กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ลำดับที่ ๑๓๓ ผมก็ขอสนับสนุนตัวร่าง พระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคฉบับนี้นะครับว่าน่าจะมีมานาน แล้วก็จะ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้บริโภค แต่ที่ผ่านมาในฐานะผมเองก็เป็นผู้ที่ปฏิบัติด้วยส่วนหนึ่ง จะเห็นได้ว่าแม้ให้มีกฎหมายดีอย่างไร มีสภาพบังคับที่ดีอย่างไร แต่การบังคับใช้ถ้าไม่มี ประสิทธิภาพ ผมว่าตรงนั้นก็คงจะไม่เกิดผลแต่ประการใด ฉะนั้นยังไม่เห็นในส่วนนี้ว่าได้มี การดำเนินการในส่วนที่จะให้มีการติดตามประเมินผลสุดท้ายของการดำเนินคดีอย่างไร หรือไม่ เพราะอะไรไหมครับ เพราะเท่าที่ปรากฏในความเป็นจริงโดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อคดีที่มี การดำเนินการไปจนถึงที่สุด จะถึงที่สุดโดยที่คู่ความไม่มีการอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุด หรือว่า ถึงที่สุดโดยศาลสูงสุดแล้วก็ตาม ทางฝ่ายผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยตรง หรือว่าหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงนั้นจะขาดการติดตามผลสุดท้ายว่าเป็นอย่างไร บางครั้งตัวผู้ถูกดำเนินการเองเขาก็ต้องพยายามที่จะดิ้นรนที่จะหาวิถีทางที่จะให้ตัวเองนั้น หลุดพ้นหรือรอดพ้นจากการดำเนินคดี หรือว่ารอดพ้นจากการจำคุกหรือถูกปรับ ฉะนั้นจะใช้ ทุกวิถีทางในการที่จะแทรกแซง หรือว่าขอร้องก็ดี หรือว่าขู่บังคับก็ดี จนพยานต่าง ๆ หรือ ผู้ที่ร้องทุกข์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นไม่กล้าที่จะดำเนินการต่อไป แล้วก็ต้องถอยออก ซึ่งอาจจะ เป็นการสมยอมหรือว่าอยู่ในสภาพจำยอมก็แล้วแต่ อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่ง ฉะนั้นถ้ามีในส่วนนี้ นะครับอย่างน้อยก็เป็นหลักประกันได้ว่าจะช่วยดูแล ช่วยคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริงว่า ผลสุดท้ายผู้ใดก่อกรรมไว้ ผู้นั้นก็ควรจะได้รับกรรมในส่วนนั้น ๆ แต่ในทางปฏิบัติยังมี อีกหลายประการในการที่ผู้บริโภคนั้นถูกเอารัดเอาเปรียบเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นผมถึงเห็นว่า กฎหมายให้ออกไปเท่าไร ถ้าหากว่าเราไม่มีหน่วยงานที่คอยติดตามหรือคอยประสานงาน หรือว่าคอยตรวจสอบว่าการใช้อำนาจรัฐทุกขั้นตอนนั้นเป็นไปโดยถูกต้องหรือว่าดำเนินการ เป็นธรรมกับทุก ๆ ฝ่ายหรือไม่ ตรงนั้นก็เป็นสิ่งที่น่าที่จะเป็นห่วงนะครับ ฉะนั้นผมมาย้อนดู ในตัวร่างพระราชบัญญัติที่เสนอขึ้นมานี่นะครับ ก็คงเช่นเดียวกันครับกับที่หลายท่านห่วงว่า จะลงในรายละเอียดหรือไม่ คงไม่ถึงกับลงในรายละเอียด แต่ว่าคงต้องดูว่าในสิ่งที่บัญญัติ ตัวร่างมีความเหมาะสมหรือไม่ เราคงต้องสะท้อนไปนะครับว่า ถ้าหากว่าหลุดจากตรงนี้ ไปแล้ว แล้วเป็นสิ่งที่ทางสภาปฏิรูปแห่งชาติเห็นมาก่อนนี่ก็น่าที่จะให้เหตุผลหรือว่า ให้ข้อสังเกตติดไปด้วยนะครับ ผมดูอย่างนี้ในตัวร่างนะครับมีหลายส่วนที่คิดว่าน่าที่จะดูด้วย อย่างเช่นกรณีเรื่องของมาตรา ๘ ในมาตรา ๘ นั้นที่ใช้หัวละ ๓ บาทต่อหัวนั้น ไม่ทราบว่า ตัวกฎหมายหรือว่าผู้ร่างนั้นใช้เกณฑ์อะไรเป็นตัวกำหนดในการที่จะกำหนด ๓ บาทต่อหัว แล้วก็จะมีการปรับทุก ๓ ปี ฉะนั้น ๓ บาทต่อหัวนั้นมีเพียงพอที่จะใช้ดำเนินการในการที่จะ ดูแลผู้บริโภคแล้วหรือยัง หรือว่าถ้ามากไปจะเป็นภาระงบประมาณหรือไม่ อันนั้นคงต้องดู เพราะว่าตรงนี้อย่างไรก็แล้วแต่ก็ต้องไปผ่าน ครม. ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวด้วย เช่นเดียวกัน ในมาตรา ๙ ก็เช่นเดียวกัน ก็ขออนุญาตปรับเผื่อไปเลย ฝากเผื่อไปเพื่อจะได้สอดคล้องกับ ทางท่านกรรมาธิการยกร่าง ซึ่งช่วงเช้าเราก็ได้ทราบแล้วว่า ปีงบประมาณต่อ ๆ ไปนั้น ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านนะครับ นั่นก็หมายความว่างบประมาณรายจ่ายประจำปี จะไม่ใช้อีกแล้ว จะใช้เป็น ๒ ขา ก็คือมีการอธิบายทั้ง ๒ ด้าน ทั้งรายรับและรายจ่ายตามที่ ท่านคำนูณ สิทธิสมาน ก็ขออนุญาตเอ่ยนามท่านเพราะไม่เสียหาย ว่าตรงนี้เป็น ๒ ขาแล้ว เป็นงบประมาณประจำปี ไม่มีคำว่า รายจ่าย ก็ปรับเผื่อไปนะครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ลำดับที่ ๑๓๓ ผมก็ขอสนับสนุนตัวร่าง พระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคฉบับนี้นะครับว่าน่าจะมีมานาน แล้วก็จะ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้บริโภค แต่ที่ผ่านมาในฐานะผมเองก็เป็นผู้ที่ปฏิบัติด้วยส่วนหนึ่ง จะเห็นได้ว่าแม้ให้มีกฎหมายดีอย่างไร มีสภาพบังคับที่ดีอย่างไร แต่การบังคับใช้ถ้าไม่มี ประสิทธิภาพ ผมว่าตรงนั้นก็คงจะไม่เกิดผลแต่ประการใด ฉะนั้นยังไม่เห็นในส่วนนี้ว่าได้มี การดำเนินการในส่วนที่จะให้มีการติดตามประเมินผลสุดท้ายของการดำเนินคดีอย่างไร หรือไม่ เพราะอะไรไหมครับ เพราะเท่าที่ปรากฏในความเป็นจริงโดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อคดีที่มี การดำเนินการไปจนถึงที่สุด จะถึงที่สุดโดยที่คู่ความไม่มีการอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุด หรือว่า ถึงที่สุดโดยศาลสูงสุดแล้วก็ตาม ทางฝ่ายผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยตรง หรือว่าหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงนั้นจะขาดการติดตามผลสุดท้ายว่าเป็นอย่างไร บางครั้งตัวผู้ถูกดำเนินการเองเขาก็ต้องพยายามที่จะดิ้นรนที่จะหาวิถีทางที่จะให้ตัวเองนั้น หลุดพ้นหรือรอดพ้นจากการดำเนินคดี หรือว่ารอดพ้นจากการจำคุกหรือถูกปรับ ฉะนั้นจะใช้ ทุกวิถีทางในการที่จะแทรกแซง หรือว่าขอร้องก็ดี หรือว่าขู่บังคับก็ดี จนพยานต่าง ๆ หรือ ผู้ที่ร้องทุกข์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นไม่กล้าที่จะดำเนินการต่อไป แล้วก็ต้องถอยออก ซึ่งอาจจะ เป็นการสมยอมหรือว่าอยู่ในสภาพจำยอมก็แล้วแต่ อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่ง ฉะนั้นถ้ามีในส่วนนี้ นะครับอย่างน้อยก็เป็นหลักประกันได้ว่าจะช่วยดูแล ช่วยคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริงว่า ผลสุดท้ายผู้ใดก่อกรรมไว้ ผู้นั้นก็ควรจะได้รับกรรมในส่วนนั้น ๆ แต่ในทางปฏิบัติยังมี อีกหลายประการในการที่ผู้บริโภคนั้นถูกเอารัดเอาเปรียบเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นผมถึงเห็นว่า กฎหมายให้ออกไปเท่าไร ถ้าหากว่าเราไม่มีหน่วยงานที่คอยติดตามหรือคอยประสานงาน หรือว่าคอยตรวจสอบว่าการใช้อำนาจรัฐทุกขั้นตอนนั้นเป็นไปโดยถูกต้องหรือว่าดำเนินการ เป็นธรรมกับทุก ๆ ฝ่ายหรือไม่ ตรงนั้นก็เป็นสิ่งที่น่าที่จะเป็นห่วงนะครับ ฉะนั้นผมมาย้อนดู ในตัวร่างพระราชบัญญัติที่เสนอขึ้นมานี่นะครับ ก็คงเช่นเดียวกันครับกับที่หลายท่านห่วงว่า จะลงในรายละเอียดหรือไม่ คงไม่ถึงกับลงในรายละเอียด แต่ว่าคงต้องดูว่าในสิ่งที่บัญญัติ ตัวร่างมีความเหมาะสมหรือไม่ เราคงต้องสะท้อนไปนะครับว่า ถ้าหากว่าหลุดจากตรงนี้ ไปแล้ว แล้วเป็นสิ่งที่ทางสภาปฏิรูปแห่งชาติเห็นมาก่อนนี่ก็น่าที่จะให้เหตุผลหรือว่า ให้ข้อสังเกตติดไปด้วยนะครับ ผมดูอย่างนี้ในตัวร่างนะครับมีหลายส่วนที่คิดว่าน่าที่จะดูด้วย อย่างเช่นกรณีเรื่องของมาตรา ๘ ในมาตรา ๘ นั้นที่ใช้หัวละ ๓ บาทต่อหัวนั้น ไม่ทราบว่า ตัวกฎหมายหรือว่าผู้ร่างนั้นใช้เกณฑ์อะไรเป็นตัวกำหนดในการที่จะกำหนด ๓ บาทต่อหัว แล้วก็จะมีการปรับทุก ๓ ปี ฉะนั้น ๓ บาทต่อหัวนั้นมีเพียงพอที่จะใช้ดำเนินการในการที่จะ ดูแลผู้บริโภคแล้วหรือยัง หรือว่าถ้ามากไปจะเป็นภาระงบประมาณหรือไม่ อันนั้นคงต้องดู เพราะว่าตรงนี้อย่างไรก็แล้วแต่ก็ต้องไปผ่าน ครม. ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวด้วย เช่นเดียวกัน ในมาตรา ๙ ก็เช่นเดียวกัน ก็ขออนุญาตปรับเผื่อไปเลย ฝากเผื่อไปเพื่อจะได้สอดคล้องกับ ทางท่านกรรมาธิการยกร่าง ซึ่งช่วงเช้าเราก็ได้ทราบแล้วว่า ปีงบประมาณต่อ ๆ ไปนั้น ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านนะครับ นั่นก็หมายความว่างบประมาณรายจ่ายประจำปี จะไม่ใช้อีกแล้ว จะใช้เป็น ๒ ขา ก็คือมีการอธิบายทั้ง ๒ ด้าน ทั้งรายรับและรายจ่ายตามที่ ท่านคำนูณ สิทธิสมาน ก็ขออนุญาตเอ่ยนามท่านเพราะไม่เสียหาย ว่าตรงนี้เป็น ๒ ขาแล้ว เป็นงบประมาณประจำปี ไม่มีคำว่า รายจ่าย ก็ปรับเผื่อไปนะครับ
อีกส่วนกรณีหนึ่งเป็นเรื่องของมาตรา ๑๙ ในมาตรา ๑๙ เรื่องที่จะให้ พนักงานอัยการดำเนินการแทนในส่วนสุดท้ายของ (๕) ที่บอกว่า ทั้งนี้ การฟ้องและ การดำเนินคดีดังกล่าว ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิด ในค่าฤชาธรรมเนียมชั้นที่สุด คำว่า ชั้นที่สุด หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า ในชั้นนี้ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบหรือว่าไม่ต้องยกเว้น ขอความชัดเจนในส่วนนี้ ด้วยนะครับ ก็ขอเลยเวลาอีกนิดเดียว
อีกส่วนกรณีหนึ่งเป็นเรื่องของมาตรา ๑๙ ในมาตรา ๑๙ เรื่องที่จะให้ พนักงานอัยการดำเนินการแทนในส่วนสุดท้ายของ (๕) ที่บอกว่า ทั้งนี้ การฟ้องและ การดำเนินคดีดังกล่าว ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิด ในค่าฤชาธรรมเนียมชั้นที่สุด คำว่า ชั้นที่สุด หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า ในชั้นนี้ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบหรือว่าไม่ต้องยกเว้น ขอความชัดเจนในส่วนนี้ ด้วยนะครับ ก็ขอเลยเวลาอีกนิดเดียว
แล้วก็ในมาตรา ๓๓ นั้นมีหลายท่านเป็นห่วงในเรื่องของโทษว่าจะสูงเกินไป หรือไม่ ผมว่าให้เป็นดุลยพินิจของศาลยุติธรรมเถอะครับ หรือว่าศาลปกครองก็แล้วแต่จะเป็น ผู้พิจารณาอันนี้ว่าตรงนั้นดุลยพินิจได้ที่จะลงโทษ เพราะว่ามีขั้นต่ำ ๑ ปี อันนั้นคือ หลักประกันในการที่จะเปิดโอกาสให้ศาลรอการลงอาญาได้ถ้าเห็นว่าพฤติกรรมของกรรมการ แต่ปัญหาก็คือว่ากรณีที่กรรมการหรือตัวคณะกรรมการกระทำความผิดจะถือเป็นผิดอาญา แผ่นดิน และผิดทั่วไป แล้วต้องให้มีผู้เสียหายร้องทุกข์ กล่าวโทษด้วยหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
แล้วก็ในมาตรา ๓๓ นั้นมีหลายท่านเป็นห่วงในเรื่องของโทษว่าจะสูงเกินไป หรือไม่ ผมว่าให้เป็นดุลยพินิจของศาลยุติธรรมเถอะครับ หรือว่าศาลปกครองก็แล้วแต่จะเป็น ผู้พิจารณาอันนี้ว่าตรงนั้นดุลยพินิจได้ที่จะลงโทษ เพราะว่ามีขั้นต่ำ ๑ ปี อันนั้นคือ หลักประกันในการที่จะเปิดโอกาสให้ศาลรอการลงอาญาได้ถ้าเห็นว่าพฤติกรรมของกรรมการ แต่ปัญหาก็คือว่ากรณีที่กรรมการหรือตัวคณะกรรมการกระทำความผิดจะถือเป็นผิดอาญา แผ่นดิน และผิดทั่วไป แล้วต้องให้มีผู้เสียหายร้องทุกข์ กล่าวโทษด้วยหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ถ้าดูข้อบังคับ ผมขออนุญาตเรียนว่าที่ประชุมจะต้องเป็นผู้เลือกตามข้อบังคับ ข้อ ๘๑ ครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ กระผมต้องขออนุญาตเรียนที่ประชุมอย่างนี้นะครับว่า เนื่องจากว่า เอกสารข้อบังคับตัวร่างนี้ ทุกท่านส่วนใหญ่เพิ่งจะได้รับ ดังนั้นการที่อ่านเฉพาะข้อแล้วก็ ผ่านไปเลย ถ้าเว้นช่วงสักระยะได้ไหม คิดว่าให้เวลาในการที่จะอ่าน ผมฟังดูสมาชิก หลายท่านยังไม่ทราบแล้วก็ไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นถ้าอ่านไปถ้าเกิดมีอะไรผิดพลาดแล้ว ตรงนั้นเราจะมาแก้ไขตอนนั้นจะลำบาก และเวลาของเราก็ยังพอมีเหลืออยู่นะครับ ผมยังเห็นว่าใช้วิธีการอย่างเดิมอ่านเป็นรายข้อไปนะครับ แล้วทุกท่านก็ได้ดูด้วยพร้อม ๆ กัน แล้วข้อไหนสั้น ๆ ผมว่าตรงนั้นคงจะอ่านได้รวดเร็วแล้วก็ไม่มีปัญหา กระผมก็ขอเสนอว่า กลับไปอย่างเดิมได้ไหมครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม ประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ กระผมเห็นว่าใน (๕) ของตัวร่างของข้อ ๑๐ นี้ก็เป็นการเปิดกว้างให้ ท่านประธานใช้ดุลยพินิจในการที่จะดูว่าบางเรื่องอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นกิจการของสภา แต่จะเกิดหรือว่าจะยังประโยชน์ต่อสภาในอนาคตได้ ฉะนั้นผมเชื่อว่าโดยวุฒิภาวะ โดยดุลยพินิจของท่านประธานคงจะต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าจะดำเนินการแต่งตั้งท่านใด ผมเห็นว่าเป็นการเปิดกว้างไว้ แต่คงไม่ได้ใช้พร่ำเพรื่อเท่านั้นครับ ผมคิดว่าเหมาะสมแล้วครับ ขอบคุณครับ
ไม่เห็นชอบครับ