นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ

  • ผม หาญณรงค์ เยาวเลิศ สมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติครับ คือวาระแรกเป็นเรื่องที่อยากมีความเห็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของข้อบังคับที่ทาง คณะกรรมาธิการยกร่างได้ทำมา อยากขอท้วงติงในประเด็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องหมวดครับ คือผมเข้าใจที่อาจารย์เจิมศักดิ์ได้กล่าวไปสักครู่นี้ สภาปฏิรูปอาจจะต่างกว่า สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา ฉะนั้นเวลายกร่างหมวดนี่ครับ เช่น การเสนอญัตติ ผมเข้าใจว่าคณะกรรมาธิการทุกอันที่ไปทำที่จะแบ่งเป็นกรรมาธิการ เวลาไปสรุปเรื่องมา ผมไม่แน่ใจว่าเราจะถูกเรียกว่าเป็นญัตติหรือเปล่า มันคือเอาข้อสรุปจากกรรมาธิการไปทำมา แล้วก็มาเข้าที่ประชุมใหญ่เพื่อส่งไปยัง ครม. หรือส่งไปยัง สนช. ฉะนั้นเขาจะเรียกญัตติ หรือเปล่า อันนี้ผมคิดว่าลองกลับไปดูในการแปรญัตติในวาระที่สองนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ ก็คือการลงมติ ผมคิดว่าบางเรื่องเป็นเรื่องมติ ครม. ที่อาจจะต้องมี การปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ไปสู่การบริหารราชการที่มันอาจจะดีขึ้นกว่าเดิม แล้วมติ ครม. ที่ออกมีปัญหาก็ส่งไป ครม. แต่คำว่า ญัตติ ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องของการเสนอความเห็น ขึ้นมาแต่ละครั้งจะต้องลงมติทุกครั้งแทนที่จะปรึกษาหารือกันแบบที่ชาวบ้านเขาฟังแล้ว มันเข้าใจง่าย ๆ นะครับ ฉะนั้นผมก็ขอท้วงติงในประเด็นเรื่องหมวด ส่วนเรื่องหลักการทั่วไป เห็นด้วยว่าสมควรรับหลักการเพื่อที่จะได้ดำเนินการอย่างทันท่วงทีเพื่อที่จะได้มีการทำงาน ในกรรมาธิการต่อไป ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับท่านประธาน ผม หาญณรงค์ เยาวเลิศ คงต่อเนื่องจากผู้ช่วยผู้ปฏิบัติการนี่นะครับ ก็มีประสบการณ์ในการเขียนรายงาน ประเภทอย่างนี้ ก็แบ่งเป็นคณะ พอถึงเวลาประชุมเราก็เชิญประชุม คนเขียนนี่กว่าจะหาได้ ใช้เวลา ๒-๓ เดือน กว่าจะตรวจสอบคุณสมบัติได้ปาไป ๕ เดือน กว่าจะได้เขียนตกลงงาน เราเสร็จพอดี ฉะนั้นผมเลยเกรงว่าถ้าในข้อบังคับไปเขียนไว้ชัดเจนถึงขนาดนี้ว่าอย่างน้อย ต้องจบปริญญาโท หลักเกณฑ์นี้ก็อยู่ในกฎระเบียบอยู่แล้วซึ่งผมคิดว่าไปห้อยตอนสุดท้ายไว้ ซึ่งผมว่าหลายที่ก็จะเป็นแบบที่ทนายวันชัยว่า อันนี้ต้องขอเอ่ยนามท่าน เพราะว่า ประสบการณ์จากการทำงาน ผมทำเรื่องทรัพยากร บางคนก็รู้เรื่องป่าไม้แต่ไม่รู้เรื่องน้ำ บางคนรู้เรื่องแร่ไม่รู้เรื่องน้ำ ซึ่งผมว่าหลายเรื่องถ้าเอาคนที่จะทำเรื่องรายงานแต่เฉพาะ สุดท้ายต้องมานั่งประจำในกรรมาธิการ แล้วต้องฟังทุกครั้งในการที่จะเขียนรายงาน ไม่ใช่ค้นคว้าเพียงอย่างเดียว ฉะนั้นการเขียนรายงานกับทำวิทยานิพนธ์มันก็คนละเรื่องกันอีก ฉะนั้นผมก็ไม่แน่ใจว่าถ้าเขียนไว้อย่างนี้ โอเค เปิดกว้าง แต่เปิดกว้างแล้วถ้าขมวดด้วย คุณสมบัติ ผมคิดว่าตั้งแต่บรรทัดที่ ๒ เพื่อผู้ช่วยในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและ ครบถ้วน เพื่อให้เป็นไปตามที่กรรมาธิการมอบหมายในการทำรายงาน แล้วที่เหลือคุณสมบัติ ให้เป็นไปตามที่ระเบียบของสภา อันนี้ผมคิดว่ามันก็ต้องไม่มีตั้งแต่ อย่างเป็นระบบ เช่นว่า คนหนึ่งหรือหลายคนจบการศึกษา อันนี้ก็เอาออกก็ได้ครับอาจารย์ ไม่ต้องใส่นะครับ ท่านประธาน ผมคิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้มันก็จะทำให้เห็นง่ายขึ้น แต่ว่าสุดท้ายก็จะมีปัญหาเรื่อง เราจะหาใคร ที่ไหน อย่างไร อันนี้มันจะหมดเวลาไปเกือบครึ่งปีแล้ว ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผม หาญณรงค์ เยาวเลิศ ครับ คือผมคิดว่า ก็มีการอภิปรายแบบ ๒ เรื่อง เรื่องหารือทั่วไปแบบเมื่อวาน อันนั้นอาจจะมีเวลาที่อาจจะ ไม่จำกัด แต่เรื่องที่มีการเสนอข้อสรุปจากกรรมาธิการแบบวันนี้ ผมคิดว่าต้องเอาเวลา ยกตัวอย่างว่าให้อภิปรายทั้งหมดประมาณ ๕ ชั่วโมง มีผู้ลงทะเบียนเพื่อที่จะอภิปรายกี่คน ก็ต้องมาหารเป็นนาทีเอาเพื่อที่จะให้รวบรัดแล้วก็อยู่ในประเด็น ซึ่งผมคิดว่าถ้ากำหนดเป็น ชั่วโมงนี่มันจะได้ชัดเจนว่าคนที่อภิปรายก็จะตั้งใจที่อภิปราย คนที่ไม่อภิปรายก็จะได้รู้ว่า ตกลงจะมีระยะเวลาช่วงไหนที่เรามีมติ ซึ่งมันจะได้มีการกำหนดเวลาซึ่งกันและกัน ก็ขอให้มี การหารเวลาก็แล้วกันนะครับ ถ้ามีการอภิปรายแบบที่เป็นข้อเสนอจากกรรมาธิการมา แบบวันนี้นะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผม หาญณรงค์ เยาวเลิศ ครับ คือผมคิดว่า ก็มีการอภิปรายแบบ ๒ เรื่อง เรื่องหารือทั่วไปแบบเมื่อวาน อันนั้นอาจจะมีเวลาที่อาจจะ ไม่จำกัด แต่เรื่องที่มีการเสนอข้อสรุปจากกรรมาธิการแบบวันนี้ ผมคิดว่าต้องเอาเวลา ยกตัวอย่างว่าให้อภิปรายทั้งหมดประมาณ ๕ ชั่วโมง มีผู้ลงทะเบียนเพื่อที่จะอภิปรายกี่คน ก็ต้องมาหารเป็นนาทีเอาเพื่อที่จะให้รวบรัดแล้วก็อยู่ในประเด็น ซึ่งผมคิดว่าถ้ากำหนดเป็น ชั่วโมงนี่มันจะได้ชัดเจนว่าคนที่อภิปรายก็จะตั้งใจที่อภิปราย คนที่ไม่อภิปรายก็จะได้รู้ว่า ตกลงจะมีระยะเวลาช่วงไหนที่เรามีมติ ซึ่งมันจะได้มีการกำหนดเวลาซึ่งกันและกัน ก็ขอให้มี การหารเวลาก็แล้วกันนะครับ ถ้ามีการอภิปรายแบบที่เป็นข้อเสนอจากกรรมาธิการมา แบบวันนี้นะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับท่านประธานครับ ผม หาญณรงค์ เยาวเลิศ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ผมคงใช้เวลาไม่มากเพราะไม่ค่อย จะมีเสียงเท่าไร แต่เนื่องจากว่าข้อสรุปของกรรมาธิการกับเนื้อหาที่มี ผมรู้สึกว่าตอนแรก เราพยายามที่จะเสนอว่าข้อสรุปจากสภาปฏิรูปแห่งชาติผ่านไปยังรัฐบาล รัฐบาลน่าจะมี ทางเลือก แล้วทำทางเลือก ๑ ๒ ๓ ในแต่ละทางเลือกน่าจะมีข้อดีข้อเสียซึ่งมีเหตุผลประกอบ แต่พอมีการพิจารณาเรื่องทางเลือกและเหตุผลประกอบ ผมคิดว่าข้อมูลยังไม่ครบพอที่จะให้ คนที่จะดูทางเลือกเหล่านี้แล้วไปสู่การปฏิบัติได้ ผมยกตัวอย่างเช่น ทางเลือกที่ ๑ บอกว่า ให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ไปด้วยการสัมปทานไทยพลัสทรี (Thai plus III) นี่นะครับ แล้วก็ตามแผนที่เป็นอยู่ ซึ่งถ้าดูทางเลือกแล้วท่านดูเหตุผลนะครับ ข้อดีข้อเสียมีแค่นี้ แต่ในที่ประชุมเราถกเถียงว่าน่าจะมีข้อมูลประกอบที่สมบูรณ์กว่านี้ เพื่อคนตัดสินใจว่าถ้าเลือกทางนี้มีจุดอ่อน จุดเด่นอย่างไร เพื่อจะได้ไปประมวลประกอบ เพราะผมเข้าใจว่ากรณีของข้อขัดแย้ง หรือข้อท้วงติงต่อการเปิดให้มีการสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ ๒๑ ไม่ใช่แต่ในที่ประชุมแห่งนี้ที่รัฐบาลเขาถามมา เพราะว่า ๑. สถานะทั่วไปต่อการเปิด รอบอื่น ๆ โดยเฉพาะรอบที่ ๒๐ ที่ไปฟังมาจากกรรมาธิการการมีส่วนร่วมได้ฟังแบบที่ ท่านประชาได้กล่าวไปสักครู่ และที่ท่านรสนาได้นำเสนอบางประเด็นเพิ่มเติมนี่นะครับ ผมคิดว่าข้อกังวลที่ประชาชนได้รับ ทางภาคใต้คือเรื่องประมง เขาคิดว่าเขาได้รับแล้วตั้งแต่ การสัมปทานรอบที่ ๒๐ การขุดเจาะ การสำรวจ ซึ่งไม่มีแผน และชาวบ้านก็ไม่ทราบว่า แปลงแต่ละแปลงในจำนวนที่ลงไว้นอกจากกระทรวงที่ทราบ หรือคนที่ใกล้ชิดจริง ๆ ที่ทราบ ชาวบ้านทั่วไปไม่ทราบ แต่พอดูในรอบที่ ๒๑ อยู่ในภาคอีสานทั้งหมดประมาณ ๒๐ กว่าจังหวัด รวมทั้งภาคเหนือตอนล่างด้วย แม้แต่เพชรบูรณ์ ขอนแก่น มุกดาหาร แล้วหลายท่านซึ่งอยู่ในจังหวัดนี่นะครับ ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ประชาชนในพื้นที่ที่สุรินทร์ ที่บุรีรัมย์ เมื่อสำรวจแล้วชาวบ้านเขาเกิดผลกระทบ ไปสำรวจในแปลงไร่นาเขาในรอบที่ ๒๐ ที่ผ่านมา บางพื้นที่อาจจะลงสำรวจได้ บางพื้นที่อาจจะต้องเดินทางกลับ เพราะว่าชาวบ้าน ไม่ยินยอมให้เข้าไปในแปลงพื้นที่ ถ้าเป็นรอบใหม่ สิ่งที่ประชาชนกังวลสงสัย แล้วสภาแห่งนี้ ต้องตอบได้ ถ้าจะยืนยันในข้อดีข้อเสียหรือจะใช้วิธีการแบบไหน ผมว่าอันนี้คือ ความรับผิดชอบร่วมกัน ถามว่าทำไมต้องท้วงติง ท้วงติงในฐานะที่การดำเนินการเรื่องก๊าซ เรื่องปิโตรเลียม มันเหมือนอยู่ในหลุมมืดมานาน ฉะนั้นคนเขาสงสัยว่าระหว่างสัมปทาน ระหว่างแบ่งปันผลผลิต ตกลงอันไหนมันดีกว่ากัน แต่ถ้าตอบโจทย์บอกว่าเอาแบบเดิมดีกว่า เพราะว่าเคย ๆ กับแบบเดิม แต่ถ้าดูประเทศเพื่อนบ้าน ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย เขาเป็นอีกแบบหนึ่งแล้ว เราบอกเราไม่พร้อม เราไปเทียบอะไรกับประเทศข้าง ๆ เหล่านี้ที่เอ่ยไปสักครู่ว่า แล้วเขาพร้อมอะไร ความไม่พร้อมของเราคือเราเคยชินกับระบบ อย่างนี้ใช่หรือเปล่า ถ้าเคยชินกับระบบอย่างนี้เราก็อยากให้เป็นระบบอย่างนี้แบบเดิม พอเป็นระบบแบบนี้แบบเดิมเราก็ไม่เคยศึกษาจริงจังว่า ระบบแบ่งปันผลผลิตแบบที่ว่า ก็เลยเป็นจุดอ่อนไป ฉะนั้นผมคิดว่าวันนี้ถ้าถามว่าได้มีการศึกษาจริงจังไหมในเรื่องของ การแบ่งปันผลผลิต ก็เชิญแต่บุคคลที่มาให้ข้อมูล แล้วเชิญบุคคลที่มาให้ข้อมูล ส่วนใหญ่ ก็บุคคลที่อยู่ในแวดวงที่เกี่ยวข้องเรื่องพลังงาน คนทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องเรื่องพลังงานเลย อาจจะไม่ทราบว่าตกลงให้ข้อมูลที่ตรงตามข้อเท็จจริง ให้ข้อเท็จมากกว่าข้อจริง หรือให้ข้อจริงทั้งหมด อันนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้น ฉะนั้นผมก็เลยรู้สึกว่าการสัมปทานรอบนี้เมื่อให้ สัมปทานไปแล้วรอบที่ ๒๑ เราบอกว่าเราให้ไปก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนแปลง แล้วค่อยแบ่งปัน ผลผลิตในรอบต่อไป ถ้าดูแปลงแล้วมันแทบจะไม่เหลือในประเทศไทยแล้วนะรอบต่อไป เพราะว่าเราให้มาแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ รอบนี้เป็นรอบที่ ๒๑ แทบจะไม่เหลือพื้นที่ที่จะให้ เหลือแล้วนะครับ ที่จะให้มีการสัมปทานต่อไป ฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องบางเรื่องไม่ใช่เรื่อง เกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานอย่างเดียว แต่เรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องของความไว้วางใจ ต่อการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐกับบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องเรื่องผลิตพลังงาน แล้วเรื่องพลังงานวันนี้มีข้อสงสัย เมื่อเช้าน้ำมันลด น้ำมันผูกพันกับก๊าซไหม ก๊าซผูกพันกับ น้ำมันไหม เวลาคำนวณก๊าซก็คำนวณจากฐานราคาน้ำมัน น้ำมันลดเอา ลดเอา แต่ราคา แอลพีจีขึ้น นี่คนก็สงสัยทั่วทั้งประเทศนะ ไม่ต่างอะไรกับการให้สัมปทานรอบใหม่นี้นะครับ ฉะนั้นผมก็เลยมีข้อกังวลในฐานะที่มีข้อสรุปเพียง ๓ ข้อแค่นี้ แต่เราก็อยากจะเห็นว่าข้อสรุป ที่จะนำไปเสนอสู่การปฏิบัติ คนปฏิบัติได้จริงจะได้เอาไปแยกแยะได้ถูก ถ้าท่านอ่านประมาณ ๑๐ กว่าหน้าที่ว่านี่นะครับ ที่จริงเอกสารมีเยอะ มีประกอบอีกประมาณ ๓ นิ้วกว่าแบบที่ คุณหมออำพลว่า อันนั้นคือเอกสารชี้แจง แต่เอกสารที่เป็นเนื้อหาสาระจริง ๆ ผมคิดว่า เรายังต้องมีการศึกษา วิเคราะห์เพิ่มเติม อาจจะให้เห็นเป็นเบื้องต้นว่าเรามีการศึกษาได้ แต่เพียงแค่นี้ด้วยระยะเวลาอันสั้นเพียง ๒ เดือนกว่า ๆ แต่ถ้าจะให้ลึกซึ้งกว่านี้ผมคิดว่า

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับท่านประธานครับ ผม หาญณรงค์ เยาวเลิศ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ผมคงใช้เวลาไม่มากเพราะไม่ค่อย จะมีเสียงเท่าไร แต่เนื่องจากว่าข้อสรุปของกรรมาธิการกับเนื้อหาที่มี ผมรู้สึกว่าตอนแรก เราพยายามที่จะเสนอว่าข้อสรุปจากสภาปฏิรูปแห่งชาติผ่านไปยังรัฐบาล รัฐบาลน่าจะมี ทางเลือก แล้วทำทางเลือก ๑ ๒ ๓ ในแต่ละทางเลือกน่าจะมีข้อดีข้อเสียซึ่งมีเหตุผลประกอบ แต่พอมีการพิจารณาเรื่องทางเลือกและเหตุผลประกอบ ผมคิดว่าข้อมูลยังไม่ครบพอที่จะให้ คนที่จะดูทางเลือกเหล่านี้แล้วไปสู่การปฏิบัติได้ ผมยกตัวอย่างเช่น ทางเลือกที่ ๑ บอกว่า ให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ไปด้วยการสัมปทานไทยพลัสทรี (Thai plus III) นี่นะครับ แล้วก็ตามแผนที่เป็นอยู่ ซึ่งถ้าดูทางเลือกแล้วท่านดูเหตุผลนะครับ ข้อดีข้อเสียมีแค่นี้ แต่ในที่ประชุมเราถกเถียงว่าน่าจะมีข้อมูลประกอบที่สมบูรณ์กว่านี้ เพื่อคนตัดสินใจว่าถ้าเลือกทางนี้มีจุดอ่อน จุดเด่นอย่างไร เพื่อจะได้ไปประมวลประกอบ เพราะผมเข้าใจว่ากรณีของข้อขัดแย้ง หรือข้อท้วงติงต่อการเปิดให้มีการสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ ๒๑ ไม่ใช่แต่ในที่ประชุมแห่งนี้ที่รัฐบาลเขาถามมา เพราะว่า ๑. สถานะทั่วไปต่อการเปิด รอบอื่น ๆ โดยเฉพาะรอบที่ ๒๐ ที่ไปฟังมาจากกรรมาธิการการมีส่วนร่วมได้ฟังแบบที่ ท่านประชาได้กล่าวไปสักครู่ และที่ท่านรสนาได้นำเสนอบางประเด็นเพิ่มเติมนี่นะครับ ผมคิดว่าข้อกังวลที่ประชาชนได้รับ ทางภาคใต้คือเรื่องประมง เขาคิดว่าเขาได้รับแล้วตั้งแต่ การสัมปทานรอบที่ ๒๐ การขุดเจาะ การสำรวจ ซึ่งไม่มีแผน และชาวบ้านก็ไม่ทราบว่า แปลงแต่ละแปลงในจำนวนที่ลงไว้นอกจากกระทรวงที่ทราบ หรือคนที่ใกล้ชิดจริง ๆ ที่ทราบ ชาวบ้านทั่วไปไม่ทราบ แต่พอดูในรอบที่ ๒๑ อยู่ในภาคอีสานทั้งหมดประมาณ ๒๐ กว่าจังหวัด รวมทั้งภาคเหนือตอนล่างด้วย แม้แต่เพชรบูรณ์ ขอนแก่น มุกดาหาร แล้วหลายท่านซึ่งอยู่ในจังหวัดนี่นะครับ ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ประชาชนในพื้นที่ที่สุรินทร์ ที่บุรีรัมย์ เมื่อสำรวจแล้วชาวบ้านเขาเกิดผลกระทบ ไปสำรวจในแปลงไร่นาเขาในรอบที่ ๒๐ ที่ผ่านมา บางพื้นที่อาจจะลงสำรวจได้ บางพื้นที่อาจจะต้องเดินทางกลับ เพราะว่าชาวบ้าน ไม่ยินยอมให้เข้าไปในแปลงพื้นที่ ถ้าเป็นรอบใหม่ สิ่งที่ประชาชนกังวลสงสัย แล้วสภาแห่งนี้ ต้องตอบได้ ถ้าจะยืนยันในข้อดีข้อเสียหรือจะใช้วิธีการแบบไหน ผมว่าอันนี้คือ ความรับผิดชอบร่วมกัน ถามว่าทำไมต้องท้วงติง ท้วงติงในฐานะที่การดำเนินการเรื่องก๊าซ เรื่องปิโตรเลียม มันเหมือนอยู่ในหลุมมืดมานาน ฉะนั้นคนเขาสงสัยว่าระหว่างสัมปทาน ระหว่างแบ่งปันผลผลิต ตกลงอันไหนมันดีกว่ากัน แต่ถ้าตอบโจทย์บอกว่าเอาแบบเดิมดีกว่า เพราะว่าเคย ๆ กับแบบเดิม แต่ถ้าดูประเทศเพื่อนบ้าน ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย เขาเป็นอีกแบบหนึ่งแล้ว เราบอกเราไม่พร้อม เราไปเทียบอะไรกับประเทศข้าง ๆ เหล่านี้ที่เอ่ยไปสักครู่ว่า แล้วเขาพร้อมอะไร ความไม่พร้อมของเราคือเราเคยชินกับระบบ อย่างนี้ใช่หรือเปล่า ถ้าเคยชินกับระบบอย่างนี้เราก็อยากให้เป็นระบบอย่างนี้แบบเดิม พอเป็นระบบแบบนี้แบบเดิมเราก็ไม่เคยศึกษาจริงจังว่า ระบบแบ่งปันผลผลิตแบบที่ว่า ก็เลยเป็นจุดอ่อนไป ฉะนั้นผมคิดว่าวันนี้ถ้าถามว่าได้มีการศึกษาจริงจังไหมในเรื่องของ การแบ่งปันผลผลิต ก็เชิญแต่บุคคลที่มาให้ข้อมูล แล้วเชิญบุคคลที่มาให้ข้อมูล ส่วนใหญ่ ก็บุคคลที่อยู่ในแวดวงที่เกี่ยวข้องเรื่องพลังงาน คนทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องเรื่องพลังงานเลย อาจจะไม่ทราบว่าตกลงให้ข้อมูลที่ตรงตามข้อเท็จจริง ให้ข้อเท็จมากกว่าข้อจริง หรือให้ข้อจริงทั้งหมด อันนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้น ฉะนั้นผมก็เลยรู้สึกว่าการสัมปทานรอบนี้เมื่อให้ สัมปทานไปแล้วรอบที่ ๒๑ เราบอกว่าเราให้ไปก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนแปลง แล้วค่อยแบ่งปัน ผลผลิตในรอบต่อไป ถ้าดูแปลงแล้วมันแทบจะไม่เหลือในประเทศไทยแล้วนะรอบต่อไป เพราะว่าเราให้มาแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ รอบนี้เป็นรอบที่ ๒๑ แทบจะไม่เหลือพื้นที่ที่จะให้ เหลือแล้วนะครับ ที่จะให้มีการสัมปทานต่อไป ฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องบางเรื่องไม่ใช่เรื่อง เกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานอย่างเดียว แต่เรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องของความไว้วางใจ ต่อการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐกับบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องเรื่องผลิตพลังงาน แล้วเรื่องพลังงานวันนี้มีข้อสงสัย เมื่อเช้าน้ำมันลด น้ำมันผูกพันกับก๊าซไหม ก๊าซผูกพันกับ น้ำมันไหม เวลาคำนวณก๊าซก็คำนวณจากฐานราคาน้ำมัน น้ำมันลดเอา ลดเอา แต่ราคา แอลพีจีขึ้น นี่คนก็สงสัยทั่วทั้งประเทศนะ ไม่ต่างอะไรกับการให้สัมปทานรอบใหม่นี้นะครับ ฉะนั้นผมก็เลยมีข้อกังวลในฐานะที่มีข้อสรุปเพียง ๓ ข้อแค่นี้ แต่เราก็อยากจะเห็นว่าข้อสรุป ที่จะนำไปเสนอสู่การปฏิบัติ คนปฏิบัติได้จริงจะได้เอาไปแยกแยะได้ถูก ถ้าท่านอ่านประมาณ ๑๐ กว่าหน้าที่ว่านี่นะครับ ที่จริงเอกสารมีเยอะ มีประกอบอีกประมาณ ๓ นิ้วกว่าแบบที่ คุณหมออำพลว่า อันนั้นคือเอกสารชี้แจง แต่เอกสารที่เป็นเนื้อหาสาระจริง ๆ ผมคิดว่า เรายังต้องมีการศึกษา วิเคราะห์เพิ่มเติม อาจจะให้เห็นเป็นเบื้องต้นว่าเรามีการศึกษาได้ แต่เพียงแค่นี้ด้วยระยะเวลาอันสั้นเพียง ๒ เดือนกว่า ๆ แต่ถ้าจะให้ลึกซึ้งกว่านี้ผมคิดว่า

    อ่านในการประชุม

  • ๑. ความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงนะครับ ผมคิดว่าแม้แต่ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ อันนี้คือสิ่งที่ใหญ่กว่าที่ต้องไปแก้ไขนะครับ ที่แก้ไขก็คือ ท่านลองเปิดอ่านนะครับใน พ.ร.บ. นี้ และลองอ่านคร่าว ๆ มันเหมือนกับว่าเป็น พ.ร.บ. ที่ถูกใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ มีการปรับปรุงหลายครั้ง แต่สิ่งที่เป็นการปรับปรุงใหญ่ ๆ ผมคิดว่า มันเป็นเรื่องที่อาจจะต้องมีการปรับปรุง พ.ร.บ. นี้ด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ได้แต่ไปชี้แนะว่ารอบที่ ๒๑ เราสมควรเดินหน้าและใช้วิธีแบบไหน แต่ผมคิดว่าถ้าเราจะต้องการเห็นว่าพลังงานเป็น ความมั่นคงของประเทศจริงและมีความยั่งยืน ประชาชนสามารถจับต้องเรื่องพลังงานได้ วันนี้ข้อสรุปแค่นี้ผมคิดว่ายังไม่พอ ก็เลยต้องขอสงวนเพื่อที่จะอภิปรายว่าโดยความเห็น ส่วนตัวแล้วก็ฟังมาตลอด ๒ เดือนกว่า ๆ ในกรรมาธิการมานี่ แล้วฟังจากข้อสรุปมาผมคิดว่า ก็ยังไม่พอใจกับข้อสรุปเหล่านี้ ก็คิดว่าน่าจะมีการดำเนินการอะไรที่เพิ่มเติมมากกว่านี้ ก็ขอให้ความเห็นแค่นี้ครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ๑. ความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงนะครับ ผมคิดว่าแม้แต่ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ อันนี้คือสิ่งที่ใหญ่กว่าที่ต้องไปแก้ไขนะครับ ที่แก้ไขก็คือ ท่านลองเปิดอ่านนะครับใน พ.ร.บ. นี้ และลองอ่านคร่าว ๆ มันเหมือนกับว่าเป็น พ.ร.บ. ที่ถูกใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ มีการปรับปรุงหลายครั้ง แต่สิ่งที่เป็นการปรับปรุงใหญ่ ๆ ผมคิดว่า มันเป็นเรื่องที่อาจจะต้องมีการปรับปรุง พ.ร.บ. นี้ด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ได้แต่ไปชี้แนะว่ารอบที่ ๒๑ เราสมควรเดินหน้าและใช้วิธีแบบไหน แต่ผมคิดว่าถ้าเราจะต้องการเห็นว่าพลังงานเป็น ความมั่นคงของประเทศจริงและมีความยั่งยืน ประชาชนสามารถจับต้องเรื่องพลังงานได้ วันนี้ข้อสรุปแค่นี้ผมคิดว่ายังไม่พอ ก็เลยต้องขอสงวนเพื่อที่จะอภิปรายว่าโดยความเห็น ส่วนตัวแล้วก็ฟังมาตลอด ๒ เดือนกว่า ๆ ในกรรมาธิการมานี่ แล้วฟังจากข้อสรุปมาผมคิดว่า ก็ยังไม่พอใจกับข้อสรุปเหล่านี้ ก็คิดว่าน่าจะมีการดำเนินการอะไรที่เพิ่มเติมมากกว่านี้ ก็ขอให้ความเห็นแค่นี้ครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม