นางพรรณิภา เสริมศรี

  • ๑๒๖. นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ๑๒๗ . นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ๑๒๘. นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด ๑๒๙. นางประภาภัทร นิยม ๑๓๐. นางประภาศรี สุฉันทบุตร ๑๓๑. นายประมนต์ สุธีวงศ์ ๑๓๒. นายประสาร มฤคพิทักษ์ ๑๓๓. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ๑๓๔. พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์ ๑๓๕. นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ๑๓๖. นายประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ ๑๓๗. นายปราโมทย์ ไม้กลัด ๑๓๘. นายปรีชา เถาทอง ๑๓๙. นายปรีชา บุตรศรี ๑๔๐. พลตำรวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ ๑๔๑. นายปิยะวัติ บุญ-หลง ๑๔๒. นายเปรื่อง จันดา ๑๔๓. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ๑๔๔. นายพงศ์โพยม วาศภูติ ๑๔๕. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ๑๔๖. นายพนา ทองมีอาคม ๑๔๗. นายพรชัย มุ่งเจริญพร ๑๔๘. นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ๑๔๙. นางพรรณวีรินทร์ รัตนวานิช ๑๕๐. นางพรรณี จารุสมบัติ ๑๕๑. นายพรายพล คุ้มทรัพย์ ๑๕๒. นายพลเดช ปิ่นประทีป ๑๕๓. พลเอก พอพล มณีรินทร์ ๑๕๔. พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป ๑๕๕. นางพันธุ์ทิพย์ สายสุนทร ๑๕๖. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ๑๕๗. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ๑๕๘. นายเพิ่มศักดิ์ เชื้อชาติ ๑๕๙. นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา ๑๖๐. นายไพบูลย์ นิติตะวัน ๑๖๑. นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ๑๖๒. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ๑๖๓. นาวาอากาศเอก ไพศาล จันทรพิทักษ์ ๑๖๔. นางภัทรียา สุมะโน ๑๖๕. พลเอก ภูดิศ ทัตติยโชติ ๑๖๖. พลอากาศเอก มนัส รูปขจร ๑๖๗. นายมนู เลียวไพโรจน์ ๑๖๘. นายมนูญ ศิริวรรณ ๑๖๙. นายมานิจ สุขสมจิตร ๑๗๐. นายมีชัย วีระไวทยะ ๑๗๑. พันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ ๑๗๒. พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ๑๗๓. นางสาวรสนา โตสิตระกูล ๑๗๔. พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ๑๗๕. นายวรรณชัย บุญบำรุง ๑๗๖. พลเอก วรวิทย์ พรรณสมัย ๑๗๗. นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา ๑๗๘. นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ๑๗๙. พลเอก วัฒนา สรรพานิช ๑๘๐. นายวันชัย สอนศิริ ๑๘๑. นายวัลลภ พริ้งพงษ์ ๑๘๒. นายวิชัย ด่านรุ่งโรจน์ ๑๘๓. พลเอก วิชิต ยาทิพย์ ๑๘๔. นายวิทยา กุลสมบูรณ์ ๑๘๕. นายวินัย ดะห์ลัน ๑๘๖. นายวิบูลย์ คูหิรัญ ๑๘๗. นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ๑๘๘. นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร ๑๘๙. นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร ๑๙๐. นายวีระศักดิ์ ภูครองหิน ๑๙๑. พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ ๑๙๒. นายวุฒิสาร ตันไชย ๑๙๓. นายไวกูณฑ์ ทองอร่าม ๑๙๔. นายศานิตย์ นาคสุขศรี ๑๙๕. นายศักรินทร์ ภูมิรัตน ๑๙๖. นายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์ ๑๙๗. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ๑๙๘. นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา ๑๙๙. พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ๒๐๐. นายศุภชัย ยาวะประภาษ ๒๐๑. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ๒๐๒. นายสมเกียรติ ชอบผล ๒๐๓. นายสมเดช นิลพันธุ์ ๒๐๔. นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ๒๐๕. นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ๒๐๖. นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ๒๐๗. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ ๒๐๘. นายสยุมพร ลิ่มไทย ๒๐๙. นายสรณะ เทพเนาว์ ๒๑๐. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ๒๑๑. นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ๒๑๒. นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ๒๑๓. นายสิระ เจนจาคะ ๒๑๔. พันเอก สิรวิชญ์ นาคทอง ๒๑๕. นางสีลาภรณ์ บัวสาย ๒๑๖. นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ๒๑๗. นางสุกัญญา สุดบรรทัด ๒๑๘. นายสุชาติ นวกวงษ์ ๒๑๙. นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง ๒๒๐. นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม ๒๒๑. นายสุพร สุวรรณโชติ ๒๒๒. นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ๒๒๓. พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์ ๒๒๔. นายสุวัช สิงหพันธุ์ ๒๒๕. นายสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ๒๒๖. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ๒๒๗. นายเสรี สุวรรณภานนท์ ๒๒๘. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ๒๒๙. นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ ๒๓๐. นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ๒๓๑. นายอนันตชัย คุณานันทกุล ๒๓๒. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ๒๓๓. พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ ๒๓๔. นายอมร วาณิชวิวัฒน์ ๒๓๕. นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ๒๓๖. นางสาวอรพินท์ สพโชคชัย ๒๓๗. นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ ๒๓๘. นายอลงกรณ์ พลบุตร ๒๓๙. นางสาวอ่อนอุษา ลำเลียงพล ๒๔๐. นางอัญชลี ชวนิชย์ ๒๔๑. พลตำรวจโท อาจิณ โชติวงศ์ ๒๔๒. พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย ๒๔๓. นายอำพล จินดาวัฒนะ ๒๔๔. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ๒๔๕. นายอุดม ทุมโฆสิต ๒๔๖. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ๒๔๗. นางอุบล หลิมสกุล ๒๔๘. พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ๒๔๙. นายเอกราช ช่างเหลา ๒๕๐. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์

    อ่านในการประชุม

  • หมวด ๔

    อ่านในการประชุม

  • กรรมาธิการ

    อ่านในการประชุม

  • ____________

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๗๙ สภาอาจตั้งคณะกรรมาธิการให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณา กระทำกิจการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาหรือตามที่สภามอบหมาย โดยจะกำหนดเป็น คณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญก็ได้

    อ่านในการประชุม

  • คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งสภาตั้งจากสมาชิกของสภา เท่านั้น ส่วนคณะกรรมาธิการวิสามัญมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา และคณะกรรมาธิการวิสามัญ ทั้งนี้ จะตั้งจากบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกด้วยก็ได้

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๘๐ ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาขึ้นเพื่อพิจารณา กระทำกิจการ หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาหรือตามที่สภามอบหมาย ทั้งนี้ ในการกระทำกิจการของคณะกรรมาธิการให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้ง ที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน ทำให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

    อ่านในการประชุม

  • หากคณะกรรมาธิการคณะใดเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ให้คณะกรรมาธิการคณะนั้น จัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญ

    อ่านในการประชุม

  • ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาสิบเจ็ดคณะ แต่ละคณะ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสิบสามคนแต่ไม่เกินยี่สิบเก้าคน และบุคคลผู้ไม่ได้ เป็นสมาชิกไม่เกินจำนวนหนึ่งในสี่ของกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกของแต่ละคณะ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจากรายชื่อผู้สมัคร เป็นสมาชิก โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • (๑) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการเมือง

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการเมืองให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๒) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการบริหารราชการแผ่นดินให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๓) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่น ตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๔) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการปกครองท้องถิ่นให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๕) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๖) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอ เพื่อการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่น ตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๗) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๘) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปพลังงาน

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านพลังงานให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๙) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูประบบสาธารณสุข

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านระบบสาธารณสุขให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภา มอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๑๐) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๑๑) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยี สารสนเทศ

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๑๒) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๑๓) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการแรงงาน

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการแรงงานให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๑๔) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๑๕) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และการศาสนา

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนาให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๑๖) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการกีฬา

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการกีฬาให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • (๑๗) คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม

    อ่านในการประชุม

  • มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • หากมีความจำเป็นสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาเพิ่มขึ้น หรือลดจำนวนคณะกรรมาธิการลงเมื่อใดก็ได้

    อ่านในการประชุม

  • สมาชิกคนหนึ่งจะดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้ ไม่เกินสองคณะ เว้นแต่สมาชิกที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภา ให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้หนึ่งคณะ สำหรับสมาชิก ผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาจะดำรงตำแหน่งเลขานุการ คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาอื่นอีกมิได้ ผู้ซึ่งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อาจดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้ไม่เกินหนึ่งคณะ แต่จะเป็น ผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในคณะกรรมาธิการคณะนั้นมิได้ ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องให้ความสำคัญกับ การยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันดับแรก

    อ่านในการประชุม

  • เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาจะดำเนินการศึกษาและเสนอแนะ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปในเรื่องใด ๆ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภารายงานให้ สภาทราบ และให้รายงานความคืบหน้าให้ทราบทุกหนึ่งเดือน

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๘๕ ภายใต้บังคับข้อ ๘๓ การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญให้ที่ประชุมสภา เลือกจากรายชื่อที่สมาชิกเสนอ

    อ่านในการประชุม

  • สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อได้ครั้งละหนึ่งชื่อหรือหลายชื่อก็ได้ การเสนอ ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน

    อ่านในการประชุม

  • การออกเสียงลงคะแนนเลือกกรรมาธิการให้สมาชิกออกเสียงลงคะแนน โดยเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเท่ากับจำนวนกรรมาธิการที่จะเลือกตามวิธีที่ประธาน กำหนด

    อ่านในการประชุม

  • ให้ประธานและเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจนับคะแนน และให้ ประธานแจ้งผลการตรวจนับคะแนนและประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมาธิการ ในการประชุมครั้งนั้นหรือครั้งต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • ให้ถือว่าผู้ได้รับการเลือกเป็นกรรมาธิการตามวรรคสี่ดำรงตำแหน่ง กรรมาธิการนับแต่วันที่สภาลงมติเลือก

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๘๖ การประชุมคณะกรรมาธิการต้องมีกรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่า หนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ ในการประชุมคณะกรรมาธิการที่จะมีการลงมติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องมีกรรมาธิการ มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ และให้นำความในหมวด ๓ การประชุมและหมวดอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๘๗ ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็นจากกรรมาธิการในคณะนั้น ๆ

    อ่านในการประชุม

  • ในกรณีมีผู้ที่ได้คะแนนเลือกตั้งในตำแหน่งต่าง ๆ ได้คะแนนเสียงเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับสลาก

    อ่านในการประชุม

  • ให้กรรมาธิการผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการเป็น ประธานชั่วคราวของที่ประชุมเพื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่ง

    อ่านในการประชุม

  • ให้มีผู้ช่วยเลขานุการคนหนึ่งประจำคณะกรรมาธิการแต่ละคณะ โดยให้ คณะกรรมาธิการแต่งตั้งจากรายชื่อข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตาม รายชื่อที่เลขาธิการจัดทำเสนอ

    อ่านในการประชุม

  • คณะกรรมาธิการมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมาธิการคณะละไม่เกินสิบห้าคน ซึ่งเลือกจากรายชื่อที่กรรมาธิการเสนอ เพื่อพิจารณาปัญหาอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมาธิการตามแต่จะมอบหมาย และนำข้อบังคับว่าด้วยกรรมาธิการมาใช้บังคับ โดยอนุโลม

    อ่านในการประชุม

  • ประธานคณะอนุกรรมาธิการตามวรรคห้าต้องตั้งจากบุคคลที่เป็นกรรมาธิการ ในคณะนั้น

    อ่านในการประชุม

  • เพื่อช่วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการจัดเตรียมรายงาน ด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีข้อมูลครบถ้วน คณะกรรมาธิการอาจแต่งตั้งผู้เตรียม รายงานคนหนึ่งหรือหลายคนจากผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท ซึ่งเคยทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ ให้มีหน้าที่เตรียมร่างรายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พร้อมข้อมูลสนับสนุน เสนอให้คณะกรรมาธิการได้พิจารณาตามที่คณะกรรมาธิการมอบหมาย

    อ่านในการประชุม

  • คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วิธีปฏิบัติงาน และประโยชน์ตอบแทนของ ผู้เตรียมรายงานให้เป็นไปตามระเบียบรัฐสภา

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๘๘ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการ หรือมี แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ในกรณีที่มีรองประธานคณะกรรมาธิการหลายคน ให้รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการ ถ้ารองประธานคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่งไม่มีหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานคณะกรรมาธิการลำดับต่อไปเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน คณะกรรมาธิการ ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการแล้ว หรือมี แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมคณะกรรมาธิการมีมติแต่งตั้งกรรมาธิการคนใด คนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการ

    อ่านในการประชุม

  • ในกรณีที่คณะกรรมาธิการใดมีรองประธานคณะกรรมาธิการคนเดียว ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๘๙ การเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาศึกษาอยู่ ให้ทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อประธานคณะกรรมาธิการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน

    อ่านในการประชุม

  • การนัดประชุมคณะกรรมาธิการนอกจากครั้งแรก ให้ทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อเลขานุการคณะกรรมาธิการหรือผู้ทำหน้าที่แทนเลขานุการคณะกรรมาธิการ

    อ่านในการประชุม