อนี้ได้ครับผม ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

อาจารย์เจิมศักดิ์

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม เจิมศักดิ์ครับ คือผมคิดว่า ข้อ ๕๔ คงอยู่ แต่ว่าแก้ถ้อยคำเสียนิดหนึ่งก็คงจะเป็นกลาง ๆ ที่พอจะไปกันได้ คือแก้ถ้อยคำ ต่อไปนี้นะครับ เมื่อผู้อภิปรายก่อนตามข้อ ๕๓ ได้อภิปรายแล้ว การอภิปรายในลำดับต่อไป ให้คำนึงถึงการอภิปรายสลับระหว่างผู้เห็นด้วยและผู้ไม่เห็นด้วย เว้นแต่ในวาระของฝ่ายใด ไม่มีผู้อภิปราย อีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้ แล้วตัดวรรคสองตามที่ท่านประธาน กรรมาธิการเสนอ ผมเห็นชอบด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านกรรมาธิการ ว่าอย่างไรครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมาธิการ ก็คิดว่ามีผู้เสนอทางออกนะครับ ที่ดูแล้วสละสลวย แล้วก็เหมาะสมกับการทำหน้าที่ของสภาของเรา เพราะฉะนั้นที่ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ ขออนุญาตที่เอ่ยนามท่านได้เสนอมาในครั้งสุดท้ายนี้ก็ได้หารือกันแล้วว่าน่าจะเป็นคำพูด ที่เหมาะสมครับ ขอให้ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบตามนั้นด้วยนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

โอเคครับ ผมคิดว่าท่านทิวาคงไม่ต้องอภิปรายแล้ว ความเห็นขณะนี้หลักการเรื่องนี้อยู่ เพียงแต่วิธีเขียน ที่จะทำให้มันสละสลวย และมีข้อเสนอที่ทำให้สละสลวย ๒-๓ อัน ซึ่งกรรมาธิการ ก็รับหลักการตรงนี้ เดี๋ยวไปปรับดีไหมครับ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

ท่านครับ นิดเดียวครับท่านครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

คืออย่างนี้นะครับ ผมกราบเรียนท่านประธานแล้วก็ ขออภัยท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ที่บอกว่าอ่านจากมาตรา ๓๙ นะครับ ขอโทษ ผมขอชี้แจง สักนิดหนึ่งนะครับ ท่านดูมาตรา ๓๑ นะครับท่านอาจารย์ ผมก็เคารพท่าน ท่านดูมาตรา ๓๑ เขียนว่า สภาปฏิรูปมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) นะครับ อันนี้ผมไม่อ่าน แต่ท่านมาดู ในหน้าที่ ๑๑ ในการดำเนินการตาม (๑) หากกรณีเป็นการจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่าง ไม่ได้ให้กรรมาธิการนะครับ เมื่อร่างเสร็จแล้วถ้าเป็นร่าง เกี่ยวกับการเงินหรือประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีนะครับ ให้สภานี้ เป็นคนทำร่างนะครับ แค่นี้ละครับท่านประธาน ขอขอบพระคุณครับ เพราะฉะนั้น ผมสนับสนุนแนวคิดของท่านอาจารย์เสรีนะครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

กลับมา ให้ท่านเลขาธิการอ่านข้อ ๕๔ อีกครั้งหนึ่งที่ได้ปรับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๕๔ เมื่อผู้อภิปรายก่อนตามข้อ ๕๓ ได้อภิปรายแล้ว การอภิปราย ในลำดับต่อไปให้คำนึงถึงการอภิปรายสลับกันระหว่างผู้เห็นด้วยและผู้ไม่เห็นด้วย เว้นแต่ ในวาระของฝ่ายใดไม่มีผู้อภิปราย อีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้ ตัดวรรคสองออกนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เอานะครับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๕๕ ถ้ามีผู้ขออภิปรายหลายคน ประธานจะให้คนใดอภิปรายก็ได้ แต่ให้คำนึงถึงผู้เสนอญัตติ ผู้แปรญัตติ ผู้รับรองญัตติหรือผู้รับรองคำแปรญัตติ และผู้ซึ่ง ยังไม่ได้อภิปรายด้วย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๕๖ การอภิปรายต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังปรึกษา กันอยู่ภายในระยะเวลาที่ประธานกำหนด โดยต้องไม่ฟุ่มเฟือย วนเวียน ซ้ำซาก หรือซ้ำกับ ผู้อื่น หรือใช้ภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น และห้ามมิให้นำเอกสารใด ๆ มาอ่าน หรือนำวัตถุใด ๆ มาแสดงในที่ประชุมสภา เว้นแต่ประธานจะอนุญาต

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ ใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามกล่าวถึงพระมหากษัตริย์หรือออกชื่อสมาชิกหรือบุคคลใดโดยไม่จำเป็น

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หากประธานเห็นว่าผู้อภิปรายฝ่าฝืน ให้ประธานเตือนผู้อภิปรายทราบก่อน หากผู้อภิปรายยังฝ่าฝืนอีก ประธานจะให้ผู้นั้นหยุดอภิปรายก็ได้

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ กราบเรียนท่านประธาน พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ขออนุญาตเพิ่ม ๑ คำในวรรคสอง ห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยาหรือใช้วาจาไม่สุภาพ ใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามกล่าวถึง เติมคำว่า สถาบันพระมหากษัตริย์หรือออกชื่อสมาชิกหรือบุคคลใดโดยไม่จำเป็น ขอบคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญต่อค่ะ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๕๗ ถ้าประธานเห็นว่าผู้ใดได้อภิปรายพอสมควรแล้ว ประธานจะให้ผู้นั้น หยุดอภิปรายก็ได้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๕๘ สมาชิกผู้ใดต้องการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับ ให้ยืนและยกมือ ขึ้นพ้นศีรษะ ประธานต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้วให้ประธานวินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืน ข้อบังคับตามที่ประท้วงหรือไม่ คำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด ให้นำความ ในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใด อันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น และเมื่อประธานวินิจฉัยว่าการอภิปรายนั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ผู้อภิปรายต้องถอนคำพูดตามคำสั่งของประธาน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๕๙ เมื่อมีผู้ประท้วงตามข้อ ๕๘ ผู้อภิปรายอาจถอนคำพูดของตน หรือตามคำวินิจฉัยของประธานได้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ถ้าผู้อภิปรายไม่ถอนคำพูดตามคำวินิจฉัยของประธาน ให้ประธานบันทึก การไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุม

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๖๐ การอภิปรายเป็นอันยุติ เมื่อ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) ไม่มีผู้ใดอภิปราย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) ที่ประชุมลงมติให้ปิดอภิปราย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) ที่ประชุมลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๖๑ ในกรณีที่ประธานพิจารณาเห็นว่าได้อภิปรายกันพอสมควรแล้ว หรือมีผู้เสนอญัตติตามข้อ ๔๓ (๕) จะขอให้ที่ประชุมวินิจฉัยว่าจะปิดอภิปรายหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงผู้ซึ่งยังไม่ได้อภิปรายด้วย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๖๒ เมื่อการอภิปรายได้ยุติแล้ว ห้ามผู้ใดอภิปรายอีก เว้นแต่ที่ประชุม จะต้องลงมติในเรื่องนั้น จึงให้ผู้ซึ่งมีสิทธิอภิปรายก่อนคนใดคนหนึ่งในแต่ละญัตติ มีสิทธิอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ที่ประชุมจะลงมติ เมื่อการอภิปราย ได้สิ้นสุดแล้วให้ประธานให้สัญญาณแจ้งสมาชิกที่มาประชุมทราบก่อนลงมติ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญคุณพงศ์โพยม วาศุภูติ

นายพงศ์โพยม วาศภูติ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพงศ์โพยม วาศภูติ สมาชิก สปช. เลขที่ ๑๔๔ กระผมมีความเป็นห่วงครับท่านประธาน เรื่องการปิดอภิปราย เพราะว่าพวกเราบางทีธิงค์ ทไวซ์ (Think twice) คือคิดแล้วคิดอีก บางทีคิดไม่ทันฟังเขาอภิปรายมาก็ค่อนข้างเห็นด้วย พอคิดอีกทีหนึ่งเกิดไม่เห็นด้วยขึ้นมา อีกแล้วอะไรอย่างนี้ มันน่าจะเป็นสภาที่เดินหน้าถอยหลังเป็นชะชะช่าได้ ไม่ใช่ว่าเป็นแทงโก้ เดินหน้าอย่างเดียวอะไรอย่างนี้ท่านประธาน ผมก็เคยกราบเรียนปรึกษาท่านประธาน เลิศรัตน์ว่าจะเขียนอย่างไร ท่านก็บอกว่ามันเขียนยากอยู่เหมือนกัน แต่ว่าถ้าเราดู สภาการเมืองเขาก็จะใช้เทคนิคของการปิดอภิปรายในการที่จะปิดปากหรือไม่ให้ฝ่ายที่ ไม่เห็นด้วยกับเขาโดยเฉพาะพวกที่มีเสียงข้างมากนี่นะครับ ทีนี้ผมคิดว่าจะเขียนอย่างไร ที่จะให้ท่านประธานสภาสามารถจะโอเวอร์รูล (Overrule) ในกรณีที่มีผู้ขอปิดแล้วก็มี ผู้รับรองไปแล้ว เกิดมีผู้เสนอข้อคิดเห็นอะไรที่ดี ๆ ต่อมา เพราะว่าอาจจะยังไม่อยากจะปิด มันจะมีวิธีอย่างไร ผมเข้าใจว่าเขียนในนี้อยู่แล้วแต่ว่ามันยังไม่ชัด ขอความกรุณาทาง ท่านกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ กราบขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญกรรมาธิการค่ะ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ เรื่องของการอภิปรายไปแล้ว ถ้าหากว่ามีสมาชิกขอปิด เดิมทีมันก็เคยมีปัญหาเพราะว่าใช้เสียงข้างมาก สมาชิกยังไม่ได้อภิปรายอีกเยอะ ตอนหลังข้อบังคับก็เลยให้ความสำคัญไปที่ถ้อยคำที่ท่านเห็นไหมครับ ต่อตอนท้ายนี่ครับว่า ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงผู้ซึ่งยังไม่ได้อภิปรายด้วย แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าเราต้องยอมรับในเสียงส่วนใหญ่หรือเสียงส่วนใหญ่เห็นว่ามีการพูดกัน เยอะแล้ว ข้อมูลครบถ้วนแล้ว กำลังพูดวกวน กำลังพูดซ้ำ จริง ๆ เป็นอำนาจของประธาน ถ้าเกิดประธานท่านใช้ดุลยพินิจปิดเองก็ได้ หรือถ้าท่านประธานไม่ใช้ดุลยพินิจ สมาชิก ท่านอื่นเห็นว่าน่าจะครบถ้วน ท่านก็เสนอปิด ถ้าสมาชิกรับรองถูกต้อง คะแนนเสียงถูกต้อง จำนวนถูกต้อง มันก็ต้องทำตามเสียงส่วนใหญ่ แต่ในข้อบังคับให้ความสำคัญ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงผู้ซึ่งยังไม่ได้อภิปรายด้วย อันนี้คือสาระว่าให้ความสำคัญเสียงส่วนน้อย แต่มีคำถามที่ท่านถามสักครู่นี้นะครับว่าถ้าเกิดมันยังมีสาระอื่นที่อันจำเป็นและต้องการที่จะ พูดต่อนี่นะครับ ก็อย่างที่เราเคยปรากฏนะครับ ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านอนุสรณ์ขอปิด อย่างนี้นะครับ เราก็เห็นว่ามีข้อสาระสำคัญมันก็เป็นเรื่องในที่ประชุมเราก็ขอร้องกันนะครับว่า ท่านขอความกรุณาช่วยถอนญัตติที่ขอปิด ถ้าท่านเห็นด้วย อันนี้คือการตกลงประนีประนอมกัน มันก็เป็นทางออกกับการที่อาจจะมีสาระจริง ๆ ก็สามารถตกลงกันได้ มันไม่ใช่ปิดแล้ว ต้องปิดเลยทันที แต่ถ้าลงมติแล้วขอปิดแล้ว ถ้าเกิดคะแนนเสียงในสภาลงคะแนน เคยมีหลายครั้งครับ มีคนญัตติขอปิดแต่ก็มีคนขอเปิด คะแนนเสียงขอเปิดมากกว่าขอปิด ก็ยังมีอีก อันนี้มันเป็นกระบวนการนะครับ ท่านครับ ที่จะทำให้การประชุมราบรื่น เท่านั้นครับ ขอบคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ค่ะ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ครับ ผมคิดว่า ที่ท่านกรรมาธิการอธิบายถูกต้องแล้วครับ คือเมื่อมีผู้ขอปิดอภิปราย แล้วก็มีผู้รับรอง ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นโดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้าที่ประชุมยังเห็นว่าควรจะอภิปรายต่อไป ก็มีผู้ขอเสนอญัตติว่าควรจะเปิดอภิปรายต่อไป เป็นทั้งเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย เพราะฉะนั้น ก็จะต้องมีการโหวต (Vote) กัน ทีนี้ตรงนั้นก็อาจจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่คิดว่ายังควรเปิดต่อไปได้ อธิบายนิดหนึ่งก็อาจจะพอทำได้ แต่ข้อบังคับอันนี้ไม่ได้เขียน ซึ่งผมไม่ทราบว่าจำเป็นต้อง เขียนหรือไม่ว่าผู้ที่จะขอปิดการอภิปรายจะอภิปรายเองไม่ได้ เพราะว่าในอดีตที่ผ่านมา ถ้าจะเขียนให้ครบถ้วนนี่นะครับจะมีคนขึ้นมาอภิปรายเองเสร็จเรียบร้อย พอตอนท้ายบอก ขอปิดอภิปราย เพราะฉะนั้นพูดง่าย ๆ ว่าเอาเปรียบ อันนี้ก็เคยมีข้อบังคับของหลายสภา ที่เคยทำกันนะครับ ที่นี่จะจำเป็นหรือไม่จำเป็นฝากวินิจฉัยด้วยก็แล้วกัน แล้วก็มาถึงข้อ ๕๙ นิดหนึ่งว่าที่พูดถึงเรื่องการถอนคำพูด ผมต้องกราบเรียนว่าธรรมเนียมของสภาถอนคำพูด ไม่ได้หมายความว่าไม่ปรากฏอยู่ในบันทึกการประชุม บันทึกการประชุมยังเขียนทุกประการว่า เราเคยพูดว่าอะไร และเราได้ขอถอนคำพูดในภายหลัง ก็เขียนว่าเราได้ขอถอนคำพูด เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ต้องพิจารณาครับว่าเราอยากจะให้เมื่อถอนแล้วยังจะอยู่ในบันทึก การประชุมละเอียดแบบ ส.ส. ส.ว. หรือไม่ มันก็มีข้อดีข้อเสีย ผมตั้งข้อสังเกตเท่านั้นเอง นะครับว่าเมื่อถอนแล้วจะเอาออกไปเลยไหม ซึ่งอันนั้นฝ่ายเลขาก็จะทำให้ แต่ถ้าคิดว่า ยังเอาไว้แบบเดิม คือพูดพลาดไปแล้ว พูดไปเล่นงานใครก็ดี แล้วก็ขอให้ถอนก็ถอนแล้ว แต่ก็ยังอยู่ทั้ง ๒ อย่าง คืออยู่ทั้งพูดเล่นงานด้วย แล้วก็บอกขอถอนด้วย ที่ประชุมน่าจะ พิจารณาสักนิดหรือไม่ ขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านพงศ์โพยม ขอบคุณค่ะ ขอเชิญกรรมาธิการค่ะ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

ประเด็นแรกที่ท่าน ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์พูดถึง การบันทึกการประชุม จริง ๆ มันก็มีอยู่นะครับ เดี๋ยวคงว่าต่อไปในเรื่องของว่าพูดแล้วถอน ถอนแล้วจะบันทึกกันอย่างไรก็จะมีรายละเอียดนะครับ ทีนี้ส่วนที่ท่านพูดประเด็นถึงเรื่องว่า การขอปิดอภิปรายแล้วก็ไปอภิปรายเรื่องอื่นของตัวเองต่ออย่างนี้นะครับ ต้องให้ท่านดูข้อ ๔๔ นะครับ เรื่องญัตติตามข้อ ๔๓ (๕) กับ (๖) ข้อ ๔๓ (๕) ก็คือเป็นเรื่อง ขอปิดอภิปรายที่ไม่ต้องเสนอญัตติตามข้อบังคับ การปิดอภิปราย แล้วก็ (๖) คือการขอให้ ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณา ๒ กรณีนี้ ข้อ ๔๔ บอกว่า ญัตติตามข้อ ๔๓ (๕) และ (๖) ห้ามเสนอให้คราวเดียวกันกับการอภิปรายของตน ก็เป็นคำตอบที่ท่านถามอยู่ตรงนี้ครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านเจิมศักดิ์อีกทีค่ะ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม เจิมศักดิ์ครับ ผมไม่ได้ หมายถึงประเด็นนั้น ไม่ได้ยกเรื่องอื่นขึ้น แต่ท่านขึ้นมาท่านอภิปรายเรื่องที่กำลังพิจารณากันอยู่ แต่พออภิปรายเสร็จเรียบร้อยท่านก็ต่อด้วยว่าขอเสนอญัตติปิดอภิปราย อันนี้มันเคยห้ามกันไว้ ควรจะใส่ไหม ไม่ได้หยิบเรื่องอื่นนะครับ ขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญค่ะ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ผม เสรี กรรมาธิการ ต้องกราบเรียนสั้น ๆ นะครับ คือกรณีเดียวกันครับ ก็คือญัตติข้อ ๔๓ (๕) กับ (๖) ห้ามเสนอในคราวเดียวกัน ไม่ว่าอะไรจะก่อนจะหลังก็ห้ามเสนอคราวเดียวกันครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญคุณพรายพลค่ะ

นายพรายพล คุ้มทรัพย์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ นายพรายพล คุ้มทรัพย์ ความจริงในเรื่องการอภิปราย ถ้าจะเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายโดยท่านสมาชิกอย่างทั่วถึง วิธีการอันหนึ่งซึ่งความจริงเราก็ทำกันอยู่แล้ว ก็คือท่านประธานกำหนดระยะเวลาในการ อภิปรายของแต่ละสมาชิก แต่ว่าในส่วนนี้ในเรื่องของการอภิปรายไม่ได้ปรากฏให้ประธาน ได้สามารถที่จะกำหนดระยะเวลาสำหรับการอภิปรายของสมาชิกแต่ละท่านได้ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าก็ไม่ทราบว่าจะใส่ในข้อไหน มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของข้อ ๕๕ ก็ได้นะครับ คือถ้ามีการขออภิปรายหลายคนแล้วก็เราอยากจะให้มีการอภิปรายอย่างทั่วถึงภายในเวลา ที่เหมาะสม ประธานก็สามารถที่จะกำหนดระยะเวลาสำหรับการอภิปรายของสมาชิก แต่ละท่านได้ ซึ่งความจริงท่านประธานก็ได้ทำเป็นครั้งเป็นคราวอยู่แล้ว ก็น่าจะใส่ไว้เป็น ลายลักษณ์อักษรผมคิดว่าอย่างนั้น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ขอบคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญท่านเสรี

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ ระยะเวลาที่กำหนดนี่ครับท่าน ขออนุญาตดูข้อ ๕๖ การอภิปรายต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังปรึกษากันอยู่ และอยู่ใน ระยะเวลาที่ประธานกำหนดครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

คงผ่านไปได้นะคะ ขอเชิญท่านเลขาธิการค่ะ ขอโทษค่ะ ท่านพงศ์โพยม เชิญค่ะ

นายพงศ์โพยม วาศภูติ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพงศ์โพยม วาศภูติ สมาชิก สปช. คือกระผมค่อนข้างเห็นด้วยกับผู้อภิปรายเมื่อสักครู่ว่า ถ้าจะเขียนให้ประธานมีอำนาจในการที่จะกำหนดเวลาได้ เพราะไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะมี ผู้ประท้วงว่าประธานผิดข้อบังคับอะไรอย่างนี้ ผมไม่แน่ใจว่ามีอยู่ในข้อไหนแล้วหรือยัง ถ้ามีก็ต้องกราบขออภัยด้วยครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ข้อ ๕๖ ค่ะ ท่านอ่านข้อ ๕๖ ค่ะ

นายพงศ์โพยม วาศภูติ ต้นฉบับ

ครับผม กราบขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ถ้าอย่างนั้นคงผ่านได้นะคะ ขอเชิญท่านเลขาธิการค่ะ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๖๓ ประธานอาจอนุญาตให้บุคคลใด ๆ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมสภาก็ได้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๖๔ ถ้าประธานให้สัญญาณด้วยการเคาะค้อนหรือยืนขึ้น ให้ผู้ที่กำลังพูด หยุดพูดและนั่งลงทันที และให้ทุกคนนั่งฟังประธาน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีอ่านพระบรมราชโองการ หรือกระแสพระราชดำรัส ให้ผู้อยู่ใน ที่ประชุมสภายืนฟังด้วยอาการสำรวมตลอดเวลาที่อ่าน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๔

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การลงมติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

___________

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๖๕ ในกรณีที่จะต้องมีมติของสภา ให้ประธานมีสัญญาณให้สมาชิกทราบ เพื่อแสดงตนก่อนลงมติ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๖๖ การลงมติต้องมีสมาชิกมาแสดงตนครบองค์ประชุม โดยให้ถือเอา เสียงข้างมาก เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เสียงข้างมากนั้น ในกรณีมีความเห็นของที่ประชุมสภามีสองฝ่าย ให้ถือเอา จำนวนคะแนนเสียงฝ่ายที่มากกว่า และในกรณีความเห็นของที่ประชุมสภามีเกินสองฝ่าย ให้ถือเอาจำนวนคะแนนเสียงฝ่ายที่มากที่สุด

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด การออกเสียงชี้ขาดของประธาน ให้กระทำเป็นการเปิดเผยโดยจะให้เหตุผล หรือไม่ก็ได้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๖๗ ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การออกเสียงลงคะแนน ให้กระทำเป็นการเปิดเผย เว้นแต่เมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ขอให้กระทำเป็นการลับจึงให้ลงคะแนนลับ แต่ถ้ามีสมาชิกคัดค้านและมีผู้รับรองมากกว่า หนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมสภาก็ให้ลงคะแนนโดยเปิดเผย

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านพลเอก เลิศรัตน์ ค่ะ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ในข้อ ๖๗ ประโยคแรกเลย ภายใต้บังคับบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญ เผอิญรัฐธรรมนูญอันนี้จะหมายถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งไม่ได้เขียนในเรื่องการออกเสียงลงคะแนนไว้ อันนี้เป็น ข้อความที่ใช้มาจากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ผมจึงขออนุญาตตัดบรรทัดแรกออกนะครับ ตัดคำว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ออก ส่วนที่เหลือก็เป็นข้อความตามนั้น ซึ่งเป็นข้อความที่คณะกรรมาธิการได้ยกร่างขึ้นไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ขอบคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญค่ะ

นายชาลี ตั้งจีรวงษ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ชาลี ตั้งจีรวงษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดสิงห์บุรีนะครับ ไม่ทราบว่าจะมีพักกลางวัน หรือเปล่าครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ไม่มีหรอกค่ะ

นายชาลี ตั้งจีรวงษ์ ต้นฉบับ

จะอภิปรายต่อไปเรื่อย ๆ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านเวียนกันออกไปทานได้ค่ะ และใครที่ทานเสร็จแล้วก็กลับเข้ามานั่งค่ะ

นายชาลี ตั้งจีรวงษ์ ต้นฉบับ

กราบขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญท่านเลขาธิการต่อค่ะ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๖๘ การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยมีวิธีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนตามที่ประธานสภากำหนด

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) ยกมือขึ้นพ้นศีรษะพร้อมกับแสดงบัตรลงคะแนน ผู้เห็นด้วยให้แสดง บัตรลงคะแนนสีน้ำเงิน ผู้ไม่เห็นด้วยให้แสดงบัตรลงคะแนนสีแดง ส่วนผู้ไม่ออกเสียงให้แสดง บัตรลงคะแนนสีขาว โดยบัตรลงคะแนนดังกล่าวให้สมาชิกลงลายมือชื่อและหมายเลข ประจำตัวสมาชิกกำกับไว้ด้วย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) เรียกชื่อสมาชิกตามลำดับอักษรให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นรายคน ตามวิธีที่ประธานกำหนด

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๔) วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมเห็นสมควรเฉพาะกรณี

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยนั้นให้ใช้วิธีตาม (๑) จะใช้วิธีตาม (๒) (๓) หรือ (๔) ได้ ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติและที่ประชุมสภาอนุมัติ หรือเมื่อมีการ นับคะแนนเสียงใหม่ตามข้อ ๗๕

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยตาม (๑) ให้ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนได้ จนกว่าประธานจะได้สั่งปิดการออกเสียงลงคะแนน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยตาม (๒) ให้ประธานสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปรับ บัตรลงคะแนนจากสมาชิกมาเพื่อดำเนินการตรวจนับคะแนนต่อไป

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๖๙ การออกเสียงลงคะแนนลับมีวิธีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนตามที่ประธานสภากำหนด

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) เขียนเครื่องหมายบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ผู้เห็นด้วย ให้เขียนเครื่องหมายถูก (√) ผู้ไม่เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมายกากบาท (×) ส่วนผู้ไม่ออกเสียง ให้เขียนเครื่องหมายวงกลม (o)

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมเห็นสมควรเฉพาะกรณี

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การออกเสียงลงคะแนนลับตาม (๑) ให้ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนได้ จนกว่าประธานจะได้สั่งปิดการออกเสียงลงคะแนน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เมื่อจะมีการออกเสียงลงคะแนนลับตาม (๒) ให้สมาชิกนั่งลงในที่ที่จัดไว้ และให้ประธานสั่งให้เจ้าหน้าที่แจกกระดาษและซองให้แก่สมาชิกทุกคน และเมื่อสมาชิก เขียนเครื่องหมายบนแผ่นกระดาษใส่ซองแล้ว ให้ประธานสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปรับมา เพื่อส่งให้แก่กรรมการตรวจนับคะแนนดำเนินการต่อไป และในการตรวจนับคะแนน ให้ประธานเชิญสมาชิกจำนวนห้าคนเป็นกรรมการตรวจนับคะแนน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๗๐ ก่อนออกเสียงลงคะแนนลับ ให้ประธานให้สัญญาณแจ้งสมาชิกทราบ เพื่อพร้อมที่จะออกเสียงลงคะแนนลับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๗๑ ลำดับการลงมตินั้นให้ลงมติในญัตติสุดท้ายก่อนแล้วย้อนเป็นลำดับ ไปหาญัตติต้น แต่มิให้ถือว่าความผิดพลาดในการเรียงลำดับดังกล่าวมานี้เป็นเหตุให้มติที่ได้ ลงคะแนนและนับคะแนนเสร็จแล้วเป็นอันเสียไป

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๗๒ ประธานมีอำนาจสั่งให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณาหรือลงมติ เว้นแต่ที่ประชุมสภาจะมีมติเป็นอย่างอื่น

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๗๓ สมาชิกซึ่งเข้ามาในที่ประชุมระหว่างการออกเสียงลงคะแนน อาจออกเสียงลงคะแนนได้ก่อนประธานสั่งปิดการนับคะแนน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๗๔ เมื่อได้นับคะแนนเสียงเสร็จแล้ว ให้ประธานประกาศมติต่อที่ประชุม สภาทันที ถ้าเรื่องใดที่รัฐธรรมนูญ หรือข้อบังคับนี้กำหนดไว้ว่ามติจะต้องประกอบด้วย คะแนนเสียงถึงจำนวนเท่าใด ก็ให้ประกาศด้วยว่าคะแนนเสียงถึงจำนวนที่กำหนดไว้นั้น หรือไม่

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้ประกาศมติต่อที่ประชุมสภาจากผลการออกเสียง ลงคะแนนด้วยวิธีตามข้อ ๖๙ (๒) และ (๓) แล้ว ให้ประธานสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำลาย บัตรออกเสียงลงคะแนนนั้นด้วย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๗๕ ในการนับคะแนนเสียงครั้งใด ถ้าสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรอง ไม่น้อยกว่าสิบคนให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่ ก็ให้มีการนับใหม่ เว้นแต่คะแนนเสียง มีความต่างกันเกินกว่าสิบคะแนนจะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่มิได้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การนับคะแนนเสียงใหม่ดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้เปลี่ยนวิธีลงคะแนน เป็นวิธีดังกล่าวตามข้อ ๖๘ หรือข้อ ๖๙ ซึ่งอยู่ในลำดับถัดไป แล้วแต่กรณี เว้นแต่รัฐธรรมนูญ หรือข้อบังคับนี้กำหนดวิธีลงคะแนนไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เมื่อได้มีการนับคะแนนเสียงโดยวิธีดังกล่าวในข้อ ๖๘ (๓) แล้ว จะขอให้ มีการนับคะแนนเสียงใหม่อีกมิได้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๗๖ ญัตติใดไม่มีผู้คัดค้าน ให้ประธานถามที่ประชุมว่ามีผู้เห็นเป็นอย่างอื่น หรือไม่ เมื่อไม่มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าที่ประชุมลงมติเห็นชอบด้วยกับญัตตินั้น

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่เรื่องอื่นใดที่รัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้ กำหนดให้ที่ประชุมวินิจฉัยโดยการออกเสียงลงคะแนน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๗๗ ให้เลขาธิการจัดทำบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิก แต่ละคนและเปิดเผยบันทึกการลงมติดังกล่าวไว้ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่การออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๗๘ สมาชิกที่ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสภาตามข้อ ๖๕ เกินกว่า หนึ่งในสามของจำนวนครั้งที่มีการแสดงตนเพื่อลงมติทั้งหมดในรอบระยะเวลาเก้าสิบวัน ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงตามมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๙ (๕) ของรัฐธรรมนูญ วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของแต่ละรอบระยะเวลาให้เป็นไปตามที่ประธานสภากำหนด

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

กรณีที่สมาชิกไม่แสดงตนเพื่อลงตามวรรคหนึ่งเนื่องจากได้ลาการประชุม โดยได้รับอนุญาตจากประธานสภาหรือสมาชิกไปทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ มิให้ถือว่าสมาชิกผู้นั้นไม่แสดงตนเพื่อลงมติและมิให้นับจำนวนครั้ง ที่มีการแสดงตนเพื่อลงมติ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สมาชิกได้รับอนุญาตให้ลาการประชุม หรือไปทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมเป็นจำนวนครั้งที่สมาชิกผู้นั้น ไม่ได้แสดงตนเพื่อลงมติตามวรรคหนึ่ง

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การอนุญาตให้ลาการประชุมตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ประธานสภากำหนด

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เลขาธิการต้องมีหนังสือแจ้งให้สมาชิกแต่ละคนทราบถึงจำนวนครั้งที่สภา มีมติ และจำนวนครั้งที่สมาชิกคนนั้นได้แสดงตนเพื่อลงมติในรอบสามสิบวันที่ผ่านมา และอาจดำเนินการทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ด้วยก็ได้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่ปรากฏว่าสมาชิกผู้ใดไม่ได้แสดงตนเพื่อลงมติเกินกว่าจำนวนครั้ง ที่ได้กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้เลขาธิการแจ้งให้ประธานสภาทราบและให้ประธานสภา แจ้งให้สมาชิกผู้นั้นและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบถึงการสิ้นสุดสมาชิกภาพโดยเร็ว

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

สมาชิกที่ได้รับแจ้งถึงการสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวรรคห้าอาจใช้สิทธิโต้แย้ง เป็นหนังสือถึงความถูกต้องของการบันทึกการแสดงตนเพื่อลงมติได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ ได้รับแจ้งตามวรรคห้าเพื่อให้ประธานสภาวินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานสภาถือเป็นที่สุด

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หมวด ๔

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

กรรมาธิการ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

____________

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๗๙ สภาอาจตั้งคณะกรรมาธิการให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณา กระทำกิจการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาหรือตามที่สภามอบหมาย โดยจะกำหนดเป็น คณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญก็ได้

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งสภาตั้งจากสมาชิกของสภา เท่านั้น ส่วนคณะกรรมาธิการวิสามัญมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา และคณะกรรมาธิการวิสามัญ ทั้งนี้ จะตั้งจากบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกด้วยก็ได้

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๘๐ ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาขึ้นเพื่อพิจารณา กระทำกิจการ หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาหรือตามที่สภามอบหมาย ทั้งนี้ ในการกระทำกิจการของคณะกรรมาธิการให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้ง ที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน ทำให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หากคณะกรรมาธิการคณะใดเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ให้คณะกรรมาธิการคณะนั้น จัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาต่อไป

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญค่ะคุณทิวา

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ทิวา การกระสัง จากจังหวัดบุรีรัมย์ครับ กระผมขอกราบเรียนไปยังคณะกรรมาธิการยกร่าง ทุกท่านนะครับ ผมติดใจนะครับ ติดใจในย่อหน้าสุดท้ายที่ใช้คำว่า หากคณะกรรมาธิการ คณะใดเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ให้คณะกรรมาธิการคณะนั้นจัดทำร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าวเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาต่อไป ผมขอเสนอความเห็นว่าร่างข้อบังคับดังกล่าวนี้ จะขัดต่อมาตรา ๓๑ กับมาตรา ๓๙ รัฐธรรมนูญชั่วคราวหรือเปล่าครับ ผมเรียนไปยัง คณะกรรมาธิการดู ผมขออนุญาตอ่านนะครับ มาตรา ๓๑ บัญญัติว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๗ ก็ ๑๑ ข้อนะครับ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบ แห่งชาติและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง บัญญัติต่อไปในหน้าที่ ๑๑ นะครับ ย่อหน้านี้บอกว่า ในการดำเนินการตาม (๑) หากว่ากรณีใดจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้จัดทำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการต่อไป มาตรา ๓๑ นี้จะโยงไปถึงมาตรา ๓๙ นะครับ มาตรา ๓๙ บอกว่า เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จำเป็น ในการนี้ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติอาจแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่จำเป็นก็ได้ แต่เมื่อมีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้นะครับ ท่านมาดู มาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง ใช้คำว่า ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าคณะกรรมาธิการคณะใดเห็นว่า จำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ให้คณะกรรมาธิการนั้นจัดทำร่าง ไม่ได้ให้คณะกรรมาธิการจัดทำร่างเองนะครับ ให้สภาเป็นคน ดำเนินการ อันนี้ผมตั้งข้อสังเกตไว้ข้อ ๑ นะครับ แล้วกฎหมายที่สภาจะทำได้มีอยู่แค่ ๓ ฉบับ ๑. พระราชบัญญัติที่จำเป็นอย่างยิ่ง ๒. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ๓. พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน การที่ข้อกำหนดใช้คำว่า หรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ จะมองให้เห็นว่าสภานี้ออกกฎหมายอะไรก็ได้นะครับ ควรจะแก้ใช้คำว่า พระราชบัญญัติอื่น ที่จำเป็น อันนี้สภาต้องเป็นคนพิจารณาเองว่าร่างที่ทำนั้นจำเป็นหรือไม่ เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑ (๑) หรือไม่ อันนี้อันหนึ่งนะครับ พระราชบัญญัติที่สภานี้ต้องร่าง และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีก็คือร่างเกี่ยวกับการเงินกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ๒ อย่าง เท่านั้นที่เสนอคณะรัฐมนตรีนะครับ ถ้าเป็นกฎหมายอื่นที่จำเป็นไม่ต้องเสนอถ้าดูตามนี้นะครับ มาตรา ๓๙ บอกว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติอาจตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย ที่จำเป็นก็ได้ ไม่ได้บอกว่าคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งนั้นมีหน้าที่ในการจัดทำร่างนะครับ พิจารณาเท่านั้น ถ้ามาดูกฎหมายทุก ๆ ฉบับที่เกี่ยวเนื่องกันก็จะเห็นว่าผู้ที่ร่างกฎหมาย สภาต้องเป็นคนดำเนินการ แต่วิธีการเป็นอย่างไรนั้นผมว่าน่าจะผ่านจากสภานี้อาจจะตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายนั้น ๆ เป็นการเฉพาะก็ได้ แต่คณะกรรมาธิการทั้ง ๑๑ นี่นะครับ คณะกรรมาธิการท่านใดอยากจะออกกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญก็เสนอมายังสภา สภาก็จะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นคณะ ๆ เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายนั้นนะครับ ไม่ใช่จัดทำร่างเอง ส่วนใครจะเป็นคนจัดทำร่างนั้น สภานี้ก็เป็นคนพิจารณาต่อไป ผมเรียนแค่เสนอความเห็นไว้นะครับ มันจะไปโยงเข้าถึง ผมจะอภิปรายต่อไปว่า คงจะไม่เสียเวลาท่าน ขอความกรุณาท่านอาจารย์เสรีนะครับ หมวด ๕ เกี่ยวกับการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ ผมก็อยากจะให้บอกว่าเป็นพระราชบัญญัติ อะไรบ้างที่เราจะทำได้นะครับ ไม่อย่างนั้นจะเป็นพระราชบัญญัติทั่วไป พระราชบัญญัติ ที่จำเป็น พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เพราะว่า ชั้นของกฎหมายก็จะพิจารณาเป็นขั้น ๆ ไปใช่ไหมครับ จะมีรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

หมวดที่ ๕ ท่านรอไว้จนกว่าจะถึงหมวดที่ ๕ ได้ไหมคะ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

ใช่ครับ มันโยงเข้าไปผมก็เลยอยากจะพูดว่า มันจะเกี่ยวโยงกันไปตรงนี้นะครับ เรียนเสนอไว้เท่านี้นะครับ ท่านอาจารย์เสรีช่วยกรุณา อธิบายตรงนี้สักนิดหนึ่งนะครับ ขอขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญท่านเสรีเลยค่ะ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ กราบเรียนประเด็นแรกนะครับ เรื่องอยู่ในมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องเกี่ยวกับเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว อันนี้คือกระบวนการ ของการร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วนะครับ ในมาตรา ๓๙ บอกว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติอาจตั้งคณะกรรมาธิการขึ้น อันนี้ก็คือเป็นอำนาจ ของสภานะครับ กรรมาธิการอาจจะไม่ใช่กรรมาธิการประจำสภาหรือกรรมาธิการ ตั้งก่อนหน้านี้ก็เป็นได้ เกิดได้ทุกกรณีครับว่าให้มีกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายที่จำเป็น มันไม่ได้ขัดแย้งกันนะครับ แล้วก็มาตรา ๓๙ กับมาตราที่ท่านระบุถึงว่ากระบวนการของ การตราพระราชบัญญัติ ตราพระราชบัญญัติตามข้อ ๘๐ นี่นะครับ ต้องกราบเรียนว่า กระบวนการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘๐ เป็นกระบวนการก่อนครับ ก่อนที่จะมีร่างกฎหมาย ไปถึงสภานะครับ เมื่อสักครู่ที่ท่านยกมาตรา

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

มาตรา ๓๑ (๑) ครับ แล้วก็มาหน้าที่ ๑๑ ครับ เป็นย่อหน้าที่ ๒ (๑) ครับผม

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนอย่างนี้ครับ ขอบพระคุณครับ คืออย่างนี้ครับ มาตรา ๓๑ ทั้ง ๓ วงเล็บนี่นะครับ ในวรรคสองบอกว่า ถ้าหากว่าดำเนินการตาม (๑) หากเห็นว่าจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่างพระราชบัญญัติ นี่เป็นกระบวนการที่สภาจะต้องจัดทำ แต่จะมีกฎหมายให้สภาจัดทำได้มันต้องมีที่มาก่อนครับ ที่มาก็คือเราบัญญัติกำหนดไว้ในข้อ ๘๐ อย่างไรครับ ข้อ ๘๐ วรรคสองที่บอกว่า หากคณะกรรมาธิการคณะใดมีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับให้คณะกรรมาธิการคณะนั้นจัดทำร่าง ก็คือเป็นการกำหนดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบว่าแต่ละกรรมาธิการที่แบ่งเป็นด้าน ๆ นั้น ถ้าหากท่านเห็นว่าอาจจะต้องมีกฎหมายที่ต้องยกร่างเกิดขึ้นก็ให้ท่านจัดทำขึ้นมาก่อน พอท่านจัดทำขึ้นมาแล้วก็จะได้ร่างขึ้นมาเพราะฉะนั้นร่างนี้จะผ่านไปในกระบวนการต่อไปได้ก็จะต้องเสนอสภา ท่านจะดูนะครับว่าบรรทัดที่ ๒ บอกว่า หากคณะกรรมาธิการคณะใดเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ให้คณะกรรมาธิการคณะนั้นจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาต่อไป คำว่าเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาต่อไป นี่นะครับ ก็จะเชื่อมโยงกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญว่าเมื่อมีข้อเสนอและเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตรากฎหมายดังกล่าวนี่นะครับก็ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่างพระราชบัญญัติเสนอต่อสภานิติบัญญัติเพื่อพิจารณาต่อไปอันนี้เป็นกระบวนการที่เริ่มต้นจะให้มีกฎหมายเกิดขึ้น โดยเริ่มจากกรรมาธิการก่อนแล้วกรรมาธิการยกร่างเสร็จแล้วก็เข้าสู่สภา สภาพิจารณาตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญ กำหนด ส่วนที่พิจารณาแล้วเป็นเรื่องกฎหมายการเงินขึ้นมาก็เป็นกระบวนการต่อไปว่า ให้ส่งไปให้ ครม. เพราะว่า ครม. เป็นฝ่ายบริหาร ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ก็มีหน้าที่รับผิดชอบว่ากฎหมายฉบับนี้มันจะกระทบกับงบประมาณแผ่นดินอะไรไหม ก็เลยต้องผ่าน ครม. อันนี้เป็นกระบวนการต่อเนื่องกันระหว่างข้อ ๘๐ ในข้อบังคับที่เราทำ เพื่อให้มีกฎหมายเกิดขึ้นจะได้ดำเนินการต่อตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ไม่ได้ขัดแย้งกันครับ ขอบคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญท่านค่ะ คุณทิวา

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

ท่านอาจารย์นิดหนึ่งนะครับ ที่ผมจะเสนอความเห็น นิดหนึ่งก็คือพระราชบัญญัติ ผมว่าถ้าใช้คำว่า พระราชบัญญัติอื่นที่จำเป็นตามรัฐธรรมนูญ เลยได้ไหมครับ เพราะว่าไม่อย่างนั้นจะเสนอพระราชบัญญัติอะไรก็ได้อย่างนี้นะครับ ถ้าเกิดว่าจะเพิ่มคำว่า พระราชบัญญัติอื่นที่จำเป็น ซึ่งรัฐธรรมนูญเขียนไว้ในมาตรา ๓๑ ก็เขียน มาตรา ๓๙ ก็เขียนนะครับ ซึ่งในข้อบังคับใช้คำว่า พระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ถ้าเราจะใช้คำว่า หรือพระราชบัญญัติอื่นที่จำเป็น ที่จะต้องออกนะครับ เพราะว่ากฎหมาย ให้เราต้องจำเป็นเท่านั้นนะครับ ไม่ใช้คำว่า พระราชบัญญัติ ซึ่งจะหมายความว่า เป็นพระราชบัญญัติทั่วไปครับท่าน ท่านคณะกรรมาธิการนะครับ อันนี้ขอเรียนเสนอไว้เฉย ๆ ท่านไปพิจารณาก็แล้วกันนะครับ ขอขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญค่ะ ท่านเสรี

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ผม เสรี กรรมาธิการ จริง ๆ คำว่า จำเป็น เป็นถ้อยคำที่กำหนดไว้ตั้งแต่วรรคแรกอยู่แล้วคือเป็นคำรวมนะครับว่า หากคณะกรรมาธิการคณะใดเห็นว่ามีความจำเป็น คือจำเป็นอันนี้นะครับ ต้องตราทั้งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แล้วก็จำเป็นทั้งร่างพระราชบัญญัติ ขึ้นใช้บังคับ มันก็อยู่ในความหมายรวมของกฎหมายทั้ง ๒ ส่วนครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านไม่ติดใจแล้วนะคะ ขอเชิญท่านเลขาธิการต่อเลยค่ะ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญค่ะ คุณทนงศักดิ์

นายทนงศักดิ์ ทวีทอง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม นายทนงศักดิ์ ทวีทอง ในข้อ ๘๐ ครับ ในบรรทัดที่ ๒ ที่เขียนบอกว่า ในการกระทำกิจการ ของคณะกรรมาธิการให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่และอย่างมี ประสิทธิผล ประการแรกที่ผมอยากจะเรียนถามว่า คำว่า คณะกรรมาธิการ นี้จะหมายถึง เฉพาะคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญคณะอื่นด้วยหรือไม่ อีกประการหนึ่งก็อยากจะเรียนถามว่า เจตนารมณ์ในการเขียน ให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของ ประชาชนอย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิผล อยากให้คณะกรรมาธิการได้ช่วยชี้แจง ให้ละเอียด หรือมีแนวทางอย่างไรในการที่ปฏิบัติ โดยเฉพาะข้อบังคับนี้ถ้าเขียนแล้ว จะสามารถใช้บังคับกับคณะกรรมาธิการทุกคณะ ให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างเต็มที่และมีประสิทธิผลได้หรือไม่ครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญท่านกรรมาธิการค่ะ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ต้องขอบคุณนะครับในข้อสังเกตนี้ เพราะฉะนั้นผมขอเพิ่มเติมในข้อ ๘๐ ให้ชัดเจนไปหมดทั้ง ๒ วรรคเลย ข้อ ๘๐ ในบรรทัดที่ ๑ ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาขึ้นเพื่อพิจารณา กระทำกิจการ หรือศึกษา เรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาหรือตามที่สภามอบหมาย ทั้งนี้ ในการกระทำ กิจการของคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ขอเติมให้เต็มเลยนะครับ วิสามัญประจำสภา และเช่นเดียวกันในวรรคสองให้เติม หากคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาคณะใดเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาคณะนั้นจัดทำร่าง ในข้อ ๘๐ เราหมายถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทั้งหมด ก็ขออนุญาตให้เขียนด้วย คำเต็มทั้งหมดครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นที่ท่านถามในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนก็จะมีอยู่ในนี้ อันนี้เหมือนเป็นแม่บทของกรรมาธิการทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในข้อ ๘๐ นี้นะครับ ในอีก ๑๗ คณะ เราจึงได้นำมาเขียนไว้ในข้างต้นนี้ว่า ให้มีการคำนึงถึงอะไรบ้างนะครับ ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญนั่นเองนะครับ ก็ขอขอบคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญคุณทนงศักดิ์ค่ะ

นายทนงศักดิ์ ทวีทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายทนงศักดิ์ ทวีทอง ครับ เจตนารมณ์ที่ผมได้เรียนถาม เพราะว่าคณะกรรมาธิการทั้ง ๑๑ คณะ ก็มีในด้าน ต่าง ๆ แต่ในเรื่องของการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน เรามีทั้งหมด ๗๗ จังหวัด เพราะฉะนั้นเป็นประเด็นปัญหาที่ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญจะดำเนินการอย่างไร ให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่ได้ ตรงนี้ก็อยากจะให้ช่วยพิจารณา ก็คือให้ข้อบังคับสามารถปฏิบัติได้อย่างแท้จริงครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญค่ะท่านพลเอก เลิศรัตน์

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ เรื่องคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของจังหวัดใช่ไหมครับ ที่ถาม เชิญครับ

นายทนงศักดิ์ ทวีทอง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายทนงศักดิ์ ทวีทอง คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทั้งหมด มี ๑๗ คณะ อยู่ในด้าน ต่าง ๆ ทั้ง ๑๗ ด้าน ทีนี้ในการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่ กระผมอยากจะ เรียนว่าเรามีจังหวัดทั้งหมด ๗๗ จังหวัด คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทั้ง ๑๗ คณะ จะทำอย่างไรให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนได้ครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ เดี๋ยวจะมีในข้อต่อไปครับ อันนี้อย่าเพิ่ง คือเราจะแบ่งกรรมาธิการออกเป็น ๒ กลุ่ม ๑๗ คณะแรกที่ท่านจะได้รับฟัง ในวรรคถัดไปจะเป็นคณะกรรมาธิการประจำสภาซึ่งทำหน้าที่ปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญ ๑๑ ด้าน เพียงแต่ก็เพิ่มเติม เพราะอย่างด้านอื่น ๆ ก็จะมีแบ่งออกเป็น หลายคณะ อันนี้คือคณะกรรมาธิการที่ทำหน้าที่การปฏิรูปในเรื่องหลัก ๆ ที่กำหนดไว้ ตามรัฐธรรมนูญ แต่เราก็จะมีคณะกรรมาธิการวิสามัญที่เป็นประมาณว่าเป็นกระบวนการ อีกหลายคณะที่จะมีต่อท้าย ซึ่งเดี๋ยวผมจะได้อธิบายเพิ่มเติมเมื่อถึงตรงนั้นแล้ว เพราะฉะนั้น ก็ขอให้รอสักนิดหนึ่งนะครับ ขอบคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ถ้าอย่างนั้นท่านทนงศักดิ์ตรงนี้ไม่ติดใจนะคะ ขอเชิญเลขาธิการค่ะ โทษทีค่ะ ขอเชิญค่ะ ขอเชิญคุณหมอชูชัยค่ะ

นายชูชัย ศุภวงศ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ในข้อ ๘๐ วรรคสามครับ หน้า ๑๕ บรรทัดที่ ๓ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจาก รายชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิก ผมมีข้อเสนอ ๒ ประเด็นครับ ท่านประธานครับ ถ้าเป็นอย่างนี้ เราก็จะ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

คุณหมอชูชัยอันนี้ยังไม่ถึงวรรคสามเลยค่ะ

นายชูชัย ศุภวงศ์ ต้นฉบับ

ขอประทานโทษครับ ผมเห็นอภิปรายข้อ ๘๐ ไปแล้วครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ข้อ ๘๐ เพิ่งได้วรรคสองเองค่ะ ท่านอลงกรณ์ค่ะ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายอลงกรณ์ พลบุตร ในฐานะกรรมาธิการ ความจริงข้อ ๘๐ นั้นมีข้อความอยู่ ๒ ส่วนที่สำคัญ ซึ่งเผอิญ ท่านกรรมาธิการที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม ผมไม่แน่ใจว่าตอบโจทย์ทั้งหมดหรือเปล่านะครับ คือถ้าดู ข้อ ๘๐ ก็ต้องดูข้อ ๗๙ ซึ่งเป็นข้อเริ่มต้นของหมวด ๔ ว่าด้วยกรรมาธิการ ซึ่งมีกรรมาธิการ อยู่ ๒ ประเภท คือกรรมาธิการสามัญและกรรมาธิการวิสามัญ ส่วนกรรมาธิการวิสามัญนั้น ก็มีอีก ๒ ประเภท คือกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาและกรรมาธิการวิสามัญทั่วไป ประเด็นก็คือว่าพอมาเริ่มข้อ ๘๐ นั้น ถ้าผ่านไป ๒ บรรทัดคงไม่เป็นปัญหาเท่าใดนัก แต่ความจริงผ่าน ๒ บรรทัดแรกนั้นไม่ควรต้องไปเติมคำว่า ประจำสภา เลย เพราะว่า ในกรณีของข้อ ๘๐ นั้นเป็นการกำหนดว่า ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อพิจารณา กระทำกิจการ หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาหรือตามที่สภามอบหมาย ควรจะเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประทานโทษครับ เป็นคณะกรรมาธิการเฉย ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงสามัญ วิสามัญ ทั้งวิสามัญประจำสภา แล้วก็วิสามัญทั่วไป เพราะว่า ในบรรทัดที่ ๒ ต่อเนื่องจนกระทั่งจบในวรรคหนึ่งนั้นเป็นเรื่องการให้คำนึงถึงในการดำเนิน กิจการของคณะกรรมาธิการ ถ้าเขียนเช่นนี้ก็เสมือนหนึ่งว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญทั่วไป หรือคณะกรรมาธิการสามัญที่สภาอาจตั้งขึ้นไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องมาคำนึงถึงประเด็น ตั้งแต่ ทั้งนี้ ที่ท่านเขียนไว้ทั้งหมดนี่ครับ ผมเพียงแต่จะสื่อความหมายไปถึงท่านกรรมาธิการ ไม่มีกรรมาธิการยกร่างแล้วนะครับ เป็นอดีตกรรมาธิการยกร่าง เพียงแต่ช่วยกันชี้แจง ในฐานะเป็น ๑ ในกรรมาธิการ ๒๕๐ ท่าน และท่านประธานเป็นประธานกรรมาธิการ ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมนั้นนะครับ ดังนั้นผมก็เลยขอข้อพิจารณา จากท่านอดีตกรรมาธิการยกร่าง ซึ่งเป็นกรรมาธิการเช่นกันนี่ว่าถ้าจะแก้ไขถ้อยคำ เพื่อให้ครอบคลุมกรรมาธิการทุกชนิดทุกประเภทนี่ก็น่าที่จะเขียนเพียงว่า ให้สภาตั้ง คณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อพิจารณา แล้วก็ความต่อไปเลยนะครับ ในวรรคนี้ทั้งวรรคก็คงจะใช้ คำว่า คณะกรรมาธิการ ส่วนต่อไปซึ่งยังไม่ถึงนะครับ ก็ถึงจะเข้าเรื่องในเรื่องของกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภา แล้วก็กรรมาธิการวิสามัญในเรื่องกระบวนการและอื่น ๆ ครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

กรรมาธิการจะชี้แจงก่อนไหมคะ เชิญค่ะ

นายเสรี สุวรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิก เป็นกรรมาธิการด้วยนะครับ อดีตกรรมาธิการครับ เรียกตัวเอง ไม่ถูกเหมือนกันตอนนี้ คือจริง ๆ ท่านประธาน ที่ผมขอแก้นี่นะครับ เข้าใจว่าข้อ ๘๐ เป็นเรื่องของคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ก็เลยจะล้อว่าการกระทำกิจการของ กรรมาธิการให้คำนึงถึงอะไรบ้าง ก็เลยใส่เติมเข้าไป อันนี้คือบรรทัดที่ ๓ ของข้อ ๘๐ ซึ่งกรรมาธิการประจำก็จะมีอยู่ในคณะต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ๑๗ คณะ ถ้าดูต่อไปนี่นะครับ อันนี้ก็เป็นเหตุผลข้อที่ ๑

นายเสรี สุวรณภานนท์ ต้นฉบับ

ข้อที่ ๒ กรรมาธิการที่ระบุไว้ในวรรคสอง จริง ๆ เดิมก็ไม่ได้ระบุ ขออนุญาต เอ่ยนาม ท่านอลงกรณ์ได้พูดถึง ตอนแรกผมก็คล้อยตาม พอมานึกขึ้นได้ว่าในบทบัญญัติ ของการยกร่างข้อบังคับก็จะมีส่วนของกรรมาธิการอื่นอยู่ในข้อ ๙๗ ในข้อ ๙๗ วรรคแรก บอกว่า เมื่อคณะกรรมาธิการได้กระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใด ๆ หรือตามที่สภา มอบหมายเสร็จแล้ว ให้รายงานต่อสภา อันนี้ก็คือทุกเรื่อง พอวรรคสองนี่นะครับ กำหนดว่า ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ หากเห็นว่ามีกรณีที่จำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเสนอมาพร้อมกับรายงานตามวรรคหนึ่งด้วย มันก็เลยแยกออกเป็น ๒ ส่วนไป ดังนั้นเจตนาในข้อ ๘๐ ก็เลยคำนึงถึงในส่วนกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภา ซึ่งส่วนนี้กรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้ตั้งแต่ละคณะโดยนำมาจาก แนวทางของด้านต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๗ ก็มีด้านต่าง ๆ แต่มาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญ วรรคสอง ก็มีบทบัญญัติในรายละเอียดว่าที่กรรมาธิการชุดนี้ ถ้าไปทำงานต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ก็เลยไปหลุดเหมือนกับล้อข้อความมาในวรรคสองมาใส่ อยู่ในข้อ ๘๐ วรรคหนึ่ง ดังนั้นกรรมาธิการประจำสภาที่เกิดขึ้นก็มาจากแต่ละด้าน ส่วนใหญ่นะครับ หรือส่วนหนึ่งมาจากแต่ละด้านในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ อันนี้ก็เลยเป็น ที่มาที่ไปเป็นอย่างนี้ครับ ขอบคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านอลงกรณ์เชิญอีกครั้งค่ะ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ กระผม อลงกรณ์ ในฐานะ กรรมาธิการ ขอบพระคุณท่านกรรมาธิการที่ได้ชี้แจง แต่ว่ายิ่งเห็นความชัดเจนว่า ถ้านำข้อความในบรรทัดที่ ๒ ตั้งแต่ ทั้งนี้ ย้ายไปต่อที่ข้อ ๗๙ จะครอบคลุม เพราะมัน เป็นไปไม่ได้ที่ในคณะกรรมาธิการซึ่งมีอยู่ ๒ ประเภท แต่ปรากฏว่า ทั้งนี้ มากำหนดให้เฉพาะ กรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ผมเข้าใจว่าเจตนารมณ์ในการที่จะยกข้อความดังกล่าว เพื่อกำกับถึงความตระหนักในเป้าหมายและกรอบที่จริง ๆ บัญญัติในรัฐธรรมนูญ เป็นเจตนารมณ์เอามาบรรจุไว้ มันควรเริ่มต้นที่ข้อแรกของหมวดว่าด้วยกรรมาธิการ ตรงนั้นจะเกิดความถูกต้องเหมาะสม ส่วนข้อ ๘๐ ท่านก็อาจจะไปเริ่มต้นเอาตรงที่ ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ๑๗ คณะ เพราะว่าข้อความของข้อ ๘๐ ๒ บรรทัดแรกไม่ได้แตกต่างจาก ๒ บรรทัดแรกของข้อ ๗๙ ดังนั้นผมคิดว่าลองร้อยเรียง ให้เกิดความสมบูรณ์ทั้งในเรื่องของการกระชับ กะทัดรัด แล้วก็อยู่ถูกที่ถูกทาง และครอบคลุมในความหมาย ต้องการที่จะกำกับไปถึงกรรมาธิการทั้งสามัญ วิสามัญ ก็เลยหารืออีกครั้งหนึ่งครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ค่ะ ขอเชิญท่านเสรีค่ะ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี กรรมาธิการนะครับ ผมก็หันซ้ายหันขวานะครับ ปรึกษาท่านใกล้ ๆ บ้าง ท่านประธาน ก็เห็นด้วยนะครับ ก็คือจริง ๆ แล้วข้อความเดิมนี่นะครับ มันก็ไม่ได้เสียหายอะไรหรอก มันก็ครอบคลุมไปทุกเรื่อง อย่างนั้นก็ขออนุญาตใช้ข้อความเดิมได้ไหมครับว่า ทั้งนี้ ในการกระทำกิจการของคณะกรรมาธิการให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ก็ใส่ไม่ต้องระบุครับว่า กรรมาธิการอะไรนะครับ ทั้ง ๒ วรรคนี่นะครับ ข้างล่างด้วยนะครับ มันไม่ได้เกิดความเสียหายอะไร แล้วก็จะสามารถตีความไปที่ท่าน ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านอลงกรณ์ได้กรุณาให้ความเห็นด้วยนะครับ ถ้าไม่ขัดข้องก็จะได้ผ่านตรงนี้ไปนะครับ ก็คือเอาข้อความเดิมไม่เติมครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เดี๋ยวนะคะ เดี๋ยวขอท่านอาจารย์ดุสิตเสียก่อนนะคะ แล้วเดี๋ยวถ้าเผื่อว่ามีความเห็นไม่ขัดกัน ก็จะให้แก้เลยค่ะ ขอเชิญท่านอาจารย์ดุสิตค่ะ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

ผมขอสละสิทธิ์ครับ เดี๋ยวไปลำดับถัดไปครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากค่ะ ถ้าอย่างนั้นเลขาธิการอ่านข้อความใหม่เลยค่ะ ขอเชิญท่านทนงศักดิ์ อีกครั้งหนึ่ง ขอโทษค่ะ

นายทนงศักดิ์ ทวีทอง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ทนงศักดิ์ ทวีทอง ครับ ก็อยากจะเรียนว่าคณะกรรมาธิการในข้อบังคับนี้มีคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วก็คณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งภารกิจหน้าที่นั้นก็มีแตกต่างกันโดยเฉพาะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภานั้น แน่นอนที่สุดในเจตนารมณ์ต้องให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ในคณะกรรมาธิการสามัญนั้นกระผมคิดว่าหน้าที่ที่เขียนไว้ในที่นี้นั้นก็คงไม่จำเป็นที่จะต้อง คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน และโดยเฉพาะคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติซึ่งจะเป็นผู้เสนอรายชื่อผู้สมัครสมาชิก เพราะฉะนั้นตรงนี้ครับลองพิจารณาดูให้ดี ถ้าเราจะไปล็อกคำว่า คณะกรรมาธิการทั้งหมดต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น ข้อบังคับนี้น่าจะมีปัญหา ท่านลองพิจารณาดูครับว่าคณะกรรมาธิการวันนี้นั้นเราไม่ได้ มีเฉพาะกรรมาธิการสามัญกับวิสามัญเท่านั้น แต่ท่านได้แตกลูกเป็นกรรมาธิการหลายอย่าง จนผมเรียกไม่ถูกครับ ขอบคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญค่ะ คุณอนุสรณ์ขอเชิญค่ะ

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล นะครับ ผมอยากขอเรียนถามทำความเข้าใจนะครับ ในข้อ ๘๐ วรรคสองที่บอกว่า หากคณะกรรมาธิการวิสามัญนี่นะครับที่จะพูดถึงในเรื่องว่า ถ้ามีความจำเป็นจะต้องแก้ไข พ.ร.บ. นี่นะครับ ผมเข้าใจว่าการแก้ไข พ.ร.บ. นี่น่าจะเป็น หน้าที่ของ สนช. ผมเข้าใจว่าทาง สปช. เอง ทางเราเองก็คงจะทำดูว่า ถ้ามีประเด็นไหน หรือกฎหมายฉบับไหนจะต้องแก้ไขอะไรบ้างก็จะส่งไปที่ สนช. ใช่ไหมครับ หรือจะต้องจัดทำ ร่างพระราชบัญญัติขึ้นมาเองครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญท่านประธานกรรมาธิการค่ะ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ครับ กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ที่ท่านผู้อภิปรายเพิ่งถามนี่ว่าเรามีหน้าที่ ในการจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติหรือไม่ อันนี้ สนช. นี่นะครับส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ได้ค่อยทำ พ.ร.บ. หรอกครับ สนช. นี่รับ พ.ร.บ. มาจาก คณะรัฐมนตรีเกือบทั้งหมดเลยแล้วก็ไปพิจารณานะครับ มันก็เป็นผู้ผ่านกฎหมาย เป็นผู้ออก พระราชบัญญัติ เราในฐานะเป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติมีภารกิจอยู่ประการหนึ่ง คือเราสามารถ ที่จะยกร่างพระราชบัญญัติขึ้นมาเพื่อปฏิรูปในเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็ได้ หรือถึงขั้นตอนหนึ่ง เราก็อาจจะมีได้รับมอบหมายให้ทำ ให้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนะครับ ทั้งหมดนี้เราก็ส่งไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการในขั้นตอนของการตราเป็น พระราชบัญญัติ เราเป็นคนยกร่าง แต่ถ้าเป็นพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการเงิน หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว ทางประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็จะส่งกลับไปให้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบก่อน เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าสภาแห่งนี้ ไม่สามารถที่จะตราพระราชบัญญัติได้ แต่เราออกไม่ได้ เราตราได้ แล้วเราก็ส่งไปให้ สนช. เป็นผู้ออกครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นที่ติดค้างหารือกันเรื่องของกรรมาธิการนี่นะครับ เจตนาจริง ๆ แล้วถ้าท่านอ่านทั้งหมวดนี้ ข้อ ๗๙ เราเป็นเหมือนกับอธิบายให้เห็นว่าเราจะมีกรรมาธิการ อยู่กี่ประเภท ส่วนข้อ ๘๐ เรากำลังพูดถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาที่ถูกออกแบบขึ้นซึ่งในอดีตเรียกว่าสามัญ แต่พอเป็น วิสามัญก็เพราะว่ามีคนนอก ที่จะออกแบบให้มีคนนอกเข้ามาอยู่ในคณะกรรมาธิการนี้ จะเป็นสแตนดิง คอมมิทตี (Standing committee) นะครับ ที่ภาษาฝรั่งเขาใช้ถึงเรียกว่า ประจำสภา นั่นเป็นคณะกรรมาธิการหลักทั้ง ๆ ที่ปฏิรูป ในขณะนี้ก็คือ ๑๗ ด้านนะครับ เพราะฉะนั้นในการที่จะปฏิรูปเราจึงนำข้อความที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญมาเขียนไว้ ๕-๖ บรรทัด เราเพิ่มเติมอันนี้ขึ้นทีหลังเท่านั้นเองว่า ในการดำเนินการตามหน้าที่ของท่านที่ได้รับ มอบหมายจากสภา ท่านจะต้องคำนึงถึงอะไรต่าง ๆ นานา พวกนี้จะต้องคำนึงถึงมากกว่า ส่วนคณะกรรมาธิการคณะอื่น ๆ นั้นจะไม่ใช่คณะกรรมาธิการในรูปแบบนี้ครับที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตในข้อต่อ ๆ ไป เป็นคณะกรรมาธิการกระบวนการ เช่น จัดทำภาพอนาคต ประเทศไทย เขาก็จะไปวาดภาพแล้วส่งมาให้พวกนี้ใช้ประโยชน์ หรือคณะกรรมาธิการ ที่ประชาสัมพันธ์การปฏิรูปต่าง ๆ เป็นต้น เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จึงถูกมาเน้นไว้ในข้อ ๘๐ เพราะว่าเป็นคณะกรรมาธิการหลักที่ทำหน้าที่ในการปฏิรูปประเทศตามภารกิจของสภาแห่งนี้ จึงได้เน้นว่าข้อ ๘๐ เป็นเรื่องของคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทั้งสิ้น ซึ่งก็ต่อไปจนถึง วรรคสาม วรรคสี่ ส่วนคณะกรรมาธิการอื่น ๆ นั้นไม่ใช่หมดแค่นี้ ก็จะมีอยู่ในข้อต่อ ๆ ไป บางท่านอาจจะใจร้อนไปหน่อยก็เลยยังไปไม่ถึง ก็เลยมาพยายามที่จะบอกว่าตรงนี้ มันควรจะเป็นกรรมาธิการหรือไม่ หรืออะไร อย่างไร อันนี้ผมก็ขอเรียนชี้แจงว่า มันเป็นขั้นเป็นตอน ถ้าเดี๋ยวจบหมวดนี้แล้วเรากลับมาดูตรงนี้อีกทีหนึ่ง ถ้าท่านอยากจะแก้ อะไรเพิ่มเติมผมก็ยินดีครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญค่ะคุณโกวิท

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานีครับ ผมขออภิปรายสนับสนุนความคิดเห็นของ ท่านอลงกรณ์ พลบุตร ขออภัยที่เอ่ยนามนะครับ เนื่องจากคำว่า การทำงานของสภานี้ เราจะต้องทำงานที่ยึดโยงกับประชาชน อันนี้ผมยังยืนยันตรงนี้ว่า ถ้าหากไม่ว่ากฎหมายก็ดี นโยบายประเทศก็ดี หรือแม้แต่รัฐธรรมนูญก็ดี ถ้าหากว่าเราขาดการยึดโยงกับประชาชน แล้วก็จะมีปัญหา ไม่ใช่ว่าเราจะเอาความเห็นของเราไปกำหนดประชาชนทั้งประเทศ นี่ประการที่ ๑

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

คราวนี้ในข้อ ๗๙ ครับ ข้อ ๗๙ เราพูดถึงคณะกรรมาธิการซึ่งเป็นสามัญ วิสามัญประจำสภา และวิสามัญปกติ คราวนี้การทำหน้าที่ตรงนี้ คำว่า ตั้งแต่ คำว่า ทั้งนี้ การทำงานของคณะกรรมาธิการทุกประเภท ควรจะไปวางไว้เป็นวรรคสามของข้อ ๗๙ เสีย เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าถ้าเป็นคณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ ธรรมดาจะไม่ได้อยู่ตรงนี้เลย ตรงนี้คำว่า ตั้งแต่ คำว่า ทั้งนี้ จะเป็นบทบังคับที่จะใช้กับ กรรมาธิการต่อไปในทุกคณะ ผมกราบเสนอแค่นี้ ขอขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญค่ะคุณเสรี

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

ก็พยายามเอาใจสมาชิกทั้งสภาใครจะขออะไร พยายามจะให้หมดละครับ แต่พอให้ไปให้มาเดี๋ยวจะเป็นปัญหา กราบเรียนท่านประธาน อย่างนี้ครับ เมื่อกี้ท่านประธานผมก็ชัดเจนนะครับว่า เกรงว่าจะไปห่วงเรื่องถ้อยคำถ้ากำหนด เอาไว้ในข้อ ๘๐ โดยไม่กำหนดคณะกรรมาธิการประเภทใดแล้วนี่นะครับ มันก็จะเป็นอย่างที่ ท่านสมาชิกอธิบาย ก็คือส่วนที่ต้องคำนึงถึงทั้งหมดนี่นะครับ มันก็จะต้องไปอยู่ข้อ ๗๙ แต่ข้อ ๘๐ นี่เป็นเรื่องของกรรมาธิการประจำสภา ดังนั้นท่านจึงเลยขอให้ใส่ข้อความ จะได้ไม่ต้องไปย้าย ไม่ต้องไปย้ายข้อนะครับ ขอให้เป็นกรรมาธิการประจำสภานี่นะครับ ทำหน้าที่ตรงนี้โดยคำนึงถึงรายละเอียดต่าง ๆ ตรงนี้ ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองนะครับ ก็จะได้แยกออกมาให้ชัดเจนว่าเป็นส่วนของวิสามัญประจำสภาเท่านั้น ส่วนกรรมาธิการชุดอื่น เมื่อสักครู่ท่านสมาชิกก็แย้งอีกนะครับว่าถ้าไปใส่อย่างนี้เดี๋ยวทุกคณะต้องคำนึงถึงหมดนะครับ ขอให้ไม่ต้องใส่นะครับ ก็เลยไปอยู่ในข้อเท่าไรเมื่อกี้ที่เรียนไป ข้อ ๗๙ ใช่ไหมครับ ข้อ ๗๙ นะครับว่า ถ้ามีการยกร่างกฎหมายแล้วนี่นะครับ ก็ให้เป็นไปตามข้อ ๗๙ นะครับ ดังนั้นเพื่อเจ้าหน้าที่ได้บันทึกชัดเจนนะครับว่าในส่วนข้อ ๘๐ นี้กรรมาธิการ ถ้อยคำว่า กรรมาธิการ ในบรรทัดที่ ๓ ขอให้เป็นกรรมาธิการวิสามัญประจำสภานะครับ แล้วก็วรรคสอง หากคณะกรรมาธิการในประโยคแรกนี่นะครับ คณะใดก็ให้เป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาเช่นเดียว มันก็จะได้เป็นข้อเฉพาะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาเท่านั้นจะได้ไม่ต้องสับสนนะครับ ขอเป็นอย่างนี้ครับ ขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ที่ประชุมไม่ติดใจนะคะ ขอท่านเลขาธิการอ่านความในข้อ ๘๐ ใหม่ค่ะ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาสิบเจ็ดคณะ แต่ละคณะ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสิบสามคนแต่ไม่เกินยี่สิบเก้าคน และบุคคลผู้ไม่ได้ เป็นสมาชิกไม่เกินจำนวนหนึ่งในสี่ของกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกของแต่ละคณะ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจากรายชื่อผู้สมัคร เป็นสมาชิก โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการเมือง

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการเมืองให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านเลขาธิการค้างไว้ก่อนตรงนั้น หยุดไว้ก่อน เชิญท่านอาจารย์ดุสิตค่ะ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ผมเพียงแต่ยกมือ เพื่อขอจองคิวไว้ก่อนครับ แต่ว่าถ้าจะให้อภิปรายก็ยินดีเลยครับ เพราะว่าเกรงใจ ท่านรองเลขาธิการอ่านยาวตลอดหน้ากระดาษนะครับ คิดว่าคงไม่ต้องอ่านได้ไหมครับ เข้าไปอภิปรายเลยได้ไหมครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ยังไม่ได้อภิปรายในวรรคสามค่ะ เพราะฉะนั้นเมื่อครู่นี้เราพูดถึงวรรคหนึ่งกับวรรคสอง ของข้อ ๘๐ ค่ะ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

ครับ ท่านรองเลขาธิการได้อ่านวรรคสามเรียบร้อย แล้วครับ กำลังจะเข้าหัวข้อ (๑) (๒) (๓) ใน ๑๗ คณะนี่ครับ ผมขออภิปรายเลยได้ไหมครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

อย่างนั้นท่านนั่งลงก่อนค่ะ เพราะว่าจะให้เลขาธิการเขาอ่านให้จบก่อนค่ะ นึกว่าท่านมี ประท้วงด้วยเรื่องอะไรคะ ขอเชิญค่ะ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการบริหารราชการแผ่นดินให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่น ตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๔) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการปกครองท้องถิ่นให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๕) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๖) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอ เพื่อการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่น ตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๗) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๘) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปพลังงาน

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านพลังงานให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๙) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูประบบสาธารณสุข

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านระบบสาธารณสุขให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภา มอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑๐) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑๑) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยี สารสนเทศ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑๒) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑๓) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการแรงงาน

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการแรงงานให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑๔) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑๕) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และการศาสนา

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนาให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑๖) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการกีฬา

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการกีฬาให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑๗) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หากมีความจำเป็นสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาเพิ่มขึ้น หรือลดจำนวนคณะกรรมาธิการลงเมื่อใดก็ได้

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

สมาชิกคนหนึ่งจะดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้ ไม่เกินสองคณะ เว้นแต่สมาชิกที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภา ให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้หนึ่งคณะ สำหรับสมาชิก ผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาจะดำรงตำแหน่งเลขานุการ คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาอื่นอีกมิได้ ผู้ซึ่งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อาจดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้ไม่เกินหนึ่งคณะ แต่จะเป็น ผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในคณะกรรมาธิการคณะนั้นมิได้ ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องให้ความสำคัญกับ การยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันดับแรก

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาจะดำเนินการศึกษาและเสนอแนะ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปในเรื่องใด ๆ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภารายงานให้ สภาทราบ และให้รายงานความคืบหน้าให้ทราบทุกหนึ่งเดือน

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญท่านอาจารย์ดุสิตนะคะ แล้วต่อด้วยท่านคุณหมอชูชัย แล้วก็ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ค่ะ ขอเชิญค่ะ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน กระผม ดุสิต เครืองาม สปช. ครับ ผมขออนุญาตอภิปรายความเห็นเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ๑๗ คณะตามที่ท่านรองเลขาธิการได้อ่านแล้ว มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ผมติดใจเป็นอย่างยิ่ง ที่จะขอหารือผ่านไปที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนี่นะครับ มีศัพท์คำว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญ ปรากฏอยู่ในเอกสารนี้ตลอดนะครับ เป็นที่ทราบกันดีนะครับว่า คณะกรรมาธิการประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญยังแตกลูกออกย่อยเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา และคณะกรรมาธิการวิสามัญทั่วไปที่กำลังจะเลือก ดังนั้นในบรรดา ๑๗ รายชื่อ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภานั้น กระผมอยากจะขอหารือว่าให้ตัดคำว่า วิสามัญ ออกทั้งหมดนะครับ ยกตัวอย่างอย่างเช่น (๑) ให้เรียกชื่อว่า คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการเมือง (๒) เช่น คณะกรรมาธิการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้เป็นต้น ผมขอกราบเรียนนะครับว่า เราเข้าใจครับว่ากรรมาธิการที่จะเข้ามาอยู่ในแต่ละชุดนั้น มีทั้งสมาชิก สปช. แล้วก็ที่จะเชิญจากข้างนอกเข้ามา ตรงนี้ไม่ขัดข้องครับ แต่กระผม คิดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีชื่อคำว่า วิสามัญ ให้เป็นส่วนเกินอยู่ในรายชื่อทั้ง ๑๗ คณะ ตรงนี้นะครับ เหตุผลก็คือเวลาเราจะออกไปพบประชาชน ขึ้นบนเวที ออกวิทยุโทรทัศน์ สวัสดีครับ กระผม ดุสิต เครืองาม เป็นสมาชิกอยู่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการเมือง ประชาชนเขาไม่เข้าใจหรอกครับว่า คำว่า วิสามัญ นั้นคืออะไร ไม่ควรจะมาเอาเป็นสาระ ในการออกไปสู่ข้างนอก ไม่มีความจำเป็นครับ แล้วก็ผมยังนึกต่อไปอีกช็อต (Shot) หนึ่งว่า ถ้าผมจะพิมพ์นามบัตรเป็นภาษาอังกฤษขึ้นมานี่จะแปลคำว่า วิสามัญ นี้เป็นแปลว่าอะไร ถ้าเป็นด้านพลังงาน คำว่า วิสามัญ เท่าที่ผมเข้าใจก็คือ แอดฮอค คอมมิทตี (Ad hoc committee) ถ้าเป็นกรรมาธิการสามัญนี่แปลว่าสแตนดิ้ง คอมมิทตี นะครับ แอดฮอคก็เป็นคำที่ฟังดูแล้วไม่ค่อยจะสง่าเท่าไรนัก แปลว่าเฉพาะกิจบ้าง แปลว่าชั่วคราวบ้าง เพราะฉะนั้นถ้าจะพิมพ์นามบัตรนะครับ กรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปพลังงาน ผมก็จะต้อง พิมพ์ว่า เอนเนอร์จี รีฟอร์ม แอดฮอค คอมมิทตี เมมเบอร์ (Energy reform ad hoc committee member) ไม่สง่างามเลยครับ แอดฮอค แปลว่าเฉพาะกิจ แต่ว่าเรากำลังเข้ามา ทำงานในเรื่องใหญ่ ใหญ่มากในการปฏิรูปประเทศนะครับ เพราะฉะนั้นคำว่า วิสามัญ มันเป็นแค่ระเบียบการบริหารราชการทางด้านการเงินงบประมาณของรัฐสภาเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาอยู่ในบัญชีรายชื่อทั้ง ๑๗ คณะนี้นะครับ จึงขอกราบเรียนว่า ขอให้ตัดคำว่า วิสามัญ ออกไปนะครับ เป็นแค่การเรียกชื่อเท่านั้น แต่ความหมายยังเป็น วิสามัญอยู่ครับ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

ข้อคิดเห็นและคำถามข้อที่ ๒ ก็คือในวรรคนี้ บรรทัดที่ ๓ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจากรายชื่อผู้สมัคร เป็นสมาชิก ตรงนี้เข้าใจว่าสมาชิกหลาย ๆ ท่านก็คงมีข้อข้องใจที่จะขอเรียนฝากถามไปที่ ท่านคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นผู้เสนอ หมายถึงเป็นผู้เสนอสมาชิกที่จะเชิญมาจากข้างนอกนี่นะครับ ท่านจะมีหลักการ วิธีการอย่างไร ขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ยังไม่ตอบนะคะ เดี๋ยวรอหลาย ๆ ท่านแล้วกันค่ะ ขอเชิญท่านอาจารย์หมอชูชัยค่ะ

นายชูชัย ศุภวงศ์ ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเริ่มจาก วรรคสาม บรรทัดที่ ๓ นะครับ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นผู้เสนอจากรายชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิก ตรงนี้ครับ ทำให้ผมเข้าใจว่าจากเฉพาะ ๗,๓๗๐ คนที่เข้าสู่กระบวนการสรรหา ผมเสนอเพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรอบรู้กว้างขวาง แล้วก็ลุ่มลึก ก็คือกรรมการสรรหาพวกเราทั้งหลายนี่ครับ ๗๗ ท่าน ถ้าไม่ใส่ตรงนี้ไป ก็จะน่าเสียดายมาก เพราะว่าคนที่มาเป็นคณะกรรมการสรรหา เราเป็นที่ทราบกันดีนะครับ พอประกาศชื่อไปก็เป็นยอมรับกันอย่างกว้างขวางมาก แล้วก็อาจจะยกเว้นบางชุด ที่ตั้งข้อสังเกต แต่อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้วท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรอบรู้อย่างลึกซึ้ง ในแต่ละด้าน ตรงนี้จะเขียนว่าอย่างไร รายชื่อกรรมการสรรหาเข้าไปด้วยหรืออย่างไร อันนี้เป็นข้อเสนอ

นายชูชัย ศุภวงศ์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ คำว่า ผู้เสนอจากรายชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิก ผมเปิดดู ในรัฐธรรมนูญไม่มีคำว่า ผู้สมัคร แต่ว่ามีคำว่า สรรหา ตรงนี้อยากเสนอว่าเราจะเปลี่ยนเป็น รายชื่อผู้เข้ารับการสรรหาให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ แต่ว่าทั้งนี้ก็สุดแต่จะ พิจารณา ในวรรครองสุดท้ายหน้า ๑๖ ที่เริ่มต้นด้วยสมาชิกคนหนึ่งนะครับ แล้วก็ลงท้ายด้วย ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องให้ความสำคัญกับการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันดับแรก อันนี้ก็คล้าย ๆ เตือน คนที่เป็นกรรมาธิการยกร่างนะครับว่า เป็นได้ไม่เกิน ๑ คณะ แล้วก็ต้องให้ความสำคัญ แต่ว่าถ้าใช้ตรรกะเดียวกันนี้ครับ อาจจะต้องไปเขียนตรงตำแหน่งที่บรรทัดที่ ๒ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภาได้ ๑ คณะ อันนี้ก็กำชับว่าให้ ๑ คณะ ถ้าเราใช้ตรรกะเดียวกันนี้ เราอาจจะต้องเขียนต่อว่า ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องให้ความสำคัญกับการเป็นประธานคณะกรรมาธิการ วิสามัญเป็นอันดับแรก ประเด็นของผมคือคิดว่าไม่ต้องเขียนว่า ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องให้ความสำคัญ กับการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันดับแรก เพราะว่าท่านที่สมัครเป็นคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องตระหนักถึงเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่ถ้าเขียนตรงนี้ก็จะมีคำถามว่า แล้วคนที่ เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญที่ไปบอกว่าต้องเป็นได้ ๑ คณะเท่านั้นก็ต้องเขียนเช่นกัน คล้าย ๆ ทำนองนั้น แล้วแต่ท่านคณะกรรมาธิการจะไปพิจารณาว่าสมควรจะเขียนหรือไม่ แต่เป็นประเด็นที่ผมอยากจะตั้งข้อสังเกตเพื่อหารือต่อไปครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณมากค่ะ ต่อไปขอเชิญท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ค่ะ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ครับ ผมมีประเด็น ๓ ประเด็นที่ค่อนข้างจะสอดคล้องกับท่านอาจารย์ดุสิตแล้วก็คุณหมอชูชัย คือประการแรกนั้นผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ดุสิตว่าพวกเรามีความเห็นตรงกันว่า กรรมาธิการไม่ควรจะเป็นแต่เฉพาะสมาชิกเท่านั้น แต่ควรจะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ข้างนอกด้วย อันนี้ตรงกันแล้วก็ไม่มีอะไรขัดข้องก็เห็นด้วยกับกรรมาธิการที่เสนอ แต่ว่าการจะเรียกว่า เป็นกรรมาธิการวิสามัญแบบโน้นแบบนี้ ผมว่าเรียกเสียว่าเป็นกรรมาธิการเฉย ๆ ไม่ต้องบอก สามัญหรือวิสามัญ เราจะเรียกของเราอย่างนี้ ซึ่งหมายความว่ากรรมาธิการที่มีทั้งผู้ที่ มาจากสมาชิกและบุคคลที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิข้างนอกมันก็จบ อันนั้นประเด็นที่ ๑

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ที่คุณหมอชูชัยพูดซึ่งก็ตรงกัน ผมเห็นในวรรคสามในตอนสุดท้าย เขียนว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจากรายชื่อผู้สมัคร เป็นสมาชิก ในความเป็นจริงนั้นผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกแต่ละจังหวัดมีจริง แต่ขณะเดียวกันในแต่ละด้าน ในกฎหมายเขียนว่า ให้ได้รับการเสนอชื่อ ก็กลายเป็นว่าจะต้องเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อของ แต่ละด้าน ถ้าบอกผู้สมัครก็จะกลายเป็นแต่เฉพาะท่านที่สมัครอยู่ในต่างจังหวัดและไม่ได้รับ การคัดเลือก เพราะฉะนั้นถ้าเขียนเสียว่าเป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อหรือว่าที่คุณหมอชูชัย ใช้เมื่อสักครู่นี้ว่า ผู้เข้ารับการสรรหา ผมคิดว่าอันนั้นก็อาจจะครอบคลุมไปเลยทั้งจะเรียกว่า ผู้สมัครหรือว่าจะเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อ อันนี้ก็น่าจะดีกว่า ซึ่งอันนี้ไม่มีอะไรเป็นถ้อยคำ ทีนี้ในประเด็นในเรื่องนี้ผมคิดว่าทางที่ ๑ ก็เป็นอย่างที่กรรมาธิการเสนอ คือให้กรรมาธิการ วิสามัญเป็นผู้เสนอชื่อ แต่ว่ามันก็มีทางเลือกอีกทางหนึ่งก็คือให้กรรมาธิการนั้น ๆ ที่สมาชิก ผู้อยู่ในกรรมาธิการนั้น ๆ เป็นผู้เสนอชื่อ มันก็เป็นไปได้ คำถามคือเราจะให้กรรมาธิการทุกชุด แล้วให้กรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นคนไปกำหนดเลยว่าจะเลือกใคร ไปอยู่ในชุดไหนให้เสร็จเลย แล้วเรามารับกันในที่นี้ทีเดียว เดี๋ยวก็จะขอแก้กันใหม่ ก็สนุกสนานวุ่นวายพอสมควร เพราะว่าบางคนก็น่าเกลียดที่จะไม่ยอมรับ ถึงในเวลานั้น มันจะพูดจากันลำบาก ทำไมไม่ให้กรรมาธิการในแต่ละคณะที่เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เขาเสนอกันเอง หรือถ้าจะให้กรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอก็ต้อง เติมเป็นว่า ให้สมาชิกที่อยู่ในกรรมาธิการในแต่ละคณะนั้นเห็นชอบ จะได้ไม่มีปัญหา ในที่ประชุมใหญ่ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวก็จะโดนว่ากรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ นี่ใหญ่เหลือเกินกำหนดได้ทุกคนเลย ทุกกรรมาธิการ ๑๗ คณะ จะเอาคนนอก ๑ ใน ๔ ใส่ตรงไหน ชื่ออะไรก็ได้แล้วเสนอเข้ามาในที่นี้ ผมก็คิดว่าเพื่อปกป้องไหมครับ ทำเสียอย่างนั้น ดีไหมครับ จะให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่อยู่ในแต่ละกรรมาธิการเป็นผู้เสนอบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจำนวน ๑ ใน ๔ ผมว่าถ้าอย่างนั้นก็อาจจะดูดีกว่าหรือเปล่า หรือถ้าท่านจะเสนอก็ให้สมาชิกที่อยู่ในกรรมาธิการนั้นเขาเห็นชอบ คือปรึกษาหารือเขา สักหน่อยนะครับ อันนั้นก็เป็นประเด็นที่ ๒

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ก็คือการปฏิรูป ผมมองว่าการปฏิรูป ไม่ใช่เรื่องของการแก้ปัญหา แต่เป็นเรื่องของการปรับโครงสร้าง และการปรับโครงสร้างในครั้งนี้ ไม่ใช่ไปแก้ปัญหาเล็กปัญหาน้อย และไม่ใช่ไปแก้ปัญหาภาคส่วนนั้นภาคส่วนนี้ แต่ต้องดู องค์รวมให้ได้ การปฏิรูปคือการปรับโครงสร้าง หาจุดคานงัดให้ได้ว่าจุดคานงัด อยู่ที่ไหน การปฏิรูปย่อมมีการเจ็บปวด เพราะจะมีคนได้และจะมีคนเสียประโยชน์ ถ้าเราไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ผู้ที่ได้ประโยชน์อยู่ในปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นอยู่เหมือนเดิม ผู้เสียประโยชน์ก็เป็นอยู่เหมือนเดิม เมื่อเราปรับโครงสร้างย่อมมีคนได้มีคนเสีย เพราะฉะนั้น ท่านประธานครับ เราจำเป็นที่จะต้องดูภาพใหญ่ หาจุดคานงัดให้เจอและเสนอไปตรงนั้น และถ้าทำตรงนั้นได้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสำเร็จภายในปีหรือ ๒ ปี อาจจะต้องมี กระบวนการต่อเนื่องที่ยาวไกลกว่านั้นไปจนประสบความสำเร็จ แต่มันเริ่มต้นทิศทางที่ ถูกต้อง ทีนี้ถ้ามาดูใน ๑๗ คณะ ผมเองก็ตั้งคำถามครับ เพราะว่าผมเองยังไม่เข้าใจ อย่างเช่น ในคณะที่ ๑๖ ผมถามว่าอันนี้เป็นเรื่องของการปรับโครงสร้างใหญ่ของสังคมของประเทศ ถูกต้องหรือเปล่า หรือเราแบ่งเป็นด้าน พิจารณาเป็นเซคเตอร์ (Sector) และผมถามว่า เราจะปฏิรูปอะไร ใน (๑๖) บอกว่าจะมีคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการกีฬา โอ้โฮ เดี๋ยวคนก็จะปฏิรูป ถ้าใช้อันนี้เป็นมาตรฐานมันก็จะมีปฏิรูปการโน่นการนี่ สิ่งนั้นสิ่งนี้ แม้กระทั่งปฏิรูป สลากกินแบ่งรัฐบาล มันก็เลยกลายเป็นการปฏิรูป หรือปฏิรูปทีละเรื่อง ผมคิดว่าเรามีเวลา ไม่มาก เราน่าจะดูเรื่องโครงสร้างใหญ่ แล้วจะทำอย่างไรที่จะให้โครงสร้างใหญ่พอปรับแล้ว มันสะเทือนต่อไปเป็นระลอก ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิรูปโครงสร้างใหญ่ เขาจะได้ เดินต่อไป เมื่อพวกเราสิ้นวาระลงจะได้เดินต่อไปได้ ผมอยากให้มองอย่างนั้น ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว จะมีคนขอมา ขอให้มีเรื่องการกีฬาเราก็ใส่การกีฬา ขอให้มีเรื่องอะไรเราก็ใส่ นี่ผมเรียน ด้วยความเคารพว่า เราควรจะต้องพิจารณาเป็นองค์รวมหรือเปล่าว่าอะไรเป็นเรื่องโครงสร้าง ที่เราจะต้องหาจุดคานงัด แล้วปรับโครงสร้างนั้นให้ได้และต้องมีการเจ็บปวดแน่นอน ถ้าเราจะเปลี่ยนโครงสร้าง ถ้าเราจะปรับ ขอบพระคุณครับ ท่านประธานครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะ ต่อไปขอเชิญท่านอลงกรณ์นะคะ ท่านนิรันดร์ พันทรกิจ แล้วก็ท่านภัทรียา สุมะโน ท่านปราโมทย์ ไม้กลัด ขอเชิญท่านอลงกรณ์ค่ะ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม อลงกรณ์ กรรมาธิการ คงใช้สิทธิถามอีกครั้งเดียวครับ แต่ว่าเป็น ๒ คำถามด้วยกัน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ต้นฉบับ

คำถามแรก ก็คือในวรรคสามที่มีการยกร่างว่า ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาสิบเจ็ดคณะ แต่ละคณะประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสิบสามคน แต่ไม่เกินยี่สิบเก้าคน ประเด็นนี้เคยตั้งคำถามโดยกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ในสัดส่วนเป็นสมาชิก สปช. ไม่น้อยกว่า ๑๓ คน แต่ว่าไม่เกิน ๒๙ คน ส่วนบุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่เกินจำนวน ๑ ใน ๔ ถ้าเป็นสัดส่วนอย่างนี้จะตอบโจทย์ ในเรื่องของเพื่อนสมาชิกเพื่อนผู้มีอุดมการณ์เดียวกันที่ต้องการเข้ามาเป็นสมาชิก สปช. ได้จำนวนประมาณสักเท่าไร ๒. ก็คือการคุมเสียงในส่วนนี้ของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าหากว่า มีจำนวนถึง ๒๙ คนด้วยกัน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ที่จะถามก็คือว่า ซึ่งคงให้กรรมาธิการช่วยกันตอบนะครับ ในกรณีของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แน่นอนที่สุดต้องมีการปฏิรูป หลายด้าน อย่างน้อย ๑๐ บวก ๑ นะครับ แต่หนึ่งนั้นนี่ผมเข้าใจว่ากรรมาธิการยกร่างชุดเดิม ได้พยายามที่จะตอบโจทย์ให้ได้อย่างน้อย ๑๐ บวก ๑ ในสาขาต่าง ๆ แต่ประเด็นที่เป็นโจทย์ และทุกครั้งที่มีการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของเรานะครับ ไม่ว่าจะเป็นโดย ดับเบิลยูอีเอฟ (WEF) ก็ดี ของไอเอ็มดี (IMD) ก็ดี หรือของเวิลด์ แบงก์ (World Bank) ก็ดี ประเด็นหนึ่งที่ผมไม่เห็นในนี้นะครับ ขออภัยครับ แล้วก็อยากฟังว่าอยู่ที่กรรมาธิการชุดใด นั่นก็คือในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ในเรื่องของอินฟราสตรัคเจอร์ (Infrastructure) ขออภัยที่ต้องกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ แน่นอนจะมีเบสิค อินฟราสตรัคเจอร์ (Basic infrastructure) มีเทคโนโลจิคอล อินฟราสตรัคเจอร์ (Technological infrastructure) แล้วก็มีไซแอนติฟิค อินฟราสตรัคเจอร์ (Scientific infrastructure) จะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนครับ ส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมีคำตอบ แต่ส่วนที่เป็นเบสิค อินฟราสตรัคเจอร์ และการจัดอันดับในปีล่าสุดของเรานี่ครับ ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของเราอยู่ในลำดับที่ หลัง ๆ มากทีเดียว ก็เพียงแต่ถามกรรมาธิการว่าในการจัดตรงนี้อยู่ในกรรมาธิการชุดใดนะครับ จริงอยู่อาจจะมีการเสนอให้มีการตั้งเพิ่มเติมได้ แต่ผมอยากให้คิดว่าการจัดลำดับความสำคัญ ต่อโจทย์ใหญ่ ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเรื่องดัชนีชี้วัดของสถาบันจัดอันดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันแต่ละครั้ง แต่ละปีแล้วนี่มันมีความชัดเจนอยู่ในตัว ก็เลยขออนุญาตเรียนถามประเด็นนี้ครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะ ต่อไปขอเชิญท่านนิรันดร์ พันทรกิจ ค่ะ

นายนิรันดร์ พันทรกิจ ต้นฉบับ

ขอบคุณท่านประธานครับ กระผม นิรันดร์ พันทรกิจ หมายเลข ๑๑๕ ครับ ท่านประธานครับ ผมมีเรื่องที่จะนำเสนออยู่ ๓ ประเด็นใหญ่ ๆ ซึ่ง ๒ ประเด็นแรกนั้นก็คงจะเป็นเรื่องที่ท่านสมาชิกได้อภิปรายไปแล้ว ก็คงจะไม่อภิปรายซ้ำ แต่เพียงว่าอยากจะพูดเพิ่มเติมนิดหน่อยว่าเห็นด้วยในกรณีที่ ๑ ก็คือ เรื่องของชื่อคณะกรรมาธิการที่จะเป็นเฉพาะคณะกรรมาธิการสามัญ ขอประทานโทษ ใช้คณะกรรมาธิการเฉย ๆ ไม่ต้องมีวิสามัญ อันนี้ก็ต้องเป็นการบ้านกับทางคณะกรรมาธิการ ยกร่างข้อบังคับนี้ว่าจะต้องไปแก้ไขอย่างไร ถ้าสมมุติสมาชิกส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าควรจะเป็น ชื่อคณะกรรมาธิการปฏิรูปอะไรไปเลยไม่ต้องมีคำว่า วิสามัญ อันนี้ประเด็นที่ ๑ ผมคิดว่า เป็นประเด็นที่ท่านสมาชิกหลายท่านก็คงจะเห็นด้วยนะครับ เดี๋ยวต้องฟังคำชี้แจงของ ท่านคณะกรรมาธิการยกร่างก่อน

นายนิรันดร์ พันทรกิจ ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นที่ ๒ ก็คือเรื่องของข้อ ๘๐ วรรคสาม ซึ่งก็คงจะเห็นด้วยกับ ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์นะครับ แต่ว่าท่านอาจารย์ก็ยังแบ่งเป็น ๒ ความเห็น ยังไม่ฟันธง ไปเลยว่าจะเอาแบบไหน แต่ผมเห็นอย่างนี้ครับว่าในวรรคสามของข้อ ๘๐ ที่บอกว่า และบุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่เกินจำนวนหนึ่งในสี่ของกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกของแต่ละคณะ ซึ่งคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจากรายชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิก อันนี้ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับสมาชิกที่ได้เสนอความเห็นไปแล้วนะครับ ก็คือว่าที่จริงแล้ว ควรจะให้สมาชิกที่เป็นคณะกรรมาธิการในแต่ละคณะนั้นได้พิจารณาเห็นชอบ เพราะว่า แต่ละกลุ่มก็มีผู้ที่สมัครเข้ามาหรือผู้ที่เสนอชื่อเข้ามาอยู่แล้วในกลุ่มที่เขาสนใจ ซึ่งถ้าเอา จังหวัดไปลงในกรรมาธิการทั้งหมดก็หมดปัญหาในเรื่องจังหวัดไป ก็แปลว่าคณะกรรมาธิการ ก็มี ๑๗ คณะ แต่ละคณะก็เสนอชื่อบุคคลที่เห็นชอบ บุคคลที่เหมาะสมตามที่ คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเห็นก็คงจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมกว่าที่จะให้ทางคณะกรรมาธิการ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นคนจิ้มว่าเอาคนนั้น คนนั้น คนนั้น รู้สึกว่ามันจะไม่ค่อย สมเหตุสมผลเท่าไรนะครับ นั่นคือ ๒ ประเด็นแรก

นายนิรันดร์ พันทรกิจ ต้นฉบับ

ทีนี้ประเด็นสำคัญครับ คือประเด็นเกี่ยวกับข้อความในวรรคสุดท้าย ซึ่งเป็น ข้อความรวม ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ทางคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับไปพิจารณา ก็แล้วกันนะครับ เพราะว่าโดยหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ หน้าที่ของสภาเรา มีอยู่อย่างน้อย ๓ ประการ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๑ นะครับ ก็คือ ๑. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ และเราก็มาแตก ออกเป็น ๑๗ คณะ อันนี้ไม่มีปัญหา อันนี้แหละเราก็จะมีคณะกรรมาธิการ มีความเห็นต่าง ๆ ออกไป แล้วก็ในวรรคสุดท้ายของข้อ ๘๐ นี้เขาบอกว่า ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา จะดำเนินการศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในเรื่องใด ๆ ให้คณะกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภารายงานให้สภาทราบ และให้รายงานความคืบหน้าให้สภาทราบ ทุกหนึ่งเดือน คืออย่างนี้ครับ ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า หน้าที่ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ แน่นอนครับเรามีข้อบังคับ หมวด ๖ แล้วก็ในการยกร่างพระราชบัญญัติมีข้อบังคับ ในหมวด ๕ มีอยู่แล้ว แต่ทีนี้ปัญหาว่าในข้อเสนอของคณะกรรมาธิการต่าง ๆ มันจะไปสู่ การปฏิรูปได้อย่างไร แน่นอนครับในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติก็จะต้องมี คณะกรรมาธิการที่ไปศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ที่ตัวเองสนใจหรือตัวเองเป็นกรรมาธิการอยู่ และเมื่อมีความเห็นแล้วถ้าเป็นการยกร่างพระราชบัญญัติก็ใช้ข้อความข้อบังคับในหมวด ๕ ได้นะครับ ก็คือออกเป็นพระราชบัญญัติว่าไปตามขั้นตอน ความเห็นในเรื่องของการแก้ไข รัฐธรรมนูญก็ว่ากันไป เสนอคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ว่าในกรณีที่มีความเห็นในเรื่องอื่น ๆ นะครับ เช่น เรื่องของการแก้ไขกฎหมาย กฎกระทรวงตรงนั้น อันนั้นตรงนี้ นโยบายตรงนั้นตรงนี้นะครับ ตรงนี้ครับมันจะมีปัญหาว่า ในท้ายที่สุดแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่คณะกรรมาธิการเสนอไปนี้ จะเป็น คสช. ก็ดี สนช. ก็ดี หรือว่าคณะรัฐมนตรีก็ดี ได้รับการปฏิบัติ หรือมีข้อจำกัดไม่สามารถจะปฏิบัติได้เรื่องอะไร เพราะฉะนั้นผมคิดว่ามันคงจะมีข้อเสนอจากคณะกรรมาธิการหลายเรื่อง และผมก็คงจะไปเสนอ ในข้อ ๘๔ อีกครั้งหนึ่ง แต่ว่าในชั้นนี้หมายความว่า ถ้าสมมุติมีข้อเสนออย่างนี้จะทำอย่างไร ผมเลยบอกว่าน่าจะมีการเพิ่มข้อความในข้อ ๘๐ อีกวรรคหนึ่งเพิ่มเข้าไปนะครับ ก็คือว่า เรื่องใดที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วและมีข้อเสนอไปยัง สนช. ครม. คสช. จะต้อง ได้รับความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายความว่าตามข้อเสนอนี้ เดิมใช้ข้อความว่า เสนอแนะให้เกิดการปฏิรูปส่งไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติแค่นั้น แต่ว่าในความเห็นของผม คงจะมีความเห็นจากคณะกรรมาธิการ ๑๗ คณะนี้คงจะหลายเรื่องหลายประเด็น ทั้งในแง่ ข้อกฎหมาย ทั้งในแง่นโยบายต่าง ๆ ในประเด็นอย่างนี้ผมคิดว่าถ้าจะให้คณะกรรมาธิการ เสนอตรงไปที่ คสช. เลย หรือ ครม. เลย หรือว่า สนช. เลย ผมว่าน่าจะยุ่งวุ่นวาย เพราะฉะนั้นเมื่อมีข้อเสนอ สมมุติว่าเป็นข้อเสนอของคณะกรรมาธิการชุดใดชุดหนึ่งต้องการ เสนอรัฐบาลทำอย่างนี้แก้เรื่องนี้ แก้เรื่องนี้นะครับ แล้วก็มาเสนอในที่ประชุมสภาปฏิรูป แห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติเห็นว่าโอเค เรื่องนี้เห็นชอบที่ควรเสนอไปที่รัฐบาล เสนอไปที่ คสช. เสนอไปที่ สนช. ก็เห็นชอบแล้วถึงจะทำเรื่องเสนอไปนะครับ ผมคิดว่าตรงนี้ ในความเห็นของผมส่วนตัวนะครับ ก็มองเห็นว่ามีความจำเป็นต้องมีข้อความเหล่านี้ เพิ่มเข้าไปเพื่อให้การทำงานประสบความสำเร็จและเป็นระบบมากขึ้นครับ ขอบคุณ ท่านประธานครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะ ก่อนที่จะอภิปรายของท่านต่อ ๆ ไปที่ยังมีอยู่ในรายชื่อนะคะ ทางฝ่าย กรรมาธิการจะขออนุญาตที่จะตอบเป็นช่วง ๆ ค่ะ ขอเชิญท่านประธานกรรมาธิการค่ะ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ต้องขอขอบพระคุณข้อคิดเห็นที่หลากหลาย ของประมาณ ๖-๗ ท่านที่ได้กรุณาอภิปรายแล้วก็จะพยายามให้ข้อมูล แล้วก็เบื้องหลัง การถ่ายทำของคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับว่ามีที่ไปที่มาอย่างไรบ้าง ก็แน่นอนนะครับ ข้อคิดเห็นของท่านสมาชิกเกือบทั้งหมดก็เป็นสิ่งที่อยู่ในใจพวกเราอยู่แล้วเราเห็นอย่างนั้น อยู่แล้ว แต่ในการยกร่างหมวดนี้ว่าด้วยกรรมาธิการก็มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ข้อจำกัดจาก ตัวท่านสมาชิกเอง ในกรรมาธิการของผม มีผู้แทนจาก ๑๑ ด้านแล้วก็อีก ๔ กลุ่ม ครบถ้วนหมดก็ ๑๙ คนอยู่ในนี้ แต่เวลาทำงานผมก็ต้องออนเนอร์ (Owner) ผู้แทนจาก ด้านต่าง ๆ เป็นหลัก ซึ่งแต่ละครั้งเราก็จะบอก ถ้าเราไม่เห็นด้วยเราก็จะบอกเขาว่าที่เสนอมา นี่มันยังไม่เป็นที่ถูกอกถูกใจ หรือยังไม่เหมาะสมก็ให้เขากลับไปที่กรรมาธิการเขา หรือไปที่ กลุ่มของเขานะครับ จะเป็นกลุ่มการเมือง กลุ่มพลังงานหรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องออนเนอร์ผู้แทนซึ่งเอาข้อคิดเห็นของกลุ่มมา ซึ่งความเห็นของกลุ่มของเขาซึ่งมีอยู่ ๑๕ คน อาจจะไม่ตรงกับเพื่อนสมาชิกอีก ๒๓๕ คนก็เป็นเหตุหนึ่ง หรือในกลุ่มของตัวเอง ๑๔-๑๕ คน ก็มีเสียงข้างน้อยเสียงข้างมาก

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ทีนี้ในระบอบประชาธิปไตย ถ้าเราไม่ฟังตัวแทนกลุ่ม เราไม่ฟังเสียงข้างมาก มันก็ทำงานลำบากนะครับ มันหลาย ๆ อย่างที่เราได้เขียนออกมาเป็น ๑๗ ด้าน ๑๗ ชื่อ มันก็มีที่ไปที่มาทั้งนั้น แล้วเปลี่ยนมาผมว่าประมาณเปลี่ยนทุกวันละครับ ตอนส่งไปที่ คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติชั่วคราวท่านก็ขอแก้ เราก็แก้ให้บางตัวเหมือนกัน ความคิดมันหลากหลายมาก แค่ว่าจะใส่ชื่อสั้น ๆ หรือชื่อยาว ๆ สั้น ยาว สั้น ยาว สุดท้ายก็ยาวนะครับ ก็เปลี่ยนไปหลายครั้ง เพราะแต่ละท่านก็มีความคิดไม่ตรงกัน ผมอยากจะกราบเรียนว่าต้องเปิดกว้างนิดหนึ่งนะครับ อะไรที่เป็นข้อเสนอที่ดีเราจะปรับแก้ให้ อะไรที่เป็นข้อจำกัด เป็นข้อคิดเห็นของกลุ่มเขาก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน ยกเว้นแต่ ถ้าท่านอยากจะเปลี่ยนจริง ๆ ก็เสนอให้มีการโหวต เราไม่ขัดข้องเลยจะเปลี่ยนชื่ออย่างไร เอาประการแรกก่อน ต้องขอบคุณอาจารย์ดุสิต ขอโทษที่เอ่ยนาม ที่พูดประโยคแรก เรื่องแรกเลยแล้วก็ตรงใจผมมาก ผมก็ยังมาถามตัวเองว่าผมใส่ไปทำไมวิสามัญนี่นะครับ ก็เห็นด้วยเลยทุกประการ กรรมาธิการข้างบนนี้ทุกคนเห็นด้วยครับ ชื่อก็จะเป็น คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองนะครับ ตัดคำว่า วิสามัญ ออกไปทุกอัน เพราะหัวจั่ว มันเขียนไว้แล้วว่า ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ๑๗ คณะ ประกอบด้วย แล้วมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ แล้วก็มีชื่อเหล่านี้อยู่ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ตรงใจนะครับ แล้วต้องขอบพระคุณอย่างยิ่งนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

อีกประเด็นหนึ่ง คือมีท่านตั้งคำถามเกี่ยวกับกรรมาธิการมาแล้ว ๓-๔ คณะ มีถามว่าการกีฬาสำคัญไฉนนะครับ เดิมไม่ใช่การกีฬา เดิมเป็นการท่องเที่ยวและการกีฬา ก็เหมือนกับกระทรวงที่มีอยู่ในรัฐบาลชุดเก่าและชุดปัจจุบันนะครับ แต่วันดีคืนดี การท่องเที่ยวเข้ามาขอถอนบอกไม่เอาการท่องเที่ยว ไม่อยากมีชื่อหรือ อันนี้มีเหมือนกันนะครับ จะมีคนอยู่ ๒ ประเภทพวกเรานี่ ประเภทขอมีชื่ออยู่ในชื่อกรรมาธิการ อีกประเภทหนึ่ง ขอไม่มีชื่อ การท่องเที่ยววิ่งมาหาคณะของเราบอกขอไม่มีชื่อ จะไปขออยู่เป็นส่วนหนึ่ง ของเศรษฐกิจไม่ต้องเมนชั่น (Mention) เลย เดี๋ยวผมจะไปตั้งอนุเอง เพราะฉะนั้นท่านต้อง เข้าใจว่าคนเรานี่มีหลายแบบครับ ไม่ใช่มีแบบเดียวอย่างที่ท่านเป็นแต่ละคนเป็นหรอก เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ไม่รังเกียจเลย ขอถอนชื่อการท่องเที่ยวออกไปจากคณะกรรมาธิการ ทุกชุดเลยแต่มีกิจกรรม การท่องเที่ยวจะไปเป็นอนุอยู่ในเศรษฐกิจ แล้วทำอย่างไรครับคราวนี้ มาวันสุดท้ายแล้วเหลือการกีฬา ผมก็ไปถามว่าใครจะไปอยู่กับการกีฬาไหม เด็ก เยาวชน การศึกษาอะไรต่าง ๆ ทุกคนก็บอกลงตัวหมดแล้ว ก็เหลือเรื่องการกีฬาอยู่ ก็ถามท่านประธาน โอลิมปิกว่าการกีฬาท่านสำคัญไหม ท่านมีอะไรจะปฏิรูปไหม ท่านยืนยันว่ามี ผมปล่อยให้ ที่ประชุมนี้นะครับ ถ้าเห็นว่าการกีฬาไม่สำคัญและไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่จะปฏิรูป ก็ยินดีครับ ที่จะให้ตัดออก เราไม่ขัดข้อง เมื่อวานซืนนี้บังเอิญฟังอภิปรายเมื่อวันศุกร์ของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติพูดกันผมว่าไม่ต่ำกว่า ๓ ชั่วโมง เพราะเขาประชุม ๘ ชั่วโมง เมื่อวันศุกร์นี้ พูดเรื่องพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งเสนอเข้าวาระที่หนึ่ง พูดกันเยอะเลยพูดกันเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโต พูดกันหนังสือพิมพ์ก็ไปลงข่าว ก็เผอิญว่าตรงกัน พอดีนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

อีกอันหนึ่งสุดท้ายที่ท่านถามว่าเรื่องการคมนาคมหายไปไหน จะมีหายไป เยอะครับ หายไปก็เพราะว่าเขาไม่ต้องการปรากฏชื่อ ทำอย่างไรได้เจ้าของเขาบอก เขาไม่ต้องการมีชื่ออยู่ อยู่ในเศรษฐกิจครับ คมนาคม โลจิสติกส์ (Logistics) ก็อยู่ในเศรษฐกิจ อินฟราสตรัคเจอร์ก็อยู่ในเศรษฐกิจ ผมถามว่าคุณทำงานไหวหรือนี่เศรษฐกิจคุณอมไว้เต็มเลย เขาบอกเขาทำได้ จะให้ผมทำอย่างไรครับ กรรมาธิการเขายืนยัน กลุ่มเขายืนยันมาเขาทำได้ เขาจะไปแยกกลุ่มเลย มีคมนาคม อินฟราสตรัคเจอร์ มีแบงก์ (Bank) มีการเงิน การคลัง มีรายสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ ยืนยัน นั่งยัน นอนยันมาตลอด ๒ สัปดาห์ที่เราพิจารณาเรื่องนี้ เขาเป็นเจ้าของ มันก็เหลืออยู่ในนี้ ถ้าในนี้โหวตบอกไม่เอาแยกเศรษฐกิจออกผมก็ยินดี ผมไม่มายด์ (Mind) เลยนะครับ เดี๋ยวพยายามจะเลือกตอบให้ครบถ้วนนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

เรื่องที่ท่านถามว่า คือมีบางท่านอภิปรายท่านสุดท้ายเลยบอกทำไมไม่เขียน ให้ชัดเจนว่าข้อเสนอของคณะปฏิรูปจะไปอะไร อย่างไร ก็ขออนุญาตตอบอย่างนี้ว่า เดี๋ยวมันจะถึง พอไปข้อหลัง ๆ จะมีข้อกำหนดในการทำงานอยู่ตามสมควรนะครับ ตามสมควร แต่อันหนึ่งที่จะมีก็คือคณะกรรมการประสานงานระหว่างสภาปฏิรูปแห่งชาติกับ คณะรัฐมนตรี ระหว่างสภาปฏิรูปแห่งชาติกับ คสช. และระหว่างสภาปฏิรูปแห่งชาติกับ สนช. จะมีคณะทำงานชุดนี้ขึ้น ซึ่งทางคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมต้องพูดยาวเพราะอาจารย์เจิมศักดิ์ไม่ให้ผมใช้คำว่า วิป ถ้าผมใช้คำว่า วิป มันจะสั้น ลงไปเยอะเลยครับ คำอภิปรายของผม ท่านให้ผมเรียกยาว ๆ อย่างนี้ ผมก็เลยต้องพยายาม ฝึกหน่อย เพราะฉะนั้นคณะกรรมาธิการเหล่านี้จะหยิบ จะไปประสานงานกันว่า จะมีการส่งข้อมูลอะไรต่าง ๆ อย่างไร ก็ขอบคุณที่เป็นห่วงแต่ว่ามีครับ และไม่ต้องกลัวว่า สิ่งที่ท่านทำมามันจะไม่ไปถึงที่ที่ควรจะไปถึงนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ประเด็นเรื่องของประธานเป็นได้แห่งเดียว ก็คือประธานก็จะเป็นประธาน กรรมาธิการปฏิรูปได้ ๑ คณะ แล้วก็จะไปเป็นสมาชิกที่อื่นไม่ได้ อันนี้ก็ชัดเจน ส่วนที่เขียนต่อ ในเรื่องของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าให้ความสำคัญกับการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ทางคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเขาขอมา ผมส่งไปให้เขาพิจารณา เขาขอเติม ประโยคนี้มา ก็เป็นประโยคที่ไม่ยาวนัก ที่บอกว่าให้ความสำคัญกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็หมายความว่า อันนี้ก็ต้องกล่าวพาดพิงอาจารย์เจิมศักดิ์อีกนะครับ เดิมเราก็บอกไม่ให้ไป อยู่ที่ไหนเลย อาจารย์เจิมศักดิ์ก็เสนอบอกว่า ควรจะให้เขาไปอยู่ที่อื่นเพื่อยึดโยง ผมก็เสนอ ให้ไปอยู่ได้ ๑ คณะ ต่อมาก็มีคนบอกว่าเอาแค่เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ แต่วันนี้ยอมแล้ว มีการเจรจากัน ยอมให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๐ คน ไปอยู่ได้ใน ๑ คณะ ของคณะกรรมาธิการปฏิรูป แต่ห้ามดำรงตำแหน่งใด ๆ แล้วก็ไปเขียนเพิ่มเติมว่า ให้ความสำคัญกับงานยกร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าที่ประชุมนี้เห็นว่าไม่อยากให้เขียนไว้ ก็คงไม่ขัดข้องที่จะเอาออกนะครับ เพียงแต่ก็มีความเป็นห่วงเรื่องงานตรงนั้นมากกว่า เท่านั้นเอง

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

คราวนี้ประเด็นสุดท้ายซึ่งหลาย ๆ ท่านพูดถึง คือที่มาของคนนอก เดิมวันแรกที่เราประชุมเราตั้งเป็นกรรมาธิการสามัญหมดเลย เหมือนกับในสภาทั้งหลาย ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ ในฐานะการเป็นเมมเบอร์ (Member) เราก็ตั้งสามัญ ไม่มีคนนอกเลย ต่อมาก็มีกระแสอยากได้คนนอก ในขณะเดียวกันก็มีนโยบาย ของท่านหัวหน้า คสช. ที่ท่านพูดออกอากาศทุกวันศุกร์ ว่าอยากให้มีคนนอกเข้ามาทำงาน ในสภานี้ด้วย ก็เริ่มต้นตั้งแต่ ก.ร. เลย ก.ร. คือคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ได้ประชุมกันออกเป็นมติเลยว่า ๑ ใน ๕ ของพวกเราที่มาเป็นผู้ติดตาม ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการของพวกเรา ๑ คน ต้องมาจากผู้ที่เป็นผู้เข้าสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อันนั้นก็เป็นที่มา แต่ทั้งหมดนี้ก็มาจากที่เดียวกันก็คือ ๑ คน ก็คือร้อยละ ๒๕ ของ ๔ คน นั่นเอง เพราะถ้าไปคิดร้อยละ ๒๐ ของทั้งหมดบางทีมันคิดยาก เพราะฉะนั้น อันนี้ก็เป็นแนวทาง เป็นความประสงค์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่อยากจะเห็น คนที่ทุ่มเทที่สมัครเข้ามา จะมาจากต่างจังหวัด หรือจะมาจากด้านต่าง ๆ จะมาจากส่วน ๕๐ คน หรือส่วนทั้งหมดก็แล้วแต่ ก็อยากเห็นคนเหล่านี้เข้ามาทำงานอยู่กับพวกเรา ก็เลยเปิดช่องตัวนี้ออกมา ก็มีการเสนอมาว่า ขอเป็นร้อยละ ๒๐ ก็คือ ๑ ใน ๔ ของ สปช. นั่นเองนะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จึงเป็นที่มา แล้วก็ให้ในการแต่งตั้งนั้นเพื่อความอ่อนตัว คือเราพยายามเขียนให้มันอ่อนตัวให้มันปรับปรุงได้ แล้วก็ทำงานได้ เราในฐานะผู้ยกร่างไม่อยากไปฟิกซ์ (Fix) ทุกอย่างไว้ ก็จึงเปิดช่องให้คณะกรรมาธิการ วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติซึ่งจะประกอบด้วย เดี๋ยวจะอยู่ในข้อต่อไป ประกอบด้วย ท่านประธาน และท่านรอง ๒ ท่าน เป็นประธานและเป็นรอง รอง ๑ ท่าน รองที่ได้รับ มอบหมาย แล้วก็พวกเราทั้ง ๑๗ คนจาก ๑๗ คณะ เราจะต้องประชุมกันและส่ง ๑ คนไปอยู่ใน คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สปช. นี้ แล้วเรายังเปิดโอกาสให้ตั้งเพิ่มได้อีก ๘ คน เพราะ ๑๗ คนที่มาจาก ๑๗ คณะ อาจจะยังไม่ได้ผู้ที่มีความสนใจ หรือผู้ที่อยากเข้าไปทำงาน เพียงพอ เพราะฉะนั้นตัวกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สปช. นี่จะมีอยู่ ๒๘ คน แล้วมีท่านเลขาธิการของสภาอีก ๑ คน ก็ให้เขาไปเป็นผู้ประสานงานในการจัดคน ประสานงานกับฟากรัฐบาล ประสานงานกับฟาก กกต. ดูรายชื่อ แล้วก็ประสานงานกับ ด้านต่าง ๆ ด้วยนะครับ ว่ารายชื่อมาอย่างนี้ ส่วนขั้นตอนการปฏิบัติผมก็คงไม่อยากไปเขียน อาจจะมีเสนอมา ๑๕ คนให้ท่านเลือก ส่วนถามว่าอัตรา ๑ ใน ๔ จะเป็นเท่าไรนั้น สมมุติคณะท่านมีอยู่ ๒๐ คน ที่เป็น สปช. ๑ ใน ๔ ของ ๒๐ คน ก็คือ ๕ คน เขาก็จะมา ๕ คนนะครับ ถ้าโดยอัตราเฉลี่ยผมคูณดูแล้วก็จะมีประมาณ ๑๐๐ คน ที่มาทำงานอยู่ใน คณะกรรมาธิการต่าง ๆ ๑๗ คณะนี้ ในเลเวล (Level) เดียวกับเรา แต่เราไม่ต้องรอบรรจุ ตำแหน่งเขานะครับ ในสัปดาห์หน้าเมื่อท่านรองทัศนาซึ่งจะเป็นประธานบรรจุพวกเราเข้าสู่ กรรมาธิการทั้ง ๑๗ คณะแล้วนี่ บรรจุเสร็จแล้วเราก็จะเปิดประชุมในวันจันทร์หน้า เพื่อรับรองรายชื่อเหล่านี้ ท่านก็ไปประชุมกัน ท่านก็สามารถตั้งกรรมาธิการ ตั้งตำแหน่ง ต่าง ๆ ได้ทั้งหมดเลย ไม่ต้องรอคนนอกเลย คนนอกก็เข้ามาเป็นกรรมาธิการเฉย ๆ ส่วนในอนาคตท่านจะมอบให้เขาเป็นประธานอนุกรรมาธิการอะไรบ้างก็เป็นเรื่องของท่าน การทำงานที่แท้จริงของคณะกรรมาธิการปฏิรูปนี่ไม่ได้อยู่คนที่มานั่ง ๒๐ คน บวก ๕ คน หรือ ๒๘ คน บวก ๗ คน หรอกครับ เราซีลิ่ง (Ceiling) ไว้ ๑๓-๒๙ คน แต่ก็จะอยู่ตรง ประมาณนี้ละครับ ๒๖-๒๗ คนบ้าง อะไรบ้าง บางคณะมีคนสนใจเราอาจจะ ๒๐ คน แต่ในนี้ ท่านจะตั้งอนุกรรมาธิการได้ เราไม่ได้เขียนไว้เลยเท่าไร ท่านอาจจะต้องการตั้ง ๕ ๖ ๗ นี่ตามความเหมาะสม เพราะสิ่งที่จะเป็นข้อจำกัดในการตั้งอนุกรรมาธิการ ก็คือเจ้าหน้าที่ ของสำนักกรรมาธิการที่มาทำงานกับท่านด้วย ถ้าท่านไปตั้งอนุกรรมาธิการเยอะ ๆ ไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ ท่านก็จะเหนื่อยหาคนมาคงไม่เขียนอะไรยาก เพราะตรงนั้นไม่ได้เปิด ออพชัน (Option) ให้ท่านบรรจุคนภายนอกเข้าไป แต่ถ้าไปดูกรรมาธิการท่านจะบรรจุ เลขานุการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการต่าง ๆ ได้ตามสมควรซึ่งก็จะได้รับค่าตอบแทน ในระดับหนึ่ง ๗,๐๐๐ บาท ๘,๐๐๐ บาท ๙,๐๐๐ บาทอะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นในระดับ อนุกรรมาธิการ ผมพูดเลยไปนิดหนึ่งเพื่อให้ท่านได้เห็นภาพรวมด้วย เราก็ลดความแข็งตัวลง เยอะมาก ๑. เราให้ท่านตั้งได้ ๑๕ คน ใน ๑ อนุกรรมาธิการ ๒. เราบังคับแค่กรรมาธิการ ๑ คน ลงไปเป็นประธานเท่านั้นเอง ตำแหน่งที่เหลือทั้งหมดท่านสามารถตั้งจากอีก ๑๔ คนได้ ถ้าเป็นอนุกรรมาธิการ ๑๕ คน หรืออนุกรรมาธิการ ๑๐ คนก็แล้วแต่ท่าน เราขยายซีลิ่ง ให้ท่าน ๑๕ คน ผู้คนเหล่านั้นที่ท่านบอกผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย เขาก็ได้รับเบี้ยประชุม ได้รับเอกสิทธิ์ต่าง ๆ เดินทางต่างจังหวัด สามารถไปพักอะไรต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกันกับ กรรมาธิการ เพราะฉะนั้นงานของท่านจะทำรูปแบบของอนุกรรมาธิการ ๓ ๔ ๕ ๖ คณะ ก็แล้วแต่ แล้วก็มาเสนอในที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมกรรมาธิการผมว่าประชุมอย่างเก่ง ก็อาทิตย์ละครั้งเพื่อรับฟังผล หรือเพื่ออนุมัติอะไรต่าง ๆ นานา เพราะฉะนั้นก็คือเป็นแนวคิด ในการทำงานที่จะให้ออกมาเป็นผลพวงของคณะกรรมาธิการปฏิรูป ในชั้นต้นนี้ก็ขออนุญาต ตอบแค่นี้ก่อนครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ค่ะ ขอขอบพระคุณท่านประธานกรรมาธิการค่ะ บางท่านคงจะได้คำตอบขึ้นบ้างแล้วนะคะ แล้วก็จะขออนุญาตที่จะให้อภิปรายต่อดังมีรายชื่ออยู่ขณะนี้ ๑๘ รายชื่อนะคะ ดิฉันจะขออนุญาตที่จะเรียนแจ้งไว้พลาง ๆ สัก ๔-๕ รายชื่อก่อนนะคะ ท่านภัทรียา สุมะโน ท่านกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ท่าน พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก แล้วก็ท่านทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ค่ะ ขอเชิญท่านภัทรียา สุมะโน ค่ะ

นางภัทรียา สุมะโน ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ ดิฉัน ภัทรียา สุมะโน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เลขที่ ๑๖๔ ค่ะ ขออนุญาตอภิปราย ในร่างข้อบังคับ หมวด ๔ ข้อ ๘๐ ที่กำลังพูดถึงในประเด็นของชื่อของคณะกรรมาธิการนะคะ ซึ่งท่านประธานเลิศรัตน์ก็ได้กรุณาอธิบายไปบ้างแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีประเด็นที่ติดใจ ที่อยากจะอภิปรายให้ชัดเจนนะคะ ก่อนอื่นดิฉันก็ขอแสดงความถูกใจที่เปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมาธิการเฉย ๆ แล้วนะคะ เพราะเมื่อกี้เราก็พูดกันอยู่ในหมู่สมาชิกหลายท่านว่า ใส่มาทำไมคำว่า วิสามัญ เมื่อกรรมาธิการปฏิรูปนี่ฟังดูก็ไพเราะกว่ามากทีเดียวนะคะ ดิฉันก็ขอชื่นชมคณะกรรมาธิการที่ร่างข้อบังคับนะคะว่ากรุณาร่างมาได้อย่างรอบคอบ แบ่งเป็นถึง ๑๗ คณะด้วยกัน นอกเหนือจาก ๑๑ ด้านที่เราเข้ามาแล้ว ด้านอื่น ๆ ท่านก็ได้ แตกลูกหลานออกมาเป็นอีก ๖ คณะนะคะ แล้วท่านก็พยายามที่จะได้ให้ครอบคลุม เรื่องต่าง ๆ จริงอยู่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะใส่ทุกเรื่องเข้าไปในคณะกรรมาธิการ แต่ว่าในเรื่องของ โครงสร้างพื้นฐานของประเทศคือการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตรงนี้เป็นหลัก ๆ อยู่ ก็มีแล้ว การเมือง มีแล้วสังคม แต่เรื่องของเศรษฐกิจนี่นะคะ ท่านก็ได้ชี้แจงว่าเรื่องของเศรษฐกิจ นี่จะประกอบด้วยหลาย ๆ เรื่องอยู่ในนั้น แต่เมื่อมาดูชื่อของคณะกรรมาธิการ ด้านปฏิรูปเศรษฐกิจนี่นะคะ ก็เขียนว่าปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ก็ดูเหมือนว่า เรื่องมันใหญ่มากเลยนะคะ แล้วก็เรื่องการเงิน การคลัง เศรษฐกิจดูเหมือนจะเน้นไปในเรื่อง ทางด้านนี้ แล้วก็หลาย ๆ เรื่องที่อยู่ในเศรษฐกิจ เช่น คมนาคม พาณิชย์ อุตสาหกรรม ตรงนี้จะอยู่ตรงไหน จะใส่เข้าไปในเศรษฐกิจคณะนี้ทั้งหมดเลยหรือเปล่า ดิฉันก็เลย มีข้อเสนอว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรนี่ ดิฉันเห็นว่า เรื่องปฏิรูปการเกษตรนี่ก็ชัดเจนอยู่แล้ว และเราก็สามารถที่จะพูดถึงหรือว่ากำหนดภารกิจ ในเรื่องของอุตสาหกรรมการเกษตรนี่เข้าไปในเรื่องของปฏิรูปการเกษตรได้ ดังนั้นก็อยากจะ เสนอเรื่องอุตสาหกรรมนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แล้วก็ไม่มีอยู่ใน ๑๗ คณะนี้เลยว่า ใส่ไปในคณะนี้เป็นคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยตัดคำว่า การเกษตร ออกไป เราก็จะได้ไม่ต้องมาตั้งคณะใหม่ เพราะดิฉันก็เห็นว่าคณะ ๑๗ คณะนั้น ก็เยอะแล้ว แต่ว่ายังมีอีกหลาย ๆ เรื่อง ก็ยังเว้นไว้ก่อน ยังไม่เสนอ ก็อยากใส่เรื่อง อุตสาหกรรมซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรเท่านั้น อุตสาหกรรมทั้งหมดเลย ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ ๆ ๒ เรื่องคือเกษตรกับอุตสาหกรรมนะคะ แล้วส่วนในเรื่องของ การปฏิรูปสังคม ดิฉันก็ยินดีที่ท่านประธานเลิศรัตน์ได้ยินยอมให้ตั้งชื่อเข้ามายาวมากเลย ตามที่ฝ่ายหญิงได้เสนอเข้าไปหลาย ๆ รอบ คือคณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งครบถ้วนมาก แต่ดิฉันก็เสนอนิดเดียวค่ะ คำว่า ชุมชน นี่จะอยู่ในสังคมอยู่แล้ว เราอาจจะตัดออกไป ทำให้เกิดความสั้นลงอีกนิดหนึ่ง ก็เสนอไว้ ๒ เรื่อง ขอบพระคุณค่ะ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญท่านประธานค่ะ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ผมขออนุญาตท่านประธาน พลเอก เลิศรัตน์ กรรมาธิการครับ คือตอนนี้รู้สึกจะลงมาค่อนข้างจะเป็นประเด็นที่เราควรที่จะมาหาข้อสรุป กันเลย เพราะถ้าให้ทุกท่านพูดไปแล้วมันจะไม่ได้ข้อสรุป อย่างที่ท่านภัทรียาเสนอก็มีอยู่ ๒ เรื่อง

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

เรื่องแรกก็คือเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ท่านอยากจะให้ตัดคำว่า การเกษตร ออกไป เพื่อให้อุตสาหกรรมมาเป็นงานหลักของการปฏิรูปอยู่ใน ๑ คณะ กับอีกคณะหนึ่งในเรื่องของคณะที่ ๑๒ ท่านอยากให้เป็นคณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ตัดคำว่า ชุมชน ออกใช่ไหมครับ เรื่องชุมชนออกนี่ผมขอเชิญท่านวิริยะซึ่งเป็นผู้ทำในเรื่องนี้ ได้ให้ข้อคิดเห็นครับ

นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ต้นฉบับ

ครับ กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ครับ คือคณะผมจริง ๆ เดิมใช้แค่ ปฏิรูปสังคมครับ ทีนี้ก็ขอเพิ่ม กันมาเรื่อย ทางชุมชนก็บอกสำคัญมากนะครับต้องให้เน้นชุมชนด้วย ถ้าชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตัวเองได้ทุกอย่างก็จะดี เพราะฉะนั้นขอให้เน้นชุมชน อีกกลุ่มก็บอกเน้นสตรีด้วย ผมก็เลย ใส่ให้หมดเลยครับ ท่านประธานครับ ก็จริง ๆ เดิมปฏิรูปสังคมอย่างเดียวนะครับ แต่เมื่อทุกท่านเห็นว่าของท่านก็สำคัญ คนโน้นก็บอกว่าสำคัญ ต้องใส่ ต้องใส่นะครับ ผมก็ไม่รู้ จะทำอย่างไรครับ ก็เลยต้องใส่ให้หมดครับ ท่านประธานครับ อันนี้ก็ขอความกรุณาแล้วกัน เมื่อท่านได้สตรีแล้วก็ให้ชุมชนเขาได้ด้วยแล้วกันนะครับ ก็คือให้ทุกท่านสบายใจ

นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ต้นฉบับ

เรื่องอุตสาหกรรมเหมือนกันครับ ท่านประธานครับ อุตสาหกรรมนี่อยู่ที่ เศรษฐกิจนะครับ เขาเตรียมพร้อมไว้หมดแล้วครับว่าให้มันสอดรับกัน เพราะฉะนั้น ตอนแรกก็ขอเกษตรอย่างเดียว อีกฝั่งหนึ่งก็บอกว่าไม่ได้ ถ้าเราทำเกษตรอย่างเดียว เราก็พูดถึงแต่ต้นน้ำ เราต้องเน้นปลายน้ำให้ได้ด้วย เพราะฉะนั้นก็ต้องเอา อุตสาหกรรมเกษตรมาใส่นะครับ ทางอุตสาหกรรมก็เจรจากันไปเจรจากันมาครับ อุตสาหกรรมบอกเอา เอาแต่อุตสาหกรรมเกษตรไปก็ไม่ว่ากันนะครับ แต่เอาอุตสาหกรรมไป ไม่ได้ครับ เพราะเขาเตรียมไว้ที่เศรษฐกิจแล้วครับ เพราะเขาบอกเขาแพค (Pack) กันเป็นทีม แม้แต่ท่องเที่ยวครับ เขาก็บอกไปใส่กีฬาไม่ได้ ต้องไปอยู่ที่นั่น เขาแพคกันเป็นทีม เขาเตรียมทีมเขาไว้แล้วนะครับ เขาอยากให้เศรษฐกิจมันบูรณาการเป็นเอกภาพ ไม่อยากให้ เป็นชิ้น เป็นชิ้น เป็นชิ้น หลุด หลุด หลุด ไปอยู่แถวนั้น กว่าจะเจรจาเกษตรอุตสาหกรรมได้นี่ นานเลยนะครับ กว่าทางเศรษฐกิจจะยอมปล่อยมาหน่อยหนึ่งนะครับ อันนี้ก็ขอความเห็นใจ หน่อยแล้วกันนะครับว่าเราก็พยายามประสานทุกกลุ่มให้ได้ แต่เราก็พยายามที่จะให้มันเป็น เอกภาพมากที่สุด แล้วก็พยายามเจรจากันให้มาลงตัว ก็หวังว่าทุกท่านจะเห็นใจด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ ท่านประธานครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ขออนุญาตให้กรรมาธิการอีกท่านชี้แจง

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญค่ะ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ท่านกอบศักดิ์ครับ ชี้แจงว่าจะยอมให้ตัด การเกษตร ออกไหมครับอุตสาหกรรมนี่

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ กระผม กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมาธิการครับ ในกลุ่มของเศรษฐกิจเราได้คุยเรื่องนี้ต่อเนื่องนะครับ ในช่วงแรกเราก็ใช้ รายชื่อว่า เศรษฐกิจ เพียงอย่างเดียวครับ แล้วก็หลังจากนั้นก็ได้มีการคุยหารือแล้วก็ได้เอา บางส่วนที่เราคิดว่าไม่น่าจะบูรณาการกับเรา อย่างเช่น เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติออกไป รวมถึงเรื่องของแรงงาน รวมถึงเรื่องของภาคเกษตรออกไปเพื่อจะได้ดูแลบริหารจัดการได้ อย่างใกล้ชิด ซึ่งความจริงหลาย ๆ ท่านที่ได้พูดถึงเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน เรื่องของอุตสาหกรรม การพาณิชย์ต่าง ๆ ในช่วงแรกเราตั้งใจไว้ว่าจะอยู่ในคำอธิบาย ที่อยู่ข้างล่างของกรรมาธิการครับ ในนั้นก็จะเป็นที่จะเขียนไว้ว่า กรรมาธิการชุดนี้ มีอำนาจหน้าที่อย่างไรบ้าง แต่เนื่องจากว่าในการประชุมมีการหารือกันว่าเพื่อให้เขียนให้สั้นที่สุด กระชับที่สุด เพื่อว่าจะไม่มีความจำกัดในเรื่องของการดำเนินงาน ก็เลยตัดสินใจกันว่า จะใช้ให้ตัวของอำนาจหน้าที่เป็นชื่อเดียวกับชื่อของกรรมาธิการก็คือเรื่องของเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง อันนี้ก็เลยทำให้หลาย ๆ อันที่หลาย ๆ ท่านพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง พื้นฐาน คมนาคม หรืออุตสาหกรรมนี่หายไปจากชื่อเหล่านี้ แต่ความจริงเป็นความตั้งใจ ที่อยากจะทำประเด็นเหล่านั้นทุกประเด็น แล้วก็ในขณะเดียวกันในตัวของสมาชิก สปช. เศรษฐกิจก็คุยกันแล้วก็คิดว่าประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ต่อเนื่องกันแล้วจะต้อง มีการดำเนินนโยบายทั้งระดับมหภาคแล้วก็จุลภาคพร้อมกันเพื่อตอบโจทย์ครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ท่านภัทรียาครับ ยังยืนยัน เชิญครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญค่ะพลเอก เลิศรัตน์

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ขอเชิญท่านต่อไปเลยครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านภัทรียายังติดใจอยู่หรือเปล่าคะ

นางภัทรียา สุมะโน ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คือสรุปแล้วว่าจะเป็นชื่ออย่างเดิมหรือคะ ยืนยัน แล้วดิฉันไม่แน่ใจว่าคณะกรรมาธิการ ปฏิรูปเศรษฐกิจจะทำงานหนักมากเกินไปนะคะ เป็นห่วงนะคะ จะทำหนักมากไป เศรษฐกิจ ท่านเอาไปรวมไว้หมดเลย ทั้งคมนาคม พาณิชย์ อุตสาหกรรม อะไรอีกมากมาย แล้วก็รวมทั้ง การเงิน การคลังอีกนะคะ ดิฉันก็ยังอยากจะเสนอให้แยกค่ะ เป็นเกษตรและอุตสาหกรรม เฉย ๆ อุตสาหกรรมหลักของประเทศซึ่งไม่ใช่อุตสาหกรรมการเกษตรเท่านั้นค่ะ อันนี้ก็แล้วแต่ที่ประชุมนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ อยากให้ผู้แทนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจที่อยู่ในฟลอร์ (Floor) ได้กรุณาชี้แจงเพิ่มเติม ก็มีท่านพิสิฐ แล้วมีใครอีกครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญค่ะท่านพิสิฐ ลี้อาธรรม ก่อนค่ะ

นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ขออนุญาตที่จะเรียนเสนอข้อคิดเห็นนะครับ จริง ๆ แล้วนี่ผมเห็นด้วยกับ ท่านกรรมาธิการที่ทำข้อเสนอเหล่านี้มานะครับ เพียงแต่ว่าในการทำงานของพวกเราสมาชิก ทั้ง ๒๕๐ ท่าน ผมก็มีความรู้ว่าชุดต่าง ๆ ที่ท่านทำมาทั้งหมด ๑๗ คณะนี่นะครับ ยกเว้น ๒ คณะแรกนะครับ คณะหลัง ๆ มักจะล้อตามกระทรวง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงยุติธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เหล่านี้เป็นต้น เรื่อยไปนะครับ จริง ๆ ผมเห็นด้วยกับ ท่านเจิมศักดิ์ครับว่าจริง ๆ เราก็ไม่ควรจะไปแตกแขนงอะไรมากมาย แต่ในเมื่อเรามีถึง ๒๕๐ ท่าน และโอกาสนี้เป็นโอกาสที่มีอยู่ไม่มากในประเทศไทย ที่เราจะได้ทำอะไร หลาย ๆ อย่างที่ในเวลาปกติไม่สามารถทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปรับรื้อ ระบบหรือรื้อเรื่องของการปฏิรูปนะครับ แต่ทีนี้ประเด็นปัญหาในการทำงานด้านเศรษฐกิจ ผมก็มีความเห็นอย่างชัดเจนว่า เรื่องเศรษฐกิจมันสามารถแยกได้เป็น ๒ เซคเตอร์ เซคเตอร์หนึ่งคือเรียล เซคเตอร์ (Real sector) อีกเซคเตอร์หนึ่งคือไฟแนนเชียล เซคเตอร์ (Financial sector) และ ๒ ข้างนี่นะครับมันงานของเขาค่อนข้างมากด้วยกัน ท่านดูนะครับ คณะกรรมาธิการที่ท่านเสนอขึ้นมาในด้านเศรษฐกิจ ครอบคลุมทั้งกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการคลัง แถมก็ยังมีกระทรวงคมนาคม งานของสภาพัฒน์ งานของแบงก์ชาติ และอีกหลาย ๆ ส่วนของภาคธุรกิจและเอกชน ในขณะที่งาน อย่างท่องเที่ยวท่านก็จะเอามาใส่ แล้วก็กีฬาซึ่งเป็นครึ่งกระทรวงก็ยังแยกมาเป็น คณะกรรมาธิการเดียวได้นะครับ เพราะฉะนั้นผมจึงเห็นด้วยกับท่านภัทรียาครับว่าอยากให้ ท่านลองแยกบางส่วนออกมาดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานของเรียล เซคเตอร์ กับไฟแนนเชียล เซคเตอร์นะครับ มันเป็นคนละส่วนกัน ผมจะได้นำเสนอบทที่ได้ให้กับท่านในวันนี้นะครับ ที่ได้มีการเสนอให้แยกเป็น ๒ คณะกรรมาธิการครับ ชุดแรกก็เป็นคณะกรรมาธิการ ด้านการเงิน การคลัง ก็คือจะมีงานที่เกี่ยวกับเรื่องของการปฏิรูประบบภาษีอากร ซึ่งมีท่านสมาชิกบางท่านก็สนใจมากว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ของประเทศไทย เรื่องของ การปฏิรูประบบการคลัง เราทราบดีว่าที่ผ่านมาเรามีความหละหลวมในบางส่วนในระบบ ระบบการคลังของบ้านเราได้มีการออกแบบมาเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้วนะครับ ในสมัย ท่านอาจารย์ป๋วย พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้ใช้มาเป็นอย่างดีโดยตลอด แต่มาบัดนี้มันมีช่องโหว่เกิดขึ้น มันจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบนี้ และต้องอาศัย การทำงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่อยู่ในแวดวงการคลัง ไม่ว่าจะเป็นสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ หรือแบงก์ชาติ เป็นต้น หรือส่วนนี้จะเป็นอีกลักษณะหนึ่ง กับอีกกลุ่มหนึ่งที่ผมจะขอเรียนนำเสนอครับก็คือทางด้านของเรียล เซคเตอร์นะครับ ก็คือทางด้านของภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม พาณิชย์ หรือแม้กระทั่งคมนาคม ซึ่งจะมีเรื่อง ปัญหาของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำนะครับ เรื่องของการปกป้อง เรื่องของการค้าปลีก ซึ่งขณะนี้เอสเอ็มอี (SME) เดือดร้อนมากว่าเขานี่ถูกเอาเปรียบ ในการที่จะวางสินค้าในห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ นะครับ เรื่องของการท่องเที่ยวก็มีปัญหาที่ต้องการการดูแล ซึ่งลักษณะงานนี้มันก็แยกออกจากกัน เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยกับหลายท่านที่เป็นห่วงว่า ถ้าเกิดเราไม่มีการแยกแยะให้ดี แล้วปล่อยให้กรรมาธิการบางชุดทำงานมากไปก็จะมีผลออกมาก็คือคุณภาพของงาน แล้วที่สำคัญก็คือว่าพวกเรามีถึง ๒๕๐ ท่านนะครับ ถ้าเกิดมีเพียงชุดเดียวโอกาสที่พวกเรา จะเข้าไปมีส่วนในฐานะกรรมาธิการก็น้อยมีแค่ ๒๘ ที่นั่ง ๒๙ ที่นั่ง ที่เหลืออีกประมาณ ๒๐๐ เศษนี้ก็ไม่มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมาธิการ อย่างน้อยถ้าแยกเป็น ๒ คณะ เราก็จะมีพวกเราที่เข้าไปได้เป็นจำนวนเกือบ ๆ ๖๐ ท่าน ก็ขออนุญาตที่จะนำเสนอ ข้อคิดเห็นครับ ขอบพระคุณมากครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญค่ะท่านพลเอก เลิศรัตน์

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ อยากจะให้ท่านที่อยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจครับ ได้กรุณาให้ข้อคิดเห็น เพิ่มเติมอีกสัก ๒-๓ ท่านเพื่อที่จะได้ข้อยุติ เศรษฐกิจครับ อันนี้ท่องเที่ยว เชิญครับ ของท่านเศรษฐกิจหรือเปล่า อาจารย์เจิมศักดิ์เศรษฐกิจหรือเปล่า

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เดี๋ยวค่ะ คิวเป็นของท่าน

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ขออนุญาตก่อนนะครับ ขอเศรษฐกิจสัก ๒ ท่าน เพื่อเราจะได้ข้อยุติในเรื่องนี้ให้เศรษฐกิจเขาพูดก่อนดีกว่าครับ ผมว่าถ้าให้คนอื่นพูด มันก็จะไปเรื่อย ๆ ครับ ข้างหลังโน่นเศรษฐกิจหรือเปล่าครับ เชิญครับ เชิญข้างหลัง

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เดี๋ยวค่ะ ท่านเลิศรัตน์คะ ท่านเลิศรัตน์นั่งลงก่อนค่ะ ขออนุญาตเชิญอาจารย์กอบกุลค่ะ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาค่ะ คือช่วงนี้ดิฉันคิดว่ายังอยากให้คณะกรรมาธิการร่างข้อบังคับรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกก่อน เพราะการที่จะสรุปทีละคนทีละประเด็น พอคนหลัง ๆ เขาก็จะเห็นต่างจากคนแรก ๆ อีกค่ะ เพราะฉะนั้นการจะสรุปข้อสรุปเลยว่าชื่อนั้นจะเป็นอย่างไรนี่มันยังทำไม่ได้นะคะ ตอนนี้ ดิฉันก็ขอใช้สิทธิในฐานะที่ถึงคิวของดิฉันที่จะอภิปราย ดิฉันมีข้อห่วงใยอยู่ ๒ ประเด็น ด้วยกันในหมวด ๔ ข้อ ๘๐ นะคะ ก็อยากให้คณะกรรมาธิการได้รับฟังจากสมาชิก ที่จะอภิปรายในหมวดนี้ข้อนี้ให้ครบก่อน เข้าใจว่าเหลืออีก ๑๗ ท่าน เพราะฉะนั้นการที่ แต่ละท่านจะเสนอว่าชื่อไหนเป็นอย่างไรนี่ความเห็นย่อมแตกต่างกันไป ๒๕๐ อย่างเลย อย่างไรก็ตามดิฉันอยากจะเรียนเสนอ ๒ ประเด็นที่เป็นข้อห่วงใย ประเด็นที่ ๑ ก็คือเรื่องชื่อ ของการตั้งคณะกรรมาธิการที่พูดถึง ส่วนประเด็นที่ ๒ เป็นข้อสุดท้ายของข้อนี้ ในการที่จะให้เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำได้ศึกษาเรื่องใด ทำให้เกิดการปฏิรูป เรื่องใด ๆ แล้วจะให้ดำเนินการต่อไปอย่างไร ซึ่ง ๒ ข้อนี้ดิฉันคิดว่าเป็นข้อห่วงใยที่น่าจะได้ พูดถึงแล้วก็ได้ใส่ไว้ในข้อบังคับให้ชัดเจนนะคะ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ เรื่องชื่อนั้นสำคัญไฉน มันก็จะเป็นปัญหาว่าบางคนอยากให้ ชื่อปรากฏ บางคนไม่อยากให้ชื่อปรากฏ บางคนอยากให้แยก บางคนอยากให้รวม ทีนี้ดิฉัน คิดว่าในด้านต่าง ๆ ๑๐ ด้านบวกอื่น ๆ ยังไม่มีใครเป็นเจ้าของนะคะ ถ้าดิฉันจำไม่ผิด ท่านที่สมัครมาเป็นด้าน ท่านหัวหน้า คสช. ก็พูดว่ายังมาเปลี่ยนตอนที่เข้ามาแล้วได้ ส่วนที่ยัง ไม่มีด้านเลยอีก ๗๗ ท่านจาก ๗๗ จังหวัด เรายังไม่ได้เป็นเจ้าของด้านไหนเลย แต่ประเด็น ก็คือว่าเราไม่รู้จะเข้าด้านไหนถ้าชื่อไม่ปรากฏ เพราะเราไม่ทราบว่าเมื่อชื่อไม่ปรากฏแล้ว เราจะไปสมัครตรงไหน อันนี้ก็อยากเป็นอุทาหรณ์ให้คิดในเรื่องของการตั้งชื่อนะคะว่า อย่างเมื่อสักครู่มีการยกตัวอย่างว่า ดิฉันยกเป็นเพียงตัวอย่างนะคะ ไม่ได้เสนอให้แยก หรือให้รวม ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังนี่ใหญ่มาก แล้วบอกว่าเศรษฐกิจจะต้องไปตั้งอนุ ประมาณ ๙ คณะ การเงิน การคลังก็ต้องไปตั้งอนุอีกประมาณ ๙ คณะ แต่ละคณะต้องมา เสนอในกรรมาธิการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง เป็นประจำทุกสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งท่านจะ เสนอได้กี่อนุ กี่ชุดที่จะเสนอได้ แล้วทั้งชุดจะพิจารณา ๙ บวก ๙ ๑๘ อนุ ไปได้กี่สัปดาห์ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ดิฉันอยากให้เห็นว่าแล้วจะทำอย่างไรถึงจะมีความเหมาะสมนะคะ เพราะว่าดิฉันอยากยกตัวอย่างด้านท่องเที่ยวเพราะดิฉันอยากสมัครด้านท่องเที่ยว ทีนี้ด้านท่องเที่ยวมันหายไป เมื่อมันหายไปดิฉันก็ไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหน เมื่อไม่ทราบ อยู่ตรงไหนก็ไปเรียนถามท่านประธาน เมื่อเช้านี้ท่านประธานเลิศรัตน์ก็กรุณาตอบว่า อยู่ในเศรษฐกิจ ดิฉันก็มาอ่านว่าถ้าอยู่ในเศรษฐกิจเราจะทำอะไรได้บ้าง ในขณะที่ดิฉันอาจจะ ไม่มีความรู้หรือความสนใจมากในเรื่องเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง แต่ดิฉันสนใจอย่างยิ่ง ในการปฏิรูปเรื่องการท่องเที่ยว เพราะเคยอยู่ในกรรมาธิการการท่องเที่ยวของวุฒิสภามา ๓-๔ ปีแล้ว และถ้าจะมองว่าเราจะปฏิรูปเรื่องอะไร มันเกี่ยวกับโครงสร้างทั้งหมดไหม จะเป็นมหภาคหรือจุลภาคก็ตาม จะเอาอะไรเป็นเครื่องตัดสินว่านี่คือการปฏิรูปโครงสร้าง หรือระบบ และเรื่องนี้คือไม่ใช่ ตรงนี้ดิฉันอยากฝากคณะกรรมาธิการว่าเราจะเอาอะไร เป็นเครื่องตัดสิน อยากให้สมาชิกสภาทั้งสภาวันนี้ซึ่งกำลังพิจารณาได้พิจารณาด้วยว่า แล้วเราจะเอาอะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโครงสร้างและระบบที่ ต้องปฏิรูป ส่วนเรื่องนี้ไม่ใช่ เพราะเล็กเกินไปหรือใหญ่เกินไปก็แล้วแต่ ดิฉันก็จะยกตัวอย่าง เรื่องท่องเที่ยวว่า เวลาดิฉันทำงานอยู่ในกรรมาธิการการท่องเที่ยว ดิฉันไม่ได้ดูเรื่องเศรษฐกิจ อย่างเดียว เศรษฐกิจการท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคือการเพิ่มรายได้ให้กับ ประเทศ ซึ่งตอนนี้รายได้จากการท่องเที่ยวไม่ต้องลงทุนมากเหมือนอุตสาหกรรม หรือการส่งออกหรือเรื่องอะไรเลยมาเป็นอันดับที่ ๑ หรืออันดับที่ ๒ ของประเทศ แต่ในระบบหรือโครงสร้างของการท่องเที่ยวทั้งหมดเราต้องดูเรื่องอะไรบ้าง เราต้องดูเรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรบุคคลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ เรื่องอะไรก็ตาม เราต้องดูเกี่ยวกับเรื่องศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เราต้องดู ในเรื่องความปลอดภัยก็คือเรื่องตำรวจท่องเที่ยว เราต้องดูในเรื่องศุลกากรเกี่ยวกับการให้คน เข้าออก นักท่องเที่ยวเข้าออก เราต้องดูในเรื่องการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชาติ เราต้องดู ในเรื่องของการพิทักษ์รักษาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นทรัพยากร ไม่ว่าจะทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ศิลปวัฒนธรรมให้ยั่งยืน ทุกอย่างนี้ดิฉันเรียนถามว่ากรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ จะดูทั้งหมดไหม อันนี้ก็คือข้อที่ดิฉันอยากเรียนถามว่าแล้วถ้าท่านดูทั้งหมด เฉพาะเรื่อง ท่องเที่ยวเรื่องเดียวซึ่งจะตั้งอนุกรรมาธิการ ๑ กรรมาธิการ ท่านทำได้หมดทุกเรื่อง อย่างเป็นระบบ และปฏิรูปโครงสร้างการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระยะยาว แต่มีความยั่งยืนในการรักษาระบบท่องเที่ยวให้ได้ กรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังทำได้ครบไหม ถ้าทำได้ครบโอเค ดิฉันอาจจะเป็นผู้หนึ่งที่จะสมัครเข้าไป แต่ถ้าทำไม่ได้ดิฉันก็ไม่รู้จะสมัครเข้าไปทำไม เพราะว่าการเงิน การคลัง เรื่องอื่นดิฉัน ไม่มีความรู้และดิฉันก็ไม่ได้สนใจที่จะไปปฏิรูปเรื่องการเงิน การคลัง เพราะความรู้ไม่พอ แต่ต้องไปนั่งฟังเรื่องการเงิน การคลังทุกสัปดาห์ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างที่ดิฉันอยากยกขึ้นมา ให้เห็นเพียง ๑ ตัวอย่างว่าชื่อนั้นสำคัญไฉน แต่ต้องตั้งให้ได้เหมาะกับสภาพของการปฏิรูป โครงสร้างและระบบของประเทศไทยเพื่อให้สมาชิกทุกคนสามารถสมัครเข้าไปได้ อีก ๗๗ จังหวัด ๗๗ ท่านยังไม่รู้จะเข้าชุดไหนเลยค่ะ เพราะว่าไม่มีความเป็นเจ้าของในชุดไหน เพราะเราไม่ได้สมัครมาก่อนนะคะ นั่นคือประเด็นที่ ๑ ที่อยากเรียนฝากตอนนี้

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ที่ดิฉันอยากจะฝากเป็นประเด็นที่มีความสำคัญก็คือ ในวรรคสุดท้ายที่บอกว่า เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาดำเนินการศึกษาและ เสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในเรื่องใด ๆ ให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภารายงานให้ สภาทราบภายในทุกหนึ่งเดือน รายงานความคืบหน้าทุก ๑ เดือน นั่นหมายความว่า ในทุก ๔ สัปดาห์ ทุกกรรมาธิการจะต้องหมุนเวียนกันมารายงาน ซึ่งถ้าเรามี ๑๗ คณะ สมมุติว่าสัปดาห์หนึ่งเราก็ได้ ๔ คณะ ๔ ๔ ก็แค่ ๑๖ เอง ๔-๕ คณะ ดิฉันว่าการประชุมสภา ของเราไม่ต้องทำอย่างอื่นเลยนอกจากรับฟังสิ่งที่คณะกรรมาธิการไปศึกษามาสัปดาห์ละ ๔-๕ คณะ ประเด็นที่ดิฉันอยากเรียนถามก็คือว่า การทำงานของสภาปฏิรูปไม่เหมือนกับ วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร หน้าที่ของเราในตรงนี้เราคงไม่ได้อยากจะบอกว่ากรรมาธิการ อยากศึกษาเรื่องนั้นเรื่องนี้แล้วก็บอกว่าฉันจะมีรายงานออกมา ๓ เล่ม รายงาน ๓ เล่มนี้ ต้องเอามาเสนอให้สภารับทราบ แอพพรูฟ (Approve) แล้วจะมาเสนอรายงาน ความก้าวหน้าทุกเดือน ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น ประโยคนี้จะเขียนอย่างไรจึงจะทำให้เราเห็นว่าเมื่อเราศึกษาในเรื่องของเรา ในด้านของเราแล้ว เราจะได้ข้อเสนอแนะหรือเกิดการวิเคราะห์ หน้าที่ของเราคือไปศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ ซึ่งต้องมาเสนอนะคะ และดิฉันก็อยากกราบเรียนว่า เมื่อเสนอให้สภารับทราบแล้วต่อไปคืออะไร รายงานการศึกษาของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภามีเป็นพัน ๆ เรื่องที่เอามาเสนอในที่ประชุมสภาแล้วก็เก็บไว้ในหิ้งไม่เคยต่อไป ถึงไหนเลย เราจะส่งไปให้ ครม. เราจะส่งไปให้กระทรวงทุกกระทรวง และเราจะส่งไปให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะ ครม. หรืออะไรก็จะตอบมาว่ารับทราบ แล้วก็เก็บไว้ในหิ้ง ไม่เคยมีเรื่องไหนที่นำไปสู่แอคชัน (Action) ต่อไปได้อย่างที่ได้ศึกษาไป ประเด็นนี้เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไรสำหรับสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันไม่อยากให้เหมือนเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาที่เรื่องที่ศึกษามีประโยชน์เยอะ ๆ หลายเรื่องเลย ทุกแห่ง ทุกเรื่องจะไปเก็บอยู่ในทุกแห่งที่เราส่งไปนะคะ เพราะฉะนั้นมาตรการตรงนี้ คงจะต้องใส่ในวรรคสุดท้ายว่า เมื่อเราได้รายงานแล้ว วรรคต่อไปไม่มีค่ะ จบแล้ววรรคนี้ วรรคนี้ต้องมีต่ออีกวรรคหนึ่งที่มีผู้เสนอว่า เรื่องที่จะเสนอไปหน่วยงานไหน ไม่ว่าจะเป็น ถ้าเป็นกฎหมายเสนอไป สนช. ถ้าเป็นแผนที่ต้องปฏิบัติทันทีทันใดเสนอไปที่ ครม. เพื่อส่งไปที่ กระทรวง ถ้าเป็นการปฏิรูประยะยาวส่งให้ คมช. เพื่อที่จะไปกำหนด ทีนี้วิธีกำหนดดิฉันก็มาดู ในรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญมาก ๆ เลยในมาตรา ๓๕ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ดิฉันไม่คิดว่าท่านจะยกร่างแล้วใส่ทุกเรื่องที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยจาก ๑๗ คณะไปอยู่ใน ร่างรัฐธรรมนูญได้หมด ถ้าไม่ได้หมด ข้อสุดท้ายคือมาตรา ๓๕ (๑๐) กลไกที่จะผลักดันให้มี การปฏิรูปเรื่องสำคัญต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ต่อไป เมื่อเรามีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว จะทำได้อย่างไร คงน่าจะต้องกำหนดไว้ในวิธีปฏิบัติของข้อบังคับ อย่างน้อยก็ให้เป็นหลักการว่า สิ่งที่จะต้องเสนอต่อไปนี้จะให้เสนอไปที่ไหน เพื่อให้แพลน ทู แอคชัน (Plan to action) ตรงนี้เกิดแอคชัน ถ้าอะไรที่ต้องเกิดทันทีก็เกิดในรัฐบาลสมัยนี้ ถ้าอะไรที่ต้องรอจนรัฐบาล สมัยหน้าที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลสมัยหน้าจะต้องเป็นพันธะผูกพันที่จะต้องนำการปฏิรูป เรื่องสำคัญที่เราจะทำงานใน ๓๑๙ วันนี้ ไปปฏิบัติให้เกิดผล ถ้าไม่เช่นนั้นเราก็เสียของ ทำเสร็จแล้วก็เสียของ เพราะฉะนั้นดิฉันก็ยังอยากจะนำเสนอว่าเราจะร่วมกันคิดอย่างไร อย่างน้อยต้องใส่ในข้อบังคับนี้สักนิดหนึ่งก่อนว่าเรื่องจะไปต่ออย่างไร หลังจากนั้น กรรมาธิการยกร่างซึ่งเราจะมี ๓๖ ท่าน ก็คงต้องไปคิดให้ครบว่าจะทำอย่างไรตามมาตรา ๓๕ ๑๐ อนุ ซึ่งดิฉันคิดว่าสำคัญมาก ๆ ก็คือ (๖) (๗) (๙) และ (๑๐) จะต้องมาใส่ไว้เป็นหลักการ นิดหนึ่งในข้อบังคับของเรา ก็กราบเรียนเสนอเพื่อให้มีทางปฏิบัติต่อนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เดี๋ยวขออนุญาตนะคะ ท่านประธานกรรมาธิการบอกว่ามีคำตอบอยู่แล้ว ขอเชิญค่ะ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานครับ ประเด็นแรกของท่านกอบกุลเดี๋ยวจะรอให้ตกผลึกก่อนนะครับ เรื่องการท่องเที่ยว ส่วนประเด็นหลังนี่ผมได้เรียนไปทีหนึ่งแล้วนะครับว่า วรรคสุดท้ายของ ข้อ ๘๐ เป็นเรื่องของการทำงานซึ่งทางคณะกรรมาธิการกิจการสภาชั่วคราวได้ขอมาเป็นอย่างนี้ เดิมผมเสนอให้รายงานต่อประธานทุก ๒ เดือน ทางนี้ไปขอเป็นรายงานต่อสภาทุกเดือน ทางคณะกรรมาธิการกิจการสภา

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นที่ท่านกอบกุล ขออนุญาตเอ่ยนามท่านนะครับ พูดว่ามันไป ไหน ๆ มันเขียนไว้เรียบร้อยเลยนะครับหลายแห่ง ที่ชัดเจนที่สุดอยู่ข้อ ๙๗ ถึงข้อ ๙๙ เขียนชัดเจนมาก ผมก็ไม่อยากอ่านให้เสียเวลานะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ข้อ ๙๗ เมื่อคณะกรรมาธิการได้กระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใด ๆ หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้ว ให้รายงานต่อสภา

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ในการพิจารณาของกรรมาธิการ หากเห็นว่ากรณีที่จำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเสนอมาพร้อมรายงานตามวรรคหนึ่งด้วย วรรคสอง ในที่ประชุมสภา คณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลง ชี้แจงต่าง ๆ และที่สำคัญก็อยู่ที่ ข้อ ๙๘ ในกรณีที่สภาเห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานสภาส่งรายงาน ไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ก็มีไว้ ข้อ ๙๙ ถ้ามีมติของสภาให้คณะกรรมาธิการใดกระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ถ้าทำไม่เสร็จก็ต้องแจ้ง ประธานสภาทราบ อันนี้ก็เป็นกรอบพอสมควร แต่รายละเอียดลึกลงไปผมคิดว่ากรรมาธิการ วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นก็คงจะได้ไปกำหนดวันเวลา ห้วงเวลาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อันนี้ก็ขอตอบท่านกอบกุลไว้ ก็ขอเชิญท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ เวลานี้ ๑๔.๔๒ นาฬิกา มีผู้แสดงความจำนงที่จะอภิปรายอยู่ทั้งสิ้น อีกประมาณ ๒๐ กว่าท่าน เริ่มจากท่าน พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก คุณทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ คุณสารี อ๋องสมหวัง เป็นต้น ผมจะขอหารือท่านสมาชิกว่า ขออนุญาตถ้าจะกรุณาอภิปราย อย่างที่ท่านประธานหารือไว้เมื่อเช้าว่าใช้เวลากระชับสักท่านละ ๕ นาที ก็จะเป็น พระเดชพระคุณละครับ โอกาสต่อไปขออนุญาตเรียนเชิญท่าน พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ครับ ขอเชิญกรรมาธิการครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ผมขอหารือท่านประธานกับท่านสมาชิกอย่างนี้ได้ไหมครับ จากที่เราได้ อภิปรายไปนี่นะครับ ก็จะเห็นแล้วว่าแต่ละท่านก็จะเสนอแนวทางหรือแนวคิดข้อเสนอ ของท่าน ซึ่งบางครั้งก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าที่ได้อภิปรายไปแล้ว ท่านเสนอหรือต้องการ อะไรแน่นะครับ ถ้าจะให้รวดเร็ว แล้วก็ให้ชัดเจน จากการที่เราได้ใช้ระยะเวลาช่วงแรก มาแล้ว ถ้าเกิดเราจะปรับสักนิดหนึ่งได้ไหมว่าไปเลยทีละคณะแล้วตอนนี้ แต่ละคณะ คณะหนึ่งมีท่านใดติดใจไหมนะครับ ถ้าไม่ติดใจก็ผ่านทีละคณะไป แล้วเดี๋ยวตรงถึงคณะใด ท่านก็เอาให้มันตกผลึกในคณะนั้นนะครับ ผมว่ามันน่าจะคืบหน้ามากขึ้นและเร็วขึ้น ก็เลยหารือนะครับ ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เอาประเด็นที่อดีตกรรมาธิการเสรีหารือก่อนว่าจะไปทีละชุด ๑๗ ชุด หรือว่าจะอภิปรายรวม เมื่อสักครู่นี้ได้คุยกับท่านรองประธานท่านที่สองว่า เดิมก่อนจะมีข้อเสนอของ อดีตกรรมาธิการจะให้อภิปรายกันไปแล้วพักการประชุมสักครึ่งชั่วโมง แล้วก็ให้ อดีตกรรมาธิการไปลองคิดดูว่าที่ท่านสมาชิกอภิปรายมานี่ท่านจะรับอย่างไร แต่ถ้าจะไปแบบ ท่านอดีตกรรมาธิการเสรีก็ได้ ท่านสมาชิกเห็นอย่างไรครับ คุณคำนูณจะพูดประเด็นนี้ อาจารย์เจิมศักดิ์ต่อนะครับ เฉพาะประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องเนื้อหานะครับ เชิญคุณคำนูณครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ คำนูณ สิทธิสมาน ในฐานะกรรมาธิการด้วยนะครับ ท่านประธานครับ ความจริงเราไม่ใช่สภาการเมืองก็จริงอยู่ แต่ว่าเราก็ดำเนินการตามข้อบังคับ ทีนี้เมื่อเราพิจารณาในวาระที่สองเฉพาะมาตรา เรื่องกรรมาธิการ กระผมเข้าใจว่าคงจะมีข้อแตกแขนงทั้งข้อสงสัยและข้อซักถาม และในที่สุด ที่ยังไม่สงสัยก็จะเริ่มสงสัย แต่ว่าจริงแล้วการพิจารณาในวาระที่สองก็คือทุกท่านเป็น กรรมาธิการ ท่านก็ต้องเสนอว่าท่านจะขอแก้ไขอย่างไร ตัดคำไหน เพิ่มคำไหน คือถึงแม้ว่า จะอภิปรายโดยภาพรวมไปอันที่จริงก็ควรจะต้องเป็นวาระแรก แต่ว่าในเมื่อเราเลยมาถึงขั้นนี้ ถึงอภิปรายภาพรวมไปอย่างไร กระผมเชื่อว่าก็คงไม่สามารถตกลงเห็นพ้องกันได้ ในหลายประการด้วยกัน ถึงจะอภิปรายไปอีกสักชั่วโมงหนึ่งแล้วให้พักการประชุมให้กรรมาธิการไปตกลงกัน ผมเข้าใจความลำบากใจของอดีตกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับครับ เพราะว่าส่วนใหญ่ ท่านก็จะทำตามที่สมาชิกในแต่ละกลุ่มไปเสนอท่าน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือว่า สมาชิกในแต่ละกลุ่มท่านเห็นไม่ตรงกัน เป็นต้นว่า ในกลุ่มเอ (A) ท่านควรเห็นว่าควรแยกเป็น เอ ๑ กับเอ ๒ ๓ ท่าน แต่ส่วนใหญ่ท่านเห็นว่าไม่ควรแยก เพราะฉะนั้นถึงจะพักการประชุม ให้กรรมาธิการไปตกลงหรือไปข้อเสนอแนะมาใหม่ก็คงยากที่จะได้ข้อสรุปใหม่ครับ เพราะฉะนั้นกระผมเห็นด้วยกับท่านเสรีที่ว่าเราก็ว่ากันไปตามมาตรา ตามอนุมาตรา ท่านสมาชิกซึ่งลุกขึ้นอภิปรายในฐานะกรรมาธิการท่านใดท่านจะขอแก้ไขอย่างไรอาจจะ ไม่ถึงขนาดเขียนมาเรียบร้อย แต่ขอให้โดยสารัตถะท่าน เป็นต้นว่า สมมุติเมื่อสักครู่เรามี ข้อถกเถียงกันในเรื่องกรรมาธิการเศรษฐกิจว่าควรจะแยกหรือไม่แยกอย่างไรนี่นะครับ ท่านก็อภิปรายเลยเมื่อถึงวงเล็บหรืออนุมาตราที่เกี่ยวกับ (๖) คณะกรรมาธิการปฏิรูป เศรษฐกิจ การเงินและการคลัง ก็เป็นต้นว่า ผม คำนูณ สิทธิสมาน ขอแปรญัตติเรื่องนี้ โดยตัดเป็นเฉพาะคณะกรรมาธิการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ สมมุตินะครับ แล้วก็แยกเป็น คณะกรรมาธิการปฏิรูประบบการเงิน การคลังและงบประมาณ สมมุติอย่างนี้ครับ แล้วก็คงจะต้อง ตัดสินใจกันลงมติไปในแต่ละอนุมาตราในแต่ละประเด็น เพราะถ้าเผื่ออภิปรายยาวไป กระผมเชื่อว่าก็เป็นประโยชน์ครับแต่มันจะไม่จบ แล้วสุดท้ายเมื่อกลับมาเราจะมีตัวตั้ง ในการโหวตหรือการลงมติเพื่อตัดสินอย่างไรครับ มันก็จะเป็นปัญหาต่อไป ถึงพักการประชุม กระผมก็ไม่เชื่อว่าทางท่านอดีตกรรมาธิการจะหาข้อสรุปได้ เพราะท่านก็เหน็ดเหนื่อยมามาก แล้วส่วนใหญ่ก็เป็นการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของสมาชิกในด้านต่าง ๆ เพราะฉะนั้นผมขอสนับสนุนตามท่านอาจารย์เสรี ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญอาจารย์เจิมศักดิ์ครับ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผมเห็นต่างกับ คุณคำนูณที่พูดเมื่อสักครู่นี้ คือผมมองว่ากรรมาธิการ คือเรื่องที่สภาทั้งหมดกำลังจะแบ่งงาน เพื่อที่จะให้ไปช่วยดูเป็นการเบื้องต้นแล้วจะได้กลับมาเพื่อพิจารณาร่วมกันได้ละเอียดขึ้น ดีขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าเราเดินไปตาม (๑) ใครจะแก้ ใครไม่แก้ วงเล็บอะไรใครจะแก้ ไม่แก้ ผมว่าพลาดได้ จริง ๆ แล้วเราต้องดูว่าเจตนาหรือทิศทางที่เราต้องการจะปฏิรูปคืออะไร ร่วมกัน ผมสมมุติว่าถ้าเราตกลงกันว่าเราจะลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม เราจะลด อำนาจผูกขาดรัฐแต่ว่าไปกระจายให้กับประชาชน สมมุติว่า ๒ ข้อนี้ เสร็จแล้วเรามานั่งดูว่า ถ้าอย่างนั้นเราควรจะแยกเป็นด้านอะไรบ้าง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจแน่นอน ลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องสังคม ในเรื่องกฎหมายว่ากันไป แต่ถ้าเรามานั่งดูเป็นชิ้น ๆ ชิ้นนี้จะแก้อย่างไร มันหนีไม่พ้นว่าเราไปดูเป็นรายกระทรวง เราไม่ได้เป็นผู้บริหาร หรือผู้ควบคุมกิจการ หรือการบริหารราชการแผ่นดินเป็นกระทรวง หรือเสนอแนะแก้ปัญหาเป็นรายกระทรวง แต่เรากำลังดูโครงสร้าง ท่านประธาน การดูโครงสร้างต้องดูภาพรวมใหญ่ ไปดูเป็นกิจกรรม ไปดูเป็นปัญหาย่อย ผมว่าเราจะหลงป่า เราต้องเห็นป่าทั้งหมด ผมเห็นด้วยกับคุณพิสิฐ ลี้อาธรรม ที่บอกว่า ถ้าหากว่าจะดู ถ้าไปทีละมาตราหรือทีละวงเล็บนี่นะครับ ท่านจะเห็นว่า (๖) บอก ปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง แต่พอไป (๗) ท่านบอกว่าไปปฏิรูปเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ท่านประธานครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

อาจารย์ครับ ขออนุญาตครับ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ผมขอบพระคุณคุณคำนูณที่เห็นตรงกับผมเพื่อไม่ให้มันช้านะครับ เพราะประเด็นผม เดี๋ยวก็มานั่งพูดกันอีก ผมก็ขอถอนนะครับ ขอบพระคุณครับ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ อย่างเช่น (๖) กับ (๗) จริง ๆ แล้ว น่าจะยำแล้วผสมกันใหม่ มันไม่ใช่ดู (๖) ทีหนึ่ง (๗) ทีหนึ่ง แต่ (๖) กับ (๗) นี่ถ้ารวมกัน ผมคิดว่าคุณพิสิฐพูดถูก ที่ท่านประธานกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับถามว่าขอฟัง นักเศรษฐศาสตร์ ผมกราบเรียนครับ ขอบคุณครับ ที่คิดว่าผมไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์เฉย ๆ ผมนี่พื้นฐานเศรษฐศาสตร์ สอนเศรษฐศาสตร์อยู่ ๒๘ ปี อยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์ เพียงแต่ว่าผมไม่ได้เข้ามาประตูเศรษฐศาสตร์เท่านั้น เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยกับคุณพิสิฐว่าถ้ายำใหม่ เราจะมามองว่าถ้าจุดหมายต้องการ ลดความเหลื่อมล้ำ ต้องการกระจาย ท่านก็ต้องแยกเป็นเรียล เซคเตอร์ ก็คือภาคการผลิต ทั้งหมด กับภาคอีกภาคหนึ่งคือภาคการเงิน การคลัง มันมีมันนี่ เซคเตอร์ (Money sector) มันมีเรียล เซคเตอร์ ถ้าแยกเสียเขาก็จะได้ดูเป็นระบบเลยว่าการหารายได้เข้ารัฐ ด้วยระบบภาษีอากรจะลดความเหลื่อมล้ำ มันจะต้องปฏิรูปยกเครื่องกันอย่างไร เรื่องการใช้จ่ายเงินของรัฐออกไป เราจะทำอย่างไรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยที่ไม่อยากจะเห็น เรื่องของประชานิยมลดแลกแจกแถม แต่จะทำอย่างไร มันจะต้องไปเป็นกระบวนการด้วยกัน ภาคการเงิน การคลังนั้นไปด้วยกัน ภาคการผลิต อุตสาหกรรม เกษตรและอื่น ๆ ต้องไปเป็น องคาพยพ จะเป็นท่องเที่ยว จะเป็นเรียล เซคเตอร์อื่น ๆ ต้องดูเป็นภาพนี้ทั้งหมด เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ใช่ให้เราไปดูว่าเราจะหาเงินจากการท่องเที่ยวอย่างไร หรือจะไป ทำอะไร อย่างไร แต่เรามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพราะฉะนั้นอันนี้อาจจะต้อง นี่ยกตัวอย่างนะครับท่านประธานครับ ข้อ ๖ กับข้อ ๗ ดูทีละข้อไม่ได้ ต้องรวมกัน ผมกราบเรียนสรุปก็คือว่าอยากจะให้เราตั้งหลักกันใหม่ตรงนี้สักนิดหนึ่ง แล้วท่านกรรมาธิการ ก็กรุณาทำงานมาดีแล้ว เดินต่ออีกนิดหนึ่ง ฟังพวกเราให้หมดว่าถ้าเรามีจุดมุ่งหมายทิศทาง ปฏิรูปตรงกัน เราจะปรับโครงสร้างในแต่ละด้านอย่างไร เราจะได้มีกำลังคน ไม่อย่างนั้นเรามี เพียงแค่ ๑๐ กว่าคนในแต่ละด้านเล็ก ๆ แล้วเราจะไปปรับโครงสร้าง แล้วเดี๋ยวก็ไปขัดแย้ง กันเองอีกกับอีกด้านหนึ่ง ตกลงในแต่ละกรรมาธิการก็จะขัดแย้งกัน ดูให้มันใหญ่สักหน่อย แล้วดูภาพ เราไม่สามารถจะแก้ปัญหาทุกอย่างในบ้านเมืองได้ แต่เราจะปฏิรูปคือหาจุดคานงัด เพื่อปรับโครงสร้าง ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

บังเอิญมีคนแสดงความจำนงหารือเรื่องกระบวนการอีก ๒ ท่านนะครับ คือคุณประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ กับคุณหมอชูชัย ผมจะขออนุญาตอีก ๒ ท่านนะครับ เรื่องกระบวนการ ถึงแม้ท่านอดีตกรรมาธิการเสรีถอนแล้วก็อาจจะ ๒ ท่านนี้จบแล้วก็จะเข้าสู่เนื้อหาแล้วนะครับ เชิญคุณประดิษฐ์ครับ

นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินะครับ ผมเห็นด้วยที่จะอภิปรายภาพรวมเพื่อให้ได้เป้าหมาย ของการปฏิรูปแล้วก็กลไกในนามกรรมาธิการวิสามัญ เป็นกลไกสำคัญยิ่งที่จะตอบโจทย์ว่า เราจะได้เป้าหมายเป็นเครื่องมือการทำงานของเรานะครับ จริง ๆ สมาชิกสามารถอภิปราย ลงในรายละเอียดเลยว่าเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับคณะไหน แล้วก็กรรมาธิการจด แล้วก็มาเปลี่ยนนะครับ ๒. ผมเห็นด้วยว่าการตั้งคณะทำงานทั้งหมด ต้องนำไปสู่การเปลี่ยน โครงสร้างแล้วก็เป็นโครงสร้างที่ยั่งยืนสำหรับการแก้ปัญหาประเทศของเราด้วย เพราะฉะนั้น กรรมาธิการที่ตั้งมาหลายคณะนี่ดูดี แต่ว่าตอบโจทย์ใหญ่หรือไม่ ผมอยากให้สมาชิกอภิปราย ภาพรวมอันนี้ แล้วก็ได้เวลาแล้วมาไล่ทีละวรรค เช่น ผมติดใจวรรคสาม ติดใจจริง ๆ นี่ อาจารย์ยังสงวนสิทธิ์ที่จะอภิปรายวรรคสามอยู่ มาไล่ทีละวรรคว่าเราจะแก้ปรับปรุงอะไร เพื่อให้ตอบโจทย์ที่สมาชิกได้สะท้อนเจตนารมณ์หรือไม่ครับ ผมคิดว่าแนวทางนี้จะให้ การประชุมมันขยับเขยื้อนไปข้างหน้าได้นะครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญคุณหมอชูชัยครับ

นายชูชัย ศุภวงศ์ ต้นฉบับ

ขอบคุณท่านประธานที่เคารพครับ ผม ชูชัย ศุภวงศ์ สมาชิกหมายเลข ๖๖ ผมเห็นด้วยกับท่านประธานครับที่คณะกรรมาธิการยกร่างน่าจะ หยุดพักครับ หยุดพักเพื่อไปประมวลประเด็นทั้งหมดแล้วก็กลับมาตอบเพื่อนสมาชิกครับ ประเด็นที่ผมถามบางประเด็นผมก็ยังรอคำตอบแต่ว่ายังไม่มีใครชี้แจงประเด็นนี้นะครับ ผมก็เข้าใจว่าสมาชิกอภิปรายกันเยอะมาก แล้วก็ถ้าท่านใดท่านหนึ่งโดยเฉพาะท่านประธาน ต้องรับหน้าที่ตอบคนเดียวก็เป็นภาระที่หนักมาก เมื่อประมวลได้ถึงจุดหนึ่งแล้วก็ควรจะ นำมาเสนอต่อที่ประชุมครับ ไม่เช่นนั้นก็อภิปรายกันไปเรื่อย ๆ แล้วก็จะสร้างความสับสน พอสมควร ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ถ้าอย่างนั้นผมขออนุญาตดำเนินตามระเบียบวาระที่วางไว้แต่เดิมคือดูข้อ ๘๐ ทั้งหมด ในภาพรวมแล้วเดี๋ยวท่านอดีตกรรมาธิการอาจจะต้องรับไปนิดหนึ่งนะครับ แต่ว่าผมจะ ขออนุญาตให้ท่านสมาชิกได้โปรดกระชับหน่อยครับ วันนี้เราไม่ต้องลงมติกันมาตั้งแต่เช้า นี่เป็นบรรยากาศที่ดีมากเลยครับ ถ้าต้องลงมติกันทีละช็อต ทีละช็อต นี่มันจะยาวนะครับ เพราะว่าต้องถามญัตติหลังไปทีละเรื่อง ทีละเรื่อง มันจะยุ่งกัน ก็ขออนุญาตต่อเลยนะครับ พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ท่านอยู่ไหมครับ เชิญครับท่าน

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผมมีประเด็นสั้น ๆ เกี่ยวกับเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการแต่ละด้านทั้ง ๑๗ ด้าน ที่ว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญแต่ละด้านมีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทาง และข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ให้สัมฤทธิ์ผลนะครับ ที่ข้อสังเกตของผมก็คือว่า คำว่า สัมฤทธิ์ผล คืออะไร ขอบเขตมันก็แล้วแต่ที่จะกำหนด แล้วแต่ใครจะกำหนด ก็แล้วแต่คณะนั้นนะครับ ผมเข้าใจว่าการทำงานน่าจะเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายที่เรา จะปฏิรูป หาจุดมุ่งหมายที่เราจะไปหรือจุดมุ่งหมายนั้นเอง เมื่อได้จุดมุ่งหมายแต่ละคณะแล้ว ก็น่าจะมาขอความเห็นชอบจากสภาถึงจะไปดำเนินการต่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ผมอยากเรียนเสนอแนะจากที่ว่าอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ต่าง ๆ ให้สัมฤทธิ์ผล ขอเรียนเสนอแนะอดีตคณะกรรมาธิการนะครับ ถ้าเปลี่ยนเป็น ให้เป็นไปตาม จุดมุ่งหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ น่าจะเหมาะสมกว่านะครับ ผมขอเรียนเสนอแนะสั้น ๆ แค่นี้ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านอดีตกรรมาธิการรับไปนะครับ ขอเรียนเชิญคุณทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ครับ ท่านอยู่ไหมครับ บางทีท่านลงชื่อไว้แล้วก็ไม่เป็นไรครับ คุณสารี อ๋องสมหวัง ครับ ท่านอยู่นะครับ เชิญครับ

นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผมมีประเด็นสั้น ๆ แต่ว่าครอบคลุมทั้งหมวดนะครับ ก็อยากจะขออนุญาตพูดถึงข้อ ๘๐ แล้วก็ครอบคลุม ไปถึงส่วนที่ผมคิดว่าจะกระทบของทั้งหมวดนี้ด้วย ในข้อ ๘๐ นี้ที่ผมเป็นห่วงมี ๒ ประเด็น

นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ คือเรื่องขนาดของกรรมาธิการ คือท่านให้ขนาดไว้นี่นะครับ ดูในหน้า ๑๕ บรรทัดที่ ๒ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสิบสามคนแต่ไม่เกิน ยี่สิบเก้าคน และบุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่เกินจำนวนหนึ่งในสี่ของกรรมาธิการ คือถ้าไปใช้ ตัวเลขไม่เกิน ๒๙ คน คณะกรรมาธิการนี้จะมีไซส์ (Size) โตมาก ๓๐ กว่าคน ซึ่งผมก็คิดว่า เราน่าจะหากรรมาธิการที่มีขนาดที่กะทัดรัด กระชับ มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นผมเองอยากจะเสนอให้ท่านกรรมาธิการยกร่างที่เคารพช่วยรับไปพิจารณาว่า จะเป็นไปได้ไหมที่จะปรับเป็นว่าไม่เกิน ๑๙ คน คือให้มีคณะประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ไม่น้อยกว่า ๑๓ คนแต่ไม่เกิน ๑๙ คน ซึ่งจะทำให้ขนาดของกรรมาธิการกระชับแล้วก็ กะทัดรัดขึ้นนะครับ

นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ต้นฉบับ

ผมจะขออนุญาตใช้เวลาไม่เกิน ๕ นาทีไปพูดถึงเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องซึ่งผมคิดว่า มันเป็นโครงสร้างหลักและกระทบทั้งหมดเลย ก็คือเรื่องจำนวนคณะกรรมาธิการ ในหมวดนี้ทั้งหมด ถ้าผมนับแล้วทั้งหมดนอกจาก ๑๗ บวก ๒ บวก ๕ แล้วยังมีบวกอาจจะมี บวกอีก ๒ มันเยอะเหลือเกิน ซึ่งผมคิดว่าอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมาธิการ มากขนาดนั้นนะครับ เพราะฉะนั้นในความเห็นของผม ผมเห็นด้วยว่าในข้อ ๘๑ ท่านให้มี กรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่งช่วยงานท่านประธานในการทำหน้าที่ แต่ในข้อ ๘๓ ให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติขึ้นคณะหนึ่งมีจำนวนไม่เกิน ๒๘ คน ผมเองยังคิดว่าในเมื่อมีกรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่งแล้วก็ไม่น่าจะต้องมีความจำเป็น ที่จะต้องมีกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมคิดว่าน่าจะมอบภาระหน้าที่ อันนี้ให้กับกรรมาธิการสามัญที่จะตั้งขึ้นนะครับ

นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ต้นฉบับ

ในประเด็นขั้นต่อไปนะครับ เกี่ยวกับเรื่องจำนวนในข้อ ๘๔ ในร่างบอกว่า ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญดังต่อไปนี้ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ สั้น ๆ นะครับ ซึ่งในความเห็นของผมภาระหน้าที่ที่กำหนดไว้ในข้อ ๘๔ ก็เป็นเรื่อง ซึ่งกรรมาธิการประจำสภาแต่ละคณะก็น่าจะรับไปทำ รวมทั้งกรรมาธิการสามัญของสภาด้วย ในความเห็นของผมน่าจะตัดข้อ ๘๔ ออก เพื่อจะลดจำนวนกรรมาธิการออกไปได้นะครับ ก็มีเรื่องซึ่งเป็นเรื่องโครงสร้างหลัก ๆ ของหมวดกรรมาธิการตามที่กราบเรียนให้ทราบครับ ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

คือท่านอภิปรายถึงเรื่องจำนวนคณะกรรมาธิการทั้งหมดซึ่งกระทบข้อ ๘๐ แล้วก็ไปถึง ข้ออื่น ๆ ด้วย แต่ก็ไม่เป็นไรนะครับ ท่านกรรมาธิการรับไว้ ต่อไปคุณสารี อ๋องสมหวัง ครับ เชิญครับ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน สารี อ๋องสมหวัง นะคะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันขอเสนอเพิ่ม (๑๘) ให้มีคณะกรรมาธิการ การคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ดิฉันมีเหตุผลสนับสนุนหลายประการ ดิฉันคิดว่าเพื่อนสมาชิกในห้องนี้ทุกคนไม่เคยมี คงไม่มีใครไม่เคยถูกเอาเปรียบนะคะ ปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคมีตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย ซื้อของไม่ได้ของ โทรศัพท์ ๙๙ สตางค์ต่อนาที แต่เราไม่เคยโทรได้เลย ๙๙ สตางค์ต่อนาที ดิฉันเชื่อว่านั่นเป็นเรื่องที่เป็น เรื่องพื้นฐานมากที่การเอารัดเอาเปรียบยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ดิฉันขออนุญาตยกตัวอย่างนะคะ เรามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่า ๒๒ ฉบับ มีหลายหน่วยงานที่ดูแล เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค แต่เราก็ยังไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้จริง

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ เรามี ๑๑ กระทรวง ๑๓ หน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เรื่องอาหารปลอดภัย เรามีคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ๓ ปีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และมูลนิธิชีววิถีทดสอบสารเคมีในพืชผัก เราพบว่า ๓๐ เปอร์เซ็นต์ตกมาตรฐานทุก ๓ ปี ความไม่ปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นเรื่องที่สำคัญอีกประการหนึ่งนะคะ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าเราจะมีหน่วยงานจำนวนมาก มีกฎหมายหลายฉบับ มีหน่วยงานที่ดูแล จำนวนไม่น้อย หรือแม้กระทั่งดิฉันยกตัวอย่างนะคะว่าการโกงกันหรือการเอาเปรียบกัน ในการคุ้มครองผู้บริโภค คนที่ต้องการแม้เพียงไปออกกำลังกายก็ต้องไปดูข้อมูล ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนสมาชิกคงงงนะคะว่าทำไมเราจะออกกำลังกายเราต้องไปดูข้อมูล ในตลาดหลักทรัพย์ สถานออกกำลังกายบางแห่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่พบว่า ข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์บอกเลยนะคะว่าเขามีหนี้สินมากกว่าทุน แต่ว่าผู้บริโภคที่ไป ออกกำลังกายเราก็ต้องการออกกำลังกายเท่านั้นเอง เราไม่ได้จำเป็นต้องไปดูข้อมูล ในตลาดหลักทรัพย์นะคะ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าขณะนี้เรามีปัญหาเรื่อง การเอารัดเอาเปรียบที่ยังแก้ไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการผูกขาด การมีอำนาจเหนือตลาด ที่กรรมการแข่งขันทางการค้ายังไม่สามารถจัดการได้ เรามีปัญหาเรื่องโครงสร้างราคา ที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค เราเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์ แต่เราใช้รถยนต์ที่มีคุณภาพ ดิฉันไม่แน่ใจนะคะว่าต่ำกว่าประเทศญี่ปุ่นหรือเปล่า ทั้ง ๆ ที่เราส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น แล้วราคาถูกกว่าผู้บริโภคที่ประเทศไทยใช้งานนะคะ โครงสร้างเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญ เป็นปัญหาพื้นฐานของทุกคน เพราะว่าทุกคนก็เป็นผู้บริโภคตั้งแต่เกิดจนตาย แล้วก็การคุ้มครองผู้บริโภคก็คงไม่ใช่แค่การซื้อการใช้สินค้าเท่านั้น แต่รวมถึงการที่ เราจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้มีความเป็นพลเมือง ดิฉันติดตามข่าวที่มีข้อมูลเรื่องการไปดูงาน ของกรรมการ หน่วยงานอิสระบางหน่วยงานที่ไปต่างประเทศ ๑๒๒-๑๒๙ วัน แต่สิ่งที่เขาคุยกัน ก็คือว่าถ้าลด ๕๐ เปอร์เซ็นต์แล้วเราจะไปต่างประเทศพอหรือเปล่านะคะ แทนที่เขาจะออกมา แล้วก็บอกว่าเขาขอโทษ เขาขอลาออก เขาผิดไปแล้ว เหมือนอย่างที่ดิฉันคิดว่า ทุกคนคาดหวัง เพราะฉะนั้นการปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค หรือการปฏิรูป การคุ้มครองผู้บริโภคมีความสำคัญ แล้วดิฉันยิ่งฟังหลายด้านที่พูดถึงนะคะ ดิฉันตอนแรก ก็คาดหวังว่าการคุ้มครองผู้บริโภคจะไปอยู่กับเศรษฐกิจไหม เราคุยเรื่องการเงิน การคลัง ต้องมีเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยหรือเปล่า หรือเราคุยเรื่องต่าง ๆ จะมีเรื่องการคุ้มครอง ผู้บริโภคอยู่ในนั้นไหม แต่ดิฉันคิดว่าวันนี้คงมีความสำคัญที่เราจะต้องเพิ่มอีกวงเล็บหนึ่งคือ (๑๘) เรื่องคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อทำให้เรื่องเหล่านี้ชัดเจน มากขึ้นกับการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน การผูกขาด การมีอำนาจ เหนือตลาด โครงสร้างราคาที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งผู้บริโภคเองเราก็อาจจะต้องคิดเรื่อง การสนับสนุนธุรกิจในประเทศ ธุรกิจขนาดเล็ก หรือธุรกิจที่ดี เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าขณะนี้ ผู้บริโภคนอกจากมีปัญหาอย่างที่ดิฉันพูดไปแล้วก็คือว่าผู้บริโภคไม่มีทางเลือกเลยนะคะ หลายคนบอกว่าข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจสำหรับผู้บริโภคไม่มีนะคะ หรือเราจะทำอย่างไรที่จะทำให้คณะชุดนี้ช่วยกันคิดมากขึ้นว่าสภาพปัจจุบันนี้เราจะมี คุณภาพชีวิตมากกว่าปกติได้อย่างไร มีคุณภาพชีวิตที่จะอยู่ในประเทศนี้ มีอาหารที่ดี ขึ้นรถเมล์แล้วก็ปลอดภัย เดินทางไปต่างจังหวัดแล้วก็ปลอดภัยนะคะ ดิฉันคิดว่าก็อยากให้ เพิ่มคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคให้ชัดเจน เพราะเราก็มีหน่วยงาน จำนวนมากที่ดูแลการคุ้มครองผู้บริโภคแต่ก็ยังไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้จริง ขอบพระคุณมากค่ะท่านประธาน

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมมีชื่อท่านสมาชิกซึ่งทำหน้าที่เป็นกรรมาธิการเต็มสภา พูดง่าย ๆ คือผมมีชื่อกรรมาธิการ ในสภานี้อยู่ในมืออีก ๒๑ ท่าน ตั้งแต่คุณณรงค์ พุทธิชีวิน ถ้าท่านอภิปรายท่านละ ๕ นาที จะใช้เวลาประมาณ ๑๐๕ นาที แล้วถ้าท่านกรรมาธิการตอบอีกก็จะใช้เวลาประมาณนี้ ผมไม่ทราบว่ามีท่านผู้ใดจะแสดงความจำนงอภิปรายอีกไหมครับ เจ้าหน้าที่ช่วยจดชื่อหน่อยนะครับ ผมอยากหารือท่านสมาชิกอย่างนี้ครับว่า เดี๋ยวอาจจะให้ กรรมาธิการตอบด้วยแล้วก็ ๑๗.๐๐ นาฬิกา ถ้าเป็นไปได้ควรจะหยุดพักการประชุม สักครึ่งชั่วโมงให้คณะกรรมาธิการออกไปหารือกัน อดีตกรรมาธิการที่เราได้รับความกรุณา จากท่านออกไปหารือกันว่าท่านปรับอะไรได้บ้าง เพราะจริง ๆ ท่านก็ยอมไปหลายเรื่องแล้ว เช่น ตัดชื่อคำว่า วิสามัญ ออกไป เช่น เรื่องว่าให้คำนึงถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นอันดับแรก ท่านก็ยินดีเอาออกไปแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าท่านสมาชิกจะเมตตาว่า ลงชื่อให้หมดเสียตอนนี้ ผมจะได้รับรู้ว่าเหลืออีกกี่คน เพราะนับแค่นี้ ๒๑ ที่ยกอีกประมาณ ๕-๖ ท่าน อาจจะถึง ๓๐ นะครับ ก็ขออนุญาตเชิญท่านต่อไปเลยครับ ท่านกรรมาธิการ จะชี้แจงก่อนนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ครับ ขอให้เป็นการบ้านในชั่วโมงข้างหน้าช่วยกันคิดนะครับ ยังไม่ต้องตอบผม มีท่านทองฉัตร ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านเสนอว่ากรรมาธิการเราใหญ่ไป อันนี้เป็นประเด็นที่สำคัญอยู่ คำว่า ใหญ่ คือคณะกรรมาธิการ ถ้าให้อยู่ท่านละ ๒ คณะ มันจะตกอยู่ที่ประมาณ ๒๕-๒๖ คน บวกคนนอกอีก ๑ ใน ๔ อีกประมาณ ๖ คน ก็จะมีอยู่ที่ ประมาณ ๓๐-๓๒ คนต่อคณะ ถ้าวิธีปรับแก้คือการให้ท่านอยู่คณะเดียวเลย นี่ที่ผมจะฝากให้ ท่านคิด ขณะนี้ท่านอยู่ ๒ คณะ จึงทำให้คณะหนึ่งก็จะมีประมาณ ๒๖-๒๗ คน แต่ถ้าผมให้ ท่านอยู่คณะเดียว คณะหนึ่งจะมีอยู่ประมาณ ๑๓-๑๔ คน ผมก็จะตั้งเกณฑ์ว่า ๑๐-๑๕ และบวกคนนอกอีก ๑ ใน ๔ ท่านก็จะมีประมาณ ๑๓-๑๙ อะไรอย่างนี้ ซึ่ง ๑๓-๑๙ ก็น่าจะทำงานได้ อันนี้ก็จะเป็นกรรมาธิการที่เราเรียกว่า วิสามัญประจำสภา จากนี้ท่านก็ส่ง ๑ คนไปอยู่ในคณะกรรมาธิการกิจการสภาของ สปช. เพื่อไปเป็นตัวประสานงาน ก็ฝากคิดนะครับ เวลาท่านอภิปรายท่านก็ช่วยบอกด้วยท่านเห็นด้วยไหมว่าการอยู่ คณะเดียวกับการอยู่ ๒ คณะ อยู่ ๒ คณะท่านจะให้ความสำคัญกับอีกคณะหนึ่งหรือเปล่า ก็ฝากเป็นการบ้านผมไม่ชี้นำครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ถ้าอย่างนั้นก็ขออนุญาตเชิญท่านต่อไปเลยนะครับ คือ คุณณรงค์ พุทธิชีวิน ครับ เชิญครับ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ณรงค์ พุทธิชีวิน สปช. ครับ ผมมีข้อเสนอว่าคณะกรรมาธิการสามัญด้านปฏิรูปกีฬา ไม่ควรจะมี และเห็นว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ควรจะมี ด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้ครับ เราพูดถึงการปฏิรูป ผมเห็นว่าการปฏิรูปนั้นต้องไปดีล (Deal) กับปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อประเทศในขณะนี้ จะพูดอย่างไร จะมองอย่างไรก็ตาม มองไม่เห็นได้เลยว่าการกีฬาจะกระทบกับโครงสร้างใหญ่ของประเทศ ณ เวลานี้ เพราะฉะนั้นถ้าเราใส่การกีฬาเข้าไป คนก็จะมองได้ว่าเราไม่รู้จักจัดลำดับ ความสำคัญของเรื่อง เอาเรื่องอะไรก็ไม่รู้ใส่เข้าไปทั้งหมด ผมเห็นด้วยครับ ท่านเลิศรัตน์ ท่านทำกีฬาประสบความสำเร็จ เพราะท่านประสบความสำเร็จน่ะสิครับ จึงไม่มีเหตุผลเลยว่า จะต้องปฏิรูปมัน ณ เวลานี้ เพราะฉะนั้นข้อเสนอของผมควรเอาปฏิรูปด้านการกีฬาออกไป ส่วนที่บอกว่าปฏิรูปด้านการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ควรจะใส่เข้ามา มีเหตุผล หลัก ๆ อยู่ ๔ ข้อครับท่านประธานครับ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ประการแรก เรื่องของการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ เกี่ยวข้องกับ วิถีหลายเรื่องด้วยกัน เกี่ยวข้องกับการเกษตร เกี่ยวข้องกับการขนส่ง เกี่ยวข้องกับแรงงาน เกี่ยวข้องกับการตลาดด้านต่างประเทศ ในประเทศ เกี่ยวข้องกับการศึกษา เกี่ยวข้องกับ แรงงานเด็กและแรงงานต่างชาติ เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม และเกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมอันดีงามของไทยด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องเดียวเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของประเทศ เกือบทั้งหมด

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

เหตุผลที่ ๒ ก็คือ ณ เวลานี้ถ้าเรามองเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงประเทศเรา การท่องเที่ยวเป็นเส้นเลือดใหญ่เส้นหนึ่ง การส่งออก การเกษตร ก็เป็นเส้นเลือดเช่นเดียวกัน เมื่อมองเช่นนี้ถ้าเราไม่มองเส้นเลือดใหญ่ ณ เวลานี้ เราก็จะละเลยปัญหาของประเทศไป

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

เหตุผลที่ ๓ ครับ วันนี้เราเห็นแล้วใช่ไหมครับว่าประเทศกำลังมีปัญหา เรื่องการท่องเที่ยว จะเป็นในเรื่องของความไม่ปลอดภัยของนักท่องเที่ยวก็ดี การบุกรุก สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ อุทยาน ก็เป็นเรื่องของการท่องเที่ยว การสร้างภาพลักษณ์ ของประเทศเป็นเรื่องการท่องเที่ยว วันนี้หลายคนจัดลอยกระทงโดยที่ใช้แรงงานต่างชาติ เป็นผู้ดำเนินการ ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราเห็นภาพปัญหาของมันปัจจุบัน

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นสุดท้ายครับ ข้อมูลทางด้านวิชาการที่พบ ก็คือรายได้เกินครึ่ง ของประเทศเรา ณ เวลานี้เป็นรายได้ที่มาจากอุตสาหกรรมบริการ เพราะฉะนั้นการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการจึงเป็นเรื่องหลักที่เราควรจะให้ความสำคัญ และมันเป็นปัญหา ที่เราจะต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วนเพื่ออนาคตของประเทศเรานะครับ ด้วยความเคารพครับ ท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ คุณณรงค์อภิปรายได้กระชับ ขอแสดงความชื่นชมนะครับ ต่อไปก็ขออนุญาตเรียนเชิญอาจารย์ปรีชาครับ อาจารย์ปรีชา เถาทอง ครับ

นายปรีชา เถาทอง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ ท่านประธานและท่านกรรมาธิการ ผมก็ฟังมาตลอดนะครับ ผมคิดว่าผมก็เห็นด้วยกับท่านอาจารย์หลายท่านที่พูดในประเด็น เรื่องของเรามาปฏิรูปอะไรกัน เพราะฉะนั้นการปฏิรูปอะไรเหมือนกับว่าเราหาต้นเหตุ ของปัญหาให้เจอว่าบ้านเมืองเราที่ผ่านมามีปัญหาอะไรบ้าง ทั้งปัญหาโครงสร้างใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้นมันยึดโยงกับในกลุ่มสาขาอาชีพอะไรบ้าง มีหลายท่าน อันนี้อาจจะพูดซ้ำในประเด็น เพียงย้ำให้เห็นว่า ถ้าเป็นคณะกรรมาธิการที่ว่าใน ๑๗ ด้านอาจจะไหลเข้าสู่ในก้อนของ นโยบายของปัญหาของชาติในเรื่องที่เราจะแก้ สมมุติผมยกตัวอย่างง่าย ๆ นะครับว่า สมมุติว่าด้านการศึกษาอย่างนี้ เราคิดว่าการศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ เราต้องการให้คน ในประเทศเราไปสร้างชาติอย่างไร และการศึกษาที่มันไม่สู่เป้าหมายไปอยู่ในอันดับ ๘ อันดับ ๙ ของอาเซียน (ASEAN) มันเกิดจากอะไร มันสอนแบบอะไร ทำไมกันนะครับ นั่นคือระบบการศึกษา นั่นคิดในแง่ของการสร้างคน นั่นคือทิศทางของการสร้างคน ก็ต้องปฏิรูปอย่างไรบ้าง ในระบบการศึกษามันจะโยงถึงเรื่องของการศึกษาเรียนรู้ ในด้านวิจัย ด้านการสร้างองค์ความรู้ ด้านปราชญ์ชาวบ้าน เรียกว่าเบสท์ แพรคทิสซ์ (Best practice) หรือด้านงานช่าง งานอะไรต่าง ๆ นี่ทุกอย่างเราจะต้องถ้ามันเป็นปัญหา ในการศึกษานี่ในก้อนนี้เราจะดูแลอย่างไร แล้วก็มันจะดึงอะไรเข้าไปรวมบ้างในก้อนการศึกษา นี่ผมยกเป็นตัวอย่างนะครับ

นายปรีชา เถาทอง ต้นฉบับ

ในก้อนที่ ๒ สมมุติเศรษฐกิจอย่างนี้ ถ้าในด้านเศรษฐกิจจริง ๆ มันมีปัญหา ในเชิงเศรษฐกิจอะไรบ้างที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือถูกควบคุม หรือไม่ได้ก้าวหน้าในทางที่ เป็นไปตามต้องการ เราก็มาดูว่ามันเกี่ยวกับองค์กร กลุ่มอะไรบ้างที่น่าไปอยู่ในก้อน ของเศรษฐกิจนะครับ

นายปรีชา เถาทอง ต้นฉบับ

ในด้านสังคม อะไรบ้างในส่วนสังคมที่จะมาเซิร์ฟ (Serve) ในเรื่องของบริบท ในกลุ่มต่าง ๆ เข้าไปอยู่ในมุมสังคม ด้านการเมือง ด้านกฎหมาย ด้านสิ่งแวดล้อม ถ้าเราแบ่ง ใหญ่ ๆ ตามนี้แล้วเราเอาจุดที่แบ่งเป็นตัวปัญหา เป็นเป้าหมายเหมือนอย่างที่หลายท่าน ได้พูดไว้ เราก็จะเรียงภาระงานใส่เข้าไป ผมคิดว่ากรรมาธิการที่จะเข้าไปอยู่นี่ก็จะไปช่วยกันทำ ตรงนั้น ผมมองในเชิงหลักการนะครับ เหมือนในด้านหนึ่งมีโรคอยู่ ๔-๕ ตัว เราก็เอาหมอ ที่เก่งแต่ละโรคนี่เข้าไปช่วยในตรงนั้น

นายปรีชา เถาทอง ต้นฉบับ

ด้านสุดท้ายที่ผมไม่ได้พูดถึง ก็ขอบคุณนะครับ คือด้านศิลปะ วัฒนธรรม หรือศาสนา ที่จริงมันอยู่ด้านอื่น ๆ แต่ความจริงมันเป็นโครงสร้างสำคัญที่เหมือนเป็นยาดำ ที่หล่อเลี้ยง ด้านสุนทรีย์ ด้านมโนทัศน์ ด้านภูมิปัญญา ด้านจริยธรรม คุณธรรม ที่ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมเขาดูแลอยู่ ที่มีบางคนพูดถึงใส่คำว่า ค่านิยม เข้าไป มันเป็นนามธรรมทั้งสิ้น ค่านิยมกับจริยธรรม คุณธรรมนี่ทำอะไรที่มันเกิดได้ มันก็เกิดได้เพราะว่าตัวโครงสร้างของศิลปวัฒนธรรม นี่เราจะทำอย่างไร ถ้ามองด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอีกก้อนหนึ่งที่มีปัญหาทำให้มนุษย์เรา ขาดรสนิยม ขาดค่านิยม ขาดการรู้คุณค่า ขาดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย แล้วเอาความเป็นไทย ดีเวลอป (Develop) ตัวเองไปสู่ความเป็นอินเตอร์ (Inter) ได้อย่างไร ผมว่านี่ก็เป็นปัญหาอีกตัวหนึ่งในก้อนศิลปวัฒนธรรมที่เราจะทำอย่างไร และมีหน่วยงาน เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมนี่เขาต้องไปแก้ในประเด็นปัญหาตรงนั้น นี่ผมมองในรูปปัญหานะครับ ผมก็ไม่สามารถบังอาจว่าปัญหาที่ผมยกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ประมาณนี้มันไปโยงถึงกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งเป็นกรรมาธิการ ถ้าเอากลุ่มเหล่านั้นมาไหลรวมกันเพื่อมาทำกิจกรรมร่วมกัน ผมมองเชิงปัญหา และปัญหานี้อาจจะตั้งว่าช่วงนี้ปฏิรูปเราจะทำแค่นี้ แล้วต่อไปคือ แผนระยะ ๕ ปี ๑๐ ปีจะทำอย่างไร เพราะฉะนั้นบุคลากรที่อยู่ในกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ ก็จะถูกไหลรวมเข้ามาในตัวปัญหาของประเทศตัวนี้ ผมมองการปฏิรูปในเชิงปัญหา เราเอาปัญหาเป็นตัวตั้ง แล้วก็เอากลุ่มงานนี้มาใส่ร่วมกัน ผมคิดว่าน่าจะเป็นหลักการ ในทางออกที่น่าจะจัดการในการเป็นนโยบาย เป็นรูปของพันธกิจของงานออกมาได้นะครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านกรรมาธิการครับ ผมเรียกท่านสมาชิกเป็นกรรมาธิการนะครับ ผมอ่านชื่อ ๓ ท่านต่อไป เพื่อท่านจะได้เตรียมตัวนะครับ คือคุณสืบพงศ์ ธรรมชาติ คุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ แล้วก็คุณเตือนใจ สินธุวณิก ต่อไปเชิญคุณสืบพงศ์ครับ

นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม สืบพงศ์ ธรรมชาติ สปช. จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้นาฬิกา ๓ เรือนตรงกันหมดแล้วนะครับ ๑๕.๐๐ นาฬิกา ตรงหน้าผมและท่านประธานก็ตรงแล้วครับ วันก่อนไม่ตรง ข้อบังคับผมว่าไม่นานเดี๋ยวก็ ตรงครับ เพราะว่ากำลังช่วยกันหมุนช่วยกันปรับ เดี๋ยวก็ตรงหมด เข้าสู่หมวดกรรมาธิการ ทั้ง ๑๗ บวก ๑ เป็น ๑๘ เมื่อสักครู่นะครับ แล้วของท่านอาจารย์ณรงค์ด้วย เข้าไปอีก ๑ จะเป็น ๑๙ นะครับ ซึ่งผมเห็นว่าก็จำเป็น เข้าประเด็นเลยว่าการท่องเที่ยวเราทิ้งไม่ได้ เพราะอะไร เพราะการท่องเที่ยวคือหัวใจของประเทศไทยขณะนี้ครับ การท่องเที่ยวทำรายได้ ให้กับประเทศไทยมาก และที่สำคัญคือตอนนี้มีการเสนอมรดกโลกของวัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช เข้าสู่บัญชีเบื้องต้น แล้วก็กำลังจะเป็นมรดกโลกอีกไม่นาน ทีนี้ถ้าเราทิ้ง การท่องเที่ยวตรงนี้ผมว่าเราขาดทุนนะครับ เพราะฉะนั้นขอให้การท่องเที่ยวอยู่ นี่ผมขอเสนอเลยนะครับว่าให้อยู่ และอุตสาหกรรมบริการที่ดอกเตอร์ณรงค์เสนอเมื่อกี้ ก็ควรจะอยู่นะครับ อย่าตัดนะครับ ทีนี้เข้าสู่ประเด็นที่เกิดลูกออกมามากก็คือ ๑๒ กับ ๑๕ เกิดลูกมากกว่าเพื่อนครับ ที่จริงแล้วพ่อกับแม่มีอยู่แล้วนะครับ แต่ว่าลูกตามหลังเป็นแถว เลยครับ อย่างเช่น ข้อ ๑๕ ที่จริงคำ ๒ คำถ้าใช้ก็จบเลย คือคำว่า ศิลปะและวัฒนธรรม เพราะมันคือทุกอย่างแล้วครับ เป็นทั้งจริยธรรม เป็นทั้งค่านิยม เป็นทั้งความเชื่อ เป็นทั้งประเพณี เพราะในประเทศเราจะใช้คำอยู่ ๒ คำเป็นคำใหญ่ คือคำว่า ศิลปะ และวัฒนธรรม กับคำว่า วัฒนธรรม และกระทรวงเราก็ชื่อว่ากระทรวงวัฒนธรรม เพราะว่า วัฒนธรรมปั๊บนี่รวมหมดแล้วครับสิ่งเหล่านี้ แต่ผมเข้าใจที่ท่านเลิศรัตน์ได้บอกเมื่อสักครู่ว่า มีการเสนอกันหลายชื่อเหลือเกินครับ ท่านก็เลยบอกว่าเมื่อบอกมาก็ใส่เข้าไป แต่ที่จริงก็เป็น เรื่องที่ดีเหมือนกัน เราจะได้รู้ว่าเราเน้นกัน ด้านนี้เน้นก็เน้น แต่ถ้าใจผมแล้วอมความเอาไว้ ก็น่าจะได้แล้ว คือใช้คำว่า ศิลปะและวัฒนธรรม เพราะทุกอย่างมันก็อยู่ในนี้เหมือนกับที่ ท่านปรีชาพูดเมื่อสักครู่นะครับ อันนี้ท่านบอกว่าให้เสนอเลย ผมเสนอเลยนะครับว่า ข้อ ๑๕ ถ้าจะใช้ว่า ปฏิรูปด้านศิลปะและวัฒนธรรม แล้วก็ตามด้วยว่าศาสนานะครับ แต่ใจผม อยากแยกศิลปะ วัฒนธรรมกับศาสนาออก เพราะว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ทั้งคู่เลยครับ โดยเฉพาะเรื่องศาสนาเป็นเรื่องที่หลายคนสนใจ ซึ่งถ้าหากว่าแยกออกไปก็จะทำอะไรได้มาก ปฏิรูปะ หรือ ปฏิรูป แปลว่าการทำให้ดีขึ้น มองไปมองมา มองย้อนกลับ เมื่อทำให้ดีขึ้น เราก็ต้องลงมือทำละครับ ตรงนี้ให้ชัด ผมก็ขอเสนอแก้เลยตรงนี้นะครับ และสุดท้ายก่อนจะครบ ๕ นาที ในย่อหน้าสุดท้ายนะครับที่บอกว่า เมื่อคณะกรรมาธิการ วิสามัญจะดำเนินการ ตรงนี้มีคำว่า จะ นะครับ เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา จะดำเนินการศึกษาและเสนอชื่อเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในเรื่องใด ๆ ให้คณะกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภารายงานให้สภาทราบ ทีนี้คำว่า จะ ตรงนี้ผมยังไม่แน่ใจว่าเป็นการใส่เข้าไป เหลือไปหรือเปล่า เพราะเพียงว่า จะ เรารายงานเลยหรือเปล่า หรือว่าทำ ถ้าทำก็ต้องตัด จะ ออกนะครับ ผมก็คิดว่าเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ แม้จะเป็นคำคำเดียว แต่ถ้าในทางปฏิบัติ เป็นอย่างนี้หรือเปล่า เพราะในการปฏิรูปนั้นผมเองก็อยากให้ทุกท่านทั้ง ๒๕๐ ได้มีส่วนกัน โดยทั่วถึง ส่วนหนึ่งที่บอกว่า ๑๗ หรือ ๑๘ หรือ ๑๙ อันนี้ก็คิดว่าคงจะต้องช่วยกันดูแล และผมขอเสนอว่าเรื่องการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ อย่าตัดครับตรงนี้ ผมคิดว่า มีครับผู้ที่จะเข้ามาช่วยในด้านนี้นะครับ คิดว่าคงครบ ๕ นาทีแล้วท่านประธานครับ ขอบพระคุณมากครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ต่อไปก็จะเป็นคุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ เชิญครับ

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานและเพื่อนสมาชิกครับ ผม วสันต์ ภัยหลีกลี้ นะครับ ผมคิดว่าในเรื่องที่เราพูดคุยกันนะครับเกี่ยวกับที่มา ผมคิดว่า ที่มาที่มาจากการเลือกของกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานี่นะครับ ก็เป็นเรื่อง ที่ดีแล้วนะครับ แต่ว่าอยากให้รับฟังความคิดเห็นของกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ด้วยนะครับ ในขณะเดียวกันในเรื่องของจำนวน เราเสนอเป็นสัดส่วนก็น่าจะดีแล้วนะครับ แต่ว่าจำนวน ของกรรมาธิการค่อนข้างจะเห็นด้วยกับท่านทองฉัตรนะครับว่าอาจจะเยอะเกินไป น่าจะลดจำนวนลงหน่อยนะครับ

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ต้นฉบับ

สำหรับเรื่องจำนวนกรรมาธิการนะครับ ผมคิดว่าควรจะขึ้นอยู่กับภารกิจ ของการปฏิรูปเป็นหลักนะครับ เห็นด้วยกับที่ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ได้พูดก่อนหน้านี้ ควรจะเป็นเรื่องใหญ่แล้วก็เรื่องที่จำเป็นต้องปฏิรูป เป็นเรื่องเชิงโครงสร้าง แล้วก็เป็นจุดคานงัด ที่จะช่วยให้เราปฏิรูปแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้ไปในทิศทางที่ดีแล้วก็ยั่งยืนนะครับ ผมคิดว่าที่ควรพิจารณาก็คือดูว่าวันนี้เรามีวิกฤติอะไรที่เป็นเรื่องใหญ่ ๆ เช่น วิกฤติเรื่องการเมือง เรื่องการศึกษา เรื่องพลังงาน นอกจากนั้นก็คือว่าในเชิงโครงสร้างใหญ่ ของบ้านเมืองเราตอนนี้มีปัญหาอะไร เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เช่น ปัญหาถ้ามองในแง่ ของเศรษฐกิจ เรื่องของปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการส่งออก คือดูในเชิงโครงสร้าง ดูเรื่องใหญ่ ๆ แล้วก็กำหนดกรรมาธิการตามนั้นนะครับ ผมค่อนข้างเห็นด้วยครับว่าด้านกีฬานี่อาจจะ ปลีกย่อยเกินไปนะครับ ขณะที่ด้านเศรษฐกิจนี่อาจจะสามารถแยกออกได้อีกนะครับ เป็นไฟแนนเชียล เซคเตอร์ กับเป็นเรียล เซคเตอร์นะครับ

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ต้นฉบับ

ในส่วนของประธานกรรมาธิการนะครับ ในช่วงท้ายที่บอกว่า กรรมาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมาธิการได้คณะเดียวนะครับ ผมคิดว่าอันนี้อาจจะเป็นการจำกัด เกินไปหรือเปล่าครับ คือที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ว่าจะสมัครเป็นประธานกรรมาธิการอะไรนะครับ แต่มีความรู้สึกว่าตอนที่เราคุยกันเรื่องกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนะครับ ตอนนั้นเราพูด กันว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนี่จะมีภารกิจมาก แล้วก็ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันนะครับ แล้วตอนแรกสุดก็มีความคิดว่าไม่ควรจะไปเป็นกรรมาธิการใด กรรมาธิการหนึ่งเลย ตอนหลังก็บอกว่าให้เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ได้ แต่วันนี้เราให้ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นกรรมาธิการได้ ๑ คณะ ขณะที่ประธานกรรมาธิการ คณะหนึ่งไม่สามารถที่จะไปเป็นกรรมาธิการคณะใดได้อีกเลยนะครับ ผมคิดว่า ถ้าเปรียบเทียบกันในเชิงนี้แล้วอาจจะดูขาดตรรกะหน่อยนะครับ ก็เลยคิดว่าไม่ควรจะไป จำกัดข้อนั้นครับ ก็นำเรียนเพื่อที่ประชุมโปรดพิจารณานะครับ ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปเชิญคุณเตือนใจครับ

นางเตือนใจ สินธุวณิก ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานและท่านผู้มีเกียรตินะคะ ดิฉัน เตือนใจ สินธุวณิก สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๘๔ ขออนุญาตกราบเรียน ความเห็นสั้น ๆ ๓ ประการค่ะ สิ่งที่ดิฉันอยากจะขออนุญาตกราบเรียนตรงนี้ก็คือว่า

นางเตือนใจ สินธุวณิก ต้นฉบับ

ดิฉันเห็นด้วยกับความเห็นของท่านอาจารย์ ดอกเตอร์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ขออภัยที่เอ่ยนามท่าน เกี่ยวกับเรื่องของการที่คณะกรรมาธิการแต่ละคณะแต่ละด้าน ควรที่จะมีสิทธิจะเสนอรายชื่อบุคคลภายนอกที่เราเห็นว่ามีความรู้ความสามารถ เนื่องจากว่า คณะกรรมาธิการแต่ละด้านนั้นก็จะอยู่ในวงการอาชีพนั้น ๆ ดังนั้นก็จะทราบดีว่าใครบ้าง ที่เป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านนั้น ๆ นะคะ ดังนั้นขออนุญาตว่าเห็นด้วยที่ว่าน่าจะให้ คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเป็นคนเสนอ ในขณะเดียวกันก็เห็นด้วยที่ว่าจะมีการเรียกว่า ประนีประนอมในเรื่องของการที่จะให้คณะกรรมาธิการกิจการสภานั้น ที่ท่านได้กรุณาชี้แจงว่า จะมีติดต่อกับหน่วยงานภายนอก ซึ่งเขาก็จะมีความสามารถในวิชาชีพหรือว่าด้านนั้น ๆ เช่นเดียวกัน ดังนั้นขอเสนอว่าน่าจะมีทั้ง ๒ ด้าน คือให้กรรมาธิการแต่ละคณะนั้นได้มีโอกาส ที่จะเสนอชื่อคนที่เหมาะสมจากบุคคลภายนอก บวกด้วยคณะกรรมาธิการกิจการสภา เสนอมาด้วยค่ะ จากนั้นก็มาได้รับการแอพพรูฟในคณะกรรมาธิการใหญ่นี้นะคะ

นางเตือนใจ สินธุวณิก ต้นฉบับ

อีกอันหนึ่งขออนุญาตเรียนว่า ดิฉันขออนุญาตเห็นด้วยกับคุณหมอชูชัยค่ะ ที่ว่าเราควรจะเชิญคณะกรรมการผู้ที่ทำหน้าที่คัดสรรพวกเราเข้ามาซึ่งถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒินั้น ได้มีโอกาสเข้ามาเป็นคณะกรรมาธิการด้วย บวกรวมกับผู้ที่สมัครเข้ารับการคัดสรรค่ะ

นางเตือนใจ สินธุวณิก ต้นฉบับ

ประการสุดท้ายที่ขออนุญาตกราบเรียนต่อที่ประชุมนี้ ก็คือเป็นข้อบังคับ ข้อ ๘๔ ที่ว่า ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือว่าตอนนี้อาจจะเรียกว่าเป็นคณะกรรมาธิการ เฉย ๆ ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการอีก ๕ คณะ คือคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตาม และให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วก็คณะกรรมาธิการจัดทำวิสัยทัศน์ และรูปแบบอนาคตประเทศไทย ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดในการปฏิรูปของเรา แล้วก็จากนั้นก็จะมีคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งอันนี้เป็นหัวใจสำคัญของคณะสภาปฏิรูปแห่งชาติของเรา ซึ่งหลายคนก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ แล้วก็มีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็น แล้วก็การดึง พี่น้องประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุดนะคะ ที่สำคัญก็คือการทำงานอะไรนั้น ก็จะต้องมีคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป มิฉะนั้นประชาชนโดยทั่วไป ก็จะไม่ทราบว่าเราทำงานอะไรบ้าง แล้วปัจจุบันก็จะมีสื่อหลาย ๆ สื่อหรือว่า การวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในโซเชียล เน็ตเวิร์ค (Social network) แล้วก็ทางสื่อหนังสือพิมพ์ หรือทางวิทยุโทรทัศน์อาจจะมองสภาปฏิรูปแห่งชาติของเราในแง่ที่ไม่ค่อยจะดีนัก ดิฉันหมายถึงว่าอาจจะเริ่มวิพากษ์วิจารณ์อะไรต่าง ๆ โดยที่เขาไม่รู้ข้อเท็จจริง ดังนั้นเรื่องของการประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูปของเราจึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมทั้งคณะกรรมาธิการ ข้อที่ ๕ คือจัดทำจดหมายเหตุและเจตนารมณ์ในการปฏิรูปของสภา เนื่องจากสภานี้เป็นสภาครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่มีสภาปฏิรูปแห่งชาติเช่นนี้ ดังนั้นก็ขออนุญาตกราบเรียนเสนอเพื่อโปรดทราบ ขอบพระคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านกรรมาธิการครับ ผมมีชื่ออยู่ในมือผมที่แสดงความจำนงในการอภิปรายตั้งแต่ท่านแรก คือคุณสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ไปจนกระทั่งถึง พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร ๒๔ คน ก็ขออนุญาตแจ้งเพื่อทราบไว้ตรงนี้ ขอเชิญคุณสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ เชิญครับ

นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ผม สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ต้องเรียนก่อนเพราะผมเป็นหนึ่ง ในสมาชิกด้านเศรษฐกิจของสภาแห่งนี้ ๑ ใน ๑๖ คนนะครับ ในตอนแรกในด้านเศรษฐกิจ ของเรา เราก็บอกว่าอยากจะให้มีไม่กี่ชุดเพื่อที่จะได้ไม่มีมากชุดจนเกินไป แต่ในเมื่อสมาชิกหลายท่านแสดงความห่วงใยว่างานเศรษฐกิจเป็นงานใหญ่นะครับ แล้วก็มี หลายด้านจะไปรวมกันอยู่ภายใต้เศรษฐกิจก็อาจจะดูแลไม่ทั่วถึงนะครับ เช่น การท่องเที่ยว เป็นเรื่องสำคัญ รายได้อันดับ ๒ ของประเทศ การส่งออกรายได้อันดับ ๑ ของประเทศนะครับ การเงิน การคลัง โครงสร้างพื้นฐาน แล้วก็โลจิสติกส์นะครับ ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องสำคัญ ระดับประเทศหมดและระดับภูมิภาคนะครับ มีท่านสมาชิกบางท่านเห็นว่าน่าจะรวม กรรมาธิการชุดที่ ๖ กับชุดที่ ๗ เข้าด้วยกัน ก็คือชุดเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง แล้วก็ ชุดการเกษตรและอุตสาหกรรมไว้ด้วยกัน ผมจึงมีข้อมูลจะเรียนนำเสนอเป็นเบื้องต้น ดังนี้ครับว่า รายได้จากการส่งออกของประเทศไทยนั้นเป็นอันดับ ๑ ตามมาด้วยรายได้จาก การท่องเที่ยวอันดับ ๒ นะครับ แล้วโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ที่เราพูดกันบ่อย ๆ นะครับ อยากจะเรียนว่าประเทศไทยนั้นอยู่ล้าหลังสิงคโปร์ ๓-๔ อันดับ และอยู่ล้าหลังมาเลเซีย ๑๐ อันดับ นี่เป็นตัวเลขการจัดอันดับของโลจิสติกส์ เพอร์ฟอร์เมินซ อินเด็กซ์ (Logistic Performance Index) หรือแอลพีไอ (LPI) ซึ่งจัดเมื่อปี ๒๕๕๗ โดยธนาคารโลกนะครับ เพราะฉะนั้นทั้ง ๓ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเออีซี (AEC) แล้วก็เอฟทีเอ (FTA) นะครับ ในฐานะ ที่เป็น ๑ ใน ๑๖ ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านเศรษฐกิจ จึงขอบคุณท่านสมาชิก ผู้ทรงเกียรติทุกท่านที่เห็นว่าด้านเศรษฐกิจนั้นควรจะต้องดูแลให้ทั่วถึง โดยที่ถ้าสมมุติว่า ทางสมาชิกผู้ทรงเกียรตินั้นเห็นว่าควรจะต้องแยกเป็นคณะต่าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุม และให้สมาชิกทุกท่านได้เข้ามามีส่วนร่วมในกรรมาธิการแต่ละคณะ ผมขออนุญาตเรียนว่า ผมเป็น ๑ ใน ๑๖ ท่าน ซึ่งอยากจะพูดว่าโดยส่วนตัวผม ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมเอ่ยชื่ออีก ๓ ท่านนะครับจะได้เตรียมอภิปราย ถัดจากคุณพิสิฐ ลี้อาธรรม ก็จะเป็น พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร แล้วก็ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ ขอเชิญคุณพิสิฐครับ

นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายพิสิฐ ลี้อาธรรม เช่นเดียวกับคุณสายัณห์ครับที่ได้เป็นกรรมาธิการ ประทานโทษ ได้มาจาก ด้านเศรษฐกิจนะครับ แล้วก็ที่จริงเมื่อสักครู่กระผมก็ได้ชี้แจงไปบ้างแล้วครับว่าผมเห็นว่า ชุดนี้มีภารกิจมากเหลือเกิน แล้วก็อยากจะยืนยันครับว่าน่าจะเรียกแยกเรียล เซคเตอร์ ออกจากไฟแนนเชียล เซคเตอร์ ก็เลยอยากจะขออนุญาตตั้งเป็นญัตติครับว่าขอให้เพิ่ม กรรมาธิการด้านการเงิน การคลังครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับที่กระชับมาก ขออนุญาตไปท่านต่อไป ท่าน ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ ครับ

ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมมี ๒ ประเด็นครับ

ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ ผมอยากจะให้ขอแก้ไขในข้อ ๘๐ วรรคสาม บรรทัดที่ ๓ หน้า ๑๕ เป็นข้อความดังต่อไปนี้นะครับ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติเป็นผู้เสนอเอง หรือจากคำแนะนำของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยพิจารณาจาก รายชื่อผู้สมัครหรือรายชื่อของผู้ได้รับการเสนอการสรรหาเข้าเป็นสภาปฏิรูปนะครับ จากนั้นก็ต่อ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ เหตุผลก็คือว่าในข้อนี้เมื่อเปิดกว้างแล้วอย่าลืมนะครับ ถ้าเราดูจาก ๗,๐๐๐ กว่ารายที่สมัครเข้ามาหรือว่าได้รับการสรรหาเข้ามานั้นนะครับ ยังมีผู้ทรงคุณวุฒิอีกเยอะนะครับ หรือในซีกของการเมืองซึ่งไม่ได้สมัครเข้ามา ขณะนี้ก็มีเสียงร่ำลือต่าง ๆ ออกมาว่า รัฐธรรมนูญออกมาเมื่อไรก็จะออกมาตามถนนอีกแล้ว เพราะว่าเขาไม่ได้รับการเข้าไปร่วมด้วย เพราะฉะนั้นอันนี้ที่เสนอตรงนี้ก็เพื่อว่าเปิดทาง สำหรับกรรมาธิการที่มาจากบุคคลภายนอกว่าไม่จำเป็นที่จะต้องมาจากแค่ผู้ได้รับการเสนอชื่อ หรือว่าสมัครเข้ามาเท่านั้น เพียงแต่ว่าเราพิจารณาก่อนเป็นลำดับแรก ๆ นะครับ ถ้าเปิดช่อง เอาไว้สำหรับว่าเสนอจากบุคคลที่อาจจะเกี่ยวกับการเมืองแต่ไม่ได้สมัครเข้ามา ไม่ได้รับ การเสนอชื่อสรรหาเข้ามาได้มีโอกาสเข้ามาในกรรมาธิการ ซึ่งเราไม่ได้ใช้ชื่อ วิสามัญแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นประเด็นตรงนี้ก็จะทำให้ ถ้าเขายังไม่เข้ามาอีกก็เป็นเรื่องที่ ช่วยไม่ได้แล้วนะครับ เพราะฉะนั้นก็ขอเสนอไปในประเด็นที่ ๑ ตามนี้นะครับ

ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ผมติดตามการทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับ เดิมทีนั้นกรรมาธิการวิสามัญตอนนั้นเรียกวิสามัญ ในคณะที่ ๑๖ ใช้ชื่อว่า คณะกรรมาธิการ วิสามัญปฏิรูปการขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ต่อมาได้แก้ไขคือตัดทิ้งไปเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการกีฬาและการท่องเที่ยว และหลังจากนั้นก็รู้สึกจะ ท่องเที่ยว หายไป เป็น การกีฬา ผมขอเรียกร้องให้เอากลับมาครับ เพราะว่ากรรมาธิการนั้น วิสามัญเราตัดไปแล้ว ปฏิรูปในเรื่องความเหลื่อมล้ำนั้น เป็นเรื่องสำคัญและเป็น ๑ ใน ๑๐ ด้าน เป็นด้านที่ ๑๐ ของ คสช. ซึ่งประกาศเป็นนโยบาย ออกมาแต่หลังจากนั้นแล้วหายไป เมื่อหายไปแล้วอย่าลืมนะครับความเหลื่อมล้ำเป็นต้นเหตุ ของปัญหาการเมืองในประเทศไทยในขณะนี้ มีการวิจัยเอาไว้เมื่อปี ๒๕๒๙ ความเหลื่อมล้ำ ๑๐ เปอร์เซ็นต์รวยสุด กับ ๑๐ เปอร์เซ็นต์จนสุด ล่าสุดนี่นะครับ ความเหลื่อมล้ำทางด้าน รายได้ คือความเหลื่อมล้ำมีหลายด้าน ความเหลื่อมล้ำในด้านสิทธิ ในเรื่องของการเข้าสู่ อำนาจ หรือการใช้อำนาจอะไรต่าง ๆ มีอีกเยอะแยะ แต่ความเหลื่อมล้ำในเรื่องรายได้ ปี ๒๕๒๙ ต่างกันอยู่ ๒๐ เท่า ปี ๒๕๕๔ เขาวิจัยใหม่ ความเหลื่อมล้ำ ๑๐ เปอร์เซ็นต์บน กับความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ล่าง ห่างกันเพิ่มเป็น ๒๑ เท่า มันหมายความว่าอย่างไรครับ หมายความว่าการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของเรานี้มันผิดพลาด หรือเปล่า มันมีปัญหาหรือเปล่า ทำให้การซื้อสิทธิขายเสียงในปัจจุบันนี้ไม่ได้รับการแก้ไข เราจะชี้นิ้วไปที่ผู้ที่ขายเสียงว่าคุณนี่ไม่รักชาติเลย คุณขายเสียงคุณทำไม เลือกนักการเมือง อะไรก็ไม่รู้เข้ามาอยู่ในสภาแล้วก็เกิดปัญหานะครับ แต่เขายังยากจนอยู่เขาไม่มีจะกิน บ้านเขามีอยู่ ๖ คน ๖ ๕ ๓๐ ก็คือ ๓,๐๐๐ มันอยู่ไม่ได้เป็นเดือนละครับ เพราะฉะนั้น ความเหลื่อมล้ำเป็นต้นตอของสิ่งที่เราจะต้องปฏิรูป ท่านไปออกกฎหมายดี ๆ ท่านไปมี อุตสาหกรรมที่ดี เกษตรที่ดีอะไรก็แล้วแต่ แต่รายได้ของคนระดับล่างยังเหลื่อมล้ำกันอยู่ ปัญหาการเมืองก็ยังอยู่ครับ ยังวนอยู่แค่นี้ อนาคตข้างหน้าอีกไม่กี่ปีก็อาจจะมีเหตุการณ์แบบนี้ ขึ้นมาอีก แต่คนที่จะมานั่งในสภานี้อาจจะไม่ใช่พวกเราก็ได้นะครับ เพราะฉะนั้นเรื่องของ การปฏิรูปเป็นเรื่องของสิ่งที่มันผิดปกติ สภาของเราเป็นสภาที่มีครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เราต้องทำหน้าที่ก่อน ผมเข้าใจครับทุกด้าน ผมอยู่ในภาคธุรกิจ ปัญหาในเรื่องของ การท่องเที่ยวเรื่องอะไรก็แล้วแต่ แต่สภานี้จะต้องจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ เรามีเวลาแค่ ๓๑๙ วัน ตอนนี้หักไปไม่รู้กี่วันแล้วลดลงไปเรื่อย ๆ เราไม่ใช่เข้ามา เพื่อบริหารประเทศชาติ เราไม่ได้เข้ามาเพื่อจะแก้ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างให้หมดภายในปีเดียว มันเป็นไปไม่ได้ครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำในขณะนี้คืออะไรสำคัญก่อนหลัง ความเหลื่อมล้ำนั้นมันมีหลายเรื่องครับ ความเหลื่อมล้ำในขณะนี้มันมียุทธศาสตร์ชาวนา ที่เกิดขึ้นมาจากภาคเอกชนจากภาคต่าง ๆ เพราะอะไร เพราะ ๓.๗ ล้านครัวเรือนตอนนี้เป็น หนังตัวอย่างที่ดีที่สุด ถ้าใน ๓.๗ ล้านครัวเรือน คนประมาณ ๑๗ ล้านคน ๑๒ ล้านคนยังจนอยู่ นอกเหนือจากนั้นอาจจะกลาง ๆ แล้วก็รวยนะครับ ถ้าเราทำให้คน ๑๒ ล้านคนจากจนเป็น ฐานะปานกลางเท่านั้นเอง สิ่งต่าง ๆ ที่เราจะปฏิรูปในด้านต่าง ๆ มันเริ่มเป็นเหตุเป็นผลแล้วครับ เพราะฉะนั้นผมยังเห็นความสำคัญของกรรมาธิการลดความเหลื่อมล้ำในทางเศรษฐกิจ และสังคม ยังอยากให้คงอยู่ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วสิ่งที่ท่านจะไปคิดเรื่องการกีฬาสำคัญไหม สำคัญครับ เรื่องท่องเที่ยวสำคัญไหม สำคัญครับ รายได้เป็นอันดับ ๒ แต่สิ่งที่สำคัญกว่า เราอยากจะทำให้รายได้ในส่วนของข้างบนเพิ่มขึ้นหรือครับ ในขณะที่รายได้ของคนส่วนล่าง ยังแย่อยู่ แล้วอย่างนี้เราจะใช้คำว่า สมาชิกสภาปฏิรูป ได้เต็มรูปแบบหรือครับ ขออนุญาตฝากไว้ ๒ ประเด็นครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่าน พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร ครับ

พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร สปช. ลำดับที่ ๒๗ สายสื่อสารมวลชน เกี่ยวกับ จำนวนคณะกรรมาธิการจะมีกี่คณะนั้นกระผมไม่ขัดข้อง แต่เนื้อหาและสาระ อยากจะให้บรรจุเรื่องของคณะกรรมาธิการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเข้ามาปฏิรูปด้วย ท่านประธานคงได้เห็นแล้วว่าเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว มีการประมูลคลื่นความถี่ ๒,๑๐๐ เมกะเฮิรตซ์ หรือ ๒.๑ จิกะเฮิรตซ์ ได้เงินมาประมาณ ๔๒,๐๐๐ ล้านบาท หักค่าใช้จ่าย ๖๐ ล้านบาท ส่งเข้ารัฐทั้งหมด ถัดออกมาประมาณ ๖ เดือน สำนักงาน กสทช. ได้ประมูลดิจิตอลทีวี (Digital TV) ได้เงินมาอีก ๕๑,๒๐๐ ล้านบาท ขณะนี้อยู่ที่กองทุนแล้วก็ คสช. ได้ขอปรับให้ส่งเข้ารัฐ คสช. ได้ชะลอการประมูลคลื่นความถี่ ๙๐๐ และ ๑,๘๐๐ ไป ๑ ปี ถ้าไม่ชะลอประมูลไปแล้วครับ คาดว่าคลื่น ๙๐๐ และ ๑,๘๐๐ ๒ คลื่นนี้น่าจะได้ เงินเข้ารัฐอีก ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท อันนี้เป็นค่าธรรมเนียมจากใบอนุญาตนะครับ ยังไม่รวม ค่าจ้างงาน ซื้ออุปกรณ์ ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น แล้วก็ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ อาจจะได้ค่าโทรศัพท์ต่ำกว่า ๙๙ สตางค์ต่อนาทีก็ได้

พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร ต้นฉบับ

ประเด็นที่ผมจะกราบเรียนท่านประธานก็คือว่า ในกิจการสื่อสารมวลชน ในข้อ ๑๑ นั้นได้รวมกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ไว้แล้ว แต่กิจการโทรคมนาคม ยังไม่มี กิจการโทรคมนาคมในที่นี้หมายถึงกิจการดาวเทียมสื่อสาร กิจการดาวเทียมสื่อสาร จะต้องไปขอคลื่นความถี่จาก กสทช. จากนั้นกระทรวงไอซีที (ICT) และ กสทช. จะไปขอ วงโคจรกับไอทียู (ITU) ไอทียูย่อมาจาก อินเตอร์เนชั่นแนล เทเลคอมมิวนิเคชัน ยูเนียน (International Telecommunication Union) ถ้าธุรกิจนี้เกิดจะมีมูลค่าจากใบอนุญาต อีกเป็นหมื่น ๆ ล้านบาท เพราะฉะนั้นท่านจะบรรจุกิจกรรมนี้ไว้ในข้อใดที่จะปฏิรูป ผมไม่ขัดข้อง แต่ไม่อยากให้ตกสำรวจ กราบขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณมากครับ ต่อไปท่าน พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ แล้วก็จะตามด้วยคุณธวัช สุวุฒิกุล และท่านอาจารย์ตรึงใจ บูรณสมภพ นะครับ เชิญท่าน พันตำรวจโท จิตต์ครับ อยู่ไหมครับ ถ้าไม่อยู่ขออนุญาตไปคุณธวัช สุวุฒิกุล ครับ

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ธวัช สุวุฒิกุล สมาชิกสภาปฏิรูป ผมขออนุญาตที่จะกราบเรียนใน ๒ ประเด็น ก่อนอื่นก็ต้องขอ ชื่นชมและให้กำลังใจกับคณะกรรมาธิการยกร่างที่ได้ทุ่มเทในการทำงานตลอด ๑ อาทิตย์ ที่ผ่านมา ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นความยุ่งยากอย่างยิ่งที่จะทำอะไรก็ตามให้ครอบคลุมทุกด้าน ให้พอใจทุกคน ในส่วนที่ผมอยากจะเสนอความเห็นนั้นในเรื่องของชื่อกรรมาธิการท่านครับ ผมเองอยากจะกราบเรียนว่าสภาปฏิรูปนั้นเราได้เกิดขึ้นมาในภาวะที่ไม่ปกติ ผมจึงอยากจะ เห็นว่าการทำงานอยากจะให้ยึดโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ ซึ่งกำหนดไว้ทั้งหมด ๑๑ ด้าน แล้วใน ๑๑ ด้านนั้นท่านจะเห็นได้ว่าในภาวะที่ไม่ปกติอย่างนี้ ผมอยากจะใช้ คำสั้น ๆ ว่าสิ่งที่สมาชิกจะต้องพิจารณาก็คือ ๑. ยาก ในภาวะอย่างนี้ต้องทำงานยาก ๆ ปกติทำไม่ได้ งานอะไรก็ตามที่มันยาก อันที่ ๒ คือใหญ่ เรื่องเล็ก ๆ ไม่ทำ เรื่องสังคม เรื่องการเมืองที่มันไปครอบคลุมในหลาย ๆ เรื่องที่มันยึดโยงต่อกันในหลาย ๆ มิติ และอันที่ ๓ คือสั้น เราไม่มีเวลาที่จะทำงานยาวนานนะครับ ท่านครับ อย่างที่หลายท่านอภิปรายไม่เกิน ๒ ปีไม่ยาว แต่ส่วนที่จะต้องทำต่อไปในอนาคตนั้นยังมีอีกหลายเรื่อง เพราะฉะนั้นในส่วนของ ชื่อนั้น ถ้าผมจะยกตัวอย่างท่านครับ จะเห็นได้ว่าหลายท่านอภิปรายไว้แล้วครับใน (๖) และ (๗) นั้น นี่เป็นเรื่องของเศรษฐกิจชัด ๆ ท่านครับ หรือจะบวกแรงงานเข้าไปก็เป็นเรื่อง เศรษฐกิจอีก หรือในเรื่องของสังคมนะครับ ซึ่งมันครอบคลุมหลายด้าน เช่น เรื่องของ การศึกษาอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่เรื่องของค่านิยมต่าง ๆ เหล่านี้ เรื่องคอร์รัปชัน (Corruption) มันก็ไปเกี่ยวกับค่านิยม ท่านครับ เพราะฉะนั้นในเรื่องของชื่อต่าง ๆ นั้น ผมคิดว่าอยากจะให้ยึดมาตรา ๒๗ นี่เป็นหลัก นั่นเป็นเรื่องที่ใหญ่นะครับ

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

อันที่ ๒ ในเรื่องของการรายงาน ผมคิดว่าเรามีกรรมาธิการ ซึ่งเราเรียกว่า กรรมาธิการกิจการสภาที่จะต้องคอยดูแล คอยติดตามขับเคลื่อนการทำงานของกรรมาธิการ ในคณะต่าง ๆ เพื่อให้กรรมาธิการเหล่านั้นสามารถทำงานได้ แต่ว่าเราจะไปยึดว่าต้อง ๓ เดือนรายงานหรืออะไร นั่นผมคิดว่าเป็นการวางกรอบที่มันชัดเกินไป โดยสรุปท่านครับ สภาแห่งนี้มีหน้าที่ในการกำหนดแนวทางในการปฏิรูป ส่วนในรายละเอียดนั้นคงต้องมี อีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำตามมา ผมก็ขออนุญาตกราบเรียนท่านประธานอย่างนี้ครับ ขอบพระคุณท่านครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอเชิญท่านอาจารย์ตรึงใจครับ

นางตรึงใจ บูรณสมภพ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ตรึงใจ บูรณสมภพ ในข้อ ๗๙ ที่ให้กรรมาธิการแต่ละคณะเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง รวมทั้งกรรมการสรรหา ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ อันนี้ก็คือดิฉันคิดว่าสมาชิกหลาย ๆ ท่านคงจะเห็นด้วยแล้วว่าให้พวกเรา สปช. เป็นผู้ที่เลือกสมาชิกที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แล้วก็รวมทั้งกรรมการสรรหาซึ่งเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิด้วย แต่ตามที่ท่านดุสิต เครืองาม เสนอให้ตัดคำว่า วิสามัญ ออกจาก คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปด้านต่าง ๆ และท่านประธานกรรมาธิการยกร่าง ท่านเลิศรัตน์ ก็เห็นด้วย ซึ่งคิดว่าทุก ๆ ท่านได้เห็นด้วยแล้วว่าควรจะเอาออก แต่เมื่อเอาออกแล้ว ก็ต้องแก้ไขในข้อ ๗๙ วรรคสอง ดิฉันจะขออ่านนะคะเสนอว่า คณะกรรมาธิการสามัญ ประกอบด้วยบุคคลซึ่งสภาตั้งจากสมาชิกของสภาเท่านั้น ส่วนคณะกรรมาธิการซึ่งเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมี ๒ ประเภทคือ คณะกรรมาธิการประจำสภาและคณะกรรมาธิการ วิสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญในที่นี้ก็คือ คณะกรรมาธิการวิสามัญ ๕ คณะในข้อ ๘๔ สำหรับในข้อ ๘๐ (๑๕) ที่มีสมาชิกเสนอตั้งแต่วาระที่หนึ่ง ให้นำคำว่า ปฏิรูปค่านิยม ออก ดิฉันกลับมีความเห็นว่าควรจะมีไว้ เพราะว่าปัจจุบันค่านิยมของคนไทยเป็นปัญหาใหญ่ ของบ้านเมือง เช่น ค่านิยมนับถือคนรวย ค่านิยมที่จะต้องใช้ของแพง ๆ พวกแบรนด์เนม (Brandname) ต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่แอฟฟอร์ด (Afford) ไม่ไหว ซึ่งค่านิยมเหล่านี้จะต้องปฏิรูป ให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมที่เห็นการทุจริตเป็นเรื่องธรรมดา ดิฉันคิดว่าอันนี้ก็ต้อง แก้ไขนะคะ จะต้องมีการปฏิรูป แล้วก็เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย ขอบคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านกรรมาธิการครับ ผมจะอ่านชื่ออีก ๔ ท่านที่แสดงความจำนงไว้นะครับ มีคุณประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ คุณประชา เตรัตน์ คุณบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และคุณนิมิต สิทธิไตรย์ ผมขออนุญาตเชิญคุณประดิษฐ์ เชิญครับ

นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ สมาชิกสภาปฏิรูป ฐานะกรรมาธิการนะครับ ที่ผมได้พูดเกริ่นนำไว้ว่าโครงสร้างการทำงาน ของคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดต่าง ๆ มีความสำคัญยิ่งที่จะนำพาพวกเราไปสู่จุดหมาย ร่วมกันของคนไทยทั้งประเทศคือการปฏิรูปประเทศ ผมคิดว่าเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง แล้วก็นำสู่ความยั่งยืนให้กับประเทศของเราตามที่สมาชิกหลายคน อภิปราย โดยเฉพาะเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่สุดที่ถูกเขียนไว้ใน รัฐธรรมนูญ เรื่องทุจริตคอร์รัปชัน แล้วก็เรื่องการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ๓ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ แล้วก็ทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาในประเทศนะครับ เพราะฉะนั้น กรรมาธิการต่าง ๆ ที่จะตั้งขึ้นโดยสภาแห่งนี้ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าสามารถลดความเหลื่อมล้ำ ได้อย่างไร ทุกคณะเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำหมด ทุกคณะโยงกับการทุจริตหมด ทุกคณะโยงกับ การสร้างความเป็นธรรมทั้งหมด ตอบโจทย์ตรงนี้ให้ได้แล้วเรากรุ๊ป (Group) กันนะครับ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนโครงสร้างจากการปฏิรูป ประเทศครั้งนี้นะครับ นี่คือโจทย์ที่ผมตั้งเอาไว้ และผมคิดว่าสมาชิกหลายคนก็ตั้งเอาไว้ เมื่อทุกคณะที่ตั้งขึ้นตอบโจทย์ที่ผมว่าแล้วเมื่อกี้นี้สำคัญที่ว่า วอล์ค เน็กซ์ (Walk next) แล้วเราจะเดินต่อไปอย่างไร พาประเทศไปสู่ข้างหน้าได้อย่างไร เราต้องทบทวนย้อนหลัง ๒๐ ปีเกิดอะไรขึ้นในประเทศนี้ ๒๐ ปีข้างหน้าเราจะสร้างอะไรให้เกิดขึ้นในประเทศนี้ กรรมาธิการที่ตั้งขึ้นต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าจะพาประเทศไปสู่ในทิศทางเหล่านี้ได้อย่างไร ทิศทางใหญ่ ๆ ซึ่งสมาชิกที่นี้แล้วก็สังคมจะได้ร่วมกำหนด เพราะฉะนั้น ๒ ภารกิจของ คณะทำงานที่สำคัญคือว่าตอบโจทย์ลดความเหลื่อมล้ำ เรื่องทุจริต แล้วก็สร้าง ความเป็นธรรม แล้วก็เดินไปข้างหน้าได้อย่างไร ผมว่านี่คือการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ทั้งหลายต้องตอบโจทย์ที่ว่าดูแล้วตอบได้ไหม กระจัดกระจายมาก ล้อเลียนโครงสร้าง กระทรวง แม้นว่าจะมีความตั้งใจดีของกรรมาธิการแล้วก็เพื่อนสมาชิกทั้งหลายที่ต้องการ ทำงาน ถ้ากรุ๊ปใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพและมีความกระชับ มีจุดมุ่งหมายชัดเจนผมว่า จะเกิดผลดีนะครับ ทำได้ไหม ผมว่าเรายังมีโอกาสที่จะทำได้ เรายังมีเวลาอยู่ ไม่ต้องรีบ เพื่อให้คนข้างนอกดูแล้วว่าสภาปฏิรูปแห่งนี้ได้สร้างกลไก เครื่องมือขับเคลื่อนการปฏิรูป ที่มีประสิทธิภาพนะครับ นี่คือภาพรวมที่ผมมองนะครับ ผมเสนอสั้น ๆ เลยนะครับ อาจารย์ครับ เช่น คณะกรรมาธิการกีฬา สำหรับผมไม่ควรมี หรือผมก็เห็นต่างกับอาจารย์เตือนใจนะครับ ปฏิรูปค่านิยมเราทำยากนะครับ แต่ว่าเป็นปฏิรูปศิลปวัฒนธรรมอยู่ในนั้นได้ แล้วก็ไปคิดใหม่ ๆ ตามที่อาจารย์พิสิฐเสนอหรือใครเสนอก็แล้วแต่ กรุ๊ปปัญหาขึ้นมาใหม่ เรื่องเกษตรผมคิดว่า ถ้าเราใช้คำเดียวผมว่าอาจจะจบ เช่น ปฏิรูปภาคการผลิตเกษตรซึ่งมันจะคลุมทั้งหมด ทั้งอุตสาหกรรมแล้วก็เกษตรอุตสาหกรรมมันคลุมทั้งหมด เป็นภาคการผลิต มันจะได้ กินความรวมถึงเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืน เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงทั้งหมดที่สังคมไทย มันมีอยู่ อันนี้คือตัวชื่อ ตัวโครงสร้างกรรมาธิการ แต่ผมดูแล้วยังกระจัดกระจาย ถ้ากรุ๊ปได้ก็ดี แต่จุดที่ผมคิดว่ายังมีปัญหามากก็คือข้อ ๘๐ วรรคสาม ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในความเห็น ของผมนะครับ ผมอ่านให้ดูนะครับ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาสิบเจ็ดคณะ ให้มีนะครับ แต่ละคณะประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสิบสามคนแต่ไม่เกินยี่สิบเก้าคน มีคนท้วงติงว่ามากไป อันนี้ไม่มีปัญหานะครับ แต่ที่จะมีปัญหาแล้วก็คลุมเครือคือว่า บุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่เกินจำนวนหนึ่งในสี่ของกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกของแต่ละคณะ ถ้าเราย้อนกลับดูนะครับ สมาชิกที่นี้ได้วิพากษ์วิจารณ์ที่มาของวรรคนี้มาจากการแต่งตั้ง ของคณะรัฐมนตรีไม่เกินเจ็ดคนจากผู้สมัครสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ไม่ได้รับการสรรหา เจตนารมณ์อยู่ตรงนั้น และพวกเราก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าจะเชิญพวกเขาเข้ามาทำงานร่วมกับ พวกเรา เพียงแต่เราไม่เห็นด้วยที่จะให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีการปรับแก้ คณะกรรมาธิการ กิจการชั่วคราวเสนอ ๒ ประเด็น ๑. ไม่เห็นด้วยกับคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมา เปลี่ยนให้เป็น อำนาจของคณะกรรมาธิการกิจการสภาที่จะแต่งตั้งเป็นชุดถาวรเป็นคนกลั่นกรองบุคคล ๒. ลดจำนวนจาก ๗ ให้เขียนไว้เป็น ๑ ใน ๕ แต่ว่าในนี้เขียนเป็น ๑ ใน ๔ เขียนไว้อย่างนี้ เท่ากับว่า ถ้าเขียนตามที่กรรมาธิการเสนอมานะครับ ๑ ใน ๔ ของกรรมาธิการที่เป็นสมาชิก รวมความถึงบุคคลภายนอกด้วยหรือไม่ หรือเฉพาะบุคคลที่สมัครเป็น สปช. แล้วไม่ได้รับ การสรรหา ถ้าเป็นบุคคลภายนอกด้วยเราให้อำนาจกรรมาธิการมากเกินไปในการตั้ง คณะกรรมาธิการในแต่ละคณะ ผมคิดว่าอันนี้ควรทำให้เกิดความชัดเจนขึ้นมานะครับ ควรเขียนให้ชัดเจนว่า ๑ ใน ๔ เป็นบุคคลที่มาจากไหน และเป็นอำนาจของกรรมาธิการ กิจการสภา ไม่ใช่ปล่อยให้กรรมาธิการกิจการสภาตั้งบุคคลใดก็ได้มานั่งอยู่ในกรรมาธิการ วิสามัญชุดต่าง ๆ อันนี้เป็นข้อสังเกต ซึ่งผมคิดว่าจะทำให้เกิดปัญหาแน่ในการทำงาน แล้วก็ ๑ ใน ๔ แค่ตัวเลขก็มีปัญหา ผมนี่สื่อสารมวลชนมี ๑๓ คน ผมตั้งได้ ๓.๒๕ คน หมายความว่าหารแล้วได้ ๓.๒๕ คน หมายความว่าเป็นทั้งบุคคลที่มาจากสมัคร สปช. และไม่ได้รับการสรรหาหรือบุคคลภายนอกด้วย อันนี้คือความคลุมเครือของข้อความในวรรคสาม ข้อ ๘๐ ผมมีประเด็นแค่นี้ครับ ท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครับ ต่อไปขอเรียนเชิญคุณประชาครับ

นายประชา เตรัตน์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายประชา เตรัตน์ สปช. จังหวัดชลบุรี ก่อนอื่นต้องขอยกย่องทางกรรมาธิการยกร่างที่ท่านมีความ พยายามอย่างยิ่งที่จะเอาใจสมาชิกทั้ง ๒๕๐ ท่าน บรรจุทุกอย่างที่เรียกร้อง ซึ่งผมก็ต้อง ขอวิงวอนเพื่อนสมาชิกทั้ง ๒๕๐ ท่านด้วยว่า คือในบางครั้งมันจะเอาทุกอย่างตามที่เรา ปรารถนามันก็คงไม่น่าจะได้ สิ่งสำคัญที่สุดที่ผมจะกราบเรียนท่านประธานนะครับ คือว่า ในมาตรา ๒๗ แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ระบุไว้ชัดเจนนั่นคือ ๑๑ ด้าน ดังนั้น ใน ๑๐ ด้านแรก เราไม่ควรจะไปแตะต้องมันจะต้องเป็นไปตามนั้น มันควรจะแตกมา ด้านที่ ๑๑ ที่มันไม่สามารถปรับเข้าใน ๑๐ ด้านจริง ๆ ค่อยแตกมาเป็นอีก ๔ ด้าน ๕ ด้าน ก็ว่าไป เพราะถ้าไม่อย่างนั้นแตกเป็น ๑๙ ๒๐ ด้าน มันก็จะทำให้สภาแห่งนี้การทำงาน เรารู้อยู่แล้วว่าภารกิจเรานั้นเวลาเราจำกัดมาก แล้วมวลสมาชิกทั้งหลายก็จะ ผมดูแล้วที่เสนอมาปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน ๔ ด้าน เพราะว่าในหลายด้านสามารถปรับเข้ากับ เศรษฐกิจก็ได้ สังคมก็ได้ กับอะไรได้เยอะแยะ อันนี้ก็เรียนด้วยความเคารพว่าเพื่อนสมาชิก ทั้ง ๒๕๐ ท่าน ก็ต้องเห็นใจท่านกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับด้วย คือคงจะเอาตามใจเรา ทั้งหมดคงจะไม่ได้

นายประชา เตรัตน์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ สิ่งที่ตามข้อ ๘๐ บอกไว้ชัดเจนว่ากรรมาธิการในทั้งกี่ด้าน ก็แล้วแต่ ในท้ายสุดจะเหลือกี่ด้านก็ตาม ให้คำนึงถึงการเข้ามีส่วนร่วมภาคประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล อันนี้ผมก็อยากจะกราบเรียนท่านประธานนะครับว่า ตอนนี้ถ้าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผมจะใคร่ขอให้สมาชิกสภาปฏิรูป ๗๗ จังหวัด ท่านต้องรีบเลือกแล้ว เพราะในข้อบังคับไม่เกิน ๒ ด้าน แล้วอยากให้ ๗๗ จังหวัด ได้อยู่ครบ ทุกด้านมันจะเพิ่มมาเป็น ๑๕ ๑๖ ๑๗ อะไรผมยังไม่ทราบ ในท้ายที่สุดแล้ว แล้วแต่ว่า ท้ายที่สุดจะเป็นอย่างไร เพื่ออะไรครับ เพื่อประโยชน์ในการที่สมาชิกสภาปฏิรูป ประจำจังหวัดนั้นจะช่วยท่าน เรายินดีช่วยท่านทั้ง ๑๗ ด้าน ในการนำเอาสรุปทั้งหลายลงไป ให้ภาคประชาชนได้รับทราบและสะท้อนความคิดเห็นนั้นขึ้นมา ทุกวันนี้ขอกราบเรียนว่า สมาชิกสภาปฏิรูปจังหวัดหลายจังหวัดเขาลงไปทำงานแล้ว โดยใช้ สปช. ที่สมัคร เข้ามาสรรหา แล้วไม่ได้รับการสรรหา เราตั้งให้เขาเป็นผู้ช่วยเราหมดทุกคน แล้วใช้ กกต. จังหวัดเป็นศูนย์กลางในการรับข้อมูลแลกเปลี่ยนข่าวสาร ต้องขอบคุณทาง ประธาน กกต. ส่วนกลางมาก ท่านได้แจ้งไปยัง กกต. จังหวัด ให้ความร่วมมือนี้อย่างดี แล้วก็ทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดก็เข้าใจในเรื่องนี้ว่าเป็นวาระที่สำคัญของชาติ ที่จะต้องช่วยกันปฏิรูปบ้านเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดก็ยินดีให้ความร่วมมือกับ สปช. จังหวัดทุกแห่ง แล้วเรายังมีเครือข่ายหน่วยงานปกครองท้องถิ่นในทุกด้าน ตรงนี้ครับ ท่านอย่าได้เป็นห่วงว่าเรา สปช. ๗๗ จังหวัดจะรวมกลุ่มกันเพื่อจะทำอะไร ยืนยัน ไม่มีเด็ดขาด เรารวมกลุ่มเพียงเพื่อต้องการช่วยท่านทำงาน โดยเฉพาะภาคการมีส่วนร่วม ของภาคประชาชน เรายินดีทำให้ท่านเต็มที่ ก็ขอเรียนไว้ ๒ ด้านครับ ขอบคุณมากครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ จากนี้ไปก็จะมีท่านสมาชิกอีก ๑๖ ท่านที่แสดงความจำนงไว้นะครับ ผมขออ่านชื่อแค่ ๓ ท่านแรกก่อนนะครับ คุณบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คุณนิมิต สิทธิไตรย์ และคุณฑิฆัมพร กองสอน เชิญคุณบัณฑูรครับ

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ในประเด็นเรื่องภาพรวมอยากจะเรียกร้องให้มีการปรับขนาดของจำนวนกรรมาธิการ ให้มีขนาดลดลงกว่าที่ปรากฏอยู่นะครับ ด้วย ๒ เหตุผล

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ต้นฉบับ

ในประการแรก กลไกการปฏิรูปอาจจะมองเป็น ๒ ส่วนนะครับ ส่วนแรก เรียกว่าเป็นตัวพาหนะ เป็นกลไกขับเคลื่อน อีกส่วนหนึ่งก็คือตัวสัมภาระ ก็คือตัวประเด็น ปฏิรูป ถ้าเรามีประเด็นปฏิรูป มีสัมภาระมากเกินไป ตัวพาหนะก็อาจจะมีปัญหานะครับ ที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อน ประสบการณ์การปฏิรูปที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสร่วมอยู่ใน อนุกรรมการสมัชชาปฏิรูปก็เห็นปัญหาในส่วนนี้นะครับว่าการแบกรับภาระทุกโจทย์ ทุกประเด็นเข้ามาจะทำให้การปฏิรูปขยับเคลื่อนไปได้ช้ามาก อันนั้นเป็นประสบการณ์ที่เป็น ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในอดีตนะครับ

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ต้นฉบับ

กับประการที่ ๒ ท่านสมาชิกบางส่วนก็ได้พูดไปแล้วว่าถ้าภาพที่ออกไป แล้วเป็นการสะท้อนถึงความเข้าใจที่ไม่เพียงพอ ไม่ได้อธิบายให้กับสังคมได้ชัดเจนว่า ทำไมต้องมีประเด็นปฏิรูปมากมายเหล่านี้ ก็จะกลายเป็นว่าเราไปทำประเด็นย่อย แทนที่จะเป็นการปฏิรูปโครงสร้างและระบบ ความเชื่อมั่นต่อกลไกของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตรงนี้ก็จะมีปัญหาตามมานะครับ ก็เห็นรูปธรรมชัดในประเด็นนี้ก็คือในกรณีเรื่องกรรมาธิการ ปฏิรูปการกีฬา ผมเห็นความสำคัญของการปฏิรูปการกีฬานะครับ จุดมุ่งหมายคือการพัฒนาคน เพราะฉะนั้นการปฏิรูปการกีฬาน่าจะอยู่ในส่วนหนึ่งของ (๕) คือคณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยที่มุ่งเหตุผลว่าเรื่องกีฬาคือการที่เราต้อง พัฒนาคน คุณภาพของคน อยากจะเรียกร้องให้ดูเป้าหมายของการปฏิรูปซึ่งหลายท่าน ได้พูดในมาตรา ๒๗ วรรคสองนะครับ ทุกกรรมาธิการต้องสามารถตอบโจทย์ตรงนั้นให้ได้ แล้วกรรมาธิการยกร่างก็ได้นำมาเป็นส่วนขึ้นต้นของข้อ ๘๐ ไว้อยู่แล้วว่าการปฏิรูปจะต้อง ตอบโจทย์อะไรได้บ้าง ถ้ากรรมาธิการใดไม่สามารถไปบรรลุตรงนั้นได้ก็ขอช่วยพิจารณา

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ต้นฉบับ

ในประเด็นที่ ๒ ข้อ ๘๐ วรรคสามนะครับ อยากลองเสนอความเห็นกับ ประเด็นที่หลายท่านยกขึ้นมาเกี่ยวกับบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของ สปช. ผมมีข้อเสนอนะครับ เบื้องต้นเห็นด้วยกับการที่ให้กรรมาธิการแต่ละประเด็นเป็นผู้เสนอชื่อขึ้นมา อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าอาจจะมีการตกลงกันไม่ได้ เพราะแต่ละท่านก็อาจจะมีความรู้จักที่แตกต่างกันไป ถ้าตกลงได้ขอเสนอว่าให้ใช้ชื่อจากกรรมาธิการแต่ละด้านที่เสนอ ในกรณีที่ตกลงไม่ได้ ก็ค่อยเป็นการพิจารณาในขั้นต่อไปของกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อจะได้ ช่วยหาข้อยุติในตรงนั้น

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ต้นฉบับ

ประเด็นสุดท้ายครับ ในข้อ ๘๐ วรรคสุดท้าย อันนี้เป็นประเด็นในเชิง ความเข้าใจที่ขอความกรุณาอธิบายจากกรรมาธิการที่ยกร่าง ในวรรคสุดท้ายเขียนว่า เมื่อกรรมาธิการประจำสภาจะดำเนินการศึกษาและเสนอแนะ เพื่อให้การปฏิรูปในเรื่องใด ๆ ให้กรรมาธิการรายงานให้สภาทราบ อยากเรียนถามในประเด็นตรงนี้ครับว่าเป็นความหมาย อย่างไร เฉพาะครั้งแรกว่าเราจะศึกษาอะไรเท่านั้น เหมือนกับการกำหนดทีโออาร์ (TOR) ใช่หรือไม่ ถ้าทำงานไป ๓ เดือนเห็นประเด็นที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมต้องมารายงาน ในทุก ๆ ครั้งอย่างนั้นหรือไม่ ขอความกรุณาเรื่องความชัดเจนในวิธีปฏิบัติครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปคุณนิมิตครับ

นายนิมิต สิทธิไตรย์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายนิมิต สิทธิไตรย์ สมาชิกสภาปฏิรูปจังหวัดอุบลราชธานีครับ สิ่งที่ผมจะขออภิปรายวันนี้ก็เป็น ส่วนที่จะยังไม่เคยมีท่านใดอภิปรายมาก่อนนะครับ เนื่องจากว่าผมเห็นความสำคัญ ของภาพลักษณ์ แล้วก็เครดิต (Credit) แล้วก็ความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจและความไว้วางใจ ของสภาแห่งนี้ เป็นที่ทราบดีนะครับว่าฐานของสิ่งที่เราจะทำนี้มีผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งเป็นคนทั้งประเทศ แล้วเราก็ได้มีการพูดถึงตั้งแต่วันเปิดสภาว่าเราจะปฏิรูปภายใต้กรอบ ไม่ใช่แค่ ๒๕๐ ไม่ใช่แค่เพียง ๓๖ แต่หมายถึงรวมทั้ง ๖๗ ล้านคนทั้งประเทศ รวมทั้งได้มีการ ลงพื้นที่แล้วก็มีการที่จะสื่อสารว่าสภาต้องการความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ภาคเอกชน ภาคราชการ แม้กระทั่งประชาชนเอง กระแสตอบรับค่อนข้างดีครับว่า เราเห็นความสำคัญของประชาชน หลายครั้งที่ลงพื้นที่ลองพูดคุยพบปะแลกเปลี่ยน รับฟังความคิดเห็นก็จะใช้วลีแห่งนี้ว่า สภาแห่งนี้จะปฏิรูปให้ดีที่สุดจะไม่ลืมเสียงของ ประชาชน คำตอบกลับมาก็คือผลที่ได้รับ ก็คือได้รับตอบกลับมาค่อนข้างดี เพราะฉะนั้น ในเรื่องของการที่เราสามารถที่จะทำกิจกรรมภายใต้ความร่วมมือจากคนทั้งประเทศ ภายใต้กรอบที่เรียกว่า สองแรงแข็งขัน ร่วมไม้ร่วมมือ ไม่ห่วงเรื่องจำนวนของงบประมาณ ไม่ห่วงเรื่องของจำนวนบุคคลที่จะต้องมาร่วมไม้ร่วมมือกัน เป็นการเสียสละอาสาสมัคร อย่างแจ้งชัด เพราะฉะนั้นในข้อบังคับหรือทิศทางของสภาเราก็ต้องมีความชัดเจนว่า ได้ให้ความสำคัญกับประชาชนอย่างชัดเจน คำว่า กรรมาธิการกับกรรมาธิการวิสามัญ ขณะนี้เราให้ความสำคัญดูเหมือนจะแตกต่างกันชัดเจน เพราะฉะนั้นในบางส่วนที่เป็นส่วนที่ เกี่ยวข้องก็น่าที่จะชี้ชัดออกไปว่าสภาแห่งนี้ไม่ลืมประชาชน คำว่า ไม่ลืมประชาชน นี้เป็นคำที่ สื่อมวลชนเริ่มเอาไปใช้ว่าสภาแห่งนี้จะลืมประชาชนหรือไม่มันเป็นคำถาม คำตอบเราต้อง ตอบให้ได้นับตั้งแต่เรามีข้อบังคับว่าเราไม่ได้ลืมประชาชน เพราะฉะนั้นในห้วงเวลาจริง ๆ ผมเตรียมมา ๑๐ นาที แต่ด้วยกติกาคือ ๕ นาทีก็คือ ๕ นาที จึงขออนุญาตเสนอญัตติว่า ในกรอบกรรมาธิการขอเพิ่มกรรมาธิการรับฟังและการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องชี้ชัดว่า เราให้สำคัญเป็นกรรมาธิการอยู่อันดับ ๑๘ หรือ ๑๙ ก็แล้วแต่ แล้วก็ค่อยที่จะพิจารณา อาจจะใช้คำว่า เอาข้อ ๘๐ กับข้อ ๘๔ มารวมกันเพื่อจะให้เห็นชัดว่าเรามีวิธีการดำเนินการ อย่างแจ้งชัดลงไปในกรรมาธิการชุดนี้ กรรมาธิการชุดนี้จะเป็นกรรมาธิการที่ศึกษาว่าด้วย เรื่องการรับฟัง ศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน อันนี้สำคัญในแง่ของการปฏิรูป บ้านเมือง ถ้าเรามีวิธีรับฟัง มีวิธีการประชาชนมีส่วนร่วมด้วยแล้ว สิ่งต่าง ๆ ก็จะตามมาด้วย ความร่วมมือ ยืนยันนะครับว่าขณะนี้ภาพลักษณ์ของสภาปฏิรูปในสายตาของประชาชน ค่อนข้างดี ยืนยันว่ามีการตื่นตัวทั่วทุกจังหวัดที่จะช่วยในการปฏิรูปของเรา เพราะฉะนั้น จึงเสนอเป็นสุดท้ายว่าควรจะบัญญัติลงไปในข้อ ๘๐ เลยว่า กรรมาธิการรับฟัง และการมีส่วนร่วมนั้นเป็นกรรมาธิการใหญ่ที่สภานี้ให้ความสนใจ อันนี้คือประเด็นข้อที่ ๑

นายนิมิต สิทธิไตรย์ ต้นฉบับ

ข้อที่ ๒ ได้มีเพื่อนสมาชิกแสดงความจำนงว่าไม่อยากให้เสียเวลาในการ ที่จะเป็นคนขึ้นอภิปราย ขอฝากนะครับ เป็นขอฝากว่าในข้อ ๑๗ นั้นขอเติมคำว่า ทรัพย์สินทางปัญญา เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของข้อ ๑๗ นี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าทรัพย์สินทางปัญญา เป็นจุดก่อเกี่ยวทุกเรื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องส่งเสริมสร้างสรรค์และนำสิ่งที่สร้างสรรค์มาใช้ให้ เกิดประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่สมาชิกผู้ฝากเห็นว่าควรจะบัญญัติไว้ในข้อ ๑๗ ให้ชัดเจน ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปผมอ่านชื่อท่านสมาชิกที่เป็นกรรมาธิการเต็มสภาอีก ๔ ท่านนะครับ คือ คุณฑิฆัมพร กองสอน คุณสมสุข บุญญะบัญชา คุณไพฑูรย์ หลิมวัฒนา และคุณไพโรจน์ พรหมสาส์น เชิญคุณทิฆัมพรครับ

นางฑิฆัมพร กองสอน ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ฑิฆัมพร กองสอน ค่ะ ซึ่งเราก็มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าการปฏิรูปครั้งนี้เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม เรื่องอื่น ๆ ดิฉันจะไม่อธิบายมากนะคะ แต่ว่าเห็นด้วยกับคุณบัณฑูรที่ว่าถ้าเราเปรียบเสมือนว่า สภาปฏิรูปเป็นรถ ถ้าสัมภาระเยอะ รถคันนี้ก็จะขับเคลื่อนไปไม่ไหว เพราะฉะนั้นอยากจะ เสนออย่างนี้นะคะว่า

นางฑิฆัมพร กองสอน ต้นฉบับ

๑. กรรมาธิการวิสามัญประจำสภาให้ยึดตามมาตรา ๒๗ แต่มาตรา ๒๗ ดิฉันก็มีข้อเสนอแนะว่า มาตรา ๒๗ ที่แยกเรื่องของ (๘) เรื่องของสาธารณสุขกับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมไปอยู่กับทรัพยากรธรรมชาตินั้นถูกต้องแล้ว แล้วทีนี้ในแต่ละคณะดิฉันอยากให้ เติมด้วยว่า เรื่องของอำนาจหน้าที่ที่ว่าศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ ให้ครอบคลุม ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม เอาสั้น ๆ แต่ให้ครอบคลุมไปถึง ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ อันนี้เป็นอำนาจหน้าที่ เป็นหน้าที่ที่จะไปทำนะคะ แล้วก็อีกคณะหนึ่งก็คือคณะที่เรียกว่า แต่อยากให้ไปใส่คำว่า คณะกรรมาธิการคุณธรรม จริยธรรม แต่ให้มีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา ค่านิยม เพราะว่าบางเรื่อง เราไม่จำเป็นต้องปฏิรูป แต่มันดีอยู่แล้วนะคะ เพราะฉะนั้นเหตุผลดังนี้ก็เลยอยากจะเสนอ อีกข้อหนึ่งว่า มันจะมีอยู่ในหน้า ๑๖ นี่ค่ะ บอกว่า หากมีความจำเป็นสภาจะตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาเพิ่มหรือลดลงตามจำนวนคณะกรรมาธิการลงเมื่อใดก็ได้ อยากให้เพิ่มเติมข้อความไปว่า หรือจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการที่สอดคล้องกับกรรมาธิการ ด้านต่าง ๆ เพื่อให้ไปทำหน้าที่ตามที่ทุกท่านมีข้อกังวลว่าเรื่องนั้นก็จำเป็น เรื่องนี้ก็จำเป็น แต่ว่ายกเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เอาไปใส่ในหมวดใหญ่ ๆ สังคมครอบคลุมไปถึงอะไรบ้าง คุณธรรมครอบคลุมไปถึงอะไรบ้าง เศรษฐกิจครอบคลุมไปถึงอะไรบ้าง แต่ถ้าเราไปใส่แบบ ให้เป็นกรรมาธิการหมดทุกอย่างดิฉันว่ามันจะเยอะไปนะคะ ก็อยากจะเสนอว่า ให้มีอนุกรรมาธิการอยู่ในคณะกรรมาธิการนั้น ๆ ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปเชิญคุณสมสุขครับ

นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ต้นฉบับ

ขอบคุณค่ะ ท่านประธานคะ ดิฉัน สมสุข บุญญะบัญชา สมาชิกหมายเลข ๒๐๖ นะคะ ดิฉันมีข้อเสนอว่าการปฏิรูปโดย สปช. นี่เราควรจะหวังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองเราอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงนะคะ ในหลาย ๆ ประเด็นที่เราได้พูดถึง คือเสียดายที่โอกาสในช่วงต้นเราไม่ได้มีโอกาสที่จะมา สัมมนา หรือว่าพูดจากันเพื่อวางยุทธศาสตร์ หรือว่าเป้าหมายสำคัญ ประเด็นสำคัญสัก ๓-๔ ประเด็น ซึ่งหลาย ๆ ท่านได้พูดไปนี่นะคะ ไม่ว่าจะเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน เรื่องกระจายอำนาจ เรื่องลดคอร์รัปชันอะไรก็แล้วแต่ ดิฉันคิดว่าเรื่องเหล่านี้น่าจะเป็นเป้าสำคัญของทุก ๆ เรื่อง มิฉะนั้นถ้าหากว่าเราวางเรื่องของ กรรมาธิการเชิงประเด็นขยายออกไปเรื่อย ๆ ท้ายสุดถามว่าใครจะเป็นคนไปบริหารประเด็น หรือเรื่องราวเหล่านี้ ก็ต้องชี้ไปที่กระทรวง ทบวง กรม ทำไปทำมาเหมือนกับไปเน้นการรวมศูนย์ เพิ่มขึ้น ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่เราอยากแก้ไขให้เกิดการกระจาย ระบบการบริหารจัดการไปสู่ประชาชนโดยประชาชนให้มากขึ้นนะคะ กระทรวงหลาย ๆ กระทรวงคงจะมีความยินดีมาก ถ้าหากว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ว่าจะเรื่องอะไรเสนอไปที่เขาแล้วให้ เขาจัดการ เพราะว่าเขาจะได้ดูแลต่าง ๆ หลาย ๆ กระทรวงก็ดูแลงานตั้งแต่ส่วนกลาง ระดับภาค ระดับจังหวัด ลงไปถึงรากหญ้าก็มี น่าจะเป็นรูปแบบที่เราจะต้องมองว่า เราจะเปลี่ยนแปลงแนวทางเหล่านี้ในลักษณะไหน อย่างไร เลยไม่แน่ใจว่าในเรื่องของ การกระจายอำนาจนี่นะคะ ในคณะกรรมาธิการชุดที่ ๒ ชุดที่ ๔ จะสัมพันธ์ในเรื่องนี้แค่ไหน จะรับในเรื่องนี้เพียงใด แล้วก็ในประเด็นเชิงอื่น ๆ ในประเด็นเรื่องอื่น ๆ กรรมาธิการ เรื่องอื่นๆ ก็จะดูในเรื่องว่าเรื่องเหล่านั้นจะนำไปสู่การกระจายอำนาจในการจัดการ โดยผู้คนทั้งหลาย โดยประชาคม โดยท้องถิ่น โดยอะไรต่าง ๆ มากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ อย่างไรด้วยนะคะ นอกเหนือจากการที่จะมองเนื้อหาว่าควรจะปฏิรูปอย่างไรเพียงอย่างเดียว ก็เรียนเสนอว่าให้กรุณามองไปถึงกลไกการบริหารจัดการซึ่งให้โอกาสแล้วก็ให้อำนาจผู้คนได้ เข้ามามีส่วนร่วม หรือกลไกองค์กรที่จะเปิดกว้างออกไปให้มากขึ้นอันนี้จะเป็นอย่างไร แบบไหนด้วยนะคะ

นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ต้นฉบับ

อีกประเด็นหนึ่งดิฉันคิดว่าเป็นประเด็นที่ได้พูดจากันอยู่ในแวดวงการพัฒนา กระบวนชุมชนแล้วก็กระบวนประชาคมเป็นอันมากในเรื่องของการที่ว่าจะทำอย่างไร ให้จังหวัดสามารถบริหารจัดการด้วยตนเองให้มากที่สุด มันอาจจะอยู่ในกรรมาธิการ เรื่องท้องถิ่น หรือว่าเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินก็ได้นะคะ แต่ดิฉันขออนุญาตหยิบยกขึ้นมา เพื่อให้ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่จะต้องมีการพิจารณา เพราะว่าเวลานี้ดิฉันคิดว่า การบริหารงานระดับจังหวัดคงจะต้องมาถึงจุดเปลี่ยนที่มีความสำคัญที่เชื่อมโยงงาน ของท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่น แล้วก็งานส่วนกลางเข้ามาสร้างระบบการบริหารใหม่ โดยคนในจังหวัดให้มากที่สุด จะทำอย่างไรที่แต่ละจังหวัดเขาสร้างแผนของการพัฒนา ประเด็นต่าง ๆ ที่เราพูดถึงด้วยตัวเขาเองให้มากที่สุด เขาสามารถจัดการทรัพยากร จัดการเศรษฐกิจ จัดการอาชีพของคนทั้งหมด จัดการเรื่องการศึกษา จัดการเรื่อง การพัฒนาสังคม จัดการทุกสิ่งทุกอย่างโดยกระบวนการของคนในจังหวัดเองให้มากที่สุด ซึ่งรูปแบบนี้มันยังไม่มีอยู่ ก็เลยคิดว่าการสร้างรูปแบบใหม่ที่ต้องปรับระบบรูปแบบเดิม อาจจะต้องใช้การพิจารณาค่อนข้างมาก เพราะว่าเป็นวิชัน (Vision) ของระบบบริหารใหม่ ซึ่งมีโครงสร้างเดิมอยู่แล้ว ก็เลยอยากจะเรียนว่าเรื่องการบริหารจัดการจังหวัดใหม่ อย่างมีส่วนร่วมและเป็นของประชาชนในจังหวัด อันนี้น่าจะเป็นเรื่องสำคัญ อยากจะฝากเอาไว้ถ้าไม่อยู่ในกรรมาธิการข้อที่ ๔ ก็ต้องอยู่ในข้อที่ ๒ แต่เข้าใจว่าข้อที่ ๒ จะมีเรื่องอื่นที่พูดมากแล้วนะคะ ก็อยากจะฝากว่าในหัวข้อที่ ๔ คณะกรรมาธิการปฏิรูป การปกครองท้องถิ่น คือดูเป็นชุดไปเลย เป็นชุดจังหวัดแล้วก็ท้องถิ่นว่าจะมีความสำคัญ อย่างไรในเรื่องต่าง ๆ ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ ตั้งแต่คุณไพฑูรย์จนกระทั่งถึงคุณวินัย ๑๒ ท่านที่ลงชื่อขออภิปรายเอาไว้ แล้วเราก็ยังมีอีก ๖๓ ข้อนะครับ จนกระทั่งถึงข้อสุดท้าย ก็จะกราบเรียนท่านสมาชิกว่า ท่านประธานเทียนฉาย กับท่านประธาน พลเอก เลิศรัตน์ อดีตประธานกรรมาธิการ ยกร่างข้อบังคับ หารือว่าเราอาจจะต้องทำให้เสร็จในวันนี้ เพราะว่าถ้าช้าออกไปการทำงาน ของสภานี้จะยิ่งล่าช้าอีก พอข้อบังคับผ่านแล้ว ลงนามประกาศใช้แล้ว ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะต้องตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาตามข้อ ๘๑ นะครับ แล้วก็ไป จัดท่านสมาชิกทั้งหลายลงในกรรมาธิการ เพราะฉะนั้นผมขอกราบเรียนว่า ๑๒ ท่านนี้ ถ้าอภิปรายเสร็จ ผมจะขอให้กรรมาธิการช่วยกรุณาชี้แจง และถ้ากรรมาธิการคิดว่า อดีตกรรมาธิการนี่นะครับคิดว่าถ้าท่านจะเมตตาพักการประชุมสักครึ่งชั่วโมงก็ได้ หรือว่าถ้าท่านจะชี้แจงและคิดว่าไปได้เลยก็ได้ เรายังมีอีก ๖๓ ข้อที่จะต้องทำ ก็ขออนุญาต เชิญท่านต่อไปเลยครับ คุณไพฑูรย์ หลิมวัฒนา ครับ อยู่ไหมครับ ถ้าไม่อยู่ผมข้ามเลยนะครับ ไปคุณไพโรจน์ พรหมสาส์น ครับ

นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม ไพโรจน์ พรหมสาส์น ครับ กระผมออกจะเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ที่ท่านประธานได้กล่าวเมื่อสักครู่นี้ ว่าเราจะต้องเร่งรีบที่จะออกข้อบังคับ แล้วก็รีบแต่งตั้งกรรมาธิการให้เร็วที่สุด เพราะผมเข้าใจว่าการตั้งกรรมาธิการต่าง ๆ นั้นก็เพื่อจะทำหน้าที่แทนสมาชิกของเราที่จะไป ศึกษาพิจารณาในแต่ละด้าน ข้อสำคัญนั้นมีกรอบเวลาที่เราจะต้องเสนอข้อคิดเห็นเสนอแนะ ไปยังกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในวันที่ ๑๙ นี้ เรื่องหลัก ๆ ที่สำคัญจะต้องเร่ง เป็นพิเศษนะครับ และก่อนหน้านี้ก็มีการประสานกันเป็นการภายในว่าน่าจะมีการสัมมนา นอกรอบในเร็ว ๆ นี้เพื่อที่จะหาข้อสรุป แล้วก็รีบดำเนินการให้แล้วเสร็จ เพื่อที่จะได้ส่ง ข้อสำคัญที่ควรจะไปอยู่ในรัฐธรรมนูญนะครับ อย่างเช่น งานของคณะกรรมาธิการ ด้านการปฏิรูปการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น แล้วก็ทั้ง ๔-๕ เรื่องนี้จะต้องเร่งเป็นพิเศษ เมื่อได้ฟังการอภิปราย ตั้งแต่เช้ามาผมก็เห็นว่า ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าควรจะยืนหลัก ๑๑ ด้านที่เป็นที่มา ของพวกเราทั้งหมด ที่มีกรรมาธิการในแต่ละด้าน หรือเราแบ่งเป็นด้าน ๆ นั้น โดยอาจจะ ปรับเปลี่ยนชื่อที่กรรมาธิการที่ตั้งเพียงเล็กน้อย ๑๑ ด้าน ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งนะครับ เพียงแต่ว่าอาจจะปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในคณะที่ ๕ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษานะครับ ผมจะขอเปลี่ยนเป็น คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรม เอาศิลปวัฒนธรรมที่อยู่ข้างท้ายมารวมไว้ในนี้เลยไปด้วยกันได้เลยนะครับ อีกอันหนึ่งก็คือ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านพิสิฐซึ่งท่านเคยเป็นกรรมาธิการยกร่างเมื่อปี ๒๕๕๐ แล้วได้ปฏิรูปการเงิน การคลังไปเยอะเลยนะครับ ก็คือคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ บวกการเงิน การคลังเข้าไปเลย อันนี้ก็มโหฬารแล้วนะครับ ใหญ่โตมโหฬารที่จะกำหนด ในเชิงนโยบายว่ากำหนดกรอบนโยบายด้านการเงิน การคลังอะไร อย่างไร รวมทั้ง เรื่องเศรษฐกิจด้วยนะครับ เดี๋ยวส่วนการท่องเที่ยวอุตสาหกรรม เดี๋ยวแยกไปเดี๋ยวผมจะ เพิ่มเติมนะครับ อีกอันหนึ่งก็คือคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร ก็เพิ่มอุตสาหกรรม เข้าไปด้วย อุตสาหกรรมการเกษตรเข้าให้อยู่ในนี้เลย นั่นเป็นความเห็นส่วนตัวของผมที่คิดว่า ๑๑ ด้าน รวมทั้งข้อ ๑๑ ที่บอกว่าคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยี สารสนเทศ ส่วนอีก ๔ คณะที่จะเพิ่มมา ๑๑ บวก ๔ เป็น ๑๕ ก็คือคณะกรรมาธิการสามัญ ปฏิรูปสังคมและชุมชน เอาสั้น ๆ แค่นั้นเราไปเขียนในภารกิจว่าคำว่า ชุมชน นั้นรวมเรื่องเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อให้ยาวเหยียด เวลาท่านพิมพ์นามบัตรมันจะได้พอ ไม่อย่างนั้นยาวไม่พอนะครับ ใส่ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษนะครับ เอาเป็นว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคมและชุมชน เป็นคณะที่ ๑๒ คณะที่ ๑๓ ก็คือคณะกรรมาธิการปฏิรูปแรงงานนี่มันเฉพาะไป เรามีกรรมการทำเรื่องนี้ ผมขอผนวกเป็นคณะกรรมาธิการพัฒนาปฏิรูปอุตสาหกรรมและแรงงาน มันจะอยู่ด้วยกัน ตรงนี้นะครับ อุตสาหกรรมและแรงงานไปด้วยกันได้นะครับ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก นอกจาก อุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมของเราที่มีการลงทุนจากต่างประเทศ ในประเทศ มากมายเลย จะต้องหาทางแก้ปัญหาเรื่องแรงงาน ซึ่งขณะนี้เราขาดแคลนมากถึงกับจะต้องใช้ แรงงานจากต่างประเทศ คณะที่ ๑๔ ก็คือตัดไป คณะที่ ๑๔ คณะกรรมาธิการปฏิรูปด้าน การปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ อันนี้ไม่ต้องเลย เพราะเป็นกลไกที่กำหนดไว้แล้ว ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา ๓๕ ที่ว่า ให้กำหนดการจัดทำรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุม ด้านต่าง ๆ และ (๓) ก็บอกแล้ว กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐอะไรต่าง ๆ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องตั้งขึ้นมา หรือท่านอาจจะไปตั้งอนุกรรมการก็สุดแล้วแต่นะครับ ตกลงคณะกรรมาธิการที่ถัดไป คือคณะกรรมาธิการปฏิรูปการท่องเที่ยวและกีฬา เอาการท่องเที่ยวมาก่อน ขออยู่ด้วยกัน ตัดตรงที่ว่า ปฏิรูปกีฬา ขอเป็น การท่องเที่ยวและกีฬา คณะสุดท้ายก็คือในเรื่องของ คณะกรรมาธิการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม อันนี้สำคัญมากนะครับ ถ้าเราไม่ให้ความสนใจที่เราจะปฏิรูปในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มันไปไม่ได้นะครับ เพราะเราจะต้องเอาความรู้ เอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้น กระผมคิดว่าในภาพรวมนั้นอยากจะขอให้มีการสรุปให้ชัดเจนว่า ๑๑ ด้าน เราโอเคไหม และอีก ๔ ด้าน ที่เราจะเพิ่มขึ้นมาเป็น ๑๕ คณะ แล้วก็สมาชิกของเรามี ๒๕๐ คน ๑๕ คณะ เดิมแต่ละด้านเราก็มีระหว่าง ๑๔-๑๘ คน เพราะฉะนั้นบวกเข้าไป ๗๗ คนนี้อาจจะต้องสลาย เข้าไปอยู่ใน ๑๕ คณะนี้ แล้วก็เพิ่มบุคคลภายนอกเข้ามาก็คิดว่าสามารถจะลงตัวได้ เพราะฉะนั้นวันนี้ข้อบังคับควรจะเสร็จ แล้วรีบตั้งกรรมาธิการให้เร็วที่สุดครับ ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านอดีตกรรมาธิการเสรีครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการนะครับ ผมขออนุญาตเสนอความเห็นนิดเดียวครับ เพื่อให้สมาชิกซึ่งท่านคงจะต้องพิจารณาแล้วก็อภิปรายในรายละเอียดของกรรมาธิการ แต่ละคณะนี่นะครับ ก็อยากจะฝากท่านพิจารณาครับว่าการที่จะกำหนดชื่อของ คณะกรรมาธิการนั้นจะเกี่ยวข้องกับภารกิจงานที่ทำนะครับ งานที่ทำบางครั้งมีหลายเรื่อง ต้องขอให้มีความเชื่อมโยงกัน บางทีท่านก็หวังดีนะครับ พอเสนอไปแล้วมันมี ความเชื่อมโยงไหม แล้วข้อสำคัญก็คือเรามีสมาชิกที่เข้ามาในแต่ละด้านซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละเรื่องอยู่นะครับ สิ่งสำคัญก็คือความรู้ความสามารถและความถนัด รวมถึงความสมัครใจ บางทีเราตั้ง ๆ ไปนี่นะครับ มันแยกกันบ้าง รวมกันบ้าง ก็คือเข้าใจครับ พวกเราก็หวังดีในการจัด แต่ถ้าเราไม่ใช้ข้อมูลเหล่านี้มาตัดสินใจด้วยนะครับ พอถึงตั้งไปแล้ว ผ่านไปแล้ว คนที่เชี่ยวชาญจริง ๆ บางทีมันไปหลายกรรมาธิการไม่ได้ ขอบพระคุณครับ ท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ มีท่านผู้แสดงความจำนงขออภิปรายเพิ่มมาอีก ๓ ท่าน วันนี้ตั้งแต่คุณดุสิต เครืองาม เป็นต้นไป จะมีอีก ๑๓ คนนะครับ ผมอ่านชื่อก่อนนะครับ คุณดุสิต เครืองาม คุณสยุมพร ลิ่มไทย อาจารย์นรีวรรณ จินตกานนท์ ขออนุญาตเรียนท่านสมาชิกอย่างนี้ครับว่า คือถ้าไม่ติดใจจริง ๆ จะเปลี่ยนถ้อยคำนี่ อย่างที่ท่านกรรมาธิการไพโรจน์เสนอนี่ขึ้นมาสั้นจริง แต่ว่าแปรญัตติตั้ง ๒๐ ประเด็นอย่างนี้นะครับ เวลาลงมติมันจะมีปัญหามากนะครับ เพราะฉะนั้นถ้าจะเมตตา ถ้าไม่ติดใจจริง ๆ นี่ ท่านอย่ายื่นคำแปรญัตติตรงนั้นเลยครับ มิฉะนั้นจะต้องลงกันทีละคำเลยนะครับ ตอนท้ายนี่อดีตกรรมาธิการท่านก็อาจจะไปคุยกันแล้วก็อาจจะมาแถลง แล้วประธานคงจะ ถามที่ประชุมว่ายังติดใจอยู่ไหม ถ้าท่านยังติดใจอยู่ มันหนีการลงคะแนนไปไม่พ้น ทีนี้พอจะลงคะแนนกัน ลองดูก็แล้วกันว่าถ้าท่านสมาชิกผมจดนี่ เฉพาะที่ผมขึ้นมานั่งนี่ผมว่า รวมประมาณ ๑๐๐ ข้อเสนอแล้ว เพราะฉะนั้นก็ขออนุญาตเรียนท่านสมาชิกว่าท่านฝาก กรรมาธิการได้ แต่ตรงไหนท่านติดใจจริง ๆ ก็เอาครับ ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะต้องใช้เวลา ลงคะแนนกันทีละประเด็นเลย นี่คือจุดแข็งและจุดอ่อนของกรรมาธิการเต็มสภา ก็เป็นไปตามที่ท่านสมาชิกคำนูณพูดนะครับ เพราะถึงเวลาตอนสุดท้ายถ้าไม่ยอมกันก็ต้อง ลงมติ ต่อไปก็ขออนุญาตเรียนเชิญอาจารย์ดุสิตครับ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาครับ กระผม ดุสิต เครืองาม มีคำถามที่คิดว่าเป็นคำถามพื้นฐานแล้วก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แล้วก็เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานของสมาชิก สปช. ทุกท่านอย่างแน่นอน ในประเด็นข้อ ๘๑ ที่เรากำลังคุยอยู่ ตรงนี้นะครับ คือคำว่า อำนาจและหน้าที่ ข้อ ๘๐ นี่นะครับ แล้วเรากำลังมีนิยาม อำนาจหน้าที่ของกรรมาธิการแต่ละชุด ผมขอกราบเรียนตรง ๆ ว่าผมพื้นฐานไม่ใช่ นักรัฐศาสตร์ ไม่ใช่นักนิติศาสตร์ แต่ไม่เข้าใจความหมายคำว่า อำนาจและหน้าที่ ว่าแปลว่า อะไร ถ้าอ่านตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑ เขียนไว้บอกว่า สปช. มีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อเสนอแนะโน่นนี่ เสนอโน่นเสนอนี่ ดูเหมือนว่าจะมีอำนาจที่ฟังดูแล้วผมเข้าใจ ก็คืออำนาจในการร่างพระราชบัญญัตินะครับ รวมทั้งอำนาจในการเสนอแต่งตั้งใครต่อใคร ไปยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมไม่ทราบว่าในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นกรรมาธิการ ในแต่ละด้าน โดยเฉพาะของผมนี่คงไปอยู่ด้านพลังงาน อำนาจหน้าที่นั้นคืออะไร ไม่ทราบจริง ๆ ครับ ผมรู้ครับว่าอำนาจหน้าที่คือศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะ แต่ผมถามง่าย ๆ ประเด็นแบบนี้ว่า ถ้ากรรมาธิการมีความต้องการที่จะเชิญใครต่อใครมาให้ข้อมูล เรียกข้อมูลมา หรือแม้แต่กระทั่งเดินทางเข้าไปศึกษา เข้าไปเก็บข้อมูล มีอำนาจตรงนั้นอยู่หรือไม่ ตรงนี้ไม่ทราบจริง ๆ แล้วก็เคยถามบางท่านแล้วก็ไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ จริงอยู่ครับ ในร่างข้อบังคับมีเขียนอยู่ข้อหนึ่งในข้อ ๘๙ เขียนว่า การเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงข้อคิดเห็นนั้น ๆ แต่ถามว่ากรรมาธิการก็ดี หรือว่าสมาชิกสภา สปช. ก็ดี เรามีอำนาจอะไรอยู่ในนั้นบ้าง ผมหาไม่เจอครับ ถ้าไปอ่านดู ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๗ เขาเขียนไว้บอกว่า สนช. มีอำนาจหน้าที่ในการตราข้อบังคับ และพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ เขียนอยู่แค่นั้นครับ แต่พอไปดูในข้อบังคับของ สนช. โอ้โฮ เยอะแยะไปหมดเลยครับ คณะกรรมาธิการใน สนช. มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ สำคัญนะครับ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ จัดการศึกษา วิจัย พัฒนา ส่งเสริมอะไรเยอะแยะเต็มไปหมดเลย แต่พอมาดูของ สปช. เขียนอยู่นิดเดียวครับ เขียนบอกว่า มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทาง ผมก็ถามว่าคำว่า ศึกษา นี่เราเปิดอินเทอร์เน็ต เปิดเอกสารมาอ่าน มันก็คือ เหมือนกับว่าเป็นหน้าที่ที่เราต้องทำ แล้วเรามีอำนาจในการที่จะเรียกข้อมูล สมมุติว่า กรรมาธิการมีความสนใจเรื่องพลังงาน สามารถออกหนังสือผ่านท่านประธานนะครับ เชิญให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลได้หรือไม่ มีอำนาจตรงนั้นไหม ผมจำได้ว่าตอนผมไปช่วยงานสภาเป็นผู้ชำนาญการ ผู้ใหญ่ในกรรมาธิการพูดอย่างชัดเจนเลยว่า ประธานกรรมาธิการมีอำนาจในการเรียกรัฐมนตรี เรียกปลัดกระทรวง ใครต่อใคร อธิบดีมาให้ข้อมูลได้ ถามว่า สปช. เรามีอำนาจขนาดนั้นไหม แม้แต่ประเด็นที่เป็นข้อโต้แย้งกันมากแล้วก็ค่อนข้าง จะได้รับความสนใจในเรื่องพลังงาน อย่างเช่น สัมปทานต่าง ๆ ที่บอกว่าสัญญาสัมปทานปิด ไม่ยอมเปิดเผย ถามว่าตอนนี้ สปช. เราจะขอเอาสัญญาเหล่านั้น โดยไม่ขัดต่อกฎหมายนะครับ สามารถมีอำนาจในการเรียกให้คู่กรณี หรือว่าบริษัทที่ได้สัมปทานไปนั้น หรือว่า หน่วยราชการที่เป็นคู่สัญญาเปิดเผยสัญญานั้นนำมาให้กรรมาธิการเราศึกษา วิเคราะห์ ได้หรือไม่ ตรงนี้ขอรบกวนท่านผู้รู้ช่วยตอบคำถามด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านอาจารย์ดุสิตถามอย่างนี้ ความจริงต้องเปิดรัฐธรรมนูญครับอาจารย์ครับ อาจารย์ต้องเปิดรัฐธรรมนูญที่กำหนดเรื่องอำนาจหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในมาตรา ๓๑ บอกว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) (๒) (๓) และอาจารย์ก็ต้องดูร่างข้อบังคับในข้อ ๗๙ ครับ สภาอาจตั้งคณะกรรมาธิการให้มี อำนาจหน้าที่พิจารณา กระทำกิจการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาหรือตามที่สภา มอบหมาย พูดง่าย ๆ ก็คือว่าอำนาจของสภาเป็นผู้ตั้งคณะกรรมาธิการทุกชนิด คณะกรรมาธิการเป็นผู้ทำงานให้สภา ด้วยเหตุดังนั้นแหละกรรมาธิการทำงานเสร็จ จึงต้องมารายงานต่อสภา แล้วสภาจึงต้องลงมติเห็นชอบกับรายงานนั้น แล้วก็ส่งไปให้องค์กร ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการนี้เขาก็บอกว่าให้สภามีอำนาจตราข้อบังคับ ในข้อ ๑๓ วรรคสองนะครับ เกี่ยวกับการเลือก การปฏิบัติหน้าที่ประธาน อะไรไปจนกระทั่งถึงกิจการอื่นเพื่อดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งวันนี้ก็คือกำลังพิจารณาข้อบังคับนี้อยู่ แล้วก็ที่ท่านอาจารย์เข้าใจก็ไม่ผิด หรอกครับ เพราะอำนาจเรียก ข้อ ๘๙ เป็นอำนาจที่คณะกรรมาธิการมีอำนาจเรียกเอกสาร หรือบุคคลมาชี้แจงแสดงความคิดเห็น แต่ประเด็นก็คือว่าคนอื่นจะมาหรือไม่มาก็เรื่องหนึ่ง เช่น รัฐมนตรีถ้าเขาจะไม่มา เขาก็ต้องมีเหตุมาชี้แจง คนอื่นที่ไม่มาก็จะเป็นประเด็นปัญหาที่ ผมยังไม่อยากจะวินิจฉัย เพราะมันยังมีพระราชบัญญัติกำหนดความผิดบุคคลซึ่งกรรมาธิการ เรียกมาแล้วก็ไม่ให้ความร่วมมือ ผมไม่ได้มีกฎหมายนั้นอยู่ในมือ ขอเจ้าหน้าที่ไปยังไม่ได้ แต่เข้าใจว่ากฎหมายนั้นจะให้อำนาจเฉพาะสภาที่เป็นสภานิติบัญญัติ คือสภาซึ่งมีอำนาจ นิติบัญญัติในการออกกฎหมาย นี่ก็พูดไปโดยไม่มีกฎหมายอยู่ในมือนะครับ เพราะฉะนั้น ก็เรียนชี้แจงท่านอาจารย์ดุสิตได้แค่นี้ครับ แต่ว่าโดยปกติถ้าคณะกรรมาธิการเรียกเอกสาร หรือเชิญมานี่เขาก็จะให้ความร่วมมือนะครับ ก็ขออนุญาตข้ามไปเลยนะครับ เผื่อถ้าจะสงสัย อะไรกันอีกมากก็ถามหลังเวทีได้ แต่ขออนุญาตไปยังคุณสยุมพร ลิ่มไทย เชิญครับ

นายสยุมพร ลิ่มไทย ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม สยุมพร ลิ่มไทย สปช. ครับ คือผมคิดว่าในขณะนี้เรามีความเห็นซึ่งน่าจะแยกออกมาได้เป็น ๓ ส่วนนี่นะครับ ส่วนแรกก็คือคณะกรรมาธิการซึ่งมีการเสนอให้ตั้งขึ้นซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ ซึ่งส่วนนี้ผมคิดว่าสมาชิกส่วนใหญ่คงไม่ติดใจนะครับ เพราะว่าเป็นไปตามอำนาจหน้าที่นะครับ ถ้าดูตามร่างข้อบังคับ ข้อ ๘๐ ก็จะอยู่ในคณะกรรมาธิการลำดับที่ ๑ จนถึง ลำดับที่ ๑๒ ส่วนนี้ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ เพราะว่าเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ นะครับ

นายสยุมพร ลิ่มไทย ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๒ ก็คือด้านอื่น ๆ ซึ่งในร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... ก็เสนอว่าควรจะมีด้านอื่น ๆ อีก ๕ ด้านนะครับ ตั้งแต่ (๑๓) คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการแรงงาน จนถึง (๑๗) ด้านอื่น ๆ อันนี้ละครับที่ผมคิดว่าก็ควรจะมาพิจารณาให้เป็นที่ ยุตินะครับ

นายสยุมพร ลิ่มไทย ต้นฉบับ

อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนที่ ๓ ก็คือข้อเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการ เพิ่มเติมนอกเหนือจาก ๑๗ ด้าน เพราะฉะนั้นก็จะมีอยู่ ๓ ส่วนนี้ละครับ แล้วผมก็อยากจะ เรียนเสนอนะครับว่า

นายสยุมพร ลิ่มไทย ต้นฉบับ

ประการแรก ผมไม่ทราบว่าท่านประธานยังเปิดให้มีการเข้าคิวเพื่อที่จะ แจ้งความประสงค์ขออภิปรายต่อไปเรื่อย ๆ หรือเปล่านะครับ ผมอยากจะเสนอให้ปิดการยื่น ความประสงค์นะครับ คือให้ชัดเจนเลยว่าที่เหลือมีจำนวนเท่าไร แล้วก็อภิปรายจนครบคน ที่ได้ยื่นความประสงค์ไว้นะครับ หลังจากนั้นผมขอเสนอให้พักการประชุมตามที่ ท่านประธานได้หารือไว้นะครับ เพื่อที่ว่าประเด็นที่ยังเห็นต่างกันอยู่ก็ไปคุยกันกับ คณะผู้ยกร่าง ในบางคณะกรรมาธิการอาจจะตกลงกันได้ เพราะว่ามันเป็นประเด็นเล็กน้อย โดยท่านผู้เสนออาจจะไม่ติดใจขอไปรวมกับคณะกรรมาธิการบางคณะที่มีอยู่แล้ว ประเด็นปัญหาที่เป็นความแตกต่างก็จะลดน้อยลง

นายสยุมพร ลิ่มไทย ต้นฉบับ

ส่วนข้อเสนอที่ท่านผู้เสนอนะครับ กรรมาธิการเสนอยังยืนยันนี่นะครับ อันนี้ก็คงเข้ามาสู่การตั้งประเด็นในสภาแล้วก็ลงคะแนนเสียงกัน ผมอยากจะเรียนอย่างนี้นะครับ จริง ๆ แล้วผมเรียนว่าเมื่อตั้งกรรมาธิการเสร็จแล้วจะกี่คณะก็แล้วแต่นะครับ ผมคิดว่า คงไม่สมบูรณ์ในวันนี้นะครับ เพราะว่าเวลาเราไปประชุมคณะกรรมาธิการด้านต่าง ๆ เวลาไปประชุมจริงมันจะเห็นว่ายังมีคณะกรรมาธิการอะไรที่ยังนึกไม่ถึงในตอนที่พวกเรา อภิปรายกันในวันนี้นะครับจนกว่าได้เริ่มไปประชุม เพราะฉะนั้นการตั้งคณะกรรมาธิการเพิ่มเติม ผมคิดว่าถึงอย่างไรก็คงจะมีการตั้งเพิ่มอีก แม้ว่าวันนี้จะเป็นที่ยุติแล้วก็ตาม เพราะฉะนั้น ผมถึงเสนอว่าการตั้งเพิ่มเติมในบางคณะก็อาจจะไปดำเนินการทีเดียวซึ่งเป็นไปตาม ร่างข้อบังคับอยู่แล้วว่า หากมีความจำเป็นสภาอาจตั้งเพิ่มเติมได้ ก็ขอเรียนเสนอโดยสรุป เพียงเท่านี้ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณคุณสยุมพรนะครับ ถ้าอย่างนั้นผมขอถือโอกาสหารือที่ประชุมคณะกรรมาธิการ เต็มสภาเลยนะครับว่า วันนี้ก็จะเหลืออาจารย์นรีวรรณ อาจารย์อุดม เฟื่องฟุ้ง คุณกงกฤช อาจารย์เนาวรัตน์ คุณสรณะ อาจารย์สมชัย พลอากาศเอก คณิต ท่านอาจจะอภิปราย แล้วท่านไม่ติดใจแล้วหรือเปล่า ผมไม่ทราบนะครับ เพราะท่านไม่อยู่ คุณวินัย ดะห์ลัน คุณเฉลิมศักดิ์ คุณอนันตชัย แล้วหมอพลเดช ไม่มีผู้แสดงความจำนงจะอภิปรายแล้ว ถือว่าสมาชิกแสดงความจำนงแค่นี้นะครับ มีเพิ่มอีกคนหนึ่งนะครับ ตกลงคุณอุบล หลิมสกุล จะขออภิปรายเพิ่มอีกคนหนึ่ง หลังจากคุณอุบลนี่ไม่มีใครแล้วนะครับ ผมจะได้ให้ คณะกรรมาธิการ อดีตกรรมาธิการ อีกคนหนึ่งมาแล้วครับ คุณเกรียงไกรครับ คุณเกรียงไกร เป็นคนสุดท้ายนะครับ แล้วก็จะขอให้กรรมาธิการชี้แจง แล้วก็ถ้ากรรมาธิการชี้แจง แล้วท่านสมาชิกไม่ติดใจก็จะพิจารณาข้อ ๘๑ ต่อ แต่ท่านสมาชิกยังติดใจ ผมจะขอพัก การประชุมครึ่งชั่วโมง แล้วก็ให้กรรมาธิการยกร่างของเราที่ทำงานอย่างแข็งขัน แล้วใช้เวลา เต็มที่มาหลายโอกาสแล้ว ท่านไปช่วยกรุณาเป็นอีกโอกาสหนึ่ง เชิญท่านกรรมาธิการเสรีครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี กรรมาธิการ อย่างที่ท่านประธานกรุณาถามสมาชิกว่าติดใจหรือไม่นะครับ ถ้าไม่ติดใจ ก็ผ่านไป แต่ส่วนติดใจในข้อใดก็ขอความกรุณาท่านประธานแขวนไว้ก่อนครับ แล้วเดี๋ยว ผมไปตกลงกันอีกทีก็จะทำให้การประชุมเร็วขึ้นแล้วก็ง่ายขึ้นครับ อาจจะแขวนเป็นคณะไว้ จะได้ง่ายขึ้นครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ได้ครับ ก็จะถามนะ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จะถามท่านที่อภิปรายว่าอภิปรายฝากไว้เฉย ๆ หรือว่าอภิปรายเพื่อต้องการยืนยันว่าต้องแก้อย่างนั้น ถ้าต้องการยืนยันละก็กรรมาธิการ อาจจะต้องคุยกัน เชิญท่านอาจารย์นรีวรรณครับ

นางนรีวรรณ จินตกานนท์ ต้นฉบับ

ขอบพระคุณท่านประธานนะคะ ดิฉันพยายาม จะให้สั้นที่สุดนะคะ แล้วก็ส่วนที่ท่านอภิปรายก็คงจะชัดเจนว่าประเด็นไหน ดิฉันอยากจะให้ ยืนยันนะคะ หลาย ๆ เรื่องนี่หลาย ๆ ท่านได้พูดไปแล้ว ดิฉันก็จะขอเสริมบางประเด็นที่ดิฉัน อาจจะต้องการยืนยันจริง ๆ นี่นะคะ

นางนรีวรรณ จินตกานนท์ ต้นฉบับ

ประเด็นแรกเลยดิฉันคิดว่าสิ่งที่ท่านกรรมาธิการได้เสนอมาส่วนใหญ่เราก็ เห็นด้วยนะคะ โดยส่วนตัวดิฉันก็อยากจะขอเพียงบางประเด็น อันแรกก็คือเรื่องของจำนวน สมาชิกในกรรมาธิการ แล้วก็สัดส่วนสมาชิกภายนอก ซึ่งดิฉันเห็นด้วยกับที่กรรมาธิการเสนอ ที่เสนอว่า ๑๓-๒๙ แล้วก็ภายนอก ๒๕ เปอร์เซ็นต์ คือดิฉันมองว่าเหตุผลหนึ่งที่ดิฉันเห็นด้วย ตรงนี้นะคะ สำหรับท่านที่ไม่เห็นด้วยก็คือว่า สปช. นี่เป็นงานในลักษณะของการระดมสมอง เบ็ดเสร็จแล้วมากที่สุด ๓๖ ก็ไม่น่าจะมากเกินไป ในส่วนที่ว่าสัดส่วนของภายนอก ให้สรรหามาจากผู้ที่เสนอตัวเข้ารับการสรรหาเป็น สปช. ดิฉันก็เห็นด้วย เพราะว่าท่านก็เป็น อาสาสมัครเหมือนเราสมศักดิ์ศรีทุกประการ แต่ในส่วนที่ดิฉันเห็น อาจจะเห็นต่างจากที่ กรรมาธิการ แล้วก็เห็นด้วยกับเพื่อนสมาชิกที่ได้เสนอก็คือว่า ดิฉันเห็นว่าเห็นด้วยแล้วก็คงจะ ยืนยันนะคะว่า ผู้ที่เสนอชื่อควรจะเป็นตัวกรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง เพราะเหตุว่าเขาย่อม จะต้องรู้ว่าเขาจะทำงานกับใครได้บ้างนะคะ แล้วก็ใครบ้างที่เหมาะสม เขาขาดตรงไหน เขาเกินตรงไหน ดิฉันคิดว่าตรงนั้นก็น่าจะเป็นกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องเป็นคนเสนอนะคะ ส่วนวิธีการว่าจะไปให้คนอื่นเสนอเข้ามาแล้วมาพิจารณาอะไรทั้งหลาย ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่อง ของขั้นตอนที่ไปจัดการกันเองได้ภายในนะคะ

นางนรีวรรณ จินตกานนท์ ต้นฉบับ

ทีนี้ประเด็นถัดไปก็คือว่า ในเรื่องของการท่องเที่ยวแล้วก็อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ดิฉันก็เห็นด้วยว่าควรจะมีกรรมาธิการนะคะ ดิฉันมาจากกรรมาธิการเศรษฐกิจ แล้วก็ดิฉันเข้าใจว่าผู้ที่เสนอในเรื่องของการท่องเที่ยวท่านก็คงจะไม่ขัดข้องที่จะให้แยกเป็น กรรมาธิการต่างหากนะคะ แต่ในเรื่องของการกีฬาดิฉันก็เห็นด้วยกับหลาย ๆ ท่านว่าควรจะ คงอยู่ ไม่เห็นด้วยที่จะทิ้งไปนะคะ แต่ทีนี้ถ้าเราเอาการกีฬาไปไว้กับการศึกษา เพราะว่า เรื่องของการพัฒนาเยาวชน พัฒนาคนทั้งหลาย การศึกษามันหนักมาก ดิฉันมาจาก ภาคการศึกษาเหมือนกัน ถ้าถามว่าการกีฬาเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวไหม เกี่ยวนะคะ เพราะเหตุว่าถ้าเรามีเรื่องของกีฬา แล้วถ้าสมมุติว่าเราก็ต้องไปไกลถึงการแข่งขันมันก็จะมี เรื่องของการท่องเที่ยวต่าง ๆ เวลามีมาแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกประเทศ เพราะฉะนั้นก็เลยอยากจะเสนอว่าให้คงการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการกีฬาไว้ด้วยกันเหมือนเดิมนะคะ ใน (๑๑) ในเรื่องของการปฏิรูปการสื่อสารมวลชน แล้วก็เทคโนโลยีสารสนเทศ ดิฉันขออภัย ภาษาอังกฤษคงจะหมายความว่า เป็นอินฟอร์เมชัน เทคโนโลยี (Information technology) ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ขัดข้อง แต่ว่าเมื่อสักครู่มีท่านสมาชิก ได้เสนอแล้วว่ามันมีเทคโนโลยีที่สำคัญมาก ๆ ต่อการปฏิรูป ต่อการพัฒนาประเทศ อีกอันหนึ่งก็คือเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม การปฏิรูปทั้งหลายตอนนี้ต้องอาศัย เทคโนโลยีอันนี้ ไม่ว่าจะเป็นดิจิทัล อิโคโนมี (Digital economy) ของท่านนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดช่องว่างของโอกาสเข้าสู่การศึกษา เข้าสู่สาธารณสุข เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมที่เราเรียกย่อ ๆ ว่าไอซีที นี่สำคัญมาก ทีนี้ถ้าจะไปให้รวมกับเรื่องของสื่อสารมวลชน ดิฉันก็คิดว่ามันอาจจะต้องการอะไรที่มากกว่านั้น หรือเปล่านะคะ ถ้าจะไปไว้กับ ๑๗ ดิฉันขอเสนอแล้วกันนะคะว่าไว้กับ ๑๗ ได้ไหม ๑๗ นี่เป็นเรื่องของการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคม คือดิฉันต้องการให้เน้น เพราะเหตุว่าเทคโนโลยีตัวนี้สำคัญจริง ๆ ตอนนี้มันเข้ามาในชีวิต แล้วเยาวชนก็ได้ถูกเทคโนโลยีอันนี้เข้าไปเยอะแยะแล้ว พวกเราก็เหมือนกันก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นก็ขออนุญาตเรียนว่าเอาไปไว้ตรงนั้นจะดีไหมนะคะ ก็เรียนเสนอให้ชัดเจนว่า ดิฉันเห็นว่าควรจะอยู่ตรงนั้น ดิฉันก็มีประเด็นเพียงแค่นี้ ขอบพระคุณท่านประธานค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ข้อเสนอของอดีตกรรมาธิการเสรี ท่านอาจารย์นรีวรรณเสนอประเด็นแรกเรื่องจำนวน เห็นด้วยกับกรรมาธิการ เพราะฉะนั้นอันนี้คงไม่ติดใจ ก็จะเหลือ ๒ ประเด็น คือควรคงคณะกรรมาธิการท่องเที่ยวกีฬาเอาไว้ กับเอาโทรคมนาคมไปรวมกับกรรมาธิการ ตามข้อ ๑๗ ซึ่งมีสมาชิกอีกท่านหนึ่งบอกว่าให้เอาไปรวมกับกรรมาธิการสื่อสารมวลชนและ เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม อันนี้ท่านติดใจไหม หรือว่าฝากไว้เฉย ๆ เพราะอดีตกรรมาธิการท่านขออย่างนั้น

นางนรีวรรณ จินตกานนท์ ต้นฉบับ

อย่างที่ดิฉันเรียนว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและ โทรคมนาคมมันเป็นเทคโนโลยีที่กระทบทุกภาคส่วนที่เรากำลังจะปฏิรูป แล้วมันก็สำคัญต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ของเรา กระทบโอกาสทั้งหลายทั้งปวงของแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การศึกษา เรื่องสาธารณสุข ดิฉันก็เลยคิดว่าน่าจะไปอยู่ในเรื่องของวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี แล้วก็นวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะตรงนั้นก็กระทบเรื่องอื่น ๆ อยู่เหมือนกัน ดิฉันติดใจว่า น่าจะอยู่ตรงนี้ ถ้าสื่อสารมวลชนดิฉันก็เกรงว่าเดี๋ยวจะเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและ โทรคมนาคมไปให้เฉพาะเรื่องของสื่อสารมวลชน ขอบพระคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ก็โอเคครับ ขออนุญาตไปท่านอาจารย์อุดม เฟื่องฟุ้ง ครับ

นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิกที่เคารพทุกท่าน ผม นายอุดม เฟื่องฟุ้ง สมาชิกอันดับที่ ๒๔๔ ผมขออนุญาตอภิปรายในฐานะกรรมาธิการ โดยขอต่อรองกับท่านกรรมาธิการยกร่าง ซึ่งท่านเสียสละเป็นอย่างมากใน ๒ ประการ

นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ต้นฉบับ

ประการแรกที่ท่านตัดคำว่า วิสามัญ นั้นก็เป็นอันยุติไปแล้ว ก็จะขอร้อง ท่านประธานกับท่านกรรมาธิการเสรีซึ่งท่านเป็นนักกฎหมาย คำว่า กรรมาธิการ ปฏิรูปการเมือง หลังคำว่า ปฏิรูป ขอเติมคำว่า ด้าน ไปตามรัฐธรรมนูญหน่อยได้ไหมครับ เพื่อไม่ให้มีปัญหาข้อกฎหมายในการวิพากษ์วิจารณ์ของคนภายนอกว่าเราตั้งครบหรือไม่ครบ เอาชื่อลอกเขามาเลย นี่เป็นข้อต่อรอง ประการที่ ๑

นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ก็คือว่าผมฟังคำอภิปรายของท่านกรรมาธิการหลายท่าน ที่เคารพนั้นก็มีเหตุมีผลทุกท่านครับ แต่ผมก็เห็นว่าคณะต่าง ๆ ของกรรมาธิการใน ๑๗ ด้าน ที่ท่านกรรมาธิการยกร่างท่านยกมานั้น ผมว่าเป็นการเขียนหรือยกร่างที่มีความคิด ที่กว้างขวาง เพราะว่าท่านไม่มีแต่ด้านอย่างเดียว ท่านกำหนดบริบทของด้านนั้น ๆ ไว้ด้วย ซึ่งที่กำหนดอำนาจหน้าที่นั้นเป็นเหมือนกับปลายเปิดที่ท่านจะใส่เข้าไปว่า ปัญหาคือ โจทย์ต่าง ๆ ที่ท่านกรรมาธิการหลาย ๆ ท่านยกขึ้นมา หรือสิ่งที่จะตอบโจทย์ในด้าน ต่าง ๆ นั้นท่านเจรจากับผู้ที่ตั้งโจทย์หรือต้องการตอบโจทย์ว่า ท่านใส่บริบทไว้ใน อำนาจหน้าที่ให้มันครบถ้วนตามที่สมาชิกทุกท่านต้องการ สามารถที่จะทำได้ไหม ผมคิดว่า ไม่เกินความสามารถของท่านประธานกรรมาธิการยกร่างและกรรมาธิการทุกท่านครับ ผมขอต่อรองกับท่านกรรมาธิการเพียงเท่านี้เถอะครับ ถ้าหากว่าเป็นอย่างนั้นแล้ว ปัญหาที่ท่านประธานกังวลคือต้องลงมติกันเป็น ๒๐ ครั้ง ๓๐ ครั้งอะไรมันก็จะหมดไป แล้วส่วนที่มีความเห็นด้านอื่นนั้นก็ต่อรองกันน่าจะได้ แล้วก็จบในหลักการของข้อ ๘๐ นี้ ไม่ต้องลงมติ ก็ขอกราบเรียนขอความกรุณาท่านประธานกรรมาธิการยกร่างและ กรรมาธิการครับ ขอขอบคุณท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปเรียนเชิญคุณกงกฤช หิรัญกิจ ครับ

นายกงกฤช หิรัญกิจ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กงกฤช หิรัญกิจ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจนะครับ ก็ขอกราบเรียนว่าเป็น ๑ ใน ๑๖ ของกลุ่มเศรษฐกิจนะครับ ในกลุ่มเศรษฐกิจจริง ๆ ก็ดีใจที่เราได้มีการประชุมกัน แล้วก็พบว่า ในทั้ง ๑๖ คนนี้มีที่มาที่ไปแต่ละด้านครบถ้วนทางด้านเศรษฐกิจนะครับ แล้วมีการหารือกันว่า เพื่อให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ ประกอบกับผลการศึกษาเรื่องการปฏิรูปที่ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมได้จัดทำ แล้วก็ทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้แจกให้กับเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ก็จะพบว่าในข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วยทุก ๆ ด้าน มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติ มีแรงงาน เมื่อมีการประชุม ในกลุ่มเศรษฐกิจเราก็มีการหารือกันนะครับว่ามีกรรมาธิการที่แยกออกไปแล้ว เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน ดังที่ท่านกอบศักดิ์ได้เอ่ยไปก่อนหน้านะครับ ทีนี้จาก ความห่วงใยของเพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านที่เห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งผมเป็นหนึ่งในที่มาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยตรงนะครับ มีเพื่อนผู้ประกอบการ หลายท่านในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ฝากที่จะให้ทำการปฏิรูปในหลาย ๆ เรื่อง ก็ดีใจที่เพื่อนสมาชิกได้เห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แล้วก็อยากเห็น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแยกเป็นชื่อเฉพาะในกรรมาธิการชุดใดชุดหนึ่งนะครับ ซึ่งเรื่องนี้ ก็ได้มีการหารือกันว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวค่อนข้างมาทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าไป ทางด้านสังคม และเพื่อนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ถามผมอยู่เสมอว่า เมื่อไรกระทรวงการท่องเที่ยวจะแยกออกจากกีฬาเสียทีนะครับ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ เราถกเถียงกันมานาน ในวงการท่องเที่ยวเองเราก็พูดกันว่ากระทรวงการท่องเที่ยวเป็น กระทรวงที่แปลก มีทีมงานนักข่าวต้องมี ๒ ทีมนะครับ มีทีมนักข่าวจากกีฬาชุดหนึ่ง มีทีมนักข่าวจากท่องเที่ยวชุดหนึ่ง ทั้ง ๒ ชุดนี้ไม่ทราบซึ่งกันและกัน นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เราเห็นว่าท่องเที่ยวและกีฬามีความเชื่อมโยงกันอยู่บ้าง แต่ค่อนข้างบาง ๆ ไม่ค่อยไป ด้วยกันเท่าที่ควรนะครับ ด้วยเหตุนี้เองก็จึงได้นำเรียนท่านประธานยกร่างข้อบังคับว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวน่าจะขออนุญาตมาทางด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามผมก็เห็นด้วย กับเพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านว่า หากเห็นว่าเศรษฐกิจใหญ่เกินไปก็น่าจะแยก คณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจออกเป็น ๒ ด้าน ด้านหนึ่งคือด้านเรียล เซคเตอร์นะครับ อาจจะเรียกว่าคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการเกษตรอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและ บริการ ซึ่งทั้ง ๔ เรื่องนี่ผมเชื่อว่ามีความเชื่อมโยงกันเพราะเป็นทางด้านภาคเศรษฐกิจ เรียล เซคเตอร์ ส่วนที่ ๒ ก็คงจะเป็นคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการเงิน การคลัง และการงบประมาณ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดูแลเศรษฐกิจในมหภาค หากเห็นควรที่จะแยกเศรษฐกิจ ออกเป็น ๒ ด้านนะครับ เพื่อจะให้มีการดูแลในรายละเอียดเพิ่มเติม

นายกงกฤช หิรัญกิจ ต้นฉบับ

ในส่วนที่ ๒ ที่ท่านประธานกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับได้สอบถามว่า จะเห็นด้วยกับขนาดของคณะกรรมาธิการว่าให้มีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก โดยส่วนตัวก็เห็นว่า อยากให้มีขนาดเล็กนะครับ เนื่องจากว่าเรามีเวลาที่ทำงานค่อนข้างจำกัดเพียงไม่กี่เดือน เพราะฉะนั้นแต่ละท่านที่อยู่ในกรรมาธิการควรที่จะต้องใช้ความรู้ความสามารถลงไปใน รายละเอียดด้านใดด้านหนึ่งของตัวเองอย่างแท้จริงนะครับ ไม่สามารถที่จะคร่อมอยู่ใน หลายกรรมาธิการได้ นอกจากนั้นยังจะต้องมีอนุกรรมาธิการอีก ซึ่งจะต้องใส่ใจดูแล ในรายละเอียด เพราะฉะนั้นก็เห็นว่าหากสมาชิกจะสมัครเป็นกรรมาธิการได้เพียงชุดเดียว ผมคิดว่าก็น่าจะมีความเหมาะสม และรวมทั้งให้ได้มีส่วนเลือกในกรรมาธิการวิสามัญ ไม่ประจำอื่น ๆ ที่จะมีตามมาในอนาคต

นายกงกฤช หิรัญกิจ ต้นฉบับ

ในเรื่องสุดท้าย ในเรื่องของรายชื่อผู้ได้รับการสรรหาที่จะเข้ามาเพิ่มเติม ในกรรมาธิการอีก ๑ ใน ๔ นั้นก็เห็นด้วยกับหลาย ๆ ท่านที่อยากจะให้บุคคลในกรรมาธิการ แต่ละคณะเป็นผู้เลือก แต่เลือกแล้วก็อยากจะให้ส่งรายชื่อนี้มาที่คณะกรรมาธิการกิจการ เพื่อรวบรวมอีกครั้งหนึ่ง เพราะอาจจะมีข้อเสนอที่อาจจะเกิดความซ้ำซ้อนระหว่างกันได้ ก็คิดว่าหากว่ามีการเสนอก็จะเป็นการเติมเต็มของความรู้ความสามารถและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องนั้น ๆ มาสู่กรรมาธิการเสียก่อนในชุดนั้น ๆ แล้วก็ค่อยส่งไปรวบรวมที่ คณะกรรมาธิการกิจการสภาครับ ก็ขอเสนอเพียง ๓ ประเด็นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ครับ ไม่อยู่แล้วหรือครับ ถ้าอย่างนั้นขอข้ามไปเลยนะครับ คุณสรณะ เทพเนาว์ อยู่ไหมครับ

นายสรณะ เทพเนาว์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม สรณะ เทพเนาว์ สมาชิกสภาปฏิรูป ด้านองค์กรปกครองท้องถิ่น ประเด็นผมกราบเรียนท่านประธานผ่านไปยัง คณะกรรมาธิการที่เคารพครับ รัฐธรรมนูญได้บัญญัติมาตรา ๓๑ ให้ ๒๕๐ คน พวกเราทั้งหลายจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ ต่อ สนช. ครม. และ คสช. และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่มาดูมาตรา ที่เกี่ยวข้องคณะกรรมาธิการในหมวด ๔ ข้อ ๘๐ ผมค่อนข้างที่จะเห็นด้วยที่อยากจะฝาก ตั้งข้อสังเกตต่อคณะกรรมาธิการว่าเราต้องยึด ๑๑ ด้านเป็นหลัก ๑๑ ด้านนี้เป็นหัวใจ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้วย และกำหนดในรัฐธรรมนูญทั้ง ๑๑ ด้านด้วยกัน แต่สิ่งหนึ่งผมอยากจะฝากถึงตั้งข้อสังเกตไว้ในข้อ ๘๐ (๑๓) เรื่องคณะกรรมาธิการ ปฏิรูปแรงงาน แรงงานนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งครับ เนื่องจากผมรับราชการ ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการอพยพแรงงานเข้ามาทำงานในพื้นที่ค่อนข้างจำนวนมาก และเป็นปัญหาแรงงาน ทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันก็มีปัญหาอยู่แล้ว โดยเฉพาะ แรงงานข้ามชาติและมีบัตรสีฟ้า ซึ่งสิ่งทั้งหลายนี้รัฐบาลกำลังจัดระเบียบทางสังคม เรื่องแรงงานอยู่ แต่นั่นหมายถึงเรามิได้มุ่งเน้นถึงสวัสดิการของรัฐบาลที่เพิ่มค่าจ้างแรงงาน ๓๐๐ บาทแต่ประการใด แต่อยากจะให้มีการวางแผนกำลังทรัพยากรมนุษย์ของแรงงาน หรือแมน เพาเวอร์ (Man power) ในการอาชีพที่ขาดแคลนแรงงานเพื่อรองรับเศรษฐกิจ สังคมแล้วก็อาเซียน และอุตสาหกรรมของประเทศเรา

นายสรณะ เทพเนาว์ ต้นฉบับ

อีกประเด็นหนึ่งก็อยากจะฝากถึงในเรื่องของการท่องเที่ยวครับ เพราะขณะนี้ รายได้ของเราปัญหาของประเทศก็คือปริมาณการท่องเที่ยวค่อนข้างจะต่ำ ผมก็อยากจะฝากว่า ให้มีระบุไว้ว่ามีคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านการกีฬานะครับ รวมทั้งการปฏิรูปทางด้าน การท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย อีกส่วนหนึ่งเมื่อสักครู่สนับสนุนของคุณสารีก็คือว่า มีคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน เสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งในวุฒิสภา ในชุดที่แล้วก็มีอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ดีน่าจะมีกรรมาธิการชุดนี้เพิ่มเติม เป็นเพียงข้อสังเกต เท่านั้น ส่วนที่ประชุมจะพิจารณาอย่างไรก็ต้องขอกราบขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ กราบขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญอาจารย์สมชัย ฤชุพันธุ์ ครับ

นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานและท่านสมาชิกที่เคารพรักครับ ผมคิดว่าภารกิจของสภาปฏิรูปคือการปฏิรูป แต่ว่าเราจะต้องทำในเรื่องใหญ่ เรื่องเป็นระยะยาว เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้าง เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบ เราไม่ได้มีหน้าที่ในการ บริหารราชการแผ่นดิน เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ต้องนำเอาภารกิจตามกระทรวง ทบวง กรม ทุกกระทรวง ทบวง กรมมาเป็นภารกิจของเรา เรื่องปัญหาระยะสั้นของบ้านเมืองเป็นปัญหา ที่ฝ่ายบริหารต้องดำเนินการจัดการ การที่มีสภาปฏิรูปขึ้นมาก็เพราะว่ามีปัญหาขึ้น ในบ้านเมือง แล้วก็จำเป็นต้องมีคนมาดูแลว่าปัญหาเหล่านี้จะแก้อย่างไรในเชิงโครงสร้าง ในเชิงระบบและในเชิงที่เป็นปัญหาระยะยาว เพราะฉะนั้นผมคิดว่าการแบ่งภารกิจออกเป็น ด้านต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ ที่แบ่งไว้เป็น ๑๑ ด้านนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ เหมาะสมแล้ว แล้วเราควรจะตอบโจทย์ของ ๑๑ ด้านนั้นให้ครบถ้วนทุกด้าน ทีนี้ในแต่ละด้าน มันบอกไว้เท่านั้นว่ามันด้านไหน ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจหรือด้านสังคม แต่ว่าด้านการเมืองโจทย์มันคืออะไร ประเด็นปัญหาคืออะไร ด้านเศรษฐกิจโจทย์คืออะไร ประเด็นปัญหาคืออะไร มันไม่ใช่เป็นเรื่องโจทย์ระยะสั้นที่เราจะต้องไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจว่า ข้าวราคาแพง หรือมีเงินเฟ้อ หรือเงินในระบบไม่เพียงพอ พวกนั้นเป็นภารกิจของฝ่ายบริหาร ที่ต้องดำเนินการ ผมยกตัวอย่าง อย่างด้านการเมืองเราคงไม่ไปลงในรายละเอียดของ การเลือกตั้งอะไรต่าง ๆ แต่สิ่งที่เราต้องการคือแก้ปัญหาให้ระบบการเมืองของเราสามารถ ก่อเกิดนักการเมืองหรือผู้บริหารบ้านเมืองที่มีประสิทธิภาพ มีความสามารถ และมีความสุจริตได้ มาดูด้านเศรษฐกิจผมคิดว่าภารกิจที่สำคัญมันมีเยอะแยะถ้าเราเลือก ประเด็นนะครับ แต่ผมคิดว่าต้องไปรวมศูนย์ความสนใจที่ประเด็นหลัก ๆ เช่นว่า ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางเศรษฐกิจ อันนี้เราแก้อย่างไร ปัญหาความสามารถในการแข่งขัน ของเศรษฐกิจไทยแก้อย่างไร ส่วนการที่แบ่งเป็นการท่องเที่ยว เป็นการเกษตร เป็นการสื่อสารคมนาคมอะไรต่าง ๆ มันเป็นเรื่องที่เป็นรูปธรรมลงไป ถ้าถามว่า การท่องเที่ยว ปฏิรูปการท่องเที่ยวปฏิรูปอย่างไร ไม่ใช่ว่าจะทำอย่างไรให้การท่องเที่ยว เรามีผู้มาเที่ยวมากขึ้น แต่ทำอย่างไรจึงจะให้การท่องเที่ยวสามารถช่วยในเรื่องการกระจาย รายได้ ทำให้ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำมากเกินไป และทำอย่างไรจะให้การท่องเที่ยว ไม่ทำลายธรรมชาติ ก่อเกิดความยั่งยืนในอนาคตได้ นี่เป็นโจทย์ระยะยาวนะครับ คราวนี้กรรมาธิการเศรษฐกิจตามที่กรรมาธิการยกร่างได้ทำมาแล้วผมเห็นว่ามีหลายด้านและ แยกออกไปแล้ว เช่นว่า เรื่องพลังงาน เรื่องเกษตร เรื่องทรัพยากรของมนุษย์ ก็เป็นเรื่อง เศรษฐกิจทั้งนั้นและได้แยกไปแล้ว เพราะฉะนั้นคำถามว่ากรรมาธิการเศรษฐกิจแยกได้ไหม ผมว่าแยกได้และได้แยกแล้ว เพราะฉะนั้นโจทย์จึงไม่ได้อยู่ที่ว่ากรรมาธิการเศรษฐกิจ แยกได้ไหม แต่อยู่ที่ว่ากรรมาธิการที่จะขอตั้งขึ้นใหม่มันมีเนื้อหาสาระพอในเชิงประเด็นของ การปฏิรูปที่มากพอที่จะมีความสำคัญในเชิงการปฏิรูปมากพอที่จะตั้งเป็นกรรมาธิการ ขึ้นมาใหม่หรือไม่ สำหรับกรรมาธิการการเงิน การคลัง ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่าง เสนอมานี้ผมเห็นว่าดีแล้ว แล้วก็ขอสนับสนุนให้เป็นอย่างเดิมนั้น ทีนี้ผมอยากจะตั้งเป็น คำถามว่าคำว่า การคลัง ถ้าดูตรงนี้หมายความว่ารวมถึงการงบประมาณด้วย ในความหมาย ทั่ว ๆ ไปจะเป็นอย่างนั้น แต่ว่าเนื่องจากประเทศไทยมีสำนักงบประมาณที่อยู่ นอกกระทรวงการคลัง แล้วก็มีพระราชบัญญัติงบประมาณออกมาต่างหาก ผมก็ไม่อยากจะ เติมคำให้ยาวนะ ถ้าหากว่ากรรมาธิการมีความเห็นว่า คำว่า การคลัง รวมการงบประมาณด้วย ผมคิดว่าใช้ได้แล้วก็ยังไม่ขอแก้ คำว่า งบประมาณ ที่ผมต้องการจะชี้ให้เห็นก็คือเราต้องการ ปฏิรูประบบงบประมาณไม่ใช่ทำหน้าที่ดูงบประมาณแผ่นดินเป็นรายปี ซึ่งในสภา สนช. เขาอาจจะไม่มีคำนี้ เพราะว่าเขาจะไปสนใจเฉพาะเรื่องของการตั้ง งบประมาณเป็นรายปี ซึ่งเขามีคณะกรรมาธิการวิสามัญของเขาต่างหาก แต่เราไม่ใช่ เราไม่ได้ดูเรื่องนั้นนะครับ

นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ต้นฉบับ

อีกประเด็นหนึ่งคืออยากจะเห็นด้วยกับท่านอุดมนะครับ คำว่า การปฏิรูป หลังคำนั้นควรมีคำว่า ด้าน เพราะไม่อย่างนั้นท่านจะไปปฏิรูปวิทยาศาสตร์นี่มันปฏิรูปไม่ได้ ที่จริงคือปฏิรูปการบริหารจัดการในด้านวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าใช้คำว่า ปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ อย่างเดียว ผมคิดว่าใช้ได้แล้ว ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณ ท่านอาจารย์สมชัย คุณคณิต สุวรรณเนตร ครับ

พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร สปช. ลำดับที่ ๒๗ ด้านสื่อสารมวลชนครับ ผมได้อภิปรายไปแล้ว ๑ ครั้ง แล้วก็เลยอยากจะขออนุญาตกราบเรียนเพิ่มเติมคือ ที่มีสมาชิก ผู้ทรงเกียรติบางท่านได้เสนอว่าเอาด้านโทรคมนาคมมาอยู่ในข้อ ๑๗ นะครับ คือทุกวันนี้ เทคโนโลยีพวกนี้หลอมรวมเข้าด้วยกัน ทั้งด้านบรอดแคสติ้ง (Broadcasting) คือกระจายเสียง และด้านโทรคมนาคมมันรวมกันอยู่ครับ แต่ก่อนเราดูทีวีเราก็ดูทีวีนิ่ง ๆ เดี๋ยวนี้เราดูทีวี บนมือถือ เพราะฉะนั้นมันควรจะอยู่ด้วยกัน แล้วก็เวลาประชุมตกลงกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นไทย-มาเลเซีย ไทย-กัมพูชา ถ้าเราใช้ความถี่ในการกระจายเสียง ประเทศเพื่อนบ้านใช้ความถี่นี้ในการใช้มือถือ มันกวนกันครับ กวนกันทั้งไทยกับมาเลเซีย กวนทั้งไทยกับกัมพูชา ที่คลื่น ๘๕๐ เพราะฉะนั้นคลื่นความถี่ควรจะอยู่ด้วยกัน ทั้งกระจายเสียงและบรอดแคสติ้ง ผมจึงขอกราบเรียนท่านสมาชิก กราบเรียนท่านประธานว่า ควรจะอยู่ในข้อ ๑๑ ครับ กราบขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญอาจารย์วินัย ดะห์ลัน ครับ

นายวินัย ดะห์ลัน ต้นฉบับ

ขอบพระคุณมากครับท่านประธาน กราบเรียน ท่านประธาน ผม วินัย ดะห์ลัน สมาชิกสภาปฏิรูป หมายเลข ๑๘๕ นะครับ ผมอยากจะ ขอเสนอความเห็นในบางเรื่อง ผมว่าเราคุยกันในเรื่องของการปฏิรูปทั้งสังคม เศรษฐกิจ เรื่องของศีลธรรม เรื่องของโครงสร้าง แต่ดูเหมือนเราจะลืมไปนะครับว่า ทุกอย่างที่เราปฏิรูปนั้น สิ่งหนึ่งถ้าสมมุติว่าเราไม่สามารถที่จะนำประเทศไทยกลับไปสู่เส้นทางการแข่งขันกับประเทศ ต่าง ๆ ในโลกได้เลย การปฏิรูปนั้นแม้ว่าจะสำเร็จ แต่เราก้าวตามโลกไม่ทันแล้ว เพราะฉะนั้น ก็ป่วยการนะครับกับการปฏิรูป สิ่งที่อยากจะแสดงความเห็นก็คือเราอยากจะเห็นการปฏิรูป สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการแข่งขันของประเทศไทย นั่นก็คือการเพิ่มความสามารถทางด้าน การแข่งขันของประเทศ ผมอยากจะพูดถึงเรื่องของการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมนะครับ ซึ่งในที่นี้นั้นครอบคลุมเรื่องของไอพี (IP) หรือว่า อินเทลเล็กชวล พร็อพเพอร์ตี (Intellectual property) อยู่แล้ว วันนี้ประเทศอื่น หลายประเทศนะครับ เขามองประเทศไทยว่าเป็นประเทศโออีเอ็ม คันทรี (OEM Country) เป็นคำที่ไม่ใช่เป็นคำชมนะครับ เป็นคำที่ค่อนข้างจะดูถูกดูแคลน เรานี่รับจ้างการผลิต อย่างเดียว ผมไปที่ประเทศมาเลเซียมา ได้รับทราบว่าเขาส่งออกผลิตภัณฑ์จำนวนมาก แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เขามาว่าจ้างประเทศไทยในการผลิตแล้วก็ส่งออกไป อาจจะมีมูลค่า ค่อนข้างสูงในมูลค่าในการส่งออกของเขานะครับ เราจะทำการผลิตในลักษณะของ การรับจ้างอย่างเดียวโดยไม่พัฒนาผลิตภัณฑ์และไม่สร้างแบรนดิ้ง (Branding) ย่อมไม่ได้ เราไม่ค่อยสนับสนุนในเรื่องของงานวิจัย เราลืมเรื่องของอาร์แอนด์ดี (R&D) รีเสิร์ช แอนด์ ดีเวลอปเมนท์ (Research and Development) เราไปมุ่งในเรื่องของซีแอนด์ดี (C&D) ก็อปปี้ แอนด์ ดิวพลิเคท (Copy and Duplicate) มากจนเกินไปนะครับ ผมอยากจะ ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง ผมเพิ่งกลับมาจากการบรรยายที่ในงานเวิลด์ ฮาลาล เดย์ (World Halal Day) ที่สิงคโปร์ เรื่องของฮาลาลนั้นหลายคนเข้าใจว่าเป็นเรื่องของ ผลประโยชน์ในสังคมมุสลิม ไม่ใช่ครับ วันนี้ฮาลาลกลายเป็นผลประโยชน์ของชาติต่าง ๆ นะครับ เพราะในการประชุมเวิลด์ ฮาลาล เดย์ นั้น ปรากฏว่าญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ รวมทั้งรัสเซีย ประกาศตัวเองมาว่าจะเป็นฮาลาลฮับ (Halal Hub) กันไปหมดแล้วนะครับ ตลาดฮาลาลนั้นใหญ่มาก มีมูลค่าถึง ๖,๐๐๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา การแข่งขัน ด้านฮาลาลในอนาคตจะเป็นเรื่องของไซแอนซ์ เทคโนโลยี อินโนเวชัน (Science Technology Innovation) อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง สิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งทำก็คือ เรื่องของการเพิ่มงบประมาณวิจัย ขณะนี้งบประมาณวิจัยของไทยถ้าเทียบกับมูลค่าของจีดีพี (GDP) เราต่ำมาก มาเลเซียมีมูลค่าด้านนี้ในรูปของสัดส่วนนั้นมากกว่าประเทศไทยถึง ๔ เท่า ไต้หวันเท่าที่ทราบ ๘ เท่านะครับ เราไม่ต้องไปเทียบกับสิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งสูงกว่า ประเทศไทยเป็น ๑๐ เท่า ถ้าสมมุติว่าเราต้องการที่จะสนับสนุนการแข่งขันเรื่องของการให้ การสนับสนุนต่อมหาวิทยาลัยวิจัยของประเทศไทย เราพูดกันมาตลอดนะครับ แต่ว่าไม่เคยมี เม็ดเงินลงไปเลย ผมในฐานะที่เป็นนักวิจัยได้เห็น ได้รู้สึกกับการขาดการสนับสนุนในเรื่อง ของงบประมาณทางด้านการวิจัยนะครับ ก็อยากจะให้เรื่องราวเหล่านี้นั้นเป็นรูปธรรม เสียทีนะครับ อยากจะขอเสนอดังนี้นะครับ

นายวินัย ดะห์ลัน ต้นฉบับ

อันที่ ๑ ผมอยากจะขยายความสำคัญของกรรมาธิการปฏิรูป ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมที่มีการเขียนไว้ เพียงแต่ว่าอยากจะขอ เปลี่ยนชื่อนิดหนึ่งนะครับ เป็น กรรมาธิการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัย เปลี่ยน วิจัย ไปอยู่ด้านหลังนะครับ เนื่องจากว่าพอเราไปใช้เป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ คือ ไซแอนซ์ เทคโนโลยี อินโนเวชัน แอนด์ รีเสิร์ช เอสทีไออาร์ (Science Technology Innovation and Research : STIR) มันก็น่าจะเป็นตัวที่จะบ่งชี้ถึงความสำคัญของงานที่เรา ให้ความสำคัญนี้ได้นะครับ ถ้าสมมุติเราไม่ทำนั้น เราก็คงแข่งขันได้ยากนะครับ

นายวินัย ดะห์ลัน ต้นฉบับ

อันที่ ๒ ก็อยากจะให้มีกรรมาธิการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม แล้วก็ให้ความสำคัญกับงานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลนะครับ เนื่องจากขณะนี้ อยากจะให้ทราบนะครับว่าประเทศไทยเราเป็นอันดับหนึ่งในเรื่องนี้ ก็ไม่อยากให้งาน ทางด้านนี้นั้นเราลดความสำคัญลง ขณะนี้ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และอีกหลายประเทศ เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องของงานวิทยาศาสตร์ฮาลาลมากขึ้นแล้วนะครับ

นายวินัย ดะห์ลัน ต้นฉบับ

อีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะพูดถึงนะครับ ก็อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมนี่นะครับ ก็อยากจะสนับสนุนการจัดตั้งกรรมาธิการ ปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากว่าในระบบเศรษฐกิจนั้นเซกชัน (Section) ที่ใหญ่ที่สุดก็คือเซกชันของผู้บริโภค หากภาคประชาชนจะได้รับความสำคัญมากขึ้น ได้รับการแบ่งสรรอำนาจมากขึ้น การจัดตั้งกรรมาธิการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ก็จะเป็นเรื่องที่ภาคประชาชนสัมผัสได้ เห็นได้ แล้วก็จะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดนะครับว่า สภาปฏิรูปของเรานั้นมองเห็นประชาชนผ่านทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ขอเพียงเท่านี้ครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อาจารย์วินัย คุณเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ ครับ

นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ สมาชิกสภาปฏิรูป จังหวัดพังงานะครับ ผมมีประเด็นที่จะนำเสนอสั้น ๆ ประเด็นเดียวนะครับ คือประเด็นในเรื่องของร่างข้อบังคับ ข้อ ๘๐ (๖) ผมเห็นด้วยในเรื่อง ของร่างข้อบังคับ คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลังนะครับ อันนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าผมคิดว่าระบบเศรษฐกิจนั้นต้องมองเป็น ๒ มิตินะครับ เหมือนกับ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ๒ ท่าน ที่ขออนุญาตเอ่ยนามนะครับ ท่านพิสิฐ ลี้อาธรรม และท่านสมชัย ฤชุพันธุ์ นะครับ คือประเด็นที่ผมมองว่าระบบการเงิน การคลังนั้น เป็นระบบที่สำคัญ เป็นในเรื่องของการกำหนดโครงสร้างแล้วก็ระบบการเงินการคลัง เพื่อให้ประเทศเรานั้นสามารถสร้างความเข้มแข็งทางโครงสร้างเศรษฐกิจนะครับ ประเด็นนี้ ผมคิดว่าต้องคงไว้นะครับ ที่เสนอนะครับ

นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ คือ ข้อ ๘๐ (๗) ผมมีความคิดว่าอยากจะให้มีการปรับเปลี่ยน นิดหนึ่งนะครับ เป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปเศรษฐกิจภาคการผลิตนะครับ ซึ่งผมคิดว่าประเด็นนี้ผมมองในเรื่องของภาคการผลิตที่แท้จริง หรือที่เราเรียกว่าเรียล เซคเตอร์ ซึ่งถ้าเราจะพูดง่าย ๆ ก็คือภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการนะครับ ซึ่งบริการนั้น ก็รวมถึงการขนส่ง รวมถึงในเรื่องของค้าปลีก ค้าส่ง รวมถึงเรื่องของการท่องเที่ยว และการบริการต่าง ๆ ผมคิดว่าถ้าเรามองในมิตินี้ให้ชัดเจนก็เปรียบเสมือนกับการมองภาพ เศรษฐกิจในเชิงมหภาคและจุลภาค ปัญหาด้านเศรษฐกิจนั้นเราคงไม่ปฏิเสธนะครับ ภาคเกษตรเราก็มีปัญหาในเรื่องราคาตกต่ำ โครงสร้างเรามีปัญหา ภาคอุตสาหกรรมเรา ก็มีปัญหามาโดยตลอดนะครับ ยิ่งตอนนี้เราโดนกีดกันด้วยนะครับ ทีนี้ในเรื่องของภาคบริการ ที่คิดว่ายังมีโอกาสนะครับ โดยเฉพาะท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้พูดถึงเรื่องการท่องเที่ยว ผมได้รับข้อมูลมาว่าทิศทางการท่องเที่ยวระดับโลกจะมีสัดส่วนการเติบโตที่สูงขึ้น แล้วสัดส่วนเติบโตที่สูงขึ้นจะมาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะสูงขึ้น และผมคิดว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่ประเทศไทยเรามีทรัพยากรทางท่องเที่ยวที่มีคุณค่ามากนะครับ แล้วเป็นช่องทางการได้มา ซึ่งรายได้ แล้วก็ส่งเสริมอาชีพของพี่น้องประชาชนของไทยเรา ผมก็เลยมองว่าปัญหา ในมหภาคนั้นคงต้องไปมองโครงสร้างทั้ง ๓ ระบบ เกษตร อุตสาหกรรมและบริการ ในส่วนจุลภาคนั้นผมมองว่าเรามองในเรื่องของเศรษฐกิจครัวเรือน มองในเรื่องของเศรษฐกิจ เอสเอ็มอี มองในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ผมคิดว่าเราต้องไปสร้างโครงสร้างพวกนี้ครับ ปฏิรูปโครงสร้างพวกนี้ให้มีระบบการจัดการที่สามารถขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของประเทศเรา ดำเนินไปด้วยดีขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ แล้วก็รวมทั้ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันครับ ผมขอเสนอ ๒ ประเด็นครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ถัดไปคุณอนันตชัย คุณานันทกุล เชิญครับ

นายอนันตชัย คุณานันทกุล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายอนันตชัย คุณานันทกุล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๒๓๑ จากกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ท่านประธานที่เคารพครับ ผมต้องขอขอบคุณ ทางคณะกรรมาธิการยกร่างที่ได้เสียสละที่ทำงานอย่างรวดเร็วที่ทำให้เรามีร่างนี้ขึ้นมา เพื่อพิจารณา ท่านประธานที่เคารพครับ เนื่องจากว่าสภาปฏิรูปแห่งชาติของเรานั้น มีระยะเวลาที่ทำงานอย่างค่อนข้างจะเร่งรัดอยู่หลายประการ

นายอนันตชัย คุณานันทกุล ต้นฉบับ

ประการที่ ๑ ทางสภาปฏิรูปเราต้องเสนอให้กับคณะกรรมาธิการยกร่าง ข้อคิดต่าง ๆ ภายใน ๖๐ วัน จากนั้นเราก็มีเวลาอีก ๑๒๐ วันที่เราจะเสนอ หลังจากที่ กรรมาธิการได้ยกร่างกลับมาสู่สภาแห่งนี้แล้ว เราก็มีเวลาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นเวลาที่เรา ค่อนข้างจำกัดนั้น เนื่องจากปัญหาบ้านเมืองที่ผ่านมาเราก็เข้าใจกันดีว่ามีปัญหาอยู่มากมาย ฉะนั้นระยะเวลาที่ค่อนข้างจำกัดนั้น ผมอยากจะเรียนว่าสภาของเรานั้นมีหน้าที่ในการ เสนอแนะข้อคิดต่าง ๆ ในการปฏิรูป เพื่อที่จะนำไปสู่การปฏิรูปแนวทางของรัฐธรรมนูญก็ดี กฎหมายก็ดี เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างดียิ่ง ที่สำคัญนั้นหลายท่านได้อภิปรายว่า กรรมาธิการวิสามัญที่ท่านกรรมาธิการยกร่างได้กรุณาร่างขึ้นมา ๑๗ คณะ แล้วก็อีก ๑ คณะกรรมาธิการ ทั้งหมดเป็น ๑๘ คณะด้วยกัน ผมอยากจะกราบเรียนท่านประธาน ผ่านไปยังกรรมาธิการว่า ที่สำคัญนั้นเรามีการพูดกันว่าเราไม่อยากให้เรามีภาระของการแบก ภาระที่อุ้ยอ้ายนะครับ ที่อุ้ยอ้ายนี้ผมกลับมองตรงกันข้ามว่าแต่ละคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้น ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากว่าเรามีภารกิจมากมายเราจะต้องแยกกันทำ สิ่งที่แยกกันทำที่จะให้คนที่มีความรู้ ความสามารถในแต่ละแขนงนั้นมาพิจารณา แล้วก็สิ่งที่สำคัญนั้นเรายังต้องเชื่อมโยงกับ ประชาชนที่จะทำให้ข้อมูลเหล่านั้นดีที่สุดแล้วก็เป็นที่ยอมรับของภาคประชาชนด้วย สิ่งที่สำคัญนั้นเราจึงต้องเชื่อมโยงกับประชาชน ฉะนั้นในคณะกรรมาธิการซึ่งผมเองนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องมาหลาย ๆ ประการ ผมอยู่ในสังคมธุรกิจ สังคมอุตสาหกรรม มาอย่างยาวนานถึง ๕๐-๖๐ ปี จะเห็นว่านโยบายที่กำกับ หรือกฎหมายที่ออกมานั้นขัดแย้ง กับข้อเท็จจริง หรือขัดแย้งกับสังคมอยู่มากมายทีเดียว ก็เนื่องจากว่าคนที่เข้ามา มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นขาดความเข้าใจในแต่ละประเด็น ฉะนั้นการที่เราแยกคณะกรรมาธิการ วิสามัญให้อย่างทั่วถึงก็จะทำให้การพิจารณานั้นมีประสิทธิภาพแล้วก็รวดเร็ว ผมกลับเห็นว่า เป็นการที่กระจายแล้วทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้น สิ่งที่ผมขอสนับสนุนท่านพิสิฐ ลี้อาธรรม ว่าเรื่องของเศรษฐกิจกับเรื่องของการเงิน การคลังนั้นควรจะแยกออกจากกัน ที่สำคัญนั้น คำว่า เศรษฐกิจ เรายังขาดคำว่า อุตสาหกรรม เข้าไปด้วย เพราะปัจจุบันนี้เราเป็นประเทศ ที่พึ่งพาการส่งออกค่อนข้างมาก โดยเฉพาะปัจจุบันนั้นอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นเราจะเป็น ดีทรอยต์แห่งเอเชีย เรายังก้าวไม่ถึงสักทีหนึ่งเรามีปัญหามากมาย ฉะนั้นผมสนับสนุนว่า เราน่าจะนะครับ แต่ผมไม่ติดใจนะครับถ้าท่านกรรมาธิการจะไม่พิจารณาในประเด็นนี้ ผมอยากให้ท่านกรรมาธิการยกร่างนั้นทำงานอย่างสบาย ๆ แต่ให้คำนึงถึงประสิทธิภาพ ที่จะทำให้พวกเราสามารถทำงานอย่างรวดเร็วได้ นี่เป็นประเด็นที่สำคัญครับ

นายอนันตชัย คุณานันทกุล ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ เนื่องจากว่าเรามีคณะกรรมาธิการที่เรามีคนนอกอยู่ด้วย และเหตุผลหนึ่งเราก็ต้องการที่จะคำนึงถึงผู้ที่ได้สมัครแล้วก็ไม่สามารถเข้ามาในที่นี้ได้ ซึ่งก็ยังมีบุคคลที่มีความรู้ความสามารถอย่างมากมาย ถ้าเอาเขาเข้ามาร่วมคิดร่วมกันทำ แล้วก็ช่วยกันกระจายผมว่าน่าจะก่อให้มีประสิทธิภาพอย่างดียิ่ง อย่างไรก็ตามก็อยากให้ กรรมาธิการวิสามัญแต่ละคณะนั้นมีอิสระส่วนหนึ่งด้วยที่จะสามารถคัดเลือกคนที่มี ความเหมาะสมตรงกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่จะเข้ามาช่วยเสนอคิดเพื่อจะดำเนินไปด้วย ความราบรื่นแล้วก็อย่างรวดเร็วครับ ขอขอบคุณครับท่านประธาน

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญคุณหมอพลเดช ปิ่นประทีป ครับ

นายพลเดช ปิ่นประทีป ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผมมีประเด็นสั้น ๆ อยู่ ๓ ประเด็นครับ

นายพลเดช ปิ่นประทีป ต้นฉบับ

ประเด็นแรกนั้นเป็นประเด็นที่อยากเรียนว่าเรื่องของความเข้าใจที่อาจจะ ไม่ตรงกันเกี่ยวข้องกับในกรณีเรื่องของคุณธรรมกับเรื่องของธรรมาภิบาลนะครับ ตรงนี้ มันจะเกี่ยวข้องกับในข้อ ๑๔ กับข้อ ๑๕ นะครับท่านคณะกรรมาธิการ ปัญหาแน่ ๆ ก็คือว่า ปัญหาบ้านเมืองในช่วงที่ผ่านมานั้นต้องเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นปัญหาวิกฤติของคุณธรรม แล้วก็ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องใหญ่ เพราะฉะนั้นการปฏิรูปคราวนี้ต้องแก้ตรงนี้ให้ได้ ดังนั้น ในข้อ ๑๔ กับข้อ ๑๕ นั้นเราเห็นว่าอย่างนี้ครับว่า เรื่องของคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูป การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ ตรงนี้ถ้าหากว่าแยกขาดออกไปจาก เรื่องของคุณธรรมตรงนี้จะทำให้ผิดทิศทางไปได้พอประมาณนะครับ ดังนั้นเราจึงมีข้อเสนอว่า คณะกรรมาธิการชุดนี้น่าจะเอาเรื่องของจากข้อ ๑๕ ที่เราเอาไปไว้เรื่องของจริยธรรมแล้วก็ การศาสนาไปรวมอยู่ตรงนั้น ในความเห็นผมนะครับผมคิดว่าผมเสนออย่างนี้ว่าควรที่จะเอา เรื่องของคุณธรรม จริยธรรม เอามาไว้ในข้อ ๑๔ หมายความว่าอาจจะเรียกชื่อรวม ๆ อย่างนี้ ผมเรียนเป็นข้อเสนอนะครับ คือคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูประบบคุณธรรม และธรรมาภิบาล อันนี้อาจจะสั้น กระชับแล้วก็ได้ใจความแล้วก็ครอบคลุมนะครับ อันนั้นเป็นประการที่ ๑ นะครับ

นายพลเดช ปิ่นประทีป ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ นั้นผมก็ได้ฟังมาตลอดก็มีความหนักใจในตัวเองเหมือนกันว่า จำนวนคณะกรรมาธิการที่ท่านกรรมาธิการได้ไปยกร่างมานี้ผมเองก็เข้าใจ แล้วก็มีความชื่นชมว่า ได้พยายามที่จะเอารายละเอียดได้เข้ามาแตกย่อยเป็นคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ จากเดิม ๑๑ คณะ ก็กลายเป็น ๑๗ คณะ แล้วที่ประชุมก็มีข้อเสนอเป็นคณะที่ ๑๘ ๑๙ ขึ้นมาอีก ผมรักพี่เสียดายน้องครับ เพราะว่าการที่แยกย่อยเป็นคณะย่อย ๆ นั้นมันก็มีข้อดีครับ เพราะว่าแต่ละชุดจะได้ลงรายละเอียด แล้วก็ใช้เวลาทำงานสั้นลง เจาะลึกลงไป ในประเด็นนั้นเลยนะครับ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม จุดอ่อนหรือข้อจำกัดของมันก็จะมีปัญหา เรื่องของความเชื่อมโยง ความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นที่ใกล้เคียงกันตรงนี้นะครับ แล้วอีกอย่างหนึ่งนั้นผมนึกภาพไปถึงตอนที่กรรมาธิการที่แยกย่อยแต่ละชุดลงไป มีคณะทำงานเพียงไม่กี่คนลงไปทำงาน แล้วก็มานำเสนอในสภาใหญ่ของเรา ผมคิดว่าตรงนั้น จะเป็นตอนที่การดีเฟนด์ (Defend) คงจะลำบากพอสมควร เพราะว่าคนที่จะมีส่วนร่วม ในการไประดมความคิดตรงนั้นมันจะน้อย จะน้อยนะครับ แต่สภาของเรามัน ๒๕๐ คน ตรงนั้นก็จะใช้เวลาตรงนั้นมาก อันนี้ก็มีข้อดี แล้วก็มีข้อจำกัดของมันนะครับ แต่ถ้าหากว่า เราจะรวมกลุ่มกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ให้มันเหลือน้อยลง มันก็ดีเหมือนกัน ก็คือว่ามันเกิด ความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นย่อย ๆ นะครับ แต่ขณะเดียวกันมันก็จะดูได้แต่ภาพกว้าง แต่จริง ๆ แล้วการปฏิรูปคราวนี้มันมีเรื่องที่เราอาจจะต้องดูภาพกว้างหรือไม่นะครับ ให้มากนะครับ ส่วนรายละเอียดนั้นก็อาจจะเป็นเรื่องที่รองลงไปนะครับ ดังนั้น ในประเด็นนี้ ผมจึงมีข้อเสนอแนะอย่างนี้นะครับว่า อาจจะเป็นไปได้หรือไม่ อันนี้ฝาก ผมฝากทาง ท่านกรรมาธิการไปพิจารณานะครับว่า เดี๋ยวจะคุยนอกรอบอะไรต่าง ๆ จะปรับอย่างไร แบบที่ ๑ ก็คือว่าให้มีกรรมาธิการชุดย่อย ๆ อย่างนี้นะครับ อาจจะเป็น ๑๗ ชุด ๑๘ ชุด หรือ ๒๐ ชุด และพวกเราก็ลงไปอยู่ในแต่ละส่วน ๆ นะครับ แต่ว่ามีเงื่อนไขอันหนึ่งว่า ในแต่ละชุด ๆ นั้นให้มีการทำงานแบบคลัสเตอร์ (Cluster) เป็นกรุ๊ปกัน เป็นคลัสเตอร์กัน อย่างเช่นกลุ่มเศรษฐกิจเป็นคลัสเตอร์เศรษฐกิจมันอาจจะต้องมีการทำงานเชื่อมโยงกัน ทั้งเรื่องของเรียล เซคเตอร์ เรื่องของไฟแนนเชียล (Financial) เรื่องของอะไรต่าง ๆ ทั้งหลาย เรื่องบริการท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั้งหลาย อย่างนี้เป็นต้น หรือทางด้านสังคมก็อาจจะเป็นเรื่อง ของที่จะต้องมาทำ แต่ละอัน ๆ เป็นกรรมาธิการอยู่นะครับ แต่ว่าเวลาทำงานอาจจะต้อง เชื่อมโยงกัน เพราะว่ามันแยกกันไม่ขาดนะครับ อย่างเช่น สังคมผมก็ดูว่า อย่างสังคมแล้วก็ความมั่นคงของมนุษย์ อย่างสาธารณสุขนี่ครับ ระบบสาธารณสุข อันนี้ก็น่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกันได้ หรือแรงงานก็น่าจะอยู่ในมิติทางที่ใกล้เคียงกับตรงนี้ได้ หรือแม้แต่เรื่องของคุ้มครองผู้บริโภคที่คุณสารีได้เสนอนี่ครับก็อาจจะอยู่ในกรุ๊ปนี้ได้ อย่างนี้เป็นต้น นอกจากนั้นเราจะมีกลุ่มเป็นคลัสเตอร์เรื่องของการเมืองการปกครอง เรื่องของระบบคุณธรรมและธรรมาภิบาล เรื่องของความมั่นคง อย่างประเด็นเรื่อง ความมั่นคงนั้น ในคลัสเตอร์นี้ผมก็นึกถึงของคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรมใช่ไหมครับ หรือแม้แต่เรื่องของสื่อสารมวลชนกับไอที (IT) ผมก็นึกถึงว่า จะอยู่ในกลุ่มนี้นะครับ เรื่องของ กสทช. มันน่าจะอยู่ในกลุ่มนี้ อย่างนี้เป็นต้น เรื่องทรัพยากร สิ่งแวดล้อม พลังงาน ก็อาจจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งนะครับ อย่างนี้เป็นต้น ส่วนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่ทางท่านอาจารย์วินัยได้นำเสนอ ผมก็คิดว่าอันนี้มีความสำคัญที่จะเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มหนึ่งของเขาเลย กราบเรียนท่านประธานครับ ทีนี้ในส่วนที่ในขั้นตอนต่อไปผมเสนอว่า ทางกรรมาธิการรับฟังข้อเสนอแนะจากพวกเราแล้วให้ท่านไปใช้ดุลยพินิจ แล้วเราก็ มอบหมายให้ท่านด้วยความไว้วางใจนะครับ เชื่อมั่นในพลังในการทำงานของท่านทั้งหลาย และคราวนี้เมื่อกลับมาอีกทีหนึ่งเราน่าจะรับรองกันเป็นยกฉบับเลย ไม่ต้องมาลงรายละเอียด เป็นรายข้อ รายมาตราอีกแล้วครับ กราบเรียนครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญคุณอุบล หลิมสกุล ครับ

นางอุบล หลิมสกุล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางอุบล หลิมสกุล สมาชิก สปช. หมายเลข ๒๔๗ ภาคสังคม ดิฉันขอเสนอประเด็นสั้น ๆ ในข้อบังคับ ข้อ ๘๐ (๑๒) คณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ถ้าปฏิรูปสังคม ชุมชนนี่เราเข้าใจได้นะคะ แต่ถ้าต่อเนื่องไปถึงว่า แล้วเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสนี่เราจะทำอะไรกับกลุ่มคนเหล่านี้ คือดิฉัน มองว่าที่เราจะปฏิรูปที่มีกรรมาธิการ ๑๖-๑๗ คณะนี้ค่ะ เรามองไปข้างหน้าทั้งนั้น เรามองการปฏิรูป เรามองการพัฒนา แต่ในที่นี้สมาชิกทุกท่านคงยอมรับนะคะว่าไม่ว่าปฏิรูป หรือพัฒนาอย่างไร มันจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่ตกขอบจากสังคม เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดิฉันเสนอก็คือ เรื่องของการปฏิรูประบบหลักประกันทางสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนนะคะ จะผนวกเรื่องของเด็ก เยาวชนเข้าไปด้วยก็ได้ หรือจะพูดเป็นประชาชนไปเลยก็ได้นะคะ เพราะว่าในการสร้างหลักประกันก็คือการสร้างหลักประกันในการดำรงชีพของประชาชน การสร้างหลักประกันหรือการปฏิรูปหลักประกันก็คือการพัฒนาที่ระบบ อันนี้เพื่อนำไปสู่ การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เป็นเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปประเทศไทย ขอบพระคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ คุณเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง ครับ

นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิก ที่ทรงเกียรติ ผม เกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง นายกเทศมนตรีตำบลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กราบเรียนท่านประธานด้วยความเคารพครับ ผมนั่งฟัง พี่ ๆ เพื่อน ๆ ทุกท่านนั้นล้วนมีเหตุผลที่ดีมากนะครับ หลายเรื่องไม่ว่าเรื่องกรรมาธิการ ด้านต่าง ๆ การที่จะเขียนกรรมาธิการด้านต่าง ๆ ออกมานั้น นำเรียนด้วยความเคารพว่า เราต้องอิงเรื่องของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเป็นหลัก เขากำหนดชัดเจนครับให้พวกเรามี ๑๑ ด้าน และด้านอื่น ๆ แต่พวกเรายังมองผิดในรูปแบบหนึ่งว่าเราต้องมีด้านแตกออกไป ๑๗ ๑๘ ๑๙ ด้าน ผมมองว่าจะมากจะน้อยมันไม่สำคัญครับ สำคัญที่ความจริงใจว่า จะทำงานให้กับประชาชนไหม ท่านประธานครับ แตกออกไปเท่าไรนั้น สมมุติว่ามี ๑๑ ด้าน ตามที่เขากำหนดในรัฐธรรมนูญ แค่ ๑๑ ด้าน ท่านตั้งเป็นอนุลงไปสิครับ อยากทำงานด้านนี้ สมัครเป็นเยอะ ๆ แล้วก็ลงไปอนุทำงาน เอาคนนอกเข้ามา ใครเข้ามาเป็นอนุทำงานร่วมกัน ตอนนี้ประชาชนมองเราอยู่ว่าพวกเราทำงานสภาปฏิรูปนะครับ ไม่ใช่สภาผู้แทนราษฎร ต้องมองดี ๆ ครับท่านประธานครับ ความรู้สึกของผมว่าสภาแห่งนี้นั้น ทุกท่านที่เสนอ ความคิดเห็นนั้น ผมมองว่าเป็นความคิดเห็นที่ดีมาก ผมได้ฟังล้วนมีเหตุมีผล เราต้องทำ เราต้องเสนอคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนะครับ ซึ่งรัฐธรรมนูญนั้นต้องใช้ปกครอง ประเทศอีกระยะยาว เพราะฉะนั้นเราต้องคิดไตร่ตรองให้ดีว่าการที่เราจะกำหนดกรรมาธิการ ด้านต่าง ๆ นั้น ตามที่สภาปฏิรูปที่กำหนดไว้ว่า ๑๑ ด้านนั้นมีอะไรบ้าง เราอาจจะเพิ่มไปอีก แค่ด้าน ๒ ด้าน ในรายละเอียดผมเห็นแตกออกมาเยอะแยะมากมายครับท่านประธานครับ ทั้งที่มันเป็นหัวข้อเดียวกัน ไม่ว่าด้านพัฒนาสังคม สตรี เยาวชน มันก็อยู่ในด้านของ ทรัพยากรมนุษย์ นี่ยกตัวอย่างเท่านั้นเอง ท่านประธานครับ ถ้าไปเขียนกันมากความมันก็จะ ออกไปเรื่อย ๆ บางท่านก็มองว่าตั้งเยอะเท่าไรเป็นเรื่องดี ผมอยากถามกลับไปว่า ท่านมีความจริงใจจะทำไหม เท่านั้นเองครับท่านประธานครับ ถ้าเรามีความจริงใจนะครับ เรามาอยู่รวมกันครับว่า ๒๕๐ คน เราจะทำอย่างไรให้เชื่อมโยงกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ให้เขาสะท้อนความรู้สึกจริง ๆ ของเขาว่าเราจะปรับปรุงปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่นะ ๑. การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม ๒. ปราบทุจริตคอร์รัปชันไม่ให้มี ๓. ลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคม ให้มันมีความพัฒนาก้าวหน้าแบบยั่งยืน เราต้องคิดด้านใหญ่ ๆ ครับท่านประธานครับ คิดโครงสร้างใหญ่ ๆ ให้กับประเทศ เพราะเราถือว่าเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปที่เป็นความหวัง อันหนึ่งของพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นคณะกรรมาธิการที่เคารพครับ ผมไม่ได้ค้าน เรื่องคนนอก ๑ ใน ๔ หรือไม่ได้ค้านที่ท่านตั้งขึ้นมา ๑๗ ด้าน แต่ผมต้องขอขอบคุณคณะกรรมาธิการอย่างหนึ่งว่าท่านทำงานด้วยความรวดเร็ว ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อส่วนรวม แต่ตรงนี้ท่านพักแล้วให้ท่านนำข้อคิดไปคิดว่า โครงสร้างใหญ่ ๆ คิดเรื่องระยะยาว คิดเรื่องของประเทศชาติ บางครั้งหลายคนออกมา ความรู้สึกที่มันแตกต่าง อยากให้ตัดตรงนั้นตัดตรงนี้ ท่านต้องนำไปปฏิบัติ เพื่อที่ออกมาแล้ว ให้เป็นรูปร่างที่มั่นคงถาวร ผมเองนั้นได้รับการสะท้อนหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านดี และด้านไม่ดีในเรื่องของสภาปฏิรูปตั้งแต่วันแรก ผมเกิดความรู้สึกว่าทำไมเราไม่ใช่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่เราเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปเพื่อเสนอแนวคิดที่จะปฏิรูปประเทศ เพื่อให้ประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ปฏิรูปเพื่อคนใดคนหนึ่ง ไม่ปฏิรูปเพื่อองค์กรใด องค์กรหนึ่ง หรือกลุ่มคนใดคนหนึ่งครับท่านประธานครับ ผมถึงบอกว่าเราปฏิรูปเพื่อคน ๖๗ ล้านคน ปฏิรูปเพื่อประเทศชาติที่จะเดินก้าวหน้าต่อไป เพราะฉะนั้นผมอยากฝาก ตรงนี้ไว้ท่านประธานครับ ด้วยความเคารพครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านสุดท้ายนะครับ ท่านนิพนธ์ นาคสมภพ

นายนิพนธ์ นาคสมภพ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม นิพนธ์ นาคสมภพ จากด้านสื่อสารมวลชนนะครับ ผมคงมีเรื่องเรียน ๒ เรื่อง

นายนิพนธ์ นาคสมภพ ต้นฉบับ

เรื่องแรกนะครับ เป็นเรื่องตาม (๑๑) ผมเห็นด้วยที่ให้อยู่อย่างเดิมนะครับ กับท่านคณิต สุวรรณเนตร ไม่อยากให้เปลี่ยนอะไรไปมากกว่านี้

นายนิพนธ์ นาคสมภพ ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่งนะครับ เป็นเรื่องที่ท่านสารี อ๋องสมหวัง เสนอ เรื่องของ การคุ้มครองผู้บริโภค ผมถือว่าการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญมาก สำคัญระดับประเทศ สำคัญสำหรับคนในประเทศ เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคน ในประเทศ แต่จะตั้งขึ้นมาเป็น ๑ เรื่อง หรือว่าจะไปรวมกับข้อ ๙ ปฏิรูประบบสาธารณสุข ผมก็ไม่ว่า แต่ข้อเสนอของผมคือเราจำเป็นต้องมีเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนในประเทศนี้กินดีอยู่ดี ไม่ใช่อยู่กินกับสารพิษ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านกรรมาธิการจะประมวลแล้วให้ข้อคิดตรงนี้ไหมครับ ผู้อภิปรายหมดแล้ว

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ก็ขอขอบคุณท่านสมาชิกที่ได้ให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ กัน ประมาณสัก ๓๐ ท่านนะครับ ซึ่งก็เป็นข้อสังเกต ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ มีหลายส่วน ก็สอดคล้องกัน มีหลายส่วนก็แตกต่างกัน ผมจะขอเลือกอย่างประเด็นที่อาจารย์ดุสิต ถามเรื่องการมาชี้แจงต่อกรรมาธิการ อันนี้ขอเรียนว่ามีพระราชบัญญัติที่ออกมาในเรื่องของ การเรียกคนมาชี้แจง แต่เขาเรียกว่าพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ เพราะฉะนั้นด้วยนัยนี้ซึ่งผมอ่านแล้วก็คงจะ ไม่ได้ให้อำนาจกับเราเช่นเดียวกับที่ให้อำนาจกับ ส.ส. หรือ ส.ว. อย่างไรก็ดีในข้อบังคับก็ได้ กำหนดกระบวนการที่ประธานคณะกรรมาธิการแต่ละคณะสามารถจะมีหนังสือไปเรียก ขอเอกสาร หรือเรียนเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อคิดเห็น หรือคำชี้แจงได้นะครับ เพียงแต่ว่าอาจจะไม่สามารถไปมีบทลงโทษ เพราะฉะนั้นตรงนี้กระผมคิดว่าอยู่ที่การสร้าง ความสัมพันธ์แล้วก็การใช้มธุรสวาจา หรือการติดต่อประสานงาน ผมเชื่อเหลือเกินนะครับ ไม่มีส่วนราชการไหนที่จะไม่ให้ความร่วมมือกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ ถ้ามีเดี๋ยวผมจะ ออกข่าวให้ ผมว่าเขาเดือดร้อนแน่นะครับ อาจจะโดน คสช. ย้ายนะครับ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ต้องห่วงนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่ง เรื่องการเชื่อมโยงของกรรมาธิการที่มีท่านอภิปรายโดยข้อบังคับ แต่ละท่านอยู่ได้ ๒ กรรมาธิการ เพราะฉะนั้นถ้าเรามองดูอย่างการศึกษาซึ่งมีอยู่ประมาณ ๒๐ กว่าท่าน ใน ๒๐ กว่าท่านอยู่ในอีกทุกกรรมาธิการเลยนะครับ เพราะมันยึดโยง โดยอัตโนมัติอยู่แล้วว่า ในกรรมาธิการของท่านจะมีคนอย่างน้อย ๑-๒ คนไปอยู่ใน กรรมาธิการอื่น ๆ เกือบทุกคณะ อันนี้ก็เป็นอันหนึ่งที่ทำให้เกิดการยึดโยงหรือว่า ท่านสามารถที่จะประสานงานได้อย่างใกล้ชิดนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ผมขออนุญาตเพื่อไม่ให้เสียเวลามากนะครับ ไล่ข้อ ๘๐ นะครับ ตามที่ได้ ปรึกษาหารือกับท่านรองประธานทั้ง ๒ ท่าน และกรรมาธิการบางส่วนที่อยู่ที่นี่ ตลอดจน ท่านสมาชิก ที่ดีใจมากคือได้ข้อสรุปในเรื่องของคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ นี่นะครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้ติดค้างกันมาตั้งแต่เราเริ่มต้นที่จะจัดคณะกรรมาธิการ ต่าง ๆ ว่าควรจะมีภาระหน้าที่อะไรบ้าง วันนี้ก็ได้ข้อลงตัวซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นที่พอใจ ของทุก ๆ ฝ่ายนะครับ ก็ขอดูที่ข้อ ๘๐ นิดหนึ่งนะครับ ข้อ ๘๐ ในบรรทัดที่ ๓ ได้เรียนแล้วว่า ขอเพิ่มคำว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา แล้วก็มีผู้พูดถึงเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ๒ ท่าน ก็ได้หารือกันแล้วว่าในวรรคแรกของข้อ ๓๐ นี่เป็นสิ่งซึ่งเหมือนกับเป็นกฎเหล็ก ที่กรรมาธิการที่ตั้งขึ้น ๑๖-๑๗ คณะต่อไปนี้จะต้องยึดถือเป็นแนวทาง เป็นไกด์ไลน์ (Guideline) ในการดำเนินงานให้อยู่ในกรอบนี้นะครับ ไม่ว่าจะเรื่องอย่างที่ท่านประดิษฐ์ ได้กรุณาพูดถึง ๓ เรื่องที่มีความสำคัญในการปฏิรูป คือเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็นทางสังคมหรือทางเศรษฐกิจ เรื่องความเป็นธรรม แล้วก็อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบนะครับ ซึ่งทั้ง ๓ เรื่องนี้ก็จะไปสอดแทรก อยู่ในทุกกรรมาธิการ เพียงแต่เราเห็นความสำคัญของการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งมีภาคเอกชนจำนวนมากได้ดำเนินการในเรื่องนี้มาในระยะเวลา ๒-๓ ปี อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว แต่ว่ากรรมาธิการที่จะตั้งขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะนี่จะมุ่งเน้นไปสู่ การป้องกัน การป้องกันก็คือการออกกฎหมาย การไปดูสิ่งที่มันเป็นอยู่ในทุกวันนี้ว่า มันเกิดการประพฤติมิชอบ เกิดการทุจริตในระบบราชการและเอกชนได้อย่างไร ส่วนการปราบปรามนั้นหมายถึงการที่จะไปดูในเรื่องของหน่วยงานที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. ป.ป.ท. ต่าง ๆ ว่าเขาดำเนินการไปอย่างไร ควรจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เรื่องของกฎ ข้อบังคับอะไรต่าง ๆ อย่างไร อันนั้นก็เป็นเจตนารมณ์ที่ท่านที่มีความประสงค์ จะมาทำงานในด้านของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพราะฉะนั้นผมก็เลยขออนุญาตเติมนะครับ ในข้อ ๘๐ บรรทัดที่ ๖ ขจัดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม การคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน เพิ่มคำว่า การคุ้มครองผู้บริโภค ไปตรงนี้เพื่อให้เห็นความสำคัญอย่างที่ท่านสมาชิก ๒ ท่านได้อภิปรายว่าทุกกรรมาธิการจะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยนะครับ และในวรรคสอง ก็เติมคำเดียวก็คือ หากคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา เติมแค่นั้นนะครับ วิสามัญประจำสภา ในวรรคสอง บรรทัดแรก หากคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา คณะใดเห็นว่า ข้อ ๘๐ วรรคหนึ่งและวรรคสองก็เป็นไปตามนั้นนะครับ ในวรรคสาม อยู่หน้า ๑๕ เริ่มต้นในวรรคนำในส่วนนำของวรรคนี่ ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาสิบเจ็ดคณะ แต่ละคณะประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ไม่น้อยกว่าสิบสามคนแต่ไม่เกินยี่สิบเก้าคน และบุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่เกินจำนวน หนึ่งในสี่ของกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกของแต่ละคณะ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจากรายชื่อผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิก ก็ขอแก้คำว่า สมัครเป็นสมาชิก แก้เป็น ผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิก อย่างที่ท่านสมาชิกหลายท่านได้ให้ ข้อเสนอแนะนะครับ อันนี้ก็ยังไม่ถึงกับว่า คือเราต้องการเปิดกว้างไว้นิดหนึ่งนะครับ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งท่านประธานของเรา เป็นประธานอยู่ จะได้หาวิธีการที่มันลงตัวที่สุดในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานงานกับกรรมาธิการทุกคณะ เพื่อจะได้บุคคล ๕-๖ คน ที่จะมาช่วยงานของท่าน ในระดับกรรมาธิการ แต่ในระดับของอนุกรรมาธิการที่เราจะพบต่อไป มีหลายท่านเสนอเรื่อง อนุกรรมาธิการ เราได้เปิดช่องให้ท่านตั้งอนุกรรมาธิการได้ตามความเหมาะสมจะ ๔ คน จะ ๕ คน จะ ๖ คน โดยประมาณ แต่ละอนุกรรมาธิการเราเปิดให้ท่านตั้งคนได้ถึง ๑๕ คน เพียงแต่ท่านส่งกรรมาธิการของท่าน ๑ คนลงไปเป็นประธานเท่านั้นเอง อีก ๑๔ คน ท่านสามารถเชิญคนนอก เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ เชิญผู้มีความเชี่ยวชาญงานในด้านนั้น ๆ มานั่งทำงาน นั่นก็คือผู้ปฏิบัติงานจริง ผมเองทำงานวุฒิสภามาหลายปี เป็นประธาน คณะกรรมาธิการการพลังงาน งานที่ออกมาไม่ใช่งานที่ผมนั่งประชุมคณะกรรมาธิการ การพลังงานอาทิตย์ละครั้ง ๒ ชั่วโมง แต่เป็นงานที่อนุกรรมาธิการของผม ๔-๕-๖ คณะได้ไป ทำกันโดยที่ผมไม่เห็นเขาเลยว่าเขาไปทำกันตอนไหนอย่างไร พอหายไปสัก ๓ เดือน ๔ เดือน เขาก็มาเสนอว่าเรื่องพลังงานทดแทนเป็นอย่างนี้ เรื่องฟอสซิล เอนเนอร์จี (Fossil energy) เป็นอย่างนั้น จบ ก็รายงานสภา ก็ตั้งอนุกรรมาธิการใหม่ขึ้นมา ยกเลิกอนุกรรมาธิการนั้นไป ยืนยันได้ครับว่าผู้ทรงคุณวุฒิที่ท่านจะเชิญมาอยู่ในระดับ กรรมาธิการไม่ได้ทำอะไรสักเท่าไรหรอกครับ คือทำไม่ได้มากหรอก ก็จะเป็นผู้ให้ ความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะในการที่จะพินิจพิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากอนุกรรมาธิการ ทั้งหลาย ซึ่งเราก็ปรับอนุกรรมาธิการให้เปิดกว้างมาก เพียง ๑ ท่านเท่านั้นเองลงไปเป็น ประธาน ที่เหลือท่านตั้งใครก็ได้จากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดได้ถึง ๑๔ ท่านนะครับ ในส่วนของ กรรมาธิการเราจะปรับแก้ให้ท่านประมาณ ๕-๖ กรรมาธิการดังนี้นะครับ ในส่วนที่จะเติมคำว่า ด้าน ได้ปรึกษากันแล้วนะครับว่าขออนุญาตไม่เติม เพราะว่ามันได้ใจความอยู่แล้ว โดยสมบูรณ์ เราตัดคำว่า วิสามัญ ออกไป เราใช้คำว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง คำว่า ด้าน อยู่ในอำนาจหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทาง และข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปด้านการเมือง เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ได้ความของมันดีอยู่แล้ว ถ้าเติมด้านเข้าไปก็จะเป็นคำเกินแล้วก็ไม่ได้บอกอะไรที่มากขึ้น และในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูป ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) การเมือง ก็ไม่มีด้านหรอกครับ เขาก็เขียนไปเรื่อย (๑๐) สังคม (๑๑) อื่น ๆ เพราะฉะนั้นคำว่า ด้าน ก็อิมไพล (Imply) นะครับ ก็มีความหมายว่า ในเรื่องนั่นเองนะครับ เพราะฉะนั้นใน (๑) (๒) จนถึง (๕) ขอยืนไว้ตามเดิม แต่ตัดคำว่า วิสามัญ ออกจากทุกคณะ (๖) ขอตัดคำว่า เศรษฐกิจ ออกเพื่อให้สอดคล้องกับ (๗) ที่จะเกิดขึ้น ก็เป็น คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเงินและการคลัง ตัดคำว่า เศรษฐกิจ ออก ไม่ได้เพิ่มอะไร ตัดออกเฉย ๆ แล้วก็ตัดคำว่า เศรษฐกิจ ออกในอำนาจหน้าที่ด้วย (๗) ปรับแก้ ดังนี้นะครับ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร ตัดคำว่า และ ออก เขียนว่า อุตสาหกรรม ยังอยู่ การเกษตร ตัดออก ก็เป็น ปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ ใน (๗) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ อันนี้ก็ได้หารือกับฝ่ายเศรษฐกิจทุกท่านแล้วนะครับ รวมทั้งท่านดอกเตอร์พิสิฐ ลี้อาธรรม ด้วย ท่านก็ให้ความเห็นชอบนะครับ แล้วก็เอาไปทำไปเขียนในอำนาจหน้าที่ก็จะออกมา เช่นเดียวกันว่า เพื่อการปฏิรูปด้านการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยว และบริการ อันนี้ก็คือเรียล เซคเตอร์นะครับ รายสาขา ถ้าจะเขียนแค่รายสาขาบางท่าน ก็อาจจะเอ๊ะ การท่องเที่ยวหายไปไหน ท่านกอบกุลกลับไปแล้ว ท่านอยากให้ผมใส่ การท่องเที่ยวไว้ด้วยนะครับ ก็นี่ต้องเอาใจคนนั้นเอาใจคนนี้บ้าง เล็ก ๆ น้อย ๆ นะครับ อย่างไรก็งานเหมือนเดิมนะครับ (๘) (๙) (๑๐) ไม่มีแก้ไขนะครับ (๑๑) อันนี้เอาใจ ทหารอากาศนะครับ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชน กิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ กิจการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศก็แก้ใน อำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันนะครับ ก็มีท่านถามนะครับ ผมอ่านให้ฟังสักนิดหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้าน การสื่อสารมวลชน กิจการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย มีท่านถามว่าสัมฤทธิ์ผลนี่มันแปลว่าอะไรนะครับ ก็ขออนุญาตเรียนว่าท่านจะต้องเสนอแนะต่อสภาว่าท่านจะทำการศึกษาเรื่องอะไร และมีเป้าหมายอย่างไร เมื่อท่านไปทำการศึกษาแล้ว เมื่อท่านจบภารกิจนั่นแหละผมก็ถือว่า สัมฤทธิ์ผลตามภารกิจที่ท่านกำหนดไว้นะครับ อาจจะไปไม่ถึงดวงดาว ไปไม่ถึงที่จะปฏิรูปให้ ลดความเหลื่อมล้ำไปได้อย่างที่ท่านตั้งใจไว้ แต่ก็สัมฤทธิ์ผลในระดับหนึ่งนะครับ มันเกิดความสำเร็จนะครับ แต่เขียนให้เป็นศัพท์ที่อ่านดูแล้วขลังหน่อย ๆ นะครับ ต่อไป (๑๒) (๑๓) (๑๔) ขอไว้อย่างเดิม (๑๕) เหมือนเดิม (๑๖) เหมือนเดิม (๑๗) คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คุณนิมิตอยู่หรือเปล่าครับ คุณนิมิตทวง ใครทวงทรัพย์สิน ทางปัญญาครับ ก็แถมให้นะครับ (๑๗) คณะกรรมาธิการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา วิจัยและนวัตกรรมก็นำไปใส่ในอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกัน ต่อจาก เทคโนโลยีก็ใส่ทรัพย์สินทางปัญญา ต่อไป หากมีความจำเป็นสภาจะตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาเพิ่มขึ้นหรือลดจำนวนคณะกรรมาธิการลงเมื่อไดก็ได้ อันนี้ง่ายเลยนะครับ เสนอเป็นญัตติในสภาว่าอยากจะตั้งเพิ่มหรือที่ตั้งมาแล้วมันทำงานไม่ได้จะลดอย่างไร ก็คิดว่า สามารถดำเนินการได้ภายใน ๗ วันไม่ยาก ไม่ต้องไปแก้ข้อบังคับ อันนี้ทำได้เลยนะครับ วงเล็บต่อไปครับ สมาชิกคนหนึ่งจะดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้ไม่เกิน สองคณะ ก็ขอยืนไว้ ๒ คณะ เว้นแต่สมาชิกที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภา ให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้หนึ่งคณะ ผู้เป็นประธานก็ทำได้ ๑ คณะ สำหรับสมาชิกผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการของคณะกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภาจะดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาอื่น อีกมิได้ เป็นได้ ๒ คณะ แต่เป็นเลขาได้คณะเดียวนะครับ ผู้ซึ่งเป็นกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญอาจดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้ไม่เกินหนึ่งคณะ แต่จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในคณะกรรมาธิการคณะนั้นมิได้ ก็ตัดแค่นี้นะครับ ที่เหลือตัดออก ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องให้ความสำคัญกับการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันดับแรก ก็ตัดออกไปนะครับ วรรคสุดท้ายของข้อ ๘๐ เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาจะดำเนินการศึกษา อันนี้มีผู้ถามด้วยความสงสัยนิดหน่อยว่าที่เขียนไว้ชัดเจนหรือไม่ เพราะฉะนั้นประเด็นก็คือว่า เมื่อเราเริ่มจะศึกษาเรื่องใด หรือจะเสนอแนะเรื่องอะไรให้เกิดการปฏิรูปในเรื่องใด ๆ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภารายงานให้สภาทราบ คือรายงานให้สภาทราบว่า เราจะศึกษาเรื่องอะไร และให้รายงานความคืบหน้าให้ทราบทุก ๆ ๑ เดือน การรายงานอันนี้ ก็รายงานเป็นเอกสาร คุ้มครองผู้บริโภคเอาไปไว้เป็นภารกิจให้กับทุกคณะเลยอยู่ในข้อ ๘๐ วรรคหนึ่ง อันนี้เป็นอันว่าจบข้อ ๘๐ ครับ ท่านประธานครับ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ จะอภิปรายอีกหรือเปล่าครับ อภิปรายพอแล้วนะครับ เพราะปิดแล้ว เชิญครับ

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ เพื่อนสมาชิก ผม วสันต์ ภัยหลีกลี้ สปช. ด้านสื่อสารมวลชน มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง (๑๑) นิดหนึ่งครับ คือ (๑๑) จริง ๆ ในด้านสื่อสารมวลชนเคยอภิปรายกันมาแล้วว่าคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันนี้ครอบคลุมถึงเรื่องของ กสทช. แล้วก็ครอบคลุมถึงงาน เกี่ยวกับทางด้านโทรคมนาคม แต่ว่าเราคุยกันว่าถ้าหากว่างานทางด้านโทรคมนาคมถ้าเป็น ในเชิงของวิทยาศาสตร์ เป็นในเชิงของเพียว เทคโนโลยี (Pure technology) ก็ให้ไปอยู่ใน กลุ่ม ๑๗ ครับ (๑๗) แต่ถ้าหากว่าเกี่ยวพันกับเรื่องของคอนเทนท์ (Content) เกี่ยวกับ เนื้อหา เกี่ยวกับการกำกับดูแล เรกกูเลชัน (Regulation) ต่าง ๆ ก็ให้อยู่ในตรงกลุ่มนี้ ดังนั้น คิดว่าไม่ควรจะต้องเพิ่มเติมคำว่า กิจการโทรคมนาคม เข้าไปในตรงนี้นะครับ

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ครับ ท่านประธานและเพื่อนสมาชิกครับ ผมคิดว่าประเด็น เรื่องการกีฬาอาจจะเป็นประเด็นที่ค่อนข้างจะยิบย่อย หรือว่าเล็กน้อยควรจะตัดออกไป มี เพื่อนสมาชิกอภิปรายในเรื่องนี้อยู่จำนวนมาก

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขออนุญาต ได้ไหมครับคุณวสันต์ ผมคิดว่าถ้าอภิปรายต่อไม่จบ เพราะว่าเดี๋ยวต้องลงมติเป็นรายข้อ เลยครับ รับหรือไม่รับ เพราะว่า ถ้าอย่างนี้เท่ากับเปิดอภิปรายรอบใหม่ เพราะว่าความเห็น ที่ได้เสนอมาแล้วกรรมาธิการได้รับและปรับ เพราะฉะนั้นขออนุญาตได้ไหมครับ เดี๋ยวจะลงมติเป็นรายข้อ เพราะถ้าไม่รับก็ต้องว่ากันใหม่ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ คุณสารีเช่นเดียวกันหรือเปล่าครับ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ต้นฉบับ

นิดหนึ่งค่ะท่านประธาน เรียนท่านประธาน สารี อ๋องสมหวัง คือดิฉันจริง ๆ ก็ต้องขอบคุณที่ไปเพิ่มด้านหน้าเป็นพรีแอมเบิล (Preamble) ว่ามีเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคนะคะ แต่ดิฉันก็อยากจะให้เพิ่ม (๑๘) ก็คิดว่าอันนี้อยากให้ กรรมาธิการเปลี่ยนใจ ขอบคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ตรงนี้ยกมือครับ ประเด็นอภิปรายใหม่หรือเปล่าครับ เชิญครับ

นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ต้นฉบับ

ผมใช้เวลานิดเดียวครับ ซึ่งเป็นสาระสำคัญมาก ที่คุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ พูดนะครับ เรียนท่านประธานแล้วก็กรรมาธิการนะครับ ถ้ารบกวน แก้กิจการโทรคมนาคมได้ดีซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ แต่ว่าไม่ควรอยู่ในกิจการสื่อสารและเทคโนโลยี เพราะว่าเป็นเรื่องเนื้อหา พวกผมวงการสื่อถูกตั้งคำถามจากสังคมเยอะในเรื่องคุณภาพข่าว แล้วก็การกำกับดูแลจริยธรรม ผมอยากจะให้คณะนี้พุ่งเป้าไปในเรื่องที่เป็นสาระสำคัญ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพสื่อโดยตรง เพราะฉะนั้นกิจการโทรคมนาคมมันโยงกับโครงข่าย แล้วก็เป็นโลจิสติกส์ เพราะฉะนั้นน่าจะแยกออกไปให้ออกจากด้านเนื้อหานะครับ ผมเสนอไว้แค่นี้ ต่อรองกรรมาธิการหน่อยครับก่อนลงมติ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คุณประเสริฐ ชิตพงศ์ อีกคนหนึ่งครับ

นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ กระผม ประเสริฐ ชิตพงศ์ จังหวัดสงขลา ขออนุญาตนิดเดียวท่านประธานครับ ใน (๑๗) ที่ท่านเลิศรัตน์ ต้องขออภัยนะครับ ได้บอกว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา วิจัยและนวัตกรรม ผมอยากจะขออนุญาตเปลี่ยนว่าเป็น ปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา จะได้ไหมครับ เพราะว่าทรัพย์สินทางปัญญามันเป็นสุดท้ายของ ทุกอย่างต้องวิจัยก่อนนวัตกรรมเกิดขึ้นแล้วถึงจะไปจดทรัพย์สินทางปัญญา อยากเอา ทรัพย์สินทางปัญญาไปไว้ท้ายครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ผมคิดว่านี่เปิดอภิปรายใหม่อีกรอบหนึ่งแล้ว คงต้องปิดอภิปรายมันไม่ได้แล้วล่ะ เชิญท่านกรรมาธิการครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ตอนนี้ไม่อภิปรายครับ ตอนนี้ใช้เวลา นิด ๆ ครับ เพื่อรีไฟน์ (Refine) นะครับ ตกลงในส่วนของกิจการโทรคมนาคม ท่านคณิต ติดใจไหม ถ้ามาอยู่ที่ข้อ ๑๗ ผมขออนุญาตนิดเดียวครับ ใช้เวลาไม่เกิน ๔-๕ นาที แล้วจบครับ

พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม พลอากาศเอก คณิต สปช. หมายเลข ๒๗ ครับ ติดใจครับ อยากอยู่ข้อ ๑๑ ครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

อยากอยู่ข้อ ๑๑ แต่ข้อ ๑๑ ทางคุณวสันต์ ยืนยันว่าไม่ต้องใส่ก็ทำให้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องใส่

พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร ต้นฉบับ

ปัจจุบันผมทำงานเป็นเลขานุการ ประธาน กสทช. มา ๓ ปี เทอมท่านอีก ๓ ปี ผมทราบปัญหาครับ คุณวสันต์ไม่ได้อยู่ กสทช. ขออภัยที่เอ่ย

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

คุณวสันต์คงไม่เป็นอะไรกระมังครับ ใส่เกิน นิดหน่อยครับ

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ต้นฉบับ

ขออนุญาตครับท่านประธาน เพื่อนสมาชิกครับ คือจริง ๆ เรื่องนี้มีการคุยกันในคณะกรรมาธิการด้านสื่อสารมวลชนมาแล้วนะครับ ก็มีการแยกกันชัดเจนครับว่าถ้าเป็นเทคโนโลยีหรือว่าวิทยาศาสตร์ทางด้าน กิจการโทรคมนาคมก็ให้ไปอยู่ (๑๗) แต่ว่าถ้าเป็นเรื่องของเรกกูเลชัน เรื่องของคอนเทนท์ หรือเนื้อหา การกำกับดูแลซึ่งจะเกี่ยวโยงกับเรื่องจริยธรรม เรื่องของการสื่อสาร เนื้อหาของ การสื่อสารให้อยู่ใน (๑๑) นะครับ คือไม่ได้ตกหล่นครับ อยู่ แล้วก็ยังเห็นพ้องกันด้วยครับว่า ชื่อใช้ชื่อว่าสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศก็เพียงพอครับ ขอบพระคุณครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ท่านคณิตขอไปอยู่ที่ ๑๗ ได้ไหมครับ

พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ในมือของผมนี่เป็น พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ผมขออนุญาตอ่านคำจำกัดความ ของกิจการโทรคมนาคม

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขออนุญาต แบบนี้ได้ไหมครับ ผมคิดว่าพักการประชุมสักระยะหนึ่ง แล้วตกลงกับกรรมาธิการท่านที่ ยังมีปัญหาอยู่ ผมคิดว่าจะง่ายที่สุด ถ้ามิฉะนั้นก็ต้องใช้วิธีลงมติเป็นรายบรรทัดเลยละครับ เอาอย่างนั้นดีไหมครับ เพราะว่าถ้าค้างอยู่อย่างนี้

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

นิดเดียวจบแล้วครับท่านประธานครับ ผมยืนยันว่าจบครับ ไม่เกิน ๔-๕ นาที ดีกว่าพักครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

โอเค เชิญครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

อันนี้ก็ขอตัดออกไปแล้วกันนะครับ ตามที่ ทางด้านสื่อสารมวลชนเขายืนยันนะครับ ส่วนของคุณสารีเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคมีผู้เสนอ มาให้อย่างนี้ว่าคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิพื้นฐานของประชาชน เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการเน้นตรงนี้ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันในเรื่องความเหลื่อมล้ำเหมือนกัน ขอไปเติมใน (๓) คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและสิทธิพื้นฐาน ของประชาชน กฎหมายรับได้ไหมครับ กฎหมายไม่รับนะครับ คือต้องคุยกันอย่างนี้ แป๊บเดียวครับ ผมใช้เวลาท่านประธานไม่มากละครับ อันนี้เป็นข้อเสนอมา ไม่รับ ข้อ ๓ ก็อยู่อย่างเดิมนะครับ และอันสุดท้ายมีอีกไหมครับ ไม่มีแล้วครับ ท่านประธานครับ ถ้าเผื่อสมาชิกติดใจตรงไหนก็ต้องโหวตละครับ เรื่องกีฬามีท่านหนึ่งเสนอมาว่า มีความสำคัญน้อยให้เอาออกไป ถ้าท่านประธานจะเปิดโอกาสให้ฝ่ายสนับสนุนกีฬาพูดสัก ๒ คนได้ไหมครับ คนละสัก ๒-๓ นาที เพราะเขายังไม่ได้พูดเลยแล้วก็โหวต ผมคิดว่า ต้องโหวตแน่เรื่องกีฬา

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ผมเข้าใจว่า ต้องโหวตทุกข้อเลย มันไม่ใช่เฉพาะกีฬา ดังนั้นโหวตจะดีที่สุด เชิญคุณเสรีอีกท่านหนึ่ง

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ คือกราบเรียนท่านประธานอย่างนี้ครับว่า ตอนที่เราคุยกัน ตกลงกันไว้ ก็คือหมายความว่าให้สมาชิกได้อภิปรายไปให้ทั่วแล้ว แล้วหลังจากนั้น กรรมาธิการจะมาปรับแก้นะครับ ถ้าส่วนไหนรับได้ก็จะแก้ แล้วมันก็ผ่านมาเยอะแล้ว และส่วนไหนที่มันติดจริง ๆ นะครับ ก็ขอให้แขวนแล้วไปคุย แต่ตอนนี้ท่านประธานเลิศรัตน์ กับผมก็พยายามจะเคลียร์ แล้วก็จะจบตรงนี้แล้วนะครับ เพียงแต่ว่ามันอาจจะติดอยู่ อีกนิดหน่อย อย่างเช่นของคุณสารีนะครับ ก็ต้องทำความเข้าใจกับท่านเท่านั้นเองว่า ที่ท่านจะตั้งกรรมาธิการชุดใหม่นั้นมันเป็นภารกิจที่ต้องอยู่ในทุกคณะอยู่แล้ว เขาก็เลยไปใส่ ไว้ในข้อ ๘๐ ไม่ใช่ว่าไม่ให้ความสำคัญคุ้มครองผู้บริโภคนะครับตรงนี้ต้องพูดกันให้ชัด ไม่ใช่ว่าไม่ให้ความสำคัญ แต่ให้ความสำคัญให้ทุกคณะ ต้องรับผิดชอบดูแลเรื่องคุ้มครอง ผู้บริโภคในทุก ๆ คณะ นี่ประการที่ ๑

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ เรื่องที่มีสมาชิกขอตัดกรรมาธิการกีฬา ในส่วนนี้ยังไม่มี คนที่อภิปรายในเรื่องว่าควรให้มี เพราะเห็นว่าให้สมาชิกพูดให้ทั่วนะครับ แล้วถ้าเกิด มันตกลงกันได้รับกันได้ก็ไม่ต้องพูดกัน ถ้าหากว่าท่านสมาชิกยังติดใจให้ตัดอย่างนี้ ผมว่ามันก็ต้องพูดกันให้เข้าใจกันนะครับ นิดเดียวนะครับ แต่จริง ๆ เท่าที่ผ่านมาหมดแล้ว ท่านประธานครับ ข้อนี้คงไม่ต้องลงมติอะไร คงติดเรื่องของท่านสารีนิดหนึ่ง แล้วก็กรรมาธิการกีฬาเท่านั้นเองครับ อันอื่นหมดแล้วครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เอาเป็นว่า คุณสารี แล้วใครก็ตามที่สนับสนุนให้มีปฏิรูปการกีฬา ๒ คน เชิญคุณสารีครับ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน ดิฉันก็คิดว่าพอจะ ไปอยู่ที่กรรมาธิการกระบวนการยุติธรรมเขาก็ไม่เห็นด้วย ซึ่งจริง ๆ การปฏิรูปกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ถ้าฝั่งผู้บริโภคเราคิดว่าก็คือต้องปฏิรูปกระบวนการทำกฎหมาย ในรัฐสภา จากบทเรียนขององค์กรผู้บริโภคก็คิดว่าเป็นเรื่องของการปฏิรูปกระบวนการ ทำกฎหมายในรัฐสภา หรือแม้กระทั่งการที่ผู้บริโภคเองติดคุกแทนค่าปรับอย่างนี้ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่ามันก็มีเนื้อในทุกเรื่องเห็นด้วยนะคะ เพราะฉะนั้นก็คิดว่ามันก็คงยาก แล้วดิฉันต้องพูดว่าเราพูดกันเยอะเรื่องกรอบใหญ่ แต่ขณะที่ถ้าเราดูการอภิปรายหรือฟัง การอภิปราย ดิฉันคิดว่าเรายังคิดแบบเศรษฐกิจแบบเดิม เรายังคิดเศรษฐกิจแบบเดิมทั้งหมด เพราะฉะนั้นดิฉันว่าเรื่องกีฬา ดิฉันคิดว่าเรื่องกีฬาคือดิฉันก็ไม่อยากจะเปรียบเทียบว่า มันใหญ่มันเล็กหรือมันอะไร แต่ดิฉันคิดว่าเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคถ้ามันสามารถไปอยู่ในเนื้อ ของทุกคณะ แล้วต้องมีข้อเสนอเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในแต่ละคณะ จริง ๆ ดิฉันก็คิดว่า ถ้าทำได้แบบนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ฟังดูแล้วแม้กระทั่งจะเอาเรื่องผู้บริโภคไปอยู่กระบวนการ ยุติธรรม เขาก็ยังไม่สนใจเลย เพราะฉะนั้นมันจะเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร ดิฉันคิดว่าการปฏิรูป ครั้งนี้เราคงไม่ได้คิด ดิฉันคิดว่าทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจก็ต้องเปลี่ยนทิศทางของการที่จะทำ ในด้านต่าง ๆ ก็ต้องเปลี่ยน เพราะฉะนั้นดิฉันก็คิดว่าเราก็ไม่ควรจะยึดติด การที่จะมี กรรมาธิการขึ้นมาอีก ๑ คณะ เพื่อทำเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคโดยภาพรวมก็อาจจะมี ความสำคัญ ขอบพระคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ต่อไปนะครับ เดี๋ยวอาจจะต้องลงมติ เมื่อสักครู่ผมจะถามว่า มีท่านใดสนับสนุนให้มีปฏิรูปการกีฬา ๒ ท่าน เพราะตามที่ท่านเสรีเสนอ ท่านยกจะพูดใช่ไหมครับ จะรอให้เขาพูดก่อนไหมครับ เพราะท่านขอเขา ถูกไหม พลเอก ยุทธศักดิ์ครับ

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ กระผม พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ขอเรียนว่า ตามปกติผมจะไม่ค่อยอภิปรายนะครับ แล้วก็จะไม่พูด แต่ในฐานะที่เป็นคนกีฬา แล้วก็เป็น ประธานองค์กรกีฬาแห่งชาติในองค์กรกีฬาสากลด้วย ก็จะขออนุญาตในช่วงนี้นะครับ พูดให้เข้าใจถึงความสำคัญของการปฏิรูปด้านกีฬาให้สมาชิกได้รับทราบโดยผ่าน ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาตินะครับ คือก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ กระบวนการในการทำงานปฏิรูปได้เริ่มต้นไปแล้วไม่น้อยกว่า ๕ เดือนนะครับ โดยคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้กับคนในชาตินั้นได้ดำเนินการตาม โรดแมพ (Roadmap) ของ คสช. ในระยะที่ ๑ แล้ว แล้วได้ผลผลิตออกมาเป็นข้อมูล การปฏิรูปในด้านต่าง ๆ จากแนวความคิดของประชาชนหลากหลายอาชีพจากทุกภาคส่วน แล้วได้สรุป ได้วิเคราะห์เป็นกรอบแนวทางการปฏิรูปรวม ๑๑ ด้าน เสนอให้สภาปฏิรูป แห่งชาตินำไปพิจารณาต่อในโรดแมพระยะที่ ๒ ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าแนวทางการปฏิรูป ทั้ง ๑๑ ด้าน ได้มีความชัดเจนในตัวเองว่าจะปฏิรูปในเรื่องอะไรบ้าง เว้นการปฏิรูปด้านอื่น ๆ ซึ่งต้องมีการขยายเพิ่มเติมว่าจะเสนอให้ปฏิรูปในด้านอื่น ๆ ในเรื่องหรือประเด็นอะไรกันบ้าง ผลสรุปออกมาว่ามี ๑๐ ประเด็น ซึ่งประเด็นที่คณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุข ให้กับคนในชาติให้ความสำคัญระดับหนึ่งเป็นพิเศษก็คือประเด็นเรื่องด้านกีฬา ซึ่งคณะทำงานได้ชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาและกรอบความเห็นร่วมว่าควรจะมีแนวทาง การปฏิรูปในสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง ที่กระผมได้เรียนท่านประธานวันนั้น ก็เพื่อที่จะยืนยันว่าเรื่องกีฬาเป็นเรื่องที่สำคัญในมุมมองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ผ่านทางคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้กับประชาชาชนในชาติของ ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป หรือที่เรียกว่า ศปป. ซึ่งได้ดำเนินการทบทวนข้อมูล จากหนังสือรายงานการวิจัย เอกสารและบทความที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลจาก ประชาชน ทั้งโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมย่อย การเสวนา การรับข้อมูลผ่านทาง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ รวมทั้งจดหมาย ไปรษณียบัตร แล้วข้อคิดเห็นจากองค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ แล้วได้นำมาสังเคราะห์เพื่อให้เกิดกรอบความเห็นร่วม และในฐานะที่ ผมเป็นคนกีฬาแล้วก็เป็นประธานขององค์กรการกีฬาตัวแทนประเทศไทยในกระบวนการ โอลิมปิกสากล ผมจึงเห็นถึงความจำเป็นแล้วก็เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมีคณะกรรมาธิการ ประจำสภาในด้านกีฬาตามแนวทางที่คณะทำงานเตรียมการปฏิรูปได้เสนอไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ครับ

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานไว้ว่า การกีฬาเป็นสิ่งที่มีจุดประสงค์พื้นฐานที่จะส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง และสามารถที่จะแสดงฝีมือในเชิงกีฬาเพื่อความสามัคคีแล้วเพื่อให้คุณภาพของมนุษย์ดีขึ้น การกีฬานับว่ามีความสำคัญในทางอื่น ๆ ด้วย คือในทางสังคมทำให้ประเทศชาติได้หันมา ปฏิบัติสิ่งที่มีประโยชน์ ทำให้สามารถที่จะอยู่เป็นสังคมอย่างอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งเป็นสิ่งที่ ก่อให้เกิดความเจริญของบ้านเมือง ฉะนั้นการกีฬามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชีวิต ของแต่ละคนและชีวิตของบ้านเมือง และจะส่งเสริมความสามัคคีในประเทศชาติ นี่เป็นพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครับ ซึ่งเวลานี้ประเทศเรา ก็ต้องการความรัก ความปรองดอง และรู้รักสามัคคี

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถจะใช้กีฬาสร้างรายได้ อย่างจำนวนมาก และพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมกีฬา เป็นงานที่มีส่วนแบ่งทางการตลาด ขนาดใหญ่เป็นลำดับต้น ๆ ของธุรกิจโลก ซึ่งเราได้พบแล้วว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจรวมมากกว่า ๔ แสนล้านเหรียญสหรัฐ และการขยายตัวในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาเป็นอัตราส่วน ร้อยละ ๒๐ ต่อปี สหรัฐอเมริกานะครับ เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีกีฬาใหญ่เป็นอันดับ ๑ ของโลก มูลค่าการตลาดมากกว่าปีละ ๒๑๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ ๒ ของจีดีพี ส่วนในภูมิภาคเอเชีย ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรม กีฬาใหญ่ที่สุด มูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ ๘ แสนล้านหยวน หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ สำหรับประเทศไทยควรที่จะได้เริ่มต้นอุตสาหกรรมกีฬา ได้แล้วนะครับ ณ บัดนี้เป็นต้นไป

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ต้นฉบับ

ข้อที่ ๓ ครับ สำหรับประเทศไทยการบริหารจัดการด้านกีฬาประสบปัญหา หลายด้าน ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรที่เกิดจากการรวมด้านการท่องเที่ยว และกีฬาเข้าด้วยกัน โดยคิดว่ากิจการทั้ง ๒ ด้าน ควบรวมกันได้ แต่ในความเป็นจริงกิจกรรม ทั้ง ๒ อย่างมีเพียงบางส่วนที่สามารถดำเนินการไปด้วยกันได้เท่านั้นเอง เรื่องที่ ๒ ปัญหา การจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงอุดมศึกษา จำนวนชั่วโมงพลศึกษา ที่เคยมีมาแต่ในอดีต ขณะนี้หายไปแล้วครับ หลักสูตรการเรียนปกติไม่เหมาะกับการส่งเสริม นักกีฬา โดยเฉพาะกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาอาชีพ

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ ปัญหากฎหมายด้านการกีฬาโดยเฉพาะด้านภาษี ซึ่งขณะนี้ กำลังเข้าอยู่ที่ สนช. ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว และอยู่ในคณะกรรมาธิการของ สนช. อยู่ในขณะนี้ ปัญหาการนำแผนการพัฒนากีฬาแห่งชาติสู่ภาคปฏิบัติไม่บรรลุเป้าหมาย เราจะเห็นได้ว่า แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ เมื่อปีที่แล้วทั้ง ๖ ยุทธศาสตร์ ไม่มียุทธศาสตร์ใดเลย บรรลุเป้าหมาย แม้แต่ยุทธศาสตร์เดียว ซึ่งจะต้องทำแผนพัฒนากีฬา ฉบับที่ ๕ ในสมัยที่เรา กำลังจะดำเนินการต่อไป ปัญหาการไม่สามารถนำนักกีฬามาสร้างรายได้ หรือพัฒนาเป็น อุตสาหกรรมกีฬาเช่นกับประเทศอื่น ๆ จากความสำคัญและปัญหาต่าง ๆ ทั้ง คสช. ทั้ง สปช. และภาครัฐนี่ครับ ควรจะได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเหล่า ทุกระดับได้รับประโยชน์สูงสุดร่วมกันจากการใช้กีฬา เป็นเครื่องมือผลักดันสังคมไทย รวมกันสร้างโอกาสสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศในการพัฒนาในทุกด้าน เฉกเช่นเดียวกับประเทศที่ได้พัฒนา ไปแล้วทั่วโลก ดังนั้นการปฏิบัติด้านการบริหารจัดการที่เราควรจะเร่งรีบทำ อย่างน้อย ก็ควรจะรีบดำเนินการในเรื่องใหญ่ ๆ ๓ ประการคือ ๑. ผลักดันแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๙ ทั้ง ๖ ยุทธศาสตร์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ เรื่องที่ ๒ ก็คือต้องส่งเสริมด้านโครงสร้างพื้นฐานของด้านการกีฬา และวัตถุประสงค์ที่ ๓ ที่จะต้องเร่งรีบทำก็คือการส่งเสริมการกีฬาให้พัฒนาเป็นอุตสาหกรรมกีฬา เพื่อความอยู่ดีกินดี และการมีรายได้ของประชาชน ท้ายนี้นะครับ ผมขอเรียนว่านายกรัฐมนตรีได้กล่าว ในรายการคืนความสุขให้กับประชาชนในชาติเมื่อ ๒ สัปดาห์ที่แล้วว่ากีฬาเป็นเรื่องที่ นำความสุข นำรอยยิ้มและความภาคภูมิใจมาให้กับประชาชนคนไทยทุกคน และขอเน้นย้ำ เรื่องการพัฒนากีฬาให้มีความก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืนโดยเร็ว และในสุดท้ายผมก็ขอฝาก กับท่านสมาชิกทุกท่านว่าความเป็นชาตินิยม ความภาคภูมิใจ ความสุขใจของคนทั้งชาติ เมื่อได้เห็นธงชาติไทยถูกชักขึ้นและเพลงชาติไทยดังขึ้นในมหกรรมกีฬาของโลก สิ่งเหล่านี้ เป็นงานของพวกเราทุกคนที่จะต้องทำครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ มีอีกท่านไหมครับ เชิญท่านเสรีครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินะครับ คือผมสนับสนุนในเรื่องกีฬา แล้วก็ตั้งใจจะอภิปรายตั้งแต่แรก แต่ไม่อยากไปขัดท่านสมาชิกที่กำลังอภิปรายกันอยู่ แต่ก่อนที่จะอภิปรายเรื่องกีฬานะครับ เพื่อความสบายใจของคุณสารีนะครับ ท่านประธานครับ เมื่อสักครู่ที่ปฏิเสธว่าคณะกรรมาธิการกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม อยากจะแยกส่วนของคุ้มครองผู้บริโภคไป สาเหตุสำคัญก็คืองานปฏิรูปกฎหมาย กับกระบวนการยุติธรรมนี่มันมากมายมหาศาล ถ้ามารวมทำไม่ไหว แต่โดยส่วนที่เป็นสมาชิก ส่วนตัวผมก็เข้าใจว่าคุณสารีเป็นบุคคลซึ่งต่อสู้เรื่องคุ้มครองผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน ตลอดชีวิต แล้วประเทศไทยเราก็มีการเอารัดเอาเปรียบกันอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดมา ผมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในฐานะสมาชิกก็ไม่ทราบว่ากรรมาธิการจะคิดอย่างไร ผมก็ขอเห็นด้วยกับคุณสารีในการที่จะตั้งกรรมาธิการอีกคณะหนึ่งนะครับ แต่ส่วนจะได้ สำเร็จหรือไม่สุดแต่ที่ประชุม ถ้ามีใครคัดค้านก็คงต้องลงมตินะครับ ถ้าเห็นควรประการใด ก็อยู่ที่ประชุมตัดสินใจแล้วกันนะครับ จะได้หมดประเด็นนี้

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

ส่วนเรื่องกีฬานั้นไม่ยาว นิดเดียวครับ ผมต้องเรียนว่าจากการที่ท่านสมาชิก เห็นร่างข้อบังคับให้มีกรรมาธิการในส่วนของกีฬาดูเหมือนสั้น ๆ นั้นนี่นะครับ แล้วก็ดูเหมือน มีสาระสำคัญน้อย ด้วยความเคารพนะครับว่า ผมคิดว่าเรื่องของการกีฬาในประเทศไทยนั้น เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น เรื่องของการกีฬานั้นเป็นเรื่องสำคัญ ของทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกันมาตลอด ประเทศไทยต้องปฏิรูปเรื่องกีฬา เนื่องจากว่า การให้ความสำคัญน้อยดังกล่าว ทำให้นักกีฬาของประเทศเราเวลาไปแข่งขันกับ ประเทศอื่น ๆ นั้นมักจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร การกีฬาคือความยิ่งใหญ่ ของประเทศ ประเทศมหาอำนาจแสดงออกซึ่งความมหาอำนาจนั้นในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่การสู้รบด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่เป็นการสู้รบในทางกีฬา ถ้าหากว่าประเทศไหน ได้ชัยชนะ ได้เหรียญทอง ได้เหรียญจากการแข่งขันและชนะมาก แสดงว่าประเทศนั้น เป็นประเทศที่เจริญ เป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ เป็นประเทศที่ยอมรับ ดังนั้นมันทำให้เห็นถึงสุขภาพของประชาชนในชาติ แต่ประชาชนคนไทยของเราที่เป็น นักกีฬานั้น ใช้ความสามารถส่วนบุคคลกันมาเสียส่วนใหญ่ เรากินน้ำพริกปลาทูแล้วก็ ไปแข่งกับเขา ไม่มีการสนับสนุนที่ดีอย่างจริงจังอย่างเต็มที่ แต่ไปได้เหรียญทองมาได้เงิน เป็นล้าน ได้รางวัลมหาศาล ไปดีอกดีใจตอนที่เขาชนะมาแล้ว แต่ก่อนที่เขาจะไปแข่งขัน ให้ความสำคัญน้อยมาก นี่คือปัญหาของการกีฬาในประเทศไทย ดังนั้นจึงกราบเรียนนะครับว่า การกีฬานั้นผมเห็นด้วยครับในฐานะเป็นสมาชิกคนหนึ่ง เห็นควรว่ามันเป็นความยิ่งใหญ่ของ บ้านเมืองของประเทศจากการแข่งขันที่ผ่านมา ปรากฏว่าเราได้เหรียญทอง ได้เหรียญ การแข่งขันน้อย แต่ประเทศไทยเราไปได้พาราลิมปิก (Paralympic) ไปได้จากผู้ที่พิการ แข่งขันได้จำนวนมาก นี่คือสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ให้เห็นครับ ผมจึงกราบเรียนครับว่า การกีฬาในประเทศไทยนั้นควรต้องมีการปฏิรูปกันอย่างยกใหญ่ ถ้าหากว่าเราจะต้องการให้ ประเทศเราเป็นมหาอำนาจหรือมีความเจริญเทียบเคียงกับประเทศที่เขาเจริญรุ่งเรืองกัน มาก ๆ จึงขอสนับสนุนนะครับว่าให้มีคณะกรรมาธิการกีฬาเพื่อที่จะปฏิรูปให้การกีฬาของเรา เจริญมากขึ้น แต่ผลจะเป็นประการใดก็สุดแต่สมาชิกจะพิจารณาด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ต่อข้อเสนอในการขอจัดตั้งคณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น คณะกรรมาธิการไม่ขัดข้องนะครับ ก็แล้วแต่ท่านสมาชิก มีท่านสมาชิกที่จะคัดค้านก็ขอดูมือหน่อยครับ มีใครไม่เห็นด้วยไหมครับ ไม่มีนะครับ ผมก็ขอ เพิ่มเติมนะครับ เป็น (๑๘) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย แล้วก็ขอย้อนกลับไปที่ข้อ ๘๐ ในวรรคสาม หน้า ๑๕ ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาสิบแปดคณะ แต่ละคณะ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสิบสามคนแต่ไม่เกินยี่สิบเจ็ดคน จำนวนต้องลดลง เพราะคณะเพิ่มขึ้นนะครับ แต่ไม่เกิน ๒๗ คน และบุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิก อันนี้ที่เหลือ ก็เหมือนเดิม ก็ขออนุญาตกราบเรียนปรับแก้ตามนี้ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

จะอภิปราย ไหมครับ ไม่สามารถอภิปรายได้อีกแล้วนะครับ จะพูดว่าอะไรครับ เชิญครับสั้น ๆ นะครับ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ณรงค์ พุทธิชีวิน สปช. ครับ ผมยังยืนยันว่าเห็นความสำคัญของการกีฬา แต่ไม่ถึงกับต้องมีอยู่ใน คณะกรรมการปฏิรูปประเทศในขณะนี้ ขอเสนอเป็นประเด็น

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

อย่างนี้ จะอภิปรายไม่ได้หรอกครับ ขอประทานโทษเถอะครับ คือคงต้องพิจารณาข้อ ๘๐ ด้วยการพิจารณาลงมติทีละวรรค อันนี้ต้องเช็กองค์ประชุมก่อนใช่ไหม ท่านเกริกไกรครับ

นายเกริกไกร จีระแพทย์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม เกริกไกร จีระแพทย์ สมาชิกหมายเลข ๑๔ นะครับ ก่อนที่ท่านจะให้ลงมติ ผมขอความกระจ่าง จากท่านกรรมาธิการว่า ข้อ ๕ และข้อ ๖ ขณะนี้จะอ่านว่าเช่นไร ข้อที่เกี่ยวกับกรรมาธิการ เศรษฐกิจ การเงิน การคลัง กับข้อที่ท่านเพิ่ม ตัด และเอาพาณิชย์เอาบริการไปใช้ในข้อ ๕ และข้อ ๖ กับข้อ ๗ นั้น ในที่สุดแล้วที่ท่านเสนอนั้นถ้อยคำเป็นเช่นไร

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ที่จริงผมอ่าน ไปแล้วชัดเจน ก็อ่านให้ท่านฟังนิดเดียวครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ เป็นข้อ ๖ กับ ข้อ ๗ ครับ ท่านเกริกไกรครับ ไม่ใช่ ๕ กับ ๖ นะครับ ข้อ ๖ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเงินและการคลัง ชื่อจะเป็นอย่างนั้น แล้วก็ (๗) คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ

นายเกริกไกร จีระแพทย์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผมจะไม่บอกว่า ผมรู้สึกอย่างไรกับความรวดเร็วของการเสนอเรื่องนี้นะครับ แต่ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า ในขณะนี้ไม่มีคำว่า เศรษฐกิจ ในคณะที่ ๖ และที่ ๗ เลย ในขณะที่รัฐธรรมนูญกับ เจตนารมณ์ในการที่จะต้องปฏิรูปนั้นมีคำว่า เศรษฐกิจ เป็นแม่อยู่ เพราะฉะนั้นตอนนี้ เรากำลังมองต้นไม้ตัวแม่หายไป ท่านจะทำอย่างไรที่จะเอาตัวแม่กลับมา ท่านจะสพลิท (Split) เป็น ๒ หรือ ๓ ผมคิดว่าความแตกต่างไม่อยู่ที่จำนวน มันอยู่ที่วิธีการที่จะประสาน เข้ามาเป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างไร เนื่องจากเราไม่ได้ไปดูตัวต้น ตัวปัญหา ตัวปรัชญา ทำให้กลไกที่เราดีไซน์ (Design) ออกมานั้นมันจะมากมายก่ายกองตามความน่าสนใจ เพราะฉะนั้นผมอาจจะรับตรงนี้ได้ แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่าทางเศรษฐกิจจะต้องมีอยู่ตรงไหน เพื่อไม่ให้เราเกิดปัญหาในการทำงานเราในอนาคตครับ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ผมเห็น อาจารย์นรีวรรณยกมือหลายหนไม่ทราบจะพูดอะไรสักอย่าง ขอสั้น ๆ ได้ไหมครับ แต่ไม่อภิปรายใหม่นะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ ขอติดพันนิดเดียวครับ ๑๐ วินาทีครับ ข้อ ๖ ก็เป็นใช้ชื่อเดิมครับไม่ต้องแก้ไข คณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลังครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญอาจารย์นรีวรรณครับ

นางนรีวรรณ จินตกานนท์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ดิฉันจะพูดก็ประเด็นเดียวกับ ท่านเกริกไกร ขออภัยที่ต้องเอ่ยนามท่านนะคะ เพราะว่าเศรษฐกิจมันอยู่รัฐธรรมนูญ แล้วคำนี้ คงจะหายไปไม่ได้นะคะ ขอบพระคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ผมจะขออนุญาต เรียนถามสมาชิกเป็นรายวรรคนะครับ ขออนุญาตเรียนถามด้วยการยกมือเป็นรายวรรค ข้อ ๘๐ วรรคแรก มีการแก้ไขในบรรทัดที่ ๖ ที่เริ่มจาก ขจัดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม มีการเพิ่มเติม การคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แล้วก็ต่อไปเหมือนเดิม ถ้ารับได้ กรุณายกมือครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ครับ เนื่องจาก ได้ไปตั้งเป็นกรรมาธิการให้แล้วนะครับ ก็ขอเอาข้อความนี้ออกนะครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เป็นอันว่า กรรมาธิการขอคงไว้ตามร่างเดิม ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ วรรคแรกของข้อ ๘๐ ตามร่างเดิมถ้าเห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ เดี๋ยวสับสนนิดหนึ่งครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ผมยกแล้วครับ เดี๋ยวครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

มิได้ ท่านประธานครับ ร่างเดิมนี่หมายความว่า เติมคำว่า กรรมาธิการประจำ มีอยู่ ๒ จุดนะครับ วรรคแรกมี ๑ จุดนะครับ กรรมาธิการ บรรทัดที่ ๓ วิสามัญประจำ นะครับ มีเพิ่มไปครับท่านประธานครับ เดี๋ยวจะร่างเดิม เดี๋ยวมันจะกลับไปที่เดิมครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เอาใหม่นะครับ กรรมาธิการได้ขอแก้ในข้อ ๘๐ วรรคแรก บรรทัดที่ ๓ ด้วย เพิ่มเติมว่า คณะกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภา แล้วต่อไป ให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อไปเหมือนเดิม ความที่แก้แล้วนี้ท่านสมาชิกที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

โอเค คงเป็น ข้างมากแล้วนะครับ ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๒ ท่านครับ ถัดไปวรรคสองมีการเพิ่มเติม หากคณะกรรมาธิการ กรรมาธิการขอเติมว่า วิสามัญ ประจำสภาคณะใด จากนั้นเหมือนเดิม วรรคนี้ท่านที่เห็นด้วยกับร่างของกรรมาธิการ ที่ปรับแล้ว กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๑ เสียงครับ เชิญอาจารย์ตรึงใจครับ

นางตรึงใจ บูรณสมภพ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานค่ะ มันจะมีข้อ ๗๙ นะคะ ที่เมื่อตัดคำว่า วิสามัญ ออกแล้วจะต้องแก้ไขเวิร์ดดิ้ง (Wording) ในวรรคสอง เพราะว่า ถ้าท่านอ่านนะคะ บรรทัดแรกโอเค คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งสภา ตั้งจากสมาชิกของสภาเท่านั้น ส่วนคณะกรรมาธิการเราจะต้องมีคำจำกัดความว่า ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกจะมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการประจำสภา และคณะกรรมาธิการวิสามัญ ต้องแก้ข้อ ๗๙ ด้วยค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขออนุญาต เราจะเดินหน้าต่อไปนะครับ จะไม่ย้อนหลัง

นางตรึงใจ บูรณสมภพ ต้นฉบับ

แล้วอันนี้คนอ่านก็จะไม่เข้าใจ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ผมคิดว่าขณะนี้ เราไปข้อ ๘๐ ถ้าจะข้อ ๗๙ เดี๋ยวขอกรรมาธิการเรส (Raise) ประเด็นนี้ขึ้นมานะครับ เพราะเป็นการแก้ไขถ้อยคำนะครับอาจารย์ ขอประทานโทษนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

และสุดท้าย เราถามรวบยอดอีกทีนะครับ อาจารย์ครับ ถัดไปวรรคสาม มีการแก้ไขดังนี้นะครับ ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาสิบแปดคณะ แต่ละคณะประกอบด้วยสมาชิก จำนวนไม่น้อยกว่าสิบสามคนแต่ไม่เกินยี่สิบเจ็ดคน และบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่เกิน จำนวนหนึ่งในสี่ของกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกของแต่ละคณะ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจากรายชื่อผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิก โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ ทันนะครับ ท่านที่เห็นด้วยกับร่างที่กรรมาธิการแก้ไขแล้ว กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๗ คนนะครับ จากตรงนี้จะเป็นรายข้อ (๑) มีการแก้โดยการเอาคำว่า วิสามัญ ออก คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการเมือง ท่านที่เห็นด้วยกับร่างกรรมาธิการ กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีท่านที่ไม่เห็นด้วย ไหมครับ กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไม่มีนะครับ (๓) คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไม่มีนะครับ (๔) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๕) คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๑ คนครับ ๑ เสียงไม่เห็นด้วยนะครับ (๖) คณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๒ ท่านนะครับ (๗) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรมพาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ ท่านที่เห็นด้วยกับร่างที่กรรมาธิการแก้ไข กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๘) คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปพลังงาน ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๙) คณะกรรมาธิการ ปฏิรูประบบสาธารณสุข ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไม่มีนะครับ (๑๐) คณะกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไม่มีนะครับ (๑๑) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชน กิจการโทรคมนาคม ตัดแล้วใช่ไหมครับ อันนี้ (๑๑) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๒ ท่านนะครับ (๑๒) คณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๒ ท่านครับ (๑๓) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงาน ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๑ ท่านนะครับ (๑๔) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไม่มีนะครับ (๑๕) คณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๓ ท่านครับ (๑๖) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการกีฬา ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไม่เห็นด้วย ๒๑ ท่าน (๑๗) คณะกรรมาธิการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา วิจัยและนวัตกรรม ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ขออนุญาตครับ เมื่อสักครู่ มีผู้แก้ขอเอาคำว่า และทรัพย์สินทางปัญญา ไปไว้ท้ายใช่ไหมครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีผู้เสนอ และกรรมาธิการว่าอย่างไรครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เพราะฉะนั้น ก็จะเป็นชื่อ (๑๗) คณะกรรมาธิการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา ถูกไหมครับ ขออีกครั้งนะครับ ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือ กับชื่อนี้ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๑ ท่านนะครับ อันนี้มีที่เพิ่มขึ้น (๑๘) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ช้านิดนะครับ ๕ ท่านครับ วรรคถัดไปนะครับ หากมีความจำเป็นสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาเพิ่มขึ้นหรือลดจำนวนคณะกรรมาธิการลงเมื่อใดก็ได้ ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไม่มีนะครับ วรรคถัดไปนะครับ ตรงนี้มีการแก้ไขเฉพาะวลีสุดท้ายของวรรค ตั้งแต่ ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องให้ ความสำคัญกับการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันดับแรก เอาออก ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไม่มีนะครับ ขอโทษนะครับ ช่วยส่งเสียงด้วย เพราะผมไม่ค่อยเห็นตรงนี้สักทีเดียว ขอโทษทีนะครับ วรรคท้ายของหน้า ๑๖ นะครับที่ว่า เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ท่านที่เห็นด้วย กรุณายกมือขึ้นครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านที่ไม่เห็นด้วย กรุณายกมือครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ไม่มีนะครับ ทีนี้ต่อข้อ ๘๑ เชิญท่านเลขาธิการครับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๘๑ การดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาตามข้อ ๘๐ ให้ที่ประชุมตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่ง และให้สมาชิกแต่ละคนแสดงความจำนง โดยยื่นต่อคณะกรรมาธิการสามัญตามแบบที่คณะกรรมาธิการสามัญกำหนด เพื่อที่จะ ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้ไม่เกินสามคณะ โดยเรียงตามลำดับ ความต้องการ ในกรณีที่คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาคณะใดมีสมาชิกยื่นแสดง ความจำนงจะดำรงตำแหน่งไว้น้อยกว่าหรือเกินกว่าจำนวนที่จะมีได้ในคณะกรรมาธิการ คณะนั้น ให้ใช้วิธีเฉลี่ยโดยหารือกับสมาชิกที่เกี่ยวข้องหรือใช้วิธีจับสลาก ทั้งนี้ การบรรจุ สมาชิกในคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภานั้นให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกแก่สมาชิก ที่ได้รับการสรรหามาในด้านนั้น ๆ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การเลือกคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ให้ที่ประชุมสภาพิจารณา เลือกจากรายชื่อสมาชิกที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมาธิการสามัญตามวรรคหนึ่ง

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาคณะใดที่มีจำนวนกรรมาธิการ ไม่น้อยกว่าสิบสามคน ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ทันที

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ในข้อ ๘๑ นี่เนื่องจากว่าในการปฏิบัติงานก็อาจจะ ทำให้การบรรจุพวกเราเข้าไปสู่กรรมาธิการทำได้ไม่ครบถ้วน ถ้ายื่นข้อเสนอเพียง ๓ คณะ ก็เพียงแต่อยากจะขอให้ท่านกรอกสัก ๔ คณะนะครับ ให้ท่านเลือกมา ๔ คณะ ๑ ๒ ๓ ๔ ตามลำดับ แล้วกรรมาธิการก็จะบรรจุท่านลงใน ๒ คณะ ก็ขอแก้ในวรรคแรกของข้อ ๘๑ บรรทัดที่ ๔ ได้ไม่เกิน ๔ คณะ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

รับได้นะครับ ถัดไปครับ ท่านเลขาธิการ ข้อ ๘๒

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๘๒ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในระหว่างคณะกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภาคณะต่าง ๆ ที่อาจมีความไม่ชัดเจนหรืออาจมีความซ้ำซ้อนกันอยู่ และทำให้เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการตามภารกิจ ให้เป็นอำนาจของ ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาและประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาว่าจะให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาคณะใด มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ประธานสภากำหนด

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๘๓ ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติขึ้น คณะหนึ่งมีจำนวนไม่เกินยี่สิบแปดคน ประกอบด้วยประธานสภาเป็นประธาน คณะกรรมาธิการ รองประธานสภาคนหนึ่งซึ่งประธานสภามอบหมายเป็นรองประธาน คณะกรรมาธิการ ผู้แทนคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาตามข้อ ๘๐ วรรคสาม ทุกคณะ คณะละหนึ่งคน และเลขาธิการเป็นกรรมาธิการ และให้ที่ประชุมสภาเลือกสมาชิกสภาจาก ตัวแทนในแต่ละด้านอีกไม่เกินแปดคน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คณะกรรมาธิการวิสามัญตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) พิจารณาเรื่องอื่นใดตามที่สภามอบหมายหรือตามที่ประธานสภา มอบหมาย

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) ตรวจรายงานการประชุมและพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการเปิดเผย รายงานการประชุมลับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) ตรวจสอบการไม่แสดงตนของสมาชิกตามมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๙ (๕) ของรัฐธรรมนูญ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๔) กระทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมาธิการอื่นของสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๕) ประสานงานระหว่างสภากับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกิจการของคณะกรรมาธิการ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๖) ประสานงานกับคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทุกคณะและสมาชิก เกี่ยวกับการพิจารณารายชื่อสมาชิกหรือบุคคลใด ๆ ที่จะเสนอให้ที่ประชุมสภาเลือกเป็น กรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญตามข้อ ๘๕ ข้อ ๑๐๒ และข้อ ๑๓๑ แล้วแต่กรณี เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมและเป็นธรรม

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๗) การประสานงานระหว่างคณะกรรมาธิการซึ่งจะเรียกบุคคลมาชี้แจงตาม ข้อ ๘๙ และข้อ ๙๐ เพื่อลดภาระของผู้มาชี้แจง

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๘) เสนอแนะต่อประธานสภาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบงานสภา และการดำเนินกิจการในด้านต่าง ๆ ของสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๙) เสนอแนะต่อประธานสภาเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑๐) ให้มีการจัดตั้งศูนย์รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน เกี่ยวกับการปฏิรูปและการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อรวบรวมข้อมูลส่งคณะกรรมาธิการ วิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๘๔ ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญดังต่อไปนี้

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) คณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามและให้ข้อเสนอแนะการยกร่าง รัฐธรรมนูญ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) คณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และรูปแบบอนาคตประเทศไทย

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานค่ะ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิก ในข้อ ๘๓ เมื่อสักครู่ท่านประธานไม่ได้แก้ตัวเลขให้เป็นจาก ๒๘ เป็น ๒๙ ยังอ่านตัวเลขเดิม เนื่องจากว่าเรามีคณะกรรมาธิการเพิ่มขึ้นอีก ๑ คณะ เป็น ๑๘ คณะ ตัวเลขจะต้องเป็น ๒๙ คน ไม่ใช่ ๒๘ คน ท่านเลขาธิการไม่ได้แก้ไข เพราะว่า ถ้าดิฉันฟังผิดขออภัย แต่ว่าไม่ได้แก้นะคะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ถูกไหมครับ เพราะฉะนั้นข้อ ๘๓

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ขออนุญาตครับ ท่านประธานครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ที่ท่านกอบกุลขอแก้ไขนั้นถูกต้องแล้วนะครับ คือเนื่องจาก มีกรรมาธิการเพิ่มขึ้นเป็น ๑๘ คณะ ก็จึงเพิ่มจำนวนเป็น ๒๙ คนครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญครับ ท่านครับ

นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ดิฉัน พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ สมาชิก สปช. ค่ะ ดิฉันมีข้อที่จะตั้งข้อสังเกตผ่านท่านประธานไปยัง คณะกรรมาธิการยกร่าง ในข้อ ๘๔ (๒) ที่ท่านจะกำหนดให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญ จัดทำวิสัยทัศน์และรูปแบบอนาคตประเทศไทย ดิฉันยังไม่เข้าใจว่ากรรมาธิการชุดนี้ จะมีหน้าที่ในการทำอะไร แล้วก็กลไกในการปฏิบัติหน้าที่จะเป็นอย่างไร เพราะว่าในความคิด ของดิฉันนี่ดิฉันคิดว่าวิสัยทัศน์และรูปแบบอนาคตของประเทศไทยนี่ควรจะเป็นสิ่งที่ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้งหมดจะต้องได้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะมีความเข้าใจ หรือว่า มีความตกลงร่วมกันว่าเราจะกำหนดรูปแบบอนาคตของประเทศไทยไปในลักษณะ อย่างไรบ้างนะคะ สำหรับเป็นจุดเริ่มต้นในการที่จะทำงาน แล้วก็ก่อนที่จะแยกย้าย ออกไปเป็นกรรมาธิการต่าง ๆ เพราะว่าเราจะได้มีจุดร่วมอันเดียวกันว่าประเทศไทยในอนาคตที่เราคิดกันไว้ควรจะเป็น อย่างไร แล้วก็การทำงานของกรรมาธิการทุกกรรมาธิการนั้นก็ควรจะมีจุดร่วมอันเดียวกัน ก็คืออนาคตในประเทศไทยที่เราทุกคนได้รับทราบ แต่ถ้าเผื่อว่าแยกออกมาเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งจะจัดทำรูปแบบและรูปแบบอนาคตประเทศไทย แล้วถ้าเผื่อ ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมาธิการทั้ง ๑๘ คณะ ดิฉันคิดว่ามันก็ไม่สามารถที่จะมา รวมศูนย์ มาเกิดอิมแพคท์ (Impact) ที่ชัดเจนขึ้นมาได้ ก็ขอเรียนถาม ขอบคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญท่านประธานครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ที่ท่านสมาชิกท่านพรพันธุ์ได้อภิปรายนั้น ถูกทุกอย่างเลยที่ท่านพูดตรงประเด็นเป๊ะเลย แล้วก็ตรงกับแนวคิดของเราด้วย เพียงแต่ ที่ยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดของกรรมาธิการวิสามัญ เพราะว่าต้องการเปิดให้ คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เขียนรายละเอียดเพิ่มเติม คือเนื่องจากเป็นข้อบังคับถ้าไปเขียนละเอียดทุกเรื่องมันก็จะดูเยิ่นเย้อ เพราะฉะนั้น ในความหมายของข้อ ๘๔ (๒) คือคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้จะประกอบด้วยผู้แทนจาก คณะกรรมาธิการทั้ง ๑๘ คณะ ๑๘ คนมานั่งเบรนสตอร์มมิ่ง (Brainstorming) แล้วก็ไปเชิญ นักอนาคตทั้งหลาย สถาบันอนาคตประเทศไทย สภาพัฒน์เขาบอกมีเต็มไปหมดเลย วางไว้ ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไปดึงมาเลยมาทำงานร่วมกัน ใช้เวลาประมาณสัก ๒ เดือน จากนั้นก็จะได้ วิชัน ได้ไทยแลนด์ เท็น เยียร์ส ฟรอม นาว (Thailand ten years from now) ทเวนตี้ เยียร์ส ฟรอม นาว (Twenty years from now) แล้วทั้งหมดนี้ก็ทำเป็นเปเปอร์ (Paper) ก็ส่งกลับให้กับทั้ง ๑๘ คณะ ที่จะเป็นทิศทางอันหนึ่งให้มองเห็นว่าอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรา ที่จะเดินไปสู่จุดนั้น มันก็ตรงกับที่คุณหมอพรพันธุ์ได้พูดทุกอย่าง เพียงแต่ผมไม่ได้เขียน รายละเอียดขององค์ประกอบอันนี้ไว้เท่านั้นเองครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญต่อครับ เรื่องเดิม เชิญครับ

นางพรพันธุ์ บุญยรัตพันธุ์ ต้นฉบับ

ต่อเนื่องค่ะ กราบเรียนท่านประธาน ดิฉัน พรพันธุ์ บุญยรัตพันธุ์ สมาชิก สปช. ดิฉันขอบพระคุณท่านประธานคณะกรรมาธิการ ยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ได้อธิบาย แต่ดิฉันก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ดีว่า ถ้าหากว่าเราทั้งหมดจะได้รับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทยจากผู้เชี่ยวชาญ ประมาณในอีก ๒ เดือนข้างหน้า ซึ่งในระยะนั้นก็คือระยะเวลาพอดีกันกับที่เราจะต้องให้ ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นมันก็ไม่ทันกับการทำงาน ของคณะกรรมาธิการแต่ละกลุ่ม แต่ละคณะกรรมาธิการ ดิฉันอยากจะเรียนยกตัวอย่าง ขออนุญาตท่านประธานนะคะ อย่างคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ดิฉันเองก็อยากจะรู้ว่า ในอนาคตประเทศไทยจะมีระบบการสาธารณสุขที่จะทำให้ประชาชนมีสุขภาวะอย่างเต็มที่ ในลักษณะอะไร อันนี้ดิฉันน่าจะได้รู้จากในอนาคตของประเทศไทยท่านกำหนดไว้หรือไม่ ว่าประชาชนคนไทยในอนาคตจะมีลักษณะอย่างไร ประเทศไทยจะมีเศรษฐกิจเป็นอย่างไร จะมีระบบการปกครองเป็นอย่างไร อะไรทำนองนี้ อันนี้น่าจะเป็นสิ่งที่เราได้รับทราบก่อน เพราะฉะนั้นดิฉันค่อนข้างที่จะเห็นว่ามันไม่น่าจะใช่เป็นในลักษณะของกรรมาธิการวิสามัญ ทำงานตามปกติ แต่ควรจะเป็นสัก ๑ หรือ ๒ เซกชัน ที่ระดมสมองของการมีส่วนร่วมจาก ๒๕๐ ท่าน ในสภาปฏิรูปในขณะนี้ ท่านอาจจะทำได้ในช่วงที่เราจะไปสัมมนากัน หรือใช้วาระ การประชุมในวันธรรมดาสัก ๒ ครั้ง ๒ วันเต็ม ๆ ที่จะระดมสมอง ท่านอาจจะเชิญ ผู้เชี่ยวชาญที่จะมองอนาคตอะไรต่าง ๆ ก็เชิญมานั่งให้เป็นที่ปรึกษาหารือของเราก็ได้ แต่ดิฉันคิดว่าข้อมูลทั้งหมดนี้เราควรจะได้ทราบก่อนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ วิสามัญประจำ สปช. ในแต่ละชุดค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขออนุญาต ขยายความสักนิดหนึ่ง เดี๋ยว ๆ รายชื่ออภิปรายอยู่บนนี้แล้ว ๔ ท่าน กรุณาเข้าชื่อต่อแถว เลยนะครับ ผมอยากขยายความคุณพรพันธุ์นิดหนึ่ง เตรียมการอยู่แล้วที่จะขอให้ท่านทั้งหลาย ๒๕๐ ท่านได้มีโอกาสได้แสดงตรงนี้ แล้วก็จะประมวลเป็นวิสัยทัศน์เบื้องต้นนี่สัปดาห์หน้า เขากำลังเวียนแจกแบบสอบถามอยู่ วันต้องปรับนิดหนึ่ง ขอใช้เวลาตรงนี้เพื่ออธิบาย เพราะว่ามันอยู่ในไลน์ (Line) แล้วเกิดความสับสน เนื่องจากวันที่ ๘ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ เราจึงปรับไปเป็นวันที่ ๙ และ ๑๐ ซึ่งวันที่ ๑๐ ก็จะกินเวลาประชุมของสมาชิกสภาปฏิรูป ๑ ครั้ง อาจจะต้องปรับไปเป็นวันที่ ๑๑ ก็คงจะเท่านั้นนะครับ แบบสอบถามกรุณากรอกด้วย ทีนี้กระบวนการเรื่องนี้ กรอบการทำงานอย่างไรก็ตามกรรมาธิการทุกชุดจะเริ่มเมื่อได้ วิสัยทัศน์ทั้งหมดเรียบร้อยจากชุดนี้แล้วมันเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นระยะต้นก็จำเป็นต้องหา ข้อมูลอะไรก็ตามเสริมเข้าไปก่อนแล้วก็รัน (Run) คู่ขนาน ส่วนตัววิสัยทัศน์และออกแบบ อนาคตประเทศไทยจริง ๆ แล้วมันคงต้องตามมา ผมคิดว่าเนื่องจากกรอบเวลาทำงาน ของเรานี้มันเป็นเช่นนี้นะครับ เพราะฉะนั้นกำลังเร่ง แล้วก็จะพยายามให้การตั้งกรรมาธิการ ชุดนี้เพื่อจะดูเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เอาอย่างนั้นสบายใจขึ้นไหมครับ เพราะว่าทั้งหมดนี่ มันอยู่ในกรอบนี้แล้วละ แล้วเรารู้ปัญหาทั้งหมดด้วยกันพร้อมกัน ท่านที่เข้าชื่ออภิปราย ตอนนี้ ๔ ท่านนะครับ ท่านไพโรจน์ พรหมสาส์น ท่านบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คุณดุสิต เครืองาม คุณธวัช สุวุฒิกุล อภิปรายข้อ ๘๔ นะครับ เชิญท่านไพโรจน์ครับ

นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ต้นฉบับ

ขออนุญาตครับท่านประธานครับ กระผม ไพโรจน์ พรหมสาส์น สปช. ครับ ผมขอย้อนนิดเดียวพอดีผมยกมือตอนข้อ ๘๓ แล้วไม่ทันนะครับ คือผมสงสัยเพียงนิดเดียว ขอคำตอบจากคณะกรรมาธิการกิจการสภา บรรทัดสุดท้ายของวรรคข้อ ๘๓ ที่บอกว่าในวรรคแรก และให้ที่ประชุมสภาเลือกสมาชิกสภา จากตัวแทนในแต่ละด้านอีกไม่เกิน ๘ คน ก็ในเมื่อเรามี ๑๘ คนจากแต่ละคณะแล้วทำไม จะต้องมี ๘ คนนี้อีกนะครับ ขอคำตอบครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ผมพยายามจะ ไม่ย้อนหลัง อันที่จริงเรื่องนี้อภิปรายไปแล้ว แล้วขออนุญาตให้ท่านตอบสั้น ๆ ก็แล้วกัน ไหน ๆ ท่านลุกแล้ว

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ครับ กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ เหตุผลก็คือว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นคณะที่มีภาระหน้าที่มาก แล้วก็ต้องการบุคคลที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นองค์ประกอบจึงประกอบด้วยท่านประธาน ท่านรองประธาน ๑ ท่าน ท่านเลขาธิการก็เป็น ๓ แล้วนะครับ บวกอีก ๑๘ ผู้แทนจาก ๑๘ คณะ ผู้แทนจาก ๑๘ คณะนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นประธาน บางคนก็ส่งประธานมาบางคนก็ส่งเลขามา บางคนก็ส่งนาย ก นาย ข มาก็เป็นสิทธิของท่านที่จะส่งใครไปอยู่ในนั้นก็รวมกัน เป็น ๒๑ เหตุผลที่ขอตั้งอีก ๘ เนื่องจากว่ามีภาระหน้าที่เยอะ ท่านจะเห็นนะครับมากมาย แล้วก็ในแต่ละคณะนี้อาจจะมีคนที่เหมาะสมมากกว่า ๑ คน คนที่ชอบงานแบบนี้เราจึง เปิดช่องให้ที่ประชุมแห่งนี้เลือกเพิ่มอีก ๘ คนจากผู้สมัครใจ เราก็จะประกาศรับสมัครว่า ใครต้องการจะเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติในส่วนกลาง ก็สมัครเลย และที่ประชุมก็โหวตให้เหลือ ๘ คน ไปเติมลงตรงนั้นเป็น ๒๙ คน เวลามาประชุมทีก็ติดธุระบ้างอะไรบ้างเหลือ ๒๐ คน แล้วมีหน้าที่เยอะครับ ทุกเรื่องเกี่ยวกับ การประสานงานต่าง ๆนะครับ แล้วหน้าที่ที่กำหนดไว้ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรายงาน หรืออะไรต่าง ๆ เดี๋ยวเขาก็ต้องตั้งจากคนพวกนี้ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมเราจึงเพิ่มขึ้นอีก ๘ คน ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ก่อนที่ท่านที่ผม อ่านรายนามไปแล้วจะอภิปราย ขออนุญาตนิดหนึ่ง ท่านเลขาท้วงว่ายังอ่านข้อ ๘๔ ไม่ครบ อภิปรายได้อย่างไร ขอให้ท่านเลขาอ่านให้ครบก่อนเพิ่งอ่านไปได้ ๒ วงเล็บเอง แล้วเดี๋ยว ค่อยอภิปรายนะครับ เชิญท่านเลขาธิการ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๘๔ (๓) นะครับ

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยให้พิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำภาคหรือจังหวัด ตามความเหมาะสม

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๔) คณะกรรมาธิการวิสามัญประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๕) คณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำจดหมายเหตุและเจตนารมณ์ในการปฏิรูป ของสภา

นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเร่งดำเนินการจัดตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญตามวรรคหนึ่งโดยกำหนดองค์ประกอบ จำนวนกรรมาธิการ และอำนาจหน้าที่ เสนอต่อสภาเพื่อให้ความเห็นชอบโดยเร็ว

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญคุณบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ครับ

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ครับ ขออนุญาตนำเสนอประเด็นอภิปรายในข้อ ๘๔ (๒) กรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์ และรูปแบบอนาคตประเทศไทย ผมเห็นความสำคัญอย่างยิ่งของกรรมาธิการชุดนี้นะครับ ในฐานะที่จะเป็นตัวยึดโยงกับคณะกรรมาธิการ ๑๘ คณะที่ได้ผ่านการพิจารณาไปเป็น ร่มใหญ่ เป็นตัวฐานความคิดที่จะทำให้เกิดการบูรณาการของประเด็นต่าง ๆ เพื่อการปฏิรูป ที่มุ่งเป้าหมาย ในประเด็นการทำงานอยากเห็นภาพการทำงานในลักษณะของการที่ กรรมาธิการทำหน้าที่ออกแบบกระบวนการค้นหาเรื่องของเทคนิค การทำให้นำไปสู่ การกำหนดวิสัยทัศน์ แต่ในแง่ของผู้ที่เข้าร่วมจัดทำวิสัยทัศน์ สนับสนุนคุณหมอพรพันธุ์ว่า จะต้องเป็นสมาชิกของ สปช. มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ที่จะเข้าไปร่วมกระบวนการกำหนด วิสัยทัศน์ เพื่อไม่ให้วิสัยทัศน์ที่ออกมาเป็นวิสัยทัศน์ของกรรมาธิการ แต่เป็นวิสัยทัศน์ร่วมกัน อย่างน้อยของ สปช. สมาชิกทุกท่าน ตรงนี้เป็นประเด็นที่อยากจะฝากให้ทางกรรมาธิการ ในชุดนี้ได้ดำเนินการ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญอาจารย์ดุสิต เครืองาม ครับ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม ครับ กระผมเมื่อสักครู่ได้ยกมือเพื่อขอใช้สิทธิอภิปรายในข้อ ๘๓ แต่ว่าไม่ได้รับโอกาส ขออนุญาต ได้ไหมครับ ข้อ ๘๓ นิดหนึ่งครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขออนุญาตไม่กลับไปได้ไหมครับ เอาไว้เมื่อจบทั้งหมดแล้วจะถามทวนอีกครั้งหนึ่งได้ไหมครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เพราะมันกำลัง ลื่นแล้วครับ ตอนนี้ขอไป ๘๔ นะครับ ขอโทษอาจารย์ครับ ถัดไปคุณธวัช สุวุฒิกุล

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ผม ธวัช สุวุฒิกุล สมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อความเข้าใจ ซึ่งผมคิดว่าในข้อ ๘๔ (๒) นั้นก็มีความจำเป็น จะต้องมีอยู่อย่างที่ท่านบัณฑูรได้กล่าวถึงเมื่อสักครู่นี้ ในส่วนที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เมื่อฟังท่านประธานเลิศรัตน์ในฐานะประธานกรรมาธิการยกร่าง และท่านประธานสภา ได้พูดถึงว่า มีกรรมาธิการมาจากทุกคณะนะครับ ในส่วนนี้ถ้าหากว่าจะเขียนเพื่อให้เกิด ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นขออนุญาตเป็นอย่างนี้ได้ไหมครับ ผมเข้าใจว่าต้องการที่จะเป็น กรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการจัดทำวิสัยทัศน์ในรูปแบบอนาคตของประเทศไทย จะได้ไหมครับ กราบขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขออนุญาตถัดไป อีกนิดนะครับ ทีนี้เริ่มยาวแล้วละครับ คุณฑิฆัมพร กองสอน อาจารย์ตรึงใจ บูรณสมภพ คุณโกวิท ศรีไพโรจน์ คุณคณิศร ขุริรัง คุณรสนา โตสิตระกูล คุณกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล คุณประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ คุณสุชาติ นวกวงษ์ คุณหมอชูชัย ศุภวงศ์ ไล่ตามลำดับเลยนะครับ เชิญคุณฑิฆัมพรก่อนครับ ขอสั้น ๆ ได้ไหมครับ

นางฑิฆัมพร กองสอน ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ฑิฆัมพร กองสอน (๓) ยังมีอยู่ว่ากรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยพิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำภาคหรือจังหวัดตามความเหมาะสมนะคะ ดิฉันมีประเด็นตรงที่ว่า ประจำภาค หรือจังหวัด จริง ๆ แล้วอยากให้ชัดเจนไปเลยว่า ประจำภาคและประจำจังหวัด โดยตาม ความเหมาะสม ซึ่งตามความเหมาะสมถ้าไปปฏิบัติจริง ๆ เดี๋ยวแต่ละภาค แต่ละจังหวัด ก็เหมาะสมไม่เท่ากันอีก เพราะฉะนั้นมันน่าจะมีเพดานให้ชัดเจนนะคะ ก็ขอเสนอแค่นี้ค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

อาจารย์ตรึงใจครับ

นางตรึงใจ บูรณสมภพ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ตรึงใจ บูรณสมภพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันสั้น ๆ ก็เห็นด้วยกับท่านคุณหมอพรพันธุ์ว่า คณะกรรมาธิการวิสัยทัศน์ควรจะทำในเต็มรูปของที่ประชุม ไม่ใช่ทำกันเฉพาะ คณะกรรมาธิการ เพราะว่าถ้าคณะกรรมาธิการทำออกมาแล้วก็ต้องมาให้ที่ประชุมรับรอง เห็นชอบอีกที ซึ่งก็จะต้องเสียเวลาคิดกันอีกทีอีกรอบหนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้าทำทีเดียวเลย ในที่ประชุมใหญ่ดิฉันคิดว่าจะดีกว่า อาจจะทำตุ๊กตาขึ้นมาหรืออะไรหลาย ๆ แบบ ขอบคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ถัดไปคุณโกวิท ศรีไพโรจน์ ครับ

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานีครับ ก่อนอื่นคงจะต้องขอขอบคุณสภา ที่เปิดช่องทางหนึ่งช่องทางที่ให้สมาชิกทางใต้แล้วก็แต่ละภูมิภาคได้เข้าไปมีส่วน ในกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับที่จัดทำร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับ การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นเสร็จเมื่อวันศุกร์ ขอประทานโทษคณะกรรมาธิการทุกท่าน ด้วยครับ เนื่องจากว่าผมก็อยู่ด้วยนะครับ ตอนนั้นก็มองยังไม่รอบคอบสักนิดหนึ่ง แต่ว่าเมื่อกลับไปแล้วก็เลยเกิดความรู้สึกว่ายังไม่สมบูรณ์อยู่เล็กน้อยนะครับ ไปนอนคิดอยู่ ๓ วัน เหตุผลนะครับ คือเนื่องจากว่าสภานี้มีหน้าที่ต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ คือ ๑๐ ด้าน ๑๐ ด้าน บวก ๑ นะครับ คือด้านอื่น ๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการทำการปฏิรูป ส่วนที่มาของสภานี้ มาจากสมาชิกประเภทต่าง ๆ ๒ ประเภท คือ ๑. ประเภทที่ทางองค์กรต่าง ๆ ส่งมายัง คณะกรรมการที่คัดเลือกแล้วก็เป็น ๑๗๓ ท่าน ส่วนนอกนั้นก็คือจะสรรหามาจากจังหวัดต่าง ๆ อีก ๗๗ จังหวัด ความยึดโยงระหว่างรัฐธรรมนูญก็ดี กฎหมายก็ดี แนวทางการปฏิรูป ประเทศก็ดี หรือนโยบายของรัฐใด ๆ ต่าง ๆ ก็ดี ต้องยึดโยงกับประชาชน ผมเชื่อว่าท่านผู้ที่ ร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วครับ แล้วก็เหมาะสมมาก ๆ เหตุผลก็คือว่า ท่านผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ได้ยึดโยงประชาชนจากองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเสนอบุคคลต่าง ๆ เข้ามายังคณะกรรมการสรรหานะครับ ก็เท่าที่ทราบกันก็คือ ๖,๐๐๐-๗,๐๐๐ ท่าน แล้วก็คัดมาเหลือ ๕๕๐ ท่าน แล้วก็มาเหลือ ๑๗๓ ท่าน แต่ละท่านนี้จะยึดโยงกับสมาชิก แต่ละองค์กรที่ส่งท่านเข้ามา ส่วน ๗๗ จังหวัดนั้นถึงแม้จะไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนโดยตรง เกิดขึ้นเนื่องจากคณะกรรมการสรรหาได้ดำเนินการไปเชิญหรือไปสรรหามาก็ดี แล้วคัดเลือก ให้เหลือ ๕ ท่าน ส่งมาเพื่อจะคัดให้เหลือ ๑ คน ถามว่าพวกเรา ๗๗ จังหวัดนั้นยังไม่ถึงกับว่า ยึดโยงกับประชาชน เพราะฉะนั้นคำถามว่าเมื่อเรามาอยู่ตรงนี้แล้วหน้าที่ที่สำคัญที่สุดก็คือว่า เราจะต้องกลับไปยึดโยงกับประชาชนให้ได้เพื่อการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น จะต้องทำนำมาสู่การยึดโยงที่รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย หรือแนวทางการปกครองประเทศ นั่นเป็นเรื่องที่สำคัญ อำนาจหน้าที่ของ สปช. นั้นก็ปรากฏตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑ ละครับ โดยเฉพาะ (๒) เกี่ยวกับการเสนอความเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วก็โดยหน้าที่ที่สำคัญก็คือให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่ ผมเรียนย้ำตลอดเวลาว่าจะต้องยึดโยงกับประชาชน เพราะว่าเป็นสิ่งที่จะต้องดูแลประชาชน เป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพแล้วก็แนวทางของประเทศนี้ นั่นเป็นหลักนะครับ เมื่อเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญได้รับรองในหลักการนี้จึงได้กำหนดให้สมาชิก ๗๗ คน ที่มาจากแต่ละจังหวัดทำหน้าที่คือเป็นตัวเสริมจากสมาชิกซึ่งมาจากองค์กรแต่ละองค์กร และทำให้รัฐธรรมนูญนี้ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั้งประเทศอีก ๗๗ จังหวัด เป็นการอุดช่องว่างที่ว่าตัวแทนแต่ละท่านนั้นมาจากองค์กรแต่ละองค์กรไม่ครบถ้วน ทีนี้ผมเอง ผมก็ยังเห็นว่าสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่ละท่านนั้นนะครับ ถึงแม้ว่าเท่าที่ปรากฏอยู่ ท่านเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ แต่ละท่านผมไม่ติดใจเรื่อง ความรู้ความสามารถ แต่อย่างไรก็ตามการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้นก่อนที่จะนำสิ่งใดเข้าสู่ รัฐธรรมนูญคงไม่ใช่ตัวท่านเพียงลำพัง ทุกสิ่งทุกอย่างควรจะรับฟังเสียงประชาชนแต่ละด้าน ซึ่งอาจจะมีความเห็นพ้องกันหรือขัดแย้งกัน แล้วท่านก็มาพิจารณาหาจุดสมดุล เพื่อที่จะให้ ประชาชนทุกคนในประเทศนี้ หรือประชาชนส่วนใหญ่นี้ยอมรับในรัฐธรรมนูญฉบับนี้นะครับ ทั้งนี้ ร่างข้อบังคับฉบับนี้เป็นการนำรัฐธรรมนูญนั้นมาสู่แนวการปฏิบัติ ถ้าหากว่าข้อบังคับ ของสภานี้ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ การดำเนินกิจการต่าง ๆ ที่จะประกอบให้เกิดความชอบธรรมในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็อาจจะไม่สมบูรณ์ การจัดทำข้อบังคับในหลายเรื่องผมก็ได้ปรึกษาผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่าน ท่านก็บอกว่า ถ้าอย่างไรก็ให้ผ่านไปก่อนก็จะดี เนื่องจากว่าเราจะได้ทำงานกันได้นะครับ วันนี้ก็เหลือ อยู่เพียง ๔๖ วันแล้วที่สภานี้จะต้องเสนอความเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ว่าเมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วครับ ท่านครับหากการรับฟังเสียงประชาชนไม่รอบคอบ ไม่รัดกุมหรือไม่ครอบคลุมก็จะได้รัฐธรรมนูญที่ทุกคนยอมรับโดยยาก ทีนี้นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ท่านโกวิท ขอประทานโทษ

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

กำลังจะเข้าประเด็นเลยครับ ทั้งนี้ถ้าหากว่าท่าน มาดูข้อ ๘๐ ซึ่งได้แยกองค์กรอาชีพต่าง ๆ ไปเป็นคณะกรรมาธิการต่าง ๆ ค่อนข้างจะ หลากหลาย ตรงนี้เห็นได้ชัดเลยว่าต้องการให้คณะกรรมาธิการต่าง ๆ ดำเนินการ เพื่อจะเสนอข้อคิดเห็นไปยังคณะกรรมาธิการยกร่าง แต่ในส่วน ๗๗ จังหวัดครับ ท่านครับ ๗๗ จังหวัดนี้จะต้องดำเนินการ ทีนี้ในข้อ ๘๔ (๓) เพียงแต่ว่าให้ความสำคัญ เมื่ออ่านข้อบังคับนี้ทั้งหมดก็จะไม่ได้ความสำคัญกับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๗๗ คน ซึ่งเป็นสัดส่วนซึ่งค่อนข้างจะมากนะครับ ในการทำหน้าที่หรือเอื้อในการทำหน้าที่เลย ในการพิจารณาจัดทำข้อบังคับนั้น ประทานโทษนะครับ ท่านตัวแทนจาก คณะกรรมาธิการยกร่างมาบอกว่าจะขอความสะดวกในการจัดตั้ง คือเราเห็นว่าถ้าหากว่าทำ ได้อยากจะสนับสนุนให้ทำงานง่ายขึ้น แต่ทีนี้ข้อ ๓ หมายความว่าให้จัดตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญขึ้นมาคณะหนึ่ง แล้วก็หลังจากนั้นก็ไปแตกลูกเป็นภาคก็ดี จังหวัดก็ดี ซึ่งผมยังดูแล้ว พิจารณาแล้วก็ยังไม่เอื้อให้พวกเรา ๗๗ คน ในการดำเนินการอย่างน้อย ๆ พวกเรา ๗๗ คน จะเข้ามาในคณะกรรมาธิการนี้ได้สักกี่คน ผมขอแปรญัตติเช่นนี้ครับ ผมขอว่าให้ตัดข้อ ๓ นี้ ออกทั้งหมด เหตุผลเนื่องจากว่าถ้าหากมาดูข้อ ๘๓ (๑๐) ก็จะเห็นได้ชัดอยู่แล้วว่าสภานี้ มีศูนย์รับฟังความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะจากประชาชนเกี่ยวกับการปฏิรูปตรงนี้ครบถ้วนแล้ว แต่ขอเสนอญัตติว่าให้เพิ่มให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและมีส่วนร่วม ของประชาชนภูมิภาคเหนือ ๑ คณะกรรมาธิการ ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑ คณะกรรมาธิการ ภูมิภาคกลางและภาคตะวันออก ๑ คณะกรรมาธิการ และภูมิภาคใต้อีก ๑ คณะกรรมาธิการ ผมขอแปรญัตติเช่นนี้ขอเสียงสนับสนุนด้วยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญท่านคณิศรครับ ยังไม่ลงมตินะครับ เพราะว่าต้องอภิปรายให้จบ

นายคณิศร ขุริรัง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม คณิศร ขุริรัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดหนองบัวลำภู ในฐานะกรรมาธิการ ผมขอตั้งข้อสังเกต ในข้อ ๘๔ (๓) จากถ้อยคำที่ว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยให้พิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำภาคหรือจังหวัด ตามความเหมาะสม ขอกราบเรียน ท่านประธานอย่างนี้ครับว่า คำว่า ส่วนร่วมของประชาชนประจำภาคหรือจังหวัดนั้น ถ้าตั้งคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมประจำภาคแล้วจะต้องตั้ง กรรมาธิการประจำจังหวัดหรือไม่ หรือถ้าตั้งประจำจังหวัดจะตั้งกี่จังหวัดและจะตั้งครบ ๗๗ จังหวัดหรือไม่ นี่คือผมขอตั้งข้อสังเกตนะครับ

นายคณิศร ขุริรัง ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ตามความเหมาะสม ตามความเหมาะสมพิจารณาจาก หลักเกณฑ์อะไรที่มาใช้เป็นความเหมาะสม และต้องขอกราบเรียนท่านประธานต่อไปว่า หลาย ๆ ท่านก็พูดถึงการยึดโยงกับประชาชน ต้องขอกราบเรียนว่าการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระดับทุกชั้นนั้นเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง และขาดไม่ได้สำหรับการปฏิรูปประเทศไทยในครั้งนี้ ขอบคุณท่านประธานครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญคุณรสนาครับ

นางสาวรสนา โตสิตระกูล ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานค่ะ ดิฉัน นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเองเห็นด้วยกับเพื่อนสมาชิกที่เสนอนะคะว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และรูปแบบอนาคตของประเทศไทยนั้นควรจะเป็น สิ่งที่ทำขึ้นมาก่อนและกรรมาธิการวิสามัญที่จะตั้งขึ้นนั้นควรจะเป็นกรรมาธิการเพื่อติดตาม และเชื่อมโยงวิสัยทัศน์และรูปแบบของอนาคต ดิฉันเองเห็นว่าเรามีการตั้งกรรมาธิการขึ้นมา ๑๘ คณะ ซึ่งแต่ละส่วนก็เกรงว่าจะทำงานในลักษณะที่แยกกันไปเป็นส่วน ๆ ดิฉันคิดว่า การจัดทำวิสัยทัศน์แล้วก็รูปแบบอนาคตประเทศไทยมันเหมือนเราเลือกเพลงที่เราจะเล่น ร่วมกันเป็นวงเดียวกัน แล้วควรจะต้องมีวาทยากรที่เป็นผู้ช่วยกำกับให้เพลงนั้นบรรเลงไปใน เพลงเดียวกันไม่ใช่ต่างคนต่างเล่น ทีนี้ประเด็นตรงนี้ดิฉันคิดว่าเมื่อมันมีการแยกกลุ่มต่าง ๆ ออกไปเป็นจำนวนมาก ในกระบวนการที่จะทำให้เดินไปบนทิศทางการปฏิรูป เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ขจัดการทุจริตคอร์รัปชันทั้งหลาย ดิฉันคิดว่า มันต้องมีการดีไซน์ออกแบบก่อน ซึ่งก็เห็นด้วยว่าในช่วงระหว่างการที่เราจะประชุมกัน ในวันที่ ๙ วันที่ ๑๐ นั้นควรจะมีการพูดคุยในเรื่องนี้กันอย่างชัดเจน แล้วก็หลังจากนั้น ในกระบวนการติดตามควรจะมีคณะกรรมการที่พยายามเชื่อมร้อยทุกส่วนเข้าด้วยกัน เพราะ ไม่อย่างนั้นแล้วมันจะเหมือนกับว่าแต่ละคณะกรรมาธิการก็จะทำไปตามเรื่องโดยที่อาจจะ ไม่ได้มาเชื่อมร้อยเข้าหากัน ซึ่งดิฉันเองคิดว่าถ้าหากว่าเราทำได้อย่างนั้นเราก็จะบรรเลงใน เพลงเดียวกันไม่ใช่ต่างคนต่างเล่น แล้วก็มีคณะกรรมการที่หลากหลายจนเกินไป ดิฉันเองก็ เห็นด้วยว่าในส่วนของการรับฟังความเห็นจากประชาชนนั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องถูก นำเข้ามาพิจารณา เราได้รับฟังความเห็นของประชาชนว่าประเด็นอะไรบ้างที่เป็นประเด็น สำคัญที่เขาต้องการที่จะให้มีการปฏิรูป แล้วสิ่งเหล่านั้นจะต้องถูกนำเข้ามาทำให้มันเป็น ประเด็นในการที่เราจะนำไปสู่การพิจารณาศึกษาแล้วก็เสนอแนะรวมไปถึงแม้แต่การเสนอ เป็นร่างกฎหมายต่าง ๆ ขึ้นมา ดิฉันคิดว่าเรื่องเหล่านี้มันจำเป็นที่จะต้องพยายามมองและเชื่อมโยงกันให้ได้ ดิฉันเองเห็นว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญที่ว่าจัดทำวิสัยทัศน์ พอคำว่า จัดทำ มันกลายเป็นว่าเป็นผู้ที่จะมาทำ ในเรื่องนี้ แต่ดิฉันคิดว่าการจัดทำนั้นมันควรจะเป็นความเห็นร่วมกันของคนทั้งหมด แล้วก็คณะกรรมาธิการชุดนี้ควรจะเป็นคณะกรรมาธิการที่มาเชื่อมร้อยหรือมาติดตามตรงนี้ มากกว่านะคะ ก็ขอเสนอทางกรรมาธิการว่าลองพิจารณาเรื่องนี้ดู ส่วนประเด็นที่ดิฉัน อยากจะถามเพิ่มเติมก็คือว่าการที่ให้สมาชิกแต่ละคนสามารถเลือกได้ ๒ คณะ แต่สำหรับ ในชุดนี้สามารถเลือกเพิ่มเติมนอกเหนือจาก ๒ คณะ ใช่หรือไม่ แล้วก็เลือกได้กี่คณะ เพราะว่าในนี้มีทั้งหมด ๕ คณะ สมมุติว่าแต่ละคนจะขอเข้าไปมีส่วนเป็นกรรมาธิการมากกว่า ๑ คณะได้ไหม เพราะว่าในมาตรานี้ไม่ได้มีการกำหนดไว้ว่ามีข้อกำหนดอะไรบ้าง หรือว่าเป็นไปแล้วแต่ว่าสมาชิกจะเลือกบุคคลคนนั้นเข้าไปอยู่ในคณะไหน แล้วก็สามารถ ลงซ้ำได้หรืออย่างไรคะ ขอความชัดเจนในเรื่องนี้ด้วย ขอบพระคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญ พลเอก เลิศรัตน์ ท่านจะชี้แจงสลับตรงนี้เสียก่อนนะครับ เชิญท่านครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ มีหลายท่านอภิปรายแล้วนะครับ ขออนุญาตให้ ข้อคิดเห็นของคณะกรรมาธิการ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ประเด็นแรก ที่จะให้เติมชื่อ ขับเคลื่อน ผมคิดว่าคงไม่จำเป็นครับ ใน (๒) คณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำ เพราะเราไม่ได้ไปขับเคลื่อนการจัดทำนะครับ ส่วนที่ท่าน อภิปรายนี่นะครับ ก็จะเป็นคุณหมอพรพันธุ์ คุณรสนา หรือท่านอาจารย์ตรึงใจ คือต้องมอง ภาพงานของเรานิดหนึ่ง เรามีงานอยู่ ๓ อย่าง งานแรกคือเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการ ยกร่างภายในประมาณวันที่ ๑๐ ธันวาคม อีกประมาณ ๑ เดือน จากที่เราเริ่มทำงาน แน่นอนละครับ ก็อย่างที่ทุกท่านเสนอเราจะไปสัมมนากัน ๒ วัน ก็จะเป็นเบรนสตรอม (Brainstorm) ออกมาจะวางวิสัยทัศน์สร้างภาพประเทศไทย ๑๐ ปีจากข้างหน้าก็ทำกันให้ มากที่สุดนะครับ แต่ว่ากรรมาธิการชุดนี้ที่ออกแบบขึ้นมานี่ งานหลักของเราคือการปฏิรูป ประเทศไทยอีกด้วย ไม่นับรวมการให้ข้อเสนอแนะต่อกรรมาธิการยกร่าง ซึ่งต้องทำภายใน ๑๐ ธันวาคม แต่การปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งเราจะต้องทำประมาณอย่างน้อยก็ ๘-๑๐ เดือน อันนั้นก็ยังมีเวลาที่จะไปคิดว่าจะเสนอแนะแบบไหน จะยกร่าง พ.ร.บ. อะไรต่าง ๆ นานา จึงได้พยายามที่จะให้มีกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ ซึ่งก็พวกเรานั่นแหละที่ไปอยู่ แล้วก็บวกกับ ผู้ที่เราคิดว่าเขาเชี่ยวชาญ เขาทำเรื่องนี้อยู่ ให้เขามาวาดภาพให้ ใช้เวลาสักหน่อยเดือน ถึงสองเดือนนะครับ ไม่ทันกับการเสนอแนะต่อรัฐธรรมนูญ ที่จริงแล้วถึงวันนั้นท่านจะรู้ว่า ข้อเสนอแนะต่อรัฐธรรมนูญนั้นเกี่ยวข้องกับกรรมาธิการแค่ ๓-๔ คณะเองเป็นหลัก ๆ นะครับ ฉะนั้นก็ไม่ใช่หมายความว่าคณะกรรมาธิการคณะอื่นไม่ต้องทำอะไรนะครับ แต่ว่าก็จะมีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากวิสัยทัศน์และรูปแบบงานวิจัย ซึ่งทำโดยพวกเรา และผู้เชี่ยวชาญผสมกันนะครับ ส่วนที่ถามประเด็นเรื่องการเป็นกรรมาธิการนั้น ถ้าเป็นกรรมาธิการวิสามัญประจำสภานี่เราก็เป็นได้อยู่ ๒ คณะ แต่คณะกรรมาธิการพวกนี้ นี่นะครับ ไม่ได้จำกัดจำนวนนะครับ คณะท่านก็จะส่งท่านมาอยู่นะครับ เป็นแอดฮอค คอมมิทตี มีประเด็นคุณรสนา เดี๋ยวจะเมื่อยแล้วนะครับ ยังตอบไม่ครบเลย ขอตอบให้ครบ ก่อนนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ประเด็นเรื่องของการตั้งกรรมาธิการประจำภาคนะครับ ใน (๓) คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยพิจารณา จัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำภาค แก้เป็น และประจำจังหวัด นะครับ เอา หรือ ออก เพื่อความชัดเจน และประจำจังหวัด คำว่า ตามความเหมาะสม ก็หมายความว่าไม่จำเป็นจะต้องตั้ง ๔ ภาค แบบที่มีบางท่านเสนอ หรอกครับ บางแห่งเขาอาจจะรวมกัน ๑๐ จังหวัด ๕ จังหวัด แล้วมาขอตั้งก็เป็นไปได้นะครับ เพราะฉะนั้นคำว่า ตามความเหมาะสม คือเปิดช่องไว้ไม่จำเป็นจะต้องเป็น ๔ ภาคใหญ่ ท่านอาจจะรวมกันมาก็อยู่ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งก็เป็นพวกเรานั่นแหละ ๑๘ คน ที่มานั่งอยู่ในนี้จะร่วมกันพิจารณา แล้วก็รวมกับของพวกท่านว่าในพื้นที่ของท่านจะรวมกัน เท่าไร จะทำเป็นภาคหรือจะทำเป็นจังหวัดนะครับ อันนี้ก็เป็นแนวคิดตรงนั้น ก็เป็นข้อสรุป ในเบื้องต้นนะครับ เดี๋ยวผมจะพูดเรื่องของคณะอนุกรรมาธิการเพิ่มเติมในข้อถัด ๆ ไปครับ ขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เชิญคุณรสนา ยังติดใจอยู่ครับ

นางสาวรสนา โตสิตระกูล ต้นฉบับ

ขอบพระคุณท่านประธานคะ ดิฉัน นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ คือดิฉันเองคิดว่าถ้าเราดูในข้อ ๘๔ นั้น ใน (๑) คณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามและให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ ดิฉัน ไม่ได้มองว่าแยกออกจากกันนะคะ ดิฉันกลับมองว่าในเรื่องของรัฐธรรมนูญคือกรอบโครงใหญ่ มันอาจจะเป็นประเด็นที่เราจะต้องคิดรูปแบบบางส่วนที่การออกแบบรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องสามารถบรรจุเนื้อหาในการที่เราจะเสนอในเรื่องการปฏิรูปในระยะกลางแล้วก็ระยะยาว เพราะฉะนั้นในส่วนนี้มันต้องมีการออกแบบที่จะให้เดินไปด้วยกัน อย่างที่ดิฉันบอกว่า ในกระบวนการที่เรากำลังทำงานในสภาปฏิรูปมันเหมือนเราเป็นวงออร์เคสตราที่กำลังเล่นเพลง แล้วก็แต่ละคณะกรรมาธิการก็เป็นเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น ซึ่งจะต้องทำให้ประสานร่วมกัน และในส่วนของการเสนอกรอบโครงสำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นมันต้องมีพื้นที่ ที่ครอบคลุมประเด็นสำหรับการที่เราจะปฏิรูป การมองวิสัยทัศน์และอนาคตของประเทศไทยอีก อาจจะเป็น ๑๐ ปี ๒๐ ปีข้างหน้า อะไรพวกนี้นะคะ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าส่วนเหล่านี้ ในวิธีการออกแบบการทำงานที่จะต้องเชื่อมโยงตรงนี้มันมีความสำคัญมาก แล้วก็คิดว่าเป็น เรื่องที่เราอาจจะใช้เวลาในการพูดคุย ๒ วัน แต่ถ้าหากว่า ๒ วันนี้อาจจะยังไม่พอก็อาจจะมี การพูดคุยในเรื่องนี้ไปด้วยเพื่อที่จะทำให้เราเห็นว่าในทิศทางอนาคตอีก ๑๐ ปี ๒๐ ปี เราต้องการจะวางในเรื่องอะไรบ้างที่เป็นภาพใหญ่ ๆ ก่อน และส่วนในรายละเอียดก็ค่อย ไปลงในระยะกลางแล้วก็ระยะยาว ดิฉันยังคิดว่ามันต้องเชื่อมโยงกัน มันไม่ควรจะเป็น การแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่ไม่มาเชื่อมต่อกันค่ะ อันนี้ก็เสนอเป็นเค้าโครงความคิดของตัวเองก่อน แต่ว่าในแง่ของวิธีการทำงานเราอาจจะต้องไปถกเถียงกันในส่วนนี้ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ คุณกอบกุลครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาค่ะ ดิฉันก็ขออภิปรายในข้อ ๘๔ (๓) จะพยายามอภิปรายว่าเราจะทำให้ข้อนี้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร และจะพยายามไม่อภิปรายว่า แบ่งแยกพวกภูมิภาคหรือว่าจังหวัดออกจากกลุ่มองค์กรอีก ๑๐ หมวด ๑ องค์กรนะคะ คือตรงนี้เป็นเรื่องที่เราพยายามจะดูกัน อาจจะพูดแทนส่วนภูมิภาคอีกหลายจังหวัด ว่าในการที่เราจะมีคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ทำอย่างไร ถึงจะเกิดขึ้นให้ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด แล้วก็ในขณะที่ว่ากันตามความเป็นจริง แทบทุกจังหวัดตอนนี้ก็ดำเนินการไปแล้ว แต่ว่าต้องอาศัยทุนทรัพย์ส่วนตัวตอนนี้ในการที่จะ ไปจัดเวทีหรือว่าไปจัดประชุม เพราะว่าจะมีกลุ่มขับเคลื่อนหรือว่ากลุ่มผู้ช่วยที่มาจากผู้สมัคร ของจังหวัดประมาณจังหวัดละ ๒๐ คน ๓๐ คน ๔๐ คน ก็จะขึ้นมาเป็นคณะทำงานให้กับ ผู้แทนที่ได้มาเป็น สปช. เสร็จแล้วก็พยายามไปขับเคลื่อนในแต่ละจังหวัด ทีนี้ดิฉันเองก็มี ความคิดเห็นอย่างนี้ค่ะ ถึงแม้ว่าแอดฮอค คอมมิทตี ที่ท่านประธานเลิศรัตน์ได้กล่าวถึง จะไม่จำกัดจำนวน แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ที่คนทั้ง ๗๗ จังหวัดจะมาเป็นแอดฮอค คอมมิทตี ชุดนี้ อย่างไรก็ดีผู้แทนจากสุราษฎร์ธานี ขออนุญาต ที่ได้กล่าวว่าจะขอแยกคณะกรรมาธิการ วิสามัญชุดนี้ออกเป็นอีก ๔ ชุด จำนวนของแต่ละชุดบางภาคอาจจะน้อยไป เช่น ภาคใต้จะมี ๑๔ ท่าน ในขณะที่ภาคเหนือมี ๑๗ ท่าน ตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๐ ท่าน ภาคกลางบวก ตะวันออก ๒๖ ท่าน เพราะฉะนั้นด้วยขนาดของภาคที่ก็ไม่เท่ากัน ถ้าต้องมาตั้งเป็นแอดฮอค คอมมิทตีแต่ละคณะ แล้วทุกคนก็เข้าไปเป็นแอดฮอค คอมมิทตี แล้วจะได้ไปตั้งอนุกรรมาธิการประจำจังหวัด กับการที่เรามีผู้แทนเข้ามาอยู่ใน (๓) นี่ชุดเดียว แต่สามารถตั้งอนุประจำจังหวัดได้เกือบทุกจังหวัดสมมุตินะคะ ก็จะเป็น ๗๗ จังหวัด หรือบางจังหวัดเล็กหรือใกล้กัน พื้นที่ใกล้กันอาจจะรวมกัน แต่ในวิธีการทำงานที่ดิฉัน อยากกราบเรียนท่านประธาน แล้วก็กราบเรียนว่าด้วยความเป็นห่วงใยต่อคณะกรรมาธิการ วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ต้องไปคิดเรื่ององค์ประกอบ จำนวน หรืออำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ท่านก็จะหาจุดลงตัวทันทีไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ดิฉันก็อยากช่วยคิดเผื่อว่าพวกเราที่มาจากจังหวัดจะช่วยคิดออกในช่วงนี้บ้าง หรือว่าผู้ยกร่าง จะคิดออกบ้าง ในส่วนที่ดิฉันมองเห็นตอนนี้ก็คือว่า แม้ว่าเราจะบอกว่าอาจจะ มีความเหมาะสมให้เปิดเป็นช่องว่างไว้ แต่ในการขับเคลื่อนของการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งส่วนกลาง หน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติจะมีศูนย์รับฟัง ความคิดเห็นตามภาระหน้าที่ในข้อ ๘๓ (๑๐) อยู่แล้ว แล้วให้ศูนย์นี้ส่งข้อมูลให้พวกเรา ที่อยู่ในชุด (๓) คำว่า พวกเรา คือดิฉันเองก็จะสมัครเข้า (๓) นี่ค่ะ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าสมัครแล้ว จะได้ไหม แต่สิ่งที่วิสามัญของ (๓) อยากจะทำงานนี้ก็หมายความว่า ทำอย่างไรเราจะ สนับสนุนให้ผู้ที่ต้องไปทำงานอยู่ประจำในจังหวัดมีความสะดวกขึ้นและการประสานงานเป็น ทางการมากขึ้น ซึ่งข้อนี้ดิฉันก็คงจะกราบเรียนท่านประธานในโอกาสต่อไปว่า เช่น อยากให้ ท่านทำหนังสือถึงประธาน กกต. ใหญ่ ประธาน กกต. ใหญ่ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการ กกต. ประจำจังหวัดให้เขาเป็นเลขานุการให้เราอะไรอย่างนี้ แต่ประเด็นที่ดิฉันได้รับทราบมา ในการลงพื้นที่ในช่วง ๒ สัปดาห์นี้ก็คือว่าในการทำงานของพื้นที่เราได้แนวร่วม ซึ่งแนวร่วม ตรงนี้มันจะทำให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้น่าจะยืนยาวขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น หรือเป็นฉบับประชาชนมากขึ้น ดิฉันว่าไม่มีข้อเสียอะไรที่เราต้องไปตั้งข้อรังเกียจรังงอนตรงนี้ เพราะเมื่อไรที่เขาเรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมันจะอยู่นาน เพราะเราจะไม่มีการทำ ประชามติของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ค่อนข้างชัดเจนแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าประกาศใช้เลยโอกาส จะใช้ไม่ถึง ๘ ปีก็สูงมากเลย ถ้าหากว่าไม่ได้ทำประชามติและขณะเดียวกันเราไม่มีประชาชน ฐานรากเป็นผู้ที่จะบอกว่าเป็นของเขา เขาเป็นเจ้าของอะไรอย่างนี้ค่ะ เพราะฉะนั้นส่วนที่ ดิฉันเสนอตรงนี้ก็เพื่อให้เห็นว่าในส่วนภูมิภาคหรือจังหวัดในการทำงานครั้งนี้ที่เราเข้ามา เราจะเป็นส่วนเสริมที่จะทำให้จากองค์กรอีก ๑๐ บวก ๑ องค์กรมีฐานรากที่แข็งแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตามดิฉันก็ยังคิดไม่ออกว่ามี ๑ ชุด แล้วให้ไปตั้งประจำจังหวัดได้ทั้ง ๗๗ จังหวัด กับ (๓) แยกออกไปเลย เป็น ๔ ภาค ๔ ชุด ส่วนจังหวัดจะไปตั้งอนุแยกหรืออนุรวม เพราะการตั้งอนุ ๗๗ จังหวัด ก็จะมีอนุกรรมาธิการ ๗๗ ชุดใน (๓) ซึ่งดิฉันก็ยังมองไม่ออก เหมือนกันว่าอนุชุดไหนจะมีถึง ๗๗ ชุด เพราะฉะนั้นก็อยากขอกราบเรียนเสนอเพื่อหา แนวทางในข้อนี้ว่าเราจะมีสัก ๒ ชุดได้ไหม คือสมมุติแทนที่จะ ๔ ภาค ๔ ชุด เอาเป็น ๒ ภาค ๑ ชุด พอไหวไหม แล้วตอนไปตั้งอนุประจำจังหวัดรวมตัวกันสักนิดหนึ่ง จังหวัดใกล้เคียงกัน จังหวัดเล็กรวมตัวกันหน่อย อนุจะได้ไม่บานออกไปถึง ๗๗ ชุดอะไรอย่างนี้นะคะ ก็พยายาม จะช่วยหาทางออกอยู่ตอนนี้อย่างไรก็ตามกราบเรียนเสนอท่านประธานไว้เพื่อที่จะบอกว่า ดิฉันเห็นว่า (๓) ต้องปรับเหมือนกันในการเขียนข้อนี้ ไม่ใช่เราจะมารับฟังจากข้อ ๑๐ ของข้อ ๘๓ ทางเดียว เพราะว่ามันต้องเป็นการทำงาน ๒ ทาง ขอบพระคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ขณะนี้เวลา ๑๙ นาฬิกา ๔๖ นาที ๓๐ วินาที ผมคิดว่าถ้าจะช่วยเอาเข้าประเด็นเลย อยากเห็นอะไรจะแก้อย่างไรจะง่ายขึ้น คุณประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ คุณสุชาติ นวกวงษ์ หมอชูชัย ศุภวงศ์ และคุณประชา เตรัตน์ นี่อยู่ในคิวนะครับ เชิญคุณประดิษฐ์ครับ

นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วก็กรรมาธิการนะครับ ผมใช้เวลาไม่มากครับ ท่านประธานครับ ข้อ ๘๔ (๒) ผมพูดถึงภารกิจของชุดนี้คือการจัดทำวิสัยทัศน์แล้วก็ออกแบบอนาคตประเทศไทย ผมจะขอแปรญัตติ แปรญัตติเลยก็ได้นะครับ ตัดคำว่า รูป ออก แล้วใช้คำว่า ออกแบบ คำว่า รูปแบบอนาคตประเทศไทย ผมว่าไม่น่าจะใช่นะครับ ออกแบบคือการเชิญชวนคนไทย มาออกแบบอนาคตที่เราอยากจะเห็น หรือเรามองเป้าหมายร่วมกันนะครับ จึงขอแปรญัตติ จากคำว่า รูป มาเป็น ออกแบบอนาคตประเทศไทย นะครับ สิ่งที่เป็นภารกิจสำหรับชุดนี้ ผมคิดว่า ๑. เมื่อสักครู่เราเห็น ๑๘ แท่ง คำถามคือใครเป็นคนยึดโยง ๑๘ แท่ง ใครเอา ผลการศึกษาของกรรมาธิการแต่ละชุดนั้นมาประมวลเป็นภาพรวม ผมว่ากรรมาธิการชุดนี้ มีภารกิจที่ต้องเอาผลการศึกษาในข้อเสนอแนะในการปฏิรูปของทั้ง ๑๘ คณะ มาประมวล เป็นภาพรวมและจัดทำข้อสรุปให้เห็นว่า ๑๘ คณะนั้นเรามีเป้าหมาย เรามีภาพรวมร่วมกัน อะไรอย่างไร ๑. คือเอาผลของ ๑๘ คณะมาดูนะครับ ข้อที่ ๒ รับฟังความเห็นจากสมาชิก พวกเรานี่นะครับ ข้อที่ ๓ รับฟังจากสังคมว่าสังคมมีความคิด มีความฝัน มีความต้องการ อะไรอย่างไร ภารกิจแบบนี้ผมว่าอยู่ในชุดนี้ ข้อที่ ๔ ผมว่าสำคัญมากเลยคือการกำหนดแผน กลไก เวลา ที่ต้องเอาไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรในมาตรา ๓๕ (๑๐) ผมคิดว่า เป็นหน้าที่ของกรรมาธิการชุดนี้ที่จะต้องทำแล้วก็เอามาให้สมาชิกดูกัน ผมว่าภารกิจ กรรมาธิการชุดนี้มีความสำคัญก็คือการทำให้พวกเราเห็นป่าทั้งป่าไม่ใช่เห็นเถียงนาน้อย หรือว่าต้นไม้แต่ละต้น การมองภาพรวมทั้งหมดเป็นหน้าที่ของกรรมาธิการชุดนี้นะครับ ผมขอแปรญัตติจาก รูป เป็น ออกแบบ นะครับ ผมสนับสนุนกรรมาธิการให้มีกรรมาธิการ ชุดนี้นะครับ (๓) ผมขอแปรญัตติสลับคำนะครับ ใจความทั้งหมดผมเห็นด้วยก็คือว่าเอา การมีส่วนร่วม ขึ้นก่อนนะครับ คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความเห็น ประชาชน ผมว่าการมีส่วนร่วมมันเป็นพลังทางการเมือง คือการมีน้ำหนัก มีความจริง มีความเป็นจริง เป็นกระบวนการที่มีน้ำหนักทางการเมือง แล้วก็รับฟังก็คือการรับฟัง ทั่ว ๆ ไป เราจะฟังหรือไม่ฟังก็ได้ แต่การมีส่วนร่วมผมว่าเป็นนัยสำคัญสำหรับการปฏิรูป ประเทศครั้งนี้นะครับ ถ้าเราให้ประชาชนมาริเริ่มร่วมกับเรา เปิดใจร่วมกับเรา รับฟังความเห็นร่วมกันกับเรา ลงมือทำ เปลี่ยนแปลงร่วมกันผมว่าจะเป็นเรื่องที่ สำคัญ เพราะฉะนั้นผมจึงขอแปรญัตติก็คือให้เอา การมีส่วนร่วม ขึ้นก่อน รับฟัง นะครับ

นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ประจำภาคหรือจังหวัด ผมอยากเรียนกับสมาชิกนะครับ ผมเป็นนักข่าวเมื่อการทำ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ก็ให้ สสร. ๙๙ คน ไปรับฟังความเห็นมาในจังหวัดต่าง ๆ ได้กระดาษมา เยอะมากครับ ไม่ใช่ว่าไม่มีค่านะครับ แต่ใครสังเคราะห์ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือประเด็นกระจาย เป้าหมายร่วมไม่มีนะครับ เป็นไปได้ก็คือว่าควรมีกรรมาธิการชุดใหญ่ที่กำหนดประเด็น ไปรับฟังความเห็น เอาประเด็นสำคัญ ๆ ที่เราต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศนี้ ไปรับฟังความเห็นจากประชาชน เพราะฉะนั้นกรรมาธิการชุดใหญ่จึงเป็นคนกำหนด ยุทธศาสตร์แล้วก็ประเด็นที่จะไปรับฟัง แต่ถ้าเราปล่อยให้กระจัดกระจายนะครับ มันก็จะมี ปัญหาอีกแบบหนึ่ง แล้วที่สำคัญผมเห็นด้วยกับกรรมาธิการนะครับว่า ถ้าจะให้แปรญัตติก็คือ ระดับภาคหรือกลุ่มจังหวัด ถ้ารายจังหวัดผมว่าจะกระจายยิ่งกันไปใหญ่นะครับ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วย กับการยึดโยงกับพี่น้องประชาชนนะครับ เรามีวิธีการยึดโยงหลายแบบ แต่เคยมีบทเรียน เมื่อทำรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ เมื่อปล่อยให้เกิดการไปรับฟังความเห็นต่างจังหวัด สสร. ทุกจังหวัดก็จะมีประเด็นที่กระจายมาก เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยกับกรรมาธิการที่คงไว้ แต่ว่าถ้าจะให้แปรญัตติแทนที่จะเขียนกลับว่าจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัดไปเลยนะครับ จะได้ให้ เกิดมีกลไกในการปฏิบัติที่เป็นจริงขึ้นมานะครับ ผมก็มีประเด็นแค่นี้นะครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เวลานี้เหลือ ๓ ท่านนะครับ คือคุณสุชาติ นวกวงษ์ คุณหมอชูชัย คุณประชา เตรัตน์ แล้วก็คุณสืบพงศ์ ธรรมชาติ ขออนุญาตไปที่คุณสุชาติ นวกวงษ์ ครับ

นายสุชาติ นวกวงษ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม สุชาติ นวกวงษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๒๑๘ ครับ ขอพูดถึงเรื่องข้อ ๘๔ โดยเนื้อหาแล้ว ผมไม่ได้ติดใจข้อ ๑ ข้อ ๔ และข้อ ๕ แต่ว่าก็ยังคิดไม่ออกนะครับเกี่ยวกับเรื่อง (๒) (๓) แต่เห็นด้วยกับอาจารย์หมอพรพันธุ์ ขออภัยที่ต้องเอ่ยนามนะครับ คือเราจะมองรูปแบบของ ประเทศไทย เรามองคนเดียวคงไม่ได้นะครับท่านประธาน อย่างผมกำหนดสมมุติผมคิดว่า ประเทศไทยในอนาคตอีก ๕๐ ปีข้างหน้า ในสายตาของนายสุชาติ ของอาจารย์สุชาติจะเป็น อย่างไร ผมก็คิดไปนะครับว่าจะต้องเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้นะครับ มีภูมิประเทศสวยงาม มีสิ่งแวดล้อมที่ดีผมก็คิดไป แต่ว่าคนอื่นเขาคิดแบบผมหรือเปล่า เพราะฉะนั้นในแง่มุม ของการกำหนดรูปแบบ แล้วก็วิสัยทัศน์มองประเทศไทย มันต้องกำหนดจุดร่วม จุดร่วมนี่ อาจจะกำหนดโดยที่ประชุมนี้ว่าประเทศไทยในอีก ๕๐ ปีข้างหน้า จะมีทิศทางและรูปแบบ ที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างไรนะครับ ผมกำหนดว่า ๕๐ ปีข้างหน้า ซึ่งเวลานั้น ผมก็ไม่อยู่แล้วครับ ท่านประธานครับ และในที่นี้หลายคนก็ไม่อยู่เหมือนกัน แต่ว่าในทิศทาง ของรัฐธรรมนูญก็จะกำหนดไว้ว่าประเทศไทยในอีก ๕๐ ปีข้างหน้านี้จะมีภาพอย่างไร ดังนั้นจึงต้องกำหนดนะครับ คิดว่ากำหนดร่วมกันในที่ประชุม หรือว่าจะกำหนดร่วมกัน เมื่อเวลาเราประชุมด้วยกันก็ได้ครับ กำหนดเป็นระยะไกลที่สุดคือ ๕๐ ปี อันนี้ผมเสนอนะครับ ๕๐ ปี อันนี้เป็นแผนไกลสุดเท่าที่คิดได้นะครับ แล้วก็มีแผนระยะกลางก็อาจจะ ๓๐ ปี แล้วก็ระยะใกล้คือ ๑๐ ปี อย่างนี้เป็นต้นนะครับ นี่คือแผนขั้นที่ ๑ คือจะมองประเทศไทย อย่างไร แล้วก็กำหนดเป้าหมายนะครับ ทีนี้ใครที่จะเป็นคนที่คิดวิธีหาว่าประเทศไทย ควรจะมีรูปแบบแบบไหนนะครับท่านประธานครับ เรามีกรรมาธิการทั้งหมด ๑๘ ชุด คณะกรรมาธิการ ๑๘ ชุดนี้ก็จะมีกรอบความคิดการทำงานที่แตกต่างกัน อย่างเช่น สมมุติผมอยู่ที่กรรมาธิการสิ่งแวดล้อม ผมก็จะมองว่าในอนาคตนี่นะครับ แล้วผมก็จะชักชวน เพื่อนกรรมาธิการในกลุ่มนี้ให้ช่วยกันมองว่าอีก ๕๐ ปีข้างหน้าประเทศไทยในด้าน สิ่งแวดล้อม ควรจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร แล้วช่วยกันคิดออกแบบและนำเสนอ ต่อที่ประชุม กำหนดกรอบอย่างนี้นะครับ และเวลาเดียวกันทางด้านสาธารณสุข อย่างเช่น คุณหมอพรพันธุ์ เป็นต้น ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม ท่านก็อาจจะไปช่วยกันมองว่า อีก ๕๐ ปีข้างหน้า ประเทศไทยในระบบสุขภาวะที่ดีจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นเมื่อกำหนด วิสัยทัศน์ หรือว่าแนวมองของประเทศไทยได้แล้วนะครับ แต่ละด้านก็นำมาเสนอที่นี่ หรือว่าเสนอในที่ประชุม แล้วก็กำหนดเป็นทิศทางร่วมกัน เมื่อกำหนดเป็นทิศทางร่วมกัน เสร็จแล้วนะครับ กรรมาธิการ ๑๘ ด้านนั้นก็ไปจัดทำรายละเอียด การจัดทำรายละเอียดนั้น ก็ต้องใช้เวลา ขณะที่จัดทำรายละเอียดก็ประชุมเรื่องอื่น ๆ ไปด้วย ดังนี้นะครับ ผมคิดว่า เราสามารถที่จะมองเห็นว่าประเทศไทยในอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เวลาเดียวกันนะครับ เมื่อเรามองเห็นว่าประเทศไทยข้างหน้าในอนาคตจะเป็นอย่างไรแล้ว เราก็เอา ทิศทางเหล่านี้ไปยึดโยงกับประชาชนนะครับ ไปรับฟังความคิดเห็นของเขาด้วยว่าในสายตา ของประชาชนนะครับ อีก ๕๐ ปีข้างหน้า พวกประชาชนทั้งหลายที่อยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ๗๗ จังหวัดนะครับคิดอย่างไร คิดอย่างไร เพราะฉะนั้นผมก็มาคิดถึงข้อ ๓ นะครับ ท่านประธาน ข้อ ๓ ที่บอกว่าต้องมีการรับฟังความคิดเห็นและการส่วนร่วมของประชาชนใน ภาคต่าง ๆ ผมยังคิดว่ามีความจำเป็นในการที่เราจะต้องไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพราะว่าถ้าหากว่าเราไม่รับฟังความคิดเห็นประชาชนนะครับ เท่ากับว่าเราออกแบบ รัฐธรรมนูญอยู่บนขาของเราเองซึ่งไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนเลย เพราะฉะนั้นถ้าหากว่า เราบอกว่าภาคมันใหญ่ไป ผมขอเป็นอนุภาคได้ไหมครับ อนุภาคหมายความว่าอย่างไร ในภาคอีสานแบ่งเป็น ๒ อนุภาค คืออนุภาคอีสานตอนบนกับอนุภาคอีสานตอนล่าง ภาคเหนือ ก็เช่นกันครับ ก็จะมีภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ส่วนภาคกลางก็จะมีภาคตะวันตก ภาคตะวันออกนะครับ ภาคใต้ก็จะมีภาคใต้ตอนบน ตอนล่าง ถ้าหากว่าเราบอกว่าภาคมันใหญ่ไปเราขอเป็นอนุภาค แล้วไปทำการรับฟัง ความเห็นของประชาชนในกลุ่มนั้น ๆ ส่วนจะจัดตั้งคณะกรรมการไปรับฟังหรือว่า กรรมาธิการไปรับฟังอย่างไรนี่นะครับขอให้ที่ประชุมช่วยกันคิดนะครับ ในชั้นต้นนี้ ท่านประธานครับ ผมเห็นว่าเราต้องกำหนดกรอบระยะเวลาของการออกแบบประเทศไทย ให้ชัดเจนก่อน ซึ่งอาจจะไปกำหนดได้เมื่อเวลาประชุมร่วมกันนะครับ ในเบื้องต้นขอคิด เท่านี้ครับ ท่านประธานครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปคุณหมอชูชัยครับ

นายชูชัย ศุภวงศ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผมมีประเด็นเดียวครับ ใช้เวลาไม่เกิน ๒ นาที ผม นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ สมาชิกหมายเลข ๖๖ ประเด็นที่อยากทำ ความกระจ่างชัดคือคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดใดที่จะทำหน้าที่ในการเสนอกรอบทิศทาง การปฏิรูปประเทศไทยในอีก ๔๖ วันข้างหน้า เท่าที่ผมฟังดูจากเพื่อนสมาชิก และจาก โดยเฉพาะคุณประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นะครับ แล้วก็จากท่านประธาน พลเอก เลิศรัตน์ ทำให้ผมเข้าใจว่าคือคณะกรรมาธิการวิสามัญในข้อ ๘๔ (๒) ครับ ถ้าใช่ตรงนี้ ผมก็จะได้ สมัครกรรมาธิการตรงนี้ เพราะผมคิดว่าจะเป็นชุดที่สำคัญที่สุดในช่วง ๔๕ วันจากนี้ เพราะว่าจะเป็นการกำหนดทิศทางของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายที่สำคัญที่สุดนะครับ แล้วเราคงจะให้ความใส่ใจกับเรื่องนี้ให้มากที่สุด ผมต้องการทำความกระจ่างชัดตรงนี้ แค่นั้นเองครับ ขอบพระคุณครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ คำถามมีอยู่หลายประเด็นนะครับ ของท่านประดิษฐ์นี่ผมรับไว้ทั้งหมดเลยนะครับ แก้ตามนั้นเลยใน (๒) ก็แก้เป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศไทย เอา รูป ออก ใน (๓) ก็สลับกันเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน โดยให้พิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชนประจำภาคและประจำจังหวัด แก้เป็น และประจำจังหวัด ตามความเหมาะสม เหตุผลที่ทั้ง ๕ คณะกรรมาธิการวิสามัญที่เราไม่ได้ออกแบบ ในรายละเอียดไว้ เพราะถ้าออกแบบท่านจะมีข้อคิดเห็นที่หลากหลายมาอีกมากเลยนะครับ เราจึงเปิดช่องไว้ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ไปคิดนะครับ และพวกท่านก็สามารถที่จะให้ข้อมูลได้ว่าอยากจะเป็นอย่างไร เพราะในคณะกรรมาธิการ วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติของเรานั้นก็มีพวกเราอยู่มากมายนะครับ ส่วนในส่วนของ คณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นระดับจังหวัด ระดับภาคนี่จะตั้งเป็น กลุ่มจังหวัด จะตั้งเป็นภาคไหนพวกเราไม่ขัดข้องอยู่แล้วนะครับ เพราะฉะนั้นก็ไป เบรนสตรอมมิ่งกันอีกทีหนึ่ง ในตอนนั้นก็จะได้แนวคิดที่ดีที่สุดนะครับ นั่นคือเหตุผล

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ส่วนที่คุณหมอถามเรื่องของการจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคต ประเทศไทยนั้น กรรมาธิการชุดนี้ก็จะมาจากตัวแทนของพวกเรา แล้วก็ผู้เชี่ยวชาญ ที่เราจะเชิญเข้ามาจากภายนอกมาร่วมทำ ส่วนว่าจะทันการเสนอรัฐธรรมนูญมากน้อย เพียงไรก็คงจะเป็นลำดับไปนะครับ อันนี้ก็อยู่ที่การเร่งรัด แต่ก็จะทันในการที่จะสร้างอนาคต ประเทศไทยให้เรา วิสัยทัศน์ให้เราสำหรับงานที่เรายังต้องทำกันอีกตั้ง ๘ เดือน ๑๐ เดือนนี่ ไม่ใช่งานปฏิรูปประเทศไทย การให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ถ้าใครอยากไปอยู่ก็จะมาจากตัวแทนของคณะหนึ่ง ๑๘ คณะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ บังเอิญท่านสมาชิกท่านหนึ่งคือคุณเกริกไกร จีระแพทย์ ขออนุญาต แจกเอกสารเรื่องการปฏิรูปเศรษฐกิจ ปฏิรูปอะไร ปฏิรูปอย่างไร ผมอนุญาตให้แจกนะครับ ก็ขอให้เจ้าหน้าที่เดินแจกในที่ประชุมด้วย ต่อไปเป็นการอภิปรายของคุณประชา เตรัตน์ เชิญครับ

นายประชา เตรัตน์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายประชา เตรัตน์ สปช. จังหวัดชลบุรี ผมขออนุญาตแปรญัตติในข้อ ๘๔ (๓) ในเรื่องของกรรมาธิการ การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อย่างที่ได้กราบเรียนในเบื้องต้นแล้วว่า โอกาสที่รัฐธรรมนูญก็ดีหรือสิ่งที่เราจะปฏิรูปใน ๑๘ ด้านก็ดี เราคงไม่มีการลงประชามติ แน่นอน ค่อนข้างแน่นอน เมื่อเป็นดังนั้นการทำงานคู่ขนานระหว่างสภาปฏิรูปแห่งนี้ กับการมีส่วนร่วมภาคประชาชนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่จะมีข้อบังคับนี้พวกเรา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้ง ๗๗ จังหวัดได้พบปะและหารือวิธีการออกแบบ การมีส่วนร่วมภาคประชาชนไว้พอคร่าว ๆ พอสมควร

นายประชา เตรัตน์ ต้นฉบับ

สิ่งแรกสุดนั้นเราคิดว่าเราจะใช้ กกต. จังหวัดซึ่งขณะนี้ทางประธาน กกต. จังหวัดที่ภาคกลางก็ได้อนุมัติเห็นชอบแล้วว่าจะให้ กกต. จังหวัดเป็นศูนย์รับฟังความคิดเห็น ของประชาชนให้กับ สปช. จังหวัด

นายประชา เตรัตน์ ต้นฉบับ

อันดับที่ ๒ เราได้ขอความร่วมมือกับ สปช. ที่สมัครเข้ามาหลายท่าน บางจังหวัด ๓๐ คน บางจังหวัด ๔๐ คน บางจังหวัด ๖๐ คนนี่ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับพวกเรา ในการที่จะเป็นจิตอาสาในการที่จะทำงานคู่ขนานรับฟังความคิดจากชาวบ้าน แล้วก็เอา ข้อสรุปจากที่เดิมเราคิดว่ามี ๑๑ ด้าน แต่ปัจจุบันนี้กลายเป็น ๑๘ ด้านแล้ว คือเรามองว่า ถ้าใน ๑๘ ด้านนี่คณะกรรมาธิการแต่ละด้านสรุปข้อสรุปอะไรเบื้องต้น เราไม่ต้องรอครบ ทั้งหมด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เรารู้ข้อมูลด้านใดแล้วคิดว่าเป็นประเด็นที่คิดว่าสำคัญ เราคงไม่เอา ลงไปทุกประเด็นครับท่าน เราไม่จำเป็นต้องเอาไปลงครบทุกประเด็น เอาเฉพาะประเด็น ที่สำคัญที่คิดว่ามันจะมีข้อคิดเห็นหลากหลายและความขัดแย้ง ผู้เสียประโยชน์มาก อาจจะไป ฟังท่าทีของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าท่านสามารถใช้ สปช. จังหวัดได้อย่างดียิ่ง แล้วก็อย่ารังเกียจ สปช. จังหวัดเลยครับ ผมคิดว่าเราจะช่วยท่านทำงาน ช่วยท่านจริง ๆ ครับ ด้วยความจริงใจเลย เราอาจจะทำงานมากกว่าคณะกรรมาธิการใน ๑๘ ด้าน

นายประชา เตรัตน์ ต้นฉบับ

ดังนั้นผมขอแปรญัตติใน (๓) ว่า ให้มีกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมรับฟัง ความคิดเห็นประชาชน แค่อันเดียวพอ ไม่ต้องมีภาคหรือจังหวัด ไม่จำเป็น เพราะว่า ในข้อ ๘๓ (๑๐) บอกแล้วว่ามีการจัดตั้งศูนย์รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากประชาชน ซึ่งอันนี้จะมาสอดคล้องกับข้อ ๘๔ (๓) แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะขอก็คือว่าในกรรมาธิการ วิสามัญภาคการมีส่วนร่วมอยากขอให้มีภาคแต่ละภาคอย่างน้อย ๒ คน แล้วกรรมาธิการ ด้านต่าง ๆ ๑๘ กรรมาธิการ ๑๘ คนต้องมาอยู่กับเราตรงนี้ด้วย เพื่อตรงนี้จะเป็น คนออกแบบ ออกแบบข้อสรุปของ ๑๘ ด้าน แล้วจะเอาประเด็นไหนที่จะให้ ๗๗ จังหวัด คือไม่จำเป็นต้องเอามาลงทุกประเด็น การจะกำหนดเอาประเด็นไหนลงไปแลกเปลี่ยน หรือรับฟังท่าทีของประชาชนนี่ให้กรรมาธิการข้อ ๘๔ (๓) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก ๑๘ คณะ ๑๘ กรรมาธิการกับภาค ถ้าภาคละ ๒ คนไม่ได้ ขอภาคละคนก็ยังดี เพราะตอนนี้ ทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขามีประธานภาคเขาอยู่แล้ว อันนี้ก็ทำให้เราสามารถทำงานง่ายขึ้นในการที่จะไปสื่อสาร เอาข้อสรุป เอาประเด็นใดที่จะเอาลงไปหรือไม่ลงไปนั้นต้องให้กรรมาธิการ (๓) เป็นคนออกแบบ เราคงไม่จำเป็นต้องลงไปทุกประเด็น คือถ้าเป็นอย่างนี้แล้วผมคิดว่าทำให้ การทำงานของเรามีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะเราลงไปทีหนึ่ง ๗๗ จังหวัดเลย แต่ว่าออกแบบโดยกรรมาธิการวิสามัญภาคการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่ามีส่วนสำคัญ อย่างทุกวันนี้ผมยืนยันว่าหลายจังหวัด เขาทำไปแล้ว ของผมจังหวัดชลบุรีผมก็ทำไปแล้ว แล้วก็ภาคประชาสังคมตอนนี้ เขาเข้มแข็งมาก แล้วเขาจิตอาสาครับเขาไม่สนใจเรื่องเงินงบประมาณอะไรต่าง ๆ โดยเฉพาะจังหวัดผมนะครับ จังหวัดอื่นผมไม่แน่ใจ เขาจิตอาสาครับ แล้วก็ผมตั้งเขาเป็น ผู้ช่วยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติประจำจังหวัดด้วย เขาก็ลงไปทำงานตามที่เราออกแบบให้ เขานะครับ แล้วก็มีกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งถ้าอย่างนี้มันก็ทำให้ช่วยการสื่อสารระหว่าง ทู เวย์ คอมมิวนิเคชั่น (Two way communication) ระหว่างสภากับประชาชน มันก็จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ถ้าลำพังอนุแค่ ๒๐ กว่าคนจะลงไปทุกจังหวัดมันเป็นไปไม่ได้ หรอกครับ มันเป็นไปไม่ได้ แล้วในขณะเดียวกันใน ๑๘ ด้าน ถ้าท่านมีผู้เชี่ยวชาญ จะลงไปจังหวัดไหนที่มีวิกฤติสูงคือว่าเป็นจังหวัดที่แรงอะไรอย่างนี้ท่านก็ลงไปช่วยได้ ช่วยเป็นจังหวัด ๆ ไปเฉพาะจังหวัดใหญ่ ๆ ส่วนจังหวัดเล็ก ๆ นั้นผมคิดว่าปัญหาต่าง ๆ นี้ ก็คงจะไม่ เขาเรียกไม่คอมพลิเคท (Complicate) หรือไม่วิกฤติอะไรมากนัก ก็จะทำให้ง่ายขึ้นนะครับ อันนี้ประเด็นที่ ๑

นายประชา เตรัตน์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ผมก็อาจจะต้องขอความร่วมมือกำลังร่างหนังสืออยู่ อันที่ ๑ อย่างที่มีสมาชิกหลายท่านบอกแล้วว่า เราต้องมีหนังสือจากประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ แห่งนี้เป็นทางการสักนิดหนึ่งถึงท่านประธานกรรมการการเลือกตั้ง เพราะตอนนี้ ผมกราบเรียนเลยครับ กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทุกจังหวัดทำหน้าที่เป็น ศูนย์รับข้อมูลของประชาชนให้เราเรียบร้อยแล้ว แต่ว่าเรายังไม่มีหนังสือเป็นทางการ ขอความร่วมมือเขาไปเลยนะครับ อันที่ ๒ ผมกำลังจะขอร่างหนังสือให้ท่านประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาติแห่งนี้มีหนังสือขอความร่วมมือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้ความร่วมมือกับ สปช. จังหวัด รวมถึงคณะกรรมาธิการ ๑๘ ด้าน เวลาที่ไปขอความร่วมมือเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นของชาวบ้านในพื้นที่ให้เขาสนับสนุนอย่างเต็มที่ และโดยปกติแล้วโดยนโยบาย ของรัฐบาลแล้วก็กำชับอยู่แล้วว่าผู้ว่าราชการจังหวัดต้องให้ความร่วมมือเรื่องนี้ด้วยครับ ผมขออนุญาตเสนอแค่นี้ครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านประธานกรรมาธิการครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ตามที่ท่านสมาชิกได้ขอปรับเปลี่ยนในข้อ ๘๔ (๓) เหลือเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ถูกไหมครับ ท่านประชา ถูกนะครับ

นายประชา เตรัตน์ ต้นฉบับ

ถูกต้องครับ ตัดภาค ตัดจังหวัด ออกไปเลยครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ครับ ทางกรรมาธิการไม่ขัดข้องครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครับ ขอเชิญคุณสืบพงศ์ครับ

นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ผม สืบพงศ์ ธรรมชาติ จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ใน (๓) นะครับเช่นเดียวกัน ในพื้นที่นั้นเท่าที่สังเกตนะครับ เขาจะมีความสนใจในเรื่องนี้มาก ในขณะที่ผมประชุมอยู่นะครับ มีการโทรศัพท์เพื่อประสาน ในเรื่องนี้ และผมก็รายงานการประชุมในวันนี้เท่าที่รู้ผลในบางอย่างหรือข้อคิดเห็นไปยัง สวท. นครศรีธรรมราช โดยในพื้นที่ผมเห็นด้วยกับท่านประชานะครับ กับท่านโกวิทว่า ความใกล้ชิดในพื้นที่ในการทำงานนั้นค่อนข้างจะใกล้ชิดมากนะครับ เมื่อมีผู้ที่อยู่ในพื้นที่ จำนวนถึง ๗๗ คนแล้วนะครับ ผมคิดว่าการทำงานตรงนี้จะเป็นไปด้วยดี ในการลงก็สะดวกครับ เมื่อสะดวกอย่างนี้ ในการเข้าถึงการสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุดนั้น ก็เป็นเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นในการที่จะให้ ๗๗ ท่านที่ว่าทำงาน ได้มากนะครับ ตรงนี้ผมว่านั่นคือสิ่งหนึ่งที่น่าพิจารณาซึ่งผมเห็นด้วยในเรื่องนี้ แต่ทั้งนี้ จากส่วนกลางทั้ง ๑๘ หรือมากกว่านั้นก็แล้วแต่นะครับ ก็ควรจะได้ลงไปด้วยในการจะรับฟัง ความคิดเห็น และประเด็นในการที่จะลงไปนั้นก็ควรจะประเด็นร่วมพอสมควร เพื่อไม่ให้ ประเด็นแตกออกมากเกินไป แต่ผมเชื่อว่าประเด็นสำคัญ ๆ น่าจะสอดคล้องกันครับ ไม่น่าจะต่างอะไรกันมาก ทีนี้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือมาสังเคราะห์ภายหลัง อันนี้ก็คง จะเป็นเรื่องของพื้นที่ส่วนหนึ่งแล้วก็ส่วนกลางอีกส่วนหนึ่งที่มาช่วยกันนะครับ เพราะฉะนั้น ผมก็เห็นด้วยว่าน่าจะให้ทางส่วนจังหวัดหรืออนุภาคแบบท่านอาจารย์สุชาติว่าเมื่อสักครู่ ถ้าใหญ่เกินไปมาช่วยกัน แล้วผลที่ออกมาผมว่าน่าจะได้มากพอสมควรทีเดียว ผมขอสนับสนุนตรงนี้ครับ ท่านประธานครับ ขอบคุณมากครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ตกลงคุณโกวิทจะขออภิปรายต่อ เชิญครับ

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ ท่านประธานครับ ผมอยากจะใคร่ขอหารือท่านประธานเล็กน้อย คืออย่างนี้ครับ เดิมตั้งแต่เมื่อสักครู่ผมเองผมได้ขอเสนอแปรญัตติในฐานะที่วันนี้ตอนนี้กำลังพิจารณา อยู่ในฐานะกรรมาธิการเต็มสภา ทุกท่านเป็นกรรมาธิการ และผมเองผมได้ขอความกรุณา แปรญัตติ มีเพื่อนสมาชิกได้ยกมือรับรองการแปรญัตติตรงนี้ไว้แล้ว เพียงแต่ว่าท่านประธาน ได้ขอให้มีการอภิปรายไปได้อีกสักช่วงหนึ่งก่อน ผมเองผมก็เลยนั่งนิ่งอยู่ แต่ว่าก็กลายเป็น การอภิปรายเรื่องอื่นไป เมื่อสักครู่มีผู้รับรองเรียบร้อยแล้ว ตรงนี้ผมเองผมใคร่จะขออนุญาต ท่านประธานถึงเพื่อนสมาชิกอีกสักเล็กน้อย คืออย่างนี้ครับ เมื่อเราได้รับหน้าที่รับ พระบรมราชโองการมาแล้วก็สำนึกในหน้าที่ครับ ถึงแม้จะไม่มีเงินสักบาทก็ต้องทำให้ได้นะครับ ตอนนี้ถามว่าทำไปแล้วหรือยัง ใช้เงินใช้ทองตัวเองไปบางส่วนแล้วหรือยัง ก็ทำแล้วครับ เพราะเนื่องจากเวลามันกระชั้นเหลือเกิน ตรงนี้เข้าใจครับ แต่ว่าการเป็น สปช. ไม่ใช่ว่านั่ง แล้วรอให้ประชาชนมาหา เราต้องวิ่งเข้าหาประชาชนครับ แต่ว่าอย่างไรก็ตามให้พวกเราไป ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับส่งพวกเราไปรบ กระสุนดินดำ กำลังพล อะไรต่าง ๆ นั้นไม่มี ก็ไม่เป็นไรครับ แต่ว่าจะให้สัมฤทธิ์ผลนั้นคงจะยากพอสมควร ครั้งแรกอันนี้ผมเรียนตรง ๆ ครับท่านประธานว่าเมื่อมีการพูดคุยในคณะกรรมาธิการนั้นบางท่านคิดว่าจะให้ตั้งเป็น วิสามัญทั้ง ๗๗ จังหวัดด้วยซ้ำ ซึ่งตรงนี้ก็ผ่านไปในส่วนหนึ่งแล้ว แต่พอมาช่วงหลัง ก็มีการติงกันว่าสภาต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก แล้วก็ต้องหาเจ้าหน้าที่ของสภาไปอีก ๗๗ ชุด ซึ่งมันวุ่นวายโกลาหลมาก แล้วก็กลายเป็นว่าตัดตรงนี้ไป แต่พอผมกลับไปแล้ว ในการทำงานในแต่ละภูมิภาคซึ่งจะแตกมาจังหวัดมันอาจจะทำงานได้ลำบากขึ้น เพราะเนื่องจากถ้าหากมีส่วนกลางอยู่ส่วนเดียว การทำงานมันค่อนข้างจะล่าช้า เมื่อสักครู่ ผมขอแปรญัตติไปแล้วว่าขอให้ยกเลิก (๓) ตัดทิ้งเสีย แต่เพิ่มมาเป็นกรรมาธิการวิสามัญ รับฟัง โทษนะครับ จะเอาตรงการมีส่วนร่วมหรือรับฟังความคิดเห็นมาก่อน แต่ว่าขอเป็น ภาคเหนือ ภาคกลาง และตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตรงนี้ผมยังคง คำแปรญัตติไว้ครับ ขอร้องเพื่อนสมาชิกผ่านท่านประธานนะครับว่า จะให้เราทำงานนั้น ขอความกรุณาจะได้ทำงานได้เต็มที่ยิ่งขึ้น แล้วก็ถ้าหากมีอะไร คือพวกเราในแต่ละกลุ่มภูมิภาค จะได้ทำงานได้เร็วขึ้น ขอกราบเรียนท่านประธานเพียงแค่นี้ละครับ ขอขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เดี๋ยวจะถามมติครับถ้าถึงตอนสรุปทั้งหมด ขออนุญาตไปที่ท่านอาจารย์ประเสริฐนะครับ

นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ประเสริฐ ชิตพงศ์ สปช. สงขลา ขออนุญาตที่จะมีความเห็นในข้อ ๘๔ (๓) บังเอิญได้มีโอกาสคุยกับ ท่านประชาเมื่อสักครู่หลังจากที่ท่านได้นำเสนอใน (๓) แล้ว แล้วก็ได้มีโอกาสคุยกันอย่าง เร่งด่วนกับสมาชิก สปช. ได้มาจากจังหวัดหลาย ๆ ท่านว่า ใน (๓) นั้นอย่างที่ท่านเลิศรัตน์ได้ กรุณาหลังจากที่ได้รับฟังท่านประชาแล้ว บอกว่าให้คงไว้ว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนเอาไว้เพียงแค่นั้น แล้วดูเหมือนว่าจะให้ตัดประโยคที่ตามหลังมาทั้งหมดเลยของอนุนี้ ได้คุยกับท่านประชา แล้วก็ได้สอบถามโดยเร่งด่วนกับ สปช. จังหวัด หลายท่านเลยนะครับ เพราะเรากังวลว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ในระดับจังหวัดจะทำงานลำบากโดยที่ไม่มีผู้ที่จะเข้ามาร่วมเลย ก็อยากจะขอให้ คงไว้ในประโยคตั้งแต่ที่บอกว่า โดยให้พิจารณาจัดตั้งอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัด ขอเสนอเป็นว่าให้เหลือเป็นประจำจังหวัด ตามความเหมาะสมนะครับ คือในเรื่องของระดับภาคนี้จะเอาหรือไม่ตามที่ท่านโกวิท ได้กรุณาอภิปรายนั้น อันนั้นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งนะครับ แต่ว่าในระดับจังหวัดอยากจะ ขอให้คงไว้นะครับ ไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่มีแขนขาที่จะทำงานเลยในระดับจังหวัดนะครับ ผมขออนุญาตที่จะคงประโยคนั้นไว้ แต่ว่าอาจจะตัดคำว่า ประจำภาค หรือจะให้มีหรือไม่ ก็ได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาประเด็นที่ท่านโกวิทได้พิจารณา แต่ส่วนที่ได้ปรึกษากับ ท่านประชา ซึ่งท่านเป็นผู้เสนอในตอนต้นของอนุนี้ก็ขออนุญาตที่จะคงอนุประจำจังหวัด ไว้นะครับ ตามความเหมาะสมนะครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกที่เคารพครับ เวลานี้ ๒๐.๑๘ นาฬิกา เรากำลังอยู่ที่ข้อ ๘๔ แล้วก็ยังมีข้อบังคับ ที่จะเหลือพิจารณาอีก ๕๘ ข้อ ก็ได้โปรดกรุณาคำนึงถึงเวลาตรงนี้ด้วยนะครับ เพราะว่า ไม่อย่างนั้นเราจะต้องอยู่ข้ามคืนนะครับ คือถ้าไม่เสร็จมันก็จะมีปัญหาว่าพรุ่งนี้ ก็ตั้งกรรมาธิการไม่ได้ก็ลงมือพิจารณากันใหม่ แล้วก็ถ้าล่าช้าไปนี่นะครับท่านสมาชิก คงจะเห็นแล้วว่ามันก็จะข้ามไปอาทิตย์หน้า ก็ขออนุญาตเรียนไว้แค่นี้ครับ ต่อไป พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ ขอเชิญครับ

พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ กระผม พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากจังหวัดมุกดาหาร ข้อ ๘๔ นะครับ (๑) (๒) ผมไม่ติดใจนะครับ แต่ว่าผมอยากจะ แปรญัตติใน (๓) คือคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ของประชาชนโดยให้พิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ของประชาชนประจำจังหวัด ตัด ภาค ออกไป ตามความเหมาะสม ก็เนื่องจากว่าในขณะนี้ ตามที่ผมได้ลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยือนพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารก็มีอยู่ ๓ หน่วยงานที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการที่จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ประจำจังหวัด หน่วยงานที่ ๑ ก็คือสภาพัฒนาการเมืองจังหวัด หน่วยงานที่ ๒ ก็คือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และหน่วยงานที่ ๓ ก็คือสภาองค์กรชุมชน ระดับตำบลของจังหวัด เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าได้ตัด (๓) ให้เหลือเฉพาะคณะกรรมาธิการ วิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตัด ภาค หรือ จังหวัด ออกไป ผมคิดว่าสภาปฏิรูปแห่งชาติของเราไม่มีมือ ไม่มีขาที่จะช่วยท่านได้ เพราะฉะนั้นผมก็เห็นว่า ให้ควรคงไว้นะครับ คงไว้ให้ตัดคำว่า ประจำภาค ออกไปให้เหลือ จังหวัด นะครับ อันนี้ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะว่าประชาชนในต่างจังหวัดนั้นเขาก็อยากจะให้ ความร่วมมือแล้วก็แสดงความคิดเห็นในการปฏิรูปครั้งนี้ เนื่องจากว่าท่านประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก็ได้ให้ความเห็นว่าบุคคลที่เป็นผู้สมัครรับการสรรหาตามจังหวัดนั้น ที่ไม่ได้รับการสรรหา บุคคลเหล่านั้นเขาก็อยากจะมีส่วนร่วมในการปฏิรูปเช่นเดียวกัน ในการจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นระดับจังหวัดผมคิดว่าก็มีความสำคัญ โดยให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดแต่ละจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมาธิการ แล้วก็ตั้งบุคคลที่เข้ารับการสรรหาแต่ไม่ได้รับสรรหามาเป็นอนุกรรมาธิการส่วนหนึ่งด้วย ผมว่าการทำงานในครั้งนี้ก็จะรวดเร็วยิ่งขึ้นนะครับ กราบขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมขออนุญาตนิดนะครับ เข้าใจว่าท่านประธานกรรมาธิการท่านจะยอมกลับไปคงข้อความ ทำนองเดิมไว้แล้วนะครับ คือให้มีอนุกรรมาธิการรับฟังความเห็นและมีส่วนร่วม ของประชาชนประจำภาคและประจำจังหวัด เพื่อว่าท่านสมาชิกที่จะขึ้นมาอภิปรายในตรงนี้ ก็จะได้คิดเอาไว้ในใจว่าท่านยินดีกลับไปเป็นแบบเดิมแล้ว เพราะฉะนั้นก็จะมี ๒ ประเด็นอยู่เท่านั้นตรงนี้ คือ ๑. จะเอาตามคณะกรรมาธิการที่แก้แล้วข้อความเดิม กับ ๒. ที่คุณโกวิทเสนอให้แยกเป็น ๔ ภาค ถ้าประเด็นนี้ไม่มีประเด็นอื่นผมว่าท่านสมาชิก ช่วยกรุณาอภิปรายตรงอื่นด้วยนะครับ ต่อไปขอเชิญคุณหมออำพลครับ ถ้าอย่างนั้น ก็ขออนุญาตเพื่อไม่ให้เสียเวลาไปยังคุณสุกัญญา สุดบรรทัด เลยครับ

นางสุกัญญา สุดบรรทัด ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน สุกัญญา สุดบรรทัด จากด้านสื่อสารมวลชนนะคะ ดิฉันขออภิปรายในข้อ ๘๔ (๔) เรื่องคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป การปฏิรูปครั้งนี้แน่นอนว่าทำเพื่อประชาชน แล้วก็เป็นสิ่ง ที่ถูกต้องอย่างยิ่งเท่าที่ดิฉันได้รับฟังมาตลอดวันนี้ได้มีการพูดถึงการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปครั้งนี้นะคะ แต่ว่าดิฉันมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ซึ่งคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์ตรงที่ว่าเรามักจะพูดถึงเรื่องของการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน โดยที่เรายังไม่รู้เลยว่าประชาชนนั้นเข้าใจในสิ่งที่เรากำลังจะปฏิรูปหรือไม่ ประเด็นที่เราจะปฏิรูปจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากต่อความเข้าใจ ดิฉันต้องอ่านตั้ง หลายครั้งกว่าจะทำความเข้าใจได้ แล้วประชาชนซึ่งมีมากมายตลอดทั่วประเทศไทย การที่เขาจะทำความเข้าใจย่อมเป็นสิ่งที่ลำบากอยู่พอสมควรทีเดียวนะคะ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องวิสัยทัศน์และการออกแบบอนาคตประเทศไทย วิสัยทัศน์แปลว่าอะไรชาวบ้านจะเข้าใจ หรือเปล่า การออกแบบประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ชาวบ้านจะเข้าใจหรือไม่ ตรงนี้ในเมื่อ เรามีคณะกรรมาธิการวิสามัญประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป ดิฉันอยากจะกราบเรียนว่า จริง ๆ แล้วคณะกรรมาธิการชุดนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะช่วยงานในการรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน เนื่องจากว่าคณะกรรมาธิการชุดนี้สามารถเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม สำหรับประชาชนในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโปสเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือทุกสิ่งทุกประการ ที่ระบบการโฆษณาประชาสัมพันธ์สามารถจะช่วยได้นะคะ เพราะฉะนั้นเห็นว่าคณะกรรมาธิการชุดนี้จะสามารถทำประโยชน์อย่างยิ่งในเรื่องของ การทำความเข้าใจกับประชาชนในเบื้องต้นโดยผ่านสื่อชนิดต่าง ๆ และโดยการใช้สาส์น ที่เหมาะสมสำหรับประชาชนแต่ละกลุ่มพวกซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันนะคะ ดิฉันจึงอยากจะร้องขอให้ทางคณะกรรมาธิการวิสัยทัศน์ซึ่งท่านจะเป็นผู้ที่ออกแบบ เป็นผู้ที่สร้างโครงร่างวิสัยทัศน์ของประเทศออกมาได้กรุณาส่งโครงร่างต่าง ๆ เหล่านั้นมายัง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพื่อที่จะให้กรรมาธิการชุดนั้นได้ดำเนินการจัดการออกรูปแบบ การประชาสัมพันธ์ แล้วก็พรมไปทั่วประเทศ ดิฉันคิดว่าจะช่วยกรรมาธิการในต่างจังหวัด ได้เป็นอย่างดียิ่งเลยค่ะ กราบเรียนท่านประธานค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปคุณพงศ์โพยมครับ ขอเรียนเชิญครับ

นายพงศ์โพยม วาศภูติ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพงศ์โพยม วาศภูติ สมาชิก สปช. ผมคงจะขออนุญาตตั้งข้อสังเกตเท่านั้นท่าประธานครับ ผมเชื่อว่าพวกเรามีความตั้งใจในเรื่องของการปฏิรูปประเทศอย่างเต็มที่ แล้วก็คาดว่า ในการดำเนินงานของกรรมาธิการชุดต่าง ๆ นั้นก็คงจะมีอนุกรรมการรวมทั้งข้อ ๘๔ ที่จะต้องไปต่างจังหวัดไปอะไร ผมก็เพียงแต่อยากจะฝากท่านประธานให้เจรจากับทางรัฐบาล ทางสำนักงบประมาณให้ดี ในเรื่องของงบประมาณค่าใช้จ่ายที่จำเป็นที่จะต้องใช้ เพราะว่าบางทีพวกเราก็คิดว่า เราจะได้รับการสนับสนุนเต็มที่ แต่เอาเข้าจริงก็ไม่แน่ใจครับ เพราะฉะนั้นกระผม ก็ขออนุญาตฝากท่านประธานในเรื่องงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของอนุกรรมาธิการ และการรับฟังความคิดเห็นในภาคและต่างจังหวัดไว้ด้วยครับผม ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ส่วนหนึ่งเข้าใจว่าท่านเลขาธิการและคณะเตรียมไว้แล้วนะครับ แต่ว่าถ้าจะเกินกว่าที่ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเตรียมไว้ก็ต้องตกลงกับทางสำนักงบประมาณนะครับ ผมเข้าใจว่าท่านสมาชิกได้อภิปรายกันมาพอสมควรแล้ว แล้วก็ไม่มีผู้แสดงความจำนง ที่จะอภิปรายต่อ จะเป็นไปได้ไหมท่านสมาชิกครับ ที่จะลงมติในประเด็นที่ติดค้างเพียง ๒ ประเด็น ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดนี่นะครับ จริง ๆ ติดค้างประเด็นเดียวด้วยซ้ำไป คือตาม (๓) ก็จะเหลือประเด็นที่จะเห็นตามท่านกรรมาธิการโกวิท คือเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ การมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนประจำภาคเหนือ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำภาคกลาง และภาคตะวันออก และประจำภาคใต้ ซึ่งเป็นญัตติที่เสนอทีหลังนะครับ กับที่อดีตคณะกรรมาธิการยกร่างเสนอว่า ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยให้ พิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำจังหวัดตามความเหมาะสมตามที่ท่านกรรมาธิการอาจารย์ประเสริฐเสนอ ผมขออนุญาตหารือท่านสมาชิกว่าก็จะมีประเด็นนี้ประเด็นเดียวที่ยังติดใจกันอยู่ ทีนี้ขออนุญาตอย่างนี้ครับ ท่านประธานได้ใช้วิธีการลงคะแนนเสียงซึ่งผมคิดว่าเป็นวิธี ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและเร็ว ก็ขอปรึกษาที่ประชุมตามข้อ ๖๖ นี่นะครับว่าแทนที่จะใช้ เครื่องออกเสียงลงคะแนน ผมจะขอใช้วิธีการยกมือธรรมดา ท่านสมาชิกผู้ใดเห็นเป็นอื่น ไหมครับ ท่านจะชี้แจงใช่ไหมครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ก่อนที่ท่านจะให้ลงคะแนน ผมอยากจะเรียนถาม ท่านสมาชิกประชาก่อนว่าโอเคไหมครับ

นายประชา เตรัตน์ ต้นฉบับ

ถูกต้องครับ เหลือให้ตั้งอนุกรรมาธิการจังหวัด ด้วยครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ตกลงผมขอหารือท่านสมาชิกนะครับว่า คือตามข้อบังคับปกติต้องให้ใช้เครื่องออกเสียง แล้วมันก็จะช้า ท่านประธานท่านได้วางบรรทัดฐานไว้ดีแล้ว แล้วท่านสมาชิกหลายคน เท่าที่ผมสดับตรับฟังดูชอบวิธียกมือมันเร็วดี ก็จะหารือท่านสมาชิกว่าจะขอมติที่ประชุมว่า ใช้วิธีการยกมือ ท่านผู้ใดเห็นเป็นอื่นไหมครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ถ้าไม่มีท่านผู้ใดเห็นเป็นอื่น ผมก็จะถามมติในข้อ ๘๔ นี้มีประเด็นที่จะต้องลงมติ เพียงประเด็นเดียว แล้วก็ตามข้อบังคับนั้นต้องเอาญัตติที่เสนอภายหลังขึ้นถามก่อน ผมก็จะขอเรียนถามท่านสมาชิกว่า ท่านผู้ใดเห็นด้วยกับข้อเสนอของกรรมาธิการโกวิท ที่ให้แบ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็น ๔ ภาค ขอได้โปรดยกมือขึ้นครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เจ้าหน้าที่ช่วยนับหน่อยนะครับ ครบหรือยังครับ ยังคงไว้หน่อยครับ คงไว้หน่อยท่านสมาชิก ท่านกรรมาธิการคงมือไว้หน่อย อันนี้เป็น๔ ภาค ตามข้อเสนอของท่านโกวิทนะครับ เอาละครับ อันนี้เป็น ๔ ภาคตามข้อเสนอของท่านโกวิทนะครับ เอาละครับ พร้อมหรือยังครับ ถ้าพร้อมแล้วก็เอามือลงได้ ท่านผู้ใดเห็นสมควรให้เป็นไปตามที่คณะกรรมาธิการ ของท่านเลิศรัตน์ที่ได้ปรับแก้แล้ว ขอได้โปรดยกมือขึ้นครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

อันนี้ก็เห็นชัดว่ามากกว่ากันเยอะแล้วนะครับ ไม่ต้องนับ ก็ไปเร็วดี ท่านผู้ใดงดออกเสียงครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขออนุญาตท่านเลขาธิการไปข้อ ๘๕ เลยครับ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๘๕ ภายใต้บังคับข้อ ๘๓ การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญให้ที่ประชุมสภา เลือกจากรายชื่อที่สมาชิกเสนอ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อได้ครั้งละหนึ่งชื่อหรือหลายชื่อก็ได้ การเสนอ ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การออกเสียงลงคะแนนเลือกกรรมาธิการให้สมาชิกออกเสียงลงคะแนน โดยเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเท่ากับจำนวนกรรมาธิการที่จะเลือกตามวิธีที่ประธาน กำหนด

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้ประธานและเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจนับคะแนน และให้ ประธานแจ้งผลการตรวจนับคะแนนและประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมาธิการ ในการประชุมครั้งนั้นหรือครั้งต่อไป

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้ถือว่าผู้ได้รับการเลือกเป็นกรรมาธิการตามวรรคสี่ดำรงตำแหน่ง กรรมาธิการนับแต่วันที่สภาลงมติเลือก

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๘๖ การประชุมคณะกรรมาธิการต้องมีกรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่า หนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ ในการประชุมคณะกรรมาธิการที่จะมีการลงมติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องมีกรรมาธิการ มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ และให้นำความในหมวด ๓ การประชุมและหมวดอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๘๗ ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็นจากกรรมาธิการในคณะนั้น ๆ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีมีผู้ที่ได้คะแนนเลือกตั้งในตำแหน่งต่าง ๆ ได้คะแนนเสียงเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับสลาก

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้กรรมาธิการผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการเป็น ประธานชั่วคราวของที่ประชุมเพื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่ง

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้มีผู้ช่วยเลขานุการคนหนึ่งประจำคณะกรรมาธิการแต่ละคณะ โดยให้ คณะกรรมาธิการแต่งตั้งจากรายชื่อข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตาม รายชื่อที่เลขาธิการจัดทำเสนอ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คณะกรรมาธิการมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมาธิการคณะละไม่เกินสิบห้าคน ซึ่งเลือกจากรายชื่อที่กรรมาธิการเสนอ เพื่อพิจารณาปัญหาอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมาธิการตามแต่จะมอบหมาย และนำข้อบังคับว่าด้วยกรรมาธิการมาใช้บังคับ โดยอนุโลม

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ประธานคณะอนุกรรมาธิการตามวรรคห้าต้องตั้งจากบุคคลที่เป็นกรรมาธิการ ในคณะนั้น

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เพื่อช่วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการจัดเตรียมรายงาน ด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีข้อมูลครบถ้วน คณะกรรมาธิการอาจแต่งตั้งผู้เตรียม รายงานคนหนึ่งหรือหลายคนจากผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท ซึ่งเคยทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ ให้มีหน้าที่เตรียมร่างรายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พร้อมข้อมูลสนับสนุน เสนอให้คณะกรรมาธิการได้พิจารณาตามที่คณะกรรมาธิการมอบหมาย

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วิธีปฏิบัติงาน และประโยชน์ตอบแทนของ ผู้เตรียมรายงานให้เป็นไปตามระเบียบรัฐสภา

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่าน พลเอก เลิศรัตน์ครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ในข้อ ๘๗ วรรคหก กรุณาอ่านตามผมนะครับ ขอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม ประธานคณะอนุกรรมาธิการตามวรรคห้า ต้องตั้งจากบุคคลที่เป็น กรรมาธิการในคณะนั้น ยกเว้นคณะอนุกรรมาธิการในข้อ ๘๔ (๓) ให้ตั้งจากสมาชิกที่ไม่เป็น กรรมาธิการในคณะได้ อีกครั้งหนึ่งนะครับ ยกเว้นคณะอนุกรรมาธิการในข้อ ๘๔ (๓) ให้ตั้งจากสมาชิกที่ไม่เป็นกรรมาธิการในคณะได้ เว้นแต่ มีคนแก้เพราะผมไม่ใช่นักกฎหมาย ก็เลยอาจจะคำพูดไม่ดีนัก ยกเว้น แก้เป็น เว้นแต่ นะครับ เว้นแต่คณะอนุกรรมาธิการในข้อ ๘๔ (๓) ให้ตั้งจากสมาชิกที่ไม่เป็นกรรมาธิการในคณะได้ ความหมายก็คือว่าปกติประธานอนุกรรมาธิการจะต้องเป็นกรรมาธิการในคณะนั้น แต่เนื่องจากอนุกรรมาธิการของจังหวัดอาจจะมีหลายสิบจังหวัดซึ่งมากกว่ากรรมาธิการ ที่อยู่ในคณะ ก็จึงเปิดช่องไว้ให้ท่านสามารถตั้งสมาชิกที่อยู่ในสภาท่านใดท่านหนึ่งไปทำหน้าที่ เป็นประธานอนุกรรมาธิการของจังหวัดได้ครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

มีผู้ขออภิปรายนะครับ ท่านแรกขอเรียนเชิญท่าน พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย ครับ

พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ผมขออนุญาตแปรญัตติ จะเติมข้อความในข้อ ๘๗ ซึ่งผมคิดว่าท่านสมาชิกหลายท่านเห็นด้วยว่าตำแหน่งต่าง ๆ ในคณะกรรมาธิการผมอยากให้เป็นตำแหน่งที่มาจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เท่านั้นครับ เพราะฉะนั้นขออนุญาตแปรญัตติเพิ่มข้อความในวรรคแรก ข้อ ๘๗ นะครับ ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก และตำแหน่งอื่น ตามความจำเป็นจากคณะกรรมาธิการในคณะนั้น ๆ ขออนุญาตเติมข้อความว่า โดยผู้ที่ได้รับ การคัดเลือกต้องเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเท่านั้นครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมขอปรับถ้อยคำนิดช่วยท่านได้ไหมครับ และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น จากคณะกรรมาธิการซึ่งเป็นสมาชิกในคณะนั้น ๆ แค่นี้ก็พอนะครับ ไม่จำเป็นต้องเขียน ให้มันยาวไปกว่านั้น อีกท่านหนึ่งครับ ท่านวิบูลย์ คูหิรัญ เชิญครับ

นายวิบูลย์ คูหิรัญ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายวิบูลย์ คูหิรัญ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมมีข้อหารือ ข้อ ๘๗ วรรคห้า คือในข้อ ๘๖ เราบอก เกี่ยวกับการประชุมไว้ด้วยว่าในการประชุมนั้นจะต้องมีจำนวนผู้ที่เข้าประชุมจำนวน ๑ ใน ๓ อะไรนี่นะครับ แต่ในเรื่องอนุไม่ระบุไว้นะครับ เพียงแต่ว่าได้บอกไว้ว่าให้นำข้อบังคับว่าด้วย กรรมาธิการมาใช้บังคับโดยอนุโลม อันนี้คลุมอันนี้ด้วยหรือเปล่าครับ หรือว่าเฉพาะเรื่องอื่น

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

นำมาทั้งหมดครับท่านครับ ท่านไม่ติดใจใช่ไหมครับ คือนำมาทั้งหมดครับเรื่ององค์ประชุมด้วย

นายวิบูลย์ คูหิรัญ ต้นฉบับ

ผมคิดว่าถ้าเผื่อให้บันทึกไว้หน่อยก็ดีครับ เผื่อว่าเดี๋ยว วันหลังมีการมาคิดอีก

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครับ ต่อไปก็คุณวันชัยครับ เชิญครับ

นายวันชัย สอนศิริ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม วันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านประธานครับ ผมเองไม่มีประเด็นที่จะแก้ไขหรือเพิ่มเติม แต่ประการใด แต่ผมมีสิ่งที่อยากจะเรียนถามท่านกรรมาธิการยกร่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวรรคเจ็ด ที่ระบุว่า เพื่อช่วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการจัดเตรียม รายงานด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีข้อมูลครบถ้วน คณะกรรมาธิการอาจตั้งผู้เตรียมรายงานคนหนึ่งหรือหลายคนจากผู้สำเร็จการศึกษา ไม่ต่ำกว่าปริญญาโท ซึ่งเคยทำการวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ ประเด็นตรงนี้ครับ ผมอยากขอถามว่า มีเหตุผลประการใด และบุคคลดังกล่าวนั้นจะหาได้จากที่ไหน อย่างไร และมีวิธีการอย่างไร มันมีที่มาที่ไปอย่างไร ขอรับรู้หน่อยนะครับ ก่อนที่จะใช้ข้อบังคับนี้ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขออนุญาตสภาชี้แจงแทนกรรมาธิการได้ไหมครับ เพราะผู้ทำหน้าที่ประธานเป็นคนเสนอเองครับ ท่านสมาชิกครับ ปกติการที่สภาใหญ่ ๆ อย่างนี้หรือคณะกรรมาธิการที่มีกรรมาธิการ เป็นจำนวนมากจะประชุมกันนี่ครับ ก็ระดมความเห็นได้ แต่ว่าความสำคัญของความสำเร็จ ของงานของกรรมาธิการนั้นอยู่ที่รายงาน ซึ่งจะต้องมีข้อมูลข้อเท็จจริงสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นในการประชุมระหว่างประเทศ เขาจะไม่จัดประชุมเปล่า ๆ แล้วก็นั่งประชุมกัน ๕ วัน ๑๐ วัน แล้วไม่มีอะไรครับ เขาจะเริ่มจากการที่ให้ที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า แรพพอร์เทอร์ (Rapporteur) ซึ่งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้น ๆ ไปยกร่างรายงานขึ้นมาก่อน แล้วก็ให้ แรพพอร์เทอร์ผู้นั้น ซึ่งเราเรียกว่าผู้เตรียมรายงานนี่นำเสนอทั้งตัวเนื้อรายงานซึ่งอาจจะยาว หรือไม่ยาวก็แล้วแต่ แล้วก็ข้อมูลประกอบทั้งหมด แล้วคณะกรรมาธิการก็ทำงานอยู่บน เอกสารนั้น เหมือนกับวันนี้เรามีข้อบังคับที่ท่านกรรมาธิการยกร่าง ยกร่างมาให้ดู ไม่อย่างนั้น ถ้าอภิปรายกันไปเฉย ๆ เรื่อย ๆ นี่นะครับ มันก็จะพูดกันไปเรื่อย แล้วเป็นด้วยเหตุดังนี้ครับ ในการทำงานขององค์การระหว่างประเทศทั้งหลาย เขาถึงมีเปเปอร์ (Paper) ออกมาดี ๆ ในสภาต่างประเทศรายงานของคณะกรรมาธิการที่เอาไปศึกษากันในมหาวิทยาลัยทั้งหลาย ก็ทำแบบเดียวกันนี้นะครับ ด้วยเหตุดังนี้ตัวผู้เตรียมรายงานต้องเป็นคนที่เคยทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์มา คือเขียนเป็น ค้นคว้าเป็น สภาปฏิรูปแห่งชาติมีเวลาประมาณปีหนึ่ง ถ้าไม่ทำงานแบบนี้นะครับ ใช้วิธีพูดกันไปเรื่อย ๆ งานก็จะออกช้า แล้วออกแบบอาจจะ ไม่มีข้อมูลตัวเลขสนับสนุนเพียงพอ นี่คือที่มา แล้วก็จึงต้องกำหนดว่าต้องเป็นคนเขียนเป็น แล้วก็ไม่ใช่ตั้งอย่างคณะกรรมาธิการของสภานี่ปกติเขาจะมีที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ และเลขานุการ อันนั้นประจำกรรมาธิการเลย แล้วเข้าใจว่าท่านเลขาธิการเตรียมงบประมาณ ไว้ให้ส่วนหนึ่ง กรรมาธิการแต่ละชุดก็มีสิทธิจะได้อย่างนั้นนะครับ แต่คนเหล่านั้นน่ะ ไม่ใช่คนพวกนี้ คนพวกนี้ทำรายงานเฉพาะเรื่อง เช่นวันนี้ทำรายงานเรื่องพลังงานทางเลือกเสร็จ พอกรรมาธิการแก้และเห็นด้วยแล้วก็พ้นไป อีกคนหนึ่งอาจจะทำเรื่องพลังงานปิโตรเลียม ทำเสร็จก็เลิกไป นี่ก็คือสิ่งที่จะมาช่วยให้การดำเนินงานของท่านสมาชิกและกรรมาธิการ มีรูปมีร่าง มีหลักมีฐาน มีข้อมูลสนับสนุนแล้วรวดเร็ว เมื่อเช้านี้ตอนที่ท่านประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติมาแสดงความยินดีกับท่านประธานก็ได้ยกประเด็นนี้ขึ้นกราบเรียนท่าน ผมพูดแค่ ๒ ประโยคเท่านั้นน่ะ ท่านก็บอกว่าเอาสิเสนอมา เพราะว่าในองค์การ ระหว่างประเทศและในอินเตอร์เนชั่นแนล คอนเฟอร์เรนซ์ (International conference) ทั้งหลายเขาใช้อย่างนี้ทั้งนั้นเขาถึงทำงานได้เร็ว อันนี้ก็ขออนุญาตชี้แจงแทน ท่านกรรมาธิการนะครับ ขออภัยท่านสมาชิกด้วยเพราะว่าบังเอิญเป็นคนเสนอครับ ท่านวันชัยยังติดใจไหมครับ

นายวันชัย สอนศิริ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม วันชัย สอนศิริ ขอบพระคุณครับท่านประธานที่ให้ข้อมูล แต่ประเด็นก็คือว่าคนพวกนี้หาที่ไหนครับ หายาก ไหมครับท่านประธาน ผมก็จะเป็นคณะกรรมาธิการสักชุดหนึ่งนี่ก็เลยว่าใครเป็นคนคัดเลือก เลือกอย่างไร ด้วยวิธีแบบไหน อันนี้ก็ขอสักนิดนะครับท่านประธาน

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ ดูข้อสุดท้าย คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วิธีปฏิบัติงานและประโยชน์ ตอบแทนให้เป็นไปตามระเบียบรัฐสภา ถ้าข้อบังคับนี้ผ่าน ผมคิดว่าจะต้องมีการทำตรงนี้ แล้วก็ต้องตั้งตุ๊กตาขึ้นมา หาไม่ยากหรอกครับ ถ้าเราจะหาจริง มันจะมีคนที่มีความรู้ เชี่ยวชาญอย่างนี้อยู่ในที่ต่าง ๆ เพียงแต่ว่าเขาไม่ได้มีโอกาสมาแสดงฝีมือเขาในการเขียน รายงานให้ท่านเท่านั้นนะครับ ก็ขออนุญาตผ่านไปได้นะครับท่านวันชัย ก็มีท่านผู้ขออภิปราย อีก ๒ ท่าน ๓ ท่าน เชิญคุณกอบกุลก่อนครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ขอบคุณค่ะท่านประธานคะ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาค่ะ สำหรับข้อ ๘๗ ดิฉันเข้าใจว่ากรรมาธิการ จะเป็นทั้งวิสามัญประจำและวิสามัญตามข้อ ๘๔ ซึ่งมีอยู่ ๕ ชุด ซึ่งถ้ารวม ๆ กันเข้ากับ ๑๘ เราก็จะมีประมาณ ๒๓ ชุด ๒๓ ชุด ถ้าเราต้องเตรียมผู้เตรียมรายงานแต่ละชุดคนหนึ่ง หรือหลายคน ประเด็นของดิฉันคือคนหนึ่งหรือหลายคนนี่มันต่างกันเยอะ อาจจะตั้งคนเดียว หรือตั้ง ๑๐ คน จริง ๆ คนที่จบปริญญาโท สาขาไหนก็ได้ เขาจะเคยทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ ถ้าเขาเป็นนักศึกษาแผน ก เรื่องอะไรก็ได้ เขาทำวิจัยเรื่องไหนก็ได้ หาไม่ยากแบบนั้น แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราต้องการหาคนที่ทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ในเรื่องที่สัมพันธ์กับชุดของเรา อันนี้ก็จะหายากขึ้น อย่างไรก็ตามตรงนี้เราเปิดไว้ แต่ดิฉันติดใจตรงคำว่า หรือหลายคน หรือหลายคนนี่อาจจะตั้งเป็น ๑๐ คนเลยก็ได้ ซึ่งตรงส่วนนี้ดิฉันว่ามันเปิดกว้างเกินไปนิดหนึ่ง น่าจะบอกว่าหรือหลายคนแต่ไม่เกินกี่คนนะคะประเด็นที่ ๑ ก็อยู่ในวรรคนี้ วรรคหก ใช่ไหมคะ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ทีนี้ขออนุญาตกลับไปวรรคหนึ่งนิดหนึ่ง เมื่อสักครู่นี้ท่านประธานได้กรุณา แก้ให้ว่า การเลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น เดิมมีผู้เสนอว่า ให้ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือแต่งตั้งตำแหน่งเหล่านี้ให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติเท่านั้น เนื่องจากเรามีคนนอกในทุกชุดเลย ทีนี้ถ้าเราแก้เป็นว่า ตามความจำเป็น จากกรรมาธิการซึ่งเป็นสมาชิกในคณะนั้นมันจะรวมทั้งคนในและคนนอก เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ อาจจะต้องชัดเจนอีกนิดหนึ่งว่า

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

สมาชิกอยู่ในบทนิยามครับท่านกอบกุล หมายถึงสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเท่านั้น คนนอก ไม่ใช่สมาชิกครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

แต่ก็บอกสมาชิกในคณะท่านคะ เขาเป็น กรรมาธิการ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เขาเป็นกรรมาธิการ เขาไม่ใช่สมาชิกครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ถ้าอย่างนั้นเอาเป็นว่าเป็นสมาชิก

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

โอเค คือตัดคำว่า สภาปฏิรูป ออกเท่านั้น โอเคค่ะ ดิฉันอาจจะจดผิด ไปจดว่า เป็นกรรมาธิการในคณะนั้น

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ก็คือ และตำแหน่งอื่น ในข้อนี้ ตามความจำเป็นมันจะสัก กี่มากน้อย แต่เราไม่น่าจะมีปัญหาในเรื่องของการเลือกสมาชิกคิดว่าถ้ามันมีเยอะ แต่จำนวน สมาชิกเราก็น่าจะ ดิฉันไม่แน่ใจวิสามัญเราจะมีเท่าไร วิสามัญทั่วไปนะคะ น่าจะมากกว่า วิสามัญประจำ ถ้าเผื่อคิดว่าไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติก็โอเคค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

อันนี้ยังเป็นข้อเสนอนะครับ ผมเพียงแต่ช่วยท่านอาณันย์เท่านั้น ต้องฟังกรรมาธิการว่าเขา เห็นอย่างไร ต้องกรุณาคิดไว้ในใจด้วยนะครับว่าตามระเบียบรัฐสภาท่านมีสิทธิจะตั้งที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ และเลขานุการ และที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ และเลขานุการนั้นไม่ใช่สมาชิกนะครับ เขียนจำกัดเกินไปก็แปลว่าคนเข้ามาไม่ได้เลยก็ต้องตั้งกันเองภายในนี้ ท่านกรุณาทบทวนให้ รอบคอบก็แล้วกัน เชิญคุณหาญณรงค์ต่อครับ

นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับท่านประธาน ผม หาญณรงค์ เยาวเลิศ คงต่อเนื่องจากผู้ช่วยผู้ปฏิบัติการนี่นะครับ ก็มีประสบการณ์ในการเขียนรายงาน ประเภทอย่างนี้ ก็แบ่งเป็นคณะ พอถึงเวลาประชุมเราก็เชิญประชุม คนเขียนนี่กว่าจะหาได้ ใช้เวลา ๒-๓ เดือน กว่าจะตรวจสอบคุณสมบัติได้ปาไป ๕ เดือน กว่าจะได้เขียนตกลงงาน เราเสร็จพอดี ฉะนั้นผมเลยเกรงว่าถ้าในข้อบังคับไปเขียนไว้ชัดเจนถึงขนาดนี้ว่าอย่างน้อย ต้องจบปริญญาโท หลักเกณฑ์นี้ก็อยู่ในกฎระเบียบอยู่แล้วซึ่งผมคิดว่าไปห้อยตอนสุดท้ายไว้ ซึ่งผมว่าหลายที่ก็จะเป็นแบบที่ทนายวันชัยว่า อันนี้ต้องขอเอ่ยนามท่าน เพราะว่า ประสบการณ์จากการทำงาน ผมทำเรื่องทรัพยากร บางคนก็รู้เรื่องป่าไม้แต่ไม่รู้เรื่องน้ำ บางคนรู้เรื่องแร่ไม่รู้เรื่องน้ำ ซึ่งผมว่าหลายเรื่องถ้าเอาคนที่จะทำเรื่องรายงานแต่เฉพาะ สุดท้ายต้องมานั่งประจำในกรรมาธิการ แล้วต้องฟังทุกครั้งในการที่จะเขียนรายงาน ไม่ใช่ค้นคว้าเพียงอย่างเดียว ฉะนั้นการเขียนรายงานกับทำวิทยานิพนธ์มันก็คนละเรื่องกันอีก ฉะนั้นผมก็ไม่แน่ใจว่าถ้าเขียนไว้อย่างนี้ โอเค เปิดกว้าง แต่เปิดกว้างแล้วถ้าขมวดด้วย คุณสมบัติ ผมคิดว่าตั้งแต่บรรทัดที่ ๒ เพื่อผู้ช่วยในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและ ครบถ้วน เพื่อให้เป็นไปตามที่กรรมาธิการมอบหมายในการทำรายงาน แล้วที่เหลือคุณสมบัติ ให้เป็นไปตามที่ระเบียบของสภา อันนี้ผมคิดว่ามันก็ต้องไม่มีตั้งแต่ อย่างเป็นระบบ เช่นว่า คนหนึ่งหรือหลายคนจบการศึกษา อันนี้ก็เอาออกก็ได้ครับอาจารย์ ไม่ต้องใส่นะครับ ท่านประธาน ผมคิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้มันก็จะทำให้เห็นง่ายขึ้น แต่ว่าสุดท้ายก็จะมีปัญหาเรื่อง เราจะหาใคร ที่ไหน อย่างไร อันนี้มันจะหมดเวลาไปเกือบครึ่งปีแล้ว ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านกรรมาธิการเสรีครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ขอเรียนท่านสมาชิกที่ได้เสนอความเห็นว่าการที่คณะกรรมาธิการ ได้แต่งตั้งผู้เตรียมงานนี่นะครับ ก็คือเข้ามาช่วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ อันนี้คือประเด็นสำคัญนะครับ ซึ่งผมเชื่อว่าในการทำงานของคณะกรรมาธิการทุกคน มีความรับผิดชอบ เพราะนี่คือเรื่องสำคัญของบ้านเมือง ผมเชื่อว่าการจะหาคนเข้ามานั้น ท่านจะต้องเลือกคนที่ช่วยงานท่านให้ได้มากที่สุด ผมไม่เชื่อว่าท่านจะไปเลือกคนที่ท่านรู้จัก คนที่สนิทสนมเพื่อให้มามีตำแหน่ง เพราะในวรรคนี้นะครับ เป็นเรื่องที่เราหาบุคคลมาช่วย ท่านเป็นผู้เตรียมรายงานซึ่งสำคัญมาก สำคัญกับผลงานที่จะเกิดขึ้น สำคัญต่อผลสำเร็จ ของงานที่ต้องหาผู้มีความรู้มาช่วยอย่างแท้จริง คราวนี้สิ่งที่ท่านวิตกหรือมีคำถามว่าจะหาคน ที่ไหน ผมก็มีความคิดเหมือนกันนะครับ จริง ๆ แล้วมีเยอะครับอย่างที่ท่านประธานพูด คนที่จบปริญญาโทเดี๋ยวนี้มีมาก แต่การจบปริญญาโทนี่นะครับ บางครั้งจบแล้วไม่เคยทำวิจัย บางครั้งไม่เคยทำวิทยานิพนธ์ แต่เราใส่เป็นคุณสมบัติสำคัญไว้เพื่อให้เขามีประสบการณ์ ในการวิเคราะห์ ในการรวบรวมหาข้อมูล นั่นละครับเขาจะเอาประสบการณ์เขานี่ละครับ มาช่วย โดยเราอย่าไปห่วงว่าจะต้องเป็นความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เราจะทำในเรื่องนั้นอย่างเดียว ดังนั้นคนที่จะมานี่นะครับ วิธีการนี่ไม่ยากเลยครับ นอกจากคนที่มาสมัครรอบก่อนเราแล้ว ไม่ได้ ท่านลองไปดูเลยครับ มีคนที่จบปริญญาโทเยอะ แล้วเป็นครูบาอาจารย์ก็เยอะนะครับ แล้วเขามีเวลาพร้อมที่จะมาช่วย อันนี้ข้อที่ ๑

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

ข้อที่ ๒ การกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ผมก็อยากจะเสนอท่านประธาน เหมือนกันครับ ท่านประกาศรับเลยครับ สภาปฏิรูปแห่งชาติต้องการบุคลากรที่เข้ามาเป็น ผู้ช่วยเตรียมงาน ก็เหมือนรับสมัครงานครับ แล้วเขาก็มีประวัติ เราสามารถเลือกได้ เพราะเราจะมีหลักสำคัญคือเราต้องเลือกคนที่มีความรู้ความสามารถจริง มาช่วยเราไม่ใช่มาเป็นภาระให้เรานะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ถ้ามีการประกาศรับนี่ครับ ผมว่าเยอะมาก แล้วเขาก็ต้องมาทำงานครับต้องเต็มเวลา ทำงานเต็มที่ มีความรู้จริง ๆ นี่คือจะช่วยงานท่านได้ ผมว่าที่ท่านประธานเสนอบุคลากรที่มาช่วยงานตรงนี้ครับ มันช่วยงานเราได้เยอะ แต่นอกจากนี้ท่านก็สามารถหาผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญงาน เลขานุการ ตามดุลยพินิจของท่านได้อีกส่วนหนึ่งอยู่แล้วไม่เกี่ยวกัน แต่บุคคลนี้คือคนที่ต้องมีมืออาชีพ มาช่วยท่านนะครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ก่อนที่จะให้อาจารย์สีลาภรณ์บอกว่ามีคนเยอะนี่นะครับ ผมเรียนท่านสมาชิกสักนิดหนึ่ง วันนี้ท่านมีเครื่องมือดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีมาแต่โบราณกาลของสภา คือ ๑. ที่ปรึกษา ๑ คน ผู้ชำนาญการ ๑ คน แล้วก็ผู้ช่วยปฏิบัติงานอีก ๓ คน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะ ไม่ค่อยได้ตั้งเป็นฝ่ายวิชาการ ด้วยความจำเป็นทางอะไรหลาย ๆ อย่าง ๒. ท่านมีที่ปรึกษา กรรมาธิการ ผู้ชำนาญการกรรมาธิการ และเลขานุการกรรมาธิการ เลขานุการที่เขาเรียก นี่นะครับ ซึ่งทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจัดงบประมาณไว้ให้คณะหนึ่งเท่าไร ไม่ทราบ เดี๋ยวท่านเลขาธิการจะชี้แจงพรุ่งนี้ อันนี้ก็อยู่กับท่านตลอดไปแต่ต้องเป็นมติของ กรรมาธิการ ถ้าเป็นสภาผู้แทนราษฎรเขาให้คณะละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท แล้วก็ไปแบ่งกันเอง ก็แล้วกัน ๓. ท่านมีคณะอนุกรรมาธิการที่ท่านพิจารณาอยู่ในข้อ ๘๗ วรรคห้า นี่คือเครื่องมือ ที่มีมาแต่โบราณกาลบรมขัต พ.ศ. ๒๕๔๐ เศษ ๆ แต่วรรคเจ็ด วรรคแปดนี่เป็นเครื่องมือใหม่ ที่ต้องการเอาคนมาทำงานให้เร็ว เพราะฉะนั้นไม่ใช่ตั้งเด็กจบเมื่อวานซืนนะครับ เจตนารมณ์ ของการตั้งตรงนี้ก็คือคนที่รู้ที่เล่นเรื่องนั้นอยู่แล้ว แล้วมีแหล่งข้อมูลจาก สกว. สวทช. สภาวิจัยแห่งชาติ จากมหาวิทยาลัยทั้งหลาย เดี๋ยวผมขออนุญาตให้อาจารย์สีลาภรณ์ อธิบายตรงนี้ให้ฟังนิดหนึ่งนะครับว่าแหล่งความรู้พวกนี้มันมีอยู่แต่มันไม่ได้เข้ามาสู่การใช้ ของฝ่ายการเมือง ทีนี้เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ใช่สภาการเมืองเราก็ควรจะเอาความรู้นั้น มาใช้ ขออนุญาตเรียนเชิญท่านสีลาภรณ์ครับ

นางสีลาภรณ์ บัวสาย ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สีลาภรณ์ บัวสาย กรรมาธิการค่ะ ในอีกตำแหน่งหนึ่งซึ่งดิฉันเป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย แล้วเราก็มีเครือข่ายนักวิจัยอยู่เรียกว่าทั่วประเทศ แล้วก็แทบจะเรียกว่าทุกสาขา โดยเฉพาะ สกว. เองดูงานวิจัย เรนจ (Range) ตั้งแต่เรื่องพลังงาน อุตสาหกรรม เกษตร การท่องเที่ยว คอร์รัปชัน การลดความเหลื่อมล้ำ นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนที่ทำร่วมกับเครือข่าย องค์กรบริหารงานวิจัย ๖ องค์กร คือ สภาวิจัย สกว. สวทช. สวก. คือวิจัยด้านเกษตร สวรส. คือด้านระบบสาธารณสุข แล้วก็ สวทน. เพราะฉะนั้นโดยเครือข่ายนี้น่าจะสามารถช่วยหามือ ดี ๆ ซึ่งน่าจะมากกว่าแค่คนเคยทำวิทยานิพนธ์เท่านั้นด้วย น่าจะเป็นระดับนักวิจัย ที่มีประสบการณ์ด้วยได้ แต่สิ่งที่จะต้องให้ข้อมูลก็คือเราต้องรู้สเปก (Spec) ว่าแต่ละคณะ ต้องการคนประสบการณ์อะไร บางทีเราอาจจะหานักวิจัยที่เป็นผู้รู้ผู้เล่นในเรื่องนั้นแล้วเขามี ลูกทีมที่เข้ามาสนับสนุนได้ เพราะฉะนั้นการหาตัวช่วยนี่คิดว่าพอเป็นไปได้นะคะ แล้วก็คงยัง มีอีกหลายหน่วยที่ยินดีร่วมมือกับทาง สปช. เพื่อการปฏิรูปประเทศค่ะ ขอบคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ข้อ ๘๗ นี่ยังมีท่านสมาชิกแสดงความจำนงอีก ๓ ท่านนะครับ คือคุณอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ คุณหมออำพล จินดาวัฒนะ และคุณนิรันดร์ พันทรกิจ ขอเชิญคุณอรพินท์ครับ

นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน อรพินท์ วงศ์ชุมพิศ สมาชิก สปช. ในข้อ ๘๗ ตรงวรรคห้านี่ค่ะ เท่าที่ดิฉันอ่านดิฉันเข้าใจว่าคณะกรรมาธิการ ตั้งใจจะให้การเลือกสมาชิกของคณะอนุกรรมาธิการซึ่งจะมีคณะละไม่เกิน ๑๕ คน ดิฉันเข้าใจเอาเองว่าเลือกจากรายชื่อที่กรรมาธิการคณะนั้นเสนอ แต่เวลาเขียนเราไม่ได้เขียน รัดกุมถึงขนาดนั้น ดิฉันเกรงว่าพอถึงเวลาที่เราจะตั้งอนุกรรมาธิการ เราจะมานั่งดูกันว่า กรรมาธิการเสนอหรือชุดนั้นเสนอ หรือชุดข้างนอกเสนอ หรือชุดอื่นเสนอได้ไหม ดิฉันอยากจะถามท่านกรรมาธิการว่าท่านเจตนาจะให้เปิดกว้างขนาดไหน แล้วเขียนให้ รัดกุมได้ไหม เวลาปฏิบัติจะได้ไม่มีปัญหา ขอบคุณค่ะ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี กรรมาธิการ คือการตั้งอนุกรรมาธิการเป็นแต่ละคณะนะครับ คณะใครคณะมันนะครับ แล้วก็คณะก็ตั้งกันเองได้ ไม่ใช่ไปตั้งข้ามคณะกัน ตรงหรือเปล่าไม่ทราบนะครับ

นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ ต้นฉบับ

หมายถึงว่าเสนอชื่อที่เสนอ อย่างดิฉัน อยู่กรรมาธิการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะตั้งอนุกรรมาธิการด้านป่าไม้ ดิฉันเข้าใจว่าอนุกรรมาธิการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะคัดเลือกรายชื่อมา แล้วมาคัดเลือกกันเอง แต่ถ้าเกิดมีกรรมาธิการด้านอย่างอื่น อย่างเช่น ด้านการเมืองบอกว่า ขอเสนอคนนี้เข้ามาเป็นสมาชิกด้วยจะได้หรือไม่ อยากให้ชัดเจนตรงนั้นค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ไม่มีธรรมเนียมนะครับ คณะไหนก็ตั้งคณะนั้นอย่างที่ท่านเสรีชี้แจงท่านสมาชิกครับ ถ้าเสนอข้ามคณะกันได้คงสนุกพิลึกครับ ขออนุญาตไปยังคุณหมออำพลนะครับ คุณหมอ อยู่ไหมครับ คุณหมอไม่อยู่ก็ขออนุญาตไปยังคุณนิรันดร์ พันทรกิจ ก่อนนะครับ

นายนิรันดร์ พันทรกิจ ต้นฉบับ

ขอบคุณท่านประธานครับ ผม นิรันดร์ พันทรกิจ ๑๑๕ ครับ ถามนิดเดียวครับ ในวรรคห้าที่บอกว่า คณะกรรมาธิการมีอำนาจตั้ง คณะอนุกรรมาธิการคณะละไม่เกินสิบห้าคน ซึ่งเลือกจากรายชื่อที่กรรมาธิการเสนอ เพื่อพิจารณาปัญหาอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการตามแต่จะมอบหมาย และให้นำข้อบังคับว่าด้วยกรรมาธิการมาใช้บังคับโดยอนุโลม คือปัญหาถามนิดเดียวครับว่า ในคณะกรรมาธิการ ในการตั้งคณะกรรมาธิการมีจำนวนสูงสุดไหมครับ อย่างผมเห็น ของท่านพิสิฐ คณะกรรมาธิการการเงินเสนอมาตั้ง ๙ ตั้ง ๑๐ คณะอนุกรรมาธิการอย่างนี้ มีกำหนดสูงสุดไหมว่าอนุกรรมาธิการแต่ละคณะตั้ง ตั้งได้เท่าไร คือจะได้คิดการณ์ถูกครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ในส่วนของอนุกรรมาธิการ เราให้เกียรติ กรรมาธิการทุกคณะนะครับ ที่จะพิจารณาจำนวนอนุกรรมาธิการที่เหมาะสม แต่สิ่งที่ท่าน จะต้องคำนึงถึง ท่านคำนึงถึงเจ้าหน้าที่ของสำนักกรรมาธิการที่มาดูแลกรรมาธิการท่านอยู่ ถ้าท่านจะตั้งอนุเยอะ ๆ เวลาท่านไปประชุม ท่านต้องจดกันเองนะครับ ไม่มีเจ้าหน้าที่ไปช่วย ท่านครับ แล้วก็งบประมาณด้วยนะครับ เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วก็คงจะ ๕-๖ ส่วนมาก ก็จะเป็นตัวเลขกลาง ๆ ที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นตัวเลขของแต่ละคณะ แต่ถ้าจะเกินไป ๗-๘ ก็ไม่เป็นไร ถ้าท่านแมนเนจ (Manage) ได้ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญครับ ท่านเสรี

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

ขออนุญาตเสริมนิดหนึ่งครับท่านประธานครับ ผม เสรี กรรมาธิการ คือกราบเรียนท่านอย่างนี้ครับว่าถ้าเป็นสภาอื่นเขาอาจจะกำหนดว่า ไม่เกินกี่คณะ แต่ในคณะกรรมาธิการเราได้พิจารณาแล้วนะครับ เราเห็นว่าภารกิจของเรา ๑. สั้น ๒. เชื่อว่าสมาชิกทุกท่านการตั้งอนุกรรมาธิการนั้นคือต้องมาทำงานในภารกิจสำคัญ ของท่านจริง ๆ แล้วก็เชื่อว่าด้วยความมีเกียรติของพวกเราคงจะไม่ไปตั้งเพื่อนกันมา คนรู้จักกันมา เพื่อให้มีบัตรนะครับ เพราะว่าส่วนใหญ่การเมืองจะใช้วิธีนี้เยอะพูดตามตรง แต่เราเชื่อด้วยสุจริตว่าท่านจะต้องหาคนที่มาทำภารกิจสำคัญ เพราะฉะนั้นอนุกรรมาธิการ ที่ท่านตั้งก็เลยไม่จำกัด เมื่อไม่จำกัดนะครับ ด้วยความเคารพท่าน ท่านต้องหาคนที่มาทำงาน ให้ท่านนะครับ ตรงนี้มันก็จะช่วยงานท่านได้ ถ้าเราไปจำกัดไปนะครับ เกิดมีภารกิจสำคัญ ๆ เกิดขึ้นมันก็จะติดปัญหา เลยให้เกียรติกันนะครับ เชื่อว่าท่านคงจะดูแลรักษาผลประโยชน์ ของท่านเองครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกที่เคารพครับ ๒๑ นาฬิกา ๗ นาที ๒๖ วินาที บัดนี้อยู่ที่ข้อ ๘๗ เรามีอีกประมาณ ๕๐ กว่าข้อ ผมคิดว่าท่านสมาชิกได้อภิปรายกันมาพอหอมปากหอมคอแล้วนะครับ แล้วกรรมาธิการขอแก้ ๒ จุด จุดที่ ๑ คือในวรรคหนึ่งนะครับ ท่านสมาชิกขอแก้ ท่านกรรมาธิการขัดข้องไหมครับ ซึ่งเป็นสมาชิก ใครนะครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

คุณสายัณห์ยังจะขออภิปรายใช่ไหมครับ เชิญครับ

นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ผม สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ครับ ด้านเศรษฐกิจ กระผมเห็นด้วยครับในการที่จะมีตำแหน่งแรพพอร์เทอร์ ประจำกรรมาธิการแต่ละชุด เพราะว่าจะเป็นตำแหน่งที่จะช่วยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ สรุปประเด็นสำคัญ ๆ ในการประชุมกรรมาธิการแต่ละครั้ง ซึ่งทั่วโลกเขาใช้กันนะครับ ทีนี้ผมมีข้อสังเกตอยู่ข้อหนึ่งอยากจะเรียนท่านประธานนะครับว่าตรงที่ว่าซึ่งเคยทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์นั้น ผมคิดว่าอยากจะให้เติมไปนิดหนึ่งว่า ซึ่งเคยทำรายงาน ทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ เพราะว่าปริญญาโทสมัยนี้ไม่ต้องทำวิจัยก็ได้นะครับ ทำรายงานก็ได้นะครับ เพราะฉะนั้นถ้าได้ผูกไว้ว่าต้องทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์อย่างเดียว มันก็อาจจะต้องเป็น การจำกัดขอบเขตมากจนเกินไป นั่นข้อที่ ๑ ข้อที่ ๒ ผมเรียนตรง ๆ นะครับว่าตำแหน่งนี้ หายากครับ ไม่ใช่หาง่ายนะครับ ถ้าสมมุติว่าทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบอกว่าหาได้ง่าย ผมก็อยากจะหาคนทำงานที่บริษัทผมด้วยครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ วรรคแรก กรรมาธิการไม่ขัดข้องที่จะเติมคำว่า และตำแหน่งอื่น ตามความจำเป็นจากกรรมาธิการซึ่งเป็นสมาชิกในคณะนั้น ๆ แต่ผมเตือนท่านสมาชิกแล้ว นะครับว่า ที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ และเลขานุการ จะต้องมาตีความกันละว่าจะต้องเป็น สมาชิกหรือเปล่า ท่านกรรมาธิการยังยืนยันว่าไม่ขัดข้องใช่ไหมครับ หรือท่านจะให้ลงมติ คือท่าน พันตรี อาณันย์ ท่านขอเติมว่า ประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก พวกนี้ที่เป็น ตำแหน่งสำคัญนี่นะครับ ควรจะตั้งมาจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่ทีนี้มันมีคำว่า ตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น อันนี้มันจะต้องมาตีความกันนะครับว่า ผู้ชำนาญการ ที่ปรึกษา เลขานุการ ที่ท่านมีสิทธิจะตั้งจากคนนอกแล้วมีเงินให้นี่จะกลายเป็นสมาชิกแล้วนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็นใช่ไหมครับ ที่ท่านถามผมนี่ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ใช่ครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

อันนี้ก็เป็นตำแหน่งที่อยู่ในคณะกรรมาธิการครับ เช่น ที่ปรึกษา เช่นอะไรอย่างนี้ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ซึ่งแปลว่าต้องเป็นสมาชิกทั้งหมดท่านยอมไหม

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ใช่ครับ ต้องเป็นสมาชิกถึงจะเป็นตำแหน่ง พวกนี้

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ขัดข้อง ท่านเสรีก่อนนะครับ แล้วเดี๋ยวท่านกอบกุล ท่านคำนูณครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

ขออนุญาตครับ กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผมเห็นด้วยกับท่านประธาน เพราะคำว่า ตำแหน่งอื่น นี่มันกว้าง แล้วมันอาจจะเกิดปัญหา ในอนาคตได้ ถ้าท่านเจตนาที่จะให้ ประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก เป็นสมาชิก นี่ครับ ก็ขอย้ายข้อความ ซึ่งเป็นสมาชิก นี่นะครับ ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเลือก ประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก ซึ่งเป็นสมาชิก

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

จากผู้ซึ่งเป็นสมาชิก

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

จากผู้เป็นสมาชิกครับ และตำแหน่งอื่น ตามความจำเป็นจากกรรมาธิการในคณะนั้น ก็จะทำให้คลายตัวขึ้นครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

พันตรี อาณันย์ขัดข้องไหมครับ ตำแหน่งสำคัญเป็นสมาชิกหมด

พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ไม่ขัดข้องครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ถ้าอย่างนั้นยุติ วรรคหนึ่งไม่ต้องลงมตินะครับ วรรคสองไม่มีผู้ติดใจ วรรคสามไม่มีผู้ติดใจ วรรคสี่ เชิญท่านกอบกุลครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ขอบพระคุณท่านประธานคะ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิกค่ะ คือวรรคหนึ่งทำได้ ๒ แนวทางนะคะ ดิฉันขอเมื่อสักครู่นี้กำลังคิดว่า แนวทางไหนจะดีกว่ากัน อย่างที่ท่านกรรมาธิการเสนอนี่ก็หมายความว่าจะให้เป็นสมาชิก เฉพาะตำแหน่ง ประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก ๔ ตำแหน่งเท่านั้น แล้วที่เหลือเป็น กรรมาธิการ แต่ก็ยังจะต้องเป็นกรรมาธิการที่เป็นคนนอก เช่น เราได้ไม่เกิน ๒๕ เปอร์เซ็นต์นั้น ซึ่งจะแตกต่างจากการที่เราจะไปตั้งที่ปรึกษาเพิ่มเติม หรือตำแหน่งเลขานุการ หรือผู้ช่วยเลขานุการที่มีเงินเดือนจะใช้เงินได้ จากบุคคลภายนอกที่ไม่ต้องเป็นกรรมาธิการ เพราะเราจะได้มีคนช่วยเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นดิฉันยังคิดว่ามันมี ๒ แนวทาง ถ้าไม่เป็น อย่างที่ท่านเสรี ขออนุญาตเอ่ยนามเสนอนี่ ดิฉันก็อยากจะเสนอว่าตำแหน่งที่จะให้เป็น สมาชิกในคณะนั้น ๆ กำหนดลงไปเลยดีไหมคะว่าจะกี่ตำแหน่ง ที่เหลือนี่เปิดกว้าง เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องการเพียงประธาน รองประธาน เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ ถ้าจะเอาด้วย โฆษก ผู้ช่วยโฆษก ถ้าจะมี ๒ คน แล้วก็อาจจะมีประธานที่ปรึกษาที่เราอยากให้ อยู่ในคณะนั้น ที่เหลือไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาหรือตำแหน่งที่จะไปใช้เงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาทได้ เราเปิดกว้างว่าจะเป็นใครก็ได้ ถ้าอย่างนั้นวิธีเขียนจะกลับกัน กับที่ท่านเสนอ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เวลานี้ท่านเสรีเสนออย่างที่ท่านพูดนั่นแหละ ข้อความจะเป็นอย่างนี้ครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ไม่ค่ะ เพราะว่าท่านเสนอว่าตำแหน่งอื่น ต้องจากกรรมาธิการ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

มิได้ครับ ข้อความจะเป็นอย่างนี้ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก จากผู้เป็น สมาชิก และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็นจากกรรมาธิการในคณะนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า คนนอกที่เป็นกรรมาธิการนี่เป็นตำแหน่งอื่นได้ เป็นประธานที่ปรึกษาได้

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

คนละความหมายกับที่ดิฉันพูดค่ะ ท่านประธานคะ ความหมายของดิฉันคือตำแหน่งอื่นตามความจำเป็นนี่ไม่จำเป็นต้องจาก กรรมาธิการในคณะนั้นเท่านั้น จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก จากใครก็ได้ที่เราไม่ได้ เชิญมาใน ๕ คนที่เป็นคนนอก สมมุติเรามี ๑๕ คน หรือ ๖ คนก็ตาม จะเปิดกว้างขึ้น อีกนิดหนึ่ง เพราะบางทีที่ปรึกษาเราต้องการอีก มีเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาทนี่เราก็สามารถจ้าง ที่ปรึกษาได้ คนที่อยู่ในกรรมาธิการใช้เงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาทไม่ได้ จะต้องเป็นคนที่อยู่ นอกกรรมาธิการ เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องการที่ปรึกษาที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ไม่ได้เชิญ เข้ามาเป็น ๕ หรือ ๖ คน คนละความหมายกันค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ เจตนารมณ์ของข้อนี้นะครับ เฉพาะตำแหน่งในกรรมาธิการเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงพวก ๑๕๐,๐๐๐ บาท พวกผู้ช่วยเลขานุการหรือผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย เหมือนกับพอเราได้รับการแต่งตั้งเสร็จในวันจันทร์หน้าท่านก็ไปประชุมกันในกลุ่มของสมาชิก แล้วก็เลือกตำแหน่งต่าง ๆ คำว่า ตำแหน่งอื่น ๆ ก็คือ ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ผู้ช่วยเลขานุการ อย่างที่ท่านว่านี่ ซึ่งเราก็เปิดให้กับกรรมาธิการทั้งคณะเป็นได้ ไม่จำกัด เฉพาะสมาชิก ตามที่ท่านเสรีเสนอก็จำกัดเฉพาะแค่ ๔ ตำแหน่ง ซึ่งจริง ๆ รองประธาน นี่บางคณะก็มี ๒ ๓ ๔ ๕ นะครับ เพราะฉะนั้นก็คิดว่าเพียงพอแล้วนะครับสำหรับการจำกัดว่า จากผู้เป็นสมาชิก และตำแหน่งอื่น ต้องการจะเป็นจากกรรมาธิการในคณะนั้น ๆ ผมคิดว่า โอเคนะครับ ท่านกอบกุลครับ เดี๋ยวจะได้กลับไปนอนครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ตกลงท่านสมาชิก ท่านกรรมาธิการกอบกุลยอมใช่ไหมครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ ดิฉันไม่ได้อยู่ที่เรื่องยอม ไม่ยอม แต่ในทางปฏิบัติดิฉันว่าเข้าใจไม่ตรงกัน

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ไม่ติดใจ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ไม่ติดใจ แต่ว่าดิฉันว่าเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ท่านจะใช้ไม่ได้ เพราะว่าต้องจากกรรมาธิการ กรรมาธิการเบิกเงินสดนี้ไม่ได้ เราเอาคนนอก มาช่วยไม่ได้นะคะท่าน เพราะฉะนั้นตรงนี้มันต่างกันนะคะความหมาย

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านเลิศรัตน์ครับ ผมค่อนข้างจะคล้อยตามท่านกอบกุลนะ ถ้าตัดคำว่า จากกรรมาธิการ ในคณะนั้น ๆ ออกเสีย มันก็จะได้ไม่ต้องเถียงกัน ก็จะเป็นข้อความว่า ให้คณะกรรมาธิการ แต่ละคณะเลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก จากผู้เป็นสมาชิก และตำแหน่งอื่น ตามความจำเป็น หรือจะเขียนให้สวยกว่านี้ก็ต้องเขียนใหม่ ต้องเขียนว่า ให้คณะกรรมาธิการ แต่ละคณะเลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น แต่ประธาน รองประธาน เลขานุการ และโฆษก จะต้องเลือกจากผู้เป็นสมาชิก แค่นี้ ก็แปลว่าจะได้ไม่ต้องเถียงกันครับ แล้วมาตีความกันในภายหลัง ได้ไหมครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ท่านดูจากวรรคสองก็จะเห็นชัดเจน มันเจตนารมณ์ชัดเจนครับ ในเรื่องนี้ แล้วเราก็ทำกันมาในทุกคณะทุกสมัย ตรงนี้เราไม่พูดถึงพวกที่มาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ในอนาคตหรือว่าแม้แต่พวกที่กินเงินเดือนเรานี่ อันนั้นเป็นข้อเสนอของหลังจากจัดตั้งเสร็จ แล้วก็จะมาประชุมกันว่าจะเอาใครมาเป็นเลขานุการกี่คน มาเป็นผู้ชำนาญการกี่คน นั่นไม่เกี่ยวเลยครับกับในวรรคนี้ครับ ยืนยันได้ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เอาล่ะครับ ก็เป็นอันว่ายืนยัน เพราะฉะนั้นก็เติมเฉพาะข้อความ จากผู้เป็นสมาชิก วันนี้มีคน ยกมือเพิ่มอีก ๒ คนแล้วนะครับ คือคุณไพโรจน์ พรหมสาส์น กับคุณหมออำพล เชิญคุณไพโรจน์ครับ

นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ กระผม ไพโรจน์ พรหมสาส์น สปช. นะครับ ผมอยากจะเรียนว่าผมได้พลิกดูข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี ๒๕๕๗ นี่แหละครับ ในข้อ ๙๑ เขาเปิดกว้างไว้นะครับ ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะ เลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็นจาก กรรมาธิการในคณะนั้น ๆ อันนี้เขาเป็นอย่างนี้เลยนะครับ ฉะนั้นเราจะมาปิดให้มันแคบเข้า ตั้งจากสมาชิกเท่านั้น เดี๋ยวตั้งไม่ได้เราจะมีปัญหาต้องมาแก้ไขข้อบังคับอีก ผมอยากจะเรียนว่า เอามาตรฐาน สนช. ที่เขามีอยู่แล้วจะดีไหม ร่างเดิมที่ท่านร่างมาดีแล้ว อย่าไปเปลี่ยน เลยครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครับ เชิญครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ในข้อ ๙๑ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นอย่างที่ท่านสมาชิกได้กรุณาพูดให้ฟัง ก็เหมือนกับข้อความเดิมของเรานั่นเอง แต่เหตุผลที่ เราปรับเปลี่ยนตามที่มีท่านผู้เสนอนี่ก็เนื่องจากว่าเราได้กำหนดเฉพาะตำแหน่งหลัก ๆ ๔ ตำแหน่งนี่ให้เป็นตำแหน่งที่ให้สมาชิกเป็น แล้วที่จริงแล้วกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก จะเข้ามาอยู่ในคณะเรานี่ก็ต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์นะครับ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๓ สัปดาห์ ในการเขียนของ สนช. เขาจึงไม่ได้มาพูดถึงว่าสำหรับผู้เป็นสมาชิกในการปิดกั้น ๔ ตำแหน่งนั้น นั่นเป็นเหตุผลครับ ของเราเป็นวิสามัญมีคนนอกเราจึงต้องมีความรัดกุมมากขึ้น แล้วก็ข้อเสนอของท่านสมาชิกในทางปฏิบัติแล้วก็จะเป็นอย่างนั้นนะครับ ถึงเขียน หรือไม่เขียนก็เป็นอย่างนั้นอยู่ดี เพราะว่าพอเราได้ท่านรองทัศนาเลือกเราเสร็จวันจันทร์บ่าย นี่เราจะวิ่ง หรือวันอังคารบ่าย ถ้าวันจันทร์เรายังสัมมนาอยู่เราก็จะวิ่งเข้าห้องแล้วก็ เลือกตำแหน่งเหล่านี้ โดยยังไม่มีท่านที่ไม่ใช่สมาชิกมาอยู่กับเรา เขาจึงเขียนไว้ ซึ่งก็จะสอดคล้องกับการปฏิบัติจริงอยู่แล้วครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครับ ก็มีผู้อภิปรายอีก ๓ คนนะครับ หมออำพลครับ ขออนุญาตขอไปยังพันตำรวจโท จิตต์ เชิญครับ แล้วก็มีต่อจากท่าน พันตำรวจโท จิตต์ ก็อาจารย์ประเสริฐ แล้วก็อาจารย์ดุสิต นะครับ

พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ กระผม พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จังหวัดมุกดาหารครับ ผมอยากจะถามคณะกรรมาธิการนะครับ วรรคห้าครับ วรรคห้า นี่เขียนว่า คณะกรรมาธิการมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมาธิการคณะละไม่เกินสิบห้าคน ซึ่งเลือกจากรายชื่อที่กรรมาธิการเสนอ อันนี้อยากจะถามย้อนไปข้อ ๘๔ (๓) นะครับที่ว่า ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำจังหวัดอันนี้ผมอยากจะให้มีวรรคหกขึ้นมานะครับ วรรคหกขึ้นมาก็คือ คณะกรรมาธิการเดิมมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมาธิการคณะละไม่เกิน ๑๕ คน ก็น่าจะเป็น คณะกรรมาธิการ ๑๘ คณะนะครับ แล้วก็คณะกรรมาธิการวิสามัญตามข้อ ๘๔ (๑) (๒) (๔) (๕) อันนี้ ๑๕ คน ผมไม่ขัดข้องนะครับ แต่ว่าคณะอนุกรรมาธิการประจำจังหวัดผมอยากจะให้คณะละไม่เกิน ๓๕ คน เพราะว่า ต่างจังหวัดคนที่สมัครรับการสรรหามากจริง ๆ นะครับ อยากจะเข้ามามีส่วนร่วม เพราะว่าคณะอนุกรรมาธิการประจำจังหวัดเป็นคณะอนุกรรมาธิการชั่วคราวทำงาน ประมาณ ๑ เดือนเสร็จ หรือไม่เกิน ๒ เดือนนะครับ ผมอยากจะให้มีมาก ๆ หน่อยครับ กราบขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ อาจารย์ประเสริฐจะเป็นคนสุดท้ายนะครับ เพราะว่าหาไม่แล้วท่านสมาชิก จะต้องอยู่ถึงสองยามแน่ เชิญท่านอาจารย์ประเสริฐนะครับ

นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผมไม่มีประเด็นที่จะติดใจแล้ว เพราะว่าท่านเลิศรัตน์ได้กรุณาชี้แจงไปแล้วครับในกรณีที่ สนช. เขาตั้งกรรมาธิการ โดยกรรมาธิการเอาคนนอกไม่ได้ เพราะเขาไม่มีคนนอก ท่านได้ชี้แจงไปแล้วครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ วันนี้กรรมาธิการแก้ ๒ จุดเท่านั้น คือวรรคแรกเติมคำว่า จากผู้เป็นสมาชิก ลงไปหลังคำว่า โฆษก แล้วก็ในวรรคหกเติมคำว่า ผมอ่านทั้งวรรคนะครับ ประธาน คณะอนุกรรมาธิการตามวรรคห้าต้องตั้งจากบุคคลที่เป็นกรรมาธิการในคณะนั้น เว้นแต่ คณะอนุกรรมาธิการในข้อ ๘๔ (๓) ให้ตั้งจากสมาชิกที่ไม่ได้เป็นกรรมาธิการในคณะได้ ประเด็นอื่นท่านสมาชิกยังติดใจไหมครับ อาจารย์ดุสิตยังติดใจอยู่ เชิญครับ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม สิ่งที่ผมอยากจะขอหารือก็คือกรณีที่จะต้องมีการยกร่างพระราชบัญญัติว่าจะใช้วิธีการใด หรือว่าจะใช้ให้มีการตั้งอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ. แล้วก็คนที่จะมาช่วยยกร่างนั้น จะเป็นใคร รายละเอียดเหล่านี้เราน่าจะกล่าวอยู่ในข้อ ๘๗ หรือว่าจะยกไปอยู่ที่หมวด ๕ ก็ได้ไม่ขัดข้องครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ความจริงมันมีเครื่องมือหลายอย่างท่านอาจารย์ดุสิตครับ ขออนุญาตข้อ ๘๗ ผมเรียน สอบถามท่านสมาชิก ถ้ากรรมาธิการแก้ใน ๒ ประเด็นนี้ ประเด็นอื่นท่านสมาชิกยังติดใจ จะให้แก้ไหมครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ถ้าไม่ติดใจให้แก้ ผมถือว่าท่านสมาชิกเห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการแก้ไข ขออนุญาตเชิญ ท่านเลขาธิการไปข้อ ๘๘ ครับ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๘๘ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการ หรือมี แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ในกรณีที่มีรองประธานคณะกรรมาธิการหลายคน ให้รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการ ถ้ารองประธานคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่งไม่มีหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานคณะกรรมาธิการลำดับต่อไปเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน คณะกรรมาธิการ ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการแล้ว หรือมี แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมคณะกรรมาธิการมีมติแต่งตั้งกรรมาธิการคนใด คนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการ

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่คณะกรรมาธิการใดมีรองประธานคณะกรรมาธิการคนเดียว ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๘๙ การเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาศึกษาอยู่ ให้ทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อประธานคณะกรรมาธิการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน

นางพรรณิภา เสริมศรี ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การนัดประชุมคณะกรรมาธิการนอกจากครั้งแรก ให้ทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อเลขานุการคณะกรรมาธิการหรือผู้ทำหน้าที่แทนเลขานุการคณะกรรมาธิการ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านอาจารย์อมรครับ

นายอมร วาณิชวิวัฒน์ ต้นฉบับ

กราบขออนุญาตท่านประธานและสมาชิก ผู้ทรงเกียรติครับ ผม อมร วาณิชวิวัฒน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการเมืองครับ ขอรบกวนเวลาอย่างกระชับ เพราะว่าโดยข้อ ๘๙ ต่อเนื่องถึงข้อ ๙๐ ในฐานะที่เคยมาเป็น ประธานคณะอนุกรรมาธิการของสภาในหลายคณะด้วยกัน มีประสบการณ์ที่อยากจะฝาก เป็นข้อคิดแล้วก็อาจจะคิดนอกกรอบให้สมาชิกได้ลองหารือร่วมกันนะครับ เพราะว่า ที่ผ่านมานั้นเราเคยมีการเรียนเชิญบุคคลภายนอกเข้ามาชี้แจง ซึ่งหลาย ๆ ครั้งเราเคย เรียนเชิญบุคคลซึ่งถ้าในทางราชการก็คือบุคคลที่เป็นเบอร์ต้น ๆ ของหน่วยงานนั้น แต่ปรากฏว่าเวลามาชี้แจงบางทีก็จะได้คนซึ่งเราอาจจะไม่ได้รับประโยชน์เลย อาจจะเป็น คนที่ไม่ได้มีความรอบรู้ ผมเองไม่อยากจะเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอะไรเพราะเกรงว่า จะเยิ่นเย้อ แต่ว่าถ้าจะแก้ไขผมก็มองว่าเพื่ออาจจะเป็นการรัดกุมมากขึ้นเราอาจจำเป็น ที่จะต้องได้ผู้แทน หรือผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือรอบรู้ในเรื่องที่เราจะเรียกมา ชี้แจงอย่างแท้จริงนะครับ และที่สำคัญคือในฐานะที่เราต้องการการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วนในเวลานี้ ความจำเป็นอย่างยิ่งที่อาจจะยืดหยุ่น ถ้าหากเรื่องที่เราจะเรียกเขามา ชี้แจงไม่ใช่เป็นเรื่องลับ บางทีเราอาจจะต้องเปิดกว้างให้บุคคลภายนอกนั้นมาร่วมรับฟัง หรือร่วมแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งผมคิดว่าเรื่องนี้คงจะไม่มีใครที่จะมาสนใจในปริมาณมาก กระทั่งเรารับไม่ได้ ปกติทางสภาก็จะมีการทำประกาศปิดป้ายหรืออาจจะทำบอร์ดเอาไว้ อยู่แล้วนะครับว่าในวันนี้มีคณะกรรมาธิการชุดไหนกันบ้าง แล้วก็มีผู้มาชี้แจงนั้นคือใคร ผมคิดว่าตรงนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการกดดันคนที่จะมาชี้แจงให้เราทราบว่าเขาจำเป็น ที่จะต้องส่งคนที่มีภูมิความรู้แล้วก็มีบุคคลที่เหมาะสม ไม่ใช่ว่าส่งบุคคลซึ่งไม่รู้เรื่องอะไร ก็จะทำให้เราเสียเวลาและอีกอย่างหนึ่งการติดต่อประสานงานตรงนี้ก็ฝากไปถึง การทำจดหมาย บางทีอาจจะต้องให้เวลา แล้วก็อาจจะได้ข้อมูลจากเขามาก่อนนะครับว่า คนที่เขาจะมาชี้แจงเป็นใคร เพราะถ้าหากส่งคนที่ไม่เหมาะสมมาบางทีเราก็ไม่ต้องเสียเวลา ก็คืองดการชี้แจงตรงนั้นไป แล้วก็ในอีกเรื่องหนึ่งที่พบเห็นแล้วก็อยากจะฝากเป็นข้อคิด ก็คือหลาย ๆ ครั้งนี่นะครับ จริง ๆ แล้วท่านสมาชิกได้อภิปรายไปแล้ว ในเรื่องการแต่งตั้ง บุคคลภายนอกเข้ามาให้ข้อมูลความรู้มาเขียนรายงาน โดยส่วนตัวผมเองก็เคยเข้ามาช่วย แต่ช่วยด้วยความไม่ได้คิดเรื่องอามิสสินจ้างใด ๆ นะครับ แต่ในอดีตก็มักจะเอามา เป็นที่ปรึกษา เพราะว่าที่ปรึกษาไม่มีเบี้ยประชุม ไม่มีอะไร เพราะว่าเขาอาจจะคิดว่าคนที่มา เป็นที่ปรึกษานั้นก็ไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะมาเป็น คือไม่ได้อยากจะมีตำแหน่ง แต่อยากจะมาช่วยงาน ซึ่งตรงนี้ก็กล่าวรวมไปถึงเรื่องของคนที่มาชี้แจงด้วยว่า ในอดีตที่ผ่านมา มาชี้แจงเขาก็มามีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ คือเราไม่ได้คาดหวังว่าจะให้เขาต้องได้รับเงินรับทอง เป็นเบี้ยประชุมอะไร แต่อย่างน้อยค่าพาหนะในการเดินทางก็น่าจะมีอยู่บ้าง ก็ขอกราบเรียน ที่ประชุมให้ช่วยกันพิจารณาเรื่องนี้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญคุณพิสิฐครับ

นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ครับ จริง ๆ ก็ด้วยความเกรงใจนะครับ ไม่อยากที่จะให้เสียเวลา แต่เผอิญ อาจารย์อมรได้ยกประเด็นที่ผมคิดว่าสำคัญ ผมได้บอกกล่าวกับเพื่อน ๆ สมาชิกบางท่าน ไปแล้วว่าในการทำงานของเรานั้นเวลาสั้นมาก เพราะฉะนั้นถ้าเราจะให้เกิดผล เราควรจะต้องเอาคนที่เขาเกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น เรื่องของภาษีอากรนะครับ ถ้าจะทำเรื่อง ภาษีอากรจะต้องให้สรรพากรเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าหากแค่เชิญเขามาให้ข้อมูลแล้วก็ให้ เขาไป ผมก็เชื่อว่าผลที่จะเกิดตามมาก็คือเราก็จะได้ชิ้นงานดี ๆ ขึ้นมาชิ้นหนึ่ง แต่เขาจะไม่มี ความรู้สึกว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ผมอยากจะเชิญชวนให้สมาชิกได้ลองพยายามที่จะให้ เขาได้มีส่วนร่วมแล้วก็มีออนเนอร์ชิพ (Ownership) ด้วย คือมีความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของด้วย ไม่ใช่มาเพียงให้ข้อมูลอย่างเดียวนะครับ แต่ว่ามีส่วนร่วมรับผิดชอบกับงานนี้ด้วย จะวิธีการไหนก็แล้วแต่ครับ ขอบพระคุณมากครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ก็ทั้ง ๒ ท่านเป็นข้อสังเกตนะครับ ไม่ได้เสนอขอแปรญัตติอะไรทั้งสิ้น มีท่านอื่นอีกไหมครับ ถ้าไม่มี เชิญท่านเลขาธิการต่อครับ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๙๐ เพื่อลดภาระผู้มาชี้แจงแก่คณะกรรมาธิการ ให้ประธาน คณะกรรมาธิการที่ประสงค์จะเรียกบุคคลตามข้อ ๘๙ แจ้งชื่อบุคคล ตำแหน่ง เรื่องที่ขอให้ ชี้แจง วันและเวลาที่ขอให้มาชี้แจง ให้เลขาธิการทราบล่วงหน้าสามวัน และให้เลขาธิการ แจ้งให้ประธานคณะกรรมาธิการสามัญทุกคณะและประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญทราบ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เมื่อประธานคณะกรรมาธิการสามัญหรือประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่งแล้ว ปรากฏว่ามีกรณีที่คณะกรรมาธิการซึ่งตนเป็นประธานอยู่นั้น กำลัง หรือกำลังจะพิจารณาหรือศึกษาเรื่องนั้น หรือเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนั้น และประสงค์จะเลือกบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งมาชี้แจงด้วย ประธานคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแจ้งอาจขอให้มีการประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการ หรืออาจส่งผู้แทนไปร่วมในการ พิจารณาของคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งได้ ในกรณีนี้ ให้ถือว่าผู้แทนที่ส่งไปตามวรรคนี้ เป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่การสอบถามหรือแสดง ความคิดเห็นในเรื่องที่คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งพิจารณา แต่จะลงมติในเรื่องนั้นมิได้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้นำความในข้อนี้ไปใช้บังคับแก่การดำเนินการของคณะอนุกรรมาธิการด้วย โดยอนุโลม

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านกรรมาธิการดิเรกครับ

นายดิเรก ถึงฝั่ง ต้นฉบับ

ดิเรก ถึงฝั่ง กรรมาธิการครับ ในวรรคแรกของข้อ ๙๐ นั้น ท่านดูบรรทัดสุดท้ายนิดหนึ่ง ผมขอแก้นิดเดียวเองครับ ข้อความที่ว่า และให้เลขาธิการ แจ้งให้ประธานคณะกรรมาธิการสามัญทุกคณะ ให้ตัดคำว่า ทุกคณะ ออกครับ และให้เลขาธิการแจ้งให้ประธานคณะกรรมาธิการสามัญและประธานคณะกรรมาธิการ วิสามัญทุกคณะทราบ ทุกคณะ เอามาเติมไว้ตรงนี้นะครับ ผมทวนอีกทีนะครับ และให้ เลขาธิการแจ้งให้ประธานคณะกรรมาธิการสามัญและประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ทุกคณะทราบครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกไม่ติดใจ เชิญท่านเลขาธิการครับ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๙๑ สมาชิกและผู้ซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมาธิการมีสิทธิเข้าฟัง การประชุมคณะกรรมาธิการ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีประชุมลับ ผู้ที่จะเข้าฟังการประชุมได้ต้องเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การประชุม และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมาธิการ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๙๒ ภายใต้ข้อบังคับข้อ ๙๑ ผู้เสนอญัตติมีสิทธิชี้แจงแสดงความเห็น ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ตลอดเรื่อง ส่วนผู้แปรญัตติมีสิทธิชี้แจงแสดงความเห็น ได้เฉพาะที่แปรญัตติไว้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การชี้แจงแสดงความเห็นตามวรรคหนึ่ง ผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติ อาจมอบหมายเป็นหนังสือให้สมาชิกอื่นกระทำการแทนได้ โดยยื่นต่อประธาน คณะกรรมาธิการ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๙๓ ให้เลขาธิการประกาศกำหนดการประชุมคณะกรรมาธิการไว้ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และมีหนังสือนัดผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติ มาชี้แจงประกอบญัตติหรือคำแปรญัตติ แล้วแต่กรณี

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๙๔ ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่มาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ ตามนัดจนเวลาล่วงไปเกินกว่าสามสิบนาทีนับแต่เวลาที่ได้เริ่มพิจารณาคำแปรญัตติใด ให้คำแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไป เว้นแต่คณะกรรมาธิการจะพิจารณาเห็นสมควรผ่อนผัน ให้เป็นกรณีพิเศษก่อนเสร็จการพิจารณาเรื่องนั้น

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๙๕ ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่เห็นด้วยกับมติของ คณะกรรมาธิการในข้อใดจะสงวนคำแปรญัตติในข้อนั้นไว้เพื่อขอให้สภาวินิจฉัยก็ได้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๙๖ กรรมาธิการผู้ใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิการในข้อใด จะสงวนความเห็นในข้อนั้นไว้เพื่อขอให้สภาวินิจฉัยก็ได้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๙๗ เมื่อคณะกรรมาธิการได้กระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใด ๆ หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้ว ให้รายงานต่อสภา

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ หากเห็นว่ามีกรณีที่จำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการจัดทำ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเสนอมาพร้อมกับรายงาน ตามวรรคหนึ่งด้วย

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

อาจารย์ดุสิตเชิญครับ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม ครับ ขออนุญาตอภิปรายและแปรญัตติข้อ ๙๗ ครับ ข้อ ๙๗ วรรคหนึ่ง บรรทัดที่ ๒ เขียนบอกว่า หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้ว ให้รายงานต่อสภา ขอแปรญัตติให้เติมคำว่า เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป เพื่อให้สภาพิจารณาดำเนินการต่อไป ส่วนข้อ ๙๗ วรรคสองครับ บรรทัดสุดท้ายในร่างนี้เขียนไว้บอกว่า ให้เสนอมาพร้อมกับรายงานตามวรรคหนึ่งด้วย ซึ่งหมายความว่าถ้าคณะกรรมาธิการชุดใดได้จัดทำพิจารณาเรื่องใดเสร็จแล้ว แล้วก็เห็นว่า มีกรณีต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญประกอบ เขียนไปบอกว่าส่งรีพอร์ต (Report) คือส่งรายงานพร้อมกับร่างพระราชบัญญัตินั้น มาพร้อมกันด้วย ซึ่งกระผมเป็นห่วงแล้วก็เกรงว่าในบางครั้งบางเรื่องที่พิจารณาเสร็จแล้ว น่าจะส่งเข้าให้สภาพิจารณารับทราบหรือพิจารณาดำเนินการไปเลย ส่วนการร่าง พระราชบัญญัตินั้นอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีกสักเล็กน้อยหรือเท่าใดก็แล้วแต่ และจึงขอส่ง ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องนั้นตามมาภายหลังนะครับ จึงขออนุญาตเรียนหารือนะครับว่า บรรทัดสุดท้ายที่เขียนว่า ให้ส่งมาพร้อมกับรายงานตามวรรคหนึ่งด้วยนั้น อยากจะขอให้แก้ เป็นข้อความอื่นนะครับ ซึ่งอาจจะเขียนบอกว่า หรือส่งตามมาภายหลังโดยมิชักช้าครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านกรรมาธิการดุสิตครับ ถ้าเขียนอย่างนั้นมันจะมีปัญหานะครับว่ารายงานนั้นทำอะไร ต่อไปไม่ได้ เพราะว่าเขาเขียนไว้แล้วในข้อ ๙๗ วรรคสอง ว่าถ้ามีกรณีจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัติก็ให้แนบรายงานมาด้วย ถ้าท่านทำพระราชบัญญัติไม่เสร็จก็อย่าเสนอ รายงานครับ ถ้าเสนอมาแล้วก็ต้องเก็บรายงานไว้ตรงนี้ เอาเข้าพิจารณาในสภาไม่ได้ เพราะว่าถ้าพิจารณาแล้วต้องส่ง ท่านต้องอ่านต่อข้อ ๙๘ ครับ ต้องส่งสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ ครม. คสช. และรัฐธรรมนูญบอกว่าถ้ามีกฎหมายก็ให้ไปเสนอ สนช. ถ้ากฎหมาย การเงินก็ให้เสนอ ครม. มันถึงต้องมากับรายงานครับ ถ้าอย่างนั้นประเด็นนี้ผมขอหารือ ท่านดุสิตนะครับว่าของกรรมาธิการน่าจะไปได้แล้วล่ะ แต่ว่าประเด็นแรกที่ท่านกรรมาธิการ ดุสิตบอกว่าเพื่อดำเนินการต่อไป ท่านกรรมาธิการขัดข้องไหมครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ที่อาจารย์ขอต่อข้อความนั้นก็ไม่มีปัญหาครับ ยินดีครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านเลขาธิการต่อ ท่านอาจารย์ดุสิตไม่ติดใจนะครับ เติมให้แล้วในวรรคแรก แต่วรรคสองนั้นต้องคงตามกรรมาธิการล่ะครับ ถ้าไม่อย่างนั้นก็ทำงานลำบากครับ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๙๗ วรรคสาม

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในที่ประชุมสภา คณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลง ชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ในการนี้ คณะกรรมาธิการจะมอบหมายให้ บุคคลใด ๆ แถลงหรือชี้แจงแทนก็ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากประธานสภา

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๙๘ ในกรณีที่สภาเห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานสภาส่งรายงานไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบ แห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการเสนอมาพร้อมกับรายงานตามข้อ ๙๗ ให้นำข้อบังคับ ในหมวด ๕ การจัดทำร่างพระราชบัญญัติมาใช้บังคับโดยอนุโลม

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๙๙ ถ้ามีมติของสภาให้คณะกรรมาธิการใดกระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด และคณะกรรมาธิการจะกระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ประธานคณะกรรมาธิการ หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนต้องรายงานให้ประธานสภาทราบโดยด่วน

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานสภาเสนอต่อที่ประชุมสภา และที่ประชุมสภาอาจลงมติให้ขยายเวลาที่กำหนดไว้ได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน หรือให้ตั้งคณะกรรมาธิการใหม่แทนคณะเดิม หรือให้ดำเนินการอย่างอื่นสุดแต่ที่ประชุมสภา จะเห็นสมควร

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐๐ กรรมาธิการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านกรรมาธิการกอบกุลครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะ กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิกค่ะ สำหรับข้อ ๙๘ กับ ข้อ ๙๙ นี้ดิฉันก็ยังมี ความรู้สึกว่าเราเขียนเหมือนกับรายงานของกรรมาธิการสามัญทั่ว ๆ ไปของสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมันยังไม่สะท้อน เมื่อเช้าดิฉันก็ได้พูดไปนิดหนึ่งว่า มันยังไม่สะท้อนภารกิจของสภาปฏิรูปแห่งชาติว่าสิ่งที่เราได้ทำ ซึ่งก็คือการศึกษา การสังเคราะห์หรือว่าข้อเสนอแนะในแนวทางการปฏิรูปแห่งชาติ ทำอย่างไรเราถึงจะผูกพัน ให้เป็นกลไกที่จะต้องถูกนำไปปฏิบัติตามในรัฐบาลชุดต่อ ๆ ไปด้วย มันอาจจะเกินขอบเขต หน้าที่ของเรานิดหนึ่งอาจต้องไปอยู่ที่กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งดิฉันก็คงเรียนฝาก ไปที่ผู้แทนที่จะไปเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญว่าถ้าหากเราไม่สามารถทำให้เกิดกลไก อันนี้ ข้อ ๙๘ กับ ข้อ ๙๙ เขียนเหมือนกันเลยกับกรรมาธิการสามัญทั่ว ๆ ไปที่ประจำ ส.ส. หรือ ส.ว. ซึ่งดิฉันเป็นห่วงมากว่ามันจะไม่นำไปสู่กลไกของพันธะผูกพันในการที่ปฏิบัติต่อ นั่นคือประเด็นแรก

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ที่ดิฉันอยากจะให้ข้อคิดเห็นหรืออาจจะเป็นข้อเสนอแนะใน วรรคสองของข้อ ๙๙ ก็คือเรามีเวลาทำงาน ๓๑๙ วัน ซึ่งตอนนี้เหลือไม่ถึงแล้ว ถ้าหากว่า กรรมาธิการวิสามัญประจำสภาจะไปศึกษากี่เรื่องก็ตาม ดิฉันก็อยากให้คำนึงถึงระยะเวลาที่ เรามีอยู่ เพราะเวลาเราจะศึกษากี่เรื่องด้วยระยะเวลาเท่าไรก็ตาม เมื่อเรามาเสนอสภาแล้ว มันจะเป็นพันธะผูกพัน แต่ดิฉันว่าการขยายเวลาไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละ ๓๐ วันนี้ก็นานเกินไป เพราะว่าถ้าหากว่าเรามีเวลาศึกษา ๖ เดือน หรือ ๘ เดือนในเรื่องนั้น ๆ เพราะเราต้องการ สร้างแนวคิดหรือข้อเสนอแนะในการปฏิรูปที่จะทำให้เกิดกลไกของความผูกพันต่อเนื่อง ถ้าไม่เสร็จเราก็มาขอต่ออีก ๒ ครั้ง อีก ๓๐ วัน อีก ๒ ครั้ง ๖๐ วัน หมดเวลาเราไปตั้งนานแล้ว รายงานก็ออกไม่ได้ เมื่อรายงานออกไม่ได้มันก็ค้าง เมื่อมันค้างมันก็อยู่กับเราไม่ไปไหนเลย ซึ่งข้อนี้ดิฉันว่ากลไกตรงนี้ข้อ ๙๘ กับข้อ ๙๙ อยากให้มีกลไกที่ดีกว่าที่เป็นของเดิมอยู่ แต่ดิฉันยังคิดไม่ออกเดี๋ยวนี้ว่าเราจะเสนอแก้ไขอย่างไร ก็อยากเรียนฝากไปถ้าทำในข้อบังคับนี้ ไม่ได้ ก็ต้องไปทำในร่างรัฐธรรมนูญ ขอบพระคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านกรรมาธิการเลิศรัตน์ เรียนเชิญครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช) ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ก็เพื่อให้ท่านผู้อภิปรายได้เห็น ความเปลี่ยนแปลงบ้างในการทำงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ฉะนั้นก็ขออนุญาตเพิ่ม ในข้อ ๙๘ วรรคแรก ในกรณีที่สภาเห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานสภาส่งรายงานไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบ แห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอเพิ่มข้อความ และให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้ติดตามการดำเนินการตามรายงานดังกล่าว แล้วรายงานให้สภาทราบ อันนี้ก็จะเป็นการอย่างน้อยก็มีฟีดแบค (Feedback) กลับมาว่าเขาเอาด้วย หรือไม่เอาด้วย อย่างไรนะครับ และที่จริงแล้วในอนาคตก็จะมีการตั้งคณะกรรมการ ส่วนใหญ่จะเรียกว่า คณะกรรมการ ประสานงานระหว่าง สปช. กับ สนช. ระหว่าง สปช. กับ ครม. และอาจจะตั้งระหว่าง สปช. กับ คสช. ด้วยก็ได้นะครับ อันนี้ก็จะเป็นความคิดริเริ่ม อย่างคณะรัฐมนตรีก็เมื่อ ๒ สัปดาห์ที่แล้วได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่าง คณะรัฐมนตรีกับ สนช. มีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ท่านสุวพันธุ์เป็นประธานนะครับ ทางสำนักนายกรัฐมนตรีมา ๕ และทาง สนช. ไปประมาณสัก ๑๒-๑๓ คน เพราะฉะนั้นอันนี้ ก็จะเหมือนกับเป็นองค์กรที่คอยติดตามความคืบหน้าหรือว่าติดตามฟีดแบคจากการรายงาน ของเราครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณท่าน พลเอก เลิศรัตน์มากครับ ท่านกรรมาธิการกอบกุลไม่ติดใจนะครับ ผมคิดว่า อันนี้เป็นสิ่งใหม่มากไม่เคยเขียนในข้อบังคับการประชุมของสภาไหนนะครับ เชิญท่านเลขาธิการต่อครับ เชิญครับท่านกรรมาธิการ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

พลเอก เลิศรัตน์ กรรมาธิการครับ บางท่าน อาจจะหาว่าผมพูดไม่ครบนะครับ ก็เป็นไปได้ครับเพราะมันเริ่มดึกแล้วนะครับ และให้ คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ถ้าครั้งที่แล้วไม่ได้พูดอย่างนี้ก็ขอแก้เป็น พูดอย่างนี้นะครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ก็ละเอียดดีครับ แสดงว่าท่านกรรมาธิการเสรียังไม่ง่วง อันนี้เป็นมุขนะครับ ขออนุญาต ท่านเลขาธิการต่อครับ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐๐ กรรมาธิการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) สภาสิ้นสุดลง

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) ตาย

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) ลาออก

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๔) มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นใหม่แทนคณะเดิมตามข้อ ๙๙

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๕) สภามีมติให้พ้นจากตำแหน่ง

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๖) สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๙ (๕) ของรัฐธรรมนูญ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐๑ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำ สภาคณะใดว่างลง ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานสภา เพื่อขอให้ สภาตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง สำหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญหากตำแหน่งกรรมาธิการ ในคณะใดว่างลง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจะแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานสภา เพื่อขอให้สภาตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือไม่ก็ได้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หมวด ๕

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

____________

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐๒ ในกรณีที่สภาเห็นว่ามีกรณีจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติขึ้นใช้ บังคับตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ สภาอาจให้คณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญครับท่าน

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม สปช. ครับ ขออภิปรายข้อ ๑๐๒ ครับ ในกรณีที่สภาเห็นว่ามีกรณีจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับตามมาตรา ๓๑ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ ถ้าไปอ่านดู รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ๒๕๕๗ กระผมพบว่ามีตำแหน่ง มาตราที่ระบุอำนาจหน้าที่ ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน คือในมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๙ ในมาตรา ๓๙ เราคงไม่ค่อยได้ดูกัน แต่ผมอ่านแล้วพบว่าเป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จำเป็น เพราะฉะนั้นผมก็เลยตีความได้ว่าอำนาจหน้าที่ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติของ สปช. มี ๒ วาระด้วยกัน วาระแรกก็คือก่อนที่ร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จ แล้วก็วาระที่สองก็คือ หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญอันนั้นได้ยกร่างเสร็จแล้ว เพราะฉะนั้นเพื่อให้เนื้อหาในข้อ ๑๐๒ ครอบคลุมเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ กระผมจึงขออนุญาตแปรญัตติให้เติมคำว่า มาตรา ๓๙ เข้าไปด้วยในมาตรา ๑๐๒ กล่าวคือขอเสนอให้แปรญัตติเป็น ใช้บังคับตาม มาตรา ๓๑ วรรคสองและมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

กรรมาธิการไม่ขัดข้องใช่ไหมครับ เพราะก็เป็นไปด้วยความรอบคอบ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

กรรมาธิการไม่ขัดข้องครับ ต่อไปขอเชิญคุณทิวาครับ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ทิวา การกระสัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดบุรีรัมย์นะครับ ผมขอตั้งข้อสังเกต สักนิดหนึ่งนะครับ เนื่องจากว่าเราไปแก้ไขในข้อ ๘๐ ย่อหน้าที่ ๓ เรื่องเกี่ยวกับชื่อของ คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็น คณะกรรมการ เฉย ๆ นะครับ ทีนี้มาดูในข้อ ๑๐๒ ใช้คำว่า สภาอาจให้คณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้นะครับ ซึ่งไม่มีข้อความเหมือนข้อ ๘๐ ผมคิดว่าคณะกรรมการสามัญและวิสามัญเป็นผู้พิจารณาในนี้ คิดว่าน่าจะเป็นคณะกรรมการตามข้อ ๘๐ ข้อ ๘๑ ข้อ ๘๓ และข้อ ๘๔ ผมอยากจะเรียนว่า ถ้าเราเพิ่มคำว่า คณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้ น่าจะครอบคลุมนะครับ ขอขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ ร่างพระราชบัญญัติมาได้ ๒ ทาง ทางที่ ๑ คือคณะกรรมาธิการเสนอมาตาม ข้อ ๙๗ นี่แปลว่ากรรมาธิการทุกประเภทที่สภาตั้งจะเป็นสามัญ วิสามัญประจำสภา หรือวิสามัญเฉย ๆ นี่เสนอมา กับทางที่ ๒ คือสภาขอให้ไปทำ เมื่อสภาขอให้ไปทำนี่อาจจะ ขอให้กรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทำ ถ้าเห็นว่าเรื่องนั้นท่านทำอยู่ แต่อาจจะตั้ง กรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาประกอบด้วยนักกฎหมาย แล้วรับรายงานที่กรรมาธิการ เสนอมาแล้วไม่มีร่างกฎหมายไปทำก็ได้ เพราะฉะนั้นถ้าท่านกรรมาธิการทิวาให้เติม นี่มันจะแคบลงนะครับ จึงน่าจะคงไว้ตามร่างเดิมไหมครับ มันให้โอกาสสภามากกว่า ท่านติดใจไหมครับ ถ้าท่านไม่ติดใจ ขอท่านเลขาธิการไป

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

ขอโทษนะครับ ก็คือครั้งแรกข้อ ๘๐ ใช้คำว่า สภาวิสามัญ ใช่ไหมครับ พอไปตัดคำว่า วิสามัญ ออก มันก็จะกลายเป็นสภากรรมาธิการ ไม่ติดใจนะครับ ถ้าอาจารย์ชี้แจงอย่างนั้นนะครับ ขอขอบคุณครับ คือข้อ ๘๐ ท่านดู นิดหนึ่ง ใช้คำว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปคณะนั้นคณะนี้นะครับ พอข้อ ๑๐๒ เราใช้ วิสามัญ เหมือนเดิมพอไปตัดอันแรกออก แต่ถ้าเป็นไปตามนั้นที่อาจารย์ชี้แจงก็ไม่เป็นไรครับ ผมไม่ติดใจครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

มันอยู่ในข้อ ๗๙ วรรคสองครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญกรรมาธิการกอบกุลครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธานคะ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิกค่ะ ในข้อนี้ถ้าดิฉันตีความ คำว่า สภาอาจให้คณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาได้ มันเหมือนกับว่าต้องให้คณะกรรมาธิการ สามัญหรือวิสามัญที่มีอยู่แล้ว แต่ถ้าตามสำนวนของมาตรา ๓๙ ในรัฐธรรมนูญ เขาจะใช้ว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติอาจแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นเพิ่มเพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย ที่จำเป็นก็ได้ ทีนี้ดิฉันไม่แน่ใจว่าคำว่า อาจให้ แปลว่าจะต้องเป็นกรรมาธิการที่มีอยู่แล้ว หรือตั้งใหม่ก็ได้ อันนี้ก็แล้วแต่ภาษากฎหมายนะคะ แต่ตีความอย่างที่ไม่ใช่นักกฎหมายคิดว่า มันเหมือนกับไม่ได้ใช้สำนวนของมาตรา ๓๙ ที่ว่า อาจแต่งตั้ง ค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

คือให้นี่มันกว้างกว่าแต่งตั้ง ให้นี่มันแปลว่าให้กรรมาธิการที่มีอยู่แล้วทำก็ได้ หรือแต่งตั้งขึ้น ใหม่ก็ได้ ท่านยังติดใจไหมครับ ถ้าไม่ติดใจขอให้ท่านเลขาธิการไปข้อต่อไปครับ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐๓ เมื่อคณะกรรมาธิการ ตามข้อ ๑๐๒ ได้ดำเนินการตามที่สภา มอบหมายเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมาธิการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเสนอต่อสภา

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้ประธานสภาบรรจุร่างพระราชบัญญัติเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็น เรื่องด่วนเพื่อให้สภาพิจารณา

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐๔ ในกรณีที่คณะกรรมาธิการเห็นควรให้มีการตราร่างพระราชบัญญัติ ที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาประเทศและสังคมในระยะยาวให้คณะกรรมาธิการดำเนินการ จัดทำร่างพระราชบัญญัติเสนอต่อสภา

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐๕ ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภาต้องแบ่งเป็นมาตรา และต้องมี บันทึกประกอบดังต่อไปนี้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) เหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ให้กำหนดโดยชัดแจ้ง

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่มีการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายเดิม ให้ระบุมาตราที่ต้องการแก้ไข เพิ่มเติมหรือยกเลิกไว้ในหลักการหรือจะระบุไว้ในเหตุผลด้วยก็ได้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐๖ ในการประชุมสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภา ให้ประธานคณะกรรมาธิการเป็นผู้แถลงหลักการและเหตุผลต่อที่ประชุมสภา และให้ประธาน ดำเนินการให้สมาชิกซักถามและอภิปรายร่างพระราชบัญญัติรวมกันทั้งฉบับ เว้นแต่ที่ประชุม จะลงมติเป็นอย่างอื่น

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐๗ เมื่อสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว หากสภามีมติ เห็นชอบให้ดำเนินการต่อไปตามข้อ ๑๑๐

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การออกเสียงลงคะแนนให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ ให้ถือเอา เสียงข้างมากเป็นประมาณ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หากสภามีมติให้แก้ไขเพิ่มเติม ให้คณะกรรมาธิการแก้ไขร่างพระราชบัญญัตินั้น ตามที่สภามีมติ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่คณะกรรมาธิการนำร่างพระราชบัญญัติกลับไปแก้ไขเพิ่มเติม ตามวรรคสาม สมาชิกอาจยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันถัดจาก วันที่สภามีมติ ในการนี้คณะกรรมาธิการอาจแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คำขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านกรรมาธิการอาจารย์ดุสิตครับ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม ก็เป็นคำถามที่ได้ถามไปเมื่อสักครู่แล้วนะครับว่าในการที่จะยกร่างหรือทำร่างพระราชบัญญัติ สปช. เราจะมีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือว่ามีผู้เชี่ยวชาญ หรือว่ามีตัวแทนจาก สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอย่างไรหรือไม่นะครับ ที่จะมาช่วยกันยกร่าง พระราชบัญญัติต่าง ๆ ครับ ขอเรียนถามครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

คือสภาเขาจะมีหน่วยงานนี้ไว้ช่วยท่าน ท่านสมาชิกอาจจะตั้งอนุกรรมาธิการที่มีข้าราชการ จากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ได้ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เป็นทางปฏิบัติอยู่ พรุ่งนี้ท่านเลขาธิการและคณะจะมาชี้แจงรายละเอียดที่เป็นบริการทั้งหมดให้ท่านสมาชิก ทราบนะครับ หลังจากการประชุมตั้งกรรมาธิการตามข้อ ๘๑ ผ่านไปแล้ว ถ้าท่านสมาชิก ไม่ติดใจ ขอเชิญท่านเลขาธิการไปต่อครับ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐๘ เมื่อคณะกรรมาธิการได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติตาม ข้อ ๑๐๗ เสร็จแล้ว ให้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนั้น โดยแสดงร่างเดิมและ การแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งรายงานต่อประธานสภา รายงานนั้นอย่างน้อยต้องระบุว่าได้มี หรือไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใดบ้าง และให้นำความในข้อ ๑๐๓ วรรคสอง มาใช้บังคับ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๐๙ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการแก้ไข เพิ่มเติมตามข้อ ๑๐๘ ให้สภาพิจารณาว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบและสมาชิกจะขอแก้ไข เพิ่มเติมเนื้อความของร่างพระราชบัญญัตินั้นมิได้ เว้นแต่เป็นข้อผิดพลาดที่มิใช่สาระสำคัญ และคณะกรรมาธิการเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น หรือเป็นกรณีที่คณะกรรมาธิการ เห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น ให้นำความในข้อ ๑๐๗ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาใช้บังคับ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑๐ เมื่อสภามีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแล้ว ให้ประธานสภาเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณา หากเป็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้ประธานสภาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการต่อไป

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติ ที่เสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามมาตรา ๑๔ ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานสภาเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายสุชาติ นวกวงษ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ที่จริงผมไม่ได้ติดใจเรื่องของ รายละเอียดทั้งหมดนะครับ แต่ผมมีคำถามผ่านท่านประธานไปถึงกรรมาธิการว่ากรณีที่เรา ทำกฎหมายหรือร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว เราก็ส่งไปที่สภานิติบัญญัติแห่งชาตินะครับ เราจะมีทางรู้ได้อย่างไรว่า หรือว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่ากฎหมายหรือพระราชบัญญัติ ที่เราได้เสนอไปนั้นยังคงเจตนารมณ์ตามที่เราได้ตั้งเป้าหมายไว้ หรือว่ามันมีการเปลี่ยนแปลง ในรายละเอียดไปอย่างไรบ้าง อันนี้เราจะทราบได้อย่างไรครับว่าเรายังคงอยู่หรือไม่ครับ ท่านประธานครับ ขอบคุณครับ

นายสุชาติ นวกวงษ์ ต้นฉบับ

ถามทั้งหมดครับ มันเหมือนว่าจะมีข้อสรุปว่า เมื่อเราทำพระราชบัญญัติเสร็จแล้วใช่ไหมครับ ที่ประชุมสภานี้ก็ลงมติเห็นชอบตามที่ กรรมาธิการได้นำเสนอเป็นรายละเอียดตามมาตราต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว แล้วก็ส่งไปให้ที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือว่าอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเจตนารมณ์ ของกฎหมายฉบับนั้น หรือว่าพระราชบัญญัติฉบับนั้นไม่ได้ถูกแก้ไขไปจากสิ่งที่เราได้ กระทำไปและส่งไปเราจะดำรงไว้ได้อย่างไรครับ ท่านประธานครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธาน เราจะมีคณะกรรมการประสานงาน แต่งตั้งแน่นอน ระหว่าง สนช. กับ สปช. มันก็จะเป็นช่องทางในการที่จะติดตามพระราชบัญญัติที่เราส่งไปว่า เขาตั้งกรรมาธิการอย่างไร วาระไหนต่าง ๆ นานา แล้วก็มีการแก้ไขมากน้อยขนาดไหน ซึ่งผมเชื่อว่าเขาต้องเชิญเจ้าของร่างไปชี้แจง เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง กับส่วนราชการต่าง ๆ เพราะฉะนั้นตัวเจ้าของร่างที่เสนอไปจะได้มีโอกาสไปชี้แจงในวาระที่สอง ด้วยนะครับ แล้วก็รวมทั้งคณะกรรมการที่ติดตามด้วย มีช่องทางแน่นอนครับในการที่จะ รับทราบความคืบหน้าในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เราส่งไปครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมเสริมท่านประธาน พลเอก เลิศรัตน์ นิดนะครับ ในข้อ ๙๘ ท่านก็เติม ให้คณะกรรมาธิการ วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้ติดตามการดำเนินงานตามรายงาน รายงานนี้รวมถึง ร่างพระราชบัญญัตินั้นด้วย เพราะฉะนั้นมีช่องทางครับท่านสมาชิก ท่านไม่ติดใจแล้ว ใช่ไหมครับ

นายสุชาติ นวกวงษ์ ต้นฉบับ

สุชาติ นวกวงษ์ ครับ ก็ไม่ติดใจครับ ถ้าหากว่า มีช่องทางที่จะเดินตามไปดูว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น หรือพระราชบัญญัตินั้นยังถูกต้อง ตามที่สภาได้คิดไว้นะครับ ก็ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านเลขาธิการต่อครับ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หมวด ๖

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

____________

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๑

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

_____________

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑๑ ให้ประธานสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญจำนวนสามสิบหกคน โดยมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๓๓ ของรัฐธรรมนูญ ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภา เป็นครั้งแรก

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) ประธานกรรมาธิการตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) ผู้ซึ่งสภาเสนอ จำนวนยี่สิบคน

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) ผู้ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบ แห่งชาติเสนอ ฝ่ายละห้าคน

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑๒ ให้สภาเสนอบุคคลจำนวนยี่สิบคน เพื่อเป็นกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญตามข้อ ๑๑๑ (๒)

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในการคัดเลือกบุคคลตามวรรคหนึ่ง สมาชิกคนหนึ่งมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลได้ มากกว่าหนึ่งชื่อแต่ไม่เกินจำนวนกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่สภาจะคัดเลือกได้ตาม ข้อ ๑๑๑ (๒) และต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่มีการเสนอชื่อบุคคลเท่ากับจำนวนกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะคัดเลือกได้ตามข้อ ๑๑๑ (๒) ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือก เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ถ้ามีการเสนอชื่อบุคคลมากกว่าจำนวนกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่สภา จะคัดเลือกได้ตามข้อ ๑๑๑ (๒) ให้คัดเลือกโดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ และให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบจำนวนผู้จะได้รับคัดเลือก ในกรณี ที่มีคะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใดอันจะทำให้มีผู้ได้รับคัดเลือกเกินจำนวนผู้จะได้รับ คัดเลือก ให้ลงคะแนนคัดเลือกใหม่ในระหว่างผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงเท่ากัน

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑๓ ให้สภาเสนอความเห็นหรือข้อเสนอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑ (๒) ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมเป็น ครั้งแรก

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑๔ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ข้อ ๑๑๓ ขอปรับให้ศัพท์มันสอดคล้องกับที่อื่น ๆ แล้วก็ตามรัฐธรรมนูญนิดหนึ่ง ให้สภาเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะ ช่วยเติมคำว่า แนะ หน่อยนะครับ แล้วเอาคำว่า รัฐธรรมนูญ ออกนะครับ มาตรา ๓๑ (๒) ของรัฐธรรมนูญ ที่อื่นมักจะเขียนอย่างนี้นะครับ ให้สภาเสนความเห็นหรือข้อเสนอแนะตาม ตัดคำว่า รัฐธรรมนูญ ออก มาตรา ๓๑ (๒) ของรัฐธรรมนูญครับ แค่นั้นครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านเลขาธิการต่อครับ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑๔ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสภา

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑๕ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) ตาย

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) ลาออก

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๓) ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๓ ของรัฐธรรมนูญ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ตามมาตรา ๓๒ วรรคสามของรัฐธรรมนูญ และให้ประธานสภาแต่งตั้งกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในข้อ ๑๑๑ วรรคสอง

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตามข้อ ๑๑๑ วรรคสอง (๒) ว่างลงให้นำความในข้อ ๑๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ในข้อ ๑๑๕ บรรทัดสุดท้าย คำว่า ข้อ ๑๑๖ ไม่ถูกต้องนะครับ แก้เป็น ข้อ ๑๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญคุณทิวาครับ ท่านสมาชิกที่ยกมือเมื่อสักครู่นี้ แล้วก็ท่านที่ ๒ เชิญครับ

นายสุชาติ นวกวงษ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ผม สุชาติ นวกวงษ์ ครับ ท่านประธานครับ ในข้อ ๑๑๕ ตรงช่องที่วรรคสอง ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ตามมาตรา ๓๒ วรรคสามของรัฐธรรมนูญ และให้ ประธานสภา ตรงนี้ครับ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ประธานสภาอยู่ในบทนิยามครับ คือประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ

นายสุชาติ นวกวงษ์ ต้นฉบับ

ประธานสภาเรา ถ้าอย่างนั้นก็เข้าใจครับ

นายคุรุจิต นาครทรรพ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ คุรุจิต นาครทรรพ สปช. ครับ ไม่ได้ติดใจนะครับ แต่ขอความกระจ่างในข้อ ๑๑๕ สักนิดหนึ่งว่า ในกรณี ที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่างลง ถ้าผมเข้าใจถูกต้อง กระบวนการสรรหา หรือสมัคร หรือเสนอชื่อที่อยู่ในข้อ ๑๑๒ ก็คือต้องมีการเสนอชื่อ แต่ในวรรคสองเขียนว่า ให้ประธานสภาแต่งตั้งภายในสิบห้าวัน อยากทราบว่าสมมุติว่างลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ตาม (๑) (๒) (๓) ไม่ใช่เป็นกระบวนการสรรหา หรือสมัคร หรือเสนอชื่อ แต่เป็นประธาน เลือกคนใดคนหนึ่งเข้าไปเลยหรือครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

คือท่านกรรมาธิการจะตอบไหมครับ ถ้าไม่ตอบผมจะตอบแทน คือมันเขียนอยู่ในมาตรา ๓๒ ของรัฐธรรมนูญในวรรคสามครับท่านกรรมาธิการคุรุจิต เขาก็เอาอันนี้มาใส่ไว้เพียงแต่ว่า ข้อความเขาต้องการจะล้อว่าให้ทำให้เสร็จภายใน ๑๕ วัน ชัดเจนเหมือนกับที่เขียนอยู่ใน มาตรา ๓๒ วรรคสามของรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นท่านติดใจไหมครับ

นายคุรุจิต นาครทรรพ ต้นฉบับ

ผมเข้าใจว่าที่เราเลือกเสร็จไปแล้วโดยบทเฉพาะกาล คือให้มีการสมัคร หรือเสนอชื่อโดยแต่ละด้านนี่นะครับ แล้วเราก็ได้ ๒๐ คนไม่ใช่ประธานสภา เป็นคนเลือก แต่กรณีนี้สมมุติว่าท่านใดท่านหนึ่งเกิดลาออก หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งในวงเล็บนี้ ว่างลง ท่านที่จะมาแทนมาโดยวิธีอะไรครับ โดยประธานเลือกคนใดคนหนึ่ง

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

โดยสภาเสนอ ๒๐ คน ตามข้อ ๑๑๑ (๒) ครับ คือสภาต้องเป็นคนเลือก ประธานเป็นคน แต่งตั้งเท่านั้นครับ อยู่ในข้อ ๑๑๑ วรรคสอง (๒) นะครับ

นายคุรุจิต นาครทรรพ ต้นฉบับ

ผมไม่ได้ขอแปรญัตติอะไรครับ เพียงแต่ว่า คำอธิบายของท่านก็เผื่อจะมีเหตุในอนาคต จะได้มาดูรายงานการประชุมว่าต้องเป็น กระบวนการ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครับ ขอบพระคุณครับ ท่านกอบกุลเชิญครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

อีกนิดเดียวค่ะท่านประธาน ขอบคุณค่ะ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ข้อนี้นะคะ วรรคนี้วรรคสอง หรือวรรคแรกของข้อ ๑๑๕ ตรงบรรทัดสุดท้ายที่บอกว่า ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๑๑ วรรคสอง ต้องเว้นวรรคนะคะ ไม่อย่างนั้นจะแปลว่าพ้นจากตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ แต่จริง ๆ การแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์ ต้องเว้นวรรคก่อนที่จะพูดว่าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๑๑๑ วรรคสอง ขอบคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครับ เป็นความละเอียดรอบคอบของคนซึ่งไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ทำหน้าที่ในสภามานาน ขอบคุณครับ ท่านสมาชิกไม่ติดใจนะครับ ขอท่านเลขาธิการดำเนินการต่อครับ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑๖ ในกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ตามมาตรา ๓๘ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่สิ้นสุดลงจะเป็นกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่มิได้

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้ง และให้ประธานสภาส่งความเห็น หรือข้อเสนอแนะเดิมของสภาให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นใหม่ด้วย

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑๗ การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้นำข้อบังคับนี้ ไปใช้บังคับโดยอนุโลม แต่การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ และร่างพระราชบัญญัติ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะกำหนด ข้อบังคับขึ้นใช้บังคับในการปฏิบัติงานการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะก็ได้

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เพื่อประโยชน์แห่งข้อบังคับนี้ ในวงงานของคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับ สภาตามข้อบังคับนี้

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๒

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

_______

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑๘ เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ เสร็จแล้ว ให้เสนอร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งรายงานต่อประธานสภา และให้ประธานสภา บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วนเพื่อให้สภาพิจารณาเสนอแนะ หรือให้ความเห็นให้แล้วเสร็จภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ให้สมาชิกเสนอแนะเพื่อให้ความเห็นร่างรัฐธรรมนูญรวมกันทั้งฉบับ เว้นแต่ ที่ประชุมจะลงมติเป็นอย่างอื่น

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

สมาชิกอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ สภาเสร็จสิ้นการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง คำขอแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกต้องทำเป็นหนังสือ และมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิก และสมาชิกที่ยื่นคำขอหรือที่ให้ คำรับรองคำขอของสมาชิกอื่นแล้ว จะยื่นคำขอหรือรับรองคำขอของสมาชิกอื่นอีกมิได้

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คำขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ยื่นต่อประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๑๙ ในกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขเพิ่มเติม ร่างรัฐธรรมนูญ ให้เสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับภายในหกสิบวัน โดยแสดงร่างเดิมและการแก้ไข เพิ่มเติมพร้อมทั้งรายงานต่อประธานสภา รายงานนั้นอย่างน้อยต้องระบุว่า ได้มีหรือไม่มี คำขอแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใดบ้าง และมติของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เกี่ยวด้วยคำขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นประการใด

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๒๐ ให้ประธานสภาบรรจุร่างรัฐธรรมนูญตามข้อ ๑๑๙ เข้าระเบียบวาระ การประชุมเป็นเรื่องด่วนเพื่อให้สภาพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยสภาต้องมีมติภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ จากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในการพิจารณาของสภาให้สมาชิกอภิปรายได้เฉพาะถ้อยคำหรือข้อความ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือที่สมาชิกยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมสภาจะลงมติ เป็นอย่างอื่น

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การออกเสียงลงคะแนนให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับนั้น ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบ มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๒๑ ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญตามข้อ ๑๒๐ สภาจะแก้ไขเพิ่มเติม เนื้อความของร่างรัฐธรรมนูญนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นข้อผิดพลาดที่มิใช่สาระสำคัญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น หรือเป็นกรณี ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๒๒ เมื่อสภามีมติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ประธานสภา นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภามีมติ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หมวด ๗

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

_______

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๒๓ สถานที่ประชุมสภาย่อมเป็นที่เคารพและเป็นเขตหวงห้าม ผู้เข้าไป ต้องประพฤติตนให้เรียบร้อย มีสัมมาคารวะ และต้องแต่งกายตามที่ประธานสภากำหนด บุคคลอื่นที่มิใช่สมาชิกหรือเจ้าหน้าที่สภาเมื่อหมดภารกิจต้องออกนอกสถานที่ประชุมสภา

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารใด ๆ ซึ่งก่อให้เกิดการรบกวนและห้ามสูบบุหรี่ ในที่ประชุมสภา

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การแต่งกายของสมาชิกนั้นให้แต่งสากลนิยม หรือชุดพระราชทาน หรือตามที่ประธานสภากำหนด

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ประธานมีอำนาจเตือน ห้ามปราม ให้ถอนคำพูด ห้ามพูดในเรื่องที่กำลังปรึกษากันอยู่ ให้กล่าวขอขมาในที่ประชุมสภา หรือสั่งให้ออกไปจากที่ประชุมสภาครั้งนั้น โดยมีหรือไม่มีกำหนดเวลาก็ได้

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่ประธานสั่งให้ผู้ใดออกจากที่ประชุมสภา หากผู้นั้นขัดขืน ประธาน มีอำนาจสั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ให้นำตัวออกจากสถานที่ประชุมสภาหรือออกไปให้พ้น บริเวณที่ประชุมสภา

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คำสั่งของประธานตามข้อนี้ ผู้ใดจะโต้แย้งมิได้ และความในข้อนี้ไม่ตัดสิทธิ สมาชิกในการที่จะแสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสภาตามข้อ ๖๕

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๒๕ การรักษาระเบียบและความเรียบร้อยในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล ภายนอกที่จะเข้ามาในที่ประชุมสภาหรือบริเวณสภาหรือเข้าฟังการประชุมสภา ตลอดจน มารยาทของบุคคลเช่นว่านั้น และการโฆษณาข้อความเกี่ยวด้วยการประชุมปรึกษาของสภา ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานสภากำหนดไว้

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

หมวด ๘

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

บทสุดท้าย

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

________

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๒๖ ในการประชุมครั้งใดถ้าประธานขอปรึกษาหรือสมาชิกเสนอญัตติ โดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ให้งดใช้ข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วนเป็น การชั่วคราวเฉพาะกรณี หากที่ประชุมสภาลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมสภา ก็ให้งดใช้ข้อบังคับนั้นได้

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๒๗ ถ้ามีปัญหาที่จะต้องตีความข้อบังคับนี้ ให้เป็นอำนาจของสภาที่จะ วินิจฉัย และเมื่อที่ประชุมสภาได้ลงมติวินิจฉัยโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน สมาชิกทั้งหมดของสภาเป็นประการใดแล้วให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นเด็ดขาด

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การขอให้ที่ประชุมสภาวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง อาจกระทำได้โดยประธาน ขอปรึกษาหรือสมาชิกเสนอญัตติ โดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๒๘ ในกรณีที่มีการเสนอแนวทางหรือข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูป ด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานสภาส่งแนวทางหรือข้อเสนอแนะ ไปให้คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๒๙ ในกรณีที่มีการเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญหลังจากพ้นกำหนดหกสิบวันตามมาตรา ๓๑ (๒) ของรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ประธานสภาส่งความเห็นหรือข้อเสนอแนะดังกล่าวไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ในข้อ ๑๒๙ บรรทัดที่ ๒ ตามมาตรา ๓๑ (๒) ขออนุญาตแก้เป็น ตามมาตรา ๓๑ วรรคสาม เอาคำว่า (๒) ออก ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านกรรมาธิการไม่ขัดข้องนะครับ เชิญท่านเลขาธิการต่อครับ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๓๐ การขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนี้ ต้องเสนอเป็นญัตติโดยมีสมาชิก รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับให้ทำเป็นร่างข้อบังคับโดยแบ่งเป็นข้อและต้องมี บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบด้วย

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๓๑ การพิจารณาขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับให้นำความในหมวด ๔ กรรมาธิการ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้กระทำเป็นสามวาระตามลำดับ ดังนี้

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) วาระที่หนึ่ง ให้สภาพิจารณาและลงมติว่าจะรับหรือไม่รับหลักการ แห่งร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ในกรณีที่สภามีมติในวาระที่หนึ่งรับหลักการ แห่งร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติม ให้สภาพิจารณาตามลำดับต่อไปเป็นวาระที่สอง

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) วาระที่สอง ให้พิจารณาร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมโดยคณะกรรมาธิการ สภาจะให้คณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาจะกระทำได้ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติ โดยมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าสิบคนและที่ประชุมอนุมัติ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

คณะกรรมาธิการอาจเพิ่มข้อขึ้นใหม่หรือตัดตอนหรือแก้ไขข้อเดิมได้ แต่ต้องไม่ขัดกับหลักการแห่งร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมนั้น

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การพิจารณาร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมขั้นกรรมาธิการที่สภาตั้ง สมาชิกผู้ใด เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติม ก็ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือ ต่อประธานคณะกรรมาธิการภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันถัดจากวันที่สภารับหลักการ แห่งร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติม เว้นแต่สภาจะได้กำหนดเวลาแปรญัตติสำหรับร่างข้อบังคับ แก้ไขเพิ่มเติมนั้นไว้เป็นอย่างอื่น

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การแปรญัตติต้องแปรเป็นข้อ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การแปรญัตติเพิ่มข้อขึ้นใหม่หรือตัดทอนหรือแก้ไขข้อเดิมต้องไม่ขัดกับ หลักการแห่งร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมนั้น

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๓๒ เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมเสร็จแล้ว ให้เสนอร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมนั้น โดยแสดงร่างเดิมและการแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้ง รายงานต่อประธานสภา รายงานนั้นอย่างน้อยต้องระบุว่าได้มีหรือไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ในข้อใดบ้าง และถ้ามีการแปรญัตติ มติของคณะกรรมาธิการเกี่ยวด้วยคำแปรญัตตินั้น เป็นประการใด หรือมีการสงวนคำแปรญัตติของผู้แปรญัตติ หรือมีการสงวนความเห็น ของกรรมาธิการก็ให้ระบุไว้ในรายงานด้วย

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในกรณีที่คณะกรรมาธิการเห็นว่ามีข้อสังเกตที่สภาหรือคณะกรรมาธิการ ของสภาที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรปฏิบัติ ให้บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวนั้นไว้ในรายงาน ของคณะกรรมาธิการเพื่อให้ที่ประชุมสภาพิจารณา และให้นำความในข้อ ๙๘ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๓๓ ในกรณีที่สภามีมติให้พิจารณาร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติม โดยกรรมาธิการเต็มสภา ให้ถือว่าสมาชิกทุกคนในที่ประชุมประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการ และประธานของที่ประชุมมีฐานะเป็นประธานคณะกรรมาธิการด้วย

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาเป็นการพิจารณาขั้นคณะกรรมาธิการ และการพิจารณาของสภาในวาระที่สองเรียงตามลำดับข้อรวมกันไป

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๓๔ ในการพิจารณาร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมที่คณะกรรมาธิการพิจารณา เสร็จแล้ว ให้สภาพิจารณาเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วพิจารณาเรียงตามลำดับข้อ และให้สมาชิกอภิปรายได้เฉพาะถ้อยคำหรือข้อความที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือผู้แปรญัตติ ที่มีการสงวนคำแปรญัตติ หรือกรรมาธิการที่มีการสงวนความเห็นไว้ ทั้งนี้เว้นแต่ที่ประชุม จะลงมติเป็นอย่างอื่น

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

การพิจารณาร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเดิม ให้พิจารณาเรียงตามลำดับข้อที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมในข้อบังคับเดิมด้วย และให้นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๓๕ เมื่อได้พิจารณาตามข้อ ๑๓๔ จนจบร่างแล้ว ให้สภาพิจารณา ทั้งร่างเป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่ง และในการพิจารณาครั้งนี้สมาชิกอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำได้ แต่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความใดไม่ได้ นอกจากเนื้อความที่เห็นว่ายังขัดแย้งกันอยู่

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๓๖ เมื่อได้พิจารณาร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่สองเสร็จแล้ว ให้สภาลงมติในวาระที่สามว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยไม่มีการอภิปราย

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๓๗ ในกรณีที่สภาลงมติในวาระที่หนึ่งไม่รับหลักการแห่งร่างข้อบังคับ แก้ไขเพิ่มเติมก็ดี หรือลงมติในวาระที่สามไม่เห็นชอบก็ดี ร่างข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมนั้น เป็นอันตกไป

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๓๘ ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจัดสภาพแวดล้อม ทั้งทางสถาปัตยกรรม สารสนเทศ การสื่อสาร หรือบริการอื่นใดให้เหมาะสมต่อ การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิก รวมทั้ง

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๑) จัดทำ จัดเก็บ หรือเรียกเอกสารใด ๆ เพื่อการพิจารณาหรือเผยแพร่ ของสภาให้อยู่ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ที่เป็นมาตรฐานเปิด หรือซึ่งคนพิการและผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ด้วย

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

(๒) จัดอุปกรณ์ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงผู้ช่วยสำหรับ สมาชิกซึ่งเป็นคนพิการหรือผู้สูงอายุที่มีความต้องการจำเป็นเป็นพิเศษ เพื่อให้สมาชิก สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

บทเฉพาะกาล

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

___________

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๓๙ ข้อบังคับนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ได้กระทำเสร็จแล้วก่อน ใช้ข้อบังคับนี้ ส่วนการใดที่ยังกระทำค้างอยู่ให้ดำเนินการต่อไปตามข้อบังคับที่ใช้อยู่ก่อน วันใช้ข้อบังคับนี้

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๔๐ ให้นำข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภา และกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาใช้บังคับกับสมาชิกและกรรมาธิการโดยอนุโลม

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๔๑ ให้คณะกรรมาธิการที่สภาตั้งคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่า จะปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้น

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านกรรมาธิการเชิญครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ขอเติม ๑ ตัวครับ ตัวสุดท้ายแล้ว ข้อ ๑๔๑ ให้คณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง เติมคำว่า ไว้ ตั้งไว้ คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่า จะปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้น ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านกรรมาธิการเสรีเชิญครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ผม เสรี กรรมาธิการครับ พอดีจะเติม ข้อความว่า จนกว่าจะมีกรรมาธิการชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ต่อไป แต่ได้ตกลงกับ ท่านประธานเลิศรัตน์ว่าให้เติมเฉพาะ ให้คณะกรรมาธิการที่สภาตั้งไว้ ก็คือทุกคณะที่ตั้งไว้ คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้น ก็คือความหมายเดียวกัน แต่เติมข้อความคำเดียวเท่านั้นเองมันก็จะรวมหมด

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านกรรมาธิการกอบกุลเชิญครับ

นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิก เผอิญในข้อ ๔๐ ให้มีการกล่าวถึงว่า ให้นำข้อบังคับว่าด้วย ประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม สมมุติว่าเราจะรับรองวาระที่สาม วันนี้โดยที่หลายท่านจะยังไม่เคยเห็นประมวลจริยธรรม ของสมาชิกวุฒิสภา ขอความกรุณาครั้งหน้าให้ฝ่ายเลขานุการนำประมวลจริยธรรมของ สมาชิกวุฒิสภามาใส่ไว้ในลิ้นชักด้วยได้ไหมคะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เป็นข้อสังเกตที่ดี เพราะว่าเรารับแล้วเราก็ต้องปฏิบัติตามนะครับ เชิญท่านเลขาธิการต่อครับ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๔๒ ให้บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออก ตามข้อบังคับการประชุมที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งข้อบังคับนี้ หรือจนกว่าจะมีข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ ออกตามข้อบังคับนี้ใช้บังคับ

นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ข้อ ๑๔๓ ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ และให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ บัดนี้เรามาถึงระเบียบวาระที่ ๒ การพิจารณาวาระสองใกล้จะจบสิ้นแล้วนะครับ ในข้อ ๑๒๗ กำหนดว่า เมื่อได้พิจารณาจนจบร่างแล้วให้สภาพิจารณาร่างเป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่ง และในการพิจารณาครั้งนี้สมาชิกอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำได้ แต่จะขอแก้ไขเพิ่มเติม เนื้อความมิได้นอกจากเนื้อความที่เห็นว่ายังขัดแย้งกันอยู่ ท่านสมาชิกมีถ้อยคำไหนที่จะแก้ไข เพิ่มเติมที่ไม่กระทบถึงเนื้อความไหมครับ ถ้ากระทบถึงเนื้อความทำไม่ได้แล้วนะครับ เชิญท่านประธาน พลเอก เลิศรัตน์

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ครับ ผมขอแก้ ๑ แห่งนะครับ เปิดไปหน้า ๑๔ ครับ หน้า ๑๔ ข้อ ๗๙ สภาอาจตั้งคณะกรรมาธิการให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณา กระทำกิจการ ขีดคำว่า ใด ๆ ออกครับ กระทำกิจการ แล้วก็วรรค แล้วเติมข้อความว่า หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ก็จะอ่านได้ความว่า สภาอาจตั้งคณะกรรมาธิการให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณา กระทำกิจการ หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันนี้จะสอดคล้องกับข้อ ๘๐ บรรทัดแรก จะได้เป็นข้อความที่ล้อกันครับ ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

อันนี้ถือเป็นถ้อยคำนะครับ เพราะว่าเป็นความสอดคล้องของข้อบังคับกันก็เห็นชอบให้แก้ ตามที่ท่านกรรมาธิการนะครับ ท่านกรรมาธิการดุสิตใช่ไหมครับ แล้วก็ท่านกรรมาธิการ เนาวรัตน์นะครับ แล้วก็คุณหมอชูชัยด้วยนะครับ ตามลำดับ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม ข้อ ๘๓ ครับ ข้อ ๘๓ บรรทัดที่ ๔ มีข้อความว่า และเลขาธิการเป็นกรรมาธิการนะครับ ก็ฝากกราบเรียนผ่านท่านประธานไปว่าเจตนารมณ์ที่เขียนว่า และเลขาธิการเป็นกรรมาธิการ ให้จบแค่ตรงนี้หรืออย่างไรครับ หรือว่ามีเจตนารมณ์ว่า และเลขาธิการเป็นกรรมาธิการ และเลขานุการหรือว่าและผู้ช่วยเลขานุการ หรือว่าจะเว้นเอาไว้ให้กรรมาธิการวิปไปพิจารณา อีกครั้งหนึ่งครับ ขอบคุณครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ คงให้อาจารย์อาจจะต้องอ่านถอยไปสักนิดหนึ่งนะครับ อ่านถอยไปสักนิดหนึ่งว่า ผู้แทนคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาตามข้อ ๘๐ วรรคสาม ทุกคณะ คณะละ ๑ คน และเลขาธิการเป็นกรรมาธิการ แล้วก็วรรค และให้ที่ประชุมสภา เลือกสมาชิกสภาจากตัวแทนในแต่ละด้านอีกไม่เกินแปดคน ไม่ทราบ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เข้าใจแล้วนะครับ

นายดุสิต เครืองาม ต้นฉบับ

คือเจตนารมณ์นี่จะไม่ได้ระบุเพิ่มเติมเป็นอย่างอื่น ใช่ไหมครับว่าเลขาธิการให้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมาธิการเฉย ๆ เพราะว่า หรือว่าอยากจะ ตั้งใจเชิญให้เลขาธิการเข้าไปเป็นกรรมาธิการและเลขานุการครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

คือเป็นเนื้อความแล้วท่านกรรมาธิการดุสิต ท่านประธาน พลเอก เลิศรัตน์ ชี้แจงแล้ว จบแล้วครับ เชิญท่านกรรมาธิการเนาวรัตน์ครับ

นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ หมายเลข ๑๑๗ ขอแก้ถ้อยคำนิดเดียวครับ ข้อบังคับ ๘๐ (๑๕) ที่จริงยกมือจะพูด ตั้งแต่ต้นแล้วแต่ไม่ได้มีโอกาส ที่ว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา นั้น ขอให้ตัดคำว่า ค่านิยม ออกครับ ก็จะเป็นว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา เหตุผลที่ขอตัด ก็เพราะว่าคำว่า ค่านิยม นั้นว่าที่จริงแล้วมันก็เป็นผลที่มาจากวัฒนธรรมบริโภคเท่านั้นเอง วัฒนธรรมของสังคมบริโภค ฉะนั้นค่านิยมมันจึงเป็นผลของวัฒนธรรม ท่านมีคำว่า วัฒนธรรมอยู่แล้วมันก็คลุมอยู่แล้วครับ เราค่อยไปเพ่งพิจารณาว่าวัฒนธรรมนั้นมันเป็น อย่างไรทำให้เกิดค่านิยมอย่างไร ฉะนั้นผมคิดว่าให้มันกระชับและชัดเจนก็เหลือแค่ ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา ก็น่าจะพอครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ บังเอิญเป็นการแก้เนื้อความ เพราะว่าได้ลงมติกันไปแล้ว ขอท่านกรรมาธิการ ไปทำเรื่องแก้ไขข้อบังคับมาในภายหลังนะครับ ขออนุญาตไปคุณหมอชูชัยครับ

นายชูชัย ศุภวงศ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ หมายเลข ๖๖ ข้อ ๑๑๓ หน้า ๒๔ บรรทัดที่ ๒ ยกร่างรัฐธรรมนูญภายในหกสิบวัน แล้วก็มีวรรค นับแต่วันที่มีการประชุมครั้งแรก แต่ว่าในต้นฉบับของรัฐธรรมนูญชั่วคราว มันไม่มีวรรคนะครับ คือยกร่างรัฐธรรมนูญภายในหกสิบวัน แล้วก็ นับแต่วัน คือติดไปเลย

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ถูกต้องแล้วนะครับ ท่านกรรมาธิการ คุณพิสิฐครับ

นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ครับ ด้วยความเกรงใจแต่ก็ขออนุญาตที่จะขอความกระจ่าง คณะกรรมาธิการที่ ๖ กับ ๗ ขอความยืนยันว่าเป็นการแบ่งแยกระหว่างไฟแนนเชียล เซคเตอร์ กับเรียล เซคเตอร์ ใช่ไหมครับ การที่มีการแก้ไขไปขอท่านประธานกรรมาธิการช่วยยืนยันด้วยครับว่าชุดที่ ๖ เราหมายถึงไฟแนนเชียล เซคเตอร์ ส่วนชุดที่ ๗ หมายถึงเรียล เซคเตอร์ ตามที่ได้ มีการอภิปรายไป มิฉะนั้นแล้วมันจะเกิดความซ้ำซ้อนครับ เพราะว่าชุดที่ ๗ ก็คือเศรษฐกิจ เหมือนกันครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านกรรมาธิการครับ บังเอิญเรื่องนี้มันพ้นวาระการที่จะสอบถามหรืออภิปรายแล้วนะครับ ขออนุญาต ขออภัย ลงมติเติมไปตามที่กรรมาธิการเกริกไกรชี้แจงขอเพิ่มเติม กรรมาธิการ จะชี้แจงหรือครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

มิได้ครับท่านประธาน จะกราบเรียนท่านประธาน เพียงแต่ว่าที่ท่านพูดมานั้นก็ให้บันทึกไว้

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ก็บันทึกไว้ว่าเป็นข้อสังเกตของกรรมาธิการพิสิฐ ท่านมีข้อจะแก้ไขถ้อยคำอะไรอีกไหมครับ เชิญครับ

นายวันชัย สอนศิริ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม วันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านประธานครับ ผมอยากจะหารือท่านประธาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเราอ่านทั้งหมดแล้วบางคนอาจจะอ่านข้อนั้นข้อนี้แล้วก็เจอประเด็นนั้น ประเด็นนี้ แต่ถ้าอ่านโดยรวมแล้วบางทีเราจะรู้ว่าตรงนั้นคำพูดไม่สัมพันธ์กันบ้าง ตรงนั้น ตกบ้าง ตรงนี้หล่นบ้าง ด้วยความเคารพต่อท่านประธานและท่านกรรมาธิการยกร่าง เป็นไปได้ไหมครับ เรามีมติในวาระสามเรียบร้อยแล้ว บางส่วนถ้าอ่านในภายหลัง บางครั้ง เราอ่านในภายหลังจริง ๆ แล้วลองนั่งอ่านบางทีเราจะเจอ แต่มันไม่ใช่เป็นการแก้ ในสาระสำคัญ แก้ตัวบางคำที่อาจจะไม่สัมพันธ์กัน เพราะฉะนั้นให้เป็นอำนาจของ คณะกรรมาธิการยกร่างไปดูไปอ่านในรายละเอียด คือพูดง่าย ๆ ว่าที่ประชุมมีมติว่าเห็นว่า คำใดที่มันไม่สัมพันธ์ หรือมันตก แก่ แต่ ก็ อะไรก็แล้วแต่ อย่างนั้นให้เป็นอำนาจไปเสีย ส่วนประเด็นอื่น ๆ ผมคิดว่าไม่ได้มีอะไร กระทำอย่างนี้น่าจะกระทำได้หรือไม่ นั่นหารือ และถ้าทำได้ขอเป็นมติให้คณะกรรมาธิการยกร่างไปอ่านทวนแล้วก็กรุณาเห็นว่าตรงไหน ที่จะแก้ก็แก้เสีย ผมคิดว่าไม่ได้เสียหายแต่ประการใด จึงกราบเรียนมาเพื่อพิจารณาครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เดี๋ยวเชิญทีละท่านนะครับ ท่านจะชี้แจงเลยหรือครับ เชิญครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ผมเข้าใจว่าร่างนี้เจ้าหน้าที่ก็คงจะพิมพ์และให้ท่านประธาน ลงนามวันพรุ่งนี้ แล้วก็ส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาครับ เพราะฉะนั้นถ้าจะมีอะไร แก้ไขก็ต้องไปว่ากันอีกทีหนึ่งภายหลังครับ แต่เชื่อว่าตอนนี้ก็ ๙๙.๙๙๙ ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

อันนี้ก็เป็นความปรารถนาดีของท่านกรรมาธิการวันชัย แต่ว่าถ้าจะทำมันก็เป็นเรื่องใหญ่ คือข้อบังคับสมัยก่อนกฎหมายผิดมันแก้ไม่ได้นะครับ พอลงมติวาระที่สามแล้วก็ไม่แก้กันแล้ว นะครับ จนกระทั่งต้องมีข้อบังคับว่าด้วยการแก้ที่คำที่ผิดนะครับ เพราะฉะนั้นก็ขออนุญาต รับเป็นความปรารถนาดีไว้ แต่ว่ามันต้องลงเร็ว ประธานท่านจะเมตตานอนสภาคืนนี้เพื่อจะ รอเซ็น เพราะฉะนั้นก็เชิญท่าน

นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานครับ ผมเข้าใจว่าผมน่าจะ ปิดท้ายรายการแล้วล่ะครับ เพราะว่าง่วงกันแล้วนะครับ สิ่งที่ท่านเนาวรัตน์พูดไปก็เป็น เรื่องสำคัญที่จริง แต่ว่าท่านประธานบอกว่าแก้ไม่ได้แล้วเนื่องจากเป็นข้อความ เป็นเรื่อง ของความแล้ว คือตอนนี้ลูกอยู่หน้าแม่นะครับ คือค่านิยมอยู่หน้าวัฒนธรรม แต่ที่จริงคำว่า วัฒนธรรม นั้นเป็นคำรวมดังที่ผมได้พูดไปแล้ว แต่ไม่เป็นไรครับตรงนี้ เนื่องจากว่าข้อบังคับนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ออกเผยแพร่ไปทั่วประเทศนะครับ ก็เป็นเรื่องต้องพิถีพิถันอยู่แล้วล่ะครับ ทีนี้นิดเดียวครับท่านประธานครับ ในข้อ ๑๕ ตรงนี้บอกว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปตรงนั้น ผมว่าน่าจะวรรค แล้วก็ค่านิยม เสร็จแล้วพอมาจริยธรรม วรรค แล้วก็ และ น่าจะเป็นอย่างนั้น ในการพิมพ์เพื่อที่จะให้เป็นไปตามหลักที่ทำกันมานะครับ อันนี้ผมก็ฝากเป็นสิ่งเล็กน้อย แต่ว่าก็เป็นสิ่งสำคัญในเรื่องการสื่อความ การวรรคหรือการไม่วรรค อะไรก็แล้วแต่นะครับ ขอบพระคุณมากท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมว่ามันไม่ใช่ มันไปวรรคแล้วมันไม่สื่อนะครับ มันต้องคงไว้ตามเดิมกระมังครับ ท่านกรรมาธิการ มีท่านผู้ใดติดใจเรื่องถ้อยคำอีกไหมครับ เชิญครับ ท่านอาจารย์ศุภชัย ใช่ไหมครับ เชิญครับท่านกรรมาธิการสายัณห์

นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ต้นฉบับ

ขอบคุณท่านประธานครับ มีแก้นิดเดียวครับ เพื่อให้มันถูกต้องตามทำนองคลองธรรมนะครับ หน้า ๑๕ (๗) กรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและการค้าบริการครับ ที่ถูกต้องต้องเป็น การค้าบริการ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ไม่ครับ ต้องเป็นบริการนี่ครับ การค้าบริการ เดี๋ยวมันมีหมายความอีกคำหนึ่งนะครับ ท่านสมาชิก

นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ต้นฉบับ

ตามหลักเกณฑ์ของศัพท์ที่ใช้กันนะครับ เขาเรียกแม้กระทั่งในเออีซีก็ใช้คำว่า การค้าบริการ ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

การค้าการบริการครับ ถ้าจะใช้คำนั้น แต่ว่าการค้าบริการนี่ ขอเอาไว้ตามเดิมนะครับ เป็นคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและการบริการ ถ้าจะเติมคำว่า การ ไปก็ได้นะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เอาละครับ ท่านกรรมาธิการมีประเด็นอื่นอีกไหมครับ ผมมีประเด็นเล็ก ๆ อันนี้หารือ ท่านกรรมาธิการนะครับ คือผมเข้าใจว่าท่านประธาน พลเอก เลิศรัตน์ และคณะกรรมาธิการ ท่านเดินตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ท่านเลยใช้คำว่า ประธานคณะกรรมาธิการ รองประธานคณะกรรมาธิการ แต่ว่าในรัฐธรรมนูญและในกฎหมายอื่นเขาเรียกว่า ประธานกรรมาธิการ เหมือนกับเขาเรียกประธานกรรมการ เขาไม่เรียกว่าประธานคณะกรรมการ ท่านติดใจไหมครับ อันนี้เป็นถ้อยคำแท้ ๆ เลยนะครับ ถ้าไม่ติดใจ เจ้าหน้าที่ก็ใช้คอมพิวเตอร์ทำได้ง่าย ๆ คืนนี้ท่านประธานได้เซ็นแน่ เปลี่ยนจาก คำว่า ประธานคณะกรรมาธิการ รองประธานคณะกรรมาธิการ เป็น ประธานกรรมาธิการ รองประธานกรรมาธิการ ให้เป็นไปตามหลักภาษานะครับ ท่านสมาชิก ท่านกรรมาธิการ มีความเห็นข้อเสนออย่างอื่นไหมครับ ในเรื่องถ้อยคำ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ถ้าไม่มี ผมถือว่าจบการพิจารณาวาระที่สองแล้วนะครับ แล้วก็แตะอะไรอีกไม่ได้แล้ว บัดนี้ผมจะขอมติจากที่ประชุมว่าเราจะเข้าสู่วาระที่สาม แล้วจะขอมติ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขออนุญาตลงมติเป็นทางการครับ คราวนี้จะได้บันทึกเอาไว้ ท่านสมาชิกกรุณาเสียบบัตร ด้วยนะครับ ท่านสมาชิกที่อยู่นอกห้องประชุมเชิญเข้ามานะครับ ในวาระที่สาม ขออนุญาต ท่านเสียบบัตรแล้วกดแสดงตนเพื่อตรวจสอบองค์ประชุมครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านใดที่ยังไม่ได้แสดงตนไหมครับ เชิญครับ ผมยังไม่ได้ปิดการแสดงตน เชิญครับ อาจารย์นรีวรรณบอกว่าหาบัตรไม่เจอ แสดงตนแล้วครับ ไม่เป็นไร ท่าน พลโท เดชา เสียบบัตรหรือยังครับ ครบแล้วนะครับ ท่านสมาชิกแสดงตนครบถ้วนแล้ว ขอได้โปรด รายงานด้วยครับ บัดนี้ท่านสมาชิกอยู่ในที่ประชุม ๑๕๗ ท่าน รวมทั้งอาจารย์นรีวรรณแล้ว เกินกึ่งหนึ่งจัดเป็นองค์ประชุมนะครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เมื่อเป็นองค์ประชุมแล้ว ผมขอเชิญท่านสมาชิกลงมติในวาระที่สาม ว่าท่านจะเห็นชอบด้วยร่างข้อบังคับฉบับนี้หรือไม่ ขอเชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิลงคะแนนครับ ท่านผู้ใดเห็นชอบด้วยข้อบังคับนี้ โปรดกดปุ่ม เห็นด้วย ท่านผู้ใดไม่เห็นชอบ โปรดกดปุ่ม ไม่เห็นด้วย แล้วก็ท่านผู้ใดเห็นว่า ควรงดออกเสียง โปรดกดปุ่ม งดออกเสียง ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ลงคะแนนเสร็จหรือยัง ผมจะได้ปิดลงคะแนนแล้วนะครับ ท่านสมาชิกลงคะแนนครบถ้วน แล้วนะครับ ขออนุญาตที่ประชุมปิดการลงคะแนนนะครับ เชิญท่านเลขาธิการรวมผล แล้วก็ส่งผลด้วยครับ ท่านสมาชิกครับ บัดนี้มีจำนวนผู้เข้าประชุมทั้งหมด ๑๖๐ ท่าน แล้วก็เห็นด้วยทั้ง ๑๖๐ ท่าน เป็นเอกฉันท์

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอแสดงความยินดีและขอขอบพระคุณนะครับ ท่านกรรมาธิการยกร่าง ทั้งคณะที่ทุ่มเททำงานนี้มา ท่านสมาชิกทุกคนที่ทำหน้าที่เป็นกรรมาธิการเต็มสภา ที่ทำให้ ข้อบังคับนี้ออกใช้บังคับได้ในคืนนี้ คนที่จะต้องอยู่ต่อก็คือท่านประธานเทียนฉายของเรา นี่นะครับ เรากลับบ้านนอนแล้วท่านก็ยังอยู่ต่อให้

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ ท่านประธานท่านมอบให้ผมช่วยเรียนท่านสมาชิก ๒-๓ เรื่องนะครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ก็คือว่าพรุ่งนี้เราจะประชุม แต่เนื่องจากวันนี้เราประชุมกันล่ามาก จะขออนุญาตประชุมตอน ๑๐.๐๐ นาฬิกา แทนที่จะเป็น ๐๙.๓๐ นาฬิกา เพื่อที่จะ ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ ๘๑ คือตั้งกรรมาธิการ แล้วตั้งกรรมาธิการนั้นก็เรียนเสนอ อย่างนี้ครับจะได้เร็ว คือเอารองประธานคนหนึ่งซึ่งท่านรองประธานทัศนาท่านอาสาแล้วล่ะ เพราะท่านเคยอยู่ในสภามานาน แล้วก็ทำอย่างที่ท่านสมาชิกได้เสนอว่าแต่ละกลุ่มนี่นะครับ ๑๑ กลุ่มส่งคนเข้ามากลุ่มละคน แล้วก็จังหวัดก็ส่งเข้ามา ๔ คน เพื่อจะเป็นกรรมาธิการ ตามข้อ ๘๑ ให้ท่านสมาชิกกรอกใบสมัคร ๔ กรรมาธิการเพื่อที่จะได้ทำให้เร็วที่สุด ท่านสมาชิกจะได้ใบสมัครในวันพรุ่งนี้ แจกแล้วใช่ไหมครับ นี่กำลังแจกเลยนี่เรียกว่าต้องชม ท่านเลขาธิการและท่านเจ้าหน้าที่ทั้งหลายนะครับ ท่านไปนอนคิดคืนหนึ่งนะครับว่า ท่านอยากอยู่กรรมาธิการไหน เรียงตามลำดับความชอบเหมือนสอบเข้ามหาวิทยาลัย นั่นแหละ แล้วกรรมาธิการชุดที่ท่านจะตั้งพรุ่งนี้เขาจะจัดสรรให้ แล้วก็เขาจะโทรศัพท์ไปหาท่าน ทั้งหมดนี้ครับท่านประธานเทียนฉายท่านบอกว่าถ้าได้กรรมาธิการเงาเสียก่อนวันที่ ๙ วันที่ ๑๐ การประชุมแบบไม่เป็นทางการของเราในวันที่ ๙ วันที่ ๑๐ ที่ท่านประธานท่านแจ้ง ให้ทราบแล้วก็ง่ายเข้า เพราะท่านจะได้แบ่งกลุ่มตามกรรมาธิการเงานั้นได้ แล้วในวันที่ ๑๑ ท่านประธานแจ้งให้ท่านสมาชิกทราบว่าเราจะมีประชุมในวันอังคารที่ ๑๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา เพื่อที่จะรับรองกรรมาธิการทั้ง ๑๘ ชุดนะครับ อ๋อ ใบสัมมนา นี่คนละเรื่องกันแล้ว ขออภัยท่านสมาชิกด้วย แต่ไม่ถอนคำชมนะครับ อย่างน้อยที่สุด ก็แจกใบสัมมนา เพราะฉะนั้นนี่ก็คือเรื่องที่ ๑ พรุ่งนี้ประชุม ๑๐.๐๐ นาฬิกา แล้วก็ตั้งกรรมาธิการตามข้อ ๘๑ ให้เสร็จ ท่านสมาชิกสมัครให้เสร็จ แล้วเป็นกรรมาธิการเงา ไปประชุมได้ในวันที่ ๙ วันที่ ๑๐ นอกรอบ แล้ววันที่ ๑๑ ประชุมสภาเป็นทางการเพื่อที่จะตั้ง กรรมาธิการต่าง ๆ เป็นทางการและท่านสมาชิกจะได้ลงมือทำงานได้เลย

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ข้อที่ ๒ ครับ ต้องขออนุญาตเรียนท่านสมาชิกนิดหนึ่งเรื่องการรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชนซึ่งจำเป็นนี่นะครับ แต่ว่าเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างใช้กฎอัยการศึก แล้วก็ยังใช้กฎหมายความมั่นคงอยู่ในหลายพื้นที่ อันนี้อาจจะต้องมีความจำเป็นที่ท่านสมาชิก จะต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายบ้านเมือง ก็เรียนท่านสมาชิกไว้แค่นี้ก่อน เข้าใจว่า ท่านประธานเองอาจจะต้องมีการพูดคุยกับทางผู้รักษาความมั่นคงต่อไปในเรื่องการรับฟัง ความคิดเห็นให้ท่านสมาชิกทั้งหลาย เพราะฉะนั้นท่านสมาชิกครับวันนี้ท่านทำหน้าที่มา เต็มที่อย่างมีประสิทธิภาพเยี่ยมยอดสูงสุดพิจารณาจบภายในวันเดียวเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก ขอแสดงความชื่นชมกับพวกท่านทุกท่านเลยครับ พวกเราทุกคนปรบมือให้ตัวเองครับ แล้วก็ขอปิดประชุมครับท่านครับ ขอบพระคุณมากครับ