ผม ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ แสดงตนครับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินะครับ ผมเห็นด้วยที่จะอภิปรายภาพรวมเพื่อให้ได้เป้าหมาย ของการปฏิรูปแล้วก็กลไกในนามกรรมาธิการวิสามัญ เป็นกลไกสำคัญยิ่งที่จะตอบโจทย์ว่า เราจะได้เป้าหมายเป็นเครื่องมือการทำงานของเรานะครับ จริง ๆ สมาชิกสามารถอภิปราย ลงในรายละเอียดเลยว่าเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับคณะไหน แล้วก็กรรมาธิการจด แล้วก็มาเปลี่ยนนะครับ ๒. ผมเห็นด้วยว่าการตั้งคณะทำงานทั้งหมด ต้องนำไปสู่การเปลี่ยน โครงสร้างแล้วก็เป็นโครงสร้างที่ยั่งยืนสำหรับการแก้ปัญหาประเทศของเราด้วย เพราะฉะนั้น กรรมาธิการที่ตั้งมาหลายคณะนี่ดูดี แต่ว่าตอบโจทย์ใหญ่หรือไม่ ผมอยากให้สมาชิกอภิปราย ภาพรวมอันนี้ แล้วก็ได้เวลาแล้วมาไล่ทีละวรรค เช่น ผมติดใจวรรคสาม ติดใจจริง ๆ นี่ อาจารย์ยังสงวนสิทธิ์ที่จะอภิปรายวรรคสามอยู่ มาไล่ทีละวรรคว่าเราจะแก้ปรับปรุงอะไร เพื่อให้ตอบโจทย์ที่สมาชิกได้สะท้อนเจตนารมณ์หรือไม่ครับ ผมคิดว่าแนวทางนี้จะให้ การประชุมมันขยับเขยื้อนไปข้างหน้าได้นะครับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ สมาชิกสภาปฏิรูป ฐานะกรรมาธิการนะครับ ที่ผมได้พูดเกริ่นนำไว้ว่าโครงสร้างการทำงาน ของคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดต่าง ๆ มีความสำคัญยิ่งที่จะนำพาพวกเราไปสู่จุดหมาย ร่วมกันของคนไทยทั้งประเทศคือการปฏิรูปประเทศ ผมคิดว่าเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง แล้วก็นำสู่ความยั่งยืนให้กับประเทศของเราตามที่สมาชิกหลายคน อภิปราย โดยเฉพาะเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่สุดที่ถูกเขียนไว้ใน รัฐธรรมนูญ เรื่องทุจริตคอร์รัปชัน แล้วก็เรื่องการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ๓ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ แล้วก็ทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาในประเทศนะครับ เพราะฉะนั้น กรรมาธิการต่าง ๆ ที่จะตั้งขึ้นโดยสภาแห่งนี้ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าสามารถลดความเหลื่อมล้ำ ได้อย่างไร ทุกคณะเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำหมด ทุกคณะโยงกับการทุจริตหมด ทุกคณะโยงกับ การสร้างความเป็นธรรมทั้งหมด ตอบโจทย์ตรงนี้ให้ได้แล้วเรากรุ๊ป (Group) กันนะครับ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนโครงสร้างจากการปฏิรูป ประเทศครั้งนี้นะครับ นี่คือโจทย์ที่ผมตั้งเอาไว้ และผมคิดว่าสมาชิกหลายคนก็ตั้งเอาไว้ เมื่อทุกคณะที่ตั้งขึ้นตอบโจทย์ที่ผมว่าแล้วเมื่อกี้นี้สำคัญที่ว่า วอล์ค เน็กซ์ (Walk next) แล้วเราจะเดินต่อไปอย่างไร พาประเทศไปสู่ข้างหน้าได้อย่างไร เราต้องทบทวนย้อนหลัง ๒๐ ปีเกิดอะไรขึ้นในประเทศนี้ ๒๐ ปีข้างหน้าเราจะสร้างอะไรให้เกิดขึ้นในประเทศนี้ กรรมาธิการที่ตั้งขึ้นต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าจะพาประเทศไปสู่ในทิศทางเหล่านี้ได้อย่างไร ทิศทางใหญ่ ๆ ซึ่งสมาชิกที่นี้แล้วก็สังคมจะได้ร่วมกำหนด เพราะฉะนั้น ๒ ภารกิจของ คณะทำงานที่สำคัญคือว่าตอบโจทย์ลดความเหลื่อมล้ำ เรื่องทุจริต แล้วก็สร้าง ความเป็นธรรม แล้วก็เดินไปข้างหน้าได้อย่างไร ผมว่านี่คือการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ทั้งหลายต้องตอบโจทย์ที่ว่าดูแล้วตอบได้ไหม กระจัดกระจายมาก ล้อเลียนโครงสร้าง กระทรวง แม้นว่าจะมีความตั้งใจดีของกรรมาธิการแล้วก็เพื่อนสมาชิกทั้งหลายที่ต้องการ ทำงาน ถ้ากรุ๊ปใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพและมีความกระชับ มีจุดมุ่งหมายชัดเจนผมว่า จะเกิดผลดีนะครับ ทำได้ไหม ผมว่าเรายังมีโอกาสที่จะทำได้ เรายังมีเวลาอยู่ ไม่ต้องรีบ เพื่อให้คนข้างนอกดูแล้วว่าสภาปฏิรูปแห่งนี้ได้สร้างกลไก เครื่องมือขับเคลื่อนการปฏิรูป ที่มีประสิทธิภาพนะครับ นี่คือภาพรวมที่ผมมองนะครับ ผมเสนอสั้น ๆ เลยนะครับ อาจารย์ครับ เช่น คณะกรรมาธิการกีฬา สำหรับผมไม่ควรมี หรือผมก็เห็นต่างกับอาจารย์เตือนใจนะครับ ปฏิรูปค่านิยมเราทำยากนะครับ แต่ว่าเป็นปฏิรูปศิลปวัฒนธรรมอยู่ในนั้นได้ แล้วก็ไปคิดใหม่ ๆ ตามที่อาจารย์พิสิฐเสนอหรือใครเสนอก็แล้วแต่ กรุ๊ปปัญหาขึ้นมาใหม่ เรื่องเกษตรผมคิดว่า ถ้าเราใช้คำเดียวผมว่าอาจจะจบ เช่น ปฏิรูปภาคการผลิตเกษตรซึ่งมันจะคลุมทั้งหมด ทั้งอุตสาหกรรมแล้วก็เกษตรอุตสาหกรรมมันคลุมทั้งหมด เป็นภาคการผลิต มันจะได้ กินความรวมถึงเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืน เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงทั้งหมดที่สังคมไทย มันมีอยู่ อันนี้คือตัวชื่อ ตัวโครงสร้างกรรมาธิการ แต่ผมดูแล้วยังกระจัดกระจาย ถ้ากรุ๊ปได้ก็ดี แต่จุดที่ผมคิดว่ายังมีปัญหามากก็คือข้อ ๘๐ วรรคสาม ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในความเห็น ของผมนะครับ ผมอ่านให้ดูนะครับ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาสิบเจ็ดคณะ ให้มีนะครับ แต่ละคณะประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสิบสามคนแต่ไม่เกินยี่สิบเก้าคน มีคนท้วงติงว่ามากไป อันนี้ไม่มีปัญหานะครับ แต่ที่จะมีปัญหาแล้วก็คลุมเครือคือว่า บุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่เกินจำนวนหนึ่งในสี่ของกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกของแต่ละคณะ ถ้าเราย้อนกลับดูนะครับ สมาชิกที่นี้ได้วิพากษ์วิจารณ์ที่มาของวรรคนี้มาจากการแต่งตั้ง ของคณะรัฐมนตรีไม่เกินเจ็ดคนจากผู้สมัครสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ไม่ได้รับการสรรหา เจตนารมณ์อยู่ตรงนั้น และพวกเราก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าจะเชิญพวกเขาเข้ามาทำงานร่วมกับ พวกเรา เพียงแต่เราไม่เห็นด้วยที่จะให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีการปรับแก้ คณะกรรมาธิการ กิจการชั่วคราวเสนอ ๒ ประเด็น ๑. ไม่เห็นด้วยกับคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมา เปลี่ยนให้เป็น อำนาจของคณะกรรมาธิการกิจการสภาที่จะแต่งตั้งเป็นชุดถาวรเป็นคนกลั่นกรองบุคคล ๒. ลดจำนวนจาก ๗ ให้เขียนไว้เป็น ๑ ใน ๕ แต่ว่าในนี้เขียนเป็น ๑ ใน ๔ เขียนไว้อย่างนี้ เท่ากับว่า ถ้าเขียนตามที่กรรมาธิการเสนอมานะครับ ๑ ใน ๔ ของกรรมาธิการที่เป็นสมาชิก รวมความถึงบุคคลภายนอกด้วยหรือไม่ หรือเฉพาะบุคคลที่สมัครเป็น สปช. แล้วไม่ได้รับ การสรรหา ถ้าเป็นบุคคลภายนอกด้วยเราให้อำนาจกรรมาธิการมากเกินไปในการตั้ง คณะกรรมาธิการในแต่ละคณะ ผมคิดว่าอันนี้ควรทำให้เกิดความชัดเจนขึ้นมานะครับ ควรเขียนให้ชัดเจนว่า ๑ ใน ๔ เป็นบุคคลที่มาจากไหน และเป็นอำนาจของกรรมาธิการ กิจการสภา ไม่ใช่ปล่อยให้กรรมาธิการกิจการสภาตั้งบุคคลใดก็ได้มานั่งอยู่ในกรรมาธิการ วิสามัญชุดต่าง ๆ อันนี้เป็นข้อสังเกต ซึ่งผมคิดว่าจะทำให้เกิดปัญหาแน่ในการทำงาน แล้วก็ ๑ ใน ๔ แค่ตัวเลขก็มีปัญหา ผมนี่สื่อสารมวลชนมี ๑๓ คน ผมตั้งได้ ๓.๒๕ คน หมายความว่าหารแล้วได้ ๓.๒๕ คน หมายความว่าเป็นทั้งบุคคลที่มาจากสมัคร สปช. และไม่ได้รับการสรรหาหรือบุคคลภายนอกด้วย อันนี้คือความคลุมเครือของข้อความในวรรคสาม ข้อ ๘๐ ผมมีประเด็นแค่นี้ครับ ท่านประธานครับ
ผมใช้เวลานิดเดียวครับ ซึ่งเป็นสาระสำคัญมาก ที่คุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ พูดนะครับ เรียนท่านประธานแล้วก็กรรมาธิการนะครับ ถ้ารบกวน แก้กิจการโทรคมนาคมได้ดีซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ แต่ว่าไม่ควรอยู่ในกิจการสื่อสารและเทคโนโลยี เพราะว่าเป็นเรื่องเนื้อหา พวกผมวงการสื่อถูกตั้งคำถามจากสังคมเยอะในเรื่องคุณภาพข่าว แล้วก็การกำกับดูแลจริยธรรม ผมอยากจะให้คณะนี้พุ่งเป้าไปในเรื่องที่เป็นสาระสำคัญ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพสื่อโดยตรง เพราะฉะนั้นกิจการโทรคมนาคมมันโยงกับโครงข่าย แล้วก็เป็นโลจิสติกส์ เพราะฉะนั้นน่าจะแยกออกไปให้ออกจากด้านเนื้อหานะครับ ผมเสนอไว้แค่นี้ ต่อรองกรรมาธิการหน่อยครับก่อนลงมติ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วก็กรรมาธิการนะครับ ผมใช้เวลาไม่มากครับ ท่านประธานครับ ข้อ ๘๔ (๒) ผมพูดถึงภารกิจของชุดนี้คือการจัดทำวิสัยทัศน์แล้วก็ออกแบบอนาคตประเทศไทย ผมจะขอแปรญัตติ แปรญัตติเลยก็ได้นะครับ ตัดคำว่า รูป ออก แล้วใช้คำว่า ออกแบบ คำว่า รูปแบบอนาคตประเทศไทย ผมว่าไม่น่าจะใช่นะครับ ออกแบบคือการเชิญชวนคนไทย มาออกแบบอนาคตที่เราอยากจะเห็น หรือเรามองเป้าหมายร่วมกันนะครับ จึงขอแปรญัตติ จากคำว่า รูป มาเป็น ออกแบบอนาคตประเทศไทย นะครับ สิ่งที่เป็นภารกิจสำหรับชุดนี้ ผมคิดว่า ๑. เมื่อสักครู่เราเห็น ๑๘ แท่ง คำถามคือใครเป็นคนยึดโยง ๑๘ แท่ง ใครเอา ผลการศึกษาของกรรมาธิการแต่ละชุดนั้นมาประมวลเป็นภาพรวม ผมว่ากรรมาธิการชุดนี้ มีภารกิจที่ต้องเอาผลการศึกษาในข้อเสนอแนะในการปฏิรูปของทั้ง ๑๘ คณะ มาประมวล เป็นภาพรวมและจัดทำข้อสรุปให้เห็นว่า ๑๘ คณะนั้นเรามีเป้าหมาย เรามีภาพรวมร่วมกัน อะไรอย่างไร ๑. คือเอาผลของ ๑๘ คณะมาดูนะครับ ข้อที่ ๒ รับฟังความเห็นจากสมาชิก พวกเรานี่นะครับ ข้อที่ ๓ รับฟังจากสังคมว่าสังคมมีความคิด มีความฝัน มีความต้องการ อะไรอย่างไร ภารกิจแบบนี้ผมว่าอยู่ในชุดนี้ ข้อที่ ๔ ผมว่าสำคัญมากเลยคือการกำหนดแผน กลไก เวลา ที่ต้องเอาไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรในมาตรา ๓๕ (๑๐) ผมคิดว่า เป็นหน้าที่ของกรรมาธิการชุดนี้ที่จะต้องทำแล้วก็เอามาให้สมาชิกดูกัน ผมว่าภารกิจ กรรมาธิการชุดนี้มีความสำคัญก็คือการทำให้พวกเราเห็นป่าทั้งป่าไม่ใช่เห็นเถียงนาน้อย หรือว่าต้นไม้แต่ละต้น การมองภาพรวมทั้งหมดเป็นหน้าที่ของกรรมาธิการชุดนี้นะครับ ผมขอแปรญัตติจาก รูป เป็น ออกแบบ นะครับ ผมสนับสนุนกรรมาธิการให้มีกรรมาธิการ ชุดนี้นะครับ (๓) ผมขอแปรญัตติสลับคำนะครับ ใจความทั้งหมดผมเห็นด้วยก็คือว่าเอา การมีส่วนร่วม ขึ้นก่อนนะครับ คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความเห็น ประชาชน ผมว่าการมีส่วนร่วมมันเป็นพลังทางการเมือง คือการมีน้ำหนัก มีความจริง มีความเป็นจริง เป็นกระบวนการที่มีน้ำหนักทางการเมือง แล้วก็รับฟังก็คือการรับฟัง ทั่ว ๆ ไป เราจะฟังหรือไม่ฟังก็ได้ แต่การมีส่วนร่วมผมว่าเป็นนัยสำคัญสำหรับการปฏิรูป ประเทศครั้งนี้นะครับ ถ้าเราให้ประชาชนมาริเริ่มร่วมกับเรา เปิดใจร่วมกับเรา รับฟังความเห็นร่วมกันกับเรา ลงมือทำ เปลี่ยนแปลงร่วมกันผมว่าจะเป็นเรื่องที่ สำคัญ เพราะฉะนั้นผมจึงขอแปรญัตติก็คือให้เอา การมีส่วนร่วม ขึ้นก่อน รับฟัง นะครับ
ส่วนประเด็นคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ประจำภาคหรือจังหวัด ผมอยากเรียนกับสมาชิกนะครับ ผมเป็นนักข่าวเมื่อการทำ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ก็ให้ สสร. ๙๙ คน ไปรับฟังความเห็นมาในจังหวัดต่าง ๆ ได้กระดาษมา เยอะมากครับ ไม่ใช่ว่าไม่มีค่านะครับ แต่ใครสังเคราะห์ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือประเด็นกระจาย เป้าหมายร่วมไม่มีนะครับ เป็นไปได้ก็คือว่าควรมีกรรมาธิการชุดใหญ่ที่กำหนดประเด็น ไปรับฟังความเห็น เอาประเด็นสำคัญ ๆ ที่เราต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศนี้ ไปรับฟังความเห็นจากประชาชน เพราะฉะนั้นกรรมาธิการชุดใหญ่จึงเป็นคนกำหนด ยุทธศาสตร์แล้วก็ประเด็นที่จะไปรับฟัง แต่ถ้าเราปล่อยให้กระจัดกระจายนะครับ มันก็จะมี ปัญหาอีกแบบหนึ่ง แล้วที่สำคัญผมเห็นด้วยกับกรรมาธิการนะครับว่า ถ้าจะให้แปรญัตติก็คือ ระดับภาคหรือกลุ่มจังหวัด ถ้ารายจังหวัดผมว่าจะกระจายยิ่งกันไปใหญ่นะครับ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วย กับการยึดโยงกับพี่น้องประชาชนนะครับ เรามีวิธีการยึดโยงหลายแบบ แต่เคยมีบทเรียน เมื่อทำรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ เมื่อปล่อยให้เกิดการไปรับฟังความเห็นต่างจังหวัด สสร. ทุกจังหวัดก็จะมีประเด็นที่กระจายมาก เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยกับกรรมาธิการที่คงไว้ แต่ว่าถ้าจะให้แปรญัตติแทนที่จะเขียนกลับว่าจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัดไปเลยนะครับ จะได้ให้ เกิดมีกลไกในการปฏิบัติที่เป็นจริงขึ้นมานะครับ ผมก็มีประเด็นแค่นี้นะครับ