ผมขออนุญาตเรียนถามท่านประธานครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ชาลี เจริญสุข สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จังหวัดฉะเชิงเทราครับ เมื่อสักครู่ท่านประธานได้บอกไว้แล้วว่า ถ้าเห็นด้วยก็หมายความว่าปิดการอภิปราย ทีนี้เมื่อสักครู่ท่านสมาชิกเสนอใหม่ ผมอยาก เรียนท่านประธานให้ย้ำอีกครั้ง เพราะว่าเดี๋ยวสมาชิกจะงงครับ ขอให้ท่านประธานได้ย้ำ อีกครั้งครับว่าเอาอย่างไรแน่ครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม นายชาลี เจริญสุข สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จังหวัดฉะเชิงเทรา ศิษย์เก่าโรงเรียน เบญจมราชรังสฤษฎิ์ รุ่น ๘๙ จากจังหวัดฉะเชิงเทรา ผมกราบเรียนท่านประธานในเรื่องของ อยากจะยื่นเสนอเรื่องกระทู้ถามสด เพราะว่าวันนี้เรากำลังทำหน้าที่ใหญ่ในเรื่องของการที่จะ ร่างรัฐธรรมนูญในการที่จะหาตัวกรรมาธิการ ฉะนั้นพี่น้องประชาชนก็กำลังติดตามพวกเรา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งผมในฐานะที่เป็น สปช. จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อเช้าผมได้ไป ติดต่อฝ่ายกฎหมายว่าผมจะขอยื่นกระทู้ถามสดได้ไหม เพราะมีเรื่องเร่งด่วนที่เราจะรอ เรื่องของการปฏิรูปคงจะไม่ทันกาล ฉะนั้นอาศัยตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๔๘ มาตรา ก็มีเปิดโอกาสให้ทางสภาปฏิรูปแห่งชาติของเราได้เสนอเรื่องราวที่เป็นเรื่องเร่งด่วนอยู่แล้ว ผมก็เลยขออนุญาตท่านประธานที่เคารพครับ เสนอเรื่องเร่งด่วนครับ เรื่องเกี่ยวกับการขาย ลอตเตอรี่ ในขณะนี้พี่น้องประชาชนแล้วรวมทั้งผมด้วย ผมมีหลักฐานไว้ด้วยนะครับ ผมซื้อ
ประเด็นก็คือ
กระทู้ถามสดเรื่องการขาย
ประเด็นก็คือว่าการขายลอตเตอรี่เกินราคาทั้งประเทศ อยากจะนำเสนอว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องของความเชื่อมั่นในเรื่องของการบริหาร ราชการแผ่นดินว่ารัฐบาลเรานี่
ครับ ก็ด้วยความเคารพท่านประธานครับ ถ้าติดขัด เรื่องของเงื่อนไขในเรื่องของเวลานะครับ ในเรื่องของการหาตัวกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน ผมเองเมื่อวานนี้ได้ทราบจากท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ท่านหนึ่งพูดว่าพี่น้องประชาชนกำลังเฝ้าติดตามเรา แต่ว่าผมได้มีโอกาสขึ้นมาพูดผมก็ อยากจะเรียนท่านประธานผ่านไปยังพี่น้องประชาชนว่าต้องใจเย็น ๆ นิดหนึ่งครับ เพราะว่า ในช่วงนี้เป็นการที่เราจะสรรหาคนที่จะมาทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของการเขียนรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นอยู่ปุบปับพี่น้องประชาชนกำลังเฝ้ามองว่าจะเขียนอะไรในรัฐธรรมนูญ กำลังลุ้นว่าสิ่งที่ เขาต้องการจะถูกเสนอหรือไม่ ฉะนั้นเปรียบเสมือนว่าวันนี้เรากำลังทำหน้าที่ใหญ่คือ พุท เดอะ ไรท์ แมน ออน เดอะ ไรท์ จ็อบ (Put the right man on the right job) ก็คือ หาบุคคลที่เหมาะสมที่จะทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ตรงนี้ แต่พี่น้องประชาชนก็ใจร้อนก็เลยมี กระแสกลับมานะครับ ฉะนั้นก็ขออนุญาตว่าถ้าวันนี้ยังไม่สามารถยื่นกระทู้ถามสดได้ ผมก็ขออนุญาตถอนแล้วก็จะได้ดำเนินการประชุมต่อไป ขอบคุณท่านประธานที่เคารพครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม นายชาลี เจริญสุข สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดฉะเชิงเทรา ในฐานะที่อยู่ ต่างจังหวัด ผมเองก็ได้รับทราบข้อมูลเมื่อวานนี้อย่างมากมายหลากหลาย แล้วก็เห็นว่า ในส่วนที่เราได้ลงมติว่าในส่วนของคนนอกนั้นไม่มี อันนี้ก็ต้องยอมรับมติที่ประชุมว่า ต้องอยู่ในสภาปฏิรูปแห่งชาติแห่งนี้ ๒๐ ท่าน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ๑๑ ด้านซึ่งเราเสนอไว้ หรือว่าที่เราเคยมีกรอบในการที่จะนำเข้ามาสู่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะเนื่องจากว่าสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแห่งนี้มีมวลสมาชิกถึง ๒๕๐ ท่านด้วยกัน ถ้าหากเราไม่กำหนดด้านที่ชัดเจนไว้ อย่าง ๑๑ ด้านนี้ ด้านละ ๑ คน และภาคต่าง ๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทราของเรามี ๗๗ จังหวัด ถ้าหากเราบอกว่าแล้วแต่สมัครกัน แล้วแต่ความประสงค์โดยไม่มีการพูดคุยกันในคณะเล็กก่อน ผมว่ามันก็จะเป็นการที่เรียกว่า ๗๗ จังหวัดจะเกิดขาดความมั่นใจว่าสิ่งที่สมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติจังหวัดต่าง ๆ เขาได้ไปพูดคุยกับพี่น้องประชาชนไว้ เขาจะนำเข้ามาสู่ใน คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือในการเขียนกฎหมายใหญ่ของประเทศได้หรือไม่ ตรงนี้เป็นเรื่องของความมั่นใจครับ และเป็นการยึดโยงตามกรอบของแนวทางการปฏิรูป ๑๑ ด้านที่ผมได้รับเอกสารไปแล้ว สิ่งแรกที่ผมต้องอ่านก็คือต้องอ่านการบ้าน ต้องทำการบ้าน ผมสนใจเรื่องการเมืองผมก็อ่านเรื่องการเมือง ทีนี้ในส่วนนี้ละครับเป็นแนวทางในการปฏิรูป ถ้าใน ๑๑ เล่ม ๑๑ ด้านที่เราอ่านแล้วมันยังขาดอะไรเราสามารถจะเติมได้ นี่ละครับความคิด ของ สปช. ๗๗ จังหวัดของเราพร้อมที่จะเติมสิ่งที่ขาดหายในหนังสือปฏิรูป ๑๑ ด้านซึ่งเป็น ไกด์ไลน์ (Guideline) ซึ่งเป็นหนังสือที่ทำมาจากการระดมความคิดเห็นของท่านประธาน คสช. ซึ่งได้ทำไว้ในช่วงที่เข้ามาดูแลรักษาความสงบประเทศชาติของเราจนขึ้นสู่ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ท่านทำการบ้านมาตลอดอยู่แล้วนะครับ แต่ตอนนี้ความคิดเห็นที่จะเข้าสู่ คณะกรรมาธิการเป็นเรื่องที่พวกเรากังวลครับ พวกเราเป็นห่วงเป็นใย เราอยากจะมีส่วนร่วม แต่ขอเป็นส่วนร่วมแบบว่ามีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน อย่าให้เป็นแบบประเภทบอกว่า เสนอใครก็ได้ ผมขอสนับสนุนว่า ๑๑ ด้าน ด้านละ ๑ คน ภาค ๔ ภาค ภาคละ ๑ คน ให้ภาคต่าง ๆ ได้หาข้อสรุปหรือมีการเสนอกันเอง ส่วนอีก ๕ ท่าน ผมก็มองว่าอยู่ที่ใน สภาปฏิรูปแห่งชาติที่นี่ละครับที่จะเสนอให้เป็นฟรีโหวต หรือเสนอกันเอง หรือเป็น ช่วงที่ ๒ ที่จะเสนอว่าจะเป็นใคร ตรงนี้มันจะได้ชัดเจนครับ ก็กราบเรียนท่านประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาติครับว่า ผมก็อยากจะนำเสนออย่างนี้ว่าวันนี้เราพูดคุยกันมาถึง ๒ วัน แต่ขั้นตอนต่อไปสิครับว่าเราจะให้เขาสมัครเขียนใบสมัครจนถึงวันที่ ๒๙ ตุลาคมใช่ไหมครับ แต่วันนี้ผมยังไม่มีแนวทางหรือไม่ได้เห็นเลยครับว่าจะมีใครไปสมัครบ้างหรือยังที่จะมาเป็น กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมว่าคณะต่าง ๆ เขาเตรียมการกันแล้วครับ เขาคิดกันแล้ว เขามีตัวแทนแล้ว คือตัวแทนในมติที่ประชุมเล็ก ไม่ได้ขัดรัฐธรรมนูญ ผมมองว่าอย่างนี้ครับ เพราะไม่ได้คิดบุคคลคนเดียว แต่เขาคิดเป็นคณะเล็ก แล้วก็เข้ามาสู่คณะใหญ่ในสภาปฏิรูป แห่งชาติ ฉะนั้นหลักการทำงานนี่ถ้าเราทำงานในสภาใหญ่ความคิดย่อมหลากหลาย เรามีการย่อยกันก่อนในกลุ่มเล็ก กลุ่มด้านที่ ๑-๑๑ ด้าน ภาคต่าง ๆ ๔ ภาคเสร็จแล้วก็ นำเสนอเข้ามาสู่ส่วนกลาง โดยก็อยากจะกราบเรียนท่านประธานครับว่าผมอยากเห็น ความคืบหน้าครับ ท่านประธานครับ ผมอยากเห็นว่ามีคนมาแจ้งความประสงค์หรือยัง ๑๑ ด้าน ภาคต่าง ๆ มีหรือยัง เราจะได้เห็นกรอบที่ชัดเจนแล้วจะได้มาอภิปรายเพิ่มเติมว่า อีก ๕ คนจะเป็นใคร ผมขออภิปรายสนับสนุนในการมีส่วนร่วมยึดโยงตามกรอบของ การปฏิรูปประเทศนะครับ ๑๑ ด้าน และ ๔ ภาค เพื่อยึดโยงสู่ประชาชนครับ ขอบคุณ ท่านประธานที่ให้เวลาผมครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพครับ ผม ชาลี เจริญสุข ครับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดฉะเชิงเทราครับ วันนี้ต้องขอขอบคุณท่านประธานครับที่ให้โอกาสหารือในเรื่องสำคัญก็คือเรื่องของ ในกรุงเทพมหานครซึ่งเราจะทราบกันว่าเราจะมีจังหวัดปริมณฑลอยู่ทั้งหมด ๖ จังหวัด ด้วยกัน แต่เนื่องจากผมมาจากจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราเราเคยหารือหรือเสนอ ข้อเรื่องนี้ว่า ทำไมจังหวัดฉะเชิงเทราไม่ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดปริมณฑล รอบกรุงเทพมหานคร ซึ่งเปรียบเสมือนวงรอบนี่นะครับ แต่วงรอบมันไม่ครบมันเว้นวรรคด้วย จังหวัดหนึ่งจึงเกิดความเหลื่อมล้ำครับ ในเรื่องของการพัฒนาระหว่างกรุงเทพมหานครกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตติดต่อนี้ถนนหนทางยังเป็นถนนฝุ่นอยู่มากมาย เพื่อนสมาชิก หลายท่านก็ได้พูดไปแล้วว่าถนนฝุ่นในประเทศไทยนี้เยอะมาก แต่เชื่อไหมครับว่าอยู่ติดกับ กรุงเทพมหานคร
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพครับ ผม ชาลี เจริญสุข ครับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดฉะเชิงเทราครับ วันนี้ต้องขอขอบคุณท่านประธานครับที่ให้โอกาสหารือในเรื่องสำคัญก็คือเรื่องของ ในกรุงเทพมหานครซึ่งเราจะทราบกันว่าเราจะมีจังหวัดปริมณฑลอยู่ทั้งหมด ๖ จังหวัด ด้วยกัน แต่เนื่องจากผมมาจากจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราเราเคยหารือหรือเสนอ ข้อเรื่องนี้ว่า ทำไมจังหวัดฉะเชิงเทราไม่ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดปริมณฑล รอบกรุงเทพมหานคร ซึ่งเปรียบเสมือนวงรอบนี่นะครับ แต่วงรอบมันไม่ครบมันเว้นวรรคด้วย จังหวัดหนึ่งจึงเกิดความเหลื่อมล้ำครับ ในเรื่องของการพัฒนาระหว่างกรุงเทพมหานครกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตติดต่อนี้ถนนหนทางยังเป็นถนนฝุ่นอยู่มากมาย เพื่อนสมาชิก หลายท่านก็ได้พูดไปแล้วว่าถนนฝุ่นในประเทศไทยนี้เยอะมาก แต่เชื่อไหมครับว่าอยู่ติดกับ กรุงเทพมหานคร
และประเด็นที่ ๒ ที่ผมจะกราบเรียนว่า ถ้ามีการบรรจุจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นปริมณฑลแล้ว วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ จะถึงเออีซี (AEC) จังหวัดฉะเชิงเทราเช่นกันครับ จะเป็นเส้นทางที่ออกไปประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดก็คือกัมพูชา เส้นทางหลายเส้นทาง ปรากฏว่ายังทำไม่เสร็จเลยครับ แล้วเราจะเชื่อมโยงเออีซีได้อย่างไร เช่น ถนนสายมีนบุรีเป็น ๔ ช่องจราจรปัจจุบัน ปัจจุบันกรุงเทพมหานครขยายเป็น ๖ ช่องจราจร เขตติดต่อกรุงเทพฯ แล้วปรากฏว่าตรงกลางนั้นยังเป็น ๔ ช่องจราจร ปรากฏว่าจังหวัดฉะเชิงเทรามีงบอีกนิดหน่อยมาทำเป็น ๖ ช่องจราจร ปรากฏว่า ๖ มาเจอ ๔ ไปเจอ ๖ รถติดมากครับ แล้วก็เส้นอื่น ๆ อีกมากมายครับ ดังนั้นจึงเรียนฝากหารือว่า อยากที่จะให้มีการประชุมปรึกษาหารือในเรื่องของภาคปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร โดยบรรจุจังหวัดฉะเชิงเทราและกระทรวงคมนาคมร่วมกันพัฒนาอย่างจริงจังที่จะเชื่อมโยง เส้นทางเพื่อสู่เออีซีครับ ขอบคุณครับ
และประเด็นที่ ๒ ที่ผมจะกราบเรียนว่า ถ้ามีการบรรจุจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นปริมณฑลแล้ว วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ จะถึงเออีซี (AEC) จังหวัดฉะเชิงเทราเช่นกันครับ จะเป็นเส้นทางที่ออกไปประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดก็คือกัมพูชา เส้นทางหลายเส้นทาง ปรากฏว่ายังทำไม่เสร็จเลยครับ แล้วเราจะเชื่อมโยงเออีซีได้อย่างไร เช่น ถนนสายมีนบุรีเป็น ๔ ช่องจราจรปัจจุบัน ปัจจุบันกรุงเทพมหานครขยายเป็น ๖ ช่องจราจร เขตติดต่อกรุงเทพฯ แล้วปรากฏว่าตรงกลางนั้นยังเป็น ๔ ช่องจราจร ปรากฏว่าจังหวัดฉะเชิงเทรามีงบอีกนิดหน่อยมาทำเป็น ๖ ช่องจราจร ปรากฏว่า ๖ มาเจอ ๔ ไปเจอ ๖ รถติดมากครับ แล้วก็เส้นอื่น ๆ อีกมากมายครับ ดังนั้นจึงเรียนฝากหารือว่า อยากที่จะให้มีการประชุมปรึกษาหารือในเรื่องของภาคปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร โดยบรรจุจังหวัดฉะเชิงเทราและกระทรวงคมนาคมร่วมกันพัฒนาอย่างจริงจังที่จะเชื่อมโยง เส้นทางเพื่อสู่เออีซีครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม ชาลี เจริญสุข ครับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดฉะเชิงเทรานะครับ วันนี้ก็ได้โจทย์ที่ดี มาก ๆ นะครับ เพราะว่าจะเกี่ยวพันทั้งในส่วนกรุงเทพมหานครแล้วก็ส่วนภูมิภาค เพื่อนสมาชิกหลายท่านได้อภิปรายว่า การที่เราจะสามารถที่จะใช้กลไกของรัฐแล้วก็ให้มี ความสะดวก สามารถจะให้ความสะดวกและรวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย ผมต้องกราบเรียนว่า ตรงประเด็นที่สุดก็คือการกระจายอำนาจ เพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่อยู่ตามภูมิภาคนี่เยอะ แล้วถ้าจะพึ่งพิงในส่วนของรัฐจริง ๆ นี่ก็คือศาลากลางจังหวัดหรืออำเภอ แต่ระบบ การกระจายอำนาจมีมานานแล้ว แต่ผลปรากฏว่าการกระจายอำนาจที่จะให้ประชาชนเข้าถึง อย่างสะดวกรวดเร็ว งบประมาณที่จัดไป ที่ผ่านมานะครับงบประมาณลงไปน้อยมาก เพราะว่าอาจจะเป็นเพราะว่าส่วนกลางนี่อาจจะหวงโดยจะไปใช้งบเอง จนทำให้งบท้องถิ่นที่ เคยบอกว่าจะกระจายอำนาจไป ๓๕ เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านมานะครับ ๒๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ก็ไม่ เคยถึง ๓๕ เปอร์เซ็นต์สักทีหนึ่ง ยุคปฏิรูปนี่ผมอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ว่า มีการเสนอ ว่า เอ๊ะถ้าจะให้ประชาชนมีความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึง เสนอมาแล้วประชาชนก็จับตามอง ครับว่าจะมีการเลือกตั้ง กระจายอำนาจ เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเปล่า ตรงนี้นะครับ ในทัศนะของผมผมมองว่าในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด บางจังหวัดพร้อม บางจังหวัด ไม่พร้อม แต่เราเทียบเคียงดูครับว่าจังหวัดที่พร้อม ถ้ามีการเลือกตั้งจริง ๆ ตามภูมิภาคต่าง ๆ นี่ จังหวัดใหญ่ ๆ เชียงใหม่ โคราช หรือทางใต้ ถ้ามีการเลือกตั้งจริง จังหวัดที่พร้อมผมว่า น่าจะทำ เพราะว่าอะไรครับ ดูจากกรุงเทพมหานคร ชีวิตคนเรานี้ฝากไว้เกิด แก่ เจ็บ ตายใช่ไหมครับ เขาก็คงไม่เดินไปที่ศาลากลางหรือที่อำเภอ กรุงเทพฯ นี่เขาเดินไปที่เขต นะครับ สำนักงานเขต ก็มีคนหลายคนจินตนาการว่าไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง เพราะว่าบางที ท้องถิ่นบางแห่งหรือระบบราชการเดิมมันจะหายไป แต่ถ้าจะให้กลไกของรัฐบริการให้ ประชาชนอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ผมว่ามันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงผมเห็นด้วย เพราะว่า ท้องถิ่นบางท้องถิ่นกำลังเรียกร้องครับว่า เงินที่จะมาใช้ในการบริหารดูแลจังหวัด อย่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดบอกว่ารายได้เก็บงบประมาณนี่ปีละ บางจังหวัดเป็นพันล้าน กรุงเทพมหานครเป็นแสนล้านนะครับ แต่ถามว่าทำอย่างไร มันเกิดความเหลื่อมล้ำ งบประมาณไม่พอบริหาร เพราะว่าเนื่องจากว่าผู้ที่ไปจัดตั้งบริษัท โรงงานนี้มาเสียภาษี ส่วนกลาง ในการเสียภาษีในจังหวัดไม่ได้เสียเลยครับ ก็มาเสียภาษีส่วนกลางซึ่งเป็นบริษัท ใหญ่ ๆ ถ้าจังหวัดนั้นถ้าจะเติบโตได้ผมว่าตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญครับว่างบประมาณต้อง เพียงพอและจะได้พัฒนาจังหวัดได้ ก็เห็นด้วยครับว่าถ้าท้องถิ่นต้องการที่จะพัฒนาตัวเอง ที่จะเรียกร้องให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้น จะต้องมีการกระจายอำนาจจริง ๆ ก็ต้องให้มีการกระจายอำนาจแบบที่ว่า คืออาจจะมีการเลือกตั้งบางจังหวัดที่พร้อมที่จะ เลือกตั้ง โดยผมได้ทราบมาว่าทางกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นได้บอกว่า ถ้าหาก จะมีการกระจายอำนาจจริง เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจริง จะต้องทำประชามติก่อน อันนี้ ก็ถือว่าจะสอดคล้องกับประเด็นที่ตั้งมา เพราะว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านอภิปรายไปแล้วว่า จะทำอย่างไรที่กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็วนะครับ ซึ่งมันก็ คงจะเป็นโจทย์ที่เราตอบกันแบบวนเวียนอยู่แล้วครับ คงจะต้องกราบเรียนท่านประธาน และขอบคุณท่านประธานที่ได้ตั้งโจทย์นี้ ผมก็เลยขออนุญาตที่จะอภิปรายเพียงเท่านี้ครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม ชาลี เจริญสุข ครับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดฉะเชิงเทรานะครับ วันนี้ก็ได้โจทย์ที่ดี มาก ๆ นะครับ เพราะว่าจะเกี่ยวพันทั้งในส่วนกรุงเทพมหานครแล้วก็ส่วนภูมิภาค เพื่อนสมาชิกหลายท่านได้อภิปรายว่า การที่เราจะสามารถที่จะใช้กลไกของรัฐแล้วก็ให้มี ความสะดวก สามารถจะให้ความสะดวกและรวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย ผมต้องกราบเรียนว่า ตรงประเด็นที่สุดก็คือการกระจายอำนาจ เพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่อยู่ตามภูมิภาคนี่เยอะ แล้วถ้าจะพึ่งพิงในส่วนของรัฐจริง ๆ นี่ก็คือศาลากลางจังหวัดหรืออำเภอ แต่ระบบ การกระจายอำนาจมีมานานแล้ว แต่ผลปรากฏว่าการกระจายอำนาจที่จะให้ประชาชนเข้าถึง อย่างสะดวกรวดเร็ว งบประมาณที่จัดไป ที่ผ่านมานะครับงบประมาณลงไปน้อยมาก เพราะว่าอาจจะเป็นเพราะว่าส่วนกลางนี่อาจจะหวงโดยจะไปใช้งบเอง จนทำให้งบท้องถิ่นที่ เคยบอกว่าจะกระจายอำนาจไป ๓๕ เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านมานะครับ ๒๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ก็ไม่ เคยถึง ๓๕ เปอร์เซ็นต์สักทีหนึ่ง ยุคปฏิรูปนี่ผมอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ว่า มีการเสนอ ว่า เอ๊ะถ้าจะให้ประชาชนมีความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึง เสนอมาแล้วประชาชนก็จับตามอง ครับว่าจะมีการเลือกตั้ง กระจายอำนาจ เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเปล่า ตรงนี้นะครับ ในทัศนะของผมผมมองว่าในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด บางจังหวัดพร้อม บางจังหวัด ไม่พร้อม แต่เราเทียบเคียงดูครับว่าจังหวัดที่พร้อม ถ้ามีการเลือกตั้งจริง ๆ ตามภูมิภาคต่าง ๆ นี่ จังหวัดใหญ่ ๆ เชียงใหม่ โคราช หรือทางใต้ ถ้ามีการเลือกตั้งจริง จังหวัดที่พร้อมผมว่า น่าจะทำ เพราะว่าอะไรครับ ดูจากกรุงเทพมหานคร ชีวิตคนเรานี้ฝากไว้เกิด แก่ เจ็บ ตายใช่ไหมครับ เขาก็คงไม่เดินไปที่ศาลากลางหรือที่อำเภอ กรุงเทพฯ นี่เขาเดินไปที่เขต นะครับ สำนักงานเขต ก็มีคนหลายคนจินตนาการว่าไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง เพราะว่าบางที ท้องถิ่นบางแห่งหรือระบบราชการเดิมมันจะหายไป แต่ถ้าจะให้กลไกของรัฐบริการให้ ประชาชนอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ผมว่ามันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงผมเห็นด้วย เพราะว่า ท้องถิ่นบางท้องถิ่นกำลังเรียกร้องครับว่า เงินที่จะมาใช้ในการบริหารดูแลจังหวัด อย่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดบอกว่ารายได้เก็บงบประมาณนี่ปีละ บางจังหวัดเป็นพันล้าน กรุงเทพมหานครเป็นแสนล้านนะครับ แต่ถามว่าทำอย่างไร มันเกิดความเหลื่อมล้ำ งบประมาณไม่พอบริหาร เพราะว่าเนื่องจากว่าผู้ที่ไปจัดตั้งบริษัท โรงงานนี้มาเสียภาษี ส่วนกลาง ในการเสียภาษีในจังหวัดไม่ได้เสียเลยครับ ก็มาเสียภาษีส่วนกลางซึ่งเป็นบริษัท ใหญ่ ๆ ถ้าจังหวัดนั้นถ้าจะเติบโตได้ผมว่าตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญครับว่างบประมาณต้อง เพียงพอและจะได้พัฒนาจังหวัดได้ ก็เห็นด้วยครับว่าถ้าท้องถิ่นต้องการที่จะพัฒนาตัวเอง ที่จะเรียกร้องให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้น จะต้องมีการกระจายอำนาจจริง ๆ ก็ต้องให้มีการกระจายอำนาจแบบที่ว่า คืออาจจะมีการเลือกตั้งบางจังหวัดที่พร้อมที่จะ เลือกตั้ง โดยผมได้ทราบมาว่าทางกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นได้บอกว่า ถ้าหาก จะมีการกระจายอำนาจจริง เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจริง จะต้องทำประชามติก่อน อันนี้ ก็ถือว่าจะสอดคล้องกับประเด็นที่ตั้งมา เพราะว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านอภิปรายไปแล้วว่า จะทำอย่างไรที่กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็วนะครับ ซึ่งมันก็ คงจะเป็นโจทย์ที่เราตอบกันแบบวนเวียนอยู่แล้วครับ คงจะต้องกราบเรียนท่านประธาน และขอบคุณท่านประธานที่ได้ตั้งโจทย์นี้ ผมก็เลยขออนุญาตที่จะอภิปรายเพียงเท่านี้ครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายชาลี เจริญสุข สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ลำดับที่ ๕๙ ก่อนที่จะพักประชุมนะครับ ผมเองในฐานะ ของสมาชิกใหม่ของรัฐสภาแห่งนี้นะครับ มีความกังวลและเป็นห่วงที่อยากจะกราบเรียน ท่านประธาน ขอปรึกษาหารือได้ไหมครับ เรื่องที่สำคัญครับ เพราะว่าสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติเป็นที่เฝ้ามองของประชาชนและสื่อมวลชนว่า ขณะนี้สิ่งที่ท่านประธานจะสั่ง หยุดประชุมจะไปเลือกกรรมาธิการใช่ไหมครับ ประธานกรรมาธิการ ผมได้สังเกตเห็นอย่างหนึ่ง ว่าสมาชิกหลายท่านผู้ทรงเกียรติพูดถึงว่า สภาแห่งนี้ไม่อยากให้ยึดติดรูปแบบทางการเมือง คือมีการแข่งขัน ขณะนี้จะไปแข่งขันเลือกประธานกรรมาธิการกันแล้ว ๑๘ คณะ ทีนี้ผมอยากจะเห็นรูปแบบใหม่ของการปฏิรูปประเทศจริง ๆ ครับ ผมจึงมีข้อเสนอแนะ โดยที่ไม่ได้ปรึกษาหารือใครเลย เป็นความรู้สึกที่เข้ามาสู่สภาแห่งนี้แล้วเห็นว่าจะมีวิสัยทัศน์ ภิวัฒน์ไทยแล้ว แต่เรายังทำงานกันแบบเดิม ๆ คือไปแข่งขันกันอีกแล้วการแข่งขันนั้น ก็สร้างความเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายที่ ๑ ที่จะมีแพ้อีก ฝ่ายหนึ่งที่จะต้องมีชนะ ฉะนั้นผมจึง อยากเห็นว่าสภาแห่งนี้เมื่อเลือกกรรมาธิการมันจะต้องมีไฮไลต์ (Highlight) อะไรสักอย่าง ที่จะบ่งบอกให้ประชาชนว่าเกิดจากรูปแบบใหม่จริง ๆ อย่างเช่นการเลือกผมจึงมีข้อเสนอว่า ฉะนั้นการเลือกประธานและรองประธาน หรือกรรมาธิการต่าง ๆ ไม่อยากให้มีการแข่งขันครับ ท่านประธาน อยากให้มีการเสนอด้วยวิธีการใหม่ ๆ ซึ่งไม่ให้เกิดความแตกแยกและไม่มี การล็อก สเปก (Lock spec) ใด ๆ ทั้งสิ้น อย่างเช่นในคณะกรรมาธิการ ๑ คณะ ให้มี การจับสลากได้ไหมครับ
ก็นิดหนึ่งครับ เพราะว่าผมอยากเห็นการปฏิรูป ประเทศไทยจริง ๆ ครับ เป็นการปฏิรูปที่ไม่เหมือนใครครับ ฉะนั้นผมในฐานะที่เป็นสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วผมเห็นว่าทุกคนพร้อมที่จะเป็นประธานกรรมาธิการ พร้อมที่จะเป็น รองประธาน พร้อมที่จะทำงาน ฉะนั้นผมขออนุญาตนิดครับ ด้วยความเคารพท่านประธาน คืออยากจะสนับสนุนว่าทุกคนพร้อมที่จะเป็นประธานกรรมาธิการ แต่หมายถึงว่าไม่มีการหาเสียง ไม่มีการลงคะแนน แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จะได้เป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติที่กลมเกลียวเหมือนกับที่ หลาย ๆ คนคาดหวังครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ชาลี เจริญสุข สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๕๙ นะครับ ที่ต้องบอกหมายเลข ๕๙ เพราะว่า บางท่านขึ้นพูดถ้าไม่บอกหมายเลขเราจะไม่รู้ตำแหน่งนะครับ อันนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งอยากจะ เหมือนกับถ่ายทอดความรู้สึกให้กับท่านประธานและท่านมวลสมาชิกว่าหมายเลข ก็มีความสำคัญ เราจะได้รู้ตำแหน่งของท่าน อยู่หน้า กลาง หลัง ผม ชาลี เจริญสุข สปช. ก่อนที่จะไปหมวดอื่นผมในฐานะของสมาชิกใหม่เลย ผมดูทุกหมวดแล้วอยากเรียนถาม กรรมาธิการนะครับว่า อย่างกรณีหลายเรื่องที่ไม่ได้เขียนไว้ในข้อบังคับในกรรมาธิการนี้ อย่างเช่น เรื่องของการลาของสมาชิก หรือว่าการหยุดนี่จะหยุดได้ประมาณไหน ซึ่งก็เป็น เรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นเรื่องที่เราต้องมาปฏิรูปกัน ก็คือเรื่องของความโปร่งใสในการทำงาน ว่าได้รับเกียรติมากินเงินภาษีของประชาชนแล้วทำงานกันเต็มที่หรือเปล่า มีโอกาสที่จะได้ ลาหยุดได้แค่ไหน อันนี้ก็จะต้องไปใช้ข้อบังคับหมวดไหน หรือว่าใช้หมวดเกี่ยวกับข้อบังคับ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือเปล่า เพราะมีอีกหลายหมวดซึ่งสมาชิกใหม่หลายท่านก็ยัง ไม่ค่อยทราบ อย่างเช่น การแต่งกายก็เช่นกันนะครับ ที่จะใช้การแต่งกายเครื่องแบบปกติขาว อย่างนี้เป็นต้นนะครับ อันนี้ก็เรียนถามให้กรรมาธิการตอบ หรือผู้รู้ตอบให้สมาชิกใหม่ ได้ทราบครับ ขอบพระคุณครับ
ขออีกเรื่องหนึ่งนะครับ สุดท้ายก็ขอขอบคุณท่านประธานสภาปฏิรูปที่ได้เป็น เจ้าภาพสวดอภิธรรมศพคุณแม่ผมเมื่อคืนที่ผ่านมา พร้อมทั้งรองประธานสภาปฏิรูป และท่านสมาชิก พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านด้วยครับ ขอบพระคุณครับ