กราบเรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อเช้าที่มีการประชุมกลุ่มด้านพลังงานผมได้รับมอบหมายจาก กลุ่มด้านพลังงานให้นำข้อคิดเห็น ข้อเสนอจากกลุ่มพลังงานมาเสนอให้ที่ประชุมใหญ่ เพื่อรับไว้พิจารณา ประเด็นที่กลุ่มได้มีมติอยากจะให้เสนอก็คือว่า ในจำนวน ๑๕ คนแรกนั้น อยากจะขอยืนพื้นว่า อยากจะให้มีตัวแทนของแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ ๑ คน คือด้านละ ๑ คน จำนวน ๑๑ ด้าน บวกกับตัวแทนของภาค ภาคละ ๑ คน ก็รวมเป็น ๑๕ คน ให้ตรงนี้เป็นจุดยืนพื้น เหตุผล ที่มีแนวความคิดเช่นนี้จะเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๕ ครับท่านประธาน ที่เขียนไว้ว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ ซึ่งทั้งหมดมีถึง ๑๐ เรื่องด้วยกัน มีกลไกต่าง ๆ เยอะแยะเต็มไปหมด แล้วก็ถ้าอ่านดูแล้ว ในบรรดา ๑๐ เรื่องหรือกลไกตรงนั้นค่อนข้างจะชัดเจนว่าเชื่อมโยงกับด้านแต่ละด้าน ที่มีอยู่แล้ว ยิ่งดูในกลไกข้อที่ ๑๐ แล้วจะบอกว่า ให้มีกลไกที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูป เรื่องสำคัญต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ต่อไป ขีดเส้นใต้คำว่า ให้สมบูรณ์ต่อไป ก็ในเมื่อเรามีด้านต่าง ๆ อยู่แล้ว แล้วก็ยังมีตัวแทนจาก ๗๗ จังหวัด ซึ่งแบ่งออกเป็นภาคต่าง ๆ เพราะฉะนั้นกลุ่ม ด้านพลังงานเราจึงเห็นว่าอยากจะเสนอให้ ๑๕ คนแรกนั้นเป็นตัวยืนพื้นนะครับว่า ให้แต่ละกลุ่ม เสนอมากลุ่มละ ๑ คน แล้วก็ให้แต่ละ ๑ คนนั้นถือว่าได้สิทธิเริ่มแรกเลยในการที่จะเข้ามา เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนสำหรับอีก ๕ คนที่เหลือนั้นซึ่งต้องรอมติในที่ประชุม บ่ายวันนี้นะครับ ทางกลุ่มเรายังไม่ได้ลงลึกไปถึงตรงนั้นว่า ๕ คนนั้นจะมาจากที่ใด จึงขออนุญาตกราบเรียนเบื้องต้นเท่านี้ครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธาน กระผม ดุสิต เครืองาม สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อสักครู่ผมพยายามที่จะยกมือ แต่ว่าปิดการอภิปรายไปแล้ว แต่ผมขอกราบขอบพระคุณท่านประธานที่ให้โอกาสอีกเล็กน้อยครับ นับจากวินาทีนี้ เป็นต้นไป จนกระทั่งถึงพรุ่งนี้เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ซึ่งเข้าใจว่าจะมีการเรียกเชิญประชุม สปช. กันอีกครั้งหนึ่งในวันพรุ่งนี้เวลาบ่ายสองโมง ผมเชื่อว่าเป็นเวลาที่มีความสำคัญมาก และกระผมเองจะพยายามทำหน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติอย่างดีที่สุด เพื่อที่จะได้ไตร่ตรองแล้วก็คัดเลือกผู้สมควรที่จะได้รับการคัดเลือกสรรหามาเป็น กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมจึงใคร่ขอกราบเรียนเสนอว่าทันทีที่มีผู้ยื่นใบสมัคร เข้ารับการสรรหาแล้ว ควรที่จะเปิดเผยรายชื่อเหล่านั้นโดยทันทีมิชักช้า ซึ่งอาจจะอาศัย เว็บไซต์ (Web site) ของรัฐสภาก็ย่อมเป็นได้ ผมไม่อยากจะให้สื่อมวลชนไปลงข่าวอีนุงตุงนัง มั่วไปหมด แล้วก็ทันทีที่ได้เห็นรายชื่อปรากฏอยู่ในเว็บไซต์แล้ว คืนนี้ผมคงจะไม่ได้นอนนะครับ ก็คงจะนั่งเปิดถามอากู๋ไปเรื่อย ๆ ครับว่าท่านผู้ใด เป็นใคร มาจากไหน มีความชำนาญอะไร เป็นอย่างไรบ้างนะครับ นั่นคือข้อเสนอแนะข้อที่ ๑
ข้อที่ ๒ ครับท่านประธาน ในใบสมัครเมื่อสักครู่นี้ได้ออกไปขอทางเจ้าหน้าที่มา มีเอกสารให้กรอกเยอะมาก ผมคิดว่าใบหน้าใบแรกขอก่อนเลย เพราะว่าเป็นการบอกถึง ความจำนงในการสมัครนะครับ แล้วก็มีย่อหน้าสุดท้ายเขียนว่าประสบการณ์ที่สำคัญนะครับ ตรงนี้ก็น่าจะหมายถึงประสบการณ์และความชำนาญ ซึ่งตรงนี้ถ้าหากว่ามีข้อมูลออกจาก เว็บไซต์ของรัฐสภาได้เร็วที่สุดเท่าไรก็จะเป็นข้อมูลที่สำคัญมากในการประกอบการตัดสินใจ นับจากวินาทีนี้เป็นต้นไปครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธาน กระผม ดุสิต เครืองาม สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กระผมขออนุญาตเสนอความคิดเห็นผ่านท่านประธานไปถึง คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) เพื่อให้การเสนอชื่อการสรรหา มีความราบรื่นแล้วก็มีประสิทธิภาพ ผมขออนุญาตเสนอต่อเนื่องจากเมื่อสักครู่นะครับ ฝากให้ทางคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) รีบพิจารณาว่าข้อเสนอ ของผมนั้นยอมรับได้หรือไม่ นั่นก็คือให้เปิดเผยรายชื่อทันทีที่ทางฝ่ายเลขาธิการของสภา ได้รับใบแจ้งที่จะสมัครเข้ามา นั่นคือข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ กรุณากำหนดให้ชัดเจนว่าวันนี้ จะปิดรับสมัครกี่โมง คือหมายความว่าวันนี้จะทำงานได้ถึงกี่โมง ตอนนี้ก็ ๑๖.๐๐ นาฬิกา เข้าไปแล้ว จะทำงานถึง ๒ ทุ่มหรืออย่างไร ถึงกี่ทุ่มหรืออย่างไร เพราะว่าบางท่านอาจจะส่ง แฟกซ์ (Fax) ส่งอะไรเข้ามา แล้วก็ทันทีที่ได้รับการเสนอชื่อสมัครเข้ามาแล้วอย่างน้อยที่สุด ก็ให้เป็นรายชื่อปรากฏในเว็บไซต์ในไอคอน (Icon) ของสภาปฏิรูปแห่งชาติเลยจะได้หรือไม่ เพื่อที่สมาชิกจะได้ศึกษาล่วงหน้าก่อนที่จะมาลงมติในวันพรุ่งนี้ครับ
กราบเรียนท่านประธาน กระผม นายดุสิต เครืองาม สมาชิก สปช. เมื่อวานรวมทั้งคาบเกี่ยวถึงวันนี้จำได้ว่าผู้สมัครแต่ละท่านได้กรอกใบสมัคร แล้วก็เจ้าหน้าที่ก็ได้รับใบสมัครนั้นไปแล้ว แบบฟอร์มนั้นก็มีการระบุชัดเจนนะครับ ค่อนข้าง จะมีเนื้อหาสาระที่สำคัญมาก โดยเฉพาะพารากราฟ (Paragraph) ล่าง ๆ ซึ่งเขียนบอกว่า ประสบการณ์ทำงานและความเชี่ยวชาญ กระผมจึงใคร่ขอเรียนหารือท่านประธานว่าน่าที่จะ ก๊อบปี้ถ่ายสำเนาใบสมัครเหล่านั้นแจกให้สมาชิกได้ประกอบในการพิจารณา มิฉะนั้นแล้วก็ ไม่ทราบว่าใบสมัครนั้นกรอกไปแล้วใครเป็นคนอ่าน ขอบคุณครับ
กระผม ดุสิต เครืองาม ครับ ผมขออนุญาตเรียนถาม ในหัวข้อ ๓๓ และข้อ ๓๕ ครับท่านประธานครับ ในข้อ ๓๓ เขียนไว้บอกว่า ในกรณีที่สมาชิก กล่าวถ้อยคำ จุด จุด จุด เป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกได้รับความเสียหาย แล้วก็บอกว่า บุคคลนั้นมีสิทธิที่จะร้องขอต่อประธานสภาเพื่อให้มีการโฆษณาคำชี้แจง แล้วก็ต่อไปที่ข้อ ๓๕ บอกว่า เมื่อท่านประธานวินิจฉัยแล้วให้ประธานสภาจัดให้มีการโฆษณา และโฆษณาด้วยวิธีการอื่นตามที่ประธานสภาเห็นสมควร ผมขอกราบเรียนถามว่า เมื่อท่านประธานสภาวินิจฉัยแล้วว่าจะต้องมีการชี้แจง ทั้ง ๆ ที่สมาชิกบางท่านเป็นผู้กล่าว ข้อความอันทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย แต่ว่าเมื่อมาอ่านในหัวข้อที่ ๓๓ และ ๓๕ กลายเป็นบอกว่าให้ประธานจัดให้มีการโฆษณา และบอกว่าให้ประธานพิจารณาการโฆษณา ด้วยวิธีการอื่น ตกลงว่าความรับผิดชอบอยู่ที่ท่านประธานสภาหรือว่าอยู่ที่สมาชิกที่กล่าว ข้อความทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายครับ ผมคิดว่าข้อความในข้อ ๓๓ กับข้อ ๓๕ ยังไม่ชัดเจนพอครับ
ผมขอสละสิทธิ์ครับ เดี๋ยวไปลำดับถัดไปครับ
กราบเรียนท่านประธาน ผมเพียงแต่ยกมือ เพื่อขอจองคิวไว้ก่อนครับ แต่ว่าถ้าจะให้อภิปรายก็ยินดีเลยครับ เพราะว่าเกรงใจ ท่านรองเลขาธิการอ่านยาวตลอดหน้ากระดาษนะครับ คิดว่าคงไม่ต้องอ่านได้ไหมครับ เข้าไปอภิปรายเลยได้ไหมครับ
ครับ ท่านรองเลขาธิการได้อ่านวรรคสามเรียบร้อย แล้วครับ กำลังจะเข้าหัวข้อ (๑) (๒) (๓) ใน ๑๗ คณะนี่ครับ ผมขออภิปรายเลยได้ไหมครับ
กราบเรียนท่านประธาน กระผม ดุสิต เครืองาม สปช. ครับ ผมขออนุญาตอภิปรายความเห็นเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ๑๗ คณะตามที่ท่านรองเลขาธิการได้อ่านแล้ว มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ผมติดใจเป็นอย่างยิ่ง ที่จะขอหารือผ่านไปที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนี่นะครับ มีศัพท์คำว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญ ปรากฏอยู่ในเอกสารนี้ตลอดนะครับ เป็นที่ทราบกันดีนะครับว่า คณะกรรมาธิการประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญยังแตกลูกออกย่อยเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา และคณะกรรมาธิการวิสามัญทั่วไปที่กำลังจะเลือก ดังนั้นในบรรดา ๑๗ รายชื่อ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภานั้น กระผมอยากจะขอหารือว่าให้ตัดคำว่า วิสามัญ ออกทั้งหมดนะครับ ยกตัวอย่างอย่างเช่น (๑) ให้เรียกชื่อว่า คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการเมือง (๒) เช่น คณะกรรมาธิการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้เป็นต้น ผมขอกราบเรียนนะครับว่า เราเข้าใจครับว่ากรรมาธิการที่จะเข้ามาอยู่ในแต่ละชุดนั้น มีทั้งสมาชิก สปช. แล้วก็ที่จะเชิญจากข้างนอกเข้ามา ตรงนี้ไม่ขัดข้องครับ แต่กระผม คิดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีชื่อคำว่า วิสามัญ ให้เป็นส่วนเกินอยู่ในรายชื่อทั้ง ๑๗ คณะ ตรงนี้นะครับ เหตุผลก็คือเวลาเราจะออกไปพบประชาชน ขึ้นบนเวที ออกวิทยุโทรทัศน์ สวัสดีครับ กระผม ดุสิต เครืองาม เป็นสมาชิกอยู่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการเมือง ประชาชนเขาไม่เข้าใจหรอกครับว่า คำว่า วิสามัญ นั้นคืออะไร ไม่ควรจะมาเอาเป็นสาระ ในการออกไปสู่ข้างนอก ไม่มีความจำเป็นครับ แล้วก็ผมยังนึกต่อไปอีกช็อต (Shot) หนึ่งว่า ถ้าผมจะพิมพ์นามบัตรเป็นภาษาอังกฤษขึ้นมานี่จะแปลคำว่า วิสามัญ นี้เป็นแปลว่าอะไร ถ้าเป็นด้านพลังงาน คำว่า วิสามัญ เท่าที่ผมเข้าใจก็คือ แอดฮอค คอมมิทตี (Ad hoc committee) ถ้าเป็นกรรมาธิการสามัญนี่แปลว่าสแตนดิ้ง คอมมิทตี นะครับ แอดฮอคก็เป็นคำที่ฟังดูแล้วไม่ค่อยจะสง่าเท่าไรนัก แปลว่าเฉพาะกิจบ้าง แปลว่าชั่วคราวบ้าง เพราะฉะนั้นถ้าจะพิมพ์นามบัตรนะครับ กรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปพลังงาน ผมก็จะต้อง พิมพ์ว่า เอนเนอร์จี รีฟอร์ม แอดฮอค คอมมิทตี เมมเบอร์ (Energy reform ad hoc committee member) ไม่สง่างามเลยครับ แอดฮอค แปลว่าเฉพาะกิจ แต่ว่าเรากำลังเข้ามา ทำงานในเรื่องใหญ่ ใหญ่มากในการปฏิรูปประเทศนะครับ เพราะฉะนั้นคำว่า วิสามัญ มันเป็นแค่ระเบียบการบริหารราชการทางด้านการเงินงบประมาณของรัฐสภาเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาอยู่ในบัญชีรายชื่อทั้ง ๑๗ คณะนี้นะครับ จึงขอกราบเรียนว่า ขอให้ตัดคำว่า วิสามัญ ออกไปนะครับ เป็นแค่การเรียกชื่อเท่านั้น แต่ความหมายยังเป็น วิสามัญอยู่ครับ
ข้อคิดเห็นและคำถามข้อที่ ๒ ก็คือในวรรคนี้ บรรทัดที่ ๓ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจากรายชื่อผู้สมัคร เป็นสมาชิก ตรงนี้เข้าใจว่าสมาชิกหลาย ๆ ท่านก็คงมีข้อข้องใจที่จะขอเรียนฝากถามไปที่ ท่านคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นผู้เสนอ หมายถึงเป็นผู้เสนอสมาชิกที่จะเชิญมาจากข้างนอกนี่นะครับ ท่านจะมีหลักการ วิธีการอย่างไร ขอบพระคุณครับ
เรียนท่านประธานสภาครับ กระผม ดุสิต เครืองาม มีคำถามที่คิดว่าเป็นคำถามพื้นฐานแล้วก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แล้วก็เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานของสมาชิก สปช. ทุกท่านอย่างแน่นอน ในประเด็นข้อ ๘๑ ที่เรากำลังคุยอยู่ ตรงนี้นะครับ คือคำว่า อำนาจและหน้าที่ ข้อ ๘๐ นี่นะครับ แล้วเรากำลังมีนิยาม อำนาจหน้าที่ของกรรมาธิการแต่ละชุด ผมขอกราบเรียนตรง ๆ ว่าผมพื้นฐานไม่ใช่ นักรัฐศาสตร์ ไม่ใช่นักนิติศาสตร์ แต่ไม่เข้าใจความหมายคำว่า อำนาจและหน้าที่ ว่าแปลว่า อะไร ถ้าอ่านตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑ เขียนไว้บอกว่า สปช. มีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อเสนอแนะโน่นนี่ เสนอโน่นเสนอนี่ ดูเหมือนว่าจะมีอำนาจที่ฟังดูแล้วผมเข้าใจ ก็คืออำนาจในการร่างพระราชบัญญัตินะครับ รวมทั้งอำนาจในการเสนอแต่งตั้งใครต่อใคร ไปยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมไม่ทราบว่าในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นกรรมาธิการ ในแต่ละด้าน โดยเฉพาะของผมนี่คงไปอยู่ด้านพลังงาน อำนาจหน้าที่นั้นคืออะไร ไม่ทราบจริง ๆ ครับ ผมรู้ครับว่าอำนาจหน้าที่คือศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะ แต่ผมถามง่าย ๆ ประเด็นแบบนี้ว่า ถ้ากรรมาธิการมีความต้องการที่จะเชิญใครต่อใครมาให้ข้อมูล เรียกข้อมูลมา หรือแม้แต่กระทั่งเดินทางเข้าไปศึกษา เข้าไปเก็บข้อมูล มีอำนาจตรงนั้นอยู่หรือไม่ ตรงนี้ไม่ทราบจริง ๆ แล้วก็เคยถามบางท่านแล้วก็ไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ จริงอยู่ครับ ในร่างข้อบังคับมีเขียนอยู่ข้อหนึ่งในข้อ ๘๙ เขียนว่า การเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงข้อคิดเห็นนั้น ๆ แต่ถามว่ากรรมาธิการก็ดี หรือว่าสมาชิกสภา สปช. ก็ดี เรามีอำนาจอะไรอยู่ในนั้นบ้าง ผมหาไม่เจอครับ ถ้าไปอ่านดู ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๗ เขาเขียนไว้บอกว่า สนช. มีอำนาจหน้าที่ในการตราข้อบังคับ และพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ เขียนอยู่แค่นั้นครับ แต่พอไปดูในข้อบังคับของ สนช. โอ้โฮ เยอะแยะไปหมดเลยครับ คณะกรรมาธิการใน สนช. มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ สำคัญนะครับ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ จัดการศึกษา วิจัย พัฒนา ส่งเสริมอะไรเยอะแยะเต็มไปหมดเลย แต่พอมาดูของ สปช. เขียนอยู่นิดเดียวครับ เขียนบอกว่า มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทาง ผมก็ถามว่าคำว่า ศึกษา นี่เราเปิดอินเทอร์เน็ต เปิดเอกสารมาอ่าน มันก็คือ เหมือนกับว่าเป็นหน้าที่ที่เราต้องทำ แล้วเรามีอำนาจในการที่จะเรียกข้อมูล สมมุติว่า กรรมาธิการมีความสนใจเรื่องพลังงาน สามารถออกหนังสือผ่านท่านประธานนะครับ เชิญให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลได้หรือไม่ มีอำนาจตรงนั้นไหม ผมจำได้ว่าตอนผมไปช่วยงานสภาเป็นผู้ชำนาญการ ผู้ใหญ่ในกรรมาธิการพูดอย่างชัดเจนเลยว่า ประธานกรรมาธิการมีอำนาจในการเรียกรัฐมนตรี เรียกปลัดกระทรวง ใครต่อใคร อธิบดีมาให้ข้อมูลได้ ถามว่า สปช. เรามีอำนาจขนาดนั้นไหม แม้แต่ประเด็นที่เป็นข้อโต้แย้งกันมากแล้วก็ค่อนข้าง จะได้รับความสนใจในเรื่องพลังงาน อย่างเช่น สัมปทานต่าง ๆ ที่บอกว่าสัญญาสัมปทานปิด ไม่ยอมเปิดเผย ถามว่าตอนนี้ สปช. เราจะขอเอาสัญญาเหล่านั้น โดยไม่ขัดต่อกฎหมายนะครับ สามารถมีอำนาจในการเรียกให้คู่กรณี หรือว่าบริษัทที่ได้สัมปทานไปนั้น หรือว่า หน่วยราชการที่เป็นคู่สัญญาเปิดเผยสัญญานั้นนำมาให้กรรมาธิการเราศึกษา วิเคราะห์ ได้หรือไม่ ตรงนี้ขอรบกวนท่านผู้รู้ช่วยตอบคำถามด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
เรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม ครับ กระผมเมื่อสักครู่ได้ยกมือเพื่อขอใช้สิทธิอภิปรายในข้อ ๘๓ แต่ว่าไม่ได้รับโอกาส ขออนุญาต ได้ไหมครับ ข้อ ๘๓ นิดหนึ่งครับ
๑ นาทีครับ
เรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม สิ่งที่ผมอยากจะขอหารือก็คือกรณีที่จะต้องมีการยกร่างพระราชบัญญัติว่าจะใช้วิธีการใด หรือว่าจะใช้ให้มีการตั้งอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ. แล้วก็คนที่จะมาช่วยยกร่างนั้น จะเป็นใคร รายละเอียดเหล่านี้เราน่าจะกล่าวอยู่ในข้อ ๘๗ หรือว่าจะยกไปอยู่ที่หมวด ๕ ก็ได้ไม่ขัดข้องครับ ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม ครับ ขออนุญาตอภิปรายและแปรญัตติข้อ ๙๗ ครับ ข้อ ๙๗ วรรคหนึ่ง บรรทัดที่ ๒ เขียนบอกว่า หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้ว ให้รายงานต่อสภา ขอแปรญัตติให้เติมคำว่า เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป เพื่อให้สภาพิจารณาดำเนินการต่อไป ส่วนข้อ ๙๗ วรรคสองครับ บรรทัดสุดท้ายในร่างนี้เขียนไว้บอกว่า ให้เสนอมาพร้อมกับรายงานตามวรรคหนึ่งด้วย ซึ่งหมายความว่าถ้าคณะกรรมาธิการชุดใดได้จัดทำพิจารณาเรื่องใดเสร็จแล้ว แล้วก็เห็นว่า มีกรณีต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญประกอบ เขียนไปบอกว่าส่งรีพอร์ต (Report) คือส่งรายงานพร้อมกับร่างพระราชบัญญัตินั้น มาพร้อมกันด้วย ซึ่งกระผมเป็นห่วงแล้วก็เกรงว่าในบางครั้งบางเรื่องที่พิจารณาเสร็จแล้ว น่าจะส่งเข้าให้สภาพิจารณารับทราบหรือพิจารณาดำเนินการไปเลย ส่วนการร่าง พระราชบัญญัตินั้นอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีกสักเล็กน้อยหรือเท่าใดก็แล้วแต่ และจึงขอส่ง ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องนั้นตามมาภายหลังนะครับ จึงขออนุญาตเรียนหารือนะครับว่า บรรทัดสุดท้ายที่เขียนว่า ให้ส่งมาพร้อมกับรายงานตามวรรคหนึ่งด้วยนั้น อยากจะขอให้แก้ เป็นข้อความอื่นนะครับ ซึ่งอาจจะเขียนบอกว่า หรือส่งตามมาภายหลังโดยมิชักช้าครับ
เรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม สปช. ครับ ขออภิปรายข้อ ๑๐๒ ครับ ในกรณีที่สภาเห็นว่ามีกรณีจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับตามมาตรา ๓๑ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ ถ้าไปอ่านดู รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ๒๕๕๗ กระผมพบว่ามีตำแหน่ง มาตราที่ระบุอำนาจหน้าที่ ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน คือในมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๙ ในมาตรา ๓๙ เราคงไม่ค่อยได้ดูกัน แต่ผมอ่านแล้วพบว่าเป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จำเป็น เพราะฉะนั้นผมก็เลยตีความได้ว่าอำนาจหน้าที่ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติของ สปช. มี ๒ วาระด้วยกัน วาระแรกก็คือก่อนที่ร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จ แล้วก็วาระที่สองก็คือ หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญอันนั้นได้ยกร่างเสร็จแล้ว เพราะฉะนั้นเพื่อให้เนื้อหาในข้อ ๑๐๒ ครอบคลุมเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ กระผมจึงขออนุญาตแปรญัตติให้เติมคำว่า มาตรา ๓๙ เข้าไปด้วยในมาตรา ๑๐๒ กล่าวคือขอเสนอให้แปรญัตติเป็น ใช้บังคับตาม มาตรา ๓๑ วรรคสองและมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญครับ
เรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม ก็เป็นคำถามที่ได้ถามไปเมื่อสักครู่แล้วนะครับว่าในการที่จะยกร่างหรือทำร่างพระราชบัญญัติ สปช. เราจะมีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือว่ามีผู้เชี่ยวชาญ หรือว่ามีตัวแทนจาก สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอย่างไรหรือไม่นะครับ ที่จะมาช่วยกันยกร่าง พระราชบัญญัติต่าง ๆ ครับ ขอเรียนถามครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ กระผม ดุสิต เครืองาม ข้อ ๘๓ ครับ ข้อ ๘๓ บรรทัดที่ ๔ มีข้อความว่า และเลขาธิการเป็นกรรมาธิการนะครับ ก็ฝากกราบเรียนผ่านท่านประธานไปว่าเจตนารมณ์ที่เขียนว่า และเลขาธิการเป็นกรรมาธิการ ให้จบแค่ตรงนี้หรืออย่างไรครับ หรือว่ามีเจตนารมณ์ว่า และเลขาธิการเป็นกรรมาธิการ และเลขานุการหรือว่าและผู้ช่วยเลขานุการ หรือว่าจะเว้นเอาไว้ให้กรรมาธิการวิปไปพิจารณา อีกครั้งหนึ่งครับ ขอบคุณครับ
คือเจตนารมณ์นี่จะไม่ได้ระบุเพิ่มเติมเป็นอย่างอื่น ใช่ไหมครับว่าเลขาธิการให้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมาธิการเฉย ๆ เพราะว่า หรือว่าอยากจะ ตั้งใจเชิญให้เลขาธิการเข้าไปเป็นกรรมาธิการและเลขานุการครับ
กราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิก สปช. กระผม ดอกเตอร์ดุสิต เครืองาม ผมขออนุญาตอภิปรายสนับสนุนแนวทางที่เมื่อตอนเที่ยงท่าน สปช. อลงกรณ์ พลบุตร ได้อภิปรายไปแล้วเป็นแนวทางที่ ๔ นะครับ แนวทางที่ ๔ นั้นก็คือ เป็นแนวทางที่ให้รัฐจัดทำโครงการสำรวจก่อน เรียกว่าเป็นระยะที่ ๑ การสำรวจในระยะที่ ๑ นั้น อาจจะใช้เวลา ๓ ปี ๔ ปี ๕ ปี ๖ ปี และเมื่อสำรวจได้ข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้วหรือจำนวนหนึ่งแล้ว ก็เข้าสู่การทำงานในระยะที่ ๒ ซึ่งเรียกว่าเป็นระยะของการผลิตปิโตรเลียม เหตุผลและ ความเป็นไปได้ที่ผมอภิปรายในประเด็นนี้มีดังต่อไปนี้ครับ ถ้าอ่านดูพระราชบัญญัติ ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ เขียนเอาไว้ในมาตรา ๒๓ ว่า การดำเนินการนั้นให้มีการสำรวจ และผลิต ในการให้สัมปทานนั้นก็ไม่ได้บังคับว่าสัญญาสัมปทานจะต้องมีการสำรวจและผลิต อยู่ในเวลาเดียวกัน อยู่ในสัญญาเดียวกันเสมอไป ถ้าอ่านดูให้ดีในมาตรา ๒๓ ใช้คำว่า สำรวจ หรือ ผลิต ครับ ใช้คำว่า สำรวจ หรือ ผลิต เกือบจะทุกที่เลย เพราะฉะนั้นเมื่อดูตรงนี้แล้ว พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ถ้าจะใช้วิธีการที่ ๔ ตามที่ท่านอลงกรณ์ได้อภิปรายไปแล้วแทบจะไม่ต้อง ไปแตะไม่ต้องไปแก้ พ.ร.บ. ๒๕๑๔ เลยครับ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าอ่านลึกเข้าไปอีกครับ ในมาตรา ๔๒ ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังเขียนเอาไว้อีกครับว่า หลังจากที่ผู้ใดสำรวจแล้วพบปิโตรเลียมแล้ว ยังจะต้องขออนุญาตในการผลิตจากกระทรวงพลังงานอีกครั้งหนึ่ง ยังจะต้องขออนุญาตผลิต อีกครับ ไม่ใช่หมายความว่าสำรวจแล้วจะสามารถผลิตต่อเนื่องไปได้เลย ไม่ใช่ครับ อย่างไรก็ตาม ยังจะต้องขออนุมัติในการผลิตอีกว่าในแต่ละแปลงนั้นมีปริมาณปิโตรเลียมเพียงพอไหม ผู้ลงทุนมีความพร้อมต่าง ๆ ไหม และใน พ.ร.บ. นี้ยังเขียนไว้อีกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ กระทรวงพลังงาน ซึ่งในที่นี้ก็คือกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีสิทธิที่จะไม่ให้ผลิตก็ยังได้เลยครับ ตรงนี้ถ้าอ่านดูเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. นี้แล้วเขาเขียนไว้ชัดเจนว่าขั้นตอนในการสำรวจและ ขั้นตอนในการผลิตนั้นสามารถแยกออกจากกันได้นะครับ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วกระผมจึงมี ความคิดว่าปัญหาที่หลาย ๆ ท่านอภิปรายมาในวันนี้ ผมว่าทุกคนแทบจะเข้าใจ แล้วก็มีข้อสงสัยตรงกันว่า เอ๊ะตอนนี้ตกลงแล้วปริมาณปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ท้องทะเล หรือใต้แผ่นดินไทยเรานี่มีอยู่ที่ไหน มากน้อยแค่ไหน ตรงนี้คือสิ่งที่เราต้องการอยากจะรู้ มากที่สุด ในระหว่างที่ได้ศึกษา ได้รับฟังคำชี้แจงต่าง ๆ ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ก็มีข้อมูลว่าในกรณีของประเทศจีนครับ รัฐบาลของประเทศจีนก็ได้ลงทุนสำรวจเอง แล้วก็มี ข้อมูลสถิติต่าง ๆ ในแต่ละท้องที่ในแต่ละแปลงชัดเจนว่ามีศักยภาพ มีมากน้อยแค่ไหน มีความลึกแค่ไหน เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมจึงขอเสนอเป็นทางเลือกนะครับว่า ในการที่ สปช. เราจะมีข้อเสนอไปที่ฝ่ายบริหารคือรัฐบาลนั้น ผมอยากจะเสนอให้ สปช. รอลงมติในการ นำเสนอออกไป ๒ ทางเลือกพร้อม ๆ กัน คือไม่ต้องฟันธงว่าเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งครับ ผมคิดว่ามีความเสี่ยงเกินไป ๒ ทางเลือกที่จะให้เสนอไปพร้อม ๆ กัน คือทางเลือกที่ ๑ ให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนนะครับ ให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนในการสำรวจปิโตรเลียมนะครับ ผมเชื่อว่า ๒๙ แปลง ประเทศไทยคือ รัฐบาลเรานี่ไม่จนหรอกครับที่จะไม่สามารถมีทุนทรัพย์ ไม่มีเงินที่จะไปลงทุนได้ และอย่าลืมนะครับว่าการสำรวจนั้นถ้าเรามีระยะเวลา ๕ ปี ๖ ปี ไม่ใช่ลงทุนทีเดียว ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ล้านบาทในเวลาปีเดียวกัน มันจะทยอยปีละพันล้าน พันล้าน พันล้าน อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นจะขอเสนอที่ สปช. นี้นะครับว่า ทางเลือกที่ ๑ ให้รัฐบาลลงทุน สำรวจและเมื่อได้ผลแล้วก็จึงเกิดการประมูลในการผลิตปิโตรเลียม และออพชันที่ ๒ ก็คือ แบบข้อ ๓ นี่นะครับ ก็คือให้ดำเนินการทำสัมปทานไป แล้วก็ทำการศึกษาวิธีพีเอสซี ควบคู่ขนานกันไป คือเสนอให้เป็น ๒ ออพชันออกไปจาก สปช. ครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิก สปช. กระผม ดอกเตอร์ดุสิต เครืองาม ผมขออนุญาตอภิปรายสนับสนุนแนวทางที่เมื่อตอนเที่ยงท่าน สปช. อลงกรณ์ พลบุตร ได้อภิปรายไปแล้วเป็นแนวทางที่ ๔ นะครับ แนวทางที่ ๔ นั้นก็คือ เป็นแนวทางที่ให้รัฐจัดทำโครงการสำรวจก่อน เรียกว่าเป็นระยะที่ ๑ การสำรวจในระยะที่ ๑ นั้น อาจจะใช้เวลา ๓ ปี ๔ ปี ๕ ปี ๖ ปี และเมื่อสำรวจได้ข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้วหรือจำนวนหนึ่งแล้ว ก็เข้าสู่การทำงานในระยะที่ ๒ ซึ่งเรียกว่าเป็นระยะของการผลิตปิโตรเลียม เหตุผลและ ความเป็นไปได้ที่ผมอภิปรายในประเด็นนี้มีดังต่อไปนี้ครับ ถ้าอ่านดูพระราชบัญญัติ ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ เขียนเอาไว้ในมาตรา ๒๓ ว่า การดำเนินการนั้นให้มีการสำรวจ และผลิต ในการให้สัมปทานนั้นก็ไม่ได้บังคับว่าสัญญาสัมปทานจะต้องมีการสำรวจและผลิต อยู่ในเวลาเดียวกัน อยู่ในสัญญาเดียวกันเสมอไป ถ้าอ่านดูให้ดีในมาตรา ๒๓ ใช้คำว่า สำรวจ หรือ ผลิต ครับ ใช้คำว่า สำรวจ หรือ ผลิต เกือบจะทุกที่เลย เพราะฉะนั้นเมื่อดูตรงนี้แล้ว พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ถ้าจะใช้วิธีการที่ ๔ ตามที่ท่านอลงกรณ์ได้อภิปรายไปแล้วแทบจะไม่ต้อง ไปแตะไม่ต้องไปแก้ พ.ร.บ. ๒๕๑๔ เลยครับ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าอ่านลึกเข้าไปอีกครับ ในมาตรา ๔๒ ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังเขียนเอาไว้อีกครับว่า หลังจากที่ผู้ใดสำรวจแล้วพบปิโตรเลียมแล้ว ยังจะต้องขออนุญาตในการผลิตจากกระทรวงพลังงานอีกครั้งหนึ่ง ยังจะต้องขออนุญาตผลิต อีกครับ ไม่ใช่หมายความว่าสำรวจแล้วจะสามารถผลิตต่อเนื่องไปได้เลย ไม่ใช่ครับ อย่างไรก็ตาม ยังจะต้องขออนุมัติในการผลิตอีกว่าในแต่ละแปลงนั้นมีปริมาณปิโตรเลียมเพียงพอไหม ผู้ลงทุนมีความพร้อมต่าง ๆ ไหม และใน พ.ร.บ. นี้ยังเขียนไว้อีกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ กระทรวงพลังงาน ซึ่งในที่นี้ก็คือกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีสิทธิที่จะไม่ให้ผลิตก็ยังได้เลยครับ ตรงนี้ถ้าอ่านดูเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. นี้แล้วเขาเขียนไว้ชัดเจนว่าขั้นตอนในการสำรวจและ ขั้นตอนในการผลิตนั้นสามารถแยกออกจากกันได้นะครับ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วกระผมจึงมี ความคิดว่าปัญหาที่หลาย ๆ ท่านอภิปรายมาในวันนี้ ผมว่าทุกคนแทบจะเข้าใจ แล้วก็มีข้อสงสัยตรงกันว่า เอ๊ะตอนนี้ตกลงแล้วปริมาณปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ท้องทะเล หรือใต้แผ่นดินไทยเรานี่มีอยู่ที่ไหน มากน้อยแค่ไหน ตรงนี้คือสิ่งที่เราต้องการอยากจะรู้ มากที่สุด ในระหว่างที่ได้ศึกษา ได้รับฟังคำชี้แจงต่าง ๆ ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ก็มีข้อมูลว่าในกรณีของประเทศจีนครับ รัฐบาลของประเทศจีนก็ได้ลงทุนสำรวจเอง แล้วก็มี ข้อมูลสถิติต่าง ๆ ในแต่ละท้องที่ในแต่ละแปลงชัดเจนว่ามีศักยภาพ มีมากน้อยแค่ไหน มีความลึกแค่ไหน เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมจึงขอเสนอเป็นทางเลือกนะครับว่า ในการที่ สปช. เราจะมีข้อเสนอไปที่ฝ่ายบริหารคือรัฐบาลนั้น ผมอยากจะเสนอให้ สปช. รอลงมติในการ นำเสนอออกไป ๒ ทางเลือกพร้อม ๆ กัน คือไม่ต้องฟันธงว่าเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งครับ ผมคิดว่ามีความเสี่ยงเกินไป ๒ ทางเลือกที่จะให้เสนอไปพร้อม ๆ กัน คือทางเลือกที่ ๑ ให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนนะครับ ให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนในการสำรวจปิโตรเลียมนะครับ ผมเชื่อว่า ๒๙ แปลง ประเทศไทยคือ รัฐบาลเรานี่ไม่จนหรอกครับที่จะไม่สามารถมีทุนทรัพย์ ไม่มีเงินที่จะไปลงทุนได้ และอย่าลืมนะครับว่าการสำรวจนั้นถ้าเรามีระยะเวลา ๕ ปี ๖ ปี ไม่ใช่ลงทุนทีเดียว ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ล้านบาทในเวลาปีเดียวกัน มันจะทยอยปีละพันล้าน พันล้าน พันล้าน อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นจะขอเสนอที่ สปช. นี้นะครับว่า ทางเลือกที่ ๑ ให้รัฐบาลลงทุน สำรวจและเมื่อได้ผลแล้วก็จึงเกิดการประมูลในการผลิตปิโตรเลียม และออพชันที่ ๒ ก็คือ แบบข้อ ๓ นี่นะครับ ก็คือให้ดำเนินการทำสัมปทานไป แล้วก็ทำการศึกษาวิธีพีเอสซี ควบคู่ขนานกันไป คือเสนอให้เป็น ๒ ออพชันออกไปจาก สปช. ครับ ขอบคุณครับ
ผม สปช. ดุสิต ขอประท้วงท่าน สปช. ไพบูลย์ครับ เมื่อสักครู่นี้ผมเสนอเป็นทางเลือกที่ ๔ ไปเรียบร้อย ขออนุญาตของท่าน สปช. ไพบูลย์ เป็นทางเลือกที่ ๕ ได้ไหมครับ ขอบพระคุณครับ
ผม สปช. ดุสิต ขอประท้วงท่าน สปช. ไพบูลย์ครับ เมื่อสักครู่นี้ผมเสนอเป็นทางเลือกที่ ๔ ไปเรียบร้อย ขออนุญาตของท่าน สปช. ไพบูลย์ เป็นทางเลือกที่ ๕ ได้ไหมครับ ขอบพระคุณครับ