กราบเรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติค่ะ ตอนนี้เรากดไปแล้วค่ะ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย เพราะฉะนั้นสงสัยต้องล้างใหม่ทั้งหมดก่อนค่ะแล้วถึงจะกดแสดงตน ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานค่ะ ดิฉัน นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิก สปช. ๐๐๗ จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาค่ะ ดิฉัน ก็ขอเรียนนำเสนอจากที่ประชุมกลุ่มของภาคกลางและภาคตะวันออกที่เราได้คุยกันเมื่อเช้านี้ เพื่อเรียนให้ที่ประชุมทราบโดยผ่านทางท่านประธานนะคะว่า ทางกลุ่มภาคกลางและ ภาคตะวันออกก็มีความเห็นเช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ ท่านที่ได้นำเสนอไปแล้วว่า อยากจะ ขอให้มีตัวแทนจาก ๑๑ ด้าน และ ๔ ภาค เพื่อว่าทำให้เกิดความเชื่อมโยง ที่เราพูดกัน ในเรื่องที่เป็นผู้แทนนี้เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงว่า ระหว่างที่มีกระบวนการการร่าง รัฐธรรมนูญการยกร่างนี้จะได้มีการนำเอาความก้าวหน้าหรือความคืบหน้ากลับมาที่กลุ่ม และถ้ากลุ่มมีอะไรที่จะเสนอเข้าไปก็จะได้มีช่องทาง เพราะฉะนั้นอันนี้ก็อยากให้ยืนตามนั้น และก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญใน (๑๐) ของมาตรา ๓๕ ที่ว่า กลไกที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูป เรื่องสำคัญต่าง ๆ มันต้องมีกลไก เพราะฉะนั้นกลไกก็จะต้องผ่านทางผู้แทน เพราะฉะนั้น ตอนนี้เรื่องสำคัญต่าง ๆ ถึงแม้ต่อไปเราต้องเข้าไปอยู่ในแต่ละด้าน แต่ตอนนี้กลุ่มเล็กมีการ คุยกันเป็นกลุ่ม ๆ อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจะทำให้ง่ายและสะดวกในการที่จะนำข้อมูลส่งผ่าน ข้อมูลกัน เพราะฉะนั้นก็เป็นในเรื่องของ ๑๑ บวก ๔ และรายชื่อ ๑๕ ท่านที่เสนอมาจาก กลุ่มนี้ก็จะขอให้มาให้ความเห็นชอบในที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเลยโดยไม่ต้องมีการ ลงมติ ไม่มีการโหวตเลือกนะคะ ส่วนอีก ๕ ท่านนั้นทางกลุ่มก็ได้มองมาว่าเพื่อให้เกิดเป็น ความอิสระเราก็น่าจะเปิดให้เป็นผู้ที่ครบคุณสมบัติ ผู้ที่เต็มใจ มีความสมัครใจและมีเวลา ที่สำคัญคือต้องมีเวลาใน ๖ เดือนนี้ที่จะต้องหามรุ่งหามค่ำในการประชุม ให้เขาสมัคร ด้วยตัวเอง จำนวนเท่าไรก็ไม่เป็นไร แล้วก็มาโหวตกันหรือมาลงมติเลือกให้เหลือ ๕ คน ในที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้เหลือเพียง ๕ คน โดยนับตามลำดับคะแนนเสียง ผลสุดท้ายเขาจะไปพร้อมกับด้านไหนอะไรก็ไม่เป็นไร เพราะเราจะต้องลงมติตามความเห็น โดยใช้วิจารณญาณของแต่ละท่าน แต่เมื่อสักครู่มีท่านที่เสนอว่าถ้ามีการแสดงวิสัยทัศน์สั้น ๆ สักท่านละ ๕ นาที ก็อาจจะทำให้เรารู้ตัวตนของผู้ที่เสนอตัวเข้ามาดีขึ้น อันนั้นก็น่าจะเป็น แนวทางหรือช่องทางในการที่จะได้มาซึ่ง ๕ คนสุดท้ายนะคะ ขอกราบเรียนค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาค่ะ คือช่วงนี้ดิฉันคิดว่ายังอยากให้คณะกรรมาธิการร่างข้อบังคับรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกก่อน เพราะการที่จะสรุปทีละคนทีละประเด็น พอคนหลัง ๆ เขาก็จะเห็นต่างจากคนแรก ๆ อีกค่ะ เพราะฉะนั้นการจะสรุปข้อสรุปเลยว่าชื่อนั้นจะเป็นอย่างไรนี่มันยังทำไม่ได้นะคะ ตอนนี้ ดิฉันก็ขอใช้สิทธิในฐานะที่ถึงคิวของดิฉันที่จะอภิปราย ดิฉันมีข้อห่วงใยอยู่ ๒ ประเด็น ด้วยกันในหมวด ๔ ข้อ ๘๐ นะคะ ก็อยากให้คณะกรรมาธิการได้รับฟังจากสมาชิก ที่จะอภิปรายในหมวดนี้ข้อนี้ให้ครบก่อน เข้าใจว่าเหลืออีก ๑๗ ท่าน เพราะฉะนั้นการที่ แต่ละท่านจะเสนอว่าชื่อไหนเป็นอย่างไรนี่ความเห็นย่อมแตกต่างกันไป ๒๕๐ อย่างเลย อย่างไรก็ตามดิฉันอยากจะเรียนเสนอ ๒ ประเด็นที่เป็นข้อห่วงใย ประเด็นที่ ๑ ก็คือเรื่องชื่อ ของการตั้งคณะกรรมาธิการที่พูดถึง ส่วนประเด็นที่ ๒ เป็นข้อสุดท้ายของข้อนี้ ในการที่จะให้เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำได้ศึกษาเรื่องใด ทำให้เกิดการปฏิรูป เรื่องใด ๆ แล้วจะให้ดำเนินการต่อไปอย่างไร ซึ่ง ๒ ข้อนี้ดิฉันคิดว่าเป็นข้อห่วงใยที่น่าจะได้ พูดถึงแล้วก็ได้ใส่ไว้ในข้อบังคับให้ชัดเจนนะคะ
ประเด็นที่ ๑ เรื่องชื่อนั้นสำคัญไฉน มันก็จะเป็นปัญหาว่าบางคนอยากให้ ชื่อปรากฏ บางคนไม่อยากให้ชื่อปรากฏ บางคนอยากให้แยก บางคนอยากให้รวม ทีนี้ดิฉัน คิดว่าในด้านต่าง ๆ ๑๐ ด้านบวกอื่น ๆ ยังไม่มีใครเป็นเจ้าของนะคะ ถ้าดิฉันจำไม่ผิด ท่านที่สมัครมาเป็นด้าน ท่านหัวหน้า คสช. ก็พูดว่ายังมาเปลี่ยนตอนที่เข้ามาแล้วได้ ส่วนที่ยัง ไม่มีด้านเลยอีก ๗๗ ท่านจาก ๗๗ จังหวัด เรายังไม่ได้เป็นเจ้าของด้านไหนเลย แต่ประเด็น ก็คือว่าเราไม่รู้จะเข้าด้านไหนถ้าชื่อไม่ปรากฏ เพราะเราไม่ทราบว่าเมื่อชื่อไม่ปรากฏแล้ว เราจะไปสมัครตรงไหน อันนี้ก็อยากเป็นอุทาหรณ์ให้คิดในเรื่องของการตั้งชื่อนะคะว่า อย่างเมื่อสักครู่มีการยกตัวอย่างว่า ดิฉันยกเป็นเพียงตัวอย่างนะคะ ไม่ได้เสนอให้แยก หรือให้รวม ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังนี่ใหญ่มาก แล้วบอกว่าเศรษฐกิจจะต้องไปตั้งอนุ ประมาณ ๙ คณะ การเงิน การคลังก็ต้องไปตั้งอนุอีกประมาณ ๙ คณะ แต่ละคณะต้องมา เสนอในกรรมาธิการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง เป็นประจำทุกสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งท่านจะ เสนอได้กี่อนุ กี่ชุดที่จะเสนอได้ แล้วทั้งชุดจะพิจารณา ๙ บวก ๙ ๑๘ อนุ ไปได้กี่สัปดาห์ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ดิฉันอยากให้เห็นว่าแล้วจะทำอย่างไรถึงจะมีความเหมาะสมนะคะ เพราะว่าดิฉันอยากยกตัวอย่างด้านท่องเที่ยวเพราะดิฉันอยากสมัครด้านท่องเที่ยว ทีนี้ด้านท่องเที่ยวมันหายไป เมื่อมันหายไปดิฉันก็ไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหน เมื่อไม่ทราบ อยู่ตรงไหนก็ไปเรียนถามท่านประธาน เมื่อเช้านี้ท่านประธานเลิศรัตน์ก็กรุณาตอบว่า อยู่ในเศรษฐกิจ ดิฉันก็มาอ่านว่าถ้าอยู่ในเศรษฐกิจเราจะทำอะไรได้บ้าง ในขณะที่ดิฉันอาจจะ ไม่มีความรู้หรือความสนใจมากในเรื่องเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง แต่ดิฉันสนใจอย่างยิ่ง ในการปฏิรูปเรื่องการท่องเที่ยว เพราะเคยอยู่ในกรรมาธิการการท่องเที่ยวของวุฒิสภามา ๓-๔ ปีแล้ว และถ้าจะมองว่าเราจะปฏิรูปเรื่องอะไร มันเกี่ยวกับโครงสร้างทั้งหมดไหม จะเป็นมหภาคหรือจุลภาคก็ตาม จะเอาอะไรเป็นเครื่องตัดสินว่านี่คือการปฏิรูปโครงสร้าง หรือระบบ และเรื่องนี้คือไม่ใช่ ตรงนี้ดิฉันอยากฝากคณะกรรมาธิการว่าเราจะเอาอะไร เป็นเครื่องตัดสิน อยากให้สมาชิกสภาทั้งสภาวันนี้ซึ่งกำลังพิจารณาได้พิจารณาด้วยว่า แล้วเราจะเอาอะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโครงสร้างและระบบที่ ต้องปฏิรูป ส่วนเรื่องนี้ไม่ใช่ เพราะเล็กเกินไปหรือใหญ่เกินไปก็แล้วแต่ ดิฉันก็จะยกตัวอย่าง เรื่องท่องเที่ยวว่า เวลาดิฉันทำงานอยู่ในกรรมาธิการการท่องเที่ยว ดิฉันไม่ได้ดูเรื่องเศรษฐกิจ อย่างเดียว เศรษฐกิจการท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคือการเพิ่มรายได้ให้กับ ประเทศ ซึ่งตอนนี้รายได้จากการท่องเที่ยวไม่ต้องลงทุนมากเหมือนอุตสาหกรรม หรือการส่งออกหรือเรื่องอะไรเลยมาเป็นอันดับที่ ๑ หรืออันดับที่ ๒ ของประเทศ แต่ในระบบหรือโครงสร้างของการท่องเที่ยวทั้งหมดเราต้องดูเรื่องอะไรบ้าง เราต้องดูเรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรบุคคลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ เรื่องอะไรก็ตาม เราต้องดูเกี่ยวกับเรื่องศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เราต้องดู ในเรื่องความปลอดภัยก็คือเรื่องตำรวจท่องเที่ยว เราต้องดูในเรื่องศุลกากรเกี่ยวกับการให้คน เข้าออก นักท่องเที่ยวเข้าออก เราต้องดูในเรื่องการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชาติ เราต้องดู ในเรื่องของการพิทักษ์รักษาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นทรัพยากร ไม่ว่าจะทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ศิลปวัฒนธรรมให้ยั่งยืน ทุกอย่างนี้ดิฉันเรียนถามว่ากรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ จะดูทั้งหมดไหม อันนี้ก็คือข้อที่ดิฉันอยากเรียนถามว่าแล้วถ้าท่านดูทั้งหมด เฉพาะเรื่อง ท่องเที่ยวเรื่องเดียวซึ่งจะตั้งอนุกรรมาธิการ ๑ กรรมาธิการ ท่านทำได้หมดทุกเรื่อง อย่างเป็นระบบ และปฏิรูปโครงสร้างการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระยะยาว แต่มีความยั่งยืนในการรักษาระบบท่องเที่ยวให้ได้ กรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังทำได้ครบไหม ถ้าทำได้ครบโอเค ดิฉันอาจจะเป็นผู้หนึ่งที่จะสมัครเข้าไป แต่ถ้าทำไม่ได้ดิฉันก็ไม่รู้จะสมัครเข้าไปทำไม เพราะว่าการเงิน การคลัง เรื่องอื่นดิฉัน ไม่มีความรู้และดิฉันก็ไม่ได้สนใจที่จะไปปฏิรูปเรื่องการเงิน การคลัง เพราะความรู้ไม่พอ แต่ต้องไปนั่งฟังเรื่องการเงิน การคลังทุกสัปดาห์ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างที่ดิฉันอยากยกขึ้นมา ให้เห็นเพียง ๑ ตัวอย่างว่าชื่อนั้นสำคัญไฉน แต่ต้องตั้งให้ได้เหมาะกับสภาพของการปฏิรูป โครงสร้างและระบบของประเทศไทยเพื่อให้สมาชิกทุกคนสามารถสมัครเข้าไปได้ อีก ๗๗ จังหวัด ๗๗ ท่านยังไม่รู้จะเข้าชุดไหนเลยค่ะ เพราะว่าไม่มีความเป็นเจ้าของในชุดไหน เพราะเราไม่ได้สมัครมาก่อนนะคะ นั่นคือประเด็นที่ ๑ ที่อยากเรียนฝากตอนนี้
ประเด็นที่ ๒ ที่ดิฉันอยากจะฝากเป็นประเด็นที่มีความสำคัญก็คือ ในวรรคสุดท้ายที่บอกว่า เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาดำเนินการศึกษาและ เสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในเรื่องใด ๆ ให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภารายงานให้ สภาทราบภายในทุกหนึ่งเดือน รายงานความคืบหน้าทุก ๑ เดือน นั่นหมายความว่า ในทุก ๔ สัปดาห์ ทุกกรรมาธิการจะต้องหมุนเวียนกันมารายงาน ซึ่งถ้าเรามี ๑๗ คณะ สมมุติว่าสัปดาห์หนึ่งเราก็ได้ ๔ คณะ ๔ ๔ ก็แค่ ๑๖ เอง ๔-๕ คณะ ดิฉันว่าการประชุมสภา ของเราไม่ต้องทำอย่างอื่นเลยนอกจากรับฟังสิ่งที่คณะกรรมาธิการไปศึกษามาสัปดาห์ละ ๔-๕ คณะ ประเด็นที่ดิฉันอยากเรียนถามก็คือว่า การทำงานของสภาปฏิรูปไม่เหมือนกับ วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร หน้าที่ของเราในตรงนี้เราคงไม่ได้อยากจะบอกว่ากรรมาธิการ อยากศึกษาเรื่องนั้นเรื่องนี้แล้วก็บอกว่าฉันจะมีรายงานออกมา ๓ เล่ม รายงาน ๓ เล่มนี้ ต้องเอามาเสนอให้สภารับทราบ แอพพรูฟ (Approve) แล้วจะมาเสนอรายงาน ความก้าวหน้าทุกเดือน ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น ประโยคนี้จะเขียนอย่างไรจึงจะทำให้เราเห็นว่าเมื่อเราศึกษาในเรื่องของเรา ในด้านของเราแล้ว เราจะได้ข้อเสนอแนะหรือเกิดการวิเคราะห์ หน้าที่ของเราคือไปศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ ซึ่งต้องมาเสนอนะคะ และดิฉันก็อยากกราบเรียนว่า เมื่อเสนอให้สภารับทราบแล้วต่อไปคืออะไร รายงานการศึกษาของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภามีเป็นพัน ๆ เรื่องที่เอามาเสนอในที่ประชุมสภาแล้วก็เก็บไว้ในหิ้งไม่เคยต่อไป ถึงไหนเลย เราจะส่งไปให้ ครม. เราจะส่งไปให้กระทรวงทุกกระทรวง และเราจะส่งไปให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะ ครม. หรืออะไรก็จะตอบมาว่ารับทราบ แล้วก็เก็บไว้ในหิ้ง ไม่เคยมีเรื่องไหนที่นำไปสู่แอคชัน (Action) ต่อไปได้อย่างที่ได้ศึกษาไป ประเด็นนี้เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไรสำหรับสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันไม่อยากให้เหมือนเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาที่เรื่องที่ศึกษามีประโยชน์เยอะ ๆ หลายเรื่องเลย ทุกแห่ง ทุกเรื่องจะไปเก็บอยู่ในทุกแห่งที่เราส่งไปนะคะ เพราะฉะนั้นมาตรการตรงนี้ คงจะต้องใส่ในวรรคสุดท้ายว่า เมื่อเราได้รายงานแล้ว วรรคต่อไปไม่มีค่ะ จบแล้ววรรคนี้ วรรคนี้ต้องมีต่ออีกวรรคหนึ่งที่มีผู้เสนอว่า เรื่องที่จะเสนอไปหน่วยงานไหน ไม่ว่าจะเป็น ถ้าเป็นกฎหมายเสนอไป สนช. ถ้าเป็นแผนที่ต้องปฏิบัติทันทีทันใดเสนอไปที่ ครม. เพื่อส่งไปที่ กระทรวง ถ้าเป็นการปฏิรูประยะยาวส่งให้ คมช. เพื่อที่จะไปกำหนด ทีนี้วิธีกำหนดดิฉันก็มาดู ในรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญมาก ๆ เลยในมาตรา ๓๕ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ดิฉันไม่คิดว่าท่านจะยกร่างแล้วใส่ทุกเรื่องที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยจาก ๑๗ คณะไปอยู่ใน ร่างรัฐธรรมนูญได้หมด ถ้าไม่ได้หมด ข้อสุดท้ายคือมาตรา ๓๕ (๑๐) กลไกที่จะผลักดันให้มี การปฏิรูปเรื่องสำคัญต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ต่อไป เมื่อเรามีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว จะทำได้อย่างไร คงน่าจะต้องกำหนดไว้ในวิธีปฏิบัติของข้อบังคับ อย่างน้อยก็ให้เป็นหลักการว่า สิ่งที่จะต้องเสนอต่อไปนี้จะให้เสนอไปที่ไหน เพื่อให้แพลน ทู แอคชัน (Plan to action) ตรงนี้เกิดแอคชัน ถ้าอะไรที่ต้องเกิดทันทีก็เกิดในรัฐบาลสมัยนี้ ถ้าอะไรที่ต้องรอจนรัฐบาล สมัยหน้าที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลสมัยหน้าจะต้องเป็นพันธะผูกพันที่จะต้องนำการปฏิรูป เรื่องสำคัญที่เราจะทำงานใน ๓๑๙ วันนี้ ไปปฏิบัติให้เกิดผล ถ้าไม่เช่นนั้นเราก็เสียของ ทำเสร็จแล้วก็เสียของ เพราะฉะนั้นดิฉันก็ยังอยากจะนำเสนอว่าเราจะร่วมกันคิดอย่างไร อย่างน้อยต้องใส่ในข้อบังคับนี้สักนิดหนึ่งก่อนว่าเรื่องจะไปต่ออย่างไร หลังจากนั้น กรรมาธิการยกร่างซึ่งเราจะมี ๓๖ ท่าน ก็คงต้องไปคิดให้ครบว่าจะทำอย่างไรตามมาตรา ๓๕ ๑๐ อนุ ซึ่งดิฉันคิดว่าสำคัญมาก ๆ ก็คือ (๖) (๗) (๙) และ (๑๐) จะต้องมาใส่ไว้เป็นหลักการ นิดหนึ่งในข้อบังคับของเรา ก็กราบเรียนเสนอเพื่อให้มีทางปฏิบัติต่อนะคะ ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานค่ะ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิก ในข้อ ๘๓ เมื่อสักครู่ท่านประธานไม่ได้แก้ตัวเลขให้เป็นจาก ๒๘ เป็น ๒๙ ยังอ่านตัวเลขเดิม เนื่องจากว่าเรามีคณะกรรมาธิการเพิ่มขึ้นอีก ๑ คณะ เป็น ๑๘ คณะ ตัวเลขจะต้องเป็น ๒๙ คน ไม่ใช่ ๒๘ คน ท่านเลขาธิการไม่ได้แก้ไข เพราะว่า ถ้าดิฉันฟังผิดขออภัย แต่ว่าไม่ได้แก้นะคะ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาค่ะ ดิฉันก็ขออภิปรายในข้อ ๘๔ (๓) จะพยายามอภิปรายว่าเราจะทำให้ข้อนี้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร และจะพยายามไม่อภิปรายว่า แบ่งแยกพวกภูมิภาคหรือว่าจังหวัดออกจากกลุ่มองค์กรอีก ๑๐ หมวด ๑ องค์กรนะคะ คือตรงนี้เป็นเรื่องที่เราพยายามจะดูกัน อาจจะพูดแทนส่วนภูมิภาคอีกหลายจังหวัด ว่าในการที่เราจะมีคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ทำอย่างไร ถึงจะเกิดขึ้นให้ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด แล้วก็ในขณะที่ว่ากันตามความเป็นจริง แทบทุกจังหวัดตอนนี้ก็ดำเนินการไปแล้ว แต่ว่าต้องอาศัยทุนทรัพย์ส่วนตัวตอนนี้ในการที่จะ ไปจัดเวทีหรือว่าไปจัดประชุม เพราะว่าจะมีกลุ่มขับเคลื่อนหรือว่ากลุ่มผู้ช่วยที่มาจากผู้สมัคร ของจังหวัดประมาณจังหวัดละ ๒๐ คน ๓๐ คน ๔๐ คน ก็จะขึ้นมาเป็นคณะทำงานให้กับ ผู้แทนที่ได้มาเป็น สปช. เสร็จแล้วก็พยายามไปขับเคลื่อนในแต่ละจังหวัด ทีนี้ดิฉันเองก็มี ความคิดเห็นอย่างนี้ค่ะ ถึงแม้ว่าแอดฮอค คอมมิทตี ที่ท่านประธานเลิศรัตน์ได้กล่าวถึง จะไม่จำกัดจำนวน แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ที่คนทั้ง ๗๗ จังหวัดจะมาเป็นแอดฮอค คอมมิทตี ชุดนี้ อย่างไรก็ดีผู้แทนจากสุราษฎร์ธานี ขออนุญาต ที่ได้กล่าวว่าจะขอแยกคณะกรรมาธิการ วิสามัญชุดนี้ออกเป็นอีก ๔ ชุด จำนวนของแต่ละชุดบางภาคอาจจะน้อยไป เช่น ภาคใต้จะมี ๑๔ ท่าน ในขณะที่ภาคเหนือมี ๑๗ ท่าน ตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๐ ท่าน ภาคกลางบวก ตะวันออก ๒๖ ท่าน เพราะฉะนั้นด้วยขนาดของภาคที่ก็ไม่เท่ากัน ถ้าต้องมาตั้งเป็นแอดฮอค คอมมิทตีแต่ละคณะ แล้วทุกคนก็เข้าไปเป็นแอดฮอค คอมมิทตี แล้วจะได้ไปตั้งอนุกรรมาธิการประจำจังหวัด กับการที่เรามีผู้แทนเข้ามาอยู่ใน (๓) นี่ชุดเดียว แต่สามารถตั้งอนุประจำจังหวัดได้เกือบทุกจังหวัดสมมุตินะคะ ก็จะเป็น ๗๗ จังหวัด หรือบางจังหวัดเล็กหรือใกล้กัน พื้นที่ใกล้กันอาจจะรวมกัน แต่ในวิธีการทำงานที่ดิฉัน อยากกราบเรียนท่านประธาน แล้วก็กราบเรียนว่าด้วยความเป็นห่วงใยต่อคณะกรรมาธิการ วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ต้องไปคิดเรื่ององค์ประกอบ จำนวน หรืออำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ท่านก็จะหาจุดลงตัวทันทีไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ดิฉันก็อยากช่วยคิดเผื่อว่าพวกเราที่มาจากจังหวัดจะช่วยคิดออกในช่วงนี้บ้าง หรือว่าผู้ยกร่าง จะคิดออกบ้าง ในส่วนที่ดิฉันมองเห็นตอนนี้ก็คือว่า แม้ว่าเราจะบอกว่าอาจจะ มีความเหมาะสมให้เปิดเป็นช่องว่างไว้ แต่ในการขับเคลื่อนของการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งส่วนกลาง หน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติจะมีศูนย์รับฟัง ความคิดเห็นตามภาระหน้าที่ในข้อ ๘๓ (๑๐) อยู่แล้ว แล้วให้ศูนย์นี้ส่งข้อมูลให้พวกเรา ที่อยู่ในชุด (๓) คำว่า พวกเรา คือดิฉันเองก็จะสมัครเข้า (๓) นี่ค่ะ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าสมัครแล้ว จะได้ไหม แต่สิ่งที่วิสามัญของ (๓) อยากจะทำงานนี้ก็หมายความว่า ทำอย่างไรเราจะ สนับสนุนให้ผู้ที่ต้องไปทำงานอยู่ประจำในจังหวัดมีความสะดวกขึ้นและการประสานงานเป็น ทางการมากขึ้น ซึ่งข้อนี้ดิฉันก็คงจะกราบเรียนท่านประธานในโอกาสต่อไปว่า เช่น อยากให้ ท่านทำหนังสือถึงประธาน กกต. ใหญ่ ประธาน กกต. ใหญ่ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการ กกต. ประจำจังหวัดให้เขาเป็นเลขานุการให้เราอะไรอย่างนี้ แต่ประเด็นที่ดิฉันได้รับทราบมา ในการลงพื้นที่ในช่วง ๒ สัปดาห์นี้ก็คือว่าในการทำงานของพื้นที่เราได้แนวร่วม ซึ่งแนวร่วม ตรงนี้มันจะทำให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้น่าจะยืนยาวขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น หรือเป็นฉบับประชาชนมากขึ้น ดิฉันว่าไม่มีข้อเสียอะไรที่เราต้องไปตั้งข้อรังเกียจรังงอนตรงนี้ เพราะเมื่อไรที่เขาเรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมันจะอยู่นาน เพราะเราจะไม่มีการทำ ประชามติของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ค่อนข้างชัดเจนแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าประกาศใช้เลยโอกาส จะใช้ไม่ถึง ๘ ปีก็สูงมากเลย ถ้าหากว่าไม่ได้ทำประชามติและขณะเดียวกันเราไม่มีประชาชน ฐานรากเป็นผู้ที่จะบอกว่าเป็นของเขา เขาเป็นเจ้าของอะไรอย่างนี้ค่ะ เพราะฉะนั้นส่วนที่ ดิฉันเสนอตรงนี้ก็เพื่อให้เห็นว่าในส่วนภูมิภาคหรือจังหวัดในการทำงานครั้งนี้ที่เราเข้ามา เราจะเป็นส่วนเสริมที่จะทำให้จากองค์กรอีก ๑๐ บวก ๑ องค์กรมีฐานรากที่แข็งแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตามดิฉันก็ยังคิดไม่ออกว่ามี ๑ ชุด แล้วให้ไปตั้งประจำจังหวัดได้ทั้ง ๗๗ จังหวัด กับ (๓) แยกออกไปเลย เป็น ๔ ภาค ๔ ชุด ส่วนจังหวัดจะไปตั้งอนุแยกหรืออนุรวม เพราะการตั้งอนุ ๗๗ จังหวัด ก็จะมีอนุกรรมาธิการ ๗๗ ชุดใน (๓) ซึ่งดิฉันก็ยังมองไม่ออก เหมือนกันว่าอนุชุดไหนจะมีถึง ๗๗ ชุด เพราะฉะนั้นก็อยากขอกราบเรียนเสนอเพื่อหา แนวทางในข้อนี้ว่าเราจะมีสัก ๒ ชุดได้ไหม คือสมมุติแทนที่จะ ๔ ภาค ๔ ชุด เอาเป็น ๒ ภาค ๑ ชุด พอไหวไหม แล้วตอนไปตั้งอนุประจำจังหวัดรวมตัวกันสักนิดหนึ่ง จังหวัดใกล้เคียงกัน จังหวัดเล็กรวมตัวกันหน่อย อนุจะได้ไม่บานออกไปถึง ๗๗ ชุดอะไรอย่างนี้นะคะ ก็พยายาม จะช่วยหาทางออกอยู่ตอนนี้อย่างไรก็ตามกราบเรียนเสนอท่านประธานไว้เพื่อที่จะบอกว่า ดิฉันเห็นว่า (๓) ต้องปรับเหมือนกันในการเขียนข้อนี้ ไม่ใช่เราจะมารับฟังจากข้อ ๑๐ ของข้อ ๘๓ ทางเดียว เพราะว่ามันต้องเป็นการทำงาน ๒ ทาง ขอบพระคุณค่ะ
ขอบคุณค่ะท่านประธานคะ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาค่ะ สำหรับข้อ ๘๗ ดิฉันเข้าใจว่ากรรมาธิการ จะเป็นทั้งวิสามัญประจำและวิสามัญตามข้อ ๘๔ ซึ่งมีอยู่ ๕ ชุด ซึ่งถ้ารวม ๆ กันเข้ากับ ๑๘ เราก็จะมีประมาณ ๒๓ ชุด ๒๓ ชุด ถ้าเราต้องเตรียมผู้เตรียมรายงานแต่ละชุดคนหนึ่ง หรือหลายคน ประเด็นของดิฉันคือคนหนึ่งหรือหลายคนนี่มันต่างกันเยอะ อาจจะตั้งคนเดียว หรือตั้ง ๑๐ คน จริง ๆ คนที่จบปริญญาโท สาขาไหนก็ได้ เขาจะเคยทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ ถ้าเขาเป็นนักศึกษาแผน ก เรื่องอะไรก็ได้ เขาทำวิจัยเรื่องไหนก็ได้ หาไม่ยากแบบนั้น แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราต้องการหาคนที่ทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ในเรื่องที่สัมพันธ์กับชุดของเรา อันนี้ก็จะหายากขึ้น อย่างไรก็ตามตรงนี้เราเปิดไว้ แต่ดิฉันติดใจตรงคำว่า หรือหลายคน หรือหลายคนนี่อาจจะตั้งเป็น ๑๐ คนเลยก็ได้ ซึ่งตรงส่วนนี้ดิฉันว่ามันเปิดกว้างเกินไปนิดหนึ่ง น่าจะบอกว่าหรือหลายคนแต่ไม่เกินกี่คนนะคะประเด็นที่ ๑ ก็อยู่ในวรรคนี้ วรรคหก ใช่ไหมคะ
ทีนี้ขออนุญาตกลับไปวรรคหนึ่งนิดหนึ่ง เมื่อสักครู่นี้ท่านประธานได้กรุณา แก้ให้ว่า การเลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น เดิมมีผู้เสนอว่า ให้ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือแต่งตั้งตำแหน่งเหล่านี้ให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติเท่านั้น เนื่องจากเรามีคนนอกในทุกชุดเลย ทีนี้ถ้าเราแก้เป็นว่า ตามความจำเป็น จากกรรมาธิการซึ่งเป็นสมาชิกในคณะนั้นมันจะรวมทั้งคนในและคนนอก เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ อาจจะต้องชัดเจนอีกนิดหนึ่งว่า
แต่ก็บอกสมาชิกในคณะท่านคะ เขาเป็น กรรมาธิการ
ถ้าอย่างนั้นเอาเป็นว่าเป็นสมาชิก
โอเค คือตัดคำว่า สภาปฏิรูป ออกเท่านั้น โอเคค่ะ ดิฉันอาจจะจดผิด ไปจดว่า เป็นกรรมาธิการในคณะนั้น
ประเด็นที่ ๒ ก็คือ และตำแหน่งอื่น ในข้อนี้ ตามความจำเป็นมันจะสัก กี่มากน้อย แต่เราไม่น่าจะมีปัญหาในเรื่องของการเลือกสมาชิกคิดว่าถ้ามันมีเยอะ แต่จำนวน สมาชิกเราก็น่าจะ ดิฉันไม่แน่ใจวิสามัญเราจะมีเท่าไร วิสามัญทั่วไปนะคะ น่าจะมากกว่า วิสามัญประจำ ถ้าเผื่อคิดว่าไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติก็โอเคค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
ขอบพระคุณท่านประธานคะ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิกค่ะ คือวรรคหนึ่งทำได้ ๒ แนวทางนะคะ ดิฉันขอเมื่อสักครู่นี้กำลังคิดว่า แนวทางไหนจะดีกว่ากัน อย่างที่ท่านกรรมาธิการเสนอนี่ก็หมายความว่าจะให้เป็นสมาชิก เฉพาะตำแหน่ง ประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก ๔ ตำแหน่งเท่านั้น แล้วที่เหลือเป็น กรรมาธิการ แต่ก็ยังจะต้องเป็นกรรมาธิการที่เป็นคนนอก เช่น เราได้ไม่เกิน ๒๕ เปอร์เซ็นต์นั้น ซึ่งจะแตกต่างจากการที่เราจะไปตั้งที่ปรึกษาเพิ่มเติม หรือตำแหน่งเลขานุการ หรือผู้ช่วยเลขานุการที่มีเงินเดือนจะใช้เงินได้ จากบุคคลภายนอกที่ไม่ต้องเป็นกรรมาธิการ เพราะเราจะได้มีคนช่วยเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นดิฉันยังคิดว่ามันมี ๒ แนวทาง ถ้าไม่เป็น อย่างที่ท่านเสรี ขออนุญาตเอ่ยนามเสนอนี่ ดิฉันก็อยากจะเสนอว่าตำแหน่งที่จะให้เป็น สมาชิกในคณะนั้น ๆ กำหนดลงไปเลยดีไหมคะว่าจะกี่ตำแหน่ง ที่เหลือนี่เปิดกว้าง เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องการเพียงประธาน รองประธาน เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ ถ้าจะเอาด้วย โฆษก ผู้ช่วยโฆษก ถ้าจะมี ๒ คน แล้วก็อาจจะมีประธานที่ปรึกษาที่เราอยากให้ อยู่ในคณะนั้น ที่เหลือไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาหรือตำแหน่งที่จะไปใช้เงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาทได้ เราเปิดกว้างว่าจะเป็นใครก็ได้ ถ้าอย่างนั้นวิธีเขียนจะกลับกัน กับที่ท่านเสนอ
ไม่ค่ะ เพราะว่าท่านเสนอว่าตำแหน่งอื่น ต้องจากกรรมาธิการ
ลองอ่านใหม่สิคะ
คนละความหมายกับที่ดิฉันพูดค่ะ ท่านประธานคะ ความหมายของดิฉันคือตำแหน่งอื่นตามความจำเป็นนี่ไม่จำเป็นต้องจาก กรรมาธิการในคณะนั้นเท่านั้น จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก จากใครก็ได้ที่เราไม่ได้ เชิญมาใน ๕ คนที่เป็นคนนอก สมมุติเรามี ๑๕ คน หรือ ๖ คนก็ตาม จะเปิดกว้างขึ้น อีกนิดหนึ่ง เพราะบางทีที่ปรึกษาเราต้องการอีก มีเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาทนี่เราก็สามารถจ้าง ที่ปรึกษาได้ คนที่อยู่ในกรรมาธิการใช้เงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาทไม่ได้ จะต้องเป็นคนที่อยู่ นอกกรรมาธิการ เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องการที่ปรึกษาที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ไม่ได้เชิญ เข้ามาเป็น ๕ หรือ ๖ คน คนละความหมายกันค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
ท่านประธานคะ ดิฉันไม่ได้อยู่ที่เรื่องยอม ไม่ยอม แต่ในทางปฏิบัติดิฉันว่าเข้าใจไม่ตรงกัน
ไม่ติดใจ แต่ว่าดิฉันว่าเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ท่านจะใช้ไม่ได้ เพราะว่าต้องจากกรรมาธิการ กรรมาธิการเบิกเงินสดนี้ไม่ได้ เราเอาคนนอก มาช่วยไม่ได้นะคะท่าน เพราะฉะนั้นตรงนี้มันต่างกันนะคะความหมาย
ขอบพระคุณค่ะ กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิกค่ะ สำหรับข้อ ๙๘ กับ ข้อ ๙๙ นี้ดิฉันก็ยังมี ความรู้สึกว่าเราเขียนเหมือนกับรายงานของกรรมาธิการสามัญทั่ว ๆ ไปของสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมันยังไม่สะท้อน เมื่อเช้าดิฉันก็ได้พูดไปนิดหนึ่งว่า มันยังไม่สะท้อนภารกิจของสภาปฏิรูปแห่งชาติว่าสิ่งที่เราได้ทำ ซึ่งก็คือการศึกษา การสังเคราะห์หรือว่าข้อเสนอแนะในแนวทางการปฏิรูปแห่งชาติ ทำอย่างไรเราถึงจะผูกพัน ให้เป็นกลไกที่จะต้องถูกนำไปปฏิบัติตามในรัฐบาลชุดต่อ ๆ ไปด้วย มันอาจจะเกินขอบเขต หน้าที่ของเรานิดหนึ่งอาจต้องไปอยู่ที่กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งดิฉันก็คงเรียนฝาก ไปที่ผู้แทนที่จะไปเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญว่าถ้าหากเราไม่สามารถทำให้เกิดกลไก อันนี้ ข้อ ๙๘ กับ ข้อ ๙๙ เขียนเหมือนกันเลยกับกรรมาธิการสามัญทั่ว ๆ ไปที่ประจำ ส.ส. หรือ ส.ว. ซึ่งดิฉันเป็นห่วงมากว่ามันจะไม่นำไปสู่กลไกของพันธะผูกพันในการที่ปฏิบัติต่อ นั่นคือประเด็นแรก
ประเด็นที่ ๒ ที่ดิฉันอยากจะให้ข้อคิดเห็นหรืออาจจะเป็นข้อเสนอแนะใน วรรคสองของข้อ ๙๙ ก็คือเรามีเวลาทำงาน ๓๑๙ วัน ซึ่งตอนนี้เหลือไม่ถึงแล้ว ถ้าหากว่า กรรมาธิการวิสามัญประจำสภาจะไปศึกษากี่เรื่องก็ตาม ดิฉันก็อยากให้คำนึงถึงระยะเวลาที่ เรามีอยู่ เพราะเวลาเราจะศึกษากี่เรื่องด้วยระยะเวลาเท่าไรก็ตาม เมื่อเรามาเสนอสภาแล้ว มันจะเป็นพันธะผูกพัน แต่ดิฉันว่าการขยายเวลาไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละ ๓๐ วันนี้ก็นานเกินไป เพราะว่าถ้าหากว่าเรามีเวลาศึกษา ๖ เดือน หรือ ๘ เดือนในเรื่องนั้น ๆ เพราะเราต้องการ สร้างแนวคิดหรือข้อเสนอแนะในการปฏิรูปที่จะทำให้เกิดกลไกของความผูกพันต่อเนื่อง ถ้าไม่เสร็จเราก็มาขอต่ออีก ๒ ครั้ง อีก ๓๐ วัน อีก ๒ ครั้ง ๖๐ วัน หมดเวลาเราไปตั้งนานแล้ว รายงานก็ออกไม่ได้ เมื่อรายงานออกไม่ได้มันก็ค้าง เมื่อมันค้างมันก็อยู่กับเราไม่ไปไหนเลย ซึ่งข้อนี้ดิฉันว่ากลไกตรงนี้ข้อ ๙๘ กับข้อ ๙๙ อยากให้มีกลไกที่ดีกว่าที่เป็นของเดิมอยู่ แต่ดิฉันยังคิดไม่ออกเดี๋ยวนี้ว่าเราจะเสนอแก้ไขอย่างไร ก็อยากเรียนฝากไปถ้าทำในข้อบังคับนี้ ไม่ได้ ก็ต้องไปทำในร่างรัฐธรรมนูญ ขอบพระคุณค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธานคะ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิกค่ะ ในข้อนี้ถ้าดิฉันตีความ คำว่า สภาอาจให้คณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาได้ มันเหมือนกับว่าต้องให้คณะกรรมาธิการ สามัญหรือวิสามัญที่มีอยู่แล้ว แต่ถ้าตามสำนวนของมาตรา ๓๙ ในรัฐธรรมนูญ เขาจะใช้ว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติอาจแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นเพิ่มเพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย ที่จำเป็นก็ได้ ทีนี้ดิฉันไม่แน่ใจว่าคำว่า อาจให้ แปลว่าจะต้องเป็นกรรมาธิการที่มีอยู่แล้ว หรือตั้งใหม่ก็ได้ อันนี้ก็แล้วแต่ภาษากฎหมายนะคะ แต่ตีความอย่างที่ไม่ใช่นักกฎหมายคิดว่า มันเหมือนกับไม่ได้ใช้สำนวนของมาตรา ๓๙ ที่ว่า อาจแต่งตั้ง ค่ะ
อีกนิดเดียวค่ะท่านประธาน ขอบคุณค่ะ ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ข้อนี้นะคะ วรรคนี้วรรคสอง หรือวรรคแรกของข้อ ๑๑๕ ตรงบรรทัดสุดท้ายที่บอกว่า ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๑๑ วรรคสอง ต้องเว้นวรรคนะคะ ไม่อย่างนั้นจะแปลว่าพ้นจากตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ แต่จริง ๆ การแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์ ต้องเว้นวรรคก่อนที่จะพูดว่าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๑๑๑ วรรคสอง ขอบคุณค่ะ
ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน ดิฉัน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สมาชิก เผอิญในข้อ ๔๐ ให้มีการกล่าวถึงว่า ให้นำข้อบังคับว่าด้วย ประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม สมมุติว่าเราจะรับรองวาระที่สาม วันนี้โดยที่หลายท่านจะยังไม่เคยเห็นประมวลจริยธรรม ของสมาชิกวุฒิสภา ขอความกรุณาครั้งหน้าให้ฝ่ายเลขานุการนำประมวลจริยธรรมของ สมาชิกวุฒิสภามาใส่ไว้ในลิ้นชักด้วยได้ไหมคะ