นายนิรันดร์ พันทรกิจ

  • ท่านประธานที่เคารพ กระผม นิรันดร์ พันทรกิจ สปช. ๑๑๕ ท่านประธานครับ อันที่จริงแล้วเมื่อได้ฟังท่านคณะกรรมาธิการได้นำเสนอ ผมยกมือตอนแรกก็คืออยากจะฟังว่าท่านมีเหตุผลอะไรก่อนที่ผมจะได้อภิปรายว่าท่านได้ แบ่งเป็น ๑๕ กับ ๕ ว่าคณะกรรมาธิการได้มีเหตุผลอะไรที่ได้ดึงเอาคนที่ไม่ใช่เป็นสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติเข้ามาเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ว่าก็ไม่ได้ถามตรงนั้น แต่ว่าเอาละครับก็คงจะมีการชี้แจงกันในตอนหลังแน่นอน ผมคิดว่าคงจะมีเหตุผล แต่อย่างไรก็ตามครับท่านประธาน ผมคิดว่าผมก็มีเหตุผลที่จะเห็นต่างจากคณะกรรมาธิการบ้าง อย่างน้อยก็มีเหตุผลอยู่ ๓ ประการ แต่ก่อนที่กระผมจะได้อภิปรายถึงเหตุผล ๓ ประการ ของกระผม กระผมก็อยากจะเกริ่นอะไรบางอย่างก่อนเล็กน้อย

    อ่านในการประชุม

  • ประการแรก ผมคิดว่าการปฏิรูปครั้งนี้ภารกิจหน้าที่สำคัญของสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ ๑. ก็คือการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒. ก็คือการออกแบบในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศทั้ง ๑๑ ด้าน หรือมากกว่านั้นนะครับ แล้วก็การยกร่างรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นสาระหรือเป็นแกนสำคัญของการปฏิรูปด้านอื่น ๆ ทั้งหมด เพราะถ้าการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ประสบความสำเร็จ ไม่บรรลุเป้าหมาย นั่นก็หมายความว่าการปฏิรูปอื่น ๆ ก็คงจะบรรลุเป้าหมายได้ยากครับ ท่านประธานครับ ผมคิดว่าการปฏิรูปครั้งนี้เรามีเดิมพันใหญ่ ๆ ๒ อย่าง ๒ เดิมพัน

    อ่านในการประชุม

  • เดิมพันอันแรก ก็คือเกียรติยศและชื่อเสียงของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทั้ง ๒๕๐ คน เพราะทั้ง ๒๕๐ คน ผมดูรายชื่อแล้วก็เป็นเกจิอาจารย์ทางด้านการเมือง การปกครอง ทางด้านกฎหมาย ทางด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นบุคคลมีชื่อเสียง มีเกียรติยศทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นถ้าสมมุติว่าการปฏิรูปบ้านเมืองไม่ประสบความสำเร็จ เกียรติยศเหล่านี้ก็ได้เอาอะไรมาคลุมหัวกันบ้างละครับ ถ้ามันไม่สำเร็จตามเป้าหมาย ที่ประชาชนเขาคาดหวังไว้ นั่นเดิมพันแรก ๒๕๐ คน เกียรติยศของคน ๒๕๐ คน

    อ่านในการประชุม

  • เดิมพันที่ ๒ ก็คืออนาคตของประเทศชาติเป็นเดิมพัน ถ้าสมมุติปฏิรูปไปแล้ว ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงไม่สามารถจะทำอะไรให้มันดีขึ้นมา เราก็จะถูกตำหนิติเตียนว่า เข้ามาอยู่ตั้งเป็นปี ๆ ปรากฏว่ากลับออกไปแล้วทำบ้านเมืองไม่ได้ดีขึ้นอะไรเลย เสียเวลา เปลืองข้าวสุก มันก็จะเป็นปัญหาอย่างนี้ นี่ก็คือเดิมพันที่เราทุกคนที่เป็นสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติจะต้องตระหนักให้มาก

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้เหตุผลท่านประธานครับ ในการที่ผมไม่เห็นด้วยกับความเห็นของ คณะกรรมาธิการ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๑ ก็คือว่า ในการยกร่างรัฐธรรมนูญนี่นะครับ กฎหมายเขาเขียนไว้ อย่างชัดเจนครับ ตามมาตรา ๓๒ (๒) ว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องมาจาก สภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๐ คน ก็คือเขียนอาจจะไม่ได้ล็อกเอาไว้อย่างที่ว่าก็เป็นไปได้ครับ ท่านประธาน แต่ว่าดู ๆ แล้วมันก็มีความหมายสำคัญ เพราะอย่างน้อยที่สุดถ้าพูดถึง อัตราส่วนอย่างที่ท่านสมาชิกได้ว่าไปแล้ว ๒๐ บวก ๑๕ บวก ๑ ก็เป็น ๓๖ แปลว่าอย่างน้อย เสียงส่วนใหญ่ยังเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติอยู่ แล้วก็มันมีผลอย่างสำคัญยิ่งเพราะถือว่า เป็นบุคคลที่เป็นแกนสำคัญของการยกร่างรัฐธรรมนูญ นั่นประเด็นที่ ๑ ประเด็นที่ ๒ ก็คือว่า เมื่อรัฐธรรมนูญกลับออกมา ร่างเสร็จแล้ว แก้ไขแล้ว แล้วก็ได้รับความเห็นชอบ ตามมาตรา ๓๗ วรรคสอง คนอื่นเขามามีส่วนร่วมอย่างเดียวครับ สนช. คสช. คณะรัฐมนตรี เขาก็ส่งตัวแทนเข้ามา แต่เวลาเห็นชอบ ไม่เห็นชอบ มันเป็นความเห็นชอบและไม่เห็นชอบ ของสภานี้เท่านั้น ถ้ามันดีสภานี้ก็รับไป แต่ถ้ามันไม่ดีสภานี้ก็รับไป เพราะฉะนั้น เป็นความรับผิดชอบเต็ม ๆ ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติโดยตรง เป็นหน้าที่ เป็นความรับผิดชอบโดยตรง เพราะฉะนั้นถ้าออกมาไม่ดีหรือออกมาดีเราทุกคน ต้องรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นผมจึงมองเห็นว่าสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่มาจาก ๒๕๐ คน ที่มาจากการคัดสรร ๗,๐๐๐ กว่าคน มาจากกลุ่มต่าง ๆ มาจากองค์กรต่าง ๆ ถือว่า เป็นตัวแทนและมีคุณภาพอยู่แล้วครับ แล้วก็มีความหลากหลายด้วย มีความหลากหลาย ในหลายแบบหลายอย่าง แล้วก็จะเป็นการระดมความคิดเห็นที่จะใช้ในการปฏิรูปต่อไป นั่นคือประเด็นที่ ๑

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนประเด็นที่ ๒ ท่านประธานครับ คือการเชิญคนนอกเข้ามา ไม่อยากจะใช้ คนนอกครับท่านประธาน ขออภัย การเชิญคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ มามันจะต้องตั้งคำถามต่อไปอีกครับว่า ใคร และประการที่ ๒ ก็คือแล้วใครที่ว่านั้น จะมาอย่างไรต่อไปเพราะฉะนั้นมันก็กลายเป็นปัญหาจะต้องทำโจทย์ต่อไป แล้วมันก็มีเรื่อง ที่เกี่ยวกับขั้นตอนการประชุมและจะต้องมาเห็นชอบจะต้องคิดคัดสรรต่อไป อันนี้ ก็เป็นประเด็นปัญหาอยู่เหมือนกัน ที่จริงแล้วถ้าเป็นความเห็นลึก ๆ จากที่สื่อได้ออกกันมาว่า เป็นตัวแทนจากพรรคนั่นเท่านั้น พรรคนี้เท่านี้ กลุ่มนั่นเท่านั้นนั่นเท่านี้ ผมคิดว่าตอนที่เรา เปิดให้มีการสมัครเข้ามาเขาก็เปิด มันก็มีความเห็นว่าทำไมไม่สมัครเข้ามา ประเด็นที่ ๒ เขาก็มีท่าทีอยู่แล้ว อาจจะด้วยเหตุผลต่างกันที่ไม่ร่วม ท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์เขาบอกว่า คนเขียนไม่ควรเล่น คนเล่นไม่ควรเขียน เขาก็เลยไม่ส่งเข้ามา ท่านอลงกรณ์ก็มาแบบไม่ใช่ ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ ขออภัยที่เอ่ยนาม หรือพรรคเพื่อไทยเขาบอกว่าอยากทำอะไร ทำไป ไม่เอาด้วย เป็นต้นไม้พิษ มันออกลูกเป็นพิษ สภานี้มาจากการยึดอำนาจว่าไป เขาก็ไม่เอาด้วย เขาก็มีท่าที โดยสรุปแล้วแม้จะมีเหตุผลต่างกันแต่ท่าทีมันเหมือนกันก็คือไม่ร่วม อย่างไรครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราส่งเทียบเชิญไปเขาไม่ร่วม เรายกมือไหว้ไป เขาไม่รับไหว้ ก็ว่าไป นั่นคือเหตุผล แต่ว่าถ้าเขาไม่ร่วมแล้วมันก็เสียเวลาอย่างไรครับ แล้วก็ไม่ได้หมายความ แล้วก็ด้วยข้อจำกัด ของคุณสมบัติ เขาเป็นนักการเมืองเขาก็จะให้เว้นวรรคทางการเมือง ๒ ปี เขาคงจะไม่เอาด้วย เพราะฉะนั้นตัวที่เป็นบุคคลสำคัญ ๆ ในพรรคการเมืองไม่มีทางที่เขาจะมา มันก็กลายเป็นว่า ตัวแทนที่เป็นนักวิชาการของพรรคอะไรของพรรคซึ่งมันไม่ใช่เป็นตัวตัดสินท่าทีของพรรคได้ อันนี้ผมคิดว่าเหตุผลที่ผมไม่เห็นด้วย ประการที่ ๒

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนประการที่ ๓ ครับท่านประธาน ประการที่ ๓ ก็เรื่องของเวลา ณ วันนี้ ปัญหาก็คือนับจากนี้ ๖๐ วันเราจะต้องฟังเสียงประชาชน ตอนนี้ ๖๐ วันก็เหลือประมาณ ๕๐ กว่าวันแล้ว ๕๐ กว่าวันเราต้องการว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ร่างด้วยคน ๒๕๐ มันจะต้องร่างด้วยคนทั้งประเทศ คนที่เขาเห็นด้วย คนที่เขามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ เขาควรจะมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น เพราะฉะนั้นอีก ๕๐ วัน ซึ่งเราจะต้องออกกันไป ช่วยกันไปอาจจะกำหนดปฏิทินงานอย่างไร ไทม์ไลน์ (Timeline) อย่างไรว่าจะทำงาน กันแบบไหนเพื่อฟังเสียงประชาชน แล้วเอาความเห็นเหล่านั้นไม่ว่าจะในแง่ของการยกร่าง รัฐธรรมนูญ หรือในแง่ของการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ เราก็ไปฟังประชาชนแล้วกลับเข้ามา เพราะฉะนั้นปฏิทินงานของเรามันจำกัดเหลือเกินที่จะให้ยืดเวลาออกไปมากมายขนาดนั้น นั่นคือประเด็นที่ ๓ ทีนี้ผมเห็นอย่างนี้ครับ อาจจะยังไม่ยื่นเป็นญัตติ แต่ว่าอาจจะเป็น ความเห็นอย่างนี้ก็คือว่า ใน ๑๕ นี่ผมเห็นด้วย และก็อีก ๕ ผมเห็นด้วย ๑๕ ก็คือว่า ๑๑ บวก ๔ อันนี้เข้าใจกันชัดเจน ๑๑ บวก ๔ ก็คือจากกลุ่ม ๑๑ กลุ่ม แล้วก็จากภาคต่าง ๆ ๔ ภาคเป็น ๑๕ แต่อีก ๕ นี่ครับท่านประธาน ไม่จำเป็นจะต้องเอาคนที่ไม่ใช่เป็นสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่ให้ ๕ คนนี่เลือกจากที่ประชุมแห่งนี้ใช้เวทีใหญ่นี่ อันโน้นมันลงตัว อยู่แล้ว คือมาจากส่วนต่าง ๆ จะได้สะท้อนจากการเมืองการปกครอง จากกระบวนการ ยุติธรรมจากอื่น ๆ อะไรก็ว่ากันไป ได้มา ๑๑ บวกกับ ๔ จากภาคต่าง ๆ และอีก ๕ คน เลือกจากที่ประชุมแห่งนี้ครับเสนอเข้ามา ใครอยากสมัครก็สมัครเข้ามา ๒๐ สมัคร ๕ คน ก็พอดีไม่ต้องเลือก แต่ถ้าสมัครเกินกว่า ๕ คนก็มีการเลือกเข้ามา ก็จะได้ครบ ๒๐ อันนี้ เป็นยืด อาจจะเสนอเป็นประเด็นเอาไว้ครับ แต่ว่าท่านสมาชิกจะเห็นด้วยหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่านี่เป็นการสะท้อนความเห็นของคณะกรรมาธิการก่อนครับ ขอบพระคุณท่านประธาน ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ผม นิรันดร์

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม นิรันดร์ พันทรกิจ ๑๑๕ นะครับ ผมคิดว่าหลังจากได้ฟังการอภิปรายตั้งแต่เช้าจนถึงบ่ายก็คงจะสรุปประเด็น ได้แล้วครับว่า เราเห็นด้วยว่าให้มี ๒๐ คนจากสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้งหมด ปัญหามีอยู่ ๒ ความเห็นครับ ใน ๒๐ คนนี้มันมาอย่างไร ความเห็นหนึ่งก็คือ ๑๕ บวก ๕ ๑๕ ก็คือ มาจากกลุ่มต่าง ๆ ๑๑ บวกกับ ๔ ภาค ก็เป็น ๑๕ อีกความเห็นหนึ่งบอกว่า ๒๐ นี้มาจาก การเลือกทั้งหมดในที่ประชุมแห่งนี้ ก็แค่นั้นแหละครับ ผมคิดว่าอภิปรายก็คงจะวนอยู่แถวนี้ แหละครับ เพราะฉะนั้นผมขอเสนอเป็นญัตติเลยว่าจะเอาแบบไหน เอาแบบ ๑๑ บวก ๔ แล้วก็บวก ๕ หรือว่าทีเดียว ๒๐ คนเลือกกันในที่ประชุมแห่งนี้เลย เอาอย่างไรแน่ แค่นั้นแหละครับ จะได้ดำเนินการไปได้ครับ ขอบคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอให้ข้อสังเกตกับคณะกรรมาธิการนิดหนึ่งครับ ในประเด็นที่ท่านอาจารย์บวรศักดิ์ได้นำเสนอเรื่องของว่า ผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จำนวน ๒๐ คนนี้ ถ้าเราใช้กระบวนการ ๑๑ บวก ๔ นี่นะครับ มันจะเป็นกระบวนการ ที่ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผมว่าอันนี้อาจจะคงต้องขอเห็นต่างนิดหน่อย กระผมมีความรู้สึกว่า

    อ่านในการประชุม

  • ฝากไว้ครับ ฝากท่านประธานไป

    อ่านในการประชุม

  • บอกว่ากระบวนการอย่างนี้มันเป็นกระบวนการ มันไม่ใช่มติ มติมาเมื่อได้ชื่อครบแล้ว ๒๐ คนถึงจะเป็นความเห็นชอบของสภา ฉะนั้นกระบวนการมันเป็นรายละเอียดของการได้ชื่อมา ขอเห็นต่างนิดหน่อยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ผมว่าอย่าเพิ่งปิด ผมมีเรื่องที่จะ อภิปรายอยู่อาจจะเห็นต่างบ้างครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ มันมีลิสต์ (List) รายชื่ออยู่แล้ว ก็ถ้าจะปิดอภิปรายนี่ผมคิดว่าควรจะต้องให้คนที่อยู่ในรายชื่อนี่ได้อภิปรายหมดก่อนครับ ท่านเอนกมายกมือทีหลังก็ต้องเสนอทีหลังจากนั้นนะครับ ท่านประธานจะมาชี้ก่อนไม่ได้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพทุกท่าน กระผมชื่อ นิรันดร์ พันทรกิจ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ลำดับที่ ๑๑๕ กระผมจบการศึกษาปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต นิติศาสตรบัณฑิต แล้วก็จบ ปริญญาโทอาจจะแปลกหน่อยก็คือไปจบทางด้านอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศาสนา เปรียบเทียบ แล้วก็ไปจบปริญญาเอกทางด้านปรัชญา ท่านประธานครับ ในการทำงาน ทางด้านการเมืองของกระผมก็เคยเป็นคณะกรรมาธิการพิจารณากฎหมายใน สภาผู้แทนราษฎร พิจารณากฎหมายในวุฒิสภา เคยเป็นผู้ชำนาญการ ที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ เป็นต้นมา ในส่วนที่เกี่ยวกับภารกิจหน้าที่ในการร่าง รัฐธรรมนูญนั้น กระผมคิดว่านอกจากเรื่องอื่น ๆ อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น ผมคิดว่าประเด็นหนึ่ง ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือเรื่องของศาสนา คุณธรรม และจริยธรรม เพราะฉะนั้นผมคิดว่าในจำนวนผู้สมัคร ๓๐ กว่าคนนี้ท่านอาจจะไม่เลือกคนอื่นได้ครับ แต่ขาดผมไม่ได้เลย คือท่านไปเข้าในคูหาแล้วต้องกาผมก่อนเลยครับ เพราะว่าเรื่องของ การร่างรัฐธรรมนูญที่ขาดในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ศาสนา เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นผมจึงขอร้องทุก ๆ ท่านครับ ในสมาชิกแห่งนี้ว่าให้การพิจารณาเลือกผมด้วยครับ นิรันดร์ พันทรกิจ ครับ ฝ่ายอื่น ๆ ส่งมา ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณท่านประธานครับ กระผม นิรันดร์ พันทรกิจ หมายเลข ๑๑๕ ครับ ท่านประธานครับ ผมมีเรื่องที่จะนำเสนออยู่ ๓ ประเด็นใหญ่ ๆ ซึ่ง ๒ ประเด็นแรกนั้นก็คงจะเป็นเรื่องที่ท่านสมาชิกได้อภิปรายไปแล้ว ก็คงจะไม่อภิปรายซ้ำ แต่เพียงว่าอยากจะพูดเพิ่มเติมนิดหน่อยว่าเห็นด้วยในกรณีที่ ๑ ก็คือ เรื่องของชื่อคณะกรรมาธิการที่จะเป็นเฉพาะคณะกรรมาธิการสามัญ ขอประทานโทษ ใช้คณะกรรมาธิการเฉย ๆ ไม่ต้องมีวิสามัญ อันนี้ก็ต้องเป็นการบ้านกับทางคณะกรรมาธิการ ยกร่างข้อบังคับนี้ว่าจะต้องไปแก้ไขอย่างไร ถ้าสมมุติสมาชิกส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าควรจะเป็น ชื่อคณะกรรมาธิการปฏิรูปอะไรไปเลยไม่ต้องมีคำว่า วิสามัญ อันนี้ประเด็นที่ ๑ ผมคิดว่า เป็นประเด็นที่ท่านสมาชิกหลายท่านก็คงจะเห็นด้วยนะครับ เดี๋ยวต้องฟังคำชี้แจงของ ท่านคณะกรรมาธิการยกร่างก่อน

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนประเด็นที่ ๒ ก็คือเรื่องของข้อ ๘๐ วรรคสาม ซึ่งก็คงจะเห็นด้วยกับ ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์นะครับ แต่ว่าท่านอาจารย์ก็ยังแบ่งเป็น ๒ ความเห็น ยังไม่ฟันธง ไปเลยว่าจะเอาแบบไหน แต่ผมเห็นอย่างนี้ครับว่าในวรรคสามของข้อ ๘๐ ที่บอกว่า และบุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่เกินจำนวนหนึ่งในสี่ของกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกของแต่ละคณะ ซึ่งคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจากรายชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิก อันนี้ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับสมาชิกที่ได้เสนอความเห็นไปแล้วนะครับ ก็คือว่าที่จริงแล้ว ควรจะให้สมาชิกที่เป็นคณะกรรมาธิการในแต่ละคณะนั้นได้พิจารณาเห็นชอบ เพราะว่า แต่ละกลุ่มก็มีผู้ที่สมัครเข้ามาหรือผู้ที่เสนอชื่อเข้ามาอยู่แล้วในกลุ่มที่เขาสนใจ ซึ่งถ้าเอา จังหวัดไปลงในกรรมาธิการทั้งหมดก็หมดปัญหาในเรื่องจังหวัดไป ก็แปลว่าคณะกรรมาธิการ ก็มี ๑๗ คณะ แต่ละคณะก็เสนอชื่อบุคคลที่เห็นชอบ บุคคลที่เหมาะสมตามที่ คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเห็นก็คงจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมกว่าที่จะให้ทางคณะกรรมาธิการ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นคนจิ้มว่าเอาคนนั้น คนนั้น คนนั้น รู้สึกว่ามันจะไม่ค่อย สมเหตุสมผลเท่าไรนะครับ นั่นคือ ๒ ประเด็นแรก

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้ประเด็นสำคัญครับ คือประเด็นเกี่ยวกับข้อความในวรรคสุดท้าย ซึ่งเป็น ข้อความรวม ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ทางคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับไปพิจารณา ก็แล้วกันนะครับ เพราะว่าโดยหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ หน้าที่ของสภาเรา มีอยู่อย่างน้อย ๓ ประการ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๑ นะครับ ก็คือ ๑. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ และเราก็มาแตก ออกเป็น ๑๗ คณะ อันนี้ไม่มีปัญหา อันนี้แหละเราก็จะมีคณะกรรมาธิการ มีความเห็นต่าง ๆ ออกไป แล้วก็ในวรรคสุดท้ายของข้อ ๘๐ นี้เขาบอกว่า ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา จะดำเนินการศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในเรื่องใด ๆ ให้คณะกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภารายงานให้สภาทราบ และให้รายงานความคืบหน้าให้สภาทราบ ทุกหนึ่งเดือน คืออย่างนี้ครับ ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า หน้าที่ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ แน่นอนครับเรามีข้อบังคับ หมวด ๖ แล้วก็ในการยกร่างพระราชบัญญัติมีข้อบังคับ ในหมวด ๕ มีอยู่แล้ว แต่ทีนี้ปัญหาว่าในข้อเสนอของคณะกรรมาธิการต่าง ๆ มันจะไปสู่ การปฏิรูปได้อย่างไร แน่นอนครับในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติก็จะต้องมี คณะกรรมาธิการที่ไปศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ที่ตัวเองสนใจหรือตัวเองเป็นกรรมาธิการอยู่ และเมื่อมีความเห็นแล้วถ้าเป็นการยกร่างพระราชบัญญัติก็ใช้ข้อความข้อบังคับในหมวด ๕ ได้นะครับ ก็คือออกเป็นพระราชบัญญัติว่าไปตามขั้นตอน ความเห็นในเรื่องของการแก้ไข รัฐธรรมนูญก็ว่ากันไป เสนอคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ว่าในกรณีที่มีความเห็นในเรื่องอื่น ๆ นะครับ เช่น เรื่องของการแก้ไขกฎหมาย กฎกระทรวงตรงนั้น อันนั้นตรงนี้ นโยบายตรงนั้นตรงนี้นะครับ ตรงนี้ครับมันจะมีปัญหาว่า ในท้ายที่สุดแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่คณะกรรมาธิการเสนอไปนี้ จะเป็น คสช. ก็ดี สนช. ก็ดี หรือว่าคณะรัฐมนตรีก็ดี ได้รับการปฏิบัติ หรือมีข้อจำกัดไม่สามารถจะปฏิบัติได้เรื่องอะไร เพราะฉะนั้นผมคิดว่ามันคงจะมีข้อเสนอจากคณะกรรมาธิการหลายเรื่อง และผมก็คงจะไปเสนอ ในข้อ ๘๔ อีกครั้งหนึ่ง แต่ว่าในชั้นนี้หมายความว่า ถ้าสมมุติมีข้อเสนออย่างนี้จะทำอย่างไร ผมเลยบอกว่าน่าจะมีการเพิ่มข้อความในข้อ ๘๐ อีกวรรคหนึ่งเพิ่มเข้าไปนะครับ ก็คือว่า เรื่องใดที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วและมีข้อเสนอไปยัง สนช. ครม. คสช. จะต้อง ได้รับความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายความว่าตามข้อเสนอนี้ เดิมใช้ข้อความว่า เสนอแนะให้เกิดการปฏิรูปส่งไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติแค่นั้น แต่ว่าในความเห็นของผม คงจะมีความเห็นจากคณะกรรมาธิการ ๑๗ คณะนี้คงจะหลายเรื่องหลายประเด็น ทั้งในแง่ ข้อกฎหมาย ทั้งในแง่นโยบายต่าง ๆ ในประเด็นอย่างนี้ผมคิดว่าถ้าจะให้คณะกรรมาธิการ เสนอตรงไปที่ คสช. เลย หรือ ครม. เลย หรือว่า สนช. เลย ผมว่าน่าจะยุ่งวุ่นวาย เพราะฉะนั้นเมื่อมีข้อเสนอ สมมุติว่าเป็นข้อเสนอของคณะกรรมาธิการชุดใดชุดหนึ่งต้องการ เสนอรัฐบาลทำอย่างนี้แก้เรื่องนี้ แก้เรื่องนี้นะครับ แล้วก็มาเสนอในที่ประชุมสภาปฏิรูป แห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติเห็นว่าโอเค เรื่องนี้เห็นชอบที่ควรเสนอไปที่รัฐบาล เสนอไปที่ คสช. เสนอไปที่ สนช. ก็เห็นชอบแล้วถึงจะทำเรื่องเสนอไปนะครับ ผมคิดว่าตรงนี้ ในความเห็นของผมส่วนตัวนะครับ ก็มองเห็นว่ามีความจำเป็นต้องมีข้อความเหล่านี้ เพิ่มเข้าไปเพื่อให้การทำงานประสบความสำเร็จและเป็นระบบมากขึ้นครับ ขอบคุณ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณท่านประธานครับ ผม นิรันดร์ พันทรกิจ ๑๑๕ ครับ ถามนิดเดียวครับ ในวรรคห้าที่บอกว่า คณะกรรมาธิการมีอำนาจตั้ง คณะอนุกรรมาธิการคณะละไม่เกินสิบห้าคน ซึ่งเลือกจากรายชื่อที่กรรมาธิการเสนอ เพื่อพิจารณาปัญหาอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการตามแต่จะมอบหมาย และให้นำข้อบังคับว่าด้วยกรรมาธิการมาใช้บังคับโดยอนุโลม คือปัญหาถามนิดเดียวครับว่า ในคณะกรรมาธิการ ในการตั้งคณะกรรมาธิการมีจำนวนสูงสุดไหมครับ อย่างผมเห็น ของท่านพิสิฐ คณะกรรมาธิการการเงินเสนอมาตั้ง ๙ ตั้ง ๑๐ คณะอนุกรรมาธิการอย่างนี้ มีกำหนดสูงสุดไหมว่าอนุกรรมาธิการแต่ละคณะตั้ง ตั้งได้เท่าไร คือจะได้คิดการณ์ถูกครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ผม นิรันดร์ พันทรกิจ สปช. ๑๑๕ อันที่จริงแล้ววาระนี้ผมได้ปรึกษา ท่านประธานคงจำได้นะครับว่า ผมได้ถาม ที่ประชุมคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติว่าการที่เราจะเอามาพิจารณา มันมีหนังสือจากคณะรัฐมนตรีมาถึงสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือไม่ ก็ปรากฏว่าไม่มี เพียงแต่ว่า ผ่านมาทางอากาศ คือแปลว่านายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่าในเรื่องนี้ยังไม่ทำจนกว่าจะได้ฟัง ความเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติก่อน เมื่อฟังความเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วก็จะได้มี ความเห็นว่าจะดำเนินการในเรื่องการสัมปทานรอบที่ ๒๑ นี้อย่างไร ซึ่งกระผมก็ลองถาม ในที่ประชุมว่าจะเอากันอย่างไร เพราะว่ามันไม่มีเป็นทางการมา เมื่อไม่มีเป็นทางการมา ท่านประธานก็บอกว่าไม่เป็นไร เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ แม้จะไม่ใช่เป็นเรื่อง ปฏิรูปโดยตรงแต่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศ ถ้ามีความเห็นไปมันก็น่าจะ เกิดประโยชน์ ก็มีการทำการศึกษากันต่อไปแล้วก็มารายงานให้สภาปฏิรูปแห่งชาติทราบ ปัญหาก็คือว่าในเวลานี้เราก็ต้องฟังความคิดเห็นกัน ผมคิดว่าคงจะมีความเห็นหลากหลาย ส่วนพวกเราจะมีความเห็นอย่างไร คณะกรรมาธิการนี้จะเสนอความเห็นจากกรรมาธิการ เสียงส่วนใหญ่ หรือคณะกรรมาธิการเสียงส่วนน้อยแนบไปด้วยในประเด็นต่าง ๆ อย่างไร ผมคิดว่าถ้ารัฐบาลแม้ว่าจะไม่เป็นทางการอย่างที่ประชุมท่านประธานคงจำได้ว่า แม้ว่าจะไม่มีหนังสือออกมาเป็นทางการ แต่เมื่อท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ เป็นในลักษณะอย่างนั้นก็แปลความว่าเราก็ควรจะส่งไปเพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับในการ ตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีหรือการตัดสินใจของรัฐบาลได้ ผมก็เลยบอกว่าก่อนที่เราจะ ตัดสินใจอย่างไรในความเห็น เพราะว่าถ้าเป็นความเห็นของเราก็จะเป็นมติที่ประชุมของ สภาปฏิรูปแห่งชาติว่าจะเอาอย่างไรในเรื่องนี้ เรื่องนี้ เรื่องนี้นะครับ ผมยังมองเห็นว่าควรจะให้ ความเห็นไป ทีนี้มันมีเรื่องเวลาผมจำได้ เดี๋ยวท่านประธานคงอธิบายเรื่องเวลาหน่อยว่า ทำไมต้องมาทำในวันที่ ๑๒ เลื่อนไปได้ไหม อะไรทำนองนี้ครับ อันนี้ก็คงจะเป็นเรื่องเงื่อนเวลาที่ รัฐบาลจะต้องดำเนินการเรื่องการสัมปทานต่อไปในเวลาอย่างไรบ้าง เพราะฉะนั้นเรื่องเวลา ก็เป็นปัจจัยสำคัญ วันนั้นผมจำได้ว่าท่านประธานก็อธิบายเรื่องเวลาไว้ด้วย เพราะฉะนั้น ก็อยากจะให้ทำความเข้าใจกับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วยว่าเรื่องเงื่อนเวลา เป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกันในการที่จะเสนอความเห็นไปยังรัฐบาล ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ผม นิรันดร์ พันทรกิจ สปช. ๑๑๕ อันที่จริงแล้ววาระนี้ผมได้ปรึกษา ท่านประธานคงจำได้นะครับว่า ผมได้ถาม ที่ประชุมคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติว่าการที่เราจะเอามาพิจารณา มันมีหนังสือจากคณะรัฐมนตรีมาถึงสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือไม่ ก็ปรากฏว่าไม่มี เพียงแต่ว่า ผ่านมาทางอากาศ คือแปลว่านายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่าในเรื่องนี้ยังไม่ทำจนกว่าจะได้ฟัง ความเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติก่อน เมื่อฟังความเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วก็จะได้มี ความเห็นว่าจะดำเนินการในเรื่องการสัมปทานรอบที่ ๒๑ นี้อย่างไร ซึ่งกระผมก็ลองถาม ในที่ประชุมว่าจะเอากันอย่างไร เพราะว่ามันไม่มีเป็นทางการมา เมื่อไม่มีเป็นทางการมา ท่านประธานก็บอกว่าไม่เป็นไร เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ แม้จะไม่ใช่เป็นเรื่อง ปฏิรูปโดยตรงแต่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศ ถ้ามีความเห็นไปมันก็น่าจะ เกิดประโยชน์ ก็มีการทำการศึกษากันต่อไปแล้วก็มารายงานให้สภาปฏิรูปแห่งชาติทราบ ปัญหาก็คือว่าในเวลานี้เราก็ต้องฟังความคิดเห็นกัน ผมคิดว่าคงจะมีความเห็นหลากหลาย ส่วนพวกเราจะมีความเห็นอย่างไร คณะกรรมาธิการนี้จะเสนอความเห็นจากกรรมาธิการ เสียงส่วนใหญ่ หรือคณะกรรมาธิการเสียงส่วนน้อยแนบไปด้วยในประเด็นต่าง ๆ อย่างไร ผมคิดว่าถ้ารัฐบาลแม้ว่าจะไม่เป็นทางการอย่างที่ประชุมท่านประธานคงจำได้ว่า แม้ว่าจะไม่มีหนังสือออกมาเป็นทางการ แต่เมื่อท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ เป็นในลักษณะอย่างนั้นก็แปลความว่าเราก็ควรจะส่งไปเพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับในการ ตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีหรือการตัดสินใจของรัฐบาลได้ ผมก็เลยบอกว่าก่อนที่เราจะ ตัดสินใจอย่างไรในความเห็น เพราะว่าถ้าเป็นความเห็นของเราก็จะเป็นมติที่ประชุมของ สภาปฏิรูปแห่งชาติว่าจะเอาอย่างไรในเรื่องนี้ เรื่องนี้ เรื่องนี้นะครับ ผมยังมองเห็นว่าควรจะให้ ความเห็นไป ทีนี้มันมีเรื่องเวลาผมจำได้ เดี๋ยวท่านประธานคงอธิบายเรื่องเวลาหน่อยว่า ทำไมต้องมาทำในวันที่ ๑๒ เลื่อนไปได้ไหม อะไรทำนองนี้ครับ อันนี้ก็คงจะเป็นเรื่องเงื่อนเวลาที่ รัฐบาลจะต้องดำเนินการเรื่องการสัมปทานต่อไปในเวลาอย่างไรบ้าง เพราะฉะนั้นเรื่องเวลา ก็เป็นปัจจัยสำคัญ วันนั้นผมจำได้ว่าท่านประธานก็อธิบายเรื่องเวลาไว้ด้วย เพราะฉะนั้น ก็อยากจะให้ทำความเข้าใจกับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วยว่าเรื่องเงื่อนเวลา เป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกันในการที่จะเสนอความเห็นไปยังรัฐบาล ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม นิรันดร์ พันทรกิจ ครับ ๑๑๕ คือผมว่ามติเมื่อสักครู่นี้ที่ได้เสนอไปนี่ชัดเจนอยู่แล้วครับ ก็คือว่าในการนำเสนอ ความเห็นนี่เราก็ไม่กดดันรัฐบาล แปลว่าคนที่เห็นด้วยกับสัมปทานรอบ ๒๑ หรืออาจจะ ยืดเวลาออกไปก็มีความเห็นรวม ๆ ไปอย่างนี้ครับ แล้วรัฐบาลก็ไปพิจารณาเอกสารข้อมูลเหล่านั้น ด้วยรัฐบาลเอง เพราะรัฐบาลเองก็คงจะมีข้อมูลอยู่แล้วบ้าง อย่างนี้เหมือนกับว่าถ้าสมมุติ เรามีมติเห็นอย่างนี้ สมมุติว่าเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ แล้วรัฐบาล ก็ไม่เอาด้วยกับกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ สมมุตินะครับ มันก็กลายเป็นขัดแย้งกัน เพราะฉะนั้นผมคิดว่าสิทธิในการตัดสินใจในการบริหารคงจะอยู่ในอำนาจของรัฐบาล เพราะฉะนั้นเราก็เสนอความเห็นข้อมูลทางวิชาการทั้งหมด ข้อสังเกตทั้งหลาย ทางเลือกทั้งหมดนี่ไปให้กับคณะรัฐมนตรีเขาพิจารณา เพราะฉะนั้นโหวตทีเดียวเลยครับ เสนอไปทั้งหมด และหลังจากนั้นให้รัฐบาลเขาพิจารณาเอาเองว่าเขาจะเอาอย่างไร เราให้ข้อมูลเขาไว้สำเร็จเรียบร้อยแล้วนะครับ ผมจึงเห็นด้วยกับญัตติที่เสนอเมื่อสักครู่ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม นิรันดร์ พันทรกิจ ครับ ๑๑๕ คือผมว่ามติเมื่อสักครู่นี้ที่ได้เสนอไปนี่ชัดเจนอยู่แล้วครับ ก็คือว่าในการนำเสนอ ความเห็นนี่เราก็ไม่กดดันรัฐบาล แปลว่าคนที่เห็นด้วยกับสัมปทานรอบ ๒๑ หรืออาจจะ ยืดเวลาออกไปก็มีความเห็นรวม ๆ ไปอย่างนี้ครับ แล้วรัฐบาลก็ไปพิจารณาเอกสารข้อมูลเหล่านั้น ด้วยรัฐบาลเอง เพราะรัฐบาลเองก็คงจะมีข้อมูลอยู่แล้วบ้าง อย่างนี้เหมือนกับว่าถ้าสมมุติ เรามีมติเห็นอย่างนี้ สมมุติว่าเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ แล้วรัฐบาล ก็ไม่เอาด้วยกับกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ สมมุตินะครับ มันก็กลายเป็นขัดแย้งกัน เพราะฉะนั้นผมคิดว่าสิทธิในการตัดสินใจในการบริหารคงจะอยู่ในอำนาจของรัฐบาล เพราะฉะนั้นเราก็เสนอความเห็นข้อมูลทางวิชาการทั้งหมด ข้อสังเกตทั้งหลาย ทางเลือกทั้งหมดนี่ไปให้กับคณะรัฐมนตรีเขาพิจารณา เพราะฉะนั้นโหวตทีเดียวเลยครับ เสนอไปทั้งหมด และหลังจากนั้นให้รัฐบาลเขาพิจารณาเอาเองว่าเขาจะเอาอย่างไร เราให้ข้อมูลเขาไว้สำเร็จเรียบร้อยแล้วนะครับ ผมจึงเห็นด้วยกับญัตติที่เสนอเมื่อสักครู่ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ นิรันดร์ พันทรกิจ ครับ ปรึกษาท่านประธานอย่างนี้ครับ คือเนื่องจากว่าการลงมติเพื่อจะเป็นการกำหนดทิศทาง หรือจุดยืนของ สปช. นะครับ ผมคิดว่าเราลงมติง่าย ๆ ไม่ต้องอธิบายยาว มันพูดแล้วหลง เพราะฉะนั้นใช้วิธีการว่าเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากกด เห็นด้วย เห็นด้วยกับ คณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยกด ไม่เห็นด้วย แค่นั้นนะครับ ท่านไม่ต้องอธิบายยาว เดี๋ยวท่านพูดก็หลงไปหลงมาอีก ยุ่งอีก เอาสั้น ๆ อย่างนี้ เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย คือเห็นด้วยกับ คณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยก็กด ไม่เห็นด้วย แค่นั้นเองครับง่าย ๆ ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ นิรันดร์ พันทรกิจ ครับ ปรึกษาท่านประธานอย่างนี้ครับ คือเนื่องจากว่าการลงมติเพื่อจะเป็นการกำหนดทิศทาง หรือจุดยืนของ สปช. นะครับ ผมคิดว่าเราลงมติง่าย ๆ ไม่ต้องอธิบายยาว มันพูดแล้วหลง เพราะฉะนั้นใช้วิธีการว่าเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากกด เห็นด้วย เห็นด้วยกับ คณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยกด ไม่เห็นด้วย แค่นั้นนะครับ ท่านไม่ต้องอธิบายยาว เดี๋ยวท่านพูดก็หลงไปหลงมาอีก ยุ่งอีก เอาสั้น ๆ อย่างนี้ เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย คือเห็นด้วยกับ คณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยก็กด ไม่เห็นด้วย แค่นั้นเองครับง่าย ๆ ครับ

    อ่านในการประชุม